ไปหน้าแรก

อวิชชาเป็นไฉน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 535

ในอวิชชาและสังขารเหล่านั้น อวิชชาเป็นไฉน ? ความไม่รู้ในทุกข์,

ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย, ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ, ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ

คามินีปฏิปทา, ความไม่รู้ในส่วนเบื้องต้น, ความไม่รู้ในส่วนเบื้องปลาย

ความไม่รู้ในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ในธรรมที่อาศัย

กันและกันเกิดขึ้น คืออิทัปปัจจยตา.

สังขารเป็นไฉน ? ปุญญาภิสังขาร, อปุญญาภิสังขาร, อาเนญชาภิ-

สังขาร, กายสังขาร, วจีสังขาร , จิตตสังขาร.

กามาวจรกุศลจิต ๘ รูปาวจรกุศลจิต ๕ เป็นปุญญาภิสังขาร.

อกุศลจิต ๑๒ เป็นอปุญญาภิสังขาร.

อรูปาวจรกุศลจิต ๔ เป็นอาเนญชาภิสังขาร.

กายสัญเจตนาเป็นกายสังขาร.

วจีสัญเจตนาเป็นวจีสังขาร

มโนสัญเจตนาเป็นจิตตสังขาร.

พึงมีคำถามในบทนั้นว่า ข้อว่า สังขารเหล่านี้มีอวิชชาเป็นปัจจัยนั้น

พึงรู้ได้อย่างไร ? รู้ได้โดยภาวะในความเป็นอวิชชา.

ก็ความไม่รู้ กล่าวคืออวิชชาในธรรม ๘ ประการมีทุกข์เป็นต้น อัน

บุคคลใดยังละไม่ได้ บุคคลนั้นถือเอาทุกข์ในสังสารวัฏด้วยความสำคัญว่า

เป็นสุข ปรารภสังขารแม้ทั้ง ๓ อย่างที่เป็นเหตุแห่งทุกข์นั้นแล เพราะ

ความไม่รู้ในทุกข์และส่วนเบื้องต้นเป็นต้นก่อน.

บุคคลปรารภสังขารทั้งหลายที่เป็นบริขารแห่งตัณหาแม้เป็นเหตุแห่ง

ทุกข์ สำคัญว่าเป็นเหตุแห่งสุข เพราะความไม่รู้ในสมุทัย.

บุคคลเป็นผู้มีความสำคัญในคติวิเศษแม้ไม่ใช่ความดับทุกข์ ว่าเป็น

ความดับทุกข์เป็นผู้มีความสำคัญในการเซ่นสรวง และการบำเพ็ญพรตเพื่อ

เป็นเทวดาเป็นต้น แม้มิใช่ทางแห่งความดับทุกข์เลย ว่าเป็นทางแห่งความ

ดับทุกข์ เมื่อปรารถนาความดับทุกข์ ย่อมปรารภสังขารทั้ง ๓ อย่าง ด้วย

การเซ่นสรวงและการบำเพ็ญพรตเพื่อเป็นเทวดาเป็นต้นเป็นข้อสำคัญ เพราะ

ความไม่รู้ในนิโรธและในมรรค.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลนั้นไม่รู้ทุกข์ กล่าวคือ ผลบุญแม้เต็มไปด้วย

โทษมีชาติ ชรา และมรณะเป็นต้นว่าเป็นทุกข์โดยวิเศษ เพราะความที่ยัง

ละอวิชชาในสัจจะ ๔ ไม่ได้นั้น. ย่อมปรารภปุญญาภิสังขาร ชนิดกายสังขาร

วจีสังขาร จิตตสังขาร เพื่อบรรลุผลนั้น เหมือนผู้ใคร่เป็นเทวดาและเทพ

อัปสร ปรารภเงื้อมผาเทวดาฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลแม้ไม่เห็นความเป็นวิปริณามทุกข์ที่ให้เกิดความ

เร่าร้อนใหญ่ในที่สุดแห่งผลบุญนั้น ซึ่งสมมติว่าเป็นสุข และความไม่ชอบ

ใจ ย่อมปรารภปุญญาภิสังขารซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วนั่นแล อันเป็น

ปัจจัยแห่งทุกข์นั้น. เหมือนแมงเม่าบินเข้าหาเปลวไฟ, และเหมือนคน

อยากหยาดน้ำหวาน เลียคมศัสตราที่ทาน้ำหวานฉะนั้น.

อนึ่ง บุคคลไม่เห็นโทษในการเข้าไปเสพกามเป็นต้น ซึ่งมีวิบาก ย่อม

ปรารภอปุญญาภิสังขารที่เป็นไปในไตรทวาร เพราะสำคัญว่าเป็นสุข และ

เพราะความที่ถูกกิเลสครอบงำ เหมือนเด็กอ่อนเล่นคูถ และเหมือนคน

อยากตายเคี้ยวกินยาพิษฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลไม่รู้ความเป็นวิปริณามทุกข์แห่งสังขารในอรูป

วิบาก ย่อมปรารภอาเนญชาภิสังขารที่เป็นจิตตสังขาร ด้วยวิปลาสว่าเที่ยง

เป็นต้น เหมือนคนหลงทิศเดินทางตรงไปเมืองปีศาจฉะนั้น.

เพราะมีอวิชชานั่นแล จึงมีสังขาร. เพราะไม่มีอวิชชา จึงไม่มี

สังขาร. ด้วยประการฉะนี้ ฉะนั้นพึงทราบข้อนี้วา สังขารเหล่านั้นย่อมมี

อวิชชาเป็นปัจจัย.

ในข้อนี้ท่านกล่าวว่า พวกเราถือเอาเนื้อความนี้ก่อนว่า อวิชชาเป็น

ปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย. ก็อวิชชานี้อย่างเดียวเท่านั้น เป็นปัจจัยแก่สังขาร

ทั้งหลายหรือ หรือว่ามีปัจจัยอื่น ๆ อีก. ก็ถ้าการกล่าวถึงเหตุหนึ่งจากเหตุ

หนึ่งเท่านั้น ย่อมถึงก่อนไซร้. เมื่อเป็นเช่นนั้น ปัจจัยแม้อื่น ๆ ก็ย่อมมี

การชี้แจงเหตุหนึ่งว่า :- สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นปัจจัย จะไม่เกิดขึ้น

ในข้อนี้หรือ ? ไม่เกิดขึ้นหามิได้. เพราะเหตุไร ? เพราะ :-

ผลอย่างหนึ่งย่อมมีแต่เหตุอย่างเดียวในโลกนี้ หา

มิได้ ผลหลายอย่างแต่เหตุแม้หลายอย่าง ก็หามิได้ ผล

อย่างหนึ่งมีอยู่ หามิได้ แต่ประโยชน์ในการแสดงเหตุผล

อย่างหนึ่งมีอยู่.

ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเหตุก็ตามผลก็ตาม อย่างเดียว

เท่านั้น. โดยสมควรแก่ความงามของเทศนา และแก่เหล่าเวไนยสัตว์.

เพราะเป็นประธานในที่บางแห่ง ปรากฏในที่บางแห่ง เป็นอสาธารณะใน

ที่บางแห่ง. ฉะนั้นอวิชชาในข้อนี้เมื่อเหตุแห่งสังขารทั้งหลายมีวัตถุอารมณ์

และสหชาตธรรมเป็นต้นอื่น ๆ แม้มีอยู่ ก็พึงทราบว่า ทรงแสดงโดยความ

เป็นเหตุแห่งสังขารทั้งหลาย. เพราะเป็นประธานว่า เป็นเหตุของเหตุแห่ง

สังขารทั้งหลาย มีตัณหาเป็นต้นแม้อื่น ๆ เพราะปรากฏและเพราะเป็น

อสาธารณะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มีปัญญา ได้ด้วยอวิชชา

ย่อมปรุงแต่งแม้ปุญญาภิสังขาร โดยพระบาลีว่า ตัณหาย่อมเจริญแก่ผู้เห็น

ตามความพอใจ และว่าเพราะอวิชชาเกิด อาสวะจึงเกิด. และพึงทราบ

การประกอบในการแสดงเหตุผลเป็นอย่าง ๆ ในที่ทั้งปวง ด้วยการแสดง

บริหารและกล่าวถึงเหตุผลเป็นอย่าง ๆ นี้นั่นเทียวแล. ในข้อนี้ท่านกล่าวว่า

แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ความที่อวิชชาซึ่งมีโทษมีผลไม่น่าปรารถนาโดยส่วน

เดียวเป็นปัจจัยแห่งปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขาร จะถูกได้อย่างไร

เพราะอ้อยจะเกิดแต่พืชสะเดาหาได้ไม่ จักไม่ถูกได้อย่างไร. เพราะใน

โลก :-

บุคคลที่เป็นศัตรูก็ตาม เป็นมิตรก็ตาม ที่คล้ายกัน

ก็ตาม ไม่คล้ายกันก็ตาม สำเร็จเป็นปัจจัยแห่งธรรมทั้ง

หลาย บุคคลเหล่านั้นจะเป็นวิบากทั้งนั้นก็หามิได้.

อวิชชานี้แม้มีผลไม่น่าปรารถนาโดยส่วนเดียว ด้วยสามารถแห่ง

วิบาก, และมีโทษ ด้วยสามารถแห่งสภาวะ, ก็พึงทราบว่าเป็นปัจจัยแห่ง

ปุญญาภิสังขารเป็นต้นเหล่านั้นแม้ทั้งหมด. ด้วยสามารถเป็นปัจจัยแห่ง

ฐานะกิจสภาวะศัตรูและมิตร. และด้วยสามารถเป็นปัจจัยแห่งผู้ที่คล้ายกัน

และไม่คล้ายกัน ตามสมควร. อนึ่ง ยังมีปริยายอื่นอีกว่า :-

ผู้ใดลุ่มหลงในจุติและอุบัติในสังสารวัฏในลักษณะ

แห่งสังขาร และในธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ผู้นั้น

ย่อมปรุงแต่งสังขาร ๓ อย่างเหล่านั้นเพราะอวิชชาเป็นปัจ-

จัยแห่งสังขาร ๓ อย่างเหล่านั้นทั้งหมด.

นระผู้บอดแต่กำเนิด เป็นผู้นำไม่ได้ บางคราวไป

ถูกทาง บางคราวก็ไปผิดทาง แม้ฉันใด คนพาลท่อง

เที่ยวอยู่ในสังสารวัฏเป็นผู้นำไม่ได้ บางคราวทำบุญ บาง

คราวก็ทำบาป. ก็ผู้นั้นรู้ธรรมแล้วบรรลุสัจจะทั้งหลายใน

กาลใด จักเป็นผู้เข้าไปสงบจากอวิชชาเที่ยวไปในกาลนั้น.

บทว่า สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ ได้แก่หมวดแห่งวิญญาณ ๖ คือ

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ

มโนวิญญาณ. บรรดาวิญญาณเหล่านั้น จักขุวิญญาณมี ๒ อย่าง คือ

ที่เป็นกุศลวิบาก ๑ ที่เป็นอกุศลวิบาก ๑. โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ

ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณก็เหมือนกัน. ส่วนมโนวิญญาณมี ๒๒

อย่าง คือวิปากมโนธาตุ ๒, อเหตุกวิปากมโนวิญญาณธาตุ ๓, สเหตุก

วิปากจิต ๘, รูปาวจรวิปากจิต ๕, อรูปาวจรวิปากจิต ๔, วิปากวิญ-

ญาณฝ่ายโลกิยะทั้งหมดมี ๓๒ ด้วยประการฉะนี้.

ในข้อนั้นพึงมีคำถามว่า ก็ข้อว่า วิญญาณซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว

นี้มีสังขารเป็นปัจจัยนี้จะพึงรู้ได้อย่างไร ? พึงรู้ได้เพราะไม่มีวิบาก ใน

เพราะไม่มีกรรมที่สั่งสมไว้.

เรื่องวิบากนี้พึงทราบว่า วิบากจะไม่เกิดขึ้นในเพราะไม่มีกรรมที่สั่ง

สมไว้. ถ้าจะพึงเกิดขึ้น วิบากทั้งปวงของกรรมทุกอย่างพึงเกิดขึ้น แต่จะ

ไม่เกิดขึ้น. ดังนั้นพึงทราบข้อนี้ว่า วิญญาณนี้ย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

ก็วิญญาณนี้ทั้งหมดนั่นแล ย่อมเป็นไปโดยประการ ๒ คือ ปวัตติ

และปฏิสนธิ. ใน ๒ ประการนั้น วิญญาณ ๕ ทั้ง ๒ ฝ่าย๑ (เป็น ๑๐).

มโนธาตุ ๒, อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัส ๑, รวมเป็น

วิญญาณ ๑๓ เหล่านี้ ย่อมเป็นไปในปวัตติเท่านั้น ในปัญจโวการภพ.

วิญญาณ ๑๙ ที่เหลือ ย่อมเป็นไปทั้งในปวัตติ ทั้งในปฏิสนธิ ในภพ ๓

ตามสมควร.

วิญญาณที่ได้ปัจจัยเป็นเพียงธรรมนี้ย่อมเข้าถึง

ระหว่างภพ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณนั้นไม่ข้ามภพนั้น

ไปได้ เว้นเหตุจากภพนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่ปรากฏ.

ก็วิญญาณที่ได้ปัจจัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นเป็นเพียงรูปธรรมและอรูปธรรม

เรียกว่า ย่อมเข้าถึง ระหว่างภพ ด้วยประการฉะนี้. ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่

ชีวะ และวิญญาณนั้นย่อมไม่ข้ามอดีตภพไปได้ในโลกนี้. ทั้งเว้น เหตุจาก

อดีตภพนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่ปรากฏในโลกนี้.

ก็ในข้อนี้ท่านเรียกวิญญาณดวงแรกว่า จุติ เพราะเคลื่อนไป เรียก

วิญญาณดวงหลังว่า ปฏิสนธิ เพราะสืบต่อในระหว่างภพเป็นต้น.

๑. เรียกทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ (วิญญาณ ๔ * ๒).

ในข้อนี้ท่านกล่าวว่า เมื่อไม่มีการข้ามและความปรากฏ อย่างนี้

เพราะขันธ์ทั้งหลายในอัตภาพมนุษย์นี้ดับ. เพราะกรรมซึ่งมีปัจจัยแห่งผล

ไม่ดำเนินไปในภพนั้น และเพราะประการอื่นแห่งกรรมอื่น ผลนั้นพึงมีมิ

ใช่หรือ ? ก็เนื้อไม่มีมีผู้ใช้สอย ผลนั้นจะพึงมีแก่ใคร ฉะนั้นวิธีนี้ไม่ถูก. ใน

ข้อนั้นท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า :-

ผลในสันดานมิใช่ของกรรมอื่นและโดยประการอื่น

การปรุงแต่งพืชทั้งหลายให้สำเร็จประโยชน์นั้น การสมมติ

ผู้ใช้สอย สำเร็จได้ด้วยการเกิดขึ้นแห่งผลนั่นแล เหมือน

ต้นไม้ที่สมมติกันว่าผลิตผล ด้วยความเกิดขึ้นแห่งผล

ฉะนั้น.

แม้ผู้ใดพึงกล่าวว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น สังขารเหล่านั้นมีอยู่ก็ตาม

ไม่มีอยู่ก็ตาม พึงเป็นปัจจัยแห่งผล. ก็ถ้ามีอยู่ วิบากแห่งสังขารเหล่านั้น

พึงมีในปวัตติขณะทีเดียว. ถ้าไม่มี สังขารเหล่านั้นพึงนำผลมาเป็นนิจ ทั้ง

ก่อนและหลังปวัตติขณะบุคคลเหล่านั้น. พึงกล่าวอย่างนี้ว่า :-

สังขารเหล่านั้นเป็นปัจจัยเพราะกระทำ นำผลมา

เป็นนิจก็หามิได้ พึงทราบการชี้แจงในข้อนั้น ซึ่งมีผู้รับ

รองเป็นต้น.

ในบทว่า วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ นี้ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์

และสังขารขันธ์ เป็นนาม. มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปของมหาภูต

รูป ๔ เป็นรูป.

ในปฏิสนธิขณะของคัพภเสยยกสัตว์ที่ไม่มีภาวะ และของเหล่าสัตว์ผู้

เกิดในไข่ วัตถุทสกะและกายทสกะ รวมเป็นรูปขันธ์ ๒๐ รูป. และ

นามขันธ์อีก ๓ รวมขันธ์เหล่านี้เป็นธรรม ๒๓. พึงทราบว่าเพราะวิญญาณ

เป็นปัจจัยจึงมีนามรูป. เพิ่มภาวทสกะของเหล่าสัตว์ผู้มีภาวะ รวมเป็น ๓๓.

ในปฏิสนธิขณะของเหล่าสัตว์ชั้นพรหมกายิกาทั้งหลายในบรรดา

เหล่าโอปปาติกสัตว์ทั้งหลาย จักขุทสกะ โสตทสกะ วัตถุทสกะ และ

ชีวิตนวกะ รวมเป็นรูปขันธ์ ๓ รูป. และนามขันธ์อีก ๓ รวมธรรม

เหล่านั้นเป็น ๔๒. พึงทราบว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป.

ส่วนในปฏิสนธิขณะของเหล่าโอปปาติกสัตว์ที่เหลือผู้เกิดในที่ชื้นแฉะ

โสโครกก็ตาม ผู้มีภาวะมีอายตนะบริบูรณ์ก็ตาม จักขุทสกะ. โสตทสกะ,

ฆานทสกะ, ชิวหาทสกะ, กายทสกะ, วัตถุทสกะ, ภาวทสกะ, (อย่าง

ละ ๑๐ รวม ๗๐) และนามขันธ์ ๓ รวมธรรมเหล่านั้นเป็น ๗๓. พึงทราบ

ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยยิ่งมีนามรูป พึงทราบอย่างอุกฤษฏ์ด้วย

ประการฉะนี้. แต่อย่างต่ำ พึงทราบการปรุงแต่งนามรูปเพราะวิญญาณ

เป็นปัจจัยในปฏิสนธิที่ค่อย ๆ เสื่อมลงด้วยสามารถแห่งขันธ์นั้น ๆ แห่งทสกะ

ที่บกพร่องนั้น ๆ.

ก็นามขันธ์ ๓ ของเหล่าอรูปสัตว์นั่นแล พึงทราบว่า ชีวิตนวกะ

นั่นเอง โดยรูปแห่งอสัญญีสัตว์แล. พึงทราบนัยในปฏิสนธิเท่านี้ก่อน.

ก็ในการแสดงความเป็นไปแห่งรูปในที่ทั้งปวงที่เป็นไป ย่อมปรากฏ

สุทธัฏฐกะที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน โดยที่เป็นไปกับปฏิสนธิจิต ในฐีติขณะ

แห่งปฏิสนธิจิต. จำเดิมแต่ภวังคจิตดวงแรก ย่อมปรากฏสุทธัฏฐกะที่มีจิต

เป็นสมุฏฐาน. รูปขันธ์ ๒๖ ด้วยสามารถแห่งสุทธัฏฐกะที่มีอาหารเป็น

สมุฏฐานอย่างนี้ คือสุทธัฏฐกะที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานของเหล่าสัตว์ผู้อาศัย

กวฬิงการาหารเป็นอยู่ ซึ่งเป็นสัททนวกะโดยอุตุและจิต ในกาลที่เสียง

ปรากฏ และแห่งนวกะทั้งสองที่มีอุตุและจิตเป็นสมุฏฐาน และรูปขันธ์ ๗๐

ที่มีกรรมดังกล่าวแล้วเป็นสมุฏฐาน ซึ่งเกิดขึ้น ๓ ครั้ง ในจิตดวงหนึ่ง ๆ

รวมเป็นรูปขันธ์ ๙๖ และอรูปขันธ์ ๓ รวมเป็นธรรม ๙๙ พึงทราบว่า

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป ตามสมควรที่จะเกิดได้.

พึงมีคำถามในข้อนั้นว่า ก็ข้อว่า ปฏิสนธินามรูปย่อมมีเพราะ

วิญญาณเป็นปัจจัย นั้นจะรู้ได้อย่างไร ? รู้ได้โดยสูตรและโดยยุติ.

ก็โดยสูตร คือ:- ความที่เวทนาเป็นต้นมีวิญญาณเป็นปัจจัยโดยส่วน

มาก สำเร็จโดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไปตามจิต.

แต่โดยยุติคือ :-

ก็นามรูปย่อมสำเร็จด้วยรูปที่เกิดแต่จิต ที่เห็นได้ใน

ภพนี้วิญญาณเป็นปัจจัยแต่รูปแม้ที่เห็นไม่ได้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

นาม ในบทว่า นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ ได้กล่าวไว้แล้ว

นั่นแล. ก็ในที่นี้ รูปมี ๑๑ อย่าง คือ มหาภูตรูป ๔ วัตถุรูป ๖ และ

ชีวิตินทรีย์รูป ๑ โดยแน่นอน. ส่วนอายตนะมี ๖ คือ จักขายตนะ

โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และมนายตนะ. พึง

มีคำถามในข้อนั้นว่า ก็ข้อว่า นามรูปเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะนั้น จะรู้ได้

อย่างไร ? รู้ได้โดยภาวะในความเป็นนามรูป. ด้วยว่าอายตนะนั้น ๆ ย่อมมี

ในภาวะแห่งนานและรูปนั้น ๆ มิใช่มีโดยประการอื่นแล.

บทว่า สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส ความว่า :-

ผัสสะอย่างย่อมี ๖ เท่านั้น มีจักขุสัมผัสเป็นต้น

ผัสสะเหล่านั้นอย่างพิสดารมี ๓๒ เหมือนวิญญาณ.

บทว่า ผสฺสปจฺจยา เวทนา ความว่า :-

เวทนากล่าวโดยทวารมี ๖ เท่านั้น มีจักขุสัมผัสสชา

เวทนาเป็นต้น เวทนาเหล่านั้นกล่าวโดยประเภทในที่นี้

มี ๓๒.

บทว่า เวทนาปจฺจยา ตณฺหา ความว่า :-

ตัณหาท่านแสดงในที่นั้นมี ๖ โดยประเภทมีรูป

ตัณหาเป็นต้น ตัณหาแต่ละอย่างรู้กันว่ามี ๓ อย่าง โดย

อาการที่เป็นไปในตัณหานั้น คือผู้มีทุกข์ย่อมปรารถนาสุข

ผู้มีสุขย่อมปรารถนาสุขยิ่ง ๆ ขึ้น ส่วนอุเบกขาท่านกล่าวว่า

เป็นสุขแท้เพราะสงบ ฉะนั้นเวทนาทั้ง ๓ จงเป็นปัจจัยแก่

ตัณหา พระผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่จึงตรัสว่า เพราะเวทนา

เป็นปัจจัยจึงมีตัณหา แล.

บทว่า ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ ความว่า อุปาทาน ๔ คือ

กามุปาทาน, ทิฏฐุปาทาน, สีลัพพตุปาทาน, อัตตวาทุปาทาน. ในบทว่า

อุปาทานปจฺจยา ภโว นี้ ประสงค์เอากรรมภพ แต่อุปปัตติภพท่าน

กล่าวด้วยสามารถแห่งการยกบทขึ้นแสดง.

บทว่า ภวปจฺจยา ชาติ ความว่า เพราะกรรมภพเป็นปัจจัย

จึงปรากฏปฏิสนธิขันธ์ทั้งหลาย. หากจะมีคำถามในข้อนั้นว่า ก็ข้อว่า ภพ

เป็นปัจจัยแก่ชาติ นั้นจะรู้ได้อย่างไร ? รู้ได้โดยความปรากฏต่างกันมีเลว

และประณีตเป็นต้นแม้ในความบริบูรณ์ด้วยปัจจัยภายนอก.

ด้วยว่าความต่างกันมีเลวและประณีตเป็นต้นของเหล่า สัตว์ตั้งร้องคู่

ย่อมปรากฏแม้ในความบริบูรณ์ด้วยปัจจัยภายนอก มีบิดามารดา ความ

บริสุทธิ์เลือดและอาหารเป็นต้น. และความต่างกันนั้นไม่มีเหตุก็หามิได้

เพราะไม่มีในกาลทั้งปวงและแก่สัตว์ทั้งปวงเลย. มีเหตุอื่นจากกรรมภพ ก็

หามิได้ เพราะไม่มีเหตุอย่างอื่นในสันดานภายในของเหล่าสัตว์ผู้บังเกิดใน

ภพนั้น. ดังนั้นจึงชื่อว่า มีกรรมภพเป็นเหตุแท้ เพราะกรรมเป็นเหตุแห่ง

ความต่างกันมีเลวและประณีตเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลาย. ฉะนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต. เพราะ

ฉะนั้นพึงทราบข้อนี้ว่า ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ ดังนี้.

ในบทว่า ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า เพราะ

เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะและธรรมมีโสกะเป็นต้น ย่อมไม่มี. แต่เมื่อชาติมี

ชรามรณะ และธรรมมีโสกะเป็นต้นที่เนื่องด้วยชรามรณะเป็นต้น ของชน

พาลผู้อันทุกขธรรมกล่าวคือชรามรณะถูกต้องแล้วก็ตาม ที่ไม่เกี่ยวเนื่อง

ของชนพาลผู้อันทุกขธรรมนั้น ๆ ถูกต้องแล้วก็ตาม ย่อมมี. ฉะนั้น เพราะ

ชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ.

บทว่า สเมจฺจ อภิสเมจฺจ ธมฺมํ ความว่า ประกอบด้วยญาณ

แทงตลอดสัจจธรรม ๔.

ครั้นแสดงความเป็นไปแห่งปัจจยาการ ๑๒ บท อย่างนี้แล้ว บัดนี้

เพื่อจะแสดงความดับอวิชชาเป็นต้นด้วยสามารถแห่งวิวัฎฏะ พระสารีบุตร-

เถระจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อวิชฺชานิโรธา สงฺขารนิโรโธติ สเมจฺจ

อภิสเมจฺจ ธมฺมํ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวิชฺชานโรธา ความว่า เพราะดับ

อย่างไม่เกิดขึ้น คือ เพราะดับอย่างเป็นไปไม่ได้อีกแห่งอวิชชา.

บทว่า สงฺขารนิโรโธ ความว่า ย่อมมีความดับอย่างไม่เกิดขึ้น

แห่งสังขารทั้งหลาย. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็อย่างนี้.

บทว่า อิทํ ทุกฺขํ เป็นต้นมีนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล.

บทว่า อิเม ธมฺมา อภิญฺเญยฺยา ความว่า ธรรมอันเป็นไปใน

ภูมิ ๓ เหล่านั้น พึงทราบโดยสภาวะ ด้วยสามารถหยั่งรู้สภาวะและลักษณะ

หรือด้วยญาณอันยิ่ง โดยอาการอันงาม.

บทว่า ปริญฺเญยฺยา ความว่า พึงกำหนดรู้ด้วยสามารถหยั่งรู้

สามัญลักษณะ และด้วยสามารถสำเร็จกิจ.

บทว่า อิเม ธมฺมา ปหาตพฺพา ความว่า ธรรมที่เป็นไปในฝ่าย

สมุทัยเหล่านั้น พึงละด้วยองค์คุณนั้น ๆ.

บทว่า ภาเวตพฺพา ความว่า พึงเจริญ.

บทว่า สจฺฉิกาตพฺพา ความว่า พึงทำให้ประจักษ์ การทำให้แจ้ง

มี ๒ อย่าง คือ การทำให้แจ้งการได้เฉพาะ และการทำให้แจ้งโดยความ

เป็นอารมณ์.