ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 704

ด้วยประการดังนี้ เปลือกตา (หนังตา) ข้างล่าง ก็จะร่นลง

เบื้องล่าง เปลือกตา (หนังตา) ข้างบนก็จะเลิกขึ้นข้างบน โดยอำนาจ

การแผ่ขยายของวาโยธาตุ ที่เกิดแต่กิริยาของจิต. ไม่มีใครที่ชื่อว่าเปิด

(เปลือกตา) ด้วยเครื่องยนต์กลไก.

ต่อจากนั้นไป จักขุวิญญาณจะเกิดขึ้นให้สำเร็จทัสสนกิจ (การ

เห็น) ก็ความรู้ตัว ดังที่พรรณนามานี้ ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ

ในอธิการแห่งสัมปชัญญะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ในเรื่องสัมปชัญญะนี้ พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญ-

ญะ แม้ด้วยอำนาจเป็นมูลปริญญา (การกำหนดรู้ขั้นต้น) เป็นอาคัน-

ตุกะ (เป็นแขก) และเป็นตาวกาลิก (เป็นไปชั่วคราว). ก่อนอื่น

ควรทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจมูลปริญญา (ดังต่อไปนี้) :-

ภวังค์ (จิตอยู่ในภวังค์) ๑ อาวัชชนะ (การระลึก

ถึงอารมณ์ ) ๑ ทัสสนะ (การเห็นอารมณ์) ๑

สัมปฏิจฉนะ (การรับเอาอารมณ์) ๑ สันตีรณะ

(การพิจารณาอารมณ์) ๑ โวฏฐัพพะ (การตัดสิน

อารมณ์ ) ๑ ที่ ๗ คือ ชวนะ ๑.

หน้าที่ของจิตแต่ละขณะ

บรรดาจิตทั้ง ๗ นั้น ภวังค์ ให้กิจคือเป็นเหตุแห่งอุปปัตติภพ

สำเร็จเป็นไป. กิริยามโนธาตุ ครั้นยังภวังค์นั้นให้หมุนกลับ แล้วจะ

ให้อาวัชชนกิจสำเร็จอยู่ เพราะอาวัชชนกิจนั้นดับไป จักขุวิญญาณจะ

ให้ทัสสนกิจสำเร็จเป็นไป เพราะทัสสนกิจนั้นดับไป วิปากมโนธาตุ

จะให้สัมปฏิจฉนกิจสำเร็จเป็นไป เพราะสัมปฏิจฉนกิจนั้นดับไป มโน-

วิญญาณธาตุ ที่เป็นวิบาก จะให้สันตีรณกิจสำเร็จเป็นไป เพราะสัน-

ตีรณกิจ นั้นดับไป มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาจะให้โวฏฐัพพนกิจสำเร็จ

เป็นไป เพราะโวฏฐัพพนกิจนั้นดับไป ชวนะจะแล่นไป ๗ ครั้ง บรรดา

ชวนะ ทั้ง ๗ นั้น ถึงในชวนะแรก การแลตรง และการแลซ้ายแลขวา

ด้วยอำนาจความกำหนัด ความขัดเคือง และความหลงว่า นี้เป็นหญิง

นี้เป็นชาย จะไม่มี ในชวนะที่ ๒ ก็ดี ฯลฯ ในชวนะที่ ๗ ก็ดี (ก็จะ

ไม่มี ). แต่เมื่อวิถีจิตเหล่านี้แตกดับเป็นไปแล้ว ด้วยอำนาจจิตดวงแรก

จนถึงจิตดวงสุดท้าย เหมือนทหารในสนามรบ การแลตรงและการแล

ซ้ายแลขวา ด้วยอำนาจความกำหนัดเป็นต้นว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย

ก็จะมี. พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจเป็นมูลปริญญา ใน

อิริยาบถบรรพ นี้ ดังที่พรรณนามานี้ก่อน.

ก็เมื่อรูปปรากฏในจักษุทวารแล้ว ต่อจากภวังคจลนะ (ภวังค์

ไหว) ไป เมื่อวิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น เกิดขึ้นแล้วดับไปด้วยอำนาจ

ทำกิจของตนให้สำเร็จ ในที่สุด ชวนะก็จะเกิดขึ้น ชวนะนั้นจะเป็นเหมือน

ชายที่เป็นแขกของวิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นที่เกิดขึ้นก่อน (มาเยี่ยมถึง)

ประตู คือตา (จักขุทวาร) ที่เท่ากับเป็นเรือน แม้เมื่อวิถีจิตมีอาวัชชนะ

เป็นต้น ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่ลุ่มหลงในจักขุทวาร ที่เท่ากับเป็น

เรือนของอาวัชชนะเป็นต้น ชวนะนั้นจะกำหนัด จะขัดเคือง จะลุ่มหลง

ก็ไม่ถูก เหมือนกับชายที่เป็นแขก เข้าไปขออะไรบางอย่างที่เรือนคนอื่น

เมื่อเจ้าของบ้านนั่งนิ่ง จะทำการบังคับ ก็ไม่ถูกฉะนั้น พึงทราบอสัม-

โมหสัมปชัญญะ โดยเป็นเสมือนแขก ดังที่พรรณนามานี้.

อนึ่ง จิตมีโวฏฐัพพนะเป็นที่สุด ที่เกิดขึ้น ในจักขุทวารเหล่านี้ จะ

แตกดับไปในที่นั้น ๆ นั่นแหละพร้อมกับสัมปยุตตธรรม จะไม่ประจวบ

กันเลย เพราะฉะนั้น จิตนอกนี้ จึงเป็นไปชั่วคราวเท่านั้น.

ในข้อนั้น ผู้ศึกษาควรทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ โดยความเป็น

ไปชั่วคราวอย่างนี้ว่า ในเรือนหลังเดียวกัน เมื่อคนตายกันหมดแล้ว คน

คนเดียวที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งธรรมดาก็จะตายไปอีกในไม่ช้าเหมือนกัน ชื่อว่า

จะยังมีความร่าเริงในการฟ้อนและการร้องรำเป็นต้น ไม่ถูก ฉันใด

เมื่ออาวัชชนจิต เป็นต้น ที่สัมปยุตแล้วในทวารเดียวกัน แตกดับไป

ในที่นั้น ๆ นั่นเอง แม้ชวนจิตที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งก็จะมีการแตกดับไปเป็น

ธรรมดา ภายในไม่ช้าเหมือนกัน ชื่อว่าจะยังมีความร่าเริงอยู่ด้วยอำนาจ

ความกำหนด ความขัดเคือง และความลุ่มหลง ไม่ถูกแล้ว ฉันนั้น

เหมือนกัน.

เออก็ อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะนี้ โดยการ

พิจารณาขันธ์ อายตนะ ธาตุ และปัจจัย ( ดังต่อไปนี้ ) :-

อธิบายว่า ในคำว่าขันธ์เป็นต้นนี้ ทั้งจักษุทั้งรูป ชื่อว่ารูปขันธ์

การเห็น ชื่อว่าวิญญาณขันธ์ การเสวยอารมณ์ที่สัมปยุตด้วยวิญญาณขันธ์

นั้น ชื่อว่าเวทนาขันธ์ ความจำได้หมายรู้ ชื่อว่าสัญญาขันธ์ ธรรมมี

ผัสสะเป็นต้น ชื่อว่าสังขารขันธ์ ในเพราะขันธ์เหล่านี้มาประจวบกันเข้า

การแลตรง และการแลซ้ายแลขวาจึงปรากฏ. เมื่อการแลตรง และ

การแลซ้ายแลขวาปรากฏอยู่ด้วยอำนาจเบญจขันธ์นั้น ( แล้วจะมี ) ใคร

สักคนมาแลตรง จะมีใครสักคนมาแลขวาเล่า.

อีกประการหนึ่ง จักษุ ชื่อว่าจักขวายตนะ รูป ชื่อว่ารูปายตนะ

การเห็น ชื่อว่ามนายตนะ สัมปยุตตธรรมทั้งหลาย มีเวทนาเป็นต้น

ชื่อว่าธรรมายตนะ ในเพราะอายตนะ ๔ เหล่านั้นมาประจวบกันอย่างนี้

นั่นแหละ การแลตรง และการแลซ้ายแลขวาจึงปรากฏ. เมื่อการแลตรง

และการแลซ้ายแลขวาปรากฏด้วยอำนาจอายตนะ ๔ อยู่นั้น แล้วจะมีใคร

สักคนมาแลทรง จะมีใครสักคนมาแลซ้ายแลขวาเล่า. อีกประการหนึ่ง จักษุ

ชื่อว่าจักขุธาตุ รูป ชื่อว่ารูปธาตุ การเห็น ชื่อว่าจักขุวิญญาณธาตุ

เวทนาเป็นต้นที่สัมปยุตด้วยจักษุวิญญาณธาตุนั้น ชื่อว่าธรรมธาตุ ใน

เพราะธาตุ ๘ เหล่านี้มาประจวบกันอย่างนี้ การแลตรง และการแลซ้าย

แลขวาจึงปรากฏ เมื่อการแลตรง และการแลซ้ายแลขวาปรากฏด้วยอำนาจ

ธาตุ ๔ อยู่นั้น แล้วจะมีใครสักคนมาแลตรง จะมีใครสักคนมาแลซ้าย

แลขวา.

อีกประการหนึ่ง จักษุเป็นนิสสยปัจจัย รูปเป็นอารัมมณปัจจัย

อาวัชชนะเป็นอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อุปนิสสัยปัจจัย นัตถิ-

ปัจจัย และวิคตปัจจัย อาโลกะ (แสงสว่าง ) เป็นอุปนิสสยปัจจัย

เวทนาเป็นต้น เป็นสหชาตปัจจัย. ในเพราะปัจจัยเหล่านั้นประจวบกัน

อย่างนั้น การแลตรง และการแลซ้ายแลขวาจึงปรากฏ เมื่อการแลตรง

และการแลซ้ายแลขวาปรากฏด้วยอำนาจปัจจัยอยู่นั้น แล้วจะมีใครสักคน

มาแลตรง จะมีใครสักคนมาแลซ้ายแลขวาเล่า. พึงทราบอสัมโมหสัมป-

ชัญญะ แม้โดยการพิจารณาขันธ์ อายตนะ ธาตุ และปัจจัย ในการแลตรง

และแลซ้ายแลขวานี้ ดังที่พรรณนามานี้แล.

บทว่า สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต ได้แก่ในการคู้เข้าและเหยียดข้อพับ

(ศอก, เข่า) ออกไป.

บรรดาสัมปชัญญะทั้ง ๔ นั้น การไม่ทำการคู้เข้าและการเหยียด

ออกไปด้วยอำนาจจิต (ความคิด) อย่างเดียว แต่พิเคราะห์ดูผลได้ผลเสีย

เพราะมีการคู้เข้าและเหยียดมือหรือเท้าออกไปเป็นปัจจัยแล้ว เลือกเอาแต่

ประโยชน์ ชื่อว่าสาตถกสัมปชัญญะ ในการคู้เข้าและเหยียดออกไปนั้น

พึงทราบการพิเคราะห์ถึงผลเสียอย่างนี้ว่า เมื่อเธอคู้มือหรือเท้าเข้ามาวางไว้

นาน ๆ หรือเหยียดมือหรือเท้าออกไปวางไว้นาน ๆ เวทนาจะเกิดขึ้นทุก ๆ

ครั้ง. จิตก็จะไม่ได้อารมณ์เลิศอันเดียว (ไม่เป็นสมาธิ) กรรมฐานก็จะล้ม

เหลว เธอจะไม่ได้บรรลุคุณวิเศษ. แต่เมื่อคู้เข้าพอเหมาะเหยียดออกไป

พอดี เวทนาจะไม่เกิดขึ้น (เลย) จิตจะเป็นเอกัคคตา กรรมฐานก็จะ

ถึงความเจริญ เธอจะได้บรรลุคุณวิเศษ.

ส่วนการที่เมื่อปัจจัยแม้มีอยู่ พระโยคาวจรยังพิเคราะห์สถานที่ ๆ

เป็นสัปปายะและไม่เป็นสัปปายะ แล้วเลือกเอาสถานที่ ๆ เป็นสัปปายะ

ชื่อว่าสัปปายสัมปชัญญะ. ในสัปปายสัมปชัญญะ มีนัยดังต่อไปนี้ :-

ทราบมาว่า ภิกษุหนุ่ม ๆ พากันสวดมนต์ที่ลานพระเจดีย์ใหญ่ เบื้อง

หลังของภิกษุเหล่านั้น ภิกษุณีสาว ๆ กำลังฟังธรรมกัน. ในจำนวนภิกษุ

เหล่านั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งเหยียดมือออกไปถูกกายภิกษุณี แล้วได้

กลายเป็นคฤหัสถ์ไปเพราะเหตุนั้นนั่นเอง. ภิกษุอีกรูปหนึ่งเมื่อเหยียดเท้า

ออกไป ได้เหยียดไปที่ไฟ ไฟไหม้เท้าถึงกระดูก. อีกรูปหนึ่ง

เหยียดไปที่จอมปลวก ท่านถูกงูพิษกัด. อีกรูปหนึ่งเหยียดไปที่ด้ามกลด

งูเห่าปี่แก้วกัดท่าน. เพราะฉะนั้น ( เมื่อจะเหยียดเท้า ) ก็อย่าเหยียด

ไปในที่ที่ไม่เป็นสัปปายะเช่นนี้ ควรเหยียดไปในที่ที่เป็นสัปปายะ. นี้เป็น

สัปปายสัมปชัญญะ ในอิริยาปถบรรพนี้ ส่วนโคจรสัมปชัญญะ ควร

แสดงด้วยเรื่องพระมหาเถระ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 395

บทว่า อุทฺธํ โอโลเกนฺโต แลดูข้างบน คือแหงนหน้ามองดูเบื้องบน. บทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา

เห็นรูปด้วยจักษุ คือเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณอันสามารถเห็นรูป ที่เรียกว่าจักษุด้วยอำนาจของเหตุ.

แต่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า จักษุไม่เห็นรูป เพราะไม่มีจิตจิตไม่เห็นรูป เพราะไม่มีจักษุ

ย่อมเห็นด้วยจิตอันมีปสาทจักษุกระทบอารมณ์ทางทวาร. ก็กถาเช่นนี้ชื่อว่าสสัมภารกถา (กล่าวรวมกัน )

ดุจในประโยคมีอาทิว่า ยิงด้วยธนูเพราะฉะนั้น ความในข้อนี้จึงมีว่า เห็นรูป

ด้วยจักษุวิญญาณ. บทว่า นิมิตฺตคฺคาหี เป็นผู้ถือนิมิต คือถือนิมิตหญิง

และชาย หรือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส มีสุภนิมิตเป็นต้นด้วยอำนาจ

ฉันทราคะ. เพียงเห็นเท่านั้นนิมิตไม่ปรากฏ. บทว่า อนุพฺยญฺชนคฺคาหี

ถืออนุพยัญชนะ คือถืออากาหันต่างด้วยมือ เท้า หัวเราะ ขบขัน พูด

ชำเลืองดูและการเหลียวดูเป็นต้น เรียกว่าอนุพยัญชนะเพราะทำให้ปรากฏ

โดยเป็นเหตุให้กิเลสทั้งหลายปรากฏ. พึงทราบความในบทว่า ยตฺวาธิ-

กรณเมนํ เป็นต้น ดังต่อไปนี้. ธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้

พึงครอบงำติดตามบุคคลนั้นผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ด้วยประตูคือสติ ผู้ไม่ปิด

จักษุทวารอันเป็นเหตุแห่งการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ บทว่า ตสฺส สํรราย

น ปฏิปชฺชติ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ คือย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อ

ปิดจักขุนทรีย์นั้นด้วยประตูคือสติ. ท่านกล่าวว่า ภิกษุเป็นอย่างนี้ ชื่อว่า

ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์บ้าง. ในบทนั้น

การสำรวมหรือไม่สำรวม ย่อมไม่มีในจักขุนทรีย์โดยแท้. เพราะสติหรือ

การหลงลืมย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย จักษุประสาท อีกอย่างหนึ่ง เมื่อใด

รูปารมณ์มาสู่คลองจักษุ เมื่อนั้นเมื่อภวังคจิตเกิดขึ้นแล้วดับไปสองครั้ง

กิริยามโนธาตุยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จ เกิดขึ้นแล้วดับไป. แต่นั้นจักษุ-

วิญญาณก็ทำหน้าที่เห็น. แต่นั้นวิปากมโนธาตุ ทำหน้าที่รับ. แต่นั้น

วิปากอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ทำหน้าที่พิจารณา. แต่นั้นกิริยาอเหตุก-

มโนวิญญาณธาตุยังโวฏฐัพพกิจให้สำเร็จ เกิดขึ้นแล้วดับไป. ในลำดับนั้น

ชวนจิตย่อมแล่นไป. ความไม่สำรวมหรือความสำรวมย่อมไม่มีในสมัย

แห่งภวังคจิตแม้นั้น ย่อมไม่มีในสมัยใดสมัยหนึ่ง บรรดาอาวัชชนจิตเป็น

ต้น. ก็ในขณะชวนะจิต หากว่า ความเป็นผู้ทุศีล ความหลงลืม ความไม่รู้

ความไม่อดทน หรือความเกียจคร้านเกิดขึ้น ความไม่สำรวมย่อมมี. ภิกษุ

เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็นผู้ไม่สำรวมในจักขุนทรีย์. เพราะเหตุ

ไร. เพราะเมื่อไม่มีการสำรวมในจักขุนทรีย์มีอยู่ แม้ทวารก็ไม่เป็นอัน

คุ้มครอง แม้ภวังคจิต แม้วิถีจิต มีอาวัชชนะเป็นต้น ก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง

เหมือนอะไร. เหมือนเมื่อประตู ๔ ด้านในนครไม่ปิด แม้จะปิดประตู

เรือนซุ้มและห้องเป็นต้นข้างในก็ตาม ถึงดังนั้นก็ไม่เป็นอันรักษาคุ้มครอง

ทรัพย์ทั้งหมดภายในนครนั่นเอง โจรทั้งหลายเข้าไปทางประตูนคร พึง

ทำตามความต้องการฉันใด เมื่อความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้น เกิดขึ้นในชวนะจิต

เมื่อไม่มีการสำรวมนั้น แม้ทวารก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง แม้ภวังคจิต แม้วิถี

จิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็ไม่เป็นอันคุ้มครองฉันนั้นนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 398

บทว่า น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ ภิกษุไม่ถือนิมิต คือไม่ถือนิมิตดังที่

กล่าวแล้วด้วยอำนาจฉันทราคะ. แม้บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม

กับที่กล่าวแล้ว. อนึ่ง ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังว่า เมื่อความเป็นผู้ทุศีล

เกิดขึ้นแล้วในชวนะจิต เมื่อไม่มีความสำรวม แม้ทวารก็เป็นอันคุ้มครอง

ไม่ได้ แม้ภวังคจิต แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็คุ้มครองไม่ได้ฉันใด

ในที่นี้ก็ฉันนั้น เมื่อศีลเกิดขึ้นแล้วในภิกษุนั้น แม้ทวารก็เป็นอันคุ้มครอง

ได้ แม้ภวังคจิตก็เป็นอันคุ้มครองได้ แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นก็คุ้ม-

ครองได้. เหมือนอะไร. เหมือนเมื่อปิดประตูนครแล้ว แม้ภายในเรือน

เป็นต้น ไม่ได้ปิดก็จริง ถึงดังนั้นทรัพย์สินทั้งหมดในภายในนครก็เป็น

อันรักษาดีแล้ว คุ้มครองดีแล้วนั่นเอง เมื่อประตูนครปิดแล้ว โจรทั้ง

หลายก็เข้าไปไม่ได้ฉันใด เมื่อศีลเป็นต้นเกิดแล้วในชวนะจิต แม้ทวารก็

เป็นอันคุ้มครองได้ แม้ภวังคจิตก็คุ้มครองได้ แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น

ก็คุ้มครองได้. เพราะฉะนั้น ความสำรวมแม้เกิดขึ้นในขณะแห่งชวนะจิต

ท่านก็กล่าวว่า เป็นความสำรวมในจักขุนทรีย์. ต่อจากนี้ทั้งข้างหลังข้าง

หน้าพึงทราบความโดยปริยายที่ท่านกล่าวแล้ว. บทว่า วิสูกทสฺสนา คือ

การดูสิ่งอันเป็นข้าศึกแก่กุศล.