ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

สีลสูตร

การหลีกออก ๒ วิธี

[๓๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล้าใดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณหัสสนะ การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี การได้ฟัง

ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุเหล่า

นั้นก็ดี แต่ละอย่าง ๆ เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะ

ว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย ๒ วิธี คือ

หลีกออกด้วยกาย ๒ หลีกออกด้วยจิต ๑ เธอหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระ

ลึกถึง ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น.

[๓๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว

ย่อมระลึกถึง ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุ

ปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อม

ถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา ถึง

ความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.

[๓๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ย้อม

เลือกเฟ้น ตรวจตรา ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น

ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรม

วิจยสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ขอภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์

เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียร

อันไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว.

[๓๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา

พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภ

แล้ว สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญ

วิริยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ปีติที่

ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.

[๓๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่

ภิกษุ ผู้ปรารภความเพียร สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว

ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความ

เจริญบริบูรณ์ กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ.

[๓๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้

มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชณงค์เป็นอัน

ภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัม-

โพชฌงค์ของภิกษุ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว

มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.

[๓๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว

มีความสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว

ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึง

ความเจริญบริบูรณ์ เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมันแล้วอย่างนั้นด้วยดี.

[๓๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพิงดูจิตที่

ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นด้วยดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภ

แล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุ

ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

[๓๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว

อย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้

ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน.

[๓๘๒] คือ (๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน (๒)

ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ที่นั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย (๓) ถ้าในปัจจุบัน

ก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม้ได้บรรลุ ที่นั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้

อันตราปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๔) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่

ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตรา-

ปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามี

ผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๕) ถ้าในปัจจุบัน

ก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้

อัตราปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ทีนั้น

จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๖) ถ้าในปัจจุบันก็ไม้ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็น

พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี

พระไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามี

สสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๗) ถ้าในปัจจุบันก็

ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตรา-

ปรินิพพายี ไม้ได้เป็นพกะอนาคามีผู้อุปหัจปรินิพพายี ไม้ได้เป็นพระอนาคามี

ผู้อสังขารปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ทีนั้น

จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕

สิ้นไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำ

ให้มากแล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ อันเธอพึงหวังได้.

จบสีลสูตรที่ ๓

อรรถกถาสีลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสีลสูตรที่ ๓.

ในบทว่า สีลสมฺปนฺนา นี้ ท่านถือเอาโลกิยศีลและโลกุตรศีลของ

ภิกษุผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว. อธิบายว่า พวกภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลนั้น. แม้

ในสมาธิและปัญญาก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ส่วนความหลุดพ้น เป็นผลวิมุตติ

เท่านั้น. วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นปัจจเวกขณญาณ. ในข้อนี้ ธรรมมีศีล

เป็นต้น เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระอย่างนี้ วิมุตติเป็นโลกุตระ วิมุตติญาณ

ทัสสนะเป็นโลกิยะเท่านั้น.

บทว่า ทสฺสนมฺปหํ ตัดบทเป็น ทสฺสนํปิ อหํ ก็การได้เห็นนี้นั้น

มี ๒ อย่างคือ การเห็นด้วยจักษุ ๑ เห็นด้วยญาณ ๑. ในการได้เห็น ๒ อย่าง

นั้น การได้เห็นคือการได้แลดูพระอริยะทั้งหลายด้วยจักษุ อันเลื่อมใส

ชื่อว่า การได้เห็นด้วยจักษุ. ส่วนการได้เห็นลักษณะอันพระอริยะเห็นแล้ว

และการแทงตลอดลักษณะอันพระอริยะแทงตลอดแล้ว ด้วยฌาน ด้วย

วิปัสสนา หรือด้วยมรรคและผล คือว่า การได้เห็นด้วยญาณ. แต่ในการ

ได้เห็น ๒ อย่างนี้ การได้เห็นด้วยจักษุ ประสงค์เอาในที่นี้. เพราะว่า แม้

การได้แลดูพระอริยะด้วยจักษุอันเลื่อมใส มีอุปการะมากทีเดียว. บทว่า สวนํ

ได้แก่ การได้ฟังด้วยหู ต่อบุคคลทั้งหลายผู้กล่าวอยู่ว่า พระขีณาสพชื่อโน้น

ย่อมอยู่ในแว่นแคว้น ชนบท บ้าน นิคม วิหาร หรือในถ้ำชื่อโน้น การได้ฟัง

นั้นก็มีอุปการะมากเหมือนกัน. บทว่า อุปสงฺกมนํ ได้แก่ การเข้าไปหา

พระอริยะด้วยจิตเห็นปานนี้ว่า เราจักถวายทาน หรือจักถามปัญหา เราจัก

ฟังธรรมหรือเราจักทำสักการะ. บทว่า ปยิรูปาสนํ ได้แก่ การเข้าไปนั่ง

ใกล้เพื่อจะถาม. อธิบายว่า การฟังคุณของพระอริยะ เข้าไปหาพระอริยะ

เหล่านั้น นิมนต์ ถวายทาน ถามปัญหาโดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

อะไรเป็นกุศล ดังนี้.

บทว่า อนุสฺสตึ ได้แก่ การระลึกถึงภิกษุผู้นั่งอยู่ในที่พักกลางคืน

และที่พักกลางวันว่า บัดนี้ พระอริยะทั้งหลายให้เวลาล่วงไปอยู่ด้วยความสุข

เกิดแต่ฌาน วิปัสสนามรรคและผล ในที่มีที่เร้น ถ้ำ และมณฑปเป็นต้น

อนึ่ง โอวาทใดอันเราได้แล้วในสำนักของพระอริยะเหล่านั้น การจำแนก

โอวาทนนั้นแล้วระลึกถึงอย่างนี้ว่า ในที่นี้ท่านกล่าวถึงศีล ในที่นี้ท่านกล่าวถึง

สมาธิ ในที่นี้ท่านกล่าวถึงวิปัสสนา ในที่นี้ท่านกล่าวถึงมรรค ในที่นี้ท่าน

กล่าวถึงผล. บทว่า อนุปพฺพชฺชํ ได้แก่ การยังจิตให้เลื่อมใสในพระอริยะ

แล้วออกจากเรือนบวชในสำนักของพระอริยะเหล่านั้น. อนึ่ง การบวชแม้ของ

บุคคลผู้ยังจิตให้เลื่อมใสในสำนักของพระอริยะ บวชในสำนักของท่านเหล่านั้น

หวังประพฤติตามโอวาทานุสาสนีของท่าน ชื่อว่า การบวชตาม. การบวชของ

บุคคลผู้หวังประพฤติตามโอวาทานุสาสนี ในสำนักคนเหล่าอื่นก็ดี ของบุคคล

ผู้บวชในที่อื่นด้วยความเลื่อมใสในพระอริยะ หวังประพฤติตามโอวาทานุสาสนี

ในสำนักของพระอริยะก็ดี ชื่อว่า การบวชตาม. ส่วนการบวชของคนผู้บวช

ในสำนักของเจ้าลัทธิอื่นด้วยความเลื่อมใสในเจ้าลัทธิอื่น หวังประพฤติตาม

โอวาทานุสาสนีของเจ้าลัทธิอื่น ไม่ชื่อว่า บวชตาม.

ก็ในบรรพชิตทั้งหลาย บรรพชิตที่บวชตามพระมหากัสสปเถระ

อย่างนี้ คราวแรกได้มีประมาณแสนรูป. และที่บวชตามพระจันทคุตตเถระ

ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระเถระนั้น ก็มีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน. พระสุริย-

คุตตเถระผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระจันทคุตตเถระนั้นก็ดี พระอัสสคุตต

เถระผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระสูริยคุตตเถระนั้นก็ดี พระโยนกธรรมรักขิต

เถระผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระอัสสคุตตเถระนั้นก็ดี ก็ได้มีประมาณเท่านั้น

เหมือนกัน. ส่วนพระอนุชาของพระเจ้าอโศกผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระ

โยนกกรรมรักขิตเถระ ชื่อว่า ติสสเถระ บรรพชิตบวชตามพระติสสเถระ

นั้นนับได้สองโกฏิครึ่ง. พวกบวชตามพระมหินทเถระกำหนดนับไม่ได้.

เมื่อคนบวชด้วยความเสื่อมใสในพระศาสดาในเกาะลังกาจนถึงวันนี้ ก็ชื่อว่า

บวชตามพระมหินทเถระเหมือนกัน

บทว่า ตํ ธมฺมํ ได้แก่ ซึ่งธรรมคือโอวาทานีสาสนีของท่านเหล่านั้น.

บทว่า อนุสฺสรติ แปลว่า ย่อมระลึก. บทว่า อนุวิตกฺเกติ ได้แก่ ทำให้

วิตกนำไป. บทว่า อารทฺโธ โหติ ได้แก่ บริบูรณ์ คำเป็นต้นว่า ปวิจินติ

ทั้งหมดท่านกล่าวด้วยอำนาจการเที่ยวไปด้วยญาณในธรรมนั้น. อีกอย่างหนึ่ง

บทว่า ปวิจินติ ได้แก่ เลือกเฟ้นลักษณะแห่งธรรมเหล่านั้น ๆ บทว่า

ปวิจรติ ได้แก่ ยังญาณให้เที่ยวไปในธรรมนั้น. บทว่า ปริวีมํสมาปชฺชติ

ได้แก่ ย่อมถึงความพิจารณา ตรวจดู ค้นคว้า.

บทว่า สตฺต ผลานิ สตฺตวนิสํสา นั้น โดยใจความเป็นอย่าง.

เดียวกัน. บทว่า ทิฎฺเฐว ธมฺเม ปฎิจฺจ อญฺญํ อาราเธติ ได้แก่ เมื่อ

บรรลุอรหัตผล ก็ได้บรรลุในอัตภาพนี้แล. และย่อมบรรลุอรหัตผลนั้นแล

ก่อน อธิบายว่า เมื่อบรรลุไม่ได้ ก็จะบรรลุในมรณกาล บทว่า อถ

มรณกาเล ได้แก่ ย้อมบรรลุอรหัตผลในเวลาใกล้จะตาย

บทว่า อนฺตราปรินิพฺพายี ความว่า อันตราปรินิพพายีใด อายุ

ยังไม่ถึงกลางคน ปรินิพพานเสียก้อน อันตราปรินิพพายีนนั้น มีสามอย่าง คือ

ผู้หนึ่งเกิดในชั้นอวิหามีอายุพันกัป จะบรรลุพระอรหัตผล ครั้งแรกในวันที่ตน

เกิดนั่นเอง. ถ้าไม่บรรลุในวันที่ตนเกิด ก็จะบรรลุในที่สุดแห้งร้อยกัปต้น

นี้เป็นอันตราปรินิพพายีที่หนึ่ง อีกหนึ่ง เมื่อไม่อาจอย่างนี้ จะบรรลุในที่สุดแห้ง

สองร้อยกัปนี้เป็นอันตราปรินิพพายีที่สอง อีกหนึ่ง เมื่อไม้อาจอย่างนี้ จะบรรลุ

ในที่สุดแห้งสี่ร้อยกัป นี้เป็นอันตราปรินิพพายีที่สาม ก็พ้นร้อยกัปที่ห้าบรรลุ

อรหัตผลชื่อว่าอปหัจจปรินิพพายี แม้ในชั้นอตัปปา ก็มีนัยนี้เหมือนกัน

ก็เขาเกิดในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง บรรลุอรหัตผลแล้ว ด้วยการประกอบร่วมกันมี

ปัจจัยปรุงแต่ง ชื่อว่า สสังขารปรินิพพายี. บรรลุอรหัตผลแล้ว ด้วยการ

ไม่ประกอบทั้งไม้มีปัจจัยปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี. ผู้เกิดแม้ใน

ชั้นอวิหาเป็นต้น ดำรงอยู่ในชั้นนั้นตลอดอายุแล้ว เกิดในชั้นสูง ๆ ขึ้นไป

ถึงอกนิฏฐพรหม ชื่อว่า อุทธังโสโตอกนิฎฐคามี.

ส่วนอนาคามี ๔๘ ควรกล่าวไว้ในที่นี้ด้วย ก็ในชั้นอวิหา อันตรา-

ปรินิพพายีมีสาม อุปหัจจปรินิพพายีมีหนึ่ง อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีมีหนึ่ง

รวมเป็น ๕ อสังขารปรินิพพายีเหล่านั้น ๕ สสังขารปรินิพพายี ๕ รวมเป็น ๑๐.

ในชั้นอตัปปาเป็นต้นก็อย่างนั้น ส่วนในชั้นอกนิฏฐพรหม ไม่มีอุทธังโสโต.

เพราะฉะนั้น ในชั้นอกนิฏฐพรหมนั้น มีสสังขารปรินิพพายี ๔ มีอสังขาร

ปรินิพพายี ๔ รวมเป็น ๘ รวมอนาคามีได้ ๔๘ ด้วยประการฉะนี้ บรรดา

อนาคามีเหล่านั้น อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีย่อมเป็นผู้ใหญ่กว่าเขาทั้งหมด

และเป็นผู้น้อยกว่าเขาทั้งหมด ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า ก็เขาชื่อว่า

ผู้ใหญ่กว่าอนาคามีทั้งปวงด้วยอายุ เพราะมีอายุหนึ่งหมื่นหกพันกัป. ชื่อว่า

ผู้น้อยกว่าอนาคามีทั้งปวง เพราะบรรลุอรหัตผลภายหลังกว่าเขาทั้งหมด. ใน

สูตรนี้ ท่านกล่าวโพชฌงค์อันเป็นบุพภาควิปัสสนาแห่งอรหัตมรรค ซึ่งมี

ลักษณะต่าง ๆ อันเป็นไปในขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง ไม่ก่อน ไม่หลัง.

จบอรรถกถาสีลสูตรที่ ๓