ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 349

สาฬหสูตร

ว่าด้วยมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง

[๕๐๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระนันทกะ อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขา

มิคารมาตา ในปุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล นายสาฬหะ

หลานชายของมิคารเศรษฐี กับนายโรหนะหลานชายของเปขุณิยเศรษฐี ได้

ชวนกันเข้าไปหาท่านพระนันทกะจนถึงที่อยู่ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระนันทกะได้กล่าวว่า ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ

มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา...

อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา ดูก่อนสาพหะและ

โรหนะ เมื่อใด ท่านพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้

มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้น ท่าน

ทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะ

สำคัญความในข้อนั้นเป็นไฉน ความโลภมีอยู่หรือ นายสาฬหะและนายโรหนะ

รับรองว่ามี ขอรับ.

น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า อภิชฌาบุคคล

ผู้โลภ มากด้วยความอยากได้นี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้

พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์

สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โลภย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้

สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ

น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน ความโกรธมีอยู่หรือ

สา. มี ขอรับ

น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า ความพยาบาท

บุคคลผู้ดุร้ายมีจิตพยาบาทนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้

พูดเท็จก็ได้ ส่งิ ใดย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ สิ้น-

กาลนาน บุคคลผู้โกรธย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ก็ได้

สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ

น. ดูก่อนสาพหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน ความหลงมีอยู่หรือ

สา. มี ขอรับ

น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า อวิชชา บุคคล

ผู้หลงตกอยู่ในอำนาจอวิชชานี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้

พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ สิ้น

กาลนาน บุคคลผู้หลงย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้

สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ

น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน ธรรมเหล่านี้ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล

สา. เป็นอกุศล ขอรับ

น. มีโทษหรือไม่มีโทษ

สา. มีโทษ ขอรับ

น. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ

สา. ท่านผู้รู้ติเตียน ขอรับ

น. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อส่งไม่เป็นประโยชน์

เกื้อกูล เพื่อทุกข์หรือหาไม่ ในข้อนี้ ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร

สา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์

เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ในข้อนี้ ผมมีความเห็นอย่างนี้

น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูก่อนสาฬหะ

และโรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยิน

ได้ฟังมา... อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด

ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ

ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ผู้ใดสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อม

เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย

ควรละธรรมเหล่านี้เสีย ดังนี้ เพราะอาศัยคำที่ได้กล่าวไว้แล้ว ฉะนั้น เราจึง

ได้กล่าวไว้ดังนี้ ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย

อย่ายึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา... อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่า

สมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้

เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้

ผู้ใดสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ

ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความไม่โลภมีอยู่หรือ

สา. มี ขอรับ

น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า อนภิชฌาบุคคล

ผู้ไม่โลภไม่มากด้วยความอยากได้นี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้

ไม่พูดเท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน

บุคคลผู้ไม่โลภย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น

สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ

น. ดูก่อนสาพหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน ความไม่โกรธมีอยู่หรือ

สา. มี ขอรับ

น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่าความไม่พยาบาท

บุคคลผู้ไม่โกรธมีจิตใจไม่พยาบาทนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้

ไม่พูดเท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน

บุคคลผู้ไม่โกรธย่อมชักซวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น

สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ

น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน ความไม่หลงมีอยู่หรือ

สา. มี ขอรับ

น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า วิชชา บุคคล

ผู้ไม่หลงถึงความรู้แจ้งนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ

สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้

ไม่หลง ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น

สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ.

น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล.

สา. เป็นกุศล ขอรับ.

น. มีโทษหรือไม่มีโทษ.

สา. ไม่มีโทษ ขอรับ.

น. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ.

สา. ท่านผู้รู้สรรเสริญ ขอรับ.

น. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล

เพื่อความสุข หรือไม่เล่า ในข้อนี้ ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร.

สา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล

เพื่อความสุข ขอรับ ในข้อนี้ ผมมีความเห็นเช่นนี้.

น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูก่อนสาฬหะ

และโรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยิน

ได้ฟังมา อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบ ๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า

เขาว่าอย่างนี้ อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง

อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเนอย่าได้ยึดถือโดยความตรึกตามอาการอย่าได้ยึดถือ

โดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฏฐิของตัว อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะ

เชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่าน

ทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ

ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ผู้ใดสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อม

เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรม

เหล่านั้นอยู่ ดังนี้ เพราะอาศัยคำที่กล่าวไว้แล้วนั้น ฉะนั้น เราจึงได้กล่าว

ไว้ดังนี้ ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ อริยสาวกนั้นปราศจากความโลภ ปราศจาก

ความพยาบาท ไม่หลงแล้วอย่างนี้ มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีใจประกอบ

ด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน

ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกเหล่า

ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่

หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา...

มีใจประกอบด้วยมุทิตา... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่

ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง

เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอัน

ประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร

ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ขันธ์ ๕ นี้มีอยู่

ธรรมชาติชนิดทรามมีอยู่ ธรรมชาติชนิดประณีตมีอยู่ การที่สัญญานี้สลัด

สังขารทุกข์เสียได้อย่างสูงมีอยู่ เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จาก

การมาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณ

หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่

ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนเรามีโลภะ ข้อนั้นเป็นการไม่ดี บัดนี้ โลภะนั้นไม่มี ความไม่มีโลภะ

เป็นความดี เมื่อก่อนเรามีโทสะ... เมื่อก่อนเรามีโมหะ ข้อนั้นเป็นการไม่ดี

บัดนี้ โมหะนั้นไม่มี ความไม่มีโมหะนั้นเป็นความดี เธอย่อมเป็นผู้ไม่มี

ความทะยานอยาก ดับสนิท เยือกเย็น เสวยสุข มีตนเป็นประหนึ่งพรหม

อยู่ในปัจจุบัน.

จบสาฬหสูตรที่ ๖

อรรถกถาสาฬหสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสาฬหสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มิคารนตฺตา แปลว่า เป็นหลานของมิคารเศรษฐี. บทว่า

เขณิยนตฺตา๑ แปลว่า เป็นหลานของเขณิยเศรษฐี. บทว่า อุปสงฺกมึสุ

ความว่า หลานทั้งสอง รับประทานอาหารเช้าแล้ว มีทาสและกรรมกรห้อมล้อม

เข้าไปหาแล้ว. ได้ยินว่า เวลาเช้า ก่อนอาหาร ที่เรือนของหลานเศรษฐี

ทั้งสองนั้น ตั้งปัญหาข้อหนึ่ง แต่ไม่มีโอกาสที่จะแก้ปัญหานั้นได้. เขาทั้งสอง

คิดว่า เราจักฟังปัญหานั้น จึงไปยังสำนักของพระเถระไหว้แล้ว นั่งดุษณี-

ภาพอยู่.

พระเถระรู้ใจของเขาเหล่านั้นว่า เขาจักมาพึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้าน

นั้น๒ ดังนี้แล้ว เมื่อจะเริ่มพูดกันถึงปัญหานั้นแหละ๓ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

เอถ ตุมฺเห สาฬฺหา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ โลโภ

ความว่า พระนันทกเถระ ถามว่า ชื่อว่า ความโลภ มีความอยากได้เป็น

สภาพ มีอยู่หรือ. บทว่า อภิชฺฌาติ โข อหํ สาฬฺหา เอตมตฺถํ วทามิ

ความว่า พระนันทกเถระ เมื่อจะแสดงความแห่งปัญหาที่ตั้งขึ้น จึงกล่าวว่า

เรากล่าวความข้อนี้ กล่าวคือความโลภ ว่าเป็นอภิชฌา ว่าเป็นตัณหา

ดังนี้. ควรนำนัยนี้ ไปใช้ในทุก ๆ วาระอย่างนี้.

บทว่า โส เอวํ ปชานาติ ความว่า พระอริยสาวกนั้น เจริญ-

พรหมวิหาร ๔ ดำรงอยู่แล้ว ออกจากสมาบัติแล้ว เมื่อเริ่มวิปัสสนา ย่อมรู้ชัด

๑. บาลีเป็น เปขุณิยนตฺตา ม. เสขุณิยตฺตา

๒. ปาฐะว่า คามนฺตรสมุฏฺฐิต  ฉบับพม่าเป็น คาเม ตํ สมุฏฺฐิต  แปลตามฉบับพม่า.

๓. ปาฐะว่า ตเถว ฉบับพม่าเป็น ตเม บญฺหํ แปลตามฉบับพม่า.

อย่างนี้. บทว่า อตฺถิ อิทํ ความว่า พระอริยสาวกนี้ เมื่อกำหนดรู้ขันธ-

ปัญจก กล่าวคือทุกขสัจ ด้วยสามารถแห่งนามรูปว่า ทุกขสัจมีอยู่ ท่านเรียกว่า

รู้อย่างนี้ว่า สิ่งนี้มีอยู่. บทว่า หีนํ ได้แก่สมุทยสัจ. บทว่า ปณีตํ ได้แก่

มัคคสัจ. บทว่า อิมสฺส สญฺญาคตสฺส อุตฺตริ นิสฺสรณํ ความว่า

พระนันทกเถระ แสดงนิโรธสัจด้วยคำนี้ว่า ธรรมดาการแล่นออกไปอย่างยิ่ง

แห่งสัญญา กล่าวคือ วิปัสสนาสัญญานี้ ชื่อว่า นิพพาน นิพพานนั้นมีอยู่.

บทว่า วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺติมิติ ญาณํ ความว่า ปัจจเวกขณญาณ

๑๙ อย่าง ท่านกล่าวไว้แล้ว. บทว่า อหุ ปุพฺเพ โลโภ ความว่า

ความโลภของเราได้มีแล้วในกาลก่อน. บทว่า ตทหุ อกุสลํ ความว่า

นั้นได้ชื่อว่าเป็นอกุศล อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อกุศล ได้มีแล้วในกาลนั้น.

บทว่า อิจฺเจตํ กุสลํ ตัดบทเป็น อิติ เอตํ กุสลํ แปลว่า อย่างนี้เป็น

กุศล. พระนันทกเถระกล่าวหมายเอา ความไม่มีแห่งอกุศลนั่นแหละ ว่าเป็นกุศล

คือเป็นแดนเกษม.

บทว่า นิจฺฉาโต แปลว่า หมดตัณหา. บทว่า นิพฺพุโต ความว่า

ชื่อว่าดับแล้ว เพราะไม่มีกิเลสที่กระทำควานเร่าร้อนในภายใน. บทว่า สีติภูโต

แปลว่า เป็นผู้เยือกเย็นแล้ว. บทว่า สุขปฏิสํเวที ได้แก่ เป็นผู้เสวยสุข

ทางกายและทางใจ. บทว่า พฺรหฺมภูเตน ได้แก่เป็นผู้ประเสริฐสุด. คำที่เหลือ

ในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาสาฬหสูตรที่ ๖