ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 693

อัฏฐกวรรคที่ ๔

กามสูตรที่ ๑

ว่าด้วยเรื่องของกาม

[๔๐๘] ถ้าว่าวัตถุกามจะสำเร็จแก่

สัตว์ผู้ปรารถนาอยู่ไซร้ สัตว์ปรารถนาสิ่งใด

ได้สิ่งนั้นแล้ว ก็ย่อมเป็นผู้มีใจเอิบอิ่มแน่แท้.

ถ้าเมื่อสัตว์นั้นปรารถนาอยู่ เกิด

ความอยากได้แล้ว กามเหล่านั้นย่อมเลื่อมไป

ไซร้ สัตว์นั้นย่อมย่อยยับเหมือนถูกลูกศร.

แทง ฉะนั้น.

ผู้ใดงดเว้นกามทั้งหลาย เหมือน

อย่างบุคคลเว้นศีรษะงูด้วยเท่าของตน ผู้นั้น

เป็นผู้มีสิต ย่อมก้าวล่วงตัณหาในโลกนี้ได้.

นรชนใดย่อมยินดีกามเป็นอันมาก

คือ นา ที่ดิน เงิน โค ม้า ทาส กรรมกร

เหล่าสตรีและพวกพ้อง กิเลสทั้งหลายอันมี

กำลังน้อย ย่อมครอบงำย่ำยีนรชนนั้นได้

อันตรายทั้งหลายก็ย่อมย่ำยีนรชนนั้น แต่นั้น

ทุกข์ย่อมติดตามนรชนผู้ถูกอันตรายครอบงำ

เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือนที่แตกแล้ว ฉะนั้น.

เพราะฉะนั้น สัตว์พึงเป็นผู้มีสติ

ทุกเมื่อ งดเว้นกามทั้งหลายเสีย สัตว์ละกาม

เหล่านั้นได้แล้ว พึงข้ามโอฆะได้เหมือนบุรุษ

วิดเรือแล้วพึงไปถึงฝั่ง ฉะนั้น.

จบกามสูตรที่ ๑

อรรถกถาอัฏฐกวรรคที่ ๔

อรรถกถากามสูตรที่ ๑

กามสูตรที่ ๑ มีคำเริ่มต้นว่า กามํ กามยนฺตสฺส หากวัตถุกาม

สำเร็จแก่สัตว์ผู้ปรารถนาอยู่ไซร้ ดังนี้.

การเกิดขึ้นของพระสูตรนี้เป็นอย่างไร ?

มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี พรา-

หมณ์ผู้หนึ่งคิดว่า เราจักหว่านข้าวเหนียวใกล้ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี ในระหว่างกรุงสา

วัตถีและพระเชตวันมหาวิหารจึงไถนา. พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยภิกษุ

สงฆ์เสด็จเข้าไปบิณฑบาตเห็นพราหมณ์นั้นทรงรำพึงเห็นว่า ข้าวเหนียวของ

พราหมณ์นั้นจักเสียหาย จึงทรงรำพึงถึงอุปนิสัยสมบัติของพราหมณ์นั้นต่อไป

ได้ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติมรรคของพราหมณ์นั้น ทรงรำพึงว่าพราหมณ์

นี้จักบรรลุเมื่อไร ได้ทรงเห็นว่า เมื่อข้าวกล้าเสียหายพราหมณ์จะถูกความโศก

ครอบงำเพราะฟังพระธรรมเทศนา. ทรงดำริต่อไปว่า หากเราจักเข้าไปหา

พราหมณ์ในตอนนั้น พราหมณ์จักไม่สำคัญโอวาทของเราที่ควรจะฟัง เพราะ

พราหมณ์ทั้งหลายมีความชอบต่าง ๆ กัน เอาเถิด เราจักสงเคราะห์ตั้งแต่บัดนี้

ทีเดียว พราหมณ์มีจิตอ่อนในเราอย่างนี้ก็จักฟังโอวาทของเราในตอนนั้นแล้ว

เสด็จเข้าไปหาพราหมณ์ตรัสถามว่า พราหมณ์ท่านทำอะไร. พราหมณ์คิดว่า

พระสมณโคดมเป็นผู้มีตระกูลสูงยังทรงทำการปฏิสันถารกับเรา จึงมีจิตเลื่อมใส

ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ทันใดนั้นเองกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ข้าพระองค์กำลังไถนา จักหว่านข้าวเหนียวพระเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระสารีบุตร-

เถระคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำการปฏิสันถารกับพราหมณ์ พระ-

ตถาคตทั้งหลาย ไม่มีเหตุปัจจัยแล้วจะไม่ทรงทำอย่างนั้น เอาเถิดแม้เราก็จะทำ

ปฏิสันถารกับพราหมณ์นั้น จึงเข้าไปหาพราหมณ์แล้วได้ทำการปฏิสันถาร

อย่างนั้นเหมือนกัน. พระมหาโมคคัลลานเถระและพระมหาสาวก ๘๐ ก็ทำ

อย่างนั้น พราหมณ์พอใจเป็นอย่างยิ่ง.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อข้าวกล้าสมบูรณ์วันหนึ่งเสวยภัตตา-

หารเสร็จแล้วเสด็จจากกรุงสาวัตถีไปสะพระเชตวันแวะแยกทางเข้าไปหาพราหมณ์

ตรัสว่า พราหมณ์นาข้าวเหนียวของท่านดีอยู่หรือ, พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ หากนาข้าวเหนียวสมบูรณ์ดีอยู่อย่างนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจักแบ่ง

ถวายแด่พระองค์บ้างพระเจ้าข้า. ครั้นต่อมาล่วงไปได้ ๔ เดือน ข้าวเหนียว

ของพราหมณ์ได้ผลิตผลบริบูรณ์. เมื่อพราหมณ์กำลังขวนขวายว่า เราจักเกี่ยว

วันนี้หรือพรุ่งนี้ มหาเมฆตั่งขึ้นแล้วฝนได้ตกตลอดคืน. แม่น้ำอจิรวดีเต็มเปี่ยม

ไหลพัดพาข้าวเหนียวไปหมด. พราหมณ์เสียใจตลอดคืน พอสว่างก็ไปยังฝั่ง

แม้น้ำเห็นข้าวกล้าเสียหายหมดเกิดวามโศกอย่างแรงว่า เราฉิบหายแล้ว บัดนี้

เราจักมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร ตอนใกล้รุ่งของคืนนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุทรงทราบว่า วันนี้ ถึงเวลาแสดงธรรมแก่

พราหมณ์แล้ว จึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถีประทับยืนใกล้ประตูเรือน

ของพราหมณ์. พราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วคิดว่า พระสมณโคดม

มีพระประสงค์จะปลอบใจเรา ผู้ถูกความโศกครอบงำจึงเสด็จมาแล้วปูอาสนะ

รับบาตรทูลนิมนต์ให้ประทับนั่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอยู่จึงตรัสถาม

พราหมณ์ว่า พราหมณ์ท่านเสียใจเรื่องอะไรหรือ. พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ ถูกแล้วพระเจ้าข้า นาข้าวเหนียวของข้าพระองค์ถูกน้ำพัดพา

เสียหายหมดพระเจ้าข้า. ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พราหมณ์เมื่อถึง

คราววิบัติ ก็ไม่ควรเสียใจ และเมื่อถึงคราวสมบูรณ์ ก็ไม่ควรดีใจ เพราะชื่อว่า

กามทั้งหลาย ย่อมสมบูรณ์บ้าง ย่อมวิบัติบ้างดังนี้ ทรงรู้ธรรมเป็นที่สบายของ

พราหมณ์นั้นจึงได้ตรัสพระสูตรนี้ ด้วยอำนาจการแสดงธรรม. ในสูตรนั้นเรา

จักพรรณนาเพียงเธอความของบทโดยสังเขปเท่านั้น. ส่วนความพิสดารพึง

ทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในนิทเทสนั้นแล. ในสูตรทั้งหมดนอกเหนือไปจากนี้

ก็เหมือนในสูตรนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า กามํ ได้แก่ วัตกุกามคือธรรมเป็นไปในภูมิ ๓

มีรูปที่น่ารักเป็นต้น. บทว่า กามยมานสฺส คือปรารถนา. บทว่า ตสฺส เจ

ตํ สมิชฺฌติ ว่า หากวัตถุกามนั้นจะสำเร็จแก่สัตว์ผู้ปรารถนานั้น. ท่าน

อธิบายว่า หากเขาได้วัตถุกามนั้น. บทว่า อทฺธา ปีติมโน โหติ ได้แก่

ย่อมเป็นผู้มีใจยินดีโดยส่วนเดียว. บทว่า ลทฺธา แปลว่าได้แล้ว. บทว่า มจฺโจ

คือสัตว์. บทว่า ยทิจฺฉติ ตัดบทเป็น ยํ อิจฺฉติ ย่อมปรารถนาสิ่งใด. บทว่า

ตสฺส เจ กามยมานสฺส คือแก่บุคคลนั้นผู้ปรารถนากาม. หรือชื่นชมด้วย

กาม. บทว่า ฉนฺทชาตสฺส เกิดความพอใจคือเกิดความอยาก. บทว่า ชนฺตุโน

คือ สัตว์. บทว่า เต กามา ปริหายนฺติ คือ หากกรรมเหล่านั้นย่อมเสื่อม

ไปไซร้. บทว่า สลฺลวิทฺโธว รุปฺปติ สัตว์นั้นย่อมย่อยยับเหมือนถูกลูกศรแทง

คือต่อแต่นั้น สัตว์ย่อมย่อยยับเหมือนถูกลูกศรทำด้วยเหล็กเป็นต้นเเทง.

ในคาถาที่ ๓ มีความสังเขปดังต่อไปนี้. ผู้ใดเว้นกามเหล่านี้ด้วยการ

ข่มความกำหนัดด้วยความพอใจ หรือด้วยการตัดเด็ดขาดในกามนั้นเหมือนเว้น

ศีรษะงูด้วยเท้าของตน ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมก้าวล่วงตัณหานี้ คือความอยากใน

โลกได้ เพราะไม่ระลึกถึงโลกแล้ว.

ต่อแต่นี้ไปเป็นความย่อแห่งคาถาที่แสดงแล้ว. บุคคลใด ยินดีนามีนา

ข้าวเหนียวเป็นต้น ที่ดินมีที่ปลูกเรือนเป็นต้น เงิน คือกหาปณะ โค ม้า

ประเภทโคและม้า หญิงที่รู้กันว่าเป็นหญิง พวกพ้องมีพวกพ้องของญาติเป็น

ต้น หรือกามเป็นอันมากมีรูปน่ารักเป็นต้นเหล่าอื่น กิเลสทั้งหลายมีกำลังน้อย

ย่อมครอบงำย่ำยีบุคคลนั้นได้. อธิบายว่ากิเลสทั้งหลายมีกำลังน้อยย่อมครอบงำ

บุคคลนั้นผู้มีกำลังน้อย เพราะเว้นจากกำลังศรัทธาเป็นต้น หรือเพราะไม่มี

กำลัง. เมื่อเป็นเช่นนั้นอันตรายที่ปรากฏมีราชสีห์เป็นต้น และอันตรายที่ไม่

ปรากฏมีกายทุจริตเป็นต้น ย่อมย่ำยีบุคคลนั้น ผู้อยากในกาม รักษากาม และ

แสวงหากาม. แต่นั้นทุกข์มีชาติเป็นต้น ย่อมติดตามบุคคลนั้น ผู้ถูกอันตรายไม่

ปรากฏครอบงำ เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่แตกแล้วฉะนั้น เพราะฉะนั้นสัตว์

พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อด้วยการเจริญกายคตาสติเป็นต้น เนื้อเว้นกิเลสกามแม้ทั้ง

หมดในวัตถุกามมีรูปเป็นต้น ด้วยการข่มไว้สละการตัดเด็ดขาด พึงเว้นกาม

ทั้งหลาย สัตว์ละกามเหล่านั้นได้อย่างนี้แล้ว พึงข้ามคือสามารถข้ามโอฆะแม้

๔ อย่างด้วยมรรคอันทำการละกามนั้นเสียได้. แต่นั้นพึงวิดเรือคืออัตภาพอัน

หนักด้วยน้ำคือกิเลสแล้วพึงถึงฝั่งด้วยอัตภาพอันเบา พึงถึงนิพพานอันเป็นฝั่ง

แห่งธรรมทั้งปวง และพึงถึงด้วยการบรรลุพระอรหัต ย่อมปรินิพพานด้วย

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เหมือนอย่างบุรุษวิดเรือที่เต็มด้วยน้ำแล้วพึงถึงฝั่ง คือ

ไปถึงฝั่งด้วยเรือที่เบาด้วยความลำบากเล็กน้อยเท่านั้น ฉะนั้น. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมอันเป็นยอดคือพระอรหัต.

เมื่อจบเทศนา พราหมณ์และพราหมณีตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.