ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 109

ฐานสูตร

ว่าด้วยฐานะ ๕ ประการ ที่ใคร ๆ ไม่พึงได้

[๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์

เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ไม่พึงได้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ ฐานะว่า ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าแก่ ๑ ขอสิ่งที่มี

ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าเจ็บไข้ ๑ ขอสิ่งที่มีความตายเป็น

ธรรมดา [ของเรา] อย่าตาย ๑ ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา [ของเรา]

อย่าสิ้นไป ๑ ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าฉิบหาย ๑

อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกไม่พึงได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อม

แก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาย่อมไม่เห็นดังนี้ว่า ไม่

ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้น แก่ไป โดยที่แท้ สิ่งที่มี

ความแก่เป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุปบัติ

ย่อมแก่ไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว

พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย แม้อาหารเราก็

ไม่อยากรับประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม แม้การงานก็พึงหยุด

ชะงัก แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรพึงเสียใจ ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความ

แก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ

หลงงมงาย นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษ

แทงเข้าแล้ว ย่อมทำตนให้เดือดร้อน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 110

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา

ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้. . . สิ่งมีความตายเป็นธรรมดา ของ

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมตายไป. . . สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ของปุถุชน

ผู้ไม่ได้สดับ ย่อมสิ้นไป. . . สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้

สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว

เขาย่อมไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของเรา

ผู้เดียวเท่านั้นฉิบหายไป โดยที่แท้ สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของ

สัตว์ทั้งปวง ที่มีการมา การไป การจุติ การอุปบัติ ย่อมฉิบหายไปทั้งสิ้น

ส่วนเราเองก็เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว พึงเศร้าโศก

ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย แม้อาหารเราก็ไม่อยาก

รับประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม แม้การงานก็พึงหยุดชงัก

แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรพึงเสียใจ ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหาย

เป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ

หลงงมงาย นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษ

แทงเข้าแล้ว ย่อมทำให้คนเดือดร้อน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนว่าสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ของอริยสาวก

ผู้ได้สดับ ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวก

นั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของเราผู้เดียว

เท่านั้นแก่ไป โดยที่แท้ สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา

การไป การจุติ การอุปบัติ ย่อมแก่ไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความ

แก่เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ

หลงงมงาย แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม

แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 111

ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก

ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่าอริยสาวก

ผู้ได้สดับ ถอนลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษเป็นเครื่องเสียบแทงปุถุชน

ผู้ไม่ได้สดับ ทำตนให้เดือดร้อน อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร

ย่อมดับทุกข์ร้อนได้ด้วยตนเอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา

ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้. . . สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ของ

อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมตายไป. . . สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดาของ

อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมสิ้นไป. . . สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของ

อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา

ฉิบหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายไป

เป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้นฉิบหายไป โดยที่แท้ สิ่งที่มีความฉิบหาย

ไปเป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวง ที่มีการมา การไป การจุติ การอุปบัติ

ย่อมฉิบหายไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา

ฉิบหายไปแล้ว พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย

แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม แม้

การงานก็พึงหยุดชะงัก แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ ดังนี้

เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้า-

โศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่า

อริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษ อันเป็นเครื่องเสียบแทง

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ทำตนให้เดือดร้อน อริยสาวกผู้ไม่มีความโศกปราศจาก

ลูกศร ย่อมดับความทุกข์ร้อนได้ด้วยตนเอง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 112

ประการนี้แล อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ใน

โลกไม่พึงได้.

ประโยชน์แม้เล็กน้อยในโลกนี้ อัน

ใคร ๆ ย่อมไม่ได้เพราะการเศร้าโศก

เพราะการคร่ำครวญ พวกอมิตรทราบว่า

เขาเศร้าโศก เป็นทุกข์ ย่อมดีใจ ก็คราวใด

บัณฑิตผู้พิจารณารู้เนื้อความ ไม่หวั่นไหว

ในอันตรายทั้งหมด คราวนั้น พวกอมิตร

เห็นหน้าอันไม่ผิดปกติของบัณฑิตนั้น ยิ้ม-

แย้มตามเคยย่อมเป็นทุกข์ บัณฑิตพึงได้

ประโยชน์ในที่ใด ๆ ด้วยประการใด ๆ

เพราะการสรรเสริญ เพราะความรู้ เพราะ

กล่าวคำสุภาษิต เพราะการบำเพ็ญทาน

หรือเพราะประเพณีของตนก็พึงบากบั่นใน

ที่นั้น ๆ ด้วยประการนั้น ๆ ถ้าพึงทราบว่า

ความต้องการอย่างนี้อันเราหรือผู้อื่นไม่พึง

ได้ไซร้ ก็ไม่ควรเศร้าโศก ควรตั้งใจ

ทำงานโดยเด็ดขาดว่า บัดนี้เราทำอะไรอยู่

ดังนี้.

จบฐานสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 113

อรรถกถาฐานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อลพฺภนียานิ ได้แก่ ฐานะใคร ๆ ไม่พึงได้ คือ ไม่อาจจะได้.

บทว่า ฐานานิ คือ เหตุ. บทว่า ชราธมฺมํ มา ชิริ ความว่า สิ่งใดของเรา

มีความแก่เป็นสภาพ ขอสิ่งนั้นจงอย่าแก่. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า นจฺฉาเทยฺย คือ ไม่ชอบใจ. บทว่า อพฺพุหิ คือ นำออกไป.

บทว่า ยโต คือ กาลใด. บทว่า อาปทาสุ คือ ในอุปัทวะ

ทั้งหลาย. บทว่า น เวธติ คือ ไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศกถึง. บทว่า

อตฺถวินิจฺฉยญฺญู คือ เป็นผู้ฉลาดในการวินิจฉัยเหตุผล. บทว่า ปุราณํ

ได้แก่ คงเก่าอยู่นั่นแหละ เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลง. บทว่า ชปฺเปน

คือ ด้วยการสรรเสริญ. บทว่า มนฺเตน คือ ด้วยการร่ายมนต์ซึ่งมีอานุภาพ

มาก. บทว่า สุภาสิเตน คือ ด้วยการกล่าวคำสุภาษิต. บทว่า อนุปฺปทาเนน

ได้แก่ ด้วยการให้ทรัพย์หนึ่งร้อย หรือหนึ่งพัน. บทว่า ปเวณิยา วา ได้แก่

ด้วยวงศ์ตระกูล อธิบายว่า ด้วยการกล่าวถึงประเพณีอย่างนี้ว่า ข้อนี้ประเพณี

ของเราประพฤติกันมาแล้ว สิ่งนี้มิได้ประพฤติมาแล้วดังนี้. บทว่า ยถา ยถา

ยตฺถ ลเภถ อตฺถํ ความว่า จะพึงได้ประโยชน์มีความไม่แก่เป็นต้นแห่งสิ่ง

ทั้งหลายที่มีความแก่เป็นธรรมดาเป็นต้นในที่ใด ๆ ด้วยประการใด ๆ เพราะ

การสรรเสริญเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า ตถา ตถา ตตฺถ ปรกฺกเมยฺย

ได้แก่ พึงทำความบากบั่นในที่นั้น ๆ โดยประการนั้น ๆ. บทว่า กมฺมํ ทฬฺหํ

ได้แก่ กรรมอันยังสัตว์ให้เวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะเราทำให้มั่นคงสั่งสมไว้. ควร

พิจารณาอย่างนี้ว่า บัดนี้ เรานั้นจะทำอะไรดังนี้แล้วยับยั้งไว้.

จบอรรถกถาฐานสูตรที่ ๘