ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 183

ปฐมญาณวัตถุสูตร

ว่าด้วยญาณวัตถุ ๔๔

[๑๑๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ ๔๔ แก่เธอทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงตั้งใจฟังซึ่งญาณวัตถุนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุ

เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๑๑๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็

ญาณวัตถุ ๔๔ เป็นไฉน. คือความรู้ในชราและมรณะ ๑ ความรู้ในเหตุ

เป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชราและมรณะ ๑

ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงควานดับแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในชาติ ๑

ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชาติ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชาติ ๑

ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชาติ ๑ ความรู้ในภพ ๑ ความรู้

ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ ๑ ความรู้ในความดับแห่งภพ ๑ ความรู้

ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งภพ ๑ ความรู้ในอุปาทาน ๑ ความรู้

ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในความดับแห่งอุปาทาน ๑

ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในตัณหา ๑

ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในความดับแห่งตัณหา ๑

ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในเวทนา ๑

ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในความดับแห่งเวทนา ๑

ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในผัสสะ ๑

ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งผัสสะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งผัสสะ ๑

ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งผัสสะ ๑ ความรู้ในสฬายตนะ ๑

ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ในความดับแห่ง

สฬายตนะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้

ในนามรูป ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในความ

ดับแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งนามรูป ๑

ความรู้ในวิญญาณ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้

ในความดับแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง

วิญญาณ ๑ ความรู้ในสังขาร ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ๑

ความรู้ในความดับแห่งสังขาร ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง

สังขาร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้นเรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔.

[๑๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน. ความแก่

ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่ง

อายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ

นี้เรียกว่าชรา ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความ

อันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความ

ทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งอินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่า

สัตว์นั้น ๆ นี้เราเรียกว่ามรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้

เรียกว่าชราและมรณะ เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ

ชราและมรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ ๑

ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายาม

ชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งใจไว้ชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรม

เป็นที่ดับชราและมรณะ.

[๑๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ

อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความ

ดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชรา

และมรณะอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวก

นั้นนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ให้

ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือ

พราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้ชราและมรณะ ได้รู้เหตุ

เป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ได้รู้ความดับแห่งชราและมรณะ ได้

รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ใน

บัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใด

เหล่าหนึ่งก็จักรู้ชราและมรณะ จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ

จักรู้ความดับแห่งชราและมรณะ จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชรา

และมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวย-

ญาณ ของอริยสาวกนั้น.

[๑๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ๑

อันวยญาณ๒ ๑ เหล่านี้ของพระอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง ผู้ถึง

พร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบ

ด้วยญาณของพระเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึง

กระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง

อยู่ชิดประตูอมตะนิพพานบ้าง.

[๑๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็ภพเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ตัณหาเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะ

เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูปเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็วิญญาณเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน. สังขารมี ๓

คือ กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑ จิตตสังขาร ๑ นี้เรียกว่าสังขาร เพราะ

อวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ อริยมรรค

มีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑

การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจ

ไว้ชอบ ๑.

[๑๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดสังขารอย่างนี้ รู้ชัดเหตุ

๑. มรรคญาณ. ๒.ผลญาณ.

เป็นแดนเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัด

ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ความรู้ในธรรมของ

อริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นย่อมนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้

ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้ว

อันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้

รู้สังขาร ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ได้รู้ความดับแห่งสังขาร ได้รู้

ปฏิปทาอันให้ถึงควานดับแห่งสังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกัน

ทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็จักรู้

สังขาร จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร จักรู้ความดับแห่งสังขาร จักรู้

ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกัน

ทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น.

[๑๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑

อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง ผู้ถึง

พร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบ

ด้วยญาณของเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึงกระแส

แห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิด

ประตูอมตนิพพานบ้าง ดังนี้.

จบปฐมญาณวัตถุสูตรที่ ๓

อรรถกถาญาณวัตถุสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในญาณวัตถุสูตรที่ ๓ ต่อไป. ข้อว่า "ตํ สุณาถ

พวกเธอจงฟังญาณวัตถุนั้น" ได้แก่พวกเธอจงฟังการแสดงญาณวัตถุนั้น.

ญาณนั่นเอง พื้งทราบว่า ญาณวัตถุ ในคำนี้ว่า ญาณวตฺถูนิ นี้. ใน

ญาณ ๔ มี ชรามรณญาณ เป็นอาทิ ญาณที่ ๑ มี ๔ อย่างคือ สวนมยญาณ

(ความรู้อันสำเร็จด้วยการฟัง ) สัมมสนญาณ (ความรู้อันเกิดจากการ

พิจารณา) ปฏิเวธญาณ ( ความรู้อันเกิดจากการรู้แจ้งแทงตลอด)

ปัจจเวกขณญาณ (ความรู้อันเกิดจากการพิจารณา ). ญาณที่ ๒ ก็เหมือน

กัน. ส่วนญาณที่ ๓ เว้นสัมมสนญาณเสีย จึงมีเพียง ๓ อย่างเท่านั้น.

ญาณที่ ๔ ก็เหมือนกัน เพราะว่า โนโลกุตรธรรม ย่อมไม่มีสัมม-

สนญาณ . แม้ในคำว่า "ชาติยา ญาณํ ความรู้ในชาติ" เป็นต้น

ก็มีนัยนี้แหละ. ข้อว่า "อิมินา ธมฺเมน ด้วยธรรมนี้" คือ ด้วย

สัจธรรม ๔ นี้ หรือด้วยมรรคญาณธรรม.

ในบทว่า ทิฏฺเฐน เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า ทิฏฺเฐน

ได้แก่อันตนเห็นแล้วด้วยญาณจักษุ ( ดวงตาคือปัญญา). บทว่า วิทิเตน

ได้แก่รู้แล้วด้วยปัญญา. บทว่า "อกาลิเกน ให้ผลไม่มีกำหนดกาล"

ได้แก่ให้ผลในลำดับแห่งการรู้แจ้งแทงตลอดไม่ละเลยกาลไรๆ เลย. บทว่า

" ปตฺเตน ถึงแล้ว" แปลว่า บรรลุแล้ว. บทว่า "ปริโยคาฬฺเหน

หยั่งรู้แล้ว คืออันตนหยั่งรู้แล้ว ได้แก่เข้าถึงด้วยปัญญา. บทว่า "อตี-

ตานาคเต นยํ เนติ นำนัยในอดีตและอนาคตไป" ได้แก่นำนัยในอดีต

และอนาคตไปโดยนัยมีอาทิว่า "สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง."

ก็ในคำนี้ พระสารีบุตรเถระอาจนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยสัจธรรม

๔ บ้าง ด้วยมรรคญาณธรรมบ้าง. ก็เมื่ออริยสัจ ๔ ก็ดี มรรคญาณก็ดี

อันตนแทงตลอดแล้ว หลังจากนั้น ปัจจเวกขณญาณย่อมมี. พึงทราบ

อธิบายว่า นำนัยไปด้วยปัจจเวกขณญาณนั้น. บทว่า อพฺภญฺญึสุ แปลว่า

ได้รู้แล้ว. คือ ทราบแล้ว. ข้อว่า "เสยฺยถาปิหํ เอตรหิ เหมือนอย่าง

ที่เรารู้ในบัดนี้ " คือเหมือนอย่างเรารู้ด้วยยอำนาจอริยสัจ ๔ ในบัดนี้.

บทว่า อนฺวเย ญาณํ ได้แก่ความรู้ในธรรมอันเหมาะสม คือ ความรู้

ในอันติดตามญาณในธรรม. คำว่า อนวยญาณ นี้ เป็นชื่อของปัจจ-

เวกขณญาณ. ข้อว่า "ธมฺเม ญาณํ ได้แก่มรรคญาณ." เสขภูมิของ

พระขีณาสพ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในพระสูตรนี้ ด้วยประการ

ฉะนี้.

จบอรรถกถาปฐมญาณวัตถุสูตรที่ ๓

. ทุติยญาณวัตถุสูตร

ว่าด้วยการแสดงญาณวัตถุ ๗๗ แก่ภิกษุ

[๑๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ ๗๗ แก่เธอทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงตั้งใจฟังญาณวัตถุนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุ

เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๑๒๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณ

วัตถุ ๗๗ เป็นไฉน. ญาณวัตถุ ๗๗ นั้น คือความรู้ว่า เพราะชาติเป็น

ปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึง

ไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะ

จึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคต-

กาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑ ความรู้ว่า

เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของชาติ

นั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑. ความ

รู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึง

ไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑

ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า

เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑

ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของภพนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย

ความดับเป็นธรรมดา ๑. ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑

ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึง

ไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑

ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของ

อุปาทานนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ความรู้ว่า ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี

อุปาทานจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

อุปาทานจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑ แม้ใน

อนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๑ ความรู้

ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของตัณหา

นั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี

ตัณหาจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑ แม้ใน

อนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ๑

ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติ-

ญาณของเวทนานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็น

ธรรมดา ๑. ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า

เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะผัสสะ

เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑

แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความ

รู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของ

ผัสสะนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อ

สฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะ

สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึง

ไม่มี ๑ เเม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ

จึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติ-

ญาณของสฬายตนะนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับ

เป็นธรรมดา ๑. ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึง

มี ๑ ความรู้ว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล

ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อ

นามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะ

นามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะ

จึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของนามรูปนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม

ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑. ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็น

ปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑

แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑

ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความ

รู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณ

ไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของวิญญาณนั้น มี

ความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑. ความรู้ว่า

เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสังขารไม่มี

วิญญาณจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย

วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑ แม้ใน

อนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความ

รู้ว่า เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของ

สังขารนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชา

ไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็น

ปัจจัย สังขารจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑ แม้

ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ๑ ความ

รู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของ

อวิชชานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๗๗.

จบทุติยญาณวัตถุสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุติยญาณวัตถุสูตรที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยญาณวัตถุสูตรที่ ๔ ต่อไป.

บทว่า สตฺตสตฺตริ แปลว่า เจ็ด และเจ็ดสิบ คือ ๗๗. กล่าวกันว่า

ภิกษุเหล่านั้นผู้กล่าวพยัญชนะ เมื่อมีผู้กล่าวเพิ่มพยัญชนะมากขึ้น ก็สามารถ

แทงตลอดได้. เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตาม

อัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้น. บทว่า "ธมฺาฏฺฐิติญานํ ธรรมฐิติญาณ"

คือความรู้ในปัจจยาการ ก็ปัจจยาการท่านเรียกว่า ธรรมฐิติ เพราะเป็นเหตุ

ของปวัตติฐิติแห่งธรรมทั้งหลาย. ญาณในธรรมฐิตินี้ ชื่อว่า ธรรมฐิติญาณ.

คำว่าธรรมฐิติญาณนี้เป็นชื่อของญาณ ๖ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น. บทว่า

ขยธมฺมํ คือถึงความสิ้นไปเป็นสภาวะ. บทว่า วยธมฺมํ คือถึงความเสื่อม

ไปเป็นสภาวะ. บทว่า วิราคธมฺมํ คือถึงความคลายกำหนัดเป็นสภาวะ.

บทว่า นิโรธธมฺมํ คือถึงความดับเป็นสภาวะ. คำว่า สตฺตสตฺตริ อธิบาย

ว่า ใน ๑๑ บท แบ่งเป็นบทละ ๗ จึงรวมเป็น ๗๗. การบรรลุวิปัสสนา

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ชื่อวิปัสสนาในพระสูตรนี้.

จบอรรถกถาทุติยญาณวัตถุสูตรที่ ๔