ไปหน้าแรก

ฌาน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

ปฐมฌาน

เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุ

ปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่.

ทุติยฌาน

เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ฯ ภายใน เป็นธรรมเอก

ผุดขึ้นไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขซึ่งเกิด

แต่สมาธิอยู่.

ตติยฌาน

เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะ

ปีติสิ้นไป ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา

มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้.

จตุตถฌาน

เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และ

ดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

กถาว่าด้วยปฐมฌาน

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงคุณวิเศษ ตั้งต้นแต่

ปฐมณาน มีวิชชา ๓ เป็นที่สุด ที่พระองค์ได้บรรลุแล้วด้วยปฏิปทานี้ จึง

ตรัสว่า โส โข อหํ ดังนี้เป็นต้น.

ในบรรดาบทเหล่านั้น ใจความแห่งบทเป็นต้นว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ

วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วในวิภังค์นั่นแล

โดยนัยเป็นต้นว่า บรรดากามและอกุศลธรรมเหล่านั้น กามเป็นไฉน ? คือ

ความพอใจ ชื่อว่า กาม, ความกำหนัด ชื่อว่า กาม, ความกำหนัดด้วยอำนาจ

ความพอใจ ชื่อว่า กาม, ความดำริ ชื่อว่า กาม, ความกำหนัด ชื่อว่า กาม,

ความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริ ชื่อว่า กาม, เหล่านี้เราเรียกว่า กาม,

บรรดากามและอกุศลกรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมเป็นไฉน ? คือ ความพอใจ

ด้วยอำนาจแห่งความใคร่ ความพยาบาท ความหดหู่และเคลิบเคลิ้ม ความ

ฟุ้งซ่านและรำคาญ ความลังเลสงสัย. เหล่านี้เราเรียกว่า อกุศลธรรม,

พระโยคาวจร เป็นผู้สงัดแล้ว คือเงียบแล้วจากกามเหล่านี้ และจากอกุศลธรรม

เหล่านี้ ดังกล่าวมาฉะนี้, เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรนั้นเราเรียกว่า สงัด

แล้วเทียวจากกามทั้งหลาย สงบแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนี้ แม้ก็จริง,

ถึงกระนั้น ใจความ (แห่งบทเหล่านั้น) เว้นอรรถกถานัยเสีย จะปรากฏ

ด้วยดีไม่ได้ ข้าพเจ้าจักประกาศใจความนั้น ตามอรรถกถานัยนั่นแล ต่อไป : -

ข้อนี้อย่างไรเล่า ? อย่างนี้คือ สองบทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ แปลว่า

สงัดแล้ว คือหลีกเว้นออกจากกามทั้งหลาย.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

[อรรถาธิบายองค์ ๕ แห่งปฐมฌาน]

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงองค์สำหรับละแห่งปฐมฌาน

ด้วยคำมีประมาณเพียงเท่านี้แล้ว คราวนี้ เมื่อจะทรงแสดงองค์ประกอบ จึง

ตรัสคำมีอาทิว่า เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร.

ในพากย์ว่า เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นต้นนั้น มิวินิจฉัยดังนี้ : -

ความตรึก ชื่อว่า วิตก, ท่านอธิบายว่า ความดำริ. วิตกนี้นั้น มีความกด

เฉพาะซึ่งจิตในอารมณ์เป็นลักษณะ มีการจดและการจดโดยรอบเป็นรส. จริง

อย่างนั้น พระโยคาวจร ท่านเรียกว่า ทำอารมณ์ให้เป็นธรรมชาติอันวิตกจด

แล้วและจดโดยรอบแล้วด้วยวิตกนั้น. วิตกนั้นมีอันนำมาซึ่งจิตในอารมณ์เป็น

ปัจจุปัฏฐาน. ความตรอง ชื่อว่า วิจาร, ท่านอธิบายว่า การที่จิตท่องเที่ยว

เรื่อยไป. วิจารนี้นั้น มีการเคล้าอารมณ์เป็นลักษณะ มีอันประกอบเนือง ๆ

ซึ่งสหชาตธรรมในอารมณ์นั้นเป็นรส มีการตามผูกพันแห่งจิตเป็นปัจจุปัฏฐาน.

ก็เมื่อความไม่พรากจากกันแห่งวิตกวิจารเหล่านั้นในจิตตุปบาทลาง

ขณะ แม้มีอยู่ วิตก ก็คือการตกไปเฉพาะอารมณ์ครั้งแรกของใจ ดุจเสียง

เคาะระฆัง เพราะหมายความว่าเป็นสภาพที่หยาบ และเพราะความหมายว่า

เป็นสภาพเริ่มก่อน. วิจาร ก็คือการที่จิตตามผูกพันติดต่อ ดุจเสียงครวญของ

ระฆัง เพราะหมายความว่าเป็นสภาพที่ละเอียด. ก็ในวิตกวิจารเหล่านี้ วิตก

มีการแผ่ไป (หรือสั่นสะเทือน) เป็นความไหวตัวของจิต (ในเวลาที่เกิด

ความคิดขึ้นครั้งแรก) ดุจการกระพือปีกของนก ซึ่งต้องการจะบินขึ้นไปใน

อากาศ และดุจการโผลงตรงดอกบัวหลวงของแมลงผึ้ง ซึ่งมีใจจดจ่ออยู่ที่กลิ่น,

วิจารมีความเป็นไปสงบ มิใช่ความไหวตัวอย่างแรงของจิต ดุจการกางปีกของ

นกซึ่งบินไปแล้วในอากาศ และดุจการบินร่อนอยู่ในส่วนเบื้องบนดอกบัวหลวง

ของแมลงผึ้ง ซึ่งโผลงบ่ายหน้าสู่ดอกบัวหลวงฉะนั้น. ส่วนความแปลกกัน

แห่งวิตกวิจารเหล่านั้น จะปรากฏในปฐมฌานและทุติยฌาน.

ฌานนี้ ย่อมเป็นไปกับด้วยวิตกนี้ และด้วยวิจารนี้ ดุจต้นไม้ ย่อม

เป็นไปด้วยดอกและผลฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนี้ ฌานนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร. แต่ใน

คัมภีร์วิภังค์ พระองค์ทรงทำเทศนาเป็นบุคลาธิษฐาน โดยนัยเป็นต้นว่า

ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว ด้วยวิตกนี้ และด้วยวิจารนี้* ถึง

เนื้อความแม้ในคัมภีร์นั้น ก็พึงเห็นเหมือนอย่างนี้แหละ.

ในบทว่า วิเวกชํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ : - ความสงัด ชื่อว่า วิเวก.

อธิบายว่า ความปราศจากนิวรณ์. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่สงัดจากนิวรณ์

ชื่อว่า วิเวก เพราะอรรถว่า สงัดแล้ว, อธิบายว่า กองแห่งธรรมอันสัมปยุต

ด้วยฌาน. ปีติ และสุข เกิดจากวิเวกนั้น หรือเกิดในวิเวกนั้น เพราะเหตุนั้น

จึงชื่อว่า วิเวกชัง.

[อรรถาธิบายองค์ฌาน คือ ปีติ และสุข]

ในบทว่า ปีติสุขํ มีวินิจฉัยดังนี้ : - ธรรมชาติที่ชื่อว่า ปีติ เพราะ

อรรถว่า ทำให้เอิบอิ่ม. ปตินั้น มีความปลาบปลื้มเป็นลักษณะ มีความอิ่ม

กายและจิตเป็นรส, อีกอย่างหนึ่ง มีความแผ่ไปเป็นรส มีความเบิกบานใจ

เป็นปัจจุปัฏฐาน. ความสบาย ชื่อว่า ความสุข. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติที่

ชื่อว่า ความสุข เพราะอรรถว่า ย่อมเคี้ยวกิน และขุดเสียด้วยดี ซึ่งอาพาธ

ทางกายและจิต. ความสุขนั้นมีความสำราญเป็นลักษณะ มีอันเข้าไปพอกพูน

ซึ่งธรรมที่สัมปยุตด้วยความสุขนั้นเป็นรส มีความอนุเคราะห์เป็นเครื่องปรากฏ.

ก็เมื่อความไม่พรากจากกันแห่งปีติและสุขเหล่านั้นในจิตตุปบาทลางขณะ

แม้มีอยู่ ปีติ คือ ความยินดีด้วยการได้อิฏฐารมณ์, สุข คือความเสวยรส

แห่งอารมณ์ที่ตนได้แล้ว. ปีติ มีอยู่ใจจิตตุปบาทใด สุข ก็มีอยู่ในจิตตุปบาท

นั้น. สุข มีอยู่ในจิตตุปบาทใด, ในจิตตุปบาทนั้น โดยความนิยม ไม่มีปีติ.

ปีติ ท่านสงเคราะห์เข้าเป็นสังขารขันธ์, สุข ท่านสงเคราะห์เข้าเป็นเวทนา-

ขันธ์, ปีติ เปรียบเหมือนความอิ่มใจ ของบุคคลผู้เหน็ดเหนื่อยในทางกันดาร

เพราะได้เห็นและได้ฟังว่ามีป่าไม้และมีน้ำ, สุข เปรียบเหมือนความสบายใจ

ของบุคคลผู้เหนื่อยในทางกันดาร เพราะได้เข้าไปสู่ร่มเงาแห่งป่าไม้

และได้บริโภคน้ำ ฉะนั้น, บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐานว่า ก็คำที่พระอาจารย์

ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า ปีติ คือ ความยินดีด้วยการได้อิฏฐารมณ์เป็นต้นนั้น

ก็เพราะปีติปรากฏอยู่ ในสมัยนั้น ๆ . ปีตินี้ด้วย สุขนี้ด้วย มีอยู่แก่ฌานนั้น

หรือมีอยู่ในฌานนั้น เพราะเหตุนั้น ฌานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

ปีติสุขํ .

อีกอย่างหนึ่ง ปีติด้วย สุขด้วย ชื่อว่า ปีติและสุข เหมือนธรรม

และวินัยเป็นต้นฉะนั้น. ปีติและสุข เกิดแต่วิเวก มีอยู่แก่ฌานนั้น หรือมีอยู่

ในฌานนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปีติและสุข เกิดแต่วิเวก แม้ดังพรรณนา

มาฉะนี้. เหมือนอย่างว่า ฌานเกิดแต่วิเวกฉันใด, ก็ในฌานนี้ ปีติและสุข

ย่อมเป็นของเกิดแต่วิเวกเหมือนกันฉันนั้น. อนึ่ง ปีติและสุขนั้น มีอยู่แก่

ฌานนั้น เพราะเหตุ๑ ดังนี้นั้น จะกล่าวรวมด้วยบทเดียวกันเลยว่า วิเวกช-

ปีติสุขํ ดังนี้บ้าง ก็ใช้ได้. แต่ในคัมภีร์วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส

ปีติสุขนั่นไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า สุขนี้ สหรคตด้วยปีตินี้๒ ดังนี้. ก็เนื้อความ

แม้ในคัมภีร์วิภังค์นั้น พึงเห็นเหมือนอย่างนี้แล.

๑. วิสุทธิมรรค. ๑ / ๑๘๕ ไม่มี อิติ. ๒. อภิ. วิ. ๓๕ / ๓๔๙.

[ฌานย่อมเผาผลาญธรรมที่เป็นข้าศึก]

บทว่า ปฐมํ คือที่แรก เพราะเป็นลำดับแห่งการคำนวณ.

ฌานนี้ ชื่อว่า ทีแรก เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรบรรลุเป็นครั้งแรก.

คุณธรรม ชื่อว่า ฌาน เพราะอรรถว่า เผาธรรมที่เป็นข้าศึก (มีนิวรณ์

เป็นต้น). พระโยคีทั้งหลาย ย่อมเผา (ธรรมที่เป็นข้าศึกมีนีวรณ์เป็นต้นนั้น)

ด้วยฌานนี้ แม้เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ฌาน. อธิบายว่า พระโยคีทั้งหลาย

ย่อมเผาธรรมที่เป็นข้าศึก หรือย่อมคิดถึงโคจร (คืออารมณ์สำหรับหน่วงมี

กสิณเป็นต้น). อย่างหนึ่ง ชื่อว่า ฌาน เพราะอรรถว่า เพ่ง คือเข้าไป

เพ่งอารมณ์นั้นเสียเอง เพราะเหตุนั้นนั่นแล ฌานนั้น ท่านจึงเรียกว่า มีอัน

เข้าไปเพ่งเป็นลักษณะ.

[ฌานมี ๒ นัย]

ฌานนี้นั้น มีอยู่ ๒ อย่างคือ อารัมมณูปนิชฌาน (เข้าไปเพ่ง

อารมณ์) ลักขณูปนิชฌาน (เข้าไปเพ่งลักษณะ). บรรดาฌานทั้ง ๒ นั้น

สมาบัติ ๘ พร้อมด้วยอุปจาร ท่านเรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

แก้ว่า เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์คือกสิณ.

วิปัสสนามรรคและผล ท่านเรียกว่า ลักขณูปนิชฌาณ.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

แก้ว่า เพราะเข้าไปเพ่งลักษณะ.

จริงอยู่ บรรดาวิปัสสนามรรคและผลเหล่านี้ วิปัสสนา ย่อมเข้าไป

เพ่งไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น. ก็กิจคือการเข้าไปเพ่ง ด้วยวิปัสสนา

ย่อมสำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น มรรคท่านเรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน.

ส่วนผล ท่านก็เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งลักษณะ

ที่แท้จริงแห่งนิโรธ. แต่ในอรรถนี้ ท่านประสงค์เอาอารัมมณูปนิชฌานเท่านั้น

ว่า ฌาน.

ในอธิการว่าด้วยฌานนี้ พระอาจารย์ผู้โจทก์ท้วงว่า ชื่อว่าฌานที่ควร

จะพึงอ้างถึงอย่างนี้ว่า เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร ฯลฯ มีปีติและ

สุข ดังนี้ นั้นเป็นไฉนเล่า ?

ข้าพเจ้า จะกล่าวเฉลยต่อไป :- เปรียบเหมือนบุรุษคนอื่นเว้นเว้นทรัพย์

และปริชนเสีย ย่อมเป็นผู้ไม่สมควรภาวะที่จะพึงอ้างถึงในประโยคมีอาทิว่า ผู้มี

ทรัพย์ ผู้มีปริชน ฉันใด ฌานอื่น เว้นธรรมมีวิตกเป็นต้นเสีย ควรจะพึง

อ้างถึง ย่อมไม่มี ฉันนั้น. เหมือนอย่างว่า การสมมติว่าเสนา ในองค์เสนา

ทั้งหลาย ที่ชาวโลกกล่าวว่า เสนา มีพลรถ มีพลเดินเท้า ดังนี้นั่นแล

บัณฑิตควรทราบฉันใด ในอธิการนี้ ก็ควรทราบ การสมมติว่าฌาน ในองค์

๔ นั้นแลฉันนั้น. ควรทราบในองค์ ๕ เหล่าไหน ? ในองค์ ๕ เหล่านี้ คือ

วิตก ความตรึก วิจาร ความตรอง ปีติ ความอิ่มใจ สุข ความสบายใจ

จิตเตกัคคตา ความที่จิตมีอารมณ์เดียว. จริงอยู่ องค์ ๕ เหล่านี้และ พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยความเป็นองค์แห่งฌานนั้น โดยนัยมีอาทิว่า เป็นไป

กับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร.

ถ้าหากพระอาจารย์ผู้โจทก์พึงท้วงว่า เอกัคคตา (ความที่มีจิตมีอารมณ์

เดียว) จัดเป็นองค์ (แห่งฌาน) ไม่ได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้

(ในบาลีแห่งฌาน) มิใช่หรือ?

แก้ว่า ก็คำที่ท่านกล่าวนั้น ย่อมไม่ถูก.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

แก้ว่า เพราะจิตเตกัคคตาแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบาลี

แห่งฌานนั่นเอง.

จริงอยู่ จิตเตกัคคตาแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แน่นอนใน

คัมภีร์วิภังค์อย่างนี้ว่า วิตก วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ชื่อว่า ฌาน

เพราะฉะนั้น คำที่ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นไปกับด้วยวิตก เป็นไปกับด้วยวิจาร

ดังนี้ ฉันใด แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้ในอธิการนี้ว่า สจิตเตกัคค-

ตา แม้จิตเตกัคคตา ก็ควรทราบว่า เป็นองค์ (แห่งฌาน) ทีเดียว ตาม

พระบาลีในคัมภีร์วิภังค์นี้ ฉันนั้น. จริงอยู่ อุเทศ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำ

ไว้แล้วด้วยพระประสงค์ใด อุเทศนั้นนั่นเอง ก็เป็นอันพระองค์ทรงประกาศไว้

แล้ว แม้ในคัมภีร์วิภังค์ ด้วยพระประสงค์นั้นแล.

[ความหมายแห่ง อุปสัมปัชชศัพท์]

บทว่า อุปสมฺปชฺช แปลว่า เข้าไปใกล้แล้ว. ท่านอธิบายว่า

บรรลุแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า ให้เข้าถึงพร้อมแล้ว คือให้สำเร็จแล้ว.

แต่ในคัมภีร์วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บทว่า อุปสมฺปชฺช คือ

ความได้ ความกลับได้ ความถึง ความถึงพร้อม ความถูกต้อง ความทำให้แจ้ง

ความบรรลุ ซึ่งปฐมฌาน เนื้อความแห่งคำแม้นั้น ก็พึงทราบเหมือนอย่าง

นั้นแล.

บทว่า วิหาสึ ความว่า เรา เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยฌานมีประการ

ดังกล่าวแล้วอย่างนี้ จึงยังการสืบเนื่องกัน การประพฤติเป็นไป การรักษา

การเป็นไป การให้เป็นไป การเที่ยวไป การพักอยู่แห่งอัตภาพให้สำเร็จ ด้วย

อริยาบถวิหาร กล่าวคือการนั่งอยู่ ณ โพธิมัณฑ์. ข้อนี้ สมจริงดังที่พระองค์

ตรัสไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า บทว่า วิหรติ ความว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติ

เป็นไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่. ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า พักอยู่

ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำอะไร จึงทรงเข้าฌานนี้อยู่ ?

แก้ว่า ทรงเจริญกรรมฐาน.

ถามว่า ทางเจริญกรรมฐานอะไร ?

แก้ว่า ทรงเจริญอานาปาสติกรรมฐาน.

ถามว่า คนอื่น ผู้มีความต้องการอานาปานสติกรรมฐานนั้นควรทำ

อย่างไร ?

แก้ว่า แม้คนอื่น ก็ควรเจริญกรรมฐานนั้น หรือบรรดากรรมฐาน

ทั้งหลายมีปฐวีกสิณเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.

นัยแห่งการเจริญอานาปานสติกรรมฐานเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบโดย

นัยที่กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแล. ก็เมื่อข้าพเจ้าจะกล่าวนัยแห่งการเจริญ

ไว้ในอธิกานี้ นิทานแห่งพระวินัยก็จะเป็นภาระหนักยิ่ง. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า

จะทำเพียงการประกาศเนื้อความแห่งพระบาลีเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

กถาว่าด้วยปฐมฌาน จบ . __

วิตก มีลักษณะยกจิตไว้ในอารมณ์. วิจาร

มีลักษณะคลุกเคล้าอารมณ์. อนึ่ง เมื่ออารมณ์เหล่านั้นยังไม่ออกไป

ในที่ไหน ๆ วิตก คือ อารมณ์ที่เกาะจิตเป็นครั้งแรก ด้วยอรรถว่า

เป็นอารมณ์หยาบ และด้วยอรรถไปถึงก่อนดุจเคาะระฆัง, วิจาร คือ

อารมณ์ที่ผูกพันอยู่กับจิต ด้วยอรรถว่า เป็นอารมณ์ละเอียดและมีสภาพ

คลุกเคล้าด้วยจิต ดุจเสียงครางของระฆัง.


กถาว่าด้วยทุติยฌาน

สองบทว่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา ความว่า เพราะเข้าไปสงบ

คือเพราะก้าวล่วงองค์ทั้ง ๒ เหล่านี้ คือ วิตกและวิจาร. มีอธิบายว่า เพราะ

วิตกวิจารไม่ปรากฏในขณะแห่งทุติยฌาน.

พึงทราบสันนิษฐานว่า ในบรรดาฌานทั้ง ๒ นั้น ธรรมในปฐมฌาน

แม้ทั้งหมด ไม่มีอยู่ในทุติยฌาน ด้วยว่า ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น มีอยู่

ในปฐมฌานเป็นอย่างหนึ่ง ในทุติยฌานนี้ ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แม้ก็จริง ถึง

กระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนี้ว่า เพราะเข้าไปสงบวิตกวิจาร เพื่อ

จะทรงแสดงว่า การบรรลุฌานอื่นจากปฐมฌานมีทุติยฌานเป็นต้น. จะมีได้

เพราะก้าวล่วงองค์ที่หยาบ ๆ ได้.

[อรรถาธิบายอัชฌัตตศัพท์]

ในอธิการนี้ บัณฑิตประสงค์เอา นิยกัชฌัตตัง ชื่อว่า อัชฌัตตัง.

แต่ในคัมภีร์วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพียงเท่านี้ว่า อัชฌัตตังปัจจัต-

ตัง * เท่านั้น. ก็เพราะบัณฑิตประสงค์เอานิยกัชฌัตตัง ชื่อว่า อัชฌัตตัง

ฉะนั้น ในบทว่า อชฺฌตฺตํ นี้ บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความดังนี้ว่า เกิดแล้ว

ในตน คือเกิดแล้วในสันดานของตน.

[อรรถาธิบาย สัมปสาทนศัพท์]

ศรัทธา (ความเชื่อ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า สัมปสาทนะ

ในบทว่า สมฺปสาทนํ นี้ แม้ฌาน ก็ตรัสเรียกว่า สัมปสาทนะ เพราะ

ประกอบด้วยความผ่องใส เหมือนผ้าสีเขียว เพราะประกอบด้วยสีเขียวฉะนั้น

อีกอย่างหนึ่ง เพราะฌานนั้น ย่อมยังใจให้เลื่อมใสด้วยดี เพราะประกอบด้วย

ศรัทธาที่เป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส (และ) เพราะสงบระงับความกำเริบแห่ง

วิตกและวิจารเสียได้ เพราะเหตุแม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สมฺป-

สาทนํ . ก็ในอรรถวิกัปนี้ พึงทราบสัมพันธ์เฉพาะบทอย่างนี้ว่า สมฺปสาทนํ

เจตโส (เป็นความผ่องใสแห่งใจ). แต่ในอรรถวิกัปต้น พึงประกอบบทว่า

เจตโส นั่น เข้ากับ เอโกทิภาวะ.

[อรรถาธิบาย เอโกทิภาวศัพท์]

ในบทว่า เอโกทิภาวํ นั้น มีอรรถโยชนาดังต่อไปนี้ :- สมาธิ

ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้น. อธิบายว่า ชื่อว่าเป็น

ธรรมที่เลิศ คือธรรมประเสริฐที่สุด ผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารไม่ผุดขึ้น. จริงอยู่

แม้คนที่ประเสริฐที่สุด เข้าก็เรียกว่า เป็นเอก ในโลก. อีกอย่างหนึ่ง จะกล่าวว่า

สมาธิที่เว้นจากวิตกและวิจาร ชื่อว่าเป็นธรรมเอก คือไม่สหาย ดังนี้บ้าง

ก็ควร อีกบรรยายหนึ่ง สมาธิ ชื่อว่า อุทิ เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัมปยุตธรรม

ให้ผุดขึ้น อธิบายว่า ให้ตั้งขึ้น, สมาธินั้น เป็นเอก เพราะอรรถว่า ประเสริฐ

และผุดขึ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอโกทิ. คำว่า เอโกทิ นั่น เป็นชื่อ

ของสมาธิ. ทุติยฌาน ย่อมยังสมาธิที่ชื่อว่า เอโกทิ นี้ ดังกล่าวนี้ให้เกิด

คือให้เจริญ. เหตุนั้น ทุติยฌานนี้ จึงชื่อว่า เอโกทิภาพ. ก็เพราะสมาธิที่

ชื่อว่า เอโกทิ นี้นั้นย่อมมีแก่ใจ หามีแก่สัตว์ แก่ชีวะไม่ ฉะนั้น ทุติยฌานนั่น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจตโส เอโกทิภาวํ (เป็นเอโกทิภาพแห่งใจ).

มีคำถามว่า ก็ศรัทธานี้ และสมาธิที่มีชื่อว่าเอโกทินี้มีอยู่ในปฐมฌาน

มิใช่หรือ ? เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ทุติยฌานนี้เท่านั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า จึงตรัสว่า เป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส และว่า เป็นเอโกทิภาพเล่า ?

ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป :- ด้วยว่า ปฐมฌานโน้น ชื่อว่า ยังไม่

ผ่องใสดี เพราะวิตกและวิจารยังกำเริบได้ ดุจน้ำที่ขุ่นเพราะคลื่นและระลอก

ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น แม้เมื่อศรัทธามีอยู่ ก็พึงทราบว่า ปฐมฌานนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสว่า เป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส. อนึ่ง เพราะความที่

ปฐมฌานยังไม่ผ่องใสด้วยดีนั่นแล แม้สมาธิในปฐมฌานนี้ ก็ยังหาเป็นธรรม

ปรากฏด้วยดีไม่ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ปฐมฌานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

มิได้ตรัสว่าเป็นเอโกทิภาพบ้าง. ส่วนศรัทธามีกำลังได้โอกาสแล้ว เพราะใน

ฌานนี้ไม่มีเหตุเครื่องกังวลคือวิตกวิจาร แม้สมาธิก็ปรากฏ เพราะกลับได้สหาย

คือศรัทธามีกำลัง เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ทุติยฌานนี้เท่านั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงตรัสไว้อย่างนี้. แต่ในคัมภีร์วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส

ไว้เพียงเท่านี้นั่นแลว่า ที่ชื่อว่า สัมปสาทนะ นั้น ได้แก่ศรัทธา ความเชื่อถือ

ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ที่ชื่อว่า เจตโส เอโกทิภาวะ นั้น

ได้แก่ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ ดังนี้. ก็อรรถวรรณนา

นี้รวมกัปปาฐะในคัมภีร์วิภังค์นั่น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนั้น ย่อม

ไม่ผิด คือย่อมเทียบเคียง และเสมอกันได้โดยแท้ ฉันใด บัณฑิต พึงทราบ

อรรถวรรณนานี้ ฉันนั้น.

[อรรถาธิบายทุติฌานไม่มีวิตกและวิจารเพราะสงบไปแล้ว]

ในคำว่า อวิตกฺกํ อวิจารํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ทุติยฌานชื่อว่า

ไม่มีวิตก เพราะอรรถว่า วิตกไม่มีในทุติยฌานนี้ หรือแก่ทุติยฌานนี้ เพราะ

ละวิตกได้ด้วยภาวนา. ทุติยฌาน ชื่อว่าไม่มีวิจารก็โดยนัยนี้แล. แม้ในคัมภีร์

วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้แล้วว่า วิตกนี้และวิจารนี้ สงบ ระงับ

เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศ

ได้ด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุด

ปราศไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยประการ ฉะนี้.

ในอธิการนี้ พระอาจารย์ผู้โจทก์ท้วงว่า ก็เนื้อความนี้ สำเร็จแล้ว

แม้ด้วยบทว่า เพราะสบงระงับวิตกและวิจาร ดังนี้มิใช่หรือ ? เมื่อเป็นเช่นนั้น

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้อีกว่า ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร

ดังนี้เล่า ?

ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป : - เนื้อความนี้สำเร็จแล้วอย่างนั้น จริง

ทีเดียว แต่คำว่า เพราะสงบระงับวิตกและวิจารนี้ แสดงอรรถ กล่าวคือความ

ไม่มีวิตกวิจารนั้น. ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วมิใช่หรือว่า ถึงกระนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ก็ตรัสไว้อย่างนี้ว่า เพราะสงบระงับวิตกและวิจาร เพื่อจะทรงแสดงว่า

การบรรลุฌานเป็นต้นอื่นจากปฐมฌาน ย่อมมีได้ เพราะก้าวล่วงองค์ที่หยาบ ๆ

ได้ อีกอย่างหนึ่ง ทุติยฌานนี้ ชื่อว่า สัมปสาทนะ เพราะสงบวิตกและ

วิจารเสียได้ หาใช่เพราะเข้าไปสงบความฟุ้งขึ้นแห่งโทษกล่าวคือกิเลสไม่ และ

ทุติยฌานนี้ ชื่อว่า เอโกทิภาพ เพราะสงบวิตกและวิจาร และทุติยฌานนี้

ชื่อว่า เอโกทิภาพ เพราะละนิวรณ์เสียได้ ไม่เหมือนอุปจารฌาน และ

ทุติยฌานนี้ ชื่อว่า เอโกทิภาพ เพราะมีองค์ปรากฏไม่เหมือนปฐมฌาน.

เพราะเหตุนั้น คำว่า เพราะสงบวิตกวิจารนี้ ย่อมเป็นคำแสดงถึง

เหตุแห่งความที่ทุติยฌานเป็นเครื่องยังใจให้ผ่องใส และเป็นธรรมเอกยังสมาธิ

ให้ผุดขึ้น ดังกล่าวมาแล้วนี้ . อนึ่ง ทุติยฌานนี้ ชื่อว่าไม่มีวิตกไม่มีวิจาร

เพราะสงบวิตกและวิจารเสียได้, ทุติยฌานนี้ชื่ออวิตกกาวิจาร เพราะไม่มีทั้งวิตก

และวิจาร หาเหมือนตติยฌานจตุตถฌาน และเหมือนวิญญาณมีจักษุวิญญาณ

เป็นต้นฉะนั้นไม่ เพราะเหตุนั้น คำว่า เพราะสงบวิตกวิจารนี้ ย่อมเป็นคำ

แสดงถึงเหตุแห่งความที่ทุติยฌานไม่มีทั้งวิตกไม่มีทั้งวิจาร และหาใช่เป็นคำ

แสดงเพียงสักว่า ความไม่มีแห่งวิตกและวิจารไม่ ดังกล่าวมาฉะนี้. แต่คำว่า

ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร นี้ ก็เป็นคำแสดงเพียงสักว่า ความไม่มีแห่งวิตกและวิจาร

เท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ตรัสคำต้นแล้ว ก็ควรตรัส

คำหลังอีก.

บทว่า สมาธิชํ ความว่า เกิดจากปฐมฌานสมาธิ หรือจากสมาธิที่

สัมปยุตกัน. ในพระบาลีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทุติยฌานนี้เท่านั้นว่า

เกิดจากสมาธิ เพื่อสรรเสริญทุติยฌานนี้ เพราะถึงแม้ปฐมฌาน จะเกิดจาก

สมาธิที่สัมปยุต แม้ก็จริง, ถึงกระนั้น สมาธินี้เท่านั้น ควรเรียกได้ว่า สมาธิ

เพราะเป็นสมาธิที่ไม่หวั่นไหวและผ่องใสอย่างยิ่ง เหตุเว้นจากความกระเพื่อม

แห่งวิตกวิจาร.

คำว่า ปีติสุขํ นี้ มีนัยดังกล่าวมาแล้วนั่นเอง.

บทว่า ทุติยํ คือเป็นที่ ๒ โดยลำดับแห่งการคำนวณ. ฌานนี้ชื่อว่า

ที่ ๒ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรบรรลุเป็นครั้งที่ ๒ ดังนี้บ้าง.

[ปฐมฌานมีองค์ ๕ ทุติยฌานมีองค์ ๓]

ก็ในคำว่า ฌานํ นี้ พึงทราบว่า ปฐมฌานมีองค์ ๕ เพราะองค์

ทั้งหลายมีวิตกเป็นต้น ฉันใด, ทุติยฌานนี้ ก็มีองค์ ๔ เพราะองค์ทั้งหลาย

มีสัมปสาทะเป็นต้น ฉันนั้น. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

สัมปสาทะ (ความผ่องใส) ปีติ (ความอิ่มใจ) สุข (ความสบายใจ) เอกัคคตา

แห่งจิต ชื่อว่า ฌาน อันนั้นเป็นนัยทางอ้อมเท่านั้น. แต่โดยนัยทางตรง

ทุติยฌานนั่น เว้นองค์คือสัมปสาทะเสียแล้ว มีเพียงองค์ ๓ เท่านั้น. เหมือน

อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา

แห่งจิต มีอยู่ในสมัยนั้น เป็นไฉน? คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

กถาว่าด้วยทุติยฌาน จบ __


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

กถาว่าด้วยตติยฌาน

ปีติในคำว่า ปีติยา จ วิราคา นี้ มีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ความเกลียดชัง หรือความก้าวล่วงปีตินั้น ชื่อว่า วิราคะ (ความสำรอก).

จ ศัพท์ ในระหว่างบททั้ง ๒ มีการประมวลมาเป็นอรรถ. จ ศัพท์ ประมวล

มาซึ่งความสงบ หรือความเข้าไปสงบวิตกวิจาร. พึงทราบโยชนาอย่างนี้ว่า

ในการประมวลทั้งสองอย่างนั้น ในกาลใดประมวลความสงบมาอย่างเดียว ใน

เวลานั้น เพราะสำรอกปีติ และเพราะสงบได้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย. ก็ในโยชนานี้

วิราคะ ศัพท์ มีความเกลียดชังเป็นอรรถ เพราะฉะนั้น พึงเห็นใจความดังนี้

ว่า เพราะเกลียดชัง และเพราะระงับปีติ.

พึงทราบโยชนาอย่างนี้ว่า ก็ในเวลาใด ประมวลความสงบระงับวิตก

วิจารมา ในเวลานั้น เพราะสำรอกปีติ และเพราะเข้าไปสงบวิตกวิจารเพิ่มขึ้น

อีกเล็กน้อย. และในโยชนานี้ วิราคะ ศัพท์ มีความก้าวล่วงเป็นอรรถ เพราะ

ฉะนั้น พึงเห็นใจความดังนี้ว่า เพราะก้าวล่วงปีติ และเพราะสงบระงับวิตก

วิจาร.

อนึ่ง วิตกวิจารเหล่านี้ สงบแล้วในทุติยฌานทีเดียวก็จริง ถึงกระนั้น,

คำว่า เพราะเข้าไปสงบวิตกวิจาร นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ก็เพื่อจะ

ทรงแสดงอุบายเครื่องบรรลุฌานนี้ และเพื่อกล่าวสรรเสริญ (ฌานนี้).

ถามว่า จริงอยู่ เมื่อพระองค์ตรัสว่า และเพราะความสงบระงับวิตก

วิจาร คำนี้ ย่อมปรากฏว่า ความสงบระงับวิตกวิจารก็เป็นอุบายเครื่องบรรลุ

ฌานนี้ มิใช่หรือ ?

แก้ว่า เหมือนอย่างว่าในอริยมรรคที่ ๓ ท่านกล่าวการละไว้อย่างนี้ว่า

เพราะละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๒ มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้นที่ยังละไม่ได้

ย่อมเป็นการกล่าวสรรเสริญ (อริยมรรคที่ ๓) เพื่อจะให้เกิดความอุตสาหะ

แก่เหล่าชนผู้มีความขวนขวาย เพื่อบรรลุอริยมรรคที่ ๓ นั้น ฉันใด, ใน

ตติยฌานนี้ ท่านกล่าวความสงบระงับวิตกวิจาร แม้ที่ยังไม่สงบราบคาบไว้

เป็นการกล่าวสรรเสริญ (ฌานนี้) ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวใจความนี้ไว้ว่า เพราะก้าวล่วงปีติ และเพราะความสงบระงับวิตกวิจาร

ดังนี้.

ในคำว่า อุเปกฺขโก จ วิหาสึ นี้ มีวินิจฉันดังนี้ :- ธรรมชาติ

ที่ชื่อว่า อุเบกขา เพราะอรรถว่า เพ่งโดยอุบัติ. อธิบายว่า ย่อมเห็นเสมอ

คือย่อมเห็นไม่ตกไปเป็นฝักเป็นฝ่าย. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยตติยฌาน ท่าน

เรียกว่า ผู้มีอุเบกขา. เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขานั้น อันสละสลวย

ไพบูลย์ มีกำลัง

[อุเบกขา ๑๐ อย่าง]

ก็อุเบกขามีอยู่ ๑๐ อย่าง คือ

๑. ฉฬังคุเปกขา อุเบกขาในองค์ (คืออารมณ์) ๖.

๒. พรหมวิหารรุเปกขา อุเบกขาในพรหมวิหาร.

๓. โพชฌังคุเปกขา อุเบกขาในโพชฌงค์.

๔. วิริยุเปกขา อุเบกขาในวิริยะ.

๕. สังขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร.

๖. เวทนุเปกขา อุเบกขาในเวทนา.

๗. วิปัสสนุเปกขา อุเบกขาในวิปัสสนา.

๘. ตัตรมัชฌัตตุเปกขา อุเบกขาในความวางตนเป็นกลางใน

ธรรมนั้น ๆ.

๙. ฌานุเปกขา อุเบกขาในฌาน.

๑๐. ปาริสุทธุเปกขา อุเบกขาในความบริสุทธิ์.

อุเบกขาแม้ทั้ง ๑๐ อย่าง ดังกล่าวมานี้ พึงทราบตามนัยที่ท่านกล่าว

ไว้แล้ว ในวรรณาแห่งภยเภรสูตร ในอรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี

หรือในอรรถกถาธรรมสังคหะ ชื่ออัตถสาลินี โดยนัยอันมาแล้วในที่นั้น ๆ

และด้วยความสามารถแห่งสังเขปหรือภูมิ บุคคล จิต อารมณ์ ขันธสังคหะ เอกขณจิต

และกุสลติกะ. ก็อุเบกขา เมื่อข้าพเจ้าจะกล่าวไว้ในอธิการนี้ ย่อมทำนิทาน

แห่งพระวินัยให้เป็นภาระหนักยิ่ง, เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่กล่าว.

[อรรถาธิบายลักษณะแห่งอุเบกขา]

ส่วนอุเบกขาที่ประสงค์เอาในอธิการนี้ โดยลักษณะเป็นต้น พึงทราบ

ว่า มีความมัธยัสถ์ (ความเป็นกลาง) เป็นลักษณะ มีความไม่คำนึงเป็นรส

มีความไม่ขวนขวายเป็นปัจจุปัฏฐาน มีความสำรอกปีติเป็นปทัฏฐาน.

ในอธิการว่าด้วยตติยฌานนี้ พระอาจารย์ผู้โจทก์ท้วงว่า ก็ฌานุเบกขานี้

โดยอรรถก็คือ ตัตรมัชฌัตตุเบกขานั่นเอง และฌานุเบกขานั้น ก็มีอยู่แม้ใน

ปฐมฌานและทุติฌาน เพราะฉะนั้น ฌานุเบกขานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็ควรจะตรัสไว้แม้ในปฐมฌานและทุติยฌานนั้น อย่างนี้ว่า อุเปกฺขโก จ

วิหาสึ ดังนี้ มิใช่หรือ ? เพราะเหตุไร จึงไม่ตรัสฌานุเบกขานั้นไว้เล่า ?

เฉลยว่า เพราะมีกิจยังไม่ปรากฏชัด. จริงอยู่ กิจแห่งฌานุเบกขานั้น

ในปฐมฌานและทุติยฌานนั้น ชื่อว่ายังไม่ปรากฏชัด เพราะถูกปฏิปักขธรรม

มีวิตกเป็นต้นครอบงำ. ส่วนในตติยฌานนี้ ฌานุเบกขานี้ เกิดมีกิจปรากฏชัด

เป็นดุจยกศีรษะขึ้นได้แล้ว เพราะวิตกวิจารและปีติครอบงำไม่ได้ เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสฌานุเบกขานั้นไว้แล.

การพรรณนาอรรถ โดยประการทั้งปวงแห่งบทว่า อุเปกฺขโก จ

วิหาสึ นี้ จบแล้ว.

[อธิบายลักษณะแห่งสติและสัมปชัญญะ]

บัดนี้จะวินิจฉัยในบาลีนี้ว่า สโต จ สมฺปชาโน. ชื่อว่าสโต เพราะ

อรรถว่า ระลึกได้, ชื่อว่าสัมปชาโน เพราะอรรถว่า รู้ชัดโดยชอบ สติและ

สัมปชัญญะตรัสโดยบุคคล. ในสติและสัมปชัญญะนั้น สติมีความระลึกได้เป็น

เครื่องกำหนด มีความไม่หลงลืมเป็นกิจ มีการควบคุมเป็นเหตุเครื่องปรากฏ.

สัมปชัญญะ มีความไม่หลงเป็นเครื่องกำหนด มีความพิจารณาเป็นกิจ มีความ

สอดส่องเป็นเครื่องปรากฏ. ก็สติและสัมปชัญญะนี้ พึงทราบโดยพิสดาร ตาม

นัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในวรรณนาแห่งสติปัฏฐานสูตร ในอรรถกถา-

มัชฌิมนิกายนั่นแล.

บรรดาธรรมในตติยฌานนั้น สติและสัมปชัญญะนี้มีอยู่แม้ในฌาน

ก่อน ๆ โดยแท้ เพราะว่า แม้คุณชาติเพียงอุปจาร ย่อมไม่สำเร็จแก่พระโยคาวจร

ผู้มีสติหลง ไม่มีสัมปชัญญะ, จะกล่าวไปไยถึงอัปปนา. ถึงกระนั้น เพราะ

ความฌานเหล่านั้นหยาบ การดำเนินไปของจิตจึงมีความสะดวก เหมือนการ

ดำเนินไปบนภาคพื้นของบุรุษฉะนั้น กิจแห่งสติและสัมปชัญญะในฌานเหล่านั้น

จึงยังไม่ปรากฏชัด. ก็เพราะความที่ฌานนี้ละเอียด เพราะละองค์ที่หยาบได้

การดำเนินไปของจิต อันกิจแห่งสติและสัมปชัญญะกำกับแล้วทีเดียว

จำปรารถนา เหมือนการเดินใกล้คมมีดโกนของบุรุษฉะนั้น เพราะเหตุนี้

จึงตรัสไว้ในตติยฌานนี้ทีเดียว. ยังมีข้อที่จะถึงกล่าวเพิ่มเติมอีกสักเล็กน้อย.

นักปราชญ์พึงทราบสันนิษฐานว่า คำนี้ว่า สโต จ สมฺปชาโน ที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ในตติยฌานนี้เท่านั้น ก็เพื่อแสดงเนื้อความพิเศษแม้นี้ว่า

ลูกโคที่ยังติดแม่โค ถูกพรากจากแม่โค เมื่อไม่คอยควบคุมไว้ ย่อมเข้าหา

แม่โคอีกนั่นเองฉันใด ความสุขในตติยฌานนี้ก็ฉันนั้น ถูกพรากจากปีติแล้ว

ความสุขนั้นเมื่อไม่คอยควบคุมด้วยเครื่องควบคุมคือสติและสัมปชัญญะ พึง

เข้าหาปีติอีกทีเดียว พึงเป็นสุขที่สัมปยุตด้วยปีตินั้นเอง. ถึงแม้ว่าสัตว์ทั้งหลาย

ย่อมกำหนัดนักในความสุข และความสุขนี้ก็เป็นสุขหวานยิ่งนัก เพราะไม่มี

สุขยิ่งไปกว่านั้น แต่ความไม่กำหนัดนักในความสุข ย่อมมีในตติยฌานนี้ ด้วย

อานุภาพแห่งสติและสัมปชัญญะ มิใช่มีด้วยประการอื่นดังนี้.

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทสึ

นี้ต่อไป :-

พระโยคีผู้พรั่งพร้อมด้วยตติยฌาน ไม่มีความรำพึงในการเสวยความ

สุข แม้ก็จริง ถึงเมื่อเป็นเช่นนั้น พระโยคีนั้น แม้ออกจากฌานแล้ว ก็พึง

เสวยสุขได้ เพราะเหตุที่รูปกายของท่าน อันรูปที่ประณีตยิ่ง ซึ่งมีความสุขที่

สัมปยุตด้วยนามกายของท่าน หรือความสุขที่ประกอบนามกายนั้นเป็นสมุฏฐาน

ถูกต้อง ซึมซาบแล้ว.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น

จึงตรัสว่า สุขญฺจ กายเยน ปฏิสํเวเทสึ ดังนี้.

บัดนี้ จะวินิจฉัยในคำว่า ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก

สติมา สุขวิหารี นี้ต่อไป :-

พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมบอก คือย่อมแสดง

ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก ย่อมกระทำให้ตื่น,

อธิบายว่า ย่อมประกาศ คือย่อมสรรเสริญ ซึ่งบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียง

ด้วยตติยฌานนั้น เพราะเหตุแห่งฌานใด คือพระฌานใดเป็นเหตุ. ย่อม

สรรเสริญว่า อย่างไร ? ย่อมสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

ดังนี้. เราเข้าถึงตติยฌานนั้นอยู่แล้ว, โยชนาในคำว่า ยนฺตํ อริยา เป็นดังนี้

พึงทราบดังพรรณนามาอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุใด พระอริยเจ้าเหล่านั้น จึงสรรเสริญบุคคล

ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยตติยฌานนั้นไว้อย่างนั้น ?

แก้ว่า เพราะเป็นผู้มีความสรรเสริญ.

จริงอยู่ เพราะพระโยคีนี้ เป็นผู้มีความวางเฉยในตติยฌาน ซึ่งมี

ความสุขอันหวานใจยิ่งนัก ที่ถึงฝั่งแห่งความสุขแล้วก็ตาม หาถูกความใคร่ใน

สุขคร่าไปในตติยฌานนั้นได้ไม่ และชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะเป็นผู้มีสติตั้งมั่น

โดยอาการที่ปีติจะเกิดขึ้นไม่ได้. และเพราะท่านได้เสวยความสุขอันไม่เศร้า

หมอง ที่เป็นอริยกันต์ และอันอริยชนช่องเสพแล้วนั่นเอง ด้วยนามกาย

ฉะนั้น จึงเป็นผู้ที่ควรสรรเสริญ.

พึงทราบสันนิษฐานว่า เพราะเป็นผู้ที่ควรสรรเสริญ พระอริยเจ้า

ทั้งหลาย เมื่อจะประกาศคุณที่เป็นเหตุอันควรสรรเสริญเหล่านั้น จึงสรรเสริญ

บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยตติยฌานนั้น อย่างนี้ว่าเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ

อยู่เป็นสุข ดังพรรณนามาฉะนี้.

บทว่า ตติยํ คือเป็นที่ ๓ ตามลำดับแห่งการคำนวณ. ฌานนี้

ชื่อว่าที่ ๓ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรบรรลุครั้งที่ ๓ ดังนี้บ้าง.

[ทุติยฌานมีองค์ ๔ ตติยฌานมีองค์ ๕]

ในคำว่า ฌานํ นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า ทุติยฌานมีองค์ ๔ ด้วย

องค์ทั้งหลายมีสัมปสาทะเป็นต้น ฉันใด. ตติยฌานนี้ก็มีองค์ ๕ ด้วยองค์

ทั้งหลายมีอุเบกขาเป็นต้น ฉันนั้น. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

ว่า อุเบกขา (ความวางเฉย) สติ (ความระลึกได้) สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว)

สุข (ความสบายใจ) เอกัคคตาแห่งจิต (ความที่จิตมีอารมณ์เดียว) ชื่อว่า

ฌาน* ดังนี้. อันนั่น เป็นนัยทางอ้อมเท่านั้น. แต่โดยนัยทางตรง ตติยฌาน

นั้น เว้นองค์ คือ อุเบกขา สติ และสัมปชัญญะเสีย ย่อมประกอบด้วย

องค์ ๒ เท่านั้น. เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ฌานมีองค์ ๒ คือ

สุข และเอกัคคตาแห่งจิต มีอยู่ในสมัยนั้น เป็นไฉน ? คำที่เหลือ มีนัย

ดังกล่าวมาแล้วนั้น

กถาว่าด้วยตติยฌาน จบ . __


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

กถาว่าด้วยจตุตถฌาน

* คำว่า เพราะละสุขและเพราะละทุกข์เสียได้ ดังนั้น คือ เพราะ

ละสุขทางกายและทุกข์ทางกาย. คำว่า ในก่อนเทียว ความว่า ก็การละสุข

และทุกข์นั้นแล ได้มีแล้วในก่อนแท้ มิใช่มีในขณะจตุตถฌาน. คำว่า เพราะ

ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งโสมนัสและโทมนัส ดังนี้นั้น ความว่า เพราะถึงความ

ตั้งอยู่ไม่ได้ มีคำอธิบายว่า เพราะละได้นั่นแล ซึ่งธรรม ๒ ประการเหล่านี้

คือสุขทางใจและทุกข์ทางใจ ในก่อนเทียว.

ถามว่า ก็จะละสุขและทุกข์โสมนัสและโทมนัสเหล่านั้นได้ เมื่อไร ?

แก้ว่า ในขณะแห่งอุปจารแห่งฌานทั้ง ๔.

จริงอยู่ โสมนัสอันพระโยคาวจรละได้ในขณะแห่งอุปจารแห่งฌาน

ที่ ๔ นั้นแล. ทุกข์โทมนัสและสุขละได้ในขณะแห่งอุปจารแห่งฌานที่ ๑ ที่ ๒

และที่ ๓. ด้วยประการดังกล่าวมานี้ พึงทราบการละสุขทุกข์โสมนัสและ

โทมนัสเหล่านี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้โดยลำดับแห่งการละทีเดียว,

แต่ก็ได้ตรัสไว้แม้ในที่นี้โดยลำดับอุเทศแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในอินทรีย์วิภังค์

นั่นแล.

มีคำถามว่า ก็ถ้าสุขทุกข์เป็นต้นเหล่านี้ พระโยคาวจรละได้ในขณะ

แห่งอุปจารแห่งฌานนั้น ๆ ไซร้, เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร จึงตรัสการดับ

(สุขทุกข์เป็น) ไว้ในฌานทั้งหลายนั่นแลอย่างนี้ว่า ก็ทุกขินทรีย์ เกิดขึ้นแล้ว

ดับหาเศษมิได้ในฌานไรเล่า ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย ฯ ล ฯ เข้าถึงปฐมฌานอยู่, ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว

*องค์การศึกษาแผนกบาลีแปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๐๔

ดับหาเศษมิได้ฌานนี้, ก็โทมนัสสินทรีย์. . . สุขินทรีย์. . . โสมนัสลินทรีย์

. . . เกิดขึ้นแล้ว ดับหาเศษมิได้ในฌานไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขเสียได้ ฯ ล ฯ เข้าถึงจตุตถฌานอยู่ โสมนัส-

สินทรีย์ เกิดขึ้นแล้ว ดับหาเศษมิได้ในฌานนี้ ดังนี้เล่า.

มีคำแก้ว่า เพราะเป็นความดับอย่างประเสริฐ. จริงอยู่ ความดับทุกข์

เป็นต้นเหล่านั้น ในฌานทั้งหลายมีปฐมฌานเป็นต้น เป็นความดับอย่าง

ประเสริฐ. แต่ความดับในขณะแห่งอุปจารเท่านั้น หาเป็นความดับอย่าง

ประเสริฐไม่. จริงอย่างนั้น ทุกขินทรีย์ แม้ดับแล้วในอุปจารแห่งปฐมฌาน

ซึ่งมีอาวัชชนะต่าง ๆ กัน แต่พึงเกิดขึ้นได้อีก เพราะสัมผัสมีเหลือบและยุง

เป็นต้น หรือเพราะความเดือนร้อนอันเกิดจากการนั่งไม่สม่ำเสมอ, แต่จะเกิด

ในภายในอัปปนาไม่ได้เลย. อีกอย่างหนึ่ง ทุกขินทรีย์นั่น แม้ดับแล้วใน

อุปจาร ยังดับไม่สนิทดี เพราะธรรมที่เป็นข้าศึกยังกำจัดไม่ได้. ส่วนภายใน

อัปปนา กายทั้งสิ้นหยั่งลงสู่ความสุข เพราะมีปีติซาบซ่าน และทุกขินทรีย์

ของพระโยคาวจรผู้มีกายหยั่งลงสู่ความสุข จัดว่าดับไปแล้วด้วยดี เพราะธรรม

ที่เป็นข้าศึกถูกกำจัดเสียได้.

ก็โทมนัสสินทรีย์ที่พระโยคาวจรและได้แล้ว ในอุปจารแห่งทุติยฌาน

ซึ่งมีอาวัชชนะต่าง ๆ กันนั่นแล แต่พึงเกิดขึ้นได้อีก เพราะโทมนัสสินทรีย์นั่น

เมื่อมีความลำบากกายและและความคับแค้นใจแม้ที่มีวิตกวิจารเป็นปัจจัยอยู่ ย่อม

บังเกิดขึ้นได้ แต่จะเกิดไม่ได้เลยในเพราะไม่มีวิตกวิจาร, แต่โทมนัสสินทรีย ์

จะเกิดในจิตตุปบาทใด เพราะมีวิตกวิจารจึงเกิดขึ้นในจิตตุปบาทนั้น, วิตก

วิจารในอุปจารแห่งทุติยฌานท่านยังละไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น โทมนัสสินทรีย์

นั้น พึงเกิดได้ในอุปจารแห่งทุติยฌานนั้น เพราะมีปัจจัยที่ยังละไม่ได้ แต่

ในทุติยฌานจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย เพราะมีปัจจัยอันละได้แล้ว.

อนึ่ง สุขินทรีย์ แม้ที่ละได้แล้วในอุปจารแห่งตติยฌาน ก็พึงบังเกิด

ขึ้นแก่พระโยคาวจรผู้มีกายอันรูปที่ประณีต ซึ่งมีปีติเป็นสมุฏฐานถูกต้องแล้ว

แต่ในตติยฌานเกิดขึ้นไม่ได้เลย. จริงอยู่ ปีติอันเป็นปัจจัยแห่งความสุขใน

ตติยฌาน ดับไปแล้วโดยประการทั้งปวงแล. อนึ่ง โสมนัสสินทรีย์ แม้ที่ละ

ได้แล้วในอุปจารแห่งจตุตถฌาน ก็พึงเกิดขึ้นอีกได้ เพราะใกล้ต่อปีติ และ

เพราะยังไม่ผ่านไปด้วยดี เพราะยังไม่มีอุเบกขาที่ถึงอัปปนา, แต่ในจตุตถฌาน

จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย. เพราะเหตุดังที่กล่าวมานี้นั้นแล พระผู้พระภาคเจ้าจึง

ทรงทำอปริเสสศัพท์ไว้ในที่นั้น ๆ ว่า ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว ดับหาเศษมิได้

ในฌานนี้ ดังนี้แล.

ในอธิการแห่งจตุตถฌานนี้ พระอาจารย์โจทก์ท้วงว่า ถ้าเมื่อเป็น

อย่างนั้น เวทนาเหล่านั้น แม้ที่ละได้แล้วในอุปจารแห่งฌานนั้น ๆ เพราะเหตุไร

ในจตุตถฌานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงประมวลมาไว้อีกเล่า ?

แก้ว่า เพื่อให้ถือเอาสะดวก (เพื่อเข้าใจง่าย) .

จริงอยู่ อทุกขมสุขเวทนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในองค์ฌาน

นี้ว่า อทุกฺขมสุขํ (ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข) นี้ เป็นของละเอียด รู้ได้โดยยาก

ไม่สามารถจะถือเอาได้โดยสะดวก, เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรง

ประมวลเวลาเหล่านั้นมาไว้ทั้งหมด เพื่อให้ถือเอาสะดวก เปรียบเหมือน

เพื่อจะจับโคดุ ซึ่งใคร ๆ ไม่สามารถจะเข้าไปจับใกล้ ๆ ได้ โดยประการใด

ประการหนึ่ง คนเลี้ยงโคจึงต้อนโคทุกตัวมาไว้ในคอกเดียวกัน ภายหลังจึง

ปล่อยออกมาทีละตัว ๆ ให้จับเอาโคแม้ตัวนั้น ซึ่งผ่านออกมาตามลำดับ โดย

สั่งว่า นี่คือโคตัวนั้น พวกท่านจงจับมัน ฉะนั้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงเวทนาเหล่านั้น ที่พระองค์ประมวลแล้วอย่างนั้น ย่อมทรง

สามารถ เพื่ออันให้ถือเอาเวทนานี้ว่า ธรรมชาติที่มิใช่สุข มิใช่ทุกข์ มิใช่

โสมนัส มิใช่โทมนัส นี้ คือ อทุกขมสุขเวทนา, อนึ่ง เวทนาเหล่านั้น

บัณฑิตพึงทราบว่า พระองค์ตรัสไว้ ก็เพื่อจะทรงแสดงปัจจัยแห่งอทุกขมสุข-

เจโตวิมุตติ. จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีการละสุขเป็นต้น เป็นปัจจัยแห่งเจโต-

วิมุตตินั้น. เหมือนดังที่พระธรรมทินนาเถรี กล่าวไว้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ !

ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นอทุกขมสุขเจโตวิมุตติมี ๔ อย่างแล, ดูก่อนผู้มีอายุ !

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเข้าถึงจตุตถฌาน อันเป็นอทุกขมสุข มีสติเป็น

ธรรมชาติบริสุทธิ์อันอุเบกขาให้เกิดแล้ว เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะ

ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนเทียว, ดูก่อนผู้มีอายุ !

ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุตติ อันเป็นอทุกขมสุขมี ๔ อย่างเหล่านี้แล

อีกอย่างหนึ่ง สังโยชน์ทั้งหลายมีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้ที่ละได้แล้ว

ในมรรคอื่นมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น พระองค์ตรัสว่า ละได้แล้วในมรรคที่

๓ นั้น เพื่อตรัสสรรเสริญมรรคที่ ๓ ฉันใด เวทนามีสุขเป็นต้นเหล่านั้น

ควรทราบว่า พระองค์ตรัสไว้ในจตุตถฌานนี้ แม้เพื่อตรัสสรรเสริญฌานนั่น

ฉันนั้น.

อีกนัยหนึ่ง เวทนามีสุขเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบว่า พระองค์ตรัสไว้

ในจตุตถฌานนี้ แม้เพื่อจะทรงแสดงข้อที่ราคะและโทสะ เป็นธรรมชาติที่อยู่

ไกลยิ่ง เพราะสังหารปัจจัยเสียได้. จริงอยู่ บรรดาเวทนามีสุขเป็นต้นเหล่านั้น

สุข เป็นปัจจัยแห่งโสมนัส, โสมนัส เป็นปัจจัยแห่งราคะ, ทุกข์ เป็นปัจจัย

แห่งโทมนัส, โทมนัส เป็นปัจจัยแห่งโทสะ, และราคะโทสะพร้อมทั้งปัจจัย

เป็นอันจตุตถฌานนั้นกำจัดแล้ว เพราะสังหารความสุขเป็นต้นเสียได้ เพราะ

เหตุนั้น ราคะและโทสะ จึงมีอยู่ในที่ไกลยิ่ง ฉะนี้แล.

[อรรถาธิบายอุเบกขาในจตุตถฌาน]

บทว่า อทุกฺขมสุขํ ความว่า ชื่อว่า อทุกข์ เพราะไม่มีทุกข์

ชื่อว่า อสุข เพราะไม่มีสุข. ในคำว่า ชื่อว่า อทุกฺขมสุขํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงเวทนาที่ ๓ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์และสุขด้วยพระดำรัสนี้ หาทรง

แสดงเพียงสักว่าความไม่มีแห่งทุกข์และสุขไม่. อทุกข์และอสุข ชื่อว่าเวทนา

ที่ ๓ ท่านเรียกว่า อุเบกขา บ้าง. อุเบกขานั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มีการ

เสวยอารมณ์ที่ผิดแปลกจากอารมณ์ที่ น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาเป็น

ลักษณะ มีความเป็นกลาง เป็นรส มีอารมณ์ไม่แจ่มแจ้งเป็นเครื่องปรากฏ

มีความดับสุขเป็นปทัฏฐาน.

บทว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ ความว่า มีสติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์

อันอุเบกขาให้เกิดแล้ว. จริงอยู่ ในฌานนี้ สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ด้วยดี

และความบริสุทธิ์แห่งสตินั้น อันอุเบกขาทำแล้ว หาใช่ธรรมดาอย่างอื่นทำไม่,

เพราะเหตุนั้น ฌานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า มีสติบริสุทธิ์อัน

อุเบกขาให้เกิดแล้ว ดังนี้. แม้ในคัมภีร์วิภังค์ พระองค์ก็ได้ตรัสไว้ว่า สตินี้

ย่อมเป็นธรรมชาติเปิดเผย บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว เพราะอุเบกขานี้ ด้วยเหตุนั้น

จึงเรียกว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา. ก็ความบริสุทธิ์แห่งสติในจตุตถฌานนั้น

ย่อมมีเพราะอุเบกขาใด, อุเบกขานั้น โดยอรรถพึงทราบว่า มีความเป็นกลาง

ในธรรมนั้น ๆ อนึ่ง ในจตุตถฌานนี้ สติเท่านั้น เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์

เพราะอุเบกขานั้นอย่างเดียวก็หามิได้. อีกอย่างหนึ่งแล แม้สัมปยุตตธรรม

ทั้งหมด ก็บริสุทธิ์เพราะอุเบกขานั้น (เหมือนกัน). แต่เทศนา พระองค์

ตรัสไว้โดยยกสติขึ้นเป็นประธาน.

บรรดาธรรมในจตุตถฌานนั้น อุเบกขานี้ มีอยู่ในฌานทั้ง ๓ แม้ใน

หนหลัง ก็จริง ถึงกระนั้น จันทเลขา กล่าวคือ ตัตรมัชฌัตตุเปกขาแม้นี้

ถึงแม้มีอยู่ในความต่างแห่งฌานมีปฐมฌานเป็นต้น ย่อมชื่อว่าเป็นธรรมชาติ

ไม่บริสุทธิ์ เพราะถูกเดชแห่งธรรมที่เป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้นครอบงำไว้ และ

เพราะไม่ได้ราตรีกล่าวคืออุเบกขาเวทนา ที่เป็นสภาคกัน เปรียบเหมือนจันท-

เลขา (ดวงจันทร์) ถึงแม้มีอยู่ในกลางวัน ก็ชื่อว่าเป็นของไม่บริสุทธิ์ ไม่ผ่องใส

เพราะถูกรัศมีพระอาทิตย์ครอบงำในกลางวัน หรือเพราะไม่ได้กลางคืนที่เป็น

สภาคกัน โดยความเป็นของที่มีอุปการะแก่ตน โดยความเป็นของสวยงาม

ฉะนั้น. ก็เมื่อตัตรมัชฌัตตุเปกขานั้นไม่บริสุทธิ์ ธรรมทั้งหลายมีสติเป็นต้น

แม้ที่เกิดร่วมกัน ก็เป็นธรรมชาติไม่บริสุทธิ์แท้ เหมือนรัศมีแห่งดวงจันทร์

ที่ไม่บริสุทธิ์ในกลางวันฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น ฌานแม้อย่างหนึ่งในบรรดา

ปฐมฌานเป็นต้นเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ตรัสว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะ

อุเบกขา ส่วนในจตุตถฌานนี้ ดวงจันทร์กล่าวคือตัตรมัชฌัตตุเปกขานี้ เป็น

ธรรมชาติบริสุทธิ์อย่างยิ่ง เพราะไม่ถูกเดชแห่งธรรมที่เป็นข้าศึกมีวิตกเป็น

ครอบงำ และเพราะได้กลางคืน คืออุเบกขาเวทนาที่เป็นสภาคกัน. เพราะ

ความที่ตัตรมัชฌัตตุเปกขานั้นเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ธรรมทั้งหลายมีสติเป็นต้น

แม้ที่เกิดร่วมกันก็เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ดุจรัศมีแห่งดวงจันทร์ที่

บริสุทธิ์ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น จตุตถฌานนี้เท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา.

บทว่า จตุตฺถํ คือเป็นที่ ๔ ตามลำดับแห่งการคำนวณ. ฌานนี้

ชื่อว่าที่ ๔ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรบรรลุเป็นครั้งที่ ๔.

[ตติยฌานมีองค์ ๕ จตุตถฌานมีองค์ ๓]

ในคำว่า ฌานํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้คือ :- ตติยฌานมีองค์ ๕ ด้วย

องค์ทั้งหลายมีอุเบกขาเป็นต้นฉันใด จตุตถฌานนี้ ก็มีองค์ ๓ ด้วยองค์ทั้งหลาย

มีอุเบกขาเป็นต้นฉันนั้น. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อุเบกขา

(ความวางเฉย) สติ (ความระลึกได้) เอกัคคตาแห่งจิต (ความที่จิตมีอารมณ์

เดียว) ชื่อว่า ฌาน ดังนี้. อันนั้นเป็นนัยทางอ้อมเท่านั้น. แต่โดยนัยทาง

ตรง จตุตถฌานนี้ เว้นองค์คือสติเสีย เพราะถือเอาองค์คืออุเบกขาเวทนานั่นแล

จึงประกอบด้วยองค์ ๒ เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ฌาน

ประด้วยองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตาแห่งจิต มีอยู่ในสมัยนั้น

เป็นไฉน? คำที่เหลือมีนัยดังทกี่ ล่าวมาแล้วนั้นแล.

กถาว่าด้วยจตุตถฌาน จบ .__

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 372

บทว่า ปีติปฏิสํเวที ความว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำปีติ

ให้รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏหายใจเข้า หายใจออก. บรรดาปีติและสุขเหล่านั้น

ปีติ ย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้วโดยอาการ ๒ อย่าง คือ โดยอารมณ์ และโดย

ความไม่งมงาย.

ถามว่า ปีติ ย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้ว โดยอารมณ์อย่างไร ?

แก้ว่า ภิกษุนั้นย่อมเข้าฌานทั้ง ๒ (ปฐมฌานและทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ,

ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้วโดยอารมณ์ ด้วยการได้ฌานในขณะเข้า

สมาบัติ เพราะอารมณ์เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้ว.

ถามว่า ปีติ ย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้วโดยความไม่งมงายอย่างไร ?

แก้ว่า ภิกษุนั้นเข้าฌานทั้ง ๒ ซึ่งมีปีติ ออกจากฌานแล้วย่อมพิจารณา

ปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม, ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุรูปนั้น

รู้แจ้งแล้ว โดยความไม่งมงาย เพราะแทงตลอดลักษณะ ในขณะแห่งวิปัสสนา.

ข้อนี้ สมจริงดังคำที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า

เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว

สติย่อมทั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วยญาณ

นั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจ

ออกยาว สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วย

ญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจ

เข้าสั้น สติย่อมตั้งมัน, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น

ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลม

หายใจออกสั้น สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น

ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจ

ความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น

ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุ

รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขาร

หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว

ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อรำพึงถึง ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว,

เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา

เมื่อประคองความเพียร เมื่อเข้าไปตั้งสติไว้ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น เมื่อรู้ชัดด้วย

ปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อ

ละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำ

ให้แจ้ง ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว, ปีตินั้น เป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้ว

ด้วยอาการอย่างนี้.

แม้บทที่เหลือ ก็พึงทราบโดยเนื้อความตามนัยนี้นั่นแล. แต่ในสองบท

นี้มีความสักว่าแปลกกัน ดังต่อไปนี้ :- พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งสุข ด้วย

อำนาจแห่งฌาน ๓, พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งจิตสังขาร ด้วยอำนาจแห่งฌาน

ทั้ง ๔. ขันธ์ ๒ มีเวทนาเป็นต้น ชื่อว่าจิตสังขาร. ก็บรรดาสองบทนี้ ใน

สุขปฏิสังเวทิบท ท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทา เพื่อแสดงภูมิ

แห่งวิปัสสนาว่า คำว่า สุข ได้แก่สุข ๒ อย่า ง คือ กายิกสุข ๑ เจตสิกสุข ๑.

สองบทว่า ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ ความว่า ระงับ คือดับจิตสังขารที่หยาบ ๆ เสีย. ความคับจิตสังขารนั้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัย

ดังที่กล่าวแล้วในกายสังขารนั้นแหละ.

อีกอย่างหนึ่ง บรรดาบทเหล่านี้ ในปีติบท ท่านกล่าวเวทนาไว้ด้วย

ปีติเป็นประธาน, ในสุขปฏิสังเวทิบท ท่านกล่าวเวทนาไว้โดยสรุปทีเดียว, ใน

จิตสังขารบททั้งสอง เป็นอันท่านกล่าวเวทนาที่สัมปยุตด้วยสัญญาไว้ เพราะ

พระบาลีว่า สัญญาและเวทนา เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็น

จิตสังขาร ดังนี้. จตุกกะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

โดยเวทนานุปัสสนานัย ด้วยประการอย่างนี้.

แม้ในจตุกกะที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้:- บัณฑิตพึงทราบความเป็นผู้รู้

แจ้งจิต ด้วยอำนาจแห่งฌาน ๔.

สองบทว่า อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ ความว่า ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า

เราจักยังจิตให้บันเทิง คือให้ร่าเริง ได้แก่ ให้เบิกบานหายใจเข้าหายใจออก.

ในสองบทนั้น ความบันเทิง ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒ อย่างคือ ด้วยอำนาจ

สมาธิ และด้วยอำนาจวิปัสสนา.

ถามว่า ความบันเทิง ย่อมมีได้ด้วยอำนาจสมาธิอย่างไร ?

แก้ว่า ภิกษุย่อมเข้าฌานทั้ง ๒ (ปฐมฌานและทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ.

เธอนั้นย่อมให้จิตรื่นเริง ด้วยปีติที่สัมปยุต ในขณะแห่งสมาบัติ.

ถามว่า ความบันเทิง ย่อมมีได้ด้วยอำนาจวิปัสสนาอย่างไร ?

แก้ว่า ภิกษุครั้นเข้าฌานทั้ง ๒ ซึ่งมีปีติ ออกจากฌานแล้วพิจารณา

อยู่ซึ่งปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม. เธอทำปีติสัมปยุตด้วย

ฌานให้เป็นอารมณ์ ในขณะแห่งวิปัสสนาอย่างนั้นแล้ว ให้จิตรื่นเริง บันเทิง

อยู่. ผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ท่านเรียกว่าย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บันเทิง

หายใจเข้าหายใจออก.

สองบทว่า สมาทหํ จิตฺตํ ความว่า ดำรงจิตไว้เสมอ คือ ตั้งจิตไว้เสมอในอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งฌานมีปฐมฌานเป็นต้น. ก็หรือว่า เมื่อเธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกจากฌาน พิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่สัมปยุตด้วยฌานโดยความสิ้น ความเสื่อม ความที่จิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ) ย่อมเกิดขึ้น เพราะการแทงตลอดลักษณะ ในขณะแห่งวิปัสสนา ภิกษุผู้ดำรงจิตไว้เสมอ คือตั้งจิตไว้เสมอในอารมณ์ แม้ด้วยอำนาจแห่งความที่จิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ท่านก็เรียกว่า ย่อมสำเหนียกว่าเราจักตั้งจิตไว้มั่น หายใจเข้าหายใจออก.

สองบทว่า วิโมจยํ จิตฺตํ ความว่า เมื่อเปลื้อง เมื่อปล่อยจิตให้

พ้นจากนิวรณ์ทั้งหลาย ด้วยปฐมฌาน คือ เมื่อเปลื้อง ปล่อยจิตให้พ้นจาก

วิตกวิจาร ด้วยทุติยฌาน จากปีติด้วยตติยฌาน จากสุขและทุกข์ด้วย

จตุตถฌาน. ก็หรือว่า เธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกมาพิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่

สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม ในขณะแห่งวิปัสสนา เธอนั้น

เปลื้อง คือ ปล่อยจิตให้พ้น จากนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าเที่ยง) ด้วยอนิจจานุ

ปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง) เปลื้อง คือ ปล่อยจิตให้พ้นจากสุข

สัญญา (ความสำคัญว่าเป็นสุข) ด้วยทุกขานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่า

เป็นทุกข์) จากอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นตัวตน) ด้วยอนัตตานุปัสสนา

(ความพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตัวตน) จากนันทิ (ความเพลิดเพลิน) ด้วย

นิพพิทานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) จากราคะ (ความ

กำหนัด) ด้วยวิราคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเครื่องคลายความ

กำหนัด) จากสมุทัย (ตัณหาที่ยังทุกข์ให้เกิด) ด้วยนิโรธานุปัสสนา (ความ

พิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องคับ) จากอาทาน (ความยึดถือ) ด้วยปฏิ-

นิสสัคคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องสละคืนซึ่งอุปธิ) หาย

ใจเข้าและหายใจออกอยู่. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ย่อม

สำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า หายใจออก. จตุกกะนี้ บัณฑิตพึง

ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งจิตตานุปัสสนาอย่างนี้.

ส่วนในจตุกกะที่ ๔ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี นี้

พึงทราบ อนิจจัง (ของไม่เทียง) พึงทราบ อนิจจตา (ความเป็นของไม่

เที่ยง) พึงทราบ อนิจจตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) พึง

ทราบ อนิจจานุปัสสี (ผู้พิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) เสียก่อน.

ในลักษณะ ๔ อย่าง มีอนิจจังเป็นต้นนั้น ที่ชื่อว่า อนิจจัง ได้แก่

เบญจขันธ์ เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า เบญจขันธ์มีความเกิดขึ้น มีความ

เสื่อมไป และมีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ที่ชื่อว่า อนิจจตา ได้แก่ ข้อที่เบญจขันธ์เหล่านั้นนั่นเอง มีความ

เกิดขึ้น มีความเสื่อมไป และมีความเป็นไปโดยอาการอื่น หรือมีแล้ว กลับ

ไม่มี อธิบายว่า เบญจขันธ์เหล่านั้น เกิดขึ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่โดยอาการนั้นนั่น

แล แตกดับเพราะความแตกดับไปชั่วขณะ.

ที่ชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นในเบญจขันธ์

ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้นว่า ไม่เที่ยง ด้วยอำนาจแห่งความเป็นของไม่เที่ยงนั้น.

ที่ชื่อว่า อนิจจานุปัสสี ได้แก่ พระโยคาวจรผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนา

นั้น. เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรผู้เป็นแล้วอย่างนั้นหายใจเข้า และหายใจออก

อยู่ บัณฑิตพึงทราบในอธิการนี้ว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นว่า

ไม่เที่ยง หายใจเข้า หายใจออก.

ส่วนวิราคะ ในบทว่า วิราคานุปัสสี นี้ มี ๒ อย่าง คือ ขยวิราคะ

คลายความกำหนัด คือความสิ้นไป ๑ อัจจันตวิราคะ คลายความกำหนัด

โดยส่วนเดียว ๑ บรรดาราคะ ๒ อย่างนั้น ความแตกดับไปชั่วขณะแห่งสังขาร

ทั้งหลาย ชื่อ ว่า ขยวิราคะ. พระนิพพาน ชื่อว่า อัจจันตวิราคะ. วิปัสสนา

และมรรคที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งการเห็นวิราคะทั้ง ๒ อย่างนั้น ชื่อว่า

วิราคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นการคลายความกำหนัด). พระโยคาวจร

เป็นผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนาแม้ทั้ง ๒ อย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออกอยู่

บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้า

หายใจออก. แม้ในบทว่า นิโรธานุปัสสี ก็มีนัยเหมือนกันนี้.

ปฏินิสสัคคะ (ความสละคืนอุปธิ) แม้ในบทว่า ปฏินิสฺ-

สคฺคานุปสฺสี นี้ก็มี ๒ อย่างคือ ปริจจาคปฏินิสสัคคะ ความสละคืน

คือความเสียสละ ๑ ปักขันทนปฏินิสสัคคะ ความสละคืน คือความแล่นไป

๑. การพิจารณาเห็น คือความสละคืนนั่นเอง ชื่อว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสนา.

คำว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสนา นั่น เป็นชื่อแห่งวิปัสสนาและมรรค. จริง

อยู่ วิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า การสละคืน คือการละ เพราะ

ย่อมละกิเลสทั้งหลายพร้อมทั้งขันธาภิสังขาร ด้วยอำนาจตทังคปหาน และว่า

การสละคืนคือการแล่นไปเพราะย่อมแล่นไปในพระนิพพาน ซึ่งผิดจากสังขาร

นั้น เหตุที่น้อมไปในพระนิพพานนั้น เพราะเห็นโทษแห่งสังขตธรรม.

มรรคพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า การสละคืน คือการละ เพราะย่อมละ

กิเลสพร้อมทั้งขันธาภิสังขาร ด้วยสามารถสมุจเฉทปหาน และว่า การสละคืน

คือการแล่นไป . เพราะย่อมแล่นไปในพระนิพพาน ด้วยการกระทำให้เป็น

อารมณ์. ก็ วิปัสสนาญาณและมรรคญาณแม้ทั้ง ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เรียกว่า อนุปัสสนา เพราะเล็งเห็นญาณต้น ๆ ในภายหลัง. ภิกษุเป็นผู้

ประกอบด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ทั้ง ๒ อย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออก

อยู่ บัณฑิตพึงทราบว่า สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้มีปกติเล็งเห็นญาณชื่อ

ปฏินิสสัคคะ ในภายหลัง หายใจเข้า หายใจออก ดังนี้.

คำว่า เอวํ ภาวโตความว่า เจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วย

อาการ ๑๖ อย่าง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.