ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 324

จูฬเวทัลลสูตร

[๕๐๕] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในเวฬุวันซึ่งเป็นที่ประทาน

เหยื่อแก่กระแต ใกล้กรุงราชคฤห์.

ครั้งนั้น อุบาสกชื่อวิสาขะเข้าไปยังสำนักนางภิกษุณีธรรมทินนา

ถวายนมัสการแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.

[๕๐๖] วิสาขะอุบาสกถาม นางธรรมทินนาภิกษุณี ปรารภจตุ-

สัจจธรรมว่า พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สักกายะ สักกายะ

กายของตน กายของตน ดังนี้ ธรรมอย่างไรเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า กายของตน.

นางธรรมทินนาภิกษุณี วิสัชนาว่า วิสาขะอุบาสกผู้มีอายุ ขันธ์ทั้ง

หลายที่เป็นอุปาทานเหล่านี้ คือกองรูปที่ยังมีความยึดมั่น กองเวทนาที่ยัง

มีความยึดมั่น กองสัญญาที่ยังมีความยึดมั่น กองสังขารที่ยังมีความยึด

มั่น กองวิญญาณที่ยังมีความยึดมั่น อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล พระองค์

ตรัสว่า กายของตน.

วิสาขะอุบาสก อนุโมทนาชื่นชมตามภาษิต ของนางธรรมทินนา

ภิกษุณีว่า ถูกละ พระแม่เจ้า ดังนี้แล้ว จึงถามยิ่งขึ้นไปกับนางธรรมทินนา

ภิกษุณีว่า พระแม่เจ้า ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สักกายสมุทัย

สักกายสมุทัย ธรรมเป็นที่เกิดขึ้นพร้อมแห่งสักกายะ ธรรมเป็นที่เกิดขึ้น

พร้อมแห่งสักกายะ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้.

ธ. ตัณหา อันใดไปพร้อมด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความ

เพลิน มักเพลินเฉพาะในภพนั้น ๆ ตัณหานั้น ๓ อย่าง กามตัณหาหนึ่งภวตัณ-

หาหนึ่ง วิภวตัณหาหนึ่ง นี้แลพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ธรรมเป็นที่เกิดขึ้น

พร้อมแห่งสักกายะ..

วิ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ว่า สักกายนิโรธ สักกายนิโรธ

ธรรมเป็นที่ดับแห่งสักกายะ ธรรมเป็นที่ดับแห่งสักกายะ ก็ธรรมสิ่งไรเล่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าธรรมเป็นที่ดับแห่งสักกายะ แม่เจ้า

ธ. ความดับด้วยความคลายเสียโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นอันใด

ความสละ สละคืน ความปล่อยวาง ความพ้นไป ความไม่พัวพันนี้แล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าสักกายนิโรธ.

วิ. พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า ทางปฏิบัติให้สัตว์ถึง

สักกายนิโรธ ทางปฏิบัติให้สัตว์ถึงสักกายนิโรธ ข้อปฏิบัติอย่างไร

พระองค์ตรัสว่า ทางปฏิบัติจะให้สัตว์ถึงสักกายนิโรธ แม่เจ้า?

ธ. อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ

กล่าววาจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ

ระลึกชอบ ความตั้งจิตไว้เสมอชอบ อันนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทาง

ปฏิบัติจะให้สัตว์ถึงสักกายนิโรธ คุณวิสาขะ.

วิ. พระแม่เจ้า ! อุปาทานก็นั้นแล อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็นั้นแล หรือ

อุปาทานอื่นจากุปาทานขันธ์ทั้ง ๕.

ธ. วิสาขะ อุปาทานก็นั้นแล ปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็นั้นแล หาใช่

ไม่ อุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็หาใช่ไม่ คุณวิสาขะ ความกำหนัด

ด้วยอำนาจความพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ อันใด ฉันทราคะนั้นแล เป็น

ปาทาน ในปัญจุปาทานขันธ์เหล่านั้น.

[๕๐๗] วิ. พระแม่เจ้า ความเห็นว่ากายแห่งตน ย่อมเป็นอย่างไร

ธ. คุณวิสาขะ ปุถุชชนไม่ได้สดับแล้ว ในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้พบเห็น

พระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า มิได้ฝึกใจในธรรม

ของพระอริยเจ้าแล้ว และเป็นผู้ไม่ได้พบเห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดใน

ธรรมของสัตบุรุษ มิได้ฝึกใจในธรรมของสัตบุรุษ ผู้นั้นย่อมตามเห็น

รูป โดยความเป็นตนหรือตามเห็นตนว่า มีรูป พิจารณาเห็นรูปในตน หรือ

พิจารณาเห็นตนในรูป อนึ่งปุถุชชนผู้ไม่ได้สดับแล้วนั้น ย่อมตามเห็นเวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นคน หรือตามเห็นตนว่า มีเวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือพิจารณาเห็น เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณในตน หรือพิจารณาเห็นตนใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญ-

ญาณ คุณวิสาขะ สักกายทิฏฐิ ย่อมเป็นอย่างนี้.

วิ. พระแม่เจ้า สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอย่างไรเล่า

ธ. คุณวิสาขะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ได้พบ

เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ฝึกใจในธรรมของ

พระอริยเจ้าดีแล้ว และเป็นผู้ได้พบเห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของ

สัตบุรุษ ฝึกใจในธรรมของสัตบุรุษดีแล้ว ท่านย่อมไม่ตามเห็นรูป เวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน หรือไม่ตามเห็นตนว่า มี

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือไม่ตามเห็นรูป เวทนา สัญญา

สังขาร วิญญาณในตน หรือไม่ตามเห็นตนในรูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ คุณวิสาขะ. สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีอย่างนี้.

[๕๐๘] วิ. พระแม่เจ้า ก็ทางมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นธรรมไปพ้นกิเลสเป็น

อย่างไร ?

ธ. คุณวิสาขะ ก็หนทางมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นอริยะทางเดียวนี้

แล คือปัญญาเห็นชอบอย่างหนึ่ง ความดำริชอบอย่างหนึ่ง เจรจาชอบอย่าง

หนึ่ง ทำการงานชอบอย่างหนึ่ง เลี้ยงชีวิตชอบอย่างหนึ่ง เพียรชอบอย่าง

หนึ่ง ระลึกชอบอย่างหนึ่ง ตั้งจิตไว้ชอบอย่างหนึ่ง.

วิ. อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ปัจจัยประชุมแต่งหรือเป็นธรรมที่

หาใช่ปัจจัยประชุมแต่งไม่เล่า.

ธ. คุณวิสาขะ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นธรรมที่ปัจจัยประชุมแต่ง.

วิ. พระแม่เจ้า ขันธ์ทั้ง ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์

แล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงย่นเข้าถือเอาด้วยขันธ์ทั้ง ๓.

ธ. คุณวิสาขะ ขันธ์ทั้ง ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะได้ทรงสงเคราะห์

ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ หามิได้ ก็แลอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ทั้ง ๓ ต่างหาก คุณวิสาขะ สัมมาวาจา สัมมา-

กัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ ธรรมเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์

ด้วยกองศีล. สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑ ธรรมเหล่านี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ด้วยกองสมาธิ. สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสัง

กัปปะ ๑ ธรรมเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ด้วยกองปัญญา.

วิ. พระแม่เจ้า ธรรมอะไรเป็นสมาธิ ธรรมเหล่าไรเป็นนิมิตแห่ง

สมาธิ? ธรรมเหล่าไรเป็นปริกขารของสมาธิ สมาธิภาวนาอย่างไร

ธ. คุณวิสาขะ ความที่จิตเป็นสภาพมีอารมณ์อันเดียว อันนี้เป็นสมาธิ

สติปัฏฐาน ๔ เป็นนิมิตแห่งสมาธิ สัมมัปปธาน ๔ เป็นปริกขารของสมาธิ

ความเสพธรรมเหล่านั้นเนืองๆ การให้ธรรมเหล่านั้นเจริญ การทำให้

ธรรมนั้นมากขึ้น อันนี้เป็นสมาธิภาวนา.

[๕๐๙] วิ. ธรรมที่ได้ชื่อว่าสังขารมีเท่าไร พระแม่เจ้า-

ธ. สังขารทั้งหลายเหล่านี้ ๓ ประการ คือกายสังขาร ๑ วจี

สังขาร ๑ จิตตสังขาร ๑ คุณวิสาขะ.

วิ. พระแม่เจ้า ก็กายสังขารเป็นอย่างไร วจีสังขารแลจิตตสังขาร

เป็นอย่างไร

ธ. คุณวิสาขะ ลมหายใจออกแลหายใจเข้ากลับเป็นกายสังขาร

วิตกแลวิจาร เป็นวจีสังขาร สัญญา ๑ เวทนา ๑ เป็นจิตตสังขาร.

วิ. พระแม่เจ้า ! เพราะเหตุอะไร ลมหายใจออกแลหายใจเข้า จึงเป็น

กายสังขาร วิตกและวิจารจึงเป็นวจีสังขาร สัญญาแลเวทนาจึงเป็นจิตต

สังขาร

ธ. คุณวิสาขะ สภาพคือลมหายใจออกแลหายใจเข้าเป็นส่วนมีใน

กาย ติดเนื่องด้วยกาย เพราะฉะนั้นจึงเป็นกายสังขาร. บุคคลย่อมตรึกตรอง

แล้วจึงเปล่งวาจา เพราะฉะนั้นวิตกแลวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร. สภาพทั้ง

๒ นี้คือความจำอารมณ์ได้ ความรู้แจ้งอารมณ์ ความเสวยอารมณ์ เป็นส่วนมี

ในจิต เพราะเนื่องด้วยจิต เพราะฉะนั้นสัญญาแลเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร

[๕๑๐] วิ. พระแม่เจ้า การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมมีด้วยอย่างไร

ธ. คุณวิสาขะ ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ จะได้คิดว่า เราจัก

เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ดี ว่าบัดนี้เราจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ดังนี้ก็

ดี หรือว่าเราสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วดังนี้ก็ดี หามิได้ ก็แต่จิตเช่นนั้นอันนำ

เข้าไปเพื่อความเป็นเช่นนั้น ท่านได้ให้เกิดแล้วแต่แรกเทียว.

วิ. พระเจ้า เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ธรรมเหล่าใดย่อม

ดับไปก่อน กายสังขารดับไปก่อน หรือวจีสังขาร หรือจิตตสังขารดับไปก่อน

ธ. เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารย่อมดับไปก่อน ต่อนั้น

กายสังขาร ภายหลังจิตสังขาร คุณวิสาขะ.

วิ. พระแม่เจ้า การออกจากสัญญาเวทยิ นิโรธสมาบัติเป็นอย่างไร?

ธ. คุณวิสาขะ เมื่อภิกษุออกอยู่จากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

จะมีสำคัญหมายรู้ว่า เราจักออกก็ดี เราออกอยู่ก็ดี เราออกแล้วก็ดี จากสัญญา

เวทยิตนิโรธสมาบัติดังนี้หามิได้ ก็แต่จิตเช่นนั้นอันนำเข้าไปเพื่อความเป็น

เช่นนั้น ท่านได้ให้เกิดแล้วแต่แรกเทียว.

วิ. เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าใดเกิด

ขึ้นก่อน กายสังขาร หรือวจีสังขาร หรือจิตตสังขาร พระแม่เจ้า.

ธ. คุณวิสาขะ. เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตต-

สังขารเกิดขึ้นก่อน ต่อนั้นกายสังขาร แล้ววจีสังขาร.

วิ. พระแม่เจ้า ก็ผัสสะเท่าไรถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญา

เวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว.

ธ. ผัสสะ ๓ ประการ คือผัสสะคือรู้สึกว่างหนึ่ง ผัสสะคือรู้สึกไม่มี

นิมิตหนึ่ง ผัสสะคือรู้สึกหาที่ตั้งมิได้หนึ่ง เหล่านี้ ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจาก

สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว.

วิ. พระแม่เจ้า. จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

แล้ว ย่อมน้อมไปในธรรมสิ่งใด โอนไปในธรรมสิ่งใด โอนไปในธรรมสิ่งไร.

ธ. คุณวิสาขะ. จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

แล้ว ย่อมน้อมไปในความสงัด โอนไปในความสงัด เงื้อมไปในความสงัด.

[๕๑๑] วิ. พระแม่เจ้า ก็ความเสวยอารมณ์มีเท่าไร.

ธ. คุณวิสาขะ ความเสวยอารมณ์มี ๓ ประการเหล่านี้ คือความ

เสวยอารมณ์เป็นสุขอย่างหนึ่ง ความเสวยอารมณ์เป็นทุกข์อย่างหนึ่ง ความ

เสวยอารมณ์ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์อย่างหนึ่ง

วิ. พระแม่เจ้า. สุขเวทนาเป็นอย่างไร ทุกขเวทนาเป็นไฉน อทุกขมสุข

เวทนาคือสิ่งอะไร.

ธ. คุณวิสาขะ. ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขสำราญ ซึ่งเป็นไปใน

กาย หรือเป็นไปในจิต อันนี้เป็นสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ไม่

สำราญ ซึ่งเป็นไปในกาย หรือเป็นไปในจิต อันนี้เป็นทุกขเวทนา ความเสวย

อารมณ์ที่มิใช่ความสำราญแลมิใช่ความไม่สำราญ เป็นไปในกาย หรือเป็น

ไปในจิต อันนี้เป็นอทุกขมสุขเวทนา คุณวิสาขะ.

วิ. พระแม่เจ้า. ก็สุขเวทนาคงเป็นสุขอยู่ได้เพราะอะไร กลายเป็นทุกข์

เพราะอะไร.

ธ. คุณวิสาขะ สุขเวทนาคงเป็นสุขเพราะทรงอยู่ กลายเป็นทุกข์

เพราะแปรไป ทุกขเวทนาคงเป็นทุกข์เพราะทรงอยู่ กลายเป็นสุขเพราะแปร

ไป อทุกขมสุขเวทนาเป็นสุขเพราะรู้ชอบ เป็นทุกข์เพราะรู้ไม่ชอบ.

วิ. พระแม่เจ้า อนุสัยอะไรย่อมตามนอนอยูในสุขเวทนา อนุสัยอะไร

ตามนอนอยู่ในทุกขเวทนา อนุสัยอะไรตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา.

ธ. คุณวิสาขะ. กามราคานุสัย ย่อมตามนอนอยู่ในสุขเวทนา

ปฏิมานุสัย ตามนอนอยู่ในทุกขเวทนา อวิชชานุสัย ตามนอนอยู่ในอทุกขม-

สุขเวทนา.

วิ. พระแม่เจ้า. ก็ราคานุสัยย่อมตามนอนอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมด

หรือ ปฏิฆานุสัยย่อมตามนอนอยู่ในทุกขเวทนาทั้งสิ้น หรือว่าอวิชชานุสัยย่อม

ตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งปวง.

ธ. คุณวิสาขะ. ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย แลอวิชชานุสัย จะได้มา

ตามนอนอยู่ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา แลอทุกขมสุขเวทนา ทั้งหมดหามิได้.

วิ. พระแม่เจ้า ! อะไรอันสุขเวทนาจะพึงละได้ด้วย อะไรจะพึงละได้

ด้วยทุกขเวทนา อะไรจะพึงละได้ด้วยอทุกขมสุขเวทนา.

ธ. คุณวิสาขะ. ราคานุสัยจะพึงละได้ด้วยสุขเวทนา ปฏิฆานุสัยจะพึง

ละได้ด้วยทุกขเวทนา อวิชชานุสัยจะพึงละได้ด้วยอทุกขมสุขเวทนา.

วิ. พระแม่เจ้า. ราคานุสัยจะพึงละเสียในสุขเวทนาทั้งนั้น ปฏิฆานุสัย

จะพึงละเสียด้วยทุกขเวทนาทั้งนั้น อวิชชานุสัยจะพึงละเสียด้วยอทุกขมสุข

เวทนาทั้งนั้นหรือ

ธ. คุณวิสาขะ ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย แลอวิชชานุสัย จะพึงละได้

ด้วยสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาทั้งนั้น หามิได้.

วิ. พระแม่เจ้า ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย พึงละเสียได้ด้วย

สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ทั้งปวงหรือ

ธ. คุณวิสาขะ ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย จะพึงละได้ด้วยสุข

เวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ทั้งปวงหามิได้. ภิกษุในธรรมวินัย

นี้ สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลายแล้วเทียว ได้บรรลุ

ปฐมฌาน อันประกอบด้วยวิตกวิจารมีปิติแลอกุศลเกิดแต่ความสงัดจากนิวรณ์

แล้วแลอยู่ ท่านย่อมละราคะด้วยปฐมฌานนั้น, ราคานุสัย จะได้มาตามนอน

อยู่ในปฐมฌานนั้นหามิได้. อนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาอยู่ว่า เมื่อไร

เราจักได้บรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุแล้วแลอยู่บัดนี้ แล้วแลอยู่

เหมือนท่าน ดังนี้ เมื่อภิกษุเข้าไปตั้งความรักใคร่ทยานไว้ในวิโมกข์ ซึ่งเป็น

อนุตรธรรมทั้งหลายอย่างนี้ เพราะความรักใคร่ทยานในวิโมกข์เป็นปัจจัย

โทมนัสย่อมเกิดขึ้น ท่านละปฏิฆะได้เพราะความทยานในอนุตรวิโมกข์

นั้น ปฏิฆานุสัยย่อมไม่ตามนอนอยู่ในความทยานในอนุตรวิโมกข์นั้น คุณวิสาขะ

อนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละความสุขความทุกข์เสีย เพราะความ

โสมนัสแลความโทมนัสทั้ง ๒ ดับสูญในก่อนเทียว แล้วได้บรรลุฌานที่ ๔

อันไม่มีสุขไม่มีทุกข์ มีความที่สติเป็นคุณบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแล

อยู่ ท่านย่อมละอวิชชาได้ด้วยจตุตถฌานนั้น อวิชชานุสัยย่อมไม่ตามนอนอยู่

ในจตุตถฌานนั้น.

[๕๑๒] วิ. พระแม่เจ้า. ก็สิ่งใดเป็นส่วนเปรียบแห่งสุขเวทนา

ธ. คุณวิสาขะ. ความกำหนัด เป็นส่วนเปรียบแห่งสุขเวทนา

วิ. สิ่งใดเล่า เป็นส่วนเปรียบแห่งทุกขเวทนา พระแม่เจ้า

ธ. คุณวิสาขะ. โทษะกระทบใจ เป็นส่วนเปรียบแห่งทุกขเวทนา

วิ. พระแม่เจ้า. สิ่งใดเล่า เป็นส่วนเปรียบแห่งอทุกขมสุขเวทนา

ธ. ความไม่รู้แจ้ง เป็นส่วนเปรียบแห่งอทุกขมสุขเวทนา คุณวิสาขะ.

วิ. พระแม่เจ้า. ก็สิ่งใดเล่า เป็นส่วนเปรียบแห่งอวิชชา.

ธ. คุณวิสาขะ. ความที่ไม่รู้แจ้งชัด เป็นส่วนเปรียบแห่งอวิชชา.

วิ. พระแม่เจ้า. ก็สิ่งใดเล่า เป็นส่วนเปรียบแห่งวิชชา.

ธ. คุณวิสาขะ. ความพ้นกิเลส เป็นส่วนเปรียบแห่งวิชชา.

วิ. พระแม่เจ้า. ก็สิ่งใดเล่าเป็นส่วนเปรียบแห่งวิมุตติ.

ธ. คุณวิสาขะ. พระนิพพาน เป็นส่วนเปรียบแห่งวิมุตติ.

วิ. พระแม่เจ้า ก็อะไรเล่า เป็นส่วนเปรียบแห่งนิพพาน.

ธ. วิสาขะ ท่านล่วงเกินปัญหาเสียแล้ว ไม่อาจถือเอาที่

สุดรอบ แห่งปัญหาทั้งหลายได้ ด้วยว่าการประพฤติพรหมจรรย์ ก็ย่อม

หยั่งลงในพระนิพพาน มีพระนิพพานเป็นที่ถึงในเบื้องหน้า มีที่สุดจบลงเพียง

พระนิพพานเท่านั้น. ถ้าหากท่านจำนงอยู่ไซร้ พึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วกราบทูลถามความเรื่องนี้เถิด และพระผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัสพยากรณ์

แก่ท่านฉันใด ท่านก็พึงทรงจำข้อพยากรณ์นั้นไว้ ฉันนั้นเถิด.

[๕๑๓] ลำดับนั้น วิสาขอุบาสก ชื่นชมอนุโมทนาข้อภาษิตแห่งนาง

ธรรมทินนาภิกษุณีแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะที่นั่ง ถวายนมัสการทำประทัก

ษิณ นางธรรมทินนาภิกษุณีแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประ

พับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรแล้ว กราบทูลข้อปุจฉาแลพยากรณ์ ที่ตนไต่

ถามและข้อความที่นางธรรมทินนาภิกษุณีวิสัชนาทุกประการ ให้พระผู้

มีพระภาคเจ้าทรงทราบ แต่เบื้องต้นตลอดถึงที่สุด. ครั้นวิสาขอุบาสกกราบ

ทูลอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วิสาขะ. นางธรรมทินนาภิกษุณี

เป็นบัณฑิตมีปัญญายิ่งใหญ่ และข้อความอันนี้ แม้หากว่าท่านจะถามเรา

ผู้ตถาคต ตถาคต ก็จะพึงพยากรณ์กล่าวแก้ข้อวิสัชนาอย่างนี้ เหมือนข้อ

ความที่นางธรรมทินนาภิกษุณีได้พยากรณ์แล้ว ไม่แปลกกันเลย อันนี้แล

เป็นเนื้อความนั่นแล้ว ท่านจงจำทรงไว้ให้แน่นอนเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสพระพุทธพจน์อันนี้แล้ว วิสาขอุบาสกก็ได้ชื่นชมเพลินเฉพาะภาษิต

แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการฉะนี้.

จบจูฬเวทัลลสูตรที่ ๔

อรรถกถาจุลลเวทัลลสูตร

จุลลเวทัลลสูตรขึ้นต้นว่า "ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้".

ในคำเหล่านั้น คำว่า "วิสาขอุบาสก" ได้แก่ อุบาสกผู้มีชื่ออย่างนั้น

ว่า "วิสาข". คำว่า "โดยที่ใดนางธรรมทินนา" คือเข้าไปหาถึงที่ซึ่งภิกษุณี

ชื่อธรรมทินนาอยู่.

วิสาขะนี้คือใครกันเล่า

นางธรรมทินนาเป็นใคร

ทำไมจึงเข้าไปหา

เมื่อนางธรรมทินนายังเป็นคฤหัสถ์ วิสาขะเป็นเจ้าของเรือน (เป็นสามี)

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ

แล้วทรงหมุนล้อพระธรรมอันประเสริฐ ได้ทรงแนะนำกุลบุตรมียศเป็นต้น

เสด็จบรรลุถึงตำบลอุรุเวลา. ในที่นั้นได้ทรงแนะนำชฏิลพันคนแล้วเสด็จดำเนิน

ไปยังกรุงราชคฤห์กับหมู่ภิกษุณีขีณาสพชฏิลเก่า แล้วทรงแสดงธรรมถวาย

พระเจ้าพิมพิสารมหาราชซึ่งเสด็จดำเนินมาพร้อมกับบริษัทแสนสองหมื่นคน

เพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า. ในแสนสองหมื่นคนที่มาพร้อมกับพระราชาในครั้งนั้น

หนึ่งหมื่นคนประกาศตนเป็นอุบาสก. อีกหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นคนพร้อมกับ

พระเจ้าพิมพิสาร ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. อุลาสกนี้เป็นคนหนึ่งในจำนวนนั้น

เมื่อดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลในการเฝ้าครั้งแรกนั่นเอง พร้อมกับคนเหล่านั้น

แล้ว ในอีกวันหนึ่งก็ได้ฟังธรรมสำเร็จสกทาคามิผล แต่นั้นมาในภายหลัง

วันหนึ่ง ได้ฟังธรรมจึงได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล เมื่อได้เป็นพระอนาคามีแล้ว

มาสู่เรือน ไม่ได้มาอย่างวันเหล่าอื่นที่มองนั่นดูนี่ หัวเราะยิ้มแย้มพลางเดิน

เข้ามา. หากแต่กลายเป็นคนสงบอินทรีย์มีใจสงบเดินเข้าไป.

นางธรรมทินนาแง้มหน้าต่างพลางมองไปที่ถนนเห็นเหตุการณ์ใน

การมาของเขาแล้วก็คิดว่า "นี่อะไรกันหนอ" เมื่อยืนที่หัวบันไดทำการต้อน

รับเขาพลางก็เหยียดเมื่อยื่นออกไป. อุบาสกกลับหดมือของตนเสีย. นางคิด

ว่า "เราจงรู้ในเวลารับประทานอาหารมื้อเช้า". แต่ก่อนอุบาสกย่อมรับ

ประทานพร้อมกันกับนาง แต่วันนั้น ไม่ยอมมองนาง ทำราวกะว่าโยคาวจร

ภิกษุ รับประทานคนเดียวเท่านั้น. นางคิดว่า "เวลานอนเราจะรู้" อุบาสก

ไม่ยอมเข้าห้องพระศรีนั้น, สั่งให้จัดห้องอื่นให้ตั้งเตียงน้อยที่สมควรแล้วนอน.

อุบาสิกามาคิดว่า "อะไรกันหนอ เขามีความปรารถนาข้าง

นอก หรือคงถูกผู้ชอบยุแหย่คนใดคนหนึ่ง ยุให้แตก ? หรือว่า เรานี่แหละ

มีความผิดอะไรๆ" แล้วก็เกิดเสียใจอย่างแรง ตัดสินใจว่า "ตลอดเวลาวัน

สองวันที่เขาอยู่นี่แหละ จะต้องรู้ให้จนได้" แล้วจึงไปสู่ที่บำรุงเขาไหว้แล้วก็ยืน

อยู่. อุบาสกถามว่า "ธรรมทินนา ทำไมจึงมาผิดเวลาล่ะ"

ธรรม. "ค่ะ ลูกเจ้า. ดิฉันมา, ท่านไม่เหมือนคนเก่า, ขอถามหน่อย

เถิดค่ะว่า ท่านมีความปรารถนาภายนอกหรือคะ?"

อุ. "ไม่มีหรอก ธรรมทินนา."

ธรรม. "มีใครอื่นเป็นคนยุแหย่หรือคะ"

อุ. "แม้นี้ก็ไม่มี"

ธรรม. "เมื่อเป็นเช่นนั้น ตัวดิฉันเองคงจะมีความผิดไรๆ หรือคะ?"

อุ. "ถึงเธอเอง ก็ไม่มีความผิด"

ธรรม. "แล้วทำไมท่านจึงไม่ทำแม้เพียงการพูดจาปราศรัยตามปกติ

กับดิฉันเล่าคะ"

เขาคิดว่า "ชื่อว่าโลกุตตรธรรมนี้เป็นภาระหนัก ไม่พึงเปิดเผย แต่ถ้า

แลเราไม่บอก, ธรรมทินนานี้จะพึงหัวใจแตกตายในที่นี้เอง" เพื่ออนุเคราะห์

นางจึงบอกว่า "ธรรมทินนา ฉันฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วได้บรรลุ

โลกุตตรธรรม, ผู้ได้บรรลุโลกุตตรธรรมนั้นแล้ว การกระทำแบบ

โลกๆ อย่างนี้ ย่อมไม่เป็นไป, ถ้าเธอต้องการ, ทรัพย์ส่วนของเธอ ๔๐๐

ล้าน ส่วนของฉันอีก ๔๐๐ ล้าน รวมแล้วก็มีทรัพย์อยู่ ๘๐๐ ล้าน, เธอเป็น

ใหญ่ในที่นี้แล้วจงอยู่ดำรงตำแหน่งแม่ หรือตำแหน่งน้องสาวของฉันก็ได้

ฉันจะขอเลียงชีพด้วยเพียงก้อนข้าวที่เธอให้, ถ้าเธอจะไม่ทำอย่างที่ว่ามานี้

ก็จงเอาโภคะเหล่านี้ไปเรือนตระกูลก็ได้, และก็ถ้าเธอมีความต้องการขาย

ภายนอก ฉันก็จะตั้งเธอไว้ในตำแหน่งน้องสาว หรือตำแหน่งลูกสาวแล้วเลี้ยง

ดู".

นางคิดว่า "ผู้ชายปกติ จะไม่มีใครพูดอย่างนี้, เขาคงแทงทะลุโลกุตตร

ธรรมเป็นแน่ ก็ผู้ชายเท่านั้นหรือที่พึงแทงทะลุธรรมนั้นได้ หรือแม้เป็นผู้หญิง

ก็สามารถแทงทะลุได้" จึงพูดกับวิสาขะว่า "ธรรมนั้นผู้ชายเท่านั้นหรือหนอ

ที่พึงได้คะ หรือแม้เป็นผู้หญิงก็สามารถได้ด้วยค่ะ"

อุ. "พูดอะไร ธรรมทินนา ผู้ที่เป็นนักปฏิบัตินั้น ย่อมเป็นทายาทของ

ธรรมนั้น ผู้ที่มีอุปนิสัยก็ย่อมได้รับธรรมนั้น"

ธรรม. "เมื่อเป็นอย่างนั้น ขอให้ท่านยินยอมให้ดิฉันบวชค่ะ"

อุ. "ดีแล้วที่รัก ฉันเองก็อยากจะแนะนำในทางนี้เหมือนกัน แต่ยังไม่รู้

ใจเธอจึงไม่พูด" แล้วก็ไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารในทันที ถวายบังคมแล้วก็ได้

ยืนอยู่ พระราชาตรัสถามว่า "คฤหบดี ทำไมจึงได้มาผิดเวลาล่ะ"

วิ. "ขอเดชะ นางธรรมทินนาพูดว่า "ดิฉันจะบวช".

ร. "นางสมควรจะได้อะไรเล่า"

วิ. "ไม่มีอะไรอื่น, ได้วอทอง และรับสั่งให้จัดตกแต่งพระนครก็

เหมาะ ขอเดชะ".

พระราชาประทานวอทองแล้วรับสั่งให้ตบแต่งพระนครแล้ว.

วิสาขะให้นางธรรมทินนาอาบน้ำหอม ให้ประดับประดาด้วยเครื่องสำ

อาทุกอย่าง ให้นั่งบนวอทอง แวดล้อมด้วยหมู่ญาติ บูชาด้วยดอกไม้หอมเป็น

ต้นพลางเหมือนทำแก่พวกชาวกรุง ไปสู่สำนักภิกษุณีแล้วเรียนว่า "ขอให้

นางธรรมทินนาบวชเถิด แม่เจ้า" พวกภิกษุณี พูดว่า "คฤหบดี กะความผิด

อย่างหนึ่งหรือสองอย่าง ก็ควรจะอดทนได้"

วิสาขะจึงเรียนว่า "ไม่มีความผิดอะไรหรอก แม่เจ้า เธอบวชด้วย

ศรัทธา" ลำดับนั้น ภิกษุณีผู้สามารถรูปหนึ่ง จึงบอกกัมมัฏฐานหมวดห้า

แห่งหนัง ให้โกผมแล้วให้บวช. วิสาขะ พูดว่า "แม่เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสพระธรรมไว้ดีแล้ว, ท่านจงยินดีเถิด" ไหว้แล้วหลีกไป.

ตั้งแต่วันที่นางบวชแล้ว ลาภสักการะก็เกิดขึ้น เพราะเหตุนั้นนางจึง

ยุ่งจนหาโอกาสทำสมณธรรมไม่ได้. ทีนั้น พวกพระเถรีที่เป็นอาจารย์และ

อุปัชฌาย์จึงพานางไปบ้านนอก แล้วก็ให้เรียนกัมมัฏฐานตามชอบใจใน

อารมณ์สามสิบแปดอย่างเริ่มทำสมณธรรม สำหรับนางลำบากไม่นาน

เพราะเป็นผู้มีอภินิหารสมบูรณ์.

ความสังเขปมีว่า ท้ายแสนกัปจากภัทรกัปนี้ไป พระศาสดาทรงพระ-

นามว่า ปทุมุตตระ ทรงอุบัติในโลก. ครั้งนั้น นางธรรมทินนานี้ เป็นหญิงคน

ใช้ในตระกูลหนึ่ง ขายผมของตนแล้วถวายทานแด่พระอัครสาวกชื่อสุชาต-

เถระแล้วได้ทำความปรารถนาไว้. เพราะถึงพร้อมด้วยอภินิหารแห่งความ

ปรารถนานั้น นางจึงไม่เหนื่อยมาก สองสามวันเท่านั้นเองก็ได้สำเร็จเป็นพระ

อรหันต์แล้วมาคิดว่า "เราได้บวชในศาสนาเพราะประโยชน์อันใด เราถึงที่

สุดประโยชน์อันนั้นแล้ว, เราอยู่บ้านนอกหาประโยชน์อะไร ? พวกญาติเรา

จะทำบุญ, ถึงภิกษุณีสงฆ์ ก็จะไม่ลำบากด้วยปัจจัย เราจะไปกรุงราชคฤห์"

แล้วก็ได้พาภิกษุณีสงฆ์ไปกรุงราชคฤห์นั่นเอง.

วิสาขะได้ฟังว่า "เขาว่านางธรรมทินนามา" จึงคิดว่า "นางบวชแล้ว

ไปบ้านนอกยังไม่นานเลย ก็กลับมาเมื่อไม่นานนี่เอง จักเป็นอย่างไรหนอ?"

แล้วก็ได้ไปสำนักนางภิกษุณีด้วยการไปเป็นครั้งที่สอง. เพราะเหตุนั้น

พระอานนท์จึงว่า "ครั้งนั้นแลวิสาขอุบาสก ได้เข้าไปหานางธรรมทินนาถึงที่

อยู่" ดังนี้.

คำว่า "ได้กล่าวคำนี้แล้ว" คือได้กล่าวคำเป็นต้นว่า กายของ

ตน" นี้. ทำไมจึงได้กล่าว เล่ากันมาว่า เขามีความคิดอย่างนี้ว่า "การจะ

ถามอย่างนี้ว่า แม่เจ้า ยังยินดีอยู่หรือ หรือไม่ยินดี " ไม่ใช่หน้าที่ของบัณฑิต

เราจะน้อมเข้าไปในอุปาทานขันธ์ห้าแล้วถามปัญหา, ด้วยการแก้ปัญหา

นั่นแหละ เราก็จะทราบว่านางมีความยินดีหรือไม่ยินดี ฉะนั้นจึงได้กล่าว.

พอนางธรรมทินนาได้ฟังคำนั้น ไม่กล่าวว่า "คุณวิสาขะ! ดิฉันเพิ่งบวช

มาไม่นานจะทราบกายตนหรือกายคนอื่นแต่ไหน" หรือว่า "คุณจงไปหาแล้ว

ถามพระเถรีรูปอื่นเถิด" เมื่อดำรงอยู่ในวิสัยแห่งปัญญาเครื่องแตกฉานแก้

ปัญหาอยู่ เหมือนรับของที่เขาฝาก, เหมือนแก้เงื่อนบ่วงข้างหนึ่ง, เหมือนถาง

ทางช้างในที่รก เหมือนแงะกะติ๊บด้วยปลายดาบ จึงกล่าวว่า " คุณ

วิสาข อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล" ดังนี้เป็นต้น.

ในคำเหล่านั้น คำว่า "ห้า" เป็นคำกำหนดนับ คำว่า "อุปาทานขันธ์"

ได้แก่ พึงทำให้อรรถกถาอุปาทานขันธ์พิสดารแล้วกล่าวในที่นี้โดยนัยเป็นต้น

อย่างนี้ว่า "ขันธ์อันมีอุปาทานเป็นปัจจัย" ก็แลอรรถกถาแห่งอุปาทานขันธ์

นั้น ท่านขยายไว้อย่างพิสดารในวิสุทธิมรรคนั่นเหละ เพราะฉะนั้นพึงทราบ

โดยนัยที่ท่านทำให้พิสดารเสร็จแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นเถิด. คำที่จะพึงกล่าว

แม้ในสักกายสมุทัยเป็นต้นนั้น ก็ได้กล่าวไว้เสร็จแล้วในที่นั้นๆ ในหนหลัง

เหมือนกัน. เมื่อวิสาขะได้ฟังการแก้สัจจะสี่นี้แล้ว ก็ทราบว่าพระเถรียินดี

แล้ว เพราะว่าผู้ที่กระสันไม่ยินดีในพระพุทธศาสนานั้น ไม่สามารถจะแก้

ปัญหาที่ถามแล้วถามเล่าได้ เหมือนเอาแหนบมาถอนผมหงอกทีละเส้นๆ

เหมือนขนทรายออกจากเชิงเขาสิเนรุ. ก็เพราะสัจจะสี่อย่างนี้ปรากฏแล้วใน

พระพุทธศาสนาเหมือนพระจันทร์และพระอาทิตย์ปรากฏในโลก ด้วยว่าพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี พระมหาเถระทั้งหลายก็ดี ที่อยู่ในท่ามกลางบริษัทย่อม

ประกาศแต่สัจจะเท่านั้น, ภิกษุสงฆ์ก็ให้พวกกุลบุตรเรียนปัญหาว่า ''อะไร

ชื่อว่าสี่? อริยสัจจ์สี่" ตั้งแต่วันที่บวชไปวิสาขะคิดว่า และนางธรรมทินนานี้ก็

เป็นบัณฑิตที่ฉลาด ดำรงอยู่ในความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย ได้นำเอามาแล้ว

ก็สามารถกล่าวแม้ด้วยแนวที่ได้ฟังมาแล้ว ฉะนั้นใครๆ จึงไม่สามารถจะ

รู้ความแทงตลอดสัจจะของนางด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้. ทั้งเราก็อาจรู้ได้

ด้วยการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจำแนกสัจจะ เมื่อจะพลิกกลับไปยังสัจจะทั้ง

สองที่กล่าวไว้ในหนหลังทำให้ลี้ลับแล้วถามว่า "ข้าพเจ้าจะขอถามปัญหาที่มี

เงื่อนงำ" จึงกล่าวคำว่า "แม่เจ้า! อุปาทานนั้นแหละ หนอแล" ดังนี้เป็นต้น.

ในการแก้ปัญหานั้นว่า "คุณวิสาขะ ! นั้นแล ไม่ใช่อุปาทานเลย"

มีคำอธิบายว่า นั้นไม่ใช่เป็นอุปาทานเลย แต่เป็นขันธ์ ๕ ต่างหาก เพราะเป็น

สภาพที่เป็นเอกเทศจากกองสังขารของอุปาทาน และอุปาทานก็ไม่ใช่นอก

ไปจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕. เพราะถ้าสิ่งนั้นแลพึงเป็นอุปาทานไซร้สภาพมี

รูปเป็นต้น ก็พึงเป็นอุปาทานไปด้วย. ถ้าอุปาทาน พึงเป็นสิ่งนอกเหนือ

(ไปจากรูปเป็นต้น) ไซร้ ก็จะเป็นขันธวิมุตติ (หลุดไปจากขันธ์) เหมืออนุสัย

เหมือนบัญญัติ และเหมือนนิพพานที่ไม่ประกอบกับจิตในสมัยอื่น. หรือ

ไม่ก็จะต้องบัญญัติขันธ์ที่ ๖ เพิ่มอีก, เพราะฉะนั้น นางธรรมทินนาจึงแก้

อย่างนี้.

เมื่อได้ฟังคำพยากรณ์ของนาง, วิสาขะก็ถึงความแน่ใจว่า "นางนี้ได้

บรรลุความแทงตลอดแล้ว" แล้วคิดว่า "ผู้ที่ไม่ใช่ขีณาสพไม่พบเห็นไม่เป็นผู้รู้

จักทำให้พิสดาร เปรียบปานแกว่งประทีปพันดวงให้สั่นไหว จะไม่สามารถ

แก้ปัญหาที่มิดชิดปิดซ่อนไว้ ไตรลักษณ์นำมาถึงลึกซึ้งเห็นปานนี้ได้

เลย, แต่นางธรรมทินนานี้ถึงที่สุด (คือพระนิพพาน) ได้ที่พึ่งในศาสนา

บรรลุปัญญาแตกฉาน ถึงความกล้าหาญ กำจัดภพเป็นขีณาสพผู้ยิ่ง

ใหญ่ สามารถไขปัญหาที่ข้าถาม" จึงคิดว่า บัดนี้ เราจะถามปัญหา ที่แสน

จะสลับซับซ้อนกะนางอีก" เมื่อจะถามปัญหานั้นจึงกล่าวคำว่า "อย่างไร

เล่า แม่เจ้า" ดังนี้ เป็นต้น.

ในการแก้ปัญหานั้น คำเป็นต้นว่า "ผู้ไม่ได้ฟังแล้ว" ท่านได้ให้

พิสดารแล้วในมูลปริยายสูตรนั่นเอง. คำว่า " ย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยความ

เป็นต้น" คือบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น

ตน ย่อมพิจารณาเห็นรูปและตนเป็นสิ่งไม่ใช่สองว่า "รูปอันใดฉันก็อัน

นั้น ฉันอันใด รูปก็อันนั้น". เปรียบเหมือนเมื่อตะเกียงน้ำมันกำลังลุกไหม้

อยู่ เปลวอันใดสีก็อันนั้น สีอันใดเปลวก็อันนั้น แม้ฉันใด, ฉันนั้นนั่นแล บุคคล

บางคนในโลกนี้ย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตนแล พิจารณาเห็น...ไม่

ใช่สองอย่าง" ดังนี้ฉะนั้นจึงชื่อว่าย่อมเห็นด้วยวิปัสสนาในทิฏฐิว่า "รูปเป็น

ตัวตน" อย่างนี้. หรือย่อมพิจารณาเห็นว่าตัวตนมีรูป จึงถือเอารูปว่าเป็นตน

แล้วย่อมพิจารณาเห็นตนมีรูป เหมือเห็นต้นไม้มีร่ม หรือเห็นว่ารูปในตนจึง

ถือเอาอรูปนั่นแหละว่าเป็นตน จึงชื่อว่าย่อมพิจารณาเห็นรูปในตนเหมือน

ดมกลิ่นในดอกไม้ หรือเห็นว่าตนในรูปจึงถือเอาอรูปนั่นแหละว่าเป็นตน

จึงชื่อว่าย่อมพิจารณาเห็นตนนั้นในรูปเหมือนเห็นแก้วมณีในขวด แม้ในการ

พิจารณาว่าเวทนาโดยความเป็นตนเป็นอาทิ ก็มีทำนองอย่างเดียวกันนั่น

เอง ในคำเหล่านั้น คำว่า "ย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน" ท่านกล่าว

ถึงรูปล้วนๆ เท่านั้นว่าเป็นตน. ท่านกล่าวถึงอรูปว่าเป็นตนในที่เจ็ดแห่งเหล่านี้

คือ ย่อมพิจารณาเห็นตนมีรูป, หรือรูปมีในตน, หรือตนมีในรูป, เวทนาโดย

ความเป็นตน, สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตน ท่านกล่าวถึงรูป

และอรูปที่ปนกันว่าเป็นตนในที่สิบสองแห่งด้วยอำนาจแห่งขันธ์ทั้งสามใน

จำนวนสี่ขันธ์อย่างนี้ คือ ตนมีเวทนา เวทนามีในตน ตนมีในเวทนาดังนี้.

ในคำว่า ย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน ย่อมพิจารณาเห็น

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตน" นั้น ท่านแสดงความเห็น

ว่าขาดสูญในที่ห้าแห่ง, ในแห่งที่เหลือ ท่านแสดงความเห็นว่าเที่ยง. ด้วยประ

การฉะนี้ในที่นี้จึงมีภวทิฏฐิ (ความเห็นว่ามีว่าเป็น) ๑๕ อย่าง. วิภวทิฏฐิ

(ความเห็นว่าไม่มีไม่เป็น) ๕ อย่าง. ในบทว่า "ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความ

เป็นตน" นี้, ได้แก่ย่อมไม่พิจารณาว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตน" ด้วยอาการ

ทุกอย่าง คือย่อมไม่พิจารณาเห็น ๕ อย่างเหล่านี้ ด้วยแบบอย่างใดอย่าง

หนึ่ง อันได้แก่ไม่พิจารณาเห็นรูปว่าเป็นตน แต่พิจารณาเห็นว่า "ไม่

เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตน ไม่พิจารณาเห็นตนมีรูป ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นตนใน

วิญญาณ" ดังนี้. เมื่อพระเถรีแก้ปัญหาข้อแรกอย่างนี้ว่า "คุณวิสาข ! ความ

เห็นว่ากายของตน ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้แล" ดังนี้ ด้วยถ้อยคำมีประมาณ

เพียงเท่านี้อยู่, คำว่า "ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ การไปก็มี การมาก็มี การูปและ

การมาก็มี วัฏฏะ (วงจรแห่งชีวิต) ก็ย่อมหมุนไป " ก็เป็นอันว่านางได้ทำวัฏฏะ

ให้ถึงที่สุดแล้วแสดงไว้. เมื่อแก้ปัญหาข้อหลังว่า "คุณวิสาขะ ความเห็นว่ากาย

ตน ย่อมไม่มีด้วยอาการอย่างนี้แล " ดังนี้อยู่, คำว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

การไปก็ไม่มี การมาก็ไม่มี การไปและการมาก็ไม่มี วัฏฏะก็หยุดหมุน " ก็เป็น

อันว่านางได้ทำวิวัฏฏะให้ถึงที่สุดแสดงไว้แล้ว. ปัญหาว่า "แม่เจ้า ก็แล

ทางประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐเป็นไฉน " พึงเป็นอันพระเถรีพึงถาม

กลับแล้วจึงตอบว่า "อุบาสก! คุณถามถึงทางเบื้องต่ำแล้ว ทำไมในที่นี้จึงมา

ถามถึงทางอยู่อีกล่ะ" ก็พระเถรีนั้นกำหนดความประสงค์ของอุบาสกนั้น

ได้ ก็เพราะความที่ตนฉลาดเป็นบัณฑิต. นางคิดว่า "อุบาสกนี้ คงจะถามถึง

ทางขั้นต่ำด้วยอำนาจปฏิบัติแต่ในที่นี้ คงอยากจะถามถึงทางนั้นแห่ง

สังขตะ (ถูกปรุง) อสังขตะ (ไม่ถูกปรุง) โลกิยะ (แบบโลกๆ) โลกุตตระ (อยู่

เหนือโลก, ข้ามขึ้นจากโลก) อันท่านจัดรวมเข้าไว้(สงเคราะห์) และไม่จัดรวม

เข้าไว้ (ไม่สงเคราะห์) ฉะนั้นอุบาสกถามข้อใด ๆ มาก ก็แก้ข้อนั้นๆ โดยไม่

ถามกลับเลย.

ในคำเหล่านั้น คำว่า "ถูกปรุง" ความว่า ถูกคิด ถูกตรึก ถูก

ตรอง ถูกรวบรวมไว้ ถูกให้เกิด อันผู้เข้าถึง พึงเข้าถึง. ในคำว่า "ก็แล

คุณวิสาขะหนทางประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐ ท่านจัดรวมเข้าไว้ด้วย

ขันธ์ ๓ " นื้มีคำอธิบายว่า เพราะทางมีประเทศ ขันธ์ทั้ง ๓ ไม่มีประ

เทศ ฉะนั้นท่านจึงเอาทางนี้มารวมเข้าด้วยขันธ์ ๓ ที่ไม่มีประเทศ เหมือน

เอากรุงมารวมเข้ากับราชย์ เพราะความที่ทางมีประเทศ. ในองค์มรรคเหล่า

นั้น องค์มรรค ๓ มีการพูดจาถูกต้องเป็นต้น เป็นศีลแท้ฉะนั้นจึงยกเอาองค์

มรรคเหล่านั้นมารวมเข้ากับกองศีล เพราะมีชาติเสมอกัน. ถึงแม้ในบาลี

ท่านยกเอามาแสดงทำเหมือนสัตตมีวิภัติว่า " ในกองศีล" ดังนี้ก็จริง ถึงดัง

นั้น ก็พึงทราบใจความด้วยอำนาจตติยาวิภัติ. ส่วนสมาธิในองค์มรรคอีก ๓

มีความพยายามชอบเป็นต้น โดยธรรมดาของตนแล้ว ย่อมไม่สามารถจะแนบ

แน่นได้ เพราะเป็นภาวะที่เลิศเดี่ยวในอารมณ์ แต่เมื่อความเพียรกำลังทำหน้า

ที่ประคับประคองให้สำเร็จ ความระลึกก็กำลังทำหน้าที่เคล้าคลึงให้สำเร็จ

อยู่, สมาธิกลายเป็นธรรมชาติที่ได้อุปการะ จึงจะสามารถให้แนบแน่นได้.

ในเรื่ององค์มรรคนั้น มีคำเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ :-

เหมือนอย่างว่า ในสามเกลอที่ชวนกันเข้าไปสู่อุทยานด้วยตั้งใจ

ว่า "พวกเราจะเล่นงานนักขัตฤกษ์ (งานประจำปี) คนหนึ่งพบต้น

จัมปาดอกบานนี้ ยกมือขึ้นไปก็ไม่อาจเก็บได้ ทีนั้น คนที่สองจึงก้มหลังให้

เขา แม้เขาได้ยินบนหลังของคนที่สองนั้น ก็ยังเด็ดไม่ได้, ทีนั้น อีกคน

หนึ่ง ก็ยื่นจงอยบ่าให้เขา. เมื่อเขาได้ยืนบนหลังของคนหนึ่งแล้วเหนี่ยวจงอย

บ่าของอีกคนหนึ่ง จึงเก็บเอาดอกไม้มาประดับตามชอบใจแล้วเล่นงาน

นักขัตฤกษ์ฉันใด. พึงเห็นคำที่นำมาเปรียบนี้ ฉันนั้น คือ ธรรมทั้งสาม

มีความ พยายามชอบเป็นต้นซึ่งเกิดร่วมกัน เหมือนสามเกลอ ที่เข้าสวมด้วย

กัน, อารมณ์เหมือนต้นจัมปาดอกบานสะพรั่ง สมาธิ ที่ไม่สามารถจะถึงฌาน

ได้เพราะเป็นภาวะที่เด่นเดี่ยวในอารมณ์โดยลำพังตนเอง เหมือนคนที่ถึงแม้จะ

ได้ยกมือขึ้นแล้วก็ยังไม่อาจเก็บได้, ความพยายามชอบเหมือนเกลอที่น้อมหลัง

ให้, ความระลึกเหมือนเกลอที่ยืนให้จับจงอยบ่า. สมาธิที่เมื่อวิริยะ กำลังทำ

หน้าที่ประดับประคองให้สำเร็จ (และ) สติก็กำลังทำหน้าที่คลึงเคล้าให้สำเร็จ

อยู่อย่างนี้, ได้อุปการะแล้ว ก็ย่อมอาจบรรลุฌานได้เพราะความเป็นภาวะที่

โดดเด่นในอารมณ์เหมือนคนนอกนี้ที่ยืนบนหลังของคนหนึ่งในสามคนนั้นและ

จับจงอยบ่าของอีกคนหนึ่ง จึงสามารถเด็ดดอกไม้ได้ตามพอใจ ฉันใด ก็ฉัน

นั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเอาสมาธิมารวมเข้ากับกองสมาธิ ตามกำเนิดของ

ตน. ส่วนความพยายามชอบและความระลึกชอบ ท่านก็เอามารวมเข้ากับกิริยา.

แม้ปัญญาในความเห็นชอบและความดำริชอบ ก็ไม่สามารถตัดสิน

อารมณ์ว่า "ไม่เที่ยง ไม่ทนทาน ไม่ใช่ตัวตน" ตามลำพังตนเองได้. แต่เมื่อ

วิตก อาโกฏเฏตฺวา ค่อยๆ ทุบแล้วทะยอยส่งให้ ก็สามารถ อย่างไร ? เหมือน

อย่างว่า เจ้าหน้าที่การเงิน เอาเหรียญกษาปณ์มาวางบนมือ แม้อยากจะสำ

รวจดูทุกส่วน ก็ไม่สามารถจะพลิกด้วยสายตาได้เลย ต่อเมื่อใช้ข้อนิ้วมือพลิก

แล้วจึงจะสามารถสำรวจดูได้ทุกด้าน ฉันใด, ปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกันไม่

สามารถชี้ขาดอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยง เป็นต้นตามลำพังของตน

เองได้ แต่จะสามารถชี้ขาดแต่อารมณ์ที่วิตกซึ่งมีความยกขึ้นเป็นลักษณะ

มีความจดจ่อและจอดจับเป็นหน้าที่ เหมือนกำลังจับทุบ และกำลังจับพลิก

แล้วส่งมาให้เท่านั้น เพราะฉะนั้นท่านจึงจัดเอาแต่สัมมาทิฏฐิเท่านี้มารวมไว้

กับกองปัญญาเพราะมีกำเนิดเท่ากัน แม้ในที่นี้. ส่วนสัมมาสังกัปปะ ก็ถูกจับ

มารวมเข้าเพราะการกระทำ. มรรคย่อมถึงซึ่งการรวมเข้ากับของทั้งสามนี้

ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น นางธรรมทินนาจึงได้กล่าวว่า "คุณ

วิสาขะ ก็แล ทางอันมีองค์แปดอันประเสริฐ ท่านสงเคราะห์ด้วยขันธ์ทั้ง ๓ "

ดังนี้.

บัดนี้ เมื่อจะถามถึงสมาธิในมรรคที่เป็นไปเพียงขณะจิตเดียว พร้อม

กับเครื่องหมายรวมทั้งเครื่องเครา จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "เป็นไฉนเล่า

แม่เจ้า ? "

ในการแก้ปัญหานั้น ท่านว่า สติปัฏฐาน ๔ คือสัมมาสติ เกิดขึ้นแล้ว

ด้วยอำนาจยังหน้าที่สี่อย่างในมรรคขณะให้สำเร็จ. สัมมาสตินั้น กลายเป็น

เครื่องหมายเพราะอรรถว่าเป็นปัจจัยแห่งสัมมาสมาธิ. สัมมัปปธาน ๔

คือตัววิริยะ เกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจการทำหน้าที่สี่อย่างให้สำเร็จ, วิริยะนั้น

กลายเป็นเครื่องเครา (ปริขาร) เพราะอรรถว่าแวดล้อม. คำว่า "ของธรรม

เหล่านั้นแล " คือของธรรมที่ประกอบพร้อมด้วยมรรคเหล่านั้นในคำเป็นต้น

ว่า "การเสพคุ้น" คือ ท่านกล่าวความเสพคุ้นที่เป็นไปเพียงหนึ่งขณะ

จิต. ส่วนผู้ชอบพูดเคาะเล่น ก็พูดว่า "ชื่อว่ามรรคที่เป็นไปเพียงหนึ่งขณะ

จิต ไม่มี. ถ้าพึงเป็นอย่างนั้นจะมีการอบรมมรรคเสียตั้งเจ็ดปี เพราะคำ

ว่า "เจ็ดปี" ฝ่ายพวกกิเลสเมื่อจะขาด ก็ย่อมขาดไปด้วยญาณทั้งเจ็ดโดยฉับ

พลัน". พึงพูดกะเขาว่า "นำพระสูตรมาซิ" แน่นอนเมื่อเขามองไม่เห็นทาง

อย่างอื่น ก็จะนำข้อความว่า "การเสพคุ้น การอบรม การทำให้มาก ธรรม

เหล่านั้นแลอันได" นี้แลมา กล่าวว่า "ย่อมเสพคุ้นด้วยจิตดวงอื่น อบรมด้วย

จิตดวงอื่น ทำให้มากก็ด้วยจิตดวงอื่น. ต่อจากนั้น เขาพึงถูกกล่าวว่า "ก็แล

สูตรนี้ มีใจความที่พึงรู้ (แนะนำ) มีใจความที่นำไปอย่างไร?" เขาก็จะกล่าว

ต่ออีกว่า "สูตรมีใจความอย่างที่นำไปนั่นแหละ" อย่างมากของเขาก็เท่า

นี้. เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็จะมีแต่ความเสพคุ้นเท่านั้น แม้ทั้งวันอย่างนี้คือ จิตดวง

หนึ่งเกิดเสพคุ้นอยู่แล้ว จิตอีกดวงหนึ่งเกิดเสพคุ้นอยู่แล้ว แม้อีกดวง ก็เกิดเสพ

คุ้นอยู่แล้ว, จะมีการอบรมแต่ที่ไหน? จะมีการทำให้มาก แต่ที่ไหน? หรือ

เมื่อดวงหนึ่งก็เกิดอบรมอยู่แล้ว ดวงอื่นอีกก็เกิดอบรมอยู่แล้ว อีกดวงหนึ่งก็

เกิดอบรมอยู่แล้ว ดังนี้ แบบนี้ทั้งวันก็จะมีแต่การอบรมเท่านั้น. ความเสพคุ้น

จะมีแต่ที่ไหน? การทำให้มากจะมีแต่ที่ไหน? หรือดวงหนึ่งก็เกิดทำให้มากอยู่

แล้ว ดวงอื่นอีกก็เกิดทำให้มากอยู่แล้ว อีกดวงหนึ่งก็เกิดทำให้มากขึ้นอยู่

แล้ว ดังนี้ แบบนี้ทั้งวันก็จะมีแต่การทำให้มากเท่านั้น จะมีการเสพคุ้นแต่ที่

ไหน? จะมีการอบรมแต่ที่ไหน? อีกอย่างหนึ่ง เขาอาจจะกล่าวอย่างนี้

ว่า "ย่อมเสพคุ้นด้วยจิตดวงหนึ่ง ย่อมอบรมด้วยจิตสองดวง ย่อมทำให้มาก

ด้วยจิตสามดวง หรือย่อมเสพคุ้นด้วยจิตสองดวง ย่อมอบรมด้วยจิตสาม

ดวง ย่อมทำให้มากด้วยจิตหนึ่งดวง หรือย่อมเสพคุ้นด้วยจิตสามดวง

ย่อมอบรมด้วยจิตหนึ่งดวง ย่อมทำให้มากด้วยจิตสองดวง". เขาพึงถูกกล่าว

ว่า "ท่านอย่ากล่าวเลอะเทอะว่า "ผมก็ได้สูตรนะ" ธรรมดาผู้จะแก้ปัญหา

ต้องอยู่ในสำนักอาจารย์เล่าเรียนพุทธพจน์ให้ทราบอรรถรสแล้ว จึงค่อย

พูด ก็การเสพคุ้นนี้ ประกอบด้วยขณะจิตเดียว การอบรมก็ประกอบด้วย

ขณะจิตเดียว และการทำให้มาก ก็ประกอบด้วยขณะจิตเดียว ธรรมดา

โลกุตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไปที่มีหลายขณะจิตไม่มี มีแต่ที่ประกอบด้วยขณะ

จิตเดียวเท่านั้น" พึงทำให้เขายอมรับดังที่ว่ามานี้. ถ้าเขายอมรับ ก็ยอมรับ

ไป, ถ้าไม่ยอมรับ ก็พึงส่งไปว่า "จงไปเข้าวัดแต่เช้าแล้วดื่มข้าวต้มเสีย".

ในคำว่า "สังขารมีกี่อย่างเล่า แม่เจ้า?" นี้ วิสาขะถามถึงอะไร

ถามว่าบุคคลดับสังขารเหล่าใดแล้ว จึงเข้านิโรธ ข้าพเจ้าขอถามสังขารเหล่า

นั้น เมื่อพระเถรีได้ทราบความประสงค์ของเขาด้วยประการนั้นนั่นแล

บอกกายสังขารเป็นต้น ในสังขารจำนวนมากมีปุญญาภิสังขารเป็นต้นที่มีอยู่

จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "คุณ สังขารเหล่านี้มีสามอย่าง".

ในสังขารเหล่านั้น ชื่อกายสังขารเพราะอันกายย่อมปรุง คือย่อมให้

เกิด เพราะเป็นสภาพที่เกี่ยวข้องกับกาย, ชื่อวจีสังขาร เพราะถูกปรุงคือถูก

ให้เกิด โดยวาจา เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวาจา, ชื่อว่าจิตตสังขารเพราะ

ถูกปรุง คือถูกให้เกิดโดยจิต เพราะเป็นของที่เกี่ยวข้องกับจิต. วิสาขะย่อมถาม

ถึงอะไรในคำว่า "เป็นไฉนเล่า แม่เจ้า" นี้ ย่อมถามว่า "สังขารเหล่านี้มัน

ปนกันและกัน มัว ไม่แจ่ม แจ้งยาก". จริงอย่างนั้นที่เรียกเจตนา ๒๐ อย่างอัน

เป็นกุศลอกุศลอย่างนี้ คือ เจตนาในกามาวจรกุศล ๘ อย่าง เจตนาใน

อกุศล ๒ อย่าง ที่ยังบุคคล ให้ถึงการยึด การถือ การหลุด การปล่อย ใน

กายทวารบ้าง ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าบ้างว่า เป็นกายสังขาร.

ท่านเรียกเจตนา ๒๐ อย่าง มีประการที่ได้กล่าวแล้วซึ่งยังการไหวแห่งคาง

ให้ถึงวจีเภทในวจีทวารบ้าง วิตกวิจารบ้างว่าเป็นวจีสังขาร, ท่านเรียก

เจตนา ๒๐ อย่างนั้น กุศลและอกุศลที่เกิดแก่ผู้ยังไม่ถึงการสั่นไหวในกาย

ทวารและวจีทวารแล้วนั่งคิดอยู่ในที่สงัดธรรมสองอย่างคือ สัญญา และเวทนา

บ้างว่าเป็นจิตตสังขารทีเดียว ธรรมเหล่านี้ มันปนเปกัน มัว ยังไม่

แจ่ม แจ้งยาก. ข้าพเจ้าขอให้ทำธรรม เหล่านั้นให้แจ่งแจ้งแล้วบอก".

ในบทว่า "ก็ทำไมเล่า แม่เจ้า " นี้ วิสาขะย่อมถามถึงใจความของบท

แห่งชื่อกายสังขารเป็นต้น. ในการแก้ปัญหานั้น ผู้ศึกษาพึงทราบความหมาย

นี้ว่า กายสังขารชื่อว่าอาศัยกาย เพราะเกี่ยวข้องกับกาย เมื่อมีกาย ก็มีกาย

สังขาร เมื่อกายไม่มี กายสังขารก็มีไม่ได้ จิตตสังขารชื่อว่าอาศัยจิต เพราะ

เกี่ยวข้องกับจิต เมื่อมีจิต ก็มีจิตตสังขาร เมื่อจิตไม่มีจิตตสังขารก็มีไม่

ได้. บัดนี้เมื่อวิสาขะจะถามเพื่อความรู้ว่า "สมาบัตินี้ ย่อมใช้สัญญาเวทยิต-

นิโรธหรือหนอ หรือไม่ใช้ หรือเป็นผู้สะสมความชำนิชำนาญในสัญญาเวท-

ยิตนิโรธหรือหนอ หรือไม่ใช่ หรือเป็นผู้สะสมความชำนิชำนาญในสัญญา-

เวทยิตนิโรธนั้น หรือไม่ต้องเป็นผู้สะสมความชำนิชำนาญ?" จึงกล่าวคำเป็น

ต้นว่า "แม่เจ้า ทำอย่างไรเล่าจึงจะเป็นสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติได้?" ใน

การตอบปัญหานั้น ข้อความมีว่า ท่านได้กล่าวถึงเวลาแห่งเนวสัญญานา-

สัญญายตนสมาบัติด้วยบททั้ง ๒ ว่า "เราจักเข้า" หรือ "เรากำลังเข้า".

ท่านกล่าวนิโรธภายในด้วยบทว่า "เข้าแล้ว". เวลาที่มีจิต ท่านก็กล่าวด้วยบท

ก่อนทั้งสองเหมือนกันนั้น เวลาที่ไม่มีจิต ท่านกล่าวด้วยบทหลัง. คำว่า "จิตก็

เป็นอันอบรมไว้แล้วอย่างนั้นมาก่อนทีเดียว " ได้แก่จิตที่มีกาลเวลาเป็นเครื่อง

กำหนดเป็นอันได้อบรมแล้วว่า "ตลอดเวลาเท่านี้ เราจะเป็นไม่มีจิต ในกาล

ที่มีระยะเวลาเป็นเครื่องกำหนดก่อนนิโรธสมาบัติ. คำว่า "ย่อมน้อมบุคคลนั้น

ได้เข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น " คือ ย่อมน้อมบุคคลที่อบรมจิตไว้แล้วอย่างนี้

นั้นเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น ได้แก่เพื่อความเป็นผู้ไม่มีจิต. คำว่า "วจี-

สังขารย่อมดับไปก่อน " คือวจีสังขารย่อมดับจากสังขารที่เหลือในฌานที่สอง

ก่อน. คำว่า "ต่อจากนั้นกายสังขาร" คือต่อจากนั้นกายสังขารก็ดับไปใน

ฌานที่สี่. คำว่า "ต่อจากนั้นจิตตสังขาร" คือต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ

ไปภายในนิโรธ. ท่านกล่าวเวลาภายในนิโรธด้วยสองบทว่า "เรา

จักออก " หรือ "เรากำลังออก" เวลาแห่งผลสมบัติท่านกล่าวด้วยบทว่า "ออก

แล้ว " เวลาเป็นผู้ไร้จิต ท่านกล่าวด้วยสองบทก่อนเหมือนกันนั้น. ด้วยบทหลัง

ท่านกล่าวเวลาที่มีจิต. คำว่า "จิตก็เป็นอันได้อบรมมาแล้วอย่างนั้นก่อน

ทีเดียว " คือจิตที่มีเวลาเป็นเครื่องกำหนดเป็นอันได้อบรมแล้วว่า ตลอดเวลาเท่า

นี้เราจะเป็นผู้ไร้จิต ในกาลที่มีระยะเวลาเป็นเครื่องกำหนดไว้ก่อนเข้าถึงนิโรธ-

สมาบัติแล้ว ต่อจากนั้นจึงจะเป็นผู้มีจิต. คำว่า "ย่อมน้อมบุคคลนั้นได้เข้าไป

เพื่อความเป็นอย่างนั้น " คือย่อมน้อมบุคคลที่อบรมจิตไว้แล้วอย่างนี้นั้นเข้าไป

เพื่อความเป็นอย่างนั้น คือเพื่อความเป็นผู้มีจิต. เวลาแห่งการเข้า

นิโรธท่านกล่าวไว้ในหนหลัง ในที่นี้ ท่านกล่าวเวลาแห่งการออกจากนิโรธด้วย

ประการฉะนี้.

บัดนี้เป็นวาระเพื่อจะกล่าวนิโรธกถา ฉะนั้น นิโรธกถาจึงเป็นเรื่องที่

ต้องกล่าว

ก็แหละนิโรธกถานั้น ท่านได้ตั้งแม่บทกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคทุกแง่

ทุกมุมว่า "ปัญญาที่ความชำนิชำนาญอบรมไว้ด้วยความรำงับสังขาร

สาม เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยกำลังสอง, ด้วยความประพฤติในญาณ

สิบหก, ด้วยความประพฤติในสมาธิเก้าปัญญาที่ความชำนิชำนาญอบรมแล้ว

และญาณในการเข้าถึงนิโรธ". เพราะฉะนั้น ผู้ต้องการทราบพึงถือเอาตาม

แบบที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคนั้นเถิด. ที่ชื่อว่า นิโรธนี้ได้แก่อะไรเล่า?

ได้แก่ความไม่เป็นไปแห่งการพิจารณาขันธ์ทั้งสี่. ถ้าจะมีการถามว่า "เมื่อ

เป็นเช่นนั้น เข้าสมาบัติกันเพื่ออะไร? ก็ตอบว่า เข้าสมาบัติกันเพื่อสิ่งนี้

คือ "เรากลุ้มในความเป็นไปแล้วในสังขาร จะเป็นผู้ไม่มีจิตสักเจ็ดวันอยู่

สบาย นิโรธนี้นั้นชื่อว่าเป็นนิพพานในปัจจุบัน". คำว่า "จิตสังขารย่อมเกิด

ขึ้นก่อน" คือจริงอยู่เมื่อจะออกจากนิโรธ จิตในผลสมาบัตินั้นย่อมเกิดขึ้น

ก่อน. ท่านหมายเอาสัญญาและเวทนาที่ประกอบด้วยผลสมาบัตินั้นจึงกล่าว

ว่า "จิตตสังขารย่อมเกิดขึ้นก่อน" คำว่า "ต่อจากนั้น กายสังขาร" คือ

ต่อจากจิตตสังขารนั้นไป กายสังขารย่อมเกิดขึ้นในสมัยแห่งภวังค์. ถาม

ว่า "ก็ผลสมาบัติไม่ยังลมหายใจออกและลมหายใจเข้าให้ตั้งขึ้นหรือ? ตอบ

ว่าให้ตั้งขึ้น แต่ผลสมาบัติของผู้นี้ประกอบด้วยฌานที่สี่อยู่ ผลสมาบัตินั้นจึงทำ

ให้ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าตั้งขึ้นไม่ได้. หรือเพราะเหตุนี้หรือ? ผลสมา-

บัติจะประกอบด้วยฌานที่หนึ่ง หรือประกอบด้วยฌานที่สอง ที่สาม หรือที่สี่ก็

ตามทีเถิด ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าของภิกษุออกจากสมาบัติ

ที่สงบ ย่อมเป็นสิ่งที่พูดไม่ได้ (คือมีเหมือนไม่มี) หรือ? ความที่ลมหายใจออก

และลมหายใจเข้านั้นเป็นสิ่งที่พูดไม่ได้ พึงทราบด้วยเรื่องพระสัญชีวเถระ :-

ความสังเขปมีว่า เมื่อพระสัญชีวเถระออกจากสมาบัติแล้วก็เดินลุย

ไปบนถ่านที่เขากระจายไว้เหมือนดอกทองกวาว แม้แต่เพียงแสงในจีวรก็ไม่

ลุกไหม้ แม้แต่เพียงอาการแห่งไออุ่น ก็ไม่ได้มี. พวกคนก็กล่าวกันว่า นี่แหละ

ผลของสมาบัติ. ลมหายใจออกสละลมหายใจเข้าของภิกษุผู้ออกจากสมาบัติ

ที่สงบ ย่อมเป็นสิ่งที่พูดไม่ได้ ดังที่ว่ามานี้แล ฉะนั้นพึงทราบว่า คำนี้

ท่านกล่าวด้วยสมัยแห่งภวังค์เท่านั้น.

คำว่า "จากนั้น ก็วจีสังขาร" คือ ถัดจากกายสังขารนั้นมา วจี-

สังขารก็ย่อมเกิดขึ้นในเวลาแห่งการใช้ที่สำเร็จมาจากกิริยาจิตเป็นไป ถาม

ว่า ภวังค์จะให้วิตกวิจารตั้งขึ้นไม่ได้หรือ? ตอบว่าให้ตั้งขึ้นได้, แต่วิตกและ

วิจารยังแต่ที่ประกอบด้วยภวังค์นั้น ยังแต่งวาจาไม่ได้ เพราะฉะนั้น คำ

นั้น ท่านกล่าวตามเวลาใช้ที่สำเร็จนาจากกิริยาจิตที่เป็นไปแล้วเท่านั้น.

สมาบัติเป็นต้นว่า "ผัสสะเป็นของสูญ" ก็พึงกล่าวโดยผัสสะที่มีคุณและโดย

อารมณ์. ผลสมาบัติชื่อว่าเป็นของสูญโดยผัสสะที่มีคุณก่อน เพราะท่านประ-

สงค์เอาผัสสะที่เกิดพร้อมกับสุญญตผลสมาบัตินั้นจึงกล่าวคำว่า "ผัสสะเป็น

ของสูญ" แม้ในอนิมิตตผลสมาบัติและอัปปณิหิตผลสมาบัติก็ทำนองอย่าง

เดียวกันนี้เหมือนกัน ก็โดยอารมณ์พระนิพพานที่ชื่อว่าสูญ ก็เพราะสูญ

จากราคะเป็นต้น. ชื่อว่าไม่มีเครื่องหมายเพราะไม่มีเครื่องหมายแห่งราคะ

เป็นต้น เพราะไม่มีที่ตั้งแห่งราคะเป็นต้น จึงชื่อว่าไม่มีที่ตั้ง. ผัสสะในผลสมา-

บัติที่ทำพระนิพพานซึ่งเป็นของสูญให้เกิดเป็นอารมณ์ชื่อว่าเป็นของ

สูญ. แม้ในอนิมิตตผลสมาบัติและอัปปณิหิตผลสมาบัติก็ทำนองอย่างเดียวกันนี้

เหมือนกัน. ยังมีถ้อยคำที่จะต้องเพิ่มเติมอย่างอื่นอีก คือแม้วิปัสสนาท่านก็

เรียกว่า สุญญตา อนิมิตตา อัปปณิหิตา ในข้อเหล่านี้ภิกษุใดกำหนดสังขาร

โดยความไม่เที่ยงเห็นโดยความไม่เที่ยงแล้ว ย่อมออกโดยความไม่เที่ยง.

วิปัสสนาที่พาไปถึงการออกของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าอนิมิตตาวิปัสสนา.

ภิกษุใดกำหนดสังขารโดยความเป็นทุกข์ เห็นโดยความเป็นทุกข์แล้วย่อมออก

โดยความเป็นทุกข์ วิปัสสนาที่พาไปถึงการออกของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่า

อัปปณิหิตาวิปัสสนา. ภิกษุใด กำหนดสังขารโดยความเป็นของไม่ใช่ตน เห็น

โดยความเป็นของไม่ใช่ตนแล้วย่อมออกโดยความเป็นของไม่ใช่ตน วิปัสสนา

ที่พาไปถึงการออกของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่า สุญญตาวิปัสสนา. มรรคใน

อนิมิตตวิปัสสนาของภิกษุนั้น ชื่ออนิมิตตมรรค. ผลของอนิมิตตมรรค ชื่อ

อนิมิตตผล เมื่อถูกต้องผัสสะที่เกิดพร้อมกับอนิมิตตผลสมาบัติก็เรียกว่า

อนิมิตต์ ย่อมถูกต้อง แม้ในอัปปณิหิตะและสุญญตะ ก็มีทำนองอย่างเดียวกันนี้

เหมือนกัน. ด้วยคำที่จะต้องเพิ่มเติมที่ได้กล่าวไว้แล้ว ผัสสะก็พึงมาถึงการ

เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งว่า "สุญญตผัสสะก็ได้ อนิมิตตผัสสะก็ได้ หรือ

อัปปณิหิตผัสสะก็ได้, เพราะฉะนั้นจึงควรกล่าวสมาบัติเป็นต้นโดยผัสสะที่มีคุณ

และโดยอารมณ์. เพราะเมื่อกล่าวอย่างนี้คำก็จะเข้ากันได้ว่า "ผัสสะสาม

อย่างย่อมถูกต้อง". พระนิพพานชื่อวิเวกในคำเป็นต้นว่า "โน้มไปใน

วิเวก" ที่ว่าโน้มไปในวิเวกก็เพราะโน้มคือโอนไปในวิเวกนั้น. ที่ชื่อว่าชะโงกไป

ในวิเวก. ในคำว่า "ชะโงกไปในวิเวก" ก็เพราะมาจากทีอื่นแล้ว ก็ตั้งอยู่เป็น

เหมือนกับเข้าไปหาวิเวกนั้น. ที่ชื่อว่ามีวิเวกเป็นเงื้อม ก็เพราะว่าตั้งอยู่เหมือน

กับจะตกไปหาวิเวกนั้น.

บัดนี้เมื่อวิสาขะจะถามว่า "ข้าพเจ้าจะขอถามเวทนาที่ภิกษุดับได้แล้ว

จึงเข้านิโรธสมาบัติได้" จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "แม่เจ้า ก็เวทนามีเท่าไร?"

ความสุขที่เป็นไปในทวารห้าในคำเป็นต้นว่า "หรือเป็นไปในทาง

กาย " ชื่อกายิกสุข, ที่เป็นไปในมโนทวาร พึงทราบว่าชื่อเจตสิกสุข. ในเรื่อง

ของเวทนานั้น คำว่า "สุข" เป็นคำชี้แจงสภาพ. คำว่า "ความชื่นใจ" เป็น

คำสำหรับใช้แทนกันแสดงถึงความเอร็ดอร่อยแห่งสุขนั้นนั่นเอง. คำว่า

"ความเสวย" เป็นคำทั่วไปแก่เวทนาทุกอย่างที่แสดงความเป็นคือความ

เสวย แม้ในบทที่เหลือก็เป็นทำนองเดียวกันนี้แหละ. ในคำเป็นต้นว่า "ความ

คงอยู่เป็นสุข ความแปรปรวนเป็นทุกข์ " มีความหมายว่า ความมีแห่งสุขเวทนา

ชื่อว่าสุข, ความไม่มีชื่อว่าทุกข์, ความมีแห่งทุกขเวทนาชื่อว่าทุกข์,

ความไม่มีชื่อว่าสุข, ความรู้อทุกขมสุขเวทนาชื่อว่าสุข, ความไม่รู้ชื่อว่าทุกข์.

ในคำว่า "อนุสัยอะไร ย่อมนอนเนื่อง" นี้ วิสาขะย่อมถามถึงอนุสัยว่า

อนุสัยเป็นไฉน ย่อมนอนเนื่องคือเป็นเหมือนกะว่าผู้นอนเพราะอรรถว่ายังละ

ไม่ได้. คำว่า "คุณวิสาข กามราคานุสัย ไม่ใช่จะนอนเนื่องในสุขเวทนาทั้ง

หมดดอก " ความว่า ราคานุสัยไม่ใช่นอนเนื่องในสุขเวทนาทั้งหมดราคา

นุสัยนั้นที่ยังละไม่ได้ในสุขเวทนาทุกอย่าง ก็ย่อมไม่ปรารภสุขเวทนาทุกชนิด

แล้วเกิดขึ้น. ในที่ทุกแห่ง ก็มีทำนองอย่างเดียวกันนี้. คำว่า "พึงละอะไร?"

นี้เป็นคำถามถึงการละ นางธรรมทินนา แก้คำถามสองข้อด้วยคำตอบนี้

แหละ ในบทว่า "ย่อมละราคะด้วยฌานที่หนึ่งนั้น" นี้.ภิกษุในพระธรรม-

วินัยนี้ข่มกามราคานุสัยได้แล้วย่อมเข้าถึงฌานที่หนึ่ง ทำราคานุสัยที่ฌานข่ม

ไว้แล้ว ให้เป็นอันข่มไว้แล้วอย่างนั่นแหละแล้วเจริญวิปัสสนา จึงถอนได้เด็ด

ขาดด้วยอนาคามิมรรค. ราคานุสัยนั้นแม้จะถูกละได้ด้วยอนาคามิมรรค

แล้ว ก็ยังชื่อว่าย่อมนอนเนื่องกับฌานที่หนึ่ง เพราะความที่มันถูกฌานที่หนึ่ง

นั้นข่มไว้อย่างนั้น. เพราะฉะนั้น นางธรรมทินนาจึงกล่าวว่า "ราคานุสัยย่อม

ไม่นอนเนื่องในสุขเวทนานั้น ".

บทว่า ตทายตนํ ตัดเป็น ตํ อายตนํ ความว่า พระอรหัตตผลอันชื่อว่า

เป็นที่พึ่ง เพราะเป็นที่โล่งใจอย่างยิ่ง. คำว่า "อันยอดเยี่ยมด้วยประการฉะ

นี้ " คือผู้ตั้งความปรารถนาในพระอรหัตตผลที่ได้ชื่อว่า "วิโมกข์อันยอดเยี่ยม

ด้วยประการฉะนี้". คำว่า "โทมนัสย่อมเกิดขึ้นเพราะความกระหยิ่มเป็น

ปัจจัย " คือ ย่อมเกิดโทมนัส อันเป็นมูลให้ความปรารถนาตั้งขึ้น แต่โทมนัสอัน

เป็นมูลให้ความปรารถนาตั้งขึ้นนั้นจะไม่เกิดขึ้นเลย, แต่ท่านกล่าวว่า โทมนัสที่

มีความไม่ได้เป็นมูล เมื่อจะเกิดแก่ผู้ปรารถนาแล้วไม่ได้ ก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะ

ความกระหยิ่มเป็นปัจจัย. บางท่านกล่าวว่า "ถึงแม้ว่าชื่อว่าโทมนัสในความ

ปรารถนาแล้วไม่ได้นั้นเป็นอกุศลโดยส่วนเดียวก็จริง ถึงอย่างนั้นก็พึงเสพ

โทมนัสนี้ไว้. โทมนัส(นี้) ควร" จริงอยู่พวกโยคี (พระนักปฏิบัติ ) ย่อมรับเอา

ข้อปฏิบัติ ระยะ ๓ เดือนบ้าง ระยะ ๖ เดือนบ้าง ระยะ ๙ เดือนบ้าง. ในโยคี

เหล่านั้น ผู้ที่รับเอาข้อปฏิบัตินั้นๆ ไปแล้ว ก็สืบต่อพยายามอยู่ด้วยคิดว่า

"ภายในเวลาที่กะไว้นี่แหละเราคงจะบรรลุพระอรหัตตผล (แต่) ก็ไม่สามารถ

บรรลุตามเวลาที่กะไว้ จึงเกิดความเสียใจอย่างรุนแรงขึ้นมา สายน้ำตาหลั่ง

ไหลเหมือนของพระมหาปุสสเถระชาวบ้านระเบียง.

มีเรื่องเล่ากันมาว่า พระเถระบำเพ็ญวัตรเดินไปเดินมาตั้ง ๑๙ ปี

เมื่อท่านผูกใจว่า "คราวนี้เราจะยึดพระอรหัตตผลให้ได้" ว่า "คราวนี้เราจะ

ปวารณาชนิดวิสุทธิปวารณา" แล้วกระทำสมณธรรมอยู่นั่นแหละ ๑๙

ปีผ่านไป ครั้นมาถึงวันปวารณา ก็ไม่มีวันของผู้หลุดพ้น เพราะหยาดน้ำ

ตาของพระเถระ แต่ในปีที่ ๒๐ จึงได้บรรลุพระอรหัตตผล.

ในคำว่า "ย่อมละปฏิฆะด้วยโทมนัสนั้น" นี้มีความว่า จะเอาโทมนัส

ไปละปฏิฆะไม่ได้ จะเอาปฏิฆะนั่นเองไปละปฏิฆะก็ไม่ได้ หรือการเอา

โทมนัสไปละโทมนัส ก็ย่อมไม่ได้. แต่ภิกษุนี้ รับเอาข้อปฏิบัติอย่างใดอย่าง

หนึ่งในข้อปฏิบัติมีระยะ ๓ เดือนเป็นต้น แล้วพิจารณาอย่างนี้ว่า "ภิกษุ

ดูซิเธอมีฐานะเลวด้วยศีล ด้วยวิริยะ หรือด้วยปัญญา? ศีลของเธอหมดจดดี

แล้วมิใช่หรือ?" เธอประคองวิริยะดีแล้วมิใช่หรือ? หรือปัญญาเป็นธรรมชาติ

ที่กล้าย่อมนำไป?" เมื่อท่านพิจารณาอย่างนี้ก็เห็นว่า " บัดนี้ เราจะไม่ยอมให้

โทมนัสนี้เกิดขึ้นอีก จึงทำความเพียรให้หนักหน่วง ภายใน ๓ เดือน ภาย

ใน ๖ เดือน หรือไม่ก็ภายใน ๙ เดือน ก็ย่อมถอนปฏิฆะด้วยอนาคามิมรรคได้

เด็ดขาด ตามแบบนี้ ชื่อว่าท่านย่อมใช้ปฏิฆะนั่นเองละปฏิฆะ (และ) ใช้โทมนัส

นั่นเองละโทมนัส. ในคำว่า "ปฏิฆานุสัย ย่อมไม่นอนเนื่องในโทมนัส

นั้น " นั้น มีความว่า ในโทมนัสแบบนั้น ปฏิฆานุสัย ย่อมไม่นอน

เนื่อง ปฏิฆานุสัยก็ไม่ปรารภโทมนัสนั้นเกิดขึ้น, ปฏิฆานุสัยเป็นอันถูกละได้

ในโทมนัสนั้น. คำว่า "ย่อมละอวิชชาได้ด้วยอรหัตตมรรคนั้น" คือ ภิกษุใน

พระธรรมวินัยนี้ ข่มอวิชชานุสัยได้แล้ว ก็เข้าสู่ฌานที่สี่ ทำอวิชชานุสัยที่ถูก

ฌานข่มไว้แล้วให้เป็นอันถูกข่มไว้อย่างนั้นนั่นแหละแล้วจึงเจริญ

วิปัสสนา แล้วจึงจะถอนได้เด็ดขาดด้วยอรหัตตมรรค. ถึงแม้อวิชชานุสัยนั้น

ถูกอรหัตตมรรคละได้แล้วก็ตาม ก็ยังชื่อว่านอนเนื่องด้วยฌานที่สี่เพราะ

ความที่ถูกฌานที่สี่นั้นข่มได้แล้ว เพราะเหตุนั้น นางธรรมทินนาจึงกล่าว

ว่า "อวิชชานุสัยย่อมไม่นอนเนื่องในอรหัตตมรรคนั้น" ดังนี้.

บัดนี้เมื่อจะถามคำถามที่เป็นปฏิภาค, (ส่วนปรับกัน) วิสาขะจึงกล่าว

คำเป็นต้นว่า "แม่เจ้า ! ก็แห่งสุขเวทนา" ในการแก้ปัญหานั้น (พึงทราบข้อ

ความดังต่อไปนี้) เพราะทุกข์เป็นข้าศึกของสุข และสุขเป็นข้าศึกของทุกข์,

ฉะนั้น ท่านจึงกล่าววิสภาคปฏิภาคไว้ในเวทนาทั้งสอง ส่วนอุเบกขาเป็น

ธรรมชาติที่ถูกความมืดครอบงำ ยากที่จะชี้แจง เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวทั้ง

สภาคและปฏิภาคในที่นี้ว่า แม้อวิชชา ก็เช่นน้นั แท้. ก็แหละ บุคคลย่อมกระ

ทำความมืดคืออวิชชา ในที่มีประมาณเท่าใด ก็ย่อมบรรเทาความมืดคืออวิชชา

ในที่มีประมาณเท่านั้น ฉะนั้นจึงกล่าวทั้งวิสภาคและปฏิภาคไว้ในที่

นี้. ในคำว่า "แห่งอวิชชาและคุณ" นี้ คือและท่านกล่าวทั้งสภาคและ

ปฏิภาคว่า "ธรรมทั้งสองแม้นี้ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ" ท่านกล่าวทั้งสภาค

และปฏิภาค เพราะอรรถว่าไม่มีอาสวะ เพราะอรรถว่าเป็นโลกุตตระและ

เพราะอรรถเป็นอัพยากฤตในบทนี้ว่า "คุณ แห่งวิมุตติแล" ในคำว่า "คุณ

ข้ามไป " นี้มีความว่า คุณเป็นผู้ข้ามปัญหาไป คำว่า "คุณไม่สามารถถือเอา

ที่สุดแห่งปัญหาได้" ความว่า คุณไม่สามารถถือเอาประมาณแห่งการ

กำหนดปัญหาได้ จึงถามปฏิภาคของอัปปฏิภาคธรรม พระนิพพานนี้เป็นอัป-

ปฏิภาคธรรม ที่ไม่มีใครสามารถเพื่อจะกระทำปฏิภาคพร้อมกับธรรมบาง

อย่างคือ สีเขียว สีเหลือง หรือสีแดง แล้วแสดงได้ และคุณก็ย่อมถามพระ

นิพพานนั้นด้วยความประสงค์นี้เสียด้วย ก็ด้วยถ้อยคำเพียงเท่านี้ อุบาสกผู้จะ

ถามปฏิภาคแห่งอัปปฏิภาคธรรมนี้ จึงเป็นอันบุคคลพึงทราบว่า ย่อมเป็นผู้

เริ่มผิดในคำถามที่มีส่วนปรับแม้ทุกข้อ เหมือภิกษุที่ได้สลากภัตในเรือนที่

เจ็ด แล้วเดินเลยไปตั้งเจ็ดหลังคาเรือนมายืนที่ประตูเรือนที่แปด เริ่มผิดไปตั้ง

เจ็ดหลังคาเรือน ไม่รู้ (อะไรเลย) ฉันใด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. คำว่า "หยั่งลง

สู่พระนิพพาน " คือเข้าไปภายในพระนิพพาน คือเข้าไปตามพระ

นิพพาน. คำว่า "มีพระนิพพานเป็นเบื้องหน้า" คือพระนิพพานเป็นที่มาข้าง

หน้า คือเป็นที่ไปข้างหน้าของเขา อธิบายว่า เขาไม่ไปที่อื่นจากพระนิพพาน

นั้น. ชื่อว่า มีพระนิพพานเป็นที่สุด เพราะพระนิพพานเป็นที่สุดของเขา.

ผู้ที่ถึงพร้อมด้วยความเป็นบัณฑิต ชื่อที่ "บัณฑิต" หมายความว่า ผู้ฉลาด

ในธาตุฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในฐานะและอฐานะ

คำว่า "ผู้มีปัญญายิ่งใหญ่" ได้แก่ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาที่สามารถกำ-

หนดถือเอาอรรถอันยิ่งใหญ่ ธรรมอันยิ่งใหญ่ นิรุตติอันยิ่งใหญ่ ปฏิภาณอัน

ยิ่งใหญ่. คำว่า "อย่างที่ธรรมทินนานั้น" คือ แม้ฉันเองก็จะพึงพยากรณ์อย่าง

ที่ภิกษุณีธรรมทินนาพยากรณ์แล้วเหมือนกันนั่นเอง.

ก็แล เพราะพระดำรัสเพียงเท่านี้ พระสูตรนี้ก็กลายเป็นภาษิตของ

พระชินเจ้าไป. ไม่ใช่ภาษิตของสาวกเหมือนอย่างว่า หนังสือที่ราชเลขานุการ

เขียนแล้ว ยังไม่จัดเป็นพระราชสาส์น ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้ประทับพระราช

ลัญชกร พอประทับพระราชลัญชกรของในหลวงแล้ว หนังสือย่อมชื่อว่าเป็น

พระราชสาส์น ฉันใด, พระสูตรนี้ได้กลายเป็นภาษิตของพระชินเจ้า ด้วย

การจรดแล้วตรัส เพราะความที่พระความคือพระดำรัสของพระชินเจ้าดวงนี้

ได้ประทับแล้วว่า "ฉันเองก็จะพึงพยากรณ์อย่างนั้นเหมือนกัน แม้ฉะนั้น

เหมือนกัน. คำที่เหลือทุกแห่ง ตื้นแล้วแล ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาจุลลเวทัลลสูตรที่ ๔