ไปหน้าแรก

คำต่างๆที่ควรเข้าใจ

ตัณหา ที่มีกำลังอ่อนแรกเกิด ชื่อว่า ฉันทะ

ฉันทะ นั้นไม่สามารถเพื่อให้กำหนัดได้

แต่ตัณหาที่มีกำลัง เมื่อเกิดขึ้นบ่อย ๆ จึงชื่อว่า ราคะ

ราคะ นั้นสามารถทำให้กำหนัดยินดีได้

ความโกรธ ที่มีกำลังน้อย แรกเกิดไม่สามารถเพื่อจะถือท่อนไม้เป็นต้นได้ ชื่อว่า โทสะ

ส่วนความโกรธที่มีกำลังมาก เกิดขึ้นติดต่อกันมา สามารถจะทำการเหล่านั้นได้ ชื่อว่า ปฏิฆะ

ส่วนความไม่รู้ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งความหลงและความงมงาย ชื่อว่า โมหะ

ตัณหา หมายถึง ความเพลิดเพลินยินดี พอใจ ความทะยานอยาก

ราคะ หมายถึง ความกำหนัดยินดี, ความพอใจ, ความติดใจ

ญาณ แปลว่า ความรู้

ปัจจัย หมายถึง ผลอาศัยธรรมใดไป ธรรมนั้นชื่อว่า ปัจจัย (แปลว่า ธรรมเป็นที่อาศัยไปแห่งผล)

นันทิ หมายความว่า ความเพลิดเพลิน ความยินดี

นิมิต หมายความว่า สิ่งที่เรารับรู้ว่าเป็นอะไร เช่นเห็นรูป ภาพที่เห็นคือนิมิต ได้ยินเสียง เสียงที่ได้ยินคือนิมิต นึกถึงเรื่องในอดีต เรื่องที่ผุดขึ้นนั้นคือนิมิต

มนสิการ หมายถึง การทำในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา

สฬายตนะ หมายถึง อายตนะภายใน

โลก หมายถึง ตัวเรา ถ้าพูดถึงกายก็หมายถึงกายเรา ถ้าพูดถึงเวทนาก็หมายถึงเวทนาที่เราประสพอยู่ หมายถึงอุปทานในขันธ์ 5 ฯลฯ

โยนิโสมนสิการ หมายถึง การทำในใจให้แยบคาย กล่าวคือ การพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน

โยคะ

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนการแสวงหาที่ประเสริฐเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย

บุคคลบางคนในโลกนี้ ตัวเองเป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่แล้ว เห็นโทษ

ในสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหานิพพานที่ไม่เกิด เป็นที่เกษมจาก

โยคะ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในทุกข์) อันยอดเยี่ยม ตัวเองมีความแก่

เป็นธรรมดา. . .มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา. . .มีความตายโศกและเศร้าหมองเป็น

ธรรมดาอยู่แล้ว เห็นโทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหา

นิพพานที่ไม่เศร้าหมอง เป็นที่เกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม. ภิกษุทั้งหลาย !

นี้ การแสวงหาที่ประเลริฐ. อีกอย่างหนึ่ง แม้การเว้นการกระทำ ๕ อย่าง

มีการโกงเป็นต้น อโคจร ๖ แห่ง และการแสวงหาที่ไม่สมควร ๒๑ อย่างแล้ว

แสวงหาด้วยการเที่ยวภิกษา ด้วยธรรม ด้วยสม่ำเสมอ ก็พึงทราบว่า เป็นการ

แสวงหาที่ประเสริฐทั้งนั้น.

ทำโยคะ หมายถึง ทำความเพียรในวิปัสสนายิ่งขึ้น

รส หมายถึง กิจ

ความเกิดชื่อว่า ชาติ ความแก่ ชื่อว่า ชรา ธรรมชาติอันชื่อว่า มรณะ เพราะเป็นเหตุตาย (แห่งสัตว์) ความเศร้า ชื่อว่า โศก ความคร่ำครวญชื่อว่า ปริเทวะ ธรรมชาติที่ชื่อว่า ทุกขะ เพราะขุดอยู่สองตอน โดย (ขุดตอน) เกิดขึ้น และ (ตอน) ตั้งอยู่ก็ได้ ความเป็นผู้เสียใจชื่อว่า โทมนัส ความตรอมใจอย่างหนักชื่อว่า อุปายาส

(พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 287)

วัฏฏสงสารหรือ สังสารวัฏ หรือ สงสารวัฏ คือภพภูมิที่มนุษย์ทุกคนต้องเวียนว่ายตายเกิดขึ้น

สังสาร หรือ สงสาร แปลว่า ความท่องเที่ยวไป ในทางพุทธศาสนาหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 50)

อภิชฌา ในคำนั้นเป็นอย่างไร ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความดีใจ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่าอภิชฌา

โทมนัส ในคำนั้นเป็นอย่างไร ความไม่สำราญทางใจ ทุกข์ทางใจ ฯลฯ เวทนาที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแก่สัมผัสทางใจ นี้เรียกว่า โทมนัส

กิเลส เครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง กิเลส เครื่องประกอบสัตว์ไว้ในทุกข์

อวิชชา โดยภาวะคือความไม่รู้หรือความไม่เห็น

อาสวะ หมายถึง สิ่งที่ถูกหมักดองอยู่นานๆ อุปมาสุรา อันเป็นสิ่งที่ถูกหมักดองไว้นาน สามารถทำให้ผู้ดื่มเกิดอาการมึนเมาขาดสติ ทำสิ่งอันไม่ควรทำได้ฉันใด สภาพธรรมอันเป็นสิ่งที่หมักดองสืบต่ออยู่ในขันธสันดานของสัตว์ ทำให้สัตว์ทั้งหลายต้องมึนงงหลงไหลขาดสติ กระทำในสิ่งอันไม่ควรทำได้ สภาพธรรมนี้แหละ ชื่อว่า อาสวะ ได้แก่ โลภะ ( ความโลภ ) , ทิฏฐิ ( ความเห็นผิด ) , โมหะ (ความหลง ไม่รู้)

อาสวะ ธรรมไหลซึมซาบ

[อาสวะ ๔ โอฆะ ๔ และโยคะ ๔]

คำว่า “อาสวะ” นี้ เป็นคำเรียก

๑. กามราคะ

๒. ภวราคะ

๓. มิจฉาทิฏฐิ และ

๔. อวิชชา

เพราะไหลมาแต่

อา คือโคตรภูโดยทางอารมณ์ และแต่

อา คือภวัคคะโดยทางโอกาส

อีกอย่างหนึ่ง (เรียก “อาสวะ”) เพราะไหลออกจากทวารทั้งหลายที่ไม่สำรวมไว้โดยความหมายว่าไหลออกเป็นนิจเหมือนน้ำไหลออกจากรูทะลุของหม้อ หรือว่าเพราะประสบสังสารทุกข์เรียกธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแหละว่า “โอฆะ” บ้างโดยความหมายว่าพัดพาไปในสาคร (ห้วงทะเล) คือภพและโดยความหมายว่าข้ามพ้นได้ยากเรียกว่า “โยคะ” บ้าง เพราะไม่ให้พรากไปจากอารมณ์และพรากไปจากทุกข์

อาสวะ คือทุกข์ และอาสวะคือกิเลส

อุบาย หมายถึง วิธีการอันแยบคาย

อามิส หมายถึง เครื่องล่อใจ เจือ เช่น เจือกามคุณ

อายตนะ หมายถึง ที่เชื่อมต่อ หรือเครื่องเชื่อมต่อ

อายตนะภายใน เหล่านี้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.

อายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์.

(พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 431)

ก็ในสมาธิและปัญญานั้น สมาธิ พึงทราบว่า ชื่อว่า เจโตวิมุตติ

เพราะพ้นจากราคะ ปัญญาพึงทราบว่า ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะหลุดพ้น

จากอวิชชา . สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย

สมาธิอันใดพึงมี สมาธินั้นพึงเป็นสมาธินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย ปัญญาใด

พึงมี ปัญญานั้นพึงเป็นปัญญินทรีย์ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะ

สำรอกราคะ ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา อย่างนี้แล.

อีกอย่างหนึ่ง ในอธิการนี้ ผลของสมถะ พึงทราบว่า เป็นเจโตวิมุตติ

ผลของวิปัสสนา พึงทราบว่า เป็นปัญญาวิมุตติ.

กายสังขาร เป็นไฉน ? ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้

เนื่องด้วยกายเป็นกายสังขาร, ภิกษุระงับ คือดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น

สำเหนียกอยู่ ; ลมหายใจออกยาวเป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย

เป็นกายสังขาร, ภิกษุระงับ คือดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น สำเหนียกอยู่ ;

ลมหายใจเข้าสั้น ลมหายใจออกสั้น ลมที่ภิกษุรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า

ลมที่ภิกษุรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้

เนื่องด้วยกายเป็นกายสังขาร

“การกำหนดรู้ ชื่อว่า ญาณ โดยความหมายว่า รู้แล้ว ชื่อว่า ปัญญา โดยความหมายว่า รู้ทั่ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดรู้อารมณ์แล้วเห็นอยู่เนือง ๆ ซึ่งความดับ ชื่อว่า วิปัสสนาญาณ

ดูก่อนอัคคิเวสสนะ อะไรจักไม่มี อะไรจักมี ท่านอย่าสำคัญอย่างนี้ สุขเวทนาก็ดี

ทุกขเวทนาก็ดี ย่อมเกิดแก่เรา แต่เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว เราจะไม่ให้ครอบงำ

จิต .

นิพพาน แปลว่า ความดับสนิทหาเชื้อมิได้ เหมือนดับเทียนไขซึ่งไม่กลับมาติดอีก

บทว่า เอตํ อมตํ ยทิทํ อนุปาทา จิตฺตสฺส วิโมกฺโข ความว่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ชื่อว่า

ความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะความไม่ถือมั่น เป็นอมตะ ไม่ตาย เป็นสันตะสงบ เป็นปณีตะ ประณีต ก็ในที่อื่น ท่านเรียกพระนิพพานว่า ความหลุดพ้นแห่งจิต เพราะไม่ถือมั่น. แต่ในพระสูตรนี้ ตรัสพระอรหัตของพระสุกขวิปัสสก. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้น.

(พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 141)

Nirvāṇa (/nɪrˈvɑːnə,-ˈvænə,nər-/;[2]Sanskrit: निर्वाण;Pali: निब्बान nibbāna ;Prakrit: णिव्वाण) literally means "blown out", as in a candle.[3] It is most commonly associated with Buddhism.[web 1] [4]

In the Buddhist context nirvana refers to the imperturbable stillness of mind after the fires of desire, aversion, and delusion have been finally extinguished.[3] InHindu philosophy, it is the union withBrahman, the divine ground of existence, and the experience of blissfulegolessness. [5]

http://en.wikipedia.org/wiki/Nirvana#Jainism

สุกขวิปัสสก หมายถึง ภิกษุผู้หลุดพ้นแล้วนั้นมี ๕ อย่างคือ เป็นสุกขวิปัสสกและตั้งอยู่ในปฐมฌานเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วบรรลุพระอรหัต ดังที่ท่านกล่าวข้อนี้ไว้ว่า ก็บุคคลพวกไหนเป็นปัญญาวิมุตติ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ อาสวะทั้งหลายของเขาเป็นอันสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้ท่านกล่าวว่าเป็นปัญญาวิมุตติดังนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงปรารภคำนี้ว่า อปิ นุ ตฺวํ สุสิม ดังนี้.

แก้ว่า เพื่อทรงกระทำให้ปรากฏแก่เหล่าภิกษุสุกขวิปัสสกผู้เพ่งฌาน. ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า มิใช่เธอผู้เดียวเท่านั้นที่เป็นผู้เพ่งฌาน เป็นสุกข-วิปัสสก แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน.

(พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 385)

สิ่งทั้งปวง หมายถึง จักษุกับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับธรรมารมณ์

(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 50)

บุคคลจะอายุยืนเพราะทรัพย์ก็หาไม่ . จะละความแก่ไป

แม้เพราะทรัพย์ก็หาไม่ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนั้น

แลว่า เป็นของน้อยไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา .

ทั้งคนมั่งมีและคนยากจน ย่อมถูกต้องผัสสะเหมือนกัน

ทั้งคนพาลและคนฉลาดก็ตกต้องผัสสะเหมือนกันทั้งนั้น แต่

คนพาลถูกอารมณ์ที่ไม่พอใจเบียดเบียน ย่อมอยู่เป็นทุกข์

เพราะควานเป็นพาล ส่วนนักปราชญ์ถูกผัสสะถูกต้องแล้ว

ย่อมไม่หวั่นไหว .

เพราะฉะนั้นแล ปัญญาจึงจัดว่าประเสริฐกว่าทรัพย์ เพราะ

ปัญญาเป็นเหตุให้บรรลุนิพพาน แต่คนพาลไม่ปรารถนาจะ

บรรลุ พากันทำความชั่วต่าง ๆ อยู่ในภพน้อยภพใหญ่เพราะ

ความหลง

ผู้ใดทำกรรมชั่วเพราะหลงแล้ว ผู้นั้นจะต้องเวียนตาย

เวียนเกิดอยู่ในวัฏสงสารร่ำไป บุคคลผู้มีปัญญาน้อย เมื่อเชื่อ

ต่อการทำของบุคคลผู้ที่ทำกรรมนั้น ก็จะต้องเวียนตายเวียน

เกิดอยู่ร่ำไปเหมือนกัน .

เปรียบเหมือนโจรผู้มีความผิด ถูกจับเพราะโจรกรรมมา

มีตัดช่องเป็นต้น ละไปแล้วย่อมเดือดในปรโลกเพราะ

กรรมของตนฉะนั้น .

ฉะนั้น กามทั้งหลายงามวิจิตร มีรสอร่อย น่ารื่นรมย์ใจ

ย่อมย่ำยีจิตด้วยรูปแปลก ๆ ดูก่อนมหาบพิตร เพราะ

อาตมภาพ ได้เห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย จึงออกบวช