ไปหน้าแรก

การเรียนรู้ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

เราเกิดมาในชาตินี้โชคดีมาก มีพระไตรปิฎกสรุปคำสอนของพระพุทธเจ้ามาให้ทั้งหมดสามารถอ่านได้จาก PC หรือ Tablet หรือโทรศัพท์ ถ้าไม่เข้าใจตรงไหนก็สามารถ ค้นหาความหมายได้จาก google ลองคิดดู ถ้าเราเกิดในสมัยก่อน เราจะได้ยินคำสอนก็ต่อเมื่อเราไปฟังคำสอนจากอาจารย์โดยตรงและเราก็ไม่สามารถที่จะได้เรียนรู้จากคำสอนที่ท่านสอนให้ผู้อื่นฟัง (อย่าให้โอกาสนี้เสียไปโดยไม่ได้อะไร)

พระไตรปิฎกเป็นคำสอนที่พระพุทธเจ้าสอนกับผู้ที่มีพื้นฐานความรู้ในธรรมสูง (มีความรู้มากพอที่จะเข้าใจแล้ว) ดังนั้นคำสอนจะเป็นคำสอนที่เป็นแก่นสำหรับผู้ที่มีพื้นฐานฟังแล้วก็เข้าใจ เหมือนกับครูเอาหนังสือคณิตศาสตร์ประถมสี่มาสอนนักเรียนประถมสี่ ปัจจุบันนี้เราเรียนรู้พระไตรปิฎกเหมือนกับเรายังไม่จบประถมหนึ่งแต่เราไปเอาหนังสือประถมสีมาศึกษาและพยายามจะสอบให้ผ่านประถมสี่ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย

การที่เรามีพระไตรปิฎก ก็เหมือนกับ มีคนเอาหนังสือคณิตศาสตร์ตั้งแต่ประถมหนึ่งถึงประถมสี่ (โดยไม่บอกว่าแต่ละเล่มเป็นของชั้นไหน) มาให้ผู้ที่ยังไม่เคยเรียนให้ศึกษา ถ้าไม่มีใครชี้นำที่ถูกต้องให้ เราก็เริ่มไม่ถูกว่าควรจะเริ่มตรงไหน

พระไตรปิฎกเปรียบเสมือนขุมทรัพย์พร้อมลายแทง การที่เราจะนำเอาทรัพย์ออกมาใช้ได้จะต้องเข้าใจลายแทง

เราไม่ได้ศึกษาลายแทงและค้นหาโดยตรง อาจเป็นเพราะขี้เกียจหรือไม่มีเวลา เราใช้วิธีเลือกผู้นำและทำตามผู้นำ ผู้นำบอกอย่างไรก็ทำตามหมด ถ้าผู้นำไม่เคยเจอขุมทรัพย์มาก่อนเหมือนเรา เราอาจไม่เจอทรัพย์เลยและเสียเวลาไปกับการเลือกเดินตามผู้นำนั้น (บางครั้งอาจหลายปีหรืออาจทั้งชั่วชีวิตนี้)

พระไตรปิฎกที่มีอยู่แปลมาจากภาษาบาลี โดยผู้เข้าใจภาษาบาลีหลายคนแปลแล้วนำเอามารวมกัน ดังนั้นความถูกต้องขึ้นกับอยู่ว่าผู้แปลเข้าใจในสิ่งที่แปลมากน้อยแค่ไหน คล้ายกับเราเอาหนังสือภาษาอังกฤษให้คอมพิวเตอร์แปลเป็นภาษาไทย แล้วนำอ่าน ถ้าเราไม่เข้าใจเนื้อหาในเรื่องนั้น เราไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ว่าคำแปลที่คอมพิวเตอร์แปลนั้นถูกต้องและชัดเจนหรือไม่ ได้แต่เดา ๆ เอาว่าน่าจะเป็นทำนองนั้น ๆ มีถูกบ้างผิดบ้าง

การศึกษาจากพระไตรปิฎกจึงจำเป็นจะต้องพยายามทำความเข้าใจด้วยตัวเราเองว่าถูกหรือไม่ ไม่ใช่เชื่อไปทั้งหมด แต่ไม่ถึงกับไม่เชื่อเลย พระไตรปิฎกจึงเหมือนกับเป็นลายแทง พระไตรปิฎกเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้

มีข้อถกเถียงกันว่าไม่ต้องสนใจคำอธิบาย (อรรถกถา) ในพระไตรปิฎกให้สนใจแต่พุทธวจนเท่านั้น ถามว่าผู้ที่เลือกเรียนจากพุทธวจนเท่านั้นว่ามีความสามารถแค่ไหนที่เรียนหนังสือโดยไม่ต้องอาศัยครู เป็นไปไม่ได้เลยที่ท่านจะเข้าใจถูกต้องทั้งหมดได้ด้วยตัวท่านเอง ในพระไตรปิฎกจะมีคำอธิบาย และกรณีศึกษาเพื่อที่จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น แต่ก็ต้องพิจารณาด้วยตัวท่านเองว่ามันใช่ไหม (ถ้าท่านศึกษาโดยการอ่านในคอมพิวเตอร์ จะดีกว่าอ่านจากหนังสือโดยตรงเพราะ ท่านสามารถค้นหาคำที่ท่านไม่เข้าใจได้จากทั้ง 91 เล่มแล้วนำมาเทียบเคียงกัน จะช่วยทำให้เข้าใจชัดเจนขึ้น เพราะบางคำอาจมีหลายความหมาย)

ปัจจุบันนี้มีการถกเถียงกันมากมายถึงความเข้าใจในเนื้อหาของคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าตัวเองเข้าใจถูกต้อง และยึดมั่นในสิ่งที่ตัวเองเข้าใจโดยปิดกั้นที่จะพยายามเข้าใจในแนวของคนอื่นบ้าง มันเป็นการปิดโอกาสของตัวท่านเอง เหมือนกับเด็กเรียน ป1 เอาหนังสือ ป4 มาอ่านแล้วเถียงกันว่าตัวเองเข้าใจถูกต้อง

ในสมัยพระพุทธเจ้าผู้ที่จะศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้าจะต้องบวชเป็นพระ สำหรับฆราวาสโอกาสที่จะศึกษาธรรมให้ลึกซึ้งนั้นได้น้อยเพราะการศึกษาโดยการจดจำแล้วบอกต่อไม่มีหนังสือ ผู้ที่บอกต่อได้ดีที่สุดก็คือพระสงฆ์

ปัจจุบันนี้เราเป็นฆราวาสก็ศึกษาและปฏิบัติตามได้โดยไม่จำเป็นต้องบวชเป็นพระสงฆ์

การเรียนรู้พระธรรมไม่ใช่เป็นการเรียนด้วยการจำแต่เป็นการเรียนด้วยความเข้าใจ เหมือนกับเราเรียนคณิตศาสตร์ ทุกคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เราศึกษาให้เราถามตัวเองตลอดเวลาว่าทำไม ๆ พยายามหาเหตุผลให้ได้ว่าทำไมพระพุทธเจ้าจึงสอนว่าเป็นอย่างนั้น ทุกคำสอนมีเหตุผลมีความหมายเกี่ยวข้องกันหมด ถ้าหาเหตุผลแล้วเชื่อมโยงกันไม่ได้ก็แสดงว่าสิ่งที่เราเข้าใจนั้นยังไม่ถูกต้อง จะต้องเชื่อมโยงได้ตั้งแต่เกิดจนตายอย่างชัดเจน (ไม่ใช่ด้วยความเชื่อ (Faith) แต่เป็นไปด้วยความเข้าใจชัดเจน)

ในการเรียนรู้พระธรรม มีหลายอย่างที่เรายังไม่เคยเห็นและบ้างครั้งอาจเกินกว่าความเชื่อของเราที่จะเชื่อได้(โดยเปรียบเทียบจากความรู้ที่เรามีอยู่เป็นบรรทัดฐาน) เพื่อไม่ให้ความสงสัยปิดโอกาสในการศึกษาของเรา ให้เราคิดว่าเรากำลังพิสูจน์ทฤษฎีอะไรอย่างหนึ่ง ในตอนแรกเราจะยังไม่รู้ผลลัพธ์ว่าถูกต้องไหม เวลาที่เราพิสูจน์จะมีตัวแปรและข้อสมมติต่าง ๆ ก่อนใช่ไหม จากนั้นก็พิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือไม่ ในทางศึกษาพระธรรมก็เหมือนกันให้น้อมใจเชื่อไว้ก่อนสมมติว่าใช่ แล้วค่อยพิสูจน์ต่อไปเรื่อย ๆ จากนั้นเราก็จะเข้าใจในตัวแปรต่าง ๆ และจะเห็นผลลัพธ์ว่าเป็นอย่างไร

พระพุทธเจ้านำเอาธรรมชาติมาสอนเราให้เราเข้าใจธรรมชาติและอยู่กับธรรมชาติอย่างถูกต้อง มีคำถามว่าเนื่องจากปัจจุบันนี้สังคมเปลี่ยนไปมากแล้วคำสอนของพระพุทธเจ้าจะใช้ได้ไหม ก็ถามกลับไปว่าปัจจุบันนี้ธรรมชาติของมนุษย์เปลี่ยนไปไหม ความโลภ ความโกรธ ความกลัว ยังมีเหมือนเดิมใช่ไหม ที่เปลี่ยนไปคือสังคมมนุษย์ใช่ไหม

แล้วเริ่มอย่างไรละ

สิ่งที่นำเสนอต่อไปนี้ประมวลมาจากพระไตรปิฎกเรียบเรียงเป็นภาษาชาวบ้านที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน (ไม่มีภาษาบาลี) แสดงให้เห็นถึงภาพกว้าง เพื่อให้เข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ง่ายขึ้น นำเสนอในส่วนของการพิจารณาธรรมด้วยปัญญา เมื่อท่านพอจะเข้าใจภาพกว้างแล้วท่านควรจะศึกษาจากพระไตรปิฎกโดยตรง http://www.rachada.net/Tripitaka.zip แต่ถ้าไม่สะดวกท่านสามารถศึกษาได้จาก www.buddhadham.net (คัดลอกเอาบางส่วนที่สำคัญจากพระไตรปิฎกมาไว้ให้อ่าน)

พิจารณาดูว่า ปัจจุบันนี้มีใครบ้างในโลกนี้ที่ไม่มีทุกข์ จาก โศกเศร้า เสียใจ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ ค่ำครวญรำพรรณ พิรี้พิไร อาฆาตแค้น มองดูตัวเราและคนรอบ ๆ ข้างตัวเรา แต่ละคนมีใครบ้างที่ปราศจากทุกข์ดังกล่าวอันใดอันหนึ่งได้

ถ้าเราพิจารณาให้ดีทุกข์ทั้งหมดมีดังนี้ คือ โศกเศร้า เสียใจ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ ค่ำครวญรำพรรณ พิรี้พิไร อาฆาตแค้น มันก็พื้น ๆ มีแค่นี้ แต่ทำไมเราขจัดมันไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวเรา ให้เราอยู่อย่างสุขสบายได้

พระพุทธเจ้าชี้ทางและสอนวิธีให้เราบรรเทาทุกข์เหล่านั้น จนกระทั่งถึงกับทำให้เราละทุกข์นั้นได้เลย พระพุทธเจ้าไม่ได้ดลบันดาลให้ทุกข์เหล่านั้นหมดไป หรือไม่ให้มันเกิดขึ้นกับเรา เราจะต้องนำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติด้วยตัวเราเอง

ก่อนที่เราจะศึกษาเราต้องพร้อมที่จะ

1. มีความเชื่อและศรัทธาในพระพุทธเจ้า ที่ตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เอง (รู้ชัดเจนถึงธรรมชาติทั้งหมด)

2. มีความเชื่อในธรรมที่พระพุทธเจ้านำมาสอน (นำเอาธรรมชาติที่สำคัญมาสอน)

3. มีความเชื่อในพระอริยสงฆ์ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์และนำความรู้นั้นเผยแผ่ต่อมาจนถึงรุ่นเรา (ถ้าไม่มีท่านเหล่านั้นเราก็คงไม่มีโอกาสได้เห็นและได้เรียนคำสอนของพระพุทธเจ้า)

เพราะถ้าเรามีความเชื่อและศรัทธาความตั้งใจในการเรียนรู้จะมีมาก ไม่มีแรงต้าน การเรียนรู้ก็จะทำได้เร็ว

สมมติฐานขั้นต้นที่เราจะต้องยอมรับก่อนมีดังนี้

1. เชื่อในการเวียนว่ายตายเกิด ตายแล้วไม่จบ (เมื่อตายแล้วจะไป เกิดในนรก หรือเกิดเป็นสัตว์ติรัจฉาน หรือเกิดเป็นเปรต หรือเกิดเป็นมนุษย์ หรือเกิดเป้นเทวดา)

2. มีสวรรค์ มีนรก

3. มีเทวดา มีเปรต

4. มีจักรวาล (หมายถึงมีโลกมนุษย์ สวรรค์ นรก) มากจนนับไม่ได้

ขั้นแรกเราอาจยังไม่เชื่อในสิ่งเหล่านี้ ก็ยอมให้ผ่าน ๆ ไปก่อนอย่าเอามาเป็นตัวปิดกั้นไม่ให้เราศึกษา

สิ่งที่ไม่ควรพิสูจน์ (ถ้าพิสูจน์แล้วจะฟุ้งซ่านเป็นบ้าได้)

1. วิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ความเป็นไปและอานุภาพของพระพุทธคุณมีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น

2. ฌานวิสัยแห่งผู้ได้ฌาน

3. วิบากของกรรม มีกรรมที่จะพึงเสวยผลในปัจจุบันเป็นต้น

4. โลกจินดา ความคิดเรื่องโลก เช่นว่า ใครหนอสร้างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ใครสร้างแผ่นดินใหญ่ ใครสร้างมหาสมุทร ใครสร้างสัตว์ให้เกิด ใครสร้างภูเขา ใครสร้างต้นมะม่วงต้นตาลและต้นมะพร้าวเป็นต้น

เข้าใจความหมายของคำเหล่านี้ให้ถูกต้อง (ในสมัยพระพุทธเจ้า ผู้คนเรียนรู้ได้เร็วก็เพราะภาษาที่สื่อสารเป็นภาษาเดียวกัน)

ศรัทธา หมายถึงความเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้า และคำสอนของพระพุทธเจ้า

จิต จิตเป็นส่วนหนึ่งของ นามกาย เป็นตัวที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่าง นามกายและรูปกาย เช่น เป็นตัวที่รับรู้อารมณ์ (รับรู้ว่าอารมณ์นั้นเกิดขึ้น) และเสวยอารมณ์ (เรียกว่าเวทนา รู้สึกว่าเป็นทุกข์ หรือรู้สึกว่าเป็นสุข หรือรู้สึกว่าไม่เป็นทุกข์ไม่เป็นสุข เพราะการรู้สึกจึงทำให้จิตโดยรวมขุ่นมัว เศร้าหมอง หรือไม่ขุ่นมัว ไม่เศร้าหมอง) และจิตเป็นแหล่งเก็บประวัติของความคิดหรือเจตนาหลังจากเสวยอารมณ์ ตั้งแต่ชาติก่อน ๆ มา (กรรม)

อารมณ์ หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทบของ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความคิด กับ ตา ลิ้น จมูก หู กาย ใจ (อายตนะทั้ง 6)

กรรม หมายถึง เจตนาหรือความตั้งใจของจิตที่จะกระทำ เกิดขึ้นต่อเนื่องหลังจากการเสวยอารมณ์ กรรมที่ทำให้เวียนว่ายตายเกิด คือเจตนาที่ประกอบด้วย โลภ โทสะ หรือโมหะ

โลภ หมายถึงความต้องการ ความอยากที่เกินฐานะ เมื่อไม่สมหวังแล้วก็จะเกิดทุกข์

โทสะ หมายถึงความโกรธที่รุนแรงถึงกับอาฆาต

โมหะ หมายถึงความไม่รู้ หรือความหลง ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุให้ เกิดทุกข์ ความไม่รู้ในการดับทุกข์ ความไม่รู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

บุญ แปลว่าเบาบางลง ในทีนี้ หมายถึงการที่ทำให้การขุ่นมัวหรือเศร้าหมอง ของจิตเบาบางลง

บาป ตรงกันข้ามกับบุญ

กุศลธรรม คือ การกระทำใด ๆ ที่ปราศจาก ความโลภ ความโกรธ และะความไม่รู้หรือความหลง (โลภ โทสะ หรือโมหะ)

อกุศลธรรม ตรงข้ามกับกุศลธรรม คือ ความพอใจด้วยอำนาจแห่งความใคร่ ความพยาบาท ความหดหู่และเคลิบเคลิ้ม ความฟุ้งซ่านและรำคาญ ความลังเลสงสัย

กิเลส หมายถึง สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวหรือเศร้าหมอง

ตัณหา หมายถึง ความเพลิดเพลินยินดี พอใจ ความทะยานอยาก

ราคะ หมายถึงความกำหนัดยินดี, ความพอใจ, ความติดใจ

ตัณหา ที่มีกำลังอ่อนแรกเกิด ชื่อว่า ฉันทะ

ฉันทะ นั้นไม่สามารถทำให้เกิดกำหนัดได้ (ไม่ทำให้จิตขุ่นมัวหรือเศร้าหมอง)

แต่ ตัณหา ที่มีกำลัง เมื่อเกิดขึ้นบ่อย ๆ จึงชื่อว่า ราคะ

ราคะ นั้นสามารถทำให้เกิดกำหนัดยินดี (ทำให้จิตขุ่นมัวหรือเศร้าหมอง)

ความกำหนัด เป็นต้นของจิตที่ทำหน้าที่แล่นไปเสพอารมณ์ในทวารต่าง ๆ

กาม หมายถึง ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่ง ตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหา

ความอยาก ที่ทำให้จิตขุ่นมัวหรือเศร้าหมองคือความอยากที่ประกอบด้วย โลภ โทสะ หรือโมหะ

สติ หมายถึงระลึกได้ มีหน้าที่ประคองและอารักขาจิต เว้นสติเสียแล้วจะประคอง และข่มจิตไม่ได้เลย

สัมปชัญญะ หมายถึง รู้ตัวทั่วพร้อม

สังขาร มีลักษณะปรุงแต่งอารมณ์ มีลักษณะคิดอ่าน หรือการประกอบกันของธาตุ เช่น รูปกับนามประกอบเข้าด้วยกันเป็นสัตว์โลก เป็นต้น

ญาณ แปลว่า ความรู้

“การกำหนดรู้ ชื่อว่า ญาณ โดยความหมายว่า รู้แล้ว ชื่อว่า ปัญญา โดยความหมายว่า รู้ทั่ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดรู้อารมณ์แล้วเห็นอยู่เนือง ๆ ซึ่งความดับ ชื่อว่า วิปัสสนาญาณ

ฌาน หมายถึงการเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ, ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก

บารมี หมายถึง คุณธรรม

ไตรลักษณ์ หมายถึง สามัญญลักษณะ เป็นลักษณะของธรรมชาติทุกชนิดจะมีเหมือนกันคือ มีลักษณะอยู่ 3 ประการ คือ

1. ไม่เที่ยง หรือไม่คงอยู่ถาวรตลอดไป

2. เป็นทุกข์

3. ไม่ใช่ของเรา หรือเป็นตัวตนเรา

(อ่าน ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร หรือ อนัตตลักขณสูตร พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 52)

วาสนา หมายถึง อบรมบ่มบารมี

ปัจจัย หมายถึง ผลอาศัยธรรมใดไป ธรรมนั้นชื่อว่า ปัจจัย (แปลว่า ธรรมเป็นที่อาศัยไปแห่งผล)

ปรามาส หมายความว่า ลูบคลำ

นันทิ หมายความว่า ความเพลิดเพลิน ความยินดี

นิมิต หมายความว่า สิ่งที่จิตรับรู้ว่าเป็นอะไร เช่นเห็นรูป ภาพที่เห็นคือนิมิต ได้ยินเสียง เสียงที่ได้ยินคือนิมิต นึกถึงเรื่องในอดีต เรื่องที่ผุดขึ้นนั้นคือนิมิต

มนสิการ หมายถึง การทำในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา

นิพพิทา หมายถึง ความเบื่อหน่าย โดยพิจารณาถึงความเป็นไตรลักษณ์ (ไม่ได้หมายความทำนองนี้ว่า ใช้จนเบื่อ มีมากจนเบื่อฯลฯ)

นิพพาน แปลว่า ความดับสนิทหาเชื้อมิได้ เหมือนดับเทียนไขซึ่งไม่กลับมาติดอีก (มองในแง่ของการสิ้นสุด) (ไม่ได้หมายความว่าเย็น ถ้าบอกเย็น เย็นขนาดไหน ในแง่วิทยาศาสตร์ ยังมีความร้อนอยู่ (ไม่สามารถชี้ให้เห็นได้ถึงการสิ้นสุด))

คำว่านิพพานแล้ว ได้แก่นิพพานด้วยการดับกิเลสอันมีราคะเป็นต้นเหตุ

เคยสงสัยว่าทำไมในพระไตรปิฎกจึงไม่มีคำแปลหรือแสดงถึงความหมายของ นิพพาน เพราะนิพพานเป็นคำที่ใช้ทั่วไปเป็นปกติในภาษาบาลี ไม่ใช่คำพิเศษ

นิทาน หมายถึง เหตุ, ต้นเรื่อง

โคจร หมายถึง คลุกคลี เที่ยวไป

คติ หมายถึง การไป ความเป็นไป

ภพ หมายถึง โลกเป็นที่อยู่ของสัตว์, ภาวะชีวิตของสัตว์มี ๓ คือ ๑. กามภพ ภพของผู้ยังเสวยกามคุณ ๒. รูปภพ ภพของผู้เข้าถึง รูปฌาณ ๓. อรูปภพ ภพของผู้เข้าถึงอรูปฌาณ

โลก หมายถึง ตัวเรา ถ้าพูดถึงกายก็หมายถึงกายเรา ถ้าพูดถึงเวทนาก็หมายถึงเวทนาที่เราประสพอยู่ หมายถึงอุปทานในขันธ์ 5 ฯลฯ

โลกิยธรรม เป็นธรรมสำหรับปุถุชน มีจิตเป็นใหญ่

โลกุตรธรรม เป็นธรรมสำหรับพระอริยะ มีปัญญาเป็นใหญ่

โยนิโสมนสิการ หมายถึง การทำในใจให้แยบคาย กล่าวคือ การพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน การศึกษาทำความเข้าใจพร้อมด้วยการปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจชัดเจนจนเป็นที่ยอมรับของจิต

อุบาย หมายถึง วิธีการอันแยบคาย

อุเบกขา หมายถึง ความวางเฉย ความรู้สึกเฉย

อิทัปปัจจยตา (สิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้) หมายถึง ธรรมอันอาศัยกันเกิดขึ้น

อวิชชา คือความไม่รู้ในธรรมชาติที่ถูกต้อง

อาสวะ หมายถึงหมักไว้นาน

อามิส หมายถึง เครื่องล่อใจ เจือ เช่น เจือกามคุณ

อภิชฌา ในคำนั้นเป็นอย่างไร ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความดีใจ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่าอภิชฌา

ความรักความพอใจในสิ่งของ ของตน ชื่อว่า อภิชฌา ความรักความพอใจในสิ่งของ ของคนอื่น

ชื่อว่า วิสมโลภะ (ละโมบไม่สม่ำเสมอด้วยอำนาจความเพ่งเล็ง)

อภิชฺฌาลุ ได้แก่ เป็นผู้มีปกติเพ่งเฉพาะ (อยากได้) สิ่งของของผู้อื่น (มาเป็นของตน)

อกาลิโก แปลว่า ไม่ประกอบด้วยกาล การบรรลุอริยมรรคในแต่ละชั้นนั้นจะเกิดทันที ไม่ต้องรอเวลา เช่นผู้ที่ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าเมื่อเข้าใจก็บรรลุทันที

วัฏฏสงสารหรือ สังสารวัฏ หรือ สงสารวัฏ คือภพภูมิที่มนุษย์ทุกคนต้องเวียนว่ายตายเกิดขึ้น

สังสาร หรือ สงสาร แปลว่า ความท่องเที่ยวไป ในทางพุทธศาสนาหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด

ศาสนา ตามภาษาบาลีหมายถึงคำสั่งสอนที่ทำให้จิตใจสะอาด ซึ่งต่างกับความหมายของ Religion ในภาษาอังกฤษจะหมายถึงความเชื่อ ความศรัทธา ในศาสดา

เราเกิดอย่างไร

ตอนที่เราเกิดขึ้นในครรภ์มารดาจะมี 2 ส่วนคือ รูป (ที่เป็นธาตุ ดิน น้ำ ลม และ ไฟ) และนาม (นามธรรมที่จับต้องไม่ได้ พูดโดยรวมก็คือจิต หรือ วิญญาน) รูปเป็นรูปที่เกิดใหม่จะมีรูปร่างลักษณะอย่างไรขึ้นอยู่กับกรรมในอดีต นามหรือจิตเป็นของเก่าดั้งเดิมที่สะสมมานับชาติไม่ถ้วน

รูป หมายถึงรูปกาย

นาม หมายถึงนามกาย

รูปกายและนามกาย เป็นคนละส่วนกัน เพียงแต่อาศัยซึ่งกันและกันอยู่ประกอบกันเป็นตัวเรา ถ้ารูปกายสลายไป (ตาย) จะยังเหลือนามกายอยู่ และไปเกิดในภพต่อไป (กรณีที่ยังไม่นิพพาน)

สิ่งต่อนี้สำคัญมากต้องเข้าใจให้ถูกต้อง (ค่อนข้างจะขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์หรือความเข้าใจของเราที่มีมาแต่เดิม) การจดจำการรับรู้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเราจะเก็บไว้ที่นามกาย ไม่ใช่เก็บไว้ที่สมอง สมองเป็นเพียงตัวที่สั่งงานแก่อวัยวะต่าง ๆ ให้ทำงาน การสั่งงานของนามกายไปยังรูปกายมีอยู่ 2 แบบคือ

1. นามกายควบคุมรูปกาย โดยตรง วิทยาศาสตร์เรียกว่าจิตใต้สำนึก ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในต่าง ๆ เช่น การทำงานของหัวใจ กระเพาะ ลำใส้ ตับ ฯลฯ

มีคำถามว่า แล้วนามกายสั่งให้หัวใจหยุดเต้นได้ไหม ตอบว่าได้ (อาจเกินความเชื่อของพวกเรา พระอรหันต์ระหว่างที่ทำนิโรธสมาบัติ หัวใจจะหยุดเต้นในระหว่างนั้น)

วิทยาศาสตร์ใช้การเต้นของหัวใจเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินว่ามีชีวิตอยู่หรือไม่ โดยส่วนใหญ่ใช้ได้ถูกต้อง แต่เคยได้ยินอยู่บ่อย ๆ ไหมว่ามีคนฟื้นหลังหัวใจหยุดเต้นไปแล้วเป็นเวลา ฯลฯ ชั่วโมง แท้ที่จริงสิ่งที่ถูกต้องในการตัดสินว่ามีชีวิตอยู่หรือไม่คือ ไออุ่น (ศึกษาเพิ่มเติมได้จากพระไตรปิฎก)

2. นามกายสั่งงานไปยังหัวใจแล้วไปสู่สมองให้สมองสั่งงานไปยังอวัยวะต่าง ๆ วิทยาศาสตร์เรียกว่าจิตสำนึก เช่น จิตสำนึกสั่งให้ยกมือ หันซ้ายหันขวาเป็นต้น (จิตสำนึกไม่สามารถสั่งให้เราไม่ต้องรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้) พิสูจน์ได้อย่างไรว่าเริ่มจากหัวใจแล้วไปยังสมอง ให้ลองสังเกตตอนฟ้าผ่า เราจะรู้สึกแป๊บที่หัวใจก่อนแล้ว จึงค่อยมีสติ สั่งงานต่อไป

ปัจจุบันนี้มีข้ออ้างอิงใหม่ในทางวิทยาศาสตร์ตามรูป (จาก Institute of HeartMath Research Center)

ซึ่งคล้ายกับนามกาย วิทยาศาสตร์ศึกษาโดยการใช้เครื่องมือวัด ซึ่งวัดได้เฉพาะที่เป็นไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก แต่ไม่สามารถรู้รายละเอียดในสนามแม่เหล็กนั้นได้ว่าเป็นอะไร (สำหรับผู้ที่เข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์ อุปมาการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับตัวเราเหมือนกับเราศึกษาการทำงานของคอมพิวเตอร์โดยที่เราไม่มีความรู้และเข้าใจโปรแกรมที่ทำงานในคอมพิวเตอร์ เราศึกษาโดยเอาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมาวัดกระแสไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กของอุปกรณ์แต่ละส่วนในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้รู้ว่าคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร)

กระบวนการทำงานของรูปกายและนามกาย (จิต)

การรับรู้ของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ขั้นตอนเป็นดังนี้

เมื่อ ตาเห็นรูปด้วยประสาทตา (รูปกาย) จิตรับรู้ (วิญญาณ) แล้วนำมาประมวลผลกับข้อมูลที่เก็บไว้ในอดีต (รวมถึงชาติก่อน ๆ) จนถึงปัจจุบัน (กรรม) เสร็จแล้ว ยกขึ้นเป็นอารมณ์ เกิดความรู้สึก (เวทนา) แล้วก็เก็บ จำความรู้สึกนั้นไว้ (สัญญา) ต่อจากนั้นก็มีความคิดที่จะทำอะไรสืบเนื่องกับความรู้สึกนั้น (สังขาร) เสร็จแล้วก็มีความตั้งใจหรือเจตนาที่จะทำตามความคิดนั้น (กรรม) (ตั้งแต่จิตรับรู้มาจนถึงเจตนา เป็นกระบวนการของนามกาย) ลองพิจารณาดูว่ากระบวนการการรับรู้ของท่านเป็นไปตามนี้ไหม

ทำนองเดียวกับการที่เราได้ยินเสียง ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัสทางกาย และมีความนึกคิด

กระบวนการทั้งหมดก็มีเพียงเท่านี้ แต่เป็นการทำงานตลอดเวลา สะสมมาตั้งแต่เกิดไปจนตาย และในภพต่อ ๆ ไป

พระพุทธเจ้าอธิบาย วิถีของจิต ไว้อย่างละเอียด

จากกระบวนการข้างต้น เรามาพิจารณากันถึงช่วงขณะที่จิตรับรู้และประมวลผลนั้น ถ้าความชอบในอดีตของเราเป็นแค่ฉันทะ (ความพอใจ) เมื่อประมวลผลก็ไม่มีผลต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นอย่างไรก็ได้ทั้งบวกและลบ ไม่ทำให้จิตเศร้าหมอง แต่ถ้าความชอบในอดีตของเราเป็นตัณหา (ราคะ) เมื่อประมวลผลก็จะมีผลต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้นทันที ถ้าเป็นบวกก็เป็นสุขถ้าเป็นลบก็เป็นทุกข์ ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ก็ทำให้จิตเศร้าหมอง

ตัณหาเป็นอย่างไรเกิดขึ้นอย่างไร

ตัณหาคือความเพลิดเพลินยินดี ความทะยานอยาก อันเกิดจากความรู้สึก (เวทนา) ชอบหรือสุขที่เกิดขึ้นจากการกระทบของ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความคิด กับ ตา ลิ้น จมูก หู กาย ใจ

ตัณหาทำให้เกิดทุกข์อย่างไร

(นำมาจาก พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 169)

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งตัณหาก็คือเวทนานั่นเอง

[๕๙] ดูกรอานนท์ ก็ด้วยประการดังนี้แล คำนี้ คือ เพราะอาศัย

เวทนาจึงเกิดตัณหา เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา เพราะอาศัยการแสวง

หาจึงเกิดลาภ เพราะอาศัยลาภจึงเกิดการตกลงใจ เพราะอาศัยการตกลงใจจึง

เกิดการรักใคร่พึงใจ เพราะอาศัยการรักใคร่พึงใจ จึงเกิดการพะวง เพราะ

อาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่

เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน เพราะอาศัยการป้องกันจึงเกิดเรื่อง

ในการป้องกันขึ้น อกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือการถือไม้ ถือมีด

การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด

และการพูดเท็จ ย่อมเกิดขึ้น คำนี้เรากล่าวไว้ด้วยประการฉะนี้แล ดูกรอานนท์

เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวว่า เรื่องในการ

ป้องกันอกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ

การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด และการ

พูดเท็จ ย่อมเกิดขึ้น ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการป้องกันมิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ

ทั่วไปทุกแห่งหนเมื่อไม่มีการป้องกันโดยประการทั้งปวง เพราะหมดการป้อง

กัน อกุศลธรรนอันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ

การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด และการ

พูดเท็จ จะพึงเกิดขึ้นได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการ

เกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกเหล่านี้ คือ การถือไม้ ถือมีด การ

ทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การกล่าวคำส่อเสียด

และการพูดเท็จก็คือการป้องกันนั่นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน เรากล่าวอธิบาย

ดังต่อไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เรา

ได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน ดูกรอานนท์ ก็ถ้า

ความตระหนี่มิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความ

ตระหนี่โดยประการทั้งปวง เพราะหมดความตระหนี่ การป้องกันจะพึงปรากฏ

ได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการ

ป้องกัน ก็คือความตระหนี่นั่นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่ เรากล่าวอธิบาย

ดังต่อไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เรา

ได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่ ดูกรอานนท์ ก็ถ้า

ความยึดถือมิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความยึด

ถือโดยประการทั้งปวง เพราะดับความยึดถือเสียได้ ความตระหนี่จะพึงปรากฏได้

บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั่นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งความ

ตระหนี่ ก็คือความยึดถือนั้นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ เรากล่าวอธิบายดัง

ต่อไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เรา

ได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการ

พะวงมิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีการพะวงโดย

ประการทั้งปวง เพราะดับการพะวงเสียได้ ความยึดถือจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งความ

ยึดถือ ก็คือการพะวงนั่นเอง

ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง เรากล่าว

อธิบายดังต่อไปนี้-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้

กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง ดูกรอานนท์ ก็ถ้า

ความรักใคร่พึงใจมิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มี

ความรักใคร่พึงใจโดยประการทั้งปวง เพราะดับความรักใคร่พึงใจเสียได้ การ

พะวงจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการ

พะวงก็คือความรักใคร่พึงใจนั่นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความตกลงใจจึงเกิดความรักใคร่พึงใจ เรากล่าว

อธิบายดังต่อไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้

กล่าวไว้ว่าเพราะอาศัยความตกลงใจจึงเกิดความรักใคร่พึงใจ ดูกรอานนท์ ก็

ถ้าความตกลงใจมิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มี

ความตกลงใจโดยประการทั้งปวง เพราะดับความตกลงใจเสียได้ความรักใคร่

พึงใจจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยความรัก

ใคร่ พึงใจ ก็คือความตกลงใจนั่นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยลาภจึงเกิดความตกลงใจ เรากล่าวอธิบายดังต่อ

ไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้

กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยลาภจึงเกิดความตกลงใจ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าลาภมิได้มี

แก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีลาภโดยประการทั้งปวง

เพราะหมดลาภ ความตกลงใจจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งความ

ตกลงใจ ก็คือลาภนั่นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยการแสวงหาจึงเกิดลาภ เรากล่าวอธิบายดังต่อ

ไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เรา

ได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยการแสวงหาจึงเกิดลาภ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการแสวง

หามิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีการแสวงหาโดย

ประการทั้งปวง เพราะหมดการแสวงหา ลาภจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยของลาภ

ก็คือ การแสวงหานั่นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา เรากล่าวอธิบายดัง

ต่อไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนเราได้

กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าตัณหามิ

ได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ กามตัณหา ภวตัณหา

วิภวตัณหา เมื่อไม่มีตัณหาโดยประการทั้งปวง เพราะดับตัณหาโดยประการทั้ง

ปวง เพราะดับตัณหาเสียได้ การแสวงหาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้ พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยของการแสวง

หาก็คือตัณหานั่นเอง

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระองค์เองถึง อริยสัจ 4 (ความจริงของธรรมชาติ ซึ่งเป็นไปแบบนี้ตลอดไปไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ไม่ว่าจะกี่พันกี่หมื่นปีก็เป็นอย่างนี้ ไม่เพิ่มเป็น 5 หรือลดลงเป็น 3 หรือ 2) คือ

1. เป็นทุกข์เนื่องจาก โศกเศร้า เสียใจ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ ค่ำครวญรำพรรณ พิรี้พิไร อาฆาตแค้น

2. สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ก็คือตัณหา

3. การทำให้หมดทุกข์ก็คือการสำรอกตัณหาให้หมดไป

4. แนวทางหรือวิธีที่ปฏิบัติเพื่อที่จะทำให้ทุกข์หมดไป

แนวทางหรือวิธีที่ปฏิบัติเพื่อที่จะทำให้ทุกข์หมดไป - อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ

(นำมาจาก พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 628)

สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (วาจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (อาชีพชอบ) สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (สมาธิชอบ)

ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ?

ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้ทุกข์เกิด ความรู้ในความดับทุกข์

ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ

สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ?

ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความ

ดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ

สัมมาวาจาเป็นไฉน ?

การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากพูด

คำหยาบ งดเว้นจากพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา.

สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ?

การงดเว้นจากล้างผลาญชีวิต งดเว้นจากถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้

งดเว้น จากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ

สัมมาอาชีวะเป็นไฉน ?

อริยสาวกในธรรนวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด สำเร็จการเลี้ยงชีพ

ด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ

สัมมาวายะเป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร

ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิด

ขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรม

ที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิง ไพบูลย์

มีขึ้น เต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ

สัมมาสติเป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี

สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็น

เวทนาในเวทนาอยู่ . . . พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . พิจารณาเห็นธรรม

ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและ

โทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ

สัมมาสมาธิเป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เ ข้า

ถึงปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอเข้าถึงทุติยฌาน

มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจาร

สงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี

อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ. เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป

เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี

อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ

ละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้

สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

เรามาพิจารณาถึงเหตุและผลของมรรค

ความเห็นชอบ

ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้ทุกข์เกิด ความรู้ในความดับทุกข์

ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

ทำไม

ถ้าเรากำลังจะแก้ปัญหาแต่เราไม่เข้าใจปัญหาที่ชัดเจนเราก็จะแก้ปัญหาไม่ได้

ความดำริชอบ

ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความ

ดำริในอันไม่เบียดเบียน

ทำไม

ความดำริในการออกจากกาม (ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่ง ตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหา) หมายถึงเราจะไม่สะสมตัณหาเพิ่มขึ้นเราจะทำให้ตัณหาน้อยลง และหมดไป

ความดำริในความไม่พยาบาท สาเหตุที่เราพยาบาทก็เพราะมีผู้ที่ทำให้สิ่งที่เราชอบ (ตัณหา) เสียไปหรือหมดไป เราจึงพยาบาทกับผู้นั้น

ความดำริในอันไม่เบียดเบียน สาเหตุที่เราเบียดเบียนก็เพราะเราต้องการจะได้สิ่งที่เราชอบ (ตัณหา) จากผู้อื่นโดยที่ผู้อื่นไม่เต็มใจ

วาจาชอบ

การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากพูดคำหยาบ งดเว้นจากพูดเพ้อเจ้อ

ทำไม

การที่เราพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ก็เพราะเราต้องการปกป้องสิ่งของเรา (ตัณหา)

การงานชอบ

การงดเว้นจากล้างผลาญชีวิต งดเว้นจากถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

ทำไม

เราล้างผลาญชีวิต เพราะเราอยากได้มาบริโภคเนื่องจากตัณหา หรือโกรธแค้น เนื่องพยาบาท พยาบาทก็เพราะตัณหา

เราถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ก็เนื่องจากตัณหา

เราประพฤติผิดในกามก็เนื่องจากตัณหา

พิจารณาดูว่าถ้าเราทำทั้งสามอย่างข้างต้นผู้ที่เดือดร้อนเขาจะพยาบาทจองเวรเราไหม นอกจากนั้นญาติพี่น้องเขาก็จะร่วมจองเวรเราด้วย

อาชีพชอบ

อริยสาวกในธรรนวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด สำเร็จการเลี้ยงชีพ ด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ

ทำไม

การเลี้ยงชีพที่ทำด้วยกายสุจริตและวจีสุจริต เช่นไม่โกง ไม่ล่อลวง ไม่ตลบตะแลง ไม่ทำอุบายโกง ไม่ได้ทำเพื่อเพิ่มตัณหาให้มากขึ้น

การเลี้ยงชีพเป็นสิ่งที่สำคัญมากในช่วงที่มีชีวิตอยู่ เราไม่เข้าใจในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง เราสร้างความกลัวกันทุกคน เรากลัวที่จะมีเงินไม่เพียงพอสำหรับเลี้ยงชีพจนตาย ไม่มั่นใจว่ามีเท่าไหร่ถึงจะพอ บางคนไม่มีปัญหาเรื่องเงิน แต่ก็กลัวว่าจะมีคนดูแลตอนแก่ไหม เนื่องความกลัวบางคนตัดสินใจเลือกทางผิด (ผิดพลาด) ก็ยิ่งเพิ่มความทุกข์เข้าไปอีก

แล้วเราควรทำอย่างไร

เนื่องจากเราเกิดตายในสงสารวัฏนี้จนนับไม่ได้ (พระพุทธเจ้าเปรียบว่าถ้าเราเอาดินที่อยู่บนโลกนี้ปั้นเป็นก้อนเท่าเมล็ดถั่วเขียวเรียงกันแล้วนับก็ยังไม่เท่ากับจำนวนชาติที่เราเกิดมาเลย) ดังนั้น

1. เราจะต้องยอมรับผลของกรรมที่ทำมาในอดีต ที่มีผลต่อเราทำให้มีสภาพเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้

2. เราจะต้องยอมรับว่าเราได้สร้างเวรไว้ในอดีต มีผู้ที่คอยพยาบาทหรือจองเราอยู่ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ (ผู้ที่จองเวรเรานั้นไม่ใช่เป็นมนุษย์เท่านั้น อมนุษย์ก็มี)

พิจารณาให้เข้าใจความจริงในการดำเนินชีวิตว่าเราจะสบายกว่าถ้าเราอยู่แบบง่าย ๆ ฝึกพึ่งตนเองเป็นหลัก ดำเนินชีวิตโดย มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ มีวาจาชอบ มีการงานชอบ มีความพยายามชอบ ไม่ขี้เกียจ ทำทุกอย่างเต็มที่ตามความสามารถ ถ้าทำแล้วไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ก็ให้เข้าใจว่าอาจเป็นผลของกรรมและเวรไม่เป็นทุกข์กับมัน (ให้ฝึกยอมรับในกรรมที่ทำไว้ในอดีตให้ได้ ถ้าเรายอมรับและเชื่อในผลของกรรมอย่างเต็มใจได้ ก็แสดงว่าเราเชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้าและกำลังเดินตามได้อย่างถูกต้อง โอกาสที่จะผ่าน ป1 นั้นมีค่อนข้างมาก)

อย่าห่วงคนรอบข้างมากจนเกินไป ห่วงพอสมควรให้เข้าใจว่าทุกคนมีกรรมเป็นของตนเองเราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ตัวอย่างเช่นบุคคลเรียนวิทยาศาสตร์มากับบุคคลเรียนศิลปะศาสตร์มาพอเจอปัญหาเดียวกันการแก้ปัญหาจะไม่เหมือนกันเพราะความรู้ไม่เหมือนกันแต่ละคนก็จะเอาความรู้ความเข้าใจของตนเองเป็นบรรทัดฐาน

ถ้าเราประพฤติตัวได้แบบนี้เราจะไม่กลัวอะไร เราจะไม่กลัวตายถึงแม้เราตายเราก็จะไปอยู่ในที่ดี โอกาสตกนรกน้อยมาก จะอยู่หรือตายอย่างไรก็ได้เราอยู่ได้ ทำไมถึงเชื่อมั่นว่าเราไม่ตกนรก การที่เราจะไปอยู่ในภพไหนนั้นขึ้นอยู่ที่อำนาจของกรรม ถ้าต้องการศึกษาสถาวะของจิตก่อนตายและตอนตายเป็นอย่างไรให้ดู ว่าด้วยอารมณ์ของปฏิสนธิ พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 493

ให้เราเชื่อมั่นในสิ่งที่เราทำ ไม่ต้องกังวลกับสังคม เหมือนกับสุภาษิตที่ว่า "คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล" (แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่คบคนพาลเลย) ลองพิจารณาดูให้ดีว่าถ้าเราทำตามที่กล่าวมาข้างต้นได้ สังคมจะเคารพเรามากกว่ารังเกียจเรา

พยายามชอบ

เกิดความพอใจที่พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิด ขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว

ทำไม

เพื่อพยามยามไม่ให้มีตัณหาใหม่เกิดขึ้นและพยายามทำให้ตัณหาที่มีอยู่ลดน้อยลงและหมดไป เมื่อเราเชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเราควรจะปฏิบัติตามอย่างไม่ย่อท้อ ผลเสียไม่มีเลย

ระลึกชอบ

พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา (ความกำหนัดนักแห่งจิต) และโทมนัส (เสียใจ ทุกข์ใจ ) ในโลก (ตัวเรา) เสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

ทำไม

เป็นการนำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้เป็นปกติในชีวิตประจำวัน

พิจารณาเห็นกายในกาย หมายถึงเมื่อมีการเจ็บป่วยต่อกายเรา เราก็นำเอาไตรลักษณ์มาอธิบายกับตัวเราให้เข้าใจธรรมชาติของกาย ก็จะทำให้เราไม่มีความกลัว

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา หมายถึงขณะที่เรามีอารมณ์ความรู้สึกที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือ ความรู้สึกที่ไม่เป็นสุขและไม่เป็นทุกข์ เราก็นำเอาไตรลักษณ์มาอธิบายกับตัวเราให้เข้าใจธรรมชาติของอารมณ์ความรู้สึกนั้น ๆ

พิจารณาเห็นจิตในจิต หมายถึงให้เราสังเกตกระบวนการรับรู้ของจิต ตั้งแต่ จิตรับรู้ เกิดความรู้สึก ความคิดที่จะทำอะไรต่อกับความรู้สึกนั้น ความตั้งใจหรือเจตนาที่จะทำตามความคิดนั้น ให้พิจารณาโดยนำเอาไตรลักษณ์มาพิจารณา

พิจารณาเห็นธรรมในธรรม หมายถึงพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวเรา โดยนำเอาไตรลักษณ์มาอธิบายกับตัวเราให้เข้าใจธรรมชาติของมัน

ในขั้นต้นให้เราพิจารณาในแง่ของความเป็นอนัตตาดังนี้

ว่าด้วยเหตุเกิดสักกายทิฏฐิ

[๑๘๘] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างใดหนอ?

ภ. ดูก่อนภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ยังมิได้สดับ เป็นผู้ไม่ได้เห็น

พระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม

เป็นผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ (คนที่มีคุณธรรม) ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม (ธรรมของสัตบุรุษ) ไม่ได้รับแนะนำ

ในสัปปุริสธรรม ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ย่อมเห็นอัตตามีรูป ย่อมเห็น

รูปในอัตตา ย่อมเห็นอัตตาในรูป ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา

ย่อมเห็นอัตตามีเวทนา ย่อมเห็นเวทนาในอัตตา ย่อมเห็นอัตตาในเวทนา

ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ย่อมเห็นอัตตามีสัญญา ย่อมเห็น

สัญญาในอัตตา ย่อมเห็นอัตตาในสัญญา ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็น

อัตตา ย่อมเห็นอัตตามีสังขาร ย่อมเห็นสังขารในอัตตา ย่อมเห็นอัตตาใน

สังขาร ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ย่อมเห็นอัตตามีวิญญาณ

ย่อมเห็นวิญญาณในอัตตา ย่อมเห็นอัตตาในวิญญาณ ดูก่อนภิกษุ

สักกายทิฏฐิมีได้ด้วยอาการเช่นนี้แล.

ว่าด้วยเหตุจะไม่มีสักกายทิฏฐิ

[๑๘๙] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมไม่มีได้อย่างไร?

ภ. ดูก่อนภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้วเป็นผู้ได้

เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในอริยธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดี

ในอริยธรรม เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในสัปปุริสธรรม ได้รับแนะนำ

แล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นอัตตา

ไม่เห็นอัตตามีรูป ไม่เห็นรูปในอัตตา หรือไม่เห็นอัตตาในรูป ย่อม

ไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ไม่เห็นอัตตามีเวทนา ไม่เห็นเวทนา

ในอัตตา หรือไม่เห็นอัตตาในเวทนา ย่อมไม่เห็นสัญญาโดยความ

เป็นอัตตา ไม่เห็นอัตตามีสัญญา ไม่เห็นสัญญาในอัตตา หรือไม่เห็น

อัตตาในสัญญา ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ไม่เห็นอัตตา

มีสังขาร ไม่เห็นสังขารมีในอัตตา หรือไม่เห็นอัตตาในสังขาร ย่อม

ไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่เห็นอัตตามีวิญญาณ ไม่เห็น

วิญญาณในอัตตา หรือไม่เห็นอัตตาในวิญญาณ ดูก่อนภิกษุ สักกายทิฏฐิ

ย่อมไม่มีด้วยอาการเช่นนี้แล.

ว่าด้วยคุณโทษและอุบายสลัดออกซึ่งอุปาทานขันธ์

[๑๙๐] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นคุณ เป็นโทษของรูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร,

วิญญาณ เป็นการสลัดออกซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร

ซึ่งวิญญาณ?

ภ. ดูก่อนภิกษุ สุขโสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของรูป

รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของรูป

การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในรูปเสียได้ นี้เป็นการสลัดออก

ซึ่งรูป สุขโสมนัส อาศัยเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยสัญญาเกิดขึ้น ฯลฯ

อาศัยสังขารเกิดขึ้น อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของวิญญาณ

วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ

ของวิญญาณ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในวิญญาณเสียได้

นี้เป็นการสลัดออกซึ่งวิญญาณ.

ตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เห็นอัตตามีรูป เห็นรูปในอัตตา หรือเห็นอัตตาในรูป

ผู้ปราศจากความกาหนัด ความพอใจ ความรักใคร่ ความกระหาย ความเร่าร้อน ความทะเยอทะยานใน

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพราะความทวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป

สมาธิชอบ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอเข้าถึงทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจาร สงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ. เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไปเข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

ทำไม

สมาธิหมายถึงมีสติ มีจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งแผ่ซ่านไปตามอารมณ์ เราจะแก้โจทย์ใดๆ ได้เราจะต้องมีจิตตั้งมั่นถึงจะแก้ได้ แต่จะใช้สมาธิระดับไหนก็ขึ้นอยู่กับความยากง่ายปัญหานั้น ๆ สมาธิใช้สำหรับอบรมจิตใต้สำนึกให้เข้าใจถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า การที่เราเข้าใจด้วยจิตสำนึกไม่ได้หมายความว่าจิตใต้สำนึกจะเข้าใจตาม

ทำอย่างไร

อานาปานสติภาวนา

[๑๔๖] ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะ

อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่

ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มี

อานิสงส์ใหญ่ ดูก่อนราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้

ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอ

มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออก

ยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัด

ว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า

จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลม

ทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อม

สำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปิติ

หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า

จักกำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า ย่อม

สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนด

รู้จิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อม

สำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิต

หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า

จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่น

หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จัก

เปลื้องจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง

หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียก

ว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จัก

พิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิทหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรม

เป็นที่ดับสนิทหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน

หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืนหายใจเข้า ดูก่อน

ราหุล อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมี

ผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ดูก่อนราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว

อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อัน

บุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป จะเป็นอันบุคคลผู้เจริญ

อานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปหามิได้ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดี

ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล

การทำสมาธิ ไม่จำเป็นต้องไปทำที่อื่น ไม่ควรทำกันเป็นกลุ่มเพราะแต่ละคนกำลังไม่เท่ากันการเข้าออกสมาธิได้ไม่เท่ากันทำให้รบกวนกัน ทำได้ที่บ้านเราได้เลยดีที่สุด เวลาที่ดีที่สุดก็ประมาณตี 3-4 เพราะเวลานี้ทุกคนนอนกันหมดแล้วและข้างนอกบ้านก็เงียบสงบ เลือกตำแหน่งไหนของบ้านก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีห้องพระ

ให้ดูลมหายใจตามวิธีเจริญอานาปานสติภาวนาข้างต้น ให้ดูลมหายใจไม่ใช่ตามลมหายใจ ถ้าตามลมหายใจเราจะอึดอัด

การบริกรรม คือการสั่งให้จิตใต้สำนึกทำตามคำสั่งที่เราต้องการ ถ้าจิตใค้สำนึกทำตามได้แล้วก็ไม่ต้องบริกรรมอีก

เนื่องจากเราฝึกด้วยตัวเองไม่มีครูดูแล เมื่อเราเกิดเห็นภาพอะไรก็ตามอย่าตามภาพนั้นให้หยุด สุดลมหายใจ หรือลืมตาขึ้น อย่าสนใจภาพใดๆทั้งสิ้น ให้ดูแต่ลมหายใจเท่านั้น พยายามทำไปเรื่อยๆ

พอเห็นอะไรแล้วอย่าคิดว่าตัวเองบรรลุแล้วเป็นอันขาด จะบ้าเอา เราจะบรรลุได้ด้วยปัญญา แก้โจทย์ได้ ไม่ใช่ด้วยการเห็นภาพใด ๆ

ทุกข์นั้นบรรเทาหรือทำให้หมดไปได้นั้นมีอยู่ 3 วิธีคือ

1. ด้วยการลืม เมื่อเกิดอารมณ์ ความรู้สึก เกิดขึ้นแล้วทำให้ทุกข์ พอสักระยะก็จะค่อย ๆ ลืมไป แต่ถ้านึกได้ก็กับมาทุกข์อีก

2. ด้วยการข่มด้วยสมาธิ เมื่อเกิดอารมณ์ ความรู้สึก เกิดขึ้นแล้วทำให้ทุกข์เกิดขึ้นต้องใช้สมาธิข่มจึงจะหายไป ถ้านึกได้ความทุกข์นั้นก็ไม่กลับมาทุกข์อีก แต่ถ้าเกิดอารมณ์ ความรู้สึก ใหม่ที่ทำให้เกิดทุกข์ก็จะต้องใช้สมาธิข่มทุกข์นั้นจึงจะหายไป

เหมือนการบวกเลขโดยต้องใช้ก้อนหินมานับ ทุกครั้งจะบวกจะต้องเอาก้อนหินมาช่วยถ้าไม่มีก้อนหินก็บวกเลขไม่ได้

3. ด้วยปัญญา (นิพพาน) เมื่อเกิดอารมณ์ ความรู้สึกขึ้นมา ก็เฉย ๆ ไม่มีความทุกข์เลย

เหมือนบวกเลขเมื่อเข้าใจแล้วไม่ต้องใช้ก้อนหินมาช่วยบวก บวกได้โดยอัตโนมัติ

(ถามว่าปัญญานั้นจะเสื่อมไปไหม ก็ต้องถามกลับไปว่า ถ้าเราเข้าใจบวกเลขแล้วมันจะเสื่อมหรือลืมไหม)

พระพุทธเจ้าบอกชัดเจนว่า ไม่มีใครบอกเราได้ว่าเราเรียนรู้ธรรมได้ถึงระดับไหนมีแต่ตัวเราเท่านั้นที่รู้ได้ด้วยตัวเราเอง ไม่จำเป็นต้องตะเวนไปถามใคร ๆ ว่าเราผ่านจุดนั้นหรือจุดนี้หรือยัง

สิ่งที่สำคัญในการเดินค้นหาขุมทรัพย์ตามลายแทงนั้นคือเสบียง ถ้าเสบียงไม่พร้อมก็ไปไม่ถึง

การศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นสิ่งที่เป็นเสบียงคือศีล ถ้าเสบียงยังไม่พร้อมก็ไม่ต้องรีบเดินทางไม่มีวันที่จะไปถึง แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องศึกษา เมื่อยังไม่พร้อมก็ค่อย ๆ พยายามศึกษาไป เมื่อเสบียงพร้อมก็สามารถเดินทางได้ทันที

ศีลคล้าย ๆ กับกติกาที่พระพุทธเจ้ากำหนดไว้ ถ้าใครผิดกติกาก็ไม่มีทางที่จะถึงเป้าหมาย

กติกาสำหรับพระสงฆ์คือศีล 227 ข้อ

กติกาสำหรับฆราวาสคือศีล 5 ข้อ

ทำไมพระสงฆ์ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ไม่เป็นพระอริยเลย ก็เพราะผิดกติกา

ศีล 5 ข้อ

(นำมาบางส่วนจาก พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 471)

ข้อ 1 ปาณาติบาต แปลว่าทำสัตว์มีชีวิตให้

ตกล่วงไป อธิบายว่า ฆ่าสัตว์ ปลงชีพสัตว์. ก็ในคำว่า ปาณะ นี้ โดย

โวหาร ได้แก่สัตว์ โดยปรมัตถ์ ได้แก่ชีวิตินทรีย์. อนึ่ง เจตนาฆ่า อัน

เป็นเหตุยังความพยายามตัดรอนชีวิตินทรีย์ให้ตั้งขึ้น เป็นไปทางกายทวาร

และวจีทวาร ทางใดทางหนึ่ง ของผู้มีความสำคัญในชีวิตนั้นว่า เป็นสัตว์

มีชีวิต ชื่อว่าปาณาติบาต. ปาณาติบาตนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในสัตว์เล็ก

บรรดาสัตว์ที่เว้นจากคุณมีสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะ

สัตว์มีร่างกายใหญ่. เพราะเหตุไร ? เพราะต้องขวนขวายมาก. แม้เมื่อ

มีความพยายามเสมอกัน ก็มีโทษมาก เพราะมีวัตถุใหญ่. ในบรรดาสัตว์ที่มี

คุณมีมนุษย์เป็นต้น สัตว์มีคุณน้อยมีโทษน้อย สัตว์มีคุณมากมีโทษมาก.

แม้เมื่อมีสรีระและคุณเท่ากัน ก็พึงทราบว่า มีโทษน้อย เพราะกิเลสและ

ความพยายามอ่อน มีโทษมาก เพราะกิเลสและความพยายามแรงกล้า

ปาณาติบาตนั้น มีองค์ ๕ คือ

๑. สัตว์มีชีวิต

๒. ตนรู้ว่าสัตว์มีชีวิต

๓. จิตคิดจะฆ่า

๔. มีความพยายาม (ลงมือทำ)

๕. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

ถ้าไม่ครบองค์ทั้ง 5 ก็ไม่ถือว่าศีลข้อนี้ของท่านขาด

ข้อ 2 อทินนาทานนี้ การถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ชื่อ อทิน-

นาทาน มีอธิบายว่า การลักทรัพย์ของผู้อื่น คือความเป็นขโมย ได้แก่

กิริยาที่เป็นโจร. คำว่า ของที่เขาไม่ได้ให้ ในคำว่า อทินนาทานนั้น

ได้แก่ของที่เจ้าของหวงแหน คือ เป็นทรัพย์ที่ผู้อื่นใช้ให้ทำตามประสงค์

ย่อมไม่ควรถูกลงอาชญา และไม่ถูกตำหนิ. อนึ่ง เจตนาคิดลักอันเป็น

เหตุให้เกิดความพยายามที่จะถือเอาของที่เจ้าของหวงแหนนั้น ของบุคคล

ผู้มีความสำคัญในของที่เจ้าของหวงแหนว่า เป็นของที่เจ้าของหวงแหน

ชื่อว่า อทินนาทาน. อทินนาทานนั้น ลักของเลว มีโทษน้อย ลักของ

ดี มีโทษมาก. เพราะเหตุไร ? เพราะวัตถุประณีต. อทินนาทานนั้น เมื่อ

วัตถุเสมอกัน ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะวัตถุเป็นของ ๆ ผู้ยิ่งด้วยคุณ ชื่อว่า

มีโทษน้อย เพราะวัตถุเป็นของ ๆ ผู้มีคุณน้อย ๆ กว่าผู้ยิ่งด้วยคุณนั้น ๆ

อทินนาทานนั้น มีองค์ ๕ คือ

๑. ของที่เจ้าของหวงแหน

๒. รู้อยู่ว่า เป็นของที่เจ้าของหวงแหน

๓. จิตคิดลัก

๔. พยายามลัก

๕. ลักมาได้ด้วยความพยายามนั้น

ถ้าไม่ครบองค์ทั้ง 5 ก็ไม่ถือว่าศีลข้อนี้ของท่านขาด

ข้อ 3 กาเมสุมิจฉาจาร

ก็บทว่า กาเมสุ ในข้อว่า กาเมสุมิจฺฉาจาโร นี้ ได้แก่ เมถุนสมาจาร

ความประพฤติลามกที่บัณฑิตตำหนิโดยส่วนเดียว ชื่อว่ามิจฉาจาร

แต่โดยลักษณะเจตนาที่ล่วงเกินคนที่ต้องห้าม ที่เป็น

ไปทางกายทวาร ด้วยความประสงค์ต่ออสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร

ก่อนอื่น (หญิง) ที่ชื่อว่าเป็นหญิงที่ต้องห้าม

สำหรับผู้ชายในกาเมสุมิจฉาจารนี้ ได้แก่หญิง ๒. จำพวก คือ หญิงที่มี

มารดารักษาเป็นต้น.

หญิง ๑๐ จำพวก คือ หญิงที่มารดารักษา ๑ ที่บิดารักษา ๑ ที่ตั้ง

มารดาและบิดารักษา ๑ ที่พี่ชายน้องชายรักษา ๑ ที่ญาติรักษา ๑ ที่

โคตรรักษา ๑ ที่ธรรมรักษา ๑ ที่มีการอารักขา ๑ ที่มีอาชญารอบด้าน

(อยู่ในกฎมณเฑียรบาล) ๑.

และหญิงอีก ๑๐ จำพวก มีหญิงที่ไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้นเหล่านี้

คือ ภรรยาที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ ( ภรรยาสินไถ่) ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพราะความ

พอใจ ๑ ที่อยู่ด้วยก้นเพราะโภคะ ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพราะเครื่องนุ่งห่ม ๑

ที่ผู้ปกครองเต็มใจยกให้ ๑ ที่ชายยกเทริดลงจากศีรษะ ๑ ที่เป็นทั้งภรรยา

เป็นทั้งทาส ๑ ที่เป็นทั้งภรรยาเป็นทั้งลูกจ้าง ๑ ที่เป็นเชลยศึก ๑ ที่อยู่

ด้วยกันเพียงครู่เดียว ๑.

ส่วนชายอื่น นอกจากสามีของคน ชื่อว่าเป็นชายต้องห้าม

สำหรับหญิง ๑๒ จำพวก คือ ๒ จำพวกสำหรับหญิงมีอารักขา

และหญิงมีอาชญารอบด้าน และ ๑๐ จำพวกสำหรับภรรยาที่ไถ่มาด้วย

ทรัพย์เป็นต้น ในจำนวนหญิงทั้งหลาย ( ๑๐ จำพวก) สำหรับภรรยา.

อนึ่ง มิจฉาจารนี้นั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะผู้ต้องห้าม ปราศจากคุณธรรม

มีศีลเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะถึงพร้อมด้วยคุณธรรม มีศีลธรรมเป็นต้น.

กาเมสุมิจฉาจารนั้น มีองค์ประกอบ ๔ อย่าง คือ

๑. สิ่งที่พึงล่วงละเมิด

๒. จิตคิดจะเสพ

๓. พยายามเข้าถึง

๔. ยินดี

ถ้าไม่ครบองค์ทั้ง 4 ก็ไม่ถือว่าศีลข้อนี้ของท่านขาด

ข้อ 4 มุสา ได้แก่วจีประโยค หรือ

กายประโยค ที่ทำลายประโยชน์ของบุคคลผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน.

ก็เจตนาอันให้เกิดกายประโยคและวจีประโยค ซึ่งพูดให้ผู้อื่นคลาดเคลื่อน

ของบุคคลผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อนนั้น ด้วยประสงค์จะกล่าวให้คลาด

เคลื่อน ชื่อว่า มุสาวาท.

อีกนัยหนึ่ง คำว่า มุสา ได้แก่เรื่องที่ไม่เป็นจริง ไม่แท้. คำว่า

วาท ได้แก่กิริยาที่ทำให้เขาเข้าใจเรื่องที่ไม่จริง ไม่แท้นั้นว่า เป็นเรื่อง

จริง เรื่องแท้. ว่าโดยลักษณะ เจตนาที่ให้เกิดวิญญัติอย่างนั้น ของผู้

ประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่ไม่แท้ว่าเป็นเรื่องแท้ ชื่อว่า มุสาวาท.

มุสาวาทนั้น มีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ทำลายนั้นน้อย มีโทษมาก

เพราะประโยชน์ที่ทำลายนั้นมาก.

อีกอย่างหนึ่ง สำหรับพวกคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยว่า

ไม่มี เป็นต้น เพราะประสงค์จะไม่ให้ของของตนมีโทษน้อย ที่เป็นพยาน

กล่าวเพื่อทำลายประโยชน์ มีโทษมาก. สำหรับพวกบรรพชิต มุสาวาท

ที่เป็นไปโดยนัยแห่งการพูดว่าเป็นของบริบูรณ์ เช่นว่า วันนี้น้ำมันในบ้าน

ไหลเหมือนแม่น้ำเป็นต้น ด้วยประสงค์จะหัวเราะ เพราะได้น้ำมันหรือ

เนยใสมาน้อย มีโทษน้อย แต่เมื่อพูดถึงสิ่งที่ไม่เห็นเลย โดยนัยว่า เห็น

แล้ว เป็นต้น มีโทษมาก.

มุสาวาทนั้น มีองค์ ๔ คือ

๑. เรื่องไม่แท้

๒. จิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อน

๓. ความพยายามเกิดจากจิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อนนั้น

๔. พูดเท็จต่อคนอื่น และเขารู้เรื่องเท็จ

ถ้าไม่ครบองค์ทั้ง 4 ก็ไม่ถือว่าศีลข้อนี้ของท่านขาด

ข้อ 5 สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานํ นี้ บทว่า สุรา ได้แก่สุรา

๕ อย่าง คือ สุราทำด้วยแป้ง สุราทำด้วยขนม สุราทำด้วยข้าวสุก สุราผสม

เชื้อ สุราที่ปรุงด้วยเครื่องปรุง.

แม้ เมรัยก็มี ๕ อย่าง คือ เมรัยที่ทำด้วยดอกไม้ เมรัยที่ทำด้วย

ผลไม้ เมรัยทำด้วยงบน้ำอ้อย เมรัยที่ทำด้วยดอกมะซาง เมรัยที่ปรุงด้วยเครื่อง

ปรุง. บทว่า มชฺชํ ได้แก่ ทั้งสองอย่างนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า มัชชะ เพราะ

อรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความเมา. ก็หรือสิ่งอื่นใด ไม่ว่าอะไรเป็นทีตั้งแห่งความ

เมา บุคคลเมาประมาทด้วยสิ่งใดที่ดื่มแล้ว สิ่งอันนี้ก็เรียกว่า มัชชะ. บทว่า

ปมาทฏฺฐานํ ได้แก่ เจตนาที่ดื่มกลืนกินมัชชะนั้น ท่านเรียกว่า ปมาทฏฺฐานํ

เพราะเป็นเหตุแห่งความเมาความประมาท เจตนากลืนกินมัชชะคือสุรา

และเมรัย เป็นไปทางกายทวารด้วยประสงค์จะกลืนกิน พึงทราบว่าสุราเมรัย

เป็นทั้งแห่งความประมาทโดยประการใด พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทเหล่านั้น

ก่อนนับตั้งแต่ปาณาติบาตเป็นต้นไป โดยประการนั้น

สุราเมรัย ก็มีองค์ ๔ คือ

๑. ของมึนเมามีสุราเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง

๒. จิตคิดอยากจะดื่มของมึนเมา

๓. ความพยายามเกิดแต่จิตนั้น

๔. ดื่มเข้าไปในลำคอ

ถ้าไม่ครบองค์ทั้ง 4 ก็ไม่ถือว่าศีลข้อนี้ของท่านขาด

ปัจจุบันนี้เรายังสับสนกันเรื่องการถือศีล 5 โดยไม่เข้าใจว่าจะต้องรับจากพระโดยตรงไหม ความเป็นจริงแล้วเจตนาที่เราถือศีลก็เพราะต้องการทำให้จิตใจสะอาดไม่ขุ่นมัว ดังนั้นการถือศีลจึงขึ้นอยู่กับตัวเรา

ให้คำมั่นสัญญากับตัวเราว่าเราจะถือศีล 5 และพยายามจะไม่ให้ผิดนั้นเป็นสิ่งดีที่สุด แต่ถ้าผิดข้อใดข้อหนึ่งแล้วรู้สึกตัวว่าทำผิดเราก็พยามยามใหม่ไม่ให้ผิดอีกและพิจารณาถึงผลได้และผลเสียของการผิดศีลแต่ละครั้งว่าคุ้มไหมต่อการแลกเปลี่ยน พยายามไปเรื่อย ๆ ได้กี่ข้อก็ไม่เป็นไรแต่พยายามทำไปเรื่อย ๆ วิธีนี้น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในที่สุดเราก็จะทำได้ครบทั้ง 5 ข้อ โดยอัตโนมัติ

แล้วทำอย่างไรต่อ?

1. ถ้าเราเข้าใจในสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น เราจะเห็นว่ามันไม่มีอะไรซับซ้อนเลย

2. สำรวจตัวเราเอง คิดว่ามันยากไหมที่จะทำ ดูพื้นฐานความต้องการของเราคือปัจจัย 4 ถ้าเรามีพร้อมแล้ว อย่าสร้างความกลัวให้กับตัวเราแล้วสะสมต่อไปไม่มีสิ้นสุด (จนเกินพอ)

3. เรียนรู้ให้เข้าใจคำสอน มีศีล ให้ทาน นำความรู้มาใช้กับตัวเราเอง พยายามแก้ปัญหา (ความทุกข์) ของเราไปเรื่อย ๆ ดูปัญหาของคนอื่นแล้วนำพิจารณา

4. อย่านำข้อปฏิบัติของพระมาฝึก เพราะเราไม่ใช่ผู้ขอ (ภิกษุ) เรายังต้องทำมาหากินเลี้ยงชีพ ให้ยึดศีล 5 ก็เพียงพอ

5. หากมีข้อสงสัยใด ๆ ให้ค้นหาจากพระไตรปิฎก ท่านจะพบคำตอบ (มีทุกอย่างละเอียดมาก)

<< ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน >>