ไปหน้าแรก

กถาพรรณนาปฐมมหาสังคายนา

ก็เพื่อพรรณนาความแห่งมงคลสูตรนั้น ซึ่งยกเป็นบทตั้งไว้อย่างนี้ มี

มาติกาหัวข้อ ดังนี้.

ข้าพเจ้าจะกล่าววิธีนี้อย่างนี้ว่า คำนี้ผู้ใดกล่าว

กล่าวเมื่อใด กล่าวเพราะเหตุไร เนื้อจะพรรณนาความ

แห่งปาฐะมี เอวํ เป็นต้น ก็จะกล่าวสมุฏฐานที่เกิด

มงคลกำหนดมงคลนั้นแล้ว จะชี้แจงความมงคลแห่ง

มงคลสูตรนั้น.

ในมาติกานั้น ก่อนอื่น กึ่งคาถานี้ว่า วุตฺตํ เยน ยทา ยสฺมา

เจตํ วตฺวา อิมํ วิธึ. ท่านกล่าวหมายถึงคำคือ เอวมฺเม สุตํ ฯปฯ ภควนฺตํ

คาถาย อชฺฌภาสิ. จริงอยู่. พระสูตรนี้ ท่านกล่าวโดยฟังต่อ ๆ กันมา

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นสยัมภูคือเป็นพระพุทธเจ้าเองไม่มีอาจารย์ เพราะ

ฉะนั้น คำนี้ [นิทานวจนะ] จึงไม่ใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น. เพราะเหตุที่มีคำกล่าวว่า คำนี้ ใครกล่าว

กล่าวเมื่อใด และกล่าวเพราะเหตุใด. ฉะนั้น จึงขอกล่าวชี้แจง. ดังนี้

คำนี้ท่านพระอานนท์กล่าว และกล่าวในเวลาทำมหาสังคายนาครั้งแรก

ความจริง การทำมหาสังคายนาครั้งแรกนี้ ควรทราบมาตั้งแต่ต้น

เพื่อความฉลาดในนิทานวจนะคำต้นของสูตรทั้งปวง ดังต่อไปนี้.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนาถะที่พึ่งของโลก ทรงบำเพ็ญพุทธ-

กิจ เริ่มต้นแต่ทรงประกาศพระธรรมจักรจนถึงทรงโปรดสุภัททปริพาชก แล้ว

เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เวลาใกล้รุ่งวันวิสาขบูรณมีระหว่าง

ต้นสาละคู่ ในสาลวโนทยานอันเป็นที่แวะพักของมัลลกษัตริย์ใกล้กรุงกุสินารา

ท่านพระมหากสัสปะผู้เป็นสังฆเถระของภิกษุประมาณเจ็ดแสนรูปที่ประชุมกันในวันแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้ามาระลึกถึงคำของ ขรัวตา

สุภัตทะ กล่าวเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ ๗ วันว่า "พอที่

เถิด ผู้มีอายุ ท่านทั้งหลาย อย่างเศร้าโศกไปเลย อย่าร่ำไรไปเลย

พวกเราพ้นดีแล้วจากพระมหาสมณะนั้น แต่ก่อนพวกเราถูกพระ-

มหาสมณะผู้นั้น บังคับจู้จี้ว่า 'สิ่งนี้ควรแก่พวกเธอบ้างละ สิ่งนี้ไม่

ควรแก่พวกเธอบ้างละ' มาบัดนี้ พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักทำสิ่ง

นั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใด ก็จักไม่ทำสิ่งนั้น" ท่านดำริว่า "พวกภิกษุชั่ว

สมจริง ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนอานนท์ ธรรมเเละวินัยอันใด อันเราตถา-

คตแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและ

วินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเรา

ล่วงลับไป ดังนี้.

อย่ากระนั้นเลย จำเราจะช่วยกันสังคายนาธรรมและวินัย โดยวิธีที่พระศาสนา

นี้จะพึงดำรงอยู่ยั่งยืนยาวนาน.

อนึ่งเล่า เรากัสสปะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์ด้วยสาธารณ-

บริโภคในจีวร ตรัสว่า

ดูก่อนกัสสปะเธอจักครองผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้แล้ว

ของเราไหวหรือ และทรงอนุเคราะห์ด้วยทรงสถาปนา

เราไว้เสมอ ๆ กับพระองค์ในอุตตริมนุสสธรรม ธรรม

อัน ยิ่งยวดของมนุษย์ ต่างโดยอนุปุพพวิหาร ๙ และ

อภิญญา ๖ โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เราตถาคตต้องการสงัดจากกามทั้งหลาย สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌานอยู่เพียงใด

แม้กัสสปะก็ต้องการสงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌานอยู่เพียงนั้น.

ดังนี้.

เรานั้นจะมีหนี้อื่นอะไรเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า กัสสปะผู้นี้จักเป็น

ผู้ดำรงวงศ์พระสัทธรรมของเรา จึงทรงอนุเคราะห์เรา ด้วยการอนุเคราะห์ที่

ไม่ทั่วไปนี้ เหมือนพระราชาทรงอนุเคราะห์พระราชโอรส ผู้ดำรงวงศ์ตระกูล

ด้วยทรงมอบเกราะและพระราชอิสริยยศ มิใช่หรือ จึงทำความอุตสาหะให้เกิด

แก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อช่วยกันสังคายนาธรรมและวินัย เหมือนอย่างที่ท่าน

พระอานนท์กล่าวไว้ว่า

ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปเล่ากะภิกษุทั้ง

หลายว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งหนึ่ง เราเดินทางไกล

จากนครปาวามาสู่นครกุสินารา พร้อมกับภิกษุหมู่

ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ดังนี้.

สุภัททกัณฑ์ ควรกล่าวให้พิศดารทั้งหมด. ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสป

กล่าวว่า

ผู้มีอายุทั้งหลายเอาเถิด เรามาช่วยกันสงัคายนา

ธรรมและวินัย ต่อไปเมื่อหน้าอธรรมรุ่งเรื่อง ธรรมก็

จะร่วงโรย. อวินัยรุ่งเรือง วินัยก็จะร่วงโรย เมื่อหน้า

อธรรมวาทีมีกำลัง ธรรมวาทีก็จะอ่อนกำลัง อวินัยวาที

มีกำลัง วินัยวาทีก็จะอ่อนกำลัง.

ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอพระเถระ

โปรดเลือกภิกษุทั้งหลายเถิด. พระเถระละเว้น ภิกษุที่เป็นปุถุชน โสดาบัน สกทา-

คามี อนาคามีและพระขีณาสพสุกขวิปัสสก ผู้ทรงพระปริยัติคือนวังคสัตถุศาสน์

ทรงสิ้น เป็นจำนวนหลายร้อยหลายพันรูป เลือกเอาเฉพาะภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์

ประเภทเตวิชชาเป็นต้น ผู้ทรงปริยัติคือพระไตรปิฎกทั้งหมด บรรลุปฏิสัมภิ-

ทา มีอานุภาพยิ่งใหญ่โดยมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกย่องเป็นเอตทัคคะที่

พระสังคีติกาจารย์มุ่งหมายกล่าวไว้ว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป

คัดเลือกพระอรหันต์ ๕๐๐ รูปหย่อนอยู่รูปหนึ่ง ดังนี้.

ถามว่า ทำไม พระเถระจึงทำให้หย่อนอยู่รูปหนึ่ง. ตอบว่า เพื่อไว้

ช่องโอกาสแก่ท่านพระอานนท์เถระเพราะว่า ทั้งร่วมกับท่านพระอานนท์ ทั้ง

เว้นท่านพระอานนท์เสียไม่อาจทำสังคายนาธรรมได้ ด้วยว่าพระอานนท์นั้น เป็น

พระเสขะยังมีกิจที่ต้องทำอยู่ ฉะนั้น จึงไม่อาจร่วมได้ แต่เพราะเหตุที่นวังคสัตถุ-

ศาสน์มีสุตตะและเคยยะเป็นต้น ข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งพระทศพลทรงแสดง

แล้ว ที่ชื่อว่า ท่านพระอานนท์ไม่ได้รับต่อพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่มีฉะนั้น จึงไม่อาจเว้นเสียได้. ผิว่า ท่านพระอานนท์แม้เป็นเสขะอยู่ ก็น่า

ที่พระเถระจะพึงเลือก เพราะเป็นผู้มีอุปการะมาก ต่อการทำสังคายนาธรรม

แต่เพราะเหตุไร พระเถระจึงไม่เลือกเล่า. เพราะจะหลีกเลี่ยงการตำหนิติเตียน

เสีย. ความจริง พระเถระมีความสนิทสนมอย่างเหลือเกินในท่านพระอานนท์.

จริงอย่างนั้น ถึงท่านพระอานนที่จะมีศีรษะหงอกแล้ว. พระเถระก็ยังสั่งสอน

ท่านด้วยวาทะว่า เด็ก ว่า "เด็กคนนี้ ไม่รู้จักประมาณเสียเลย". อนึ่ง

ท่านพระอานนท์นี้เกิดในตระกูลศากยะ เป็นพระอนุชาของพระตถาคต เป็น

โอรสของพระเจ้าอา. ในการคัดเลือกท่านพระอานนท์ ภิกษุทั้งหลายจะสำคัญ

ประหนึ่งท่านลำเอียงเพราะรัก จะพึงตำหนิติเตียนว่าพระเถระละเว้นเหล่าภิกษุ

ผู้บรรลุอเสขปฏิสัมภิทาเสียไปเลือกพระอานนท์ ผู้บรรลุเสขปฏิสัมภิทา. พระ-

เถระเมื่อจะหลีกเลี่ยงตำหนิติเตียนนั้น คิดว่า "เว้นพระอานนท์เสีย ก็ไม่

อาจทำสังคายนากันได้ เราจะเลือก ก็ต่อเมื่อภิกษุทั้งหลายอนุมัติเท่านั้น" ดังนี้

จึงไม่เลือกเอง.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายพากันร้องขอพระเถระ เพื่อเลือกท่านพระ-

อานนท์เสียเองเลย เหมือนอย่างที่พระอานนท์กล่าวไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย ได้กรายเรียนท่านพระมหากัสสป

อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพระอานนท์นี้ ถึง

แม้จะเป็นพระเสขะ แต่ก็ไม่ควรจะลำเอียงเพราะรัก

เพราะเกลียด เพราะหลง เพราะกลัว ก็ท่านพระ-

อานนท์นี้ ได้ร่ำเรียนธรรมและวินัยมาในสำนักพระ-

มีพระภาคเจ้าเป็นอันมา ถ้าอย่างนั้น ขอพระเถระ

โปรดเลือกท่านพระอานนท์ด้วยเถิดเจ้าข้า. ครั้งนั้นแล

ท่านพระมหากัสสป จึงได้เลือกท่านพระอานนท์ด้วย

ดังนี้.

พระเถระจึงได้มีจำนวนครบ ๕๐๐ รูป รวมทั้งท่านพระอานนท์ ที่

พระเถระเลือกโดยอนุมัติของภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายปรึกษากันว่า เราจะช่วยกันสังคายนา

ธรรมและวินัย ที่ไหนเล่าหนอ. ได้ตกลงกันว่า กรุงราชคฤห์ มีโคจรที่หาอาหาร

มาก มีเสนาสนะมาก ถ้ากระไร เราจะอยู่จำพรรษา ช่วยกันทำสังคายนา ณ

กรุงราชคฤห์ ภิกษุเหล่าอื่น [ที่ไม่ได้รับคัดเลือก] ไม่พึงเข้าจำพรรษา

กรุงราชคฤห์. ก็เหตุไร ภิกษุผู้เถระเหล่านั้น จึงได้ตกลงกันดังนั้น. เพราะท่าน

ดำริว่า การทำสังคายนานี้ เป็นถาวรกรรมของเรา บุคคลผู้เป็นวิสภาคไม่ถูก

กัน จะพึงเข้ามาท่ามกลางสงฆ์ แล้วรื้อถาวรกรรมนั้นเสีย. ครั้งนั้น ท่าน

พระมหากัสสปจึงประกาศด้วยญัตติทุติยกรรม. คำประกาศนั้น พึงทราบตาม

นัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในสังคีติขันธกะนั้นแล.

ครั้งนั้น นับแต่พระตถาคตเสด็จปรินิพพาน เมื่อการเล่นสาธุกีฬา

ล่วงไป ๗ วัน การบูชาพระธาตุล่วงไปอีก ๗ วัน พระมหากัสสปเถระรู้ว่า

เวลาล่วงไปครั้งเดือนแล้ว ยังเหลือเวลาเดือนครึ่ง ก็กระชั้นชิดดิถีเข้าจำพรรษา

จึงกล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย เราจะพากันไปกรุงราชคฤห์ ก็พาหมู่ภิกษุครึ่ง

หนึ่งเดินทางแยกไปทางหนึ่ง แม้พระอนุรุทธเถระ ก็พาหมู่ภิกษุครึ่งหนึ่งแยก

ไปอีกทางหนึ่ง. ส่วนพระอานนทเถระถือบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า อัน

หมู่ภิกษุแวดล้อม ประสงค์จะไปกรุงสาวัตถี [ก่อน] แล้ว จึงจะไปกรุงราชคฤห์

ก็แยกทางจาริกไปทางกรุงสาวัตถี. ในสถานที่พระอานนท์เถระไปถึง ๆ ก็ได้มี

เสียงครวญคร่ำรำพันขนานใหญ่ว่า ท่านอานนท์เจ้า ท่านอานนท์เก็บ

พระศาสดาไว้เสียที่ไหนมาแล้ว. เมื่อพระเถระถึงกรุงสาวัตถีตามลำดับ

ได้มีเสียงครวญคร่ำรำพันขนานใหญ่ เหมือนในสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

ปรินิพพาน.

ข่าวว่า สมัยนั้น ท่านพระอานนท์ ต้องปลอบมหาชนนั้น ด้วย

ธรรมีกถาที่ประกอบด้วยอนิจจตาความไม่เที่ยงเป็นต้น แล้วจึงเข้าไปยังพระ-

เชตวันวิหาร เปิดพระทวารแห่งพระคันธกุฎีที่พระทศพลประทับแล้วนำเตียง

ตั่งออกเคาะปัดกวาดพระคันธกุฎี ทิ้งขยะคือดอกไม้แห้ง นำเตียงตั่งเข้าไปตั้ง

ไว้ตามเดิมอีก ได้กระทำวัตรปฏิบัติทุกอย่างที่ควรทำ เหมือนในครั้งพระผู้มี-

พระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่.

พระเถระแข็งใจดื่มยาระบายเจือน้ำนมในวันที่ ๒ เพื่อทำกายที่มีธาตุ

หนักให้เบา เพราะตั้งแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพาน ท่านต้องยืนมาก.

นั่งมาก จึงนั่งอยู่แต่ในวิหารเท่านั้น ซึ่งท่านอ้างถึง จึงกล่าวกะเด็กหนุ่ม ที่

สุภมาณพใช้ไปดังนี้ว่า

ดูก่อนพ่อหนุ่ม วันนี้ยังไม่เหมาะ เพราะเราดื่ม

ยาถ่าย ต่อพรุ่งนี้เราจึงจะเข้าไป.

วันที่ ๒ พระเถระ มีพระเจตกเถระ เป็นปัจฉาสมณะผู้ติดตาม

จึงเข้าไป ถูกสุภมาณพถามปัญหาแล้วได้กล่าวสูตรที่ ๑๐ ชื่อ สุภสูตร ใน

ทีฆนิกาย. คราวนั้นพระเถระขอให้สุภมาณพ ช่วยปฎิสังขรณ์สิ่งสลักหักพังใน

พระเชตวันวิหาร ครั้นจวนจะเข้าพรรษาจึงไปยังกรุงราชคฤห์. พระมหากัสสป-

เถระและพระอนุรุทธเถระก็อย่างนั้น พาหมู่ภิกษุทั้งหมดไปยังกรุงราชคฤห์

เหมือนกัน.

สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์มีวัดใหญ่อยู่ ๑๘ วัด ทุกวัดมีหยากเยื่อที่เขา

ทิ้งตกเรี่ยราดไปทั้งนั้น. เพราะในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพาน

ภิกษุทั้งหลายถือบาตรจีวรของตนทอดทิ้งวัดและบริเวณไปกันหมด ครั้งนั้น

พระเถระทั้งหลาย คิดกันว่า เราจะช่วยกันปฏิสังขรณ์วิหารที่ชำรุดทรุดโทรม

ตลอดเดือนแรกแห่งพรรษา เพื่อบูชาพระพุทธดำรัสและปลดเปลื้องคำตำหนิ

ติเตียนของพวกเดียรถีย์. ด้วยว่า พวกเดียรถีย์พากันติเตียนว่า พวกสาวก

ของพระสมณโคดม เมื่อศาสดายังมีชีวิตอยู่ ก็ช่วยกันทะนุบำรุง ครั้นศาสดา

ปรินิพพานแล้ว ก็พากันทอดทิ้งไป. ท่านอธิบายว่า พระเถระทั้งหลายคิดกัน

ดังนั้น ก็เพื่อปลดเปลื้องคำตำหนิติเตียนของเดียรถีย์พวกนั้น. สมจริงดังที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า

ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย ปรึกษากันดังนี้ว่า ผู้มี

อายุทั้งหลาย การปฏิสังขรณ์วิหารที่ชำรุดทรุดโทรม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญไว้ เอาเถิดผู้มีอายุ

ทั้งหลาย จำเราจะช่วยกันปฏิสังขรณ์วิหารที่ชำรุดทรุด-

โทรม ตลอดเดือนแรก เดือนกลางเราจึงจักประชุม

ช่วยกันสังคายนาธรรมและวินัย.

วันที่สอง พระเถระเหล่านั้น พากันไปยืนอยู่ใกล้ประตูพระราชนิเวศน์

พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จมาทรงไหว้แล้วปวารณาว่า ท่านเจ้าข้า โยมจะช่วยอะไร

ได้บ้าง พระคุณเจ้าต้องการอะไร. พระเถระทั้งหลาย ถวายพระพรขอหัตถ-

กรรมงานฝีมือ เพื่อต้องการปฏิสังขรณ์วัดใหญ่ ๑๘ วัด. พระราชาทรงรับว่า

สาธุ ดีละ เจ้าข้า แล้วพระราชทานผู้คนที่เป็นช่างฝีมือ. พระเถระทั้งหลาย

ให้ปฏิสังขรณ์วิหารทั้งหมด ตลอดเดือนแรก. ต่อมา จึงกราบทูลพระราชาว่า

ขอถวายพระพร งานปฏิสังขรณ์วิหารเสร็จแล้ว บัดนี้ อาตมาภาพทั้งหลาย

จะช่วยกันสังคายนาธรรมและวินัย. พระราชามีพระดำรัสว่า ดีละ เจ้าข้า ขอ

พระคุณเจ้าโปรดทำอย่างสบายใจเถิด การอาณาจักรไว้เป็นพระของโยม ฝ่ายการ

ธรรมจักรเป็นธุระของพระคุณเจ้า โปรดสั่งมาเถิดเจ้าข้า จะให้โยมช่วยอะไร.

พระเถระทั้งหลาย ถวายพระพรทูลว่า ถวายพระพร โปรดให้สร้างสถานที่นั่ง

ประชุมสำหรับภิกษุทั้งหลาย ผู้จะช่วยกันทำสังคายนาธรรม. ตรัสถามว่า จะ

ทำที่ตรงไหนเล่า เจ้าข้า. ทูลว่า ถวายพระพร ทำใกล้ประตูถ้าสัตตบรรณ

ข้างภูเขาเวภาระน่าจะเหมาะมหาบพิตร. พระเจ้าอชาตศัตรูรับสั่งว่า ดีละ เจ้าข้า

แต่โปรดให้สร้างมณฑปใหญ่ มีฝา เสาและบันไดอันจัดไว้อย่างดี วิจิตรด้วย

ลายดอกไม้และลายเครือเถานานาชนิด เสมือนวิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตไว้

แต่มณฑปใหญ่นั้น ให้มีเพดานทองกลมกลืนกับพวงดอกไม้ชนิดต่าง ๆ อัน

ห้อยย้อยอยู่ งานภาคพื้นดินก็ปรับเสร็จเป็นอันดี งดงามด้วยดอกไม้บูชานานา

พันธุ์ ประหนึ่งพื้นทางเดินอันปรับด้วยลูกรังดังมณีรัตนวิจิตร เสมือนวิมาน

พรหม โปรดให้ปูลาดอาสนะอันเป็นกัปปิยะ ๕๐๐ ที่ มีค่านับมิได้ ในมณฑป

ให้นั้น สำหรับภิกษุ ๕๐๐ รูป ให้ปูลาดอาสนะพระเถระ หันหน้าทางทิศ

เหนือ หันหลังทางทิศให้ ให้ปูลาดธรรมาสน์ ที่นั่งแสดงธรรม อันควรเป็น

อาสนะสำหรับ พระผู้มีพระภาคเจ้า หันหน้าทางทิศตะวันออก ท่ามกลางมณฑป

วางพัดทำด้วยงาช้างไว้บนธรรมาสน์นั้น แล้วมีรับสั่งให้เผดียงแจ้งแก่ภิกษุสงฆ์

ว่า กิจกรรมเสร็จแล้ว เจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ พรุ่งนี้เป็น

วันประชุมสงฆ์ ส่วนตัวท่านเป็นเสขะ ยังมีกิจที่จะต้องทำ ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงไม่ควรไปประชุม ขอท่านจงอย่าประมาทนะ. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์

ดำริว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุม การที่เรายังเป็นเสขะไปประชุม ไม่สมควรเลย

ดังนี้. จึงยับยั้งอยู่ด้วยกายคตาสติ ตลอดราตรีเป็นอันมาก เวลาใกล้รุ่งจึงลง

จากที่จงกรมเข้าไปยังวิหาร นึกถึงกาย หมายจะนอนพัก. เท้าทั้งสองพ้นพื้น

และศีรษะยังไม่ทันถึงหนอน ในระหว่างนั้น จิตไม่ยึดมั่น ก็หลุดพ้นจาก

อาสวะทั้งหลาย.

ความจริง ท่านพระอานนท์นี้ ยับยั้งอยู่ภายนอก ด้วยการจงกรม

ไม่อาจทำคุณวิเศษให้เกิดได้ จึงดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราไว้

มิใช่หรือว่า อานนท์ เธอมีบุญที่ทำไว้แล้ว จงประกอบความเพียรเนือง ๆ

ก็จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะได้ฉับพลัน ก็ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสไว้

ไม่ผิด เราคงปรารภความเพียรเกินไป ด้วยเหตุนั้น จิตของเราจึงเป็นไปทาง

ฟุ้งซ่าน เอาเถิด จำเราจะประกอบความเพียรแต่พอดี จึงลงจากที่จงกรม

ยืน ณ ที่ล้างเท้า ล้างเท้าแล้วก็เข้าวิหาร นั่งบนเตียง คิดจะพักเสียหน่อยหนึ่ง

ก็เอนกายลงบนเตียง เท้าทั้งสองพ้นพื้น และศีรษะยังไม่ทัน ถึงหมอน ใน

ระหว่างนั้น จิตไม่ยึดมั่น ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย. พระอรหัตของพระ-

เถระ. เว้นจากอิริยาบถ ๔ ด้วยเหตุนั้น เมื่อถามกันว่า ในพระศาสนานี้

ภิกษุรูปใด ไม่นั่ง ไม่นอน ไม่ยืน ไม่เดิน บรรลุพระอรหัต ก็ควรจะ

ตอบว่า พระอานนทเถระ.

ในวันที่สอง พระภิกษุเถระทั้งหลาย ฉันภัตตาหาร เก็บงำบาตรจีวร

แล้ว ก็ประชุมกัน ณ ธรรมสภา. ส่วนพระอานนท์เถระประสงค์จะให้สงฆ์รู้

การบรรลุพระอรหัตของตน จึงไม่ไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย

เมื่อนั่งเหนืออาสนะที่ถึงแก่ตน ๆ ตามอาวุโส ก็นั่งเว้น อาสนะของพระอานนท-

เถระไว้. ในที่นั้น เมื่อมีพระเถระบางเหล่าถามว่า นั่นอาสนะของใคร ก็มี

เสียงตอบว่า ของพระอานนท์. ถามว่า ก็พระอานนท์ไปไหนเสียเล่า. สมัย

นั้น พระเถระดำริว่า บัดนี้ เป็นเวลาที่เราไปได้ละ ดังนั้น เมื่อสำแดง

อานุภาพของตน จึงดำดินไปแสดงตัวเหนืออาสนะของคนเลย. อาจารย์บาง

พวกกล่าวว่า เหาะมานั่งก็มี.

เมื่อพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระมหากัสสปเถระจึงปรึกษา

ก็ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราจะสังคายนาอะไรก่อน ธรรม

หรือวินัย

ภิกษุทั้งหลายจึงเรียนว่า ข้าแต่ท่านมหากัสสปะ ธรรมดาว่าวินัยเป็น

อายุของพระพุทธศาสนา เมื่อวินัยยังดำรงอยู่ พระศาสนาก็ชื่อว่าดำรงอยู่ด้วย

เพราะฉะนั้น เราจะสังคายนาวินัยก่อน. พระเถระถามว่า จะมอบให้ใครเป็น

สังคายนาวินัยเล่า. ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า ท่านพระอุบาลี เจ้าข้า. พระเถระ

ถามแย้งว่า พระอานนท์ไม่สามารถหรือ. ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า ไม่ใช่ไม่

สามารถดอกเจ้าข้า แต่ทว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อยังดำรงพระชนม์อยู่

ทรงอาศัยการเล่าเรียนพระปริยัติ [ของท่าน] จึงทรงสถาปนาท่านพระอุบาลีไว้

ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาลีเป็นเลิศกว่าภิกษุ

สาวกของเราผู้ทรงพระวินัย ดังนี้ เพราะฉะนั้น เราจะถามพระอุบาลีเถระ

ช่วยกันสังคายนาวินัย. แต่นั้น พระเถระจึงสมมติตนด้วยตนเอง เพื่อถามวินัย

ฝ่ายพระอุบาลีเถระก็สมมติคน เพื่อตอบวินัย. ในข้อนั้น มีบาลีดังนี้

ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะ เผดียงสงฆ์ว่า

สุณาตุ เม อาวุโส สงฺโฆ, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ

อหํ อุปาลึ วินยํ ปุจฺเฉยฺยํ.

ดูก่อนท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์โปรดฟังข้าพเจ้า ผิว่า สงฆ์พรัก-

พร้อมแล้ว ข้าพเจ้าจะถามวินัยกะท่านอุบาลี.

แม้ท่านพระอุบาลี ก็เผดียงสงฆ์ว่า

สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ

อหํ อายสฺมตา มหากสฺสเปน วินยํ ปุฏฺโฐ วิสฺสชฺเชยฺยํ.

ข้าแต่ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์โปรดฟังข้าพเจ้า ผิว่า สงฆ์พรัก-

พร้อมแล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปะ ถามแล้ว จะตอบวินัย.

ท่านพระอุบาลี ครั้นสมมติตนด้วยตนเองอย่างนี้แล้ว ก็ลุกจากอาสนะ

หุ่มจีวรเฉวียงบ่า ไหว้พระภิกษุชั้นเถระแล้ว นั่งเหนือธรรมาสน์จับพัดทำด้วย

งา ต่อนั้น ท่านพระมหากัสสปเถระจึงถามวินัยทั้งหมดตั้งแต่ปฐมปาราชิกเป็น

ต้นไป กะท่านพระอุบาลีเถระ. ท่านพระอุบาลีเถระก็ตอบ พระภิกษุหมดทั้ง

๕๐๐ รูป ก็สวดเป็นหมู่พร้อม ๆ กัน ตั้งแต่ปฐมปาราชิกสิกขาบท พร้อมทั้ง

นิทานไป แม้สิกขาบทนอกนั้น ก็สวดอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น พึงถือเรื่อง

ทั้งหมดตามอรรถกถาวินัย. ท่านพระอุบาลีเถระครั้น สังคายนาวินัยปิฎกทั้งสิ้น

พร้อมทั้งวิภังค์ทั้งสอง [ภิกขุวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์] พร้อมด้วยคัมภีร์ขันธกะ

และปริวารโดยนัยนี้แล้ว ก็วางพัดงา ลงจากธรรมาสน์ ไหว้ภิกษุผู้เฒ่าแล้ว

ก็นั่งเหนืออาสนะที่ถึงแก่ตน.

ท่านพระมหากัสสปเถระ ครั้นสังคายนาวินัยแล้วประสงค์จะสังคายนา

ธรรม จึงถามภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายเมื่อจะสังคายนาธรรม จะมอบ

บุคคลไรเป็นธุระสังคายนาธรรม. ภิกษุทั้งหลาย จึงเรียนว่า มอบท่านพระ-

อานนท์เถระให้เป็นธุระ.

ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสป. จึงเผดียงสงฆ์ว่า

สุณาตุ เม อาวุโส สงฺโฆ, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ อหํ

อานนฺทํ ธมฺมํ ปุจฺเฉยฺยํ.

ดูก่อนท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์โปรดฟังข้าพเจ้า ผิว่า สงฆ์

พรักพร้อมแล้ว ข้าพเจ้าจะถามธรรมกะท่านอานนท์.

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ ก็เผดียงสงฆ์ว่า

สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ อหํ

อายสฺมตา มหากสฺสเปน ธมฺนํ ปุฏฺโฐ วิสฺสชฺเชยฺยํ.

ข้าแต่ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์โปรดฟังข้าพเจ้า ผิว่า สงฆ์

พรักพร้อมแล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปะถามแล้ว จะตอบ

ธรรม ดังนี้.

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะ. ห่มจีวร เฉวียงบ่า ไหว้

พระภิกษุชั้นเถระแล้ว ก็นั่งเหนือธรรมาสน์ถือพัดงา. ลำดับนั้น ท่านพระมหา-

กัสสปเถระ ถามธรรมกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ พรหมชาลสูตร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ณ ที่ไหน. ตอบว่า ตรัสที่พระตำหนักในพระราช-

อุทยานชื่ออัมพลัฏฐิกา ซึ่งอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา. ถามว่า

ทรงปรารภใคร. ตอบว่า ทรงปรารภสุปปิยปริพาชกกับ พรหมทัตตมาณพ.

ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปถามท่านพระอานนท์ถึงนิทานแห่งพรหมชาลสูตร

ถามทั้งบุคคล. ถามว่า ท่านอานนท์ ก็สามัญญผลสูตรเล่าตรัสที่ไหน. ตอบว่า

ที่สวนมะม่วงของหมอชีวก กรุงราชคฤห์ เจ้าข้า. ถามว่า ตรัสกับใคร. ตอบ

ว่า กับพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร โอรสพระนางเวเทหิ เจ้าข้า. ลำดับนั้น

ท่านพระมหากัสสปะจึงถามท่านพระอานนท์ ถึงนิทานแห่งสามัญญผลสูตร ถาม

ทั้งบุคคล. ท่านพระมหากัสสปถามแม้ทั้ง ๕ นิกาย โดยอุบายนี้นี่แลท่านพระ-

อานนท์ ถูกถามแล้วถามเล่าก็ตอบได้หมด. ปฐมมหาสังคีติสังคายนาใหญ่ครั้ง

แรกนี้ พระเถระ. ๕๐๐ รูปช่วยกันทำ

สเตหิ ปญฺจหิ กตา เตน ปญฺจสตาติ จ

เถเรเหว กตตฺตา ๗ เกริกาติ ปวุจฺจติ.

ปฐมมหาสังคีติ การทำสังคายนาใหญ่ครั้งแรก อันพระเถระ

๕๐๐ รูป ช่วยกันทำ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ปัญจสตา และ

เพราะภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นพระเถระทั้งนั้น จึงเรียกว่า เถริกา ลัทธิ-

เถระวาท.