ไปหน้าแรก

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระอภิธรรมปิฎก

เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มาติกานิกเขปวาระ

[๑] ปัจจัย ๒๔

๑. เหตุปัจจัย

๒. อารัมมณปัจจัย

๓. อธิปติปัจจัย

๔. อนันตรปัจจัย

๕. สมนันตรปัจจัย

๖. สหชาตปัจจัย

๗. อัญญมัญญปัจจัย

๘. นิสสยปัจจัย

๙. อุปนิสสยปัจจัย

๑. บาลีเล่มที่ ๔๐. ๒. เรียกว่าปัจจยอุทเทสก็ได้.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

๑๐. ปุเรชาตปัจจัย

๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย

๑๒. อาเสวนปัจจัย

๑๓. กัมมปัจจัย

๑๔. วิปากปัจจัย

๑๕. อาหารปัจจัย

๑๖. อินทริยปัจจัย

๑๗. ฌานปัจจัย

๑๘. มัคคปัจจัย

๑๙. สัมปยุตตปัจจัย

๒๐. วิปปยุตตปัจจัย

๒๑. อัตถิปัจจัย

๒๒. นัตถิปัจจัย

๒๓. วิคตปัจจัย

๒๔. อวิคตปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

ปรมัตถทีปนี

อรรถกถาปัญจปกรณ์

อรรถกถาถามหาปัฏฐานปกรณ์

อารัมภกถา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพ

แห่งเทพทั้งหลาย เป็นผู้อันเทพยดาและทานพ

(อสูร) ถวายการบูชาแล้ว ทรงมีพระสังวรอันหมดจด

ทรงมีพระวิริยภาพใหญ่ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ผู้ทรงแสดงหาพระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นองค์

ที่ ๗ ทรงระงับดับนามและรูปได้สนิท ครั้นทรง

แสดงยมกปกรณ์จบลงแล้ว จงทรงแสดงปกรณ์ที่ ๗

อันเป็นลำดับของยมกปกรณ์นั้น ทั้งโดยอรรถและ

โดยธรรม โดยชื่อว่า "ปัฏฐาน" อันเป็นพระเทศนา

ที่ประดับด้วยนัยอันลึกซึ้งยิ่ง.

บัดนี้ถึงลำดับการพรรณนาปัฏฐานปกรณ์นั้นแล้ว

ฉะนั้นข้าพเจ้า (พระพุทธโฆษาจารย์) จักพรรณนา

๑. อรรถกถา เรียกมหาปัฏฐานปกรณ์. ๒. พระพุทธเจ้าพระองค์นี้นับเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์

ที่ ๗ นับแต่พระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้นมา (พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ

พระโกนาคมโน พระกัสโป พระโคตโม) อรรถกถาใช่คำว่า "อิสิสตฺตโม" พระฤาษีองค์ที่ ๗.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

ปัฏฐานปกรณ์นั้น ขอท่านสาธุชนทั้งหลาย จงตั้งใจ

สดับการพรรณนานั้นเถิด.

วรรณนาอุทเทสวาระ

ดำเนินความว่า ใน อนุโลมปัฏฐาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง

อาศัยติกะ ๒๒ ติกะ แสดงชื่อ ติกปัฏฐาน. ทรงอาศัยทุกะ ๑๐๐ ทุกะ

แสดงชื่อ ทุกปัฏฐาน. ต่อจากนั้น ทรงรวมติกะ ๒๒ ติกะเข้าในทุกะ

๑๐๐ ทุกะ แล้วทรงแสดงชื่อ ทุกติกปัฏฐาน. ต่อจากนั้น ทรงรวมทุกะ

๑๐๐ ทุกะเข้าในติกะ ๒๒ ติกะ แล้วทรงแสดงชื่อ ติกทุกปัฏฐาน. อนึ่ง

ทรงผนวกติกะเข้าในติกะเท่านั้น แล้วทรงแสดงชื่อ ติกติกปัฏฐาน. ทรง

ผนวกทุกะเข้าในทุกะเท่านั้น แล้วทรงแสดงชื่อ ทุกทุกปัฏฐาน. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า

"ใน อนุโลมปัฏฐาน มีนัยอันลึกซึ้งยิ่ง ๖ นัย

คือ ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด

ทุกติกปัฏฐาน ติกทุกปัฏฐาน ติกติกปัฏฐาน และ

ทุกทุกปัฏฐาน" ดังนี้.

แม้ใน ปัจจนียปัฏฐาน ก็ทรงแสดงปัฏฐานด้วยนัย ๖ นัย แม้ใน

ปัจจนียะอย่างนี้ คือ ทรงอาศัยติกะ ๒๒ ติกะ แสดงชื่อติกปัฏฐาน ทรง

อาศัยทุกะ ๑๐๐ ทุกะ แสดงชื่อทุกปัฏฐาน ทรงผนวกติกะ ๒๒ เข้าใน

ทุกะ ๑๐๐ ทุกะ แล้วทรงแสดงชื่อทุกติกปัฏฐาน ทรงผนวกทุกะ ๑๐๐

ทุกะเข้าในติกะ ๒๒ ติกะ แล้วทรงแสดงชื่อติกทุกปัฏฐาน ทรงผนวก

๑. อธิบายมาติกา.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

ติกะเข้าในติกะเท่านั้น แล้วทรงแสดงชื่อติกติกปัฏฐาน ทรงผนวกทุกะ

เข้าในทุกะเท่านั้น แล้วทรงแสดงชื่อทุกทุกปัฏฐาน. เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า

" ในปัจจนียปัฏฐาน มีนัยอันลึกซึ้งยิ่ง ๖ นัย

คือ ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด

ทุกติกปัฏฐาน ติกทุกปัฏฐาน ติกติกปัฏฐาน และ

ทุกทุกปัฏฐาน " ดังนี้.

แม้ใน อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน ต่อจากนั้นไป ก็ทรงแสดงนัย ๖

นัย โดยอุบายนี้เหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง

ตรัสว่า

" ในอนุโลมปัจจนียปัฏฐาน มีนัยอันลึกซึ้งยิ่ง ๖

นัย คือ ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด

ทุกติกปัฏฐาน ติกทุกปัฏฐาน ติกติกปัฏฐาน และ

ทุกทุกปัฏฐาน" ดังนี้.

ต่อจากนั้น ใน ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน ก็ทรงแสดงนัย ๖ เหล่านี้

เหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

" ใน ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน มีนัยอันลึกซึ้ง ๖

นัย คือ ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด

ทุกติกปัฏฐาน ติกทุกปัฏฐาน ติกติกปัฏฐาน และ

ทุกทุกปัฏฐาน " ดังนี้.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า ปัฏฐาน คือ ใน

อนุโลมนัยมีปัฏฐาน ๖ ในปัจจนียนัยมีปัฏฐาน ๖ ในอนุโลมปัจจนียนัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

มีปัฏฐาน ๖ ในปัจจนียานุโลมนัยมีปัฏฐาน ๖ ดังกล่าวมาแล้ว ชื่อว่า

ปัฏฐานมหาปกรณ์ อันเป็นที่ประชุมแห่งสมันตปัฏฐาน ๒๔. ในปัฏฐาน

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปกรณ์เป็นที่รวมแห่งสมันตปัฏฐาน ๒๔

นี้ ชื่อว่าปัฏฐานมหาปกรณ์ ด้วยอำนาจแห่งการเป็นที่รวมแห่งสมันต-

ปัฏฐาน ๒๔ เหล่าใด ดังนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบอรรถแห่งชื่อ แห่งปัฏฐาน

เหล่านั้น และแห่งปกรณ์นี้อย่างนี้ก่อน.

ถามว่า ชื่อว่าปัฏฐาน เพราะอรรถว่า กระไร ?

ตอบว่า เพราะอรรถว่า เป็นปัจจัยมีประการต่าง ๆ. จริงอยู่

อักษร ย่อมแสดงอรรถว่า มีประการต่าง ๆ.

าน ศัพท์ ย่อมแสดงอรรถว่า เป็นปัจจัย.

จริงอยู่ ปัจจัยท่านเรียกว่า ฐานะ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ความ

เป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะ บรรดาปัฏฐาน ๒ เหล่านั้น แต่ละข้อ

ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยอำนาจแห่ง

ปัจจัยมีประการต่าง ๆ ด้วยประการฉะนี้. ก็ปกรณ์นั้นทั้งหมด ผู้ศึกษา

พึงทราบว่า ปัฏฐาน เพราะเป็นที่รวมแห่งปัฏฐานเหล่านั้น.

อีกนัยหนึ่ง ถามว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า อะไร ?

ตอบว่า เพราะอรรถว่า จำแนก. จริงอยู่ ปัฏฐานปรากฏโดย

อรรถว่า จำแนกในที่มาว่า การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การ

จำแนก การทำให้กระจ่าง. บรรดาปัฏฐาน ๒๔ เหล่านี้ แต่ละอย่างชื่อว่า

ปัฏฐาน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกธรรมทั้งหลาย มีกุศล

เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย มีเหตุปัจจัยเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

ปกรณ์นี้ทั้งหมดผู้ศึกษาพึงทราบว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะเป็นที่ประชุม

แห่งปัฏฐานเหล่านี้.

อีกนัยหนึ่ง ถามว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า อะไร ?

ตอบว่า เพราะอรรถว่า ตั้งอยู่ทั่วไป (แผ่ไป). อธิบายว่า ด้วย

อรรถว่า ดำเนินไป. จริงอยู่ ในอาคตสถานว่า โคฏา ปฏฺิตคาโว

โคดำเนินไปจากที่อยู่ของโค ดังนี้ ศัพท์ว่า ปฏฺิตคาโว โคดำเนินไป

พระอาจารย์กล่าวโดยปัฏฐานใด ปัฏฐานนั้นโดยอรรถ ได้แก่การดำเนิน

ไป. บรรดาปัฏฐาน ๒๔ เหล่านี้ และข้อชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะมีการ

ดำเนินอันเป็นไปด้วยอำนาจความเกี่ยวข้องกัน เพราะได้นัยอันมีความ

พิสดารในธรรมทั้งหลาย มีกุศลเป็นต้น ซึ่งจำแนกออกเป็นประเภทมีเหตุ

ปัจจัยเป็นต้น แห่งพระสัพพัญญุตญาณ อันมีการดำเนินไปไม่ขัดกัน ใน

ปกรณ์ทั้งหลาย มีธัมมสังคณีปกรณ์เป็นต้น ซึ่งมีนัยอันไม่พิสดารนัก

ดังพรรณนามาฉะนี้. ก็ปกรณ์นี้ทั้งหมดพึงทราบว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะ

เป็นที่ประชุมแห่งปัฏฐานเหล่านี้.

บรรดาปัฏฐาน ๖ เหล่านั้น ปัฏฐานที่หนึ่ง ในอนุโลมปัฏฐานก่อน

ชื่อว่า ติกปัฏฐาน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยอำนาจติก-

มาติกา. พึงทราบการแยกบทติกปัฏฐานนั้น (วิเคราะห์) ดังนี้ ปัฏฐานแห่ง-

ติกะทั้งหลายมีอยู่ในปกรณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ปกรณ์นี้ชื่อว่า ติกปัฏฐาน.

อธิบายว่า ปัจจัยมีประการต่าง ๆ แห่งติกะทั้งหลาย มีอยู่แก่เทศนานี้

เหตุนั้น เทศนานี้ชื่อว่า ติกปัฏฐาน. ในวิกัปที่สอง ความว่า ปัฏฐานแห่ง

ติกะทั้งหลายนั้นแหละ ชื่อว่า ติกปัฏฐาน อธิบายว่า การจำแนกติกะ

ทั้งหลาย ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยมีเหตุเป็นต้น. ในวิกัปที่สาม ความว่า

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

ปัฏฐาน คือติกะทั้งหลายที่ได้ความพิสดาร เพราะจำแนกออกไปโดย

ประเภทแห่งเหตุปัจจัยเป็นต้น ชื่อว่า ติกปัฏฐาน อธิบายว่า ภูมิเป็นที่

ดำเนินไปโดยความเกี่ยวข้องกันแห่งพระสัพพัญญูญาณ. แม้ในทุกปัฏฐาน

เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ผู้ศึกษาครั้นทราบปัฏฐาน ๖ ในอนุโลมอย่างนี้

แล้ว พึงทราบแม้ในปัจจนียะเป็นต้น โดยอุบายนี้. ก็เพราะปัฏฐานเหล่านี้

โดยครบถ้วน คือในอนุโลม ในปัจจนียะ. ในอนุโลมปัจจนียะ ใน

ปัจจนียานุโลม มีนัยละ ๖ จึงรวมเป็น ๒๔ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสเรียกว่า สมันตปัฏฐาน ๒๔.

ปกรณ์เป็นที่รวมแห่งสมันตปัฏฐาน ๒๔ นั่น ชื่อว่า ปัฏฐาน-

มหาปกรณ์ ด้วยอำนาจเป็นที่ประชุมแห่งสมันตปัฏฐาน กล่าวคือ

ติกติกปัฏฐาน ๒๔ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

ก็ปัฏฐานนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ติกปัฏฐาน ฯลฯ

ติกติกปัฏฐาน ทุกทุกปัฏฐาน เพราะพระองค์ทรงแสดงโดยอาศัยติกะ

เป็นต้นเหล่าใด เพื่อจะแสดงปัจจัยที่เป็นเหตุให้พระองค์ทรงจำแนกติกะ

เป็นต้นเหล่านั้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับติกะเป็นต้นเหล่านั้น จึงตรัสวาระ

ชื่อว่ามาติกานิกเขปวาระแห่งปัฏฐานนั้นก่อนตั้งแต่ต้น.

อรรถกถาปัจจัยวิภังควาระ

คำว่า ปัจจัยวิภังควาระ เป็นชื่อแห่งมาติกานิกเขปวาระนั่นเอง.

ปัจจัยวิภังควาระนั้นมี ๒ คือ โดยอุทเทสและนิทเทส. วาระนี้คือ

เหตุปจฺจโย ฯเปฯ อวิคตปจฺจโย เป็นอุทเทสแห่งปัจจัยวิภังควาระนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

๑. เหตุปัจจัย

พึงทราบวินิจฉัยในปัจจัยเหล่านั้นต่อไป

เหตุนั้นด้วย เป็นปัจจัยด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหตุปัจจัย.

อธิบายว่า เป็นปัจจัยเพราะเป็นเหตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็น

ปัจจัยเพราะความเป็นเหตุดังนี้. ในอารัมมณปัจจัยเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือน

กัน. บรรดาปัจจัยเหล่านั้น คำว่า เหตุ นี้ เป็นชื่อแห่งการณะและมูลราก

อันเป็นส่วนประกอบแห่งถ้อยคำ. จริงอยู่ ส่วนประกอบแห่งคำชาวโลก

เรียกกันว่า เหตุ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ปฏิญญา เป็นเหตุ. ส่วนใน

ศาสนาคำสอน การณะ เรียกว่า เหตุ ในคำทั้งหลายว่า ธรรมทั้งหลาย

มีเหตุเป็นแดนเกิดเป็นต้น. มูลราก เรียกว่า เหตุ ในคำเป็นต้นว่า

กุศลเหตุ มีสาม อกุศลเหตุ มีสาม ในเหตุปัจจัยนี้ประสงค์เอาเหตุที่เป็น

มูลรากนั้น.

ก็ในคำว่า ปจฺจโย นี้ มีอรรถแห่งคำดังนี้ ผลย่อมอาศัยเป็นไป

แต่ธรรมนี้ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า ปัจจัย อธิบายว่า เป็นไปโดยไม่

ปฏิเสธธรรมนั้น. จริงอยู่ ธรรมใดดำรงอยู่หรือเกิดขึ้น เพราะไม่ปฏิเสธ

ซึ่งธรรมใด ธรรมนั้นท่านกล่าวว่าเป็นปัจจัยแก่ธรรมนั้น. แต่โดย

ลักษณะ ธรรมที่ช่วยอุปการะชื่อว่าปัจจัย. จริงอยู่ ธรรมใดช่วย

อุปการะแก่การตั้งอยู่ หรือการเกิดขึ้นแห่งธรรมใด ธรรมนั้นท่านเรียกว่า

เป็นปัจจัยแก่ธรรมนั้น. คำมีอาทิว่า ปัจจัย เหตุ การณะ นิทาน สัมภวะ

ปภวะ ว่าโดยใจความแล้ว เป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.

ว่าโดยสังเขป ที่ชื่อว่าเหตุเพราะอรรถว่า เป็นมูลราก ชื่อว่าปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

เพราะอรรถว่า ช่วยอุปการะ เพราะฉะนั้น ธรรมที่ช่วยอุปการะ

เพราะอรรถว่า เป็นมูลราก จึงชื่อว่าเหตุปัจจัย.

จริงอยู่ มีอธิบายแห่งอาจารย์ทั้งหลายว่า เหตุ นั้นก็ได้แก่ธรรมที่

ทำกุศลเป็นต้น ให้สำเร็จความเป็นกุศลเป็นต้น เหมือนเมล็ดข้าวสาลี

เป็นต้น ให้สำเร็จเป็นข้าวสาลีเป็นต้น และสีแห่งแก้วมณีเป็นต้น ให้สำเร็จ

เป็นแสงแก้วมณีเป็นต้นฉะนั้น. อธิบายว่า ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น ความเป็น

เหตุปัจจัยย่อมไม่สำเร็จในรูปที่มีเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน เพราะว่าเหตุนั้นไม่

ได้ให้รูปเหล่านั้น สำเร็จความเป็นกุศลเป็นต้น แต่ชื่อว่าไม่เป็นปัจจัยหา

ได้ไม่ ดังนี้.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวว่า "เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่

สัมปยุตด้วยเหตุและแก่รูปที่มีเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของเหตุ-

ปัจจัย." อนึ่งเว้นจากเหตุนั้น อเหตุกจิตสำเร็จเป็นอัพยากตธรรมได้.

และแม้สาเหตุกจิตก็สำเร็จความเป็นกุศลเป็นต้นได้ เนื่องด้วยโยนิโส-

มนสิการเป็นต้น เหตุที่สัมปยุตหาเกี่ยวข้องด้วยไม่. ก็ถ้าบรรดาเหตุที่

สัมปยุตพึงเป็นกุศลเป็นต้นได้ ตามสภาพเอง บรรดาธรรมที่สัมปยุต

ด้วยเหตุนั้น ก็ต้องเนื่องเฉพาะด้วยเหตุ อโลภะ พึงเป็นกุศลหรืออัพยากตะ

ก็ได้. แต่เพราะเป็นได้โดยประการทั้งสอง ฉะนั้น อโลภะพึงเป็นกุศล

หรืออัพยากตะในธรรมทั้งหลายตามที่ประกอบ. ด้วยประการดังกล่าวมา

แล้วนี้ จำต้องค้นหาความเป็นกุศลเป็นต้น แม้ในเหตุทั้งหลายอีก ก็เมื่อ

ไม่ถือเอาอรรถ คือมูลรากแห่งเหตุเดียวกับการให้ธรรมทั้งหลายสำเร็จ

เป็นกุศลเป็นต้น ถือเอาด้วยอำนาจการให้สัมปยุตธรรม สำเร็จความ

ตั้งมั่นด้วยดีย่อมไม่ผิดอะไร. จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายที่ได้เหตุปัจจัยแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

ย่อมตั้งมั่นด้วยดี เหมือนต้นไม้ที่มีรากงอกแล้ว. ส่วนธรรมที่ไม่มีเหตุย่อม

ไม่ตั้งมั่นด้วยดี เหมือนสาหร่ายซึ่งเป็นพืชที่เกิดในน้ำเป็นต้น. ธรรมที่

อุปการะโดยอรรถว่า เป็นมูลราก คือเป็นธรรมที่มีอุปการะโดยให้สำเร็จ

ความตั้งมั่นด้วยดี ผู้ศึกษาพึงทราบว่าเป็นเหตุปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

๒. อารัมมณปัจจัย

พึงทราบอธิบายในปัจจัยอื่น ๆ ต่อจากนั้น

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอารมณ์ ชื่อว่า อารัมมณปัจจัย.

อารัมมณปัจจัยนั้นมี ๖ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งรูปารมณ์เป็นต้น ธรรม

ใดธรรมหนึ่งที่ไม่เป็นอารมณ์หามีไม่ เพราะพระองค์ทรงเริ่มไว้ว่า รูปา-

ยตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ เป็นต้น แล้วให้จบลงด้วยคำว่า

ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ๆ คือจิตและเจตสิก ปรารภธรรมใด ๆ เกิด

ขึ้น ธรรมเหล่านั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้น ๆ ด้วยอำนาจของ

อารัมมณปัจจัย. เหมือนอย่างว่าบุรุษทุรพลจับยึดไม้เท้า หรือว่าเชือก

แล้ว จึงลุกขึ้นยืนได้ ฉันใด ธรรมคือจิตและเจตสิก ก็ฉันนั้น ต้องปรารภ

อารมณ์มีรูปเป็นต้น จึงเกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลาย

ที่เป็นอารมณ์ของจิตและเจตสิกแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า เป็นอารัมมณ

ปัจจัย.

๓. อธิปติปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยอรรถว่า เป็นที่ใหญ่ที่สุด ชื่อว่า อธิปติปัจจัย.

อธิปติปัจจัยนั้นมี ๒ อย่าง คือ สหชาตาธิปติปัจจัย และ

อารัมมณาธิปติปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

ในสองอย่างนั้น ธรรม ๔ อย่างคือ ฉันทะ ริริยะ จิตตะ และ

วิมังสา ผู้ศึกษาพึงทราบว่าเป็นสหชาตาธิปติปัจจัย เพราะพระบาลีว่า

ฉันทาธิปติ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย แก่ธรรมที่สัมปยุต

ด้วยฉันทะ และแก่รูปที่ไม่ฉันทะนั้นเป็นสมุฏฐานด้วยอำนาจของอธิปติ-

ปัจจัย ดังนี้เป็นต้น. ก็แลอธิปติปัจจัยนั้น ย่อมไม่เกิดคราวเดียวกัน.

จริงอยู่ ในเวลาใดจิตทำฉันทะให้เป็นธุระ คือให้เป็นหัวหน้า เป็นไป

ในเวลานั้น ฉันทะเป็นอธิบดี แต่วิริยะ จิตตะ วิมังสา นอกจากนี้ หาเป็น

อธิบดีด้วยไม่. แม้ในอธิบดีที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

ส่วนอรูปธรรมทั้งหลาย (คือจิตและเจตสิก) ทำธรรมใดให้หนัก

ย่อมเป็นรูป ธรรมนั้นชื่อว่าเป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย แก่อรูปธรรม

(คือจิตและเจตสิก) เหล่านั้น เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ธรรมเหล่าใด ๆ คือจิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย ทำธรรมเหล่าใด ๆ

ให้หนักย่อมเกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้น ๆ เป็น ปัจจัยแก่กรรมเหล่านั้น ๆ

ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

๔. อนันตรปัจจัย และ ๕. สมนันตรปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการโดยความไม่มีระหว่างคั่น ชื่อว่า อนันตร-

ปัจจัย.

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความไม่มีระหว่างคั่นด้วยดี ชื่อว่า สมนันตร-

ปัจจัย. ปัจจัยทั้งสองนี้โดยมากอาจารย์ทั้งหลายอธิบายเสียเยิ่นเย้อ. ส่วน

สาระในปัจจัยทั้งสองมีดังนี้ จริงอยู่ การกำหนดจิตนี้ได้ว่า มโนธาตุ มี

มีลำดับจักขุวิญญาณ มโนวิญญาณธาตุ มีในลำดับแห่งมโนธาตุ ดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

เป็นต้น. การกำหนดนั้นย่อมสำเร็จได้ด้วยอำนาจจิตที่เกิดก่อนเท่านั้น

หามีโดยประการอื่นไม่ เพราะฉะนั้น ธรรมที่สามารถให้จิตตุปบาทอัน

เหมาะสมแก่ตนเกิดขึ้นในลำดับของตน ๆ ชื่อว่า อนันตรปัจจัย. เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าที่ชื่อว่าอนันตรปัจจัย ได้แก่ จักขุ-

วิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่

มโนธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้นด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

ดังนี้เป็นต้น. ธรรมใดเป็นอนันตรปัจจัย ธรรมนั้นแหละเป็นสมนันตร-

ปัจจัยด้วย. จริงอยู่ ปัจจัยสองอย่างนี้ ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น

เหมือนอุปจยะกับสันตติ และเหมือนสองคำว่า อธิวจนะ (คำเรียกชื่อ)

กับนิรุตติ (ภาษาคำพูด) ฉะนั้น. แต่เมื่อว่าโดยเนื้อความแล้วไม่มีข้อ

แตกต่างกันเลย.

แม้ความเห็นอันใดของอาจารย์ทั้งหลายที่ว่า ชื่อว่า อนันตรปัจจัย

เพราะความไม่มีระหว่างคั่นแห่งกาลที่ยาวนาน ชื่อว่า สมนันตรปัจจัย

เพราะความไม่มีระหว่างคั่นแห่งกาล (ธรรมดา) มตินั้นก็ย่อมผิดจากพระ-

บาลีเป็นต้นว่า เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของ

สมนันตรปัจจัย แก่ผลสมาบัติของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ. แม้คำใดที่

อาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ในปัจจัยทั้งสองเหล่านั้นว่า ความสามารถในอัน

ยังธรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้นยังไม่เสื่อมไป แต่ธรรมทั้งหลายยังไม่เกิดขึ้นใน

ลำดับด้วยดี เพราะถูกกำลังภาวนาห้ามไว้ แม้คำนั้นก็ให้สำเร็จความไม่มี

แห่งความไม่มีระหว่างคั่นแห่งกาลนั่นเอง. จริงอยู่ ข้าพเจ้าขอกล่าวไว้

เพียงเท่านี้ว่า ความไม่มีระหว่างคั่นแห่งกาลในปัจจัยทั้งสองนั้น ย่อมไม่มี

เพราะกำลังแห่งภาวนา ฉะนั้น ความเป็นสมนันตรปัจจัยจึงไม่ถูก จริงอยู่

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

ธรรมเหล่านั้นจะเป็นสมนันตรปัจจัย เพราะความไม่มีระหว่างคั่นแห่ง

กาลเวลา เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาอยู่ยึดมั่นนัก พึงเชื่อความต่างกัน

ในปัจจัยทั้งสองนั้น โดยพยัญชนะเท่านั้น อย่าเชื่อถือโดยเนื้อความเลย.

คืออย่างไร ? คืออย่างนี้ ความมีระหว่างคั่นแห่งธรรมเหล่านั้นไม่มี

เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อนันตระ (ไม่มีระหว่างคั่น). ความ

ไม่มีระหว่างคั่นด้วยดี เพราะไม่มีการดำรงอยู่แห่งธรรมเหล่านั้น เพราะ-

ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า สมนันตระ ไม่มีระหว่างคั่นด้วยดี เพราะ

ไม่มีการดำรงอยู่.

๖. สหชาตปัจจัย

ธรรมที่เกิดขึ้นช่วยเป็นอุปการะ ด้วยอำนาจของการยังธรรมอื่น

ให้เกิดพร้อมกัน เหมือนดวงประทีปเป็นอุปการะแก่แสงสว่าง ชื่อว่า

สหชาตปัจจัย.

สหชาตปัจจัยนั้นมี ๖ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอรูปขันธ์เป็นต้น. สม

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อรูปขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน

ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันด้วย

อำนาจของสหชาตปัจจัย. ในปฏิสนธิขณะนามและรูปเป็นปัจจัยซึ่งกัน

และกันด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯ ล ฯ ธรรมคือจิตและเจตสิก เป็น

ปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯ ล ฯ มหาภูต-

รูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯ ล ฯ ในกาล

บางคราวรูปธรรมเป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

กาลบางคราวไม่เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย. คำนี้ท่านกล่าว

หมายถึงเฉพาะหทัยวัตถุเท่านั้น.

๗. อัญญมัญญปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความอุดหนุนกันและกันให้เกิดขึ้น

และค้ำจุนกันและกันไว้ เหมือนไม้ค้ำสามอันช่วยค้ำกันและกันเอาไว้

ชื่อว่า อัญญมัญญปัจจัย.

อัญญมัญญปัจจัยนั้นมี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอรูปขันธ์ เป็นต้น

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อรูปขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน

ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มหาภูตรูป เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน

ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย ฯ ล ฯ ในปฏิสนธิขณะนามและรูปเป็น

ปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย.

๘. นิสสยปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัย เหมือนแผ่นดินและ

แผ่นผ้าเป็นต้น เป็นที่รองรับและอิงอาศัยของต้นไม้และจิตรกรรม

เป็นต้น ชื่อว่า นิสสยปัจจัย.

นิสสยปัจจัย นั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในสหชาตปัจจัย

อย่างนี้ว่า อรูปขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของ

นิสสยปัจจัย. แต่ในนิสสยปัจจัยนี้ ท่านจำแนกไว้ ๖ ส่วนอย่างนี้ว่า

จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุ-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

วิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัย

แก่กายวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วย

อำนาจของนิสสยปัจจัย มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป

รูปนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วย

มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

๙. อุปนิสสยปัจจัย

ส่วนในบทว่า อุปนิสฺสยปจฺจโย นี้ มีคำอธิบายดังต่อไปนี้

ที่ชื่อว่านิสสยะ เพราะอรรถว่า อันผลของตนเข้าไปอิงอาศัย คือไม่

ปฏิเสธผลของตน เพราะผลมีการอาศัยเหตุนั้นเป็นไป. ที่อาศัยที่มีกำลัง

มากชื่อว่า อุปนิสสัย เหมือนความทุกข์ใจอย่างหนัก ชื่อว่า อุปายาส

ฉะนั้น. คำนี้เป็นชื่อของเหตุที่มีกำลัง.

เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความ

เป็นเหตุมีกำลัง ชื่อว่า อุปนิสสยปัจจัย

อุปนิสสยปัจจัยมี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูป-

นิสสยะและปกตูปนิสสยะ.

บรรดาอุปนิสสัย ๓ อย่างนั้น อารัมมณูปนิสสยะ ทรงจำแนกไว้ไม่

ต่างกันเลยกับอารัมมณาธิปติ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า บุคคลให้ทาน

สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ย่อมพิจารณากรรมนั้นให้หนัก ย่อมพิจารณา

กรรมที่เคยสร้างสมมาให้หนัก ออกจากฌานแล้ว ย่อมพิจารณาฌานให้

หนัก. พระเสขะย่อมพิจารณาโคตรภูให้หนัก ย่อมพิจารณาโวทานให้

หนัก พระเสขะออกจากมรรคแล้ว ย่อมพิจารณามรรคให้หนัก. บรรดา

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

กุศลธรรมมีการให้ทานเป็นต้นนั้น ธรรมคือจิตและเจตสิกทำอารมณ์ใด

ให้หนักเกิดขึ้น อารมณ์นั้นจัดว่าเป็นอารมณ์ที่มีกำลังในบรรดาอารมณ์

ทั้งหลายสำหรับจิตและเจตสิกเหล่านั้น โดยการกำหนดที่แน่นอน ผู้ศึกษา

พึงทราบความต่างกันแห่งอารัมมณาธิปติกับอารัมมณูปนิสสยะ อย่างนี้.

ชื่อว่า อารัมมณาธิปติ เพราะอรรถว่า เพียงเป็นธรรมที่จิตและ

เจตสิกพึงทำให้หนัก ชื่อว่า อารัมมณูปนิสสยะ เพราะอรรถว่า เป็น

เหตุให้จิตและเจตสิกมีกำลัง.

แม้ อนันตรูปนิสสยะ ก็ทรงจำแนกไว้ไม่ต่างกันกับอนันตรปัจจัย

โดยนัยเป็นต้นว่า กุศลขันธ์ทั้งหลาย ซึ่งเกิดขึ้นก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศล

ขันธ์ที่เกิดขึ้นหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย แต่ในนิกเขปแห่ง

มาติกามีการตั้งปัจจัยทั้งสองนั้นแปลกกัน เพราะ อนันตรปัจจัย มาแล้วโดย

นัยเป็นต้นว่า จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุ

นั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุและธรรมที่สหรคตด้วยมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจ

ของอนันตรปัจจัย และ อุปนิสสยปัจจัย มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า กุศล-

ธรรมที่เกิดขึ้นก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของ

อุปนิสสยปัจจัย. แม้นิกเขปแห่งมาติกานั้น เมื่อว่าโดยใจความ (อรรถ)

แล้ว ก็เป็นอันเดียวกัน. แม้เช่นนั้น ผู้ศึกษาก็พึงทราบว่า ชื่อว่า อนันตร-

ปัจจัย เพราะสามารถให้จิตตุปบาทที่เหมาะสมเกิดขึ้นในลำดับของตน ๆ

และชื่อว่า อนันตรรูปนิสสยปัจจัย เพราะจิตที่เกิดก่อนมีกำลังในอันให้จิต

ดวงหลังเกิดขึ้น. เหมือนอย่างว่า ในเหตุปัจจัยเป็นต้น แม้เว้นธรรมบาง

อย่างเสียจิตก็ย่อมเกิดขึ้นได้ ฉันใด เว้นจิตที่ติดต่อกันแห่งตนเสีย จิตจะ

เกิดขึ้นได้ย่อมไม่มี ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นปัจจัยมีกำลัง.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

พึงทราบความต่างกันแห่งอนันตรปัจจัย กับอนันตรูปนิสสย-

ปัจจัยทั้งสองนั้นอย่างนี้ ชื่อว่า อนันตรปัจจัย ด้วยอำนาจการยังจิต

ที่เหมาะสมให้เกิดขึ้นในลำดับของตน ๆ ชื่อว่า อนันตรรูปนิสสยปัจจัย

ด้วยอำนาจเป็นเหตุที่มีกำลัง ด้วยประการฉะนี้.

ส่วน ปกตูปนิสสยะ มีอธิบายดังต่อไปนี้ อุปนิสสัยที่บุคคลทำ

ไว้ก่อน ชื่อว่า ปกตูปนิสสยะ ที่ชื่อว่า ปกตะ (สิ่งที่เคยทำมาแล้ว)

ได้แก่ธรรมที่ศรัทธาและศีลเป็นต้น ที่บุคคลให้สำเร็จแล้วในสันดาน

ของตน หรือฤดูและโภชนะเป็นต้น ที่บุคคลเข้าไปเสพแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง อุปนิสสัยโดยปกตินั่นเอง ชื่อว่า ปกตูปนิสสยะ.

อธิบายว่า เป็นปัจจัยที่ไม่ปนกัน อารัมมณปัจจัย และ อนันตรปัจจัย

จริงอยู่ ผู้ศึกษาพึงทราบประเภทมีประการมิใช่น้อย แห่งปกตูป-

นิสสยนั้น โดยนัยเป็นต้นว่า ที่ชื่อว่าปกทูปนิสสัย ได้แก่บุคคลเข้าไปอาศัย

ศรัทธา จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำฌาน วิปัสสนา

มรรค อภิญญา สมาบัติให้เกิดขึ้น เข้าไปอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา

จึงให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ (และ)

ปัญญา เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย แก่ศรัทธา ศีล สุตะ

จาคะ (และ) ปัญญา ธรรมมีศรัทธาเป็นต้นเหล่านั้น อันบุคคลทำไว้ก่อน

ด้วย ชื่อว่าเป็นอุปนิสสัย เพราะอรรถว่า เป็นเหตุมีกำลังด้วย เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ปกตูปนิสสยะ ด้วยประการฉะนี้ แล.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

๑๐. ปุเรชาตปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยการเกิดขึ้นก่อนกว่า แล้วยังเป็นไปอยู่

ชื่อว่า ปุเรชาตปัจจัย.

ปุเรชาตปัจจัย นั้น มี ๑๑ อย่าง ด้วยอำนาจวัตถุ อารมณ์ และ

หทัยวัตถุในปัญจทวาร เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า จัก-

ขายตนะเป็นปัจจัย แก่จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุ-

วิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย ฯ ล ฯ กายายตนะ เป็น

ปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยการวิญญาณธาตุนั้น

ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย, รูปายตนะ ฯ ล ฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น

ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ ฯ ล ฯ กายวิญญาณธาตุและธรรมที่สัมปยุตด้วย

กายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย, รูปายตนะ ฯ ล ฯ โผฏ-

ฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น

ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย. มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใด

เป็นไป รูปนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น

ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย บางครั้งเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และ

ธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

บางครั้งก็ไม่เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

๑๑. ปัจฉาชาติปัจจัย

อรูปธรรมเป็นธรรมช่วยอุปการะโดยอรรถว่า ค้ำจุนแก่รูปธรรม

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

ที่เกิดก่อน เหมือนเจตนาที่หวังอาหารช่วยค้ำจุนตัวลูกแร้งไว้ ชื่อว่า

ปัจฉาชาตปัจจัย.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธรรมคือจิตและเจตสิก

ที่เกิดหลัง ๆ เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ซึ่งเกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาต

ปัจจัย.

๑๒. อาเสวนปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะเพื่อให้ธรรมทั้งหลายที่เกิดติดต่อกันคล่อง-

แคล่วและมีกำลังโดยอรรถว่า เสพซ้ำ เหมือนการประกอบความเพียร

ตอนแรก ๆ ในการศึกษาเล่าเรียนเป็นต้น ชื่อว่า อาเสวนปัจจัย.

อาเสวนปัจจัยนั้นมี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งกุศลชวนะ อกุศล

ชวนะและกิริยาชวนะ. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า กุศล-

ธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของ

อาเสวนปัจจัย ฯ ล ฯ กิริยาอัพยากตธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่

กิริยาอัพยากตธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

๑๓. กัมมปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นกิริยา คือความพยายาม

(ปโยคะ) แห่งจิต ชื่อว่า กัมมปัจจัย.

กัมมปัจจัย นั้นมี ๒ อย่าง คือ กุศลเจตนาและอกุศลเจตนาที่เกิด

ในขณะต่างกัน และเจตนาทั้งหมดที่เกิดพร้อมกัน. สมดังที่พระผู้มี-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า กุศลกรรมและอกุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์

และกัมมชรูปด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย. เจตนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่

สัมปยุตด้วยเจตนา และแก่รูปที่มีเจตนานั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของ

กัมมปัจจัย.

๑๔. วิปากปัจจัย

ธรรมคือวิบากที่ช่วยอุปการะโดยความไม่มีอุตสาหะ เพราะ

ความไม่มีอุตสาหะ ชื่อว่า วิปากปัจจัย.

วิปากปัจจัยนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่รูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐานในปวัตติกาล

แก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล และแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิบากจิตนั้น ใน

กาลทั้งหมด. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ขันธ์ ๑ ที่เป็น

วิปากาพยากตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วย

อำนาจของวิปากปัจจัย ฯ ล ฯ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิปากาพยากตะในปฏิสนธิขณะ

เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย ฯ ล ฯ ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัย

แก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย ฯ ล ฯ ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒

และแก่กัมมชรูปด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่วัตถุ

รูป ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย.

๑๕. อาหารปัจจัย

อาหาร ๔ เป็นธรรมช่วยอุปการะโดยอรรถว่า ช่วยค้ำจุนแก่รูป

และนาม ชื่อว่า อาหารปัจจัย. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า

กวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย, นาม-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

อาหารเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุต และแก่รูปที่มีนามอาหารและ

ธรรมที่สัมปยุตกับนามอาหารนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอาหาร-

ปัจจัย. ส่วนในปัญหาวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า " อาหารที่เป็น

วิปากาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุต และแก่กัมมชรูปใน

ปฏิสนธิขณะ ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย."

๑๖. อินทริยปัจจัย

อินทรีย์ ๒๐ เว้นอิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์ ช่วยอุปการะโดย

อรรถว่า เป็นใหญ่ยิ่ง ชื่อว่า อินทริยปัจจัย.

บรรดาอินทรีย์เหล่านั้น อินทรีย์ ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น เป็นปัจจัย

เฉพาะแก่อรูปธรรมเท่านั้น ที่เหลือเป็นปัจจัยทั้งแก่รูปธรรมและอรูปธรรม.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า จักขุนทรีย์ ฯ ล ฯ กายินทรีย์ เป็น

ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ ฯ ล ฯ กายวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุต

ด้วยอินทรีย์นั้นได้ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย, รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัย

แก่กัมมชรูป ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย, อรูปอินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ธรรม

ที่สัมปยุตและแก่รูปที่มีอินทรีย์นั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอินทริย-

ปัจจัย. แต่ในปัญหาวาระ อินทรีย์ที่เป็นวิปากาพยากตะเป็นปัจจัยแก่ธรรม

ที่สัมปยุตและแก่กัมมชรูป ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ.

๑๗. ฌานปัจจัย

องค์ฌาน ๗ อันต่างโดยเป็นกุศลเป็นต้น เว้นสุขเวทนา และ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

ทุกขเวทนาอันเป็นรูปทางกาย ในทวิปัญจวิญญาณจิต ช่วยอุปการะ

โดยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอารมณ์ ชื่อว่า ฌานปัจจัย.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า องค์ฌาน ๗ เป็นปัจจัยแก่

ธรรมที่สัมปยุตและรูปที่มีองค์ฌานนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของฌาน-

ปัจจัย. ส่วนในปัญหาวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า องค์ฌานที่เป็น

วิปากาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต และแก่กัมมชรูปในปฏิสนธิ-

ขณะ ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย.

๑๘. มัคคปัจจัย

องค์มรรค ๒ อันต่างโดยกุศลเป็นต้น ช่วยอุปการะโดยอรรถ

ว่า เป็นเหตุนำไปในทางใดทางหนึ่ง ชื่อว่า มัคคปัจจัย.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า องค์มรรค เป็นปัจจัยแก่ธรรม

ที่สัมปยุต และแก่รูปที่มีองค์มรรคนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของมัคค-

ปัจจัย. ส่วนในปัญหาวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า องค์มรรคที่เป็น

วิปากาพากตะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต และกัมมชรูปในปฏิสนธิขณะ

ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย. แต่ฌานปัจจัยและมัคคปัจจัยทั้งสองนี้ พึง

ทราบว่า ย่อมไม่ได้ในทวิปัญจวิญญาณจิตและอเหตุกจิต ตามที่กล่าว

(หมายถึงทวิปัญจวิญญาณไม่เป็นฌานปัจจัย อเหตุกจิตไม่เป็นมัคคปัจจัย).

๑๙. สัมปยุตตปัจจัย

อรูปธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นสภาพประกอบร่วมกัน คือ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน และดับ

พร้อมกัน ชื่อว่า สัมปยุตตปัจจัย.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อรูปขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกัน

และกัน ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย.

๒๐. วิปปยุตตปัจจัย

รูปธรรมที่ช่วยอุปการะโดยไม่เข้าถึงภาวะที่มีวัตถุอันเดียวกัน

เป็นต้น เป็นวิปปยุตตปัจจัย แก่อรูปธรรม แม้อรูปธรรมก็เป็นวิปปยุตต-

ปัจจัยแก่รูปธรรม.

วิปปยุตตปัจจัย นั้น มี ๓ อย่าง คือ สหชาตวิปปยุต ปัจฉาชาต-

วิปปยุตและปุเรชาตวิปปยุต. มีจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า กุศล-

ขันธ์ที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของ

วิปปยุตตปัจจัย กุศลขันธ์ที่เกิดหลัง ๆ เป็นปัจจัยแก่กายนี้ซึ่งเกิดก่อน ด้วย

อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. ส่วนในสหชาตวิภังค์แห่งอัพยากตบท พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ในขณะปฏิสนธิ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นวิปากาพยากตะ

เป็นปัจจัยแก่กัมมชรูป ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายเป็น

ปัจจัยแก่วัตถุรูปด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่ขันธ์

ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. ส่วนปุเรชาตะ พึงทราบด้วย

สามารถแห่งวัตถุมีจักขุนทรีย์เป็นต้น เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า จักขายตนะที่เกิดก่อนเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของ

วิปปยุตตปัจจัย ฯ ล ฯ กายายตนะที่เกิดก่อนเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วย

อำนาจของวิปยุตตปัจจัย วัตถุเป็นปัจจัยแก่วิปากาพยากตขันธ์ กิริยา-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

พยากตขันธ์ วัตถุเป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ วัตถุเป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ ด้วย

อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย ดังนี้.

๒๑. อัตถิปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยอรรถว่าช่วยค้ำจุนแก่ธรรมที่เป็นเช่น

เดียวกันโดยภาวะที่ยังมีอยู่ อันมีการเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเป็นลักษณะ

ชื่อว่า อัตถิปัจจัย.

สำหรับอัตถิปัจจัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งมาติกาไว้ ๗ อย่าง

คือ อรูปขันธ์ ๑ มหาภูตรูป ๑ นามรูป ๑ จิตเจตสิก ๑ มหาภูต รูป ๑

อายตนะ ๑ และวัตถุ ๑ สมดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า อรูปขันธ์ ๔ เป็น

ปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัย

ซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ในปฏิสนธิขณะ นามรูปเป็น

ปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ธรรมคือจิตและเจตสิก

เป็นปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, มหาภูตรูป

เป็นปัจจัยแก่อุปาทานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย. จักขายตนะ ฯ ล ฯ

กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ ฯ ล ฯ กายวิญญาณธาตุ และ

ธรรมที่สัมปยุตนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย รูปายตนะ ฯ ล ฯ โผฏฐัพ-

พายตนะ เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น

ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็น

ไป รูปนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุต

กับมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ส่วนใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

ปัญหาวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางไว้ว่า สหชาต ปุเรชาต ปจฺฉาชาต

อาหาร อินฺทฺริย แล้วทรงอธิบายในสหชาตปัจจัยก่อน โดยนัยเป็นต้นว่า

ขันธ์ ๑ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และแก่รูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจ

ของอัตถิปัจจัย. ในปุเรชาตปัจจัย ทรงอธิบายด้วยอำนาจจักขุประสาท

เป็นต้นที่เกิดก่อน. ในปัจฉาชาตปัจจัย ทรงอธิบายด้วยอำนาจจิตและ

เจตสิกที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ซึ่งเกิดก่อน. ส่วนในอาหารปัจจัย

และอินทริยปัจจัย ทรงอธิบายอย่างนี้ว่า กพฬีการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้

ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กัมมชรูป ด้วย

อำนาจของอัตถิปัจจัย.

๒๒. นัตถิปัจจัย

อรูปธรรมที่ดับไปโดยไม่มีระหว่างคั่น ช่วยอุปการะด้วยการ

ให้โอกาสแก่รูปธรรมที่จะเกิดในลำดับแห่งตนเป็นไป ชื่อว่า นัตถิ-

ปัจจัย.

เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ธรรมคือจิตและเจตสิกที่

ดับไปโดยไม่มีระหว่างคั่น เป็นปัจจัยแก่ธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้น

เฉพาะหน้า ด้วยอำนาจของนัตถิปัจจัย.

๒๒. วิคตปัจจัย

ธรรมที่เป็นนัตถิปัจจัยนั่นเอง ชื่อว่า วิคตปัจจัย. เพราะช่วย

อุดหนุนโดยภาวะที่ปราศจากไป เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

ธรรมคือจิตและเจตสิกที่ปราศจากไป โดยไม่มีระหว่างคั่นเป็นปัจจัย แก่

ธรรม คือจิตแก่เจตสิกที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ด้วยอำนาจของวิคตปัจจัย.

๒๔. อวิคตปัจจัย

ธรรมที่เป็นอัตถิปัจจัยนั่นเอง ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ชื่อว่า อวิคต-

ปัจจัย เพราะช่วยอุดหนุนโดยภาวะที่ยังไม่ปราศจากไป.

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปัจจัยคู่นี้ไว้ ก็ด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์

ที่จะพึงแนะนำอย่างนั้น โดยเทศนาวิลาสะ เหมือนที่ตรัสสเหตุกทุกะไว้แล้ว

ยังตรัสเหตุสัมปยุตตทุกะเป็นต้นไว้อีก ก็เพื่อความไม่งมงายในปัจจัย ๒๔

เหล่านี้ ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยธรรม โดยกาล โดยการจำแนกโดย

ประการต่าง ๆ และโดยปัจจยุบบัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต (โดยธรรม) ความว่า ก็

บรรดาปัจจัย ๒๔ เหล่านี้ เหตุปัจจัย ก่อน ได้แก่ ส่วนหนึ่งแห่งนาม-

ธรรม ในบรรดานามธรรมและรูปธรรมทั้งหลาย. อารัมมณปัจจัย ได้แก่

นามธรรม และรูปธรรมทั้งหมด เพราะความไม่มีแห่งบัญญัติ. ใน

อธิปติปัจจัย สหชาตาธิปติปัจจัย ได้แก่ ส่วนหนึ่งแห่งนามธรรม. กัมม-

ปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย ก็เหมือนกัน. อารัมมณาธิปติปัจจัย

ได้แก่ ธรรมที่เป็นอารมณ์ทั้งหมดที่จิตและเจตสิกพึงทำให้หนักหน่วง.

อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย

วิปากปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย ได้เฉพาะนาม-

ธรรมเท่านั้น. แม้จะกล่าวว่า เป็นส่วนหนึ่งแห่งนามธรรมก็ได้ เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

ไม่ได้สงเคราะห์นิพพานเข้าด้วย. ปุเรชาตปัจจัยเป็นส่วนหนึ่งแห่งรูปธรรม.

ที่เหลือได้ทั้งนามธรรมและรูปธรรม ด้วยอำนาจแห่งธรรมตามที่จะมีได้

แล. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย โดยธรรม ในอธิการนี้ ดังพรรณนามาแล้ว

เท่านี้ก่อน.

บทว่า กาลโต (โดยกาล) ความว่า

บรรดาปัจจัยเหล่านี้ ปัจจัย ๑๕ ปัจจัย เป็นปัจจุบันกาล

ปัจจัย ๕ ปัจจัย เป็นอดีตกาล.

ปัจจัย ๑ ปัจจัย อาศัยกาลทั้งสอง.

ปัจจัย ๓ ปัจจัย เป็นไปในกาลทั้งสาม และพ้นจากกาลด้วย.

จริงอยู่ บรรดาปัจจัยเหล่านี้ ปัจจัย ๑๕ เหล่านี้ คือ เหตุปัจจัย

สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาต-

ปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย

สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย เป็นปัจจุบัน-

กาล เท่านั้น.

ปัจจัย ๕ เหล่านี้คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อาเสวน-

ปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย เป็นอดีตกาล เท่านั้น.

ส่วนปัจจัย ๑ คือ กัมมปัจจัย อาศัยกาลทั้งสองที่เป็น ปัจจุบัน

ปัจจัย ๓ ที่เหลือเหล่านี้คือ อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย อุป-

นิสสยปัจจัย เป็นไปในกาลทั้งสามก็ได้ เป็นกาลวิมุตติก็ได้ เพราะ

สงเคราะห์นิพพานกับบัญญัติเข้าด้วย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย โดยกาล ในปัจจัยเหล่านี้ ดังพรรณนามา

แล้ว. ส่วนสองบทนี้ว่า นานปฺปการเภทโต ปจฺจยุปฺปนฺนโต จักมีเนื้อ

ความแจ่มแจ้งในนิทเทสวาระ แล.

วรรณนาอุทเทศวาระ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

ปัจจยวิภังควาระ

[๒] เหตุปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นเหตุ

กล่าวคือ

เหตุเป็นปัจจัย แก่ธรรมที่ประกอบกับเหตุ และแก่รูปทั้งหลายที่

เหตุและธรรมที่ประกอบกับเหตุนั้น เป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของ

เหตุปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งเหตุปัจจัย

บัดนี้ เพื่อจะแสดงขยายความปัจจัยเหล่านี้ทั้งหมด ตามลำดับปัจจัยที่

ได้ยกขึ้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า ชื่อว่า เหตุปัจจัย

ได้แก่ ธาตุ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ และแก่รูปที่มีเหตุและ

ธรรมที่สัมปยุตกับเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย. บรรดา

ปัจจัย ๒๔ เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกเหตุปัจจัยนี้ขึ้นแสดงก่อน

กว่าปัจจัยทั้งหมด แล้วก็ทรงจำแนกไปตามลำดับที่ทรงตั้งไว้. แม้ใน

ปัจจัยที่เหลือ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกบทที่ควร

จำแนกขึ้นก่อน และทำการวิสัชนาโดยนัยนี้เหมือนกัน. ส่วนสัมพันธ์บท

(บทที่เกี่ยวข้องกัน) ในอธิการนี้ ปัจจัยใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้น

ในอุทเทสแห่งปัจจัยว่า "เหตุปจฺจโย" ปัจจัยนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบ โดย

นิทเทส อย่างนี้ว่า เหตุ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ และแก่

รูปที่มีเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบ

สัมพันธ์กับการวิสัชนาบทที่ควรจำแนกด้วยปัจจัยทั้งหมด โดยอุบายนี้.

๑. เรียกว่า ปัจจัยนิทเทส ก็ได้.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

บัดนี้ มีคำถามว่า ในคำว่า เหตุ เหตุสมฺปยุตฺตกาน นี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า เหตุสมฺปยุตฺตกาน แต่ตรัสว่า เหตุ เหตุ-

สมฺปยุติกาน ดังนี้ เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะเป็นการกำหนด

ปัจจัย และปัจจยุบบัน. จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหตุ-

สมฺปยุตฺตกาน การกำหนดปัจจัยว่า ธรรมชื่อโน้นเป็นปัจจัยแก่ธรรม

ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยเหตุ ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย ดังนี้ ใคร ๆ ก็ทราบ

ไม่ได้. อีกอย่างหนึ่ง เพราะไม่ถือเอาเนื้อความว่า ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุต

ด้วยเหตุ ชื่อว่า เหตุสัมปยุตตกาน ใจความพึงมีว่า เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรม

เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่สัมปยุตกัน ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย. เมื่อเป็นเช่นนั้น

แม้จักขุวิญญาณจิต เป็นต้น ที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ก็ชื่อว่า สมฺปยุตฺตกา

(ประกอบกัน) เหมือนกัน ทั้งธรรมมีกุศลเป็นต้น ที่ประกอบด้วยเหตุ

ก็ชื่อว่า สมฺปยุตฺตกา ด้วย. บรรดาปัจจยุบบันเหล่านั้น เมื่อพระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า เหตุนี้ เป็นปัจจัยแก่ธรรมชื่อโน้นซึ่งสัมปยุตกัน การ

กำหนดธรรมที่เป็นปัจจยุบบันใคร ๆ ก็รู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงกำหนดทั้งปัจจัยและปัจจยุบบัน จึงตรัสว่า เหตุ

เหตุสมฺปยุตฺตกาน (เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ).

ข้อนั้นมีอธิบายว่า เหตุที่สัมปยุต เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย

มีกุศลเป็นต้นที่สัมปยุตด้วยเหตุ ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย. แม้ในคำนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ตรัสว่า ปจฺจโย อย่างเดียวตรัสว่า เหตุปจฺเยน

ด้วย เพื่อปฏิเสธความที่เหตุเป็นปัจจัยโดยประการอื่น. จริงอยู่ เหตุนี้เป็น

ปัจจัยด้วยอำนาจของเหตุปัจจัยก็ได้ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัยเป็นต้น

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

ก็ได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า เหตุปจฺจเยน ไว้ในอธิการนั้น ก็เพื่อ

ปฏิเสธความที่เหตุนี้เป็นปัจจัยโดยประการอื่น มีสหชาตปัจจัยเป็นต้น.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่

ตรัสว่า ตสมฺปยุตฺตกาน มาตรัสว่า เหตุสมฺปยุตฺตกาน.

ตอบว่า เพราะปัจจัยที่จะอธิบายยังไม่ปรากฏ.

จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ตสมฺยุตฺตกาน ธรรม

ทั้งหลายเหล่านั้น จะชื่อว่า ตสมฺปยุตฺตถา ด้วยธรรมที่เป็นเหตุอันใด

ธรรมที่เป็นเหตุอันนั้นซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าก็พึงทรงชี้แจงว่า ธรรม

ชื่อนี้ ยังไม่ปรากฏ เพราะข้อที่ธรรมนั้นยังไม่ปรากฏ บัณฑิตจะเรียกธรรม

ที่สัมปยุตด้วยเหตุอันใดนั้นว่า ตสมฺปยุตฺตกาน ดังนี้ เพื่อจะแสดงเหตุ

อันนั้น โดยย่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เหตุสมฺปยุตฺตกาน.

ส่วนในคำว่า ตสมุฏฺานาน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใช้ศัพท์ว่า

ต นั้น เพราะปัจจัยที่ควรอธิบายปรากฏแล้ว. จริงอยู่ ในอธิการนี้

มีเนื้อความดังนี้ว่า เหตุเหล่านั้นด้วย ธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุด้วย เป็น

สมุฏฐานแห่งรูปเหล่านั้น เพราะฉะนั้น รูปเหล่านั้นจึงชื่อว่า มีเหตุและ

ธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุเป็นสมุฏฐาน เหตุเป็นปัจจัยแก่รูปเหล่านั้น อันมี

เหตุและธรรมอันสัมปยุตด้วยเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน อธิบายว่า แก่รูปอัน

เกิดจากเหตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ. ทรงถือเอารูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน

ด้วยคำนี้. ถามว่า ก็รูปนั้นย่อมเกิดขึ้น แม้ด้วยธรรมอื่นจากจิตก็ได้หรือ

ตอบว่า เกิดขึ้นได้. จริงอยู่ จิตและเจตสิกแม้ทั้งหมดเกิดพร้อมกันแล้ว จึง

ให้รูปเกิดขึ้นได้ (เว้นจากจิต คือเจตสิก) แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดย

โลกียธรรมเทศนาว่า รูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐานตามวิธีนั้น เพราะความที่จิต

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

เป็นใหญ่. เพราะเหตุนั้นเองพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธรรมคือจิตและ

เจตสิก เป็นปัจจัยแก่รูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐานด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

ถามว่า ถ้าอย่างนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอธิการนี้ว่า ตสมุฏฺานาน

ไม่ตรัสว่า จิตฺตสมุฏานาน ดังนี้ เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะสงเคราะห์

รูปที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเข้ามาด้วย. จริงอยู่ ในปัญหาวาระมีอาคตสถาน

ว่า เหตุที่เป็นวิปากาพยากตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุ และ

แก่กัมมชรูปในขณะปฏิสนธิ ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัยพระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ตรัสว่า จิตฺตสมุฏฺานาน แต่ตรัสว่า ตสมุฏฺานาน ไว้ในอธิการนี้

ก็เพื่อจะสงเคราะห์กัมมชรูปนั้นไว้ด้วย.

บทนั้นมีใจความว่า เหตุเหล่านั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ แม้จะ

ไม่ได้ยังจิตตชรูปให้เกิดได้ แต่ก็จัดเป็นสมุฏฐานแห่งรูปเหล่านั้น ด้วย

อำนาจสหชาตปัจจัยเป็นต้น เพราะเหตุนั้น รูปเหล่านั้นจึงชื่อว่า มีเหตุ

และธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน. เหตุเป็นปัจจัยแก่กัมมชรูป

เหล่านั้น ซึ่งมีเหตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน. เหตุเป็น

ปัจจัยแก่จิตตชรูปในปวัตติกาล และแก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาลด้วยอำนาจ

ของเหตุปัจจัย. แม้อรรถในอาคตสถานว่า ตสมุฏฺานาน ในบทอื่น ๆ

ผู้ศึกษาก็พึงทราบอธิบายโดยอุบายนี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร เหตุนี้จึงเป็นเหตุปัจจัยแก่กัมมชรูปใน

ปฏิสนธิกาลอย่างเดียว ไม่เป็นเหตุปัจจัยในปวัตติกาลด้วย.

ตอบว่า เพราะว่ากัมมชรูปมีความเป็นไปเกี่ยวเนื่องกับจิตใน

ปฏิสนธิกาล. จริงอยู่ ในปฏิสนธิกาล กัมมชรูปมีความ เป็นไปเกี่ยว

เนื่องกับจิต คือย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ด้วยอำนาจของจิต. เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

ว่าในขณะนั้นจิตไม่สามารถจะยังจิตตชรูปให้เกิดขึ้นได้. รูปแม้เหล่า

นั้นเว้นจิตเสีย ย่อมไม่สามารถจะเกิดขึ้น และตั้งอยู่ได้. เพราะเหตุไร

นั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นามและรูปย่อมเกิดเพราะ

วิญญาณเป็นปัจจัย เมื่อวิญญาณนั้นยังดำรงอยู่ นามและรูปจึงเกิด

ขึ้นได้.

แต่ในปวัตติกาล กัมมชรูปเหล่านั้น แม้จิตจะยังมีอยู่ ก็มีความ

เป็นไปเกี่ยวเนื่องด้วยกรรมเท่านั้น หาเกี่ยวเนื่องด้วยจิตไม่. อนึ่ง

สำหรับบุคคลผู้เข้านิโรธ แม้ไม่มีจิตเกิด กัมมชรูปก็ยังเกิดได้.

ถามว่า เพราะเหตุไร ในปฏิสนธิขณะ จิตจึงไม่สามารถให้

จิตตชรูปเกิดขึ้นได้

ตอบว่า เพราะมีกำลังอ่อน ด้วยถูกกำลังกรรมซัดไป และยัง

ไม่มีที่อาศัยอันมั่นคง. จริงอยู่ในปฏิสนธิกาล จิตนั้นถูกกำลังกรรม

ซัดไป และชื่อว่ายังไม่มีที่อาศัยอันมั่นคง เพราะยังไม่มีวัตถุรูปที่เป็น

ปุเรชาตปัจจัย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีกำลังอ่อน.

เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตจึงไม่สามารถให้รูปเกิดขึ้นได้ เหมือน

คนที่พอตกลงไปในเหวไม่สามารถจะแสดงศิลปใด ๆ ได้. ก็กัมมชรูปเท่า

นั้นตั้งอยู่ในฐานแห่งรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานสำหรับบุคคลนั้น. และจิตนั้น

ก็ตั้งอยู่ในฐานะเป็นพืชแห่งกัมมชรูปเท่านั้น. ส่วนกรรมเปรียบเหมือน

ที่นา กิเลสเปรียบเหมือนน้ำ สำหรับกัมมชรูปนั้น เพราะฉะนั้น ใน

ขณะปฏิสนธิ รูปกายย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยอานุภาพของจิต เปรียบเหมือนเมื่อ

มีที่นาและน้ำ ต้นไม้ย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยอานุภาพแห่งเมล็ดพืชในคราวเกิด

ขึ้นเป็นครั้งแรก. แม้เว้นจากจิต กัมมชรูปก็ย่อมเป็นไปได้เพราะกรรม

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

เปรียบเหมือนเมล็ดพืชหมดแล้ว ต้นไม้ก็เจริญเติบโตขึ้นได้ด้วยอานุภาพ

แห่งดินและน้ำนั่นเอง. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า กรรม

เปรียบเหมือนที่นา วิญญาณเปรียบเหมือนพืช ตัณหาเปรียบเหมือนยาง.

ก็แลเนื้อความนี้ผู้ศึกษาพึงถือเอาด้วยอำนาจแห่งโอกาส (ภูมิ) เท่า

นั้น จริงอยู่ โอกาสมี ๓ คือโอกาสแห่งนาม โอกาสแห่งรูป โอกาส

แห่งนามและรูป.

บรรดาโอกาสทั้ง ๓ นั้น อรูปภพ ชื่อว่า โอกาสแห่งนาม. เพราะ

ชื่อว่าในอรูปภพนั้น อรูปธรรมเท่านั้นย่อมเกิดขึ้นโดยเว้นซึ่งรูปเป็นปัจจัย

แม้เพียงหทัยวัตถุ.

อสัญญภพ ชื่อว่า โอกาสแห่งรูป เพราะว่าในสัญญภพนั้น รูป-

ธรรมย่อมเกิดขึ้นโดยเว้นซึ่งนามเป็นปัจจัย แม้เพียงปฏิสนธิจิต.

ปัญจโวการภพ ชื่อว่า โอกาสแห่งนามและรูป เพราะว่าใน

ปัญจโวการภพนั้น ในปฏิสนธิกาลเว้นแม้เพียงวัตถุรูป นามธรรมย่อม

เกิดขึ้นไม่ได้ และเว้นปฏิสนธิจิตเสีย รูปธรรมที่เกิดจากกรรมย่อมเกิด

ขึ้นไม่ได้เหมือนกัน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมย่อมเกิดขึ้นคู่กัน.

เหมือนอย่างว่า ในเรือนหลวงที่มีเจ้าหน้าที่ มีคนเฝ้าประตูเว้นคำสั่ง

ของพระราชาเสีย ใครจะเข้าไปก่อนไม่ได้ แต่ภายหลังจากได้รับอนุญาต

แม้จะเว้นคำสั่งก็เข้าไปได้ ด้วยอานุภาพและคำสั่งคราวก่อน ฉันใด

ในปัญจโวการภพ เว้นปฏิสนธิวิญญาณ อันมีสหชาตปัจจัยเป็นต้น เป็น

ปัจจัย รูปที่จะเกิดครั้งแรก ด้วยสามารถปฏิสนธิไม่มี แต่ภายหลัง

ปฏิสนธิกาล แม้จะเว้นปฏิสนธิวิญญาณ ซึ่งมีอานุภาพแห่งสหชาตปัจจัย

เป็นต้นเป็นปัจจัย รูปที่เกิดด้วยอำนาจกรรมในก่อน ย่อมเป็นไปได้

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

เพราะกรรมนั่นแล ฉันนั้น. ส่วนอสัญญภพย่อมไม่เป็นโอกาสแห่งอรูป

เพราะฉะนั้น ในอสัญญภพนั้น เว้นนามที่เป็นปัจจัยเสีย รูปก็ย่อมเป็น

ไปได้ เพราะเป็นภูมิ (ที่เกิด) ของสัตว์ที่ไม่มีสัญญา เปรียบเหมือนใน

เรือนว่างที่ไม่มีเจ้าของ หรือในเรือนของตน ตนย่อมเข้าไปได้ฉะนั้น.

แม้อรูปภพ ย่อมไม่เป็นโอกาสแห่งรูป เพราะฉะนั้น ในอรูปภพนั้นเว้น

รูปที่เป็นปัจจัยเสีย นามธรรมย่อมเป็นไปได้ เพราะเป็นภูมิของสัตว์ผู้

รู้แจ้ง. ก็ปัญจโวการภพเป็นโอกาสแห่งรูปและนาม เพราะฉะนั้น ใน

ปฏิสนธิกาลในปัญจโวการภพนี้ เว้นนามที่เป็นปัจจัยแล้ว รูปจะเกิดขึ้น

ได้ย่อมไม่มีแล. เหตุนี้ปฏิสนธิจิตจึงเป็นปัจจัยแก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล

เท่านั้น หาเป็นในปวัตติกาลไม่ ดังพรรณนามาแล้ว แล.

ถามว่า ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรม

ที่เกิดขึ้นพร้อมกับเหตุ ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย เนื้อความนี้ทั้งหมด

ทรงถือเอาแล้วมิใช่หรือ เมื่อเป็นอย่างนั้น คำนี้ว่า เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรม

ที่สัมปยุตด้วยเหตุ และแก่รูปที่มีเหตุนั้นเป็นสมุฏฐานดังนี้ พระองค์ทรง

ถือเอาอีกเพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะทรงปฏิเสธความเป็นปัจจัยแก่

กัมมชรูปเป็นต้น ในปวัตติกาล. จริงอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้น กัมมชรูป

และรูปที่มีอุตุและอาหารเป็นสมุฏฐานเหล่าใด เกิดขึ้นในขณะเดียวกับ

เหตุในปวัตติกาล เหตุต้องเป็นเหตุปัจจัยแก่รูปเหล่านั้นได้ แต่ว่าเหตุหา

ได้เป็นปัจจัยแก่รูปเหล่านั้นไม่ เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาคำนั้นด้วย ก็เพื่อจะปฏิเสธความที่เหตุเป็นปัจจัย

แก่กัมมชรูปเป็นต้นนั้น (ในปวัตติกาล).

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในเหตุปัจจัยนี้ ด้วยอำนาจแห่งบท

เหล่านี้ว่า นานปฺปการเภทโต (โดยการจำแนกโดยประการต่าง ๆ)

ปจฺจยุปฺปนฺนโจ (โดยปัจจยุบบัน) ต่อไป.

บทว่า นานปฺปการเภทโต มีอธิบายว่า ชื่อว่าเหตุนี้โดยชาติ

มี ๔ อย่าง คือกุศลชาติ อกุศลชาติ วิปากชาติ และกิริยาชาติ. บรรดา

ชาติ ๔ อย่างนั้น กุศลเหตุ ว่าโดยลำดับแห่งภูมิมี ๔ โดยแจกเป็นกามา-

วจรภูมิเป็นต้น. อกุศลเหตุ เป็นกามาวจรอย่างเดียว. วิปากเหตุมี ๔ อย่าง

โดยจำแนกเป็นกามาวจรเป็นต้น. กิริยาเหตุมี ๓ คือกามาวจร รูปาวจร

และอรูปาวจร. บรรดาเหตุเหล่านั้น กามาวจรกุศลเหตุ ว่าโดยชื่อมี ๓

ด้วยอำนาจอโลภเหตุเป็นต้น. แม้ในรูปาวจรกุศลเหตุเป็นต้น ก็นัยนี้

เหมือนกัน. อกุศลเหตุมี ๓ ด้วยอำนาจโลภเหตุเป็นต้น. ส่วนวิปากเหตุ

กิริยาเหตุ มีอย่างละ ๓ ด้วยอำนาจอโลภเหตุเป็นต้น. ส่วนการจำแนก

เหตุนั้น ๆ โดยประการต่าง ๆ ย่อมมีด้วยอำนาจการประกอบกับจิต

นั้น ๆ นั่นแหละ. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยประการต่าง ๆ ในเหตุนี้

เท่านี้ก่อน.

บทว่า ปจฺจยุปฺปนฺนโต มีเนื้อความว่า ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย

อย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นเพราะปัจจัยนี้ เหตุนี้ ปัจจัยนี้จึงชื่อว่า

เป็นปัจจัยแก่นามธรรมเหล่านี้. บรรดาปัจจัยเหล่านั้นพึงทราบวินิจฉัยใน

เหตุปัจจัยนี้ก่อน.

กามาวจรกุศลเหตุ เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และ

รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในกามภพ และรูปภพทั้งหลาย. ในอรูปภพเป็น

ปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

รูปาวจรกุศลเหตุ เป็นเหตุปัจจัย แก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิต

เป็นสมุฏฐานในกามภพ และรูปภพเท่านั้น.

อรูปาวจรกุศลเหตุ เหมือนกับกามาวจรกุศลเหตุนั่นเอง.

โลกุตตรกุศลเหตุ และอกุศลเหตุก็เหมือนกัน.

ส่วนกามาวจรวิบากเหตุ เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน

เฉพาะในกามภพเท่านั้น เป็นเหตุปัจจัยแก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล และ

เป็นปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปวัตติกาล.

รูปาวจรวิบากเหตุ เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมมีประการดังกล่าวแล้ว

ในรูปภพนั้นเอง. อรูปารจรวิบากเหตุ เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต

เท่านั้น ในอรูปภพ. โลกุตตรวิบากเหตุ เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต

และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ในกามภพและรูปภพ เป็นเหตุปัจจัยแก่

อรูปธรรมเท่านั้นในอรูปภพ. ส่วนใน กิริยาเหตุ มีนัยแห่งการเป็น

ปัจจัยเหมือนกับกุศลเหตุในภูมิทั้ง ๓ ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย แม้โดย

ธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในเหตุปัจจัยนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้ แล.

วรรณนานิทเทสแห่งเหตุปัจจัย จบ

[๓] อารัมมณปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็น

อารมณ์ กล่าวคือ

๑. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่

ธรรมทั้งหลาย ที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของ

อารัมมณปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

๒. สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่

ธรรมทั้งหลาย ที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของ

อารัมมณปัจจัย

๓. คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่

ธรรมทั้งหลาย ที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของ

อารัมมณปัจจัย

๔. รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่

ธรรมทั้งหลาย ที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของ

อารัมมณปัจจัย

๕. โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และ

แก่ธรรมทั้งหลาย ที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของ

อารัมมณปัจจัย

๖. รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏ-

ฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ ๓ และแก่ธรรมทั้งหลายที่

ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

๗. ธรรมเหล่าใดๆ คือจิตและเจตสิกทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น

เพราะปรารภธรรมเหล่าใด ๆ ธรรมเหล่านั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่ธรรม

เหล่านั้น ๆ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

วรรณานิทเทสแห่งอารัมมณปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย ในนิทเทสแห่งอารัมมณปัจจัยต่อไป.

บทว่า รูปายตน ได้แก่ อายตนะ กล่าวคือ รูป. แม้ในธรรมที่

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

เหลือก็นัยนี้แหละ. บทว่า จกขุวิญญาณธาตุยา แปลว่า แก่ธาตุ คือจักขุ-

วิญญาณ. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ต สมฺปยฺตฺตกาน

แปลว่า แก่ขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้น. อธิบายว่า รูปาย-

ตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๔ ที่อาศัยจักขุประสาท แม้ทั้งหมดด้วยอำนาจของ

อารัมมณปัจจัย. ในธรรมอื่นจากนี้ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า มโนธาตุยา

ความว่า อายตนะ ๕ มีรูปายตนะเป็นต้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุทั้ง ๓

พร้อมทั้งธรรมที่สัมปยุต ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย แต่ไม่ได้เป็นไป

ในขณะเดียวกัน. สองบทว่า สพฺเพ ธมฺมา ความว่า อายตนะ ๕ มี

รูปายตนะเป็นต้นเหล่านี้ด้วย ไญยธรรมทั้งหมดที่เหลือด้วย เป็นปัจจัย

แก่มโนวิญญาณธาตุ พร้อมทั้งธรรมที่สัมปยุตที่เหลือ เว้นธาตุ ๖ เหล่านี้

ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

ด้วยคำว่า ย ย ธมฺม อารพฺภ เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงว่า ธรรมเหล่าใดที่ตรัสว่าเป็นอารมณ์แห่งวิญญาณธาตุ ๗ เหล่านี้

ธรรมเหล่านั้นเป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธาตุเหล่านั้น ในขณะที่ทำให้เป็น

อารมณ์เกิดขึ้น. ถึงแม้ว่าธรรมเหล่านั้นจะเป็นอย่างนั้นก็จริง แต่ก็หาได้

เป็นอารัมมณปัจจัยในคราวเดียวกันไม่ เพราะว่าธรรมเหล่าใด ๆ ปรารภ

ธรรมเหล่าใด ๆ เกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้น ๆ เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม

เหล่านั้น ๆ เฉพาะอย่าง ๆ เท่านั้น.

บทว่า อุปฺปชฺชติ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

เหมือนคำว่า น้ำย่อมไหลไป ภูเขาย่อมตั้งอยู่ อันพระองค์ตรัสด้วยอำนาจ

การพูดคลุมไปถึงกาลทั้งหมด. ด้วยบทนั้นย่อมสำเร็จใจความว่า ธรรม

๑. ได้แก่ เว้นวิญญาณธาตุ ๖ คือ จักขุวิญญาณธาตุ ฯ ล ฯ มโนธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

เหล่าใดปรารภธรรมเหล่าใดเกิดขึ้นแล้ว ธรรมเหล่าใดปรารภธรรม

เหล่าใดจักเกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเกิดขึ้นแล้ว แล้วจักเกิดขึ้นด้วย

อำนาจของอารัมมณปัจจัยเท่านั้น. คำว่า จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา นี้ เป็นการ

อธิบายโดยย่อซึ่งธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ว่า เย เย ธมฺมา (ธรรมเหล่า

ใด ๆ). คำว่า เต เต ธมฺมา คือ ธรรมที่เป็นอารมณ์เหล่านั้น ๆ.

สองบทว่า เตส เตส ได้แก่ ธรรม คือจิตและเจตสิกเหล่านั้น ๆ.

พรรณนาบาลีในอธิการนี้เพียงเท่านี้.

ก็ชื่อว่า อารมณ์นี้ว่าโดยเป็นส่วน ๆ แล้ว มี ๖ อย่าง คือ รูปา-

รมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธัมมารมณ์.

บรรดาอารมณ์เหล่านั้น อารมณ์ที่เหลือเว้นบัญญัติ ว่าโดยภูมิมี ๔ คือ

กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตตรภูมิ. บรรดาอารมณ์

ที่นับเนื่องในภูมิ เหล่านั้น อารมณ์ที่เป็นกามาวจรมี ๕ อย่าง โดย

จำแนกเป็นกุศล อกุศล วิบาก กิริยา และรูป. อารมณ์ที่เป็นรูปาวจร

และอรูปาจร มีอย่างละ ๓ โดยเป็นกุศล วิบาก และกิริยา. อารมณ์ที่

เป็นโลกุตตรภูมิมี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจเป็นกุศล วิบาก และนิพพาน.

อีกอย่างหนึ่ง อารมณ์นี้ทั้งหมดมี ๗ อย่าง โดยจำแนกเป็นกุศล อกุศล

วิบาก กิริยา รูป นิพพาน และบัญญัติ. บรรดาอารมณ์ ๗ อย่างนั้น

เมื่อว่าโดยภูมิ อารมณ์ที่เป็นกุศลมี ๔ อารมณ์ที่เป็นอกุศลเป็นกามาวจร

อย่างเดียว อารมณ์ที่เป็นวิบากเป็นไปในภูมิ อารมณ์ที่เป็นกิริยาเป็น

ไปในภูมิ ๓ รูปเป็นไปในภูมิเดียว คือเป็นกามาวจรเท่านั้น แม้นิพพาน

ก็เป็นไปในภูมิเดียว คือเป็นโลกุตระเท่านั้น บัญญัติพ้นจากภูมิแล.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการต่าง ๆ ในอารัมมณ-

ปัจจัยนี้ ดังพรรณนามานี้.

ก็ในอารมณ์นี้ซึ่งแตกต่างกันอย่างนี้ อารมณ์อันเป็นกามาวจรกุศล

เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านี้ คือ กามาวจรกุศล รูปาวจร-

กุศล อกุศล กามาวจรวิบาก กามาวจรกิริยา รูปาวจรกิริยา. อารมณ์

อันเป็นรูปาวจรกุศล เป็นอารัมมณปัจจัย แก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านั้น

เพียง ๕ หมวด คือ เว้นกามาวจรวิบาก อารมณ์ที่เป็นโลกุตตระ เป็น

อารัมมณปัจจัยเฉพาะแก่กุศลและกิริยาเท่านั้น โดยที่กุศล และกิริยานั้น

เป็นกามาวจร และรูปาวจร. อารมณ์ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ธรรม

๖ หมวด เหล่านี้ คือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อกุศล กามาวจรวิบาก

กามาวจรกิริยา และรูปาวจรกิริยา. อารมณ์ที่เป็นกามาวจรวิบาก เป็น

อารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านั้นคือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล

อกุศล กามาวจรวิบาก กามาวจรกิริยา รูปาวจรกิริยา อารมณ์ที่เป็น

รูปาวจรวิบาก เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๕ หมวดเหล่านี้คือ กามา-

วจรกุศล รูปาวจรกุศล อกุศล กามาวจรกิริยา และรูปาวจรกิริยา.

แม้อารมณ์ที่เป็นอรูปาวจรวิบาก ก็เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๕ หมวด

เหล่านี้เหมือนกัน. อารมณ์ที่เป็นโลกุตตรวิบาก เป็นอารัมมณปัจจัย

เฉพาะแก่กุศล และกิริยาเท่านั้น โดยกุศลและกิริยานั้นเป็นกามาวจร

และรูปาวจร. อารมณ์ที่เป็นกามาวจรกิริยา เป็นอารัมมณปัจจัยแก่

ธรรม ๖ หมวดเหล่านี้คือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อกุศล กามา-

วจรวิบาก กามาวจรกิริยา และรูปาวจรกิริยา. บรรดาธรรม ๖ หมวด

เหล่านี้ อารมณ์ที่เป็นรูปาวจรกิริยา เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๕

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

หมวด เว้นกามาวจรวิบาก. อารมณ์ที่เป็นอรูปาวจรกิริยา เป็นอารัมมณ-

ปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านี้ คือ ๕ หมวดเหล่านั้น และอรูปาวจร-

กิริยา. อารมณ์คือรูป กล่าวคือรูปขันธ์ที่มีสมุฏฐาน ๔ เป็นอารัมมณ-

ปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านั้นคือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อกุศล

กามาวจรวิบาก กามาวจรกิริยา และรูปาวจรกิริยา. อารมณ์คือนิพพาน

เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านี้คือ กามาวจรกุศล รูปาวจร-

กุศล โลกุตตรกุศล โลกุตตรวิบาก กามาวจรกิริยา และรูปาวจรกิริยา.

อาจารย์บางพวกไม่เอารูปาวจรกุศล และรูปาวจรกิริยา คำนั้น ผู้ศึกษา

พึงพิจารณาโดยที่ถูกที่ควร. ส่วนอารมณ์ที่เป็นบัญญัติซึ่งมีประการต่าง ๆ

เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๙ หมวดเหล่านี้คือ กุศลที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๓

อกุศล รูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก และกิริยาที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๓.

บรรดาอารมณ์เหล่านั้น อารมณ์ใด ๆ เป็นปัจจัยแก่ธรรมใด ๆ ธรรม

นั้น ๆ ชื่อว่าเป็นปัจจยุบบันแห่งอารมณ์นั้น ๆ. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย

โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอารัมมณปัจจัย ดังพรรณนามานี้ แล.

วรรณนานิทเทสแห่งอารัมมณปัจจัย จบ

[๔] อธิปติปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอธิบดี

กล่าวคือ

๑. อธิบดี คือ ฉันทะ เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบ

กับฉันทะ และแก่รูปทั้งหลายที่มีฉันทะ และธรรมที่ประกอบกับฉันทะ

นั้น เป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

๒. อธิบดี คือ วิริยะ เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบ

กับวิริยะ และแก่รูปทั้งหลายที่มีวิริยะ และธรรมที่ประกอบกับวิริยะ

นั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

๓. อธิบดี คือ จิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับ

จิต และแก่รูปทั้งหลายที่มีจิต และธรรมที่ประกอบกับจิตนั้นเป็น

สมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

๔. อธิบดี คือ วิมังสา เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับ

วิมังสา และแก่รูปทั้งหลายที่มีวิมังสา และธรรมที่ประกอบกับวิมังสา

นั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

๕. ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ๆ เกิดขึ้นเพราะกระทำกรรมใด ๆ

ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ๆ เป็นปัจจัย

แก่ธรรมนั้น ๆ ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งอธิปติปัจจัย

พึงทราบวินิจฉัยในอธิปติปัจจัยนิทเทสต่อไป. บทว่า ฉนฺทาธิปติ

ได้แก่ อธิบดี คือฉันทะ. คำว่า ฉันทาธิปตินั้น เป็นชื่อแห่งกัตตุกัมยตา-

ฉันทะ. (ฉันทะคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ) ที่เกิดขึ้นในเวลาจิตทำฉันทะ

ให้หนัก ให้เป็นให้เกิดขึ้น. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

ถามว่า เพราะเหตุไรในนิทเทสแห่งอธิปติปัจจัยนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า อธิบดีเป็นปัจจัยแก่กรรมที่สัมปยุตด้วยอธิบดี เหมือน

ในนิทเทสแห่งเหตุปัจจัย ซึ่งตรัสไว้ว่า เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

ด้วยเหตุ (แต่) ทรงแสดงเทศนาโดยนัยเป็นต้นว่า ฉันทาธิปติเป็นปัจจัย

แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยฉันทะ. ตอบว่า เพราะอธิบดีไม่มีในขณะเดียวกัน

จริงอยู่ ในนัยก่อน เหตุสองหรือสาม เป็นเหตุปัจจัยในขณะเดียวกันได้

เพราะไม่ละภาวะที่อุปการะ โดยอรรถว่า เป็นมูลราก. แต่อธิบดีเป็น

อุปการะ. โดยอรรถว่า เป็นใหญ่ และธรรมเป็นอันมากจะชื่อว่าเป็นใหญ่

ในขณะเดียวกันหาได้ไม่ เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น แม้เกิดขึ้นคราว

เดียวกัน จะเป็นอธิปติปัจจัยในขณะเดียวกันย่อมไม่ได้ เพราะภาวะที่

อธิปติปัจจัยไม่มีในขณะเดียวกันนั้น. ในนิทเทสแห่งอธิปติปัจจัยนี้พระผู้-

มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงเทศนาดังที่กล่าวมาแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสหชาตธิปติอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เพื่อจะทรงแสดงอารัมมณาธิปติ จึงทรงเริ่มคำว่า ย ย ธมฺม ครุ กตฺวา

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ย ย ธมฺม คือ ซึ่งธรรมที่เป็น

อารมณ์ใด ๆ. สองบทว่า ครุ กตฺวา ได้แก่ ทำให้หนัก คือให้หนักแน่น

ให้เป็นธรรมชาติที่ควรได้ ไม่ควรทอดทิ้ง ไม่ควรดูหมิ่น ด้วยอำนาจการ

เคารพและยำเกรง หรือด้วยอำนาจการพอใจ. คำว่า เต เต ธมฺมา คือ

ธรรมที่ควรทำให้หนักนั้น ๆ. คำว่า เตส เตส คือธรรมที่ทำให้หนัก

เหล่านั้นๆ. ทว่า อธิปติปจฺจเยน คือ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจอารัมมณาธิ-

ปติปัจจัย. พรรณนาบาลีในอธิการนี้เพียงเท่านี้.

ก็ชื่อว่า อธิบดีนี้ มี ๒ อย่าง คือ สหชาตธิปติ และอารัมมณา-

แห่งฉันทะเป็นต้น. ใน ๔ อย่างนั้น และอธิบดีเมื่อว่าโดยภูมิมีอย่างละ ๔

คือเป็นกามาวจรเป็นต้น. บรรดาอธิบดีที่เป็นกามาวจรเป็นต้นนั้น อธิบดี

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

ที่เป็นกามาวจรมี ๓ อย่าง คือ กุศล อกุศล และกิริยา แต่ครั้นถึงอกุศล

ย่อมไม่ได้วิมังสาธิปติ. อธิบดีที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร มีอย่างละสอง

คือ เป็นกุศลและกิริยา. อธิบดีที่เป็นโลกุตตระมี ๒ อย่าง คือ เป็นกุศล

และวิบาก แต่เมื่อว่าโดยชาติ อารัมมณาอธิปติมี ๖ อย่าง คือ กุศล อกุศล

วิบาก กิริยา รูป และนิพพาน. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนก

โดยประการต่าง ๆ ในอธิการนี้ ดังพรรณนามานี้.

ก็ในสหชาตาธิปตินี้ซึ่งแตกต่างกัน ดังพรรณนามาแล้วนี้ อธิบดี

กล่าวคือ กามาวจรกุศลและกิริยา ก่อน เป็นอธิปติปัจจัยแก่ธรรมที่

สัมปยุตกับตน และรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน ในเวลาที่สหชาตธรรมทำ

อธิบดีอื่นมีฉันทะเป็นต้น ให้เป็นใหญ่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่ประกอบด้วย

เหตุ ๒ และเหตุ ๓. แม้ในอธิบดี กล่าวคือ รูปาวจรกุศลและกิริยา

ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในอธิการนี้ ได้เฉพาะอธิบดีที่เป็นรูปาวจรกุศลและ

กิริยาเท่านั้น เพราะว่าธรรมเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นโดยไม่พรากจากสหชาตา-

ธิปติ. ส่วนอธิบดี กล่าวคือ อรูปาวจรกุศลและกิริยา เหมือนกับอธิบดี

ที่เป็นรูปาวจรในปัญจโวการภพ. แต่ในจตุโวการภพ ย่อมเป็นอธิปติ-

ปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น. อธิบดีที่เป็นกามาวจรทั้งหมด ที่เกิดขึ้น

ในจตุโวการภพนั้นก็เหมือนกัน. อธิบดีที่เป็นโลกุตตระทั้งฝ่ายกุศลและ

วิบาก ย่อมเป็นอธิปติปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน

อย่างเดียว ในปัญจโวการภพ. ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูป

ธรรมเท่านั้น.

อกุศลเป็นอธิปติปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตโดยแน่นอน ในมิจฉัตต-

นิยตจิต และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในกามภพ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

อกุศลที่เป็นอนิยตธรรม (ให้ผลไม่แน่นอนในลำดับจุติจิต) เป็น

อธิปติปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเหล่านั้น ใน

เวลาที่ตนเป็นอธิบดี ในกามภพ และรูปภพ. เป็นอธิปติปัจจัยเฉพาะ

แก่อรูปธรรมเท่านั้น ในอรูปภพ. นี้เป็นนัยในสหชาตาธิปติปัจจัยก่อน.

ส่วนในอารัมมณาธิปติปัจจัย มีอธิบายดังต่อไปนี้

กามาวจรกุศล เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแก่ธรรมสองหมวดเหล่านี้

คือ กามาวจรกุศล และอกุศลที่สหรคตด้วยโลภะ. นัยในอารัมมณาธิปติ-

ปัจจัยที่เป็นกุศล แม้ในรูปาวจร และอรูปาวจร ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ส่วนอารัมมณาธิปติที่เป็นโลกุตตรกุศล เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย

แก่กุศลญาณสัมปยุต และกิริยาญาณสัมปยุต ที่เป็นกามาวจร.

ก็ชื่อว่า อารัมมณาธิปติที่เป็นอกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

ว่า จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ จิตตุปบาทนั้น เป็นอารัมมณาธิปติ

ปัจจัยเฉพาะแก่อกุศลที่สหรคตด้วยโลภะเท่านั้น.

ฝ่ายอารัมมณาธิปติฝ่ายวิบากที่เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปา-

วจร เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยเฉพาะแก่อกุศลที่สหรคตด้วยโลภะเท่านั้น.

อารัมมณาธิปติที่เป็นโลกุตตรวิบาก เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแก่

มหากุศลญาณสัมปยุต และมหากิริยาญาณสัมปยุตเท่านั้น.

ก็เมื่อว่าโดยประเภทที่เป็นกามาวจร เป็นต้น อารัมมณาธิปติที่

เป็นกิริยาทั้ง ๓ เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแก่อกุศลที่สหรคตด้วยโลภะ

เท่านั้น. อารัมมณาธิปติที่เป็นรูปขันธ์ กล่าวคือรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔

เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแก่ กุศลที่สหรคตด้วยโลภะเท่านั้น. นิพพานเป็น

อารัมมณาธิปติปัจจัยแก่ธรรม ๔ หมวดเหล่านั้นคือ มหากุศลญาณสัมปยุต

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

มหากิริยาสัมปยุต อันเป็นกามาวจร โลกุตตรกุศล และโลกุตตร-

วิบาก. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย โดยปัจจยุบบันในอารัมณาธิปติปัจจัยนี้

อย่างนี้แล.

วรรณนานิทเทสแห่งอธิปติปัจจัย จบ

[๕] อนันตรปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกัน

ไม่มีระหว่างคั่น กล่าวคือ

๑. จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุ-

วิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่

ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๒. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุ เป็น

ปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโน-

ธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๓. โสตวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับโสต-

วิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่

ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๔. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น

เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับ

มโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๕. ฆานวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกับฆาน-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

วิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบ

กับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

๖. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น

เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโน-

วิญญาณธาตุนั่น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

๗. ชิวหาวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหา

วิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่

ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๘. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น

เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโน-

วิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๙. กายวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับกาย

วิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่

ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๑๐. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น

เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับ

มโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๑๑. กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม

ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๑๒. กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากต.

ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

๑๓. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม

ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๑๔. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากต-

ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๑๕. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยา-

กตธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๑๖. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศล-

ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๑๗. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศล

ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๑๘. ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ๆ เกิดขึ้นในลำดับแห่งธรรมทั้ง-

หลายเหล่าใด ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่ธรรม

ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งอนันตรปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อนันตรปัจจัยนิทเทส ต่อไป. บทว่า

มโนธาตุยา คือ แก่วิบากมโนธาตุ. บทว่า มโนวิญญาณธาตุยา คือ แก่

อเหตุวิบากมโนวิญญาณธาตุ ที่ทำหน้าที่สันตีรณกิจ คือพิจารณาอารมณ์.

ก็ต่อจากนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงมโนวิญญาณธาตุ ที่ทำหน้าที่

โวฏฐัพพนะ ชวนะ ตทารัมมณะ และภวังค์ พระองค์จึงทรงย่อเทศนา

โดยแสดงนัยไว้ว่า ธาตุเหล่านั้น แม้จะไม่ได้ตรัสไว้ก็จริง แต่ผู้ศึกษา

พึงทราบได้โดยนัยนี้. แก่ธาตุเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อเข้า

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

ในนัยที่ ๖ มีอาทิว่า ปุริมา ปุริมา กุสลา ธมฺมา ผู้ศึกษาพึงทราบว่า

พระองค์ไม่ตรัสในอธิการนี้อีก.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ปุริมา ปุริมา ผู้ศึกษาพึงทราบ-

ธรรม คือกุศลชวนะที่ดับไปโดยไม่มีระหว่างคั่น ในทวารทั้ง ๖.

สองบทว่า ปจฺฉิมาน ปจฺฉิมาน ได้แก่ ธรรมคือกุศลชวนะ ที่เกิด

ขึ้นติดต่อกันไปนั่นเอง.

บทว่า กุสลาน ได้แก่ กุศลจิตชนิดเดียวกัน.

ส่วนบทว่า อพฺยากตาน นี้ ได้แก่ อัพยากตะ อันเป็นอนันตร-

ปัจจัยแก่กุศลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจของตทาลัมพนะ

ภวังค์ และผลสมาบัติที่เกิดขึ้นลำดับแห่งกุศล. บทว่า อพฺยากตาน ใน

อกุศลมูลกะ ได้แก่ อัพยากตะ อันเป็นตทาลัมพนะ และภวังค์เท่านั้น.

บทว่า อพฺยากตาน ในอัพยากตมูลกะ ได้แก่อัพยากตะ อันเป็นกิริยา

และวิบาก อันเป็นไปด้วยอำนาจแห่งอาวัชชนะ และชวนะ หรือว่าด้วย

อำนาจแห่งภวังค์. นัยนี้ย่อมใช้ได้แม้ในวิถีจิตที่เป็นไปตั้งแต่กิริยามโน-

ธาตุ ที่ทำหน้าที่โวฏฐัพพนะ จนถึงมโนวิญญาณธาตุทีเดียว.

บทว่า กุสลาน ได้แก่ กุศลชวนะดวงที่หนึ่ง ที่เกิดต่อจากโวฏ-

ฐัพพนะจิตในปัญจทวาร และที่เกิดต่อจากอาวัชชนจิตในมโนทวาร. แม้

ในบทว่า อกุสลาน ก็นัยนี้ เหมือนกัน.

บทว่า เยส เยส น เป็นเครื่องกำหนดโดยย่อ ซึ่งธรรมที่เป็น

อนันตรปัจจัยทั้งหมด. พรรณนาบาลีในนิทเทสแห่งอนันตรปัจจัยนี้เท่านี้

ก่อน.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

ก็ชื่อว่าอนันตรปัจจัยนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ได้แก่ หมวดแห่ง

อรูปธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ เว้นนิพพาน. อนันตรปัจจัยนั้นจำแนกด้วย

สามารถแห่งชาติได้ ๔ ชาติ คือเป็นกุศล อกุศล วิบากและกิริยา. ใน

๔ ชาตินั้น อนันตรปัจจัยที่เป็นกุศลมี ๔ อย่าง คือเป็นประเภทแห่ง

กามาวจรเป็นต้น. อกุศลเป็นกามาวจรอย่างเดียว. วิบากเป็นไปในภูมิ

ทั้ง ๔. ส่วนอนันตรปัจจัยที่เป็นกิริยาเป็นไปในภูมิ ๓. ผู้ศึกษาพึงทราบ

วินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการต่าง ๆ ในอนันตรปัจจัยนี้ ดังพรรณนา

มาแล้ว.

ก็ในอนันตรปัจจัย ซึ่งจำแนกได้ดังแสดงมาแล้ว กามาวจรกุศล

เป็นอนันตรปัจจัยแก่กามาวจรกุศล ที่เหมือนกันกับตนเท่านั้น ส่วน

กามาวจรกุศลที่เป็นญาณสัมปยุต เป็นอนันตรปัจจัย แก่ธรรมสามหมวด

เหล่านี้ คือรูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล และโลกุตตรกุศล.

กามาวจรกุศล เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม ๔ หมวดเหล่านี้คือ

กามาวจรวิบาก รูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก และโลกุตตรวิบาก.

รูปาวจรกุศล เป็นอนันตรปัจจัย แก่ธรรม ๓ หมวดเหล่านี้ คือ

รูปาวจรกุศล กามาวจรวิบากญาณสัมปยุต และรูปาวจรวิบาก.

อรูปาวจรกุศล เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม ๔ หมวดเหล่านี้ โดย

ไม่แปลกกัน คือวิบากทั้งสองเหล่านั้น และกุศลและวิบากของตน. ก็ใน

อธิการนี้ เมื่อว่าโดยพิเศษ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล เป็นอนันตร-

ปัจจัยแก่โลกุตตรวิบาก กล่าวคืออนาคามิผล.

โลกุตตรกุศล เป็นอนันตรปัจจัยเฉพาะแก่โลกุตตรวิบากเท่านั้น.

๑. คือ กามวิบาก รูปวิบาก. ๒. อรูปกุศล อรูปวิบาก.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

อกุศล เป็นอนันตรปัจจัยแก่อกุศล กุศลวิบาก และอกุศลวิบาก

โดยไม่แปลกกัน. ก็เมื่อว่าโดยแปลกกันในอธิการนี้ อกุศลที่สัมปยุตด้วย

สุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม ๔ หมวดเหล่านี้

คือกุศลวิบาก อกุศลวิบาก และรูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก

กามาวจรวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่กามาวจรวิบาก. วิบากญาณ-

สัมปยุต หรือญาณวิปปยุต เป็นอนันตรปัจัยแก่กามาวจรกิริยาอาวัชชนจิต.

อนึ่งในอนันตรปัจจัยนี้ มหาวิบากญาณสัมปยุต เป็นอนันตร-

ปัจจัยแก่ธรรม หมวดเหล่านี้ คือ กามาวจรวิบาก อาวัชชนจิต

และรูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบากที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจปฏิสนธิ.

รูปาวจรวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม ๔ หมวดเหล่านี้ คือ

ติเหตุกกามาวจรวิบาก รูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก และกามาวจรกิริยา

อาวัชชนจิต.

อรูปาวจรวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม ๓ หมวดเหล่านั้น คือ

ติเหตุกกามาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก และกิริยาอาวัชชนจิตที่เป็น

กามาวจร.

โลกุตรวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม ๔ หมวดเหล่านี้ คือ

ติเหตุกกามาวจรวิบาก รูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก และโลกุตตร

วิบาก.

กามาวจรกิริยา เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม ๙ หมวดเหล่านั้น คือ

กามาวจรกุศล อกุศล วิบากจิตทั้ง ๔ ภูมิ และกิริยาจิตทั้ง ๓ ภูมิ.

รูปาวจรกิริยา เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม ๓ หมวดเหล่านี้ คือ

ติเหตุกกามาวจรวิบาก รูปาวจรวิบาก และรูปาวจรกิริยา.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

อรูปาวจรกิริยา เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม ๕ หมวดเหล่านั้น คือ

ติเหตุกกามาวจรวิบาก รูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก โลกุตตรวิบาก

และอรูปาวจรกิริยา. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบัน

ในอนันตรปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.

วรรณนานิทเทสแห่งอนันตรปัจจัย จบ

[๖] สมนันตรปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อ

กันไม่มีระหว่างคั่นด้วย กล่าวคือ

๑. จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุ-

วิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบ

กับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๒. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น

เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโน-

วิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๓. โสตวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับโสต-

วิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบ

กับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๔. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น

เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโน-

วิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

๕. ฆานวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับฆาน-

วิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบ

กับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๖. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น

เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโน-

วิญญาณธาตุนั่น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๗. ชิวหาวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหา-

วิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบ

กับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.

๘. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น

เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับ

มโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๙. กายวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับกาย-

วิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบ

กับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๑๐. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น

เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโน-

วิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๑๑. กุศลธรรมทั้งหลายี่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม

ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๑๒. กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากต-

ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

๑๓. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม

ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๑๔. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากต-

ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๑๕. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยา-

กตธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๑๖. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศล-

ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๑๗. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศล-

ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๑๘. ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ๆ คือ จิตและเจตสิก เกิด

ขึ้นในลำดับแห่งธรรมทั้งหลายเหล่าใด ๆ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ๆ

เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ด้วยอำนาจของสมนันตร-

ปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งสมนันตรปัจจัย

นิทเทสแห่งสมนันตรปัจจัย เหมือนกับอนันตรปัจจัยนี้เอง. ก็

ปัจจัยทั้งสองนี้กว้างขวางมาก เพราะฉะนั้น พึงกำหนดถือเอาความพิสดาร

แห่งปัจจัยทั้งสองนั้น ด้วยอำนาจการเกิดขึ้นของจิตทั้งหมด.

วรรณนานิทเทสแห่งสมนันตรปัจจัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

[๗] สหชาตปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดพร้อม

กัน กล่าวคือ

๑. นามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของ

สหชาตปัจจัย

๒. มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของ

สหชาตปัจจัย

๓. ในปฏิสนธิขณะ นามและรูปเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วย

อำนาจของสหชาต ปัจจัย

๔. จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลายที่มี

จิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

๕. มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจ

ของสหชาตปัจจัย

๖. รูปธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมทั้งหลายในกาล

บางครั้ง ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

๗. รูปธรรมทั้งหลาย ไม่เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมทั้งหลายใน

กาลบางครั้ง ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งสหชาตปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน สหชาตปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

บทว่า อญฺมญฺ แปลว่า ซึ่งกันและกัน. ด้วยบทนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นปัจจัยและปัจจยุบบัน

ในขณะเดียวกัน. บทว่า โอกฺกนฺติกฺขเณ คือ ในขณะปฏิสนธิในปัญจ-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

โวการภพ. จริงอยู่ ในขณะนั้นนามและรูปเกิดขึ้นเหมือนก้าวลง คือเหมือน

แล่นไป ได้แก่ เหมือนมาจากโลกอื่นแล้วเข้ามาสู่โลกนี้ เพราะฉะนั้น

ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสเรียกว่า โอกกันติกขณะ (ขณะก้าวลง).

ก็ในอธิการนี้ คำว่า รูป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาหทัยวัตถุ

เท่านั้น. จริงอยู่ หทัยวัตถุนั้น ย่อมอำนวยประโยชน์เพื่อเป็นสหชาต

ปัจจัยซึ่งกันและกันแก่นาม และนามก็อำนวยประโยชน์เพื่อเป็นสหชาต

ปัจจัยซึ่งกันและกันแก่หทัยวัตถุนั้น. บทว่า จิตฺตเจตสิกา คือ ขันธ์ ๔

ในปวัตติกาล. ในบทว่า สหชาตปจฺจเยน นี้ รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน

ย่อมไม่อำนวยประโยชน์เพื่อเป็นปัจจัยแก่จิตและเจตสิก เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า อญฺมญฺ. อุปาทายรูป ก็ไม่อำนวย

ประโยชน์เพื่อเป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูปเหมือนกัน. คำว่า รูปธรรมเป็น

ปัจจัยแก่อรูปธรรม คือหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่นามขันธ์ ๔. สองบทว่า

กิญฺจิ กาเล คือ ในกาลบางคราว. บทว่า สหชาตปจฺจเยน ตรัสหมายถึง

ปฏิสนธิกาล. บทว่า น สหชาตปจฺจเยน ตรัสหมายถึงปวัตติกาล.

ก็สหชาตปัจจัยนี้ตั้งไว้ด้วยส่วน ๖ ส่วนดังนี้คือ นามขันธ์ ๔ เป็น

ปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัยเป็นต้น. ใน ๖ ส่วนนั้น

๓ ส่วนตรัสด้วยอำนาจการเป็นสหชาตปัจจัยซึ่งกันและกัน อีก ๓ ส่วน

ไม่ได้ตรัสด้วยอำนาจการเป็นสหชาตปัจจัยซึ่งกันและกัน.

บรรดาสหชาตปัจจัย ๖ ส่วนนั้น อรูปธรรมเท่านั้น เป็นทั้งปัจจัย

และปัจจยุบบันในส่วนที่ ๑.

เฉพาะรูปธรรมอย่างเดียว เป็นทั้งปัจจัยและปัจจยุบบันในส่วน

ที่ ๒.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

นามและรูปเป็นปัจจัยและปัจจยุบบันในส่วนที่ ๓.

อรูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันในส่วนที่ ๔.

รูปเท่านั้นเป็นทั้งปัจจัยและปัจจยุบบันในส่วนที่ ๕.

รูปเป็นปัจจัย อรูปเป็นปัจจยุบบันในส่วนที่ ๖.

พรรณนาบาลีในสหชาตปัจจัยนิทเทสเท่านี้ก่อน.

ก็สหชาตปัจจัยนี้ จำแนกโดยชาติได้ ๕ ชาติ คือกุศลชาติ อกุศล-

ชาติ วิบากชาติ กิริยาชาติ และรูปชาติ. ในชาติทั้ง ๕ นั้น กุศล

จัตตามภูมิได้ ๔ ภูมิ อกุศลได้ภูมิเดียว วิบากได้ ๘ ภูมิ กิริยาได้ ๓ ภูมิ

รูปได้กามาวจรภูมิภูมิเดียวเท่านั้น ฉะนั้น พึงทราบวินิจฉัยในสหชาต-

ปัจจัยนี้ โดยการจำแนกเป็นประการต่าง ๆ เพียงเท่านี้.

ก็ในสหชาตปัจจัยที่จำแนกแล้วนี้ อย่างนี้ กุศลแม้เป็นไปได้ ภูมิ

เป็นสหชาตปัจจัย แก่ธรรมอันสัมปยุตกับตนนั่นเทียว และแก่รูปอันมีจิต

เป็นสมุฏฐาน. อกุศลก็เช่นเดียวกัน. ก็ในสหชาตปัจจัยนี้ จิตใดเกิดใน

อรูปภูมิ จิตนั้นเป็นสหชาตปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้น. กามาวจรวิบาก

รูปาวจรวิบาก เป็นสหชาตปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานนั้นเทียว และ

แก่ธรรมที่สัมปยุต. ก็ในสหชาตปัจจัยนี้ จิตใดให้รูปเกิดไม่ได้ จิตนั้น

เป็นสหชาตปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น. จิตใดเกิดขึ้นในปฏิสนธิกาล

จิตนั้นเป็นสหชาตปัจจัยแก่กัมมชรูปด้วย. อรูปวิบาก เป็นสหชาตปัจจัย

แก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น.

โลกุตตรวิบาก เป็นสหชาตปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิต

เป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ. เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้น ในจตุ-

โวการภพ. กามาวจรกิริยา และ อรูปาวจรกิริยา เป็นสหชาตปัจจัยแก่

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ. ในจตุ-

โวการภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปธรรมเท่านั้น. รูปาวจรกิริยา เป็น

สหชาตปัจจัยโดยส่วนเดียว แก่ธรรมที่สัมปยุตและรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.

สำหรับรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ในรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน มหาภูต

รูป ๑ เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย แก่มหาภูตรูป ๓ มหาภูตรูป ๓

เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัยแก่มหาภูตรูปหนึ่ง มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัย

โดยสหชาตปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทานรูป

ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย. ในขณะปฏิสนธิของกามาวจรและรูปาวจร

วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย. ส่วนใน

บรรดารูปที่มีอุตุ จิต และอาหารเป็นสมุฏฐาน มหาภูตรูปเป็นปัจจัยซึ่งกัน

และกัน และแก่อุปาทายรูปด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบ

วินิจฉัย แม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในสหชาตปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.

วรรณนาแห่งสหชาตปัจจัยนิทเทส จบ

[๘] อัญญมัญญปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยตามอาศัย

กันและกัน กล่าวคือ

๑. นามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย

๒. มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย

๓. ในปฏิสนธิขณะ นามรูปเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของ

อัญญมัญญปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

วรรณนานิทเทสแห่งอัญญมัญญปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อัญญมัญญปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

บาลีมาแล้วด้วยอำนาจส่วนสามข้างต้น แห่งสหชาตปัจจัยนิทเทส

การพรรณนาบาลีนั้น เหมือนกับที่กล่าวแล้วในสหชาตปัจจัยนิทเทส

นั้นเอง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ถือเอาอีก.

ก็อัญญมัญญปัจจัยนี้ ว่าด้วยอำนาจแห่งชาติ จำแนกออกได้ ๕ ชาติ

คือ กุศล อกุศล วิบาก กิริยา และรูป. ใน ๕ ชาตินั้น กุศลว่าโดย

ภูมิมี ๔ อย่าง. อธิบายทั้งหมดเหมือนกับสหชาตปัจจัยหนหลัง. ผู้ศึกษา

พึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการต่าง ๆ ในอัญญมัญญปัจจัย

นิทเทสนี้ ดังพรรณนามาแล้ว.

ก็ในอัญญมัญญปัจจัยนี้ ที่จำแนกแล้วอย่างนี้ กุศลที่เป็นไปในภูมิ ๔

ทั้งหมด เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน ด้วยอำนาจของอัญญมัญญ-

ปัจจัย. อกุศลก็เหมือนกัน. ส่วนในวิบาก กามาวจรวิบาก และ รูปา-

วจรวิบาก เป็นอัญญมัญญปัจจัยแก่วัตถุรูปในปฏิสนธิกาล เป็นอัญญมัญญ-

ปัจจัยแก่สัมปยุตธรรมในปวัตติกาล. อรูปาวจรวิบาก และ โลกุตตรวิบาก

เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตนเท่านั้น ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย.

กิริยาจิตแม้ทั้งหมดเป็นอัญญมัญญปัจจัย เฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น

สำหรับรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ในรูปที่เกิดจากกรรม มหาภูตรูป ๑

เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มหาภูตรูป ๓

เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย. มหาภูตรูป ๒

เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย. ในขณะ

ปฏิสนธิของกามาวจร และรูปาวจร วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ ด้วย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

อำนาจของอัญญมัญญปัจจัย. ในบรรดารูปที่มีอุตุ จิต และอาหารเป็น

สมุฏฐาน เฉพาะมหาภูตรูปเท่านั้นเป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ด้วยอำนาจ

ของอัญญมัญญปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย แม้โดยธรรมที่เป็น

ปัจจยุบบันในอัญญมัญญปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.

วรรณนานิทเทสแห่งอัญญมัญญปัจจัย จบ

[๙] นิสสยปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยกล่าวคือ

๑. ในนามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของ

นิสสยปัจจัย

๒. มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของ

นิสสยปัจจัย

๓. ในปฏิสนธิขณะ นามรูปเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วย

อำนาจของนิสสยปัจจัย

๔. จิตและเจตสิกพรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลายที่มี

จิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

๕. มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจ

ของนิสสยปัจจัย

๖. จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสย-

ปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

๗. โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่กรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

๘. ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสย-

ปัจจัย

๙. ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสย-

ปัจจัย

๑๐. กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่กรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

๑๑. มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป รูป

นั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ แก่มโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลาย

ที่ประกอบกับมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสย-

ปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งนิสสยปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน นิสสยปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงนัยแห่งสหชาตนิสสยปัจจัยด้วย

อำนาจแห่งส่วนที่ ๕ ข้างต้น แห่งสหชาตปัจจัยนิทเทสแล้ว เพื่อจะทรง

แสดงนัยแห่งปุเรชาตนิสสยปัจจัย ด้วยส่วนที่ ๖ อีก จึงทรงเริ่มคำว่า จกฺขา-

ยตน จกฺขุวิญฺาณธาตุยา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ย รูป

นิสฺสาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง วัตถุรูป. จริงอยู่ จิต ๗๕

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

เหล่านั้น คือมโนธาตุ ๓ มโนวิญญาณธาตุ ๗๒ เว้นอรูปวิบาก อาศัย

หทัยวัตถุนั้นเป็นไป. พรรณนาบาลีในอธิการนี้เพียงเท่านี้.

นิสสยปัจจัยว่าด้วยอำนาจชาติ จำแนกออกเป็น ๕ ชาติ โดยเป็นกุศล

เป็นต้น. ใน ๕ อย่างนั้น กุศลว่าโดยภูมิมี ๔ ภูมิ อกุศลมีภูมิเดียว

เท่านั้น วิบากมี ๔ ภูมิ กิริยามี ๓ ภูมิ รูปมีภูมิเดียวเท่านั้น. ผู้ศึกษา

พึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการต่าง ๆ ในนิสสยปัจจัยนี้ ดัง

พรรณนามานี้.

ในนิสสยปัจจัยซึ่งจำแนกแล้วอย่างนี้ กุศลที่เป็นไปในภูมิ ๔ เป็น

ปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ ด้วย

อำนาจของนิสสยปัจจัย. อกุศลก็เหมือนกัน. ในนิสสยปัจจัยนี้ จิตใดเกิด

ขึ้นในอรูปภพ จิตนั้นเป็นนิสสยปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้น.

กามาวจรวิบาก และ รูปาจรวิบาก เป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่

สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปวัตติกาล เป็นนิสสยปัจจัยแก่

กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล. อรูปาวจรวิบาก เป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่

สัมปยุตเท่านั้น. โลกุตตรวิบาก เป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และ

รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ เป็นนิสสยปัจจัยแก่อรูปธรรม

เท่านั้นในจตุโวการภพ.

กามาวจรกิริยา และ อรูปาวจรกิริยา เป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่

สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ. เป็นปัจจัยแก่

อรูปธรรมเท่านั้นในจตุโวการภพ. รูปาวจรกิริยา เป็นนิสสยปัจจัย

โดยส่วนเดียว แก่ธรรมที่สัมปยุตและรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโว-

การภพ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

สำหรับรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ในรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน

มหาภูตรูป ๑ เป็นนิสสยปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ มหาภูตรูป ๓ เป็น

นิสสยปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ มหาภูตรูป ๒ เป็นนิสสยปัจจัยแก่มหาภูต

รูป ๒ มหาภูตรูปเป็นนิสสยปัจจัยแก่อุปาทารูป ในปัญจโวการภพ-

วัตถุรูปเป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรม ๔ หมวดเหล่านี้ คือแก่กุศลในภูมิทั้ง ๔

แก่อกุศล แก่วิบากในภูมิสามที่เหลือ เว้นอรูปวิบาก และทวิปัญจวิญญาณ-

จิต และแก่กิริยาในภูมิสาม.

อายตนะ ๕ มีจักขายตนะเป็นต้น เป็นนิสสยปัจจัยแก่วิญญาณ ๕

มีจักขุวิญญาณเป็นต้น พร้อมทั้งสัมปยุตตธรรม. ส่วนในบรรดารูปที่มีอุตุ

จิตและอาหารเป็นสมุฏฐาน มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป และ

เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบ

วินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในนิสสยปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.

วรรณนานิทเทสแห่งนิสสยปัจจัย จบ

[๑๐] อุปนิสสยปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่

อาศัยที่มีกำลังมาก กล่าวคือ

๑. กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม

ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๒. กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม

ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัยบางอย่าง

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

๓. กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากต-

ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๔. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม

ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๕. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม

ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัยบางอย่าง

๖. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากต-

ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๗. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยา-

กตธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๘. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศล-

ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๙. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศล

ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๑๐. แม้อุตุและโภชนะ ก็เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-

ปัจจัย

๑๑. แม้ บุคคล ก็เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๑๒. แม้ เสนาสนะ ก็เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งอุปนิสสยปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อุปนิสสยปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

คำว่า ปุริมา ปุรมา เกิดก่อน ๆ ความว่า ย่อมได้ธรรมที่ดับไป

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

โดยลำดับด้วยดี ในอนันตรูปนิสสยปัจจัย. ธรรมที่เกิดก่อนกว่า ย่อมได้

ด้วยอำนาจแห่งวิถีต่างกัน ในอารัมมณูปนิสสยปัจจัย และปกตูปนิสสย-

ปัจจัย. หมวดสามเหล่านั้น (คืออุปนิสสยะทั้งหลาย) ย่อมได้ในกุศลบท

กับกุศลบท. ส่วน ธรรมที่ดับไปในลำดับด้วยดี ย่อมไม่ได้ในอกุศลบท

กับกุศลบท. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กุศลเป็นปัจจัย

แก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัยบางอย่าง. จริงอยู่ คำนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงนัยนี้ว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศล

ธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย. คืออารัมมณูปนิสสยปัจจัย และ

ปกตูปนิสสยปัจจัย.

ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล

รักษาอุโบสถ ย่อมยินดี เพลิดเพลินอย่างแรงกล้า ครั้นยินดีเพลิดเพลิน

อย่างแรงกล้าแล้ว ความกำหนัดย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น, ย่อมยินดี

เพลิดเพลินซึ่งกรรมที่เคยประพฤติมาก่อน ครั้นยินดีเพลิดเพลินอย่าง

แรงกล้าแล้ว ความกำหนัดย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น, บุคคลออก

จากฌาน ย่อมยินดีเพลิดเพลินฌานนั้นอย่างหนัก ครั้นยินดีเพลิดเพลิน

อย่างหนัก ราคะย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น.

ที่เป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา ยัง

มานะให้เกิดขึ้น ยึดมั่นซึ่งทิฏฐิ, อาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ยังมานะ

ให้เกิดขึ้น ยึดมั่นซึ่งทิฏฐิ, ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัย

แก่ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และความปรารถนา ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย. ธรรมหมวดสามย่อมได้ในอัพยากตบทกับกุศลบท ใน

อกุศลบทกับอกุศลบทก็เหมือนกัน. แต่ธรรมที่ดับไปโดยไม่มีระหว่างคั่น

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

ด้วยดี ย่อมไม่ได้ในกุศลบทกับอกุศลบท. เพราะเหตุนั้นเอง พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมด้วยอำนาจของอุป-

นิสสยปัจจัยบางอย่าง. จริงอยู่ คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงเฉพาะ

ปกตูปนิสสยปัจจัยเท่านั้น อันมาแล้วในปัญหาวาระโดยนัยเป็นต้นว่า

อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ที่เป็น

ปกตูปนิสสยปัจจัย ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะย่อมให้ทาน สมาทานศีล

รักษาอุโบสถ ยังฌาน วิปัสสนา มรรค อภิญญา สมาบัติให้เกิดขึ้น.

เข้าไปอาศัยโทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนาย่อมให้ทาน

ฯ ล ฯ ย่อมให้สมาบัติเกิดขึ้น. ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความ

ปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ด้วยอำนาจของ

อุปนิสสยปัจจัย, บุคคลครั้นฆ่าสัตว์แล้วย่อมให้ทานเพื่อลบล้างกรรมนั้น.

แต่อกุศล ย่อมไม่เป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัยแก่กุศล. ถามว่า เพราะ

เหตุไร ? ตอบว่า เพราะความที่แห่งกุศลนั้น จะทำอกุศลนั้นให้มีกำลังแรง

กล้า แล้วให้เป็นไปย่อมไม่ได้ (กุศลจะทำอกุศลให้เป็นอธิบดีอารมณ์ไม่ได้).

ในอธิการนี้ผู้ศึกษาพึงทราบว่า อนันตรูปนิสสยปัจจัยย่อมไม่ได้เหมือน

แม้อารัมมณูปนิสสยปัจจัย. ในอัพยากตบทกับอกุศลบท ย่อมไม่ได้เฉพาะ

อารัมมณูปนิสสยปัจจัยเท่านั้น. เพราะว่าอัพยากตธรรมย่อมไม่ทำอกุศลให้

เป็นอารมณ์อย่างหนัก. ก็เพราะความเป็นอนันตรปัจจัยย่อมมีได้ ฉะนั้นใน

อธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า เกสญฺจิ. แต่อุปนิสสย-

ปัจจัยทั้งสาม ย่อมได้ในนัยสามคือในอัพยากตบทกับอัพยากตบท กุศลบท

กับอัพยากตบท อกุศลบทกับอัพยากตบท. สองบทนี้คือ ปุคฺคโลปิ

เสนาสนมฺปิ กล่าวคือ บุคคลก็ดี เสนาสนะก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

ด้วยอำนาจปกตูปนิสสยปัจจัย. จริงอยู่ บุคคลและเสนาสนะทั้งสองนี้เป็น

ปัจจัยที่มีกำลังแก่ความเป็นไปแห่งกุศลและอกุศล. ก็แล ความที่บุคคล

และเสนาสนะเป็นเป็นปัจจัยในอธิการนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจการ

เป็นปัจจัยโดยอ้อม ๆ. พรรณนาบาลีในอุปนิสสยปัจจัยนี้เท่านี้ก่อน.

ก็ชื่อว่า อุปนิสสยปัจจัย ได้แก่ ธรรมอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๔ ทั้ง

หมด พร้อมกับบัญญัติบางอย่าง. แต่เมื่อว่าโดยวิภาคมี ๓ อย่างด้วย

อำนาจแห่งอารัมมณูปนิสสยปัจจัยเป็นต้น. บรรดาอุปนิสสยปัจจัย ๓

อย่างนั้น อารัมมณูปนิสสยปัจจัย ไม่แตกต่างจากอารัมมณาธิปติปัจจัย

เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงถือเอาโดยการจำแนกโดยประการต่าง ๆ ตามนัย

ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง. อนันตรรูปนิสสยปัจจัย ไม่แตกต่างจาก

อนันตรปัจจัย แม้อนันตรูปนิสสยปัจจัยนั้น ผู้ศึกษาก็พึงถือเอาโดยการ

จำแนกโดยประการต่าง ๆ ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังเหมือน

กัน ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันแห่งปัจจัย

ทั้งสองนั้น ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในอธิปติปัจจัยและอนันตรปัจจัย

เหล่านั้น.

ก็เมื่อว่า ด้วยอำนาจแห่งชาติ ปกตูปนิสสยปัจจัยมี ๕ อย่าง โดย

จำแนกเป็นกุศล อกุศล วิบาก กิริยา และรูป. ก็แลปกตูปนิสสยปัจจัย

ที่จำแนกโดยอำนาจแห่งชาติ มีกุศลเป็นต้น ว่าโดยประเภทแห่งธรรม

ที่เกิดในภูมิต่าง ๆ แล้วมีมากมาย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนก

โดยประการต่าง ๆ ในอุปนิสสยปัจจัยนี้อย่างนี้ก่อน.

ก็ใน ปกตูปนิสสยปัจจัย ที่จำแนกได้ ดังข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วนี้

กุศลอันเป็นไปในภูมิสาม เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่ธรรม ๔ หมวดเหล่านี้

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

คือแก่กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบาก และกิริยา. โลกุตตรธรรมไม่เป็น

ปกตูปนิสสยปัจจัยแก่อกุศลธรรมย่างเดียว. แต่เป็นปัจจัยแก่อกุศลของ

คนอื่นได้โดยนัยเป็นต้นว่า โลกุตตรธรรม อันอาจารย์ของข้าพเจ้าให้เกิด

ขึ้นแล้ว หรือโดยนัยนี้ว่า โลกุตตรธรรมจักเกิดขึ้นแก่บุคคลใด เพราะยัง

ความริษยาให้เกิดขึ้นในวิโมกข์อันยอดเยี่ยมของบุคคลนั้น อกุศลธรรม

เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่ขันธ์อันเป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งหมด อนึ่ง วิบาก

อันเป็นไปในภูมิสามก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย แก่ขันธ์อันเป็นไปในภูมิ

เหมือนกัน. ในโลกุตตรวิบาก ผลเบื้องต่ำสามไม่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย

แก่อกุศลเท่านั้น. ผลเบื้องสูงคืออรหัตต ผลไม่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย แม้

แก่กุศล. ก็ตามนัยก่อนนั่นเอง โลกุตตธรรมอันเกิดแก่บุคคลใดบุคคล

หนึ่ง โลกุตตรวิบากทั้งหมดในสันดานของบุคคลนั้น เป็นปกตูปนิสสย-

ปัจจัยแก่อรูปขันธ์มีกุศลเป็นต้นทั้งหมด. ปกตูปนิสสยะ กล่าวคือกิริยาเป็น

ปัจจัยแก่ขันธ์มีอกุศลเป็นต้น อันเป็นไปในภูมิ ๔. ปกตูปนิสสยะคือรูป

ก็เหมือนกัน. แต่ รูป เองย่อมไม่ได้ความเป็นอุปนิสปัจจัย ตามนัยอัน

มาแล้วในมหาปกรณ์ ชื่อว่า ปัฏฐานนี้. จะกล่าวว่าได้โดยปริยายที่มาแล้ว

ในพระสูตรก็ควร. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบัน

ในอุปนิสสยปัจจัยนี้ ดังพรรณนามาแล้ว.

วรรณนานิทเทสแห่งอุปนิสสยปัจจัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

[๑๑] ปุเรชาตปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดก่อน

กล่าวคือ

๑. จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาต-

ปัจจัย

๒. โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาต-

ปัจจัย

๓. ฆานายตนะ ก็เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาต-

ปัจจัย

๔. ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาต-

ปัจจัย

๕. ฆายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาต-

ปัจจัย

๖. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาต-

ปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

๙. สัททายตนะ ก็เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาต-

ปัจจัย

๘. คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาต-

ปัจจัย

๙. รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั่น ด้วยอำนาจของปุเรชาต-

ปัจจัย

๑๐. โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่

ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเร-

ชาตปัจจัย

๑๑. รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏ-

ฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบ

กับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

๑๒. มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป รูป

นั้นเห็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุ

นั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย, เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ

และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจ

ของปุเรชาตปัจจัย ในกาลบางคราว ไม่เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจ

ของปุเรชาตปัจจัย ในกาลบางคราว.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

วรรณนานิทเทสแห่งปุเรชาตปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน ปุเรชาตปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

ชื่อว่า ปุเรชาตะ ในคำว่า ปุเรชาตปจฺจโย นี้ เป็นปัจจัยแก่

ธรรมใด ต้องเกิดก่อนกว่าธรรมนั้น คือล่วงเลยอุปาทขณะไปถึงฐิติ-

ขณะแล้ว.

คำว่า จกฺขฺวายตน เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจ

วัตถุปุเรชาตปัจจัย. คำว่า รูปายตน เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ด้วยอำนาจอารัมมณปุเรชาตปัจจัย. คำว่า กิญฺจิ กาล ปุเรชาตปจฺจเยน

(บางคราวเป็นปัจจัยด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย) พระองค์ตรัสหมายถึง

ปวัตติกาล. คำว่า กิญฺจิ กาล น ปุเรชาตปจฺจเยน (บางคราวก็ไม่เป็น

ปัจจัยด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย) ตรัสหมายเอาปฏิสนธิกาล. บาลีนี้มา

แล้วด้วยอำนาจวัตถุและอารมณ์ในปัญจทวารทั้งหมด ไม่ได้มาด้วยอำนาจ

วัตถุในมโนทวาร. แต่ในปัญหาวาระ ได้อารัมมณปุเรชาตปัจจัยแม้ใน

มโนทวารด้วย เพราะบาลีมาแล้วว่า พระเสกขะหรือปุถุชน ย่อมเห็น

แจ้งซึ่งจักษุอันเป็นอารมณ์ที่เกิดก่อน โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง

อนัตตา. ส่วนในที่นี้ ทรงแสดงเทศนาด้วยอำนาจธรรมที่มีส่วนเหลือ.

พรรณนาบาลีในปุเรชาตปัจจัยนิทเทสเพียงเท่านี้.

ก็ปุเรชาตปัจจัยนี้ มีแต่รูปล้วน ๆ. ก็แลรูปนั้น ได้แก่รูปรูป ๑๘

เท่านั้น (รูปที่แตกสลายเพราะปัจจัยที่เป็นข้าศึก มีเย็น ร้อน เป็นต้น )

ที่เลยอุปาทขณะแล้วถึงฐิติขณะ. รูปทั้งหมดมี ๒ อย่าง คือเป็นวัตถุ-

๑. รูปรูป หมายถึง นิปผันนรูป ๑๘.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

ปุเรชาตปัจจัย และอารัมมณปุเรชาตปัจจัย. ในสองอย่างนั้น รูปนี้คือ

จักขายตนะ ฯ ล ฯ กายายตนะ วัตถุรูป ชื่อว่า วัตถุปุเรชาตะ รูปที่

เหลือ ๑๒ ทั้งที่มาและไม่ได้มาในบาลี คือ สี เสียง กลิ่น รส ธาตุ ๔

อินทรีย์ ๓ (คือ ภาวรูป ๒ ชิวิตรูป ๑) กพฬีการาหาร ๑ ชื่อว่า

อารัมมณปุเรชาตะ. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการ

ต่าง ๆ ในปุเรชาตปัจจัยนี้ ดังพรรณนามาแล้ว

ก็ในปุเรชาตปัจจัยซึ่งจำแนกได้ดังที่ข้าพเจ้าแสดงมาแล้วนี้ จักขา-

ยตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

อายตนะ ๔ นอกจากนี้ก็เหมือนกัน คือเป็นปุเรชาตปัจจัยแก่โสตวิญญาณจิต

๒ ดวง เป็นต้น. วัตถุรูปเป็นปุเรชาตปัจจัยแก่จิตและเจตสิก ทั้งที่เป็น

กุศล อกุศล และอัพยากตะ อันเป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งหมดที่เหลือ เว้น

ทวิปัญจวิญญาณจิต และอรูปวิบาก ๔ ก็อารมณ์ ๕ มีรูปเป็นต้น เป็น

ปุเรชาตปัจจัยโดยส่วนเดียว แก่ทวิปัญจวิญญาณจิตด้วย และแก่มโนธาตุ

๓ ด้วย. ก็รูปรูปทั้ง ๑๘ อย่างนั้น เป็นปุเรชาตปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวด

เหล่านี้ คือ กามาวจรกุศล อภิญญากุศลที่เกิดจากรูปาวจร อกุศล กามา-

วจรวิบากที่เกิดขึ้นโดยเป็นตทารัมมณะ กามาวจรกิริยา และอภิญญากิริยา

ที่เกิดจากรูปาวจร. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบัน

ในปุเรชาตปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.

วรรณนานิทเทสแห่งปุเรชาตปัจจัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

[๑๒] ปัจฉาชาตปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิด

ภายหลัง กล่าวคือ

จิตและเจตสิกธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด

ก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งปัจฉาชาตปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน ปัจฉาชาตปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

บทว่า ปจฺฉาชาตา ความว่า ธรรมที่เกิดภายหลังจะเป็นปัจจัยแก่

กายใด จะต้องเกิดขึ้น ในเมื่อกายนั้นเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่. บทว่า ปุเรชา-

ตสฺส คือ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เกิดก่อนกว่า อุปาทขณะของปัจจัยธรรม

เหล่านั้นล่วงเลยขณะเกิดไปถึงขณะตั้งอยู่. สองบทว่า อิมสฺส กายสฺส

คือ เป็นปัจจัยแก่กายนี้ กล่าวคือมหาภูตรูปและอุปาทายรูป ที่เกิดจาก

สมุฏฐาน ๔ และสมุฏฐาน ๓. ก็ในข้อนี้ คำว่า กายที่เกิดจากสมุฏฐาน ๓

ผู้ศึกษาพึงทราบกายแห่งพรหมปาริสัชชา เป็นต้น เพราะไม่มีอาหารเป็น

สมุฏฐาน. นี้เป็นการอธิบายบาลีในอธิการนี้.

ก็ชื่อว่า ปัจฉาชาตปัจจัย นี้ ว่าโดยสังเขป ได้แก่ อรูปขันธ์ใน ๔

ภูมิที่เหลือ เว้นอรูปวิบาก. ปัจฉาชาตปัจจัยนั้น ว่าด้วยอำนาจแห่งชาติ

มี ๔ ชาติ โดยแจกเป็นกุศล อกุศล วิบาก และกิริยา. ผู้ศึกษาพึงทราบ

วินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่าง ๆ ในปัจฉาชาตปัจจัยนี้ ดังแสดง

มาแล้ว.

ในปัจฉาชาตปัจจัยที่จำแนกได้ ดังข้าพเจ้าได้แสดงมาแล้วนี้ กุศล

ที่เกิดขึ้นในภูมิ ๔ และอกุศลในปัญจโวการภพ เป็นปัจฉาชาตปัจจัยแก่

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

รูปกายที่มีสมุฏฐาน ๔ และสมุฏฐาน ๓ อันล่วงเลยอุปาทขณะ มาถึง

ฐิติขณะ. แม้ในฝ่ายวิบาก กามาวจรวิบาก และรูปาวจรวิบากที่เหลือ

เว้นวิบากที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิ เป็นปัจฉาชาตปัจจัยโดยส่วนเดียวแก่รูปที่มี

สมุฏฐาน ๔ และสมุฏฐาน ๓ นั้นเอง. แม้โลกุตตรวิบากที่เกิดขึ้นใน

ปัญจโวการภพ ก็เป็นปัจฉาชาตปัจจัยแก่รูปกายนั้นเหมือนกัน. กิริยาจิต

ที่เป็นไปในภูมิ ๓ เฉพาะที่เกิดขึ้นในปัญจโวการภพเท่านั้น เป็นปัจฉา-

ชาตปัจจัยแก่กาย มีประการดังกล่าวแล้ว. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดย

ธรรมที่เป็นปัจจัยยุบบันในปัจฉาชาตปัจจัยนี้ ดังพรรณนามาแล้วแล.

วรรณนานิทเทสแห่งปัจฉาชาตปัจจัย จบ

[๑๓] อาเสวนปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเสพบ่อยๆ

กล่าวคือ

๑. กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม

ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

๒. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม

ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

๓. กิริยาพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่

กิริยาพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอาเสวน-

ปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

วรรณนานิทเทสแห่งอาเสวนปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อาเสวนปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

ในนัยทั้งหมดว่า ปุริมา ปุริมา ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ได้แก่ ธรรม

ที่ดับไปโดยลำดับด้วยดี.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไรในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรง

ทำนิทเทสพร้อมกัน ธรรมที่มีชาติแตกต่างกัน โดยนัยเป็นต้น ว่ากุศลธรรม

ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลัง ๆ เหมือนในอนันตร-

ปัจจัยเล่า.

ตอบว่า เพราะธรรมทั้งหลายไม่สามารถให้ธรรมเหล่าอื่น ถือเอา

คติของตนได้. จริงอยู่ ธรรมที่มีชาติแตกต่างกัน โดยนัยเป็นต้นว่า กุศลธรรม

แตกต่างกัน สำเร็จความเป็นธรรมคล่องแคล่ว และมีกำลังด้วยคุณ คือ

อาเสวนะ ย่อมไม่อาจให้ธรรมเหล่านั้นถือเอาคติของตน กล่าวคือ ความ

เป็นกุศลเป็นต้นได้. เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาค-

เจ้าไม่ทรงทำนิทเทสพร้อมกับธรรมที่มีชาติต่างกันเหล่านั้น ทรงทำนิทเทส

ร่วมกับธรรมที่มีชาติเหมือนกัน กับธรรมที่สามารถให้ธรรมอื่นถือเอาคติ

ของตน กล่าวคือ ความเป็นกุศลเป็นต้น ที่พิเศษออกไปโดยภาวะที่มี

กำลังมากกว่า คล่องแคล่วกว่า เพราะอาเสวนะ กล่าวคือการสั่งสม

เอาไว้.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงไม่ทรงถือเอาวิปากา-

พยากตะด้วยเล่า.

ตอบว่า เพราะไม่มีอาเสวนะ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

จริงอยู่ วิบากคือภาวะที่สุกงอม ด้วยอำนาจแห่งกรรม เป็น

สภาพที่ถูกกรรมทำให้แปรปรวนไป ย่อมเป็นไปอย่างไร้ความพยายาม

(ในการให้ผล) และขาดกำลัง วิบากนั้น จึงไม่สามารถให้วิบากอื่น

ถือเอา คือรับเอาสภาพของตน แล้วเกิดขึ้นด้วยคุณ คืออาเสวนะได้

ทั้งวิบากถูกกำลังกรรมซัดไป ย่อมเกิดขึ้นประหนึ่งว่าตกไป เพราะเหตุ

นั้นในวิบากทั้งหมดจึงไม่มีอาเสวนะ เพราะข้อที่วิบากไม่มีอาเสวนะ

ดังกล่าวมาแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงถือเอา (ในอธิการแห่ง

อาเสวนปัจจัยนี้).

ก็วิบากนี้ แม้จะเกิดในลำดับแห่งกุศล อกุศล และกิริยา ก็ย่อม

ไม่ได้รับคุณ คืออาเสวนะ เพราะมีความเป็นไปเนื่องด้วยกรรม เพราะ-

ฉะนั้น ธรรมมีกุศลเป็นต้น จึงไม่เป็นอาเสวนปัจจัย แก่วิบากนั้น. อีกอย่าง

หนึ่ง ที่กุศลเป็นต้นเหล่านี้ ไม่เป็นอาเสวนปัจจัยแก่วิบาก เพราะมีชาติ

ต่างกันก็ได้. ก็เมื่อว่าโดยภูมิ หรืออารมณ์แล้ว ธรรมทั้งหลายชื่อว่ามี

ชาติต่างกันย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น กามาวจรกุศลและกิริยา จึงเป็น

อาเสวนปัจจัยแก่มหัคคตกุศล และมหัคคตกิริยา และอนุโลมกุศล ซึ่งมี

สังขารเป็นอารมณ์ และแก่โคตรภูกุศลที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ได้ พรรณนา

บาลีในนิทเทสแห่งอาเสวนปัจจัยเท่านี้ก่อน.

ก็อาเสวนปัจจัยนี้ โดยชาติมี ๓ เท่านั้น คือ กุศล อกุศล กิริยา-

พยากตะ. ใน ๓ อย่างนั้น กุศลว่าโดยภูมิมี ๓ ภูมิ คือกามาวจร

รูปาวจร อรูปาวจร. อกุศลเป็นกามาวจรเท่านั้น. กิริยาพยากตะมี ๓ ภูมิ

คือกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร. ชื่อว่า อาเสวนปัจจัยที่เป็นโลกุตตระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

ย่อมไม่มี. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการต่าง ๆ ใน

อาเสวนปัจจัยนี้ดังกล่าวมาแล้ว.

ก็ในอาเสวนปัจจัย ที่จำแนกได้ดังกล่าวมานี้ กามาวจรกุศลเป็น

อาเสวนปัจจัยแก่กามาวจรกุศลที่เกิดในลำดับแห่งตน. ในอาเสวนปัจจัย

กามาวจรกุศลที่เป็นญาณสัมปยุต เป็นอาเสวนปัจจัยแก่หมวดธรรม

เหล่านี้ คือรูปาวจรกุศีล อรูปาวจรกุศล โลกุตตรกุศล ซึ่งมีเวทนาเหมือน

กันกับตน. ส่วนรูปาวจรกุศลเป็นอาเสวนปัจจัยเฉพาะแก่รูปาวจรกุศล

เท่านั้น. อรูปาวจรกุศลเป็นอาเสวนปัจจัยแก่อรูปาวจรกุศลเท่านั้น.

อกุศลเป็นอาเสวนปัจจัยแก่อกุศลเท่านั้นเหมือนกัน.

ฝ่ายกิริยาธรรม กล่าวคือกามาวจรกิริยา เป็นอาเสวนปัจจัยแก่

กามาวจรกิริยาก่อน. ธรรมกล่าวคือกามาวจรกิริยาใด เป็นญาณสัมปยุต

ธรรมนั้นเป็นอาเสวนปัจจัยแก่หมวดธรรมเหล่านี้คือ รูปาวจรกิริยา อรูปา-

วจรกิริยาที่มีเวทนาเหมือนกับตน. รูปาวจรกิริยาเป็นอาเสวนปัจจัยแก่

รูปาวจรกิริยาเท่านั้น. อรูปาวจรกิริยาเป็นอาเสวนปัจจัยแก่อรูปาวจร-

กิริยาเท่านั้น. ส่วนวิบากจะเป็นอาเสวนปัจจัยแก่ธรรมอย่างหนึ่ง หรือ

ธรรมอะไรจะเป็นอาเสวนปัจจัยแก่วิบากย่อมไม่มี ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย

แม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอาเสวนปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาฉะนี้.

วรรณนานิทเทสแห่งอาสเสวนปัจจัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

[๑๔] กัมมปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการโดยความปรุงแต่งเพื่อ

ให้กิจต่าง ๆ สำเร็จลง กล่าวคือ

๑. กุศลธรรมและอกุศลกรรม ก็เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ทั้งหลาย

และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

๒. สภาวธรรมคือเจตนาทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย

ที่ประกอบกับเจตนา และแก่รูปทั้งหลายที่มีเจตนา และธรรมทั้งหลาย

ที่ประกอบกับเจตนานั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งกัมมปัจจัย

พึงทราบวินิจฉัยใน กัมมปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

บทว่า กมฺม ได้แก่ เจตนาธรรม. สองบทว่า กฏตฺตา จ รูปาน

แปลว่า รูปที่เกิดขึ้นเพราะถูกกรรมทำ (กรรมสร้าง). บทว่า กมฺมปจฺจเยน

ความว่า ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย ที่สามารถให้ผลของตน

เกิดขึ้นได้ในที่สุดแห่งโกฏิกัป มิใช่น้อย.

จริงอยู่ กุศลกรรมและอกุศลกรรม ย่อมไม่ให้ผลในขณะที่ตน

เป็นไป ถ้าจะพึงให้ผล (ในขณะนั้น) ไซร้ คนทำกุศลกรรมที่เป็น

เหตุให้เข้าถึงเทวโลกอันใดไว้ ก็จะพึงกลายเป็นเทวดาในขณะนั้น

ทีเดียว ด้วยอานุภาพแห่งกรรมนั้น.

ก็กรรมนั้นที่บุคคลทำไว้ในขณะใด แม้จะไม่มีอยู่ในขณะอื่น

จากนั้น ย่อมยังผลให้เกิดขึ้นในกาลที่บุคคลพึงเข้าถึงปัจจุบัน หรือต่อ

จากนั้น ในเมื่อมีการประกอบพร้อมแห่งปัจจัยที่เหลือ เพราะเป็น

สภาพที่กรรมทำไว้เสร็จแล้ว เปรียบเหมือนการหัดทำศิลปะครั้งแรก

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

แม้จะสิ้นสุดไปแล้ว ก็ให้เกิดการทำศิลปะครั้งหลัง ๆ ในกาลอื่นได้ เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า นานากขณิกกัมมปัจจัย.

สองบทว่า เจตนาสมฺปยุตฺตกาน ธมฺมาน ความว่า เจตนาอย่างใด

อย่างหนึ่ง เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน. ด้วยบทว่า ต สมุฏฺา-

นาน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอากัมมชรูปในปฏิสนธิขณะด้วย.

คำว่า กมฺมปจฺจเยน นี้ ตรัสหมายถึงเจตนาที่เกิดพร้อมกัน. จริงอยู่

บรรดาธรรมมีกุศลธรรมเป็นต้น เจตนาอย่างใดอย่างหนึ่งช่วยอุปการะ

แก่ธรรมที่เหลือโดยความเป็นกิริยา กล่าวคือ ความพยายามแห่งจิต เพราะ-

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า สหชาตกัมมปัจจัย. พรรณนา

บาลีในกัมมปัจจัยนี้เท่านี้ก่อน.

ก็กัมมปัจจัยนี้ โดยอรรถได้แก่ เจตนาที่เป็นไปในภูมิ ๔ เจตนานั้น

ว่าโดยประเภทแห่งชาติ จำแนกออกเป็น ๔ ชาติ คือกุศล อกุศล วิบาก

และกิริยา. ใน ๔ ชาตินั้น กุศลว่าโดยภูมิมี ๔ ภูมิ ด้วยอำนาจกามาวจร-

ภูมิเป็นต้น. อกุศลมี ๑ ภูมิเท่านั้น วิบากมี ๔ ภูมิ กิริยามี ๓ ภูมิ.

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่าง ๆ ในกัมมปัจจัย

ดังกล่าวมาแล้ว.

ก็ใน กัมมปัจจัย มีจำแนกได้ดังกล่าวมาแล้ว กามาวจรกุศลเจตนา

ที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็น

สมุฏฐาน ในปัญจโวการภพ, ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต

กับตนอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.

ส่วนเจตนาที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ของตน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

และกัมมชรูปโดยนานากขณิกกัมมปัจจัย. ก็แลเจตนานั้นเป็นปัจจัยเฉพาะ

ในปัญจโวการภพเท่านั้น หาเป็นในภพอื่นไม่.

รูปาวจรกุศลเจตนาที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต

กับตน และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย

โดยส่วนเดียว. แต่ รูปาวจรกุศลเจตนาที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัย

แก่วิบากของตนและกัมมชรูป ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย.

อรูปาวจรกุศลเจตนา และ โลกุตตรกุศลเจตนาที่เกิดพร้อมกัน

เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจ-

โวการภพ, ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตนอย่างเดียว

ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.

และเจตนาทั้งสองนั้นที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์

ของตน ๆ ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย. อกุศลเจตนาที่เกิด

พร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน

ในปัญจโวการภพ, ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปขันธ์เท่านั้น

ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.

อกุศลเจตนานั้นที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์และ

กัมมชรูป ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย.

วิบากเจตนาฝ่ายกามาวจรและรูปาวจร เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต

กับตน และเป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปในปวัตติกาล แก่กัมมชรูปในปฏิสนธิ-

กาล ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.

อรูปาวจรวิบากเจตนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตนอย่าง

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

เดียว ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย. โลกุตตรวิบากเจตนา เป็นปัจจัย

แก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ในปัญจโวการภพ,

ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้น ด้วยอำนาจของสหชาต-

กัมมปัจจัย.

กิริยาเจตนา ที่เกิดในภูมิทั้งสาม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต

และจิตตชรูป ในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย. ก็กิริยา

เจตนาที่เกิดในอรูปภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปธรรมเท่านั้น ด้วยอำนาจ

ของสหชาตกัมมปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจ-

ยุบบันในกัมมปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาแล้วแล.

วรรณนานิทเทสแห่งกัมมปัจจัย จบ

[๑๕] วิปากปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวิบาก

คือถึงความสุก และหมดกำลังลง กล่าวคือ นามขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบาก

เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งวิปากปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน วิปากปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

เพราะรูปแม้จะเกิดจากกรรม ก็ไม่ชื่อว่าวิบาก ฉะนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า จึงตรัสว่า วิปากา แล้วตรัสว่า จตฺตาโร ขนฺธา ในพระบาลีว่า

วิปากา จตฺตาโร ขนฺธา. บาลีนี้มาด้วยอำนาจวิปากปัจจัยแห่งอรูปธรรม

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้. แต่ในปัญหาวาระ ย่อมได้วิปากปัจจัยแม้แก่

จิตตชรูปและกัมมชรูปด้วย เพราะพระมาลีมาแล้วว่า ขันธ์ ๑ ที่เป็น

วิปากาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และรูปที่จิตเป็นสมุฏฐาน ด้วย

อำนาจของวิปากปัจจัย. ขันธ์ที่ ๑ ที่เป็นวิปากาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่

ขันธ์ ๓ และกัมมชรูปในขณะปฏิสนธิ ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย. แต่

ในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเทศนาด้วยอำนาจธรรมที่มีส่วน

เหลือ. พรรณนาบาลีในวิปากปัจจัยนี้เพียงเท่านี้.

ก็วิปากปัจจัยนี้ เพราะเป็นวิบากธรรม ว่าโดยชาติมีเพียงชาติเดียว

(คือวิปากชาติ) โดยประเภทแห่งภูมิจำแนกได้ ๔ ภูมิ ด้วยอำนาจกามา-

วจรภูมิเป็นต้น. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่างๆ

ในวิปากปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาแล้วนี้.

ก็ในวิปากปัจจัยที่จำแนกได้ดังอธิบายมาแล้ว กามาวจรวิบากและ

รูปาวจรวิบาก เป็นวิปากปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตน และเป็นวิปากปัจจัย

แก่จิตตชรูปในปวัตติกาล เป็นวิปากปัจจัยแก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล.

อรูปาวจรวิบาก เป็นวิปากปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น. โลกุตตร-

วิบากเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตและจิตตชรูป ในปัญจโวการภพ. เป็น

ปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น ในจตุโวการภพ. ผู้ศึกษาพึงทราบ

วินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในวิปากปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.

วรรณนานิทเทสแห่งวิปากปัจจัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

[๑๖] อาหารปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้นำมา

กล่าวคือ

๑. อาหารคือคำข้าว เป็นปัจจัยแก่ธรรมนี้ ด้วยอำนาจของ

อาหารปัจจัย

๒. นามอาหาร เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับนาม-

อาหาร และแก่รูปทั้งหลายที่มีนามอาหารนั้นเห็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจ

ของอาหารปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งอาหารปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อาหารปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

โอชาในรูปที่เกิดในสันตติ ๔ ชื่อว่า อาหาร ในคำว่า กพฬีกาโร

อาหาโร. ก็เพราะอาหารนั้น บุคคลทำให้เป็นคำแล้ว กลืนกินเข้าไปเท่านั้น

จึงทำกิจแห่งอาหารได้ ที่อยู่ภายนอกหาทำกิจแห่งอาหารไม่ ฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า อาหาโร ตรัสว่า กพฬีกาโร อาหาโร.

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า กพฬีกาโร นี้ สักว่าเป็นชื่อแห่งอาหารนั้น เพราะ

เป็นวัตถุที่บุคคลพึงทำให้เป็นคำ ๆ แล้วกลืนกิน. อาหารคือ ผัสสะ เจตนา

และวิญญาณ ชื่อว่า นามอาหาร. รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้วในคำนี้ว่า ตสมุฏฺานาน. สมจริงดังที่พระองค์

ตรัสไว้ในปัญหาวาระว่า ในขณะปฏิสนธิ อาหารที่เป็นวิปากาพยากตะ

เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและรูปที่เกิดจากกรรม ด้วยอำนาจของอาหาร

ปัจจัย. พรรณนาบาลีในอาหารปัจจัย เพียงเท่านี้.

๑. รูปที่เกิดจากสมุฏฐาน ๔ คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

ก็อาหารปัจจัยนี้โดยย่อ ได้แก่ ธรรม ๔ อย่างเท่านั้น คือ กพฬี-

การาหาร ผัสสาหาร เจตนาหาร และวิญญาณหาร. ในอาหารอย่าง

นั้น นามอาหาร ๓ ที่เหลือ เว้นกพฬีการาหาร ว่าโดยอำนาจแห่งชาติ

จำแนกได้ ๔ ชาติ โดยเป็นกุศล อกุศล วิบาก และกิริยา.

ว่าด้วยประเภทแห่งภูมิอีก นามอาหารเหล่านี้จำแนกได้มากมาย

หลายอย่าง อย่างนี้คือ กุศลจำแนกได้ ๔ ภูมิ อกุศล ๑ ภูมิ วิบาก ๔ ภูมิ

กิริยา ๓ ภูมิ. ส่วนกพฬีการาหารโดยชาติเป็นอัพยากตะ โดยภูมิเป็น

กามาวจรอย่างเดียว. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการ

ต่าง ๆ ในอาหารปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาแล้ว.

ก็ในอาหารปัจจัยซึ่งจำแนกได้ดังกล่าวมาแล้วนี้ อาหารที่เป็นกุศล

๓ อย่าง ทั้ง ๔ ภูมิเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็น

สมุฏฐานในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย อาหารที่เหลือ

เว้นรูปาวจรวิญญาณ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น ใน

อรูปภพด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย. แม้ในอาหารที่เป็นอกุศลก็นัยนี้

เหมือนกัน. อาหารที่เป็นวิบากทั้ง ๔ ภูมิ เป็นอาหารปัจจัยแก่ธรรม

ที่สัมปยุตในที่ทั้งปวง. ก็ในอธิการนี้ กามาวจรวิบาก และรูปาวจรวิบาก

ที่เกิดในปัญจโวการภพ เป็นอาหารปัจจัยแก่จิตตชรูปในปวัตติกาล แก่

กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล. อาหารที่เป็นโลกุตตรวิบากเป็นอาหารปัจจัยแก่

จิตตชรูปอย่างเดียว. อาหารที่เกิดในอรูปภพย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่รูป. อาหาร

ที่เป็นกิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เป็นอาหารปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และจิตตชรูปใน

ปัญจโวการภพ. อาหารที่เป็นกามาวจรและอรูปาวจร เป็นอาหารปัจจัย

แก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น ในอรูปภพ. กวฬีการาหารที่เกิดขึ้นในสันตติ ๔

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยไม่แปลกกันว่า เป็นปัจจัยแก่กายนี้ แม้ก็

จริง แต่เมื่อว่าโดยแปลกกัน ในอธิการนี้ กวฬีการาหารนี้ เป็นผู้ให้เกิด

รูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานด้วยชนกสัตติ และตามรักษารูปที่มีอาหารเป็น

สมุฏฐานด้วยอนุปาลกสัตติ ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย. อธิบายว่า

เป็นปัจจัยแก่สันตติรูปอันมีสมุฏฐาน ๓ ที่เหลือ ด้วยอำนาจของอาหาร-

ปัจจัย เพราะเลี้ยงรูปไว้. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วยธรรมที่เป็น

ปัจจยุบบันในอาหารปัจจัยนี้ ดังพรรณนามาแล้ว.

วรรณนานิทเทสแห่งอาหารปัจจัย จบ

[๑๗] อินทริยปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นใหญ่

กล่าวคือ

๑. จักขุนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอินทริย-

ปัจจัย

๒. โสตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอินทริย-

ปัจจัย

๓. ฆานินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอินทริย-

ปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

๔. ชิวหินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอินทริย-

ปัจจัย

๕. กายินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอินทริย-

ปัจจัย

๖. รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจ

ของอินทริยปัจจัย

๗. นามอินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับนาม

อินทรีย์ และแก่รูปทั้งหลายที่มีนามอินทรีย์ และธรรมที่ประกอบกับ

นามอินทรีย์นั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งอินทริยปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อินทริยปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

บทว่า จกฺขุนฺทฺริย แปลว่า อินทรีย์คือจักษุ. บทว่า อินฺทฺริย-

ปจฺจเยน ความว่า จักขุนทรีย์เป็นต้นนั้น ตัวเองเกิดก่อนแล้วเป็นปัจจัย

แก่อรูปธรรม ตั้งแต่เกิดไปจนถึงดับ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย. แม้

ในอินทรีย์เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. แม้ อรูปชีวิตินทรีย์ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าก็ทรงสงเคราะห์เข้าในคำนี้ว่า อินทรีย์ที่ไม่มีรูป. ในคำว่า

ตสมุฏฺานาน นี้ ทรงสงเคราะห์แม้กัมมชรูปโดยที่กล่าวแล้วในหน

หลัง. สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ในปัญหาวาระดังนี้ว่า อินทรีย์ที่เป็น

วิปากกาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต และกัมมชรูป ในขณะ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

ปฏิสนธิ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย. พรรณนาบาลีในนิทเทสแห่ง

อินทริยปัจจัยนี้เพียงเท่านี้.

ก็ อินทริยปัจจัย นี้ คืออินทรีย์ ๒๐ ถ้วนเว้นอิตถินทรีย์และ

ปุริสินทรีย์.

จริงอยู่ อิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์ เป็นกำเนิดแห่งเพศหญิง

และเพศชาย แม้ก็จริง แต่ในกาลที่เป็นกลละเป็นต้น แม้เมื่อ

อิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์เหล่านั้นจะมีอยู่ ก็ยังไม่สำเร็จความเป็น

อินทริยปัจจัยแก่เพศหญิงและเพศชายเหล่านั้น เพราะเพศชายและ

เพศหญิงยังไม่มี ทั้งไม่เป็นอินทริยปัจจัยแก่ธรรมเหล่าอื่นด้วย.

จริงอยู่ ธรรมที่เป็นอินทริยปัจจัย จะชื่อว่าไม่สำเร็จความเป็นอินทริย-

ปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่แยกกัน ในขณะที่ตนมีอยู่ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น

อิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์เหล่านั้น จึงไม่เป็นอินทริยปัจจัย.

ก็อิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์ เหล่านี้เป็นพืชแห่งเพศหญิงและ

เพศชายเหล่าใด โดยบรรยายที่มาในพระสูตร อิตถินทรีย์และปุริ-

สินทรีย์เหล่านั้น นับว่าเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย แก่เพศหญิงและเพศ

ชายเหล่านั้นด้วย.

อินทริยปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ได้แก่ อินทรีย์ ๒๐ ถ้วน

อินทริยปัจจัยนั่น โดยชาติจำแนกออกเป็น ๕ ชาติ คือกุศล อกุศล วิบาก

กิริยาและรูป. ใน ๕ ชาตินั้น กุศลว่าด้วยอำนาจแห่งภูมิมี ๔ ภูมิ อกุศล

เป็นกามาวจรอย่างเดียว วิบากมี ๔ ภูมิ กิริยามี ๓ ภูมิ รูปเป็นกามาวจร

ภูมิเท่านั้น ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่าง ๆ ใน

อินทริยปัจจัยนี้ อย่างนี้ก่อน.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

ก็ในอินทริยปัจจัยซึ่งจำแนกแล้วอย่างนี้ ปัจจัยคืออินทรีย์ที่เป็น

กุศลทั้ง ๔ ภูมิ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏ-

ฐานในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย. อินทรีย์ที่เป็นอกุศล

เหมือนกัน. กุศลและอกุศลที่เหลือเว้นรูปาวจรกุศล เป็นปัจจัยเฉพาะ

แก่ธรรมที่สัมปยุตในอรูปภพ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

อินทริยที่เป็นวิบากทั้ง ๔ ภูมิ เป็นอินทริยปัจจัย แก่ธรรมที่สัมปยุต

โดยส่วนเดียว. ก็บรรดาอินทรีย์ที่เป็นวิบากเหล่านี้ อินทรีย์ที่เป็นกามา-

วจรวิบาก และรูปาวจรวิบาก เมื่อเกิดในปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยแก่

จิตตชรูปในปวัตติกาล และกัมมชรูปในปฏิสนธิกาล ด้วยอำนาจของ

อินทริยปัจจัย. อินทรีย์ที่เป็นโลกุตตรวิบาก เป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปอย่าง

เดียว. อินทรีย์ที่เป็นโลกุตตรวิบาก ซึ่งเกิดขึ้นในอรูปภพ ย่อมไม่เป็น

ปัจจัยแก่รูป.

อินทรีย์ที่เป็นกิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เป็นอินทริยปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต

และจิตตชรูปในปัญจโวการภพ. ส่วนอินทรีย์ที่เป็นกามาวจรกิริยา และ

อรูปาวจรกิริยา ย่อมสำเร็จความเป็นอินทริยปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุต

เท่านั้น ในอรูปภพ.

ในรูปอินทรีย์ทั้ง ๖ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่

จักขุวิญญาณจิต ๒ พร้อมทั้งธรรมที่สัมปยุตในฝ่ายกุศลวิบากและอกุศล

วิบาก ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย. โสตินทรีย์เป็นต้น ก็เป็นอินทริย-

ปัจจัยแก่โสตวิญญาณเป็นต้น อย่างนั้นเหมือนกัน.

รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่รูปที่เกิดร่วมกับตนในฐิติขณะ ด้วย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

อำนาจของอินทริยปัจจัย. ความเป็นสหชาตปัจจัย ย่อมไม่มีแก่รูป-

ชีวิตินทรีย์นั้น.

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอินทริยปัจจัย

อย่างนี้แล.

วรรณนานิทเทสแห่งอินทริยปัจจัย จบ

[๑๘] ฌานปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้เพ่ง

อารมณ์ กล่าวคือ องค์ฌานทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย

ประกอบกับฌาน และแก่รูปทั้งหลายที่มีฌานและธรรมที่ประกอบกับ

ฌานนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งฌานปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน ฌานปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

บทว่า ฌานงฺคานิ ได้แก่ องค์ฌาน ๗ กล่าวคือ วิตก วิจาร

ปีติ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา และจิตเตกัคคตา ที่เกิดขึ้นในจิต

ที่เหลือ เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐. ก็เพราะหมวดแห่งวิญญาณ ๕

เป็นเพียงการตกไป (แห่งจิตในอารมณ์) อุเบกขา สุข และทุกข์แม้จะ

มีอยู่ในจิตเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงยกขึ้นว่าเป็นองค์ฌาน

เพราะไม่มีการเข้าไปเพ่งอารมณ์. ก็บรรดาองค์ฌานเหล่านั้น องค์ฌาน

แม้ในอเหตุกจิตที่เหลือ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงยกขึ้น (ว่าเป็นฌาน-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

ปัจจัย) เหมือนกัน เพราะถูกตัดขาดไปแล้ว แต่ในการประมวลธรรมใน

อธิการนี้ ทรงยกขึ้นไว้ด้วย.

แม้ในบทว่า ต สมุฏฺานาน นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์เอากัมมชรูป. สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ใน

ปัญหาวาระว่า " ในปฏิสนธิขณะ องค์ฌานที่เป็นวิปากาพยากตะ เป็น

ปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต และกัมมชรูป ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย."

พรรณนาบาลีในอธิการนี้เพียงเท่านี้.

ก็ฌานปัจจัยนี้คือองค์ฌาน ๗ จำแนกโดยประเภทแห่งชาติมี ๔ ชาติ

คือ กุศล อกุศล วิบาก และกิริยา. ว่าด้วยอำนาจแห่งภูมิอีกครั้ง จำแนก

ได้ ๑๒ ภูมิ คือกุศล ๔ อกุศล ๑ วิบาก ๔ กิริยา ๓. ผู้ศึกษาพึงทราบ

วินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่าง ๆ ในฌานปัจจัยนี้ ดังกล่าวมา

แล้ว.

ในฌานปัจจัยที่จำแนกออกอย่างนี้ องค์ฌานที่เป็นกุศลทั้ง ๔ ภูมิ

เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และจิตตชรูปในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจ

ของฌานปัจจัย. องค์ฌานที่เหลือเว้นที่เป็นรูปาวจร เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่

สัมปยุตเท่านั้นในอรูปภพ ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย. แม้ในอกุศลเป็นต้น

ก็นัยนี้เหมือนกัน. องค์ฌานที่เป็นกามาวจรวิบาก และ รูปาวจรวิบาก

เป็นฌานปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และจิตตชรูปในปวัตติกาล. เป็นฌาน-

ปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และกัมมชรูปในปฏิสนธิกาล. องค์ฌานที่เป็น

อรูปวิบาก เป็นฌานปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น (ในอรูปภพ)

และโลกุตตรวิบากที่เกิดในอรูปภพก็เหมือนกัน. แต่ในปัญจโวการภพ

องค์ฌานที่เป็นโลกุตตรวิบากนั้น เป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปด้วยอำนาจของ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

ฌานปัจจัย. องค์ฌานที่เป็นกิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เป็นฌานปัจจัยแก่ธรรม

ที่สัมปยุต และจิตตชรูปในปัญจโวการภพ. องค์ฌานที่เกิดในอรูปภพเป็น

ปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย. ผู้ศึกษา

พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในฌานปัจจัยนี้ ดังกล่าว

มาแล้วแล.

วรรณนานิทเทสแห่งฌานปัจจัย จบ

[๑๙] มัคคปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นทาง กล่าว

คือ องค์มรรคทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมรรค

และแก่รูปทั้งหลายที่มีมรรค และธรรมที่ประกอบกับมรรคเป็นสมุฏฐาน

ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งมัคคปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่ง มัคคปัจจัย ต่อไป.

บทว่า มคฺคงฺคานิ ได้แก่ องค์มรรค ๑๒ เหล่านี้ คือ ปัญญา

วิตก สัมมาวาจา สันมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ วิริยะ สติ สมาธิ

มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ ที่เกิดขึ้นใน

จิตที่เหลือ เว้นอเหตุกจิตตปบาท. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงยกองค์

มรรคในอเหตุกจิต (เป็นมัคคปัจจัย) เพราะความเป็นมรรคเป็นธรรมเกิด

ภายหลังแห่งเหตุ. ทรงสงเคราะห์กัมมชรูป ในบทว่า ต สมุฏฺานาน นี้.

สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ในปัญหาวาระว่า " องค์มรรคที่เป็นวิปากา-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

พยากตะ ในขณะปฏิสนธิ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและกัมมชรูป

ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย." พรรณนาบาลีในอธิการนี้เท่านี้ก่อน.

ก็มัคคปัจจัยนี้ ได้แก่องค์มรรค ๑๒ แบ่งโดยประเภทแห่งชาติมี

มีกุศลชาติเป็นต้น. และกุศลชาติเป็นต้น จำแนกโดยภูมิได้ ๑๒ ภูมิ

มีกามาวจรภูมิเป็นต้น. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการ

ต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว.

ก็ในมัคคปัจจัยที่จำแนกได้อย่างนี้ องค์มรรคที่เป็นกุศลทั้ง ๔ ภูมิ

เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และจิตตชรูปในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจ

ของมัคคปัจจัย. องค์มรรคที่เหลือเว้นที่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่

สัมปยุตในอรูปภพ ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย. อธิบายทั้งหมดท่านให้

พิสดารแล้วเหมือนมโนฌานปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรม

ที่เป็นปัจจยุบบันในมัคคปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาแล้วแล.

วรรณนานิทเทสแห่งมัคคปัจจัย จบ

[๒๐] สัมปยุตตปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้

ประกอบ กล่าวคือ นามขันธ์ทั้งหลาย ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน

โดยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งสัมปยุตตปัจจัย

บาลีใน สัมปยุตตปัจจัยนิทเทส มีเนื้อความกระจ่างแล้ว. ก็ชื่อว่า

สัมปยุตตปัจจัยนี้ว่าโดยสังเขป ได้แก่ อรูปขันธ์ทั้งหมด. โดยประเภท

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

จำแนกได้หลายอย่างคือ โดยชาติ มีกุศลชาติเป็นต้น โดยภูมิ มีกามาวจร-

ภูมิเป็นต้น. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่าง ๆ

ในสัมปยุตตปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาแล้ว.

ก็ในสัมปยุตตปัจจัยที่จำแนกแล้วอย่างนี้ บรรดากุศลขันธ์ทั้ง ๔ ภูมิ

ขันธ์ ๑ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓, ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ ๓

เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒. กุศลขันธ์ทั้งหมด

เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย ด้วยประการฉะนี้

แม้ในอกุศลขันธ์ วิบากขันธ์และกิริยาขันธ์ก็นัยนี้เหมือนกัน. ผู้ศึกษา

พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบัน ในสัมปยุตตปัจจัยนี้ ดัง

พรรณนามาแล้วแล.

วรรณนานิทเทสแห่งสัมปยุตตปัจจัย จบ

[๒๑] วิปปยุตตปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้

ไม่ประกอบ กล่าวคือ

๑. รูปธรรมทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่นามธรรมทั้งหลาย ด้วย

อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

๒. นามธรรมทั้งหลายก็เป็นปัจจัยแก่รูปธรรมทั้งหลาย ด้วย

อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

วรรณนานิทเทสแห่งวิปปยุตตปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน วิปปยุตตปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

คำนี้ว่า รูปธรรมเป็นวิปปยุตตปัจจัยแก่อรูปธรรม พึงทราบด้วย

อำนาจหทัยวัตถุและจักขุนทรีย์เป็นต้นก่อน ๆ จริงอยู่ รูปธรรม ๖ อย่าง

เหล่านี้เองเป็นวิปปยุตตปัจจัยแก่อรูปขันธ์. ถึงแม้ธรรมที่เป็นอารมณ์มี

รูปายตนะเป็นต้น เป็นวิปปยุตตกัน (กับจักขายตนะเป็นต้น) ก็จริง

แต่ก็ไม่จัดเป็นวิปปยุตตปัจจัย.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องในเรื่องสัมปโยคะ. อรูปขันธ์

ทั้งหลายเกิดขึ้น เหมือนออกมาจากภายในแห่งรูปอันเป็นที่อาศัย มี

จักขุปสาทเป็นต้น. ความเกี่ยวข้องในจักขุปสาทเป็นต้นเหล่านี้ จึงมีอยู่

ไม่ว่าอรูปขันธ์เหล่านั้นจะสัมปยุตหรือวิปปยุตกับจักขุปสาทเป็นต้นเหล่านั้น

ก็ตาม. ส่วนธรรมที่เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นเพียงอารมณ์แห่งจิตที่เกิดขึ้น

เพราะอาศัยวัตถุรูปเท่านั้น เพราะเหตุนั้นความเกี่ยวข้องเรื่องสัมปโยคะใน

จักขุปสาทเป็นต้นเหล่านั้น จึงไม่มี. รูปายตนะเป็นต้นเหล่านั้นไม่จัดเป็น

วิปปยุตตปัจจัย เพราะไม่มีการเกี่ยวข้องในเรื่องสัมปโยคะ ด้วยประการ

ฉะนี้. ผู้ศึกษาพึงทราบความเป็นวิปปยุตตปัจจัยนี้ในหทัยวัตถุเป็นต้นด้วย.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ปัญหาวาระ ว่า " วัตถุรูปเป็น

ปัจจัยแก่กุศลขันธ์และอกุศลขันธ์ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย จักขาย-

ตนะ ฯ ล ฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯ ล ฯ กายวิญญาณ

ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิปากาพยา-

กตะ และกิริยาพยากตะ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย."

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

คำนี้ว่า อรูปธรรมเป็นปัจจัยแก่รูปธรรมด้วยอำนาจของวิปปยุตต-

ปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจขันธ์ ๔. จริงอยู่ ในบรรดาอรูปธรรม

ขันธ์ ๔ เป็นวิปปยุตตปัจจัยแก่รูปธรรมที่เป็นสหชาตะและปุเรชาตะ. ส่วน

นิพพานถึงจะเป็นอรูปธรรม ก็ไม่เป็นปัจจัยแก่รูปด้วยอำนาจของวิปป-

ยุตตปัจจัย. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ประกอบด้วยขันธ์ ๔

ไม่ประกอบด้วยขันธ์ ๔ (คือสัมปยุตหรือวิปปยุตใช้กับนามขันธ์ ). ผู้

ศึกษาพึงทราบว่า เฉพาะขันธ์ ๔ เท่านั้น เป็นวิปปยุตตปัจจัยด้วยประการ

ฉะนี้. สมจริง ดังที่พระองค์ตรัสไว้ใน ปัญหาวาระ ว่า ที่เป็นสหชาตะ

กุศลขันธ์เป็นปัจจัยแก่จิตตตชรูป ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. ที่เป็น

ปัจฉาชาตะ กุศลขันธ์เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปป-

ยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิขันธ์ที่เป็นวิปากาพยากตะเป็นปัจจัยแก่กัมมชรูป

ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ ด้วย

อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบการพรรณนาบาลีในอธิการนี้

อย่างนี้.

ก็ชื่อว่า วิปปยุตตปัจจัยนี้ โดยสังเขป ได้แก่ รูปธรรมและอรูปธรรม

ที่กำลังเป็นไปในปัญจโวการภพ. บรรดารูปธรรมและอรูปธรรมเหล่านั้น

รูปธรรมจำแนกได้ ๖ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งหทัยวัตถุและจักขุปสาท

เป็นต้น. อรูปธรรมที่เกิดในปัญจโวการภพ จำแนกได้ ชาติ คือกุศล

อกุศล วิบาก กิริยา. อรูปธรรมนั้นโดยภูมิจำแนกได้ ๑๑ ภูมิ คือ

กุศล ๔ อกุศล ๑ วิบาก ๓ กิริยา ๓ ด้วยอำนาจแห่งกามาวจรภูมิเป็น

๑. อภิ. ธาตุกถา

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

ต้น. แต่อรูปวิบากไม่เป็นวิปปยุตตปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดย

การจำแนกด้วยประการต่าง ๆ ในวิปปยุตตปัจจัยนี้ ดังพรรณนามานี้

ก็ในวิปปยุตตปัจจัยที่จำแนกแล้วอย่างนี้ กุศล และอกุศลทั้ง ๔ ภูมิ

ที่เกิดในปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยแก่จิตชรูปที่เกิดขึ้นพร้อมกับตน ด้วย

อำนาจของสหชาตวิปปยุตตปัจจัย. เป็นปัจจัยแก่รูปกายที่มีสมุฏฐาน ๔

และ ๓ ที่เกิดก่อน ที่ล่วงเลยอุปาทขณะมาถึงฐิติขณะ ด้วยอำนาจของ

ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย. ก็คำว่า รูปกายที่มีสมุฏฐาน ๓ ในที่นี้ ผู้ศึกษา

พึงทราบว่า ได้แก่กานแห่งพรหมปาริสัชชา เป็นต้น เพราะไม่มีอาหาร

สมุฏฐาน.

ก็กามาวจรวิบากและรูปาวจรวิบาก เป็นปัจจัยแก่จิตตชรูป ใน

ปวัตติกาลและกัมมชรูปในปฏิสนธิกาล ด้วยอำนาจของสหชาตวิปปยุตต-

ปัจจัย. โลกุตตรวิบากเป็นปัจจัยเฉพาะแก่จิตตชรูปอย่างเดียว. ก็วิบากทั้ง ๓

ภูมิน (กาม+รูป+โลกุตตระ) เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓

ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย.

กิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เป็นปัจจัยแก่จิตตรูป ด้วยอำนาจของสหชาต-

วิปปยุตตปัจจัย, เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และสมุฏฐาน ๓ ซึ่ง

เกิดก่อน ด้วยอำนาจชองปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย.

ส่วนในฐิตรูป ๖ อย่างนั้น วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่กามาวจรวิบากและ

รูปาวจรวิบากในขณะปฏิสนธิ ด้วยอำนาจของสหชาตวิปปยุตตปัจจัย.

เป็นปัจจัยแก่กุศลทั้ง ๔ ภูมิ อกุศล ๑ ภูมิ วิบากทั้ง ๓ ภูมิเว้นวิญญาณ-

จิต ๑๐ และกิริยาจิตทั้ง ๓ ภูมิที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ด้วยอำนาจของ

ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย. จักขายตนะเป็นต้น เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

เป็นต้น. ด้วยอำนาจของปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย

แม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอธิการนี้ ดังพรรณนามาแล้วแล.

วรรณนานิทเทสแห่งวิปปยุตตปัจจัย จบ

[๒๒] อัตถิปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังมีอยู่

กล่าวคือ

๑. นามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของอัตถิ

ปัจจัย

๒. มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของ

อัตถิปัจจัย

๓. ในปฏิสนธิขณะ นามรูปเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วย

อำนาจของอัตถิปัจจัย

๔. จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลายที่

มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

๕. มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจ

ของอัตถิปัจจัย

๖. จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๗. โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

๘. ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๙. ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๑๐. กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๑๑. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๑๒. สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๑๓. คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๑๔. รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๑๕. โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่

ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิ-

ปัจจัย

๑๖. รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏ-

ฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบ

กับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๑๗. มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป รูป

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

นั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลาย

ที่ประกอบกับมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิ

ปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งอัตถิปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อัตถิปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอัตถิปัจจัย ด้วยอำนาจแห่งสหชาตะ

ด้วยคำว่า จตฺตาโร ขนฺธา เป็นต้น. ทรงแสดงอัตถิปัจจัยด้วยอำนาจแห่ง

ปุเรชาตะด้วยคำว่า จกฺขฺวายตน เป็นต้น. ในคำว่า ย รูป นิสฺสาย นี้

ทรงแสดงอัตถิปัจจัยด้วยอำนาจธรรมทั้งที่เป็น สหชาตะและปุเรชาตะ.

บาลีนี้มาแล้วด้วยอำนาจอัตถิปัจจัย แห่งธรรมทั้งที่เป็นสหชาตะและปุเร-

ชาตะทีเดียวด้วยประการฉะนี้.

แต่ใน ปัญหาวาระ ได้อัตถิปัจจัย ด้วยอำนาจแห่งอาหารและ

อินทรีย์ที่เป็นปัจฉาชาตะด้วย เพราะพระบาลีมาแล้วด้วยอำนาจธรรม

เหล่านี้ คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาร อินทรีย์. แต่ใน

ที่มีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเทศนา ด้วยอำนาจแห่งธรรมที่มีส่วนเหลือ.

พรรณนาบาลีในอธิการนี้เพียงเท่านี้.

ก็ชื่อว่า อัตถิปัจจัยนี้ มี ๒ อย่าง คือโดยเป็นอัญญมัญญะ

และไม่ใช่อัญญมัญญะ. ใน ๒ อย่างนั้น อัตถิปัจจัยที่เป็นอัญญมัญญะ

มี ๓ อย่าง คืออรูปกับอรูป รูปกับรูป รูปและอรูปกับรูปและอรูป.

จริงอยู่ ในคำนี้ว่า ขันธ์ ๔ เป็นอัตถิปัจจัยแก่อรูป พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสถึงอรูปเป็นปัจจัยกัน ด้วยอำนาจการเกิดขึ้นแห่งจิตทั้งหมด. ในคำนี้

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

ว่า จตฺตาโร มหาภูตา ตรัสถึงรูปเป็นปัจจัยกับรูป ด้วยอำนาจการสืบต่อ

แห่งรูปทั้งหมด. ในคำนี้ว่า โอกฺกนฺติกฺขเณ นามรูป ตรัสถึงรูปและอรูป

กับรูปและอรูปเป็นปัจจัยกัน ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิและ

วัตถุรูป. อัตถิปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญะมี ๓ อย่าง คืออรูปเป็นอัตถิปัจจัย

แก่รูป รูปเป็นอัตถิปัจจัยแก่รูปรูปเป็นอัตถิปัจจัยแก่อรูป จริงอยู่ ในคำ

นี้ว่า จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอรูปเป็นปัจจัยแก่

รูป ด้วยอำนาจปัญจโวการภพ. ในคำนี้ว่า มหาภูตา อุปาทารูปาน ตรัส

ถึงรูปเป็นปัจจัยแก่รูป ด้วยอำนาจการสืบต่อแห่งรูปทั้งหมด. ในคำมีอาทิ

ว่า " จกฺขวายตน จกฺขุวิญฺาณธาตุยา " พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รูป

เป็นปัจจัยแก่อรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ด้วยอำนาจวัตถุและอารมณ์.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อัตถิปัจจัยนี้โดยสังเขป จะกล่าวว่า ได้แก่ เบญจ-

ขันธ์ที่กำลังเป็นรูป คือนามและรูปที่ถึงซึ่งขณะทั้ง ๓ ก็ถูก.

อัตถิปัจจัยนั้นโดยประเภทแห่งชาจิแจกออกเป็น ๕ ชาติ คือกุศล

อกุศล วิบาก กิริยา และรูป. ใน ๕ ชาตินั้น อัตถิปัจจัยที่เป็นกุศลมี ๒

คือเป็นสหชาตะกับปัจฉาชาตะ, อกุศล วิบาก และกิริยาก็เหมือนกัน. บรรดา

อัตถิปัจจัย ที่เป็นกุศลเป็นต้นนั้น กุศลจำแนกออกเป็น ๔ ภูมิ ด้วยอำนาจ

เป็นกามาวจรเป็นต้น. อกุศลเป็นกามาวจรอย่างเดียว. วิบากเป็นไปทั้ง ๔

ภูมิ. กิริยาเป็นไปใน ๓ ภูมิ อัตถิปัจจัยคือรูปเป็นกามาวจรอย่างเดียว. ก็

อัตถิปัจจัยคือรูปนั้นมี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจสหชาตะและปุเรชาตะ. ใน ๒

อย่างนั้น วัตถุ ๕ และอารมณ์ ๕ เป็นปุเรชาตะอย่างเดียว. หทัยวัตถุ

เป็นสหชาตะก็ได้ เป็นปุเรชาตะก็ได้ ส่วนอาหารและอินทรีย์ที่มาแล้วใน

ปัญหาวาระ ย่อมไม่ได้การจำแนกโดยเป็นสหชาตะเป็นต้น. ผู้ศึกษาพึง

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

ทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่าง ๆ ในอธิการนี้ ดังพรรณนา

มาแล้ว.

ก็ในอัตถิปัจจัยที่จำแนกไว้อย่างนี้ กุศลแม้ทั้ง ๔ ภูมิที่เกิดพร้อมกัน

เป็นอัตถิปัจจัย. ในปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน แก่ขันธ์

ทั้งหลาย โดยนัยเป็นต้นว่า ขันธ์ ๑ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓. และเป็นปัจจัย

แก่จิตตชรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย. แก่สหชาตกุศลที่เหลือ เว้นรูปาวจร-

กุศล เป็นปัจจัยเฉพาะแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตเท่านั้นในอรูปภพ ด้วย

อำนาจของอัตถิปัจจัย. แก่กุศลที่เป็นปัจฉาชาตะทั้ง ๔ ภูมิ เป็นปัจจัยแก่

กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

แม้ในอกุศลเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ อกุศลที่เป็นสหชาตะแม้นั้น

เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุต และจิตตชรูปในปัญจโวการภพ และ

เป็นปัจจัยเฉพาะแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตเท่านั้นในจตุโวการภพ ด้วย

อำนาจของอัตถิปัจจัย. อกุศลที่เป็นปัจฉาชาตอกุศล เป็นปัจจัยแก่กายที่มี

สมุฏฐาน ๔ และ ๓ ในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ก็โดยความเป็นวิบากอัตถิปัจจัยที่เป็นกามาวจรวิบาก และรูปาวจร-

วิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายและกัมมชรูป ในขณะปฏิสนธิโดย

แน่นอน ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย. แต่เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่

สัมปยุตและจิตตชรูปในปวัตติกาล ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย เป็น

ปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ซึ่งถึงฐิติขณะแล้ว ด้วยอำนาจของ

ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย.

แต่อรูปาวจรวิบาก และโลกุตตรวิบาก ที่เกิดในอรูปภพ เป็นปัจจัย

เฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตกับคนเท่านั้น ด้วยอำนาจสหชาตัตถิปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

โลกุตตรวิบากในปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตนและ

จิตตชรูป ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน

และ ๓ ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตัตถิปัจจัย.

โดยความเป็นกิริยา อัตถิปัจจัยที่เป็นรูปาวจรกิริยา เป็นปัจจัยแก่

ขันธ์ที่สัมปยุตและจิตตชรูป ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย. เป็นปัจจัย

แก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ด้วยอำนาจของปัจฉชาตัตถิปัจจัย.

แต่กามาวจรและอรูปาวจรกิริยา เป็นปัจจัยเฉพาะแก่ขันธ์ที่สัมปยุต

เท่านั้น ในอรูปภพ และเป็นปัจจัยแม้แก่จิตตชรูปในปัญจโวการภพ ด้วย

อำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย. เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ด้วย

อำนาจปัจฉาชาตัตถิปัจจัย.

ก็ธรรมคือรูป เป็นอัตถิปัจจัย ๔ ปัจจัย คือสหชาตะ ปุเรชาตะ

อาหาร และอินทรีย์. ใน ๔ ปัจจัยนั้น อัตถิปัจจัยคือรูปที่เป็นสหชาตะ

มี ๔ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งสมุฏฐาน. ในสมุฏฐาน ๔ นั้น รูปที่มีกรรม

เป็นสมุฏฐาน เป็นสหชาตัตถิปัจจัย อย่างนี้คือ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัย

แก่มหาภูตรูป ๓, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑, มหาภูตรูป ๒

เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒, มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูป ด้วย

อำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย. วัตถุรูปในขณะปฏิสนธิ เป็นปัจจัยแก่

กามาวจรวิบากและรูปาวจรวิบากขันธ์ ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย.

รูปที่มีสมุฏฐาน ๓ ที่เหลือเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย

อย่างนี้คือ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓, มหาภูตรูป ๓ เป็น

ปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒, มหา-

ภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูป.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

ส่วน ปุเรชาตัตถิปัจจัยนี้ ๒ อย่าง คือ วัตถุปุเรชาตะ และ

อารัมมณปุเรชาตะ. ทั้ง ๒ อย่างนั้น ผู้ศึกษาพึงเชื่อมความถือเอาตามนัย

ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในปุเรชาตปัจจัยในหนหลัง. แม้อาหารัตถิปัจจัย พึง

ประกอบตามนัยที่ประกอบแล้วในกวฬีการาหารปัจจัยในหนหลัง. ก็

อาหารัตถิปัจจัยนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อัตถิปัจจัย ใน

อธิการนี้ ด้วยความเป็นปัจจัยในขณะที่ตนยังไม่ดับไป. แม้ รูป-

ชีวิตินทรีย์ พึงถือเอาตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในการอธิบายรูปชีวิ-

ตินทรีย์ ในอินทริยปัจจัยข้างต้น. ก็ในที่นี้ รูปชีวิตินทรีย์นั้น พระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อัตถิปัจจัยด้วยความเป็นปัจจัยในขณะที่ตน

ยังไม่ดับไป. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย แม้ด้วยธรรมที่เป็นปัจจยุบบัน

ในอธิการนี้ ดังนี้แล.

วรรณนานิทเทสแห่งอัตถิปัจจัย จบ

[๒๓] นัตถิปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ไม่มี

กล่าวคือ

จิตและเจตสิกธรรมที่ดับไปแล้วตามลำดับด้วยดี เป็นปัจจัยแก่

ธรรมทั้งหลายคือจิต และเจตสิกที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ด้วยอำนาจของ

นัตถิปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

วรรณนานิทเทสแห่งนัตถิปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน นัตถิปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

บทว่า สมนนฺตรนิรุทฺธา คือ เป็นธรรมที่ไม่มีระหว่างตนด้วยจิตตุป-

บาทอื่น ดับไปโดยลำดับด้วยดี. บทว่า ปฏุปฺปนฺนาน แปลว่า เกิดขึ้น

เฉพาะหน้า. ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมยังความที่นัตถิปัจจัย เป็น

นัตถิปัจจัย เพราะอรรถว่า ให้โอกาสแก่ธรรมที่จะเกิดภายหลังเป็นไป

จริงอยู่ เมื่อธรรมที่เกิดก่อน ไม่ให้โอกาสแก่ธรรมที่เกิดภายหลังเป็นไป

ด้วยอำนาจการที่ตนเองดับไป ความที่ธรรมในภายหลังเหล่านั้นจะเกิดขึ้น

เฉพาะหน้า ไม่พึงมี. พรรณนาบาลีในอธิการนี้เท่านี้. คำที่เหลือทั้งหมด

ผู้ศึกษาพึงทราบตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในอนันตรปัจจัยนั่นเอง.

จริงอยู่ ลักษณะของปัจจัยเท่านั้น เป็นความแปลกกันในระหว่าง

อนันตรปัจจัยกับนัตถิปัจจัยนี้. แต่ความต่างกันแห่งปัจจัยและปัจจยุบบัน

ไม่มีเลย. อนึ่ง ในปัจจัยทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปัจจัย

และปัจจยุบบันโดยสรุปไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า จักขุวิญญาณธาตุ และธรรม

ที่สัมปยุต ด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ. ในที่นี้ทรงแสดง

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด โดยทั่ว ๆ ไป ด้วยอำนาจการดับไปและเกิดขึ้นว่า

ธรรมคือจิตและเจตสิกที่ดับไปตามลำดับด้วยดี เป็นปัจจัยแก่ธรรมคือจิต

และเจตสิกที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า.

วรรณนานิทเทสแห่งนัตถิปัจจัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

[๒๔] วิคตปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ปราศ-

จากไป กล่าวคือ.

จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลายที่ปราศจากไปแล้ว ตามลำดับด้วยดี

เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย คือจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า

ด้วยอำนาจของวิคตปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งวิคตปัจจัย

ใน วิคตปัจจัยนิทเทส บทว่า สมนนฺตรวิคตา คือ ปราศจากไปโดย

ลำดับด้วยดี. ด้วยบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า วิคตปัจจัยเป็น

ปัจจัยโดยภาวะที่ตนเองปราศจากไป. นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัยนี้ต่างกัน

เพียงพยัญชนะเท่านั้น เนื้อความไม่ต่างกันเลย.

วรรณนานิทเทสแห่งวิคตปัจจัย จบ

[๒๕] อวิคตปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังไม่

ปราศจากไป กล่าวคือ

๑. นามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของ

อิวิคตปัจจัย

๒. มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของ

อวิคตปัจจัย

๓. ในปฏิสนธิขณะ นามธรรมและรูปธรรมทั้งหลาย เป็น

ปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

๔. จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลายที่มี

จิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๕. มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป ด้วยอำนาจของ

อวิคตปัจจัย

๖. จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๗. โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๘. ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๙. ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคต-

ปัจจัย

๑๐. กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๑๑. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคต-

ปัจจัย

๑๒. สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๑๓. คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

๑๔. รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม

ทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคต-

ปัจจัย

๑๕. โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่

ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของ

อวิคตปัจจัย

๑๖. รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏ-

ฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบ

กับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๑๗. มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป รูป

นั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลาย

ที่ประกอบกับมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของ

อวิคตปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งอวิคตปัจจัย

คำเป็นต้นว่า จกฺตาโร ขฺนธา ใน อวิคตปัจจัยนิทเทส ผู้ศึกษา

พึงทราบเนื้อความโดยอาการทั้งปวง ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในอัตถิ-

ปัจจัยนิทเทส. จริงอยู่ ปัจจัยนี้กับอัตถิปัจจัยต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้น

เนื้อความหาตางกันไม่.

วรรณนานิทเทสแห่งอวิคตปัจจัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

วรรณนาปัจจยนิทเทสวาระ

(บาลีอรรถกถาหน้า ๕๙๑-๕๙๒)

เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งการดำเนินไปแห่งญาณ ในปัจจัย ๒๔ เหล่านี้

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วทั้งโดยอุทเทส และนิทเทส ดังพรรณนา

มาแล้ว บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบ ปกิณณกวินิจฉัย ด้วยอำนาจแห่งบท ๑๐

เหล่านี้คือ

๑. โดยภาวะที่ธรรมหลาย ๆ อย่าง เป็นปัจจัยอย่างเดียวกัน

๒. โดยภาวะธรรมอย่างเดียว เป็นปัจจัยได้หลาย ๆ อย่าง

๓. โดยภาวะที่ปัจจัยอย่างเดียว เป็นปัจจัยได้หลาย ๆ อย่าง

๔. โดยปัจจัยที่เป็นสภาคะกัน

๕. โดยปัจจัยที่เป็นวิสภาคะกัน

๖. โดยปัจจัยที่เป็นคู่กัน

๗. โดยเห็นชนกปัจจัย และอชนกปัจจัย

๘. โดยปัจจัยที่เข้ากับธรรมได้ทั้งหมดและรูปนี้ทั้งหมด

๙. โดยการกำหนดมีอาทิว่า รูปเป็นปัจจัยแก่รูปเป็นต้น

๑๐. โดยการจำแนกโดยภพ.

ใน ๑๐ อย่างนั้น

๑. บทว่า โดยภาวะที่ธรรมหลาย ๆ อย่างเป็นปัจจัยอย่างเดียว

กัน ความว่า ธรรมหลายอย่างเป็นปัจจัยโดยความเป็นอันเดียวกัน ใน

ปัจจัย ๒๓ ที่เหลือเว้น กัมมปัจจัยเหล่านี้. ส่วนกัมมปัจจัย ได้แก่เจตนา

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

ธรรมอย่างเดียวเท่านั้น. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยภาวะที่ธรรมหลาย ๆ

อย่างเป็นปัจจัยอย่างเดียวกัน ในอธิการนี้อย่างนี้ก่อน.

๒. บทว่า โดยภาวะที่ธรรมอย่างเดียวเป็นปัจจัยหลาย ๆ อย่าง

ความว่า ในเหตุปัจจัยก่อน ธรรมอย่างหนึ่งคือ อโมหะ ไม่เป็นเพียง

ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย ฌานปัจจัยเท่านั้น (แต่) เป็นปัจจัย

ด้วยอำนาจปัจจัย ๒๐ ที่เหลือ. อโลภะ และ อโทสะ แม้ไม่เป็นอินทริย-

ปัจจัยและมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๘ ที่เหลือ. โลภะ

โมหะ แม้ไม่เป็นวิปากปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๗ ที่เหลือ.

โทสะ แม้ไม่เป็นอธิปติปัจจัย ก็เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๖ ที่

เหลือ.

ใน อารัมมณปัจจัย รูปายตนะ เป็นปัจจัย ๔ อย่าง คืออารัมมณ-

ปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย แก่จักขุวิญญาณธาตุ

มโนธาตุ และอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ แต่ยังเป็นปัจจัยด้วยอำนาจของ

อารัมมณาธิปติปัจจัย และอารัมมณูปนิสสยปัจจัยอีก แก่สเหตุกมโน-

วิญญาณธาตุ. ผู้ศึกษาพึงทราบความที่อารัมมณปัจจัยธรรมทั้งหมด เป็น

ปัจจัยหลายอย่างโดยนัยนี้.

ใน อธิปติปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบความที่อารัมมณาธิปติเป็นปัจจัย

หลายอย่าง ตามนัยที่กล่าวแล้วในอารัมมณปัจจัย. ในธรรมที่เป็นสหชาตา-

ธิปติ วิมังสาธิปติ เป็นปัจจัย ๒๐ อย่าง เหมือนอโมหะเหตุ. ฉันทะ ไม่

เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย

ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๗ ที่เหลือ.

จิตตะ ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย ฌานปัจจัย และ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

มัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๙ ที่เหลือ. วิริยะ ไม่เป็นเหตุ

ปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และฌานปัจจัย เป็นปัจจัย

ด้วยอำนาจปัจจัย ๙ ที่เหลือ.

ใน อนันตรปัจจัย บรรดาขันธ์ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

โดยนัย เป็นต้นว่า " จกฺวิญฺญาณธาตุ ".

เวทนาขันธ์ ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหาร-

ปัจจัย และมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๙ ที่เหลือ.

สัญญาขันธ์ ไม่เป็นอินทริยปัจจัย และฌานปัจจัย เป็นปัจจัย

ด้วยอำนาจปัจจัย ๑๗ ที่เหลือ.

ใน สังขารขันธ์ เหตุ เป็นปัจจัยตามนัยที่กล่าวแล้วในเหตุปัจจัย

ฉันทะ และ วิริยะ เป็นปัจจัยตามนัยที่กล่าวแล้วในอธิปติปัจจัย.

ผัสสะ ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อินทริยปัจจัย

ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๘ ที่เหลือ.

เจตนา ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย

และมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๙ ที่เหลือ.

วิตก ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย

และอินทริยปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑ ที่เหลือ.

วิจาร ไม่เป็นมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๘ ที่เหลือ.

ปีติ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑ เหล่านั้นเหมือนกัน.

เอกัคคตา ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย และ

อาหารปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๒๐ ที่เหลือ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

สัทธา ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย

ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๘ ที่เหลือ

สติ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๘ คือปัจจัย ๑๘ เหล่านั้น และ

มัคคปัจจัย.

ชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๘ ที่กล่าวแล้วในสัทธา.

หิริ และ โอตตัปปะ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๗ ที่เหลือ โดย

เอาอินทริยปัจจัยออก.

เจตสิกที่เป็นคู่ ๆ กัน มี กายปัสสัทธิ เป็นต้น และบรรดา

เยวาปนกะ เจตสิกคือ อธิโมกข์ มนสิการ ตัตรมัชฌัตตตา กรุณา และ

มุทิตา ก็เหมือนกัน คือเป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๗ เท่านั้น.

ส่วน วิรตีเจตสิก เป็นปัจจัย ๑๘ อย่าง คือปัจจัย ๑๗ เหล่านั้น

และมัคคปัจจัย.

มิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัย ๑๗ อย่าง โดยนำวิปากปัจจัยออก

มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ และ มิจฉาอาชีวะ เป็นปัจจัย ๑๙

อย่าง คือปัจจัย ๑๗ เหล่านั้น และกัมมปัจจัย กับอาหารปัจจัย

เจตสิกธรรมเหล่านี้คือ อริหิกะ อโนตตัปปะ มานะ ถีนะ มิทธะ

อุทธัจจะ ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย

อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย แต่เป็นปัจจัย

ด้วยอำนาจปัจจัย ๑๖ ที่เหลือ.

วิจิกิจฉา อิสสา มัจฉริยะ และ กุกกุจจะ เป็นปัจจัย ๑๕ อย่าง

โดยเอาอธิปติปัจจัยออกจากนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

พึงทราบความที่ วิญญาณขันธ์ เป็นปัจจัยหลายอย่าง ตามนัยที่

กล่าวแล้วในอธิปติปัจจัย. แม้ในสมนันตรปัจจัยก็นัยนี้เหมือนกัน.

ใน สหชาตปัจจัย บรรดาขันธ์ ๔ ก่อน พึงทราบความที่ธรรม

หนึ่ง ๆ เป็นปัจจัยหลายอย่าง ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นเอง.

มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัย ๙ อย่าง คืออารัมมณปัจจัย อารัมมณา-

ธิปติปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย

ปุเรชาตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.

หทัยวัตถุ เป็นปัจจัย ๑๐ อย่าง คือปัจจัย ๙ เหล่านั้น และ

วิปปยุตตปัจจัย.

ใน อัญญมัญญปัจจัย ไม่มีธรรมที่ไม่เคยมีมาก่อน (คือเหมือนกับ

สหชาตปัจจัย).

ใน นิสสยปัจจัย จักขายตนะ เป็นต้น เป็นปัจจัย ๙ อย่าง คือ

อารัมมณปัจจัย อารัมมณาธิปติปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย

ปุเรชาตปัจจัย อินทริยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคต-

ปัจจัย

ใน อุปนิสสยปัจจัย ไม่มีธรรมไม่เคยกล่าวมาก่อน.

ใน ปุเรชาตปัจจัย รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ และ

รสายตนะ เป็นปัจจัย ๖ อย่าง คือ อารัมมณปัจจัยย อารัมมณาธิปติปัจจัย

อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิตตปัจจัย ในปุเรชาต

ปัจจัยนี้มีคำที่ยังไม่ได้อธิบายเพียงเท่านี้.

ใน ปัจฉาชาตปัจจัย เป็นต้น ไม่มีธรรมที่ยังไม่เคยมีมาก่อน.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

ใน อาหารปัจจัย กพฬีการาหารเป็นปัจจัย ๖ อย่าง คืออารัมมณ-

ปัจจัย อารัมมณาธิปติปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย อาหารปัจจัย อัตถิปัจจัย

และอวิคตปัจจัย.

ใน อินทริยปัจจัย เป็นต้น ไม่มีธรรมที่ยังไม่เคยมีมา, ผู้ศึกษาพึง

ทราบวินิจฉัย แม้โดยภาวะที่ธรรมอย่างเดียว เป็นปัจจัยได้หลายอย่าง

ในอธิการนี้ ดังพรรณนามาแล้วแล.

๓. บทว่า โดยภาวะที่ปัจจัยเดียว เป็นปัจจัยได้หลายอย่าง

ความว่า ธรรมใดเป็นปัจจัยแห่งปัจจยุบบันชนิดใดชนิดหนึ่ง ในบรรดา

เหตุปัจจัย เป็นต้น โดยอาการใด โดยอรรถใด ธรรมนั้นไม่ละอาการ

นั้น อรรถนั้น ถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่างแก่ธรรมเหล่านั้นในขณะนั้น

เอง โดยอาการใด โดยอรรถใด อย่างอื่นอีก ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย

ธรรมนั้นโดยภาวะที่เป็นปัจจัยได้หลายอย่าง โดยอาการนั้น โดยอรรถนั้น

คือ

อโมหะ เป็นเหตุปัจจัย อโมหะนั้นไม่ละอรรถแห่งเหตุปัจจัยนั้นเลย

ถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่าง โดยอาการ ๑๑ อีก คือ อธิปติปัจจัย สห-

ชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย อินทริยปัจจัย

มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคต-

ปัจจัย.

อโลภะ และ อโทสะ ถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่าง ด้วยอำนาจ

ปัจจัยที่เหลือจาก ๑๑ ปัจจัยนั้น โดยนำปัจจัย ๓ คือ อธิปติปัจจัย

อินทริยปัจจัย และมัคคปัจจัย ออก. อโลภะ และ อโทสะ ทั้งสองนี้

ย่อมได้ในเหตุปัจจัย และวิปากปัจจัยด้วย. ส่วนในกุศลและกิริยา ขาด

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

วิปากปัจจัยไป. โลภะ โทสะ และ โมหะ ย่อมถึงความเป็นปัจจัยหลาย อย่าง

ด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือ เว้นปัจจัย ๔ คือ ปัจจัย ๓ เหล่านั้น และวิปาก-

ปัจจัย.

อารัมมณปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งอารัมมณปัจจัยนั้นเลย ย่อมถึง

ความเป็นปัจจัยหลายอย่าง ด้วยอาการ ๗ อีก คือ อารัมมณาธิปติปัจจัย

นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย

และอวิคตปัจจัย. นี้เป็นกำหนดอย่างสูงสุดในอารัมมณปัจจัยนี้. ก็เมื่อ

อรูปธรรมคือรูปธรรม ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอารัมมณปัจจัยมีอยู่

ย่อมได้ปัจจัยเพิ่มขึ้นเพียงอารัมมณาธิปติปัจจัย และอารัมมณูปนิสสยปัจจัย

เท่านั้น.

วิมังสา ใน อธิปติปัจจัย เหมือนกับอโมหะ. ฉันทะ. ไม่ละอรรถ

แห่งอธิปติปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่าง โดยอาการ ๘ อีก

คือ สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย สัมปยุตต-

ปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. วิริยะ ถึงความ

เป็นปัจจัยหลายอย่างด้วยอาการ ๑๐ ด้วยอำนาจปัจจัยเหล่านี้ คือ ปัจจัย

๘ เหล่านั้น และอินทริยปัจจัย กับมัคคปัจจัย. จิตตะ ถึงความเป็นปัจจัย

หลายอย่าง โดยอาการ ๑๐ นอกเหนือจากอธิปติปัจจัย ด้วยอำนาจการ

นำมัคคปัจจัยออกจากนั้น แล้วเพิ่มอาหารปัจจัยเข้าไป. ส่วน อารัมมณา-

ธิปติปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบว่าเป็นปัจจัยหลายอย่าง ตามนัยที่กล่าวแล้ว

ในอารัมมณปัจจัยในหนหลัง.

อนันตรปัจจัย และ สมนันตรปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งอนันตรปัจจัย

และสมนันตรปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่าง ด้วยอาการ ๕ อีก

คือ อุปนิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

เจตนาในอริยมรรคเท่านั้น ย่อมได้ความเป็นกัมมปัจจัย ในอนันตร-

ปัจจัยนี้ ธรรมที่เหลือหาได้ไม่.

สหชาตปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งสหชาตปัจจัยเลย ย่อมถึงความเป็น

ปัจจัยหลายอย่าง ด้วยอาการ ๑๔ อีก คือ เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย

อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย

อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย

อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. นี้เป็นกำหนดอย่างสูงสุด แต่ว่าด้วยอำนาจ

วัตถุสหชาตะ (วัตถุที่เกิดพร้อม คือ ป. หทัย) เป็นต้น พึงทราบว่าไม่มี

เหตุปัจจัยเป็นต้น ในวัตถุสหชาตะนี้. แม้ในอัญญมัญญปัจจัย ก็นัยนี้เหมือน

กัน.

นิสสยปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งนิสสยปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัย

หลายอย่าง ด้วยอาการ ๑๗ แม้อื่นอีก ด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือ โดยนำ

ออก ๖ ปัจจัยในบรรดาปัจจัย ๔ คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย

ปัจฉาชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย และอรรถแห่ง

นิสสยปัจจัยของตนด้วย. แม้นี้ก็เป็นกำหนดอย่างสูงสุด ก็เมื่อว่าด้วย

อำนาจแห่งวัตถุนิสสยะเป็นต้น. พึงทราบว่า ไม่มีเหตุปัจจัยเป็นต้น ใน

นิสสยปัจจัยนี้.

ใน อุปนิสสยปัจจัย อารัมมณูปนิสสยปัจจัย เหมือนกับอารัมมณา-

ธิปติปัจจัย. อนันตรูปนิสสยปัจจัยไม่ละอรรถแห่งอนันตรูปนิสสยปัจจัย

ย่อมถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่าง ด้วยอาการ ๖ อีก คือ อนันตรปัจจัย

สมนันตรปัจจัย กัมมปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย. และวิคตปัจจัย.

อริยมรรคเจตนาเท่านั้น ย่อมได้ความเป็นกัมมปัจจัย ในอนันตรูป-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

นิสสยปัจจัยนี้ ธรรมที่เหลือหาได้ไม่. ปกตูปนิสสยะ ก็คือปกตูปนิสสย-

ปัจจัยนั่นเอง.

ปุเรชาตปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งปุเรชาตปัจจัยของตน ย่อมถึงความ

เป็นปัจจัยอีกหลายอย่าง โดยอาการ ๘ อีก คือ อารัมมณปัจจัย อารัมมณา-

ธิปติปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสปัจจัย อินทริยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย

อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. นี้เป็นการแสดงปัจจัยที่มากที่สุด แต่ใน

อารัมมณปุเรชาตปัจจัย ย่อมไม่ได้นิสสยปัจจัย อินทริยปัจจัย และวิปป-

ยุตตปัจจัย. พึงทราบปัจจัยที่ได้หรือไม่ได้ ยิ่งไปกว่านี้.

ปัจฉาชาตปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งปัจฉาชาตปัจจัยของตน ย่อมถึง

ความเป็นปัจจัยหลายอย่าง ด้วยอาการ ๓ อีก คือ วิปปยุตตปัจจัย อัตถิ-

ปัจจัยและอวิคตปัจจัย.

อาเสวนปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งอาเสวนปัจจัย ย่อมถึงความเป็น

ปัจจัยอีกหลายอย่างโดยอาการ ๕ คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย

อุปนิสสยปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย.

กัมมปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งกัมมปัจจัย ที่เป็นกัมมปัจจัยในขณะ

เดียวกัน (เอกขณิกกัมมปัจจัย คือ สหชาตกัม) ก่อน ยังถึงความเป็นปัจจัย

อีกหลายอย่าง ด้วยอาการ ๙ คือ สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย

นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย

อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.

ที่เป็น นานักขณิกกัมมปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัย อีกหลายอย่าง

โดยอาการ ๕ คือ อุปนิสสยปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย

นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

วิปากปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งวิปากปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัย

อีกหลายอย่างด้วยอาการ ๑๔ คือ เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย สหชาตปัจจัย

อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย

ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย

และอวิคตปัจจัย.

ใน อาหารปัจจัย กวฬีการาหาร ไม่ละอรรถแห่งอาหารปัจจัย

ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีกหลายอย่างด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ อัตถิปัจจัย

และอวิคตปัจจัย. อาหาร ๓ ที่เหลือ ไม่ละอรรถแห่งอาหารปัจจัย ย่อมถึง

ความเป็นปัจจัยอีกหลายอย่างด้วยอาการ ๑๑ คือ อธิปติปัจจัย สหชาตปัจจัย

อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อินทริยปัจจัย

สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย ตาม

สมควร.

ใน อินทริยปัจจัย รูปอินทรีย์ ๕ ไม่ละอรรถแห่งอินทริยปัจจัย

ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีกหลายอย่าง โดยอาการ ๕ คือ นิสสยปัจจัย

ปุเรชาตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย. แม้รูปชีวิตินทรีย์

ก็ไม่ละอรรถแห่งอินทริยปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีกหลายอย่างโดย

อาการ ๒ คือ อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. อรูปอินทรีย์ ไม่ละอรรถ

แห่งอินทริยปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีกหลายอย่างโดยอาการ ๑๓ คือ

เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย

วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย

วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย ตามสมควร.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

ฌานปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งฌานปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัย

อีกหลายอย่างโดยอาการ ๑๐ คือ สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย

นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย อินทริยปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย

วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.

มัคคปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งมัคคปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีก

หลายอย่างโดยอาการ ๑๒ คือ ปัจจัย ๑๐ ที่กล่าวแล้วในฌานปัจจัย และ

เหตุปัจจัย กับอธิปติปัจจัย ตามสมควร.

สัมปยุตตปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งสัมปยุตตปัจจัย ย่อมถึงความเป็น

ปัจจัยอีกหลายอย่างโดยอาการ ๑๓ คือ เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย สหชาต-

ปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย

อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.

วิปปยุตตปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งวิปปยุตตปัจจัย ย่อมถึงความเป็น

ปัจจัยอีกหลายอย่างด้วยอาการ ๑๗ ตามสมควร คือ ปัจจัยที่เหลือ โดย

นำเอาปัจจัย ๖ ออก คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อาเสวนปัจจัย

สัมปยุตตปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย. พึงทราบวิภาคแห่งปัจจัยแห่ง

รูป และอรูปในวิปปยุตตปัจจัยนั้น.

อัตถิปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งอัตถิปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีก

หลายอย่างโดยอาการ ๑๘ ตามสมควร ด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือ ด้วยนำ

ปัจจัย ๕ ออก คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อาเสวนปัจจัย

นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย.

นัตถิปัจจัย และ วิคตปัจจัย เหมือนกับอนันตรปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

อวิคตปัจจัย เหมือนกับอัตถิปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้

โดยภาวะที่ปัจจัยอย่างเดียวเป็นปัจจัยได้หลายอย่าง ในอธิการนี้ ดัง

พรรณนามาแล้ว.

๔. บทว่า โดยเป็นปัจจัยที่สภาคกัน ความว่า จริงอยู่

ในปัจจัย ๒๔ นี้ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อนันตรูปนิสสยปัจจัย

อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย เป็นสภาคกัน. อนึ่ง อารัมมณ-

ปัจจัย อารัมมณาธิปติปัจจัย และอารัมมณูปนิสสยปัจจัย ก็เป็นสภาคกันแล.

พึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วยอำนาจของปัจจัยที่เป็นสภาคกันในอธิการนี้ ด้วย

อุบายนี้.

๕. บทว่า โดยเป็นปัจจัยที่เป็นวิสภาคกัน ความว่า ก็บรรดา

ปัจจัยเหล่านี้ ปุเรชาตปัจจัยเป็นวิสภาคกับปัจฉาชาตปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย

เป็นวิสภาคกับวิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัยเป็นวิสภาคกับนัตถิปัจจัย วิคต-

ปัจจัยเป็นวิสภาคกับอวิคตปัจจัย. พึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วยอำนาจของปัจจัย

ที่เป็นวิสภาคกันในอธิการนี้ โดยอุบายนี้.

๖. บทว่า โดยเป็นปัจจัยที่เป็นคู่กัน มีอธิบายว่า ผู้ศึกษาพึง

ทราบวินิจฉัยด้วยอำนาจของปัจจัยที่เป็นคู่กันในปัจจัยเหล่านี้ ด้วยเหตุเหล่า

นี้คือโดยความที่มีอรรถเหมือนกัน มีศัพท์เหมือนกัน มีกาลที่ผิดกัน เป็น

เหตุและเป็นผลกัน และเป็นปฏิปักษ์ต่อกันและกัน

จริงอยู่ อนันตรปัจจัย กับสมนันตรปัจจัย จัดเป็นคู่หนึ่ง เพราะ

มีเนื้อความเหมือนกัน.

นิสสยปัจจัย กับอุปนิสสยปัจจัย จัดเป็นคู่หนึ่ง เพราะมีศัพท์

เหมือนกัน .

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

ปุเรชาตปัจจัย กับปัจฉาชาตปัจจัย จัดเป็นคู่หนึ่ง เพราะมีกาลเป็น

ปฏิปักษ์กัน.

กัมมปัจจัย กับวิปากปัจจัย จัดเป็นคู่หนึ่ง เพราะเป็นเหตุและเป็น

ผลกัน.

สัมปยุตตปัจจัย กับวิปปยุตตปัจจัย จัดเป็นคู่หนึ่ง เพราะเป็น

ปฏิปักษ์ซึ่งกันและกัน.

อัตถิปัจจัย กับนัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย กับอวิคตปัจจัยก็เหมือนกัน

อย่างนั้น. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วยอำนาจปัจจัยที่เป็นของคู่กันใน

อธิการนี้ ดังกล่าวมาแล้ว.

๗. บทว่า โดยเป็นชนกปัจจัย และอชนกปัจจัย ความว่า

ก็บรรดาปัจจัยเหล่านี้ ปัจจัยนี้คืออนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อนันตรูป-

นิสสยปัจจัย ปกตูปนิสสยปัจจัย และอาเสวนปัจจัย นานักขณิกกัมมปัจจัย

นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย จัดเป็นชนกปัจจัยอย่างเดียว ไม่เป็นอชนกปัจจัย.

ปัจฉาชาตปัจจัยเป็นฝ่ายอุปถัมภ์เท่านั้น ไม่เป็นชนกปัจจัย. ปัจจัยที่เหลือ

เป็นชนกับปัจจัย อชนกปัจจัยและอุปถัมภ์ปัจจัย. พึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วย

อำนาจของปัจจัย ที่เป็นชนกปัจจัยและอชนกปัจจัยในอธิการนี้ ดังพรรณนา

มาแล้ว.

๘. บทว่า โดยเป็นปัจจัยที่เข้ากับธรรมทั้งหมด และไม่ทั้งหมด

ความว่า ในปัจจัยเหล่านี้ สหชาตปัจจัย นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย และ

อวิคตปัจจัย ชื่อว่าเข้าได้กับธรรมทั้งหมด (สพฺพฏฺานิก). อธิบายว่า

เป็นที่ตั้ง เป็นเหตุแห่งรูปธรรมและอรูปธรรม ที่เป็นสังขตะทั้งหมด

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

อธิบายว่า ธรรมแม้อย่างหนึ่งเมื่อเกิดขึ้น เว้นจากปัจจัยเหล่านี้ย่อมไม่มี.

อารัมมณะ อารัมมณาธิปติ อนันตระ สมนันตระ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูป-

นิสสยะ อาเสวนะ สัมปยุต นัตถิ และวิคตปัจจัย ชื่อว่าปัจจัยที่เข้าได้กับ

ธรรมไม่หมด (อสพฺพฏฺานิก) เพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งรูปธรรมและอรูป-

ธรรมทั้งหมด อธิบายว่า เป็นที่ตั้งเป็นเหตุแห่งอรูปขันธ์ทั้งหลายเท่านั้น.

จริงอยู่ อรูปธรรมเท่านั้นย่อมเกิดเพราะปัจจัยเหล่านี้ รูปธรรมหาเกิดขึ้น

ไม่. แม้ปุเรชาตปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย ชื่อว่าปัจจัยที่เข้าไม่ได้กับ

ธรรมทั้งหมด (อสพฺพฏฺานิก) เพราะเป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปขันธ์และ

รูปขันธ์เท่านั้นตามลำดับ. แม้ปัจจัยที่เหลือจากที่กล่าวแล้วก็ชื่อว่าประกอบ

ไม่ได้ทุกแห่ง เพราะเป็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นของรูปธรรมและอรูปธรรม

บางพวก. พึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วยอำนาจของปัจจัยที่เข้าได้ทุกแห่ง และ

เข้าไม่ได้ทุกแห่งในอธิการนี้ ดังพรรณนามาแล้ว.

๙. บทว่า โดยการกำหนดว่า รูปเป็นปัจจัยแก่รูปเป็นต้น

ความว่า ก็ในปัจจัย ๒๔ เหล่านี้ แม้ปัจจัยอย่างหนึ่งที่เป็นรูปอย่างเดียว

จะชื่อว่าเป็นปัจจัยเฉพาะแก่รูปเท่านั้น ย่อมไม่มี. แต่ที่เป็นรูปโดยส่วน

เดียว เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปเท่านั้นมีอยู่.

ถามว่า ก็ปัจจัยอย่างนั้นคือปัจจัยไหน ? ตอบว่า ปุเรชาตปัจจัย.

จริงอยู่ ปุเรชาตปัจจัยเป็นรูปโดยแน่นอน (แต่) เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูป

เท่านั้น. ปัจจัยที่เป็นรูปอย่างเดียวชื่อว่าเป็นปัจจัยแก่รูปและอรูปไม่มี แต่

ที่เป็นอรูปอย่างเดียวเป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปเท่านั้นมีอยู่. ถามว่า ได้แก่

ปัจจัยไหน ? ตอบว่า ได้แก่ปัจจัย ๖ คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

อาเสวนปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย. จริงอยู่

ปัจจัยทั้ง ๖ นั้นเป็นอรูปอย่างเดียว เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปเท่านั้น.

ปัจจัยที่เป็นอรูปอย่างเดียว เป็นปัจจัยเฉพาะแก่รูปเท่านั้นมีอยู่.

ถามว่า ได้แก่ปัจจัยไหน ? ตอบว่า ได้แก่ปัจฉาชาตปัจจัย. จริงอยู่

ปัจฉาชาตปัจจัยนั้นเป็นอรูปอย่างเดียว เป็นปัจจัยเฉพาะแก่รูปเท่านั้น.

ส่วนปัจจัยที่เป็นอรูปธรรมอย่างเดียว เป็นปัจจัยทั้งแก่รูปและอรูป

มีอยู่. ถามว่า ได้แก่ปัจจัยไหน ตอบว่า ได้แก่ปัจจัย ๕ คือ เหตุ-

ปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย. จริงอยู่

ปัจจัย ๕ ทั้งหมดนั้น เป็นอรูปอย่างเดียว เป็นปัจจัยแก่รูปธรรมก็ได้

อรูปธรรมก็ได้. แต่ปัจจัยที่เป็นทั้งรูปและอรูปโดยแน่นอน ชื่อว่าเป็น

ปัจจัยเฉพาะแก่รูปเท่านั้น ย่อมไม่มี แต่เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปมีอยู่

ถามว่า ได้แก่ปัจจัยไหน ? ตอบว่า ได้แก่อารัมมณปัจจัย และ

อุปนิสสยปัจจัย. จริงอยู่ ปัจจัยทั้งสองนี้เป็นทั้งรูปและอรูปแน่นอน (แต่)

เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปเท่านั้น.

อนึ่ง ปัจจัยที่เป็นทั้งรูปและอรูปโดยแน่นอน เป็นปัจจัยทั้งแก่รูป

และอรูปมีอยู่. ถามว่า ได้แก่ปัจจัยไหน ? ตอบว่า ได้แก่อธิปติปัจจัย

สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย

วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. จริงอยู่ ปัจจัยนั้นทั้งหมด

เป็นทั้งรูปและอรูป (และ) เป็นปัจจัยทั้งแก่รูปและอรูปด้วย. พึงทราบ

วินิจฉัยแม้โดยการกำหนดมีอาทิว่า รูปเป็นปัจจัยแก่รูปเป็นต้น ในอธิการนี้

ดังกล่าวมาแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

๑๐. บทว่า โดยการจำแนกโดยภพ ความว่า ก็บรรดาปัจจัย

๒๔ เหล่านี้ ใน ปัญจโวการภพก่อน ปัจจัยอะไร ๆ ที่ชื่อว่ามีไม่ได้

ย่อมไม่มี. ส่วนใน จตุโวการภพ ปัจจัย ๒๑ ที่เหลือ ย่อมมีได้ โดยนำ

ปัจจัย ๓ คือ ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย และวิปปยุตตปัจจัย ออก

ใน เอกโวการภพ ย่อมได้ปัจจัย ๗ เหล่านั้น คือ สหชาตปัจจัย อัญญ-

มัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย อินทริยปัจจัย อัตถิปัจจัย และ

อวิคตปัจจัย. ส่วนในรูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ในภายนอก ย่อมได้ปัจจัย

๕ เท่านั้น คือ สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย

และอวิคตปัจจัย.

พึงทรามวินิจฉัยแม้โดยการจำแนกโดยภพในอธิการนี้ ดังกล่าวมา

แล้วแล.

วรรณนาปัจจัยนิทเทสวาระ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

อนุโลมติกปัฏฐาน

๑. กุสลติกะ

๑. ปฏิจจวาระ

ปฏิจจวารอุทเทส

(ปัณณัตติวาระ)

กุศลบท

[๒๖] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

ได้อย่างไร ?

๒. อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้

อย่างไร ?

๓. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

ได้อย่างไร ?

๔. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๕. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๖. กุศลธรรมและอกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะ

เหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๑. เรียกปุจฉาวาระก็ได้.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

๗. กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศล-

ธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

อกุศลบท

[๒๗] ๑. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

ได้อย่างไร ?

๒. กุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้

อย่างไร ?

๓. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

ได้อย่างไร ?

๔. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๕. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม เกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๖. กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๗. กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศล-

ธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

อัพยากตบท

[๒๘] ๑. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุ

ปัจจัยได้อย่างไร ?

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

๒. กุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้

อย่างไร ?

๓. อกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

ได้อย่างไร ?

๔. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๕. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิด

ขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๖. กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๗. กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอัพยากต-

ธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

กุสลาพยากตบท

[๒๙] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๒. อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๓. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิด

ขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๔. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และ

อัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

๕. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และ

อัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๖. กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากต-

ธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๗. กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศล-

ธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

อกุสลาพยากตบท

[๓๐] ๑. กุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๒. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๓. อัพยากตธรรม อาศัยขอกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิด

ขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๔. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม และ

อัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๕. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม และ

อัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๖. กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรม และ

อัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๗. กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศล-

ธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

กุสลากุศล

[๓๑] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม และอกุศลธรรม เกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๒. อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม และอกุศลธรรม เกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๓. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอกุศลธรรม เกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๔. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และ

อกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๕. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และ

อกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๖. กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม และอกุศล-

ธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๗. กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศล-

ธรรม และอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

กุสลากุสลาพยากตบท

[๓๒] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากต-

ธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๒. อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากต-

ธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

๓. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากต-

ธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๔. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศล-

ธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๕. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศล-

ธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๖. กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม

และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

๗. กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศล-

ธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้

อย่างไร ?

[๓๓] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย

ได้อย่างไร ?

เหตุปัจจัย ท่านจำแนกไว้พิสดารแล้วอย่างไร แม้อารัมมณ-

ปัจจัยพึงจำแนกให้พิสดารอย่างนั้น โดยแนวแห่งการสอน.

[๓๔] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย

ได้อย่างไร ฯ ล ฯ เพราะอนันตรปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะสมนันตรปัจจัย

ฯ ล ฯ เพราะสหชาตปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะอัญญมัญญปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะ

นิสสยปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะอุปนิสสยปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะปุเรชาตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

ฯ ล ฯ เพราะปัจฉาชาตปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะอาเสวนปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะ

กัมมปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะวิปากปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะอาหารปัจจัย ฯ ล ฯ

เพราะอินทริยปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะฌานปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะมัคคปัจจัย

ฯ ล ฯ เพราะสัมปยุตตปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะวิปปยุตตปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะ

อัตถิปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะนัตถิปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะวิคตปัจจัยได้

อย่างไร ?

[๓๕] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอวิคตปัจจัย

ได้อย่างไร ?

อาศัยอกุศลธรรม, อาศัยอัพยากตธรรม, อาศัยกุศลธรรม และ

อัพยากตธรรม, อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรม, อาศัยกุศลธรรม

และอกุศลธรรม, กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม และ

อัพยกตธรรม เกิดขึ้น. อกุศลธรรม อาศัย, อัพยากตธรรม อาศัย,

กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัย, อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม

อาศัย, กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัย, กุศลธรรม อกุศลธรรม

และอัพยากตธรรม อาศัย กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม

เกิดขึ้น เพราะอวิคตปัจจัยได้อย่างไร ?

เหตุปัจจัย ท่านจำแนกไว้พิสดารแล้วอย่างไร แม้อวิคตปัจจัย

ก็พึงจำแนกให้พิสดารเหมือนอย่างนั้น โดยแนวแห่งการสอน.

เอกมูลปัจจัย จบ

[๓๖] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะ

อารัมมณปัจจัยได้อย่างไร ? ฯ ล ฯ กุศลธรรม อกุศลธรรม และ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม

เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัยได้อย่างไร ?

[๓๗] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะ

อธิปติปัจจัยได้อย่างไร ? ฯ ล ฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย,

เพราะเหตุปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะ

อวิคตปัจจัยได้อย่างไร ?

ทุกมูลกปัจจัย จบ

[๓๘] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะ

อารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัยได้อย่างไร ? เพราะเหตุปัจจัย เพราะ

อารัมมณปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะ

อารัมมปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้อย่างไร ?

ติกมูลกปัจจัย จบ

[๓๙] กุศลธรรม อาศัยอกุศลกรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะ

อารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัยได้อย่างไร ?

ฯ ล ฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะ

อวิคตปัจจัยได้อย่างไร ?

จตุมูลกปัจจัย จบ

[๔๐] ในวาระที่มีปัจจัยห้าเป็นมูล เป็นต้น ท่านย่อเอาไว้ เอกมูลกะ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

ทุมูลกะ ติมูลกะ จตุมูลกะ ปัญจมูลกะ สัพพมูลกปัจจัย ผู้มีปัญญาพึง

จำแนกให้พิสดาร.

เหตุมูลกปัจจัย จบ

[๔๑] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย

เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ? เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย

ฯ ล ฯ เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้อย่างไร ?

กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย เพราะ

อนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย เพราะอัญญ-

มัญญปัจจัยได้อย่างไร ? เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะ

อวิคตปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย, เพราะอวิคตปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย,

ฯ ล ฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะวิคตปัจจัยได้อย่างไร ?

[๔๒] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอวิคตปัจจัย เพราะ

เหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัยได้อย่างไร ? เพราะอวิคตปัจจัย เพราะ

เหตุปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย

เพราะอนันตรปัจจัย, ฯ ล ฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะ

วิคตปัจจัยได้อ้ย่างไร ?

[๔๓] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอวิคตปัจจัย เพราะ

เหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัยได้อย่างไร ? เพราะ

อวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย

...เพราะวิคตปัจจัยได้อย่างไร ?

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

[๔๔] เอกมูลกะ ทุมูลกะ ติมูลกะ จตุมูลกะ ปัญจมูลกะ สัพพมูลก-

ปัจจัยแห่งบทหนึ่ง ๆ ผู้มีปัญญาถึงจำแนกให้พิสดาร.

ในอนุโลม มีนัยอันลึกซึ้ง ๖ ประการ คือ ติก-

ปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันอุดม ทุกัตติก-

ปัฏฐาน ติกัททุกปัฏฐาน ติกัตติกปัฏฐาน และทุกัท-

ทุกปัฏฐาน.

ปัจจนียนัย

[๔๕] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัยได้

อย่างไร ?

เหตุปัจจัย ท่านจำแนกไว้พิสดารแล้วในอนุโลมนัยอย่างใด นเหตุ-

ปัจจัย แม้ในปัจจนียนัย ก็พึงจำแนกให้พิสดารอย่างนั้น.

[๔๖] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอารัมมณปัจจัย

ได้อย่างไร ? เพราะนอธิปติปัจจัย เพราะนอนนันตรปัจจัย เพราะ

นสัมนันตรปัจจัย เพราะนสหชาตปัจจัย เพราะนอัญญมัญญปัจจัย เพราะ

นนิสสยปัจจัย เพราะนอุปนิสสยปัจจัย เพราะนปุเรชาตปัจจัย เพราะ

นปัจฉาชาตปัจจัย เพราะนอาเสวนปัจจัย เพราะนกัมมปัจจัย เพราะ

นวิปากปัจจัย เพราะนอาหารปัจจัย เพราะนอินทริยปัจจัย เพราะ

นฌานปัจจัย เพราะนมัคคปัจจัย เพราะนสัมปยุตตปัจจัย เพราะ

นวิปปยุตตปัจจัย เพราะโนอัตถิปัจจัย เพราะในนัตถิปัจจัย เพราะ

โนวิคตปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัย ได้อย่างไร ?

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

[๔๗] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย เพราะ

นอารัมมณปัจจัยได้อย่างไร ?

ในอนุโลมนัย เอกมูลกะ ทุมูลกะ ติมูลกะ จตุมูลกะ จนถึง

เตวีสติมูลกปัจจัย แห่งบทหนึ่ง ๆ ท่านจำแนกไว้พิสดารแล้วอย่างใด

แม้ในปัจจนียนัยก็พึงจำแนกพิสดารอย่างนั้น.

ในปัจจนียะ มีนัยอันลึกซึ้ง ๖ ประการ คือ ติก-

ปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันอุดม ทุกัตติก-

ปัฏฐาน ติกัททุกปัฏฐาน ติกัตติกปัฏฐาน และทุกัท-

ทุกปัฏฐาน.

อนุโลมปัจจนียนัย

[๔๘] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะ

นอารัมมณปัจจัยได้อย่างไร ?

อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะ

นอารัมมณปัจจัยได้อย่างไร ?

ในอนุโลม เหตุปัจจัย ท่านจำแนกได้พิสดารแล้วอย่างใด แม้

ในอนุโลมปัจจนียนัย ก็พึงจำแนกให้พิสดารอย่างนั้น.

[๔๙] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะ

นอธิปติปัจจัยได้อย่างไร ? เพราะเหตุปัจจัย เพราะนอนันตรปัจจัย ฯ ล ฯ

เพราะเหตุปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัยได้อย่างไร ?

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

[๕๐] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะ

อารัมมณปัจจัย เพราะนอธิปติปัจจัยได้อย่างไร ?

เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะนอนันตรปัจจัย ฯ ล ฯ

เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัย.

เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะ

นอนันตรปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะ

อธิปติปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัย.

เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะ

อนันตรปัจจัย เพราะนสัมนันตรปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะ

อารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย เพราะโนอวิคต-

ปัจจัย.

เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะ

อนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย เพราะอัญญ-

มัญญปัจจัย เพราะนิสสยปัจจัย เพราะอุปนิสสยปัจจัย เพราะปุเรชาตปัจจัย

เพราะปัจฉาชาตปัจจัย เพราะอาเสวนปัจจัย เพราะกัมมปัจจัย เพราะ

วิปากปัจจัย เพราะอาหารปัญจจัย เพราะอินทริยปัจจัย เพราะฌานปัจจัย

เพราะมัคคปัจจัย เพราะสัมปยุตตปัจจัย เพราะวิปปยุตตปัจจัย เพราะ

อัตถิปัจจัย เพราะนัตถิปัจจัย เพราะวิคตปัจจัย เพราะโนอวิคตปัจจัย

ได้อย่างไร ?

[๕๑] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย

เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

นเหตุปัจจัยได้อย่างไร ? ฯ ล ฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย

ฯ ล ฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย.

เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย ฯ ล ฯ

เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย.

เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะ

นอธิปติปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะ

อารัมมณปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย.

เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะ

อธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาต-

ปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะโนวิคตปัจจัยได้อย่างไร ?

ในอนุโลมปัจจนียะ มีนัยอันลึกซึ้ง ๖ ประการ คือ

ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันอุดม ทุกัตติก-

ปัฏฐาน ติกัททุกปัฏฐาน ติกัตติกปัฏฐาน และ

ทุกัททุกปัฏฐาน.

ปัจจนียานุโลมนัย

[๕๒] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย เพราะ

อารัมมณปัจจัย ได้อย่างไร ?

กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย เพราะ

อธิปติปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะนเหตุปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้อย่างไร ?

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

[๕๓] กุศลธรรม อาศัยกุศลกรรม เกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย เพราะ

นอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะนเหตุปัจจัย เพราะ

นอารัมมณปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย. เพราะนเหตุปัจจัย เพราะ

นอารัมมณปัจจัย เพราะนอธิปติปัจจัย ... เพราะนอนันตรปัจจัย เพราะ

นสมนันตรปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะโนอัตถิปัจจัย เพราะโนนัตถิปัจจัย เพราะ

โนวิคตปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้อย่างไร ?

[๕๔] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะนอารัมมณปัจจัย

เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?

[๕๕] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะนอารัมมณปัจจัย

เพราะอธิปติปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะนอารัมมณปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย

ฯ ล ฯ.

เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย, เพราะโนอวิคตปัจจัย

เพราะอารัมมณปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะวิคตปัจจัย.

เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะนเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย

ฯ ล ฯ เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะนเหตุปัจจัย เพราะวิคตปัจจัย.

เพราะโนอวิคตปัจจัย เพราะนเหตุปัจจัย เพราะนอารัมมณปัจจัย

เพราะนอธิปติปัจจัย ฯ ล ฯ เพราะโนอัตถิปัจจัย เพราะโนนัตถิปัจจัย

เพราะวิคตปัจจัยได้อย่างไร ?

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

ในปัจจนียานุโลม มีนัยอันลึกซึ้ง ๖ ประการ คือ

ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันอุดม ทุกัตติก-

ปัฏฐาน ติกัททุกปัฏฐาน ติกัตติกปัฏฐาน และ

ทุกัททุกปัฏฐาน.

ปัณณัตติวาระ จบ

อรรถกถาปัณณัตติวาระ

(ว่าด้วยการตั้งชื่อ)

(บาลีอรรถกถาหน้า ๕๒๙-๕๕๒)

คำว่า ติกปัฏฐาน ทุกปัฏฐาน ฯ ล ฯ ทุกทุกปัฏฐาน นี้ พระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปัฏฐานมหาปกรณ์ อันเป็นที่รวมแห่งสมันต-

ปัฏฐาน ๒๔ ด้วยอำนาจติกปัฏฐานเป็นฐาน ในบรรดาปัฏฐานทั้งหลาย

มีอนุโลม ปัฏฐานเป็นต้น ดังกล่าวมาแล้ว โดยทรงอาศัยติกปัฏฐานเป็นต้น

เหล่าใด ขยายความ ติกปัฏฐานเป็นต้นเหล่านั้น ทรงจำแนกปัฏฐาน

เหล่านั้นมีติกปัฏฐานเป็นต้น ด้วยอำนาจปัจจัยเหล่าใด ครั้นทรงแสดง

เฉพาะปัจจัยเหล่านั้น ไม่พาดพิงถึงติกปัฏฐานเป็นต้นเหล่านั้น ทั้งโดย

อุทเทสและนิทเทสด้วยวาระ กล่าวคือการจำแนกปัจจัยโดยการตั้งหัวข้อนี้

ก่อนแล้ว เพราะพระองค์ทรงอาศัยติกปัฏฐานเป็นต้นเหล่าใด จึงตรัสคำว่า

ติกปัฏฐาน ทุกปัฏฐาน ฯ ล ฯ ทุกทุกปัฏฐาน บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดง

๑. คือปฏิจจวารอุทเทส.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

ติกปัฏฐาน เป็นต้นเหล่านั้น ให้พิสดารด้วยอำนาจปัจจัยเหล่านั้น จึงทรง

อาศัยติกะ และทุกะหนึ่ง ๆ แต่งเทศนาด้วยวาระใหญ่ ๗. ชื่อแห่งวาระ

ใหญ่ ๗ เหล่านั้นคือ ปฏิจจวาระ สหชาตวาระ ปัจจยวาระ นิสสยวาระ

สังสัฏฐวาระ สัมปยุตตวาระ ปัญหาวาระ.

บรรดาวาระ ๗ เหล่านั้น วาระที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยพระ-

ดำรัสว่า ปฏิจฺจ (อาศัย) อย่างนี้ว่า กุสล ธมฺม ปฏิจฺจ กุสโล ธมฺโม

ชื่อว่า ปฏิจจวาระ.

ที่ตรัสด้วยอำนาจพระดำรัสว่า สหชาโต อย่างนี้ว่า กุสล ธมฺม

สหชาโต กุสโล ธมฺโม ชื่อว่า สหชาตวาระ. สหชาตวาระนั้นว่าโดย

เนื้อความแล้ว ไม่ต่างจากปฏิจจวาระที่กล่าวมาก่อน. แต่วาระที่หนึ่ง ตรัส

ด้วยอำนาจ เวไนยสัตว์ ที่จะตรัสรู้ด้วยอำนาจพระดำรัสว่า ปฏิจจะ.

วาระที่สองตรัสด้วยอำนาจเวไนยสัตว์ ผู้จะตรัสรู้ด้วยอำนาจพระดำรัสว่า

สหชาตะ. ก็ในวาระทั้งสองนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบปัจจัยทั้งหลายโดยเฉพาะ

และปัจจยุบบันธรรม ด้วยอำนาจรูปธรรม และอรูปธรรม. ก็แลปัจจัย

และปัจจยุบบันธรรมเหล่านั้น ได้เฉพาะที่เกิดพร้อมกันเท่านั้น ที่เกิดก่อน

หรือเกิดภายหลังย่อมไม่ได้.

วาระที่ตรัสด้วยอำนาจพระดำรัสว่า ปจฺจยา อย่างนี้ว่า กุสล ธมฺม

ปจฺจยา กุสโล ธมฺโม ชื่อว่า ปัจจยวาระ แม้ปัจจยวาระนั้น ผู้ศึกษา

พึงทราบด้วยอำนาจแห่งรูปธรรมและอรูปธรรม เหมือนสองวาระก่อน.

อนึ่ง แม้ปุเรชาตปัจจัยก็ย่อมได้ในอธิการนี้. นี้เป็นความแปลกกันแห่ง

ปัจจยวาระกับสองวาระก่อน.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

วาระต่อจากนั้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอำนาจพระดำรัส

ว่า นิสฺสาย อย่างนี้ว่า กุสล ธมฺม นิสฺสาย กุสโล ธมฺโม ชื่อว่า

นิสสยวาระ. นิสสยวาระนั้นโดยใจความไม่ต่างจากปัจจยวาระที่กล่าวมา

ก่อน แต่ว่าวาระที่หนึ่งตรัสด้วยอำนาจสัตว์ ผู้จะตรัสรู้ ด้วยอำนาจพระ-

ดำรัสว่า ปัจจยะ ที่สองตรัสด้วยอำนาจสัตว์ผู้จะตรัสรู้ ด้วยอำนาจพระ-

ดำรัสว่า นิสสยะ.

ต่อจากนั้น ที่ตรัสด้วยอำนาจพระดำรัสว่า สสฏฺโ อย่างนี้ว่า

กุสล ธมฺม สสฏโ กุสโล ธมฺโม ชื่อว่า สังสัฏฐวาระ.

วาระที่ตรัสด้วยอำนาจพระดำรัสว่า สมฺปยุตฺโต อย่างนี้ว่า กุสล

ธมฺม สมฺปยุตฺโต กุสโล ธมฺโม ชื่อว่า สัมปยุตตวาระ. สัมปยุตตวาระ

นั้น โดยเนื้อความไม่ต่างจากสังสัฏฐวาระ วาระที่หนึ่ง ตรัสด้วยอำนาจ

เวไนยสัตว์ผู้จะตรัสรู้ด้วยอำนาจพระดำรัสว่า สังสัฏฐะ วาระที่สองตรัส

ด้วยพระดำรัสว่า สัมปยุตตะ. ก็ในสองวาระนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบปัจจัยและ

ปัจจยุบบันธรรม ด้วยอำนาจแห่งอรูปธรรมเท่านั้น.

ส่วนใน วาระที่ ๗ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปัญหานั้นขึ้น

โดยนัยเป็นต้นว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมด้วยเหตุปัจจัย แล้ว

ทรงจำแนกปัญหาเหล่านั้นทั้งหมดไม่ให้สับสน ไม่ให้คลุมเครืออีกโดยนัย

เป็นต้นว่า กุศลเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต ด้วยเหตุปัจจัย ฉะนั้น

วาระนั้นจึงชื่อว่า ปัญหาวาระ เพราะทรงจำแนกปัญหาทั้งหลายไว้ดีแล้ว.

ก็ในอธิการนี้ พึงทราบปัจจัย และปัจจยุบบัน ด้วยอำนาจแห่งรูปธรรม

และอรูปธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

บรรดาวาระเหล่านั้น วาระที่หนึ่งที่ชื่อว่า ปฏิจจวาระนั้นใด วาระ

นั้นก็มีสองอย่างคือ โดยอุทเทสและนิทเทส. ในสองอย่างนั้น อุทเทสวาระ

ที่หนึ่งเรียกว่า ปุจฉาวาระ บ้าง.

แม้คำว่าปัณณัตติวาระก็เป็นชื่อแห่งอุทเทสวาระนั้นเอง. จริงอยู่

วาระนั้นชื่อว่า อุทเทสวาระ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยกุศล

เป็นต้น แล้วยกกุศลเป็นต้นนั้นแสดงด้วยอำนาจแห่งเหตุปัจจัยเป็นต้น.

ชื่อว่า ปุจฉาวาระ เพราะทรงอาศัยกุศลเป็นต้น ตรัสถามถึงการเกิดขึ้น

แห่งกุศลเป็นต้น ด้วยอำนาจเหตุปัจจัยเป็นต้น. แม้วาระนั้น ก็ตรัสว่า

ปัณณัตติวาระ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยกุศลเป็นต้น แล้วให้

ทราบถึงการเกิดขึ้นแห่งกุศลเป็นต้น ด้วยอำนาจเหตุปัจจัยเป็นต้น. ใน

ข้อนั้นมีปริกัปปปุจฉาว่า กุศลธรรมพึงอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุ

ปัจจัยหรือ ?

ก็ในปริกัปปปุจฉานี้ มีใจความดังนี้ กุศลธรรมใดพึงเกิดขึ้นเพราะ

เหตุปัจจัย กุศลธรรมนั้นต้องอาศัยกุศลธรรมหรือ. อีกอย่างหนึ่งในอธิการ

นี้มีใจความดังนี้ว่า กุศลธรรมใด พึงอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น กุศลธรรม

นั้นพึงมีเพราะเหตุปัจจัยหรือ ?

ศัพท์ว่า ปฏิ ในคำว่า ปฏิจฺจ เป็นไปในอรรถว่า เหมือนกัน เช่น

บุคคลเหมือนกัน เรียกว่าปฏิบุคคล ส่วนเท่ากัน เรียกว่า ปฏิภาค. คำว่า

อิจฺจ นั่นกล่าวถึงความขวนขวายในการไป. ครั้นพูดรวมกันทั้งสองศัพท์

จึงมีอธิบายว่า บทว่า ปฏิจฺจ ความว่า เป็นไปเท่าเทียมกัน คือดำเนินไป

โดยความเป็นธรรมที่ทัดเทียมกัน กล่าวคือ เกิดขึ้นพร้อมกัน อธิบายว่า

เข้าถึงภาวะ คือการเกิดขึ้นพร้อมกับปัจจัยนั้น. สองบทว่า กุสโล ธมฺโม

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสถามว่า กุศลธรรมพึงอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัยโดยภาวะคือการเกิดขึ้นพร้อมกัน อย่างนั้นหรือ.

อีกนัยหนึ่ง บทว่า ปฏิจฺจ ความว่า ทำให้เป็นปัจจัย. ก็การทำให้

เป็นปัจจัยนั้น ย่อมได้ทั้งในปุเรชาตปัจจัยและสหชาตปัจจัย ในที่นี้

ประสงค์เอาสหชาตปัจจัย. แม้ในคำว่า สิยา กุสล ธมฺม ปฏิจฺจ อกุศสโล

ธมฺโม เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ในคำว่า สิยา กุสล ธมฺม ปฏิจฺจ

อกุสโล ธมฺโม เป็นต้นนั้น อกุศลธรรมอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น ด้วย

อำนาจสหชาตปัจจัยไม่มีก็จริง. แต่ปัจจัยใดที่พระองค์วิสัชนาอยู่ ย่อมได้

โดยเนื้อความและไม่ได้โดยเนื้อความในปุจฉาวาระนี้ ปัจจัยนั้นทั้งหมด

พระองค์ทรงยกขึ้นด้วยอำนาจปุจฉา. ส่วนในการวิสัชนาข้างหน้า ปัจจัย

ใดที่ไม่ได้วิสัชนา ทรงละปัจจัยนั้นเสีย ปัจจัยใดได้วิสัชนา ทรงวิสัชนา

เฉพาะปัจจัยนั้นเท่านั้น. ผู้ศึกษาครั้นทราบอรรถแห่งปุจฉาและแนวทาง

แห่งปุจฉาในอธิการนี้ ดังกล่าวมาแล้ว บัดนี้พึงทราบการกำหนดปุจฉา

ด้วยอำนาจการคำนวณต่อไป.

ก็ในคำว่า กสล ธมฺม ปฏิจฺจ นี้ ปุจฉามี ๓ คือ ที่มีกุศลบท เป็น

บทต้น มีกุศล อกุศล และอัพยากตะเป็นอวสานบท ปุจฉาอีก ๓ คือ

มีกุศลบทนั้นแหละเป็นบทต้น มีการจำแนกโดยทุกะ ด้วยสามารถแห่ง

กุศลและอัพยากตะเป็นต้น เป็นอวสานบท ปุจฉาอีก ๑ คือ มีกุศลบท

นั้นนั่นแหละเป็นบทต้น มีติกะเป็นอวสานบท. ปุจฉา ๗ ที่มีกุศลบทเป็น

บทต้น ในคำว่า กุสล ธมฺม ปฏิจฺจ ดังนี้ ย่อมมีโดยประการอย่างนี้.

ปุจฉาที่มีอกุศลบทเป็นบทต้น มีอัพยากตบทเป็นบทต้น มีกุสลาพยากต-

บทเป็นบทต้น มีอกุสลาพยากตบทเป็นบทต้น มีกุสลากุศลบทเป็นบทต้น

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

มีกุสลากุสลาพยากตะเป็นบทต้น ก็เหมือนกัน. ปุจฉาแม้ทั้งหมดในเหตุ

ปัจจัยมี ๔๙ ข้อ อาศัยกุศลติกะ ด้วยอำนาจบทต้น (คือกุศลบทเป็นต้น)

๗ บท ๆ ละ ๗ ปุจฉา ในอธิการนี้พึงทราบปุจฉาเหล่านั้น แม้ด้วย

สามารถแห่งมูลและอวสานอย่างนี้ คือ ปุจฉา ๙ มีมูลบท. มีอวสาน-

บท ๑. ปุจฉา ๙ มีมูลบท ๒ มีอวสานบท ๒. ปุจฉา ๓ มีมูลบท ๑

มีอวสานบท ๓, ปุจฉา ๙ มีมูลบท ๒ มีอวสานบท ๑, ปุจฉา ๙ มีมูล-

บท ๒ มีอวสานบท ๒, ปุจฉา ๓ มีมูลบท ๒ มีอวสานบท ๓, ปุจฉา

๓ มีมูลบท ๓ มีอวสานบท ๑, ปุจฉา ๓ มีมูลบท ๓ มีอวสานบท ๒,

ปุจฉา ๑ มีมูลบท ๓ มีอวสานบท ๓. แม้ในอารัมมณปัจจัย เป็นต้น ก็มี

ปุจฉา ๔๙ ข้อ เหมือนในเหตุปัจจัยนั้นนั่นแหละ. ในปัจจัย ๒๔ ปัจจัย

แม้ทั้งหมด.

ในนัยที่มีมูลบท ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ประมวลปุจฉาไว้รวม ๑,๑๓๖ ข้อ

ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่ม นัยที่มีมูลสอง ว่า เหตุ-

ปจฺจยา อารมฺมณปจฺจยา เป็นต้น. ในนัยที่มีมูลสองนั้น มีทุกะ ๒๓ ทุกะ

พร้อมกับเหตุปัจจัย คือ เหตรัมมณทุกะ ฯ ล ฯ เหตาวิคตทุกะ. แม้

ในเหตารัมมณทุกะ ก็มีปุจฉา ๔๙ ข้อ เหมือนเหตุปัจจัย. บรรดาปุจฉา

เหล่านั้นทรงแสดงไว้ในบาลีสองข้อเท่านั้น. แม้ในเหตาธิปติทุกะ เป็นต้น

ก็มีปุจฉา ๔๙ ข้อ เหมือนในเหตารัมมณทุกะ. บรรดาทุกะเหล่านั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงทุกะ ๓ ทุกะตามลำดับ คือ เหตาธิปติ-

ทุกะ เหตานันตรทุกะ เหตุสมนันตรทุกะ ด้วยอำนาจแห่งปุจฉาที่หนึ่ง

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

แล้ว ทรงแสดงเหตาวิคตทุกะเป็นที่สุด คำที่เหลือทรงย่อไว้. ก็ผู้ศึกษา

พึงทราบการกำหนดปุจฉาในอธิการนี้อย่างนี้ คือ

ในทุกมูลกนัย ในเพราะทุกะ ๒๓ ทุกะ จึงมีปุจฉา

๑,๑๒๗ ข้อ

ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่ม ติมูลกนัย ว่า เหตุปจฺจยา

อารมฺมณปจฺจยา อธิปติปจฺจยา เป็นต้น. ในติมูลกนัยนั้น มีติกะ ๒๒

ติกะ ด้วยอำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่ง ๆ ในปัจจัย ๒๒ มีอธิปติปัจจัย

เป็นต้น กับเหตารัมมณทุกะ. บรรดาติกะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงติกะที่ ๑ และติกะที่ ๒ ด้วยอำนาจแห่งปุจฉาที่หนึ่งแล้ว

จึงทรงแสดงติกะในที่สุด. คำที่เหลือทรงย่อไว้ในทุกะ ฉันใด แม้ในติกะ

ก็ฉันนั้น ทรงจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในติกะหนึ่ง ๆ.

ในติมูลกนัย ในติกะ ๒๒ ทั้งหมด จึงมีปุจฉา

๑,๐๗๘ ข้อ โดยจำนวน.

ต่อจากนั้นทรงเริ่ม นัยที่มีมูล ๔ ว่า เหตุปจฺจยา อารมฺมณ-

ปจฺจยา อธิปติปจฺจยา อนนฺตรปจฺจยา เป็นต้น ในนัยที่มีมูล ๔ นั้น

มีจตุกกะ ๒๑ หมวด ด้วยอำนาจการเชื่อมปัจจัย ๑ กับปัจจัย ๑ ใน

บรรดาปัจจัย ๒ มีอนันตรปัจจัยเป็นต้น กับติกะที่หนึ่ง. บรรดาจตุกกะ

เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ๒ จตุกกะแล้ว ย่อจตุกกะที่เหลือ

ไว้. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในจตุกกะหนึ่ง ๆ แม้ในอธิการนี้.

ในจตุมูลกนัย ในจตุกกะ ๒๑ ทั้งหมด จึงมี

ปุจฉา ๑,๐๒๙ ข้อ โดยการคำนวณ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเทศนาเริ่มแต่ ปัญจมูลกนัย

เป็นต้น จนถึง สัพพมูลกนัย. นัยที่ทรงย่อไว้ที่ตรัสแล้วในหนหลัง และ

จะพึงตรัสต่อไปข้างหน้าทั้งหมดนั้น ทรงกระทำให้เป็นแบบเดียวกัน แล้ว

แสดงไว้ในบาลีว่า เอกมูลกนัย ทุมูลกนัย ติมูลกนัย จตุมูลกนัย

ปัญจมูลกนัย สัพพมูลกนัย อันผู้ไม่งมงาย พึงให้พิสดาร. ในเอกมูลกนัย

เป็นต้นนั้น คำที่ควรกล่าวข้าพเจ้าได้กล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว. ส่วนใน

ปัญจมูลกนัย มีปัจจัยหมวดละ ๕ รวมปัญจกะ ๒๐ หมวดถ้วน ด้วย

อำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่ง ๆ ในปัจจัย ๒๐ ถ้วน มีสมนันตรปัจจัยเป็นต้น

กับจตุกกะก่อน (คือที่กล่าวมาก่อน ๔ ปัจจัยในจตุมูลกนัย) เพราะจัด

ปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในปัญจกะหนึ่ง ๆ ในปัญจกะเหล่านั้น

ในปัญจมูลกนัย จึงมีปุจฉา ๘๙๐ ข้อ โดยการ

คำนวณ.

ใน ฉมูลกนัย มีปัจจัยหมวดละ ๖ รวม ๑๙ หมวด ด้วยอำนาจ

การเชื่อมปัจจัยหนึ่ง ๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๙ มีสหชาตปัจจัย เป็นต้น

กับปัญจกะก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในปัจจัยหนึ่ง ๆ ในฉักกะ

เหล่านั้น

ในฉมูลกนัย จึงมีปุจฉา ๙๓๑ ข้อ โดยการ

คำนวณ.

ใน สัตตมูลกนัย มีปัจจัยหมวดละ ๗ รวม ๑๘ หมวด ด้วยอำนาจ

การเชื่อมปัจจัยหนึ่ง ๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๘ มีอัญญมัญญปัจจัย เป็นต้น

กับฉักกะก่อน เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในสัตตกะหนึ่ง ๆ ในบรรดา

สัตตกะเหล่านั้น

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

ในสัตตมูลกนัย จึงมีปุจฉา ๘๘๒ ข้อ โดยการ

คำนวณ.

ใน อัฏฐมูลกนัย มีปัจจัยหมวดละ ๘ รวม ๑๗ หมวด ด้วยอำนาจ

การเชื่อมปัจจัยหนึ่ง ๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๗ มีนิสสยปัจจัย เป็นต้น กับ

สัตตกะก่อน เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในอัฏฐกะหนึ่ง ๆ ในบรรดา

อัฏฐกะเหล่านั้น

ในอัฏฐมูลกนัย จึงมีปุจฉา ๘๓๓ ข้อ โดยการ

คานวณ.

ใน นวมูลกนัย มีปัจจัยหมวดละ ๙ รวม ๑๖ หมวด ด้วยอำนาจ

การเชื่อมปัจจัยหนึ่ง ๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๖ มีอุปนิสสยปัจจัย เป็นต้น

กับอัฏฐกะก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในนวกะหนึ่งๆ ในบรรดา

นวกะเหล่านั้น

ในนวมูลกนัย จึงมีปุจฉา ๗๘๔ ข้อ โดยการ

คำนวณ.

ใน ทสมูลกนัย มีปัจจัยหมวดละ ๑๐ รวม ๑๕ หมวด ด้วยอำนาจ

การเชื่อมปัจจัยหนึ่ง ๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๕ มีปุเรชาตปัจจัย เป็นต้น

กับนวกะก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในทสกะหนึ่งๆ ในบรรดา

ทสกะนั้น ๆ

ในทสมูลกนัย จึงมีปุจฉา ๗๓๕ ข้อ โดยการ

คานวณ.

ใน เอกาทสมูลกนัย มีปัจจัยหมวดละ ๑๑ รวม ๑๔ หมวด ด้วย

อำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่ง ๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๔ มีปัจฉาชาตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

เป็นต้น กับทสกะก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่ง ๆ

ในบรรดาเอกาทสกะเหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๑๑ จึงมีปุจฉา ๖๘๖ ข้อ.

ใน นัยที่มีมูล ๑๒ มีปัจจัยหมวดละ ๑๒ รวม ๑๓ หมวด ด้วย

อำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๓ มีอาเสวนปัจจัย เป็นต้น

กับเอกาทสกะก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่ง ๆ ใน

บรรดาทวาทสกะเหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๑๒ จึงมีปุจฉา ๖๙๙ ข้อ โดยการ

คำนวณ.

ใน นัยที่มีมูล ๑๓ มีปัจจัยหมวดละ ๑๓ รวม ๑๒ หมวด ด้วย

อำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่ง ๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๒ มีกัมมปัจจัย เป็นต้น

กะบทวาทสกะก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่ง ๆ

ในบรรดาเตรสกะเหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๑๓ จึงมีปุจฉา ๕๘๘ ข้อ โดยการ

คำนวณ.

ใน นัยที่มีมูล ๑๔ มีปัจจัยหมวดละ ๑๔ รวม ๑๑ หมวด ด้วย

อำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่ง ๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๑ มีวิปากปัจจัย เป็นต้น

กับเตรสกะก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่ง ๆ ใน

บรรดาจุททสกะเหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๑๔ จึงมีปุจฉา ๕๓๙ ข้อ โดยการ

คำนวณ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

ใน นัยที่มีมูล ๑๕ มีปัจจัยหมวดละ ๑๕ รวม ๑๐ หมวด ด้วย

อำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่ง ๆ ในบรรดาปัจจัย ๑๐ มีอาหารปัจจัย เป็นต้น

ดับจุททสกะก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่ง ๆ ใน

บรรดาปัจจัยหมวด ๑๕ เหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๑๕ จึงมีปุจฉา ๔๙๐ ข้อ โดยการ

คำนวณ.

ใน นัยที่มีมูล ๑๖ มีปัจจัยหมวดละ ๑๖ มรรค ด้วยอำนาจ

การเชื่อมปัจจัยหนึ่ง ๆ ในบรรดาปัจจัย ๙ มีอินทริยปัจจัย เป็นต้น กับ

หมวด ๑๕ ก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในพวกหนึ่ง ๆ ใน

บรรดาปัจจัยหมวด ๑๖ เหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๑๖ จึงมีปุจฉา ๔๔๑ ข้อโดยการ

คำนวณ.

ใน นัยที่มีมูล ๑๗ มีปัจจัยหมวดละ ๑๗ รวม ๘ หมวด ด้วย

อำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่ง ๆ ในบรรดาปัจจัย ๘ มีฌานปัจจัย เป็นต้น

กับหมวด ๑๖ ก่อน. เพราะปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่ง ๆ ใน

บรรดาปัจจัยหมวด ๑๗ เหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๑๗ จึงมีปุจฉา ๓๙๒ ข้อ โดยการ

คำนวณ.

ใน นัยที่มีมูล ๑๘ มีปัจจัยหมวดละ ๑๘ รวม ๗ หมวด ด้วย

อำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่ง ๆ ในบรรดาปัจจัย ๗ มีมัคคปัจจัย เป็นต้น

กับปัจจัยหมวด ๑๗ ก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่ง ๆ

ในบรรดาปัจจัยหมวด ๑๘ เหล่านั้น

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

ในนัยที่มีมูล ๑๘ จึงมีปุจฉา ๓๔๓ ข้อ โดยการ

คำนวณ.

ใน นัยที่มีมูล ๑๙ มีปัจจัยหมวดละ ๑๙ รวม ๖ หมวด ด้วย

อำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๖ มีสัมปยุต ปัจจัย เป็นต้น

กับปัจจัยหมวด ๑๘ ก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่ง ๆ

ในบรรดาปัจจัยหมวด ๑๙ เหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๑๙ จึงมีปุจฉา ๒๙๔ ข้อ โดยการ

คำนวณ.

ใน นัยที่มีมูล ๒๐ มีปัจจัยหมวดละ ๒๐ รวม ๕ หมวด ด้วย

อำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาปัจจัย ๕ มีวิปปยุตตปัจจัย เป็นต้น

กับปัจจัยหมวด ๑๙ ก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๑๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่ง ๆ

ในบรรดาปัจจัยหมวด ๒๐ เหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๒๐ จึงมีปุจฉา ๒๔๕ ข้อ โดยการ

คำนวณ.

ใน นัยที่มีมูล ๒๑ มีปัจจัยหมวดละ ๒๑ รวม ๔ หมวด ด้วย

อำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่ง ๆ ในบรรดาปัจจัย มีอัตถิปัจจัย เป็นต้น

กับหมวด ๒๐ ก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่ง ๆ ใน

บรรดาปัจจัยหมวด ๒๑ เหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๒๑ ผู้รู้ลักษณะ จึงนับประมวล

ปุจฉาได้ ๑๙๖ ข้อ.

ใน นัยที่มีมูล ๒๒ มีปัจจัยหมวดละ ๒๒ รวม ๓ หมวด ด้วย

อำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่ง ๆ บรรดาปัจจัย ๓ มีนัตถิปัจจัย เป็นต้น กับ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

หมวด ๒๑ ก่อน. เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่ง ๆ ใน

บรรดาหมวด ๒๒ เหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๒๒ จึงมีปุจฉา ๑๔๗ ข้อ โดยการ

คานวณ.

ใน นัยที่มีมูล ๒๓ มีปัจจัยหมวดที่ ๒๓ รวม ๒ หมวด ด้วย

อำนาจการเชื่อมปัจจัยหนึ่งๆ บรรดาวิคตาวิคตาปัจจัยทั้งสอง กับหมวด ๒๒

ก่อน บรรดาวิคตปัจจัยและอวิคตปัจจัยทั้งสอง กับหมวด ๒๒ ก่อน.

เพราะจัดปุจฉา ๔๙ ข้อ เข้าในหมวดหนึ่ง ๆ ในบรรดาปัจจัยหมวด ๒๓

เหล่านั้น

ในนัยที่มีมูล ๒๓ อันเป็นคำรบที่ ๒๓ นี้ จึงมี

ปุจฉา ๙๘ ข้อ โดยการคำนวณ.

ส่วน นัยที่มีมูล ๒๔ ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจการประชุมแห่ง

ปัจจัยทั้งหมด เพราะเหตุนั้นแหละพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มีปัจจัย

ทั้งหมดเป็นมูล. ในนัยที่มีมูล ๒๔ นั้น มีปุจฉา ๔๙ ข้อเท่านั้น ฉะนี้.

ปุจฉานั้นทั้งหมด พระศาสดาทรงถือเอาเฉพาะบทว่า เหตุปัจจัยเท่านั้น

จำแนกโดยพิสดารยิ่งในเทพบริษัท ด้วยอำนาจแห่งนัยที่มีมูลหนึ่ง เป็นต้น

จบลงด้วยนัยที่มีปัจจัยทั้งหมดเป็นมูล. ในอธิการนี้ทรงแสดงปุจฉาไว้โดย

ย่อ. ก็ประมวลการนับปุจฉาเหล่านั้นทั้งหมด ดังนี้.

จริงอยู่ ในนัยที่มีมูลหนึ่ง ปุจฉามาแล้ว ๑,๑๗๖ ข้อ บรรดา

ปุจฉาเหล่านั้น ในนัยแห่งเหตุปัจจัย ผู้ศึกษาพึงแต่งปุจฉา ๔๙ ข้อ กับ

ด้วยปัจจัยที่เป็นมูลนั่นเอง แม้พึงถือเอาในที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูลนี้.

ปุจฉาที่เหลือผู้ศึกษาพึงใส่ในนัยที่มีปัจจัยที่เหลือเป็นมูล. ในนัยที่มีมูลสอง

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

มีปุจฉา ๑,๑๒๗ ข้อ ที่มีมูล ๓ มี ๑,๐๗๘ ข้อ ที่มีมูล ๔ มี ๑,๐๒๙ ข้อ

ที่มีมูล ๕ มี ๙๘๐ ข้อ ที่มีมูล ๖ มี ๙๓๑ ข้อ ที่มีมูล ๗ มี ๘๘๒ ข้อ

ที่มีมูล มี ๘๓๓ ข้อ ที่มีมูล ๙ มี ๗๘๔ ข้อ ที่มีมูล ๑๐ มี ๗๓๕ ข้อ

ที่มีมูล ๑๑ มี ๖๘๖ ข้อ ที่มี่มูล ๑๒ มี ๖๓๗ ข้อ ที่มีมูล ๑๓ มี ๕๘๘

ข้อ ที่มีมูล ๑๔ มี ๕๓๙ ข้อ ที่มีมูล ๑๕ มี ๔๙๐ ข้อ ที่มีมูล ๑๖ มี

๔๔๑ ข้อ ที่มีมูล ๑๗ มี ๓๙๒ ข้อ ที่มีมูล ๑๘ มี ๓๔๓ ข้อ ที่มีมูล ๑๙

มี ๒๙๔ ข้อ ที่มีมูล ๒๐ มี ๒๔๕ ข้อ ที่มีมูล ๒๑ มี ๑๙๖ ข้อ ที่มีมูล

๒๒ มี ๑๔๗ ข้อ ที่มี ๒๓ มี ๙๘ ข้อ ที่มีปัจจัยทั้งหมดเป็นมูลมี ๔๙

ข้อ ในนัยที่มีมูลหนึ่งเป็นต้น ซึ่งจำแนกออกไปโดยกเหตุบทขึ้นต้น

ดังกล่าวมาแล้ว.

เฉพาะเหตุบทเท่านั้น ว่าโดยประเภทแห่งมูล

หนึ่งเป็นต้น จึงมีปุจฉา ๑๔,๗๐๐ ข้อ แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงประเภทแห่งปุจฉาตั้งแต่นัยที่มี

มูลหนึ่ง จนถึงนัยที่มีปัจจัยทั้งหมดเป็นมูล โดยกเหตุปัจจัยขึ้นต้นดังกล่าว

มาแล้ว บัดนี้ เพื่อจะยกอารัมมณปัจจัยขึ้นแสดงเป็นต้น จึงตรัสคำว่า

กุศลธรรมพึงอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะเหตุ-

ปัจจัยหรือ ? เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงนัยที่มีมูลหนึ่ง

ซึ่งมีอารัมมณปัจจัย เป็นต้น มีเหตุปัจจัยเป็นที่สุด ด้วยคำมีประมาณเท่านี้

ว่า อารมฺมณปจฺจยา เหตุปจฺจยา. ต่อจากนั้น ทรงเริ่มนัยที่มีมูลสองว่า

อารมฺมณปจฺจยา อธิปติปจฺจยา ดังนี้. ในนัยที่มีมูลสองนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงทุกะที่หนึ่งนี้ และอารัมมณาวิคตทุกะแล้ว ทรง

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

ย่อคำที่เหลือไว้. ทุกะที่สุดท้ายนี้ว่า อารมฺมณปจฺจยา เหตุปจฺจยา ดังนี้

ไม่ทรงแสดง. ก็ถ้าทุกะที่สุดนั้น ปรากฏในตอนไหน ผู้ศึกษาพึงถือเอา

ตอนนั้นเอง. ต่อจากนั้น เพื่อจะไม่แสดงติมูลกนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจ

อารัมมณปัจจัย แล้วแสดงปัจจัยหนึ่ง ๆ เป็นต้น โดยยกอธิปติปัจจัย

เป็นต้น จึงตรัสคำมีประมาณเท่านี้ว่า อธิปติปจฺจยา อนนฺตรปจฺจยา

สมนนฺตรปจฺจยา สหชาตปจฺจยา อญฺมญฺปจฺจยา. คำนั้นผู้ศึกษา

พึงทราบด้วยอำนาจนัยที่มีมูลหนึ่ง หรือที่มีปัจจัยทั้งหมดเป็นมูล.

ต่อจากนั้น เพื่อจะทรงแสดงเฉพาะทุมูลนัยเท่านั้น โดยยกอวิคต.

ปัจจัยขึ้นต้น จึงเริ่มคำว่า อวิคตปจฺจยา เหตุปจฺจยา เป็นต้น. ใน

ทุมูลกนัยนั้น ครั้นตรัสทุกะ ๓ ตามลำดับคือ อวิคตเหตุทุกะ อวิคตารัมมณ-

ทุกะ. อวิคตาธิปติทุกะ แล้วจึงทรงแสดงทุกะหนึ่งคือ อวิคตวิคตทุกะ

ในที่สุด.

ลำดับนั้น เพื่อจะทรงแสดงนัยที่มีมูล ๓ ด้วยอำนาจอวิคตปัจจัย

ครั้นตรัสติกะ ๓ ตามลำดับอย่างนี้ คือ อวิคตปจฺจยา เหตุปจฺจยา

อารมฺมณปจฺจยา อวิคตปจฺจยา เหตุปจฺจยา อธิปติปจฺจยา, อวิคต-

ปจฺจยา เหตุปจฺจยา อนนฺตรปจฺจยา แล้วจึงตรัสติกะสุดท้ายว่า อวิคต-

ปจฺจยา เหตุปจฺจยา วิคตปจฺจยา.

ลำดับนั้น เพื่อจะทรงแสดงนัยที่มีมูล ๔ ด้วยอำนาจอวิคตปัจจัยนั้น

เอง ครั้นตรัสหมวด ๔ สองหมวด คือ อวิคตปจฺจยา เหตุปจฺจยา

อารมฺมณปจฺจยา อธิปติปจฺจยา, อวิคตปจฺจยา เหตุปจฺจยา อารมฺมณ-

ปจฺจยา อนนฺตรปจฺจยา แล้วทรงยกบทว่า วิคตปจฺจยา มาตั้งไว้.

คำที่เหลือทั้งปวงทรงย่อไว้. เพื่อจะทรงแสดงว่าคำทั้งหมดนั้นทรงย่อไว้

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

จึงตรัสว่า เอกมูลกนัย ทุมูลกนัย ติมูลกนัย จตุมูลกนัย สัพพมูลกนัย

แห่งบทหนึ่ง ๆ อันผู้ศึกษาที่ไม่งมงายพึ่งขยายให้พิสดาร.

เพราะฉะนั้น ในเอกมูลกนัย มีปุจฉา ๑,๑๗๖ ข้อ ฯ ล ฯ ใน

สัพพมูลกนัยมีปุจฉา ๔๙ ข้อ ด้วยอำนาจแห่งบทว่า เหตุ เป็นต้น โดยยก

เหตุปัจจัยขึ้นต้น ฉันใด ในเอกมูลกนัยแห่งบทหนึ่ง ๆ ก็มีปุจฉา ๑,๑๗๖

ข้อ ในสัพพมูลกนัยมีปุจฉา ๔๙ ข้อ ด้วยอำนาจแห่งบทว่า อารมณ์

เป็นต้น โดยยกปัจจัยหนึ่ง ๆ มีอารัมมณปัจจัยเป็นต้นขึ้นต้น ฉันนั้น

ในการจำแนกที่หนึ่ง ๆ โดยเอกมูลกนัยเป็นต้น จึงมีปุจฉา ๑๔,๗๐๐

ข้อ ดังกล่าวมาแล้ว. การกำหนดการคำนวณปุจฉาเหล่านั้น ในปัจจัย

๒๔ ทั้งหมดมีดังนี้ คือ

ในอนุโลมนัย ทรงจำแนกปุจฉาแห่งกุศลติกะไว้

๓๕๒,๘๐๐ ข้อ

กุศลติกะ ฉันใด เวทนาติกะเป็นต้น ก็ฉันนั้น. ในติกะ ๒๒ ติกะ

ทั้งหมด ว่า โดยการจำแนกประเภทแห่งติกะแล้ว มีปุจฉา ๗,๗๖๑,๖๐๐

ข้อ ท้องเรื่อง (พลความ) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อไว้.

ในบรรดาทุกะทั้งหลาย พระบาลีว่า "สิยา เหตุ ธมฺม ปฏิจฺจ

เหตุ ธมฺโม อุปฺปชฺเชยฺย เหตุปจฺจยา = ธรรมที่เป็นเหตุพึงอาศัยธรรม

ที่เป็นเหตุเกิดขึ้นหรือ " ดังนี้ ย่อมได้ปุจฉา ๙ ข้อ ในปัจจัยหนึ่ง ๆ มี

เหตุปัจจัยเป็นต้น ในทุกะหนึ่ง ๆ อย่างนี้ คือ เหตุอาศัยเหตุ. นเหตุ

อาศัยเหตุ, เหตุและนเหตุอาศัยเหตุ. นเหตุอาศัยนเหตุ, เหตุอาศัยนเหตุ,

เหตุและนเหตุอาศัยนเหตุ. เหตุอาศัยเหตุและนเหตุ นเหตุอาศัยเหตุ

และนเหตุ, เหตุและนเหตุอาศัยเหตุและนเหตุ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

บรรดาปุจฉาเหล่านั้น ใน เอกมูลกนัย ยกเหตุปัจจัยขึ้นต้น มี

ปุจฉา ๒๑๖ ข้อ. บรรดาปุจฉา ๒๑๖ ข้อเหล่านั้น สำหรับเหตุปัจจัยอย่าง

เดียว ผู้ศึกษาพึงถือเอาปุจฉา ๙ ข้อ ที่ไม่ปนกับปัจจัยอื่น. ที่เหลือท่าน

ถือเอาโดยวาระแห่งอธิบายปุจฉาเหล่านั้น.

มีกำหนดการคำนวณในวาระ ๒๓ มีทุมูลเป็นต้น จนถึงที่มีมูล

เป็นต้นทั้งหมด โดยนำนวกะหนึ่ง ๆ ออกเสีย ดังนี้.

ใน ทุมูลกนัย บรรดาปุจฉา ๒๑๖ ข้อ ที่แสดงไว้ใน เอกมูลก-

นัย นำปุจฉาออกเสีย ๙ ข้อ จึงมีปุจฉา ๒๐๗ ข้อ. ต่อจากนั้นใน

ติมูลกนัย เอาออกอีก ๙ ข้อ คงเหลือ ๑๙๘ ข้อ เอาปุจฉาออกจากมูล

ข้างต้นทีละ ๙ ข้อ ดังกล่าวมาแล้ว. ใน จตุมูลกนัย จึงมีปุจฉา ๑๘๙ ข้อ.

ใน ปัญจมูลกนัย มี ๑๘๐ ข้อ. ใน ฉมูลกนัย มี ๑๗๑ ข้อ. ใน สัตต-

มูลกนัย มี ๑๖๒ ข้อ. ใน อัฏฐมูลกนัย มี ๑๕๓ ข้อ. ใน นวมูลกนัย

มี ๑๔๔ ข้อ. ใน ทสมูลกนัย มี๑๓๕ ข้อ. ใน เอกาทสมูลกนัย มี ๑๒๖

ข้อ. ใน ทวาทสมูลกนัย มี ๑๑๗ ข้อ. ใน เตรสมูลกนัย มี ๑๐๘ ข้อ.

ใน จุททสมูลกนัย มี ๙๙ ข้อ. ใน ปัณณรสมูลกนัย มี ๙๐ ข้อ. ใน

โสฬสมูลกนัย มี ๘๑ ข้อ. ใน สัตตรสมูลกนัย มี ๗๒ ข้อ. ใน

อัฏฐารสมูลกนัย มี ๖๓ ข้อ. ใน เอกูนวีสติมูลกนัย มี ๕๔ ข้อ. ใน

วีสมูลกนัย มี ๔๕ ข้อ. ใน เอกูนวีสติมูลกนัย มี ๓๖ ข้อ. ใน พาวีสติ-

มูลกนัย มี ๒๗ ข้อ. ใน เตวีสติมูลกนัย มี ๑๘ ข้อ และใน สัพพมูลกนัย

มี ๙ ข้อ.

เหมือนอย่างว่า ใน เอกมูลกนัย มีปุจฉา ๒๐๖ ข้อ ฯ ล ฯ ใน

สัพพมูลกนัย มีปุจฉา ๙ ข้อเหล่านี้ ด้วยอำนาจแห่งเหตุปัจจัย ฉันใด

ว่าด้วยอำนาจแห่งบทมีอารมณ์เป็นต้น กระทำซึ่งปัจจัยหนึ่ง ๆ มีอารัมมณ-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

ปัจจัยเป็นต้นขึ้นต้น ในเอกมูลกนัยแห่งบทหนึ่ง ๆ ก็มีปุจฉา ๒๑๖ ข้อ

ฯ ล ฯ ในสัพพมูลกนัยมี ๙ ข้อ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นในการ

จำแนกบทหนึ่ง ๆ โดยเอกมูลกนัยเป็นต้น จึงมีปุจฉา ๒,๗๐๐ ข้อ มี

การกำหนดคำนวณปุจฉาเหล่านั้น ในปัจจัย ๒๔ ทั้งหมดดังนี้ ใน

อนุโลมนัยแห่งเหตุทุกะ มีปุจฉา ๖๔,๘๐๐ ข้อ. แม้ในสเหตุทุกะ เป็นต้น

ก็เหมือนกับเหตุทุกะ.

แม้ใน ๑๐๐ ทุกะทั้งหมด ท่านผู้รู้กล่าวปุจฉาไว้

ในทุกะ ๑๐๐ ทุกะ ๖,๔๘๐,๐๐๐ ข้อ.

นี่เป็นการกำหนดจำนวนปุจฉาใน ติกปัฏฐาน และ ทุกปัฏฐาน

ล้วน ๆ ก่อน.

ส่วนที่ชื่อว่า ทุกติกปัฏฐาน ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือ

เอาติกะ ๒๒ ผนวกเข้าในทุกะ ๑๐๐ ทุกะ แสดงไว้ต่อจากนั้น ในทุกติก-

ปัฏฐานแม้นั้น ผู้ศึกษาพึงทราบกำหนดจำนวนปุจฉาที่พึงแสดงประกอบ

ติกะหนึ่ง ๆ ในบรรดาติกะ ๒๒ เข้ากับทุกะ ๑๐๐ ด้วยอำนาจแห่งนัยที่มี

มูลหนึ่งเป็นต้นทั้งหมด ตามนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในหนหลัง

อย่างนี้ว่า " กุศลธรรมที่เป็นเหตุ พึงอาศัยกุศลธรรมที่เป็นเหตุเกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัยหรือ ? "

ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาทุกะ ๑๐๐ ผนวกเข้าใน

ติกะ ๒๒ แล้ว แสดงปัฏฐานชื่อว่า ติกทุกปัฏฐาน ใดไว้ แม้ในติกทุก-

ปัฏฐานนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบกำหนดจำนวนปุจฉาที่พึงแสดงประกอบ

ทุกะหนึ่ง ๆ ใน ๑๐๐ ทุกะ เข้ากับติกะ ๒๒ ด้วยอำนาจนัยที่มีมูลหนึ่ง

เป็นต้นทั้งหมด ตามนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในหนหลัง อย่างนี้

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

ว่า "ธรรมที่เป็นเหตุอันเป็นกุศล พึงอาศัยธรรมที่เป็นเหตุอันเป็นกุศล

เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยหรือ ?"

ต่อจากนั้น ทรงผนวกติกะทั้งหลายเข้าในติกะนั่นเอง แล้วแสดง

ปัฏฐานชื่อว่า ติกติกปัฏฐาน อันใดไว้ ในติกติกปัฏฐานแม้นั้น ผู้ศึกษา

พึงทราบการกำหนดนั้น ปุจฉาที่พึงแสดงประกอบติกะหนึ่ง ๆ บรรดา

๒๒ ติกะ. เข้ากับติกะ ๒๑ ที่เหลือ ด้วยอำนาจแห่งนัยที่มีมูลหนึ่งเป็นต้น

ทั้งหมด ตามนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในหนหลัง อย่างนี้ว่า

" ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาซึ่งเป็นกุศล พึงอาศัยธรรมที่สัมปยุต

ด้วยสุขเวทนาซึ่งเป็นกุศลเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยหรือ ?"

ต่อจากนั้น ทรงผนวกทุกะเข้าในทุกะนั้นเอง แล้วแสดงปัฏฐาน

ที่ชื่อว่า ทุกทุกปัฏฐาน อันใดไว้ ในทุกทุกปัฏฐานแม้นั้น ผู้ศึกษา

พึงทราบการกำหนดการนับปุจฉาที่พึงแสดงประกอบทุกะหนึ่ง ๆ ใน ๑๐๐

ทุกะ กับทุกะ ๙๙ ที่เหลือ ด้วยอำนาจแห่งนัยที่มีมูลหนึ่งเป็นต้น ตามนัย

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในหนหลังอย่างนี้ว่า " ธรรมที่เป็นเหตุ (และ)

เป็นเหตุ พึงอาศัยธรรมที่เป็นเหตุ (และ) มีเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุ

ปัจจัยหรือ ? "

จริงอยู่ พระตถาคตครั้นทรงแสดงประเภทนั้นทั้งหมดแล้ว จึงทรง

แสดงธรรมในเทพบริษัท. แต่พระธรรมเป็นเสนาบดีรวบรวมย่อไว้ว่า ธรรม

นี้ ๆ พระองค์ทรงแสดงในวันนี้ แล้วกล่าวในเทศนาโดยเพียงแสดงนัยนั้น

เท่านั้น. พลความที่กล่าวย่อไว้ พระเถระย่อให้เป็นไปแล้ว. พลความ

นั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ยกขึ้นสู่สังคหะในสังคีติกาล ตามนัยที่พระ-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

เถระให้เป็นไปแล้วนั่นแหละ. ก็เพื่อจะแสดงสังเขปนัยแห่งพลความนั้น

ข้าพเจ้าจึงตั้งคาถานี้ไว้ว่า ติกญฺจ ปฏฺานวร เป็นต้น.

คาถานั้นมีใจความว่า คำว่า ติกญฺจ ปฏฺานวร แปลว่า ติกปัฏฐาน

อันประเสริฐ คืออันบวร. บทว่า ทุกุตฺตม แปลว่า ทุกปัฏฐานอันสูง

สุด คืออันประเสริฐสุด. บทว่า ทุกตฺติกกญฺเจว คือ ทุกติกปฏิฐาน.

บทว่า ติกทุกญฺจ คือ ติกทุกปัฏฐาน. บทว่า ติกติกกญฺเจว คือ

ติกติกปัฏฐาน. บทว่า ทุกทฺทุกญฺจ คือ ทุกทุกปัฏฐาน. คำว่า ฉ

อนุโลมฺมหิ นยา สุคมฺภีรา ความว่า ผู้ศึกษาพึงทราบนัย ๖ อันลึกซึ้ง

ด้วยดี มีติกปัฏฐานเป็นต้นเหล่านี้ ในอนุโลม.

บรรดานัยเหล่านั้น อนุโลมมี ๒ คือ ธัมมานุโลม และ ปัจจยา-

นุโลม ในอนุโลมสองนี้ ปัฏฐานที่พระองค์ให้เป็นไปด้วยอำนาจเทศนา

ที่เป็นอนุโลมแก่ธรรมที่ท่านรวบรวม ด้วยบทอภิธรรมมาติกาอย่างนี้ว่า

กุศลธรรมอาศัยกุศลธรรม ชื่อว่า ธัมมานุโลม ปัฏฐานที่พระองค์ให้

เป็นไปด้วยอำนาจเทศนาที่เป็นอันโลมแก่ปัจจัย ๒๔ อย่างนี้ว่า เหตุปจฺจยา

อารมฺมณปจฺจยา ชื่อว่า ปัจจยานุโลม.

บรรดาคำที่เป็นคาถาเหล่านั้น คาถานี้ว่า ติกญฺจ ปฏฺานวร ฯเปฯ

ฉ อนุโลมมฺหิ นยา สุคมฺภีรา ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาหนหลัง หมาย

ถึง ธัมมานุโลม. แต่ในอธิการนี้ คาถานี้ท่านกล่าวหมายถึง ปัจจยา-

นุโลม รัมมมานุโลมนั้น. เพราะฉะนั้น คำว่า ฉ อนุโลมมฺหิ นยา

สุคมฺภีรา ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความในอรรถกถาอย่างนี้ว่า นัย ๖ มี

ติกปัฏฐานเป็นต้น ในธัมมานุโลมลึกซึ้งยิ่ง. แต่ในโอกาสนี้ ผู้ศึกษา

พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า นัย ๖ มี ติกปัฏฐาน เป็นต้น เฉพาะใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

ธัมมานุโลมในปัจจยานุโลมที่เป็นไปอย่างนี้ว่า เหตุปจฺจยา อารมฺมณ-

ปจฺจยา ลึกซึ้งยิ่ง. บรรดานัย ๖ เหล่านั้น ประเภทแห่งปุจฉานี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อแสดงในปัณณัตติวาระนี้ แห่งปฏิจจวาระด้วยอำนาจ

กุศลติกะเท่านั้น ในติกะปัฏฐานที่เป็นอนุโลม. ส่วนในติกะ และทุกะ

ที่เหลือ และในปัฏฐานที่เหลือไม่มีปุจฉาเลยแม้แต่ข้อเดียว.

ก็ใน สหชาตวาระ เป็นต้น ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ยก

ปุจฉาขึ้นด้วยอำนาจกุศลติกะ ทรงแสดงเฉพาะวิสัชนาด้วยอำนาจวาระที่มี

ได้เท่านั้น. ก็เพราะพระบาลีว่า ฉ อนุโลมมฺหิ นยา สุคมฺภีรา. ผู้ศึกษา

พึงยกปัฏฐานนัยทั้ง ๖ เหล่านี้ ขึ้นแสดงในปัจจยานุโลมนี้ ด้วยอำนาจ

แห่งปุจฉาทั้งหลาย เพราะว่านั้นเป็นภาระแห่งอาจารย์ผู้อธิบายปัฏฐาน.

บัดนี้ เพื่อจะแสดง ปัจจนียปัฏฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่ม

คำว่า กุศลธรรมพึงอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัยหรือ ?

ในปัจจนียปัฏฐานนั้น มีการกำหนดปุจฉา เท่ากับอนุโลมปุจฉา เพราะ

เหตุนั้นในปัจจนียปัฏฐานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ผู้ศึกษาพึง

อธิบายเหตุปัจจัยแม้ในปัจจนียปัฏฐาน เหมือนอธิบายเหตุปัจจัยในอนุโลม-

ปัฏฐาน แล้วตรัสไว้ในที่สุดอีกว่า พึงอธิบายเอกมูลกะจนถึงเตวีสติมูลกะ

แห่งบทหนึ่ง ๆ ในปัจจนียปัฏฐาน เหมือนในอนุโลมปัฏฐาน.

ก็คำนี้ว่า เตวีสติมูลก ในอธิการนี้ ตรัสหมายถึงทุมูลกปัฏฐาน

เท่านั้น ส่วนสัพพมูลกนัยในที่สุด ได้แก่จตุวีสติมูลกนัยนั่นเอง. นัยนั้น

ทั้งหมดทรงย่อไว้แล.

พระบาลีนี้ว่า ติกญฺจ ปฏฺานวร ฯเปฯ ฉ ปจฺจนียมฺหิ นยา

สุคมฺภีรา ดังนี้ได้แก่ปัจจนียะ ๒ อย่างคือ ธัมมปัจจนียะ และ ปัจจย-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

ปัจจนียะ. ใน ๒ อย่างนั้น นัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้วด้วย

อำนาจการแสดงธรรมที่สงเคราะห์ ด้วยบทอภิธรรมมาติกาอย่างนี้ว่า

กุสลา ธมฺมา โดยแสดงเป็น ปัจจนียะ ว่า นกุสล ธมฺม ปฏิจฺจ

นกุสโล ธมฺโม ชื่อว่า ธัมมปัจจนียะ นัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้

เป็นไปด้วยอำนาจการแสดงปัจจัย ๒๔ ด้วยอำนาจเป็นปัจจัยอย่างนี้ว่า

นเหตุปจฺจยา นารมฺมณปจฺจยา ชื่อว่า ปัจจยปัจจนียะ. ใน ๒ อย่าง

นั้น คาถานี้ว่า ติกญฺจ ปฏฺานวร ฯเปฯ ฉ ปจฺจนียมฺหิ นยา

สุคมฺภีรา ในอรรถกถาในหนหลัง ท่านกล่าวหมายถึง ธัมมปัจจนียะ

แต่ในอธิการนี้ คาถานี้ท่านกล่าวหมายถึง ปัจจยปัจจนียะ ในธัมมานุโลม

เท่านั้น. เพราะฉะนั้น ในคาถาแห่งอรรถกถาว่า " ฉ ปจฺจนียมฺหิ นยา

สุคมฺภีรา " ผู้ศึกษาพึงทราบใจความอย่างนี้ว่า นัย ๖ มี ติกปัฏฐาน

เป็นต้นในธัมมปัจจนียะลึกซึ้งยิ่ง. แต่ในปัจจนียะที่เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า

นเหตุปจฺจยา นอารมฺมณปจฺจยา ในโอกาสนี้ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความ

อย่างนี้ว่า นัย ๖ มีติกะปัฏฐานเป็นต้น เฉพาะในธัมมานุโลมเท่านั้น

ลึกซึ้ง. บรรดานัย ๖ เหล่านั้น ประเภทแห่งปุจฉานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงย่อแสดงในปัณณัตติวาระนี้แห่งปฏิจจวาระ ด้วยอำนาจธรรมเพียง

กุสลติกะ ในอนุโลมติกปัฏฐานเท่านั้น แม้ในติกะและทุกะที่เหลือ และ

ในปัฏฐานที่เหลือก็ไม่มีปุจฉาแม้แต่ข้อเดียว. ก็ในสหชาตวาระเป็นต้น

ต่อจากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงยกปุจฉาขึ้นด้วยอำนาจกุสลติกะ ทรง

แสดงเฉพาะวิสัชนาด้วยอำนาจวาระที่ได้อยู่เท่านั้น. ก็เพราะพระบาลีว่า

ฉ ปจฺจนียมฺหิ นยา สุคมฺภีรา พึงยกปัฏฐานนัย ๖ เหล่านี้ขึ้นแสดงใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

ปัจจยปัจจนียะนี้ ด้วยอำนาจแห่งปุจฉา เพราะว่านั่นเป็นภาระแห่งอาจารย์

ผู้อธิบายปัฏฐาน.

บัดนี้ เพื่อจะแสดง อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงเริ่มคำว่า " กุศลธรรมพึงอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

นอารัมมณปัจจัยหรือ ? " ในอนุโลมปัจจนียปัฏฐานนั้น ในมูลที่มีมูละ

หนึ่ง มีเหตุบทเป็นต้น มีอนุโลมปัจจนียปัฏฐาน ๒๓ ด้วยอำนาจการ

เชื่อมเหตุบทกับปัจจัยหนึ่ง ๆ ในบรรดาปัจจัย ๒๓ ที่เหลือว่า

เหตุปจฺจยา นอารมฺมณปจฺจยา ฯลฯ เหตุปจฺจยา โนอวิคต-

ปจฺจยา ในอนุโลมปัจจนียปัฏฐานนั้นมีปุจฉา ๑,๑๒๗ ข้อ เพราะแต่ละ

บทแบ่งออกได้ ๔๙ ข้อ. ส่วนในทุมูลกนัย ผู้ศึกษาพึงทราบการคำนวณ

ปุจฉา ด้วยอำนาจบทที่เหลือ โดยลดบทหนึ่ง ๆ ในเอกมูลกนัยเป็นต้น

ทั้งหมดที่กล่าวไว้ในอนุโลมอย่างนี้ว่า อนุโลมปัจจนียปัฏฐานมี ๒๒ ด้วย

อำนาจการเชื่อม เหตารัมมณบท กับปัจจัยหนึ่ง ๆ กับบรรดาปัจจัย ๒๒

ที่เหลือ.

อนึ่ง ในเอกมูลกนัยเป็นต้น ในอธิการนี้ปุจฉาใดมาแล้ว และอันใด

ไม่ได้มาในพระบาลี ปุจฉานั้นทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงทราบตามแนวแห่งนัย

ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง.

ก็ในคำนี้ว่า ติกญฺจ ปฏฺานวร ฯเปฯ ฉ อนุโลมปจฺจนียมฺหิ นยา

สุคมฺภีรา มีอนุโลมปัจจนียปัฏฐาน ๒ อย่าง คือ ธัมมานุโลมปัจจนียะ

และ ปัจจยานุโลมปัจจนียะ ตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นเอง. ใน

๒ อย่างนั้น ปัฏฐานที่พระองค์ทรงให้เป็นไปด้วยอำนาจการแสดงธรรม

ที่สงเคราะห์ไว้ด้วยบทอภิธรรมมาติกา อย่างนี้ว่า กุสโล ธมฺโม โดย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

อนุโลมปัจจนียนัยว่า กุสล ธมฺม ปฏิจฺจ นกุสโล ธมฺโม ชื่อว่า ธัมมา-

นุโลมปัจจนียปัฏฐาน. ปัฏฐานที่พระพุทธองค์ทรงให้เป็นไปด้วยอำนาจ

การแสดงบทที่ได้ในปัจจัย ๒๔ อย่างนี้ว่า เหตุปจฺจยา นอารมฺมณปจฺจยา

โดย อนุโลมปัจจนียนัย ชื่อว่า ปัจจยานุโลมปัจจนียปัฏฐาน. ใน ๒

อย่างนั้น คาถานี้ว่า ติกญฺจ ปฏฺานวร ฯเปฯ ฉ อนุโลมปจฺจนียมฺหิ

นยา สุคมฺภีรา ในอรรถกถาในหนหลัง ท่านกล่าวหมายถึงธัมมานุโลม-

ปัจจนียปัฏฐาน เฉพาะในธัมมานุโลมเท่านั้น เพราะฉะนั้น ในคาถา

แห่งอรรถกถาว่า ฉ อนุโลมปจฺจนียมฺหิ นยา สุคมฺภีรา พึงทราบเนื้อ

ความอย่างนี้ว่า นัย ๖ มีติกะปัฏฐานเป็นต้น ในธัมมานุโลมปัจจนียนัย

ลึกซึ้งยิ่ง.

ส่วนใน ปัจจยานุโลมปัจจนียปัฏฐาน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้

เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า เหตุปจฺจยา นอารมฺมณปจฺจยา ในโอกาสนี้ผู้ศึกษา

พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า นัย ๖ มีติกปัฏฐานเป็นต้นเหล่านี้ เฉพาะใน

ธัมมานุโลมเท่านั้นลึกซึ้งยิ่ง. บรรดานัย ๖ เหล่านั้น ประเภทแห่งปุจฉานี้

พระองค์ทรงย่อไว้ในปัณณัตติวาระนี้แห่งปฏิจจวาระ ด้วยอำนาจแห่ง

ธรรมเพียงกุสลติกะเฉพาะในอนุโลมติกปัฏฐานเท่านั้น ส่วนในติกะและ

ทุกะที่เหลือแลในปัฏฐานที่เหลือ ไม่ได้แสดงปุจฉาไว้แม้เพียงข้อเดียว.

ก็ในสหชาตวาระเป็นต้น ต่อจากนั้น ไม่ทรงยกปุจฉาขึ้นด้วยอำนาจกุสล-

ติกะ ทรงแสดงเฉพาะวิสัชนา ด้วยอำนาจวาระที่ได้อยู่. ก็เพราะพระบาลี

ว่า ฉ อนุโลมปจฺจนียมฺหิ นยา สุคมฺภีรา พึงยกปัฏฐานนัย ๖ เหล่านี้

ขึ้นแสดงด้วยอำนาจปุจฉา ในปัจจยานุโลมปัจจนียปัฏฐานนี้ เพราะว่านั่น

เป็นภาระแห่งอาจารย์ผู้อธิบายปัฏฐาน.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

บัดนี้ เพื่อจะแสดง ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน. พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทรงเริ่มคำมีอาทิว่า " กุศลธรรมพึงอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นเหตุปัจจัยอารัมมณปัจจัยหรือ ?" ในปัจจนียานุโลมปัฏฐานนั้น มี

กำหนดปุจฉาเท่ากับอนุโลมปัจจนียปัฏฐาน. ก็ในนัยที่มีมูละหนึ่งเป็นต้น

ในอธิการนี้ ปุจฉาใดที่มาแล้วและอันใดที่ไม่ได้มาในพระบาลี ปุจฉานั้น

ทั้งหมดผู้ศึกษาพึงทราบตามแนวแห่งนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง.

แม้ในคำน ว่า ติกญฺจ ปฏิานวร ฯเปฯ ฉ ปจฺจนียานุโลมมฺหิ

นยา สุคมฺภีรา ผู้ศึกษาพึงทราบปัจจนียานุโลม ๒ อย่าง คือ ธัมมปัจจ-

นียานุโลม และ ปัจจยปัจจนียานุโลม ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วใน

หนหลัง ใน ๒ อย่างนั้น ปัฏฐานที่พระองค์ให้เป็นไปด้วยอำนาจการ

แสดงธรรมที่สงเคราะห์ด้วยบทอภิธรรมมาติกา อย่างนี้ว่า กุสโล ธมฺโม

ด้วยปัจจนียานุโลมว่า นกุสล ธมฺม ปฏิจฺจ กุสโล ธมฺโม ชื่อว่า

ธัมมปัจจนียานุโลมปัฏฐาน ปัฏฐานที่ให้เป็นไปด้วยอำนาจการแสดงบท

ที่ได้อยู่ในปัจจัย ๒ อย่างนี้ว่า นเหตุปจฺจยา อารมฺมณปจฺจยา ด้วย

ปัจจยปัจจนียานุโลม ชื่อว่า ปัจจยปัจจนียานุโลมปัฏฐาน. ใน ๒ อย่าง

นั้น คาถานี้ว่า ติกญฺจ ปฏฺานวร ฯเปฯ ฉ ปจฺจนียานุโลมมฺหิ นยา

สุคมฺภีรา ในอรรถกถาในหนหลังท่านกล่าวหมายถึง ธัมมปัจจนียา-

นุโลมปัฏฐาน. แต่ในอธิการนี้ คาถานี้ท่านกล่าวหมายถึง ปัจจยปัจจ-

นียานุโลมปัฏฐาน เฉพาะในธัมมานุโลมเท่านั้น เพราะฉะนั้น ในคาถา

แห่งอรรถกถาว่า ฉ ปจฺจนียานุโลมมฺหิ นยา สุคมฺภีรา. ผู้ศึกษาพึง

ทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า นัย ๖ มีติกปัฏฐานเป็นต้น ในธัมมปัจจนียา-

นุโลมลึกซึ้งยิ่ง. ส่วนใน ปัจจยปัจจนียานุโลม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

เป็นไปแล้ว อย่างนี้ว่า นเหตุปจฺจยา อารมฺมณปจฺจยา ในโอกาสนี้

ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า นัย ๖ มีติกปัฏฐานเป็นต้นเหล่านี้

เฉพาะในธัมมานุโลมนั้นลึกซึ้งยิ่ง. บรรดานัย ๖ เหล่านั้น ประเภทแห่ง

ปุจฉานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อแสดงไว้ในปัณณัตติวาระนี้แห่งปฏิจจ-

วาระ ด้วยอำนาจธรรมเพียงกุสลติกะ เฉพาะในอนุโลมปัฏฐานเท่านั้น

แต่ในติกะและทุกะที่เหลือ และในปัฏฐานที่เหลือไม่ได้ทรงแสดงปุจฉาไว้

แม้แต่วาระเดียว. ก็ใน สหชาตวาระ เป็นต้น ต่อจากนั้น ไม่ทรงยก

ปุจฉาขึ้นด้วยอำนาจกุสลติกะ ทรงแสดงเฉพาะวิสัชนาด้วยอำนาจวาระ

ที่ได้อยู่ก็เพราะพระบาลีว่า ฉ ปจฺจนียานุโลมมฺหิ นย า สุคมฺภีรา พึง

ยกปัฏฐานนัยทั้ง ๖ เหล่านี้ ขึ้นแสดงด้วยอำนาจปุจฉาในปัจจยปัจจนียา-

นุโลมปัฏฐานนี้ เพราะว่านั่นเป็นภาระของอาจารย์ผู้อธิบายปัฏฐานแล.

จบอรรถกถาปัณณัตติวาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

ปฏิจจวารนิทเทส

ปัจจยานุโลม

[๕๖] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ อาศัยขันธ์

๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๓. กุศลธรรม และอัพยกตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล

เกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒

และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัย

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๖. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล

เกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒

และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-

วิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น

อัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น,

ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, หทยวัตถุอาศัยขันธ์

ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัย

มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, จิตต-

สมุฏฐานรูป กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย

เกิดขึ้น.

๘. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ และมหาภูตรูปเกิดขึ้น.

๙. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ และมหาภูตรูปทั้งหลาย

เกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

[๕๗] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอารัมมณ-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์

๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัย

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะอารัมมณ-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา

เกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิด

ขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น

ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

[๕๘] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์

๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๓. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น

เพราะอธิปติปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล

เกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒

และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัย

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติ-

ปัจจัย

คือ จิตตสมุกฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๖. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น

เพราะอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิด

ขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และ

จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติ-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต

วิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหา-

ภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, จิตต-

สมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

๘. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะอธิปติปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๙. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะอธิปติปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๕๙] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอนันตรปัจจัย

เพราะสมนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ฯ ล ฯ.

อนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย (แสดงได้ ๓ วาระ) เหมือน

กับ อารัมมณปัจจัย.

[๖๐] ๑. กุศลธรรมอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์

๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะสหชาต-

ปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

๓. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะ

สหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล

เกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒

และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๔. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัย

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะสหชาต-

ปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๖. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น

เพราะสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิด

ขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และ

จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะสหชาต-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-

วิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น

อัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น,

ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทยวัตถุอาศัยขันธ์

ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัย

มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, จิตต-

สมุฏฐานรูป กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น,

มหาภูตรูป ๓ อาศัยพาหิรมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑

อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น,

อุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ซึ่งมีอาหารเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น,

มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป

๒ เกิดขึ้น, อุปาทารูปอาศัยมหาภุตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ซึ่งมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น,

มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป

๒ เกิดขึ้น, อุปาทารูปอาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น

มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป

๒ เกิดขึ้น, กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๘. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะสหชาตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๙. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะสหชาตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลทั้งหลาย และมหาภูตรูปทั้งหลาย

เกิดขึ้น.

[๖๑] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอัญญมัญญ-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์

๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอัญญมัญญ-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์

๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะอัญญ-

มัญญปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา

เกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น

อัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และหทยวัตถุ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น,

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, หทยวัตถุอาศัยขันธ์

ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัย

มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, พา-

หิรรูป...อาหารสมุฏฐานรูป...อุตุสมุฏฐานรูป...

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น,

มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป

๒ เกิดขึ้น.

[๖๒] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนิสสยปัจจัย

คือ อาศัยขันธ์ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น...ฯ ล ฯ...

นิสสยปัจจัย (แสดงได้ ๙ วาระ) เหมือนกับ สหชาตปัจจัย.

[๖๓] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอุปนิสสยปัจจัย

คือ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ฯ ล ฯ.

อุปนิสสยปัจจัย (แสดงได้ ๓ วาระ) เหมือนกับ อารัมมณปัจจัย.

[๖๔] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์

๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุ

เกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

๒. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์

๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุ

เกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย.

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะปุเรชาต-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา

เกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น,

ขันธ์ทั้งหลายอาศัย หทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย.

[๖๕] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์

๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะอาเสวน-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑

อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

[๖๖] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะกัมมปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล...ฯ ล ฯ... มี ๓ วาระ

อาศัยอกุศลธรรม ฯ ล ฯ มี ๓ วาระ.

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะกัมม-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา

เกิดขึ้น, ฯ ล ฯ ในปฏิสนธิขณะ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิด-

ขึ้น, ฯ ล ฯ จิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น,

ฯ ล ฯ กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๘. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะกัมมปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๙. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะกัมมปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๑. คือ กุศลธรรมอาศัยกุศลธรรม ๑, อัพยากตธรรมอาศัยกุศล ๑, กุศลธรรมและ

อัพยากตธรรมอาศัยกุศลธรรม ๑, รวมเป็น ๓ วาระที่อาศัยกุศลธรรม แม้ที่อาศัยอกุศลธรรมก็มี

นัยเช่นเดียวกับอาศัยกุศลธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

[๖๗] ๑. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

วิปากปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก

เกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒

และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น

อัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น,

ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, หทยวัตถุ อาศัยขันธ์

ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัย

มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, จิตต-

สมุฏฐานรูป กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย

เกิดขึ้น.

[๖๘] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอาหารปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ฯ ล ฯ มี ๓ วาระ

อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอาหารปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ฯ ล ฯ มี ๓ วาระ

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะอาหาร -

ปัจจัย

๑. คือ กุศลธรรมอาศัยกุศลธรรม ๑, อัพยากตธรรมอาศัยกุศลธรรม ๑. กุศลธรรมและ

พยากตธรรมอาศัยกุศลธรรม ๑, แม้ที่อาศัยอกุศลธรรมก็มีนัยเดียวกันกับที่อาศัยกุศลธรรม

พึงทราบการแสดงวาระโดยย่อ ในที่อื่นโดยแนวนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

คือ อัพยากตธรรม อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และ

อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ในปฏิสนธิขณะ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑

เกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ซึ่งมีอาหารเป็น

สมุฏฐานเกิดขึ้น อุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๘. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

ฯ ล ฯ.

๙. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะอาหารปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๖๙ ] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอินทริยปัจจัย

คือ อาศัยกุศลขันธ์ ๑ เกิดขึ้น ฯ ล ฯ มี ๓ วาระ (รวมทั้งข้อ ๑).

อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น ฯ ล ฯ มี ๓ วาระ

อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น ฯ ล ฯ

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น

ฯ ล ฯ.

อินทริยปัจจัย (แสดงได้ ๙ วาระ) เหมือนกับ กัมมปัจจัย.

[๗๐] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะฌานปัจจัย ฯ ล ฯ

เพราะมัคคปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

ฌานปัจจัยก็ดี มัคคปัจจัยก็ดี แสดงได้ ๙ วาระ เหมือนกับ

เหตุปัจจัย.

[๗๑] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะสัมปยุตตปัจจัย

คือ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ฯ ล ฯ.

สัมปยุตตปัจจัย แสดงได้ ๓ วาระ เหมือนกับ อารัมมณปัจจัย.

[๗๒] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตต-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์

๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์ทิ้งหลายอาศัยหทยวัตถุ

เกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตต-

ปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตต-

ปัจจัย.

๓. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะ

วิปปยุตตปัจจัย

คือขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น,

ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตต-

สมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตต-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัย

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตต-

ปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, จิตต-

สมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๖. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกดขึ้น

เพราะวิปปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิด

ขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และ

จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย, จิตต-

สมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

วิปปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-

วิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐาน อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น

ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย, จิตตสมุฏฐาน-

รูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น

อัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น,

ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัย

หทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย, กฏัตตารูปอาศัยขันธ์ทั้งหลาย

เกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย หทยวัตถุอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์

ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย, หทยวัตถุอาศัยขันธ์

ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูต-

รูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐาน-

รูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป

กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป

ปัจจัย.

๘. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะวิปปยุตตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะ

วิปปยุตตปัจจัย.

๙. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะวิปปยุตตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะ

วิปปยุตตปัจจัย.

[๗๓] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอัตถิปปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลขันธ์เกิดขึ้น ฯ ล ฯ.

อัตถิปัจจัย แสดงได้ ๙ วาระ เหมือนกับ สหชาตปัจจัย.

[๗๔] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนัตถิปัจจัย ฯ ล ฯ

เพราะวิคตปัจจัย

นัตถิปัจจัย ก็ดี วิคตปัจจัย ก็ดี แสดงได้ ๓ วาระ เหมือนกับ

อารัมมณปัจจัย.

[๗๕] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอวิคตปัจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลขันธ์เกิดขึ้น ฯ ล ฯ.

อวิคตปัจจัย แสดงได้ ๙ วาระ เหมือนกับ สหชาตปัจจัย.

ปัจจัยทั้ง ๒๓ เหล่านี้ ผู้สาธยายพึงจำแนกให้พิสดาร.

การนับจำนวนวาระในอนุโลมนัย

[๗๖] ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ. ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตร-

ปัจจัย มี วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย

มี ๙ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ

ในอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ในมัคคปัจจัย

มี ๙ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ

ในอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี

๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๗] เพราะเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ... ในอธิปติ-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย

มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๙

วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

อินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ในมัคคปัจจัย

มี ๙ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๙

วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๘] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ

... ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

สหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

มี ๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๙ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๓ วาระ.

[๗๙] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย อนันตร-

ปัจจัย สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสย-

ปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย ในกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๓ วาระ.

[๘๐] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯ ล ฯ อาเสวนปัจจัย

กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย

สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย

ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

[๘๑] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯ ล ฯ ปุเรชาตปัจจัย

กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ...ในอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระในอัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๒] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯ ล ฯ ปุเรชาตปัจจัย

กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย

มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย

วิคตปัจจัย ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

การนับจำนวนปัจจัยที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล จบ

ปัจจัยทั้งปวงมี อารัมมณปัจจัยเป็นมูล มี ๓ วาระเท่านั้น.

[๘๓] เพราะอารัมมณปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ...ในอธิปติ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ฯ ล ฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

เพราะอธิปติปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ...ในอารัมมณปัจจัย

มี ๓ วาระ ฯ ล ฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

เพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓

วาระ ฯ ล ฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

เพราะสหชาตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ฯ ล ฯ.

เพราะอัญญมัญญปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯ ล ฯ.

เพราะนิสสยปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ฯ ล ฯ.

เพราะอุปนิสสยปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯ ล ฯ.

เพราะปุเรชาตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯ ล ฯ.

[๘๔] เพราะอาสเสวนปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ...ในอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตรปัจจับ

มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๓

วาระ ในอัญญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

กัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ

ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

อัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

ใน อาเสวนมูลกนัย ไม่มีวิปากปัจจัย.

เพราะกัมมปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๘๕] เพราะวิปากปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...ในอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในอนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

กัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ นวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

เพราะวิปากปัจจัย เป็นมูล ไม่มีอาเสวนปัจจัย.

เพราะอาหารปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ

เพราะอินทริยปัจจัย " มี ๙ วาระ

เพราะฌานปัจจัย " มี ๙ วาระ

เพราะมัคคปัจจัย " มี ๙ วาระ

เพราะสัมปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ

เพราะวิปปยุตตปัจจัย " มี ๙ วาระ

เพราะอัตถิปัจจัย " มี ๙ วาระ

เพราะนัตถิปัจจัย " มี ๓ วาระ

เพราะวิคตปัจจัย " มี ๓ วาระ

[๘๖] เพราะอวิคตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ...ในอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ฯ ล ฯ ในนัตถิปัจจัย

มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

พึงกระทำปัจจัยหนึ่ง ๆ ให้เป็นมูล แล้วนับจำนวนปัจจัยโดยนัย

แห่งการสาธยาย ฉะนี้แล.

อนุโลมนัย จบ

วรรณนาเนื้อความแห่งปฏิจจวาระ

อรรถกถาปัจจยานุโลมนัย

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงละทิ้งปัญหาที่วิสัชนาไม่ได้

อย่างนี้ว่า " อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

(ไม่ได้) " เพราะกุศลธรรมกับอกุศลธรรมเป็นต้น เกิดพร้อมกันไม่ได้

แล้วแก้เฉพาะปัญหาที่วิสัชนาได้ในปัญหาทั้งหลาย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอาศัยกุศลติกะในปัณณัตติวาระ เมื่อทรงแสดงเพียงนัยได้ทรงแสดง

ไว้หาประมาณมิได้ เริ่มแต่ปัญหา ๙ ข้อ ด้วยอำนาจเหตุปัจจัยเป็นต้น

จึงทรงเริ่มนิทเทสวาระแห่งปฏิจจวาระโดยนัยมีอาทิว่า " กุศลธรรม อาศัย

กุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย. "

ในข้อนั้น พึงมีคำถามว่า ปัญหา ๙ ข้อ ผิว่า เหตุปจฺจยา เป็น

อาทินี้ย่อมวิสัชนาไม่ได้ทั้งหมอ แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ทำไม

พระองค์ควรแสดงเฉพาะปัญหาที่วิสัชนาได้เท่านั้นมิใช่หรือ ? ตอบว่า ใช่

ควรแสดงอย่างนั้น แต่เมื่อแสดงอย่างนั้น ก็จำเป็นต้องแสดงไม่ให้รวบรัด

ในติกะ ทุกะ ติกทุกะ ติกติกะ และทุกทุกะหนึ่ง ๆ ในปัฏฐานทั้งหมด

มีติกทุกปัฏฐาน เป็นต้น. เพราะเหตุไร ? เพราะปัญหาที่มีอยู่ในกุศล-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

ติกะไม่มีเวทนาติกะเป็นต้นเลย อนึ่ง ตอนวิสัชนาวิตักกติกะและปีติกะ

ในติกปัฏฐาน อันว่าด้วยธัมมานุโลมปัจจนียะ ปัญหาเหล่านี้ย่อมได้รับ

วิสัชนาทั้งหมดด้วย ฉะนั้น โดยการกำหนดอย่างละเอียด ปัญหาที่มีอยู่ใน

ติกะหนึ่ง ๆ ทั้งหมดพระองค์ทรงแสดงไว้แล้วในกุศลติกะ. จริงอยู่ เมื่อ

พระองค์ทรงแสดงปัญหาไว้อย่างนี้ ปัญหาที่วิสัชนาได้ อันพระองค์ทรง

ละทิ้งปัญหาที่แก้ไม่ได้ในกุศลติกะนั้นแล้วทรงกล่าวไว้. กุลบุตรก็จะเข้าใจ

ได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้น เพื่อจะให้กุลบุตรเข้าใจได้ง่ายขึ้น พระองค์จึง

ทรงแสดงปัญหาแม้ทั้งหมด (รวม ๔๙ ข้อ) ไว้ในกุศลติกะ. บัณฑิตพึง

ทราบว่า ก็ปัญหาใดไม่ได้วิสัชนาในกุศลติกะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ละทิ้งปัญหานั้นแล้ววิสัชนาเฉพาะปัญหาที่แก้ได้เท่านั้น.

พึงทราบเนื้อความในคำเหล่านั้นต่อไป คำว่า กุสล ธมฺม ปฏิจฺจ

ความว่า อาศัย คือ พึ่งพิง ซึ่งธรรมอันหนึ่งอันต่างโดยขันธ์ มีเวทนา-

ขันธ์เป็นต้น ในบรรดากุศลธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือถึงโดยความเป็น

ไปเช่นเดียวกัน อธิบายว่า เข้าถึงความเกิดขึ้นร่วมกันธรรมนั้น.

สองบทว่า กุสโล ธมฺโม คือ ธรรมอันหนึ่งซึ่งต่างโดยสัญญาขันธ์

เป็นต้น ในบรรดาธรรมอันเป็นไปในภูมิ เช่นเดียวกัน.

บทว่า อุปฺปชฺชตฺ ความว่า ถึงเบื้องบนตั้งแต่อุปาทขณะจนถึง

นิโรธขณะ คือย่อมบังเกิด. อธิบายว่า ย่อมได้ซึ่งความติดต่อกัน คือ

เข้าถึงขณะทั้งสามมีอุปาทขณะเป็นต้น. บทว่า เหตุปจฺจยา คือ เพราะ

กุศลเหตุที่ให้สำเร็จความเป็นเหตุปัจจัย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิสัชนาว่า

อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น ในปุจฉาว่า พึงเกิดขึ้นดังพรรณนามาแล้ว บัดนี้

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

เพื่อจะแสดงซึ่ง ธรรมเป็นที่อิงอาศัย (ปัจจัย) และธรรมที่เข้าไปอาศัย

เกิดขึ้น (ปัจจยุบบัน) ด้วยอำนาจแห่งขันธ์จึงตรัสคำมีอาทิว่า กุสล

เอก ขนฺธ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอก คือ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งในบรรดา

ขันธ์สี่ มีเวทนาขันธ์เป็นต้น. สองบทว่า ตโย ขนฺธา คือ สามขันธ์

ที่เหลือเว้นขันธ์ที่ท่านจัดเป็นปัจจัย. คำว่า ตโย ขนฺเธ คือ ซึ่งขันธ์สาม

ที่เหลือในบรรดาขันธ์ มีเวทนาเป็นต้น เว้นขันธ์อันหนึ่งที่ท่านจัดว่า

กำลังเกิด (เพราะเหตุปัจจัย). คำว่า เทฺว ขนฺเธ ความว่า อาศัยขันธ์

สอง ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งในทุกะ ๖ มีเวทนาทุกะและสัญญาทุกะเป็นต้น.

สองบทว่า เทฺว ขนฺธา ความว่า ขันธ์ทั้งหลายสองที่เหลือเว้นขันธ์ที่ท่าน

จัดว่าเป็นปัจจัยเสีย ย่อมเกิดขึ้นเพราะกุศลเหตุที่ให้สำเร็จความเป็นเหตุ

ปัจจัย. ก็เพราะขันธ์หนึ่งจะเป็นปัจจัยเฉพาะแก่ขันธ์หนึ่งหรือขันธ์สอง

ไม่ได้ หรือขันธ์สองว่าเป็นปัจจัยเฉพาะแก่ขันธ์หนึ่งก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน

ฉะนั้น พระองค์จึงไม่ตรัสว่า เอก ขนฺธ ปฏิจฺจ เอโก ขนฺโธ เอก ขนฺธ

ปฏิจฺจ เทฺว ขนฺธา เทฺว ขนฺเธ ปฏิจฺจ เอโก ขนฺโธ เป็นต้น. แม้ใน

คำมีอาทิว่า อัพยากตธรรมอาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อ

ความตามนัยที่กล่าวแล้วนั้น แหละ.

คำนี้ว่า จิตฺตสมุฏฺาน รูป นี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงซึ่งรูป ที่ได้

สหชาตปัจจัยและเหตุปัจจัยกับกุศล เพราะอรรถแห่งคำว่า ปฏิจฺจ มี

ความหมายว่า สหชาตะ (เพราะคำว่าอิงอาศัยมีอรรถว่าเกิดร่วม) แม้ใน

ที่ต่อจากนี้ในฐานะเช่นนี้พึงทราบนัยนี้เหมือนกัน. ในคำนี้ว่า วิปากา-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

พยากต กิริยาพฺยากต จะเอาอเหตุกจิตเข้ามาร่วมด้วยไม่ได้ เพราะไม่มี

เหตุปัจจัย และไม่หมายถึงอรูปวิบากด้วย เพราะไม่เกิดพร้อมกับรูป

บทว่า ปฏิสนฺธิกฺขเณ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงว่า อัพยากตธรรม

คือกัมมชรูป อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น, บทว่า วิปากาพฺยากต ท่าน

กล่าวด้วยอำนาจ อัพยากตธรรม ที่มีอยู่ในขณะนั้น. คำว่า ขนฺเธ ปฏิจฺจ

วตฺถุ นี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงว่า แม้เมื่อวัตถุรูป (หทัยวัตถุ) อันท่าน

ถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า กฏัตตารูป ก็ยังต้องอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิด คำว่า

วตฺถุ ปฏิจฺจ ขนฺธา ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงว่า ขันธ์ทั้งหลายอาศัยวัตถุเกิด

คำว่า เอก มหาภูต เป็นต้น ก็ในกล่าวไว้เพื่อแสดงว่า อัพยากตธรรม

คือรูปอาศัยอัพยากตธรรมฝ่ายรูปเกิด ก็ในคำเหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบ

อรรถโยชนา (การอธิบายความ) ตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในคำว่า เอก

ขนฺธ เป็นต้น.

ในอัพยากตธรรมฝ่ายรูป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึง มหาภูตรูป

อาศัยมหาภูตรูปเกิด อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงถึงอุปาทารูป อาศัย

มหาภูตรูปเกิด จึงตรัสคำว่า มหาภูเต ปฏิจฺจ จิตฺตสมุฏฺาน เป็นต้น

มีคำถามว่า เมื่อเป็นอย่างนั้นก็ควรจะเรียกเสียอย่างนี้ว่า อุปาทารูป แต่

เรียกสองอย่างให้ต่างกันทำไม ? แก้ว่า เพื่อแสดงถึงรูปอาศัยมหาภูตรูป

เกิด คำว่า มหาภูต อุปาทารูป นี้บัณฑิตพึงทราบว่า พระองค์ตรัสไว้เพื่อ

แสดงว่า รูปใดที่แสดงไว้ในหนหลังว่า เกิดจากจิตและเกิดจากกรรม รูป

นั้นไม่ได้อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดอย่างเดียว หากแต่อาศัยมหาภูตรูปเกิดด้วย.

บรรดารูปทั้งสองนั้น รูปที่จิตเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดในปวัตติกาลเท่านั้น

รูปเกิดจากกรรมย่อมเกิดแม้ขณะปฏิสนธิกาลด้วย. บทว่า อุปาหารูป เป็น

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

วิเสสนะของสองบทนั้นนั่นแล. ในคำนี้ว่า กุสเล ขนฺเธ จ มหาภูเต จ

ปฏิจฺจ (อาศัยกุศลขันธ์และมหาภูตรูป) หมายเอามหาภูตรูปที่มีจิตเป็น

สมุฏฐานเท่านั้น. ส่วนในคำนี้ว่า จิตฺตสมุฏฺาน รูป หมายเอาทั้งมหา-

ภูตรูป และอุปาทารูป จริงอยู่ แม้มหาภูตรูป ก็อาศัยขันธ์ทั้งหลาย และ

มหาภูตรูปด้วยกันเกิด โดยนัยเป็นต้นว่า เอก มหาภูต ปฏิจฺจ ตโย

มหาภูตา ถึงอุปาทารูป ก็อาศัยขันธ์และมหาภูตรูปเกิด โดยนัยที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า มหาภูเต ปฏิจฺจ อุปาทารูป. แม้ในการวิสัชนาปัญหาว่า

อกุสลญฺจ อพฺยากตญฺจ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ปุจฉา ๙ ข้อในเหตุปัจจัย

เป็นอันได้รับวิสัชนาแล้วด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ ปัญหาเหล่านี้เท่านั้น

ที่ใช้ได้ในเหตุปัจจัยนี้ ปัญหาที่เหลือ ๔๐ ข้อ เป็นโมฆปัญหา เพราะ

เหตุนั้นจึงไม่ได้รับวิสัชนา. บัณฑิตพึงทราบอรรถแห่งปุจฉาและวิสัชนา

แม้ในอารัมมณปัจจัยเป็นต้น ตามนัยนี้. ส่วนคำที่ควรจะวิจารณ์ไว้ใน

ปัจจัยนั้น ๆ ข้าพเจ้าจักวิจารณ์ต่อไป.

พึงทราบวินิจฉัยใน อารัมมณปัจจัย ก่อน บรรดาปุจฉา ๙ ข้อ

ท่านวิสัชนาไว้ ๓ ข้อเท่านั้น โดยทั้งปุจฉาที่เกี่ยวกับรูปเสีย เพราะรูปไม่

เกิดด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย. เพราะเหตุนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า ขันธ์ทั้งหลายอาศัยวัตถุ ไม่ตรัสว่า วัตถุอาศัยขันธ์ทั้งหลาย

เพราะว่าวัตถุรูปนั้นไม่เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย.

ใน อธิปติปัจจัย คำว่า วิปากาพฺยากต นี้ พระองค์ตรัสหมาย

เอาเฉพาะ โลกุตตรวิบาก เท่านั้น เพราะฉะนั้น ในปัจจัยนี้ ท่านจึงไม่ได้

มุ่งเอาว่า " ในปฏิสนธิขณะ." คำที่เหลือเช่นเดียวกับเหตุปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

แม้ใน อนันตรปัจจัย และ สมนันตรปัจจัย รูปก็มีไม่ได้ ฉะนั้น

จึงมีปุจฉา ๓ ข้อเหมือนในอารัมมณปัจจัย.

ใน สหชาตปัจจัย คำว่า ปฏิสนฺธิกฺขเณ พระองค์ตรัสด้วยอำนาจ

ปฏิสนธิในปัญจโวการภพ ส่วนในปัจจยวิภังค์ในหนหลัง (ข้างต้น) มา

แล้วว่า โอกฺกนฺติกฺขเณ. แม้คำนั้นกับคำนี้ ว่าโดยเนื้อความแล้วเป็นอัน

เดียวกัน จริงอยู่สองคำนี้ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า

โอกฺกนฺติ นี้เป็นชื่อแห่งปัญจโวการปฏิสนธิ โดยพระบาลีว่า เพราะประชุม

พร้อมแห่งองค์สาม สัตว์ย่อมก้าวลงสู่ครรภ์. คำว่า ปฏิสนธิ ใช้ทั่วไป

แก่ภพทั้งปวง. แต่ในที่นี้ ประสงค์เอาเฉพาะปัญจโวการปฏิสนธิเท่านั้น

เพราะพระบาลีว่า กฏตฺตา จ รูป ดังนี้ เป็นต้น. จริงอยู่ คำว่า ปฏิสนธิ

นั้น ย่อมประมวลมาซึ่งความเป็นปัจจัย และปัจจยุบบันแห่งรูป และ

อรูปเข้าด้วยกัน. เพราะฉะนั้น การวิสัชนาที่บริบูรณ์ท่านจึงถือเอาว่าย่อม

มีได้. คำว่า พาหิร เอก มหาภต ท่านกล่าวหมายเอามหาภูตรูปในที่

ทั้งหลาย มีพื้นดิน และแผ่นหินเป็นต้น ซึ่งไม่เนื่องด้วยอินทรีย์. จริงอยู่

ในปัจจยวิภังควาระท่านถือเอารวมกัน ทั้งภายในและภายนอกว่า จตฺตาโร

มหาภูตา. เพราะนั้นเป็นการแสดงโดยย่อ. แต่นี้เป็นการแสดงโดยพิสดาร

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงจำแนกให้หมดจึงตรัสว่า

พาหิร เอก มหาภูต เป็นต้น. คำว่า อสญฺสตฺตาน เอก มหาภูต

ปฏิจฺจ พระองค์ตรัสด้วยอำนาจแห่งมหาภูตรูป ที่มีสันตติ และ สมุฏฐาน

สอง. ส่วนคำนี้ว่า มหาภูเต ปฏิจฺจ กฏตฺตารูป ท่านกล่าวด้วยอำนาจ

รูปมีกรรมเป็นสมุฏฐาน. คำนี้ว่า อุปาทารูป ท่านกล่าวด้วยอำนาจรูปมี

อุตุเป็นสมุฏฐาน.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

ใน อัญญมัญญปัจจัย ท่านกล่าวว่า ขนฺเธ ปฏิจฺจ วตฺถุ วตฺถุ

ปฏิจฺจ ขนฺธา (วัตถุอาศัยขันธ์ ขันธ์อาศัยวัตถุ) ดังนี้ ก็เพื่อแสดงว่า

(นาม) ขันธ์แม้ทั้งสี่เป็นอัญญมัญญปัจจัยแก่วัตถุโดยส่วนเดียว.

ใน นิสสยปัจจัย อันอรรถแห่งคำว่า ปฏิจฺจ ใจความเหมือนกับ

สหชาตะ เพราะฉะนั้น ความที่จักขายตนะเป็นต้น เป็นนิสสยปัจจัย ซึ่ง

ท่านแสดงไว้แล้วในปัจจัยวิภังควาระในหนหลัง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่

ทรงถือเอาด้วย. จริงอยู่ จักขายตนะเป็นต้น เป็นปุเรชาตปัจจัย แต่ใน

ที่นี้เป็นได้เฉพาะสหชาตปัจจัย เพราะเหตุนั้นเอง ท่านจึงกล่าวไว้ว่า

นิสสยปัจจัย เช่นเดียวกับสหชาตปัจจัย.

ใน อุปนิสสยปัจจัย ย่อมได้วิสัชนา ๓ วาระเท่านั้น เพราะความ

ที่รูปเป็นอปนิสสยปัจจัยไม่ได้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเช่นเดียว

กับอารัมมณปัจจัย. ในอุปนิสสยปัจจัยนั้น กุศล อกุศล และอัพยากตธรรม

ทั้งหมดย่อมไม่ได้อารัมมณูปนิสสยปัจจัย แม้ก็จริง แต่คำนั้นบัณฑิต

พึงทราบว่า ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งธรรมที่ได้ (อารัมมณูปนิสสยะ)

เท่านั้น.

พึงทราบวินิจฉัยใน ปุเรชาตปัจจัย ต่อไป. สองบทว่า วตฺถุ ปุเร-

ชาตปจฺจยา ความว่า ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะอาศัยวัตถุ คือด้วยวัตถุ

อันให้สำเร็จความเป็นปุเรชาตปัจจัย. ในคำว่า วิปกาพฺยากต เอก ขนฺธ

นี้ มีอธิบายว่า ในอธิการนี้ วัตถุรูปใดเป็นสหชาตปัจจัยแก่อัพยากตวิบาก

บัณฑิตไม่พึงถือเอาวัตถุรูปนั้น ในปุเรชาตปัจจัยนี้ เพราะจะต้องจำแนก

โดยปุเรชาตปัจจัย. แม้ธรรมทั้งหลายมีกุศลเป็นต้น ที่ไม่ได้ปุเรชาตปัจจัย

ในอรูปภพ ก็ไม่ควรถือเอาในอธิการนี้ เพราะจะต้องจำแนกเป็น

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

ปุเรชาตปัจจัยเหมือนกัน. ส่วนอารมณ์ย่อมไม่ได้ความเป็นปุเรชาตปัจจัย

โดยแน่นอน. เพราะว่ารูปายตนะเป็นต้น ให้สำเร็จความเป็นปุเรชาตปัจจัย

แก่จักขุวิญญาณเป็นต้นเท่านั้น. อารมณ์ทั้งหลายที่เป็นอดีต อนาคตย่อม

มีแก่มโนวิญญาณธาตุเท่านั้น เพราะฉะนั้นท่านจึงไม่ถือเอาในที่นี้. เพราะ

ว่านี้เป็นการแสดงด้วยอำนาจแห่งขันธ์ ไม่ใช่ด้วยอำนาจแห่งวิญญาณ-

ธาตุ. อนึ่ง ด้วยเทศนาว่า วิปากาพฺยากต เอก ขนฺธ ท่านหมายเอา

วิญญาณธาตุทั้งหมด ไม่หมายเฉพาะจักขุวิญญาณธาตุเป็นต้นเท่านั้น ดังนี้

แล.

ธรรมที่เกิดขึ้นภายหลัง ย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่กุศล และอกุศล

เพียงแต่ค้ำจุนอัพยากตธรรมเท่านั้น หาใช่เป็นตัวแต่งให้เกิดไม่ เพราะ

เหตุนั้น แม้ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรจะกล่าวอย่างนี้ว่า เกิดขึ้นเพราะ

ปัจฉาชาตปัจจัยจึงไม่มี เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่ได้ทำการวิสัชนา

ไว้ด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัย.

พึงทราบวินิจฉัยใน อาเสวนปัจจัย กิริยาจิตย่อมไม่ได้อาเสวนปัจจัย

ทั้งหมดก็จริง ถึงอย่างนั้นท่านก็กล่าวว่า กิริยาพฺยากต ด้วยอำนาจกิริยา

จิตที่ได้ (อาเสวนปัจจัย) เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า อันชวนะกิริยาท่าน

ถือเอาแล้วในอธิการนี้.

พึงทราบวินิจฉัยใน กัมมปัจจัย พึงทราบว่า ในกุศลจิต อกุศลจิต

มีกัมมปัจจัยที่เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน แม้อัพยากตกิริยาก็เหมือนกัน.

ส่วนในอัพยากตะฝ่ายวิบาก พึงทราบว่า กัมมปัจจัย ที่เป็นไปต่างขณะ

กัน. อนึ่ง ในขณะปฏิสนธิ นานักขณิกกมัมปัจจัย พึงทราบว่ามีแก่มหา-

ภูตรูปด้วย. ส่วนรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน มีเอกขณิกกัมมปัจจัยเท่านั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

กัมมชรูปและรูปแห่งอสัญญสัตตพรหม มีเฉพาะนานักขณิกกัมมปัจจัย

เหมือนกัน. แก่กัมมชรูปในที่นี้ได้แก่ชีวิตินทรีย์. รูปที่เหลือท่านเรียกว่า

อุปาทารูป รูปอาศัย เพราะไม่ได้เกิดจากกรรมอย่างเดียว. เมื่อเป็น

เช่นนั้นในอธิการนี้ ท่านประสงค์เอาเฉพาะกัมมชรูปเท่านั้น.

กุศล อกุศล และกิริยาย่อมไม่ได้ใน วิปากปัจจัย เพราะฉะนั้น

ท่านจึงแต่งวิสัชนาด้วยอำนาจแห่งอัพยากตะเท่านั้น. บทว่า จิตฺตสมุฏฺ-

าน มุ่งเฉพาะรูปที่มีวิบากจิตเป็นสมุฏฐานเท่านั้น. บทว่า กฏตฺตารูป

คือ อินทรีย์รูป และวัตถุรูปตามสมควรแก่ภูมิที่จะมีได้. บทว่า อุปาทารูป

คือ อุปาทารูปที่เหลือนอกจากนั้น ซึ่งมีอยู่ในสมัยนั้น.

ใน อาหารปัจจัย พึงทราบการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย มีกุศล

เป็นต้นทั้งหมด แห่งรูปที่มี เป็นสมุฏฐาน แห่งอรูป และแห่งมหาภูตรูป

ในขณะปฏิสนธิ ด้วยอำนาจแห่งอาหารที่เป็นนาม. บทว่า จิตฺตสมุฏาน

คือ มีภวังคจิตเป็นต้น เป็นสมุฏฐาน. บทว่า อาหารสมุฏฺาน คือ มี

กพฬีการาหารเป็นสมุฏฐาน. บทว่า จิตฺตสมุฏาน คือ มีกุศลจิตและ

อกุศลจิตเป็นสมุฏฐานเท่านั้น ว่าโดยลำดับแห่งอาหารในปัจจยวิภังควาระ

ท่านแสดงกพฬีการาหารไว้เป็นที่ ๑ แต่ในที่นี้พึงทราบว่าท่านแสดง

อาหารที่เป็นนามก่อน ด้วยอำนาจปุจฉาว่า กุสล ธมฺม เป็นต้น.

แม้ใน อินทริยปัจจัย โดยการจัดลำดับอินทรีย์ในปัจจยวิภังค์ ท่าน

แสดงจักขุนทรีย์เป็นอันดับแรก ส่วนในอธิการนี้ท่านแสดงความที่ อรูป-

อินทรีย์ เป็นปัจจัยก่อน เกี่ยวกับคำถามถึงธรรมที่เป็นกุศลเป็นต้น บรรดา

อรูปอินทรีย์เหล่านั้น ควรถือเอาอรูปอินทรีย์เท่าที่จะหาได้ในธรรมทั้งหลาย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

มีกุศลเป็นต้น. แม้ในภูตรูปทั้งหลาย ที่เกิดแล้วแก่อสัญญสัตตพรหม

ทั้งหลายก็ควรถือเอาเฉพาะชีวิตินทรีย์และ.

ใน ฌานปัจจัย และ มัคคปัจจัย มีวิสัชนาเช่นเดียวกับเหตุปัจจัย

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอธิการนี้ว่า เช่นเดียวกับเหตุปัจจัย.

วิสัชนาใน สัมปยุตตปัจจัย มีคติเหมือนอารัมมณปัจจัย ฉะนั้น ในที่นี้

ท่านจึงกล่าวว่า เหมือนอารัมมณปัจจัย.

พึงทราบวินิจฉัยใน วิปปยุตตปัจจัย ต่อไป. สองบทว่า วตฺถุ

วิปฺปยุตฺตปจฺจยา ความว่า ธรรมทั้งหลายอาศัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะ วิปป-

ยุตตปัจจัย คือเพราะวัตถุที่ให้สำเร็จความเป็นวิปปยุตตปัจจัย. สองบทว่า

ขนฺเธ วิปฺปยุตฺตปจฺจยา ความว่า ธรรมทั้งหลายอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น

เพราะวิปปยุตตปัจจัย คือเพราะขันธ์ทั้งหลายที่ให้สำเร็จความเป็นวิปปยุตต-

ปัจจัย. คำว่า ขนฺธา วตฺถุ วิปฺปยุตฺตปจฺจยา อธิบายว่า ขันธ์ทั้งหลาย

อาศัยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย คือเพราะวัตถุที่ให้สำเร็จความ

เป็นวิปปยุตตปัจจัย. คำว่า จิตฺตสมุฏฺาน รูป ขนฺเธ วิปฺปยตฺตปจฺจยา

ความว่า รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะ วิปป-

ยุตตปัจจัย เพราะขันธ์ทั้งหลายให้สำเร็จความเป็นวิปปยุตตปัจจัย แม้ใน

วิสัชนาที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบความตามนัยที่ท่านกล่าวไว้ในคำว่า วตฺถุ

วิปฺปยุตฺตปจฺจยา เป็นต้น. ก็ด้วยศัพท์ว่า วัตถุ ในวิปากาพยากตะนี้

บัณฑิตควรรวมเอาจักขุเป็นต้นมาด้วย. คำว่า เอก มหาภูต เป็นอาทิ

ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงว่า มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมฝ่ายรูป.

บทว่า จิตฺตสมุฏฺาน ความว่า ย่อมได้รูปที่มีอัพยากตจิตเป็นสมุฏฐาน

และรูปที่มีกุศลและอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

ใน อัตถิปัจจัย คำอธิบายทั้งหมดดำเนินตามสหชาตปัจจัย เพราะ

ฉะนั้น ในปัจจัยนี้ท่านกล่าวว่า เหมือนกับสหชาตปัจจัย.

นัตถิปัจจัย และ วิคตปัจจัย แนวเดียวกับอารัมมณปัจจัย. อวิคต-

ปัจจัย มีคติเหมือนสหชาตปัจจัย เพราะเหตุนั้นในปัจจัยนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เหมือนสหชาตปัจจัย.

คำว่า อิเม เตวีสติ ปจฺจยา ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจปัจจัย อัน

ท่านย่อแสดงไว้. บทว่า วิตฺถาเรตพฺพา ความว่า ผู้ศึกษาพึงอธิบายให้

พิสดารด้วยอำนาจปุจฉาที่วิสัชนาได้ นี้เป็นการพรรณนาเนื้อความในการ

วิสัชนากุสลติกะแห่ง ปฏิจจวาระ ใน ปัจจยานุโลม ที่มีมูลหนึ่ง เริ่มแต่

เหตุปัจจัยเป็นต้น.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงวิสัชนาวาระที่ได้ในปัจจัยหนึ่งๆ ในบรรดาเหตุ-

ปัจจัยเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งจำนวนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหตุ-

ยา นว เป็นอาทิ. พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้น. สองบทว่า เหตุยา นว

ความว่า ในเหตุปัจจัยมีวาระแห่งปุจฉาและวิสัชนา ๙ วาระ คืออย่างไร ?

คือ กุศลกับกุศล อัพยากตะกับกุศล กุศลและอัพยากตะกับกุศล อกุศล

กับอกุศล อัพยากตะกับอกุศล อกุศลและอัพยากตะกับอกุศล อัพยากตะ

กับอัพยากตะ อัพยากตะกับกุศลและอัพยากตะ อัพยากตะกับอกุศลและ

อัพยากตะ สองบทว่า อารฺมมเณ ตีณิ คือ กุศลกับกุศล อกุศลกับอกุศล

อัพยากตะกับอัพยากตะ.

บทว่า อธิปติยา นว เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในเหตุ. ท่านกล่าว

ไว้ว่า จริงอยู่ ในปัจจัย ๒ ท่านจำแนกออกไปปัจจัยละ ๙. ปุจฉาและ

วิสัชนาในปัจจัยทั้งปวง เช่นเดียวกับเหตุปัจจัยนั่นเอง. แต่ในวิภังค์มี

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

แปลกกันออกไป. เพราะว่ารูปก็ยังมีได้ในการวิสัชนาอัพยากตบท ใน

อัญญมัญญปัจจัย. ในปุรชาตปัจจัยก็เหมือนกัน. ใน อาเสวนปัจจัย

ไม่ได้วิบากจิตและวิถีจิต. สองบทว่า วิปาเก เอก คือ อัพยากตะกับ

อัพยากตะนั่นเอง. เมื่อว่าโดยย่อ ในอธิการนี้มีการกำหนดวาระอย่าง

เท่านั้น คือ ๙-๓-๑ โดยพิสดารดังนี้คือ หมวดนวกะมี ๑๒ ปัจจัย

หมวดติกะมี ๑๐ หมวดเอกะมี ๑. ในปัจจัย ๒๓ ทั้งหมดมี ๑๓๙ วาระ

และปุจฉาอีก ๑๓๙ ข้อ. แม้คำว่า เอกูนจตฺตาฬีสาธิก ปุจฺฉาวิสชฺชนสต

ก็ระบุถึงคำว่า เอกูนจตฺตาฬีสาธิก วารสต นั้นเอง พระอาจารย์ครั้น

แสดงการนับในปัจจัยที่มีมูลหนึ่ง มีเหตุปัจจัยเป็นต้นอย่างนี้แล้ว เพื่อจะถือ

เอาเฉพาะจำนวนที่ได้อยู่ในเทศนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อวิตถาร

เทศนาในปัจจัยที่มีมูลสองอื่นจากนี้ แล้วแสดงไว้ในปัจจัยที่มีมูลหนึ่ง แล้ว

แสดงการกำหนดวาระ จึงกล่าวคำว่า เหตุปจฺจยา อารมฺมเณ ตีณิ

เพราะเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ เป็นต้น ในปัจจัยที่มีมูลสอง

ก่อน.

ในข้อนั้น มีวิธีกำหนดดังนี้ ปัจจัย ที่มีการนับมาก (คือมีวาระมาก)

ประกอบกับปัจจัยที่มีการนับไม่มาก ย่อมมีจำนวน (วาระ) เท่ากับจำนวน

ไม่มากนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เหตุปจฺจยา อารมฺมเณ ตีณิ

เพราะเหตุปัจจัยในอารัมมณปัจจัยมี ๓ วาระ. อธิบายว่า ในเหตุอารัมมณ-

ทุกะได้วิสัชนา ๓ ข้อ ที่กล่าวไว้ในอารมณ์เท่านั้น. ส่วนปัจจัยที่มีวิธีนับ

เท่ากัน ประกอบกับปัจจัยที่มีวิธีนับเท่ากัน ย่อมมีจำนวนเพิ่มและลด

ลง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เหตุปจฺจยา อธิปติยา นว เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

เหตุปัจจัยในอธิปติปัจจัยมี ๙ วาระ. อธิบายว่า ในเหตุอธิปติทุกะได้

วิสัชนา ๙ ข้อ.

สองบทว่า วิปาเก เอก ความว่า ในเหตุวิปากทุกะย่อมได้วิสัชนา

๑ ข้อ ที่กล่าวไว้ในวิบากเท่านั้น บัณฑิตพึงทราบการกำหนดวาระในปัจจัย

ที่มีมูล ๒ เท่านี้ก่อนด้วยประการฉะนี้. ในวิสัชนาที่มีมูล ๓ เป็นต้น ก็มี

วิธีกำหนดอย่างนี้เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า เหตุปจฺจยา

อารมฺมณปจฺจยา อธิปติยา ตีณิ เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ใน

อธิปติปัจจัยมี ๓ วาระ อธิบายว่า ใน เหตุอารมฺมณอธิปติติกะ ได้

วิสัชนา ๓ ที่กล่าวไว้ในอารมณ์เท่านั้น ในวิสัชนาทั้งปวง บัณฑิตพึง

ขยายนัยออกไปอย่างนี้. ส่วนในวิสัชนาที่มีมูล ๑๒ ย่อมไม่ได้วิปากปัจจัย

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อาเสวนปจฺจยา กมฺเม ตีณิ เพราะ

อาเสวนปัจจัย ในกัมมปัจจัยมี ๓ วาระ แล้วกล่าวว่า อาหาเร ตีณิ ใน

อาหารปัจจัยมี ๓ วาระ เป็นต้น ไม่เท้าความไปถึงวิบากเลย แม้ใน

วิสัชนาที่มีมูล ๑๓ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน เป็นแต่ว่าในที่นี้ท่านย่อ

ปัจจัยเหล่านั้น แล้วกล่าวถึงปัจจัยที่มีมูล ๒๓.

ปัจจัยมีมูล ๒๓ นั้น ปัจจัยนั้นแยกเป็น ๒ ประเภท คือที่มี

อาเสวนะบ้าง มีวิบากบ้าง ใน ๒ อย่างนั้นที่มีอาเสวนะ ท่านแสดงไว้

ก่อน ปัจจัยที่มีอาเสวนะนั้นได้วิสัชนา ๓ ข้อเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า อาเสวนปจฺจยา อวิคเต ตีณิ เพราะอาเสวนปัจจัย ในอวิคต-

ปัจจัยมี ๓ วาระ ส่วนปัจจัยที่มีวิบาก (เกิดร่วมกับวิบาก) ย่อมไม่ได้

อาเสวนะ. เพราะฉะนั้น เพื่อจะละอาเสวนะแล้วแสดงจำนวนด้วยอำนาจ

วิบาก ท่านจึงแสดงนัยหนึ่งคั่นไว้ว่า เหตุปจฺจยา ฯเปฯ วิปากปจฺจยา

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

อาหาเร เอก แล้วแสดงมูล ๒๓ ภายหลัง. ก็บรรดาปัจจัยที่มีมูล ๒

สองพวกนี้ วิปากปัจจัยไม่มีในพวกหนึ่ง อาเสวนปัจจัยไม่มีในพวกหนึ่ง

ก็จริง แต่ปัจฉาชาตปัจจัยมีได้ทั้งสองพวก. แต่บัณฑิตพึงทราบมูล ๒๓

นี้เท่านั้น โดยศัพท์เกินมา ในปัจจัย ๒ พวกนั้น ฝ่ายมีอาเสวนะได้

วิสัชนา ๓ ด้วยอำนาจอาเสวนะ ฝ่ายมีวิบากได้วิสัชนาหนึ่ง ด้วยอำนาจ

วิปากปัจจัยนี้ เป็นการนับในปัจจัยที่มีมูลหนึ่งเป็นต้น เริ่มแต่เหตุปัจจัย

มาด้วยประการฉะนี้.

ก็คำนี้อันใดท่านกล่าวไว้ว่า อารมฺมเณ ิเตน สพฺพตฺถ ตีเณว

ปญฺหา ในลำดับปัจจัยที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล คำนั้นท่านกล่าวไว้เพื่อแสดง

ว่าในอารัมมณบททุกบท ทั้งในฝ่ายปัจจัยที่มีมูล ๑ และมีมูล ๒ เป็นต้น

เริ่มแต่อารัมมณปัจจัยไป และในการประกอบอธิบายปัจจัยที่เหลือพร้อม

กับอารมณ์ ปัจจัยที่มีปัญหา ๙ ข้อ มีปุจฉา ๓ ข้อเท่านั้น ส่วนในวิปากบท

และในการประกอบปัจจัยที่เหลือพร้อมกับวิปากบท มีปัญหาข้อเดียว

เท่านั้น คำใดที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังว่า ปัจจัยที่มีวิธีการนับมาก รวม

กับปัจจัยที่มีวิธีการนับไม่มาก ย่อมมีจำนวนเท่ากันกับปัจจัยที่ไม่มากนั้น

ดังนี้ คำนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ถูกต้องแล้วแล.

บัดนี้ พึงแสดงปัจจัยที่มีมูลเดียวเป็นต้น ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย

เป็นอาทิ ในปัจจัยเหล่านั้น ปัจจัยที่มีมูล ๑ ก่อน ท่านไม่ได้แสดงไว้ใน

ปัจจัยสักอย่างหนึ่งว่า เหมือนกับปัจจัยที่มีมูลหนึ่งแห่งเหตุปัจจัยนั่นเอง.

ก็เพื่อจะแสดงจำนวนในปัจจัยที่มีมูล ๒ ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย ท่าน

จึงกล่าวว่า อารมฺมณปจฺจยา เหตุยา ตีณิ อธิปติยา ตีณิ ฯเปฯ อวิคเต

ตีณิ ก็ในอธิการนี้เมื่อท่านควรจะกล่าวว่า อารมฺมณปจฺจยา อธิปติยา

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

ตีณิ ฯเปฯ อวิคเต ตีณิ ท่านก็วางเหตุปัจจัยแม้อยู่ข้างหน้าของอารัมมณ-

ปัจจัยไว้ข้างหลัง แล้วกล่าวว่า อารมฺมณปจฺจยา เหตุยา ตีณิ เพราะ

อารัมมณปัจจัย ในเหตุปัจจัยมี ๓ วาระ เพื่อแสดงปัจจัยที่มีวิธีนับมาก

มีเหตุปัจจัยเป็นต้น และวิธีนับที่หาได้ในการเทียบเคียงปัจจัยเหล่านั้น.

ปัจจัยที่มีวิธีการนับน้อยกว่าและเท่ากัน. คำนี้ย่อมแจ่มแจ้งด้วยอธิบายนั้น.

อารัมมณปัจจัยย่อมถึงความต่างกัน โดยเป็นทุกะและติกะ เพราะวิธีการนับ

ที่มากกว่าหรือเท่ากับปัจจัยใด ๆ ในปัจจัยนั้นทั้งหมด พึงทราบว่ามีปัญหา

และวิสัชนา ๓ ข้อเท่านั้น. ส่วนในการเทียบเคียงกับวิปากปัจจัย ย่อมได้

ปุจฉาและวิสัชนาข้อเดียวเท่านั้น ข้อนั้นท่าไม่ได้แสดงไว้ในอธิการนี้ว่า

จักมีแจ้งในการนับเกี่ยวกับวิปากปัจจัยเป็นต้น และการนับที่ท่านแสดงไว้

ในปัจจัยที่มีมูล ๒ นี้แหละ เป็นวิธีนับในปัจจัยที่มีมูล ๓ เป็นต้นด้วย

เพราะฉะนั้น ปัจจัยที่มีมูล ๓ เป็นต้น ท่านจึงไม่อธิบายไว้อย่างพิสดาร

ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย.

บัดนี้ ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า อธิปติปจฺจยา เหตุยา นว เพราะ

อธิปติปัจจัย ในเหตุปัจจัยมี ๙ วาระ เพื่อจะแสดงวิธีนับ ในปัจจัยที่มีมูล ๒

เป็นต้น ด้วยอำนาจอธิปติปัจจัยเป็นต้น พึงทราบนิทเทสแห่งปัจจัยตาม

นัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในเหตุปัจจัยนั้นนั่นแล ก็เพราะอธิปติปัจจัย

(เป็นมูล) เหตุปัจจัยมีปุจฉาและวิสัชนา ๙ ข้อฉันใด ในปัจจัยที่มีวินับ

เท่ากับเหตุปัจจัยที่เหลือก็มี ๙ ข้อฉันนั้น ดังที่ได้อธิบายมาแล้วนี้ ในการ

เทียบเคียงปัจจัย ที่มีวิธีนับเท่ากับปัจจัยที่มีอยู่ในอันดับแรก การนับย่อม

มีด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ที่อยู่ในอันดับแรก ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ก็ในการ

เทียบเคียงปัจจัยมีการนับน้อยกว่ากับปัจจัยที่เป็นตัวตั้งนั้น จำนวนย่อมมี

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่มีการนับน้อยกว่า บัณฑิตอธิบายปัจจัยที่มีมูล ๓ ให้

พิสดารด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย ฉันใด จะอธิบายด้วยอำนาจอธิปติปัจจัย

ก็ดี อนันตรปัจจัยอื่นจากนั้นก็ดี เหมือนอย่างนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้น

ในปัจจัยทั้งหมดควรให้สำเร็จด้วยอำนาจแห่งวิธีนับ อันท่านแสดงไว้แล้ว

ในปัจจัยที่มีมูล ๒ เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ท่านจึงกล่าวว่า การทำปัจจัย

หนึ่ง ๆ ให้เป็นมูลแล้วนับตามพลความที่ลำดับไว้.

จบอรรถกถาปัจจยานุโลมนัย

ปัจจยปัจจนียนัย

[๘๗] ๑. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย

คือ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์

ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุ-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-

วิบาก อัพยากตกิริยา ซึ่งเป็นอเหตุกะเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตต-

สมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย

ขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑

ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยรูปขันธ์ ๓ เกิด

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

ขึ้น. ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, หทยวัตถุ อาศัย

ขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัย

มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, จิตต-

สมุฏฐานรูป และกฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย-

เกิดขึ้น.

พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯ ล ฯ...

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น,

มหาภูตรูป ๑ อาลัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูต

รูป ๒ เกิดขึ้น, กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย

เกิดขึ้น.

[๘๘] ๑. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะน-

อารัมมณปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น

๒. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะน-

อารัมมณปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์เกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นอารัมมณปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบากและ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ในปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูป อาศัยขันธ์ทั้งหลาย

ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น, หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัย

มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น จิตต-

สมุฏฐานรูป และกฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย

เกิดขึ้น.

พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯ ล ฯ...

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น,

มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูต-

รูป ๒ เกิดขึ้น กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตทั้งหลาย

เกิดขึ้น.

๔. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม

เกิดขึ้น เพราะนอารัมมณปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐาน อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม

เกิดขึ้น เพราะนอารัมมณปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๘๙] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอธิปติ-

ปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๓. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น

เพราะนอธิปติปัจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิด

ขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และ

จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัย

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอธิปติ-

ปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๖. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น

เพราะนอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิด

ขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒

และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนอธิปติ-

ปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-

วิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น

อัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น,

ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, หทยวัตถุ อาศัยขันธ์

ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัย

มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, จิตต-

สมุฏฐานรูป และกฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย

เกิดขึ้น.

พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯ ล ฯ...

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภุตรูป ๑ เกิดขึ้น,

มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูต-

รูป ๒ เกิดขึ้น, กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูป ทั้งหลาย

เกิดขึ้น.

๘. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะนอธิปติปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๙. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะนอธิปติปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๙๐] อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอนันตรปัจจัย

เพราะนสมนันตรปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

นอนันตรปัจจัย ก็ดี นสมนันตรปัจจัย ก็ดี แสดงได้ ๕ วาระ

เหมือนกัน นอารัมมณปัจจัย.

[๙๑] ๑. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอัญญ-

มัญญปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอัญญ-

มัญญปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนอัญญ-

มัญยปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และ

อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ในปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูป อาศัยขันธ์ทั้งหลาย

ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูปที่เป็น

อุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น, อุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูป

ทั้งหลาย อันมีในภายนอกเกิดขึ้น, อุปาทารูปอาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

อันมีอาหารเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น, อุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย

อันมีอุตุเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหา-

ภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๔. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะนอัญญมัญญปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม

เกิดขึ้น เพราะนอัญญมัญญปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๙๒] อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอุปนิสสย-

ปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

เพราะ นอุปนิสสยปัจจัย แสดงได้ ๕ วาระ เหมือนกัน

นอารัมมณปัจจัย.

[๙๓] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนปุเรชาตปัจจัย

คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑

อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

๒. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนปุเรชาต-

ปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๓. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนปุเรชาต-

ปัจจัย

คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑

อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๔. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนปุเรชาต-

ปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นปุเรชาตปัจจัย

คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และ

อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัย

ขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และ

อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น

อัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น,

ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, หทยวัตถุ อาศัยขันธ์

ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัย

มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, จิตต-

สมุฏฐานรูป และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย

เกิดขึ้น.

พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯ ล ฯ ...

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัย มหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น,

มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูต

รูป ๒ เกิดขึ้น, กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย

เกิดขึ้น.

๖. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะนปุเรชาตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะนปุเรชาตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๙๔] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ฯ ล ฯ.

[๙๕] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ฯ ล ฯ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

นปัจฉาชาตปัจจัย ก็ดี นอาเสวนปัจจัย ก็ดี แสดงได้ ๙ วาระ

เหมือนกับ นอธิปติปัจจัย.

[๙๖] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนกัมมปัจจัย

คือ กุศลเจตนา อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๒. กุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนกัมม-

ปัจจัย

คือ อกุศลเจตนา อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอัพยากตกิริยา อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากต-

ธรรมเกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ที่เป็นพาหิรรูป อาหาร-

สมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูปเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัย มหาภูตรูป ๓

เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, อุปาทารูป อาศัย

มหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๙๗] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนวิปากปัจจัย

มี ๓ วาระ

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น.

๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นวิปากปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-

กิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น,

ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯ ล ฯ.

จิตตสมุฏฐานรูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น

พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯ ล ฯ

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น

ฯ ล ฯ กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๘. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม

เกิดขึ้น เพราะนวิปากปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๙. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม

เกิดขึ้น เพราะนวิปากปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอกุศลขันธ์ทั้งหลาย และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๙๘] ๑. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นอาหารปัจจัย

คือ พาหิรรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯ ล ฯ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น,

ฯ ล ฯ กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๙๙] ๑. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นอินทริยปัจจัย

คือ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ที่เป็นพาหิรรูป อาหาร-

สมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูปเกิดขึ้น ฯ ล ฯ อุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ รูปชีวิตินทรีย์ อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย

เกิดขึ้น.

[๑๐๐] ๑. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นฌานปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ซึ่งสหรคตด้วยปัญจวิญญาณเกิดขึ้น

ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯ ล ฯ.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น

ฯ ล ฯ กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๑๐๑] ๑. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นมัคคปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-

วิบาก และอัพยากตกิริยา ซึ่งเป็นอเหตุกะเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตต-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

สมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย

ขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่

เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น,

ขันธ์ ๒ และ กฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, หทยวัตถุ อาศัยขันธ์

ทั้งหลายเกิดขึ้น ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๓ อาศัย

มหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, ฯ ล ฯ

จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น.

พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯ ล ฯ.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น

ฯ ล ฯ กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๑๐๒] อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนสัมปยุตต-

ปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

ปัจจัยนี้แสดงได้ ๕ วาระ เหมือนกับ นอารัมมณปัจจัย.

[๑๐๓] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนวิปปยุตต-

ปัจจัย

คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ขันธ์ ๑

อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนวิปปยุตต-

ปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์

๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนวิปป-

ยุตตปัจจัย

คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และ

อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัย ขันธ์

๒ เกิดขึ้น.

พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น

ฯ ล ฯ กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๑๐๔] อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะโนนัตถิปัจจัย

...เพราะโนวิคตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น.

สองปัจจัยนี้แสดงได้ ๕ วาระ เหมือนกับ นอารัมมณปัจจัย.

การนับจำนวนปัจจัยในปัจจยปัจจนียนัย

[๑๐๕] ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๐๖] เพราะนเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ.... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๐๗] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๐๘] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย นอุปนิสสย-

ปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นกัมม-

ปัจจัย นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัย นอินทริยปัจจัย นฌานปัจจัย

นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย นวิปปยุตตปัจจัย โนนัตถิปัจจัย

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

นเหตุมูลกนัย จบ

[๑๐๙] เพราะนอารัมมณปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตร-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสย-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

[๑๑๐] เพราะนอารัมมณปัจจัย นเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย ใน

อนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ... ในโนอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๑๑] เพราะนอธิปติปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ... ในน-

อารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตร-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๑๒] เพราะนอธิปติปัจจัย ในอารัมมณปัจจัยมี ๑ วาระ... ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญ-

มัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวน-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

[๑๑๓] เพราะนอธิปติปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ)... ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑

วาระ.

[๑๑๔] เพราะนอนันตรปัจจัย... เพราะนสมนันตรปัจจัย... เพราะ

นอัญญมัญญปัจจัย... เพราะนอุปนิสสยปัจจัย... แสดงเหมือนกันกับ

นอารัมมณปัจจัย (ดูข้อ ๑๐๙-๑๑๐).

[๑๑๕] เพราะนปุเรชาตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในน-

อัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในน-

ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปป-

ยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๕ วาระ.

[๑๑๖] เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี

๑ วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในน-

อาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ. ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๑๗ ] เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุก-

ปัจจัย มี ๑ วาระ) ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑

วาระ.

[๑๑๘] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย... เพราะนอาเสวนปัจจัย ในนเหตุ-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙

วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

มัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาร ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี

๕ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

[๑๑๙] เพราะนอาเสวนปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี

๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมันนตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาร ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาร ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโน-

นัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๒๐] เพราะนอาเสวนปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในน-

อธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ.... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุกปัจจัย

มี ๑ วาระ) ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๒๑] เพราะนกัมมปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในน-

อารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓

วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

อินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

[๑๒๒] เพราะนกัมมปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ) ในโน-

นัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๒๓] เพราะนวิปากปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในน-

อารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

อินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๒๔] เพราะนวิปากปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑

วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในน-

ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๒๕] เพราะนวิปากปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมณปัจจัย ในน-

อธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ) ... ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๒๖] เพราะนอาหารปัจจัย... เพราะนอินทริยปัจจัย... เพราะ

นฌานปัจจัย ... เพราะนมัคคปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี๑ วาระ (ในทุก-

ปัจจัย มี ๑ วาระ)... ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๑๒๗] เพราะนสัมปยุตตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ปัจจัยนี้เหมือนกับนอารัมมณปัจจัย... ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๒๘] เพราะนวิปปยุตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในน-

อารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓

วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๒๙] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑

วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในน-

ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๓๐] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุกปัจจัย

มี ๑ วาระ)... ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑

วาระ.

[๑๓๑] เพราะโนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๕

วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

นปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในน-

อาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๕ วาระ.

[๑๓๒] เพราะโนวิคตปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ)... ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ.

ปัจจยปัจจนียนัย จบ

อรรถกถาปัจจยปัจจนียนัย

ก็เพราะวิสัชนาที่ใน ปัจจยปัจจนียะ (ตรงข้ามกับปัจจัย) ย่อม

มีได้ด้วยกุศลบทที่เว้นเหตุปัจจัยแล้ว กุศลธรรมเกิดขึ้นไม่ได้ ฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า อกุสล ธมฺม ปฏิจฺจ เป็นอาทิ. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า นเหตุปจฺจยา เป็นการปฏิเสธเหตุปัจจัย อธิบายว่า

เว้นเหตุปัจจัยแล้วก็ยังเกิดเพราะปัจจัยอื่นได้. จริงอยู่ เหตุนั้น คือ โมหะ

ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา เป็นเหตุปัจจัยเองแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิต

เป็นสมุฏฐาน. แต่เพราะไม่มีเหตุอื่นสัมปยุตด้วย จึงชื่อว่า ไม่เกิด

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

เพราะเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น เว้นเหตุปัจจัยเสีย โมหมูลจิตก็เกิดได้

เพราะปัจจัยอันเหมาะแก่ตนที่เหลือในธรรมที่ตรงกันข้ามทั้งหมด. บัณฑิต

พึงทราบเนื้อความไปตามนัยนี้. คำนี้ว่า อเหตุก วิปากาพฺยากต พึง

ทราบด้วยอำนาจจิตที่ยังรูปให้เกิดขึ้น แม้ในบทอื่นที่เช่นนี้ก็นัยนี้เหมือน

กัน.

ใน นอธิปติปัจจัย แม้อธิบดี จะไม่ได้อธิปติปัจจัย เพราะไม่มี

อธิบดีที่สองเกิดร่วมกับตนก็จริง แต่อธิบดีจะไม่มีอธิบดีเหมือนโมหะที่

สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ เป็นอเหตุกะหาได้ไม่. ก็ในเวลาที่กุศล-

ธรรมเป็นต้น ไม่ทำฉันทะเป็นต้น ให้เป็นอธิบดีเกิดขึ้น กุศลธรรม

เป็นต้นทั้งหมดไม่เป็นอธิบดี เพราะฉะนั้น เทศนามีอาทิว่า เอก ขนฺธ

ปฏิจฺจ ตโย ขนฺธา นี้ พึงทราบว่า พระองค์เทศนาไว้ด้วยอำนาจเทศนา

มีการรวบรวมไว้ซึ่งอธิบดีทั้งหมด ไม่ใช่ยกขึ้นเพียงอธิบดีแยกกันไป

เหมือนโมหะ. ใน นอนันตรปัจจัย และ นสมนัตรปัจจัย มี รูป

เท่านั้นเป็นปัจจยุบบัน เหมือนใน นอารัมมณปัจจัย. เพราะเหตุ

นั้นท่านจึงกล่าวว่า นอารมฺมณปจฺจยสทิส. สหชาตปัจจัยขาดหายไป.

นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัยก็ขาดหายไปเหมือนสหชาต-

ปัจจัย. เพราะเหตุไร ? เพราะปัจจัยเหล่านี้ไม่มีอะไรเกิดแยกกัน. จริงอยู่

เพราะการบอกปัดเสียซึ่งสหชาตปัจจัย นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคต-

ปัจจัย รูปธรรมและอรูปธรรมแม้สักอย่างหนึ่งก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะฉะนั้น

ปัจจัยเหล่านั้นจึงลดไป. ในวิภังค์แห่ง นอัญญมัญญปัจจัย พึงทราบการ

เว้นหทยวัตถุด้วยคำว่า กฏัตตารูป อาศัยวิปากาพยากตขันธ์เกิดขึ้นใน

ปฏิสนธิกาล. รูปเท่านั้นเป็นปัจจยุบบันในวิภังค์แห่ง นอุปนิสสยปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

เพราะรูปนั้นไม่ได้อุปนิสสยปัจจัย. ส่วนอรูป (นาม) ไม่ได้อารัมมณู-

นิสสยปัจจัย และปกตูปนิสสยปัจจัยก็จริง แต่ก็ไม่พ้นอนันตรูปนิสสยปัจจัย

ไปได้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นอารมฺมณปจฺจยสทิส.

ใน นปุเรชาตปัจจัย คำว่า จิตฺตสมุฏาน รูป ท่านกล่าวไว้ด้วย

อำนาจปัญจโวการภพ. สหชาตปัจจัยและปุเรชาตปัจจัย ย่อมถึงการรวม

ลงในคำนี้ว่า นปจฺฉาชาตปจฺจยา เพราะฉะนั้น บาลีในคำนี้จึงเช่นเดียว

กับสหชาตปัจจัย. ก็บาลีนั้นขยายไว้อย่างพิสดาร ใน นอธิปติปัจจัย ฉะนั้น

ในที่นี้จึงย่อไว้. นอาเสวนปัจจัย พึงทราบด้วยสามารถแห่งปฐมชวนะ

ฝ่ายกุศลและอกุศล. กิริยาพยากตะก็เหมือนกัน. แม้ในอธิการนี้ก็พึงทราบ

บาลีด้วยอำนาจแห่งคำที่ท่านให้พิสดารใน นอธิปติปัจจัย เหตุนั้นพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นปจฺฉชาตปจฺจยมฺปิ นอาเสวนปจฺจยมฺปิ

นาธิปติปจฺจยสทิส ดังนี้ (บาลีข้อ ๙๕). ใน กัมมปัจจัย ไม่ถือเอา

วิบากเจตนาว่าได้นานักขณิกกัมมปัจจัย. ใน นอาหารปัจจัย มีเฉพาะรูป

บางรูปเท่านั้น เป็นปัจจยุบบัน ใน นอินทริยปัจจัย ก็เหมือนกัน. ใน

นฌานปัจจัย มีปัญจวิญญาณธรรม (ทวิปัญจวิญญาณ) และรูปบางรูปเป็น

ปัจจยุบบัน. จริงอยู่ ในปัญจวิญญาณ เวทนาและจิตเตกัคคตา ย่อมไม่

ถึงลักษณะแห่งการเข้าไปเพ่ง เพราะมีกำลังทราม ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น

ท่านจึงไม่ถือเอาในฌานปัจจัย. ใน นมัคคปัจจัย มีอเหตุวิบาก และกิริยา

และรูปบางรูปเท่านั้นเป็นปัจจยุบบัน.

รูปเท่านั้นเป็นปัจจยุบบันในนสัมปยุตตปัจจัย ในโนนัตถิปัจจัย ใน

โนวิคตปัจจัย. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นารมฺมณปจฺจยสทิส.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

ดำเนินการนับปัจจัยที่มีมูลหนึ่งตามบาลี ด้วยคำว่า นเหตุยา เทฺว ดังนี้

แล.

พึงทราบวินิจฉัยใน ทุมูลกปัจจัย ต่อไป. ในคำนี้ว่า นเหตุปจฺจยา

นารมฺมเณ เอก อธิบายว่า ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่นับได้น้อยกว่าในการ

เทียบปัจจัยที่นับได้น้อยกว่ากับปัจจัยที่นับได้มาก พึงมีปัจจัย ๒ เหมือน

ในนเหตุปัจจัยก็จริง ถึงอย่างนั้น คำว่า เอก ท่านกล่าวหมายถึงรูปา-

พยากตะ เกิดขึ้นเพราะอาศัยอัพยากตะ เพราะอรูปธรรมขาดไปด้วยอำนาจ

นอารัมมณปัจจัย แม้ในปัจจัยแต่ละปัจจัยในทุกะปัจจัยก็นัยนี้เหมือนกัน.

บัณฑิตพึงทราบวาระสองเกี่ยวกับที่ได้ในนเหตุปัจจัย ในที่ซึ่งท่านกล่าว

ไว้ว่า "เทฺว." ก็ในปัจจัยทั้งปวงที่มีมูล ๓ เป็นต้น มีวิสัชนาวาระเดียว

เท่านั้น เพราะนอารัมมณปัจจัยขาดไป. นี้เป็นการคำนวณในปัจจัยที่มี

มูล ๑ เป็นต้น เริ่มแต่เหตุปัจจัยไปในปัจจนียนัย. ส่วนอารัมมณปัจจัย

ไม่แสดงไว้ในที่นี้ เพราะเป็นเช่นเดียวกับนัยก่อนในเอกมูลกะนั้นแหละ

เป็นต้น .

คำว่า นารมฺมณปจฺจยา นเหตุยา เอก ในทุมูลูกนัย พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ ในนเหตุทุกมูลกนัยนั่นเทียว ด้วยสามารถแห่ง

อารมัมณปัจจัย. คำว่า นาธิปติยา ปญฺจ พึงทราบด้วยอำนาจการได้ใน

นารมัมณปัจจัย.

ในการเปรียบเทียบปัจจัยทั้งหมด พึงทราบจำนวนด้วยอำนาจปัจจัย

ที่นับได้น้อยกว่าในปัจจัยที่นอารัมมณปัจจัยเข้าได้ รูปเท่านั้นเป็นปัจจ-

ยุบบัน. แม้ในฐานที่นอนันตรปัจจัย นสมนันตระ - นอัญญมัญญะ -

นอุปนิสสยะ - นอาหาระ - นอินทริยะ - นสัมปยุตตะ - โนนัตถิ - โนวิคต-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

ปัจจัย เข้าได้ก็นัยนี้เหมือนกัน. นอาหาระ-นอินทริยะ-นฌานะ-นมัคค-

ปัจจัย มีวิสัชนาเหมือนกันทั้งหมด. แม้ในอธิการนี้ปัจจัย ๔ หมวด แห่ง

ปัจจัย มี นสหชาตปัจจัย เป็นต้น ก็ขาดไปเหมือนกัน นี้เป็นวิธีกำหนด

ในข้อนี้. ก็ด้วยลักษณะนี้บัณฑิตกำหนดปัจจัยนั้นว่า ปัจจัยที่มีมูล ๒ นี้มี

เป็นต้นทั้งหมด ปัจจัยนี้เป็นมูล ๑ ในปัจจัยเหล่านี้ ปัจจัยนี้มีมูล ๒ นี้มี

มูล ๓ นี้มีมูลทั้งหมดดังนี้แล้ว พึงทราบการคำนวณด้วยอำนาจปัจจัยที่นับ

ได้น้อยกว่า ดังนี้แล.

อรรถกถาปัจจยปัจจนียนัย จบ

ปัจจยานุโลมปัจจนียนัย

การนับจำนวนปัจจัยในปัจจยานุโลมปัจจนียนัย

[๑๓๓] เพราะนเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตร-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในอนุปนิสสย-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในน-

วิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๕ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

[๑๓๔] เพราะนเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓

วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๓๕] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย ในนปุเร-

ชาตปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวน-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๓๖] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย อนันตร-

ปัจจัย สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย

อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ...

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๓๗] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อาเสวน-

ปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๓๘] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อาเสวน-

ปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคค-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

ปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคต-

ปัจจัย อวิคตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๓๙] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย

วิปากปัจจัย ในนปัจฉชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอาเสวนปัจจัย มี

๑ วาระ.

[๑๔๐] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย

วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย

สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย

อวิคตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอาเสวนปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๑๔๑] เพราะอารัมมณปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ... ในน-

อธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวน-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาต ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๔๒] เพราะอารัมมณปัจจัย เหตุปัจจัย เพราะนอธิปติปัจจัย มี

๓ วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

วาระที่มีอารัมมณปัจจัยเป็นมูล พึงให้พิสดารเหมือนอย่างวาระ

ที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล.

[๑๔๓] เพราะอธิปติปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ... ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นอาเสวน ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาร ะ ในนวิปาก

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๔๔] เพราะอธิปติปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย

มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

ทั้งอนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย พึงให้พิสดารเหมือน

อย่างอารัมมณปัจจัย.

[๑๔๕] เพราะสหชาตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตร-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนปัจฉาปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌาน-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕

วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๔๖] เพราะสหชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี

๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ โนนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๔๗] เพราะสหชาตปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

วาระที่มีสหชาตปัจจัยเป็นมูลมี ๕ วาระ เหมือนกับวาระที่มีเหตุ-

ปัจจัยเป็นมูล.

[๑๔๘] เพราะอัญญมัญญปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิตคปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๔๙] เพราะอัญญมัญญปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑

วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑

วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

[๑๕๐] เพราะอัญญมัญญปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัยยมี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๓ วาระ โนนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ.

วาระที่มี อัญญมัญญปัจจัยเป็นมูล แสดงเหมือนกับวาระที่มี เหตุ-

ปัจจัยเป็นมูล.

[๑๕๑] เพราะนิสสยปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ

ในวาระที่มี นิสสยปัจจัยเป็นมูล แสดงเหมือนอย่างวาระที่มี

สหชาตปัจจัยเป็นมูล.

ในวาระที่มี อุปนิสสยปัจจัยเป็นมูล แสดงเหมือนอย่างวาระที่มี

อารัมมณปัจจัยเป็นมุล.

[๑๕๒] เพราะปุเรชาตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวน-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓

วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๕๓] เพราะปุเรชาตปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓

วาระ ... ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

วาระที่มี ปุเรชาตปัจจัยเป็นมูล พึงแสดงให้พิสดารเหมือนอย่าง

วาระที่มี เหตุปัจจัยเป็นมูล.

[๑๕๔] เพราะอาเสวนปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ.

[๑๕๕] เพราะอาเสวนปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓

วาระ ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี๓ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

วาระที่มี อาเสวนปัจจัยเป็นมูล แสดงเหมือนกับวาระที่มี เหตุ-

ปัจจัยเป็นมูล.

[๑๕๖] เพราะกัมมปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนนัตร-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙

วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคค-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕

วาระ.

[๑๕๗] เพราะกัมมปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ

... โนนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปป-

ยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๕ วาระ.

[๑๕๘] เพราะกัมมปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

วาระที่มี กัมมปัจจัยเป็นมูล แสดงเหมือนกับวาระที่มี เหตุปัจจัย

เป็นมูล

[๑๕๙] เพราะวิปากปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตร-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑

วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๖๐] เพราะวิปากปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑

วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๖๑] เพราะวิปากปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๑๖๒] เพราะวิปากปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

[๑๖๓] เพราะวิปากปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติ-

ปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญ-

ปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย

อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย

วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย อวิคตปัจจัย

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๖๔] เพราะอาหารปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในน-

อารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในน-

อินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ โนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาร.

[๑๖๕] เพราะอาหารปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕

วาระ... โนนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมม-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๖๖] เพราะอาหารปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในน-

อธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ.

วาระที่มี อาหารปัจจัยเป็นมูล พึงแสดงให้พิสดารเหมือนอย่าง

วาระที่มี เหตุปัจจัยเป็นมูล.

[๑๖๗] เพราะอินทริยปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกมัมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑

วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๕ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

[๑๖๘] เพราะอินทริยปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕

วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๖๙] เพราะอินทริยปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในน-

อธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ... โนนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ.

วาระที่มี อินทริยปัจจัยเป็นมูล พึงแสดงให้พิสดารอย่างวาระที่มี

เหตุปัจจัยเป็นมูล.

[๑๗๐] เพราะฌานปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมันนตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปป-

ยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๕ วาระ.

[๑๗๑] เพราะฌานปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕

วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนสมันนตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๗๒] เพราะฌานปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ.

วาระที่มี ฌานปัจจัยเป็นมูล พึงแสดงให้พิสดารเหมือนอย่างวาระ

ที่มี เหตุปัจจัยเป็นมูล.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

[๑๗๓] เพราะมัคคปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอันนตร-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย

มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๗๔] เพราะมัคคปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕

วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอันนตรปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในน-

ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๗๕] เพราะมัคคปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี

๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

วาระที่มี มัคคปัจจัยเป็นมูล พึงแสดงให้พิสดารเหมือนอย่างวาระ

ที่มี เหตุปัจจัยเป็นมูล.

[๑๗๖] เพราะสัมปยุตตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๗๗] เพราะสัมปยุตตปัจจัย ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ... ใน

นปุเรชาติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

วาระที่มี สัมปยุตตปัจจัยเป็นมูล เหมือนกับวาระที่มี เหตุปัจจัย

เป็นมูล.

[๑๗๘] วิปปยุตตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอันนตร-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมันนตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๕ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

ฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตต-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี

๕ วาระ

[๑๗๙] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี

๕ วาระ ...ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๕ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕

วาระ.

[๑๘๐] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกมัมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ

[๑๘๑] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติ-

ปัจจัย ในนปัจฉชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๘๒] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติ-

ปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญ-

ปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ในนปัจฉาชาต-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

ปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๘๓] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อาเสวน-

ปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อวิคตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ... ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๘๔] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย ปุเราชาตปัจจัย กัมม-

ปัจจัย วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๘๕] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย ปุเราชาตปัจจัย กัมม-

ปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อวิคตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๘๖] เพราะอัตถิปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี

๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕

วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในน-

วิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๕ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

[๑๘๗] เพราะอัตถิปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ

... ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

สมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๘๘] เพราะอัตถิปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมปัจจัย มี

๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ.

วาระที่มี อัตถิปัจจัยเป็นมูล พึงแสดงให้พิสดารเหมือนอย่างวาระ

ที่มี เหตุปัจจัยเป็นมูล.

[๑๘๙] เพราะนัตถิปัจจัย ... ฯลฯ ... เพราะวิคตปัจจัย ในนเหตุ-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

วาระที่มี นัตถิปัจจัยเป็นมูล พึงแสดงให้พิสดารเหมือนอย่างวาระ

ที่มี อารัมมณปัจจัยเป็นมูล.

[๑๙๐] เพราะอวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌาน-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี

๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๙๑] เพราะอวิคตปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕

วาระ ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในน-

ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕

วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

วาระที่มี อวิคตปัจจัยเป็นมูล พึงแสดงให้พิสดารเหมือนอย่างวาระ

ที่มี เหตุปัจจัยเป็นมูล.

การนับจำนวนหัวข้อปัจจัยในปัจจยานุโลมปัจจนียนัย จบ

อรรถกถาปัจจยานุโลมปัจจนียนัย

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มคำว่า เหตุปจฺจยา นอารมฺมเณ

ปญฺจ ดังนี้เป็นต้น เพื่อจะแสดงการนับใน อนุโลมปัจจนียปัจจัย. พึง

ทราบวินิจฉัยในคำนั้น ปัจจัย ๘ เหล่านี้ คือ ปัจจัย ๔ มีสหชาตะเป็นต้น

ที่เข้าได้ทุกที่ และอาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย

อีก ๔ ย่อมไม่ได้โดยความเป็นปัจจนียะในเหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย มัคค-

ปัจจัย อันตั้งอยู่โดยความอนุโลม (โดยลำดับ). จริงอยู่ ธรรมเมื่อจะ

เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งเหตุปัจจัย เป็นต้น ชื่อว่าจะไม่ได้ปัจจัย ๘ เหล่านี้

ย่อมไม่มี. แต่อารัมมณปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย

อุปนิสสยปัจจัย สัมปยุตปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย ซึ่งตั้ง

อยู่โดยอนุโลมย่อมาไม่ได้ปัจจัยที่อุปการะในตำแหน่งแห่งนาม โดยเป็น

ปัจจนิก. เพราะว่าอนันตรปัจจัยเป็นต้น เมื่อไม่เกิดจากอารัมมณปัจจัย

เป็นต้น ก็ย่อมไม่ได้, ส่วนปัจจัย ๔ ที่อุปการะในฐานะทั้งหมด ย่อม

ไม่ได้โดยความเป็นปัจจนิกในสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย ซึ่ง

ตั้งอยู่โดยความเป็นอนุโลมกัน. เพราะว่า ธรรมเมื่อเกิดด้วยอำนาจปัจจัย

เหล่านี้ จะไม่ได้ปัจจัยที่อุปการะในฐานะทั้งปวงย่อมไม่มี. ปัจฉาชาตปัจจัย

ไม่มีที่ตั้งโดยความเป็นอนุโลม. บัณฑิตกำหนดปัจจัยที่มีได้และไม่ได้ใน

ปัจจัยที่เหลือ ซึ่งตั้งอยู่โดยความเป็นอนุโลมกัน แล้วพึงทราบการนับ

ด้วยอำนาจปัจจัยที่นับได้น้อยกว่าในการเปรียบเทียบปัจจัยนั้น ๆ ในปัจจัย

ที่มีมูล ๒ เป็นต้น แม้ทั้งหมดแล.

อรรถกถาปัจจยานุโลมปัจจนียนัย จบ

ปัจจัยปัจจนียานุโลมนัย

การนับจำนวนปัจจัยในปัจจัยปัจจนียานุโลมนัย

[๑๙๒] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ ... ใน

อนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี

๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ

ในอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี

๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

[๑๙๓] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑

วาระ ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๑๙๔] เพราสะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑

วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

(ในทุก ๆ ปัจจัย มี ๑ วาระ).

[๑๙๕] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย นอุปนิสสย-

ปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย ใน

ปัจจัยทั้งหมดจนถึงอาเสวนปัจจัยเหมือนกัน แต่เมื่อนับนกัมมปัจจัยเข้า

ด้วย มี ๕ วาระ.

เพราะนเหตุปัจจัย ฯลฯ นกัมมปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑

วาระ ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

[๑๙๖] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย นอุปนิสสย-

ปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นกัมม-

ปัจจัย นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ...

ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๑๙๗] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย อุปนิสสย-

ปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉชาตปัจัย นอาเสวนปัจจัย นกัมม-

ปัจจัย นวิปากปัจจัย นอาหารปัจัย นอินทริยปัจจัย นฌานปัจจัย

นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย นวิปปยุตตปัจจัย โนนัตถิปัจจัย โน-

วิคตปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๙๘] เพราะนอารัมมณปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ ... ใน

อธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๕

วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

อินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๕ วาระ ในมัคคปัจจัย

มี ๕ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

[๑๙๙] เพราะนอารัมมณปัจจัย นเหตุปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑

วาระ ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

วาระที่มี นอารัมมณปัจจัยเป็นมูล แสดงเหมือนกับวาระที่มี นเหตุ-

ปัจจัยเป็นมูล.

[๒๐๐] เพราะนอธิปติปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ. ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมม-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๙

วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

มัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตต

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัคถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี๓ วาระ

ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๒๐๑] เพราะนอธิปติปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒

วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒

วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

อินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ

ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ โนวิคตปัจจัย

มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๒๐๒] เพราะนอธิปติปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

สหชาติปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌาน-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๑

วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในนอธิปติมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๔ ปัจจัย ท่าน

ย่อไว้ไม่แสดง.

[๒๐๓] เพราะนอนันตรปัจจัย ... เพราะนสมนัตรปัจจัย ... เพราะ

นอัญญมัญญปัจจัย ... เพราะนอุปนิสสยปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ

... ในอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัญญ-

มัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๕

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

อินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๕ วาระ ในมัคคปัจจัย

มี ๕ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๒๐๔] เพราะนอุปนิสสยปัจจัย นเหตุปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี

๑ วาระ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในนอุปนิสสยมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเกินกว่า ๒ ปัจจัย ท่านย่อไว้

ไม่แสดง.

[๒๐๕] เพราะนปุเรชาตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในอนันตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมม-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗

วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

มัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตต-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

ปัจจัย มี ๕ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๒๐๖] เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี

๒ วาระ ... ในอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ

ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาเสวน

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌาน-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒

วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี

๒ วาระ.

[๒๐๗] เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี

๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ใน นปุเรชาตมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๓ ปัจจัย ท่าน

ย่อไว้ไม่แสดง.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

[๑๐๘] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในอนันตร-

ปัจจัย ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี

๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวน-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในฌานปัจจัย

มี ๙ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในนัตถิปัจจัย

มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๒๐๙] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย

มี ๒ วาระ ... ในอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒

วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒

วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

อินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ

ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย

มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

[๒๑๐] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ใน นปัจฉชาตมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๓ ปัจจัย

ท่านย่อไว้ไม่แสดง.

[๒๑๑] เพราะนอาเสวนปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในอนันตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย

มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ให้กัมม-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๙

วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

มัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย

มี ๙ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๒๑๒] เพราะอาเสวนปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย

มี ๒ วาระ... ในอันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌาน-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒

วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี

๒ วาระ.

[๒๑๓] เพราะนอาเสวนปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในนอาเสวนมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๓ ปัจจัย ท่าน

ย่อไว้ไม่แสดง.

[๒๑๔] เพราะนกัมมปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓

วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

อัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสย-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓

วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

ฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๓ วาระ.

[๒๑๕] เพราะนกัมมปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑

วาระ ... ในอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี

๑ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๒๑๖] เพราะกัมมปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในนกัมมมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๓ ปัจจัย ท่านย่อ

ไว้ไม่แสดง.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

[๒๑๗] เพราะนวิปากปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในอนันตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี

๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

อาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๙ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๙ วาระ

ในมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในวิตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๒๑๘] เพราะนวิปากปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒

วาระ ... ในอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ

ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย

มี ๒ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ

ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย

มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒

วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

[๒๑๙] เพราะวิปากปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๑

วาระ ในอินทริยปัจจัย มี วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปป-

ยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑

วาระ.

ในนวิปากมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๓ ปัจจัย ท่านย่อ

ไว้ไม่แสดง.

[๒๒๐] เพราะนอาหารปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ใน

อัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในนอาหารมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลคตั้งแต่ ๒ ปัจจัยขึ้นไป ท่าน

ย่อไว้ไม่แสดง.

[๒๒๑] เพราะนอินทริยปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ใน

อัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมม-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในนอินทริยมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลตั้งแต่ ๒ ปัจจัยขึ้นไป ท่าน

ย่อไว้ไม่แสดง.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

[๒๒๒] เพราะฌานปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

อนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี

๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในนฌานมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๑ ปัจจัย ท่านย่อ

ไว้ไม่แสดง.

[๒๒๓] เพราะนมัคคปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑

วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ

ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาร ะ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๒๒๔] เพราะนมัคคปัจจัย นเหหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑

วาระ.

ในนมัคคมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๓ ปัจจัย ท่านย่อ

ไว้ไม่แสดง.

[๒๒๕] เพราะนสัมปยุตตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ... ใน

อธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๕

วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

อินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๕ วาระ ในมัคคปัจจัย มี

๕ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

อวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๒๒๖] เพราะนสัมปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี

๑ วาระ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

ในนสัมปยุตตมูล ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๒ ปัจจัย ท่าน

ย่อไว้ไม่แสดง.

[๒๒๗] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมม-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓

วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

มัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๒๒๘] เพราะนวิปปยุตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี

๒ วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ

ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาเสวนปัจจัย

มี ๑ วาระ ในกมัมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

อินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี

๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

นัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒

วาระ.

[๒๒๙] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในนวิปปยุตตปัจจัย ที่มีปัจจนียปัจจัยเป็นมูลเกินกว่า ๓ ปัจจัย ท่าน

ย่อไว้ไม่แสดง.

[๒๓๐] เพราะโนนัตถิปัจจัย... เพราะโนวิคตปัจจัย ในเหตุปัจจัย

มี ๕ วาระ... ในอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ

ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในกัมม-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๕

วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

มัคคปัจจัย มี ๕ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอคัตถิปัจจัย

มี ๕ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๒๓๑] เพราะโนวิคตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

กัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

วิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๒๓๒] เพราะโนวิคตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย

ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย

มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ

ฯ ล ฯ.

[๒๓๓] เพราะโนวิคตปัจจัย นเหตุปัจจัย... ฯลฯ... นกัมมปัจจัย

ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหาร

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑

วาระ.

[๒๓๔] เพราะโนวิคตปัจจัย นเหตุปัจจัย... ฯลฯ... นกัมมปัจจัย

นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑

วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

[๒๓๕] เพราะโนวิคตปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นกัมมปัจจัย

นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัย นอินทริยปัจจัย นฌานปัจจัย นมัคค-

ปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย นวิปปยุตตปัจจัย โนนัตถิปัจจัย ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑

วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ปัจจยปัจจนียานุโลมนัย จบ

ปฏิจจวาระ จบ

อรรถกถาปัจจยปัจจนียานุโลมนัย

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มคำว่า นเหตุปจฺจยา อารมฺมเณ

เทฺว เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ เป็นต้น เพื่อแสดง

การนับใน ปัจจนียานุโลม. ในปัจจนียานุโลมนั้น ปัจจัยที่เหลือเว้น

อธิปติปัจจัย ย่อมได้โดยอนุโลมในเหตุปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยความเป็นปัจจนิก.

ส่วนปัจฉาชาตปัจจัย ย่อมไม่ได้โดยอนุโลมในปัจจัยทั้งหมดนั่นเทียว. ปัจจัย

๙ เหล่าใดที่ท่านกล่าวไว้ว่า อรูปานญฺเว ปัจจัยที่ตั้งอยู่ในฐานแห่งนาม

ที่เหลือย่อมไม่ได้โดยอนุโลมในปัจจัย ๗ ที่เหลือ เว้นปุเรชาตปัจจัย และ

อาเสวนปัจจัย ซึ่งตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก. จริงอยู่ ธรรมที่ไม่เกิดจาก

อารัมมณปัจจัยเป็นต้น ย่อมไม่ได้อนันตรปัจจัย เป็นต้น.

ก็ปฏิสนธิวิบาก และวิบากทั้งหมดจากปุเรชาตปัจจัย แม้จะไม่เกิด

จากอาเสวนะกับกิริยามโนธาตุ ก็ย่อมได้อนันตรปัจจัยเป็นต้น. เพราะฉะนั้น

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปุเรชาตญฺจ อาเสวนญฺจ เปตฺวา ดังนี้

ปัจจัยที่เหลือเว้นอวิคตปัจจัย ย่อมได้โดยอนุโลมในปุเรชาปัจจัย ปัจฉา-

ชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย วิปากปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย ที่ตั้งอยู่โดยเป็น

ปัจจนิก. เว้นวิปากปัจจัยเสีย ที่เหลือย่อมได้โดยอนุโลมในกัมมปัจจัย

ที่ตั้งอยู่โดยปัจจนิก. เว้นปัจจัยที่อุปการะในที่ทั้งปวง และอัญญมัญญ-

ปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทริยปัจจัย ที่เหลือย่อมไม่ได้

โดยอนุโลมในอาหารปัจจัยและอินทริยปัจจัย ซึ่งตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก.

ปัจจัยนอกนี้ย่อมได้ด้วยอำนาจที่เหมาะสม เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย อาเสวน-

ปัจจัย และมัคคปัจจัย ย่อมไม่ได้โดยอนุโลมในฌานปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยเป็น

ปัจจนิก. ในมัคคปัจจัย ที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก ย่อมไม่ได้เหตุปัจจัย และ

อธิปติปัจจัยโดยเป็นอนุโลม. ในวิปปยุตปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก

เว้นปุเรชาตปัจจัยย่อมได้ปัจจัยที่เหลือโดยอนุโลม บัณฑิตครั้นทราบปัจจัย

ที่ไม่ได้โดยเป็นอนุโลม ในบรรดาปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิกอย่างนี้แล้ว

พึงทราบด้วยการนับด้วยอำนาจปัจจัยที่นับได้น้อยกว่า ในการเปรียบเทียบ

กับปัจจัยนั้น.

ในนาติกาทั้งหลายมีทุกะมาติกาเป็นต้นใด ๆ อันท่านแสดงเริ่มแต่

ปัจจัยใด ๆ ในนัยทั้งหลายมีทุมลูกนัยเป็นต้น ทุกะมาติกานั้น ๆ ท่าน

แสดงไว้แล้วโดยวิธีใด ๆ ด้วยอำนาจปัจจัยที่หาได้และหาไม่ได้ บัณฑิต

พึงกำหนดทุกะมาติกาเป็นต้นนั้นให้ดี โดยวิธีนั้น ๆ. พึงทราบวินิจฉัย

ในคำนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดงนัยมีทุมลูกนัยเป็นต้น ด้วย

อำนาจเหตุปัจจัยตรัสว่า นเหตุปจฺจยา นารมฺมณปจฺจยา ฯ เป ฯ

นาเสวนปจฺจยา ดังนี้ แล้วตรัสคำใดไว้ คำอธิบายทั้งหมดเช่นเดียวกัน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

จนถึงอาเสวนปัจจัย พึงทราบความเหมือนกันของคำนั้น กับคำว่า

นอญฺมญฺปจฺจยา สหชาเต เอกฺ เพราะนอัญญมัญญปัจจัย ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ใด ที่ท่านเขียนไว้ในภาษาสิงหลว่า พระอาจารย์ย่อม

รวมเอาซึ่งปัจจัย ๕ ใน นกัมมปัจจัย ที่คำนวณแล้ว พึงทราบใจความ

แห่งคำนั้นดังนี้ ปัจจัย ๕ เริ่มต้นแต่ นเหตุปัจจัย อันท่านแสดงไว้อย่าง

นี้ว่า บัณฑิตย่อมได้วิสัชนาข้อหนึ่งในสหชาตปัจจัย ที่ต่อกับนกัมมปัจจัย

อย่างนี้ว่า นกมฺมปจฺจยา ดังนี้ ย่อมได้โดยอนุโลม ปัจจัยอื่นไม่ได้ ใน

ฐานอื่นที่เป็นแบบนี้ บัณฑิตไม่ควรถือเอาพยัญชนะ ควรถือเอาเฉพาะเนื้อ

ความที่ประสงค์เท่านั้น. จริงอยู่ พยัญชนะเช่นนั้นพระโบราณาจารย์เขียน

ไว้เป็นภาษาสันสกฤต เพื่อร้อยกรองตามความทรงจำของตน.

อีกอย่างหนึ่ง แม้ในบรรดาปัจจยุบบันธรรมในปัจจนียานุโลมนี้

อัตถิธรรม (อัตถิปัจจัย) ย่อมได้กัมมปัจจัย แต่ไม่ได้อินทริยปัจจัย. อัตถิ-

ธรรมนั้นพึงทราบด้วยอำนาจ รูปชีวิตินทรีย์ในอสัญญสัตว์ และใน

ปวัตติกาลในปัญจโวการภพ อัตถิธรรมที่ได้มัคคปัจจัยแต่ไม่ได้เหตุปัจจัย

อัตถิธรรมนั้น พึงทราบด้วยอำนาจโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจและอุทธัจจ-

สัมปยุตตจิต อัตถิธรรมที่ได้ฌานปัจจัยแต่ไม่ได้มัคคปัจจัย อัตถิธรรมนั้น

พึงทราบด้วยอำนาจมโนธาตุและอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ. บรรดาความใน

อัตถิปัจจัยนั้น กัมมชรูปย่อมได้กัมมปัจจัย ด้วยอำนาจนานักขณิกกัมมปัจจัย

เท่านั้น. ในปัจจัยเหล่านั้น รูปธรรมย่อมไม่ได้เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย

วิปากปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย. ปัจจัยที่เข้าได้ทุกที่

ไม่มีปัจจนียะ ในอเหตุกจิตไม่มีอธิปติปัจจัยแล. ในอธิการนี้ บัณฑิตพึง

ทราบวาระแห่งการคำนวณด้วยอำนาจปกิณกะ แม้เหล่านี้โดยไม่งมงาย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

ในข้อนั้นมีนัยดังต่อไปนี้ อเหตุกโมหะ และอเหตุกวิบาก และกิริยา

เท่านั้น เป็นปัจจยุบบันธรรมในพระบาลีนี้ว่า นเหตุปจฺจยา อารมฺมเณ เทฺว

เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ คำว่า มี ๒ วาระ

ในอธิการนี้ท่านจึงหมายเอา อกุศลกับอกุศล อัพยากตะกับอัพยากตะ.

แม้ในคำที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนในอาเสวนปัจจัยย่อมไม่ได้วิบาก

และกิริยามโนธาตุ เพราะฉะนั้นในที่นี้ คำว่า อพฺยากเตนาพฺพากต บัณฑิต

พึงทราบด้วยอำนาจอเหตุกมโนวิญญาณธาตุฝ่ายกิริยา. สองบทว่า วิปาเก

เอก ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ คืออัพยากตะกับอัพยากตะนั่นเอง. คำว่า

มคฺเค เอก คืออกุศลกับอกุศล. คำว่า เหตุยา ปญฺจ ในเหตุปัจจัย มี ๕

วาระ ในอารัมมณมูลกนัย ท่านกล่าวหมายเอารูปเท่านั้น. จริงอยู่ รูปนั้น

ย่อมเกิดเพราะอาศัยส่วน ๕ คือ กุศล อกุศล อัพยากตะ กุศลกับอัพยากตะ

และอกุศลกับอัพยากตะ. แม้ในปัญจกะทั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน. สองบทว่า

อญฺมญฺเ เอก ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ท่านกล่าวหมายเอา

มหาภูตรูปและวัตถุรูป. จริงอยู่ รูปเหล่านั้นย่อมเกิดเพราะนอารัมมณ-

ปัจจัย เพราะอัญญมัญญปัจจัย. แม้ใน ติมูลกนัย ก็มีนัยอย่างนี้

เหมือนกัน.

คำว่า เหตุยา นว ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ในนาธิปติมูลกนัย

ท่านกล่าวไว้แล้วในเหตุปัจจัยตอนุโลมนัย. แม้คำว่า ตีณิ=๓ เป็นต้น

ก็เช่นเดียวกับคำที่กล่าวแล้วในอนุโลมนัยในหนหลัง. ใน ติมูลกนัย คำว่า

เทฺว=๒ วาระ เหมือนกับที่กล่าวไว้แล้ว ใน นเหตุปัจจัยมูละ อารัมมณ-

ปัจจยมูลี ในหนหลัง. ใน นปุเรชาตมูลกนัย คำว่า เหตุยา สตฺต

ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในนปุเรชาต-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

ปัจจัยในหนหลัง โดยนัยมีอาทิว่า อารุปฺเป กุสล เอก ขนฺธ ปฏิจฺจ

(ขันธ์ ๓ อาศัยกุศลขันธ์ ๑ ในอรูปภูมิ). แม้ในสัตตกะทั้งปวงก็นัยนี้. ใน

นกัมมมูลกนัย คำว่า เหตุยา ตีณิ ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ เป็นต้น

เจตนาเท่านั้นเป็นปัจจยุบบัน เพราะฉะนั้น คำว่า ๓ วาระ ท่านจึงกล่าว

หมายเอาการเกิดขึ้นเพราะอาศัย กุศล อกุศล แลอัพยากตะ. โดยนัยนี้

บัณฑิตพึงทราบการนับจำนวนวาระในอาคตสถาน (ที่มา) ว่า ๑, ๒, ๓,

๕, ๗, ๙ ส่วนการนับจำนวนอีก ๓ ว่า ๔, ๖, ๘ เหล่านี้ ไม่มีเลย.

อรรถกาถาปัจจยปัจจนียานุโลมนัย จบ

วรรณนาเนื้อความแห่งปฏิจจวาระ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

๒. สหชาตวาระ

ปัจจยานุโลมนัย

[๒๓๖] ๑. กุศลธรรมเกิดร่วมกับกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุ-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล, ขันธ์ ๑ เกิดร่วมกับ

ขันธ์ ๓. ขันธ์ ๒ เกิดร่วมกับขันธ์ ๒.

๒. อัพยากตธรรมเกิดร่วมกับกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะ

เหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นกุศล.

๓. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดร่วมกับกุศลธรรม

เกเดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล,

ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๓, ขันธ์ ๒ และจิตต-

สมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๒.

[๒๓๗] ๔. อกุศลธรรม เกิดร่วมกับอกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะ

เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล, ขันธ์ ๑ เกิดร่วม

กับขันธ์ ๓, ขันธ์ ๒ เกิดร่วมกับขันธ์ ๒.

๕. อัพยากตธรรม เกิดร่วมกับอกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะ

เหตุปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

คือ จิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอกุศล.

๖. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดร่วมกับอกุศลธรรม

เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็น

อกุศล, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๓, ขันธ์ ๒

และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๒.

[๒๓๘] ๗. อัพยากตธรรมเกิดร่วมกับอัพยากตธรรม เกิดขึ้นเพราะ

เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็น

อัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิด

ร่วมกับขันธ์ ๓, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๒.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่

เป็นอัพยากตวิบาก, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๓, ขันธ์

๒ และกฏัตตารูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๒, หทยวัตถุเกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย,

ขันธ์ทั้งหลายเกิดร่วมกับหทยวัตถุ.

มหาภูตรูป ๓ เกิดร่วมกับมหาภูตรูป ๑, มหาภูตรูป ๑ เกิดร่วมกับ

มหาภูตรูป ๓, มหาภูตรูป ๒ เกิดร่วมกับมหาภูตรูป ๒, จิตตสมุฏฐานรูป

และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป เกิดร่วมกับมหาภูตรูปทั้งหลาย.

[๒๓๙] ๘. อัพยากตธรรม เกิดร่วมกับกุศลธรรมและอัพยากต-

ธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

คือ จิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นกุศลและ

มหาภูตรูปทั้งหลาย.

๙. อัพยากตธรรม เกิดร่วมกับอกุศลธรรมและอัพยากต-

ธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอกุศลและ

มหาภูตรูปทั้งหลาย.

พึงให้พิสดารเหมือนอย่างในปฏิจจวาระ.

การนับวาระในอนุโลมแห่งสหชาตวาระ

[๒๔๐] ในเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ... ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัยมี ๓ วาระ

ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมม-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๙

วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

มัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย

มี ๙ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

ปัจจยานุโลมนัย จบ

พึงนับวาระ เหมือนกับนับวาระในปฏิจจวาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

ปัจจยปัจจนียนัย

[๒๔๑] อกุศลธรรม เกิดร่วมกับอกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะ

นเหตุปัจจัย

คือ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เกิดร่วม

กับขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ.

[๒๔๒] อัพยากตธรรม เกิดร่วมกับอัพยากตธรรม เกิดขึ้นเพราะ

นเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๑ ที่เป็น

อัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วม

กับขันธ์ ๓, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๒.

ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๑

ที่เป็นอัพยากตวิบาก, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๓,

ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป เกิดร่วมกับขันธ์ ๒, หทยวัตถุ เกิดร่วมกับขันธ์

ทั้งหลาย, ขันธ์ทั้งหลายเกิดร่วมกับหทยวัตถุ.

มหาภูตรูป ๓ เกิดร่วมกับมหาภูตรูป ๑, มหาภูตรูป ๑ เกิดร่วมกับ

มหาภูตรูป ๓, มหาภูตรูป ๒ เกิดร่วมกับมหาภูตรูป ๒, จิตตสมุฏฐานรูป

และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏ-

ฐานรูป เกิดร่วมกับมหาภูตรูปทั้งหลาย.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ เกิดร่วมกับมหาภูตรูป ๑

ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป เกิดร่วมกับมหาภูตรูปทั้งหลาย.

พึงให้พิสดารเหมือนอย่างในปฏิจจวาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

การนับวาระในปัจจนียะแห่งสหชาตวาระ

[๒๔๓] ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ...ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิตต-

ปัจจัย มี ๕ วาระ.

ปัจจยปัจจนียนัย จบ

ปัจจยานุโลมปัจจนียนัย

การนับวาระในอนุโลมปัจจนียะแห่งสหชาตวาระ

[๒๔๔] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ... ใน

ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตต-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

ปัจจยานุโลมปัจจนียนัย จบ

ปัจจัยปัจจนียานุโลมนัย

การนับวาระในปัจจนียานุโลมแห่งสหชาตวาระ

[๒๔๕] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน

อนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย

มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ

ในอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๒วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒

วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัยมี ๒ วาระ ในอวิคต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ.

ปัจจัยปัจจนียานุโลมนัย จบ

สหชาตวาระ จบ

ข้อความในสหชาตวาระ เหมือนข้อความในปฏิจจวาระ.

ข้อความในปฏิจจวาระ เหมือนข้อความในสหชาตวาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

อรรถกถาสหชาตวาระ

พึงทราบวินิจฉัย ใน สหชาตวาระ ต่อไป:-

คำว่า กุสล ธมฺม สหชาโต เกิดร่วมกับกุศลธรรม คือ เพราะ

อาศัยกุศลธรรม จึงเกิดร่วมกันกับกุศลธรรมนั้น คำที่เหลือในสหชาต-

วาระนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในปฏิจจวาระ. ก็ในอวสานแห่ง

ปฏิจจวาระท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า อรรถแห่ง สหชาต ศัพท์ ชื่อว่าเป็น

อรรถแห่ง ปฏิจฺจ ศัพท์ อรรถแห่ง ปฏิจฺจ ศัพท์ ชื่อว่าเป็นอรรถแห่ง

สหชาต ศัพท์ ดังนี้ เพื่อแสดงว่าวาระทั้งสองนี้ ว่าโดยเนื้อความแล้ว

ไม่มีข้อแตกต่างกัน. จริงอยู่ โดยใจความแล้ว วาระทั้งสองนี้ไม่มีข้อ

แตกต่างกันเลย ถึงอย่างนั้นท่านก็กล่าวไว้เพื่อกำหนดความหมายของกัน

และกัน จริงอยู่ ในคำว่า จกฺขุญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จ อาศัยจักขุและรูป

เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ว่า ปัจจยุบบันธรรมย่อมเกิดเพราะอาศัยจักขุและรูป

(จักขุปสาท กับรูปปารมณ์) แม้ที่ไม่ได้เกิดพร้อมกัน. ก็อุปาทายรูป แม้

ที่เกิดพร้อมกันก็หาเป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูปได้ไม่ วาระทั้งสองนี้ ท่าน

กล่าวไว้เพื่อกำหนดความเป็นสหชาตโดยปฏิจจวาระ และภาวะที่ปัจจัย

ซึ่งท่านกล่าวว่า ปฏิจฺจ เป็นสหชาตะ โดยสหชาตวาระ.

อีกอย่างหนึ่ง วาระทั้งสองนี้ ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจเทศนาวิลาสะ

ตามอัธยาศัยของเหล่าสัตว์ผู้จะหยั่งรู้โดยประการนั้น และด้วยอำนาจความ

รู้แตกฉานในนิรุตติปฏิสัมภิทา.

จบอรรถกถาสหชาตวาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

๓. ปัจจยวาระ

ปัจจยานุโลมนัย

[๒๔๖] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์

๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุ-

ปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศลเกิดขึ้น.

๓. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิด

ขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และ

จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

[๒๔๗] ๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุ-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์

๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุ-

ปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

๖. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิด

ขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิด

ขึ้น. ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และ

จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

[๒๔๘] ๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยาธรรมเกิดขึ้น เพราะ

เหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และ

อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิด

ขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฎฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น

อัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น,

ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทยวัตถุ อาศัยขันธ์

ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น มหาภูตรูป ๑ อาศัย

มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, จิตต-

สมุฏฐานรูป และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย

เกิดขึ้น.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา อาศัยหทย-

วัตถุเกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

๘. กุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุ-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๙. อกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุ

ปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๑๐. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิด

ขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น, จิตตสมุฏ-

ฐานรูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๑๑. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม

เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น. จิตตสมุฏ-

ฐานรูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๒๔๙] ๑๒. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลและหทยวัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์๑

อาศัยขันธ์ ๓ และหทยวัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ

เกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

๑๓. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรม

เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล และมหาภูต-

รูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๑๔. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและ

อัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลและหทยวัตถุเกิด, ขันธ์ ๑

อาศัยขันธ์ ๓ และหทยวัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ

เกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๒๕๐] ๑๕. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิด

ขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลและหทยวัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์๑

อาศัยขันธ์ ๓ และหทยวัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ

เกิดขึ้น.

๑๖. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรม

เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศลและมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น.

๑๗. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมและ

อัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลและหทยวัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์

๑ อาศัยขันธ์ ๓ และหทยวัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทย-

วัตถุเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศลและมหา-

ภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๒๕๑] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอารัมมณ-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์

๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

[๒๕๒] ๒. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอารัมมณ-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัย

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

อารัมมณปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา

เกิดขึ้น. ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิด

ขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น,

ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น, จักขุวิญาณ อาศัยจักขายตนะเกิด

ขึ้น, โสตวิญญาณ อาศัยโสตายตนะเกิดขึ้น, ฆานวิญญาณ อาศัยฆานาย-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

ตนะเกิดขึ้น, ชิวหาวิญญาณ อาศัยชิวหายตนะเกิดขึ้น, กายวิญญาณ อาศัย

กายายตนะเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก อัพยากตกิริยา

อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

[๒๕๓] ๔. กุศลธรรม อาศัยอัพยาตธรรมเกิดขึ้น เพราะอารัมมณ-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๕. อกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

อารัมมณปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น

[๒๕๔] ๖. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะอารัมมณปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลและหทยวัตถุเกิดขึ้น ฯลฯ

ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุเกิดขึ้น.

[๒๕๕] ๗. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิด

ขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลและหทยวัตถุเกิดขึ้น ฯลฯ

ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุเกิดขึ้น.

[๒๕๖] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ฯ ล ฯ มี ๓ วาระ.

๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ฯ ล ฯ มี ๓ วาระ.

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

อธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-

วิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ฯลฯ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑

เกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น,

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา อาศัยหทยวัตถุ

เกิดขึ้น.

๘. กุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติ-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

อธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ พึงให้พิสดารเหมือนอย่างเหตุปัจจัย.

[๒๕๗] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอนันตรปัจจัย

...เพราะสมนันตรปัจจัย.

อนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ พึงให้พิสดาร

เหมือนอย่างอารัมมณปัจจัย.

๑. ดูข้อ ๒๔๖ ๒. ดูข้อ ๒๔๗.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

[๒๕๘] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะสหชาต-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ฯลฯ มี ๓ วาระ.

๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะสหชาต-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ฯลฯ มี ๓ วาระ

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

สหชาติปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-

วิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ฯ ลฯ. ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ มหา-

ภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑เกิดขึ้น ฯลฯ. พาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป

อุตุสมุฏฐานรูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น

ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น จักขุ-

วิญญาณ อาศัยจักขายตนะเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญาณ อาศัยกายายตนะ

เกิดขึ้น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา อาศัย

หทยวัตถุเกิดขึ้น.

๘. กุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะสห-

ชาตปัจจัย

๑. ดูข้อ ๒๔๖. ๒. ดูข้อ ๒๔๗. ๓. ตามนัยแห่งข้อ ๖๐ แต่บาลีในข้อ ๒๕๘ น่าจะตก ฯลฯ

ไป ๓ แห่ง จึงได้เติมไว้ให้ครบ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

สหชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ พึงให้พิสดารเหมือนเหตุปัจจัย.

[๒๕๙] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอัญญมัญญ-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ฯลฯ

๒. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอัญญ-

มัญญปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ฯลฯ

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

อัญญมัญญปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา

เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น

อัพยากตวิบากเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ อาศัยขันธ์ ๒ เกิด

ขึ้น, หทยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุ

เกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ มหาภูตรูป ๒

อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น, อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐาน-

รูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๑.-๒. ดูข้อ ๖๑.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ทั้งหลาย มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑

เกิดขึ้น ฯลฯ มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น.

จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัย

กายายตนะเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา

อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๔. กุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

อัญญมัญญปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

อัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ พึงให้พิสดารอย่างอารัมมณปัจจัย

(ดูข้อ ๒๕๑-๒๕๔).

[๒๖๐] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนิสสยปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ฯลฯ.

นิสสยปัจจัย มี ๑๗ วาระ พึงให้พิสดารเหมือนอย่างสหชาต-

ปัจจัย.

[๒๖๑] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอุปนิสสยปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล ฯลฯ.

อุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ เหมือนกับอารัมมณปัจจัย.

[๒๖๒] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะปุเรชาต-

ปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ฯ ลฯ ขันธ์ ๒ อาศัย

ขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะปุเรชาต-

ปัจจัย.

๒. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะปุเรชาต-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒

อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะปุเรชาต-

ปัจจัย

๓. อัพยาตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

ปุเรชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา

เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลาย อาศัย

หทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย, จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะ

เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัยกายายตนะเกิดขึ้น.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา อาศัยหทย-

วัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยวัตถุเกิดขึ้นเพราะปุเรชาตปัจจัย.

๔. กุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะปุเรชาต-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลาย

อาศัยวัตถุเกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย.

๕. อกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะปุเร-

ชาตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น ขันธ์ทั้งหลาย

อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย.

๖. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะปุเรชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล และหทยวัตถุเกิดขึ้น ฯลฯ

ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุเกิดขึ้น ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทย-

วัตถุเกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย.

๗. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิด

ขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล และหทยวัตถุเกิดขึ้น ฯลฯ

ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุ

เกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย.

[๒๖๓] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอาเสวน-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ฯ ลฯ.

๒. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอาเสวน-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ฯลฯ.

๓. อัพยาตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

อเสวนปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑

อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลาย

เป็นอัพยากตกิริยา อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๔. กุศลธรรม อาศัยอัพยาตธรรมเกิดขึ้น เพราะอาเสวน-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๕. กุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

อาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๖. กุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

ฯลฯ

๗. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิด

ขึ้น เพราะอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล และหทยวัตถุเกิดขึ้น ฯลฯ

[๒๖๔] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะกัมมปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น มี ๓ วาระ.

๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ.

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

กัมมปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา

เกิดขึ้น ฯลฯ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ.

ในปฏิสนธิขณะ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น ฯลฯ.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น

ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัย

กายายตนะเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา

อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๘. กุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะกัมม-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายี่เป็นกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๙. อกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะกัมม-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น ฯลฯ

๑๖. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและ

อัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะกัมมปัจจัย

๑๗. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุสลธรรมและ

อัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะกัมมปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล และหทยวัตถุเกิดขึ้น ฯ ลฯ

จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล แลมหาภูตรูปทั้งหลาย

เกิดขึ้น.

๑. กัมมปัจจัย มี ๑๗ วาระ ดูเหตุปัจจัย ๑๗ วาระ ข้อ ๒๔๖-๒๕๐.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

[๒๖๕] ๑. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

วิปากปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ฯลฯ ใน

ปฏิสนธิขณะ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ.

จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัย

กายายตนะเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก อาศัยหทยวัตถุ

เกินขึ้น.

[๒๖๖] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอาหารปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น มี ๓ วาระ.

๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น มี ๓ วาระ

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

อาหารปัจจัย

ฯลฯ ในขณะปฏิสนธิ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น

ฯลฯ จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัย

กายายตนะเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา

อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

พึงใส่ให้ครบ ๑๗ วาระ (เหมือนเหตุปัจจัย)

[๒๖๗] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอินทริยปัจจัย ฯลฯ

อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอินทริยปัจจัย ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะอินทริยปัจจัย

ฯลฯ.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น

จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะเกิดขึ้น ฯ ลฯ กายวิญญาณ อาศัยกายา-

ยตนะเกิดขึ้น. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา

อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะอินทริยปัจจัย.

พึงให้พิสดารเหมือนอย่างกัมมปัจจัย (มี ๑๗ วาระ)

[๒๖๘] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะฌานปัจจัย ฯลฯ

เพราะมัคคปัจจัย

ฌานปัจจัยก็ดี มัคคปัจจัยก็ดี พึงให้พิสดารเหมือนเหตุปัจจัย (มี

๑๗ วาระ).

[๒๖๙] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะสัมปยุตตปัจจัย

ปัจจัยนี้ แสดงเหมือนอย่างอารัมมณปัจจัย (มี ๗ วาระ).

[๒๗๐] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตต-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัย

ขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตต-

ปัจจัย.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปป-

ยุตตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, หทย-

วัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๓. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น

เพราะวิปปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น

ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์

ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย, จิตตสมุฏฐานรูป

อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตต-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒

อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปป-

ยุตตปัจจัย.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปป-

ยุตตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, หทย-

วัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๖. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม

เกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิด

ขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย จิตตสมุฏฐานรูป

อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

วิปปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-

วิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป

อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปป-

ยุตตปัจจัย, จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตต-

ปัจจัย, ในขณะปฏิสนธิ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น

อัพยากตวิบากเกิดขึ้น ฯ ลฯ ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิด

ขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย, กฏัตตา-

รูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย, หทยวัตถุอาศัย

ขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น. ขันธ์ทั้งหลาย

อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย หทยวัตถุอาศัยขันธ์ทั้งหลาย

เกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น

ฯลฯ อุปาทารูปที่เป็นจิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูป อาศัยมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะ

วิปปยุตตปัจจัย.

จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัย

กายายตนะเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา

อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปป-

ยุตตปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

๘. กุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปป-

ยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลาย

อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๙. อกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

วิปปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลาย

อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๑๐. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิด

ขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐาน-

รูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น

เพราะวิปปยุตตปัจจัย, จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะ

วิปปยุตตปัจจัย.

๑๑. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม

เกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น จิตตสมุฏ-

ฐานรูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุ

เกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย, จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น

เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๑๒. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะวิปปยุตตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

คือ ขันธ์ ๓ อาศัย ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลและหทยวัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑

อาศัยขันธ์ ๓ และหทยวัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ

เกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

๑๓. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิด

ขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล และมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะ

วิปปยุตตปัจจัย.

๑๔. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและ

อัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลและหทยวัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑

อาศัยขันธ์ ๓ และหทยวัตถุเกิดขันธ์ ๒ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ

เกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศลและมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตต-

ปัจจัย, จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตต-

ปัจจัย.

๑๕. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิด

ขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลและหทยวัตถุเกิดขึ้น ฯ ลฯ

ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุ

เกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

๑๖. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรม

เกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศลและมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะ

วิปปยุตตปัจจัย.

๑๗. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม

และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลและหทยวัตถุเกิดขึ้น ฯลฯ

ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์

ทั้งหลายที่เป็นอกุศลและมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัย

หทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย, จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์

ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตตปัจจัย.

[๒๗๑] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอัตถิปัจจัย ฯลฯ

ในอัตถิปัจจัย พึงจำแนกให้ครบ ๑๗ วาระ เหมือนสหชาตปัจจัย

ในนัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย พึงจำแนกให้ครบ ๑๗ วาระ

เหมือนอารัมมณปัจจัย

ในอวิคตปัจจัย พึงจำแนกวาระให้ครบ ๑๗ วาระ เหมือนสหชาต-

ปัจจัย.

การนับวาระในอนุโลมแห่งปัจจยวาระ

[๒๗๒] ในเหตุปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ

ในอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

สมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอัญญ-

มัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย

มี ๗ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ

ในกัมมปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหาร-

ปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในฌานปัจจัย

มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนัตถิ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑๗

วาระ.

[๒๗๓] เพราะเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

อธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย

มี ๑๗ วาระ.

[๒๗๔] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในอธิปติปัจจัย มี ๗

วาระ (ในทุกปัจจัย มี ๗ วาระ) ฯลฯ ... ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ

ใน อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๒๗๕] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย อนันตร-

ปัจจัย สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย

อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย ในกัมมปัจจัย มี ๗

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

วาระ... ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๗

วาระ.

[๒๗๖] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย

อาเสวนปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย วิคตปัจจัย ในอวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ.

[๒๗๗] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมม-

ปัจจัย วิปากปัจจัย ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ... ในอวิคตปัจจัย มี

๑ วาระ.

[๒๗๘] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย

วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย วิคตปัจจัย ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

เหตุมูลกนัย จบ

[๒๗๙] เพราะอารัมมณปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

อธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ.

วาระที่มี อารัมมณปัจจัยเป็นมูล พึงให้พิสดารเหมือนอย่างวาระ

ที่มี เหตุปัจจัยเป็นมูล.

[๒๘๐] เพราะอธิปติปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๑๗ วาระ

เพราะอนันตรปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

เพราะสมนันตรปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ

เพราะสหชาตปัจจัย... เพราะอัญญมัญญปัจจัย...เพราะนิสสย-

ปัจจัย... เพราะอุปนิสสยปัจจัย... เพราะปุเรชาตปัจจัย... เพราะ

อาเสวนปัจจัย... ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ... ในอารัมมณปัจจัย มี ๗

วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

สมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี

๗ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๗ ราระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

อาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในฌานปัจจัย

มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในนัตถิปัจจัย

มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๒๘๑] เพราะกัมมปัจจัย... เพราะวิปากปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๑

วาระ... ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมม-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑

วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมป-

ยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๒๘๒] เพราะอาหารปัจจัย... เพราะอินทริยปัจจัย... เพราะฌาน-

ปัจจัย... เพราะมัคคปัจจัย... เพราะสัมปยุตตปัจจัย... เพราะวิปป-

ยุตตปัจจัย... เพราะอัตถิปัจจัย... เพราะนัตถิปัจจัย... เพราะวิคต-

ปัจจัย... เพราะอวิคตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๑๗ วาระ... ในอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

ปัจจยานุโลมนัย จบ

อรรถกถาปัจจยวาระ

อรรถกถาปัจจยานุโลมนัย

พึงทราบวินิจฉัยใน ปัจจยวาระ ต่อไป:-

คำว่า กุสล เอก ขนฺธ ปจฺจยา คือ เป็นสภาพตั้งอยู่ในกุศลธรรม

อธิบายว่า ทำกุศลธรรมให้เป็นปัจจัย เพราะอรรถว่า เป็นที่อิงอาศัย.

คำว่า กุสล เอก ขนฺธ ปจฺจยา มีคำอธิบายว่า ขันธ์ ๓ ทำกุศลขันธ์ ๑

ให้เป็นที่อิงอาศัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย. ในทุก ๆ บท บัณฑิตพึงทราบ

ใจความโดยอุบายนี้เหมือนกัน. คำนี้ว่า ขันธ์ที่เป็นวิปากาพยากตะและ

กิริยาพยากตะ เกิดขึ้นเพราะอิงอาศัยวัตถุ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วย

อำนาจปวัตติกาลในปัญจโวการภพ. จริงอยู่ ในปวัตติกาลในปัญจโว-

การภพ วัตถุที่เป็นปุเรชาตะเป็นนิสสยปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย แต่เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

ปฏิจฺจ ศัพท์ ที่มีความหมายเท่ากับสหชาตะ ใน ปฏิจจวาระ จึงไม่ได้นัย

เช่นนี้ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า วตฺถุ ปฏิจฺจ ขนฺธา ขันธ์

ทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะอาศัยวัตถุ ดังนี้ หมายเอาวัตถุที่ เป็นสหชาตะเท่านั้น

ในปฏิสนธิกาล. แม้ในคำว่า ขันธ์ ๓ เกิดขึ้นเพราะอิงอาศัยกุศลขันธ์ ๑

และวัตถุรูปเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบความหมายโดยนัยนี้เหมือนกัน. คำว่า

กุศลและอัพยากตะ เกิดขึ้นเพราะอาศัยอัพยากตธรรม ท่านกล่าวหมาย

เอาการเกิดพร้อมกันแห่งกุศลและอัพยากตะ ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย. จริงอยู่

ในขณะกุศลจิตเกิดขึ้น กุศลขันธ์ทั้งหลายอาศัยวัตถุรูปเกิด และอุปาทาย-

รูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยมหาภูตรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้น

พร้อมกันด้วยอำนาจเหตุปัจจัย. ถึงเมื่ออัพยากธรรมที่เป็นปัจจัยจะแตก

ต่างกัน บัณฑิตพึงทราบว่า คำนี้ท่านกล่าวหมายถึงการเกิดพร้อมกัน

แห่งปัจจยุบบัน ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย ในฐานอื่นที่เป็นอย่างนี้ก็นัยนี้

เหมือนกัน.

ใน เหตุปัจจัยนี้ ท่านวิสัชนาปัญหา ๑๗ ข้อ เพราะทำสหชาตะ

และปุเรชาตะให้เป็นปัจจัย โดยอรรถว่า เป็นที่อิงอาศัยด้วยประการฉะนี้.

ในข้อนั้นท่านถือเอาขันธ์ทั้งหลายและมหาภูตรูป ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย

ถือเอาวัตถุรูปด้วยอำนาจสหชาตปัจจัยและปุเรชาตปัจจัย. ส่วนในปฏิจจ-

วาระย่อมได้ปัจจัยด้วยอำนาจสหชาตะ เพราะฉะนั้น ในที่นั้นท่านจึงวิสัชนา

ปัญหาไว้ ๙ ข้อเท่านั้น.

ก็ในปัจจัยวาระนั้น ธรรมเหล่าใดมีปัญหา ๑๗ ข้อ อันพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงวิสัชนาแล้วในธรรมเหล่านั้นมีกุศลเป็นต้น ในการวิสัชนา

ที่มีบทต้นบทเดียว บทอวสานก็บทเดียว ได้ปัจจยุบบันเป็นอย่างเดียวจาก

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

ปัจจัยเดียวกัน. ในการวิสัชนาที่มีบทต้นบทเดียว อวสานบท ๒ บท ได้

ปัจจยุบบันต่างกันทั้งที่เป็นปัจจัยเดียวกัน. ในการวิสัชนาที่มีบทต้น ๒ บท

อวสานบทบทเดียว ได้ปัจจยุบบันเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งที่จากปัจจัยต่าง

กัน. ในการวิสัชนาที่มีบทต้น ๒ บท บทอวสาน ๒ บท ได้ปัจจยุบบัน

ต่างกันจากปัจจัยที่ต่างกัน (แยกกัน). แม้ในอารัมมณปัจจัยเป็นต้น พึง

ทราบการจำแนกปัญหา และวิสัชนา โดยอุบายนี้เทียว.

ก็คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ใน อารัมมณปัจจัย ว่า ขันธ์

ทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยวัตถุ คำนั้นท่านหมายเอาเฉพาะวิบาก-

ขันธ์ ในปฏิสนธิกาลเท่านั้น, จักขุวิญญาณเป็นต้น ท่านกล่าวไว้เพื่อ

แสดงประเภทแห่งธรรมทั้งหลายที่อาศัยอัพยากตะเกิดขึ้น เพราะอารัมมณ-

ปัจจัย. คำว่า วตฺถุ ปจฺจยา อาศัยวัตถุ พระองค์ตรัสไว้อีกก็เพื่อแสดง

การเกิดขึ้นแห่งวิปากาพยากตะ และกิริยาพยากตะในปวัตติกาล. (ว่า

อาศัยวัตถุ) คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.

ใน อารัมมณปัจจัย นี้ ท่านวิสัชนาไว้ ๗ ปัญหา เพราะยก

สหชาตปัจจัย และปุเรชาตปัจจัยขึ้นเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้ ในปัญหา

เหล่านั้น ขันธ์ทั้งหลายท่านถือเอาด้วยอำนาจสหชาตะ วัตถุถือเอาด้วย

อำนาจสหชาตะ ปุเรชาตะ จักขวายตนะเป็นต้นถือเอาด้วยอำนาจปุเรชาตะ

ส่วนในปฏิจจวาระย่อมได้ปัจจัยด้วยอำนาจสหชาตะเท่านั้น เพราะฉะนั้น

ในวาระนั้น จึงวิสัชนาไว้ ๓ ปัญหาเท่านั้น.

ใน อธิปติปัจจัย พึงทราบว่าได้แก่วิปากาพยากตะที่เป็นโลกุตตระ

เท่านั้น. อนันตรปัจจัย และ สมนันตรปัจจัย เหมือนกับอารัมมณปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

เพราะไม่มีรูป. แม้ใน อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย และ วิคตปัจจัย ข้าง

หน้าก็นัยนี้เหมือนกัน.

ใน สหชาตปัจจัย สองบทว่า กฏตฺตารูป อุปาทารูป ได้แก่

กฏัตตารูป กล่าวคืออุปาทารูป. คำนี้ท่านหมายเอารูปแห่งอสัญญสัตว์

พวกเดียว. จักขายตนะเป็นต้น กล่าวด้วยอำนาจปัญจโวการภพ.

ก็ใน อัญญมัญญปัจจัย ท่านกล่าวหมายเอาปัญหาที่มีวิสัชนาเท่ากัน

ว่า เหมือนธรรมที่เกิดเพราะอารัมมณปัจจัย. แต่ในปัจจยุบบันธรรมมี

ความแตกต่างกัน.

บทว่า อารมฺมณปจฺจยสทิส ในอุปนิสสยปัจจัย ท่านกล่าวไว้

เพราะมีวิสัชนาเท่ากันโดยความไม่มีรูปบ้าง. คำว่า วตฺถุ ปุเรชาตปจฺจยา

เป็นต้น พึงถือเอาเนื้อความตามนัยที่กล่าวในปฏิจจวาระ.

ใน กัมมปัจจัย บทว่า ตีณิ บัณฑิตพึงทราบวิสัชนา ๓ ข้ออย่างนี้

คือ กุศลเกิดเพราะอาศัยกุศล ๑ อัพยากตะเกิดเพราะอาศัยกุศล ๑ กุศล

และอัพยากตะเกิดเพราะอาศัยกุศล ๑. แม้ในอกุศลเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือน

กัน.

ใน วิปปยุตตปัจจัย สองบทว่า ขนฺเธ วิปฺปยุตตฺตปจฺจยา ความว่า

ธรรมทั้งหลายอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย. คำว่า

ขนฺธา วตฺถุ วิปฺปยุตฺตปจฺจยา ความว่า ขันธ์ทั้งหลายอาศัยวัตถุเกิดขึ้น

เพราะวิปยุตตปัจจัย. คำที่เหลือพึงทราบความตามนัยที่กล่าวแล้วในหน

หลัง

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหตุยา สตฺตรส ในเหตุปัจจัย

มี ๑๗ วาระ เป็นต้น เพื่อแสงวิสัชนาตามที่หาได้ด้วยอำนาจการคำนวณ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เหตุยา สตฺตรส ความว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสวิสัชนาไว้ ๓ ข้อ คือ บทต้น ๑ บท กับบทอวสาน ๑ บท มี

๒ วาระ, บทต้น ๒ บทกับบทอวสาน ๑ บท มี ๑ วาระ ด้วยอำนาจกุศล

อย่างนี้ คือ กุศลกับกุศล อัพยากตะกับกุศล กุศลและอัพยากตะกับกุศล.

วิสัชนาด้วยอำนาจของอกุศล ก็เหมือนกันกับกุศล. อัพยากตะกับอัพยากตะ,

อกุศลอัพยากตะกับอัพยากตะ, กุศลกับกุศลอัพยากตะ อัพยากตะกับกุศล-

อัพยากตะ, กุศลอัพยากตะกับกุศลอัพยากตะ, อกุศลกับอกุศลอัพยากตะ,

อัพยากตะกับอกุศลอัพยากตะ, อกุศลอัพยากตะกับอกุศลอัพยากตะ, บัณฑิต

พึงทราบว่าในเหตุปัจจัย มี ๑๗ วาระอย่างนี้.

ในคำว่า อารฺมเณ สตฺต ในอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ความว่า

มีวิสัชนา ๗ วาระ อย่างนี้ คือ กุศลกับกุศล อกุศลกับอกุศล อัพยากตะกับ

อัพยากตะ กุศลกับอัพยากตะ อกุศลกับอัพยากตะ กุศลกับกุศลอัพยากตะ

อกุศลกับอกุศลอัพยากตะ. บทว่า เอก ใน วิปากปัจจัย คืออัพยากตะ

กับอัพยากตะนั้นเอง. การกำหนดวารระ ๓ ประการคือ ๑๗ วาระ ๗ วาระ

๑ วาระ ในอนุโลมนัย ปัจจยาวาระย่อมมีด้วยประการฉะนี้. ในบรรดา

วาระเหล่านั้น บัณฑิตกำหนดวาระเหล่านั้นทั้งหมด คือ หมวด ๑๗ วาระ

มี ๑๒ ปัจจัย หมวด ๗ วาระ มี ๑๐ ปัจจัย หมวด ๑ วาระ มี ๑

ปัจจัยให้ดี แล้วพึงทราบจำนวนด้วยอำนาจจำนวนที่น้อยกว่าในการเทียบ

เคียงปัจจัย ด้วยอำนาจทุกัตติกะปัฏฐานเป็นต้น ข้างหน้า. จริงอยู่ ด้วย

วิธีคำนวณนี้ บัณฑิตอาจทราบการกำหนดวาระในนัยทั้งหลาย มีทุกมูลกะ

นัยเป็นต้นได้ เพราะฉะนั้น เพื่อจะแสดงการกำหนดวาระด้วยอำนาจ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

จากการคำนวณเท่านั้น ไม่เท้าความไปถึงวิสัชนาว่า กุศลธรรมเกิดขึ้น

เพราะอิงอาศัยกุศลธรรมอีก พระองค์จึงทรงเริ่มคำว่า เหตุปจฺจยา

อารมฺมเณ สตฺต เพราะเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ

เป็นต้น. ในคำนั้นมีอธิบายว่า กุศลธรรมย่อมเกิดเพราะอิงอาศัยกุศล-

ธรรมในเพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย. บัณฑิตพึงอธิบายวิสัชนาที่ได้

ในอารัมมณปัจจัยให้พิสดารออกไป โดยนัยนี้ว่า ขันธ์ ๓ อิงอาศัยกุศล-

ขันธ์ ๑ เกิดขึ้น นัยในอนุโลมนัยเท่านั้น.

ปัจจยานุโลมนัย จบ

ปัจจยปัจจนียนัย

[๒๘๓] ๑. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุ-

ปัจจัย

คือ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์

ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-

วิบาก อัพยากตกิริยา ซึ่งเป็นอเหตุกะเกิดขึ้น ฯ ลฯ ขันธ์ ๒ และ

จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๑. ตามนัยแห่งข้อ ๘๗.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

ในอเหตุกปฏิสนธิณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่

เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒

เกิดขึ้น, หทยวัตถุอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุ

เกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูป

และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น, พาหิรรูป

อาหารสมุฏฐานรูป อุสมุฏฐานรูป ฯลฯ.

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น

ฯ ลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัย

กายายตนะเกิดขึ้น.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอเหตุกะ อัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา

อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๓. อกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุ-

ปัจจัย

คือ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัย

หทยวัตถุเกิดขึ้น.

๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะนเหตุปัจจัย

คือ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัย

๑. ดูข้อ ๘๗.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และหทย-

วัตถุเกิดขึ้น.

[๒๘๔] อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอารัมมณ-

ปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศลเกิดขึ้น.

นอารัมมณปัจจัย ในปัจจยวาระ พึงให้พิสดารเหมือนอย่างนอา-

รัมมณปัจจัย ในปฏิจจวาระ (นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ)

[๒๘๕] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอธิปติ-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น มี ๓ วาระ.

๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นอธิปติปัจจัย

ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ พึเพิ่มอัพยากตะให้บริบูรณ์, พาหิรรูป

อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น

ฯลฯ จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะเกิดขึ้น ฯลฯ การวิญญาณ อาศัย

กายายตนะเกิดขึ้น.

๑. ดูข้อ ๘๙ ซึ่งว่าด้วยนอธิปติปัจจัย ในปฏิจจวาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากกิริยา อาศัยหทย-

วัตถุเกิดขึ้น.

๘. กุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นอธิปติปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายทั้งที่เป็นกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น ฯ ลฯ

นอธิปติปัจจัย พึงนับได้ ๑๗ วาระ เหมือนสหชาตปัจจัย ในอนุโลม.

[๒๘๖] อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอนันตร-

ปัจจัย... เพราะนสมนันตรปัจจัย...เพราะนอัญญมัญญปัจจัย... เพราะ

นอุปนิสสยปัจจัย...เพราะนปุเรชาตปัจจัย.

[๒๘๗] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนปัจฉาชาต-

ปัจจัย... เพราะนอาเสวนปัจจัย

พึงให้พิสดารเหมือนอย่างปฏิจจวาระ.

[๒๘๗] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนปัจฉาชาต-

ปัจจัย... เพราะนอาเสวนปัจจัย

ฯลฯ จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะเกิดขึ้น ฯลฯ

เพราะนปัจฉชาตปัจจัยก็ดี เพราะนอาเสวนปัจจัยก็ดี มี ๑๗

วาระ ครบบริบูรณ์ พึงให้พิสดารเหมือนอย่างสหชาตปัจจัยในอนุโลม.

[๒๘๘] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนกัมมปัจจัย

คือ กุศลเจตนา อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศลเกิดขึ้น.

๒. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนกัมม-

ปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

คือ อกุศลเจตนา อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอัพยากตกิริยา อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากต

กิริยาเกิดขึ้น พาหิรรูป...อาหารสมุฏฐานรูป...อุตุสมุฏฐานรูป มหาภูต-

รูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ อุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น, เจตนาที่เป็นอัพยากตกิริยา อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๔. กุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนกัมม-

ปัจจัย

คือ อกุศลเจตนา อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๕. อกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนกัมม-

ปัจจัย

คือ อกุศลเจตนา อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๖. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกดขึ้น

เพราะนกัมมปัจจัย

คือ กุศลเจตนา อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศลและหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๗. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิด

ขึ้น เพราะนกัมมปัจจัย

คือ อกุศลเจตนา อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศลและหทยวัตถุ

เกิดขึ้น.

[๒๘๙] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนวิปากปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น มี ๓ วาระ.

๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนกัมม-

ปัจจัย มี ๓ วาระ

๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นวิปากปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-

กิริยาเกิดขึ้น ฯ ล ฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิด

ขึ้น, มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ จิตตสมุฏฐาน

รูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น, พาหิรรูป อาหาร-

สมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น,

ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์

ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตกิริยา อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๘. กุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนวิปาก-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

ยกเว้นวิบากเสีย ในทุกๆวาระ พึงแจกให้พิสดาร (มี ๑๗ วาระ).

[๒๙๐] อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นอาหารปัจจัย... เพราะนอินทริยปัจจัย...เพราะนฌานปัจจัย

คือ จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะเกิดขึ้น ฯล ฯ กายวิญญาณ

อาศัยกายายตนะเกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

นี้เป็นข้อแตกต่างกันใน นฌานปัจจัย.

อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนมัคคปัจจัย

คือ จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ

อาศัยกายายตนะเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอเหตุกอัพยากตวิบาก และ

อัพยากตกิริยา อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

นี้เป็นข้อแตกต่างกันใน นมัคคปัจจัย.

ส่วนที่เหลือ พึงแจกให้พิสดารเช่นเดียวกันกับปัจจนียะ ในปฏิจจ-

วาระ.

อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนสัมปยุตตปัจจัย

เพราะนวิปปยุตตปัจจัย เพราะโนนัตถิปัจจัย

อัพยากตธรรม กาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะโนวิคตปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศลเกิดขึ้น.

ใน โนวิคตปัจจัย พึงแจกให้พิสดารเหมือนอย่างในปฏิจจวาระ.

การนับวาระในปัจจนียะแห่งปัจจยวาระ

[๒๙๑] ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๗ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอาหาร-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

ปัจจัย มี ๑ วาระ. ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี

๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๒๙๒] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมันนตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๔

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๒๙๓] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี

๑ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑

วาระ (ในปัจจัย ทุก ๆ ข้อ มี ๑ วาระ) ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิตตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๒๙๔] เพราะนอารัมมณปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตร-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสย-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกันมปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๕ วาระ. ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๒๙๕] เพราะนอรัมมณปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี

๑ วาระ... ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๒๙๖] เพราะนอธิปติปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ... ใน

นอารมัมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ. ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๗ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี

๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๒๙๗] เพราะนอธิปติปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี

๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๒๙๘] เพราะนอธิปติปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ... (ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ).

เพราะนอนันตรปัจจัย เพราะนสมนันตรปัจจัย เพราะนอัญญ-

มัญญปัจจัย เพราะนอุปนิสสยปัจจัย เช่นเดียวกันกับนอารัมมณปัจจัย.

[๒๙๙] เพราะนปุเรชาตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอันนตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี

๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปป-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

ยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๕ วาระ.

[๓๐๐] เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑

วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ. ในนอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ)... ในโนวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๓๐๑] เพราะปัจฉาชาตปัจจัย... เพราะนอาเสวนปัจจัย ในนเหตุ-

ปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี

๑๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอาหาร-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑

วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๓๐๒] เพราะนอาเสวนปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๔ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

เพราะนอาเสวนปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ... (ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ) ...ในโนวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๓๐๓] เพราะนกัมมปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

นปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวน-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ. ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปป-

ยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

เพราะนกัมมปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ

... (ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ)... ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๓๐๔] เพราะนวิปากปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี

๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๓๐๕] เพราะนวิปากปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี

วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

ในนสมันนตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

เพราะนวิปากปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในอธิปติ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ... (ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ)... ในโนวิคตปัจจัย มี ๑

วาระ.

[๓๐๖] เพราะนอาหารปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุก

ปัจจัย มี ๑ วาระ) ... ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

เพราะนอินทริยปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุกปัจจัย

มี ๑ วาระ).

เพราะนฌานปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุกปัจจัย

มี ๑ วาระ).

เพราะนมัคคปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุกปัจจัย มี

๑ วาระ).

เพราะนสัมปยุตตปัจจัย ก็เช่นเดียวกันกับ นอารัมมณปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

[๓๐๗] เพราะวิปปยุตตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌาน-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๓๐๘] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑

วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ (ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ).

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

เพราะในนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย แสดงเช่นเดียวกันกับ

นอารัมมณปัจจัย.

ปัจจัยปัจจนียนัยในปัจจยวาระ จบ

อรรถกถาปัจจยปัจจนียนัย

ก็กุศลย่อมไม่ได้ในปัจจนียนัย เพราะฉะนั้น ท่านจึงเริ่มวิสัชนา

ตั้งแต่อกุศลเป็นต้นไปว่า อกุสล ธมฺม ปจฺจยา ดังนี้. คำวิสัชนานั้น

ย่อมดำเนินไปตามบาลีเท่านั้น. ก็คำที่จะพึงกล่าวในวาระนี้ได้กล่าวไว้

เรียบร้อยแล้วในปัจจนียนัยแห่งปฏิจจวาระ. ก็ท่านกล่าวคำว่า นเหตุยา

จตฺตาริ ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ เป็นต้น เพื่อแสดงจำนวนวิสัชนา

ที่ได้ในปัจจนียนัยอันใดไว้ ในวิสัชนานั้นมีการกำหนด ๖ อย่าง คือ

วิสัชนา ๔ วาระ ๑๗ วาระ ๗ วาระ ๕ วาระ ๓ วาระ ๑ วาระ ใน

การเทียบเคียงปัจจัยที่มีมูล ๒ และมูล ๓ เป็นต้น พึงทราบการนับด้วย

อำนาจการกำหนดเหล่านั้น เพราะว่า ปัจจัยใดที่ได้วิสัชนาถึง ๑๗ วาระ

เพราะเทียบเคียงกับปัจจัยที่เช่นเดียวกันกับปัจจัยนั้น. การกำหนดจำนวน

ได้แม้ทั้ง ๖ อย่างที่เหลือ ก็เพราะเทียบเคียงกับปัจจัยที่มีจำนวนต่ำกว่า.

แม้ในการกำหนดจำนวนที่เหลือก็อย่างนี้. เมื่อเว้นการกำหนดจำนวนที่สูง

กว่า ก็ย่อมได้จำนวนที่เท่ากันและต่ำกว่ากัน ในการนี้จะไม่ได้การกำหนด

๑. อรรถกถาบาลีไทยหน้า ๕๗๗ บรรทัดที่ ๔ ว่า โน ฉบับอื่นเป็น โย แปลตามฉบับอื่น

เพราะตรงตามสภาวะ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

จำนวนที่สูงกว่า ฉะนั้น นี้จึงเป็นข้อนิยมในเรื่องการกำหนดจำนวนนี้. ก็

จำนวนที่เท่ากัน และจำนวนที่ต่ำกว่ากัน เมื่อความผิดแผกกันมีอยู่ เนื้อ

ความก็ไม่ได้. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นเหตุ-

ปจฺจยา นารมฺมเณ เอก เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑

วาระ ดังนี้เป็นต้น. ความจริงในเรื่องนี้ น่าจะมีคำกล่าวว่า วิสัชนา ๔

วาระ ควรได้ด้วยอำนาจแห่งนเหตุปัจจัยเพราะพระบาลีมาแล้วว่า ในเหตุ-

ปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ. แต่เพราะวิสัชนา

เหล่านั้นเข้ากันกับนอารัมมณธรรม สารัมมณธรรมจึงผิด เพราะฉะนั้น

วิสัชนา ๓ วาระจึงลดไป คือ อกุศลธรรมอิงอาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น,อกุศล

ธรรมอิงอาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น, อกุศลธรรมอิงอาศัยอกุศลธรรมและ

อัพยากตธรรมเกิดขึ้น. วิสัชนา ๑ วาระเท่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

ด้วยสามารถแห่งรูปว่า อัพยากคตธรรมอิงอาศัยอัพยากคตธรรมเกิดขึ้นดังนี้.

บัณฑิตครั้นทราบวิสัชนาที่ผิดแผกแตกต่างกันในปัจจัยทั้งปวงแล้วพึงทราบ

การกำหนดที่จะมีได้ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ในอธิการนี้มีการแสดงเพียงนัยดังต่อไปนี้. สองบทว่า

นาธิปติยา จตฺตาริ ในนอธิปติปัจจัย มี ๔ วาระ คือวิสัชนาที่ได้แล้ว

ในวิสัชนานเหตุปัจจัย. แม้ในจตุกกะที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. สองบทว่า

นานนฺตเร เอก ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ คือ อัพยากตะกับอัพยากตะ

ด้วยอำนาจรูปที่มีอเหตุจิตเป็นสมุฏฐาน และรูปที่เหลือ. บัณฑิตพึงทราบ

รูปที่ประกอบได้ในปัจจัยหนึ่งๆทั้งหมดอย่างนี้. แม้ในคำนี้ว่า นปุเรชาเต

เทฺว ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ก็ควรจะกล่าวว่า ได้วิสัชนา ๔ วาระ

ด้วยอำนาจนเหตุปัจจัย. แค่เพราะนเหตุปัจจัยเข้ากันได้กับนปุเรชาตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

วิสัชนา ๒ ข้อด้วยอำนาจวัตถุปุเรชาตะว่า อกุศลเกิดขึ้นเพราะอิงอาศัย

อัพยากตธรรม อกุศลเกิดขึ้นเพราะอิงอาศัยอกุศลและอัพยากตะดังนี้ ต้อง

ลดไป. ส่วนในอรูปภพท่านกล่าววิสัชนาไว้ ๒ ข้อ ด้วยอำนาจอเหตุก-

โมหะและอเหตุกกิริยา. สองบทว่า นวิปฺปยุตฺเต เทฺว ในนวิปปยุตตปัจจัย

มี ๒ วาระ คือวิสัชนา ๒ ข้อ ด้วยอำนาจจอเหตุกอกุศลและอเหตุกกิริยา ใน

อรูปภพ. ใน โนนตฺถิ โนวิคเต คำว่า เอก=๑ พึงทราบว่าได้แก่อัพยากตะ

กับอัพยากตะ ด้วยอำนาจรูปทั้งหมด. ในปัจจัยที่มีมูล ๓ เป็นต้น แสดงไว้

หมดแล้ว. ส่วนใน นารัมมณทุมูลกนัย คำว่า นาธิปติยา ปญฺจ ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ คือวิสัชนาที่ได้ในนอารัมมณปัจจัยนั่นเอง. ใน

คำนี้ว่า นกมฺเม เอก ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ บัณฑิตไม่พึงถือเอา

จิตตชรูปและกัมมชรูป ถึงทราบเฉพาะอัพยากตะกับอัพยากตะ ด้วยอำนาจ

รูปที่เหลือ. ใน นาธิปติมูลกนัย คำว่า นปุเรชาเต สตฺต ในนปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ คือวิสัชนาที่ไนนปุเรชาตปัจจัยเท่านั้น. คำว่า

นปจฺฉาชาเต สตฺตรส ในนปัคจฉชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ได้แก่วิสัชนา

๑๗ ข้อ ในนปัจฉาชาตปัจจัยเท่านั้น. วิสัชนาที่มี นอนันตรปัจจัย

นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย นอุปนิสสยปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย

โนนัตถิปัจจัย โนวิคตปัจจัย เป็นมูล เหมือนกับปัจจัยที่มีีนอารัมมณปัจจัย

เป็นมูล. วิสัชนาที่ผ่านมาแล้วและยังไม่ถึง และวิสัชนาที่มีได้และมีไม่ได้

ในปัจจัยทั้งหมด พึงทราบโดยการแสดงเพียงนัยนี้เท่านั้น.

อรรถกถาปัจจัยปัจจนียนัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

ปัจจยานุโลมปัจจนียนัย

การนับวาระในอนุโลมปัจจนียะแห่งปัจจยวาระ

[๓๐๙] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตร-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสย-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๓๑๐] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๗

วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ

นนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๓๑๑] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย อนันตร-

ปัจจัย สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย

อุปนิสสยปัจจัย ปุเราชาตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ...ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๗ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

[๓๑๒] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ปุรชาตปัจจัย อาเสวน-

ปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๓๑๓] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ปุเรชาติปัจจัย อาเสวน-

ปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคค-

ปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย

วิคตปัจจัย อวิคตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๓๑๔] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย

วิปากปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอาเสวนปัจจัย มี

๑ วาระ.

[๓๑๕] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย

วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย ฯลฯ อวิคตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๓๑๖] เพราะอารัมมณปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ...ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคค-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

[๓๑๗] เพราะอารัมมณปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ

... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

วาระที่มีอารัมมณปัจจัยเป็นมูล พึงนับเหมือนอย่างวาระที่มีเหตุ-

ปัจจัยเป็นมูล.

[๓๑๘] เพราะอธิปติปัจจัย ในนอารัมณปัจจัย มี ๕ วาระ.... ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ นโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ

เพราะอธิปติปัจจัย เหตุปัจจัย ฯลฯ.

เพราะอนันตรปัจจัย เหตุปัจจัย ... ฯลฯ. เพราะสมนันตรปัจจัย

... พึงให้พิสดารอย่างวาระที่มีอารัมมณปัจจัยเป็นมูล.

[๓๑๙] เพราะสหชาตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี

๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๗

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๓๒๐] เพราะสหชาตปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕

วาระ ฯลฯ... ในนวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

เพราะสหชาตปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย... นี้เป็นการ

แสดงย่อ ๆ.

[๓๒๑] เพราะอัญญมัญญปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุป-

นิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี

๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๓๒๒] เพราะอัญญมัญญปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอธิปคติปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโ นวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

เพราะอัญญมัญญปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ.

นี้เป็นการแสดงย่อ ๆ.

[๓๒๓] เพราะนิสสยปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ. ในนิสสย-

ปัจจัย แสดงเช่นเดียวกันกับสหชาตปัจจัย.

เพราะอุปนิสสยปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ. ในนอุปนิสสย-

ปัจจัย แสดงเช่นเดียวกันกับอารัมมณปัจจัย.

[๓๒๔] เพราะปุเรชาตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ... ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ.

เพราะปุเรชาตปัจจัย เหตุปัจจัย... ฯลฯ.

[๓๒๕] เพราะอาเสวนปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ...ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๓๒๖] เพราะอาเสวนปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๗

วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปปยุต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๓๒๗] เพราะอาเสวนปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ... ฯลฯ ...เพราะนอาเสวนปัจจัย เหตุปัจจัย

ฯลฯ เพราะปุเรชาติปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย... ฯลฯ...

เพราะอวิคตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๗ วาระ.

[๓๒๘] เพราะกัมมปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ....ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๕ วาระ. ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี

๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๗

วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๓๒๙] เพราะกัมมปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕

วาระ ฯลฯ... ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ ฯ ลฯ นี้เป็นการแสดงย่อ ๆ.

[๓๓๐] เพราะวิปากปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑

วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิ-

ปัจจัย มี ๑ วาร ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๓๓๑] เพราะวิปากปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑

วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโน-

นัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๓๓๒] เพราะวิปากปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ

ปุเรชาตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอาเสวนปัจจัย

มี ๑ วาระ ฯลฯ.

เพราะวิปากปัจจัย เหตุปัจจัย...ฯลฯ...ปุเรชาตปัจจัย กัมม-

ปัจจัย อาหารปัจจัย ...ฯลฯ...เพราะอวิคตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ฯลฯ.

[๓๓๓] เพราะอาหารปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ...ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชตปัจจัย มี ๗

วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๗

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ ใน

นอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

[๓๓๔] เพราะอาหารปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕

วาระ ฯลฯ... ในนวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ นี้เป็นหัวข้อย่อ ๆ.

[๓๓๕] เพราะอินทริยปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ...ฯลฯ ... ในนวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ

ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ โนโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

เพราะอินทริยปัจจัย เหตุปัจจัย ฯลฯ...

[๓๓๖] เพราะฌานปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ... ในนอา-

รัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ...ฯลฯ ... ในนวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ ใน

นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๕ วาระ.

เพราะฌานปัจจัย เหตุปัจจัย...ฯลฯ...

[๓๓๗] เพราะมัคคปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ...ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ฯลฯ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

เพราะมัคคปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ.

ในสัมปยุตตปัจจัย ก็เช่นเดียวกันกับอารัมมณปัจจัย.

[๓๓๘] เพราะวิปปยุตตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญ-

มัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอาเสวน-

ปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๗

วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๓๓๙] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี

๕ วาระ... ในอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕

วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕

วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๗ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนสัมป-

ยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๕ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

[๓๔๐] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๓๔๑] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติ-

ปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๓๔๒] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติ-

ปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี

๗ วาระ... ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๓๔๔] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ

ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑

วาระ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๓๔๕] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย

กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย ฯลฯ อวิคตปัจจัย ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

[๓๔๖] เพราะอัตถิปัจจัย ก็เช่นเดียวกันกับ สหชาตปัจจัย.

เพราะนัตถิปัจจัย เพราะวิคตปัจจัย ก็เช่นเดียวกันกับ อารัมมณ-

ปัจจัย. เพราะอวิคตปัจจัย ก็เช่นเดียวกันกับ สหชาตปัจจัย.

ปัจจยานุโลมปัจจนียนัย ในปัจจยวาระ จบ

ปัจจยปัจจนียานุโลมนัย

การนับวาระในปัจจนียานุโลมแห่งปัจจยวาระ

[๓๔๗] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ... ใน

อนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในสหชาตปัจจัย

มี ๔ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๔ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

อาเสวนปัจจัยมี ๔ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิปากปัจจัย มี

๑ วาร ในอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๔ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๔ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๔ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๔ วาระ.

[๓๔๘] เพราะเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี

๑ วาระ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๓๔๙] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย ในสหชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ...ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ

ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิตตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๓๕๐] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย นอุปนิสสย-

ปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นกัมม-

ปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๓๕๑] เพราะเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นกัมมปัจจัย นวิปาก-

ปัจจัย นอาหารปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนิสสยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

[๓๕๒] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลฯ นกัมมปัจจัย

นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัย นอินทริยปัจจัย ฯลฯ โนวิคตปัจจัย

ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๓๕๓] เพราะนอารัมมณปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ... ใน

อธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๕

วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

อินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๕ วาระ ในมัคคปัจจัย

มี ๕ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๓๕๔] เพราะนอารัมมณปัจจัย นเหตุปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑

วาระ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

กัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี

๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

วิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๓๕๕]เพราะนอธิปติปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๑๗ วาร... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตร-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ

ในปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในกัมม-

ปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี

๑๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑๗ วาระ

ในมัคคปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปป-

ยุตตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนัตถิปัจจัย

มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑๗ วาระ

[๓๕๖] เพราะนอธิปติปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๔

วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

อัญญมัญญปัจจัย มี ๔ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ในอุป-

นิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอาเสวน-

ปัจจัย มี ๔ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑

วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

ฌานปัจจัย มี ๔ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๔ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๔ วาระ.

เพราะอธิปติปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ... ฯลฯ...ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

[๓๕๗] เพราะนอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะ

นอัญญมัญญปัจจัย เพราะอุปนิสสยปัจจัย แสดงเช่นเดียวกันกับ

นอารัมมณปัจจัย.

[๓๕๘] เพราะนปุเรชาตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๗ วาร ในอนันตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ

โนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมม-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗

วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

มัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย

มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๓๕๙] เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี

๒ วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ

ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาเสวนปัจจัย

มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

อาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย

มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย

มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ...ฯลฯ...ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๓๖๐] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๑๗ วาระ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอนันตรปัจจัย

มี ๗ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ

ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๗ วาระ ใน

อุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอาเสวน-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑

วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑๗ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี

๑๗ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๓๖๑] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย

มี ๔ วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๔

วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๔ วาระ

ในนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ในปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๔ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๔

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

อินทริยปัจจัย มี ๔ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๔ วาระ ในมัคคปัจจัย

มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๔

วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิคต-

ปัจจัย มี ๔ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ... ฯ ลฯ... ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๓๖๒] เพราะนอาเสวนปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๑๗ วาระ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอนันตร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย

มี ๑๗ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๗

วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ

ในกัมมปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๑๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑๗

วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

วิปปยุตตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนัตถิปัจจัย

มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑๗ วาระ.

[๓๖๓] เพราะนอาเสวนปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี

๔ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ

ในสหชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๔ วาระ ในนิสสย-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

ปัจจัย มี ๔ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี

๔ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อาหารปัจจัย มี ๔ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๔ วาระ ในฌาน-

ปัจจัย มี ๔ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๔

วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

นัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี

๔ วาระ.

เพราะนอาเสวนปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ...ฯลฯ...ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๓๖๔] เพราะนกัมมปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๗

วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ

ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในอุป-

นิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอาเสวน-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗

วาระ ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมป-

ยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอัตถิปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๓๖๕] เพราะกัมมปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ

...ในอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี

๑ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑

วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๓๖๖] เพราะนกัมมปัจจัย นเหหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๓๖๗] เพราะนวิปากปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๑๗ วาระ...ในอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี

๗ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ

ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๗ วาระ ใน

อุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอาเสวน-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑๗

วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑๗ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

มัคคปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗

วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๒๖๘] เพราะนวิปากปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๔

วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ

ในสหชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๔ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๔ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย

มี ๔ วาระ โนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ

ในอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๔ วาระ ในฌานปัจจัย

มี ๔ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในนัตถิปัจจัย

มี ๔ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

[๓๖๙] เพราะนวิปากปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ โนนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑

วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

[๓๗๐] เพราะนอาหารปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

อัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๓๗๑] เพราะนอินทริยปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๓๗๒] เพราะนฌานปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

อนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี

๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

[๓๗๓] เพราะนฌานปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑

วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๓๗๔] เพราะนมัคคปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

อนนัตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี

๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๓๗๕] เพราะนมัคคปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๓๗๖] เพราะนสัมปยุตตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ... ใน

อธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๕

วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

อินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๕ วาระ ในมัคคปัจจัย มี

๕ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

เพราะนสัมปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

... ฯลฯ ... ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๓๗๗] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตรปัจจัย

มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสย-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๓

วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

อินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย

มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

[๓๗๘] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย

มี ๒ วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒

วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาเสวน-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒

วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

มัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัตถิปัจจัย

มี ๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๓๗๙] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ...ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑

วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ.

เพราะโนนัตถิปัจจัย เพราะโนวิคตปัจจัย ก็แสดงเช่นเดียวกัน

กับนอารัมมณปัจจัย.

ปัจจนียานุโลม ในปัจจยวาระ จบ

ปัจจยวาระ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

อรรถกถาอนุโลมปัจจนียนัย-ปัจจนียานุโลมนัย

ก็โดยลักษณะนี้แหละ ผู้ศึกษาพึงจัดอนุโลมไว้ข้างหน้าแล้วกำหนด

จำนวนในอนุโลมปัจจนียะ, และพึงจัดปัจจนียะไว้ข้างหน้าแล้วกำหนด

ปัจจนียานุโลม ก็จะพึงทราบวิสัชนาในปัญหาที่ผ่านมาแล้ว และยังไม่มา

แล้ว ที่ได้อยู่และไม่ได้อยู่ ดังนี้.

อรรถกถาอนุโลมปัจจนียนัย-ปัจจนียานุโลมนัย จบ

อรรถกถาปัจจยวาระ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

๔. นิสสยวาระ

อนุโลมนัย

[๓๘๐] ๑. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ อาศัยขันธ์

๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุ-

ปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศลเกิดขึ้น.

๓. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น,

ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตต-

สมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

[๓๘๑] ๔. อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุ-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒

อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๕. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะ

เหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

๖. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม

เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิด

ขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

[๓๘๒] ๗. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-

วิบาก และอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น

อัพยากตวิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น,

ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทยวัตถุ อาศัยขันธ์

ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๑ อาศัย

มหาภูตรูป ๓ เกิดขึ้น, มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น.

จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูป

ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา

อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๘. กุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

๙. อกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๑๐. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม

เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐาน-

รูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๑๑. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัย อัพยากตธรรม

เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐาน-

รูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

[๓๘๓] ๑๒. กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล และหทยวัตถุเกิดขึ้น ฯลฯ

ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๑๓. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรม

เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล และมหาภูตรูป

เกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

๑๔. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและ

อัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลและหทยวัตถุเกิดขึ้น ฯลฯ

ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป อาศัย

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล และมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๑๕. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรม

เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล และหทยวัตถุเกิดขึ้น ฯลฯ

ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๑๖. อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรม

เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล และมหาภูต-

รูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

๑๗. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม

และอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลและหทยวัตถุเกิดขึ้น ฯ ล ฯ

ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ และหทยวัตถุเกิดขึ้น, จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์

ทั้งหลายที่เป็นอกุศล และมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.

การนับวาระในอนุโลมแห่งนิสสยวาระ

[๓๘๔] ในเหตุปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ

ในอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

สมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอัญญ-

มัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย

มี ๗ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๗

วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อาหารปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในฌานปัจจัย

มี ๑๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนัตถิ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑๗

วาระ.

อนุโลมนัย ในนิสสยวาระ จบ

ปัจจนียนัย

[๓๘๕] ๑. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุ-

ปัจจัย

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัย

ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-

วิบาก และอัพยากกิริยา ซึ่งเป็นนอเหตุกะเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ และจิตต-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

สมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัย

ขันธ์ ๑ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น,

ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น

อัพยากคตวิบากเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒

เกิดขึ้น หทยวัตถุอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุ

เกิดขึ้น.

มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูป

กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น, พาหิรรูป...

อาหารสมุฏฐานรูป...อุตุสมุฏฐานรูป...

สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหภูตรูป ๑ เกิดขึ้น

ฯ ล ฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น

จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัยกายาย-

ตนะเกิดขึ้น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยาซึ่งเป็น

อเหตุกะ อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.

๓. อกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุ-

ปัจจัย

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัย

หทยวัตถุเกิดขึ้น.

[๓๘๖] ๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรมเกิด

ขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัย

ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และหทย-

วัตถุเกิดขึ้น.

การนับวาระในปัจจนียะแห่งนิสสยวาระ

[๓๘๗] ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕

วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๗ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัยย มี ๕ วาระ โน

โนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

ปัจจนียนัย ในนิสสยวาระ จบ

อนุโลมปัจจนียนัย

การนับวาระในอนุโลปัจจนียะแห่งนิสสยวาระ

[๓๘๘] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

นสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๗ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

อนุโลมปัจจนียนัย ในนิสสยวาระ จบ

ปัจจนียานะโลมนัย

การนับวาระในปัจจนียานุโลมแห่งนิสสยวาระ

[๓๘๗] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ... ใน

อนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๔ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๔ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี

๔ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๔ วาระ

ในอาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๔ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๔ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๔ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๔ วาระ.

ปัจจนียานุโลมนัย ในนิสสยวาระ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 362

ข้อความในนิสสยวาระ เหมือนข้อความในปัจจยวาระ.

ข้อความในปัจจยวาระ เหมือนข้อความในนิสสยวาระ.

นิสสยวาระ จบ

อรรถกถานิสสยวาระ

พึงทราบวินิจฉัย ในนิสสยวาระ ต่อไป. คำว่า กุสล ธมฺม

นิสฺสาย อาศัยกุศลธรรม อธิบายว่า เพราะทำกุศลธรรมให้เป็นที่อิง

อาศัย โดยอรรถว่าเป็นปัจจัย. คำที่เหลือในนิสสยวาระนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบ

ตามนัยที่กล่าวแล้วในปัจจยวาระนั่นแล. ก็ในอวสานแห่งปัจจัยนี้ คำนี้ว่า

อันอรรถว่าปัจจยะมีความหมายเท่ากับนิสสยะ อันอรรถว่านิสสยะมีความ

หมายเท่ากับปัจจยะ ดังนี้ ท่านกล่าวไว้ เพื่อแสดงความไม่ต่างกันโดย

ใจความแห่งวาระทั้ง ๒ เหล่านี้. จริงอยู่ โดยใจความวาระทั้ง ๒ นี้ ไม่มี

อะไรแตกต่างกัน เหมือนปฏิจจวาระกับสหชาตวาระฉะนั้น. แม้เมื่อเป็น

อย่างนี้ท่านก็กล่าวไว้เพื่อเน้นเนื้อความของกันและกัน. จริงอยู่ ในคำมี

อาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ปัจจัยทั้งหลายแม้ไม่ต้องอาศัยนานักขณิกกัมม-

ปัจจัย ที่กำลังเป็นไปอยู่ก็เกิดขึ้นได้. ก็บรรดาไม้ที่ตั้งพิงกันไว้เป็นต้น

ไม้อัน หนึ่งหาได้เป็นนิสสยปัจจัยแก่ไม้อันหนึ่งไม่ เช่นเดียวกับอุปาทารูป

ก็ไม่เป็นนิสสยปัจจัยแก่มหาภูตรูปฉะนั้น. แม้วาระทั้ง ๒ นี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อกำหนดความเป็นนิสสยปัจจัยโดยปัจจยวาระ และ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 363

เพื่อกำหนดซึ่งความเป็นสหชาตะและปุเรชาตะ ของธรรมที่พระองค์ตรัสว่า

"ปจฺจยา" โดยนิสสยวาระ. อีกประการหนึ่ง วาระทั้งสองนี้พึงทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยเป็นเทศนาวิลาสะ ด้วยอำนาจอัธยาศัยของ

เหล่าสัตว์ผู้จะตรัสรู้โดยประการนั้น และด้วยอำนาจพระปรีชาแตกฉาน

ในนิรุตติปฏิสัมภิทา ดังนี้.

อรรถกถานิสสยวาระ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 364

๕. สังสัฏฐวาระ

อนุโลมนัย

[๓๙๐] ๑. กุศลธรรม เจือกับกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ เจือกับ

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ เจือกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อกุศลธรรม เจือกับอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุ-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ เจือกับ

ขันธ์ ๓, ขันธ์ ๒ เจือกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม เจือกับอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ-

เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากต-

กิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ เจือกับขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ เจือกับขันธ์ ๒

เกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เกิด

ขึ้น, ขันธ์ ๑ เจือกับขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ เจือกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

[๓๙๑] กุศลธรรม เจือกับกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย

...เพราะอธิปติปัจจัย ฯลฯ

ในอธิปติปัจจัย ไม่มีปฏิสนธิขณะ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 365

ทุกปัจจัย คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญ-

มัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ก็เช่นเดียวกันกับปัจจัยที่มี

เหตุปัจจัยเป็นมูล.

[๓๙๒] ๑. กุศลธรรม เจือกับกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะปุเรชาต-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ เจือกับ

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ เจือกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัย

หทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย.

๒. อกุศลธรรม เจือกับอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะปุเร-

ชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น. ขันธ์ ๑ เจือกับ

ขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ เจือกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัย

หทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย.

๓. อัพยากตธรรม เจือกับอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

ปุเรชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ที่เป็นอัพยากตวิบาก อัพยากตกิริยา

เกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ เจือกับขันธ์ ๓ เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ เจือกับขันธ์ ๒ เกิด

ขึ้น, ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะปุเรชาตปัจจัย.

[๓๙๓] ๑. กุศลธรรม เจือกับกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอาเสวน-

ปัจจัย ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 366

๒. อกุศลธรรม เจือกับอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะ

อาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ฯลฯ.

๓. อัพยากตธรรม เจือกับอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

อาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ฯลฯ.

[๓๙๔] ๑. กุศลธรรม เจือกับกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะกัมมปัจจัย

๒. อกุศลธรรม เจือกับอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะกัมม-

ปัจจัย

๓. อัพยากตธรรม เจือกับอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

กัมมปัจจัย ฯลฯ.

๑. อัพยากตธรรม เจือกับอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

วิปากปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก ฯลฯ.

[๓๙๖] กุศลธรรม เจือกับกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอาหารปัจจัย...

บทเหล่านี้ คือ เพราะอินทริยปัจจัย เพราะฌานปัจจัย เพราะ

มัคคปัจจัย เพราะสัมปยุตตปัจจัย ก็เช่นเดียวกันกับเพราะเหตุปัจจัย.

[๓๙๖] ๑. กุศลธรรม เจือกับกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะวิปยุตต-

ปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

คือ ขันธ์ ๓ เจือกันขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ฯลฯ ขันธ์ ๒

เจือกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะ

วิปปยุตตปัจจัย.

๒. อกุศลธรรม เจือกับอกุศลธรรมเกิดขึ้น ฯลฯ...

คือ ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตต-

ปัจจัย.

๓. อัพยากตธรรม เจือกับอกุศลธรรมเกิดขึ้น ฯลฯ...

คือ ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น เพราะวิปปยุตต-

ปัจจัย.

[๓๙๗] กุศลธรรม เจือกับกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอัตถิปัจจัย ฯลฯ

เพราะนัตถิปัจจัย เพราะวิคตปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย ก็เช่นเดียวกัน

กับเพราะเหตุปัจจัย.

การนับวาระในอนุโลมแห่งสังสัฏฐวาระ

[๓๙๘] ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

สหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ

ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 368

ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

เพราะเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ. วาระที่มีเหตุ-

ปัจจัยเป็นมูล พึงแสดงให้พิสดาร.

[๓๙๙] เพราะอาเสวนปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ในอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓

วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

อัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสย-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๓

วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

ฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๓ วาระ.

[๔๐๐] เพราะวิปากปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ในอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๑

วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปุนิสส-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 369

วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

ฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี

๑ วาระ.

อนุโลมนัย ในสังสัฏฐวาระ จบ

อรรถกถาสังสัฏฐวาระ

อรรถกถาอนุโลมนัย

พึงทราบวินิจฉัยใน สังสัฏฐวาระ ต่อไป. คำว่า กุสล ธมฺม

สสฏฺโ เจือกับกุศลธรรม อธิบายว่า เพราะกระทำกุศลธรรมให้เป็น

ปัจจัย โดยอรรถว่าประกอบพร้อมด้วยลักษณะ ซึ่งมีการเกิดขึ้นพร้อมกัน

เป็นต้น. คำว่า กุสล เอก ขนฺธ สสฏฺโ มีคำอธิบายว่า ขันธ์ ๓

ทำกุศลขันธ์หนึ่งให้เป็นสัมปยุตตปัจจัย เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย. ในทุกๆ

บทพึงทราบใจความโดยอุบายนี้. ก็แลในเหตุปัจจัยนี้ ท่านจัดปัจจัยแล้ว

วิสัชนาปัญหาไว้ ๓ วาระ เพราะอรูปธรรมเท่านั้นที่จะมีอรรถว่าสัมปโยคะ

ได้ ๑ ก็ในเหตุปัจจัย ฉันใด แม้ในอารัมมณปัจจัยเป็นต้น ก็ฉันนั้น. ใน

วิปากปัจจัยมีวิสัชนา ๑ วาระเท่านั้น.

บัดนี้ เพื่อแสดงวิสัชนาตามที่ได้ด้วยอำนาจจำนวน พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เหตุยา ตีณิ ในเหตุปัจจัย ๓ วาระ เป็นต้น.

ในวิสัชนาเหล่านั้นท่านจำกัด (กำหนด) ไว้ในติกะทั้งปวงดังนี้คือ กุศล

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 370

กับกุศล อกุศลกับอกุศล อัพยากตะกับอัพยากตะ. ก็ในติกะหนึ่ง ๆ ย่อม

ได้อัพยากกับอัพยากตะเท่านั้น. ในวาระนี้มีการกำหนด ๒ อย่าง คือ

ในปัจจัย ๒๒ มีวิสัชนา ๓ วาระ ในวิปากปัจจัยมีวิสัชนา ๑ วาร ด้วย

ประการฉะนี้. วิสัชนาที่เป็นอนุโลมย่อมไม่มีในปัจฉาชาตปัจจัย เพราะ-

ฉะนั้น ในการเทียบเคียงในทุกัตติกะเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่ง

วิสัชนาเหล่านี้ว่า วิสัชนา ๓ และ ๑ ดังนี้ วิปากปัจจัยในทุกัตติกะได้

ทุกติกะนั้นมีวิสัชนา ๑. พึงทราบการคำนวณอย่างนี้ว่า ตีณิ ๓ ในปัจจัย

ที่เหลือ (พึงทราบการคำนวณอย่างนี้ว่าในปัจจัยที่เหลือมีวิสัชนา ๓ วาระ).

คำที่เหลือในอนุโลมนัยในสังฏฐวาระนี้มีใจความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาอนุโลมนัย

ปัจจนียนัย

[๔๐๑] ๑. อกุศลธรรม เจือกับอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุ-

ปัจจัย

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา สหรคตด้วยอุทธัจจะ เจือกับขันธ์

ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น.

๒. อัพยากตธรรม เจือกับอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เจือกันขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากต-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 371

กิริยา ซึ่งเป็นอเหตุกะเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ เจือกับขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒

เจือกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-

วิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ เจือกับขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ เจือกับขันธ์ ๒

เกิดขึ้น.

[๔๐๒] ๑. กุศลธรรม เจือกับกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอธิปติ-

ปัจจัย...เพราะนปุเรชาตปัจจัย.

คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ฯลฯ

ขันธ์ ๒ เจือกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

[๔๐๓] ๒. อกุศลธรรม เจือกับอกุศลธรรมเกิดขึ้น ฯลฯ

๓. อัพยากตธรรม เจือกับอัพยากตธรรมเกิดขึ้น ฯลฯ

กุศลธรรม เจือกับกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ฯลฯ

กุศลธรรม เจือกับกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนอาเสวนปัจจัย

มี ๓ วาระ.

[๔๐๔] ๑. กุศลธรรม เจือกับกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนกัมม-

ปัจจัย

คือ กุศลเจตนา เจือกับขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศลเกิดขึ้น.

๒. อกุศลธรรม เจือกับอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนกัมม-

ปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

คือ อกุศลเจตนา เจือกับขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม เจือกับอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอัพยากตกิริยา เจือกับขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากต-

กิริยาเกิดขึ้น.

[๔๐๕] ๑. กุศลธรรม เจือกับกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนวิปาก-

ปัจจัย

๒. อกุศลธรรม เจือกับอกุศลธรรมเกิดขึ้น ฯลฯ

๓. อัพยากตธรรม เจือกับอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นวิปากปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตกิริยาเกิดขึ้น.

นกัมมปัจจัย นวิปากปัจจัย ในปัจจนียวิภังค์ในสังสัฏฐวาระ ไม่มี

ปฏิสนธิ คงมีแต่ในปัจจัยทั้งหมดที่เหลือ.

[๔๐๖] ๑. อัพยากตธรรม เจือกับอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นฌานปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยปัญจวิญญาณเกิดขึ้น,

ฯลฯ ขันธ์ ๒ เจือกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

[๔๐๗] ๑. อัพยากตธรรม เจือกับอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นมัคคปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

คือ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากต-

กิริยา ซึ่งเป็นอเหตุกะเกิดขึ้น ฯล ฯ ขันธ์ ๒ เจือกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น. ใน

อเหตุกปฏิสนธิขณะ ฯลฯ.

[๔๐๘] ๑. กุศลธรรม เจือกับกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนวิปปยุตต-

ปัจจัย

คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒

เจือกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๒. อกุศลธรรม เจือกับอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนวิปป-

ยุตตปัจจัย

คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น ฯลฯ

ขันธ์ ๒ เจือกันขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

๓. อัพยากตธรรม เจือกับอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นวิปปยุตตปัจจัย

คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ เจือกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และ

อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น ฯ ลฯ ขันธ์ ๒ เจือกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

นวิปปยุตตปัจจัย ไม่มีปฏิสนธิ.

การนับวาระในปัจจนียะแห่งสังสัฏฐาวาระ

[๔๐๙] ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 374

นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๔๑๐] เพราะนเหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ...ในนปุเร-

ชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวน-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๒

วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๔๑๑] เพราะนเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒

วาระ... ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒

วาระ.

[๔๑๒] เพราะนเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒

วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

[๔๑๓] เพราะนเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉา -

ชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี

๒ วาระ.

[๔๑๔] เพราะนเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉา-

ชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นกัมมปัจจัย ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ

... ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๔๑๕] เพราะนเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย นกัมมปัจจัย นวิปาก-

ปัจจัย นมัคคปัจจัย ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๔๑๖] เพราะนอธิปติปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๔๑๗] เพราะนอธิปติปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒

วาระ... ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

[๔๑๘] เพราะนปุเรชาตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี

๓ วาระ.

[๔๑๙] เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๒

วาระ... ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคค-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๔๒๐] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๒ วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓

วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนุวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคค-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๔๒๑] เพราะนอาเสวนปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี

๒ วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 377

นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๔๒๒] เพราะนกัมมปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๔๒๓] เพราะนกัมมปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๑

วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคค-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๔๒๔] เพราะนวิปากปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๔๒๕] เพราะนวิปากปัจจัย นเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย นปุเรชาต-

ปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ

...ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 378

[๔๒๖] เพราะนฌานปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๔๒๗] เพราะนฌานปัจจัย นเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย นปัจฉา-

ชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๔๒๘] เพราะนมัคคปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๔๒๙] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๔๓๐] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี

๒ วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 379

[๔๓๑] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย นปุเร-

ชาตปัจจัย นปัจฉชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นกัมมปัจจัย นวิปาก-

ปัจจัย ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ.

ปัจจนียนัย จบ

อรรถกถาปัจจนียนัย

ก็กุศลย่อมมีไม่ได้ใน ปัจจนียนัย ฉะนั้น ท่านจึงทำวิสัชนาตั้ง

แต่อกุศลเท่านั้น เป็นต้นไป. วิสัชนานั้นมีเนื้อความกระจ่างแล้วทั้งนั้น.

ก็คำว่า นเหตุยา เทฺว ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ เป็นอาทินั้นใด อัน

ท่านกล่าวไว้เพื่อการกำหนดวิสัชนาในปัจจนียนัย โดยการคำนวณ ในคำนั้น

มีการกำหนด (ปริเฉท) ๓ อย่าง คือ เทฺว ๒, ตีณิ ๓, เอก ๑. บัณฑิต

พึงทราบการคำนวณเพราะการเทียบเคียงปัจจัยในทุกติกะเป็นต้น ด้วย

อำนาจแห่งปริเฉทเหล่านั้น. แม้ในอธิการนี้ก็ย่อมได้เฉพาะวิสัชนาที่มีการ

คำนวณได้น้อยกว่า เพราะเทียบเคียงปัจจัยที่คำนวณได้มากกว่ากับปัจจัย

ที่คำนวณได้น้อยกว่า. ย่อมได้วิสัชนาที่มีจำนวนเท่ากัน เพราะเทียบเคียง

กับปัจจัยที่คำนวณได้เท่ากัน. ก็เพราะในวาระนี้มีอรูปธรรมเท่านั้นเป็น

ปัจจยุบบัน ฉะนั้น ท่านจึงแสดงปัจจัย ๑๐ คือ นเหตุปัจจัย นอธิปติ-

ปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นกัมมปัจจัย

นวิปากปัจจัย นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย และนวิปปยุตตปัจจัย โดยความ

เป็นปัจจนิก. ปัจจัยที่เหลือ ๑๔ ย่อมมีไม่ได้. แม้ในบรรดาปัจจัยที่มีได้

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 380

เหล่านั้น นกัมมปัจจัยและนวิปากปัจจัยย่อมไม่ได้ปัจจยุบบันที่เป็นวิบาก.

คำว่า นเหตุปจฺจยา นอธิปติยา เทฺว เพราะนเหตุปัจจัย ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๒ วาระ คือ วิสัชนา ๒ ที่ได้ในนเหตุปัจจัย. แม้ในหมวด ๒

แห่งวิสัชนาที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. สองบทว่า นกมฺเม เอก ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๑ วาระ คือ อัพยากตะกับอัพยากตะ เพราะจัดอเหตุกกิริยา

เจตนาให้เป็นปัจจยุบบัน. สองบทว่า น วิปาเก เทฺว ความว่า วิสัชนา ๒

ด้วยอำนาจอเหตุกโมหะและอเหตุกกิริยา. สองบทว่า นฌาเน เอก พึง

ทราบว่า เป็นอัพยากตะวิสัชนา ด้วยอำนาจอเหตุกปัญจวิญญาณ. สอง

บทว่า นมคฺเค เอก พึงทราบอัพยากตะวิสัชนาด้วยอำนาจอเหตุกวิบาก

และกิริยา. ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความในการเทียบเคียงปัจจัยทั้งปวงโดย

อุบายนี้แล.

อรรถกถาปัจจนียนัย จบ

อนุโลมปัจจนียนัย

การนับวาระในอนุโลมปัจจนียะแห่งสังสัฏฐวาระ

[๔๓๒] เพราะเหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 381

[๔๓๓] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓

วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๔๓๔] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย ในนปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๔๓๕] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย อนันตร-

ปัจจัย สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย

อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ...ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๔๓๖] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมรปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย

อาเสวนปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนกัมมปัจจัย มี

๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๔๓๗] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย

อาเสวนปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย ฯลฯ อวิคตปัจจัย ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

[๔๓๘] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย

กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๔๓๙] เพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย

กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย ฯลฯ อวิคตปัจจัย ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๑ วาระ...ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๔๔๐] เพราะอารัมมณปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

เพราะอารัมมณปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๔๔๑] เพราะอธิปติปัจจัย ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

เพราะอธิปติปัจจัย เหตุปัจจัย ฯลฯ.

เพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

เพราะอัญญมัญญปัจจัย เพราะนิสสยปัจจัย เพราะอุปนิสสยปัจจัย

พึงให้พิสดารเหมือนอย่าง เพราะอารัมมณปัจจัย เป็นมูล.

[๔๔๒] เพราะปุเรชาตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑

วาระ.

[๔๔๓] เพราะปุเรชาตปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ

... ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๔๔๔] เพราะอาเสวนปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาร...ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๔๔๕] เพราะอาเสวนปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓

วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 384

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๔๔๖] เพราะกัมมปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ... ในอธิปติ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

เพราะกัมมปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓

วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๔๔๗] เพราะวิปากปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ.

เพราะวิปากปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๔๔๘] เพราะอาหารปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 385

เพราะอาหารปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๔๔๙] เพราะอินทริยปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

เพราะอินทริยปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๔๕๐] เพราะฌานปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ... ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปป-

ยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

เพราะฌานปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๔๕๑] เพราะมัคคปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 386

มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

เพราะมัคคปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๔๕๒] เพราะสัมปยุตตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน

นอิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

เพราะสัมปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๔๕๓] เพราะวิปปยุตตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๔๕๔] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓

วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 387

[๔๕๕] เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ.

เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย ฯลฯล ปุเร-

ชาตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ... ในนอาเสวนปัจจัย มี

๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

เพราะวิปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย อาเสวน-

ปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย ฯลฯ อวิคตปัจจัย ในนปัจฉชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหตุปัจจัย ฯลฯ ปุเรชาตปัจจัย กัมม-

ปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย ฯลฯ อวิคตปัจจัย ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๔๕๖] เพราะอัตถิปัจจัย เพราะนัตถิปัจจัย เพราะวิคตปัจจัย

เพราะอวิคตปัจจัย พึงให้พิสดารเหมือนอย่างปัจจัยที่มีอารัมมณปัจจัย

เป็นมูล.

อนุโลมปัจจนียนัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 388

อรรถกถาอนุโลมปัจจนียนัย

เฉพาะปัจจัย ๑๐ ปัจจัย มีนเหตุปัจจัย เป็นต้น ที่กล่าวไว้ในหนหลัง

ได้โดยเป็นปัจจนียะ ในอนุโลมปัจจนียนัยที่เหลือไม่ได้. แม้ในบรรดา

ปัจจัยที่มีได้ ซึ่งตั้งอยู่โดยอนุโลม ในเหตุปัจจัยแม้เหล่านั้น ฌานปัจจัย

และมัคคปัจจัยย่อมได้โดยเป็นปัจจนียะ. คำทั้งปวง พึงทราบด้วยอำนาจ

แห่งคำที่กล่าวแล้วในหนหลัง.

อรรถกถาอนุโลมปัจจนียนัย จบ

ปัจจนียนุโลมนัย

การนับวาระในปัจจนียานุโลมแห่งสังสัฏฐวาระ

[๔๕๗] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน

อนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี

๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ

ในอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๒ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๒ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

[๔๕๘] เพราะนเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒

วาระ... ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

ในทุกปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๔๕๙] เพราะนเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตร-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย

มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ

ในอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๒ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๒ วาระ.

[๔๖๐] เพราะเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉา-

ชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นกัมมปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑

วาระ ... ในอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี

๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 390

สัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ในทุกปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๔๖๑] เพราะนเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉา-

ชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นกัมมปัจจัย นวิปากปัจจัย นมัคคปัจจัย

นวิปปยุตตปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ... ในอนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑

วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑

วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

(เพราะนวิปากปัจจัย เพราะนมัคคปัจจัย นวิปปยุตตปัจจัย ก็

เช่นเดียวกันกับ นกัมมปัจจัย).

[๔๖๒] เพราะนอธิปติปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ...ในอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ...ฯลฯ ... ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

เพราะนอธิปติปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒

วาระ ...ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

วาระซึ่งมี นอธิปติปัจจัยเป็นมูล พึงแจกอย่างเดียวกันกับวาระซึ่ง

มี นเหตุปัจจัยเป็นมูล โดยยึด นเหตุปัจจัย เป็นหลัก.

๑. สงสัยบาลีเกิน.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 391

[๔๖๓] เพราะนปุเรชาตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ในอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ.

พึงให้พิสดารต่อไปทุก ๆ บท. ในบทที่ไม่ได้เขียนไว้ มี ๓ วาระ

เช่นนี้.

ในวาระซึ่งมีนปุเรชาตปัจจัยเป็นมูล พึงกระทำปัญหาในอาเสวน-

ปัจจัย และในมัคคปัจจัย อย่างละ ๑ ปัญหา โดยยึดเอานเหตุปัจจัยเป็น

หลัก ส่วนที่เหลือเหมือนกับนเหตุปัจจัย.

เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย บริบูรณ์เหมือน เพราะนอธิปติปัจจัย.

[๔๖๔] เพราะนกัมมปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓

วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

อัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสย-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ โนอาเสวนปัจจัย มี

๓ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๓

วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๔๖๕] เพราะนกัมมปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑

วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 392

สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี

๑ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑

วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๔๖๖] เพราะนกัมมปัจจัย นเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย นปุเรชาต-

ปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

บทที่เหลือ พึงให้พิสดารโดยอุบายนี้.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

[๔๖๗] เพราะนวิปากปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ พึง

แจกต่อไปให้บริบูรณ์. ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 393

เพราะนวิปากปัจจัย นเหุตปัจจัย นอธิปติปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย

ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

สมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี

๒ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

อาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย

มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ

ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี

๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

วาระซึ่งมี นวิปากปัจจัยเป็นมูล มีข้อแตกต่างกันเพียงเท่านี้ ส่วน

ที่เหลือ เหมือนกันกับวาระซึ่งมี นเหตุปัจจัยเป็นมูล.

[๔๖๘] เพราะนฌานปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

อนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี

๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๔๖๙] เพราะนฌานปัจจัย นเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย นปัจฉา-

ชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นมัคคปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 394

วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑

วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี

๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี

๑ วาระ.

[๔๗๐] เพราะนมัคคปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

อนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑

วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๔๗๑] เพราะนมัคคปัจจัย นเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย นปุเรชาต-

ปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญ-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 395

มัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปากปัจจัย ที ๑ วาระ ใน

อาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑

วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิคต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

เพราะนมัคคปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ แสดงโดยย่อ.

[๔๗๒] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในอันนตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี

๓ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมม-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓

วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

มัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๔๗๓] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี

๒ วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ

ในสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 396

๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

อินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๒ วาระ.

[๔๗๔] แม้วาระ ที่มีนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัยเป็นมูล เป็นอย่าง

เดียวกันกับวาระที่มีนเหตุปัจจัยเป็นมูล.

นกัมมปัจจัย นวิปากปัจจัย นมัคคปัจจัย

เมื่อเพิ่มมูลทั้ง ๓ นี้ ก็เป็นอย่างเดียวกัน.

เพราะนวิปปยุตตปัจจัย ฯลฯ นมัคคปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ...ในอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี

๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

สัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ปัจจนียานุโลมนัย จบ

สังสัฏฐวาระ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 397

อรรถกถาปัจจนียานุโลมนัย

อเหตุกโมหะเท่านั้น ย่อมได้ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย ในเหตุ-

ปัจจยุบบันในปัจจนียานุโลม. ธรรมเหลือย่อมไม่ได้. นกัมมปัจจัย

นเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย และนปุเรชาตปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบ

ว่า ย่อมได้อเหตุกจิต ๘ ในนฌานปัจจัย. คำว่า อารมฺเณ เอก ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ คือ อัพยากตะกับอัพยากตะ ด้วยอำนาจ

อเหตุกกิริยเจตนาในอรูป. วิสัชนาใดย่อมได้และไม่ได้โดยอุบายนี้ บัณฑิต

พึงทราบวิธีคำนวณในปัจจัยทั้งปวงด้วยอำนาจวิสัชนานั้น.

อรรถกถาปัจจนียานุโลมนัย จบ

วรรณนาแห่งสังสัฏฐวาระ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 398

๖. สัมปยุตตวาระ

อนุโลมนัย

[๔๗๕] ๑. กุศลธรรม ประกอบกับกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะ

เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ ประกอบกับขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ประ-

กอบกับขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ ประกอบกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

[๔๗๖] ๒. อกุศลธรรม ประกอบกับอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะ

เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ ประกอบกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑

ประกอบกับขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ ประกอบกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

[๔๗๗] ๓. อัพยากตธรรม ประกอบกับอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ ๓ ประกอบกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และ

อัพยากตกิริยาเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ ประกอบกับขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒

ประกอบกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ ประกอบกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก

เกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ ประกอบกับขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ ประกอบกับ

ขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 399

การนับวาระในอนุโลมแห่งสัมปยุตตวาระ

[๔๗๘] ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในสมนันตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมม-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓

วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

มัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

อนุโลมนัย จบ

ปัจจนียนัย

[๒๗๙] ๑. อกุศลธรรม ประกอบกับอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะ

นเหตุปัจจัย

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ประกอบ

กับขันธ์ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น.

[๔๘๐] ๒. อัพยากตธรรม ประกอบกับอัพยากตธรรมเกิดขึ้น

เพราะนเหตุปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 400

คือ ขันธ์ ๓ ประกอบกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากต-

กิริยา ซึ่งเป็นอเหตุกะเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ ประกอบกับขันธ์ ๓ เกิดขึ้น,

ขันธ์ ๒ ประกอบกับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น.

ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ ประกอบกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากต-

วิบากเกิดขึ้น, ขันธ์ ๑ ประกอบกับขันธ์ ๓ เกิดขึ้น, ขันธ์ ๒ ประกอบ

กับขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ฯลฯ.

การนับวาระในปัจจนียะแห่งสัมปยุตตวาระ

[๔๘๑] ในนเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

ปัจจนียนัย จบ

อนุโลมปัจจนียนัย

การนับวาระในอนุโลมปัจจนียะแห่งสัมปยุตตวาระ

[๔๘๒] เพราะเหตุปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 401

นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

อนุโลมปัจจนียนัย จบ

การนับวาระในปัจจนียนุโลมแห่งสัมปยุตตวาระ

[๔๘๓] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ... ใน

อนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี

๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ

ในอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๒ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๒ วาระ.

ปัจจนียานุโลมนัย จบ

สัมปยุตตวาระ จบ

ข้อความในสัมปยุตตวาระ เหมือนข้อความในสังสัฏฐาวาระ.

ข้อความในสังสัฏฐวาระ เหมือนข้อความในสัมปยุตตวาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 402

อรรถกถาสัมปยุตตวาระ

พึงทราบวินิจฉัยใน สัมปยุตตวาระ ต่อไป:-

คำว่า กุสล ธมฺม สมฺปยุตฺโต ประกอบกับกุศลธรรม ความว่า

ทำกุศลธรรมให้เป็นสัมปยุตตปัจจัย. คำที่เหลือในวรรณนานี้ พึงทราบ

ตามนัยที่กล่าวไว้ในสังสัฏฐวาระ. ส่วนในที่สุดของสัมปยุตตวาระนี้ คำว่า

อรรถว่า สังสัฏฐะ เจือ มีความหมายเท่ากับ สัมปยุตตะ ประกอบ

อรรถว่า สัมปยุตตะ ประกอบ มีความหมายเท่ากับ สังสัฏฐะ เจือ ดังนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดงความไม่ต่างกัน โดยใจความแห่งวาระ

ทั้งสองนี้. จริงอยู่ เมื่อว่าโดยใจความ วาระทั้งสองนี้ ไม่มีข้อแตกต่าง

กัน เหมือน ปฏิจจะ ศัพท์ กับ สหชาตะ และ ปัจจยะ กับ นิสสยะ

ศัพท์ฉะนั้น ถึงอย่างนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อกำหนดความของ

กันและกัน. จริงอยู่ ในคำมีอาทิว่า ม้าทั้งหลายอันเขาเอาเข้าคู่กันเทียมเข้า

ด้วยกัน ดังนี้. แม้สิ่งที่ไม่ได้ประกอบกัน ท่านก็เรียกว่า สังสัฏฐะได้.

ในคำว่า วิมังสานั้นใด สหรคตแล้วด้วยโกสัชชะ สัมปยุตแล้วด้วย

โกสัชชะ ดังนี้เป็นต้น. แม้สิ่งที่ระคนปนกันก็มาเป็นสัมปยุตได้.

วาระทั้งสองนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อให้เน้นหนักถึงภาวะที่สัมป-

ยุตตปัจจัย ซึ่งมีลักษณะเกิดในคราวเดียวกันเป็นต้น เป็นสังสัฏฐวาระ

และเพื่อให้เน้นหนักถึงสังสัฏฐธรรม ซึ่งมีการเกิดในคราวเดียวกันเป็นต้น

เป็นลักษณะ เป็นสัมปยุตตปัจจัย โดยสัมปยุตตวาระ. อีกอย่างหนึ่ง

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 403

วาระทั้งสองนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยเป็น

เทศนาวิลาสะ ตามอำนาจอัธยาศัยของเหล่าสัตว์ผู้จะตรัสรู้โดยประการนั้น

และด้วยอำนาจพระปรีชาอันแตกฉานในนิรุตติปฏิสัมภิทา.

อรรถกถาสัมปยุตตวาระ จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 404

๗. ปัญหาวาระ

อนุโลมนัย

๑. เหตุปัจจัย

[๔๘๔] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

เหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย

ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วย

อำนาของเหตุปัจจัย.

๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม

ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-

สมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

[๔๘๕] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

เหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย

ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 405

๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วย

อำนาจชองเหตุปัจจัย.

๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากต-

ธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ

จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

[๔๘๖] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย

อำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็น

ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่

สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

อรรถกถาปัญหาวารวิภังค์

ก็ในวาระ ๖ เหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบปกิณกะดังนี้ว่า ปัจจัยบาง

อย่างไม่ตั้งอยู่โดยเป็นอนุโลมเลย ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิกเท่านั้นก็มี, บาง

อย่างไม่ทั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิกเลย ตั้งอยู่โดยเป็นอนุโลมเท่านั้นก็มี, บาง

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 406

อย่างตั้งอยู่ทั้งโดยเป็นอนุโลมและเป็นปัจจนิกไม่แน่นอนทั้งสองฝ่าย. ก็ใน

บรรดาปกิณกะเหล่านั้น ปัญหาที่ ๑ พึงทราบด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัย

ปัญหาที่ ๒ พึงทราบด้วยอำนาจจตุกกะปัฏฐาน ปัญหาที่ ๓ พึงทราบ

ด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือที่เหมาะสมกัน.

อรรถกถาเหตุปัจจัย

พึงทราบวินิจฉัยใน ปัญหาวาระ ต่อไป. คำว่า กุศลธรรมเป็น

ปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย ดังนี้เป็นต้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อแสดงวิสัชนาปุจฉาที่พึงยกขึ้นในกุศลติกะ ด้วย

อำนาจปัจจัยที่ได้มีอยู่ มีอาทิว่า "กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม

ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัยพึงมีหรือ" ดังนี้ อันธรรมดากุศลธรรมนี้

เมื่อเกิดขึ้นเอง ย่อมเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ๒๒ ที่เหลือ เว้นปัจฉาชาตปัจจัย

และวิปากปัจจัย. กุศลธรรมเมื่อจะเป็นปัจจัยแก่กุศล ก็ย่อมเป็นปัจจัยโดย

ปัจจัย ๒๐ ที่เหลือเว้นปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย วิปากปัจจัย และ

วิปปยุตตปัจจัย เพราะฉะนั้น กุศลธรรมย่อมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมด้วย

ปัจจัยเหล่าใด เพื่อจะแสดงปัจจัยเหล่านั้นตามลำดับ พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทรงเริ่มคำว่า เหตุปจฺจเยน เป็นต้น.

พึงทราบอธิบายในคำนั้นต่อไป เทศนานี้อันใดที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าไม่ตรัสว่า เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุต เหมือนใน

ปัจจยวิภังควาระ (แต่) ตรัสว่าเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตตดังนี้

ในการที่พระพุทธองค์ตรัสเทศนาอย่างนั้น มีประโยชน์ในการที่ทรงกระทำ

อย่างนั้น. จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ธมฺมาน ดังนี้ เพื่อจะแสดง

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 407

อรรถว่า ว่างเปล่าในปัจจยวิภังควาระนั้น ธรรมทั้งหลายเมื่อจะเกิดแต่ปัจจัย

ย่อมเกิดโดยเป็นกองธรรม หาเกิดขึ้นโดยเป็นสภาพโดดเดี่ยวไม่ เพราะ-

ฉะนั้น เพื่อแสดงอรรถว่า เป็นกองในปัญหาวารวิภังค์นี้ พระองค์จึงตรัสว่า

ขนฺธาน. อีกประการหนึ่ง การแสดงปัจจยุบบัน พระองค์ทรงยกขึ้นแล้ว

ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ในปฏิจจวาระเป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงทรงยกขึ้นแสดง

แม้ในปัญหาวารวิภังค์นี้อีก โดยลำดับนั้นทีเดียว. ถามว่า ก็เพราะเหตุไรใน

วาระเหล่านี้ จึงทรงยกขึ้นเพื่อแสดงอย่างนั้น. แก้ว่า เพื่อแสดงการจำแนก

โดยไม่ปะปนกัน จริงอยู่ เมื่อพระองค์ตรัสโดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมที่เหลือ

เกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมอันหนึ่ง ดังนี้ ผู้ศึกษาก็ไม่สามารถจะทราบปัจจัย

และปัจจยุบบันโดยไม่ปะปนกันได้ว่า ธรรมโน้นเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรม

ชื่อโน้น เมื่อเป็นอย่างนั้น อุทเทสกับนิทเทสก็จะไม่มีข้อแปลกกัน เพราะ-

ฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระพุทธองค์ทรงแยกเทศนาขึ้นอย่างนี้ ก็เพื่อ

แสดงวิภาคโดยไม่ปะปนกัน.

คำว่า จิตฺตสมุฏฺาน นี้ ตรัสเพื่อแสดงกุศลว่าเป็นปัจจัยแก่

อัพยากตะโดยเหตุปัจจัย. แต่ในปัจจัยวิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง

ทำวิภาคด้วยอำนาจกุศลเป็นต้น ไม่ตรัสว่ามีจิตเป็นสมุฏฐาน แต่ตรัสว่ามี

เหตุนั้น เป็นสมุฏฐาน เพื่อแสดงรูปที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งเหตุทั้งหมด

โดยสามัญ เพราะฉะนั้น รูปที่มีอัพยากตเหตุเป็นสมุฏฐาน ในปัจจัย-

วิภังค์นั้นจึงรวมไปถึงกัมมชรูปในปฏิสนธิด้วย. ผู้ศึกษาพึงทราบใจความ

ในวิสัชนาที่เหลือซึ่งเป็นแบบเดียวกันนี้.

อรรถกถาเหตุปัจจัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 408

๒. อารัมมณปัจจัย

[๔๘๗] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของอารัมมณปัจจัย

คือ ๑. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล การทำอุโบสถกรรม แล้ว

พิจารณา ทาน, ศีล, อุโบสถกรรมนั้น.

๒. บุคคลพิจารณากุศลทั้งหลาย ที่สั่งสมไว้ดีแล้วในกาลก่อน.

๓. บุคคลออกจากฌาน แล้วพิจารณาฌาน.

๔. พระเสขบุคคล พิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน.

๕. พระเสขบุคคล ออกจากมรรค พิจารณามรรค.

๖. พระเสขบุคคล หรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งซึ่ง

กุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

๗. บุคคลรู้จิตของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยกุศลจิต ด้วย

เจโตปริยญาณ.

๘. อากาสาณัญจายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตน-

กุศล ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

๙. อากาสณัญจายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญาย-

ตนกุศล ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

๑๐. กุศลขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริย-

ญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ และอนาคตังสญาณ

ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 409

[๔๘๘] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของอารัมมณปัจจัย

คือ ๑. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม แล้ว

ยินดีเพลิดเพลินซึ่งกุศลนั้น เพราะปรารภกุศลนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา

อุทธัจจะ และโทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

๒. บุคคลยินดีเพลิดเพลิน ซึ่งกุศลทั้งหลายที่ตนสั่งสมไว้แล้ว

ในกาลก่อน เพราะปรารภกุศลนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ

และโทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

๓. บุคคลออกจากฌานแล้ว ยินดีเพลิดเพลินซึ่งฌาน เพราะ

ปรารภฌานนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ ย่อเกิดขึ้น, สำหรับ

ท่านผู้มีวิปฏิสาร เมื่อฌานเสื่อมแล้ว โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

[๔๘๙] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของอารัมมณปัจจัย

คือ ๑. พระอรหันต์ออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค, พิจารณา

ถึงกรรมที่สั่งสมไว้ดีแล้วในกาลก่อน, พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งกุศล โดยความ

เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, รู้ซึ่งจิตของท่านผู้มีความพร้อม

เพรียงด้วยกุศลจิต ด้วยเจโตปริยญาณ.

๒. พระเสขบุคคล หรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งซึ่ง

กุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อกุศลดับไป

แล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 410

๓. บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งกุศล เพราะปรารภกุศลนั้น ราคะ

ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส ย่อมเกิดขึ้น เมื่ออกุศลดับไปแล้ว

ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.

๔. อากาสานัญจายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตน-

วิบาก และกิริยา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

๕. อากิญจัญญายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญาย-

ตนวิบาก และกิริยา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

๖. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนะ

ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[๔๙๐] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของอารัมมณปัจจัย

คือ ๑. บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งราคะ เพราะปรารภราคะนั้น

ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

๒. บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งทิฏฐิ เพราะปรารภทิฏฐินั้น

ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

๓. เพราะปรารภวิจิกิจฉา วิจิกิจฉา ทิฏฐิ อุทธัจจะ และ

โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

๔. เพราะปรารภอุทธัจจะ อุทธัจจะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ

โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

๕. เพราะปรารภโทมนัส โทมนัส ทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ

อุทธัจจะ ย่อมเกิดขึ้น.

[๔๙๑] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

อารัมมณปัจจัย

คือ ๑. พระเสขบุคคลพิจารณากิเลสที่ละแล้ว, พิจารณากิเลสที่ข่ม

แล้ว, ย่อมรู้กิเลสที่เคยเกิดมาแล้วในกาลก่อน.

๒. พระเสขบุคคลหรือปุถุชนก็ตาม เห็นแจ้งอกุศล โดยความ

เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, ย่อมรู้จิตของบุคคลผู้มีความ

พร้อมเพรียงด้วยอกุศลจิต ด้วยเจโตปริยญาณ.

๓. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนะ

ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[๔๙๒] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของอารัมมณปัจจัย

คือ ๑. พระอรหันต์พิจารณากิเลสที่ละแล้ว, รู้กิเลสที่เคยเกิดมา

แล้วในกาลก่อน ๆ, ย่อมพิจารณาเห็นแจ้งอกุศลธรรม โดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, รู้จิตของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย

อกุศลจิต ด้วยเจโตปริยญาณ.

๒. พระเสขะหรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งอกุศล โดย

ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่ออกุศลดับไปแล้ว

ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบากย่อมเกิดขึ้น.

๑. บาลีเกิน เพราะอาวัชชะเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 412

๓. บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งอกุศล เพราะปรารภอกุศลนั้น

ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัส ย่อมเกิดขึ้น เมื่ออกุศลดับ

ไปแล้ว ตทารัมมณจิตอันเป็นวิบาก ย่อมเกิดขึ้น.

๔. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยาณ

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนะ

ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[๔๙๓] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย

อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ ๑. พระอรหันต์พิจารณาผลจิต พิจารณานิพพาน.

๒. นิพพาน เป็นปัจจัยแก่ผลจิต และแก่อาวัชชนจิต ด้วย

อำนาจของอารัมมปัจจัย.

๓. พระอรหันต์ย่อมเห็นแจ้งซึ่งจักขุโดยความเป็นของไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นแจ้งซึ่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง

กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก

และอัพยากตกิริยา โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

๔. พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ

รู้จิตของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยา-

กตกิริยา ด้วยเจโตปริยญาณ.

๕. อากาสานัญจายตนกิริยา เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตน-

กิริยา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 413

๖. อากิญจัญญาตนกิริยา เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญาย-

ตนกิริยา ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

๗. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของ

อารัมมณปัจจัย.

๘. สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ.

๙. คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ.

๑๐. รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ.

๑๑. โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจ

ของอารัมมณปัจจัย.

๑๒. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ

เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนะ

ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[๔๙๔] ๘. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของอารัมมณปัจจัย

คือ ๑. พระเสขะทั้งหลายพิจารณาผลจิต พิจารณานิพพาน.

๒. นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และมรรค ด้วย

อำนาจของอารัมมณปัจจัย.

๓. พระเสขะหรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งจักขุ โดย

ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งโสตะ

ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 414

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา โดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

๔. พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ

รู้จิตของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยา-

กตกิริยา ด้วยเจโตปริยญาณ.

๕. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ

เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และอนาคตังสญาณ ด้วยอำนาจ

ของอารัมมณปัจจัย.

[๔๙๕] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของอารัมมณปัจจัย

คือ ๑. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลินซึ่งจักษุ เพราะปรารภจักษุนั้น

ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

๒. บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากต-

วิบากและอัพยากตกิริยา เพราะปรารภสิ่งนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุท-

ธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

อรรถกถาอารัมมณปัจจัย

สองบทว่า ทาน ทตฺวา คือ สละของที่ควรให้ อีกอย่างหนึ่งได้แก่

เจตนาเป็นเหตุให้ บทว่า ทตฺวา คือ ชำระเจตนาให้ผ่องแผ้ว คือให้

หมดจด.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 415

สองบทว่า สีล สมาพยิตฺวา คือ สมาทานนิจศีล ด้วยอำนาจศีล

มีองค์ ๕ หรือองค์ ๑๐ เป็นต้น สมาทานวิรัติทรงแสดงแล้วด้วยคำนี้

ส่วนสัมปัตตวิรัติและสมุจเฉทวิรัติไม่ได้ตรัสไว้ เพราะไม่ได้ปรากฏว่าเป็น

ศีลในโลก ถึงไม่ได้ตรัสไว้ก็จริง แต่ก็เป็นอารัมมณปัจจัยได้เหมือนกัน

บรรดาวิรัติทั้งสองนั้น สมุจเฉทวิรัติเป็นอารมณ์แห่งกุศลของพระเสขะ

จำพวกเดียว หาเป็นแก่บุคคลอื่นไม่.

สองบทว่า อุโปสถกมฺม กตฺวา คือ ทำอุโบสถกิริยา ซึ่งมีองค์

แปดในวันอุโบสถ อันท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ไม่พึงฆ่าสัตว์ และไม่พึง

ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้เป็นต้น.

สองบทว่า ต ปจฺจเวกฺขิติ ความว่า พระเสขะหรือปุถุชนก็ตาม

ย่อมพิจารณากุศลนั้น อีกอย่างหนึ่ง แม้พระอรหันต์ก็ย่อมพิจารณา. จริงอยู่

สำหรับพระอรหันต์กุศลที่ทำไว้ก่อนก็ชื่อว่าเป็นกุศล ก็ท่านย่อมพิจารณา

ด้วยจิตใด จิตนั้นชื่อว่ากิริยาจิต เพราะฉะนั้น กิริยาจิตนั้น จึงไม่ได้ใน

อธิการนี้ว่า กุสโล ธมฺโม กุสลสฺส ธมฺมสฺส ดังนี้. จริงอยู่ กรรมที่ทำ

ใกล้ ๆ กัน ตรัสไว้ว่า ให้แล้ว สมาทานแล้ว กระทำแล้ว ในคำว่า

ปุพฺเพ สุจิณฺณานิ ดังนี้. กรรมเหล่านี้พึงทราบว่า ไม่ได้ทำใกล้ ๆ กัน.

อีกอย่างหนึ่ง คำนี้ตรัสไว้ว่า เพื่อแสดงกามาวจรกุศลที่เกลือด้วยบุญกิริยา

มีทานเป็นต้น.

คำว่า ฌาน วุฏหิตฺวา แปลว่า ออกแล้วจากฌาน อีกอย่างหนึ่ง

นี้แหละเป็นบาลี. คำว่า เสกฺขา โคตฺรภุ ตรัสหมายถึงพระโสดาบัน

จริงอยู่ พระโสดาบันนั้นย่อมพิจารณาโคตรภู ส่วนคำว่า โวทาน นี้

ตรัสหมายถึง พระสกทาคามี และพระอนาคามี เพราะว่าจิตของท่าน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 416

เหล่านั้นชื่อว่าเป็นธรรมชาติผ่องแผ้ว. บทว่า เสกฺขา คือ พระโสดาบัน

พระสกทาคามี และพระอนาคามี.

สองบทว่า มคฺคา วุฏฺหิตฺวา คือ ออกจากมรรคที่ตนได้แล้วด้วย

อำนาจการก้าวล่วงภวังค์แห่งมรรคและผล ส่วนการออกจากมรรคล้วน ๆ

นั้นแล้วพิจารณา ย่อมไม่มี. การเข้าถึงวิปัสสนา เป็นกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓

เท่านั้น. ผู้ศึกษาพึงทราบ ในคำนี้ว่า กุสล อนิจฺจโต. ก็กุศลขั้นวิปัสสนา

เป็นกามาวจรอย่างเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงรูปาวจรกุศล

ด้วยคำนี้ว่า เจโตปริยาเณน. แสดงเฉพาะอรูปาวจรกุศลที่กำลังเกิดขึ้น

ด้วยอำนาจเป็นอารมณ์แห่งอรูปาวจรกุศล ด้วยคำมีอาทิว่า อากาสานญฺ-

จายตน. ทรงแสดงด้วยอำนาจธรรมเท่านั้น ไม่เกี่ยวถึงบุคคล ด้วยคำว่า

กุสลา ขนฺธา อิทฺธิวิธาณสฺส เป็นต้น เพราะเหตุนั้นเอง เจโตปริยาย-

ญาณ แม้ท่านจะถือเอาในหนหลังแล้ว ก็ยังตรัสซ้ำไว้ในอธิการนี้อีก.

บทว่า อสฺสาเทติ คือ เสวยและยินดีด้วยจิตอันสัมปยุตด้วยโลภะ

ซึ่งสหรคตด้วยโสมนัส. บทว่า อภินนฺทติ ได้แก่ ยินดี คือเป็นผู้หรรษา

ร่าเริง ด้วยอำนาจตัณหามีปีติ หรือว่าย่อมยินดียิ่งด้วยอำนาจความเพลินใจ

ในธรรมที่ทนเห็นแล้ว.

สองบทว่า ราโค อุปฺปชฺชติ ความว่า ราคะย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล

ผู้ยินดีอยู่ คำนี้ตรัสหมายถึงจิตที่สหรคตด้วยโลภะทั้ง ๘ ดวง.

สองบทว่า ทิฏฺิ อุปฺปชฺชติ ความว่า ทิฏฐิที่สัมปยุตด้วยจิต ๔

ดวง ด้วยอำนาจความเห็นผิดเป็นต้น ว่าตนเป็นของมีในคนดังนี้ ย่อม

เกิดแก่บุคคลผู้ยินดียิ่ง. ก็ในกรณีนี้วิจิกิจฉาย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ไม่มีการ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 417

ตัดสินใจ (สงสัย). อุทธัจจะย่อมเกิดแก่ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน โทสะย่อมเกิดแก่

ผู้เดือดร้อนอยู่ว่า กรรมดี เรายังไม่ได้ทำเลยเป็นต้น.

สองบทว่า ต อารพฺภ ความว่า ทำกรรมเหล่านั้นซึ่งตนสั่งสมไว้

แล้วในกาลก่อนให้เป็นอารมณ์. จริงอยู่ ศัพท์นี้อาเทสพหูพจน์เป็นเอก

พจน์ อีกอย่างหนึ่ง คำนี้เป็นเอกพจน์ด้วยอำนาจชาติ.

คำว่า อรหา มคฺคา วุฏฺหิตฺวา ความว่า ออกแล้วด้วยอำนาจการ

ก้าวล่วงภวังค์ ในลำดับแห่งผลในมัคควิถี ก็ปัจจเวกขณะจิตเป็นกิริยา-

พยากตะของพระอรหันต์นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงอารัมมณ-

ปัจจัยแห่งกิริยาพยากตะอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงอารัมมณปัจจัยแห่ง

วิปากาพยากตะอีก จึงตรัส คำว่า เสกฺขา วา เป็นอาทิ. สองบทว่า กุสเล

นิรุทฺเธ คือ เมื่อวิปัสสนาชวนวิถีขาดไป. บทว่า วิปาโก ได้แก่

กามาวจรวิบาก. บทว่า ตทารมฺมณตา คือ โดยเป็นตทารัมมณะ อธิบายว่า

จิตนั้น (ตทารมัมณจิต ) ทำกุศลที่เห็นแจ้งแล้วซึ่งเป็นอารมณ์แห่งกุศล-

ชวนะให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. ก็แลจะเกิดด้วยอำนาจตทารัมมณะอย่างเดียว

เท่านั้นก็หาไม่ ยังเกิดด้วยอำนาจปฏิสนธิภวังค์และจุติด้วย. จริงอยู่ วิบาก

ย่อมมีกุศลเป็นอารมณ์ได้เหมือนกัน สำหรับบุคคลผู้ทำกรรมให้เป็นอารมณ์

แล้วถือปฏิสนธิ. แต่วิบากนั้นไม่ได้แสดงไว้ในที่นี้เพราะเข้าใจยาก. คำว่า

กุสล อสฺสาเทติ เป็นต้น ตรัสไว้เพื่อแสดงวิบากที่มีกุศลเป็นอารมณ์

ในที่สุดแห่งอกุศลชวนะ.

คำนี้ว่า วิญฺาณญฺจายตนวิปากสฺส ถึงจะเป็นธรรมที่เข้าใจยาก

พระองค์ก็ตรัสไว้ด้วยอำนาจวิบากที่มีได้ เพรามหัคคตวิบากไม่เกิดโดย

ความเป็นตทารัมมณะ. บทว่า กิริยสฺส คือ อากาสานัญจาตนกุศล

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 418

เป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัย แก่กิริยาจิต ของบุคคลผู้บรรลุพระอรหัต

แล้วเข้าสมาบัติโดยปฏิโลม หรือโดยมีฌานหนึ่งคั่น ในอารมณ์ที่เป็น

อากาสานัญจายตนะ ที่ยังไม่เคยเข้า.

บทว่า เจโตปริยาณสฺส เป็นต้น พึงเชื่อมกับอาวัชชนะข้างหน้า

ก็ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ

แห่งจิตเหล่านั้น (อภิญญาจิต) โดยอารัมมณปัจจัย. บทว่า ราค คือ

ราคะของตนหรือของคนอื่น แค่ในอธิการนี้วรรณนาปรากฏแล้ว ด้วย

อำนาจแห่งราคะของตน. คำว่า อสฺสาเทติ เป็นต้น มีอรรถดังกล่าวไว้

แล้ว แต่ในธรรมมีวิจิกิจฉาเป็นต้น ไม่ตรัสว่า อสฺสาเทติ (ย่อมยินดี)

เพราะไม่มีภาวะที่จะน่ายินดี ก็ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นในฐานะนี้. ทิฏฐิพระผู้มี-

พระภาคเจ้าไม่ตรัสไว้ก่อนตามลำดับที่มาถึง เพราะบทว่า อสฺสาเทติ ตก

ไป ทิฏฐินั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมนั้น ๆ ในบรรดาธรรมมี

วิจิกิจฉาเป็นต้น ซึ่งเป็นสภาคกันก่อนแล้วตรัสไว้ในลำดับแห่งธรรม

นั้น ๆ. ก็บรรดาธรรมมีราคะเป็นต้นเหล่านี้ พึงทราบการเกิดขึ้นแห่ง

โทมนัส ด้วยอำนาจความอดกลั้นไม่ได้ว่า บาปธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นทำไม

หรือด้วยอำนาจวิปฏิสารมีอาทิว่า เราทำความชั่วไว้ เราทำกรรมหยาบช้า

ไว้.

สองบทว่า จกฺขุ อนิจฺจโต ความว่า รูป ๑๑ คือ โอฬาริกายตนะ

๑๐ และวัตถุรูป ๑ ท่านถือเอาแล้ว เพราะปรากฏตามลำดับวิปัสสนา.

รูปายตนะเป็นต้น ท่านก็ถือเอาอีก เพราะเป็นอารมณ์แห่งจักขุวิญญาณ

เป็นต้น. ก็เพราะเทศนานี้ตรัสด้วยอำนาจแห่งวิญญาณ ไม่ได้ตรัสด้วย

อำนาจธาตุ ฉะนั้นจึงไม่ถือเอามโนธาตุด้วย. พึงทราบอารมณ์ที่ถือเอา

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 419

แล้ว และยังไม่ได้ถือเอาในที่ทั้งปวงอย่างนี้. คำว่า ย่อมพิจารณาผล

ย่อมพิจารณานิพพาน ตรัสไว้เพื่อแสดงอารมณ์แห่งกุศลที่เป็นตัว

พิจารณา.

อรรถกถาอารัมมณปัจจัย จบ

๓. อธิปติปัจจัย

[๔๙๖] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

อธิปติปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาติธิปติ

ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

๑. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม แล้วกระทำ

กุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.

๒. บุคคลกระทำกุศลทั้งหลายที่สั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ให้เป็น

อารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.

๓. บุคคลออกจากฌานแล้ว การทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่าง

หนักแน่น แล้วพิจารณา.

๔. พระเสขบุคคลทั้งหลาย การทำโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่าง

หนักแน่น แล้วพิจารณา การทำโวทานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น

แล้วพิจารณา.

๕. พระเสขบุคคลทั้งหลาย ออกจากมรรคแล้ว กระทำมรรคให้

เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 420

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

กุศลที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ

ของอธิปติปัจจัย.

[๔๙๗] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

อธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

๑. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว ย่อมยินดี

เพลิดเพลินเพราะกระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำ

กุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

๒. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลินซึ่งกุศลทั้งหลายที่สั่งสมไว้แล้วในกาล

ก่อน เพราะกระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำ

กุศลนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

๓. บุคคลออกจากฌานแล้ว ย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำ

ฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำฌานนั้นให้เป็นอารมณ์

อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

[๔๙๘] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของอธิปติปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ และสหชาติธิปติ

ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

๑. พระอรหันต์ออกจากมรรค แล้วกระทำมรรคให้เป็นอารมณ์

อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 421

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

กุศลที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของ

อธิปติปัจจัย.

๔. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม

ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

กุศลที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป

ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

[๔๙๙] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของอธิปติปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณธิปติ และ สหชาตาธิปติ

ที่เป็น อารัมมณธิปติ ได้แก่

บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำราคะให้เป็นอารมณ์อย่าง

หนักแน่น ครั้นกระทำราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ

ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น, ย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำทิฏฐิให้เป็นอารมณ์

อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำทิฏฐินั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว

ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อกุศลที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ

ของอธิปติปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 422

[๕๐๐] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อกุศลธรรมที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจ

ของอธิปติปัจจัย.

[๕๐๑] ๗. อกุศลธรรม เป็ฯปัจจัยแก่อกุศลธรรม และอัพยากต-

ธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อกุศลที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐาน-

รูป ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

[๕๐๒] ๘. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย

อำนาจของอธิปติปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ

ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

๑. พระอรหันต์กระทำผลจิตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว

พิจารณา กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.

๒. นิพพานเป็นปัจจัยแก่ผลจิต ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่

อัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัย แก่

สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 423

[๕๐๓] ๙. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

๑. พระเสขะ กระทำผลจิตให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว

พิจารณา. กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.

๒. นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน และแก่มรรค ด้วย

อำนาจของอธิปติปัจจัย.

[๕๐๔] ๑๐. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่

๑. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำจักษุให้เป็นอารมณ์

อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว

ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

๒. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำโสตะ ฆานะ ชิวหา

กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และขันธ์ที่เป็น

อัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น

กระทำโสตะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ

ย่อมเกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 424

อรรถกถาอธิปติปัจจัย

ใน อารัมมณาธิปตินิทเทส พระองค์ทรงแสดงกุศลที่นับเนื่อง

ในภูมิ ๕ ด้วยอำนาจพระเสขะและปุถุชน. ใน สหชาตาธิปตินิทเทส

ก็เหมือนกัน. พระอรหันต์ย่อมไม่มีการทำให้หนักในโลกิยกุศลทั้งหลาย

เพราะได้บรรลุธรรมชั้นสูงสุดแล้ว เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงไว้เฉพาะ

อรหัตมรรคเท่านั้น.

อรรถกถาอธิปติปัจจัย จบ

๔. อนันตรปัจจัย

[๕๐๕] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

อนันตรปัจจัย

คือ ๑. กุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้นก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์

ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

๒. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู.

๓. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน.

๔. โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค.

๕. โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

[๕๐๖] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของอนันตรปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 425

คือ ๑. กุศลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ.

๒. มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล.

๓. อนุโลมของพระเสขะ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ.

๔. เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล ของพระอริยบุคคลผู้ออก

จากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

[๕๐๗] ๓. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

อนันตรปัจจัย

คือ ๑. อกุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์

ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

[๕๐๘] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของอนันตรปัจจัย

คือ ๑. อกุศล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอนันตร-

ปัจจัย.

[๕๐๙] ๕. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของอนันตรปัจจัย

คือ ๑. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา ที่เกิด

ก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา

ที่เกิดหลัง ๆ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 426

๒. ภวังคจิต เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ.

๓. กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ.

๔. อนุโลมของพระอรหันต์ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ.

๕. เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา ของพระอรหันต์ผู้ออกจาก

นิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

[๕๑๐] ๖. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของอนันตรปัจจัย

คือ ๑. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ

ของอนันตรปัจจัย.

[๕๑๑] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนราจ

ของอนันตรปัจจัย

คือ ๑. อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ

ของอนันตรปัจจัย.

อรรถกถาอนันตรปัจจัย

ใน อนันตรปัจจัย สองบทว่า ปุริมา ปุริมา พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสรวมกุศลที่เกิดในภูมิเดียวกัน และต่างภูมิกัน . คำว่า อนุโลมเป็น

ปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลนเป็นปัจจัยแก่โวทาน ตรัสด้วยอำนาจอารมณ์

ที่แตกต่างกัน. คำว่า โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 427

มรรค ตรัสด้วยอำนาจภูมิที่ต่างกัน. ก็คำว่า กุศล ในคำว่า กุสล

วฏฺานสฺส นี้ ได้แก่กุศลอันเป็นไปในภูมิ ๓. บทว่า วุฏฺาน คือ

วิบากอันเป็นไปในภูมิ ๓. พระโยคาวจรทั้งหลาย ย่อมออกจากกุศลชวน-

วิถีด้วยวิบากเหล่านั้น ฉะนั้น วิบากนั้นท่านจึงเรียกว่า วุฏฐานะ วุฏฐานะ

นั้นมี ๒ อย่าง คือตทารัมมณะ ๑ ภวังค์ ๑. บรรดาวุฏฐานะเหล่านั้น

แม้ทั้งสองอย่างเป็นวุฏฐานะของกามาวจรกุศล ภวังค์อย่างเดียวเป็นวุฏ-

ฐานะแห่งมหัคคตกุศล. คำว่า มคฺโค ผลสฺส นี้ พระองค์ตรัสแยก

ไว้ เพราะโลกุตตรวิบากเป็นวุฏฐานะไม่ได้ เหตุที่นับเนื่องในชวนวิถี.

สองบทว่า เสกฺขาน อนุโลน ความว่า กุศลย่อมไม่เป็นอนันตร-

ปัจจัยแก่เสขธรรม เพราะฉะนั้น จึงทรงทำการแยกไว้. บทว่า ผลสมา-

ปตฺติยา คือ ผลสมาบัติของโสดาปัตติผล สกทาคามิผล และอนาคามิผล.

บทว่า ผลสนาปตฺติยา คือ อนาคามิผลสมาบัติ. ในอกุศลจิตย่อมได้

วุฏฐานวิบากทั้งสอง.

ในคำว่า วิปากาพฺยากตา กิริยาพฺยากตา นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบ

วิปากาพยากเฉพาะแก่วิปากาพยากตะด้วยกันเท่านั้น และกิริยาพยากตะ

เฉพาะแก่กิริยาพยากตะด้วยกันเท่านั้นเหมือนกัน. คำว่า ภวงฺค อาวขฺช-

นาย เป็นต้น ตรัสด้วยอำนาจธรรมที่เจือกัน. ในคำว่า กิริยา นั้น

กามาวจรกิริยา เป็น อนันตรปัจจัย แก่วุฏฐานวิบากทั้งสอง มหัคคต-

กิริยา เป็น อนันตรปัจจัย แก่ภวังค์เท่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่ม

คำว่า กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิด

หลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย แล้วแสดงวาระ ๗ วาระเหล่าใด

ไว้ในปัจจัยวิภังค์ในหนหลังว่า กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล กุศลเป็นปัจจัยแก่

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 428

อัพยากตะ อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล อกุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อัพ-

ยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุศล อัพยากตะ

เป็นปัจจัยแก่อกุศล (เพราะอำนาจของอนันตรปัจจัย). ในอธิการนี้

ท่านจำแนกอนันตรปัจจัยไว้โดยสังเขปด้วยอำนาจแห่งวาระเหล่านั้น แต่ว่า

โดยพิสดารในอธิการนี้ บัณฑิตพึงกำหนดนิทเทส ๑๐-๑๗-๖๐ ถ้วน

และมากกว่านั้นให้ดีแล.

จริงอยู่ อนันตรปัจจัยนี้หาได้นิทเทส ๗ อย่างเดียวเท่านั้นไม่ แต่

ย่อมได้นิทเทส ๑๐ อย่างนี้ คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล ๑ แก่วิบาก๑.

อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล ๑ แก่วิบาก ๑.

วิบากเป็นปัจจัยแก่วิบาก ๑ แก่กิริยา ๑.

กิริยาเป็นปัจจัยแก่กุศล ๑ แก่อกุศล ๑ แก่วิบาก ๑ แก่กิริยา ๑.

ก็อนันตรปัจจัยนี้จะได้นิทเทสเฉพาะ ๑. อย่างเท่านั้นก็หามิได้ แต่

ยังได้นิทเทส ๑๗ อย่าง อย่างนี้อีก คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล ๑

กุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑.

อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล ๑ อกุศลวิบาก ๑ กุศลวิบาก ๑.

กุศลวิบากเป็นปัจจัยแก่กุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑ กิริยา ๑.

อกุศลวิบากเป็นปัจจัยแก่อกุศลวิบาก ๑ แก่กุศลวิบาก ๑ แก่

กิริยา ๑.

กิริยาเป็นปัจจัยแก่กิริยา ๑ กุศล ๑ อกุศล ๑ กุศลวิบาก ๑

อกุศลวิบาก ๑.

ก็อนันตรปัจจัยนี้จะได้นิทเทสเฉพาะ ๑๗ อย่างเท่านั้นหามิได้ ยัง

ได้นิทเทส ๖๐ ถ้วน อีก คือ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 429

กุศลเป็นอนันตรปัจจัยแก่กุศล ๖ อย่าง ได้แก่ กามาวจรกุศล

เป็นอนันตรปัจจัยแก่กุศลทั้ง ๔ อย่าง ตามความต่างกันแห่งภูมิ, รูปาวจร-

กุศล และอรูปาวจรกุศล, เป็นอนันตรปัจจัยแก่กุศลที่เกิดในภูมิของ

ตน ๆ.

ส่วนกุศลเป็นอนันตรปัจจัยแก่วิบาก ๑๒ อย่าง คือ กามาวจร-

กุศล เป็นปัจจัยแก่กามาวจรกุศลวิบาก, อกุศลวิบาก, รูปาวจรวิบาก,

อรูปาวจรวิบาก, โลกุตตรวิบาก, รูปาวจรกุศลเป็นปัจจัยแก่รูปาวจรวิบาก

กามาวจรวิบาก, อรูปาวจรกุศลเป็นปัจจัยแก่กามาวจรกุศลวิบาก, รูปาว-

จรวิบาก, อรูปาวจรวิบาก, โลกุตตรวิบาก, โลกุตตรกุศล เป็นปัจจัย

แก่โลกุตตรวิบาก.

อกุศลเป็นอนันตรปัจจัย ๕ อย่าง คือ แก่อกุศล, อกุศลวิบาก,

วิบากอันเป็นไปในภูมิ ๓.

กามาวจรกุศลวิบากเป็นอนันตรปัจจัยแก่วิบาก ๔ อย่าง คือ แก่

กามาวจรกุศลวิบาก, อกุศลวิบาก, รูปาวจรวิบาก, อรูปาวจรวิบาก.

รูปาวจรวิบากเป็นอนันตรปัจจัย ๓ อย่าง คือ แก่กุศลวิบากที่

เป็นไปในภูมิทั้ง ๓.

อรูปาวจรวิบากเป็นอนันตรปัจจัย ๒ อย่าง คือ แก่อรูปาวจร-

วิบาก และกามาวจรกุศลวิบาก. โลกุตตรวิบากเป็นอนันตรปัจจัย ๔

อย่าง คือ แก่กุศลวิบากที่เป็นไปในภูมิ ๔. กุศลวิบากเป็นอนันตรปัจจัย

๑๓ อย่าง แก่วิบาก ด้วยประการฉะนี้.

อกุศลวิบากเป็นอนันตรปัจจัย ๒ อย่าง คือ แก่อกุศลวิบากและ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 430

กามาวจรกุศลวิบาก. วิบากแม้ในที่ทั้งปวงเป็นอนันตรปัจจัย ๑๕ อย่าง

แก่วิบาก โดยประการฉะนี้.

วิบากเป็นอนันตรปัจจัย ๔ อย่าง แม้แก่กิริยา คือ กามาวจรกุศล-

วิบากเป็นปัจจัยแก่กามาวจรกิริยา อกุศลวิบาก รูปาวจรวิบาก และ

อรูปาวจรวิบากก็เป็นปัจจัยแก่กามาวจรกิริยาได้เหมือนกัน .

กิริยาเป็นอนันตรปัจจัยแก่กิริยา ๕ อย่าง คือ กามาวจรกิริยา

เป็นปัจจัยแก่กิริยาที่เป็นไปในภูมิ ๓. รูปาวจรกิริยา อรูปาวจรกิริยา เป็น

ปัจจัยเฉพาะแก่กิริยาในภูมิของคน ๆ.

กิริยาเป็นอนันตรปัจจัยแก่วิบาก ๑๑ อย่าง คือ กามาวจรกิริยา

เป็นปัจจัยแก่อกุศลวิบากและกุศลวิบากที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๔, รูปาวจร-

กิริยาเป็นปัจจัยแก่กามาวจรกุศลวิบาก และรูปาวจรวิบาก, อรูปาวจร-

กิริยาเป็นปัจจัยแก่กุศลวิบากที่เป็นไปในภูมิ ๔.

ส่วนกามาวจรกิริยาเป็นอนันตรปัจจัย ๒ อย่าง แก่กุศลและ

อกุศล คือ แก่กามาวจรกุศล และอกุศล.

อนันตรปัจจัยย่อมได้นิทเทส ๖. ถ้วน ด้วยประการฉะนี้.

อนันตรปัจจัยนี้จะได้นิทเทส ๖. ถ้วนเท่านี้ก็หาไม่ ยังได้นิทเทส

แม้อีกมากอย่าง คือ

กามาวจรมหากุศลจิตดวงที่ ๑ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๕๓ ดวง

คือ แก่ตนเอง แก่รูปาวจรกุศล ๔ ดวง โลกุตตรกุศลโสมนัส ๑๖ ดวง

เพราะประกอบโดยเป็นบาท รวมความว่า เป็นปัจจัยแก่กุศลจิต ๒๑ ดวง

เป็นปัจจัยแก่วิบากอีก ๓๒ ดวง คือ แก่กามาวจรวิบาก ๑๑ ดวง ที่เกิด

ด้วยอำนาจตทารัมมณะ และแก่ภวังค์ในที่สุดแห่งชวนะ แก่รูปาวจรวิบาก

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 431

และอรูปาวจรวิบากที่เป็นไปด้วยอำนาจภวังค์อย่างเดียว แก่โลกกุตตรวิบาก

๑๒ ที่เป็นไปด้วยอำนาจผลสมาบัติ.

กุศลจิตดวงที่ ๒ ก็เหมือนกัน. ส่วนดวงที่ ๓ และที่ ๔ ย่อมเป็น

อนันตรปัจจัยแก่จิต ๒๑ ดวงที่เหลือ เว้นกุศลที่เกิดในภูมิสูง ๆ ขึ้นไป

และโลกุตตรวิบาก.

มหากุศลจิตดวงที่ ๕ และที่ ๖ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๓๓ ดวง

คือแก่ตนเอง แก่กุศลจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่งเกิดในภูมิสูง ๆ ขึ้นไป ๙

ดวง และแก่วิบากจิต ๒๓ ดวง.

มหากุศลจิตดวงที่ ๗ และที่ ๘ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๒๑ ดวง

เท่านั้น.

รูปาวจรกุศลจิต ๕ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๐ ดวง คือ แก่

รูปาวจรกุศลที่เกิดภายหลังตน ๑ แก่มหาวิบากญาณสัมปยุต ๔ ดวง และ

แก่รูปาวจรวิบาก ๕ ดวง.

โดยนัยนี้แหละ บรรดา อรูปาวจรกุศล ทั้งหลาย ดวงที่ ๑ เป็น

อนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๑ ดวง พร้อมกับวิบากของตน.

อรูปาวจรกุศลดวงที่ ๒ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๒ ดวง.

อรูปาวจรกุศลดวงที่ ๓ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๓ ดวง.

อรูปาวจรกุศลดวงที่ ๔ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๕ ดวง คือ

จิต ๑๔ ดวง และผลสมาบัติ ๑ ดวง.

โลกุตตรกุศล เป็นอนันตรปัจจัยเฉพาะแก่วิบากของ ๆ ตน เท่า-

นั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 432

บรรดาจิตที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง อกุศลจิตดวงหนึ่ง ๆ เป็น

ปัจจัยแก่จิต ๒๑ ดวง คือ กามาวจรวิบากมโนวิญญาณธาตุ ๑๑ ดวง

มหัคคตวิบาก ๙ ดวง และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑.

จิตที่สหรคตด้วยโทสะ ๒ ดวง เป็นอนันตรปัจจัย แก่จิต ๗ ดวง

คือกามาวจรวิบากมโนวิญญาณธาตุ ๖ ดวง ซึ่งสหรคตด้วยอุเบกขาและ

แก่คนเองที่เกิดภายหลัง ๑.

จิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต

๒๑ ดวง คือกามาวจรวิบากมโนวิญญาณธาตุ ๑ ดวง พร้อมกับอเหตุก-

วิบากที่สหรคตด้วยโสมนัสมหัคคตวิบาก ๙ และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑.

ปัญจวิญญาณฝ่ายกุศลวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่มโนธาตุฝ่าย

กุศลวิบาก.

มโนธาตุ เป็นอนันตรปัจจัย แก่มโนวิญญาณธาตุฝ่ายวิบาก ๒ ดวง.

บรรดามโนวิญญาณธาตุฝ่ายวิบาก ๒ ดวงนั้น ดวงที่สหรคตด้วยโสมนัส

เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๒ ดวง คือ มโนวิญญาณธาตุฝ่ายวิบาก ๑๐ ดวง

ที่ทำหน้าที่เป็นภวังค์ แก่ตนเองที่เกิดภายหลังตนในเวลาเป็นตทารัมมณะ

และแก่โวฏฐัพพนกิริยา.

ส่วน อเหตุกมโนวิยญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นอนันตร-

ปัจจัยแก่จิต ๑๒ ดวง เหมือนกัน คือ แก่อาวัชชนมโนธาตุ อาวัชชน-

มโนวิญญาณธาตุที่มีฐาน ๒ และวิบากมโนวิญญาณธาตุ ๑๐.

มหาวิบากที่เป็นติเหตุกะ เป็นปัจจัยแก่จิต ๒๑ ดวง คือ แก่

มโนวิญญาณธาตุฝ่ายวิบากที่เป็นกามาวจร ๑๐. เว้นโสมนัสสันตีรณะ

รูปาวจรวิบาก อรุปาวจรวิบาก และอาวัชชนจิตทั้งสอง.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

ทุเหตุวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๒ ดวง ที่เหลือเว้น

มหัคคตวิบาก.

รูปาวจรวิบาก ๕ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๙ ดวง คือ แก่

สาเหตุกกุศลวิบากปฏิสนธิจิต อันเป็นไปในภูมิทั้งสาม ๑๗ ดวง และ

อาวัชชนจิต ๒.

ใน บรรดาอรูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบากจิตดวงที่ ๑ เป็น

อนันตรปัจจัยแก่จิต ๙ ดวง คือ ติเหตุกปฏิสนธิฝ่ายกุศลวิบากชั้นกามา-

วจร ๔ อรูปาวจรวิบาก ๔ และมโนทวาราวัชชนจิต ๑.

อรูปวจรวิบากจิตดวงที่ ๒ เป็นอนันตรปัจจัย ๘ ดวง เว้น

วิบากชั้นต่ำกว่าเสียหนึ่งดวง.

อรูปวจรวิบากจิตดวงที่ ๓ เป็นอนันตรปัจจัยยแก่จิต ๗ ดวง เว้น

วิบากที่ต่ำกว่า ๒ ดวง.

อรูปาวจรวิบากจิตดวงที่ ๔ เป็นปัจจัยแก่จิต ๖ ดวง เว้นวิบาก

เบื้องต่ำ ๓ ดวง.

โลกุตตรวิบาก ๔ ดวง เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๔ ดวง คือ

ติเหตุกวิบาก ๑๓ ดวง และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑. ปัญจวิญญาณฝ่าย

อกุศลวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่อกุศลวิบากมโนธาตุ. มโนธาตุเป็น

อนันตรปัจจัยแก่อเหตุกมโนวิญญาณธาตุฝ่ายอกุศลวิบาก. อเหตุกมโน-

วิญญาณธาตุฝ่ายอกุศลวิบากนั้น เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๒ ดวง คือ

แก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ในเวลาเป็นตทารัมมณะ กามาวจรวิบาก ๙

ที่เป็นไปด้วยอำนาจปฏิสนธิและภวังค์ในจุติกาล และกามาวจรกิริยา ๒

ดวง ที่สหรคตด้วยอุเบกขา.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 434

กิริยามโนธาตุ เป็นปัจจัยแก่ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐.ิ

หสิตุปปาทกิริยา เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๓ ดวง โดยไม่นับที่

ซ้ำ คือ แก่ติเหตุกวิบาก ๙ ที่เป็นไปด้วยอำนาจภวังค์ในปัญจโวการภพ

และแก่วิบากที่สหรคตด้วยโสมนัส ๕ ที่เป็นไปด้วยอำนาจตทารัมมณะ และ

แก่ตนเองที่เกิดภายหลัง.

โวฏฐัพพนกิริยา เป็นปัจจัยแก่จิต ๔๕ ดวง คือ กามาวจรกิริยา

๑๐ เว้นกิริยามโนธาตุ กามาวจรกุศล ๘ อกุศล ๑๒ และวิบากจิต ๑๕

ที่เป็นไปด้วยอำนาจภวังค์ในปัญจโวการภพ.

กามาวจรติเหตุกิริยา ที่สหรคตด้วยโสมนัส ๒ ดวง เป็น

อนันตรปัจจัยแก่จิต ๒๕ ดวง ที่นับแล้วไม่นับซ้ำอีก คือ แก่ติเหตุก-

วิบาก ๑๓ ที่เป็นไปด้วยอำนาจภวังค์ โสมนัสสหรคตวิบาก ๕ ด้วยอำนาจ

ตทารัมมณะ รูปาวจรกิริยา ๔ ที่เป็นไปด้วยอำนาจบริกรรม อรหัตตผล-

สมาบัติที่สหรคตด้วยโสมนัส ๔ ด้วยอำนาจแห่งอรหัตตผลสมาบัติ และ

แก่คนเองที่เกิดภายหลัง ๑.

ทุเหตุกโสมนัสสหรคตกิริยา ๒ ดวง เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๗

ดวง โดยไม่นับที่ซ้ำกัน คือ แก่ภวังคจิต ๑๓ ตามที่กล่าวแล้ว ตทา-

รัมมณะ ๕ และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑.

กามาวจรติเหตุอุเบกขาสหรคตกิริยา ๒ ดวง เป็นอนันตรปัจจัย

แก่จิต ๒๔ ดวง โดยไม่นับที่ซ้ำกัน คือ แก่ภังคจิต ๑๓ ดวง เหล่านั้น

นั้นแหละ อุเบกขาสหรคตวิบาก ๖ ที่เป็นไปด้วยอำนาจตทารัมมณะ

รูปาวจรกิริยา ๑ ที่เป็นไปด้วยอำนาจบริกรรม อรูปาวจรกิริยา ๔ อรหัตต-

ผลสมาบัติ ๑ และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 435

ทุเหตุกอุเบกขาสหรคตกิริยา ๒ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๘ ดวง

โดยไม่นับที่ซ้ำ คือ แก่ภวังคจิต ๑๓ เหล่านั้นด้วย แก่ตทารัมมณจิต ๖

และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑.

บรรดา รูปวจรกิริยาดวงหนึ่ง ๆ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๐

ดวง คือ ติเหตุกภวังค์ในปัญจโวการภพ ๙ ดวง และแก่ตนเองที่เกิด

ภายหลัง ๑ ดวง.

บรรดา อรูปาวจรกิริยาจิตทั้งหลาย

อรูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ ๑ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๑ ดวง คือ

ภวังค์จิต ๙ ดวงในปัญจโวการภพ อีก ๑ ดวงในจตุโวการภพ และแก่

ตนเองที่เกิดภายหลัง ๑ ดวง.

อรูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ ๒ ย่อมได้ภวังคจิต ๒ ดวง ในจตุโว-

การภพ.

อรูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ ๓ ได้ ๓ ดวง.

อรูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ ๔ ย่อมได้ภวังคจิต ๔ ดวง และผล-

สมาบัติอีก ๑ ดวง. บรรดาอรูปาวจรกิริยาเหล่านั้น ดวงหนึ่ง ๆ เป็น

อนันตรปัจจัยแก่จิต ๑๑-๑๒-๑๓ และ ๑๕ ดวง ตามลำดับดังนี้แล.

อนันตรปัจจัยย่อมได้นิทเทสแม้หลายอย่างด้วยประการฉะนี้ . เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า บัณฑิตควรกำหนดนิทเทส ๑๐-๑๗-๖๐ และแม้มาก

หลาย (ของอนันตรปัจจัย) ให้ดี.

สมนันตรปัจจัย เป็นต้น มีเนื้อความกระจ่างแล้ว.

อรรถกถาอนันตรปัจจัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 436

๕. สมนันตรปัจจัย

[๕๑๒] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

สมนันตรปัจจัย

คือ ๑. กุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์

ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.

๒. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู ด้วยอำนาจของสมนันตร-

ปัจจัย.

๓. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วยอำนาจของสมนันตร-

ปัจจัย

๔. โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของสมนันตร-

ปัจจัย

๕. โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของสมนันตร-

ปัจจัย

[๕๑๓] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของสมนันตรปัจจัย

คือ ๑. กุศล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของสมนันตร

ปัจจัย

๒. มรรค เป็นปัจจัย แก่ผลด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.

๓. อนุโลมของพระเสขะทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ

ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 437

๔. เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลของพระอริยบุคคลผู้ออกจาก

นิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.

[๕๑๔] ๓. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

สมนันตรปัจจัย

คือ ๑. อกุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์

ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.

[๕๑๕] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของสมนันตรปัจจัย

คือ ๑. อกุศล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของสมนันตร-

ปัจจัย.

[๕๑๖] ๕. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย

อำนาจของสมนันตรปัจจัย

คือ ๑. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาที่

เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากต-

กิริยาที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.

๒. ภวังคจิต เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของ

สมนันตรปัจจัย.

๓. กิริยา เป็นปัจจัย แก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจสมนันตรปัจจัย.

๔. อนุโลมของพระอรหันต์ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วย

อำนาจของสมนันตรปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 438

๕. เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาของพระอรหันต์ ผู้ออกจาก

นิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.

[๕๑๗] ๖. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของสมนันตรปัจจัย

คือ ๑. อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ

ของสมนันตรปัจจัย.

[๕๑๘] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของสมนันตรปัจจัย

คือ ๑. อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ

ของสมนันตรปัจจัย.

๖. สหชาตปัจจัย

[๕๑๙] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

สหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของ

สหชาตปัจจัย. ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย,

ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

๑. ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 439

[๕๒๐] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของสหชาตปัจจัย

คือ กุศลขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจ

ของสหชาตปัจจัย.

[๕๒๑] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม

ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐาน-

ูรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๑ และ

จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่

ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

[๕๒๒] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของ

สหชาตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย,

ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย,

[๕๒๓] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของสหชาตปัจจัย

คือ อกุศลขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจ

ของสหชาตปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 440

[๕๒๔] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากต-

ธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐาน-

รูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และ

จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่

ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

[๕๒๕] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย

อำนาจของสหชาตปัจจัย

คือ ๑. ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพตยากตกิริยา เป็นปัจจัย

แก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ ๓

เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย,

ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของ

สหชาตปัจจัย.

๒. ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัย

แก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็น

ปัจจัยแก่ขันธ์ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒

เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

๓. ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของ

สหชาตปัจจัย.

๔. หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของ

สหชาตปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 441

๕. มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของ

สหชาตปัจจัย. มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจของ

สหชาตปัจจัย. มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของ

สหชาตปัจจัย.

๖. มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป และ

กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

๗. พาหิรมหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ ด้วย

อำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ ด้วย

อำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ ด้วย

อำนาจของสหชาตปัจจัย.

๘. มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป ด้วยอำนาจ

ของสหชาตปัจจัย.

๙. สำหรับอาหารสมุฏฐานรูป มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่

มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่

มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่

มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

๑๐. มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป ด้วยอำนาจ

ของสหชาตปัจจัย.

๑๑. สำหรับอุตุสมุฏฐานรูป มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหา-

ภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่

มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 442

แก่มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็น

ปัจจัยแก่อุปาทารูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

๑๒. สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่

มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่

มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่

มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็น

ปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

[๕๒๖] ๘. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากต-

ธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

[๕๒๗] ๙. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากต-

ธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศลและมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่

จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 443

๗. อัญญมัญญปัจจัย

[๕๒๘] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

อัญญมัญญปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของ

อัญญมัญญปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของอัญญ-

มัญญปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญ-

ปัจจัย.

[๕๒๗] ๒. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของอัญญมัญญปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของ

อัญญมัญญปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของอัญญ-

มัญญปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญ-

ปัจจัย

[๕๓๐] ๓. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของอัญญมัญญปัจจัย

คือ ๑. ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็น

ปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่

ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒

ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย.

๑. ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 444

๒. ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็น

ปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย, ขันธ์ ๓

เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และหทยวัตถุ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย,

ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญ-

ปัจจัย.

๓. ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของ

อัญญมัญญปัจจัย, หทยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของ

อัญญมัญญปัจจัย.

๔. มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูรูป ๓ ด้วยอำนาจของ

อัญญมัญญปัจจัย, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจ

ของอัญญมัญญปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ ด้วย

อำนาจของอัญญมัญญปัจจัย.

๕. สำหรับพาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป

ฯ ล ฯ.

๖. สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่

มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัย

แก่มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็น

ปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย.

๑. ดูข้อ ๕๒๔.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

๘. นิสสยปัจจัย

[๕๓๑] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

นิสสยปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของ

นิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย,

ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

[๕๒๒] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของนิสสยปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วย

อำนาจของนิสสยปัจจัย.

[๕๓๓] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม

ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐาน-

รูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และ

จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่

ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

[๕๓๔] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

นิสสยปัจจัย

๑. ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 446

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของ

นิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย,

ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

[๕๓๕] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของนิสสยปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วย

อำนาจของนิสสยปัจจัย.

[๕๓๖] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากต-

ธรรม ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐาน-

รูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิต-

สมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒

และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

[๕๓๗] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย

อำนาจของนิสสยปัจจัย

คือ ๑. ขันธ์ ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยาเป็นปัจจัย

แก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๓

เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย,

ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของ

นิสสยปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 447

๒. ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัย

แก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็น

ปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๒

เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

๓. ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ, หทยวัตถุเป็น

ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย, ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

๔. มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของ

นิสสยปัจจัย, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจของ

นิสสยปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของ

นิสสยปัจจัย.

๕. มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป กฏัต-

ตารูป ที่เป็นอุปาทารูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

๖. ที่เป็นพาหิรรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป

ฯลฯ.

๗. สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่

มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่

มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจชองนิสสยปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่

มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

๘. มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทา-

รูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

๙. จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 448

นิสสยปัจจัย, โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ

กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

๑๐. หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก

และอัพยากตกิริยา ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

[๕๓๘] ๘. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของนิสสยปัจจัย

คือ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของ

นิสสยปัจจัย.

[๕๓๙] ๙. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของนิสสยปัจจัย

คือ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของ

นิสสยปัจจัย.

[๕๔๐] ๑๐. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม

ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลและหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วย

อำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑

ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒

ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

[๕๔๑] ๑๑. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากต-

ธรรม ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 449

คือ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นกุศลและมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัย

แก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

[๕๔๒] ๑๒. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศล-

ธรรม ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓

ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑

ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย, ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒

ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

[๕๔๓] ๑๓. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยา-

กตธรรม ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศล และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัย

แก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของนิสยปัจจัย.

๙. อุปนิสสยปัจจัย

[๕๔๔] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

อุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ

และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 450

๑. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม กระทำกุศล

นั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.

๒. บุคคลกระทำกุศลทั้งหลายที่สั่งสมไว้ดีแล้วในกาลก่อน ให้เป็น

อารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.

๓. บุคคลออกจากฌาน กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น

แล้วพิจารณา.

๔. พระเสขะทั้งหลาย กระทำโคตรภู ให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก-

แน่น แล้วพิจารณา กระทำโวทาน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว

พิจารณา.

๕. พระเสขะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์

อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.

ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่

๑. กุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัย แก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย

ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๒. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๓. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๔. โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๕. โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

๑. บุคคลอาศัยศรัทธา แล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถ-

กรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยัง

อภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 451

๒. บุคคลอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา แล้วให้ทาน สมาทาน-

ศีล กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยัง

มรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.

๓. ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล

สุตะ จาคะ ปัญญา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๔. บริกรรมแห่งปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย.

๕. บริกรรมแห่งทุติยฌาน เป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย.

๖. บริกรรมแห่งตติยฌาน เป็นปัจจัยแก่ตติยฌาน ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย.

๗. บริกรรมแห่งจตุตถฌาน เป็นปัจจัยแก่จตุตถฌาน ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย.

๘. บริกรรมแห่งลากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่อากาสานัญ-

จายตนะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๙. บริกรรมแห่งวิญญาณัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจาย-

ตนะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๑๐. บริกรรมแห่งอากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่อากิญจัญญาย-

ตนะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๑๑. บริกรรมแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนว-

สัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 452

๑๒. ปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-

ปัจจัย ฯ ลฯ.

๑๓. จตุตถฌาน เป็นปัจจัยแก่อากาสานัญจายตนะ อากาสานัญ-

จายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ เป็นปัจจัย

แก่อากิญจัญญยตนะ อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานา-

สัญญายตนะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๑๔. บริกรรมแห่งทิพยจักษุ เป็นปัจจัยแก่ทิพยจักษุ ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย.

๑๕. บริกรรมแห่งทิพโสตธาตุ เป็นปัจจัยแก่ทิพโสตธาตุ ด้วย

อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๑๖. บริกรรมแห่งอิทธิวิธญาณ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ด้วย

อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๑๗. บริกรรมแห่งเจโตปริยญาณ เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ด้วย

อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๑๘. บริกรรมแห่งปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นปัจจัยแก่ปุพเพ-

นิวาสานุสสติญาณ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๑๙. บริกรรมแห่งยถากัมมูปคญาณ เป็นปัจจัยแก่ยถากัมมูปคญาณ

ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๒๐. บริกรรมแห่งอนาคตังสญาณ เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ

ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๒๑. ทิพยจักษุ เป็นปัจจัยแก่ทิพยจักษุ ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-

ปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 453

๒๒. ทิพโสตธาตุ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ด้วยอำนาจของอุป-

นิสสยปัจจัย.

๒๓. อิทธิวิธญาณ เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ด้วยอำนาจของ

อุปนิสสยปัจจัย.

๒๔. เจโตปริญาณ เป็นปัจจัยแก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ด้วย

อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๒๕. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นปัจจัยแก่ยถากัมมูปคญาณ ด้วย

อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๒๖. ยถากัมมูปคญาณ เป็นปัจจัยแก่ยถากัมมูปคญาณ ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย.

๒๗. บริกรรมแห่งปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย.

๒๘. บริกรรมแห่งทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค ด้วยอำนาจ

ของนิสสยปัจจัย.

๒๙. บริกรรมแห่งตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย.

๓๐. บริกรรมแห่งจตุตถมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค ด้วย

อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๓๑. ปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ทุติมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-

ปัจจัย.

๓๒. ทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-

ปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 454

๓๓. ตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค ด้วยอำนาจของนิสสย-

ปัจจัย.

๓๔. พระเสขะทั้งหลาย อาศัยมรรคแล้ว ยังสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้

เกิดขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดแล้ว พิจารณาเห็นแจ้งสังขารทั้งหลาย โดย

ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

๓๕. มรรค เป็นปัจจัย แก่อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติ-

ปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา และแก่ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและ

อฐานะ ของพระเสขะทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๕๔๕] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

อุปนิสสยปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่

๑. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล การทำอุโบสถกรรมแล้ว ย่อมยินดี

เพลิดเพลิน เพราะกระทำกุศลนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น

การทำกุศลนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อม

เกิดขึ้น.

๒. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำกุศลทั้งหลายที่สั่งสม

ไว้ดีแล้วในกาลก่อน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำกุศลนั้น

ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

๓. บุคคลออกจากฌานแล้ว ย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำ

ฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำฌานนั้นให้เป็นอารมณ์

อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 455

ที่เป็น ปกตูนิสสยะ ได้แก่

๑. บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว ย่อมถือมานะ ทิฏฐิ.

๒. บุคคลอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา แล้ว ย่อมถือมานะ ทิฏฐิ.

๓. ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ราคะ โทสะ

มานะ ทิฏฐิ และแก่ความปรารถนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๕๔๖] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ

และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่

๑. พระอรหันต์ออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่าง

หนักแน่น แล้วพิจารณา.

ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่

๑. กุศลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๒. มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล.

๓. อนุโลมของพระเสขะทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ.

๔. เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล ของพระอริยบุคคลผู้ออกจาก

นิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

๑. บุคคลอาศัยศรัทธา แล้วทำตนให้เดือดร้อน ทำให้ตนเร่าร้อน

ย่อมเสวยทุกข์ อันมีการแสวงหาเป็นมูล.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 456

๒. บุคคลอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา แล้ว ทำตนให้เดือดร้อน

ทำตนให้เร่าร้อน ย่อมเสวยทุกข์ อันมีการแสวงหาเป็นมูล.

๓. ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย

แก่ทุกข์ทางกาย แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๔. กุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบาก ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-

ปัจจัย.

๕. พระอรหันต์ อาศัยมรรค ยังกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว พิจารณาสังขารด้วยความเป็นของไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

๖. มรรค เป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติ-

ปฏิสมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา และแก่ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและ

อฐานะของพระอรหันต์ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๗. มรรค เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-

ปัจจัย.

[๕๔๗] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

อุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ

และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่

๑. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำราคะให้เป็นอารมณ์

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 457

อย่างหนักแน่น ครั้น กระทำราคาให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ

ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

๒. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำทิฏฐิให้เป็นอารมณ์

อย่างหนักแน่น ครั้นการทำทิฏฐิให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ

ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

๓. ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่

อกุศลขันธ์ที่เกิดขึ้นก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ที่เกิดหลัง ๆ

ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๔. ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

บุคคลอาศัยราคะแล้วฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้

พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ

ทำการปล้นในเรือนหนึ่ง คอยดักอยู่ในหนทางเปลี่ยว คบหาภรรยาของ

ชายอื่น ทำการฆ่าชาวบ้าน ทำการฆ่าชาวนิคม ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา

ฆ่าพระอรหันต์ ยังโลหิตพระตถาคตให้ห้อด้วยจิตประทุษร้าย ทำลายสงฆ์

ให้แตกกัน.

๕. บุคคลอาศัยโทสะแล้ว ฯลฯ.

๖. บุคคลอาศัยโมหะ มานะ ทิฏฐิ และความปรารถนา แล้ว ฆ่า

สัตว์ ฯ ล ฯ ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน.

๗. ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และความปรารถนา เป็น

ปัจจัยแก่ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และแก่ความปรารถนา

ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 458

[๕๔๘] ๘. ปาณาติบาต เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ด้วยอำนาจของ

อุปนิสสยปัจจัย

๙. ปาณาติบาต เป็นปัจจัยแก่อทินนาทาน...กาเมสุมิจฉาจาร

มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท...

แก่มิจฉาทิฏฐิ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๑๐. อทินนาทาน เป็นปัจจัยแก่อทินนาทาน ด้วยอำนาจของ

อุปนิสสยปัจจัย.

๑๑. อทินนาทานเป็นปัจจัยแก่กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ฯลฯ

มิจฉาทิฏฐิ และแก่ปาณาติบาต ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

พึงผูกให้เป็นจักกเปยยาล.

[๕๔๙] ๑๒. กาเมสุมิจฉาจาร เป็นปัจจัยแก่กาเมสุมิจฉาจาร ด้วย

อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๑๓. กาเมสุมิจฉาจาร เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่

อทินนาทาน ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๑๔. มุสาวาท เป็นปัจจัยแก่มุสาวาท ด้วยอำนาจของอุปนิสส-

ปัจจัย.

๑๕. มุสาวาท เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่กาเมสุ-

มิจฉาจาร ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๑๖. ปิสุณาวาจา เป็นปัจจัยแกปิสุณาวาจา ด้วยอำนาจของ

อุปนิสสยปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 459

๑๗. ปิสุณาวาจา เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่มุสาวาท

ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๑๘. ผรุสวาจา เป็นปัจจัยแก่ผรุสวาจา ด้วยอำนาจของ

อุปนิสสยปัจจัย.

๑๙. ผรุสวาจา เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่ปิสุณา-

วาจา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๒๐. สัมผัปปลาปะ เป็นปัจจัยแก่สัมผัปปลาปะ ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย.

๒๑. สัมผัปปลาปะ เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่ผรุส-

วาจา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๒๒. อภิชฌา เป็นปัจจัยแก่อภิชฌา ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-

ปัจจัย.

๒๓. อภิชฌา เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่สัมผัป-

ปลาปะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๒๔. พยาบาท เป็นปัจจัยแก่พยาบาท ด้วยอำนาจของอุป-

นิสสยปัจจัย.

๒๕. พยาบาท เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่อภิชฌา

ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๒๖. มิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิ ด้วยอำนาจของ

อุปนิสสยปัจจัย.

๒๗. มิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเม-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 460

สุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา

พยาบาท ด้วยอำนาจชองอุปนิสสยปัจจัย.

[๕๕๐] ๒๘. มาตุฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย

๒๙. มาตุฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่ปิตุฆาตกรรม อรหันต-

ฆาตกรรม โรหิรุปปาทกรรม สังฆเภทกรรม... นิตยมิจฉาทิฏฐิ ด้วย

อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๓๐. ปิตุฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่ปิตุฆาตกรรม ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย.

๓๑. ปิตุฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่อรหันตฆาตกรรม โรหิรุป-

ปาทกรรม สังฆเภทกรรม นิยตมิจฉาทิฏฐิ... มาตุฆาตกรรม ด้วย

อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๓๒. อรหันตฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่อรหันต์ฆาตกรรม ด้วย

อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๓๓. อรหันต์ฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่โรหิรุปปาทกรรม ฯ ล ฯ

ปิตุฆาตกรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๓๔. โรหิรุปปาทกรรม เป็นปัจจัยแก่โรหิรุปปาทกรรม ด้วย

อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๓๕. โรหิรุปปาทกรรม เป็นปัจจัยแก่สังฆเภทกรรม ฯ ล ฯ

อรหันต์ฆาตกรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๑. ข้อความในข้อ ๕๔๘-๕๔๙-๕๕๐ รวมอยู่ในข้อ ๕๔๗ ที่ว่าด้วยอกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 461

๓๖. สังฆเภทกรรม เป็นปัจจัยแก่สังฆเภทกรรม ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย.

๓๗. สังฆเภทกรรม เป็นปัจจัยแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิ ฯ ลฯ

โรหิรุปปาทกรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๓๘. นิตยมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยแก่นิตยมิจฉาทิฏฐิ ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย.

๓๙. นิตยมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม ปิตุฆาต-

กรรม อรหันตฆาตกรรม โรหิรุปปาทกรรม และแก่สังฆเภทกรรม-

ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

พึงกระทำให้เป็นจักกเปยยาล.

[๕๕๑] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

อุปนิสสยปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

๑. บุคคลอาศัยราคะแล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถ-

กรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยัง

อภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.

๒. บุคคลอาศัยโทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา

แล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยัง

วิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติ

ให้เกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 462

๓. ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา เป็น

ปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๔. บุคคลฆ่าสัตว์แล้ว เพื่อจะลบล้างผลของการฆ่าสัตว์นั้น จึง

ให้ทาน สมาทานศีล การทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนา

ให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้

เกิดขึ้น.

๕. บุคคลถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว เพื่อจะลบล้าง

ผลของการถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้นั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติ

ให้เกิดขึ้น.

๖. บุคคลกล่าวเท็จแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของการกล่าวเท็จ

นั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.

๗ บุคคลกล่าวคำส่อเสียดแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของการ

กล่าวคำส่อเสียดนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.

๘. บุคคลกล่าวคำหยาบแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของการกล่าว

คำหยาบนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.

๙. บุคคลกล่าวคำเพ้อเจ้อแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของการกล่าว

คำเพ้อเจ้อนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติ ไห้เกิดขึ้น.

๑๐. บุคคลตัดที่ต่อแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น จึงให้

ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.

๑๑. บุคคลปล้นไม่ให้เหลือแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น

จึงให้ทาน ฯ ล ฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 463

๑๒. บุคคลทำการปล้นโนเรือนหลังหนึ่งแล้ว เพื่อจะลบล้าง

ผลแห่งกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.

๑๓. บุคคลคอยดักอยู่ในทางเปลี่ยวแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของ

กรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.

๑๔. บุคคลคบหาภรรยาของชายอื่นแล้ว เพื่อจะลบล้างผลกรรม

นั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.

๑๕. บุคคลกระทำการฆ่าชาวบ้านแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของ

กรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.

๑๖. บุคคลฆ่าชาวนิคมแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น

จึงให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยัง

วิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติ

ให้เกิดขึ้น.

๑๗. บุคคลฆ่ามารดาแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของการฆ่ามารดา

นั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล การทำอุโบสถกรรม.

๑๘. บุคคลฆ่าบิดาแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของการฆ่าบิดานั้น

จึงให้ทาน สมาทานศีล การทำอุโบสถกรรม.

๑๙. บุคคลฆ่าพระอรหันต์แล้ว เพื่อจะลบล้างผลของการฆ่า

พระอรหันต์นั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม.

๒๐. บุคคลยังโลหิตพระตถาคตให้ห้อด้วยจิตประทุษร้าย เพื่อ

จะลบล้างผลของการยังโลหิตพระตถาคตให้ห้อด้วยจิตประทุษร้ายนั้น จึง

ให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 464

๒๑. บุคคลทำลายสงฆ์ให้แตกกันแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของ

การทำลายสงฆ์นั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล การทำอุโบสถกรรม.

[๕๕๒] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่

๑. อกุศลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-

ปัจจัย.

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

๑. บุคคลอาศัยราคะแล้ว ทำตนให้เดือดร้อน ทำตนให้เร่า-

ร้อน ย่อมเสวยทุกข์ อันมีการแสวงหาเป็นมูล.

๒. บุคคลอาศัยโทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา

แล้ว ทำคนให้เดือนร้อน ทำคนให้เร่าร้อน ย่อมเสวยทุกข์ อันมีการแสดง

หาเป็นมูล.

๓. ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา เป็น

ปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุป-

นิสสยปัจจัย.

๔. อกุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบาก ด้วยอำนาจของอุป-

นิสสยปัจจัย.

[๕๕๓] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 465

มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ

และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่

๑. พระอรหันต์กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว

พิจารณา กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.

๒. นิพพานเป็นปัจจัยแก่ผล ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่

๑. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา ที่เกิด

ก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากต-

กิริยาที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๒. ภวังคจิต เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ.

๓. กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ.

๔. อนุโลมของพระอรหันต์ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ.

๕. เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาของพระอริยบุคคลผู้ออกจาก

นิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

๑. สุขทางกาย เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และ

ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๒. ทุกข์ทางกาย เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และ

ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๓. อุตุเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติ

ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 466

๔. โภชนะ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผล

สมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๕. เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และ

ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

๖. สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ เป็น

ปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุป-

นิสสยปัจจัย.

๗. ผลสมาบัติ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ด้วยอำนาจของอุป-

นิสสยปัจจัย.

๘. พระอรหันต์อาศัยสุขทางกาย ยังกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิด

ให้เกิดขึ้น เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว พิจารณาสังขารด้วยความเป็น

ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

๙. พระอรหันต์อาศัยทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ

ยังกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว

พิจารณาสังขารด้วยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

[๕๕๔] ๘. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ

และ ปกตูปนิสสยะ

ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 467

๑. พระเสขะทั้งหลาย กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น

แล้วพิจารณา กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว

พิจารณา.

๒. นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และมรรค ด้วย

อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่

๑. อาวัชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล ด้วย

อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

ที่เป็น ปกตูกนิสสยะ ได้แก่

๑. บุคคลอาศัยสุขทางกาย แล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำ

อุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิด

ขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.

๒. บุคคลอาศัยทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ แล้ว

ให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนา

ให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น.

๓. สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ เป็น

ปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[๕๕๕] ๙. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ

และ ปกตูปนิสสยะ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 468

ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่

๑. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำจักขุให้เป็น

อารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักขุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น

แล้ว ราคะ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

๒. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำโสตะ ฆานะ

ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และขันธ์ทั้งหลาย

ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น

ครั้นกระทำโสตะเป็นต้นนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ

ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่

๑. อาวัชชนะ เป็นปัจจัย แก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย.

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

๑. บุคคลอาศัยสุขทางกาย แล้วฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เขา

ไม่ได้ให้ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ตัดที่ต่อ ปล้น

ไม่ให้เหลือ ปล้นในเรือนหลังหนึ่ง คอยดักทำร้ายในทางเปลี่ยว คบหา

ภรรยาของชายอื่น ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่า

พระอรหันต์ ยังโลหิตพระตถาคตให้ห้อด้วยจิตประทุษร้าย ทำสงฆ์ให้

แตกกัน.

๒. บุคคลอาศัยทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ แล้วฆ่า

สัตว์ ฯลฯ ทำสงฆ์ให้แตกกัน.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 469

๓. สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ เป็น

ปัจจัย แก่ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย.

อรรถกถาอุปนิสสยปัจจัย

พึงทราบวินิจฉัยใน อุปนิสสยปัจจัย ต่อไป:-

สองบทว่า สทฺธ อุปนิสฺสาย คือ ทำศรัทธา ได้แก่ความเชื่อใน

กรรม ผลของกรรม โลกนี้และโลกหน้าเป็นต้น ให้เป็นที่อาศัยอย่าง

มั่นคง เหมือนอย่างว่าคนเชื่อว่าภายใต้แผ่นดินมีน้ำ แล้ว ขุดซึ่งแผ่นดิน

ฉันใด กุลบุตรมีศรัทธาก็ฉันนั้น เชื่อผลและอานิสงส์ของทานเป็นต้น แล้ว

ย่อมบริจาคทานเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สทฺธ อุปนิสฺสาย.

ในคำว่า สีล อุปนิสฺสาย เป็นต้น อธิบายว่า ทำธรรมมีศีลเป็นต้น

เหล่านี้ให้เป็นอุปนิสัย จริงอยู่ บุคคลผู้มีศีลเป็นผู้ฉลาดในศีลานุภาพ และ

ในอานิสงส์แห่งศีล เพราะอาศัยศีลจึงให้ทานแก่คนผู้มีศีล สมาทานศีล

ชั้นสูง ๆ ขึ้นไป รักษาอุโบสถในวันปักษ์ มีวัน ๑ ค่ำ เป็นต้น ให้

บริสุทธิ์ ไม่ให้ขาด เพราะอาศัยศีลสมบัติ ย่อมยังคุณธรรม มีฌานเป็นต้น

ให้เกิดขึ้น แม้บุคคลผู้ได้ยินได้ฟังมาก หยั่งรู้ซึ่งสมบัติทุกอย่างอันเนื่อง

ด้วยบุญกิริยาวัตถุมีทานเป็นต้น และความต่างกันแห่งความเศร้าหมอง

และผ่องแผ้วแห่งกุศลมีทานเป็นต้น ด้วยสุตมยปัญญาแล้ว อาศัยสุตะ

บำเพ็ญกุศลมีทานเป็นต้น. แม้บุคคลผู้เสียสละ มีใจน้อมไปในทางบริจาค

อาศัยการถึงพร้อมด้วยจาคธรรมของตนจึงให้ทาน สมาทานศีล เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 470

เข้าใจว่า ทานที่บุคคลมีศีลให้แล้วย่อมมีผลมาก รักษาอุโบสถเพราะการ

ปฏิบัติอย่างนั้น จึงเป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ ย่อมทำให้คุณธรรมมีฌานเป็นต้น

เกิดขึ้นได้. ฝ่ายบุคคลผู้มีปัญญากำหนดรู้ประโยชน์ในโลกนี้และโลกหน้า

และอุบายที่จะข้ามพ้นจากโลก อาศัยความรู้อย่างทั่วถึงว่า เพราะข้อปฏิบัติ

นี้ บุคคลอาจทำตนให้ลุถึงประโยชน์ในโลกด้วย ดังนี้ย่อมบำเพ็ญกุศลมีทาน

เป็นต้น จะเป็นอุปนิสสัยแห่งทานเป็นต้น อย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ย่อม

เป็นอุปนิสสัยแม้แห่งศรัทธาเป็นต้น ของตนซึ่งจะเกิดต่อไปในภายภาค

หน้า เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ

ปัญญา เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา.

บทว่า ปริกมฺม ผู้ศึกษาพึงถือเอาบริกรรมในส่วนเบื้องต้น ไม่

ใช่ที่เป็นอนันตรปัจจัย บริกรรมแห่งทิพจักขุญาณนั้นแหละ ย่อมมีแก่

ญาณทั้งสองนี้ คือ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ หามีบริกรรมต่าง

ออกไปไม่ ญาณทั้งสองนี้เป็นบริวารแห่งทิพจักขุนั่นเอง เมื่อทิพจักขุนั้น

สำเร็จแล้ว ญาณทั้งสองนี้ก็สำเร็จด้วย. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ศึกษา

พึงทราบว่า บริกรรมแห่งทิพจักขุญาณที่มุ่งต่อการน้อมใจไปเพื่อความรู้

อย่างนั้นเป็นบริการแห่งญาณทั้งสองนั้น เพราะว่าญาณทั้งสองนี้จะมีคติ

เหมือนทิพจักขุทุกอย่างก็หาไม่ ฉะนั้น จึงมีบริกรรมพิเศษในญาณทั้งสอง

นี้อีกแล. คำว่า ทิพฺพจกฺขุ ทิพฺพาย โสตธาตุยา ความว่า ทิพจักขุ

ของบุคคลผู้เห็นรูปในที่ไกล แล้วต้องการจะฟังเสียงแห่งรูปเหล่านั้น

เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ความผ่องใสแห่งโสตธาตุ. ก็ทิพโสตธาตุ ย่อมเป็น

อุปนิสสยปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ได้ยินเสียงแห่งรูป

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 471

เหล่านั้น แล้วประสงค์จะไปในที่นั้น. บัณฑิต พึงทราบความเป็นอุปนิสสย-

ปัจจัย ด้วยอำนาจความเป็นอุปการะแก่ธรรมนั้น ๆ ในที่ทั้งปวง ด้วย

ประการฉะนี้. คำว่า มคฺค อุปนิสฺสาย อนุปฺปนฺน สมาปตฺตึ ความว่า

พระอริยบุคคลเหล่าใด ยังสมาบัตินั้น ๆ ให้เกิดขึ้น เพราะอันตรายใน

หนทางเป็นสภาพเบาบางแล้ว และละได้แล้วด้วยมรรคนั้น ๆ ฉะนั้น

มรรคของพระอริยบุคคลเหล่านั้น จึงชื่อว่าเป็นอุปนิสสยปัจจัย แก่สมาบัติ.

บทว่า วิปสฺสนฺติ คือ ย่อมเห็นแจ้ง เพื่อต้องการมรรคเบื้องสูงขึ้นไป.

คำว่า อติถปฏิสมฺภิทา เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยที่ปฏิสัมภิทา

ทั้งหลาย สำเร็จได้เพราะการได้บรรลุมรรคนั่นเอง. ก็แล มรรคนั่นเอง

ชื่อว่าเป็นอุปนิสสัย เพราะเป็นไปในอารมณ์นั้น ๆ ภายหลัง ปฏิสัมภิทา

เหล่านี้ สำเร็จแล้วด้วยประการฉะนี้.

คำว่า สทฺธ อุปนิสฺสาย ชปฺเปติ ความว่า ย่อมยังมานะให้

เป็นไปว่าเราเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส. สองบทว่า ทิฏฺึ คณฺหาติ ความว่า

บุคคลไปด้วยอำนาจความเชื่อในคำนั้น ๆ ไม่พิจารณาเนื้อความด้วยปัญญา

คือ ย่อมถือเอาทิฏฐิ ด้วยอำนาจความเห็นผิดว่า บุคคลมีอยู่เป็นต้น.

คำว่า สีล สุต จาค ปญฺ ความว่า เกิดมานะขึ้นว่า เพราะเป็นผู้มีศีล เป็นผู้

สดับแล้ว มีการสละ มีความรู้ทุกด้าน. ก็เมื่อบุคคลยังความสำคัญผิดด้วย

อำนาจทิฏฐิให้เกิดขึ้นในศีล สุตะ จาคะ และปัญญา เหมือนความสำคัญ

ผิดด้วยอำนาจมานะ ย่อมถือเอซึ่งทิฏฐิ.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ราคฺสส เป็นต้น บรรดาทิฏฐิ และมานะ

เหล่านั้น ธรรมหนึ่ง ๆ เป็นอุปนิสสยปัจจัย แก่ราคะในเวลาอาศัยสมบัติมี

ศรัทธาเป็นต้นแล้วยกย่องตน เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่โทสะในเวลาอาศัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 472

สมบัติ มีศรัทธาเป็นต้นแล้วเย้ยหยันผู้อื่น เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่โมหะ ที่

สัมมปยุตตด้วยราคะและโทสะทั้งสอง เพราะอาศัยมานะและทิฏฐิมีประการ

ดังกล่าวแล้ว อาศัยสมบัติมีศรัทธาเป็นต้นแล้ว ปรารถนาภวสมบัติและ

โภคสมบัติ. โลกิยกุศล เท่านั้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ใน

อธิการนี้ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนโลกุตตรกุศลเป็นธรรมสงบ ประณีต สูงสุด กำจัดอกุศลได้

เด็ดขาด ฉะนั้น จึงไม่เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่อกุศล เหมือนพระ-

จันทร์ไม่เป็นอุปนิสสัยแก่ความมืดฉะนั้น. เพราะเหตุนั้นโลกุตตรกุศลนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงถือเอาในอธิการนี้.

คำว่า อาตาเปติ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดง

อัพยากตธรรมด้วยอำนาจกายิกทุกข์ จริงอยู่ ผู้มีศรัทธา อาศัยศรัทธา

ไม่ย่อท้อต่อความหนาวจัด ร้อนจัด เอาใจใส่ในการก่อสร้างเป็นต้น มี

ประการต่าง ๆ ชื่อว่า ย่อมทำตนให้เดือดร้อน. บุคคลคิดว่า เราได้

โภคสมบัติแล้วจักทำบุญ ชื่อว่า ย่อมเสวยทุกข์อันมีการแสวงหาเป็นมูล.

แม้บุคคลผู้มีศีล ชื่อว่า ย่อมทำตนให้เดือดร้อน ด้วยอำนาจการถือธุดงค์

มีการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร (อัพโภกาสิกวัตร) เป็นต้น เพื่อรักษาศีล ชื่อว่า

ย่อมเสวยทุกข์อันมีการแสวงหาเป็นมูล. ด้วยอำนาจการเที่ยวแสวงหา

อาหารเป็นต้น. แม้บุคคลผู้สดับแล้วคิดว่า เราจะปฏิบัติให้เหมาะสมแก่

ความเป็นพหูสูต ปฏิบัติอยู่ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่า ย่อมทำตน

ให้เดือดร้อน. ชื่อว่า ย่อมเสวยทุกข์อันมีการแสวงหาเป็นมูล. แม้บุคคล

ผู้เสียสละเพราะจิตใจน้อมไปในการบริจาค สละเสียจนไม่เหลือปัจจัยไว้

เลี้ยงชีพตน หรือทำการสละอวัยวะเป็นต้น ชื่อว่า ทำตนให้เดือดร้อน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 473

ชื่อว่า ย่อมเสวยทุกข์อันมีการแสวงหาเป็นมูล เพื่อได้มาซึ่งวัตถุที่จะนำ

มาบริจาค. แม้บุคคลผู้มีปัญญาอาศัยความมีปัญญา ไม่คำนึงถึงความหนาว

ร้อนเป็นต้น พยายามสนใจในการท่องจำ ด้วยคิดว่า เราจักมีปัญญาให้สูง

ขึ้น ๆ ชื่อว่า ย่อมทำตนให้เดือดร้อน. เห็นโทษในมิจฉาชีพและอานิสงส์

ในสัมมาชีพ ละมิจฉาชีพ และหาเครื่องเลี้ยงชีวิต ด้วยอาชีวะอันหมดจด

ชื่อว่า ย่อมเสวยทุกข์อันมีการแสวงหาเป็นมูล.

สองบทว่า กายิกสฺส สุขสฺส คือ แก่ความสุขทางกายในเวลาความ

สุขเกิดขึ้นแก่กาย ซึ่งมีรูปอันประณีต มีศรัทธาเป็นต้น เป็นสมุฏฐาน ถูก

ต้องแล้วในเวลาใช้สอยอุปกรณ์แห่งความสุข ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอาศัยสมบัติ

้ีศรัทธาเป็นต้น. และแก่ความสุขทางกายอัน มีรูป มีปราโมทย์ และปีติ

ซึ่งมีความเดือดร้อนด้วยอำนาจแห่งอุปกรณ์ความสุขเหล่านั้น เป็นมูล เป็น

สมุฏฐานถูกต้องแล้ว. และแก่ความสุขทางกาย ในเวลาวิบากสุขเกิดขึ้น

เพราะอุปกรณ์แห่งความสุขเหล่านั้น ทำแล้วในกาลเกิดขึ้นแห่งความสุข,

และแก่ทุกข์ทางกาย ในเวลาทุกข์เกิดขึ้นตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล และ

ในเวลามีการฆ่าและจองจำ อันบุคคลผู้อดกลั้นไม่ได้ด้วยคุณสมบัติ มี

ศรัทธาเป็นต้นประกอบแล้ว. ก็ในเวลาผลสมาบัติอาศัยศรัทธาเป็นต้นเป็น

ไป ธรรมหนึ่ง ๆ ในบรรดาธรรมมีศรัทธาเป็นต้น พึงทราบว่า เป็น

อุปนิสสยปัจจัยแก่ผลสมาบัติด้วย. สองบทว่า กุสล กมฺม คือ กุศลเจตนา

เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่วิบากของตน. แต่เจตนานั้นได้เฉพาะที่มีกำลัง

เท่านั้น ที่มีกำลังอ่อนย่อมไม่ได้. ในข้อนั้นมีเรื่องดังต่อไปนี้ (เป็นอุทา-

หรณ์):-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 474

เล่ากันมาว่า หญิงคนหนึ่งต้องการจะผูกคอตาย จึงห้อยเชือก

ไว้ที่ต้นไม้ จัดแจงของที่ควรจัดอยู่ ที่นั้นโจรคนหนึ่ง คิดว่าตอน

กลางคืนเราเข้าไปยังเรือนนั้น แล้วจักเอาเชือกเส้นนี้มัดสิ่งของบาง

อย่างแล้วลักไป จึงเอามีดเข้าไปตัด ลำดับนั้นเชือกนั้นได้กลายเป็น

งูพิษขู่แล้ โจรกลัวไม่กล้าเข้าไป หญิงนั้นออกจากเรือน สอดคอเข้า

ไปในบ่องเชือกผูกคอตายแล้ว พลวเจตนาห้ามเสีย ซึ่งอันตรายแล้ว

เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่วิบากของตนด้วยประการฉะนี้.

แต่คำนี้ก็ไม่ควรถือโดยแน่นอน เพราะว่า กรรมที่ได้โอกาสห้าม

อันตรายแห่งวิบากอย่างนี้แล้วย่อมให้ผล ส่วนกรรมที่ยังวิบากให้เกิดกล่าว

ไม่ได้ว่า ไม่เป็นอุปนิสสัยแก่วิบาก. ในคำว่า กมฺม นี้ บัณฑิตพึงทราบ

ว่า ได้แก่กรรมที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๔. ก็คำที่ท่านกล่าวไว้ว่า มรรคเป็น

อุปนิสสยปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ข้างหน้านั้น กล่าวด้วยอำนาจธรรมที่ไม่มี

เจตนา. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงไว้ว่า ธรรมที่ยัง

วิบากให้เกิดขึ้นนั่น แหละเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่วิบากของตน.

คำว่า ราค อุปนิสฺสาย ปาณ หนติ ความว่า ประโยชน์ใดย่อมมี

โดยเป็นสาระในวัตถุใด ผิดแล้วในวัตถุนั้น หรือว่าฆ่าสัตว์เพื่อประโยชน์

นั้น. แม้ในอทินนาทานเป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้.

คำว่า สนฺธึ ฉินฺทติ เป็นต้น ตรัสไว้ด้วยอำนาจอทินนาทาน. คำว่า

สนฺธึ ในอธิการนั้นหมายเอาฝาเรือน.

สองบทว่า นิลฺโลป หรติ คือ แอบเข้าไปขโมย.

สองบทว่า เอกาคาริก กโรติ คือ ร่วมกันหลาย ๆ คน ล้อมปล้น

เรือนหลังเดียว.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 475

สองบทว่า ปริปนฺเถ ติฏฺติ คือ ดังทำร้ายคนเดินทาง.

ในคำว่า โทส อุปนิสสย เป็นต้น ความว่า ทำโทสะที่เกิดขึ้น

ด้วยอำนาจความแค้นว่า เขาได้สร้างความฉิบหายวายวอดให้กับเราเป็นต้น

ให้เป็นอุปนิสสัย. คำว่า โมห อุปนิสฺสาย คือ ทำโมหะที่ปิดบังโทษใน

ปาณาติบาตเป็นต้น ให้เป็นอุปนิสสัย. สองบทว่า มาน อุปนิสฺสาย คือ

ทำมานะว่า ทำไมจึงฆ่าไม่ได้ ทำไมเราจึงลักไม่ได้ให้เป็นอุปนิสสัย. หรือ

อธิบายว่า ถูกใครเขาดูถูกเหยียดหยาม แล้วยกเอาการดูถูกนั้นมาเป็น

อุปนิสสัยบ้าง.

สองบทว่า ทิฏฺึ อุปนิสฺสาย คือ ทำทิฏฐิในยัญทั้งหลายให้เป็น

อุปนิสสัย เหมือนพราหมณ์ทั้งหลาย และพวกปาราสิกะและมิลักขะเป็นต้น.

สองบทว่า ปตฺถน อุปนิสสาย คือ ทำความปรารถนามีอาทิอย่างนี้

ว่า ถ้างานชิ้นของเข้าเจ้าสำเร็จ ก็จักทำพลีกรรมอย่างนี้แก่ท่าน หรือ

ท่านจงนำเครื่องบวงสรวงเทวดาชนิดโน้นมาให้ข้าพเจ้า หรือจงนำเอาไป

ให้คนโน้น หรือว่าท่านจงมาร่วมเป็นสหายของเรา ซึ่งกำลังทำงานเหล่านี้

อยู่ให้เป็นอุปนิสสัย. ในคำว่า ราโค โทโส มาโน ทิฏฺิ ปตฺถนา ราคสฺส

นี้ ราคะเป็นอุปนิสสัยแก่ราคะด้วย แก่ธรรมมีโทสะเป็นต้นด้วย. แม้ใน

โทสะเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

สองบทว่า ปาณาติปาโต ปาณาติปาตสฺส ความว่า บุคคลผู้ฆ่า

สัตว์ ย่อมจะฆ่าสัตว์อื่นอีก เพราะตั้งอยู่ในความที่ไม่สำรวม. หรือว่าย่อมฆ่า

ญาติมิตรของผู้ที่ถูกเขาฆ่าแล้วประทุษร้ายต่อเพิ่มอีก. ปาณาติบาตเป็น

อุปนิสสยปัจจัยแก่ปาณาติบาตด้วยประการฉะนี้ อนึ่ง ปาณาติบาตเป็น

อุปนิสสยปัจจัยแก่อทินนาทานเป็นต้น ในเวลาฆ่าเจ้าของ หรือคนเฝ้า

ลักเอาของเขาไป, ในการฆ่าสามีแล้วล่วงภรรยาเขา, ในเวลาพูดเท็จว่า

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 476

ไม่ได้ฆ่า, ในเวลาพูดส่อเสียดเพื่อปกปิดกรรมที่ตัวเองทำแล้ว, หรือเพื่อ

ต้องการทำกรรมที่ยังไม่ได้ทำ ในเวลาพูดคำหยาบ คำเพ้อเจ้อ โดยนัยนั้น

ในเวลาเพ่งเล็งสมบัติที่อยากได้ของผู้อื่น ในเวลาคิดว่าเมื่อเขาถูกฆ่าตาย

แล้วพวกพ้องมิตรอำมาตย์ของเขาต้องสูญสิ้นไปเป็นต้น และในเวลาถือ

ความเห็นผดด้วยอำนาจผู้ทำกรรมที่ทำได้ยาก ว่าปาณาติบาตของเราจัก

หนักแน่นอยู่นี้ เป็นต้น. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในความหมุนไปใน

ธรรม มีอทินนาทานเป็นต้นเป็นมูลโดยอุบายนี้.

สองบทว่า มาตุฆาตกมฺม มาตุฆาตกมฺมสฺส ความว่า มาตุฆาต-

กรรมเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม สำหรับบุคคลผู้เห็นคนอื่นฆ่า

มารดา แล้วฆ่าซึ่งมารดาของคนบ้าง เข้าใจว่าการทำอย่างนั้นสมควร

หรือด้วยอำนาจการฆ่าในภพหนึ่งแล้วฆ่าโนภพอื่นอีก หรือในภพเดียวกัน

ด้วยสามารถแห่งการสั่งบ่อย ๆ ว่าท่านจงไปฆ่ามารดาของเรา หรือด้วย

อำนาจการประหารครั้งที่ ๒ เพื่อให้ตายแน่นอนด้วยการประหาร ๒ ครั้ง.

แม้บทที่เหลือ ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความตามที่เหมาะสมโดยนัยนี้เหมือน

กัน.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อกุศลที่มีกำลัง หาเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่

อกุศลทีมีกำลังอ่อนไม่ เพราะฉะนั้น เทศนาพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้

ด้วยอำนาจอนันตริยกรรมที่เนื่องด้วยกรรมบถเท่านั้น. ดังนั้น ไม่ควรยึด

ถือโดยแน่นอน. เพราะว่าบุคคลทำกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้นแล้ว ถูก

ท้วงติงว่า ทำไมจึงทำอย่างนั้น ย่อมทำอาการโกรธบ้าง เดือดร้อนบ้าง

ก็เมื่อกิเลสมีประมาณน้อยเกิดแล้ว เขาปล่อยให้กิเลสนั้นขยายตัวไม่ยอมทำ

การล่วงละเมิดได้ เพราะฉะนั้น อกุศลที่มีกำลังย่อมเป็นอุปนิสสยปัจจัย

แก่อกุศลที่หย่อนกำลังไป และอกุศลที่หย่อนกำลังก็ย่อมเป็นอุปนิสสย-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 477

ปัจจัย แม้แต่อกุศลที่มีกำลังได้เหมือนกัน ก็คำใดที่ท่านกล่าวไว้ใน

วรรณนานิทเทสแห่งปัจจัยวิภังค์ว่า ธรรมที่ชื่อว่าเป็นอุปนิสสยปัจจัย

เพราะอรรถว่า เป็นเหตุมีกำลัง คำนั้นท่านกล่าวไว้ เพราะภาวะแห่งการ

เป็นเหตุเท่านั้นมีกำลัง ไม่ใช่เพราะตัวปัจจัยธรรมซึ่งเป็นที่เข้าไปอิงอาศัย.

จริงอยู่ กรรมและกิเลสทั้งหลาย ที่มีกำลังมากก็ดี ที่หย่อนกำลังก็ดี

จัดว่าเป็นเหตุที่มีกำลังทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ราค อุปนิสฺสาย ทาน เทติ เป็นต้น

ต่อไป บุคคลเข้าไปอาศัยความยินดีในอุปปัตติภพ หรือในโภคะทั้งหลาย

ว่า ทำไมหนอเราจึงจะเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทพชั้นจาตุมหารา-

ชิกาเป็นต้น ดังนี้แล้วจึงให้ทาน แม้ในการสมาทานศีลและรักษาอุโบสถ

เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน ก็บุคคลเมื่อทำฌานให้เกิดเพื่อต้องการข่มราคะ

ทำวิปัสสนาให้เกิดเพื่อต้องการละราคะ ทำมรรคไห้เกิดเพื่อต้องการตัดภพ

ตัดชาติ ชื่อว่าเข้าไปอิงอาศัยราคะทำให้เกิดขึ้น. อนึ่ง เมื่อยังอภิญญาและ

สมาบัติให้เกิด เพื่อต้องการให้ปราศจากราคะ ก็ชื่อว่าเข้าไปอิงอาศัยราคะ

ให้เกิดขึ้นเหมือนกัน. จริงอยู่ ด้วยความต้องการเท่านี้ ผู้นั้นย่อมเป็นคน

ปราศจากราคะได้.

บทว่า สทฺธาย คือ ความเชื่ออันเป็นไปด้วยอำนาจทานเป็นต้น แม้

ในศีลเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. เหมือนอย่างว่า เมื่อยังศรัทธาเป็นต้น

ให้เกิดด้วยอำนาจทานเป็นต้น ชื่อว่าเข้าไปอิงอาศัย ราคะให้เกิด ฉันใด ผู้

ศึกษาพึงทราบว่า แม้ราคะเป็นต้น ก็ชื่อว่าเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ศรัทธา

เป็นต้น ฉันนั้น.

สองบทว่า ตสฺส ปฏิฆาตตฺถาย คือเพื่อห้ามเสียซึ่งวิบากนั้น อธิบาย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 478

ว่า เพื่อไม่ให้โอกาสแห่งวิบากเกิดขึ้น ในสัปปฏิฆาตธรรมทั้งหลาย มี

อธิบายเพียงเท่านี้. ถามว่า อนันตริยกรรมเหล่าใดไม่มีปฏิฆาต ทำไม

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตสฺส ปฏิฆาตตฺถาย ไว้ในอนันตริยกรรม

เหล่านั้น. แก้ว่า ตรัสด้วยอำนาจอัธยาศัยแห่งบุคคลนั้น. จริงอยู่ ผู้นั้น

ย่อมมีอัธยาศัยว่าจะประพฤติเพื่อต้องการจะกำจัดสิ่งนั้น (วิบาก). พระผู้

มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาอัธยาศัยนั้น จึงตรัสไว้อย่างนี้. คำว่า ราค

อุปนิสฺสาย อตฺตาน อาตาเปติ ผู้ศึกษาพึงทราบความทั้งหมดโดยนัยก่อน

นั่นเทียวว่า บุคคลเห็นอยู่ซึ่งส่วนบุญ โดยเป็นการกระทำได้ยากของผู้

ยินดีแล้วในสมบัติใดเล่า ย่อมทำอย่างนั้นบ้าง.

สองบทว่า กยิกสฺส สุขสฺส คือ ความสุขที่ได้เพราะการทำกุศล

ด้วยอำนาจการก้าวล่วงอกุศลมีราคะเป็นต้น หรือว่าด้วยอำนาจการบริโภค

กามแห่งบุคคลผู้ยังไม่เห็นโทษด้วยอำนาจราคะเป็นต้น. บทว่า ทกฺขสฺส

คือ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการย่างกิเลสเป็นต้น (การทำตนเองให้

เดือดร้อน) หรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการฆ่า และการจองจำ

ที่เป็นไปเพราะเหตุแห่งราคะเป็นต้น. บทว่า ผลสมาปตฺติยา หมายถึง

คุณธรรมที่พระโยคาวจรให้เกิดขึ้น เพราะตัดกิเลสมีราคะเป็นต้นได้ หรือ

หมายถึงคุณชาติที่ท่านผู้เบื่อหน่ายราคะเป็นต้นเหล่านั้นเข้าถึงแล้ว. สองบท

ว่า กยิก สข เป็นต้น ความว่าเมื่อความสุขเกิดขึ้น บุคคลยินดีความสุข

นั้น ทำความสุขนั้นให้เกิดบ่อย ๆ ด้วยปัจจัยอย่างเดียวกันนั้นเอง ความ

สุขคราวก่อนชื่อว่าเป็นอุปนิสสยปัจจัย แก่ความสุขคราวหลัง.

ก็ในบรรดาความหนาวเป็นต้น เมื่อบุคคลซ่องเสพเกินไป ซึ่งความ

ร้อนมีความร้อนเพราะไฟเป็นต้น ความสุขเบื้องต้นย่อมเป็นอุปนิสสย-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 479

ปัจจัยแก่ความทุกข์ภายหลัง. อีกอย่างหนึ่งในอธิการนี้ กายิกสุขของบุคคล

ผู้ดื่มด่ำในกามทั้งหลายว่า สัมผัสแห่งแขนที่มีขนอ่อนนุ่มของปริพาชิกานี้

เป็นสุขจริงหนอ ดังนี้ ย่อมเป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งกายิกทุกข์ในนรก.

ส่วนเมื่อพระโยคีผู้มีความสุขเพราะไม่มีโรค เข้าผลสมาบัติ กายิกสุขย่อม

เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ผลสมาบัติ.

ก็เมื่อบุคคลเสพอยู่ซึ่งความสุขเพื่อกำจัดทุกข์ เหมือนพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเข้าผลสมาบัติระงับอาพาธ เพื่อกำจัดทุกข์ กายิกทุกข์ย่อมเป็น

อุปนิสสยปัจจัยแก่กายิกสุข และผลสมาบัติ. ฤดูที่สบายย่อมเป็นอุปนิสสย-

ปัจจัยแก่สุข และผลสมาบัติ และฤดูที่ไม่สบายย่อมเป็นอุปนิสสยปัจจัย

แก่ทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อบุคคลปรารถนาเสวยความสุข อันเกิดแล้ว

ด้วยอำนาจรูปอันตั้งอยู่แล้วในสมาบัติ เพราะข่มความไม่สบายเพราะฤดูไว้

ฤดูแม้จะไม่สบาย (ของท่าน) ก็เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติได้เหมือนกัน.

แม้ในโภชนะและเสนาสนะก็นัยนี้เหมือนกัน. คำว่า กายิก สุข เป็นต้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้รวมกันโดยเฉพาะอีก. แต่ผู้ศึกษาพึงทราบ

ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมเหล่านั้น ตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังเหมือน

กัน. คำว่า ผลสนาปตฺติ กายิกสฺส สุขสฺส คือ ความสุขที่เกิดขึ้นด้วย

อำนาจรูปที่มีสมาบัติเป็นสมุฏฐาน จริงอยู่ พระโยคีออกจากสมาบัติแล้ว

ย่อมได้เสวยความสุขนั้น.

ในคำว่า กายิก อุปนิสฺสาย สุข ทาน เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบ

ความสุขและความทุกข์ เป็นอุปนิสสยปัจจัยด้วยอำนาจสุขที่ได้รับแล้วยังไม่

เสื่อมไปว่า ไฉนหนอ ความสุขนี้ของเราไม่พึงเสื่อมไป หรือด้วยอำนาจ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 480

การบรรลุสุขที่ตนยังไม่ถึงว่า ไฉนหนอ เราพึงเข้าถึงความสุขอย่างนี้ในกาล

ต่อไป แม้ในทุกข์ก็พึงทราบด้วยอำนาจความเสื่อมไปว่า ไฉนหนอ ทุกข์

พึงเสื่อมไป หรือด้วยอำนาจปรารถนาไม่ให้ทุกข์เกิดว่า ทุกข์อย่างนี้ไม่

พึงเกิดต่อไป. ฤดู โภชนะ และเสนาสนะ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง.

แม้ในคำว่า กายิก สข เป็นต้น อีก มีความว่า เพราะศรัทธาย่อม

เกิดแม้แก่บุคคลผู้ถึงสุขได้ เช่นในคำว่า ดูก่อนโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การ

เข้าถึงพระพุทธเจ้านั้นว่าเป็นสรณะเป็นการดีแล, ย่อมเกิดแก่บุคคลแม้ถึง

ทุกข์ก็ได้ เช่นในคำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง

พระองค์นั้น ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อกำหนดรู้ทุกข์อย่างนี้ อนึ่ง บุคคลย่อม

ทำให้บริบูรณ์ในศีลเป็นต้น เพื่อประกอบตนไว้ในสุข และพรากเสียจาก

ความทุกข์ เพราะฉะนั้น สุขและทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดง

โดยเป็นอุปนิสสัยแห่งศรัทธาเป็นต้น แม้ฤดูเป็นต้น ผู้ศึกษาพึงประกอบ

อธิบายตามสมควร. แม้ในคำว่า กายิก สุข อุปนิสฺสาย ปาณ หนติ

เป็นต้น พึงทราบความที่สุขเป็นต้น เป็นอุปนิสสยปัจจัยตามแนวทางแห่งนัย

ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั่นเอง. ก็ในบทภาชนีย์แห่งอุปนิสสยปัจจัยนี้ ผู้ศึกษา

พึงทราบว่าอุปนิสสยปัจจัยทั้งสามทรงจำแนกไว้ ๒๓ วาระ คือ กุศล ๘

อกุศล ๖ อัพยกาตะ ๙ วาระนี้ คือ กุศลเป็นปัจจัย เก่กุศล ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสสยปัจจัย ๓ วาระ แก่อกุศล ๒ วาระ แก่อัพยากตะ ๓ วาระ

อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ๓ วาระ แก่กุศล

๑ วาระ แก่อัพยากตะ ๒ วาระ แม้อัพยากตะก็เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 481

ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ๓ วาระ แก่กุศล ๓ วาระ แก่อกุศล ๓

วาระ.

อรรถกถาอุปนิสสยปัจจัย จบ

๑๐. ปุเรชาตปัจจัย

[๕๕๖] ๑. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากธรรม ด้วย

อำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ

ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่

๑. พระอรหันต์พิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

๒. พระอรหันต์พิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น

ทุกข์ เป็นอนัตตา.

๓. พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสต-

ธาตุ.

๔. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของ

ปุเรชาตปัจจัย.

๕. สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ, คันธายตนะ เป็น

ปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ, รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ, โผฏ-

ฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 482

ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่

๑. จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของ

ปุเรชาตปัจจัย.

๒. โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ ด้วยอำนาจของ

ปุเรชาตปัจจัย.

๓. ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ ด้วยอำนาจของ

ปุเรชาตปัจจัย.

๔. ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ ด้วยอำนาจของ

ปุเรชาตปัจจัย.

๕. กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของ

ปุเรชาตปัจจัย.

๖. หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากต-

วิบาก และอัพยากตกิริยา ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

[๕๕๗] ๒. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของปุเรชาตปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ

ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่

๑. พระเสขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็น

ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

๒. พระเสขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 483

กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ โดยความเป็น

ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

๓. พระเสขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟัง

เสียงด้วยทิพโสตธาตุ.

ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่

๑. หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของ

ปุเรชาตปัจจัย.

[๕๕๘] ๓. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของปุเรชาตปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ

ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่

๑. บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ เพราะปรารภจักษุนั้น ราคะ

ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

๒. บุคคลยินดีเพลิดเพลินโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทัยวัตถุ เพราะปรารภโสตะเป็นต้น

ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่

๑. หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ

ของปุเรชาตปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 484

อรรถกถาปุเรชาตปัจจัย

ใน ปุเรชาตปัจจัย แม้จักขายตนะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ด้วยอำนาจรูปหยาบ ส่วนอาโปธาตุเป็นต้น เป็นอารัมมณปุเรชาต-

ปัจจัยเท่านั้น. สำหรับวัตถุปุเรชาตะ คำว่า จกฺขวายตน เป็นต้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อแสดงจักขายตนะเป็นต้นนั้นว่า เป็นวัตถุรูป

ที่เกิดก่อน. คำว่า วตฺถุ วิปากาพฺยากตาน คือ วัตถุเป็นปัจจัยแก่

วิบากอัพยากตะ ตรัสหมายถึงปุเรชาตปัจจัยในปวัตติกาล.

อรรถกถาปุเรชาตปัจจัย จบ

๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย

[๕๕๙] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ๑. กุศลขันธ์ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วย

อำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

[๕๖๐] ๒. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ อกุศลขันธ์ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วย

อำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

[๕๖๑] ๓. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย

อำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 485

คือ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาที่เกิด

ภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

อรรถกถาปัจฉาชาตปัจจัย

ใน ปัจฉาชาตปัจจัย คำว่า อิมสฺส กายสฺส ได้แก่ กายอัน

ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔. คำว่า ปจิฉาชาตปจฺจเยน ปจฺจโย ความว่า

เป็นธรรมที่เกิดภายหลัง และเป็นปัจจัยด้วยอำนาจการค้ำจุน. ปัจฉาชาต-

ปัจจัยนี้มาแล้ว โดยอนุโลมในปัญหาวาระนี้ว่า ความเป็นปัจจัยเพราะ

อรรถว่าค้ำจุนนี้แหละ ชื่อว่า ปัจฉาชาตปัจจัย.

อรรถกถาปัจฉาชาตปัจจัย จบ

๑๒. อาเสวนปัจจัย

[๕๖๒] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

อาเสวนปัจจัย

คือ ๑. กุศลขันธ์ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ที่เกิดหลังๆ

ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

๒. อนุโลม เป็นปัจจัย แก่โคตรภู ด้วยอำนาจของอาเสวน-

ปัจจัย.

๓. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วยอำนาจของอาเสวน-

ปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 486

๔. โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

๕. โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอาเสวน

ปัจจัย.

[๕๖๓] ๒. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของอาเสวนปัจจัย

คือ อกุศลขันธ์ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ที่เกิดหลัง ๆ

ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

[๕๖๔] ๓. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย

อำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตกิริยาที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย

แก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตกิริยาที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอาเสวน-

ปัจจัย.

อรรถกถาอาเสวนปัจจัย

ในการถือเอาคำเป็นต้นว่า อนุโลม โคตฺรภุสฺส อนุโลมเป็นปัจจัย

แก่โคตรภู ใน อาเสวนปัจจัย แยกออกไปส่วนหนึ่ง พึงทราบเหตุ

แห่งการแยกไปนั้น โดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ.

อรรถกถาอาเสวนปัจจัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 487

๑๓. กัมมปัจจัย

[๕๖๕] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

กัมมปัจจัย

คือ กุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจของกัมม-

ปัจจัย.

[๕๖๖] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของกัมมปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

กุศลเจตนา เป็นนปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของกัมม-

ปัจจัย.

ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่

กุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของ

กัมมปัจจัย.

[๕๖๗] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม

ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

คือ กุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป

ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๕๖๘] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของกัมมปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 488

คือ อกุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจของ

กัมมปัจจัย

[๕๖๙] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของกัมมปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

อกุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของกัมม-

ปัจจัย.

ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่

อกุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจ

ของกัมมปัจจัย.

[๕๗๐] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากต-

ธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

คือ อกุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐาน-

รูป ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

[๕๗๑] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย

อำนาจของกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่

สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 489

ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่สัมป-

ยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

อรรถกถากัมมปัจจัย

ในคำนี้ว่า กุสลา เจตนา สมฺปยุตตกาน ใน กัมมปัจจัย เจตนา

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่าสหชาตะ เพราะไม่มีการจำแนกเป็นสหชาต-

กัมมปัจจัย และนานักขณิกกัมมปัจจัย แต่ในการวิสัชนาอัพยากตธรรม

การจำแนกนั้นมีอยู่. เพราะฉะนั้น เจตนาที่เป็นสหชาตะและนานักขณิกะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในวาระนั้น. ปฏิสนธิ ศัพท์ ตรัสไว้ด้วย

อำนาจกฏัตตารูป.

สองบทว่า เจตนา วตฺถุสฺส คือ เจตนาเป็นปัจจัยแก่วัตถุ ตรัส

ไว้เพื่อแสดงว่าอรูปธรรมอิงอาศัยวัตถุในปฏิสนธิขณะ ย่อมเป็นไปเพราะ

วัตถุเป็นปัจจัยแม้ก็จริง ถึงเจตนาก็เป็นปัจจัยแก่วัตถุได้. แม้ในวิปาก-

ปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความในปฏิสนธิวาระ โดยนัยนี้เหมือนกัน.

อรรถกถากัมมปัจจัย จบ

๑. บาลี เรียก นานาขณิกะ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 490

๑๔. วิปากปัจจัย

[๕๗๒] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของวิปากปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตต-

สมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑

และจิตตสมุฏฐานรูป ขันธ์ ์๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป

ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่

ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย. ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัย

แกขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็น

ปัจจัย แก่ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย.

ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย.

๑๕. อาหารปัจจัย

[๕๗๓] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

อาหารปัจจัย

คือ อาหารที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจ

ของอาหารปัจจัย.

[๕๗๔] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของอาหารปัจจัย

๑. ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 491

คือ อาหารที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจ

ของอาหารปัจจัย.

[๕๗๕] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม

ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย

คือ อาหารที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏ-

ฐานรูป ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.

[๕๗๖] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของอาหารปัจจัย

คือ อาหารที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจ

ของอาหารปัจจัย.

[๕๗๗] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของอาหารปัจจัย

คือ อาหารที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแกจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจ

ของอาหารปัจจัย.

[๕๗๘] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากต-

ธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย

คือ อาหารที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-

สมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 492

[๕๗๙] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย

อำนาจของอาหารปัจจัย

คือ อาหารที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่

สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ อาหารที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่สัมป-

ยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.

กพฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.

อรรถกถาอาหารปัจจัย

สองบทว่า อิมสฺส กายสฺส ใน อาหารปัจจัย ความว่า เป็นปัจจัย

ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย ด้วยอำนาจยังรูปมีอาหารเป็นสมุฏฐานให้

เกิดขึ้น (ชนกสัตติ) ด้วยอำนาจการค้ำจุน แก่รูปที่เหลือในกาย อัน

สำเร็จด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ ในปวัตติกาลด้วยอำนาจสันตติ ๔.

แม้ใน อินทริยปัจจัย เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบปฏิสนธิวาระตามที่

ข้าพเจ้าก้าวไว้แล้วนั่นแล. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงมีเนื้อความกระจ่างแล้ว

ทั้งนั้นแล.

อรรถกถาอาหารปัจจัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 493

๑๖. อินทริยปัจจัย

[๕๘๐] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

อินทริยปัจจัย

คือ อินทรีย์ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจ

ของอินทริยปัจจัย.

[๕๘๑] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของอินทริยปัจจัย

คือ อินทรีย์ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจ

ของอินทริยปัจจัย.

[๕๘๒] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม

ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย

คือ อินทรีย์ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-

สมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

[๕๘๓] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของอินทริยปัจจัย

คือ อินทรีย์ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจ

ของอินทริยปัจจัย.

๑. ตั้งแต่ปัจจัยที่ ๑๖ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 494

[๕๘๔] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของอินทริยปัจจัย

คือ อินทรีย์ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจ

ของอินทริยปัจจัย.

[๕๘๕] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากต-

ธรรม ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย

คือ อินทรีย์ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-

สมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

[๕๘๖] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย

อำนาจของอินทริยปัจจัย

คือ ๑. อินทรีย์ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัย

แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

๒. ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัย

แก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

๓. จักขุนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของ

อินทริยปัจจัย

๔. โสตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ ด้วยอำนาจของ

อินทริยปัจจัย.

๕. ฆานินทรีย์ เป็นปัจจัย แก่ฆานวิญญาณ ด้วยอำนาจของ

อินทริยปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 495

๖. ชิวหินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ ด้วยอำนาจของ

อินทริยปัจจัย.

๗. กายินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของ

อินทริยปัจจัย.

๘. รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของ

อินทริยปัจจัย.

๑๗. ฌานปัจจัย

[๕๘๗] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

ฌานปัจจัย

คือ องค์ฌานที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจ

ของฌานปัจจัย.

[๕๘๘] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของฌานปัจจัย

คือ องค์ฌานที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจ

ของฌานปัจจัย.

[๕๘๙] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม

ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย

คือ องค์ฌานที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-

สมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 496

[๕๙๐] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของฌานปัจจัย

คือ องค์ฌานที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจ

ของฌานปัจจัย.

[๕๙๑] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของฌานปัจจัย

คือ องค์ฌานที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วย

อำนาจของฌานปัจจัย

[๕๙๒] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากต-

ธรรม ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย

คือ องค์ฌานที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-

สมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย.

[๕๙๓] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย

อำนาจของฌานปัจจัย

คือ องค์ฌานที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัย

แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ องค์ฌานที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่

สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 497

๑๘. มัคคปัจจัย

[๕๙๔] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

มัคคปัจจัย

คือ องค์มรรคที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจ

ของมัคคปัจจัย.

[๕๙๕] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของมัคคปัจจัย

คือ องค์มรรคที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจ

ของมัคคปัจจัย.

[๕๙๖] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม

ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย

คือ องค์มรรคที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-

สมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย.

[๕๙๗] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของมัคคปัจจัย

คือ องค์มรรคที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจ

ของมัคคปัจจัย

[๕๙๘] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของมัคคปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 498

คือ องค์มรรคที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วย

อำนาจของมัคคปัจจัย.

[๕๙๙] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากต-

ธรรม ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย

คือ องค์มรรคที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-

สมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย.

[๖๐๐] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย

อำนาจของมัคคปัจจัย

คือ องค์มรรคที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัย

แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ องค์มรรคที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่

สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย.

๑๙. สัมปยุตตปัจจัย

[๖๐๑] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

สัมปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของ

สัมปยุตตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของสัมปยุตต-

ปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 499

[๖๐๒] ๒. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของสัมปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของ

สัมปยุตตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแกขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของสัมปยตต-

ปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย.

[๖๐๓] ๓. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย

อำนาจของสัมปยุตตปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัย

แก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑

ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจ

ของสัมปยุตตปัจจัย.

ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่

ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑

ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแกขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจ

ของสัมปยุตตปัจจัย.

๒๐. วิปปยุตตปัจจัย

[๖๐๔] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของวิปปยุตตปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 500

ขันธ์ที่เป็นกุศลที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วย

อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่

ขันธ์ที่เป็นกุศลที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วย

อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

[๖๐๕] ๒. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของวิปปยุตตปัจจัย

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ที่เป็นอกุศลที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วย

อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่

ขันธ์ที่เป็นอกุศลที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วย

อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

[๖๐๖] ๓. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย

อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

๑. ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยาที่เกิดพร้อมกัน

เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 501

๒. ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัย

แก่กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่

หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย, หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแกขันธ์

ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่

๑. จักขายตนะที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วย

อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

๒. โสตายตนะที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ ด้วย

อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

๓. ฆานายตนะที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ ด้วย

อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

๔. ชิวหายตนะที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ ด้วย

อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

๕. กายายตนะที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วย

อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

๖. หทยวัตถุที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็น

อัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่

๑. ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา

ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 502

[๖๐๗] ๔. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของวิปปยุตตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่

๑. หทยวัตถุที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ ด้วยอำนาจ

ของวิปปยุตตปัจจัย.

[๖๐๘] ๕. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของวิปปยุตตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่

๑. หทยวัตถุที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ ด้วยอำนาจ

ของวิปปยุตตปัจจัย.

๒๑. อัตถิปัจจัย

[๖๐๙] ๑. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

อัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของ

อัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย,

ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

[๖๑๐] ๒. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของอัตถิปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 503

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

๑. กุศลขันธ์ที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป

ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่

๑. กุศลขันธ์ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน

ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

[๖๑๑] ๓. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม

ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป

ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏ-

ฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๒ และ

จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

[๖๑๒] ๔. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของอัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของ

อัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย,

ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

[๖๑๓] ๕. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ

ของอัตถิปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 504

มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ ปัจจาชาตะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

๑. อกุศลขันธ์ที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป

ด้วยอำนาจของอัตถปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่

๑. อกุศลขันธ์ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วย

อำนาจของอัตถิปัจจัย.

[๖๑๔] ๖. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากต-

ธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแกขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏ-

ฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และ

จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่

ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

[๖๑๕] ๗. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย

อำนาจของอัตถิปัจจัย

มี ๕ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัฉาชาตะ

อาหาระ และ อินทริยะ.

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

๑. ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาที่เกิดพร้อมกัน

เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย,

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 505

ขันธ์ เป็นปัจจัยขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิ-

ปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจ

ของอัตถิปัจจัย

๒. ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัย

แก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็น

ปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๒ เป็น

ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ทั้งหลาย

เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, หทยวัตถุ เป็นปัจจัย

แก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

๓. มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของอัตถิ-

ปัจจัย, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจของอัตถิ-

ปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของอัตถิ-

ปัจจัย, มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป ที่เป็นจิตตสมุฏฐาน-

รูป และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

พาหิรูป อาหารสมุฏฐานรูป อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ.

๔. สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูต-

รูป ๓ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, มหภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูต-

รูป ๑ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูต-

รูป ๒ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่

อุปาทารูป ที่เป็นจิตตสมุฏฐานรูป กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถ-

ปัจจัย.

ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 506

๑. พระอรหันต์พิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น

ทุกข์ เป็นอนัตตา.

๒. พระอรหันต์พิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง

กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์

เป็นอนัตตา.

๓. พระอรหันต์ เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ.

๔. พระอรหันต์ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.

๕. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิ-

ปัจจัย, สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯ ลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏ-

ฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

๖. จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิ-

ปัจจัย.

๗. โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิ-

ปัจจัย.

๘. ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิ-

ปัจจัย.

๙. ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ ด้วยอำนาจของ

อัตถิปัจจัย.

๑๐. กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิ-

ปัจจัย.

๑๑. หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก

และอัตยากตกิริยา ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 507

ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาที่เกิดภายหลัง

เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น อาหาระ ได้แก่

กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย .

ที่เป็น อินทริยะ ได้แก่

รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

[๖๑๖] ๘. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของอัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่

๑. พระเสขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

๒. พระเสขะหรือปุถุชน พิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

๓. พระเสขะหรือปุถุชน เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ.

๔. พระเสขะหรือปุถุชน ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.

๕. หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของ

อัตถิปัจจัย.

[๖๑๗] ๙. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ

ของอัตถิปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 508

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่

๑. บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งจักษุ เพราะปรารภซึ่งจักษุนั้น ราคะ

ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

๒. บุคคลยินดีเพลิดเพลินโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง

กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ เพราะปรารภโสตะเป็นต้นนั้น ราคะ

ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย

ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

[๖๑๘] ๑๐. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม

ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตปุเรชาตะ ได้แก่

ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศลที่เกิดพร้อมกัน และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่

ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ และหทยวัตถุ เป็น

ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

[๖๑๙ ] ๑๑. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากต-

ธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ ปัจฉาชาตาหาระ ปัจฉาชา-

ตินทริยะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

๑. สหชาตปุเรชาตะ หมายถึงที่เป็นสหชาตะรวมกับปุเรชาตะ (มิสสกะ). ๒. หมายถึงปัจฉา-

ชาตะรวมกับอาหาร. ๓.หมายถึงปัจฉาชาตะรวมกับอินทริยะ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 509

กุศลขันธ์ที่เกิดพร้อมกันและมหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-

รูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

ที่เป็น ปัจฉาชาตาหาระ ได้แก่

กุศลขันธ์ที่เกิดภายหลังและกวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ด้วย

อำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตินทริยะ ได้แก่

กุศลขันธ์ที่เกิดภายหลังและรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป

ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

[๖๒๐] ๑๒. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศล-

ธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น สหชาตปุเรชาตะ ได้แก่

ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลที่เกิดพร้อมกัน และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่

ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่

ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย, ขันธ์๒ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่

ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

[๖๒๑] ๑๓. อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพ-

ยากตธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ ปัจฉาชาตาหาระ และ ปัจฉาชา-

ตินทริยะ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 510

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

อกุศลขันธ์ที่เกิดพร้อมกันและมหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏ-

ฐานรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตาหาระ ได้แก่

อกุศลขันธ์ที่เกิดภายหลังและกวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้

ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น ปัจฉาชาตินทริยะ ได้แก่

อกุศลขันธ์ที่เกิดภายหลังและรูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป

ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

๒๒.นัตถิปัจจัย

[๖๒๒] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของนัตถิ-

ปัจจัย

คือ กุศลขันธ์ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ที่เกิดหลังๆ

ด้วยอำนาจของนัตถิปัจจัย ฯ ล ฯ.

พึงให้พิสดารเหมือนอย่างอนันตรปัจจัย.

๒๓. วิคตปัจจัย

[๖๒๓] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของวิคต-

ปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 511

คือ กุศลขันธ์ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ที่เกิดหลัง ๆ

ด้วยอำนาจของวิคตปัจจัย ฯลฯ.

พึงให้พิสดารเหมือนอย่างอนันตรปัจจัย.

๒๔. อวิคตปัจจัย

[๖๒๔] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอวิคต-

ปัจจัย

คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ด้วยอำนาจของ

อวิคตปัจจัย, ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย,

ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย.

พึงให้พิสดารเหมือนอย่างอัตถิปัจจัย.

ปัญหาวารวิภังค์ จบ

การนับจำนวนวาระในอนุโลมแห่งปัญหาวาระ

สุทธมูลกนัย

[๖๒๕] ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ

ในอธิปติปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ

ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวน-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 512

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในฌานปัจจัย

มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย

มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

๑. เหตุมูลกนัย

เหตุสภาคะ ๑๑

[๖๒๖] เพราะเหตุปัจจัย ในอธิปติปัจจัย มี ๔ วาระ.... ใน

สหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย

มี ๔ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๔ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ.

เหตุฆฏนา ๒๔

สามัญญฆฏนา ๙

[๖๒๗] ๑. ปัจจัย ๕ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ อวิคต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ.

๒. ปัจจัย ๖ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 513

๓. ปัจจัย ๗ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

สัมปยุตต อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๔. ปัจจัย ๖ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๕. ปัจจัย ๖ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๖. ปัจจัย ๗ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปาถะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๗. ปัจจัย ๘ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๘. ปัจจัย ๗ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๙. ปัจจัย ๘ คือเหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สอินทริยมัคคฆฏนา ๙

๑๐. ปัจจัย ๗ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

๑๑. ปัจจัย ๘ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 514

๑๒. ปัจจัย ๙ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๑๓. ปัจจัย ๘ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๑๔. ปัจจัย ๘ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๕. ปัจจัย ๙ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๖. ปัจจัย ๑๐ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๗. ปัจจัย ๙ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๘. ปัจจัย ๑๐ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สาธิปติอินทริยมัคคฆฏนา ๖

๑๙. ปัจจัย ๘ คือ เหตุ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

๒๐. ปัจจัย ๑๐ คือ เหตุ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 515

๒๑. ปัจจัย ๙ คือ เหตุ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๒๒. ปัจจัย ๙ คือ เหตุ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๒๓. ปัจจัย ๙ คือ เหตุ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

๒๔. ปัจจัย ๑๐ คือ เหตุ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ มัคคะ วิปปยุตตะ. อตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

เหตุมูลกนัย จบ

๒. อารัมมณมูลกนัย

อารัมมณสภาคะ ๗

[๖๒๘] เพราะอารัมมณปัจจัย ในอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

นิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 516

อารัมมณปกิณณกฆฏนา ๕

[๖๒๗] ๑. ปัจจัย ๓ คือ อารัมมณะ อธิปติ อุปนิสสยปัจจัย

มี ๗ วาระ.

๒. ปัจจัย ๔ คือ อารัมมณะ ปุเรชาตะ อัตถิ อวิคต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓. ปัจจัย ๖ คือ อารัมมณะ นิสสยะ ปุเรชาตะ วิปป-

ยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๔. ปัจจัย ๖ คือ อารัมมณะ อธิปติ อุปนิสสยะ ปุเร-

ชาตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๕. ปัจจัย ๘ คือ อารัมมณะ อธิปติ นิสสยะ อุปนิสสยะ

ปุเรชาตะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

จบอารัมมณมูลกนัย

๓. อธิปติมูลกนัย

อธิปติสภาคะ ๑๕

[๖๓๐] เพราะอธิปติปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ... ในอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๘ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ

ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ โนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 517

ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ในอัตถิ-

ปัจจัย มี ๘ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๘ วาระ.

อธิปติฆฏนา ๓๐

ปกิณณกฆฏนา ๖

[๖๓๑] ๑. ปัจจัย ๓ คือ อธิปติ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๘ วาระ.

๒. ปัจจัย ๔ คือ อธิปติ นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๘ วาระ.

๓. ปัจจัย ๕ คือ อธิปติ นิสสยะ วิปปยตตะ อัตถิ

อริคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

๔. ปัจจัย ๓ คือ อธิปติ อารัมมณะ อุปนิสสยปัจจัย

มี ๗ วาระ.

๕. ปัจจัย ๖ คือ อธิปติ อารัมมณะ อุปนิสสยะ ปเรชาตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๖. ปัจจัย ๘ คือ อธิปติ อารัมมณะ นิสสยะ อุปนิสสยะ

ปุเรชาตะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สหชาตฆฏนา ๒๔

ฉันทาธิปติฆฏนา ๖

๗. ปัจจัย ๕ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ อวิคต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ.

๑. ฆ.๑-๒-๓ เป็นมิสสกฆฏนา (คือ สหชาตฆฏนา + ปกิณณกฆฏนา).

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 518

๘. ปัจจัย ๗ คือ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสส ยะ

สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๙. ปัจจัย ๖ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๐. ปัจจัย ๖ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๑. ปัจจัย ๘ คือ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๒. ปัจจัย ๗ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

จิตตาธิปติฆฏนา ๖

๑๓. ปัจจัย ๗ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสขะ อาหาระ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๑๔. ปัจจัย ๙ คือ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อาหาระ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๕. ปัจจัย ๘ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ อาหาระ

อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๖. ปัจจัย ๘ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อาหาระ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 519

๑๗. ปัจจัย ๑๐ คือ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อาหาระ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

๑๘. ปัจจัย ๙ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อาหาระ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

วิริยาธิปติฆฏนา ๖

๑๙. ปัจจัย ๗ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๒๐. ปัจจัย ๙ คือ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๑. ปัจจัย ๘ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๒. ปัจจัย ๘ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๓. ปัจจัย ๑๐ คือ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

๒๔. ปัจจัย ๙ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 520

วีมังสาธิปติฆฏนะ ๖

๒๕. ปัจจัย ๘ คือ อธิปติ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

๒๖. ปัจจัย ๑๐ คือ อธิปติ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๒๗. ปัจจัย ๙ คือ อธิปติ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๒๘. ปัจจัย ๙ คือ อธิปติ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๙. ปัจจัย ๑๑ คือ อธิปติ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

๓๐. ปัจจัย ๑๐ คือ อธิปติ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔. อนันตรมูลกนัย

อนันตรสภาคะ ๖

[๖๓๒] เพราะอนันตรปัจจัย ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

อุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 521

อนันตรปกิณณกฆฏนา ๓

[๖๓๓] ๑. ปัจจัย ๕ คือ อนันตระ สมนันตระ อุปนิสสยะ นัตถิ

วิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๒. ปัจจัย ๖ คือ อนันตระ สมนันตระ อุปนิสสยะ

อาเสวนะ นัตถิ วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓. ปัจจัย ๖ คือ อนันตระ สมนันตระ อุปนิสสยะ

กัมมะ นัตถิ วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๕. สมนันตรมูลกนัย

สมนันตรสภาคะ ๖

[๖๓๔] เพราะสมนันตรปัจจัย ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

อุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

สมนันตรปกิณณกฆฏนา ๓

[๖๓๕] ๑. ปัจจัย ๕ คือ สมนันตระ อนันตระ อุปนิสสยะ นัตถิ

วิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๒. ปัจจัย ๖ คือ สมนันตรปัจจัย อนันตระ อุปนิสสยะ

อาเสวนะ นัตถิ วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 522

๓. ปัจจัย ๖ คือ สมนันตระ อนันตระ อุปนิสสยะ กัมมะ

นัตถิ วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๖. สหชาตมูลกนัย

สหชาตสภาคะ ๑๔

[๖๓๖] เพราะสหชาตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ... โนอธิปติ

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๙

วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหาร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๗

วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

วิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๙ วาระ.

สหชาตฆฏนา ๑๐

[๖๓๗] ๑. ปัจจัย ๔ คือ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๙ วาระ.

๒. ปัจจัย ๕ คือ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ อัตถิ

ิอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓. ปัจจัย ๖ คือ สหาชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 523

๔. ปัจจัย ๕ คือ สหชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๕. ปัจจัย ๖ คือ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๖. ปัจจัย ๕ คือ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๗. ปัจจัย ๖ คือ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ วิปากะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๘. ปัจจัย ๗ คือ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ วิปากะ

สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๙. ปัจจัย ๖ คือ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๐. ปัจจัย ๗ คือ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ วิปากะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๗. อัญญมัญญมูลกนัย

อัญญมัญญสภาคะ ๑๔

[๖๓๘] เพราะอัญญมัญญปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

อธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อาหารปัจจัย มี ๓ วาระ โนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในฌานปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 524

มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๒ วาระ.

อัญญมัญญสหชาตฆฏนา ๖

[๖๓๙] ๑. ปัจจัย ๕ คือ อัญญมัญญะ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒. ปัจจัย ๖ คือ อัญญมัญญะ สหชาตะ นิสสยะ

สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓. ปัจจัย ๖ คือ อัญญมัญญะ สหชาตะ นิสสยะ วิปป-

ยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔. ปัจจัย ๖ คือ อัญญมัญญะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๕. ปัจจัย ๗ คือ อัญญมัญญะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๖. ปัจจัย ๗ คือ อัญญมัญญะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 525

๘. นิสสยมูลกนัย

นิสสยสภาคะ ๑๗

[๖๔๐] เพราะนิสสยปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ โนอธิปติปัจจัย มี ๘ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙

วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในปุเรชาตปัจจัย มี๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ

ในฌานปัจจัย มี๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

นิสสยฆฏนา ๒๐

ปกิณณกฆฏนา ๑๐

[๖๔๑] ๑. ปัจจัย ๓ คือ นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑๓

วาระ.

๒. ปัจจัย ๔ คือ นิสสยะ อธิปติ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๘ วาระ.

๓. ปัจจัย ๔ คือ นิสสยะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ.

๔. ปัจจัย ๔ คือ นิสสยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๕ วาระ.

๑. ฆ. ๑ ถึง ฆ. ๖ เป็นมิสสกฆฏนา.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 526

๕. ปัจจัย ๕ คือ นิสสยะ อธิปติ วิปปยุตตะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

๖. ปัจจัย ๕ คือ นิสสยะ อันทริยะ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๗. ปัจจัย ๕ คือ นิสสยะ ปุเรชาตะ วิปปยุตตะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๘. ปัจจัย ๖ คือ นิสสยะ อารัมมณะ ปุเรชาตะ วิปป-

ยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๙. ปัจจัย ๘ คือ นิสสยะ อารัมมณะ อธิปติ อุปนิสสยะ

ปุเรชาตะ วิปปยุตต อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๐. ปัจจัย ๖ คือ นิสสยะ ปุเรชาตะ อินทริยะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สหชาตฆฏนา ๑๐

๑๑. ปัจจัย ๔ คือ นิสสยะ สหชาตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๙ วาระ.

๑๒. ปัจจัย ๕ คือ นิสสยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๓. ปัจจัย ๖ คือ นิสสยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๔. ปัจจัย ๕ คือ นิสสยะ สหชาตะ วิปปยุตตะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 527

๑๕. ปัจจัย ๖ คือ นิสสยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๖. ปัจจัย ๕ คือ นิสสยะ สหชาตะ วิปากะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๗. ปัจจัย ๖ คือ นิสสยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ วิปากะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๘. ปัจจัย ๗ คือ นิสสยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ วิปากะ

สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๙. ปัจจัย ๖ คือ นิสสยะ สหชาตะ วิปากะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๐. ปัจจัย ๗ คือ นิสสยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ วิปากะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๙. อุปนิสสยมูลกนัย

อุปนิสสยสภาคะ ๑๓

[๖๔๒] เพราะอุปนิสสยปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

อธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑

วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 528

วิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี

๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

อุปนิสสยฆฏนา

ปกิณณกฆฏนา ๗

[๖๔๓] ๑. ปัจจัย ๓ คือ อุปนิสสยะ อารัมมณะ อธิปติปัจจัย

มี ๗ วาระ.

๒. ปัจจัย ๖ คือ อุปนิสสยะ อารัมมณะ อธิปติ ปุเรชาตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓. ปัจจัย ๘ คือ อุปนิสสยะ อารัมมณะ อธิปติ นิสสยะ

ปุเรชาตะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔. ปัจจัย ๕ คือ อุปนิสสยะ อนันตระ สมนันตระ นัตถิ

วิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๕. ปัจจัย ๖ คือ อุปนิสสยะ อนันตระ สมนันตระ

อาเสวนะ นัตถิ วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๖. ปัจจัย ๒ คือ อุปนิสสยะ กัมมปัจจัย มี ๒ วาระ.

๗. ปัจจัย ๖ คือ อุปนิสสยะ อนันตระ สมนันตระ กัมมะ

นัตถิ วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 529

๑๐. ปุเรชาตมูลกนัย

ปุเรชาตสภาคะ ๘

[๖๔๔] เพราะปุเรชาตปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

อธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

ปุเรชาตฆฏนา

ปกิณณกฆฏนา ๗

[๖๔๕] ๑. ปัจจัย ๓ คือ ปุเรชาตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒. ปัจจัย ๕ คือ ปุเรชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี๓ วาระ.

๓. ปัจจัย ๔ คือ ปุเรชาตะ อารัมมณะ อัตถิ อวิคต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

๔. ปัจจัย ๖ คือ ปุเรชาตะ อารัมมณะ นิสสยะ วิปป-

ยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๕. ปัจจัย ๖ คือ ปุเรชาตะ อารัมมณะ อธิปติ อุปนิสสยะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๖. ปัจจัย ๘ คือ ปุเรชาตะ อารัมมณะ อธิปติ นิสสยะ

อุปนิสสยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 530

๗. ปัจจัย ๖ คือ ปุเรชาตะ นิสสยะ อินทริยะ วิปป-

ยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๑. ปัจฉาชาตมูลกนัย

ปัจฉาชาตสภาคะ ๓

[๖๔๖] เพราะปัจฉาชาตปัจจัย ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

อัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

ปัจฉาชาตฆฏนา

ปกิณณกฆฏนา ๑

๑. ปัจจัย ๔ คือ ปัจฉาชาตะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคต-

ปัจจัย มี๓ วาระ.

๑๒. อาเสวนมูลกนัย

อาเสวนสภาคะ ๕

[๖๔๗] เพราะอาเสวนปัจจัย ในอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

ในสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนัตถ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิคตปัจจัย มี๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 531

อเสวนฆฏนา

ปกิณณกฆฏนา ๑

๑. ปัจจัย ๖ คือ อาเสวนะ อนันตระ สมนันตระ อุป-

นิสสยะ นัตถิ วิคตปัจจัย มี๓ วาระ.

๑๓. กัมมมูลกนัย

กัมมสภาคะ ๑๔

[๖๔๘] เพราะกัมมปัจจัย ในอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ... ใน

สมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒

วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

สัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

กัมมฆฏนา ๑๑

ปกิณณกฆฏนา ๒

[๖๔๙] ๑. ปัจจัย ๒ คือ กัมมะ อุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ.

๒. ปัจจัย ๖ คือ กัมมะ อนันตระ สมนันตระ

อุปนิสสยะ นัตถิ วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 532

สหชาตฆฏนา ๙

๓. ปัจจัย ๖ คือ กัมมะ สหชาตะ นิสสยะ อาหาระ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๔. ปัจจัย ๗ คือ กัมมะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อาหาระ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี๓ วาระ.

๕. ปัจจัย ๘ คือ กัมมะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อาหาระ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ

๖. ปัจจัย ๗ คือ กัมมะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อาหาระ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๗. ปัจจัย ๗ คือ กัมมะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อาหาระ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๘. ปัจจัย ๘ คือ กัมมะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อาหาระ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๙. ปัจจัย ๙ คือ กัมมะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อาหาระ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๐. ปัจจัย ๘ คือ กัมมะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อาหาระ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๑. ปัจจัย ๙ คือ กัมมะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อาหาระ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 533

๑๔. วิปากมูลกนัย

วิปากสภาคะ ๑๔

[๖๕๐] เพราะวิปากปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในอธิปติปัจจัย

มี ๑ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑

วาระ.

วิปากฆฏนา

สหชาตฆฏนา ๕

[๖๕๑] ๑. ปัจจัย ๕ คือ วิปากะ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ อวิคต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒. ปัจจัย ๖ คือ วิปากะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓. ปัจจัย ๗ คือ วิปากะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔. ปัจจัย ๖ คือ วิปากะ สหชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 534

๕. ปัจจัย ๗ คือ วิปากะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๕. อาหารมูลกนัย

อาหารสภาคะ ๑๑

[๖๕๒] เพราะอาหารปัจจัย ในอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ... ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย

มี ๗ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปป-

ยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๗

วาระ.

อาหารฆฏนา ๓๔

ปกิณณกฆฏนา ๑

[๖๕๓] ๑. ปัจจัย ๓ คือ อาหาระ อัตถิ อวิตตปัจจัย มี ๗ วาระ.

สหชาตฆฏนา ๓๓

สามัญญฆฏนา ๙

๒. ปัจจัย ๕ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 535

๓. ปัจจัย ๖ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๔. ปัจจัย ๗ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๕. ปัจจัย ๖ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๖. ปัจจัย ๖ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๗. ปัจจัย ๗ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๘. ปัจจัย ๘ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๙. ปัจจัย ๗ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๐. ปัจจัย ๘ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สกัมมฆฏนา ๙

๑๑. ปัจจัย ๖ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ กัมมะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 536

๑๒. ปัจจัย ๗ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

กัมมะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๓ ปัจจัย ๘ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

กัมมะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๔. ปัจจัย ๗ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ กัมมะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๕. ปัจจัย ๗ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ กัมมะ

วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๖. ปัจจัย ๘ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

กัมมะ วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๗. ปัจจัย ๙ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ กัมมะ วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ

๑๘. ปัจจัย ๘ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ กัมมะ

วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๙. ปัจจัย ๙ คือ อาหาร สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

กัมมะ วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สอินทริยฆฏนา ๙

๒๐. ปัจจัย ๖ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 537

๒๑. ปัจจัย ๗ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๒. ปัจจัย ๘ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๓. ปัจจัย ๗ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๔. ปัจจัย ๗ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๕. ปัจจัย ๘ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๖. ปัจจัย ๙ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๗. ปัจจัย ๘ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๘. ปัจจัย ๙ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สาธิปติอินทริยฆฏนา ๖

๒๙. ปัจจัย ๗ คือ อาหาระ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 538

๓๐. ปัจจัย ๙ คือ อาหาระ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓๑. ปัจจัย ๘ คือ อาหาระ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓๒. ปัจจัย ๘ คือ อาหาระ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๓. ปัจจัย ๑๐ คือ อาหาระ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๔. ปัจจัย ๙ คือ อาหาระ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๖. อินทริยมูลกนัย

อินทริยสภาคะ ๑๔

[๖๕๔] เพราะอินทริยปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ... ในอธิปติ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในฌานปัจจัย

มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 539

อินทริยฆฏนา ๗๖

ปกิณณกฆฏนา ๔

[๖๕๕] ๑. ปัจจัย ๓ คือ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๒. ปัจจัย ๔ คือ อินทริยะ นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ.

๓. ปัจจัย ๕ คือ อินทริยะ นิสสยะ วิปปยุตตะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๔. ปัจจัย ๖ คือ อินทริยะ นิสสยะ ปุเรชาตะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สหชาตฆฏนา ๗๒

สามัญญฆฏนา ๙

๕. ปัจจัย ๕ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๖. ปัจจัย ๖ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๗. ปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๘. ปัจจัย ๖ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑. ฆ. ๑-๒-๓. เป็นมิสสกฆฏนา (คือ สหชาตะ+ ปกิณณกะ)

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 540

๙. ปัจจัย ๖ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๐. ปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๑. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปกะ สันปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๒. ปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๓. ปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัยญะ

นิสสยะ วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สมัคคฆฏนา ๙

๑๔. ปัจจัย ๖ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ มัคคะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๑๕. ปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๖. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๗. ปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ มัคคะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 541

๑๘. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๙. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๐. ปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วปากะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๑. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๒. ปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สฌานฆฏนา ๙

๒๓. ปัจจัย ๖ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ ณานะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๒๔. ปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ ณานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๕. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ ณานะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๖. ปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ ฌานะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 542

๒๗. ปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

ฌานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๘. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ ฌานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๙. ปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ ฌานะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑วาระ.

๓๐. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

ฌานะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๑. ปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ ฌานะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สฌานมัคคฆฏนา ๙

๓๒. ปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ ณานะ

มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๓๓. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ ฌานะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓๔. ปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ ณานะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓๕. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ ฌานะ

มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 543

๓๖. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

ฌานะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๗. ปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ ฌานะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๘. ปัจจัย ๑๐ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ ฌานะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

๓๙. ปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

ฌานะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔๐. ปัจจัย ๑๐ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ ฌานะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

สอาหารฆฏนา ๙

๔๑. ปัจจัย ๖ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ อาหาระ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๔๒. ปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อาหาระ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๔๓. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อาหาระ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 544

๔๔. ปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อาหาระ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๔๕. ปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อาหาระ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔๖. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อาหาระ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔๗. ปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อาหาระ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔๘. ปัจจัย ๘ คือ อันทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อาหาระ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔๙. ปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อาหาระ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สาธิปติมัคคฆฏนา ๖

๕๐. ปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อาหาระ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๕๑. ปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อาหาระ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๕๒. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อาหาระ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๕๓. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อาหาระ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 545

๕๔. ปัจจัย ๑๐ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ อัญญ-

มัญญะ นิสสยะ วิปากะ อาหาระ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

๕๕. ปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อาหาระ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สาธิปติอาหารฆฏนา ๖

๕๖. ปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๕๗. ปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ อัญญ-

มัญญะ นิสสยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี๓ วาระ.

๕๘. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๕๙. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๖๐. ปัจจัย ๑๐ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ อัญญ-

มัญญะ นิสสยะ วิปากะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

๖๑. ปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 546

สเหตุมัคคฆฏนา ๙

๖๒. ปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

๖๓. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๖๔. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๖๕. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๖๖. ปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๖๗. ปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๖๘. ปัจจัย ๑๐ คือ อินทริยะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๖๙. ปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๗๐. ปัจจัย ๑๐ คือ อินทริยะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 547

สเหตุอธิปติมัคคฆฏนา ๖

๗๑. ปัจจัย ๔ คือ อินทริยะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ

นิสสยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

๗๒. ปัจจัย ๑๐ คือ อินทริยะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ

อัญญมัญญะ นิสสยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๗๓. ปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ

นิสสยะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๗๔. ปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ

นิสสยะ วิปากะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๗๕. ปัจจัย ๑๑ คือ อินทริยะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ

อัญญมัญญะ นิสสยะ วิปากะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

๗๖. ปัจจัย ๑๐ คือ อินทริยะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ

นิสสยะ วิปากะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๗. ฌานมูลกนัย

ฌานสภาคะ ๑๐

[๖๕๖] เพราะฌานปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอัญญ-

มัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี

๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 548

ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

ฌานฆฏนา ๓๖

สามัญญฆฏนา ๙

[๖๕๗] ๑. ปัจจัย ๕ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ อวิคต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ.

๒. ปัจจัย ๖ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓. ปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

สมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๔. ปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๕. ปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๖. ปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๗. ปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๘. ปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 549

๙. ปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สอินทริยฆฏนา ๙

๑๐. ปัจจัย ๖ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๑๑. ปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๒. ปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๓. ปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๔. ปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๕. ปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๖. ปัจจัย ๙ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๗. ปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 550

๑๘. ปัจจัย ๖ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สมัคคฆฏนา ๙

๑๙. ปัจจัย ๖ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ มัคคะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๒๐. ปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๑. ปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๒. ปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ มัคคะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๓. ปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๔. ปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๕. ปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๖. ปัจจัย ๙ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 551

๒๗. ปัจจัย ๙ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สอินทริยมัคคฆฏนา ๙

๒๘. ปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๒๙. ปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓๐. ปัจจัย ๙ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓๑. ปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓๒. ปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๓. ปัจจัย ๙ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๔. ปัจจัย ๑๐ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๕. ปัจจัย ๙ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 552

๓๖. ปัจจัย ๑๐ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๘. มัคคมูลกนัย

มัคคสภาคะ ๑๓

[๖๕๘] เพราะมัคคปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ... ในอธิปติปัจจัย

มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย

มี ๗ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

สัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนัตถิ

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิตตปัจจัย มี ๗ วาระ.

มัคคฆฏนา ๕๗

สามัญญฆฏนา ๙

[๖๕๙] ๑. ปัจจัย ๕ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๒. ปัจจัย ๖ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓. ปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 553

๔. ปัจจัย ๖ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๕. ปัจจัย ๖ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๖. ปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๗. ปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๘. ปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อุวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๙. ปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สอินทริยฆฏนา ๙

๑๐. ปัจจัย ๖ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๑๑. ปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๒. ปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 554

๑๓. ปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๔. ปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๕. ปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๖. ปัจจัย ๙ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๗. ปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๘. ปัจจัย ๙ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สฌานฆฏนา ๙

๑๙. ปัจจัย ๖ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ ฌานะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๒๐. ปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

ฌานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๑. ปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

ฌานะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 555

๒๒. ปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ ฌานะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๓. ปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

ฌานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๔. ปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ ฌานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๕. ปัจจัย ๙ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ ฌานะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๖. ปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

ฌานะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๗. ปัจจัย ๙ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ ฌานะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สอินทริยฆฏนา ๙

๒๘. ปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

ฌานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๒๙. ปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ ฌานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓๐. ปัจจัย ๙ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ ฌานะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 556

๓๑. ปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

ฌานะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓๒. ปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ ฌานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๓. ปัจจัย ๙ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ ฌานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๔. ปัจจัย ๑๐ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ ฌานะ สัมปยุตตะ. อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

๓๕. ปัจจัย ๙ คือ มัคคะ สหุชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ ฌานะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๖. ปัจจัย ๑๐ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ ฌานะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

สาธิปติอินทริยฆฏนา ๖

๓๗. ปัจจัย ๗ คือ มัคคะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๓๘. ปัจจัย ๙ คือ มัคคะ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 557

๓๙. ปัจจัย ๘ คือ มัคคะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๔๐. ปัจจัย ๘ คือ มัคคะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔๑. ปัจจัย ๑๐ คือ มัคคะ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔๒. ปัจจัย ๙ คือ มัคคะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สเหตุอินทริยฆฏนา ๙

๔๓. ปัจจัย ๗ คือ มัคคะ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

๔๔. ปัจจัย ๘ คือ มัคคะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๔๕. ปัจจัย ๙ คือ มัคคะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๔๖. ปัจจัย ๘ คือ มัคคะ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๔๗. ปัจจัย ๘ คือ มัคคะ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 558

๔๘. ปัจจัย ๙ คือ มัคคะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔๙. ปัจจัย ๑๐ คือ มัคคะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑

วาระ.

๕๐. ปัจจัย ๙ คือ มัคคะ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๕๑. ปัจจัย ๑๐ คือ มัคคะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑

วาระ.

สเหตุอธิปติอินทริยฆฏนา ๖

๕๒. ปัจจัย ๘ คือ มัคคะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

๕๓. ปัจจัย ๑๐ คือ มัคคะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ

อัญญมัญญะ นิสสยะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๒ วาระ.

๕๔. ปัจจัย ๙ คือ มัคคะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๕๕. ปัจจัย ๙ คือ มัคคะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 559

๕๖. ปัจจัย ๑๑ คือ มัคคะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ

อัญญมัญญะ นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ.

๕๗. ปัจจัย ๑๐ คือ มัคคะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๙. สัมปยุตตมูลกนัย

สัมปยุตตสภาคะ ๑๓

[๖๖๐] เพราะสัมปยุตตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ

ในวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยะ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

สัมปยุตตฆฏนา ๒

[๖๖๑] ๑. ปัจจัย ๖ คือ สัมปยุตตะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 560

๒. ปัจจัย ๗ คือ สัมปยุตตะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๐. วิปปยุตตมูลกนัย

วิปปยุตตสภาคะ ๑๗

[๖๖๒] เพราะวิปปยุตตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๔ วาระ ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย

มี ๕ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี๓ วาระ

ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปาก-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓

วาระ ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ. ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิ-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

วิปปยุตตฆฏนา ๑๓

ปกิณณกฆฏนา ๙

[๖๖๓] ๑. ปัจจัย ๓ คือ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๕

วาระ.

๒. ปัจจัย ๔ คือ วิปปยุตตะ นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

มี ๕ วาระ.

๑. ฆ. ๑ ถึง ฆ. ๔ เป็นมิสสกฆฏนา.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 561

๓. ปัจจัย ๕ คือ วิปปยุตตะ อธิปติ นิสสยะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

๔. ปัจจัย ๕ คือ วิปปยุตตะ นิสสยะ อินทริยะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๕. ปัจจัย ๔ คือ วิปปยุตตะ ปัจฉาชาตะ อัตถิ อวิคต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

๖. ปัจจัย ๕ คือ วิปปยุตตะ นิสสยะ ปุเรชาตะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๗. ปัจจัย ๖ คือ วิปปยุตตะ อารัมมณะ นิสสยะ

ปุเรชาตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๘. ปัจจัย ๘ คือ วิปปยุตตะ อารัมมณะ อธิปติ นิสสยะ

อุปนิสสยะ ปุเรชาตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๙. ปัจจัย ๖ คือ วิปปยุตตะ นิสสยะ ปุเรชาตะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สหชาตฆฏนา ๔

๑๐. ปัจจัย ๕ คือ วิปปยุตตะ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย มี๓ วาระ.

๑๑. ปัจจัย ๖ คือ วิปปยุตตะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 562

๑๒. ปัจจัย ๖ คือ วิปปยุตตะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๓. ปัจจัย ๗ คือ วิปปยุตตะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๑. อัตถิมูลกนัย

อัตถิสภาคะ ๑๘

[๖๖๔] เพราะอัตถิปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ในอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๘ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙

วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑

วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

ฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓

วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 563

อัตถิฆฏนา ๒๙

ปกิณณกฆฏนา ๑๙

[๖๖๕] ๑. ปัจจัย ๒ คือ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

๒. ปัจจัย ๓ คือ อัตถิ นิสสยะ อวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

๓. ปัจจัย ๓ คือ อัตถิ อธิปติ อวิคตปัจจัย มี๘วาระ.

๔. ปัจจัย ๔ คือ อัตถิ อธิปติ นิสสยะ อวิคตปัจจัย

มี ๘ วาระ.

๕. ปัจจัย ๓ คือ อัตถิ อาหาระ อวิคตปัจจัย มี ๗วาระ.

๖. ปัจจัย ๓ คือ อัตถิ อินทริยะ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๗. ปัจจัย ๔ คือ อัตถิ นิสสยะ อินทริยะ อวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ.

๘. ปัจจัย ๓ คือ อัตถิ วิปปยุตตะ อวิคตปัจจัย มี ๕

วาระ.

๙. ปัจจัย ๔ คือ อัตถิ นิสสยะ วิปปยุตตะ อวิคตปัจจัย

มี ๕ วาระ.

๑๐. ปัจจัย ๕ คือ อัตถิ อธิปติ นิสสยะ วิปปยุตตะ

อวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

๑๑. ปัจจัย ๖ คือ อัตถิ อธิปติ นิสสยะ อินทริยะ

วิปปยุตตะ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๒. ปัจจัย ๔ คือ อัตถิ ปัจฉาชาตะ วิปปยุตตะ อวิคต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑. ฆ. ๑ ถึง ฆ. ๑๑ เป็นมิสสกฆฏนา.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 564

๑๓. ปัจจัย ๓ คือ อัตถิ ปุเรชาตะ อวิคตปัจจัย มี ๓

วาระ.

๑๔. ปัจจัย ๕ คือ อัตถิ นิสสยะ ปุเรชาตะ วิปปยุตตะ

อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๕. ปัจจัย ๔ คือ อัตถิ อารัมมณะ ปุเรชาตะ อวิคต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๖. ปัจจัย ๖ คือ อัตถิ อารัมมณะ นิสสยะ ปุเรชาตะ

วิปปยุตตะ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๗. ปัจจัย ๖ คือ อัตถิ อารัมมณะ อธิปติ อุปนิสสยะ

ปุเรชาตะ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๘. ปัจจัย ๘ คือ อัตถิ อารัมมณะ อธิปติ นิสสยะ

อุปนิสสยะ ปุเรชาตะ วิปปยุตตะ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๙. ปัจจัย ๖ คือ อัตถิ นิสสยะ ปุเรชาตะ อินทริยะ

วิปปยุตตะ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สหชาตฆฏนา ๑๐

[๖๖๖] ๑. ปัจจัย ๔ คือ อัตถิ สหชาตะ นิสสยะ อวิคตปัจจัย

มี ๙ วาระ.

๒. ปัจจัย ๕ คือ อัตถิ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 565

๓. ปัจจัย ๖ คือ อัตถิ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

สัมปยุตตะ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ

๔. ปัจจัย ๕ คือ อัตถิ สหชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ

อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๕. ปัจจัย ๖ คือ อัตถิ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปปยุตตะ อวิคตปัจจัย มี ๑วาระ.

๖. ปัจจัย ๕ คือ อัตถิ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๗. ปัจจัย ๖ คือ อัตถิ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๘. ปัจจัย ๗ คือ อัตถิ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ สัมปยุตตะ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๙. ปัจจัย ๖ คือ อัตถิ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

วิปปยุตตะ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๐. ปัจจัย ๗ คือ อัตถิ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ วิปปยุตตะ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๒. นัตถิมูลกนัย

นัตถิสภาคะ ๖

[๖๖๗] เพราะนัตถิปัจจัย ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

สมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี๗ วาระ ในอาเสวน-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 566

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗

วาระ.

นัตถิปกิณณกฆฏนา ๓

[๖๖๘] ๑. ปัจจัย ๕ คือ นัตถิ อนันตระ สมนันตระ อุปนิสสยะ

วิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๒. ปัจจัย ๖ คือ นัตถิ อนันตระ สมนันตระ อุปนิสสยะ

อาเสวนะ วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓. ปัจจัย ๖ คือ นัตถิ อนันตระ สมนันตระ อุปนิสสยะ

กัมมะ วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๓. วิคตมูลกนัย

วิคตสภาคะ ๖

[๖๖๙] เพราะวิคตปัจจัย ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

สมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในอาเสวน-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗

วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 567

วิคตปกิณณกฆฏนะ ๓

[๖๗๐] ๑. ปัจจัย ๕ คือ วิคตะ อนันตระ สมนันตระ อุปนิสสยะ

นัตถิปจจัย มี ๗ วาระ.

๒. ปัจจัย ๖ คือ วิคตะ อนันตระ สมนันตระ อุปนิสสยะ

อาเสวนะ นัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓. ปัจจัย ๖ คือ วิคตะ อนันตระ สมนันตระ อุปนิสสยะ

กัมมะ นัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๔. อวิคตมูลกนัย

อวิคตสภาคะ ๑๘

[๖๗๑] เพราะอวิคตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ในอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๘ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙

วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๓วาระ ใน

อุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ นปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาต

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑

วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

ฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 568

อวิคตฆฏนา ๒๙

ปกิณณกฆฏนา ๑๙

[๖๗๒] ๑. ปัจจัย ๒ คือ อวิคตะ อัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒. ปัจจัย ๓ คือ อวิคตะ นิสสยะ อัตถิปัจจัย มี ๑๓

วาระ.

๓. ปัจจัย ๓ คือ อวิคตะ อธิปติ อัตถิปัจจัย มี ๘ วาระ.

๔. ปัจจัย ๔ คือ อวิคตะ อธิปติ นิสสยะ อัตถิปัจจัย

มี ๘ วาระ.

๕. ปัจจัย ๓ คือ อวิคตะ อาหาระ อัตถิปัจจัย มี ๗

วาระ.

๖. ปัจจัย ๓ คือ อวิคตะ อินทริยะ อัตถิปัจจัย มี ๗

วาระ.

๗. ปัจจัย ๔ คือ อวิคตะ นิสสยะ อินทริยะ อัตถิปัจจัย

มี ๗ วาระ.

๘. ปัจจัย ๓ คือ อวิคตะ วิปปยุตตะ อัตถิปัจจัย มี ๕

วาระ.

๙. ปัจจัย ๔ คือ อวิคตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ อัตถิ-

ปัจจัย มี ๕ วาระ.

๑๐. ปัจจัย ๕ คือ อวิคตะ อธิปติ นิสสยะ วิปปยุตตะ

อัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ.

๑๑. ปัจจัย ๕ คือ อวิคตะ นิสสยะ อินทริยะ วิปปยุตตะ

อัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑. ฆ. ๑ ถึง ฆ. ๑๑ เป็นมิสสกฆฏนา.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 569

๑๒. ปัจจัย ๔ คือ อวิคตะ ปัจฉาชาตะ วิปปยุตตะ อัตถิ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๓. ปัจจัย ๓ คือ อวิคตะ ปุเรชาตะ อัตถิปัจจัย มี ๓

วาระ.

๑๔. ปัจจัย ๕ คือ อวิคตะ นิสสยะ ปุเรชาตะ วิปปยุตตะ

อัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๕. ปัจจัย ๔ คือ อวิคตะ อารัมมณะ ปุเรชาตะ อัตถิ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๖. ปัจจัย ๖ คือ อวิคตะ อารัมมณะ นิสสยะ ปุเรชาตะ

วิปปยุตตะ อัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๗. ปัจจัย ๖ คือ อวิคตะ อารัมมณะ อธิปติ อุปนิสสยะ

ปุเรชาตะ อัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๘. ปัจจัย ๘ คือ อวิคตะ อารัมมณะ อธิปติ นิสสยะ

อุปนิสสยะ ปุเรชาตะ วิปปยุตตะ อัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๙. ปัจจัย ๖ คือ อวิคตะ นิสสยะ ปุเรชาตะ อินทริยะ

วิปปยุตตะ อัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ.

สหชาตฆฏนา ๑๐

[๖๗๓] ๒๐. ปัจจัย ๔ คือ อวิคตะ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ-

ปัจจัย มี ๙ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 570

๒๑. ปัจจัย ๕ คือ อวิคตะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๒. ปัจจัย ๖ คือ อวิคตะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ สัมปยุตตะ อัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๓. ปัจจัย ๕ คือ อวิคตะ สหชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ

อัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๔. ปัจจัย ๖ คือ อวิคตะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปปยุตตะ อัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๕. ปัจจัย ๕ คือ อวิคตะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อัคถิปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๖. ปัจจัย ๖ คือ อวิคตะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๗. ปัจจัย ๗ คือ อวิคตะ สหชาตะ อัณญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๘. ปัจจัย ๖ คือ อวิคตะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

วิปปยุตตะ อัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๙. ปัจจัย ๗ คือ อวิคตะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ.

การนับจำนวนวาระในปัญหาวาระอนุโลม จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 571

อธิบายการนับวาระในอนุโลม

ในฆฏนานัยแห่งปัญหาวาระ

เหตุมูกนัย

บัดนี้ เพื่อจะแสดงวิสัชนาคามที่ได้ในปัญหาวาระนี้ ด้วยอำนาจ

การนับ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส คำว่า เหตุยา สตฺต ในเหตุปัจจัย

มี ๗ วาระ เป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺต คือ มีวิสัชนา ๗

วาระอย่างนี้ คือ วิสัชนา ๓ วาระ คือ กุศลกับกุศล, อัพยากตะกับกุศล,

กุสลาพยากตะกับกุศล. อกุศลมี ๓ วาระ เช่นเดียวกับกุศล, อัพยากตะ

กับอัพยากตะ มี ๑ วาระเท่านั้น.

สองบทว่า อารมฺมเณ นว คือ ในอารัมมณปัจจัย มีวิสัชนา ๙

วาระ ซึ่งแต่ละวาระมีบทต้น ๑ บท บทอวสาน ๑ บท. สองบทว่า

อธิปติยา ทส คือ ในอธิปติ มีวิสัชนา ๑๐ วาระ อย่างนี้คือ วิสัชนา

๔ วาระ อันมีกุศลเป็นมูล คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล โดยสหชาตปัจจัย

และอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยแก่กุศลโดยอารัมมณปัจจัยเท่านั้น เป็นปัจจัย

แก่อัพยากตะโดยเป็นสหชาตปัจจัย และโดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยแก่

กุสลาพยากตะ โดยเป็นสหชาตปัจจัยเท่านั้น. วิสัชนา ๓ ข้อ ซึ่งมีอกุศล

เป็นมูล คือ อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลโดยสหชาตปัจจัยและอารัมมณปัจจัย

เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะโดยสหชาตปัจจัยเท่านั้น เป็นปัจจัยแก่อกุสลาพยา-

กตะโดยเป็นสหชาตปัจจัยเท่านั้น (และ) วิสัชนา ๓ ข้อ ซึ่งมีอัพยากตะ

เป็นมูล คือ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะโดยสหชาตปัจจัยและ

อารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยแก่กุศลโดยอารัมมณปัจจัยเท่านั้น เป็นปัจจัยแก่

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 572

อกุศลโดยอารัมมณปัจจัยเหมือนกัน ก็ในอธิปปัจจัยนี้ย่อมได้อารัมมณา-

ธิปติ ๗ วาระ และสหชาตาธิปติ ๗ วาระเหมือนกัน.

สองบทว่า อนนฺตเร สตฺต ได้แก่ ในอนันตรปัจจัย มีวิสัชนา ๗

วาระ อย่างนี้ คือ วิสัชนา ๒ วาระ มีกุศลเป็นมูล วิสัชนา ๒ วาระ

มีอกุศลเป็นมูล วิสัชนา ๓ วาระ มีอัพยากตะเป็นมูล. แม้ในสมนันตร-

ปัจจัย ก็มีวิสัชนา ๗ วาระเหล่านี้เหมือนกัน.

สองบทว่า สหชาเต นว ความว่า ในสหชาตปัจจัย มีวิสัชนา

๙ วาระ อย่างนี้ คือ วิสัชนามีกุศลเป็นมูล ๓ วาระ มีอกุศลเป็นมูล ๓

วาระ มีอัพยากตะเป็นมูล ๑ วาระ มีกุสลาพยากตะเป็นมูล ๑ วาระ มี

อกุสลาพยากตะเป็นมูลอีก ๑ วาระ.

สองบทว่า อญฺมเ ตีณิ ได้แก่ ในอัญญมัญญปัจจัย มี

วิสัชนา ๓ วาระ อย่างนี้ คือ กุศลกับกุศล ๑ วาระ อกุศลกับอกุศล ๑

วาระ อัพยากตะกับอัพยากตะ ๑ วาระ.

สองบทว่า นิสฺสเย เตรส ความว่า ในนิสสยปัจจัย มีวิสัชนา

๑๓ วาระ อย่างนี้ คือ วิสัชนาที่มีกุศลเป็นมูล ๓ วาระ มีอกุศลเป็นมูล

๓ วาระ มีอัพยากตะเป็นมูล ๓ วาระโดยสหชาตปัจจัยนั่นเอง. ก็ใน

วิสัชนามีอัพยากตะเป็นมูลนี้ ย่อมได้ปุเรชาตปัจจัยด้วย จริงอยู่ อัพยากตะ

กับอัพยากตะเป็นสหชาตะกันก็ได้ เป็นปุเรชาตะก็ได้. อัพยากตะเป็น

ปัจจัยแก่กุศลโดยปุเรชาตะเท่านั้น เป็นปัจจัยแก่อกุศลก็เหมือนกัน. กุสลา-

พยากตะ เป็นปัจจัยแก่กุศลโดยสหชาตะและปุเรชาตะ เป็นปัจจัยแก่

อัพยากตะโดยสหชาตะเท่านั้น. อกุสลาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อกุศลโดย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 573

สหชาตะและปุเรชาตะ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะโดยเป็นสหชาตะอย่าง

เดียว.

สองบทว่า อุปนิสฺสเย นว ความว่า ในอุปนิสสยปัจจัย มี

วิสัชนา ๙ วาระ ทุกวาระมีบทต้น ๑บท และอวสานบท๑. ในวิภังค์แห่ง

ปัจจัยเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงประเภทไว้ ๒๓ วาระ บรรดา

วาระเหล่านั้น อารัมมณูปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ อนันตรูปสนิสสยปัจจัย

มี ๗ วาระ ปกตูปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ.

สองบทว่า ปุเรชาเต ตีณิ ความว่า ในปุเรชาตปัจจัย มีวิสัชนา

๓ วาระ อย่างนี้ คือ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อัพยากตะเป็น

ปัจจัยแก่กุศล อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุศล.

สองบทว่า ปจฺฉาชาเต ตีณิ ความว่า ในปัจฉาชาตปัจจัย มี

วิสัชนา ๓ วาระ อย่างนี้ คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อกุศลเป็น

ปัจจัยแก่อัพยากตะ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ.

สองบทว่า อาเสวเน ตีณิ คือ ในอาเสวนปัจจัย มีวิสัชนา ๓

วาระ เหมือนกับอัญญมัญญปัจจัย.

สองบทว่า กมฺเม สตฺต คือ ในกัมมปัจจัย มีวิสัชนา ๗ วาระ

เหมือนเหตุปัจจัย บรรดาวิสัชนา ๗ วาระเหล่านั้น นานักขณิกกัมมปัจจัย

มาในวิสัชนา ๒ วาระ ใน ๕ วาระ (ที่เหลือ) มาได้เฉพาะสหชาตปัจจัย

เท่านั้น.

สองบทว่า วิปาเก เอก ได้แก่ วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ คือ

อัพยากตะกับอัพยากตะ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 574

ใน อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย และ มัคคปัจจัย

มีวิสัชนาปัจจัยละ ๗ วาระ เหมือนกับเหตุปัจจัยนั้นเอง ก็ในอธิการนี้

อินทริยปัจจัยมาแล้ว ด้วยอำนาจสหชาตะและปุเรชาตะ.

สองบทว่า สมฺปยุตฺเต ตีณิ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ได้แก่

ในสัมปยุตตปัจจัย มีวิสัชนา ๓ วาระ เช่นเดียวกับอัญญมัญญปัจจัย.

สองบทว่า วิปฺปยุตฺเต ปญฺจ ความว่า ในวิปปยุตตปัจจัย มี

วิสัชนา ๕ วาระ อย่างนี้ คือ วิสัชนาที่มีกุศลเป็นมูล ๑ วาระ มีอกุศล

เป็นมูล ๑ วาระ มีอัพยากตะเป็นมูล ๓ วาระ คือ อัพยากตะกับกุศล

และ อัพยากตะกับอกุศล เป็นปัจจัยโดยสหชาตะและปัจฉาชาตะ อัพยา-

กตะกับอัพยากตะ เป็นปัจจัยโดยสหชาตะ ปุเรชาตะ แสะปัจฉาชาตะ กุศล

กับอัพยากตะ และอกุศลกับอัพยากตะ เป็นปัจจัยโดยวัตถุปุเรชาตะ.

สองบทว่า อตฺถิยา เตรส ความว่า ในอัตถิปัจจัย มีวิสัชนา ๑๓

วาระ อย่างนี้ คือ มีกุศลเป็นมูล ๓ วาระ คือ กุศลกับกุศลเป็นปัจจัยโดย

สหชาตะ อัพยากตะกับกุศลเป็นปัจจัยโดยสหชาตะและปัจฉาชาตะ กุสลา-

พยากตะกับกุศลเป็นปัจจัยโดยสหชาตะอย่างเดียว ที่มีอกุศลเป็นมูล ก็มี ๓

วาระเหมือนกัน แต่ อัพยากตะกับอัพยากตะ เป็นปัจจัยโดยสหชาตะ ปุเร-

ชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทริยปัจจัย กุศลและอัพยากตะ และ

อกุศลกับอัพยากตะ เป็นปัจจัยโดยวัตถารัมมณปุเรชาตปัจจัย กุศลและ

อัพยากตะ เป็นปัจจัยแก่กุศลโดยสหชาตะและปุเรชาตะ อกุศลและ

อัพยากตะ นั้นนั่นเทียว เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะก็เหมือนกัน โดยสหชาตะ

ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทริยปัจจัย อกุศลและอัพยากตะ เป็นปัจจัย

แก่อกุศลโดยสหชาตะ ปุเรชาตะ และ อกุศลและอัพยากตะ นั้นนั่นเทียว

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 575

เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะโดยสหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทริย-

ปัจจัย.

ใน นัตถิปัจจัย และ วิคตปัจจัย มีวิสัชนา ๗ วาระ เหมือน

อนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย. ในคำนี้ว่า อวิคเต เตรส คือ ใน

อวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ เหมือนอัตถิปัจจัย.

ในปัญหาวาระอนุโลมนี้ มีการกำหนดวิธีนับ ๗ อย่าง อย่างนี้คือ

วิสัชนา ๑ วาระ ๓ วาระ ๕ วาระ ๗ วาระ ๙ วาระ ๑๐ วาระ ๑๓

วาระ. ในจำนวนวิสัชนา ๗ อย่างเหล่านั้น วิสัชนา ๑ วาระ มี ๑ ปัจจัย

เท่านั้น ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย.

วิสัชนา ๓ วาระ มี ๕ ปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย

ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย และสัมปยุตตปัจจัย.

วิสัชนา ๕ วาระ มี ๑ ปัจจัยเท่านั้น ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

วิสัชนา ๗ วาระ มี ๑๐ปัจจัย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย อนันตร-

ปัจจัย สมนันตรปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌาน-

ปัจจัย มัคคปัจจัย นัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.

วิสัชนา ๙ วาระ มี ๓ ปัจจัย ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย.

วิสัชนา ๑๐วาระ มี ๑ ปัจจัย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

วิสัชนา ๑๓ วาระ มี ๓ ปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย อัตถิ-

และอวิคตปัจจัย.

ฉะนั้น ผู้ศึกษากำหนดวาระทั้งหลายที่แสดงไว้ในปัจจัยนั้น ๆ ดัง

ได้ชี้แจงมานี้ ด้วยอำนาจแห่งจำนวนให้ดี แล้วพึงทราบจำนวนในการ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 576

เทียบเคียงปัจจัยในทุกมูลและติกมูลเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยเหล่า

นั้น.

บัณฑิตไม่ควรประกอบปัจจัยที่เป็นวิสภาคะกัน หรือที่ขัดแย้งกันไว้

ด้วยกัน. คืออย่างไร. คือ อธิบดีที่เหลือเว้นวีมังสาธิปติ และในอารัมมณ-

ปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย

ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาเสวนปัจจัย อาหารปัจจัย ฌานปัจจัย

นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย เป็นวิสภาคะแห่งเหตุปัจจัยก่อน. สหชาตปัจจัย

เป็นต้น เป็นสภาคะแห่งเหตุปัจจัยนั้น. เพราะเหตุใด. เพราะมีสภาพเหมือน

กัน. จริงอยู่ เหตุปัจจัยป็นปัจจัยโดยเหตุ แก่ธรรมเหล่าใด ก็เป็นสหชาต

ปัจจัยเป็นต้น แก่ธรรมเหล่านั้นด้วย แต่หาเป็นอารัมมณปัจจัยเป็นต้น แก่

ธรรมเหล่านั้นไม่ เหตุนั้นอารัมมณปัจจัยเป็นต้น จึงชื่อว่า เป็นวิสภาคะ

แก่เหตุปัจจัยนั้น เพราะฉะนั้น เหตุปัจจัยนั้นจึงไม่ควรประกอบไว้กับ

อารัมมณปัจจัยเป็นต้นเหล่านั้น หรือว่าไม่ควรประกอบอารัมมณปัจจัย

เป็นต้น เหล่านั้นไว้กับเหตุปัจจัยนั้น.

แม้ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตต-

ปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย และอวิคตปัจจัย ก็ขัดแย้งกัน

และกัน จึงไม่ควรประกอบไว้ด้วยกันอีก. บรรดาธรรมเหล่านั้น ผู้ศึกษา

จะได้วาระเหล่าใดในการประกอบกับธรรมที่เข้ากันได้ เว้น ธรรมที่เข้ากัน

ไม่ได้เสีย เพื่อจะแสดงวาระเหล่านั้นโดยสังเขป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า เหตุปจฺจยา อธิปติยา จตฺตาริ เป็นต้น (ในเพราะเหตุปัจจัย

อธิปติปัจจัย มี ๔ วาระ).

บรรดาวาระเหล่านั้น เพราะการเทียบเคียงเหตุปัจจัยกับอธิปติปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 577

(เพราะเอาเหตุปัจจัยรวมกับอธิปติปัจจัย) ได้ ๗ วาระ ด้วยอำนาจแห่ง

ปัจจัยที่น้อยกว่าก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะในบรรดาอธิบดีทั้งหลาย วีมังสา-

ธิบดีเท่านั้นเป็นเหตุปัจจัย นอกนี้หาเป็นไม่ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทรงเว้น ธรรมที่เป็นวิสภาคะ (เข้ากันไม่ได้ ) เสียแล้ว ตรัสว่า จตฺตาริ

ด้วยอำนาจแห่งธรรมที่เป็นสภาคะกัน . วิสัชนา ๔ วาระเหล่านั้น ผู้ศึกษา

พึงทราบอย่างนี้ คือ กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมด้วยอำนาจของเหตุ-

ปัจจัย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย. คือวีมังสาที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์

ที่สัมปยุต กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย คือ วีมังสาธิบดีที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่รูป

ืที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน, กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม

ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย คือ วีมังสาธิบดีที่

เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน, อัพยากต-

ธรรมเป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย ด้วยอำนาจ

ของอธิปติปัจจัย คือ วีมังสาธิบดีที่เป็นวิปากาพยากตะ และกิริยาพยากตะ

เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน. ก็ในทีนี้พึงถือเอา

วิปากาพยากตะจากโลกุตตธรรมเท่านั้น ส่วนอารัมมณปัจจัยและอนันตร-

ปัจจัยเป็นต้น ท่านไม่ประกอบไว้ เพราะเป็นวิสภาคะกัน ผู้ศึกษาครั้น

ทราบวาระที่มีได้และไม่ได้ในปัจจัยทั้งหมดโดยอุบายนี้แล้ว พึงอธิบาย

วาระด้วยอำนาจที่มีได้.

สองบทว่า สหชาเต สตฺต ความว่า ในสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ

ที่ได้แล้วในเหตุปัจจัย สองบทว่า อญฺมญฺเ ตีณิ ได้แก่ ในอัญญ-

มัญญปัจจัย มี ๓ วาระ คือ วิสัชนาที่ได้ในสุทธิกอัญญมัญญปัจจัย (อัญญ-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 578

มัญญปัจจัยล้วน) นั่นเอง. สองบทว่า นิสฺสเย สตฺต ได้แก่ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๗ วาระ คือ วิสัชนาที่ได้ในเหตุปัจจัย. สองบทว่า วิปาเก

เอก คือ ๑ วาระ ที่ได้ในวิบากปัจจัยล้วน ๆ. คำว่า อินฺทริยมคฺเคสุ

จตฺตาริ ในอินทริยปัจจัยและมัคคปัจจัย มี ๔ วาระ มีนัยดังที่กล่าวแล้ว

ในหนหลังนั่นเอง. สองบทว่า สมฺปยุตฺเต ตีณิ ได้แก่ ในสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ คือ วิสัชนาที่ได้ในสุทธิกสัมปยุตตปัจจัยนั่นเอง. สอง

บทว่า วิปฺปยุตฺเต ตีณิ ได้แก่ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ผู้ศึกษา

พึงทราบวิสัชนาที่ยกเอารูป มีกุศลจิตเป็นต้น เป็นสมุฏฐานขึ้นเป็นปัจจ-

ยุบบัน. สองบทว่า อตฺถิอวิคเตสุ สตฺต ในอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ คือ วิสัชนาที่ได้ในเหตุปัจจัยนั่นเอง ด้วยประการดังพรรณนา

มาแล้วนี้.

เหตุปัจจัย ได้การประกอบอธิบายร่วมกับปัจจัยสิบเอ็ด มีอธิปติ-

ปัจจัยเป็นต้นเหล่าใด พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงวิธีนับในทุมูลกนัย

ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยเหล่านั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงวิธีนับใน

ติมูลกนัยเป็นต้น จึงทรงตั้งข้อกำหนดตรัสว่า เหตุสหชาตนิสฺสยอตฺถิ

อวิคตนฺติ สตฺต ในเพราะปัจจัย ๕ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ

และอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ เป็นต้นด้วยประการฉะนี้.

แต่ในคัมภีร์ทั้งหลาย พระอาจารย์เขียนชื่อปัจจัยมีอักขระตกไป

อย่างนี้ คือ นิสฺส อุปนิสฺส อธิปาติ คำนั้นท่านเขียนด้วยอำนาจลืมใส่ใจ

เพราะฉะนั้น ในฐานะเช่นนั้นจึงควรเติมบาลีเสียให้ทราบ ก็ข้อกำหนดที่

ท่านตั้งไว้นั้นย่อมแสดงถึงอรรถนี้ว่า เหตุปัจจัยนี้ย่อมได้วิสัชนา ๗ วาระ

ที่ได้ในวิภังค์ของตนเท่านั้น เพราะรวมเข้ากับปัจจัย ๔ มีสหชาตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 579

เป็นต้น. ก็ถ้าหากรวมอัญญมัญญปัจจัยลงในอธิการนี้ ย่อมได้วิสัชนา

๓ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย, ถ้ารวมสัมปยุตตปัจจัยเข้าด้วยก็คงได้วิสัชนา

๓ วาระ เหล่านั้นเอง. ในเหตุวิปปยุตตทุกะ ถ้ารวมวิปปยุตตปัจจัยเข้าไป

ด้วยกันก็ได้วิสัชนา ๓ วาระ. ถ้ารวมวิปากปัจจัยด้วย ย่อมได้วิสัชนาวาระ

เดียวเท่านั้น เพราะเทียบเคียงปัจจัยทั้งหมดที่เป็นสภาคะกับวิบาก. ก็ถ้า

รวมอินทริยปัจจัยและมัคคปัจจัยเข้าไปในที่นี้ด้วย ย่อมได้วิสัชนา ๔ วาระ

ที่ได้ในทุมูลกนัย กับด้วยอินทริยะและมัคคปัจจัยเหล่านั้น.

ถ้ารวมอัญญมัญญปัจจัยกับปัจจัยทั้งสองนั้น ให้นำวิสัชนาออกเสีย

๒ วาระ คือ กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ กุศลธรรม เป็นปัจจัย

แก่กุศลธรรมและอัพยากตะ ในบรรดาวิสัชนา ๔ วาระที่แสดงไว้ใน

เหตาธิปติทุกะ ย่อมได้วิสัชนา ๒ วาระที่เหลือ ถึงจะเพิ่มสัมปยุตตปัจจัย

เข้าไปในที่นั้นอีก ก็คงได้วิสัชนา ๒ วาระเหล่านั้นเอง. ก็ถ้าเพิ่มวิปป-

ยุตตปัจจัยเข้าไป จะได้วิสัชนา ๒ วาระนอกจากนั้นด้วย ถ้าเพิ่มวิปาก-

ปัจจัยเข้าไปในปัจจัยเหล่านั้น ย่อมได้วิสัชนาวาระเดียวในที่ทุกแห่ง. ก็เมื่อ

ไม่ผนวกปัจจัยที่มีวิธีคำนวณได้น้อยกว่าเหตาธิปติทุกะกับอธิปติปัจจัย ย่อม

ได้วิสัชนา ๔ วาระเท่านั้น. เมื่อผนวกเข้าไปด้วย ย่อมได้วิสัชนา ๒ วาระ

และ ๑ วาระ ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยเหล่านั้นแล. ผู้ศึกษาครั้นทราบ

จำนวนที่ได้อยู่ในการประกอบรวมกันแห่งปัจจัยนั้น ๆ ดังพรรณนามานี้

แล้ว พึงขยายจำนวน (วิธีนับ) ในติมูลกนัยเป็นต้นต่อไป.

ก็บรรดาฆฏนาเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอำนาจเหตุ-

ปัจจัย อันมี ๙ ฆฏนาโดยสามัญ ฆฏนา ๔ ฆฏนาก่อนฆฏนาทั้งปวงเป็น

อวิปากฆฏนาเท่านั้น (คือ ยังไม่มีวิปากปัจจัยที่ร่วมด้วย) แต่ในตอน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 580

วิสัชนาอัพยากตะกับอัพยากตะ ย่อมได้วิบากเหตุในที่นี้ด้วย. ฆฏนา ๕

ฆฏนาต่อจากนั้นตรัสไว้ด้วยอำนาจเหตุที่เป็นวิบาก. วิบากที่เป็นสหชาตะ

และรูปที่เป็นสหชาตะกับวิบากทั้งหมด ก็ตรัสไว้ในที่นั้นด้วย บรรดา

ฆฏนาเหล่านั้น วิบาก และรูปที่มีวิบากนั้นเป็นสมุฏฐาน ย่อมได้ใน

ฆฏนาที่ ๑.

วิบากและวัตถุรูปในปฏิสนธิกาลได้ใน ฆฏนาที่ ๒.

ใน ฆฏนาที่ ๓ ได้เฉพาะอรูปธรรมอย่างเดียว.

ฆฏนาที่ ๔ ได้เฉพาะรูปที่มีวิบากจิตเป็นสมุฏฐานอย่างเดียว.

ฆฏนาที่ ๕ ได้เฉพาะวัตถุรูปเท่านั้น.

ฆฏนา ๑๕ ต่อจากนั้น เกี่ยวข้องกับอินทรีย์ ตรัสไว้ด้วยอำนาจ

อโมหเหตุ. ในบรรดาฆฏนา ๑๕ เหล่านั้น พวกแรกมี ๙ ฆฏนาไม่มี

อธิบดี. พวกหลังมี ๖ ฆฏนามีอธิบดี. แม้ในบรรดาฆฏนาที่ไม่มีอธิบดี ๔

ฆฏนาแรก ในที่ทุกแห่งตรัสด้วยอโมหเหตุเหมือนกันหมดโดยสามัญ.

๕ ฆฏนาหลังตรัสด้วยอำนาจอโมหเหตุที่เป็นวิบาก.

บรรดาฆฏนาที่ไม่มีอธิบดีเหล่านั้น ฆฏนาแรก ทรงแสดงไว้ใน

เหตาธิปติทุกะในหนหลังว่า มี ๔ วาระ.

ใน ฆฏนาที่ ๒ ขาดรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.

ใน ฆฏนาที่ ๓ ไม่มีวัตถุรูป.

ใน ฆฏนาที่ ๔ ได้กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่จิตตชรูป อัพยากตะ

ย่อมได้รูปที่มีอัพยากตะเป็นสมุฏฐานเท่านั้น (จิตตชรูปและปฏิสนธิ-

กัมมชรูป).

ฆฏนาที่ ๕ ที่ประกอบด้วยวิบาก นอกจากนั้นมีนัยดังกล่าวแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 581

ในหนหลัง. บรรดาฆฏนาที่มีอธิบดี ๓ ฆฏนาข้างต้น ตรัสไว้ด้วยอำนาจ

แห่งเหตุทั้งที่เป็นวิบากและไม่เป็นวิบากโดยสามัญ.

บรรดาฆฏนาเหล่านั้น ใน ฆฏนาที่ ๑ มี ๔ วาระ มีนัยดังกล่าว

แล้วนั่นแล.

ใน ฆฏนาที่ ๒ ไม่มีรูป.

ใน ฆฏนาที่ ๓ ไม่มีอรูป. ๓ ฆฏนานอกจากนั้นตรัสไว้ด้วยอำนาจ

แห่งเหตุฝ่ายวิบาก.

บรรดาฆฏนาเหล่านั้น ฆฏนาที่ ๑ ได้ทั้งรูปและนาม.

ฆฏนาที่ ๒ ได้แต่นามเท่านั้น.

ฆฏนาที่ ๓ ได้เฉพาะรูปแล.

ผู้ศึกษา ครั้นทราบวิธีคำนวณที่ได้ในการประกอบร่วมแห่งปัจจัย

นั้น ๆ ดังพรรณนามาแล้ว พึงขยายวิธีคำนวณในติมูลกนัยเป็นต้น

ต่อไป.

เหตุมุลกนัย จบ

อารัมมณมูลกนัย

พึงทราบวินิจฉัย ในฆฏนาที่มีอารมณ์เป็นมูล ต่อไป. ปัจจัย ๗ มี

อธิปติปัจจัยเป็นต้น เป็นสภาคะกับอารัมมณปัจจัย ที่เหลือ ๑๖ ปัจจัย

เป็นวิสภาคะ เพราะฉะนั้น อย่าประกอบปัจจัย๑๖เหล่านั้น (กับอารัมมณ-

ปัจจัย) ประกอบเฉพาะ ๗ ปัจจัยเท่านั้น. บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า

อธิปติยา สตฺต ความว่า ในอธิปติปัจจัย มีวิสัชนา ๗ วาระ คือ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 582

วิสัชนา ๓ วาระ ที่มีกุศลเป็นมูลอย่างนี้ คือ กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่

กุศลธรรม ๑ แก่อกุศลธรรม ๑ แก่อัพยากตธรรม ๑, วิสัชนา ๑ วาระ

มีอกุศลเป็นมูล, วิสัชนา ๓ วาระมีอัพยากตะเป็นมูล. สองบทว่า นิสฺสเย

ตีณิ คือ วิสัชนา ๓ วาระ มีอัพยากตะเป็นมูลด้วยอำนาจแห่งวัตถุนั่นเอง.

สองบทว่า อุปนิสฺสเย สตฺต เหมือนที่กล่าวไว้ในหนหลัง. สองบทว่า

ปุเรชาเต ตีณิ คือ วิสัชนา ๓ วาระ ที่มีอัพยากตะเป็นมูลด้วยอำนาจ

วัตถุและอารมณ์. สองบทว่า วิปฺปยุตฺเต ตีณิ คือ วิสัชนา ๓ วาระ ที่มี

อัพยากตะเป็นมูลด้วยอำนาจวัตถุอย่างเดียว. สองบทว่า อตฺถิอวิคเตสุ ตีณิ

คือ วิสัชนา ๓ วาระ ที่มีอัพยากตะเป็นมูลด้วยอำนาจวัตถุที่เป็นอารมณ์.

เหมือนอย่างในเหตุมูลกนัย ท่านตั้งฆฏนาไว้เพื่อแสดงข้อกำหนด ฉันใด

แม้ในอารัมมณมูลกนัยเป็นต้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

บรรดาฆฏนาเหล่านั้น ในฆฏนา ๕ ที่ท่านตั้งไว้ในอารัมมณมูลก-

นัยนี้ก่อน บรรดาฆฏนาเหล่านั้น

ฆฏนาที่ ๑ มี ธิบดีด้วยอำนาจอารัมณาธิปติปัจจัย บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า สตฺต คือ วิสัชนาที่ได้ในอารัมมณาธิปติทุกะนั่นเอง.

ฆฏนาที่ ๒ ไม่มีอธิบดี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตีณิ คือ

วิสัชนาที่อัพยากตะเป็นมูล ด้วยอำนาจแห่งวัตถุและอารมณ์หรืออารมณ์

อย่างเดียว.

ฆฏนาที่ ๓ ประกอบในนิสสยปัจจัย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

ตีณิ คือ มีอัพยากตะเป็นมูลด้วยอำนาจวัตถุ.

ฆฏนาที่ ๔ และ ฆฏนาที่ ๕ มีอธิบดี ในสองข้อนั้น บทว่า

เอก ในฆฏนาที่ ๔ ได้แก่ อกุศลที่มีอัพยากตะเป็นมูล ด้วยอำนาจวัตถุ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 583

และอารมณ์หรือด้วยอำนาจอารมณ์. บทว่า เอก ในฆฏนาที่ ๕ ได้แก่

อกุศลที่มีอัพยากตะเป็นมูลโดยเป็นนิสสยปัจจัย.

ผู้ศึกษาพึงทราบวิธีนับในติมูลกนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจปัจจัยที่ได้

อยู่ในอธิการนี้ ดังพรรณนามาแล้ว. แม้ในนัยที่มีอธิปติปัจจัยเป็นมูล

ก็เหมือนกัน. แต่สำหรับข้าพเจ้าจะไม่ขอกล่าวอธิบายอย่างพิสดาร ด้วย

อำนาจอารัมมณะ อินทรีย์ และวิปากปัจจัย จะกล่าวเฉพาะที่สมควรกล่าว

ในที่นั้น ๆ เท่านั้น.

อธิปติมูลกนัย

พึงทราบวินิจฉัย ใน อธิปติมูลกนัย ต่อไป. สองบทว่า สหชาเต

สตฺต ในสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ได้วิสัชนา ๗ วาระ คือ วิสัชนา

๓ วาระ มีกุศลเป็นมูลด้วยอำนาจสหชาตาธิปติปัจจัย วิสัชนา ๓ วาระ

มีอกุศลเป็นมูล, วิสัชนาอีก ๑ วาระ มีอัพยากตะเป็นมูล. ก็อารัมมณธิปติ-

ปัจจัยย่อมไม่ได้สหชาตปัจจัย และสหชาตปัจจัยก็ย่อมไม่ได้อารัมมณาธิปติ-

ปัจจัย. สองบทว่า อญฺมญฺเ ตีณิ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ

คือ มีวิสัชนา ๓ วาระ ด้วยอำนาจสหชาตาธิปติปัจจัยเท่านั้น. สองบทว่า

นิสฺสเย อฏฺ ในนิสสยปัจจัย มี ๘ วาระ คือ มีกุศลเป็นมูล ๓ วาระ.

มีอกุศลเป็นมูล ๓ วาระ, มีอัพยากตะเป็นมูล ๒ วาระ. จริงอยู่ อธิบดี

ที่เป็นอัพยากตะ ย่อมเป็นที่อาศัยแห่งอัพยากตธรรม โดยเป็นสหชาตปัจจัย

และอารัมมณปัจจัย เป็นที่อาศัยแห่งอกุศล โดยเป็นอารัมมณปัจจัยอย่าง

เดียว แต่ไม่เป็นที่อาศัยแห่งกุศลธรรมโดยประการทั้งสอง วิสัชนาที่มี

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 584

อัพยากตะเป็นมูลมี ๒ วาระเท่านั้น รวมเป็นวิสัชนา ๘ วาระ ด้วยอธิบาย

มานี้.

วิสัชนา ๗ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัยเหมือนกับอารัมมณปัจจัยนั้นเอง.

สองบทว่า ปุเรชาเต เอก ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ อัพยากตาธิบดี

เป็นปัจจัยแก่อกุศล ด้วยอำนาจอารมณ์. สองบทว่า วิปาเก เอก ใน

วิปากปัจจัย มี วาระ คือ โลกุตตรอัพยากตะกับอัพยากตะ. วิสัชนา

๗ วาระ ในอาหารปัจจัยเป็นต้น ได้แล้วในเอกมูลกนัยในหนหลังนั่นเอง.

สองบทว่า วิปฺปยุตฺเต จตฺตาริ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ คือ

อัพยากตะกับกุศล, อัพยากตะกับอกุศล, อัพยากตะกับอัพยากตะ, และ

กุศลกับอัพยากตะ. วิสัชนา ๘ วาระในอัตถิปัจจัยและอวิตตปัจจัยเช่นเดียว

กับนิสสยปัจจัยนั่นเอง.

ก็ในอธิการนี้ ฆฏนาทั้งหลายท่านไม่ประกอบกับอารัมมณปัจจัย

เป็นต้น ตามลำดับ ประกอบกับอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัยก่อน. ถามว่า

เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะรวมอธิบดีทั้งสองปัจจัย ไว้ด้วยกัน.

บรรดาฆฏนาเหล่านั้น ในฆฏนาต้น ได้วัตถุที่เป็นอารมณ์ (วัตถา-

รัมมณะ) ด้วยอำนาจของอารัมมณาธิปติปัจจัย.

ในฆฏนาที่ ๒ ได้วัตถุอย่างเดียว สำหรับบุคคลผู้ยินดีอย่างหนัก

ด้วยอำนาจเป็นที่อาศัย (สำหรับบุคคลผู้ทำไห้หนักด้วยอำนาจเป็นที่อาศัย

แล้วยินดีอยู่).

ในฆฏนาที่ ๓ ได้ธรรมมีกุศลเป็นต้น เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลาย

ด้วยอำนาจของสหชาตาธิปติปัจจัย. ได้วัตถุเป็นปัจจัยแก่อกุศล ด้วย

อำนาจของอารัมมณาธิปติปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 585

ฆฏนา ๓ ข้อ นอกจากนั้นตรัสไว้ด้วยอำนาจอารัมมณาธิปติปัจจัย.

บรรดาฆฏนาเหล่านั้น วิสัชนา ๗ วาระ ในฆฏนาที่ ๑ ข้าพเจ้ากล่าวไว้

เรียบร้อยแล้วในหนหลัง.

บทว่า เอก ในฆฏนาที่ ๒ คือ วัตถุที่เป็นอารมณ์ที่เกิดก่อนเป็น

ปัจจัยแก่อกุศล. ในฆฏนาที่ ๓ วัตถุเท่านั้นเป็นปัจจัยแก่อกุศล.

ฆฏนา ๓ ข้อต่อจากนั้น ทั่วไปแก่ธรรมทั้งที่เป็นวิบากและมิใช่

วิบาก ตรัสไว้ด้วยอำนาจสหชาตาธิปติปัจจัย. บรรดาฆฏนาเหล่านั้นใน

ฆฏนาที่ ๑ ได้ทั้งรูปและอรูป.

ฆฏนาที่ ๒ ได้เฉพาะอรูปอย่างเดียว.

ฆฏนาที่ ๓ ได้รูปเท่านั้น.

ฆฏนาที่ ๓ ข้อนอกจากนั้น ตรัสไว้ ด้วยอำนาจวิปากาธิปติปัจจัย.

แม้บรรดา ๓ ฆฏนานั้น ฆฏนาท ๑ ได้ทั้งรูปและอรูป.

ฆฏนาที่ ๒ ได้อรูป.

ฆฏนาที่ ๓ ได้เฉพาะรูปเท่านั้น.

ฆฏนา ๖ นอกจากนั้นประกอบด้วยอาหาระและอินทริยปัจจัย ตรัส

ไว้ด้วยอำนาจแห่งจิตตาธิปติปัจจัย. บรรดาฆฏนา ๖ ฆฏนาเหล่านั้นไม่มี

วิบาก ๓ ฆฏนา มีวิบาก ๓ ฆฏนา. วิธีคำนวณในฆฏนาเหล่านั้นแจ่มแจ้ง

แล้วแล. ฆฏนา ๖ ฆฏนานอกจากนั้นตรัสไว้ด้วยอำนาจวิริยาธิปติ.

ถามว่า ก็เมื่อว่าตามลำดับอธิบดีแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัส

ฆฏนาด้วยอำนาจวิริยาธิปติไว้เป็นอันดับแรกมิใช่หรือ (แต่) ทำไมพระ-

พุทธองค์จึงไม่ตรัสอย่างนั้น. แก้ว่า เพราะฆฏนาเหล่านั้นเหมือนกับ

ฆฏนาที่ตรัสไว้ด้วยอำนาจเหตุข้างหน้า. จริงอยู่ ฆฏนาที่ตรัสไว้ด้วยอำนาจ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 586

เหตุข้างหน้าเกี่ยวเนื่องด้วยมรรค เพราะอโมหเหตุเป็นวีมังสาธิปติ และ

เพราะวีมังสาธิปติเป็นตัวสัมมาทิฏฐิ. อนึ่ง แม้วิรยะก็จัดเป็นมรรค เพราะ

เป็นสัมมาวายามะ และมิจฉาวายามะ เพราะฉะนั้น ฆฏนาทั้งหลายพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสหมุนเวียนไปกับวิริยะนั้นว่า เหมือนกันกับฆฏนา

ที่ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งเหตุข้างหน้า. วิธีคำนวณแม้ในฆฏนาเหล่านั้น

แจ่มแจ้งแล้วแล.

อนันตร-สมนันตรมูลกนัย

บทว่า สตฺต ๗ นฆฏนาที่มี อนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย

เป็นมูล ความว่า มีวิสัชนา ๗ วาระอย่างนี้ คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล

และแก่อัพยากตะ, อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลและแก่อัพยากตะ, อัพยา-

กตะเป็นปัจจัยแก่กุศลแก่อกุศล และแก่อัพยากตะแม้ทั้ง ๓. สองบทว่า

กมฺเม เอก ในกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ คือ กุศลมัคคเจตนา เป็นปัจจัย

แก่วิปากาพยากตะของตน ก็ในปัจจัยเหล่านั้นมีฆฏนา ๓ เท่านั้น ฆฏนา

เหล่านั้น ประกอบตามลำดับวิสัชนาที่มีวาระมาก.

พึงทราบวินิจฉัยใน ฆฏนาที่มีสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย และ

นิสสยปัจจัยเป็นมูล ต่อไป. ปัจจัยใด ๆ ที่ตรัสไว้ในทุมูลกนัย ปัจจัย

นั้นเป็นสภาคะกับปัจจัยที่อยู่ข้างต้น เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาครั้นทราบวิธี

คำนวณในทุมูลกนัยแล้ว พึงทราบวิธีคำนวณในฆฏนาทั้งหลายในที่ทุก

แห่งด้วยอำนาจปัจจัยที่คำนวณได้น้อยกว่าในบรรดาปัจจัย ที่นำมาเชื่อม

ข้างปลาย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 587

สหชาตมูลกนัย

บรรดาฆฏนาเหล่านั้น ฆฏนาที่มี สหชาตปัจจัยเป็นมูล มี ๑๐

ฆฏนา ในฆฏนา๑๐นั้นที่เป็น อวิปากฆฏนา มี ๕ ฆฏนา เป็น สวิปาก-

ฆฏนา มี ๕ ฆฏนา.

ในสองอย่างนั้น ที่เป็น อวิปากฆฏนา ก่อน ใน ฆฏนาที่ ๑ มี

วิสัชนา ๙ วาระอย่างนี้ คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล. แก่อัพยากตะและ

แก่กุสลาพยากตะ, กุสลาพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ รวมเป็น ๔

วาระ. อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล แก่อัพยากตะ แก่อกุสลาพยากตะ,

อกุสลาพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากคะ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ

เท่านั้น. บรรดาวิสัชนาเหล่านั้นในวิสัชนา ๘ วาระ มีกุศลและอกุศล

เป็นต้น ได้ทั้งอรูป (นาม) และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ในอัพยากตะ

ได้วัตถุรูป. บรรดารูปทั้งหลาย วัตถุรูปเท่านั้นมีได้ในวิสัชนาฝ่ายอัพยากตะ

ใน ฆฏนาที่ ๒.

บรรดาฆฏนาแม้ทั้ง ๓ อรูปเท่านั้นมีได้ในฆฏนาที่ ๓.

ใน ฆฏนาที่ ๔ ได้เฉพาะรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเท่านั้น.

ใน ฆฏนาที่ ๕ ได้อรูปธรรมกับวัตถุรูปในปฏิสนธิกาล.

ใน สวิปากฆฏนา ใน ฆฏนาที่ ๑ ได้วิบากจิต และรูปที่มีวิบาก-

จิตเป็นสมุฏฐาน.

ฆฏนาที่ ๒ ได้วิบากและวัตถุรูป.

ฆฏนาที่ ๓ ได้วิบากอย่างเดียว.

ฆฏนาที่ ๔ ได้รูปที่มีวิบากจิตเป็นสมุฏฐานอย่างเดียว.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 588

ฆฏนาที่ ๕ ได้เฉพาะวัตถุรูป.

อัญญมัญญมูลกนัย

ใน อัญญมัญญมูลกนัย มีฆฏนา ๖ บรรดาฆฏนา ๖ เหล่านั้น

๓ ฆฏนาแรกเป็นอวิปากฆฏนา ๓ ฆฏนาท้ายเป็นสวิปากฆฏนา วิธีคำนวณ

ในฆฏนาเหล่านั้นแจ่มแจ้งแล้ว.

นิสสยมูลกนัย

พึงทราบวินิจฉัยในนัยที่มี นิสสยปัจจัยเป็นมูล ต่อไป. คำว่า

นิสฺสยปจฺจยา อารมฺมเณ ตีณิ เพราะนิสสยปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย

มี ๓ วาระ ผู้ศึกษาพึงทราบวิสัชนา ๓ วาระ ด้วยอำนาจแห่งกุศลเป็นต้น

ที่ยกวัตถุขึ้นเป็นอารมณ์เป็นไป (เป็นไปโดยเอาวัตถุเป็นอารมณ์). สอง

บทว่า อุปนิสฺสเย เอก ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ คือ อกุศลที่ยึด

วัตถุเป็นอารัมมณูปนิสสัยเกิดขึ้น คำที่เหลือพึงทราบตามนี้ที่ข้าพเจ้ากล่าว

แล้วในทุกะมูลกนัยในหนหลัง.

ก็ในนิสสยปัจจัยนี้มีฆฏนา ๒๐ ฆฏนา. บรรดาฆฏนาเหล่านั้น ๖

ฆฏนาข้างต้น ตรัสไว้ด้วยอำนาจสหชาตะและปุเรชาตะ. ๔ ฆฏนานอก

จากนั้น ตรัสด้วยอำนาจปุเรชาตะอย่างเดียว. ต่อไป ๑๐ ฆฏนา ตรัสด้วย

อำนาจสหชาตะอย่างเดียว.

ในบรรดาฆฏนาเหล่านั้น คำว่า เตรส ๑๓ ใน ฆฏนาที่ ๑ ได้แก่

วิสัชนา ๑๓ วาระ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นั่นเทียว ในนิสสยปัจจัย-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 589

วิภังค์. คำว่า อฏฺ ๘ ใน ฆฏนาที่ ๒ ได้แก่วิสัชนา ๘ วาระ คือ

วิสัชนา ๗ วาระ ด้วยอำนาจแห่งสหชาตาธิปติปัจจัย และ ๑ วาระ ที่

อกุศลกระทำวัตถุให้หนัก.

คำว่า สตฺต ๗ วาระ ใน ฆฏนาที่ ๓ คือ วิสัชนา ๗ วาระ ที่ได้

แล้วในอินทริยปัจจัยนั่นเทียว.

คำว่า ปญฺจ ๕ วาระ ใน ฆฏนาที่ ๔ คือ วิสัชนา ๕ วาระ ที่ได้

แล้วในวิปปยุตตปัจจัยนั่นเทียว.

คำว่า จตฺตาริ ๔ วาระ ใน ฆฏนาที่ ๕ ได้แก่ วิสัชนาที่มีกุศล

เป็นต้น เป็นปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และวัตถุเป็นปัจจัยแก่

อกุศล.

คำว่า ตีณิ ๓ วาระ ใน ฆฏนาที่ ๖ คือ กุศลเป็นต้น เป็นปัจจัย

แก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.

ในบรรดาฆฏนา ๔ ฆฏนาด้วยสามารถแห่ง ปุเรชาตปัจจัย. คำว่า

ตีณิ ๓ วาระ ใน ฆฏนาที่ ๑ วัตถุเป็นปัจจัยแก่กุศลเป็นต้น และวัตถุ

มีจักขุเป็นต้นเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ.

ใน ฆฏนาที่ ๒ วัตถุเท่านั้น เป็นปัจจัยแก่กุศลเป็นต้น.

ใน ฆฏนาที่ ๓ คำว่า เอก คือ วัตถุเป็นปัจจัยแก่อกุศล.

ใน ฆฏนาที่ ๔ วัตถุมีจักขุเป็นต้น เป็นปัจจัย แก่หมวด ๕ แห่ง

วิญญาณจิต (คือ ทวิปัญจวิญญาณ). ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้า

จำแนกฆฏนา ๑๐ ออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ สวิปากฆฏนา และ อวิปาก-

ฆฏนา ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัยแล้วกล่าวไว้ในสหชาตมูลกนัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 590

อุปนิสสยมูลกนัย

พึงทราบวินิจฉัยในฆฏนาที่มี อุปนิสสยปัจจัยเป็นมูล ต่อไป. สอง

บทว่า อารมฺมเณ สตฺต ในอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ คือ วิสัชนาที่ได้

ในอารัมมณูปนิสสยปัจจัย. คำว่า อธิปติยา สตฺต ในอธิปติปัจจัย มี ๗

วาระ ก็ได้แก่วาระเหล่านั้นเหมือนกัน. บรรดาอนันตรปัจจัยและ

สมนันตรปัจจัย วิสัชนาเหล่านั้นแหละได้ในอนันตรปนิสสยปัจจัยด้วย.

สองบทว่า นิสฺสเย เอก ในนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระคือ วัตถุเป็นปัจจัย

แก่อกุศล. สองบทว่า ปุเรชาเต เอก ในเปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ได้แก่ วัตถุหรืออารมณ์เป็นปัจจัยแก่อกุศลนั้นนั่นเอง. สองบทว่า อาเส-

วเน ตีณิ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ตรัสไว้ด้วยอำนาจอนันตรูป-

นิสสยปัจจัย. สองบทว่า กมฺเม เทฺว ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ตรัสไว้

ด้วยอำนาจปกตูปนิสสยปัจจัย. แต่ว่า โลกุตตรกุศลเจตนา ย่อมเป็นแม้

อนันตรปนิสสยปัจจัย. สองบทว่า วิปฺปยุตฺเต เอก ในวิปปยุตตปัจจัย

มี ๑ วาระ ตรัสไว้ด้วยอำนาจอารัมมณูปนิสสัย. ในอัตถิปัจจัยและอวิคต-

ปัจจัยก็เหมือนกัน.

วิสัชนา ๗ วาระ ในนัตถิปัจจัย และ วิคตปัจจัย เหมือนกับ

อนันตรปัจจัย.

ก็ฆฏนาที่มี อุปนิสสยปัจจัยเป็นมูล มี ๗ ฆฏนา บรรดาฆฏนา

เหล่านั้น ๓ ข้อข้างต้น ตรัสด้วยอำนาจอารัมมณูปนิสสยปัจจัย. ใน ๓

ฆฏนานั้น ในฆฏนาที่ ๑ บทว่า สตฺต ๗ วาระ ความว่า มีวิสัชนา ๗

อย่างนี้ คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลเป็นต้น อัพยากตะก็เหมือนกัน (รวม

เป็น ๖) อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลอย่างเดียว.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 591

บทว่า เอก ๑ วาระ ในฆฏนาที่ ๒ ความว่า อัพยากตะมีจักขุ

เป็นต้น เป็นปัจจัยแก่อกุศล.

ในฆฏนาที่ ๓ ได้แก่ วัตถุเป็นปัจจัยแก่อกุศล. ๒ ฆฏนาต่อจาก

นั้น ตรัสไว้ด้วยอำนาจอนันตรูปนิสสยปัจจัย. การคำนวณในฆฏนา

เหล่านั้นแจ่มแจ้งแล้ว.

ต่อจากนั้น อีก ๒ ฆฏนา ตรัสด้วยอำนาจอนันตรูปนิสสยปัจจัย

และปกตูปนิสสยปัจจัย. ใน ๒ ฆฏนานั้นโลกิยกุศลและอกุศลเจตนา ท่าน

ถือเอาโดยความเป็นปัจจัยในฆฏนาที่ ๑ ส่วนในฆฏนาที่ ๒ ถือเอาแต่

โลกุตตรกุศลอย่างเดียว.

ปุเรชาตมูลกนัย

พึงทราบวินิจฉัย ในฆฏนาที่มีปุเรชาตปัจจัยเป็นมูล ต่อไป. สอง

บทว่า อารมฺมเณ ตีณิ ในอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ คือ อัพยากตะ

เป็นปัจจัยแก่กุศลเป็นต้น. สองบทว่า อธิปติยา เอก ในอธิปติปัจจัย

มี ๑ วาระ คือ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุศล. ในฆฏนาที่เหลือก็นัยเดียว

กันนี้.

ก็ในนัยนี้มีฆฏนา ๗ หมวด ในฆฏนาเหล่านั้น ฆฏนาที่ ๑ ตรัส

ไว้ด้วยอำนาจวัตถุและอารมณ์.

ฆฏนาที่ ๒ ตรัสไว้ด้วยอำนาจวัตถุ.

ฆฏนาที่ ๓ ตรัสด้วยอำนาจอารมณ์.

ฆฏนาที่ ๔ ตรัสด้วยอำนาจแห่งเวลาที่วัตถุเป็นอารมณ์.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 592

ฆฏนาที่ ๕ ตรัสด้วยอำนาจอารัมมณาธิปติปัจจัย.

ฆฏนาที่ ๖ ตรัสด้วยอำนาจแห่งเวลาที่วัตถุเป็นอารัมมณาธิปติ.

ฆฏนาที่ ๗ ตรัสด้วยอำนาจจักขุวัตถุเป็นต้น.

ปัจฉาชาตมูลกนัย

พึงทราบวินิจฉัย ในฆฏนาที่มีปัจฉชาตปัจจัยเป็นมูล ต่อไป.ปัจจัย

๒๐ ย่อมประกอบไม่ได้ ประกอบได้เฉพาะ ๓ ปัจจัยเท่านั้น ในนัยนี้มี

ฆฏนา ๑ เท่านั้นเอง ฆฏนานั้นพึงทราบด้วยอำนาจกุศลเป็นต้นเป็นปัจจัย

แก่กาย. แม้ในนัยที่อาเสวนปัจจัยเป็นมูลก็มีฆฏนา ๑ เหมือนกัน.

กัมมมูลกนัย

พึงทราบวินิจฉัย ในฆฏนาที่มีกัมมปัจจัยเป็นมูล ต่อไป. สอง

บทว่า อนนฺตเร เอก ในอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ท่านกล่าวไว้ด้วย

อำนาจเจตนาในมรรค. ในคำว่า อญฺมญฺเ ตีณิ ในอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ พึงถือเอาแม้วัตถุในปฏิสนธิกาลด้วย. สองบทว่า อุปนิสฺสเย

เทฺว ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ คือ วาระ ๒ ที่กล่าวไว้ในหนหลัง

ด้วยอำนาจอนันตรูปนิสสยปัจจัยและปกตูปนิสสยปัจจัย. แม้ฆฏนาที่เหลือ

พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังดังนี้แล. ก็ในนัยนี้มีฆฏนา๑๑

หมวด บรรดาฆฏนาเหล่านั้น ๒ ฆฏนาแรกตรัสด้วยอำนาจนานักขณิก-

กัมมปัจจัย โดยแบ่งเป็นปกตูปนิสสัยและอนันตรูปนิสสัย นอกจาก

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 593

นั้นอีก ๔ ฆฏนา ตรัสด้วยอำนาจเอกขณิกกัมมปัจจัยจากธรรมทั้งที่เป็น

สวิบากและอวิบาก. ในฆฏนา ๔ ข้อเหล่านั้น.

ฆฏนาที่ ๑ ได้จิตตชรูปพร้อมกันอรูป.

ฆฏนาที่ ๒ ได้วัตถุพร้อมกับอรูป.

ฆฏนาที่ ๓ ได้เฉพาะอรูป อย่างเดียว.

ฆฏนาที่ ๔ ได้เฉพาะจิตตชรูป ส่วนกฏัตตารูป ได้ในปฏิสนธิ-

กาล.

ฆฏนา ๕ ฆฏนาอื่นจากนั้น เป็น สวิปากะ มีนัยอันข้าพเจ้าได้

กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล.

วิปากมูลกนัย

ฆฏนา ๕ ฆฏนา ใน นัยที่มีปากปัจจัยเป็นมูล มีเนื้อความ

กระจ่างแล้ว.

อาหารมูลกนัย

คำว่า สตฺต ๗ วาระ เป็นต้น ใน นัยที่มีอาหารปัจจัยเป็นมูล มี

นัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วเหมือนกัน. ก็ในนัยนี้มีฆฏนา ๓๔ ฆฏนา. บรรดา

ฆฏนาเหล่านั้น ๕ ฆฏนาแรก ท่านกล่าวไว้โดยเป็นทั้ง สวิปากฆฏนา

และ อวิปากฆฏนา เหมือนกัน .

ในฆฏนานั้น อาหารทั้ง ๔ ย่อมได้ใน ฆฏนาที่ ๑.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 594

เฉพาะนามอาหาร ๓ เท่านั้นได้ใน ฆฏนาที่ ๒.

ฆฏนาที่ ๓ มีวัตถุเป็นปัจจยุบบันด้วย.

ฆฏนาที่ ๔ ไม่มีวัตถุ.

ฆฏนาที่ ๕ มีรูปเท่านั้นเป็นปัจจยุบบัน ฆฏนา ๕ ฆฏนาอื่นต่อ

จากนั้น มีนัยดังข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง.

ฆฏนา ๙ ฆฏนาต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอำนาจ

แห่งอาหาร คือ เจตนา (มโนสัญเจตนาหาร), ๙ ฆฏนานอกจากนั้น

ตรัสด้วยอำนาจวิญญาณาหารที่มีอธิบดี, ๖ ฆฏนานอกจากนั้น ตรัส

ด้วยอำนาจวิญาณาหารที่มีอธิบดี, ใน ๖ ฆฏนานั้น ๓ ฆฏนา ตรัสด้วย

อำนาจธรรมทั้งที่เป็นสวิปากฆฏนาและอวิปากฆฏนาเหมือนกัน (หรือรวม

กัน) อีก ๓ ฆฏนา ตรัสด้วยอำนาจสวิปากฆฏนาอย่างเดียว ใน ๓ ฆฏนา

นั้น ไม่มีวัตถุรูป เพราะไม่มีโลกิยวิบาก.

อินทริยมูลกนัย

คำว่า ปุเรชาเต เอก ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน นัยที่มี

อินทริยปัจจัยเป็นมูล มีฆฏนา ๑ คือ อัพยากตะกับอัพยากตะ ด้วย

อำนาจแห่งจักขุนทรีย์เป็นต้น. ฆฏนาที่มีมูล ๒ ที่เหลือ พึงทราบตามนัย

ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง. ก็ในนัยนี้ มีฆฏนา ๗๖ ฆฏนา.

บรรดามฆฏนา ๗๖ ฆฏนาเหล่านั้น ฆฏนาที่ ๑ ได้อินทรีย์ทั้งหมด

โดยอรรถว่าเป็นปัจจัย.

ฆฏนาที่ ๒ ไม่มีรูปชีวิตินทรีย์ เพราะว่ารูปชีวิตินทรีย์แม้นั้น ย่อม

ไม่เป็นที่อิงอาศัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 595

ฆฏนาที่ ๓ ได้แก่ อรูปอินทรีย์เป็นปัจจัยแก่รูป.

ฆฏนาที่ ๔ ได้แก่ จักขุนทรีย์เป็นต้น เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ

เป็นต้น.

ฆฏนาที่ ๙ ฆฏนาต่อจากนั้น ตรัสด้วยอำนาจอรูปอินทรีย์ ที่เกิด

พร้อมกัน.

ฆฏนาที่ ๙ ฆฏนาถัดจากนั้น ตรัสด้วยอำนาจอินทรีย์ที่เป็นตัว

มรรค.

ฆฏนาที่ ๙ ฆฏนาต่อจากนั้น ตรัสด้วยอำนาจอินทรีย์ที่เป็นองค์

ฌาน.

ฆฏนาที่ ๙ ฆฏนาต่อจากนั้น ตรัสด้วยอำนาจอินทรีย์ที่เป็นทั้งฌาน

และมรรค.

ฆฏนา ๙ ฆฏนาต่อจากนั้น ตรัสด้วยอำนาจมนินทรีย์อย่างเดียว.

ฆฏนา ๖ ฆฏนาต่อจากนั้น มีอธิบดี.

ฆฏนา ๖ ฆฏนาต่อจากนั้น ประกอบด้วยมรรค ด้วยอำนาจ

วิริยาธิปติและวีมังสาธิปติ.

ฆฏนา ๙ ฆฏนาต่อจากนั้น ไม่มีอธิบดี ด้วยอำนาจอโมหเหตุ.

ฆฏนา ๖ ฆฏนามีอธิบดี ในบรรดาฆฏนาทั้งหมดเหล่านั้น ฆฏนา

ทั้งที่ไม่ประกอบและประกอบด้วยวิปากปัจจัย พึงทราบตามนัยที่ข้าพเจ้า

กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 596

ฌานมูลนัย

แม้ใน ฆฏนาที่มีฌานปัจจัยเป็นมูล ฆฏนาที่มีมูล ๒ พึงทราบตาม

นัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังเหมือนกัน. ก็ในนัยนี้มีฆฏนา ๓๖ ฆฏนา

บรรดาฆฏนาเหล่านั้น ๙ ฆฏนาแรก ตรัสด้วยอำนาจองค์ฌานทั่วไป ไม่

มุ่งถึงความเป็นอินทรีย์หรือมรรค.

ฆฏนา ๙ ฆฏนาต่อจากนั้น ตรัสด้วยองค์ฌานที่เป็นตัวมรรค.

ฆฏนา ๙ ฆฏนาต่อจากนั้น ตรัสด้วยอำนาจองค์ฌานที่เป็นทั้ง

อินทรีย์และมรรค.

อนึ่ง บรรดาหมวด ๙ สี่หมวดเหล่านี้ ฆฏนา ๔ ฆฏนาข้างต้น

ทั่วไปแก่วิบากและอวิบาก.

ฆฏนา ๕ ฆฏนา ในที่สุดได้วิบากเท่านั้น. ฆฏนาเหล่านั้นข้าพเจ้า

กล่าวไว้แล้วในหนหลังเหมือนกัน.

มัคคมูลกนัย

ฆฏนาที่มีมูล ๒ ใน นัยที่มีมัคคปัจจัยเป็นมูล พึงทราบตามนัยที่

ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วนั่นเทียว. ก็ในนัยนี้มีฆฏนา ๕๗ ฆฏนา บรรดาฆฏนา

เหล่านั้น.

๙ ฆฏนาแรก ตรัสด้วยองค์มรรคล้วนไม่รวมถึงความเป็นอินทรีย์

และฌาน.

๙ ฆฏนาต่อจากนั้น ตรัสด้วยอำนาจมรรคที่เป็นอินทรีย์.

๙ ฆฏนาต่อจากนั้น ตรัสด้วยอำนาจมรรคที่เป็นฌาน.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 597

๙ ฆฏนา ตรัสด้วยอำนาจมรรคเป็นทั้งอินทรีย์และฌาน.

๖ ฆฏนาต่อจากนั้น ตรัสด้วยมรรคที่เป็นอธิบดี.

๙ ฆฏนาต่อจากนั้น ตรัสด้วยอำนาจมรรคและเหตุที่ไม่เป็นอธิบดี.

๖ ฆฏนาต่าจากนั้น ตรัสด้วยอำนาจมรรคและเหตุที่เป็นอธิบดี.

ในหมวดที่มี ฆฏนา ๙ ฆฏนามีอยู่๕ หมวด เป็นสวิปากฆฏนา

หมวดละ ๕ ฆฏนา, ในหมวดที่มีฆฏนา ๖ ฆฏนา เป็นสวิปากฆฏนา

หมวดละ ๓ ฆฏนา. ที่เหลือเป็นสาธารณะ. ฆฏนาเหล่านั้นมีนัยดังข้าพเจ้า

กล่าวแล้วในหนหลัง.

สัมปยุตตมูลกนัย

ฆฏนาที่มีมูล ๒ ใน นัยที่มีสัมปยุตตปัจจัยเป็นมูล ชัดเจนแล้ว.

ก็ในนัยนี้ฆฏนา ๒ ฆฏนาเท่านั้น ใน ๒ ฆฏนานั้น ฆฏนา ๑ ตรัสด้วย

อำนาจธรรมทั่วไป ฆฏนา๑ ตรัสด้วยอำนาจแห่งวิบาก.

วิปปยุตตมูลกนัย

แม้ในนัยที่มีวิปปยุตตปัจจัยเป็นมูล ฆฏนาที่มีมูล ๒ ชัดเจนแล้ว.

ก็ในนัยนี้มีฆฏนา ๑๓ ฆฏนา. บรรดาฆฏนาเหล่านั้น. คำว่า ปญฺจ ๕ วาระ

ในฆฏนาที่ ๑ คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อกุศลเป็นปัจจัยแก่

อัพยากตะ ส่วนอัพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุศล อกุศล และอัพยากตะทั้ง ๓.

ก็ในนัยนี้มีวิปปยุตตปัจจัยเป็นต้นเหล่านี้ เกิดพร้อมกันก็มี เกิดภายหลัง

และเกิดก่อนก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 598

ใน ฆฏนาที่ ๒ เฉพาะที่เป็นปุเรชาตะและสหชาตะเท่านั้น.

ปัจจัยเหล่านั้นนั่นเอง ตรัสไว้ใน ฆฏนาที่ ๓ ด้วยอำนาจแห่ง

อธิบดี. บรรดาปัจจัยเหล่านั้นได้วาระ ๔ อย่างนี้ คือ กุศลเป็นปัจจัย

แก่อัพยากตะ อกุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ แต่อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่

อัพยากตะและแก่อกุศล ด้วยอำนาจแห่งอารัมมณาธิปติปัจจัย.

บทว่า ตีณิ ๓ วาระ ใน ฆฏนาที่ ๔ คือ กุศลเป็นต้น เป็นปัจจัย

แก่อัพยากตะ. ก็ในนี้ได้ทั้งรูปอินทรีย์และนามอินทรีย์.

ใน ฆฏนาที่ ๕ นามเท่านั้นเป็นปัจจัย.

ใน ฆฏนาที่ ๖ รูปคือวัตถุรูปเป็นปัจจัย.

ใน ฆฏนาที่ ๗ รูปเป็นปัจจัยแก่กุศลและอัพยากตะ ด้วยอำนาจ

-แห่งวิปัสสนา. หทัยวัตถุเท่านั้นเป็นปัจจัยแก่อกุศล ด้วยอำนาจเป็นที่

ยินดี.

ใน ฆฏนาที่ ๘ หทัยวัตถุนั้นเองเป็นปัจจัยแก่อกุศล.

ใน ฆฏนาที่ ๙ จักขุเป็นต้น เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ.

ใน ฆฏนาที่ ๑๐ กุศลเป็นต้น เป็นปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.

ใน ฆฏนาที่ ๑๑ วัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายในปฏิสนธิกาล.

ใน ฆฏนาที่ ๑๒ ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปในปฏิสนธิ-

กาล.

ใน ฆฏนาที่ ๑๓ ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่วัตถุรูปในปฏิสนธิ-

กาล.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 599

อัตถิมูลกนัย

ใน นัยที่มีอัตถิปัจจัย เป็นมูล. สองบทว่า อุปนิสฺสเย เอก ใน

อุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ คือ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุศลด้วยอำนาจ

อารัมมณูปนิสสยะ ฆฏนาที่เหลือในทุมูลกนัยตื้นทั้งนั้น. ก็ในนัยนี้มี

ฆฏนา ๒๙ ฆฏนา. บรรดาฆฏนาเหล่านั้น ฆฏนาที่ ๑ ได้สหชาตปัจจัย-

ปุเรชาตปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย ด้วยอำนาจอรูป, วัตถุอารมณ์,

มหาภูตรูป อินทรีย์, และอาหาร.

ใน ฆฏนาที่ ๒ ได้กพฬีการาหารและรูปชีวิตินทรีย์ที่เกิดในภาย-

หลัง.

ฆฏนาที่ ๑ และที่ ๒ เท่านั้นกับอธิปติปัจจัย ท่านจัดเป็น ฆฏนา

ที่ ๓ และ ฆฏนาที่ ๔ ในฆฏนาต่อไป.

เฉพาะฆฏนาที่ ๑ กับอาหาร ๔ จัดไว้เป็น ฆฏนาที่ ๕.

ฆฏนาที่ ๑ กับรูปชีวิตินทรีย์จัดเป็น ฆฏนาที่ ๖ กับรูปและอรูป-

อินทรีย์จัดไว้เป็น ฆฏนาที่ ๗ อีก.

ก็หรือว่าเฉพาะฆฏนาที่ ๒ เท่านั้น กับอินทรีย์ทั้งหลายจัดเป็น

ฆฏนาที่ ๗.

เฉพาะฆฏนาที่ ๑ และที่ ๒ กับวิปปยุตตปัจจัยจัดเป็น ฆฏนาที่ ๘

และ ฆฏนาที่ ๙.

บรรดาฆฏนาเหล่านั้น ฆฏนาที่ ๙ กับอธิปติปัจจัยจัดเป็น ฆฏนา

ที่ ๑๐.

ต่อจากนั้น เอาวัตถุรูปออก ด้วยอำนาจเป็นปัจจัยใน ฆฏนาที่ ๑๑.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 600

อรูปธรรมทั้งหลายเท่านั้น เป็นปัจจัยใน ฆฏนาที่ ๑๒.

ใน ฆฏนาที่ ๑๓ มีวัตถุที่เป็นอารมณ์เป็นปัจจัย.

ใน ฆฏนาที่ ๑๔ มีวัตถุเท่านั้นเป็นปัจจัย.

ใน ฆฏนาที่ ๑๕ มีอารมณ์เท่านั้น เป็นปัจจัย.

ใน ฆฏนาที่ ๑๖ มีวัตถุเท่านั้นเป็นอารมณ์.

ใน ฆฏนาที่ ๑๗ วัตถุนั้นเองเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจเป็น

อารัมมณาธิปติ.

ใน ฆฏนาที่ ๑๘ วัตถุนั้นเองเป็นอารมณ์ด้วยอำนาจอารัมมณูป-

นิสสยปัจจัย.

จักขุเป็นต้นเท่านั้นเป็นปัจจัย ใน ฆฏนาที่ ๑๙.

ฆฏนาที่ ๑๙ เหล่านี้ ชื่อว่า ปกิณณกฆฏนา อันพระองค์ตรัสไว้

โดยไม่ถือเองซึ่งสหชาตะ. ๑๐ ฆฏนา ต่อจากนั้น ตรัสด้วยอำนาจสหชาต-

ฆฏนา.

นัตถิ-วิคตมูลกนัย

ในนัยที่มี นัตถิและวิคตปัจจัยเป็นมูล มีฆฏนา ๓ ด้วยอำนาจ

อุปนิสสยปัจจัย อาเสวนปัจจัย และกัมมปัจจัย เหมือนในนัยที่มีอนันตระ

และสมนันตรปัจจัยเป็นมูล.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 601

อวิคตมูลกนัย

ฆฏนาที่มีอวิคตปัจจัยเป็นมูล เหมือนกับที่มีอัตถิปัจจัยเป็นมูล

นั่นเอง.

ก็ฆฏนาที่กล่าวไว้ในปัญหาวาระนี้ทั้งหมด มี ๒ อย่างเท่านั้น

คือ ปกิณณกฆฏนาและสหชาตฆฏนา.

บรรดาปกิณณกฆฏนาและสหชาตฆฏนาเหล่านั้น ฆฏนาที่ท่านกล่าว

ไว้ตั้งต้นแต่ฆฏนาที่มี อารัมมณปัจจัยเป็นมูล เป็นต้นทั้งหมด ไม่รวม

สหชาตะ ชื่อ ปกิณณกฆฏนา.

ปกิณณฆฏนาเหล่านั้น แม้ในฆฏนาที่มี อารัมมณปัจจัยเป็นมูล

มี ๕ ฆฏนา.

ในฆฏนาที่มี อธิปิติปัจจัยเป็นมูล มี ๖ ฆฏนา.

ในฆฏนาที่มี อนันตรปัจจัยเป็นมูล มี ๓ ฆฏนา.

ในฆฏนาที่มี สมนันตรปัจจัยเป็นมูล มี ๓ ฆฏนา.

ในฆฏนาที่มี นิสสยปัจจัยเป็นมูล มี ๑๐ ฆฏนา.

ในฆฏินาที่มี อุปนิสสยปัจจัยเป็นมูล มี ๗ ฆฏนา.

ในฆฏนาที่มี ปุเรชาตปัจจัยเป็นมูล มี ๗ ฆฏนา.

ในฆฏนาที่มี ปัจฉาชาตปัจจัยเป็นมูล และ อาเสวนปัจจัยเป็นมูล

มีอย่างละ ๑ ฆฏนาเท่านั้น.

ในฆฏนาที่มี กัมมปัจจัยเป็นมูล มี ๒ ฆฏนา.

ที่มี อาหารเป็นมูล มี ๑ ฆฏนา.

ที่มี อินทริย์เป็นมูล มี ๔ ฆฏนา. ที่มี วิปปยุตตปัจจัยเป็นมูล มี

๙ ฆฏนา. ที่มี อัตถิปัจจัยเป็นมูล มี ๑๙ ฆฏนา. ที่มี นัตถิปัจจัยเป็น

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 602

มูล และวิคตปัจจัยเป็นมูล มี ๓ ฆฏนา. ที่มี อวิคตปัจจัยเป็นมล มี๑๙

ฆฏนา.

ฉะนั้น ปกิณณกฆฏนาทั้งหมดจึงมี ๑๐๓ ฆฏนา. ก็ ฆฏนาเหล่านี้

ทั้งหมด เรียกว่า ปกิณณกฆฏนา เพราะไม่มีการกำหนดด้วยสหชาต-

ปัจจัย.

ก็ฆฏนาที่ได้สหชาตะ ท่านเรียกว่า สหชาตฆฏนา ฆฏนาเหล่านั้น

ย่อมไม่ได้ในฆฏนาที่มีอารัมมณปัจจัยเป็นมูล ในฆฏนาที่มีอนันตรปัจจัย

สมนันตรปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาเสวน-

ปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัยเป็นมูล เพราะว่าปัจจัยเหล่านั้นย่อม

ไม่เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เกิดพร้อมกัน. อนึ่ง ธรรมเหล่านั้นไม่เป็นปัจจัย

แก่ธรรมที่เกิดพร้อมกัน ฉันใด ก็ย่อมไม่เป็นเหตุปัจจัย สหชาตปัจจัย

อัญญมัญญปัจจัย วิปากปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย และสัมปยุตต

ปัจจัย แก่ธรรมที่ไม่ได้เกิดพร้อมกัน ฉันนั้น.

เพราะฉะนั้น ฆฏนา ๒๔ ทั้งหมด ในฆฏนาที่มี เหตุปัจจัยเป็นมูล

จึงชื่อว่า สหชาตฆฏนา เท่านั้น.

ในฆฏนาที่มี อธิปติปัจจัยเป็นมูล มี ๒ ฆฏนา.

ในฆฏนาที่มี สหชาตปัจจัยเป็นมูล มี ๑๐ ฆฏนา.

ที่มี อัญญมัญญปัจจัยเป็นมูล มี ๖ ฆฏนา.

ที่มี นิสสยปัจจัยเป็นมูล มี ๑๐ ฆฏนา.

ที่มี กัมมปัจจัยเป็นมูล มี ๙ ฆฏนา.

ที่มี วิปากปัจจัยเป็นมูล มี ๕ ฆฏนา.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 603

ที่มี อาหารปัจจัยเป็นมูล มี ๓๓ ฆฏนา.

ที่มี อินทริยปัจจัยเป็นมูล มี ๗๒ ฆฏนา.

ที่มี ฌานปัจจัยเป็นมูล มี ๓๖ ฆฏนา.

ที่มี มัคคปัจจัยเป็นมูล มี ๕๗ ฆฏนา. ที่มี สัมปยุตตปัจจัยเป็น

มูล มี ๒ ฆฏนา. ที่มี วิปปยุตตปัจจัยเป็นมูล มี ๔ ฆฏนา. ที่มี อัตถ-

ปัจจัยเป็นมูล มี ๑๐ ฆฏนา. ที่มี อวิคตปัจจัยเป็นมูล มี ๑๐ ฆฏนา

ดังนี้แล.

สหชาตฆฏนาทั้งหมดจึงมี ๓๑๒ ฆฏนา.

ฆฏนา ๔๑๕ ทั้งหมด คือ ปกิณณกฆฏนาข้างต้น ๑๐๓ ฆฏนา

และ สหชาตฆฏนาเหล่านี้อีก ๓๑๒ ฆฏนา มาแล้วในปัญหาวาระ ด้วย

ประการฉะนี้.

บรรดาปัจจัยเหล่านั้น ปัจจัยธรรมเหล่าใดไม่ปรากฏด้วยอำนาจชื่อ

แต่รู้กันได้ แม้เหล่านั้นพึงแสดงในฆฏนาทั้งหลาย ที่ท่านกล่าวไว้โดย

ทั่วไปแก่ธรรมที่เป็นวิบากและมิใช่วิบาก ตั้งแต่นัยที่มีเหตุเป็นมูลเป็นต้น

เป็นต้นไป จริงอยู่ ธรรมเหล่านี้ คือ เหตุ ๒ อารมณ์ ๖ อธิบดี

อาหาร ๔ อินทรีย์ ๒๐ องค์ฌาน ๗ องค์มรรค ๑๒ ชื่อว่า ปัจจัยธรรม

บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่าใด ๆ เป็นกุศลโดยส่วนเดียว เป็นอกุศล

โดยส่วนเดียว วิบากของกุศลโดยส่วนเดียว วิบากของอกุศลโดยส่วนเดียว

วิบากโดยส่วนเดียว ไม่ใช่วิบากโดยส่วนเดียว บัณฑิตกำหนดธรรม

เหล่านั้น ๆ ให้ดีแล้ว พึงประกอบธรรมที่เป็นวิบาก เข้าในฆฏนาที่เป็น

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 604

วิบาก พึงประกอบธรรมที่มิใช่วิบาก เข้าในฆฏนาที่มิใช่วิบาก ตาม

สมควรที่จะประกอบได้แล.

อนุโลมคณนาในฆฏนาแห่งปัญหาวาระ จบ

ปัจจนียนัย

ปัญหาวารปัจจนียุทธาระ

[๖๗๔] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณ-

ปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณ-

ปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

กุศลธรรม เป็นปัจจัย แก่อัพยาตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณ-

ปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ด้วย

อำนาจของปัจฉชาตปัจจัย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วย

อำนาจของสหชาตปัจจัย.

[๖๗๕] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

อารัมมณปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-

ปัจจัย.

อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณ-

ปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 605

อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณ-

ปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ด้วย

อำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม ด้วย

อำนาจของสหชาตปัจจัย.

[๖๗๖] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของ

อารัมมณปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-

ปัจจัย ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณ-

ปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณ-

ปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

[๖๗๗] กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม มี ๒

อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ.

กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม มี ๔

อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ อินทริยะ.

[๖๗๘] อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม

มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 606

อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม มี ๔

อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ อินทริยะ.

ปัญหาวารปัจจนียุทธาระ จบ

ปัญหาวารปัจจนียคณนา จบ

การนับวาระในปัจจนียะแห่งปัญหาวาระ

[๖๗๙] นเหตุปัจจัย มี ๑๕ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๑๕ วาระ

นอธิปติปัจจัย มี ๑๕ วาระ นอนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ นสมนันตร-

ปัจจัย มี ๑๕ วาระ นสหชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย

มี ๑๑ วาระ นนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๕ วาระ

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย มี๑๕วาระ นอาเสวน-

ปัจจัย มี ๑๕ วาระ นกัมมปัจจัย มี ๑๕ วาระ นวิปากปัจจัย มี ๑๕

วาระ นอาหารปัจจัย มี๑๕ วาระ นอินทริยปัจจัย มี ๑๕ วาระ นฌาน-

ปัจจัย มี ๑๕ วาระ นมัคคปัจจัย มี ๕ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย มี

๑๑ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ โนอัคถิปัจจัย มี ๙ วาระ

โนนัตถิปัจจัย มี ๑๕ วาระ โนวิคตปัจจัย มี๑๕ วาระ โนอวิคตปัจจัย

มี ๙ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 607

นเหตุมูลกนัย

[๖๘๐] เพราะนเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑๕ วาระ...

ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นกมัมปัจจัยย มี ๑๕ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในอาหาร-

ปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑๕ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในโน-

อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ

[๖๘๑] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในนอธิปติปัจจัย มี

๑๕ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี

๑๕ วาระ โนนสหชาตปัจจัย มี๑๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๑

วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๓วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๕ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นวิปากปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 608

๑๕ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙

วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๕ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๖๘๒] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย ในนสหชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ...

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑๕ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในโน-

อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๖๘๓] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย ในนอัญมัญญปัจจัย

มี ๑๑ วาระ... ในนนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗

วาระ โนนปุเรชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 609

มี ๑๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

โนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๑ วาร. ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ

[๖๘๔] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย

ในนนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ... ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๑๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๑ วาระ โนนมัคคปัจจัย มี ๑๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

โนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ นโนนัตถิปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๖๘๕] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย นอัญญมัญญ-

ปัจจัย นนิสสยปัจจัย ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ... ในนปุเร-

ชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวน-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๑๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี

๑๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๑ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 610

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

โนอัตถิปัจจัย มี๙วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๖๘๖] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย

นนิสสยปัจจัย นอุปนิสสยปัจจัย ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ...

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๒ วาร ะ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนอวิคต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๖๘๗] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย

นนิสสยปัจจัย นอุปนิสสยปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี๕ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๕ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนสัมมปยตตคปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 611

๓ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๖๘๘] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย ฯ ลฯ นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉาชาต-

ปัจจัย ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นวิปากปัจจัย มี๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี๓วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๓ วาระ โนนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคต

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๖๘๙] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลฯ นปัจฉาชาตปัจจัย

นอาเสวนปัจจัย นกัมมปัจจัย ในนวิปากปัจจัย มี๑วาระ...ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑

วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๖๙๐] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลฯ นกัมมปัจจัย

นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัย นฌานปัจจัย ในนมัคคปัจจัย มี๑วาระ...

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิ

ปัจจัย มี๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 612

[๖๙๑] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลฯ นอาหารปัจจัย

นฌานปัจจัย ในนมัคคปัจจัย มี วาระ... ในนสัมปยุตตปัจจัยมี ๑

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ นโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๖๙๒] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลฯ นอาหารปัจจัย

นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย นวิปปยุตตปัจจัย

โนนัตถิปัจจัย ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๖๙๓] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลน นกัมมปัจจัย

นวิปากปัจจัย อินทริยปัจจัย ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ...ในนมัคค-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๖๙๔] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลฯ นกัมมปัจจัย

นวิปากปัจจัย นอินทริยปัจจัย นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย นสัมปยุตต-

ปัจจัย นวิปปยุตตปัจจัย โนนัตถิปัจจัย ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

นเหตุมูลกนัย จบ

นอารัมมณมูลกนัย

[๖๙๕] เพราะนอารัมณปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑๕ วาระ.... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 613

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นกมัมปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑๕ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในโน-

อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๖๙๖] เพราะนอารัมมณปัจจัย นเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย ในนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี๑๑ วาระ... ในนนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑๑ วาระ

ืในนวิปากปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นอินทริยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนมัคค-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ นโนนัตถิปัจจัย มี

๑๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙

วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 614

ฯลฯ นเหตุมูลกนัย ฉันใด นัยนี้พึงให้พิสดาร ฉันนั้น.

เพราะนอธิปติปัจจัย, เพราะนอนันตรปัจจัย, เพราะนสมนันตร-

ปัจจัย เหมือนกันกับนเหตุมูลกนัย.

นสหชาตมูลกนัย

[๖๙๗] เพราะนสหชาตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑๑ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี๑๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอาหาร

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑๑วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑

วาระ โนนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ

โนโนนัตถิปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

โนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๖๙๘] เพราะนสหชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๑๑ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 615

นสมนันตรปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๑๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

โนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๑ วาระ นโนวิคต-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

เพราะนสหชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ (ท่านย่อไว้).

นอัญญมัญญมูลกนัย

[๖๙๙] เพราะนอัญญมัญญปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๑๑ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นสหชาตปัจจัย มี ๑ วาวะ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอุป-

นิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๑

วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 616

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโน-

นัตถิปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนอวิคต-

ปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๐๐] เพราะนอัญญมัญญปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๑๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๑วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

โนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโหวิคต-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๐๑] เพราะนอัญญมัญญปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

ในนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ.... ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๑๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๑ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 617

ในนสัมปยตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

โนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

นนิสสยมูลกนัย

[๗๐๒] เพราะนนิสสยปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑๑ วาระ... ใน

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑๑วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นสหชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๑วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอินทรยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๑๑ วาระ ในนวิปปยตตคปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๑ วาระ

ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๐๒] เพราะนนิสสยปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๑๑ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 618

นสมนันตรปัจจัย มี๑๑วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี๑๑วาระ ในนอัญญ-

มัญญปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเร-

ชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวน-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี

๑๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑๑

วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

โนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๐๔] เพราะนนิสสยปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนัตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอัญญมัญญปัจจัย นอุปนิสสยปัจจัย ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ...

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในโน-

นัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย

มี ๒ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 619

นอุปนิสสยมูลกนัย

[๗๐๕] เพราะนอุปนิสสยปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑๕ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นสหชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนวิปปปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๑๕ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๕

วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโน-

นัตถิปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในโนอวิคต-

ปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๐๖] เพราะนอุปนิสสยปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๕วาระ ในนปุเร-

ชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอาเสวน-

ปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๑๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑๓

วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 620

นสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในโน-

อัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๑๓ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๗๐๗] เพราะนอุปนิสสยปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ นโนวิคต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๗๐๘] เพราะนอุปนิสสยปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอัญญมัญญปัจจัย ในนนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปาปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ โนนอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌาน-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๒

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 621

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

โนอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๗๐๙] เพราะนอุปนิสสยปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอัญญอัญญปัจจัย นนิสสยปัจจัย ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ...

ในนปัจฉาชาตปัจจัยย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี๒ วาระ ในโนนัตถิ

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย

มี ๒ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

นปุเรชาตมูลกนัย

[๗๑๐] เพราะนปุเรชาตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑๓ วาระ.. ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

นอันนตรปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

นสหชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนปุปนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 622

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในโน-

อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๑๑] เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๓ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ โนนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

นวิปากปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑๓วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙

วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๑๒] เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 623

ในนอัญญมัญญปัจจัยมี ๑๑ วาระ... ในนนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๑๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

โนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๐๓] เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอัญญมัญญปัจจัย นนิสสยปัจจัย ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ...

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี๑๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี

๑๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี๑๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี๑๑วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโน-

นัตถิปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนอวิคต-

ปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๐๔] เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

ฯลฯ นนิสสยปัจจัย นอุปนิสสยปัจจัย ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 624

วาระ... ในนอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี๕วาระ ในนอาหารปัจจัย มี๕วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๕ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๕

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

นปัจฉาชาตมูลกนัย

[๗๑๕] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑๕ วาระ.. ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

สหชาตปัจจัย มี๙ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี๑๓วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี๑๕ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๕ วาร ะ ในนอาหารปัจจัย

มี ๑๕ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๕

วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโน-

นัตถิปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในโนอวิคต-

ปัจจัย มี ๙ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 625

[๗๑๖] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๕ วาระ...ในนอนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๑๕ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๕ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

โนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๑๗] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ... ในนนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๙ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

โนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 626

[๗๑๘] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอัญญมัญญปัจจัย นนิสสยปัจจัย ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ...

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๙ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๙ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิ-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย

มี ๙ วาระ.

[๗๑๙] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นนิสสยปัจจัย

นอุปนิสสยปัจจัย ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอาเสวนปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌาน-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี๓วาระ ในโนอวิคต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

เพราะนอาเสวนปัจจัย เหมือนกับ นเหตุปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 627

นกัมมมูลกนัย

[๗๒๐] เพราะนกัมมปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑๕ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นสหชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นอาหารปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นฌานปัจจัย มี๑๕วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย

มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๕

วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๒๑] เพราะนกัมมปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๑๕ วาระ... ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๕ วาระ ฯลฯ

ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๒๒] เพราะนกัมมปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลฯ

นนิสสยปัจจัย ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 628

มี ๑๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี

๑๑ วาระ ฯลฯ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๒๓] เพราะนกัมมปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นอุปนิสสยปัจจัย

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ... ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนฌานปัจจัย มี

๕ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๗๒๔] เพราะนกัมมปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นปุเรชาตปัจจัย

นปัจฉาชาตปัจจัย ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย ม ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

นี้เป็นการแสดงโดยย่อ.

เพราะนวิปากปัจจัย เหมือนกับ นเหตุปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 629

นอาหารมูลกนัย

[๗๒๕] เพราะนอาหารปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑๕ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นสหชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๕ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ ฯลฯ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๒๖] เพราะนอาหารปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

ในนอธิปติปัจจัยมี ๑๕ วาระ... ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ฯลฯ

ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๒๗] เพราะนอาหารปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นสหชาตปัจจัย

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑วาระ... ในนนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นอุปปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ โนนปุเรชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี

๑๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙

วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 630

[๗๒๘] เพราะนอาหารปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นนิสสยปัจจัย

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ... ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี

๑๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙

วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๒๙] เพราะนอาหารปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯ ล ฯ นอุปนิสสยปัจจัย

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ... ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี

๕ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี๕ วาระ ในโนอวิคต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๗๓๐] เพราะนอาหารปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯ ลฯ นปุเรชาตปัจจัย

นปัจฉชาตปัจจัย ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนกัมมปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตต-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 631

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย

มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๗๓๑] เพราะนอาหารปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นปัจฉาชาตปัจจัย

นอาเสวนปัจจัย นกัมมปัจจัย ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๗๓๒] เพราะอาหารปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นกัมมปัจจัย

นวิปากปัจจัย นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

นอินทริยมูลกนัย

[๗๓๓] เพราะนอินทริยปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑๕ วาระ ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑๕ วาระ ฯลฯ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๓๔] เพราะนอินทริยปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

ฯลฯ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ... ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙

วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 632

[๗๓๕] เพราะนอินทริยปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นสหชาตปัจจัย

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๑ วาระ... ในนนิสสยปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๑

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ

ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๓๖] เพราะนอินทริยปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นนิสสยปัจจัย

นอุปนิสสยปัจจัย ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ... ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๑๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๙

วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๑ วาระ ใน

นสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

โนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๑๑ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๓๗] เพราะนอินทริยปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นอุปนิสสปัจจัย

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ... ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 633

เพราะนอินทริยปัจจัย ฯลฯ เพราะนปุเรชาตปัจจัย นปัจฉา-

ชาตปัจจัย ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในนฌาน-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี

๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี๓ วาระ ในโนอวิคต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๗๓๘] เพราะนอินทริยปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นกัมมปัจจัย

ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปป-

ยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๗๓๙] เพราะนอินทริยปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นกัมมปัจจัย

นวิปากปัจจัย นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย นวิปป-

ยุตตปัจจัย โนนัตถิปัจจัย ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

เพราะนฌานปัจจัย เพราะนมัคคปัจจัย พึงแสดงให้พิสดาร

เหมือนอย่าง นเหตุมูลกนัย.

เพราะนสัมปยุตตปัจจัย พึงแสดงให้พิสดารเหมือนอย่าง นอัญญ-

มัญญมูลกนัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 634

นวิปปยุตตมูลกนัย

[๗๔๐] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี๙ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสหชาตปัจจัย

มี ๙ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๙

วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๙ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ

ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๔๑] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอุป-

นิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๙ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ

ในนอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ในนมัคค-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 635

มี ๙ วาระ. ในโนนัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ

ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๔๒] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอัญญมัญญปัจจัย นนิสสยปัจจัย ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ...

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๔๓] เพราะนวิปปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัยฯลฯ

นนิสสยปัจจัย นอุปนิสสยปัจจัย ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี๓วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี๓วาระ ในโนอัตถิ-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓

วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๗๔๔] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

ฯลฯ นกัมมปัจจัย นวิปากปัจจัย นอินทริปัจจัย ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัยมี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 636

โนอัตถิมูลกนัย

[๗๔๕] เพราะโนอัตถิปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี๙วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มึ๙ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสหชาตปัจจัย

มี ๙ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๙วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๙

วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๙วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสมัปยตตคปัจจัย มี ๙ วาระ ในนวิปปยตต-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๙

วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๔๖] เพราะโนอัตถิปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ใน

นนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ... ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๗๔๗] เพราะโนอัตถิปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอัญญมัญญปัจจัย นนิสสยปัจจัย ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ...

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๗๔๘] เพราะโนอัตถิปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลฯ

นอุปนิสสยปัจจัย ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ... ในนปัจฉาชาตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 637

มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนอาหารปัจจัย มี๒วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ ในนฌาน-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๒ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี๒ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๗๔๙] เพราะโนอัตถิปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลฯ

นอาเสวนปัจจัย นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัย นอินทริยปัจจัย ใน

โนอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๗๕๐] เพราะโนอัตถิปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ อุปนิสสยปัจจัย

นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นวิปากปัจจัย

นอาหารปัจจัย นอินทริยปัจจัย นวิปปยุตตปัจจัย ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๒ วาระ... ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๒

วาระ.

[๗๕๑] เพราะโนอัตถิปัจจัย นเหตุปัจจัย โนวิคตปัจจัย ในโน-

อวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

เพราะโนนัตถิปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑๕ วาระ ฯลฯ ใน

โนนัตถิปัจจัย ในโนวิคตปัจจัย เช่นเดียวกันกับ นเหตุปัจจัย.

เพราะนวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑๕ วาระ ฯลฯ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 638

เพราะโนอวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี๙ วาระ... ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๙

วาระ.

เพราะโนอวิคตปัจจัย เช่นเดียวกับ เพราะโนอัตถิปัจจัย.

ปัญหาวารปัจจัยนียคณนา จบ

ปัจจนียนัย

วรรณนาเนื้อความแห่งปัจจยุทธาระ

บัดนี้ เป็นปัจจนียนัย. พึงทราบวินิจฉัย ในปัจจนียนัย นั้น ดัง

ต่อไปนี้:-

ปัญหาทั้งหลายอัน ได้อยู่โดยนัยเป็นต้นว่า " อกุศลธรรมอาศัย

อกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย" ในปฏิจจวาระเป็นต้น ขยาย

ออกไปโดยย่อ ด้วยอำนาจปัจจัย ทั้งหลายที่ได้อยู่ ฉันใด เพื่อแสดงปัจจนียะ

โดยสังเขป โดยลักษณะเดียวกันอย่างไม่พิสดาร พระธรรมสังคาหกาจารย์

ทั้งหลายจึงขยายปัจจัยแห่งกุศลเป็นต้น โดยอนุโลม โดยนัยเป็นต้นว่า

กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

ฉันนั้น. ก็ปัจจัยเหล่านั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยอำนาจ

แห่งปัจจัยเป็นหมวด ๆ ไม่ได้แสดงด้วยอำนาจปัจจัยแต่ละอย่าง ๆ

บัณฑิตพึงแยกปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยเป็นหมวด แล้ว

พึงทราบในที่นั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 639

จริงอยู่ ปัจจัย ๒๔ เหล่านี้แม้ทั้งหมด ย่อมรวมลงในปัจจัย ๘.

ในปัจจัย ๘ เหล่าไหน. คือ ในอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุป-

นิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหาร-

ปัจจัย อินทริยปัจจัย.

อย่างไร ?

จริงอยู่ บรรดาปัจจัย ๑๖ ที่เหลือ เว้นปัจจัย ๘ เหล่านี้ ปัจจัย ๖

เหล่านี้ คือ เหตุปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย วิปากปัจจัย ฌานปัจจัย

มรรคปัจจัย และสัมปยุตตปัจจัย เกิดพร้อมกันโดยส่วนเดียวย่อมรวม

ลงในสหชาตปัจจัย เพราะเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เกิดพร้อมกันนั่นเทียว.

ส่วนปัจจัย ๕ เหล่านี้ คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย

อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย เกิดขึ้นแล้วดับไป ย่อม

รวมลงในอุปนิสสยปัจจัย โดยลักษณะแห่งอนันตรูปนิสสยปัจจัย

เพราะเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เกิดขึ้นในลำดับแห่งตน.

นิสสยปัจจัยมี ๒ อย่าง โดยแจกเป็นสหชาตนิสสยะ และปุเรชาต-

นิสสยะ ใน ๒ อย่างนั้น สหชาตนิสสยปัจจัย ย่อมรวมลงในสหชาต-

ปัจจัย เพราะเป็นที่อาศัยแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกัน ปุเรชาตนิสสย-

ปัจจัย ย่อมรวมลงในปุเรชาตปัจจัย.

แม้อธิปติปัจจัย ๒ อย่าง คือ สหชาคตาธิปติปัจจัย และอารัมมณา-

ธิปติปัจจัย. ใน ๒ อย่างนั้น สหชาตาธิปติปัจจัย ย่อมรวมลงในสหชาต-

ปัจจัย เพราะเป็นอธิปติปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกันนั่นเอง.I

อารัมมณาธิปติปัจจัย เป็นอารัมมณูปนิสสยะนั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงรวม

ลงในอุปนิสสยปัจจัย โดยลักษณะแห่งอารัมมณูปนิสสยะ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 640

วิปปยุตตปัจจัยมี ๓ อย่าง โดยจำแนกเป็นสหชาตะ ปุเรชาตะ

และปัจฉาชาตะ ใน ๓ อย่างนั้น สหชาตวิปปยุตตปัจจัย ย่อมรวมลงใน

สหชาตปัจจัย เพราะเป็นวิปปยุตตปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่เกิดพร้อมกัน

นั่นเอง. ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย ย่อมรวมลงในปุเรชาตปัจจัย เพราะธรรม

ที่เกิดขึ้นก่อนเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เกิดในภายหลัง. ปัจฉาชาตวิปปยุตต-

ปัจจัย ย่อมรวมลงในปัจฉาชาตปัจจัย เพราะธรรมที่เกิดขึ้นในภายหลัง

เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจการค้ำจุนแก่ธรรมที่เกิดขึ้นก่อน.

อัตถิปัจจัย และ อวิคตปัจจัยมีอย่างละ ๖ ด้วยอำนาจแห่ง

สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรีย์ และด้วย

อำนาจแห่งอัตถิและอวิคตะ อีกอย่างละ ๑ ปัจจัย. บรรดาปัจจัยเหล่านั้น

สหชาตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย ย่อมรวมลงในสหชาตปัจจัย เพราะ

ธรรมทั้งหลายที่เกิดพร้อมกันเท่านั้นเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

และอวิคตปัจจัย. ปุเรชาตปัจจัย ย่อมรวมลงในปุเรชาตปัจจัย เพราะธรรม

ที่เกิดก่อนเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เกิดภายหลัง. ปัจฉาชาตปัจจัยทั้งหลาย ย่อม

รวมลงในปัจฉาชาตปัจจัย เพราะธรรมที่เกิดภายหลังเป็นปัจจัย ด้วย

อำนาจการค้ำจุนแก่ธรรมที่เกิดก่อน. ธรรมทั้งหลายที่เป็นอาหาร ย่อมรวม

ลงในกวฬีการาหารปัจจัย. ธรรมทั้งหลายที่เป็นอินทรีย์ ย่อมรวมลงในรูป-

ชีวิตินทรีย์ปัจจัยแล. ปัจจัย ๑๖ เหล่านี้ พึงทราบว่าย่อมรวมลงในปัจจัย

๘ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ปัจจัย ๘ แม้เหล่านี้ สงเคราะห์เข้าในอัญญมัญญปัจจัยมีอยู่.

จริงอยู่ อารัมมณปัจจัยที่แสดงไว้ข้างต้น ๒ อย่าง โดยแยกเป็นอธิบดี

และไม่ใช่อธิบดี. ใน ๒ อย่างนั้น ปัจจัยที่เป็นอธิบดี ย่อมรวมลงใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 641

อุปนิสสยปัจจัย โดยลักษณะแห่งอารัมมณูปนิสสยะ. ที่ไม่ได้เป็นอธิบดี

ย่อมเป็นอารัมมณปัจจัยล้วน.

แม้กัมมปัจจัยก็มี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งสหชาตกัมมปัจจัย และ

นานักขณิกกัมมปัจจัย ใน ๒ อย่างนั้น สหชาตกัมมปัจจัย ย่อมรวมลงใน

สหชาตปัจจัย เพราะเป็นกัมมปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกันกับตน.

นานักขณิกกัมมปัจจัยมี ๒ อย่าง คือ ทีมีกำลัง และทุรพล. ใน ๒ อย่าง

พลวกัมมปัจจัย เป็นปัจจัยเป็นที่อาศัยอย่างแรงกล้าแก่วิบากธรรมทั้งหลาย

เพราะฉะนั้น จึงรวมในลงในอุปนิสสยปัจจัย. อนึ่ง พลวกัมมปัจจัยย่อม

เป็นปัจจัย แก่รูปทั้งหลายด้วย. ส่วนกัมมปัจจัยที่หย่อนกำลังย่อมเป็นปัจจัย

แก่อรูปทั้งหลายโดยนักขณิกกัมมปัจจัยเท่านั้น.

แม้อาหารปัจจัยก็มี ๒ อย่าง โดยเป็นรูปและอรูป. ใน ๒ อย่าง

นั้น อรูปอาหารเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เกิดพร้อมกันกับตนเท่านั้น ฉะนั้น

จึงรวมลงในสหชาตปัจจัย. รูปอาหารย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย

ที่เกิดพร้อมกัน เกิดก่อนหรือเกิดภายหลัง. รูปอาหารที่เลยอุปาทขณะแล้ว

ถึงฐิติขณะของตน ย่อมยังความเป็นอาหารปัจจัยให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น

จึงจัดเป็นอาหารปัจจัยเท่านั้น.

แม้อินทริยปัจจัยก็มี ๒ อย่าง โดยเป็นรูปและอรูป. ใน ๒ อย่าง

นั้น อินทริยปัจจัยที่เป็นอรูป ย่อมให้สำเร็จความเป็นอินทริยปัจจัย แก่

ธรรมทั้งหลายที่เกิดพร้อมกับกับตน เพราะฉะนั้น จึงรวมลงในสหชาต-

ปัจจัย ส่วนรูปอินทริยปัจจัย มี ๒ อย่าง โดยจำแนกเป็นภายในและ

ภายนอก ใน ๒ อย่างนั้น อินทริยปัจจัยภายในเกิดขึ้นก่อน เป็นอินทริย-

ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณเป็นต้น พร้อมทั้งธรรมที่สัมปยุตอันเกิดขึ้นใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 642

ภายหลัง เพราะฉะนั้น จึงรวมลงในปุเรชาตปัจจัยเท่านั้น. อินทริยปัจจัย

ภายนอกได้แก่รูปชีวิตินทรีย์. รูปอินทรีย์นั้นแม้จะเป็นปัจจัยแก่ธรรม

ทั้งหลายที่เกิดร่วมกัน ก็ย่อมเป็นด้วยอำนาจเพียงการตามเลี้ยงรักษา

เท่านั้น ไม่ใช่ด้วยอำนาจแห่งการให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงจัดเป็น

อินทริยปัจจัยเท่านั้น. ปัจจัย ทั้ง ๘ เหล่านั้น พึงทราบว่า ย่อมรวมเข้าใน

กันและกัน ด้วยประการฉะนี้ นี้เป็นสังคหนัยด้วยอำนาจเป็นอัญญมัญญะ

แห่งปัจจัย ๑๖ ที่เหลือ และแห่งปัจจัย ๘ เหล่านั้นนั่นเอง ในปัจจัย ๘

เพียงนี้.

บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบปัจจัยทั้ง๒๔ ที่รวมลงในปัจจัยหนึ่งๆ ของ

บรรดาปัจจัย ๘ เหล่านี้. บรรดาปัจจัย ๒๓ เหล่านั้น.

อารัมมณปัจจัย เท่านั้น ย่อมรวมลงในอารัมมณปัจจัย อันเป็น

ที่ ๑ แห่งปัจจัย ๘ เหล่านั้นก่อน ปัจจัยที่เหลือ ๒๓ ย่อมรวมเข้าไม่ได้.

ปัจจัย ๑๕ เหล่านี้ คือ เหตุปัจจัย สหชาตาธิปติปัจจัย สหชาต-

ปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย สหชาตนิสสยปัจจัย สหชาตกัมมปัจจัย วิปาก-

ปัจจัย สหชาตาหารปัจจัย สหชาตินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย

สัมปยุตตปัจจัย สหชาตวิปปยุตตปัจจัย สหชาตัตถิปัจจัย สหชาตอวิคต-

ปัจจัย ย่อมรวมลงในสหชาตปัจจัยที่ ๒.

ปัจจัย ๙ เหล่านี้ คือ อารัมมณปัจจัยที่เป็นอธิบดี อธิปติปัจจัย

อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย อาเสวนปัจจัย พลวกัมม-

ปัจจัย ที่เป็นนานักขณิกะ นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย ย่อมรวมลงใน

อุปนิสสยปัจจัยที่ ๓.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 643

ปัจจัย ๖ เหล่านี้ คือ ปุเรชาตปัจจัย ปุเรชาตนิสสยปัจจัย ปุเร-

ชาตินทริยปัจจัย ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย ปุเรชาตัตถิปัจจย ปุเรชาต-

อวิคตปัจจัย ย่อมรวมลงในปุเรชาตปัจจัยที่ ๔.

ปัจจัย ๔ เหล่านี้ คือ ปัจฉาชาตปัจจัย ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย

ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย ย่อมรวมลงในปัจฉาชาตปัจจัย

ที่ ๕.

นานักขณิกกัมมปัจจัย ท่านสงเคราะห์แล้ว ใน กัมมปัจจัยที่ ๖.

ปัจจัย ๓ เหล่านี้ คือ อาหารปัจจัย อาหารัตถิปัจจัย อาหาร-

อวิคตปัจจัย ท่านสงเคราะห์แล้วด้วยอำนาจกพฬีการาหารในอาหารปัจจัย

ที่๗.

ปัจจัย ๓ เหล่านี้ คือ รูปชีวิตินทริยปัจจัย อินทริยัตถิปัจจัย

อินทรียอวิคตปัจจัย ย่อมรวมลงในอินทริยปัจจัยที่ ๘. ผู้ศึกษาครั้นทราบ

ว่าปัจจัยเหล่านั้น ๆ รวมลงแล้วในปัจจัยหนึ่ง ๆ บรรดาปัจจัย ๘ เหล่านี้

อย่างนี้แล้ว พึงทราบว่าปัจจัยเหล่าใดถึงการรวมลงในปัจจัยใด ปัจจัย

เหล่านั้นท่านถือเอาแล้วด้วยจำนวนแห่งปัจจัยที่รวมลงนั้น.

ปัญหา ๑๕ ข้อเหล่านั้นว่า "กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดย

อารัมมณปัจจัย" ดังนี้เป็นต้น ในปัจจนียนัยนี้ ในปัญหา ๔๙ ข้อ

อันท่านยกขึ้นวิสัชนาแล้ว ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๘ เหล่านี้ ซึ่งเป็นที่รวม

แห่งปัจจัยทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้. บรรดาปัญหาเหล่านั้น ปัญหา ๔

ข้อ มีกุศลเป็นต้นว่า กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล

กุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุสลาพยากตะ. ปัญหา ๔

ข้อที่มีอกุศลเป็นต้นก็เหมือนกัน. ส่วนปัญหา ๓ ข้อ มีอัพยากตะเป็นต้น

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 644

คือ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุศล

อัพยากตะเป็นปัจจัยเก่อกุศล. ปัญหา ๔ ข้อ มีปัจจยุบบัน ๑ มีมูล ๒

คือ กุศลและอัพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุศล กุศลและอัพยากตะเป็นปัจจัยแก่

อัพยากตะ อกุศลและอัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุศล อกุศลและอัพยากตะ

เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ. บรรดาปัญหาเหล่านั้น. ปัจจัยเหล่าใดพึงได้ใน

ปัญหาที่ ๑ ท่านรวบรวมปัจจัยเหล่านั้นทั้งหมดแล้วกล่าวว่าปัจจัย ๓. ใน

ปัญหาที่ ๒ มีปัจจัย ๒. ในปัญหาที่ ๓ มีปัจจัย ๕. ในปัญหาที่ ๔ มี

ปัจจัย ๑ เท่านั้น. ในปัญหาที่ ๕ มีปัจจัย ๓. ในปัญหาที่ ๖ มีปัจจัย ๒.

ในปัญหาที่ ๗ มีปัจจัย ๕. ในปัญหาที่ ๘ มีปัจจัย ๑ เท่านั้น. ในปัญหา

ที่ ๙ มีปัจจัย ๗. ในปัญหาที่ ๑๐ มีปัจจัย ๓. ในปัญหาที่ ๑๑ มีปัจจัย ๓.

ที่ ๑๒ มีปัจจัย ๒. ที่ ๑๓ มีปัจจัย๔. ที่ ๑๔ มีปัจจัย ๒. แม้ในปัญหา

ที่ ๑๕ ก็มีปัจจัย ๔ เหมือนกัน ปัจจัยเหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัส

ว่า สหชาตปจฺจเยน แต่ตรัสว่า สหชาต ปจฺฉาชาต ข้าพเจ้าจักพรรณนา

เหตุในการตรัสอย่างนั้นข้างหน้า.

ก็เมื่อว่าโดยย่อในอธิการนี้ มีการกำหนดปัจจัย ๖ หมวดเท่านั้น

คือ ปัจจัย ๑-๒-๓-๔-๕ และ ๗. จริงอยู่ บรรดาปัจจัยปัจจนียะทั้ง

๒๔ ข้อ มีอาทิว่า การกำหนดปัญหาด้วยอำนาจการกำหนดอย่างสูงสูด

ในปัจจัยนียะแห่งปัญหาวาระ และการกำหนดปัจจัยที่ท่านรวบรวมปัจจัย

นั้น ๆ แสดงไว้นี้ มีนเหตุปัจจัยเป็นต้น ปัจจัยแห่งปัญหาวาระต่อจากนี้

ไปย่อมไม่ได้แม้ในปัจจนียะหนึ่ง แต่ย่อมได้ในหนหลัง เพราะฉะนั้น

ปัจจัย ๑ เท่านั้นมาแล้วอย่างนี้ว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลและ

อัพยากตะ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย. ในปัญหาเหล่าใด เมื่อปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 645

นั้นถูกปฏิเสธไปแล้ว ปัญหาเหล่านั้นย่อมลดไป. ก็ปัจจัยทั้ง๒ มาแล้วใน

ปัญหาใดอย่างนี้ว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของ

อารัมมณปัจจัย และด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย บรรดาปัจจัย

เหล่านั้นเมื่อปัจจัยข้อ ๑ แม้ถูกปฏิเสธแล้วอย่างนี้ว่า นารัมมณปัจจยา

ปัญหานั้นย่อมได้ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยนอกนี้ แต่เมื่อปัจจัยทั้ง๒ นั้นถูก

ปฏิเสธแล้ว วาระนั้นจึงขาดไป ปัจจัยทั้งหลายในหมวด ๓-๔-๕และ๗

ย่อมได้ในปัญหาเหล่าใด ปัญหาเหล่านั้นย่อมได้ ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย

ทั้งหลายที่เหลือ เว้นปัจจัยที่ท่านปฏิเสธแล้ว ก็เมื่อปัจจัยทั้งหมดถูกปฏิเสธ

ไปวาระทั้งหมดย่อมขาดไป ดังนี้แล นี้เป็นลักษณะในข้อนี้ บัณฑิตพึง

ทราบประเภทแห่งปัจจัยทั้งหลายที่ท่านย่อกล่าวไว้ในปัญหานั้นๆ ตั้งแต่ต้น

และการลดหรือไม่ลดปัญหานั้น ๆ ในปัจจัยนั้นๆด้วยลักษณะนี้.

ต่อไปนี้เป็นความพิสดารในเรื่องนั้น ในปัญหาที่ ๑ ก่อน ปัจจัย

๑๙ ท่านแสดงไว้แล้วด้วยปัจจัย ๓. อย่างไร ? จริงอยู่ กุศลย่อมไม่เป็น

ปัจจัยแก่กุศลด้วยปุเรชาตปัจฉาชาตะและวิปากะ และวิปปยุตตปัจจัย แต่

ย่อมเป็นด้วยปัจจัย ๒๐ ที่เหลือ. บรรดาปัจจัยเหล่านั้น อารัมมณปัจจัย

มี ๑ เท่านั้น. ส่วนปัจจัย ๕ ด้วยอำนาจเป็นที่รวมแห่งปัจจัยทั้งหมด

ท่านกล่าวว่าย่อมถือการสงเคราะห์ลงในสหชาตปัจจัย. เมื่อเหตุปัจจัยถูก

ปฏิเสธไป ปัจจัยเหล่านั้นย่อมมี ๑๔. ก็คำว่า กุศลเป็นปัจจัย แก่กุศลด้วย

สหชาตปัจจัย พระองค์ตรัสหมายถึงปัจจัย ๑๒ ที่เหลือ โดยนำปัจจัย ๒

ออกไป เพราะกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล โดยวิปากปัจจัย (และ) วิปปยุตต-

ปัจจัยไม่ได้. ท่านกล่าวว่า ปัจจัย ๙ ย่อมรวมลงแม้ในอุปนิสสยปัจจัย

ด้วยอำนาจปัจจัยที่รวมลงในปัจจัยทั้งปวง.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 646

บรรดาปัจจัยเหล่านั้น อารัมมณปัจจัยที่เป็นอธิบดี และอธิปติ-

ปัจจัยที่เป็นอารมณ์ ผนวกเข้ากับอุปนิสสยปัจจัย ด้วยอำนาจเป็น

อารัมมณูปนิสสยะ. ฝ่ายกุศลย่อมไม่เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยแก่กุศล

เพราะฉะนั้น ท่านจึงนำออกเสีย แล้วกล่าวว่า อุปนิสฺสยปจฺจเยน ปจฺจโย

เพราะหมายเอาปัจจัย ๖ ที่เหลือ.

ปัจจัย ๑๙ พึงทราบว่าท่านแสดงแล้วด้วยปัจจัย ๓ ในปัญหา

ที่ ๑ (กุ-กุ) ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาปัจจัยเหล่านั้น ในนเหตุปัจจนียะนี้ กุศลธรรมย่อมเป็น

ปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยนเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงยกบาลีขึ้น

แสดง โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในอารัมมณปัจจัยเป็นต้น มีอาทิอย่างนี้ว่า

บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว ย่อมพิจารณากุศลนั้น

ย่อมพิจารณาถึงกุศลทั้งหลายที่ประพฤติในกาลก่อน ก็เมื่ออารัมมณ-

ปัจจัยถูกปฏิเสธแล้ว บัณฑิตนำความพิสดารแห่งอารัมมณปัจจัยนั้นออก

เพิ่มความพิสดารแห่งเหตุปัจจัย แล้วพึงแสดงบาลีนั้นนั่นแล แม้ในการ

ปฏิเสธปัจจัยที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน ก็เมื่อปัจจัยใด ๆ ถูกปฏิเสธออก

วาระเหล่าใดลดไป ข้าพเจ้าจักพรรณนาวาระเหล่านั้นข้างหน้า.

ก็ในปัญหาที่ ๒ (กุ-อกุ) ท่านแสดงปัจจัย ๓ ด้วยปัจจัย ๒.

อย่างไร ? คือ กุศลย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่อกุศล ด้วยอำนาจของอนันตระ

เป็นต้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงน่าเอาอนันตรปัจจัยเป็นต้น เหล่านั้นออก

แล้วตรัสว่า "อุปนิสฺสยปจฺจเยน ปจฺจโย" โดยหมายเอา อารัมมณา-

ธิปติ และปกตูปนิสสยปัจจัย อันท่านสงเคราะห์แล้วด้วยอารัมมณู-

ปนิสสยปัจจัย. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ปัจจัยทั้งหลาย ๓ เหล่านี้

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 647

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยปัจจัย ๒ ในปัญหาที่ ๒ คือ

อารัมมณปัจจัยล้วน ๆ กับอธิปติปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย ด้วยอำนาจ

อารัมมณาธิปติ.

ก็ในปัญหาที่ ๓ (กุ-อัพ) ปัจจัย ๑๘ ปัจจัย ท่านแสดงแล้วด้วย

ปัจจัย ๕. อย่างไร ? คือ กุศลย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ ด้วยอำนาจ

ของอัญญมัญญะ ปุเรชาตะ อาเสวน วิปากะ และสัหปยุตตปัจจัย. ย่อมเป็น

ด้วยอำนาจของปัจจัย ๙ ที่เหลือ. บรรดาปัจจัยเหล่านั้น อารัมมณปัจจัย

มี ๑. ก็เพราะกุศลย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ ด้วยอำนาจอัญญมัญญะ

วิปากะ และสัมปยุตตปัจจัย. เหตุปัจจัยถูกปฏิเสธออก กัมมปัจจัยท่านถือ

เอาอีกแผนกหนึ่ง เพราะฉะนั้น ท่านจึงนำปัจจัย ๕ เหล่านี้ออก แล้วแสดง

ปัจจัย ๑๐ ด้วยสหชาตปัจจัย. บรรดาปัจจัย ๖ ที่ท่านกล่าวไว้ในหนหลัง

โดยอุปนิสสยปัจจัย เว้นอาเสวนปัจจัย ปัจจัยที่เหลือมี๕ ปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๑ เท่านั้น. อนึ่ง กัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจสหชาตกัมม-

ปัจจัย และนานากขณิกกัมมปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบว่าปัจจัย ๑๘ เหล่านี้

ท่านแสดงด้วยปัจจัย ๕ ในปัญหาที่ ๓ อย่างนี้ ด้วยประการฉะนั้น.

ปัจจัย ๘ เหล่านี้ อันพระพุทธองค์ทรงแสดงแล้วด้วยปัจจัย ๕ ใน

ปัญหาที่ ๓อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ปัจจัย ๑๐ ท่านแสดงแล้วด้วยปัจจัย ๑ เท่านั้น ในปัญหาที่ ๔

(กุ-ก อัพ). อย่างไร. จริงอยู่ กุศลย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่กุลาพยากตะ

ด้วยอำนาจของอัญญมัญญะ วิปากะ สัมปยูตตะ และวิปปยุตตปัจจัย ใน

บรรดาปัจจัย ๑๕ ที่ท่านกล่าวไว้แล้วในสหชาตปัจจัย เหตุปัจจัยถูกปฏิเสธ

ออกแล้ว ผู้ศึกษาชักปัจจัย ๕ เหล่านี้ออก แล้วพึงทราบว่าปัจจัย ๑๐ ที่

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 648

เหลือท่านแสดงแล้วด้วยปัจจัย ๑ ในปัญหาที่ ๔ นี้ ก็ปัจจัยเหล่านั้นท่าน

แสดงแล้วด้วยปัจจัยเหล่านั้นๆ. ในปัญหา ๔ ข้อ มีกุศลเป็นต้นเหล่านี้

ฉันใด ผู้ศึกษาพึงทราบว่าปัจจัยเหล่านั้น ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

แล้ว ด้วยปัจจัยเหล่านั้น ๆ ในปัญหา ๔ ข้อ แม้มีอกุศลเป็นต้น ฉันนั้น

(ปัญหา ๔ คือ อกุ-อกุ, อกุ-กุ, อกุ-อัพ, อกุ-อกุ อัพ).

ปัจจัย ๒๓ ท่านแสดงแล้วด้วยปัจจัย ๗ ในปัญหาที่ ๑ แห่งปัญหา

๓ ข้อ มีอัพยากตะเป็นต้น อื่นจากนั้น (คือ อัพ -อัพ, อัพ-กุ, อัพ-อกุ)

อย่างไร. คือ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ แม้ด้วยปัจจัย๒๔. ก็เมื่อ

เหตุปัจจัยถูกปฏิเสธออก ย่อมมีปัจจัย ๒๓. บรรดาปัจจัยเหล่านั้น

อารัมมณปัจจัยมี ๑ เท่านั้น ก็เพราะอาหารปัจจัย และอินทริยปัจจัยท่าน

ถือเอาอีกแผนกหนึ่ง เพื่อสงเคราะห์ธรรมที่ไม่เกิดรวมกันไว้ในอธิการนี้

ด้วย เพราะฉะนั้น ท่านจึงนำปัจจัย ๓ เหล่านั้นออก แล้วแสดงปัจจัย ๑๒

โสหชาตปัจจัย. ปัจจัยที่ท่านกล่าวไว้ในหนหลังโดยอุปนิสสยปัจจัยมี ๖.

ปุเรชาตปัจจัยมี ๑ เท่านั้น. ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทริยปัจจัยก็เหมือน

กัน. บัณฑิตพึงทราบว่าปัจจัย ๒๓ เหล่านี้ ท่านแสดงไว้แล้วด้วยปัจจัย ๗

ในอธิการนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ปัจจัย ๑๒ ท่านแสดงแล้วด้วยปัจจัย ๓ แม้ในปัญหาที่ ๒ อย่างไร

คือ อารัมมณปัจจัยมี ๑. ปัจจัย ๖ คือ อารัมมณาธิปติ อนันตระ สม-

นันตระ นัตถิ วิคตะ และอุปนิสสยปัจจัย ท่านแสดงแล้วด้วยอำนาจแห่ง

อารัมมณูปนิสสยะ โดยอุปนิสสยปัจจัย. ปุเรชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ

อัตถิ และอวิคตปัจจัย ท่านแสดงแล้วด้วยปุเรชาตปัจจัย. บัณฑิตพึงทราบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 649

ว่าปัจจัย ๒ เหล่านี้ ท่านแสดงแล้วด้วยปัจจัย ๓ ในปัญหาที่ ๒ นี้ (อัพ-

กุ) ด้วยประการฉะนี้ แม้ในปัญหาที่๓ (คือ อัพ-อกุ) ก็นัยนี้.

ในปัญหาที่ ๑แห่งปัญหา ๔ ข้อ ที่มีมูล ๒ (คือ กุ, อัพ-กุ.

กุ. อัพ-อัพ. อก, อัพ-อกุ. อกุ, อัพ-อัพ.) ต่อจากนั้นพระองค์ไม่ตรัสว่า

สหชาตปจฺจเยน ปุเรชาตปจฺจเยน แล้วแสดงปัจจัย ๓ ด้วยอำนาจนิสสยะ

อัตถิ และอวิคตปัจจัย ด้วยปัจจัย ๒ ที่พระองค์ตรัสว่า สหชาต ปุเรชาต.

จริงอยู่ กุศลขันธ์ทั้งหลายเมื่อให้สำเร็จความเป็นปัจจัยแก่กุศล พร้อมกับ

วัตถุรูป เป็นสหชาตะแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ไม่เป็นสหชาตปัจจัย เพราะ

เหตุไร? เพราะเจือด้วยวัตถุรูป. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สหชาต

ด้วยอำนาจแห่ง นิสสยะ อัตถิ และอวิคตะ อันเป็นสหชาตะเหล่านี้.

แม้ในวัตถุรูปก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ แม้วัตถุรูปนั้นจะเกิดก่อนก็จริง

แต่หาเป็นปุเรชาตปัจจัยไม่ เพราะรวมกับขันธ์ คำว่า ปุเรชาต ตรัสแล้ว

ด้วยอำนาจแห่งนิสสยปัจจัยเป็นต้น ที่เกิดก่อนอย่างเดียว.

ปัจจัย ๔ ด้วยอำนาจสหชาตะ นิสสยะ อัตถิ และอวิคตะ พระองค์

ทรงแสดงแล้วด้วยปัจจัย ๔ ที่ท่านกล่าวว่า สหชาต ปจฺฉาชาต อาหาร

อินฺทฺริย ในปัญหาที่ ๒. จริงอยู่ ในวาระนี้ย่อมได้สหชาตปัจจัยด้วย

ไม่ได้ปัจฉาชาตปัจจัยเป็นต้น ก็คำนั้นท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งปัจฉาชาตะ

และอัตถิ และอวิคตะ กล่าวคือ อาหารและอินทรีย์ เพราะว่ากุศลขันธ์

ทั้งหลาย อัพยากตะและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูป โดยส่วน ๔

คือ สหชาตปัจจัย นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย. ก็กุศลที่เกิดใน

ภายหลังเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปเหล่านั้นนั่นหละ กับภูตรูปเหล่านั้น

เหมือนกัน ด้วยอำนาจอัตถิและอวิคตปัจจัย. แม้ กพฬีการาหาร กับกุศล

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 650

ที่เกิดภายหลัง ก็เป็นปัจจัยแก่กายที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิและอวิคต-

ปัจจัย. แม้ รูปชีวิตินทรีย์ กับกุศลที่เกิดภายหลังก็เป็นปัจจัยแก่กัมมชรูป

ด้วยอำนาจของอัตถิและอวิคตปัจจัยนั่นเอง. คำนี้ว่า สหชาต ปจฺฉาชต

อาหาร อินฺทฺริย พระองค์ตรัสหมายถึงความเป็นปัจจัยโดยส่วน ๔ นี้.

ก็ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทริยปัจจัยย่อมไม่ได้ในอธิการนี้.

แม้ใน ปัญหา ๒ ข้อ ที่รวมกับอกุศล ข้างหน้าก็นัยนี้เหมือนกัน.

บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งปัจจัยทั้งหลาย ที่ท่านย่อกล่าวไว้ในปัญหา

เหล่านั้น ๆ โนอธิการนี้ด้วยประการฉะนี้ ฝ่ายข้าพเจ้าจักทำให้แจ้ง ซึ่ง

ความลดและความไม่ลดแห่งปัญหาเหล่านั้นๆ ในปัจจัยนั้น ๆ ข้างหน้า

แล.

วรรณนาความแห่งปัจจยุทธาระ จบ

วรรณนาความแห่งกุสลติกปัฏฐาน

ปัจจนียนัย

วาระ ๑๕ เหล่านี้ว่า กุสโล ธมฺโม กุสลสฺส ธมฺมสฺส เป็นต้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ด้วยสามารถอนุโลม. เพราะแม้ใน

ปัจจนียะ ก็วาระเหล่านี้แหละ ไม่มีเกินไปกว่านี้ มีแต่ต่ำกว่านี้ ฉะนั้น

บัดนี้ เพื่อจะแสดงวาระที่จะมีได้ในปัจจนียะแห่งวาระใด ๆ ตั้งแต่ต้น ด้วย

อำนาจแห่งจำนวน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า นเหตุยา ปณฺณรส

เป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 651

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นเหตุยา คือ วาระ ๑๕ ที่ได้ด้วย

สามารถแห่งปัจจัยทั้งหลายตามที่แสดงไว้ แม้ทั้งหมด. ใน นอารัมมณะ

เหตุปัจจัยย่อมผนวกเข้าในสหชาตปัจจัย. ในวาระนั้น ๆ อารัมมณปัจจัย

ล้วน ๆ ย่อมขาดไป. วาระเหล่านั้นย่อมได้วิสัชนาด้วยอำนาจแห่งปัจจัย

ที่เหลือ. แม้ในปัจจัยที่เหลือก็เหมือนกับนอารัมมณปัจจัย. เหตุปัจจัยย่อม

ได้ในสหชาตปัจจัย. ก็ปัจจัยทั้งหลายที่ตั้งอยู่ด้วยปัจจนียะอย่างนี้ คือ

นอุปนิสฺสเย นอนนฺตเร (ปัจจัยนั้นๆ) ย่อมขาดไปในวาระนั้น ๆ. วาระ

เหล่านั้น ๆ ย่อมได้รับวิสัชนาด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือ. ส่วนในนสหชาต-

ปัจจัย ๔ วาระเหล่านั้นย่อมขาดไป คือ กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลและ

อัพยากตะ อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลและอัพยากตะ, กุศลและ

อัพยากตธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศล. อกุศลและอัพยากตธรรมเป็นปัจจัยแก่

อกุศล (กุ-กุ. อัพ,อกุ-อกุ.อัพ,กุ.อัพ-กุ, อกุ. อัพ-อกุ.) จริงอยู่ ท่าน

กล่าวปัจจัยสังคหะหมวด ๑ ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๑๑ ว่า สหชาตปจฺจ-

เยน ปจิจโย ในวาระ ๒ ข้อต้น แห่งวาระ ๔ เหล่านี้ เมื่อปัจจัยสังคหะ

นั้นถูกปฏิเสธไป วาระเหล่านั้นย่อมไม่ได้รับวิสัชนาโดยอาการอื่น. คำว่า

สหชาต ปุเรชาต ท่านกล่าวหมายเอานิสสยะ อัตถิ และอวิคตปัจจัยใน

วาระ ๒ ข้างท้าย เมื่อสหชาตปัจจัยถูกปฏิเสธไป วาระเหล่านั้นย่อมไม่ได้

วิสัชนาด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่เหลือ มีเหตุปัจจัยเป็นต้น และไม่ได้

ปุเรชาตปัจจัย นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัยด้วย เพราะฉะนั้น วาระทั้ง ๔

เหล่านี้จึงขาดไป. คำว่า เอกาทส (๑๑ วาระ) ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจ

แห่งวาระที่เหลือ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 652

ในข้อนั้นพึงมีคำถามว่า เมื่อเหตุปัจจัยถูกปฏิเสธออก วาระเหล่านั้น

จึงมีด้วย อำนาจแห่งอธิปติปัจจัยเป็นต้นที่เหลือ เพราะเหตุไร เมื่อสหชาต-

ปัจจัยถูกปฏิเสธออก วาระจึงไม่มีด้วยอำนาจแห่งเหตุปัจจัยเป็นต้น ที่เหลือ

บ้าง แก้ว่า เพราะไม่มีธรรมจะมาอ้างอิง (นิปปเทส) จริงอยู่ เหตุปัจจัย

เป็นต้น ชื่อว่ายังมีธรรม (เหลือไว้) อ้างอิง (สัปปเทส) เพราะยังมี

สหชาตปัจจัยอยู่อีกส่วนหนึ่ง (หรือเพราะเป็นส่วนหนึ่งแห่งสหชาตปัจจัย).

เพราะฉะนั้น เมื่อเหตุปัจจัยเป็นต้นเหล่านั้นถูกปฏิเสธออกแล้ว วาระ

เหล่านั้นย่อมได้รับวิสัชนาด้วยอำนาจแห่งปัจจัยอื่น แต่สหชาตปัจจัยไม่มี

ธรรม (เหลือไว้) อ้างอิง ย่อมรวมเอาเหตุปัจจัยเป็นต้นทั้งหมดเข้ามาด้วย

เมื่อสหชาตปัจจัยนั้นถูกปฏิเสธไป เหตุปัจจัยเป็นต้น เหล่านั้นแม้ทั้งหมด

จึงเป็นอันถูกปฏิเสธไปด้วย. เพราะว่าขึ้นชื่อว่าเหตุปัจจัย เป็นต้น ที่จะไม่

เกิดพร้อมกันย่อมไม่มี. เพราะสหชาตปัจจัยไม่มีธรรมอ้างอิง เมื่อสหชาต-

ปัจจัยนั้นถูกปฏิเสธออก วาระทั้ง ๒ เหล่านั้นจึงมีไม่ได้ด้วยประการฉะนี้.

ก็ในวาระที่ท่านวิสัชนาแล้วว่า สหชาต ปุเรชาต ถึงสหชาตปัจจัยเท่านั้น

จะไม่มีจริง แต่เพราะในอธิการนี้ อรูปขันธ์เกิดร่วมกันเท่านั้นเป็นปัจจัย

ด้วยอำนาจนิสสยะ อัตถิ และอวิคตะ ก็เมื่อสหชาตปัจจัยถูกปฏิเสธแล้ว

นิสสยะ อัตถิ และอวิคตปัจจัย ที่เกิดร่วมกันโดยส่วนเดียวโดยแน่นอน ก็

เป็นอันถูกปฏิเสธไปด้วย เพราะฉะนั้น วาระแม้เหล่านั้นจึงมีไม่ได้ เพราะ

สหชาตปัจจัยนั้นถูกปฏิเสธไปแล. วาระ ๔ เหล่านั้นในอธิการนี้ จึงขาดไป

โดยประการทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้. คำว่า เอกาทส ท่านกล่าวด้วย

อำนาจวาระที่เหลือเท่านั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 653

แม้ใน นอัญญมัญญะ นนิสสยะ และนสัมปยุตตปัจจัย วาระ ๔

เหล่านั้นเองขาดไป ถามว่า เพราะเหตุไร แก้ว่า เพราะมีคติเหมือน

สหชาตปัจจัย. เหมือนอย่างว่า สหชาตปัจจัยที่เป็นอรูปธรรมย่อมรวม

อรูปขันธ์ ๔ ไว้โดยไม่เหลือ ฉันใด แม้อัญญมัญญะ นิสสยะ และสัมป-

ยุตตปัจจัย ก็ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า เมื่อปัจจัยเหล่านี้ ถูกปฏิเสธ

ออกแล้ว วาระเหล่านั้นจึงมีไม่ได้ เพราะปัจจัยเหล่านี้มีคติเช่นเดียวกับ

สหชาตปัจจัย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นอญฺมฺเ

เอกาทส นนิสฺสเย เอกาทส นสมฺปยุตฺเต เอกาทส.

ในข้อนั้น พึงมี คำถาม ว่า ปัจจัยเหล่านี้ มีคติเหมือนสหชาตปัจจัย

เพราะเป็นที่รวมแห่งขันธ์ ๔ อันต่างโดยกุศลเป็นต้น โดยไม่แปลกกัน

ก็จริง แต่กุศลก็หาเป็นปัจจัยโดยประการอื่นเว้น สหชาตปัจจัย แก่กุสลา-

พยากตะไม่ เพราะฉะนั้น เมื่อกุศลนั้นถูกปฏิเสธออก วาระนั้นก็ขาดไป

(เป็นธรรมดา) แต่กุศลย่อมไม่เป็นอัญญมัญญปัจจัยแก่กุสลาพยากตะ เมื่อ

กุศลนั้นถูกปฏิเสธไป ทำไมวาระนั้นจึงต้องขาดไปด้วย แก้ว่า เพราะมี

ความเป็นไปด้วยอำนาจแห่งธรรมที่อิงอาศัยกันและกัน เหมือนอย่างว่า

กุสลาพยากตะไม่เป็นสหชาตปัจจัยแก่กุศล แต่วาระนั้นก็ขาดไปในเมื่อยก

กุศลนั้นออก เพราะมีความเป็นไปโดยนิสสยปัจจัยเป็นต้น ด้วยอำนาจ

แห่งธรรมที่เกิดร่วมกัน ฉันใด แม้ในอธิการนี้เมื่อยกกุศลนั้นออก วาระ

แม้นั้นย่อมขาดไป เพราะมีความเป็นไปโดยเป็นสหชาตะเป็นต้น ด้วย

อำนาจแห่งธรรมที่เป็นอัญญมัญญปัจจัย ฉันนั้น.

ก็บทว่า นอญฺมญฺปจฺจเยน ปจฺจโย มีเนื้อความดังนี้ ธรรม

เหล่าใดถึงการนับว่าเป็นอัญญมัญญปัจจัย การเป็นปัจจัยด้วยธรรมเหล่านั้น

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 654

ย่อมไม่มี แต่กุศลเมื่อเป็นปัจจัยแก่กุสลาพยากตะ ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย

เป็นต้น ย่อมไม่เป็นด้วยธรรม คืออัญญมัญญปัจจัยเท่านั้น เพราะฉะนั้น

เมื่อกุศลนั้นถูกปฏิเสธออกวาระนั้นจึงขาดไป ก็วาระนั้นย่อมขาดไป ฉันใด

วาระ ๓ แม้ที่เหลือก็ย่อมขาดไป ฉันนั้น วาระ ๔ แม้เหล่านั้นย่อมขาดไป

ด้วยประการฉะนั้น.

แม้ในคำว่า นนิสฺสเย เอกาทส นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ เพราะปัจจัย

ธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกันโดยส่วนเดียว เป็นที่อาศัยแห่งวาระเหล่านั้น

ฉะนั้น เมื่อธรรมเป็นที่อาศัย ถูกปฏิเสธออก วาระเหล่านั้นจึงขาดไป

ด้วย.

สองบทว่า ปุเรชาเต เตรส (นปุเรชาตปัจจัย มี ๑๓วาระ) ความ

ว่า มีวาระ ๑๓ เพราะนำเอาวาระ ๒ ที่มีมูล ๒ ที่มีวิสัชนาอัน ท่านกล่าว

ไว้ว่า สหชาต ปุเรชาต ออกเสีย เหมือนอย่างว่า เมื่อยกสหชาตปัจจัย

ออก วาระเหล่านั้นย่อมไม่ได้วิสัชนา ด้วยอำนาจแห่งนิสสยะ อัตถิ และ

อวิคตปัจจัย เฉพาะที่เป็นปุเรชาตเท่านั้น ฉันใด แม้เมื่อปุเรชาตปัจจัย

ถูกยกออกเสียแล้ว วาระเหล่านั้นย่อมไม่ได้วิสัชนาด้วยอำนาจนิสสยะ

อัตถิ และอวิคตปัจจัย เฉพาะที่เป็นสหชาตะเท่านั้น ฉันนั้น เพราะฉะนั้น

ผู้ศึกษาพึงทราบว่ามีวาระ ๑๓ เพราะนำออกเสียซึ่งวาระเหล่านั้น.

ในคำว่า นปจฺฉาเต ปณฺณรส นี้ ย่อมได้ปัญหาทั้งหลายเหล่านั้น

แม้ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่เหลือ เว้นปัจฉาชาตปัจจัยในอาคตสถาน

(ที่มา) ว่า ปจฺฉาชาตปจฺจเยน ปจฺจโย หรือว่า สหชาต ปุเรชาต

อาหาร อินฺทริย ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ ๑๕

วาระเท่านั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 655

ในคำว่า นกมฺเม เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า เพราะแม้กัมมปัจจัย วิปาก-

ปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย ก็เป็นส่วน

หนึ่งแห่งขันธ์ ๔ อันต่างโดยกุศลเป็นต้น ฉะนั้น ยกเว้น ธรรมเหล่านั้นเสีย

ธรรมที่เกิดร่วมจึงจัดเป็นปัจจัยได้ด้วยอำนาจแห่งธรรมที่เหลือ เพราะ-

ฉะนั้น การวิสัชนาปัญหาจึงไม่ลดไปแม้เพียงข้อเดียว.

คำว่า นสมฺปยุตฺเต เอกาทส ความว่า เพราะธรรมที่สัมปยุตกัน

เป็นปัจจัยกัน ด้วยอำนาจสหชาตะเป็นต้น ในวาระ ๔ เหล่านั้น ฉะนั้น

พึงทราบว่าวาระเหล่านั้นเท่านั้นขาดไป เพราะปฏิเสธสัมปยุตตปัจจัย.

คำว่า นวิปฺปยุตฺเต นว ความว่า วาระ ๖ เหล่านั้น คือ วาระ ๔

อันมีอวสานบทบทเดียว ซึ่งเกิดแต่ธรรมที่มีมูล ๒ และ ๒ วาระอันมี

อวสานบท ซึ่งเกิดแต่ธรรมที่มีมูล ๑ และมูล ๒ ประกอบแล้วด้วยปัจจัย-

ธรรมที่วิปปยุตกันโดยส่วนเดียว. วาระเหล่านั้นย่อมเป็นปัจจัยด้วยอำนาจ

สหชาตะเป็นต้น เมื่อวิปปยุตตปัจจัยถูกปฏิเสธออกไป วาระเหล่านั้น

ทั้งหมดย่อมขาดไปด้วย เพราะฉะนั้น จึงได้ ๙ วาระเท่านั้น ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นวิปฺปยุตฺเต นว.

แม้ใน โนนัตถิ และ โนอวิคตปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบวาระ ๙

เหล่านั้นเอง จริงอยู่ วาระเหล่านั้น ประกอบด้วยธรรม คือ อัตถิปัจจัย

และอวิคตปัจจัยแน่นอน เพราะฉะนั้น วาระเหล่านั้นจึงขาดไป เพราะ

การปฏิเสธอัตถิ และอวิคตปัจจัยเหล่านั้น วาระแม้เหล่าใดที่ได้อยู่ ผู้ศึกษา

พึงแต่งวิสัชนาในวาระเหล่านั้น ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย หรืออนันตร-

ปัจจัยเป็นต้น ผู้ศึกษาพึงแต่งวิสัชนาด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๕ อันต่างด้วย

อำนาจของสหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทริยปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 656

หรือด้วยอำนาจแห่งธรรมที่วิปปยุตกัน ซึ่งยังมีอยู่และยังไม่ปราศจากไป

ดังนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงวาระที่ได้ใน ปัจจนียนัย ด้วย

การนับอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงการนับปัจจัย ด้วยอำนาจแห่ง

ปัจจัยที่มีมูล ๒ เป็นต้น จึงทรงเพิ่มคำว่า นเหตุปจฺจยา นารมฺมเณ

ปณฺณรส เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้นต่อไป.

ใน นเหตุมูลกทุกะ เป็นปัจจัยที่นับได้มากกว่า ครั้นประกอบกับ

ปัจจัยที่นับได้น้อยกว่าย่อมเป็นปัจจัยที่นับได้น้อยกว่าไปด้วย. ใน ติมูลกนัย

วาระ ๒ คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล อกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล (กุ-อกุ,

อกุ-กุ) ในคำว่า นอุปนิสฺสเย เตรส ย่อมขาดไป. เพราะเหตุไร ?

เพราะ นอุปนิสสยปัจจัย ท่านเชื่อมไว้กับ นอารัมมณปัจจัย. จริงอยู่

วาระเหล่านี้เป็นไปด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย. และ

ปัจจัยทั้ง ๒ นั้น อันท่านยกเสียแล้ว (ปฏิเสธ) วาระนั้นเป็นอันท่านถือ

เอาแล้วด้วยจำนวนแห่งอารัมมณาธิปติ และอารัมมณูปนิสสยปัจจัย

เท่านั้น.

สองบทว่า นอุปนิสฺสเย เตรส แม้ใน ฉมูลกนัย ก็คือวาระ ๑๓

เหล่านั้นนั่นแหละ.

พึงทราบวินิจฉัยใน สัตตมูลกนัย ต่อไป. สองบทว่า นอุปนิสฺสเย

สตฺต ได้แก่ วาระ ๘ คือ วาระ ๔ อัน เป็นไปอยู่ด้วยอำนาจแห่งอนันต-

รูปนิสสยปัจจัย และปกตูปนิสสยปัจจัยเหล่านั้น คือ ๑. กุศลเป็นปัจจัยแก่

กุศล (กุ-กุ)๒. กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล (กุ-อกุ) ๓. อกุศลเป็นปัจจัย

แก่อกุศล (อกุ-อกุ) ๘. อกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล (อกุ-กุ) และกับ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 657

วาระ ๔ ที่ขาดไปในอธิการนั้น เพราะเนื่องกับ นสหชาตปัจจัย ย่อม

ขาดไป เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สตฺต คือ ๗ วาระ

ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่เหลือ.

สองบทว่า นปุเรชาเต เอกาทส คือ มีวาระ ๑๑ เพราะเนื่องกัน

นสหชาตปัจจัย.

สองบทว่า นปจฺฉาชาเต นว ความว่า จริงอยู่ ในวาระ ๑๑ เหล่านี้

เพราะนำเอาวาระ ๓ซึ่งมีมูล ๒ และมีอัพยากตะเป็นอวสานบท มีวิสัชนา

อันได้แล้วว่า สหชาต ปจฺฉาชาต อาหาร อินฺทฺริย ออกเสีย แม้เมื่อมี

การปฏิเสธสหชาตปัจจัย วาระเหล่านั้นก็ยังไม่ขาดไป ด้วยอำนาจปัจฉา-

ชาดปัจจัย แต่เมื่อมีการปฏิเสธปัจฉาชาตปัจจัยกับสหชาตปัจจัย วาระ

เหล่านี้ย่อมขาดไป เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นว คือ

๙ วาระ ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่เหลือ.

สองบทว่า นนิสฺสเย เอการส ใน อัฏฐมูลนัย คำอธิบายทั้งหมด

เหมือนกับที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง.

พึงทราบวินิจฉัยใน นวมูลกนัย ต่อไป. สองบทว่า นอุปนิสฺสเย

ปญฺจ ความว่า มี ๕ วาระ คือ วาระ ๓ หมวด ๓ แห่งกุศล เป็นต้น อัน

มีอัพยากตะเป็นที่สุด และวาระ ๒ อันมีมูล ๒ มีอัพยากตะเป็นอวสานบท

พึงทราบวิสัชนาในวาระ ๕ เหล่านั้น ด้วยอำนาจแห่งธรรม คือ นานาก-

ขณิกกัมมปัจจัย กพฬีการาหาร รูปชีวิตินทรีย์ และปัจฉาชาตปัจจัย.

วาระเหล่านั้นเอง ย่อมมีแม้ในคำเป็นต้นว่า นปุเรชาเต ปญฺจ. ใน

ทสมูลกนัย สองบทว่า นปจฺฉาชาเต ตีณิ คือ วาระที่เหลือ นอกจาก

วาระ ๒ อันมีมูล ๒ มีอัพยากตะเป็นอวสานบท อันได้อยู่ด้วยอำนาจ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 658

ปัจฉาชาตปัจจัย. วาระ ๓ เหล่านั้นเอง ย่อมมีแม้ในนวิปปยุตปัจจัย สอง

บทว่า โนอตฺถิยา เทฺว คือ กุศล และอกุศล เป็นปัจจัยแก่กัมมชรูป

ุด้วยอำนาจแห่งนานากขณิกกัมมปัจจัย. ก็ในอธิการนี้ย่อมไม่ได้วิบากเพราะ

เนื่องกับ นอุปนิสสยปัจจัย. การนับใน เอกาทสมูลกนัย เช่นเดียวกับ

ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังนั่นเอง.

สองบทว่า นกมฺเม เอก ใน ทวาทสมูลกนัย คือ อัพยากตะกับ

อัพยากตะ ก็ในข้อนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบวิสัชนาด้วยอำนาจอาหาร และ

อินทรีย์. ผู้ศึกษาพึงถือเอาวิสัชนานี้แหละ ในอาคตสถานว่า เอก (=๑

วาระ) แม้ใน เตรสมูลกนัย เป็นต้น. แต่ในนอาหารปัจจัย พึงทราบ

วิสัชนาด้วยอำนาจแห่งอินทรีย์ ใน นอินทริยปัจจัย พึงทราบวิสัชนาด้วย

อำนาจแห่งอาหาระ.

ใน จุททสมูลกนัย เป็นต้น ย่อมไม่ได้ โนอัตถิ และ โนอวิคต-

ปัจจัย เพราะเนื่องด้วยนกัมมปัจจัย เหตุนั้นท่านจึงไม่กล่าวไว้. ท่าน

กล่าวคำว่า นาหารปจฺจยา นณานเปจฺจยา ไว้โดยนำเอา นอินทริยปัจจัย

ออกเสีย เพราะฉะนั้น ในฐานะเช่นนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบวิสัชนา ๑ ด้วย

อำนาจแห่งอินทริยปัจจัย. คำว่า นวิปากปจฺจยา นอินฺทริยปจฺจยา ท่าน

กล่าวไว้โดยนำอาหาระออกเสีย เพราะฉะนั้น ในฐานะนั้นพึงทราบ

วิสัชนา ๑ ด้วยอำนาจแห่งอาหารปัจจัย ก็ขึ้นชื่อว่าการนับในวาระ ๒

เหล่านี้ ซึ่งตั้งอยู่โดยความเป็นปัจจนียะย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่

ได้แสดงไว้ด้วยกันแล.

นเหตุมูลกนัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 659

แม้ใน นอารัมมณมูลกนัย เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้

การกำหนดจำนวนมูลในทุกะทั้งปวงมี เท่านั้น คือ ๑๕-๑๓-๑๑-๙

ส่วนในติมูลกนัยเป็นต้น ย่อมได้วิสัชนาซึ่งมีจำนวนอันท่านกำหนดไว้

แล้ว คือ ๗-๕-๓-๒-๑ นอกไปอีก เพราะการประกอบร่วมกันแห่ง

ปัจจัยเป็นอันมาก วิสัชนาใด ๆ ย่อมมีได้เพราะการประกอบร่วมกันแห่ง

ปัจจัยเหล่าใด ในบรรดาปัจจัยเหล่านั้น ผู้ศึกษาพึงกำหนดวิสัชนาและ

ปัจจัยนั้น ๆ ให้ดี แล้วยกขึ้นตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง ก็ใน

นอารัมมณมูลกนัย เป็นต้น เหล่านั้นทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงเชื่อมบททั้งหลาย

มีนารัมมณบท เป็นต้น กับ นเหตุบท ที่ผ่านมาแล้วเป็นอันดับแรก แล้ว

ทำเป็นจักร (หมุนเวียนไป) ก็เพราะบทเหล่านั้นเป็นเช่นเดียวกับที่กล่าว

แล้วในนเหตุมูลกนัยนั่นเอง ฉะนั้น ท่านจึงไม่แสดงโดยพิสดาร แสดง

ไว้เพียงย่อ ๆ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้นต่อไป ใน นเหตุกมูลกนัย ใน

เพราะนอารัมมณะ และในเพราะนอุปนิสสยปัจจัย ย่อมได้วาระ ๑๕ แยก ๆ

กันไป ได้วาระ ๑๓ เพราะประกอบร่วมกัน ฉันใด ย่อมได้วาระ ๑๓ เท่านั้น

ในที่ทั่วไป ฉันนั้น. อนึ่ง ใน นอุปนิสสยปัจจัย วาระ ๗ ย่อมมีด้วย

นอารัมมณะ และนสหชาตปัจจัย ฉันใด แม้ในนสชาตปัจจัยก็มีวาระ๗

ด้วยนอุปนิสสยะ และนอารัมมณปัจจัย ฉันนั้น.

คำว่า นนิสฺสยปจฺจยา นอุปนิสฺสยปจฺจยา นปจฺฉาชาเต ตีณิ คือ

วิสัชนา ๓ วาระ มีกุศลเป็นต้น มีอัพยากตะเป็นที่สุด ปัจจัยเหล่านั้นมี

กัมมชรูปและอาหารชรูปเป็นปัจจยุบบัน ในหมวด ๔ มี นอาหาระ และ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 660

นอินทริยะ เป็นมูล ย่อมไม่ได้วาระโดยแน่นอน เหมือนในนเหตุมูลกนัย

เพราะไม่เชื่อมกัมมปัจจัย.

ใน นอินทริยมูล คำว่า "นอุปนิสฺสเย จ นปุเรชาเต จ เปตฺวา

นาหาเร ตีณีติ กาตพฺพ" อธิบายว่า ผู้ศึกษาพึงเชื่อมปัจจัย ๒ เหล่านี้

จากนอินทริยปัจจัย แล้วทำการนับด้วยนอาหารปัจจัย กับปัจจัย ๒ เหล่านี้

อย่างนี้ คือ นอินฺทฺริยปจฺจยา ฯเปฯ นอุปนิสฺสยปจฺจยา นาหาเร ตีณิ,

น อินฺทฺริยปจฺจยา ฯเปฯ น ปุเรชาตปจฺจยา นาหาเร ตีณิ. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า ตีณิ คือ กุศลเป็นต้นนั่นเอง เป็นปัจจัยแก่

อัพยากตะ.

ในคำนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ กุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่กัมมชรูป

และแก่กายที่เกิดก่อน ด้วยปัจฉาชาตปัจจัย ส่วนจิตและเจตสิกที่เป็น

อัพยากตะเป็นปัจจัย ด้วยปัจฉาชาตปัจจัยอย่างเดียว ผู้ศึกษาพึงแต่งวิสัชนา

๓ ข้อ ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยเหล่านี้ ดังอธิบายมานี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นาหาเร เทฺว เพราะเชื่อมกับปัจฉา-

ชาตปัจจัยข้างหน้า ในข้อนั้นได้วิสัชนาเพียงเท่านี้ คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่

อัพยากตะ ด้วยอำนาจที่เป็นกัมมชรูป และอกุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ

ด้วยอำนาจที่เป็นกัมมชรูปเหมือนกัน แต่เพราะอาหารถูกปฏิเสธออก กพ-

ฬีการาหารจึงไม่ได้ความเป็นปัจจัย แม้ด้วยอำนาจอัตถิและอวิคตปัจจัย.

ใน จตุมูลกนัย แห่งตอนที่ว่าด้วยปัฏฐานที่มีนวิปปยุตตปัจจัยเป็น

มูล. สองบทว่า นอุปนิสฺสเย ปญฺจ คือ มีวิสัชนา ๕ วาระ คือ กุศล

เป็นปัจจัยก่กุศลที่เกิดพร้อมกัน กุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ กล่าวคือ

กัมมชรูป อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลที่เกิดพร้อมกัน อกุศลเป็นปัจจัยแก่

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 661

อัพยากตะ คือกัมมชรูป อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะที่เกิดพร้อม

กัน. คำว่า นวิปฺปยตฺตปจฺจยา ฯเปฯ นอุปนิสฺสเย ตีณิ คือ วาระ ๓

มีกุศลเป็นต้น เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วใน

หนหลัง.

คำว่า โนอตฺถิปจฺจยา นเหตุยา นว คือ วาระ ๙ ที่ท่านกล่าวว่า

เกิดเพราะนเหตุปัจจัย ในโนอัตถิปัจจัย. จริงอยู่ วาระเหล่านั้น ทั้งหมด

วาระหนึ่งซึ่งมีมูลหนึ่งเป็นที่สุด ย่อมได้ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัยและปกตู-

ปนิสสยปัจจัย.

แม้สองบทว่า นอารมฺมเณ นว ความว่า ผู้ศึกษาพึงตั้งวาระเหล่า-

นั้นแหละไว้ในนอารัมมณปัจจัย แล้วแบ่งอุปนิสสยปัจจัยออกเป็น ๒.

สองบทว่า ยาว นิสฺสยมฺปิ ความว่า ในนัยที่มีโนอัตถิปัจจัยเป็นมูล ผู้

ศึกษาพึงตั้งไว้ในนอารัมมณปัจจัย ด้วยการหมุนเวียนอย่างนี้ คือ โน-

อตฺถิปจฺจยา นเหตุปจฺจยา นอารมฺมณปจฺจยา ไปจนถึง นิสสยปัจจัย

แล้ว พึงแต่งวิสัชนา ๒ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย กับด้วยปัจจัย

อย่างนี้ หรือปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง มีนอธิปติปัจจัยเป็นต้น ถัดจากนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งลักษณะอย่างนี้แล้ว ทรงถือเอาปัจจัย ๗

ตั้งแต่นอารัมมณปัจจัยจนถึงนนิสสยปัจจัยอีก แล้วตรัสว่า นอุปนิสฺสเย

เทฺว ในข้อนั้นผู้ศึกษาพึงแต่งโยชนาจากนารัมมณปัจจัยกับบททั้งปวง มี

นนิสสยปัจจัยเป็นที่สุดทั้งข้างหน้าและข้างหลังอย่างนี้ คือ โนอตฺถิปจฺจยา

นเหตุปจฺจยา นอารมฺมณปจฺจยา นอุปนิสฺสเย เทว, โนอตฺถิปจฺจยา

นเหตนารมฺมณนาธิปติปจฺจยา นอุปนิสฺสเย เทฺว. ก็บทว่า เทฺว ในอธิการ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 662

นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจแห่งปัจจัยแห่งกัมมชรูป ด้วยอำนาจแห่ง

นานากขณิกกัมมะ คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อกุศลเป็นปัจจัยแก่

อัพยากตะ. ใน นปุเรชาตปัจจัย เป็นต้น กับ นอุปนิสสยบท พึงทราบ

วิสัชนา ๒ ในที่ทุกสถาน ก็ในอธิการนี้ท่านไม่ถือเอากัมมปัจจัย จริงอยู่

เมื่อถือเอากัมมปัจจัยนั้น วาระเหล่านั้นย่อมขาดไปด้วย ย่อมไม่ได้วิสัชนา

ในการเทียบเคียงวิสัชนาใด ๆ กับวิสัชนาใดๆ วิสัชนาใดมีได้และวิสัชนา

ใดขาดไป ผู้ศึกพึงกำหนดวิสัชนานั้นทั้งหมดให้ดี แล้วพึงขยายจำนวน

ในปัจจนียะทั้งหมด.

ปัจจนียนัย จบ

การนับวาระในอนุโลมปัจจนียะแห่งปัญหาวาระ

เหตุมูลกนัย

เหตุสภาคะ

[๗๕๒] เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสมนันตร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสย

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ. ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ. ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 663

มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนวิตตปัจจัย มี ๗ วาระ.

เหตุฆฏนา ๒๔

[๗๕๓] ๑. เพราะปัจจัย ๕ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๗

วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย ม ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๗๕๔] ๒. เพราะปัจจัย ๖ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตร

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ โนนอาเสวนปัจจัย มี

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 664

นอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌาน-

ปัจจัย มี ๓ วาระ. ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี

๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนวิตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๗๕๕] ๓. เพราะปัจจัย ๗ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ

... ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ นนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๗๕๖] ๔. เพราะปัจจัย ๖ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอธิปติปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสมนันตรปัจจัย มี ๓

วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 665

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๗๕๗] ๕. เพราะปัจจัย ๖ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอธิปติปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัยมี ๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี

๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑วาระ นโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๗๕๘] ๖. เพราะปัจจัย ๗ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 666

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๗๕๙] ๗. เพราะปัจจัย ๘ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑

วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๗๖๐] ๘. เพราะปัจจัย ๗ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี๑ วาระ โนนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 667

[๗๖๑] ๙. เพราะปัจจัย ๘ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี

๑ วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑

วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๗๖๒] ๑๐. เพราะปัจจัย ๗ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ... ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย

มี ๘ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี

๔ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๔

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

นวิปากปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ ในนฌาน-

ปัจจัย มี ๔ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย

มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๔

วาระ.

[๗๖๓] ๑๑. เพราะปัจจัย ๘ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อินทริย มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๒

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 668

วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๒

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ

ในโนนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๗๖๕] ๑๒. เพราะปัจจัย ๙ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิตปัจจัย ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๒ วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๒ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๒

วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในนฌานปัจจัย มี

๒ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๗๖๕] ๑๓. เพราะปัจจัย ๘ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ

...ในนอธิปตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 669

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี๒ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๒ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๗๖๖] ๑๕. เพราะปัจจัย ๘ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ

... ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๑ วาร ะ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๗๖๗] ๑๕. เพราะปัจจัย ๙ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ... โนนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑

วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 670

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๗๖๘] ๑๖. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑

วาระ.

[๗๖๙] ๑๗. เพราะปัจจัย ๙ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย

มี๑วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี๑วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 671

[๗๗๐] ๑๘. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๗๗๑] ๑๙. เพราะปัจจัย ๘ คือ เหตุ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ...

ในนอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๔

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

[๗๗๒] ๒๐. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ เหตุ อธิปติ สหชาตะ อัญญ-

มัญญะ นิสสยะ อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 672

นสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๒

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๗๗๓] ๒๑. เพราะปัจจัย ๙ คือ เหตุ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ มัคคะ วิปปยุตต อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๒

วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี๒วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ. ในนกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๒

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๗๗๔] ๒๒. เพราะปัจจัย ๙ คือ เหตุ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อุวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑

วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 673

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตปัจจัย มี

๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๗๗๕] ๒๓. เพราะปัจจัย ๑๑ คือ เหตุ อธิปติ สหชาตะ อัญญ-

มัญญะ นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคต-

ปัจจัย โนนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑วาระ.

[๗๗๖] ๒๔. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ เหตุ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑

วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ โนนกัมมปัจจัย มี๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

เหตุมูลกนัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 674

อารัมมณมูลกนัย

อารัมมณสภาคะ

[๗๗๗] เพราะอารัมมณปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ... ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๙วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสมนันตร-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย

มี ๙ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย

มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ

ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

อารัมมณฆฏนา ๕

[๗๗๘] ๑. เพราะปัจจัย ๓ คือ อารัมมณะ อธิปติ อุปนิสสยปัจจัย

ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปาก-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 675

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๗๗๙] ๒. เพราะปัจจัย ๔ คือ อารัมมณะ ปุเรชาตะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ

นนอนันตรปัจจัย มี๓วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคค-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ นโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ นโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๗๘๐] ๓. เพราะปัจจัย ๖ คือ อารัมมณะ นิสสยะ ปุเรชาตะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓วาระ... ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญญปัจจัย มี ๓

วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 676

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๗๘๑] ๔. เพราะปัจจัย ๖ คือ อารัมมณะ อธิปติ อุปนิสสยะ

ปุเรชาตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี๑วาระ... ในนอนัตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสหชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑

วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌาน-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑

วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๗๘๒] ๕. เพราะปัจจัย ๘ คือ อารัมมณะ อธิปติ นิสสยะ

อุปนิสสยะ ปุเรชาตะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑

วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 677

มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

อารัมมณมูลกนัย จบ

อธิปติมูลกนัย

อธิปติสภาคะ

[๗๘๓] เพราะอธิปติปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๑๐ วาระ ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในอนันตรปัจัย มี ๑๐ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๘ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑๐ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๐ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๘

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในโน-

อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 678

อธิปติฆฏนา ๓๐

[๗๘๔] ๑. เพราะปัจจัย ๓ คือ อธิปติ อัตถิ อวิคตปัจจัย ใน

นเหตุปัจจัย มี ๘ วาระ... ในนอารัมมปัจจัย มี๗ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๘ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๘ วาระ ในนสหชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๔ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๘ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๘ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๘ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๘ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๘ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๘ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๘ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๘ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๔วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๘ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย ๘ วาระ.

[๗๘๕] ๒. เพราะปัจจัย ๔ คือ อธิปติ นิสสยะ อัตถิ อวิคต-

ปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๘ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนอนันตรปัจจัย มี ๘ วาระ นนสมนันตรปัจจัย มี ๘ วาระ ใน

นสหชาตปัจจัย มี๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๘ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๘ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๘ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๘ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๘ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี

๘ วาระ โนนอินทริยปัจจัย มี ๘ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๘ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๘ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 679

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๘ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๘ วาระ.

[๗๘๖] ๓. เพราะปัจจัย ๕ คือ อธิปติ นิสสยะ วิปปยุตตะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓

วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ

ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี๔ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี๔ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๔ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๔ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๔ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๔ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ในโนนัตถิ

ปัจจัย มี ๔ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ถ วาระ.

[๗๘๗] ๔. เพราะปัจจัย ๓ คือ อธิปติ อารัมมณะ อุปนิสสยปัจจัย

ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี๗วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตต-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 680

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย

มี ๗ วาระ โนโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ

ในโนอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๗๘๘] ๕. เพราะปัจจัย ๖ คือ อธิปติ อารัมมณะ อุปนิสสะ

ปุเรชาตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจจัย มี ๑ วาระ... ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสหชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑

วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑

วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๗๘๙] ๖. เพราะปัจจัย ๘ คือ อธิปติ อารัมมณะ นิสสยะ

อุปนิสสยะ ปุเรชาตะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑

วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี๑วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี๑วาระ ในโนนัตถิ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 681

[๗๙๐] ๗. เพราะปัจจัย ๕ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗

วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๗๙๑] ๘. เพราะปัจจัย ๗ คือ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 682

[๗๙๒] ๙. เพราะปัจจัย ๖ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ วิปป-

ยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ โนนสมนันตรปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสย-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัยย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๗๙๓] ๑๐. เพราะปัจจัย ๖ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑

วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 683

[๗๙๔] ๑๑. เพราะปัจจัย ๘ คือ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑

วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี

๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๗๙๕] ๑๒. เพราะปัจจัย ๗ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี๑วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๗๙๖] เพราะปัจจัย ๘ คือ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ

๑. บาลีข้อนี้เหินมา เพราะไม่องค์ธรรม จึงนับฆฏนาข้อที่ ๑๓ ที่ข้อ [๗๙๗] เว้นข้อ [๗๙๖].

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 684

นิสสยะ วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑

วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี

๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๗๙๗] ๑๓. เพราะปัจจัย ๗ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ อาหาระ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี

๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี๗ วาระ.

[๗๙๘] ๑๔. เพราะปัจจัย ๙ คือ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อาหาระ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตร-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 685

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนนัตถิปัจจัย มี ๓

วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๗๙๙] ๑๕. เพราะปัจจัย ๘ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ อาหาระ

อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๐๐] ๑๖. เพราะปัจจัย ๘ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อาหาระ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 686

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๐๑] ๑๗. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อาหาระ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๐๒] ๑๘. เพราะปัจจัย ๙ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อาหาระ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑

วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 687

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๐๓] ๑๙. เพราะปัจจัย ๗ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ โนนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๘๐๔] ๒๐. เพราะปัจจัย ๙ คือ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓

วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 688

[๘๐๕] ๒๐. เพราะปัจจัย ๘ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๐๖] ๒๒. เพราะปัจจัย ๘ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๐๗] ๒๓. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 689

นเหตุปัจจัย มี๑วาระ.... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑

วาระ.

[๘๐๘] ๒๔. เพราะปัจจัย ๙ คือ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๐๙] ๒๕. เพราะปัจจัย ๘ คือ อธิปติ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ...

ในนอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 690

นปุเรชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ ในนฌานปัจจัย มี

๔ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

[๘๑๐] ๒๖. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ อธิปติ เหตุ สหชาตะ

อัญญมัญญะ นิสสยะ อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจับ มี ๒ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในนฌานปัจจัย มี

๒ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๘๑๑] ๒๗. เพราะปัจจัย ๙ คือ อธิปติ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๒ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี

๒ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๒

วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๒วาระ ในนวิปาก-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 691

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในนฌานปัจจัย มี

๒ วาระ โนนสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๘๑๒] ๒๘. เพราะปัจจัย ๙ คือ อธิปติ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑

วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี

๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี๑วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี๑วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๑๓] ๒๙. เพราะปัจจัย ๑๑ คือ อธิปติ เหตุ สหชาตะ

อัญญมัญญะ นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑

วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 692

[๘๑๔] ๓๐ เพราะปัจจัย ๑๐ คือ อธิปติ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมป-

ยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

อธิปติมูลกนัย จบ

อนันตรมูลกนัย

อนันตรสภาคะ

[๘๑๕] เพราะอนันตรปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี๗ วาระ ในนมัคค-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปปยุตต-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 693

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ.

อนันตรฆฏนา ๓

[๘๑๖] ๑. เพราะปัจจัย ๕ คือ อนันตระ สมนันตระ อุปนิสสยะ

นัตถิวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี๗วาระ

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

โนอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๘๑๗] ๒. เพราะปัจจัย ๖ คือ อนันตระ สมนันตระ อุปนิสสยะ

อาเสวนะ นัตถิ วิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓

วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 694

นอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ. ในโนอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๑๘ ] ๓. เพราะปัจจัย ๖ คือ อนันตระ สมนันตระ อุปนิสสยะ

กัมมะ นัตถิ วิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี วาระ ในนสหชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑

วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ โนนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌาน-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี๑ วาระ

ในโนอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

อนันตรมูลกนัย จบ

สมนันตรมูลกนัย

สมนันตรสภาคะ

[๘๑๙] เพราะสมนันตรปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี๗วาระ ในนอธิปคิปัจจัย มี ๗วาระ ในนสหชาต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอัญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนนิสสยปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 695

มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคค-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ.

สมนันตรฆฏนา ๓

[๘๒๐] ๑. เพราะปัจจัย ๕ คือ สมนันตระ อนันตระ อุปนิสสยะ

นัตถิ วิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนอธิปตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๗

วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

โนอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๘๒๑] ๒. เพราะปัจจัย ๖ คือ สมนันตระ อนันตระ อุปนิสสยะ

อาเสวนะ นัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณ-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 696

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอัญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๓

วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี๓วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี

๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๒๒] ๓. เพราะปัจจัย ๖ คือ สมนันตระ อนันตระ อุปนิสสยะ

กัมมะ นัตถิ วิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี

๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี

๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สมนันตรมูลกนัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 697

สหชาตมูลกนัย

สหชาตสภาคะ

[๘๒๓] เพราะสหชาตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๙ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในนฌาน-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๙

วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

สหชาตฆฏนา ๑๐

[๘๒๔] ๑. เพราะปัจจัย ๔ คือ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ อวิคต-

ปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 698

มี ๙ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๙ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๔ วาระ.

[๘๒๕] ๒. เพราะปัจจัย ๕ คือ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี๓วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี๓วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๒๖] ๓. เพราะปัจจัย ๖ คือ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี๓วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓

วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 699

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๒๗] ๔. เพราะปัจจัย ๕ คือ สหชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๒๙] ๕. เพราะปัจจัย ๖ คือ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมม-

ณปัจจัย มี๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี

๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 700

มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี

๑ วาระ.

[๘๒๙] ๖. เพราะปัจจัย ๕ คือ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย ม ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี๑วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๓๐] ๗. เพราะปัจจัย ๖ คือ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาร..ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี

วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 701

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปบยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๓๑] ๘. เพราะปัจจัย ๗ คือ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๓๒] ๙. เพราะปัจจัย ๖ คือ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

ปัจจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 702

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ โนนมัคคปัจจัย มี ๑

วาระ โนนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๓๓] ๑๐ เพราะปัจจัย ๗ คือ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนเอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สหชาตมูลกนัย จบ

อัญญมัญญมูลกนัย

อัญญมัญญสภาคะ

[๘๓๔] เพราะอัญญมัญญปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 703

นอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ โนนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

อัญญมัญญฆฏนา ๖

[๘๓๕] ๑. เพราะปัจจัย ๕ คือ อัญญมัญญะ สหชาตะ นิสสยะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี๓วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๓๖] ๒. เพราะปัจจัย ๖ คือ อัญญมัญญะ สหชาตะ นิสสยะ

สัมปยุตต อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 704

นอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี๓วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๓๗] ๓. เพราะปัจจัย ๖ คือ อัญญมัญญะ สหชาตะ นิสสยะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี๑วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๑ วาระ โนนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๓๘] ๔. เพราะปัจจัย ๖ คือ อัญญมัญญะ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี๑ วาระ... ในนอารัมณ-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 705

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑

วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี๑วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑

วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๓๙] ๕. เพราะปัจจัย ๗ คือ อัญญมัญญะ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๔๐] ๖. เพราะปัจจัย ๗ คือ อัญญมัญญะ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 706

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑

วาระ.

อัญญมัญญมูลกนัย จบ

นิสสยมูลกนัย

นิสสยสภาคะ

[๘๔๑] เพราะนิสสยปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑๓วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

นสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๗

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 707

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

นิสสยฆฏนา ๒๐

[๘๔๒] ๑. เพราะปัจจัย ๓ คือ นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ใน

นเหตุปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนสมนันตร-

ปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอเสวน-

ปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๑๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑๓

วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

นสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

[๘๔๓] ๒. เพราะปัจจัย ๔ คือ นิสสยะ อธิปติ อัตถิ อวิคตปัจจัย

ในนเหตุปัจจัย มี ๘ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๘ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๘ วาระ ใน

นสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 708

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๘ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๘ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๘ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๘ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๘ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๘ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๘ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๘ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี๔ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๘ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๘ วาระ.

[๘๔๔] ๓. เพราะปัจจัย ๔ คือ นิสสยะ อินทริยะ อัตถิ อวิคต-

ปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี๓วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๘๔๕] ๔. เพราะปัจจัย ๔ คือ นิสสยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคต-

ปัจจัย ในนเหตุปัจจัย... มี ๕ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 709

นสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๕ วาระ ในนมัคคคปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี

๕ วาระ.

[๘๔๖] ๕. เพราะปัจจัย ๕ คือ นิสสยะ อธิปติ วิปปยุตตะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓

วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ โนนสมนันตรปัจจัยมี ๔ วาระ

ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๔ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๔ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ

ในนอินทริยปัจจัย มี ๔ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๔ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๔ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๔วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

[๘๔๗] ๖. เพราะปัจจัย ๕ คือ นิสสยะ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตร-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 710

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓

วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๔๘] ๗. เพราะปัจจัย ๕ คือ นิสสยะ ปุเรชาตะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี๓วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๔๙] ๘. เพราะปัจจัย ๖ คือ นิสสยะ อารัมมณะ ปุเรชาตะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 711

มี ๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาร ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๕๐] ๙. เพราะปัจจัย ๘ คือ นิสสยะ อารัมมณะ อธิปติ

อุปนิสสยะ ปุเรชาตะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๓ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๕๑] ๑๐. เพราะปัจจัย ๖ คือ นิสสยะ ปุเรชาตะ อินทริยะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 712

วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๕๒] ๑๑. เพราะปัจจัย ๔ คือ นิสสยะ สหชาตะ อัตถิ อวิคต-

ปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ.. ในนอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกมัม-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี

๙ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๙ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๙ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ โนนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๘๕๓] ๑๒. เพราะปัจจัย ๕ คือ นิสสยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 713

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๕๔] ๑๓. เพราะปัจจัย ๖ คือ นิสสยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๒ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๕๕] ๑๔. เพราะปัจจัย ๕ คือ นิสสยะ สหชาตะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 714

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๕๖] ๑๕. เพราะปัจจัย ๖ คือ นิสสยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี๑วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี๑วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุจฉาชาตปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๕๗] ๑๖. เพราะปัจจัย ๕ คือ นิสสยะ สหชาตะ วิปากะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 715

นสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๕๘] ๑๗. เพราะปัจจัย ๖ คือ นิสสยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ โนนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑

วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๕๙] ๑๘. เพราะปัจจัย ๗ คือ นิสสยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 716

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๖๐] ๑๙. เพราะปัจจัย ๖ คือ นิสสยะ สหชาตะ วิปากะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี๑วาระ... ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๖๑] ๒๐. เพราะปัจจัย ๗ คือ นิสสยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 717

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ.

นิสสยมูลกนัย จบ

อุปนิสสยมูลกนัย

อุปนิสสยสภาคะ

[๘๖๒] เพราะอุปนิสสยปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสหชาตปัจจัย

มี ๙ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ ในนนิสสยปัจจัย

มี ๙ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๙

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ

ในโนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 718

อุปนิสสยฆฏนา

[๘๖๓] ๑. เพราะปัจจัย ๓ คือ อุปนิสสยะ อารัมมะ อธิปติ-

ปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในน-

อัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในน-

ฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในมสัมปยุตตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในโน-

อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๘๖๔ ] ๒. เพราะปัจจัย ๖ คือ นิสสยะ อารัมมณะ อธิปติ ปุเรชาตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

กัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปป-

ยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 719

[๘๖๕] ๓. เพราะปัจจัย ๘ คือ อุปนิสสยะ อารัมมณะ อธิปติ

นิสสยะ ปุเรชาตะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

กัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๖๖] ๔. เพราะปัจจัย ๕ คือ อุปนิสสยะ อนันตระ สมนันตระ

นัตถิ วิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗

วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในน-

ปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในน-

อาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย

มี ๗ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๘๖๗] ๕. เพราะปัจจัย ๖ คือ อุปนิสสยะ อนันตระ สมนันตระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 720

อาเสวนะ นัตถิ วิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในน-

อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสหชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนนิสสยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

อาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๖๘] ๖. เพราะปัจจัย ๒ คือ อุปนิสสยะ กัมมปัจจัย ใน

นเหตุปัจจัย มี ๒ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอธิปต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย

มี ๒ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในน-

ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๒ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ

ในโนอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 721

[๘๖๙] ๗. เพราะปัจจัย ๖ คือ อุปนิสสยะ อนันตระ สมนันตระ

กัมมะ นัตถิ วิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสหชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

อาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนอัตถปัจจัย มี ๑ วาระ ในโน-

อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

อุปนิสสยมูลกนัย จบ

ปุเรชาตมูลกนัย

ปุเรชาตสภาคะ

[๘๗๐] เพราะปุเรชาตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

อนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสหชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 722

นวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

ปุเรชาตฆฏนา ๗

[๘๗๑] ๑. เพราะปัจจัย ๓ คือ ปุเรชาตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในน-

เหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี

วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓

วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๓ วาระ.

[๘๗๒] ๒. เพราะปัจจัย ๕ คือ ปุเรชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญ-

มัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาต-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 723

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอินทริยปัจจัย มี๓วาระ ในนฌานปัจจัย มี๓วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๗๓] ๓. เพราะปัจจัย ๔ คือ ปุเรชาตะ อารัมมณะ อัตถิ อวิคต-

ปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี๓วาระ ใน

นนิสสยปัจจัย มี๓วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคค-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๗๔] ๔. เพราะปัจจัย ๖ คือ ปุเรชาตะ อารัมมณะ นิสสยะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในน-

อธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 724

๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๗๕] ๕. เพราะปัจจัย ๖ คือ ปุเรชาตะ อารัมมณะ อธิปติ อุปนิสสยะ

อิตถ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

อัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

กัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

วิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๘๗๖] ๖. เพราะปัจจัย ๘ คือ ปุเรชาตะ อารัมมณะ อธิปติ

นิสสยะ อุปนิสสยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑

วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 725

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

กัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๗๗] ๗. เพราะปัจจัย ๖ คือ ปุเรชาตะ นิสสยะ อินทริยะ วิปปยุตตะ

อิตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญ-

มัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑

วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

ฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ปุเรชาตมูลกนัย จบ

ปัจฉาชาตมูลกนัย

ปัจฉาชาตสภาคะ

[๘๗๘] เพราะปัจฉาชาตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 726

อนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

สหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนนิสสย-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

ปัจฉาชาตฆฏนา ๑

[๘๗๙] เพราะปัจจัย ๔ คือ ปัจฉาชาตะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคต-

ปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ.... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

อัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุป-

นิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวน-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓

วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๓ วาระ

ปัจฉาชาตมูลกนัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 727

อาเสวนมูลกนัย

อาเสวนสภาคะ

[๘๘๐]เพราะอาเสวนปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย

มี ๓ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

อาเสวนฆฏนา ๑

[๘๘๑] เพราะปัจจัย ๖ คือ อาเสวนะ อนันตระ สมนันตระ

อุปนิสสยะ นัตถิ วิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนนิสสย-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 728

มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

อาเสวนมูลกนัย จบ

กัมมมูลกนัย

[๘๘๒] เพราะกัมมปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสหชาตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในน-

ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในน-

วิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๕

วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

กัมมฆฏนา ๑๑

[๘๘๓] เพราะปัจจัย ๒ คือ กัมมะ อุปนิสสยปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 729

มี ๒ วาระ.... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๒

วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนสหชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ใน

นนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๒ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๒ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนอวิคต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๘๘๔] เพราะปัจจัย ๖ คือ กัมมะ อนันตระ สมนันตระ

อุปนิสสยะ นัตถิ วิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในน-

อารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสหชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนนิสสยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัยมี ๑ วาระ ในน-

อาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 730

[๘๘๕] ๓. เพราะปัจจัย ๖ คือ กัมมะ สหชาตะ นิสสยะ อาหาระ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี

๗ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในน-

ฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗

วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๘๘๖] ๔. เพราะปัจจัย ๗ คือ กัมมะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อาหาระ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ นนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 731

[๘๘๗] ๕. เพราะปัจจัย ๘ คือ กัมมะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อาหาระ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัยมี ๓ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ โนนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๘๘๘] ๖. เพราะปัจจัย ๗ คือ กัมมะ สหชาตะ นิสสยะ อาหาระ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

นอารัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

อาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนนัตถิปัจจัย มี ๓วาระ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๓วาระ.

[๘๘๙] ๗. เพราะปัจจัย ๗ คือ กัมมะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อาหาระ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณ-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 732

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๙๐] ๘. เพราะเหตุปัจจัย ๘ คือ กัมมะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อาหาระ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปธิปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

อนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

อุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

อินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๙๑] ๙. เพราะปัจจัย ๙ คือ กัมมะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อาหาระ สัมปยุตต อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ.... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 733

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌาณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ นโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๙๒] ๑๐. เพราะปัจจัย ๘ คือ กัมมะ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อาหาระ วิปปยตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑

วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ โนนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

อาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ นนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ

[๘๙๓] ๑๑. เพราะปัจจัย ๙ คือ กัมมะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อาหาระ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 734

ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคค

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ โนโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

กัมมมูลกนัย จบ

วิปากมูลกนัย

วิปากสภาคะ

[๘๙๔] เพราะวิปากปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี๑ วาระ ในนอา-

รัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี๑ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ โนนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

วิปากฆฏนา ๕

[๙๘๕] ๑. เพราะปัจจัย ๕ คือ วิปากะ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 735

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๙๖] ๒. เพราะปัจจัย ๖ คือ วิปากะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๙๗] ๓. เพราะปัจจัย ๗ คือ วิปากะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 736

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๗๙๘] ๔. เพราะปัจจัย ๖ คือ วิปากะ สหชาตะ นิสสยะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัม-

มณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑

วาระ. ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๘๙๙] ๕. เพราะปัจจัย ๗ คือ วิปากะ สหชาตะ อัญญญมัญญะ

นิสสยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 737

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ โนนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

วิปากมูลกนัย จบ

อาหารมูลกนัย

อาหารสภาคะ

[๙๐๐] เพราะอาหารปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอา-

รัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ โนนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสหชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอัญญปัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

ในนอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 738

อาหารฆฏนา ๓๔

[๙๐๑] ๑. เพราะปัจจัย ๓ คือ อาหาระ อัตถิ อวิคตปัจจัย

ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสม-

นันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญ-

มัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี๗วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๗วาระ ในนฌาน-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๗ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๙๐๒] ๒. เพราปัจจัย ๕ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ นนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 739

วาระ โนนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๙๐๓] ๓. เพราะปัจจัย ๖ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ...ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี๓วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี๓ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ณ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปป-

ยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ... ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๓ วาระ.

[๙๐๔] ๘. เพราะปัจจัย ๗ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ นนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 740

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๙๐๕] ๕. เพราะปัจจัย ๖ คือ อาหาระ สหชาต นิสสยะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี๓วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี๓วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี๓ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนกัมม มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี๓วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๙๐๖] ๖. เพราะปัจจัย ๖ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 741

[๙๐๗] ๗. เพราะปัจจัย ๗ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปป-

ยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๙๐๘] ๘. เพราะปัจจัย ๘ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑

วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอนันตรปัจจัย มี ๑วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๐๙] ๙. เพราะปัจจัย ๗ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 742

นอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑

วาระ.

[๙๑๐] ๑๐. เพราะปัจจัย ๘ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑

วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอนันตรปัจจัย มี ๑วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑วาระ โนนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี๑วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๑๑] ๑๑. เพราะปัจจัย ๖ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ กัมมะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗

วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๗วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 743

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌาน-

ปัจจัย มี ๗วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๙๑๓] ๑๒. เพราะปัจจัย ๗ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ กัมมะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ วาร ะ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี๓ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย

นอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ

[๙๑๓] ๙. เพราะปัจจัย ๘ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ กัมมะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓

วาระ... โนนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 744

นวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๙๑๔] ๑๔. เพราะปัจจัย ๗ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ กัมมะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓

วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓

วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี๓ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ โนนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี๓ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี๓วาระ.

[๙๑๕] ๑๕. เพราะปัจจัย ๗ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ กัมมะ

วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ นนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี๑วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 745

[๙๑๖] ๑๖. เพราะปัจจัย ๘ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ กัมมะ วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๙๑๗] ๑๗. เพราะปัจจัย ๙ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ กัมมะ วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๑๘] ๑๘. เพราะปัจจัย ๘ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ

กัมมะ วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 746

ในนอารัมมณปัจจัย มี๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑

วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๑๙] ๑๙. เพราะปัจจัย ๙ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ กัมมะ วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอินทริยปัจจัย มี๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๒๐] ๒๐. เพราะปัจจัย ๖ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอา-

รัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสมนันตร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 747

มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗

วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๙๒๑] ๒๑. เพราะปัจจัย ๗ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ โนนสมนันตรปัจจัย มี๓ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ โนนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๙๒๒] ๒๒. เพราะปัจจัย ๘ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓

วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 748

ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี๓วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๙๒๒] ๒๓. เพราะปัจจัย ๗ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๙๒๔] ๒๔. เพราะปัจจัย ๗ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมม-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 749

มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑

วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๙๒๕] ๒๕. เพราะปัจจัย ๘ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี๑ วาระ

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุป-

นิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑

วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโน-

นัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๒๖] ๒๖. เพราะปัจจัย ๙ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 750

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ โนนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๒๗] ๒๗. เพราะปัจจัย ๘ คือ อาหาระ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑

วาระ โนนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๒๘] ๒๘. เพราะปัจจัย ๙ คือ อาหาระ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี๑วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 751

[๙๒๙] ๒๙. เพราะปัจจัย ๗ คือ อาหาระ อธิปติ สหชาตะ

นิสสยะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๙๓๐] ๓๐. เพราะปัจจัย ๙ คือ อาหาระ อธิปติ สหชาตะ

อัญญมัญญะ นิสสยะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุ

ปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓

วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓

วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๙๓๑] ๓๑. เพราะปัจจัย ๘ คือ อาหาระ อธิปติ สหชาตะ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 752

นิสสยะ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนนัตถปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๙๓๒] ๓๒. เพราะปัจจัย ๘ คือ อาหาระ อธิปติ สหชาตะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๓๓] ๓๓. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ อาหาระ อธิปติ สหชาตะ

อัญญมัญญะ นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 753

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนวิปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๓๔] ๓๔. เพราะปัจจัย ๙ คือ อาหาระ อธิปติ สหชาตะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

อาหารมูลกนัย จบ

อินทริยมูลกนัย

อินทริยสภาคะ

[๙๓๕] เพราะอินทริยปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 754

นอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นนิสสยปัจจัย มี๑วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี๗ วาระ ในนปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคค-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

อินทริยฆฏนา ๗๖

[๙๓๖] ๑. เพราะปัจจัย ๓ คือ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ใน

นเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓

วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี๓วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 755

[๙๓๗] ๒. เพราะปัจจัย ๔ คือ อินทริยะ นิสสยะ อัตถิ อวิคต-

ปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๙๓๘] ๓. เพราะปัจจัย ๕ คือ อินทริยะ นิสสยะ วิปปยุตตะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย-

มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 756

[๙๓๙] ๔. เพราะปัจจัย ๖ คือ อินทริยะ นิสสยะ ปุเรชาตะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ.... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตร

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสหชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ นนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑

วาระ โนนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคค-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๔๐] ๕. เพราะปัจจัย ๕ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในน-

สมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 757

[๙๔๑] ๖. เพราะปัจจัย ๖ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อัตถ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓

วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ นนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๙๔๒] ๗. เพราะ ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๙๔๓] ๘. เพราะปัจจัย ๖ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 758

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในอนันตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๙๔๔] ๙. เพราะปัจจัย ๖ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อิตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๔๕] ๑๐. เพราะปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 759

นิสสยะ วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑

วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๔๖] ๑๑. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๔๗] ๑๒.เพราะปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 760

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๔๘] ๑๓. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนให้ปัจจัย

มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ

[๙๔๙] ๑๔. เพราะปัจจัย ๖ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 761

มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๑๕. เพราะปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัยมี ๓ วาระ ฯลฯ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๖. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย โนนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๗. เพราะปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ มัคคะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๘. เพราะปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๙. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๐. เพราะปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ ฯลฯ โนโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๑. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ มัคคะ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 762

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตะ ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๒. เพราะปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑

วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๓. เพราะปัจจัย ๖ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ ฌานะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯ ล ฯ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ.

๒๔. เพราะปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ ฌานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

โนโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๕. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ ฌานะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๖. เพราะปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ ฌานะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๗. เพราะปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

ฌานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 763

๒๘. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ ฌานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ

ฯลฯ ในวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๙. เพราะปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ ฌานะ สัมปยุตตะ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ ฯ ล ฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๐. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

ฌานะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๑. เพราะปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ ฌานะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๒. เพราะปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ ฌานะ

มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯ ลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๓๓. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ ฌานะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓วาระ ฯลฯ

โนโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ...

๓๔. เพราะปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ ฌานะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๓ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 764

๓๕. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ ฌานะ

มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓๖. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

ฌานะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

โนโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๗. เพราะปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ ฌานะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๘. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ ฌานะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ฯล ฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๙. เพราะปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

ฌานะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔๐. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ ฌานะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔๑. เพราะปัจจัย ๖ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ อาหาระ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 765

๔๒. เพราะเหตุปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อาหาระ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๔๓. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อาหาระ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๔๔. เพราะปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ อาหาระ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๔๕. เพราะปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อาหาระ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯ ลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔๖. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อาหาระ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย ๑ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔๗. เพราะปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อาหาระ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ ฯล ฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ

๔๘. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อาหาระ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 766

๔๙. เพราะปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อาหาระ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ ฯ ล ฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๕๐. เพราะปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อาหาระ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯ ลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๕๑. เพราะปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ

อัญญมัญญะ นิสสยะ อาหาระ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในน-

เหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯ ล ฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๕๒. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อาหาระ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๕๓. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อาหาระ อัตถิ อวิคตปัจจัย เพราะนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๕๔. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ อัญญ-

มัญญะ นิสสยะ วิปากะ อาหาระ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๕๕. เพราะปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อาหาระ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 767

๕๖. เพราะปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ ในโน-

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๕๗. เพราะปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ สหชาตะ อัญญ-

มัญญะ นิสสยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๓ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๕๘. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๕๙. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๖๐. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ อัญญ-

มัญญะ นิสสยะ วิปากะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๖๑. เพราะปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๖๒. เพราะปัจจัย ๗ คือ อินทริยะ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ ฯลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 768

๖๓. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๖๔. เพราะปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๒วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๖๕. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๖๖. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๖๗. เพราะปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณ ปัจจัย มี ๑ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๖๘. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ อินทริยะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๖๙. เพราะปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 769

๗๐. เพราะปัจจัย คือ อินทริยะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ. I

[๙๕๐] ๗๑. เพราะปัจจัย ๘ คือ อินทริยะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ

นิสสยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ...

ในนอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในน-

อัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ในน-

ปุเรชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอา-

เสวนปัจจัย มี ๔ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๘ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๔ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโน-

นัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

[๙๕๑] ๗๒. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ อินทริยะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ

อัญมัญญะ นิสสยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัม-

มณปัจจัย มี ๒ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในนสมนันตร-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย

มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๒ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 770

[๙๕๒] ๗๓. เพราะปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ

นิสสยะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๒ วาระ.... ในนอนันตรปัจจัย มี ๒ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๒

วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ในน-

อาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๒ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๒ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๒ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๙๕๓] ๗๔. เพราะปัจจัย ๙ คือ อินทริยะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ

นิสสยะ วิปากะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอัญญมัญญ ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในน -

ปุเรชาติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในน

อาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ โนนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโน-

วิคตปัจจัยมี ๑ วาระ.

[๙๕๔] ๗๕. เพราะปัจจัย ๑๑ คือ อินทริยะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ

อัญญมัญญะ นิสสยะ วิปากะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 771

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

สมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี๑ วาระ ในนปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี๑ วาระ ในโนนัตถ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๕๕] เพราะปัจจัย ๑๐ คือ อินทริยะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ

นิสสยะ วิปากะ มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

ปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในน

อาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาร

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑วาระ.

อินทริยมูลกนัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 772

ฌานมูลกนัย

ฌานสภาคะ

[๙๕๖] เพราะฌานปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในน-

อารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในน-

อนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาคปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๗ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

ฌานฆฏนา ๓๖

[๙๕๗] ๑. เพราะปัจจัย ๕ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๒. เพราะปัจจัย ๖ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญ นิสสยะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯล ฯ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๓ วาระ.

๓. เพราะปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญ นิสสยะ

สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 773

๔. เพราะปัจจัย ๖ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๓ วาระ.

๕. เพราะปัจจัย ๖ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

๖. เพราะปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๗. เพราะปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๘. เพราะปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากา สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๙. เพราะปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ วิปปยุตต อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๐. เพราะปัจจัย ๖ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 774

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ

๑๑. เพราะปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

๑๒. เพราะปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๓. เพราะปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๔. เพราะปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๕. เพราะปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๖. เพราะปัจจัย ๙ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปกาะ อินทริยะ สัมปยุตต อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 775

๑๗. เพราะปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๘. เพราะปัจจัย ๙ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริย วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑

วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๙. เพราะปัจจัย ๖ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ มัคคะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ.

๒๐. เพราะปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญ นิสสยะ

มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๓ วาระ.

๒๑. เพราะปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๒. เพราะปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ มัคคะ

วิปปยุตต อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๓. เพราะปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 776

๒๔. เพราะปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

๒๕. เพราะปัจจัย ๙ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๖. เพราะปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

มัคคะ วิปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๗. เพราะปัจจัย ๙ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ มัคคะ วิปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๘. เพราะปัจจัย ๗ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ ในโนวิคต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ.

๒๙. เพราะปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 777

๓๐. เพราะปัจจัย ๙ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๓ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓๑. เพราะปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

มัคคะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓๒. เพราะปัจจัย ๘ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

โนโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๓. เพราะปัจจัย ๙ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ มัคคะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๔. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ มัคคะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัยในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๕. เพราะปัจจัย ๙ คือ ฌานะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริย มัคคะ วิปปยุตต อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑

วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 778

๓๖. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ ฌานะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ มัคคะ วิปปยุตต อัตถิ อวิคตปัจจัย ในน-

เหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

ฌานมูลกนัย จบ

มัคคมูลกนัย

มัคคสภาคะ

[๙๕๘] เพราะมัคคปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในน-

อารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาติปัจจัย มี ๗

วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหาร

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓

วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

มัคคฆฏนา ๕๗

[๙๕๙] ๑. เพราะปัจจัย ๕ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 779

๒. เพราะปัจจัย ๖ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๓ วาระ.

๓. เพราะปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๔. เพราะปัจจัย ๖ คือ มัคคะ สหชาตะ. นิสสยะ วิปปยุตตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๓ วาระ.

๕. เพราะปัจจัย ๖ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

๖. เพราะปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญ นิสสยะ

วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ

๗. เพราะปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๘. เพราะปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

วิปปยุตตะ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 780

๙. เพราะปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๐. เพราะปัจจัย ๖ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ.

๑๑. เพราะปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๒. เพราะปัจจัย ๘ คือ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๓. เพราะปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๑๔. เพราะปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 781

๑๕. เพราะปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๖. เพราะปัจจัย ๙ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ

๑๗. เพราะปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๘. เพราะปัจจัย ๙ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๙. เพราะปัจจัย ๖ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ ฌานะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ.

๒๐. เพราะปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

ฌานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 782

๒๑. เพราะปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

ฌานะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๒. เพราะปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ ฌานะ

วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯล ฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๒๓. เพราะปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

ฌานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๔. เพราะปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ ฌานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๕. เพราะปัจจัย ๙ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ ฌานะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑

วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๖. เพราะปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

ฌานะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 783

๒๗. เพราะปัจจัย ๙ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ ฌานะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๒๘. เพราะปัจจัย ๗ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

ฌานะ อัตถิ อวิคปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ ในโนวิคต

ปัจจัย มี ๗ วาระ.

๒๙. เพราะปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ ฌานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓๐. เพราะปัจจัย ๙ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

อินทริยะ ฌานะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓๑. เพราะปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ

ฌานะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

ในในวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๓๒. เพราะปัจจัย ๘ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ ฌานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 784

๓๓. เพราะปัจจัย ๙ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ ฌานะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๔. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ มัคคะ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ ฌานะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๕. เพราะปัจจัย ๙ คือ มัคคะ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ ฌานะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๖. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ มัคคะสหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ ฌานะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ ฯลฯ โนโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๓๗. เพราะปัจจัย ๗ คือ มัคคะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย โนนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

๓๘. เพราะปัจจัย ๙ คือ มัคคะ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๓ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 785

๓๙. เพราะปัจจัย ๘ คือ มัคคะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

๔๐. เพราะปัจจัย ๘ คือ มัคคะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔๑. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ มัคคะ อธิปติ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔๒. เพราะปัจจัย ๙ คือ มัคคะ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑

วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔๓. เพราะปัจจัย ๗ คือ มัคคะ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

๔๔. เพราะปัจจัย ๘ คือ มัคคะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 786

๔๕. เพราะปัจจัย ๙ คือ มัคคะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๒ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๔๖. เพราะปัจจัย ๘ คือ มัคคะ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิอวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๔๗. เพราะปัจจัย ๘ คือ มัคคะเหตุ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔๘. เพราะปัจจัย ๘ คือ มัคคะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑

วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๔๙. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ มัคคะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอา-

รัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๕๐. เพราะปัจจัย ๙ คือ มัคคะ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 787

๕๑. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ มัคคะ เหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอา-

รัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๕๒. เพราะปัจจัย ๘ คือ มัคคะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

๕๓. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ มัคคะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ

อัญญมัญญะ นิสสยะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในน-

อารัมมณปัจจัย มี ๒ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๕๔. เพราะปัจจัย ๙ คือ มัคคะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๒

วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ.

๕๕. เพราะปัจจัย ๙ คือ มัคคะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ

ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๕๖. เพราะปัจจัย ๑๑ คือ มัคคะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ

อัญญมัญญะ นิสสยะ วิปากะ อินทริยะ สัมปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 788

๕๗. เพราะปัจจัย ๑๐ คือ มัคคะ เหตุ อธิปติ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อินทริยะ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ ฯลฯ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

มัคคมูลกนัย จบ

สัมปยุตตมูลกนัย

สัมปยุตตสภาคะ

[๙๖๐] เพราะสัมปยุตตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ...ในน-

อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ โนนอนันตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

อินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๓ วาระ โนนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

สัมปยุตตฆฏนา

[๙๖๑] เพราะปัจจัย ๖ คือ สัมปยุตตะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 789

๒. เพราะปัจจัย ๗ คือ สัมปยุตตะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

สัมปยุตตมูลกนัย จบ

วิปปยุตตมูลกนัย

วิปปยุตตสภาคะ

[๙๖๒] เพราะวิปปยุตตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ... ในน-

อารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสหชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๕

วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๕ วาระ ในน-

มัคคปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มีวาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

วิปปยุตตฆฏนา ๑๓

[๙๖๓] เพราะปัจจัย ๓ คือ วิปปยุตตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในน-

เหตุปัจจัย มี ๕ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 790

มี ๕ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕

วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในน-

ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอา-

เสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๕ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๕ วาระ.

[๙๖๔] ๒. เพราะปัจจัย ๔ คือ วิปปยุตตะ นิสสยะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

อัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในน-

อาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๕ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ โนโนวิคตปัจจัย

มี ๕ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 791

[๙๖๕] ๓. เพราะปัจจัย ๕ คือ วิปปยุตตะ อธิปติ นิสสยะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในน-

สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๔ วาระ ในอุปนิสสย-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๔ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ ในน-

อินทริยปัจจัย มี ๔ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๔ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๔ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

[๙๖๖] เพราะปัจจัย ๕ คือ วิปปยตตะ นิสสยะ อินทริยะ

อัตถิ วิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ โนนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญ-

มัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

อาหารปัจจัย มี ๓ วาระ โนนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 792

[๙๖๗] เพราะปัจจัย ๔ คือ วิปปยุตตะ ปัจฉาชาตะ อัตถิ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

สมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญ-

มัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๙๖๘] ๖. เพราะปัจจัย ๕ คือ วิปปยุตต นิสสยะ ปุเรชาตะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

อัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย ม ี๓ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 793

[๙๖๙] ๗. เพราะปัจจัย ๖ คือ วิปปยุตตะ อารัมมณะ นิสสยะ

ปุเรชาตะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

อาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๓ วาระ โนนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๙๗๐] ๘. เพราะปัจจัย ๘ คือ วิปปยุตตะ อารัมมณะ อธิปติ

นิสสยะ อุปนิสสยะ ปุเรชาติอัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑

วาระ... ในนสมนันตรปัจจัยมี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี๑วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัยมี ๑ วาระ.

[๙๗๑] ๙. เพราะปัจจัย ๖ คือ วิปปยุตตะ นิสสยะ ปุเรชาตะ

อินทริยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี วาระ... ในนอารัม-

มณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 794

มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

กัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๗๒] ๑๐. เพราะปัจจัย ๕ คือ วิปปยุตต สหชาตะ นิสสยะ

อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัยมี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓

วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

อินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๓ วาระ โนนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปจัจัย มี ๓ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๙๗๓] ๑๑. เพราะปัจจัย ๖ คือ วิปุปยุตตะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ.... ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 795

วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตต

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๙๗๔] ๑๒. เพราะปัจจัย ๖ คือ วิปปยุตตะ สหชาตะ นิสสยะ

วิปากะ อัตถิ อวิคตะ ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

กัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๗๕] ๑. เหตุปัจจัย ๕ คือ วิปปยุตตะ อารัมมณะ นิสสยะ

อัตถิ อวิตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ นโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 796

[๙๗๒] ๑๓. เพราะปัจจัย ๗ คือ วิปปยุตตะ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...ในน-

อารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปุนิสสยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

วิปปยุตตมูลกนัย จบ

อัตถิมูลกนัย

อัตถิสภาคะ

[๙๗๗] เพราะอัตถิปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑๓ วาระ... ในน-

อารัมมณปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัยมี ๑๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในน-

ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 797

มี ๑๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในน-

วิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ โนโนนัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

อัตถิฆฏนา ๒๙

[๙๗๘] ๑. เพราะปัจจัย ๒ คือ อัตถิ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย

มี ๑๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑๓

วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในนสหชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในน-

วิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๑๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ

[๙๗๙] ๒. เพราะปัจจัย ๓ คือ อัตถิ นิสสยะ อวิคตปัจจัย

ในนเหตุปัจจัย มี ๑๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในน-

สมนันตรปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 798

อัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนวิปาก-

ปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๑๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

[๙๘๐] ๓. เพราะปัจจัย ๓ คือ อัตถิ อธิปติ อวิคตปัจจัย ในน-

เหตุปัจจัย มี ๘ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัยมี ๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๘ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๘ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๔ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

อุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจ-

ฉาชาตปัจจัย มี ๘ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๘ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๘ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๘ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๘ วาระ

ในนอินทริยปัจจัย มี ๘ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๘ วาระ ในน-

มัคคปัจจัย มี ๘ วาระ นนสัมปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๘ วาระ ในโนนัตถปัจจัย มี ๘ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๘ วาระ.

[๙๘๑] ๔. เพราะปัจจัย ๔ คือ อัตถิ อธิปติ นิสสยะ อวิคตปัจจัย

ในนเหตุปัจจัย มี ๘ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในน-

อนันตรปัจจัย มี ๘ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๘ วาระ ในนสหชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 799

มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๘

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๘ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๘ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๘ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๘ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๘ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๘ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๘

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๘ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๘ วาระ.

[๙๘๒] เพราะปัจจัย ๓ คือ อัตถิ อาหาระ อวิคตปัจจัย

ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในน-

อธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตรมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสมนันตร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗

วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

วิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๙๘๓] ๖. เพราะปัจจัย ๓ คือ อัตถิ อินทริยะ อวิคตปัจจัย ในนเหตุ

ปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอธิปติปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๗

วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 800

ในนนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ.

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌาน-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๙๘๔] ๗. เพราะปัจจัย ๔ คือ อัตถิ นิสสยะ อินทริยะ อวิคต-

ปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในน-

สมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๗

วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัยมี ๓ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๙๘๕] ๘. เพราะปัจจัย ๓ คือ อัตถิ วิปปยุตตะ อวิคตปัจจัย

ในนเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ.... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอธิปติ-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 801

วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในน-

อาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๕ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๕ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๙๘๖] ๙. เพราะปัจจัย ๔ คือ อัตถิ นิสสยะ วิปปยุตตะ อวิคตปัจจัย

ในนเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ.... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ ในน-

อธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสมนันตร-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ ในน-

กัมมปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอาหารปัจจัย-

มี ๕ วาระ ในนอินทริยปัจจัย ม ี๕ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๕ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๕ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนนัตถิ-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๙๘๗] ๑๐. เพราะปัจจัย ๕ คือ อัตถิ อธิปติ นิสสยะ วิปปยุตตะ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 802

ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๔ วาระ

ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ ในน-

กัมมปัจจัย มี ๔ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๔ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๔ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๔ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๔ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๔ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ ในโน-

นัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ.

[๙๘๘] ๑๑. เพราะปัจจัย ๕ คือ อัตถิ นิสสยะ อินทริยะ

วิปปยุตตะ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัยมี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

วิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ.

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๙๘๙] ๑๒. เพราะปัจจัย ๔ คือ อัตถิ ปัจฉาชาตะ วิปปยุตตะ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 803

มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

อัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุป-

นิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

อาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๓ วาระ.

[๙๙๐] ๑๓. เพราะปัจจัย ๓ คือ อัตถิ ปุเรชาตะ อวิคตปัจจัย

ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

อธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 804

[๙๙๑] ๑๔. เพราะปัจจัย ๕ คือ อัตถิ นิสสยะ ปุเรชาตะ วิปปยุตตะ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

สมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญ-

มัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคค-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๙๙๒] เพราะปัจจัย ๔ คือ อัตถิ อารัมมณะ ปุเรชาตะ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ.... ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

สหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนนิสสย-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี๓ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 805

[๙๙๓] ๑๖. เพราะปัจจัย ๖ คือ อัตถิ อารัมมณะ นิสสยะ ปุเรชาตะ

วิปยุตตะ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอธิปติปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

อาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๓ วาระ.

[๙๙๔] ๑๗. เพราะปัจจัย ๖ คือ อัตถิ อารัมมณะ อธิปติ

อุปนิสสยะ ปุเรชาตะ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในน-

อนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสหชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนนิสสยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑

วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 806

[๙๙๕] ๑๘. เพราะปัจจัย ๘ คือ อัตถิ อารัมมณะ อธิปติ นิสสยะ

อุปนิสสยะ ปุเรชาตะ วิปปยุตตะ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสหชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโน-

วิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๙๙๖] ๑๙. เพราะปัจจัย ๖ คือ อัตถิ นิสสยะ ปุเรชาตะ อินทริยะ

วิปปยุตตะ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

อัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 807

[๙๙๗] ๒๐. เพราะปัจจัย ๔ คือ อัตถิ สหชาตะ นิสสยะ อวิคตปัจจัย

ในนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ในน-

อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ในนสมนันตร-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๙ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๙ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๙ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๙ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโน-

นัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๙๙๘] ๒๑. เพราะปัจจัย ๕ คือ อัตถิ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในอารัมมณปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวน-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌาน-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 808

[๙๙๙] ๒๒. เพราะปัจจัย ๖ คือ อัตถิ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ สัมปยุตตะ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในน-

อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัฉาชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๐๐๐] ๒๓. เพราะปัจจัย ๕ คือ อัตถิ สหชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

สมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในน-

อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย

มี ๓ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 809

[๑๐๐๑] ๒๔. เพราะปัจจัย ๖ คือ อัตถิ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปปยุตตะ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในน-

อารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑

วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

อินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๐๐๑] ๒๔. เพราะปัจจัย ๖ คือ อัตถิ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในน-

สมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุป-

นิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌาน-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย-

มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 810

[๑๐๐๓] ๒๖. เพราะปัจจัย ๖ คือ อัตถิ สหชาต อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ โนนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริย-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑

วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๐๐๔] เพราะปัจจัย ๗ คือ อัตถิ สหชาตะ อัญญมัญญะ

นิสสยะ วิปากะ สัมปยุตตะ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุป-

นิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี

๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 811

[๑๐๐๕] เพราะปัจจัย ๖ คือ อัตถิ สหชาตะ นิสสยะ วิปากะ

วิปปยุตตะ อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ... ในนอารัมมณปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนอธิปตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมม-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

โนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๐๐๖] ๗. เพราะปัจจัย ๗ คือ อัตถิ สหชาตะ อัญญมัญญ นิสสยะ

วิปาก วิปปยุตต อวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ.... ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอนันตร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสมนันตรปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอุปนิสสยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในนอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในนอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในนฌานปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ ในนสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ

ในโนนัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

อัตถิมูลกนัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 812

นัตถิ, วิคต, อวิคตมูลกนัย

[๑๐๐๗] เพราะนัตถิปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ

เพราะวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ.

ทั้งนัตถิปัจจัย ทั้งวิคตปัจจัย แสดงเหมือนกับอนันตรปัจจัย.

เพราะอวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย แสดงเหมือนกับอนันตรปัจจัย.

อัตถิปัจจัย ท่านให้พิสดารแล้ว ฉันใด อวิคตปัจจัย พึงแสดง

ให้พิสดาร ฉันนั้น.

ปัญหาวาระในปัจจยานุโลมปัจจนียนัย จบ

อรรถกถาอนุโลมปัจจนียนัย

พึงทราบวินิจฉัยใน อนุโลมปัจจนียนัย ต่อไป ปัจจัยใด ๆ ใน

บรรดาปัจจัยที่มีการนับแล้ว ในอนุโลมอย่างนี้คือ เหตุยา สตฺต, อารมฺมเณ

นว ในเหตุปัจจัยมี ๗ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ และใน

ปัจจนียะ อย่างนี้คือ นเหตุยา ปณฺณรส, นอารมฺมเณ ปณฺณรส ใน

ในเหตุปัจจัยมี ๑๕ วาระ, ในนอารัมมณปัจจัยมี ๑๕ วาระ ทั้งอยู่แล้วโดย

อนุโลม ผู้ศึกษาพึงทราบการนับด้วยอำนาจแห่งวาระที่เหมือนกัน ใน

บรรดาวาระที่ได้แล้วในปัจจนียนัย แห่งปัจจัยนั้น ๆ อันตั้งอยู่แล้วโดย

ความเป็นปัจจนียะ กับวาระอันได้แล้วในอนุโลมนัยแห่งปัจจัยนั้น ๆ

จริงอยู่ ใน อนุโลมนัย วาระ ๗ ได้แล้วในคำว่า เหตุยา สตฺต

ในเหตุปัจจัยมี ๗ วาระ ใน ปัจจนียะ วาระ ๑๕ ในอารัมมณปัจจัยได้

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 813

แล้วในคำว่า นอารมฺมเณ ปณฺณรส ในนอารัมมณปัจจัย มี ๑๕ วาระ

บรรดาวาระ ๑๕ ที่ท่านกล่าวไว้ในนอารัมมณปัจจัย วาระ ๗ เหล่านี้คือ

กุสโล กุสลสฺส อพฺยากตสฺส กุสลาพยากตสฺส, อกุสโล อกุสลสฺส

อพฺยากตสฺส อกุสลาพยากตสฺส อพฺยากโต อพฺยากตสฺส (๗ วาระคือ

กุ-ก, กุ-อัพ, กุ-กุ.อัพ, อกุ- อกุ, อกุ-อัพ, อกุ- อกุ.อัพ และ

อัพ-อัพ) เหมือนกันกับวาระ ๗ ที่ท่านกล่าวไว้ในเหตุปัจจัย. คำว่า

เหตุปจฺจยา นอารมฺมเณ สตฺต เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี

๗ วาระ ท่านกล่าวหมายเอาวาระ ๗ เหล่านั้น. แม้ในคำว่า นอธิปติยา

สตฺต ในนอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วน

ในนสหชาตปัจจัย ย่อมไม่ได้วาระ แม้สักอย่างหนึ่ง เพราะเหตุปัจจัยที่

ไม่เกิดพร้อมกันไม่มี เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่แต่งโยชนาด้วยนสหชาต-

ปัจจัยนั้น.

วาระ ๓ มีกุศลเป็นต้น ย่อมได้รูปาพยากตะในนอัญญมัญญปัจจัย.

คำว่า ตีณิ ท่านกล่าวหมายเอาวาระ ๓ เหล่านั้น ในนสัมปยุตตปัจจัยก็

เหมือนกัน ส่วนในนวิปปยุตตปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบวาระ ๓ ด้วยอำนาจ

แห่งอรูปธรรม คือกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล

อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ.

นนิสสยะ โนอัตถิ โนอวิคตปัจจัย ย่อมมีไม่ได้ เหมือนสหชาต-

ปัจจัย เพราะเหตุนั้นท่านจึงไม่แต่งโยชนาเชื่อมกับปัจจัยเหล่านั้น. ใน

ข้อนี้มีการกำหนด ๒ อย่าง คือ สตฺต = ๗ ตีณิ = ๓ ด้วยประการ-

ฉะนี้. ผู้ศึกษาพึงลดจำนวนแห่งปัจจัยที่นับได้มากกว่ากับปัจจัยที่นับได้

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 814

น้อยกว่า ด้วยอำนาจแห่งข้อกำหนดเหล่านั้น แล้วพึงทราบการนับใน

ปัจจัยฆฏนา ทั้งหลายต่อไป.

พึงทราบวินิจฉัยในฆฏนานั้นต่อไป คำว่า เหตุ สหชาต นิสฺสย

อตฺถิ อวิคตนฺติ นอารมฺมเณ สตฺต ความว่า ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ใน

นอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ โดยนัยนี้ว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศล-

ธรรม เพราะปัจจัย ๕ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย.

กุศลเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วย เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ

อวิคตะ และ นอารัมมณปัจจัย. แม้ในคำว่า นาธิปติยา สตฺต เป็นต้น

ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ใน ฆฏนาที่ ๒ ท่านกล่าวว่า ตีณิ = ๓ ในปัจจัยที่เหลือ เว้น

นสัมปยุตตปัจจัย เพราะผนวกอัญญมัญญปัจจัยเข้าไปด้วย. ส่วนใน

นสัมปยุตตปัจจัย ท่านกล่าวว่า เอก = ๑ หมายถึงนามและรูปใน

ปฏิสนธิกาล ซึ่งวิปปยุตกันและกัน ฯ ก็ในอธิการนี้ย่อมไม่ได้อัญญมัญญ-

ปัจจัย โดยเป็นปัจจนียะ เพราะผนวกเข้าในอนุโลมฆฏนา เพราะฉะนั้น

ท่านจึงไม่กล่าวว่า นอญฺมญฺเ. ปัจจัยที่เข้าได้แม้ในฆฏนาที่เหลือ

ก็ย่อมไม่ได้โดยเป็นปัจจนียะเหมือนในอธิการนี้.

ใน ฆฏนาที่ ๓ มีวิสัชนา ๓ วาระเท่านั้น เพราะสัมปยุตตปัจจัยถูก

ผนวกเข้าไปด้วย.

ใน ฆฏนาที่ ๔ มีวิสัชนา ๓ วาระ คือกุศลเป็นต้น เป็นปัจจัย

แก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เพราะผนวกวิปปยุตตปัจจัยเข้าไปด้วย.

ใน ฆฏนาที่ ๕ เพราะมีวิบากเข้าไปด้วยในที่ทุกแห่ง จึงมีวิสัชนา

๑ วาระ คืออัพยากตะ กับอัพยากตะ. ในวิปากะและสัมปยุตตปัจจัย

นอกจากนี้ก็นัยนี้เหมือนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 815

คำว่า เหตุสหชาตนิสฺสยอินฺทรยมคฺคอตฺถิอวิคตนฺติ นอารมฺมเณ

จตฺตาริ เพราะปัจจัย ๗ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ มัคคะ

อัตถิ อวิตะ ในนอารัมมณปัจจัย มี ๔ วาระ ความว่า ผู้ศึกษาพึง

ทราบวิสัชนา ๔ วาระ ในนอารัมมณปัจจัย ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๗

เหล่านั้น คือกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล กุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ กุศล

เป็นปัจจัยแก่กุสลาพยากตะ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ แม้ใน

ฆฏนาที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน ฯ สองบทว่า นอญฺมญฺเ เทฺว ใน

นอัญมัญปัจจัย มี ๒ วาระ คือกุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อัพยากตะ

เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ. แม้ในวิสัชนา ๒ ข้างหน้าก็นัยนี้เหมือนกัน.

ผู้ศึกษาพึงทราบวิธีนับด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่ได้ในฆฏนาทั้งหมด โดย

อุบายนี้.

ก็ฆฏนาเหล่านั้นทั้งหมดท่านกล่าวว่ามี ๔๑๕ ฆฏนา ด้วยอำนาจ

สหชาตฆฏนา และด้วยอำนาจ ปกิณณกฆฏนา ในอนุโลมปัจจนียนัยนี้

ในบรรดาฆฏนาทั้งหลายเหล่านั้น ปัจจัยแม้อย่างหนึ่งในบรรดาปัจจัย

ทั้งหลายที่ตั้งอยู่โดยเป็นอนุโลมในฆฏนานั้น ๆ ย่อมไม่ได้โดยเป็นปัจจ-

นียะ, ก็ในเหตุมูลกนัยนี้ ปัจจัย ๑๙ มาแล้วโดยเป็นปัจจนียะ เพราะ

ปัจจัย ๕ ตั้งอยู่แล้วโดยเป็นอนุโลมในฆฏนาที่ ๑ ปัจจัยที่เหลือเฉพาะที่

เป็นอนุโลมมาแล้วโดยเป็นปัจจนียะ. แม้ในปัจจัยที่เหลือก็เมื่อว่าโดย

อนุโลมในอธิการนี้ บรรดาปัจจัยเป็นอันมากปัจจัยอย่างหนึ่ง ๆ เท่านั้น

ที่มาแล้วโดยเป็นปัจจนียะ ผู้ศึกษาพึงทราบวิธีนี้ทั้งหมดตามสมควร แม้

ในนัยที่มีอารัมมณปัจจัยเป็นมูลเป็นต้น เหมือนนัยที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล

ฉะนั้น.

อนุโลมปัจจนียะนัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 816

การนับจำนวนวาระในอนุโลมปัจจนียะแห่งปัญหาวาระ

นเหตุมูลกนัย

นเหตุสภาคะ

[๑๐๐๘] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ... ใน

อธิปติปัจจัย มี ๑ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ

ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

อาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๑๓ วาระ.

[๑๐๐๙] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในอธิปติปัจจัย

มี ๗ วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๗

วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย

มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในฌาน-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 817

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๑๓ วาระ.

[๑๐๑๐] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ... ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสย-

ปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ

ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ

ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ

ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

[๑๐๑๑] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ... ในสหชาตปัจจัย

มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉา-

ชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 818

ในฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

[๑๐๑๒] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ... ใน

อัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในอุปนิสสย-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในฌานปัจจัย

มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ ใน

อวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

[๑๐๑๓] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนัตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสชาตปัจจัย ในอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ... ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ

ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมม-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑

วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 819

[๑๐๑๔] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย

ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ... ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย

มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๑๐๑๕] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลฯ นอัญญมัญญ-

ปัจจัย นนิสสยปัจจัย ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ... ในปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒

วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

วิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในวิคตปัจจัย

มี ๕ วาระ.

[๑๐๑๖] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลฯ นนิสสยปัจจัย

นอุปนิสสยปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ...

ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๐๑๗] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลฯ นอุปนิสสย-

ปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ...

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 820

ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๐๑๘] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลฯ นปัจฉาชาต-

ปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นกัมมปัจจัย นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัย

ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ... ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๑๐๑๙] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลฯ นอาหารปัจจัย

นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย นวิปปยุตตปัจจัย

โนนัตถิปัจจัย โนวิคตปัจจัย ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ... ในอัตถิ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๐๒๐] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลฯ นวิปากปัจจัย

นอินทริยปัจจัย ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ... ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๐๒๑] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลฯ นอินทริยปัจจัย

นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย นวิปปยุตตปัจจัย

โนนัตถิปัจจัย โนวิคตปัจจัย ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ... ใน

อัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

นเหตุมูลกนัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 821

นอารัมมณมูลกนัย

[๑๐๒๒] เพราะนอารัมมณปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

อธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตรปัจจัย

มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย

มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

อาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในฌานปัจจัย

มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย

มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

[๑๐๒๓] เพราะนอารัมมณปัจจัย นเหตุปัจจัย นอธิปติปัจจัย

นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย

ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย

มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคต-

ปัจจัย มี ๗ วาระ.

นอธิปติมูลกนัย

[๑๐๒๔] เพราะนอธิปติปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ พึงให้พิสดารเหมือน นเหตุมูลกนัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 822

นอนันตรมูลกนัย

[๑๐๒๕] เพราะนอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย ในเหตุปัจจัย

มี ๗ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ

ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

นิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปุเรชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย

มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ

ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย

มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ

ในอัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

นสมนันตรมูลกนัย

[๑๐๒๖] เพราะนสมนันตรปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย นอัญญมัญญปัจจัย

ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ... ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวน-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ. นี้เป็นหัวข้อย่อๆ.

นสหชาตมูลกนัย

[๑๐๒๗] เพราะนสหชาตปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ... ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 823

อธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย

มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหาร-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย

มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

วิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๑๐๒๘] เพราะนสหชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ... ในสมนันตรปัจจัย

มี ๗ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ

ในปุเรชาตปัจจัย มี๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี๓ วาระ ในอาเสวน-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ-

ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิ-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๑๐๒๙] เพราะนสหชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย

นนิสสยปัจจัย ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ... ในปุเรชาตปัจจัย

มี ๙ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ

ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตต-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 824

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

นี้เป็นหัวข้อย่อ ๆ.

นอัญญมัญญมูลกนัย

[๑๐๓๐] เพราะนอัญญมัญญปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ในอนันตร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย

มี ๕ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ

ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

อาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ

ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๑๐๓๑] เพราะนอัญญมัญญปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๗

วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย

มี ๓ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 825

มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ.

[๑๐๓๒] เพราะนอัญญมัญญปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ... ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ใน

ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ... ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมม-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑

วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ. นี้เป็นหัวข้อย่อ ๆ.

นนิสสยมูลกนัย

[๑๐๓๓] เพราะนนิสสยปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ...

ในอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ

ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 826

[๑๐๓๔] เพราะนนิสสยปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ... ในสมนันตรปัจจัย

มี ๗ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๐๓๕] เพราะนนิสสยปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอัญญมัญญปัจจัย ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ... ในปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิ

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ. นี้เป็นหัวข้อย่อ ๆ.

นอุปนิสสยมูลกนัย

[๑๐๓๖] เพราะนอุปนิสสยปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย

มี ๑๓ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ

ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๗ วาระ โนอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 827

ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตต-

มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

[๑๐๓๗] เพราะนอุปนิสสยปัจจัย นเหตุปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ... ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ

ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ. นี้เป็นการแสดงย่อ.

นปุเรชาตมูลกนัย

[๑๐๓๘] เพราะนปุเรชาตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ โนอธิปติปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในอนันตร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย

มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

อาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย

มี ๙ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 828

[๑๐๓๙] เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

ในอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

สมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญ-

ปัจจัยมี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙

วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ

ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๗ วาระ ในอินทรปัจจัยมี ๗ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ

ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

วิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ในนัตถิปัจจัย

มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิตปัจจัย มี ๙ วาระ.

[๑๐๔๐] เพราะนปุเรชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอัญญมัญญปัจจัย ในนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ... ในอุปนิสสยปัจจัย

มี ๙ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ

ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

นี้เป็นหัวข้อย่อๆ.

นปัจฉาชาตมูลกนัย

[๑๐๔๑] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในอนันตร-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 829

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย

มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

อาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

อวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

[๑๐๔๒] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอัญญมัญญปัจจัย ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ... ในอุปนิสสยปัจจัย

มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ

ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๐๔๓] เพราะนปัจฉาชาตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอัญญมัญญปัจจัย นนิสสยปัจจัย ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ...

ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 830

มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ. นี้

เป็นการแสดงย่อ ๆ.

นอาเสวนมูลกนัย

[๑๐๔๔] เพราะนอาเสวนปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในอนันตร-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ ในสหชาตปัจจัย

มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๑๓ วาระ.

[๑๐๔๕] เพราะนอเสวนปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอัญญมัญญปัจจัย ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ... ในอุปนิสสยปัจจัย

มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 831

มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ. นี้เป็นหัวข้อย่อ ๆ.

นกัมมมูลกนัย

[๑๐๔๖] เพราะนกัมมปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๑๐ วาระ ใน

อนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาต-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย

มี ๑๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปาก-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๗ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗

วาระ ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

สัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย

มี ๑๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

[๑๐๔๗] เพราะปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอัญญมัญญปัจจัย ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ... ในอุปนิสสยปัจจัย

มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ใน

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 832

วิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ. นี้เป็นการแสดงย่อ ๆ.

นวิปากมูลกนัย

เพราะนวิปากปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... (พึงให้พิสดาร

เหมือน นเหตุมูลกนัย) ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

นอาหารมูลกนัย

[๑๐๔๘] เพราะนอาหารปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๑๐ วาระ ในอนันตร

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย

มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ใน

ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมม-

ปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗

วาระ ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

สัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิ-

ปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗

วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๐๔๙] เพรานอาหารปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

ในอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตร-

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 833

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ

ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอา-

เสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๗ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๗ วาระ

ในมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตต-

ปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ

ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

[๑๐๕๐] เพราะนอาหารปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นกัมมปัจจัย

นวิปากปัจจัย นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย นวิปปยุตต-

ปัจจัย โนนัตถิปัจจัย โนวิคตปัจจัย ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

นอินทริยมูลกนัย

[๑๐๕๑] เพราะนอินทริยปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

เพราะนอินทริยปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ฯลฯ

นวิปากปัจจัย นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย นวิปปยุตต-

ปัจจัย โนนัตถิปัจจัย โนวิคตปัจจัย ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ...

ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 834

เพราะนอินทริยปัจจัย ในกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ ในนเหตุมูลก-

นัย ฯลฯ.

นฌานมูลกนัย

[๑๐๕๒] เพราะนฌานปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในอา-

รัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ. นฌาน-

มูลกนัย พึงให้พิสดารเหมือน นเหตุมูลกนัย.

นมัคคมูลกนัย

[๑๐๕๓] เพราะนมัคคปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ในอา-

ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

พึงให้พิสดารเหมือน นเหตุมูลกนัย.

นสัมปยุตตมูลกนัย

[๑๐๕๔] เพราะนสัมปยุตตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ... ใน

อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ ในอนันตรปัจจัย

มี ๗ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ

ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในอุป-

นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาต-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ

ในวิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย

มี ๓ วาระ ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 835

ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในนัตถิปัจจัย

มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๑๐๕๕] เพราะนสัมปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย

มี ๑ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ

ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอา-

เสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปากปัจจัย มี ๑

วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ ในฌาน-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ

ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๑๐๕๖] เพราะนสัมปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอัญญมัญญปัจจัย ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ... ในอุปนิสสยปัจจัย

มี ๙ วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 836

[๑๐๕๗] เพราะนสัมปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นสหชาตปัจจัย

นอัญญมัญญปัจจัย นนิสสยปัจจัย ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ...

ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

[๑๐๕๘] เพรานสัมปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นนิสสยปัจจัย

นอุปนิสสยปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย ในปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ...

ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย

มี ๑ วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ. นี้เป็นหัวข้อย่อ ๆ.

นวิปปยุตตมูลกนัย

[๑๐๕๙] เพรานวิปปยุตตปัจจัย ในเหตุปัจจัย ๓ วาระ...

ในอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ ในอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในอนันตร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ นปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอา-

เสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๕ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ

ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 837

[๑๐๖๐] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

ในอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตร-

ปัจจัย มี ๗ วาระ ในสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย

มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ

ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๕ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ

ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ.

[๑๐๖๑] นวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย นอธิปติ-

ปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย ในสหชาตปัจจัย มี ๓

วาระ... ในอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๕ วาระ ในวิปากปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๓ วาระ

ในฌานปัจจัย มี ๓ วาระ ในมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย

มี ๓ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ

[๑๐๖๒] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

อธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอัญญมัญญปัจจัย ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ... ในอุปนิสสยปัจจัย

มี ๙ วาระ ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ

๑. ม. ไม่มีปัจจัยนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 838

ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย

มี ๑ วาระ.

[๑๐๖๓] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอัญญมัญญปัจจัย นนิสสยปัจจัย นอุปนิสสยปัจจัย ในกัมมปัจจัย

มี ๑ วาระ... ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๐๖๔] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นกัมมปัจจัย

ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ... ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ ในอัตถิปัจจัย

มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๐๖๕] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นกัมมปัจจัย

นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัย ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ... ในอัตถิ-

ปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๐๖๖] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นอาหารปัจจัย

นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย โนนัตถิปัจจัย โนวิคต-

ปัจจัย ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ... ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

[๑๐๖๗] เพราะนวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นวิปากปัจจัย

นอินทริยปัจจัย ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ... ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ

ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 839

[๑๐๖๘] เพราะวิปปยุตตปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นอินทริยปัจจัย

นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย โนนัตถิปัจจัย โนวิคต-

ปัจจัย ในอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ... ในอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ ในอวิคต-

ปัจจัย มี ๑ วาระ.

โนอัตถิมูลกนัย

[๑๐๖๙] เพราะโนอัตถิปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ...

ในอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ในสมนันตรปัจจัย

มี ๗ วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ

ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย

มี ๗ วาระ.

[๑๐๗๐] เพราโนอัตถิปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ... ในสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ ใน

อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ ในกัมมปัจจัย

มี ๒ วาระ ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

[๑๐๗๑] เพราะโนอัตถิปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย ในอุปนิสสยปัจจัย

มี ๙ วาระ... ในกัมมปัจจัยมี ๒ วาระ. ฯลฯ

[๑๐๗๒] เพราะโนอัตถิปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอัญญมัญญปัจจัย นนิสสยปัจจัย นอุปนิสสยปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 840

นปัจฉาชาตปัจจัย นอาเสวนปัจจัย นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัย

นอินทริยปัจจัย นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย

นวิปปยุตตปัจจัย โนนัตถิปัจจัย โนวิคตปัจจัย โนอวิคตปัจจัย

ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ.

[๑๐๗๓] เพราะโนอัตถิปัจจัย นเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย

นอธิปติปัจจัย นอนันตรปัจจัย นสมนันตรปัจจัย นสหชาตปัจจัย

นอัญญมัญญปัจจัย นนิสสยปัจจัย นปุเรชาตปัจจัย นปัจฉาชาตปัจจัย

นอาเสวนปัจจัย นกัมมปัจจัย นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัย

นอินทริยปัจจัย นฌานปัจจัย นมัคคปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย

นวิปปยุตตปัจจัย โนนัตถิปัจจัย โนวิคตปัจจัย โนอวิคตปัจจัย

ในอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ.

โนนัตถิมูลกนัย

[๑๐๗๔] เพราะโนนัตถิปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ฯลฯ...

ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

พึงให้พิสดารเหมือน นเหตุมูลนัย.

โนวิคตมูลกนัย

[๑๐๗๕] เพราะโนวิคตปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ... ฯลฯ...

ในอวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ.

พึงให้พิสดารเหมือน นเหตุมูลกนัย.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 841

โนอวิคตมูลกนัย

[๑๐๗๖] เพราะโนอวิคตปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ...

ฯลฯ... ในนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ ในวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ.

พึงให้พิสดารเหมือน โนอัตถิมูลกนัย.

ปัญหาวารปัจจนียานุโลม จบ

กุสลติกะ ที่ ๑ จบ

อรรถกถาปัจจนียานุโลมนัย

วาระเหล่าใด เช่นเดียวกับวาระที่ได้โดยอนุโลมแห่งปัจจัยที่ตั้งอยู่

โดยอนุโลม ในบรรดาวาระทั้งหลายที่ได้โดยเป็นปัจจนียะแห่งปัจจัยที่ตั้งอยู่

โดยเป็นปัจจนียะ ในบรรดาปัจจัยทั้งหลายที่มีการนับอันได้แล้วในอนุโลม

อย่างนี้คือ เหตุยา สตฺต อารมฺมเณ นว และในปัจจนียะอย่างนี้ คือ

นเหตุยา ปณฺณรส นารมฺมเณ ปณฺณรส ผู้ศึกษาพึงทราบวิธีนับด้วย

อำนาจแห่งวาระเหล่านั้น แม้ใน ปัจจนียานุโลม (นี้)

จริงอยู่ ใน นเหตุปัจจัย ใน ปัจจนียนัย ได้วาระ ๑๕ ดังพระ-

บาลีว่า "นเหตุยา ปณฺณรส." ในอารัมมณปัจจัย ในอนุโลนนัยได้

วาระ ๙ ดังพระบาลีว่า อารมฺมเณ นว. วาระ ๙ เหล่าใด ในบรรดา

วาระ ๕ ที่ท่านกล่าวไว้ในนเหตุปัจจัยเป็นเช่นเดียวกันกับวาระ ๙ ที่

ท่านกล่าวไว้ในอารัมมณปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบปัจจัย. ผู้ศึกษาพึง

ทราบการนับด้วยอำนาจแห่งวาระเหล่านั้น. บรรดาวาระเหล่านั้น วาระ ๙

เหล่าใด ท่านกล่าวไว้แล้วในอารัมมณปัจจัย วาระเหล่านั้นเหมือนกับ

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 842

วาระ ๙ เหล่านี้ คือ กุศล เป็นปัจจัยแก่กุศล แก่อกุศล แก่อัพยากตะ,

อกุศล เป็นปัจจัยแก่อกุศล แก่กุศล แก่อัพยากตะ. อัพยากตะ เป็นปัจจัย

แก่อัพยากตะ แก่กุศล แก่อกุศล ในบรรดาวาระ. ที่ท่านกล่าวไว้

ในนเหตุปัจจัย.

คำว่า นเหตุยา อารมฺมเณ นว เพราะเหตุปัจจัยในอารัมมณ-

ปัจจัย มี ๙ วาระ ท่านกล่าวหมายถึงวาระ ๙ เหล่านั้น แม้ในคำว่า

อธิปติยา ทส เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่วาระเหล่าใด ๆ ที่ท่าน

กล่าวไว้ในอนุโลมคณนา (การนับวาระในอนุโลม) แห่งอารัมมณปัจจัย

เป็นต้น วาระเหล่านั้นทั้งหมด พึงทราบว่าย่อมใช้ได้แม้ในการเทียบเคียง

กับเหตุปัจจัย.

กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยนเหตุปัจจัย โดยอารัมมณ-

ปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบการขยายบาลีแห่งวาระเหล่านั้นโดยอุบายนี้คือ

บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ย่อมพิจารณากุศลนั้น,

บุคคลย่อมพิจารณากุศลที่บำเพ็ญไว้ในกาลก่อน.

ในคำนี้ว่า นเหตุปจฺจย อธิปติยา ทส เพราะนเหตุปัจจัย

ในอธิปติปัจจัย มี ๑๐ วาระ ผู้ศึกษาพึงขยายวาระในอนุโลมวิภังค์ด้วย

อำนาจแห่งอธิบดีที่เหลือ เว้นวิมังสาธิบดี. ในอธิการนี้มีการกำหนด

วิธีนับ ดังนี้คือ ๙-๑๐-๗-๓-๑๓-๑ ผู้ศึกษาพึงลดการนับ (จำนวน)

แม้แห่งปัจจัยที่มีการนับได้มากกว่าปัจจัยที่มีการนับได้น้อยกว่า ด้วยอำนาจ

แห่งการกำหนดวิธีนับเหล่านั้น แล้วพึงทราบวิธีนับในการเทียบเคียง

ทั้งหมดในนัยที่มีมูล ๓ เป็นต้น บรรดานัยทั้งหลายมีนเหตุมูลกนัยเป็นต้น

นี้เป็นลักษณะที่ทั่วไปก่อน. แต่ลักษณะนี้ยังไม่เป็นไปในการเทียบเคียง

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 843

ทั้งหมด ก็ในการเทียบเคียงปัจจัยเหล่าใด กับปัจจัยเหล่าใด วาระเหล่าใด

ขัดแย้งกัน พึงนำวาระเหล่านั้นออกเสีย แล้วพึงทราบวิธีนับในอธิการนี้

ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยเหล่านั้นที่ยังเหลืออยู่.

ก็ในคำนี้ว่า นเหตุปจฺจยา นารมฺมณปจฺจยา อธิปติยา สตฺต

เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ ย่อม

ห้ามวาระ ๓ เหล่านี้ที่ได้อยู่ด้วยอำนาจอารัมมณาธิปติ คือ กุสโล อกุส-

ลสฺส อพฺยากโต กุสลสฺส อพฺยากโต อกุสลสฺส (=กุ-อกุ, อัพ-กุ,

อัพ-อกุ) เพราะเหตุไร ? เพราะท่านกล่าวว่า นารมฺมณปจฺจยา คือห้าม

อารัมมณปัจจัย. เพราะฉะนั้นในอธิการนี้ผู้ศึกษาพึงนำวาระเหล่านั้นออก

เสีย แล้วพึงทราบวาระ ๗ โดยนัยแห่งสหชาตาธิปติ คือ กุสโล กุสลสฺส

อพฺยากตสฺส กุสลาพฺยากตสฺส อกุสโล อกุสลสฺส อพฺยากตสฺส

อกุสลาพฺยากตสฺส อพฺยากโต อพฺยากตสฺส (=ก-กุ, กุ-อัพ, กุ-กุ. อัพ,

อกุ-อกุ, อกุ-อัพ. อกุ-อกุ. อัพ และ อัพ-อัพ-). วาระแม้เหล่านั้น

ย่อมมีด้วยอำนาจอธิบดีที่เหลือ เว้นวิมังสาธิปติ เพราะพระบาลีว่า

นเหตุปจฺจยา ในที่ทุกแห่ง ผู้ศึกษาพึงทราบวิธีนับด้วยอำนาจปัจจัยที่มี

วิธีนับน้อยกว่า และด้วยอำนาจจำนวนที่ไม่ขัดกัน.

ก็ในบรรดาปัจจัยทั้งหลายที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ ปัจจัยเหล่าใด

ไม่ตั้งอยู่โดยอนุโลม ผู้ศึกษาพึงทราบปัจจัยเหล่านั้นด้วยอย่างใด ? คือ

เมื่อ อนันตรปัจจัย ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ สนนันตรปัจจัย อาเสวน-

ปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย ย่อมไม่ตั้งอยู่โดยอนุโลม. เมื่อ

สหชาตปัจจัย ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ เหตุปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย

วิปากปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย และสัมปยุตตปัจจัย ย่อมไม่ตั้งอยู่โดย

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 844

อนุโลม. เมื่อ นิสสยปัจจัย ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ วัตถุปุเรชาตปัจจัย

ย่อมไม่ตั้งอยู่โดยอนุโลม. เมื่อ อาหารปัจจัย หรือ อินทริยปัจจัย ตั้งอยู่

โดยเป็นปัจจนียะ เหตุปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย

และสัมปยุตตปัจจัย ย่อมไม่ตั้งอยู่โดยอนุโลม. แต่เมื่อ อารัมมณปัจจัย

ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ อธิปติปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัยย่อมไม่ตั้งอยู่

โดยอนุโลม อนึ่ง อารัมมณาธิปติปัจจัย และอารัมมณูปนิสสยปัจจัย

ย่อมมีไม่ได้. โดยอุบายนี้ ในที่ทุกสถานพึงทราบวิสัชนาที่มีได้และมีไม่ได้

ไว้แล้ว พึงขยายวาระทั้งหลายด้วยอำนาจแห่งวิสัชนาที่มีได้.

วาระทั้งหลายว่า อนนฺตเร สตฺต ในอนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ

ใน ติมูลกนัย เป็นต้น แม้ทั้งหมดได้ในทุมูลกนัยนั่นเอง ส่วนใน

สัตตมูลกนัยเป็นต้น คำว่า นสหชาตปจฺจยา นิสฺสเย ตีณิ

เพราะนสหชาตปัจจัย ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ คือ วาระ ๓ ใน

วัตถุนิสสยปัจจัย ด้วยอำนาจปุเรชาตะ. วิสัชนา ๒ วาระในกัมม-

ปัจจัย ด้วยอำนาจนานากขณิกกัมมปัจจัย. วิสัชนา ๑ วาระในอาหาร-

ปัจจัย ด้วยอำนาจกพฬีการาหาร. วิสัชนา ๑ วาระ ในอินทริยปัจจัย

ด้วยอำนาจรูปชีวิตินทรีย์. ในวิปปยุตตปัจจัย ธรรมทั้งหลายมีกุศล

เป็นต้น อันมีอัพยากตะเป็นที่สุดถึงแล้วโดยลำดับด้วยคำว่า ตีณิ คือ ๓

วาระ ด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัย. คำว่า อตฺถิ อวิคตเสุ ปญฺจ ใน

อัตถิและอวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ ความว่า วิสัชนา ๓ วาระเหล่านั้นด้วย

และวิสัชนา ๒ เหล่านี้คือ กุสลาพฺยากตา อพฺยากตสฺส, อกุสลาพฺยา-

๑. ใจความในประโยคนี้ทั้งหมด ขัดต่อสภาวะและพระบาลีข้อ ๑๐๔๘ และข้อ ๑๐๕๑ แต่จำต้อง

แปลตามบาลีอรรถกถาซึ่งตรงกันทั้งของไทยและของพม่า.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 845

กตา อพฺยากตสฺส (กุ. อัพ-อัพ และ อกุ. อัพ-อัพ) ย่อมมีด้วยอำนาจ

ปัจฉาชาตินทริยปัจจัย. ก็ตั้งแต่ปัจฉาชาตปัจจัยเป็นปัจจนียะ (ปจฺจนีก)

ไป คำว่า อตฺถิอวิคเตสุ เอก คือ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ ด้วย

อำนาจอาหารและอินทริยปัจจัย เมื่อถือเอานอาหารปัจจัยแล้ว ก็ไม่ควร

ถือเอา นอินทริยปัจจัย. อนึ่ง เมื่อถือเอานอินทริยปัจจัย ก็ไม่ควร

ถือเอา นอาหารปัจจัย ด้วยเหมือนกัน. เพราะเหตุไร ? เพราะเมื่อปัจจัย

ทั้ง ๒ อัน อาจารย์ถือเอาโดยเป็นอันเดียวกันแล้ว วาระที่จะนับก็ไม่มี

แม้เมื่อฌานและมัคคปัจจัยเป็นต้นตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ ไม่ต้องทำอนุโลม

ให้เป็นข้อเดียว โดยอาหารปัจจัย หรืออินทริยปัจจัย (แก่ทำให้แยกกัน)

ดังที่ตรัสว่า อินฺทฺริเย เอก (ในอินทริยปัจจัย มี ๑ วาระ) อตฺถิยา

เอก อวิคเต เอก อาหาเร เอก อตฺถิยา เอก อวิคเต เอก ในที่สุด.

คำที่เหลือในอธิการนี้มีเนื้อความกระจ่างแล้วทั้งนั้น แล.

นเหตุมูลกนัย จบ

ใน นอารัมมณมูลกนัย เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ใน

อัญญมัญญมูลกนัย คำว่า นอญฺปจฺจยา เหตุยา ตีณิ เพราะ

นอัญญมัญญปัจจัย ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ คือกุศลเป็นต้น เป็น

ปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน. สองบทว่า อธิปติยา อฏฺ ในอธิปติ-

ปัจจัย มี ๘ วาระ เพราะนสหชาตปัจจัย ในนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ

ความว่า บรรดาวาระ ๑๐ ที่ท่านกล่าวไว้ในอธิปติปัจจัย ได้วาระ ๘ ที่

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 846

เหลือโดยชักออก ๒ วาระ คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลและอัพยากตะ

อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลและอัพยากตะ. สองบทว่า สหชาเต ปญฺเจ

ในสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ คือวาระ ๒ เหล่านี้ คือ กุศลและอัพยากตะ

เป็นปัจจัย แก่อัพยากตะ อกุศลกับอัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ กับ

วาระ ๓ ที่ท่านกล่าวไว้ในเหตุปัจจัย.

สองบทว่า นิสฺสเย สตฺต ในนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ วาระ ๒

เหล่านี้ คือ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุศล อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุศล

ก็วาระ ๕ เหล่านั้นย่อมมีด้วยอำนาจเป็นวัตถุ. สองบทว่า กมฺเม ตีณิ

ในกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ คือวาระ ๓ ที่ท่านกล่าวไว้ในนเหตุปัจจัยนั่นเอง

แม้ในติกะที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน ฯ สองบทว่า อธิปติยา ตีณิ ใน

อธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ คือวาระที่กล่าวไว้ในหนหลัง.

ใน นอาหารมูลกนัย คำว่า อญฺมญฺเ ตีณิ ในอัญญมัญญ-

ปัจจัย มี ๓ วาระ ผู้ศึกษาพึงทราบวาระด้วย อำนาจเจตสิกที่เหลือ

เว้นอาหาร ก็แม้ในอธิการนี้ ในนอาหารปัจจัย และนอินทริยปัจจัย ท่าน

ถือเอาคราวละ ๑ ปัจจัย ไม่ถือเอา ๒ ปัจจัยรวมกัน เหมือนในหนหลัง

(คือแยกแสดงไม่แสดงรวมกัน). คำว่า นสมฺปยตฺตปจฺจยา เหตุยา

ตีณิ เพราะนสัมปยุตตปัจจัยในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ มีวาระที่ท่าน

กล่าวไว้ใน นอัญญมัญญปัจจัย ในหนหลัง อธิปติยา อฏฺ ใน

อธิปติปัจจัย มี ๘ วาระ คือวิสัชนาที่กล่าวไว้ในหนแล้วในหนหลังเหมือนกัน.

๑. บาลีอรรถกถาของไทยหน้า ๑๕๐ บรรทัดที่ ๑๑ เป็น กุสโล กุสลสฺส อกุสโล อกุสลสฺส

(คือ กุ-กุ, อกุ-อกุ) ซึ่งผิดสภาวะ ในที่นี้จึงแปลตามบาลีพม่าทีว่า กุสโล กุสลาพฺยากสฺส อกุสโล

อกุสกาพฺยากสฺส.

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 847

พึงทราบวินิจฉัยใน นวิปปยุตตปัจจัยเป็นมูล. สองบทว่า กมฺเม

ปญฺจ ในกัมมปัจจัย มี ๕ วาระ คือมีวาระ ๕ อย่างนี้คือ เจตนามีกุศล

เป็นต้นเป็นปัจจัยแก่กุศลเป็นต้น ที่เกิดร่วมกัน กุศลและอกุศลเจตนา

ที่เกิดต่างขณะกันเป็นปัจจัยแก่วิบาก และแก่รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน.

ในอาหารปัจจัย และ อินทริยปัจจัย มีวาระ ๓ เหมือนกับสหชาตปัจจัย.

ในฌานปัจจัยและมัคคปัจจัยเป็นต้น มีวาระ ๓ เหมือนกับเหตุปัจจัย.

ใน โนอัตถิมูลกนัย มีอธิบายว่า เพราะ เหตุ ชื่อว่า โนอตฺถิ

ไม่มี มีแต่ อัตถิ แน่นอน. เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่ถือเอา เหตุปัจจัย

นั้น แล้วกล่าวว่า นอารมฺมเณ นว ในนอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ

(เหตุปัจจัยแสดงไม่ได้). ปัจจัยทั้งหลาย ที่เข้าลักษณะอัตถิปัจจัยแม้อื่น

ย่อมไม่ทั้งอยู่โดยอนุโลมในอธิการนี้.

ก็คำนี้ว่า กมฺเม เทฺว ในกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ ท่านกล่าวด้วย

อำนาจนานากขณิกกัมมปัจจัย ปัจจัยทั้งหมดย่อมได้โดยปัจจนียะ. ก็วาระ

ทั้งหลาย ต่อจากนั้นอันท่านไม่ถือเอาปัจจัยใด แม้ที่ได้อยู่โดยอนุโลม

ถือเอาโดยเป็นปัจจนียะ ปัจจัยนั้นย่อมได้การประกอบในภายหลัง เพราะ

เหตุนั้นเอง ในอธิการนี้ท่านจึงกล่าวไว้ว่า โน อตฺถิปจฺจยา นเหตุปจฺจยา

ฯ เป ฯ โนอวิคตปจฺจยา กมฺเม เทฺว ฯ เป ฯ ถามว่า ก็เพราะเหตุไร

ท่านจึงไม่ถือเอาปัจจัยนั้นในฐานะของตนเองเลย แก้ว่า เพราะเมื่อปัจจัย

ทั้งหมดที่เหลือ ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ ปัจจัยหนึ่งเท่านั้นย่อมได้โดย

อนุโลม

จริงอยู่ นี้เป็นลักษณะในปัจจนียานุโลมนี้ คือเมื่อปัจจัยทั้งหมด

ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ ปัจจัยใดปัจจัยเดียวเท่านั้นย่อมได้โดยอนุโลม

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 848

ปัจจัยนั้น ท่านจะกล่าวในภายหลัง. แม้ในคำว่า โนอตฺถิปจฺจยา นเหตุ-

ปจฺจยา ฯ เป ฯ โนอวิคตปจฺจยา อุปฺปนิสฺสเย นว ก็ในนัยนี้เหมือนกัน

ก็คำนี้ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจแห่ง ปกตูปนิสสยปัจจัย ในที่ทุกแห่งวาระ

ที่มีได้และไม่ได้ ที่ท่านกล่าวไว้ก่อนและภายหลัง พึงทราบโดยนัยนี้แล.

ปัจจนียานุโลมแห่งปัญหาวาระ จบ

วรรณนากุสลติกปัฏฐาน จบ