ไปหน้าแรก

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระอภิธรรมปิฎก

เล่มที่ ๔

กถาวัตถุ ภาคที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

มหาปัณณาสก์

มหาวรรค

ปุคคลกถา

นิคคหะ ๘

อนุโลมปัญจกะ

[๑] สกวาที ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

๑. คัมภีร์ที่ ๕ บาลีเล่มที่ ๓๗

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

ส. สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ท่าน

หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯล ฯ

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคลโดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็น

สัจฉิกัตถะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า

ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ

ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม

สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ

ใดเป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเป็นบุคคลนั้น ตาม

สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่ง

เห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึง

กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึง

กล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็น

บุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด.

อนุโลมปัญจกะ จบ

๑. สัจฉิกัตถะ สภาวะที่จริงแท้.

๒. ปรมัตถะ อรรถอันยิ่ง อันอุดม อันไม่ต้องยึดถือด้วยอาการมีการฟังตามกัน

มาเป็นต้น ทั้งนี้ หมายถึงสภาวธรรมที่จำแนกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒

ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ รวม ๕๗ อย่าง.

๓. นิคคหะ การข่ม การปราบปราม.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

ปรมัตถทีปนี

อรรถกถาปัญจปกรณ์

อรรถกถากถาวัตถุ

อารัมภกถา

พระสัมมาสัมพุทธะผู้เป็นศาสดาของชาว

โลกพร้อมทั้งเทวโลก ผู้หาบุคคลอื่นเปรียบ

มิได้ ผู้อันหมู่แห่งทวยเทพยกย่องแล้ว ทรง

ประทับนั่ง ณ เทวโลก. พระองค์ทรงเป็นผู้

ฉลาดในบัญญัติทั้งปวง ทรงเป็นอุตตมบุคคล

ในโลก ครั้นตรัสคัมภีร์ปุคคลบัญญัติอันแสดง

ถึงบัญญัติจบลงแล้ว จึงทรงแสดงกถาวัตถุ

ปกรณ์โดยความเป็นเรื่องแห่งถ้อยคำ มีเรื่อง

บุคคลเป็นต้นอันใดไว้แล้วโดยสังเขป.

บัดนี้ ลำดับแห่งการสังวรรณนาเนื้อ

ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้แล้วใน

สุราลัยเทวโลกโดยการเริ่มตั้งไว้แต่เพียงหัวข้อ

นั่นแหละ อันพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเจ้า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

จำแนกแล้วในมนุษย์โลกนั้นถึงพร้อมแล้ว

เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักพรรณนากถาวัตถุ-

ปกรณ์นั้น ขอท่านทั้งหลายผู้มีจิตตั้งมั่น จง

สดับตรับฟังพระสัทธรรมนั้นเทอญ.

นิทานกถา

ความย่อว่า ในที่สุดลงแห่งการแสดงยมกปาฏิหาริย์ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเสด็จเข้าจำพรรษา ณ แท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ที่โคนไม้

ปาริชาติในเทวนคร ทรงกระทำพระมารดาให้เป็นองค์พยานตรัสอยู่

ซึ่งพระอภิธรรมกถาแก่เทวบริษัท ครั้นทรงแสดงปกรณ์ธัมมสังคณี

ได้ ๑๐๐ ปี พวกภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ อันผิดจากพระ-

ธรรมวินัย คือ :-

๑. ภิกษุเก็บเกลือเหลือไว้ในกลักสำหรับฉันกับอาหาร เห็นว่า

สมควร.

๒. ภิกษุฉันอาหารเมื่อตะวันบ่าย ๒ นิ้ว เห็นว่าสมควร.

๓. ภิกษุห้ามภัตแล้วเข้าไปในละแวกบ้าน แล้วฉันภัตที่ไม่ทำ

วินัยกรรมก่อน หรือไม่เป็นเดนภิกษุไข้ เห็นว่าสมควร.

๔. ภิกษุอยู่ในอาวาสเดียวกันจะแยกทำสังฆกรรม เห็นว่า

สมควร.

๕. ภิกษุทำอุโบสถไม่รอฉันทานุมัติ เห็นว่าสมควร.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

๖. ข้อปฏิบัติที่อุปัชฌาย์อาจารย์เคยประพฤติมาผิดถูกอย่างไร

ประพฤติตาม เห็นว่าสมควร.

๗. ภิกษุห้ามภัตแล้วฉันนมสดที่ยังไม่แปรเป็นนมส้ม เห็นว่า

สมควร.

๘. ภิกษุดื่มสุราอ่อน ๆ เห็นว่าสมควร.

๙. ภิกษุใช้ผ้านิสีทนะที่ไม่มีชาย เห็นว่าสมควร.

๑๐. ภิกษุรับหรือยินดีเงินและทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตน เห็นว่า

สมควร.

พระยสเถระผู้เป็นบุตรของพราหมณ์ ชื่อว่า กากัณฑกะ ฟังวัตถุ

๑๐ ประการนั้นแล้ว ได้ถือเอาพระเจ้าอโศกราช ผู้เป็นโอรสของพระ-

เจ้าสุสุนาคะ ให้เป็นพระสหาย แล้วคัดเลือกพระเถระ ๗๐๐ รูป ใน

จำนวนภิกษุ ๑,๒๐๐,๐๐๐ รูป คือ ๑๒ แสน ย่ำยีวัตถุ ๑๐ ประการ

เหล่านั้นแล้วก็ยกสรีระ คือ พระธรรมวินัยขึ้นสังคายนา.

ก็ภิกษุวัชชีบุตร มีประมาณ ๑๐,๐๐๐ รูป ถูกพระธรรมสังคา-

หกเถระทั้งหลายข่มขู่แล้ว คือติเตียนแล้ว จึงแสวงหาพวก ครั้นได้

พวกที่เป็นทุพพลวะ อันสมควรแก่ตนก็จัดตั้งสำนักตระกูลอาจารย์ใหม่

ชื่อว่า มหาสังฆิกะ แปลว่า พวกมาก ตระกูลอาจารย์ ๒ พวกอื่น

อีกเกิดขึ้น คือ โคกุลิกะ และ เอกัพโยหาริกะ ซึ่งแตกแยกมาจาก

ตระกูลอาจารย์มหาสังฆิกะนั้น. ตระกูลอาจารย์ ๒ พวกอื่นอีก คือ

บัญญัตติวาทะ และพหุลิยะ ซึ่งมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า พหุสสุติกะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

แตกแยกมาจากนิกายโคกุลิกะ. อาจริยวาท อื่นอีกชื่อว่า เจติยวาท

เกิดขึ้นแล้วในระหว่างนิกายพหุลิยะนั้น นั่นแหละ. ในร้อยแห่งปีที่ ๒

คือ ภายในพระพุทธศักราช ๒๐๐ ปี ตระกูลอาจารย์ทั้ง ๕ ตระกูล

เกิดขึ้นจากตระกูลอาจารย์มหาสังฆิกะด้วยประการฉะนี้. ตระกูลอาจารย์

ทั้ง ๕ เหล่านั้น รวมกับมหาสังฆิกะเดิม ๑ ก็เป็น ๖ ตระกูลด้วยกัน.

ในร้อยแห่งปีที่ ๒ นั้น นั่นแหละ อาจริยวาท ทั้ง ๒ คือ มหิ-

สาสกะ และวัชชีปุตตกะเกิดขึ้น แตกแยกมาจากเถรวาท. ในบรรดา

อาจริยวาททั้ง ๒ นั้น อาจริยวาททั้ง ๔ คือ :- ธัมมุตตริยะ ๑ ภัทร-

ยานิกะ ๑ ฉันนาคาริกะ ๑ สมิติยะ ๑ เกิดขึ้นเพราะแตกแยกมาจาก

นิกายวัชชีปุตตกะ. ในร้อยแห่งปีที่ ๒ นั่น นั่นแหละ อาจริยวาท ๒

พวก คือ :- สัพพัตถิกวาทะ และ ธัมมคุตติกะ เกิดขึ้นเพราะการ

แตกแยกมาจากตระกูลอาจารย์มหิสาสกะอีก. นิกายชื่อว่า กัสสปิกะ

เกิดขึ้นเพราะแตกแยกจากตระกูล สัพพัตถิกวาทะอีก. เมื่อนิกายกัสส-

ปิกะทั้งหลายแตกกันแล้วก็เป็นเหตุให้นิกายชื่อว่า สังกันติกะอื่นอีกเกิด

ขึ้น เมื่อนิกายสังกันติกะทั้งหลายแตกกันแล้ว นิกายชื่อว่า สุตตวาทะก็

เกิดขึ้น. อาจริยวาท ๑ นิกายเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว เพราะแตกแยกมา

จากเถรวาทอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. อาจริยวาท ๑๑ นิกายเหล่านี้

รวมกับเถรวาทเดิมก็เป็น ๑๒ นิกาย.

ในร้อยแห่งปีที่ ๒ คือ ภายในพระพุทธศักราช ๒๐๐ ปี อา-

จริยวาทคือ ลัทธิแห่งอาจารย์ ทั้งหมดรวม ๑๘ นิกาย คือ ๑๒ นิกาย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

ที่แยกมาจากเถรวาทเหล่านี้ และนิกายอาจริยวาท ๖ ที่แตกแยกมา

จากตระกูลอาจารย์มหาสังฆิกะทั้งหลาย ฉะนี้แล.

คำว่า นิกาย ๑๘ นิกายก็ดี ตระกูลอาจารย์ ๑๘ ตระกูลก็ดี

เป็นชื่อของนิกายที่กล่าวมาแล้วเหล่านั้น นั่นแหละ. อนึ่งบรรดานิกาย

๑๘ นิกายเหล่านั้น ๑๗ นิกาย บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นนิกายที่แตกแยก

กันมา ส่วนเถรวาท บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นนิกายที่ไม่แตกกัน.

(โปรดดูแผนผังความเป็นมา ดังต่อไปนี้ :- )

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

แผนผังแสดงนิกายสงฆ์ในศตวรรษที่ ๓

เถรวาท มหาสังฆิกะ

มหิสาสกะ วัชชีปุตตกะ โคกุลิกะ เอกัพโยหาริกะ

สัพพัตถิกวทะ ธัมมุตตริยะ สมิติยะ

ฉันนาคาริกะ

กัสสปิกะ ภัทรยานิกะ ปัณณัตติวาทะ พหุลิยะ

สังกันติกะ เจติยวาทะ

สุตตวาทะ

๑. ภิกษุผู้ลามกทั้งหลาย ผู้เป็นชาววัช-

ชีบุตร ผู้เป็นอธรรมวาที ถูกพระเถระ ผู้

เป็นธรรมวาที ทั้งหลายขับออกแล้ว ได้พวก

อื่นจึงตั้งคณาจารย์ใหม่.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

๒. ภิกษุเหล่านั้นมีประมาณหมื่นรูปได้

ประชุมกันรวบรวม คือทำการร้อยกรอง

พระธรรมวินัย เพราะฉะนั้น การร้อยกรอง

พระธรรมวินัยนี้ ท่านจึงเรียกว่า "มหาสังคีติ"

แปลว่า การร้อยกรองใหญ่.

๑. ภิกษุประมาณหมื่นรูปเหล่านั้นในที่นี้หมายถึงภิกษุวัชชีบุตร แต่ในที่บาง

แห่งกล่าวว่าเป็นภิกษุพวกพระมหาเทพ ซึ่งให้กำเนิดนิกายมหาสิงฆิกวาที ปราวน

ย่อว่า พระมหาเทพเป็นบุตรพ่อค้าขายเครื่องหอมในแคว้นอวันตี ท่านอุปสมบท

ที่เมืองปาฏลีแคว้นมคธ เป็นผู้เรียนพระไตรปิฎกแตกฉาน วันหนึ่ง ถึงวาระที่ท่าน

จะแสดงปาฏิโมกข์ ท่านได้เสนอความเห็น ๕ ข้อ คือทิฏฐิ ๕ ข้อ ต่อที่ประชุม

สงฆ์ ดังนี้ :-

๑. พระอรหันต์อาจถูกมารยั่วยวนในความฝันได้.

๒. พระอรหันต์ยังมีอัญญาณ.

๓. พระอรหันต์ยังมีความสงสัย.

๔. พระอรหันต์จะต้องรู้ว่าตนได้มรรคผลต้องอาศัยผู้อื่นอีก.

๕. มรรคผลเกิดขึ้นอาศัยเปล่งคำว่า ทุกข์หนอ ๆ

ข้อเสนอของท่านนี้ บางพวกไม่เห็นด้วยจึงทำสังฆกรรมไม่ได้ ครั้นทราบถึง

พระเจ้ากาลาโศกราช ๆ ก็เสด็จมาห้ามมิให้เกิดการแตกแยกกัน พระมหาเทพจึง

ชี้ขาดโดยให้ระงับอธิกรณ์ ด้วยมติของที่ประชุมสงฆ์ ในที่สุดฝ่ายพระมหาเทพ

ชนะเพราะมีพวกมาก ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยนั้นเป็นฝ่ายเถรวาท ต่อมาพวกมหาเทพ

ได้จัดการทำสังคีติด้วยสงฆ์หมู่ใหญ่ จึงเรียกว่า มหาสังคีติ และต่อมานิกาย

นี้เกิดแตกกันอีก.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

๓. ภิกษุทั้งหลายผู้ทำมหาสังคีติ ได้ทำ

ความขัดแย้งไว้ในพระศาสนา ทำลายสังคาย-

นาเดิม แล้วทำการรวบรวมธรรมวินัยไว้เป็น

อีกอย่างหนึ่ง.

๔. ภิกษุเหล่านั้นได้แต่งพระสูตรที่สัง-

คายนาไว้แล้วให้เป็นอย่างอื่น และทำลาย

อรรถและธรรมในพระวินัยในนิกายทั้ง ๕ ด้วย.

๕. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้แม้ซึ่งธรรม

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้วโดย

ปริยายและทั้งโดยนิปปริยาย ไม่รู้อรรถที่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำไว้แล้วและทั้งไม่รู้

จักอรรถที่ควรแนะนำ.

๖. ภิกษุเหล่านั้น ๆ ได้กำหนดอรรถ

ไว้เป็นอย่างอื่นจากอรรถที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้โดยหมายเอาอย่างหนึ่ง ได้ยังอรรถ

มากมายให้พินาศไปเพราะฉายาแห่งพยัญชนะ.

๑. บาลีว่า "พยญฺชนจฺฉายาย" มีความหมายเป็น ๒ นัย คือ พยญฺชน+

ฉายา ก็ได้ พยญฺชน+อจฺฉายาย ก็ได้ นัยแรกแปลว่า เพราะเงาพยัญชนะ หรือ

เพราะรูปพยัญชนะ นัยหลังแปลว่า เพราะไม่มีพยัญชนะ เพราะไม่มีรูปพยัญชนะ

เพราะไม่รุ่งโรจน์ในพยัญชนะ เพราะไม่ฉลาดในพยัญชนะ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

๗. ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งพระสูตรบางอย่าง

และพระวินัยอันลึกซึ้งเสีย แล้วแต่งพระสูตร

เทียม พระวินัยเทียมทำให้เป็นอย่างอื่น.

๘. คัมภีร์บริวารอัตถุธาระก็ดี อภิธรรมทั้ง

๖ ปกรณ์ก็ดี ปฏิสัมภิทานิทเทสก็ดี ชาดกบาง

ส่วนก็ดี.

๙. คัมภีร์มีประมาณเท่านี้ ถูกภิกษุเหล่า-

นั้นจำแนกไว้ต่าง ๆ กันแล้วแต่งให้เป็นอย่าง

อื่นทั้ง นาม ลิงค์ บริขาร และอากัปปกรณียะ.

๑๐. ภิกษุผู้เป็นหัวหน้าคณะ ผู้มีวาทะ

อันแยกกันแล้ว ผู้ทำมหาสังคีติเหล่านั้นได้พา

กันละทิ้งซึ่งความเป็นปกตินั้นเสียแล้วแต่งให้

เป็นอย่างอื่น.

๑๑. ก็โดยการเรียนแบบอย่างแห่งภิกษุ

เหล่านั้น ได้มีลัทธิอันแตกแยกกันขึ้นมาก-

มาย และภายหลังแต่กาลนั้นมาได้เกิดแตก-

แยกกันขึ้นในมหาสังฆิกะนั้น ดังนี้คือ :-

๑๒. ภิกษุผู้มหาสังฆิกะได้แตกแยกกัน

เป็น ๒ พวก คือ เป็นโคกุลิกะพวกหนึ่งเป็น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

เอกัพโยหาริกะพวกหนึ่ง ต่อมาอีกนิกาย

โคกุลิกะแตกกันออกเป็น ๒ พวก คือ :-

๑๓. เป็นนิกายพหุสสุติกะพวกหนึ่ง เป็น

นิกายบัญญัติพวกหนึ่ง แต่นิกายเจติยะนั้น

แตกแยกมาจากพวกมหาสังคีติได้เป็นอีกพวก

หนึ่ง.

๑๔. ก็นิกายทั้ง ๕ เหล่านี้ทั้งหมดมีมูล

มาจากพวกทำมหาสังคีติที่ทำลายอรรถและ

ธรรม และทำลายการสงเคราะห์ธรรมวินัยบาง

อย่าง.

๑๕. ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งคัมภีร์บางคัมภีร์

และกระทำให้เป็นอย่างอื่นทั้ง นาม ลิงค์

บริขาร และอากัปปกรณียะ.

๑๖. อนึ่ง ในเถรวาทผู้บริสุทธิ์ เหล่า

ภิกษุผู้ละทิ้งปกติภาวะและกระทำให้เป็นอย่าง

อื่นนั้น ได้เกิดการแตกแยกกันขึ้นอีก ดังนี้

คือ :-

๑๗. เป็นมหิสาสกะพวกหนึ่ง เป็นวัช

ชีปุตตกะพวกหนึ่ง สำหรับพวกวัชชีปุตตกะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

นั้นได้แตกแยกออกไปอีก ๔ พวก คือ:-

๑๘. ธัมมุตตริกะ ๑. ภัทรยานิกะ ๑.

ฉันนาคาริกะ ๑. สมิติยะ ๑. ในกาลต่อมา

พวกมหิสาสกะแตกแยกกันเป็น ๒ พวกอีก

คือ :-

๑๙. เป็นพวกสัพพัตถิกวาทะ และ

ธัมมคุตตวาทะ สำหรับสัพพัตถิวาทะยังแตก

ออกเป็นนิกายกัสสปิกะ ต่อมานิกายกัสสปิกะ

แตกแยกเป็นนิกายสังกันติกวาทะ.

๒๐. ต่อมาสังกันติกวาทะแตกกันเป็น

สุตตวาที ได้แตกแยกกันมาโดยลำดับดังนี้

วาทะ คือนิกาย เหล่านี้ทั้ง ๑๑ นิกายแตก

แยกออกไปจากเถรวาททั้งสิ้น.

๒๑. ภิกษุเหล่านั้นทำลายทั้งอรรถและ

ธรรม ทำการรวบรวมอรรถธรรมไว้บางอย่าง

และได้ทอดทิ้งคัมภีร์บางคัมภีร์ ทั้งกระทำให้

เป็นอย่างอื่น.

๒๒. ตลอดทั้ง นาม ลิงค์ บริขาร และ

อากัปปกรณียะ ได้พากันละทิ้งความเป็นปกติ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

เสียแล้ว.

๒๓. นิกายที่แตกแยกกัน ๑๗ นิกาย

นิกายที่ไม่แตกแยกกันมี ๑ นิกาย คือเถรวาท

รวมนิกายทั้งหมดเป็น ๑๘ นิกาย อีกอย่าง

หนึ่งท่านเรียกว่า ตระกูลอาจารย์ ๑๘ ตระกูล.

๒๔. คำสั่งสอนของพระชินะเจ้าเป็น

ของบริสุทธิ์บริบูรณ์ไม่ยิ่งไม่หย่อน เป็นหลัก

มั่นคงสูงสุดของเถรวาททั้งหลาย ราวกะต้นไม้

ใหญ่ ชื่อว่า นิโครธ ฉะนั้น.

๒๕. นิกายที่เหลือ คือนอกจากเถรวาท

เกิดขึ้นแล้วเป็นดุจกาฝากเกิดอยู่ที่ต้นไม้ นิ-

กายที่แตกแยกกันมาทั้ง ๑๗ นิกายานี้ ไม่มีใน

ร้อยปีแรก แต่ในระหว่างร้อยปีที่ ๒ คือภายใน

พระพุทธศักราช ๒๐๐ ปี ได้เกิดขึ้นแล้วใน

ศาสนาของพระชินะพุทธเจ้า ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

อนึ่ง อาจริยวาท ๖ แม้อื่นอีก คือ ๑.

เหมวติกะ ๒. ราชคิริกะ ๓. สัทธัตถิกะ ๔.

ปุพพเสลิยะ ๕. อปรเสลิยะ ๖. วาชิริยะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

เกิดขึ้นแล้วในกาลอัน ๆ อีก อาจริยวาท

เหล่านั้น พระคันถรจนาจารย์ท่านไม่ประสงค์

จะกล่าวไว้ในที่นี้.

พระราชาผู้ทรงธรรม

ก็พระราชาผู้ทรงตั้งอยู่ในธรรมทรงพระนามว่า พระเจ้าอโศก ผู้มี

ศรัทธาอันได้เฉพาะแล้วในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายอาจริยวาททั้ง ๑๘

นิกายที่มีมาในกาลก่อน จึงทรงสละพระราชทรัพย์วันละห้าแสนทุก ๆ

วัน คือเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ๑ แสน เพื่อบูชาพระธรรมเจ้า ๑ แสน

เพื่อบูชาพระสังฆเจ้า ๑ แสน เพื่ออาจารย์ของพระองค์ ชื่อว่านิโครธ-

เถระ ๑ แสน และเพื่อให้สำเร็จประโยชน์จากยารักษาโรค ที่ประตู

ทั้ง ๔ อีก ๑ แสน ได้ให้ลาภสักการะอันมากมายเป็นไปในพระพุทธ-

ศาสนาแล้ว. เดียรถีย์ทั้งหลาย คือ นักบวชนอกพระพุทธศาสนาได้เป็น

ผู้เสื่อมจากลาภสักการะทั้งปวง ไม่ได้อะไรเลยโดยที่สุด แม้แต่อาหาร

หรือผ้าสำหรับปกปิดร่างกาย เมื่อพวกเขาต้องการลาภสักการะอยู่ จึงพา

กันไปบวชในสำนักพระภิกษุทั้งหลายและแล้วก็แสดงทิฏฐิ คือ ความเห็น

ของตน ๆ ว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา

ดังนี้ แม้เมื่อเขาเหล่านั้นไม่ได้การบรรพชาตามประสงค์ เขาก็พากัน

โกนผม นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์เอาเองนั่นแหล่ะ ได้พากันเที่ยวไปใน

วิหารทั้งหลาย และได้เข้าไปสู่ท่ามกลางสงฆ์ในกาลเป็นที่กระทำซึ่งอุโบ-

สถกรรมเป็นต้น. พวกเดียรถีย์เหล่านั้น แม้ถูกภิกษุสงฆ์ติเตียนอยู่โดย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

ธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ คือ คำสั่งสอนของพระศาสดา ก็ไม่

อาจตั้งอยู่ในข้อปฏิบัติอันสมควรแก่พระธรรมวินัยได้ กลับยังเสนียด

มลทินและเสี้ยนหนามมากมายให้เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา คือ บาง

พวกก็บำเรอไฟ บางพวกก็ย่างตนในความร้อน ๕ อย่าง บางพวกก็แหงน

หน้าตามดูพระอาทิตย์เรื่อยไป บางพวกก็คิดมุ่งมาดว่า เราจักทำลาย

ธรรมและวินัยของพวกท่าน ดังนี้ ต่างก็พากันพยายามแล้วโดยอาการ

นั้น ๆ. ในกาลครั้งนั้น พระภิกษุสงฆ์ไม่ยอมทำอุโบสถและปวารณาร่วม

กับพวกเดียรถีย์เหล่านั้น. ในอโศการามขาดอุโบสถกรรมไปถึง ๗ ปี.

พระราชาแม้ทรงพยายามอยู่ด้วยความปรารถนาว่า เราจักให้สงฆ์กระทำ

อุโบสถกรรมด้วยพระราชอาชญา ก็ไม่อาจเพื่อกระทำได้. ครั้นเมื่อ

พวกภิกษุมิใช่น้อย ถูกอำมาตย์ผู้เป็นพาล ผู้เห็นผิดประหารชีวิตแล้ว

ความเร่าร้อนก็ได้เกิดแก่พระราชาผู้ทรงธรรม. พระองค์เป็นผู้ปรารถนา

เพื่อจะระงับความเดือดร้อนอันนั้น และเสนียดมลทินที่เกิดขึ้นในพระ-

ศาสนานั้น จึงตรัสถามพระสงฆ์ว่า ใครหนอเป็นผู้สามารถในคดีนี้

ทรงสดับว่า ข้าแต่มหาราช พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้ทรงรับสั่งให้

พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระมาจากอโธคงคาบรรพตตามคำของสงฆ์ ได้

เป็นผู้หมดความสงสัยด้วยอานุภาพของพระเถระที่แสดงอิทธิปาฏิหาริย์

จึงตรัสถามความรำคาญใจของพระองค์ ได้ยังความวิปฏิสารให้สงบระงับ

ลงแล้ว. แม้พระเถระก็อยู่กับพระราชาในพระราชอุทยานนั่นแหละ ได้

ให้พระราชาศึกษาลัทธิสมัยตลอด ๗ วัน.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

กุสโลบายการคัดเลือกลัทธิที่เป็นธรรมวาที

พระราชาผู้มีลัทธิที่ทรงศึกษาเสร็จแล้ว ก็รับสั่งให้ภิกษุสงฆ์

ทั้งหลายมาประชุมกันในอโศการามในวันที่ ๗. แล้วทรงรับสั่งให้กั้นม่าน

เป็นกำแพงรอบด้าน และทรงประทับนั่งภายในกำแพงม่าน ทรงให้

รวมภิกษุทั้งหลายผู้มีลัทธิอย่างเดียวกันให้อยู่เป็นพวก ๆ และรับสั่งให้

ภิกษุเข้าไปเฝ้าทีละพวก ๆ แล้วรับสั่งถามว่า ภนฺเต กึวาที สมฺมา-

สมฺพุทฺโธ แปลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีวาทะอย่างไร ?

ลำดับนั้น พวกสัสสตวาที คือ ผู้มีวาทะว่า อัตตาและโลกเที่ยง

ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีวาทะว่า อัตตาและโลกเที่ยง.

พวก เอกัจจสัสสตทิฏฐิ คือ พวกที่มีความเห็นว่า บางอย่าง

เที่ยง ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีวาทะว่า เที่ยงแต่บางอย่าง.

พวก อันตานันติกทิฏฐิ คือ พวกที่มีความเห็นว่า โลกมีที่สุด

ก็มี ไม่มีที่สุดก็มี ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะว่า

โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด.

พวก อมราวิกเขปิกาทิฏฐิ คือ พวกที่มีความเห็นว่า มีวาทะดิ้น

ได้ไม่ตายตัว ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะดิ้นได้ไม่

ตายตัว.

พวก อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ คือ พวกที่มีความเห็นว่า อัตตา

และโลกเกิดขึ้นเอง ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะว่า

อัตตาและโลกเกิดขึ้นเอง.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

พวก สัญญีวาทะ คือ พวกที่มีความเห็นว่า อัตตามีสัญญา ก็

ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะว่า อัตตามีสัญญา.

พวก อสัญญีวาทะ คือ พวกที่มีความเห็นว่า อัตตาไม่มีสัญญา

ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะว่า อัตตาไม่มีสัญญา.

พวก เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ คือ พวกที่มีความเห็นว่า อัตตา

มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงมีวาทะว่า อัตตามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่.

พวก อุจเฉทวาทะ คือ พวกที่มีความเห็นว่า ขาดสูญ ก็ทูลว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะว่า ขาดสูญ.

พวก ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ คือ พวกที่มีความเห็นว่า นิพ-

พานมีในทิฏฐธรรม ก็ทูลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะว่า

นิพพานมีในทิฏฐธรรม. พวกที่มีวาทะว่า นิพพานมีในทิฏฐธรรม

หรือ นิพพานปัจจุบันนี้ พวกเขาย่อมบัญญัติศัพท์ว่า นิพพานปัจจุบัน

เป็นธรรมอย่างยิ่ง ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ:-

๑. สมณะ หรือ พราหมณ์บางพวกมีทิฏฐิว่า อัตตภาพนี้ต้อง

บริบูรณ์พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทั้ง ๕ จึงบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็น

ธรรมอย่างยิ่งได้.

๒. บางพวกมีทิฏฐิว่า อัตภาพที่บรรลุปฐมฌาน จึงบรรลุ

นิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่งได้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

๓. บางพวกมีทิฏฐิว่า อัตภาพที่บรรลุทุติยฌาน จึงบรรลุ

นิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่งได้.

๔. บางพวกมีทิฏฐิว่า อัตภาพที่บรรลุตติยฌาน จึงบรรลุ

นิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่งได้.

๕. บางพวกมีทิฏฐิว่า อัตภาพที่บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีสุข

และทุกข์มีแต่อุเบกขา อันเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ จึงบรรลุนิพพาน

ปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่งได้.

พระราชาทรงทราบว่า " พวกนี้ เป็นอัญญเดียรถีย์ไม่ใช่พระ-

ภิกษุ" เพราะพระองค์ได้ทรงศึกษาลัทธิมาก่อนนั่นแหละ จึงทรงพระ-

ราชทานผ้าขาวแก่พวกเดียรถีย์เหล่านั้นให้สึกไปเสีย. อัญญเดียรถีย์

ทั้งหมดที่สึกออกไปมีถึง ๖๐,๐๐๐ คน.

พระราชารับสั่งให้ภิกษุพวกอื่นเข้าเฝ้า แล้วรับสั่งถามว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีวาทะอย่างไร ? ขอถวาย

พระพร พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นวิภัชชวาที เมื่อภิกษุ

ทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว พระราชาจึงตรัสถามพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ

ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นวิภัชชวาทีหรือ ? พระเถระทูลว่า

ใช่แล้ว มหาบพิตร.

ลำดับนั้น พระราชารับสั่งว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ พระ-

ศาสนาบริสุทธิ์แล้ว ขอภิกษุสงฆ์จงทำอุโบสถเถิด ทรงพระราชทาน

อารักขาแล้วเสด็จเข้าสู่พระนคร. พระสงฆ์ได้พร้อมเพรียงประชุมกัน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

ทำอุโบสถแล้ว. ในสันนิบาตนั้นได้มีภิกษุสงฆ์ถึง ๖,๐๐๐,๐๐๐ รูป.

พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ แสดงกถาวัตถุ

พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เมื่อจะห้ามวัตถุทั้งหลายที่เกิดขึ้น

แล้วในครั้งนั้นและเรื่องที่จะเกิดขึ้นในกาลต่อไป จึงจำแนกมาติกาที่

พระตถาคตทรงตั้งไว้แล้ว ด้วยสามารถแห่งนัย ที่พระศาสนาทรงประ-

ทานไว้ แล้วก็นำพระสูตร ๑,๐๐๐ คือ พระสูตร ๕๐๐ สูตร สำหรับ

สกวาทะ คือ วาทะของตน และพระสูตร ๕๐๐ สูตร สำหรับปรวาทะ

คือ วาทะของผู้อื่น แล้วได้ภาษิตกถาวัตถุปกรณ์ ซึ่งมีลักษณะอันกว้าง

ใหญ่ไพศาล ย่ำยีปรัปปวาทะ คือ การโต้แย้ง หรือการขัดแย้งของผู้

อื่น นี้ในสมาคมนั้น.

ลำดับนั้น ท่านได้คัดเลือกเอาภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ผู้ทรงปริยัติ

คือ พระไตรปิฎกและผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป

ในจำนวนภิกษุ ๖,๐๐๐,๐๐๐ รูป กระทำตติยสังคีติ คือการร้อยกรอง

พระธรรมวินัยครั้งที่ ๓ ชำระล้างมลทินในพระศาสนาเหมือนกับ พระ-

มหากัสสปเถระ และพระยศเถระสังคายนาพระธรรมวินัย ฉันนั้น.

ในปิฎกทั้ง ๓ นั้น เมื่อท่านสังคายนาพระอภิธรรมปิฎก ท่าน

ได้ยกกถาวัตถุปกรณ์นี้ขึ้นสงเคราะห์ ตามที่ท่านได้ภาษิตไว้แล้ว.

เตน วุตฺต ด้วยเหตุนั้น พระคันถรจนาจารย์ จึงกล่าวไว้ว่า:-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

พระสัมมาสัมพุทธะ ผู้เป็นศาสดาของ

โลก พร้อมทั้งเทวโลก ผู้ฉลาดในบัญญัติ

ทั้งปวง เป็นบุคคลผู้สูงสุด ได้ทรงแสดงกถา

วัตถุปกรณ์ โดยความเป็นเรื่อง แห่งกถา

ทั้งหลาย มีปุคคลกถาเป็นต้น อันใดไว้โดย

สังเขป บัดนี้ ถึงลำดับการสังวรรณนากถา-

วัตถุปกรณ์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้แล้ว

โดยการตั้งไว้แต่เพียงมาติกา ณ สุราลัยเทว-

โลก อันพระโมคคัลลบุตรติสสเถระจำแนก

ในมนุษย์โลกนั้นแล้ว ฉะนั้น ข้าพเจ้าจัก

พรรณนาคัมภีร์นั้น ขอท่านทั้งหลาย ผู้มีจิต

ตั้งมั่น จงสดับรับรสพระสัทธรรมนั้นเทอญ.

นิทานกถา แห่งอรรถกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

มหาวรรค

ปุคคลกถา

อนุโลมปัญจกะ

ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกฏปรมฏฺเน สกวาที ถามว่า

ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถะ คือ อรรถอันเป็นจริง และปร-

มัตถะ คือ อรรถอย่างยิ่ง หรือ ?

อามนฺตา ( ปรวาที ตอบว่า ) ใช่. ปรวาทีหมายเอาอุปาทา-

บัญญัติ ซึ่งเป็นสมมติสัจจะตามลัทธิที่ท่านได้ตั้งไว้ ส่วนสกวาที มุ่ง

เอาปรมัตถสัจจะ จึงได้ซักเพื่อพิสูจน์ความเป็นปรมัตถ์ต่อไป.

สกวาทีซักว่า สภาวธรรมใดมีอรรถอันเป็นจริง มีอรรถอย่าง

ยิ่งมีอยู่ ท่านหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้ด้วยอรรถอันเป็นจริงและอรรถอย่าง

ยิ่งนั้น หรือ ? คำว่า สภาวธรรมใด มีอรรถอันเป็นจริงมีอรรถอย่าง

ยิ่ง นั้น ได้แก่ สภาวธรรม ๕๗ ประเภท คือขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒

ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ และพระนิพพาน หรือสังขตธรรม และ

อสงขตธรรมเป็นต้น ธรรมเหล่านี้บัณฑิตไม่พึงถือเอาโดยสมมติสัจจะ.

ปรวาที ปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

สกวาที จึงกล่าวว่า ท่านจงรู้นิคคหะ คือการผิดพลาด หากว่า

ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถะและปรมัตถะไซร้ ด้วยเหตุนั้นแหละ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

ท่านพึงกล่าวว่า ภาวะใดที่เป็นสัจฉิกัตถะเป็นปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้า

หยั่งเห็นบุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้น ดังนี้ ที่ท่านกล่าวใน

ปัญหานั้น พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเป็นบุคคลด้วยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่

ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถะเป็นปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่ง

เห็นบุคคลนั้นด้วยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้น ดังนี้ คำของท่านจึงผิด.

แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถะเป็นปรมัตถะมีอยู่

ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้ ด้วยสัจฉิกัตถประมัตถะนั้นไซร้ ท่านก็ไม่

พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะที่ท่านกล่าว

ในปัญหานั้นว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่

กล่าวว่า สภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถะเป็นปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่งเห็น

บุคคลนั้นโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้น ดังนี้ คำของท่านจึงผิด.

อนุโลมปัญจกะ จบ

หมายเหตุ คำว่า อนุโลมปัญจกะ คือหมวด ๕ แห่งอนุโลม

เป็นแบบแผนที่ท่านจะต้องดำเนินการเช่นนี้เสมอไป หรือเรียกว่า เป็น

หลัก คำโต้ตอบในลักษณะที่เรียกว่า อนุโลมปฏิโลม ดังเช่นในเรื่องนี้

ท่านได้ยกเอาเรื่องบุคคลขึ้นเป็นประธาน เช่นคำถามของสกวาทีว่า

ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ (ปัญหาแรก)

ปรวาทีตอบว่าใช่ เพราะท่านถือลัทธิฝ่ายสมมติสัจจะ ฝ่ายสกวาทีผู้ถือ

ลัทธิฝ่ายปรมัตถสัจจะเห็นว่าไม่ถูกโดยปรมัตถะอันเป็นสภาวะที่แท้จริง จึง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

ซักต่อไปอีกว่า สภาวะใดมีอรรถอันเป็นจริงมีอรรถอย่างยิ่งมีอยู่ ท่าน

หยั่งเห็นบุคคลได้โดยอรรถอันเป็นจริง และอรรถอย่างยิ่งนั้นหรือ

(ปัญหาหลัง) ปรวาทีตอบปฏิเสธไปเพราะความจริงเป็นเช่นนั้น แต่

ว่าปัญหาเดียวกัน ปัญหาแรกตอบรับรอง ปัญหาหลังปฏิเสธเช่นนี้

ท่านสกวาทีพึงตำหนิ คำตำหนินี้แหละท่านเรียกว่า นิคคหะ ดุจ

คำเขาพูดกันว่า ท่านรับรองแล้วก็กลับปฏิเสธเป็นผู้ไม่มีสัจจะ คำว่า

นิคคหะ นี้ ท่านจัดเป็นองค์หนึ่งในคำว่า อนุโลมปัญจกะ.

คำต่อไป สกวาทีกล่าวว่า หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะไซร้ เพียงเท่านี้ท่านเรียกว่า อนุโลมฐปนา คือ

การตั้งอนุโลม ท่านต้องการจะกล่าวคำนั้นไปอีกว่า ด้วยเหตุนั้นนั่น

แหละ ท่านจึงกล่าวว่า ภาวะใดที่เป็นสัจฉิกัตถะเป็นปรมัตถะมีอยู่ข้าพ-

เจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้น แม้คำเพียงเท่านั้น

ท่านเรียกว่า อนุโลมปาปนา คือ การให้ถึงอนุโลม คือ หมายความว่า

ให้อนุโลมคือปัญหาแรกไว้นั้นปรากฏอีก เพื่อแสดงว่า ปัญหามีเนื้อความ

อย่างเดียวกัน ปัญหาแรกตอบรับรอง ปัญหาหลังก็ต้องตอบรับรองจึง

จะถูกต้องก็คำว่า อนุโลมฐปนา และ อนุโลมปาปนา นี้ท่านจัดไว้เป็น

องค์หนึ่งในคำว่า อนุโลมปัญจกะ.

คำต่อไป สกวาทีกล่าวว่า คำที่ท่านกล่าวรับรองในปัญหาแรก

นั้นว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ท่านไม่รับรอง

ปัญหาหลังว่า ภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่งเห็น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้นดังนี้คำของท่านผิด คำเพียงเท่านี้

ท่านเรียกว่า อนุโลมอาโรปนา คือการยกอนุโลม เพื่อให้เห็นความ

บกพร่อง คือไม่สมเหตุสมผล ฉะนั้นคำว่า อนุโลมอาโรปนา นี้ ท่าน

ก็จัดเป็นองค์หนึ่งในคำว่า อนุโลมปัญจกะ.

คำต่อไป สกวาทีกล่าวว่า แต่ถ้าท่านไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด

เป็นสัจฉิกัตถปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะนั้นไซร้ เพียงเท่านี้ ท่านเรียกว่าปฏิโลมฐปนา คือการตั้ง

ปฏิโลม เพื่อต้องการจะกล่าวคำต่อไปว่า ท่านก็ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้า

หยั่งเห็นบุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ และคำเพียงเท่านี้ ท่าน

เรียกว่า ปฏิโลมปาปนา คือการให้ถึงปฏิโลม หมายความว่ายกเอา

ปัญหาหลังเป็นปัญหาแรกบ้าง ถึงอย่างไรความหมายก็เป็นเช่นเดียวกัน

คำว่า ปฏิโลมฐปนา และ ปฏิโลมปาปนา นี้ ท่านจัดเป็นองค์อัน

หนึ่งในคำว่า อนุโลมปัญจกะ.

คำต่อไป สกวาทีกล่าวว่า ที่ท่านกล่าวในปัญหานี้ว่า ข้าพเจ้า

หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ แต่ไม่กล่าวว่า สภาวะใดเป็น

สัจฉิกัตถปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

นั้น คำเพียงเท่านี้ท่านเรียกว่า ปฏิโลมาโรปนา คือการยกปฏิโลม

คำว่า ปฏิโลมาโรปนา นี้ ท่านก็จัดเป็นองค์อันหนึ่งในคำว่า อนุโลม-

ปัญจกะ รวมทั้ง ๕ ข้อนี้เรียกว่า อนุโลมปัญจกะ คือ หมวด ๕ แห่ง

อนุโลม ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

อนึ่ง เนื้อความใด ๆ ที่ท่านกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกโดยพิสดาร

ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวในที่นี้ทั้งหมด จะกล่าวแต่ที่เห็นว่าเหมาะสม ส่วน

เนื้อความอรรถกถาจะนำมาทั้งหมดเพื่อแนวทางค้นคว้าของผู้สนใจ

ต่อไป.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

ปรมัตถทีปนี

อรรถกถาปัญจปกรณ์

อรรถกถา ปุคคลกถา

ว่าด้วยบุคคลจะกล่าวคำว่าสัจฉิกัตถะก่อน

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลด้วยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ นี้ เป็นคำถาม

คำว่า " อามนฺตา " นี้ เป็นคำตอบรับรอง.

ถามว่า ก็คำถามที่กล่าวว่า " ท่านหยั่งเห็นบุคคลด้วยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ " และคำตอบรับรองที่ว่า " อามนฺตา " นี้ เป็นของใคร ?

ตอบว่า คำถามและคำตอบรับรองนี้ ใคร ๆ ไม่ควรจะกล่าวว่า

เป็นของบุคคลอื่น เพราะว่าในปกรณ์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้ง

มาติกา คือ หัวข้อธรรมไว้สำหรับเป็นแบบฉบับ เพื่อชำระล้างลัทธิอัน

เห็นผิดทั้งหลายมีประการต่าง ๆ. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ท่านตั้ง

มาติกานี้ตามนัยที่พระศาสดาทรงประทานไว้ และแล้วก็จำแนกความ

ตามแบบที่พระองค์ทรงแสดงไว้นั้น. อนึ่ง วาทมรรค คือ ทางแห่งวาทะ

ที่พระศาสดาทรงแสดงแนะไว้ในปกรณ์นี้มีประมาณเท่าใด พระเถระ

ท่านมิได้แสดงวาทมรรคอันเป็นถ้อยคำที่โต้เถียงกันกับวาทะด้วยวาทะมี

ประมาณเท่านั้น ก็ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนี้ เพื่อประโยชน์แก่การ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

กำหนดจดจำอรรถแห่งถ้อยคำเหล่านั้นได้โดยง่าย ข้าพเจ้า (พระพุทธ-

โฆษาจารย์) จักแสดงวิภาค คือ การจำแนกความอย่างนี้ คือ เป็น

คำถามของพระสกวาที ๑ เป็นคำตอบของพระปรวาที ๑ เป็นคำถาม

ของพระปรวาที ๑ และเป็นคำตอบของพระสกวาที ๑ แล้วจักพรรณนา

ความต่อไป.

ก็คำว่า ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกฏฺปรมฏฺเน นี้

เป็นคำถามของสกวาที. ด้วยคำถามนั้นท่านแสดงว่า ชนเหล่าใดผู้เป็น

ปุคคลวาทีมีความเห็นอย่างนี้ว่า บุคคลมีอยู่ บัณฑิตควรถามชน

เหล่านั้นอย่างนี้.

ถามว่า ชนเหล่าไหนเป็นปุคคลวาที คือ ผู้มีวาทะว่าบุคคลมีอยู่

โดยแท้จริง

ตอบว่า พวกภิกษุวัชชีปุตตกะ ภิกษุนิกายสมิตยะในพระพุทธ

ศาสนา และอัญญเดียรถีย์เป็นอันมาก ภายนอกพระพุทธศาสนา

บรรดาคำว่า ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกฏฺปรมฏฺเน

เหล่านั้น คำว่า ปุคฺคโล แปลว่า บุคคลได้แก่อัตตา สัตว์ และชีวะ.

ว่า อุปลพฺภติ ท่านอธิบายว่า ผู้เข้าถึงแล้วย่อมรู้ได้ คือ ย่อม

รู้ได้ด้วยปัญญา. คำว่า สจฺฉิกฏฺโ ในคำว่า สจฉิกฏิปรมฺฏ-

๑. ทั้ง ๒ นิกายนี้มีความเห็นว่า บุคคลมีอยู่โดยปรมัตถะ โดยอธิบาย

บุคคลของเขาไม่ใช่ขันธ์ ๕ และไม่นอกจากขันธ์ ๕ เหมือนไม่ใช่เชื้อไฟแต่ไม่

นอกไปจากเชื้อไฟ ผิดหลักอนัตตาของเพราะสารีบุตรนี้ถูกพระมหาโมคคัล-

ลีบุตรติสสเถระโจมตีมากกว่า ลัทธิ อื่น ๆ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

เน นี้ ได้แก่อรรถอันเป็นจริงที่บัณฑิตไม่พึงถือเอาด้วยอาการอันไม่

เป็นจริง ดุจพยับแดดอันเป็นมายา เป็นต้น. คำว่า ปรมฏฺโ

ได้แก่ อรรถอันอุดม อันบัณฑิตไม่พึงถือเอาด้วยสามารถแห่งคำที่เล่าลือ

กันมา เป็นต้น อธิบายว่า สกวาทีถามว่า ประเภทแห่งธรรม ๕๗ อย่าง

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘

และอินทรีย์ ๒๒ ด้วยอรรถทั้ง ๒ คือสัจฉิกัตถะและปรมัตถะนั้นว่า

ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูปปรมัตถะ

หรือ เป็นต้นข้างหน้าประเภทแห่งธรรมนั้นบัณฑิตย่อมหยั่งเห็นได้ด้วย

ความเป็นจริงด้วยอรรถอันเป็นจริงฉันใด ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้ตาม

ความเห็นของท่านฉันนั้นหรือ ? ปรวาทีตอบรับรองว่า อามนฺตา

แปลว่า ใช่ หรือ ถูกแล้ว ก็คำรับรองที่มาในที่อื่น ๆ ท่านใช้

คำว่า อาม ภนฺเต แปลว่า ใช่ครับ และใช้คำว่า อาม ซึ่ง

แปลว่าใช่ เป็นต้น แต่ในพระอภิธรรมนี้ คำรับรองท่านใช้คำว่า

อามนฺตา

อธิบายในคำว่า อามนฺตา ต่อไป :-

ก็ปรวาทีบุคคล คือผู้มีวาทะว่าบุคคลมีอยู่ ถือเอาพระสูตรที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล

แก่ตนมีอยู่ แล้วจึงถือเอาความเห็นว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น

สัจวาที ผู้มีวาทะอันหาโทษมิได้ย่อมไม่ทรงแสดงธรรมด้วยสามารถ

แห่งคำที่ได้ยินได้ฟังต่อ ๆ กันมา ก็เพราะเหตุที่พระองค์ทรงกระทำโลกนี้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

กับทั้งเทวโลกให้แจ่มแจ้งด้วยพระองค์เองแล้วประกาศพระศาสนา เพราะ

เหตุนั้น คำว่าบุคคลใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนมีอยู่ บุคคลนั้นต้องมีอยู่โดยสัจฉิกัตถะและ

ปรมัตถะ ดังนั้น จึงตอบรับรองว่า ใช่. ทีนั้นสกวาทีเมื่อไม่ให้โอกาส

แก่ปรวาทีผู้มีข้ออ้างอันพลั้งพลาดเช่นนั้น จึงกล่าวว่าสภาวะใดมีอรรถ

อันเป็นจริง เป็นปรมัตถะมีอยู่ ท่านหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้ด้วยอรรถอัน

เป็นจริงและอรรถอย่างยิ่งอันนั้น หรือ ?

พึงทราบคำอธิบายในคำว่า สัจฉิกัตถะ และปรมัตถะ

ต่อไป :-

ประเภทแห่งธรรม ๕๗ อย่าง มีรูปเป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงแสดงแล้วว่าธรรมใดมีปัจจัย ไม่มีปัจจัย เป็นสังขตะ เป็นอสังขตะ

เป็นของเที่ยง ไม่เที่ยง มีนิมิต ไม่มีนิมิต ธรรมเหล่านั้นบัณฑิตไม่พึงถือ

เอาด้วยสมมติสัจจะและไม่พึงถือเอาตามคำเล่าลือกันมาเป็นต้น. ประเภท

แห่งธรรม ๕๗ อย่างนี้แหละ ชื่อว่า สัจฉิกัตถะ เพราะความที่ตน

คือสภาวะแต่ละอย่างนั้น เป็นสภาพมีอยู่จริงนั่นแหละ และได้ชื่อว่า

ปรมัตถะ เพราะความประจักษ์ชัดแก่ตนเอง คือแก่ตัวสภาวะนั้น โดย

มิต้องเชื่อตามคำเล่าลือกัน. พระสกวาที หมายเอาอรรถทั้ง ๒ อย่างนี้

๑. คำว่า สัจฉิกัตถะ และปรมัตถะ ว่าโดยอรรถแล้วก็เป็นอย่างเดียวกัน

ต่างกันเพียงพยัญชนะ คือหมายถึงจิต เจตสิก รูป และพระนิพพาน. ส่วนคำว่า

บุคคล เป็นเพียงอุปาทาบัญญัติเท่านั้น.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

จึงซักว่า สภาวธรรมใดที่เป็นสัจฉิกัตถะและปรมัตถะมีอยู่ ท่านหยั่งเห็น

บุคคลนั้นได้ด้วยสัตฉิกัตถะและปรมัตถะนั้น หรือ.

คำว่า ตโต เป็นตติยาวิภัตติ เพราะฉะนั้นในที่นี้ จึง

อธิบายว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้ด้วยสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้นหรือข้อนี้

ท่านอธิบายไว้ว่า พระสกวาทีถามว่า สภาวธรรมใดที่เป็นสัจฉิกัตถะมีอยู่

โดยอาการอันต่างด้วยลักษณะ มีรุปปนลักขณะ เป็นต้น หรืออันต่าง

ด้วยสภาวธรรม มีธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งเป็นต้น ท่านหยั่งเห็นบุคคล

นั้นได้ด้วยอาการอันนั้น หรือ ?

ข้อว่า ไม่พึงกล่าว นี้เป็นคำหมิ่นของพระปรวาที อธิบายว่า

ก็เมื่อปรวาทีนั้นไม่ปรารถนาคำที่สกวาทีนั้นกล่าว คือไม่เห็นด้วย จึง

กล่าวปฏิเสธ คำพระบาลีว่า น เหว วตฺตพฺเพ นี้ แยกบทเป็น

นหิ เอว วตฺตพฺเพ หรือเป็น นห เอว ดังนี้ก็สมควร ถึงอย่าง

นั้นบททั้ง ๒ นั้นก็แปลว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เช่นเดียวกัน.

ข้อว่า ท่านจงรู้นิคคหะ คือ ความผิดพลาดเถิด เป็นคำของ

สกวาที. อธิบายว่า สกวาทีกล่าวว่า ท่านกล่าวรับรองปัญหาก่อนว่า

ใช่ แต่กลับปฏิเสธในปัญหาหลังว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น คำก่อน

๒. คำว่า ลักษณะ มีหลายอย่าง เช่น.-

รุปปนลักขณะ ได้แก่ ลักษณะที่ย่อยยับไปเพราะวิโรธิปัจจัย เป็นต้น

ปัตจัตตลักษณะ ได้แก่ ลักษณะที่มีเฉพาะตน

สามัญญลักขณะ ได้แก่ ลักษณะที่เสมอกัน มีความไม่เที่ยงเป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

ไม่สมกับคำหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจงถึงนิคคหะ จงรับนิคคหะนั้นๆ

ครั้นพระสกวาทีให้ปรวาทีรับนิคคหะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทำนิคคหะ

นั้นให้ปรากฏด้วยสามารถแห่งฐปนา คือการตั้ง ปาปนา คือการให้ถึง

และอาโรปนา คือการยกขึ้น จากอนุโลมและปฏิโลม จึงกล่าวคำว่า

หากว่าบุคคล เป็นต้น.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า "หากว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล"

อธิบายว่า ถ้าว่าท่านหยั่งเห็นบุคคลได้ด้วยอรรถอันเป็นจริงและอรรถ

อย่างยิ่งไซร้. ข้อว่า หญฺจิ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ เบื้องต้นนี้ ชื่อ

อนุโลมปฐปนา เพราะเป็นลักษณะแห่งการให้ถึงนิคคหะและการยก

นิคคหะขึ้นจากการตั้งไว้ของฝ่ายปรวาที. ข้อว่า เตน วต เร

เป็นต้น ชื่อว่า อนุโลมปาปนา เพราะความที่นิคคหะอันท่านให้ถึงแล้ว

ในฝ่ายแห่งอนุโลม. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เตน เป็นคำ

แสดงถึงเหตุ. คำว่า วต เป็นคำแสดงถึงความเชื่อมั่น. คำว่า เร

เป็นคำสำหรับร้องเรียก. ท่านอธิบายคำว่า เตน วต เร วตฺตพฺเพ

นี้ไว้ว่า ดูก่อนเธอผู้มีหน้าอันเบิกบาน ผู้เจริญ เพราะเหตุนั้นแลข้าพเจ้า

จึงกล่าวนั่นเทียว. ข้อว่า ย ตตฺถ วเทสิ เป็นต้น ชื่อว่า อนุโลม-

อาโรปนา เพราะความที่นิคคหะอันท่านยกขึ้นแล้วในส่วนแห่งอนุโลม.

อนึ่ง บทว่า มิจฺฉา ในบทที่สุดแห่งอนุโลมนั้น นักศึกษาพึงนำ

คำว่า อิทนฺเต มาประกอบไว้ข้างหน้าแห่งคำว่า มิจฺฉา นั้น. ก็ใน

คำนี้ ท่านอธิบายว่า " นี้เป็นความผิดของท่าน" และข้อความนี้มีใน

พระบาลีข้างหน้านั้นแหละ. ข้อว่า โน เจ ปน วตฺตพฺเพ เป็นต้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

ชื่อว่าปฏิโลมฐปนา เพราะเป็นลักษณะแห่งการให้ถึงและการยกนิคคหะ

ขึ้นจากปฏิโลม เพราะท่านตั้งไว้ในคำปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ข้อว่า โน วต เร เป็นต้น ชื่อว่าปฏิโลมปาปนา เพราะความที่

นิคคหะอันท่านให้ถึงแล้วในส่วนแห่งปฏิโลม. ข้อว่า ย ตตฺถ วเทสิ

เป็นต้นอีก ชื่อว่าปฏิโลมอาโรปนา เพราะท่านยกนิคคหะในฝ่ายแห่ง

ปฏิโลมขึ้น ฯ บทว่า มิจฺฉา ในที่สุดแม้นี้ ก็พึงนำคำว่า อิทนฺเต

มาไว้ข้างหน้าเหมือนกัน. ในฐานะทั้งหลายที่มีรูปอย่างนี้แม้ข้างหน้าก็

ก็นัยนี้นั่นแหละ.

บัณฑิตพึงสรุปเนื้อความจำเดิมแต่ต้นในคำว่า หญฺจิ ปุคฺคโล

ฯลฯ สจฺฉิกฏฺปรมฏฺเน นั้น ดังต่อไปนี้ว่า

ถ้าว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้ด้วยสัจฉิกัตถะและปรมัตถะไซร้

ด้วยเหตุนั้นแลจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้ด้วยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะนั้น. ก็ท่านกล่าวคำใดในปัญหาแรกนั่นแหละว่า ข้าพเจ้า

หยั่งเห็นบุคคลได้ด้วยสัจฉิกัตถ์ปรมัตถะ แต่ในปัญหาที่ ๒ ท่านไม่

กล่าวว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัตถปรมัตถะมีอยู่ ข้าพเจ้าหยั่งเห็น

บุคคลนั้นได้ด้วยสภาวะนั้น. คำว่า อิทนฺเต มิจฺฉา ได้แก่ เป็น

การตั้ง การให้ถึง และการยกขึ้นแต่อนุโลม ดังพรรณนามาฉะนี้ก่อน.

อนึ่ง ปรวาทีไม่ได้กล่าวในปัญหาที่ ๒ ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น

บุคคลนั้นได้ด้วยอรรถอันเป็นจริงและอรรถอย่างยิ่งนั้น. แม้ในปัญหา

แรกก็ไม่ควรกล่าวรับรองเช่นกัน. ในปัญหาแรกนั่นแหละท่านกล่าวว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลด้วยสัจฉิกัตถะและปรมัตถะ แต่ในปัญหาที่ ๒

ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นได้ด้วยสัจฉิกัตถะและปรมัตถะ

นั้น ดังนี้ คำว่า อิทนฺเต มิจฺฉา ได้แก่การตั้ง การให้ถึง การ

ยกขึ้น แต่ปฏิโลมอย่างนี้.

คำว่า ย่อมหยั่งเห็น เป็นต้น ชื่อว่า อนุโลมปัญจกะ เพราะ

เป็นคำที่ท่านกล่าวถึง นิคคหะ กล่าวถึงปาปนา และอาโรปนา แต่อนุโลม

และปฏิโลม ๔ รวมเป็น ๕ ด้วยประการฉะนี้. ในธรรมเหล่านั้น

นิคคหะท่านทำไว้ ๒ อย่าง คือ นิคคหะหนึ่งทำด้วยปาปนาและอาโร-

ปนาแต่อนุโลม นิคคหะอีกหนึ่งทำด้วยปาปนาและอาโรปนานาปฏิโลม.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า นิคคหะอันหนึ่งนี้ อาศัยวาทะแรกว่า ท่านย่อม

หยั่งเห็นบุคคลได้ ในปัญหานั้นแห่งคำว่า ท่านจงรู้นิคคหะ ดังนี้

นั่นแหละแล้วจึงยกนิคคหะแรกขึ้นด้วยอาการ ๒ อย่าง เพราะฉะนั้น

นิคคหะนี้ จึงชื่อว่าเป็นนิคคหะที่ ๑ สำหรับนิคคหะที่ ๒ นั้น ปรวาที

เป็นผู้ทำกับสกวาที เพราะอาศัยเลศนัยว่า ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล ฯลฯ

ที่จะมีข้างหน้า.

ปุคคลกถา อนุโลมปัญจกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

ปฏิกัมมจตุกกะ

[๒] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ท่านไม่

หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม. หากว่าท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด

เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ

นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวไว้ว่า

ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า

สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น

ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า

สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น

ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่

หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า

พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่

พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็น

บุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดังนี้ ผิด

ปฏิกัมมจตุกกะ จบ

๑. ปฏิกรรม การกระทำคืน คือ ปัดไม่รับนิคคหกรรม

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

อรรถกถาปฏิกัมมจตุกกะ

หมวด ๔ แห่งการทำตอบ

บัดนี้ สกวาทีย่อมรับรองคำต้น เพราะหยั่งเห็นบุคคลไม่ได้ด้วย

ปรมัตถสัจจะ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นในปัญหาหลังท่านก็ปฏิเสธด้วย

สามารถแห่งสมมติสัจจะ หรือด้วยสามารถแห่งมิสสกสัจจะ. แต่ปรวาที

อาศัยวาทะเลศนัยสักว่า ย่อมหยั่งเห็นไม่ได้ ดังนี้ จึงกระทำตอบ

คือทำคืน นิคคหกรรมที่สกวาทีทำแล้วแก่ตน แล้วกล่าวว่า ท่านจง

รับรู้ปฏิกรรม คือการทำตอบ เหมือนการด่าตอบของผู้ด่าอยู่ด้วยคำว่า

ท่านรับคำก่อนแล้วภายหลังปฏิเสธ. บัดนี้นิคคหะอันสกวาทีทำการ

ตั้งวาทะไว้ในอนุโลมปัญจกะแก่ปรวาทีนั้นให้ปรากฏด้วยปาปนา อาโร-

ปนาแต่อนุโลมและปฏิโลมโดยวิธีใด ปรวาทีนั้นเมื่อจะทำปฏิกรรมนั้น

ให้ปรากฏโดยวิธีนั้น จึงกล่าวคำว่า " หากว่าบุคคล " เป็นต้น. ข้อนั้น

บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. ก็ในข้อนี้ชื่อว่า

ฐปนา เพราะการตั้งไว้ซึ่งส่วนของปรวาทีอันเป็นคำสักว่าการตั้งไว้เท่า

นั้น เพื่อแสดงว่า นี้เป็นโทษของท่าน ไม่ได้กระทำนิคคหะหรือ

ปฏิกัมมะให้ปรากฏ แต่การกระทำที่ปรากฏแก่สกวาทีนั้นย่อมมีด้วย

ปาปนาด้วย ด้วยอาโรปนาด้วย เพราะฉะนั้น ข้อนี้จึงชื่อว่า ปฏิกัมม-

จตุกกะ เพราะปฏิกรรม คือการทำตอบ หรือการทำคืน อันท่านทำ

แล้วด้วยอาการ ๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่งปาปนาและอาโรปนา แต่

อนุโลมและปฏิโลม ด้วยประการฉะนี้. พึงทราบจตุกกะหมวด ๔

ดังพรรณนามาฉะนี้.

อรรถกถาปฏิกัมมจตุกกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

นิคคหจตุกกะ

[๓] ป. ก็ถ้าท่านยังจะยืนยันว่า กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่ง

เห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น

สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ไซร้ ด้วยเหตุนั้น ท่านเมื่อยังปฏิญาณอยู่

ข้างปฏิเสธบุคคลอย่างนี้ ด้วยปฏิญญานี้ก็ต้องนิคคหะอย่างนี้ ดังนั้น

เราจึงนิคคหะท่าน ท่านถูกนิคคหะชอบแล้วเทียว. หากท่านไม่หยั่งเห็น

บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ภาวะใด

เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ

นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมิตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า

ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่าสภาวะ

ใดเป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ

นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด

เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น โดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่ง

เห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น

สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้นตามสภาวะนั้น

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน.

นิคคหจตุกกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

อรรถกถานิคคหจตุกกะ

หมวด ๔ แห่งนิคคหะ

ครั้นทำปฏิกรรมอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ปรวาทีใดที่ถูกสกวาทีทำนิค-

คหะในอนุโลมปัญจกะแก่ตนได้อาศัยวาทะอันมีเลศนัยนั้น ๆ นั่นแหละ

แห่งปัญหานั้นแสดงความกระทำที่ไม่ชอบ โดยกล่าวคำเป็นต้นว่า

ตฺวญฺเจ ปน มญฺสิ ดังนี้. บรรดาคำเหล่านั้นคำว่า ตฺวญฺเจ

ปน มญฺสิ แปลว่า ก็ท่านยังจะยืนยัน.

คำว่า พึงกล่าว นี้ ท่านกล่าวหมายเอาคำรับรองว่า " ใช่ "

ในปัจจนิก. ก็ข้อว่า ไม่พึงกล่าว นี้ ท่านกล่าวหมายเอาคำหมิ่น คือ

คำปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ข้อว่า เตน ตฺว ตตฺถ ได้แก่

ด้วยเหตุนั้น ท่านนั่นแหละย่อมมีในฝักใฝ่ ที่หยั่งเห็นไม่ได้. คำว่า

เมื่อรับรองอยู่ ได้แก่รับรองอยู่ว่า ใช่ อย่างนี้ ดังนี้. คำว่า

พึงนิคคหะอย่างนี้ ความว่า เมื่อหมิ่นอยู่ด้วยคำว่า ไม่พึงกล่าว

อีกชื่อว่า พึงนิคคหะอย่างนี้. คำว่า ดังนั้นเราจึงนิคคหะท่าน ความว่า

ที่นั้นพวกเราย่อมนิคคหะซึ่งท่านอันควรแก่การนิคคหะทีเดียว. คำว่า

ท่านเป็นผู้อันเรานิคคหะดีแล้ว ความว่า ท่านชื่อว่าเป็นผู้อันเรา

นิคคหะชอบแล้ว เพราะความเป็นนิคคหะตามมติของตน.

ปรวาทีนั้น ครั้นแสดงซึ่งภาวะอันตนพึงนิคคหะอย่างนี้แล้ว

บัดนี้เมื่อจะนิคคหะสกวาทีนั้น จึงกล่าวคำว่า หากว่า เป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

บรรดาคำเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบ ปนา ปาปนา และ

อาโรปนา โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. ก็ในบทที่สุด คำว่า

นี้เป็นความผิดของท่าน อธิบายว่า คำของท่านนี้ผิด. ข้อนี้ชื่อว่า

นิคคหะจตุกกะเพราะปรวาที ทำนิคคหะโดยอาการ ๔ อย่าง ด้วยวาทะ

อันมีเลศนัย.

อรรถกถานิคคหจตุกกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

อุปนยนจตุกกะ

[๔] ป. หากนิคคหะที่เราทำแก่ท่านนี้ เป็นนิคคหะชั่วไซร้

ท่านจงเห็นอย่างเดียวกันนั่นแหละ ในนิคคหะที่ท่านได้ทำแก่เรา ใน

กรณีว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้า

หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็เราผู้ปฏิ-

ญาณอยู่ข้างรับรองบุคคลอย่างนี้ ด้วยปฏิญญานี้ อันท่านไม่พึงนิคคหะ

อย่างนี้ ดังนั้น ท่านนิคคหะชั่วเทียว คือนิคคหะว่า หากว่า ท่านหยั่ง

เห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงกล่าวว่า สภาวะ

ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม

สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึง

กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึง

กล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็น

บุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่

พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่ง

เห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ก็ต้องไม่กล่าวว่า

ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวไว้ในปัญหา

นั้นว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า

สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น

ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน.

อุปนยนจตุกกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

อรรถกถาอุปนยนจตุกกะ

หมวด ๔ แห่งการน้อมไป

ครั้นปรวาทีทำนิคคหะอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะแสดงว่า ถ้า

นิคคหะอันเราทำแก่ท่านนี้เป็นนิคคหะชั่วไซร้ นิคคหะอันใดที่ท่านทำ

แล้วแก่ข้าพเจ้าในอนุโลมปัญจกะในหนหลัง นิคคหะแม้นั้นก็เป็น

นิคคหะชั่ว ดังนี้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า หากนิคคหะที่เราทำแก่

ท่านนี้เป็นนิคคหะชั่วไซร้. ในข้อนี้อธิบายว่า ถ้าวาทะนี้เป็นวาทะอัน

เรานิคคหะชั่วไซร้. อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้านิคคหะอันเราทำแก่ท่านนี้เป็น

นิคคหะชั่วไซร้. ข้อว่า ท่านจงเห็นอย่างเดียวกันนั่นแหละ ใน

นิคคหะที่ท่านได้ทำแก่เรา ความว่านิคคหะอันท่านทำแล้วแก่เราใน

หนหลัง ในนิคคหะแม้นั้นท่านจงเห็นนิคคหะนั้นนั่นแหละ.

บัดนี้ นิคคหะอันใดที่สกวาทีทำแล้วแก่ปรวาทีนั้นในหนหลัง

ปรวาทีนั้นจึงแสดงซึ่งคำนั้น ด้วยคำเป็นต้นว่า พึงกล่าว ดังนี้ เมื่อ

จะน้อมไปซึ่งนิคคหะนั้นให้ไม่มีนิคคหะอีก จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า

ก็เราผู้ปฏิญาณอยู่อย่างนี้ ด้วยปฏิญญานี้อันท่านไม่พึงนิคคหะอย่างนี้

ในคำว่า โน จ มย ตยา ตตฺถ เหตาย ปฏิญฺาย เป็นต้นนี้

อธิบายว่า นิคคหะนั้น ท่านทำแก่เราเป็นนิคคหะชั่วเหตุใด เพราะเหตุ

นั้น ในอนุโลมปัญจกะนั้น เราจึงรับรองอย่างนี้ ด้วยคำปฏิญญานั้นว่า

อามนฺตา ใช่ เมื่อคำปฏิเสธแม้เราทำแล้วว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

อีก ก็ถูกท่านนิคคหะอย่างนี้ว่า ท่านจงรับรู้นิคคหะนั่นเทียว ท่าน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

นิคคหะเราแม้ผู้ไม่ควรนิคคหะ ก็พวกเราถูกท่านนิคคหะชั่วแล้ว ด้วย

นิคคหะอย่างนี้.

บัดนี้ ปรวาทีนั้นอาศัยนิคคหะอันใดได้กล่าวว่า พวกเราเป็น

ผู้อันท่านนิคคหะชั่วแล้ว ดังนี้ เพื่อแสดงนิคคหะอันนั้น จึงกล่าวคำว่า

หญฺจิ ปุคฺคโล ฯ เป ฯ อิทนฺเต มิจฺฉา เป็นต้น นี้ชื่อว่าอุปน-

ยนจตุกกะ เพราะนิคคหะอันปรวาทีนั้นน้อมไปแล้วด้วย ปาปนา

อาโรปนา ๔ จากอนุโลมและปฏิโลม ดังพรรณนามาฉะนี้.

อรรถกถาอุปนยนจตุกกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

นิคคมจตุกกะ

[๕] ป. เราไม่พึงถูกนิคคหะอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้นแหละ ที่

ท่านนิคคหะเราว่า " หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็น

ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น

บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิ-

กัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ภาวะใด เป็นสัจฉิ-

กัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวไว้ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่ง

เห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น

สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด ดังนี้ จึงกลับเป็นความผิดของท่าน

ด้วยเหตุนั้นแหละ นิคคหะที่ท่านทำแล้วจึงทำไม่ชอบ ปฏิกรรมข้าพเจ้า

ได้ทำชอบแล้ว การดำเนินความข้าพเจ้าได้ทำชอบแล้วแล.

นิคคมจตุกกะ จบ

นิคคหะที่ ๑ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

อรรถกถานิคคหจตุกกะ

หมวด ๔ แห่งนิคม คือ บทสรุปนิคคหะที่ ๑ - ๘

บัดนี้ ชื่อว่า นิคคมจตุกกะ มีคำว่า เราไม่พึงถูกนิคคหะ

อย่างนี้ เป็นต้น. ในข้อว่า เราไม่พึงถูกนิคคหะอย่างนี้ ถ้าว่า

ความเป็นแห่งนิคคหะนี้เป็นนิคคหะชั่วอันเราให้สำเร็จแล้วไซร้ ท่านก็

ไม่พึงนิคคหะเราอย่างนี้. คำว่า ด้วยเหตุนั้นแหละ อธิบายว่า ด้วย

เหตุนั้น นิคคหะนี้เป็นนิคคหะชั่ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงนิคคหะอันใด

กะเราว่า ถ้าว่า บุคคล ฯล ฯ นี้เป็นความผิดของท่าน ดังนี้ การ

นิคคหะของท่านนี้ผิด. ข้อว่า ด้วยเหตุนั้นแหละนิคคหะที่ท่านทำแล้ว

อธิบายว่า นิคคหะใดที่ท่านทำแล้ว นิคคหะนั้น เป็นการทำที่ไม่ดี ด้วย

เหตุใด เป็นความผิดด้วยเหตุนั้นแหละ. ปฏิกรรมใดเราทำแล้ว ปฏิกรรม

นั้นนั่นแหละเราทำดีแล้ว. ก็การยังกถามรรคให้สำเร็จนี้ท่านทำแล้วทำดี

แล้วด้วยสามารถแห่งปฏิกัมมจตุกกะเป็นต้น. ข้อนี้พึงทราบว่าชื่อว่า

อนุโลมปัจจนิกปัญจกะ อันท่านชี้แจงแล้วด้วยสามารถแห่งปฏิกัมมะ

นิคคหะ อุปนยนะและนิคคมจตุกกะทั้งหลาย มีคำว่า หยั่งเห็นไม่ได้

เป็นต้น แห่งอนุโลมปัญจกะมีคำว่า ย่อมหยั่งเห็นบุคคล เป็นต้น

ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถานิคคมจตุกกะ จบ

อรรถกถานิคคหะที่ ๑ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

นิคคหะที่ ๒

ปัจจนีกปัญจกะ

[๖] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ท่านไม่

หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด

เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ

นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า

ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ

ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม

สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ

ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม

สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็น

บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า

ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ

ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตาม

สภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด.

ปัจจนีปัญจกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

นิคคหะที่ ๒

อรรถกถาปัจจนีกกปัญจกะ

หมวด ๕ แห่งปัจจนิก

เมื่อความชนะฝ่ายแรกของสกวาทีมีอยู่ประมาณเท่าใด ความ

ชนะของปรวาทีด้วยวาทะอันมีเลศนัยสักว่าเป็นคำธรรมดาก็มีประมาณ

เท่านั้น. บัดนี้ ครั้นเมื่อความชนะฝ่ายแรกของปรวาที่มีอยู่ฉันใด ความ

ชนะของสกวาทีโดยธรรมตามความเป็นจริงก็มีอยู่ฉันนั้น เพื่อแสดงซึ่ง

ความเกิดขึ้นแห่งวาทะเช่นนั้น ท่านจึงเริ่มปัจจนิกานุโลมปัญจกะด้วย

คำว่า ย่อมหยั่งเห็นบุคคลไม่ได้ เป็นต้น. ในปัจจนิกนั้นเป็นคำถาม

ของปรวาที. คำรับรองของสกวาทีหมายเอาสัจฉิกัตถปรมัตถะอันต่างด้วย

รูปเป็นต้น. คำซักถามของปรวาทีอีกว่า " สภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถะ

หมายเอาสมมติสัจจะล้วน หรือสมมติสัจจะที่เจือด้วยปรมัตถะ " คำปฏิเสธ

ของสกวาทีว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เพราะสัจฉิกัตถปรมัตถะนั้นใคร ๆ

ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นไม่ได้ด้วยสามารถแห่งสมมติสัจจะ หรือเพราะ

ความซักถามอันระคนแล้วด้วยสัจจะทั้ง ๒. คำเป็นต้นว่า ท่านจงรับรู้

นิคคหะ ดังนี้ ด้วยสักว่าเป็นคำธรรมดาว่า ท่านปฏิเสธอยู่ซึ่งคำอัน

ท่านรับรองแล้ว เป็นของปรวาที. พึงทราบว่า นิคคหะที่ ๒ อาศัยวาทะ

ที่ ๒ ว่า ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้. ปรวาที

ยกนิคคหะขึ้นแล้วด้วยเลศนัยนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้.

อรรถกถาปัจจนีกปัญจกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

ปฏิกัมมจตุกกะ

[๗] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ท่านหยั่ง

เห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม. หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด

เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นว่า ตามสภาวะนั้น

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้า

หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น

สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น

สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวไว้ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้า

หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น

สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดังนี้ ผิด.

ปฏิกัมมจตุกกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

อรรถกถาปฏิกัมมจตุกกะ

หมวด ๔ แห่งการทำตอบ

บัดนี้ เป็นคำถามของสกวาทีในนัยแห่งอนุโลม เพื่อแสดงถึง

ความชนะในวาทะของตนโดยเป็นธรรม เสมอด้วยการรับรองปัญหานั้น

นั่นแหละ. คำตอบรับรองของปรวาทีอาศัยลัทธิของตน. การซักถามไม่

ให้โอกาสแก่ลัทธิของปรวาทีด้วยสามารถแห่งปรมัตถะอีกเป็นของสกวาที.

การปฏิเสธของปรวาที เพราะความที่บุคคลเป็นสภาพไม่มีอยู่โดยปรมัตถะ.

เบื้องหน้าแต่นี้ คำของสกวาทีทั้งปวงมีคำว่า ท่านจงรู้ปฏิกรรม

เป็นต้นนั่นเทียว เพื่อแสดงความชนะของตนโดยธรรมเสมอ. ในปฏิ-

กัมมจตุกกะนั้น พึงทราบเนื้อความแห่งปฏิกัมมะนิคคหะ อุปนยนะและ

นิคคมจตุกกะทั้งปวง โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

ข้อนี้ชื่อว่าปัจจนิกานุโลมปัญจกะ พึงทราบว่าท่านชี้แจงแล้ว ด้วย

สามารถแห่งปฏิกัมมะ นิคคหะ อุปนยนะ และนิคคมจตุกกะอันมีคำว่า

ย่อมหยั่งเห็นได้ เป็นต้น แห่งปัจจนิกปัญจกะคำว่า ย่อมหยั่งเห็น

บุคคลไม่ได้ เป็นต้น ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้. ปัญจกะ คือ หมวด ๕

ทั้ง ๒ ในปฐมสัจฉิกัตถะเหล่านี้ ท่านอธิบายแล้วด้วยประการฉะนี้. ใน

ปัญจกะทั้ง ๒ นั้น ปัญจกะแรกสกวาทีทำนิคคหะแก่ปรวาที ชื่อว่าเป็น

นิคคหะดี แต่ความชนะที่ปรวาทีอาศัยวาทะอันมีเลศนัย ทำตอบแก่สกวาที

ที่ตนให้สำเร็จแล้ว เป็นความชนะที่ไม่ดี ในปัญจกะที่ ๒ ปรวาทีทำ

นิคคหะแก่สกวาทีเป็นนิคคหะที่ไม่ดี. แต่ความชนะที่สกวาทีอาศัยวาทะ

อันเป็นธรรม อันตนให้สำเร็จแล้วทำตอบแก่ปรวาทีเป็นการชนะที่ดี.

อรรถกถาปฏิกัมมจตุกกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

นิคคหจตุกกะ

[๘] ส. ก็ท่านยังจะยืนยันว่า กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น

บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ

เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ ดังนี้ไซร้ ด้วยเหตุนั้น ท่านเมื่อยังปฏิญาณอยู่ข้างรับรอง

บุคคลอย่างนี้ ด้วยปฏิญญาอย่างนี้ ก็ต้องนิคคหะอย่างนี้ ดังนั้น เรา

จึงนิคคหะท่าน ท่านถูกนิคคหะชอบแล้วเทียว. หากว่าท่านหยั่งเห็น

บุคคล โดยสัจฉิสัตถปรมัตถะด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะ

ใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้นตามสภาวะ

นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า

ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ

ใดเป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ

นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด

เป็นสัจฉิกัตกะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ

นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ. ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า

ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะ

สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลนั้น

ตามสภาวะ นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน.

นิคคหจตุกกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

อุปนยนจตุกกะ

[๙] ส. หากนิคคหะที่เราทำแก่ท่านนี้ เป็นนิคคหะชั่วไซร้

ท่านจงเห็นอย่างเดียวกันนั่นแหละ ในนิคคหะที่ท่านได้ทำแก่เรา ใน

กรณีว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้า

ไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็เราผู้

ปฏิญาณอยู่ข้างปฏิเสธบุคคลอย่างนี้ ด้วยปฏิญญานี้ อันท่านไม่พึง

นิคคหะอย่างนี้ ดังนั้นท่านนิคคหะเรา เราจึงถูกนิคคะชั่วเทียว คือ

นิคคหะว่า หากว่าท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงกล่าวว่า สภาวะใดเป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ

ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ,

ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ

เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ

เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ. ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็น

บุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ

เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ ดังนี้ นี้เป็นความผิดของท่าน.

อุปนยนจตุกกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

นิคมจตุกกะ

[๑๐] ส. เราไม่พึงถูกนิคคหะอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้นแหละ ที่

ท่านนิคคหะเราว่า หากว่าท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า สภาวะใด เป็นสัจฉิกัตถะ เป็น

ปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวไว้ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่ง

เห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น

สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด เป็น

สัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลนั้น ตามสภาวะนั้น

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลโดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวไว้ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพ-

เจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, แต่ไม่พึงกล่าวว่า สภาวะใด

เป็นสัจฉิกัตถะ เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าไม่หยั่งเป็นบุคคลนั้น ตามสภาวะ

นั้น โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด " ดังนี้ จึงกลับเป็นความ

ผิดของท่านด้วยเหตุนั้นแหละ นิคคหะที่ท่านทำแล้ว จึงทำไม่ชอบ

ปฏิกรรมข้าพเจ้าได้ทำชอบแล้ว การดำเนินความข้าพเจ้าได้ทำชอบแล้ว

แล.

นิคคมจตุกกะ จบ

นิคคหะที่ ๒ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

อรรถกถาปฐมสัจฉิกัตถะ

ในปฐมสัจฉิกัตถะนั้น ท่านกล่าวไว้ว่า :-

ปฐมปัญจกะ สกวาทีทำนิคคหะอัน

บริสุทธิ์แก่ปรวาที แต่การชนะในการทำตอบ

ของปรวาทีในปัญหานั้นนั่นแหละ ไม่บริสุทธิ์.

ในทุติยปัญจกะปรวาทีทำนิคคหะแก่สกวาที

เป็นนิคคหะที่ไม่บริสุทธิ์ แต่ชัยชนะในการ

ทำตอบของสกวาทีในที่นั้นนั่นแหละ บริสุทธิ์

วิเศษแล้ว. เพราะฉะนั้นในฐานะแม้ทั้ง ๒

ความชนะของสกวาทีเทียวชื่อว่าชนะโดยธรรม

ความชนะโดยอธรรมของปรวาทีจักมีแต่ที่ไหน.

ความมีชัยและความปราชัยในสัจฉิกัตถะอัน

ประดับด้วยหมวด ๒ แห่งปัญจกะนี้ท่านกล่าว

แล้วด้วยสามารถแห่งธรรม และอธรรม ฉันใด

ในสัจฉิกัตถะทั้งปวงอื่นจากนี้ บัณฑิตพึงยัง

ความมีชัยและปราชัยทั้ง ๒ ให้แจ่มแจ้ง ฉัน-

นั้นนั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถานิคคหะที่ ๒ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

นิคคหะ ที่ ๓

[๑๑ ] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่ง

เห็นบุคคลในที่ทั้งปวงโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า

พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตปรมัตถะ แต่ไม่พึง

กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตปรมัตถะ ดังนี้

ผิด แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิ-

กัตปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่ง

เห็นบุคคลในที่ทั้งปวงโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด ฯลฯ

นิคคหะที่ ๓ จบ

๑. หมายถึง สรีระ เอาความว่า สรรพางค์กาย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

อรรถกถานิคคหะที่ ๓

ครั้นยังสัจฉิกัตถะอันบริสุทธิ์ให้พิสดารอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะ

ยังสัจฉิกัตถะอันบริสุทธิ์นั้นนั่นแหละให้พิสดาร โดยนัยอื่นอีกมีโอกาส

นัยเป็นต้น ท่านจึงเริ่มคำว่า ปุคฺคโล อุปลพฺภติ อีกเป็นต้น.

ในนิคคหะที่ ๓ นี้ คำถามเป็นของสกวาที. คำตอบรับรองเป็นของ

ปราวที. คำซักถามหมายเอาสรีระในคำว่า ในที่ทั้งปวง อีกเป็น

ของสกวาที. คำปฏิเสธเป็นของปรวาทีเพราะเห็นข้อบกพร่องในการ

พิจารณาเห็นตนในรูปด้วย ข้อบกพร่องที่จะประสบว่า ชีวะก็อย่างหนึ่ง

สรีระก็อย่างหนึ่งด้วย ดังนี้คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบในอนุโลม-

ปัจจนิกปัญจกะ โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ. ก็ในที่นี้

ท่านย่อพระบาลีไว้.

คำที่ท่านกล่าวไว้ในนิคคหะที่ ๖ นั้นว่า ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล

ในที่ทั้งปวง ดังนี้ ท่านหมายเอาสรีระ บุคคลนั้นย่อมหยั่งเห็นได้ภาย-

นอกจากสรีระย่อมไม่ถูก เหตุใด เพราะเหตุนั้นในปัจจนิก สกวาทีจึง

ปฏิเสธ. ปฏิกรรมของปรวาทีย่อมมีด้วยสามารถแห่งวาทะอันมีเลศนัยน่า

ท่านรับรองคำแรกแล้วภายหลังย่อมดูหมิ่น ดังนี้. คำที่เหลือปรากฏ

ชัดแล้วนั่นแล.

อรรถกถานิคคหะที่ ๓ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

นิคคหะที่ ๔

[๑๒] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่ง

เห็นบุคคลในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้น

ว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่

พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดย

สัจฉิกัตถปมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้า

หยั่งเป็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่ง

เห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด.

นิคคหะที่ ๔ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

อรรถกถานิคคหะที่ ๔

นัยที่ ๒ คำว่า ในกาลทั้งปวง เป็นคำซักถามของสกวาที

หมายถึงกาลคือชาติที่มีมาก่อนและมีในภายหลัง และกาลที่พระพุทธเจ้า

ยังทรงพระชนม์อยู่และปรินิพพานแล้ว. การปฏิเสธเป็นของปรวาที

เพราะเห็นข้อบกพร่องแห่งคำว่า เป็นกษัตริย์ก็คนนั้นแหละ เป็น

พราหมณ์ก็คนนั้นแหละ เป็นต้น และเห็นโทษคือความพลั้งพลาด

เพราะไม่มีอะไรแปลกกันของกาลที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่หรือ

ปรินิพพานแล้ว. คำที่เหลือเป็นเช่นกับคำที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในนัยแรก

นั่นเทียว.

อรรถกถานิคคหะที่ ๔ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

นิคคหะที่ ๕

[๑๓] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลในสภาวะธรรมทั้งปวงโดยสัจฉิ

กัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่ง

เห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวใน

ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรม

ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่าข้าพเจ้า

หยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่

กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าว

ในปัญหานั้นว่าพึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรม

ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด ฯลฯ

นิคคหะที่ ๕ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

อรรถกถานิคคหะที่ ๕

นัยที่ ๓ คำว่า ในสภาวธรรมทั้งปวง ดังนี้ เป็นคำซัก

ถามของสกวาทีหมายถึงขันธ์และอายตนะทั้งหลายเป็นต้น. คำปฏิเสธ

เป็นของปรวาที เพราะกลัวแต่ความผิดพลาดในคำว่า อัตตาในรูป

อัตตาในจักษุ เป็นต้น. คำที่เหลือเป็นเช่นนั้นนั่นแหละด้วยประการ

ฉะนี้.

อรรถกถานิคคหะที่ ๕ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

นิคคหะที่ ๖

[๑๔] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่

หยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถประมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหา

นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่าข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลใน

ที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็น

บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้

ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า

ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในที่ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด

ฯลฯ

นิคคหะที่ ๖ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

นิคคหะที่ ๗

[๑๕ ] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่

หยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวใน

ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวง โดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็น

บุคคลในกาลทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้า

ไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า

พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่

พึงกล่าวว่าข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

นิคคหะที่ ๗ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

นิคคหะที่ ๘

[๑๖] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านไม่หยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่

หยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าว

ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรม

ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้า

ไม่หยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรมทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ. ก็ต้องไม่

กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิถัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าว

ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลในสภาวธรรม

ทั้งปวง โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

นิคคหะที่ ๘ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

อรรถกถานิคคหะที่ ๖, ๗, และที่ ๘

หัวข้อที่เป็นประธานทั้ง ๓ ( คือ นิคคหะที่ ๓. ๔. และที่ ๕. )

เหล่านี้ท่านแบ่งไว้ในอนุโลมปัจจนิกปัญจกะตามลำดับ ด้วยสามารถแห่ง

อนุโลมพอประมาณก่อนนั่นแหละ เพื่อจะแจกปัจจนิกานุโลมปัญจกะ

ด้วยสามารถแห่งปัจจนิกพอประมาณอีก จึงเริ่มคำว่า ปุคฺคโล

นูปลพฺภติ เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดย

นัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในปัจจนิกตามที่ย่อมาไว้ในพระบาลีแห่งอนุโลมนั่น

แหละ และโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในอนุโลมตามที่ย่อไว้ในพระบาลี

แห่งปัจจนิกนั่นแหละด้วย. บัณฑิตพึงทราบ การประกอบวาทะนี้ ชื่อว่า

อัฏฐมุขตามที่ท่านชี้แจงไว้แล้วด้วยสามารถแห่งปัจจนิกอย่างละ ๒ คือ

สัจฉิกัตถะทั้ง ๔ คือ สุทธิกสัจฉิกัตถะ ๑. และสัจฉิกัตถะทั้ง ๓ เหล่านี้

ด้วย แห่งอนุโลมปัจจนิกและปัจจนิกานุโลมในสัจฉิกัตถะอย่างละหนึ่ง

ด้วย ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. การประกอบวาทะ ชื่อว่า อัฏฐมุขอันใด

ที่ท่านจารึกไว้ในพระบาลีว่า นิคคหะ ๘ ในฝ่ายละหนึ่ง ย่อมมีด้วย

สามารถแห่งนิคคหะอย่างละหนึ่ง ดังนี้ ท่านกล่าวคำนั้นไว้ในที่นี้ว่า.-

การประกอบวาทะ อันพระผู้มีพระภาคทรงประกาศแล้วนี้ ชื่อว่า

อัฏฐมุข โดยประเภทแห่งปัญจกะทั้ง ๒ ในปัญหา ๔ อย่าง ด้วยประการ

๑. คำว่า สุทธิกสัจฉิกัตฉะ ได้แก่ สัจฉิกัตถะล้วน คือไม่เจือด้วยอย่าง

อื่น.

๒. คำว่า สัจฉิกัตถะทั้ง ๓ ได้แก่ สัจฉิกัตถะที่ท่านกล่าวถึงที่ทั้งปวง

ในกาลทั้งปวง และในธรรมทั้งปวง.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

ฉะนี้. นิคคหะ ๘ ในที่นั้นนั่นแหละ บรรดานิคคหะเหล่านั้น นิคคหะ

ที่ประกอบด้วยธรรม ๔ ที่ไม่ประกอบด้วยธรรม ๔ ความมีชัยด้วย

ความปราชัยด้วย แห่งสกวาที และปรวาที มีอยู่ในที่ทั้งปวง ดังนี้แล.

จบนิคคหะที่ ๖. ๗. และ ๘ เพียงนี้.

อรรถกถาสัจฉิกัตถะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

สุทธิกสังสันทนา

[๑๗] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง

เห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุ

นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าว

ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ ดุจหยั่งเป็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูป

เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น

บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ. ที่ท่านกล่าวในปัญหา

นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ดุจหยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น

บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

[๑๘] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง

เห็นเวทนา โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ฯล ฯ ดุจหยั่งเห็นสัญญา ฯลฯ

ยตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นธัมมายตนะ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

ดุจหยั่งเห็นสังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น,

ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณ

เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น

บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวใน

ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า

วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

[๑๙] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ

หยั่งเห็นจักขายตนะ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็น

โสตายตนะ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นฆานายตนะ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นชิวหายตนะ

ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นกายายตนะ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นรูปายตนะ ฯ ล ฯ ดุจ

หยั่งเห็นสัททายตนะ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นคันธายตนะ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็น

รสายตนะ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นโผฏฐัพพายตนะ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นมนา-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

[๒๐] . . .ดุจหยั่งเห็นจักขุธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ

ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นโสตธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นฆานธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่ง

เห็นชิวหาธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นกายธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นรูปธาตุ

ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นสัททธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นคันธธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่ง

เห็นรสธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นโผฏฐัพพธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นจักขุ

วิญญาณธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นโสตวิญญาณธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็น

ฆานวิญญาณธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นชิวหาวิญญาณธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่ง

เห็นกายวิญญาณธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นมโนธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็น

มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งเห็นธัมมธาตุ ฯ ล ฯ โดยสัจฉิกัตถปมัตถะ

หรือ ฯ ล ฯ

[๒๑] . . .ดุจหยั่งเห็นจักขุนทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ

ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นโสตินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นฆานินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจ

หยั่งเห็นชิวหินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นกายินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็น

มนินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นชีวิตินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นอิตถินทรีย์

ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นปุริสินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นสุขินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจ

หยั่งเห็นทุกขินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นโสมนัสสินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่ง

เห็นอุเปกขินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นสัทธินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็น

วิริยินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นสตินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นสมาธิ-

นทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นปัญญินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นอนัญญาตัญ-

ญัสสามีตินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็น

อัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

ป. ถูกแล้ว

ส. อัญญาตาวินทรีย์ เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็

เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น

บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็น

อื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็

เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหา

นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ

หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญ-

ญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่นดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

[๒๒] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ

เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

หรือ ?

๑. องฺ. จตุกก. ๒๑/๙๖. อภิ. ปุ. ๓๖/๑๐.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่ง

เห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูป

เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่

และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูป

เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น

บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า

บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นรูปโดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และ

ข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นรูป โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็น

อื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ

เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นเวทนา ฯ ล ฯ และท่านก็

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

หยั่งเห็นสัญญา ฯ ล ฯ และท่านก็หยั่งเห็นสังขาร ฯ ล ฯ และท่านก็

หยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่ง

เห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า

วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าว

ได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน

มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึง

กล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด. แต่ถ้าไม่พึงกล่าว

ว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้า

ก็หยั่งเห็นวิญญาณ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้น พึง

กล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อ

กูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่

ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

[๒๓] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ

เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นจักขายตนะโดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ฯ ล ฯ และท่านหยั่งเห็นโสตายตนะ ฯ ล ฯ และท่าน

ก็หยั่งเห็นธัมมายตนะ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

[๒๔] . . .ท่านก็หยั่งเห็นจักขุธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?

ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นกายธาตุ ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นรูปธาตุ ฯลฯ

และท่านก็หยั่งเห็นโผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ และท่านก็หยั่งเห็นจักขุวิญญาณ-

ธาตุ ฯ ล ฯ และท่านก็หยั่งเห็นมโนวิญญาณธาตุ ฯ ล ฯ และท่านก็หยั่ง

เห็นธัมมธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ฯ ล ฯ

[๒๕] . . .และท่านก็หยั่งเห็นจักขุนทรีย์ โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะหรือ ฯ ล ฯ และท่านก็หยั่งเห็นโสตินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

หรือ ฯ ล ฯ และท่านก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

หรือ ฯ ล ฯ

ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ

เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็น

อัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าว

ว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ

เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็

เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคล

ก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้

ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และ

ข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าว

ว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

สุทธิกสังสันทนา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

อรรถกถาสุทธิกสังสันทนา

ว่าด้วยการเทียบเคียงสุทธิกะ

บัดนี้ เป็นการเทียบเคียงสัจฉิกัตถะกับรูปเป็นต้น. ในคำเหล่านั้น

คำว่า รูป เป็นคำถามของสกวาที โดยหมายเอาด้วยคำว่า ท่าน

หยั่งเห็นรูปได้โดยปรมัตถะฉันใด แม้บุคคลท่านก็หยั่งเห็นตามลัทธิของ

ท่านฉันนั้นหรือ ดังนี้. คำรับรองถือเอาเพียงคำว่า บุคคลมีอยู่ ดังนี้

เป็นของปรวาที. การซักถามของสกวาทีว่า ถ้าว่าบุคคลมีอยู่จากรูป

ปรมัตถะราวกะรูปตามลัทธิของท่านไซร้ ความเป็นอย่างอื่น คือการเกิด

ดับ แม้เหล่าบุคคลก็ย่อมปรากฏราวกะธรรมทั้งหลายมี เวทนาเป็นต้น

ดังนี้ การปฏิเสธเป็นของปรวาที เพราะเห็นผิดจากพระสูตรที่เป็นลัทธิ.

คำที่เหลือปรากฏชัดแล้วโดยอรรถนั้นเทียว ก็ในที่นี้เมื่อว่าโดยธรรม

ท่านแสดงอนุโลมปัญจกะ ๕๗ ประเภท ในอนุโลมปัญจกะที่เป็นมูลใน

ฝ่ายสกวาที ด้วยสามารถแห่งสัจฉิกัตถปรมัตถะ ๕๗ ประเภท ฯ หมวด ๔

แห่งปฏิกัมมะท่านย่อไว้. และท่านแสดงปฏิโลมปัญจกะ ๕๗ ประเภท

ในอนุโลมแห่งปัจจนิกแม้อันเป็นมูลฝ่ายปรวาทีอีก. หมวด ๔ แห่ง

ปฏิกัมมะ เป็นต้น ท่านย่อไว้. คำซักถามของปรวาทีว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสแล้ว เป็นต้นเพื่อแสดงถึงความที่บุคคลเป็นของมีอยู่ ด้วยคำ

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้แล้วด้วย ซึ่งความที่รูปเป็นสภาวะที่หยั่ง

เห็นได้ด้วยสามารถแห่งสัจฉิกัตถะและปรมัตถะด้วย แล้วจึงให้สกวาที

รับรองซึ่งความเป็นอย่างอื่น คนละอย่าง แห่งธรรมทั้ง ๒. คำปฏิเสธ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

เป็นของสกวาที เพราะความที่ปัญหาอันมีอรรถอย่างเดียวกัน และมี

อรรถต่างกันแห่งสมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะทั้งหลายควรงดตอบ. คำ

ที่เหลือแม้ในที่นี้ก็ปรากฏชัดเจนแล้วโดยอรรถทั้งนั้น ดังนี้แล.

อรรถกถาสุทธิกสังสันทนา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

โอปัมมสังสันทนา

[๒๖] ส. ท่านหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็น

เวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง

เห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นรูปโดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น

เวทนาก็เป็นอื่น ( อย่างเดียว ) ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า

รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า

ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า

รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็น

อื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะรูปเป็นอื่น เวทนา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

ก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูป

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูป

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็น

อื่น เวทนาก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ

หยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคล

ก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

[๒๗] ส. ท่านหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็น

สัญญาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นสังขาร ฯ ล ฯ ดุจหยั่ง

เห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น วิญญาณก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง

เห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่า ท่านหยั่งเห็นรูป

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็น

อื่น วิญญาณก็เป็นอื่น (อย่างเดียวกัน ) ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน

จึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้น

ว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

เห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น วิญญาณก็เป็นอื่น

ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด,

แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า

ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น วิญญาณก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเป็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าว

ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวไว้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น วิญญาณก็เป็นอื่น

ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้

ผิด ฯ ล ฯ

[๒๘] ส. ท่านหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง

เห็นสัญญา ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นสังขาร ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ ฯ ล ฯ

ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ เวทนาเป็นอื่น รูปก็เป็นอื่น

หรือ ฯ ล ฯ

[๒๙] ท่านหยั่งเห็นสัญญาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็น

สังขาร ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นรูป ฯ ล ฯ

ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ สัญญาเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น

หรือ ? ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

[๓๐] ส. ท่านหยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง

เห็นวิญญาณ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นรูป ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นเวทนา ฯ ล ฯ

ดุจหยั่งเห็นสัญญาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ สังขารเป็นอื่น สัญญาก็เป็นอื่น

หรือ ? ฯ ล ฯ

[๓๑] ส. ท่านหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดุจหยั่ง

เห็นรูป ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นเวทนา ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นสัญญา ฯ ล ฯ

ดุจหยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ วิญญาณเป็นอื่น สังขารก็เป็น

อื่น หรือ ? ฯ ล ฯ

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง

เห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นวิญญาณ

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ วิญญาณ

เป็นอื่น สังขารก็เป็นอื่น อย่างเดียวกัน ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะ

ท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ที่ท่านกล่าวใน

ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นสังขาร โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ วิญญาณเป็นอื่น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

สังขารก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง

เห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น

บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น

บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ วิญญาณเป็นอื่น

สังขารก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง

เห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าว

ได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดุจหยั่งเห็นสังขาร

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ วิญญาณเป็นอื่น สังขารก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่ง

เห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

[๓๒] ส. ท่านหยั่งเห็นจักขายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ

หยั่งเห็นโสตายตนะ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นธัมมายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

จักขายตนะเป็นอื่น ธัมมายตนะก็เป็นอื่น หรือ ? ฯ ล ฯ

[๓๓] ส. ท่านหยั่งเห็นโสตายตนะ ฯ ล ฯ ท่านหยั่งเห็น

ธัมมายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นจักขายตนะ ฯ ล ฯ ดุจ

หยั่งเห็นมนายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ธัมมายตนะเป็นอื่น มนาย-

ตนะก็เป็นอื่น หรือ ? ฯ ล ฯ

[๓๔] ส. ท่านหยั่งเห็นจักขุธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ

หยั่งเห็นโสตธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นธัมธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

จักขุธาตุเป็นอื่น ธัมธาตุก็เป็นอื่น หรือ ? ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

[๓๕] ส. ท่านหยั่งเห็นโสตธาตุ ฯ ล ฯ ท่านหยั่งเห็นธัม

ธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นจักขุธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็น

มโนวิญญาณธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ธัมธาตุเป็นอื่น มโนวิญญาณ-

ธาตุ ก็เป็นอื่น หรือ ? ฯลฯ

[๓๖] ส. ท่านหยั่งเห็นจักขุนทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ

หยั่งเห็นโสตินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ จักขุนทรีย์เป็นอื่น อัญญาตาวินทรีย์ก็เป็นอื่น หรือ ? ฯ ล ฯ

[๓๗] ส. ท่านหยั่งเห็นโสตินทรีย์ ฯ ล ฯ ท่านหยั่งเห็น

อัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นจักขุนทรีย์ ฯ ล ฯ

ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น

อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง

เห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่า ท่านหยั่งเห็นอัญญา-

ตาวินทรีย์โดยสัจฉิกกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น อย่างเดียว

กัน ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตา-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

วินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า

อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า

พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น

อัญญินทรีย์เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่

ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด,

แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้อง

ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ

หยั่งเห็นอัญญินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น

อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ

หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหา

นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ อัญญาตาวินทรีย์

เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น ข้าพเจ้าไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึง

กล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

[๓๘] ป. ท่านหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็น

เวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ

เพื่อเกื้อกูลตนมีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม หากว่า ท่านหยั่งเป็นรูป

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็น

อื่น เวทนาก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ

เพื่อเกื้อกูลตนมีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นอื่นบุคคลก็เป็นอื่น ที่ท่านกล่าว

ในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนมีอยู่

และข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็น

อื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น

บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น เวทนา

ก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล

ตนมีอยู่ และข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวใน

ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

รูปเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคล

ผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนมีอยู่ และข้าพเจ้าหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

[๓๙] ป. ท่านหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็น

สัญญา ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นสังขาร ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณโดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ รูปเป็นอื่น วิญญาณก็เป็นอื่น หรือ ? ฯ ล ฯ

[๔๐] ป. ท่านหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง

เห็นสัญญา ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นสังขาร ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ ฯ ล ฯ

ดุจหยั่งเห็นรูปโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ เวทนาเป็นอื่น รูปก็เป็นอื่นหรือ ?

ฯ ล ฯ

[๔๑] ป. ท่านหยั่งเห็นสัญญาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง

เห็นสังขาร ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นวิญญาณ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นรูป ฯ ล ฯ

ดุจหยั่งเห็นเวทนาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ สัญญาเป็นอื่น เวทนาก็เป็นอื่น

หรือ ? ฯ ล ฯ

[๔๒] ป. ท่านหยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่ง

เห็นวิญญาณ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นรูป ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นเวทนา ฯ ล ฯ

ดุจหยั่งเห็นสัญญาโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ สังขารเป็นอื่น สัญญาก็เป็นอื่น

หรือ ? ฯ ล ฯ

[๔๓] ป. ท่านหยั่งเห็นวิญญาณโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะดุจหยั่ง

เห็นรูป ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นเวทนา ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นสัญญา ฯ ล ฯ

ดุจหยั่งเห็นสังขารโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ วิญญาณเป็นอื่น สังขารก็เป็น

อื่น หรือ ? ฯ ล ฯ

[๔๔] ป. ท่านหยั่งเห็นจักขายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ

หยั่งเห็นโสตายตนะ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นธัมมายตนะโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

จักขายตนะเป็นอื่น ธัมมายตนะก็เป็นอื่น หรือ ? ฯ ล ฯ

[๔๕] ป. ท่านหยั่งเห็นโสตายนะ ฯ ล ฯ ธัมมายตนะโดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นจักขายตนะ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นมนายตนะ

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ธัมมายตนะเป็นอื่น มนายตนะก็เป็นอื่น หรือ ?

ฯ ล ฯ

[๔๖] ป. ท่านหยั่งเห็นจักขุธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ

หยั่งเห็นโสตธาตุ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นธัมธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

จักขุธาตุเป็นอื่น ธัมธาตุก็เป็นอื่น หรือ ? ฯ ล ฯ

[๔๗] ป. ท่านหยั่งเห็นโสตธาตุ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ฯ ล ฯ

ท่านหยั่งเห็นธรรมธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นจักขุธาตุ ฯ ล ฯ

ดุจหยั่งเห็นมโนวิญญาณธาตุโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ธัมธาตุเป็นอื่น

มโนวิญญาณธาตุก็เป็นอื่น หรือ ? ฯ ล ฯ

[๔๘] ป. ท่านหยั่งเห็นจักขุนทรีย์โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ

หยั่งเห็นโสตินทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ จักขุนทรีย์เป็นอื่น อัญญาตาวินทรีย์ก็เป็นอื่น หรือ ? ฯ ล ฯ

[๔๙] ป. ท่านหยั่งเห็นโสตินทรีย์ ฯ ล ฯ อัญญาตาวินทรีย์

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นจักขุนทรีย์ ฯ ล ฯ ดุจหยั่งเห็น

อัญญินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ อัญญาตาวินทีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์

ก็เป็นอื่น หรือ ฯ ล ฯ

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ

เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และท่านก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่า ท่านหยั่งเห็น

อัญญาตาวินทริย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์ โดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่

และท่านก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุ

นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น,

ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตา-

วินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์

ก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล

ตน มีอยู่ และข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด,

แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่

กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจ

หยั่งเห็นอัญญินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น

อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ และข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิ-

กัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่ง

เห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ดุจหยั่งเห็นอัญญินทรีย์

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น อัญญินทรีย์ก็เป็นอื่น

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่

และข้าพเจ้าหยั่งเห็นอัญญาตาวินทรีย์ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึง

กล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

โอปัมมสังสันทนา จบ

อรรถกถาโอปัมมสังสันทนา

ว่าด้วยการเทียบเคียงสัจฉิกัตถะด้วยความอุปมา

บัดนี้ ชื่อว่าเป็นการเทียบเคียงสัจฉิกัตถะด้วยสามารถแห่งการ

เปรียบกับธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นนั่นแหละ บรรดาคำเหล่านั้นแม้

ทั้ง ๒ คำถาม คือ คำถามถึงความที่รูปและเวทนาเป็นคนละอย่างด้วย

ความเห็นทั่วไปอย่างหนึ่ง คำถามที่ถามถึงความเห็นทั่วไปของบุคคลกับ

รูปอย่างหนึ่ง เป็นของสกวาที. คำตอบรับรองแม้ทั้ง ๒ ปัญหา เป็น

ของปรวาที. คำซักถามถึงความเป็นคนละอย่างของรูปกับบุคคล ดุจรูป

กับเวทนาด้วยความเห็นทั่วไปที่ปรวาทีไม่เห็นด้วย เป็นของสกวาที. คำ

ปฏิเสธเป็นของปรวาที. คำที่เหลือแม้ในที่นี้ชัดเจนแล้วโดยอรรถนั่น

เทียว. ก็เมื่อว่าโดยธรรมแล้ว ในข้อนี้ในฝ่ายสกวาทีท่านแสดงนิคคห-

ปัญจกะ คือหมวด ๕ แห่งนิคคหะ ไว้ถึง ๙๒๐ นัย ด้วยสามารถ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

แห่งความหมุนไปซึ่งธรรมมีรูปเป็นมูละเป็นต้น. ถามว่า " แสดง

อย่างไร " ตอบว่า ในขันธ์ทั้งหลายก่อน คือธรรมที่เป็นรูปเป็นมูละ

หมุนไปได้ ๔ นัย ในเวทนามูละเป็นต้นก็เหมือนกัน รวมเป็น ๒๐ นัย

(๔ x ๕ = ๒๐). ในอายตนะทั้งหลาย จักขายตนะมูละหมุนไปได้ ๑๑ นัย

ในอายตนะที่เหลือก็ฉันนั้น รวมเป็น ๑๓๒ นัย (๑๑ x ๑๒ = ๑๓๒ ).

ในธาตุทั้งหลาย จักขุธาตุมูละหมุนไปได้ ๑๗ นัย ในธาตุที่เหลือก็ฉัน

นั้น รวมเป็น ๓๐๖ นัย ( ๑๗ x ๑๘ = ๓๐๖ ). ในอินทรีย์ทั้งหลาย

จักขุนทริยมูละหมุนไปได้ ๒๑ นัย ในอินทรีย์ที่เหลือก็ฉันนั้น รวม

เป็น ๔๖๒ นัย (๒๑ x ๒๒ = ๔๖๒) รวมทั้งหมดเป็นนิคคหปัญจกะ

๙๒๐ นัย ด้วยประการฉะนี้. แม้ในฝ่ายปรวาที ท่านก็ทำให้สกวาที

รับคำถึงความเป็นคนละอย่างแห่งธรรมทั้งหลายมีรูปกับเวทนาเป็นต้น

ด้วยสามารถแห่งอนุโลมว่า รูป อุปลพฺภติ แปลว่า ท่านหยั่ง

เห็นรูป เป็นต้น แล้วจึงยกเอาความเห็นทั่วไปขึ้นทำการซักถามถึงความ

เป็นคนละอย่างด้วยธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นกับบุคคล ด้วยสามารถ

แห่งคำอันมีเลศนัยเพราะอาศัยพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

บุคคลมีอยู่ อีก. คำที่เหลือแม้ในที่นี้ เป็นของง่ายโดยเนื้อความ

ทั้งนั้น. เมื่อว่าโดยธรรมท่านแสดงปฏิกัมมจตุกกะ คือ หมวด ๔ แห่ง

ปฏิกรรม ไว้ ๙๒๐ นัย โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในฝ่ายสกวาที. การ

เทียบเคียงสัจฉิกัตถะกับรูปเป็นต้นด้วยสามารถแห่งการอุปมามีประมาณ

เท่านี้.

อรรถกถาโอปัมมสังสันทนา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

จตุกกนยสังสันทนา

[๕๐] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นบุคคลหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนี้.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล,

ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ถ้า

ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้า

หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล

ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

[๕๑] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลในรูปหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากรูปหรือ ? ฯ ล ฯ

รูปในบุคคลหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปในบุคคล,

ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

สัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปในบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่

พึงกล่าวว่า รูปในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่าข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่าข้าพเจ้า

หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปในบุคคล

ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

[๕๒] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในเวทนาหรือ ?

ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ ฯ ล ฯ เวทนาในบุคคลหรือ ฯ ล ฯ สัญญา

เป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในสัญญาหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากสัญญา

หรือ ฯ ล ฯ สัญญาในบุคคลหรือ ฯ ล ฯ สังขารเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคล

ในสังขารหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากสังขารหรือ ฯ ล ฯ สังขารในบุคคล

หรือ ฯ ล ฯ วิญญาณเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในวิญญาณหรือ ฯ ล ฯ

บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ ฯ ล ฯ วิญญาณในบุคคลหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณใน

บุคคล, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น

บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ดังนี้

ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้า

หยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่ไม่พึง

กล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

[๕๓] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขายตนะเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในจักขาย-

ตนะหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากจักขายตนะหรือ ฯ ล ฯ จักขายตนะใน

บุคคลหรือ ฯ ล ฯ ธัมมายตนะเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในธัมมายตนะ

หรือ ฯ ล ฯ ธัมมายตนะในบุคคลหรือ ? ฯ ล ฯ

[๕๔] . . .จักขุธาตุเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในจักขุธาตุ

หรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากจักขุธาตุหรือ ฯ ล ฯ จักขุธาตุในบุคคลหรือ

ฯ ล ฯ ธาตุเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในธัมธาตุหรือ ฯ ล ฯ

บุคคลอื่นจากธัมธาตุหรือ ฯ ล ฯ ธัมธาตุในบุคคลหรือ ? ฯ ล ฯ

[๕๕] . . .จักขุนทรีย์เป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในจัก-

ขุนทรีย์หรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากจักขุนทรีย์หรือ ฯ ล ฯ จักขุนทรีย์ใน

บุคคลหรือ ฯ ล ฯ อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลใน

อัญญาตาวินทรีย์หรือ ฯ ล ฯ บุคคคลอื่นจากอัญญาตาวินทรีย์หรือ ฯ ล ฯ

อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคลหรือ ? ฯ ล ฯ

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากท่านหยั่งเห็นบุคคล โดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

ในบุคคล, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็น

บุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะแต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล

ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าว

ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ที่ท่านกล่าวในปัญหา

นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ แต่

ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

[๕๖] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมิตถะหรือ ?

ฯ ล ฯ

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ

เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ดังนี้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปเป็นบุคคลหรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน

จึงต้องกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่

แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล

ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

เกื้อกูลตน มีอยู่ ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่

ไม่พึงกล่าวว่า รูปเป็นบุคคล ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

[๕๗] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ

เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ดังนี้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลในรูปหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากรูปหรือ ฯ ล ฯ

รูปในบุคคลหรือ ฯ ล ฯ เวทนาเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในเวทนาหรือ

ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ ฯ ล ฯ เวทนาในบุคคลหรือ ฯ ล ฯ สัญญา

เป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในสัญญาหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากสัญญา

หรือ ฯ ล ฯ สัญญาในบุคคลหรือ ฯ ล ฯ สังขารเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ

บุคคลในสังขารหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากสังขารหรือ ฯ ล ฯ สังขาร

ในบุคคลหรือ ฯ ล ฯ วิญญาณเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ วิญญาณในบุคคล

หรือ ฯ ล ฯ บุคคลในวิญญาณหรือ ฯ ล ฯ หรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจาก

วิญญาณหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ ฯ ล ฯ วิญญาณใน

บุคคลหรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

ท่านจึงต้องกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึง

กล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อ

กูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่

พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระผู้มีภาคเจ้าได้ตรัส

ไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า

พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อ

กูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า วิญญาณในบุคคล ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

[๕๘] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ

เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ดังนี้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. จักขายตนะเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในจักขาย-

ตนะหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากจักขายตนะหรือ ฯ ล ฯ จักขายตนะใน

บุคคลหรือ ฯ ล ฯ ธัมมายตนะเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในธัมมา-

ยตนะหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากธัมมายตนะหรือ ฯ ล ฯ ธัมมายตนะใน

บุคคลหรือ ฯ ล ฯ จักขุธาตุเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในจักขุธาตุ

หรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากจักขุธาตุหรือ ฯ ล ฯ จักขุธาตุในบุคคลหรือ ฯ ล ฯ

ธัมมธาตุเป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในธัมมธาตุหรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจาก

ธัมมธาตุหรือ ฯ ล ฯ ธัมมธาตุในบุคคลหรือ ? ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

[๕๙] ...จักขุนทรีย์เป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในจักขุน-

ทรีย์หรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากจักขุนทรีย์หรือ ฯ ล ฯ จักขุนทรีย์ใน

บุคคลหรือ ฯ ล ฯ อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคลหรือ ฯ ล ฯ บุคคลในอัญญา-

ตาวินทรีย์หรือ ฯ ล ฯ บุคคลอื่นจากอัญญาตาวินทรีย์หรือ ฯ ล ฯ อัญญา-

ตาวินทรีย์ในบุคคลหรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ

ท่านจึงต้องกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล, ที่ท่านกล่าวในปัญหา

นั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ

เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล

ดังนี้ ผิด, แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญาตาวินทรีย์ในบุคคล ก็ต้องไม่กล่าวว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่

ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า อัญญา-

ตาวินทรีย์ในบุคคล ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

จตุกกนยสังสันทนา จบ

และ

สังสันทนากถา จบ

๑. สังสันทนากถา คือ เรื่องเปรียบเทียบในเรื่องบุคคลมี ๓ คือ ก.

สุทธิกสังสันทนา ข. โอปัมมสังสันทนา ค. จตุกกนยสังสันทนา.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

อรรถกถาจตุกกนย*สังสันทนา

ว่าด้วยการเทียบเคียงโดยนัยแห่งจตุกกะ

บัดนี้ คำใดที่ปรวาทีหยั่งเห็นโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะในบรรดา

สัจฉิกัตถปรมัตถะ ๕๗ อย่าง มีรูปเป็นต้น โดยอาศัยแล้วซึ่งรูปเป็นต้น

หรือเว้นจากรูปเป็นต้น หรือกำลังอาศัยรูปเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น

พึงมีเหตุใด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเริ่มการเทียบเคียงสัจฉิภัตถะโดย

จตุกกนัย คือโดยนัยแห่งหมวด ๔ นี้.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า " รูปเป็นบุคคลหรือ" เป็นคำซักถาม

ของสกวาที ฯ คำปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เป็นของปรวาที

เพราะกลัวจะถูกกล่าวหาว่าเป็นอุจเฉททิฏฐิ. การยกนิคคหะขึ้นเป็นของ

สกวาที แม้ท่านกล่าวว่า ก็ข้อนั้นถูกต้องแล้วหรือ นั่นเป็นรูปเป็น

เวทนามิใช่หรือ ดังนี้ ท่านปฏิเสธทั้งสิ้น. อนึ่งคำนั้น ท่านพึงปฏิเสธ

โดยรับว่าบุคคลเป็นอย่างหนึ่ง ไม่ใช่รูปไม่ใช่เวทนา แต่ไม่นอกจากรูป

และเวทนาก็ปรวาทีนี้ ไม่ปรารถนาความเป็นอย่างอื่นของบุคคลแม้แต่

* คำว่า จตุกกนยะ ได้แก่โดยนัยแห่งหมวด ๔ เช่น.- ๑. รูปเป็น

บุคคลหรือ ๒. บุคคลในรูปหรือ ๓. บุคคลนอกจากรูปหรือ ๔. รูปในบุคคล

หรือ. ปัญหาเช่นนี้ท่านเรียกว่า สักกายทิฏฐิปัญหา เพื่อให้เห็นสภาพตามความ

เป็นจริงว่า การยึดว่าเป็นบุคคล เป็นอัตตาเป็นสัตว์มีมากมาย เมื่อท่านซักถาม

เนื้อความนี้แต่ละข้อก็จะปรากฏทีเดียวว่าไม่มีบุคคลหรืออัตตาอย่างที่ยึดถือ

นั้นเลย เป็นแต่สภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

ธรรมอย่างหนึ่งในบรรดาธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่าน

จึงตอบรับรองว่า ใช่. ก็คำซักถามนี้ว่า รูปเป็นบุคคล ฯ ล ฯ

อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคล ดังนี้ ท่านปรารภหมายเอาปรมัตถสัจจะทั้ง

สิ้น แต่ว่าใคร ๆ ไม่อาจกล่าวว่าปรมัตถธรรมทั้งสิ้นเป็นอย่างเดียวกันด้วย

สามารถแห่งปัจจัตตลักขณะ คือลักษณะที่มีเฉพาะตัวเรียกว่าปัจจัตต-

ลักขณะ เพราะฉะนั้น คำนี้ท่านตั้งไว้แล้วสักว่าเป็นลักษณะแห่งการ

ซักถามด้วยสามารถแห่งแบบแผน ด้วยเหตุนั้น วิญญูชนทั้งหลายควรยัง

ธรรมนี้ให้แจ่มแจ้ง. ฝ่ายสกวาทีผู้ใคร่เพื่อจะกล่าวถือเอาลักษณะนี้แล้ว

ไม่ให้โอกาสแก่ปรวาทีโดยประการใด ๆ พึงกล่าวโดยประการนั้น ๆ. คำนี้

เป็นอันถูกต้องแล้วนั่นเทียว เพราะความที่ลักษณะแห่งการซักถามท่าน

ตั้งไว้แล้วด้วยสามารถแห่งแบบแผน ด้วยประการฉะนี้. พึงทราบเนื้อ

ความซักถามทั้งปวงโดยนัยนี้. ก็แต่เนื้อความที่แปลกกันในคำทั้งหลาย

ว่า บุคคลในรูปหรือ เป็นต้นนี้ พึงทราบว่า การกล่าวว่ามหาภูต

รูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ วิญญาณในรูปอาศัยวัตถุรูปดังนี้ ย่อมควร

ฉันใด บุคคลในรูปตามลัทธิของท่านฉันนั้นหรือ การกล่าวว่า ก็อรูป

ธรรมทั้งปวงมีเวทนาเป็นต้น หรือนามขันธ์ ๔ หรือพระนิพพานนั่น

แหละ โดยการแยกสภาวะเป็นธรรมเว้นจากรูป ดังนี้ ย่อมควรฉันใด

บุคคลตามลัทธิของท่านฉันนั้นหรือ การกล่าวว่า เหมือนอย่างว่า รูปใน

เวทนา รูปในวิญญาณ ด้วยสามารถแห่งธรรมอันเป็นที่อาศัยแห่งรูป

ทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐานย่อมควรฉันใด บุคคลตามลัทธิของท่าน

ฉันนั้นหรือ ดังนี้. ก็ในคำซักถามทั้งปวงปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะกลัว

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

แต่อุจเฉททิฏฐิ และเพราะผิดจากลัทธิ. คำที่เหลือในที่นี้ชัดเจนแล้วโดย

อรรถทั้งนั้น. ว่าโดยธรรม คือโดยหัวข้อ แล้ว ท่านแสดงหมวด ๕

คืออนุโลมปัญจกะ. ไว้ถึง ๒๒๘ ข้อ (๕๗ x ๔ = ๒๒๘) เพราะกระ

ทำอรรถอันหนึ่งๆ ในสัจฉิกัตถะ ๕๗ ประเภทให้เป็นหมวดละ ๔ ด้วย

สามารถแห่งนิคคหะที่เป็นฝ่ายของสกวาทีผู้กระทำ ฯ แม้ในฝ่ายปรวาที

ก็มีประมาณเท่านั้นนั่นแหละด้วยสามารถแห่งปฏิกรรม. อนึ่งในที่นี้

คำที่ปรวาทีกล่าวว่า บุคคลมีอยู่ คำนั้นสกวาทีรับรองด้วยความ

สามารถแห่งสมมติที่มาแล้วในพระสูตร ฯ ในคำทั้งหลายว่า รูปเป็น

บุคคลหรือ เป็นต้น ท่านปฏิเสธ เพราะความที่ปัญหาว่าด้วยสักกาย

ทิฏฐิเป็นปัญหาที่ไม่ควรตอบ. ปฏิกรรมของปรวาทีย่อมมีด้วยสามารถ

แห่งคำอันมีเลศนัยนั่นเทียว ดังนี้.

อรรถกถาจตุกกนยสังสันทนา และสังสันทนากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

ลักขณยุตติกตา

[๖๐] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลมีปัจจัยหรือ ฯ ล ฯ บุคคลไม่มีปัจจัยหรือ ฯ ล ฯ

บุคคลเป็นสังขตะหรือ ฯ ล ฯ บุคคลเป็นอสังขตะหรือ ฯ ล ฯ บุคคลเที่ยง

หรือ ฯ ล ฯ บุคคลไม่เที่ยงหรือ ฯ ล ฯ บุคคลมีนิมิตหรือ ฯ ล ฯ บุคคลไม่

มีนิมิตหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ คำเป็นต้นว่า ท่าน

จงรู้นิคคหะ ท่านย่อไว้.

[๖๑] ป. ท่านไม่หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?

ส. ถูกแล้ว

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ

เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ดังนี้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลมีปัจจัยหรือ ฯ ล ฯ บุคคลไม่มีปัจจัยหรือ ฯ ล ฯ

บุคคลเป็นสังขตะหรือ ฯ ล ฯ บุคคลเป็นอสังขตะหรือ ฯ ล ฯ บุคคลเที่ยง

หรือ ฯ ล ฯ บุคคลไม่เที่ยงหรือ ฯ ล ฯ บุคคลมีนิมิตหรือ ฯ ล ฯ บุคคล

ไม่มีนิมิต หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ คำทั้งปวงท่านย่อไว้.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม ฯ ล ฯ.

ลักขณยุตติกตา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

อรรถกถาลักขณยุตติกถา

ว่าด้วยการประกอบลักษณะ

บัดนี้ ชื่อว่าลักขณยุตติ คือ การประกอบลักษณะ. ในปัญหา

นั้น คำซักถาม ๘ ข้อของสกวาที มีคำว่า บุคคลมีปัจจัยหรือ เป็นต้น

โดยหมายเอาว่า ยกเว้นพระนิพพานแล้ว สัจฉิกัตถปรมัตถะที่เหลือชื่อ

ว่า มีปัจจัยเพราะเป็นสภาพเนื่องด้วยปัจจัย ชื่อว่าสังขตะเพราะปัจจัย

เหล่านั้นประชุมกันปรุงแต่งขึ้น ชื่อว่าไม่เที่ยงเพราะเกิดแล้วดับไปไม่มี

อยู่ในกาลทุกเมื่อ ชื่อว่ามีนิมิตเพราะความที่นิมิตอันนับพร้อมแล้วว่าเหตุ

แห่งการอุบัติมีอยู่ ส่วนพระนิพพานมีลักษณะแห่งสัจฉิกัตถะดังนี้ คือ

พระนิพพานชื่อว่าไม่มีปัจจัย ชื่อว่าเป็นอสังขตะ ชื่อว่าเที่ยง ชื่อว่าไม่

มีนิมิตเพราะไม่มีประการดังกล่าวแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าแม้บุคคลเป็น

สัจฉิกัตถปรมัตถะไซร้ แม้บุคคลนั้นก็จะพึงมีลักษณะดังกล่าวนี้. คำ

ปฏิเสธเป็นของปรวาที. ก็ในคำนี้ว่า ท่านจงรู้นิคคหะ เป็นต้น

ท่านย่อไว้. ในฝ่ายสกวาที บัณฑิตพึงทราบหมวด ๕ นิคคหะ ๘ เหล่านี้

ด้วยสามารถสักว่าอนุโลมในอนุโลมปัจจนิก ด้วยประการฉะนี้. แม้ใน

ฝ่ายปรวาทีก็พึงทราบหมวด ๕ ปฏิกรรม ๘ ด้วยสามารถสักแต่ว่าปัจจนิก

ในปัจจิกานุโลมนั่นแหละ. ในปัจจนิกอนุโลมนั้นปรวาทีทำสมมติสัจจะ

ให้สำเร็จด้วยสามารถแห่งพระสูตร แต่สภาพธรรมที่มีปัจจัยเป็นต้นแห่ง

สมมติสัจจะหามีไม่ เพราะฉะนั้น สกวาทีจึงปฏิเสธตามความเป็นจริง

๑. บาลีเป็น ลักขณยุตติกตา.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

อนึ่ง คำว่า ท่านจงรู้ปฏิกรรม เป็นต้น เป็นคำที่ปรวาทีกล่าวด้วย

เลศนัย คำทั้งปวงท่านย่อไว้แม้ในที่นี้นั่นเทียว.

อรรถกถาลักขณยุตติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

วจนโสธนะ

[๖๒] ส. บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ สภาวะที่หยั่งเห็น

ได้ ก็เป็นบุคคล หรือ ?

ป. บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ แต่สภาวะที่หยั่ง

เห็นได้บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคล.

ส. บุคคลบางอย่างเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ บางอย่าง

เป็นสภาวะที่หยั่งเห็นไม่ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๓] ส. บุคคลเป็นสภาวะที่จริงแท้ [สัจฉิกัตถะ] สภาวะ

ที่จริงแท้ก็เป็นบุญ หรือ ?

ป. บุคคลเป็นสภาวะที่จริงแท้ แต่สภาวะที่จริงแท้บาง

อย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคล.

ส. บุคคลบางอย่างเป็นสภาวะที่จริงแท้ บางอย่างไม่

เป็นสภาวะที่จริงแท้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

[๖๔] ส. บุคคลเป็นสภาวะที่ประสบอยู่ สภาวะที่ประสบอยู่

ก็เป็นบุคคล หรือ ?

ป. บุคคลเป็นสภาวะที่ประสบอยู่ แต่สภาวะที่ประสบ

อยู่ บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคล.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

ส. บุคคลบางอย่างเป็นสภาวะที่ประสบอยู่ บางอย่าง

ไม่เป็นสภาวะที่ประสบอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๕] ส. บุคคลเป็นสภาวะที่ปรากฏอยู่ สภาวะที่ปรากฏอยู่

ก็เป็นบุคคล หรือ ?

ป. บุคคลเป็นสภาวะที่ปรากฏอยู่ แต่สภาวะที่ปรากฏ

อยู่ บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคล

ส. บุคคลบางอย่างเป็นสภาวะที่ปรากฏอยู่ บางอย่าง

ไม่เป็นสภาวะที่ปรากฏอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๖ ] ส. บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่มีอยู่ก็เป็นบุคคล

หรือ ?

ป. บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ แต่สภาวะที่มีอยู่บางอย่าง

เป็นบุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคล.

ส. บุคคลบางอย่างเป็นสภาวะที่มีอยู่ บางอย่างไม่เป็น

สภาวะที่มีอยู่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๗] ส. บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ แต่สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็น

บุคคลทั้งหมดหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

ส. บุคคลเป็นสภาวะที่ไม่มีอยู่ แต่สภาวะที่ไม่มีอยู่ไม่

เป็นบุคคลทั้งหมดหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ คำว่า นิคคหะ

เป็นต้น ท่านย่อไว้.

วจนโสธระ จบ

อรรถกถาวจนโสธนะ

ว่าด้วยการชำระถ้อยคำ

บัดนี้ เป็นการชำระถ้อยคำ. ในปัญหานั้น คำใดที่ว่า บุคคล

เป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ ดังนี้ เพื่อชำระคำนั้น สกวาทีจึงถามว่า

บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้สภาวะที่หยั่งเห็นได้ก็เป็นบุคคลหรือ.

เนื้อความแห่งปัญหานั้น พึงทราบดังนี้.-

คำว่า บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ นี้ มี ๒ บท ทั้ง ๒

บทนี้พึงมีอรรถอย่างเดียวกัน หรือพึงมีอรรถต่างกัน ผิว่า พึงมีอรรถ

ต่างกันก่อนไซร้ คำนี้ก็ย่อมปรากฏดังคำที่อุปมาว่า รูปเป็นอย่างหนึ่ง

เวทนาก็เป็นอย่างหนึ่ง ฉันใด บุคคลก็เป็นอย่างหนึ่ง สภาวะที่หยั่งเห็น

ได้ก็เป็นอย่างหนึ่ง ฉันนั้น ดังนี้ ก็ถ้ามีอรรถอันเดียวกันไซร้ ข้อนี้

ย่อมปรากฏดังคำอุปมาว่า จิตอันใด มโนก็อันนั้น ฉันใด บุคคลนั้น

นั่นแหละเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ก็ฉันนั้น ดังนี้ ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

จะกล่าวคำหลังนี้ว่า ถ้าว่าบุคคลใดตามลัทธิของท่าน บุคคลนั้นเป็น

สภาวะที่หยั่งเห็นได้ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ สภาวะใด ๆ ที่หยั่ง

เห็นได้ สภาวะนั้น ๆ ก็เป็นบุคคล ท่านรับรองคำนั้นหรือ จากนั้น

สกวาทีต้องการถามซึ่งความที่บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ ไม่ต้องการ

ถามซึ่งภาวะแห่งธรรมมีรูปเป็นต้นที่หยั่งเห็นได้ว่าเป็นบุคคล เพราะ

ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ สภาวะที่

หยั่งเห็นได้บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคลหรือ เป็นต้น.

พึงทราบความหมายแห่งปัญหานั้นว่า ก็สภาวะที่หยั่งเห็นได้อันใด เพราะ

ดำรัสของพระศาสดาว่า บุคคลของเรา บุคคลมีอยู่ ดังนี้ สภาวะที่

หยั่งเห็นได้อันนั้นไม่เป็นบุคคลทั้งหมด บางอย่างแลเป็นบุคคล บาง

อย่างไม่ใช่บุคคลหรือ ในปัญหานั้น เก อักษร มีอรรถเป็น โก อักษร

หิ อักษรและ จิ อักษรสักแต่เป็นนิบาต. ก็พึงทราบเนื้อความในที่นี้ว่า

บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่ใช่ ดังนี้. คำว่า บางอย่างเป็นบุคคล

บางอย่างไม่ใช่บุคคลนี้ ท่านอธิบายไว้ว่า บุคคล คือธรรมอย่างใด

อย่างหนึ่งในธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นซึ่งเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้นั้น

แหละ แต่ในธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นเป็นบุคคลนั่นเทียว คือเป็น

บุคคลอะไร ๆ ส่วนในรูปเป็นต้น บางอย่างไม่ใช่บุคคล ดังนี้. ลำดับ

นั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า บุคคลบางอย่างเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้บาง

อย่างเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นไม่ได้หรือ. เนื้อความแห่งปัญหานั้น โดย

อรรถมี ๒ บทคือ บุคคลกับคำว่าสภาวะที่หยั่งเห็นได้ ถ้าในอรรถอัน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

เดียวกันไซร้ บุคคลก็คือ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว

ว่าสภาวะธรรมที่หยั่งได้ บุคคลมิใช่นอกจากธรรมนั้นแต่สภาพธรรมนั้น

บางอย่างเป็นบุคคล แม้บางอย่างก็ไม่ใช่บุคคล แม้บุคคลย่อมปรากฏว่า

บางอย่างเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้ บางอย่างเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นไม่ได้

ตามลัทธิของท่าน ท่านรับรองคำนั้นหรือ ? ปรวาทีนั้นเมื่อไม่ปรารถนา

บุคคลนอกจากลัทธิของตนจึงปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น. เบื้อง

หน้าแต่นี้ไป คำว่า ท่านจงรู้นิคคหะ เป็นต้นทั้งปวงท่านย่อไว้

บัณฑิตพึงทราบโดยพิสดาร. แม้ในคำว่า บุคคลเป็นสัจฉิกัตถะ เป็น

ต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ. คำทั้งปวงเหล่านี้ คือ ภาวะที่แท้จริง สภาวะที่-

ประสบอยู่ สภาวะที่ปรากฏอยู่ สภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ ทั้งหมด

เป็นคำไวพจน์ของคำว่า สภาวะที่หยั่งเห็นได้.

อีกอย่างหนึ่ง คำรับรองของปรวาทีว่า บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่ง

เห็นได้ด้วยสัจฉิกัตถะ นี้ เพราะลัทธิของเขาว่า บุคคลเป็นสภาวะที่

หยั่งเห็นได้ฉันใดนั่นแหละ คำว่า บุคคลก็ย่อมปรากฏว่าเป็นสัจฉิกัตถะ

ตามลัทธิของเขาฉันนั้นเหมือนกัน. ก็ลัทธิใดของปรวาทีว่า บุคคล

มีอยู่ ดังนี้ คำนี้เป็นไวพจน์ของคำว่า บุคคลเป็นสภาวะที่ประสพ

อยู่ดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงชำระคำไวพจน์ทั้งปวงเหล่านี้.

ในปัญหาเหล่านั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ในที่สุดว่า บุคคล

เป็นสภาวะที่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมด เป็นต้น พึงทราบคำอธิบาย

ต่อไป:-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

ปรวาทีกล่าวคำใดว่า บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ แต่สภาวะที่มี

อยู่บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่างไม่เป็นบุคคล ดังนี้ คำนั้นเมื่อว่า

โดยอรรถแล้ว ก็มีถ้อยคำเพียงเท่านี้แหละว่า บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่

สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมด เพราะฉะนั้นสกวาทีจึงให้ปรวาที

รับรองคำนั้นแล้ว จึงประกอบคำถามในบัดนี้ว่า ท่านถือลัทธิว่าบุคคลมี

อยู่เพราะอาศัยคำสักแต่ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน

มีอยู่เท่านั้น ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลไม่มีอยู่ โดยนัย

เป็นอาทิว่า ดูก่อนโมฆราชเธอจงพิจารณาดูโลกโดยความเป็นของว่าง

เปล่า จงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ ฯ ล ฯ ดังนี้ เพราะฉะนั้นลัทธิของท่านที่

แสดงว่า บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมด

ฉันใดนั่นแหละ โดยประการนั้นบุคคลย่อมปรากฏว่าเป็นสภาวะที่ไม่มี

อยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมดฉันนั้น ดังนี้ ท่านรับรองคำ

นั้นหรือ ? ลำดับนั้น ปรวาทีเมื่อไม่รับรองคำนั้น จึงปฏิเสธว่า ไม่พึง

กล่าวอย่างนั้น ๆ คำที่เหลือในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบกฏแห่งถ้อยคำมีคำ

ว่า นิคคหะเป็นต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

อรรถกถาวจนโสธนะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

ปัญญัตตานุโยค

[๖๘] ส. บุคคลชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๙] ส. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๐] ส. บุคคลชื่อว่าไม่มีรูป เพราะอรูปธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๑] ป. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่าไม่มีรูป เพราะอรูปธาตุ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีกาม เพราะกามธาตุ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

[๗๒] ส. บุคคลชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ บุคคลชื่อว่าไม่

มีรูป เพราะอรูปธาตุ และมีบางคนเคลื่อนจากรูปธาตุแล้ว เข้าถึงอรูป-

ธาตุ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลมีรูป ขาดสูญไปแล้ว บุคคลไม่มีรูป เกิดขึ้น.

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๓] ส. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่ามีรูป เพราะรูปธาตุ สัตว์-

ทั้งหลายชื่อว่าไม่มีรูป เพราะอรูปธาตุ และมีบางคนเคลื่อนจากรูปธาตุ

แล้ว เข้าถึงอรูปธาตุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์มีรูป ขาดสูญไปแล้ว สัตว์ไม่มีรูปเกิดขึ้นใหม่

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ลฯ

[๗๔] ส. บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากาย

ก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน

เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บัญญัติว่าบุคคลหรือว่าชีพก็ดี ว่าชีพหรือว่าบุคคล

ก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียว

กัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่า บัญญัติว่ากายหรือว่า

สรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็

อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน

บัญญัติว่าบุคคลหรือว่าชีพก็ดี ว่าชีพหรือว่าบุคคลก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล

บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน

เหมือนกัน กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง

กล่าวว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึง

กล่าวได้ว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือกายก็ดี รวม

เพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน

เท่ากัน เหมือนกัน บัญญัติว่าบุคคลหรือว่าชีพก็ดี ว่าชีพหรือว่าบุคคล

ก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล บัญญัติทั้ง ๒ ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอัน

เดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอัน

แต่ไม่พึงกล่าวว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึง

กล่าวว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า บัญญัติว่ากาย

หรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒

นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน

บัญญัติว่าบุคคลหรือว่าชีพก็ดี ว่าชีพหรือว่าบุคคลก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล

บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน

เหมือนกัน กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

พึงกล่าวได้ว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี

รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน

เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน บัญญัติว่าบุคคลหรือว่าชีพก็ดี ว่าชีพ

หรือว่าบุคคลก็ดี รวมเพ่งถึงบุคคล บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน

มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน กายเป็นอื่น บุคคล

ก็เป็นอื่น แต่ไม่พึงกล่าวว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯลฯ

[๗๕] ป. บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากาย

ก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน

เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ

เพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ดังนี้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ป. ท่านจงรับรู้ปฏิกรรม, หากว่าบัญญัติว่ากายหรือว่า

สรีระก็ดี ว่าสรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็

อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่

ด้วยเหตุนั้นนี่ท่านจึงต้องกล่าวว่า กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น, ที่ท่าน

กล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

สรีระหรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ ก็อย่างเดียวกัน

มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า

กายเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า กายเป็นอื่น

บุคคลก็เป็นอื่น ก็ต้องไม่กล่าวว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระ

หรือว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ ก็อย่างเดียวกัน. มี

อรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ ที่ท่านกล่าวใน

ปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า บัญญัติว่ากายหรือว่าสรีระก็ดี ว่าสรีระหรือ

ว่ากายก็ดี รวมเพ่งถึงกาย บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถ

อันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน มีอยู่ แต่ไม่พึงกล่าวว่า กาย

เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

ปัญญัตตานุโยค จบ

อรรถกถาปัญญัตตานุโยค

ว่าด้วยการซักถามเรื่องบัญญัติ

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการซักถามบัญญัติ. จริงอยู่ปุคคลวาทีบุคคล

ย่อมบัญญัติบุคคลมีรูปด้วยรูปธาตุ โดยทำนองเดียวกัน ย่อมบัญญัติ

บุคคลไม่มีด้วยอรูปธาตุ. คำถามแม้ทั้งปวงของพระสกวาทีก็เพื่อมุ่ง

ทำลายลัทธิของปุคคลวาทีบุคคลนั้น. คำตอบรับรองด้วย คำปฏิเสธ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

ด้วยเป็นของพระปรวาที. ครั้นเมื่อสกวาทีถามว่า บุคคลชื่อว่ามีรูป

เป็นต้น ปรวาทีก็ตอบรับรอง เพราะสภาพแห่งรูปกายและบัญญัติเช่นนั้น

มีอยู่. ครั้นเมื่อคำว่า มีกาม อันสกวาทีถามแล้ว ปรวาทีตอบ

ปฏิเสธ เพราะสภาพแห่งวีตราคะและบัญญัติเช่นนั้นไม่มีอยู่. แม้เมื่อ

สกวาทีกล่าวถามว่า สัตว์ชื่อว่าไม่มีรูป ปรวาทีตอบรับรอง เพราะ

สภาพแห่งอรูปขันธ์และบัญญัติเช่นนั้นเป็นสภาพมีอยู่. คำว่า สัตว์

ในนัย แม้ทั้ง ๒ ท่านกล่าวแล้วด้วยสามารถแห่งคำเป็นไวพจน์ของ

บุคคล.

บัดนี้ ท่านปรารถนาคำว่า กายเป็นอย่างอื่น บุคคลก็เป็น

อย่างอื่น ในพระบาลีที่มาแล้วว่า กาเย กายานุปสฺสี แปลว่า

พิจารณาเห็นกายในกาย ดังนี้ เพราะฉะนั้น เพื่อจะทำลายลัทธิอันนั้น

สกวาทีจึงถามว่า บัญญัติว่ากาย หรือว่าสรีระ เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น

คำว่า รวมเพ่งถึงกาย อธิบายว่า ข้าพเจ้าถามถึงกายอันเป็นฆนะ

อันสัตว์ยึดถือไว้ อันน้อมไปสู่ความเป็นเอกีภาพ อันไม่พึงจำแนก.

คำว่า เอเส เส ได้แก่ เอโส โสเยว แปลว่า บัญญัติทั้ง ๒ นี้ ก็เป็น

อย่างเดียวกันนั่นแหละ พระบาลีว่า เอเส เอเส ดังนี้บ้าง แปลว่า

บัญญัติศัพท์เหล่านั้น ๆ อธิบายว่า บัญญัติศัพท์เหล่านั้นนั่นแหละ. คำว่า

มีอรรถอันเดียวกัน ได้แก่ อรรถอย่างเดียวกัน. คำว่า เสมอกัน

เท่ากัน เหมือนกัน ในที่นี้ต่างกันแต่เพียงถ้อยคำเท่านั้น. ก็เมื่อว่า

โดยอรรถแล้ว สกวาทีย่อมถามว่า กายก็อันนั้นนั่นแหละ ดังนี้ ปรวาที

เมื่อไม่เห็นความแตกต่างกัน จึงตอบรับรองว่า ใช่. แม้ในคำถามว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

บุคคล หรือว่าชีพ ก็นัยนี้นั่นเทียว. อนึ่ง ถูกสกวาทีถามว่า กาย

เป็นอื่น ปรวาทีก็ตอบรับรอง เพราะทำกายานุปัสสนาให้เป็นลัทธิ

อย่างนี้. เมื่อถูกถามว่า ชีพเป็นอื่น ปรวาทีเมื่อไม่อาจปฏิเสธพระสูตร

ที่ยึดถือไว้สำหรับกล่าว จึงปฏิเสธ. คำว่า จงรับรู้นิคคหะ เป็นต้น

ข้างหน้าแต่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้น. ในฝ่ายปรวาที ท่านถามว่า กายเป็น

อย่างอื่น บุคคลก็เป็นอย่างอื่นหรือ สกวาทีปฏิเสธ เพราะความเป็น

ปัญหาที่ควรงดเว้น. ปรวาทีจงทำปฏิกรรม คือการทำนิคคหะตอบแก่

สกวาทีด้วยสามารถแห่งเลศนัย. แม้คำนั้นก็มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

อรรถกถาปัญญัตตานุโยค จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

คติอนุโยค

[๗๖] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลก

อื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลนั้นเอง ท่องเที่ยวไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น

จากอื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๗] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่น

สู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลก

อื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๘] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลก

อื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลนั้นเองด้วย บุคคลอื่นด้วย ท่องเที่ยวไปจาก

โลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

[๗๙] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกอื่น จากโลกอื่น

สู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลนั้นเอง ก็มิได้ท่องเที่ยวไป บุคคลอื่นก็มิได้

ท่องเที่ยวไป จากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๐] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่น

สู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไป บุคคลอื่นท่องเที่ยวไป

บุคคลนั้นเองด้วย บุคคลอื่นด้วย ท่องเที่ยวไป บุคคลนั้นก็มิได้ท่องเที่ยว

ไป บุคคลอื่นก็มิได้ท่องเที่ยวไป จากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลก

นี้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลก

อื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลนั้นท่อง

เที่ยวไปเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่งแล้ว จะเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

เพราะสิ้นสัญโญชน์ทั้งปวง ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่หรือ ?

๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๐๒.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็ท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลก

อื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ นะสิ.

[๘๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลก

อื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย การท่องเที่ยวไปของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น

มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่นี้ มีเบื้อง

ต้นเบื้องปลายที่ตามรู้ไม่ได้ เงื่อนต้นไม่ปรากฏ ดังนี้ เป็นสูตร

มีอยู่จริงมิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้นบุคคลก็ท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น

จากโลกอื่นสู่โลกนี้ น่ะสิ.

[๘๓] ส. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่น

สู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จาก

โลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

๑. ส. นิ. ๑๖/๔๒๑.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จาก

โลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บางคนเป็นมนุษย์แล้วเป็นเทวดาก็มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มนุษย์ก็คนนั้นแหละ เทวดาก็คนนั้นแหละ

ป. (เป็นคนเดียวกัน ) หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มนุษย์ก็คนนั้นแหละ เทวดาก็คนนั้นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเป็นมนุษย์แล้วเป็นเทวดา เป็นเทวดาแล้ว

เป็นมนุษย์ เป็นผู้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดาเป็นอื่น ผู้เกิดเป็นมนุษย์ก็เป็น

อื่น ( เป็นคนละคน ) คำว่า บุคคลนั้นเอง ท่องเที่ยวไป นี้ผิด ฯ ล ฯ

ก็ถ้าว่า บุคคลท่องเที่ยวไปบุคคลนั้นเองเคลื่อนจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น ไม่

ใช่บุคคลอื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ ความตายก็จักไม่มี แม้ปาณาติบาตก็จะหยั่ง

เห็นไม่ได้ กรรมมีอยู่ ผลของกรรมมีอยู่ผลของกรรมทั้งหลายที่ทำแล้ว

มีอยู่ เมื่อกุศลและอกุศลให้ผลอยู่ คำว่า บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไป

นี้ผิด ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จาก

โลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บางคนเป็นมนุษย์แล้วเป็นยักษ์...เป็นเปรต...เป็น

สัตว์นรก...เป็นสัตว์เดียรฉาน...เป็นอูฐ... เป็นโค...เป็นลา...เป็นสุกร...

เป็นกระบือ ก็มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มนุษย์ก็คนนั้นแหละ กระบือก็คนนั้นแหละหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มนุษย์ก็คนนั้นแหละ กระบือก็คนนั้นแหละหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเป็นมนุษย์แล้วเป็นกระบือ เป็นกระบือ

แล้วเป็นมนุษย์ เป็นผู้เกิดเป็นมนุษย์ กระบือเป็นอื่น ผู้เกิดเป็นมนุษย์

ก็เป็นอื่น คำว่าบุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไป นี้ผิด ฯ ล ฯ ก็ถ้าว่าบุคคล

ท่องเที่ยวไป บุคคลนั้นเองเคลื่อนจากโลกนี้ ไปสู่โลกอื่น ไม่ใช่บุคคล

อื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ ความตายก็จักไม่มี แม้ปาณาติบาตก็จะหยั่งเห็นไม่

ได้ กรรมมีอยู่ ผลของกรรมมีอยู่ ผลของกรรมทั้งหลายที่ทำแล้วมีอยู่

เมื่อกุศลและอกุศลให้ผลอยู่ คำว่า บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไป นี้ผิด ฯ ล ฯ

ส. บุคคลนั่นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้ สู่โลกอื่น จาก

โลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

ป. ถูกแล้ว.

ส. บางคนเป็นกษัตริย์แล้วเป็นพราหมณ์ ก็มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กษัตริย์ก็คนนั้นแหละ พราหมณ์ก็คนนั้นแหละ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บางคนเป็นกษัตริย์แล้วเป็นแพศย์...เป็นศูทร ก็มี

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กษัตริย์ก็คนนั้นแหละ ศูทรก็คนนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บางคนเป็นพราหมณ์แล้วเป็นแพศย์...เป็นศูทร...

เป็นกษัตริย์ ก็มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พราหมณ์ก็คนนั้นแหละ กษัตริย์ก็คนนั้นแหละ

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บางคนเป็นแพศย์แล้วเป็นศูทร...เป็นกษัตริย์...ไป

เป็นพราหมณ์ ก็มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

ส. แพศย์ก็คนนั้นแหละ พราหมณ์ก็คนนั้นแหละ

หรือ ?

ป. ไม่พึงก็กล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บางคนเป็นศูทรแล้วเป็นกษัตริย์...เป็นพราหมณ์

...เป็นแพทย์ ก็มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศูทรก็คนนั้นแหละ แพศย์ก็คนนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จาก

โลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คนมือด้วนก็ไปเป็นคนมือด้วนเทียวหรือ...คนเท้า

ด้วยก็ไปเป็นคนเท้าด้วนเทียวหรือ... คนด้วนทั้งมือและเท้าก็ไปเป็นคน

ด้วนทั้งมือและเท้าเทียวหรือ... คนหูวิ่น... คนจมูกโหว่... คนทั้งหูวิ่นทั้ง

จมูกโหว่... คนนิ้วด้วน... คนนิ้วแม่มือด้วน... คนเอ็นใหญ่ขาด... คน

มือหงิก... คนมือแป... คนเป็นโรคเรื้อน... คนเป็นต่อม... คนเป็นโรค

กลาก... คนเป็นโรคมองคร่อ... คนเป็นโรคลมบ้าหมู...อูฐ... โค... ลา...

สุกร... กระบือ ก็ไปเป็นกระบือเทียว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

[๘๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลก

นี้ สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้เป็นโสดาบัน เคลื่อนจากมนุษยโลกเข้า

ถึงเทวโลกแล้ว คงเป็นโสดาบันเทียวแม้ในเทวโลกนั้น มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลผู้เป็นโสดาบันเคลื่อนจากมนุษยโลก

เข้าถึงเทวโลกแล้ว คงเป็นโสดาบันเทียวแม้ในเทวโลกนั้น ด้วยเหตุนั้น

นะท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น

จากโลกอื่นสู่โลกนี้.

[๘๕] ส. ท่านทำความตกลงแล้วว่า บุคคลผู้เป็นโสดาบัน

เคลื่อนจากมนุษยโลก เข้าถึงเทวโลกแล้ว คงเป็นโสดาบันเทียวแม้ใน

เทวโลกนั้น และด้วยเหตุนั้น จึงวินิจฉัยว่า บุคคลนั้นเทียวท่องเที่ยว

ไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านได้ทำความตกลงว่า บุคคลผู้เป็นโสดาบัน

เคลื่อนจากมนุษยโลกเข้าถึงเทวโลกแล้ว คงเป็นมนุษย์แม้ในเทวโลก

นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

[๘๖] ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จาก

โลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ไม่เป็นอื่น ไม่แปรผัน ท่องเที่ยวไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๗] ส. ไม่เป็นอื่น ไม่แปรผัน ท่องเที่ยวไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คนมือด้วนก็ไปเป็นคนมือด้วนเทียวหรือ... คน

เท้าด้วนก็ไปเป็นคนเท้าด้วนเทียวหรือ... คนด้วนทั้งมือและเท้าก็ไปเป็น

คนด้วนทั้งมือและเท้าเทียวหรือ... คนหูวิ่น... คนจมูกโหว่... คนทั้งหูวิ่น

จมูกโหว่... คนนิ้วด้วน... คนนิ้วแม่มือด้วน... คนเอ็นใหญ่ขาด... คน

มือหงิก... คนมือแป... คนเป็นโรคเรื้อน... คนเป็นต่อม... คนเป็น

โรคกลาก... คนเป็นโรคมองคร่อ... คนเป็นโรคลมบ้าหมู... อูฐ... โค...

ลา... สุกร... กระบือก็ไปเป็นกระบือเทียวหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๘] ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จาก

โลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นผู้มีรูปท่องเที่ยวไป หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นผู้มีรูปท่องเที่ยวไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นผู้มีเวทนา ฯ ล ฯ เป็นผู้มีสัญญา ฯ ล ฯ เป็นผู้

มีสังขาร ฯ ล ฯ เป็นผู้มีวิญญาณท่องเที่ยวไปหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เป็นผู้มีวิญญาณท่องเที่ยวไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๙] ส. บุคคลนั้นเองท่องเที่ยวไปจาก โลกนี้สู่โลกอื่น จาก

โลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นผู้ไม่มีรูปท่องเที่ยวไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เป็นผู้ไม่มีรูปท่องเที่ยวไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เป็นผู้ไม่มีเวทนา ฯ ล ฯ เป็นผู้ไม่มีสัญญา ฯ ล ฯ

เป็นผู้ไม่มีสังขาร ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีวิญญาณท่อง-

เที่ยวไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เป็นผู้ไม่มีวิญญาณท่องเที่ยวไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๐] ส. บุคคลนั้นแหละท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น

จากโลกอื่น สู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปท่องเที่ยวไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. รูปท่องเที่ยวไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เวทนา ฯ ล ฯ สัญญา ฯ ล ฯ สังขาร ฯ ล ฯ

วิญญาณท่องเที่ยวไป หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. วิญญาณท่องเที่ยวไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๑] ส. บุคคลนั้นแหละ ท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น

จากโลกอื่นสู่โลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปไม่ท่องเที่ยวไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. รูปไม่ท่องเที่ยวไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เวทนา ฯ ล ฯ สัญญา ฯ ล ฯ สังขาร ฯ ล ฯ

วิญญาณ ไม่ท่องเที่ยวไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. วิญญาณไม่ท่องเที่ยวไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ คำที่เหลือท่านย่อไว้.

ส. หากว่า บุคคลแตกดับไปในเมื่อขันธ์ทั้งหลายแตก

ดับไป ก็เป็นอุจเฉททิฏฐิ ที่พระพุทธเจ้าทรงเว้นขาดแล้ว หากว่า

บุคคลไม่แตกดับไปในเมื่อขันธ์ทั้งหลายแตกดับไป บุคคลก็จะเที่ยง

(และดังนั้น) จะเสมอเหมือนกับนิพพาน.

คติอนุโยค จบ

อรรถกถาคติอนุโยค

ว่าด้วยการซักถามเรื่องคติ

บัดนี้ เป็นการซักถามถึงจุติปฏิสนธิ โดยเฉพาะการเปลี่ยนคติ

คือ เปลี่ยนภพใหม่. ในปัญหานั้น ปุคคลวาที อาศัยพระสูตรทั้งหลาย

ว่า บุคคลท่องเที่ยวไปสิ้น ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง เป็นต้น แล้วถือเอา

ลัทธินั้นกล่าวว่า บุคคลท่องเที่ยวไป ดังนี้ เพราะฉะนั้น เพื่อจะทำลาย

ลัทธิของปุคคลวาทีนั้น สกวาทีจึงถามว่า บุคคลท่องเที่ยวไปหรือ ?

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ท่องเที่ยวไป ได้แก่ การท่องเที่ยว คือ

การไป ๆ มา ๆ ในสงสาร. คำตอบรับรอง เป็นของปรวาทีด้วยสามารถ

แห่งลัทธิของตน. แม้คำซักถามของสกวาที บุคคลนั้น เป็นต้น คำ

ปฏิเสธเป็นของปรวาที. ในปัญหานั้น คำว่า บุคคลนั้น อธิบายว่า

บุคคลนั่นแหละ. ก็สกวาทีประกอบคำถามอย่างนี้ปรวาทีจึงตอบปฏิเสธ

เพราะกลัวจะถูกกล่าวหาว่าเป็นสัสสตทิฏฐิ. ถูกถามว่า บุคคลอื่น ก็

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

ตอบปฏิเสธเพราะกลัวแต่จะถูกกล่าวหาว่าเป็นอุจเฉททิฏฐิ. ถูกถามว่า

บุคคลนั้นด้วย บุคคลอื่นด้วย ก็ตอบปฏิเสธ เพราะกลัวแต่เอกัจจ-

สัสสตทิฏฐิ คือ ลัทธิเห็นว่าเที่ยงบางอย่าง. ถูกถามว่า ไม่ใช่บุคคลนั้น

ไม่ใช่บุคคลอื่น ก็ตอบปฏิเสธ เพราะกลัวแต่อมราวิกเขปทิฏฐิ คือ ลัทธิ

ที่มีความเห็นไม่ตายตัว. ถูกถามปัญหาแม้ทั้ง ๔ รวมกันอีกก็ปฏิเสธเพราะ

กลัวเป็นทิฏฐิแม้ทั้ง ๔. อนึ่ง ลัทธิของปรวาทีนั้นอาศัยพระสูตรทั้งหลาย

เหล่าใดเกิดขึ้น สกวาทีนั้น เมื่อจะแสดงพระสูตรเหล่านั้นอีก จึงกล่าว

คำว่า ถ้าอย่างนั้น บุคคลท่องเที่ยวไปหรือ เป็นต้น สกวาทีกำหนด

คำว่า บุคคลนั้นนั่นแหละ แล้วถามโดยความประสงค์อีกว่า บุคคล

ใดท่องเที่ยวไปตามลัทธิของท่าน บุคคลนั้นเป็นคน ๆ เดียวกันในโลก

นี้ด้วยในโลกอื่นด้วยหรือ ปรวาทีปฏิเสธ เพราะกลัวเป็นสัสสตทิฏฐิ

ครั้นถูกถามซ้ำอย่างนั้นนั่นแหละอีก จึงตอบรับรอง เพราะว่า พระสูตร

ว่า บุคคลนั้นไม่ใช่บุคคลอื่น เมื่อเขาเคลื่อนจากโลกนั้นแล้วเกิดใน

โลกนี้ ดังนี้เป็นต้น มีอยู่. ถูกถามว่า มนุษย์คนนั้นนั่นแหละเป็น

เทวดาหรือ ก็ตอบปฏิเสธ เพราะมนุษย์นั่นแหละมิใช่เทวดา. ถูกถาม

ซ้ำอีกก็ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งพระสูตรว่า สมัยนั้น เราเป็น

ศาสดาชื่อสุเนตตะ เป็นต้น. ทีนั้น สกวาที เมื่อจะประกาศคำนั้นว่า

ผิด เพราะความต่างกันแห่งความเกิดขึ้นของเทวดาและมนุษย์ จึง

กล่าวคำว่า เป็นมนุษย์ก็อย่างหนึ่ง เป็นต้น. ในคำเหล่านั้นคำว่า

ความตายจักไม่มี อธิบายว่า ครั้นเมื่อความเช่นนั้นมีอยู่ ความตาย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

ก็จักไม่มี. ต่อจากนี้ไป คำว่า เป็นยักษ์ เป็นเปรต เป็นต้น บัณฑิต

พึงทราบความต่างกันแห่งการซักถามด้วยสามารถแห่งความต่างกันด้วย

อัตภาพ.

คำว่า กษัตริย์ เป็นต้น สกวาทีกล่าวด้วยสามารถแห่งชาติ

และด้วยสามารถแห่งความบกพร่องของอวัยวะเป็นต้น. คำว่า ไม่พึง

กล่าวว่า บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้สู่โลกหน้า จากโลกหน้ามาสู่โลก

นี้หรือ อีก ที่ปรวาทีถามแล้ว สกวาทีตอบรับรองว่า ใช่ บุคคลไม่

ท่องเที่ยวไป เพราะความไปสู่ปรโลกของผู้ดำรงอยู่ในภพนี้ด้วยสามารถ

แห่งการเกิดไม่มี. คำตอบรับรอง แม้ครั้งที่ ๒ เป็นของสกวาทีนั่นแหละ

เพราะความไม่มีพระโสดาบันแม้ในภพอื่นของพระโสดาบันอีก. คำว่า

หากว่า เป็นต้น เป็นของปรวาที. การซักถามถึงบุคคลผู้เกิดใน

เทวโลก ด้วยการแสดงถึงอัตภาพของมนุษย์อีกเป็นของสกวาที. เบื้อง

หน้าแต่นี้คำว่า ไม่เป็นอื่น ในคำว่า ไม่เป็นอื่นไม่แปรผัน นี้เป็น

เช่นเดียวกันโดยอาการทั้งปวง. คำว่า ไม่แปรผัน อธิบายว่า ไม่เปลี่ยน

แปลงโดยอาการแม้อย่างหนึ่ง. คำว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น อธิบาย

ว่า ปรวาทีกล่าวอย่างนี้เพราะความเป็นมนุษย์แห่งพระโสดาบันผู้เกิดขึ้น

ในเทวโลก. พระสกวาทีถามปัญหานั้นอีก ปรวาทีก็ตอบรับรองตามลัทธิ

ว่า บุคคลนั้นนั่นแหละท่องเที่ยวไป. คำว่า คนมีมือด้วน เป็นต้น

สกวาทีกล่าว เพื่อทำลายลัทธิว่า บุคคลไม่เปลี่ยนแปลง ท่องเที่ยว

ไปโดยการให้เห็นถึงการเปลี่ยนลักษณะ. ในคำเหล่านั้น คำว่า นิ้ว

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

ด้วน ได้แก่ นิ้วมือนิ้วเท้าของบุคคลใดขาดแล้ว. คำว่า เอ็นใหญ่

ขาด ได้แก่ เส้นเอ็นใหญ่ของผู้ใดขาดแล้ว. ในคำทั้งหลายมีคำว่า

มีรูปท่องเที่ยวไป เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธในปัญหาแรก หมาย

เอาการไม่ท่องเที่ยวไปกับรูปกายนี้. ในปัญหาที่ ๒ ตอบรับรองหมายเอา

บุคคลผู้มีภพในระหว่าง จริงอยู่ ในลัทธิของเขานั้น บุคคลมีรูปเข้าไป

สู่ท้องของมารดา แต่นั้นรูปของผู้เข้าไปสู่ท้องมารดานั้นย่อมแตกดับไป

นี้ เรียกว่า มีภพในระหว่างของเขา. คำว่า ชีพก็อันนั้น ความว่า

สกวาทีถามว่า บุคคลย่อมไปพร้อมกับสรีระ กล่าวคือ รูปอันใด ชีพ

ของเขาก็อันนั้นนั่นแหละ สรีระก็อันนั้นหรือ ? ปรวาทีตอบปฏิเสธ

เพราะการต้องทอดทิ้งสรีระไว้ในโลกนี้ และเพราะผิดจากพระสูตร. ใน

คำทั้งหลาย มีคำว่า เป็นผู้มีเวทนาท่องเที่ยวไปหรือ เป็นต้น

ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาความเกิดขึ้นแห่งอสัญญสัตว์. ย่อม

ตอบรับรองหมายเอาการเกิดขึ้นนอกจากอสัญญสัตว์นั้น. คำว่า ชีพก็

อันนั้น ความว่า สกวาทีย่อมถามว่า ชีพท่องเที่ยวไปพร้อมกับสรีระ

ก็อันนั้นหรือ ? ดังนี้ ที่จริง คำว่า สรีระ ในลัทธินี้ว่า ชีพอันนั้น

สรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น นี้ ท่านหมายเอาขันธ์

แม้ทั้ง ๕. ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะผิดจากพระสูตร. ในคำทั้งหลาย

มีคำว่า ไม่มีรูปท่องเที่ยวไปหรือ ในปัญหาที่หนึ่ง ปรวาทีตอบปฏิเสธ

หมายเอาภพมีในระหว่างตามลัทธิ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรองหมาย

เอานามที่เกิดในอรูปภพ. คำว่า ชีพเป็นอื่น ความว่า สกวาทีถาม

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

ว่า บุคคลไม่มีรูปละสรีระกล่าวคือรูปอันใดท่องเที่ยวไป สรีระอันนั้น

เป็นอย่างหนึ่งชีพนั้นก็เป็นอย่างหนึ่ง ตามลัทธิของท่านหรือ ? ปรวาที

ตอบปฏิเสธ เพราะผิดจากพระสูตร. คำถามว่า เป็นผู้ไม่มีเวทนา

ท่องเที่ยวไป เป็นต้น ปรวาทีหมายเอาภพที่มีสัญญา จึงตอบปฏิเสธ.

ย่อมตอบรับรองหมายเอาอุปปัตติภพอื่นนอกจากสัญญีภพนั้น. คำถามว่า

ชีพเป็นอื่น ความว่า สกวาทีถามว่า บุคคลไม่มีเวทนา ไม่มีวิญญาณ

ละสรีระ กล่าวคือ เวทนาเป็นต้น ย่อมท่องเที่ยวไปสรีระของผู้นั้นก็

เป็นอย่างหนึ่ง ชีพของผู้นั้นก็เป็นอย่างหนึ่งหรือ ? ปรวาทีตอบปฏิเสธ

เพราะผิดจากพระสูตร.

ในคำเป็นต้นว่า รูปท่องเที่ยวไปหรือ ความว่า สกวาทีถาม

ว่า เพราะอาศัยขันธ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นเหล่าใด ย่อมบัญญัติซึ่งบุคคล

เมื่อบุคคลนั้นท่องเที่ยวไปตามลัทธิของท่าน รูปแม้นั้นก็ย่อมท่องเที่ยวไป

หรือ ? ปรวาทีตอบปฏิเสธการท่องเที่ยวไปแห่งรูป ไม่ปฏิเสธการ

ท่องเที่ยวไปแห่งสัตว์ โดยพระสูตรที่ถือเอาเป็นลัทธิว่า การเที่ยวไป

แห่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น ผู้มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน

มีอยู่ เมื่อถูกถามซ้ำอีกก็กล่าวรับรองว่า รูปท่องเที่ยวไป โดยความสำคัญ

ว่า บุคคลเว้นซึ่งธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น

ครั้นเมื่อบุคคลนั้นท่องเที่ยวไป รูปแม้นั้นก็ต้องท่องเที่ยวไป. แม้ใน

ธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ในคำทั้งหลาย มีคำว่า รูปไม่ท่องเที่ยวไปหรือ เป็นต้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

อธิบายว่า ท่านกล่าวว่า รูปของท่านไม่ใช่บุคคล บุคคลเท่านั้นย่อม

ท่องเที่ยวไป เหตุใด เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าชื่อถามท่านว่า รูปของ

ท่านนั้น ไม่ท่องเที่ยวไปหรือ ? ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยหมายเอาว่า

บุคคลท่องเที่ยวไป ไม่อาจท่องเที่ยวไปด้วยรูปที่เป็นอุปาทานของผู้นั้น

เมื่อถูกถามซ้ำอีก ก็ตอบรับรอง เพราะการท่องเที่ยวไปแห่งสัตว์ทั้งหลาย

นั่นเทียว. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

อนึ่งเนื้อความแห่งคาถาทั้งหลายพึงทราบดังนี้ ว่าโดยมติของ

ท่านผู้มีอายุ บุคคลอาศัยขันธ์ทั้งหลายจึงมีอยู่ดุจเงาต้นไม้อาศัยต้นไม้

และดุจไฟอาศัยเชื้อไฟ ครั้นเมื่อความท่องเที่ยวไปแห่งธรรมทั้งหลายมี

รูปเป็นต้นไม่มี เมื่อขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นแตกดับไป ก็ถ้าบุคคลของ

ท่านย่อมไม่แตกดับไปไซร้ เมื่อความเป็นเช่นนี้มีอยู่ ความเห็นว่าขาด

สูญย่อมเกิด อุจเฉททิฏฐิย่อมปรากฏแก่เขา. ถามว่า ทิฏฐิเหล่าไหนย่อม

เกิดตอบว่า อกุสลทิฏฐิเหล่าใดที่พระพุทธเจ้าทรงเว้นขาดแล้ว ทิฏฐิ

เหล่านั้นย่อมเกิด. ท่านย่อมแสดงว่า ก็ปริยายภาษิตอันใดที่ว่า พระ-

สมณะโคดมผู้เป็นอุจเฉทวาที ดังนี้ พวกเราทั้งหลายย่อมไม่กล่าวคำ

นั้น. แม้อีกอย่างหนึ่ง เมื่อขันธ์เหล่านั้นแตกดับไป บุคคลนั้นย่อมไม่

แตกดับไปไซร้ ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ บุคคลก็เที่ยง บุคคลนั้น

ก็จะเสมอเหมือนกับพระนิพพานตามทิฏฐินั้น. คำว่า เสมอเหมือน

ได้แก่เสมออย่างยิ่งอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า เสมอด้วยเสมอ หรือเสมอโดย

ความเสมอนั่นเทียว เหมือนอย่างว่าพระนิพพานย่อมไม่เกิดย่อมไม่ดับ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

ฉันใด แม้บุคคลนั้นก็ย่อมไม่เกิดย่อมไม่ดับฉันนั้น. บุคคลเสมอเหมือน

ด้วยพระนิพพานนั้น (ตามลัทธินั้นย่อมมี) ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาคติอนุโยค จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

อุปาทาปัญญัตตานุโยค

[๙๒] ส. เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มี

ความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไป

เป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถึงบุคคลก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิด

ขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ

คลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็น

ธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะอาศัยเวทนา ฯ ล ฯ เพราะอาศัยสัญญา ฯ ล ฯ

เพราะอาศัยสังขาร ฯ ล ฯ เพราะอาศัยวิญญาณ

จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น

มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลาย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

ไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็นธรรมดา

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิด

ขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ

คลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็น

ธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๓] ส. เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยรูปเขียวจึงบัญญัติบุคคลเขียวขึ้นหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะอาศัยรูปเหลือง ฯ ล ฯ เพราะอาศัยรูปแดง

ฯ ล ฯ เพราะอาศัยรูปขาว ฯ ล ฯ เพราะอาศัยรูปที่เห็นได้ ฯ ล ฯ เพราะ

อาศัยรูปที่เห็นไม่ได้ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยรูปที่กระทบไม่ได้ ฯ ล ฯ จึงบัญญัติ

บุคคลที่กระทบไม่ได้ขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๔] ส. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็น

กุศลขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็น

กุศลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาเป็นกุศล มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา

มีผลน่าใคร่ มีผลน่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถึงบุคคลเป็นกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลน่า

ปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลน่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร

มีสุขเป็นวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๕] ส. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็น

อกุศลขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็น

อกุศลขึ้น หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาเป็นอกุศล มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่า

ปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร

ทุกข์เป็นวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเป็นอกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่า

ปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร

มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๖] ส. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคล

เป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะอาศัยเวทนาเป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคล

เป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาเป็นอัพยากฤต ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัย

ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไป

เป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถึงบุคคลเป็นอัพยากฤต ก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ

อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็น

ธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มี

ความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะอาศัยสัญญา ฯ ล ฯ เพราะอาศัยสังขาร ฯ ล ฯ

เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็น

กุศลขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลเป็น

กุศลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณเป็นกุศล มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา

มีผลน่าใคร่ มีผลน่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถึงบุคคลเป็นกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลน่า

ปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลน่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร

มีสุขเป็นวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๗] ส. เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคล

เป็นอกุศลขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคล

เป็นอกุศลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณเป็นอกุศล มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่า

ปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร

มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถึงบุคคลเป็นกุศล ก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่า

ปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่น่าฟูใจ มีผลแสลง มีทุกข์เป็นกำไร

มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๘] ส. เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยวิญญาณเป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติ

บุคคลเป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะอาศัยวิญญาณเห็นอัพยากฤต จึงบัญญัติ

บุคคลเป็นอัพยากฤตขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณเป็นอัพยากฤต ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ

อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็น

ธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มี

ความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถึงบุคคลเป็นอัพยากฤต ก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ

อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็น

ธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มี

ความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

[๙๙] ส. เพราะอาศัยจักษุพึงกล่าวว่า บุคคลมีจักษุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อจักษุดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมีจักษุดับ

ไปแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยโสตะ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยฆานะ ฯ ล ฯ

เพราะอาศัยชิวหา ฯ ล ฯ เพราะอาศัยกาย ฯ ล ฯ เพราะอาศัยมโน ฯ ล ฯ

พึงกล่าวว่า บุคคลมีมโน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อมโนดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมีมโนดับ

ไปแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๐] ส. เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิ พึงกล่าวว่า บุคคลเป็น

มิจฉาทิฏฐิ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อมิจฉาทิฏฐิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลเป็น

มิจฉาทิฏฐิดับไปแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวว่าอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

[๑๐๑] ส. เพราะอาศัยมิจฉาสังกัปปะ ฯ ล ฯ เพราะอาศัย

มิจฉาวาจา ฯ ล ฯ เพราะอาศัยมิจฉากัมมันตะ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยมิจ-

ฉาอาชีวะ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยมิจฉาวายามะ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยมิจฉา-

สติ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยมิจฉาสมาธิ ฯ ล ฯ พึงกล่าวว่า บุคคลมีมิจฉา-

สมาธิ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อมิจฉาสมาธิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมี

มิจฉาสมาธิดับไปแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๒] ส. เพราะอาศัยสัมมาทิฏฐิ พึงกล่าวว่า บุคคลเป็น

สัมมาทิฏฐิ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อสัมมาทิฏฐิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลเป็น

สัมมาทิฏฐิดับไปแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะอาศัยสัมมาสังกัปปะ ฯ ล ฯ เพราะอาศัย

สัมมาวาจา ฯ ล ฯ เพราะอาศัยสัมมากัมมันตะ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยสัม-

มาอาชีวะ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยสัมมาวายามะ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยสัมมา-

สติ ฯ ล ฯ เพราะอาศัยสัมมาสมาธิ ฯ ล ฯ พึงกล่าวว่า บุคคลมีสัมมา-

สมาธิ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อสัมมาสมาธิดับไปแล้ว พึงกล่าวว่า บุคคลมี

สัมมาสมาธิดับไปแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๓] ส. เพราะอาศัยรูป เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติ

บุคคลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยขันธ์ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ คนขึ้น

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะอาศัยรูป เพราะอาศัยเวทนา เพราะอาศัย

สัญญา เพราะอาศัยสังขาร เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยขันธ์ ๕ จึงบัญญัติบุคคล ๕ ขึ้นหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๔] ส. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตะ จึง

บัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

ส. เพราะอาศัยอายตนะ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ขึ้น

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๕] ส. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตายตนะ

ฯ ล ฯ เพราะอาศัยธัมมายตนะ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยอายตนะ ๑๒ จึงบัญญัติบุคคล ๑๒

ขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๖] ส. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ จึง

บัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยธาตุ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๗] ส. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ ฯ ล ฯ

เพราะอาศัยธัมธาตุ จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยธาตุ ๑๘ จึงบัญญัติบุคคล ๑๘ ชิ้น

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๘] ส. เพราะอาศัยจักขุนทรีย์ เพราะอาศัยโสตินทรีย์

จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยอินทรีย์ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ขึ้น

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๙] ส. เพราะอาศัยจักขุนทรีย์ เพราะอาศัยโสตินทรีย์

ฯ ล ฯ เพราะอาศัยอัญญาตาวินทรีย์ จึงบัญญัติ

บุคคลขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยอินทรีย์ ๒๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒๒

ขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๑๐] ส. เพราะอาศัยเอกโวการภพ คือ ภพแห่งสัตว์มีขันธ์

หนึ่ง จึงบัญญัติบุคคลหนึ่งขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยจตุโวการภพ คือภพแห่งสัตว์มีขันธ์ ๔

จึงบัญญัติบุคคล ๔ ขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

[๑๑๑] ส. เพราะอาศัยเอกโวการภพ จึงบัญญัติบุคคลหนึ่ง

ขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอาศัยปัญจโวการภพ คือภพแห่งสัตว์มีขันธ์

๕ จึงบัญญัติบุคคล ๕ ขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๑๒] ส. ในเอกโวการภพ มีบุคคลเพียงหนึ่ง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในจตุโวการภพ มีบุคคลเพียง ๕ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๑๓] ส. ในเอกโวการภพ มีบุคคลเพียงหนึ่ง ๕ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในปัญจโวการภพ มีบุคคลเพียง ๕ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๑๔] ส. เพราะอาศัยต้นไม้ จึงบัญญัติเงาไม้ขึ้น ฉันใด

ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ เพราะอาศัย

ต้นไม้ จึงบัญญัติเงาไม้ขึ้น แม้ต้นไม้ก็ไม่เที่ยง แม้เงาไม้ก็ไม่เที่ยง

ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคลขึ้น แม้รูปก็ไม่

เที่ยง แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะอาศัยต้นไม้ จึงบัญญัติเงาไม้ขึ้น ต้นไม้

เป็นอื่น เงาไม้ก็เป็นอื่น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึง

บัญญัติบุคคลขึ้น รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะอาศัยบ้าน จึงบัญญัติชาวบ้านขึ้น ฉันใด

ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?

ส. เพราะอาศัยบ้าน จึงบัญญัติชาวบ้านขึ้น บ้านเป็น

อื่น ชาวบ้านก็เป็นอื่น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึง

บัญญัติบุคคลขึ้น รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะอาศัยรัฐ จึงบัญญัติราชาขึ้น ฉันใด ฉันนั้น

แหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้น หรือ ?

ส. เพราะอาศัยรัฐ จึงบัญญัติราชาขึ้น รัฐเป็นอื่น

ราชาก็เป็นอื่น ฉันใด ฉันนั้นแหละ เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคล

ขึ้น รูปเป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ตรวน ไม่ใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้น

ต่างหาก ชื่อว่า ผู้ถูกจำตรวน ฉันใด ฉันนั้นแหละ รูปไม่ใช่ผู้มีรูป

รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นต่างหากชื่อว่า ผู้มีรูป หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

ส. ตรวน ไม่ใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้น

ต่างหากชื่อว่า ผู้ถูกจำตรวน ตรวนเป็นอื่น ผู้ถูกจำตรวนก็เป็นอื่น

ฉันใด ฉันนั้นแหละ รูปไม่ใช่ผู้มีรูป รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นต่างหากชื่อว่า

ผู้มีรูป รูปเป็นอื่น ผู้มีรูปก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๑๕] ส. บัญญัติบุคคลขึ้นในเพราะจิตแต่ละดวง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลในเพราะจิตแต่ละดวง ย่อมเกิด แก่ ตาย

จุติ และอุปบัติ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้น

หรือว่าบุคคลอื่น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า เด็กชาย

หรือว่าเด็กหญิง หรือ ?

ป. พึงกล่าวได้.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิด

ขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้นหรือว่าบุคคลอื่น ด้วยเหตุนั้นนะท่าน

จึงต้องกล่าวว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าเด็กชาย หรือว่า

เด็กหญิง, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น แต่พึงกล่าวได้ว่า

เด็กชาย หรือว่าเด็กหญิง ดังนี้ ผิด, ก็หรือหากว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒

เกิดขึ้น พึงกล่าวได้ว่าเด็กชายหรือว่าเด็กหญิง ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง

ต้องกล่าวว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น พึงกล่าวได้ว่าบุคคลนั้นหรือว่า

บุคคลอื่น, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒

เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้นหรือว่าบุคคลอื่น แต่พึงกล่าวว่าเด็ก

ชายหรือเด็กหญิงดังนี้ ผิด.

[๑๑๖] ส. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้น

หรือว่าบุคคลอื่น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าสตรี หรือ

ว่าบุรุษ... ว่าคฤหัสถ์ หรือว่าบรรพชิต... ว่า

เทวดา หรือว่ามนุษย์ หรือ ?

ป. พึงกล่าวได้.

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิด

ขึ้น ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลนั้น หรือบุคคลอื่น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง

ต้องกล่าวว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึงกล่าวว่าเทวดา หรือว่า

มนุษย์. ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึง

กล่าวว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น แต่พึงกล่าวได้ว่าเทวดา หรือว่า

มนุษย์ดังนี้ ผิด, ก็หรือหากว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น พึงกล่าวได้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

ว่าเทวดา หรือว่ามนุษย์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เมื่อจิต

ดวงที่ ๒ เกิดขึ้น พึงกล่าวได้ว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น, ที่ท่าน

กล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่พึง

กล่าวว่าบุคคลนั้น หรือว่าบุคคลอื่น แต่พึงกล่าวได้ว่าเทวดา หรือว่า

มนุษย์ ดังนี้ ผิด ฯ ล ฯ

[๑๑๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่าท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักษุใด พึง

กล่าวได้ว่า บุคคลนั้นเห็น เห็นรูปนั้น เห็นด้วย

จักษุนั้นมิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักษุใด

พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้นเห็น เห็นรูปนั้น เห็นด้วยจักษุนั้น ด้วย

เห็นนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ.

[๑๑๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

ป. บุคคลใดฟัง ฯ ล ฯ บุคคลใดดม ฯ ล ฯ บุคคลใดลิ้ม

ฯ ล ฯ บุคคลใดถูกต้อง ฯลฯ บุคคลใดรู้ รู้ธัมมารมณ์ใด รู้ด้วยมโนใด

พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้นรู้ รู้ธัมมารมณ์ รู้ด้วยมโนนั้น มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลใดรู้ รู้ธัมมารมณ์ใด รู้ด้วยมโน

ใด พึงกล่าวได้ว่า บุคคลนั้นรู้ รู้ธัมมารมณ์นั้น ด้วยมโนนั้น ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ.

[๑๑๙] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลใดมิได้เห็น มิได้เห็นรูปใด มิได้เห็นด้วย

จักษุใด ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้นเห็น ไม่พึงกล่าวว่าเห็นรูปนั้น ไม่พึง

กล่าวว่าเห็นด้วยจักษุนั้น มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลใดมิได้เห็น มิได้เห็นรูปใด มิได้

เห็นด้วยจักษุใด ไม่พึงกล่าวบุคคลนั้นเห็น ไม่พึงกล่าวว่าเห็นรูปนั้น

ไม่พึงกล่าวว่าเห็นด้วยจักษุนั้น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.

[๑๒๐] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

ส. บุคคลใดมิได้ฟัง ฯ ล ฯ บุคคลใดมิได้ดม ฯ ล ฯ

บุคคลใดมิได้ลิ้ม ฯ ล ฯ บุคคลใดมิได้ถูกต้อง ฯ ล ฯ บุคคลใดมิได้รู้

มิได้รู้ธัมมารมณ์ใด มิได้รู้ด้วยมโนใด ไม่พึงกล่าวบุคคลนั้นรู้ ไม่พึง

กล่าวว่ารู้ธัมมารมณ์นั้น ไม่พึงกล่าวว่ารู้ด้วยมโนนั้น มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลใดมิได้รู้ มิได้รู้ธัมมารมณ์ใด มิ

ได้รู้ด้วยมโนใด ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลนั้นรู้ไม่พึงกล่าวว่ารู้ธัมมารมณ์นั้น

ไม่พึงกล่าวว่ารู้ด้วยมโนนั้น ก็ต้องไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าหยั่งเห็นบุคคล

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.

[๑๒๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้ โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราเห็นสัตว์ทั้งหลายจุติอยู่ อุปบัติอยู่ เลวบ้าง ประ-

ณีตบ้าง มีพรรณะงามบ้าง มีพรรณะทรามบ้าง เป็นสุคติบ้าง

เป็นทุคติบ้าง ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ

มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรม ดังนี้ เป็น

สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

๑. ม.ม. ๑๓/๗๕๖.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

ป. ถ้าอย่างนั้น ก็หยั่งเห็นบุคคลได้ โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะน่ะสิ.

ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสไว้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นสัตว์ทั้งหลายจุติอยู่ อุปบัติอยู่

เลวบ้าง ประณีตบ้าง มีพรรณะงามบ้าง มีพรรณะทรามบ้าง เป็นสุคติ

บ้าง เป็นทุคติบ้าง ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ

มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรม ดังนี้ ด้วยเหตุ

นั้นแหละ ท่านจึงหยั่งเห็นบุคคล โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นรูปหรือทรงเห็นบุคคล

ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ

มนุษย์.

ป. ทรงเห็นรูป.

ส. รูปคือบุคคล รูปจุติ รูปอุบัติ รูปเป็นไปตาม

กรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นรูปหรือทรงเห็นบุคคล

ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ

มนุษย์.

ป. ทรงเห็นบุคคล.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

ส. บุคคล คือรูป คือรูปายนะ คือรูปธาตุ คือสีเขียว

คือสีเหลือง คือสีแดง คือสีขาว คือสิ่งที่รู้ได้ด้วยจักษุ กระทบมีจักษุ

มาสู่คลองจักษุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นรูปหรือทรงเห็นบุคคล

ด้วยจักษุเพียงทิพย์ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์.

ป. ทรงเห็นทั้งสองอย่าง.

ส. ทั้งสองอย่างคือรูป คือรูปายตนะ คือรูปธาตุ ทั้ง

สองอย่างคือสีเขียว ทั้งสองอย่างคือสีเหลือง ทั้งสองอย่างคือสีแดง ทั้ง

สองอย่างคือสีขาว ทั้งสองอย่างคือสิ่งที่รู้ได้ด้วยจักษุ ทั้งสองอย่างกระ-

ทบที่จักษุ ทั้งสองอย่างมาสู่คลองจักษุ ทั้งสองอย่างจุติ ทั้งสองอย่าง

อุบัติ ทั้งสองอย่างเป็นไปตามกรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

อุปาทาปัญญัตตานุโยค จบ

อรรถกถาอุปาทาปัญญัตตานุโยค

ว่าด้วยการซักถามอุปาทาบัญญัติ

บัดนี้ เป็นการซักถามอุปาทาบัญญัติ คือบัญญัติเพราะอาศัย

ในเรื่องนั้น คำถามเป็นของพระสกวาที คำรับรองเป็นของพระปรวาที.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

จริงอยู่เพราะอาศัยจักขุรูปเป็นต้น จึงบัญญัติบุคคล เหมือนการบัญญัติ

เงาไม้เพราะอาศัยต้นไม้ เหมือนการบัญญัติไฟเพราะอาศัยเชื้อไฟ ฉะนั้น

ท่านต้องการประกาศให้รู้ให้เข้าใจถึงบัญญัติ เพราะฉะนั้นเมื่อถูก

สกวาทีถามว่า เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติบุคคลขึ้นหรือ ปรวาทีจึง

ตอบรับรอง. ถูกถามเนื้อความนี้อีกว่า ถึงบุคคลก็ไม่เที่ยงเป็นราวกะ

รูป เป็นต้น เปรียบเหมือนเงาอาศัยต้นไม้ที่ต้นไม้ด้วย ไฟที่อาศัย

เชื้อไฟและเชื้อไฟด้วยมีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดาฉันใด บุคคลของท่าน

อาศัยรูปเป็นต้น มีความไม่เที่ยงดุจธรรมทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น ฉะนั้น

หรือ ดังนี้ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะตั้งอยู่ในลัทธิของตน. ในคำทั้ง

หลายมีคำว่า เพราะอาศัยรูปเขียวจึงบัญญัติบุคคลเขียวหรือ เป็นต้น

ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาซึ่งความที่บุคคลเป็นอันเดียวกันกับรูปเขียวด้วย

ซึ่งความมีมากมายแห่งบุคคลด้วยสามารถแห่งรูปเขียวเป็นต้นในสรีระ

หนึ่งด้วย จึงตอบปฏิเสธ.

แม้ในปัญหานี้ว่า เพราะอาศัยเวทนาอันเป็นกุศล จึงบัญญัติ

บุคคลเป็นกุศลหรือ เป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาซึ่งความที่บุคคล

กับเวทนาเป็นอันเดียวกันและความมีมากมายแห่งบุคคลด้วยสามารถแห่ง

กุศลเวทนาอันมากมายในสันดานหนึ่ง จึงตอบปฏิเสธ. ในนัยที่ ๒

ปรวาทีตอบรับรองเพราะหมายเอาบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความฉลาดโดยสภาพ

แห่งคำว่า มัคคกุศล เป็นต้น. ถูกถามว่า ถึงบุคคลเป็นกุศลมีผล

เป็นต้น ก็ตอบปฏิเสธเพราะไม่มีโวหารเช่นนั้น. ในฝ่ายอกุศล ปรวาที

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

ตอบรับรองหมายเอาผู้ดำรงอยู่ในความไม่ฉลาด. ในฝ่ายอัพยากตะท่าน

ก็ตอบรับรองหมายเอาความเป็นแห่งอัพยากตะ คือความไม่พยากรณ์

ด้วยสามารถแห่งคำว่า โลกเที่ยงเป็นต้น. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบ

โดยนัยแห่งคำที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นเทียว.

ในคำถามทั้งหลายว่า เพราะอาศัยจักขุพึงกล่าวว่าบุคคลมีจักขุ

หรือ เป็นต้น ปรวาทีย่อมตอบรับรองเพราะสภาพแห่งโวหารว่า ผู้มี

จักขุพึงเว้นบาปต่าง ๆ เป็นต้นเมื่อไม่ปรารถนาความดับของบุคคลเพราะ

การดับแห่งธรรมสักว่ามีจักขุเป็นต้น จึงปฏิเสธ. ในคำถามนี้ว่า เพราะ

อาศัยรูปอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลหรือ นี้บัณฑิตพึงทราบธรรม

แม้เหล่าอื่นที่มีรูปเป็นมูลอันเป็นหมวด ๒ หมวด ๓ และหมวด ๔. ก็

การบัญญัติบุคคลเพราะอาศัยขันธ์ทั้งหลายเหตุใด เพราะเหตุนั้นปรวาที

จึงตอบรับรองซึ่งบัญญัติเพราะอาศัยขันธ์ ๒ บ้าง ขันธ์ ๓ บ้าง ขันธ์ ๔

บ้าง ขันธ์ ๕ บ้าง. แต่ย่อมตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มีบุคคล ๒ หรือ

บุคคล ๕ ในสันดานหนึ่งแม้ในอายตนะทั้งหลาย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บัดนี้เพื่อแสดงว่า การบัญญัติบุคคลใด เพราะอาศัยขันธ์ใด

ความไม่เที่ยงแม้ของบุคคลนั้นเพราะความไม่เที่ยงของขันธ์นั้น และ

ความสำเร็จอย่างหนึ่งเพราะอาศัยสิ่งหนึ่งฉันใด ความสำเร็จแห่งบุคคล

นั้นย่อมปรากฏฉันนั้นหรือ ดังนี้ จึงกล่าวว่า เพราะอาศัยต้นไม้ จึง

บัญญัติเงาไม้ขึ้นฉันใด เป็นต้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เพราะ

อาศัย ได้แก่ อาศัย คือการไม่เว้นจากสิ่งนั้น. ก็ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

คำว่า เพราะอาศัยต้นไม้ จึงบัญญัติเงา เพราะอาศัยรูป จึงบัญญัติ

บุคคล ดังนี้ เพราะความตั้งมั่นอยู่ในลัทธิของตน จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า

ตรวน ได้แก่ เครื่องจองจำอันมั่นคง. คำว่า ผู้ถูกจำตรวน ได้แก่

ผู้ถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำนั้น. คำว่า รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นต่างหาก

ชื่อว่า ผู้มีรูป อธิบายว่า รูปมีแก่บุคคลใด บุคคลนั้นต่างหากชื่อว่าผู้

มีรูป เหมือนตรวนไม่ใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนก็อย่างหนึ่ง ผู้ถูกจำตรวน

ก็อย่างหนึ่ง. ฉันใด ฉันนั้นนั่นแหละ รูปก็อย่างหนึ่ง ผู้มีรูปก็อย่าง

หนึ่ง.

ในคำถามว่า บัญญัติบุคคลในเพราะจิตแต่ละดวงหรือ ปรวาที

หมายเอาจิตมีราคะเป็นต้นด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้มีราคะเป็นต้น จึง

ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งจิตตานุปัสสนา. ถูกสกวาทีถามโดยนัยว่า

ย่อมเกิดแก่ตาย เป็นต้น เมื่อปรวาทีไม่ปรารถนาซึ่งความที่บุคคล

เกิดเป็นขณะ เหมือนจิต จึงปฏิเสธ. ถูกถามว่า บุคคลนั้น หรือว่า

บุคคลอื่น เพราะกลัวเป็นสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ จึงปฏิเสธ. ถูก

สกวาทีถามว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้นไม่พึงกล่าวว่า กุมารหรือว่า

กุมารี อีก เพราะกลัวแต่การถูกตัดขาดจากโวหารของชาวโลก จึงรับ

ว่า พึงกล่าวได้. คำที่เหลือในที่นี้ปรากฏชัดแจ้งแล้วทั้งนั้น.

บัดนี้ ปรวาทีเป็นผู้ใคร่เพื่อจะให้ลัทธิของตนตั้งอยู่โดยอาการ

อื่น จึงกล่าวคำว่า ไม่พึงกล่าวว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล เป็นต้น. ใน

คำเหล่านั้น คำว่า ไม่พึงกล่าว อธิบายว่า ปรวาทีกล่าวคำนี้ก่อน

ว่า ไม่พึงกล่าวว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

โดยการซักถามถึงอุปาทาบัญญัติอันมากมายอย่างนี้. ต่อจากนั้น เมื่อคำ

ว่าใช่ อันสกวาทีตอบรับรองแล้ว ปรวาทีจึงกล่าวว่า บุคคลใดเห็น

เห็นรูปใด...มิใช่หรือ เป็นต้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า โย ได้แก่

บุคคลใด คำว่า ย ได้แก่ รูปใด คำว่า เยน ได้แก่ ด้วยจักขุใด

คำว่า โส ได้แก่ บุคคลนั้น คำว่า ต ได้แก่รูปนั้น คำว่า เตน ได้แก่

ด้วยจักขุนั้น. ท่านอธิบายไว้ว่า บุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักขุ

ใด ผู้นั้นเมื่อเห็นรูปนั้นย่อมเห็นด้วยจักขุนั้น มิใช่หรือ ? สกวาทีก็

ตอบรับรองว่าใช่ ด้วยสามารถแห่งคำสมมติเป็นต้นด้วยคำว่า จักขุอัน

ถึงความเป็นนิสสยปัจจัยแก่จักขุวิญญาณแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นบุคคลนั้น

ก็ชื่อว่าย่อมเห็นซึ่งรูปนั้น โสตะก็เช่นเดียวกัน บุคคลนั้นชื่อว่าย่อมฟัง

เสียง ฯ ล ฯ มโนวิญญาณก็เช่นเดียวกัน บุคคลนั้นย่อมชื่อว่ารู้แจ้งซึ่ง

ธรรม จักขุของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์ย่อมเห็นรูปนั้นด้วย

จักขุนั้น ดังนี้ ลำดับนั้นปรวาทีอาศัยวาทะอันมีเลศนัย จึงเปลี่ยน

วาทะนั้นนั่นแหละแล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านพึง

กล่าวว่าหยั่งเห็นบุคคล เพราะความที่บุคคลอันท่านให้สำเร็จแล้วด้วย

ความเป็นคำอันบุคคลพึงกล่าว. ในคำเหล่านั้น คำว่า บุคคลใดมิได้

เห็น อธิบายว่า เป็นบุคคลผู้บอด อสัญญีสัตว์ ผู้เกิดในอรูปภพ แม้

เป็นผู้ไม่บอดเข้าสมาบัติแล้วก็ชื่อว่าย่อมไม่เห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งขณะ

นั้น. แม้ในวาระทั้งเหลือก็นัยนี้นั่นแหละ. ว่าโดยอรรถ บัณฑิตพึงทราบ

คำที่เหลือด้วยสามารถแห่งพระบาลี.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

ในการเทียบเคียงพระสูตร ปรวาทีกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเห็นรูปเพราะรูปเป็นอารมณ์แก่ทิพยจักขุ. ในวาระที่ ๒ กล่าวว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลเพราะพระบาลีว่า เราตถาคต ย่อม

เห็นสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ ในวาระที่ ๓ กล่าวว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

เห็นทั้ง ๒ อย่าง เพราะลัทธิว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นรูปแล้วจึงรู้

แจ้งซึ่งบุคคล. ก็รูปายตนะนั่นแหละท่านรวบรวมไว้ในรูปสังคหะ ๔ คือ

ทิฏฺ ๑. สุต ๑. มุต ๑. วิญฺาต ๑. ชื่อว่าเป็นธรรมพึงเห็น

เหตุใด เพราะเหตุนั้น สกวาทีจึงซักว่า รูปคือบุคคล บุคคลคือรูป

ทั้ง ๒ อย่างคือรูป คือรูปปายตนะ เป็นต้น.

อรรถกถาอุปาทาปัญญัตตานุโยค จบ

๑. ในวิภังค์ปกรณ์กล่าวไว้ว่า รูปายตนะเป็น ทิฏฺ เป็น วิญฺาต สัททา-

ยตนะเป็น สุต เป็น วิญฺาต คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะเป็น มุต

เป็นวิญฺาต อายตนะ ๗ ที่เหลือ คือ จักขายตนะ โสตา ฆานา ชิวหา กายา

ธัมมา มนายตนะ เป็น วิญฺาต ทิฏฺ ได้แก่ธรรมที่เขาเห็นแล้ว ฯ ล ฯ

วิญฺาต ได้แก่ธรรมที่เขารู้แล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

กัลยาณวรรค

[๑๒๒] ป. ท่านหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่วหรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๒๓] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างบุคคลนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างบุคคลนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะ

ก็ไม่มี ความดับรอบอย่างหาเชื้อมิได้ ก็ไม่มี

แก่บุคคลนั้น ๆ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๒๔] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

๑. ตอนนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " ปุริสการานุโยค "

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

ส. เพราะหยั่งเห็นบุคคล ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ

ผู้สร้างบุคคล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๒๕] ส. เพราะหยั่งเป็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นนิพพาน ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ

ผู้สร้างนิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๒๖] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นผู้ทำ ผู้สร้างธรรมดีกรรมชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นมหาปฐพี ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นผู้ทำ สร้างมหาปฐพี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๒๗] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นมหาสมุทร ฉะนั้นจึงหยั่งเห็น

ผู้ทำ ผู้สร้างมหาสมุทร หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

[๑๒๘] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นขุนเขาสิเนรุ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็น

ผู้ทำ ผู้สร้างขุนเขาสิเนรุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๒๙] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นน้ำ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้

สร้างน้ำ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๓๐] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นไฟ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้

สร้างไฟ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๓๑] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นลม ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้

สร้างลม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๓๒] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า

ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้างหญ้า ไม้ และ

ต้นไม้เจ้าป่า หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๓๓] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดีกรรมชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมดีกรรมชั่วเป็นอื่น ผู้ทำ ผู้สร้างกรรมดี

กรรมชั่ว ก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๓๔] ป. ท่านหยั่งเห็นวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดี

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

กรรมชั่ว หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะหยั่งเห็นวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้น

จึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีกรรม-

ชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยวิบากนั้นหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยวิบากนั้นหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะ

ก็ไม่มี ความดับรอบอย่างหาเชื้อมิได้ก็ไม่มี แก่

บุคคลนั้น ๆ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะหยั่งเห็นวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้น

จึงเห็นบุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นบุคคล ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้เสวย

บุคคล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

ส. เพราะหยั่งเห็นวิบากของกรรมชั่ว ฉะนั้น

จึงเห็นบุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดี กรรมชั่ว

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นนิพพาน ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้

เสวยนิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะหยั่งเห็นวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้น

จึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีกรรม

ชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นมหาปฐพี เพราะหยั่งเห็นมหา-

สมุทร เพราะหยั่งเห็นขุนเขาสิเนรุ เพราะหยั่งเห็นน้ำ เพราะหยั่ง

เห็นไฟ เพราะหยั่งเห็นลม ฯ ล ฯ เพราะหยั่งเห็นหญ้า ไม้ และต้นไม้

เจ้าป่า ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้และต้นไม้เจ้าป่า หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะหยั่งเห็นวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้น

จึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีกรรม-

ชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วเป็นอื่น บุคคลผู้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

เสวยวิบากของกรรมดีกรรมชั่วก็เป็นอื่นหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๓๕] ป. ท่านหยั่งเห็นสุขอันเป็นทิพย์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุขอันเป็นทิพย์หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๓๖] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขอันเป็นทิพย์ ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นบุคคลผู้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยสุขอันเป็น

ทิพย์นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยสุขอันเป็น

ทิพย์นั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะ

ก็ไม่มี ความดับรอบอย่างหาเชื้อมิได้ ก็ไม่มี

แก่บุคคลนั้น ๆ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๓๗] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขอันเป็นทิพย์ ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นบุคคลผู้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นบุคคลฉะนั้นจึงเห็นผู้เสวยบุคคล

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๓๘ ] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขอันเป็นทิพย์ ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นบุคคลผู้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นนิพพาน ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคล

ผู้เสวยนิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๓๙] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขอันเป็นทิพย์ ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นบุคคลผู้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นมหาปฐพี ฯ ล ฯ เพราะหยั่งเห็น

มหาสมุทร เพราะหยั่งเห็นขุนเขาสิเนรุ เพราะหยั่งเห็นน้ำ เพราะ

หยั่งเห็นไฟ เพราะหยั่งเห็นลม ฯ ล ฯ เพราะหยั่งเห็นหญ้า ไม้ และ

ต้นไม้เจ้าป่า ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๔๐] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขอันเป็นทิพย์ ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นบุคคลผู้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

ป. ถูกแล้ว.

ส. สุขอันเป็นทิพย์เป็นอื่น บุคคลผู้เสวยสุขอันเป็น

ทิพย์ก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๔๑] ป. ท่านหยั่งเห็นสุขของมนุษย์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๔๒] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขของมนุษย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็น

บุคคลผู้เสวยของมนุษย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์

นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์

นั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะ

ก็ไม่มี ความดับรอบอย่างหาเชื้อมิได้ก็ไม่มี แก่

บุคคลนั้นๆ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

[๑๔๓] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขของมนุษย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็น

เห็นบุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นบุคคล ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้เสวย

บุคคล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๔๔] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขของมนุษย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็น

บุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นนิพพาน ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคล

ผู้เสวยนิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๔๕] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขของมนุษย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็น

บุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นมหาปฐพี ฯ ล ฯ เพราะหยั่งเห็น

มหาสมุทร เพราะหยั่งเห็นขุนเขาสิเนรุ เพราะหยั่งเห็นน้ำ เพราะ

หยั่งเห็นไฟ เพราะหยั่งเห็นลม ฯ ล ฯ เพราะหยั่งเห็นหญ้า ไม้ และ

ต้นไม้เจ้าป่า ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

[๑๔๖] ส. เพราะหยั่งเห็นสุขของมนุษย์ ฉะนั้นจึงหยั่งเห็น

บุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สุขของมนุษย์เป็นอื่น บุคคลผู้เสวยสุขของ

มนุษย์ก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๔๗] ป. ท่านหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในอบาย หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบายหรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๔๘] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในอบาย ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีใน

อบาย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีใน

อบายนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

ก็ไม่มี ความดับรอบอย่างหาเชื้อมิได้ ก็ไม่มี

แก่บุคคลนั้น ๆ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๔๙] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ในอบาย ฉะนั้นจึงหยั่งเห็น

บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นบุคคล ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้เสวย

บุคคล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๕๐] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในอบาย ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นนิพพาน ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคล

ผู้เสวยนิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๕๑] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในอบาย ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นมหาปฐพี ฯ ล ฯ เพราะหยั่งเห็น

มหาสมุทร เพราะหยั่งเห็นขุนเขาสิเนรุ เพราะหยั่งเห็นน้ำ เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

หยั่งเห็นไฟ เพราะหยั่งเห็นลม ฯ ล ฯ เพราะหยั่งเห็นหญ้า ไม้ และ

ต้นไม้เจ้าป่า ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๒] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในอบาย ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุกข์ที่มีในอบายเป็นอื่น บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มี

ในอบายก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๓] ป. ท่านหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในนรก หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรกหรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๕๔] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในนรก ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีใน

นรกนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ท่านหยั่งเห็นผู้เสวย บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีใน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

นรกนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะ

ก็ไม่มี ความดับรอบอย่างหาเชื้อมิได้ ก็ไม่มีก็บุคคลนั้น ฯลฯ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๕๕] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในนรก ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นบุคคล ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นผู้เสวย

บุคคล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๕๖] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในนรก ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะหยั่งเห็นนิพพาน ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคล

ผู้เสวยนิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๕๗] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในนรก ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

ส. เพราะหยั่งเห็นมหาปฐพี ฯ ล ฯ เพราะหยั่งเห็น

มหาสมุทร เพราะหยั่งเห็นขุนเขาสิเนรุ เพราะหยั่งเห็นน้ำ เพราะ

หยั่งเห็นไฟ เพราะหยั่งเห็นลม เพราะหยั่งเห็นหญ้า ไม้ และต้นไม้

เจ้าป่า ฉะนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๕๘] ส. เพราะหยั่งเห็นทุกข์ที่มีในนรก ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุกข์ที่มีในนรกเป็นอื่น บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มี

ในนรกก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๕๙] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง

เป็นผู้ทำ ผู้สร้าง ผู้เสวยวิบากของกรรมดี

กรรมชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลนั้นทำ บุคคลนั้นเองเสวย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลนั้นทำ บุคคลนั้นเองเสวย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สุขและทุกข์ตัวทำเอง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

[๑๖๐] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นผู้ทำ ผู้สร้าง ผู้เสวยวิบากของกรรมดี

กรรมชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลอื่นทำ บุคคลอื่นเสวย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลอื่นทำ บุคคลอื่นเสวย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สุขและทุกข์บุคคลอื่นทำให้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๖๑] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีและกรรมชั่ว ฉะนั้นจึง

หยั่งเห็นผู้ทำ ผู้สร้าง ผู้เสวยวิบากกรรมดี

กรรมชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลนั้นและบุคคลอื่นทำ บุคคลนั้นและบุคคล

อื่นเสวย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลนั้นและบุคคลอื่นทำ บุคคลนั้นและบุคคล

อื่นเสวย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สุขและทุกข์ตัวทำเองด้วยคนอื่นทำให้ด้วยหรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๖๒] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นบุคคลผู้ทำ ผู้สร้าง ผู้เสวยวิบากกรรมดี

กรรมชั่ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลนั้นทำก็หาไม่ บุคคลนั้นเองเสวยก็หาไม่

บุคคลอื่นทำก็หาไม่ บุคคลอื่นเสวยก็หาไม่หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลนั้นทำก็หาไม่ บุคคลนั้นเองเสวยก็หาไม่

บุคคลอื่นทำก็หาไม่บุคคลอื่นเสวยก็หาไม่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สุขละทุกข์อาศัยสภาพที่มิใช่การทำของตนเอง

ไม่ใช่การทำของคนอื่นเกิดขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๖๓] ส. เพราะหยั่งเห็นกรรมดีกรรมชั่ว ฉะนั้นจึงหยั่ง

เห็นบุคคลผู้ทำ ผู้สร้าง ผู้เสวยกรรมดีกรรมชั่ว

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลนั้นทำ บุคคลนั้นเองเสวย บุคคลอื่นทำ

บุคคลอื่นเสวย บุคคลนั้นและบุคคลอื่นทำ บุคคลนั้นและบุคคลอื่น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

เสวย บุคคลนั้นทำก็หาไม่ บุคคลนั้นเองเสวยก็หาไม่ บุคคลอื่นทำก็

หาไม่ บุคคลอื่นเสวยก็หาไม่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลนั้นทำ บุคคลนั้นเองเสวย บุคคลอื่นทำ

บุคคลอื่นเสวย บุคคลนั้นและบุคคลอื่นทำ บุคคลนั้นและบุคคลอื่น

เสวย บุคคลนั้นทำก็หาไม่ บุคคลนั้นเองเสวยก็หาไม่ บุคคลอื่นทำก็

หาไม่ บุคคลอื่นเสวยก็หาไม่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สุขและทุกข์ตัวทำเอง สุขและทุกข์คนอื่นทำให้

สุขและทุกข์ตัวทำเองด้วย คนอื่นทำให้ด้วย สุขและทุกข์อาศัยสภาพที่

มิใช่การทำของตนเอง มิใช่การทำของบุคคลอื่นเกิดขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๖๔] ป. กรรมมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้ทำกรรมก็มีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะกรรมมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้สร้างบุคคลผู้ทำกรรมนั้นก็มีอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ผู้สร้างบุคคลผู้ทำกรรมนั้นก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะ

ก็ไม่มี ความดับรอบอย่างหาเชื้อมิได้ก็ไม่มี แก่

บุคคลนั้นๆ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะกรรมมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะบุคคลมีอยู่ ฉะนั้นผู้สร้างบุคคลจึงมีอยู่

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะกรรมมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะนิพพานมีอยู่ ฉะนั้นผู้สร้างนิพพานจึงมี

อยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะกรรมมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะมหาปฐพีมีอยู่ ฯ ล ฯ เพราะมหาสมุทร

มีอยู่ ฯ ล ฯ เพราะขุนเขาสิเนรุมีอยู่ ฯ ล ฯ เพราะน้ำมีอยู่ ฯ ล ฯ เพราะ

ไฟมีอยู่ ฯ ล ฯ เพราะลมมีอยู่ ฯ ล ฯ เพราะหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า

มีอยู่ ฉะนั้น ผู้สร้างหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า จึงมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะกรรมมีอยู่ บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กรรมเป็นอื่น บุคคลผู้ทำกรรมก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. วิบากมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้เสวยวิบากมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะวิบากมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยวิบากจึง

มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้เสวยบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้เสวยบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นมีอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

ป. ถูกแล้ว.

ส. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความขาดแห่งวัฏฏะ

ก็ไม่มี ความดับรอบอย่างหาเชื้อมิได้ก็ไม่มี

แก่บุคคลนั้น ๆ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะวิบากมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยวิบากจึง

มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะบุคคลมีอยู่ ฉะนั้นผู้เสวยบุคคลจึงมีอยู่

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะวิบากมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยวิบากจึง

มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะนิพพานมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยนิพพาน

จึงมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะวิบากมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยวิบากจึง

มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

ส. เพราะมหาปฐพีมีอยู่ ฯ ล ฯ เพราะมหาสมุทร

มีอยู่ ฯ ล ฯ เพราะขุนเขาสิเนรุมีอยู่ ฯ ล ฯ เพราะน้ำมีอยู่ ฯลฯ เพราะ

ไฟมีอยู่ ฯ ล ฯ เพราะลมมีอยู่ ฯ ล ฯ เพราะหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า

มีอยู่ ฉะนั้นผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าจึงมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่ารอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพราะวิบากมีอยู่ ฉะนั้นบุคคลผู้เสวยวิบากจึง

มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิบากเป็นอื่นบุคคลผู้เสวยวิบากก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ คำที่เหลือท่านย่อไว้.

กัลยาณวรรค จบ

อรรถกถาปุริสการานุโยค

ว่าด้วยการซักถามการกระทำของบุคคล

บัดนี้ เป็นการซักถามถึงการทำของบุคคล ในปัญหานั้น คำ

ถามด้วยลัทธิว่า เมื่อกรรมมีอยู่ แม้ผู้ทำกรรมนั้นก็ต้องมีแน่นอน

ดังนี้ เป็นของปรวาที. คำตอบรับรองว่าใช่ เป็นของพระสกวาที เพราะ

ความที่กรรมทั้งหลายเช่นนั้นมีอยู่. คำถามอีกว่า ผู้ทำ ผู้ให้ทำกรรม

เป็นของสกวาที. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ผู้ทำ ได้แก่ ผู้ทำกรรม

ทั้งหลายเหล่านั้น. คำว่า ผู้ให้ทำกรรม ได้แก่ ผู้ให้ทำกรรมด้วย

อุบายทั้งหลาย มีการสั่งสมและการแสดงให้ทราบ เป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

ในบัดนี้ ปรวาทีหมายเอาบุคคลจึงถามถึง ผู้ทำ ไม่ถามเหตุ

สักว่าการกระทำ เพราะฉะนั้นสกวาทีจึงตอบปฏิเสธ. ในคำนี้ว่า. ผู้ทำ

ผู้ให้ทำกรรมนั้น อธิบายว่า สกวาทีถามว่า ถ้าว่า ท่านหยั่งเห็นกรรม

ใด ๆ ท่านก็หยั่งเห็นบุคคลผู้ทำกรรมนั้นๆ ย่อมหยั่งเห็นบุคคลตามลัทธิ

ของท่านนั่นแหละ ก็ท่านหยั่งเห็นบุคคลอื่นผู้ทำด้วย ผู้ให้ทำกรรมนั้น

ด้วยหรือ ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธ เพราะกลัวจะ

ถูกกล่าวหาว่าเป็นลัทธิแห่งพระเจ้าสร้างโลก. เมื่อถามซ้ำอีก ปรวาที

ก็ตอบรับรองเพราะหมายเอาเนื้อความนี้ว่า มารดาบิดาย่อมให้บุคคล

เกิด ย่อมตั้งชื่อ ย่อมเลี้ยงดู เพราะฉะนั้น มารดาบิดาเหล่านั้น จึง

ชื่อว่า ผู้ทำ ส่วนกัลยาณมิตรหรืออาจารย์เหล่าใดย่อมให้ศิษย์ศึกษา

วิชาการ และเรียนศิลปะทั้งหลายนั้น ๆ กัลยาณมิตรหรืออาจารย์เหล่า

นั้นชื่อว่า ผู้ให้ทำ ดังนี้. ท่านอธิบายว่า กรรมเก่าเท่านั้นท่าน

ประสงค์เอาว่า เป็นผู้ทำเป็นผู้ให้ทำกรรมนั้น ๆ ท่านกล่าวคำนี้ว่า ถ้า

ว่า ผู้ทำของผู้ทำกรรมทั้งหลายมีอยู่ไซร้ ผู้ทำแม้แก่ผู้นั้นต่อ ๆ กันมาก็

มีอยู่นั่นแหละ ด้วยคำนี้ว่า แก่บุคคลนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้ ครั้น

เมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ บุคคลผู้เกิดก่อน ๆ ก็พึงทำบุคคลผู้เกิดภาย

หลังโดยแท้ ๆ แม้ด้วยคำนี้ บุคคลผู้ทำกรรมเหล่านั้น พึงทำบุคคลอื่น ๆ

ต่อไป. แม้บุคคลนั้นก็พึงทำบุคคลอื่น ๆ. สกวาทีถามว่า นิพพานใด

คือการทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดวัฏฏะไม่มี ความดับรอบอันไม่มี

ปัจจัยก็ไม่มี นิพพานนั้นไม่มี แก่บุคคลนั้น ๆ เพราะความไม่มีปัจจัย

เพราะความไม่มีทุกข์อื่นเนื่องด้วยปัจจัยหรือ ? อีกอย่างหนึ่ง คำว่า แก่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

บุคคลนั้น ๆ นั่นแหละ อธิบายว่า ถ้าว่า ความสืบเนื่องกันมาของ

บุคคลมีอยู่อย่างนี้ว่า กรรมสักว่าการกระทำไม่มี มีแต่บุคคลผู้ทำบุคคล

แม้นั้นๆ ต่อ ๆ กันมา ดังนี้ ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ การกล่าวว่า

การทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์เพราะเหตุอันไม่ให้ความเป็นไปแห่งกัมมวัฏฏะอัน

ใดนี้นั้น ก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น ๆ ดังนี้. ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาคำนั้น

จึงปฏิเสธ. คำว่า ผู้ทำ ผู้ให้ทำ ในคำถามแห่งผู้ทำทั้งหลายตาม

คำสามัญที่หยั่งเห็นได้ แม้ในปัญหาอื่นอีกจากนี้ ท่านก็หมายเอาเฉพาะ

บุคคลเท่านั้น มิได้กล่าวมุ่งหมายเอาปัจจัยทั้งหลายเลย. แท้จริงปัจจัย

แห่งสิ่งทั้งปวง เช่น มหาปฐพี เป็นต้นจะไม่มีก็หามิได้.

ปัญหาที่สกวาทีถามว่า ผู้ทำกรรมดีกรรมชั่วทั้งหลาย ก็เป็นอื่น

หรือ ปัญหานั้นปรวาทีตอบปฏิเสธแล้ว เพราะกลัวเป็นทิฏฐิว่า บุคคล

มีสังขาร หรือ มีอัตตา เป็นต้น.

คำเป็นต้นว่า ท่านหยั่งเห็นวิบากหรือ เป็นต้น ท่านกล่าว

เพื่อทำลายลัทธิผู้แสดงบุคคล ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้เสวยวิบาก.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ผู้เสวยวิบาก เป็นคำซักถามของปรวาที.

คำปฏิเสธเป็นของสกวาที เพราะความไม่มีผู้เสวยอื่นนอกจากความเป็น

ไปแห่งวิบาก. คำถามอีกเป็นของสกวาที คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

คำว่า บุคคลเป็นผู้เสวยวิบากนั้น ได้แก่ ผู้เสวยของวิบากนั้น ๆ

ก็วิบาก ชื่อว่า พึงเสวย บุคคลมิใช่วิบาก ฉะนั้นปรวาทีจึงปฏิเสธว่า

ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นผู้เสวย. ถูกสกวาทีถามซ้ำอีก ก็ตอบรับรองว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

บุคคลเป็นผู้เสวยวิบาก เพราะความตั้งอยู่ในผลแห่งบุญ โดยหมายเอา

มารดาที่ปล่อยวางสละบุตร หรือภรรยาที่ปล่อยวางสละสามีเป็นผู้เสวย

วิบาก ซึ่งเป็นการเสวยบุคคลเช่นนั้น. คำถามว่า การทำซึ่งที่สุดแห่ง

ทุกข์ไม่มี ฯ ล ฯ ก็บุคคลนั้น ๆ อธิบายว่า ถ้าว่า ความสืบเนื่องกัน

ของบุคคลเป็นมาอย่างนี้ว่า วิบากที่สักแต่ความเป็นวิบากไม่มี มีแต่

บุคคลเป็นผู้เสวยผลแห่งกรรมนั้น ๆ ต่อ กันมา ดังนี้ไซร้ ครั้นเมื่อ

ความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ การกล่าวว่า การทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์โดยเหตุ

อันไม่เป็นไปแห่งวิปากวัฏนี้นั้น ก็ย่อมไม่มีดังนี้. ต่อจากนั้น พึงทราบ

เนื้อความในคำถามถึงผู้เสวยด้วยคำอันเป็นธรรมดาที่ว่า ท่านหยั่งเห็น

ได้ ข้างหน้านี้ โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

ปัญหาที่สกวาที ถามว่า บุคคลเสวยวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่ว

ก็เป็นอื่นหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะกลัวแต่ลัทธิอันเห็นผิดว่า

บุคคลมีเวทนา หรือบุคคลมีอัตตา. คำว่า สุขอันเป็นทิพย์ เป็นต้น

เป็นคำอันปรวาทีเริ่มจำแนกผลแห่งกรรมดี และกรรมชั่วด้วยสามารถ

แห่งลัทธิ. คำนั้นทั้งหมด พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่น

แหละ. อนึ่ง ในคำถามที่ปรวาทีถามว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคลผู้เสวยสุข

อันเป็นทิพย์หรือ นี้ พึงทราบว่า สกวาทีตอบปฏิเสธว่าบุคคลไม่เป็น

ผู้เสวยเท่านั้น ไม่ปฏิเสธวิปากขันธ์ที่เสวยสุขอันเป็นทิพย์. จริงอยู่ ความ

เกิดขึ้นแห่งวิบากทั้งหลายที่ผู้ทำกรรมฐานทั้งหลาย กระทำมหาปฐพีเป็น

ต้นให้เป็นอารมณ์แล้วเสวยผล ย่อมเป็นการสำเร็จที่เปรียบไม่ได้.

คำว่า ผู้ทำ ผู้ให้ทำเป็นผู้เสวยผลแห่งกรรมดีกรรมชั่ว เป็นต้น เป็น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

คำที่ท่านกล่าวปรารภนัยที่เจือกัน คือมีทั้งบัญญัติและปรมัตถะ.

ในคำเหล่านั้น คำว่า บุคคลนั้นกระทำ เป็นคำซักถามของ

สกวาทีว่า ท่านกล่าวว่าบุคคลผู้ทำกรรมใด และผู้เสวยกรรมใด บุคคล

นั้นนั่นแหละกระทำ บุคคลนั้นเองเป็นผู้เสวยหรือ ? คำปฏิเสธเป็น

ของปรวาที เพราะกลัวผิดจากพระสูตร ฯ ถูกถามอีก ก็ตอบรับรองด้วย

สามารถแห่งพระสูตรว่า บุคคลย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแล้ว

ย่อมบันเทิงในโลกหน้า เป็นต้น ดังนี้ ลำดับนั้น สกวาทีเมื่อจะ

ปฏิเสธโอกาสคำที่จะกล่าวของปรวาทีนั้น จึงกล่าวคำว่า สุขทุกข์อัน

ตนทำเองหรือ ในคำเหล่านั้น คำว่า ผู้อื่นกระทำ สกวาทีกล่าว

ด้วยสามารถแห่งความเป็นอื่นแห่งผู้ทำและผู้เสวย. จากนั้น ปรวาทีจึง

ปฏิเสธโอกาสที่จะพูดเพราะกลัวผิดพระสูตร. ถูกถามอีก เมื่อมีความ

สำคัญว่า บุคคลผู้เกิดเป็นมนุษย์แล้วเกิดเป็นเทวดาแล้วย่อมเสวย ดังนี้

จึงตอบรับรอง. ก็ถูกถามด้วยสามารถแห่งวาทะอย่างนี้ว่า สุขและทุกข์

อันบุคคลอื่นทำแล้วย่อมปรากฏหรือ ดังนี้ ก็ปฏิเสธอีก. คำว่า บุคคล

นั้นทำ บุคคลอื่นเสวย สกวาทีกล่าวด้วยสามารถแห่งคำถามถึงความ

เป็นบุคคลคนเดียวกัน และความเป็นแห่งบุคคลอื่นของผู้ทำและผู้เสวย.

ลำดับนั้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะกลัวผิดจากพระสูตร ถูกถามอีก ก็

ตอบรับรองเพราะรวมนัยแม้ทั้ง ๒ ก่อน ๆ เข้าด้วยกัน. ก็ถูกถามด้วย

สามารถแห่งปัญหานั้นของผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า สุขทุกข์อันตนเองทำ

ด้วย อันบุคคลอื่นทำด้วยย่อมปรากฏหรือ ก็ตอบปฏิเสธอีก. คำว่า

ไม่ใช่ผู้อื่นทำ เป็นคำอันสกวาทีกล่าวด้วยสามารถแห่งการปฏิเสธใน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

ความเป็นบุคคลคนเดียวกันทำ หรือผู้อื่นทำของผู้ทำและผู้เสวย. ลำดับ

นั้น ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยสามารถแห่งคำที่ผิดจากพระสูตรนั่นเทียว

ถูกถามอีก เมื่อมีความสำคัญอยู่ว่า มนุษย์ทำกรรมไว้ เพราะการเกิด

ขึ้นในเทวโลก มนุษย์นั้นจึงไม่ได้เสวย ผู้ใดทำกรรมใดไว้ ผู้อื่นเสวย

ก็หาไม่ เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นนั่นแหละจึงมิใช่ผู้เสวยเพราะเป็นผู้

กระทำ ทั้งบุคคลอื่นก็มิได้เสวย ดังนี้ จึงตอบรับรอง. คำนั้นสักว่า

เป็นลัทธิเท่านั้น. ถูกถามด้วยสามารถแห่งปัญหานั้นของผู้มีวาทะอย่าง

นั้นว่า ก็สุขทุกข์ อันมิใช่การกระทำของตน มิใช่การกะทำของผู้อื่น

เกิดขึ้นโดยปราศจากเหตุย่อมปรากฏหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธอีก. อีก

อย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในมิสสกนัยนี้จำเดิมแต่ต้น ด้วย

นัยแม้นี้. จริงอยู่ ผู้มีวาทะว่าบุคคลมีอยู่นี้ ย่อมปรารถนาบุคคลผู้ทำ

กรรมทั้งหลายด้วย บุคคลผู้เสวยด้วย เพราะฉะนั้น ข้อนี้จึงปรากฏอย่าง

นี้ว่า บุคคลใดเป็นผู้ทำกรรม ผู้นั้นเท่านั้นพึงเป็นผู้เสวย หรือผู้อื่นเสวย

หรือแม้ทั้ง ๒ เป็นผู้เสวย หรือว่าแม้ทั้ง ๒ ไม่พึงเป็นผู้เสวย ดังนี้.

สกวาทีถามประกอบคำซักถามปัญหาอันปรากฏอย่างนี้นั่นแหละแล้วจึง

กล่าวถึงปัญหาที่ควรถามแม้ทั้ง ๔ อย่าง มีคำว่า ไม่ใช่บุคคลนั้นเป็น

ผู้ทำ เป็นต้น. คำที่เหลือ มีประการดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเทียว. ก็ใน

ที่สุด ได้ถามปัญหาแม้ทั้ง ๔ รวมกัน. ในปัญหานั้นการปฏิเสธ การ

ตอบรับรอง และการถึงโทษมีคำว่า กระทำเองเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบ

โดยนัยก่อนนั่นแหละ. เบื้องหน้าแต่นี้ นัยที่กล่าวแล้วในหนหลังไม่ได้

กล่าวคำว่า กรรมดีและกรรมชั่ว ท่านแสดงปัญหาที่ควรกำหนดไว้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

เป็นต้น กรรมมีอยู่เท่านั้น. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งธรรม

ทั้งหลายแม้เหล่านั้น ด้วยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

อรรถกถาปุริสการานุโยค จบ

คำว่า แม้กัลยาณวรรค ดังนี้ เป็นชื่อของปุริสการานุโยคนั้น

นั่นแล.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

อภิญญานุโยค

[๑๖๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลบางคนที่แสดงฤทธิ์ได้ก็มีอยู่มิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลบางคนที่แสดงฤทธิ์ได้มีอยู่ ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.

ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลบางคนที่ฟังเสียงด้วยโสตธาตุเพียงดังทิพย์

ได้ ฯ ล ฯ ที่รู้จิตของบุคคลอื่นได้ ฯ ล ฯ ที่ตามระลึกชาติหนหลังได้ ฯ ล ฯ

ที่เห็นรูปด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ได้ ฯ ล ฯ ที่ทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นไปแห่ง

อาสวะได้ มีอยู่มิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลบางคนที่ทำให้แจ้งซึ่งความสิ้น

ไปแห่งอาสาวะได้มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคล

ได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.

ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลบางคนที่

แสดงฤทธิ์ได้มีอยู่ และด้วยเหตุนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ใดแสดงฤทธิ์ได้ ผู้นั้นแหละเป็นบุคคล ผู้ใด

แสดงฤทธิ์ไม่ได้ ผู้นั้นไม่ใช่บุคคล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ผู้ใดฟังเสียงด้วยโสตธาตุเพียงดังทิพย์ได้ ฯ ล ฯ

ผู้ใดรู้จิตคนอื่นได้ ฯลฯ ผู้ใดตามระลึกชาติหนหลังได้ ฯลฯ ผู้ใดเห็นรูป

ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ได้ ฯ ล ฯ ผู้ใดทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสาวะ

ได้ ผู้นั้นแหละเป็นบุคคล ผู้ใดทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นแห่งอาสาวะไม่ได้

ผู้นั้นไม่ใช่บุคคล หรือ ฯ ล ฯ

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

อภิญญานุโยค จบ

อรรถกถาอภิญญานุโยค

ว่าด้วยการซักถามถึงผู้ได้อภิญญา

เบื้องหน้าแต่นี้ไป เป็นการพิสูจน์พระอรหันต์ ด้วยสามารถแห่ง

คำซักถามถึงผู้ได้อภิญญาเป็นต้น. ในปัญหานั้น เมื่อพระสกวาทีตอบ

รับรองคำว่า ใช่แล้ว ปรวาทีผู้มีความสำคัญอยู่ว่า บุคคลผู้บรรลุคุณ

วิเศษมีอิทธิฤทธิ์เป็นต้นไม่มีในอนินทริยพัทธรูปภายนอก มีแต่ภายใน

บุคคล ฉะนั้น บุคคลผู้ให้ฤทธิ์เป็นต้นเกิดขึ้นพึงมี จึงกล่าวคำเป็นต้น

ว่า บุคคลบางคนที่แสดงฤทธิ์ได้มีอยู่มิใช่หรือ คำทั้งหมดนั้น มีเนื้อ

ความง่ายทั้งนั้น แล.

อรรถกถาอภิญญานุโยค จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

ญาตกานุโยค

[๑๖๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. มารดามีอยู่มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า มารดามีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง

กล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.

ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บิดามีอยู่ ฯ ล ฯ พี่น้องชายมีอยู่ พี่น้องหญิงมีอยู่

กษัตริย์มีอยู่ พราหมณ์มีอยู่ แพศย์มีอยู่ ศูทรมีอยู่ คฤหัสถ์มีอยู่ บรรพชิต

มีอยู่ เทวดามีอยู่ มนุษย์มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า มนุษย์มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง

กล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.

[๑๖๗] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่ามารดามีอยู่ และ

ด้วยเหตุนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นมารดาแล้วเป็น

มารดามีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบุคคลแล้วเป็นบุคคล

มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบิดา ฯ ล ฯ ไม่เป็น

พี่น้องชาย ไม่เป็นพี่น้องหญิง ไม่เป็นกษัตริย์ ไม่เป็นพราหมณ์ ไม่

เป็นแพศย์ ไม่เป็นศูทร ไม่เป็นคฤหัสถ์ ไม่เป็นบรรพชิต ไม่เป็น

เทวดา ไม่เป็นมนุษย์แล้วเป็นมนุษย์ มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบุคคลแล้วเป็นบุคคล

มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๖๘ ] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า มารดามีอยู่ และ

ด้วยเหตุนั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นมารดาแล้วไม่เป็น

มารดามีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคล

มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลบางคนซึ่งเดิมเป็นบิดา เป็นพี่น้องชาย

เป็นพี่น้องหญิง เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร

เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ แล้วไม่เป็นมนุษย์

มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคล

มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๖๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลเป็นโสดาบันมีอยู่มิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลเป็นโสดาบันมีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ

ท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ ?

ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลเป็นสกทาคามีมีอยู่ ฯลฯ บุคคลเป็น

อนาคามีมีอยู่ ฯ ล ฯ บุคคลเป็นพระอรหันต์มีอยู่ ฯ ล ฯ บุคคลเป็น

พระขีณาสพผู้อุภโตภาควิมุตมีอยู่ ฯ ล ฯ บุคคลเป็นพระขีณาสพผู้ปัญญา

วิมุตมีอยู่ ฯ ล ฯ บุคคลเป็นพระอริยะผู้กายสักขีมีอยู่ ฯ ล ฯ บุคคลเป็น

พระอริยะผู้ทิฏฐิปัตตะมีอยู่ ฯ ล ฯ บุคคลเป็นพระอริยะผู้สัทธาวิมุตมีอยู่

ฯ ล ฯ บุคคลเป็นพระอริยะผู้ธัมมานุสารีมีอยู่ บุคคลเป็นพระอริยะผู้

สัทธานุสารีมีอยู่ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลเป็นพระอริยะผู้สัทธานุสารีมีอยู่

ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่าหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

[๑๗๐] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลเป็นโสดาบัน

มีอยู่ และด้วยเหตุนั้น จึงหยั่งเห็นได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นโสดาบัน แล้วเป็น

โสดาบันมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบุคคลแล้วเป็นบุคคล

มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นสกทาคามี...ไม่เป็น

อนาคามี...ไม่เป็นพระอรหันต์...ไม่เป็นพระขีณาสพผู้อุภโตภาควิมุต...ไม่

เป็นพระขีณาสพผู้ปัญญาวิมุต...ไม่เป็นพระอริยะผู้กายสักขี...ไม่เป็นพระ-

อริยผู้ทิฏฐิปัตตะ... ไม่เป็นพระอริยะผู้สัทธาวิมุต... ไม่เป็นพระอริยะผู้

ธัมมานุสารี... ไม่เป็นพระอริยะผู้สัทธานุสารีแล้วเป็นพระอริยะผู้สัทธา-

นุสารีมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมไม่เป็นบุคคลแล้วเป็นบุคคล

มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๗๑] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้ว บุคคลผู้โสดาบันมีอยู่

และด้วยเหตุนั้น จึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นโสดาบันแล้วไม่เป็น

โสดาบันมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคล

มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นสกทาคามี... เป็น

อนาคามีแล้วไม่เป็นอนาคามี มีอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน ซึ่งเดิมเป็นบุคคล แล้วไม่เป็น

บุคคลมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๗๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว

ป. อริยบุคคล ๔ คู่ ๘ จำพวก มีอยู่มิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า อริยบุคคล ๔ คู่ ๘ จำพวกมีอยู่ ด้วยเหตุ

นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ.

[๑๗๓] ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า อริยบุคคล ๔ คู่

๘ จำพวกมีอยู่ และด้วยเหตุนั้น จึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อริยบุคคล ๔ คู่ ๘ จำพวก ปรากฏขึ้นได้เพราะ

ความปรากฏขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลปรากฏขึ้นได้ เพราะความปรารถนาแห่ง

พระพุทธเจ้า หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลปรากฏขึ้นได้ เพราะความปรารถนาแห่ง

พระพุทธเจ้า หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว

บุคคลขาดสูญไป บุคคลไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๗๔] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเป็นสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ยังมีส่วนสุดที่ ๓ อื่นนอกเหนือสังขตะและอสัง-

ขตะอีก หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ยังมีส่วนสุดที่ ๓ อื่นนอกเหนือสังขตะและอสัง-

ขตะอีก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธาตุนี้มี ๒ อย่าง ๒ อย่างเป็นไฉน ธาตุเป็นสังขตะ ๑ ธาตุเป็น

อสังขตะ ๑ นี้แล ธาตุ ๒ อย่าง ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ยังมีส่วนสุดที่ ๓

อื่นนอกเหนือสังขตะและอสังขตะอีกน่ะสิ.

ส. บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขตะเป็นอื่น อสังขตะก็เป็นอื่น บุคคลก็เป็น

อื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ขันธ์ทั้งหลายเป็นสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ

บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ขันธ์ทั้งหลายเป็นอื่น นิพพานก็เป็นอื่น บุคคล

ก็เป็นอื่น หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. รูปเป็นสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ บุคคล

เป็นสังขตะก็ไม่ใช่ เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเป็นอื่น นิพพานก็เป็นอื่น บุคคลก็เป็นอื่น

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เวทนา ฯ ล ฯ สัญญา ฯ ล ฯ สังขาร ฯ ล ฯ

วิญญาณเป็นสังขตะ นิพพานเป็นอสังขตะ บุคคลเป็นสังขตะก็ไม่ใช่

เป็นอสังขตะก็ไม่ใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณเป็นอื่น นิพพานก็เป็นอื่น บุคคลก็เป็น

อื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๗๕] ส. บุคคลมีความเกิดขึ้นปรากฏ มีความเสื่อมปรากฏ

เมื่อตั้งอยู่มีความแปรปรวนปรากฏ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลมีสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สังขตธรรมมีสังขตลักษณะ ๓ อย่างนี้ คือ สังขตธรรม

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

ทั้งหลาย มีความเกิดขึ้นปรากฏ มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่

มีความแปรปรวนปรากฏ ดังนี้ บุคคลก็มีความเกิดขึ้นปรากฏ ความ

เสื่อมก็ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนก็ปรากฏ ถ้าอย่างนั้น บุคคล

ก็เป็นสังขตะน่ะสิ.

ส. ความเกิดขึ้นแห่งบุคคลไม่ปรากฏ ความเสื่อมไม่

ปรากฏเมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนไม่ปรากฏหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเป็นอสังขตะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อสังขตธรรมมีอสังขตลักษณะ ๓ อย่างนี้ คือ ความ

เกิดขึ้นแห่งอสังขตธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ความเสื่อมไม่ปรากฏ

เมื่อตั้งอยู่ ความแปรปรวนไม่ปรากฏ ดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งบุคคล

ก็ไม่ปรากฏ ความเสื่อมก็ไม่ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนก็ไม่

ปรากฏ ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็เป็นอสังขตะน่ะสิ.

[๑๗๖] ส. บุคคลผู้ปรินิพพานแล้ว คงมีอยู่ในนิพพาน หรือ

ไม่มีอยู่ในนิพพาน ?

ป. คงมีอยู่ในนิพพาน.

ส. บุคคลผู้ปรินิพพาน เป็นผู้เที่ยง หรือ ?

๑. องฺ. ติก. ๒๐/๔๘๖.

๒. องฺ. ติก. ๒๐/๔๘๗.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. บุคคลผู้ปรินิพพานแล้ว ไม่มีอยู่ในนิพพาน.

ส. บุคคลผู้ปรินิพพานแล้ว เป็นผู้ขาดสูญ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ญาตกานุโยค จบ

อรรถกถาญาตกานุโยค

ว่าด้วยการซักถามถึงพวกญาติ

บัดนี้ คำว่า มารดา เป็นต้น เป็นการซักถามถึงพวกญาติ.

คำว่า กษัตริย์ เป็นต้น เป็นการซักถามถึงชาติ. คำว่า

คฤหัสถ์ และบรรพชิต เป็นการซักถามถึงข้อปฏิบัติ. คำว่า

เทวดาและมนุษย์ เป็นการซักถามถึงการอุบัติ. คำว่า โสดาบัน

เป็นต้น เป็นการซักถามถึงปฏิเวธ ข้อนี้ท่านกล่าวว่า เป็นการซักถาม

ถึงพระอริยะบ้าง. คำเหล่านั้นทั้งหมด มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

ก็ในคำว่า เป็นพระอรหันต์แล้ว กลับไม่เป็นพระอรหันต์

นี้ ท่านไม่กล่าวถาม เพราะเป็นโมฆปัญหา. คำว่า คู่แห่งบุรุษ ๔

เป็นต้น เป็นการซักถามถึงพระสงฆ์ การซักถามแม้นั้น ก็มีเนื้อความ

ง่ายเหมือนกัน. คำว่า สังขตะ เป็นต้น เป็นการซักถามถึง

สภาพแห่งสัจฉิกัตถะ.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ยังมีส่วนสุดที่ ๓ นอกเหนือสังขตะ

และอสังขตะอีกหรือ ? เป็นคำถามของสกวาที คำปฏิเสธว่า ไม่พึง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

กล่าวอย่างนั้น เป็นของปรวาที เพราะความไม่มีสัจฉิกัตถะเช่นนั้น.

เมื่อถูกถามซ้ำอีก ปรวาทีก็ตอบรับรองว่า ใช่ ส่วนสุดที่ ๓ มีอยู่ โดย

หมายเอาบุคคลเป็นส่วนสุดที่ ๓. แม้ในปัญหาว่า บุคคลก็เป็นอื่น

หรือ การปฏิเสธเป็นของปรวาทีนั้นนั่นแหละ เพราะไม่ปรารถนา

ความที่บุคคลเป็นอย่างอื่นนอกจากสังขตขันธ์ทั้งหลาย. คำว่า ขันธ์

อันเป็นสังขตะ เป็นต้น เป็นคำอันสกวาทีแสดงสังขตะและอสังขตะ

ทั้งหลายไว้โดยย่อ เพื่อถามความเป็นอย่างอื่นแห่งบุคคล. คำถามว่า

รูปเป็นสังขตะ เป็นต้น เป็นคำที่สกวาทีแสดงขันธ์ทั้งหลายโดย

วิภาคแล้วกล่าวถามความเป็นคนละอย่างกับบุคคล. คำถามว่า ความ

เกิดขึ้นแห่งบุคคล เป็นคำถามของสกวาที คำรับรองว่า ใช่ เป็น

ของปรวาที ด้วยอำนาจแห่งพระสูตรที่ท่านกล่าวไว้ในที่ทั้งหลายมีคำว่า

สัตว์ทั้งหลายมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา

อนึ่งเมื่อยังดำรงอยู่ก็มีความตายเป็นธรรมดา แต่ปรวาทีนั้นย่อม

ไม่ปรารถนาซึ่งความที่บุคคลเป็นสังขตธรรม ฉะนั้น จึงปฏิเสธ. ถูก

ถามโดยนัยเป็นต้นอีกว่า ความเกิดขึ้นของบุคคลย่อมปรากฏหรือ

ก็ตอบรับรองด้วยคำว่า " ขึ้นชื่อว่าความเกิดขึ้นแห่งบุคคลเป็นต้นนั้น

ย่อมไม่ควร " เพราะพระบาลีว่า ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิดขึ้น ทุกข์

เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ด้วย ย่อมเสื่อมไปด้วย นอกจากทุกข์หาอะไร

เกิดมิได้ นอกจากทุกข์หาอะไรดับมิได้ ดังนี้.

คำถามว่า บุคคลปรินิพพานแล้ว คงมีอยู่ในพระนิพพาน

หรือ ในข้อนี้ ท่านเรียกพระนิพพานว่า อตฺถ แปลว่า ธรรมอัน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

หาที่ตั้งมิได้. ในปัญหานั้น สกวาทีถามว่า บุคคลมีอยู่ในนิพพาน

หรือ อธิบายว่า บุคคลชื่อว่าเที่ยงเพราะความที่บุคคลนั้นเป็นของมีอยู่

ในนิพพาน ชื่อว่าขาดสูญเพราะความที่บุคคลนั้นไม่มีอยู่ในนั้น ปรวาที

เมื่อไม่ปรารถนาคำว่า บุคคลเที่ยงและขาดสูญ ๒ แม้นั้นจึงปฏิเสธว่า

ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

อรรถกถาญาตกานุโยค จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

ปกิณณกะ

[๑๗๗] ส. บุคคลอาศัยอะไรตั้งอยู่ ?

ป. อาศัยภพตั้งอยู่.

ส. ภพไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มี

ความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจากไป

เป็นธรรมดามีความดับไปเป็นธรรมดามีความแปรไปเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัย

เกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ

จางไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็น

ธรรมดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง เป็นสังขตะ อาศัยปัจจัย

เกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ

จางไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรไปเป็น

ธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๗๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

ป. บุคคลบางคนที่เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า

เราเสวยสุขเวทนาอยู่ มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลบางคนที่เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้

ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนาอยู่ มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า

หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสจัฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลบางคนที่เสวยทุกขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เรา

เสวยทุกขเวทนาอยู่ ฯ ล ฯ ที่เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่าเรา

เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ มีอยู่มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลบางคนที่เสวยอทุกขมสุขเวทนา

อยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน

จึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลบางคนที่

เสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาอยู่ มีอยู่ และด้วยเหตุ

นั้น จึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ใดเสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุข

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

เวทนาอยู่ ผู้นั้นเทียวเป็นบุคคล ผู้ใดเสวยสุขเวทนาอยู่ ไม่รู้ชัดว่า เรา

เสวยสุขเวทนาอยู่ ผู้นั้นไม่เป็นบุคคล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ผู้ใดเสวยทุกขเวทนาอยู่ ฯ ล ฯ ผู้ใดเสวยอทุกขม-

สุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ผู้นั้นเทียวเป็น

บุคคล ผู้ใดเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ไม่รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขม-

สุขเวทนาอยู่ ผู้นั้นไม่เป็นบุคคล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลบางคนที่

เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาอยู่ มีอยู่ และด้วยเหตุ

นั้นจึงหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สุขเวทนาเป็นอื่น ผู้ที่เสวย สุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัด

ว่าเราเสวยสุขเวทนาอยู่ ก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ทุกขเวทนาเป็นอื่น ฯ ล ฯ อทุกขมสุขเวทนา

เป็นอื่น ผู้เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุข-

เวทนาอยู่ก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๗๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลบางคนที่เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลบางคนที่เป็นผู้พิจารณาเห็นกาย

ในกายอยู่ มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลบางคนที่เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาใน

เวทนาอยู่ ฯ ล ฯ ที่เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ ล ฯ ที่เป็นผู้

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีอยู่มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลบางคนที่เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรม

ในธรรมอยู่ มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคล

ได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ

ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลบางคนที่

เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีอยู่ และด้วยเหตุนั้น จึงหยั่งเห็น

บุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

ส. ผู้ใดเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ผู้นั้น

เทียวเป็นบุคคล ผู้ใดไม่เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ผู้นั้นไม่เป็น

บุคคล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ผู้ใดเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ ล ฯ

เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ ล ฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม

อยู่ ผู้นั้นเทียว เป็นบุคคล ผู้ใดไม่เป็นผู้พิจารณาธรรมในธรรมอยู่

ผู้นั้นไม่เป็นบุคคล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ท่านได้ทำความตกลงแล้วว่า บุคคลบางคนที่

เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีอยู่ และด้วยเหตุนั้น จึงหยั่งเห็น

บุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายเป็นอื่น บุคคลที่เป็นผู้พิจารณาเห็นกายใน

กายอยู่ ก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เวทนาเป็นอื่น ฯ ล ฯ จิตเป็นอื่น ฯ ล ฯ ธรรม

เป็นอื่น บุคคลที่เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมใน

ธรรมอยู่ ก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

[๑๘๐] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า โมฆราชะ

เธอจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ หยั่งเห็นโดยความเป็นของสูญ ถอน

อัตตานุทิฏฐิเสีย เธอพึงเป็นผู้ข้ามพ้นมัจจุราชเสียได้ด้วยอาการ

อย่างนี้ เพราะมัจจุราชย่อมไม่แลเห็นบุคคลผู้หยั่งเห็นโลกอยู่

อย่างนี้ ดังนี้ เป็นสูตรที่มีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ น่ะสิ

[๑๘๑] ส. บุคคลหยั่งเห็น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ร่วมกับรูปหยั่งเห็นหรือ หรือว่าเว้นจากรูป

หยั่งเห็น ?

ป. ร่วมกับรูปหยั่งเห็น.

ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. เว้นจากรูป หยั่งเห็น.

ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

๑. ขุ. สุ. ๒๕/๔๓๙

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

ส. บุคคลหยั่งเห็น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อยู่ภายในหยั่งเห็นหรือ หรือว่าออกไปภายนอก

แล้วจึงหยั่งเห็น ?

ป. อยู่ภายในหยั่งเห็น.

ส. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. ออกไปภายนอกแล้วจึงหยั่งเห็น.

ส. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๘๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีปกติตรัสคำจริง ตรัสสม

กาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัส

ไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อนมิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติ

เพื่อเกื้อกูลแก่ตน มีอยู่ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่

จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

๑. องฺ จตุกฺก. ๒๑/๙๖, อภิ. ปุ. ๓๖/๑๐.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะน่ะสิ

ป. ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีปรกติตรัสคำจริง ตรัส

สมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัส

ไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อนมิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้พระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย บุคคลคนเดียวเมื่อบังเกิดขึ้นในโลก ย่อมบังเกิดขึ้นเพื่อ

เกื้อกูลแก่คนมาก เพื่อความสุขของคนมาก เพื่อความอนุเคราะห์

แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข ของเทวดา

และมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ก็หยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถ-

ปรมัตถะ น่ะสิ

[๑๘๓] ส. หยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีปรกติตรัสคำจริง ตรัส

๑. องฺ. เอก. ๒๐/๑๓๙.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

สมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัส

ไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อนมิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ธรรมทั้งปวง

เป็นอนัตตา ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ น่ะสิ

[๑๘๔] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีปกติตรัสคำจริง ตรัส

สมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัส

ไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อน มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า อริยสาวกไม่

สงสัย ไม่เคลือบแคลงว่า เมื่อบังเกิด ทุกข์เท่านั้นบังเกิดขึ้น

เมื่อดับ ทุกข์เท่านั้นดับไป ในข้อนี้อริยสาวกนั้นหยั่งรู้ได้โดยไม่

ต้องอาศัยผู้อื่นทีเดียว เพียงเท่านี้แลกัจจานะ เป็นสัมมาทิฏฐิ

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?

๑. ส.นิ.. ๑๖/๔๓.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ น่ะสิ

[๑๘๕] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระวชิราภิกษุณีได้กล่าวกะมารดาผู้มีบาปว่าดังนี้

ดูก่อนมาร ท่านเชื่อว่าเป็นสัตว์หรือหนอ นั่นเป็นความเห็นของ

ท่านหรือหนอ นี้เป็นกลุ่มสังขารล้วน ๆ ในกลุ่มสังขารนี้จะค้นหา

สัตว์ไม่ได้ เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงเรียกว่ารถจึงมีได้

แม้ฉันใด เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ สมมติว่าสัตว์ก็มีได้ฉันนั้น.

ความจริงทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ และเสื่อมสิ้นไป

นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ น่ะสิ

[๑๘๖] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

๑. ส.ส. ๑๕/๕๕๔.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

ว่าดังนี้ พระพุทธเจ้าข้า ที่กล่าวกันว่า โลกสูญ โลกสูญ นั้น ด้วยเหตุ

เพียงไรพระเจ้าข้า จึงจะกล่าวได้ว่า โลกสูญ. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสตอบว่า ดูก่อนอานนท์ เพราะสูญโดยตนหรือโดยของที่เนื่อง

กับตน ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าโลกสูญ อะไรเล่าอานนท์ที่สูญโดยตน

หรือโดยของที่เนื่องกับตน จักษุแลสูญโดยตนหรือโดยของที่

เนื่องกับตน รูปสูญ ฯ ล ฯ จักขุวิญญาณสูญ ฯ ล ฯ จักขุสัมผัส

สูญ ฯ ล ฯ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยจึงเกิดความรู้สึกเสวย

อารมณ์สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ทุกข์ไม่สุขก็ตาม อันใด แม้อัน

นั้นก็สูญโดยตนหรือโดยของที่เนื่องกับตน โสตะสูญ ฯ ล ฯ เสียง

สูญ ฯ ล ฯ ฆานะสูญ...กลิ่นสูญ ฯ ล ฯ ชิวหาสูญ..รสสูญ ฯ ล ฯ

กายสูญ...โผฏฐัพพะสูญ ฯ ล ฯ มโนสูญ...ธัมมารมณ์สูญ...

มโนวิญญาณสูญ... มโนสัมผัสสูญ...เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

จึงเกิดความรู้สึกเสวยอารมณ์ สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ทุกข์ไม่

สุขก็ตาม อันใด แม้อันนั้นก็สูญโดยตนหรือโดยของเนื่องกับตน

ดูก่อนอานนท์ เพราะสูญโดยตนหรือโดยของที่เนื่องกับตน ฉะนั้น

จึงกล่าวได้ว่า โลกสูญ ดังนี้ เป็นพระสูตรมีอยู่จริง มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะน่ะสิ

๑. ขุ. ป. ๓๑/๖๓๓.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

[๑๘๗] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีปรกติตรัสคำจริง ตรัส

สมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัส

ไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อนมิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เมื่อตนก็ดีมีอยู่ พึงมีคำพูดว่า ของที่เนื่องกับตนของเรา

หรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้นพระพุทธเจ้า ตรัสว่า เมื่อ

ของที่เนื่องกับคนก็ดีมีอยู่ พึงมีคำพูดว่า ตนของเราหรือ กราบทูล

ว่า อย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อทั้งตนและ

ของที่เนื่องกับตนจะหยั่งเห็นไม่ได้โดยความเป็นของจริง โดย

ความเป็นของแท้ เหตุเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิว่า โลกก็อันนั้น เรานั้น

ละไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงยั่งยืน คงที่ มีอันไม่แปรไปเป็นธรรมดา

จักตั้งอยู่อย่างนั้นเทียวคงที่เสมอไป ดังนี้ก็เป็นธรรมของคนพาล

บริบูรณ์สิ้นเชิงมิใช่หรือ กราบทูลว่า ไม่พึงเป็นอะไร ๆ อื่นพระ-

พุทธเจ้าข้า เป็นธรรมของคนพาลบริบูรณ์สิ้นเชิงทีเดียว พระ-

พุทธเจ้าข้า ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่หรือ ?

๑. ม.มู. ๒๑/๖๘๔.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

ป. ถูกแล้ว.

ส. อย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ก็หยั่งเห็นบุคคล

ได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะน่ะสิ

[๑๘๘] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีปกติตรัสคำจริง ตรัส-

สมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัส

ไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อน มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า ดูก่อนเสนิยะ

ศาสดา ๓ จำพวกนี้มีอยู่ปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน

ศาสดาบางคนในโลกนี้ บัญญัติอัตตาโดยความเป็นจริง โดยความ

เป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ อนึ่ง ศาสดาบาง

คนในโลกนี้ บัญญัติอัตตาโดยความเป็นของจริง โดยความเป็น

ของแท้ แต่ในปัจจุบันไม่บัญญัติเช่นนั้นในสัมปรายภพ อนึ่ง

ศาสดาบางคนในโลกนี้ ไม่บัญญัติอัตตาโดยความเป็นของจริง

โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ ใน ๓

จำพวกนั้น ศาสดาที่บัญญัติอัตตาโดยความเป็นของจริง โดยความ

เป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ นี้เรียกว่า สัสสต-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

วาท ศาสดาที่บัญญัติอัตตาโดยความเป็นของจริง โดยความเป็น

ของแท้ แต่ในปัจจุบัน ไม่บัญญัติเช่นนั้นในสัมปรายภพ นี้เรียก

ว่า อุจเฉทวาท ศาสดาที่ไม่บัญญัติอัตตาโดยความเป็นของจริง

โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ นี้เรียก

ว่า สัมมาสัมพุทธะ ดูก่อนเสนิยะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้แล มีอยู่

ปรากฏอยู่ในโลก ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่หรือ ?.

ป. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าว หยั่งเห็นบุคคลได้โดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ น่ะสิ.

[๑๘๙] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีปกติตรัสคำจริง ตรัส-

สมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัส

ไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อน มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า หม้อเนยใส หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ใคร ๆ ที่ทำหม้อเนยใสมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

๑. เทียบ อภิ. ปุ. ๓๖/๑๐๓.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

ส. ถ้าอย่างนั้นไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้โดย

สัจฉิกัตถปรมัตถะ หรือ ?

[๑๙๐] ส. ท่านหยั่งเห็นบุคคลโดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีปกติตรัสคำจริง ตรัส-

สมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัส

ไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อน มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าหม้อน้ำมัน...หม้อน้ำ

ผึ้ง...หม้อน้ำอ้อย...หม้อน้ำนม...หม้อน้ำ...

ภาชนะน้ำดื่ม...กระติกน้ำดื่ม...ขันน้ำดื่ม...

นิตยภัต...ธุวยาคู หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ยาคูบางอย่าง เป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงทน มี

อันไม่แปรไปเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้

โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ น่ะสิ ฯ ล ฯ ย่อ.

ปุคคลกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

อรรถกถาภวังนิสสาย ปัญหาทิ

ว่าด้วยปัญหาอาศัยภพเป็นต้น

ในปัญหาอาศัยภพ. คำว่า ภพ ได้แก่ อุปปัตติภพ ได้แก่ภพ

คือการเกิด. ในปัญหาของผู้เสวยเวทนา อธิบายว่า พระโยคาวจรผู้เสวย

อยู่ซึ่งเวทนา ผู้มีเวทนาอันกำหนดแล้วเที่ยวย่อมรู้ชัด ส่วนพาลปุถุชน

ย่อมไม่รู้. ปัญหามีคำว่า กายานุปัสสนาเป็นต้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น

ในกถาเบื้องต้นว่า โมฆราช เธอจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ หยั่งเห็น

โลกโดยความเป็นของสูญ เป็นต้น อธิบายว่า จงพิจารณาโลก

คือขันธ์ ด้วยสามารถแห่งความเป็นของว่างเปล่าจากสัตว์.

คำว่า บุคคลหยั่งเห็นหรือ เป็นคำถามของสกวาที จริงอยู่

ลัทธิของปรวาทีว่า ผู้ใดย่อมพิจารณาด้วยคาถาว่า เธอจงพิจารณาดู

โลกโดยความเป็นของว่างเปล่า ดังนี้ ผู้นั้นเป็นบุคคล เพราะฉะนั้น

สกวาทีถึงถามปัญหานั้นนั่นแหละ.

คำว่า รวมกับรูป อธิบายว่า ร่วมกับรูปกาย ไม่ใช่เป็น

ผู้อาศัยรูปกายนั้น. เพราะการกำหนดรู้รูปนี้ด้วยสามารถแห่งปัญจโวการ

ภูมิ สกวาทีจึงถามว่า ชีพก็อันนั้น อีก ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะ

กลัวผิดจากพระสูตร. คำว่า เว้นจากรูป ความว่าเพราะตามรู้รูปนี้

ไม่ได้ ด้วยสามารถแห่งจตุโวการภูมิ สกวาทีจึงถามอีกว่า ชีพเป็น

อื่น ก็ปฏิเสธ เพราะกลัวผิดจากพระสูตร. คำว่า อยู่ภายในด้วย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

ออกไปภายนอกด้วย นี้ เป็นลักษณะถ้อยคำของสกวาทีผู้กล่าวภายหลัง

จากคำว่า ร่วมกับรูป หรือเว้นจากรูป

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อยู่ภายใน ได้แก่ อยู่ภายใน

แห่งรูป อธิบายว่า ไม่ออกไปข้างโน้นข้างนี้ เป็นสภาพตั้งอยู่ด้วยสามารถ

แห่งรูปปริเฉทนั่นเทียว. คำว่า ออกไป ได้แก่ การก้าวล่วงรูป

ปริเฉท อธิบายว่า ไม่ได้อาศัยรูป. คำว่า อนัตตา ได้แก่ เว้นจาก

ตน เว้นจากชีวะ เว้นจากบุคคล อธิบายว่าแม้ธรรมสักอย่างหนึ่งชื่อว่า

เป็นบุคคลย่อมไม่มี. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในอรรถกถาที่มาแห่ง

พระสูตรทั้งปวงโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง

ข้าพเจ้าหมายเอาเนื้อความนี้จักกล่าวคำอันเป็นภาษิตนั่นเทียว.

คำเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า หม้อเนยใสหรือ

เป็นคำอันสกวาทีนำมาเพื่อแสดงว่า เทศนาทั้งปวงเทียวบัณฑิตไม่พึงถือ

เอาแต่เนื้อความโดยสามารถแห่งคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้เท่า

นั้น เหมือนอย่างว่า หม้ออันเป็นวิการแห่งทอง ที่เขาเอาทองมาทำ

ชาวโลกทั้งหลายย่อมเรียกว่าหม้อทองฉันใด ขึ้นชื่อว่าหม้อเนยใสเป็น

วิการแห่งเนยใสอันเขาเอาเนยใสมาทำฉันนั้นก็หาไม่ ในคำนี้ พึงทราบ

เนื้อความอย่างนี้ว่า ก็เนยใสที่บุคคลใดใส่ไปในหม้อใด หม้อนั้นจึงได้

ชื่อว่า หม้อเนยใสฉันนั้น. แม้ในคำว่า หม้อน้ำมันเป็นต้น ก็มีนัยนี้

เหมือนกัน. เหมือนอย่างว่า พระนิพพานเป็นธรรมชาติเที่ยง ยั่งยืน

ฉันใด ภัตหรือข้าวยาคูย่อมเป็นธรรมชาติเที่ยง ยั่งยืน ฉันนั้นก็หาไม่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

ในข้อนี้พึงทราบเนื้อความดังนี้ว่า นิตยภัต คือภัตที่ยั่งยืน หรือหมาย

ถึงภัตที่เขาถวายประจำเป็นนิตย์. ธุวยาคู คือข้าวยาคูที่ยั่งยืน ท่าน

เรียกด้วยคำอันเป็นบัญญัติ ดังคำที่ว่า ก็พวกเราทั้งหลายไม่กำหนด

กาลจักถวายนิตยภัต และธุวยาคูทุก ๆ วัน ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัย แม้ในคำว่า บุคคลผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนมีอยู่ เป็นต้น ธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นมีอยู่

ด้วยสามารถแห่งปัจจัตตลักขณะ คือลักษณะที่มีเฉพาะตน และสามัญญ-

ลักษณะ ฉันใด บุคคลย่อมมีอยู่นั้นก็หาไม่ ก็ครั้นเมื่อธรรมทั้งหลาย

มีรูปเป็นต้นมีอยู่ การร้องเรียกว่า อย่างนี้เป็นชื่อ อย่างนี้เป็นโคตร

เป็นต้น ก็ย่อมมีอยู่ฉันนั้น ในข้อนี้พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า บุคคล

ชื่อว่ามีอยู่ เพราะเป็นโวหารของชาวโลก เพราะการสมมติของชาวโลก

เพราะเป็นภาษาของชาวโลกนี้ ด้วยประการฉะนี้ สมจริงดังคำที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล คือจิตเป็น

สมัญญาของชาวโลก เป็นภาษาของชาวโลก เป็นโวหารของชาวโลก

เป็นบัญญัติของชาวโลก ข้อนี้ท่านอธิบายว่า ก็ธรรมทั้งหลายมีรูป

เป็นต้น แม้เว้นซึ่งการสมมติของชาวโลกก็ยังชื่อว่ามีอยู่ เพราะ

มีสภาวะให้รู้ได้ด้วยสามารถแห่งปัจจัตตลักขณะ และสามัญญ-

ลักขณะ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

สมมติกถาและปรมัตถกถา

อนึ่ง กถา คือถ้อยคำ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมี ๒ คือ

สมมติกถาและปรมัตถกถา ในกถาทั้ง ๒ นั้น คำว่า สัตว์ บุคคล

เทวดา พรหม เป็นต้น ชื่อว่า สมมติกถา คำว่า อนิจจัง ทุก-

ขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน และสัมมัปธาน

เป็นต้น ชื่อ ปรมัตกถา. บรรดากถาทั้ง ๒ เหล่านั้น บุคคลใดครั้น

เมื่อคำว่า สัตว์ ฯ ล ฯ หรือ พรหม เป็นต้น ที่พระองค์ทรงตรัส

แล้วด้วยเทศนาอันเป็นของสมมติ ย่อมอาจเพื่อรู้ธรรม เพื่อแทงตลอด

เพื่อออกไปจากสังสารวัฏ เพื่อถือเอาชัย คือ พระอรหัตต์ได้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าย่อมกล่าวถึงคำว่า สัตว์ หรือบุคคล หรือบุรุษ หรือพรหม

จำเดิมแต่ต้นทีเดียวสำหรับผู้นั้น. ส่วนผู้ใด สดับฟังคำว่า อนิจจัง

ทุกขัง เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปรมัตถเทศนาแล้วก็อาจเพื่อรู้

เพื่อแทงตลอด เพื่อออกไปจากสงสาร เพื่อถือเอาชัยคือพระอรหัตต์ได้

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสคำอย่างใดอย่างหนึ่งในคำว่าอนิจจัง เป็นต้น

เพื่อผู้นั้น ดังนี้. โดยทำนองเดียวกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่ตรัส

ปรมัตถกถาก่อน สำหรับสัตว์ผู้จะตรัสรู้ด้วยสมมติกถา ก็เพราะการ

ตรัสรู้แห่งสัตว์ด้วยสมมติกถา พระองค์จึงทรงตรัสปรมัตถกถาในภาย

หลัง. เมื่อสัตว์ผู้จะตรัสรู้ด้วยปรมัตถกถาได้ พระองค์ก็ไม่ตรัสสมมติ-

กถาก่อน เพราะว่าการตรัสรู้ของสัตว์ทั้งหลายอาศัยปรมัตถกถาได้

พระองค์จึงทรงตรัสสมมติกถาในภายหลัง อนึ่ง โดยปกติพระองค์ย่อม

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

ตรัสสมมติกถาก่อนทีเดียว แล้วจึงตรัสปรมัตถกถาในภายหลัง ซึ่ง

เป็นการเทศนาที่ทำได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึง

ทรงแสดงสมมติกถาก่อน แล้วก็ตรัสปรมัตถกถาในภายหลัง พระพุทธ-

เจ้าทั้งหลายเหล่านั้น แม้ตรัสอยู่ซึ่งสมมติกถา ชื่อว่ากถาย่อมกล่าวซึ่งสัจจะ

นั่นแหละ ซึ่งสภาวะนั่นแหละจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวเท็จก็หาไม่ แม้เมื่อ

ตรัสปรมัตถกา ก็ชื่อว่าย่อมกล่าวซึ่งสัจจะซึ่งสภาวะนั่นแหละ จะชื่อว่า

เป็นผู้กล่าวคำเท็จก็หาไม่. จริงอยู่ บัณฑิตพึงทราบความนี้ว่า :-

ทุเว สจฺจานิ อกฺขาสิ สมฺพุโธ วทต วโร

สมฺมตึ ปรมตฺถญฺจ ตติย นูปลพฺภติ ฯ

บรรดาผู้กล่าวกถาทั้งหลาย พระสัมพุทธะผู้ประเสริฐ ได้ตรัส

บอกแล้วซึ่งสัจจะ ๒ คือ สมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ ไม่ตรัสบอก

สัจจะที่ ๓ ว่าเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้.

บรรดาสัจจะทั้ง ๒ เหล่านั้น สมมติสัจจะเป็นคำสำหรับกำหนด

และเป็นเหตุแห่งการสมมติของชาวโลก ส่วนปรมัตถสัจจะเป็นคำปรมัตถะ

เป็นลักษณะแห่งธรรมทั้งหลาย.

อีกนัยหนึ่ง เทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามี ๒ คือ เป็น

ปรมัตถเทศนาด้วยสามารถแห่งคำว่า ขันธ์ เป็นต้น และเป็นสมมติ

เทศนาด้วยคำว่า หม้อเนยใสเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงชำระ

คำบัญญัติออกไปเหตุใด เพราะเหตุนั้นบัณฑิตไม่พึงทำความยึดถือคำ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

เพียงสักว่า บุคคลมีอยู่. จริงอยู่ พระบรมศาสดามิได้ทรงละบัญญัติ

แล้วประกาศปรมัตถะ และมิได้ทรงชำระคำบัญญัติ เพราะฉะนั้นบัณฑิต

แม้อื่น ๆ เมื่อประกาศปรมัตถะก็ไม่พึงชำระคำบัญญัติ ฉันนั้น. คำที่เหลือ

ในที่ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

ปัญหาอาศัยภพเป็นต้น จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

ปริหานิกถา

[๑๙๑] สกวาที พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ในภพทั้ง-

ปวง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ในภพทั้ง-

ปวง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เหตุเสื่อมของพระอรหันต์ [มีได้] ในภพ

ทั้งปวง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ในกาลทั้งปวง

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เหตุเสื่อมของพระอรหันต์ [มีได้] ในกาล

ทั้งปวง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ทุกองค์เทียว เสื่อมจากอรหัตผล

ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ทุกองค์เทียว เสื่อมจากอรหัตผล

ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เหตุเสื่อมของพระอรหันต์ [มีได้] ทุกองค์

เทียว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๙๒] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ เมื่อเสื่อมจากอรหัตผล ย่อมเสื่อม

จากผลทั้งสี่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. เศรษฐีดำรงตำแหน่งเศรษฐีอยู่ด้วยทรัพย์สี่แสน

เมื่อทรัพย์แสนหนึ่งสิ้นไป ย่อมเสื่อมจากตำแหน่ง หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ย่อมเสื่อมจากสมบัติทั้งปวง หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

ส. เศรษฐีดำรงตำแหน่งเศรษฐีอยู่ด้วยทรัพย์สี่แสน

เมื่อทรัพย์แสนหนึ่งสิ้นไป เป็นผู้ควรจะเสื่อมจากสมบัติทั้งปวง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ เมื่อเสื่อมจากอรหัตผล เป็นผู้

ควรจะเสื่อมจากผลทั้งสี่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๙๓] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๙๔] ส. พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๙๕] ส. พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๙๖] ส. พระโสดาบัน ย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตผลหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระสกทาคามี ย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอนาคามี ย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

ส. พระอรหันต์ ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๙๗] ส. พระโสดาบัน ย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผลหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระสกทาคามี ย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผลหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๙๘] ส. พระ โสดาบัน ย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามี ย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๙๙] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

ส. พระอรหันต์ เมื่อเสื่อมจากอรหัตผล ย่อมตั้ง

อยู่ในธรรมอะไร ?

ป. ในอนาคามิผล.

ส. พระอนาคามี เมื่อเสื่อมจากอนาคามิผล ย่อม

ตั้งอยู่ในธรรมอะไร ?

ป. ในสกทาคามิผล.

ส. พระสกทาคามี เมื่อเสื่อมจากสกทาคามิผล ย่อม

ตั้งอยู่ในธรรมอะไร ?

ป. ในโสดาปัตติผล.

ส. พระโสดาบัน เมื่อเสื่อมจากโสดาปัตติผล ย่อม

ตั้งอยู่ในภูมิแห่งปุถุชน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่า พระอรหันต์เมื่อ

เสื่อมจากอรหัตผลย่อมตั้งอยู่ในอนาคามิผล พระอนาคามีเมื่อเสื่อม

จากอนาคามิผลย่อมตั้งอยู่ในสกทาคามิผล พระสกทาคามีเมื่อเสื่อมจาก

สกทาคามิผลย่อมตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าว

ว่า พระโสดาบันเมื่อเสื่อมจากโสดาปัตติผลย่อมตั้งอยู่ในภูมิแห่งปุถุชน.

[๒๐๐] ส. พระอรหันต์ เมื่อเสื่อมจากอรหัตผล ย่อมตั้ง

อยู่ในโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถัดจากโสดาปัตติผลท่านก็ทำให้แจ้ง ซึ่งอรหัต-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

ผลทีเดียว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ใครละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์หรือพระ-

โสดาบัน ?

ป. พระอรหันต์.

ส. หากว่า พระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า และ

พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า

พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้.

[๒๐๑] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ใครละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์หรือพระ-

สกทาคามี ?

ป. พระอรหันต์.

ส. หากว่า พระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า และ

พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้.

[๒๐๒] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ใครละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์หรือพระ-

อนาคามี ?

ป. พระอรหันต์.

ส. หากว่า พระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า และ

พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า

พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้.

[๒๐๓] ส. พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ใครละกิเลสได้มากกว่า พระอนาคามีหรือพระ- โสดาบัน ?

ป. พระอนาคามี

ส. หากว่า พระอนาคามีละกิเลสได้มากกว่า และ

พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า

พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

[๒๐๔] ส. พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได ้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ใครละกิเลสได้มากกว่า พระอนาคามีหรือพระ-

สกทาคามี ?

ป. พระอนาคามี.

ส. หากว่า พระอนาคามีละกิเลสได้มากกว่า และ

พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า

พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้.

[๒๐๕] ส. พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ใครละกิเลสได้มากกว่า พระสกทาคามีหรือ

พระโสดาบัน ?

ป. พระสกทาคามี.

ส. หากว่า พระสกทาคามีละกิเลสได้มากกว่า และ

พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าว

ว่า พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

[๒๐๖] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มัคคภาวนาของใครเยี่ยมกว่า ของพระอรหันต์

หรือของพระโสดาบัน ?

ป. ของพระอรหันต์.

ส. หากว่า มัคคภาวนาของพระอรหันต์เยี่ยมกว่า

และพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าว

ว่า พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้.

[๒๐๗] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. สติปัฏฐานภาวนา. . . สัมมัปปธานภาวนา . . .

อิทธิบาทภาวนา . . . อินทริยภาวนา . . . พลภาวนา . .. โพชฌังคภาวนา

ของใครเยี่ยมกว่า ของพระอรหันต์หรือของพระโสดาบัน ?

ป. ของพระอรหันต์.

ส. หากว่า โพชฌังคภาวนาของพระอรหันต์เยี่ยม

กว่า และพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง

กล่าวว่า พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

[๒๐๘] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มัคคภาวนา ฯ ล ฯ โพชฌังคภาวนาของใคร

เยี่ยมกว่า ของพระอรหันต์หรือของพระสกทา-

คามี ?

ป. ของพระอรหันต์.

ส. หากว่า โพชฌังคภาวนาของพระอรหันต์เยี่ยม

กว่า และพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง

กล่าวว่า พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้.

[๒๐๙] ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มัคคภาวนา ฯ ล ฯ โพชฌังคภาวนาของใคร

เยี่ยมกว่า ของพระอรหันต์หรือของพระอนา-

คามี ?

ป. ของพระอรหันต์.

ส. หากว่า โพชฌังคภาวนาของพระอรหันต์เยี่ยม

กว่า และพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

กล่าวว่า พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้.

[๒๑๐] ส. พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มัคคภาวนา ฯ ล ฯ โพชฌังคภาวนาของใคร

เยี่ยมกว่า ของพระอนาคามีหรือของพระโสดา-

บัน ?

ป. ของพระอนาคามี.

ส. หากว่า โพชฌังคภาวนาของพระอนาคามีเยี่ยม

กว่า และพระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง

ต้องกล่าวว่า พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้.

[๒๑๑] ส. พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มัคคภาวนา ฯ ล ฯ โพชฌังคภาวนาของใคร

เยี่ยมกว่า ของพระอนาคามีหรือของพระสกทา-

คามี.

ป. ของพระอนาคามี

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

ส. หากว่า โพชฌังคภาวนาของพระอนาคามีเยี่ยม

กว่า และพระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง

ต้องกล่าวว่า พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้.

[๒๑๒] ส. พระสกทาคามี เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบัน เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มัคคภาวนา ฯ ล ฯ โพชฌังคภาวนาของใคร

เยี่ยมกว่า ของพระสกทาคามีหรือของพระ-

โสดาบัน ?

ป. ของพระสกทาคามี.

ส. หากว่า โพชฌังคภาวนาของพระสกทาคามีเยี่ยม

กว่า และพระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน

จึงต้องกล่าวว่า พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้.

[๒๑๓] ส. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้ว พระอรหันต์เสื่อมจาก

อรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้ว พระโสดาบันเสื่อม

จากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

ส. พระอรหันต์เห็นสมุทัยแล้ว พระอรหันต์เสื่อม

จากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันเห็นสมุทัยแล้ว พระโสดาบันเสื่อม

จากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์เห็นนิโรธแล้ว พระอรหันต์เสื่อม

จากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันเห็นนิโรธแล้ว พระโสดาบันเสื่อม

จากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์เห็นมรรคแล้ว พระอรหันต์เสื่อม

จากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันเห็นมรรคแล้ว พระโสดาบันเสื่อม

จากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอรหันต์เสื่อม

จากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

ส. พระโสดาบันเห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระโสดาบัน

เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๑๔] ส. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้ว พระอรหันต์เสื่อม

จากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้ว พระสกทาคามี

เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์เห็นสมุทัยแล้ว ฯ ล ฯ เห็นนิโรธ

แล้ว ฯ ล ฯ เห็นมรรคแล้ว ฯ ล ฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอรหันต์เสื่อม

จากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีเห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระสกทาคามี

เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๑๕] ส. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้ว พระอรหันต์เสื่อมจาก

อรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้ว พระอนาคามีเสื่อม

จากอนาคามิผลได้ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์เห็นสมุทัยแล้ว ฯ ล ฯ เห็นนิโรธ

แล้ว ฯ ล ฯ เห็นมรรคแล้ว ฯ ล ฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอรหันต์

เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีเห็นสัจจะ ๙ แล้ว พระอนาคามี

เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๑๖] ส. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้ว พระอนาคามีเสื่อม

จากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้ว พระโสดาบันเสื่อม

จากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอนาคามีเห็นสมุทัยแล้ว ฯ ล ฯ เห็นนิโรธ

แล้ว ฯ ล ฯ เห็นมรรคแล้ว ฯ ล ฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอนาคามี

เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันเห็นสัจจะแล้วพระโสดาบันเสื่อม

จากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

ส. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้ว พระอนาคามีเสื่อม

จากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้ว พระสกทาคามี

เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอนาคามีเห็นสมุทัยแล้ว ฯ ล ฯ เห็นนิโรธ

แล้ว ฯ ล ฯ เห็นมรรคแล้ว ฯ ล ฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอนาคามี

เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีเห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระสกทาคามี

เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๑๗] ส. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้ว พระสกทาคามี

เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้ว พระโสดาบันเสื่อม

จากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระสกทาคามีเห็นสมุทัยแล้ว ฯ ล ฯ เห็นนิโรธ

แล้ว ฯ ล ฯ เห็นมรรคแล้ว ฯ ล ฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระสกทาคามี

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. พระโสดาบันเห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระโสดาบัน

เสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๑๘] ส. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้ว พระโสดาบันย่อม

ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้ว พระอรหันต์ย่อมไม่

เสื่อมจากอรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระโสดาบันเป็นสมุทัยแล้ว ฯ ล ฯ เห็นนิโรธ

แล้ว ฯ ล ฯ เห็นมรรคแล้ว ฯ ล ฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระโสดาบันย่อม

ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอรหันต์ย่อม

ไม่เสื่อมจากอรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๑๙] ส. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้ว ฯ ล ฯ เห็นสัจจะ ๔

แล้ว พระสกทาคามีย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอรหันต์ย่อม

ไม่เสื่อมจากอรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๒๐] ส. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้ว ฯ ล ฯ เห็นสัจจะ ๔

แล้ว พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้ว พระอรหันต์ย่อม

ไม่เสื่อมจากอรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๒๑] ส. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้ว ฯ ล ฯ เห็นสัจจะ

แล้ว พระโสดาบันย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้ว ฯ ล ฯ เห็นสัจจะ ๔

แล้ว พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

[๒๒๒] ส. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้ว ฯ ล ฯ เห็นสัจจะ ๔

แล้ว พระสกทาคามีย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิ-

ผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้ว ฯ ล ฯ เห็นสัจจะ ๔

แล้ว พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๒๓] ส. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้ว ฯ ล ฯ เห็นสัจจะ ๔

แล้ว ฯ ล ฯ พระโสดาบันย่อมไม่เสื่อมจากโสดา-

ปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีเป็นทุกข์แล้ว ฯ ล ฯ เห็นสัจจะ ๔

แล้ว พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๒๔] ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว พระอรหันต์เสื่อม

จากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระโส-

ดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว พระอรหันต์เสื่อม

จากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละสี-

ลัพพตปรามาสขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละราคะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว ฯ ล ฯ

ละโทสะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละโมหะที่เป็นเหตุไปอบาย

ขาดแล้ว พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ละโทสะขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละโมหะ

ขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละมานะขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละทิฏฐิขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ

วิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละถีนะขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละอุทธัจจะขาดแล้ว

ฯ ล ฯ ละอหิริกะขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละอโนตตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์

เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระโสดา-

บันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ละอโนตตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์

เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

ส. พระโสดาบันละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละสี-

ลัพพตปรามาสขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละราคะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว ฯ ล ฯ

ละโทสะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละโมหะที่เป็นเหตุไปอบาย

ขาดแล้ว พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๒๕] ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว พระอรหันต์เสื่อม

จากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระสก-

ทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว พระอรหันต์เสื่อม

จากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละสี

ลัพพตปรามาสขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละกามราคะอย่างหยาบขาดแล้ว ฯ ล ฯ

ละพยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ละโทสะขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละอโนต-

ตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ

พยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระสกทาคามี

เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๒๖] ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว พระอรหันต์เสื่อม

จากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระอนา-

คามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว พระอรหันต์เสื่อม

จากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละสี-

ลัพพตปรามาสขาดแล้ว . . . ละกามราคะอย่างละเอียดขาดแล้ว ... ละ

พยาบาทอย่างละเอียดขาดแล้ว พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ละโทสะขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละอโนต-

ตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ

พยาบาทอย่างละเอียดขาดแล้ว พระอนาคามี

เสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๒๗] ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐขาดแล้ว พระอนา-

คามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระโสดา-

บันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระอนา-

คามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ

โมหะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอนาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละ

พยาบาทอย่างละเอียดขาดแล้วพระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ

โมหะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๒๘] ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระอนา-

คามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระ-

สกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระอนา-

คามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ

สีลัพพตปรามาสขาดแล้ว. . . ละกามราคะอย่างหยาบขาดแล้ว. . . ละ

พยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอนาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ละพยาบาท

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

อย่างละเอียดขาดแล้ว พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ

พยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๒๙] ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระ-

สกทาคาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระโสดา-

บันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระ-

สกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ

โมหะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละกาม

ราคะอย่างหยาบขาดแล้ว... ละพยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระ-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

สกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ

โมหะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๓๐] ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระโสดา-

บันย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว พระอรหันต์ย่อม

ไม่เสื่อมจากอรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระโสดา-

บันย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ละโทสะขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละอโนต-

ตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจาก

อรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระโสดาบันละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ

โมหะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว พระโสดาบัน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

ย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละอโนต-

ตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจาก

อรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๓๑] ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระ-

สกทาคามีย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละอโนต-

ตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจาก

อรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ

พยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระสกทาคามีย่อม

ไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละอโนต-

ตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจาก

อรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

[๒๓๒] ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระอนา-

คามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว ฯลฯ ละอโนต-

ตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจาก

อรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอนาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ

พยาบาทอย่างละเอียดขาดแล้ว พระอนาคามี

ย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ละราคะขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละอโนต-

ตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจาก

อรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๓๓] ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระโสดา-

บันย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ

พยาบาทอย่างละเอียดขาดแล้ว พระอนาคามี

ย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระโสดาบันละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละโมหะ

ที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว พระโสดาบันย่อมไม่

เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ

พยาบาทอย่างละเอียดขาดแล้ว พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๓๔] ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระสก-

ทาคามีย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ

พยาบาทอย่างละเอียดขาดแล้ว พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ

พยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระสกทาคามีย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคา-

มิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

ส. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ

พยาบาทอย่างละเอียดขาดแล้ว พระอนาคามีย่อมไม่เสื่อมจากอนาคามิผล

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๓๕] ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระโสดา-

บันย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯลฯ ละ

พยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระสกทาคามีย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคา-

มิผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระโสดาบันละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯลฯ ละโมหะ

ที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว พระโสดาบันย่อมไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ

พยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระสกทาคามีย่อมไม่เสื่อมจากสกทาคามิ-

ผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

[๒๓๖] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้น

แล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดไดในภายหลัง ทำให้มี

อันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอน

รากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง

ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอร-

หันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้.

[๒๓๗] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โทสะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ฯลฯ โมหะ...

มานะ... ทิฏฐิ... วิจิกิจฉา... ถีนะ... อุทธัจจะ... อริหิกะ... อโนตตัปปะ

อันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน

ทำให้ไม่เกิดได้ในภายหลัง ทำให้มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว มิ

ใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อโนตตัปปะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว

ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภาย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

หลัง ทำให้มีอันไม่ต้องเกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า

พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้.

[๒๓๘] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิด

ขึ้นแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์ยัง

มรรคให้เกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผล

ได้.

[๒๓๙] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์ยังสติปัฏฐานให้

เกิดขึ้นแล้ว ฯ ล ฯ ยังสัมมัปปธานให้เกิดขึ้นแล้ว...ยังอิทธิบาทให้เกิดขึ้น

แล้ว ..ยังอินทรีย์ให้เกิดขึ้นแล้ว...ยังพละให้เกิดขึ้นแล้ว...ยังโพชฌงค์ให้

เกิดขึ้นแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์ยัง

โพชฌงค์ให้เกิดแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัต-

ผลได้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

[๒๔๐] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯ ล ฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนต-

ตัปปะ พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดขึ้นแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิด

ขึ้นแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ พระอรหันต์

ยังโพชฌงค์ให้เกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์เสื่อมจาก

อรหัตผลได้.

[๒๔๑] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ เป็นผู้ปราศจากราคะโทสะโมหะ

แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว

มีเครื่องผูกไว้ในภพสิ้นไปรอบแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ มีลิ่มอัน

ยกขึ้นแล้ว มีคูอันกลบแล้ว มีเสาระเนียดอันถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้ไม่มี

ลิ่มสลัก เป็นพระอริยะ ลดธง คือมานะแล้ว วางภาระแล้ว หมด

เครื่องผูกพันแล้ว มีชัยชนะอย่างดีวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์แล้ว

ละสมุทัยแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ยังมรรคให้เกิดแล้ว รู้ยิ่งซึ่งธรรม

ที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ธรรมสิ่งที่ควรกำหนดรู้แล้ว ละธรรมที่ควรละ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

แล้ว บำเพ็ญธรรมที่ควรบำเพ็ญแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้

แจ้งแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ

โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า

พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้.

[๒๔๒] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. พระอรหันต์ผู้สมยวิมุต เสื่อมจากอรหัตผลได้

พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุต ย่อมไม่เสื่อมจากอร-

หัตผล.

ส. พระอรหันต์ผู้สมยวิมุต เสื่อมจากพระอรหัต-

ผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุต เสื่อมจากอรหัตผล

ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุต ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัต-

ผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

๑. ดูคำอธิบายในบุคคลบัญญัติ ข้อ ๑๗, ๑๘ หน้า ๑๙๑, ๑๙๓

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

ส. พระอรหันต์ผู้สมยวิมุต ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัต-

ผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๔๓] ส. พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตละราคะขาดแล้ว พระ-

อรหันต์ผู้สมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตละราคะขาดแล้ว พระ-

อรหันต์ผู้อสมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ผู้สมยวิมุต ละโทสะขาดแล้ว ฯลฯ

ละอโนตตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตผลได้

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตละโทสะขาดแล้ว ฯ ล ฯ

ละอโนตตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุต เสื่อมจากอรหัตผลได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตยัง

มรรคให้เกิดแล้ว พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตเสื่อม

จากอรหัตผลได้ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตยัง

มรรคให้เกิดแล้ว พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตยัง

สติปัฏฐานให้เกิดแล้ว... ยังสัมมัปปฐานให้เกิดแล้ว... ยังอิทธิบาทให้เกิด

แล้ว... ยังอินทรีย์ให้เกิดแล้ว... ยังพละให้เกิดแล้ว... ยังโพชฌงค์ให้

เกิดแล้ว พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตยัง

สติปัฏฐานให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว พระอรหันต์ผู้

อสมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพื่อจะขาดซึ่งโทสะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนต-

ตัปปะ พระอรหันต์ผู้สมยวิมุต ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์

ให้เกิดแล้ว พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้อสมย-

วิมุต ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว พระอรหันต์

ผู้อสมยวิมุต เสื่อมจากอรหัตผล หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๔๔] ส. พระอรหันต์ผู้สมยวิมุต เป็นผู้ปราศจาก ราคะ

โทสะ โมหะแล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุ

ประโยชน์ตนแล้ว มีเครื่องผูกไว้ในภพสิ้นไปรอบแล้ว พ้นวิเศษแล้ว

เพราะรู้ชอบ มีลิ่มอันยกขึ้นแล้ว มีคูอันกลบแล้ว มีเสาระเนียดอัน

ถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีลิ่มสลัก เป็นอริยะ ลดธง คือมานะแล้ว

วางภาระแล้ว หมดเครื่องผูกพ้นแล้ว มีชัยชนะอย่างดีวิเศษแล้ว ท่าน

กำหนดรู้ทุกข์แล้ว ละสมุทัยแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ยังมรรคให้

เกิดแล้ว รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้

แล้ว ละธรรมที่ควรละแล้ว บำเพ็ญธรรมที่ควรบำเพ็ญแล้ว ทำให้แจ้ง

ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตเสื่อมจากอรหัต-

ผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุต เป็นผู้ปราศจากราคะ

โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว พระ-

อรหันต์ผู้อสมยวิมุต เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๔๕] ส. พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตละราคะขาดแล้ว พระ-

อรหันต์ผู้อสมยวิมุต ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตผล

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตละราคะขาดแล้ว พระ-

อรหันต์ผู้สมยวิมุต ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตผล

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตละโทสะขาดแล้ว ฯลฯ

ละอโนตัปปะขาดแล้ว พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตย่อมไม่เสื่อมจากอรหัต-

ผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตละอโนตตัปปะขาดแล้ว

พระอรหันต์สมยวิมุต ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตผล

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์อสมยวิมุตยัง

มรรคให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว พระอรหันต์ผู้อสมย-

วิมุตย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพื่อละขาดซึ่งราคะ พระอรหันต์ผู้สมยวิมุต ยัง

มรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ โพชฌงค์ให้เกิดแล้ว พระอรหันต์ผู้สมยวิมุต

ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตผล หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯ ล ฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนต-

ตัปปะ พระอรหันต์อสมยวิมุต ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ ยังโพชฌงค์

ให้เกิดแล้ว พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุตย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้สมย-

วิมุต ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว พระอรหันต์-

ผู้สมยวิมุตย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ผู้อสมยวิมุต เป็นผู้ปราศจากราคะ

โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว พระอร-

หันต์ผู้อสมยวิมุตย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้สมยวิมุต เป็นผู้ปราศจากราคะ

โทสะ โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว พระ-

อรหันต์ผู้สมยวิมุต ย่อมไม่เสื่อมจากอรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๔๖] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสารีบุตรเถระเสื่อมแล้วจากอรหัตผล หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระมหาโมคคัลลานเถระ...พระมหากัสสปเถระ

...พระมหากัจจายนเถระ...พระมหาโกฏฐิตเถระ... พระมหาปันถกเถระ

เสื่อมแล้วจากพระอรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสารีบุตรเถระ ไม่ได้เสื่อมจากอรหัตผล

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระสารีบุตรเถระไม่ได้เสื่อมจากอร-

หัตผล ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์เสื่อม

จากอรหัตผล.

ส. พระมหาโมคคัลลานเถระ...พระมหากัสสปเถระ

...พระมหากัจจายนเถระ...พระมหาโกฏฐิตเถระ...พระมหาปันถกเถระ

ไม่ได้เสื่อมจากอรหัตผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระมหาโมคคัลลานเถระ ฯ ล ฯ พระ-

มหาปันถกเถระไม่ได้เสื่อมจากอรหัตผล ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์

เสื่อมจากอรหัตผลได้.

[๒๔๗] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ปฏิปทาที่พระ-

สมณะประกาศแล้วนี้สูงและต่ำแล แต่ผู้ปฏิบัติจะไปถึงฝั่ง (คือ

นิพพาน) ได้สองเที่ยวก็หาไม่ ฝั่งนี้อันผู้ปฏิบัติจะได้รู้แต่ครั้งเดียว

ก็หาไม่ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า พระอรหันต์

เสื่อมจากอรหัตผลได้ น่ะสิ

[๒๔๘] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บรรดากิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดแล้ว ยังมีบาง

อย่างที่ยังจะต้องตัดอีก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บรรดากิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดแล้ว ยังมีบาง

อย่างที่ยังจะต้องตัดอีก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ท่านผู้เสร็จ

กิจที่จำต้องทำแล้ว เป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่มีกิเลสเครื่องยึดถือ

บรรดากิเลสวัฏที่ท่านตัดแล้ว ไม่มีอันใดที่จะต้องตัดอีก ท่าน

ถอนห้วงน้ำและบ่วงได้แล้ว ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

๑. ขุ. สุ. ๒๕/๓๘๙.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า บรรดากิเลสวัฏที่

พระอรหันต์ตัดแล้ว ยังมีบางอย่างที่ยังจะต้อง

ตัดอีก น่ะสิ ?

[๒๔๙] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ลูกแล้ว.

ส. กิจที่ทำแล้ว ต้องกลับสร้างสมอีก มีหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. กิจที่ทำแล้ว ต้องกลับสร้างสมอีก มีหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า การกลับสร้าง

สมกิจที่ทำแล้วไม่มี กิจอื่นที่จำต้องทำอีกก็ไม่มี แก่ภิกษุนั้นผู้

พ้นแล้วโดยชอบ ผู้มีจิตสงบแล้ว บรรดารูป เสียง กลิ่น รส

ผัสสะ ธัมมารมณ์ทุกอย่าง ทั้งที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนา

ไม่ยังจิตของท่านผู้คงที่ อันตั้งมั่น หลุดพ้นแล้ว ให้หวั่นไหวได้

ดุจภูเขาศิลาล้วนเป็นแท่งทึบย่อมไม่สะเทือนเพราะลม ฉะนั้น

เพราะภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นแต่ความสิ้นไปแห่งจิตนั้น ๆ ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

๑. วิ. มหา. ๕/๔

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า กิจที่ทำแล้วต้อง

กลับสร้างสมอีก มีอยู่ น่ะสิ.

[๒๕๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผล

ได้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรม ๕ เหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเสื่อมรอบ

แก่ภิกษุผู้สมยวิมุต ธรรม ๕ เป็นไฉน คือ ความเพลิดเพลินใน

การงาน ความเพลิดเพลินในการสนทนา ความเพลิดเพลินใน

การหลับ ความเพลิดเพลินในการคลุกคลี ไม่พิจารณาจิตที่หลุด

พ้นแล้วอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ เหล่านี้แล ย่อม

เป็นไปพร้อมเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้สมยวิมุต ดังนี้ เป็นสูตร

มีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น พระอรหันต์ก็เสื่อมจากอรหัตผล

ได้ น่ะสิ ?

[๒๕๑] ส. พระอรหันต์มีความเพลิดเพลินในการงานหรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

๑. อัง. ปัญจก. ๒๒/๑๔๙

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

ส. พระอรหันต์มีความเพลิดเพลินในการงาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังมีราคะ กามราคะ กามราคปริ-

ยุฏฐานะ กามราคสัญโญชน์ กาโมฆะ กาม-

โยคะ กามฉันทนิวรณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ยังมีความเพลิดเพลินในการสนทนา

...มีความเพลิดเพลินในการหลับ... มีความ

เพลิดเพลินในการคลุกคลี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ยังมีความเพลิดเพลินในการคลุกคลี

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังมีราคะ กามราคะ กามราคปริ-

ยุฏฐานะ กามราคสัญโญชน์ กาโมฆะ กาม-

โยคะ กามฉันทนิวรณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๕๒] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

ส. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตผล ถูกอะไร

กลุ้มรุมจึงเสื่อม ?

ป. ถูกราคะกลุ้มรุมจึงเสื่อม.

ส. การกลุ้มรุมเกิดขึ้น เพราะอาศัยอะไร ?

ป. เกิดขึ้น เพราะอาศัยอนุสัย.

ส. พระอรหันต์ยังมีอนุสัย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ยังมีอนุสัย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังมีกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย

มานานุสัย ทีฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวรา-

คานุสัย อวิชชานุสัย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. พระอรหันต์ถูกโทสะกลุ้มรุมจึงเสื่อม ฯ ล ฯ ถูก

โมหะกลุ้มรุมจึงเสื่อม.

ส. ความกลุ้มรุมเกิดขึ้นเพราะอาศัยอะไร ?

ป. เกิดขึ้น เพราะอาศัยอนุสัย.

ส. พระอรหันต์ยังมีอนุสัย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ยังมีอนุสัย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

ส. พระอรหันต์ยังมีกามราคานุสัย ฯลฯ อวิชชานุ-

สัย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๕๓] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผล อะไรก่อ

ตัวขึ้น.

ป. ราคะก่อตัวขึ้น.

ส. สักกายทิฏฐิก่อตัวขึ้นหรือ ? วิจิกิจฉาก่อตัวขึ้น

หรือ ? สีลัพพตปรามาสก่อตัวขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. โทสะก่อตัวขึ้นหรือ ฯ ล ฯ โมหะก่อตัวขึ้นหรือ ?

สักกายทิฏฐิก่อตัวขึ้นหรือ ? วิจิกิจฉาก่อตัวขึ้นหรือ ? สีลัพพตปรามาสก่อ

ตัวขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๕๔] ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังสะสมอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์เลิกสะสมอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ยังละอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ยังยึดมั่นอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ยังชำระล้างอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ยังหมักหมมอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ยังกำจัดมืดอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ยังมืดมัวอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์ยังสะสมอยู่ก็ไม่ใช่ เลิกสะสมอยู่ก็

ไม่ใช่ แต่เป็นผู้เลิกสะสมแล้วตั้งอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ยังสะสมอยู่ก็ไม่ใช่ เลิก

สะสมอยู่ก็ไม่ใช่ แต่เป็นผู้เลิกสะสมแล้วตั้งอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่าพระ-

อรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้.

ส. พระอรหันต์ยังละอยู่ก็ไม่ใช่ ยังยึดมั่นอยู่ก็ไม่

ใช่ แต่เป็นผู้ละขาดแล้วตั้งอยู่ มิใช่หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ยังละอยู่ก็ไม่ใช่ ยังยึดมั่น

อยู่ก็ไม่ใช่ แต่เป็นผู้ละขาดแล้วตั้งอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์

เสื่อมจากอรหัตผลได้.

ส. พระอรหันต์ยังชำระล้างอยู่ก็ไม่ใช่ ยังหมักหมม

อยู่ก็ไม่ใช่ แต่เป็นผู้ชำระล้างแล้วตั้งอยู่ มิใช่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ยังชำระล้างอยู่ก็ไม่ใช่ ยัง

หมักหมมอยู่ก็ไม่ใช่ แต่เป็นผู้ชำระล้างแล้วตั้งอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า

พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้.

ส. พระอรหันต์ยังกำจัดมีอยู่ก็ไม่ใช่ ยังมืดมัวอยู่

ก็ไม่ใช่ แต่เป็นผู้กำจัดมืดแล้วตั้งอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ยังกำจัดมืดอยู่ก็ไม่ใช่ ยัง

มืดมัวอยู่ก็ไม่ใช่ แต่เป็นผู้กำจัดมืดแล้วตั้งอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระ-

อรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้.

ปริหานิกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

อรรถกถาปริหานิกถา

ว่าด้วยความเสื่อม

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องความเสื่อม. ก็นิกายสมิติยะ วัชชีปุตตกะ

สัพพัตถิกวาที และมหาสังฆิกะบางพวก อาศัยพระสูตรทั้งหลายว่า*

ปริหานิธมฺโม อปริหานิธมฺโม เทฺวเม ภิกฺขเว ธมฺมา เสกฺขสฺส

ภิกฺขุโน ปริหานาย สวตฺตนฺติ ปญฺจิเนุ ภิกฺขเว ธมฺมา สมย-

วิมุตฺตสฺส ภิกฺขุโน ปริหานาย สวตฺตนฺติ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้

เป็นต้น ย่อมปรารถนาซึ่งความเสื่อมรอบแม้แก่พระอรหันต์ เพราะ

ฉะนั้น ความเสื่อมเหล่านั้น หรือเหล่าอื่นนั่นแหละจงยกไว้ก่อน ลัทธิ

คือความถือผิดนี้ย่อมมีแก่ชนเหล่าใด เพื่อทำลายลัทธิแห่งชนเหล่านั้น

สกวาทีจึงถามปรวาทีว่า พระอรหันต์เสื่อมจากความเป็นพระอร-

หันต์หรือ ในคำถามเหล่านั้น คำว่า " ความเสื่อม " ได้แก่ความ

เสื่อม ๒ อย่างคือ ปัตตปริหานิ คือความเสื่อมจากธรรมที่เคยบรรลุแล้ว

และอัปปัตตปริหานิ คือความเสื่อมจากธรรมที่ยังไม่บรรลุ.

* พระสูตรนี้แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ คือ ปริหานิ-

ธรรม และอปริหานิธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมรอบแก่ภิกษุผู้เป็นเสกข-

บุคคล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ เหล่านี้ คือ ความเพลิดเพลินในการงาน

ความเพลิดเพลินในการสนทนา ความเพลิดเพลินในการหลับ ความเพลิดเพลิน

ในการคลุกคลี ความหลุดพ้นแห่งจิตมีอย่างไรไม่พิจารณาอย่างนั้น ย่อมเป็นไป

พร้อมเพื่อความเสื่อมรอบแก่ภิกษุผู้สมยวิมุตตบุคคล ดังนี้ด้วยประการฉะนี้เป็นต้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

ในความเสื่อมเหล่านั้น ท่านพระโคธิกะแล ย่อมเสื่อมจากเจโต

วิมุตอันเป็นไปชั่วคราวนั้นแม้ในครั้งที่ ๒ นี้เรียกว่า ปัตตปริหานิ คือ

ความเสื่อมจากธรรมที่เคยบรรลุแล้ว. เมื่อชนทั้งหลายผู้มีความต้องการ

สิ่งทั่วไปมีอยู่ ความต้องการอันนั้นย่อมเสื่อมไปนี้เรียกว่า อัปปัตตปริหานิ

คือความเสื่อมจากธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ คือยังไม่ได้มา. ในความเสื่อม

ทั้ง ๒ เหล่านั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาความเสื่อมจากธรรมที่เคยบรรลุ

แล้วคือ ปัตตปริหานิ.

ก็คำตอบรับรองของปรวาทีว่า " ใช้ " เพราะหมายเอาความ

เสื่อมจากธรรมอันบรรลุแล้วนี้ อนึ่ง ปรวาทีนั้นย่อมปรารถนาชื่อความ

เสื่อมจากธรรมอันบรรลุแล้วนี้จากโลกิยสมาบัติในลัทธิของตนเท่านั้น

ไม่ปรารถนาความเสื่อมจากสามัญญผลทั้งหลาย มีอรหัตผลเป็นต้น แม้

ในลัทธิอื่นท่านก็ไม่ปรารถนาความเสื่อมนั้นแก่บุคคลทั้งปวงในสามัญญ-

ผลทั้งปวง ในภพทั้งปวง ในกาลทั้งปวง อันลัทธินั้นก็สักแต่ว่าเป็นลัทธิ

ของท่านเท่านั้น เพราะฉะนั้นเพื่อจะทำลายข่าย คือลัทธิอันถือผิดทั้งปวง

ปัญหาของสกวาที่จึงเกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นอีกว่า พระอรหันต์เสื่อม

จากอรหัตผลได้ในภพทั้งปวงหรือ ในปัญหานั้น ปรวาทีไม่

ปรารถนาความเสื่อมจากอรหัตผล ของพระอรหันต์ผู้เสื่อมมาโดยลำดับ

แล้วก็หยุดอยู่ในโสดาปัตติผล ย่อมปรารถนาความเสื่อมของพระอริยะ

ผู้ตั้งอยู่ในผลทั้งหลายในเบื้องบนเท่านั้น. อนึ่ง ไม่ปรารถนาความเสื่อม

ของพระอรหันต์ผู้ตั้งอยู่ในอรูปภพทั้งหลาย แต่ย่อมปรารถนาความเสื่อม

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

ของพระอรหันต์ผู้ตั้งอยู่เฉพาะในกามภพ. เพราะความที่ธรรมทั้งหลาย

อันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม มีความเพลิดเพลินในการงานเป็นต้นมีอยู่

เพราะฉะนั้น เมื่อถูกสกวาทีถามว่า พระอรหันต์เสื่อมจาก...ในภพ

ทั้งปวงหรือ ท่านก็ปฏิเสธ ครั้นถูกถามซ้ำอีก ท่านก็ตอบรับรอง

เพราะความไม่เสื่อมอย่างนั้น ลำดับนั้น สกวาที จึงถามปัญหาที่ควร

ถามในปัญหาที่ ๒ อันเป็นลัทธิที่เกิดขึ้นแก่ปรวาทีนั้นฉันนั้นนั่นแหละ

ว่า แม้พระอรหันต์ย่อมไม่เสื่อมจากผล ปรวาทีเมื่อไม่เห็นความ

แน่นอนแห่งความที่ไม่ควรเป็นเศรษฐี จึงตอบรับรอง ถูกสกวาทีซักถึง

ความเป็นผู้ควรจะเสื่อมจากผลทั้ง ๔ ของพระอรหันต์ ปรวาทีผู้ตั้งอยู่ใน

ลัทธิถือเอาเนื้อความโดยไม่พิจารณาถ้อยคำว่า เป็นผู้เที่ยงเป็นผู้จะ

ตรัสรู้ข้างหน้า จึงปฏิเสธ หมายเอาความไม่ควรเพื่อจะเสื่อมจาก

โสดาปัตติผล. ก็คำนั้น สักว่าเป็นลัทธิของท่านเท่านั้น ชื่อว่า วาทยุตติ

คือการประกอบวาทะ สำเร็จแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้แล.

อริยปุคคลสังสันทนา

การเทียบเคียงระหว่างพระอริยะ

บัดนี้ เป็นการเริ่มการเทียบเคียงระหว่างพระอริยบุคคล. ใน

ปัญหานั้น ชนบางพวกย่อมปรารถนาความเสื่อมของพระอรหันต์เท่านั้น

บางพวกปรารถนาความเสื่อมแม้แก่พระอนาคามี บางพวกปรารถนา

ความเสื่อมแม้แก่พระสกทาคามี แต่ชนเหล่านั้นทั้งหมดย่อมปรารถนา

ความเสื่อมของพระโสดาบันนั่นเทียว. ชนเหล่าใดย่อมปรารถนาความ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

เสื่อมของพระอรหันต์ผู้เสื่อมจากความเป็นพระอรหันต์แล้วดำรงอยู่ใน

ภาวะแห่งพระอนาคามีและพระสกทาคามีภูมิ แต่ไม่ปรารถนาความเสื่อม

ของพระอนาคามีและสกทาคามีนอกจากนี้ ก็ชนแม้เหล่านั้นย่อมไม่

ปรารถนาความเสื่อมของพระโสดาบันแม้ในกาลทั้งปวง เพราะฉะนั้น

ท่านจึงทำคำถามด้วยเครื่องหมายสำหรับละข้อความไว้เป็นสำคัญ. ใน

ปัญหาเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบคำปฏิเสธด้วยสามารถแห่งลัทธิของ

ท่านเหล่านั้น. ก็ในปัญหาว่า พระอนาคามีย่อมเสื่อมจากพระอนา-

คามิผลหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยสามารถแห่งชนผู้ไม่ปรารถนา

ความเสื่อมของพระอนาคามีเหล่านั้น. ในข้อนี้ว่า ชนเหล่าใด ย่อม

ปรารถนาความเสื่อมของพระอนาคามีผู้ปกติ หรือพระอนาคามีผู้เสื่อม

จากพระอรหันต์แล้วดำรงอยู่ในภาวะแห่งอนาคามิภูมิ คำตอบรับรอง

ของปรวาทีย่อมมีด้วยสามารถแห่งชนเหล่านั้น ดังนี้ เป็นข้อสำคัญ.

บัณฑิตพึงทราบเปยยาล คือเครื่องหมายสำหรับละข้อความทั้งปวงแห่ง

เนื้อความโดยทำนองแห่งปัญหานั้นเถิด.

อนึ่ง คำใดที่ท่านกล่าวแล้วในปัญหานั้นว่า ถัดจากโสดา-

ปัตติผลท่านก็ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตผลทีเดียวหรือ คำนั้น

ท่านกล่าวหมายเอาความเกิดขึ้นแห่งพระอรหันต์เพราะความพยายามอีก

ของพระอรหันต์ผู้เสื่อมแล้ว. ปรวาทีตอบปฏิเสธคำนั้น เพราะไม่มี

ความเป็นพระอรหันต์ในลำดับแห่งโสดาปัตติผล. เบื้องหน้าแต่นี้เพื่อ

ประกอบคำเป็นต้นว่า ชื่อว่าความเสื่อมนี้จะพึงมีเพราะความโง่เขลา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

ของผู้ละกิเลสหรือเพราะความไม่ตรัสรู้ด้วยมรรคภาวนาเป็นต้น หรือแม้

เพราะไม่เห็นสัจจะทั้งหลาย นี้ด้วยประการฉะนี้เป็นต้น สกวาทีจึง

กล่าวว่า ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน เป็นต้น. คำนั้นทั้งหมด

มีคำอธิบายง่ายทั้งนั้นแล. อนึ่ง เนื้อความพระสูตรทั้งหลาย บัณฑิตพึง

ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถาที่มาทั้งหลายนั่นแหละ.

ในคำว่า พระอรหันต์ผู้สมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตผลได้

นี้เป็นลัทธิของพวกเขาว่า พระอรหันต์ผู้มีอินทรีย์อ่อนชื่อว่า สมยวิมุตต-

บุคคล พระอรหันต์ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ชื่อว่าอสมยวิมุตตบุคคล ดังนี้

แต่ในลัทธิสกวาทีทำการสันนิษฐานไว้ว่า ผู้เป็นฌานลาภีไม่บรรลุวสี

ชื่อว่า สมยวิมุตตบุคคล ผู้เป็นฌานลาภีบรรลุวสีแล้วด้วย พระอริย-

บุคคลทั้งหมดในวิโมกข์ที่เป็นอริยะด้วย ชื่อว่า อสมวิมุตตบุคคล. ก็

ปรวาทีนั้นถือเอาลัทธิของตนกล่าวว่า พระอรหันต์ผู้สมยวิมุติย่อม

เสื่อม พระอรหันต์นอกจากนี้ไม่เสื่อม คำที่เหลือในที่นี้มีเนื้อ

ความง่ายทั้งนั้น ดังนี้แล.

อริยปุคคลสังสันทนา จบ

สุตตโสธนา

การชำระพระสูตร

บัดนี้ เป็นการชำระพระสูตร. ในคำเหล่านั้น คำว่า สูง

และต่ำ ได้แก่ความสูงด้วยความต่ำด้วยจากประเภทอันเลิศและเลว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

คำว่า ปฏิปทา ได้แก่ การปฏิบัติ. คำว่า อันสมณะประกาศ

แล้ว ได้แก่สมณะ คือพระพุทธเจ้าให้รุ่งโรจน์แล้ว. ก็ปฏิปทาง่าย

บรรลุเร็วพลัน ชื่อว่า เป็นปฏิปทาสูง ปฏิปทาลำบากตรัสรู้ช้าชื่อว่า

ปฏิปทาต่ำ ปฏิปทาที่เหลือ ๒ นอกจากนี้ เป็นปฏิปทาสูงส่วนหนึ่ง ต่ำ

ส่วนหนึ่ง. ท่านกล่าวปฏิปทาแรกเท่านั้นว่าเป็นปฏิปทาสูง ส่วนที่เหลือ

แม้ทั้ง ๓ ท่านกล่าวว่าเป็นปฏิปทาต่ำ. อธิบายว่า พระอริยะทั้งหลาย

ย่อมไปสู่ฝั่ง คือพระนิพพาน ได้ ๒ ครั้งด้วยปฏิปทาทั้งสูงทั้งต่ำนั้น ๆ

ก็หาไม่ คือหมายความว่า ย่อมไม่ไปสู่พระนิพพานสิ้น ๒ ครั้ง ด้วย

มรรคหนึ่ง. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่าเพราะว่ากิเลสเหล่าใด

อันมรรคใดละได้แล้วไม่พึงละกิเลสเหล่านั้นด้วยมรรคนั้นอีก ท่านย่อม

แสดงภาวะแห่งธรรม คือความไม่เสื่อมด้วยมรรคนี้. ข้อว่า ฝั่งนี้อัน

ผู้ปฏิบัติจะได้รู้แต่ครั้งเดียวก็หาไม่ ความว่า ฝั่ง คือพระนิพพาน

นี้แม้ควรแก่การบรรลุสิ้นครั้งเดียวก็หาไม่ถามว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า

เพราะไม่มีการละกิเลสทั้งปวงด้วยมรรคเดียว. ท่านแสดงความเป็นพระ-

อรหันต์ด้วยมรรค ๑ เท่านั้น.

ข้อว่า บรรดากิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดแล้วยังมีบางอย่าง

ที่ยังจะต้องตัดอีกหรือ ความว่า สกวาทีถามว่า เมื่อกิเลสวัฏฏะ

ขาดแล้ว พระอริยะจะพึงตัดกิเลสอะไร ๆ อีกมีอยู่หรือ ? ปรวาทีหมาย

เอาพระอรหันต์ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าจึงตอบปฏิเสธ ถูกถามซ้ำอีก หมาย

เอาผู้มีอินทรีย์อ่อน จึงตอบรับรองว่า ใช่. สกวาทีจึงนำพระสูตรมาแล้ว

แสดงความไม่มีกิเลสอะไร ๆ ที่พระอรหันต์จะต้องตัดอีก.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

ในปัญหาว่า คำว่า โอฆปาโส แปลว่า ห้วงน้ำและบ่วง

ได้แก่ ห้วงน้ำคือกิเลส และบ่วงคือกิเลส. คำว่า การกลับสร้างสม

กิจที่ทำแล้ว ได้แก่ เจริญมรรคที่เจริญแล้วอีก. แม้คำในที่นี้บัณฑิต

พึงทราบคำปฏิเสธและคำตอบรับรองโดยนัยที่กล่าวมาแล้วในกาลก่อน

นั่นแหละ.

คำว่า ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเสื่อมรอบ ความว่า

ธรรม ๕ อย่างมีความเพลิดเพลินในการงานเป็นต้น ในพระสูตรที่

ปรวาทีนำมาอ้าง ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความเสื่อมจากธรรมที่ยังไม่บรรลุ

และเพื่อความเสื่อมจากโลกิยสมาบัติ แต่สกวาทีนั้นไม่เห็นความเสื่อม

แห่งพระอรหันต์ที่บรรลุแล้ว ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ จึงถามว่า พระ-

อรหันต์มีความเพลิดเพลินในการงานหรือ ปรวาทีหมายเอาพระ-

อรหันต์ผู้อสมยวิมุตตบุคคล จึงตอบปฏิเสธ หมายเอาพระอรหันต์ นอก

จากนี้จึงตอบรับรอง. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมปฏิเสธการงานอันเป็นไปกับ

ด้วยกามราคะย่อมรับรองการงานอันเป็นไปนอกจากกามราคะ. เมื่อถูก

ถามถึงความที่พระอรหันต์มีราคะเป็นต้นก็ไม่อาจตอบ.

คำว่า ถูกอะไรกลุ้มรุมจึงเสื่อม ความว่ากิเลสอะไร ๆ

กลุ้มรุมจิต อธิบายว่ากิเลสเป็นเครื่องผูกพัน หรือกิเลสเป็นเครื่องท่วม-

ทับภายใน. แม้ในคำถามว่าด้วยอนุสัยกิเลส บัณฑิตพึงทราบ คำปฏิ-

เสธและคำรับรองด้วยสามารถแห่งพระอริยผู้มีอินทรีย์อ่อน. อนึ่ง ย่อม

ตอบรับรองด้วยคำธรรมดาว่า อนุสัยของกัลยาณปุถุชนยังมีอยู่.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

ข้อว่า ราคะก่อตัวขึ้น ความว่า ปรวาทีกล่าวหมายเอา

ราคะที่ละด้วยการภาวนา. แม้ในโทสะและโมหะข้างหน้าก็นัยนี้เหมือน

กัน. ก็การก่อตัวขึ้นแห่งกิเลสทั้งหลายมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นย่อมไม่มี

เพราะความที่กิเลสเหล่านั้นอันพระโสดาบันละแล้ว. คำที่เหลือในที่

ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

สุตตโสธนา จบ

อรรถกถาปริหานิกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

พรหมจริยกถา

[๒๕๕] สกวาที การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีในหมู่เทวดา

หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เทวดาทั้งหมด เป็นผู้เงอะงะ เป็นใบ้ ไม่รู้

เดียงสา ใช้ภาษาใบ้ ไม่มีกำลังพอรู้ความแห่งคำที่กล่าวดีกล่าวชั่ว เทวดา

ทั้งหมด ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ไม่เลื่อมใส

ในพระสงฆ์ ไม่เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ไม่ทูลถามปัญหา

กับพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่ชื่นชมในปัญหาที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า

วิสัชนาแล้ว เทวดาทั้งหมดประกอบด้วยกัมมาวรณ์ กิเลสาวรณ์ วิปากา-

วรณ์ ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ เป็นผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้ไม่ควร

เพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอนอันเป็นทางชอบในกุศลธรรมทั้งหลาย เทวดา

ทั้งหมดเป็นผู้ทำมาตุฆาต เป็นผู้ทำปิตุฆาต เป็นผู้ทำอรหันตฆาต เป็น

ผู้ทำโลหิตุปบาท เป็นผู้ทำสังฆเภท เทวดาทั้งหมดเป็นผู้ทำปาณาติบาต

เป็นผู้ทำอทินนาทาน เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม เป็นผู้กล่าวมุสาวาท

เป็นผู้กล่าวปิสุณาวาท เป็นผูกกล่าวผรุสวาท เป็นผู้กล่าวสัมผัปปลาปวาท

เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา เป็นผู้มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เทวดาที่ไม่เป็นผู้เงอะงะ ไม่เป็นใบ้ เป็นผู้รู้

เดียงสาไม่ใช้ภาษาใบ้ มีกำลังพอจะรู้เนื้อความแห่งคำที่กล่าวดีหรือชั่ว

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

มีอยู่ เทวดาที่เลื่อม ในพระพุทธเจ้า เลื่อมใสในพระธรรม เลื่อมใส

ในพระสงฆ์ เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทูลถามปัญหากะ

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ชื่นชมในปัญหาที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า

วิสัชนาแล้ว ก็มีอยู่ เทวดาที่ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์ ไม่ประกอบด้วย

กิเลสาวรณ์ ไม่ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีฉันทะ

เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ควรเพื่อจะก้าวลงสู่ความแน่นอน อันเป็นทางชอบ

ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็มีอยู่ เทวดาที่ไม่เป็นผู้ทำมาตุฆาต ไม่เป็นผู้ทำ

ปิตุฆาต ไม่เป็นผู้ทำอรหันตฆาต ไม่เป็นผู้ทำโลหิตุปบาท ไม่เป็นผู้ทำ

สังฆเภท ก็มีอยู่ เทวดาที่ไม่เป็นผู้ทำปาณาติบาต ไม่เป็นผู้ทำอทินนา-

ทาน ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่กล่าวมุสาวาท ไม่กล่าวปิสุณาวาท

ไม่กล่าวผรุสวาท ไม่กล่าวสัมผัปปลาปวาท มิใช่ผู้มากด้วยอภิชฌา มิใช่

ผู้มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ก็มิอยู่มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เทวดาที่ไม่เป็นผู้เงอะงะ ไม่เป็นใบ้

เป็นผู้รู้เดียงสา ไม่ใช้ภาษาใบ้ มีกำลังพอจะรู้เนื้อความแห่งคำที่กล่าวดี

กล่าวชั่ว มีอยู่ ฯ ล ฯ เทวดาที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ฯ ล ฯ เป็น

สัมมาทิฏฐิ ก็มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีใน

หมู่เทวดา.

[๒๕๖] ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

ป. ในหมู่เทวดานั้น มีการบรรพชา ปลงผม ทรง

ผ้ากาสาวะ ทรงบาตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นได้ พระปัจเจก-

พุทธเจ้าก็อุบัติขึ้นได้ คู่แห่งพระสาวกก็อุบัติขึ้นได้ ในหมู่เทวดา หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๕๗] ส. เพราะในหมู่เทวดาไม่มีการบรรพชา ฉะนั้น

การประพฤติพรหมจรรย์จึงไม่มีในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในที่ใดมีการบรรพชา ในที่นั้นแลมีการประ-

พฤติพรหมจรรย์ ในที่ใดไม่มีการบรรพชา ในที่นั้นไม่มีการประพฤติ-

พรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ในที่ใดมีการบรรพชา ในที่นั้นแลมีการประ-

พฤติพรหมจรรย์ ในที่ใดไม่มีการบรรพชา ในที่นั้นไม่มีการประพฤติ-

พรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ใดบรรพชา ผู้นั้นแลมีการประพฤติพรหม-

จรรย์ ผู้ใดไม่บรรพชา ผู้นั้นไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๕๘] ส. เพราะในหมู่เทวดาไม่มีการปลงผม ฉะนั้น การ

ประพฤติพรหมจรรย์จึงไม่มีในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

ส. ในที่ใดมีการปลงผม ในที่นั้นแลมีการประพฤติ

พรหมจรรย์ ในที่ใดไม่มีการปลงผม ในที่นั้นไม่มีการประพฤติพรหม-

จรรย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ในที่ใดมีการปลงผม ในที่นั้นแลมีการประพฤติ-

พรหมจรรย์ ในที่ใดไม่มีการปลงผม ในที่นั้นไม่มีการประพฤติพรหม-

จรรย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ใด ปลงผม ผู้นั้นแลมีการประพฤติพรหมจรรย์

ผู้ใดไม่ปลงผม ผู้นั้นไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๕๙] ส. เพราะในหมู่เทวดา ไม่มีการทรงผ้ากาสาวะ

ฉะนั้น การประพฤติพรหมจรรย์จึงไม่มีในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในที่ใดมีการทรงผ้ากาสาวะ ในที่นั้นแลมีการ

ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ใดไม่มีการทรงผ้ากาสาวะ ในที่นั้นไม่มีการ

ประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ในที่ใดมีการทรงผ้ากาสาวะ ในที่นั้นแลมีการ

ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ใดไม่มีการทรงผ้ากาสาวะ ในที่นั้นไม่มีการ

ประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ใดทรงผ้ากาสาวะ ผู้นั้นมีการประพฤติพรหม-

จรรย์ ผู้ใดไม่ทรงผ้ากาสาวะ ผู้นั้นไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๖๐] ส. เพราะในหมู่เทวดา ไม่มีการทรงบาตร ฉะนั้น

การประพฤติพรหมจรรย์ จึงไม่มีในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ในที่ใดมีการทรงบาตร ในที่นั้นแลมีการประ-

พฤติพรหมจรรย์ ในที่ใดไม่มีการทรงบาตร ในที่นั้นไม่มีการประพฤติ

พรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ในที่ใดมีการทรงบาตร ในที่นั้นมีการประ-

พฤติพรหมจรรย์ ในที่ใดไม่มีการทรงบาตร ในที่นั้นไม่มีการประพฤติ

พรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ใดทรงบาตร ผู้นั้นมีการประพฤติพรหมจรรย์

ผู้ใดไม่ทรงบาตร ผู้นั้นไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๖๑] ส. เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่อุบัติขึ้นในหมู่

เทวดา ฉะนั้น การประพฤติพรหมจรรย์จึงไม่มีในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

ส. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติขึ้นในที่ใด

ในที่นั้นแลมีการประพฤติพรหมจรรย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่อุบัติขึ้น

ในที่ใด ในที่นั้นไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้น

แลมีการประพฤติพรหมจรรย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่อุบัติขึ้นในที่ใด

ในที่นั้นไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคประสูติที่สวนลุมพินี ตรัสรู้ที่

ควงไม้โพธิ์ พระผู้มีพระภาคยังธรรมจักรให้เป็นไปแล้วที่เมืองพาราณสี

ในที่นั้น ๆ เทียวมีการประพฤติพรหมจรรย์ ในที่อื่นไม่มีการประพฤติ

พรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๖๒] ส. เพราะพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่อุบัติขึ้นในหมู่

เทวดา ฉะนั้น การประพฤติพรหมจรรย์จึงไม่มีในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้น

แลมีการประพฤติพรหมจรรย์ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่อุบัติขึ้นในที่ใด

ในที่นั้นไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

แลมีการประพฤติพรหมจรรย์ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่อุบัติขึ้นในที่ใด

ในที่นั้นไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในมัชฌิมชนบท

ในมัชฌิมชนบทนั้นแล มีการประพฤติพรหมจรรย์ ในที่อื่นไม่มีการ

ประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๖๓] ส. เพราะคู่พระสาวกไม่อุบัติขึ้นในหมู่เทวดา ฉะนั้น

การประพฤติพรหมจรรย์จึงไม่มีในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คู่พระสาวกอุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้นแลมีการ

ประพฤติพรหมจรรย์ คู่พระสาวกไม่อุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้นไม่มีการ

ประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. คู่พระสาวกอุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้นแลมีการ

ประพฤติพรหมจรรย์ คู่พระสาวกไม่อุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้นไม่มีการ

ประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คู่พระสาวกได้อุบัติแล้วในมคธชนบท ในมคธ

ชนบทนั้นแลมีการประพฤติพรหมจรรย์ ในที่อื่นไม่มีการประพฤติ

พรหมจรรย์ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๖๔] ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่เทวดาหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่เทวดาหรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๖๕] ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่มนุษย์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่มนุษย์ทุกหมู่

หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๖๖ ] ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่เทวดาหรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. การประพฤติพรหมจรรย์ มีอยู่ในหมู่เทวดา

เหล่าอสัญญีสัตว์ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๖๗] ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่มนุษย์หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในชาวชนบท

พวกปลายเขต ปลายแดน เป็นมิลักขุ ไม่รู้ประสา เป็นที่ซึ่งภิกษุ

ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไปไม่ถึง หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

[๒๖๘] ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่เทวดาหรือ ?

ส. ที่มีก็มี ที่ไม่มีก็มี.

ป. ในหมู่เทวดาเหล่าอสัญญีสัตว์ ที่มีการประพฤติ-

พรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีก็มี ในหมู่เทวดาเหล่าสัญญีสัตว์ ที่มีการประพฤติ-

พรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีก็มี หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ในหมู่เทวดา ที่มีการประพฤติพรหมจรรย์ก็มี

ที่ไม่มีก็มี หรือ ?

ว. ถูกแล้ว.

ป. มีในที่ไหน ไม่มีในที่ไหน ?

ส. การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีในเทวดาเหล่า

อสัญญีสัตว์ การประพฤติพรหมจรรย์ในเทวดาเหล่าสัญญีสัตว์.

ป. การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีในเทวดาเหล่า

อสัญญีสัตว์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีในเทวดาเหล่า

สัญญีสัตว์ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีในเทวดาเหล่าสัญญี

สัตว์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีในเทวดาเหล่าอสัญญี

สัตว์ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๖๙ ] ส. การประพฤติพรหมจรรย์มีในหมู่มนุษย์ หรือ ?

ส. ที่มีก็มี ที่ไม่มีก็มี.

ป. ในชาวชนบทพวกปลายเขตปลายแดน เป็น

มิลักขูไม่รู้ประสา เป็นที่ซึ่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไปไม่ถึง

ที่มีการประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีก็มี ในชาวชนบทพวกที่อยู่ร่วม

ใน มัชฌิมชนบท ที่มีการประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีก็มี หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๗๐] ป. ในหมู่มนุษย์ ที่มีการประพฤติพรหมจรรย์ก็มี

ที่ไม่มีก็มี หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. มีในที่ไหน ไม่มีในที่ไหน ?

ส. การประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีในชาวชนบท

พวกปลายเขตปลายแดน เป็นมิลักขุ ไม่รู้ประสา ที่ภิกษุ ภิกษุณี

อุบาสก อุบาสิกา ไปไม่ถึง การประพฤติพรหมจรรย์มีในชาวชนบท

พวกที่อยู่ร่วมใน.

ป. การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีในชาวชนบท

พวกปลายเขตปลายแดน เป็นมิลักขุ ไม่รู้ประสา ที่ภิกษุ ภิกษุณีอุบาสก

อุบาสิกาไปไม่ถึง หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

ส. ถูกแล้ว.

ป. การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีในชาวชนบทที่อยู่

ร่วมใน หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีในชาวชนบทพวกที่

อยู่ร่วมใน หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีในชาวชนบทพวกที่

อยู่ปลายเขตปลายแดน เป็นมิลักขุ ไม่รู้ประสา ที่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก

อุบาสิกา ไปไม่ถึง หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๗๑] ป. การประพฤติพรหมจรรย์มีในหมู่เทวดา หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีป ย่อมครอบงำมนุษย์ชาวอุตตรกุรุ-

ทวีป และเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ ๓ ประการ

อะไรบ้าง คือกล้า ๑ มีสติ ๑ มีการประพฤติพรหมจรรย์ ณ ที่นี้ ๑

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่จริง ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น การประพฤติพรหมจรรย์ก็ไม่มีใน

๑. องฺ. นวกฺ ๒๓/๒๒๕

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

หมู่เทวดาน่ะสิ.

ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัส เมืองสาวัตถีว่า มีการ

ประพฤติพรหมจรรย์ ณ ที่นี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การประพฤติพรหมจรรย์มี ณ เมืองสาวัตถี

เท่านั้น การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มีในที่อื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้อนาคามี ละสัญโญชน์ อันเป็นไปใน

ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ได้แล้ว แต่ยังละสัญโญชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕

ไม่ได้ เมื่อท่านเคลื่อนจากโลกนี้ บังเกิดในหมู่เทวดานั้นแล้ว ผลบังเกิด

ขึ้นในที่ไหน ?

ป. ในหมู่เทวดานั้นแล.

ส. หากว่าบุคคลผู้อนาคามี ละสัญโญชน์อันเป็นไป

ในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ได้แล้ว แต่ยังละสัญโญชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้อง

บน ๕ ไม่ได้ เมื่อท่านเคลื่อนจากโลกนี้ บังเกิดในหมู่เทวดานั้นแล้ว

ผลก็บังเกิดขึ้นในหมู่เทวดานั้น ก็ต้องไม่กล่าวว่า การประพฤติพรหม-

จรรย์ไม่มีในหมู่เทวดา.

ส. บุคคลผู้อนาคามี ละสัญโญชน์อันเป็นไปในส่วน

เบื้องต่ำ ๕ ได้แล้ว แต่ยังละสัญโญชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕

ไม่ได้ เมื่อท่านเคลื่อนจากโลกนี้ บังเกิดในหมู่เทวดานั้นแล้ว มีการ

ปลงภาระ ณ ที่ไหน... มีการกำหนดรู้ทุกข์ ณ ที่ไหน... มีการละ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

กิเลส ณ ที่ไหน... มีการกระทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ณ ที่ไหน... มีการ

แทงตลอดซึ่งอกุปปธรรม ณ ที่ไหน ?

ป. ในหมู่เทวดานั้นแล.

ส. หากว่าบุคคลผู้อนาคามี ละสัญโญชน์อันเป็นไป

ในส่วนเบื้องต่ำได้แล้ว แต่ยังละสัญโญชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕

ไม่ได้ เมื่อท่านเคลื่อนจากโลกนี้ บังเกิดขึ้นหมู่เทวดานั้นแล้ว มีการ

แทงตลอดซึ่งอกุปปธรรมในหมู่เทวดานั้น ก็ต้องไม่กล่าวว่า การประ-

พฤติพรหมจรรย์ไม่มีในหมู่เทวดา.

ส. บุคคลผู้อนาคามี ละสัญโญชน์อันเป็นไปในส่วน

เบื้องต่ำ ๕ ได้แล้ว แต่ยังละสัญโญชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕

ไม่ได้ เมื่อท่านเคลื่อนจากโลกนี้บังเกิดขึ้นหมู่เทวดานั้นแล้ว ผลก็บังเกิด

ในหมู่เทวดานั้น การปลงภาระก็ในหมู่เทวดานั้น การกำหนดรู้ก็ใน

หมู่เทวดานั้น การละกิเลสก็ในหมู่เทวดานั้น การทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ

ก็ในหมู่เทวดานั้น การแทงตลอดซึ่งอกุปปธรรมก็ในหมู่เทวดานั้น ก็

โดยอรรถเป็นไฉนเล่า ท่านจึงกล่าวว่า การประพฤติพรหมจรรย์ไม่มี

ในหมู่เทวดา.

ป. ก็เพราะบุคคลผู้อนาคามีกระทำให้แจ้งซึ่งผล ใน

หมู่เทวดานั้น ด้วยมรรคที่ท่านให้เกิดแล้วในโลกนี้นั่นแล.

[๒๗๒] ส. บุคคลผู้อนาคามี ทำให้แจ้งซึ่งผลในหมู่เทวดา

นั้นด้วยมรรคอันท่านให้เกิดแล้วในโลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

ส. บุคคลผู้โสดาบันทำให้แจ้งซึ่งผลในโลกนี้ ด้วย

มรรคอันท่านให้เกิดแล้วในหมู่เทวดานั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้อนาคามี ทำให้แจ้งซึ่งผลในหมู่เทวดา

นั้นด้วยมรรคอันท่านให้เกิดแล้วในโลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้สกทาคามี เป็นบุคคลผู้จะปรินิพพานใน

โลกนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งผลในโลกนี้ ด้วยมรรคอันท่านให้เกิดแล้วใน

หมู่เทวดานั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้โสดาบัน ทำให้แจ้งซึ่งผลในโลกนี้ด้วย

มรรคอันท่านให้เกิดแล้วในโลกนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้อนาคามี ทำให้แจ้งซึ่งผลในหมู่เทวดา

นั้น ด้วยมรรคอันท่านให้เกิดแล้วในหมู่เทวดานั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้สกทาคามี เป็นบุคคลผู้จะปรินิพพานใน

โลกนี้ ทำให้แจ้งซึ่งผลในโลกนี้ ด้วยมรรคอันท่านให้เกิดแล้วในโลกนี้

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้อนาคามี ทำให้แจ้งซึ่งผลในหมู่เทวดา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

นั้น ด้วยมรรคอันท่านให้เกิดแล้วในหมู่เทวดานั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๗๓] ส. บุคคลผู้อิธวิหายนิฏฐะ จะไม่ยังมรรคให้เกิด

และละกิเลสทั้งหลายอีก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

จะไม่ยังมรรคให้เกิดและละกิเลสทั้งหลายอีก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้อิธวิหายนิฏฐะ จะไม่ยังมรรคให้เกิด

และละกิเลสทั้งหลายอีก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล

ฯล ฯ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล จะไม่ยังมรรคให้

เกิดและละกิเลสทั้งหลายอีก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๗๔] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

ยังมรรคให้เกิดและกิเลสทั้งหลายไม่ก่อนไม่หลัง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้อิธวิหายนิฏฐะ ยังมรรคให้เกิดและละ

กิเลสทั้งหลายไม่ก่อนไม่หลัง หรือ ?

๑. พระอนาคามี ผู้ยังมรรคให้เกิดแล้วในโลกนี้ อิธวิหายนิฏฐะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล

ฯ ล ฯ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล ยังมรรคให้เกิด

และละกิเลสทั้งหลายไม่ก่อนไม่หลัง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้อิธวิหายนิฏฐะยังมรรคให้เกิดและละ

กิเลสทั้งหลายไม่ก่อนไม่หลัง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๗๕] ส. บุคคลผู้อนาคามี มีกรณียะอันกระทำแล้ว มี

ภาวนาอันอบรมแล้ว จึงผลุดเกิดในหมู่เทวดานั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผลุดเกิดเป็นพระอรหันต์เลย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ผลุดเกิดเป็นพระอรหันต์เลย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์มีภพใหม่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระอรหันต์มีภพใหม่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ไปสู่ภพจากภพ ไปสู่คติจากคติ ไป

สู่สงสารจากสงสาร ไปสู่อุบัติจากอุบัติ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๗๖] ส. บุคคลผู้อนาคามี เป็นผู้มีกรณียะอันการทำแล้ว

มีภาวนาอันอบรมแล้ว แต่เป็นผู้มีภาระอันยังไม่ปลงลงแล้ว ผลุดเกิด

ในหมู่เทวดานั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้อนาคามี จะต้องยังมรรคให้เกิดอีกเพื่อ

ปลงภาระ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๗๗] ส. บุคคลผู้อนาคามี เป็นผู้มีกรณียะอันกระทำแล้ว

มีภาวนาอันอบรมแล้ว แต่เป็นผู้มีทุกข์อันยังไม่กำหนดรู้... มีกิเลสอัน

ยังไม่ได้ละ... มีนิโรธอันยังไม่ได้กระทำให้แจ้ง... มีอกุปปธรรมอันยัง

ไม่ได้แทงตลอด ผลุดเกิดในหมู่เทวดานั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้อนาคามี จะต้องยังมรรคให้เกิดอีกเพื่อ

แทงตลอดอกุปปธรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๗๘] ส. บุคคลผู้อนาคามี เป็นผู้มีกรณียะอันกระทำแล้ว

มีภาวนาอันอบรมแล้ว แต่เป็นผู้มีภาระอันยังไม่ปลงแล้ว ผลุดเกิด

ในหมู่เทวดานั้น จะไม่ยังมรรคให้เกิดอีกเพื่อปลงภาระ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

ส. เป็นผู้มีภาระอันไม่ปลงลงแล้ว ปรินิพพานใน

หมู่เทวดานั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้อนาคามี เป็นผู้มีกรณียะอันกระทำแล้ว

มีภาวนาอันอบรมแล้ว แต่เป็นผู้มีทุกข์อันยังไม่ได้กำหนดรู้... มีกิเลส

อันยังไม่ได้ละ... มีนิโรธอันยังไม่ได้กระทำให้แจ้ง... มีอกุปปธรรม

อันยังไม่ได้แทงตลอด ผลุดเกิดในหมู่เทวดานั้น จะไม่ยังมรรคให้เกิด

อีก เพื่อแทงตลอดอกุปปธรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นผู้มีอกุปปธรรมอันไม่แทงตลอดแล้ว ปริ-

นิพพานในหมู่เทวดานั้น หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. เนื้อที่ถูกยิงด้วยลูกศร แม้ไปได้ไกล ก็ต้อง

ตายฉันใดบุคคลผู้อนาคามี ก็จะกระทำให้แจ้งซึ่งผลในหมู่เทวดานั้นด้วย

มรรคอันท่านให้เกิดแล้วในโลกนี้ ฉันนั้น.

ส. เนื้อที่ถูกยิงด้วยลูกศร แม้ไปได้ไกล ก็มีลูกศร

ติดอยู่ ตายฉันใด บุคคลผู้อนาคามี ก็มีลูกศรติดอยู่ ปรินิพพานใน

หมู่เทวดานั้น ด้วยมรรคอันท่านให้เกิดแล้วในโลกนี้ ฉันนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พรหมจริยากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

อรรถกถาพรหมจริยกถา

ว่าด้วยการประพฤติพรหมจรรย์

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องประพฤติพรหมจรรย์. ในปัญหานั้น การ

อยู่ประพฤติพรหมจรรย์มี ๒ อย่าง คือ การเจริญมรรค ๑. การ

บรรพชา ๑. การบรรพชา ย่อมไม่มีในเทพทั้งหลาย. เว้นอสัญญีสัตว์

แล้ว การเจริญมรรค ท่านไม่ปฏิเสธในเทพทั้งหลายที่เหลือ.

ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจนิกายสมิติยะทั้งหลาย

ผู้มีความเห็นผิดไม่ปรารถนาการเจริญมรรคในเทพทั้งหลายที่สูงกว่าชั้น

ปรนิมมิตวสวัตตี คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น จึงถามว่า

การปรพฤติพรหมจรรย์ไม่มีในหมู่เทวดา หรือ คำรับรองเป็น

ของปรวาที ว่า ใช่ ด้วยสามารถแห่งลัทธิอันเกิดขึ้นแล้วว่า การ

ประพฤติพรหมจรรย์แม้ทั้งสอง ไม่มีในเทพทั้งหลาย เพราะอาศัย

พระสูตรนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีป ย่อมครอบงำ

มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีป และเทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ

๓ อย่าง ฐานะ ๓ เป็นไฉน ? ฐานะ ๓ คือ สุรา เป็นผู้กล้า ๑.

สติมนฺโต มีสติ ๑. พฺรหฺมจริยวาโส การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ในพระพุทธศาสนา ๑. ดังนี้. คำถามของสกวาทีอีกว่า เทวดา

ทั้งหมดเป็นผู้เงอะงะด้วยสามารถแห่งธรรมอันเป็นอันตรายแก่การ

ประพฤติพรหมจรรย์แม้ทั้ง ๒ หรือ ? ในคำเหล่านั้น คำว่า ใช้

ภาษาใบ้ ได้แก่ ผู้กล่าวด้วยมือและศีรษะเหมือนคนใบ้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

คำถามของปรวาที ข้างหน้าว่า การประพฤติพรหมจรรย์

มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ? คำตอบรับรองของสกวาที หมายเอา การ

เจริญมรรค. คำซักถามด้วยสามารถแห่งบรรพชาเพราะไม่กำหนดประ-

สงค์เอาคำตอบรับรอง เป็นของปรวาที. ในปัญหาว่า ในที่ใด ไม่มี

การบรรพชา ที่นั้นไม่มีการประพฤติพรหมจรรย์ หรือ ? คำปฏิเสธ

ว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เป็นของสกวาทีนั้นนั่นแหละ เพราะหมาย

เอาการได้เฉพาะซึ่งมรรคของคฤหัสถ์ทั้งหลาย และของเทพทั้งหลาย

บางพวก. ถูกถามซ้ำอีกสกวาทีนั้นนั่นแหละก็ตอบรับรอง หมายเอา

มนุษย์ผู้อยู่สุดเขตแดน ซึ่งพระศาสนาไปไม่ถึง และอสัญญีสัตว์. แม้

ในคำถามทั้งหลาย มีคำเป็นต้นว่า ผู้ใดบรรพชา ก็นัยนี้เหมือนกัน

แม้ในคำถามอีกว่า การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่เทวดา

หรือ ? คำตอบรับรองว่ามีอยู่เป็นของสกวาที เพราะหมายเอาการเจริญ

มรรคเท่านั้น. ครั้นเมื่อปรวาทีซักว่า มีอยู่ในเทวดาทุกหมู่ หรือ ?

คำปฏิเสธเป็นของสกวาทีนั้นนั่นแหละ เพราะหมายเอาอสัญญีสัตว์ซึ่ง

ประพฤติพรหมจรรย์ไม่ได้. ปัญหาว่า การประพฤติพรหมจรรย์

มีอยู่ในหมู่มนุษย์หรือ ? คำตอบรับรอง หมายเอาชาวชมพูทวีปผู้

เจริญ. บัณฑิตพึงทราบคำปฏิเสธเพราะหมายเอามนุษย์ผู้อยู่สุดเขตแดน

ซึ่งไม่มีความเจริญ. ข้อว่า มีในที่ไหน ไม่มีที่ไหน ? คำวิสัชนา

เป็นของสกวาที โดยหัวข้อที่แยกคือสัตว์และประเทศอย่างนี้ว่า เทพ

เหล่านั้นมีอยู่ ณ ที่ใด หรือประเทศนั้นมีอยู่ ณ ที่ใดดังนี้. โดยนัยนี้

บัณฑิตพึงทราบปัญหาทั้งปวงว่า เป็นเอกันตริกปัญหา คือ เป็นปัญหา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

ที่ถามสลับกัน. ในการซักถามพระสูตรว่า ผลบังเกิดขึ้นในที่ไหน ?

เป็นคำถามขอสกวาทีว่า การเกิดขึ้นแห่งอรหัตตผลของพระ-

อนาคามีนั้น มี ณ ที่ไหน ? คำตอบว่า ในหมู่เทวดานั้นแล

อธิบายว่า ในชั้นสุทธาวาสทั้งหลาย. คำว่า หนฺท หิ เป็นนิบาต

ลงในอรรถแห่งเหตุ. คำนี้ ท่านอธิบายไว้ว่า ก็เพราะพระอนาคามี

บุคคลทำให้แจ้งซึ่งผล ในสุทธาวาสเหล่านั้นด้วยมรรคที่ท่านให้เกิดแล้ว

ในโลกนี้ มิได้เจริญมรรคอื่นในสุทธาวาสนั้น เพราะฉะนั้น การอยู่

ประพฤติพรหมจรรย์ คือการบรรพชา ในเทพทั้งหลายจึงไม่มี.

บัดนี้ คำถามเปรียบเทียบว่า พระอนาคามี เป็นต้นอีก

เป็นของสกวาที เพื่อแสดงเนื้อความนี้ว่า ถ้าการทำให้แจ้งซึ่งผลในที่อื่น

ด้วยมรรคที่เคยอบรมแล้วในที่อื่นมีอยู่ เพราะฉะนั้นการทำให้แจ้งซึ่งผล

ด้วยมรรคที่เคยอบรมแล้วก็พึงมีแม้แก่พระโสดาบันเป็นต้น ดังนี้. การ

ตอบรับรองการทำให้แจ้งซึ่งผลแห่งพระอนาคามีในปัญหานั้น แต่ปฏิเสธ

การทำให้แจ้งซึ่งผลแห่งพระอริยะที่เหลือ เป็นของพระปรวาที ก็ลัทธิ

ของท่านว่าพระอนาคามีเว้นการเจริญมรรค ย่อมทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล

ได้ด้วยสามารถแห่งการอุบัติขึ้นนั้นแหละ เพราะพระบาลีว่า พระ-

อนาคามี ผู้มีมรรคอันอบรมแล้วในโลกนี้ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ถึง

ความสำเร็จด้วยการละกิเลสในโลกนี้ (อิธวิหายนิฏฺโ) ก็ท่าน

เจริญอนาคามิมรรคในโลกนี้แล้วเคลื่อนจากโลกนี้ก็เป็นโอปปา-

ติกะและปรินิพพานในเทวโลกเหล่านั้น ส่วนพระโสดาบันและ

พระสกทาคามีผู้ชื่อว่า อุปปาติกะมีอยู่ในเทวโลก เพราะยังมรรค

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

ให้เกิดในเทวโลกนั้นมีอยู่ แต่การมาสู่โลกนี้ของพระอริยะเหล่า

นั้นย่อมไม่มีเลย ดังนี้ เมื่อถูกถามถึงการทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล

แห่งพระอนาคามี ก็ตอบรับรอง แต่ปฏิเสธการทำให้แจ้งแห่งพระอริยะ

ทั้งหลายนอกจากนี้.

ในปัญหาว่า พระอนาคามีบุคคลทำให้แจ้งซึ่งผลในหมู่

เทวดานั้น ด้วยมรรคอันท่านให้เกิดแล้วในหมู่เทวดานั้น หรือ ?

ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะขัดกับลัทธิว่า การเจริญมรรคของพระ-

อนาคามีในเทวโลกไม่มี คำถามว่า จะไม่ยังมรรคให้เกิดและละ

กิเลสทั้งหลายอีกหรือ ? เป็นของสกวาที คำรับรองเป็นของปรวาที

เพราะหมายเอารูปาวจรมรรค. จริงอยู่ พระอนาคามีนั้นชื่อว่า ผู้ถึง

ความสำเร็จด้วยการละกิเลสในโลกนี้ เป็นผู้เกิดขึ้นแล้วในเทวโลกด้วย

รูปาวจรมรรค.

ในปัญหาว่า พระอนาคามีบุคคลมีกรณียกิจอันทำแล้ว

ปรวาทีตอบรับรองว่า ใช่ หมายเอาภาวะมีกรณียกิจอันพระอนาคามีนั้น

ทำแล้วด้วยการอุบัติเป็นต้น เพราะถือเอาพระบาลีว่า พระอนาคามี

ผู้เป็นโอปปาติกะปรินิพพานแล้วในเทวโลกเหล่านั้น. ในปัญหา

ว่า " พระอนาคามีผุดเกิดเป็นพระอรหันต์หรือ " ปรวาทีตอบปฏิเสธ

ด้วยสามารถแห่งพระอรหันต์ผู้ปรินิพพานในโลกนี้. ถูกถามอีกว่า พระ-

อนาคามีผุดเกิดเป็นพระอรหันต์หรือ ก็ตอบรับรองว่า ใช่ ด้วย

สามารถแห่งพระอรหันต์ผู้ปรินิพพานแล้วในเทวโลกเหล่านั้น. แม้ในคำ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

ทั้งหลายมีคำว่า พระอรหันต์มีภพใหม่หรือ ? เป็นต้น บัณฑิต

พึงทราบเนื้อความด้วยสามารถแห่งพระอรหันต์ทั้งหลายที่ปรินิพพาน

แล้วในเทวโลกนั้น หรือผู้ปรินิพพานแล้วในโลกนี้นั่นแหละ. ถูกสกวาที

ถามว่า เป็นผู้มีอกุปปธรรมอันไม่แทงตลอดแล้วปรินิพพานใน

หมู่เทวดานั้นหรือ เมื่อปรวาทีไม่ปรารถนาการแทงตลอดอกุปป-

ธรรมของพระอรหันต์ด้วยมรรคที่อบรมแล้วในโลกนี้นั่นแหละจึงตอบ

ปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น. อุทาหรณ์แรก ว่า เหมือนเนื้อที่

ถูกยิงด้วยลูกศร เป็นคำอุปมาของปรวาที อุทาหรณ์ที่ ๒ เป็น

ของสกวาที. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นนั่นแล.

อรรถกถาพรหมจริยกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

โอธิโสกถา

[๒๗๙] สกวาที บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์ ?

ป. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และ

บรรดากิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระโสดาบันแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน

หนึ่งไม่เป็นพระโสดบัน ส่วนหนึ่งบรรลุ . . . ได้เฉพาะ. . . ถึงทับ. . .

ทำให้แจ้ง... เข้าถึงอยู่ . . . ถูกต้องด้วยกายอยู่ . . . ซึ่งโสดาปัตติผล แต่อีก

ส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งโสดาปัตติผล ส่วนหนึ่งเป็นพระ

โสดาบันผู้สัตตขัตตุปรมะ. . . ผู้โกลังโกละ. . . ผู้เอกพีชี. . . ประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ

ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยอริยกันตศีล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบ

ด้วยอริยกันตศีล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ละ

อะไรไดด้วยการเห็นสมุทัย ?

ป. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรมาส และ

บรรดากิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระโสดาบันแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

หนึ่ง ไม่เป็นพระโสดาบัน ฯ ล ฯ ส่วนหนึ่งประกอบด้วยอริยกันตศีล

แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบด้วยอริยกันตศีล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ ?

ป. ละวิจิกิจฉา สีลัพพตปรมาส และบรรดากิเลส

พวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระโสดาบันแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน

หนึ่งไม่เป็นพระโสดาบัน ฯ ล ฯ ส่วนหนึ่งประกอบด้วยอริยกันตศีล แต่

อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบด้วยอริยกันตศีล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นมรรค ?

ป. ละสีลัพพตปรามาส และบรรดากิเลสพวกเดียว

กันได้.

ส. บุคคลเป็นโสดาบันแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง

ไม่เป็นโสดาบัน ส่วนหนึ่งบรรลุ . . . ได้เฉพาะ. . . ถึงทับ . . . ทำให้

แจ้ง. . . เข้าถึงอยู่ . . . ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งโสดาปัตติผล แต่อีกส่วน

หนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งโสดาปัตติผล ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบันผู้

สัตตขัตตุปรมะ...ผู้โกลังโกละ...ผู้เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใส

อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า. . . ในพระธรรม. . . ในพระสงฆ์ ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

ประกอบด้วยอริยกันตศีล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบด้วยอริยกันตศีล

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๘๐] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์ ?

ป. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ

และบรรดากิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระสกทาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน

หนึ่งไม่เป็นพระสกทาคามี ส่วนหนึ่งบรรลุ. . . ได้เฉพาะ. . . ถึงทับ. . .

ทำให้แจ้ง. . . เข้าถึงอยู่ . . . ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล แต่อีก

ส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล

ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ?

ป. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ

และบรรดากิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระสกทาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน

หนึ่งไม่เป็นพระสกทาคามี ส่วนหนึ่งบรรลุ . . . ได้เฉพาะ. . . ทำให้แจ้ง. . .

เข้าถึงอยู่ . . . ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ถูก

ต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ ?

ป. ละพยาบาทอย่างหยาบ และบรรดากิเลสพวก

เดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระสกทาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน

หนึ่งไม่เป็นพระสกทาคามี ส่วนหนึ่งบรรลุ. . . ได้เฉพาะ ... ถึงทับ...

ทำให้แจ้ง... เข้าถึงอยู่... ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล แต่อีก

ส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นมรรค ?

ป. ละพยาบาทอย่างหยาบ และบรรดากิเลสพวก

เดียวกันได้.

ส. บุคคลเป็นพระสกทาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน

หนึ่งไม่เป็นพระสกทาคามี ส่วนหนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ ... ถึงทับ ...

ทำให้แจ้ง...เข้าถึงอยู่... ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล แต่อีก

ส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายซึ่งสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๘๑] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์ ?

ป. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

เอียด และบรรดากิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระอนาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน

หนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี ส่วนหนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ... ถึงทับ...

ทำให้แจ้ง... เข้าถึงอยู่... ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอนาคามิผล แต่อีก

ส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอนาคามิผล ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี

ผู้อันตราปรินิพพายี... ผู้อุปหัจจปรินิพพายี... ผู้อสังขารปรินิพพายี

... ผู้สังขารปรินิพพายี... ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีกส่วนหนึ่งไม่

เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ?

ป. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด

และกิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระอนาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน

หนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี ฯลฯ ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโต-

อกนิฏฐคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ ?

ป. ละพยาบาทอย่างละเอียด และบรรดากิเลสพวก

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

เดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระอนาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน

หนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี ฯ ล ฯ ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโต

อกนิฏคามี แต่อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นมรรค ?

ป. ละบรรดากิเลสพวกเดียวกันได้.

ส. บุคคลเป็นพระโสดาบันแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน

หนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี ส่วนหนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ... ถึงทับ...

ทำให้แจ้ง ... เข้าถึงอยู่ ... ถูกต้องด้วยกายอยูซึ่งอนาคามิผล อีกส่วน

หนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอนาคามิผล ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี

ผู้อันตราปรินิพพายี... ผู้อุปหัจจปรินิพพายี... ผู้อสังขารปรินิพพายี...

ผู้สสังขารปรินิพพายี... ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี แต่อีกส่วนหนึ่งไม่

เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๘๒] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์ ?

ป. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา

และบรรดากิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

ส. บุคคลเป็นพระอรหัตแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง

ไม่เป็นพระอรหัต ส่วนหนึ่งบรรลุ . . . ได้เฉพาะ. . . ถึงทับ. . . ทำให้

แจ้ง. . . เข้าถึงอยู่. . . ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอรหัตผล แต่อีกส่วนหนึ่ง

ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอรหัตผล ส่วนหนึ่งเป็นผู้ปราศจากราคะโทสะ

โมหะแล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์

ตนแล้ว มีเครื่องผูกไว้ในภพสิ้นไปรอบแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ

มีลิ่มอันยกขึ้นแล้ว มีคูอันกลบแล้ว มีเสาระเนียดอันถอนขึ้นแล้ว เป็น

ผู้ที่ไม่มีลิ่มสลัก เป็นอริยะ ลดธง คือมานะ แล้ว มีภาระอันวางแล้ว

หมดเครื่องผูกพันแล้ว มีชัยชนะอย่างดีวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์

แล้ว ละสมุทัยแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ยังมรรคให้เกิดแล้ว รู้ยิ่งซึ่ง

ธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้แล้ว ละธรรมที่ควร

ละแล้ว บำเพ็ญธรรมที่ควรบำเพ็ญแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้

แจ้งแล้ว ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว แต่อีกส่วน

หนึ่งยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ?

ป. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา

และบรรดากิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระอรหันต์แต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน

หนึ่งไม่เป็นพระอรหันต์ ฯ ล ฯ ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

แจ้งแล้ว แต่อีกส่วนหนึ่งยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์ ?

ป. ละมานะ อุทธัจจะ อวิชชา และบรรดากิเลส

พวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้.

ส. บุคคลเป็นพระอรหันต์แต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง

ไม่เป็นพระอรหันต์ ฯ ล ฯ ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง

แล้ว แต่อีกส่วนหนึ่งยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นมรรค ?

ป. ละอุทธัจจะ อวิชชา และบรรดากิเลสพวกเดียว

กันได้.

ส. บุคคลเป็นพระอรหันต์แต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วน

หนึ่งไม่เป็นพระอรหันต์ ส่วนหนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ... ถึงทับ...

ทำให้แจ้ง ... เข้าถึงอยู่ ... ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอรหัตผล แต่อีกส่วน

หนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอรหัตผล ส่วนหนึ่งเป็นผู้ปราศจากราคะ

โทสะโมหะแล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์

ตนแล้ว มีเครื่องผูกไว้ในภพสิ้นไปรอบแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ

มีลิ่มอันยกขึ้นแล้ว มีดอันกลบแล้ว มีเสาระเนียดอันถอนขึ้นแล้ว เป็น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

ผู้ไม่มีลิ่มสลัก เป็นอริยะ ลดธง คือมานะ แล้ว วางภาระแล้ว

หมดเครื่องผูกพันแล้ว มีชัยชนะอย่างดีวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์

แล้ว ละสมุทัยแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ยังมรรคให้เกิดแล้ว รู้ยิ่งซึ่ง

ธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้แล้ว ละธรรมที่ควร

ละแล้ว บำเพ็ญธรรมที่ควรบำเพ็ญแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้

แจ้งแล้ว ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว แต่อีกส่วน

หนึ่งยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๘๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ หรือ

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ผู้มีปัญญาพึง

กำจัดมลทินของตนทีละน้อย ๆ ทุกขณะโดยลำดับ เหมือนช่าง

ทองกำจัดมลทินทองฉะนั้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว

ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็ละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ น่ะสิ.

[๒๘๔] ส. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วนๆ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า พร้อมกับการ

ถึงพร้อมด้วยทัสสนะของท่านได้แก่พระโสดาบัน ท่านละธรรม ๓

๑. ขุ. ธ. ๒๔/๒๘

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

อย่างได้ คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ที่ยัง

มีอยู่แม้หน่อยหนึ่ง ท่านก็พ้นจากอบายภูมิ ๔ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ

จะทำอภิฐานหก ดังนี้ เป็นสูตรสีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าว บุคคลละกิเลสได้

เป็นส่วน ๆ น่ะสิ.

[๒๘๕] ส. บุคคละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิภษุ

ทั้งหลาย ในสมัยใด ธรรมจักษุปราศจากผงฝ้าเกิดขึ้นแล้ว แก่

อริยสาวกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีอันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด

มีอันดับไปเป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พร้อมกับการเกิด

ขึ้นแห่งทัสสนะนั้น อริยสาวกละสัญโญชน์ ๓ ประการได้ คือ

สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงใช่

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลละกิเลสได้

เป็นส่วน ๆ น่ะสิ

โอธิโสกถา จบ

๑. ขุ. ขุ. ๒๕/๗.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

อรรถกถาโอธิโสกถา

ว่าด้วยการละกิเลสบางส่วน

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องบางส่วน. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดย่อม

ปรารถนาการละกิเลสได้บางส่วน ๆ คือ โดยส่วนหนึ่ง ๆ จากการเห็น

ทุกข์เป็นต้นด้วยสามารถแห่งการตรัสรู้ต่าง ๆ แห่งพระโสดาบันเป็นต้น

ดุจนิกายสมิติยะทั้งหลายในขณะนี้ เพื่อจะทำลายลัทธินิกายเหล่านั้น

สกวาทีถึงถามว่า บุคคลละกิเลสได้เป็นบางส่วนหรือ คำรับรอง

ว่าใช่ เป็นของปรวาที. การซักถามอีกเป็นของสกวาที. คำปฏิเสธเป็น

ของปรวาที เพราะไม่มีความเป็นพระโสดาบัน เป็นต้น โดยเอกเทศ

คือบางส่วน. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยอุบายนี้.

อรรถกถาโอธิโสกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

ชหติกถา

[๒๘๖] สกวาที ปุถุชนละกามราคะ และพยาบาทได้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ละได้หมดสิ้น ละได้ไม่มีส่วนเหลือ ละได้ไม่มี

เยื่อใย ละได้กับทั้งราก ละได้กับทั้งตัณหา ละได้กับทั้งอนุสัย ละได้

ด้วยญาณอันเป็นอริยะ แทงตลอดอกุปปธรรมละได้ ทำให้แจ้งอนาคามิ-

ผลละได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๘๗] ส. ปุถุชนข่มกามราคะ และพยาบาทได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ข่มได้หมดสิ้น ไม่ได้ไม่มีส่วนเหลือ ข่มได้ไม่

มีเยื่อใย ข่มได้กับทั้งราก ข่มได้กับทั้งตัณหา ข่มได้กับทั้งอนุสัย ข่มได้

ด้วยญาณอันเป็นอริยะ ข่มได้ด้วยมรรคอันเป็นอริยะ แทงตลอดอกุปป-

ธรรมข่มได้ ทำให้แจ้งอนาคามิผลข่มได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๘๘] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกาม

ราคะและพยาบาทได้ และบุคคลนั้นละได้หมดสิ้น ละได้ไม่มีส่วน

เหลือ ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลละได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

ส. ปุถุชนละกามราคะ และพยาบาทได้ และเขา

ละได้หมดสิ้น ละได้ไม่มีส่วนเหลือ ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งอนามิผล ละได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๘๙] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มกาม

ราคะพยาบาทได้ และบุคคลนั้นข่มได้หมดสิ้น ข่มได้ไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ

ทำให้แจ้งอนาคามิผลข่มได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปุถุชนข่มกามราคะและพยาบาทได้ และเขาข่ม

ได้หมดสิ้น ข่มได้ไม่มีส่วนเหลือ ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๙๐] ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ แต่เขาจะละ

ได้หมดสิ้นก็หามิได้ จะละได้ไม่มีส่วนเหลือก็หามิได้ จะละได้ไม่มีเยื่อใย

ก็หามิได้ จะละได้กับทั้งรากก็หามิได้ จะละได้กับทั้งตัณหาก็มิได้ จะละ

ได้กับทั้งอนุสัยก็หามิได้จะละได้ด้วยญาณอันเป็นอริยะก็หามิได้ จะละได้

ด้วยมรรคอันเป็นอริยะก็หามได้ จะแทงตลอดอกุปปธรรมละได้ก็หามิได้

จะทำให้แจ้งอนาคามิผลละได้ก็หามิได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกาม

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

ราคะและพยาบาทได้ แต่บุคคลนั้นจะละได้ทั้งหมดก็หามิได้ ฯลฯ จะทำ

ให้แจ้งอนาคามิผลละได้ก็หามิได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๙๑] ส. ปุถุชนข่มกามราคะและพยาบาทได้ แต่เขาจะ

ข่มได้หมดสิ้นก็หามิได้ จะข่มได้ไม่มีส่วนเหลือก็หามิได้ ฯ ล ฯ จะทำ

ให้แจ้งอนาคามิผลข่มได้ก็หามิได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มกาม

ราคะและพยาบาทได้ แต่บุคคลนั้นจะข่มได้หมดสิ้นก็หามิได้ จะข่มได้

ไม่มีส่วนเหลือก็หามิได้ ฯ ล ฯ จะทำให้แจ้งอนาคามิผลข่มได้ก็หามิได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๙๒] ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ด้วยมรรคไหน ?

ป. ด้วยมรรคส่วนรูปาวจร.

ส. มรรคส่วนรูปาวจรเป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏ

ให้ถึงความสิ้นไป ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของ

อาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ไม่เป็น

อารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น

อารมณ์ของสังกิเลส หรือ.

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มรรคส่วนรูปาวจร ไม่เป็นเหตุนำออกจากสัง-

สารวัฏ ไม่เป็นธรรมให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้ถึงความตรัสรู้

ไม่เป็นธรรมให้ถึงนิพพนาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ

สัญโญชน์ ฯ ล ฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า มรรคส่วนรูปาวจร ไม่เป็นเหตุนำออก

จากสังสารวัฏ ไม่เป็นธรรมให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้ถึงความ

ตรัสรู้ ไม่เป็นธรรมให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสาวะ เป็น

อารมณ์ของสัญโญชน์ ฯ ล ฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ก็ต้องไม่กล่าวว่า

ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรคส่วนรูปาวจร.

[๒๙๓] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกาม

ราคะและพยาบาทได้ด้วยอนาคามิมรรค และมรรคนั้นเป็นเหตุนำออก

จากสังสารวัฏ ให้ถึงความสิ้นไป ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน

ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ. ไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯ ล ฯ ไม่เป็น

อารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรค

ส่วนรูปาวจรและมรรคนั้นเป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏ ให้ถึงความสิ้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

ไป ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่

เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๙๔] ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรค

ส่วนรูปาวจรและมรรคนั้นไม่เป็นเหตุนำออกจากสังสารวัฏ ไม่เป็นธรรม

ให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้ถึงความตรัสรู้ ไม่เป็นธรรมให้ถึง

นิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯ ล ฯ

เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกาม

ราคะและพยาบาทได้ด้วยอนาคามิมรรค แต่มรรคนั้นไม่เป็นเหตุนำ

ออกจากสังสารวัฏ ไม่เป็นธรรมให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้ถึง

ความตรัสรู้ ไม่เป็นธรรมให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น

อารมณ์ของสัญโญชน์ ฯ ล ฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๙๕] ส. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้ง-

หลาย ดำรงอยู่ในอนาคามิผลพร้อมกับการ

บรรลุธรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ดำรงอยู่ในอรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

[๒๙๖] ส. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้ง-

หลาย ดำรงอยู่ในอนาคามิผลพร้อมกับการ

บรรลุธรรม หรือ ?.

ป. ถูกแล้ว.

ส. ยังมรรคทั้งสามให้เกิดได้ ไม่ก่อนไม่หลัง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ยังมรรคทั้งสามให้เกิดได้ ไม่ก่อนไม่หลัง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทำให้แจ้งสามัญญผลทั้งสามได้ ไม่ก่อนไม่หลัง

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทำให้แจ้งสามัญญผลทั้งสามได้ ไม่ก่อนไม่หลัง

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะสาม แห่งเวทนาสาม

แห่งสัญญาสาม แห่งเจตนากาม แห่งจิตนาสาม แห่งจิตสาม แห่งศรัทธาสาม แห่ง

วิริยะสาม แห่งสติสาม แห่งสมาธิสาม แห่งปัญญาสาม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๒๙๗] ส. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้ง-

หลาย ดำรงอยู่ในอนาคามิผลพร้อมกับการ

บรรลุธรรม หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

ป. ถูกแล้ว.

ส. ด้วยโสดาปัตติผลมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ด้วยสกทาคามิผลมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ด้วยมรรคไหน ?

ป. ด้วยอนาคามิมรรค.

ส. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้

ด้วยอนาคามิมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้

ด้วยอนาคามิมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโสดาปัตติผล เพราะละ

สัญโญชน์สามมิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโสดาปัตติผล

เพราะละสัญโญชน์สาม ก็ต้องไม่กล่าวว่า ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา

สีลัพพตปรามาส ได้ด้วยอนาคามิมรรค ฯ ล ฯ

ส. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ

ได้ด้วยอนาคามิมรรค หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ

ได้ด้วยอนาคามิมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสกทาคามิผล เพราะ

ความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท มิ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสกทาคามิผล

เพราะความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท ก็ต้องไม่กล่าวว่า ละกาม

ราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอนาคามิมรรค.

[๒๙๘] ส. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้ง-

หลาย ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อมกับการ

บรรลุธรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชนเหล่าใดเหล่านี้บรรลุธรรมได้ ชนเหล่า

นั้นทั้งหมดดำรงอยู่ในอนาคามิผลพร้อมกับการ

บรรลุธรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๒๙๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ปุถุชนละกามราคะและพยาบาท

ได้ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ในกาลส่วน

อดีต ได้มีศาสดาทั้งหกเป็นผู้มียศ หมดความฉุนโกรธ แจ่มใส

เพราะกรุณา พ้นจากความเกี่ยวข้องในกาม คลายกามราคะแล้ว

เข้าถึงพรหมโลก แม้สาวกของศาสดาเหล่านั้น อันมีจำนวน

หลายร้อยก็เป็นผู้หมดความฉุนโกรธ แจ่มใสเพราะกรุณา พ้นจาก

ความเกี่ยวข้องในกาม คลายกามราคะแล้ว เข้าถึงพรหมโลก

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ปุถุชนก็ละกามราคะและพยาบาท

ได้น่ะสิ.

[๓๐๐] ส. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย ศาสดาชื่อสุเนตตะนั้นแล เป็นผู้มีอายุยืนอย่างนี้ ทรง

ชีพอยู่นานอย่างนี้ แต่ก็ไม่ได้หลุดพ้นจาก ชาติ ชรา มรณะ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า เป็นผู้

ไม่พ้นจากทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ก็เพราะไม่รู้ตาม ไม่แทง

๑. องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๒๕

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

ตลอด ซึ่งธรรมทั้งสี่ ธรรมทั้งสี่เป็นไฉน ? เพราะไม่รู้ตาม ไม่

แทงตลอด ซึ่งศีลอันเป็นอริยะ ซึ่งสมาธิอันเป็นอริยะ ซึ่งปัญญา

อันเป็นอริยะ ซึ่งวิมุติอันเป็นอริยะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศีลอัน

เป็นอริยะ สมาธิอันเป็นอริยะ ปัญญาอันเป็นอริยะ วิมุติอันเป็น

อริยะ นี้ อันเรารู้ตามแล้ว แทงตลอดแล้ว เราจึงถอนตัณหา

ในภพเสียได้แล้ว ตัณหาอันจะนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพ

ใหม่ไม่มี ดังนี้ (พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณพจน์นี้ ครั้น

แล้วจึงได้ตรัสคำอันท่านประพันธ์เป็นคาถาในภายหลัง ความว่าดังนี้)

ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ เป็นธรรม

อันยอดเยี่ยม อันพระโคดมผู้มียศทรงตามรู้แล้ว พระพุทธเจ้า

ทรงรู้ยิ่งด้วยประการฉะนี้แล้ว ได้ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย

เป็นศาสดาผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ ผู้มีจักษุ ปรินิพพานแล้ว ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ปุถุชนละกามราคะ

และพยาบาทได้น่ะสิ.

ชหติกถา จบ

๑. อ. สัตตถ. ๒๓/๖๓

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

อรรถกถาปชหติกถา

ว่าด้วยการละกิเลส

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการละกิเลส. ก็ในปัญหานั้น ชนเหล่าใดมี

ความเห็นผิดดุจนิกายสมิติยะเป็นต้น ในที่นี้ว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานพร้อม

กับการตรัสรู้สัจจะย่อมเป็นผู้ชื่อว่า เป็นพระอนาคามีและในกาลที่ท่าน

ยังเป็นปุถุชนนั่นแหละเป็นผู้ละกามราคะและพยาบาทได้แล้ว ดังนี้

เพื่อจะทำลายลัทธินั้นของชนเหล่านั้น พระสกวาทีจึงถามว่า ปุถุชน

ละกามราคะและพยาบาทได้หรือ ? เมื่อพระปรวาทีไม่เห็นอยู่ซึ่ง

ปริยุฏฐานกิเลสของท่านผู้ขมไว้ด้วยฌานจึงตอบรับรอง. ก็การละกิเลส

ได้โดยสิ้นเชิงของฌานลาภีบุคคลเหล่านั้นแม้ข่มไว้แล้วด้วยอนาคามิ-

มรรคนั่นแหละมีอยู่ เพราะฉะนั้นคำซักถามของสกวาทีว่า ละกิเลส

ได้หมดสิ้น อีก การปฏิเสธ เป็นของปรวาที เพราะไม่มีการละเช่น

นั้น. คำว่า ปุถุชนข่ม เป็นคำถามของสกวาที หมายเอาการข่ม

กิเลสไว้โดยไม่หมดสิ้นเท่านั้น. ต่อจากนี้ไป เป็นการเปรียบเทียบปุถุชน

กับพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค คำนี้มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

เบื้องหน้าแต่นี้ถูกสกวาทีถามว่า ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความ

กำหนัดในกามทั้งหลายดำรงอยู่ในอนาคามิผล ? ก็ตอบรับรอง หมาย

เอาปุถุชนผู้เป็นพระอนาคามีด้วยฌาน. ถูกถามว่า ตั้งอยู่ในพระ-

อรหัตตผลหรือ ? ตอบปฏิเสธ เพราะไม่มีการละอุทธัมภาคิยสังโยชน์

๑. บาลี-เป็น ชหติกถา.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

ด้วยมรรคอันเป็นเครื่องเห็น. ถูกถามว่า ยังมรรคทั้ง ๓ ให้เกิด

ไม่ก่อนไม่หลังกันหรือ ? ก็ตอบปฏิเสธ เพราะไม่มีการเจริญเช่นนั้น.

ถูกถามอีกว่า ยังมรรคทั้ง ๓ ให้เกิดไม่ก่อนไม่หลังหรือ ? ก็ตอบ

รับรอง หมายเอาสภาวกิจแห่งมรรคทั้ง ๓. แม้ในคำถามถึงสามัญญผล

ทั้งหลายก็นัยนี้เหมือนกัน.

ถูกถามว่า ด้วยมรรคไหน ? ตอบว่า ด้วยอนาคามิมรรค

ท่านกล่าวหมายเอาปุถุชนผู้เป็นพระอนาคามีด้วยฌาน. ถูกถามถึง การ

ละสัญโญชน์มีสักกายทิฏฐิ เป็นต้นอีก ปรวาทีก็ปฏิเสธ เพราะ

กิเลสทั้งหลายเหล่านั้นอันพระอนาคามิมรรคมิได้ละ. ถูกถามครั้งที่ ๒

ก็ตอบรับรอง หมายเอาความเป็นพระอนาคามิมรรคด้วยฌานแห่งปฐม-

มรรคนั่นแหละ. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถง่ายทั้งนั้น.

อรรถกถาปชหติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

สัพพมัตถีติกถา

[๓๐๑] ส. สกวาที สิ่งทั้งปวงมีอยู่ หรือ ?

ป. ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในสรีระทั้งปวง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในการทั้งปวง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่โดยอาการทั้งปวง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในธรรมทั้งปวง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งทั้งปวง ชื่อว่ามีอยู่ เพราะทำอธิบายว่า ไม่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

ประกอบ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. แม้สิ่งที่ไม่มี ก็ชื่อว่ามีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ส. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความเห็นอย่างนี้ว่า ทิฏฐิที่ว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่ดังนี้

เป็นมิจฉาทิฏฐิ และว่าทิฏฐิดังว่านี้ เป็นสัมมาทิฏฐิ ดังนี้ ก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

[๓๐๒] ส. อดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อดีตดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว อัสดง-

คตแล้ว สาบสูญไปแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอดีตดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว

อัสดงคตแล้ว สาบสูญไปแล้ว ก็ต้องกล่าวว่า

อดีตมีอยู่.

๑. ไม่ประกอบสภาวะต่าง ๆ คือ ทำรูปไม่ให้ต่างจากเวทนา หรือทำเวทนาไม่ให้

ต่างจากรูป คือ ทำให้มีลักษณะเป็นส่วนเดียวกัน -อรรถกถา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

[๓๐๓] ส. อนาคตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนาคตยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยัง

ไม่บังเกิดยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏมิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อนาคตยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิด

พร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่

ปรากฏ ก็ต้องไม่กล่าวว่า อนาคตมีอยู่.

[๓๐๔] ส. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันยังไม่ดับไป ยังไม่ปราศไป

ยังไม่แปรไป ยังไม่อัศดงคต ยังไม่สาบสูญไป

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อดีตมีอยู่ อดีตยังไม่ดับ ยังไม่ปราศไป ยังไม่

แปรไป ยังไม่อัสดงคต ยังไม่สาบสูญไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

[๓๐๕] ส. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันเกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิด

พร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏ

แล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนาคตมีอยู่ อนาคตเกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิด

พร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏ-

แล้ว หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ฯ

[๓๐๖] ส. อดีตมีอยู่ อดีตดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไป

แล้ว อัสดงคตแล้ว สาบสูญไปแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว

แปรไปแล้ว อัสดงคตแล้ว สาบสูญไปแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

[๓๐๗] ส. อนาคตมีอยู่ อนาคตยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่

เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่

ปรากฏ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ส. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่

เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่

ปรากฏ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

[๓๐๘] ส. รูปอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปอดีตดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว

อัสดงคตแล้ว สาบสูญไปแล้วมิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปอดีตดับแล้ว ฯลฯ สาบสูญไปแล้ว ก็

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

ต้องไม่กล่าวว่า รูปอดีตมีอยู่.

[๓๐๙] ส. รูปอนาคตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม

ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปอนาคตยังไม่เกิด ฯลฯ ยังไม่ปรากฏ

ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปอนาคตมีอยู่.

[๓๑๐] ส. รูปปัจจุบันมีอยู่ รูปปัจจุบันยังไม่ดับไป ยังไม่

ปราศไป ยังไม่แปรไป ยังไม่อัสดงคต ยังไม่

สาบสูญไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปอดีตมีอยู่ รูปอดีตยังไม่ดับไป ยังไม่ปราศไป

ยังไม่แปรไป ยังไม่อัสดงคต ยังไม่สาบสูญไป

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๑๑] ส. รูปปัจจุบันมีอยู่ รูปปัจจุบันเกิดแล้ว เป็นแล้ว

เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว

ปรากฏแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปอนาคตมีอยู่ รูปอนาคตเกิดแล้ว เป็นแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว

ปรากฏแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๑๒] ส. รูปอดีตมีอยู่ รูปอดีตดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว

แปรไปแล้ว อัสดงคตแล้ว สาบสูญไปแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปปัจจุบันมีอยู่ รูปปัจจุบันดับไปแล้ว ปราศไป

แล้ว แปรไปแล้ว อัสดงคตแล้ว สาบสูญไปแล้ว

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๑๓] ส. รูปอนาคตมีอยู่ รูปอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่เป็น

ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น

ยังไม่ปรากฏ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปปัจจุบันมีอยู่ รูปปัจจุบันยังไม่เกิด ยังไม่เป็น

ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น

ยังไม่ปรากฏ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๑๔] ส. เวทนาอดีตมีอยู่หรือ ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร

ฯลฯ วิญญาณอดีต มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

ส. วิญญาณอดีตดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไป

แล้ว อัสดงคตแล้ว สาบสูญไปแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. วิญญาณอดีตดับไปแล้ว ฯลฯ สาบสูญไปแล้ว

ก็ต้องไม่กล่าวว่า วิญญาณอดีตมีอยู่

[๓๑๕] ส. วิญญาณอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. วิญญาณอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิด

พร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่

ปรากฏ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. ถ้าวิญญาณอนาคตยังไม่เกิด ฯลฯ ยังไม่ปรากฏ

ก็ต้องไม่กล่าว วิญญาณอนาคตมีอยู่

[๓๑๖] ส. วิญญาณปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณปัจจุบันยังไม่ดับ

ฯ ล ฯ ยังไม่สาบสูญไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. วิญญาณอดีตมีอยู่ วิญญาณอดีตยังไม่ดับไป ฯลฯ

ยังไม่สาบสูญไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๑๗] ส. วิญญาณปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณปัจจุบันเกิดแล้ว

เป็นแล้ว ฯ ล ฯ ปรากฏแล้ว หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณอนาคตมีอยู่ วิญญาณอนาคตเกิดแล้ว

ฯลฯ ปรากฏแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๑๘] ส. วิญญาณอดีตมีอยู่ วิญญาณอดีตดับไปแล้ว ฯลฯ

สาบสูญไปแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณปัจจุบันดับไปแล้ว

ฯ ล ฯ สาบสูญไปแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๑๙] ส. วิญญาณอนาคตมีอยู่ วิญญาณอนาคตยังไม่เกิด

ฯ ล ฯ ยังไม่ปรากฏ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณปัจจุบันยังไม่เกิด

ยังไม่เป็น ฯลฯ ยังไม่ปรากฏ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๒๐] ส. บัญญัติว่าปัจจุบันหรือรูปก็ดี ว่ารูปหรือว่าปัจจุบัน

ก็ดี รวมเพ่งถึงรูปปัจจุบัน บัญญัติทั้ง ๒ นี้ ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถ

อันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

ส. รูปปัจจุบันเมื่อดับไป ย่อมละความเป็นปัจจุบัน

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ย่อมละความในรูป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๒๑] ส. บัญญัติว่าปัจจุบันหรือว่ารูปก็ดี ว่ารูปหรือว่า

ปัจจุบันก็ดี รวมเพ่งถึงรูปปัจจุบัน บัญญัติทั้ง ๒ นี้ ก็อย่างเดียวกัน มี

อรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปปัจจุบันเมื่อดับไป ย่อมไม่ละความเป็นรูป

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ย่อมไม่ละความเป็นปัจจุบัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ผ้าขาว บัญญัติทั้ง ๒ นี้ ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน

เท่ากัน เหมือนกัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ป. ผ้าขาว เมื่อถูกย้อม ย่อมละความเป็นผ้าขาว หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ย่อมละความเป็นผ้า หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

ป. บัญญัติว่าขาวหรือว่าก็ดี ว่าหรือว่าขาวก็ดี

รวมเพ่งถึงผ้าขาว บัญญัติทั้ง ๒ นี้ ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน

เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ผ้าขาวเมื่อถูกย้อม ย่อมไม่ละความเป็นผ้า หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ย่อมไม่ละความเป็นผ้าขาว หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๒๒] ส. รูปย่อมไม่ละความเป็นรูป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปเที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็น

ธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เพราะรูปย่อมละความเป็นรูป ฉะนั้นรูปจึงชื่อว่า

ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอันแปรผัน

เป็นธรรมดา มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอัน

แปรผันเป็นธรรมดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปย่อม

ไม่ละความเป็นรูป.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

[๓๒๓] ส. เพราะนิพพานย่อมไม่ละความเป็นนิพพาน

ฉะนั้นนิพพานจึงชื่อว่า เที่ยง ยั่งยืน คงทน มี

อันไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะรูปย่อมไม่ละความเป็นรูป ฉะนั้น รูปจึง

ชื่อว่า เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็น

ธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๒๔] ส. เพราะรูปย่อมไม่ละความเป็นรูป ฉะนั้น รูปจึง

ชื่อว่า ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอันแปร

ผันเป็นธรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะนิพพานย่อมไม่ละความเป็นนิพพาน

ฉะนั้น นิพพานจึงชื่อว่า ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน

ไม่คงทน มีอันแปรผันเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกว่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๒๕] ส. อดีตมีอยู่ อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนาคตมีอยู่ อนาคตย่อมไม่ละความเป็นอนาคต

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

ส. อดีตมีอยู่ อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันย่อมไม่ละความเป็นปัจจุบัน

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๒๖] ส. อนาคตมีอยู่ อนาคตย่อมไม่ละความเป็นอนาคต

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อดีตมีอยู่ อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๒๗] ส. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันย่อมไม่ละความเป็นปัจจุบัน

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อดีตมีอยู่ อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๒๘] ส. อดีตมีอยู่ อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อดีตเที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็น

ธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

ส. อดีต ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอันแปรผัน

เป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอัน

แปรผันเป็นธรรมดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า อดีตมีอยู่

อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต.

[๓๒๙] ส. เพราะนิพพานมีอยู่ นิพพานย่อมไม่ละความเป็น

นิพพาน ฉะนั้น นิพพานจึงชื่อว่า เที่ยง ยั่งยืน

มั่นคง มีอันแปรผันเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะอดีตมีอยู่ อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต

ฉะนั้น อดีตจึงชื่อว่า เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีอัน

แปรผันเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๓๐] ส. เพราะอดีตมีอยู่ อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต

ฉะนั้น อดีตจึงชื่อว่า ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง

มีอันแปรผันเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะนิพพานมีอยู่ นิพพานย่อมไม่ละความเป็น

นิพพาน ฉะนั้น นิพพานจึงชื่อว่า ไม่เที่ยง ไม่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

ยั่งยืน ไม่มั่นคง มีอันแปรผันเป็นธรรมดา

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๓๑] ส. รูปอดีตมีอยู่ รูปอดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. รูปอนาคตมีอยู่ รูปอนาคตย่อมไม่ละความเป็น

อนาคต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. รูปอดีตอยู่ รูปอดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปปัจจุบันมีอยู่ รูปปัจจุบันย่อมไม่ละความเป็น

ปัจจุบัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๓๒] ส. รูปอนาคตมีอยู่ รูปอนาคตย่อมไม่ละความเป็น

อนาคต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปอดีตมีอยู่ รูปอดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

[๓๓๓] ส. รูปปัจจุบันมีอยู่ รูปปัจจุบันย่อมไม่ละความเป็น

ปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปอดีตมีอยู่ รูปอดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๓๔] ส. รูปอดีตมีอยู่ รูปอดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปอดีต เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีอันไม่แปรผัน

เป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. รูปอดีต ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอันแปร

ผันเป็นธรรมดา มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า รูปอดีต ไม่เที่ยง ฯ ล ฯ มีอันแปรผัน

เป็นธรรมดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปอดีต มีอยู่ รูป

อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต.

[๓๓๕] ส. นิพพานมีอยู่ นิพพานย่อมไม่ละความเป็น

นิพาน นิพพานเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีอันไม่

แปรผันไปเป็นธรรมดา หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปอดีตมีอยู่ รูปอดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต

รูปอดีตเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีอันไม่แปรผัน

เป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๓๖] ส. รูปอดีตมีอยู่ รูปอดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต

รูปอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง มีอันแปร

ผันเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นิพพานมีอยู่ นิพพานย่อมไม่ละความเป็น

นิพพาน นิพพานไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง

มีอันแปรผันเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๓๗] ส. เวทนาอดีตมีอยู่ ฯลฯ สัญญาอดีตมีอยู่ ฯ ล ฯ

สังขารอดีตมีอยู่ ฯลฯ

[๓๓๘] ส. วิญญาณอดีตมีอยู่ วิญญาณอดีตย่อมไม่ละความ

เป็นอดีต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณอนาคตมีอยู่ วิญญาณอนาคตย่อมไม่ละ

ความเป็นอนาคต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

ส. วิญญาณอดีตมีอยู่ วิญญาณอดีตย่อมไม่ละความ

เป็นอดีต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณปัจจุบันย่อมไม่ละ

ความเป็นปัจจุบัน ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๓๙] ส. วิญญาณอนาคตมีอยู่ วิญญาณอนาคตย่อมไม่ละ

ความเป็นอนาคต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณอดีตมีอยู่ วิญญาณอดีตย่อมไม่ละความ

เป็นอดีต หรือ ?

[๓๔๐] ส. วิญญาณปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณปัจจุบันย่อมไม่ละ

ความเป็นปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณอดีตมีอยู่ วิญญาณอดีตย่อมไม่ละความ

เป็นอดีต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๔๑] ส. วิญญาณอดีตมีอยู่ วิญญาณอดีตย่อมไม่ละความ

เป็นอดีต หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณอดีตเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีอันไม่แปร

ผันเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิญญาณอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง มีอัน

แปรผันเป็นธรรมดา มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิญญาณอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่

นอน มีอันแปรผันเป็นธรรมดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า วิญญาณอดีตมีอยู่

วิญญาณอดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีต.

[๓๔๒] ส. นิพพานมีอยู่ นิพพานย่อมไม่ละความเป็น

นิพพาน นิพพานเที่ยง ยั่งยืน มั่นคงมีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิญญาณอดีตมีอยู่ วิญญาณอดีตย่อมไม่ละความ

เป็นอดีตเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๔๓] ส. วิญญาณมีอยู่ วิญญาณอดีตย่อมไม่ละความเป็น

อดีต วิญญาณอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง มีอันแปรผันเป็น

ธรรมดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

ส. นิพพานมีอยู่ นิพพานย่อมไม่ละความเป็น

นิพพาน นิพพานไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง

มีอันแปรผันเป็นธรรมดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯล ฯ

[๓๔๔] ส. อดีตใช่สภาวะที่มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อดีตมิใช่สภาวะที่มีอยู่ คำว่าอดีตมีอยู่

ก็ผิด ก็หรือหากว่าสภาวะอันมิใช่อดีตมีอยู่ คำว่า

อดีตมีอยู่ก็ผิด ?

ส. อนาคตมิใช่สภาวะที่อยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อนาคตมิใช่สภาวะที่มีอยู่ คำว่าอนาคต

มีอยู่ก็ผิด ก็หรือหากว่าสภาวะอันมิใช่อนาคต

มีอยู่คำว่าอนาคตมีอยู่ก็ผิด ?

[๓๙๕] ส. เป็นอนาคตแล้วจึงเป็นปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนาคตก็อันนั้นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. อนาคตก็อันนั้นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่เป็นอนาคต แล้วเป็นปัจจุบัน ชื่อว่าเป็น

แล้วจึงเป็นอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. สิ่งที่เป็นอนาคต แล้วเป็นปัจจุบัน ชื่อว่าเป็น

แล้วจึงเป็นอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่ไม่เป็นอนาคต แล้วไม่เป็นปัจจุบัน ชื่อว่า

ไม่เป็นแล้ว ไม่เป็นอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๔๖] ส. เป็นปัจจุบันแล้วจึงเป็นอดีต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ อดีตก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ อดีตก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่เป็นปัจจุบัน แล้วเป็นอดีต ชื่อว่าเป็นแล้ว

จึงเป็นอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. สิ่งที่เป็นปัจจุบัน แล้วเป็นอดีต ชื่อว่าเป็นแล้ว

จึงเป็นอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่ไม่เป็นปัจจุบัน แล้วไม่เป็นอดีต ชื่อว่าไม่

เป็นแล้ว ไม่เป็น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๔๗] ส. เป็นอนาคตแล้วจึงเป็นปัจจุบัน เป็นปัจจุบัน

แล้วจึงเป็นอดีต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนาคตก็อันนั้นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ

อดีตก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. อนาคตก็อันนั้นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ

อดีตก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่เป็นอนาคต แล้วเป็นปัจจุบัน ชื่อว่าเป็น

แล้ว จึงเป็นอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. สิ่งที่เป็นอนาคต แล้วเป็นปัจจุบัน ชื่อว่าเป็น

แล้วจึงเป็นอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่ไม่เป็นอนาคต แล้วไม่เป็นปัจจุบัน ชื่อว่า

ไม่เป็นแล้วไม่เป็น หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๔๘] ส. จักขุอดีตมีอยู่ รูป, จักขุวิญญาณ, แสงสว่าง,

มนสิการอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเห็นรูปอดีตได้ ด้วยจักขุอดีต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. โสตะอดีตมีอยู่ เสียง, โสตวิญญาณ, อากาศ,

มนสิการอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลฟังเสียงอดีตได้ ด้วยโสตอดีต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ฆานะอดีตมีอยู่ กลิ่น, ฆานวิญญาณ, ลม, มนสิ-

การอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลสูดกลิ่นอดีตได้ ด้วยฆานะอดีต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ชิวหาอดีตมีอยู่ รส, ชิวหาวิญญาณ, น้ำ, มนสิ-

สิการอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลลิ้มรสอดีตได้ ด้วยลิ้นอดีต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

ส. กายอดีตมีอยู่ โผฏฐัพพะ, กายวิญญาณ, ดิน,

มนสิการอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะอดีตได้ด้วยกายอดีต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มโนอดีตมีอยู่ ธรรมารมณ์, มโนวิญญาณ, วัตถุ,

มนสิการอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลรู้แจ้งธรรมารมณ์อดีตได้ ด้วยมโนอดีต

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๔๙] ส. จักขุอนาคตมีอยู่ รูป, จักขุวิญญาณ, แสงสว่าง,

มนสิการอนาคตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเห็นรูปอนาคตได้ ด้วยจักขุอนาคต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. โสตะ. . . ฆานะ . . . ชิวหา . . . กาย . . . มโน

อนาคตมีอยู่ ธรรมารมณ์, มโนวิญญาณ. วัตถุ,

มนสิการอนาคตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

ส. บุคคลรู้แจ้งธรรมารมณ์อนาคตได้ ด้วยมโน

อนาคต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๕๐] ส. จักขุปัจจุบันมีอยู่ รูป, จักขุวิญญาณ, แสงสว่าง,

มนสิการปัจจุบันมีอยู่ บุคคลเห็นรูปปัจจุบันได้

ด้วยจักขุปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุอดีตมีอยู่ รูป, จักขุวิญญาณ, แสงสว่าง,

มนสิการอดีตมีอยู่ บุคคลเห็นรูปอดีตได้ ด้วย

จักขุอดีต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. โสตะ... ฆานะ... ชิวหา... กาย... มโนปัจจุบัน

มีอยู่ ธรรมารมณ์, มโนวิญญาณ, วัตถุ, มนสิการปัจจุบันมีอยู่ บุคคล

รู้แจ้งธรรมารมณ์ปัจจุบันได้ ด้วยมโนปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มโนอดีตมีอยู่ ธรรมารมณ์, มโนวิญญาณ, วัตถุ,

มนสิการอดีตมีอยู่ บุคคลรู้แจ้งธรรมารมณ์อดีต

ไม่ด้วยมโนอดีต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๕๑] ส. จักขุปัจจุบันมีอยู่ รูป, จักขุวิญญาณ แสงสว่าง,

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

มนสิการปัจจุบันมีอยู่ บุคคลเห็นรูปปัจจุบันได้

ด้วยจักขุปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุอนาคตมีอยู่ รูป, จักขุวิญญาณ, แสงสว่าง,

มนสิการอนาคตมีอยู่ บุคคลเห็นรูปอนาคตได้

ด้วยจักขุอนาคต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. โสตะ. . . ฆานะ. . . ชิวหา. . . กาย. . . มโน ปัจจุบัน

มีอยู่ ธรรมารมณ์, มโนวิญญาณ, วัตถุ มนสิการปัจจุบันมีอยู่ บุคคล

รู้แจ้งธรรมารมณ์ปัจจุบันไดด้วยมโนปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มโนอนาคตมีอยู่ ธรรมารมณ์, มโนวิญญาณ,

วัตถุ, มนสิการอนาคตมีอยู่ บุคคลรู้แจ้งธรรมา-

รมณ์อนาคตได้ด้วยมโนอนาคต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๕๒] ส. จักขุอดีตมีอยู่ รูป, จักขุวิญญาณ แสงสว่าง,

มนสิการอดีตมีอยู่ แต่บุคคลเห็นรูปอดีตด้วย

จักขุอดีตไม่ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุปัจจุบันมีอยู่ รูป, จักขุวิญญาณ, แสงสว่าง,

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

มนสิการปัจจุบันมีอยู่ บุคคลเห็นรูปปัจจุบันได้

ไม่ได้ด้วยจักขุปัจจุบัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. โสตะ. . . ฆานะ . . . ชิวหา . . . มโนอดีตมีอยู่

ธรรมารมณ์, มโนวิญญาณ, วัตถุ, มนสิการอดีตมีอยู่ แต่บุคคลรู้แจ้ง

ธรรมารมณ์อดีตไม่ได้ด้วยมโนอดีต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มโนปัจจุบันมีอยู่ ธรรมารมณ์, มโนวิญญาณ,

วัตถุ, มนสิการปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลรู้แจ้ง

ธรรมารมณ์ปัจจุบันไม่ได้ด้วยมโนปัจจุบัน หรือ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๕๓] ส. จักขุอนาคตมีอยู่, รูป, จักขุวิญญาณ, แสงสว่าง,

มนสิการอนาคตมีอยู่ แต่บุคคลเห็นรูปอนาคต

ไม่ได้ด้วยจักขุอนาคต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุปัจจุบันมีอยู่ รูป, จักขุวิญญาณ, แสงสว่าง

มนสิการปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลเป็นรูปปัจจุบัน

ไม่ได้ด้วยจักขุปัจจุบัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. โสตะ. . . ฆานะ. . . ชิวหา . . . กาย. . . มโนอนาคต

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

มีอยู่ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ, วัตถุ มนสิการอนาคตมีอยู่ แต่

บุคคลรู้แจ้งธรรมารมณ์อนาคตไม่ได้ด้วยมโนอนาคต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มโนปัจจุบันมีอยู่ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ,

วัตถุ, มนสิการปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลรู้แจ้ง

ธรรมารมณ์ปัจจุบันไม่ไดด้วยมโนปัจจุบัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๕๔] ส. ญาณอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วยญาณได้ ด้วยญาณอดีต

นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วยญาณได้ ด้วยญาณอดีต

นั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ได้, ละสมุทัยได้, ทำนิโรธ

ให้แจ้งได้ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยญาณอดีตนั้น

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๕๕] ส. ญาณอนาคตมีอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วยญาณได้ ด้วยญาณ

อนาคตนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วยญาณได้ ด้วยญาณ

อนาคตนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัยได้. ทำนิโรธให้

แจ้งได้ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยญาณอนาคตนั้น

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๕๖] ส. ญาณปัจจุบันมีอยู่ บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วยญาณ

ได้ด้วยญาณปัจจุบันนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณอดีตอยู่ บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วยญาณได้

ด้วยญาณอดีตนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ญาณปัจจุบันมีอยู่ ? บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ได้

ละสมุทัยได้, ทำนิโรธให้แจ้งได้ ยังมรรคให้เกิดได้ ด้วยญาณปัจจุบัน

นั้น หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณอดีตมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ได้, ละสมุทัย

ได้, ทำนิโรธให้แจ้งได้, ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยญาณอนาคตนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ญาณปัจจุบันมีอยู่ บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วยญาณ

ได้ด้วยญาณปัจจุบันนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณอนาคตมีอยู่ บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วยญาณ

ได้ด้วยญาณที่เป็นอนาคตนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ญาณปัจจุบันมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ได้, ละ

สมุทัยได้, ทำนิโรธให้แจ้งได้, ยังมรรคให้เกิดได้ ด้วยญาณปัจจุบันนั้น

หรือ

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณอนาคตมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ได้,

ละสมุทัยได้, ทำนิโรธให้แจ้งได้, ยังมรรคให้เกิดได้ ด้วยญาณอนาคต

นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๕๗] ส. ญาณอดีตมีอยู่ แต่บุคคลทำกิจที่พึงด้วยญาณ

ไม่ได้ด้วยญาณอดีตนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

ส. ญาณปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วย

ญาณไม่ได้ด้วยญาณปัจจุบัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ญาณอดีตมีอยู่ แต่บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ไม่ได้,

ละสมุทัยไม่ได้, ทำนิโรธให้แจ้งไม่ได้, ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยญาณ

อดีตนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ไม่ได้

และสมุทัยไม่ได้, ทำนิโรธให้แจ้งไม่ได้, ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยญาณ

ปัจจุบันนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๕๘] ส. ญาณอนาคตมีอยู่ แต่บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วย

ญาณไม่ได้ด้วยญาณอนาคตนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วย

ญาณไม่ได้ด้วยญาณปัจจุบันนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ญาณอนาคตมีอยู่ แต่บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ไม่ได้

ละสมุทัยไม่ได้ ทำนิโรธให้แจ้งไม่ได้, ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยญาณ

อนาคตนั้น หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ไม่ได้

ละสมุทัยไม่ได้, ทำนิโรธให้แจ้งไม่ได้ ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยญาณ

ปัจจุบันนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๕๙] ส. ราคะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีราคะด้วยราคะนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. โทสะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีโทสะด้วยโทสะนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. โมหะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มานะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีมานะด้วยมานะอดีตนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

ส. ทิฏฐิอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. วิจิกิจฉาอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีวิจิกิจฉาด้วยวิจิกิจฉานั้น

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ถีนะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีถีนะด้วยถีนะนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. อุทธัจจะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีอุทธัจจะด้วยอุทธัจจะนั้น

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. อหิริกะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีอหิริกะด้วยอหิริกะนั้น หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. อโนตตัปปะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ชื่อว่ามีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะ

นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๖๐] ส. สักกายทิฏฐิอดีตของพระอนาคามีมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีชื่อว่ามีทิฏฐินั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส กามราคะอย่าง

ละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดอดีต ของพระอนาคามีมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. พระอนาคามีชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้น

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๖๑] ส. สักกายทิฏฐิอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

ส. วิจิกิจฉา, ลีลัพพตปรามาส, กามราคะอย่าง

หยาบ, พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของพระ-

สกทาคามีมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาท

นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๖๒] ส. สักกายทิฏฐิอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ ?

ป ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส, ราคะอันเป็นอปาย-

คามี. โทสะอันเป็นอปายคามี, โมหะอันเป็นอปายคามี, ที่เป็นอดีตของ

พระโสดาบันมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโสดาบันชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๖๓] ส. ราคะอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีราคะ

ด้วยราคะนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

ส. ราคะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์

ชื่อว่ามีราคะด้วยราคะนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. โทสะอดีตของปุถุชนมีอยู่ ฯ ล ฯ อโนตตัปปะ

อดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อโนตตัปปะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ พระ-

อรหันต์ชื่อว่ามีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะนั้น

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๖๔] ส. สักกายทิฏฐิอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามี

ทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สักกายทิฏฐิอดีตของพระอนาคามี มีอยู่ พระ-

อนาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. วิจิกิจฉาอดีตของปุถุชนมีอยู่ ฯ ล ฯ พยาบาท

อย่างละเอียดที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วย

พยาบาทนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

ส. พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของพระอนาคา-

มี มีอยู่ พระอนาคามีชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วย

พยาบาทนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๖๕ ] ส. สักกายทิฏฐิอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามี

ทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สักกายทิฏฐิอดีตของพระสกทาคามี มีอยู่ พระ-

สกทาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. วิจิกิจฉาอดีตของปุถุชนมีอยู่ ฯลฯ พยาบาทอย่าง

หยาบที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาท

นั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของพระสกทาคา-

มี มีอยู่ พระสกทาคามีชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วย

พยาบาทนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๖๖] ส. สักกายทิฏฐิอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามี

ทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

ส. สักกายทิฏฐิอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ พระ-

โสดาบันชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. วิจิกิจฉาอดีตของปุถุชนมีอยู่ ฯ ล ฯ โมหะอัน

เป็นอปายคามีที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะ

นั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โมหะอันเป็นอปบายคามีที่เป็นอดีตของพระโสดา-

บันมีอยู่ พระโสดาบันชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้น

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[ ๓๖๗] ส. ราคะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ แต่พระอรหันต์

หาชื่อว่ามีราคะด้วยราคะนั้นไม่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ราคะอันอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนหาชื่อว่ามี

ราคะด้วยราคะนั้นไม่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. โทสะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ ฯ ล ฯ อโนต-

ตัปปะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ แต่พรอรหันต์หาชื่อว่ามีอโนตตัปปะ

ด้วยอโนตัปปะนั้นไม่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 362

ส. อโนตตัปปะอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนหาชื่อ

ว่ามีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะนั้นไม่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๖๘] ส. สักกายทิฏฐิอดีตของพระอนาคามี มีอยู่ แต่พระ-

อนาคามีหาชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สักกายทิฏฐิอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนหาชื่อ

ว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นไม่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิจิกิจฉาอดีตของพระอนาคามี มีอยู่ ฯลฯ พยา-

บาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของพระอนาคามี มีอยู่ แต่พระอนาคามีหา

ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นไม่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่

แต่ปุถุชนหาชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้น

ไม่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวยอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๖๙] ส. สักกายทิฏฐิอดีตของพระสกทาคามีอยู่ แต่พระ-

สกทาคามีหาชื่อว่าทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นไม่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 363

ส. สักกายทิฏฐิอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนหาชื่อ

ว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นไม่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิจิกิจฉาอดีตของพระสกทาคามี มีอยู่ ฯลฯ พยา-

บาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของพระสกทาคามี มีอยู่ แต่พระสกทาคามีหา

ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นไม่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พยาบาทอย่างหยาบ ที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่

แต่ปุถุชนหาชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้น

ไม่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๗๐] ส. สักกายทิฏฐิอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ แต่พระ-

โสดาบันหาชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นไม่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สักกายทิฏฐิอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนหา

ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นไม่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. วิจิกิจฉาอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ ฯลฯ โมหะ

อันเป็นอปายคามีที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ แต่พระโสดาบันหา

ชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นไม่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 364

ป. ถูกแล้ว.

ส. โมหะอันเป็นอปายคามีที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่

แต่ปุถุชนหาชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นไม่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๗๑] ส. มืออดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อมืออดีตมีอยู่ การจับ การวาง ยังปรากฏอยู่

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เท้าอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อเท้าอดีตมีอยู่ การก้าวไป การถอยกลับ ยัง

ปรากฏอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ข้อพับอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อข้อพับอดีตมีอยู่ การคู้ การเหยียด ยัง

ปรากฏอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ท้องอดีตมีอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 365

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อท้องอดีตมีอยู่ ความหิว ความกระหาย ยัง

ปรากฏอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. กายอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายอดีตยังเข้าถึงการยกย่องและการปราบปราม

ยังเข้าถึงการตัดและการทำลาย ยังเป็นของสาธารณะแก่กา แก่แร้ง

แก่เหยี่ยว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ยาพิษพึงเข้าไป ศัสตราพึงเข้าไป ไม่พึงเข้าไป

ในกายอดีต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. กายอดีต ยังจะจองจำได้ด้วยเครื่องจำคือชื่อคา

ด้วยเครื่องจำคือเชือก ด้วยเครื่องจำคือตรวน ด้วยเครื่องจำคือบ้าน

ด้วยเครื่องจำคือนิคม ด้วยเครื่องจำคือนคร ด้วยเครื่องจำคือชนบท

ด้วยเครื่องจำ ๕ ประการ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนี้ ฯ ล ฯ

[๓๗๒] ส. น้ำอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 366

ส. บุคคลทำกิจที่ต้องใช้น้ำได้ด้วยน้ำนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ไฟอดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลทำกิจที่ต้องใช้ไฟได้ด้วยไฟนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ลมอดีตมีอยู่ หรือ

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลทำกิจที่ต้องใช้ลมได้ด้วยลมนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๗๓] ส. รูปขันธ์อดีตมีอยู่ รูปขันธ์อนาคตมีอยู่ รูปขันธ์

ปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปขันธ์เป็น ๓ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ขันธ์ที่เป็นอดีตมีอยู่ ขันธ์ห้าที่เป็นอนาคตมีอยู่

ขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ขันธ์เป็น ๑๕ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

[๓๗๔] ส. จักขายตนะอดีตมีอยู่ จักขายตนะอนาคตมีอยู่

จักขายตนะปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขายตนะเป็น ๓ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. อายตนะ ๑๒ ที่เป็นอดีตมีอยู่ อายตนะ ๑๒

ที่เป็นอนาคตมีอยู่ อายตนะ ๑๒ ที่เป็นปัจจุบัน

มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อายตนะเป็น ๓๖ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๗๕] ส. จักขุธาตุอดีตมีอยู่ จักขุธาตุอนาคตมีอยู่ จักขุ-

ธาตุปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุธาตุเป็น ๓ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ธาตุ ๑๘ ที่เป็นอดีตมีอยู่ ธาตุ ๑๘ ที่เป็น

อนาคตมีอยู่ ธาตุ ๑๘ ที่เป็นปัจจุบันมีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 368

ส. ธาตุเป็น ๕๔ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๗๖] ส. จักขุนทรีย์อดีตมีอยู่ จักขุนทรีย์อนาคตมีอยู่

จักขุนทรีย์ปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุนทรีย์เป็น ๓ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีตมีอยู่ อินทรีย์ ๒๒

ที่เป็นอนาคตมีอยู่ อินทรีย์ ๒๒ เป็นปัจจุบัน

มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อินทรีย์เป็น ๖๖ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๗๗] ส. พระเจ้าจักรพรรดิอดีตมีอยู่ พระเจ้าจักรพรรดิ

อนาคตมีอยู่ พระเจ้าจักรพรรดิปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระเจ้าจักรพรรดิทั้ง ๓ องค์ทรงพบกันได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๗๘] ส. สัมมาสัมพุทธเจ้าอดีตมีอยู่ สัมมาสัมพุทธเจ้า

อนาคตมีอยู่ สัมมาสัมพุทธเจ้าปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 369

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๓ องค์ทรงพบกันได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๗๙] ส. อดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่มีอยู่เป็นอดีต หรือ ?

ป. สิ่งที่มีอยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าอดีตมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่

เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี ด้วยเหตุนั้น อดีตก็ไม่เป็นอดีต สิ่งที่ไม่ใช่

อดีตก็เป็นอดีต, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า อดีตมีอยู่ สิ่ง

ที่มีอยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี ด้วยเหตุนั้นอดีตก็ไม่ใช่อดีตเป็นอดีต

สิ่งที่ไม่ใช่อดีตก็เป็นอดีต ดังนี้ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อดีตไม่เป็นอดีต

สิ่งที่ไม่ใช่อดีตเป็นอดีต ก็ต้องไม่กล่าวว่าอดีตมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็นอดีต

ก็มี, ไม่เป็นอดีตก็มี ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่าอดีตมีอยู่

สิ่งที่มีอยู่ เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี ด้วยเหตุนั้น อดีตก็ไม่เป็นอดีต

สิ่งที่ไม่ใช่อดีตก็เป็นอดีต ดังนี้ผิด.

[๓๘๐] ส. อนาคตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่มีอยู่เป็นอนาคต หรือ ?

ป. สิ่งที่มีอยู่ เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 370

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่าอนาคตมีอยู่ สิ่งที่

มีอยู่ เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี ด้วยเหตุนั้น อนาคตก็ไม่เป็น

อนาคต สิ่งไม่ใช่อนาคตก็เป็นอนาคต, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า

พึงกล่าวได้ว่า อนาคตมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี

ด้วยเหตุนั้น อนาคตก็ไม่เป็นอนาคต สิ่งที่ไม่ใช่อนาคตก็เป็นอนาคต

ดังนี้ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า อนาคตไม่เป็นอนาคต สิ่งที่ไม่ใช่อนาคต

เป็นอนาคต ก็ต้องไม่กล่าวว่า อนาคตมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็นอนาคตก็มี

ไม่เป็นอนาคตก็มี, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้ว่า อนาคต

มีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี ด้วยเหตุนั้น อนาคต

ก็ไม่เป็นอนาคต สิ่งที่ไม่ใช่อนาคต ก็เป็นอนาคต ดังนี้ผิด

[๓๘๑] ส. ปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สิ่งที่มีอยู่เป็นปัจจุบัน หรือ ?

ป. สิ่งที่มีอยู่เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ หากว่าปัจจุบันมีอยู่ สิ่งที่มี

อยู่ เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี ด้วยเหตุนั้น ปัจจุบันก็ไม่เป็น

ปัจจุบัน สิ่งที่ไม่ใช่ปัจจุบันก็เป็นปัจจุบัน ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า

พึงกล่าวได้ว่า ปัจจุบันมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบัน

ก็มี ด้วยเหตุนั้น ปัจจุบันก็ไม่เป็นปัจจุบัน สิ่งที่ไม่ใช่ปัจจุบัน ก็เป็น

ปัจจุบัน ดังนี้ผิด,แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า ปัจจุบันไม่เป็นปัจจุบัน สิ่งที่ไม่

ใช่ปัจจุบันเป็นปัจจุบัน ก็ต้องไม่กล่าวว่า ปัจจุบันมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 371

ปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าว

ได้ว่า ปัจจุบันมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี ด้วย

เหตุนั้น ปัจจุบันก็ไม่เป็นปัจจุบัน สิ่งที่ไม่ใช่ปัจจุบันก็เป็นปัจจุบัน

ดังนี้ผิด

[๓๘๒] ส. นิพพานมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. สิ่งที่มีอยู่เป็นนิพพาน หรือ ?

ป. สิ่งที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ หากว่านิพพานมีอยู่ สิ่งที่มี

อยู่ เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี ด้วยเหตุนั้น นิพพานก็ไม่เป็น

นิพพาน สิ่งที่ไม่ใช่นิพพานก็เป็นนิพพาน, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า

พึงกล่าวได้ว่า นิพพานมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพาน

ก็มี ด้วยเหตุนั้น นิพพานก็ไม่เป็นนิพพาน สิ่งที่ไม่ใช่นิพพาน ก็เป็น

นิพพาน ดังนี้ผิด แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า นิพพานไม่เป็นนิพพาน สิ่งที่ไม่

ใช่นิพพานเป็นนิพพาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า นิพพานมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็น

นิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าว

ได้ว่า นิพพานมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี

ด้วยเหตุนั้น นิพพานก็ไม่เป็นนิพพาน สิ่งที่ไม่ใช่นิพพานก็เป็นนิพพาน

ดังนี้ผิด

[๓๘๓] ป. ไม่พึงกล่าว อดีตมีอยู่ อนาคตมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน

ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีต

ก็ดี ที่อยู่ในที่ไกล ในที่ใกล้ก็ดี นี้เรียกว่ารูปขันธ์ เวทนาอย่างใด

อย่างหนึ่ง ฯ ล ฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯ ล ฯ สังขารเหล่าใด

เหล่าหนึ่ง ฯ ล ฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต

ปัจจุบัน ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี

ประณีตก็ดี ที่อยู่ในที่ไกล ในที่ใกล้ก็ดี นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น อดีตก็มีอยู่ อนาคตก็มีอยู่ น่ะสิ

[๓๘๔] ส. อดีตมีอยู่ อนาคตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ครรลองแห่งภาษา ครรลองแห่งชื่อ ครรลองแห่งบัญญัติ

๓ ประการนี้ อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย ไม่ลบล้าง ไม่เคย

ลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ มิได้คัดค้าน ๓ ประการ

เป็นไฉน

(๑) รูปใด ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว แปร

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

ไปแล้ว รูปนั้น เขากล่าวกันว่า ได้มีแล้ว เขาเรียกว่า ได้มีแล้ว

เขาบัญญัติว่า ได้มีแล้ว แต่รูปนั้น เขาไม่กล่าวกันว่า มีอยู่ เขา

ไม่กล่าวกันว่าจักมี เวทนาใด ฯ ล ฯ สัญญาใด ฯ ล ฯ สังขาร

เหล่าใด ฯ ล ฯ วิญญาณใด ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศไปแล้ว

แปรไปแล้ว ญาณนั้นเขากล่าวกันว่า ได้มีแล้ว เขาเรียกว่า

ได้มีแล้ว เขาบัญญัติว่า ได้มีแล้ว แต่วิญญาณนั้น เขาไม่กล่าว

กันว่ามีอยู่ เขาไม่กล่าวกันว่า จักมี.

(๒) รูปใด ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ รูปนั้น เขากล่าว

กันว่า จักมี เขาเรียกว่า จักมี เขาบัญญัติว่า จักมี แต่รูปนั้น เขา

ไม่กล่าวกันว่า มีอยู่ เขาไม่กล่าวกันว่า ได้มีแล้ว เวทนาใด ฯลฯ

สัญญาใด ฯลฯ สังขารเหล่าใด ฯลฯ วิญญาณใด ยังไม่เกิด

ยังไม่ปรากฏ วิญญาณนั้น เขากล่าวกันว่า จักมี เขาเรียกว่า จักมี

เขาบัญญัติว่า จักมี แต่เขาไม่กล่าวกันว่ามีอยู่ เขาไม่กล่าวกันว่า

ได้มีแล้ว

(๓) รูปใด เกิดแล้ว ปรากฏแล้ว รูปนั้น เขากล่าวกันว่า

มีอยู่ เขาเรียกว่า มีอยู่ เขาบัญญัติว่า มีอยู่ แต่เขาไม่กล่าวกันว่า

ได้มีแล้ว เขาไม่กล่าวกันว่า จักมี เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ

สังขารเหล่าใด ฯลฯ วิญญาณใด เกิดแล้ว ปรากฏแล้ว วิญญาณ

นั้น เขากล่าวกันว่า มีอยู่ เขาเรียกว่า มีอยู่ เขาบัญญัติว่า มีอยู่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 374

แต่วิญญาณนั้น เขาไม่กล่าวกันว่า ได้มีแล้ว เขาไม่กล่าวกันว่า

จักมี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครรลองแห่งภาษา ครรลองแห่งชื่อ

ครรลองแห่งบัญญัติ ๓ ประการเหล่านั้นแล อันสมณพราหมณ์ผู้

รู้ทั้งหลาย ไม่ลบล้าง ไม่เคยลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ

มิได้คัดค้าน แม้ชนที่เป็นชาวอุกกละ ชาววัสสภัญญะ ที่เป็น

อเหตุกวาท อภิริยวาท ก็ได้สำคัญครรลองแห่งภาษา ครรลอง

แห่งชื่อ ครรลองแห่งบัญญัติ ๓ ประการนี้ว่า อันตนไม่พึง

ติเตียน อันตนไม่พึงคัดค้าน ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะกลัว

การติเตียน การเพิดเพ้ยและการโต้แย้ง ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า อดีตมีอยู่ อนาคต

มีอยู่น่ะสิ.

[๓๘๕] ส. อดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านพระผัคคุณะได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า บุคคลเมื่อยังพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่

ล่วงไปแล้วปรินิพพานแล้ว มีธรรมเครื่องเนิ่นช้าอันตัดแล้ว มี

๑. ส. ขนฺธ. ๑๗/๑๓๔

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

ทางอันตัดแล้ว มีวัฏฏะอันจำกัดแล้ว ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ให้

ปรากฏ พึงให้ปรากฏได้ด้วยจักษุใด จักษุนั้นมีอยู่หรือหนอ ฯลฯ

ชิวหานั้นมีอยู่หรือหนอ ฯลฯ บุคคลเมื่อยังพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ที่ล่วงไปแล้ว ปรินิพพานแล้ว มีธรรมเครื่องเนิ่นช้าอันตัดแล้ว

มีทางอันตัดแล้ว มีวัฏฏะอันจำกัดแล้ว ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว

ให้ปรากฏ พึงให้ปรากฏได้ด้วยมโนใด มโนนั้นมีอยู่หรือหนอ

ดูก่อนผัคคุณะ บุคคลเมื่อยังพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว

ปรินิพพานแล้ว มีธรรมเครื่องเนิ่นช้าอันตัดแล้ว มีทางอันตัดแล้ว

มีวัฏฏะอันจำกัดแล้ว ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ให้ปรากฏ พึงให้

ปรากฏได้ด้วยจักษุใด จักษุนั้นไม่มีอยู่เลย ฯ ล ฯ ชิวหานั้นไม่มี

อยู่เลย ฯลฯ บุคคลยังพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ปริ-

นิพพานแล้ว มีธรรมเครื่องเนิ่นช้าอันตัดแล้ว มีทางอันตัดแล้ว

มีวัฏฏะอันจำกัดแล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ให้ปรากฏ พึง

ให้ปรากฏได้ด้วยมโนใด มโนนั้นไม่มีอยู่เลย ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่

จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าว อดีตมีอยู่ น่ะสิ.

[๓๘๖] ส. อดีตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส สฬา. ๑๘/๙๙-๑๐๐

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

ส. ท่านพระนันทกะได้กล่าวว่า โลภะได้มีแล้วใน

กาลก่อน ข้อนั้นได้เป็นความไม่ดีแล้ว โลภะนั้น บัดนี้ไม่มีอยู่

ข้อนี้เป็นความดี โทสะได้มีแล้วในกาลก่อน ฯ ล ฯ โมหะได้มี

แล้วในกาลก่อน ข้อนั้นได้เป็นความไม่ดีแล้ว โมหะนั้น บัดนี้

ไม่มีอยู่ ข้อนี้เป็นความดี ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ไม่พึงกล่าวว่า อดีตมีอยู่ น่ะสิ.

[๓๘๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อนาคตมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย หากว่าความยินดี ความเพลิน ความอยาก ยังมีอยู่ใน

กวฬิงการาหาร วิญญาณก็ตั้งมั่นแล้ว งอกงามแล้ว ในเพราะกว-

ฬิงการาหารนั้น วิญญาณก็ตั้งมั่นแล้ว งอกงามแล้วในที่ใด ความ

หยั่งลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่นั้น ความหยั่งลงแห่งนามรูปก็มีอยู่

ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่นั้น ความเจริญ

แห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด การเกิดในภพใหม่ต่อไปก็มีอยู่

ในที่นั้น การเกิดในภพใหม่ไปมีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะ

ก็ยังมีอยู่ต่อไปในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะ ยังมีอยู่ต่อไปในที่ใด

๑. อ ติก. ๒๐/๕๐๖. ๒. ส. นิ. ๑๖/๒๔๖.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 377

เรากล่าวว่า ที่นั้นยังมีโศก ยังมีธุลี ยังมีความคับแค้น ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย หากว่า ความยินดี ความเพลิน ความอยาก ยังมีอยู่

ในผัสสาหาร... ในนโนสัญเจตนาหาร... ในวิญญาณาหาร ฯ ล ฯ

เรากล่าวว่าที่นั้นยังมีโศก ยังมีธุลี มีความมีความคับแค้น ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า อนาคตมีอยู่ น่ะสิ

[๓๘๘] ส. อนาคตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย หากว่าความยินดี ความเพลิน ความอยาก ไม่มีอยู่ใน

กวฬิงการาหาร วิญญาณก็ไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่งอกงามแล้ว ในเพราะ

กวฬิงการาหารนั้น วิญญาณไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่งอกงามแล้วในที่ใด

ความหยั่งลงแห่งนามรูปก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ความหยั่งลงแห่งนาม

รูปไม่มีอยู่ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายก็ไม่มีอยู่ในที่

นั้น ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายไม่มีอยู่ในที่ใด การเกิดใน

ภพใหม่ต่อไปก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น การเกิดในภพใหม่ต่อไปไม่มีอยู่

ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะ ก็ไม่มีต่อไปในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะ

ไม่มีต่อไปในที่ใด เรากล่าวว่า ที่นั้นไม่มีโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความ

คับแค้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่า ความยินดี ความเพลิน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 378

ความหยาก ไม่มีอยู่ในผัสสาหาร... ในมโนสัญเจตนาหาร...

ในวิญญาณาหาร ฯลฯ เรากล่าวว่าที่นั้นไม่มีโศก ไม่มีธุลีไม่มีความ

คับแค้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า อนาคตก็มีอยู่ น่ะสิ

สัพพมัตถีติกถา จบ

อรรถกถาสัพพมัตตถีติวาทกถา

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงมีอยู่

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องวาทะว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่. ในปัญหานั้น ชน

เหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายสัพพมัตถีติวาทะทั้งหลาย ในที่นี้ว่า

ธรรมทั้งหลายอันต่างด้วยอดีตเป็นต้นแม้ทั้งปวง ย่อมไม่เว้นซึ่งสภาพ

แห่งขันธ์ เพราะพระบาลีว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต คือ

ล่วงไปแล้วก็ดี เป็นอนาคต คือยังไม่มาถึงก็ดี เป็นปัจจุบัน คือเกิด

ขึ้นอยู่เฉพาะหน้าก็ดี ฯลฯ นี้ พระตถาคต ตรัสเรียกว่า รูปขันธ์ ดังนี้

เป็นต้น เพราะฉะนั้น สิ่งทั้งปวงจึงชื่อว่ามีอยู่นั้นแหละ ดังนี้ เพื่อชำระ

ลัทธิอันเห็นผิดของชนเหล่านั้น สกวาทีจึงถามว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่

หรือ คำตอบรับรองเป็นของปรวาที เพราะตั้งอยู่ในทิฏฐิมีประการ

ดังกล่าวแล้ว.

คำว่า ในสรีระทั้งปวงหรือ อธิบายว่า สกวาที่ย่อมถามด้วย

คำว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในสรีระทั้งปวงหรือ. คำว่า มีอยู่ในกาลทั้งปวง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 379

หรือ อธิบายว่า สกวาทีย่อมถามว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในกาลทั้งปวงหรือ.

คำว่า สพฺเพน สพฺพ อธิบายว่า สกวาทีถามว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่โดย

อาการทั้งปวงหรือ. คำว่า สพฺเพสุ อธิบายว่า สกวาทีย่อมถามว่า สิ่ง

ทั้งปวงมีอยู่ในธรรมทั้งปวงหรือ. คำว่า ไม่ประกอบหรือ ได้แก่ ไม่

ประกอบแล้ว อธิบายว่า ธรรมที่ประกอบกันได้ของสภาพธรรมต่าง ๆ มี

อยู่แต่ไม่มีสภาพธรรมอย่างเดียว. ดังนั้น ในปัญหานี้ สกวาทีจึงทำรูป

กับเวทนา หรือทำเวทนากับรูปไม่ให้ต่างกัน คือให้มีลักษณะอย่างเดียว

กันนั่นแหละ แล้วจึงถามว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่หรือ ข้อว่า แม้สิ่ง

ใดที่ไม่มี ก็ชื่อว่ามีอยู่หรือ อธิบายว่า สกวาทีถามว่า แม้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

มีคำว่าขันธ์ที่ ๖ เป็นต้น หรือคำว่า เขากระต่ายเป็นต้น ย่อมไม่มีอยู่

เพราะฉะนั้นคำอันท่านให้สำเร็จแล้ว แม้นี้ชื่อว่า มีอยู่หรือ. คำว่า สิ่ง

ทั้งปวงมีอยู่หรือ ความว่า สกวาทีย่อมถามคำนี้ด้วยคำนี้ว่า ทิฏฐิใด

มีอยู่ ทิฏฐินั้นเรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ และทิฏฐิใดมีอยู่ ทิฏฐินั้นเรียกว่า

สัมมาทิฏฐิ อย่างนี้นั้นแหละเรียกว่า สึงทั้งปวงมีอยู่ หรือว่าในลัทธิของ

ท่านว่า ทิฏฐิอันใดว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่ ทิฏฐินั้นชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะ

ไม่ทำตามความเป็นจริง ทิฏฐิอันใดมีอยู่ ทิฏฐินั้นชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ

เพราะมีความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้

จึงกล่าวว่า สิ่งทั้งปวงเหล่านี้มีอยู่หรือ. ปรวาทีปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าว

อย่างนั้น เพราะความไม่มีแห่งธรรมที่มีอยู่ มีประการตามที่กล่าวแล้ว

ในนัยเหล่านั้น แม้ทั้งสิ้น. ก็ในนัยเหล่านี้แม้ทั้งหมด บัณฑิตพึงทราบ

ประเภทกถามรรคทั้งปวงโดยพิสดาร เพราะทำคำว่า ท่านจงรู้นิคคหะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 380

คือความผิดพลาด ดังนี้ให้เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้แล. นี้ชื่อว่า

วาทยุตติ คือการประกอบวาทะ ในที่นี้เพียงเท่านี้ก่อน.

บัดนี้ เป็นการเปรียบเทียบเวลาว่า อดีตมีอยู่หรือ ใน

ปัญหานั้น คำเป็นต้นว่า อดีตมีอยู่หรือ เป็นค่าเปรียบเทียบเพื่อ

ให้ความเห็นนั้นบริสุทธิ์. คำเป็นต้นว่า รูปอดีตมีอยู่หรือ เป็นการ

เปรียบเทียบกาลกับด้วยขันธ์เป็นต้น. ข้อว่า รวมเพ่งถึงรูปปัจจุ-

บัน ความว่า ละรูปอันเป็นอดีตและอนาคตเสีย แล้วจึงเพ่งรูปปัจจุบัน

เท่านั้น ไม่พึงแยก. ในปัญหาว่า ย่อมละความเป็นรูปหรือ ปรวาที

ย่อมตอบปฏิเสธ เพราะความที่รูปแม้ดับไปแล้ว ท่านก็สงเคราะห์เป็นรูป

ขันธ์ ในปัญหาปฏิโลมว่า ย่อมไม่ละความเป็นรูปหรือ ปรวาที

ย่อมตอบรับรอง เพราะความที่รูปนั้นท่านสงเคราะห์เข้าเป็นรูปขันธ์.

ในข้อว่า รวมเพ่งถึงผ้าขาวนี้ ความว่า เมื่อปรวาทีกล่าวว่า รวม

เพ่งถึงผ้าขาว เพราะไม่กล่าวคำบัญญัติว่า ผ้าทั้งหมดเป็นสีขาวก็หาไม่

แต่กล่าวถึงผ้ากับสีขาวนี้ สกวาทีจึงตอบรับรอบโดยความเป็นอรรถอัน

เดียวกัน. ในปัญหาว่า ย่อมละความเป็นผ้าขาวหรือ คำรับรอง

นี้เป็นของสกวาที หมายเอาผ้าที่ปราศจากสี ก็ในคำว่า ย่อมละความ

เป็นผ้าหรือ นี้ คำปฏิเสธเป็นของสกวาทีนั้นนั่นแหละ เพราะปราศ-

จากคำบัญญัติ. แม้ในปฏิโลมก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ปรวาทีนั้นถูกถามว่า

อดีตย่อมไม่ละความเป็นอดีตหรือ เมื่อสำคัญว่า ถ้าพึงละอนาคต

หรือปัจจุบันไซร้ อดีตนั้นก็พึงมีดังนี้ จึงรับรองว่าใช่ ก็ถูกถามว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 381

อนาคตย่อมไม่ละความเป็นอนาคตหรือ ปรวาทีสำคัญว่า ถ้าพึงละ

อนาคตเสียเลย ก็จะไม่พึงละบรรลุความเป็นปัจจุบัน จึงปฏิเสธ. แม้ใน

ปัญหาว่าด้วยความเป็นปัจจุบัน ก็ปฏิเสธว่า โทษคือความไม่ถึงความเป็น

อดีตจะพึงมี. แม้ในปัญหาอนุโลมทั้งหลาย บัณฑิตก็พึงทราบเนื้อความ

โดยนัยนี้. ครั้นกล่าวสุทธิกนัยอย่างนี้แล้ว เพื่อแสดงด้วยสามารถแห่ง

ขันธ์อีก ท่านจึงกล่าวคำว่า รูปอดีต เป็นต้น คำนั้นทั้งหมดอาจ

เพื่อจะรู้โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ.

กายสังสันทนา จบ

วจนโสธนา

การชำระถ้อยคำ

บัดนี้ ชื่อว่า โสธนา คือการชำระถ้อยคำ เพราะพระบาลีว่า

อดีตมิใช่สภาวะที่มีอยู่ เป็นต้น. ในปัญหานั้น คำว่า หากว่า

อดีตมิใช่สภาวะที่มีอยู่ อธิบายว่า ถ้าอดีตไม่มีอยู่ไซร้. คำว่า อดีต

มีอยู่ก็ผิด อธิบายว่า อดีตนั้นด้วยสภาพที่มีอยู่ด้วย ดังนี้ผิดทั้งนั้น.

ถูกถามว่า อนาคตก็อันนั้นนั่นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้นแหละหรือ

ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาความไม่มีอนาคตที่กำลังเป็นปัจจุบันในขณะ

แห่งอนาคตนั่นแหละโดยการต่างกันแห่งเวลา. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบ

รับรองเพราะความที่อนาคตใดได้มีแล้วในกาลก่อนแต่กาลเกิดขึ้นนั้นเป็น

ปัจจุบันที่กำลังปรากฏ. คำว่า สิ่งที่เป็นอนาคต แล้วเป็นปัจจุ-

บัน ชื่อว่าเป็นแล้งจึงเป็นอยู่หรือ อธิบายว่า คำใดนี้อันท่านกล่าว

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

ว่าเป็นอนาคตแล้วเป็นปัจจุบันนี้ หมายความว่าเป็นอนาคตหรือเป็นปัจจุ-

บัน ชื่อว่าเป็นแล้วเป็นอยู่ ด้วยสามารถแห่งลัทธิว่า อนาคตก็อันนั้น

แหละ ปัจจุบันก็อันนั้น ดังนี้ คำนั้นก็ชื่อว่า เป็นแล้วเป็นอยู่ตาม

ลัทธิของท่านหรือ ? ปรวาทีปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เพราะสิ่ง

ที่เป็นแล้วเป็นสภาพที่ไม่มีอยู่แก่ธรรมที่เป็นแล้วมีแล้ว. ถูกถามครั้งที่ ๒

ท่านตอบรับรอง เพราะอนาคตนั้นจะเป็นแล้ว แต่ปัจจุบันกำลังเป็นไป

จึงนับว่าเป็นแล้วจึงจะเป็น. ลำดับนั้น สกวาทีจึงถามปัญหากะปรวาทีว่า

สิ่งที่ไม่เป็นอนาคต แล้วเป็นปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่

เป็นอยู่ ดังนี้ ด้วยประสงค์เอาว่า หากว่าลัทธิของท่าน อนาคต

นั้นเป็นแล้วปัจจุบันใจไม่เป็นอยู่ อันนับว่า เป็นแล้วเป็นอยู่ ก็อนาคตใด

ไม่เป็นแล้ว ปัจจุบันใดไม่เป็นอยู่ อันถึงซึ่งการนับว่า ไม่เป็นแล้วไม่

เป็นอยู่ดุจเขากระต่าย ความแตกต่างกันไม่เป็นแล้วไม่เป็นอยู่แม้นั้นมี

อยู่อีกหรือ ปรวาทีสำคัญอยู่ว่า สิ่งใดไม่เป็นอนาคตไม่เป็นปัจจุบัน

เพราะความไม่มีนั่นแหละ เพราะฉะนั้นสิ่งนั้นจึงชื่อว่า ไม่เป็นแล้วไม่

เป็นอยู่ ข้อนั้นจงยกไว้ก่อน ก็แต่ว่าสภาพแห่งธรรมที่ไม่เป็นแล้วไม่

เป็นอยู่แห่งสิ่งนั้นจะมี ณ ที่ไหน ดังนี้ จึงตอบปฏิเสธ. แม้ในปัญหา

ว่า ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ อดีตก็อันนั้นแหละ หรือ ปรวาที

ตอบปฏิเสธ หมายเอาความไม่มีแห่งความเป็นอดีตในลักษณะแห่งความ

เป็นปัจจุบันนั่นแหละ เพราะการต่างกันแห่งเวลา.

ถูกถามในปัญหาที่ ๒ ปรวาทีตอบรับรอง โดยธรรมใดเป็น

ปัจจุบัน ก็เพราะเป็นอดีตมาก่อน หมายความว่า ปัจจุบันนั้นนั่นแหละ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

เป็นอดีต. คำว่า สิ่งที่เป็นแล้วเป็นชื่อว่าเป็นแล้ว จึงเป็นอยู่

อธิบายว่า เมื่อท่านกล่าวว่า ปัจจุบันหรืออดีตชื่อว่าเป็นแล้วเป็นอยู่ด้วย

สามารถแห่งลัทธิว่า ธรรมใดเป็นปัจจุบัน ท่านกล่าวว่า ธรรมนั้นเป็น

อดีต เพราะฉะนั้น ปัจจุบันก็อันนั้นนั่นแหละ อดีตก็อันนั้น ดังนี้ คำแม้

นั้นชื่อว่าสิ่งที่เป็นปัจจุบันแล้วเป็นอดีต ชื่อว่าเป็นแล้วจึงเป็นอยู่ หรือ ?

ปรวาทีตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เพราะธรรมที่เป็นแล้วมีอยู่

เป็นสภาพที่เป็นแล้ว แต่ไม่เป็นอยู่อีก. ในปัญหาที่ ๒ ปรวาทีตอบรับ

รองว่า ปัจจุบันเป็นแล้ว อดีตเป็นอยู่ อันถึงซึ่งการนับว่าเป็นแล้วเป็นอยู่.

ลำดับนั้น สกวาทีจึงถามปัญหากะปรวาทีนั้นว่า สิ่งที่ไม่เป็น

ปัจจุบัน แล้วไม่เป็นอดีต ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่เป็นหรือ

โดยประสงค์เอาว่า หากว่า ปัจจุบันเป็นแล้ว อดีตก็เป็น อันถึงซึ่งการ

นับว่า ไม่เป็นแล้วจึงไม่เป็น ดุจเขากระต่าย ชื่อว่า ไม่เป็นแล้วจึงไม่

เป็น ข้อแม้นั้นชื่อว่า ไม่เป็นแล้วไม่เป็นตามลัทธิของท่านหรือ ปรวาที

มีความสำคัญอยู่ว่า สิ่งใดไม่มี สิ่งนั้นไม่เป็นปัจจุบันและไม่เป็นอดีต

ด้วย เพราะความไม่มีนั่นเทียว ฉะนั้นสิ่งนั้นจึงชื่อว่า ไม่เป็นแล้วจึงไม่

เป็น ข้อที่แตกต่างกันนั้นจงยกไว้ก่อน ก็ความที่ธรรมใดไม่เป็นแล้วไม่

เป็น ธรรมนั้นจักมีแต่ที่ไหน ดังนี้ จึงตอบปฏิเสธ. บัณฑิตพึงทำการ

ประกอบแม้ในปัญหาที่ ๓ อันมาแล้วโดยการรวมปัญหาทั้ง ๒ เข้าด้วย

กันโดยอุบายนี้.

อีกนัยหนึ่ง ถ้าว่า อนาคตก็อันนั้นนั่นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้นไซร้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 384

ภาวะคือความเป็นอยู่อันท่านกล่าวอนาคตในปัจจุบันแล้ว และภาวะคือ

ความเป็นแล้วอันท่านกล่าวปัจจุบันในอนาคตย่อมปรากฏ ครั้นเมื่อความ

เป็นอย่างนั้นมีอยู่. แม้อนาคตก็ชื่อว่าเป็นแล้วเป็นอยู่ แม้ปัจจุบันก็ชื่อว่า

เป็นแล้วเป็นอยู่นั่นแหละ. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า ลัทธิ

ของท่านว่า บรรดาธรรมเหล่านั้นธรรมอย่างหนึ่งๆ เป็นแล้ว อนาคต

เป็นอยู่ ปัจจุบัน ชื่อว่าเป็นแล้วจึงเป็นอยู่หรือ ปรวาทีปฏิเสธแล้ว

โดยนัยที่ท่านปฏิเสธแล้วในปัญหาว่า อนาคตก็อันนั้นนั่นแหละ

ปัจจุบันก็อันนั้น ถูกถามอีกก็ตอบรับรองโดยนัยที่ตอบรับรองในปัญหา

ที่ ๒. ลำดับนั้น สกวาทีเมื่อจะเปลี่ยนถามปัญหาที่ปรวาทีตอบรับรอง

อยู่ว่า บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมหนึ่ง ๆ เป็นแล้วเป็นอยู่ ชื่อว่าเป็น

แล้วจึงเป็นอยู่ ด้วยสามารถแห่งปัญหาว่า อนาคตก็อันนั้นนั่นแหละ

ปัจจุบันก็อันนั้น กระทำให้เป็นปัญหาปฏิเสธก่อน จึงถามว่า สิ่งที่

ไม่เป็นอนาคต แล้วไม่เป็นปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่

เป็นอยู่หรือ ?

เนื้อความแห่งปัญหานั้นพึงทราบว่า เมื่อคำว่าอนาคตก็อันนั้น

นั่นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้น ท่านปฏิเสธปัญหาแรก ก็เป็นอันว่าท่าน

ปฏิเสธความเป็นอยู่แห่งอนาคตและความเป็นแล้วแห่งปัจจุบัน มิใช่หรือ

ด้วยเหตุนั้น อนาคตก็ชื่อว่าไม่เป็นอยู่ ปัจจุบันก็ชื่อว่าไม่เป็นแล้ว. แต่ใน

ปัญหาที่ ๒ ท่านรับรองตามลัทธิของท่านว่า อนาคตก็อันนั้นนั่นแหละ

ปัจจุบันก็อันนั้น ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ แม้อนาคตก็ชื่อว่าไม่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 385

เป็นแล้วไม่เป็นอยู่ แม้ปัจจุบันก็ชื่อว่า ไม่เป็นแล้วไม่เป็นอยู่นั่นแหละ

ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า ตามลัทธิของท่าน บรรดาธรรม

เหล่านั้น ธรรมหนึ่ง ๆ ไม่เป็นแล้วไม่เป็นอยู่หรือ ? ปรวาทีเมื่อไม่เห็นอยู่

ซึ่งความมีธรรมเหล่านั้นไม่เป็นแล้วไม่เป็นอยู่ ราวกะบุคคลผู้อันความมืด

ปกความแล้วโดยประการทั้งปวง จึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

แม้ในครั้งที่ ๒ กล่าวว่า ถ้าว่าปัจจุบันก็อันนั้นนั่นแหละ อดีตก็อันนั้น

ไซร้ ภาวะคือความเป็นอยู่อันท่านกล่าว ปัจจุบันในอดีต และภาวะคือ

ความเป็นแล้วอันท่านกล่าวอดีตในปัจจุบันก็ย่อมปรากฏ.ก็ครั้นเมื่อความ

เป็นอย่างนี้มีอยู่ แม้ปัจจุบันก็ชื่อว่า เป็นแล้วเป็นอยู่ แม้อดีตก็ชื่อว่า

เป็นแล้วเป็นอยู่นั่นแหละ. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า บรรดา

ธรรมเหล่านั้น ธรรมหนึ่ง ๆ ที่เป็นแล้วเป็น ชื่อว่าเป็นแล้วเป็นอยู่หรือ

ปรวาทีปฏิเสธแล้วโดยนัยที่ท่านกล่าวแล้วในปัญหาที่ว่า ปัจจุบันก็อัน

นั้นแหละ. อดีตก็อันนั้นแหละ ถูกถามอีก ก็ตอบรับรอง โดยนัยที่ท่าน

รับรองแล้วในปัญหาที่ ๒. ลำดับนั้น สกวาทีเมื่อจะเปลี่ยนถามปัญหา

ที่รับรองอยู่ว่า บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมหนึ่ง ๆ ที่เป็นแล้วเป็น

ชื่อว่าเป็นแล้วเป็นอยู่ ด้วยสามารถแห่งปัญหาว่า ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ

อดีตก็อันนั้นแหละ กระทำให้เป็นปัญหาปฏิเสธก่อน จึงถามว่า สิ่งที่

ไม่เป็นปัจจุบัน แล้วไม่เป็นอดีต ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่

เป็นหรือ

เนื้อความแห่งปัญหานั้นพึงทราบว่า เมื่อคำว่า ปัจจุบันก็อันนั้น

แหละ อดีตก็อันนั้นแหละ ท่านปฏิเสธปัญหาแรกแล้ว ก็เป็นอันว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 386

ท่านปฏิเสธซึ่งภาวะคือความเป็นอยู่แห่งปัจจุบัน และภาวะคือความเป็น

แล้วแห่งอดีตมิใช่หรือ ด้วยคำนั้น ปัจจุบันชื่อว่าไม่มีอยู่ อดีตก็ชื่อว่า

ไม่มีแล้ว. แต่ในปัญหาที่ ๒ ท่านตอบรับรองตามลัทธิว่า ปัจจุบันก็อัน

นั่นนั่นแหละ อดีตก็อันนั้นดังนี้ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ แม้

ปัจจุบันก็ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่เป็น แม้อดีตก็ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่เป็นนั่น

แหละ ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า ธรรมดาธรรมเหล่านั้น

ธรรมหนึ่ง ๆ ไม่เป็นแล้วไม่เป็น ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่เป็นอยู่ตามลัทธิ

ของท่านหรือ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นซึ่งความที่ธรรมเหล่านั้นไม่เป็นแล้ว

จึงไม่เป็น ราวกะบุคคลอันความมืดมนปกคลุมแล้วโดยประการทั้งปวง

จึงปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น. แม้ในวาระที่ ๓ กล่าวว่า ถ้าว่าอนาคต

ก็อันนั้นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้น อดีตก็อันนั้นไซร้ ภาระคือความมีอยู่

อันท่านกล่าวอนาคต และปัจจุบันในปัจจุบันและอดีต และภาวะคือความ

เป็นแล้วอันท่านกล่าวปัจจุบันและอดีตในอนาคตและปัจจุบันก็ย่อม

ปรากฏ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ แม้อนาคตก็ชื่อว่าเป็นแล้วจึง

เป็น แม้ปัจจุบัน แม้อดีตก็ชื่อว่าเป็นแล้วจึงเป็นนั่นแหละ ด้วยคำนั้น

ข้าพเจ้าจึงถามท่านว่า ในธรรมแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น ธรรมอย่างหนึ่ง ๆ

เป็นสิ่งที่เป็นแล้วเป็น ชื่อว่าเป็นแล้วจึงเป็นอยู่ตามลัทธิของท่านหรือ

ปรวาทีตอบปฏิเสธว่า อนาคตก็อันนั้น ปัจจุบันก็อันนั้น อดีตก็อัน

นั้น โดยนัยที่ปฏิเสธแล้วนั่นแหละ ถูกถามอีก ก็ตอบรับรองในปัญหา

ที่ ๒ โดยนัยแห่งการรับรองนั่นแหละ. ลำดับนั้น สกวาทีเมื่อจะเปลี่ยน

ถามปัญหาอันปรวาทีรับรองอยู่ว่า ในบรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรม

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 387

อย่างหนึ่ง ๆ เป็นสิ่งที่เป็นแล้วเป็น ชื่อว่าเป็นแล้วจึงเป็นอยู่ ด้วย

สามารถแห่งปัญหาว่า อนาคตก็อันนั้นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ

อดีตก็อันนั้นแหละหรือ ดังนี้ กระทำให้เป็นปัญหาปฏิเสธว่าก่อน

จึงถามว่า สิ่งที่ไม่เป็นแล้วไม่เป็น ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่เป็นหรือ

เนื้อความแห่งปัญหานั้น พึงทราบดังนี้ ครั้นเมื่อคำว่า อนาคต

ก็อันนั้นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้น อดีตก็อันนั้น ท่านปฏิเสธปัญหา

แรกแล้ว ภาวะคือความมีอยู่แห่งอนาคต ปัจจุบัน และภาวะคือความ

เป็นแล้วแห่งปัจจุบันอดีตทั้งหลายเป็นอันท่านปฏิเสธแล้วมิใช่หรือ ด้วย

คำนั้น อนาคตและปัจจุบันก็ชื่อว่าไม่เป็น ปัจจุบันและอดีตก็ชื่อว่าไม่

เป็นแล้ว. แต่ในที่ปัญหา ๒ ท่านตอบรับรองตามลัทธิว่า อนาคต

ก็อันนั้นแหละ ปัจจุบันก็อันนั้นแหละ อดีตก็อันนั้นแหละ ครั้นเมื่อ

ความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ แม้อนาคตก็ชื่อว่าไม่เป็นแล้วจึงไม่เป็น ปัจจุบัน

ก็ดี อดีตก็ดี ก็ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่เป็นอยู่เหมือนกัน ด้วยเหตุนั้นข้าพ-

เจ้าจึงถามท่านว่า ในธรรมเหล่านั้น ธรรมอย่างหนึ่ง ๆ ไม่เป็นแล้ว

ไม่เป็น ชื่อว่าไม่เป็นแล้วไม่เป็นอยู่ตามลัทธิของท่านหรือ ปรวาทีเมื่อ

ไม่เห็นซึ่งความที่ธรรมเหล่านไม่เป็นแล้วไม่เป็นอยู่ราวกะผู้ถูกความมืด

ปกคลุมแล้วโดยประการทั้งปวง จึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น

ดังนี้แล.

วจนโสธนา จบ

อนึ่ง คำนิคคหะเป็นต้นในที่นี้ บัณฑิตพึงประกอบความโดย

นัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. แม้ในปัญหาว่า จักขุอดีตมีอยู่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 388

เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรองอดีต โดยการไม่เว้นจากความเป็นจักขุเป็น

ต้น ถูกถามว่า บุคคลเห็นรูปอดีต เป็นต้น ก็ตอบปฏิเสธด้วย

สามารถแห่งความไม่มีกิจของวิญญาณเหล่านั้นอีก.

ในปัญหาว่า บุคคลทำกิจที่พึงทำด้วยญาณได้ด้วยญาณ

อดีตนั้นหรือ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นซึ่งความที่ญาณนั้นมีกิจที่พึงกระทำ

เพราะความที่ญาณนั้นดับไปแล้วจึงตอบปฏิเสธ. ถูกถามอีก ปรวาทีทำ

ปัจจุบันนั้นแหละให้เป็นอดีตญาณโดยเลสนัยของผู้มีอดีตญาณคือผู้รู้

ปัจจุบันญาณอันมีอดีตเป็นอารมณ์ของธรรมอันเป็นอดีตอารมณ์ทั้งหลาย

แล้วจึงตอบรับรอง เพราะความที่กิจนั้นอันบุคคลพึงทำญาณได้ด้วยญาณ

นั้น. ที่นั้นสกวาที่ไม่ให้โอกาสอันมีเลสนัยแก่ปรวาทีนั้น จึงกล่าวคำว่า

บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ได้ ละสมุทัยได้ ทำนิโรธให้แจ้งได้ ยังมรรค

ให้เกิดได้ ด้วยญาณอดีตนั้นหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความ

ไม่มีกิจ ๔ ของอธิยสัจเหล่านี้ ด้วยญาณอันมีอดีตเป็นอารมณ์เลย. แม้

ในปัญหาของอนาคตก็นัยนี้นั่นแหละ. ปัญหาว่าด้วยปัจจุบัน และ

ปัญหาว่าด้วยการเปรียบเทียบ มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

แม้ในปัญหาว่า ราคะอดีตของพระอรหันต์มีอยู่หรือ เป็น

ต้น ปรวาทีตอบรับรองอย่างนั้น เพราะความเป็นผู้ไม่เว้นจากความเป็น

ผู้มีราคะเป็นต้น. ในปัญหาว่า พระอรหันต์ชื่อว่ามีราคะ เป็นต้น

ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะกลัวผิดจากพระสูตร และกลัวผิดจากการ

ประกอบถ้อยคำ. คำแม้ทั้งปวงอย่างนี้ปรากฏแล้วข้างหน้าพึงเข้าใจตาม

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

ทำนองพระบาลีนั่นแล.

ในคำนี้ว่า สิ่งที่มีอยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี นี้ พึง

ทราบความอย่างนี้ว่า ธรรมใดเป็นอดีตนั่นแหละเป็นสภาพที่มี แต่สภาพ

ที่มีนั้นเป็นอดีต ธรรมใดเป็นปัจจุบันและอนาคตเป็นสภาพที่มีแต่สภาพ

ที่มีนั้นไม่เป็นอดีต. ข้อว่า ด้วยเหตุนั้นอดีตก็ไม่เป็นอดีต สิ่งที่ไม่

ใช่อดีตก็เป็นอดีต อธิบายว่า ด้วยเหตุนั้น อดีตก็เป็นสภาพที่ไม่ใช่

อดีต แต่สภาพที่ไม่ใช่อดีตก็เป็นอดีต ดังนี้. แม้ในคำปุจฉาว่าด้วยอนาคต

และปัจจุบันก็นัยนี้นั่นแหละ.

คำถามโดยชำระพระสูตรของปรวาทีว่า ไม่พึงกล่าวว่า อดีต

มีอยู่ อนาคตมีอยู่หรือ คำตอบรับรองเป็นของสกวาที. การซักถาม

ของปรวาที อาศัยลัทธิของตนตามพระสูตรอีกว่า ภิกษุทั้งหลาย

รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตปัจจุบัน อันเป็นภาย

ในก็ดี ภายนอกก็ดี เป็นต้น. ในนัยที่ ๒ เป็นคำถามของสกวาที

คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำถามก็ดี คำปฏิเสธก็ดี คำตอบรับรอง

ก็ดี ในฐานะทั้งปวง บัณฑิตพึงทราบด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง คำนั้นใดว่า การเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น

เป็นต้น ที่ปรวาทีแสดงในสุดของพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัส

ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่า ความยินดี ความเพลิดเพลิน

ความอยาก ยังมีในกพฬีการาหาร ดังนี้เป็นต้นนั้น ก็เพื่อนำมา

อ้างประกอบคำว่า อนาคตเป็นสภาพที่มีอยู่ แต่พระสูตรที่นำมาอ้างนั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 390

ไม่สำเร็จซึ่งความที่อนาคตเป็นสภาพที่มีอยู่. จริงอยู่ พระสูตรที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่นั้น หมายเอาธรรมอันบุคคลเจริญแล้ว เพราะ

ความที่เหตุทั้งหลายเป็นสภาพถึงความสำเร็จแล้ว. นี้เป็นการอธิบาย

พระสูตร. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงตื้นทั้งนั้นแล.

อรรถกถาสัพพมัตถีติวาทกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 391

อตีตขันธาติกถา

[๓๘๙] ปรวาที อดีตเป็นขันธ์ หรือ ?

สกวาที ถูกแล้ว.

ป. อดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. อดีตเป็นอายตนะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. อดีตเป็นธาตุ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. อดีตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๙๐] ป. อนาคตเป็นขันธ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 392

ป. อนาคตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. อนาคตเป็นอายตนะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อนาคตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. อนาคตเป็นธาตุ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อนาคตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. อนาคตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อนาคตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๙๑] ป. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อดีตเป็นขันธ์ อดีตมีอยู่ หรือ ?

ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. ปัจจุบันเป็นอายตนะ ปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 393

ป. อดีตเป็นอายตนะ อดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. ปัจจุบันเป็นธาตุ ปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อดีตเป็นธาตุ อดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจุบันมีอยู่

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อดีตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ อดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๙๒] ป. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อนาคตเป็นขันธ์ อนาคตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. ปัจจุบันเป็นอายตนะ ปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อนาคตเป็นอายตนะ อนาคตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. ปัจจุบันเป็นธาตุ ปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 394

ส. ถูกแล้ว.

ป. อนาคตเป็นธาตุ อนาคตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจุบันมีอยู่

หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. อนาคตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ อนาคตมีอยู่

หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๙๓] ป. อดีตเป็นขันธ์ อดีตไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ปัจจุบันไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. อดีตเป็นอายตนะ อดีตไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปัจจุบันเป็นอายตนะ ปัจจุบันไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. อดีตเป็นธาตุ อดีตไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปัจจุบันเป็นธาตุ ปัจจุบันไม่มีอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 395

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. อดีตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ อดีตไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจุบันไม่

มีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๗๔] ป. อนาคตเป็นขันธ์ อนาคตไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปัจจุบันขันธ์ ปัจจุบันไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. อนาคตเป็นอายตนะ ฯ ล ฯ อนาคตเป็นธาตุ

ฯลฯ อนาคตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ อนาคต

ไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจุบันไม่

มีอยู่หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๙๕] ป. รูปอดีตเป็นขันธ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอดีตมีอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 396

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. รูปอดีตเป็นอายตนะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. รูปอดีตเป็นธาตุ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. รูปอดีต เป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๙๖] ป. รูปอนาคตเป็นขันธ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอนาคตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. รูปอนาคตเป็นอายตนะหรือ ฯลฯ รูปอนาคต

เป็นธาตุหรือ ฯลฯ รูปอนาคตเป็นขันธ์ ธาตุ

อายตนะ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 397

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอนาคตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๙๗] ป. รูปปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอดีตเป็นขันธ์ รูปอดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. รูปปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปปัจจุบันเป็น

ธาตุ ฯลฯ รูปปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ

รูปปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอดีตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูปอดีตมีอยู่

หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๓๙๘] ป. รูปปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอนาคตเป็นขันธ์ รูปอนาคตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. ปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯ ล ฯ รูปปัจจุบันเป็นธาตุ

ฯ ล ฯ รูปปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 398

รูปปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปอนาคตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูปอนาคต

มีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๓๙๙] ป. รูปอดีตเป็นขันธ์ รูปอดีตไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปปัจจุบันไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. รูปอดีตเป็นอายตนะ ฯ ล ฯ รูปอดีตเป็นธาตุ

ฯ ล ฯ รูปอดีตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป

อดีตไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูปปัจจุบัน

ไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. รูปอนาคตเป็นขันธ์ รูปอนาคตไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปปัจจุบันไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 399

ป. รูปอนาคตเป็นอายตนะ ฯ ล ฯ รูปอนาคตเป็น

ธาตุ ฯ ล ฯ รูปอนาคตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ

รูปอนาคตไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูปปัจจุบัน

ไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๐๐] ป. เวทนาอดีต ฯ ล ฯ สัญญาอดีต ฯลฯ สังขาร-

อดีต ฯลฯ วิญญาณอดีตเป็นขันธ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. วิญญาณอดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. วิญญาณอดีตเป็นอายตนะ ฯ ล ฯ วิญญาณอดีต

เป็นธาตุ ฯลฯ วิญญาณอดีตเป็นขันธ์ ธาตุ

อายตนะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. วิญญาณอดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๐๑] ป. วิญญาณอนาคตเป็นขันธ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 400

ป. วิญญาณอนาคตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. วิญญาณอนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณ

อนาคตเป็นธาตุ ฯลฯ วิญญาณอนาคตเป็น

ขันธ์ ธาตุ อายตนะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. วิญญาณอนาคตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๐๒] ส. วิญญาณปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณปัจจุบันมีอยู่

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. วิญญาณอดีตเป็นขันธ์ วิญญาณอดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. วิญญาณปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณ

ปัจจุบันเป็นธาตุ ฯ ล ฯ วิญญาณปัจจุบันเป็น

ขันธ์ ธาตุ อายตนะวิญญาณปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. วิญญาณอดีตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ วิญญาณ

อดีตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 401

[๔๐๓] ป. วิญญาณปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณปัจจุบันมีอยู่

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว

ป. วิญญาณอนาคตเป็นขันธ์ วิญญาณอนาคตมีอยู่

หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. วิญญาณปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณ

ป. ปัจจุบันเป็นธาตุ ฯลฯ วิญญาณปัจจุบันเป็น

ขันธ์ ธาตุ อายตนะ วิญญาณปัจจุบันมีอยู่หรือ

ส. ถูกแล้ว

ป. วิญญาณอนาคตเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ วิญ-

อนาคตมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๐๔] ป. วิญญาณอดีตเป็นขันธ์ วิญญาณอดีตไม่มีอยู่

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว

ป. วิญญาณปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณปัจจุบันไม่มี-

อยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. วิญญาณอดีตเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณอดีต

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 402

เป็นธาตุ ฯ ล ฯ วิญญาณอดีตเป็นขันธ์ ธาตุ

อายตนะ วิญญาณอดีตไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. วิญญาณปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ วิญ-

ญาณปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๐๕] ป. วิญญาณอนาคตเป็นขันธ์ วิญญาณอนาคตไม่มี

อยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. วิญญาณปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณปัจจุบันไม่มี

อยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. วิญญาณอนาคตเป็นอายตนะ ฯ ล ฯ วิญญาณ

อนาคตเป็นธาตุ ฯลฯ วิญญาณอนาคตเป็นขันธ์

ธาตุ อายตนะ วิญญาณอนาคตไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. วิญญาณปัจจุบันเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ วิญ-

ญาณปัจจุบันไม่มีอยู่ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 403

[๔๐๖] ส. ไม่พึงกล่าว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่เป็นอดีต

และอนาคตเหล่านี้ ไม่มีอยู่เลย หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ครรลองแห่งภาษา ครรลองแห่งชื่อ ครรลองแห่งบัญญัติ

สามประการนี้ อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย ไม่ลบล้าง ไม่เคย

ลบล้าง ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ มิได้คัดค้าน ฯลฯ ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่เป็นอดีต

และอนาคตเหล่านี้ ก็ไม่มีอยู่น่ะสิ.

[๔๐๗] ป. ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่เป็นอดีตและอนาคต

เหล่านี้ ไม่มีอยู่เลย หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ฯลฯ

นี้เรียกว่ารูปขันธ์ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใด

อย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่าง

ใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ฯลฯ นี้เรียกว่า วิญ-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 404

ญาณขันธ์ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้นก็ไม่พึงกล่าวว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ

ที่เป็นอดีตและอนาคตเหล่านี้ ไม่มีอยู่เลยน่ะสิ.

อตีตขันธาติกถา จบ

อรรถกถาอตีตังขันธาติอาทิกถา

ว่าด้วยอดีตขันธ์เป็นต้น

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องอดีตเป็นขันธ์เป็นต้น. ในปัญหานั้น คำถาม

ว่า " อดีตเป็นขันธ์ " เป็นต้น เป็นของปรวาทีผู้ปรารถนาซึ่งความ

มีอยู่แห่งขันธ์ทั้งหลายอันเป็นอดีตและอนาคต เพราะความไม่เว้นจาก

ความเป็นขันธ์ เป็นต้น. คำรับรองว่า ใช่ เป็นของสกวาที เพราะ

ความที่ขันธ์เป็นอดีตก็สงเคราะห์เป็นขันธ์. คำถามของปรวาทีอีกว่า

" อดีต (ขันธ์) มีอยู่หรือ ?". คำปฏิเสธเป็นของสกวาที เพราะความ

ที่อดีตขันธ์ ท่านปฏิเสธคำว่ามีอยู่ ด้วยพระสูตรอันเป็นครรลองแห่ง

ภาษา. ในคำถามว่าด้วย อายตนะ และ ธาตุ ก็ดี ในปัญหาว่าด้วย

อนาคต ก็ดี ในปัญหาแห่ง อนาคต โดยอนุโลมและปฏิโลมอันเทียบ

เคียงกับ ปัจจุบัน ก็ดี ในปัญหาว่าด้วยคำเป็นต้นว่า รูปอดีตเป็นขันธ์

ก็ดี บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้แล.

๑. บาลีเป็นอตีตขันธาติกถา.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 405

อนึ่ง ในการชำระพระสูตร คำถามว่า "ไม่พึงกล่าวว่า" เป็น

ของสกวาที. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า " ขันธ์เป็นต้นเหล่านี้ ไม่มี

อยู่เลยหรือ ?" อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ไม่มีหรือ ? เมื่อ

ความเป็นขันธ์เป็นต้นมีอยู่ ปรวาทีผู้ไม่ปรารถนาความไม่มีแห่งอดีตและ

อนาคตเหล่านั้น จึงตอบรับรองว่า ใช่. ลำดับนั้น สกวาทีจึงนำพระสูตร

มา เพื่อชำระความที่ขันธ์อันเป็นอดีตและอนาคตเหล่านั้นเป็นสภาพที่

ไม่มีอยู่. แม้คำถามที่ ๒ ก็เป็นของปรวาที. คำรับรองเป็นของสกวาที.

การนำพระสูตรมาเป็นของปรวาที. ก็การนำพระสูตรมานั้น ย่อมสำเร็จ

ซึ่งความที่อดีตและอนาคตธรรมเหล่านั้นเป็นขันธ์เป็นต้น แต่ไม่สำเร็จ

ซึ่งความที่ธรรมเหล่านั้นว่ามีอยู่ ดังนี้ เพราะฉะนั้นแม้ปรวาทีนำพระ-

สูตรมาแล้ว ก็ไม่เป็นเช่นกับที่นำมานั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาอตีตังขันธาติอาทิกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 406

เอกัจจมัตถีติกถา

[๔๐๘] สกวาที อดีตมีอยู่ หรือ ?

ปรวาที อดีตบางอย่างมีอยู่ อดีตบางอย่างไม่มีอยู่.

ส. อดีตบางอย่างดับไปแล้ว บางอย่างยังไม่ดับไป

บางอย่างปราศไปแล้ว บางอย่างยังไม่ปราศไป บางอย่างอัสดงคตแล้ว

บางอย่างยังไม่อัสดงคต บางอย่างสาปสูญไปแล้ว บางอย่างยังไม่สาบสูญ

ไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๐๙] ส. อดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผลที่เป็นอดีต บางอย่างมีอยู่

บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๑๐] ส. อดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันให้ผลแล้วที่เป็นอดีต บางอย่างมีอยู่

บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 407

[๔๑๑] ส. อดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันไม่มีวิบากที่เป็นอดีต บางอย่างมีอยู่

บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๑๒] ส. อดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อะไรมีอยู่ อะไรไม่มีอยู่ ?

ป. ธรรมอันไม่ให้ผลที่เป็นอดีตมีอยู่ ธรรมอันให้

ผลแล้วที่อดีตไม่อยู่.

[๔๑๓] ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผลล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น

ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันให้ผลแล้ว ล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น

ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๑๔] ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผล ล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น

ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 408

ส. ธรรมอันไม่มีวิบาก ล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น

ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๑๕] ส. ธรรมอันให้ผลแล้ว ล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น

ไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผล ล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น

ไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมอันให้ผลแล้ว ล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น

ไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันไม่มีวิบาก ล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น

ไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๑๖] ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผล ล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น

ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผล ที่เป็นอดีต ดับไปแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 409

มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ธรรมยังไม่ให้ผลที่เป็นอดีตดับไปแล้ว

ก็ต้องไม่กล่าวว่า ธรรมอันยังไม่ให้ผลที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรมเหล่า

นั้นยังมีอยู่.

[๔๑๗] ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผลที่เป็นอดีต ดับไปแล้ว

ธรรมเหล่านั้นยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันให้ผลแล้วที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรม

เหล่านั้นยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผลที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรม

เหล่านั้นยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันไม่มีวิบากที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรม

เหล่านั้นยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมอันให้ผลแล้วที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรม

เหล่านั้นไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 410

ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผลที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรม

เหล่านั้นไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ธรรมอันให้ผลแล้วที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรม

เหล่านั้นไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันไม่มีวิบากที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรม

เหล่านั้นไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๑๘] ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผลที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรม

เหล่านั้นยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันให้ผลแล้วที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรม

เหล่านั้นไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันให้ผลแล้วส่วนหนึ่ง ยังไม่ให้ผลส่วน

หนึ่งที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น บางส่วนมีอยู่ บางส่วนไม่

มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

[๔๑๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมอันยังไม่ให้ผลล่วงไปแล้ว

ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ธรรมอันยังไม่ให้ผลที่เป็นอดีต ยังจักให้ผลมิใช่

หรือ ?

ป. หากว่า ธรรมอันยังไม่ให้ผลที่เป็นอดีต ยังจัก

ให้ผล ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ธรรมอันยังไม่ให้ผลล่วงไป

แล้ว ธรรมเหล่านั้นยังมีอยู่.

ส. ธรรมอันยังไม่ให้ผลล่วงไปแล้ว ธรรมเหล่านั้น

ชื่อว่า มีอยู่ เพราะทำอธิบายว่า ยังจักให้ผล

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชื่อว่าปัจจุบัน เพราะทำอธิบายว่า ยังจักให้ผล

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ชื่อว่าปัจจุบัน เพราะทำอธิบายว่า ยังจักให้ผล

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมที่เป็นปัจจุบัน ก็ชื่อว่าไม่มีอยู่ เพราะทำ

อธิบายว่า จักดับไปด้วย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 412

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๒๐] ส. อนาคตมีอยู่ หรือ ?

ป. บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่.

ส. อนาคตบางอย่างเกิดแล้ว บางอย่างยังไม่เกิด

บางอย่างเกิดพร้อมแล้ว บางอย่างยังไม่เกิดพร้อมแล้ว บางอย่างบังเกิด

แล้ว บางอย่างยังไม่บังเกิด บางอย่างปรากฏแล้ว บางอย่างยังไม่ปรากฏ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๒๑] ส. อนาคตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อุปปาทิธรรม (ธรรมจักเกิดขึ้น ) ที่เป็นอนาคต

บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. อนาคตบางอย่าง ฯล ฯ อนุปปาทิธรรม (ธรรม

จักไม่เกิดขึ้น) ฯ ล ฯ

[๔๒๒] ส. อนาคตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อะไรมีอยู่ อะไรไม่มีอยู่ ?

ป. อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่ อนุปปาทิธรรม

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 413

ที่เป็นอนาคตไม่มีอยู่.

ส. อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อนุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคต ยังไม่เกิดมิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ก็

ต้องไม่กล่าวว่า อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่.

[๔๒๓] ส. อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตยังไม่เกดิ ธรรม

เหล่านั้นมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ธรรม

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 414

เหล่านั้นมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อนุปุปาทิธรรมที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ไม่มีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ไม่มีอยู่

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๒๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคต จักบังเกิดขึ้นมิใช่

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตจักบังเกิดขึ้น

ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่.

[๔๒๕] ส. อุปปาทิธรรมที่เป็นอนาคต ชื่อว่ามีอยู่ เพราะ

ทำอธิบายว่า จักบังเกิดขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชื่อว่าปัจจุบัน เพราะทำอธิบายไว้ว่า จักบังเกิด

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 415

ขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ชื่อว่าปัจจุบัน เพราะทำอธิบายไว้ว่า จักบังเกิด

ขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมที่เป็นปัจจุบัน ชื่อว่าไม่มีอยู่ เพราะทำ

อธิบายว่า จักดับไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เอกัจจมัตถีติกถา จบ

อรรถกถาเอกัจจมัตถีติกถา

ว่าด้วยบางอย่างมีอยู่

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องบางอย่างมีอยู่. ในปัญหาเหล่านั้น ชนเหล่า

ใด ย่อมสำคัญว่าอดีตธรรมบางอย่างมีอยู่ ดุจนิกายกัสสปิกะทั้งหลาย

เพื่อทำลายลัทธิแห่งชนเหล่านั้น สกวาทีจึงถามว่า "อดีตมีอยู่หรือ"

คำวิสัชชนาว่า "อดีตบางอย่างมีอยู่" เป็นต้น เป็นของปรวาที.

พึงทราบความหมายแห่งคำวิสัชชนาของปรวาทีนั้นว่า วิปากธรรมอันยัง

ไม่ให้ผลมีอยู่ วิปากธรรมที่ให้ผลแล้วไม่มีอยู่. คำซักถามว่า "อดีต

บางอย่างดับไปแล้ว" เป็นของสกวาที.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 416

อธิบายเนื้อความแห่งปัญหานั้นว่า ถ้าว่า อดีตธรรมบางอย่างมี

บางอย่างไม่มีตามลัทธิของท่านไซร้ ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่

อดีตธรรมบางอย่างที่ดับไป และอดีตธรรมบางอย่างที่ยังไม่ดับไป ก็จะ

ปรากฏว่าตั้งอยู่เหมือนกัน. แม้ในคำทั้งหลาย คำว่า " บางอย่าง

ปราศจากไปแล้ว " ก็นัยนี้เหมือนกัน. คำนี้ว่า "ธรรมอันยังไม่

ให้ผลที่เป็นอดีตบางอย่าง" ท่านสกวาทีกล่าวเพื่อจะท้วงว่า ท่านย่อม

ต้องการความมีอยู่แห่งวิปากที่ยังไม่ให้ผลทั้งหลาย แต่ธรรมแม้เหล่านั้น

ก็เป็นอดีตธรรมทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นตามลัทธิของท่าน อดีตธรรมบาง

อย่างมีอยู่ ฉันใด ธรรมทั้งหลายแม้เป็นวิบากที่ยังไม่ให้ผลบางอย่างมีอยู่

บางอย่างไม่มีอยู่ ฉันนั้น หรือ. คำว่า "ธรรมอันให้ผลแล้ว" นี้

ท่านกล่าวเพื่อจะท้วงด้วยสามารถแห่งวิบากธรรมที่ปรวาทีนั้น ปรารถนา

ความไม่มีอยู่แห่งธรรมเหล่านั้น คำว่า " ไม่มีวิบาก " นี้ ท่านกล่าว

เพื่อจะท้วงด้วยสามารถแห่งความเป็นอัพยากตะทั้งหลาย. คำรับรองด้วย

คำปฏิเสธด้วย ในอนุโลมและปฏิโลมทั้งปวง บัณฑิตพึงทราบด้วย

สามารถแห่งราศีทั้ง ๓ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

ธรรมคือวิบากอันให้ผลแล้วส่วนหนึ่ง ยังไม่ให้ผลสวนหนึ่งที่

เป็นอดีต ธรรมเหล่านั้น ท่านเรียกว่า วิบากที่ให้ผลยังไม่หมด. จริง

อยู่ ปฏิสนธิ เกิดแล้วด้วยธรรมใด ภวังคจิตก็ดี จุติจิตก็ดี ก็เป็น

วิบากของกรรมนั้นนั่นแหละ. เพราะฉะนั้นวิบากนั้นตั้งแต่ปฏิสนธิจน

ถึงจุติ จึงชื่อว่าเป็นวิบากที่ยังให้ผลไม่หมด. ข้อนี้ ท่านกล่าวหมายเอา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 417

ธรรมเช่นนั้น. คำถามว่า " ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า มีอยู่ เพราะทำ

อธิบายว่า ยังจักให้ผลหรือ ? " เป็นของสกวาที. ธรรมทั้งหลายที่เป็น

ไปโดยมาก ท่านย่อมกล่าวว่า มีอยู่ แม้แก่บุคคลผู้ทรงธรรม แม้แก่

ผู้หลับ ฉันใด คำรับรองของปรวาที หมายเอาความมีอยู่แห่งธรรม

เหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งโวหารของชาวโลก ฉันนั้น. ในปัญหาที่ ๒

"ชื่อว่า ปัจจุบัน เพราะทำอธิบายว่า ยังจักให้ผลหรือ ?" คำรับ-

รองเป็นของปรวาที เพราะตั้งอยู่ในลัทธิว่า ชื่อว่า กรรมปัจจัยอันหนึ่ง

อันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่าความไม่พินาศไปมีอยู่แก่กรรมทั้งหลาย. แม้

ในคำเป็นต้นว่า " อนาคตมีอยู่หรือ " สกวาทีกล่าวหมายเอาธรรม

ทั้งหลายอันจักบังเกิดขึ้นว่า บางอย่างมีอยู่. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มี

เนื้อความตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยอันกล่าวแล้วในหนหลังแล.

อรรถกถาเอกัจจมัตถีติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 418

สติปัฏฐานกถา

[๔๒๖] สกวาที ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ

เป็นสัมมาสติ เป็นสตสัมโพชฌงค์ เป็นเอกายนมรรค เป็นเหตุให้ถึง

ความสิ้นไป เป็นเหตุให้ถึงความตรัสรู้ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ไม่เป็น

อารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของ

คันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็น

อารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ ไม่เป็นอารมณ์ของ

อุปาทาน ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ธรรมทั้งปวงเป็นพุทธานุสสติ

เป็นธรรมานุสสติ เป็นสังฆานุสสติ เป็นสีลานุสสติ เป็นจาคานุสสติ

เป็นเทวตานุสสติ เป็นอานาปานสติ เป็นมรณานุสสติ เป็นกายคตาสติ

เป็นอุปสมานุสสติ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่างอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๒๗] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 419

ส. จักขายตนะ เป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ

เป็นสัมมาสติ เป็นสติสัมโพชฌงค์ เป็นเอกายนมรรค เป็นเหตุให้ถึง

ความสิ้นไป เป็นเหตุให้ถึงความตรัสรู้ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ไม่เป็น

อารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์

ของสังกิเลส จักขายตนะเป็นพุทธานุสสติ เป็นธัมมานุสสติ เป็น

สังฆานุสสติ เป็นสีลานุสสติ เป็นจาคานุสสติ เป็นเทวตานุสสติ เป็น

อานาปานสติ เป็นมรณานุสสติ เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตายตนะ ฯ ล ฯ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ

กายายตนะ ฯ ล ฯ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ

โผฏฐัพพายตนะ ฯ ล ฯ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา

ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อโนตตัปปะ เป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติ

พละ เป็นสัมมาสติ ฯ ล ฯ เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๒๘] ส. สติเป็นสติปัฏฐาน และสตินั้นเป็นสติ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 420

ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน และจักขายตนะนั้น

เป็นสติ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สติเป็นสติปัฏฐาน และสตินั้นเป็นสติ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปายตนะ ฯลฯ

โผฏฐัพพายตนะ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ

เป็นสติปัฏฐาน และอโนตตัปปะนั้นเป็นสติ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๒๙] ส. จักขายตนะ เป็นสติปัฏฐาน แต่จักขายตนะนั้น

ไม่เป็นสติ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สตินั้นไม่เป็นสติ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปายตนะ ฯ ล ฯ

โผฏฐัพพายตนะ ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน

แต่อโนตตัปปะนั้นไม่เป็นสติ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สตินั้นไม่เป็นสติ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 421

[๔๓๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ มิใช่หรือ ?

ส. หากว่าสติ ปรารภธรรมทั้งปวง ตั้งมั่นได้ ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน.

[๔๓๑] ส. เพราะสติปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ ฉะนั้น

ธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า สติปัฏฐาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะผัสสะปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ ฉะนั้น

ธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า ผัสสปัฏฐาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๓๒] ส. เพราะสติปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ ฉะนั้น

ธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า สติปัฏฐาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะเวทนา ฯ ล ฯ สัญญา ฯ ล ฯ เจตนา ฯ ล ฯ

จิตปรารภธรรมทั้งปวง ตั้งมั่นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า จิตต-

ปัฏฐาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๓๓] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งปวงเป็นผู้ตั้งสติมั่น เป็นผู้ประกอบด้วย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 422

สติ เป็นผู้มั่นคงด้วยสติ สติเป็นธรรมชาติเข้าไปตั้งมั่นแก่สัตว์ทั้งปวง

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๓๔] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่ได้บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นไม่ได้

บริโภคอมตะ ชนเหล่าใดบริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นได้

บริโภคอมตะ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัตว์ทั้งปวงเจริญ ปฏิบัติ เสพ อบรมทำให้มาก

ซึ่งกายคตาสติ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๓๕] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย นี้มรรคเป็นเอกายนะทางอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์แห่ง

สัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงซึ่งโสกะปริเทวะ เพื่อความสาป-

สูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุอริยมรรค เครื่องออกไปจาก

๑. องฺ. เอก. ๒๐/๒๓๕

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 423

ทุกข์ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐานทั้ง ๔ ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมทั้งปวงเป็นเอกายมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๓๖] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย รัตนะ ๗ ประการ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่ง

พระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ประการเป็นไฉน จักรรัตนะ คือจักรแก้ว

ปรากฏ ๑ หัตถิรัตนะ คือช้างแก้ว ปรากฏ ๑ อัสสรัตนะคือม้าแก้ว

ปรากฏ ๑ มณีรัตนะ คือดวงมณีแล้ว ปรากฏ อิตถีรัตนะ

คือนางแก้ว ปรากฏ ๑ คหปฏิรัตนะ คือคหบดีแก้ว ปรากฏ ๑

ปริณายกรัตนะ คือขุนพลแก้ว ปรากฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

รัตนะ ๗ ประการ เหล่านี้ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่ง

พระเจ้าจักรพรรดิ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รัตนะคือโพชฌงค์ ๗ ประการ ย่อม

ปรากฏเพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ

๗ ประการ เป็นไฉน รัตนะคือสติสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะ

คือธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะคือวิริยสัมโพชฌงค์

๑. ม.ม. ๑๓/๑๓๒

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 424

ปรากฏ ๑ รัตนะคือปีติสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะคือปัสสัทธิ

สัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะคือสมาธิสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะ

คืออุเบกขาสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รัตนะคือ

โพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่ง

พระตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมทั้งปวงเป็นรัตนะคือสติสัมโพชฌงค์ปรากฏ

เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสัมมัปปธาน ฯ ล ฯ เป็น

อิทธิบาท ฯลฯ เป็นอินทีย์ ฯ ล ฯ เป็นพละ ฯ ล ฯ เป็นสัมโพชฌงค์

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

สติปัฏฐานกถา จบ

๑. ส. มหา. ๑๙/๕๐๕,๕๐๖

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 425

อรรถกถาสติปัฏฐานกถา

ว่าด้วยสติปัฏฐาน

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสติปัฏฐาน. ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใด

ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน เพราะถือเอาธรรมทั้งหลายมีกาย

เป็นต้นเป็นอารมณ์ด้วยสติ โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสติ-

ปัฏฐานสังยุตว่า จตุนฺน สติปฏฺานาน ภิกฺขเว สมุทยญฺจ อตฺถงฺค-

มญฺจ เทสิสฺสามิ ดังนี้ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง

เหตุเกิดขึ้น และความดับไปแห่งสติปัฏฐานทั้ง ๔ ดุจลัทธินิกายอันธกะ

ทั้งหลายในขณะนี้. นิกายเหล่านี้ คือ ปุพพเสลิยะ อปรเสลิยะ ราชคิริยะ

และสิทธัตถิกะทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่า นิกายอันธกะซึ่งเป็นนิกายที่เกิดขึ้น

ในภายหลัง. คำถามเพื่อตำหนิลัทธิแห่งชนเหล่านั้นเป็นของสกวาที

คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยคำว่าสติปัฏฐาน ดังนี้:-

ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า ย่อมตั้งมั่นในธรรมทั้งหลาย

มีกายเป็นต้น ถามว่าอะไรย่อมตั้งขึ้น ตอบว่า สติ. การตั้งมั่นแห่งสติ

ทั้งหลายแม้มีสติเป็นอารมณ์ก็ย่อมตั้งมั่นด้วยอรรถนี้ว่า สติยา ปฏฺ-

านา สติปฏฺานา แปลว่า การตั้งมั่นแห่งสติชื่อว่าสติปัฏฐาน

เพราะฉะนั้น การตั้งมั่นแห่งสติเหล่านั้นจึงชื่อว่า ปัฏฐาน ถามว่า

ปัฏฐานอะไรย่อมตั้งมั่น ตอบว่า สติย่อมตั้งมั่น. ปัฏฐาน คือสติชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 426

สติปัฏฐาน ย่อมได้ด้วยอรรถว่า สติยา ว ปฏฺานา สติปฏฺานา

แปลว่า ปัฏฐาน คือ สติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน นี้ เหตุใด เพราะ

เหตุนั้น วาทะแม้ทั้ง ๒ คือวาทะของสกวาทีและปรวาที ย่อมถูกต้อง

โดยปริยาย.

อนึ่ง ชนเหล่าใดละปริยายนี้แล้วย่อมกล่าวว่า ธรรมทั้งปวง

เป็นสติปัฏฐาน โดยส่วนเดียวเท่านั้น คำถามของสกวาทีหมายถึงชน

เหล่านั้น คำตอบรับรองด้วยสามารถแห่งอารมณ์เป็นของปรวาที. แต่

เมื่อสกวาทีซักว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นต้น ปรวาทีก็ตอบ

ปฏิเสธเพราะความที่ธรรมทั้งปวงไม่เป็นสติทั้งหมด.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ขยคามี เป็นเหตุให้ถึงความสิ้น

ไป เป็นต้น เป็นชื่อพิเศษแห่งมรรค จริงอยู่ เอกายนมรรคชื่อว่า

ขยคามี เพราะอรรถว่า บรรลุพระนิพพานอันเป็นเหตุสิ้นไปแห่งกิเลส

ทั้งหลาย. ชื่อว่า โพธคามี เป็นเหตุให้ถึงการตรัสรู้เพราะอรรถว่า

ถึงการตรัสรู้สัจจะ ๔. ชื่อว่า อปจยคามี เป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน

เพราะอรรถว่า ถึงการทำลายวัฏฏะ. สกวาทีถามด้วยบทเหล่านี้โดยหมาย

เอาอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นเอกายนมรรคมีอยู่ตามลัทธิของท่าน

อย่างนี้หรือ คำทั้งหลายแม้มีคำว่า ธรรมอันไม่เป็นอารมณ์ของ

อาสวะ อันไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อ

ต้องการถามโดยความเป็นโลกุตตระ. คำทั้งหลายว่า พุทธานุสสติ

เป็นต้น ท่านกล่าวโดยคำที่แยกประเภท จากโลกุตตระ. คำเป็นต้นว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 427

จักขายตนะ เป็นสติปัฏฐาน ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งคำถาม

อันเป็นประเภทแห่งธรรมทั้งปวง. ในปัญหาทั้งปวงแม้เหล่านั้น บัณฑิต

พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า คำตอบปฏิเสธมีอยู่ ด้วยสามารถแห่ง

สติ คำตอบรับรองมีอยู่ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์. การชำระพระสูตร

มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาสติปัฏฐานกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 428

เหวัตถีติกถา

[๔๓๗] สกวาที อดีตมีอยู่ หรือ ?

ปรวาที มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะ

อย่างนี้.

ส. มีอยู่ก็นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ก็มีอยู่นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ อรรถว่าไม่มี

อยู่ก็คืออรรถว่ามีอยู่ ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือ

ความมีอยู่ บัญญัติว่ามีอยู่หรือว่าไม่มีอยู่ก็ดี ว่าไม่มีอยู่หรือว่ามีอยู่ก็ดี

บัญญัติทั้ง ๒ นี้ ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน

เหมือนกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๓๘] ส. อนาคตมีอยู่ หรือ ?

ป. มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้.

ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 429

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ อรรถว่าไม่มีอยู่

ก็คืออรรถว่ามีอยู่ ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความ

มีอยู่ บัญญัติว่ามีอยู่หรือว่าไม่มีอยู่ก็ดี ว่าไม่มีอยู่หรือว่ามีอยู่ก็ดี บัญญัติ

ทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือน

กัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๓๙] ส. ปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ป. มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้.

ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ ฯ ล ฯ เสมอ

กัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๔๐] ป. อดีตมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาระอย่าง

นี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีอยู่โดยภาวะอย่างไร ไม่มีโดยภาวะอย่างไร.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 430

ป. อดีตมีอยู่โดยภาวะว่าอดีต อดีตไม่มีอยู่โดยภาวะ

ว่าอนาคต อดีตไม่มีอยู่โดยภาวะว่าปัจจุบัน.

ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ อรรถว่าไม่มี

อยู่ก็คืออรรถว่ามีอยู่ ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือ

ความมีอยู่. บัญญัติว่ามีอยู่หรือว่าไม่มีอยู่ก็ดี ว่าไม่มีอยู่หรือว่ามีอยู่ก็ดี

ว่าไม่มีอยู่หรือว่ามีอยู่ก็ดี บัญญัติทั้ง ๒ นี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอัน

เดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๔๑] ส. อนาคตมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะ

อย่างนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนาคตมีอยู่โดยภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยภาวะ

อย่างไร ?

ป. อนาคตมีอยู่โดยภาวะว่าอนาคต อนาคตไม่มีอยู่

โดยภาวะว่า อดีต อนาคตไม่มีอยู่โดยภาวะว่า

ปัจจุบัน.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 431

ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ อรรถว่าไม่มี

อยู่ก็คืออรรถว่ามีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน เท่ากัน

เหมือนกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๔๒] ส. ปัจจุบันมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะ

อย่างนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีอยู่โดยภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างไร

ป. ปัจจุบันมีอยู่โดยภาวะว่าปัจจุบัน ปัจจุบันไม่มีอยู่

โดยภาวะว่าอดีต ปัจจุบันไม่มีอยู่โดยภาวะว่า

อนาคต.

ส. มีอยู่ก็นั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มีอยู่ก็อย่างนั้นแหละ ไม่มีอยู่ก็อย่างนั่นแหละ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 432

ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน

เท่ากัน เหมือนกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๔๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อดีตมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มี

อยู่โดยภาวะอย่างนี้ อนาคตมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่าง

นี้ ปัจจุบันมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. อดีตมีอยู่โดยภาวะว่าอนาคต อดีตมีอยู่โดยภาวะ

ว่าปัจจุบัน อนาคตมีอยู่โดยภาวะว่าอดีต อนาคตมีอยู่โดยภาวะว่าปัจจุบัน

ปัจจุบันมีอยู่โดยภาวะว่าอดีต ปัจจุบันมีอยู่โดยภาวะว่าอนาคต หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น อดีตก็มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มี

อยู่โดยภาวะอย่างนี้ อนาคตมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะ

อย่างนี้ ปัจจุบันมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ น่ะสิ

[๔๔๔] ส. รูปมีอยู่ หรือ ?

ป. มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้.

ส. มีอยู่ก็นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั่นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มีอยู่ก็นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั่นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ อรรถว่าไม่มีอยู่

ก็คืออรรถว่ามีอยู่ ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความ

มีอยู่ บัญญัติว่ามีอยู่หรือว่าไม่มีอยู่ก็ดี ว่าไม่มีอยู่หรือว่ามีอยู่ก็ดี บัญญัติ

ทั้งสองนี้ก็อย่างเดียวกัน มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เท่ากัน เหมือน

กัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ

วิญญาณมีอยู่ หรือ ?

ป. มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้.

ส. มีอยู่ก็นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั่นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มีอยู่ก็นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั่นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรรถว่ามีอยู่ ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ ฯ ล ฯ เสมอ

กัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. รูปมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 434

ส. มีอยู่โดยภาวะอย่างไร ไม่มีโดยภาวะอย่างไร ?

ป. รูปมีอยู่โดยภาวะว่ารูป รูปไม่มีอยู่โดยภาวะว่า

เวทนา ฯ ล ฯ รูปไม่มีอยู่โดยภาวะว่าสัญญา ฯ ล ฯ รูปไม่มีอยู่โดยภาวะ

ว่าสังขาร ฯ ล ฯ รูปไม่มีอยู่โดยภาวะว่าวิญญาณ.

ส. มีอยู่ก็นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั่นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ก็มีอยู่นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั่นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คือว่าอรรถว่าไม่มีอยู่ ฯ ล ฯ เสมอ

กัน เท่ากัน เหมือนกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เวทนา ฯ ล ฯ สัญญา ฯ ล ฯ สังขาร ฯลฯ

ป. วิญญาณมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะ

อย่างนี้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีอยู่โดยภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างไร ?

ป. วิญญาณมีอยู่โดยภาวะว่าวิญญาณ วิญญาณไม่มี

อยู่โดยภาวะว่ารูป ฯ ล ฯ วิญญาณไม่มีอยู่โดยภาวะว่าเวทนา ฯ ล ฯ วิญ-

ญาณไม่มีอยู่โดยภาวะว่าสัญญา ฯ ล ฯ วิญญาณไม่มีอยู่โดยภาวะว่าสังขาร.

ส. มีอยู่ก็นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั่นแหละ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 435

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มีอยู่ก็นั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็นั่นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ ฯ ล ฯ เสมอกัน

เท่ากัน เหมือนกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๔๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่ารูปมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่

โดยภาวะอย่างนี้ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ

มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. รูปมีอยู่โดยภาวะว่าเวทนา ฯ ล ฯ รูปมีอยู่โดย

ภาวะว่าสัญญา ฯลฯ รูปมีอยู่โดยภาวะว่าสังขาร ฯลฯ รูปมีอยู่โดยภาวะ

ว่าวิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่โดยภาวะว่ารูป วิญ-

ญาณมีอยู่โดยภาวะว่าเวทนา ฯลฯ วิญญาณมีอยู่โดยภาวะว่าสังขาร หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น รูปก็มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มี

อยู่โดยภาวะอย่างนี้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีอยู่โดย

ภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ น่ะสิ.

เหวัตถีติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 436

อรรถกถาเหวัตถีติกถา

ว่าด้วยมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องมีอยู่โดยภาวะอย่างนี้. ในเรื่องนั้น ลัทธิ

แห่งชนเหล่าใด ดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ซึ่งมีประเภท

ตามที่กล่าวมาแล้วว่า ธรรมทั้งหลายอันต่างด้วยอดีตธรรมเป็นต้นแม้

ทั้งปวงมีอยู่ด้วยสามารถแห่งธรรมมีรูปเป็นต้น หรือว่าอดีตธรรมไม่มีอยู่

ด้วยสามารถแห่งอนาคตและปัจจุบัน หรืออนาคต และปัจจุบันไม่มีอยู่

ด้วยสามารถแห่งอดีตธรรมเป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงว่าสิ่งทั้งปวงนั้น

แหละอย่างนี้มีอยู่ อย่างนี้ไม่มีอยู่ ดังนี้ สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น

จึงถามปรวาทีว่า อดีตมีอยู่หรือ คำว่าวิสัชนาว่า มีอยู่โดย

ภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ เป็นของปรวาที.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เหว ท่านแก้ว่าได้แก่ เอว

แปลว่า อย่างนี้ หรือโดยภาวะอย่างนี้ ลำดับนั้น สกวาที่เมื่อจะถามว่า

ถ้าอดีตธรรมอย่างนี้มี อย่างนี้ไม่มีไซร้ ครั้นเมื่อมีความเป็นอย่างนั้นมี

อยู่ อดีตธรรมนั้นแหละชื่อว่ามีอยู่ อดีตธรรมนั้นแหละชื่อว่าไม่มีอยู่

จึงกล่าวว่า มีอยู่ก็อันนั่นแหละ ไม่มีอยู่ก็อันนั่นแหละ หรือ

ปรวาทีหมายเอาความมีอยู่แห่งธรรมเหล่านั้นโดยสภาวะนั้นเท่านั้น และ

หมายเอาความไม่มีอยู่แห่งธรรมเหล่านั้นโดยสภาวะนั้นเท่านั้น จึงตอบ

ปฏิเสธ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรองหมายเอาความมีอยู่โดยสภาวะ

ของตน และความไม่มีอยู่โดยสภาวะอื่น. เบื้องหน้าแต่นี้ไป คำว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 437

อรรถว่ามีอยู่ก็คืออรรถว่าไม่มีอยู่ อธิบายว่า สกวาทีถามว่า

ภาวะอันเป็นของตนมีอยู่ ภาวะอันเป็นของตนไม่มีอยู่ ชื่อว่าย่อมมี

หรือ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยอุบายนี้. ก็ในที่สุด

ปรวาทีจึงกล่าวคำว่า ถ้าอย่างนั้น อดีตก็มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่

มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ดังนี้ และคำเป็นต้นว่า ถ้าอย่างนั้น รูป

ก็มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ ดังนี้ เพื่อให้

ลัทธิตั้งไว้แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ลัทธินั้นก็เป็นลัทธิที่ตั้งอยู่ไม่ได้นั่น

แหละ เพราะเป็นลัทธิที่ตั้งไว้โดยปราศจากโยนิโสมนสิการ ดังนี้แล.

อรรถกถาเหวัตถีติกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ปุคคลกถา ๒. ปริหานิกถา ๓. พรหมจริยกถา

๔. โอธิโสกถา ๕. ชหติกถา ๖. สัพพมัตถีติกถา ๗. อตีตขันธาติกถา

๘. เอกัจจมัตถิกถา ๙. สติปัฏฐานกถา ๑๐. เหวัตถีติกถา

มหาวรรคที่ ๑ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 438

วรรคที่ ๒

ปรูปหารกถา

[๔๔๖] สกวาที การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มี

อยู่ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ราคะ กามราคะ ความกลุ้มรุมแห่งกามราคะ

สัญโญชน์คือกามราคะ โอฆะคือกาม โยคะคือกาม กามฉันทนิวรณ์

ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๔๗] ส. ราคะ กามราคะ ความกลุ้มรุมแห่งกามราคะ

สัญโญชน์คือกามราคะ โอฆะคือกาม โยคะคือกาม กามฉันทนิวรณ์

ไม่มีแก่พระอรหันต์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ราคะ กามราคะ ความกลุ้มรุมแห่ง

กามราคะ สัญโญชน์คือกามราคะ โอฆะคือกาม โยคะคือกาม กาม

ฉันทนิวรณ์ไม่มีแก่พระอรหันต์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การปล่อยสุกกะคือ

อสุจิของพระอรหันต์มีอยู่.

[๔๔๘] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของปุถุชนมีอยู่ และราคะ

กามราคะ ความกลุ้มรุมแห่งกามราคะ สัญโญชน์คือกามราคะ โอฆะ

คือกาม โยคะคือกาม กามฉันทนิวรณ์ ของเขาก็ยังมีอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 439

ป. ถูกแล้ว.

ส. การปล่อยสุกกะคือ อสุจิของ พระอรหันต์มีอยู่

และราคะ กามราคะ ความกลุ้มรุมแห่งกามราคะ ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์

ของท่านก็ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๔๙] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์ยังมีอยู่

แต่ราคะ กามราคะ ความกลุ้มรุมแห่งกามราคะ ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์

ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของปุถุชนมีอยู่ แต่ราคะ

กามราคะ ความกลุ้มรุมแห่งกามราคะ ฯ ล ฯ กามฉันทนิวรณ์ ไม่มี

แก่เขา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๕๐] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โดยอรรถาธิบายอย่างไร ?

ป. โดยอรรถาธิบายว่า เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มาร

นำเข้าไปซึ่งการปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่พระอรหันต์.

[๔๕๑] ส. เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มาร นำเข้าไปซึ่งการ

ปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่พระอรหันต์ได้ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 440

ป. ถูกแล้ว.

ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิ ของเทวดาผู้นับเนื่อง

ในหมู่มารมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๕๒] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิไม่มีแก่เทวดาผู้นับเนื่อง

ในหมู่มาร หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า การปล่อยสุกกะคืออสุจิไม่มีแก่เทวดา

ผู้นับเนื่องในหมู่มาร ก็ต้องไม่กล่าวว่า เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำ

เข้าไปซึ่งการปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่พระอรหันต์.

[๔๕๓] ส. เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่งการปล่อย

สุกกะ คืออสุจิแก่พระอรหันต์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่งการปล่อย

สุกกะ คืออสุจิแก่ตนได้ นำเข้าไปซึ่งการปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่คนอื่น ๆ

ได้ และนำเข้าไปซึ่งการปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่บุคคลนั้นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯล ฯ

[๔๕๔] ส. เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่งการปล่อย

สุกกะคืออสุจิแก่ตนก็ไม่ได้ แก่คนอื่น ๆ ก็ไม่ได้ แก่บุคคลนั้นก็ไม่ได้

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 441

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่ง

การปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่ตนไม่ได้ แก่คนอื่น ๆ ก็ไม่ได้ แก่บุคคลนั้น

ก็ไม่ได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไป ซึ่งการ

ปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่พระอรหันต์.

[๔๕๕ ] ส. เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่งการปล่อย

สุกกะคืออสุจิแก่พระอรหันต์ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นำเข้าไปทางชุมขน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๕๖] ส. เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่งการปล่อย

สุกกะ คืออสุจิแก่พระอรหันต์ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะเหตุไร ?

ป. เพราะจะยังท่านให้ตกอยู่ในความสงสัย.

ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๕๗] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสงสัยในพระศาสดา ความสงสัยในพระ-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 442

ธรรม ความสงสัยในพระสงฆ์ ความสงสัยในสิกขา ความสงสัยใน

ส่วนเบื้องต้น ความสงสัยส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยในส่วนเบื้องต้น

และส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะ ธรรม

นี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้นของพระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๕๘] ส. ความสงสัยในพระศาสดา ความสงสัยในพระ-

ธรรม ความสงสัยในพระสงฆ์ ความสงสัยในสิกขา ความสงสัยใน

ส่วนเบื้องต้น ความสงสัยในส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยในส่วนเบื้อง

ต้นและส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะ

ธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ไม่มีแก่พระอรหันต์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความสงสัยในพระศาสดา ฯล ฯ ความ

สงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึง

เกิดขึ้น ไม่มีแก่พระอรหันต์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความสงสัยของพระ-

อรหันต์ยังมีอยู่.

[๔๕๙] ส. ความสงสัยของปุถุชนยังมีอยู่ และความสงสัย

ในพระศาสดา ฯ ล ฯ ความสงสัยปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรม

นี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของเขาก็ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ยังมีอยู่ และความ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 443

สงสัยในพระศาสดา ฯ ล ฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะ

ธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของท่านก็ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๖๐] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ยังมีอยู่ แต่ความ

สงสัยในพระศาสดา ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะ

ธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของท่านไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ แต่ความสงสัยใน

พระศาสดา ฯ ล ฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรม

นี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของเขาไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ แต่ความสงสัยใน

พระศาสดา ฯ ล ฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรม

นี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของเขาไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๖๑] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์เป็นผล

ของอะไร ?

ป. เป็นผลของการกิน การดื่ม การเคี้ยง การลิ้ม

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 444

ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์ เป็น

ผลของการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใด ยังกิน ยังดื่ม ยังเคี้ยว

ยังลิ้มอยู่ การปล่อยสุกกะคืออสุจิของชนเหล่านั้นทุกจำพวกเทียวยังมีอยู่

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๖๒] ส. ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใด ยังกิน ยังดื่ม ยังเคี้ยว

ยังลิ้มอยู่ การปล่อยสุกกะคืออสุจิของชนเหล่านั้นทุกจำพวกเทียวยังมีอยู่

หรือ ?

ส. พวกทารก ยังกิน ยังดื่ม ยังเคี้ยว ยังลิ้มอยู่

การปล่อยสุกกะคืออสุจิของทารกมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๖๓] ส. พวกบัณเฑาะก์ ยังกิน ยังกิน ยังดื่ม ยังเคี้ยว ยังลิ้มอยู่

การปล่อยสุกกะคืออสุจิของบัณเฑาะก์มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๖๔] ส. พวกเทวดา ยังกิน ยังดื่ม ยังเคี้ยว ยังลิ้มอยู่

การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพวกเทวดามีอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๖๕] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์ เป็นผล

ของการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความประสงค์ของท่านมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๖๖] ส. อุจจาระ ปัสสาวะ ของพระอรหันต์เป็นผลของ

การกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ความ

ประสงค์ของท่านมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์เป็นผล

ของการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ความ

ประสงค์ของท่านมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๖๗] ส. การปล่อยสุกกะคือ อสุจิของพระอรหันต์เป็นผล

ของการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม แต่

ความประสงค์ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อุจจาระ ปัสสาวะ ของพระอรหันต์เป็นผลของ

การกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม แต่ความ

ประสงค์ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 446

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๖๘] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์พึงเสพเมถุนธรรม พึงยังเมถุน-

ธรรมให้เกิด พึงนอนที่นอนอันเบียดเสียดด้วยบุตร พึงใช้ผ้ากาสิก

พัสตร์และจุณจันทน์ พึงทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ พึง

ยินดีทองเงิน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๖๙] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชน

พึงเสพเมถุนธรรม ยังเมถุนธรรมให้เกิด ฯลฯ

พึงยินดีทองเงิน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่

พระอรหันต์พึงเสพเมถุนธรรม ยังเมถุนธรรมให้เกิด ฯ ล ฯ พึงยินดี

ทองเงิน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๗๐] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ แต่

พระอรหันต์จะพึงเสพเมถุนธรรม จะพึงยังเมถุนธรรมให้เกิด ฯ ล ฯ

จะพึงยินดีทองเงิน ก็หามิได้เลย หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 447

ป. ถูกแล้ว.

ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของปุถุชนมีอยู่ แต่

ปุถุชนจะพึงเสพเมถุนธรรม จะพึงยังเมถุนธรรมให้เกิด จะพึงนอนที่

นอนอันเบียดเสียดด้วยบุตร จะพึงใช้ผ้ากาสิกพัสตร์และจุณจันทร์ จะ

พึงทัดทรงดอกไม้ของหอมเละเครื่องลูบไล้ จะพึงยินดีทองเงิน ก็หา

มิได้เลย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๗๑] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้น

แล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดได้ในภายหลัง ทำให้มี

อันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอน

รากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดได้ในภายหลัง

ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว ก็ไม่ต้องกล่าวว่า การปล่อย

สุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่.

[๔๗๒] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 448

ส. โทสะ ฯ ล ฯ โมหะ มานะทิฏฐิ วิจิกิจฉา

ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯ ล ฯ อโนตตัปปะ อันพระอรหันต์ละขาด

แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดได้ใน

ภายหลัง ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อโนตตัปปะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว

ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดได้ในภายหลัง

ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่าการปล่อย

สุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่.

[๔๗๓] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่

หรือ ?.

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดแล้วเพื่อละขาดซึ่ง

ราคะ มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดแล้ว เพื่อ

ละขาดซึ่งราคะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การปล่อย

สุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่.

[๔๙๔] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 449

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังสติปัฏฐานให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยัง

สัมมัปปธานให้เกิดแล้ว ยังอิทธิบาทให้เกิดแล้ว ยังอินทรีย์ให้เกิดแล้ว

ยังพละให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้วเพื่อละขาดซึ่งราคะ

มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว

เพื่อละขาดซึ่งราคะ ก็ต้องไม่กล่าวว่าการปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระ-

อรหันต์มีอยู่.

[๔๗๕] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยัง

โพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯ ล ฯ เพื่อละขาดซึ่งโมหะ

ฯ ล ฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว

เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การปล่อยสุกกะคืออสุจิ

ของพระอรหันต์ มีอยู่.

[๔๗๖] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 450

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ

แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว

มีเครื่องผูกไว้ในภพสิ้นไปรอบแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ มีลิ่ม

อันยกขึ้นแล้ว มีคูอันกลบแล้ว มีเสาระเนียดอันถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้

ไม่มีลิ่มสลัก เป็นอริยะ ลดธง คือมานะ แล้ว วางภาระแล้ว หมด

เครื่องผูกพันแล้ว มีชัยชนะอย่างดีวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์แล้ว

ละสมุทัยแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ยังมรรคให้เกิดแล้ว รู้ยิ่งซึ่งธรรม

ที่ควรรู้ยิ่งแล้ว ได้กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้แล้ว ละธรรมที่ควร

ละแล้ว บำเพ็ญธรรมที่ควรบำเพ็ญแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้

แจ้งแล้ว มิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ

โมหะแล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำ

ให้แจ้งแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์

มีอยู่ ?

[๔๗๗] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์ยังมีอยู่

ป. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาด

ในธรรม ของตนผู้ปัญญาวิมุตมีอยู่ การปล่อยสุกกะคืออสุจิไม่มีแก่

พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ผู้อุภโตภาควิมุต.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 451

ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์ ผู้ฉลาด

ในธรรมของตนมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์ ผู้ฉลาด

ในธรรมอื่นมีอยู่ หรือ

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๗๘] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิไม่มีแก่พระอรหันต์ ผู้

ฉลาดในธรรมอื่น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิไม่มีแก่พระอรหันต์ ผู้

ฉลาดในธรรมของตน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๗๙] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด

ราคะแล้ว แต่การปล่อยสุกกะคืออสุจิของท่าน

ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละขาดราคะแล้ว

แต่การปล่อยสุกกะคืออสุจิของท่านยังมีอยู่

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 452

[๔๘๐] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละขาดโทสะ

แล้วละขาดโมหะแล้ว ฯลฯ ละขาดอโนตตัปปะแล้ว แต่การปล่อย

สุกกะคืออสุจิของท่านยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละขาดอโนต-

ตัปปะแล้ว แต่การปล่อยสุกกะคืออสุจิของท่าน

ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๘๑] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนยังมรรคให้

เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งราคะ ฯ ล ฯ

เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งโมหะ ฯ ล ฯ เพื่อละขาดซึ่ง

อโนตตัปปะ แต่การปล่อยสุกกะคืออสุจิของท่านยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ยังโพชฌงค์ให้

เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ แต่การปล่อยสุกกะคืออสุจิของท่าน

ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๘๒] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็นผู้

ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำ

ให้แจ้งแล้ว แต่การปล่อยสุกกะคืออสุจิของท่านยังมีอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 453

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจาก

ราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว

แต่การปล่อยสุกกะคืออสุจิของท่านยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๘๓] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละขาดแล้ว และ

การปล่อยสุกกะคืออสุจิก็ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละขาดราคะ

แล้ว และการปล่อยสุกกะคืออสุจิก็ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๘๔] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละขาดโทสะแล้ว

ละขาดโมหะแล้ว ฯ ล ฯ ละขาดอโนตตัปปะแล้ว และการปล่อยสุกกะ

คืออสุจิก็ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละอโนต-

ตัปปะแล้ว และการปล่อยสุกกะคืออสุจิก็ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๘๕] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ยังมรรคให้เกิด

แล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งราคะ ฯ ล ฯ เพื่อ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 454

ละขาดซึ่งโทสะ เพื่อละขาดซึ่งโมหะ ฯ ล ฯ ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯลฯ

ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ และการปล่อย

สุกกะคืออสุจิไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนยังโพชฌงค์

ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ และการปล่อยสุกกะคืออสุจิไม่

มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๘๖] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เป็นผู้ปราศจาก

ราคะ โทสะ โมหะ ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว และ

การปล่อยสุกกะคืออสุจิไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็นผู้

ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำ

ให้แจ้งแล้ว และการปล่อยสุกกะคืออสุจิไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๘๗] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ

ป ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด เป็นปุถุชน ถึงพร้อมด้วยศีล มีสติ-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 455

สัมปชัญญะ ก้าวลงสู่ความหลับ อสุจิของภิกษุเหล่านั้น ย่อม

ไม่เคลื่อน แม้ฤๅษีนอกศาสนาเหล่าใด เป็นผู้ปราศจากราคะ

ในกามแล้ว อสุจิของพวกฤาษีเหล่านั้น ก็หาเคลื่อนไม่ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่อสุจิของพระอรหันต์จะพึงเคลื่อนนี้ มิใช่

ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะเป็นไปได้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงไม่กล่าวว่า การปล่อยสุกกะ

คืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่.

[๔๘๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า มีการนำเข้าไปสู่แห่งผู้อื่นแก่พระ-

อรหันต์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ผู้อื่นพึงนำเข้าไปซึ่งจีวร บิณฑาต เสนาสนะ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แก่พระอรหันต์ มิใช่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าผู้อื่นพึงนำเข้าไปซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แก่พระอรหันต์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง

กล่าวว่า มีการนำปัจจัยเข้าไปแห่งผู้อื่นแก่พระอรหันต์ หรือ ?

[๔๘๙] ส. เพราะผู้อื่นพึงนำเข้าไปซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนา-

สนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แก่พระอรหันต์ ฉะนั้น จึงมีการนำ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 456

เข้าไปแห่งผู้อื่น แก่พระอรหันต์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้อื่นพึงนำเข้าไป ซึ่งโสดาปัตติผล หรือสกทา-

คามิผล หรืออนาคามิผล หรืออรหัตผล แก่พระอรหันต์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ปรูปหารกถา จบ

อรรกถาปรูปหารกถา

ว่าด้วยผู้อื่นนำมาให้

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องผู้อื่นนำมาให้. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดย่อม

สำคัญว่า เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารน้อมนำน้าสุกกะ คือน้ำอสุจิเข้า

ไปแก่พระอรหันต์ได้ เพราะเห็นการสละน้ำสุกกะ คืออสุจิของชน

ทั้งหลายผู้ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์ ผู้หลอกลวง ผู้เย่อหยิ่ง ผู้

สำคัญในธรรมอันตนไม่บรรลุว่าบรรลุแล้ว หรือผู้ปฏิบัติอยู่เพื่อความ

เป็นพระอรหันต์ ดุจนิกายปุพพเสลิยะ และอปรเสลิยะทั้งหลายใน

ขณะนี้ สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้นจึงถามปรวาทีว่า การปล่อยสุกกะ

คืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่หรือ คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

บัดนี้ ชื่อว่าการปล่อยน้ำสุกกะ ย่อมมีเพราะราคะเป็นสมุฏฐาน

เหตุใด เพราะเหตุนั้น สกวาทีจึงเริ่มซักถามว่า ราคะของพระ

อรหันต์มีอยู่หรือ เนื้อความนั้นแม้ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 457

ในปัญหาว่า เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่งการ

ปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่ตนได้ เป็นต้น ความว่า ขึ้นชื่อว่าการ

ปล่อยน้ำสุกกะของเทวดาเหล่านั้นย่อมไม่มี ทั้งเทวดาเหล่านั้นถือเอา

น้ำสุกกะของชนแม้เหล่าอื่นแล้วน้อมนำเข้าไปก็ไม่มี ทั้งน้ำสุกกะของ

พระอรหันต์นั้นแหละก็ไม่มี เหตุใด เพราะเหตุนั้น ปรวาทีจึงปฏิเสธ

ว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.

ในปัญหาว่า เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่งการ

ปล่อยสุกกะคืออสุจิแต่ตนก็ไม่มี ความว่า ปรวาทีนั้นย่อมตอบ

รับรองเพราะลัทธิว่า ก็เทวดานิรมิตแล้วก็นำเข้าไป ในปัญหาว่า

นำเข้าไปทางขุมขนหรือ ปรวาทีปฏิเสธ เพราะเห็นว่าไม่มีการ

นำเข้าไปตามรูขนทั้งหลาย เหมือนการนำเนยใสและน้ำมันทั้งหลาย ฯ

คำว่า "หนฺท หิ" เป็นนิบาตลงในอรรถที่เป็นไปด้วยอำนาจพิเศษ.

อธิบายว่า พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารคิดว่า เราจักถือเอาความ

สงสัยอย่างนี้ว่า ท่านเป็นพระอรหันต์ หรือมิใช่พระอรหันต์หนอ

แล้วนำเข้าไปทำให้เป็นไปในอำนาจพิเศษอย่างนี้. ถูกสกวาทีถามว่า

ความสงสัยของพระอรหันต์ยังมีอยู่หรือ ? ปรวาที หมายเอาความ

สงสัยมีวัตถุ ๘ ประการ จึงตอบปฏิเสธ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรอง

เพราะหมายเอาไม่มีการตกลงใจคือไม่รู้ในนามและโคตรเป็นต้นแห่ง-

หญิงและชายเป็นต้น.

คำว่า ความประสงค์ของท่านยังมีอยู่หรือ ความว่า

สกวาทีย่อมถามว่า โอกาสอันเป็นที่ตั้งอยู่แห่งน้ำสุกกะนั้นมีอยู่ ราวกะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 458

โอกาสเป็นที่ตั้งอยู่แห่งอุจจาระ ปัสสาวะ หรือ ?

คำว่า ผู้ฉลาดในธรรมของตน ได้แก่ ผู้ฉลาดในสักว่า

ธรรมอันเป็นพระอรหันต์ของตนเท่านั้น ข้อนี้ท่านหมายเอาพระอรหันต์

ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาจึงกล่าวเช่นนั้น. คำว่า ผู้ฉลาดในธรรมอื่น

ได้แก่ ผู้ฉลาดแม้ในธรรมอันเป็นสมาบัติ ๘ อื่นนอกจากพระสัทธรรม

ข้อนี้ ท่านหมายเอาพระอรหันต์ผู้อุภโตภาควิมุติจึงกล่าวอย่างนั้น. คำที่

เหลือในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบโดยทำนองที่กล่าวแล้วในพระบาลีนั่นแหละ

ดังนี้แล.

อรรถกถาปรูปหารกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 459

อัญญาณกถา

[๔๙๐] สกวาที ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ป. อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัย

คืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา

ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๙๑] ส. อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัย

คืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา

ไม่มีแก่พระอรหันต์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคือ

อวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคือวิชชา สัญโญชน์คืออวิชชา

นิวรณ์คืออวิชชา ไม่มีแก่พระอรหันต์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของ

พระอรหันต์มีอยู่.

[๔๙๒] ส. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ และอวิชชา โอฆะ

คืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา

สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา ของเขาก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ และอวิชชา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 460

โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคือ

อวิชชา สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา ของท่านก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๔๙๓] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ แต่อวิชชา โอฆะ

คืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฎฐานคืออวิชชา

สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ แต่อวิชชา โอฆะคือ

อวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา

สัญโญชน์คืออวิชชา นิวรณ์คืออวิชชา ไม่มีแก่เขา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๙๔] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ อันความไม่รู้ครอบงำ พึงฆ่าสัตว์

พึงลักทรัพย์ พึงพูดเท็จ พึงพูดส่อเสียด พึงพูดเพ้อเจ้อ พึงตัดช่อง

ย่องเบา พึงปล้นตลอดบ้าน พึงปล้นเฉพาะหลังคาเรือน พึงซุ่มดักที่

ทางเปลี่ยว พึงคบหาทาระของผู้อื่น พึงฆ่าชาวบ้าน พึงฆ่าชาวนิคม

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๙๕] ส. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ และปุถุชนอันความ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 461

ไม่รู้ครอบงำ พึงฆ่าสัตว์ พึงลักทรัพย์ ฯ ลฯ พึงฆ่าชาวบ้าน พึงฆ่า

ชาวนิคม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ และพระอรหันต์

อันความไม่รู้ครอบงำ พึงฆ่าสัตว์ พึงลักทรัพย์ ฯ ล ฯ พึงฆ่าชาวบ้าน

พึงฆ่าชาวนิคม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๙๖] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ แต่พระอรหันต์

จะได้ถูกความไม่รู้ครอบงำ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯ ล ฯ ฆ่าชาวบ้าน

ฆ่าชาวนิคม ก็หาไม่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนจะได้ถูก

ความไม่รู้ครอบงำ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯ ล ฯ ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม

ก็หาไม่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๙๗ ] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความไม่รู้ในพระศาสดา ความไม่รู้ในพระธรรม

ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ความไม่รู้ในสิกขา ความไม่รู้ในส่วนอนาคต

ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอนาคตและในส่วนอดีต

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 462

ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้

จึงเกิดขึ้น ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๔๙๘] ส. ความไม่รู้ในพระศาสดา ความไม่รู้ในพระธรรม

ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ความไม่รู้ในสิกขา ความไม่รู้ในส่วนอนาคต

ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอนาคตและส่วนอดีต ความ

ไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึง

เกิดขึ้น ไม่มีแก่พระอรหันต์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความไม่รู้ในพระศาสดา ความไม่รู้

ในพระธรรม ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ฯ ล ฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุป-

ปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ไม่มีแก่

พระอรหันต์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่

[๔๙๙] ส. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ และความไม่รู้ใน

พระศาสดา ความไม่รู้ในพระธรรม ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ฯ ล ฯ

ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้

จึงเกิดขึ้น ของเขาก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ และความไม่รู้

ในพระศาสดา ความไม่รู้ในพระธรรม ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 463

ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้

จึงเกิดขึ้น ของท่านก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๐๐] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ แต่ความไม่รู้ใน

พระศาสดา ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ฯ ล ฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาท

ธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ แต่ความไม่รู้ในพระ-

ศาสดา ความไม่รู้ในพระธรรม ความไม่รู้ในพระสงฆ์ ฯ ล ฯ ความ

ไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึง

เกิดขึ้น ไม่มีแก่เขา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๐๑] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้น

แล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง ทำให้

มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนราก

ขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 464

ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้วก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้

ของพระอรหันต์มีอยู่ ฯ ล ฯ

ส. โทสะ ฯ ล ฯ โมหะ ฯ ล ฯ อโนตตัปปะ อัน

พระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน

ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา

แล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า อโนตตัปปะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว

ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดได้ในภายหลัง

ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่าความไม่รู้

ของพระอรหันต์มีอยู่.

[๕๐๒] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยัง

โพชฌงค์ให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ เพื่อละขาดซึ่งราคะ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าพระอรหันต์ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละ

ขาดซึ่งราคะก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่.

[๕๐๓] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 465

ส. พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยัง

โพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อขาดซึ่งโทสะ ฯ ล ฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนต-

ตัปปะ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าพระอรหันต์ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละ

ขาดซึ่งอโนตตัปปะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่.

[๕๐๔] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ

แล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ

แล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า

ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่.

[๕๐๕ ] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของ

ตนมีอยู่ แต่ความไม่รู้ไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น.

ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของ

ตนมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 466

มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๐๖] ส. ความไม่รู้ไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรม

อื่น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความไม่รู้ไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรม

ของตน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๐๗] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด

ราคะแล้ว แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดราคะ

แล้ว แต่ความไม่รู้ของท่านมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๐๘] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด

โทสะแล้ว ละขาดโมหะแล้ว ฯ ล ฯ ละขาดอโนตตัปปะแล้ว แต่ความ

ไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดอโนต-

ตัปปะแล้ว แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 467

[๕๐๙] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ยังมรรคให้

เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งราคะ แต่ความ

ไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ยังโพชฌงค์ให้

เกิดแล้วเพื่อละขาดซึ่งราคะ แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๑๐] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ยังมรรค

ให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯ ล ฯ

เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ยังโพชฌงค์ให้

เกิดแล้วเพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๑๑] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศ-

จากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง

แล้ว แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เป็นผู้ปราศ-

จากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง

แล้ว แต่ความไม่รู้ของท่านยังมีอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 468

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๑๒] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดราคะ

แล้ว และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด

ราคะแล้ว และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๑๓] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดโทสะ

แล้ว ฯ ล ฯ ละขาดอโนตตัปปะแล้ว และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด

อโนตตัปปะแล้ว และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๑๔] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ยังมรรคให้เกิด

แล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ เพื่อละขาดซึ่งราคะ ยังมรรค

ให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ

และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนยังโพชฌงค์

ให้เกิดแล้วเพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 469

[๕๑๕] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เป็นผู้ปราศ-

จากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง

แล้ว และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็นผู้

ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควร

ทำให้แจ้งแล้ว และความไม่รู้ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๕๑๖] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะ สำหรับผู้ที่รู้อยู่เห็นอยู่ ไม่

กล่าวสำหรับผู้ไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่ ก็บุคคลรู้อยู่อย่างไรเห็นอยู่อย่าง

ไร ความสิ้นอาสวะจึงมิได้ บุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ว่า อย่างนี้รูป

อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนั้นเวทนา

ฯลฯ อย่างนี้สัญญา ฯ ล ฯ อย่างนี้สังขาร ฯ ล ฯ อย่างนี้วิญญาณ

อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล ความ

สิ้นอาสวะจึงมิได้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

๑. ส. ขนฺธ. ๑๗/๒๖๐.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 470

ส. ถ้าอย่างนั้นก็ไม่พึงกล่าวว่า ความไม่รู้ของพระ-

อรหันต์มีอยู่.

[๕๑๗] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะ สำหรับผู้ที่รู้อยู่เห็นอยู่ ไม่

กล่าวสำหรับผู้ไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่ ก็บุคคลรู้อยู่อย่างไรเห็นอยู่อย่าง

ไร ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ บุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุ

เกิดแห่งทุกข์ นี้ธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ นี้ทางให้ถึงธรรมเป็นที่

ดับแห่งทุกข์ ดังนี้ ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้แล ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้นก็ไม่พึงกล่าวว่า ความไม่รู้ของพระ-

อรหันต์ มีอยู่.

[๕๑๘] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่สำรอก

๑. ส. มหา. ๑๙/๑๗๐๕.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 471

ไม่ละซึ่งสิ่งทั้งปวง ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ต่อเมื่อ

รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งกำหนดรู้ สำรอกละซึ่งสิ่งทั้งปวง จึงเป็นผู้ควร

เพื่อความสิ้นทุกข์ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้นก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระ-

อรหันต์มีอยู่.

[๕๑๙] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า พร้อมกับการ

บรรลุโสดาปัตติมรรคของท่าน ท่านละธรรม ๓ ประการได้แล้ว

คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ที่ยังมีอยู่บ้าง

อย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านจึงพ้นจากอบายภูมิทั้ง ๔ และเป็นผู้ไม่

ควรทำความผิดสถานหนัก ๖ ประการ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้นก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระ-

อรหันต์มีอยู่.

[๕๒๐] ส. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๑๗๕.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 472

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ในสมัยใด ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากผงฝ้าเกิดขึ้นแก่อริยสาวก

ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความ

ดับเป็นธรรมดา ดังนี้ ในสมัยนั้น พร้อมกับความเกิดขึ้นแห่ง

ทัศนะ อริยสาวกก็ละสัญโญชน์ ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ

วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้นก็ต้องไม่กล่าวว่า ความไม่รู้ของพระ-

อรหันต์มีอยู่.

[๕๒๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระอรหันต์อาจไม่รู้นามและโคตรของสตรีและ

บุรุษทั้งหลาย อาจไม่รู้ทางและมิใช่ทาง อาจไม่รู้ชื่อของหญ้าไม้ ต้นไม้

เจ้าป่าทั้งหลายก็ได้ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระอรหันต์อาจไม่รู้นามและโคตรของ

สตรีและบุรุษทั้งหลาย อาจไม่รู้ทางและมิใช่ทาง อาจไม่รู้ชื่อของหญ้า

ไม้ และไม้เจ้าป่าก็ได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ความไม่รู้

ของพระอรหันต์มีอยู่.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 473

ส. เพราะพระอรหันต์อาจไม่รู้นามและโคตรของ

สตรีและบุรุษทั้งหลาย อาจไม่รู้ทางและมิใช่ทาง อาจไม่รู้จักชื่อของหญ้า

ไม้ และไม้เจ้าป่าก็ได้ ฉะนั้น ความไม่รู้ของพระอรหันต์ จึงมีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ อาจไม่รู้โสดาปัตติผล หรือสกทา-

คามิผล หรืออนาคามิผล หรืออรหัตผล ก็ได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

อัญญาณกถา จบ

๑. อรรถกถาท่านอธิบายรวมทั้ง ๓ เรื่อง คือ เรื่องความไม่รู้ เรื่องความ

สงสัย เรื่องการแนะนำของผู้อื่นพร้อมกันไป เพราะเนื้อเรื่องทั้ง ๓ นี้เป็นทำนอง

เดียวกันทั้งสิ้น สำหรับเรื่องความไม่รู้ กับเรื่องความสงสัย เหมือนกับเกือบ

ทั้งหมดตลอดถึงพระสูตรที่ยกมาอ้างด้วย เพราะฉะนั้นสำหรับอภิธรรมจะคัดเฉพาะ

ความที่เหมือนกันออก ส่วนที่แปลกกันก็จะนำมาแสดงไว้ทั้งหมด แต่อรรถกถา

ไม่มีการตัดเนื้อความอะไร ๆ ออกเลย.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 474

กังขากถา

[๕๒๒] สกวาที ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์

วิจิกิจฉานิวรณ์ ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๒๓] ส. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์

วิจิกิฉานิวรณ์ ของพระอรหันต์ไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉา-

สัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของพระอรหันต์ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า

ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่.

[๕๒๔] ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ และวิจิกิจฉา วิจิ-

กิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของเขาก็ยังมีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ และวิจิกิจฉา

วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของท่านก็ยังมี

อยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 475

[๕๒๕] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ แต่วิจิกิจฉา

วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของท่านไม่มี

อยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ แต่วิจิกิจฉา วิจิกิจ-

ฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ของเขาไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๒๖] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสงสัยในพระศาสดา ความสงสัยในพระ-

ธรรม ความสงสัยในพระสงฆ์ ความสงสัยในสิกขา ความสงสัยใน

ส่วนอนาคต ความสงสัยในส่วนอดีต ความสงสัยทั้งในส่วนอนาคตและ

ส่วนอดีต ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็น

ปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๕๒๗] ส. ความสงสัยในพระศาสดา ความสงสัยในพระ-

ธรรม ความสงสัยในพระสงฆ์ ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาท-

ธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของพระอรหันต์

ไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 476

ส. หากว่า ความสงสัยในพระศาสดา ความสงสัย

ในพระธรรม ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้

เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของพระอรหันต์ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า

ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่.

[๕๒๘] ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ และความสงสัยใน

พระศาสดา ความสงสัยในพระธรรม ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุป-

ปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของเขาก็ยังมี

อยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ยังมีอยู่ และความ

สงสัยในพระศาสดา ความสงสัยในพระธรรม ฯลฯ ความสงสัยใน

ปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้เกิดขึ้น ของ

ท่านก็ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๒๙] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ แต่ความสงสัย

ในพระศาสดา ความสงสัยในพระธรรม ฯ ล ฯ ความสงสัยในปฏิจจ-

สมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของท่าน

ไม่มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ แต่ความสงสัยใน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 477

พระศาสดา ความสงสัยในพระธรรม ฯ ลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุป-

ปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของเขาไม่มี

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๓๐] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้น

แล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง ทำให้

มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอน

รากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้เกิดขึ้นได้ในภายหลัง

ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความ

สงสัยของพระอรหันต์มีอยู่.

[๕๓๑] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โทสะ ฯ ล ฯ โมหะ ฯ ล ฯ อโนตตัปปะ อัน

พระอรหันต์ละขาดแล้ว ฯ ล ฯ พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ

ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ เพื่อละขาดซึ่งราคะ มิใช่หรือ ฯ ล ฯ ยัง

มรรคให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งอโนต-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 478

ตัปปะ ฯลฯ พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะแล้ว ทำให้

แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ

โมหะแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ก็ต้องไม่กล่าว

ว่า ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่.

[๕๓๒] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของ

ตนมีอยู่ แต่ความสงสัยไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น.

ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของ

ตนมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น

มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๕๓๓] ส. ความสงสัยไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรม

อื่น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสงสัยไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรม

ของตน หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 479

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๕๓๔] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละขาดราคะ

แล้ว แต่ความสงสัยของท่านยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละขาดราคะแล้ว

แต่ความสงสัยของท่านยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๕๓๕ ] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละขาดโทสะ

แล้ว ฯ ล ฯ ละขาดโมหะแล้ว ฯ ล ฯ ละขาดอโนตตัปปะแล้ว ฯ ล ฯ

ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งราคะ

ฯ ล ฯ ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาด

ซึ่งโทสะ ฯ ล ฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ หรือ ฯลฯ

[๕๓๖] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็นผู้

ปราศจากราคะโทสะโมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง

แล้ว แต่ความสงสัยของท่านยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เป็นผู้ปราศจาก

ราคะโทสะโมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว แต่

ความสงสัยของท่านยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 480

[๕๓๗] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละขาดราคะแล้ว

และความสงสัยของท่านก็ไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละขาดราคะ

แล้ว และความสงสัยของท่านก็ไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๕๓๘] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละขาดโทสะแล้ว

ฯ ล ฯ ละขาดโมหะแล้ว ฯ ล ฯ ละขาดอโนตตัปปะแล้ว ฯ ล ฯ ยังมรรค

ให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯ ล ฯ

เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะหรือ ฯ ล ฯ

[๕๓๙] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เป็นผู้ปราศจาก

ราคะ โทสะ โมหะแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว และ

ความสงสัยของท่านก็ไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็นผู้

ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้

แจ้งแล้ว และความสงสัยของท่านก็ไม่มี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๕๔๐] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 481

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะสำหรับผู้ที่รู้อยู่เห็นอยู่ ไม่

กล่าวสำหรับผู้ที่ไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่. ก็บุคคลผู้รู้อยู่อย่างไรเห็นอยู่

อย่างไร ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ บุคคลผู้รู้อยู่ว่า อย่างนี้รูป ฯลฯ

อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้อยู่

อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้แล ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ ดังนี้ เป็นสูตร

มีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของ

พระอรหันต์มีอยู่.

[๕๔๑] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะสำหรับผู้ที่รู้อยู่เห็นอยู่ ไม่

กล่าวสำหรับผู้ที่ไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่. ก็บุคคลผู้รู้อยู่อย่างไรเห็นอยู่

อย่างไร ความสิ้นอาสวะ จึงมีได้ บุคคลรู้อยู่ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ

นี้ทางให้ถึงธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ ดังนี้ ความสิ้นอาสวะจึงมี

๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๙๓.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 482

ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล ความสิ้น

อาสวะจึงมีได้ ดังนี้ เป็นสูตรที่มีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของ

พระอรหันต์มีอยู่.

[๕๔๒] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่สำ-

รอก ไม่ละซึ่งสิ่งทั้งปวง ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ต่อ

เมื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง กำหนดรู้ สำรอก ละซึ่งสิ่งทั้งปวง จึง

เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของ

พระอรหันต์มีอยู่.

[๕๔๓] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๙๓.

๒. ขุ.อุ. ๒๕/๓๘,๓๙,๔๐

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 483

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า พร้อมกับการ

บรรลุโสดาปัตติมรรคของท่าน ฯลฯ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะทำความ

ผิดสถานหนัก ๖ ประการ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของ

พระอรหันต์มีอยู่.

[๕๔๔] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ในสมัยใด ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากผงฝ้า เกิดขึ้น

แก่อริยสาวกว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น

ทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ ในสมัยนั้น พร้อมกับ

ความเกิดขึ้นแห่งทัศนะ อริยสาวกก็ละสัญโญชน์ได้ ๓ ประการ

คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ดังนี้ เป็นสูตรมี

อยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของ

พระอรหันต์มีอยู่.

[๕๔๕] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 484

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เมื่อใดแล

ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น

ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมวับหายไป เพราะมารู้

ธรรมกับทั้งเหตุ.

เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้

มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น

ย่อมวับหายไป เพราะได้รู้ถึงความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย.

เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์

ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้น ย่อมกำจัดมารและ

เสนามารเสียได้ ดุจดวงอาทิตย์อุทัยกำจัดมืด ยังอากาศให้สว่าง

ฉะนั้น.

ความสงสัยในโลกนี้หรือโลกอื่น ในประวัติ

ของตน หรือในประวัติของผู้อื่นไม่ว่าอย่างใด ผู้มีความเพียร

ประพฤติพรหมจรรย์เพ่งอยู่ ย่อมละความสงสัยเหล่านั้นได้หมด.

บุคคลเหล่าใด ข้ามความสงสัยทั้งหลายเสียได้

ในเมื่อคนทั้งหลายยังมีความสงสัยอยู่ เป็นผู้ไม่มีความสงสัย ไม่

ข้องขัด ทานที่ให้ในบุคคลเหล่านั้นมีผลมาก.

การประกาศธรรมในพระศาสนานี้ เป็นเช่นนี้

๑. ขุ.อุ. ๒๕/๑๒๓.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 485

บรรดาพระสาวกเหล่านั้น องค์ไรหรือจะยังสงสัย ข้าพเจ้าทั้งหลาย

ขอนมัสการพระพุทธเจ้าผู้จอมคน ทรงข้ามพ้นห้วงสังสารวัฏ

และทรงตัดความสงสัยเสียได้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของ

พระอรหันต์มีอยู่.

[๕๔๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความสงสัยของพระอรหันต์ ยัง

มีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระอรหันต์ อาจสงสัยในนามและโคตรของ

สตรีและบุรุษ อาจสงสัยในทางและมิใช่ทาง อาจสงสัยในชื่อของ หญ้า

ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าก็ได้ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระอรหันต์อาจสงสัยในนามและโคตร

ของสตรีและบุรุษ อาจสงสัยในทางและมิใช่ทาง อาจสงสัย ในชื่อของ

หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าก็ได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า

ความสงสัยของพระอรหันต์ ยังมีอยู่.

ส. เพราะพระอรหันต์ อาจสงสัยในนามและโคตร

ของสตรี และบุรุษ อาจสงสัยในทางมิใช่ทาง อาจสงสัยในชื่อของหญ้า

๑. ที. มหา. ๑๐/๓๒๕.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 486

ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าก็ได้ ฉะนั้น ความสงสัยของพระอรหันต์จึงยังมี

อยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ อาจสงสัยในโสดาปัตติผล หรือ

ในสกทาคามิผล หรือในอนาคามิผล หรือใน

อรหัตผลก็ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

กังขากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 487

ปรวิตารณากถา

[๕๔๗] สกวาที การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์

ยังมีอยู่ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์อันผู้อื่นพึงนำไปได้ อันผู้อื่นพึงจูง

ไปได้ อาศัยผู้อื่น เกาะผู้อื่น ไม่รู้ ไม่เห็น

หลง ไม่รู้ตัว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๔๘] ส. พระอรหันต์อันผู้อื่นไม่พึงนำไปได้ อันผู้อื่นไม่

พึงจูงไปได้ ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะผู้อื่น รู้

เห็น ไม่หลง รู้ตัวอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์อันผู้อื่นไม่พึงนำไปได้ อัน

ผู้อื่นไม่พึงจูงไปได้ ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะผู้อื่น รู้ เห็น ไม่หลง รู้

ตัวอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยัง

มีอยู่

[๕๔๙] ส. การแนะนำของผู้อื่นสำหรับปุถุชนมีอยู่ และเขา

ผู้อื่นพึงนำไปได้ อันผู้อื่นพึงจูงไปได้ อาศัยผู้อื่น เกาะผู้อื่น ไม่รู้ ไม่

เห็น หลง ไม่รู้ตัว หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 488

ป. ถูกแล้ว.

ส. การแนะนำของผู้อื่นสำหรับพระอรหันต์ยังมีอยู่

และท่านอันผู้อื่นพึงนำไปได้ อันผู้อื่นพึงไปได้ อาศัยผู้อื่น เกาะผู้อื่น

ไม่รู้ ไม่เห็น หลง ไม่รู้ตัว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๕๕๐] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมี

อยู่ แต่ท่านอันผู้อื่นไม่พึงนำไปได้ อันผู้อื่นไม่พึงจูงไปได้ ไม่อาศัยผู้

อื่น ไม่เกาะผู้อื่น รู้ เห็น ไม่หลง รู้ตัวอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การแนะนำของผู้อื่นสำหรับผู้อื่นสำหรับปุถุชนมี

อยู่ แต่เขาอันผู้อื่นไม่พึงนำไปได้ อันผู้อื่นไม่พึงจูงไปได้ ไม่อาศัยผู้อื่น

ไม่เกาะผู้อื่น รู้ เห็น ไม่หลง รู้ตัวอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๕๑] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมี

อยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การแนะนำของผู้อื่นในพระศาสดา ในพระ-

ธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ในส่วนอนาคต ในส่วนอดีต

ทั้งในส่วนอนาคตและส่วนอดีต ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะ

ธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น สำหรับพระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 489

[๕๕๒] ส. การแนะนำของผู้อื่นในพระศาสดา ในพระ-

ธรรม ในพระสงฆ์ ฯลฯ ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้

เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ไม่มีแก่พระอรหันต์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า การแนะนำของผู้อื่นในพระศาสดา ใน

พระธรรม ฯ ล ฯ ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย

ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ไม่มีแก่พระอรหันต์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การแนะนำ

ของผู้อื่นสำหรับพระอรหันต์ ยังมีอยู่.

[๕๕๓] ส. การแนะนำผู้อื่น สำหรับปุถุชนมีอยู่ และการ

แนะนำของผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯ ล ฯ ในปฏิจจสมุปปาท-

ธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น สำหรับปุถุชน

นั้นก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมี

อยู่ และการแนะนำของผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ใน-

ปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น

สำหรับพระอรหันต์นั้น ก็ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๕๕๔] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมี

อยู่ แต่การแนะนำของผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯ ล ฯ ใน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 490

ปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ไม่

มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การแนะนำของผู้อื่นสำหรับปุถุชนมีอยู่ แต่การ

แนะนำของผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปปาท-

ธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ไม่มีแก่เขา

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๕๕] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมี

อยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอนรากขึ้น

แล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง ทำให้

มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ราคะอันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอน

รากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้เกิดขึ้นได้ในภายหลัง

ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า การ

แนะนำของผู้อื่นสำหรับพระอรหันต์มีอยู่ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ

ฯ ล ฯ อโนตตัปปะ อันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ฯ ล ฯ มิใช่หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 491

[๕๕๖] ส. พระอรหันต์ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพช-

ฌงค์ให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ เพื่อละขาดซึ่งราคะ ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ

ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งโทสะ ฯลฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนต-

ตัปปะ มิใช่หรือ ?

[๕๕๗] ส. พระอรหันต์ เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ

แล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ

โมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ก็ต้องไม่กล่าว

ว่า การแนะนำของผู้อื่นสำหรับพระอรหันต์ ยังมีอยู่.

[๕๕๘] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมี

อยู่ หรือ ?

ป. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ผู้ฉลาด

ในธรรมของตนยังมีอยู่ แต่การแนะนำของผู้อื่นไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้

ฉลาดในธรรมอื่น.

ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ผู้ฉลาด

ในธรรมของตนยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ผู้ฉลาด

ในธรรมอื่นยังมีอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 492

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๕๙] ส. การแนะนำของผู้อื่น ไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้

ฉลาดในธรรมอื่น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การแนะนำของผู้อื่น ไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้

ฉลาดในธรรมของตน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๕๖๐] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด

ราคะแล้ว แต่การแนะนำของผู้อื่นสำหรับท่าน

ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดราคะ

แล้ว แต่การแนะนำของผู้อื่น สำหรับท่านยัง

มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๕๖๑] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด

โทสะแล้ว ฯ ล ฯ ละขาดโมหะแล้ว ฯ ล ฯ ละ

ขาดอโนตตัปปะแล้ว ฯ ล ฯ

[๕๖๒] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ยังมรรคให้

เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งราคะ ฯลฯ ยัง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 493

มรรคให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งโทสะ

ฯ ล ฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ ฯ ล ฯ

[๕๖๓] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็นผู้

ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำ

ให้แจ้งแล้ว แต่การแนะนำของผู้อื่น สำหรับท่านยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เป็นผู้ปราศจาก

ราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว

แต่การแนะนำของผู้อื่นสำหรับท่านยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๕๖๔] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดราคะ

แล้ว และการแนะนำของผู้อื่น ก็ไม่มีแก่ท่าน

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละขาด

ราคะแล้ว และการแนะนำของผู้อื่นก็ไม่มีแก่

ท่าน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละขาดโทสะ

แล้ว ฯ ล ฯ ละขาดโมหะแล้ว ฯ ล ฯ ละขาดอโนตตัปปะแล้ว ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 494

[๕๖๕] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ยังมรรคให้เกิด

แล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ เพื่อละชาดซึ่งราคะ ฯ ล ฯ

ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละขาดซึ่งโทสะ

ฯ ล ฯ เพื่อละขาดซึ่งอโนตตัปปะ ฯ ล ฯ

[๕๖๖] ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เป็นผู้ปราศจาก

ราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว

และการแนะนำของผู้อื่นก็ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็นผู้

ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ฯ ล ฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้

แจ้งแล้ว และการแนะนำของผู้อื่นก็ไม่มีแก่ท่าน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๕๖๗] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมี

อยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะสำหรับผู้ที่รู้อยู่เห็นอยู่ ไม่ได้

กล่าวสำหรับผู้ที่ไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่ ก็บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่

อย่างไร ความสิ้นอาสนะจึงมีได้ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า อย่างนี้

รูป ฯ ล ฯ อย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 495

บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล ความสิ้นอาสวะจึงมีได้

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า การแนะนำของ

ผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ ยังมีอยู่.

[๕๖๘] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะสำหรับผู้ที่รู้อยู่เห็นอยู่ ไม่ได้

กล่าวสำหรับผู้ที่ไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่ ก็บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่

อย่างไร ความสิ้นอาสวะจึงมีได้ บุคคลรู้เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ ฯ ล ฯ

นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ ฯ ล ฯ นี้ธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ ฯ ล ฯ นี้

ทางให้ถึงธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ ดังนี้ ความสิ้นอาสวะจึงมีได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล ความ

สิ้นอาสวะจึงมีได้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า การแนะนำของ

ผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ ยังมีอยู่.

๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๙๓.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 496

[๕๖๙] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่สำ-

รอก ไม่ละ ซึ่งสิ่งทั้งปวง ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์

ต่อเมื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งกำหนดรู้ สำรอก ละซึ่งสิ่งทั้งปวง จึง

เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า การแนะนำของ

ผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ ยังมีอยู่.

[๕๗๐] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า พร้อมกับการ

บรรลุโสดาปัตติมรรคของท่าน ฯลฯ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะทำความ

ผิดสถานหนัก ๖ ประการ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๙๓.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 497

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า การแนะนำของ

ผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ ยังมีอยู่.

[๕๗๑] ส. การนำของผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ในสมัยใด ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากผงฝ้าเกิดขึ้น

แก่อริยสาวกกว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น

ทั้งหมด มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ ในสมัยนั้น พร้อมกับ

ความเกิดขึ้นแห่งทัศนะ อริยสาวกก็ละสัญโญชน์ได้ ๓ ประการ

คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ดังนี้ เป็นสูตรมี

อยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า การแนะนำของ

ผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ ยังมีอยู่.

[๕๗๒] ส. การแนะนำของผู้อื่น สำหรับ พระอรหันต์ยังมีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนโธตกะ

เราจักไม่อุตสาหะเพื่อจะเปลื้องใคร ๆ ที่มีความสงสัยในโลก แต่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 498

ท่านเมื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมอันประเสริฐ ก็ข้ามโอฆะนี้โดย

อาการอย่างนี้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า การแนะนำของ

ผู้อื่น สำหรับพระอรหันต์ยังมีอยู่.

[๕๗๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า การแนะนำของผู้อื่นสำหรับพระ-

อรหันต์ยังมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ผู้อื่นพึงแนะนำ นามและโคตรของสตรีและบุรุษ

พึงแนะนำทางและมิใช่ทาง พึงแนะนำชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้า-

ป่า แก่พระอรหันต์ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ผู้อื่นพึงแนะนำนามและโคตรของสตรี

และบุรุษ พึงแนะนำทางและมิใช่ทาง พึงแนะนำชื่อของหญ้า ไม้ และ

ต้นไม้เจ้าป่า แก่พระอรหันต์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า การ

แนะนำของผู้อื่นสำหรับพระอรหันต์ยังมีอยู่.

[๕๗๔] ส. เพราะผู้อื่นพึงแนะนำ นามและโคตรของสตรี

และบุรุษ พึงแนะนำทางและมิใช่ทาง พึงแนะนำชื่อของหญ้า ไม้

๑. ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๒๙.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 499

และต้นไม้เจ้าป่า แก่พระอรหันต์ ฉะนั้น การแนะนำของผู้อื่นสำหรับ

พระอรหันต์จึงยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้อื่นพึงแนะนำโสดาปัตติผล หรือสกทาคามิผล

อนาคามิผล หรืออรหัตผล แก่พระอรหันต์

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ปรวิตารณากถา จบ

อรรถกถาอัญญาณ กังขา ปรวิตรณกถา

ว่าด้วยความไม่รู้ ความสงสัย และการแนะนำของผู้อื่น

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องทั้ง ๓ คือ เรื่องความไม่รู้ ความสงสัย และ

การแนะนำของผู้อื่น. ในเรื่องเหล่านั้น ชนเหล่าใดมีลัทธิ คือมีความ

เห็นผิด ดุจลัทธิของนิกาย ปุพพเสลิยะทั้งหลายในขณะนี้ว่า อัญ-

ญาณ คือความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ เพราะไม่มีญาณเกิดขึ้นในชื่อ

และโคตรเป็นต้น แห่งชนทั้งหลายมีหญิงชาวเป็นต้นด้วย, กังขา คือ

ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ เพราะความไม่มีสันนิษฐาน คือการ

ตกลงใจ ในเรื่องนั้นนั่นแหละด้วย อนึ่ง ชนเหล่าอื่นย่อมแนะนำ ย่อม

ประกาศ ย่อมบอกเรื่องทั้งหลายแก่พระอรหันต์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น

การแนะนำแก่พระอรหันต์เหล่านั้นจึงมีอยู่ ดังนี้ คำถามในเรื่องแม้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 500

ทั้ง ๓ ของสกวาที เพื่อทำลายลัทธิแห่งชนเหล่านั้น. คำตอบรับรอง

และคำปฏิเสธเป็นของปรวาที. ในปัญหาและคำวิสัชชนาแม้ทั้งปวง

บัณฑิตพึงทราบเนื้อความตามพระบาลีที่มาแล้วตามลำดับนั้น เทอญ.

อรรถกถาอัญญาณ กังขา และปรวิตรณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 501

วจีเภทกถา

[๕๗๕] สกวาที การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานในภพทั้งปวงมีอยู่

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๗๖] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานในกาลทั้งปวงมีอยู่

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๕๗๗] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานทั้งปวงมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๕๗๘] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเปล่งวาจามีอยู่ในสมาบัติทั้งปวง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 502

[๕๗๙] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การไหวกายของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๘๐] ส. การไหวกายไม่มีแก่ผู้เข้าฌาน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าฌาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๘๑] ส. วาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ การเปล่งวาจาก็มีอยู่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายของผู้เข้าฌานมีอยู่ การไหวกายก็มีอยู่

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๘๒] ส. กายของผู้เข้าฌานมีอยู่ แต่การไหวกายไม่มี

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ แต่การเปล่งวาจาไม่มี

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 503

[๕๘๓] ส. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ย่อมเปล่งวาจาว่าทุกข์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อรู้ว่าสมุทัย ย่อมเปล่งวาจาว่าสมุทัย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๘๔] ส. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ย่อมเปล่งวาจาว่าทุกข์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อรู้ว่านิโรธ ย่อมเปล่งวาจาว่านิโรธ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๘๕] ส. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ย่อมเปล่งวาจาว่าทุกข์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อรู้ว่ามรรค ย่อมเปล่งวาจาว่ามรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๘๖] ส. เมื่อรู้ว่าสมุทัย ก็ไม่เปล่งวาจาว่าสมุทัย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ก็ไม่เปล่งวาจาว่าทุกข์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๘๗] ส. เมื่อรู้ว่านิโรธ ก็ไม่เปล่งวาจาว่านิโรธ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ก็ไม่เปล่งวาจาว่าทุกข์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 504

[๕๘๘] ส. เมื่อรู้ว่ามรรค ก็ไม่เปล่งวาจาว่ามรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ก็ไม่เปล่งวาจาว่าทุกข์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๘๙] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณ คือความรู้ มีอะไรเป็นโคจร ?

ป. ญาณมีสัจจะเป็นโคจร.

ส. โสตวิญญาณมีสัจจะเป็นโคจร หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๕๙๐] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าญาณมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสตวิญญาณมีอะไรเป็นโคจร ?

ป. โสตวิญญาณมีเสียงเป็นโคจร.

ส. ญาณมีเสียงเป็นโคจร หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๙๑] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ ญาณมีสัจจะ

เป็นโคจร โสตวิญญาณมีเสียงเป็นโคจร หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ญาณมีสัจจะเป็นโคจร โสตวิญญาณมี

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 505

เสียงเป็นโคจร ก็ต้องไม่กล่าวว่า การเปล่งวาจา

ของผู้เข้าฌานมีอยู่.

[๕๙๒] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ ญาณมีสัจจะ

เป็นโคจร โสตวิญญาณมีเสียงเป็นโคจร หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การประชุมแห่งผัสสะ ๒ แห่งเวทนา ๒ แห่ง

สัญญา ๒ แห่งเจตนา ๒ แห่งจิต ๒ เป็นได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๙๓] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติ ที่มีปฐวีกสิณ

เป็นอารมณ์มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๙๔] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌาณมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติ ที่มีอาโปกสิณ

เป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ ที่มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ที่มีวาโยกสิณเป็นอารมณ์

ที่มีนีลกสิณเป็นอารมณ์ ที่มีปีติกสิณเป็นอารมณ์ ที่มีโลหิตกสิณเป็น

อารมณ์ ที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ของผู้เข้าอากาสานัญจายตน-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 506

สมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯ ล ฯ

เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๙๕] ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าสมาบัติ ที่มีปฐวีกสิณ

เป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าสมาบัติที่มี

ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การ

เปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่.

[๕๙๖] ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าสมาบัติ ที่มีอาโปกสิณ

เป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ ที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ ไม่มีแก่ผู้เข้า

อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตน-

สมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญนาสัญญายตนสมาบัติ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. หากว่า การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าเนวสัญญา-

นาสัญญายตนสมาบัติ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การ

เปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่.

[๕๙๗] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยสมาบัติมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 507

[๕๙๘] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌาน ที่เป็นชั้น

โลกิยะ มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๙๘] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเปล่าวาจาของผู้ทุติฌาน ฯลฯ ตติยฌาน

ฯ ล ฯ จตุตถฌาน ที่เป็นโลกิยะมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๕๙๙] ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าโลกิยสมาบัติ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าโลกิยสมาบัติ

ก็ต้องไม่กล่าวว่า การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌาน

มีอยู่.

[๖๐๐] ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกิยะ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าปฐมฌานที่

เป็นโลกิยะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 508

[๖๐๑] ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าทุติยฌาน ฯ ล ฯ ตติย-

ฌาน ฯ ล ฯ จตุตถฌาน ที่เป็นโลกิยะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าจตุตถฌานที่

เป็นโลกิยะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การเปล่งวาจา

ของผู้เข้าฌานมีอยู่.

[๖๐๒] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกุตตระ

อยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกิยะมี

อยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๐๓] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกุตตระ

มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าทุติยฌาน ตติยฌาน ฯ ล ฯ

ส. จตุตถฌานที่เป็นโลกิยะ มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๐๔] ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกิยะ

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 509

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกุต-

ตระ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๐๕] ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าทุติยฌาน ตติยฌาน

ฯ ล ฯ จตุตถฌานที่เป็นโลกิยะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกุต-

ตระ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๐๖] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกุตตระ

มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าทุติยฌานที่เป็นโลกุตตระ

มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๐๗] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานเป็นโลกุตตระ-

มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าตติยฌาน ฯ ล ฯ จตุตถ-

ฌานที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 510

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๐๘] ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าทุติยฌานที่เป็นโลกุต-

ตระ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกุต-

ตระ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๐๙] ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าตติยฌาน ฯลฯ จตุตถ-

ฌานที่เป็นโลกุตตระ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเปล่งวาจาไม่มีแก่ผู้เข้าปฐมฌานที่เป็นโลกุต-

ตระ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๑๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวิตก วิจารว่าเป็น

วจีสังขาร คือธรรมชาติปรุงแต่งวาจา และวิตก วิจารของผู้เข้าปฐมฌาน

ก็มีอยู่มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวิตก วิจาร ว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 511

เป็นวจีสังขาร และวิตก วิจารของผู้เข้าปฐมฌานก็มีอยู่ ด้วยเหตุนั้น

นะท่านจึงต้องกล่าวว่า การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่.

[๖๑๑] ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวิตก วิจารว่าเป็น

วจีสังขาร และวิตก วิจารของผู้เข้าปฐมฌานก็มีอยู่ การเปล่งวาจาของ

ผู้เข้าปฐมฌานนั้นจึงมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิตก วิจาร ของผู้เข้าปฐมฌาน ที่มีปฐวีกสิณ

เป็นอารมณ์มีอยู่ การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๑๒] ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวิตก วิจาร ว่าเป็น

วจีสังขาร และวิตก วิจารของผู้เข้าปฐมฌานก็มีอยู่ การเปล่งวาจาของ

ผู้เข้าปฐฌานนั้น จึงมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิตก วิจาร ของผู้เข้าปฐมฌานที่มีอาโปกสิณ

เป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ ที่มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ที่มีวาโยกสิณเป็นอารมณ์

ที่มีนีลกสิณเป็นอารมณ์ ที่มีปีตกสิณเป็นอารมณ์ ที่มีโลหิตกสิณเป็น

อารมณ์ ฯ ล ฯ ที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ก็มีอยู่ การเปล่งวาจาของ

ผู้เข้าปฐมฌานที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์นั้นก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 512

[๖๑๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวาจาว่ามีวิตกเป็น

สมุฏฐาน และวิตก วิจารของผู้เข้าปฐมฌานก็มีอยู่มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวาจาว่ามีวิตก

เป็นสมุฏฐาน และวิตกวิจารของผู้เข้าปฐมฌานก็มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะ

ท่านจึงต้องกล่าวว่า การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานมีอยู่.

[๖๑๔] ส. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวาจาว่า มีวิตก

เป็นสมุฏฐาน และวิตกวิจารของผู้เข้าปฐมฌานก็มีอยู่ ฉะนั้น การ

เปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานนั้นจึงมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวาจาว่ามีสัญญาเป็น

สมุฏฐาน และสัญญาของผู้เข้าทุติยฌานก็มีอยู่ วิตกวิจารของผู้เข้า

ทุติยฌานนั้นจึงมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๑๕] ส. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวาจาว่า มีวิตก

เป็นสมุฏฐาน และวิตกวิจารของผู้เข้าปฐมฌานก็มีอยู่ ฉะนั้น การ

เปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานนั้นจึงมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 513

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวาจาว่ามีปัญญาเป็น

สมุฏฐาน และสัญญาของผู้เข้าตติยฌาน ฯ ล ฯ จตุตถฌาน อากาสา-

นัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯ ล ฯ อากิญจัญญายตน-

สมาบัติ ก็มีอยู่ วิตกวิจารของผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น จึงยัง

มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๑๖] ส. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า วาจาของผู้เข้าปฐมฌานเป็นธรรมชาติ

ดับแล้ว ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คำว่า วาจาของผู้เข้าปฐมฌานเป็น

ธรรมชาติดับแล้ว ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า การ

เปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่.

[๖๑๗] ส. คำว่า วาจาของผู้เข้าปฐมฌานเป็นธรรมชาติ

ดับไปแล้ว ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ถึงกระนั้น การเปล่งวาจาของ

ผู้นั้น ก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คำว่า วิตกวิจารผู้เข้าทุติยฌานเป็นธรรมชาติ

๑. ส. สฬา. ๑๘/๓๙๒.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 514

ดับแล้ว ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ถึงกระนั้น วิตกวิจารของผู้นั้น

ก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๑๘] ส. คำว่า วาจาของผู้เข้าปฐมฌานเป็นธรรมชาติ

ดับไปแล้ว ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ถึงกระนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้น

ก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. คำว่า ปีติของผู้เข้าตติยฌานเป็นธรรมชาติ

ดับแล้ว ฯ ล ฯ อัสสาสะ ปัสสาสะ ของผู้เข้าจตุตถฌานเป็น

ธรรมชาติดับแล้ว รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ

เป็นธรรมชาติดับแล้ว อากาสนัญจายตนสัญญาของผู้เข้าวิญญา

ณัญจายตนสมาบัติเป็นธรรมชาติดับแล้ว วิญญาณัญจายตนสัญญา

ของผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นธรรมชาติดับแล้ว อากิญ-

จัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็น

ธรรมชาติดับแล้ว สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

เป็นธรรมชาติดับแล้ว ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง ถึงกระนั้น สัญญา

และเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นก็มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

๑. ส. สฬา. ๑๘/๓๙๒.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 515

[๖๑๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเสียงว่าเป็นข้าศึกของ

ปฐมฌาน มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเสียงว่า เป็น

ข้าศึกของปฐมฌาน ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า การเปล่งวาจา

ของผู้เข้าฌานมีอยู่.

[๖๒๐] ส. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเสียงว่า เป็น

ข้าศึกของปฐมฌาน ฉะนั้น การเปล่งวาจาของ

ของผู้เข้าปฐมฌานจึงมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวิตกวิจารว่า เป็น

ข้าศึกของทุติยฌาน ฯ ล ฯ ตรัสปีติว่าเป็นข้าศึกของตติยฌาน ตรัส

อัสสาสะปัสสาสะว่าเป็นข้าศึกของจตุตถฌาน ตรัสรูปสัญญาว่าเป็นข้าศึก

ของผู้เข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ตรัสอากาสานัญจายตนสัญญาว่า

เป็นข้าศึกของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ตรัสวิญญาณัญจายตน-

สัญญาว่าเป็นข้าศึกของผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ ตรัสอากิญจัญญา-

ยตนสัญญาว่าเป็นข้าศึกของผู้เข้าเนวสัญญานาสูญญายตนสมาบัติ ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 516

ตรัสสัญญาและเวทนาว่า เป็นข้าศึกของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญา

และเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น จึงมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๒๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์

สาวกชื่ออภิภู ของพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่า สิขีสถิตอยู่ในพรหมโลก ได้ประกาศกะหมื่นโลก

ธาตุด้วยเสียงว่า ท่านทั้งหลายจงเริ่มต้น จงบากบั่น จงประกอบ

ความเพียรในพระพุทธศาสนา จงกำจัดเสนาของพระยามัจจุราช

ดุจกุญชรรื้อเรือนที่มุงบัง ด้วยไม้อ้อ ฉะนั้น ด้วยว่า ผู้ที่ไม่

ประมาทอยู่ในธรรมวินัยนี้ จักละชาติสงสารแล้วทำที่สุดแห่งทุกข์

ได้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานก็มีอยู่

น่ะสิ.

วจีเภทกถา จบ

๑. ส. สคา. ๑๕/๖๑๘.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 517

อรรถกถาวจีเภทกถา

ว่าด้วยการเปล่งวาจา

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องการเปล่งวาจา. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใด

มีลัทธิคือความเห็นผิด ดุจนิกายทั้งหลาย มีกายปุพพเสลิยะ เป็นต้น

ในขณะนี้ว่า เมื่อบุคคลเข้าปฐมฌานในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคเกิด

เขาย่อมเปล่งวาจาว่า ทุกข์ ดังนี้ สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น จึงถามว่า

การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่หรือ คำตอบรับรอง เป็นของ

ปรวาที เพราะตั้งอยู่ในลัทธิ. ถูกถามหมายเอาภพทั้ง ๓ ด้วยคำว่า ใน

ภพทั้งปวง อีก ปรวาทีปฏิเสธหมายเอาอรูปภพ. ถูกถามถึงกาลด้วย

คำว่า ในกาลทั้งปวง ปรวาทีปฏิเสธโดยหมายเอากาลเป็นที่เข้าฌาน

ทั้งปวงอื่นนอกจากการเข้าฌานอันประกอบด้วยปฐมฌานในขณะแห่ง

โสดาปัตติมรรค. ถูกถามด้วยคำว่า ของผู้เข้าฌานทั้งปวง ปรวาที

ปฏิเสธหมายเอาผู้เข้าโลกียสมาบัติ. ถูกถามว่า ในสมาบัติทั้งปวง

หรือ ? ก็ตอบปฏิเสธหมายเอาโลกุตตรอันสัมปยุตด้วยทุติยฌาน และ

โลกิยสมาบัติทั้งปวง ฯ คำว่า การไหวกาย ได้แก่ กายวิญญัติ

คือการเคลื่อนไหวทางกาย อันเป็นไปด้วยสามารถแห่งอิริยาบถทั้งหลาย

มีการก้าวไปข้างหน้า เป็นต้น. สกวาทีนั้นย่อมถามเพื่อท้วงด้วยคำว่า

จิตเหล่าใด ย่อมยังวจีวิญญัติให้เกิดขึ้น จิตเหล่านั้นนั้นแหละย่อม

ยังกายวิญญัติให้เกิดขึ้นเช่นกัน ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ เพราะ

เหตุไร แม้การไหวกายจึงไม่มี. ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วย ตอบรับรองด้วย

ด้วยสามารถแห่งลัทธิ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 518

บัดนี้ ท่านกล่าวปัญหาทั้งหลาย มีคำว่า เมื่อรู้ว่าทุกข์

เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่าบุคคลนั้นย่อมกล่าววาจาในขณะแห่ง

มรรคว่า ทุกข์ ดังนี้ไซร้ เขาก็พึงกล่าวแม้ซึ่งคำว่า สมุทัย

เป็นต้น หรือว่าถ้าเขาย่อมไม่กล่าวคำนั้นไซร้ เขาก็ไม่พึงกล่าวคำแม้

นอกนี้ ดังนี้ ฝ่ายปรวาทีตอบรับรองด้วย ตอบปฏิเสธด้วย ด้วยสามารถ

แห่งลัทธิของตน จริงอยู่ ลัทธิของเขาว่า บุคคลเข้าโลกุตตรปฐมฌาน

แล้วย่อมเห็นแจ้งซึ่งทุกข์ว่าเป็นทุกข์ ดังนี้.

คำว่า ญาณ ได้แก่สัจจญาณ อันเป็นโลกุตตระ. คำว่า

โสต ท่านประสงค์เอาโสตวิญญาณ อธิบายว่า ย่อมฟังเสียงนั้น

ด้วยจิตใด.

คำว่า การประชุมแห่งผัสสะทั้ง ๒ ได้แก่ แห่งโสตสัมผัส

และมโนสัมผัส. ข้อว่า ก็ต้องไม่กล่าวว่า อธิบายว่า ถ้าว่าการ

เปล่งวาจามีแก่ผู้เข้าฌานอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า การ

เปล่งวาจามีแก่ผู้เข้าฌานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย คำที่เหลือในที่นี้ พร้อม

ทั้งการชำระพระสูตรมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

อนึ่ง พระสูตรที่ปรวาทีนำมาในที่สุดแห่งปัญหาว่า ดูก่อน

อานนท์ สาวกชื่อว่า อภิภู ของพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้า พระนามว่า สุขี สถิตอยู่ในพรหมโลก ได้ประกาศ

กะหมื่นโลกธาตุด้วยเสียงว่า ท่านทั้งหลาย จงเริ่มต้น จงบากบั่น

จงประกอบความเพียรในพระพุทธศาสนา จงกำจัดเสนาของ

พระยามัจจุราช ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 519

ในพระสูตรนั้น การเปล่งวาจานั้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยจิตแห่ง

สมาบัติใด แม้กายเภทคือการไหวกายก็ย่อมเกิดขึ้นด้วยจิตแห่งสมาบัติ

นั้นนั่นแหละ แต่จิตที่ทำให้วจีวิญญัติและกายวิญญัติเกิดนั้น ไม่ใช่

ปฐมฌานจิตที่เป็นโลกุตตระ เพราะฉะนั้น พระสูตรที่ปรวาทีนำมานั้น

จึงไม่สำเร็จประโยชน์ ดังนี้แล.

อรรถกถาวจีเภทกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 520

ทุกขาหารกถา

[๖๒๒] สกวาที การกล่าวว่า ทุกข์ เป็นองค์ของมรรค

นับเนืองในมรรค หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ทุกคนที่กล่าวคำว่าทุกข์ ชื่อว่ายังมรรคให้เกิดได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๒๓] ส. ทุกคนที่กล่าวคำว่าทุกข์ ชื่อว่ายังมรรคให้เกิดได้

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พาลปุถุชนที่กล่าวคำว่าทุกข์ ก็ชื่อว่ายังมรรคให้

เกิดได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้ฆ่ามารดา ฯ ล ฯ ผู้ฆ่าบิดา ผู้ฆ่าพระ-

อรหันต์ ผู้ทำโลหิตุบาท ฯ ล ฯ ผู้ทำสังฆเภท

กล่าวคำว่าทุกข์ ก็ชื่อว่ายังมรรคให้เกิดได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ทุกขาหารกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 521

อรรถกถาทุกขาหารกถา

ว่าด้วยการกล่าวว่าทุกข์

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องการกล่าวว่าทุกข์. ในปัญหานั้น ลัทธิแห่งชน

เหล่าใด ดุจลัทธิของนิกายปุพพเสลิยะทั้งหลาย ในขณะนี้ว่า เมื่อ

ผู้ใด กล่าววาจาว่า ทุกข์ ทุกข์ ดังนี้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมนำมาซึ่งญาณ

ในทุกข์นี้ ท่านเรียกว่า ทุกขาหาร และทุกขาหารนั้นนั่นแหละ ท่าน

ว่าเป็นมัคคังคะ คือองค์แห่งมรรค และนับเนื่องด้วยมรรค ดังนี้

สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น จึงถามปรวาทีว่า การกล่าวว่าทุกข์ การ

นำมาซึ่งญาณในทุกข์ คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในปัญหาแรก

ว่า ผู้ใดผู้หนึ่ง ปรวาทีหมายเอาผู้ไม่เห็นแจ้ง จึงตอบปฏิเสธ.

ในปัญหาข้อที่ ๒ ปรวาทีตอบรับรอง หมายเอาผู้เห็นแจ้ง. ก็การเห็น

แจ้ง หรือการไม่เห็นแจ้งนั้นสักว่าเป็นลัทธิของปรวาทีนั่นเทียว เพราะ

ฉะนั้น เพื่อทำลายวาทะว่าชนเหล่านั้นทั้งปวงเห็นแจ้ง หรือไม่เห็นแจ้ง

ของปรวาทีนั้น สกวาทีจึงถามว่า พาลปุถุชน เป็นต้น. ข้อความ

นั้นมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.

อรรถกถาทุกขาหารกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 522

จิตตฐิติกถา

[๖๒๔] สกวาที จิตดวงหนึ่งอยู่ได้ตลอดวัน หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. กิ่งวันเป็นอุปปาทขณะ กึ่งวันเป็นวยขณะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๒๕] ส. จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ได้ตลอด ๒ วัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วันหนึ่งเป็นอุปปาทขณะ อีกวันหนึ่งเป็นวย-

ขณะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๒๖] ส. จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ได้ตลอด ๔ วัน ฯ ล ฯ ตั้งอยู่

ได้ตลอด ๘ วัน ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๐ วัน ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒๐ วัน ตั้งอยู่

ได้ตลอดเดือน ๑ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒ เดือน ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔ เดือน

ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘ เดือน ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๐ เดือน ตั้งอยู่ได้ตลอดปี ๑

ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘ ปี

ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๓๐ ปี

ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๕๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๐๐ ปี

ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๕๐๐ ปี

ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑,๐๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒,๐๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด

๔,๐๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘,๐๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๖,๐๐๐ ปี ตั้งอยู่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 523

ได้ตลอดกัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔ กัลป์ ตั้งอยู่

ได้ตลอด ๘ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๖ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๓๒ กัลป์

ตั้งอยู่ได้ตลอด ๖๔ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๕๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด

๑,๐๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒,๐๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔,๐๐๐๐ กัลป์

ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘,๐๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๖,๐๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่ได้

ตลอด ๒๐,๐๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๖๐,๐๐๐ กัลป์ ฯ ล ฯ ตั้งอยู่ได้

ตลอด ๘๔,๐๐๐ กัลป์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ๒,๐๐๐ กัลป์ เป็นอุปปาทขณะอีก ๔๘,๐๐๐ กัลป์

เป็นวยขณะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๒๗] ส. จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ตลอดวัน ๑ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นดับไป แม้มากครั้งในวัน

๑ มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๒๘] ส. ธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 524

ทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมอื่น แม้สักอย่าง ๑ ที่เปลี่ยน

แปลงไปเร็วเหมือนจิตเลย แม้การเปรียบเทียบว่าจิตได้เปลี่ยน

แปลงไปเร็วเพียงไร ก็ทำได้ไม่ง่ายเลยทีเดียว ดังนี้ เป็นสูตร

มีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่าธรรมเหล่านั้น

เปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าจิต.

[๖๒๙] ส. ธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ลิงเที่ยวไปในป่า ในไพร จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้นแล้ว

จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วจับกิ่งอื่น แม้ฉันใด ธรรมชาติที่

เรียกว่า จิต บ้าง ว่า มโน บ้าง ว่า วิญญาณ บ้าง ก็ฉันนั้น

เรียกว่า จิต บ้าง ว่า มโน บ้าง ว่า วิญญาณ บ้าง ก็ฉันนั้น

แล ดวงอื่นเทียวเกิดขึ้น ดวงอื่นเทียวดับไป ทั้งคืนทั้งวัน ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมเหล่านั้น

เปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าจิต.

[๖๓๐] ส. จิตดวง ๑ ตั้งอยู่ได้ตลอดวัน ๑ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

๑. องฺ. เอก. ๒๐/๕๒.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 525

ส. จักขุวิญญาณตั้งอยู่ได้ตลอดวัน ๑ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. โสตวิญญาณ ฯ ล ฯ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ

กายวิญญาณ จิตเป็นอกุศล จิตสหรคตด้วยราคะ จิตสหรคตด้วยโทสะ

จิตสหรคตด้วยโมหะ จิตสหรคตด้วยมานะ จิตสหรคตด้วยทิฏฐิ จิต-

สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตสหรคตด้วยถีนะ จิตสหรคตด้วยอุทธัจจะ จิต-

สหรคตด้วยอหิริกะ จิตสหรคตด้วยอโนตตัปปะ ตั้งอยู่ได้ตลอดวัน ๑

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๓๑] ส. จิตดวง ๑ ตั้งอยู่ได้ตลอดวัน ๑ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลเห็นรูปด้วยตาทางจิตใจ ก็ฟังเสียงทางหู

ด้วยจิตดวงเดียวกันนั่นแหละ ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ลิ้มรสทางลิ้น

ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯ ล ฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจด้วยจิตเดียวกัน

นั้นแหละ ฯ ล ฯ บุคคลรู้ธรรมารมณ์ทางใจด้วยจิตใด ก็เห็นรูปทางตา

ด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ ฯ ล ฯ ฟังเสียงทางหู ดมกลิ่นทางจมูก

ลิ้มรสทางลิ้น ฯ ล ฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายด้วยจิตดวงเดียวกันนั้น

แหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๓๒] ส. จิตดวง ๑ ตั้งอยู่ได้ตลอดวัน ๑ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 526

ส. บุคคลก้าวไปด้วยจิตใจ ก็ถอยกลับด้วยจิตดวง

เดียวกันนั้นแหละ ถอยกลับด้วยจิตใด ก็ก้าวไปด้วยจิตดวงเดียวกันนั้น

แหละ แลดูด้วยจิตใด ก็เหลียวซ้ายแลขวาด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ

เหลียวซ้ายแลขวาด้วยจิตใจ ก็แลดูด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ คู้เข้า

ด้วยจิตใด ก็เหยียดออกด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ เหยียดออกด้วย

จิตใด ก็คู้เข้าด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๓๓] ส. เทพทั้งหลายผู้อุบัติในอากาสานัญจายตนภพ มี

จิตดวงเดียวตั้งอยู่จนตลอดอายุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มนุษย์ทั้งหลายก็มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่จนตลอด

อายุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๓๔] ส. เทพทั้งหลายผู้อุปบัติในอากาสานัญจายตนภพ มี

จิตดวงเดียวตั้งอยู่จนตลอดอายุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เทพชั้นจาตุมหาราช ฯ ล ฯ เทพชั้นดาวดึงส์...

เทพชั้นยามา... เทพชั้นดุสิต... เทพชั้นนิมมานรตี... เทพชั้นปรนิมมิต-

วสวัตตี... เทพชั้นพรหมปาริสัช... เทพชั้นพรหมปุโรหิต... เทพชั้น

มหาพรหม... เทพชั้นปริตตาภา... เทพชั้นอัปปมาณาภา... เทพชั้น

อาภัสสรา... เทพชั้นปริตตสุภา... เทพชั้นอัปปมาณสุภา... เทพชั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 527

สุภกิณหา... เทพชั้นเวหัปผลา... เทพชั้นอวิหา... เทพชั้นอาตัปปา...

เทพชั้นสุทัสสา... เทพชั้นสุทัสสี ฯ ล ฯ เทพชั้นอกนิฏฐา มีจิตดวงเดียว

ตั้งอยู่จนตลอดอายุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๓๕] ส. เทพทั้งหลายผู้อุบัติในอากาสานัญจายตนภพ มี

ประมาณอายุ ๒๐,๐๐๐ กัลป์ เทพเหล่านั้น มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ตลอด

๒๐,๐๐๐ กัลป์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มนุษย์ทั้งหลายมีประมาณอายุ ๑๐๐ ปี มนุษย์

เหล่านั้นก็มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ตลอด ๑๐๐ ปี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๓๖] ส. เทพทั้งหลายผู้อุปบัติในอากาสานัญจายตนภพ มี

ประมาณอายุ ๒๐,๐๐๐ กัลป์ เทพเหล่านั้นมีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ตลอด

๒๐,๐๐๐ กัลป์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เทพชั้นจาตุมหาราช มีประมาณอายุ ๕๐๐ ปี

เทพเหล่านั้นก็มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ตลอด ๕๐๐ ปี ฯ ล ฯ ตั้งอยู่ตลอด

๑,๐๐๐ ปี คือชั้นดาวดึงส์ ... ตั้งอยู่ตลอด ๒,๐๐๐ ปี คือชั้นยามา...

ตั้งอยู่ตลอด ๔,๐๐๐ ปี คือชั้นดุสิต... ตั้งอยู่ตลอด ๘,๐๐๐ ปี คือชั้น

นิมมานรตี ... ตั้งอยู่ ๑๖,๐๐๐ ปี คือชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ตั้งอยู่

ตลอด ๑ ใน ๓ ส่วน ของกัลป์ คือชั้นพรหมปาริสัช... ตั้งอยู่ตลอด

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 528

กึ่งกัลป์ คือชั้นพรหมปุโรหิต ... ตั้งอยู่ตลอดกัลป์ ๑ คือชั้นมหาพรหม

... ตั้งอยู่ตลอด ๒ กัลป์ คือชั้นปริตตาภา ตั้งอยู่ตลอด ๔ กัลป์ คือชั้น

อัปปมาณาภา ... ตั้งอยู่ตลอด ๘ กัลป์ คือชั้นอาภัสสรา ... ตั้งอยู่

ตลอด ๑๖ กัลป์ คือชั้นปริตตสุภา ... ตั้งอยู่ตลอด ๓๒ กัลป์ คือชั้น

อัปปมาณสุภา ... ตั้งอยู่ตลอด ๖๔ กัลป์ คือชั้นสุภกิณหา... ตั้งอยู่

ตลอด ๕๐๐ กัลป์ คือชั้นเวหัปผลา ... ตั้งอยู่ตลอด ๑,๐๐๐ กัลป์คือชั้น

อวิหา ... ตั้งอยู่ตลอด ๒,๐๐๐ กัลป์ คือชั้นอตัปปา ... ตั้งอยู่ตลอด

๔,๐๐๐ กัลป์ คือ ชั้นสุทัสสา... ตั้งอยู่ตลอด ๘,๐๐๐ กัลป์ คือชั้นสุทัสสี

ฯ ล ฯ เทพชั้นอกนิฏฐา มีประมาณอายุ ๑๖,๐๐๐ กัลป์ เทพเหล่านั้น

มีจิตดวงเดียว ตั้งอยู่ตลอด ๑๖,๐๐๐ กัลป์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๓๗] ป. จิตของเทพทั้งหลายผู้อุปบัติในอากาสานัญจาย-

ตนภพ เกิดขึ้นครู่หนึ่ง ๆ ดับไปครู่หนึ่ง ๆ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เทพทั้งหลายผู้อุปบัติในอากาสานัญจายตนภพ

จุติครู่หนึ่ง ๆ อุบัติครู่หนึ่ง ๆ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๓๘] ส. เทพทั้งหลายผู้อุปบัติอากาสานัญจายตนภพ

มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ตลอดอายุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 529

ส. เทพทั้งหลายผู้อุบัติในอากาสานัญจายตนภพ

อุบัติด้วยจิตดวงใด ก็จุติด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

จิตตฐิติกถา จบ

อรรถกถาจิตตัฏฐิติกถา

ว่าด้วยการตั้งอยู่แห่งจิต

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องการตั้งอยู่แห่งจิต. ในปัญหานั้น ลัทธิแห่ง

ชนเหล่าใดว่า จิตดวง ๑ เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ตลอดกาลนาน เพราะ

เห็นจิตแห่งสมาบัติ และภวังคจิตอันเป็นไปติดต่อกันโดยลำดับ ดุจลัทธิ

นิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ อันมีประเภทตามที่กล่าวแล้วในหนหลัง

เพื่อชำระลัทธินั้น สกวาทีจึงถามปรวาทีว่า จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ได้

แม้ตลอดวันหรือ เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรองว่า ใช่.

ในปัญหาว่า กึ่งวันเป็นขณะเกิด นี้ ท่านทำคำถามด้วย

สามารถแห่งความเกิดและความดับโดยนัยเทศนาว่า สังขารทั้งหลาย

ไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

โดยไม่ถือเอาขณะตั้งอยู่แห่งจิต.

ถูกสกวาทีถามว่า ธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่า

จิตหรือ ปรวาทีนั้นเมื่อไม่เห็นธรรมทั้งหลายเกิดดับเร็วกว่าจิต จึง

ตอบปฏิเสธ ถูกถามครั้งที่ ๒ ท่านปรารถนาความตั้งอยู่อันเป็นเวลา

นานแห่งจิตใด โดยหมายเอาจิตนั้น จึงตอบรับรอง.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 530

ในปัญหาทั้งหลายว่า จิตดวงเดียวตั้งอยู่จนตลอดอายุ

หรือ ความว่า ปรวาทีย่อมตอบปฏิเสธโดยเว้นอรูป และย่อมตอบ

รับรองผู้ที่เกิดในอรูปด้วยสามารถแห่งพระบาลีว่า เทวดาทั้งหลาย

เหล่าใด ย่อมตั้งอยู่ตลอด ๘๔,๐๐๐ กัลป์ เป็นต้น ดังนี้.

ในปัญหาว่า จิตย่อมเกิดขึ้นครู่หนึ่ง. เป็นของปรวาที

สกวาทีตอบรับรองเพราะกลัวผิดจากพระสูตรว่า สังขารทั้งหลายมี

ความเกิดขึ้น และมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นต้นแต่

ปรวาทีนั้นย่อมปรารถนาความตั้งอยู่แห่งจิตด้วยสามารถแห่งลัทธิของ

ตน. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถง่ายทั้งนั้น แล.

อรรถกถาจิตตัฏฐิติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 531

กุกกุฬกถา

[๖๓๙] สกวาที สังขารทั้งปวง เป็นดุจเถ้าลึง คือร้อนระอุ

ไม่มีระยะว่างเว้น หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. สุขเวทนา สุขทางกาย สุขทางใจ สุขเป็นทิพย์

สุขของมนุษย์ สุขในลาภ สุขในสักการะ สุขในการไป สุขในการนอน

สุขในความเป็นใหญ่ สุขในความเป็นอธิบดี สุขของคฤหัสถ์ สุขของ

สมณะ สุขมีอาสวะ สุขไม่มีอาสวะ สุขมีอุปธิ สุขไม่มีอุปธิ สุขมี

อามิส สุขไม่มีอามิส สุขมีปีติ สุขไม่มีปีติ สุขในฌาน สุขคือความ

หลุดพ้น สุขในกาม สุขในการออกบวช สุขเกิดแต่ความวิเวก สุข

คือความสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ มีอยู่ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สุขเวทนา ฯ ล ฯ สุขเกิดแก่ความตรัสรู้

มีอยู่ ก็ไม่ต้องกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.

[๖๔๐] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขารทั้งปวงเป็นทุกขเวทนา เป็นทุกข์ทางกาย

เป็นทุกข์ทางใจ เป็นความโศกความร่ำไร ทุกขโทมนัส อุปายาส

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 532

คือความคับแค้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๔๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่

มีระยะว่างเว้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็น

ของร้อน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นของร้อน รูปทั้งหลาย

เป็นของร้อน จักขุวิญญาณเป็นของร้อน จักขุสัมผัสเป็นของร้อน

แม้ความรู้สึกเสวย อารมณ์อันใด เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม

มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ตาม เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้

อันนั้น ก็เป็นของร้อน ร้อนด้วยอะไร ร้อนด้วยไฟคือราคะ ด้วย

ไฟคือโทสะ ด้วยไฟคือโมหะ ร้อนด้วยชาติ ด้วยชรามรณะ

ด้วยโศก ด้วยปริเทวะ ด้วยทุกข์ ด้วยโทมนัส ด้วยอุปายาส

เรากล่าวว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ฉะนี้ โสตะเป็นของร้อน

เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ มานะเป็นของร้อน กลิ่น

ทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ ชิวหาเป็นของร้อน รสทั้งหลายเป็น

ของร้อน ฯลฯ ภายเป็นของร้อน โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นของร้อน

ฯลฯ มโนเป็นของร้อน ธรรมทั้งหลายเป็นของร้อน มโนวิญญาณ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 533

เป็นของร้อน มโนสัมผัสเป็นของร้อน ความรู้สึกเสวยอารมณ์

อันใด เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม เกิด

ขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อน ร้อน

ด้วยอะไร ร้อนด้วยไฟราคะ ด้วยไฟคือโทสะ ด้วยไฟคือโมหะ

ร้อนด้วยชาติ ด้วยชรามรณะ ด้วยโศก ด้วยปริเทวะ ด้วยทุกข์

ด้วยโทมนัส ด้วยอุปายาส เรากล่าวว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน

ฉะนี้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น สังขารทั้งปวงก็เป็นดุจเถ้าลึง ไม่มี

ระยะว่างเว้นน่ะสิ.

[๖๔๒] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

กามคุณมี ๕ ประการนี้ ๕ ประการอะไรบ้าง รูปทั้งหลายอันเป็น

วิสัยแห่งจักขุวิญญาณ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพึงใจ มีลักษณะ

น่ารัก ยั่วกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงทั้งหลายอันเป็น

วิสัยแห่งโสตวิญญาณ ฯลฯ กลิ่นทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งฆาน-

๑. วิ. มหา. ๔/๕๕.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 534

วิญญาณ ฯลฯ รสทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งชิวหาวิญญาณ ฯลฯ

โผฏฐัพพะทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งกายวิญญาณ ที่น่าปรารถนา

น้ำใคร่ น่าพึงใจ มีลักษณะน่ารักยั่วกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ

กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการเหล่านี้แล

ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็น

ดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.

[๖๔๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่

มีระยะว่างเว้น หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เป็นลาภของพวกเธอ พวกเธอได้ดีแล้ว ขณะเพื่อการ

อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ พวกเธอแทงตลอดแล้ว ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราได้เห็นนรกชื่อว่า ฉผัสสายตนิกา ในนรกชื่อว่า

ฉผัสสายตนิกานั้น บุคคลเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยจักษุ ย่อม

เห็นแต่รูปที่มีลักษณะไม่น่าปรารถนา มิได้เห็นรูปที่มีลักษณะน่า

ปรารถนา ย่อมเห็นแต่รูปที่มีลักษณะไม่น่าใคร่ มิได้เห็นรูปที่มี

ลักษณะน่าใคร่ ย่อมเห็นแต่รูปที่มีลักษณะไม่น่าพึงใจ มิได้เห็น

๑. ส. สฬา. ๑๘/๔๑๓, องฺ. นวก. ๒๓/๒๓๘.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 535

รูปที่มีลักษณะน่าพึงใจ ฟังเสียงอย่างใดอย่าหนึ่งด้วยโสต ฯลฯ

ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่ง

ด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย

ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยใจ ย่อมรู้แจ้งแต่

ธรรมารมณ์ที่มีลักษณะไม่น่าปรารถนา มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มี

ลักษณะน่าปรารถนา ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่มีลักษณะไม่น่า

ใคร่ มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มีลักษณะน่าใคร่ ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมา-

รมณ์ที่มีลักษณะไม่น่าพึงใจ มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มีลักษณะน่า

พึงใจ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น สังขารทั้งปวงก็เป็นดุจเถ้าลึง ไม่

มีระยะว่างเว้นน่ะสิ.

[๖๔๔] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เป็นลาภของพวกเธอ พวกเธอได้ดีแล้ว ขณะเพื่ออยู่

ประพฤติพรหมจรรย์ พวกเธอแทงตลอดแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เราได้เห็นสวรรค์ ชื่อว่าฉผัสสายตนิกา ในสวรรค์ชื่อ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 536

ฉผัสสายตนิกานั้น บุคคลเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยจักษุ ย่อม

เห็นแต่รูปที่มีลักษณะน่าปรารถนา มิได้เห็นรูปที่มีลักษณะไม่น่า

ปรารถนา ย่อมเห็นแต่รูปที่มีลักษณะน่าใคร่ มิได้เห็นรูปที่มี

ลักษณะไม่น่าใคร่ ย่อมเห็นแต่รูปที่มีลักษณะน่าพึงใจ มิได้เห็น

รูปที่มีลักษณะไม่น่าพึงใจ ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยโสต

ฯลฯ ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสอย่างใด

อย่างหนึ่งด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย

กาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยใจ ย่อมรู้แจ้ง

ในธรรมารมณ์ที่มีลักษณะน่าปรารถนา มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มี

ลักษณะที่มีลักษณะไม่น่าปรารถนา ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่มี

ลักษณะน่าใคร่ มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่มีลักษณะไม่น่าใคร่ ย่อม

รู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่มีลักษณะน่าพึงใจ มิได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่

มีลักษณะไม่น่าพึงใจ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็น

ดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.

[๖๔๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่

มีระยะว่างเว้น หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 537

เป็นทุกข์ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่าเป็นทุกข์ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง

กล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.

[๖๔๖] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทาน มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่เป็นที่ฟูใจ มีผล

แสลง มีทุกข์เป็นกำไร เป็นทุกข์เป็นวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ศีล ฯลฯ อุโบสถ ฯล ฯ ภาวนา ฯล ฯ พรหม-

จรรย์มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่าใคร่ มีผลไม่เป็นที่ฟูใจ มีผลแสลง

มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ทาน มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็น

ที่น่าฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. หากว่า ทานมีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มี

ผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ก็ต้องไม่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 538

กล่าวว่า สังขารทั้งปวง เป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.

ส. ศีล ฯล ฯ อุโบสถ ฯลฯ ภาวนา ฯล ฯ พรหม-

จรรย์มีผลน่าปรารถนา มีผลน่าใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มี

สุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พรหมจรรย์มีผลน่าปรารถนา มีผลน่า

ใคร่ มีผลเป็นที่ฟูใจ มีผลไม่แสลง มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก

ก็ต้องไม่กล่าวว่า สังขารทั้งปวง เป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.

[๖๔๗] ส. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ความสงัด

ของบุคคลผู้ยินดีแล้ว ผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว เห็นอยู่ เป็นสุข

ความไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขใน

โลก ความคลายกำหนัด คือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ เป็นสุข

ในโลก การที่นำอัสมิมานะออกเสียได้ นี่แลเป็นสุขอย่างยิ่ง

สุขยิ่งกว่าความสุขนั้น เราได้ถึงแล้วนั้นเป็นสุขเต็มที่ทีเดียว วิช-

ชา ๓ เราได้บรรลุโดยลำดับแล้ว ข้อนี้แลเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

๑. ขุ. อุ. ๒๕/๕๑.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 539

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า สังขารทั้งปวงเป็น

ดุจเถ้าลึง ไม่มีระยะว่างเว้น.

กุกกุฬกถา จบ

อรรถกถากุกกุฬกถา

ว่าด้วยเถ้าลึง คือความร้อนระอุ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องเถ้าลึง. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีลัทธิคือ

มีความเห็นผิดดุจนิกายโคลิกะทั้งหลาย ในขณะนี้ว่า สังขารทั้งปวง

เป็นดุจเถ้าลึง คือเป็นเช่นกับฉาริกนรกอันเจือด้วยถ่านเพลิง โดยแน่

นอน เพราะไม่พิจารณาถือเอาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน สังขารทั้งปวงเป็น

ทุกข์ ดังนี้เป็นต้น คำถามของสกวาทีเพื่อวิพากษ์ คือตำหนิ ลัทธิ

นั้นด้วยการชี้แจงถึงความสุขมีประการต่าง ๆ ของสังขารเหล่านั้น. คำ

ตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในปัญหานั้น คำว่า ไม่มีระยะว่างเว้น

หรือ ได้แก่ ไม่ทำเขตแดนส่วนหนึ่ง คือหมายความว่า ไม่ทำสิ่ง

ทั้งปวงนั่นแหละให้แปลกกัน. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง พึงทราบโดยนัย

ที่แสดงไว้แล้วในบาลี พร้อมทั้งการชำระพระสูตรนั่นแล.

อรรถกถากุกกุฬกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 540

อนุปุพพาภิสมยกถา

[๖๔๘] สกวาที การตรัสรู้ธรรมเป็นการตรัสรู้โดยลำดับ

หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลยังโสดาปัตติมรรคให้เกิดได้โดยลำดับ

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลยังโสดาปัตติมรรคให้เกิดได้โดยลำดับ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลได้โดยลำดับ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๔๙] ส. การตรัสรู้ธรรมเป็นการตรัสรู้โดยลำดับ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลยังสกทาคามิมรรคให้เกิดได้โดยลำดับ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลยังสกทาคามิมรรคให้เกิดได้โดยลำดับ

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 541

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผลได้โดยลำดับ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๕๐] ส. การตรัสรู้ธรรมเป็นการตรัสรู้โดยลำดับ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลยังอนาคามิมรรคให้เกิดได้โดยลำดับ

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลยังอนาคามิมรรคให้เกิดได้โดยลำดับ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผลได้โดยลำดับ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๕๑] ส. การตรัสรู้ธรรมเป็นการตรัสรู้โดยลำดับ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลยังอรหัตมรรคให้เกิดได้โดยลำดับ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 542

ส. บุคคลยังอรหัตมรรคให้เกิดได้โดยลำดับ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผลได้โดยลำดับ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๕๒] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์ ?

ป. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และ

บรรดากิเลสพวกเดียวกัน ได้ ๑ ใน ๔ ส่วน.

ส. ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระโสดาบัน อีก ๓ ใน ๔

ส่วน ไม่เป็นพระโสดาบัน, ๑ ใน ๔ ส่วน ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง

เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งโสดาปัตติผล อีก ๓ ใน ๔ ส่วน

ไม่ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งโสดาปัตติผล ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระ-

โสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ ผู้โกลังโกละ ผู้เอกพีชี ประกอบด้วยความ

เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ใน

พระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยอริยกันตศีล อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่

ประกอบด้วยอริยกันตศีล หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ละ

อะไรด้วยการเห็นสมุทัย ฯลฯ ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการเห็น

มรรค.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 543

ป. ละ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

และบรรดากิเลสพวกเดียวกันได้ ๑ ใน ๔ ส่วน.

ส. ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระโสดาบัน อีก ๓ ใน ๔

ส่วน ไม่เป็นพระโสดาบัน, ๑ ใน ๔ ส่วน ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง

เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งโสดาปัตติผล อีก ๓ ใน ๔ ส่วน

ไม่ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งโสดาปัตติผล, ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระโส-

ดาบันผู้สัตตขัตตุปรมะ ผู้โกลังโกละ ผู้เอกพีชี ประกอบด้วยความ

เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ใน

พระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยอริยกันตศีล อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่

ประกอบด้วยอริยกันตศีล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ.

[ ๖๕๓] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์.

ป. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ

และบรรดากิเลสพวกเดียวกันได้ ๑ ใน ๔ ส่วน.

ส. ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระสกทาคามี อีก ๓ ใน

๔ ส่วน ไม่เป็นพระสกทาคามี. ๑ ใน ๔ ส่วน ถึง ได้ บรรลุ ทำ

แจ้ง เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งสกทามิผล อีก ๑ ใน ๔ ส่วน

ไม่ถูกต้องด้วยนามกาย อยู่ซึ่งสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 544

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ฯลฯ ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการ

เห็นมรรค.

ป. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ

และบรรดากิเลสพวกเดียวกันได้ ๑ ใน ๔ ส่วน.

ส. ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระสกทาคามี อีก ๓ ใน

๔ ส่วน ไม่เป็นพระสกทาคามี, ๑ ใน ๔ ส่วน ถึง ได้ บรรลุ ทำให้

แจ้ง เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล อีก ๓ ใน ๔

ส่วน ไม่ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๕๔] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์.

ป. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด

และบรรดากิเลสพวกเดียวกันได้ ๑ ใน ๔ ส่วน.

ส. ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนาคามิ อีก ๓ ใน ๔

ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามี ๑ ใน ๔ ส่วน ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง

เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งอนาคามิผล, อีก ๓ ใน ๔ ส่วน

ไม่ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งอนาคามิผล, ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนา-

คามีผู้อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขาร-

ปรินิพพายี ฯลฯ ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐ-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 545

คามี อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐ-

คามี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ฯลฯ ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการ

เห็นมรรค.

ป. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด

และบรรดากิเลสพวกเดียวกันได้ ๑ ใน ๔ ส่วน.

ส. ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนาคามี อีก ๓ ใน ๔

ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามี, ๑ ใน ๔ สวน ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง

เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยนามกายซึ่งอนาคามิผล อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่

ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งอนาคามิผล, ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนาคามี

ผู้อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขารปริ-

นิพพายี ฯลฯ ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๕๕] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์.

ป. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 546

และบรรดากิเลสพวกเดียวกัน ๑ ใน ๔ ส่วน.

ส. ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอรหันต์ อีก ๓ ใน ๔

ส่วน ไม่เป็นพระอรหันต์, ๑ ใน ๔ ส่วน ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง

เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งอรหัตผล, อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่

ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งอรหัตผล, ๑ ใน ๔ ส่วนเป็นผู้ปราศจากราคะ

โทสะ โมหะแล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุ

ประโยชน์ตนแล้ว มีเครื่องผูกไว้ในภพ สิ้นไปรอบแล้ว พ้นวิเศษแล้ว

เพราะรู้ชอบ มีลิ่มอันยกขึ้นแล้ว มีคูอันกลบแล้ว มีเสาระเนียดอัน

ถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีลิ่มสลัก เป็นอริยะ ลดธง คือมานะ

วางภาระแล้ว หมดเครื่องผูกพันแล้ว มีชัยชนะอย่างดีวิเศษแล้ว ท่าน

กำหนดรู้ทุกข์แล้ว ละสมุทัยแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ยังมรรคให้เกิด

แล้ว รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้แล้ว

ละธรรมที่ควรละแล้ว บำเพ็ญธรรมที่ควรบำเพ็ญแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้ง

ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่ง

ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ละ

อะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ฯลฯ ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการ

เห็นมรรค.

ป. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 547

และบรรดากิเลสพวกเดียวกันได้ ๑ ใน ๔ ส่วน.

ส. ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอรหันต์ อีก ๓ ใน ๔

ไม่เป็นพระอรหันต์, ๑ ใน ๔ ส่วน ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้า

ถึงอยู่ ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งอรหัตผล อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ไม่ถูก

ต้องด้วยนามกายอยู่ซึ่งอรหัตผล. ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นผู้ปราศจากราคะ

โทสะ โมหะแล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุ

ประโยชน์ตนแล้ว มีเครื่องผูกไว้ในภพสิ้นไปรอบแล้ว พ้นวิเศษแล้ว

เพราะรู้ชอบ มีลิ่มสลักอันยกขึ้นแล้ว มีคูอันกลบแล้ว มีเสาระเนียด

อันถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีลิ่มสลัก เป็นอริยะ ลดธง คือมานะ

แล้ว มีเครื่องผูกพันแล้ว มีชัยชนะอย่างดีวิเศษแล้ว ท่านกำหนด

รู้ทุกข์แล้ว ละสมุทัยแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ยังมรรคให้เกิดขึ้นแล้ว

รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้แล้ว ละ

ธรรมที่ควรละแล้ว บำเพ็ญธรรมที่ควรบำเพ็ญแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้ง

ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว อีก ๓ ใน ๔ ส่วน ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่ง

ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๕๖] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล เมื่อ

เห็นทุกข์ พึงกล่าวว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อเห็นทุกข์แล้ว พึงกล่าวว่า ผู้ตั้งอยู่แล้วใน

ผล หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 548

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ พึงกล่าว

ว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อเห็นนิโรธแล้ว พึงกล่าวว่า ผู้ตั้งอยู่แล้วใน

ผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๕๗] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล เมื่อ

เห็นมรรค พึงกล่าวว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว เมื่อเห็นมรรคแล้ว พึงกล่าว

ว่า ผู้ตั้งอยู่แล้วในผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อเห็นทุกข์ พึงกล่าวว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว เมื่อ

เห็นทุกข์แล้ว พึงกล่าวว่า ผู้ตั้งอยู่แล้วในผล

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อเห็นมรรค พึงกล่าวว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว

เมื่อเห็นมรรคแล้ว พึงกล่าวว่า ผู้ตั้งอยู่แล้ว

ในผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ พึงกล่าว

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 549

ว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว เมื่อเห็นนิโรธแล้ว พึง

กล่าวว่า ตั้งอยู่แล้วในผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๕๘] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล เมื่อ

เห็นทุกข์ พึงกล่าวว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว เมื่อเห็นทุกข์แล้ว ไม่พึงกล่าว

ว่า เป็นผู้ที่ควรกล่าวว่าตั้งอยู่แล้วในผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อเห็นมรรค พึงกล่าวว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว

เมื่อเห็นมรรคแล้ว ไม่พึงกล่าวว่า เป็นผู้ที่ควรกล่าวว่าตั้งอยู่แล้วในผล

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ พึงกล่าว

ว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว เมื่อเห็นนิโรธแล้ว ไม่พึงกล่าวว่า เป็นผู้ที่ควร

กล่าวว่าตั้งอยู่แล้วในผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อเห็นมรรค พึงกล่าวว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว

เมื่อเห็นมรรคแล้ว ไม่พึงกล่าวว่า เป็นผู้ที่ควร

กล่าวว่าตั้งอยู่แล้วในผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๕๙] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล เมื่อ

เห็นทุกข์ พึงกล่าวว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว เมื่อเห็นทุกข์แล้ว ไม่พึงกล่าว

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 550

ว่า เป็นผู้ที่ควรกล่าวว่าตั้งอยู่แล้วในผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเห็นทุกข์ไร้ประโยชน์ หรือ

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ พึงกล่าว

ว่า ผู้ดำเนินไปแล้ว เมื่อเห็นนิโรธแล้ว ไม่พึงกล่าวว่า เป็นผู้ที่ควร

กล่าวว่าตั้งอยู่แล้วในผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเห็นนิโรธไร้ประโยชน์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๖๐] ป. เมื่อเห็นทุกข์แล้ว สัจจะ ๔ ก็เป็นอันได้เห็น

แล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ป. ทุกขสัจเป็นสัจจะ ๔ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่านั้น ฯลฯ

[๖๖๑] ส. เมื่อเห็นรูปขันธ์โดยความไม่เที่ยงแล้ว ขันธ์ ๕

ก็เป็นอันได้เห็นโดยความไม่เที่ยง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รูปขันธ์เป็นขันธ์ ๕ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 551

[๖๖๒] ส. เมื่อเห็นจักขายตนะโดยความไม่เที่ยงแล้ว อาย-

ตนะ ๑๒ ก็เป็นอันได้เห็นโดยความไม่เที่ยง

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขายตนะเป็นอายตนะ ๑๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๖๓] ส. เมื่อเห็นจักขุธาตุโดยความไม่เที่ยงแล้ว ธาตุ ๑๘

ก็เป็นอันได้เห็นโดยความไม่เที่ยง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุธาตุเป็นธาตุ ๑๘ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๖๔] ส. เมื่อเห็นจักขุนทรีย์ โดยความไม่เที่ยงแล้ว

อินทรีย์ ๒๒ ก็เป็นอันได้เห็นโดยความไม่เที่ยง

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักขุนทรีย์ เป็นอินทรีย์ ๒๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๖๕] ส. บุคคลทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลได้ด้วยญาณ ๔

หรือ ?

๑. ญาณ ๔ คือ ญาณในอริยสัจ ๔.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 552

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตติผล เป็น ๔ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลได้ด้วยญาณ ๘

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตติผลเป็น ๘ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลได้ด้วยญาณ ๑๒

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตติผลเป็น ๑๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๔๔

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

๑. ญาณ ๘ คือ ญาณในอริยสัจ ๔ และญาณในปฏิสัมภิทา ๔.

๒. ญาณ ๑๒ คือ ญาณในปฏิจจสมุปบาทอันมีองค์ ๑๒.

๓. ญาณ ๔๔ คือ ญาณวัตถุ ๔๔ ที่มาใน ส. นิ. ๑๖/๑๑๙.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 553

ส. โสดาปัตติผล เป็น ๔๔ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลได้ด้วยญาณ ๗๗

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสดาปัตติผลเป็น ๗๗ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๖๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย มหาสมุทรลาดไปโดยลำดับ ลุ่มไปโดยลำดับ ลึกไป

โดยลำดับ มิได้ลึกเป็นเหวแต่เบื้องต้นทีเดียว แม้ฉันใด ใน

ธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเทียวแล เป็นการศึกษาโดยลำดับ เป็น

การกระทำโดยลำดับ เป็นการปฏิบัติโดยลำดับ มิได้เป็นการแทง

ตลอดโดยรู้ทั่วถึงแต่เบื้องต้นทีเดียว ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

๑. ญาณ ๗๗ คือ ญาณวัตถุ ๗๗ ที่มาใน ส. นิ. ๑๖/๑๒๗.

๒. องฺ อฏฺก. ๒๓/๑๑๐.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 554

ป. ถ้าอย่างนั้น การตรัสรู้ธรรมก็เป็นการตรัสรู้

โดยลำดับน่ะสิ.

[๖๖๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับ หรือ ?

ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ผู้เป็นปราชญ์

พึงกำจัดมลทินของตนทีละน้อย ๆ ทุก ๆ ขณะโดยลำดับ ดุจช่าง

ทองกำจัดมลทินทอง ฉะนั้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น การตรัสรู้ธรรมก็เป็นการตรัสรู้โดย

ลำดับน่ะสิ.

[๖๖๘] ส. การตรัสรู้ธรรมเป็นการตรัสรู้โดยลำดับ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านพระควัมปติเถระได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลาย ดังนี้

ว่า คำนี้ข้าพเจ้าได้สดับมาโดยตรง ได้รับมาโดยตรงต่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นย่อม

เห็นเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ด้วย ย่อมเห็นธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์

ด้วย ย่อมเห็นปฏิปทาอันให้ถึงธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ด้วย ผู้ใด

เห็นเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นทุกข์ด้วย ย่อมเห็นธรรม

๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๘.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 555

เป็นที่ดับแห่งทุกข์ด้วย ย่อมเห็นปฏิปทาให้ถึงธรรมเป็นที่ดับแห่ง

ทุกข์ด้วย ผู้ใดเห็นธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นทุกข์

ด้วย ย่อมเห็นเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ด้วย ย่อมเห็นปฏิปทาอัน

ให้ถึงธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ ผู้ใดเห็นปฏิปทาอันให้ถึงธรรมเป็น

ที่ดับแห่งทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นทุกข์ด้วย ย่อมเห็นเหตุเกิดขึ้น

แห่งทุกข์ด้วย ย่อมเห็นธรรมเป็นที่ดับแห่งทุกข์ด้วย ดังนี้ เป็น

สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า การตรัสรู้ธรรม

เป็นการตรัสรู้โดยลำดับ.

[๖๖๙] ส. การตรัสรู้ธรรมเป็นการตรัสรู้โดยลำดับ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า พร้อมกับการ

ถึงพร้อมด้วยทัศนะของท่าน พระโสดาบัน ท่าน ฯลฯ เป็น

ผู้ไม่ควรทำความผิดสถานหนัก ๖ ประการ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า การตรัสรู้ธรรม

เป็นการตรัสรู้โดยลำดับ.

๑. ส. มหา. ๑๙/๑๗๑๑.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 556

[๖๗๐] ส. การตรัสรู้ธรรมเป็นการตรัสรู้โดยลำดับ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สมัยใดธรรมจักษุ คือ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากผงฝ้า

ได้เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น

ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา สมัยนั้น

พร้อมกับความเกิดขึ้นแห่งโสดาปัตติมรรค อริยสาวกนั้นละสัญ-

โยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ดังนี้

เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า การตรัสรู้ธรรม

เป็นการตรัสรู้โดยลำดับ.

อนุปุพพาภิสมยกถา จบ

อรรถกถาอนุปุพพาภิสมยกถา

ว่าด้วยการตรัสรู้โดยลำดับ

บัดนี้ เป็นเรื่องการตรัสรู้โดยลำดับ. ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งการ

ตรัสรู้ต่าง ๆ ของชนเหล่าใด ดุจลัทธิของนิกายอันธกะ นิกายสัพพัตถิกะ

นิกายสมิติยะ และนิกายภัทรยานิกะทั้งหลายในขณะนี้อันเกิดขึ้นแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 557

อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ย่อมละกิเลส

ทั้งหลายได้บางอย่างด้วยการเห็นซึ่งทุกข์ ย่อมละกิเลสบางอย่างได้ด้วย

การเห็นสมุทัย . . . นิโรธ . . . มรรคโดยทำนองเดียวกัน และย่อมละกิเลส

ทั้งหลายที่เหลือ เพราะทำการละกิเลสโดยลำดับ ๑๖ ส่วนอย่างนี้ ด้วย

ประการฉะนี้ จึงบรรลุความเป็นพระอรหันต์ ดังนี้ โดยไม่พิจารณา

ถือเอาพระสูตรทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ผู้มีปัญญา พึงกำจัดมลทินของตนที-

ละน้อย ๆ ทุกๆ ขณะ ดุจช่างทองกำจัดมลทิน-

ทอง ฉะนั้น ดังนี้.

เพื่อตำหนิลัทธิแห่งชนเหล่านั้น สกวาทีจึงถามว่า การตรัสรู้

ธรรมเป็นการตรัสรู้โดยลำดับหรือ คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.

ถูกถามว่า บุคคลยังโสดาปัตติมรรคให้เกิดได้โดยลำดับหรือ

ปราวาทีปฏิเสธเพราะกลัวว่า การตรัสรู้มีจำนวนมากมายของมรรคเดียว.

ถูกถามครั้งที่ ๒ ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งการเห็นทุกข์เป็นต้น. อีก

อย่างหนึ่ง ปรวาทีย่อมตอบรับรองว่า ญาณแม้ทั้ง ๔ เหล่านั้น เป็น

โสดาปัตติมรรคหนึ่งเท่านั้น แต่ย่อมปรารถนาผลเพียงหนึ่ง เพราะ

ฉะนั้น จึงปฏิเสธ. แม้ในสกทาคามิมรรค เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ในปัญหาว่า เมื่อเห็นมรรคแล้วพึงกล่าวว่าตั้งอยู่แล้วใน

ผลหรือ อธิบายว่า การเห็นทุกข์เป็นต้นยังไม่สำเร็จ แต่การเห็น

นั้นชื่อว่าสำเร็จด้วยการเห็นของมรรคแล้ว จากนั้นจึงถึงซึ่งการนับว่าผู้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 558

นั้นตั้งอยู่ในผล เหตุใด เพราะเหตุนั้น ปรวาทีจึงตอบรับรองว่า ใช่.

คำถามของปรวาทีว่า เมื่อเห็นทุกข์แล้ว สัจจะทั้ง ๔ ก็

เป็นอันได้เห็นแล้วหรือ สกวาทีตอบรับรองด้วยสามารถแห่งการ

ตรัสรู้สัจจะทั้ง ๔ นั้นพร้อมกัน เมื่อซักอีกว่า ทุกขสัจจะเป็น

สัจจะทั้ง ๔ หรือ สกวาทีนั้นนั่นแหละตอบปฏิเสธ เพราะสัจจะทั้ง

๔ มีสภาวะต่างกัน. คำถามว่า เมื่อเห็นรูปขันธ์โดยความเป็นของ

ไม่เที่ยงแล้ว เป็นของสกวาที. คำรับรองเป็นของปรวาที เพราะ

ลัทธิของท่านว่า เมื่อบุคคลแทงตลอดธรรมอันหนึ่งโดยความเป็นของ

ไม่เที่ยงแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้แทงตลอดธรรมแม้ทั้งปวง ดุจบุคคลรู้รส

แห่งน้ำเพียงหยาดเดียวจากสมุทร ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ารู้รสน้ำที่เหลือ ดังนี้.

คำว่า ด้วยญาณ ๔ ได้แก่ ด้วยญาณในทุกข์เป็นต้น ได้

แก่ ญาณในอริยสัจจ์ ๔. คำว่า ด้วยญาณ ๘ ได้แก่ ด้วยสัจจ-

ญาณ ๔ อันทั่วไป แก่พระสาวกทั้งหลาย และปฏิสัมภิทาญาณ ๔. คำว่า

ด้วยญาณ ๑๒ ได้แก่ ด้วยญาณในปฏิจจสมุปบาทอันมีองค์ ๑๒.

คำว่า ด้วยญาณ ๔๔ ได้แก่ ด้วยญาณที่ท่านกล่าวไว้ในนิทาน.

วรรคอย่างนี้ว่า ญาณในชรา มรณะ และญาณในเหตุเกิดขึ้นแห่งชรา

และมรณะ. คำว่า ด้วยญาณ ๗๗ ได้แก่ ด้วยญาณที่ท่านกล่าว

ไว้ในนิทานวรรคนั้นนั่นแหละอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชรา

และมรณะเป็นของไม่เที่ยงเป็นสังขตะเกิดขึ้นเพราะอาศัยกัน มีความ

สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 559

ธรรมดา. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยแห่งพระบาลีพร้อมกับการ

ชำระพระสูตร นั้นแล.

อรรถกถาอนุปุพพาภิสมยกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 560

โวหารกถา

[๖๗๑] สกวาที พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็น

โลกุตตระ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว

ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบ

โสตที่เป็นโลกุตตระ ไม่กระทบโสตที่เป็นโลกิยะ รับรู้ได้ด้วยวิญญาณ

ที่เป็นโลกุตตระ รับรู้ไม่ได้ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกิยะ พระสาวกทั้งหลาย

รับรู้ได้ ปุถุชนทั้งหลายรับรู้ไม่ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๗๒] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบ

โสตที่เป็นโลกิยะ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า

กระทบโสตที่เป็นโลกิยะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระ-

ภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ

[๖๗๓] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า รับรู้ได้

ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกิยะ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า

รับรู้ได้ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกิยะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระดำรัสของพระ-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 561

ผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็นโลกุตตระ.

[๖๗๔] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าปุถุชน

ทั้งหลายรับรู้ได้ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ปุถุชนรับรู้พระดำรัสของพระผู้มีพระ-

ภาคพุทธเจ้าได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระดำรัสของผู้มีพระภาคพุทธเจ้า

เป็นโลกุตตระ.

[๖๗๕] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็น

โลกุตตระหรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดา-

ปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล เป็นสกทาคามิมรรค เป็นสกทาคามิผล

เป็นอนาคามิมรรค เป็นอนาคามิผล เป็นอรหัตมรรค เป็นอรหัตผล

เป็นสติปัฏฐาน เป็นสัมมัปปธาน เป็นอิทธิบาท เป็นอินทรีย์ เป็น

พละ เป็นโพชฌงค์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๗๖] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็น

โลกุตตระ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ใคร ๆ ที่ฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธ-

เจ้าได้ มีอยู่หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 562

ป. ถูกแล้ว.

ส. โลกุตตรธรรม พึงรับรู้ได้ด้วยโสต กระทบที่

โสตมาสู่คลองแห่งโสต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๗๗] ส. โลกุตตรธรรม ไม่พึงรับรู้ได้ด้วยโสตไม่กระทบ

ที่โสตไม่มาสู่คลองแห่งโสต มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า โลกุตตรธรรมไม่พึงรับรู้ได้ด้วยโสต ไม่

กระทบที่โสต ไม่มาสู่คลองแห่งโสต ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระดำรัสของ

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็นโลกุตตระ.

[๖๗๘] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็น

โลกุตตระ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ใครๆ ที่พึงยินดีในพระดำรัสของพระผู้มีพระ-

ภาคพุทธเจ้ามีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โลกุตตรธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะ เป็นที่ตั้งแห่ง

ความยินดี เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา เป็นที่ตั้ง

แห่งความติด เป็นที่ตั้งแห่งความสยบ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 563

[๖๗๙] ส. โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นที่ตั้ง

แห่งความยินดี ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา

ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความติด ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสยบ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่

เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ

มัวเมา ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความติด ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสยบ ก็ต้องไม่

กล่าวว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ.

[๖๘๐] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็น

โลกุตตระ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ใคร ๆ ที่พึงขัดเคืองพระดำรัสของพระผู้มีพระ-

ภาคพุทธเจ้ามีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โลกุตตรธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่ง

ความขัดเคือง เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๘๑] ส. โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้ง

แห่งความขัดเคือง ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 564

ส. หากว่า โลกุตตรธรรม ไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ

ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือน

ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็นโลกุตตระ.

[๖๘๒] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็น

โลกุตตระ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ใคร ๆ ที่พึงหลงในพระดำรัสของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ามีอยู่จริง หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โลกุตตรธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ กระทำความ

ไม่รู้ กระทำให้ตาบอด เป็นที่เสื่อมสิ้นแห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่ง

ความคับแค้น ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๘๓] ส. โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่กระทำ

ความไม่รู้ ไม่กระทำให้ตาบอด เป็นที่เจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝักฝ่าย

แห่งความคับแค้น เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่

กระทำความไม่รู้ ไม่กระทำให้ตาบอด เป็นที่เจริญแห่งปัญญา ไม่เป็น

ฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า

พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็นโลกุตตระ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 565

[๖๘๔] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เป็น

โลกุตตระ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฟังพระดำรัสของพระผู้มี-

พระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชนเหล่านั้นทั้งหมดชื่อว่ายังมรรคให้เกิดได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๕๘] ส. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฟังพระดำรัสของพระผู้มี-

พระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชนเหล่านั้นทั้งหมดชื่อว่ายังมรรคให้เกิดได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พาลปุถุชน ฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค-

พุทธเจ้าอยู่ พาลปุถุชนก็ชื่อว่ายังมรรคให้เกิดได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. คนทำมาตุฆาต ฯ ล ฯ คนทำปิตุฆาต... คนทำ

อรหันตฆาต... คนทำโลหิตุปบาท ฯลฯ คนทำสังฆเภท ฟังพระดำรัส

ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอยู่ คนทำสังฆเภท ก็ชื่อว่ายังมรรคให้เกิด

ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๘๖] ป. กองข้าวก็ดี กองทองก็ดี ใช้ไม้เท้าทองชี้บอก

ได้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 566

ป. เหมือนกันนั่นแหละ ธรรมที่เป็นโลกิยะก็ดี ที่

เป็นโลกุตตระก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสด้วยพระดำรัสที่เป็น

โลกุตตระ

[๖๘๗] ส. กองข้าวก็ดี กองทองก็ดี ใช้ไม้เท้าต้นละหุ่ง

ชี้บอกก็ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เหมือนกันนั่นแหละ ธรรมที่เป็นโลกิยะก็ดี ที่

เป็นโลกุตตระก็ดี พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าย่อมตรัสด้วยพระดำริที่เป็น

โลกิยะ.

[๖๘๘] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัส

โลกิยธรรมก็เป็นโลกิยะ เมื่อเป็นโลกุตตรธรรม ก็เป็นโลกุตตระ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อตรัสโลกิยธรรม พระดำรัสนั้น กระทบโสต

ที่เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรม ก็กระทบโสตที่เป็นโลกุตตระ

เมื่อตรัสโลกิยธรรม ชนทั้งหลายรับรู้ได้ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกิยะ เมื่อ

ตรัสโลกุตตรธรรม ก็รับรู้ได้ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกุตตระ เมื่อตรัส

โลกิยธรรม ปุถุชนทั้งหลายรับรู้ได้ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรม พระสาวก

ทั้งหลายรับรู้ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 567

[๖๘๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาค-

พุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรม ก็เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรม

ก็เป็นโลกุตตระ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าตรัสทั้งโลกิยธรรมและ

โลกุตตรธรรม มิใช่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าตรัสทั้งโลกิย-

ธรรมและโลกุตตรธรรม ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระดำรัส

ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรม ก็เป็นโลกิยะ เมื่อ

ตรัสโลกุตตรธรรม ก็เป็นโลกุตตระ.

[๖๙๐] ส. พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัส

โลกิยธรรม ก็เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรม ก็เป็นโลกุตตระ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เมื่อตรัสมรรค ก็เป็นมรรค เมื่อตรัสธรรมมิใช่

มรรค ก็เป็นธรรมมิใช่มรรค เมื่อตรัสผล ก็เป็นผล เมื่อตรัสธรรม

มิใช่ผล ก็เป็นธรรมมิใช่ผล เมื่อตรัสนิพพาน ก็เป็นนิพพาน เมื่อ

ตรัสธรรมมิใช่นิพพาน ก็เป็นธรรมมิใช่นิพพาน เมื่อตรัสสังขตะ ก็

เป็นสังขตะ เมื่อตรัสอสังขตะ ก็เป็นอสังขตะ เมื่อตรัสรูป ก็เป็นรูป

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 568

มิใช่เวทนา ก็เป็นธรรมมิใช่เวทนา เมื่อตรัสสัญญา ก็เป็นสัญญา

เมื่อตรัสธรรมมิใช่สัญญา ก็เป็นธรรมมิใช่สัญญา เมื่อตรัสสังขาร

ก็เป็นสังขาร เมื่อตรัสธรรมมิใช่สังขาร ก็เป็นธรรมมิใช่สังขาร เมื่อ

ตรัสวิญญาณ ก็เป็นวิญญาณ เมื่อตรัสธรรมมิใช่วิญญาณ ก็เป็นธรรม

มิใช่วิญญาณ หรือ.

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

โวหารกถา จบ

อรรถกถาโวหารกถา

ว่าด้วยโวหาร

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องโวหาร คือถ้อยคำที่กล่าวเรียกสิ่งต่าง ๆ.

ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใดในขณะนี้ดุจลัทธิของนิกายอันธกะ

ทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมตรัสรู้ เรียก

ด้วยคำอันเป็นโลกุตตระ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายชนเหล่านั้น.

คำตอบรับรองเป็นของปรวาที ด้วยสามารถแห่งลัทธิ. คำว่า โสตที่

เป็นโลกุตตระ เป็นต้น ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดงความที่ปรวาที

นั้นไม่ควรจะกล่าว คือเป็นคำที่ไม่ถูกต้อง. ในข้อนี้ท่านอธิบายไว้ดังนี้

ว่า สัททายตนะนั่นแหละ ท่านไม่ควรกล่าวว่า เป็นโลกุตตระ หรือว่า

แม้โสตะ เป็นต้น ก็เช่นเดียวกัน.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 569

ในข้อว่า หากว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า

กระทบโสตที่เป็นโลกิยะ นี้ความว่า บุคคลไม่พึงถือเอาเนื้อความ

อย่างนี้ว่า ถ้าว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคนั้นพึงกระทบโลกุตตระ

ทั้งหลาย พระดำรัสนั้นพึงเป็นโลกุตตระไซร้. ในข้อนี้ ก็เมื่อพระดำรัส

ของพระผู้มีพระภาคกระทบอยู่ซึ่งโลกิยะ พระดำรัสนั้น มิได้ชื่อว่า เป็น

โลกุตตระ. แม้ในคำว่า ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกิยะ นี้ได้แก่

ด้วยโลกีย์เท่านั้น. ความเป็นโลกีย์โดยประการอื่นนั้น มีประการมิใช่

น้อย. จริงอยู่โลกุตตระย่อมรู้ได้ด้วยญาณแม้อันเป็นโลกีย์. บัณฑิตพึง

ทราบเนื้อความทั้งปวง โดยสมควรอย่างนี้.

ในปัญหาทั้งหลายว่า ชนเหล่านั้นทั้งหมดชื่อว่ายังมรรค

ให้เกิดได้หรือ ปรวาทีย่อมปฏิเสธ เพราะหมายเอาเฉพาะผู้ไม่ได้

มรรค แต่รับรอง หมายเอาผู้ได้มรรค. คำว่า ใช้ไม้เท้าทอง

ได้แก่ไม้เท้าสำเร็จแล้วด้วยทองคำ อุทาหรณ์นี้เป็นของปรวาที. คำว่า

ไม้เท้าต้นละหุ่ง ได้แก่ ไม้เท้าที่ทำจากต้นละหุ่ง คำนี้เป็นอุทาหรณ์

ของสกวาที.

อนึ่ง ลัทธิหนึ่งของนิกายอันธกะบางพวกว่า เมื่อพระผู้มี-

พระภาคพุทธเจ้าตรัสโลกิยธรรมก็เป็นโลกิยธรรม ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้

มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น แล.

อรรถกถาโวหารกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 570

นิโรธกถา

[๖๙๑] ส. นิโรธ เป็น ๒ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุกขนิโรธ เป็น ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ทุกขนิโรธ เป็น ๒ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นิโรธสัจจะ เป็น ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. นิโรธสัจจะ เป็น ๒ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทุกขสัจจะ เป็น ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. นิโรธสัจจะ เป็น ๒ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สมุทัยสัจจะ เป็น ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. นิโรธสัจจะ เป็น ๒ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรรคสัจจะ เป็น ๒ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 571

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. นิโรธสัจจะ เป็น ๒ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ตาณะ คือที่ต้านทาน เป็น ๒ หรือ ? ฯ ล ฯ

เลณะ คือที่เร้น เป็นที่ สอง หรือ. . . สรณะ คือ ที่พึ่ง เป็น ๒

หรือ. . . ปรายนะ คือที่หมาย เป็น ๒ หรือ. . . อัจจุตะ คือที่มั่น

เป็น ๒ หรือ . . . อมตะ เป็น ๒ หรือ ฯ ล ฯ นิพพาน เป็น

๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. นิพพาน เป็น ๒ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสูงและต่ำ ความเลวและประณีต ความ

ยิ่งและหย่อนเขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ระหว่าง แห่งนิพพาน

ทั้ง ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๙๒] ส. นิโรธ เป็น ๒ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขารที่ยังไม่ดับด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา

คือโลกุตตรญาณ จะพิจารณาแล้วให้ดับได้ มิใช่

หรือ ?

๑. คำว่า ตาณะ เป็นต้นนี้ เป็นไวพจน์ของ นิพพาน.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 572

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า สังขารที่ยังไม่ดับด้วยปัญญาเป็นเครื่อง

พิจารณา จะพิจารณาแล้วให้ดับได้ ก็ต้องไม่

กล่าวว่า นิโรธเป็นสอง.

[๖๙๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า นิโรธเป็น ๒ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ป. สังขารทั้งที่ยังไม่ดับด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจาร-

ณา ทั้งที่ดับแล้วด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ต่างก็ย่อยยับไปสิ้นแล้ว

มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า สังขารทั้งที่ยังไม่ดับด้วยปัญญาเป็น

เครื่องพิจารณา ทั้งที่ดับด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ต่างก็ย่อยยับ

ไปสิ้นแล้ว ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า นิโรธเป็น ๒

[๖๙๔] ส. นิโรธเป็น ๒ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขารที่ดับแล้วด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา

ชื่อว่าดับแล้วเพราะอาศัยอริยมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. แม้สังขารที่ยังไม่ดับด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจาร-

ณา ก็ชื่อว่าดับแล้วเพราะอาศัยอริยมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 573

[๖๙๕] ส. นิโรธเป็น ๒ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขารที่ดับแล้วด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา

ย่อมไม่เกิดขึ้นได้อีก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สังขารที่มิได้ดับด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา

ก็ย่อมไม่เกิดขึ้นได้อีก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า นิโรธเป็น ๒.

นิโรธกถา จบ

อรรถกถานิโรธกถา

ว่าด้วยนิโรธ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องนิโรธคือความดับ. ในเรื่องนั้นชนเหล่าใด

มีความเห็นว่ารวมนิโรธทั้ง ๒ คืออัปปฏิสังขานิโรธ คือการดับโดยไม่

ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา และปฏิสังขานิโรธ คือการดับโดยใช้

ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ทั้ง ๒ นี้เข้าด้วยกัน จึงชื่อว่า นิโรธ-

สัจจะ ดังนี้ ดุจนิกายมหิสาสกะและนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้

สกวาทีหมายชนเหล่านั้น จึงถามว่า นิโรธเป็น ๒ หรือ คำตอบ

รับรองเป็นของพระปรวาที. ในปัญหาว่า ทุกขนิโรธเป็น ๒ หรือ

ปรวาทีไม่ปรารถนาทุกขสัจจะเป็น ๒ เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงตอบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 574

ปฏิเสธ แต่ปรารถนาว่าทุกข์ย่อมดับไปโดยอาการ ๒ อย่าง เพราะฉะนั้น

จึงตอบรับรอง. ในปัญหาว่า นิโรธสัจจะเป็น ๒ หรือ ปรวาที

เมื่อไม่ปรารถนาด้วยสามารถแห่งการดับทุกขสัจจะทั้ง ๒ อย่าง จึงตอบ

ปฏิเสธ แต่ย่อมตอบรับรองเพราะการดับทุกข์โดยอาการทั้ง ๒ อย่าง.

ในคำทั้งหลาย แม้คำว่า ตาณะเป็น ๒ หรือ เป็นต้น ก็ในนี้

นั่นแหละ ตาณะ คือ ธรรมเป็นเครื่องต้านทาน เป็นต้น นี้เป็นไวพจน์

ของพระนิพพาน.

ในคำถามทั้งหลายมีคำว่า มีความสูงและต่ำแห่งนิพพาน

ทั้ง ๒ หรือ เป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่เห็นพระนิพพานมีการสูงต่ำ

เป็นต้น จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า สังขารที่ยังไม่ดับด้วยปัญญาเป็น

เครื่องพิจารณา ดังนี้ อธิบายว่า สังขารเหล่าใดไม่ดับไปด้วยโลกุตตร-

ญาณอันเป็นเครื่องพิจารณา ท่านเรียกสังขารเหล่านั้นว่า ดับไปแล้ว

ตามปกติของตนเอง หรือเพราะไม่มีการปฏิบัติด้วยสามารถแห่งการ

สอบถามอุทเทสเป็นต้น. คำว่า สังขารที่ดับแล้วด้วยปัญญาเป็นเครื่อง

พิจารณา ได้แก่ สังขารเหล่านั้นย่อมดับไปด้วยโลกุตตรญาณ คือ

ย่อมถึงซึ่งความไม่เกิดขึ้นอีก. คำถามว่า สังขารทั้งที่ยังไม่ดับด้วย

ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ทั้งที่ดับแล้วด้วยปัญญาเป็นเครื่อง

พิจารณา ต่างก็ย่อยยับไปสิ้นแล้วมิใช่หรือ ดังนี้ เป็นของปรวาที.

ในคำวิสัชนานั้น สกวาทีย่อมตอบรับรองซึ่งความที่สังขารทั้งหลายเหล่า-

นั้นมีการแตกดับไปเป็นธรรมดา โดยมิต้องใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา

เพราะการแตกดับแห่งสังขารทั้งหลายเป็นสภาพต้องแตกดับไปโดยส่วน-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 575

เดียว หรือว่าความที่สังขารเหล่านั้น เมื่ออริยมรรคเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้อง

แตกดับไปเพราะการแตกดับนั้นเทียว. คำที่เหลือในที่นี้มีเนื้อความตื้น

ทั้งนั้นแล.

อรรถกถานิโรธกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ปรูปหารกถา ๒. อัญญาณกถา ๓. กังขากถา

๔. ปรวิตารณกถา ๕. วจีเภทกถา ๖. ทุกจาหารกถา ๗. จิตตฐิติกถา

๘. กุกกุฬกถา ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา ๑๐. โวหารกถา

๑๑. นิโรธกถา.

วรรคที่ ๒ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 576

วรรคที่ ๓

พลกถา

[๖๙๖] ส. สกวาที กำลังพระตถาคตทั่วไปแก่พระ-

สาวก หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. กำลังของพระตถาคต ก็คือ กำลังของพระสาวก

กำลังของพระสาวก ก็คือ กำลังของพระตถาคต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๖๙๗] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กำลังของพระตถาคตอันนั้น กำลังของพระสาวก

ก็อันนั้นแหละ กำลังของพระสาวกอันนั้น กำลังของพระตถาคตก็อัน

นั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๖๙๘] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กำลังของพระตถาคตเช่นใด กำลังแห่งพระสาวก

ก็เช่นนั้น กำลังแห่งพระสาวกเช่นใด กำลังของพระตถาคต ก็เช่นนั้น

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 577

[๖๙๙] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?.

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุรพประโยค บุรพจริยา การกล่าวธรรม การ

แสดงธรรมแห่งพระตถาคต เช่นใด บุรพประโยค บุรพจริยา การ

กล่าวธรรม การแสดงธรรม แห่งพระสาวกก็เช่นนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๐๐] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระตถาคต คือ พระชินะ พระศาสดา พระ-

สัมมาสัมพุทธะ พระสัพพัญญู คือผู้รู้ธรรมทั้งปวง พระสัพพทัสสาวี

คือ ผู้เห็นธรรมทั้งปวง พระธรรมสามี คือเจ้าแห่งธรรม พระธรรมปฏิ-

สรณะ คือ ผู้มีธรรมเป็นที่อาศัย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสาวก ก็คือ พระชินะ พระศาสดา พระ-

สัมมาสัมพุทธะ พระสัพพัญญู พระสัพพทัสสาวี พระธรรมสามี พระ-

ธรรมปฏิสรณะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๐๑] ส. กำลังของพระตถาคตทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระตถาคต เป็นผู้ยังมรรคที่ยังมิได้บังเกิดให้เกิด

ขึ้น เป็นผู้ยังมรรคที่ยังมิได้ปรากฏให้ปรากฏขึ้น เป็นผู้กล่าวมรรคที่ใคร ๆ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 578

มิเคยได้กล่าว เป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้รู้แจ้งมรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสาวก ก็เป็นผู้ยังมรรคที่ยังมิได้บังเกิดให้เกิด

ขึ้น เป็นผู้ยังมรรคที่ยังมิได้ปรากฏให้ปรากฏขึ้นเป็นผู้กล่าวมรรคที่ใคร ๆ

มิเคยได้กล่าว เป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้รู้แจ้งมรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๐๒] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ

ยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ทั่วไปแก่พระสาวก

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสาวก เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพ-

ทัสสาวี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๐๓] ป. พระสาวกรู้ฐานะและอฐานะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระสาวกรู้ฐานะและอฐานะ ด้วยเหตุ

นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่ง

ฐานะและอฐานะ ทั่วไปแก่พระสาวก ดังนี้.

[๗๐๔] ป. พระสาวกรู้ผลอันสุกวิเศษโดยฐานะ โดยเหตุ

แห่งกรรมสมาทานทั้งอดีตและปัจจุบัน หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 579

ป. หากว่า พระสาวกรู้ผลอันสุกวิเศษโดยฐานะ

โดยเหตุแห่งกรรมสมาทานทั้งอดีตอนาคตและปัจจุบัน ด้วยเหตุนั้นนะ

ท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งผลอัน

สุกวิเศษโดยฐานะ. โดยเหตุแห่งกรรมสมาทานทั้งอดีตอนาคตและปัจจุ-

บัน ทั่วไปแก่พระสาวก.

[๗๐๕] ป. พระสาวก รู้ปฏิปทาอันนำไปสู่คติทั้งปวง หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระสาวกรู้ปฏิปทาอันนำไปสู่คติทั้งปวง

ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตาม

จริงซึ่งปฏิปทาอันจะนำไปในคติทั้งปวง ทั่วไปแก่พระสาวก ดังนี้.

[๗๐๖] ป. พระสาวกรู้โลกอันมีธาตุต่าง ๆ มีธาตุมิใช่น้อย

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระสาวกรู้โลกอันมีธาตุต่าง ๆ มีธาตุ

มิใช่น้อย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ

การรู้ตามจริงซึ่งโลกอันมีธาตุต่าง ๆ มีธาตุมิใช่น้อย ทั่วไปแก่พระสาวก

[๗๐๗] ป. พระสาวก รู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอธิมุติ

คืออัธยาศัยต่าง ๆ กัน หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระสาวกรู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มี

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 580

อธิมุติต่าง ๆ กัน ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระ-

ตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอธิมุตติต่าง ๆ กัน

ทั่วไปแก่พระสาวก.

[๗๐๘] ป. พระสาวกรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การ

ออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระสาวกรู้ความเศร้าหมอง ความผ่อง

แผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ด้วยเหตุนั้นนะ

ท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ

เศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ

สมาบัติ ทั่วไปแก่พระสาวก.

[๗๐๙] ป. พระสาวกรู้ญาณเป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์ที่เคย

อยู่อาศัยในกาลก่อนได้แก่ระลึกชาติหนหลังได้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว

ป. หากว่า พระสาวกรู้ญาณเป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์

ที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อน ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของ

พระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งญาณเป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่

อาศัยในกาลก่อน ทั่วไปแก่พระสาวก.

[๗๑๐] ป. พระสาวกรู้จุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 581

ป. หากว่า พระสาวกรู้จุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้ง

หลาย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต คือ

การรู้ตามจริงซึ่งจุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก.

[๗๑๑] ป. อาสวะทั้งหลาย ทั้งของพระตถาคต ทั้งของพระ-

สาวกต่างก็สิ้นไปแล้ว มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. มีเหตุอะไร ๆ ที่ทำให้ต่างกันในระหว่างความสิ้น

อาสวะแห่งพระตถาคต กับความสิ้นอาสวะแห่งพระสาวก หรือใน

ระหว่างความหลุดพ้นแห่งพระตถาคต กับความหลุดพ้นแห่งพระสาวก

หรือ ?

ส. ไม่มี.

ป. หากว่า ไม่มีเหตุอะไร ๆ ที่ทำให้ต่างกันใน

ระหว่างความสิ้นอาสวะแห่งพระตถาคต กับความสิ้นอาสวะแห่งพระ-

สาวก หรือในระหว่างความหลุดพ้นแห่งพระตถาคต กับความหลุดพ้น

แห่งพระสาวก ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า กำลังของพระตถาคต

คือ การรู้ตามจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก.

[๗๑๒] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐานะ ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 582

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๑๓] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก

หรือ ?

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ

และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก

หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๑๔] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐานะ ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก

หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๑๕] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ

และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ไม่ทั่วไปแก่พระ-

สาวก หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 583

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก

หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๑๖] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ

ยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐานะ ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๐๗] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ

ยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก

หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๑๘] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐานะ ทั่วไปแก่พระสาวก หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 584

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ

ยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ทั่วไปแก่พระสาวก

หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๑๙] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ทั่วไปแก่พระสาวก

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงซึ่งความ

ยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ทั่วไปแก่พระสาวก

หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พลกถา จบ

อรรถกถาพลกถา

ว่าด้วย พละ คือ กำลัง

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องพละ คือกำลัง. ในเรืองนั้น ชนเหล่าใดมี

ลัทธิ ดุจนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า กำลังพระตถาคตทั่วไป

แก่พระสาวกทั้งหลาย เพราะถือเอาพระสูตร ๑๐ สูตร มีอนุรุทธสังยุต

สูตรเป็นต้น โดยไม่พิจารณาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็แล เราย่อมรู้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 585

ชัดซึ่งฐานะโดยความเป็นฐานะ และย่อมรู้ชัดอฐานะโดยความเป็น

อฐานะตามความเป็นจริง เพราะความที่สติปัฏฐานทั้ง ๔ เหล่านี้เรา

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่า

นั้น. คำตอบรับรองเป็นของปรวาที เพราะตั้งอยู่ในลัทธิ. อนึ่ง ชื่อว่า

กำลังแห่งพระตถาคตนี้ ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลายก็มี ไม่ทั่วไปก็มี

ทั้งทั่วไปและไม่ทั่วไปก็มี มีอยู่ ในกำลังเหล่านั้น ญาณในความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลายชื่อว่า สาธารณะ คือทั่วไปแก่พระสาวก แต่อิน-

ทริยปโรปริยัตติญาณ ได้แก่ญาณรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ เป็น

อสาธารณญาณ คือญาณไม่ทั่วไป ญาณที่เหลือเป็นสาธารณะด้วย

อสาธารณะด้วย. จริงอยู่พระสาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่งฐานาฐานญาณเป็น

ต้นได้บางอย่าง แต่พระตถาคตทั้งหลายย่อมรู้ฐานาฐานญาณเป็นต้นได้

โดยสิ้นเชิง. พระสาวกทั้งหลายย่อมรู้สาธารณาณเหล่านั้นโดยอุทเทส

คือโดยหัวข้อ ไม่รู้โดยนิทเทส คือโดยนำออกแสดงโดยพิสดาร. ก็ลัทธิ

นี้กล่าวว่า กำลังของพระตถาคตแม้ทั้งปวงว่าทั่วไปแก่พระสาวก

โดยไม่แปลกกัน ดังนี้ เพื่อตำหนิลัทธินั้น ๆ เพราะเหตุนั้น จึงเริ่ม

ซักถามอีกว่า กำลังของพระตถาคตก็คือกำลังพระสาวก ดังนี้

เป็นต้น.

ในการตอบปัญหาเหล่านั้น ปัญหาที่ ๑ ปรวาทีหมายเอาความ

ที่กำลังเหล่านั้น เป็นวิสัยคือเป็นอารมณ์แห่งอาการทั้งปวงโดยนิทเทส

จึงตอบปฏิเสธ. ในปัญหาที่ ๒ ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งญาณมีฐานา-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 586

ฐานญาณเป็นต้นโดยอุทเทส. ในปัญหาว่า กำลังของพระตถาคต

อันนั้น กำลังของพระสาวกก็อันนั้นแหละ ปรวาทีตอบปฏิเสธ

เพราะไม่มีการกระทำที่แตกต่างกันโดยอาการทั้งปวง. บุรพประโยค

คือการประกอบในเบื้องต้น ก็ดี บุรพจริยา คือการประพฤติเบื้องต้น

ก็ดี ย่อมเป็นอย่างเดียวกันโดยอรรถ. การกล่าวธรรมด้วย การแสดง

ธรรมด้วย ก็เป็นเช่นเดียวกัน.

ในปัญญาว่าด้วยอินทริยปริยัตติญาณ ปรวาทีตอบรับรองใน

วิสัย คืออารมณ์แห่งพระสาวก หมายเอาทั่วไปโดยเอกเทส คือบางส่วน.

บัดนี้ ปัญหาของปรวาที มีคำว่า พระสาวกรู้ฐานะและ

อฐานะหรือ เป็นต้น เพื่อให้ตั้งไว้ซึ่งความที่ญาณเหล่านั้นเป็นสาวก

สาธารณญาณ โดยความที่ท่านย่อมรู้ฐานาฐานญาณเป็นต้นโดยอุทเทส

เพราะฉะนั้นจึงประกาศความรู้อรรถของพระสาวกสักว่าการรู้นั้น. ใน

ปัญหานั้นปรวาทีไม่ถือเอาอินทริยปโรปปริยัตติญาณซึ่งเป็นญาณอย่างใด

อย่างหนึ่งแห่งอสาธารณญาณ ๖.

คำว่า ความสิ้นอาสวะแห่งพระตถาคต กับความสิ้น

อาสวะแห่งพระสาวก ดังนี้ อธิบายว่า คำใดอันบุคคลควรกล่าวพึงมี

เพราะอาศัยการสิ้นอาสวะของพระตถาคต กับการสิ้นอาสวะของพระ-

สาวกนั้น ความแตกต่างกันหามีไม่. แม้ในบทว่า ความหลุดพ้น

แห่งพระตถาคต กับความหลุดพ้นแห่งพระสาวก ก็นัยนี้นั่น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 587

แหละ. คำที่เหลือในที่นี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

บัดนี้ ปัญหาของปรวาทีว่า ในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง

หลาย เป็นต้นนั่นแหละอีก เพื่อเปรียบเทียบญาณในความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลายของพระตถาคตกับพระสาวกที่สกวาทีตอบรับรองเป็น

สาธารณญาณนั้น แล้วจึงถามซึ่งความเป็นสาธารณญาณทั้งหลายแม้ที่

เหลือ. ญาณนั้นอันสกวาทีผู้แก้ปัญหารับรองแล้วว่าเป็นสาธารณญาณ

เพราะไม่มีอะไรแปลกกันในการสิ้นอาสวะเลย. ในญาณทั้งหลายนอก

จากนี้ท่านตอบปฏิเสธความเป็นญาณสาธารณะเพราะไม่มีพิเศษในพระ-

สาวก. คำถามเรื่องอสาธารณญาณ ของปรวาทีเปรียบเทียบอาสวัก-

ขยญาณนั้นนั่นแหละกับบรรดาญาณทั้งหลายมีฐานาฐานญาณเป็นต้น

อีก. ในการวิสัชนาปัญหานั้น สกวาทีปฏิเสธในอาสวักขยญาณแต่รับรอง

ในญาณแม้ที่เหลือ. ต่อจากนี้เป็นคำถามอสาธารณญาณของปรวาที

เปรียบเทียบกับอินทริยปโรปริยัตติญาณ. ญาณนั้นท่านแสดงไว้โดยย่อ.

๑ อสาธารณญาณ ๖ ได้แก่ ญาณที่ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย ๖ คือ :-

๑. อินทริยปโรปริยัตติญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอิน-

ทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย.

๒. อาสยานุสยญาณ ได้แก่ ปัญหาหยั่งรู้อาสยะ คือ อัธยาศัย และกิเลสที่

นอนเนื่องในสันดานของสัตว์.

๓. ยมกปาฏิหิรญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้การทำยมกปาฏิหาริย์

๔. มหากรุณาสมาปัตติญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ในการเข้ามหากรุณาสมบัติ

๕. สัพพัญญุตญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ธรรมทั้งปวง

๖. อนาวรณญาณ ได้แก่ ปัญญาหยั่งรู้ธรรมอันไม่มีอะไรขัดข้อง.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 588

แม้ในการวิสัชนาปัญหา สกวาทีตอบรับรองในอินทริยปโรปริยัตติญาณ

ตอบปฏิเสธในญาณที่เหลือทั้งหลาย. ต่อจากนั้นคำถามสาธารณญาณ

แห่งอนทริยปโรปรยัตติญาณ ของปรวาทีซึ่งเปรียบเทียบกับฐานาฐาน-

ญาณทั้งหลาย. ญาณแม้นั้น ท่านก็แสดงไว้โดยย่อ. ในการวิสัชนา

ปัญหานั้น สกวาทีตอบปฏิเสธในอินทริยปโรปริยัตติญาณ ตอบรับรอง

ในญาณทั้งหลายที่เหลือ ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาพลกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 589

อริยันติกถา

[๗๒๐] สกวาที กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริง

ในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นมรรค เป็นมงคล เป็นนิพพาน เป็นโส-

ดาปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล เป็นสกทาคามิมรรค เป็นสกทาคามิ-

ผล เป็นอนาคามิมรรค เป็นอนาคามิผล เป็นอรหัตมรรค เป็นอร-

หัตผล เป็นสติปัฏฐาน เป็นสัมมัปปธาน เป็นอิทธิบาท เป็นอินทรีย์

เป็นพละ เป็นโพชฌงค์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๒๑] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐานะ เป็นอริยะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีสุญญตะ เป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มีสุญญตะ เป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งฐานะและ

อฐานะด้วย ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งสุญญตะด้วย หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 590

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งฐานะและ

อฐานะด้วย ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งสุญญตะด้วย

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต

๒ ดวง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐานะ เป็นอริยะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ หรือ ฯลฯ มีอัปปณิ-

หิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งฐานะและ

อฐานะด้วย ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งอัปปณิหิตะ

ด้วย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 591

ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งฐานะและ

อฐานะด้วย ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งอัปปณิหิตะ

ด้วย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต

๒ ดวง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๒๒] ส. สติปัฏฐาน เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐานะ เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สติปัฏฐาน เป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์

ฯลฯ มีอัปปณิหิตะ เป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐานะ เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 592

[๗๒๓] ส. สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพช-

ฌงค์ เป็นอริยะ มีสุญญตะอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐานะ เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. โพชฌงค์เป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์

ฯ ล ฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐานะ เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์

หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๒๔] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐานะ เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มี

สุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่ามีสุญญ-

ตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 593

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐานะ เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ

อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอัปป-

ณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐานะ เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ

มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมัปปธาน ฯ ล ฯ โพชฌงค์ เป็นอริยะ แต่

ไม่พึงกล่าวว่า มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๒๕] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ

และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดา-

ปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 594

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๒๖] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ

และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งจุติและอุ-

บัติแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วย ทรงทำไว้ในพระทัย

ซึ่งสุญญตะด้วย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งจุติและอุ-

บัติแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วย ทรงทำไว้ในพระทัย

ซึ่งสุญญตะด้วย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต

๒ ดวง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 595

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ

และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น

อารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งจุติและอุ-

บัติแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วย ทรงทำไว้ในพระทัย

ซึ่งอัปปณิหิตะด้วย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งจุติและอุ-

บัติแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วย ทรงทำไว้ในพระทัย

ซึ่งอัปปณิหิตะด้วย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต

๒ ดวง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 596

[๗๒๗] ส. สติปัฏฐาน เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์

ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิ-

หิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ

และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ มีอัปป-

ณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์ เป็นอริยะ มี

สุญญตะอารมณ์ ฯ ล ฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น

อารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ

และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ มีอัปป-

ณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๒๘] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ

และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะ

เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ มีอัปปณิหิตะเป็น

อารมณ์ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 597

ป. ถูกแล้ว.

ส. สติปัฏฐาน เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มี

อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๒๙] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ

และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะ

เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัมมัปปธาน ฯ ล ฯ โพชฌงค์ เป็นอริยะ แต่

ไม่พึงกล่าวว่า มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๓๐] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐานะ เป็นอริยะ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๓๑] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 598

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ

และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๓๒] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐานะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า เป็นอริยะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย แต่ไม่พึงกล่าวว่า

เป็นอริยะ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๓๓] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ

และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวว่า เป็น

อริยะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็ไม่พึงกล่าวว่า เป็น

อริยะ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 599

[๗๓๔] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ มีสุญญตะ

เป็นอารมณ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐานะก็เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์

หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๓๔] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี

อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐานะก็เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์

หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๓๕] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ มีสุญญตะอารมณ์ ฯลฯ มีอนิ-

มิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 600

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ

และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ก็เป็นอริยะ มี

อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๓๖] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐานะ เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สุญญตะเป็น

อารมณ์ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ

และอฐาน เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ

มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอัปปณิหิตะ

เป็นอารมณ์ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 601

[๗๓๗] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ

และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะ

เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น

อารมณ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นอริยะ แต่พึงกล่าวว่า มีอัปปณิหิตะ

เป็นอารมณ์ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

อริยันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 602

อรรถกถาอริยันติกถา

ว่าด้วยเป็นอริยะ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องเป็นอริยะ. ในปัญหานั้น ลัทธิแห่งชนเหล่า

ใด ดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า อาสวักขยญาณเป็น

อริยะอย่างเดียวเท่านั้น หามิได้โดยที่แท้แม้ญาณเบื้องต้น ๙ อย่าง ที่

เป็นกำลัง ก็เป็นอริยะด้วย ดังนี้ สกวาทีหมายชนเหล่านั้น จึงถามว่า

การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะหรือ คำตอบรับ-

รองเป็นของปรวาที. คำถามด้วยสามารถแห่งมรรคเป็นต้นว่า ญาณ

นี้ใดในอริยมรรค เป็นต้น ญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง นั้นพึงเป็น

อริยะหรือ อีก เป็นของสกวาที คำตอบปฏิเสธเป็นของปรวาที. คำ

ถามว่าด้วย สุญญตารมณ์ เป็นต้นอีก เป็นของสกวาที. ในคำถามนั้น

สุญญตา ๒ อย่าง คือ สัตตสุญญตา ความว่างเปล่าจากสัตว์ ๑ สัง-

ขารสุญญตา ความว่างเปล่าจากสังขาร ๑. ปัญจขันธ์ เป็นสภาพว่าง

๑. ทสพลญาณ ญาณอันเป็นกำลัง ๑๐ คือ :- ๑. ฐานาฐานญาณ ปรีชา

หยั่งรู้ฐานะ และอฐานะ ๒. วิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลแห่งกรรม ๓. สัพ-

พัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง ๔. นานาธาตุญาณ ปรีชา

หยั่งรู้ธาตุต่าง ๆ ๕. นานาธิมุตติญาณ ปรีชาหยั่งรู้อธิมุตติ คือ อัธยาศัยของ

สัตว์ต่าง ๆ ๖. อินทริโยปริยัตติญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์

ของสัตว์ ๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชาหยั่งรู้อาการมีความเศร้าหมองเป็นต้น

แห่งธรรมมีฌานเป็นต้น ๘. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๙. จุตูปปาตญาณ

๑๐. อาสวักขยญาณ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 603

เปล่าจากสัตว์ อันชาวโลกสมมติไว้ด้วยทิฏฐิ ชื่อว่า สัตตสุญญตา

พระนิพพาน เป็นสภาพว่างเปล่าสงัดแล้ว เป็นธรรมชาติออกไปแล้ว

จากสังขารทั้งปวง ชื่อว่า สังขารสุญญตา. ในปัญหานั้น ปรวาที

หมายเอาความว่างเปล่าที่เป็นอารมณ์ของพระนิพพาน จึงปฏิเสธ แต่

รับรองเพราะหมายเอาความว่างเปล่าที่เป็นอารมณ์ของสังขาร. แม้ถูก

ถามว่า ทรงทำไว้ในพระทัย ก็ปฏิเสธเพราะหมายเอาพระนิพพาน

เท่านั้น ย่อมตอบรับรองเพราะหมายเอาสังขารทั้งหลาย. ต่อจากนั้นถูก

สกวาทีถามว่า เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต ๒

ดวงหรือ เพราะถือเอานัยนี้ว่า ผู้มีมนสิการในฐานญาณ และ

อฐานญาณเป็นต้นมีสังขารเป็นอารมณ์ แต่ผู้มีมนสิการในความว่าง

เปล่ามีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ปรวาทีนั้น เมื่อไม่ได้โอกาสอันมี

เลสนัย จึงปฏิเสธ. แม้อนิมิตตะ และ อัปปณิหิตะ ก็นัยนี้นั้นแหละ.

จริงอยู่ ขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่า ไม่มีนิมิต เพราะไม่มีนิมิตคือสัตว์

พระนิพพาน ชื่อว่า ไม่มีนิมิต เพราะไม่มีนิมิต คือสังขาร. ขันธ์

ทั้งหลาย ชื่อว่า อัปปณิหิตะ คือไม่มีที่ตั้ง โดยการตั้งความปรารถนา

แห่งสัตว์อันถึงการนับว่า ปณิธิ เพราะอรรถว่าพึงตั้งไว้ กล่าวคืออันเขา

ยกขึ้นแล้วพึงตั้งไว้แม้ในธรรมอย่างหนึ่ง. พระนิพพาน ชื่อว่า อัปป-

ณิหิตะ คือไม่มีที่ตั้ง ด้วยการตั้งไว้ซึ่งตัณหา หรือด้วยการตั้งไว้ซึ่ง

สังขารทั้งปวงอันเป็นอารมณ์แห่งตัณหา. เพราะฉะนั้นในการวิสัชชนา

แม้นี้ ทั้งการปฏิเสธและการรับรอง บัณฑิตพึงทราบโดยนัยก่อนนั่น

เทียว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 604

ต่อจากนี้ อนุโลมและปฏิโลมปัญหาว่า โลกุตตรธรรมทั้งหลาย

มีสติปัฏฐานเป็นต้น เป็นอริยะด้วย มีสุญญตะเป็นต้น เป็นอารมณ์

ด้วย ฉันใด ญาณเป็นเครื่องหยั่งรู้ฐานะและอฐานะโดยลัทธิของท่าน

ฉันนั้นหรือ ในการวิสัชชนาปัญหานั้น การตอบรับรองแม้ทั้งปวง

และการปฏิเสธทั้งปวง เป็นของปรวาที บัณฑิตพึงทราบคำถามและ

คำตอบแม้ในญาณที่เหลือโดยอุบายนี้. แต่ในบาลีท่านย่อญาณที่เหลือไว้

แล้วก็จำแนกจุตูปปาตญาณไว้สุดท้าย. ข้างหน้าต่อจากนี้ เป็นคำถามถึง

ความเป็นพระอริยะทั้งโดยอนุโลม และปฏิโลมแห่งญาณทั้งหลายที่เหลือ

เปรียบเทียบกับอาสวักขยญาณอันสำเร็จแล้วว่าเป็น อริยะ แม้ในลัทธิ

ของตน. คำถามทั้งปวงเป็นของปรวาที. สกวาทีตอบรับรองด้วย ปฏิ-

เสธด้วย. เนื้อความเหล่านั้นมีอรรถง่ายทั้งนั้น. ส่วนในบาลีท่านย่อ

ญาณทั้ง ๗ ไว้ในที่นี้แล้วแสดงดุจนัยที่ ๑ นั่นแล.

อรรถกถาอริยันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 605

วิมุจจติกถา

[๗๓๘] สกวาที จิตมีราคะหลุดพ้นได้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. จิตสหรคตด้วยราคะ เกิดพร้อมกับราคะ ระคน

ด้วยราคะ สัมปยุตด้วยราคะ ปรากฏพร้อมกับราคะ แปรไปตามราคะ

เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ

สัญโญชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์

ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาสะ เป็น

อารมณ์ของอุปทาน เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หลุดพ้นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๓๙] ส. จิตมีผัสสะหลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้ง

ผัสสะและจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตมีราคะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้ง

ราคะและจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๔๐] ส. จิตมีเวทนา ฯลฯ จิตมีสัญญา ฯลฯ จิตมี

เจตนา ฯลฯ จิตมีปัญญา หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งปัญญา

และจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 606

ส. จิตมีราคะหลุดพ้นได้ หลุดพ้นได้ทั้ง ๒ คือ

ทั้งราคะและจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๔๑] ส. จิตมีผัสสะ มีราคะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒

คือ ทั้งผัสสะและจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งราคะและจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๔๒] ส. จิตมีเวทนา มีราคะ ฯ ล ฯ จิตมีสัญญา มีราคะ

ฯลฯ จิตมีเจตนา มีราคะ ฯ ล ฯ จิตมีปัญญา มีราคะ หลุดพ้นได้

หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งปัญญาและจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งราคะและจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๔๓] ส. จิตมีโทสะ หลุดพ้นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตสหรคตด้วยโทสะ เกิดพร้อมกับโทสะ ระคน

ด้วยโทสะ สัมปยุตด้วยโทสะ ปรากฏพร้อมกับโทสะ แปรไปตามโทสะ

เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์

ของสังกิเลส หลุดพ้นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 607

[๗๔๔] ส. จิตมีผัสสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ

ทั้งผัสสะและจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตมีโทสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ

ทั้งโทสะและจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๔๕] ส. จิตมีเวทนา ฯ ล ฯ จิตมีสัญญา ฯลฯ จิตมีเจตนา

ฯลฯ จิตมีปัญญา หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งปัญญาและจิต

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตมีโทสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ

ทั้งโทสะและจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๔๖] ส. จิตมีผัสสะ มีโทสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒

คือ ทั้งผัสสะและจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งโทสะและจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๔๗] ป. จิตมีเวทนา มีโทสะ ฯ ล ฯ จิตมีสัญญา มีโทสะ

ฯลฯ จิตมีเจตนา มีโทสะ ฯลฯ จิตมีปัญญา มีโทสะ หลุดพ้นได้

หลุดพ้นทั้งสอง คือ ทั้งปัญญาและจิต หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 608

ป. ถูกแล้ว.

ส. หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งโทสะและจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๔๘] ส. จิตมีโมหะ หลุดพ้นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตสหรคตด้วยโมหะ เกิดพร้อมกับโมหะ ระคน

ด้วยโมหะ สัมปยุตด้วยโมหะ ปรากฏพร้อมกับโมหะ แปรไปตามโมหะ

เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯ ล ฯ เป็นอารมณ์

ของสังกิเลส หลุดพ้นได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๔๙] ส. จิตมีผัสสะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ

ทั้งผัสสะและจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตมีโมหะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ

ทั้งโมหะแล้วจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๕๐] ส. จิตมีเวทนา ฯลฯ จิตมีสัญญา ฯลฯ จิตมีเจตนา

ฯลฯ จิตมีปัญญา หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งปัญญาและจิต

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 609

ส. จิตมีโมหะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ

ทั้งโมหะและจิต หรือ

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๕๑] ส. จิตมีผัสสะ มีโมหะ หลุดพ้นได้ หลุดพ้นทั้ง ๒

คือ ทั้งผัสสะและจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งโมหะและจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๕๒] ส. จิตมีเวทนา มิโมหะ ฯ ล ฯ จิตมีสัญญา มีโมหะ

ฯ ล ฯ จิตมีเจตนา มีโมหะ ฯ ล ฯ จิตมีปัญญา มีโมหะ หลุดพ้นได้

หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งปัญญาและจิต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หลุดพ้นทั้ง ๒ คือ ทั้งโมหะและจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๕๓] ส. ไม่พึงกล่าวว่า จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ

หลุดพ้นได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตที่ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจาก

โมหะ หมดกิเลส หลุดพ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๕๐] ส. ถ้าอย่างนั้น จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ ก็

หลุดพ้นได้น่ะสิ.

วิมุจจติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 610

อรรถกถาวิมุตติกถา

ว่าด้วยวิมุติ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องวิมุติ คือความหลุดพ้น. ในปัญหานั้น ลัทธิ

แห่งชนเหล่าใด ดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า ชื่อว่า

การปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นของจิตที่ปราศจากราคะแล้วหามีไม่ เหมือน

อย่างว่า ผ้าที่เขาซักฟอกเอามลทินออกไปย่อมพ้นจากมลทินได้ฉันใด

จิตมีราคะก็ฉันนั้น ย่อมหลุดพ้นจากราคะได้ ดังนี้ สกวาทีหมายชน

เหล่านั้น จึงถามปรวาทีว่า จิตมีราคะหลุดพ้นหรือ คำตอบรับรอง

เป็นของปรวาที. จากนั้นถูกถามโดยนัยว่า จิตสหรคตด้วยราคะ

เป็นต้นหลุดพ้นได้หรือ ปรวาทีปฏิเสธโดยหมายเอาว่า ในขณะ

แห่งมรรคจิต จิตนั้นชื่อว่าย่อมหลุดพ้น แต่ในกาลนั้น จิตเห็น

ปานนี้ย่อมไม่มี. แม้ถูกถามโดยนัยว่า จิตมีผัสสะ เป็นต้น

ปรวาทีเมื่อไม่เห็นความหลุดพ้นจากราคะเหมือนธรรมทั้ง ๒ คือผัสสะ

และจิตหลุดพ้นจากราคะ ซึ่งตอบรับรองแล้ว จึงตอบปฏิเสธ. แม้ใน

จิตมีโทสะ เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้ แล.

อรรถกถาวิมุตติกถา จบ

๑. บาลีเป็น วิมุจจติกถา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 611

วิมุจจมานกกถา

[๗๕๔] สกวาที จิตที่หลุดพ้นแล้ว ยังหลุดพ้นอยู่ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ส่วนหนึ่งหลุดพ้นแล้ว อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุด

พ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๕๕] ส. ส่วนหนึ่งหลุดพ้นแล้ว อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุด

พ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ส่วนหนึ่ง เป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่ง ไม่

เป็นพระโสดาบัน ส่วนหนึ่ง ถึงแล้ว ได้เฉพาะแล้ว บรรลุแล้ว ทำ

ให้แจ้งแล้ว เข้าถึงอยู่ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งโสดาปัตติผล อีกส่วนหนึ่ง

ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งโสดาปัตติผล ส่วนหนึ่ง เป็นพระโสดาบัน

ผู้สัตตขัตตุปรมะ ผู้โกลังโกละ ผู้เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใส

อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์

ฯลฯ ประกอบด้วยอริยกันตศีล อีกส่วนหนึ่ง ไม่ประโยคกอบด้วยอริย-

กันตศีล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๕๖] ส. ส่วนหนึ่ง หลุดพ้นแล้ว อีกส่วนหนึ่ง ยังไม่

หลุดพ้น หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 612

ป. ถูกแล้ว.

ส. ส่วนหนึ่ง เป็นพระสกทาคามี อีกส่วนหนึ่ง

ไม่เป็นพระสกทาคามี ส่วนหนึ่ง ถึงแล้ว ได้เฉพาะแล้ว บรรลุแล้ว

ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งสกทาคามิผล อีกส่วนหนึ่ง

ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๕๗] ส. ส่วนหนึ่ง หลุดพ้นแล้ว อีกส่วนหนึ่ง ยังไม่

หลุดพ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี ส่วนหนึ่งไม่เป็น

พระอนาคามี ส่วนหนึ่ง ถึงแล้ว ได้เฉพาะแล้ว บรรลุแล้ว ทำให้

แจ้งแล้ว เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งอนาคามิผล อีกส่วนหนึ่ง

ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอนาคามิผล ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้อันตรา-

ปรินิพพายี ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ผู้อสังขารปรินิพพายี ผู้สสังขาร-

ปรินิพพายี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี

ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๕๘] ส. ส่วนหนึ่งหลุดพ้นแล้ว อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุด

พ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 613

ส. ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น

พระอรหันต์ ส่วนหนึ่งถึงแล้ว ได้เฉพาะแล้ว บรรลุแล้ว ทำให้แจ้ง

แล้ว เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งอรหัตผล อีกส่วนหนึ่งไม่

ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอรหัตผล ส่วนหนึ่งปราศจากราคะ โทสะ โมหะ

แล้ว ฯลฯ ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งแล้วซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อีกส่วนหนึ่ง

ไม่ทำให้แจ้งแล้วซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๕๙] ส. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ยังหลุดพ้นอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตหลุดพ้นแล้วในขณะเกิดขึ้น ยังหลุดพ้นอยู่

ในขณะดับไป หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๖๐] ป. ไม่พงกล่าวว่า จิตที่หลุดพ้นแล้ว ยังหลุดพ้นอยู่

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เมื่อบุคคลนั้น

รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ

จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากภวาสวะ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากอวิชชา-

สวะ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 614

ป. ถ้าอย่างนั้น จิตที่หลุดพ้นแล้ว ก็ยังหลุดพ้นอยู่

น่ะสิ.

[๗๖๑] ส. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ยังหลุดพ้นอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลนั้น

เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เป็นจิตบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่อง

ยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ถึง

ความเป็นจิตไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่แล้วอย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อ

ญาณเป็นเครื่องสิ้นไปแห่งอาสวะ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า จิตที่หลุดพ้นแล้ว

ยังหลุดพ้นอยู่.

[๗๖๒] ส. จิตที่หลุดพ้นอยู่ มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตที่กำหนัดอยู่ ขัดเคืองอยู่ หลงอยู่ เศร้าหมอง

อยู่ มีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จิตมีแต่กำหนัดแล้วและไม่กำหนัดแล้ว ขัดเคือง

แล้วและไม่ขัดเคืองแล้ว หลงแล้วและไม่หลงแล้ว ขาดแล้วและไม่ขาด

๑. ม. อุ. ๑๔/๒๖

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 615

แล้ว แตกแล้วและไม่แตกแล้ว อันปัจจัยทำแล้วและอันปัจจัยไม่ทำแล้ว

เท่านั้น มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าจิตมีแต่กำหนัดแล้วและไม่กำหนัดแล้ว ขัด-

เคืองแล้วสละไม่ขัดเคืองแล้ว หลงแล้วและไม่หลงแล้ว ขาดแล้วและ

ไม่ขาดแล้ว แตกแล้วและไม่แตกแล้ว อันปัจจัยทำแล้วและอันปัจจัย

ไม่ทำแล้ว เท่านั้น ก็ต้องไม่กล่าวว่า จิตหลุดพ้นอยู่ มีอยู่.

วิมุจจมานกถา จบ

อรรถกถาวิมุจจมานกถา

ว่าด้วยจิตหลุดพ้นอยู่

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องจิตหลุดพ้นอยู่. ในปัญหานั้น ลัทธิแห่งชน

เหล่าใดว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยวิกขัมภนวิมุติโดยฌาน ในขณะแห่ง

มรรค จิตนั้นชื่อว่าหลุดพ้นอยู่ด้วยสมุจเฉทวิมุติ ดังนี้ สกวาทีหมายชน

เหล่านั้น จึงถามว่า จิตที่หลุดพ้นแล้วยังหลุดพ้นอยู่หรือ คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที. สกวาทีถามอีกว่า ส่วนหนึ่งหลุดพ้นแล้ว ใน

บรรดาคำเหล่านั้นคำว่า ส่วนหนึ่ง เป็นคำไม่ปรากฏตามความ

เป็นจริง อธิบายว่า ท่านถามว่า จิตหลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง ไม่

หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง ฉันใด จิตนั้นส่วนหนึ่งหลุดพ้นแล้ว แต่อีก

ส่วนหนึ่งไม่หลุดพ้นแล้ว ฉันนั้นหรือ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 616

ถามว่า พระสกวาทีย่อมถามอย่างนี้ เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะปรวาทีนั้นกล่าวผิดภาวะปกติว่า จิตที่หลุดพ้น

แล้วว่ายังหลุดพ้นอยู่ ดังนี้ เหมือนอย่างว่า ช่างไม้ทำวัตถุทั้งหลาย

มีไม้เป็นต้น เขาทำเสร็จแล้วบางส่วน บางส่วนยังไม่เสร็จเพราะความที่

ของนั้นยังไม่เรียบร้อยฉันใด จิตแม้นี้ก็ย่อมจะปรากฏตามลัทธิว่า ส่วน

หนึ่งหลุดพ้นแล้ว อีกส่วนหนึ่งไม่หลุดพ้น ฉันนั้น.

ลำดับนั้น ปรวาทีตอบปฏิเสธในปัญหาแรก เพราะจิตไม่มี

บางส่วนดุจช่างทำไม้ เป็นต้น ในปัญหาที่ ๒ ตอบรับรองเพราะความ

ที่จิตนั้นกำลังหลุดพ้นไม่ใช่หลุดพ้นแล้วและทำกิจยังไม่เสร็จ. อีกอย่าง

หนึ่ง ท่านตอบปฏิเสธหมายเอาลักขณจิตแห่งโลกียฌาน แต่ว่าลักขณ-

จิตแห่งโลกียฌานนั้นไม่ใช่กำลังหลุดพ้นด้วยสมุจเฉทวิมุติในกาลนั้น จึง

ตอบรับรองหมายเอาลักขณจิตแห่งโลกุตตรฌาน. ลัทธิของท่านว่า ก็

ในกาลนั้น จิตนั้นกำลังหลุดพ้นด้วยสมุจเฉทวิมุติโดยส่วนหนึ่งแห่งจิต

ที่หลุดพ้น ดังนี้. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า ส่วนหนึ่งเป็น

พระโสดาบัน เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า หากว่าจิตดวงนั้นแหละ

หลุดพ้นได้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่หลุดพ้นมีอยู่ไซร้ ครั้นเมื่อความ

เป็นเช่นนั้นมีอยู่ บุคคลใดเป็นพระโสดาบันด้วยจิตดวงหนึ่งนั้นแหละ

บุคคลแม้นั้นก็ต้องเป็นพระโสดาบันเพียงส่วนหนึ่งไม่เป็นส่วนหนึ่งด้วย

จิตดวงนั้น ดังนี้ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นธรรมเนียม เช่นนั้นจึงตอบปฏิเสธ.

แม้ในวาระที่เหลือทั้งหลายก็นัยนั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 617

ในปัญหาว่าด้วย จิตหลุดพ้นแล้วในขณะการเกิดขึ้น อธิบาย

ว่า ถ้าจิตดวงหนึ่งนั้นแหละหลุดพ้นแล้วด้วย กำลังหลุดพ้นอยู่ด้วย

ไซร้ จิตที่หลุดพ้นแล้วและกำลังหลุดพ้นย่อมปรากฏในขณะเดียวกัน

จิตเห็นปานนี้เป็นลัทธิของท่านหรือ. ในการชำระพระสูตร พระสูตร

แรกเป็นของปรวาที. ในพระสูตรนี้ อธิบายว่า จิตย่อมหลุดพ้น

เป็นการชี้แจงไม่คงที่. หมายความว่า ไม่กล่าวว่าเป็นขณะเกิดหรือขณะ

ดับ เพราะฉะนั้น ปรวาทีจึงนำพระสูตรมาว่า เมื่อบุคคลนั้น รู้อยู่

อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตใดย่อมหลุดพ้นจากอาสวะเหล่านี้ จิตนั้น

ชื่อว่าย่อมหลุดพ้น ดังนี้. พระสูตรที่ ๒ เป็นของสกวาที เนื้อความ

นั้นอธิบายว่า ถ้าจิตหลุดพ้นแล้วชื่อว่ากำลังหลุดพ้น เพราะพระบาลี

ว่า ย่อมหลุดพ้น ตามลัทธิของท่านมีอยู่ไซร้ จิตนั้นก็พึงหลุดพ้น

แล้วนั่นแหละมิใช่กำลังหลุดพ้น เพราะไม่มีคำบาลีในพระสูตรนี้ว่า

ย่อมหลุดพ้น ดังนี้.

บัดนี้ เพื่อจะท้วงว่า จิตกำลังหลุดพ้นเพราะความหลุดพ้นอัน

ผิดปกติตามลัทธิของท่านมีอยู่ ฉันใด แม้จิตที่กำลังกำหนัดอยู่เป็นต้น

มีอยู่เพราะราคะอันผิดปกติเป็นต้นฉันนั้นหรือ ดังนี้ จึงเริ่มคำเป็นต้น

อีกว่า จิตหลุดพ้นอยู่มีอยู่หรือ เป็นต้น. แม้ปรวาที เมื่อไม่เห็น

จิตเช่นนั้น จึงปฏิเสธแล้วทั้งสิ้น. ลำดับนั้น สกวาทีเมื่อจะยังปรวาที

ให้รู้ว่า ส่วนสุดมี ๒ อย่างเท่านั้น ไม่ใช่ ๓ อย่าง จึงกล่าวคำว่า

จิตมีแต่กำหนัดแล้วและไม่กำหนัดแล้วมิใช่หรือ เป็นต้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 618

พึงทราบเนื้อความแห่งปัญหานั้นว่า ดูก่อนภัทรมุข ผู้มีพักตร์งาม

ส่วนสุดมี ๒ อย่างเท่านั้น คือ จิตอันราคะย้อมแล้วสัมปยุตแล้วด้วย

ราคะ และจิตอันราคะไม่ย้อมแล้วปราศจากราคะแล้ว มิใช่หรือ ? ส่วน

สุดที่ ๓ คือจิตชื่อว่ากำลังกำหนัดย่อมไม่มี ดังนี้. ในคำว่า จิตขัดเคือง

แล้วเป็นต้น ก็นัยนี้. ลำดับนั้น สกวาทียังปรวาทีให้รับรองว่าใช่แล้ว

เพื่อแสดงส่วนสุดทั้ง ๒ นั้นแหละแม้ในฝ่ายจิตวิมุติ จึงกล่าวว่า ถ้า

จิตมีแต่กำหนัดแล้ว เป็นต้น. เนื้อความแห่งปัญหานั้นพึงทราบว่า

ถ้าท่านรับรองส่วนสุดทั้ง ๒ นี้ คือ จิตไม่หลุดพ้นแล้วและจิตหลุดพ้น

แล้ว ท่านจงรับรองส่วนสุดแม้เหล่านี้ คือ จิตอันสัมปยุตด้วยกิเลส

ชื่อว่าไม่หลุดพ้นแล้ว จิตปราศจากกิเลสชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว เมื่อว่าโดย

ปรมัตถ์ ส่วนสุดที่ ๓ ว่า จิตชื่อว่า กำลังหลุดพ้น ดังนี้ ย่อมไม่มี

ตามพระสูตร ดังนี้ แล.

อรรถกถาวิมุจจมานกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 619

อัฏฐมกกถา

[๗๖๓] สกวาที บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิได้

แล้ว หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ถึงแล้ว ได้

เฉพาะแล้ว บรรลุแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยกาย

อยู่ ซึ่งโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๖๔] ส. บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉาได้แล้ว

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ถึงแล้ว

ฯลฯ ถูกแล้วด้วยกายอยู่ ซึ่งโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๖๕] ส. บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิได้แล้ว

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ละอนุสัยคือทิฏฐิได้แล้ว หรือ ?

๑. บุคคลที่ ๘ คือ พระอริยบุคคล ผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 620

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิได้แล้ว

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ละอนุสัยคือวิจิกิจฉา ฯลฯ สีลัพ-

พตปรามาสได้แล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๖๖] ส. บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉาได้แล้ว

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉาได้แล้ว

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ละอนุสัยคือทิฏฐิ ฯลฯ สีลัพพต-

ปรามาสได้แล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๖๗] ส. บุคคลที่ ๘ ยังละอนุสัยคือทิฏฐิไม่ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ยังละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิไม่ได้

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 621

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลที่ ๘ ยังละอนุสัยคือทิฏฐิไม่ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ยังละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉาไม่ได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลที่ ๘ ยังละอนุสัยคือวิจิกิจฉา ฯ ล ฯ สี-

ลัพพตปรามาสไม่ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ยังละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิไม่ได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลที่ ๘ ยังละสีลัพพตปรามาสไม่ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ยังละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉาไม่ได้

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๖๘] ส. บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิได้แล้ว

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 622

ส. บุคคลที่ ๘ ยังมรรคให้เกิดแล้ว เพื่อละเครื่อง

กลุ้มรุมคือทิฏฐิ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิได้แล้ว

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ยังสติปัฏฐานให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยัง

สัมมัปปธาน ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว

เพื่อละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๖๙] ส. บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉาได้แล้ว

หรือ ?

ส. บุคคลที่ ๘ ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ยังโพช-

ฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจ-

ฉา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๗๐] ส. บุคคลที่ ๘ ไม่ได้ยังมรรคให้เกิดเพื่อละเครื่อง

กลุ้มรุมคือทิฏฐิ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิอันบุคคลที่ ๘ ละได้แล้ว

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 623

ด้วยธรรมที่มิใช่มรรค เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯ ล ฯ เป็น

อารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลที่ ๘ ไม่ได้ยังสติปัฏฐาน ฯ ล ฯ ยังโพช-

ฌงค์ ให้เกิดแล้ว เพื่อละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิอันบุคคลที่ ๘ ละได้แล้ว

ด้วยธรรมที่มิใช่มรรค เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯ ล ฯ เป็น

อารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๗๑] ส. บุคคลที่ ๘ ไม่ได้ยังมรรคให้เกิดแล้ว ฯ ล ฯ ไม่

ได้ยังสติปัฏฐาน ฯ ล ฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดแล้ว เพื่อละเครื่องกลุ้มรุม

คือวิจิกิจฉา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉา อันบุคคลที่ ๘ ละได้

แล้วด้วยธรรมที่มิใช่มรรค เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯ ล ฯ

เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 624

[๗๗๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุม

คือทิฏฐิได้แล้ว หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิยังจักเกิดขึ้น หรือ ?

ส. จักไม่เกิดขึ้น.

ป. หากว่า จักไม่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง

ต้องกล่าวว่า บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิได้แล้ว.

[๗๗๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือ

วิจิกิจฉาได้แล้ว หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉายังจักเกิดขึ้น หรือ ?

จักไม่เกิดขึ้น.

ป. หากว่า จักไม่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง

ต้องกล่าวว่า บุคคลที่ ๘ ละเครื่องกลุ้มรุมคือ

วิจิกิจฉาได้แล้ว.

[๗๗๙] ส. บุคคลที่ ๘ ชื่อว่าละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิได้

แล้ว เพราะทำอธิบายว่าจักไม่เกิดขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ชื่อว่าละอนุสัยคือทิฏฐิได้แล้ว เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 625

ทำอธิบายว่าจักไม่เกิดขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๗๕] ส. บุคคลที่ ๘ ชื่อว่าละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิได้

แล้ว เพราะทำอธิบายว่าจักไม่เกิดขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ชื่อว่าละอนุสัยคือวิจิกิจฉา ฯ ล ฯ

สีลัพพตปรามาสได้แล้ว เพราะทำอธิบายว่าจัก

ไม่เกิดขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๗๖] ส. บุคคลที่ ๘ ชื่อว่าละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉา

ได้แล้ว เพราะทำอธิบายว่าจักไม่เกิดขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ชื่อว่าละอนุสัยคือวิจิกิจฉา ฯ ล ฯ

สีลัพพตปรามาสได้แล้ว เพราะทำอธิบายว่าจัก

ไม่เกิดขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๗๗] ส. บุคคลที่ ๘ ชื่อว่าละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิได้

แล้ว เพราะทำอธิบายว่าจักไม่เกิดขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 626

ส. บุคคลผู้โคตรภู ชื่อว่าละเครื่องกลุ้มรุมคือทิฏฐิ

ได้แล้ว เพราะทำอธิบายว่าจักไม่เกิดขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๗๘] ส. บุคคลที่ ๘ ชื่อว่าละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉา

ได้แล้ว เพราะทำอธิบายว่าจักไม่เกิดขึ้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้โคตรภูชื่อว่าละเครื่องกลุ้มรุมคือวิจิกิจฉา

ได้แล้ว เพราะทำ อธิบายว่าจักไม่เกิดขึ้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อัฏฐมกกถา จบ

อรรถกถาอัฏฐมกกถา

ว่าด้วยบุคคลที่ ๘

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องบุคคลที่ ๘ คือ พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ใน

โสดาปัตติมรรค. ในเรื่องนั้น ลัทธิแห่งชนเหล่าใดดุจลัทธิของนิกาย

อันธกะ และสมิติยะทั้งหลายในขณะนี้ว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติ-

๑. ในคัมภีร์นี้ ท่านลำดับพระอริยบุคคลอย่างนี้ คือ บุคคลผู้ตั้งอยู่

ในอรหัตผล เป็นที่ ๑ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค เป็นที่ ๒ บุคคลผู้ตั้งอยู่

ในอนาคามิผล เป็นที่ ๓ ฯลฯ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค เป็นที่ ๘.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 627

มรรคซึ่งเป็นบุคคลที่ ๘ ละปริยุฏฐานกิเลสทั้ง ๒ แล้ว คือทิฏฐิและ

วิจิกิจฉา เพราะไม่มีกิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นในขณะแห่งอนุโลม โคตรภู

และมรรค ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายชนพวกใด พวกหนึ่งเหล่านั้น

คำตอบรับรองของปรวาที หมายเอาความไม่เกิดขึ้นแห่งทิฏฐิ จำเดิมแต่

ขณะแห่งมรรค. ธรรมดาว่า ทิฏฐินี้ พระโสดาบันเป็นผู้ละแล้ว มิใช่

บุคคลที่ ๘ เหตุในเพราะเหตุนั้น ลำดับนั้น สกวาทีจึงซักว่า บุคคล

ที่ ๘ เป็นพระโสดาบันหรือ ดังนี้เป็นต้น. แม้ในปัญหาว่าด้วย วิจิ-

กิจฉา ก็นัยนี้นั่นแหละ.

ในปัญหาว่าด้วย อนุสัย ลัทธิท่านว่า อนุสัยเป็นอย่างอื่น

นอกจากปริยุฏฐาน เพราะฉะนั้น จึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าว

อย่างนั้น. ในปัญหาว่าด้วย สีลัพพตปรามาส ปรวาทีไม่เห็นโวหารว่า

สีลัพพตปรามาสเป็น ปริยุฏฐาน จึงตอบปฏิเสธ. ลัทธิว่า บุคคลที่ ๘

ละปริยุฏฐานได้แล้วเท่านั้น. ในปัญหาว่า บุคคลที่ ๘ ยังมรรคให้

เกิดแล้ว ความว่า ในขณะนั้น กำลังเจริญมรรค มิใช่เจริญเสร็จ

แล้ว เพราะฉะนั้นท่านจึงตอบปฏิเสธ. ในคำซักถามว่า ละได้แล้ว

ด้วยธรรมที่มิใช่มรรค เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาความ

ที่กิเลสเหล่านั้นท่านละได้แล้วด้วยมรรคที่ ๑ นั่นแหละ. ลัทธิของท่าน

ว่า ก็ถ้าว่าบุคคลพึงละกิเลสด้วยธรรมที่มิใช่มรรคได้ไซร้ บุคคลแม้

ผู้โคตรภูบุคคลเป็นต้น ก็พึงละกิเลสได้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 628

คำถามของปรวาทีว่า เครื่องกลุ้มรุม คือ ทิฏฐิยังจักเกิดขึ้น

หรือ คำวิสัชชนาเป็นของสกวาที. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถ

ง่ายทั้งนั้น แล.

อรรถกถาอัฏฐมกกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 629

อัฏฐมกัสส อินทริยกถา

[๗๗๙] สกวาที บุคคลที่ ๘ ไม่มีสัทธินทรีย์ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ไม่มีศรัทธา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๘๐] ส. บุคคลที่ ๘ ไม่มีวิริยินทรีย์ ฯลฯ ไม่มีสตินทรีย์

ฯ ล ฯ ไม่มีสมาธินทรีย์ ฯลฯ ไม่มีปัญญินทรีย์หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ ไม่มีปัญญา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๘๑] ส. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีสัทธินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลที่ ๘ มีวิริยะ ฯลฯ มีสติ ฯลฯ มีสมาธิ

ฯลฯ มีปัญญา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีปัญญินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 630

[๗๘๒] ส. บุคคลที่ ๘ มีมโน มีมนินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลที่ ๘ มีมโน มีมนินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๘๓] ส. บุคคลที่ ๘ มีโสมนัส มีโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ

มีชีวิต มีชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลที่ ๘ มีชีวิต มีชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีวิริยะ ฯลฯ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๘๔] ส. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีมโน แต่ไม่มีมนินทริย์ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 631

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๘๕] ส. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่มี.

ส. บุคคลที่ ๘ มีโสมนัส แต่ไม่มีโสมนัสสินทรีย์

ฯลฯ ชีวิต แต่ไม่มีชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๘๖] ส. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีมโน แต่ไม่มีมนินทรีย์ ฯลฯ มี

โสมนัส แต่ไม่มีโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ มีชีวิต แต่ไม่มีชีวิตินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๘๗] ส. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสัทธินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลที่ ๘ ไม่มีวิริยินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้เกียจคร้าน ละความเพียร หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสตินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 632

ส. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสมาธินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้ไม่มีสมาธิ มีจิตวอกแวก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๘๘] ส. บุคคลที่ ๘ ไม่มีปัญญินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้มีปัญญาทราม บ้าน้ำลาย

คือโง่เขลา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๘๙] ส. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา และศรัทธานั้นเป็นนิยยา-

นิกะ ได้แก่เครื่องนำออกไป หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา และศรัทธานั้น

เป็นนิยยานิกะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลที่ ๘ ไม่

มีสัทธินทรีย์.

ส. บุคคลที่ ๘ มีวิริยะ และวิริยะนั้นเป็นนิยยานิกะ

ฯ ล ฯ มีสติและสตินั้นเป็นนิยยานิกะ ฯ ล ฯ มีสมาธิ และสมาธินั้นเป็น

นิยยานิกะ ฯลฯ มีปัญญา และปัญญานั้นเป็นนิยยานิกะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 633

ส. หากว่า บุคคลที่ ๘ มีปัญญา และปัญญานั้นเป็น

นิยยานิกะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลที่ ๘ ไม่มี

ปัญญินทรีย์.

[๗๙๐] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล

มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล

มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๙๑] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล

ฯลฯ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล มีศรัทธา มีสัทธิน-

ทรีย์ ฯลฯ มีปัญญา ปัญญินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๙๒] ส. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 634

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล

มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล

มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๙๓] ส. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ ฯลฯ

มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล

ฯลฯ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล มีปัญญา แต่ไม่มี

ปัญญินทรีย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๙๔] ส. บุคคลที่ ๘ ไม่มีอินทรีย์ ๕ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย อินทรีย์นี้ ๕ ประการ, ๕ ประการ เป็นไฉน สัทธินทรีย์ ๑

วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ อินทรีย์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 635

๕ ประการฉะนี้แล, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความเต็มบริบูรณ์

แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้แล จึงเป็นพระอรหันต์ เพลากว่านั้น

ก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เพลากว่านั้น ก็

เป็นพระอนาคามี เพลากว่านั้น ก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้ง

ซึ่งอนาคามิผล เพลากว่านั้น ก็เป็นพระสกทาคามี เพลากว่านั้น

ก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เพลากว่านั้น ก็

เป็นพระโสดาบัน เพลากว่านั้น ก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้ง

ซึ่งโสดาปัตติผล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแล ไม่มีอินทรีย์ ๕

ประการนี้เสียเลย โดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นคน

ภายนอก เป็นผู้ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลที่ ๘ เป็นคนภายนอก เป็นผู้ตั้งอยู่ใน

ฝ่ายปุถุชน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น บุคคลที่ ๘ ก็มีอินทรีย์ ๕ น่ะสิ.

อัฏฐมกัสส อินทริยกถา จบ

๑. ส. มหา. ๑๙/๘๘๘.๘๘๙

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 636

อรรถกถาอัฏฐมกัสส อินทริยกถา

ว่าด้วยอินทรีย์ของบุคคลที่ ๘

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องอินทรีย์ของบุคคลที่ ๘ ในเรื่องนั้น ลัทธิ

แห่งชนเหล่าใด ดุจลัทธิของนิกายอันธกะในขณะนี้ว่า บุคคลที่ ๘

กำลังได้อินทรีย์ทั้งหลายในขณะแห่งมรรคเกิด มิใช่ได้มาก่อน ดังนี้

สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้นจึงถามปรวาทีว่า บุคคลที่ ๘ ไม่มีสัทธิน-

ทรีย์หรือ คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ถูกถามว่า บุคคลที่ ๘

ไม่มีศรัทธาหรือ ปรวาทีกำหนดเอาความที่ศรัทธาต่างจากสัทธินทรีย์

จึงตอบปฏิเสธ แม้ในปัญหาที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้. สกวาทีเริ่มคำเป็น

ต้นว่า บุคคลที่ ๘ มีศรัทธามีสัทธินทรีย์หรือ ดังนี้ เพื่อแสดงว่า

เหมือนอย่างว่า ใจของบุคคลใดมีอยู่ แม้มนินทรีย์ ได้แก่อินทรีย์คือใจ

ของบุคคลนั้น ก็มีอยู่ฉันใด อินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น ของ

บุคคลใดมีอยู่ แม้อินทรีย์ทั้งหลายมีสัทธินทรีย์เป็นต้นของบุคคลนั้นก็มี

อยู่ฉันนั้น. คำนั้นทั้งหมด พร้อมทั้งการชำระพระสูตรมีอรรถง่ายทั้งนั้น

ดังนี้แล.

อรรถกถาอัฏฐมกัสส อินทริยกถา จบ

๑. อินทรีย์ ๕ ของพระอริยบุคคลตั้งแต่ที่ ๑-๘ คือ ๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์

๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์ ๕. ปัญญินทรีย์.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 637

ทิพพจักขุกถา

[๗๙๕] สกวาที มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็น

ทิพยจักษุ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. มังสจักษุ ก็คือทิพยจักษุ ทิพยจักษุ ก็คือ

มังสจักษุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๙๖] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มังสจักษุเป็นเช่นใด ทิพยจักษุก็เป็นเช่นนั้น

ทิพยจักษุเป็นเช่นใด มังสจักษุก็เป็นเช่นนั้น

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๗๙๗] ส. มังสจักษุอันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มังสจักษุอันนั้น ทิพยจักษุอันนั้นแหละ ทิพย-

จักษุอันนั้น มังสจักษุก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 638

[๗๙๘] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิสัย อานุภาพ โคจร ของมังสจักษุ เป็น

เช่นใด วิสัยอานุภาพ โคจร ของทิพยจักษุ ก็เป็นเช่นนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๗๙๙] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นอุปาทินนะแล้วเป็นอนุปาทินนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๐๐] ส. เป็นอุปาทินนะแล้วเป็นอนุปาทินนะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจร หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๐๑] ส. เป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจร หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจร หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

๑. อุปาทินนะ-อนุปาทินนะดูนิทเทสในธรรมสังคณี ข้อ ๗๗๙ และข้อ ๙๕๕

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 639

[๘๐๒] ส. เป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวร หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นปริยาปันนะแล้วเป็นอปริยาปันนะ๑ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๐๓] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิพยจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว ก็เป็นมังสจักษุ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๐๔] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิพยจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นปัญญา

จักษุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๐๕] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ

หรือ ?

๑. ปริยาปันนะ-อปริยาปันนะ ดูนิทเทสในธรรมสังคณี ข้อ ๘๓๑ และข้อ ๙๘๓

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 640

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิพยจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นมังสจักษุ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๐๖] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักษุ ๒ อย่างเท่านั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๐๗] ส. จักษุ มี ๒ อย่างเท่านั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสจักษุว่ามี ๓ คือ มังส-

จักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสจักษุว่ามี ๓

คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ ก็ต้องไม่กล่าวว่า จักษุมี ๒

อย่างเท่านั้น

[๘๐๘] ส. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย จักษุนี้ มี ๓ อย่าง, ๓ อย่างเป็นไฉน มังสจักษุ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 641

ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ จักษุมี ๓ อย่าง ฉะนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นบุรุษผู้สูงสุดได้ตรัสจักษุ ๓ อย่างนี้

คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ และปัญญาจักษุ อันยอดเยี่ยมไว้แล้ว

ความเกิดขึ้นแห่งมังสจักษุ เป็นทางแห่งทิพยจักษุ ก็เมื่อใด

ญาณ คือ ปัญญาจักษุ อันยอดเยี่ยมมาเกิดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น ย่อม

พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะการได้จักษุนั้น ดังนี้ เป็นสูตร

มีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า จักษุมี ๒ อย่าง

เท่านั้น.

ทิพยจักขุกถา จบ

อรรถกถาทิพยจักขุกถา

ว่าด้วยทิพพจักษุ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องทิพพจักขุ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ

เห็นผิดดุจนิกายอันธกะและสมิติยะทั้งหลาย ในขณะนี้ว่า มังสจักขุ

๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๓๙.

๒. จักษุ ๓. คือ:- ๑. มังสจักขุ ได้แก่ จักขุปสาท ๒ ทิพพจักขุ ได้แก่

อภิญญาจิตตุปบาทที่เป็นทุติยวิชชาญาณ ๓. ปัญญาจักขุ ได้แก่ อาสวักขยญาณ

(ในปกรณ์นี้หรือในขุททกนิกาย อิติวุตตกะ) จักขุ ๕ คือ :- มังสจักขุ

ทิพพจักขุ ปัญญาจักขุ พุทธจักขุ สมันตจักขุ (ในขุททกนิกาย มหานิทเทส)

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 642

นั่นแหละ อันธรรม คือ จตุตถฌานอุปถัมภ์แล้ว ชื่อว่าเป็น ทิพพจักขุ

ดังนี้ สกวาทีหมายชนเหล่านั้น จึงถามปรวาทีว่า มังสจักขุ อัน-

ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพพจักขุหรือ คำตอบรับรองเป็นของ

ปรวาที. ก็ถูกถามอีกว่า มังสจักขุก็คือทิพพจักขุ ทิพพจักขุก็คือ

มังสจักขุหรือ ปรวาทีปฏิเสธว่า มังสจักขุนั้นก็เป็นเพียงมังสจักษุ

นั้นเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น. แม้ในคำถามทั้งหลายว่า มังสจักขุ

เป็นเช่นใด เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความที่จักษุทั้ง ๒

นั้น ไม่มีสภาพอย่างเดียวกัน. แม้ในปัญหามีคำว่า วิสัย เป็นต้น

ความว่า รูปายตนะนั่นแหละเป็นวิสัยแห่งจักษุแม้ทั้ง ๒. อธิบายว่า

ก็มังสจักขุย่อมเห็นรูปอันมาสู่คลองแห่งจักษุเท่านั้น ส่วนทิพพจักขุนี้

ย่อมเห็นรูปอันไม่มาสู่คลองแห่งจักษุได้ แม้รูปนั้นจะมีภูเขากั้นไว้

เป็นต้น. อนึ่ง รูปแม้ละเอียดยิ่งนัก ก็เป็นโคจรคืออารมณ์ของทิพพจักขุ

ได้ แต่รูปเช่นนี้เป็นอารมณ์ของมังสจักขุไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น

อานุภาพ คือ อำนาจ และโคจร คือ อารมณ์ แห่งจักษุทั้ง ๒

นี้ จึงไม่เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้. ถูกถามว่า เป็นอุปาทินนะ

คือเป็นกัมมชรูป แล้วเป็นอนุปาทนนะ คือมิใช่กัมมชรูป

หรือ ปรวาทีนั้น ย่อมปรารถนาว่า มังสจักขุเป็นอุปาทินนะ ส่วน

ทิพพจักขุเป็นอนุปาทินนะ ทั้งมังสจักขุนั้นและก็ไม่เป็นทิพพขุ เพราะ-

ฉะนั้นจึงตอบปฏิเสธ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ปรารถนา ทิพพจักขุย่อมเกิด

ขึ้นเพราะอาศัยมังสจักขุเป็นปัจจัย เพราะอาศัยพระบาลีว่า ความ

เกิดขึ้นแห่งมังสจักขุเป็นทางแห่งทิพพจักขุ ดังนี้ ทั้งมังสจักขุนั้นก็

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 643

เป็นความผ่องใสของมหาภูตรูปทั้ง ๔ อันเป็นไปในรูปาวจร เพราะฉะนั้น

จึงตอบรับรอง. แม้ถูกถามว่า เป็นกามาวจร ปรวาที่ไม่ปรารถนา

ซึ่งมังสจักขุนั่นแหละเป็นทิพพจักขุ เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงตอบ

ปฏิเสธ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรองว่า ธรรมดาว่า รูปาวจรเกิด

เพราะความที่มังสจักขุเกิดขึ้นแล้ว โดยมีรูปาวจรฌานเป็นปัจจัย. แม้

ถูกถามว่า เป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจรหรือ ต่อจากนี้ไป

ท่านตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มีรูปาวจรจิต ในขณะแห่งอรูปาวจร

ด้วยการภาวนา. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบรับรอง เพราะลัทธิว่า มังสจักขุ

นั้นเป็นสภาพผ่องใสของมหาภูตรูปทั้ง ๔ อันเป็นปัจจัยให้อรูปาวจร

เกิดขึ้น ดังนี้ ก็แต่ปรวาทีนั้นไม่ปรารถนาความที่มังสจักขุนั้นเป็น

โลกุตตธรรม (อปริยาปันนะ) เพราะฉะนั้น จึงตอบปฏิเสธนั้นเทียว.

คำว่า ทิพพจักขุอันธรรมอุปถัมภ์แล้ว ได้แก่ เป็นธรรมกามาวจร

อุปถัมภ์แล้ว. คำว่า อันธรรมอุปถัมถ์แล้ว ได้แก่ เป็นธรรม คือ

โลกุตตรอุปถัมภ์แล้ว. ถูกถามว่า จักขุมี ๒ อย่างเท่านั้นหรือ ปรวาที

ไม่ปรารถนาความที่ทิพพจักขุอันธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นปัญญาจักขุ แม้

ก็จริง ถ้าอย่างนั้น ก็ตอบปฏิเสธ เพราะความที่ปัญญาจักขุเป็นสภาพ

มีอยู่. ถูกถามอีก ก็ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งลัทธิว่า มังสจักขุอัน

ธรรมอุปถัมภ์แล้วย่อมเป็นทิพพจักขุ ดังนี้ คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถง่าย

ทั้งนั้น แล.

อรรถกถาทิพพจักขุ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 644

ทิพพโสตกถา

[๘๐๙] สกกวาที มังสโสต อันธรรมอุปถัมถ์แล้ว เป็น

ทิพยโสต หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. มังสโสต ก็คือทิพยโสต ทิพยโสต ก็คือ มังสโสต

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๑๐] ส. มังสโสต อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยโสต

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มังสโสตเป็นเช่นใด ทิพยโสตก็เป็นเช่นนั้น

ทิพยโสตเป็นเช่นใด มังสโสตก็เป็นเช่นนั้น

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๑๑] ส. มังสโสต อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยโสต

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มังสโสตอันนั้น ทิพยโสตก็อันนั้นแหละ ทิพย-

โสตอันนั้น มังสโสตก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 645

[๘๑๒] ส. มังสโสต อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยโสต

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิสัย อานุภาพ โคจร แห่งมังสโสต เป็น

เช่นใด วิสัย อานุภาพ โคจร แห่งทิพยโสต

ก็เป็นเช่นนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๑๓] ส. มังสโสต อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยโสต

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นอุปาทินนะแล้วเป็นอนุปาทินนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๑๔] ส. เป็นอุปาทินนะแล้วเป็นอนุปาทินนะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจร หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๑๕] ส. เป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจร หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจร หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 646

[๘๑๖] ส. เป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจร หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นปริยาปันนะแล้วเป็นอปริยาปันนะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๑๗] ส. มังสโสต อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยโสต

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิพยโสต อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว ก็เป็นมังสโสต

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๑๘] ส. มังสโสต อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยโสต

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โสตมีอย่างเดียวเท่านั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๑๙] ส. โสตมีอย่างเดียวเท่านั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสโสตว่ามี ๒ อย่าง คือ

มังสโสตและทิพยโสต มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 647

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสโสตว่ามี ๒

อย่าง คือ มังสโสต และทิพยโสต ก็ต้องไม่กล่าวว่า โสตมีอย่างเดียว

เท่านั้น.

ทิพพโสตกถา จบ

อรรถกถาทิพพโสตกถา

ว่าด้วยทิพพโสต

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องทิพพโสต. ในเรื่องนั้น ปรวาทีถูกสกวาที

ถามว่า โสตมีอย่างเดียวเท่านั้นหรือ ก็ตอบปฏิเสธ เพราะโสต

มีอยู่ ๒ คือ มังสโสต ทิพยโสต ถูกถามอีก ก็ตอบรับรอง เพราะว่า

มังสโสตนั้นนั่นแหละ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว ชื่อว่าเป็นทิพพโสต.

คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

อรรถกถาทิพพโสตกถา จบ

๑. โสต ๒ อย่าง คือ ๑. มังสโสต ได้แก่ โสตปสาท

๒. ทิพพโสต ได้แก่ อภิญญาญาณ

ในคัมภีร์ยมกกล่าว โสต ๓ คือ ๑. มังสโสต ได้แก่ โสตปสาท

๒. ทิพยโสต ได้แก่ อภิญญาจิตตุปสาท

๓. ตัณหาโสต ได้แก่ โลกเจตสิก

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 648

ยถากัมมูปคตญาณกถา

[๘๒๐] สกวาที ยถากัมมูปคตญาณ คือ ญาณเป็นเครื่องรู้

ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรม เป็นทิพยจักษุ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ทำไว้ในใจซึ่งความที่สัตว์เป็นไปตามกรรมด้วย

เห็นรูปได้ด้วยทิพยจักษุด้วย หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๒๑] ส. ทำไว้ในใจซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตาม

กรรมด้วย เห็นรูปด้วยทิพยจักษุด้วย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต

๒ ดวง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่างอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๒๒] ส. ยถากัมมูปคตญาน เป็นทิพยจักษุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า สัตว์เหล่านี้หนอ ท่าน

ทั้งหลาย ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประกอบด้วยกาย

ทุจริต ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประกอบด้วยวจีทุจริต

ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประโยคกอบด้วยมโนทุจริต ดังนี้

ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ติเตียนพระอริยะทั้งหลาย ดังนี้ด้วย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 649

ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า

สมาทานกรรมคือมิจฉาทิฏฐิ ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า สัตว์

เหล่านั้นเข้าถึงแล้วซึ่งอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้า แต่มรณะ

เพราะกายแตก ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า ก็หรือสัตว์เหล่านี้

นะท่านทั้งหลาย ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประกอบด้วย

กายสุจริต ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประกอบด้วยวจีสุจริต

ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประกอบด้วยมโนสุจริต ดังนี้

ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ไม่ติเตียนพระอริยะทั้งหลาย ดังนี้

ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจ

ซึ่งบทว่า สมาทานกรรมคือสัมมาทิฏฐิ ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่ง

บทว่า สัตว์เหล่านั้นเข้า แล้วซึ่งสุคติ โลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่มรณะ

เพราะกายแตก ดังนี้ด้วย เห็นรูปด้วยทิพยจักษุด้วย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๒๓] ส. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า สัตว์เหล่านี้หนอ ท่าน

ทั้งหลาย" ดังนี้ด้วย ฯ ล ฯ ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า สัตว์เหล่านั้นได้

เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติ โลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก

ดังนี้ด้วย เห็นรูปโดยทิพยจักษุด้วย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 650

ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต ๒

ดวง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๒๔] ส. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลบางคน เป็นผู้ไม่มีทิพยจักษุ เป็นผู้ไม่ได้

เฉพาะแล้ว ไม่บรรลุแล้ว ไม่การทำให้แจ้งแล้วซึ่งทิพยจักษุ แต่รู้ความ

ที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรมได้ มีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลบางคน เป็นผู้ไม่มีทิพยจักษุ

เป็นผู้ไม่ได้เฉพาะแล้ว ไม่บรรลุแล้ว ไม่กระทำให้แจ้งแล้วซึ่งทิพยจักษุ

แต่รู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรมได้มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ยถา-

กัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ.

[๘๒๕] ส. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านพระสารีบุตรรู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไป

ตามกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ท่านพระสารีบุตร รู้ความที่สัตว์ทั้งหลาย

เป็นไปตามกรรม ก็ต้องไม่กล่าวว่า ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 651

[๘๒๖] ส. ท่านพระสารีบุตร รู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไป

ตามกรรม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านพระสารีบุตรมีทิพยจักษุ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๒๗] ส. ท่านพระสารีบุตรมีทิพยจักษุ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า การตั้ง

ความปรารถนา เพื่อปุพเพนิวาสญาณ ทิพพจักขุญาณ เจโต

ปริยญาณ อิทธิวิธิ ความหมดจดแห่งโสตธาตุ และจุตูปปาตญาณ

ของเราไม่มี ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ยถากัมมูปคตญาณ

เป็นทิพยจักษุ ดังนี้.

ยถากัมมูปคตญาณกถา จบ

อรรถกถายถากัมมูปคตญาณกถา

ว่าด้วยยถากัมมูปคตญาณ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องยถากัมมูปคตญาณ ได้แก่ ญาณเป็นเครื่อง

รู้ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มี

๑. ขุ.เถร. ๒๖/๓๙๖

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 652

ความเห็นว่า ยถากัมมูปคตญาณนั่นแหละเป็นทิพยจักขุ ดังนี้ เพราะ

ไม่พิจารณาถือเอาพระสูตรว่า ตถาคต ย่อมทรงรู้แจ้งซึ่งความที่สัตว์

ทั้งหลายผู้เป็นไปตามกรรม ฯ ล ฯ ด้วยทิพยจักขุอันบริสุทธิ์ด้วยประการ

ฉะนี้ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น

ของปรวาที. ถูกสกวาทีถามอีกว่า ทำไว้ในใจซึ่งความที่สัตว์เป็น

ไปตามกรรมด้วย ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะอารมณ์ ๒ อย่างของจิต

ดวงเดียวกันไม่มี. ถูกถามครั้งที่ ๒ ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งจิตต่าง ๆ

สกวาทีไม่ให้โอกาสอันพลั้งพลาดของปรวาทีนั้น จึงถามอีกว่า เป็น

การประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ปรวาทีตอบปฏิเสธ. พึงทราบ

เนื้อความในการประกอบบทยถากัมมูปคตนี้ฉันใด ก็พึงประกอบแม้ด้วย

บทว่า อิเม วต โภนฺโต สตฺตา แปลว่า สัตว์เหล่านี้หนอ ท่าน

ทั้งหลาย เป็นต้น ฉันนั้นนั่นแหละ. คำว่า ท่านพระสารีบุตรรู้

ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรมหรือ ดังนี้ อธิบายว่า

พระสารีบุตรเถระย่อมไม่ใช้อภิญญาญาณทั้งหลาย เพราะความเป็นผู้

ปรารถนาน้อย แต่ชนบางพวกไม่รู้จิตสำคัญว่า อภิญญาญาณเหล่านั้น

ไม่มีแก่พระเถระเลย ดังนี้เหตุใด เพราะฉะนั้น ท่านสกวาทีจึงถาม

ปรวาทีผู้สำคัญว่า พระเถระไม่ได้ทิพพจักขุ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น

นั่นแหละ จึงถูกสกวาทีถามเนื้อความต่อไปว่า ท่านพระสารีบุตร

มีทิพพจักษุหรือ ปรวาทีก็ตองปฏิเสธ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ก็ตอบ

รับรองว่า อภิญญาญาณอย่างไดอย่างหนึ่งที่พระสาวกพึงบรรลุแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 653

ญาณนั้นทั้งหมด ท่านพระเถระบรรลุแล้วโดยลำดับ. บัดนี้ สกวาทีเมื่อ

จะให้ปรวาทีสับสน จึงกล่าวคำว่า ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้

ไว้ว่า การตั้งความปรารถนาเพื่อปุพเพนิวาสญาณ ทิพพจักขุญาณ

เจโตปริยญาณ อิทธิวิธ ความหมดจดแห่งโสตธาตุ และจุตูป-

ปาตญาณของเราไม่มี ดังนี้ จริงอยู่ท่านกล่าวคาถานี้ก็เพราะไม่มี

ความปรารถนาจะใช้ ท่านมิได้กล่าวเพราะไม่มีอภิญญาญาณทั้งหลาย

มิใช่หรือ แต่ปรวาทีกำหนดเนื้อความพระสูตรว่า ความปรารถนาเพื่อ

ฯ ล ฯ ของเราไม่มีเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงตอบรับรองตามลัทธิ

นั้นว่า พระเถระมีเพียงยถากัมมูปคตญาณ ไม่มีทิพพจักขุญาณ ด้วยเหตุ

นั้นนั่นแหละ สกวาทีจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านก็ไม่พึงกล่าวว่า

ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพพจักขุ ดังนี้แล.

อรรถกถายถากัมมูปคตญาณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 654

สังวรกถา

[๘๒๘] สกวาที ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ความไม่สำรวมก็มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๒๙] ส. ความไม่สำรวมไม่มีในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสำรวมก็ไม่มีในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๓๐] ส. ศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวม มิใช่

หรือ ความสำรวมมีอยู่ในหมู่ เทวดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวมใด ความ

ไม่สำรวมนั้น ก็มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ท่านจงรับรู้นิคคหะ, หากว่า ศีล คือความสำรวม

จากความไม่สำรวม ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา ด้วยเหตุนั้นนะ

ท่านจึงต้องกล่าวว่าศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวมใด ความไม่

สำรวมนั้นก็มีอยู่ในหมู่เทวดา, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้น พึงกล่าวได้

ว่า ศีล ความสำรวมจากความไม่สำรวม ความสำรวมมีอยู่ในหมู่-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 655

เทวดา แต่ไม่พึงกล่าวว่า ศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวมใด

ความไม่สำรวมนั้นก็มีอยู่ในหมู่เทวดา ดังนี้ ผิด, แต่ถ้าไม่พึงกล่าวว่า

ศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวมใด ความไม่สำรวมนั้นก็มีอยู่ใน

หมู่เทวดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า ศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวม

ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา, ที่ท่านกล่าวในปัญหานั้นว่า พึงกล่าวได้

ว่า ศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวม ความสำรวมมีอยู่ในหมู่

เทวดา แต่ไม่พึงกล่าวว่า ศีล คือความสำรวมจากความไม่สำรวมใด

ความไม่สำรวมนั้นก็มีอยู่ในหมู่เทวดา ดังนี้ ผิด.

[๘๓๑] ส. ความสำรวมมีอยู่ในมนุษย์ ความไม่สำรวมก็มี

อยู่ในหมู่มนุษย์นั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา ความไม่สำรวมก็

มีอยู่ในหมู่เทวดานั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๓๒] ส. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา ความไม่สำรวม

ไม่มีอยู่ในหมู่เทวดานั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่มนุษย์ ความไม่สำรวม

ไม่มีอยู่ในหมู่มนุษย์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 656

[๘๓๓] ส. การเว้นจากปาณาติบาต มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปาณาติบาตก็มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. การเว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ

ดื่มน้ำเมา กล่าวคือสุราเมรัย มีอยู่ในหมู่เทวดา

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ ดื่มน้ำเมา

กล่าวคือสุราและเมรัย ก็อยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๓๔] ส. ปาณาติบาตไม่มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเว้นจาnปาณาติบาต ก็ไม่มีในหมู่เทวดา

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ ดื่มน้ำเมา

กล่าวคือสุราและเมรัย ไม่มีอยู่ในหมู่เทวดา

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 657

ดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราและเมรัย ก็ไม่มีในหมู่

เทวดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๓๕ ] ป. การเว้นจากปาณาติบาตมีอยู่ในหมู่มนุษย์ ปาณา-

ติบาตก็มีอยู่ในหมู่มนุษย์นั้น หรือ ?

ส. การเว้นจากปาณาติบาตมีอยู่ในหมู่เทวดา ปาณา-

ติบาตก็มีอยู่ในหมู่เทวดา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. การเว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ

ดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราเมรัย มีอยู่ในหมู่มนุษย์ เป็นเหตุที่ตั้งแห่งความ

ประมาท คือ ดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราและเมรัย ก็มีอยู่ในหมู่มนุษย์นั้น

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ก็เว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ

ดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราและเมรัย มีอยู่ในหมู่เทวดา เหตุเป็นที่ตั้งแห่ง

ความประมาท คือดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราและเมรัย ก็มีอยู่ในหมู่เทวดา

นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๓๖] ส. การเว้นจากปาณาติบาตมีอยู่ในหมู่เทวดา ปาณา-

ติบาตไม่มีในหมู่เทวดานั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 658

ส. การเว้นจากปาณาติบาตมีอยู่ในหมู่มนุษย์ ปาณา-

ติบาตไม่มีในหมู่มนุษย์นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. การเว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ

ดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราและเมรัย มีอยู่ในหมู่เทวดา เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความ

ประมาท คือ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยไม่มีอยู่ในหมู่เทวดานั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การเว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ

ดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราและเมรัย มีอยู่ในหมู่มนุษย์ เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความ

ประมาท คือ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ไม่มีในหมู่มนุษย์นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๓๗] ป. ความสำรวมไม่มีในหมู่เทวดา หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เทวดาทั้งปวง เป็นผู้ผลาญชีวิต เป็นผู้ถือเอาสิ่ง

ของที่เจ้าของมิได้ให้ เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม เป็นผู้พูดเท็จ เป็นผู้

ตั้งอยู่ในความประมาท คือ ดื่มน้ำเมากล่าวคือสุราและเมรัย หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ความสำรวมก็มีอยู่ในหมู่เทวดา น่ะสิ.

สังวรกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 659

อรรถกถาสังวรกถา

ว่าด้วยความสำรวม

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องความสำรวม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ

เห็นว่า เทวดาทั้งหลายเบื้องบนตั้งแต่ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป ย่อมไม่ประพฤติ

ล่วงเวร ๕ คือไม่ล่วงศีล ๕ เหตุในเพราะเหตุนั้น ความสำรวมจึงมีอยู่

แก่เทพเหล่านั้น ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที เพราะไม่เห็นความปรากฏแห่งเวร ๕. ลำดับนั้น

สกวาทีจึงถามความไม่สำรวม เพราะธรรมดาว่าความสำรวมมีอยู่ ความ

ไม่สำรวมที่บุคคลพึงสำรวมก็ต้องมีอยู่. แต่ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะ

ในเทวดาทั้งหลายไม่มีปาณาติบาต เป็นต้น. คำว่า ความสำรวมมีอยู่

ในหมู่มนุษย์ เป็นต้น สกวาทีกล่าว เพื่อแสดงความเป็นไปแห่งความ

ไม่สำรวม ก็ครั้นเมื่อความสำรวมและความเป็นไปแห่งความสำรวม มีอยู่

ความไม่สำรวมก็ต้องมีอยู่. ในปัญหาว่า ปาณาติปาตา เวรมณี เป็น

ต้น พึงทราบคำตอบรับรองด้วยสามารถแห่งการไม่ประพฤติปาณาติบาต

เป็นต้น และพึงทราบคำตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มีปาณาติบาต เป็น

ต้น. ปัญหาว่าด้วยปฏิโลม มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น. ในปัญหาว่า ปาณา-

ติบาตไม่มีในหมู่เทวดาหรือ พึงทราบคำตอบรับรองของปรวาที

ด้วยสามารถแห่งการไม่ประพฤติปาณาติบาตเป็นต้น และคำปฏิเสธของ

ปรวาที เพราะความไม่มีปาณาติบาตเป็นต้น. ปัญหาว่าด้วยปฏิโลมมี

เนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 660

ในปัญหาทั้งหลายบทสุดท้ายว่า ความสำรวมไม่มีในหมู่

เทวดาหรือ คำตอบรับรองของสกวาที หมายเอาความไม่มีความสำ-

รวมจากการทำปาณาติบาตเป็นต้นอีก. ต่อจากนั้นคำถามของปรวาทีว่า

ถ้าความสำรวมของเทวดาทั้งหลายไม่มี เทวดาทั้งปวงก็ต้องเป็น

ผู้ล้างผลาญชีวิต เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งคำอันมีเลสนัย. คำ

ปฏิเสธเป็นของสกวาที เพราะไม่มีความประพฤติล่วงเวรของเทวดาทั้ง

หลาย. ปรวาทีให้ลัทธิตั้งไว้ เพราะถือเอาสักแต่คำว่า ไม่พึงกล่าว

ของสกวาที. แต่ลัทธิที่ตั้งไว้แล้วอย่างนี้ย่อมตั้งไว้ไม่ได้เลย ดังนี้แล.

อรรถกถาสังวรกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 661

อสัญญากถา

[๘๓๘] สกวาที สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นสัญญภพ เป็นสัญญคติ เป็นสัญญสัตตาวาส

เป็นสัญญสงสาร เป็นสัญญโยนิ คือ กำเนิดแห่งสัตว์ผู้มีสัญญา เป็น

สัญญัตตภาวปฏิลาภ คือ การได้อัตภาพแห่งสัตว์ผู้มีสัญญา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๓๙] ส. เป็นอสัญญภพ เป็นอสัญญคติ เป็นอสัญญ-

สัตตาวาส เป็นอสัญญสงสาร เป็นอสัญญโยนิ เป็นอสัญญัตตภาวปฏิ-

ลาภ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เป็นอสัญญภพ เป็นอสัญญคติ เป็น

อสัญญสัตตาวาส เป็นอสัญญสงสาร เป็นอสัญญโยนิ เป็นอสัญญัตต-

ภาวปฏิลาภ ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย.

[๘๔๐] ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นปัญจโวการภพ เป็นปัญจโวการคติ สัต-

ตาวาส สงสาร โยนิ อัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

๑. ภพมีขันธ์ ๕ ได้แก่กามภพ และรูปภพ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 662

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๔๑] ส. เป็นเอกโวการภพ เป็นเอกโวการคติ สัตตา-

วาส สงสาร โยนิ อัตตภาวปฏิลาภ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เป็นเอกโวการภพ คติ สัตตาวาส

สงสาร โยนิ อัตตภาวปฏิลาภ ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัญญามีอยู่ในอสัญญ-

สัตว์ทั้งหลาย.

[๘๔๒] ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทำกิจที่พึงทำด้วยสัญญาได้ด้วยสัญญานั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๔๓] ส. สัญญามีอยู่ในมนุษย์ทั้งหลาย และนั้นเป็น

สัญญภพ เป็นสัญญคติ เป็นสัญญสัตตาวาส เป็นสัญญสงสาร เป็น

สัญญโยนิ เป็นสัญญัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย และนั้นเป็น

สัญญภพ เป็นสัญญคติ เป็นสัญญสัตตาวาส เป็นสัญญสงสาร เป็น

สัญญโยนิ เป็นสัญญัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

๑. ภพมีขันธ์ ๑ คือมีแต่รูปขันธ์ ได้แก่ อสัญญภพ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 663

[๘๔๔] ส. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย และนั้นเป็น

ปัญจโวการภพ คติ สัตตาวาส สงสาร โยนิ

อัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย และนั้นเป็น

ปัญจโวการภพ คติ สัตตาวาส สงสาร โยนิ

อัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๔๕] ส. สัญญามีอยู่ในมนุษย์ทั้งหลาย ทำกิจที่พึงทำด้วย

สัญญาได้ด้วยสัญญานั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ทำกิจที่พึง

ทำด้วยสัญญาได้ด้วยสัญญานั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๔๖] ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย และนั้นเป็น

อสัญญภพ เป็นอสัญญคติ เป็นอสัญญสัตตาวาส เป็นอสัญญสงสาร

เป็นอสัญญโยนิ เป็นอสัญญัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัญญามีอยู่ในมนุษย์ทั้งหลาย และนั้นเป็น

อสัญญภพ ฯลฯ เป็นอสัญญัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 664

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๔๗] ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย และนั้น

เป็นเอกโวการภพ คติ สัตตาวาส สงสาร โยนิ

อัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัญญามีอยู่ในมนุษย์ทั้งหลาย และนั้นเป็นเอก-

โวการภพ ฯ ล ฯ อัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๔๘] ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย แต่ทำกิจที่

พึงทำด้วยสัญญาไม่ได้ด้วยสัญญานั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สัญญามีอยู่ในมนุษย์ทั้งหลาย แต่ทำกิจที่พึงทำ

ด้วยสัญญาไม่ได้ด้วยสัญญานั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๔๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เทวดาชื่อสัญญสัตว์ มีอยู่ ก็เทวดาเหล่านั้น ย่อมจุติ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 665

จากหมู่นั้น เพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง

มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น สัญญาก็มีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย

น่ะสิ.

[๘๕๐] ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย หรือ ?

ป. มีในกาลบางคราว ไม่มีในกาลบางคราว.

ส. เป็นสัญญสัตว์ในกาลบางคราว เป็นอสัญญ-

สัตว์ในกาลบางคราว เป็นสัญญภพในกาลบางคราว เป็นอสัญญภพใน

กาลบางคราว เป็นปัญจโวการภพในกาลบางคราว เป็นเอกโวการภพ

ในกาลบางคราว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๕๑] ส. สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลายในกาลบาง

คราว ไม่มีในกาลบางคราว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มีอยู่ในกาลไหน ไม่มีในกาลไหน ?

ป. มีอยู่ในกาลจุติ ในกาลอุบัติ ไม่มีในกาลตั้งอยู่.

ส. เป็นสัญญสัตว์ในกาลจุติ ในกาลอุบัติ เป็น

อสัญญสัตว์ในกาลตั้งอยู่ เป็นสัญญภพในกาลจุติ ในกาลอุบัติ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 666

เป็นอสัญญภพในกาลตั้งอยู่ เป็นปัญจโวการภพในกาลจุติ ในกาลอุบัติ

เป็นเอกโวการภพในกาลตั้งอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อสัญญกถา จบ

อรรถกถาอสัญญกถา

ว่าด้วยอสัญญา คือไม่มีสัญญา

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องสัญญา. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความ

เห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลาย ในขณะนี้ว่า สัญญามีอยู่ใน

ขณะแห่งจุติ และปฏิสนธิแม้ของอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ว่า ขึ้นชื่อว่า

ปฏิสนธิ เว้นจากวิญญาณย่อมไม่มี เพราะคำว่า วิญญาณมีสังขาร

เป็นปัจจัย ดังนี้ และคำว่า ก็แล อสัญญีเทพเหล่านั้น ย่อมจุติ

จากกายนั้น เพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดังนี้ คำถามของ

สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปราวาที. ต่อจากนั้น

๑. เรื่องนี้ในคัมภีร์ยมกอธิบายว่า สัตว์ในปัญจโวการภพและจตุโวการภพ

ขณะปฏิสนธิมีสัญญาเกิดขึ้นในขณะจุติไม่มีสัญญาเพราะสัญญากำลังดับ ผู้เข้า

นิโรธสมาบัติในขณะนิโรธ สัญญาไม่มี ส่วนสัตว์ที่เป็นเอกโวการภพ คือ อสัญ-

ญีสัตว์ทั้งหลาย ขณะเกิดก็ดี ขณะตั้งอยู่ก็ดี ขณะจุติก็ดี ไม่มีสัญญาเกิดเลย.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 667

สกวาทีเพื่อจะท้วงปรวาทีด้วยคำเป็นต้น ว่า ที่นั้นเป็นภพมีสัญญา

ตามลัทธิของท่านหรือ จึงกล่าวคำว่า เป็นสัญญีภพ เป็นสัญญ-

คติ เป็นต้น. คำนั้นทั้งปวง และคำอื่นจากคำนั้นพึงทราบโดยนัย

แห่งพระบาลีนั่นแล.

อรรถกถาอสัญญกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 668

เนวสัญญานาสัญญายตนกถา

[๘๕๒] สกวาที ไม่พึงกล่าวว่าสัญญามีอยู่ในเนวสัญญานา-

สัญญายตนภพ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นอสัญญภพ เป็นอสัญญคติ เป็นอสัญสัตตา-

วาส เป็นอสัญญาสงสาร เป็นอสัญญโยนิ เป็นอสัญญัตตภาวปฏิลาภ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๕๓] ส. เป็นสัญญภพ สัญญคติ สัญญสัตตาวา สัญญ-

สงสาร สัญญโยนิ สัญญัตตภาวปฏิลาภ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เป็นสัญญภพ เป็นสัญญคติ ฯลฯ เป็น

สัญญัตตภาวปฏิลาภ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ไม่พึงกล่าวว่าสัญญามีอยู่ในเนว-

สัญญานาสัญญายตนภพ.

[๘๕๔] ส. ไม่พึงกล่าวว่าสัญญามีอยู่ในเนวสัญญานาสัญญา.

ยตนภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นเอกโวการภพ คติ ฯลฯ อัตตภาวปฏิลาภ

หรือ

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 669

ส. เป็นจตุโวการภพ เป็นจตุโวการคติ ฯลฯ อัตต-

ภาวปฏิลาภ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เป็นจตุโวการภพ คติ ฯล ฯ อัตตภาว

ปฏิลาภ ก็ต้องไม่กล่าวว่าไม่พึงกล่าวว่าสัญญามีอยู่ในเนวสัญญานาสัญญา-

ยตนภพ.

[๘๕๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย

และนั้นเป็นสัญญภพ เป็นอสัญญคติ เป็นอสัญญสัตตาวาส เป็นอสัญญ-

สงสาร เป็นอสัญญโยนิ เป็นอสัญญัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในเนวสัญญานา

สัญญายตนภพ และนั้นก็เป็นอสัญญภพ เป็นสัญญคติ เป็นอสัญญ-

สัตตาวาส เป็นอสัญญสงสาร เป็นอสัญญโยนิ เป็นอสัญญัตตภาวปฏิ-

ลาภ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในอสัญญีสัตว์ทั้งหลาย

และนั้นเป็นเอกโวการภพ คติ ฯ ล ฯ อัตตภาว

ปฏิลาภ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

๑. ภพมีขันธ์ ๔ คือ อรูปขันธ์ ๔ ได้แก่บุคคล

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 670

ป. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในเนวสัญญานาสัญญา-

ยตนภพ และนั้นก็เป็นเอกโวการภพ คือ คติ สัตตาวาส สงสาร โยนิ

อัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๕๖] ส. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในเนวสัญญานา

สัญญายตนภพ และนั้นเป็นสัญญภพ สัญญคติ ฯลฯ สัญญัตตภาวา

ปฏิลาภ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในอสัญญีสัตว์ทั้งหลาย

และนั้นเป็นสัญญภพ สัญญคติ ฯลฯ สูญญัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๕๗] ส. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในเนวสัญญานา-

สัญญายตนภพ และนั้นเป็นจตุโวการภพ คติ

ฯลฯ อัตตภาวปฏิลาภ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในอสัญญสัตว์ทั้งหลาย

และนั้นเป็นจตุโวการภพ ฯลฯ อัตตภาวปฏิลาภ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 671

[๘๕๘] ส. ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในเนวสัญญานา

สัญญายตนภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นจตุโวการภพ

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นจตุโว-

การภพก็ต้องไม่กล่าวว่าไม่พึงกล่าว่าสัญญามีอยู่ในเนวสัญญานาสัญญา-

ยตนภพ.

[๘๕๙] ส. เนวสัญญาสัญญายตนภพ เป็นจตุโวการ-

ภพ แต่ไม่พึงกล่าวสัญญามีอยู่ในเนวสัญญานา-

สัญญายตนภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อากาสานัญจายตนภพ เป็นจตุโวการภพ แต่

ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในอากาสานัญจายตน-

ภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๖๐] ส. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นจตุโวการภพ

แต่ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่ในเนวสัญญานา

สัญญายตนภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 672

ส. วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพ

เป็นจตุโวการภพ แต่ไม่พึงกล่าวว่าสัญญามีอยู่ในอากิญจัญญายตนภพ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๖๑] ส. อากาสานัญจายตนภพเป็นจตุโวการภพ สัญญามี

อยู่ในภพนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นจตุโวการภพ

สัญญามีอยู่ในภพนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯล ฯ

ส. วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพ

เป็นจตุโวการภพ สัญญามีอยู่ในภพนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นจตุโวการภพ

สัญญามีอยู่ในภพนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๖๒] ส. ไม่พึงกล่าวว่าสัญญามีอยู่ หรือว่าไม่มีอยู่ ใน

เนวสัญญานาสัญญายตนภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นจตุโวการภพ

มิใช่หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 673

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นจตุโว-

การภพ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ไม่พึงกล่าวว่าสัญญามีอยู่ หรือว่า ไม่มีอยู่ใน

เนวสัญญานาสัญญายตนภพ.

[๘๖๓] ส. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นจตุโวการภพแต่

ไม่พึงกล่าวว่าสัญญามีอยู่ หรือว่าไม่มีอยู่ ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. อากาสานัญจายตนภพ ฯลฯ วิญญาณัญจายตน-

ภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพ เป็นจตุโวการภพ แต่ไม่พึงกล่าวว่าสัญญา

มีอยู่ หรือว่าไม่มีอยู่ ในอากิญจัญญายตนภพ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๖๔] ส. อากาสานัญจายตนภพเป็นจตุโวการภพ สัญญา

มีอยู่ในภพนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นจตุโวการภพ

สัญญามีอยู่ในภพนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพ

เป็นจตุโวการภพ สัญญามีอยู่ในภพนั้น หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 674

ป. ถูกแล้ว.

ส. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นจตุโวการภพมี

อยู่ในภพนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๖๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ

หาควรกล่าวไม่ว่า มีสัญญาหรือว่าไม่มีสัญญา หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ หาควร

กล่าวไม่ว่า มีสัญญาหรือว่าไม่มีสัญญา.

[๘๖๖] ส. เพราะทำอธิบายว่า เป็นเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนภพ จึงหาควรกล่าวไม่ว่า สัญญามีอยู่หรือว่าไม่มีอยู่ ในเนวสัญญา-

นาสัญญายตนภพ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะทำอธิบายว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนาจึง

หาควรกล่าวไม่ว่าเวทนา หรือว่ามิใช่เวทนา

๑. คำนี้เติมเข้ามาในเวลาแปล เพื่อให้รับกับกระบวนความต่อไป และเมื่อเทียง

กับอสัญญากถาก็เห็นว่า บาลีตรงนี้ควรเป็น "นวตฺตพฺพ เนวสฺานาสฺา-

ยตเน..."

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 675

ในอทุกขมสุขเวทนา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

เนวสัญญานาสัญญายตนกถา จบ

อรรถกถาเนวสัญญานาสัญญายตนกถา

ว่าด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนะ คือ อายตนะที่มี

สัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีก็ไม่ใช่. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ

ลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า ไม่พึงกล่าวว่า สัญญามีอยู่

ในภพนั้น เพราะพระบาลีว่า อายตนะนั้น มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มี

ก็ไม่ใช่ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น

ของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยแห่งพระบาลีนั่นแล.

อรรถกถาเนวสัญญานาสัญญายตนกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. พลกถา ๒. อริยนฺติกถา ๓. วิมุจจติกถา ๔. วิมุจจ-

มานกถา ๕. อัฏฐมกกถา ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา ๗. ทิพพจักขุกถา

๘. ทิพพโสตกถา ๙. ยถากัมมูปคตญาณกถา ๑๐. สังวรกถา

๑๑. อสัญญกถา ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา.

วรรคที่ ๓ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 676

วรรคที่ ๔

คิหิสส อรหาติกถา

[๘๖๗] สกวาที คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. คิหิสัญโญชน์ของพระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. คิหิสัญโญชน์ของพระอรหันต์ไม่มี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คิหิสัญโญชน์ของพระอรหันต์ไม่มี ก็

ต้องไม่กล่าวว่า คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้.

[๘๖๘] ส. คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คิหิสัญโญชน์อันพระอรหันต์ละขาดแล้ว ถอน

รากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดได้ในภายหลัง

ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า คิหิสัญโญชน์อันพระอรหันต์ละขาดแล้ว

ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่เกิดได้ในภายหลัง

ทำให้มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า คฤหัสถ์

พึงเป็นพระอรหันต์ได้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 677

[๘๖๙] ส. คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. คฤหัสถ์ไร ฯ ที่ยังมิได้ละคิหิสัญโญชน์แล้วเป็น

ผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียวมีอยู่

ป. ไม่มี.

ส. หากว่า คฤหัสถ์ไร ๆ ที่ยังมิได้ละคิหิสัญโญชน์

แล้วเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันเทียวไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า

คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้ดังนี้.

[๘๗๐] ส. คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปริพาชก ผู้วัจฉโคตร ได้กราบทูลพระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่าดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ คฤหัสถ์ไร ๆ ที่ยัง

มิได้ละคิหิสูญโญชน์แล้วเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะ

กายแตกมีอยู่หรือหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อน

วัจฉะ ไม่มีคฤหัสถ์ไร ๆ ที่ยังมิได้ละได้หิสัญโญชน์แล้วเป็นผู้

กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เพราะกายแตก ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

๑. ม.ม. ๑๓/๒๔๓

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 678

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า คฤหัสถ์พึงเป็น

พระอรหันต์ได้ดังนี้.

[๘๗๑] ส. คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ทรงเสพเมถุนธรรม พึงยังเมถุน-

ธรรมให้เกิดขึ้น พึงนอนที่นอนอันคับแคบด้วยบุตร พึงใช้ผ้ากาสิกและ

จุรณจันทน์ พึงทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ พึงยินดีเงินทอง

พึงรับแพะ แกะ ไก่ สุกร พึงรับช้าง วัว ม้า ลา พึงรับนกกระทา

นกคุ่ม และหางนกยูง พึงทรงเกี้ยว คือ เครื่องประดับมวยผม มีขั้ว

อันเหลือง พึงทรงผ้าขาวมีชายยาว พึงเป็นผู้ครองเรือนตลอดชีวิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๗๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ยสกุลบุตร อุตติยคฤหบดี เสตุมาณพ ได้บรรลุ

พระอรหัตทั้งเพศคฤหัสถ์ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ยสกุลบุตร อุตติยคฤหบดี เสตุมาณพ

ได้บรรลุพระอรหัตทั้งเพศคฤหัสถ์ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า

คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้.

คิหิสส อรหาติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 679

อรรถกถาคิหิสส อรหาติกถา

ว่าด้วยคฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องคฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้. ในเรื่องนั้น

ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด ดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า

คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์ได้ เพราะเห็นความเกิดขึ้นแห่งพระอรหันต์

ของชนทั้งหลายมีพระยส กุลบุตร เป็นต้น ผู้ดำรงอยู่ในเพศของ

คฤหัสถ์ ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น. บรรดาคำเหล่านั้น

คำว่า คิหิสฺส อธิบายว่า ผู้ใดชื่อว่า คฤหัสถ์ เพราะประกอบ

พร้อมแล้วด้วยสัญโญชน์ของคฤหัสถ์ ผู้นั้น พึงเป็นพระอรหันต์ได้

หรือ ? ส่วนปรวาทีไม่รู้ความประสงค์ เมื่อเห็นอยู่ซึ่งสักว่าเพศคฤหัสถ์

เท่านั้น จึงตอบรับรองว่า ใช่. บัดนี้สกวาทีจึงเริ่มคำว่า คิหิสัญโญชน์

ของพระอรหันต์ยังมีอยู่หรือ เป็นต้น เพื่อแสดงนัยนี้ว่า ชื่อว่าพึง

เป็นคฤหัสถ์ ย่อมเป็นด้วยสัญโญชน์ของคฤหัสถ์ มิใช่เป็นคฤหัสถ์ด้วย

สักแต่เพศ เหมือนคำทีพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

แม้หากว่า ผู้ใดมีธรรมอันประดับแล้ว

สงบแล้ว มีตนฝึกแล้ว เป็นผู้เที่ยง เป็น

พรหมจารี ละอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว พึง

๑. ข้อนี้แยกบทว่า คิหิ อสฺส อรหา แปลว่า คฤหัสถ์พึงเป็นพระอรหันต์

อีกอย่างหนึ่ง แปลว่า พระอรหันต์พึงเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ได้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 680

ประพฤติธรรมเสมอ เรากล่าวว่า ผู้นั้น เป็น

พราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ ดังนี้.

คำนั้นทั้งปวงมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น แล.

อรรถกถาคิหิสส อรหาติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 681

อุปปัตติกถา

[๘๗๓ ] สกวาที เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการผุดเกิดได้

หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นพระโสดาบันพร้อมกับการผุดเกิดก็ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๗๔] ส. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการผุดเกิดได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการผุดก็เกิดได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๗๕] ส. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการผุดเกิดได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นพระอนาคามีพร้อมกับการผุดเกิดก็ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๗๖] ส. เป็นพระโสดาบันพร้อมกับการผุดเกิดไม่ได้

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เป็นพระโสดาบันพร้อมกับการผุดเกิด

ไม่ได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า เป็นพระอรหันต์พร้อม

กับการผุดเกิดได้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 682

[๘๗๗] ส. เป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการผุดเกิดไม่ได้

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการผุดเกิด

ไม่ได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า เป็นพระอรหันต์พร้อม

กับการผุดเกิดได้.

[๘๗๘] ส. เป็นพระอนาคามีพร้อมกับการผุดเกิดไม่ได้

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เป็นพระอนาคามีพร้อมกับการผุดเกิด

ไม่ได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า เป็นพระอรหันต์พร้อม

กับการผุดเกิดได้

[๘๗๙] ส. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการผุดเกิดได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสารีบุตรเถระ เป็นพระอรหันต์พร้อมกับ

การผุดเกิด หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหากัสสป-

เถระ ฯ ล ฯ พระมหากัจจายนเถระ ฯ ล ฯ พระมหาโกฏฐิตเถระ ฯ ล ฯ

พระมหาปัณฐกเถระ เป็นพระอรหันต์ พร้อมกับการผุดเกิด หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 683

[๘๘๐] ส. พระสารีบุตรเถระ มิได้เป็นพระอรหันต์พร้อม

กับการผุดเกิด หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระสารีบุตรเถระ มิได้เป็นพระอรหันต์

พร้อมกับการผุดเกิด ก็ต้องไม่กล่าวว่า เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการ

ผุดเกิดได้

[๘๘๑] ส. พระมหาโมคคัคลานเถระ ฯ ล ฯ พระมหา-

กัสสปเถระ พระมหากัจจายนเถระ พระมหา-

โกฏฐิตเถระ ฯ ล ฯ

[๘๘๒] ส. พระมหาปัณฐกเถระ มิได้เป็นพระอรหันต์

พร้อมกับการผุดเกิด หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระมหาปัณฐกเถระ มิได้เป็น

พระอรหันต์พร้อมกับผุดเกิด ก็ต้องไม่กล่าวว่า เป็นพระอรหันต์พร้อม

กับการผุดเกิดได้.

[๘๘๓] ส. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการผุดเกิดได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตได้ด้วยจิตดวงแสวงหาการ

ผุดเกิด อันเป็นโลกิยะ มีอาสวะ ฯ ล ฯ ประกอบด้วยสังกิเลส หรือ ?

๑. คำบาลีว่า อุปปตฺเตสิเยน จิตฺเตน, นี้หมายถึง ปฏิสนธิจิต

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 684

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๘๔] ส. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการผุดเกิดได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตดวงแสวงหาการผุดเกิด เป็นเหตุนำออกจาก

สังขารวัฏให้ถึงความสิ้นไป ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็น

อารมณ์ของอาสวะ ฯ ล ฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๘๕] ส. จิตดวงแสวงหากการผุดเกิด ไม่เป็นเหตุนำออก

จากสังสารวัฏไม่เป็นธรรมให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้ถึงความ

ตรัสรู้ ไม่เป็นธรรมให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯ ล ฯ เป็น

อารมณ์ของสังกิเลส มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า จิตดวงแสวงหาการผุดเกิด ไม่เป็นเหตุ

นำออกจากสังสารวัฏ ไม่เป็นธรรมให้ถึงความสิ้นไป ไม่เป็นธรรมให้

ถึงความตรัสรู้ ไม่เป็นธรรมให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ

เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ก็ต้องไม่กล่าวว่า เป็นพระอรหันต์พร้อมกับ

การผุดเกิดได้.

[๘๘๖] ส. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการผุดเกิดได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ละราคะได้ ละโทสะได้ ละโมหะได้ ฯ ล ฯ

ละอโนตตัปปะได้ด้วยจิตดวงแสวงหาการผุดเกิด หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 685

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๘๗] ส. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการผุดเกิดได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จิตดวงแสวงหาการผุดเกิด เป็นมรรค ฯ ล ฯ

เป็นสติปัฏฐาน เป็นสัมมัปปธาน เป็นอิทธิบาท เป็นอินทรีย์ เป็น

พละ ฯลฯ เป็นโพชณงค์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๘๘] ส. เป็นพระอรหันต์พร้อมการผุดเกิดได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ

ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยจิตดวงแสวงหาการผุดเกิด

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๘๙] ส. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการผุดเกิดได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จุติจิตเป็นมรรคจิต จิตดวงแสวงหาการผุดเกิด

เป็นผลจิต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

อุปปัตติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 686

อรรถกถาอุปปัตติกถา

ว่าด้วยการผุดเกิด

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องการเกิด. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความ

เห็นผิดว่า พระอนาคามี อุบัติในสุทธาวาส ย่อมเป็นพระอรหันต์พร้อม

กับการอุบัติ เพราะถือเอาพระบาลีทั้งหลาย โดยไม่พิจารณาซึ่งมีคำว่า

เป็นอุปปาติกกำเนิด คือเกิดผุดขึ้นในเทวโลกนั้น ปรินิพพาน

แล้วในเทวโลกนั้น ดังนี้เป็นต้น หรือว่า ชนเหล่าใดผู้ศึกษา

พระพุทธพจน์อยู่ มีความเห็นว่า พระอนาคามีเป็นพระอรหันต์

พร้อมกับการอุบัติขึ้น ดังนี้ เพราะเปลี่ยนแปลงบทว่า อุปหัจจปรินิพ-

พายี ซึ่งเป็นชื่อของพระอนาคามีจำพวกหนึ่งใน ๔๘ จำพวก พระอนา-

คามีชื่อว่า อุปหัจจปรินิพพายี นี้ ท่านมีอายุก้าวล่วงกึ่งหนึ่งแห่งอายุ

ล่วงไปแล้ว อันเป็นเวลาใกล้จะปรินิพพาน ท่านก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์

แล้วจึงปรินิพพาน พวกเห็นผิดเหล่านั้น ได้เปลี่ยนชื่อจาก คำว่า

อุปหัจจปรินิพพายี มาเป็น อุปปัชชปรินิพพายี ซึ่งมีความหมายว่า

พอเกิดขึ้นก็ปรินิพพาน ดังนี้ ดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลาย

ในขณะนี้ คำถามของสกวาที หมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น

ของปรวาที. ในปัญหานั้น ชื่อว่า จิตต์ที่เกิดขึ้นย่อมเป็นโลกียจิต

ทั้งบุคคลทั้งหลาย เป็นพระโสดาบันเป็นต้นด้วยโลกียจิตต์นั้น ก็ไม่มีเลย

จะป่วยกล่าวไปใยถึงความเป็นพระอรหันต์เล่า เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดง

นัยนี้แก่ปรวาทีนั้น สกวาทีจึงเริ่มคำเป็นต้นว่า เป็นพระโสดาบัน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 687

พร้อมกับการผุดเกิดก็ได้หรือ. สกวาทีกล่าวคำว่า พระสารีบุตร

เป็นต้น เพื่อท้วงว่า บรรดาพระมหาเถระเหล่านี้ แม้องค์หนึ่ง ชื่อว่า

เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการเกิดมีหรือ. คำว่า จิตดวงแสวงหาการ

ผุดเกิด ได้แก่ ปฏิสนธิจิต จริงอยู่ ปฏิสนธิจิตนี้ ย่อมแสวงหา

การเกิด คือ สืบต่ออยู่ เพราะเหตุนั้นท่านจึงเรียกปฏิสนธิจิตนี้ว่า

จิตดวงแสวงหาการผุดเกิด. คำที่เหลือในที่นี้ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น

ดังนี้แล.

อรรถกถาอุปปัตติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 688

อนาสวกถา

[๘๙๐] สกวาที ธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ ไม่เป็นอา-

รมณ์ของอาสวะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดา-

ปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล เป็นสกทาคามิมรรค เป็นสกทาคามิผล

เป็นอนาคามิมรรค เป็นอนาคามิผล เป็นอรหัตมรรค เป็นอรหัตผล

เป็นสติปัฏฐาน เป็นสัมมัปปธาน เป็นอิทธิบาท เป็นอินทรีย์ เป็น

พละ เป็นโพชฌงค์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๙๑] ส. ธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ ไม่เป็นอารมณ์

ของอาสวะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. จักษุของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. จักษุของพระอรหันต์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 689

ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดา-

ปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล ฯ ล ฯ เป็นโพช-

ฌงค์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โสตะของพระอรหันต์ ฯ ล ฯ ฆานะของพระ-

อรหันต์ ฯ ล ฯ ชิวหาของพระอรหันต์ ฯ ล ฯ กายของพระอรหันต์ ไม่

เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๙๒] ส. กายของพระอรหันต์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดา-

ปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล ฯ ล ฯ เป็นโพชฌงค์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๙๓] ส. กายของพระอรหันต์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กายของพระอรหันต์ ยังเข้าถึงการยกย่องและ

การข่มขี่ ยังเข้าถึงการตัดและการทำลาย ยังทั่วไปแก่ฝูงกา ฝูงแร้ง

ฝูงเหยี่ยว หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 690

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ยังเข้าถึง

การยกย่องและการข่มขี่ ยังเข้าถึงการตัดและการทำลาย ยังทั่วไปแก่

ฝูงกา ฝูงแร้ง ฝูงเหยี่ยว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๙๔] ส. พิษพึงเข้าไป ศัสตราพึงเข้าไป ไฟพึงเข้าไป ใน

กายของพระอรหันต์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พิษพึงเข้าไป ศัสตราพึงเข้าไป ไฟพึงเข้าไป

ในธรรมอันไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๙๕] ส. กายของพระอรหันต์ ยังจะจองจำ ด้วยเครื่อง

จองจำคือขื่อ ด้วยเครื่องจองจำคือเชือก ด้วยเครื่องจองจำคือตรวน ด้วย

เครื่องจองจำคือบ้าน ด้วยเครื่องจองจำคือนิคม ด้วยเครื่องจองจำคือ

เมือง ด้วยเครื่องจองจำคือชนบท ด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ ได้

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ธรรมอันไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ยังจะจองจำ

ด้วยเครื่องจองจำคือขื่อ ด้วยเครื่องจองจำคือเชือก ด้วยเครื่องจองจำ

คือตรวน ด้วยเครื่องจองจำคือบ้าน ด้วยเครื่องจองจำคือนิคม ด้วย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 691

เครื่องจองจำคือเมือง ด้วยเครื่องจองจำคือชนบท ด้วยเครื่องจองจำ ๕

ประการ ได้หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๙๖] ส. ผิวา พระอรหันต์ให้จีวรแก่ปุถุชน จีวรนั้นเป็น

อารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. จีวรนั้นไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์

ของอาสวะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ของที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ของที่

เป็นอารมณ์ของอาสวะก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ของที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ของที่

เป็นอารมณ์ของอาสวะก็นั้นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรรคไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ แล้วเป็นอารมณ์

ของอาสวะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผล สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 692

พละ โพชฌงค์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว

เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๘๙๗] ส. ผิว่า พระอรหันต์ ให้บิณฑบาต ให้เสนาสนะ

ให้คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร แก่ปุถุชน คิลานปัจจยเภสัชชบริขารนั้น

ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. คิลานปัจจยเภสัชชบริขารนั้น ไม่เป็นอารมณ์

ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ของที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ของเป็น

อารมณ์ที่ของอาสวะก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ของที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ของที่

เป็นอารมณ์ของอาสวะก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. มรรคไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ แล้วเป็นอารมณ์

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผล สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 693

พละ โพชฌงค์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว เป็นอารมณ์ของอาสวะ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๙๘] ส. ผิว่า ปุถุชน ถวายจีวรแก่พระอรหันต์ จีวร

นั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะ แล้วไม่เป็นอารมณ์

ของอาสวะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๘๙๙] ส. จีวรนั้น เป็นอารมณ์ของอาสวะ แล้วไม่เป็น

อารมณ์ของอาสวะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ของที่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ของที่ไม่

เป็นอารมณ์ของอาสวะก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ของที่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ของที่ไม่

เป็นอารมณ์ของอาสวะก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ราคะเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว ไม่เป็นอารมณ์

ของอาสวะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. โทสะ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอารมณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 694

ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๐๐] ส. ผิว่า ปุถุชน ถวายบิณฑบาต ถวายเสนาสนะ

ถวายคิลานปัจจยเภสัชชบริขารแก่พระอรหันต์ คิลานปัจจยเภสัชชบริ-

ขารนั้น เป็นอารมณ์ของอาสวะ แล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๐๐] ส. ผิว่า ปุถุชน ถวายบิณฑบาต ถวายเสนาสนะ

ถวายคิลานปัจจยเภสัชชบริขารแก่พระอรหันต์ คิลานปัจจยเภสัชชบริ-

ขารนั้น เป็นอารมณ์ของอาสวะ แล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๐๑] ส. คิลานปัจจยเภสัชชบริขารนั้น เป็นอารมณ์ของ

อาสวะ แล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ของที่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ของที่ไม่

เป็นอารมณ์ของอาสวะก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ของที่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ของที่ไม่

เป็นอารมณ์ของอาสวะก็อันนั้นแหละ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 695

ส. ราคะเป็นอารมณ์ของอาสวะ แล้วไม่เป็นอารมณ์

ของอาสวะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. โทสะ ฯ ล ฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็น

อารมณ์ของอาสวะแล้ว ไม่เป็นอารมณ์ของ

อาสวะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๐๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ ไม่

เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระอรหันต์เป็นผู้ไม่มีอาสวะ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระอรหันต์เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ด้วย

เหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ ไม่เป็น

อารมณ์ของอาสวะ ดังนี้.

อนาสวกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 696

อรรถกถาอนาสวกถา

ว่าด้วยอนาสวะ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องอนาสวะ คือ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ .

ในเรื่องนั้นชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะ

ทั้งหลาย ในขณะนี้ว่า ธรรมเหล่าใด ของพระอรหันต์ผู้ไม่มีอาสวะ

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ดังนี้ สกวาทีหมายถึงชน

เหล่านั้น จึงถามว่า ธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ เป็นต้น คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที เพื่อท้วงว่า ธรรมทั้งหลาย

มีมรรคเป็นต้น ชื่อว่าไม่มีอาสวะ มีอยู่ ธรรมเหล่านั้นเท่านั้น ย่อม

เกิดแก่พระอรหันต์หรือ ? จึงเริ่มคำว่า ธรรมทั้งปวงเป็นมรรค เป็น

ผล เป็นต้น. ถูกสกวาทีถามว่า จักขุของพระอรหันต์ไม่เป็น

อารมณ์ของอาสวะหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความที่จักษุนั้น

เป็นอารมณ์ของอาสวะ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ปรวาทีตอบรับรองว่า จักขุ

ของพระอรหันต์ไม่เป็นอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.

ในปัญหาว่าด้วย การให้จีวร ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะกลัวผิด

จากลักษณะแห่งปัญหานี้ว่า ธรรมอย่างหนึ่งเที่ยวไม่เป็นอาสวะ แต่

๑. คำว่า "อาสวะ" คือ กิเลสเป็นเครื่องมักดองอยู่ในสันดานของสัตว์

มี ๔ คือ ๑. กามาสวะ ๒. ภวาสวะ ๓. ทิฏฐาสวะ ๔. อวิชชาสวะ.

คำว่า "ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ" ได้แก่ โลกุตตรจิต ๘ เจตสิก ๓๖

นิพพาน.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 697

เป็นอารมณ์ของอาสวะ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ปรวาทีตอบรับรองว่า จีวร

ของพระอรหันต์ไม่เป็นอาสวะ แต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ แม้ใน ๒

ปัญหาว่า ของที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ก็นัยนี้นั่น

แหละ. แต่สกวาทีย่อมท้วงเพราะการรับรองของปรวาทีในคำว่า ของ

ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะอันนั้น ด้วยคำเป็นต้นว่า มรรคไม่

เป็นอารมณ์ของอาสวะ แล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะหรือ. พึง

ทราบเนื้อความในที่ทั้งปวงโดยอุบายนี้แล.

อรรถกถาอนาสวะกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 698

สมันนาคตกถา

[๙๐๓] สกวาที พระอรหันต์ประกอบด้วยผล ๔ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยผัสสะ ๔ ด้วยเวทนา ๔

ด้วยปัญญา ๔ ด้วยเจตนา ๔ ด้วยจิต ๔ ด้วยศรัทธา ๔ ด้วยวิริยะ ๔

ด้วยสติ ๔ ด้วยสมาธิ ๔ ด้วยปัญญา ๔ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๐๔] ส. พระอนาคามีประกอบด้วยผล ๓ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีประกอบด้วยผัสสะ ๓ ฯ ล ฯ ด้วย

ปัญญา ๓ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๐๕] ส. พระสกทาคามีประกอบด้วยผล ๒ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีประกอบด้วยผัสสะ ๒ ฯลฯ ด้วย

ปัญญา ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๐๖] ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 699

ส. พระอรหันต์เป็นพระโสดาบันผู้สัตตขัตตุปรมะ

ผู้โกลังโกละ ผู้เอกพีชี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์เป็นพระสกทาคามี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยอนาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์เป็นพระอนาคามีผู้อันดราปรินิพ

พายี ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ผู้อสังขารปรินิพพายี ผู้สสังขารปรินิพพายี

ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๐๗] ส. พระอนาคามีประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีเป็นพระโสดาบันผู้สัต ขัตตุปรมะ

ผู้โกลังโกละ ผู้เอกพีชี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯล ฯ

ส. พระอนาคามีประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 700

ส. พระอนาคามีเป็นพระสกทาคามี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๐๘] ส. พระสกทาคามีประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีเป็นพระโสดาบันผู้สัตตขัตตุปรมะ

ผู้โกลังโกละ ผู้เอกพีชี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๐๙ ] ส. ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล พึงกล่าวว่า โสดาบัน

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์องค์นั้น พระโสดาบันก็องค์นั้น

แหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๑๐] ส. ผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล พึงกล่าวว่า สก-

ทาคามิ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 701

ส. พระอรหันต์องค์นั้น พระสกทาคามีก็องค์นั้น

แหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๑๑] ส. ผู้ประกอบด้วยอนาคามิผล พึงกล่าวว่า อนาคามี

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยอนาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์องค์นั้น พระอนาคามีองค์นั้น

แหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๑๒] ส. ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล พึงกล่าวว่าโสดาบัน

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีองค์นั้น พระโสดาบันก็องค์นั้น

แหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๑๓] ส. ผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล พึงกล่าวว่า สก-

ทาคามี หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 702

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีองค์นั้น พระสกทาคามีก็องค์นั้น

แหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๑๔] ส. ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผลพึงกล่าวว่า โสดาบัน

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีองค์นั้น พระโสดาบันก็องค์นั้น

แหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๑๕] ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์เลยโสดาปัตติผลไปแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์เลยโสดาปัตติต่อไปแล้ว ก็

ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ประกอบด้วยโสดาปัตติผล.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 703

[๙๑๖] ส. พระอรหันต์เลยโสดาปัตติผลเลย ยังชื่อว่าประ-

กอบด้วยโสดาปัตติผลนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์เลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว เลย

สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะที่เป็นอปายคามี โทสะ

ที่เป็นอปายคามี โมหะที่เป็นอปายคามี ไปแล้ว ยังชื่อว่าประกอบด้วย

โมหะที่เป็นอปายคามีนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๑๗] ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์เลยสกทาคามิผลไปแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์เลยสกทาคามิผลไปแล้ว

ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ประกอบด้วยสกทาคามิผล.

[๙๑๘] ส. พระอรหันต์เลยสกทาคามิผลไปแล้ว ยังชื่อว่า

ประกอบด้วยสกทาคามิผลนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์เลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว เลย

กามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบไปแล้ว ยังชื่อว่า ประกอบด้วย

พยาบาทอย่างหยาบนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 704

[๙๑๙ ] ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยอนาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์เลยอนาคามิผลไปแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์เลยอนาคามิผลไปแล้ว ก็

ต้องไม่กล่าวว่า พระอรหันต์ประกอบด้วยอนาคามิผล.

[๙๒๐] ส. พระอรหันต์เลยอนาคามิผลไปแล้ว ยังชื่อว่า

ประกอบด้วยอนาคามิผลนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พรอรหันต์เลยอนาคามิมรรคไปแล้ว เลยกาม-

ราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดไปแล้ว ยังชื่อว่า ประกอบ

ด้วยพยาบาทอย่างละเอียดนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๒๑] ส. พระอนาคามีประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีเลยโสดาปัตติผลไปแล้วมิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอนาคามีเลยโสดาปัตติผลแล้ว ก็

ต้องไม่กล่าวว่า พระอนาคามีประกอบด้วยโสดาปัตติผล.

[๙๒๒] ส. พระอนาคามีเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ยังชื่อว่า

ประกอบด้วยโสดาปัตติผลนั้น หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 705

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว เลย

สักกายทิฏฐิ ฯ ล ฯ โมหะที่เป็นอปายคามีไปแล้ว ยังชื่อว่า ประกอบ

ด้วยโมหะที่เป็นอปายคามีนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๒๓] ส. พระอนาคามีประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีเลยสกทาคามิผลไปแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอนาคามีเลยสกทาคามิผลไปแล้ว

ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระอนาคามีประกอบด้วยสกทาคามิผล.

[๙๒๔] ส. พระอนาคามีเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ยังชื่อว่า

ประกอบด้วยสกทาคามิผลนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีเลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว เลย

กามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบไปแล้ว ยังชื่อว่าประกอบด้วย

พยาบาทอย่างหยาบนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๒๕] ส. พระสกทาคามีประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 706

ส. พระสกทาคามีเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว มิใช่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระสกทาคามีเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว

ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระสกทาคามีประกอบด้วยโสดาปัตติผล.

[๙๒๖] ส. พระสกทาคามีเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ยังชื่อว่า

ประกอบด้วยโสดาปัตติผลนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว เลย

สักกายทิฏฐิ ฯ ล ฯ โมหะที่เป็นอปายคามีไปแล้ว ยังชื่อว่าประกอบด้วย

โมหะที่เป็นอปายคามีนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๒๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระอรหันต์ประกอบด้วยผล ๔

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระอรหันต์ได้ผล ๔ แล้ว และไม่เสื่อมจากผล ๔

นั้น มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระอรหันต์ได้ผล ๔ และไม่เสื่อมจาก

ผล ๔ นั้นด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระอรหันต์ประกอบด้วย

ผล ๔

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 707

[๙๒๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระอนาคามีประกอบด้วยผล ๓

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระอนาคามีได้ผล ๓ แล้ว และไม่เสื่อมจาก

ผล ๓ นั้น มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระอนาคามีได้ผล ๓ และไม่เสื่อมจาก

ผล ๓ นั้น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระอนาคามีประกอบ

ด้วยผล ๓

[๙๒๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระสกทาคามีประกอบด้วยผล ๒

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระสกทาคามี ได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อมจาก

ผล ๒ นั้น มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระสกทาคามี ได้ผล ๒ แล้ว และ

ไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้น ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า พระสกทาคามี

ประกอบด้วยผล ๒.

[๙๓๐] ส. พระอรหันต์ ได้ผล ๔ แล้ว และไม่เสื่อมจาก

ผล ๔ นั้น เพราะเหตุนั้น พระอรหันต์จึงชื่อว่า ประกอบด้วยผล ๔

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 708

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ได้มรรค ๔ แล้วไม่เสื่อมจากมรรค

๔ นั้น เพราะเหตุนั้น พระอรหันต์จึงชื่อว่า ประกอบด้วยมรรค ๔

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๓๑] ส. พระอนาคามี ได้ผล ๓ แล้ว และไม่เสื่อมจาก

ผล ๓ นั้น เพราะเหตุนั้น พระอนาคามีจึงชื่อว่า ประกอบด้วยผล ๓

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอนาคามีได้มรรค ๓ แล้ว และไม่เสื่อมจาก

มรรค ๓ นั้น เพราะเหตุนั้น พระอนาคามีจึงชื่อว่า ประกอบด้วย

มรรค ๓ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๓๒] ส. พระสกทาคามี ได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อม

จากผล ๒ นั้น เพราะเหตุนั้น พระสกทาคามีจึงชื่อว่า ประกอบด้วย

ผล ๒ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสกทาคามีได้มรรค ๒ แล้ว และไม่เสื่อม

จากมรรค ๒ นั้น เพราะเหตุนั้น พระสกทาคามีจึงชื่อว่า ประกอบด้วย

มรรค ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สมันนาคตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 709

อรรถกถาสมันนาคตกถา

ว่าด้วยผู้ประกอบ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องผู้ประกอบ. ในเรื่องนั้น การประกอบมี

๒ อย่าง. คือ.- การประกอบในความเป็นผู้พร้อมเพรียงกันในขณะ

แห่งปัจจุบัน ๑. การประกอบคือการได้เฉพาะโดยบรรลุภูมิใดภูมิหนึ่ง

มีรูปาวจรเป็นต้น ๑. การประกอบคือการบรรลุภูมิใดภูมิหนึ่งนั้นยังไม่

เสื่อมจากคุณวิเศษที่ตนบรรลุแล้วเพียงใด ก็ชื่อว่า เป็นผู้ได้คุณวิเศษ

อยู่เพียงนั้นนั่นแหละ.

อนึ่ง ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด ดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะ

ทั้งหลายในขณะนี้ว่า ยกเว้นการประกอบ ๒ อย่างนี้แล้ว ชื่อว่าการ

ประกอบอย่างอื่นอันหนึ่งมีอยู่ด้วยสามารถแห่งปัตติธรรม คือ ธรรมที่

บรรลุ ดังนี้ เพื่อให้ชนเหล่านั้นเข้าใจตามว่า ชื่อว่าปัตติธรรม

คือธรรมเป็นเครื่องบรรลุของพระอรหันต์ อะไร ๆ มีอยู่ ปัตติธรรม

อะไร ๆ ไม่มีอยู่ จึงถามว่า พระอรหันต์ประกอบด้วยผล ๔ หรือ

คำตอบรับรองหมายเอาการบรรลุผลเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที

จึงเริ่มคำเป็นต้นว่า พระอรหันต์ประกอบด้วยผัสสะ ๔ หรือ

เพื่อท้วงว่า ถ้าพระอรหันต์ประกอบด้วยผลทั้ง ๔ ดุจถึงพร้อมด้วยนาม

ขันธ์ ๔ ไซร้ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ ธรรมทั้งหลายเหล่าใด

๑. คำว่า "สมนฺนาคตกถา" แปลว่า เรื่องผู้ประกอบ หรือ เรื่องผู้ถึงพร้อมแล้ว

๒. คำว่า ผัสสะ ๔ คือ ผัสสะเจตสิกที่เกิดกับโสดาปัตติผลจิต สกทาคามิผลจิต

อนาคามิผลจิต และ อรหัตตผลจิต.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 710

อย่างละ ๔ ในผลทั้ง ๔ เป็นต้น ธรรมเหล่านั้นก็ย่อมถึงพร้อมแก่

พระอรหันต์เพราะการประกอบแล้วด้วยธรรมอย่างละ ๔ นั้น ดังนี้.

คำทั้งปวงนั้น ปรวาทีตอบปฏิเสธแล้วเพราะความไม่มีผัสสะ เป็นต้น

อย่างละ ๔ ในขณะเดียวกัน. แม้ในปัญหาว่าด้วย พระอนาคามี ก็

นัยนี้เหมือนกัน. คำว่า พระอรหันต์เลยโสดาปัตติผลไปแล้ว

มิใช่หรือ อธิบายว่า ก็สกวาทีย่อมถามว่า พระอรหันต์เลย เพราะ

การไม่เกิดขึ้นอีกไม่เหมือนทุติยฌานลาภีบุคคลผู้ผ่านเลยปฐมฌานไป

แล้ว. คำว่า โสดาปัตติมรรค เป็นต้นที่สกวาทีปรารภแล้ว ก็เพื่อ

แสดงถึงความไม่เกิดขึ้นอีกของมรรคนั้น เพราะปฏิบัติผ่านเลยไปแล้ว.

ในปัญหาว่า ไม่เสื่อมจากผล ๔ นั้น ความว่า ธรรม

คือโลกียฌานทั้งหลายย่อมเสื่อมด้วยธรรมอันเป็นข้าศึก ฉันใด โลกุตตร-

ธรรมจะเป็นฉันนั้นก็หาไม่. จริงอยู่กิเลสเหล่าใดที่มรรคละอยู่ กิเลส

เหล่านั้นย่อมสงบระงับไปด้วยผล ทั้งกิเลสเหล่านั้นท่านก็ละแล้ว เป็น

ธรรมชาติสงบระงับไปแล้ว เหตุใดเพราะเหตุนั้น สกวาทีจึงตอบรับรอง

ว่า ใช่. เนื้อความนี้นั้นแหละ ท่านอธิบายไว้แล้วในคำทั้งหลายข้างหน้า

ซึ่งมีคำว่า พระอรหันต์ได้มรรค ๔ แล้ว และไม่เสื่อมจากมรรค ๔

นั้น เป็นต้น. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น แล.

อรรถกถาสมันนาคตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 711

อุเบกขาสมันนาคตกถา

[๙๓๓] สกวาที พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ๖ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยผัสสะ ๖ ด้วยเวทนา ๖

ด้วยสัญญา ๖ ฯ ล ฯ ด้วยปัญญา ๖ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๓๔] ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ๖ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์เห็นรูปด้วยจักษุอยู่ ยังฟังเสียง

ด้วยโสตได้ ยังสูดกลิ่นด้วยฆานะได้ ยังลิ้มรสด้วยชิวหาได้ ยังถูกต้อง

โผฏฐัพพะด้วยกายได้ยังรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจได้ ฯ ล ฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วย

ใจอยู่ ยังเห็นรูปด้วยจักษุได้ ยังฟังเสียงด้วยโสตได้ ยังสูดกลิ่นด้วย

ฆานะได้ ยังลิ้มรสด้วยชิวหาได้ ยังถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๓๕] ส. พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ๖ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ประกอบ ตั้งมั่นด้วยอุเบกขา ๖ อุเบกขา ๖

ปรากฏเนือง ๆ สม่ำเสมอ ไม่ระคนกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 712

[๙๓๖] ป. ไม่พึงกล่าว พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ๖

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระอรหันต์มีอุเบกขา ๖ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระอรหันต์มีอุเบกขา ๖ ด้วยเหตุนั้นนะ

ท่านจึงต้องกล่าวว่า พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ๖.

อุเบกขาสมันนาคกถา จบ

อรรถกถาอุเบกขาสมันนาคตกถา

ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยอุเบกขา

แม้ในเรื่องว่า "พระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา ๖"

บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ คือนัยที่กล่าวมาแล้ว. จริงอยู่ พระ-

อรหันต์ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยอุเบกขา

เกิดแก่ท่าน แต่อุเบกขาทั้ง ๖ ทวารนั้นมิได้เกิดขึ้นแก่ท่านในขณะเดียว

กันเท่านั้น.

อรรถกถาอุเบกขาสมันนาคตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 713

โพธิยา พุทโธติกถา

[๙๓๗] ส. สกวาที ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่อง

ตรัสรู้ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. เมื่อปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดับไปแล้ว ปราศจาก

ไปแล้วระงับไปแล้ว ก็กลับเป็นผู้มิใช่พุทธะ

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๓๘] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นอดีต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๓๙] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นอดีต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ยังกระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้

ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 714

[๙๔๐] ส. ยังกระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้

ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ยังกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ

ยังมรรคให้เกิดได้ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๔๑] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นอนาคต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๔๒] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นอนาคต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้

ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๔๓] ส. กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้

ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 715

ส. กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วย

ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๔๔] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นปัจจุบัน กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญา

เป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นอดีต กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญา

เป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๔๕] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นปัจจุบัน กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้ง นิโรธ ยังมรรคให้

เกิดได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นอดีต กำหนดรู้ทุกข์ ฯ ล ฯ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่อง

ตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๔๖] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นปัจจุบัน กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 716

เป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นอนาคต กระทำกิจที่พึงกระทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วย

ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๔๗] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นปัจจุบัน กำหนดรู้ทุกข์ ฯ ล ฯ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยปัญญาเป็น

เครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นอนาคต กำหนดรู้ทุกข์ ฯ ล ฯ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยปัญญาเป็น

เครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๔๘] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นอดีต แต่กระทำกิจที่พึงทำ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ไม่ได้ด้วย

ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นปัจจุบัน แต่กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ไม่ได้ด้วย

ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 717

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๔๙] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นอดีต แต่กำหนดรู้ทุกข์ ฯ ล ฯ ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยปัญญาเป็น

เครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นปัจจุบัน แต่กำหนดรู้ทุกข์ ฯ ล ฯ ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยปัญญา

เป็นเครื่องตรัสรู้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๕๐] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นอนาคต แต่กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ไม่ได้ด้วย

ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นปัจจุบัน แต่กระทำกิจที่พึงกระทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ไม่ได้

ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๕๑] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นอนาคต แต่กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยปัญญาเป็น

เครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 718

ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นปัจจุบัน แต่กำหนดรู้ทุกข์ ฯ ล ฯ ยังมรรคให้เกิดไม่ได้ด้วยปัญญา

เป็นเครื่องตรัสรู้นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๕๒] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่

เป็นอดีต ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต

ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๕๓] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ประกอบ ตั้งมั่น ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้ง

๓ ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้ง ๓ ปรากฏเนือง ๆ สม่ำเสมอ ไม่ระคน

กัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๕๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็น

เครื่องตรัสรู้ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 719

ป. ชื่อว่า พุทธะ เพราะการได้ปัญญาเป็นเครื่อง

ตรัสรู้ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะการได้ปัญญาเป็น

เครื่องตรัสรู้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะ

ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้.

[๙๕๕] ส. ชื่อว่า พุทธะ เพราะการได้ปัญญาเป็นเครื่อง

ตรัสรู้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชื่อว่า โพธิ คือปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ก็เพราะ

การได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

โพธิยา พุทโธติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 720

อรรถโพธิยา พุทโธติกถา

ว่าด้วยคำว่า ชื่อว่าพุทธะเพราะโพธิ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องชื่อว่าพุทธะเพราะโพธิ คือปัญญาเป็นเครื่อง

ตรัสรู้. ในเรื่องนั้น คำว่า " โพธิ " เป็นชื่อของมัคคญาณ ๔ บ้าง

เป็นชื่อของสัพพัญญุตญาณบ้าง. เพราะฉะนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็น

ดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลาย นั่นแหละในขณะนี้ว่า ชื่อว่า

เป็นพระพุทธเจ้าเพราะโพธิ เหมือนคำว่า ชื่อว่าคนขาวเพราะผิวขาว

ชื่อว่าคนดำเพราะผิวดำ ฉะนั้น ดังนี้ คำถามก็ดี คำซักถามก็ดีของ

สกวาทีหมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองก็ดี. คำปฏิเสธก็ดี เป็นของ

ปรวาที. ในปัญหาว่า เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต เป็น

ต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะขณะนั้นไม่มี. ถูกถามครั้งที่ ๒ ท่านตอบ

รับรองหมายเอาการได้โดยเฉพาะ. ถูกถามด้วยด้วยสามารถแห่งกิจอีก

๑. คำว่า โพธิ แปลว่าปัญญาเครื่องตรัสรู้ ในที่นี้ ท่านหมายเอามัคคญาณบ้าง

สัพพัญญุตญาณบ้าง ท่านผู้รู้ได้กล่าวคำว่า " โพธิ " ไว้ ๕ นัย คือ.- ๑. ต้น

โพธิที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อุทาหรณ์ว่า โพธิรุกฺขมูเล ปมาภิสมฺพุทฺโธ. แปลว่า

เป็นพระอภิสัมพุทธะครั้งแรกที่ควงไม้โพธิ์ ๒. มัคคจิต อุทาหรณ์ว่า โพธิ

วุจฺจติ จตูสุ มคฺเคสุ าณ. แปลว่า ญาณในมรรค ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกว่า โพธิ ๓. สัพพัญญุตญาณ อุทาหรณ์ว่า ปปฺโปตี โพธิ วรภูริ

เมธโส. แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุโพธิ คือสัพพัญญุตญาณ

ด้วยภูมิปัญญาอันยอดเยี่ยม ๔. พระนิพพานอุทาหรณ์ว่า ปตฺวาน โพธิ อมต

อสงฺขต. แปลว่า ทรงบรรลุแล้วซึ่งโพธิ คือพระนิพพาน อันเป็นอมตะอัน

ปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว ๕. เป็นชื่อเฉพาะ อุทาหรณ์ว่า โพธิ

ภนฺเต ราชกุมาโร. แปลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราชกุมาร ชื่อว่า โพธิ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 721

ท่านตอบปฏิเสธเพราะไม่มีกิจที่พึงทำ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ท่านตอบรับรอง

ซึ่งความที่กิจอันใดที่ปัญญานั้นทำแล้วเป็นผู้ไม่หลงลืมในกิจนั้น. ก็แล

สกวาทีไม่ให้โอกาสอันมีเลศนัยจึงถามโดยนัยว่า ยังกำหนดรู้ทุกข์

เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะความไม่มีกิจนั้น. ในปัญหาว่าด้วย

อนาคต ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะไม่มีมรรคญาณในขณะนั้น. ถูกถาม

ครั้งที่ ๒ ปรวาทีผู้สำคัญอยู่ซึ่งความเป็นพระพุทธเจ้า เพราะโพธิอัน

เป็นอนาคตด้วยบาลีว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จถึงเมืองราชคฤห์แล้ว

เป็นต้น จึงตอบรับรอง. ถูกถามว่า กระทำกิจที่พึงทำด้วยปัญญา

เป็นเครื่องตรัสรู้ ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะความไม่มีกิจในขณะนั้น.

ถูกถามครั้งที่ ๒ ท่านตอบรับรองด้วยคำว่า ชื่อว่ากำลังทำอยู่นั่นแหละ

เพราะใคร ๆ ไม่พึงกล่าวว่าพระพุทธเจ้าไม่พึงทำกรณียกิจควรกล่าวได้ว่า

จักทำแน่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ากระทำอยู่นั่นแหละ. ถูกสกวาทีถาม

แล้วโดยไม่ให้โอกาสอันมีเลศนัยอีก ก็ตอบปฏิเสธ. ปัญหาว่าด้วยปัจจุ-

บันพร้อมทั้งการเปรียบเทียบมีอรรถตื้นทั้งนั้น.

ถูกถาม รวมโพธิ ๓ คือที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน

เป็นอย่างเดียวกัน ท่านหมายเอาสัพพัญญุตญาณจึงตอบรับรอง เพราะ

ภาวะอันบุคคลพึงกล่าวว่าเป็นพระพุทธเจ้าด้วยโพธิทั้ง ๓. ถูกถามรวม

โพธิทั้ง ๓ อีก ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะญาณทั้ง ๓ นั้น ไม่มีในขณะ

เดียวกัน. ถูกถามครั้งที่ ๒ ท่านก็ตอบรับรองด้วยสามารถแห่งสัพพัญญุต-

ญาณที่เป็นทั้งอดีตอนาคตและปัจจุบัน. สกวาที่ไม่ให้โอกาสอันมีเลศนัย

แก่ปรวาทีอีก จึงถามว่า ประกอบตั้งมั่น เป็นต้น ท่านตอบปฏิเสธ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 722

คำถามว่า ไม่พึงกล่าวว่า ชื่อว่าพุทธะเพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้

หรือ เป็นของปรวาที. คำรับรองเป็นของสกวาที เพราะไม่บรรลุ

ความเป็นพระพุทธเจ้าในขณะแห่งโพธิหามีไม่. อนึ่งในปัญหาว่า เพราะ

การได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้มิใช่หรือ สกวาทีนั้นนั่นแหละ

ตอบรับรองว่า ใช่ เพราะสภาพแห่งสมมุติว่า มัคคญาณอันบัณฑิตเรียก

ว่าโพธิเกิดขึ้นแล้วในสันดานใด ในสันดานนั้นชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า.

เพราะไม่ทราบถึงคำอธิบายของสกวาที ปรวาทีจึงตั้งลัทธิไว้ด้วยคำว่า

ว่า หากว่าชื่อว่าพุทธะเพราะการได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ด้วย

เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่าชื่อว่าพุทธะเพราะปัญญาเป็นเครื่อง

ตรัสรู้ บัดนี้เป็นคำถามของสกวาทีว่า ชื่อพุทธะเพราะการได้

ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พุทธะเพราะปัญญา

เป็นเครื่องตรัสรู้หรือ เพื่อทำเนื้อความที่ปรวาทีนั้นไม่กำหนดไว้ให้

ปรากฏ. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งปัญหานั้นว่า ชื่อว่าเป็นพระ-

พุทธเจ้าเพราะการได้เฉพาะซึ่งโพธิตามลัทธิของท่าน เหตุใดเพราะเหตุ

นั้นจึงชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าเพราะโพธิหรือ. เมื่อปรวาทีไม่กำหนด

การวิภาคนี้ว่า ครั้นเมื่อโพธิเกิดขึ้นแม้ดับไปแล้วภาวะที่เกิดขึ้นแล้วใน

สันดานนั่นแหละ ชื่อว่าการได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ญาณในขณะ

แห่งมรรค ชื่อว่าโพธิ ดังนี้ จึงตอบรับรองอีก. ที่นั้นจึงถูกถามว่า

ชื่อว่าโพธิก็เพราะการได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้หรือ เมื่อไม่ได้

โอกาสที่จะกล่าวอะไรได้ ท่านจึงตอบปฏิเสธ ดังนี้แล.

อรรถกถาโพธิยาพุทโธติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 723

เรื่องทั้ง ๓ ดังพรรณนามานี้เป็นของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลาย

นั้นแล.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 724

ลักขณกถา

[๙๕๖] สกวาที ผู้ประกอบด้วยลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์

หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ผู้ประกอบด้วยลักษณะบางส่วน เป็นพระโพธิ-

สัตว์ บางส่วน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๕๗] ส. ผู้ประกอบด้วยลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ประกอบด้วยลักษณะ ๑ ใน ๓ ส่วน เป็น

พระโพธิสัตว์ ๑ ใน ๓ ส่วน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๕๘] ส. ผู้ประกอบด้วยลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ประกอบด้วยลักษณะกึ่งหนึ่ง เป็นพระโพธิ-

สัตว์กึ่งหนึ่ง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๕๙] ส. ผู้ประกอบด้วยลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 725

ส. จักกวัตตสัตว์เป็นผู้ประกอบด้วยลักษณะ จักก-

วัตติสัตว์ก็เป็นพระโพธิสัตว์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๖๐] ส. จักกวัตติสัตว์เป็นผู้ประกอบด้วยลักษณะ จักก-

วัตติสัตว์ก็เป็นพระโพธิสัตว์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุรพประโยค บุรพจริยา การกล่าวธรรม การ

แสดงธรรมของพระโพธิสัตว์ เป็นเช่นใด บุรพประโยค บุรพจริยา

การกล่าวธรรม การแสดงธรรม ของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็เป็นเช่นนั้น

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๖๑] ส. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ พวกเทวดารับก่อน

พวกมนุษย์รับภายหลัง ฉันใด เมื่อจักกวัตติสัตว์ประสูติ พวกเทวดา

รับก่อน พวกมนุษย์รับภายหลัง ฉันนั้นเหมือนกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๖๒] ส. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ เทวบุตร ๔ องค์รับ

แล้ววางไว้เบื้องหน้าพระมารดา ทูลว่า ข้าแต่พระเทวี ทรงดีพระทัย

เถิด พระโอรสผู้มีศักดิ์ใหญ่ของพระองค์บังเกิดแล้วฉันใด เมื่อจักกวัตติ-

สัตว์ประสูติ เทพบุตร ๔ องค์รับแล้ววางไว้เบื้องหน้าพระมารดา ทูลว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 726

ข้าแต่พระเทวี ทรงดีพระทัยเถิด พระโอรสผู้มีศักดิ์ใหญ่ของพระองค์

บังเกิดแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๖๓] ส. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ ธารน้ำทั้ง ๒ คือ

ธารน้ำเย็น ๑ ธารน้ำร้อน ๑ ปรากฏจากอากาศ สำหรับเป็นน้ำสรง

ของพระโพธิสัตว์และพระมารดา ฉันใด เมื่อจักกวัตติประสูติ ธารน้ำ

ทั้ง ๒ คือ ธารน้ำเย็น ๑ ธารน้ำร้อน ๑ ก็ปรากฏจากอากาศ สำหรับ

เป็นน้ำสรงของจักกวัตติสัตว์และพระมารดา ฉันนั้นเหมือนกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๖๔] ส. พระโพธิสัตว์พอประสูติแล้วเดี๋ยวนั้น ก็ทรงยืน

ได้ด้วยพระบาททั้ง ๒ อันเสมอกัน ผันพระพักตร์ทางทิศอุดร ทรงดำ-

เนินได้ ๗ ก้าว มีพระกรดขาวกั้นตามไป ทรงแลดูทิศทั้งปวง และทรง

เปล่งอาสภิวาจาว่า เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้ใหญ่แห่งโลก

เราเป็นผู้ประเสริฐสุดแห่งโลก ชาตินี้เป็นที่สุด บัดนี้ ภพใหม่

เป็นไม่มีอีกละ ดังนี้ ฉันใด จักกวัตติสัตว์พอประสูติแล้วเดี๋ยวนั้น

ก็ยินได้ด้วยพระบาททั้ง ๒ อันเสมอ ผันพระพักตร์ไปทางทิศอุดร ทรง

ดำเนินไปได้ ๗ ก้าว มีพระกรดขาวกั้นตามไป ทรงแลดูทิศทั้งปวง

และทรงเปล่งอาสภิวาจาว่า เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้ใหญ่

แห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดแห่งโลก ชาตินี้เป็นที่สุด บัดนี้

ภพใหม่เป็นไม่มีละ ฉันนั้นเหมือนกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 727

[๙๖๕] ส. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ ย่อมปรากฏแสงสว่าง

ใหญ่ โอภาสใหญ่ แผ่นดินไหวใหญ่ ฉันใด เมื่อจักกวัตติสัตว์ประสูติ

ก็ย่อมปรากฏแสงสว่างใหญ่ โอภาสใหญ่ แผ่นดินไหวใหญ่ ฉันนั้น

เหมือนกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๖๖] ส. พระกายตามปกติของพระโพธิสัตว์ ฉายพระ-

รัศมีออกไปวา ๑ โดยรอบ ฉันใด พระกายตามปกติของจักกวัตติสัตว์

ก็ฉายพระรัศมีออกไปวา ๑ โดยรอบ ฉันนั้นเหมือนกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๖๗] ส. พระโพธิสัตว์ ทรงเห็นมหาสุบิน ฉันใด จักก-

วัตตสัตว์ ก็ทรงเห็นมหาสุบิน ฉันนั้นเหมือน

กัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๖๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะ เป็น

พระโพธิสัตว์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษ ๓๒ ประการนี้ ที่

พระมหาบุรุษผู้ประกอบมีคติเป็น ๒ เท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 728

ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรม

ราชา ทรงพิชิตตลอดปฐพี มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นที่สุด ทรง

เจนจบรัฐประศาสโนบายเป็นเหตุมั่นคงแห่งชนบท ทรงประกอบ

ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เพราะรัตนะ ๗ ประการนี้ ย่อมบังเกิดแก่

ท้าวเธอ คือจักกรัตนะ ได้แก่จักรแก้ว หัตถิรัตนะ ได้แก่ช้าง

แก้ว อัสสรัตนะ ได้แก่ม้าแก้ว มณีรัตนะ ได้แก่ดวงมณีแก้ว

อิตถีรัตนะ ได้แก่นางแก้ว คหปติรัตนะ ได้แก่ขุนคลังแก้ว

ปริณายกรัตนะ ได้แก่ขุนพลแก้ว เป็นที่ ๗ และท้าวเธอมีพระ-

ราชบุตรจำนวนพันปลาย ล้วนแกล้วกล้าองอาจ สามารถย่ำยี

กองทัพฝ่ายปรปักษ์ ทรงพิชิตยิ่งแล้ว ครอบครองแผ่นดินนี้ อัน

มีสาครเป็นขอบเขต โดยธรรม โดยไม่ต้องใช้อาญา โดยไม่

ต้องใช้ศัสตรา แต่ถ้าออกจากเรือนบวชเป็นอนาคาริยะ จะเป็น

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้นี้หลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วใน

โลก ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ผู้ประกอบด้วยลักษณะ ก็เป็น

พระโพธิสัตว์น่ะสิ.

ลักขณกถา จบ

๑. ที. ปา. ๑๑/๑๓๐

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 729

อรรถกถาลักขณกถา

ว่าด้วยลักษณะ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องลักษณะ. ในปัญหานั้น ชนเหล่าใด มี

ความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า พระ-

โพธิสัตว์เท่านั้น ถึงพร้อมแล้วด้วยลักษณะ เพราะไม่พิจารณาถือเอา

พระสูตรนี้ว่า มีคติเป็น ๒ เท่านั้น คือ.- ถ้าครองเรือนจะได้เป็น

พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ฯลฯ แต่ถ้าออกจากเรือนบวชเป็นอนา-

คาริยะ จะตรัสรู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมมีแก่พระมหา-

บุรุษผู้ประกอบด้วยลักษณะดังนี้ ปัญหาของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น

คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในปัญหาทั้งหลายว่า จักภวัตติสัตว์

ความว่า สัตว์ผู้จักรพรรดิ ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ก็ดี ผู้มิใช่โพธิสัตว์ก็ดี

มีอยู่ เหตุใด เพราะเหตุนั้น ปรวาทีหมายเอาจักรพรรดิผู้มิใช่พระ-

โพธิสัตว์จึงตอบปฏิเสธ. ย่อมตอบรับรอง เพราะหมายเอาพระเจ้าจักร-

พรรดิผู้เป็นพระโพธิสัตว์. พระสูตรที่ปรวาทีกล่าวแล้วว่า มหาปุริส-

ลักษณะ ๓๒ ประการ หมายเอาพระโพธิสัตว์ เพราะว่าในภพ

สุดท้ายพระโพธิสัตว์นั้นย่อมเป็นพระพุทธเจ้า ในชนทั้งหลายนอกจาก

นี้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่ไม่เป็นพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น พระ-

สูตรที่ปรวาทีนำมาอ้างแล้ว เช่นกับไม่นำมานั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาลักขณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 730

นิยาโมกกันติกถา

[๙๖๙] สกวาที พระโพธิสัตว์ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน

คืออริยมรรค มีพรหมจรรย์อันประพฤติ

แล้ว ในศาสนาของ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่ากัสสปะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า กัสสปะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๗๐] ส. พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า กัสสปะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นสาวกแล้ว จึงเป็นพระพุทธเจ้า หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๗๑] ส. เป็นสาวกแล้ว จึงเป็นพระพุทธเจ้า หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการฟังตาม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 731

[๙๗๒] ส. เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการฟังตาม หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสยัมภู หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสยัมภู ก็ต้องไม่

กล่าวว่า เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการฟังตาม.

[๙๗๓] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี

พรหมจรรย์อันประพฤติแล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนาม

ว่า กัสสปะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้สามัญญผลอีก ๓

เท่านั้น ณ ควงไม้โพธิ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๗๔] ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้สามัญญผลทั้ง ๔ ณ

ควงไม้โพธิ มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้สามัญญผล

ทั้ง ๔ ณ ควงไม้โพธิ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระโพธิสัตว์ได้หยั่งลงสู่ทาง

อันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มี

พระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 732

[๙๗๕] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี

พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนาม

ว่า กัสสปะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโพธิสัตว์ได้กระทำทุกกรกิริยา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ พึงกระทำทุกกร-

กิริยา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๗๖] ส. พระโพธิสัตว์ ได้กระทำความเพียรอย่างอื่นได้

นับถือศาสดาอื่น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้เข้าถึงพร้อมด้วยทัสสนะ พึงนับถือ

ศาสดาอื่น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๗๗] ส. ท่านพระอานนท์ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี

พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน

พระอานนท์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 733

พรหมจรรย์อันประพฤติแล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่า กัสสปะ พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า

กัสสปะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๗๘] ส. ท่านจิตตคฤหบดี ท่านหัตถกะ ชาวเมืองอาฬวี

ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านจิตตคฤหบดี ท่านหัตถกะ ชาวเมืองอาฬวี

เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี

พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-

นามว่า กัสสปะ พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-

นามว่า กัสสปะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๗๙] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี

พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-

นามว่า กัสสปะ แต่ไม่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า

กัสสปะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านพระอานนท์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน

มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 734

ไม่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๘๐] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี

พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-

นามว่า กัสสปะ แต่ไม่เจตนสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า

กัสสปะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ท่านจิตตคฤหบดี ท่านหัตถกะ ชาวเมืองอาฬวี

ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ไม่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๘๑] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี

พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-

นามว่า กัสสปะ แต่ไม่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า

กัสสปะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นสาวก ครั้นล่วงชาติ ๑ ไปแล้ว กลับเป็น

ผู้มีใช่สาวก หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๘๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ได้หยั่งลงสู่ทางอัน

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 735

แน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาค-

เจ้า พระนามว่า กัสสปะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อน

อานนท์ เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า กัสสปะ เพื่อความตรัสรู้ต่อไป ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่

จริง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น พระโพธิสัตว์ ก็ได้หยั่งลงสู่ทาง

อันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มี

พระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ น่ะสิ.

[๙๘๓] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี

พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-

นามว่า กัสสปะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า:-

เราเป็นผู้ครอบงำเสียซึ่งธรรมทั้งปวง เป็นผู้รู้แจ้งธรรม

ทั้งปวง ไม่ติดแล้วในธรรมทั้งปวง ละเสียซึ่งโลกิยธรรมทั้งปวง

หลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไปแห่งตัณหาเรารู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว

จะพึงอ้างศาสดาไรเล่า อาจารย์ของเราไม่มี ผู้ที่จะเสมอด้วยเรา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 736

ก็ไม่มี เราไม่มีบุคคลเปรียบในโลกนี้ กับทั้งเทวโลก เพราะเรา

เป็นพระอรหันต์ในโลก เราเป็นศาสดาที่ไม่มีศาสดาอื่นยิ่งกว่า

เราผู้เดียวเป็นสัมมาสัมพุทธะ เป็นผู้เย็นแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว

เราจะไปยังเนื่องแห่งชาวกาสี เพื่อยังธรรมจักรให้เป็นไป เราจัก

ได้ตีอมตเภรี ให้บรรลือขึ้นในโลกอันมืดนี้ อุปกาชีวกกล่าวว่า

อาวุโสตามที่ท่านปฏิญาณนั้นแล ท่านที่ควรเป็นอนันตชิน พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คนเช่นเรานี่แล ที่ถึงแล้วซึ่งความสิ้น

อาสวะ เป็นผู้ชื่อว่า ชินะ ดูก่อนอุปกะ เราชนะบาปธรรมทั้ง

หลายแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่า ชินะ ดังนี้ เป็นสูตรมี

อยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ได้

หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ น่ะสิ

[๙๘๔] ส. พระโพธิสัตว์ ได้หยั่งลงสู่ทางอันแน่นอน มี

พรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-

นามว่า กัสสปะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

๑. ม.ม. ๑๓/๕๑๓.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 737

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย จักษุญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว

แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่มีได้สดับมาแล้วในกาลก่อนว่า นี้ทุกข-

อริยสัจ ดังนี้ อนึ่งเล่า จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว

แก่เรา ในธรรมทั้งหลาย ที่มิได้สดับมาแล้วในกาลก่อนว่า ทุกข-

อริยสัจนี้นั้น อันเราพึงกำหนดรู้ ดังนี้ ฯลฯ ว่าทุกขอริยสัจนี้นั้น

อันเราได้กำหนดรู้แล้ว ดังนั้น ฯ ล ฯ ว่านี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ

ดังนี้ ฯ ล ฯ ว่าทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้น อันเราพึงละเสีย ดังนี้

ฯ ล ฯ ว่าทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้น อันเราละได้แล้ว ดังนี้ ฯ ล ฯ

ว่านี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ดังนี้ ฯ ล ฯ ว่าทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้น

อันเราพึงทำให้แจ้ง ดังนี้ ฯ ล ฯ ว่าทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้น อัน

เราได้ทำให้แจ้งแล้ว ดังนี้ ฯ ล ฯ ว่านี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

อริยสัจดังนี้ ฯ ล ฯ ว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้น อัน

เราพึงให้เกิด ดังนี้ อนึ่งเล่า จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา

แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้

สดับมาแล้วมนกาลก่อน ว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้น

อันเราให้เกิดแล้ว ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

๑. วิ.มหา. ๔/๑๕., ส. มหา. ๑๙/๑๖๖๖.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 738

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า พระโพธิสัตว์

ได้หยั่งละทางอันแน่นอน มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้ว ในศาสนา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ.

นิยาโมกกันติกถา จบ

อรรถกถานิยาโมกกันติกถา

ว่าด้วยการหยั่งลงสู่นิยาม

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องการหยั่งลงสู่นิยาม การหยั่งลงสู่ทางอันแน่-

นอนคืออริยมรรค. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิ

ของนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า พระโพธิสัตว์มีนิยามอันหยั่ง

ลงแล้ว มีพรหมจรรย์อันประพฤติแล้วในพระธรรมวินัยของพระผู้มี

พระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะหมายเอาการ

บรรพชาของโชติปาละในฆฏิการสูตรสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้นจึงถาม

ด้วยคำว่า พระโพธิสัตว์ เป็นต้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที

เพราะตั้งอยู่ในลัทธิ. เนื้อความจากนั้น คำว่า นิยาม คือทางอัน

แน่นอนก็ดี พรหมจรรย์ก็ดี เป็นชื่อของอริยมรรค. อนึ่ง

ยกเว้นการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์เสียแล้ว ชื่อว่าการหยั่งลงสู่

นิยามอย่างหนึ่งย่อมไม่มี ถ้าพระโพธิสัตว์พึงเป็นพระโสดาบัน พึงเป็น

๑. คำว่า "นิยาโมกฺกนฺติ" แยกเป็น นิยาม ได้แก่ อริยมรรค โอกฺกนฺติ ได้แก่

การหยั่งลง.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 739

อริยสาวกไซร้ ข้อนั้นหาเป็นไปได้ไม่. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ย่อมทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า เพราะ

พระองค์ดำรงอยู่ในญาณอันเป็นกำลังของพระองค์นั่นแหละ เพราะ-

ฉะนั้น สกวาทีจึงซักถามด้วยคำว่า พระโพธิสัตว์ อีก. คำตอบ

ปฏิเสธเป็นของปรวาที หมายเอาปัจฉิมภพ คือภพสุดท้าย.

ในปัญหาที่ ๒ ปรวาทีนั้นนั่นแหละ ตอบรับรอง หมายเอา

เวลาที่พระพุทธเจ้า เมื่อครั้งเป็นโชติปาละ. แม้ในคำทั้งหลายมีคำว่า

เป็นพระสาวก เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. คำว่า การฟังตาม

หมายความว่า ผู้มีธรรมอันแทงตลอดแล้วด้วยการฟังสืบ ๆ กันมา.

ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาปัจฉิมภพ ย่อมตอบรับรองหมายเอา

การฟังต่อ ๆ กันมาในกาลเป็นโชติปาละ. คำว่า นับถือศาสดาอื่น

ที่สกวาทีกล่าวแล้วนั้นหมายเอาอาฬารดาบส และรามบุตรดาบส. คำว่า

ท่านพระอานนท์ เป็นต้น ที่สกวาทีกล่าวแล้วเพื่อแสดงว่า ผู้มี

นิยามอันหยั่งลงแล้วเท่านั้นเป็นพระสาวก นอกจากนี้ไม่ใช่ แต่ผู้มี

นิยามอันหยั่งลงแล้วเช่นนี้มีอยู่ ดังนี้. ข้อว่า เป็นสาวกครั้นล่วง

ชาติหนึ่งไปแล้ว ความว่า สกวาทีย่อมถามด้วยคำว่า เป็นพระสาวก

ด้วยชาติใดแต่พอล่วงเลยชาตินั้นไปแล้วไม่เป็นสาวกในภพอื่นหรือ ดังนี้

ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความที่พระโสดาบันเป็นต้น เป็นพระสาวก.

คำที่เหลือในที่นี้เนื้อความง่ายทั้งนั้น แล.

อรรถกถานิยาโมกกันติกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 740

สมันนาคตกถา อีกกถาหนึ่ง

[๙๘๕] สกวาที บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล

เป็นผู้ประกอบด้วยผล ๓ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เป็นผู้

ประกอบด้วย ผัสสะ ๔ เวทนา ๔ สัญญา ๔ เจตนา ๔ จิต ๔

สัทธา ๔ วิริยะ ๔ สติ ๔ สมาธิ ๔ ปัญญา ๔ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๘๖] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น

ผู้ประกอบด้วยผล ๒ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น

ผู้ประกอบด้วยผัสสะ ๓ เวทนา ๓ ฯลฯ ปัญญา ๓ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๘๗] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผลเป็น

ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผลเป็น

ผู้ประกอบด้วยผัสสะ ๒ เวทนา ๒ ฯ ล ฯ ปัญญา ๒ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 741

[๙๘๘] ส. บุคคลปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เป็นผู้

ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เป็น

พระโสดาบันผู้สัตตขัตตุปรมะ ผู้โกลังโกละ ผู้เอกพีชี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๘๙] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เป็น

ผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เป็น

พระสกทาคามี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๙๐] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เป็น

ผู้ประกอบด้วยอนาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เป็น

พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ผู้อสังขารปริ-

นิพพายี ผู้สสังขารปรินิพพายี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๙๑] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น

ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 742

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น

พระโสดาบันผู้สัตตขัตตุปรมะ ผู้โกลังโกละ ผู้เอกพีชี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๙๒] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น

ผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น

พระสกทาคามี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๙๓] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผลเป็น

ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผลเป็น

พระโสดาบ่น ผู้สัตตขัตตุปรมะ ผู้โกลังโกละ ผู้เอกพีชี หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๙๔] ส. ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล พึงเรียกว่า พระ-

โสดาบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เป็นผู้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 743

ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผลองค์นั้นพระ-

โสดาบันก็องค์นั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๙๕] ส. ผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล พึงเรียกว่า พระ-

สกทาคามี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล

เป็นผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว

ส. ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผลองค์นั้น พระ-

สกทาคามีก็องค์นั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๙๙๖] ส. ผู้ประกอบด้วยอนาคามิผล พึงเรียกว่า พระ-

อนาคามี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เป็น

ผู้ประกอบด้วยอนาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 744

ส. ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผลองค์นั้น พระ-

อนาคามีองค์นั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๙๗] ส. ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล พึงเรียกว่า พระ-

โสดาบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น

ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผลองค์นั้น

พระโสดาบันก็องค์นั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๙๙๘] ส. ผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล พึงเรียกว่า พระ-

สกทาคามี หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น

ประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผลองค์นั้น

พระสกทาคามีก็องค์นั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 745

[๙๙๙] ส. ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล พึงเรียกว่า พระ-

โสดาบัน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผลเป็น

ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผลองค์นั้น

พระโสดาบันก็องค์นั้นแหละ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๐๐] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เป็นผู้

ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เลย

โสดาปัตติผลไปแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัต-

ผล เลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้

แจ้งซึ่งอรหัตผลเป็นผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล.

[๑๐๐๑] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เลย

โสดาปัตติผลไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยโสดาปัตติผลนั้น หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 746

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เลย

โสดาปัตติมรรคไปแล้ว เลยสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

ราคะที่เป็นอปายคามี โทสะที่เป็นอปายคามี โมหะที่เป็นอปายคามีไป

แล้ว แต่ยังประกอบด้วยโมหะที่เป็นอปายคามีนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๐๒] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เป็น

ผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เลย

สกทาคามิผลไปแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัต-

ผล เลยสกทาคามิผลไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้

แจ้งซึ่งอรหัตผลเป็นผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล.

[๑๐๐๓] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เลย

สกทาคามิผลไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เลย

สกทาคามิมรรคไปแล้ว เลยกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 747

ไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยพยาบาทอย่างหยาบนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๐๔] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เป็น

ผู้ประกอบด้วยอนาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เลย

อนาคามิผลไปแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัต-

ผล เลยอนาคามิผลไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้

แจ้งซึ่งอรหัตตผลเป็นผู้ประกอบด้วยสกทามิผล.

[๑๐๐๕] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เลย

อนาคามิผลไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยอนาคามิผลนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เลย

อนาคามิมรรคไปแล้ว เลยกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่าง

ละเอียดไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยพยาบาทอย่างละเอียดนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๐๖] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น

ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 748

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เลย

โสดาปัตติผลไปแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิ-

ผล เลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำ

ให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็นผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล.

[๑๐๐๗] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เลย

โสดาปัตติผลไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยโสดาปัตติผลนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เลย

โสดาปัตติมรรคไปแล้ว เลยสักกายทิฏฐิ ฯ ล ฯ โมหะที่เป็นอปายคามี

ไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยโมหะที่เป็นอปายคามีนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๐๘] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็น

ผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เลย

สกทาคามิผลไปแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 749

ส. หากว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคา-

ผล เลยสกทาคามิผลไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้

แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็นผู้ประกอบด้วยสกทาคามิผล.

[๑๐๐๙] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เลย

สกทาคามิผลไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยสกทาคามิผลนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เลย

สกทาคามิมรรคไปแล้ว เลยกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ

ไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยพยาบาทอย่างหยาบนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๑๐] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เป็น

ผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เลย

โสดาปัตติผลไปแล้ว มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคา-

มิผล เลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลปฏิบัติเพื่อทำ

ให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เป็นผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 750

[๑๐๑๑] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เลย

โสดาปัตติผลไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยโสดาปัตติผลนั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เลย

โสดาปัตติมรรคไปแล้ว เลยสักกายทิฏฐิ ฯ ล ฯ โมหะที่เป็นอปายคามี

ไปแล้ว แต่ยังประกอบด้วยโมหะที่เป็นอปายคามีนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๑๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำได้แจ้งซึ่ง

อรหัตผลเป็นผู้ประกอบด้วยผล ๓ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ได้ผล

๓ แล้ว และไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้น มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัต-

ผล ได้ผล ๓ แล้ว และไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้น ด้วยเหตุนั้นนะท่าน

จึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล เป็นผู้ประกอบ

ด้วยผล ๓.

[๑๐๑๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง

อนาคามิผลเป็นผู้ประกอบด้วยผล ๒ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผลได้ผล

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 751

๒ แล้ว และไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้น มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคา-

มิผล ได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้น ด้วยเหตุนั้นนะท่าน

จึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เป็นผู้ประกอบ

ด้วยผล ๒.

[๑๐๑๔ ] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง

สกทาคามิผลเป็นผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ได้

โสดาปัตติผลแล้ว และไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลนั้น มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคา-

มิผล ได้โสดาปัตติผลแล้ว และไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลนั้น ด้วยเหตุ

นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล

เป็นผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล.

[๑๐๑๕] ส. เพราะบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล

ได้ผล ๓ แล้ว และไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้น ฉะนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ

ทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล จึงเป็นผู้ประกอบด้วยผล ๓ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 752

ได้มรรค ๔ แล้ว และไม่เสื่อมจากมรรค ๔ นั้น ฉะนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติ

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล จึงเป็นผู้ประกอบด้วยมรรค ๔ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่างอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๑๖] ส. เพราะบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนา-

คามิผล ได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้น ฉะนั้น บุคคลผู้

ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล จึงเป็นผู้ประกอบด้วยผล ๒ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล

ได้มรรค ๓ แล้ว และไม่เสื่อมจากมรรค ๓ นั้น ฉะนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติ

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล จึงเป็นผู้ประกอบด้วยมรรค ๓ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๑๗] ส. เพราะบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิ-

ผล ได้โสดาปัตติผลแล้ว และไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลนั้น ฉะนั้น

บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล จึงเป็นผู้ประกอบด้วยโสดา-

ปัตติผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เพราะบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิ-

ผล ได้มรรค ๒ แล้ว และไม่เสื่อมจากมรรค ๒ นั้น ฉะนั้น บุคคล

ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล จึงเป็นผู้ประกอบด้วยมรรค ๒

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

สมันนาคตกถา อีกกถาหนึ่ง จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 753

อรรถกถาอปราปิสมันนาคตกถา

ว่าด้วยเป็นผู้ประกอบอีกเรื่องหนึ่ง

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องเป็นผู้ประกอบอีกเรื่องหนึ่ง. ในเรื่องนั้น

ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรคที่ ๔ เป็นผู้ประกอบ

ด้วยผล ๓ ด้วยสามารถแห่งการบรรลุ ดังนี้ ดุจลัทธิของนิกายอันธกะ

ทั้งหลายในขณะนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง

เป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยนัยที่

กล่าวแล้วในเรื่องว่าด้วยบุคคลผู้ประกอบด้วยผล ๔ ในหนหลังนั่นแล.

อรรถกถาอปราปิสมันนาคตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 754

สัพพสัญโญชนปหานกถา

[๑๐๑๘] สกวาที การละสังโยชน์ทั้งปวง ชื่อว่า อรหัตผล

หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. สังโยชน์ทั้งปวงละได้ด้วยอรหัตมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๑๙ ] ส. สังโยชน์ทั้งปวง ละได้ด้วยอรหัตมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ก็ละ

ได้ด้วยอรหัตมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๒๐] ส. สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ก็ละ

ได้ด้วยอรหัตมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละสังโยชน์ ๓ ว่า

โสดาปัตติผล มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละสังโยชน์

๓ ว่า โสดาปัตติผล ก็ต้องไม่กล่าวว่า สังโยชน์ทั้งปวงละได้ด้วยอร-

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 755

หัตมรรค.

ส. สังโยชน์ทั้งปวงละได้ด้วยอรหัตมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ ก็ละ

ได้ด้วยอรหัตมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๒๑] ส. กามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ ก็ละ

ได้ด้วยอรหัตมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเบาบางแห่งกาม-

ราคะ และพยาบาทว่าสกทาคามิผล มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเบาบาง

แห่งกามราคะ และพยาบาท ว่าสกทาคามิผล ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัง-

โยชน์ทั้งปวงละได้ด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.

[๑๐๒๒] ส. สังโยชน์ทั้งปวงละได้ด้วยอรหัตมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด

ก็ละได้ด้วยอรหัตมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 756

[๑๐๒๓ ] ส. กามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด

ก็ละได้ด้วยอรหัตตมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละไม่มีส่วนเหลือ

แห่งกามราคะและพยาบาทว่า อนาคามิผล มิใช่

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละไม่มีส่วน

เหลือแห่งกามราคะและพยาบาทว่า อนาคามิผล ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัง-

โยชน์ทั้งปวงละได้ด้วยอรหัตมรรค.

[๑๐๒๔] ส. สังโยชน์ทั้งปวง ละได้ด้วยอรหัตมรรค หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละไม่มีส่วนเหลือ

แห่งรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาว่า เป็นอรหัตผล

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละไม่มีส่วน

เหลือแห่งรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาว่า เป็น

อรหัตผล ก็ต้องไม่กล่าวว่า สังโยชน์ทั้งปวงละได้ด้วยอรหัตมรรค.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 757

[๑๐๒๕] ป. ไม่พึงกล่าว การละสังโยชน์ทั้งปวง ชื่อว่า

อรหัตผล หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระอรหันต์มีสังโยชน์ทั้งปวงเสื่อมสิ้นแล้ว มิใช่

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระอรหันต์มีสังโยชน์ทั้งปวงเสื่อมสิ้น

แล้ว ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า การละสังโยชน์ทั้งปวง ชื่อว่า

อรหัตผล ดังนี้.

สัพพสัญโญชนปหานกถา จบ

อรรถกถาสัพพสัญโญชนัปปหานกถา

ว่าด้วยการละสัญโญชน์ทั้งปวง

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องการละสัญโญชน์ทั้งปวง. ในเรื่องนั้น ชน-

เหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า

ความเป็นพระอรหันต์ละสัญโญชน์ทั้งปวงได้โดยสิ้นเชิง ดังนี้ คำ

ถามของสกวาทีหมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ถูก

สกวาทีถามด้วยคำว่า สัญโญชน์ทั้งปวง อีก ปรวาทีตอบปฏิเสธหมาย

เอาการละกิเลสโดยมรรคทั้ง ๓ ตามที่กล่าวแล้วในหนหลัง. ถูกถามครั้ง

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 758

ที่ ๒ ปรวาทีตอบรับรอง เพราะไม่มีการละกิเลสด้วยมรรคนั้น. แม้

ในคำว่า สักกายทิฏฐิ เป็นต้น ปรวาทีก็ตอบปฏิเสธ หมายเอาความ

เป็นผู้ละกิเลสได้แล้วด้วยปฐมมรรค. ย่อมตอบรับรอง หมายเอาการละ

กิเลสไม่เหลือด้วยมรรคที่ ๔. เนื้อความในที่ทั้งปวง ก็นัยนี้นั้นแหละ.

อรรถกถาสัพพสัญโญชนัปปหานกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. คิหิสสอรหาติกถา ๒. อุปปัตติกถา ๓. อนาสวกถา

๔. สมันนาคตกถา ๕. อุเปกขาสมันนาคตกถา ๖. โพธิยาพุทโธติกถา

๗. ลักขณกถา ๘. นิยาโมกกันติกถา ๙. อปราปิสมันนาคตกถา

๑๐. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา.

วรรคที่ ๔ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 759

วรรคที่ ๕

วิมุตตกถา

[๑๐๒๖] สกวาที วิมุตติญาณ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. วิมุตติญาณ ไม่ว่าอย่างใดหมด ชื่อว่าหลุดพ้น

แล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. วิมุตติญาณ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิมุตติญาณ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิมุตติญาณของโคตรภูบุคคล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๒๗] ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง

โสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 760

ส. ญาณของพระโสดาบัน เป็นญาณของผู้ถึง ได้

เฉพาะ บรรลุ ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง

สกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณของพระสกทาคามี เป็นญาณของผู้ถึง ได้

เฉพาะ บรรลุ ทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง

อนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณของพระอนาคามี เป็นญาณของบุคคลผู้ถึง

ได้เฉพาะ บรรลุ ุ ทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง

อรหัตผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ญาณของพระอรหันต์ ชื่อว่า ญาณของผู้ถึง ได้

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 761

เฉพาะ บรรลุ ทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๒๘] ส. วิมุตติญาณของบุคคล ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย

โสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง

โสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. วิมุตติญาณของบุคคล ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย

สกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง

สกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. วิมุตติญาณของบุคคล ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย

อนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง

อนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 762

ส. วิมุตติญาณของบุคคล ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย

อรหัตผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง

อรหัตผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๒๙] ส. วิมุตติญาณของบุคคล ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย

โสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว และนั้นเป็น

ญาณของผู้บรรลุผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง

โสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว และนั้นเป็น

ญาณของผู้บรรลุผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิมุตติญาณของบุคคล ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย

สกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว และนั้นเป็น

ญาณของผู้บรรลุผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง

สกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว และนั้นเป็นญาณของผู้บรรลุ หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 763

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย

อนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว และนั้นเป็น

ญาณของผู้บรรลุผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง

อนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว และนั้นเป็น

ของผู้บรรลุผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. วิมุตติญาณของบุคคล ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย

อรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว และนั้นเป็น

ญาณของบุคคลผู้บรรลุผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง

อรหัตผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว และนั้นเป็น

ญาณของบุคคลผู้บรรลุผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

วิมุตตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 764

อรรถกถาวิมุตตกถา

ว่าด้วยวิมุตติ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องวิมุตติ คือการหลุดพ้น. ในเรื่องนั้น คำว่า

วิมุตตญาณ เป็นชื่อของญาณทั้ง ๔ คือ วิปัสสา ๑. มัคค ๑.

ผล ๑. และปัจจเวกขณญาณ ๑. บรรดาญาณเหล่านั้น วิปัสสนา

ชื่อว่า วิมุตติญาณ เพราะหลุดพ้นแล้วจากนิมิตตารมณ์เป็นนิตย์ หรือ

เพราะความเป็นตทังควิมุติ มรรค ชื่อว่า สมุจเฉทวิมุติ ผล ชื่อว่า

ปฏิปัสสัทธิวิมุติ ก็ปัจจเวกขณญาณย่อมรู้ซึ่งวิมุติ เพราะฉะนั้น จึง

ชื่อว่า วิมุตติญาณ ในวิมุตติญาณ ๔ อย่าง อย่างนี้ ผลญาณเท่านั้น

หลุดพ้นแล้วโดยสิ้นเชิง วิมุตติญาณ ๓ ที่เหลืออันใคร ๆ ไม่พึงกล่าวว่า

หลุดพ้นแล้ว หรือว่าไม่หลุดพ้นแล้ว ดังนี้ เพราะฉะนั้น ชนเหล่าใด

มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า วิมุตติญาณหลุด-

พ้นแล้วโดยไม่แปลกกันเลย เพราะไม่กล่าวว่า วิมุตติญาณชื่อนี้หลุด-

พ้นแล้ว ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง

เป็นของปรวาที. ถูกถามอีกว่า วิมุตติญาณไม่ว่าอย่างใดหมดชื่อว่า

หลุดพ้นแล้ว ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาปัจจเวกขณญาณ

เป็นต้น ถูกถามว่า ของบุคคลผู้ปฏิบัติ เป็นต้น ก็ตอบรับรอง

หมายเอาความไม่มีอาสวะของมรรคญาณ. สกวาทีกล่าวว่า ญาณของ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 765

พระโสดาบัน ดังนี้ เป็นต้นอีก เพื่อท้วงว่า ก็ญาณนั้นไม่ใช่ญาณ

ของพระโสดาบันผู้ตั้งอยู่ในผล แต่ก็ชื่อว่า วิมุตติญาณหรือ ดังนี้.

พึงทราบเนื้อความในที่ทั้งปวงโดยอุบายนี้ ดังนี้แล.

อรรถกถาวิมุตตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 766

อเสกขญาณกถา

[๑๐๓๐] สกวาที พระเสกขะ มีญาณของพระเสกขะ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระเสกขะ รู้เห็นธรรมของพระอเสกขะได้

เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งธรรมของพระอเสกขะที่ตนเห็นแล้ว

รู้แล้ว ทำให้แจ้งแล้วได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ธรรมของพระอเสกขะ อันพระเสกขะ รู้ไม่ได้

เห็นไม่ได้ เมื่อมิได้เห็น มิได้รู้ ก็เข้าถึงไม่ได้ ถูกต้องด้วยกายไม่ได้

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ธรรมของพระอเสกขะ อันพระเสกขะ

รู้ไม่ได้ เห็นไม่ได้ เมื่อมิได้เห็น มิได้รู้ มิได้ทำให้แจ้ง ก็เข้าถึงไม่

ได้ ถูกต้องด้วยกายไม่ได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระเสกขะมีญาณของ

พระอเสกขะ.

[๑๐๓๑] ส. พระอเสกขะ มีญาณของพระอเสกขะ พระ-

อเสกขะรู้เห็นธรรมของพระอเสกขะได้ เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยกายอยู่

ซึ่งธรรมของพระอเสกขะ ที่ตนเห็นแล้ว รู้แจ้งแล้ว ทำให้แจ้งแล้วได้

หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 767

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระเสกขะ มีญาณของพระอเสกขะ พระเสกขะ

รู้เห็นธรรมของพระอเสกขะได้ เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งธรรม

ของพระอเสกขะที่ตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ทำให้แจ้งแล้วได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๓๒] ส. พระเสกขะ มีญาณของพระอเสกขะ แต่ธรรม

ของพระอเสกขะอันพระเสกขะรู้ไม่ได้ เห็นไม่ได้ เมื่อไม่ได้เห็น มิ

ได้รู้ มิได้ทำให้แจ้ง ก็เข้าถึงไม่ได้ ถูกต้องด้วยกายไม่ได้ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอเสกขะ มีญาณของพระอเสกขะ แต่ธรรม

ของพระเสกขะ อันพระอเสกขะรู้ไม่ได้ เห็นไม่ได้ เมื่อมิได้เห็น

มิได้รู้ มิได้ทำให้แจ้ง ก็เข้าถึงไม่ได้ ถูกต้องด้วยกายไม่ได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๓๓] ส. พระอเสกขะ มีญาณของพระอเสกขะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โคตรภูบุคคล มีญาณในโสดาปัตติมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล มี

ญาณในโสดาปัตติผล หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 768

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งสกทาคามิผล

ฯ ล ฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ฯ ล ฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล

มีญาณในอรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๓๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระเสกขะมีญาณของพระอเสก-

ขะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ท่านพระอานนท์เมื่อยังเป็นเสกขะ ก็ทราบได้

ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระคุณอันยิ่ง ทราบได้ว่า พระสารีบุตรเถระ

พระมหาโมคคัลลานเถระ มีคุณอันยิ่ง มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า ท่านพระอานนท์เมื่อยังเป็นเสกขะ ก็

ทราบได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระคุณอันยิ่ง ทราบได้ว่า พระสารี-

บุตรเถระ พระโมคคัลลานเถระ มีคุณอันยิ่ง ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง

ต้องกล่าวว่าพระเสกขะมีญาณของพระอเสกขะ.

อเสกขญาณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 769

อรรถกถาอเสกขญาณกถา

ว่าด้วยญาณของพระอเสกขะ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องญาณของพระอเสกขะ คือผู้ไม่ต้องศึกษา.

ในเรื่องนั้นชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะ

ทั้งหลายว่า พระเสกขะทั้งหลายมีพระอานนท์เป็นต้น ย่อมรู้ซึ่งอเสกข-

บุคคลทั้งหลาย โดยนัยเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ประเสริฐ

ที่สุดเป็นต้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น อเสกขญาณ คือญาณของพระ-

อเสกขะ ย่อมมีแก่พระเสกขบุคคล ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึง

ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า รู้เห็น นี้

สกวาทีกล่าวด้วยอำนาจแห่งการรู้ที่ตนเองบรรลุแล้ว. คำว่า โคตรภู

บุคคล เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงความไม่มีแห่งญาณในเบื้อง

บนและเบื้องบนของของพระอริยบุคคล ผู้ตั้งอยู่ในภูมิธรรมเบื้องต่ำ.

ข้อว่า ท่านพระอานนท์เมื่อยังเป็นพระเสกขะก็ทราบได้ว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้ามีพระคุณอันยิ่ง อธิบายว่า ปรวาทีย่อมปรารถนา

พระเสกขะนั้นว่าเป็นผู้มีญาณของพระอเสกขะ เพราะความเป็นไปแห่ง

ญาณว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอเสกขะ แต่ไม่ปรารถนาญาณ

นั้นว่าเป็นอเสกขะ เพราะฉะนั้น ลัทธิแม้ปรวาทีตั้งแล้วอย่างนี้ก็ไม่เป็น

อันตั้งไว้นั่นแหละ ดังนี้แล.

อรรถกถาอเสกขญาณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 770

วิปรีตกถา

[๑๐๓๕] สกวาที ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความ

รู้วิปริตหรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. มีความเห็นผิดในสภาวะที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. มีความเห็นผิดในสภาวะที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข

หรือ ฯ ล ฯ มีความเห็นผิดในสภาวะที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตาหรือ ฯลฯ

มีความเห็นผิดในสภาวะที่ไม่งามว่างาม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๓๖] ส. ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้

วิปริต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นอกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. เป็นกุศลไม่ใช่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่าเป็นกุศล ก็ต้องไม่กล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติ

มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ความรู้วิปริต

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 771

[๑๐๓๗] ส. สภาวะที่ไม่เที่ยงเห็นว่าเที่ยง เป็นความเห็นผิด

และนั้นเป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้

วิปริต และนั้นเป็นอกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ลฯ

ส. สภาวะที่เป็นทุกข์เห็นว่าเป็นสุข ฯลฯ สภาวะที่

เป็นอนัตตาเห็นว่าเป็นอัตตา ฯลฯ สภาวะที่ไม่งามเห็นว่างาม เป็นความ

เห็นผิด และนั้นเป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้

วิปริต และนั้นเป็นอกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๓๘] ส. ผู้เข้าสมาบัติปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้

วิปริต และนั้นเป็นอกุศล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. สภาวะที่ไม่เที่ยงเห็นว่าเที่ยง และนั้นเป็นกุศล

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้

วิปริต และนั้นเป็นกุศล หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 772

ป. ถูกแล้ว.

ส. สภาวะที่เป็นทุกข์เห็นว่าเป็นสุข ฯ ล ฯ สภาวะที่

เป็นอนัตตาเห็นว่าเป็นอัตตา ฯ ลฯ ภาวะที่ไม่งามเห็นว่างาม เป็นความ

เห็นผิด และนั้นเป็นกุศล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๓๙] ส. ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้

วิปริต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์พึงเข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็น

อารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์พึงเข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณ

เป็นอารมณ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ผู้ที่เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มี

ความรู้วิปริต

[๑๐๔๐] ส. ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้

วิปริต พระอรหันต์พึงเข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ยังมีความเห็นผิดอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 773

[๑๐๔๑] ส. พระอรหันต์ ยังมีความเห็นผิดอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระอรหันต์ ยังมีความสำคัญผิด มีความคิดผิด

มีความเห็นผิดอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๔๒] ส. พระอรหันต์ไม่มีความสำคัญผิด ความคิดผิด

ความเห็นผิด หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า พระอรหันต์ ไม่มีความสำคัญผิด ความ

คิดผิด ความเห็นผิด ก็ต้องไม่กล่าว พระอรหันต์ยังมีความเห็นผิดอยู่.

[๑๐๔๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่าผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์

มีความรู้วิปริต หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ปฐวีกสิณปรากฏแก่ท่านผู้เข้าสมาบัติ มีปฐวีกสิณ

อารมณ์อยู่ เป็นดินล้วนเทียว หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์

ก็มีความรู้วิปริตน่ะสิ.

[๑๐๔๔] ส. ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้

วิปริต หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 774

ป. ถูกแล้ว.

ส. ดินมีอยู่ และบางคนที่เข้าปฐวีกสิณจากดินก็มีอยู่

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ดินมีอยู่ และบางคนที่ถ้าปฐวีกสิณจาก

ดินก็มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความ

รู้วิปริต

[๑๐๔๕] ส. ดินมีอยู่ แต่ความรู้ของผู้เข้าปฐวีกสิณจากดิน

เป็นความรู้วิปริต หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. นิพพานมีอยู่ แต่ความรู้ของผู้เข้าสมาบัติมีนิพ-

พานเป็นอารมณ์จากนิพพาน ก็เป็นความรู้

วิปริต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติมีปฐ-

วีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้วิปริต.

วิปริตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 775

อรรถกถาวิปรีตกถา

ว่าด้วยญาณวิปริต

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องญาณวิปริต. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ

เห็นดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ผู้ใดมีสัญญาในปฐวีย่อมเข้า

สมาบัติมีปฐวีเป็นอารมณ์ ญาณนั้นของผู้นั้นเป็นญาณวิปริต ดังนี้

คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้นคำตอบรับรองเป็นของปรวาที พึง

ทราบคำอธิบายของปัญหานั้นดังนี้ว่า นิมิตที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยปฐวี

แต่นิมิตที่เกิดนั้นไม่ใช่ปฐวีเลย อนึ่ง ผู้ใดมีความสำคัญในปฐวีกสินย่อม

เข้าฌานมีปฐวีเป็นอารมณ์ ฌานนั้นชื่อว่ามีญาณอันวิปริต คือผิดจาก

ความเป็นจริงดังนี้.

ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อจะท้วงว่า ลักขณปฐวีก็ดี สสัมภารปฐวีก็ดี

นิมิตตปฐวีก็ดี ปฐวีเทวดาก็ดี ปฐวีทั้งหมดนั่นแหละ ในปฐวีเหล่านั้น

ญาณว่าปฐวีมิใช่เป็นญาณวิปริต ส่วนความเห็นอันผิดปกติในธรรมที่

ไม่เที่ยงว่าเที่ยงเป็นต้นชื่อว่าญาณวิปริต ญาณในปฐวีทั้งหลายเหล่านี้

ญาณใดญาณหนึ่งตามลัทธิของท่านเป็นญาณวิปริตหรือ จึงกล่าวคำว่า

มีความเห็นผิดในสภาวะที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง เป็นต้น ปรวาทีตอบ

ปฏิเสธ หมายเอาความไม่มีลักขณะอันคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

ย่อมตอบรับรองหมายเอาปฐวีนิมิต. คำว่า กุสล ท่านกล่าวหมาย

เอาญาณของพระเสกขะและปุถุชนทั้งหลาย.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 776

แม้ในปัญหาว่า พระอรหันต์ยังมีความเห็นผิดอยู่ หรือ

ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มีลักขณะอันวิปัลลาสเช่นนั้น ย่อม

ตอบรับรองหมายเอาปฐวีนิมิต.

คำว่า เป็นคนล้วนเทียวหรือ ความว่า ปรวาทีถามด้วย

คำว่า ปฐวีกสินทั้งปวงนั้นเป็นลักขณปฐวีทั้งหมดหรือ สกวาทีตอบ

ปฏิเสธเพราะความไม่มีเช่นนั้น.

คำถามของสกวาทีว่า ดินมีอยู่ และบางคนที่เข้าปฐวีกสิน

จากดินก็มีอยู่มิใช่หรือ ดังนี้ พึงทราบเนื้อความแห่งปัญหานั้นว่า

สกวาทีถามว่า นิมิตตปฐวีอยู่ บุคคลย่อมเข้าสมาบัติมีดินเป็นนิมิตจาก

ดินนั้นแหละก็มีอยู่ มิได้เข้าจากอาโป หรือจากเตโชมิใช่ หรือ ดังนี้.

คำว่า ดินมีอยู่ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงด้วยคำว่า ถ้าญาณ

ของผู้เข้าปฐวีกสินเป็นญาณวิปริตฉันนั้นไซร้ นิพพานมีอยู่เมื่อบุคคล

เข้าสมาบัติ มีนิพพานเป็นอารมณ์ก็ดี มรรคญาณอันถอนซึ่งความวิปริต

ทั้งปวงก็ดี ก็ย่อมจะวิปริตตามลัทธิของท่าน ดังนี้.

อรรถกถาวิปรีตกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 777

นิยามกถา

[๑๐๔๖] สกวาที บุคคลผู้ไม่แน่นอน คือยังเป็นปุถุชน มี

ญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน คืออริยมรรค หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้แน่นอน คืออริยบุคคล มีญาณเพื่อไปสู่

โลกกิยธรรมอันมิใช่ทางแน่นอน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๔๗] ส. บุคคลผู้แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่ โลกิยธรรม

อันมิใช่ทางแน่นอน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่

นอน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๔๘] ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่

นอน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 778

[๑๐๔๙] ส. บุคคลผู้แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่

นอน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๕๐] ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่

นอน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่ โลกิยธรรม

อันมิใช่ทางแน่นอน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๕๑] ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่ โลกิย-

ธรรมอันมิใช่ทางแน่นอน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่

นอน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๕๒] ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่

นอน หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 779

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีทางอันแน่นอน เพื่อไปสู่

ทางอันแน่นอน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๑๕๓] ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่

นอน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีสติปัฏฐาน ฯ ล ฯ สัมมัปป-

ธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ เพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๕๔] ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอน ไม่มีทางอันแน่นอนเพื่อไป

สู่ทางอันแน่นอน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า บุคคลผู้ไม่แน่นอน ไม่มีทางอันแน่นอน

เพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณ

เพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน หรือ ?

[๑๐๕๕] ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีสติปัฏฐาน ฯลฯ โพช-

ฌงค์ เพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 780

ส. หากว่า บุคคลผู้ไม่แน่นอน ไม่มีโพชฌงค์เพื่อ

ไปสู่ทางอันแน่นอน ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไป

สู่ทางอันแน่นอน.

[๑๐๕๖] ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่

นอน หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. โคตรภูบุคคลมีญาณในโสดาปัตติมรรค หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๕๗] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล มี

ญาณในโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ฯลฯ

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ฯ ล ฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล มีญาณ

ในอรหัตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๕๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไป

ทางอันไม่แน่นอน หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบได้ว่า บุคคลนี้

จักก้าวลงสู่ทางอันแน่นอนเพื่อความชอบ บุคคลนี้เป็นรู้ควรเพื่อจะตรัสรู้

ธรรมนี้ มิใช่หรือ ?

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 781

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบได้ว่า

บุคคลนี้จักก้าวลงสู่ทางอันแน่นอนเพื่อความชอบ บุคคลนี้เป็นผู้ควร

เพื่อจะตรัสรู้ธรรม ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไม่แน่นอน

มีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน.

นิยามกถา จบ

อรรถกถานิยามกถา

ว่าด้วยนิยาม

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องนิยาม คือทางอันแน่นอนได้แก่ อริยมรรค.

ในเรื่องนั้นชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะ

ทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า บุคคลใดจักหยั่งลง

สู่สัมมัตตนิยาม คือมรรคอันถูกต้อง บุคคลนั้นควรเพื่อจะตรัสรู้ธรรมนั้น

เหตุใด เพราะเหตุนั้น ญาณเพื่อการบรรลุนิยาม คือทางอันแน่นอน

ของอนิยตบุคคลผู้เป็นปุถุชนนั่นแหละมีอยู่ ดังนี้ คำถามว่า อนิยต

คือบุคคลผู้ไม่แน่นอน เป็นต้น ของพระสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น.

คำว่า เพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน ในปัญหานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงตรัสเรียกมรรคว่านิยาม อธิบายว่า เพื่อการบรรลุมรรค เพื่อการ

หยั่งลงสู่มรรค. ก็คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้

ควรเพื่อบรรลุนิยาม เพราะเห็นญาณอันใดของบุคคลนั้น พระปรวาที

หมายญาณนั้น จึงตอบรับรอง. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อแสดงว่า วาทะ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 782

ของปรวาทีนั้นไม่ถูกต้อง จึงซักถามถึงเนื้อความอันตรงกันข้าม ด้วยคำ

ว่า บุคคลผู้แน่นอน เป็นต้น.

บรรดาปัญหาเหล่านั้น ในปัญหาแรก ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะ

ชื่อว่าญาณเพื่อการบรรลุนิยามของบุคคลผู้แน่นอนไม่มีด้วยมรรค. ใน

ปัญหาที่ ๒ ย่อมตอบรับรองเพราะความไม่มี. ปัญหาที่ ๓ ตอบปฏิเสธ

เพราะถูกถามด้วยคำว่า ผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่

นอน โดยผิดจากลัทธิ สกวาทีทำปัญหาแรกนั่นแหละให้เป็นปัญหา

ที่ ๔ อีก แล้วทำ ๓ ปัญหาของนิยตบุคคลด้วยสามารถแห่งการบรรลุ

นิยามเป็นต้น. ในปัญหาเหล่านั้น ปัญหาที่ ๑ ปรวาทีตอบปฏิเสทเพราะ

ญาณ เพื่อการบรรลุนิยามนั้นอีกของนิยตบุคคลไม่มีด้วยมรรคต้น. ใน

ปัญหาที่ ๒ ตอบรับรองเพราะความไม่มีนั้นแหละ. ในปัญหาที่ ๓ ย่อม

ตอบปฏิเสธเพราะผิดจากลัทธิ. สกวาทีทำปัญหาแรกนั่นแหละให้เป็น

ปัญหาที่ ๘ อีก แล้วทำ ๓ ปัญหาของอนิยตบุคคลด้วยสามารถแห่งการ

ไม่บรรลุนิยามเป็นต้น. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งปัญหาเหล่านั้น

โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. สกวาทีทำปัญหาแรกนั่นแหละให้เป็น

ปัญหาที่ ๑๒ อีก แล้วทำ ๓ ปัญหามีคำว่า มีทางอันแน่นอน เป็น

ต้นจากมูลนั้น. ในปัญหาทั้งหลายเหล่านั้น มัคคญาณเท่านั้น ชื่อว่า

ญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน เหตุใด เพราะเหตุนั้น สกวาทีหมายญาณ

๑. บาลีอรรถกถาไทย ใช้คำว่า อยุตฺตนฺติ หมายถึง คำไม่ถูกต้อง ของพม่า ใช้

คำว่า อยุตฺตวาทีตีติปิ หมายถึง มีวาทะอันไม่ถูกต้องคือใช้ได้ด้วยกันทั้ง ๒ นัย

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 783

นั้น จึงว่า มีทางอันแน่นอน ดังนี้ ครั้นเมื่อคำว่า มีทางอันแน่

นอนอันสกวาทีกล่าวแล้ว ปรวาทีก็ตอบปฏิเสธ. เมื่อสกวาทีกล่าวว่า

มีญาณ ปรวาทีก็ตอบรับรอง. แม้ในคำทั้งหลายมีคำว่า สติปัฏฐาน

เป็นต้น ก็นัยนี้. คำปัจจนิก มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล. คำว่า โคตรภู-

บุคคล เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า ญาณใดอันบุคคลใดไม่

บรรลุแล้ว ญาณนั้นของบุคคลนั้นย่อมไม่มี. คำว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงทราบ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบด้วย

ญาณพละของพระองค์เอง ไม่ใช่ทรงทราบจากสภาพการบรรลุนิยาม

ธรรมของผู้นั้น เพราะฉะนั้น ด้วยเหตุนี้ ปรวาทีแม้ตั้งลัทธิไว้แล้วก็

ตั้งอยู่ไม่ได้เลย ดังนี้แล.

อรรถกถานิยามกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 784

ปฏิสัมภิทากถา

[๑๐๕๙] สกวาที ความรู้ทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทา หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. ความรู้สมมติเป็นปฏิสัมภิทา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ความรู้สมมติเป็นปฏิสัมภิทา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้สมมติ ชนเหล่านั้นทั้ง-

หมดเป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทาแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ความรู้ทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น เป็นปฏิสัมภิทา

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ความรู้ในการกำหนดใจผู้อื่น เป็นปฏิสัมภิทา

ป. ถูกแล้ว.

ส. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้จิตของบุคคลอื่น ชน

เหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทาแล้ว หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 785

[๑๐๖๐] ส. ความรู้ทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ปัญญาทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ปัญญาทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทา หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ก็มีปัญญา

นั้นเป็นปฏิสัมภิทา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ผู้เข้าสมาบัติมีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ มี

เตโชกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีวาโยกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีนีลกสิณ

เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีปีตกสิณเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ มีโลหิตกสิณเป็น

อารมณ์ ฯ ล ฯ มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ ผู้เข้าอากาสานัญจา-

ยตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญาณญัญจายตนสมาบัต ฯลฯ อากิญจัญญายตน

สมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ ผู้ให้ทาน ฯลฯ

ผู้ให้จีวร ฯลฯ ผู้ให้บิณฑบาต ฯลฯ ผู้ให้เสนาสนะ ฯลฯ ผู้ให้

คิลานปัจจยเภสัชชบริขารก็มีปัญญา ปัญญานั้น เป็นปฏิสัมภิทา หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๖๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความรู้ทั้งปวง เป็นปฏิสัมภิทา

หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 786

ป. ปัญญาอันเป็นโลกุตตระมีอยู่ ปัญญานั้นไม่เป็น

ปฏิสัมภิทา หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น ความรู้ทั้งปวงก็เป็นปฏิสัมภิทา น่ะสิ.

ปฏิสัมภิทากถา จบ

อรรถกถากถาปฏิสัมภิทากถา

ว่าด้วยปฏิสัมภิทา

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องปฏิสัมภิทา คือปัญญาเครื่องแตกฉาน. ใน

เรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า

ญาณ คือความรู้ ทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทา เพราะถือเอาพระบาลีว่า

ญาณ คือความรู้ ของพระอริยะทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นโลกุตตระ

ดังนี้คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้นคำตอบรับรองเป็นของปรวาที

ในปัญหาว่าด้วยญาณ คือความรู้สมมติทั้งหลาย ปรวาทีตอบปฏิเสธ

หมายเอาญาณในสมาบัติที่เป็นปฐวีกสิณอันเป็นสมมติ คือเป็นบัญญัติ

อารมณ์ ย่อมตอบรับรองหมายเอานิรุตติญาณ. ในปัญหาทั้งหลายว่า

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้สมมติ ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาปุถุชน

ทั้งหลาย. ในปัญหาว่าด้วย เจโตปริยายะ ความรู้ในการกำหนดใจ

ผู้อื่น ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาญาณของปุถุชน ตอบรับรองหมาย

เอาญาณของพระอริยะ. ในปัญหาทั้งหลายว่า ปัญญาทั้งปวงเป็น

ปฏิสัมภิทาหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาปัญญาในกสิณ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 787

สมาบัติ ตอบรับรองหมายเอาโลกุตตระ. คำว่า สมาบัติมีปฐวีกสิญ

เป็นอารมณ์ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อถามด้วยคำว่า ปัญญา

ในที่ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้นั้น ปัญญานั้นเป็นปฏิสัมภิทาทั้งหมดหรือ.

คำว่า ถ้าอย่างนั้นความรู้ทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาหรือ อธิบายว่า

โลกุตตรปัญญาทั้งสิ้น เป็นปฏิสัมภิทา เหตุใด เพราะเหตุนั้น

คำว่า ทั้งปวง ท่านจึงให้ตั้งไว้เฉพาะกันสามัญญผล ดังนี้แล.

อรรถกถาปฏิสัมภิทากถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 788

สัมมติญาณกถา

[๑๐๖๒] ปรวาที ไม่พึงกล่าวว่า ญาณให้สมมติ มีสัจจะ

เป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็น

อารมณ์ หรือ ?

สกวาที ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้เข้าสมาบัติปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มี

ญาณ และปฐวีกสิณเป็นสมมติสัจจะ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า บุคคลผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็น

อารมณ์ มีญาณ และปฐวีกสิณเป็นสมมติสัจจะ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน

จึงต้องกล่าวว่า ญาณในสมมติมีสัจจะเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่น

เป็นอารมณ์.

[๑๐๖๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ญาณในสมมติ มีสัจจะเป็นอา-

รมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. บุคคลผู้เข้าสมาบัติมีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ

มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ บุคคลผู้ให้อยู่ซึ่งคิลานปัจจยเภสัชชบริ-

ขาร มีญาณและคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารเป็นสมมติสัจจะ มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 789

ป. หากว่า บุคคลผู้ให้อยู่ซึ่งคิลานปัจจยเภสัชชบริ-

ขาร มีญาณและคิลานปัจจยเภสัชชบริขารเป็นสมมติสัจจะ ด้วยเหตุนั้น

นะท่านจึงต้องกล่าวว่า ญาณในสมมติมีสัจจะเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มี

ธรรมอื่นเป็นอารมณ์.

[๑๐๖๔] ส. ญาณในสมมติ มีสัจจะเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่

มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. กำหนดรู้ทุกข์ได้ ละสมุทัยได้ กระทำนิโรธ

ให้แจ้งได้ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยญาณนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

สัมมติญาณกถา จบ

อรรถกถาสัมมติญาณกถา

ว่าด้วยสมมติญาณ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องสมมติญาณ คือญาณในสมมติ. ในเรื่องนั้น

สัจจะมี ๒ คือสมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ. ก็บุคคลเหล่าใดไม่ทำการ

แยกสัจจะอย่างนี้ ย่อมกล่าวแม้ซึ่งสมมติญาณว่ามีสัจจะเป็นอารมณ์นั่น

เทียว ด้วยการกล่าวอ้างคำว่า สัจจะ ดุจลัทธิของนิกายอันธกะ

ทั้งหลาย สกวาทีจึงเริ่มคำนี้ เพื่อชำระล้างวาทะของชนเหล่านั้นว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 790

พวกเขาเหล่านั้นมีวาทะไม่ถูกต้อง. ในคำเหล่านั้น คำถามว่า ไม่

พึงกล่าว เป็นของปรวาที. คำตอบรับรองเป็นของสกวาที หมาย

เอาปรมัตถสัจจะ. คำว่า ญาณในสมมติสัจจะ ได้แก่ ญาณใน

สัจจะที่เข้าไปอาศัยคำสมมติ อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ญาณในสมมติ-

สัจจะ เป็นสัตตมีวิภัตติใช้ในอรรถแห่งปฐมาวิภัตติ อธิบายว่า ได้แก่

สมมติสัจจะ. คำถามของสกวาทีว่า ญาณในสมมติมีสัจจะเป็น

อารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์ คำตอบรับรองเป็นของ

ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อจะท้วงด้วยคำวำ ถ้าญาณในสมมติ

นั้นมีสัจจะเป็นอารมณ์โดยไม่แปลกกัน บุคคลก็พึงทำกิจทั้งหลายมีการ

กำหนดรู้ทุกข์ เป็นต้นด้วยญาณนั้นได้ ดังนี้ จึงกล่าวคำว่า กำ-

หนดรู้ทุกข์ได้ ฯลฯ ด้วยญาณนั้นหรือ ดังนี้.

อรรถกถาสมมติญาณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 791

จิตตารัมมณกถา

[๑๐๖๕] สกวาที ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็น

อารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์

หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. มีบางคน เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ

มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า มีบางคนเมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมี

ราคะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็น

อารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์.

ส. มีบางคน เมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต

ปราศจากราคะ ฯ ล ฯ เมื่อจิตมีโทสะ ฯ ล ฯ เมื่อจิตปราศจากโทสะ เมื่อ

จิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะ เมื่อจิตหดหู่ เมื่อจิตกวัดแกว่ง เมื่อ

จิตใหญ่ เมื่อจิตไม่ใหญ่ เมื่อจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า เมื่อจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า

เมื่อจิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ เมื่อจิตหลุด ฯ ล ฯ เมื่อจิตยังไม่

หลุด ก็รู้ชัดว่าจิตยังไม่หลุด มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า มีบางคนเมื่อจิตยังไม่หลุด ก็รู้ชัดว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 792

จิตยังไม่หลุด ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิต

เป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์.

[๑๐๖๖] ส. ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น พึงกล่าวว่า

ความรู้ในอารมณ์ คือ ผัสสะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น พึง

กล่าวว่า ความรู้ในอารมณ์ คือ ผัสสะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความรู้ในการ

กำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์.

ส. ความรู้ในการกำหนดใจผู้อื่น พึงกล่าวว่า ความ

รู้ในอารมณ์คือเวทนา ฯ ล ฯ ว่าความรู้ในอารมณ์คือสัญญา ว่าความ

รู้ในอารมณ์คือเจตนา ว่าความรู้ในอารมณ์คือจิต ว่าความรู้ในอารมณ์

คือศรัทธา ว่าความรู้ในอารมณ์คือวิริยะ ว่าความรู้ในอารมณ์คือสติ

ว่าความรู้ในอารมณ์คือสมาธิ ว่าความรู้ในอารมณ์คือปัญญา ฯลฯ ว่า

ความรู้ในอารมณ์คือราคะ ฯลฯ ว่าความรู้ในอารมณ์คือโทสะ ฯ ล ฯ ว่า

ความรู้ในอารมณ์คืออโนตตัปปะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น พึง

กล่าวว่า ความรู้ในอารมณ์คืออโนตตัปปะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความรู้

ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็น

อารมณ์.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 793

[๑๐๖๗] ส. ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น ไม่พึงกล่าวว่า

ความรู้ในอารมณ์ คือ ผัสสะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความรู้ในการกำหนดรู้ผัสสะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น ไม่พึงกล่าวว่า

ความรู้ในอารมณ์คือเวทนา ฯ ล ฯ ว่าความรู้ในอารมณ์คือสัญญา ฯลฯ

ว่าความรู้ในอารมณ์คืออโนตตัปปะ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. เป็นความรู้ในการกำหนดรู้อโนตตัปปะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๖๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น

มีจิตเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็น

อารมณ์ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. เป็นความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. หากว่า เป็นความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น ด้วย

เหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่าความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิต

เป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์.

จิตตารัมมณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 794

อรรถกถาจิตตารัมมณกถา

ว่าด้วยญาณมีจิตเป็นอารมณ์

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องญาณมีจิตเป็นอารมณ์. ในเรื่องนั้น ชน

เหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ญาณนั้น

มีจิตเป็นอารมณ์อย่างเดียวเท่านั้น เพราะถือเอาเหตุสักแต่คำว่า เจโต-

ปริยญาณ ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น. ดังนี้ คำถามของสกวาที

หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที

เพื่อท้วงด้วยคำว่า บุคคลใดย่อมรู้จิตของผู้อื่นด้วยสามารถแห่งจิตมี

ราคะเป็นต้น แม้ราคะเป็นต้นก็ย่อมเป็นอารมณ์ของผู้นั้น เพราะฉะนั้น

ท่านไม่พึงกล่าวว่า ญาณนั้นมีจิตเป็นอารมณ์เพียงอย่างเดียวไม่มีอย่าง

อื่นเป็นอารมณ์ ดังนี้ จึงเริ่มคำว่า มีบางคนเมื่อจิตมีราคะก็รู้ชัด

ว่าจิตมีราคะมิใช่หรือ. คำว่า ในอารมณ์คือผัสสะ ได้แก่

ในอารมณ์กล่าวคือผัสสะ แม้ในคำทั้งหลายมีคำว่า ในอารมณ์คือ

เวทนา เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

ถูกสกวาทีถามอีกว่า ไม่พึงกล่าวว่า ความรู้ในอารมณ์ คือ

ผัสสะหรือ อีก ปรวาทีตอบรับรองด้วยคำว่า เมื่อมนสิการซึ่งผุสน-

ลักขณะของผัสสะ ย่อมเป็นอารมณ์ของผัสสะ ดังนี้. ถูกสกวาทีถาม

ว่า เป็นความรู้ในภารกำหนดรู้ผัสสะหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ

เพราะความไม่มีบทพระสูตรเช่นนั้น. แม้ในเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 795

ในบัดนี้ ลัทธิของปรวาทีนั้นอาศัยคำใดที่ตนกล่าว ครั้นแสดง

คำนั่นแล้ว เพื่อให้ลัทธิตั้งไว้. จึงกล่าวด้วยคำว่า นั่น เป็นความรู้

ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่นมิใช่หรือ แต่ ลัทธินี้แม้เป็นลัทธิอันปรวาที

ให้ตั้งไว้ด้วยสามารถการอาศัยสักแต่ถ้อยคำนั้น ย่อมไม่เป็นอันตั้งไว้ได้

เลย ดังนี้แล.

อรรถกถาจิตตารัมมณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 796

อนาคตญาณกถา

[๑๐๖๙] สกวาที ความรู้ในอนาคต คือ สภาวะที่ยังไม่มาถึง

มีอยู่ หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. อนาคตรู้ได้โดยมูล รู้ได้โดยเหตุ รู้ได้โดย

นิทาน คือเหตุเป็นแดนมอบให้ซึ่งผล รู้ได้โดยสมภพ คือเหตุเป็นแดน

เกิด รู้ได้โดยประภพ คือเหตุเป็นแดนเกิดก่อน รู้ได้โดยสมุฏฐาน

รู้ได้โดยอาหาร คือเหตุนำมาซึ่งผล รู้ได้โดยอารมณ์ คือเหตุเป็นที่ยึด

หน่วง รู้ได้โดยปัจจัย คือเหตุเป็นที่อาศัยเป็นไป รู้ได้โดยสมุทัย

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๗๐] ส. ความรู้ในอนาคตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. รู้ความเป็นเหตุปัจจัยที่เป็นอนาคตได้ รู้ความ

เป็นอารัมณปัจจัยที่เป็นอนาคตได้ รู้ความเป็นอธิปติปัจจัยที่เป็นอนาคต

ได้ รู้ความเป็นอนันตรปัจจัยที่เป็นอนาคตได้ รู้ความเป็นสมันตรปัจจัย

ที่เป็นอนาคตได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๗๑] ส. ความรู้ในอนาคตมีอยู่ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 797

ส. โคตรภูบุคคล มีความรู้ในโสดาปัตติมรรค

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล มี

ความรู้ในโสดาปัตติผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ฯ ล ฯ

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ฯ ล ฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล มีความ

รู้ในอรหัตตผล หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๗๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความรู้ในอนาคตมีอยู่ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์

อันตราย ๓ อย่าง จักเกิดแก่เมืองปาฏลีบุตร คือ จากไฟ หรือ

จากนี้ หรือจากการแตกความสามัคคี ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง

มิใช่หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. ถ้าอย่างนั้น ความรู้ในอนาคตก็มีอยู่ น่ะสิ

อนาคตญาณกถา จบ

๑. วิ. มหา ๕/๗๑.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 798

อรรถกถาอนาคตญาณกถา

ว่าด้วยความรู้ในอนาคต

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องความรู้ในอนาคต. ในปัญหานั้น ขณะอัน

เป็นอันตระก็ดี หมายเอาขณะจิต เป็นอนันตระก็ดี ชื่อว่า อนาคต.

ในขณะทั้ง ๒ เหล่านั้น ญาณย่อมรู้อนาคตที่เป็นอนันตระมีอยู่อย่าง

เดียวเท่านั้น อนึ่งญาณอนาคตที่เป็นอนันตระมีอยู่โยประการใด แม้

ญาณที่หยั่งลงในชวนะหนึ่งของวิถีหนึ่งก็มีอยู่โดยประการนั้น. ในปัญหา

นั้น ชนเหล่าใด ย่อมปรารถนาญาณในอนาคตแม้ทั้งปวง ดุจลัทธิของ

นิกายอันธกะทั้งหลาย คำถามของสกวาทีหมายชนเหล่านั้น คำตอบ

รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงด้วยคำว่า ญาณ

ในอนาคตอันไม่มีอยู่ตามลัทธิของท่าน. บุคคลย่อมรู้อนาคตที่เกิดใน

ภายหลังแต่นั้นได้ด้วยสามารถแห่งมูลเป็นต้นหรือดังนี้จึงกล่าวกะปรวาที

นั้นว่า อนาคตรู้ได้โดยมูล เป็นต้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำทั้ง

ปวงว่า โดยมูล เป็นต้น คือ โดยมูล โดยเหตุ โดยนิทาน

โดยสมภพ โดยประภพ โดยสมุฏฐาน โดยอาหาร โดยอารมณ์ โดย

ปัจจัย และโดยสมุทัย นี้เป็นคำไวพจน์ของคำว่า การณะ คือ การณะ

แปลว่า เครื่องกระทำ หรือ เหตุ ทั้งสิ้น. จริงอยู่ การณะ ชื่อว่า

มูล เพราะอรรถว่า ย่อมทำธรรมใดให้เป็นผลของตน ธรรมที่เป็น

ผลนั้นในที่นั้นจึงอาศัยตั้งอยู่ได้. ชื่อว่า เหตุ เพราะอรรถว่า ให้ผล

ธรรมนั้นเจริญและเป็นไปทั่ว. ชื่อว่า นิทาน เพราะอรรถว่า เป็นแดน

มอบให้ซึ่งผลธรรมนั้น ๆ นั่นแหละ ราวกะการมอบให้อยู่ด้วยคำว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 799

เชิญเถิดท่านทั้งหลาย จึงถือเอาสิ่งนี้ ดังนี้. ชื่อว่า สมภพ เพราะ

อรรถว่า ย่อมให้ผลธรรมเก่พร้อมแต่เหตุนั้น. ชื่อว่า ประภพ เพราะ

อรรถว่า เป็นแดนเกิดก่อน. ชื่อว่า สมุฏฐาน เพราะอรรถว่า ผลธรรม

นั้นย่อมตั้งขึ้นพร้อมในเพราะธรรมอันเป็นเหตุนั้น อีกอย่างหนึ่ง เพราะ

อรรถว่า ย่อมยังผลธรรมนั้น ๆ ให้ตั้งขึ้นพร้อม. ชื่อว่า อาหาร เพราะ

อรรถว่า ย่อมนำมาซึ่งผลธรรมนั้น ๆ นั่นแหละ. ก็เหตุนั้น ชื่อว่า

อารมณ์ เพราะอรรถว่า ไม่สละซึ่งผลธรรมนั้น. ชื่อว่า ปัจจัย เพราะ

อรรถว่า ผลธรรมนั้นอาศัยธรรมอันเป็นเหตุเป็นไป. สภาวะใด ย่อม

ยังผลธรรมนั้นให้เกิดขึ้นแต่เหตุ เพราะเหตุนั้นสภาวะนั้น ท่านจึงเรียก

ว่า สมุทัย ที่ชื่อว่า สมุทัย เพราะอรรถว่า ยังผลธรรมให้เกิดขึ้น

จากเหตุ. ก็ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อรู้อนันตรจิตได้ด้วยอาการเหล่านี้ คือเหตุ

เหล่านี้ เหตุใด เพราะเหตุนั้น ปรวาทีจึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าว

อย่างนั้น. คำว่า รู้ความเป็นเหตุปัจจัยที่เป็นอนาคตได้ ความว่า

เมือจิ อันเป็นอนาคตที่จะเกิดติดต่อกันไป บุคคลย่อมรู้ซึ่งจิตนั้น เพราะ

ความเป็นเหตุปัจจัย อธิบายว่า ธรรมเหล่าใดมีเหตุปัจจัยในธรรมเหล่า

นั้น ย่อมรู้ซึ่งธรรมเหล่านั้น. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้นั่นแหละ.

คำว่า โคตรภูบุคคล เป็นต้น สกวาทีกล่าวแล้วเพื่อแสดงญาณ

ที่เกิดขึ้นในอนาคตนั้นโดยย่อ. พระสูตรว่า ปาฏลีบุตร ที่ปรวาที

นำมาก็เพื่อแสดงญาณที่เกิดขึ้นในอนาคตนั้น แต่พระสูตรนั้นไม่สำเร็จ

ประโยชน์แก่ญาณในอนาคตทั้งปวง เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระสูตร

นั้นจึงสักแต่ว่านำมาเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาอนาคตญาณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 800

ปัจจุปปันนญาณกถา

[๑๐๗๓] สกวาที ความรู้ในปัจจุบันคือสภาวะที่เกิดขึ้นเฉพาะ

หน้า มีอยู่หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. บุคคลรู้ความรู้นั้นได้ด้วยความรู้นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. บุคคลรู้ความรู้นั้นได้ด้วยความรู้นั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลรู้ความรู้นั้นว่าความรู้ ด้วยความรู้นั้น

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. บุคคลรู้ความรู้นั้นว่าความรู้ ได้ด้วยความรู้นั้น

หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. ความรู้นั้น เป็นอารมณ์แห่งความรู้นั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. ความรู้นั้น เป็นอารมณ์แห่งความรู้นั้น หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. บุคคลถูกต้องผัสสะนั้นได้ด้วยผัสสะนั้น เสวย

เวทนานั้นได้ด้วยเวทนานั้น จำสัญญานั้นได้ด้วยสัญญานั้น ตั้งเจตนา

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 801

นั้นได้ด้วยเจตนานั้น คิดจิตนั้นได้ด้วยจิตนั้น ตรึกวิตกนั้นได้ด้วยวิตก

นั้น ตรองวิจารนั้นได้ด้วยวิจารนั้น ดื่มปีตินั้นได้ด้วยปีตินั้น ระลึก

สตินั้นได้ด้วยสตินั้น ทราบชดปัญญานั้นได้ด้วยปัญญานั้น ตัดขันธ์นั้น

ได้ด้วยขันธ์นั้น ถากขวานนั้นได้ด้วยขวานนั้น ถากผึ่งนั้นได้ด้วยผึ่งนั้น

ถากมีดนั้นได้ด้วยมีดนั้น เย็บเข็มนั้นได้ด้วยเข็มนั้น ลูบคลำปลายองคุลี

นั้นได้ด้วยปลายองคุลีนั้น ลูบคลำปลายนาสิกนั้นได้ด้วยปลายนาสิกนั้น

ลูบคลำกระหม่อมนั้นได้ด้วยกระหม่อมนั้น ล้างคูถนั้นได้ด้วยคูถนั้น ล้าง

มูตรนั้นได้ด้วยมูตรนั้น ล้างเขฬะนั้นได้ด้วยเขฬะนั้น ล้างหนองนั้น

ได้ด้วยหนองนั้น ล้างเลือดนั้นได้ด้วยเลือดนั้น หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[๑๐๗๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความรู้ในปัจจุบันมีอยู่ หรือ ?

ถูกแล้ว.

ป. เมื่อพระโยคาวจรเห็นสังขารทั้งปวง โดยความ

เป็นของไม่เที่ยงแล้ว แม้ความรู้นั้น ก็เป็นพระโยคาวจรนั้นได้เห็น

โดยความเป็นของไม่เที่ยงด้วย มิใช่หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. หากว่า เมื่อพระโยคาวจรเห็นสังขารทั้งปวง

โดยความเป็นของไม่เที่ยงแล้ว แม้ความรู้นั้นก็เป็นอันพระโยคาวจรนั้น

ได้เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า

ความรู้ในปัจจุบันมีอยู่.

ปัจจุปปันนญาณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 802

อรรถกถาปัจจุปปันนญาณกถา

ว่าด้วยความรู้ในปัจจุบัน

บัดนี้ ชื่อว่า เป็นเรื่องปัจจุบันนญาณ คือความรู้ในปัจจุบัน.

ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด ดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลาย

ว่า ญาณในปัจจุบันทั้งปวงมีอยู่โดยไม่แปลกกัน เพราะอาศัยพระบาลี

ว่า เมื่อเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยง ญาณแม้นั้น ย่อม

ชื่อว่าเป็นญาณอันบุคคลนั้นเห็นแล้วโดยความเป็นของไม่เที่ยง ดังนี้

สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น จึงถามว่า ความรู้ในปัจจุบัน เป็นต้น

คำรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวซักถามปรวาทีนั้น

ด้วยคำว่า บุคคลรู้ความรู้นั้นได้ด้วยความรู้นั้น หรือ เพื่อท้วง

ว่า ผิว่า ญาณในปัจจุบันมีโดยไม่แปลกกันแล้ว บุคคลก็พึงรู้ญาณแม้

ในปัจจุบันขณะ ด้วยญาณนั้นได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ญาณทั้ง ๒ ก็ไม่ใช่

ญาณอันเดียวกัน บุคคลจะพึงรู้ญาณนั้นด้วยญาณนั้นได้อย่างไร.

ในปัญหาเหล่านั้นปัญหาที่ ๑ ปรวาทีปฏิเสธว่า ไม่อาจรู้

ญาณนั้นด้วยญาณนั้นได้. ในปัญหาที่ ๒ ปรวาทีตอบรับรอง หมาย

เอาการสืบต่อ. ปัญหานั้น อธิบายว่า เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งความแตกดับ

ไปแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ บุคคลนั้นชื่อว่าย่อมเห็นภังคานุปัส-

สนาญาณได้ด้วยภังคานุปัสสนาญาณนั้นนั่นแหละ. แม้ในคำทั้งหลาย

คำว่า บุคคลรู้ความรู้นั้นได้ด้วยความรู้นั้น หรือ เป็นต้น ก็นัยนี้.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 803

คำทั้งหลายที่สกวาทีกล่าวว่า บุคคลถูกต้องผัสสะนั้นได้ด้วยผัสสะ

นั้น เป็นต้น เพื่อห้ามโอกาสอันมีเลศนัยของปรวาทีนั้น. ก็เพื่อให้

ลัทธิตั้งไว้ ปรวาทีกล่าวคำใดว่า เมื่อพระโยคาวจรเห็นสังขารทั้งปวง

โดยความเป็นของไม่เที่ยงแล้ว แม้ความรู้นั้นก็เป็นอันพระโยคาวจรนั้น

ได้เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงด้วยมิใช่หรือ คำตอบรับรองเป็นของ

สกวาที ในปัญหานั้นอธิบายว่า ญาณนั้นชื่อว่าเห็นแล้วโดยนัย แต่

ไม่เห็นโดยอารมณ์. เพราะฉะนั้น ลัทธิที่ปรวาทีตั้งไว้แล้วอย่างนี้ ก็

ไม่เป็นอันตั้งไว้ได้เลย ดังนี้แล.

อรรถกถาปัจจุปปันนญาณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 804

ผลญาณกถา

[๑๐๗๕] สกวาที พระสาวกมีความรู้ในผล หรือ ?

ปรวาที ถูกแล้ว.

ส. พระสาวกประกาศคุณสมบัติแห่งผลได้ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสาวกมีความรู้ในผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การรู้ความยิ่งความหย่อนแห่งผล การรู้ความยิ่ง

ความหย่อนแห่งอินทรีย์ การรู้ความยิ่งความหย่อนแห่งบุคคล ของ

พระสาวกมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสาวกมีความรู้ในผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. การบัญญัติขันธ์ การบัญญัติอายตนะ การบัญญัติ

ธาตุ การบัญญัติสัจจะ การบัญญัติอินทรีย์ การบัญญัติบุคคล ของ

พระสาวกมีอยู่ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระสาวกมีความรู้ในผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 805

ส. พระสาวก เป็นพระชินะ เป็นพระศาสดา เป็น

พระสัมมาสัมพุทธะ เป็นพระสัพพัญญู เป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวง เป็น

เจ้าแห่งธรรม เป็นที่อาศัย เป็นไปแห่งธรรม หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. พระสาวกมีความรู้ในผล หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.

ส. พระสาวกเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิด

ขึ้น เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม เป็นผู้กล่าวมรรคที่

ใคร ๆ ยังไม่กล่าวเป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้รู้แจ้งมรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรค

หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[๑๐๗๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระสาวกมีความรู้ในผล หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.

ป. พระสาวกเป็นผู้ไม่มีความรู้ หรือ ?

ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ป. ถ้าอย่างนั้น พระสาวกก็มีความรู้ในผลน่ะสิ

ผลญาณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 806

อรรถกถาผลญาณกถา

ว่าด้วยผลญาณ

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องผลญาณ คือความรู้ในผล. ในเรื่องนั้น ชน

เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ผลญาณอัน

สัตว์นั้น ๆ พึงบรรลุแม้ของพระสาวกทั้งหลาย ดุจของพระพุทธเจ้าทั้ง

หลายโดยสามัญนี้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี พระสาวกทั้งหลายก็ดี ย่อม

แสดงธรรมเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยผลของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ พระ-

สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น จึงถามว่า พระสาวกมีความรู้ในผล

เป็นต้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วง

ปรวาทีนั้นด้วยคำว่า ผิว่า ผลญาณของพระสาวกมีอยู่เหมือนพระพุทธเจ้า

ไซร้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงบัญญัติการทำผลในโสดาปัตติผล

แม้มีอยู่ว่า พระโสดาบันรูปนี้เป็นเอกพีชี รูปนี้เป็นโกลังโกละ รูปนี้

เป็นสัตตักขัตตุปรมะได้ด้วยญาณพละของพระองค์ ฉันใด แม้พระสาวก

ตามลัทธิของท่านก็บัญญัติการทำผลเช่นนั้นหรือ ดังนี้ จึงกล่าวว่า

พระสาวกประกาศคุณสมบัติแห่งผลได้หรือ ปรวาทีย่อมตอบ

ปฏิเสธ. คำว่า การรู้ความยิ่งความหย่อนแห่งผลของพระสาวกมี

อยู่หรือ เป็นต้น สกวาทีกล่าว เพื่อถามถึงปัจจัยเพราะผลญาณมีปัจจัย

ของผลก็ต้องมี ดังนี้.

ในปัญหานั้นอธิบายว่า ผลทั้งหลายอันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่า

การรู้ความสูงและต่ำแห่งผลทั้งหลายของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอย่างนี้ว่า

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 807

สภาวะนี้เป็นผลอันนี้ สภาวะนี้เป็นผลอันอื่น สภาวะนี้เป็นผลที่

ปราศจากไปแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า ปโรปริยัตติ หรือผลปโรปริยัตติ การ

รู้ความยิ่งความหย่อนแห่งผล อินทริยปโรปริยัตติและปุคคลปโรปริ-

ยัตติ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็มีอยู่โดยทำนองนั้น พระพุทธเจ้าทั้ง

หลายย่อมรู้ซึ่งผลนั้น ๆ ด้วยความสามารถแห่งการรู้บุคคลนั้น ๆ หรือว่า

ด้วยความสามารถแห่งการรู้อินทรีย์เหล่านั้น เพราะความที่ญาณเหล่า

นั้นมีอยู่ ปโรปริยัตติญาณทั้งหลายเหล่านี้ แม้ของพระสาวกมีอยู่หรือ.

คำทั้งหลาย แม้มีคำว่า การบัญญัติขันธ์ของพระสาวกมีหรือ

เป็นต้น สกวาทีกล่าวแล้วก็เพื่อท้วงว่า ผิว่า ผลญาณของพระสาวกมีอยู่

เหมือนของพระพุทธเจ้าไซร้ พระสาวกก็พึงบัญญัติธรรมเหล่านี้ได้

บัญญัติเหล่านี้ของพระสาวกย่อมมี พระสาวกย่อมอาจเพื่อรู้ หรือเพื่อ

บัญญัติซึ่งบัญญัติเหล่านี้ด้วยกำลังของตนหรือ ดังนี้. คำว่า พระสาวก

เป็นพระชินะ เป็นต้น สกวาทีกล่าว เพื่อท้วงว่า ผิว่า ผลญาณ

ของพระสาวกมีเหมือนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ไซร้ เมื่อความเป็น

เช่นนั้นมีอยู่ พระสาวกนั้นนั่นแหละก็เป็นพระชินพุทธเจ้า. แม้ใน

ปัญหาว่า พระสาวกเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นต้น

ก็นัยนี้เหมือนกัน. ในปัญหาว่า พระสาวกเป็นผู้ไม่มีความรู้หรือ

สกวาทีตอบปฏิเสธ เพราะว่าความไม่รู้คืออวิชชาอันพระสาวกขจัดได้

แล้ว แต่ว่าผลญาณของพระสาวกมีอยู่เหมือนพระพุทธเจ้าก็หาไม่ เพราะ

ฉะนั้น วาทะ คือลัทธิ ของปรวาที จึงเป็นการตั้งอยู่ไม่ได้เลยดังนี้แล.

อรรถกถาผลญาณกถา จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 808

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. วิมุตตกถา ๒. อเสกขญาณกถา ๓. วิปรีตกถา ๔. นิยามกถา

๕. ปฏิสัมภิทากถา ๖. สัมมติญาณกถา ๗. จิตตาสัมมณกถา

๘. อนาคตญาณกถา ๙. ปัจจุปันนญาณกถา ๑๐. ผลญาณกถา.

วรรคที่ ๕ จบ

รวมวรรคที่มีในปัณณาสก์นี้

๑. วรรคที่ ๑ ๒. วรรคที่ ๒ ๓. วรรคที่ ๓. ๔. วรรคที่ ๔

๕. วรรคที่ ๕

มหาปัณณาสก์ จบ

กถาวัตถุภาคที่ ๑ จบ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 809

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. วิมุตตกถา ๒. อเสกขญาณกถา ๓. วิปรีตกถา ๔. นิยามกถา

๕. ปฏิสัมภิทากถา ๖. สัมมติญาณกถา ๗. จิตตาสัมมณกถา

๘. อนาคตญาณกถา ๙. ปัจจุปันนญาณกถา ๑๐. ผลญาณกถา.

วรรคที่ ๕ จบ

รวมวรรคที่มีในปัณณาสก์นี้

๑. วรรคที่ ๑ ๒. วรรคที่ ๒ ๓. วรรคที่ ๓. ๔. วรรคที่ ๔

๕. วรรคที่ ๕

มหาปัณณาสก์ จบ

กถาวัตถุภาคที่ ๑ จบ