ไปหน้าแรก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระอภิธรรมปิฎก

เล่มที่ ๒

วิภังค์ ภาคที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ขันธวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

[๑] ขันธ์ ๕ คือ

๑. รูปขันธ์

๒. เวทนาขันธ์

๓. สัญญาขันธ์

๔. สงขารขันธ์

๕. วิญญาณขันธ์

รูปขันธ์

[๒] ในขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน ?

รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ รูปอดีต รูปอนาคต รูปปัจจุบัน

รูปภายในรูปภายนอก รูปหยาบ รูปละเอียด รูปทราม รูปประณีต

รูปไกล รูปใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่ารูปขันธ์.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

[๓] ในรูปขันธ์นั้น รูปอดีต เป็นไฉน ?

รูปใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับ

แล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว ปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์

เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้

เรียกว่า รูปอดีต.

รูปอนาคต เป็นไฉน ?

รูปใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่

บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น

ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่มหาภูตรูป ๔

และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปอนาคต.

รูปปัจจุบัน เป็นไฉน ?

รูปใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิด

ยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้น

พร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่มหาภูตรูป ๔

และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปปัจจุบัน.

[๔] รูปภายใน เป็นไฉน ?

รูปใด ของสัตว์นั้น ๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน

เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่มหาภูตรูป ๔

และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปภายใน.

รูปภายนอก เป็นไฉน ?

รูปใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้น ๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดใน

ตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่มหาภูตรูป ๔

และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปภายนอก.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

[๕] รูปหยาบ เป็นไฉน ?

จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ

รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ นี้เรียกว่า

รูปหยาบ.

รูปละเอียด เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ อากาส-

ธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ รูปชรตา

รูปอนิจจตา กวฬิงการาหาร นี้เรียกว่ารูปละเอียด.

[๖] รูปทราม เป็นไฉน ?

รูปใด ของสัตว์นั้น ๆ ที่น่าดูหมิ่น น่าเหยียดหยาม น่าเกลียด น่า

ตำหนิ ไม่น่ายกย่อง ทราม รู้กันว่าทราม สมมติกันว่าทราม ไม่น่าปรารถนา

ไม่น่ารัก ไม่น่าชอบใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้เรียกว่า

รูปทราม.

รูปประณีต เป็นไฉน ?

รูปใด ของสัตว์นั้น ๆ ที่ไม่น่าดูหมิ่น ไม่น่าเหยียดหยาม ไม่น่าเกลียด

ไม่น่าตำหนิ น่ายกย่อง ประณีต รู้กันว่าประณีต สมมติกันว่าประณีต น่า

ปรารถนา น่ารัก น่าชอบใจ ได้แก่ รูป เสียง กล่น รส โผฏฐัพพะ นี้

เรียกว่ารูปประณีต.

หรือพึงทราบรูปทรามรูปประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้น ๆ เป็น

ชั้น ๆ ไป.

[๗] รูปไกล เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ในที่ไม่ใกล้

ในที่ไม่ใกล้ชิด ในที่ไกล ในที่ไม่ใช่ใกล้ นี้เรียกว่ารูปไกล.

รูปใกล้ เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ในที่ใกล้เคียง

ในที่ใกล้ชิด ในที่ไม่ไกล ในที่ใกล้ นี้เรียกว่ารูปใกล้.

หรือพึงทราบรูปไกลรูปใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้น ๆ เป็นชั้น ๆ

ไป.

เวทนาขันธ์

[๘] เวทนาขันธ์ เป็นไฉน ?

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ เวทนาอดีต เวทนาอนาคต เวทนา

ปัจจุบัน เวทนาภายใน เวทนาภายนอก เวทนาหยาบ เวทนาละเอียด

เวทนาทราม เวทนาประณีต เวทนาไกล เวทนาใกล้ ประมวลย่อ

เข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าเวทนาขันธ์.

[๙] ในเวทนาขันธ์นั้น เวทนาอดีต เป็นไฉน ?

เวทนาใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ

ดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว ปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์

เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า

เวทนาอดีต.

เวทนาอนาคต เป็นไฉน ?

เวทนาใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด

ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ สุขเวทนา

ทุกขเวทนา อทุกขสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาอนาคต.

เวทนาปัจจุบัน เป็นไฉน ?

เวทนาใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่ง

แล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว

ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา

อทุกขสุขเวทนา นี้เรียกว่าเวทนาปัจจุบัน.

[๑๐] เวทนาภายใน เป็นไฉน ?

เวทนาใด ของสัตว์นั้น ๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน

เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่ สุขเวทนา

ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่าเวทนาภายใน.

เวทนาภายนอก เป็นไฉน ?

เวทนาใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้น ๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน

เกิดในตน มีเฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่

สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่าเวทนาภายนอก.

[๑๑] เวทนาหยาบ เวทนาละเอียด เป็นไฉน ?

อกุศลเวทนาเป็นเวทนาหยาบ กุศลเวทนาและอัพยากตเวทนาเป็น

เวทนาละเอียด กุศลเวทนาและอกุศลเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อัพยากตเวทนา

เป็นเวทนาละเอียด ทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา

เป็นเวทนาละเอียด สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อทุกขมสุขเวทนา

เป็นเวทนาละเอียด เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาหยาบ เวทนาของผู้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

เข้าสมาบัติเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาหยาบ

เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาละเอียด

หรือพึงทราบเวทนาหยาบเวทนาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนา

นั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป.

[๑๒] เวทนาทราม เวทนาประณีต เป็นไฉน ?

อกุศลเวทนาเป็นเวทนาทราม กุศลเวทนาและอัพยากตเวทนาเป็น

เวทนาประณีต กุศลเวทนาและอกุศลเวทนาเป็นเวทนาทราม อัพยากตเวทนา

เป็นเวทนาประณีต ทุกขเวทนาเป็นเวทนาทราม สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา

เป็นเวทนาประณีต สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาทราม อทุกขมสุขเวทนา

เป็นเวทนาประณีต เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาทราม เวทนาของผู้

เข้าสมาบัติเป็นเวทนาประณีต เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาทราม

เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาประณีต

หรือพึงทราบเวทนาทรามเวทนาประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนา

นั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป.

[๑๓] เวทนาไกล เป็นไฉน ?

อกุศลเวทนาไกลจากกุศลเวทนาและอัพยากตเวทนา กุศลเวทนาและ

อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอกุศลเวทนา กุศลเวทนาเป็นเวทนาไกลจาก

อกุศลเวทนาและอัพยากตเวทนา อกุศลเวทนาและอัพยากตเวทนาเป็นเวทนา

ไกลจากกุศลเวทนา อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาไกลจากกุศลเวทนาและอกุศล-

เวทนา กุศลเวทนาและอกุศลเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอัพยากตเวทนา ทุกข-

เวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สุขเวทนาและอทุกขม

สุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากทุกขเวทนา สุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากทุกข-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

เวทนาและอทุกขมสุขเวทนา ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาไกล

จากสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนาและทุกขเวทนา

สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอทุกขมสุขเวทนา เวทนาของผู้ไม่

เข้าสมาบัติเป็นเวทนาไกลจากเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติ

เป็นเวทนาไกลจากเวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

เป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ. เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์

ของอาสวะเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าเวทนา

ไกล.

เวทนาใกล้ เป็นไฉน ?

อกุศลเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอกุศลเวทนา กุศลเวทนาเป็นเวทนา

ใกล้กับกุศลเวทนา อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอัพยากตเวทนา ทุกข-

เวทนาเป็นเวทนาใกล้กับทุกขเวทนา สุขเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับสุขเวทนา

อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอทุกขมสุขเวทนา เวทนาของผู้ไม่เข้า

สมาบัติเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติ

เป็นเวทนาใกล้กับเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น

เวทนาใกล้กับเวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

เป็นเวทนาใกล้กับเวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าเวทนาใกล้

หรือพึงทราบเวทนาไกลเวทนาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้น ๆ

เป็นชั้น ๆ ไป.

สัญญาขันธ์

[๑๔] สัญญาขันธ์ เป็นไฉน ?

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สัญญาอดีต สัญญอนาคต สัญญา-

ปัจจุบัน สัญญาภายใน สัญญาภายนอก สัญญาหยาบ สัญญา-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

ละเอียด สัญญาทราม สัญญาประณีต สัญญาไกล สัญญาใกล้

ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าสัญญาขันธ์.

[๑๕] ในสัญญาขันธ์ นั้น สัญญาอดีต เป็นไฉน ?

สัญญาใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ

ดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว ปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์เข้า

กับส่วนอดีต ได้แก่จักขุสัมผัสสชาสัญญา โสตสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชา

สัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา

นี้เรียกว่าสัญญาอดีต.

สัญญาอนาคต เป็นไฉน ?

สัญญาใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยัง

ไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยัง

ไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุสัมผัส-

สชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาอนาคต.

สัญญาปัจจุบัน เป็นไฉน ?

สัญญาใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิด

ยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อม

แล้วที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาสัญญา

ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาปัจจุบัน.

[๑๖] สัญญาภายใน เป็นไฉน ?

สัญญาใดของสัตว์นั้น ๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน

เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่จักขุสัมผัสสชา-

สัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาภายใน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

สัญญาภายนอก เป็นไฉน ?

สัญญาใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้น ๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน

เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่จักขุ

สัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาภายนอก.

[๑๗] สัญญาหยาบ สัญญาละเอียด เป็นไฉน ?

สัญญาอันเกิดแต่ปฏิฆสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่ปัญจทวาร) เป็นสัญญา

หยาบ สัญญาอันเกิดแต่อธิวจนสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่มโนทวาร) เป็นสัญญา

ละเอียด อกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็น

สัญญาละเอียด กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ อัพยากตสัญญา

เป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่

สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุต

ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข

เวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาหยาบ สัญญา

ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญา

หยาบ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาละเอียด

หรือพึงทราบสัญญาหยาบ สัญญาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญา

นั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป.

[๑๘] สัญญาทราม สัญญาประณีต เป็นไฉน ?

อกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็น

สัญญาประณีต กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม อัพยากตสัญญา

เป็นสัญญาประณีต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นสัญญาทราม สัญญา

ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่สัม-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

ปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาทราม สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขม

สุขเวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาทราม สัญญา

ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญา

ทราม สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาประณีต

หรือพึงทราบสัญญาทรามสัญญาประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญา

นั้น ๆ เป็นชั้นๆ ไป.

[๑๙] สัญญาไกล เป็นไฉน ?

อกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา กุศล-

สัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญา

ไกลจากอกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา อกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็น

สัญญาไกลจากกุศลสัญญา อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและ

อกุศลสัญญา กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอัพยากตสัญญา

สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา

และอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น

สัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา

เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกเวทนาและอทุกขสุขเวทนา สัญญา

ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัม-

ปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจาก

สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาแสะทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา

และทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัญญา

ของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาของผู้เข้า

สมาบัติ เป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

อาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ไม่เป็น

อารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า

สัญญาไกล.

สัญญาใกล้ เป็นไฉน ?

อกุศลสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญาใกล้

กับกุศลสัญญา อัพยกตสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอัพยากตสัญญา สัญญาที่สัมปยุต

ด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่

สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญาที่

สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-

เวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ

สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็น

อารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่

ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

นี้เรียกว่าสัญญาใกล้

หรือพึงทราบสัญญาไกลสัญญาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้น ๆ

เป็นชั้น ๆ ไป.

สังขารขันธ์

[๒๐] สังขารขันธ์ เป็นไฉน ?

สังขารเหล่าหนึ่ง คือ สังขารอดีต สังขารอนาคต สังขาร

ปัจจุบัน สังขารภายใน สังขารภายนอก สังขารหยาบ สังขาร

ละเอียด สังขารทราม สังขารประณีต สังขารไกล สังขารใกล้

ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าสังขารขันธ์.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

[๒๑] ในสังขารขันธ์นั้น สังขารอดีต เป็นไฉน ?

สังขารเหล่าใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว

ถึงความดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว ปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีต

สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่จักขุสัมผัสสชาเจตนา โสตสัมผัสสชาเจตนา

ฆานสัมผัสสชาเจตนา ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา กายสัมผัสสชาเจตนา มโน-

สัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่าสังขารอดีต.

สังขารอนาคต เป็นไฉน ?

สังขารเหล่าใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่พร้อม ยังไม่บังเกิด

ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น

ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุ

สัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่าสังขารอนาคต.

สังขารปัจจุบัน เป็นไฉน ?

สังขารเหล่าใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว

บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว

ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่

จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่าสังขารปัจจุบัน.

[๒๒] สังขารภายใน เป็นไฉน ?

สังขารเหล่าใด ของสัตว์นั้น ๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดใน

ตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่จักขุ-

สัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่าสังขารภายใน.

สังขารภายนอก เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

สังขารเหล่าใดของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้น ๆ ซึ่งมีในตนเฉพาะตน

เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่

จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่าสังขารภายนอก.

[๒๓] สังขารหยาบ สังขารละเอียด เป็นไฉน ?

อกุศลสังขารเป็นสังขารหยาบ กุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็น

สังขารละเอียด กุศลสังขารและอกุศลสังขารเป็นสังขารหยาบ อัพยากตสังขาร

เป็นสังขารละเอียด สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ สังขารที่

สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารละเอียด สังขารที่สัมปยุต

ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-

เวทนาเป็นสังขารละเอียด สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารหยาบ สังขาร

ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารละเอียด สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขาร

หยาบ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารละเอียด

หรือพึงทราบสังขารหยาบสังขารละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสังขาร

นั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป.

[๒๓] สังขารทราม สังขารประณีต เป็นไฉน ?

อกุศลสังขารเป็นสังขารทราม กุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็น

สังขารประณีต กุศลสังขารและอกุศลสังขารเป็นสังขารทราม อัพยากตสังขาร

เป็นสังขารประณีต สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารทราม สังขารที่

สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารประณีต สังขารที่สัมปยุต

ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารทราม สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-

เวทนาเป็นสังขารประณีต สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารทราม สังขาร

ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารประณีต สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขาร

ทราม สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารประณีต

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

หรือพึงทราบสังขารทรามสังขารประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสังขาร

นั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป.

[๒๕] สังขารไกล เป็นไฉน ?

อกุศลสังขารเป็นสังขารไกลจากกุศลสังขารและอัพยากตสังขาร กุศล

สังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขารไกลจากอกุศลสังขาร กุศลสังขารเป็นสังขาร

ไกลจากอกุศลสังขารและอัพยากตสังขาร อกุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็น

สังขารไกลจากกุศลสังขาร อัพยากตสังขารเป็นสังขารไกลจากกุศลสังขารและ

อกุศลสังขาร กุศลสังขารและอกุศลสังขารเป็นสังขารไกลจากอัพยากตสังขาร

สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา

และอทุกขมสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น

สังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา

เป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สังขาร

ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุต

ด้วยสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขาร

ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกข-

เวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สังขารของผู้

ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติ

เป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

เป็นสังขารไกลจากสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์

ของอาสวะเป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าสังขาร

ไกล.

สังขารใกล้ เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

อกุศลสังขารเป็นสังขารใกล้กับอกุศลสังขาร กุศลสังขารเป็นสังขารใกล้

กับกุศลสังขาร อัพยากตสังขารเป็นสังขารใกล้กับอัพยากตสังขาร สังขารที่

สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาสังขาร

ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สังขาร

ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข

เวทนา สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ

สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้เข้าสมาบัติ สังขารที่เป็น

อารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สังขารที่ไม่

เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้

เรียกว่าสังขารใกล้

หรือพึงทราบสังขารไกลสังขารใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้น ๆ

เป็นชั้น ๆ ไป.

วิญญาณขันธ์

[๒๖] วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน ?

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ วิญญาณอดีต วิญญาณอนาคต

วิญญาณปัจจุบัน วิญญาณภายใน วิญาณภายนอก วิญญาณหยาบ

วิญญาณละเอียด วิญญาณทราม วิญญาณประณีต วิญญาณไกล

วิญญาณใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าวิญญาณขันธ์.

[๒๗] ในวิญญาณขันธ์นั้น วิญญาณอดีต เป็นไฉน ?

วิญญาณใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึง

ความดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้ว ปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีต

สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ

ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณอดีต.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

วิญญาณอนาคต เป็นไฉน ?

วิญญาณใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด

ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น

ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่จักขุวิญญาณ

ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณอนาคต.

วิญญาณปัจจุบัน เป็นไฉน ?

วิญญาณใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิด

ยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้น

พร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่จักขุวิญญาณ

ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณปัจจุบัน.

[๒๘] วิญญาณภายใน เป็นไฉน ?

วิญญาณใด ของสัตว์นั้น ๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน

เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่จักขุวิญญาณ

ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณภายใน.

วิญญาณภายนอก เป็นไฉน ?

วิญญาณใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้น ๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน

เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิยึดครอง ได้แก่

จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณภายนอก.

[๒๙] วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด เป็นไฉน ?

อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณหยาบ กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณ

เป็นวิญญาณละเอียด กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณหยาบ อัพ-

ยากตวิญญาณเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

วิญญาณหยาบ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น

วิญญาณละเอียด วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณ

หยาบ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณ

ของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณ

ละเอียด วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่ไม่

เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณละเอียด

หรือพึงทราบวิญญาณหยาบวิญญาณละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียง

วิญญาณนั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป.

[๓๐] วิญญาณทราม วิญญาณประณีต เป็นไฉน ?

อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณทราม กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณ

เป็นวิญญาณประณีต กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณทราม

อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณประณีต วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็น

วิญญาณทราม วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น

วิญญาณประณีต วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณ

ทราม วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณประณีต วิญญาณ

ของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณทราม วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณ

ประณีต วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณทราม วิญญาณที่ไม่เป็น

อารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณประณีต

หรือพึงทราบวิญญาณทรามวิญญาณประณีต โดยอาศัยเทียบเคียง

วิญญาณนั้น ๆ เป็นชั้นๆ ไป.

[๓๑] วิญญาณไกล เป็นไฉน ?

อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากกุศลวิญญาณ และอัพยากตวิญญาณ

กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากอกุศลวิญญาณ กุศล

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

วิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากอกุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณอกุศลวิญญาณ

และอัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากกุศลวิญญาณ อัพยากตวิญญาณเป็น

วิญญาณไกลจากกุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณ กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณ

เป็นวิญญาณไกลจากอัพยากตวิญญาณ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็น

วิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณ

ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา เป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณ

ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจาก

วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วย

ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุข

เวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่

สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและ

ทุกขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา วิญ-

ญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณของผู้เข้าสมาบัติ วิญญาณ

ของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ วิญญาณที่

เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นอารมณ์

ของอาสวะ นี้เรียกว่าวิญญาณไกล.

วิญญาณใกล้ เป็นไฉน ?

อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณใกล้กับอกุศลวิญญาณ กุศลวิญญาณเป็น

วิญญาณใกล้กับกุศลวิญญาณ อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณใกล้กับอัพยากต-

วิญญาณ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมป-

ยุตด้วยทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณ

ใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ

เป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็น

วิญญาณใกล้กับวิญญาณของผู้เข้าสมาบัติ วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น

วิญญาณใกล้กับวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของ

อาสวะเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า

วิญญาณใกล้

หรือพึงทราบวิญญาณไกลวิญญาณใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณ

นั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป.

สุตตันตภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาพระวิภังค์

อารัมภกถา

พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะ ทรงเห็น

สัจจะทั้ง ๔ จึงทรงประกาศพระธรรมสังคณี

๔ กัณฑ์ (คือ จิตตุปปาทกัณฑ์ รูปกัณฑ์

นิกเขปกัณฑ์ อัตถุทธารกัณฑ์) แล้ว ทรงเป็น

นายกประกอบด้วยธรรมของพระพุทธเจ้า ๑๘

ประการ ทรงเป็นพระบรมศาสดา แสดง

พระวิภังค์อันใด ด้วยอำนาจวิภังค์ ๑๘ ประ-

การ มีขันธวิภังค์เป็นต้น ในลำดับแห่ง

พระธรรมสังคณีนั่นแหะ บัดนี้ลำดับ

แห่งการสังวรรณนาพระวิภังค์นั้น ถึงพร้อม

แล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าสะสางนัย

อรรถกถาโบราณแล้วจักเรียบเรียงอรรถกถา

พระวิภังค์นั้น ขอท่านสาธุชนทั้งหลายจง

ตั้งใจทำความเคารพพระสัทธรรม ฟังอรรถ-

กถาพระวิภังค์นั้น เทอญ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

๑. ขันธวิภังคนิเทศ

วรรณาสุตตันตภาชนีย์

คำว่า ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์

สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ดังนี้ นี้ ชื่อสุตตันตภาชนีย์ ในขันธวิภังค์

อันเป็นวิภังค์ต้นแห่งวิภังค์ปกรณ์. ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ๕ เป็นคำ

กำหนดจำนวน ด้วยคำว่า ๕ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า ขันธ์

ทั้งหลายมีไม่น้อยกว่านั้นไม่มากกว่านั้น. คำว่า ขันธ์ เป็นคำแสดงธรรมที่ทรง

กำหนดไว้.

ว่าด้วยขันธ์ศัพท์

ในพระบาลีขันธวิภังค์นั้น ศัพท์ว่า ขันธ์ (ขนฺธสทฺโท) นี้ใช้ใน

ฐานะมาก คือ ในฐานะว่า กอง (ราสิมฺหิ) ในฐานะว่า คุณ (คุเณ)

ในฐานะโดยเป็นบัญญัติ (ปณฺณตฺติย) ในความเป็นคำติดปาก (รุฬฺหิย).

จริงอยู่ ชื่อว่า ขันธ์ โดยฐานะว่า กอง เหมือนในประโยคมีคำ

เป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การถือเอาประมาณแห่งน้ำในมหา-

สมุทรว่า มีน้ำเท่านี้อาฬหก หรือว่าเท่านี้ร้อยอาฬหก หรือว่าเท่านี้

พันอาฬหก หรือว่าเท่านี้แสนอาฬหก ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย โดยที่แท้

ย่อมถึงการนับว่า เป็นมหาอุทกขันธ์ ( กองน้ำใหญ่ ) อันใคร ๆ พึงนับ

ไม่ได้ พึงประมาณไม่ได้ทีเดียว แม้ฉันใด ดังนี้ เพราะมิใช่น้ำ

๑. คำว่า สุตตันตภาชนีย์ คือ คำที่จำแนกโดยนัยที่ทรงแสดงในพระสูตร

๒. อง จตุกฺก เล่ม ๒๑ ๕๑/๗๒ คำว่า อาฬหก เป็นชื่อกำหนดนับโดยการตวงของ เช่น

๔ กำมือเป็น ๑ ฟายมือ ๒ ฟายมือเป็น ๑ กอบ ๒ กอบเป็น ๑ ทะนาน ๔ ทะนานเป็น

๑ อาฬหก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

นิดหน่อย คือเป็นน้ำจำนวนมากทีเดียว เขาจึงเรียกว่า อุทกขันธ์ (กองน้ำ)

อนึ่ง ธุลีมิใช่มีประมาณเล็กน้อย เขาก็เรียกว่า รชักขันธ์ (กองธุลี) โคมี

ประมาณไม่น้อย เขาก็เรียกว่า ควักขันธ์ (กองโค) พลมีประมาณไม่น้อย

เขาก็เรียกว่า พลขันธ์ (กองพล) บุญมีประมาณไม่น้อย เขาก็เรียกว่า บุญขันธ์

(กองบุญ) เพราะธุลีมีมากทีเดียว ท่านจึงเรียกว่า รชักขันธ์ โคเป็นต้นมีประมาณ

มากทีเดียว ท่านจึงเรียกว่า ควักขันธ์ พลมีประมาณมาก และบุญมีประมาณ

มาก ท่านก็เรียกว่า พลขันธ์ และบุญขันธ์ ดังนี้.

อนึ่ง ชื่อว่า ขันธ์ โดยฐานะว่าคุณ เหมือนในประโยคมีคำเป็นต้นว่า

สีลกฺขนฺโธ (คุณคือศีล) สมาธิขนฺโธ (คุณคือสมาธิ) ดังนี้. และชื่อว่า

ขันธ์โดยฐานะเป็นบัญญัติ เหมือนในชื่อนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอด

พระเนตรเห็นท่อนไม้ท่อนใหญ่ (มหนฺต ทารุกฺขนฺธ) ลอยตาม

กระแสแม่น้ำคงคาไป* ดังนี้. ชื่อว่า ขันธ์ ในฐานะโดยความเป็น คำติดปาก

เหมือนในประโยคมีคำเป็นต้นว่า จิต มโน มานัส วิญญาณ วิญญาณ-

ขันธ์ อันใด ดังนี้.

ขันธ์นี้นั้น ทรงประสงค์เอาโดยฐานะว่า กอง ในอธิการนี้ เพราะ

ชื่อว่า อรรถแห่งขันธ์นี้มีอรรถว่าเป็นก้อน เป็นกลุ่ม เป็นแท่ง เป็นกอง

ฉะนั้น พึงทราบว่าขันธ์ทั้งหลายมีลักษณะเป็นกอง ดังนี้ แม้จะกล่าวว่า อรรถ

แห่งขันธ์นี้มีอรรถเป็นโกฏฐาส (คือเป็นส่วน) ดังนี้ ก็ควร เพราะคนทั้งหลาย

ในโลกกู้หนี้เขามาแล้ว เมื่อถูกเจ้าหนี้ทวง ก็พูดว่า พวกเราจักให้ ๒ ขันธ์

(๒ ส่วน) ๓ ขันธ์ (๓ ส่วน) ดังนี้ แม้การกล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายมีลักษณะ

เป็นโกฏฐาส คือเป็นส่วน ดังนี้ก็ควร ด้วยประการฉะนี้ คำว่า รูปขันธ์

๑. ส. สฬายตนวคฺค เล่ม ๑๘ ๓๒๕/๒๒๖

๒. อภิ. วิ เล่ม ๓๕ ๒๙๔/๑๙๓

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

ในสุตตันภาชนีย์นี้จึงได้แก่ กองแห่งรูป ส่วนแห่งรูป. คำว่า เวทนาขันธ์

ก็ได้แก่ กองแห่งเวทนา ส่วนแห่งเวทนา เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบ

อรรถแห่งขันธ์มีสัญญาเป็นต้นโดยนัยนี้.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประมวลรูปทั้งหมด ทำให้เป็นกองแห่งรูป

มีประเภทอย่างนี้ คือ ส่วนแห่งรูป ๒๕ และส่วนแห่งรูป ๙๖ ซึ่งทรงจำแนก

ไว้ในโอกาส ๑๑ อย่าง มีรูปที่เกิดแต่อดีต อนาคต และปัจจุบันเป็นต้น โดย

พระดำรัสที่ตรัสว่า มหาภูตรูป ๔ และรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ ดังนี้

แล้วทรงแสดงว่า ชื่อว่า รูปขันธ์ ไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

อนึ่ง ทรงประมวลเวทนานั้นทั้งหมดทำให้เป็นกองแห่งเวทนาอันเป็น

ไปในภูมิ ๔ ซึ่งทรงจำแนกไว้ในโอกาส ๑๑ เหล่านั้นนั่นแหละว่า สุขเวทนา

ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดังนี้ แล้วทรงแสดงว่า ชื่อว่า เวทนาขันธ์.

และทรงประมวลสัญญานั้นทั้งหมด ทำให้เป็นกองแห่งสัญญาอันเป็นไปในภูมิ ๔

ซึ่งทรงจำแนกไว้ในโอกาส ๑๑ เหล่านั้นนั่นแหละว่า สัญญาเกิดแต่จักขุ-

สัมผัส ฯลฯ สัญญาเกิดแต่มโนสัมผัส ดังนี้ แล้วทรงแสดงว่า ชื่อว่า

สัญญาขันธ์. และทรงประมวลสังขารนั้นทั้งหมด ทำให้เป็นกองแห่งเจตนา

อันเป็นไปในภูมิ ซึ่งทรงจำแนกไว้ในโอกาส ๑๑ เหล่านั้นนั่นแหละว่า เจตนา

เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาเกิดแต่มโนสัมผัส ดังนี้ แล้วทรงแสดงว่า

ชื่อว่า สังขารขันธ์. และทรงประมวลวิญญาณนั้นทั้งหมดทำให้เป็นกองแห่ง

จิตอันเป็นไปในภูมิ ๔ ซึ่งทรงจำแนกไว้ในโอกาส ๑๑ เหล่านั้นนั่นแหละว่า

๑. รูป ๒๕ คือ อายตนะภายในและภายนอก ๑๐ แสะสุขุมรูป ๑๕

๒. รูป ๙๖ คือ กรรมชรูป ได้แก่ จักขุทสกะ โสต ฆาน ชิว กายทสก อิตถีภาวทสก

ปุริสภาวทสก รวม ๗๐ และสุทธัฏฐกรูป ๘ เกิดแต่ จิติ อุตุ อาหารรวม ๒๔ สัททรูป ๒

เกิดแต่จิตและอุต.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ วิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ

มโนธาตุ มโนวิญาณธาตุ ดังนี้ แล้วทรงแสดงว่า ชื่อว่า วิญญาณขันธ์.

อีกอย่างหนึ่ง ในอธิการแห่งขันธ์ ๕ นี้ รูปแม้ทั้งหมดที่เกิดจาก

สมุฏฐานทั้ง ๔ (คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร) ชื่อว่า รูปขันธ์ เวทนา

ที่เกิดพร้อมกับจิต ๘๙ มีกามาวจรกุศลจิต ๘ เป็นต้น ชื่อว่า เวทนาขันธ์

แม้สัญญาก็ชื่อว่า สัญญาขันธ์ ธรรมมีผัสสะเป็นต้น ก็ชื่อว่า สังขารขันธ์

จิต ๘๙ ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ พึงทราบการกำหนดธรรมในขันธ์ ๕ แม้

อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

อธิบายรูปขันธ์

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีความประสงค์จะทรงจำแนกแสดงรูปขันธ์

เป็นต้นเหล่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตตถฺ กตโม รูปกฺขนฺโธ ในขันธ์

๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในขันธวิภังค์นั้น ดังนี้

บทว่า ตตฺถ แปลว่า ในขันธ์ ๕ เหล่านั้น บทว่า กตโม เป็น

กเถตุกัมยตาปุจฉา. บทว่า รูปกฺขนฺโธ (รูปขันธ์) เป็นบทแสดงธรรมที่

ทรงปุจฉา. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกรูปขันธ์นั้นในบัดนี้ จึงตรัส

พระดำรัสมีอาทิว่า ย กิญฺจิ รูป (รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง). บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า ย กิญฺจิ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) เป็นบทที่ทรงถือเอาโดยไม่เหลือ. บทว่า

รูป (รูป) เป็นบทกำหนดธรรมที่เกี่ยวข้อง ด้วยบทว่า ย กิญฺจิ รูป แม้

ทั้งสองอย่างนี้ ย่อมเป็นอันทรงทำการกำหนดเอารูปโดยไม่มีส่วนเหลือ.

ถามว่า ในรูปขันธ์นั้น ธรรมที่ชื่อว่า รูป ด้วยอรรถว่ากระไร

ตอบว่า ที่ชื่อว่า รูป ด้วยอรรถว่า ย่อยยับ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไรพวก

เธอจึงเรียกว่ารูปเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่รูปย่อมย่อยยับไปแล ฉะ-

นั้นจึงเรียกว่ารูป รูปย่อมย่อยยับเพราะอะไร ? ย่อมย่อยยับเพราะความเย็นบ้าง

ย่อมย่อยยับ เพราะความร้อนบ้าง ย่อมย่อยยับ เพราะความหิวบ้าง ย่อมย่อย-

ยับ เพราะความหายบ้าง ย่อมย่อยยับ เพราะสัมผัสเหลือบ ยุง ลมแดด

และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่รูปย่อมย่อยยับไป

แล เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า รูป ดังนี้.

ในพระดำรัสเหล่านั้น คำว่า กึ เป็นการณปุจฉา (ถามถึงเหตุ)

อธิบายว่า พวกเธอเรียกรูปด้วยเหตุอะไร คือ ชื่อว่า รูปนั้น ด้วยเหตุอะไร.

อิติศัพท์ในบทว่า รุปฺปติ นี้เป็นศัพท์ยกเหตุขึ้นแสดง อธิบายว่า เพราะเหตุ

ที่รูปย่อมย่อยยับ ฉะนั้น จึงชื่อว่า รูป. ก็บทว่า รุปฺปติ มีอธิบายว่า

รูปย่อมกำเริบ อันปัจจัยย่อมกระทบ อันปัจจัยย่อมเบียดเบียน ย่อมแตกสลาย

โดยฐานะนี้มีประมาณเท่านี้ รูปเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยอรรถ

ว่า ย่อยยับไป ด้วยประการฉะนี้ แม้จะกล่าวว่า ชื่อว่า รูป ด้วยลักษณะที่

ย่อยยับไป ดังนี้ก็ควร เพราะรูปนี้มีการย่อยยับเป็นลักษณะ.

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในคำมีอาทิว่า รูปย่อมย่อยยับไปเพราะความ

เย็นบ้าง ดังนี้ ว่าด้วยความเย็นก่อน ความที่รูปย่อยยับไปปรากฏในโลกัน-

ตริกนรก. จริงอยู่ นรกหนึ่ง ๆ ในระหว่างทุก ๆ สามจักรวาล มีประมาณ

๘,๐๐๐ โยชน์ ซึ่งภายใต้ไม่มีแผ่นดิน เบื้องบนไม่มีพระจันทร์ พระอาทิตย์ไม่มี

ดวงประทีป ไม่มีแสงสว่างแห่งแก้วมณี มืดมิดเป็นนิตย์ ชื่อว่า โลกันตริกนรก

อัตภาพของสัตว์ผู้เกิดในโลกันตริกนรกนั้น มีประมาณ ๓ คาวุต สัตว์เหล่านั้น

จะมีเล็บทั้งหลายที่ยาวหนาเกาะที่เชิงเขา ห้อยหัวลงดุจค้างคาว เมื่อใดมันเขยิบ

ตัวไปถึงหัตถบาสของกันและกัน เมื่อนั้น พวกมันก็จะสำคัญว่า พวกเราได้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

อาหารแล้วต่างก็พากันขวนขวายในสิ่งที่ตนว่าเป็นอาหารนั้น จึงไล่ตามกันไป

รอบ ๆ แล้ว พลัดตกลงไปในน้ำที่รองแผ่นดิน เมื่อถูกลมเย็นพัดกระหน่ำอยู่

มันก็จะขาดตกลงในน้ำ เหมือนผลมะซางสุก ฉะนั้น. พอตกลงเท่านั้น มัน

ก็มีหนังเอ็นเนื้อ กระดูก ถูกน้ำกรดเย็นกัดทำลายเป็นชิ้น ๆ เหมือนก้อนแป้ง

ที่เขาใส่ในน้ำมันเดือด ความย่อยยับไปแห่งรูปปรากฏในโลกันตริกนรก ด้วย

ความเย็นอย่างนี้. ความย่อยยับแห่งรูปนี้ปรากฏ ในประเทศทั้งหลายที่มีความ

เย็นเกิดแต่หิมะตก แม้มีแคว้น ชื่อว่า มหิสกะเป็นต้นก็เหมือนกัน เพราะสัตว์

ทั้งหลายในประเทศนั้น มีร่างกายถูกความเย็นทำลายตัดขาดแล้วย่อมถึงแม้ความ

สิ้นชีวิต ดังนี้.

ว่าด้วยความร้อน ความที่รูปย่อยยับไปปรากฏแล้ว ในอเวจีมหานรก

จริงอยู่ ในอเวจีมหานรกนั้น สัตว์นรกย่อมเสวยทุกข์ใหญ่ ในเวลาต้องกรรม

กรณ์มีการให้นอนลงบนพื้นแผ่นดินโลหะ ที่ร้อนแล้วจองจำด้วยเครื่องจองจำ

๕ อย่างเป็นต้น.

ว่าด้วยความหิว ความที่รูปย่อยยับไปปรากฏแล้วในปิตติวิสัย (กำ

เนิดเปรต) และในเวลาเกิดทุพภิกขภัย จริงอยู่ พวกสัตว์ในกำเนิดเปรต ชื่อว่า

เอามือถืออามิสอย่างใดอย่างหนึ่งใส่เข้าไปในปากมิได้มีตลอด ๒-๓ พุทธันดร

ภายในท้องเป็นเหมือนต้นไม้มีโพรงที่ไฟติดทั่วแล้ว ในเวลาเกิดทุพภิกขภัย

ชื่อว่าสัตว์ทั้งหลาย ผู้ไม่ได้แม้เพียงน้ำข้าวแล้วถึงความตายไป นับประมาณมิได้.

ว่าด้วยความระหาย ความที่รูปย่อยยับไปปรากฏแล้วในอสุรกาย

ทั้งหลาย มีกาลกัญชิกาสูร เป็นต้น จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายในพวกกาลกัญชิกาสูร

เป็นต้นนั้น ย่อมไม่อาจได้หยาดน้ำเพียงยังหทัยให้ชุ่ม หรือเพียงให้เปียกลิ้น

สิ้น ๒-๓ พุทธันดร แม้บางพวกที่ไปถึงแม่น้ำด้วยคิดว่า พวกเราจักดื่มน้ำ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

ดังนี้ น้ำนั้นก็แห้งถึงความสำเร็จเป็นทรายแห่งแม่น้ำไป แม้บางพวกที่แล่นไปถึง

มหาสมุทร มหาสมุทรก็กลายเป็นหินดาด สัตว์เหล่านั้นจึงซูบซีดถูกทุกข์มีกำลัง

บีบคั้นท่องเที่ยวไป.

ได้ยินว่า กาลกัญชิกาสูรตนหนึ่ง ไม่สามารถทนความระหายได้จึงลง

ไปยังแม่น้ำใหญ่ทั้งลึกทั้งกว้างหนึ่งโยชน์ ในที่กาลกัญชิกาสูรนั้น ลงไปแล้ว น้ำ

ก็แห้งเป็นควันพลุ่งขึ้นเหมือนเดินบนหินดาดอันร้อนจัดฉะนั้น. เมื่ออสุรกาย

นั้นได้ยินเสียงน้ำจึงวิ่งพล่านไปข้างโน้นข้างนี้อยู่นั่นแหละ ราตรีสว่างแล้ว. ใน

ขณะนั้น พวกภิกษุ ๓ รูป ผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรกำลังเที่ยวภิกขาจาร

แต่เช้าตรู่เห็นเขาแล้วจึงถามว่า ดูก่อนสัปบุรุษ ท่านเป็นใคร อสุรกายนั้น

ตอบ ว่ากระผมเป็นเปรต ขอรับ.

พวกภิกษุ : ท่านแสวงหาอะไร ?

อสุรกาย : น้ำดื่ม ขอรับ.

พวกภิกษุ : แม่น้ำนี้เต็มฝั่ง ท่านไม่เห็นหรือ ?

อสุรกาย : ท่านขอรับ มันไม่สำเร็จแก่กระผม.

พวกภิกษุ : ถ้าอย่างนั้น ท่านจงนอนลงตรงหลังแม่น้ำเถิด พวก

อาตมาจักเทน้ำลงในปากของท่าน. อสูรนั้นก็นอนหงายบนหาดทราย พวกภิกษุ

ได้ช่วยกันเอาบาตร ๓๐ ใบตักน้ำมาเทลง ๆ ในปากของอสูรนั้น เมื่อภิกษุเหล่า

นั้นทำอยู่อย่างนี้ เวลาของภิกขาจารก็ใกล้เข้ามาแล้ว พวกภิกษุจึงพูดว่า ถึงเวลา

ภิกขาจารของพวกอาตมาแล้ว สัปบุรุษ ท่านได้ความพอใจบ้างไหม ? อสูรนั้น

ตอบว่า ท่านขอรับ ถ้าว่า น้ำมีเพียงฟายมือจากน้ำที่เทลงด้วยบาตร ๓๐ ใบ ของ

พระคุณเข้าไปในลำคอของกระผมด้วยการทำของคนได้ไซร้ ขอความพ้นจาก

อัตภาพเปรตอย่าได้มีเลย ดังนี้. ความย่อยยับไปแห่งรูปปรากฏแล้วในปิตติวิสัย

เพราะความระหาย ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

ความที่รูปย่อยยับเพราะสัมผัสเหลือบเป็นต้น ปรากฏแล้วใน

ประเทศทั้งหลายที่มากด้วยเหลือบและยุงเป็นต้น. อนึ่ง ในอธิการนี้ คำว่า

เหลือบ ได้แก่ แมลงวันหัวเหลือง. คำว่า มกสา ได้แก่ ยุงนั่นแหละ.

คำว่า ลม พึงทราบด้วยอำนาจแห่งลมมีลมในท้อง และลมในเบื้องหลังเป็น

ต้น.

จริงอยู่ โรคลมเกิดขึ้นในร่างกายแล้วย่อมทำลายมือ เท้า และเบื้อง

หลังเป็นต้น ย่อมทำให้เป็นคนบอด ย่อมทำให้เป็นคนง่อย เป็นคนเปลี้ย.

บทว่า อาตโป (แดด) ได้แก่ ความร้อนของดวงอาทิตย์ ความที่รูป

ย่อยยับไปด้วยความร้อนนั้นปรากฏแล้วในทางกันดาร มีทะเลทรายเป็นต้น.

ได้ยินว่า มีหญิงคนหนึ่งล้าหลังพวกเกวียนในเวลาราตรีในทะเลทราย เมื่อพระ-

อาทิตย์โคจรไปถึงกลางวัน ไม่สามารถจะวางเท้าที่ทรายกำลังร้อนได้ จึงยก

กระเช้าลงจากศีรษะเหยียบ เมื่อไม่อาจยืนบนกระเช้า เพราะความร้อนยิ่งก็วาง

ผ้าสาฏกบนกระเช้านั้นแล้วเหยียบ แม้ผ้าสาฏกนั้นร้อนทั่วแล้ว ก็จับลูกน้อยที่

อุ้มมาให้นอนคว่ำเหยียบบนลูกน้อยที่กำลังร้องจ้าอยู่ พร้อมกับลูกน้อยก็ได้ทำ

กาละในที่นั้นนั่นเอง เพราะความร้อนให้เร่าร้อนแล้ว.

คำว่า สิริสปฺปา (สัตว์เลื้อยคลาน) ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายมีตัวยาว

อย่างใดอย่างหนึ่งแล่นเลื้อยไป ความที่รูปย่อยยับไปเพราะสัมผัสแห่งสัตว์เหล่า

นั้นบัณฑิตพึงทราบด้วยอำนาจในเวลาที่ถูกอสรพิษขบเอาเป็นต้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะรวมรูปแม้ทั้งหมดซึ่งมี ๒๕

และ ๙๖ ส่วน ที่ทรงรวบรวมไว้ด้วยบทว่า ย กิญฺจิ รูป (รูปอย่างใดอย่าง

หนึ่ง). เข้าในส่วนแห่งรูปที่เป็นอดีตเป็นต้นมาแสดง จึงตรัสคำว่า อตีตา-

นาคตปจฺจุปฺปนฺน (รูปเป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน) ดังนี้ ต่อ

จากนั้น ทรงประสงค์จะจัดรูปนั้นนั่นแหละกระทำให้เป็นทุกกะ ๔ ทุกะมีอัชฌัตต-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

ทุกะเป็นต้นมาแสดง จึงตรัสคำมีอาทิว่า อชฺฌตฺต วา พหิทฺธา วา (รูป

ภายใน หรือรูปภายนอก) ดังนี้ ต่อจากนั้น เมื่อจะทรงประมวลรูปนั้นแม้

ทั้งหมดที่ทรงกำหนดไว้ใน ๑๑ ส่วนแสดงรวมเป็นอันเดียวกัน จึงตรัสคำว่า

ตเทกชฺฌ (รูปนั้นรวมเป็นอันเดียวกัน) ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

ตเทกชฺฌ แยกออกเป็น ต เอกชฺฌ. บทว่า อภิสญฺญูหิตฺวา แปลว่า

ประมวลมา. บทว่า อภิสขิปิตฺวา ได้แก่ ทำการย่อ คำนี้ ตรัสอธิบายไว้ว่า

ก็รูปมีประการยังกล่าวแล้วนั้นแม้ทั้งหมด บัณฑิตเรียกว่ารูปขันธ์ เพราะรวม

เป็นกองเดียวกันในภาวะอย่างเดียวกัน กล่าวคือความเป็นรูปที่ย่อยยับไปเป็น

ลักษณะ ดังนี้. ด้วยคำอธิบายนี้ ย่อมเป็นอันตรัสรูปแม้ทั้งหมดในลักษณะแห่ง

การย่อยยับไปนี้ว่า ชื่อว่า รูปขันธ์ เพราะความเข้าถึงความเป็นกอง ดังนี้

เพราะขึ้นชื่อว่า รูปขันธ์ อื่น นอกจากรูปหามีไม่. ก็รูป ฉันใด ธรรมมี

เวทนาเป็นต้น ก็ชื่อว่า เวทนาขันธ์เป็นต้นฉันนั้น เพราะความเข้าถึงความ

เป็นกองในลักษณะมีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะเป็นต้น เพราะขึ้นชื่อว่า

เวทนาขันธ์เป็นต้นอื่นนอกจากเวทนาเป็นต้น หามีไม่.

ว่าด้วยรูปเป็นอดีตเป็นต้น

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงจำแนกรูปที่ทรงจัดเข้าใน

โอกาสหนึ่ง ๆ ให้เป็นส่วน ๆจึงตรัสคำมีอาทิว่า ตตฺถ กตม รูป อตีต

ในรูปขันธ์นั้น รูปอดีต เป็นไฉน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตถ เป็นบทสัตตมีวิภัตติในมาติกาตาม

ที่ทรงจัดตั้งไว้ในโอกาส ๑๑ อย่าง คำนี้ตรัสอธิบายว่า คำว่า รูปอดีต ที่ตรัส

ไว้ในมาติกาตามที่ทรงตั้งไว้โดยนัยมีอาทิว่า อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺน ดังนี้

รูปนั้นเป็นไฉน. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในปุจฉาทั้งหมดโดยอุบายนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

บททั้งหลายมีคำเป็นอาทิว่า อตีต นิรุทฺธ รูปใดล่วงไปแล้ว ดับ

ไปแล้ว ดังนี้ เป็นคำที่ตรัสไว้ในการพรรณนาบทภาชนีย์อตีตติกะแห่งนิก-

เขปกัณฑ์นั่นแหละ.

คำว่า จตฺตาโร จ มหาภูตา นี้เป็นคำแสดงสภาวะของรูปที่ตรัส

ว่า อดีต ดังนี้. อนึ่ง ในอธิการนี้ คำที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ฉันใด คำที่

กล่าวไว้ในที่ทุกแห่งก็พึงทราบฉันนั้น. ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรง

แสดงมหาภูตรูป และรูปอาศัยมหาภูตรูปกระทำรูปนี้ให้เป็นรูปอดีตบ้าง กระทำ

รูปนี้ให้เป็นรูปอนาคตบ้าง ฯลฯ กระทำให้เป็นรูปไกลและใกล้บ้าง เพราะขึ้น

ชื่อว่ารูปอื่น นอกจากมหาภูตรูปและรูปที่อาศัยมหาภูตรูปแล้วหามีไม่.

อีกนัยหนึ่ง ข้อว่า อตีตเสน สคหิต (รูปที่สงเคราะห์เข้าโดยส่วน

อดีต) ได้แก่ รูปที่สงเคราะห์โดยส่วนอดีตนั่นแหละ ทำการนับได้ มีอยู่. ถาม

ว่า รูปอะไร ? ตอบว่า มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ พึงทราบ

อรรถในที่ทั้งปวงอย่างนี้. แม้บทอธิบายรูปที่เป็นอนาคต และปัจจุบันก็มีเนื้อ

ความตามที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล.

ว่าด้วยรูป ๒ อย่าง

ก็รูปนี้ ที่ชื่อว่า เป็น อดีต อนาคต ปัจจุบัน มี ๒ อย่าง คือ

รูปโดยปริยายแห่งพระสูตร ๑

รูปโดยนิเทศพระอภิธรรม ๑.

ว่าโดยปริยายแห่งพระสูตร ทรงกำหนดรูปที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน

นั้นไว้ด้วยภพ จริงอยู่ รูปที่เกิดในภพอดีตจำเดิมแต่ปฏิสนธิ (ในภพปัจจุบัน)

หรือรูปที่เกิดแล้วในภพถัดไป หรือรูปที่เกิดแล้วในภพที่สุดแห่งแสนโกฏิกัป

ก็ตาม ทั้งหมดชื่อว่า รูปอดีต ทั้งนั้น. รูปที่จะเกิดในภพอนาคตจำเดิมแต่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

จุติแล้ว หรือรูปที่จะเกิดในภพถัดไป หรือรูปที่จะเกิดในที่สุด แห่งภพแสน

โกฏิกัปก็ตาม ทั้งหมดชื่อว่า รูปอนาคต ทั้งนั้น. รูปที่กำลังเป็นไประหว่าง

จุติปฏิสนธิ (ตั้งแต่เกิดถึงตายในภพปัจจุบัน) ชื่อว่า รูปปัจจุบัน.

ส่วนในนิเทศแห่งพระอภิธรรม ทรงกำหนดรูปด้วยขณะ ด้วยว่าขณะ

แห่งรูปมี ๓ อย่าง คือ อุปปาทขณะ (ขณะเกิด) ฐิติขณะ (ขณะตั้งอยู่) ภังค

ขณะ (ขณะดับ) รูปที่ถึงขณะทั้ง ๓ เหล่านี้แล้วดับไป หรือรูปที่ดับในขณะ

ใกล้ ๆ หรือรูปดับในขณะที่สุดแห่งแสนโกฏิกัปก็ตาม ทั้งหมด ชื่อว่า รูปอดีต

นั่นแหละ รูปที่ยังไม่ถึงขณะทั้ง ๓ หรือยังไม่ถึงลักษณะแห่งจิตดวงหนึ่ง หรือ

ยังไม่ถึงขณะในที่สุดแห่งแสนโกฏิกัปก็ตาม ทั้งหมด ชื่อว่า รูปอนาคต

นั่นแหละ แต่รูปที่ถึงขณะทั้ง ๓ เหล่านี้แล้ว ชื่อว่า รูปปัจจุบัน.

ในปริยายแห่งพระสูตร และในนิเทศแห่งพระอภิธรรมนั้น แม้รูป

นี้ จะเป็นการจำแนกตามพระสูตร (สุตตันตภาชนีย์) ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็

พึงทราบว่า รูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน สำเร็จแล้ว โดย

นิเทศแห่งพระอภิธรรมเท่านั้น ดังนี้.

อีกนัยหนึ่ง เพราะว่า รูปนี้ชื่อว่า รูปอดีต โดยส่วนทั้ง ๔ ด้วยอำนาจ

อัทธา ๑ สันตติ ๑ สมัย ๑ ขณะ ๑ เป็นรูปอนาคตและเป็นรูปปัจจุบันก็โดย

ส่วน ทั้ง ๔ เหมือนกัน.

ว่าด้วยอำนาจอัทธาก่อน รูปในกาลก่อนแต่ปฏิสนธิในภพหนึ่งของ

บุคคลหนึ่ง ชื่อว่า รูปอดีต รูปในบั้นปลายแต่จุติ ชื่อว่า รูปอนาคต

รูปในระหว่างทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่า รูปปัจจุบัน. ว่าด้วยอำนาจสันตติ รูป

ที่มีอุตุเดียวกัน มีส่วนเสมอกันเป็นสมุฏฐาน และรูปที่มีอาหารอย่างเดียวกันเป็น

สมุฏฐาน แม้กำลังเป็นไปอยู่ด้วยอำนาจเกิดสืบต่อมาแต่เบื้องต้น ชื่อว่า รูป-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

ปัจจุบัน. รูปที่มีอุตุและอาหารไม่เสมอกับสมุฏฐานซึ่งเกิดก่อนแต่รูปปัจจุบัน

นั้น ชื่อว่า รูปอดีต รูปที่มีอุตุและอาหารไม่เสมอกันเป็นสมุฏฐานเกิดหลัง

ปัจจุบันชื่อว่า รูปอนาคต จิตตชรูป (คือรูปเกิดแต่จิต) มีวิถีเดียวกัน มี

ชวนะเดียวกันและสมาบัติเดียวกัน ชื่อว่า รูปปัจจุบัน จิตตชรูปที่เกิดก่อน

รูปปัจจุบันนั้น ชื่อว่า รูปอดีต จิตตชรูปที่เกิดหลังรูปปัจจุบัน ชื่อว่า

รูปอนาคต. รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานไม่มีประเภทอดีตเป็นต้น ด้วยอำนาจ

สันตติอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ แต่พึงทราบประเภทรูปอดีตเป็นต้นของรูปที่มีกรรม

เป็นสมุฏฐานนั้นด้วยอำนาจเป็นรูปอุปถัมภ์อุตุชรูป อาหารชรูป จิตตชรูปเหล่า

นั้นนั่นแหละ. ว่าด้วยอำนาจสมัย รูปที่กำลังเป็นไปด้วยอำนาจการสืบต่อใน

สมัยทั้งหลายมีครู่ ยาม เวลาเช้า เวลาเย็น กลางคืน และกลางวันเป็นต้นแต่ละ

อย่าง สมัยนั้น ๆ ชื่อว่า รูปปัจจุบัน. รูปที่เกิดก่อนแต่สมัยนั้น ชื่อว่า รูปอดีต

รูปที่เกิดหลังสมัยนั้น ชื่อว่า รูปอนาคต. ว่าด้วยอำนาจขณะ รูปที่นับเนื่อง

ด้วยขณะทั้ง ๓ มีอุปปาทขณะ เป็นต้น ชื่อว่า รูปปัจจุบัน. รูปที่เกิดก่อนขณะ

ทั้ง ๓ นั้นชื่อว่า รูปอดีต รูปที่เกิดหลังขณะทั้ง ๓ นั้น ชื่อว่า รูปอนาคต.

อีกอย่างหนึ่ง รูปที่มีกิจแห่งเหตุและปัจจัยผ่านไปแล้ว ชื่อว่า รูปอดีต

รูปที่มีกิจแห่งเหตุสำเร็จแล้วแต่กิจแห่งปัจจัยที่ยังไม่สำเร็จ ชื่อว่า รูปปัจจุบัน

รูปที่มีกิจทั้ง ๒ ยังไม่มาถึง ชื่อว่า รูปอนาคต. อีกอย่างหนึ่ง รูปที่เป็นไป

ในขณะกิจของตน ชื่อว่า รูปปัจจุบัน รูปที่เป็นไปก่อนกิจของตนนั้นชื่อว่า

รูปอดีต รูปที่จะเป็นไปในภายหลังกิจของตนนั้น ชื่อว่า รูปอนาคต. ก็ใน

นิเทศแห่งรูปที่เป็นอตีตติกะนี้ กถาว่าด้วยขณะเป็นต้นเป็นกถาไม่อ้อมค้อม

(โดยตรง) ที่เหลือยังมีปริยายอ้อมค้อม ในกถาทั้ง ๒ เหล่านั้น นิปปริยายกถา

(กถาไม่อ้อมค้อม) ทรงประสงค์เอาในสุตตันตภาชนีย์นี้. แม้นิเทศแห่งบท

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

รูปหมวดอัชฌัตตทุกะมีเนื้อความตามที่กล่าวไว้ในนิเทศแห่งอัชฌัตติกะในหน-

หลังนั่นแหละ. รูปหยาบเป็นต้นมีเนื้อความตามที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในการพรรณนา

รูปกัณฑ์นั่นแล.

ว่าด้วยนิเทศแห่งรูปหินทุกะ (ข้อที่ ๖)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งรูปหีนทุกะ ต่อไป

บทว่า เตส เตส สตฺตาน (ของสัตว์นั้นๆ) นี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติเป็น

ไปในสัตว์มาก เพราะเมื่อตรัสอยู่ว่า ของสัตว์แม้อื่น ของสัตว์แม้อื่น

ดังนี้ ตรัสอยู่ตลอดวันก็ดี ตลอดแสนกัปก็ดี ก็ย่อมตรัสด้วยพระดำรัส (ว่า

ของสัตว์นั้น ๆ) มีประมาณเท่านี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรง

กำหนดเอาสัตว์โดยไม่เหลือด้วยบททั้ง ๒ เท่านั้น จึงตรัสว่า เตส เตส

สตฺตาน ดังนี้. ก็ด้วยบทมีประมาณเท่านี้ย่อมสำเร็จการแสดงถึงสัตว์อื่น ๆ

แม้ทั้งหมด.

บทว่า อุญฺาต (ที่น่าดูหมิ่น) คือ ที่เขาสบประมาท. บทว่า

อวมญฺาต (น่าเหยียดหยาม) คือ รูปที่เขาเย้ยหยัน ซึ่งใคร ๆ รู้แล้วก็ไม่

ประกาศว่ารูปบ้าง. บทว่า หีฬิต (น่าเกลียด) คือ รูปที่เขาขว้าง ที่เขาทิ้ง

ด้วยอรรถว่าไม่ควรถือเอา อาจารย์บางพวกกล่าวว่า รูปที่น่าเกลียด ดังนี้ก็มี.

บทว่า ปริภูต (น่าตำหนิ) คือ รูปที่เขากำหนดด้วยคำพูดว่า ประโยชน์อะไร

ด้วยรูปนี้เล่า ดังนี้. บทว่า อจิตฺตีกต (ไม่น่ายกย่อง) คือ รูปที่ไม่น่า

เคารพ. บทว่า หีน (ทราม) คือ รูปที่ลามก. บทว่า หีนมต (รู้กันว่าทราม)

คือ รูปที่เขารู้กันว่าเลว ได้แก่ รูปที่เขากระทำให้ลามกรู้กัน. บทว่า หีนสมฺมต

(สมมติกันว่าทราม) คือ รูปที่เขาสมมติกันในโลกว่า ชั่วช้า หรือรูปที่คน

๑ บาลีเป็น อจิตีกต

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

เลวทรามรู้จักกันดี เหมือนคูถที่สัตว์มีคูถเป็นอาหารรู้จักกันดี. บทว่า อนิฏฺ

(ไม่น่าปรารถนา) คือรูปที่ไม่น่ารัก หรือรูปที่เขาไม่แสวงหาเพื่อต้องการจะได้

ถ้าใคร ๆ จะพึงแสวงหารูปนั้น ก็พึงแสวงหาเถิด แต่ว่า รูปที่ไม่น่าปรารถนา

นี้แหละเป็นชื่อของอารมณ์นั้น. บทว่า อกนฺต (ไม่น่ารัก) คือรูปที่ไม่น่า

ปรารถนา หรือหาสิริมิได้. บทว่า อมนาป (ไม่น่าชอบใจ) คือรูปที่ไม่ชุ่มชื่นใจ

จริงอยู่ รูปเช่นนั้นย่อมไม่ชุ่มชื่นใจ อีกอย่างหนึ่ง มีวิเคราะห์ว่า มน

อปฺปายติ วฑฺเฒตีติ มนาป น มนาป อมนาป แปลว่า รูปใด

ย่อมยังใจให้เอิบอาบ คือให้ใจเจริญ เพราะเหตุนั้น รูปนั้น จึงชื่อว่า

มนาปะ (ยังใจให้เอิบอาบ) รูปที่ไม่ยังใจให้เอิบอาบ ชื่อว่า อมนาปะ.

อีกอย่างหนึ่ง รูป ชื่อว่า ไม่น่าปรารถนา เพราะเว้นจากสมบัติ รูป

ที่ไม่น่าปรารถนานั้นมีอกุศลกรรมเป็นสมุฏฐานโดยส่วนเดียว ในบรรดารูป

ทั้งหลายที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ที่ชื่อว่า อกนฺต (รูปที่ไม่น่ารัก) เพราะไม่มี

เหตุแห่งความสุข. ที่ชื่อว่า อมนาป (รูปที่ไม่น่าชอบใจ) เพราะเป็นเหตุ

แห่งทุกข์.

บทว่า รูปา สทฺทา (รูปเสียง) เป็นต้นนี้เป็นคำแสดงสภาวะของ

รูปทรามนั้น จริงอยู่ พระองค์ทรงจำแนกกามคุณ ๕ ที่ไม่น่าปรารถนาด้วย

สามารถแห่งรูปที่เกิดจากอกุศลกรรมไว้ในบทนี้ เพราะว่า รูปที่เกิดแต่กุศลกรรม

ชื่อว่า ไม่น่าปรารถนาหามีไม่ รูปทั้งหมดที่เกิดแต่กุศลกรรมเป็นรูปที่น่าปรา-

รถนาทั้งนั้น.

นิเทศแห่งบทรูปประณีต พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามที่ข้าพเจ้ากล่าว

แล้ว แต่ในบทนี้ พระองค์ทรงจำแนกกามคุณ ๕ ที่น่าปรารถนาด้วยอำนาจ

แห่งรูปที่เกิดแต่กุศลกรรม. เพราะรูปที่เกิดแต่กุศลกรรม ชื่อว่า เป็นรูปที่ไม่

น่าปรารถนาย่อมไม่มี รูปทั้งหมดน่าปรารถนาทั้งนั้น. ก็ในรูปเกิดแต่กรรม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

ฉันใด แม้ในรูปทั้งหลายที่มีอุตุเป็นสมุฏฐานเป็นต้นก็ฉันนั้น ย่อมมีความเป็น

รูปที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงจำแนกเฉพาะอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ไว้ในทุกะนี้ ด้วยประการฉะนี้.

นี้เป็นกถามีอรรถเสมอกันของอาจารย์ทั้งหลายก่อน.

ส่วนอาจารย์วิตัณฑวาทีกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์

ที่พระองค์ทรงจำแนกไว้เฉพาะส่วนเดียวไม่มี พระองค์ทรงตรัสธรรมนั้นไว้ด้วย

อำนาจความชอบใจของสัตว์นั้น ๆ เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร

ที่สุดแห่งความพอใจแล อาตมากล่าวว่าเป็นยอดในเบญจกามคุณ

ดูก่อนมหาบพิตร รูปเหล่าใดเป็นที่พอใจของบุคคลบางคน รูป

เหล่านั้น ไม่เป็นที่พอใจของคนบางคน เขาดีใจ มีความดำริบริบูรณ์

ด้วยรูปเหล่าใด รูปอื่นจากนั้นจะยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เขาก็ไม่

ปรารถนา รูปเหล่านั้นเป็นอย่างยิ่งสำหรับเขา รูปเหล่านั้นเป็นยอด-

เยี่ยมสำหรับเขา ดูก่อนมหาบพิตรเสียงเหล่าใด...กลิ่นเหล่าใด...

รสเหล่าใด...โผฏฐัพพะเหล่าใด เป็นที่พอใจของคนบางคน โผฏ-

ฐัพพะเหล่านั้นเป็นที่พอใจของคนบางคน ไม่เป็นที่พอใจของคน

บางคน* ดังนี้เป็นต้น. ด้วยพระดำรัสอย่างนี้ เพราะบุคคลคนหนึ่งย่อมชอบใจ

ย่อมยินดียิ่ง ซึ่งรูปเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ เขาย่อมยังความโลภให้เกิดขึ้น

ในรูปเป็นต้นเหล่านั้น บุคคลคนหนึ่งย่อมโกรธ ย่อมขัดเคือง ย่อมยังโทสะ

ให้เกิดขึ้นในรูปเป็นต้นเหล่านั้น รูปเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมน่าปรารถนา ย่อม

รักใคร่ ย่อมชอบใจแก่คนบางคน แต่ไม่เป็นที่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่

ไม่น่าพอใจแก่คนบางคน อนึ่ง บางคนย่อมยึดถือโดยความเคารพว่า รูปเหล่านั้น

* ส. สคาถวคฺค. เล่ม ๑๕ ๓๖๑/๑๑๗ (เนื้อความในอรรกถาหายไปมาก)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ แต่อีกคนหนึ่งถือเอารูปเหล่านั้นนั้น แหละโดย

ไม่เคารพ ด้วยคิดว่ารูปเหล่านั้นไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ดังนี้

ฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า รูปที่เป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ที่ทรงจำแนกเฉพาะโดย

เฉพาะจึงไม่มี. จริงอยู่ แม้ไส้เดือนทั้งหลายก็ย่อมเป็นสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจของพวกบุคคลผู้อยู่ปัจจันตประเทศ แต่ว่าเป็นสิ่งน่ารังเกียจอย่างยิ่ง

ของพวกที่อยู่ในมัชฌิมประเทศ อนึ่ง เนื้อของนกยูงเป็นต้น ย่อมเป็นสิ่งน่า

ปรารถนาของบุคคลผู้อยู่ในมัชฌิมประเทศเหล่านั้น แต่เป็นที่เกลียดชังของ

บุคคลนอกนี้ ดังนี้.

พึงถามท่านอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นว่า ก็ท่านกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า รูปที่

เป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้เฉพาะอย่าง

ไม่มีดังนี้หรือ อาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นก็จะพูดว่า ใช่แล้วกระผมกล่าวว่าไม่มี ดังนี้.

แล้วถามปัญหาเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละอีก ๓ ครั้ง แล้วควรถามว่า ธรรมดา

พระนิพพานเป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ ดังนี้. อาจารย์วิตัณฑวาทีเมื่อ

ทราบก็จะบอกว่า เป็นอิฏฐารมณ์. ก็ถ้าอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นไม่พึงตอบ

อาจารย์สกวาทีก็ไม่พึงบอกว่า พระนิพพานเป็นอิฏฐารมณ์อย่างเดียวก่อน พึง

กล่าวต่อไปว่า ก็ท่านปรารถนาความข้อนี้ว่า บุคคลคนหนึ่ง เมื่อมีใคร ๆ

กล่าวถึงคุณของพระนิพพานอยู่ ก็โกรธแล้วถามว่า ท่านกล่าวชมพระนิพพาน

ในนิพพานนั้นมีข้าวน้ำ มีระเบียบดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ มีที่นอน

เครื่องนุ่งห่ม มีกามคุณ ๕ สำเร็จพร้อมแล้วหรือ เมื่อเขากล่าวว่าไม่มี ก็จะพึง

กล่าวว่า อย่าเลยด้วยนิพพานของท่าน เมื่อบุคคลนั้นกล่าวสรรเสริญนิพพาน

อยู่ต่อไป ก็โกรธเอามืออุดหูทั้ง ๒ เสีย ดังนี้ มิใช่หรือ ? ก็ด้วยอำนาจความ

ข้อนี้ นิพพานในวาทะของท่านจะชื่อว่า เป็นอนิฏฐารมณ์ก็ตามที ถึงอย่างนั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

ใคร ๆ ก็ไม่พึงถือเอานิพพานนั้นว่าเป็นอนิฏฐารมณ์อย่างนั้น เพราะบุคคลนี้

ย่อมกล่าวด้วยความสำคัญอันวิปริตว่า ก็อารมณ์นั้นนั่นแลเป็นที่น่าปรารถนา

แก่คนบางคน ไม่น่าปรารถนาแก่บางคนด้วยความจำอันวิปลาส แต่อารมณ์ที่

น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนา ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจำแนกไว้เฉพาะ

อย่างมีอยู่ ดังนี้.

ถามว่า พระองค์ทรงจำแนกด้วยอำนาจใคร ?

ตอบว่า ด้วยอำนาจของสัตว์ผู้ปานกลาง.

จริงอยู่ อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์นี้ พระองค์นี้ได้ทรงจำแนกด้วย

อำนาจแห่งอิสรชนผู้ใหญ่ยิ่งเช่นพระเจ้ามหาสมมต พระเจ้ามหาสุทัสสนะและ

พระเจ้าธรรมาโสกราชเป็นต้น เพราะชนเหล่านั้นมีอารมณ์ แม้ควรเป็นทิพย์

ที่ไม่น่าพึงใจปรากฏอยู่ ทั้งมิได้ทรงจำแนกด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้มีทุกข์ยาก

อย่างยิ่งซึ่งหาข้าวและน้ำได้โดยยาก เพราะชนผู้มีทุกข์ยากอย่างยิ่งเหล่านั้น

แม้แต่ข้าวปลายเกรียนที่เหลือ แม้รสเนื้อเน่า ก็เป็นอาหารอร่อยยิ่ง เช่นกับ

อมตรส. แต่พระองค์ทรงจำแนกด้วยอำนาจแห่งชนชั้นกลาง เช่นหัวหน้าหมู่

มหาอำมาตย์ เศรษฐี กุฏุมภี และพ่อค้าเป็นต้นบางคราวได้อยู่ซึ่งอิฏฐารมณ์

บางคราวก็ได้อนิฏฐารมณ์ เพราะชนชั้นกลางเห็นปานนี้ย่อมอาจเพื่อกำหนด

อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ได้.

แต่พระจุฬาภยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า ธรรมดาว่าอิฏฐารมณ์

และอนิฏฐารมณ์กำหนดได้ด้วยอำนาจวิบากเท่านั้น ไม่ใช่กำหนดด้วยอำนาจ

ชวนจิต แต่ชวนจิตย่อมยินดีในอิฏฐารมณ์ ย่อมยินร้ายในอิฏฐารมณ์ ย่อม

ยินดีในอนิฏฐารมณ์ ย่อมยินร้ายในอนิฏฐารมณ์นั่นแหละ ด้วยสัญญาวิปลาส

ดังนี้. ก็อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์นี้ย่อมกำหนดด้วยอำนาจแห่งวิบาก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

โดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะใคร ๆ ไม่อาจลวงวิบากจิตได้ ถ้าอารมณ์เป็น

อารมณ์ที่น่าปรารถนา กุศลวิบากย่อมเกิดขึ้น ถ้าเป็นอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา

อกุศลวิบากก็ย่อมเกิดขึ้น. จริงอยู่ พวกมิจฉาทิฏฐิเห็นพระพุทธเจ้า หรือ

พระสงฆ์ หรือเห็นอารมณ์อันโอฬารมีมหาเจดีย์เป็นต้นย่อมปิดตาเสีย ย่อมถึง

โทมนัส ฟังเสียงแสดงธรรมก็ย่อมอุดหูเสียแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น วิญญาณ

ทั้งหลายมีจักขุวิญญาณ และโสตวิญญาณเป็นต้นของพวกมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น

ย่อมเป็นกุศลวิบากเท่านั้น. สัตว์ทั้งหลายกินคูถมีสุกรเป็นต้นสูดกลิ่นคูถแล้ว

ก็เกิดความดีใจว่า เราจักได้เคี้ยวกิน ดังนี้จริง ถึงอย่างนั้นในการเห็นคูถ

จักขุวิญญาณของพวกมันก็เป็นอกุศลวิบากเท่านั้น ในการสูดกลิ่น ฆานวิญญาณ

ของมันก็เป็นอกุศลวิบาก ในการลิ้มรส ชิวหาวิญญาณของมันก็เป็นอกุศลวิบาก

นั่นแหละ สุกรที่ถูกมัดให้นอนบนที่นอนอันประเสริฐย่อมส่งเสียงร้องดัง แต่

โทมนัสของมันย่อมเกิดในชวนจิตเท่านั้นด้วยสัญญาวิปลาส กายวิญญาณของ

มันย่อมเป็นกุศลวิบากเท่านั้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะความที่อารมณ์นั้นเป็นอิฏฐารมณ์.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความที่อารมณ์น่าปรารถนา และไม่น่า

ปรารถนา แม้ด้วยอำนาจทวาร. จริงอยู่ กองคูถที่เป็นดังโคลนเลนมีสัมผัส

เป็นสุข เป็นอนิฏฐารมณ์ในจักขุทวารและฆานทวาร เป็นอิฏฐารมณ์ในกาย

ทวาร. เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิถูกโบยด้วยแก้วมณี ถูกทำให้สะดุ้งบนหลาว

ทองคำ แก้วมณีและหลาวทองคำเป็นอิฏฐารมณ์ในจักขุทวาร เป็นอนิฏฐารมณ์

ในกายทวาร. เพราะเหตุไร ? เพราะการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ใหญ่. อิฏฐารมณ์และ

อนิฏฐารมณ์ อย่างนี้ย่อมกำหนดด้วยวิบากเท่านั้นโดยส่วนเดียว.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

ในคำว่า ต ต วา ปน (ได้แก่ตังตังวาปนกนัย) นี้บัณฑิตไม่พึงแล

ดูนัยที่กล่าวไว้ในหนหลัง. เพราะในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงแยกอรรถให้

เข้าใจด้วยสมมติ ทรงแยกให้เข้าใจ ด้วยบุคคล เพราะฉะนั้นด้วยอำนาจตังตัง

วาปนกนัยนั่นแหละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสความที่รูปทราม และรูป

ประณีต เพราะอาศัยการเปรียบเทียบ โดยเฉพาะบุคคล.

จริงอยู่ รูปของพวกสัตว์นรก ชื่อว่า รูปทรามถึงที่สุด เพราะเทียบ

กับรูปของพวกสัตว์นรกนั้น รูปของนาคและสุบรรณในสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย

ชื่อว่า ประณีต. รูปของนาคและสุบรรณเหล่านั้นยังเป็นรูปทราม เพราะเทียบ

กับรูปเปรต รูปเปรตทั้งหลาย จึงชื่อว่า ประณีต. รูปแม้ของเปรตเหล่านั้น

ก็ยังเป็นรูปทรามเพราะเทียบกับรูปชาวชนบทนั้น รูปของชนชาวชนบทจึงชื่อ

ว่าประณีต. รูปแม้ของชนชาวชนบทเหล่านั้น ก็ยังเป็นรูปทรามเพราะเทียบกับ

รูปนายบ้าน รูปของนายบ้านทั้งหลาย จึงชื่อว่าประณีต. รูปแม้ของพวกนาย

บ้านเหล่านั้น ก็ยังเป็นรูปทรามเพราะเทียบกับรูปของเจ้าประเทศราช รูปของ

เจ้าประเทศราชทั้งหลายจึงชื่อว่าประณีต. รูปแม้ของเจ้าประเทศราชเหล่านั้น

ก็ยังเป็นรูปทรามเพราะเทียบกับรูปพระเจ้าจักรพรรดิ รูปของพระเจ้าจักรพรรดิ

จึงชื่อว่า ประณีต. รูปแม้ของพระเจ้าจักรพรรดิแม้นั้นก็ยังเป็นรูปทรามเพราะ

เทียบกับรูปของภุมเทวดา รูปของพวกภุมเทวดา จึงชื่อว่า ประณีต. รูปแม้

ของพวกภุมเทวดาเหล่านั้นยังเป็นรูปทราม เพราะเทียบกับรูปท้าวจาตุมหา-

ราช รูปของท้าวจาตุมหาราช จึงชื่อว่า ประณีต. รูปแม้ของท้าวจาตุมหาราช

เหล่านั้นก็ยังเป็นรูปทรามเพราะเทียบกับรูปของพวกเทพชั้น ดาวดึงส์ รูปของ

๑. หมายถึงนัยที่กล่าวสรุปเนื้อความเฉพาะเรื่องนั้น ๆ

๒. คำว่าสมมติก็คือปัญญัติแต่กว้างมาก ส่วนบุคคลเป็นเฉพาะอุปาทาบัญญัติ ในพระอภิธรรม

คำว่า บุคคล กับคำว่า สัตว์ เป็นไวพจน์กัน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

พวกเทพชั้นดาวดึงส์ จึงชื่อว่า ประณีต. ฯลฯ ก็รูปของพวกเทพชั้นอกนิษฐ์

ชื่อว่า ประณีตถึงที่สุด.

ว่าด้วยนิเทสแห่งทูรทุกรูป

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งรูปทูรทุกะ (รูปไกลรูปใกล้) ต่อไป.

รูปที่เป็นอิตถินทรีย์เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ในหน

หลังนั่นแหละ แต่ในทุกะนี้ ตรัสสุขุมรูป (รูปละเอียด) ว่าเป็นทูเรรูป (รูป

ไกล) เพราะเป็นรูปที่มีลักษณะเข้าใจได้ยาก ด้วยอรรถว่ากำหนดเป็นอารมณ์

ได้ยาก ตรัสโอฬาริกรูป (รูปหยาบ) ว่าเป็นสันติเกรูป (รูปใกล้) เพราะเป็น

รูปที่มีลักษณะเข้าใจได้ง่าย ด้วยอรรถว่ากำหนดเป็นอารมณ์ได้ง่าย. พระผู้มี

พระภาคเจ้ามิได้ทรงประกอบว่า รูปนี้ เรียกว่ารูปไกล แม้ในที่ทรงประกอบ

อันมีกวฬิงการาหารเป็นที่สุดนั่นแหละ เพราะเหตุไร เพราะชื่อว่า รูปไกลมี

๒ อย่าง คือ ไกลโดยลักษณะ และ ไกลโดยโอกาส.

ในรูปไกลทั้ง ๒ นั้น มิได้ตรัสคำว่า รูปไกล ไว้โดยลักษณะ

แต่ตรัสรูปไกลนั้นไว้โดยโอกาส เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสว่า รูปไกลไว้ พระ

ผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงประสงค์จะแสดงโอฬาริกรูปว่าเป็นรูปไกลโดยโอกาสจึง

ตรัสคำมีอาทิว่า ย วา ปนญฺญปิ (ก็หรือว่า รูปแม้อื่นใดมีอยู่). แม้ในนิเทศ

แห่งสันติกบท ก็มีนัยนี้แหละ.

ในพระบาลีนั้น บทว่า อนาสนฺเน แยกบทเป็น น อาสนฺเน ได้

แก่ ในที่ไม่ใกล้เคียง. บทว่า อนุปกฏฺเ แปลว่า ในที่ไม่ใกล้ชิด. บทว่า

ทูเร แปลว่า ในที่ไกล. บทว่า อสนฺติเก แปลว่า ในที่ไม่ใช่ใกล้. บทว่า

อิท วุจฺจติ รูป ทูเร (นี้เรียกว่ารูปไกล) นี้ ตรัสสุขุมรูป ๑๕ อย่าง เรียกว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

รูปไกล โดยลักษณะ แต่ตรัสโอฬาริกรูป ๑๐ อย่าง เรียกว่า รูปไกล โดย

โอกาส ด้วยอำนาจเยวาปนกนัย นิเทศแห่งสันติกบทมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

บทว่า อิท วุจฺจติ รูป สนฺติเก (นี้เรียกว่ารูปใกล้) นี้ตรัสโอฬาริก

รูป ๑๐ อย่าง เรียกว่า รูปใกล้โดยลักษณะ แต่ตรัสสุขุมรูป ๑๕ อย่าง เรียก

ว่า รูปใกล้โดยโอกาส ด้วยอำนาจเยวาปนกนัย.

ถามว่า ก็รูปที่ชื่อว่าใกล้และไกลด้วยอำนาจโอกาสตั้งแต่ไหน ?

ตอบว่า เมื่อบุคคลพูดอยู่ด้วยถ้อยคำปรกติ ๑๒ ศอก ชื่อว่าอุปจาร

คือใกล้ต่อการฟัง รูปภายในแห่งอุปจารคือใกล้ต่อการฟังนั้น ชื่อว่า รูปใกล้

เกินจากนั้นไป ชื่อว่า รูปไกล. บรรดารูปใกล้และไกลนั้น สุขุมรูป มีอยู่

ในที่ไกล ชื่อว่าเป็นรูปไกลแม้โดยลักษณะ แม้โดยโอกาส แต่สุขุมรูปที่มีอยู่

ในที่ใกล้ ชื่อว่า เป็นรูปใกล้โดยโอกาสเท่านั้น ไม่ชื่อว่าใกล้โดยลักษณะ.

โอฬาริกรูป ที่มีอยู่ในที่ใกล้ ชื่อว่าเป็นรูปใกล้แม้โดยลักษณะ แม้โดยโอกาส.

โอฬาริกรูปที่มีอยู่ไกล ชื่อว่าเป็นรูปไกลโดยโอกาสอย่างเดียว ไม่ใช่ไกลโดย

ลักษณะ.

ในคำว่า ต ต วาปน นี้ไม่พึงดูนัยที่มีข้างต้น เพราะนัยข้างต้นเป็น

นัยที่ทรงแยกเสร็จแล้ว แต่ในที่นี้มิได้ทรงแยกรูปไกลโดยลักษณะ ทรงแยกรูป

ไกลโดยโอกาสอย่างเดียว เพราะทรงแสดงรูปไกลและใกล้โดยการเทียบเคียง

กันในขันธวิภังคนิเทศนี้.

จริงอยู่ รูปของตน ชื่อว่า รูปใกล้ รูปของคนอื่นแม้เกิดภายใน

ท้อง ก็ชื่อว่า รูปไกล. รูปของคนอื่นที่เกิดในท้อง ชื่อว่า รูปใกล้ รูป

ของบุคคลอื่นที่อยู่ภายนอก ชื่อว่า รูปไกล. รูปของบุคคลอื่นผู้นอนเตียงเดียว

กัน ชื่อว่า รูปใกล้ รูปของบุคคลอื่นผู้ยืนอยู่ภายนอกหน้ามุข ชื่อว่า รูปไกล

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

รูปภายในบริเวณ ชื่อว่า รูปใกล้ รูปภายนอกบริเวณ ชื่อว่า รูปไกล รูป

ภายในสังฆาราม ชื่อว่า รูปใกล้ รูปภายนอกสังฆาราม ชื่อว่า รูปไกล. รูป

ภายในสีมา ชื่อว่า รูปใกล้ รูปนอกสีมา ชื่อว่า รูปไกล. รูปภายในเขตบ้าน

ชื่อว่ารูปใกล้ รูปนอกเขตบ้าน ชื่อว่า รูปไกล. รูปในภายในชนบท ชื่อว่า

รูปใกล้ รูปภายนอกชนบท ชื่อว่า รูปไกล. รูปภายในรัชสีมา ชื่อว่า รูปใกล้

รูปนอกรัชสีมา ชื่อว่ารูปไกล รูปภายในสมุทร ชื่อว่า รูปใกล้ รูปภายนอก

สมุทร ชื่อว่า รูปไกล. รูปภายในจักรวาล ชื่อว่า รูปใกล้ รูปภายนอก

จักรวาล ชื่อว่า รูปไกล ดังนี้.

นี้นิทเทสแห่งรูปขันธ์ จบ

๒. เวทนาขันธนิเทศ (บาลีข้อที่ ๘)

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งเวทนาขันธ์เป็นต้น ต่อไป.

ข้าพเจ้าจักเว้นบทเหมือนกับบทที่กล่าวไว้ในหนหลังแล้วพรรณนา

เฉพาะบทที่ยังมิได้พรรณนาเท่านั้น.

บทว่า ยา กาจิ เวทนา (เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง) ได้แก่ ทรงถือเอา

เวทนาอันเป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า สุขา เวทนา เป็นต้น พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่าเพื่อแสดงเวทนาอธิบายไว้ด้วยอำนาจ เวทนาอดีตเป็นต้นโดยสภาวะ.

ในบรรดาสุขเวทนาเป็นต้นเหล่านั้น สุขเวทนาทางกายและสุขเวทนา

ทางใจมีอยู่ ทุกขเวทนาทางกายและทุกขเวทนาทางใจก็มีอยู่เหมือนกัน. ส่วน

อทุกขมสุขเวทนาที่ตรัสว่าเป็นไปทางกายโดยปริยายหมายถึงกายคือประสาทมี

จักขุเป็นต้นมีอยู่ เป็นไปทางใจก็มีอยู่. ในบรรดาเวทนาเหล่านั้น เวทนาที่

เป็นไปทางกายแม้ทั้งหมดเป็นกามาพจร ทุกขเวทนาทางใจก็เป็นกามาพจร

เหมือนกัน แต่สุขเวทนาเป็นไปทางใจเป็นไปในภูมิ ๓ อทุกขมสุขเวทนาเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

ไปในภูมิ ๔ พึงทราบความที่เวทนาแม้มีประการทั้งหมดนั้นเป็นอดีตเป็นต้น

ด้วยอำนาจสันตติ และด้วยอำนาจขณะเป็นต้น.

บรรดาเวทนาเหล่านั้น ว่าด้วยอำนาจสันตติ เวทนาที่นับเนื่องใน

วิถีเดียวกัน ในชวนะเดียวกัน ในสมาบัติเดียวกัน และเป็นไปโดยประกอบ

ในอารมณ์เดียวกัน ชื่อว่า เวทนาปัจจุบัน เวทนาก่อนปัจจุบัน ชื่อว่า เวทนา

อดีต เวทนาหลังปัจจุบัน ชื่อว่า เวทนาอนาคต. ว่าด้วยอำนาจขณะเป็น

ต้น เวทนาที่นับเนื่องด้วยขณะทั้ง ๓ คือเวทนาที่ถึงท่ามกลางของเบื้องต้น และ

เบื้องปลายและกำลังทำกิจของตนอยู่ ชื่อว่า เวทนาปัจจบุบัน เวทนาก่อนนั้น

ชื่อว่า เวทนาอดีต เวทนาหลังปัจจุบันนั้น ชื่อว่า เวทนาอนาคต. ใน

อธิการนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำนิเทศนี้หมายเอา

ความที่เวทนาอดีตเป็นต้น ด้วยอำนาจขณะเป็นต้น.

ว่าด้วยนิเทศเวทนาหยาบและละเอียด

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศเวทนาหยาบและละเอียด ต่อไป.

บทว่า อกุสลา เวทนา (อกุศลเวทนา) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเพื่อทรงแสดงความเป็นเวทนาหยาบและละเอียดโดยชาติ. บทว่า ทุกฺขา

เวทนา โอฬาริกา (ทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ) เป็นต้น ตรัสเพื่อทรง

แสดงเวทนาหยาบและละเอียดโดยสภาวะ. บทว่า อสมาปนฺนสฺส เวทนา

(เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ) เป็นต้น ตรัสเพื่อทรงแสดงความเป็นเวทนาหยาบ

และละเอียดโดยบุคคล. บทว่า สาสวา (เวทนาที่มีอาสวะ) เป็นต้น ตรัส

เพื่อทรงแสดงความเป็นเวทนาหยาบและละเอียดโดยโลกิยะและโลกุตระ.

บรรดาเวทนาเหล่านั้น เวทนาที่เป็น อกุศลก่อน ชื่อว่า เป็น

เวทนาหยาบ ด้วยอรรถว่ารำคาญใจ และด้วยอรรถว่ามีทุกข์เป็นวิบาก.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

เวทนาที่เป็นกุศล ชื่อว่า เวทนาละเอียด ด้วยอรรถว่าไม่มีความกระวน

กระวาย และด้วยอรรถว่ามีสุขเป็นวิบาก เวทนาที่เป็นอัพยากฤต ชื่อว่า

เวทนาละเอียด ด้วยอรรถว่าไม่มีความอุตสาหะและด้วยอรรถวาไม่มีวิบาก.

เวทนาที่เป็นกุศล และเวทนาที่เป็นอกุศล ชื่อว่า เวทนาหยาบ ด้วยอรรถ

ว่ามีอุตสาหะ และด้วยอรรถว่ามีวิบาก. เวทนาที่เป็นอัพยากฤต ชื่อว่า เวทนา

ละเอียด โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

ทุกขเวทนา ชื่อว่า เวทนาหยาบ ด้วยอรรถว่าไม่มีความยินดี และ

ด้วยอรรถว่าเป็นทุกข์. สุขเวทนา ชื่อว่า เวทนาละเอียด ด้วยอรรถว่ามีความ

ยินดีและด้วยอรรถว่าเป็นสุข. อทุกขมสุขเวทนา ชื่อว่า เวทนาละเอียด

ด้วยอรรถว่าสงบ และด้วยอรรถว่าประณีต. สุขและทุกขเวทนา ชื่อว่า

เวทนาหยาบ ด้วยอรรถว่าหวั่นไหวและด้วยอรรถว่าแผ่ออกไป. จริงอยู่ แม้

สุขเวทนา ก็ย่อมหวั่นไหวย่อมแผ่ออกไป แม้ทุกขเวทนาก็เหมือนกันเพราะ

สุขเวทนาเมื่อเกิดย่อมยังสรีระทั้งสิ้นให้หวั่นไหว ให้กระเพื่อม ให้ชุ่มฉ่ำ ให้

มัวเมา ให้ยินดีเกิดขึ้น ดุจรดอยู่ด้วยหม้อน้ำเย็น. ทุกขเวทนาเมื่อเกิดขึ้น

ย่อมเป็นดุจเวลาที่ใส่ภาชนะร้อนไว้ภายใน และดุจเอาคบเพลิงหญ้าเผาอยู่ภาย

นอกเกิดขึ้น. แต่อทุกขมสุขเวทนา ชื่อว่า เวทนาละเอียดโดยนัยที่กล่าวแล้ว.

ก็เวทนาของบุคคลผู้ไม่เข้าสมาบัติ ชื่อว่า เวทนาหยาบ เพราะความ

ที่บุคคลนั้น มีจิตซัดส่ายไปในอารมณ์ต่าง ๆ เวทนาของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ชื่อ

ว่า เวทนาละเอียด เพราะบุคคลนั้นประพฤติในนิมิตมีอารมณ์สงบ. เวทนา

มีอาสวะ ชื่อว่า เวทนาหยาบ เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาสวะ เป็นเหตุ ขึ้นชื่อว่า

วาระแห่งอาสวะ ย่อมเป็นสภาพหยาบอย่างเดียว. เวทนาไม่มีอาสวะ ชื่อว่า

เวทนาละเอียด โดยปริยายตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

ว่าด้วยมติของอาจารย์

บรรดาเวทนาหยาบและละเอียดเหล่านั้น อาจารย์รูปหนึ่งไม่ฉลาดใน

กุศลติกะ ไม่ฉลาดในเวทนาติกะ อาจารย์นั้นประสงค์จะรักษากุศลติกะย่อมทำ

ลายเวทนาติกะ ประสงค์จะรักษาเวทนาติกะย่อมทำลายกุศลติกะ. อาจารย์รูป

หนึ่งประสงค์จะรักษาติกะย่อมทำลายธรรมภูมิอื่น. อาจารย์รูปหนึ่งย่อมไม่ทำลาย

อย่างไร ? ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในเวทนาติกะว่า สุขเวทนา และทุกข

เวทนา เป็นเวทนาหยาบ อทุกขมมสุขเวทนาเป็นเวทนาละเอียดดังนี้ พระดำรัส

นั้น อาจารย์รูปหนึ่งย่อมคัดค้านว่า อทุกขมสุขเวทนาทั้งหมดมิใช่เวทนาละเอียด

เพราะอทุกขมสุขเวทนานั้น เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี

บรรดาอทุกขมสุขเวทนา ๓ ชนิดนั้น เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นเวทนา

หยาบ เวทนาที่เป็นอัพยากฤตเป็นเวทนาละเอียด เพราะเหตุไร ? เพราะความ

ที่เวทนานั้นมาในพระบาลีหมวดกุศลติกะ ด้วยอาการอย่างนี้ อาจารย์นั้น ชื่อ

ว่า รักษากุศลติกะ แต่ทำลายเวทนาติกะ.

แม้พระดำรัสใดที่ตรัสไว้ในกุศลติกะว่า กุศลเวทนาและอกุศลเวทนา

ชื่อว่า เวทนาหยาบ อัพยากตเวทนาชื่อว่า เวทนาละเอียด ดังนี้ พระดำรัส

นั้น อาจารย์รูปหนึ่งก็คัดค้านว่า อัพยากตเวทนาทั้งหมดไม่ใช่เวทนาละเอียด

เพราะอัพยากตเวทนานั้นเป็นสุขก็มี เป็นทุกข์ก็มี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็มี.

บรรดาอัพยากตเวทนา ๓ ชนิดนั้น อัพยากตเวทนาที่เป็นสุขและเป็นทุกข์เป็น

เวทนาหยาบ อัพยากตที่เป็นอทุกขมสุขเป็นเวทนาละเอียด เพราะเหตุไร ?

เพราะความที่อัพยากตเวทนานั้นมาในพระบาลีในเวทนาติกะ ด้วยอาการอย่างนี้

เวทนาติกะเป็นอันอาจารย์นั้นรักษาแล้ว แต่ทำลายกุศลติกะ.

ก็อาจารย์ผู้ไม่เหลียวแลดูเวทนาติกะในที่แห่งกุศลติกะมาแล้ว ไม่แลดู

กุศลติกะในที่แห่งเวทนาติกะมาแล้ว กล่าวซึ่งความที่เวทนาหยาบและเวทนา-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

ละเอียด โดยลักษณะแห่งกุศลติกะของธรรมมีกุศลเป็นต้น โดยลักษณะแห่ง

เวทนาติกะของเวทนามีสุขเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมไม่ทำลาย.

อีกอย่างหนึ่ง ในพระดำรัสที่ตรัสในกุศลติกะว่า เวทนาที่เป็นกุศล

และอกุศลเป็นเวทนาหยาบ อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาละเอียด ดังนี้นั่น อาจารย์

รูปหนึ่งย่อมกล่าวว่า เวทนาที่เป็นกุศลแม้เป็นโลกุตรเวทนาก็ชื่อว่า เวทนา

หยาบ เวทนาที่เป็นวิบากโดยที่สุดแม้เวทนาที่เกิดพร้อมกับทวิปัญจวิญญาณ

ชื่อว่า เวทนาละเอียด ดังนี้. อาจารย์นั้นกระทำโลกุตรเวทนาอันสงบ

ประณีตเห็นปานนี้ ให้ชื่อว่า เวทนาหยาบ กระทำอยู่ซึ่งเวทนาอันสัมปยุต

ด้วยทวิปัญจวิญญาณอันเป็นอเหตุกะอันทรามเขลา ให้ชื่อว่า เวทนาละเอียด

ประสงค์จะรักษาติกะ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมทำลายธรรมภูมิอื่น. แต่อาจารย์

ผู้กล่าวประกอบกุศลในภูมินั้น ๆ กับด้วยวิบากในภูมินั้น ๆ ชื่อว่า ย่อมไม่

ทำลาย.

บรรดานัยเหล่านั้น มีนัยที่พึงทราบดังต่อไปนี้

จริงอยู่ อาจารย์ผู้กล่าวโดยทำนองนี้ว่า ก็เวทนาที่เป็นกามาวจรกุศล

เป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกามาวจรวิบากเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็น

รูปาวจร อรูปาวจร และโลกุตรกุศลเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นรูปาวจร

อรูปาวจร และโลกุตรวิบากเป็นเวทนาละเอียด ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมไม่ทำลาย.

แต่พระจุฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า ในอกุศลไม่ควรยก

ชื่อเวทนาว่าหยาบและละเอียด เพราะอกุศลนั้นเป็นสภาพหยาบโดยส่วนเดียว

เท่านั้น แม้ในโลกุตระก็ไม่ควรยกความที่เวทนานั้นเป็นเวทนาหยาบและละเอียด

เพราะโลกุตระนั้น เป็นสภาวะละเอียดโดยส่วนเดียว ดังนี้. พวกอันเตวาสิก

ได้นำถ้อยคำนี้มาบอกแก่พระจุฬาภยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกว่า พระเถระกล่าว

อย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

ฝ่ายพระจุฬาภยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธะ

ตรัสพระอภิธรรมไว้ในฐานะที่มาของบทหนึ่งก็ดี สองบทก็ดี ชื่อว่า มิได้ทรง

ประทานนัยในฐานะที่ควรประทานย่อมไม่มี ชื่อว่า มิได้ทรงกระทำนัยในฐานะ

ที่ควรกระทำก็ไม่มี แต่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เที่ยวพูดอยู่ว่า กระผม

เป็นอาจารย์ เพื่อจะยกความที่เวทนาในอกุศลเป็นเวทนาหยาบและละเอียดขึ้น

ก็รังเกียจ แต่พระสัมมาสัมพุทธะทรงยกความที่เวทนาเหล่านั้นเป็นเวทนาหยาบ

และละเอียด ขึ้นแม้ในโลกุตระ ดังนี้ ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงยกพระสูตร

นี้มาว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในปฏิปทา ๔ เหล่านั้น ปฏิบัติลำบาก ตรัสรู้

ช้านี้ เรียกว่าปฏิปทาเลวโดยเหตุทั้งสองทีเดียว คือ เพราะความลำบาก และ

เพราะตรัสรู้ช้า " ดังนี้. ที่จริง ในพระสูตรนี้ตรัสปฏิปทา ๔ ไว้เป็นปฏิปทา

คละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ.

บทว่า ต ต วา ปน นี้ ไม่พึงเพ่งถึงนัยข้างต้น บัณฑิตพึงกล่าว

ด้วยอำนาจแห่ง ตังตังวาปนกนัย เท่านั้น.

จริงอยู่ เวทนาที่เป็นอกุศลมี ๒ อย่าง คือ เวทนาที่เกิดพร้อมกับ

โลภะ และเวทนาที่เกิดพร้อมกับโทสะ ในเวทนาทั้ง ๒ นั้น เวทนาที่เกิด

พร้อมกับโทสะเป็นเวทนาหยาบ ที่เกิดพร้อมกับโลภะเป็นเวทนาละเอียด แม้

เวทนาที่เกิดพร้อมกับโทสะก็มี ๒ อย่าง คือ นิยตเวทนา อนิยตเวทนา. บรรดา

เวทนาทั้ง ๒ นั้น นิยตเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อนิยตเวทนาเป็นเวทนาละเอียด

อนึ่ง นิยตเวทนาคือเวทนาที่ตั้งอยู่ตลอดกัปเป็นเวทนาหยาบ อนิยตเวทนา

ไม่ตั้งอยู่ตลอดกัปเป็นเวทนาละเอียด. แม้เวทนาที่ตั้งอยู่ตลอดกัปถ้าเป็นอสัง-

ขาริกก็เป็นเวทนาหยาบ ถ้าเป็นสสังขาริกก็เป็นเวทนาละเอียด.

แม้เวทนาที่เกิดพร้อมกับโลภะก็มี ๒ อย่าง คือ ทิฏฐิคตสัมปยุต และ

ทิฏฐิวิปยุต. ในเวทนาทั้ง ๒ นั้น เวทนาที่ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็น

เวทนาหยาบ เวทนาที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดเป็นเวทนาละเอียด แม้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

เวทนาที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ถ้าเป็นนิยตะก็เป็นเวทนาหยาบ ถ้าเป็น

อนิยตะก็เป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่ประกอบด้วยความเห็นผิดแม้นั้นถ้าเป็น

อสังขาริกก็เป็นเวทนาหยาบ ถ้าเป็นสสังขาริกก็เป็นเวทนาละเอียด. ว่าโดยย่อ

เวทนาใดถึงอกุศลแล้วให้วิบากมาก เวทนานั้นเป็นเวทนาหยาบ ที่ให้วิบากน้อย

เป็นเวทนาละเอียด ส่วนเวทนาที่ถึงกุศลให้วิบากน้อยเป็นเวทนาหยาบ ที่ให้

วิบากมากเป็นเวทนาละเอียด.

ในกุศล ๔ อย่าง เวทนาที่เป็นกามาวจรกุศลเป็นเวทนาหยาบ เวทนา

ที่เป็นรูปาวจรกุศลเป็นเวทนาละเอียด แม้เวทนาที่เป็นรูปาวจรกุศลนั้น ก็เป็น

เวทนาหยาบ ที่เป็นอรูปาวจรกุศลเป็นเวทนาละเอียด. แม้เวทนาที่เป็นอรูปา-

วจรกุศลก็เป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นโลกุตรกุศลก็เป็นเวทนาละเอียด. นัยนี้

โดยไม่ต่างกัน ในภูมิทั้ง ๔ ก่อน.

แต่ว่าโดยนัยที่ต่างกัน เวทนาที่เป็นกามาวจรมี ๓ อย่าง ด้วย

อำนาจแห่ง ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย.

บรรดาเวทนาทั้ง ๓ นั้น เวทนาที่สำเร็จด้วยการให้ทานเป็นเวทนา

หยาบ เวทนาที่สำเร็จด้วยการรักษาศีลเป็นเวทนาละเอียด. แม้เวทนาที่สำเร็จ

ด้วยการรักษาศีลนั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่สำเร็จด้วยภาวนาเป็นเวทนา

ละเอียด เวทนาที่สำเร็จด้วยภาวนาแม้นั้นก็มี ๒ อย่าง คือ เป็นทุเหตุกะ

(ประกอบด้วยเหตุ ๒) และติเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ ๓) ใน ๒ อย่างนั้น

เวทนาที่ประกอบด้วยเหตุ ๒ เป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่ประกอบด้วยเหตุ ๓

เป็นเวทนาละเอียด แม้เวทนาประกอบด้วยเหตุ ๓ ก็มี ๒ อย่าง โดยเป็น

สสังขาริก และอสังขาริก. ในบรรดาเวทนาทั้ง ๒ นั้น เวทนาที่เป็นสสังขาริก

เป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นอสังขาริก เป็นเวทนาละเอียด. ในรูปาวจร เวทนา

ที่เกิดพร้อมกับกุศลในปฐมฌานเป็นเวทนาหยาบ ที่เกิดพร้อมกับกุศลในทุติย-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

ฌาน ฯลฯ เวทนาที่เกิดพร้อมกับกุศลในจตุตถฌานเป็นเวทนาละเอียด เวทนา

ที่เกิดพร้อมกับกุศลในจตุตถฌานแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เกิด

พร้อมกับกุศลในอากาสานัญจายตนะเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เกิดพร้อมกับ

กุศลในอากาสานัญจายตนะแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ ฯลฯ เวทนาที่เกิด

พร้อมกับกุศลในเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เกิด

พร้อมกับกุศลในเนวสัญญานาสัญญายตนะแม้นั้น ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนา

ที่เกิดพร้อมกับวิปัสสนาเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เกิดพร้อมกับวิปัสสนาแม้

นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติมรรคเป็นเวทนา

ละเอียด เวทนาที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติมรรคแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ ฯลฯ

เวทนาที่เกิดพร้อมกับอรหัตมรรคเป็นเวทนาละเอียด.

ในวิบาก ๔ อย่าง เวทนาที่เป็นกามาวจรวิบากเป็นเวทนาหยาบ

เวทนาที่เป็นรูปาวจรวิบากเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นรูปาวจรวิบากแม้นั้น

ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ ฯลฯ เวทนาที่เป็นโลกุตรวิบากเป็นเวทนาละเอียด.

นี้เป็นนัยโดยไม่ต่างกันก่อน.

แต่เมื่อว่า โดยนัยที่ต่างกัน เวทนาที่เป็นกามาวจรวิบากที่เป็น

อเหตุกะ (ไม่ประกอบด้วยเหตุ) มีอยู่ ที่เป็นสเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ)

ก็มีอยู่ แม้เวทนาที่เป็นสเหตุกะก็มี ๒ คือ เวทนาที่เป็นทุเหตุกะ (ประกอบ

ด้วยเหตุ ๒) มีอยู่ ที่เป็นติเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ ๓) ก็มีอยู่.

ในบรรดาเวทนาเหล่านั้น เวทนาที่เป็นอเหตุกะเป็นเวทนาหยาบ ที่

เป็นสเหตุกะเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เป็นสเหตุกะแม้นั้น ที่เป็นทุเหตุกะ

เป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นติเหตุกะเป็นเวทนาละเอียด. แม้ในเวทนาที่เป็นติเหตุกะ

นั้น เวทนาที่เป็นสสังขาริกเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นอสังขาริกเป็นเวทนาละเอียด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

เวทนาที่เป็นวิบากของปฐมฌานเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นวิบากของทุติยฌานเป็น

เวทนาละเอียด ฯลฯ ที่เป็นวิบากของ จตุตถฌานเป็นเวทนาละเอียด. เวทนา

ที่เป็นวิบากของจตุตถฌานแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นวิบากของ

อากาสานัญจายตนะเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นวิบากของอากาสานัญจาย-

ตนะแม้นั้นก็ยังหยาบ ฯลฯ เวทนาที่เป็นวิบากของเนวสัญญานาสัญญาตนะแม้นั้นก็ยัง

เป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นวิบากของเนวสัญญานาสัญญายตนะแม้นั้นก็ยัง

เป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติผลเป็นเวทนาละเอียด เวทนา

ที่เกิดพร้อมกับโสดาปัตติผลแม้นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เกิดพร้อมกับ

สกทาคามิผล ฯลฯ เวทนาที่เกิดพร้อมกับอรหัตผลเป็นเวทนาละเอียด.

ในบรรดากิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เวทนาที่เป็นกิริยาในกามาวจรเป็นเวทนา

หยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในรูปาวจรเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นกิริยาใน

รูปวจรแม้นั้นก็ยังหยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในอรูปาวจรเป็นเวทนาละเอียด.

นี้เป็นนัยโดยไม่ต่างกันก่อน.

แต่เมื่อว่า โดยนัยที่ต่างกัน ในกามาวจรกิริยาที่ทรงแยกไว้ด้วย

อำนาจเวทนาที่เป็นอเหตุกะเป็นต้น เวทนาที่เป็นอเหตุกกิริยาเป็นเวทนาหยาบ

ที่เป็นสเหตุกกิริยาเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นทุเหตุกกิริยาแม้นั้นก็เป็น

เวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นติเหตุกิริยาเป็นเวทนาละเอียด. ในเวทนาที่เป็น

เหตุกกิริยาแม้นั้น เวทนาที่เป็นสสังขาริกเป็นเวทนาหยาบ ที่เป็นอสังขาริก

เป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เป็นกิริยาในปฐมฌานเป็นเวทนาหยาบ เวทนา

ที่เป็นกิริยาในทุติยฌานเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เป็นกิริยาในทุติยฌานแม้

นั้นก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในตติยฌาน ฯลฯ เวทนาที่เป็น

กิริยาในจตุตถฌานเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาที่เป็นกิริยาในจตตุถฌานแม้นั้น

ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกิริยาในอากาสานัญจายตนะเป็นเวทนา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

ละเอียด เวทนาที่เป็นกิริยาในอากาสานัญจายตนะแม้นั้น ก็ยังเป็นเวทนาหยาบ

เวทนาที่เป็นกิริยาในวิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ เวทนาที่เป็นกิริยาในเนวสัญญา-

นาสัญญายตนะเป็นเวทนาละเอียด. เวทนาใดหยาบ เวทนานั้นทราม. เวทนา

ใดละเอียด เวทนานั้นประณีต.

ว่าด้วยนิเทศเวทนาทูรทุกะ (บาลีข้อ ๑๓)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศเวทนาทูรทุกะ (ไกลใกล้) ต่อไป.

เวทนาเป็นอกุศล ชื่อว่า เวทนาไกล จากเวทนาที่เป็นกุศลและ

อัพยากต ด้วยอรรถว่าไม่เสมอกัน และด้วยอรรถว่าไม่เกี่ยวข้องกัน บัณฑิต

พึงทราบความที่เวทนาเป็นสภาพไกล ในบททั้งปวงโดยนัยนี้.

จริงอยู่ แม้ว่าคน ๓ คนผู้พรั่งพร้อมด้วยเวทนาที่เป็นอกุศลเป็นต้น

และพร้อมด้วยเวทนามีทุกข์เป็นต้น นั่งในเตียงเดียวกันไซร้ เวทนาเหล่านั้น

ของบุคคลแม้เหล่านั้นก็ชื่อว่า ไกลกัน นั่นแหละ ด้วยอรรถว่าเวทนาไม่เสมอ

กัน และด้วยอรรถว่าไม่เกี่ยวข้องกัน. แม้ของในบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยเวทนาของ

บุคคลผู้เข้าสมาบัติเป็นต้น.

ส่วนเวทนาที่เป็นอกุศล ชื่อว่า เวทนาใกล้ ด้วยอรรถว่ามีส่วน

เสมอกัน และด้วยอรรถว่าเหมือนอกุศล บัณฑิตพึงทราบความที่เวทนาเป็น

สภาวะใกล้ในบททั้งปวงโดยนัยนี้. ก็ถ้าบุคคล ๓ คน ผู้พรั่งพร้อมด้วยเวทนา

มีอกุศลเป็นต้น คนหนึ่งเกิดในกามภพ คนหนึ่งเกิดในรูปภพ คนหนึ่งเกิดใน

อรูปภพ เวทนาเหล่านั้น ของบุคคลแม้เหล่านั้น ชื่อว่า เวทนาใกล้กันทั้งนั้น

ด้วยอรรถว่าเสมอกัน และด้วยอรรถว่าคล้ายกัน. แม้ในบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย

เวทนามีกุศลเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

ในข้อว่า ต ต วา ปน นี้ไม่พึงแลดูนัยที่กล่าวในหนหลัง พึง

กล่าวด้วยอำนาจ ตังตังวาปนกนัย นั่นแหละ แต่เมื่อจะกล่าวไม่ควรยก

เวทนาใกล้จากเวทนาไกล แต่พึงยกเวทนาไกลจากเวทนาใกล้ เพราะเวทนาที่

เป็นอกุศล มี ๒ อย่าง คือ เวทนาที่สหรคตด้วยโลภะ และสหรคตด้วยโทสะ.

ในเวทนา ๒ เหล่านั้น เวทนาที่สหรคตด้วยโลภะ ชื่อว่า เวทนาใกล้

เพราะเกิดพร้อมกับโลภะ ชื่อว่า เวทนาไกล เพราะเกิดพร้อมกับโทสะ,

แม้เวทนาที่สหรคตด้วยโทสะ ชื่อว่า เวทนาใกล้ เพราะเกิดพร้อมกับโทสะ

ชื่อว่า เวทนาไกล เพราะเกิดพร้อมกับโลภะ แม้เวทนาที่สหรคตด้วยโทสะ

ที่เป็นนิยตะ* ชื่อว่า เวทนาใกล้ เพราะความเป็นสภาพยั่งยืน ชื่อว่า อนิยตะ

เพราะความเป็นสภาพไม่ยั่งยืนอย่างนั้น. พึงทราบเวทนาแต่ละส่วนว่าเป็น

เวทนาใกล้โดยเวทนาที่เป็นส่วนนั้น ๆ นั่นแหละ และเวทนานอกนี้พึงทราบว่า

เป็นเวทนาไกลจากส่วนนอกนี้ คล้อยตามเวทนาทั้งปวงอันต่างด้วยเวทนาที่ตั้ง

อยู่ตลอดกัป เวทนาที่เป็นอสังขาริก สสังขาริก และเวทนาอันต่างด้วยธรรมมี

ทิฏฐิคตสัมปยุตเป็นต้นในบรรดาจิตที่เกิดพร้อมกับโลภะเป็นต้น ด้วยอำนาจ

แห่งถ้อยคำอันข้าพเจ้าให้พิสดารในนิเทศโอฬาริกทุกะนั่นแล.

เวทนาขันธนิเทศ จบ

๓. สัญญาขันธนิเทศ (บาลีข้อ ๑๔)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งสัญญาขันธ์ ต่อไป.

บทว่า ยา กาจิ สญฺา (สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง) นี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงถือเอาสัญญาที่เป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา

* คำว่า นิยตะ หมายถึงยั่งยืน คือ เกิดติดต่อกันเป็นเวลานานเช่นในนรก.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

สญฺา(สัญญาเกิดแต่จักขุสัมผัส) เป็นต้น ตรัสเพื่อแสดงสัญญาที่ทรงยกขึ้น

แสดงด้วยอำนาจสัญญาที่เป็นอดีตเป็นต้นโดยสภาวะ.

บรรดาสัญญาเหล่านั้น สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส หรือในจักขุสัมผัส

ชื่อว่า จักขุสัมผัสสชา. แม้ในสัญญาที่เหลือก็นัยนี้แหละ ก็ในสัญญา ๖

เหล่านั้น สัญญา ๕ อย่างข้างต้นมีจักขุปสาทเป็นต้นเป็นที่อาศัยเกิดโดยเฉพาะ

มโนสัมผัสสชาสัญญา (สัญญาเกิดแต่มโนสัมผัส) มีหทัยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิด

บ้าง ไม่มีหทัยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง สัญญาแม้ทั้งหมดจึง ชื่อว่า เป็นไป

ในภูมิ ๔.

พึงทราบวินิจฉัยในโอฬาริกทุกนิเทศ บทว่า ปฏิฆสมฺผสฺสชา

สัญญาเกิดแต่ปฏิฆสัมผัส ความว่า ผัสสะที่กระทำจักขุปสาทเป็นต้นที่เป็น

สัปปฏิฆะให้เป็นที่อาศัยเกิดปรารภรูปเป็นต้นที่เป็นสัปปฏิฆะเกิดขึ้น ชื่อว่า

ปฏิฆสัมผัส. สัญญาเกิดแต่ปฏิฆสัมผัสนั้น หรือเกิดในปฏิฆสัมผัสนั้น

ชื่อว่า ปฏิฆสัมผัสสชา. แม้คำว่า สัญญาที่เกิดแต่ จักขุสัมผัส ฯลฯ

สัญญาที่เกิดแต่กายสัมผัส ดังนี้ ก็เป็นชื่อของปฏิฆสัญญานั้นนั่นแหละโดย

วัตถุ (คือที่อาศัยเกิด.) แม้คำว่า รูปสัญญา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ดังนี้

ก็เป็นชื่อของปฏิฆสัญญานนั้นนั่นเอง โดยอารมณ์ ก็แต่ว่า คำว่า ปฏิฆสัญญา

นี้เป็นชื่อของสัญญาทั้งโดยวัตถุ และอารมณ์. จริงอยู่ สัญญานี้ ตรัสเรียกว่า

สัญญาอันเกิดแต่ปฏิฆะ เพราะอาศัยวัตถุที่เป็นสัปปฏิฆะ (เป็นไปกับด้วยการ

กระทบ) และปรารภ อารมณ์ที่เป็นสัปปฏิฆะเกิดขึ้น. แม้คำว่า มโนสัมผัสสชา

นี้ ก็เป็นชื่อของปฏิฆสัญญานี้ โดยปริยายเหมือนกัน. เพราะว่าจักขุวิญญาณ

ชื่อว่า มโน. ผัสสะเกิดพร้อมกับมโนนั้น ชื่อว่า มโนสัมผัส. สัญญาเกิดใน

มโนสัมผัสนั้น หรือเกิดแต่มโนสัมผัสนั้นมีอยู่. เหตุนั้น จึงชื่อว่า มโนสัมผัส-

สชา โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณและกายวิญญาณก็ ชื่อว่า มโน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

เหมือนกัน. ผัสสะเกิดพร้อมกับมโนนั้น ชื่อว่า มโนสัมผัส. สัญญาเกิดใน

มโนสัมผัสนั้น หรือแต่มโนสัมผัสนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มโนสัมผัส-

สชา แม้คำว่า สัญญาที่เกิดแต่อธิวจนสัมผัส ดังนี้ ก็เป็นชื่อของมโนสัมผัสสชา

นี้ โดยปริยายนั้นแหละ. เพราะว่า นามขันธ์ ๓ คือ เวทนา สังขาร และ

วิญญาณเป็นสภาวะหมุนไปเบื้องหลังเอง จึงกระทำชื่อสัญญาที่เกิดพร้อมกับตน

ว่า สัญญาเกิดแต่อธิวจนสัมผัส.

แต่เมื่อว่าโดยนิปปริยาย (โดยตรง) สัญญาที่เป็นไปในปัญจทวาร

ชื่อว่าสัญญาที่เกิดแต่ปฏิฆสัมผัส สัญญาที่เป็นไปทางมโนทวาร ชื่อว่า สัญญา

เกิดแต่อธิวจนสัมผัส. บรรดาสัญญาทั้ง ๒ นั้น สัญญาที่เป็นไปทางปัญจทวาร

แม้ใคร ๆ แลดูแล้วก็อาจรู้ได้ เพราะฉะนั้น สัญญาที่เป็นไปทางปัญจทวารนั้น

จึงชื่อว่า สัญญาหยาบ. จริงอยู่ คนทั้งหลายแลดูบุคคลผู้กำหนัดเพ่งอยู่ก็

สามารถรู้ว่า บุคคลนี้กำหนัดเพ่งอยู่ หรือแลดูบุคคลโกรธเพ่งอยู่ ก็สามารถรู้

ว่า บุคคลนี้โกรธเพ่งอยู่ ดังนี้.

ในข้อนี้ มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์ ดังนี้.

ได้ยินว่า หญิง ๒ คนกำลังนั่งกรอด้ายในบ้าน ภิกษุหนุ่ม ๒ รูป

เที่ยวไปในบ้าน รูปหนึ่งเดินข้างหน้า ได้แลดูหญิงคนหนึ่ง หญิงนอกนี้ถาม

หญิงนั้นว่า เพราะเหตุไรหนอ ภิกษุหนุ่มนี้จึงแลดูเธอดังนี้ นางตอบว่า ภิกษุ

นี้ไม่แลดูฉันด้วยจิตที่เป็นวิสภาคารมณ์ แต่แลดูด้วยสำคัญว่าเป็นน้องสาว ดัง

นี้ เมื่อภิกษุทั้ง ๒ เที่ยวบิณฑบาตในบ้านแล้วก็มานั่ง ณ โรงฉัน ภิกษุนอกนี้

จึงถามภิกษุนั้นว่า ท่านแลดูหญิงคนนั้นหรือ. ท่านตอบว่า ขอรับกระผมแลดู.

ท่านแลดูเพื่อประโยชน์อะไร ภิกษุนั้นตอบว่า กระผมแลดูเธอด้วยคิดว่า เธอ

คล้ายน้องสาวของผม ด้วยอาการอย่างนี้ สัญญาที่เป็นไปทางปัญจทวาร บัณฑิต

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

พึงทราบว่า แม้ใคร ๆ แลดูแล้วก็พึงทราบได้ ดังนี้ ก็สัญญานี้นั้น มีปสาทวัตถุ

เท่านั้น แต่อาจารย์บางพวกแสดงว่า เพราะสัญญานั้นเป็นไปด้วยชวนะดังนี้.

สัญญาที่เป็นไปทางมโนทวารเป็นสัญญาละเอียด เพราะความที่สัญญา

นั้น อันบุคคลพึงถามบุคคลอื่นแม้นั่งเตียงเดียวกัน หรือตั่งเดียวกันว่า ท่านคิด

หรือตรึกอะไร ดังนี้ จึงทราบได้ด้วยอำนาจแห่งคำบอกของบุคคลนั้น. คำที่

เหลือเช่นกับเวทนาขันธ์นั่นแล.

นี้สัญญาขันธนิเทศ

๔. สังขารขันธนิเทศ (บาลีข้อ ๒๐)

พึงทราบวินิจฉัยสังขารขันธ์นิเทศ ต่อไป.

บทว่า เย เกจิ สขารา (สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง) นี้ ทรงกำ-

หนดสังขารอันเป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา เจตนา (เจตนา

อันเกิดแต่จักขุสัมผัส) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อแสดงสังขารที่ทรง

ยกขึ้นแสดงด้วยอำนาจสังขารที่เป็นอดีตเป็นต้นโดยสภาวะ. บทว่า จกฺขุสมฺ-

ผสฺสชา (เกิดแต่จักขุสัมผัส) เป็นต้น มีเนื้อความตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. คำ

ว่า เจตนา นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอำนาจเป็นประธานสังขารทั้งเบื้อง

ต้นและเบื้องปลาย เพราะสังขาร ๔ มาในพระบาลีเกิดขึ้นพร้อมกับจักขุวิญญาณ

โดยที่สุดทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย ซึ่งบรรดาสังขารเหล่านั้น เจตนาชื่อว่า

เป็นประธาน เพราะปรากฏด้วยอรรถว่าเป็นตัวกระทำ เพราะฉะนั้น เจตนานี้

เท่านั้นทรงถือเอาแล้ว ก็สังขารที่สัมปยุตด้วยเจตนานั้นย่อมเป็นอันทรงถือเอา

แล้ว ก็เพราะเจตนานั้น พระองค์ทรงถือเอาแล้วนั่นแหละ. แม้ในที่นี้ เจตนา ๕

ข้างต้น มีจักขุปสาทเป็นต้น เป็นที่อาศัยเกิดอย่างเดียว เจตนาที่เกิดแต่มโน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

สัมผัสมีหทัยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง ไม่มีวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง เจตนาทั้ง

หมดเป็นเจตนาเป็นไปในภูมิ ๔. คำที่เหลือเหมือนเวทนาขันธ์นั่นแล.

นี้สังขารขันธนิเทศ

๕. วิญญาณขันธนิเทศ (บาลีข้อ ๒๖)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งวิญญาณขันธ์ ต่อไป.

บทว่า ย กิญฺจิ วิญฺาณ (วิญญาณอย่างหนึ่ง) นี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงถือวิญญาณอันเป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า จกฺขุวิญฺญาณ (จักขุ

วิญญาณ) เป็นต้น พระองค์ตรัสเพื่อทรงแสดงวิญญาณที่ทรงยกขึ้นแสดงด้วย

สามารถแห่งวิญญาณที่เป็นอดีตเป็นต้นโดยสภาวะ. ในพระบาลีนี้วิญญาณ ๕ มี

จักขุวิญญาณเป็นต้น มีจักขุปสาทวัตถุเป็นต้น เป็นที่อาศัยเกิดทีเดียว. มโนวิญญาณ

มีหทัยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง ไม่มีหทัยเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง วิญญาณทั้งหมด

เป็นวิญญาณเป็นไปในภูมิ ๔. คำที่เหลือเหมือนกับเวทนาขันธ์นั้นแล.

นี้วิญญาณขันธนิเทศ

ว่าด้วยปกิณกะในเบญจขันธ์ ๑๖ อย่าง

บัดนี้ พึงทราบปกิณกะในขันธ์ทั้ง ๕ โดยอาการ ๑๖ อย่าง คือ

โดยการเกิดครั้งแรก (สมุคฺคมโต)

โดยการเกิดก่อนและหลัง (ปุพฺพาปรโต)

โดยกำหนดกาล (อทฺธานปริจฺเฉทโต) ๑

โดยการเกิดขณะเดียวกันดับต่างขณะกัน (เอกุปฺปาทนานา-

นิโรธโต)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

โดยการเกิดต่างขณะดับพร้อมกัน (นานุปฺปาทเอกนิโรธโต)

โดยเกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน (เอกุปฺปาทเอกนิโรธโต)

โดยเกิดไม่พร้อมกันดับไม่พร้อมกัน (นานุปฺปาทนานา-

นิโรธโต)

โดยเป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน (อตีตานาคตปจฺจุปนฺนโต)

โดยเป็นธรรมภายในและภายนอก (อชฺฌตฺติกพาหิรโต)

โดยเป็นสภาพหยาบและละเอียด (โอฬาริกสุขุมโต)

โดยเป็นธรรมทรามและประณีต (หีนปณีตโต)

โดยเป็นธรรมไกลและใกล้ (ทูรสนฺติกโต)

โดยปัจจัย (ปจฺจยโต)

โดยสมุฏฐาน (สมฺฏฐานโต)

โดยความสำเร็จ (ปรินิปฺผนฺนโต)

โดยเป็นของปรุงแต่ง (สขตโต)

ว่าโดยการเกิดขึ้นครั้งแรกของขันธ์ ๕

บรรดาปกิณกะเหล่านั้น คำว่า โดยการเกิดขึ้นครั้งแรก นี้

การเกิดขึ้นครั้งแรกมี ๒ อย่างคือ การเกิดขึ้นครั้งแรกของคัพภไสยกสัตว์ และ

การเกิดขึ้นครั้งแรกของโอปปาติกสัตว์ บรรดาการเกิด ๒ อย่างนั้น พึงทราบ

การเกิดขึ้นครั้งแรกของคัพภไสยกสัตว์อย่างนี้

จริงอยู่ขันธ์ ๕ ของพวกคัพภไสยกสัตว์ย่อมปรากฏพร้อมกันไม่หลัง

ไม่ก่อนกันในขณะปฏิสนธิ. ข้อนี้ท่านกล่าวว่า ความสืบต่อแห่งรูป กล่าวคือ

กลละที่ปรากฏในขณะนั้น เป็นของนิดหน่อยมีเพียงแมลงวันตัวน้อยจะพึงดื่มได้

ด้วยความพยายามครั้งเดียวเท่านั้น แล้วยังกล่าวอีกว่า นั่นก็ยังมากเกินไป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

คือมันเป็นเพียงหยาดที่ไหลออกตรงปลายของเข็มละเอียดที่เขาจุ่มในน้ำมันแล้ว

ยกขึ้น ดังนี้. แม้หยาดน้ำนั้นนั่นท่านก็ปฏิเสธแล้วกล่าวว่า เมื่อเขาจับผม

เส้นหนึ่งยกขึ้นจากน้ำมันแล้วก็เป็นเพียงหยาดน้ำที่ไหลออกตรงปลายผมเส้นนั้น

ดังนี้ แม้หยาดน้ำนั้นท่านก็ปฏิเสธแล้วกล่าวว่า เมื่อผ่าเส้นผมของมนุษย์ชาว

ชนบทนี้ออกเป็น ๘ ส่วน เส้นผมของชาวอุตตรกุรุทวีปมีประมาณเท่าส่วนหนึ่ง

แต่ ๘ ส่วนนั้น กลละนั้นก็เป็นเพียงหยาดที่ตั้งอยู่ตรงปลายผมของมนุษย์ชาว

อุตตรกุรุทวีปนั้นที่เขายกขึ้นจากน้ำมันงาใส ดังนี้ แม้น้ำมันงาใสนั้นท่านก็ปฏิเสธ

แล้วกล่าวว่า นั่นก็ยังมาก ธรรมดาขนทรายเป็นธรรมชาติละเอียด กลละนั้น

เป็นเพียงหยาดที่ไหลออกตรงปลายของขนเนื้อทรายเส้นหนึ่งที่เขาจุ่มในน้ำมันงา

ใสแล้วยกขึ้น ดังนี้. ก็กลละนี้นั้นใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว บริสุทธิ์ เสนอด้วย

หยาดน้ำมันงาใส ข้อนี้สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ติลเตสสฺส ยถา พินฺทุ สปฺปิมณฺโฑ อนาวิไล

เอว วณฺณปฏิภาค กลลนฺติ ปวุจฺจติ

หยาดน้ำมันงา ใสเหมือนเนยใส

ไม่ขุ่นมัว ฉันใด ท่านกล่าวว่า กลลรูปมีส่วน

เปรียบด้วยรูปพรรณ ฉันนั้น.

ในสันตติรูปเล็กน้อยอย่างนี้ ยังมีสันตติรูปที่เป็นประธาน ๓ กลุ่ม คือ

วัตถุทสกะ ๑ กายทสกะ ๑ ภาวทสกะด้วยอำนาจอิตถินทรีย์ของหญิงและด้วย

อำนาจปุริสินทรีย์ของชาย ๑ บรรดาสันตติรูปทั้ง ๓ กลุ่มเหล่านั้น รูปนี้ คือ

วัตถุรูป ๑ มหาภูติรูป ๔ เป็นที่อาศัยของวัตถุรูปนั้น และวรรณะ คันธะ รสะ

โอชา รวม ๔ ที่อาศัยมหาภูตรูปนั้น และชีวิตรูป ๑ ชื่อว่า วัตถุทสกะ รูปนี้

คือ กายประสาท ๑ มหาภูตรูป ๔ ซึ่งเป็นที่อาศัยของกายประสาทนั้น วรรณะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

คันธะ รสะ โอชา ๔ ซึ่งอาศัยมหาภูตรูปนั้น และชีวิตรูป ๑ ชื่อว่า กายทสกะ

รูปนี้คือ อิตถีภาวะ ของหญิง และปุริสภาวะของชาย ๑ มหาภูตรูป ๔ ซึ่งเป็นที่

อาศัยภาวรูปนั้น วรรณะ คันธะ รสะ โอชา ๔ ซึ่งอาศัยมหาภูตรูปนั้น และชีวิต

รูป ๑ ชื่อว่า ภาวทสกะ. กรรมชรูป (รูปเกิดแต่กรรม) ในปฏิสนธิของคัพภ-

ไสยกสัตว์ กำหนดโดยสูงสุดมี ๓๐ ถ้วน ชื่อว่า รูปขันธ์ ด้วยประการฉะนี้.

ก็เวทนาที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ชื่อว่า เวทนาขันธ์ สัญญา ... ชื่อว่า

สัญญาขันธ์ สังขาร... ชื่อว่า สังขารขันธ์ ปฏิสนธิจิต ชื่อว่า

วิญญาณขันธ์ ขันธ์ ๕ ในขณะปฏิสนธิของคัพภไสยกสัตว์ เป็นสภาพ

บริบูรณ์แล้ว ด้วยประการฉะนี้ แต่ถ้า ปฏิสนธิของบัณเฑาะก์ (นุปสก-

ปฏิสนฺธิ ) ย่อมลดภาวทสกะ มีกรรมชรูป ๒๐ ถ้วน ด้วยอำนาจทสกะทั้ง ๒

ชื่อว่า รูปขันธ์ ธรรมมีเวทนาขันธ์เป็นต้น มีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ

ขันธ์ ๕ ในขณะปฏิสนธิของคัพภไสยกสัตว์ แม้อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ ก็ชื่อว่า

บริบูรณ์แล้ว. ในฐานะนี้ บัณฑิตควรกล่าวประเพณีของรูปที่มีสมุฏฐาน

๓ ด้วย.

ก็ชื่อว่า การเกิดขึ้นครั้งแรกของสัตว์ผู้เป็นโอปปาติกท่านแสดงไว้โดย

มิได้กล่าวถึงประเพณี ๓ นั้น.

จริงอยู่ ในขณะปฏิสนธิของสัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะมีอายตนะบริบูรณ์

คือมีรูปสันตติที่เป็นประธาน ๗ กลุ่ม ได้แก่ กรรมชรูปตามที่กล่าวข้างต้น ๓

และจักขุทสกะ โสตทสกะ ฆานทสกะ ชิวหาทสกะ ย่อมเกิดขึ้น. บรรดา

กรรมชรูป ๗ กลุ่มเหล่านั้น จักขุทสกะเป็นต้น เป็นเช่นกับกายทสกะนั่นแหละ

แต่ภาวทสกะย่อมไม่มีแก่โอปปาติสัตว์ผู้ไม่มีเพศ ด้วยอาการอย่างนี้ กรรมชรูป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

ที่ชื่อว่า รูปขันธ์ ของโอปปาติกสัตว์ที่มีอายตนะบริบูรณ์จึงมี ๗๐ ถ้วนบ้าง

๖๐ ถ้วนบ้าง ธรรมมีเวทนาขันธ์เป็นต้นก็มีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นเอง

ขันธ์ ๕ ในขณะปฏิสนธิของโอปปาติกย่อมบริบูรณ์แล้วด้วยประการฉะนี้. นี้

ชื่อว่า การเกิดขึ้นครั้งแรกของโอปปาติกสัตว์.

พึงทราบขันธ์ ๕ โดยการเกิดขึ้นครั้งแรกอย่างนี้ก่อน.

ว่าโดยการเกิดก่อนและหลัง

คำว่า โดยการเกิดก่อนและหลัง มีคำถามว่า ก็ขันธ์ ๕ ของ

คัพภไสยกสัตว์ที่เกิดขึ้นไม่ก่อนและหลังอย่างนี้ รูปย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้นก่อนหรือ

หรืออรูปย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้นก่อน. ตอบว่า รูปนั่นเองย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้น

อรูปหาได้ยังรูปให้เกิดขึ้นไม่ เพราะเหตุไร ? เพราะความที่ปฏิสนธิจิตยังรูป

ให้เกิดขึ้นไม่ได้.

จริงอยู่ จิต ๑๖ ดวง คือ ปฏิสนธิจิตของสัตว์ทั้งหมด ๑ จุติจิต

ของพระขีณาสพ ๑ ทวีปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวิปากจิต ๔ ยังรูปให้

ตั้งขึ้นไม่ได้.

บรรดาจิต ๑๖ ดวงเหล่านั้น ปฏิสนธิจิตก่อน ย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้น

ไม่ได้ เพราะวัตถุทุรพล ๑ เพราะความไม่ตั้งมั่น ๑ เพราะมีปัจจัยบกพร่อง ๑

เพราะเป็นจิตจรมาใหม่ ๑. ด้วยว่าบรรดาเหตุ ๔ เหล่านั้น วัตถุที่เกิดพร้อมกับ

ปฏิสนธิจิตเป็นสภาพทุรพลในขณะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตนั้น จึง

ชื่อว่า ยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้ เพราะความที่วัตถุเป็นของทุรพล.

อนึ่ง บุรุษที่กำลังตกไปในเหวย่อมไม่อาจเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ฉันใด

จิตแม้นี้ก็ฉันนั้น เป็นจิตไม่ตั้งมั่นเป็นเหมือนกำลังตกไปในเหว เพราะถูกกรรม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

ซัดไป เพราะเหตุนั้น ปฏิสนธิจิตนั้น จึงชื่อว่า ยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้แม้เหตุ

ที่ไม่ตั้งมั่นเพราะถูกกรรมซัดไป ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลังกับวัตถุ (รูป) วัตถุของปฏิสนธิ

จิตนั้น จึงไม่อาจเป็นปัจจัย (ปุเรชาตปัจจัย) ที่เกิดก่อน แต่ถ้าพึงอาจ ก็จะ

พึงยังรูปให้ตั้งขึ้น แม้ในขณะที่วัตถุซึ่งเกิดก่อนอาจเพื่อเป็นปัจจัย เป็นประเพณี

สืบต่ออยู่นั้น จิตที่ไม่เสื่อมจากส่วนประกอบเท่านั้น จึงยังรูปให้เกิดขึ้น

จริงอยู่ ถ้าจิตยังรูปให้ตั้งขึ้นให้ในขณะตั้งอยู่ หรือในภังคขณะ แม้ปฏิสนธิจิต

ก็จะพึงยังรูปให้ตั้งขึ้นได้ แต่ว่าจิตย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้นในขณะทั้งสองนั้นไม่ได้.

เหมือนอย่างกลุ่มเห็ดเมื่อผุดขึ้นจากแผ่นดินย่อมพาเอาผงฝุ่นติดมาด้วย ฉันใด

จิตก็ฉันนั้น อาศัย (อัญญมัญญนิสสยะ) วัตถุที่เกิดก่อน (เกิดครั้งแรก)

แล้วถือเอารูป ๘ อย่างตั้งขึ้นในอุปาทขณะ แต่รูป (วัตถุ) ที่เกิดก่อน (ครั้ง

แรก) ในขณะปฏิสนธิไม่อาจเป็นปัจจัยได้ เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิต จึงชื่อว่า

ยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้แม้เพราะความบกพร่องแห่งปัจจัย.

อนึ่ง บุคคลผู้มาใหม่ถึงประเทศที่ตนยังไม่เคยมาย่อมไม่อาจพูดแก่คน

อื่น ๆ ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ พวกท่านจงมาในบ้านเถิด ข้าพเจ้าจักให้ข้าวน้ำ

ของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้นแก่พวกท่าน ดังนี้ เพราะความที่บ้านนั้น

ไม่ใช่วิสัย (คือไม่อยู่ในอำนาจ) ของตน เพราะความที่ตนมิได้เป็นใหญ่ใน

บ้านนั้น ฉันใด ปฏิสนธิจิตเป็นจิตจรมาใหม่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น

ปฏิสนธิจิตนั้นจึงยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้ เพราะความที่เป็นผู้มาใหม่. อีกอย่างหนึ่ง

กรรมชรูป ๓๐ ถ้วนถือเอาฐานแห่งรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานตั้งอยู่แล้ว เพราะ

ฉะนั้น ปฏิสนธิจิตจึงไม่ยังรูปให้ตั้งขึ้น.

ก็จุติจิตของพระขีณาสพก็ไม่ยังรูปให้ตั้งขึ้นเพราะมูลแห่งวัฏฏะของท่าน

สงบแล้ว จริงอยู่พระขีณาสพนั้นมีมูลแห่งวัฏฏะในภพทั้งปวงสงบแล้ว ไม่ควร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

เกิดขึ้น ชื่อว่า เชื้อสายการเกิดขึ้นอีก มิได้มี. แต่พระโสดาบันเว้น ๗ ภพ

ภพที่ ๘ ของท่านมีมูลแห่งวัฏฏะนั้นสงบแล้ว เพราะฉะนั้น จุติจิตของพระ-

โสดาบันนั้น จึงยังรูปให้ตั้งขึ้นได้ ๗ ภพ. ของพระสกทาคามียังรูปให้ตั้งขึ้น

ได้ ๒ ภพ ของพระอนาคามียังรูปให้ตั้งขึ้น ๑ ภพ จุติจิตของพระขีณาสพ

ยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้เลย เพราะความที่มูลแห่งวัฏฏะในภพทั้งปวงสงบแล้ว.

อนึ่ง องค์ฌานในทวิปัญจวิญญาณทั้งหลาย ไม่มี องค์มรรคก็ไม่มี

เหตุก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ส่วนประกอบ (องค์) ของจิตย่อมเป็นสิ่งทุรพล

เหตุนั้นทวิปัญจวิญญาณแม้เหล่านั้น จึงยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้เพราะความที่องค์

ของจิตเป็นสภาพทุรพล.

อรูปวิปากจิต ๔ ย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้เพราะรูปในภพนั้นไม่มี มิใช่

อรูปวิปากจิต ๔ เท่านั้นที่ยังรูปมิให้เกิดขึ้น แม้จิตอื่น ๆ ๔๒ ดวง คือ

กามาวจรกุศลจิต ๘ อกุศลจิต ๑๐ กิริยาจิต ๙ อรูปกุศลจิต ๔ อรูปกิริยาจิต ๔

มรรคจิต ๓ ผลจิต ๔ ซึ่งเกิดในภพนั้น ก็ยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้เพราะความที่ใน

อรูปภพนั้นไม่มีรูป ปฏิสนธิจิตย่อมให้รูปตั้งขึ้นไม่ได้ ด้วยประการฉะนี้.

ก็อุตุย่อมให้รูปแรกตั้งขึ้น ถามว่า ชื่อว่า อุตุนี้คืออะไร ตอบว่า

เตโชธาตุในภายในกรรมชรูป ๓๐ ถ้วนที่เกิดขึ้นในขณะปฏิสนธิ. เตโชธาตุนั้น

ถึงฐานะแล้วก็ยังรูป ๘ อย่างให้ตั้งขึ้น. อนึ่ง ขึ้นชื่อว่า อุตุนี้ดับช้า จิตดับเร็ว

เมื่ออุตุรูปยังทรงอยู่นั่นแหละ จิตก็เกิดดับถึง ๑๖ ดวง บรรดาจิต ๑๖ ดวงนั้น

ภวังคจิตดวงแรกซึ่งถัดจากปฏิสนธิจิตยังรูป ๘ อย่าง ให้ตั้งขึ้นในอุปาทขณะ

ทีเดียว แต่เมื่อใดจักมีการเกิดขึ้นแห่งเสียง เมื่อนั้น อุตุรูปและจิตก็ยังรูปชื่อว่า

สัททนวกะ (รูปเกิดแต่เสียงมี) จักให้ตั้งขึ้น. แม้กพฬิงการาหารถึงฐานะ

แล้วก็ยังรูป ๘ อย่างให้ตั้งขึ้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

ถามว่า กพฬิงการาหารของคัพภไสยกสัตว์นั้นจักมาแต่ที่ไหน

ตอบว่า จักมาแต่มารดา

แม้ข้อนี้ ก็สมกับพระดำรัสที่ตรัสว่า*

ยญฺจสฺส ภุญฺชติ มาตา อนฺนปานญฺจ โภชน

เตน โส ตตฺถ ยาเปติ มาตุ กุจฺฉิคโต นโร

มารดาของสัตว์ในครรภ์นั้นบริโภค

ข้าวน้ำโภชนะอย่างใด นระผู้อยู่ในท้องของ

มารดานั้น ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหาร

นั้นในครรภ์นั้น.

ทารกผู้อยู่ในครรภ์ย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชาแห่งข้าวและน้ำที่

มารดากลืนเข้าไป ด้วยประการฉะนี้. โอชานั้นถึงฐานะเป็นที่ตั้งอยู่แล้วก็ยังรูป

๘ อย่างให้ตั้งขึ้น.

ถามว่า ก็โอชานั้นเป็นของหยาบ วัตถุเป็นของละเอียดมิใช่หรือ จะ

ดำรงอยู่ในวัตถุนั้นได้อย่างไร ตอบว่า ครั้งแรกยังไม่ดำรงอยู่ก่อน แต่เมื่อ

เวลาผ่านไปสักหนึ่งหรือสองสัปดาห์ จึงดำรง แต่โอชานั้นจะดำรงอยู่ก่อน

หรือหลังก็ตามจากเวลานั้น. เมื่อใดโอชาแห่งข้าวและน้ำของนั้น ๆ ที่มารดา

กลืนกินก็จะดำรงอยู่ในสรีระของทารก เมื่อนั้นรูป ๘ ก็ตั้งขึ้น.

แม้โอปปาติกสัตว์ผู้เกิดในที่มีขาทนียะและโภชนียะอันวิบากตกแต่งไว้

ตามปรกติ เมื่อถือเอาอาหารเหล่านั้นกลืนกินอยู่ พอโอชาตกถึงที่เป็นที่ตั้งอยู่

ก็ยังรูปให้ตั้งขึ้น. โอปปาติกสัตว์บางคนเกิดในป่าไม่มีข้าวและน้ำมีความหิว-

โหยมากจึงเอาลิ้นตะล่อมเขฬะกลืนเข้าไป พอโอชาก็ที่เป็นที่ตั้งอยู่ของ

โอปปาติกสัตว์นั้นก็ยังรูปให้ตั้งขึ้นแม้ในที่นั้น ด้วยอาการอย่างนี้ ในบรรดารูป

* ส. สคาถวคฺค เล่ม ๑๕ ๘๐๓/๓๐๓

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

๒๕ โกฏฐาส (ส่วน) รูป ๒ อย่างคือ เตโชธาตุ และกพฬิงการาหาร เท่านั้น

ย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้น แม้ในอรูป (คือนามธรรม) เล่า ธรรมคือจิตและเจตนากรรม

๒ เท่านั้นย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้น. ในบรรดารูปธรรมและนามธรรมเหล่านั้น รูป

เป็นสภาพทุรพลในอุปาทขณะ และภังคขณะ เป็นสภาพมีกำลังในขณะตั้งอยู่

เพราะฉะนั้น รูปที่มีกำลังนั้นจึงให้รูปตั้งขึ้นในขณะแห่งการตั้งอยู่ (ฐีติขณะ).

จิตเป็นสภาพทุรพลในขณะตั้งอยู่. (ฐิติขณะ) และในภังคขณะ มีกำลังใน

อุปาทขณะทีเดียว เพราะฉะนั้น จิตนั้นจึงยังรูปให้ตั้งขึ้นในอุปาทขณะเท่านั้น.

เจตนากรรมดับไปแล้วจึงเป็นปัจจัยได้. เพราะกรรมที่บุคคลกระทำไว้แล้ว

ในอดีตแม้ในที่สุดแสนโกฏิกัปก็เป็นปัจจัยในบัดนี้ได้ กรรมที่ทำในบัดนี้ก็จะ

เป็นปัจจัยในอนาคตแม้ในที่สุดแสนโกฏิกัปแล.

พึงทราบขันธ์ ๕ โดยการเกิดก่อนและหลังดังพรรณนามาฉะนี้.

ว่าโดยกำหนดกาลของขันธ์ ๕

คำว่า โดยกำหนดกาล นี้ ถามว่า รูปตั้งอยู่นานเท่าไร อรูป

(นาม) ตั้งอยู่นานเท่าไร ? ตอบว่า รูปมีการเปลี่ยนแปลงนาน ดับก็ช้า

อรูป (นาม) เปลี่ยนแปลงเร็ว ดับก็รวดเร็ว เมื่อรูปยังคงทรงอยู่นั่นแหละ

จิตเกิดดับไป ๑๖ ดวง ก็แต่ว่ารูปนั้นจะดับพร้อมกับจิตดวงที่ ๑๗ เปรียบ

เหมือนบุรุษคิดว่า เราจักให้ผลไม้ตก จึงเอาไม้ค้อนฟาดกิ่งไม้ผลทั้งหลาย

และใบทั้งหลายก็พึงหลุดจากขั้วพร้อมกันทีเดียว บรรดาผลและใบเหล่านั้น

ผลทั้งหลายย่อมตกถึงดินก่อนกว่า เพราะความที่ผลเป็นของหนัก ใบทั้งหลาย

ก็พึงตกไปในภายหลัง เพราะความเป็นของเบา ฉันใด ความปรากฏแห่งรูป-

ธรรมและอรูปธรรมในขณะเดียวกันในปฏิสนธิ ดุจเวลาที่ใบและผลทั้งหลาย

หลุดจากขั้วในขณะเดียวกันโดยการฟาดด้วยไม้ค้อน ฉันนั้นเหมือนกัน การที่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

รูปยังทรงอยู่นั่นแหละจิตก็เกิดดับไป ๑๖ ดวงดุจการที่ผลตกลงสู่พื้นดินก่อนกว่า

เพราะความที่ผลเป็นของหนัก การที่รูปดับพร้อมกับจิตดวงที่ ๑๗ ดุจการที่ใบ

ตกไปถึงพื้นดินในภายหลัง เพราะความที่ใบทั้งหลายเป็นของเบา.

บรรดารูปและจิตเหล่านั้น ถึงรูปดับช้าเปลี่ยนแปลงนาน จิตดับเร็ว

เปลี่ยนแปลงเร็วก็จริง ถึงอย่างนั้น รูปละทิ้งอรูป (นาม) แล้วก็ไม่อาจ

เป็นไปได้ หรืออรูปละทั้งรูปแล้วก็ไม่อาจเป็นไปได้ ความเป็นไปของรูปและ

อรูปแม้ทั้ง ๒ มีประมาณเท่ากันทีเดียว ในข้อนี้พึงทราบอุปมาดังต่อไปนี้.

บุรุษคนหนึ่งมีเท้าสั้น คนหนึ่งมีเท้ายาว เมื่อคนทั้ง ๒ นั้นเดินทาง

ร่วมกัน คนเท้ายาวก้าวเท้าครั้งหนึ่ง คนเท้าสั้นนอกนี้จะก้าวเท้าไป ๑๖ ก้าว

ในการก้าวไปครั้งที่ ๑๖ ของคนเท้าสั้น คนเท้ายาวก็จะชักเท้าของตนดึงมา

กระทำท้าวให้ก้าวไปพร้อมกัน ด้วยประการฉะนี้ แม้คนหนึ่งก็ไม่อาจเลย

คนหนึ่งไปได้ การไปของคนแม้ทั้ง ๒ จึงชื่อว่า มีประมาณเท่ากันนั่นแหละ

ฉันใด ข้ออุปไมยนี้พึงเห็นฉันนั้น. ด้วยว่า อรูปเหมือนคนเท้าสั้น รูปเหมือน

คนเท้ายาว. เมื่อรูปยังทรงอยู่นั่นแหละ จิตในอรูป (นาม) ธรรมก็เกิดดับ

๑๖ ดวง เหมือนเวลาที่คนเท้ายาวก้าวไปครั้งหนึ่ง คนเท้าสั้นนอกนี้ก้าวไป

๑๖ ครั้ง. การที่รูปดับพร้อมกับจิตดวงที่ ๑๗ เหมือนบุคคลเท้าสั้นชักเท้า

ของตนดึงมา ๑๖ ก้าว บุรุษเท้ายาวก้าวไป ๑ ก้าวฉะนั้น การที่อรูปไม่ละรูป

รูปไม่ละอรูปเป็นไปโดยประมาณเท่ากัน เหมือนการที่บุรุษ ๒ คน ไม่ทิ้ง

ซึ่งกันและกันเดินไปโดยประมาณพร้อมกันนั่นแหละดังนี้แล.

พึงทราบขันธ์ ๕ โดยการกำหนดกาลอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

ว่าโดยเกิดขณะเดียวกันแต่ดับต่างขณะกัน

คำนี้ว่า การเกิดขณะเดียวกัน แต่ดับต่างขณะกัน (ของขันธ์ ๕)

นี้ บัณฑิตพึงแสดงเว้นกรรมชรูปดวงสุดท้าย* จริงอยู่ปฏิสนธิเป็นจิตดวงที่

หนึ่ง จิตดวงที่ ๒ เป็นภวังค์ ดวงที่ ๓ ก็เป็นภวังค์ ฯลฯ ดวงที่ ๑๖ ก็เป็น

ภวังค์. ในบรรดาจิต ๑๖ ดวงเหล่านั้น แต่ละดวงมี ๓ ขณะด้วยอำนาจอุปาทขณะ

ฐีติขณะ และภังคขณะ ในขณะแห่งจิตทั้ง ๓ เหล่านั้น จิตแต่ละดวงมีกรรมชรูป

เกิดขึ้นขณะละ ๓๐ รูปถ้วน บรรดากรรมชรูปเหล่านั้น กรรมชรูปตั้งขึ้นใน

อุปาทขณะของปฏิสนธิจิตย่อมดับในอุปาทขณะของภวังคจิตดวงที่ ๑๗ ทีเดียว.

กรรมชรูปทั้งขึ้นในฐีติขณะของปฏิสนธิจิตจะดับในฐีติขณะของภวังคจิตดวงที่

๑๗ นั่นแหละ. กรรมชรูปที่ตั้งขึ้นในภังคขณะของปฏิสนธิจิตจะดับในภังคขณะ

ของภวังคจิตดวงที่ ๑๗ นั่นแหละ.

ด้วยอาการอย่างนี้ พึงทำภวังคจิตดวงที่ ๒ (ปฏิสนธิจิตเป็นที่ ๑)

ประกอบกับจิตดวงที่ ๑๗ ของตน ๆ นั่นแหละแล้วขยายนัยไป. จิต ๑๖ ดวง

มีกรรมชรูปดวงละ ๓ รวมกรรมชรูป ๔๘ รูป ด้วยประการฉะนี้. นี้ชื่อว่า

ประเพณี คือ เชื้อสายของกรรมชรูป ๔๘ รูป. ก็ประเพณี คือ เชื้อสายของ

กรรมชรูป ๔๘ รูปนี้นั้นย่อมเป็นไปแม้แก่ผู้กำลังเคี้ยวกิน แม้แก่ผู้บริโภค

แม้แก่ผู้หลับ แม้แก่ผู้ประมาททั้งกลางคืนและกลางวัน เหมือนกระแสแห่ง

แม่น้ำกำลังเป็นไปอยู่ฉะนั้นแล.

พึงทราบความที่ขันธ์ ๕ มีการเกิดขณะเดียวกัน ดับต่างขณะกันอย่างนี้.

* กรรมชรูปดวงสุดท้ายนั้น คือ นับกรรมชรูปตั้งแต่ปฏิสนธิจิตไป ๑๗ ขณะจิตภังคขณะของจิต

ดวงนี้ดับพร้อมกับกรรมชรูป (ดูปริเฉท ๔ นามวิถีและรูปวิถี)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

ว่าด้วยการเกิดต่างขณะดับขณะเดียวกัน

คราวที่ขันธ์ ๕ เกิดต่างระดับขณะเดียวกัน บัณฑิตพึงแสดงด้วย

กรรมรูปซึ่งเกิดหลังปฏิสนธิจิต ในบรรดากรรมชรูปเหล่านั้น เมื่อมีวาระจิต

๑๖ ดวงที่สุดแห่งอายุสังขาร ก็พึงประกอบกรรมชรูปเป็น ๒ พวก คือ

กรรมชรูปที่เกิดกับจิต ๑๖ ดวงข้างต้น กับกรรมชรูปที่เกิดกับจิต ๑๖ ดวง

ข้างปลาย รวมเป็นอันเดียวกัน คือ กรรมชรูป ๓๐ ถ้วนที่ตั้งขึ้นในอุปาทขณะ

ของปฐมจิตในกรรมชรูปที่เกิดกับจิต ๑๖ ดวงข้างนี้ข้างต้น ย่อมดับในอุปาทขณะ

ของปฐมจิตในกรรมชรูปที่เกิดกับจิต ๑๖ ดวงเบื้องปลายนั่นแหละ.

กรรมชรูป ๓๐ ถ้วน ที่ตั้งขึ้นในฐิติขณะแห่งปฐมจิตเบื้องต้น ย่อมดับ

ไปในฐิติขณะของปฐมจิตเบื้องปลายนั่นเอง. กรรมชรูป ๓๐ ถ้วนที่ตั้งขึ้นใน

ภังคขณะของปฐมจิตเบื้องต้น ย่อมดับไปในภังคขณะของปฐมจิตเบื้องปลาย

เหมือนกัน.

ส่วนกรรมชรูป ๓๐ ถ้วน ที่ตั้งขึ้นในอุปาทขณะของ (ภวังค) จิต

ดวงที่ ๒ (ชึ่งเกิดดับต่อกันมา) ฯลฯ ของจิตดวงที่ ๑๖ ในกรรมชรูปซึ่งเกิด

แต่จิต ๑๖ ดวงข้างต้น ย่อมดับไปในอุปาทขณะของจุติจิตทีเดียว. ที่เกิดใน

ฐิติขณะของจิตดวงที่ ๒ นั้น ย่อมดับไปในฐิติขณะของจิตนั่นแหละ ที่เกิด

ในภังคขณะของจิตดวงที่ ๒ นั้น ก็ดับไปในภังคขณะของจุติจิตเหมือนกัน

เบื้องหน้าแต่นั้น การสืบต่อของกรรมชรูปย่อมไม่เป็นไป ถ้าหากจะเป็นไป

อีกไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะพึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่สิ้น ไม่เสื่อม ไม่แก่ ไม่ตาย.

อนึ่ง ในการดับในภังคขณะของจุติจิตนี้ คำว่า รูปที่เกิดขึ้นในอุปาทขณะ

ของจิตดวงหนึ่ง ย่อมดับไปในอุปาทขณะของจิตดวงอื่น โดยนัยมีอาทิว่า รูปนี้

ย่อมดับไปในอุปาทขณะของภวังคจิตดวงที่ ๑๗ ดังนี้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้เพราะมา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

ในอรรถกถานั้น ย่อมผิดจากพระบาลีนี้ว่า ยสฺส กายสโร นิรุชฺฌติ

ตสฺส จิตฺตสขาโร นิรุชฺฌตีติ อามนฺตา กายสังขารกำลังดับแก่บุคคลใด

จิตตสังขารก็กำลังดับแก่บุคคลนั้นหรือ ? ตอบว่า ถูกแล้ว ดังนี้. ผิดอย่างไร ?

ก็เพราะกายสังขารคือลมอัสสาสะและปัสสาสะมีจิตเป็นสมุฏฐาน. ก็รูปที่มีจิตเป็น

สมุฏฐาน เกิดขึ้นในอุปาทขณะของจิตแล้วย่อมตั้งอยู่จนกระทั่งจิต ๑๖ ดวงอื่น

เกิดขึ้น ย่อมดับไปพร้อมกับจิตดวงสุดท้ายทั้งหมดแห่งจิต ๑๖ ดวงเหล่านั้น

เพราะฉะนั้น กายสังขารนั้นเกิดพร้อมกับจิตใดก็ดับพร้อมกับจิตดวงที่ ๑๗ จำเดิม

แต่จิตนั้น มิใช่ดับในอุปาทขณะ หรือฐิติขณะของจิตไร ๆ แม้จะเกิดในฐิติขณะ

หรือภังคขณะก็หาไม่ นี้เป็นธรรมดาของรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อามนฺตา (ถูกแล้ว) ดังนี้ เพราะดับในขณะ

เดียวกันกับจิตสังขารโดยแน่นอน.

ก็การกำหนดขณะ (ขณะนิยม) ของรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานที่ข้าพเจ้า

กล่าวนี้เป็นการกำหนดขณะ (ขณะนิยม) แม้แก่รูปที่มีกรรมเป็นต้นเป็นสมุฏฐาน

นี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงประกอบเนื้อความในอธิการนี้โดยนัยนี้

เท่านั้นว่า กรรมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ย่อมดับพร้อมกับจิตดวงที่ ๑๗

จำเดิมแต่ปฏิสนธินั้น. กรรมชรูปที่เกิดในฐิติขณะของปฏิสนธิจิต ย่อมดับไปใน

อุปาทขณะของจิตดวงที่ ๑๘. กรรมชรูปที่เกิดในภังคขณะของปฏิสนธิจิตถึง

ขณะตั้งอยู่ของจิตดวงที่ ๑๘ แล้วก็ดับไป ดังนี้. ก็เบื้องหน้าแต่นี้ไป การสืบต่อ

ของรูปที่มีอุตุเป็นสมุฏฐานเท่านั้นย่อมดำรงอยู่ในสรีระนั้น สรีระย่อมเป็นของ

อันบุคคลพึงกล่าวว่า พวกท่านจงเอาสรีระนี้ไปเผาเถิด ดังนี้. พึงทราบความ

ที่ขันธ์ ๕ เกิดต่างขณะกันดับขณะเดียวกัน ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

ว่าด้วยเกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน

ก็คำว่า โดยการเกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน ความว่า รูปเกิด

พร้อมกับรูป ดับพร้อมกับรูป อรูปเกิดพร้อมกับอรูป ดับพร้อมกับอรูป พึง

ทราบความที่ขันธ์ ๕ เกิดพร้อมกัน และดับพร้อมกัน ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยเกิดต่างขณะกันดับต่างขณะกัน

ก็ความที่ขันธ์ ๕ เกิดต่างขณะกันดับต่างขณะกันบัณฑิตพึงแสดงด้วย

สันตติรูป ๔* จริงอยู่ สันตติรูปทั้ง ๔ ในส่วนนั้น ๆ ของสรีระนี้เบื้องบน

แต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมามีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ ย่อมเป็นไป

โดยความเป็นกลุ่มเป็นก้อน. เมื่อสันตติรูป ๔ แม้นั้นเป็นไปอย่างนี้ ก็พึง

กำหนดความที่รูปเหล่านั้นมีความเกิดเป็นต้นไม่ได้ เหมือนแถวปลวกหรือ

แถวมดแดง เมื่อบุคคลแลดูอยู่ก็จะเป็นดุจเนื่องเป็นอันเดียวกัน แต่

มิได้เนื่องเป็นอันเดียวกัน เพราะในที่ใกล้ศีรษะของมดตัวหนึ่งจะมี

ศีรษะบ้าง ท้องบ้าง เท้าบ้างของมดตัวอื่น ๆ ในที่ใกล้ท้องของมด

ตัวหนึ่งจะมีศีรษะบ้าง ท้องบ้าง เท้าบ้างของมดตัวอื่น ๆ ในที่ใกล้

เท้าของมดตัวหนึ่งก็จะมีศีรษะบ้าง ท้องบ้าง เท้าบ้าง ของมดตัวอื่น ๆ

ฉันใด แม้สันตติรูป ๔ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ในอุปาทขณะของสันตติรูป

หนึ่งจะมีอุปาทะบ้าง ฐิติบ้าง ภังคะบ้าง ของสันตติรูปอื่น ๆ ในฐิติขณะของ

สันตติรูปหนึ่งจะมีอุปาทะบ้าง ฐิติบ้าง ภังคะบ้างของสันตติรูปอื่น ๆ ในภังค-

ขณะของสันตติรูปหนึ่งจะมีอุปาทะบ้าง ฐิติบ้าง ภังคะบ้างของสันตติรูปอื่น ๆ.

พึงทราบความที่ขันธ์ ๕ เกิดต่างขณะกันดับต่างขณะกันในสันตติรูป ๔ นี้ด้วย

ประการฉะนี้.

* สันตติรูป ๔ คือ กรรมชรูป (รูปเกิดแต่กรรม) ๑ จิตตชรูป (รูปเกิดแต่จิต) ๑ อุตุชรูป

(รูปเกิดแต่อุตุ) ๑ อาหารชรูป (รูปเกิดแต่อาหาร) ๑

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

ว่าด้วยขันธ์ที่เป็นอดีตเป็นต้น

ก็ขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีตเป็นต้นมีทุรทุกะ (รูปไกลรูปใกล้) เป็นที่สุด

มาในพระบาลีทั้งหมด แม้ปัจจัยและสมุฏฐานทั้งหลายข้าพเจ้าก็กล่าวไว้ในหน

หลังโดยนัยมีอาทิว่า กมฺมช กมฺมปจฺจย อุตุสมุฏฺาน* (รูปเกิดแต่กรรม

มีกรรมเป็นปัจจัย มีอุตุเกิดแต่กรรมเป็นสมุฏฐาน) เป็นต้น.

ก็ขันธ์แม้ทั้ง ๕ เป็นของสำเร็จแล้ว แต่กรรมเป็นปัจจัยมีอุตุเกิดแต่

กรรมเป็นสมุฏฐานมิใช่เป็นของไม่สำเร็จแล้ว เป็นสังขตะเท่านั้น มิใช่เป็น

อสังขตะ อีกอย่างหนึ่ง ขันธ์ ๕ นั้นชื่อว่าเป็นของสำเร็จแล้วอย่างนั้นแหละมีอยู่

เพราะบรรดาสภาวธรรมทั้งหลาย พระนิพพานอย่างเดียวเท่านั้นเป็นธรรม

ไม่สำเร็จแต่ปัจจัย เป็นธรรมไม่เกิดขึ้นแล้ว. ก็ถามว่า นิโรธสมาบัติ นาม

และบัญญัติเป็นอย่างไร ? ตอบว่า นิโรธสมาบัติ ใคร ๆ ไม่พึงเรียกว่าเป็น

โลกิยโลกุตระ หรือสังขตอสังขตะ เป็นของสำเร็จแล้วหรือไม่สำเร็จแล้ว แต่ว่า

นิโรธสมาบัตินั้นเป็นของอันบุคคลให้สำเร็จ ไม่ใช่ไม่สำเร็จเพราะเป็นธรรมอัน

พระอริยบุคคลพึงเข้าด้วยสมาบัติ นาม และบัญญัติก็อย่างนั้น เพราะนามและ

บัญญัติแม้นั้นย่อมไม่ได้ชื่ออันต่างด้วยโลกิยะเป็นต้น แต่เป็นสภาพอันบุคคลให้

สำเร็จแล้วมิใช่ไม่ให้สำเร็จแล้ว เพราะเมื่อบุคคลจะตั้งชื่อจึงถือเอาทีเดียวดังนี้แล.

แสดงนัยการวินิจฉัยขันธ์ ๕

นักปราชญ์ครั้นทราบขันธ์ ๕ โดย

ปกิณกะอย่างนี้แล้ว เพื่อความแตกฉาน

แห่งญาณในขันธ์ ๕ เหล่านี้แหละอีก พึงทราบ

นัยแห่งการวินิจฉัยโดยชอบ โดยลำดับ

* พม่าเป็น กมฺมช กมฺมปจฺจย กมฺมปจฺจยอุตุสมุฏาน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

โดยความแปลกกัน โดยไม่หย่อนไม่ยิ่ง โดย

อุปมา โดยพึงเห็นด้วยอุปมา ๒ อย่าง และ

โดยสำเร็จประโยชน์แก่ผู้เห็นอยู่.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลำดับ

ในนัยแห่งการวินิจฉัยทั้ง ๖ เหล่านั้น ลำดับในข้อว่า โดยลำดับ

นี้ มีมากอย่าง คือ

อุปฺปตฺติกฺกโม ลำดับเห่งการเกิด

ปหานกฺกโม ลำดับแห่งการละ

ปฏิปตฺติกฺกโม ลำดับแห่งการปฏิบัติ

ภูมิกฺกโม ลำดับแห่งภูมิ

เทสนากฺกโม ลำดับแห่งเทศนา.

ในลำดับทั้ง ๕ นั้น ลำดับแห่งการเกิดขึ้นมีอาทิอย่างนี้ว่า ปม กลล

โหติ กลลา โหติ อมฺพุท (รูปครั้งแรกเป็นกลละ จากกลละเป็นอัมพุทะ)

ดังนี้. ลำดับแห่งการละมีอาทิอย่างนี้ว่า ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา

ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายที่พึงละโดยโสดาปัตติมรรค

มีอยู่ สภาวธรรมทั้งหลายที่พึงละโดยภาวนา คืออริยมรรคเบื้อง ๓ มีอยู่.

ลำดับแห่งการปฏิบัติมีอาทิอย่างนี้ว่า ศีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ. ลำดับแห่งภูมิ

มีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมเป็นกามาพจร เป็นรูปาพจร. ลำดับแห่งเทศนามี

อาทิอย่างนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ ดังนี้ หรือว่าทานกถา ศีลกถา.

บรรดาลำดับทั้ง ๕ นั้น ในที่นี้ ลำดับแห่งการเกิดขึ้นย่อมไม่ควรก่อน เพราะ

ขันธ์เป็นภาวะไม่เกิดขึ้นโดยการกำหนดความสืบต่อกันมาเหมือนรูปกลละเป็น-

ต้น ลำดับแห่งการละก็ไม่ควร เพราะความที่ขันธ์ที่เป็นกุศลและอัพยากฤตอัน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

พระอริยเจ้าไม่พึงละ ลำดับแห่งการปฏิบัติก็ไม่ควรเพราะขันธ์ที่เป็นอกุศลเป็น

ของไม่พึงปฏิบัติ ลำดับแห่งภูมิก็ไม่ควรเพราะเวทนาเป็นต้นเป็นธรรมนับเนื่อง

ด้วยภูมิ ๔.

แต่ว่า ลำดับแห่งเทศนา ย่อมควรเพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ใคร่ในประโยชน์เกื้อกูลมีพระประสงค์จะทรงเปลื้องเวไนยชนใดผู้ตกไปในการ

ยึดขันธ์ ๕ ว่าเป็นอัตตา จากความยึดถือว่าเป็นอัตตาโดยการแสดงแยก

ฆนะที่ประชุมกัน เพื่อความถือเอาโดยง่ายของชนนั้น จึงทรงแสดงรูปขันธ์

อันหยาบก่อนซึ่งเป็นอารมณ์ของวิญญาณมีจักษุเป็นต้น โดยไม่ต่างกัน. จาก

นั้นก็ทรงแสดงเวทนาอันรู้สึกพร้อมซึ่งมีรูปที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา

เป็นอารมณ์ ทรงแสดงสัญญาที่ถือเอาโดยอาการของอารมณ์เวทนาอย่างนี้ว่า

ย เวทิยติ ต สญฺชานาติ (เสวยอยู่ซึ่งอารมณ์ใดก็จำได้ซึ่งอารมณ์นั้น) ดังนี้

ทรงแสดงสังขารทั้งหลายตัวปรุงแต่งด้วยอำนาจแห่งสัญญา ทรงแสดงวิญญาณ

อันเป็นที่อาศัยและเป็นใหญ่ของขันธ์มีเวทนาเป็นต้นเหล่านั้น. พึงทราบนัยแห่ง

วินิจฉัยโดยลำดับอย่างนี้ก่อน.

ว่าโดยความแปลกกัน

ชื่อว่า โดยความแปลกกัน คือ ความแปลกกันแห่งขันธ์และ

อุปาทานขันธ์ ก็อะไรเล่าเป็นความแปลกกันแห่งขันธ์และอุปาทานขันธ์เหล่านั้น

บรรดาขันธ์เหล่านี้ ขันธ์ทั้งหลายตรัสไว้โดยไม่แปลกกันก่อน. อุปาทานขันธ์

ทั้งหลายตรัสไว้ให้แปลกกัน โดยเป็นขันธ์มีอาสวะและเป็นที่ตั้งของอุปาทาน

เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และ

อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ หรือว่า รูปใกล้ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย นี้เรียกว่า รูปขันธ์ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ฯลฯ

หรือวิญญาณใกล้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ เราเรียกว่า ขันธ์ ๕ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป

อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ หรือรูปใกล้

มีอาสวะเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ คือ รูป

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต

อนาคต หรือปัจจุบัน ฯลฯ หรือวิญญาณใกล้ มีอาสวะเป็นที่ตั้งแห่ง

อุปาทาน ธรรมเหล่านี้ เราเรียกว่า อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ดังนี้.

อนึ่ง ในขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ นามขันธ์ ๔ มีเวทนา

เป็นต้นที่ไม่มีอาสวะก็มี ที่มีอาสวะก็มี ฉันใด รูปขันธ์ย่อมเป็นฉันนั้นหามิได้

ก็เพราะความที่รูปนี้ควรเป็นขันธ์ ด้วยอรรถว่าเป็นกอง ฉะนั้นจึงตรัสไว้ใน

พวกขันธ์ทั้งหลาย และเพราะความที่ขันธ์เหล่านั้นควรเป็นอุปาทานขันธ์ ด้วย

อรรถว่าเป็นกอง และด้วยอรรถว่ามีอาสวะ ฉะนั้น จึงตรัสขันธ์เหล่านั้นไว้ใน

อุปาทานขันธ์ ส่วนนามขันธ์มีเวทนาเป็นต้นที่ไม่มีอาสวะ ตรัสไว้ในพวกขันธ์

ที่มีอาสวะตรัสไว้ในพวกอุปาทานขันธ์ ก็ในข้อว่า อุปาทานขันธ์ นี้ พึงทราบ

เนื้อความอย่างนี้ว่า ขันธ์ที่มีอุปาทานเป็นอารมณ์ ชื่อว่า อุปาทานขันธ์ ดังนี้

แต่ในอธิการนี้ พระองค์ทรงประสงค์รวมขันธ์เหล่านั้น แม้ทั้งหมดว่าเป็นขันธ์

แล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

ว่าโดยความไม่หย่อนไม่ยิ่ง

ก็ข้อว่า โดยความไม่หย่อนไม่ยิ่ง นี้ ถามว่า เพราะเหตุไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสขันธ์ว่ามี ๕ เท่านั้น ไม่หย่อนไม่ยิ่ง ดังนี้. ตอบว่า

เพราะทรงสงเคราะห์สังขตธรรมทั้งหมดที่มีส่วนเสมอกันเข้าเป็นพวกเดียวกัน

เพราะวัตถุเครื่องยึดถือตนและของเนื่องด้วยตนนี้มีขันธ์ ๕ เป็นอย่างยิ่ง และ

เพราะความที่ธรรมอื่น ๆ ก็ไม่นอกจากขันธ์ ๕ นั้น.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงสงเคราะห์สังขตธรรมมีประเภท

มิใช่น้อยเข้าด้วยอำนาจที่มีส่วนเสมอกัน รูปก็เป็นขันธ์หนึ่งด้วยอำนาจการ

สงเคราะห์รูปที่มีส่วนเสมอกันเข้าเป็นพวกเดียวกัน. เวทนาก็เป็นขันธ์หนึ่งด้วย

อำนาจการสงเคราะห์เวทนาที่มีส่วนเสมอกันเข้าเป็นพวกเดียวกัน แม้ในสัญญา

ขันธ์เป็นต้นก็นัยนี้แหละ เพราะฉะนั้น จึงตรัสขันธ์ไว้ ๕ เท่านั้น เพราะทรง

สงเคราะห์สังขตธรรมทั้งหมดที่มีส่วนเสมอกันไว้เป็นพวกเดียวกัน. อนึ่ง วัตถุ

แห่งการยึดถือว่าเป็นตนเป็นของเนื่องด้วยตนนี้ คือ ขันธ์ ๕ นี้มีรูปเป็นต้น

เป็นอย่างยิ่ง ข้อนี้สมกับพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่

ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) อาศัยรูป ยึดมั่นรูป ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เอต มม

เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตา เวทนาย ฯเปฯ สญฺา ฯเปฯ สขาเรสุ

ฯเปฯ วิญฺาเณ สติ วิญฺาณ อุปาทาย วิญฺาณ อภินิวิสฺส

เอว ทิฏฺิ อุปฺปชฺชติ เอต มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตา

(นี้ของเรา เราเป็นนี้ นี้อัตตาของเรา เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่

ฯลฯ เมื่อสังขารทั้งหลายมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ ทิฏฐิ อาศัยวิญญาณ

ยึดมั่นวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า นี้ของเรา เราเป็นนี้ นี้อัตตาของเรา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

ดังนี้. เพราะฉะนั้น จึงตรัสขันธ์ไว้ ๕ เท่านั้น แม้เพราะความที่วัตถุแห่งการ

ยึดถือตนและของเนื่องด้วยตนก็มีขันธ์ ๕ นี้เป็นอย่างยิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมขันธ์

๕ มีศีลขันธ์เป็นต้นอื่น ๆ ใดที่ตรัสไว้ แม้ธรรมขันธ์เหล่านั้น ก็ถึงการรวม

ลงในขันธ์ ๕ นี้ เพราะความที่ธรรมขันธ์นับเนื่องในสังขารขันธ์ เพราะฉะนั้น

จึงตรัสว่า ขันธ์มี ๕ เท่านั้น เพราะความที่ธรรมอื่น ๆ ไม่พ้นจากขันธ์นั้น

พึงทราบนัยแห่งวินิจฉัยโดยไม่หย่อนยิ่ง ด้วยประการฉะนี้.

ว่าโดยความอุปมา

ก็ในข้อว่า โดยความอุปมา นี้ รูปอุปาทานขันธ์ เปรียบเหมือน

โรงพยาบาล เพราะเป็นที่อยู่ของวิญญาณอุปาทานขันธ์ซึ่งเปรียบเหมือนคนป่วย

ด้วยอำนาจแห่งวัตถุ ทวาร และอารมณ์. เวทนาอุปาทานขันธ์เปรียบเหมือน

ความป่วยไข้เพราะเป็นตัวเบียดเบียน. สัญญาอุปาทานขันธ์เปรียบเหมือนสมุฏ-

ฐานของความป่วยไข้ เพราะเป็นแดนเกิดเวทนาที่สัมปยุตด้วยกิเลสมีราคะ

เป็นต้น ด้วยอำนาจกามสัญญาเป็นต้นนั่นแหละ. สังขารอุปาทานขันธ์ เปรียบ

เหมือนการเสพอสัปปายะ เพราะเป็นต้นเหตุแห่งความป่วยไข้ คือ ตัวเวทนา

สมดังที่ตรัสไว้ว่า รูป รูปตฺตาย สงฺขต อภิสงฺขโรนฺติ ฯเปฯ ภิกฺขเว

ตสฺมา สงฺขาราติ วุจฺจนฺติ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า สังขาร เพราะ

อรรถว่า ปรุงแต่งสังขตธรรมคือรูปโดยความเป็นรูป ปรุงแต่งสังขตธรรมคือ

เวทนาโดยความเป็นเวทนา ปรุงแต่งสังขตธรรมคือสัญญาโดยความเป็นสัญญา

ปรุงแต่งสังขตธรรมคือสังขารทั้งหลายโดยความเป็นสังขารปรุงแต่งสังขตธรรม

๑. ส. ขนฺธวาร. เล่มที่ ๑๗ ๔๒๐/๒๕๐

๒. ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

คือวิญญาณโดยความเป็นวิญญาณ. อนึ่ง กายวิญญาณที่เป็นวิบากสหรคตด้วย

ทุกข์เกิดขึ้นแล้ว เพราะทำคือสั่งสมอกุศลกรรมไว้แล้ว เพราะฉะนั้น วิญญาณ

อุปาทานขันธ์ จึงเปรียบเหมือนคนป่วย เพราะความไม่หลุดพ้นด้วยความป่วย-

ไข้คือตัวเวทนา.

อีกอย่างหนึ่ง อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีอุปมาเหมือนบุคคลผู้ท่อง-

เที่ยวไป เหมือนการณะคือเหตุ เหมือนความผิด เหมือนผู้ก่อเหตุ เหมือนผู้มี

ความผิด และเปรียบเหมือนภาชนะ เหมือนโภชนะ เหมือนกับข้าว เหมือน

ผู้เลี้ยงอาหาร เหมือนผู้บริโภค พึงทราบนัยแห่งการวินิจฉัยขันธ์ ๕ โดยความ

อุปมาอย่างนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.

ว่าโดยพึงเห็นด้วยอุปมา ๒ อย่าง

ข้อว่า โดยพึงเห็นด้วยอุปมา ๒ อย่าง นี้ บัณฑิตพึงทราบ

นัยแห่งการวินิจฉัยในขันธ์ ๕ นี้ แม้โดยพึงเห็นด้วยอุปมา ๒ อย่างนี้ คือ

โดยย่อ และโดยพิสดาร.

ก็เมื่อว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ บัณฑิตพึงเห็นโดยความเป็นเหมือน

ข้าศึกผู้เงื้อดาบตามนัยที่ตรัสไว้ในอาสีวิสูปมสูตร โดยเป็นภาระ (ของหนัก)

ด้วยอำนาจภารสูตร โดยความเป็นผู้เคี้ยวกินด้วยอำนาจขัชชนียปริยายสูตร และ

โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นสังขตะ เป็นผู้ฆ่าด้วย

อำนาจยมกสูตร. ส่วนโดยพิสดารในอุปทานขันธ์ ๕ นี้ พึงเห็นรูปเหมือน

ก้อนฟองน้ำ พึงเห็นเวทนาเหมือนต่อมน้ำ พึงเห็นสัญญาเหมือนพยับแดด

๑. ส. ขนฺธวาร เล่ม ๑๗ ๑๕๙/๑๐๖

๒. หน้าจะเทียบดังนี้ว่า รูปเหมือนบุคคลผู้ท่องเที่ยวไป เวทนาเหมือนการทำของบุคคลนั้น

สัญญาเหมือนความผิด (เช่นสัญญาวิปลาส) สังขารเหมือนผู้ก่อเหตุ วิญญาณเห็นผู้มีความ

ผิดได้รับโทษ อย่างไรก็ดีท่านไม่อธิบายไว้ ผู้แปล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

พึงเห็นสังขารทั้งหลายเหมือนต้นกล้วย พึงเห็นวิญญาณเหมือนเล่ห์กล (มายา)

สมดังพระดำรัสที่ตรัสว่า*

เผณุปิณฺโฑปม รูป เวทนา ปุพฺพุฬูปมา

มรีจิกูปมา สญฺา สขารา กทฺทลูปมา

มายูปมญฺจ วิญฺญาณ เทสิตาทิจฺจพนฺธุนา

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอา-

ทิตย์ ทรงแสดงรูปเปรียบดังก้อนฟองน้ำ

เวทนาเปรียบดังต่อมน้ำ สัญญาเปรียบดัง

พยับแดด สังขารทั้งหลายเปรียบดังต้นกล้วย

และวิญญาณเปรียบดังเล่ห์กล.

ในพระบาลีเหล่านั้น พึงทราบความที่อุปาทานขันธ์ ๕ มีรูปเป็นต้น

เป็นเช่นกับก้อนฟองน้ำเป็นต้น อย่างนี้. เหมือนอย่างว่า ก้อนฟองน้ำเป็นของ

ไม่มีสาระ ฉันใด รูปก็ฉันนั้น ไม่มีสาระ เพราะเว้นจากสาระคือความเป็น

ของเที่ยง เว้นจากสาระคือความเป็นของยั่งยืน เว้นจากสาระคือความเป็นอัตตา

โดยแท้. อนึ่ง ก้อนแห่งฟองน้ำนั้นใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะเอาด้วยคิดว่า

เราจักทำบาตรหรือถาดด้วยก้อนแห่งฟองน้ำนี้ แม้ถือเอาได้ก็ไม่ให้สำเร็จ

ประโยชน์นั้น ย่อมแตกทำลายไป ฉันใดรูปก็ฉันนั้น ใคร ๆ ไม่อาจถือเอาว่า

รูปนี้เป็นของเที่ยง ยั่งยืน หรือว่ารูปนี้เป็นเรา เป็นของเรา แม้ถือเอา รูปก็

ไม่ตั้งอยู่อย่างนั้น ย่อมเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นอสุภะ

ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น รูปนั้น จึงเป็นเช่นกับก้อนแห่งฟองน้ำนั่นเทียว.

* ส. ขนฺธวาร. เล่ม ๑๗ ๒๔๗/๑๗๔

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

อนึ่ง ก้อนแห่งฟองน้ำมีช่องน้อยช่องใหญ่เป็นกลุ่มติดกัน ด้วยที่ต่อ

มิใช่น้อย เป็นที่อาศัยอยู่ของสัตว์มีงูน้ำเป็นต้นมาก ฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้น

มีช่องน้อยช่องใหญ่ เป็นกลุ่มติดต่อกันด้วยที่ต่อมิใช่น้อย ตระกูลแห่งกิมิชาติ

๘๐ ตระกูล ย่อมอยู่เป็นหมู่เหล่าในรูปนี้ทีเดียว รูปนั้นนั่นแหละ เป็นเรือน

เกิดบ้าง เป็นเวจกุฎีบ้าง เป็นโรงพยาบาลบ้าง เป็นสุสานบ้าง ของตระกูล

กิมิชาติเหล่านั้น พวกตระกูลกิมิชาติเหล่านั้นจะไม่ถือเอาที่อื่นกระทำการออกจาก

ท้องเป็นต้น รูปนั้นก็ชื่อว่าเป็นเช่นกับก้อนแห่งฟองน้ำ แม้ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ก้อนแห่งฟองน้ำเริ่มต้นมีประมาณเท่าผลพุทราแล้วมีประมาณเท่า

ยอดภูเขาโดยลำดับก็มี ฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้น เริ่มต้นมีประมาณเท่ากลละ

เท่านั้นแล้วมีประมาณวาหนึ่งโดยลำดับก็มี มีประมาณเท่าวัตถุทั้งหลายมียอดภูเขา

เป็นต้นด้วยสามารถแห่งสัตว์มีโค กระบือและช้างเป็นต้นก็มี มีประมาณหลาย

ร้อยโยชน์ด้วยสามารถแห่งสัตว์มีปลาและเต่าเป็นต้น ก็มี รูปนั้นก็ชื่อว่า เป็นเช่น

กับก้อนแห่งฟองน้ำแม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ก้อนแห่งฟองน้ำพอตั้งขึ้นย่อมแตกไปก็มี ตั้งขึ้นไป

หน่อยหนึ่ง ย่อมแตกไปก็มี เมื่อไม่แตกไปในระหว่าง แต่ถึงสมุทรแล้ว

ก็ย่อมต้องแตกไปโดยไม่ต้องสงสัย ฉันใด รูปก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแตกไปใน

คราวเป็นกลละก็มี ย่อมแตกไปในคราวเป็นอัมพุทะเป็นต้นก็มี แต่เมื่อไม่แตก

ไปในระหว่าง ถึงร้อยปีแล้วสำหรับสัตว์ผู้มีประมาณอายุร้อยปี ก็ต้องแตกดับ

ไปโดยแน่แท้ทีเดียว ย่อมเป็นจุณวิจุณไปในปากแห่งความตาย แม้ด้วยอาการ

อย่างนี้ รูปก็ชื่อว่า เป็นเช่นกับก้อนแห่งฟองน้ำ.

อนึ่ง ต่อมน้ำไม่มีแก่น ฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้น ก็ต่อมน้ำนั้น

ไม่มีกำลัง เข้าถึงความเป็นของอันถือเอาไม่ได้ ใคร ๆ ไม่อาจถือเอาต่อมน้ำ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

นั้นเพื่อกระทำแผ่นกระดานหรืออาสนะได้ แม้ถือเอาแล้ว ๆ มันก็จะแตกไป

ทันที ฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้น เป็นของไม่มีกำลัง เป็นของถือเอาไม่ได้

ใคร ๆ ไม่อาจถือเวทนาว่าเที่ยง หรือยั่งยืน แม้ถือเอาแล้ว ๆ ก็ไม่ตั้งอยู่เหมือน

อย่างนั้นได้ เวทนาแม้ที่บุคคลถือเอาไม่ได้อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นเช่นกับต่อมน้ำ.

อนึ่ง ต่อมน้ำ ย่อมเกิดขึ้น และแตกดับไปในหยาดแห่งน้ำนั้น ๆ

เป็นของไม่ตั้งอยู่นาน ฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้น ย่อมเกิดขึ้น และย่อมดับไป

เป็นของไม่ตั้งอยู่นาน คือเวทนานั้นซึ่งบัณฑิตพึงนับได้แสนโกฏิขณะ*เกิดขึ้น

แล้วก็ดับไปในขณะชั่วการดีดนิ้วมือครั้งหนึ่ง.

อนึ่ง ต่อมน้ำอาศัยเหตุ ๔ คือ พื้นน้ำ ๑ หยาดน้ำ ๑ ความเปียก

แห่งน้ำ ๑ ลมกระทบทำให้โปร่ง ๑ จึงเกิดขึ้น. แม้เวทนาก็เช่นนั้น อาศัยเหตุ

๔ อย่าง คือ วัตถุ ๑ อารมณ์ ๑ เครื่องผูกแห่งกิเลส ๑ การกระทบของ

ผัสสะ ๑ เกิดขึ้น เวทนา ชื่อว่า เป็นเช่นกับต่อมน้ำ แม้ด้วยประการฉะนี้.

แม้สัญญา ก็ชื่อว่า เป็นเช่นกับพยับแดด ด้วยอรรถว่า ไม่มีสาระ

และด้วยอรรถว่า เข้าถึงความเป็นของอันบุคคลถือเอาไม่ได้ เพราะใคร ๆ

ไม่อาจถือเอาพยับแดดนั้นมาเพื่อดื่ม หรือเพื่ออาบ หรือเพื่อใส่ให้เต็มภาชนะ

ได้ อีกอย่างหนึ่ง พยับแดดย่อมเปลี่ยนแปรไป คือย่อมปรากฏเหมือนกำลังคลื่น

เกิดขึ้นเอง ฉันใด แม้สัญญาอันต่างโดยสัญญาว่ามีสีเขียวเป็นต้นก็ฉันนั้น ย่อม

ผันแปร เปลี่ยนแปลงไป เพื่อต้องการเสวยอารมณ์ของสีเขียวเป็นต้น.

อนึ่ง พยับแดด ย่อมลวงมหาชน ย่อมให้กล่าวว่า ที่นั้นดูเหมือน

บึงเต็ม เหมือนแม่น้ำเปี่ยม ปรากฏอยู่ ดังนี้ ฉันใด แม้สัญญาก็ฉันนั้น

ย่อมลวง ย่อมให้กล่าวว่า นี้สีเขียว นี้สวยงาม นี้เป็นสุข นี้เที่ยง ดังนี้

* อรรถกถา เอกจฺฉรกฺขเณ โกฏิสตสหสฺสสขา (หน้า ๔๓)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

แม้ในสีเหลืองเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน สัญญาชื่อว่าเป็นเช่นเดียวกับพยับแดด

แม้ด้วยการลวงต่าง ๆ ด้วยประการฉะนี้.

แม้สังขารทั้งหลาย ก็ชื่อว่าเป็นเช่นเดียวกับต้นกล้วย เพราะอรรถว่า

ไม่มีสาระ และด้วยอรรถว่าพึงถือเอาไม่ได้ เหมือนอย่างว่า ใคร ๆ ไม่อาจ

ถือเอาอะไร ๆ จากต้นกล้วยน้อมนำไปทำประโยชน์แก่ทัพสัมภาระทั้งหลาย มี

ไม้กลอนหลังคาเป็นต้น แม้น้อมเข้าไปแล้วก็ไม่เป็นโดยประการนั้น ฉันใด

แม้สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อถือเอาด้วยอำนาจแห่งความเที่ยง

เป็นต้น แม้ถือเอาแล้วก็ไม่เป็นไปโดยประการนั้น.

อนึ่ง ต้นกล้วย ย่อมเป็นที่ประชุมของก้านมาก ฉันใด แม้สังขารขันธ์

ก็เป็นที่ประชุมของธรรมมาก ฉันนั้น. และต้นกล้วยนั้นมีลักษณะต่าง ๆ กัน

คือ สีของก้านใบภายนอกเป็นอย่างหนึ่ง สีของภายใน ๆ ถัดจากนั้นก็อย่างหนึ่ง

ฉันใด แม้สังขารขันธ์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ ทรงประมวลลักษณะของผัสสะ

ไว้อย่างหนึ่งของธรรมมีเจตนาเป็นต้นไว้อย่างหนึ่งแล้วตรัสเรียกว่า สังขารขันธ์

เท่านั้น สังขารขันธ์ ชื่อว่า เป็นเช่นเดียวกับต้นกล้วย แม้ด้วยประการฉะนี้.

แม้วิญญาณ ก็ชื่อว่าเป็นเช่นเดียวกับมายา เพราะอรรถว่าไม่มีสาระ

และอรรถว่า ถือเอาไม่ได้นั่นแหละ เหมือนเล่ห์มายาเป็นของเปลี่ยนแปลง

มีความปรากฏอย่างรวดเร็ว ฉันใด วิญญาณก็ฉันนั้น เพราะวิญญาณนั้นเป็น

ของเปลี่ยนแปลงเร็วกว่า ปรากฏเร็วกว่า แม้กว่าเล่ห์มายานั้น ด้วยว่า มายา

นั้น ย่อมเป็นเหมือนคนมาแล้ว เดินไปแล้ว ยืนอยู่ นั่งอยู่แล้ว ด้วยจิตดวงนั้น

นั่นแหละ แต่จิตในเวลามาก็อย่างหนึ่ง ในเวลาเดินเป็นต้นก็อย่างหนึ่ง แม้

อย่างนี้ วิญญาณ จึงชื่อว่า เป็นเช่นเดียวกับมายา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

อนึ่ง มายาย่อมลวงมหาชนให้ถือเอาวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งว่า นี้ทอง

นี้เงิน นี้แก้วมุกดาเป็นต้น แม้วิญญาณก็ลวงมหาชน ให้ยึดถือกระทำเหมือน

คนกำลังมา กำลังไป ยืนแล้ว นั่งแล้วด้วยจิตดวงนั้นนั่นแหละ แต่จิตในเวลามา

ก็อย่างหนึ่ง ในเวลาเดินเป็นต้นก็อย่างหนึ่ง แม้อย่างนี้วิญญาณก็ชื่อว่าเป็น

เช่นกับมายา.

อนึ่ง ว่าโดยพิเศษ บัณฑิตพึงทราบอัชฌัตติกรูป (รูปภายใน) ที่เป็น

สุภารมณ์ก็ดี ที่เป็นอารมณ์ประเสริฐก็ดี ว่าเป็นอสุภะ (ความไม่งาม) พึงเห็น

เวทนาว่าเป็นทุกข์ เพราะไม่พ้นจากความเป็นทุกข์ทั้ง ๓ พึงเห็นสัญญาและ

สังขารทั้งหลายว่า เป็นอนัตตา เพราะความเป็นของอันบุคคลพึงให้ทรงอยูไม่ได้

พึงเห็นวิญญาณว่า เป็นของไม่เที่ยง เพราะมีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็น

ธรรมดา เมื่อบุคคลเห็นอยู่อย่างนี้ จึงสำเร็จประโยชน์ ก็ความสำเร็จประโยชน์

๒ อย่าง ย่อมมีแก่บุคคลผู้เห็นอยู่ด้วยสามารถแห่งเนื้อความโดยย่อ และโดย

พิสดาร บัณฑิตพึงทราบนัยวินิจฉัยเนื้อความโดยย่อและพิสดารนั้นอย่างไร

คือว่า ว่าโดยย่อก่อน เมื่อบุคคลกำลังเห็นอุปาทานขันธ์ ๕ โดยความเป็น

ข้าศึก มีข้าศึกกำลังเงื้อดาบเป็นต้น ย่อมไม่เดือดร้อนเพราะขันธ์ ๕ ก็เมื่อ

ว่าโดยพิสดาร เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้น โดยความเป็นเช่น

เดียวกับก้อนฟองน้ำเป็นต้น ย่อมไม่เป็นผู้เห็นขันธ์อันไม่มีสาระว่าเป็นขันธ์มี

สาระ.

แต่เมื่อว่าโดยพิเศษ เมื่อเห็นอยู่ซึ่งรูปภายในโดยความเป็นของ

ไม่งามย่อมกำหนดรู้กวฬิงการาหาร ย่อมละวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ย่อม

ข้ามพ้นกาโมฆะ ย่อมพรากจากกามโยคะ เป็นผู้ไม่มีกามาสวะ ย่อมทำลาย

กายคันถะ* คืออภิชฌา ย่อมไม่ยึดมั่นกามุปาทาน. เมื่อเห็นเวทนาโดยความ

* กายคันถะ กิเลสเครื่องผูกกาย กายในที่หมายถึงรูปและนาม (ขันธ์๕)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

เป็นทุกข์ ย่อมกำหนดรู้ผัสสาหาร ย่อมละวิปลาสในทุกข์ว่าเป็นสุข ย่อมข้าม

พ้นภโวฆะ ย่อมพรากจากภวโยคะ เป็นผู้ไม่มีภวาสวะ ย่อมทำลายกายคันถะ

คือพยาบาท ย่อมไม่ยึดมั่นสีลัพพตุปาทาน. เมื่อเห็นสัญญาแห่งสังขารทั้งหลาย

โดยความเป็นอนัตตา ย่อมกำหนดรู้มโนสัญเจตนาหาร ย่อมละวิปลาสในสิ่ง

มิใช่อัตตาว่าเป็นอัตตา ย่อมข้ามพ้นทิฏโฐฆะ ย่อมพรากจากทิฏฐิโยคะ เป็น

ผู้ไม่มีทิฏฐาสวะ ย่อมทำลายกายคันถะคือความยึดมั่นว่า สิ่งนี้จริง ย่อมไม่

ยึดมั่นอัตวาทุปาทาน. เมื่อเห็นวิญญาณโดยความไม่เที่ยง ย่อมกำหนดรู้วิญญา-

ณาหาร ย่อมละวิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ย่อมข้ามพ้นอวิชโชฆะ ย่อม

พรากจากอวิชชาโยคะ เป็นผู้ไม่มีอวิชชาสวะ ย่อมทำลายกายคันถะคือสีลัพพต-

ปรามาส ย่อมไม่ยึดมั่นทิฏฐุปาทาน. เพราะการเห็นขันธ์ ๕ ด้วยอำนาจ

ความเป็นผู้ฆ่าเป็นต้นอย่างนี้มีอานิสงส์มาก ฉะนั้น นักปราชญ์

พึงเห็นขันธ์ทั้งหลายด้วยอำนาจความเป็นผู้ฆ่าเป็นต้นเถิด.

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

อภิธรรมภาชนีย์

[๓๒] ขันธ์ ๕ คือ

๑. รูปขันธ์

๒. เวทนาขันธ์

๓. สัญญาขันธ์

๔. สังขารขันธ์

๕. วิญญาณขันธ์

รูปขันธ์

ในขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน ?

[๓๓] รูปขันธ์หมวดละ ๑ คือ รูปทั้งหมด เป็นเหตุเป็นอเหตุกะ

เป็นเหตุวิปปยุต เป็นสัปปัจจยะ เป็นสังขตะ เป็นรูปเป็นโลกิยะ เป็นสาสวะ

เป็นสัญโญชนิยะ เป็นคันถนิยะ เป็นโอฆนิยะ เป็นโยคนิยะ เป็นนีวรณิยะ

เป็นปรามัฏฐะ เป็นอุปาทานิยะ เป็นสังกิเลสิกะ เป็นอัพยากฤต เป็นอนารัมมณะ

เป็นอเจตสิก เป็นจิตตวิปปยุต เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม เป็นอสังกิลิฏฐ-

สังกิเลสิกะ เป็นนสวิตักกสวิจาระ เป็นนอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกอ-

วิจาระ เป็นนปีติสหคตะ เป็นนสุขสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะ เป็น

เนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เป็น

เนวาจยคามินาปจยคามี เป็นเนวเสกขนาเสกขะ เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร

เป็นนรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร เป็นปริยาปันนะ เป็นนอปริยาปันนะ เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

อนิยตะ เป็นอนิยยานิกะ เป็นอุปปันนฉวิญญาณวิญเญยยะ เป็นอนิจจะ เป็น

ชราภิภูตะ รูปขันธ์หมวดละ ๑ ด้วยประการฉะนี้.

[๓๔] รูปขันธ์หมวดละ ๒ คือ รูปเป็นอุปาทา รูปเป็นอนุปาทา

รูปเป็นอุปาทินนะ รูปเป็นอนุปาทินนะ รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ รูปเป็น

อนุปาทินนุปาทานิยะ รูปเป็นอนิทสัสนะ รูปเป็นอนิทสัสนะ รูปเป็นสัปปฏิฆะ

รูปเป็นอัปปฏิฆะ รูปเป็นอินทรีย์ รูปไม่เป็นอินทรีย์ รูปเป็นมหาภูต รูปไม่เป็น

มหาภูต รูปเป็นวิญญัตติ รูปไม่เป็นวิญญัติ รูปเป็นจิตตสมุฏฐาน รูปไม่เป็น

จิตตสมุฏฐาน รูปเป็นจิตตสหภู รูปไม่เป็นจิตตสหภู รูปเป็นจิตตานุปริวัตติ

รูปไม่เป็นจิตตานุปริวัตติ รูปเป็นอัชฌัตติกะ รูปเป็นพาหิระ รูปเป็นโอฬาริกะ

รูปเป็นสุขุมะ รูปเป็นทูเร รูปเป็นสันติเก ฯลฯ รูปเป็นกวฬิงการาหาร รูป

ไม่เป็นกวฬิงการาหาร รูปขันธ์หมวดละ ๒ ด้วยประการฉะนี้.

[๓๕] รูปขันธ์หมวดละ ๓ คือ อัชฌัตติกรูปเป็นอุปาทา พาหิรรูป

เป็นอุปาทา พาหิรรูปเป็นอนุปาทา อัชฌัตติกรูปเป็นอุปาทินนะ พาหิรรูป

เป็นอุปาทินนะ พาหิรรูปเป็นอนุปาทินนะ อัชฌัตติกรูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ

พาหิรูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ พาหิรรูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ ฯลฯ อัช-

ฌัตติกรูปไม่เป็นกวฬิงการาหาร พาหิรรูปเป็นกวฬิงการาหาร พาหิรรูปไม่เป็น

กวฬิงการาหาร รูปขันธ์หมวดละ ๓ ด้วยประการฉะนี้.

[๓๖] รูปขันธ์หมวดละ ๔ คือ อุปาทารูปเป็นอุปาทินนะ อุปาทารูป

เป็นอนุปาทินนะ อนุปาทารูปเป็นอุปาทินนะ อนุปาทารูปเป็นอนุปาทินนะ

อุปาทารูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ อุปาทารูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ อนุปา-

ทารูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ อนุปาทารูปเป็นอนุปาทานิยะ อุปาทารูปเป็น

สัปปฏิฆะ อุปาทารูปเป็นอัปปฏิฆะ อนุปาทารูปเป็นสัปปฏิฆะ อนุปาทารูปเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

อัปปฏิฆะ อุปาทารูปเป็นโอฬาริกะ อุปาทารูปเป็นสุขุมะ อนุปาทารูปเป็น

โอฬาริกะ อนุปาทารูปเป็นสุขุมะ อุปาทารูปเป็นทูเร อุปาทารูปเป็นสันติเก

อนุปาทารูปเป็นทูเร อนุปาทารูปเป็นสันติเก ฯลฯ ทิฏฐิรูป สุตรูป มุตรูป

วิญญาตรูป รูปขันธ์หมวดละ ๔ ด้วยประการฉะนี้.

[๓๗] รูปขันธ์หมวดละ ๕ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ

วาโยธาตุ อุปาทารูป รูปขันธ์หมวดละ ๕ ด้วยประการฉะนี้.

[๓๘] รูปขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุวิญเญยยรูป โสตวิญเญยยรูป

ฆานวิญเญยยรูป ชิวหาวิญเญยยรูป กายวิญเญยรูป มโนวิญเญยยรูป รูปขันธ์

หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้.

[๓๙] รูปขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุวิญเญยยรูป ฯลฯ มโนธาตุวิญ-

เญยยรูป มโนวิญญาณธาตุวิญเญยยรูป รูปขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้.

[๔๐] รูปขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุวิญเญยยรูป ฯลฯ สุขสัมผัสส-

กายวิญเญยยรูป ทุกขสัมผัสสกายวิฌเญยยรูป มโนธาตุวิญเญยยรูป มโน-

วิญญาณธาตุวิญเญยยรูป รูปขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้.

[๔๑] รูปขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์

ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ รูปไม่เป็น

อินทรีย์ รูปขันธ์หมวด ๙ ด้วยประการฉะนี้.

[๔๒ ] รูปขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุนทรีย์ ฯลฯ ชีวิตินทรีย์ รูปไม่

เป็นอินทรีย์เป็นสัปปฏิฆะ รูปไม่เป็นอินทรีย์เป็นอัปปฏิฆะ รูปขันธ์หมวดละ

๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

[๔๓] รูปขันธ์หมวดละ ๑๑ คือ จักขายตนะ โสตายนะ ฆานายตนะ

ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

โผฏฐัพพายตนะ และรูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้นับเนื่องในธรรมายตนะ รูป

ขันธ์หมวดละ ๑๑ ด้วยประการฉะนี้.

สภาวธรรมนี้เรียกว่า รูปขันธ์.

เวทนาขันธ์

เวทนาขันธ์ เป็นไฉน ?

[ทุกมูลกวาร]

[๔๔] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ

เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็น

อัพยากฤต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๔ คือ เวทนาขันธ์เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร

เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ

เวทนาขันธ์หมวดละ ๕ คือ เวทนาขันธ์เป็นสุขินทรีย์ เป็นทุกขินทรีย์

เป็นโสมนัสสินทรีย์ เป็นโทมนัสสินทรีย์ เป็นอุเปกขินทรีย์

เวทนาขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชา-

เวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา

มโนสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้.

เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ กายสัมผัสส-

ชาเวทนา มโนธาตุสัมผัสสชาเวทนา มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา

เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

เวทนาขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ สุขกายสัม-

ผัสสชาเวทนา ทุกขกายสัมผัสสชาเวทนา มโนธาตุสัมผัสสชาเวทนา มโน-

วิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้.

เวทนาขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ กายสัมผัสส-

ชาเวทนา มโนธาตุสัมผัสสชาเวทนา กุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา

อกุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชา-

เวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้.

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ สุขกาย

สัมผัสสชาเวทนา ทุกขกายสัมผัสสชาเวทนา มโนธาตุสัมผัสสชาเวทนา กุสล

มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา อกุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา

อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วย

ประการฉะนี้.

[๔๕] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุตเวทนา

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ เวทนาขันธ์

หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากน-

วิปากธัมมธรรม เวทนาขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ

เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ เวทนาขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสัง-

กิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เวทนาขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระ

เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ เวทนาขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ

เป็นภาวนาปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสนภาวนาปหาตัพพะ เวทนาขันธ์เป็น

ทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวทัสสนนภาวนา

ปหาตัพพเหตุกะ เวทนาขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็นเนวาจยคามี-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

นาปจยคามี เวทนาขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ

เวทนาขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ เวทนาขันธ์ เป็น

ปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ เวทนาขันธ์

เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ เป็นปณีตะ เวทนาขันธ์ เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็น

สัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ เวทนาขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ

เป็นมัคคาธิปติ เวทนาขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะเป็นอุปปาที เวทนา

ขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน เวทนาขันธ์เป็นอตีตารัมณะ เป็น

อนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุปันนารัมมณะ เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็น

พหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธา-

รัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประ-

การฉะนี้.

[๔๖] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือเวทนาขันธ์เป็นผัสสัมปยุต เวทนา-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต เวทนา-

ขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ เวทนาขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุ-

ตระ เวทนาขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ เวทนาขันธ์เป็น

สาสวะเป็นอนาสวะ เวทนาขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต เวทนา-

ขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ เวทนาขันธ์เป็น

สัญโญชนิยะเป็นอสัญโญชนิยะ เวทนาขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็น

สัญโญชนวิปปยุต เวทนาขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็น

สัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ เวทนาขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ

เวทนาขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต เวทนาขันธ์เป็นคันถวิปปยุต-

ตคันถนิยะ เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะ เวทนาขันธ์เป็นโอฆนิยะเป็นอโฆนิยะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

เวทนาขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต เวทนาขันธ์เป็นโอฆวิปปยุ-

ตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปปยุตตอโนฆนิยะ เวทนาขันธ์เป็นโยคนิยะเป็นอโย-

คนิยะ เวทนาขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต เวทนาขันธ์เป็น

โยควิปปยุตตโยคนิยะ เป็นโยควิปปยุตตอโยคนิยะ เวทนาขันธ์เป็นนีวรณิยะเป็น

อนีวรณิยะ เวทนาขันธ์เป็นนีวรณิสัมปยุต เป็นนีวรณวิปปยุต เวทนาขันธ์เป็น

นีวรณวิปปยุตนีวรณิยะ เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะ เวทนาขันธ์เป็น

ปรามัฏฐะ เป็นอปรามัฏฐะ เวทนาขันธ์เป็นปรามาสสัมปยุตเป็นปรามาสวิปปยุต

เวทนาขันธ์เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะ

เวทนาขันธ์เป็นอุปาทินนะ เป็นอนุปาทินนะ เวทนาขันธ์เป็นอุปาทานิยะ เป็น

อนุปาทานิยะ เวทนาขันธ์เป็นอุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานวิปปยุต เวทนา-

ขันธ์เป็นอุปาทานวิปปยุตตปาทานิยะ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะ เป็น

อุปาทานิปปยุตตอนุปาทานิยะ เวทนาขันธ์เป็นสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิเลสิกะ

เวทนาขันธ์เป็นสังกิลิฏฐะ เป็นอสังกิลิฏฐะ เวทนาขันธ์เป็นกิเลสสัมปยุต เป็น

กิเลสวิปปยุต เวทนาขันธ์เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ เป็นกิเลสวิปปยุตตอสัง-

กิเลสิกะ เวทนาขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ เวทนา-

ขันธ์เป็นภาวนาปหาตัพพะ เป็นนภาวนาปหาตัพพะ เวทนาขันธ์เป็นทัสสน-

ปหาตัพพเหตุกะ เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เวทนาขันธ์เป็นภาวนาปหาตัพพ-

เหตุกะเป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เวทนาขันธ์เป็นสวิตักกะ เป็นอวิตักกะ

เวทนาขันธ์เป็นสวิจาระ เป็นอวิจาระ เวทนาขันธ์เป็นสัปปีติกะ เป็นอัปปีติกะ

เวทนาขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นนปีติสหคตะ เวทนาขันธ์เป็นกามาวจร เป็น

นกามาวจร เวทนาขันธ์เป็นรูปาวจร เป็นนรูปาวจร เวทนาขันธ์เป็นอรูปาวจร

เป็นนอรูปาวจร เวทนาขันธ์เป็นปริยาปันนะ เป็นอปริยาปันนะ เวทนา-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

ขันธ์เป็นนิยยานิกะ เป็นอนิยยานิกะ เวทนาขันธ์เป็นนิยตะ เป็นอนิยต เวทนา-

ขันธ์เป็นสอุตตระ เป็นอนุตตระ เวทนาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ เวทนา-

ขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนาขันธ์

หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

[๔๗] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต.

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ เวทนาขันธ์

หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนว

วิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธา-

รัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประ-

การฉะนี้.

ทุกมูลกวาร จบ

[ติกมูลกวาร]

[๔๘] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ เวทนาขันธ์

หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนา-

ขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๓

คือเวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐

ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ เวทนาขันธ์หมวดละ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปาก

ธัมมธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็น

อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๓

คือ เวทนาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมม-

ธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็น

อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

ติกมูลกวาร จบ

[อุภโตวัฑฒกวาร]

[๔๙] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวท-

นาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ เวทนาขันธ์

หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนา-

ขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปาก-

นวิปากธัมมธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ เวทนา-

ขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปา-

ทานิยะ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประ-

การฉะนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตระ เวทนาขันธ์หมวดละ

ละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็น

อสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ เวทนา

ขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ

เป็นอวิตักกาวิจาระ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ เวทนาขันธ์หมวดละ

๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ เป็นภาวนาปหาตัพพะ เป็นเนว

ทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนาปหาตัพพ-

เหตุกะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐

ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตต-

อนาสวะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี

เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ เวทนา-

ขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนา-

เสกขะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต

เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็น

อัปปมาณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชน-

วิปปยุตตอสัญโญชนิยะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือเวทนาขันธ์เป็นปริตตา-

รัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์

หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ เวทนาขันธ์หมวดละ

๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ เป็นปณีตะ ฯลฯ เวทนาขันธ์

หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ

ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะเป็นคันถวิปปยุตตอคัน-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

ถนิยะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคค-

เหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็นอโนฆนิยะ เวทนาขันธ์หมวดละ

๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็นอุปปาที ฯลฯ เวทนาขันธ์

หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน ฯลฯ

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นโอฆวิปปยุตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปปยุตต-

อโนฆนิยะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอดีตารัมมณะ เป็น

อนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐

ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นโยคนียะ เป็นอโยคนียะ เวทนาขันธ์หมวดละ

๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา ฯลฯ

เวทนาขันธ์หมวดละ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต เวทนาขันธ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็น

อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

อุภโตวัฑฒกวาร จบ

[พหุวิธวาร]

[๕๐] เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล

เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ

เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ อีกอย่างหนึ่ง คือ เวทนาขันธ์เป็นวิบาก เป็น

วิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์ เป็น

อัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็น

กามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอริยาปันนะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๗

ด้วยประการฉะนี้

[๕๑] เวทนาขันธ์หมวดละ ๒๔ คือ เวทนาขันธ์เพราะจักขุสัมผัส

เป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เวทนาขันธ์เพราะโสตสัมผัส

เป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะฌานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์

เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต

จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหา-

สัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒๔ ด้วยประการฉะนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

เวทนาขันธ์หมวดละ ๒๔ อีกอย่างหนึ่ง คือ เวทนาขันธ์เพราะจักขุ -

สัมผัสเป็นปัจจัย เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมม-

ธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นอัชฌัตตารัมมณะ

เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เวทนาขันธ์เพราะโสตสัมผัส

เป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์

เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธา-

รัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโน-

สัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๒๔ ด้วยประการฉะนี้.

[๕๒] เวทนาขันธ์หมวดละ ๓๐ คือ เวทนาขันธ์เพราะจักขุสัมผัส

เป็นปัจจัย เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ

เวทนาขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็น

ปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะ

กายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกามาวจร

เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ

มโนสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๓๐ ด้วยประการฉะนี้.

[๕๓] เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง คือ เวทนาขันธ์เพราะจักขุสัมผัส

เป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร

เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ เวทนาขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็น

ปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะ

มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ

มโนสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้

เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่างอีกอย่างหนึ่ง คือ เวทนาขันธ์เพราะ

จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปาก-

ธัมมธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นอัชฌัตตารัมมณะ

เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร

เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ เวทนาขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะชิวหาสัมผัส

เป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะ

มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัช-

ฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริ-

ยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์

หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้

สภาวธรรมนี้เรียกว่า เวทนาขันธ์.

พหุวิธวาร จบ

สัญญาขันธ์

สัญญาขันธ์ เป็นไฉน ?

[ทุกมูลกวาร]

[๕๔] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็น

อัพยากฤต

สัญญาขันธ์หมวดละ ๔ คือ สัญญาขันธ์เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร

เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ

สัญญาขันธ์หมวดละ ๕ คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขินทริยสัมปยุต เป็น

ทุกขินทริยสัมปยุต เป็นโสมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นโทมนัสสินทริยสัมปยุต

เป็นอุเปกขินทริยสัมปยุต

สัญญาขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา โสตสัมผัสสชา-

สัญญา ฆานสัมผัสสชาสัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา

มโนสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ กายสัมผัสส-

ชาสัญญา มโนธาตุสัมผัสสชาสัญญา มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา สัญญา-

ขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ สุขสหคตกาย

สัมผัสสชาสัญญา ทุกขสหคตกายสัมผัสสชาสัญญา มโนธาตุสัมผัสสชาสัญญา

มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ กายสัมผัสสชา-

สัญญา มโนธาตุสัมผัสสชาสัญญา กุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา

อกุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชา-

สัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ สุขสหคต-

กายสัมผัสสชาสัญญา ทุกขสหคตกายสัมผัสสชาสัญญา มโนธาตุสัมผัสสชาสัญญา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

กุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา อกุสลมโนวิญญาณธาติสัมผัสสชาสัญญา

อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วย

ประการฉะนี้.

[๕๕] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ สัญญาขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต

เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต สัญญาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม

เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม สัญญาขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปา-

ทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ สัญญาขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ

เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ สัญญาขันธ์เป็นสวิตักก-

สวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ สัญญาขันธ์เป็นปีติสหคตะ

เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขาสหคตะ สัญญาขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ เป็น

ภาวนาปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ สัญญาขันธ์เป็นทัสสน-

ปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหา-

ตัพพเหตุกะ สัญญาขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็นเนวาจยคามินาป-

จยคามี สัญญาขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ สัญญาขันธ์

เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ สัญญาขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ

เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ สัญญาขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ

เป็นปณีตะ สัญญาขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ

สัญญาขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ สัญญาขันธ์

เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็นอุปปาที สัญญาขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต

เป็นปัจจุบัน สัญญาขันธ์เป็นอตีตารัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุป-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

ปันนารัมมณะ สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา

สัญญาขันธ์ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธา

รัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

[๕๖] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต

สัญญาขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ สัญญาขันธ์เป็นโลกิยะ เป็น

โลกุตระ สัญญาขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ สัญญาขันธ์

เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ สัญญาขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต

สัญญาขันธ์เป็นอาสววิปปตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ สัญญาขันธ์

เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ สัญญาขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็น

สัญโญชนวิปปยุต สัญญาขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญ-

ชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ สัญญาขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ สัญญาขันธ์

เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต สัญญาขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ

สัญญาขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะ สัญญาขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็นอโนฆ

นิยะ สัญญาขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต สัญญาขันธ์เป็นโอฆวิปป-

ยุตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปปยุตตอโนฆนิยะ สัญญาขันธ์เป็นโยคนิยะ เป็น

อโยคนิยะ สัญญาขันธ์ เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต สัญญาขันธ์เป็น

โยควิปปยุตตโยคนิยะ เป็นโยควิปปยุตตอโยคนิยะ สัญญาขันธ์เป็นนีวรณิยะ

เป็นอนีวรณียะ สัญญาขันธ์ เป็นนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณวิปปยุต สัญญาขันธ์

เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะ สัญญาขันธ์เป็น

ปรามัฏฐะ เป็นอปรามัฏฐะ สัญญาขันธ์เป็นปรามาสสัมปยุต เป็นปรามาส

วิปปยุต สัญญาขันธ์เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ เป็นปรามาสวิปปยุตต-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

อปรามัฏฐะ สัญญาขันธ์เป็นอุปาทินนะ เป็นอนุปาทินนะ สัญญาขันธ์เป็น

อุปาทานิยะ เป็นอนุปาทานิยะ สัญญาขันธ์เป็นอุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทาน

วิปปยุต สัญญาขันธ์เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานวิปปยุตต-

อนุปาทานิยะ สัญญาขันธ์เป็นสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิเลสิกะ สัญญาขันธ์เป็น

สังกิลิฏฐะ เป็นอสังกิลิฏฐะ สัญญาขันธ์เป็นกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสวิปปยุต

สัญญาขันธ์เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ สัญญา-

ขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ สัญญาขันธ์เป็นภาวนา-

ปหาตัพพะ เป็นนภาวนาปหาตัพพะ สัญญาขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ

เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะ สัญญาขันธ์เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เป็น

นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ สัญญาขันธ์เป็นสวิตักกะ เป็นอวิตักกะ สัญญาขันธ์

เป็นสวิจาระ เป็นอวิจาระ สัญญาขันธ์เป็นสัปปีติกะ เป็นอัปปีติกะ สัญญาขันธ์

เป็นปีติสหคตะ เป็นนปีติสหคตะ สัญญาขันธ์เป็นสุขสหคตะ เป็นนสุขสหคตะ

สัญญาขันธ์เป็นอุเปกขาสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะ สัญญาขันธ์เป็นกามาวจร

เป็นนกามาวจร สัญญาขันธ์เป็นรูปาวจร เป็นนรูปาวจร สัญญาขันธ์เป็น

อรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร สัญญาขันธ์เป็นปริยาปันนะ เป็นอปริยาปันนะ

สัญญาขันธ์เป็นนิยยานิกะ เป็นอนิยยานิกะ สัญญาขันธ์เป็นนิยตะ เป็นอนิยตะ

สัญญาขันธ์เป็นสอุตตระ เป็นอนุตตระ สัญญาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ

สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต

ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

[๕๗] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต.

สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๓ สัญญาขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธา-

รัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สัญาญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วย

ประการฉะนี้.

ทุกมูลกวาร จบ

[ติกมูลกวาร]

[๕๘] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต.

สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ สัญญาขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ สัญญาขันธ์หมวดละ ๓

คือ สัญญาขันธ์เป็นก็ศีล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวด

ละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สัญญาขันธ์หมวดละ

๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกข-

มสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ

เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓

คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขม-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

สุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ

เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

ติกมูลกวาร จบ

[อุภโตวัฑฒกวาร]

[๕๙] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต.

สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ สัญญาขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต

เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ สัญญา-

ขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนว-

วิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตระ. สัญญาขันธ์หมวดละ

๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ เป็น

อนุปาทินนานุปาทานิยะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกลิฏฐ-

สังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วย

ประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ. สัญญาขันธ์หมวดละ

๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกา-

วิจาระ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขา-

สหคตะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตต-

อนาสวะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ เป็น

ภาวนาปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวด

ละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ สัญญาขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนหาปตัพพา-

เหตุกะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐

ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็น

เนวาจยคามินาปจยคามี ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชน-

วิปปยุตตอสัญโญชนิยะ สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือสัญญาขันธ์เป็นเสกขะ

เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วย

ประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ สัญญาขันธ์หมวด

ละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ ฯลฯ

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็น

อัปปมาณารัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ เป็นคันถวิปปยุตต-

อคันถนิยะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ

เป็นปณีตะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็นอโนฆนิยะ. สัญญาขันธ์หมวด

ละ ๓ สัญญาขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ ฯลฯ

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ

ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโอฆวิปปยุตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปปุยุตต-

อโนฆนิยะ สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุป-

ปันนะ เป็นอุปปาที ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโยคนิยะ เป็นอโยคนิยะ สัญญาขันธ์หมวดละ

๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน ฯลฯ สัญญาขันธ์

หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอตีตารัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็น

ปัจจุปปันนารัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโยควิปปยุตตโยคนิยะ เป็นโยควิปปยุตต-

อโยคนิยะ สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา

เป็นอัชฌัตตพหิทธา ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นนีวรณิยะ. เป็นอนีวรณิยะ. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็น

อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

อุภโตวัฑฒกวาร จบ

[พหุวิธวาร]

[๖๐] สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล

เป็นอัพยกฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ

สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ อีกอย่างหนึ่ง คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขเวทนา-

สัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯสฯ สัญญา-

ขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ

เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ สัญญาขันธ์

หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้

[๖๑] สัญญาขันธ์หมวดละ ๒๔ คือ สัญญาขันธ์เพราะจักขุสัมผัสเป็น

ปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต สัญญาขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็น

ปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะ

ชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญา-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

ขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต จักขุ-

สัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชาสัญญา ชิวหาสัมผัสสชา-

สัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๒

ด้วยประการฉะนี้

สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ อีกอย่างหนึ่ง คือสัญญาขันธ์เพราะจักขุสัมผัส

เป็นปัจจัย เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุข-

เวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตต-

พหิทธารัมมณะ สัญญาขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะ

ฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

สัญญาขันธ์ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็น

ปัจจัย เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ

จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๒๔

ด้วยประการฉะนี้.

[๖๒] สัญญาขันธ์หมวดละ ๓๐ คือ สัญญาขันธ์เพราะจักขุสัมผัสเป็น

ปัจจัย เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ

สัญญาขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็น

ปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะ

กายสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกามาวจร

เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ

มโนสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๓๐ ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

[๖๓] สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่าง คือ สัญญาขันธ์เพราะจักขุสัมผัส

เป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร

เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ สัญญาขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

สัญญาขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็น

ปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะ

มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร

เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ

มโนสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้.

สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่างอีกอย่างหนึ่ง คือ สัญญาขันธ์เพราะ

จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็น

อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ

เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร

เป็นอปริยาปันนะ สัญญาขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์

เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

สัญญาขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็น

ปัจจัย เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ

เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสส-

ชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วย

ประการฉะนี้

สภาวธรรมนี้เรียกว่า สัญญาขันธ์.

พหุวิธวาร จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

สังขารขันธ์

สังขารขันธ์ เป็นไฉน ?

[กุศลมูลกวาร]

[๖๘] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต.

สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ.

สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็น

อัพยากฤต.

สังขารขันธ์หมวดละ ๔ คือ สังขารขันธ์เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร

เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ.

สังขารขันธ์หมวดละ ๕ คือ สังขารขันธ์เป็นสุขินทริยสัมปยุต เป็น

ทุกขินทริยสัมปยุต เป็นโสมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นโทมนัสสินทริยสัมปยุต

เป็นอุเปกขินทริยสัมปยุต.

สังขารขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุสัมผัสสชาเจตนา โสตสัมผัสสชา-

เจตนา ฆานสัมผัสสชาเจตนา ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา กายสัมผัสสชาเจตนา

มโนสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ กายสัมผัสสชา-

เจตนา มโนธาตุสัมผัสสชาเจตนา มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์

หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ สุขสหคตกาย-

สัมผัสสชาเจตนา ทุกขสหคตกายสัมผัสสชาเจตนา มโนธาตุสัมผัสสชาเจตนา

มโนวิญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

สังขารขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนธาตุ-

สัมผัสสชาเจตนา กุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา อกุสลมโนวิญญาณ-

ธาตุสัมผัสสชาเจตนา อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์

หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ สุขสหคต-

กายสัมผัสสชาเจตนา ทุกขสหคตกายสัมผัสสชาเจตนา มโนธาตุสัมผัสสชาเจตนา

กุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา อกุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา

อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วย

ประการฉะนี้.

[๖๕] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต.

สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต

เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต สังขารขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม

เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม สังขารขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็น

อนุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ สังขารขันธ์เป็นสังกิลิฏฐ-

สังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ สังขารขันธ์

เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ สังขารขันธ์

เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขาสหคตะ สังขารขันธ์เป็นทัสสน-

ปหาตัพพะ เป็นภาวนาปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ สังขารขันธ์

เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวหาปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวทัสสนนภาว-

นาปหาตัพพเหตุกะ สังขารขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปยคามี เป็นเนวาจยคามิ-

นาปจยคามี สังขารขันธ์เป็นเสกะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

สังขารขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ สังขารขันธ์เป็น

ปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ สังขารขันธ์

เป็นหีนะเป็นมัชฌิมะ เป็นปณีตะ สังขารขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตต-

นิยตะ เป็นอนิยตะ สังขารขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็น

มัคคาธิปติ สังขารขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็นอุปปาที สังขารขันธ์

เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน สังขารขันธ์เป็นอตีตารัมมณะ เป็น

อนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็น

พหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธา

รัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วย

ประการฉะนี้.

[๖๖] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต

สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ สังขารขันธ์

เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต สังขารขันธ์เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุก-

นเหตุ สังขารขันธ์เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ สังขารขันธ์

เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ สังขารขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตระ

สังขารขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ สังขารขันธ์เป็นอาสวะ

เป็นโนอาสวะ สังขารขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ สังขารขันธ์เป็นอาสว-

สัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต สังขารขันธ์เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ

สังขารขันธ์เป็นอาสวอาสวสัมปยุต เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ สังขารขันธ์

เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ สังขารขันธ์เป็นสัญ-

โญชนะ เป็นโนสัญโญชนะ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ

สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต สังขารขันธ์เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

สัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะ สังขารขันธ์เป็นสัญโญ-

ชนสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ สังขารขันธ์เป็น

สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ สังขาร-

ชนเป็นคันถะ เป็นโนคันถะ สังขารขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ

สังขารขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต สังขารขันธ์เป็นคันถคันถนิยะ

เป็นคันถนิยโนคันถะ สังขารขันธ์เป็นคันถคันถสัมปยุต เป็นคันถสัมปยุตต-

โนคันถะ สังขารขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะ

สังขารขันธ์เป็นโอฆะ เป็นโนโอฆะ สังขารขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็นอโนฆนิยะ

สังขารขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต สังขารขันธ์เป็นโอฆโอฆนิยะ

เป็นโอฆนิยโนโอฆะ สังขารขันธ์เป็นโอฆโอฆสัมปยุต เป็นโอฆสัมปยุตตโน-

โอฆะ สังขารขันธ์เป็นโอฆวิปปยุตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปปยุตตอโนฆนิยะ

สังขารขันธ์เป็นโยคะ เป็นโนโยคะ สังขารขันธ์เป็นโยคนิยะ เป็นอโยคนิยะ

สังขารขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต สังขารขันธ์เป็นโยคโยคนิยะ

เป็นโยคนิยโนโยคะ สังขารขันธ์เป็นโยคโยคสัมปยุต เป็นโยคสัมปยุตตโนโยคะ

สังขารขันธ์เป็นโยควิปปยุตตโยคนิยะ เป็นโยควิปปยุตตอโยคนิยะ สังขารขันธ์

เป็นนีวรณะ เป็นโนนีวรณะ สังขารขันธ์เป็นนีวรณิยะ เป็นอนีวรณิยะ

สังขารขันธ์เป็นนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณวิปปุยุต สังขารขันธ์เป็นนีวรณนีวร-

ณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ สังขารขันธ์เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต เป็น

นีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ สังขารขันธ์เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ เป็น

นีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะ สังขารขันธ์เป็นปรามาสะ เป็นโนปรามาสะ

สังขารขันธ์เป็นปรามัฏฐะ เป็นอปรามัฏฐะ สังขารขันธ์เป็นปรามาสสัมปยุต

เป็นปรามาสวิปปยุต สังขารขันธ์เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรา-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

มาสะ สังขารขันธ์เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรา-

มัฏฐะ สังขารขันธ์เป็นอุปาทินนะ เป็นอนุปาทินนะ สังขารขันธ์เป็นอุปาทานะ

เป็นโนอุปาทานะ สังขารขันธ์เป็นอุปาทานิยะ เป็นอนุปาทานิยะ สังขารขันธ์

เป็นอุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานวิปปยุต สังขารขันธ์เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ

เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะ สังขารขันธ์เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต เป็น

อุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะ สังขารขันธ์เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ

เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะ สังขารขันธ์เป็นกิเลสะ เป็นโนกิเลสะ

สังขารขันธ์เป็นสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิเสสิกะ สังขารขันธ์เป็นสังกิลิฏฐะ เป็น

อสังกิลิฏฐะ สังขารขันธ์เป็นกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสวิปปยุต สังขารขันธ์เป็น

กิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะ สังขารขันธ์เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ เป็น

สังกิลิฏฐโนกิเลสะ สังขารขันธ์เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตตโน-

กิเลสะ สังขารขันธ์เป็นกิเลสวิปปยุตสังกิเลสิกะ เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ

สังขารขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ เป็นนทัสสหปหาตัพพะ. สังขารขันธ์เป็น

ภาวนาปหาตัพพะ เป็นนภาวนาปหาตัพพะ สังขารขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ

เหตุกะ เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะ สังขารขันธ์เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ

เป็นนภาวนปหตัพพเหตุกะ สังขารขันธ์เป็นสวิตักกะ เป็นอวิตักกะ สังขาร-

ขันธ์เป็นสวิจาระ เป็นอวิจาระ สังขารขันธ์เป็นสัปปีติกะ เป็นอัปปีติกะ

สังขารขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นนปีติสหคตะ สังขารขันธ์เป็นสุขสหคตะ

เป็นนสุขสหคตะ สังขารขันธ์เป็นอุเปกขาสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะ

สังขารขันธ์เป็นกามาวจร เป็นนกามาวจร สังขารขันธ์เป็นรูปาวจร เป็น

นรูปาวจร สังขารขันธ์เป็นอรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร สังขารขันธ์เป็น

ปริยาปันนะ เป็นอปริยาปันนะ สังขารขันธ์เป็นนิยยานิกะ เป็นอนิยยานิกะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

สังขารขันธ์เป็นนิยตะ เป็นอนิยตะ สังขารขันธ์เป็นสอุตตระ เป็นอนุตตระ

สังขารขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์

เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วย

ประการฉะนี้.

[๖๗] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต.

สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ สังขารขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต

เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็น

พหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐

ด้วยประการฉะนี้.

ทุกมูลกวาร จบ

[ติกมูลกวาร]

[๖๘] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต.

สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ

สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ สังขารขันธ์หมวดละ ๓

คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สังขารขันธ์

หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

คือ สังขารขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขม-

สุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ

เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นมรณะ เป็นอรณะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓

คือ สังขารขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขม-

สุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ

เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

ติกมูลกวาร จบ

[อุภโตวัฑฒกวาร]

[๖๙] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต.

สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ

สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สังขารขันธ์หมวดละ

๓ คือ สังขารขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุก-

ขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปาก-

นวิปากธัมมธรรม ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือสังขารขันธ์เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุกนเหตุ. สังขารขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ

เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ.

สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสัง-

กิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐

ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ. สังขารขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ

เป็นอวิตักกาวิจาระ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตระ. สังขารขันธ์หมวดละ

๓ คือ สังขารขันธ์เป็นปิติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขาสหคตะ ฯลฯ

สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.

สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ เป็นภาวนา-

ปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐

ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นอาสวะ เป็นโนอาสวะ. สังขารขันธ์หมวดละ

๓ คือ สังขารขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพเหตกะ เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ

เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วย

ประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓

คือ สังขารขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามี

ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ

ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ. สังขารขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ ฯลฯ

สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นอาสวอาสวสัมปยุต เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ

สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ

เป็นอัปปมาณารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตต-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

อนาสวะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ

เป็นปณีตะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนะ เป็นโนสัญโญชนะ. สังขารขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ

ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ สังขารขันธ์

หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคา-

ธิปติ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต.

สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็น

อุปปาที ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโน-

สัญโญชนะ สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต

เป็นปัจจุบัน ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชน-

สัมปยุตตโนสัญโญชนะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นอตีตา-

รัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์

หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ. เป็น

สัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์

เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ

๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นคันถะ เป็นโนคันถะ. สังขารขันธ์หมวดละ

๓ คือ สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตต-

พหิทธารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

อุภโตวัฑฒกวาร จบ

[พหุวิธวาร]

[๗๐] สังขารขันธ์หมวดละ ๗ คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล

เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ

สังขารขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๗ อีกอย่างหนึ่ง คือ สังขารขันธ์เป็นสุขเวทนา-

สัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ

สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธา-

รัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ

สังขารขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้.

[๗๑] สังขารขันธ์หมวดละ ๒๔ คือ สังขารขันธ์เพราะจักขุสัมผัส

เป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต สังขารขันธ์เพราะโสตสัมผัส

เป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

สังขารขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต

จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๒๔

ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละ ๒๔ อีกอย่างหนึ่ง คือ สังขารขันธ์เพราะจักขุ-

สัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุก-

ขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็น

อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ สังขารขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์

เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

สังขารขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็น

ปัจจัย เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ

จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๒๔

ด้วยประการฉะนี้.

[๗๒] สังขารขันธ์หมวดละ ๓๐ คือ สังขารขันธ์เพราะจักขุสัมผัส

เป็นปัจจัย เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ

สังขารขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็น

ปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะ

กายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกามาวจร

เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ

มโนสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๓๐ ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

[๗๓] สังขารขันธ์ หมวดละมากอย่าง คือ สังขารขันธ์เพราะจักขุสัมผัส

เป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร

เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ สังขารขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

สังขารขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็น

ปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะ

มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร

เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ

มโนสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้.

สังขารขันธ์หมวดละมากอย่างอีกอย่างหนึ่ง คือ สังขารขันธ์เพราะ

จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็น

อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ

เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร

เป็นอปริยาปันนะ สังขารขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์

เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย สังขารขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

สังขารขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็น

ปัจจัย เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ

เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัส-

สชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วย

ประการฉะนี้.

สภาวธรรมนี้เรียกว่า สังขารขันธ์.

พหุวิธวาร จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน ?

[ทุกมูลกวาร]

[๗๔] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล

เป็นอัพยากฤต.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๔ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร

เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๕ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขินทริยสัมปยุต

เป็นทุกขินทริยสัมปยุต เป็นโสมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นโทมนัสสินทริยสัมปยุต

เป็นอุเปกขินทริยสัมปยุต.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ

ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ ด้วย

ประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ

มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ สุขสหคตกายวิญญาณ

ทุกขสหคตกายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘

ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ

มโนธาตุ กุสลมโนวิญญาณธาตุ อกุสลมโนวิญญาณธาตุ อัพยากตมโนวิญญาณ-

ธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ สุขสหคตกาย-

วิญญาณ ทุกขสหคตกายวิญญาณ มโนธาตุ กุสลมโนวิญญาณธาตุ อกุสล-

มโนวิญญาณ อัพยากตมโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วย

ประการฉะนี้.

[๗๕] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกข-

เวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต วิญญาณขันธ์เป็นวิบาก เป็น

วิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม วิญญาณขันธ์เป็นอุปาทินนุ-

ปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ วิญญาณขันธ์

เป็นสังกิลิฎฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ

วิญญาณขันธ์เป็นสวิตักกลวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ

วิญญาณขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขาสหคตะ วิญญาณขันธ์

เป็นทัสสนปหาตัพพะ เป็นภาวนาปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ

วิญญาณขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เป็น

เนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ วิญญาณขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี

เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามี วิญญาณขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนว-

เสกขนาเสกขะ วิญญาณขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ. เป็นอัปปมาณะ

วิญญาณขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

วิญญาณขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ เป็นปณีตะ วิญญาณขันธ์เป็นมิจฉัตต-

นิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ วิญญาณขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็น

มัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ วิญญาณขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ

เป็นอุปปาที วิญญาณขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน วิญญาณขันธ์

เป็นอตีตารัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ วิญญาณขันธ์

เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตา-

รัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์

หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

[๗๖] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต.

วิญญาณขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ วิญญาณขันธ์เป็นโลกิยะ

เป็นโลกุตระ วิญญาณขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ

วิญญาณขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ วิญญาณขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็น

อาสววิปปยุต วิญญาณขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ

วิญญาณขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ เป็นวิญญาณขันธ์เป็นสัญโญชน-

สัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต วิญญาณขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ

เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ วิญญาณขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถ-

นิยะ วิญญาณขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต วิญญาณขันธ์เป็น

คันถวิปปยุตตคันถนิยะ เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะ วิญญาณขันธ์เป็นโอฆนิยะ

เป็นอโนฆนิยะ วิญญาณขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต วิญญาณขันธ์

เป็นโอฆวิปปยุตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปปยุตตอโนฆนิยะ วิญญาณขันธ์เป็น

โยคนิยะเป็นอโยคนิยะ วิญญาณขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

วิญญาณขันธ์เป็นโยควิปปยุตตโยคนิยะ เป็นโยควิปปยุตตอโยคนิยะ วิญญาณ

ขันธ์เป็นนีวรณิยะ เป็นอนีวรณิยะ วิญญาณขันธ์เป็นนีวรณสัมปยุต เป็น

นีวรณวิปปยุต วิญญาณขันธ์เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ เป็นนีวรณวิปป-

ยุตตอนีวรณิยะ วิญญาณขันธ์เป็นปรามัฏฐะ เป็นอปรามัฏฐะ วิญญาณขันธ์

เป็นปรามาสสัมปยุต เป็นปรามาสวิปปยุต วิญญาณขันธ์เป็นปรามาสวิปปยุตต-

ปรามัฏฐะ เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะ วิญญาณขันธ์เป็นอุปาทินนะ

เป็นอนุปาทินนะ วิญญาณขันธ์เป็นอุปาทานิยะ เป็นอนุปาทานิยะ วิญญาณขันธ์

เป็นอนุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานวิปปยุต วิญญาณขันธ์เป็นอุปาทานวิปป-

ยุตตอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะ วิญญาณขันธ์เป็นสังกิเล-

สิกะเป็นอสังกิเลสิกะ วิญญาณขันธ์เป็นสังกิลิฏฐะ เป็นอสังกิลิฏฐะ วิญญาณ-

ขันธ์เป็นกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสวิปปยุต วิญญาณขันธ์เป็นกิเลสวิปปยุตต-

สังกิเลสิกะ เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ วิญญาณขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ

เป็นนทัสสนปหาตัพพะ วิญญาณขันธ์เป็นภาวนาปหาตัพพะ เป็นนภาวนา-

ปหาตัพพะ วิญญาณขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เป็นนทัสสนปหาตัพพ-

เหตุกะ วิญญาณขันธ์เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ

วิญญาณขันธ์เป็นสวิตักกะ เป็นอวิตักกะ วิญญาณขันธ์เป็นสวิจาระ เป็น

อวิจาระ วิญญาณขันธ์เป็นสัปปีติกะ เป็นอัปปีติกะ วิญญาณขันธ์เป็นปีตีสหคตะ

เป็นนปีติสหคตะ วิญญาณขันธ์เป็นสุขสหคตะ เป็นนสุขสหคตะ วิญญาณขันธ์

เป็นอุเปกขาสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะ วิญญาณขันธ์เป็นกามาวจร เป็น

นกามาวจร วิญญาขันธ์เป็นรูปาวจร เป็นนรูปาวจร วิญญาณขันธ์เป็น

อรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร วิญญาณขันธ์เป็นปริยาปันนะ เป็นอปริยาปันนะ

วิญญาณขันธ์เป็นนิยยานิกะ เป็นอนิยยานิกะ วิญญาณขันธ์เป็นนิยตะ เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

อนิยตะ วิญญาณขันธ์เป็นสอุตตระ เป็นอนุตตระ วิญญาณขันธ์เป็นสรณะ

เป็นอรณะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล

เป็นอัพยากฤต ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

[๗๗] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนา-

สัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ

เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ

๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

ทุกมูลกวาร จบ

[ติกมูลกวาร]

[๗๘] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็น

อัพยากฤต ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. วิญญาณขันธ์

หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. วิญญาณขันธ์

หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็น

พหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ๑๐

ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. วิญญาณขันธ์

หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต

เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็น

พหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ

๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

ติกมูลกวาร จบ

[อุภโตวัฑฒกวาร]

[๗๙] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยา-

กฤต ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนา-

สัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วย

ประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม

เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการ

ฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตระ. วิญญาณขันธ์

หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ

เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็น

อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ

๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ. วิญญาณขันธ์

หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ

เป็นอวิตักกาวิจาระ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ

เป็นอุเปกขาสหคตะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปป-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

ยุตตอนาสวะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ

เป็นภาวนาปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์

หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เป็น

ภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ฯลฯ วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็น

เนวาจยคามีนาปจยคานี ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็น

สัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์

เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ

๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ

ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หหมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต. วิญญาณ-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

ขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ

เป็นอัปปมาณารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ เป็นคันถวิปป-

ยุตตอคันถนิยะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นหีนะ เป็น

มัชฌิมะ เป็นปณีตะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็นอโนฆนิยะ. วิญญาณขันธ์

หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ

ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็น

มัคคาธิปติ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโอฆวิปปยุตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปป-

ยุตตอโนฆนิยะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอุปปันนะ

เป็นอนุปปันนะ เป็นอุปปาที ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการ

ฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโยคนิยะ เป็นอโยคนิยะ. วิญญาณขันธ์

หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน ฯลฯ

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอตีตารัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ

เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือวิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโยควิปปยุตตโยคนิยะ เป็นโยควิปป-

ยุตตอโยคนิยะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตะ

เป็นพหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการ

ฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ-

ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นนีวรณิยะ เป็นอนีวรณิยะ. วิญญาณขันธ์

หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ

เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.

อุภโตวัฑฒกวาร จบ

[พหุวิธวาร]

[๘๐] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็น

อกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็น

อปริยาปันนะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ อีกอย่างหนึ่ง คือ วิญญาณขันธ์เป็น

สุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ

เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

กามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ วิญญาณขันธ์

หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้.

[๘๑] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เพราะจักขุสัมผัส-

เป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต วิญญาณขันธ์เพราะโสต-

สัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณ-

ขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย

ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็น

อัพยากฤต จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒๔

ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒๔ อีกอย่างหนึ่ง คือ วิญญาณขันธ์เพราะ

จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็น

อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ

เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ วิญญาณขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

วิญญาณขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะชิวหาสัมผัส

เป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์

เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็น

อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์

หมวดละ ๒๔ ด้วยประการฉะนี้.

[๘๒] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓๐ คือ วิญญาณขันธ์เพราะจักขุสัมผัส

เป็นปัจจัย เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ

วิญญาณขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะฆานสัมผัส

เป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็น

กามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุวิญญาณ ฯลฯ

มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓๐ ด้วยประการฉะนี้.

[๘๓] วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่าง คือ วิญญาณขันธ์เพราะจักขุ-

สัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็น

รูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ วิญญาณขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็น

ปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์

เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

วิญญาณขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต

เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุวิญญาณ

ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่างอีกอย่างหนึ่ง คือ วิญญาณขันธ์เพราะ

จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็น

อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ

เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็น

อปริยาปันนะ วิญญาณขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์

เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย

ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะมโน-

สัมผัสเป็นปัจจัย เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตต-

พหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ

จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการ

ฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

สภาวธรรมนี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์.

พหุวิธวาร จบ

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

ขันธวิภังคนิเทศ วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

ว่าด้วยนิเทสรูปขันธ์

บัดนี้ เป็นอภิธรรมภาชนีย์ คือนัยที่ทรงจำแนกโดยพระอภิธรรม ใน

อภิธรรมภาชนีย์นั้น บัณฑิตพึงทราบนิเทศรูปขันธ์โดยนัยที่ข้าพเจ้าให้พิสดาร

ไว้ในรูปกัณฑ์ (แห่งอรรถสาลินีอรรถกถาธรรมสังคณี) ในหนหลังนั่นแล.

ว่าด้วยนิเทศเวทนาขันธ์

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศเวทนาขันธ์ ต่อไป

บทว่า เอกวิเธน แก้เป็น เอกโกฏฺาเสน แปลว่า หมวดหนึ่ง.

บทว่า ผสฺสสมฺปยุตฺโต แยกบทเป็น ผสฺเสน สมฺปยุตฺโต

แปลว่า สัมปยุตด้วยผัสสะ เวทนาที่เป็นไปในภูมิ ๔ แม้ทั้งหมด ได้แก่

เวทนาในสเหตุกทุกะ* คือที่เป็นสเหตุกเวทนาเป็นเวทนาเป็นไปในภูมิ ๔ ที่

เป็นอเหตุกะเวทนาเป็นกามาพจรอย่างเดียว พึงทราบเวทนาที่ตรัสโดยบทแห่ง

กุศลเป็นต้นโดยอุบายนี้.

อีกอย่างหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงเวทนาขันธ์นี้อย่างเดียว

โดยเป็นธรรมสัมปยุตด้วยผัสสะ ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๒ อย่าง โดยเป็น

* สเหตุกทุกะ คือ เวทนาที่เป็นสเหตกะและอเหตุกะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

เวทนาประกอบด้วยเหตุและไม่ประกอบด้วยเหตุ ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๓

อย่าง โดยการเกิด ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๔ อย่าง โดยความต่างแห่งภูมิ

ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๕ โดยความเป็นอินทรีย์ บรรดาเวทนาหมวดละ ๕

เหล่านั้น เวทนาที่เป็นสุขินทรีย์และทุกขินทรีย์อาศัยกายประสาทเกิดขึ้นเป็น

กามาพจรอย่างเดียว เวทนาที่เป็นโสมนัสสินทรีย์เป็นไปในภูมิ ๓ อาศัยวัตถุที่ ๖

เกิดขึ้นก็มี ไม่อาศัยวัตถุที่ ๖ เกิดขึ้นก็มี. เวทนาที่เป็นโทมนัสสินทรีย์ อาศัย

วัตถุที่ ๖ เกิดขึ้นเป็นกามพจร. เวทนาที่เป็นอุเบกขินทรีย์เป็นไปในภูมิ คือ

อาศัยประสาท ๔ มีจักขุเป็นต้นเกิดขึ้นก็มี อาศัยวัตถุที่ ๖ เกิดขึ้นก็มี ไม่อาศัย

วัตถุเกิดขึ้นก็มี. ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๖ อย่าง โดยวัตถุ บรรดาเวทนา

๖ เหล่านั้น เวทนา ๕ ข้างต้นอาศัยประสาท ๕ มีจักขุเป็นต้นเกิดขึ้น เป็น

กามาพจรอย่างเดียว เวทนาที่ ๖ ไม่อาศัยวัตถุเกิดขึ้นก็มี อาศัยวัตถุเกิดขึ้นก็มี

ซึ่งเป็นไปในภูมิ ๔. ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๗ อย่าง ในเวทนา ๖ อย่าง

เหล่านั้น โดยแยกเวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส. ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๘ อย่าง

ในเวทนา ๗ อย่างนั้น โดยแยกเวทนาที่เกิดแต่การสัมผัส. ทรงแสดงเวทนา

หมวดละ ๙ อย่าง โดยประเภทเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ

ในประเภทแห่งเวทนา ๗ อย่าง. ทรงแสดงเวทนาหมวดละ ๑๐ อย่าง โดย

ประเภทแห่งเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ ในประเภทแห่งเวทนา

๘ อย่าง.

จริงอยู่ ในเวทนาเหล่านี้ มโนสัมผัสสชาเวทนาในประเภทเวทนา

หมวดละ ๗ อย่าง แยกเป็น ๒ คือ มโนธาตุสัมผัสสชาเวทนา และมโนวิญญาณ

ธาตุสัมผัสสชาเวทนา. ในประเภทเวทนาหมวดละ ๘ อย่าง แยกเป็น ๒ คือ

สุขเกิดแต่กายสัมผัส ทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส รวมกับมโนสัมผัสสชาเวทนานั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

ในประเภทเวทนาหมวดละ ๙ อย่าง ได้แก่ มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา

ตามที่ตรัสไว้ในประเภทเวทนา ๗ ทรงแยกเป็น ๓ ด้วยอำนาจกุศลเป็นต้น.

ในเวทนาขันธ์ ๑๐ อย่าง ได้แก่ มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนาตามที่ตรัส

ไว้ในเวทนาขันธ์ ๘ อย่าง ทรงแยกเป็น ๓ ด้วยอำนาจกุศลเป็นต้นนั้นแหละ

ก็ในเวทนาขันธ์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาประกอบด้วยกุศลติกะเพื่อทำ

บทให้เต็มเท่านั้น แต่ในประเภทเวทนาหมวดละ ๗ อย่าง ๘ อย่าง และ ๙ อย่าง

เพื่อต้องการประทานนัย จึงทรงประทานนัยไว้ในฐานะที่ควรประทาน เพราะ

เพ่งถึงพระอภิธรรม พระตถาคตเจ้าชื่อว่า มิได้ทรงประทานนัยไว้ในฐานะที่

ควรประทาน มิได้มี. นี้เป็นวาระหนึ่งในทุกมูลก่อน.

จริงอยู่ พระศาสดาเมื่อทรงจำแนกเวทนาขันธ์ในอภิธรรมภาชนีย์นี้

ทรงถือเอาธรรมหมวดติกะ (หมวด ๓) ใส่ในธรรมหมวดทุกะ (หมวด ๒)

บ้าง ทรงถือเอาธรรมหมวดทุกะใส่ในธรรมหมวดติกะบ้าง ทรงถือเอาธรรม

หมวด ๓ และหมวด ๒ แล้วนำมาโดยทำนองแห่งธรรมอันให้เพิ่มขึ้นทั้ง ๒

ย่อมทรงแสดงเวทนาขันธ์โดยมากอย่าง แม้ในที่ทั้งปวง คือ ทรงแสดงเวทนา

หมวดละ ๗ อย่าง เวทนาหมวดละ ๒๔ อย่าง เวทนาหมวดละ ๓๐ อย่าง

และเวทนามากอย่าง เพราะเหตุไร ? เพราะทรงแสดงตามอัชฌาศัยของบุคคล

และเพื่อความไพเราะแห่งเทศนา (เทสนาวิลาส).

ว่าด้วยเทศนาตามอัชฌาศัยบุคคล

จริงอยู่ เทวบุตรเหล่าใดในเทวบริษัทที่นั่งเพื่อจะฟังธรรม ย่อมอาจ

เพื่อแทงตลอดพระดำรัสที่พระศาสดาทรงถือเอาธรรมหมวดติกะใส่เข้าในธรรม

หมวดทุกะแสดงอยู่ พระองค์ก็ทรงแสดงกระทำเหมือนอย่างนั้น ด้วยอำนาจ

สัปปายะของเทวบุตรเหล่านั้น เทวบุตรเหล่าใด อาจเพื่อแทงตลอดธรรมที่

พระองค์ตรัสโดยอาการอย่างอื่นก็ทรงแสดงด้วยอาการเหล่านั้นแก่เทพบุตร

เหล่านั้น. นี้เป็นอัชฌาศัยของบุคคลในการทรงเทศนาเวทนาขันธ์นี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

ว่าด้วยเทศนาวิลาส

ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอาจเพื่อแสดงเวทนาขันธ์โดยประการที่

ถือเอาธรรมหมวดติกะใส่ในธรรมหมวดทุกะ หรือธรรมหมวดทุกะใส่ในธรรม

หมวดติกะ หรือให้ธรรมหมวดติกะและทุกะทั้งสองเจริญขึ้น หรือนัยที่ทรงแสดง

เวทนาหมวดละ ๗ อย่าง เป็นต้นได้ตามปรารถนานั้น ๆ เพราะความที่พระ-

องค์ทรงมีอารมณ์มาก แม้เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงแสดงด้วยอาการอย่างนี้

นี้ชื่อว่า เทศนาวิลาสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ว่าด้วยกำหนดมหาวาระ ๔

ในอภิธรรมภาชนีย์นั้น บัณฑิตพึงทราบมหาวาระ ๔ เหล่านี้ก่อน คือ

วาระที่พระองค์ทรงถือเอาเวทนาขันธ์ในธรรมหมวดติกะใส่ในธรรมหมวดทุกะ

แสดงไว้ ชื่อว่า ทุกมูลกวาร วาระที่ทรงถือเอาเวทนาในธรรมหมวดทุกะ

ใส่ในธรรมหมวดติกะแสดงไว้ ชื่อว่า ติกมูลกวาร วาระที่ทรงยังเวทนา

ในหมวดติกะและทุกะทั้ง ๒ ให้เจริญแสดงไว้ ชื่อว่า อุภโตวัฑฒิตกวาร

วาระมีอาทิว่า สตฺตวิเธน ดังนี้ ในที่สุด ชื่อว่า พหุวิธวาร.

บรรดามหาวาระทั้ง ๔ เหล่านั้น ในทุกมูลกวารมีวาระ ๙๕๐ วาระ

มีวาระที่ประกอบติกะที่หนึ่งในทุกะที่สอง โดยการนำเวทนาติกะ ปีติติกะ

สนิทัสสนติกะในติกะทั้งหลายออกพร้อมกับทุกะหนึ่ง ๆ ที่ได้อยู่ในทุกะทั้งหลาย

แล้วประกอบติกะ ๑๙ ที่เหลือ ซึ่งได้อยู่เป็นต้น วาระแม้เหล่านั้นทั้งหมด

ทรงย่อตรัสไว้ในพระบาลีแสดงธรรมที่ควรแสดงไว้ในที่นั้น ๆ ก็สำหรับบุคคล

ที่ไม่ให้ฟั่นเฝือควรทราบโดยพิสดาร. แม้ในติกมูลกวาร ก็มีวาระ ๙๕๐

วาระ มีวาระแห่งการประกอบทุกะที่สองกับติกะที่หนึ่งเป็นต้น โดยนำทุกะแรก

เป็นต้น ซึ่งไม่ได้ในทุกะทั้งหลายออกเสีย ประกอบเฉพาะทุกะ ๕๐ มีสเหตุกทุกะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

เป็นต้นซึ่งได้อยู่ที่เหลือ กับติกะหนึ่ง ๆ ที่ได้อยู่ในติกะทั้งหลาย วาระเหล่านั้น

แม้ทั้งหมดตรัสไว้ในพระบาลี ทรงย่อแสดงที่ควรแสดงในที่นั้น ๆ ก็อันบุคคล

ผู้มิให้ฟั่นเฝือควรทราบโดยพิสดาร.

ในอุภโตวัฑฒิตกวาร ตรัสว่ามีวาระ ๑๙ วาระคือมีวาระประกอบ

ติกะที่หนึ่งกับทุกะที่สองเป็นต้นประกอบติกะ ๑๙ ที่ได้อยู่ด้วยทุกะทั้งหลาย ๑๙

ที่ได้อยู่โดยกระทำทุกะที่สองในประเภทเวทนาหมวดละสอง และปฐมติกะแม้ใน

ประเภทเวทนาหมวดละสามให้เป็นต้น นี้เป็นมหาวาระที่สาม ชื่อว่า อุภโต-

วัฑฒิตกวาร เพราะยังทุกะทั้งสองด้วยอำนาจแห่งทุกะและติกะให้เจริญแล้ว.

ในนิเทศแห่งเวทนาหมวดละ ๗ ของพหุวิธวาร ตรัสวาระว่าด้วย

เวทนาหมวดละ ๗ อย่าง ไว้ ๑๙ วาระ ประกอบกับภูมิ ๔ พร้อมกับติกะ ๑๙

ที่ได้อยู่แต่ละติกะ จำเดิมแต่ต้น. แม้ในนิเทศแห่งเวทนาหมวดละ ๒๔

ก็ตรัสวาระ ๑๙ วาระ ด้วยอำนาจติกะเหล่านั้นนั่นเอง ในพหุวิธวาร (ว่าด้วย

เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง) ก็ตรัสไว้อย่างนั้น. วาระว่าด้วยเวทนาหมวดละ

๓๐ เป็นชนิดเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น วาระแม้ทั้งหมดจึงเป็น ๕๘ วาระ

นี้เป็นการพรรณนาพระบาลีในเวทนาขันธ์ด้วยสามารถการกำหนดวาระก่อน.

ว่าด้วยพรรณาอรรถในเวทนาขันธ์

บัดนี้ เป็นการพรรณนาอรรถเวทนาขันธ์ นิเทศแห่งเวทนาหมวดละ

๗ ในเวทนาขันธ์นั้นมีเนื้อความง่ายทั้ง ในนิเทศแห่งเวทนาขันธ์หมวดละ

๒๔ บัณฑิตพึงทราบว่า เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลมีอยู่ เพราะจักขุสัมผัสเป็น

ปัจจัย ด้วยอำนาจกามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง พึงทราบเวทนาขันธ์ที่เป็นอกุศล

ด้วยอำนาจอกุศลจิต ๑๒ ดวง. พึงทราบเวทนาขันธ์ที่เป็นอัพยากฤต ด้วยจิต

๒ ดวง คือ มโนธาตุ ๓ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๓ มหาวิบาก ๘ และ

กามาวจรกิริยา ๑๐.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

ในบรรดาจิตเหล่านั้น กุศลจิต ๘ และอกุศลจิต ๑๒ ย่อมได้ (คือ

เป็นไป) ด้วยอำนาจชวนะ กิริยามโนธาตุ ย่อมได้ด้วยอำนาจอาวัชชนะ

มโนธาตุวิบาก ๒ ย่อมได้ด้วยอำนาจสัมปฏิจฉันนะ มโนวิญญาณธาตุที่เป็น

วิบาก ๓ ย่อมได้ด้วยอำนาจสันติรณะและตทาลัมพนะ. กิริยาอเหตุกมโน-

วิญญาณธาตุ ๑ ย่อมได้ด้วยอำนาจโวฏฐัพพนะ มหาวิบากจิต ๘ ย่อมได้ด้วย

อำนาจตทาลัมพนะ กิริยาจิต ๙ ย่อมได้ด้วยอำนาจชวนะ. แม้ในโสต ฆานะ

ชิวหา และกายทวาร ก็นัยนี้แล.

ก็บทว่า อตฺถิ กุสโล (เป็นกุศลก็มี) นี้ตรัสไว้ด้วยอำนาจกุศลที่

เป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า อตฺถิ อกุสโล (เป็นอกุศลก็มี) ตรัสไว้ด้วยอำนาจ

อกุศล ๑๒. บทว่า อตฺถิ อพฺยากโต (เป็นอัพยากฤตก็มี) ตรัสไว้ด้วย

อำนาจจิตตุปบาท ๓๔ คือ กามาวจรวิบาก ๑๑ กิริยา ๑๐ รูปาวจรกิริยา

และอรูปาวจรกิริยา ๙ และสามัญญผล ๔.

บรรดาจิตตุปบาทเหล่านั้น กุศลจิตที่เป็นไปในภูมิ ๔ (๒๑ ประเภท)

และอกุศลจิต (๑๒ ประเภท) ย่อมได้ (คือย่อมเป็นไป) ด้วยอำนาจชวนะ

อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาย่อมได้ด้วยอาวัชชนะ ๑. วิปากจิต ๑๑

ย่อมได้ด้วยอำนาจตทาลัมพนะ กิริยาจิตที่เป็นไปในภูมิ ๓ (คือที่เป็นกามาวจร

๙ ที่เป็นไปในรูปาวจรารูปวจร ๙) และสามัญผล ๔ ย่อมได้ด้วยอำนาจชวนะ

จิตตุปบาทเหล่านั้นสมควรเพื่อจะตั้งไว้กล่าวในเวทนาขันธ์ทั้งหลายมีเวทนาขันธ์

หมวดละ ๗ เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งจิต

เหล่านั้นไว้ในเวทนาหมวดละ ๗ แสดงอยู่ เป็นการแสดงได้โดยง่าย เพราะ

ฉะนั้น จึงทรงตั้งจิตเหล่านั้นแสดงเวทนาหมวดละ ๓๐ เท่านั้น.

ก็จิตในจักขุทวาร (มีจำนวน ๔๔ ดวง) เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ย่อมได้

ด้วยอาการ ๓ คือ ด้วยอุปนิสสยโกฏิ (เงื่อนของอุปนิสสัย) ๑ ด้วยอำนาจ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

การก้าวล่วง (กิเลส) ๑ ด้วยอำนาจภาวนา ๑ ในโสตทวารและมโนทวาร

ก็ย่อมได้ด้วยอาการ ๓ เหมือนอย่างนั้น แต่ฆานะ ชิวหา และกายทวาร

พึ่งทราบว่า ย่อมได้ด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ด้วยอำนาจการก้าวล่วง และ

ด้วยอานาจภาวนา.

ว่าด้วยอาการ ๓

ย่อมได้ด้วยอาการ ๓ เป็นอย่างไร ?

คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เที่ยวจาริกไปยังวิหารเห็นมณฑลกสิณ

จึงถามว่ นี้ชื่ออะไร เมื่อเขาตอบว่า มณฑลกสิณดังนี้ จึงถามอีกว่าพวกเขา

ทำอะไรด้วยมณฑลกสิณนี้ ที่นั้นพวกภิกษุจึงบอกแก่เธอว่า พวกภิกษุเจริญ-

มณฑลกสิณนี้ยังฌานทั้งหลายให้เกิดแล้ว เจริญวิปัสสนามีสมาบัติเป็นบาทแล้ว

บรรลุพระอรหัต ดังนี้กุลบุตร (ผู้บวชด้วยศรัทธา) จึงพร้อมด้วยความตั้งใจ

มิได้กำหนดว่า นี้เป็นภาระหนัก มีความคิดว่า แม้เราก็ควรยังคุณนี้ให้เกิดขึ้น

ดังนี้ จึงคิดว่า ถึงคุณนี้อันบุคคลผู้นอนหลับ ไม่อาจเพื่อจะให้เกิดได้

เราควรทำความเพียรชำระศีลให้หมดจดตั้งแต่เบื้องต้น ดังนี้ จึงยังศีล

ให้หมดจด ต่อจากนั้น ก็ตั้งมั่นในศีล ตัดปลิโพธ ๑๐ เป็นผู้สันโดษยินดีด้วย

ไตรจีวรเป็นอย่างยีง ทำวัตรปฏิบัติต่อพระอาจารย์และอุปัชฌาย์ เรียนกรรมฐาน

กระทำกสิณบริกรรม ยังสมาบัติให้เกิดแล้วเจริญวิปัสสนามีสมาบัติเป็นปทัฏฐาน

แล้วบรรลุพระอรหัต. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น จักขุวิญญาณเป็นปัจจัย

ที่มีกำลังก็การเกิดเวทนาเป็นไปในภูมิ ๔ อย่างนี้ คือ เวทนาในการบริกรรม

แม้ทั้งหมดเป็นกามาพจร เวทนาในสมาบัติ ๘ เป็นรูปาพจรและอรูปาพจร

เวทนาในมรรคและผลเป็นโลกุตระ เพราะฉะนั้น เวทนาที่เป็นไปในภูมิ ๔

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

จึงชื่อว่า มีจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย จิตในจักขุทวารย่อมได้ด้วยอำนาจ

อุปนิสสัย อย่างนี้ก่อน.

อนึ่ง เมื่อรูปมาสู่คลองจักขุทวารแล้ว กุลบุตรผู้ดำรงอยู่ในการพิจารณา

อย่างนี้ว่า ความยินดีเกิดขึ้นแล้วแก่เราในอารมณ์ที่น่าปรารถนา ปฏิฆะเกิดขึ้น

แล้วแก่เราในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา โมหะเกิดขึ้นแล้วแก่เราในขณะที่ไม่เห็น

ตามเป็นจริง ก็มานะเกิดขึ้นแล้วแก่เราผู้มีความผูกพันในอารมณ์ต่าง ๆ ทิฏฐิ

เกิดแก่เราผู้มีความยึดถือผิด อุทธัจจะเกิดแก่เราผู้มีจิตฟุ้งซ่าน วิจิกิจฉาเกิด

แก่เราผู้ตกลงใจไม่ได้ อนุสัยเกิดแก่เราผู้มีกิเลสแรงกล้า ดังนี้ รู้ความเกิดขึ้น

แห่งกิเลสของตนแล้ว จึงคิดว่า กิเลสเหล่านี้เจริญขึ้นแก่เราแล้วจักเป็นไป

เพื่อความฉิบหาย เอาละเราจักข่มมันเสีย จึงใคร่ครวญดูว่า ก็บุคคลผู้นอนหลับ

อยู่ไม่อาจเพื่อข่มกิเลสได้ เราควรเริ่มทำความเพียร เพื่อชำระศีลให้หมดจด

แต่ต้นทีเดียว ดังนี้ จึงปฏิบัติโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ย่อมบรรลุพระอรหัต

ได้. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น เวทนาที่ก้าวล่วงกิเลสที่เกิดขึ้นในรูปารมณ์

เป็นไปอย่างนี้ว่า บริกรรมเวทนาแม้ทั้งหมดเป็นกามาพจร เวทนาเป็นไปใน

สมาบัติ ๘ เป็นรูปาวจรารูปาวจร เวทนาเป็นไปในมรรคผลเป็นโลกุตระ

เพราฉะนั้น เวทนาที่เป็นไปในภูมิ ๔ จึงชื่อว่า มีจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยเกิดขึ้น

จิตในจักขุทวารย่อมได้ด้วยอำนาจการก้าวล่วง (กิเลส) อย่างนี้.

อนึ่ง เมื่อรูปมาสู่คลองจักขุทวารแล้ว กุลบุตรผู้หนึ่ง ย่อมเริ่มตั้ง

กำหนดอย่างนี้ว่า รูปนี้อาศัยอะไร ? ต่อจากนั้นก็จักทราบรูป (รูปารมณ์)

นั้น ว่าอาศัยภูต (มหาภูตรูป) แล้วก็กำหนดมหาภูตรูป ๔ และอุปาทารูป

(คือรูปที่อาศัยมหาภูตรูป) ว่าเป็นรูป และกำหนดธรรมทั้งหลายมีรูปนั้น

เป็นอารมณ์ ว่าเป็นอรูป (คือนาม) ต่อจากนั้นก็กำหนดนามรูปพร้อมทั้ง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

ปัจจัยแล้วยกขึ้นสู่ลักษณะ ๓ พิจารณาสังขารทั้งหลายโดยลำดับแห่งวิปัสสนา

ย่อมบรรลุพระอรหัตได้. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น เวทนาที่เกิดขึ้น

พิจารณารูปารมณ์อย่างนี้ว่า บริกรรมเวทนาแม้ทั้งหมดเป็นกามาพจร เวทนาที่

เป็นไปในสมาบัติ ๘ เป็นรูปาพจร อรูปาพจร เวทนาในมรรคและผลเป็น

โลกุตระ ดังนี้ เพราะฉะนั้น เวทนานี้ จึงชื่อว่า มีจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย

เกิดแล้ว จิตในจักขุทวาร ย่อมได้ด้วยอำนาจภาวนา อย่างนี้.

ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้ฟังว่า ได้ยินว่าบุคคลทำบริกรรมกสิณ ยังสมาบัติ

ให้เกิดขึ้นเจริญวิปัสสนา มีสมาบัติเป็นปทัฏฐานแล้วย่อมบรรลุพระอรหัต ดังนี้

กุลบุตรผู้ถึงพร้อมด้วยอัชฌาศัย (คือความตั้งใจ) มิได้กำหนดว่า เรื่องนี้เป็น

ภาระหนัก จึงดำริว่า แม้เราก็ควรให้คุณนี้เกิดขึ้น ดังนี้ แล้วก็ปฏิบัติโดยนัย

ก่อนนั่นแหละ ย่อมบรรลุพระอรหัตได้. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น

โสตวิญญาณชื่อว่าเป็นปัจจัยมีกำลัง เพราะความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไปใน

ภูมิ ๔ อย่างนี้ว่า บริกรรมเวทนาแม้ทั้งหมดเป็นกามาพจร เวทนาเป็นไปใน

สมาบัติ เป็นรูปาพจร อรูปาพจร เวทนาในมรรคและผลเป็นโลกุตระ ดังนี้

เพราะฉะนั้น เวทนาที่เป็นไปในภูมิ ๔ จึงชื่อว่า มีโสตสัมผัสเป็นปัจจัย จิต

ในโสตทวารย่อมได้ด้วยอำนาจอุปนิสสัย อย่างนี้ก่อน.

อนึ่ง เมื่อเสียงมาสู่คลองโสตทวาร กุลบุตรผู้หนึ่งย่อมเริ่มกำหนด

อย่างนี้ว่า เสียงนี้อาศัยอะไร ดังนี้เป็นต้น คำทั้งหมดนี้ พึงทราบโดยนัยที่

กล่าวในจักขุทวารนั่นแหละ. เวทนาที่เกิดขึ้นพิจารณาสัททารมณ์อย่างนี้แล้ว

เพราะฉะนั้น เวทนานี้จึงชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะมีโสตสัมผัสเป็นปัจจัย จิตใน

โสตทวารย่อมได้ด้วยอำนาจภาวนา อย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

อนึ่ง คำทั้งหมดว่า ฆานะ ชิวหา และกายทวารมาสู่คลองมีกลิ่นเป็นต้น

เป็นอารมณ์ ความยินดีในอารมณ์ที่น่าปรารถนาเกิดขึ้นแล้วแก่เราเป็นต้น

พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในจักขุทวารนั้นแหละ. เวทนาที่เป็นไปก้าวล่วงกิเลส

ที่เกิดขึ้นในคันธารมณ์เป็นต้นอย่างนี้แล้ว เพราะฉะนั้นเวทนาอันเป็นไปภูมิ

๔ จึงชื่อว่า มีฆานะ ชิวหา กายสัมผัสเป็นปัจจัย จิตทั้งหลายย่อมได้ในทวาร ๓

ด้วยอำนาจการก้าวล่วง (กิเลส) อย่างนี้.

แต่คำทั้งหมดว่า เมื่อกลิ่นเป็นต้นมาสู่คลองฆานทวารเป็นต้นแล้ว

กุลบุตรผู้หนึ่ง ย่อมเริ่มกำหนดอย่างนี้ว่า กลิ่นนี้ รสนี้ โผฏฐัพพะนี้ อาศัย

อะไร ดังนี้เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในจักขุทวารเหมือนกัน. เวทนา

ที่เกิดขึ้นพิจารณากลิ่นเป็นต้น เป็นอารมณ์อย่างนี้ เพราะฉะนั้น เวทนานี้จึง

ชื่อว่า มีฆานะ ชิวหา กายสัมผัสเป็นปัจจัย จิตทั้งหลายย่อมได้ด้วยอำนาจภาวนา

อย่างนี้.

ก็จิตในมโนทวาร (มี ๖๗ ดวง) ย่อมได้ด้วยอาการแม้ทั้ง ๓.

จริงอยู่ กุลบุตรบางคนเห็นชาติ (ความเกิด) โดยความเป็นภัย ย่อม

เห็นชรา พยาธิ มรณะโดยความเป็นภัย ครั้นเห็นโดยความเป็นภัยแล้ว ก็คิด

ว่าเราควรพ้นจากชาติ ชรา พยาธิ และมรณะ ดังนี้ ก็แต่ว่า อันบุคคลผู้นอน

หลับอยู่ไม่อาจเพื่อจะพ้นจากชาติเป็นต้นได้ เราควรทำความเพียรชำระศีลให้

บริสุทธิ์ตั้งแต่นี้ทีเดียว ดังนี้ แล้วปฏิบัติโดยนัยที่กล่าวไว้ในจักขุทวารนั่นแหละ

ก็ย่อมบรรลุพระอรหัตได้. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น ชาติ ชรา พยาธิ

และมรณะเป็นปัจจัยมีกำลังเพราะความเกิดแห่งเวทนาอันเป็นไปในภูมิ ๔ อย่างนี้

ว่า บริกรรมเวทนาแม้ทั้งหมดเป็นกามาพจร เวทนาเป็นไปในสมาบัติ ๘ เป็น

รูปาพจร อรูปาพจร เวทนาในมรรคและผลเป็นโลกุตระดังนี้ เพราะฉะนั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

เวทนาที่เป็นไปในภูมิ ๔ จึงชื่อว่ามีมโนสัมผัสเป็นปัจจัย จิตในมโนทวาร

ย่อมได้ด้วยอำนาจอุปนิสสัยอย่างนี้ก่อน.

คำทั้งหมดว่า ก็เมื่อธรรมารมณ์มาสู่คลองมโนทวารเป็นต้น พึงทราบ

โดยที่กล่าวไว้ในจักขุทวารนั่นแหละ. เวทนาที่ก้าวล่วงกิเลสที่เกิดขึ้นใน

ธรรมารมณ์อย่างนี้แล้ว เพราะฉะนั้น เวทนาเป็นไปในภูมิ ๔ จึงชื่อว่า

มีมโนสัมผัสเป็นปัจจัย จิตในมโนทวารย่อมได้ด้วยอำนาจการก้าวล่วงกิเลส

อย่างนี้.

อนึ่ง เมื่อธรรมารมณ์มาสู่คลองมโนทวารแล้ว กุลบุตรผู้หนึ่งย่อมเริ่ม

กำหนดอย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์นี้อาศัยอะไร ทราบแล้วว่า อาศัยวัตถุ

ก็พิจารณาว่า วัตถุอาศัยอะไร ทราบแล้วว่า อาศัยมหาภูตรูป ดังนี้ เธอ

จึงกำหนดมหาภูตรูป และอุปาทารูป ว่าเป็น รูป ย่อมกำหนดธรรมที่มีรูป

นั้นเป็นอารมณ์ว่าเป็น อรูป (นาม) ต่อจากนั้น ก็กำหนดนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย

ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์พิจารณาสังขารทั้งหลายโดยลำดับแห่งวิปัสสนาแล้วย่อมบรรลุ

พระอรหัต. ในการบรรลุพระอรหัตนั้น เวทนานี้คือ ที่เกิดขึ้นพิจารณา

ธรรมารมณ์อย่างนี้ว่า บริกรรมเวทนาแม้ทั้งหมดเป็นกามาพจร เวทนาที่เป็น

ไปในสมาบัติ ๘ เป็นรูปาพจร อรูปาพจร เวทนาในมรรคและผลเป็นโลกุตระ

ดังนี้ ชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะมีมโนสัมผัสเป็นปัจจัย จิตในมโนทวารย่อมได้ด้วย

อำนาจภาวนาอย่างนี้.

ก็เวทนาอย่างละ ๖ คือ เวทหาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิด

แต่มโนสัมผัส ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในที่สุดแห่งวาระมีวาระแห่ง

เวทนาหมวดละ ๒๔ เป็นต้น แม้ทั้งหมดเหล่านี้ เวทนาเหล่านั้นตรัสด้วยอำนาจ

แห่งปัจจัยธรรมสัมปยุตกัน ดังนี้แล.

นิเทศแห่งเวทนาขันธ์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

ว่าด้วยนิเทศแห่งสัญญาขันธ์

แม้สัญญาขันธ์เป็นต้นก็พึงทราบโดยอุบายนี้.*

จริงอยู่ ในนิเทศแห่งสัญญาขันธ์ย่อมได้แม้เวทนาติกะ และปิติกะ

ในติกะทั้งหลายโดยสิ้นเชิง แม้ธรรมมีสุขสหคตะเป็นต้น ก็ย่อมได้แม้ในทุกะ

ทั้งหลาย.

ในนิเทศแห่งสังขารขันธ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสคำว่า สัมปยุต

ด้วยผัสสะ เพราะแม้ผัสสะก็เป็นธรรมนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่ตรัสคำว่า

จิตฺตสมฺปยุตฺโต (สัมปยุตด้วยจิต ) และในนิเทศแห่งขันธ์นี้ ธรรมทั้งหลาย

แม้มีเหตุทุกะเป็นต้น ย่อมได้ในทุกะทั้งหลาย ธรรมหมวดติกะเป็นเหมือน-

สัญญาขันธ์นั่นแล.

ในนิเทศแห่งวิญญาณขันธ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสความที่

วิญญาณขันธ์เป็นธรรมเกิดแต่จักขุสัมผัส แต่ตรัสคำว่า จกฺขุวิญฺาณ (จักขุ

วิญญาณ) เป็นต้น เพราะใคร ๆ ไม่อาจเพื่อแสดงว่า วิญญาณเกิดแต่มโนสัม-

ผัส ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้เป็นเช่นเดียวกับคำที่กล่าวในสัญญาขันธ์นั่นแล.

ก็ในนิเทศแห่งขันธ์แม้ทั้ง ๓ เหล่านี้ ได้ธรรมหมวดติกะและทุกะ

มากกว่านิเทศแห่งเวทนาขันธ์ บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งวาระด้วยอำนาจ

แห่งธรรมติกะและทุกะเหล่านั้นเถิด ฉะนี้แล.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

* โดยเหมือนเวทนาขันธ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

ปัญหาปุจฉกะ

[๘๔] ขันธ์ ๕ คือ

๑. รูปขันธ์

๒. เวทนาขันธ์

๓. สัญญาขันธ์

๔. สังขารขันธ์

๕. วิญญาณขันธ์.

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนเป็นกุศล ขันธ์ไหนเป็นอกุศล ขันธ์ไหน

เป็นอัพยากฤต ฯลฯ ขันธ์ไหนเป็นสรณะ ขันธ์ไหนเป็นอรณะ.

ติกมาติกาวิสัชนา

[๘๕] รูปขันธ์เป็นอัพยากฤต ขันธ์ ๔ [เบื้องปลาย] เป็นกุศลก็มี

เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี ขันธ์ ๒ [เบื้องต้น ] กล่าวไม่ได้ว่าแม้เป็น

สุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต

ขันธ์ ๓ [เบื้องปลาย] เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี

เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี รูปขันธ์เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม

ขันธ์ ๔ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมธรรม

ก็มี รูปขันธ์ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี ขันธ์

๔ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนา-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

นุปาทานิยะก็มี รูปขันธ์เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ ขันธ์ ๔ เป็นสังกิลิฏฐสังกิเล-

สิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะก็มี รูปขันธ์

เป็นอวิตักกาวิจาระ ขันธ์ ๓ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี

เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี สังขารขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัต-

ตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสวิตักกสวิจาระ แม้เป็นอวิ-

ตักกวิจารมัตตะ แม้เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติ-

สหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะ เวทนาขันธ์ เป็นปีติสหคตะ

เป็นนสุขสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปีติสหคตะก็มี

ขันธ์ ๓ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี กล่าวไม่

ได้ว่าแม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี รูปขันธ์

เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ ขันธ์ ๔ เป็นทัสสนปหาตัพพะก็มี เป็น

ภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะก็มี รูปขันธ์ เป็น

เนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ขันธ์ ๔ เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี

เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี

รูปขันธ์ เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามี ขันธ์ ๕ เป็นอาจยคามีก็มี เป็นอปจยคามี

ก็มี เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามีก็มี รูปขันธ์ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ ขันธ์ ๔

เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสกขนาเสกขะก็มี รูปขันธ์ เป็น

ปริตตะ ขันธ์ ๔ เป็นปริตตะก็มี เป็นมหัคคตะก็มี เป็นอัปปมาณะก็มี

รูปขันธ์ เป็นอนารัมนณะ ขันธ์ ๔ เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตา-

รัมนณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ

แม้เป็นมหัคคตารัมมณะ แม้เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี รูปขันธ์ เป็นมัชฌิมะ

ขันธ์ ๔ เป็นหีนะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี เป็นปณีตะก็มี รูปขันธ์ เป็นอนิยตะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

ขันธ์ ๔ เป็นมิจฉัตตนิยตะก็มี เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี รูปขันธ์

เป็นอนารัมมณะ ขันธ์ ๔ เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็น

มัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ

แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี ขันธ์ ๕ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็น

อุปปาทีก็มี ขันธ์ ๕ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี รูปขันธ์

เป็นอนารัมมณะ ขันธ์ ๔ เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี

เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็น

อนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี ขันธ์ ๕ เป็นอัชฌัตตะก็มี

เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี รูปขันธ์ เป็นอนารัมมณะ ขันธ์ ๔

เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ

ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอัชฌัตตารัมมณะ แม้เป็นพหิทธารัมมณะ แม้เป็น

อัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี ขันธ์ ๔ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ รูปขันธ์ เป็น

สนิทัสสนสัปปฏิฆะก็มี เป็นอนิทัสสนสัปปฏิฆะก็มี เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะก็มี.

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๘๖] ขันธ์ ๔ เป็นนเหตุ สังขารขันธ์เป็เหตุก็มี เป็นนเหตุก็มี

รูปขันธ์ เป็นอเหตุกะ ขันธ์ ๔ เป็นสเหตุกะก็มี เป็นอเหตุกะก็มี รูปขันธ์

เป็นเหตุวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุวิปปยุตก็มี รูปขันธ์

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุกนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสเหตุกนเหตุก็มี

สังขารขันธ์เป็นเหตุสเหตุกะก็มี เป็นสเหตุกนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

เหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

เหตุเหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุ

เหตุสัมปยุต เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ

ก็มี สังขารขันธ์ เป็นเหตุเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี กล่าว

ไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี รูปขันธ์

เป็นนเหตุอเหตุกะ ขันธ์ ๓ เป็นนเหตุสเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุก็มี

สังขารขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี.

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา

[๘๗] ขันธ์ ๕ เป็นสัปปัจจยะ เป็นสังขตะ ขันธ์ ๔ เป็นอนิทัสสนะ

รูปขันธ์ เป็นสนิทัสสนะก็มี เป็นอนิทัสสนะก็มี ขันธ์ ๔ เป็นอัปปฏิฆะ

รูปขันธ์ เป็นสัปปฏิฆะก็มี เป็นอัปปฏิฆะก็มี รูปขันธ์ เป็นรูปขันธ์ ๔ เป็น

อรูป รูปขันธ์เป็นโลกิยะ ขันธ์ ๔ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตระก็มี ขันธ์ ๕

เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา

[๘๘] ขันธ์ ๘ เป็นโนอาสวะ สังขารขันธ์ เป็นอาสวะก็มี เป็น

โนอาสวะก็มี รูปขันธ์ เป็นสาสวะ ขันธ์ ๔ เป็นสาสวะก็มี เป็นอนาสวะก็มี

รูปขันธ์ เป็นอาสววิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นอาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสววิปปยุต

ก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่าเป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ ขันธ์ ๓

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

สาสวโนอาสวะก็มี สังขารขันธ์ เป็นอาสวสาสวะก็มี เป็นสาสวโนอาสวะก็มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ แม้เป็นสาสวโนอาสวะก็มี รูปขันธ์ กล่าว

ไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตโนอาสวะ ขันธ์ ๓

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวอาสวสัมปยุต เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี กล่าว

ไม่ได้ว่า เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี สังขารขันธ์ เป็นอาสวอาสวสัมปยุต

ก็มี เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต

แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี รูปขันธ์ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ ขันธ์ ๔

เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ แม้เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี.

๔. สัญโญชนโคฉกวิสัชนา

[๘๙] ขันธ์ ๔ เป็นโนสัญโญชนะ สังขารขันธ์ เป็นสัญโญชนะก็มี

เป็นโนสัญโญชนะก็มี รูปขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ ขันธ์ ๔ เป็นสัญโญชนิยะก็มี

เป็นอสัญโญชนิยะก็มี รูปขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นสัญโญชน-

สัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่าเป็นสัญโญชน-

สัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่าเป็นสัญโญ-

ชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญ-

ชนิยะโนสัญโญชนะก็มี สังขารขันธ์ เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญ-

ชนิยโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ แม้เป็น

สัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญ-

ชนสัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่าเป็น

สัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าว

ไม่ได้ว่าเป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี สังขารขันธ์เป็นสัญโญชน-

สัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี

รูปขันธ์ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ ขันธ์ ๔ เป็นสัญโญชนวิปปยุตต-

สัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้

เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ

ก็มี.

๕. คันถโคจฉกวิสัชนา

[๙๐] ขันธ์ ๔ เป็นโนคันถะ สังขารขันธ์เป็นคันถะก็มี เป็นโนคันถะ

ก็มี รูปขันธ์ เป็นคันถนิยะ ขันธ์ ๔ เป็นคันถนิยะก็มี เป็นอคันถนิยะก็มี

รูปขันธ์ เป็นคันถวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นคันถสัมปยุตก็มี เป็นคันถวิปปยุตก็มี

รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะ ขันธ์ ๓

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี สังขารขันธ์ เป็นคันถคันถนิยะก็มี เป็นคันถนิยโน-

คันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถนิยะ แม้เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี

รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะ

ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถสัมปยุต เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี สังขารขันธ์ เป็นคันถคันถสัมปยุต

ก็มี เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต

แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี รูปขันธ์ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ ขันธ์ ๔

เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะก็มี เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ แม้เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

๖.๗.๘ โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา

[๙๑] ขันธ์ ๔ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ ขันธ์ ๔ เป็นโนโยคะ ฯลฯ

ขันธ์ ๔ เป็นโนนีวรณะ สังขารขันธ์ เป็นนีวรณะก็มี เป็นโนนีวรณะก็มี

รูปขันธ์ เป็นนีวรณิยะ ขันธ์ ๔ เป็นนีวรณิยะก็มี เป็นอนีวรณิยะก็มี รูปขันธ์

เป็นนีวรณวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นนีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตก็มี

รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ ขันธ์ ๓

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี สังขารขันธ์ ์ เป็นนีวรณนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณิย-

โนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณิยโน-

นีวรณะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณะ

สัมปยุตตโนนีวรณะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต เป็น

นีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ

ก็มี สังขารขันธ์เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ

ก็มี รูปขันธ์ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ ขันธ์ ๔ เป็นนีวรณวิปปยุตต-

นีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตอณีวรณิยะก็มี.

๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา

[๙๒] ขันธ์ ๔ เป็นโนปรามาสะ สังขารขันธ์ เป็นปรามาสะก็มี

เป็นโนปรามาสะก็มี รูปขันธ์เป็นปรามัฏฐะ ขันธ์ ๔ เป็นปรามัฏฐะก็มี เป็น

อปรามัฏฐะก็มี รูปขันธ์เป็นปรามาสวิปปยุต ขันธ์ ๓ เป็นปรามาสสัมปยุตก็มี

เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี สังขารขันธ์ เป็นปรามาสสัมปยุตก็มี เป็นปรามาส-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

วิปปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสสัมปยุต แม้เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี

รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี

ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี สังขารขันธ์ เป็นปรามาสปรามัฏฐะ

ก็มี เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสปรามัฏฐะ

แม้เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี รูปขันธ์ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ

ขันธ์ ๔ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะ

ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามาสวิปป-

ยุตตอปรามัฏฐะก็มี.

๑๐. มหัตรทุกวิสัชนา

[๙๓] รูปขันธ์ เป็นอนารัมมณะ ขันธ์ ๔ เป็นสารัมมณะ ขันธ์

เป็นโนจิตตะ วิญญาณขันธ์เป็นจิตตะ ขันธ์ ๓ เป็นเจตสิกะ ขันธ์ ๒ เป็น

อเจตสิกะ ขันธ์ ๓ เป็นจิตตสัมปยุต รูปขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต วิญญาณขันธ์

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสัมปยุต แม้เป็นจิตตวิปปยุต ขันธ์ ๓ เป็นจิตต-

สังสัฏฐะ รูปขันธ์ เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ วิญญาณขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

จิตตสังสัฏฐะ แม้เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ ขันธ์ ๓ เป็นจิตตสมุฏฐานะ วิญญาณขันธ์

เป็นโนจิตตสมุฏฐานะ รูปขันธ์ เป็นจิตตสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสมุฏฐานะ

ก็มี ขันธ์ ๓ เป็นจิตตสหภู วิญญาณขันธ์เป็นโนจิตตสหภู รูปขันธ์เป็นจิตตสหภู

ก็มี เป็นโนจิตตสหภูก็มี ขันธ์ ๓ เป็นจิตตานุปริวัตติ วิญญาณขันธ์เป็น

โนจิตตานุปริวัตติ รูปขันธ์ เป็นจิตตานุปริวัตติก็มี เป็นโนจิตตานุปริวัตติก็มี

ขันธ์ ๓ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฎฐานะ ขันธ์ ๒ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ

ขันธ์ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู ขันธ์ ๒ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐาน-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

สหภุ ขันธ์ ๓ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ ขันธ์ ๒ เป็นโนจิตตสัง-

สัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ ขันธ์ ๓ เป็นพาหิระ วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตติกะ

รูปขันธ์ เป็นอัชฌัตติกะก็มี เป็นพาหิระก็มี ขันธ์ ๔ เป็นนอุปาทา รูปขันธ์

เป็นอุปาทาก็มี เป็นนอุปาทาก็มี เป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี.

๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา

[๙๔] ขันธ์ ๔ เป็นนอุปาทานะ สังขารขันธ์ เป็นอุปาทานะก็มี

เป็นนอุปาทานะก็มี รูปขันธ์ เป็นอุปาทานิยะ ขันธ์ ๔ เป็นอุปาทานิยะก็มี

เป็นอนุปาทานิยะก็มี รูปขันธ์ เป็นอุปาทานวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นอุปาทาน

สัมปยุตก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทาน-

อุปาทานิยะ เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทาน

อุปาทานิยะ เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานิยโน-

อุปาทานะก็มี สังขารขันธ์ เป็นอุปาทานอุปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานิยโน

อุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานิย-

โนอุปาทานะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต

แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทาน

อุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

อุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี สังขารขันธ์ เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต

ก็มี เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทาน

อุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี รูปขันธ์ เป็น

อุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ ขันธ์ ๔ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะก็มี

เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานวิปป-

ยุตตอุปาทินิยะ แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา

[๙๕] ขันธ์ ๔ เป็นโนกิเลสะ สังขารขันธ์ เป็นกิเลสะก็มี เป็น

โนกิเลสะก็มี รูปขันธ์ เป็นสังกิเลสิกะ ขันธ์ ๔ เป็นสังกิเลสิกะก็มี เป็น

สังกิเลสิกะก็มี รุปขันธ์ เป็นอสังกิลิฏฐะ ขันธ์ เป็นสังกิลิฏฐะก็มี เป็น

อสังกิลิฏฐะก็มี รูปขันธ์ เป็นกิเลสวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นกิเลสสัมปยุตก็มี เป็น

กิเลสวิปปยุตก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเล-

สิกโนกิเลสะ รูปขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเลสิกโน

กิเลสิกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี สังขารขันธ์ เป็นกิเลส-

สังกิเลสิกะก็มี เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ

แม้เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสังกิลิฏฐะ

แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ เป็น

สังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี สังขารขันธ์

เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะก็มี เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

กิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

กิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

กิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี สังขารขันธ์ เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุตก็มี เป็นกิเลส

สัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลส

สัมปยุตโนกิเลสะก็มี รูปขันธ์ เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ ขันธ์ ๔ เป็น

กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะก็มี เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ แมัเป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา

[๙๖] รูปขันธ์ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ ขันธ์ ๔ เป็นทัสสนปหาตัพพะ

ก็มี เป็นนทัสสนปหาตัพพะก็มี รูปขันธ์ เป็นนภาวนาปหาตัพพะ ขันธ์ ๔ เป็น

ภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นนภาวนาปหาตัพพะก็มี รูปขันธ์ เป็นนทัสสนปหา-

ตัพพเหตุกะ ขันธ์ ๔ เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะ

ก็มี รูปขันธ์ เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ขันธ์ ๔ เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ

ก็มี เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี รูปขันธ์ เป็นอวิตักกะ ขันธ์ ๔ เป็น

สวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี รูปขันธ์เป็นอวิจาระ ขันธ์ ๔ เป็นสวิจาระก็มี

เป็นอวิจาระก็มี รูปขันธ์ เป็นอัปปีติกะ ขันธ์ ๔ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปี-

ติกะก็มี รูปขันธ์เป็นนปีติสหคตะ ขันธ์ ๔ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติ-

สหคตะก็มี ขันธ์ ๒ เป็นนสุขสหคตะ ขันธ์ ๓ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุข-

สหคตะก็มี ขันธ์ ๒ เป็นนอุเปกขาสหคตะ ขันธ์ ๓ เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี

เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี รูปขันธ์ เป็นกามาวจร ขันธ์ ๔ เป็นกามาวจรก็มี

เป็นนกามาวจรก็มี รูปขันธ์ เป็นนรูปาวจร ขันธ์ ๔ เป็นรูปาวจรก็มี เป็น

นรูปาวจรก็มี รูปขันธ์ เป็นนอรูปาวจร ขันธ์ ๔ เป็นอรูปาวจรก็มี เป็น

นอรูปาวจรก็มี รูปขันธ์ เป็นปริยาปันนะ ขันธ์ ๔ เป็นปริยาปันนะก็มี เป็น

อปริยาปันนะก็มี รูปขันธ์ เป็นอนิยยานิกะ ขันธ์ ๔ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็น

อนิยยานิกะก็มี รูปขันธ์ เป็นอนิยตะ ขันธ์ ๔ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี

รูปขันธ์ เป็นสอุตตระ ขันธ์ ๔ เป็นสอุตตระก็มี เป็นอนุตตระก็มี รูปขันธ์

เป็นอรณะ ขันธ์ ๔ เป็นสรณะก็มี เป็นอรณะก็มี ฉะนี้แล.

ปัญหาปุจฉกะ จบ

ขันธวิภังค์ จบบริบูรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ

บัดนี้ เป็นปัญหาปุจฉกะ (หมวด ๓ ปัญหา) ในปัญหาปุจฉกะนั้น

บัณฑิตพึงทราบในการถามปัญหาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหาธรรม

ใดที่ได้และไม่ได้โดยนัยมีอาทิว่า ปญฺจนฺน ขนฺธาน กติ กุสลา กติ

อกุสลา กติ อพฺยากตา (บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนเป็นกุศล ขันธ์ไหน

เป็นอกุศล ขันธ์ไหนเป็นอัพยากฤต) ดังนี้นั้น ในการวิสัชนา พระองค์ทรง

ยกธรรมที่ได้เท่านั้นขึ้นแสดงโดยนัยมีอาทิว่า รูปกฺขนฺโธ อพฺยากโต (รูปขันธ์

เป็นอัพยากฤต) ดังนี้. ก็ในที่ใด ๆ พระองค์ไม่ทรงกำหนดว่า เป็นขันธ์หนึ่ง

หรือขันธ์สอง ก็จะทรงตั้งตันติ (แบบแผน) ไว้โดยนัยมีอาทิว่า สิยา อุปฺปนฺนา

สิยา อนุปปนฺนา (ขันธ์ ๕ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปันนะก็มี) ดังนี้

ในที่นั้น ๆ พึงทราบการถือเอาขันธ์แม้ทั้ง ๕. การจำแนกกุศลเป็นต้นของขันธ์

เหล่านั้น ๆ ที่เหลือ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมสังคหะ* ในหนหลัง

แล้วแล.

ก็ในอารัมมณิกะทั้งหลาย ขันธ์ ๔ ย่อมเป็นปริตตารัมมณะ

แก่บุคคลผู้กำหนัด ผู้ขัดเคือง ผู้ลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้พิจารณา ผู้เล็งเห็น

ปรารภกามาวจรธรรม ๕๕ ดวง เป็นมหัคคตารัมมณะแก่บุคคลผู้กำหนัด

ผู้ขัดเคือง ผู้ลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้เริ่มกำหนดปรารภรูปาวจรและอรุปาวจรธรรม

๒๗ ดวง และเป็นอัปปมาณารัมมณะ แก่บุคคลผู้พิจารณามรรค ผล และ

พระนิพพาน แต่เป็นนวัตตัพพารมณ์ (อารมณ์บัญญัติ ) ในเวลาพิจารณา

บัญญัติ ฉะนี้แล.

* อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

ขันธ์ ๔ เหล่านั้นนั่นเอง เป็นมัคคารัมมณะในวลาที่พระเสขะและ

อเสขะพิจารณามรรค. เป็นมัคคเหตุกะ (มีมรรคเป็นเหตุ) โดยเหตุที่เกิด

พร้อมกันในกาลแห่งมรรค. เป็นมัคคาธิปติ โดยอารัมมณาธิปติ ในเวลา

พิจารณาทำมรรคให้หนัก (เป็นใหญ่). อีกอย่างหนึ่ง ขันธ์ ๔ เป็นมัคคาธิปติ

ด้วยอธิบดีที่เกิดพร้อมกันของบุคคลผู้เจริญมรรคมีวิริยะเป็นใหญ่ หรือมีวิมังสา

เป็นใหญ่ แต่ชื่อว่าเป็นนวัตตัพพารัมมณะ แก่บุคคลผู้เจริญมรรคมีฉันทะ

เป็นใหญ่ หรือมีจิตเป็นใหญ่.

ก็ขันธ์ เป็นอตีตารัมมณะ แก่บุคคลผู้กำหนัด ผู้ขัดเคือง

ผู้ลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้เริ่มกำหนดปรารภขันธ์ ธาตุ อายตนะที่ล่วงแล้ว.

เป็นอนาคตารัมมณะ แก่บุคคลผู้กำหนัดเป็นผู้ปรารภธรรมมีขันธ์เป็นต้น

ที่ยังมาไม่ถึง. เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ แก่บุคคลเหล่านั้นแหละผู้ปรารภ

ธรรมเหล่านั้นแหละที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า. เป็นนวัตตัพพารัมมณะ แก่บุคคล

ผู้พิจารณาบัญญัติ หรือพระนิพพาน.

อนึ่ง ขันธ์ ๔ พึงทราบว่าเป็นอัชฌัตตารัมมณะ แก่บุคคลผู้กำหนัด

ผู้ขัดเคือง ผู้ลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้เริ่มกำหนดปรารภขันธ์ ธาตุ อายตนะของ

ตน เป็นพหิทธารัมมณะ แก่บุคคลผู้ปรารภขันธ์ ธาตุ อายตนะ ของบุคคล

เหล่าอื่น เป็นไปอยู่อย่างนั้น เป็นพหิทธารัมมณะนั่นแหละ แม้ในกาลที่

พิจารณาบัญญัติและพระนิพพาน เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ แก่บุคคลผู้

ประพฤติอย่างนั้นในอัชฌัตตธรรมตามกาล ในพหิทธธรรมตามกาล เป็น

นวัตตัพพารัมมณะ ในกาลแห่งอากิญจัญญายตนะ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงจำแนกขันธ์วิภังค์นี้นำออก ๓ ปริวรรต*

ด้วยอำนาจสุตตันตภาชนีย์เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. ก็ในปริวรรตแม้ทั้ง ๓

มีปริจเฉทเดียวเท่านั้น เพราะรูปขันธ์เป็นกามาพจรอย่างเดียวในที่ทั้งปวง

ขันธ์ ๔ เป็นไปในภูมิ ๔ พระองค์ตรัสไว้ปะปนกันไปทั้งโลกิยะและโลกุตตระแล.

ขันธวิภังคนิเทศที่หนึ่ง

แห่งสัมโมหวิโนทนี อรรถกถาพระวิภังค์ จบ

* หมุนไป ๓ อย่าง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

๒. อาตนวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

[๙๗] อายตนะ ๑๒ คือ

๑. จักขายตนะ

๒. รูปายตนะ

๓. โสตายตนะ

๔. สัททายตนะ

๕. ฆานายตนะ

๖. คันธายตนะ

๗. ชิวหายตนะ

๘. รสายตนะ

๙. กายายตนะ

๑๐. โผฏฐัพพายตนะ

๑๑. มนายตนะ

๑๒. ธรรมายตนะ

[๙๘] จักขุ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไป

เป็นธรรมดา รูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็น

ธรรมดา โสตะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็น

ธรรมดา สัททะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็น

ธรรมดา ฆานะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็น

ธรรมดา คันธะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

ธรรมดา ชิวหา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็น

ธรรมดา รส ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

กาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

โผฏฐัพพะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรวนไปเป็นธรรมดา

มโน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

ธรรม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา.

สุตตันตภาชนีย์ จบ

๒. อายตนวิภังคนิเทศ (บาลีข้อ ๙๗)

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงสุตตันตภาชนีย์ในอายตน-

นิเทศอันเป็นลำดับต่อจากขันธวิภังคนิเทศนั้นก่อน จึงตรัสพระบาลีว่า

ทฺวาทสายตนานิ จกฺขุวายตน รูปยตน (อายตนะ ๑๒ คือ จักขายตนะ

รูปายตนะ) เป็นต้น ในอายตนะเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยบาลีมุตตกะก่อน.

อฺถลกฺขณตาวตฺถ กมสเขปวิตฺถารา

ตถา ทฏฺพฺพโต เจว วิญฺาตพฺโพ วินิจฺฉโย

บัณฑิตพึงทราบวินิจฉันโดยอรรถ ๑

โดยลักษณะ ๑ โดยความมีเพียงเท่านั้น ๑

โดยลำดับ ๑ โดยย่อ ๑ โดยพิสดาร ๑

โดยเป็นธรรมอันบัณฑิตพึงเห็น ๑.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ

ในคำวินิจฉัยเหล่านั้น พึงทราบอรรถโดยแปลกกันก่อน.

๑. จกฺขตีติ จกฺขุ* ชื่อว่า จักขุ เพราะอรรถว่า ย่อมเห็น

อธิบายว่า ย่อมชอบ คือ ทำรูปให้แจ่มแจ้ง

๒. รูปยตีติ รูป ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่า ย่อมให้ปรากฏ

อธิบายว่า รูปเมื่อถึงวิการแหงวรรณะ ย่อมแสดงภาวะของตนไปสู่หทัย.

๓. สุณาตีติ โสต ชื่อว่า โสต เพราะอรรถว่า ได้ยิน.

๔. สปฺปตีติ สทฺโท ชื่อว่า สัททะ เพราะอรรถว่า ออกไป

คือ เปล่งออกไป.

๕. ฆายตีติ ฆาน ชื่อว่า ฆานะ เพราะอรรถว่า สูดดม.

๖. คนฺธยตีติ คนฺโธ ชื่อว่า คันธะ เพราะอรรถว่า ส่งกลิ่น

คือ ย่อมแสดงที่อยู่ของตนให้ปรากฏ.

๗. ชีวิต อวหานตีติ ชิวฺหา ชื่อว่า ชิวหา เพราะอรรถว่า

นำมาซึ่งชีวิต.

๘. รสนฺติ ต สตฺตาติ รโส ชื่อว่า รส เพราะอรรถว่า เป็น

ที่ยินดี คือ เป็นที่ชอบใจของสัตว์ทั้งหลาย.

* จกฺขุวิญฺญาณธิฏญิต หุติวา สมวิสม จกฺขติ อาจิกฺขนฺต วิย โหตีติ จกฺขุ แปลว่า รูปใดเป็น

ที่ตั้งแห่งจักขุวิญญาณ ย่อมเห็นประจักษ์ คือ ย่อมเป็นราวกระบอกอารมณ์ที่ดีและไม่ดี

เพราะฉะนั้น รูปนั้นจึงชื่อว่า จักขุ ได้แก่ จักขุปสาท หรือเรียกว่า ตา คำที่เป็นชื่อของตา

มีมากเช่น จกฺขุ อกฺขิ นยน เนตฺต โลจน ทิฏฺฐิ ทสฺสน เปกฺขน อจฺฉิ ปมฺห ปมุข ดัง

คาถาประพันธ์ไว้ว่า

จกฺขกฺขิ นยน เนตฺต โลจน ทิฏฺิ ทสฺสน

เปกฺขน อจฺฉิ ปมฺหนฺตุ ปมุขนฺติ ปวุจฺจติ

จากธาตุปฺปทีปิกา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

๙. กุจฺฉิตาน สาสวธมฺมาน อาโยติ กาโย ชื่อว่า กาย

เพราะอรรถว่า เป็นบ่อเกิดของธรรมมีอาสวะอันบัณฑิตเกลียด คำว่า อาโย

คือ ที่เกิด.

๑๐. ผุสฺสียตีติ โผฏฺพฺพ ชื่อว่า โผฏัพพะ เพราะอรรถว่า

อันกายย่อมถูกต้อง.

๑๑. มนุยตีติ มโน ชื่อว่า มนะ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้.

๑๒. อตฺตโน ลกฺขณ ธารยตีติ ธมฺมา ชื่อว่า ธรรม เพราะ

อรรถว่า ย่อมทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน.

แต่เมื่อว่าโดยอรรถไม่แปลกกัน พึงทราบว่า ที่ชื่อว่า อายตนะ

เพราะเป็นเครื่องต่อ (อายตนโต) ๑ เพราะการแผ่ธรรมอันเป็นบ่อเกิดแห่ง

อาสวะทั้งหลาย (อายาน ตนนโต) ๑ เพราะนำไปสู่สังสารต่อไป (อายตสฺส

จ นยนโต ) ๑.

จริงอยู่ ในบรรดาอายตนะทั้งหลายมีจักขุและรูปเป็นต้น มีอธิบาย

ไว้ว่า ธรรมทั้งหลายคือจิตและเจตสิกมีอารมณ์ตามทวารนั้น ๆ ย่อมเจริญขึ้น

ย่อมตั้งขึ้น ย่อมสืบต่อ ย่อมขยายไปด้วยกิจ มีการเสวยอารมณ์เป็นต้นของตน ๆ

นี้เป็นคำอธิบายข้อที่ ๑.

ก็เมื่อธรรมอันเป็นอายะ (คือเป็นบ่อเกิดของอาสวะมีอยู่) ธรรมคือจิต

และเจตสิกเหล่านั้นก็ย่อมแผ่ไป คือย่อมยังธรรม อันเป็นบ่อเกิดแห่งอาสวะนี้

ให้กว้างขวาง นี้เป็นคำอธิบายข้อที่ ๒.

ก็อายตนะเหล่านั้นย่อมนำไป คือ ย่อมให้เป็นไปถ่ายเดียวสู่สังสารทุกข์

อันยาวนานมาแต่อดีต เป็นไปล่วงไปในสังสารอันมีเงื้อนเบื้องต้นและที่สุดอัน

รู้ไม่ได้ ให้หวนกลับมิได้ นี้เป็นคำอธิบายข้อที่ ๓.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

เหล่านี้แม้ทั้งหมด จึงตรัสเรียกว่า ชื่อว่า อายตนะ อายตนะ เพราะเป็นเครื่อง

ต่อ เพราะเป็นการแผ่ธรรมอันเป็นบ่อเกิดแห่งอาสวะทั้งหลาย และเพราะนำไป

สู่สังสารอันยาวนานต่อไป.

อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่า

เป็นที่อยู่ เพราะอรรถว่า เป็นอากร เพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุม เพราะ

อรรถว่า เป็นถิ่นเกิด เพราะอรรถว่า เป็นการณะ.

จริงอย่างนั้น โวหารทางโลก เขาเรียก ที่อยู่อาศัย ว่า อายตนะ

เช่นในประโยคมีอาทิว่า อิสฺสรายตน (ที่อยู่ของพระอิศร) วาสุเทวายตน

(ที่อยู่ของพระวาสุเทพ). อากรคือบ่อเกิด เรียกว่า อายตนะ เช่นในประโยค

มีอาทิว่า สุวณฺณายตน (บ่อทอง) รตนายตน (บ่อรัตนะ). ก็โวหารใน

ศาสนาเรียกที่ประชุม ว่า อายตนะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า มโนรเม

อายตเน เสวนฺติ น วิหงฺคมา (เมื่ออายตนะคือที่ประชุมอันเป็นที่รื่นเริงใจ

มีอยู่ พวกนกก็พากันไปอาศัยต้นไม้นั้น ). ถิ่นที่เกิด เรียกว่า อายตนะ

เช่นในประโยคมีอาทิว่า ทกฺขิณาปโถ คุนฺน อายตน (ทักขิณาบถ คือ

ทางทิศใต้ของอินเดีย เป็นถิ่นเกิดของโคทั้งหลาย). การณะ เรียกว่า อายตนะ

เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตตฺร ตเตฺรว สกฺขิภพฺพต ปาปฺณาติ สติ

สติอายตเน (เมื่ออายตนะคือเหตุเป็นเครื่องระลึกมีอยู่ เธอก็จะบรรลุผลใน

จตูปปาตญาณนั้น ๆ โดยแน่นอน).

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้น ๆ ย่อมอาศัยอยู่ใน

อายตนะทั้งหลายมีจักขุเป็นต้น เพราะความเป็นไปเนื่องด้วยจักขุเป็นต้นนั้น

๑. อ. ปญฺจก. เล่ม ๒๒ ๓๘/๔๖

๒. อ. กญฺจก. เล่ม ๒๒ ๒๓/๒๐

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

เพราะเหตุนั้น อายตนะมีจักขุเป็นต้น จึงชื่อว่า เป็นนิวาสถาน คือเป็น

ที่อยู่อาศัยของจิตและเจตสิกเหล่านั้น. อนึ่ง จิตแลเจตสิกเหล่านั้นเกลื่อนกล่น

ในอายตนะจักขุเป็นต้น เพราะอาศัยจักขุเป็นต้นนั้น และเพราะความที่มีรูป

เป็นต้นนั้นเป็นอารมณ์ มีอยู่ เพราะเหตุนั้น อายตนะมีจักขุเป็นต้น จึงชื่อว่า

เป็นอากร คือเป็นบ่อเกิดของจิตและเจตสิกเหล่านั้น. อนึ่ง จักขุเป็นต้น

ชื่อว่า เป็นที่ประชุม (สโมสรณ์) ของจิตและเจตสิกเหล่านั้น เพราะเป็น

ที่ประชุมด้วยอำนาจเป็นวัตถุทวารและอารมณ์ในอายตนะนั้น ๆ. อนึ่ง อายตนะ

มีจักขุเป็นต้น เป็นถิ่นเกิดของจิตและเจตสิกเหล่านั้น เพราะความเกิดขึ้นใน

อายตนะนั้นนั่นแหละ โดยความเป็นที่อาศัย (นิสสยปัจจัย) และเป็นอารมณ์

(อารัมมณปัจจัย ) ของจิตและเจตสิกเหล่านั้น. อนึ่ง อายตนะมีจักขุเป็นต้น

เป็นเหตุ (การณะ) ของจิต และเจตสิกเหล่านั้น เพราะความที่อายตนะมีจักขุ

เป็นต้นเหล่านั้นไม่มี จิตและเจตสิกก็หามีไม่.

ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า อายตนะ ด้วยเหตุแม้เหล่านั้น คือ เพราะ

อรรถว่า เป็นที่อยู่อาศัย เพราะอรรถว่า เป็นอากร เพราะอรรถว่า เป็นที่

ประชุม เพราะอรรถว่า เป็นถิ่นเกิด เพราะอรรถว่า เป็นเหตุ ด้วยประการ

ฉะนี้ เพราะฉะนั้น ว่าโดยอรรถตามที่กล่าวมา จักขุนั้นด้วย เป็นอายตนะด้วย

จึงชื่อว่า จักขวายตนะ ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นด้วย เป็นอายตนะด้วย เพราะ

เหตุนั้น จึงชื่อว่า ธรรมายตนะ.

พึงทราบวินิจฉัยในอายตนะเหล่านี้ โดยอรรถอย่างนี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะ

ก็ข้อว่า โดยลักษณะ นั้น คือ พึงทราบวินิจฉัยในอายตนะเหล่านี้

โดยลักษณะแห่งอาตนะมีจักขุเป็นต้น ก็แต่ลักษณะนั้นของอายตนะมีจักขุ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

เป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในนิเทศแห่งรูปกัณฑ์ในหนหลัง

นั่นแหละ.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความมีเพียงเท่านั้น

ข้อว่า โดยความมีเพียงเท่านั้น ได้แก่ โดยความมีจำนวนเพียง

เท่านั้น คำนี้ มีอธิบายว่า หากมีผู้สงสัยว่า ก็อายตนะแม้มีจักขุเป็นต้น ก็เป็น

ธรรมนั้นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์มิได้ตรัสว่า ธรรมอายตนะ เท่านั้น

แต่ตรัสอายตนะ ๑๒ อย่าง ดังนี้ เพราะเหตุไร ?

ข้อนี้ ควรแก่ความสงสัยว่า ที่ตรัสไว้ ๑๒ อย่าง เพราะทรงกำหนด

ทวารและอารมณ์ อันเป็นที่เกิดขึ้นแห่งวิญญาณกาย ๖*

จริงอยู่ ในอายตนวิภังค์ มีประเภทอายตนะเหล่านั้น โดยกำหนด

ความเป็นทวารและความเป็นอารมณ์ของวิญญาณกาย ๖ มีเพียงนี้เท่านั้น

เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า อายตนะมี ๑๒ ด้วยว่า จักขายตนะนั่นแหละเป็น

ทวารเกิดขึ้นของวิญญาณกายซึ่งนับเนื่องในวิถีของจักขุวิญญาณ และรูปายตนะ

นั่นแหละก็เป็นอารมณ์ อนึ่ง อายตนะนอกนี้เป็นทวารเกิดขึ้นแก่วิญญาณกาย

นอกนี้ แต่อายตนะที่เป็นเอกเทศแห่งมนายตนะกล่าวคือ ภวังคจิตนั้นเองเป็น

ทวารเกิดขึ้นของวิญญาณกายที่ ๖ และธรรมมายตนะที่ไม่ทั่วไปเป็นอารมณ์

เพราะฉะนั้น จึงตรัสอายตนะไว้ ๑๒ เพราะกำหนดทวารเกิดขึ้นและอารมณ์ของ

วิญญาณกาย ๖ ไว้ด้วยประการฉะนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในอายตนะนั้นโดยความมีเพียงเท่านั้น อย่างนี้.

* วิญญาณกาย คือ กองแห่งวิญญาณมี ๖ อย่าง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลำดับ

ข้อว่า โดยลำดับ ความว่า ในบรรดาลำดับทั้งหลายมีลำดับแห่งการ

เกิดขึ้นเป็นต้นตามที่กล่าวไว้แล้วในก่อน* ลำดับแห่งเทศนาเท่านั้นย่อมควรใน

อายตนวิภังค์แม้นี้. เพราะว่า บรรดาอายตนะทั้งหลายที่เป็นภายใน จักขายตนะ

ชื่อว่า ย่อมปรากฏ เพราะความมีรูปที่เห็นได้และกระทบได้เป็นอารมณ์ เพราะ

เหตุนั้น จึงทรงแสดงจักขายตนะก่อน ต่อจากนั้นก็ทรงแสดงโสตายตนะเป็นต้น

ซึ่งมีรูปที่เห็นไม่ได้และกระทบได้เป็นอารมณ์.

อีกอย่างหนึ่ง ในบรรดาอายตนะทั้งหลายที่เป็นภายใน พระองค์ทรง

แสดงจักขายตนะและโสตายตนะก่อน เพราะความที่อานตนะทั้งสองนั้นเป็น

ธรรมมีอุปการะมากโดยเป็นเหตุให้เกิดทัศนานุตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)

และสวนานุตริยะ (การได้ฟังอันยอดเยี่ยม) ต่อจากนั้นก็ทรงแสดงอายตนะ ๓ มี

ฆานายตนะเป็นต้น ในที่สุด ทรงแสดงมนายตนะไว้ เพราะความที่ธรรมแม้

ทั้ง ๕ ก็เป็นอารมณ์เป็นที่เที่ยวไป (ของมนายตนะนั้ย).

อนึ่ง ในอายตนะทั้งหลายอันเป็นภายนอก พระองค์ทรงแสดงอายตนะ

มีรูปเป็นต้นในลำดับของอายตนะภายในนั้น ๆ เพราะความเป็นอารมณ์ของ

จักขายตนะเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบลำดับแห่งอายตนะเหล่านั้นอย่างนี้

แหละแม้โดยกำหนดเหตุเกิดขึ้นของวิญญาณ ข้อนี้ สมด้วยพระบาลีที่ตรัสว่า

* ท่านกล่าวลำดับไว้ ๕ คือ

๑. อุปฺปติจิกฺกโม ลำดับแห่งการเกิด

๒. ปหานกฺกโม ลำดับแห่งการละ

๓. ปฏิปตฺติกฺกโม ลำดับแห่งการปฏิบัติ

๔. ภูมิกฺกโม ลำดับแห่งภูมิ

๕. เทศนากฺกโม ลำดับแห่งการเทศนา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

จักขุวิญญาณย่อมเกิดเพราะอาศัยจักขุและรูป ฯลฯ มโนวิญญาณ

ย่อมเกิดเพราะอาศัยมนะและธรรมทั้งหลาย ดังนี้.

พึงวินิจฉัยในอายตนะเหล่านี้โดยลำดับ อย่างนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยย่อและพิสดาร

ข้อว่า โดยย่อและโดยพิสดาร ความว่า ก็เมื่อว่าโดยย่อ เพราะ

ความที่มนายตนะและธรรมายตนะส่วนหนึ่ง พระองค์ทรงสงเคราะห์เข้าเป็น

นาม อายตะที่เหลือจากนั้น ทรงสงเคราะห์เข้าเป็นรูป อายตนะแม้ทั้ง ๑๒ จึง

เป็นเพียงนามกับรูปเท่านั้น แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร บรรดาอายตนะทั้งหลาย

ที่เป็นภายใน จักขายตนะสักว่าเป็นเพียงเฉพาะจักขุปสาทด้วยสามารถแห่ง

การเกิดก่อน แต่เมื่อว่าโดยประเภทแห่งปัจจัย คติ นิกาย และบุคคล เป็น

อนันตประเภท (มีประเภทหาขอบเขตมิได้) อายตนะ ๔ มีโสตายตนะเป็น

ต้นก็เป็นอนันตประเภทเหมือนกัน. มนายตนะมี ๘๑ ประเภท โดยประเภทแห่ง

กุศล อกุศล วิบาก กิริยาวิญญาณ ที่เป็นไปในภูมิ ๓ แต่เมื่อว่าโดยประเภทแห่ง

วัตถุและปฏิปทาเป็นต้นก็เป็นอนันตประเภท. รสายตนะที่เป็นรูปขันธ์ ว่าโดย

ประเภทแห่งสมุฏฐาน มี ๔ ประเภท สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง) ว่าโดย

สมุฏฐาน มี ๒ ประเภท แต่เมื่อว่าโดยประเภทสภาคะและวิสภาคะแล้ว อายตนะ

แม้ทั้งหมดเป็นอนันตประเภท. โผฏฐัพพายตนะมี ๓ ประเภท ด้วยอำนาจแห่ง

ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ แต่เมื่อว่าโดยสมุฏฐาน มี ๔ ประเภท

เมื่อว่าโดยสภาคะและวิสภาคะเป็นอนันตประเภท. ธรรมายตนะเป็นอนันต-

ประเภท ด้วยอำนาจแห่งธรรมารมณ์เป็นไปในภูมิ ๓ ฉะนี้แล.

พึงทราบวินิจฉัยอายตนะโดยย่อและพิสดารอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยเป็นธรรมพึงเห็น

ก็ในข้อว่า โดยเป็นธรรมอันบัณฑิตพึงเห็น นี้ ความว่า อายตนะ

ทั้งหมดเหล่านั้นแหละ พึงเห็นโดยการยังไม่มาถึง (อนาคมนโต) และโดยการ

ไม่ออกไป (อนิคฺคมนโต).

จริงอยู่ อายตนะเหล่านั้นเมื่อก่อนแต่ผุดขึ้นย่อมมาจากที่ไหน ๆ ก็หาไม่

แม้หลังจากความสลายแล้วจะไปสู่ที่ไหน ๆ ก็หาไม่ โดยที่แท้ เมื่อก่อนแต่

ผุดขึ้น อายตนะเหล่านั้นยังไม่ได้ภาวะของตนโดยเฉพาะ หลังจากสลายไปก็มี

ภาวะของตนแตกหมดแล้ว เหตุที่มันเป็นไปได้ในเบื้องต้นเบื้องปลายและท่าม-

กลางก็เพราะปัจจัย เพราะฉะนั้น พึงเห็นอายตนะทั้งหลายโดยการยังไม่มาถึง

แต่โดยการไม่ออกไป.

อนึ่ง พึงเห็นอายตนะเหล่านี้ โดยความไม่เคลื่อนไป (นิรีหโต)

และไม่มีความพยายาม (อพฺยาปารโต) จริงอยู่ อายตนะทั้งหลายมีจักขุ

และรูปเป็นต้นจะได้มีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ ชื่อว่า วิญญาณพึงเกิดขึ้น

เพราะพวกเราพบกัน ดังนี้ก็หาไม่ และอายตนะเหล่านั้นจะขวนขวายเพื่อความ

เกิดขึ้นแห่งวิญญาณโดยความเป็นทวาร โดยความเป็นวัตถุ หรือโดยความเป็น

อารมณ์ก็หาไม่ คือไม่ต้องขวนขวายพยาม โดยที่แท้ มันเป็นเรื่องธรรมดาเท่านั้น

ที่จักขุวิญญาณเป็นต้น จะเกิดขึ้น เพราะความที่อายตนะมีจักขุและรูปเป็นต้น

พบกัน เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงเห็นอายตนะทั้งหลายโดยความไม่เคลื่อนไป

และโดยความไม่มีความพยายาม.

อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงเห็นอายตนะภายในเหมือนเรือนว่าง เพราะ

เว้นจากความยั่งยืน จากความงาม จากสุข และจากอัตภาพ พึงเห็นอายตนะ

ภายนอกเหมือนพวกโจรปล้นชาวบ้าน เพราะกระทบอายตนะภายใน. ข้อนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

สมดังพระดำรัสที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักขุถูกรูปที่ชอบใจและไม่ชอบใจ

กระทบ ดังนี้ บัณฑิตควรให้พิสดาร อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นอายตนะภายใน

เหมือนสัตว์ ๖* ชนิด พึงเห็นอายตนะภายนอกเหมือนที่เที่ยวหากินของสัตว์

เหล่านั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในอายตนะนี้โดยเป็นธรรมพึงเห็นด้วยประการฉะนี้.

อธิบายอายตนะโดยไตรลักษณ์

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีความประสงค์จะทรงแสดงอาการแห่งอาย-

ตนะเหล่านั้นอันบัณฑิตพึงเห็นแจ้งตามความเป็นจริง จึงเริ่มคำมีอาทิว่า จกฺขุ

อนิจฺจ (จักขุไม่เที่ยง) ดังนี้.

บรรดาอายตนะเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า จักขุ ชื่อว่า ไม่เที่ยง

ด้วยอรรถว่า มีแล้วหามีไม่ ดังนี้ก่อน. ชื่อว่า ความไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔

อย่าง แม้อื่นอีก คือ โดยมีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นที่สุด ๑ โดย

ความแปรปรวนไป ๑ โดยความเป็นของชั่วคราว ๑ โดยปฏิเสธความเที่ยง ๑.

จักขุนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นทุกข์ ด้วยอรรถว่า บีบคั้น อีกอย่างหนึ่ง

จักขุนี้เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ (ฐิติ) เมื่อตั้งอยู่ ย่อมลำบากด้วยชรา

ถึงชราแล้ว ย่อมแตกดับไปแน่แท้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะ

เหตุ เหล่านี้ คือ โดยความเป็นของบีบคั้นเนือง ๆ ๑ โดยความเป็นของ

ทนได้ยาก ๑ โดยเป็นวัตถุตั้งแห่งทุกข์ ๑ โดยปฏิเสธความสุข ๑.

อนึ่ง จักขุนั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา ด้วยอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ.

อีกอย่างหนึ่ง ความที่จักขุนั้นเป็นไปในอำนาจของใคร ๆ ในฐานะ ๓ เหล่านี้

* สัตว์ ๖ ชนิด คือ งู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

คือ จักขุนี้เกิดขึ้นแล้วขอจงอย่าถึงการตั้งอยู่ ถึงการตั้งอยู่แล้ว จงอย่าแก่ ถึง

การแก่แล้ว จงอย่าแตกดับ ดังนี้ หามีได้ไม่ เป็นของสูง ไปจากอาการที่เป็น

ไปในอำนาจนั้น เพราะฉะนั้น จักขุนั้น จึงชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะเหตุ

๔ เหล่านั้น คือ โดยความเป็นของสูญ ๑ โดยความไม่มีเจ้าของ ๑ โดยเป็น

สิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ ๑ โดยปฏิเสธต่ออัตตา ๑.

ที่ชื่อว่า มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เพราะมีภพและคติ

ต่าง ๆ เพราะความเปลี่ยนไปแห่งภพหน้าและภพหลัง เพราะเว้นจากความเป็น

ปกติ คำว่า มีครามแปรปรวนไปเป็นธรรมดานี้ เป็นไวพจน์ของความไม่เทียง

นั่นเอง. แม้ในอายตนะทั้งหลาย มีคำว่า รูปไม่เที่ยง เป็นต้น ก็มีนัยนี้แล.

อีกอย่างหนึ่ง ในอายตนะเหล่านี้ ยกเว้นจักขุเสียแล้ว ธรรมที่เป็น

ไปในภูมิ ๓ ไม่เที่ยง หาใช่จักขุไม่* แต่ว่า จักขุเป็นจักขุด้วย เป็นสภาวะ

ไม่เที่ยงด้วย ธรรมที่เหลือก็เหมือนกันเป็นทุกข์ หาใช่จักขุไม่ แต่จักขุเป็น

จักขุด้วย เป็นทุกข์ด้วย ธรรมที่เหลือเป็นอนัตตา หาใช่จักขุไม่ แต่จักขุเป็น

จักขุด้วย เป็นอนัตตาด้วย ฉะนี้แล. แม้ในรูปเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

ถามว่า ก็ในสุตตันตภาชนีย์นี้ พระตถาคตทรงแสดงลักษณะอะไร.

ตอบว่า ทรงแสดงอนัตตลักษณะแห่งอายตนะ ๑๒ อย่าง.

จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อจะทรงแสดงอนัตตลักษณะ ย่อม

แสดงโดยความไม่เที่ยงบ้าง โดยความเป็นทุกข์บ้าง โดยทั้งความไม่เที่ยงและ

โดยความเป็นทุกข์บ้าง ในลักษณะทั้ง ๓ เหล่านั้น พระองค์ทรงแสดงอนัตต-

ลักษณะ โดยความไม่เที่ยงในสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดพึง

* อายตนะที่เป็นรูปมีจักขายตนะเป็นต้นไม่เกิดในอรูปภูมิ จึงไม่เห็นอายตนะที่เป็นรูปนั้น โดย

ความเป็นอนิจจังเป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

กล่าวว่าจักขุเป็นอัตตา คำของผู้นั้นย่อมไม่ควร จักจุย่อมปรากฏแม้

ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้

ความเสื่อม สิ่งนั้นของบุคคลนั้น ต้องกล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาของเรา

เกิดขึ้นและเสื่อมไป ฉะนั้น คาของผู้ที่กล่าวว่า จักขุเป็นอัตตานั้น

จึงไม่ควร ดังนี้ จักขุเป็นอนัตตา ดังนี้.

พระองค์ทรงแสดงอนัตตลักษะโดยความเป็นทุกข์ ในสูตรนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้ารูปนี้

จักได้เป็นอัตตา รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใคร ๆ ก็พึงได้

ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราจงอย่าเป็นอย่างนี้ ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไป

เพื่ออาพาธ และใคร ๆ ไม่พึงได้ในรูปว่า ขอรูปของเราจงเป็น

อย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้ ดังนี้.

พระองค์ทรงแสดงอนัตตลักษณะทั้งโดยไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ในพระสูตร

ทั้งหลายมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง

สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา

สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยสัมมัปปัญญา ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่

ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่อนัตตาของเรา ดังนี้.

ถามว่า ทรงแสดงอย่างนี้ เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะความไม่เที่ยงและความทุกข์ปรากฏ.

๑. ม. ยุ. เล่ม ๑๔, ๘๑๘/๕๑๒

๒. ส. ขนฺธวารวคฺค. เล่ม ๑๗, ๔๒/๒๘

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

จริงอยู่ เมื่อถ้วยชาม หรือขัน หรือวัตถุอะไร ๆ ตกจากมือแตกแล้ว

ชนทั้งหลายย่อมพูดว่า โอ ! มันไม่เที่ยง ความไม่เที่ยง ชื่อว่า ปรากฏแล้ว

อย่างนี้ ก็เมื่อฝีต่อมเป็นต้นตั้งขึ้นในอัตภาพแล้ว หรือว่าถูกตอหรือหนามทิ่ม

เอาแล้วก็ย่อมพูดว่า โอ ! เป็นทุกข์ ทุกข์ชื่อว่า ปรากฏแล้วอย่างนี้.

อนัตตลักษณะไม่ปรากฏ มืดมน ไม่แจ่มแจ้ง แทงตลอดได้โดย

ยาก แสดงได้โดยยาก ทำให้เข้าใจได้โดยยาก. แต่อนิจจลักษณะและ

ทุกขลักษณะ พระตถาคตทั้งหลายจะทรงอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ตาม

ย่อมปรากฏ. อนัตตลักษณะ เว้นจากการบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าแล้วย่อม

ไม่ปรากฏ ย่อมปรากฏในพุทธุปเท่านั้น.

จริงอยู่ ดาบสและปริพาชกทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก

แม้มีสรภังคศาสดาเป็นต้น ย่อมสามารถกล่าวว่า อนิจจัง ทุกขัง ได้ แต่ไม่

สามารถจะกล่าวว่า อนัตตา ได้ แม้ถ้าพวกดาบสเป็นต้นเหล่านั้นพึงสามารถ

กล่าวคำว่า อนัตตา ในบริษัทที่ประชุมกันแล้ว บริษัทที่ประชุมกันก็จะพึง

แทงตลอดมรรคและผล เพราะการประกาศให้รู้อนัตตลักษณะไม่ใช่วิสัยของ

ใคร ๆ อื่น เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้านั้น อนัตตลักษณะนี้จึง

ไม่ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น พระศาสดาเมื่อจะแสดงอนัตต-

ลักษณะจึงทรงแสดง โดยความไม่เที่ยงบ้าง โดยความเป็นทุกข์บ้าง

โดยทั้งความไม่เที่ยงทั้งความเป็นทุกข์บ้าง แต่ในอายตนวิภังค์นี้ พึงทราบ

ว่า ทรงแสดงอายตนะนั้นทั้งโดยความไม่เที่ยง ทั้งโดยความเป็นทุกข์ ดังนี้.

ถามว่า ก็ลักษณะเหล่านี้ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการอะไร

ไม่แทงตลอดอะไร และอันอะไรปิดปังไว้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

ตอบว่า อนิจจลักษณะก่อน ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการ

ไม่แทงตลอดความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป และเพราะสันตติปิดบังไว้. ทุกข-

ลักษณะ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการ ไม่แทงตลอดความบีบคั้นเนือง ๆ

แต่เพราะอิริยาบถทั้งหลายปิดบังไว้. อนัตตลักษณะ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะ

ไม่มนสิการ ไม่แทงตลอดการแยกธาตุต่าง ๆ และเพราะอันฆนสัญญาปกปิดไว้.

ก็พระโยคาวจรกำหนดความเกิดและความเสื่อมเพิกสันตติได้แล้ว

อนิจจลักษณะ ย่อมปรากฏโดยกิจตามความเป็นจริง มนสิการการบีบคั้น

เนือง ๆ สับเปลี่ยนอิริยาบถได้แล้ว ทุกขลักษณะ ย่อมปรากฏโดยกิจตามความ

เป็นจริง เมื่อแยกธาตุต่างๆ แล้วทำการแยกความเป็นก้อน อนัตตลักษณะ

ย่อมปรากฏโดยกิจตามความเป็นจริง.

อนึ่ง ในอธิการนี้ พึงทราบวิภาค (การจำแนก) นี้ คือ

อนิจฺจ (ความไม่เที่ยง)

อนิจฺจลักฺขณ (ลักษณะแห่งความไม่เที่ยง)

ทุกฺข ( ความทุกข์)

ทุกฺขลกฺขณ (ลักษณะแห่งทุกข์)

อนตฺตา (ไม่ใช่อัตตา)

อนตฺตลกฺขณ (ลักษณะแห่งอนัตตา).

บรรดาวิภาคทั้ง ๖ เหล่านั้น ค่าว่า อนิจจัง ได้แก่ ขันธ์ ๕.

เพราะเหตุไร ? เพราะความที่ขันธ์ ๕ มีความแปรเปลี่ยนไปด้วยความเกิดและ

ความเสื่อม หรือว่า เพราะมีแล้วกลับไม่มี. ความที่ขันธ์ ๕ มีความแปร

เปลี่ยนไปด้วยความเกิดและความเสื่อม หรือว่า ความเปลี่ยนแปลงแห่งอาการ

(ลักษณะ) กล่าวคือ เป็นแล้วกลับไม่เป็น ชื่อว่า อนิจจลักษณะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

เบญจขันธ์นั้นนั่นเอง ชื่อว่า ทุกข์ เพราะพระบาลีว่า สิ่งใดไม่เที่ยง

สิ่งนั้น เป็นทุกข์ ดังนี้. เพราะเหตุไร ? เพราะมีการบีบคั้นเนือง ๆ

อาการ (คือลักษณะ) ที่บีบคั้นเนือง ๆ ชื่อว่า ทุกขลักษณะ.

ก็เบญจขันธ์นั้นนั่นเอง ชื่อว่า อนัตตา เพราะพระบาลีว่า สิ่งใด

เป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา ดังนี้. เพราะเหตุไร ? เพราะไม่เป็นไป

ในอำนาจ. อาการ (คือลักษณะ) ที่ไม่เป็นไปในอำนาจ ชื่อว่า อนัตตลักษณะ

เพราะฉะนั้น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา จึงเป็นอย่างหนึ่ง อนิจจลักษณะ

ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ จึงเป็นอย่างหนึ่ง.

จริงอยู่ คำว่า ขัน ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ นี้แม้ทั้งหมด ชื่อว่า

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แต่วิการ (การเปลี่ยนแปลง) แห่ง

อาการ (ลักษณะ) มีประการตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า อนิจจลักษณะ

ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ ฉะนี้แล.

อนึ่ง ว่าโดยสังเขปในอายตนวิภังค์นี้ อายตนะ ๑๒ เป็นกามาพจร

อายตนะ ๑๒ (คือ มนายตนะ และธรรมายตนะ) เป็นไปในภูมิ ๓ วาระว่า

ด้วยการพิจารณา พึงทราบว่า ตรัสไว้ในอายตนะแม้ทั้งหมดแล.

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

อภิธรรมภาชนีย์

[๙๙] อายตนะ ๑๒ คือ

๑. จักขายตนะ

๒. โสตายตนะ

๓. ฆานายตนะ

๔. ชิวหายตนะ

๕. กายายตนะ

๖. มนายตนะ

๗. รูปายตนะ

๘. สัททายตนะ

๙. คันธายตนะ

๑๐. รสายตนะ

๑๑. โผฏฐัพพายตนะ

๑๒. ธรรมายตนะ.

[๑๐๐] ในอายตนะ ๑๒ นั้น จักขายตนะ เป็นไฉน ?

จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ* นี้เรียกว่า บ้าน

ว่างบ้าง นี้เรียกว่า จักขายตนะ.

โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ เป็นไฉน ?

กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง

บ้าง นี้เรียกว่า กายายตนะ.

* ความที่ ฯลฯ พึงดูในธรรมสังคณี ข้อ (๕๑๖) เป็นลำดับไป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

มนายตนะ เป็นไฉน ?

มนายตนะหมวดละ ๑ คือ มนายตนะเป็นผัสสัมปยุต. มนายตนะ

หมวดละ ๒ คือ มนายตะ เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. มนายตนะหมวดละ

๓ คือ มนายตนะ เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ๑ มนายตนะ

หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า มนายตนะ.

รูปายตนะ เป็นไฉน ?

รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า รูปธาตุบ้าง

นี้เรียกว่า รูปายตนะ.

สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ เป็นไฉน ?

ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้เรียกว่าโผฏฐัพพาธาตุบ้าง นี้เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ.

ธรรมายตนะ เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้

นับเนื่องในธรรมายตนะ และอสังขตธาตุ.

ในธรรมายตนะนั้น เวทนาขันธ์เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต ฯลฯ เวทนา-

ขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่าเวทนาขันธ์

สัญญาขันธ์ เป็นไฉน ?

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต ฯลฯ สัญญา

ขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์.

สังขารขันธ์ เป็นไฉน ?

๑. ความที่ ฯลฯ พึงดูในขันธวิภังค์ ข้อ (๗๔) เป็นลำดับไป

๒. ความที่ ฯลฯ พึงดูในธรรมสังคณี ข้อ (๕๒๑)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตสัมปยุต ฯลฯ

สังขารขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สังขารขันธ์.

รูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธรรมายตนะ เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้กระทบ

ไม่ได้ นับเนื่องในธรรมายตนะ.

อสังขตธาตุ เป็นไฉน ?

ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อสังขตธาตุ

สภาวธรรมนี้เรียกว่า ธรรมายตนะ.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอายตนะทั้งหลายไว้ (ในสุตตันตภาชนีย์)

ในหนหลัง โดยความเป็นอายตนะคู่ว่า จกฺขายตน รูปายตน (จักขายตนะ

รูปายตนะ) ดังนี้เป็นต้น เพื่อประสงค์ทรงอุปการะพระโยคาจรทั้งหลาย

ผู้เจริญวิปัสสนา ฉันใด ในอภิธรรมภาชนีย์ มิได้ตรัสเหมือนอย่างนั้น เพื่อ

ทรงประสงค์จะแสดงสภาวะแห่งอายตนะภายใน และอายตนะภายนอก โดย

อาการ (ลักษณะ) ทั้งปวง จึงตรัสโดยนัยแห่งการกำหนดอายตนะภายในและ

ภายนอก อย่างนี้ว่า จกฺขุวายตน โสตายตน (จักขวายตนะ และโสตายตนะ)

ดังนี้เป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

ในนิเทศวารแห่งอายตนะเหล่านั้น พึงทราบคำว่า บรรดาอายตนะ

๑๒ เหล่านั้น จักขายตนะเป็นไฉน เป็นต้นโดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลัง

นั่นแหละ. แต่ในคำที่ตรัสไว้ในนิเทศแห่งธรรมายตนะว่า ตตฺถ กตมา

อสขตา ธาตุ ราคกฺขโย โทสกฺขดย โมหกฺขโย (ในอายตนะเหล่านั้น)

อสังขตธาตุ เป็นไฉน ? ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ)

ดังนี้เป็นต้น มีอธิบายดังต่อไปนี้

บทว่า อสขตา ธาตุ (อสังขตธาตุ) ได้แก่ พระนิพพานอันมี

อสังขตะเป็นสภาวะ (คือเป็นธรรมอันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้เป็นสภาวะ) แต่

เพราะอาศัยพระนิพพานนี้ กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นย่อมสิ้นไป ฉะนั้นจึง

ตรัสว่า ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ควานสิ้นไป

แห่งโมหะ ดังนี้. นี้เป็นคำอธิบายเนื้อความที่เหมือนกันของอาจารย์ทั้งหลายใน

นิเทศอภิธรรมภาชนีย์นี้.

แต่อาจารย์วิตัณฑวาที่กล่าวว่า ธรรมดาว่า นิพพานเฉพาะอย่าง

ไม่มี มีแต่นิพพาน คือความสิ้นไปแห่งกิเลสเท่านั้น ดังนี้. แต่เมื่อมี

ผู้ท้วงว่า ขอจงนำสูตรมา ดังนี้ ก็จะอ้างชัมพุขาทกสูตรนี้ว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร

ที่เรียกว่า นิพพาน นิพพาน ดังนี้ อาวุโส นิพพานเป็นไฉน ดังนี้ อาวุโส

ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะอันใด นี้เรียกว่า นิพพาน

ดังนี้ แล้วกล่าวคำที่ควรกล่าวโดยสูตรนี้ว่า ธรรมดาว่า นิพพานเฉพาะอย่าง

ไม่มี มีแต่นิพพานคือความสิ้นกิเลสเท่านั้น ดังนี้.

พึงโต้ท่านอาจารย์วิตัณฑวาทีว่า ก็เนื้อความนั้นเหมือนกับสูตรนี้หรือ

แน่ละท่านอาจารย์วิตัณฑวาทีจักตอบว่าใช่ เนื้อความที่พ้นจากสูตรไปมิได้มี

ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

ลำดับนั้น พึงกล่าวกะท่านอาจารย์วิตัณฑวาทีว่า สูตรนี้ท่านอ้างมาก่อน

ขอให้นำสูตรถัดไปมาแสดง ดังนี้ ท่านอาจารย์วิตัณฑวาที จึงนำชื่อสูตรที่

ถัดไปแห่งสูตรนั้น มาแสดงอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร ที่เรียกว่า อรหัต

อรหัต ดังนี้ ดูก่อนอาวุโส อรหัต เป็นไฉน ? ดังนี้ ดูก่อนอาวุโส ความสิ้น

ราคุ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อรหัต ดังนี้.

เมื่ออาจารย์วิตัณฑวาทีนำสูตรนี้มา ชนทั้งหลายก็จะกล่าวกะอาจารย์

วิตัณฑวาทีนั้นว่า ธรรมนับเนื่องด้วยธรรมายตนะ ชื่อว่า นิพพาน นามขันธ์

๔ ชื่อว่า พระอรหัต พระธรรมเสหาบดีผู้กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานอยู่

เมื่อมีผู้ถามถึงพระนิพพานบ้าง ถามถึงพระอรหัตบ้าง ก็กล่าวถึงความสิ้นกิเลส

เท่านั้น ก็นิพพานและพระอรหัต เหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร นิพพาน

เป็นอย่างเดียวกัน หรือต่างกันจงยกไว้ ในที่นี้เนื้อความที่ท่านทำให้ละเอียด

เกินไป มีความประสงค์อะไร ท่านไม่รู้พระนิพพานเป็นอย่างเดียว หรือว่า

ต่างกันดอกหรือ เมื่อท่านรู้แล้วก็เป็นการดีมิใช่หรือ ท่านอาจารย์วิตัณฑวาที

ถูกถามบ่อย ๆ อย่างนี้ ก็ไม่อาจกล่าวให้ผิดไปจากความจริง ก็จะกล่าวว่า

พระอรหัต พระองค์ก็ตรัสว่า ความสิ้นนราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ

เพราะความที่พระอรหัตนั้นเกิดขึ้นในที่สุดแห่งการสิ้นราคะเป็นต้น ดังนี้.

ลำดับนั้น ชนทั้งหลายก็จะกล่าวกะอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นว่า ท่านเอา

ใหญ่แล้ว แม้ทำความหมายให้พูดอย่างนั้น แต่กลับไปพูดเสียอย่างนี้ทีเดียว

ก็พระนิพพานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกตรัสไว้ ฉันใด ท่านจงกำหนด

พระนิพพานแม้นี้ ฉันนั้นเถิด เพราะอาศัยพระนิพพานแล้ว ราคะเป็นต้น

ย่อมสิ้นไป เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า นิพพาน คือความสิ้นราคะ คือความสิ้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

โทสะ คือความสิ้นโมหะ ดังนี้ เพราะคำแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น ก็เป็นชื่อของ

พระนิพพานเหมือนกัน ดังนี้.

ถ้ากล่าวอย่างนี้ปรับความเข้าใจกันได้ นั่นเป็นการดี ถ้ายังไม่เข้าใจ

ก็พึงให้กระทำสภาวะเป็นนิพพานมากมาย ทำอย่างไร ? คือ พึงถามอย่างนี้

ก่อนว่า ชื่อว่า ความสิ้นราคะ เป็นควานสิ้นไปแห่งราคะอย่างเดียว หรือ

เป็นการสิ้นไปแม้แห่งโทสะและโมหะ ชื่อว่า ความสิ้นโทสะ เป็นการสิ้นไป

แห่งโทสะอย่างเดียว หรือว่าเป็นความสิ้นไปแม้แห่งราคะและโมหะ ชื่อว่า

ควานสิ้นโมหะ เป็นการสิ้นไปแห่งโมหะอย่างเดียว หรือเป็นการสิ้นไปแม้

แห่งราคะและโทสะ ดังนี้.

แน่นอนอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นจักกล่าวว่า ชื่อว่า ความสิ้นราคะ

เป็นการสิ้นเฉพาะราคะ ชื่อว่า ความสิ้นโทสะ เป็นการสิ้นเฉพาะโทสะ

ชื่อว่า ความสิ้นโมหะ เป็นการสิ้นเฉพาะโมหะ ดังนี้.

ลำดับนั้น พึงกล่าวกะอาจารย์วิตัณฑวาทีว่า ในวาทะของท่าน

ความสิ้นราคะเป็นนิพพานหนึ่ง ความสิ้นโทสะเป็นนิพพานหนึ่ง ความสิ้นโมหะ

เป็นนิพพานหนึ่ง เมื่อสิ้นอกุศลมูล ๓ อย่าง นิพพานก็มี ๓ อย่าง เมื่อสิ้น

อุปาทาน ๔ อย่าง ก็มีนิพพาน ๔ อย่าง เมื่อสิ้นนิวรณ ๕ อย่าง ก็มีนิพพาน

๕ อย่าง เมื่อสิ้นกองแห่งตัณหา ๖ ก็มีนิพพาน ๖ อย่าง เมื่อสิ้นอนุสัย ๗ อย่าง

ก็มีนิพพาน ๗ อย่าง เมื่อสิ้นมิจฉัตตะ ๘ อย่าง ก็มีนิพพาน ๘ อย่าง เมื่อสิ้น

ธรรมอันเป็นมูลแห่งตัณหา ๙ อย่าง ก็มีนิพพาน ๙ อย่าง เมื่อสิ้นสังโยชน์

๑๐ อย่าง ก็มีนิพพาน ๑๐ อย่าง เมื่อสิ้นกิเลส ๑,๕๐๐ อย่าง นิพพานก็มี

แต่ละอย่าง ๆ เพราะฉะนั้น นิพพานจึงมาก. ก็นิพพานของท่านไม่มีประมาณ

ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

ก็บุคคลไม่ถือเอาอย่างนี้ ก็จะกล่าวว่า กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น

อาศัยพระนิพพานแล้วก็สิ้นไป เพราะฉะนั้น พระนิพพานจึงมีอย่างเดียวเท่านั้น

คือความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ ดังนี้ เพราะความสิ้นอกุศล

มูลแม้ทั้ง ๓ นี้ก็เป็นชื่อของพระนิพพานเท่านั้น ขอท่านจงถืออย่างนี้ ก็ถ้าว่า

ชนเหล่าอื่นแม้กล่าวอย่างนี้แล้ว อาจารย์วิตัณฑวาทีก็ยังกำหนดไม่ได้ ก็พึงทำ

การอธิบายพระนิพพานโดยเปรียบกับของหยาบ ๆ อธิบายอย่างไร คือว่า

สัตว์ผู้โง่เขลาแม้มี เสือเหลือง เนื้อ และลิงเป็นต้น ถูกกิเลสกลุ่มรุมแล้ว

ย่อมเสพวัตถุ (เมถุน) เมื่อถึงที่สุดแห่งการเสพของสัตว์เหล่านั้น กิเลสทั้งหลาย

ก็สงบ ในวาทะของท่าน พวกสัตว์มีหมี เสือเหลือง เนื้อ และลิงเป็นต้น

ก็ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพระนิพพานแล้ว นิพพานของท่านหยาบหนอ เป็นของหยาบ

ช้า ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อประดับแม้ที่หูได้.

อนึ่ง อาจารย์วิตัณฑวาทีไม่ยอมรับเช่นนี้ ก็ต้องกล่าวว่า กิเลสทั้งหลาย

มีราคะเป็นต้นสิ้นไปเพราะอาศัยพระนิพพาน เพราะฉะนั้น พระนิพพานจึงมี

อย่างเดียวเท่านั้น คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ เพราะ

ว่า ความสิ้นอกุศลมูลเหล่านี้ แม้ทั้ง ๓ เป็นชื่อของพระนิพพานท่านนั้น ท่าน

จงถือเอาด้วยอาการอย่างนี้.

ก็ถ้าว่า กล่าวแล้วอย่างนี้แล้ว อาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นยังกำหนด ไม่ได้

ก็ควรอธิบาย แม้ด้วยโคตภู อธิบายอย่างไร ? คือว่า พึงถามอาจารย์วิตัณ-

ฑวาทีอย่างนี้ก่อนว่า ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า โคตรภูมีอยู่หรือ อาจารย์วิตัณฑวาที

ก็จะตอบว่า ใช่ผมย่อมกล่าวดังนี้ แล้วจึงกล่าวกะอาจารย์วิตัณฑวาทีว่า ใน

ขณะแห่งโคตรภู กิเลสทั้งหลายสิ้นไปแล้ว หรือกำลังสิ้น หรือจักสิ้น ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

อาจารย์วิตัณฑวาทีก็จะกล่าวว่า กิเลสทั้งหลายยังไม่สิ้นไป มิใช่กำลังสิ้นไป ก็

แต่ว่าจักสิ้นไป ดังนี้. ถามอีกว่า ก็โคตรภูมีอะไรเป็นอารมณ์ ตอบว่า มี

นิพพานเป็นอารมณ์. ในขณะโคตรภูของท่าน กิเลสทั้งหลายยังไม่สิ้นไป มิใช่

กำลังสิ้น โดยที่แท้จักสิ้น เมื่อกิเลสทั้งหลายยังไม่สิ้นไป ท่านย่อมบัญญัติความ

สิ้นไปแห่งกิเลสว่าเป็นนิพพาน เมื่อยังไม่ได้ละอนุสัย ท่านย่อมบัญญัติการ

ละอนุสัยว่าเป็นนิพพาน คำนั้น ๆ ของท่านไม่สมกัน.

ก็คำอย่างนี้ อาจารย์วิตัณฑวาทีก็ยังไม่เอา ก็จะต้องกล่าวว่า กิเลสทั้ง

หลายมีราคะเป็นต้นสิ้นไปเพราะอาศัย พระนิพพาน เพราะฉะนั้น พระนิพพาน

จึงมีอย่างเดียว คือความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ ความสิ้น

อกุศลมูลเหล่านี้แม้ทั้ง ๓ เป็นชื่อของพระนิพพาน ท่านจงถือเอาอย่างนี้.

ก็ถ้าเขากล่าวแม้อย่างนี้ อาจารย์วิตัณฑวาทีก็ยังกำหนดไม่ได้ ก็ควร

ทำอธิบาย ด้วยมรรค อธิบายอย่างไง ? คือพึงถามท่านอาจารย์วิตัณฑวาที

อย่างนี้ก่อนว่า ท่านกล่าวชื่อว่ามรรค หรือ ? ท่านก็จะตอบว่า ใช่ เราย่อม

กล่าวดังนี้. ถามอีกว่า ในขณะแห่งมรรค กิเลสทั้งหลายสิ้นไปแล้ว หรือ

กำลังสิ้น หรือจักสิ้น ดังนี้.

เมื่ออาจารย์วิตัณฑวาทีรู้ก็จักตอบว่า ในขณะแห่งมรรคไม่ควรจะกล่าว

ว่า กิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว หรือว่า จักสิ้น แต่ควรจะกล่าวว่า กิเลสทั้งหลาย

กำลังสิ้นไป ดังนี้.

ก็ควรให้ท่านอาจารย์วิตัณฑวาทีว่า ถ้าหากว่า พระนิพพานชนิดไหน

ยังกิเลสให้สิ้นไปมีอยู่แก่มรรคอย่างนี้ กิเลสที่สิ้นไปอย่างไหน มีอยู่ด้วยมรรค

อย่างนี้ไซร้ ก็มรรคกระทำพระนิพพานอันไหนซึ่งยังกิเลสให้สิ้นไปให้เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

อารมณ์ แล้วยังกิเลสเหล่าไหนให้สิ้นไปเล่า เพราะฉะนั้นท่านอย่าถือเอาอย่างนี้

เลย ก็กิเลสมีราคะเป็นต้นสิ้นไปเพราะอาศัยพระนิพพาน เพราะฉะนั้น จะต้อง

กล่าวว่า พระนิพพานมีอย่างเดียวเท่านั้น คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ

ความสิ้นโมหะ แม้อกุศลมูลที่สิ้นไปทั้ง ๓ เหล่านั้นก็เป็นชื่อของพระนิพพานเท่า

นั้น ดังนี้.

ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็กล่าวกะอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นอย่างนี้ว่า ท่าน

ย่อมกล่าวว่า อาศัย อาศัย ดังนี้หรือ ? อาจารย์วิตัณฑวาทีก็จะพูดว่า ใช่

กระผมย่อมกล่าว ดังนี้. ถามอีกว่า คำว่า ชื่อว่าอาศัย ดังนี้ นี้ท่านได้มา

จากไหน ท่านก็จะตอบว่า ได้มาจากสูตร. ขอท่านจงนำสูตรมา. จึงนำสูตร

มาว่า อวิชชา และตัณหาอาศัยพระนิพพานแล้วหักไปในพระนิพพานนั้น สิ้น

ไปในนิพพานนั้น จะไม่ถึงความเป็นอะไร ๆ ในที่ไหน ๆ เมื่อกล่าวอย่างนี้แล้ว

ปรวาที (ผู้มีวาทะในลัทธิภายนอกพระศาสนา) ก็จะถึงความเป็นผู้ดุษณีภาพแล.

แม้ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ อายตนะ ๑๐ เป็นกามาพจร ส่วนอายตนะ

๒ พึงทราบว่า เป็นไปในภูมิ ๔ คือระคนกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ ฉะนี้แล.

วรรณรา อภิธรรมภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

ปัญหาปุจฉกะ

[๑๐๑] อายตนะ ๑๒ คือ

๑. จักขายตนะ

๒. รูปายตนะ ฯลฯ

๑๑. มนายตนะ

๑๒. ธรรมายตนะ.

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาอายตนะ ๑๒ อายตนะไหนเป็นกุศล อายตนะไหนเป็นอกุศล

อายตนะไหนเป็นอัพยากฤต ฯลฯ อายตนะไหนเป็นสรณะ. อายตนะไหนเป็น

อรณะ.

ติกมาติกาวิสัชนา

[๑๐๒] อายตนะ ๑๐ (คือโอฬาริกายตนะ ๑๐) เป็นอัยพากฤต

อายตนะ ๒ (คือ มนายตนะ ธรรมายตนะ) เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็น

อัพยากฤตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็น

ทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต มนายตนะ เป็นสุขเวทนา

สัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี

ธรรมายตนะเป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขม-

สุขเวทนาสัมปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกข-

เวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นเนว-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

วิปากนวิปากธัมมธรรม อายตนะ ๒ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี

เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี

อายตนะ ๕ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ สัททายตนะ เป็นอนุปาทินนุ-

ปาทานิยะ อายตนะ ๔ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ

ก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี อายตนะ ๒ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี

เป็นอนุปาทินนุปาทนิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี อายตนะ ๑๐

เป็นอสังกิสิฏฐสังกิเลสิกะ อายตนะ ๒ เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสัง-

กิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิกฐาสังกิเลสิกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอวิตักกา-

วิจาระ มนายตนะ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็น

อวิตักกาวิจาระก็มี ธรรมายตนะ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ

ก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสวิตักกสวิจาระ แม้เป็น

อวิตักกวิจารมัตตะ แม้เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้

เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะ อายตนะ ๒ เป็น

ปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้

เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี อายตนะ ๑๐

เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ อายตนะ ๒ เป็นทัสสนปหาตัพพะก็มี เป็น

ภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็น

เนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ อายตนะ ๒ เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี

เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี

อายตนะ ๑๐ เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามี อายตนะ ๒ เป็นอาจยคามีก็มี เป็น

อปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามีก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นเนวเสกขนา-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

เสกขะ อายตนะ ๒ เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสกขนาเสกขะก็มี

อายตนะ ๑๐ เป็นปริตตะ อายตนะ ๒ เป็นปริตตะก็มี เป็นมหัคคตะก็มี เป็น

อัปปมาณะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ อายตนะ ๒ เป็นปริตตารัมมณะ

ก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้

เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะ แม้เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี

อายตนะ ๑๐ เป็นมัชฌิมะ อายตนะ ๒ เป็นหีนะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี เป็น

ปณีตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนิยตะ อายตนะ ๒ เป็นมิจฉัตตนิยตะก็มี เป็น

สัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ อายตนะ ๒

เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี

อายตนะ ๕ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

อนุปปันนะ สัททายตนะ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าวไม่ได้

ว่า เป็นอุปปาที อายตนะ ๕ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็น

อุปปาทีก็มี ธรรมายตนะ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาที

ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปปันนะ แม้เป็นอนุปปันนะ แม้เป็นอุปปาทีก็มี

อายตนะ ๑๑ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี ธรรมายตนะ เป็น

อดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอดีต แม้

เป็นอนาคต แม้เป็นปัจจุบันก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ อายตนะ ๒

เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุป-

ปันนารัมมณะก็มี อายตนะ ๑๒ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

อัชฌัตตพหิทธาก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ อายตนะ ๒ เป็นอัชฌัตตา-

รัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี กล่าวไม่

ได้ว่า แม้เป็นอัชฌัตตารัมมณะ แม้เป็นพหิทธารัมมณะ แม้เป็นอัชฌัตต-

พหิทธารัมมณะก็มี รูปายตนะ เป็นสนิทัสสนสัปปฏิฆะ อายตนะ ๙ เป็น

อนิทัสสนสัปปฏิฆะ อายตนะ ๒ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ.

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๑๐๓] อายตนะ ๑๑ เป็นนเหตุ ธรรมายตนะ เป็นเหตุก็มี เป็น

นเหตุก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอเหตุกะ อายตนะ ๒ เป็นสเหตุกะก็มี เป็น

อเหตุกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นเหตุวิปปยุต อายตนะ ๒ เป็นเหตุสัมปยุตก็มี

เป็นเหตุวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็น

สเหตุกนเหตุ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุกนเหตุ

ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสเหตุกนเหตุก็มี ธรรมายตนะ เป็นเหตุสเหตุกะก็มี

เป็นสเหตุกนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุ

ก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมป-

ยุตตนเหตุ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นเหตุสัมปุต

ตนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี ธรรมายตนะ เป็น

เหตุเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุ

เหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนเหตุอเหตุกะ

มนายตนะ เป็นนเหตุสเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี ธรรมายตนะ เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

นเหตุสเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ

แม้เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี.

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา

[๑๐๔] อายตนะ ๑๑ เป็นสัปปัจจยะ ธรรมายตนะ เป็นสัปปัจจยะ

ก็มี เป็นอัปปัจจยะก็มี อายตนะ ๑๑ เป็นสังขตะ ธรรมายตนะ เป็นสังขตะ

ก็มี เป็นอสังขตะก็มี อายตนะ ๑๑ เป็นอนิทัสสนะ รูปายตนะ เป็นสนิทัสสนะ

อายตนะ ๑๐ เป็นสัปปฏิฆะ อายตนะ ๒ เป็นอัปปฏิฆะ อายตนะ ๑๐ เป็นรูป

มนายตนะ เป็นอรูป ธรรมายตนะ เป็นรูปก็มี เป็นอรูปก็มี อายตนะ๑๐

เป็นโลกิยะ อายตนะ ๒ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตระก็มี อายตนะ ๑๒

เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา

[๑๐๕] อายตนะ ๑๑ เป็นโนอาสวะ ธรรมายตนะ เป็นอาสวะก็มี

เป็นโนอาสวะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นสาสวะ อายตนะ ๒ เป็นสาสวะก็มี

เป็นอนาสวะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอาสววิปปยุต อายตนะ ๒ เป็นอาสว-

สัมปยุตก็มี เป็นอาสววิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ

เป็นสาสวโนอาสวะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็น

สาสวโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสาสวโนอาสวะก็มี ธรรมายตนะ เป็น

อาสวสาสวะก็มี เป็นสาสวโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ

แม้เป็นสาสวโนอาสวะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสว

สัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

อาสวอาสวสัมปยุต เป็นอาสวสัมปยุต โนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

อาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี ธรรมายตนะ เป็นอาสวอาสวสัมปยุตก็มี เป็น

อาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็น

อาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ อายตนะ ๒

เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสววิปยุตตอนาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ แม้เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี.

๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา

[๑๐๖] อายตนะ ๑๑ เป็นโนสัญโญชนะ ธรรมายตนะ เป็นสัญโญชนะ

ก็มี เป็นโนสัญโญชนะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นสัญโญชนิยะ อายตนะ ๒ เป็น

สัญโญชนิยะก็มี เป็นอสัญโญชนิยะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นสัญโญชนวิปปยุต

อายตนะ ๒ เป็นสัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะ

มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโน-

สัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี ธรรมายตนะ

เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี อายตนะ ๑๐

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตต-

โนสัญโญชนะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต

เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัมป-

ยุตตโนสัญโญชนะก็มี ธรรมายตนะ เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็น

สัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

สัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็น

สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ อายตนะ ๒ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญ

ชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

สัญโญชนวิปปยุคตตสัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี.

๕. คันถโตจฉกวิสัชนา

[๑๐๗] อายตนะ ๑๑ เป็นโนคันถะ ธรรมายตนะ เป็นคันถะก็มี

เป็นโนคันถะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นคันถนิยะ อายตนะ ๒ เป็นคันถนิยะก็มี

เป็นอคันถนิยะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นคันถวิปปยุต อายตนะ ๒ เป็นคันถ-

สัมปยุตก็มี เป็นคันถวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ

เป็นคันถนิยโนคันถะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็น

คันถนิยโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี ธรรมายตนะ

เป็นคันถคันถนิยะก็มี เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

คันถคันถนิยะ แม้เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้

เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นคันถคันถสัมปยุต เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

คันถสมัปยุตตโนคันถะก็มี ธรรมายตนะ เป็นคันถคันถสัมปยุตก็มี เป็นคันถ

สัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถ

สัมปยุตตโนคันถะก็มี อายตนะ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ อายตนะ ๒

เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะก็มี เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ แม้เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

๖.๗.๘ โอฆโคจฉกกาทิวิสัชนา

[๑๐๘] อายตนะ ๑๑ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ อายตนะ ๑๑ เป็นโนโยคะ

ฯลฯ อายตนะ ๑๐ เป็นโนนีวรณะ ธรรมายตนะ เป็นนีวรณะก็มี เป็น

โนนีวรณะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนีวรณิยะ อายตนะ ๒ เป็นนีวรณิยะก็มี

เป็นอนีวรณิยะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนีวรณวิปปยุต อายคนะ ๒ เป็นนีวรณ

สัมปยุตก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณ-

นีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณิยะ

เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี

ธรรมายตนะ เป็นนีวรณนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณิยโหนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นนีวรณนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าว

ไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ

มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณสัมปยุตต-

โนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี ธรรมายตนะ

เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี อายตนะ ๑๐

เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ อายตนะ ๒ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะก็มี

เป็นนีวรณวิปปยุคตตอนีวรณิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณวิปปยุตต

นีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี.

๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา

[๑๐๙] อายตนะ ๑๑ เป็นโนปรามาสะ ธรรมายตนะ เป็นปรามาสะ

ก็มี เป็นโนปรามาสะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นปรามัฏฐะ อายตนะ ๒ เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

ปรามัฏฐะก็มี เป็นอปรามัฏฐะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นปรามาสวิปปยุต มนายตนะ

เป็นปรามาสสัมปยุตก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี ธรรมายตนะ เป็นปรามาส

สัมปยุตก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสสัมปยุต

แม้เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ

เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ

เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี

ธรรมายตนะ เป็นปรามาสปรามัฏฐะก็มี เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี กล่าว

ไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี อายตนะ ๑๐

เป็นปรามาลวิปปยุตตปรามัฏฐะ อายตนะ ๒ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ

ก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาส-

วิปปุยุตตปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี.

๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา

[๑๑๐] อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ มนายตนะ เป็นสารัมมณะ

ธรรมายตนะ เป็นสารัมมณะก็มี เป็นอนารัมมณะก็มี มนายตนะ เป็นจิตตะ

อายตนะ ๑๑ เป็นโนจิตตะ อายตนะ ๑๑ เป็นอเจตสิกะ ธรรมายตะ เป็น

เจตสิกะก็มี เป็นอเจตสิกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นจิตตวิปปยุต ธรรมายตนะ

เป็นจิตตสัมปยุตก็มี เป็นจิตตวิปปยุตก็มี มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

จิตตสัมปยุต แม้เป็นจิตตวิปปยุต อายตนะ ๑๐ เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ ธรรมายตนะ

เป็นจิตตสังสัฏฐะก็มี เป็นจิตตวิสังสัฏฐะก็มี มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า แม้

เป็นจิตตสังสัฏฐะ แม้เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ อายตนะ ๖ เป็นโนจิตตสมุฏฐานะ

อายตนะ ๖ เป็นจิตตสุฏฐะก็มี เป็นโนจิตตสมุฏฐานะก็มี อายตนะ ๑๑

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

เป็นโนจิตตสหภู ธรรมายตนะ. เป็นจิตตสหภูก็มี เป็นโนจิตตสหภูก็มี

อายตนะ ๑๑ เป็นโนจิตตานุปริวัตติ ธรรมายตนะ เป็นจิตตานุปริวัตติก็มี เป็น

โนจิตตานุปริวัตติก็มี อายตนะ ๑๑ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ ธรรมายตนะ

เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี อายตนะ ๑๑

เป็นโนจิตตสังสัฉฐสมุฏฐานสหภู ธรรมายตนะ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี

เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี อายตนะ ๑๑ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐา-

นานุปริวัตติ ธรรมายตนะ เป็นนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติก็มี เป็นโน-

จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานุปริวัตติก็มี อายตนะ ๖ เป็นอัชฌัตติกะ อายตนะ ๖ เป็น

พาหิระ อายตนะ ๙ เป็นอุปาทา อายตนะ ๒ เป็นนอุปาทา ธรรมายตนะ

เป็นอุปาทาก็มี เป็นนอุปาทาก็มี อายตนะ ๕ เป็นอุปาทินนะ สัททายตนะ

เป็อนุปาทินนะ อายตนะ ๖ เป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนาก็มี.

๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา

[๑๑๑] อายตนะ ๑๑ เป็นนอุปาทานะ ธรรมายตนะ เป็นอุปาทานะ

ก็มี เป็นนอุปาทานะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอุปาทานิยะ อายตนะ ๒ เป็น

อุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทานิยะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอุปาทานวิปปยุต

อายตนะ ๒ เป็นอุปาทานสัมปยุตก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะ มนายตนะ

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าว

ไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี ธรรมายตนะ เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ

ก็มี เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ

แม้เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

อุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะ มนายตนะ

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะ

ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี ธรรมายตนะ เป็น

อุปาทานอุปาทานสัมปยุตก็มี เป็นอุปทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้

ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี

อายตนะ ๑๐ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ อายตนะ ๒ เป็นอุปาทานวิปป-

ยุตตอุปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี.

๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา

[๑๑๒] อายตนะ ๑๑ เป็นโนกิเลสะ ธรรมายตนะ เป็นกิเลสะก็มี เป็น

โนกิเลสะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นสังกิเลสิกะ อายตนะ ๒ เป็นสังกิเลสิกะก็มี เป็น

อสังกิเลสิกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอสังกิลิฏฐะ อายตนะ ๒ เป็นสังกิลิฏฐะก็มี

เป็นอสังกิลิฏฐก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นกิเลสวิปปยุต อายตนะ ๒ เป็นกิเลสสัมป-

ยุตก็มี เป็นกิเลสวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ

เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็น

สังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี ธรรมายตนะ

เป็นกิเลสสังกิเลสิกะก็มี เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

กิเลสสังกิเลสิกะ แม้เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิลิฏฐ-

โนกิเลสะก็มี ธรรมายตนะ เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะก็มี เป็นสังกิลิกฐโนกิเลสะก็มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี อายตนะ

๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะ

มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลส

ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี ธรรมายตนะ เป็นกิเลส

กิเลสสัมปยุตก็มี เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลส

กิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นกิเลส-

วิปปยุตตสังกิเลสิกะ อายตนะ ๒ เป็นกิเสสวิปปยุตตสังกิเลสิกะก็มี เป็น

กิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ

แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี.

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา

[๑๑๓] อายตนะ ๑๐ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ อายตนะ ๒ เป็น

ทัสสนปหาตัพพะก็มี เป็นนทัสสนปหาตัพพะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนภาวนา-

ปหาตัพพะ อายตนะ ๒ เป็นภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นนภาวนาปหาตัพพะ

ก็มี อายตนะ ๒ เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะ อายตนะ ๒ เป็นทัสสนปหา-

ตัพพเหตุกะก็มี เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนภาวนา-

ปหาตัพพเหตุกะ อายตนะ ๒ เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนภาวนา-

ปหาตัพพเหตุกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอวิตักกะ อายตนะ ๒ เป็นสวิตักกะ

ก็มี เป็นอวิตักกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอวิจาระ อายตนะ ๒ เป็นสวิจาระ

ก็มี เป็นอวิจาระก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอัปปีติกะ อายตนะ ๒ เป็นสัปปีติกะ

ก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนปีติสหคตะ อายตนะ ๒ เป็น

ปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนสุขสหคตะ อายตนะ ๒

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนอุเปกขาสหคตะ

อายตนะ ๒ เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี อายตนะ ๑๐

เป็นกามาวจระ อายตนะ ๒ เป็นกามาวจระก็มี เป็นนกามาวจระก็มี อายตนะ

๑๐ เป็นนรูปาวจระ อายตนะ ๒ เป็นรูปาวจระก็มี เป็นนรูปาวจระก็มี

อายตนะ ๑๐ เป็นนอรูปาวจระ อายตนะ ๒ เป็นอรูปาวจระก็มี เป็นอรูปา-

วจระก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นปริปันนะ อายตนะ ๒ เป็นปริยาปันนะก็มี

เป็นอปริยาปันนะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนิยยานิกะ อายตนะ ๒ เป็นนิยยา-

นิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนิยตะ อายตนะ ๒ เป็น

นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นสอุตตระ อายตนะ ๒ เป็น

สอุตตระก็มี เป็นอนุตตระก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอรณะ อายตนะ ๒ เป็น

สรณะก็มี เป็นอรณะก็มี ฉะนี้แล.

ปัญหาปุจฉกะ จบ

อายตนวิภังค์ จบบริบูรณ์

วรรณนาปัญหาทางปุจฉกะ

ในปัญหาปุจฉกะ แม้ในอายตนวิภังค์นี้ อายตนะใดที่ได้ อายตนะใด

ที่ไม่ได้ พระองค์ตรัสถามอายตนะนั้นทั้งหมดแล้วทรงวิสัชนาด้วยสามารถแห่ง

อายตนะที่ได้เท่านั้น มิใช่แต่ในที่นี้อย่างเดียว ในปัญหาปุจฉกะแม้ทั้งหมด

ก็นัยนี้แหละ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

ก็ในอายตนะทั้งหมดในที่นี้ พึงทราบความที่อายตนะ ๑๐ เป็นอัพยา-

กตะโดยความเป็นรูป พึงทราบความที่อายตนะ ๒ เป็นกุศลเป็นต้น เหมือนขันธ์

๔ ในขันธวิภังค์ เพราะขันธ์ ๔ เป็นธรรมมีปัจจัยด้วยเป็นสังขตะด้วยทั้งหมด

ทีเดียว แต่ธรรมายตนะมาแล้วว่า พึงเป็น อปัจจัยก็มี พึงเป็น อสังขตะ

ก็มี ดังนี้.

อนึ่ง ในอารัมมณติกะ ธรรมายตนะเป็นอนารัมมณะ คือ เป็นสุขุม

รูป ย่อมเข้ากันกับส่วนแห่งอารมณ์ที่เป็น นวัตติตัพพารัมมณะ (อารมณ์ที่ไม่

พึงกล่าว) ก็ความแปลกกันในอายตนวิภังค์นี้ ดังนี้ คือ ธรรมายตนะนั้นแล

เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ และธรรมารมณ์ที่เป็นนวัตติตัพพารัมมณะ (คือเป็น

อารมณ์ที่กล่าวไม่ได้) โดยไม่เป็นปริตตารมณ์เป็นต้น. คำที่เหลือเป็นเช่นเดียว

กันทีเดียว.

อายตนะ ๒ แม้ในที่นี้ก็เหมือนขันธ์ ๔ คือคำทั้งหมดว่า เมื่อบุคคลผู้

มีจิตยินดี ผู้มีจิตประทุษร้าย ผู้มีจิตลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้พิจารณา ผู้เล็งเห็น

มีอยู่ ปริตตารมณะก็ปรารภกามาวจรธรรม ๕๕ เป็นไป ดังนี้ เป็นเช่นดังคำ

ที่กล่าวไว้ในขันธ์ทั้งหลาย ฉะนี้แล.

อายตนวิภังคนิเทศ ที่ ๒ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

๓. ธาตุวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

ธาตุ ๖ นัยที่ ๑

[๑๑๔] ธาตุ ๖ คือ

๑. ปฐวีธาตุ

๒. อาโปธาตุ

๓. เตโชธาตุ

๔. วาโยธาตุ

๕. อากาสธาตุ

๖. วิญญาณธาตุ

[๑๑๕] ในธาตุ ๖ นั้น ปฐวีธาตุ เป็นไฉน ?

ปฐวีธาตุมี ๒ อย่าง คือ ปฐวีธาตุภายใน ปฐวีธาตุภายนอก.

ในปฐวีธาตุ ๒ อย่างนั้น ปฐวีธาตุภายใน เป็นไฉน ?

ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็น

ภายในเฉพาะคน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง

เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด

ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติ

ที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะทีแข็ง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูป

ข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายใน.

ปฐวีธาตุภายนอก เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติกระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข้ง เป็น

ภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ เหล็ก โลหะ ดีบุกขาว ดีบุกดำ

เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงินตรา

ทอง แก้วมณีแดง แก้วมณีลาย หญ้า ท่อนไม้ กรวด กระเบื้อง แผ่นดิน

แผ่นหิน ภูเขา หรือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง

ภาวะที่แข่ง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้

เรียกว่า ปฐวีธาตุภายนอก.

ปฐวีธาตุภายใน ปฐวีธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้นเขาเป็น

หมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ.

[๑๑๖] อาโปธาตุ เป็นไฉน.

อาโปธาตุมี ๒ อย่าง คือ อาโปธาตุภายใน อาโปธาตุภายนอก.

ในอาโปธาตุ ๒ อย่างนั้น อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ?

ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว

ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูป ข้างใน

ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน นำลาย

น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว

ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปา-

ทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน.

อาโปธาตุภายนอก เป็นไฉน ?

ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว

ธรรมชาติที่เกาะในรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ รส

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

รากไม้ ลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ นมสด นมส้ม

เนยใส เนยข้น น้ามัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำที่อยู่บนพื้นดิน หรือน้ำที่อยู่ใน

อากาศหรือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ควานเหนียว ธรรมชาติที่

เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก

แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายนอก.

อาโปธาตุภายใน อาโปธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้า

เป็นหมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า อาโปธาตุ.

[๑๑๗] เตโชธาตุ เป็นไฉน ?

เตโชธาตุ มี ๒ อย่าง คือ เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก.

ในเตโชธาตุ ๒ อย่างนั้น เตโชธาตุ เป็นไฉน ?

ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น

ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่

เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม เตโชธาตุ

ที่ทำให้ร่างกายเร่าร้อน เตโชธาตุที่ทำให้ของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มถึง

ความย่อยไปด้วยดี หรือ ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติ

ที่อุ่น ความอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินน

รูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ เรียกว่า เตโชธาตุภายใน.

เตโชธาตุภายนอก เป็นไฉน ?

ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น

ธรรมชาติ ที่อบอุ่น เป็นภายนอก เป็นอุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ ไฟฟืน

ไฟสะเก็ดไม้ ไฟหญ้า ไฟมูลโค ไฟแกลบ ไฟหยากเยื่อ ไฟอสนีบาต ความ

ร้อนแห่งไฟ ความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ความร้อนแห่งกองฟืน ความร้อน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

แห่งกองหญ้า ความร้อนแห่งกองข้าวเปลือก ความร้อนแห่งกองขี้เถ้า หรือ

ความร้อนธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติ

ที่อบอุ่น เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า

เตโชธาตุภายนอก.

เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้า

เป็นหมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า เตโชธาตุ.

[๑๑๘] วาโยธาตุ เป็นไฉน ?

วาโยธาตุมี ๒ อย่างคือ วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก.

ในวาโยธาตุ ๒ อย่างนั้น วาโยธาตุภายใน เป็นไฉน.

ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายใน

เฉพะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ

ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมศัสตรา ลมมีดโกน ลมเพิกหัวใจ

ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือ ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา

ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่น

ใดมีอยู่นี้เรียกว่า วาโยธาตุภายใน.

วาโยธาตุภายนอก เป็นไฉน ?

ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูปเป็น

ภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ ลมตะวันออก ลมตะวันตก

ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่นละออง ลมไม่มีฝุ่นละออง ลมหนาว ลมร้อน

ลมอ่อน ลมแรง ลมดำ ลมบน ลมกระพือปีก ลมครุธ ลมใบตาล ลม

ใบพัด หรือ ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป

เป็นภายนอก เป็นอุปาทินนรูปข้างนอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า วาโยธาตุ

ภายนอก.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็น

หมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า วาโยธาตุ.

[๑๑๙] อากาสธาตุ เป็นไฉน ?

อากาศธาตุมี ๒ อย่าง คือ อากาสธาตุภายใน อากาสธาตุภายนอก.

ในอากาสธาตุ ๒ อย่างนั้น อากาสธาตุภายใน เป็นไฉน ?

อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับ

ว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่

ถูกต้องเบาภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ช่องหู ช่อง

จมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้ม ช่องที่พักอยู่

แห่งของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้ม และช่องสำหรับชองกินของดื่มของเคี้ยว

ของลิ้มไหลออกเบื้องต่ำ หรือ อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความ

ว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่อง

ว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินกรูป

ข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อากาสธาตุภายใน.

อากาสธาตุภายนอก เป็นไฉน ?

อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอัน

นับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันมหาภูตรูป ๔

ไม่ถูกต้อง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ณ เรียกว่า อากาสธาตุ

ภายนอก.

อากาสธาตุภายใน อากาสธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้า

เป็นหมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

[๑๒๐] วิญญาณธาตุ เป็นไฉน ?

จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณ-

ธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่า วิญญาณธาตุ.

สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖.

ธาตุ ๖ นัยที่ ๒

[๑๒๑] ธาตุ ๖ อีกนัยหนึ่ง คือ

๑. สุขธาตุ

๒. ทุกขธาตุ

๓. โสมนัสสธาตุ

๔. โทมนัสสธาตุ

๕. อุเปกขาธาตุ

๖. อวิชชาธาตุ.

ในธาตุ ๖ นั้น สุขธาตุ เป็นไฉน ?

ความสบายกาย ความสุขกาย ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข เกิด

แต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขเกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า

สุขธาตุ.

ทุกขธาตุ เป็นไฉน ?

ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็น

ทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส

นี้เรียกว่า ทุกขธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

โสมนัสสธาตุ เป็นไฉน ?

ความสบายใจ ความสุขใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิด

แต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า

โสมนัสสธาตุ.

โทมนัสสชาตุ เป็นไฉน ?

ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์

เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์เกิดแต่เจโตสัมผัส นี้

เรียกว่า โทมนัสสธาตุ.

อุเปกขาธาตุ เป็นไฉน ?

ความสบายใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายใจก็ใม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ไม่

ทุกข์ไม่สุขเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ไม่ทุกข์ไม่สุขเกิดแต่เจโตสัมผัส

นี้เรียกว่า อุเปกขาธาตุ.

อวิชชาธาตุ เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ* ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือโมหะ

นี้เรียกว่า อวิชชาธาตุ.

สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖.

ธาตุ ๖ นัยที่ ๓

[๑๒๒] ธาตุ ๖ อีกนัยหนึ่ง คือ

๑. กามธาตุ

๒. พยาปาทธาตุ

* ความที่ ฯลฯ พึงดูในธรรมสังคณีปกรณ์ ข้อ(๓๐๐).

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

๓. วิหิงสาธาตุ

๔. เนกขัมมธาตุ

๕. อัพยาปาทธาตุ

๖. อวิหิงสาขาธาตุ.

ในธาตุ ๖ นั้น กามธาตุ เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ อันประกอบด้วยกาม

ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิต

ขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉาสังกัปปะ นี้เรียกว่า กามธาตุ ชั้นต่ำมีอวีจินรกเป็นที่สุด

ชั้นสูงมีเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีเป็นที่สุด ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างนี้ นับเนื่องอยู่ในระหว่างนี้

นี้เรียกว่า กามธาตุ.

พยาปาทธาตุ เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยพยาบาท ฯลฯ

มิจฉาสังกัปปะ นี้เรียกว่า พยาปาทธาตุ อีกนัยหนึ่ง ความที่จิตอาฆาต ใน

อาฆาฏวัตถุ ๑๐ ความอาฆาตมีกำลัง ความกระทบ ความแค้น ความโกรธ

ความกำเริบ ความกำเริบหนัก ความคิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้ายยิ่ง

ความคิดประทุษร้ายหนัก ความที่จิตพยาบาท ความมีใจประทุษร้ายยิ่ง ความ

โกรธ กิริยาที่โกรธ สภาพที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย

สภาพที่คิดประทุษร้าย ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท สภาพที่พยาบาท

ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย อาการที่พูดไม่ยั้ง ความที่จิตไม่แช่มชื่น

นี้เรียกว่า พยาปาทธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

วิหิงสาธาตุ เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยวิหิงสา ฯลฯ

มิจฉาสังกัปปะ นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียน

สัตว์ทั้งหลายด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา

หรือเชือก ความข่มเหง ความข่มเหงอย่างแรง ความเบียดเบียน ความ

เบียดเบียนอย่างแรง ความขึ้งเคียด ความเคียดแค้น ความเข้าไปเบียดเบียน

ผู้อื่น เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ.

เนกขัมมธาตุ เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ

สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า เนกขัมมธาตุ กุศลธรรมแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า

เนกขัมมธาตุ.

อัพยาปาทธาตุ เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ

สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ ความมีไมตรี กิริยาที่มีไมตรี

สภาพที่มีไมตรี ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ.

อวิหิงสาธาตุ เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยอวิหิงสา ความดำริ

ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้น

สู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ ความกรุณา กิริยาที่กรุณา

ภาพที่กรุณา ในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ.

สภาวธรรมเหล่านั้น ก็เรียกว่า ธาตุ ๖.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

[๑๒๓] ฉักกะ หมวดแห่งธาตุ ๖ ทั้ง ๓ นัยนี้ ประมวลเข้าเป็น

หมวดเดียวกัน เป็นธาตุ ๑๘ ด้วยประการฉะนี้แล.

สุตตันตภาชนีย์ จบ

ธาตุวิภังคนิเทศ

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงย่อธาตุทั้งหมดไว้ด้วยธาตุหมวด-

ละ ๖ แสดงสุตตันตภาชนีย์ ด้วยหมวดธาตุ ๖ รวม ๓ หมวด ในธาตุวิภังค์

ซึ่งเป็นลำดับต่อจากอายตนวิภังค์นั้น จึงตรัส คำมีอาทิว่า ฉ ธาตุโย

(ธาตุ ๖) ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉ (๖) เป็นคำกำหนดจำนวน.

บทว่า ธาตุโย เป็นคำแสดงธรรมที่ทรงกำหนดไว้.

พึงทราบวินิจฉัยในบททั้งหลายมีคำว่า ปถวีธาตุ เป็นต้น ต่อไป.

ชื่อว่า อรรถว่าธาตุ มีความหมายว่า เป็นสภาวะ ชื่อว่า อรรถ

ว่าสภาวะ มีความหมายว่าเป็นของสูญ ชื่อว่า อรรถว่าเป็นของสูญ มี

ความหมายว่า มิใช่สัตว์ เพราะฉะนั้น โดยอรรถที่อธิบายมานี้ ธาตุ คือ

ปถวี (ดิน) นั้นแหละ ชื่อว่า ปถวีธาตุ (ธาตุดิน) ด้วยอรรถว่ามีสภาพ

สูญและไม่ใช่สัตว์ แม้ธาตุมีอาโปธาตุเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. บัณฑิตทราบ

บทสมาสในคำว่า ปฐวีธาตุ เหล่านี้ อย่างนี้แล้วพึงทราบอรรถ (ความหมาย)

ต่อไป.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

คำว่า ปถวีธาตุ ( ธาตุดิน) ได้แก่ ธาตุตั้งมั่น.

คำว่า อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ได้แก่ ธาตุเกาะกุม.

คำว่า เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ได้แก่ ธาตุแผดเผา.

คำว่า วาโยธาตุ (ธาตุลม) ได้แก่ ธาตุเคลื่อนไหว.

คำว่า อากาสธาตุ (ธาตุคือช่องว่าง) ได้แก่ ธาตุที่สัมผัสไม่ได้.

คำว่า วิญฺญาณธาตุ (ธาตุคือวิญญาณ) ได้แก่ ธาตุรู้แจ้ง.

นิเทศปฐวีธาตุ

บทว่า ปถวีธาตุทฺวย (ปฐวีธาตุ ๒ อย่าง) ได้แก่ ปฐวีธาตุนี้มี

๒ อย่าง อธิบายว่า ชื่อว่า ปฐวีธาตุนี้มิได้มีอย่างเดียวเท่านั้น แต่มี ๒ อย่าง

โดยแยกเป็นปฐวีธาตุภายใน และปฐวีธาตุภายนอก ด้วยเหตุนั้นแหละ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อตฺถิ อชฺฌตฺติกา อตฺถิ พาหิรา (ปฐวีธาตุ-

ภายในมีอยู่ ปฐวีธาตุภายนอกมีอยู่).

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อชฺณตฺติกา (ภายใน) ได้แก่ที่นับเนื่อง

ในสันดานของสัตว์ คือ ที่อยู่ภายในซึ่งเกิดในตน. คำว่า พาหิรา (ภายนอก)

ได้แก่ ที่นับเนื่องในสันดาน (การสืบต่อ) ของสังขาร คือ ที่ไม่เกี่ยวด้วย

อินทรีย์. คำว่า อชฺฌตฺต ปจฺจตฺต (เป็นภายในเฉพาะตน) นี้แม้ทั้ง ๒ ก็

เป็นชื่อของธาตุที่อยู่ภายในซึ่งเกิดในตนนั้นเอง.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงปฐวีธาตุนั้นโดยอาการ (ลักษณะ) แห่งภาวะ-

ของตนจึงตรัสคำว่า กกฺขฬ (แข็ง) เป็นต้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า

กกฺขฬ (แข็ง) ได้แก่ ธรรมชาติที่แข็ง. คำว่า ขริคต (กระด้าง) ได้แก่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

ธรรมชาติที่หยาบ. คำว่า กกฺขฬติต (ความแข็ง) ได้แก่ ภาวะที่แข็ง.

คำว่า กกฺขฬภาโว (ภาวะที่แข็ง) ได้แก่ สภาวะที่แข็ง.

คำว่า อชฺฌตฺต อุปาทินฺน (อุปาทินนรูปที่เป็นภายใน) ได้แก่

อุปาทินนรูป กล่าวคือ รูปภายในเกิดในตน รูปที่ตั้งอยู่ในสรีระ ชื่อว่า

อุปาทินนะ จริงอยู่ รูปที่ตั้งอยู่ในสรีระจะมีกรรมเป็นสมุฏฐานก็ตาม หรือไม่มี

กรรมเป็นสมุฏฐานก็ตาม ทรงหมายเอารูปที่ตั้งอยู่ในสรีระอันเป็นอุปาทินนะ

บ้าง เป็นอนุปาทินนะบ้างนั้น. แต่เพื่อทรงแสดงว่า รูปที่ตั้งอยู่ในสรีระ

เหล่านั้นแม้ทั้งหมด เป็นอุปาทินนรูป ด้วยอำนาจแห่งรูปที่มีใจครองซึ่งถูก

ตัณหาและทิฏฐิยึดถือไว้แล้วนั่นแหละ จึงตรัสคำว่า อชฺฌตฺต อุปาทินฺน

เป็นต้น.

นิเทศปฐวีธาตุภายใน

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะแสดงปฐวีธาตุนั้นนั่นแหละ

ด้วยสามารถแห่งวัตถุ จึงตรัสคำว่า เสยฺยถีท เกสา โลมา ดังนี้เป็นต้น.

ในพระบาลีนั้น คำว่า เสยฺยถีท เป็นนิบาต. คำว่า เสยฺยถีท

นั้น มีอธิบายว่า ปฐวีธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน ? หรือว่ารูปที่อยู่ภายในเป็น

ของเฉพาะตน ชื่อว่า เป็นธรรมชาติแข็งนั้น เป็นไฉน ?

คำว่า เกสา โลมา เป็นต้น เป็นคำแสดงประเภทแห่งปฐวีธาตุที่

เป็นภายในนั้นด้วยอำนาจที่เป็นวัตถุ มีคำอธิบายไว้อย่างนี้ว่า ชื่อว่า เกสา

(ผมทั้งหลาย) อยู่ภายในเป็นอุปาทินนรูป เป็นของตั้งอยู่ในสรีระ มีความแข็ง

เป็นลักษณะ เป็นโกฏฐาส (ส่วน) หนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้. ชื่อว่า โลมา

(ขนทั้งหลาย) ฯลฯ ชื่อว่า กรีสะ (อาหารเก่า). มัตถลุงคัง (มันสมอง)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

แม้มิได้ตรัสไว้ในธาตุวิภังค์นี้ แต่ท่านก็ยกขึ้นสู่บาลีในปฏิสัมภิทามรรค ชื่อว่า

มัตถลุงคัง ที่นำมาแล้วเป็นของภายใน เป็นอุปาทินนรูป ตั้งอยู่ในสรีระ

มีความแข็งเป็นลักษณะ เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้. แม้ในน้ำดี

เป็นต้นในนิเทศแห่งอาโปธาตุเป็นต้นข้างหน้า ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ถามว่า ด้วยคำว่า เสยฺยถีท เกสา เป็นต้นนี้ ทรงแสดงอะไร.

ตอบว่า มนสิการธาตุ.

ถามว่า ก็กุลบุตรผู้ปรารถนาจะทำกรรมในมนสิการธาตุนี้แล้วเริ่ม

วิปัสสนาเพื่อบรรลุพระอรหัตอันเป็นประโยชน์สูงสุด จะพึงทำอย่างไร.

ตอบว่า พึงชำระปาริสุทธิศีล ๔ ให้บริสุทธิ์. เพราะว่าการเจริญ

กรรมฐานย่อมสำเร็จแก่บุคคลผู้มีศีล วิธีทำการชำระจตุปาริสุทธิศีลนั้น พึง

ทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคนั่นแหละ. ก็กุลบุตรผู้มีศีลบริสุทธิ์ตั้งอยู่

ในศีลแล้วพึงตัดปลิโพธ (ความกังวลใจ) เบื้องต้น ๑๐ อย่าง วิธีการตัด

ปลิโพ ๑๐ อย่างแม้เหล่านั้น ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคนั้น

แหละ อันกุลบุตรผู้ตัดปลิโพธแล้วพึงเรียนเอากรรมฐานมนสิการธาตุ แม้

อาจารย์ผู้ให้อันเตวาสิกเรียนกรรมฐานมนสิการธาตุ ก็พึงบอกอุคคหโกศล ๗

อย่าง และมนสิการโกศล ๑๐ อย่าง แม้อันเตวาสิกก็ควรทำการสาธยายใน

สำนักแห่งอาจารย์ให้มากแล้ว ทำกรรมฐานให้คล่องแคล่วหมดความยุ่งยาก.

ข้อนี้สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า ภิกษุผู้แรกเริ่มกรรมฐานเป็นผู้ใคร่

เพื่อจะพ้นจากชราและมรณะพึงปรารถนาอุคคหโกศลโดยอาการ ๗ อย่าง พึง

ปรารถนามนสิการโกศลโดยอาการ ๑๐ อย่าง.

๑. ผู้ฉลาดในการเรียน ๗ อย่าง.

๒. ผู้ฉลาดในการมนสิการ ๑๐ อย่าง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

ว่าด้วยอุคคหโกศล ๗ อย่าง

บรรดาอุคคหโกศล และมนสิการโกศลเหล่านั้น กุลบุตรพึงปรารถนา

อุคคหโกศลในกรรมฐานมนสิการธาตุเหล่านั้น คือ

โดยวาจา ๑

โดยใจ ๑

โดยสี ๑

โดยสัณฐาน ๑

โดยทิศ ๑

โดยโอกาส ๑

โดยปริเฉท ๑

ว่าด้วยมนสิการโกศลมี ๑๐ อย่าง

กุลบุตรพึงปรารถนามนสิการโกศลโดยอาการ ๑๐ อย่างเหล่านี้ คือ

โดยลำดับ ๑

โดยไม่เร็วเกินไป ๑

โดยไม่ช้าเกินไป ๑

โดยห้ามความฟุ้งซ่าน ๑

โดยก้าวล่วงบัญญัติ ๑

โดยละลำดับ ๑

โดยลักษณะ ๑

โดยสูตรทั้ง ๓.*

* อธิจิตตสูตร สิติภาวสูตร โพชฌงคโกสัลลสตร.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

โกศลแม้ทั้ง ๒ จักแจ่มแจ้งในสติปัฏฐานวิภังค์ข้างหน้า.

ก็กุลบุตรผู้มีกรรมฐานอันเรียนเอาอย่างนี้ พึงเว้นเสนาสนะที่เป็นโทษ

๑๘ แห่ง ความที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค อยู่ในเสนาสนะประกอบด้วยองค์ ๕

แม้คนเองก็ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้ประกอบความเพียร ๕* กลับจาก

บิณฑบาตในเวลาภายหลังภัตแล้ว เข้าไปสู่ที่โอกาสอันสงัดมนสิการกรรมฐาน

ก็กุลบุตรนั้นเมื่อมนสิการพึงมนสิการโกฏฐาส แค่ละอย่างในบรรดาโกฏฐาส

ทั้งหลายมีผมเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งสี สัณฐาน ทิศ โอกาส และ

ปริจเฉท ในกาลเป็นที่สุด พึงให้มนสิการเป็นไปอย่างนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการเกสา (ผมทั้งหลาย)

ธรรมดา เกสา คือผมทั้งหลายเหล่านั้นเกิดในหนังหุ้มกะโหลกศีรษะ

ในผมทั้งหลายเหล่านั้น. พระโยคีพึงมนสิการว่า บรรดาหญ้าแฝกหอมทั้งหลาย

ซึ่งเกิดบนจอมปลวก จอมปลวกย่อมไม่รู้ว่า หญ้าแฝกหอมทั้งหลายเกิด

ในเรา แม้หญ้าแฝกหอมเล่าก็ไม่รู้ว่า พวกเราเกิดบนจอมปลวก ดังนี้

ฉันใด หนังหุ้มกะโหลกศีรษะก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า ผมทั้งหลาย

เกิดในเรา แม้ผมทั้งหลายเล่าก็ไม่รู้ว่า พวกเราเกิดในหนังหุ้มกะโหลก

ศีรษะ ดังนี้ ธรรมเหล่านั้น เว้นจากความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน

เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่าผมทั้งหลายที่เป็นโกฏฐาส (ส่วน) หนึ่งโดยเฉพาะใน

สรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นสองสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติ

แข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

* ในที่นี้ที่ท่านไม่ได้บอกไว้ ผู้แปลได้นำมาจากหมวดธรรมในพระไตรปิฏกกล่าวว่ามี ๕ เหมือนกัน

คือ ๑. มีศรัทธา ๒. มีโรคน้อยเป็นผู้อดทน ๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ๕ มีความเพียร

ไม่ท้อถอย ๕ มีปัญญา มีความสามารถเห็นความเกิดดับ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

ว่าด้วยวิธีมนสิการโลมา (ขนทั้งหลาย)

โลมา ขนทั้งหลาย เกิดในหนังหุ้มสรีระ ในขนทั้งหลายเหล่านั้น

พระโยคีพึงมนสิการว่า บรรดาหญ้าแพรกทั้งหลายซึ่งเกิดในที่สุญญาคาร สถานที่

สุญญาคารย่อมไม่รู้ว่า หญ้าแพรกทั้งหลายเกิดในเรา แม้หญ้าแพรกเล่า

ก็ไม่รู้ว่า พวกเราเกิดในสถานที่สุญญาคาร ดังนี้ ฉันใด หนังที่หุ้มสรีระ

ก็ฉันนั้น ย่อมไม่รู้ว่า ขนทั้งหลายเกิดในเรา แม้ขนทั้งหลายเล่าก็ไม่รู้ว่า

พวกเราเกิดในหนังหุ้มสรีระ ดังนี้ ธรรมเหล่านี้เว้นจากการคิดและพิจารณา

ซึ่งกันและกัน เพราะเหตุนั้น ขึ้นชื่อว่า ขนทั้งหลายที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดย

เฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์เป็น

ธรรมชาติแข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการนขา (เล็บทั้งหลาย)

นขา เล็บทั้งหลาย เกิดที่ปลายนิ้วทั้งหลาย ในเล็บทั้งหลายเหล่านั้น

พระโยคีพึงมนสิการว่า พวกเด็ก ๆ เอาท่อนไม้เล็ก ๆ เสียบเม็ดมะซางเล่นอยู่

ท่อนไม้เล็ก ๆ ทั้งหลายย่อมไม่รู้ว่า เม็ดมะซางตั้งอยู่ในพวกเรา แม้เม็ด

มะซางเล่าก็ไม่รู้ว่า พวกเราตั้งอยู่บนท่อนไม่เล็ก ๆ ทั้งหลาย ดังนี้ ฉันใด

นิ้วทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า เล็บทั้งหลายเกิดที่ปลายของ

พวกเรา แม้เล็บทั้งหลายเล่าก็ไม่รู้ว่า พวกเราเกิดที่ปลายของนิ้วทั้งหลาย

ดังนี้ ธรรมเหล่านี้เว้นจากการคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น

ขึ้นชื่อว่า เล็บทั้งหลายที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา

เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติแข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ

ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

ว่าด้วยวิธีมนสิการทนฺตา (ฟันทั้งหลาย)

ทนฺตา ฟันทั้งหลาย เกิดที่กระดูกคางหลาย ในฟันทั้งหลาย.

เหล่านั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อนายช่างเอายางเหนียวอย่างใดอย่างหนึ่ง

เชื่อมครกหินตั้งไว้บนเสา ครกหินย่อมไม่รู้ว่า เสาทั้งหลายตั้งอยู่ที่พวกเรา

แม้พวกเสาเล่าก็ไม่รู้ว่า พวกเราตั้งอยู่ที่ครกทั้งหลาย ดังนี้ ฉันใด กระดูกคาง

ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า ฟันทั้งหลายเกิดในพวกเรา แม้

พวกฟันเล่าก็ไม่รู้ว่า พวกเราเกิดที่กระดูกคางทั้งหลาย ดังนี้ ธรรมเหล่านี้

เว้นจากความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่าฟันทั้งหลาย

ที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ

ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติแข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการตโจ (หนัง)

ตโจ หนัง ตั้งหุ้มสรีระทั้งสิ้น ในหนังที่ตั้งหุ้มสรีระนั้น พระโยคี

พึงมนสิการว่า เมื่อพิณใหญ่ที่ถูกหุ้มด้วยหนังโคสด พิณใหญ่ย่อมไม่รู้ว่า เรา

ถูกหุ้มด้วยหนังโคสด แม้หนังโคสดเลาก็ไม่รู้ว่า พิณใหญ่ถูกเราหุ้มไว้

ดังนี้ ฉันใด สรีระก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า เราถูกหนังหุ้มไว้

แม้หนึ่งเล่าก็ไม่รู้ว่า เราหุ้มสรีระไว้ ดังนี้ ธรรมเหล่านี้เว้นจากการคิดและ

พิจารณาซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า หนังที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดย

เฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็น

ธรรมชาติแข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

ว่าด้วยวิธีมนสิการ มส (เนื้อ)

มส เนื้อ ตั้งฉาบติดอยู่ซึ่งร่างกระดูก ในเนื้อนั้น พระโยคีพึง

มนสิการว่า เมื่อเอาก้อนดินเหนียวใหญ่มาฉาบปิดฝาเรือนไว้ ก้อนดินเหนียว

ใหญ่ย่อมไม่รู้ว่า ฝาเรือนถูกเราฉาบติดไว้ แม้ฝาเรือนเล่าก็ไม่รู้ว่า เราถูก

ก้อนดินเหนียวใหญ่ฉาบติดไว้ ดังนี้ฉันใด ร่างกระดูกก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมไม่รู้ว่า เราถูกฉาบติดด้วยชิ้นเนื้อ ๙๐๐ ชิ้น แม้เนื้อเล่าก็ไม่รู้ว่า

ร่างกระดูกถูกเราฉาบติดไว้ ดังนี้ ธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดและพิจารณา

ซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า เนื้อที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะใน

สรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติ

แข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ นหารู (เอ็นทั้งหลาย)

นหารู เอ็นทั้งหลาย ตั้งรึงรัดกระดูกทั้งหลายในภายในสรีระ ใน

เอ็นเหล่านั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า ท่อนไม้ นกระท่อมที่เขาเอาเถาวัลย์มาผูก

มัดเป็นเกลียวไว้ ท่อนไม้ในกระท่อมทั้งหลายย่อมไม่รู้ว่า พวกเราถูกเถาวัลย์

ผูกเป็นเกลียวไว้ แม้เถาวัลย์ทั้งหลายก็ไม่รู้ว่า ท่อนไม้ในกระท่อม ถูก

พวกเรามัดเป็นเกลียวไว้ ดังนี้ ฉันใด กระดูกทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมไม่รู้ว่า พวกเราถูกเอ็นทั้งหลายรึงรัดไว้ แม้เอ็นทั้งหลายเล่าก็ไม่รู้ว่า

กระดูกทั้งหลายถูกพวกเรารึงรัดไว้ ดังนี้ ธรรมเหล่านี้ เว้นจากความคิด

และพิจารณาซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า เอ็นทั้งหลายที่เป็นโกฏฐาส

หนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากคะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์

เป็นธรรมชาติแข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

ว่าด้วยวิธีมนสิการ อฏิ (กระดูก)

บรรดากระดูกทั้งหลาย กระดูกส้นเท้ายกกระดูกข้อเท้าตั้งไว้ กระดูก

ข้อเท้ายกกระดูกแข้งตั้งไว้ กระดูกแข้งยกกระดูกขาอ่อนตั้งไว้ กระดูกขาอ่อน

ยกกระดูกสะเอวตั้งไว้ กระดูกสะเอวยกกระดูกสันหลังตั้งไว้ กระดูกสันหลังยก

กระดูกคอตั้งไว้ กระดูกคอยกกระดูกศีรษะตั้งไว้ กระดูกศีรษะตั้งอยู่บนกระดูก

คอ กระดูกคอตั้งอยู่บนกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังตั้งอยู่บนกระดูกสะเอว

กระดูกสะเอวตั้งอยู่บนกระดูกขาอ่อน กระดูกขาอ่อนตั้งอยู่บนกระดูกแข้ง

กระดูกแข้งตั้งอยู่บนกระดูกข้อเท้า กระดูกข้อเท้าตั้งอยู่บนกระดูกส้นเท้า.

ในบรรดากระดูกเหล่านั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า บรรดาของทั้งหลาย

ที่กองสุมกันอยู่มีอิฐ เศษไม้ และโคมัยเป็นต้น สิ่งของที่อยู่ข้างล่าง ๆ ย่อม

ไม่รู้ว่า พวกเรายกของข้างบน ๆ ขึ้นตั้งไว้ แม้ของข้างบน ๆ ก็ไม่รู้ว่า

พวกเราตั้งอยู่ในของข้างล่าง ๆ ดังนี้ ฉันใด กระดูกส้นเท้าเล่าก็ไม่รู้ว่า เรา

ยกกระดูกข้อเท้าตั้งไว้ กระดูกข้อเท้าเล่าก็ไม่รู้ว่า เรายกกระดูกแข้งตั้งไว้

กระดูกแข้งเล่าก็ไม่รู้ว่า เรายกกระดูกขาอ่อนตั้งไว้ กระดูกขาอ่อนเล่าก็ไม่

รู้ว่า เรายกกระดูกสะเอวตั้งไว้ กระดูกสะเอวเล่าก็ไม่รู้ว่า เรายกกระดูก

สันหลังตั้งไว้ กระดูกสันหลังเล่าก็ไม่รู้ว่า เรายกกระดูกคอตั้งไว้ กระดูก

คอเล่าก็ไม่รู้ว่า เรายกกระดูกศีรษะตั้งไว้ กระดูกศีรษะเล่าก็ไม่รู้ว่า เราตั้ง

อยู่บนกระดูกคอ กระดูกคอก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่บนกระดูกสันหลัง กระดูก

สันหลังก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่บนกระดูกสะเอว กระดูกสะเอวก็ไม่รู้ว่า เราตั้ง

อยู่บนกระดูกขาอ่อน กระดูกขาอ่อนก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่บนกระดูกแข้ง

กระดูกแข้งก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่บนกระดูกข้อเท้า กระดูกข้อเท้าก็ไม่รู้ว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

เราตั้งอยู่บนกระดูกส้นเท้า ดังนี้ ธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดและพิจารณา

ซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า กระดูกที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะ

ในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะเป็นของสูง ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติ

แข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ อฏฺิมิญฺช (เยื่อในกระดูก)

อฏฺิมิญฺช เยื่อในกระดูก ตั้งอยู่ภายในกระดูกเหล่านั้น ๆ ในเยื่อ

ในกระดูกเหล่านั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อบุคคลเอายอดหวายที่นั่งแล้ว

เป็นต้นใส่เข้าไปภายในกระบอกไม้ไผ่เป็นต้น กระบอกไม้ไผ่เป็นต้น ย่อมไม่

รู้ว่า ยอดหวายเป็นต้นขาใส่ไว้ในพวกเรา แม้ยอดหวายเป็นต้นเล่าก็ไม่

รู้ว่า พวกเราตั้งอยู่ในกระบอกไม่ไผ่เป็นต้น ดังนี้ ฉันใด กระดูกทั้งหลาย

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า เยื่อในกระดูกตั้งอยู่ภายในของพวกเรา

แม้เยื่อในกระดูกเล่าก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในภายในของกระดูกทั้งหลาย

ดังนี้ ธรรมเหล่านั้นเว้นจากความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น

ขึ้นชื่อว่า เยื่อในกระดูกที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา

เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติแข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ

ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ วกฺก* (ไต)

วกฺก ไต ตั้งแวดล้อมเนื้อหัวใจโดยผูกไว้ด้วยเอ็นใหญ่ มีโคน

เดียวกันออกจากหลุมคอไปหน่อยหนึ่งแล้วแยกออกเป็น ๒ ในไตนั้นพระโยคี

พึงมนสิการว่า เมื่อผลมะม่วงคู่ติดอยู่ที่ขั้ว ขั้วมะม่วงย่อมไม่รู้ว่า ผลมะม่วง

* คำว่า วกฺก เคยแปลกัน ม้าม แต่ปัจจุบันแปลว่า ไต

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

คู่ติดอยู่กับเรา แม้ผลมะม่วงคู่ก็ไม่รู้ว่า เราติดอยู่กับขั้ว ดังนี้ ฉันใด

แม้เอ็นใหญ่ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า ไตติดอยู่กับเรา แม้

ไตเล่าก็ไม่รู้ว่า เราติดอยู่กับเอ็นใหญ่ ดังนี้ ธรรมเหล่านั้นเว้นจากความคิด

และพิจารณาซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า ไตที่เป็นโกฏฐาสหนึ่ง

โดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์

เป็นธรรมชาติแต่ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ หทย (หัวใจ)

หทย หัวใจ อาศัยตั้งอยู่ท่ามกลางซี่กรงกระดูกอกภายในสรีระ ใน

หัวใจนั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อชิ้นเนื้ออาศัยตั้งอยู่ภายในซี่กรงของรถ

ศึกเก่า ภายในซี่กรงของรถศึกเก่า ย่อมไม่รู้ว่า ชิ้นเนื้ออาศัยเราตั้งอยู่ แม้

ชิ้นเนื้อก็ไม่รู้ว่า เราอาศัยภายในซี่กรงรถศึกเก่าตั้งอยู่ ดังนี้ ฉันใด ภาย

ในชี่กรงกระดูกอกก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า หทัยอาศัยเราตั้งอยู่ แม้

หทัยเล่าก็ไม่รู้ว่า เราอาศัยภายในซี่กรงกระดูกอกตั้งอยู่ ดังนี้ ธรรม

เหล่านั้นเว้นจากความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า

หทัยที่เป็นโกฏฐาสหนึ่ง โดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ

เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติแข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ ยกน (ตับ)

ยกน ตับ อาศัยตั้งอยู่ข้างขวาภายในระหว่างราวนมทั้งสองภายใน

สรีระ ในตับนั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อเขาห้อยก้อนเนื้อคู่ไว้ที่กระพุ้ง

หม้อข้าว ข้างกระพุ้งหม้อข้าว ย่อมไม่รู้ว่า ก้อนเนื้อคู่ห้อยไว้ในเรา แม้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

ก้อนเนื้อคู่ก็ไม่รู้ว่า เราถูกห้อยไว้ที่ข้างกระพุ้งหม้อข้าว ดังนี้ ฉันใด

สีข้างด้านขวาระหว่างราวนมทั้งคู่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า ตับอาศัย

เราตั้งอยู่ แม้ตับเล่าก็ไม่รู้ว่า เราอาศัยตั้งอยู่ทางสีข้างด้านขวาระหว่าง

ราวนมทั้งคู่ ดังนี้ ธรรมเหล่านั้นเว้นจากความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน

เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า ตับที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา

เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติแข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ

ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ กโลมก (พังผืด)

บรรดาพังผืดทั้งหลาย พังผืดที่ปิดบัง (ปฏิจฺฉนฺนกิโลมก) ล้อม

หทัยและไตไว้ตั้งอยู่ (อย่างหนึ่ง) พังผืดที่ไม่ปิดบังหทัยและไต (อปิปฏิจฺ-

ฉนินกิโลมก) แต่หุ้มเนื้อภายใต้หนังในสรีระทั้งสิ้นตั้งอยู่ (อย่างหนึ่ง).

ในพังผืดเหล่านั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อเนื้อถูกคลุมไว้ด้วยผ้า

ผืนเก่า เนื้อย่อมไม่รู้ว่า เราถูกผ้าผืนเก่าคลุมไว้ แม้ผ้าเก่าก็ไม่รู้ว่า เนื้อ

ถูกเราคลุมไว้ ดังนี้ ฉันใด ไต หัวใจ และเนื้อในสรีระทั้งสิ้น ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า เราถูกพังผืดปกปิดไว้ แม้พังผืดเล่าก็ไม่รู้ว่า ไต

หัวใจเนื้อในสรีระทั้งสิ้นถูกเราปกปิดไว้ ดังนี้ ธรรมเหล่านี้เว้นจาก

ความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า พังผืดที่เป็น

โกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ

ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติแข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

ว่าด้วยวิธีวิธีมนสิการ ปิหก* (ม้าม)

ปีหก ม้าม อาศัยตั้งอยู่ข้างบนเยื่อหุ้มท้องข้างซ้ายของหัวใจ ในม้าม

นั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อก้อนโคนัยวางแนบข้างบนยุ้งข้าว ข้างบน

ยุ้งข้าวย่อมไม่รู้ว่า ก้อนโคมัยอาศัยเราตั้งอยู่ แม้ก้อนโคมัยก็ไม่รู้ว่า เรา

อาศัยข้างบนยุ้งข้าวตั้งอยู่ ดังนี้ ฉันใด ข้างบนเยื่อหุ้มท้องก็ฉันนั้นเหมือน

กัน ย่อมไม่รู้ว่า ม้ามอาศัยเราตั้งอยู่ แต่ม้ามเล่าก็ไม่รู้ว่า เราอาศัยข้างบน

เยื่อหุ้มท้องตั้งอยู่ ดังนี้ ธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดและพิจารณาซึ่งกัน

และกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า ม้ามที่เป็นโกฏฐาสในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา

เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติแข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ

ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ ปปฺผาส (ปอด)

ปปฺผาส ปอด ห้อยปิดข้างบนหัวใจและตับตั้งอยู่ระหว่างนมทั้ง ๒

ภายในสรีระ ในปอดนั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อรังนกห้อยอยู่ภายใน

ยุ้งข้าวเก่า ภายในยุ้งข้าวเก่าย่อมไม่รู้ว่า รังนกห้อยอยู่ในเรา แม้รังนกก็ไม่

รู้ว่า เราห้อยอยู่ภายในยุ้งข้าวเก่า ดังนี้ ฉันใด ภายในแห่งสรีระก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า ปอดห้อยอยู่ในเรา แม้ปอดเล่าก็ไม่รู้ว่า เราห้อย

อยู่ภายในสรีระเห็นปานนี้ ดังนี้ ธรรมเหล่านั้นเว้นจากความคิดและพิจารณา

ซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า ปอดที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะใน

สรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ. เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติ

แข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

* ปีหก โบราณแปลว่า ไต

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

ว่าด้วยวิธีมนสิการ อนฺต (ไส้ใหญ่)

อนฺต ไส้ใหญ่ ตั้งอยู่ภายในสรีระจากหลุมคอลงไปถึงทวารหนัก

เป็นที่สุด ในไส้ใหญ่นั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อร่างงูเรือนที่ถูกตัดศีรษะ

วางขดไว้ในรางเลือด รางเลือดย่อมไม่รู้ว่า ร่างงูเรือนเขาวางไว้ในเรา

แม้ร่างงูเรือนก็ไม่รู้ว่า เราถูกวางไว้ในรางเลือด ดังนี้ ฉันใด ภายใน

สรีระก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า ไส้ใหญ่ตั้งอยู่ในเรา แม้ไส้ใหญ่เล่า

ก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ภายในสรีระ ดังนี้ ธรรมเหล่านั้นเว้นจากความคิดและ

พิจารณาซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า ไส้ใหญ่ที่เป็นโกฏฐาสหนึ่ง

โดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์

เป็นธรรมชาติแข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ อนฺตคุณ (ไส้น้อย)

อนฺตคุณ ไส้น้อย ตั้งอยู่ระหว่างไส้ใหญ่โดยพันขนดไส้ใหญ่ ๒๑

ขนด ในไส้น้อยนั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อบุคคลเอาเชือกเย็บมณฑล

เชือกสำหรับเช็ดเท้าตั้งไว้ มณฑลเชือกสำหรับเช็ดเท้าย่อมไม่รู้ว่า เชือกเย็บ

เราตั้งไว้ แม้เชือกก็ไม่รู้ว่า พวกเราเย็บมณฑลเชือกสำหรับเช็ดเท้า

ตั้งไว้ ดังนี้ ฉันใด ไส้ใหญ่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า ไส้น้อยพัน

ตัวเราตั้งไว้ แม้ไส้น้อยเล่าก็ไม่รู้ว่า เราพันไส้ใหญ่ตั้งไว้ ดังนี้ ธรรม

เหล่านี้เว้นจากความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน ขึ้นชื่อว่า ไส้น้อยที่เป็น

โกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ

ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติแข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

ว่าด้วยวิธีมนสิการ อุทริย (อาหารใหม่)

อุทริย อหารใหม่ ได้แก่ ของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม

ที่อยู่ในท้อง บรรดาอาหารใหม่เหล่านั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อรากสุนัข

ตั้งอยู่ในรางสุนัข รางสุนัขย่อมไม่รู้ว่า รากสุนัขตั้งอยู่ในเรา แม้รากสุนัข

ก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในรางสุนัข ดังนี้ ฉันใด ท้องก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมไม่รู้ว่า อาหารใหม่อยู่ในเรา แม้อาหารใหม่เล่าก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่

ในท้อง ดังนี้ ธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน

เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า อาหารใหม่ที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้

ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติแข็ง

ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ กรีส (อาหารเก่า)

กรีส อาหารเก่า ตั้งอยู่ในที่สุดแห่งไส้ใหญ่ กล่าวคือกระเพาะอาหาร

เก่า เช่นกับกระบอกไม้ไผ่ยาว ๘ นิ้ว ในอาหารเก่าเหล่านั้น พระโยคีพึง

มนสิการว่า เมื่อเอาดินเหนียวละเอียดสีเหลืองขยำใส่ในปล้องไม้ไผ่ ปล้องไม้ไผ่

ย่อมไม่รู้ว่า ก้อนดินเหนียวสีเหลืองตั้งอยู่ในเรา แม้ก้อนดินเหนียวสีเหลือง

ก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในกระบอกไม้ไผ่ ดังนี้ ฉันใด กระเพาะอาหารเก่า

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า อาหารเก่าตั้งอยู่ในเรา แม้อาหารเก่าเล่าก็

ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในกระเพาะอาหารเก่า ดังนี้ ธรรมเหล่านั้นเว้นจาก

ความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า อาหารเก่าที่เป็น

โกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ

ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติแข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

ว่าด้วยวิธีมนสิการ มตฺถลุงฺค (มันสมอง)

มตฺถลุงฺค มันสมอง ตั้งอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ ในมันสมองนั้น

พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อบุคคลเอาก้อนแป้งใส่ในกะโหลกน้ำเต้าเก่า กะ-

โหลกน้ำเต้าเก่าย่อมไม่รู้ว่า ก้อนแป้งตั้งอยู่ในเรา แม้ก้อนแป้งก็ไม่รู้ว่า

เราตั้งอยู่ในกะโหลกน้ำเต้า ดังนี้ ฉันใด ภายในกะโหลกศีรษะก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า มันสมองตั้งอยู่ในเรา แม้มันสมองเล่าก็ไม่รู้ว่า เรา

ตั้งอยู่ในกะโหลกศีรษะ ดังนี้ ธรรมเหล่านั้นเว้นจากความคิดและพิจารณา

ซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า มันสมองที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะ

ในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติ

แข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.

นิเทศปฐวีธาตุภายนอก

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศปฐวีธาตุภายนอก บทว่า อโย (เหล็ก)

ได้แก่ โลหะดำ.

บทว่า โลห (โลหะ) ได้แก่ โลหะ ๔ ชนิด คือ ชาติโลหะ ๑

วิชาตโลหะ ๑ กิตติมโลหะ ๑ ปีสาจโลหะ ๑ บรรดาโลหะ เหล่านั้น

โลหะ ๗ ชนิดเหล่านั้น คือ อโย (เหล็ก) สชฺฌุ (เงิน) สุวณฺณ (ทอง)

ติปุ (ดีบุก) สีส (ตะกั่ว) ตมฺพโลห (ทองแดง) เวกนฺตกโลห

(ทองเหลือง) ชื่อว่า ชาติโลหะ โลหะมีลักษณะดังงวงช้าง ชื่อว่า วิชาติโลหะ

โลหะ ๓ อย่าง คือ กังสโลหะ วัฏฏโลหะ อารกูฏ ชื่อว่า กิตติมโลหะ

โลหะ ๘ คือ โมรักขกะ ปุถุกะ มลีนกะ จปลกะ เสลกะ อาฏกะ ตัลลกะ

ทุสิโลหะ ชื่อว่า ปีสาจโลหะ บรรดาโลหะเหล่านั้น ชาติโลหะ ๕ (ข้างต้น)

ตรัสไว้แผนกหนึ่งในพระบาลี แต่โลหะที่เหลือแม้ทั้งหมดกับชาติโลหะ ๒

เหล่านี้ คือ ทองแดง และทองเหลือง พึงทราบว่า โลหะ ในทีนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

บทว่า ติปุ (ดีบุก) ได้แก่ ดีบุกขาว. บทว่า สีส ได้แก่ดีบุกดำ.

บทว่า สชฺฌุ แปลว่า เงิน. บทว่า มุตฺตา (แก้วมุกดา) ได้แก่ แก้วมุกดา

เกิดในทะเล. บทว่า มณี (แก้วมณี) ความว่า เว้นแก้วไพฑูรย์เป็นต้น

ที่มาในพระบาลีแล้ว ที่เหลือแม้ทั้งหมด ชื่อว่า แก้วมณี อันต่างด้วยแก้วมณี

โชตรสเป็นต้น . บทว่า เวฬุริโย (แก้วไพฑูรย์) ได้แก่แก้วมณีมีสีเหมือน

สีผิวไม้ไผ่. บทว่า สโข (สังข์) ได้แก่ หอยสังข์เกิดในทะเล. บทว่า สิลา

(ศิลา) ได้แก่ ศิลาแม้ทั้งหมดอันต่างด้วยศิลาดำ ศิลาเหลือง ศิลาขาวเป็นต้น.

บทว่า ปวาฬ คือแก้วประพาฬนั่นเอง. บทว่า รชต (เงินตรา) ได้แก่

กหาปณะ. บทว่า ชาตรูป ได้แก่ ทอง. บทว่า โลหิตงฺโค ได้แก่

มณีแดง. บทว่า มสารคลฺล (แก้วลาย) ได้แก่ เพชรตาแมว.

พึงทราบวินิจฉัยในวัตถุมีหญ้าเป็นต้น พฤกษชาติที่มีข้างนอกแข็ง

โดยที่สุดมีต้นมะพร้าวเป็นต้น ชื่อว่า หญ้า. วัตถุที่แก่นข้างในโดยที่สุดแม้

ท่อนฟืน ชื่อว่า ท่อนไม้. ก้อนหินโดยประมาณเม็ดถั่วเขียวจนถึงกำปั้น

ชื่อว่า กรวด แต่กรวดที่เล็กกว่าเม็ดถั่ว เขียวลงมา เรียกว่า ทราย. คำว่า

กระเบื้อง ได้แก่กระเบื้องอย่างใดอย่างหนึ่ง. คำว่า ภูมิ ได้แก่ แผ่นดิน.

คำว่า ปาสาโณ (แผ่นหิน) ได้แก่ แผ่นหินมีขนาดตั้งแต่กำไม่มิดขึ้นไป

แต่ไม่ถึงประมาณเท่าช้าง ชื่อว่า แผ่นหิน แต่ถ้ามีขนาดช้างขึ้นไป ชื่อว่า

บรรพต.

ด้วยบทว่า ย วา ปน (หรือว่าธาตุอันใด) นี้ ท่านรวมเอาปถวี

ที่เหลืออันต่างด้วยวัตถุมีเมล็ดตาลและผลมะพร้าวเป็นต้น. ด้วยคำว่า ยา จ

อชฺฌตฺติกา ปถวีธาตุ ยา จ พาหิรา (ปฐวีธาตุภายในและปฐวีธาตุ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

ภายนอกอันใด) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดปฐวีธาตุแม้ทั้ง ๒ โดย

ลักษณะว่าเป็นปฐวีธาตุอันเดียวเท่านั้น เพราะอรรถว่าเป็นธรรมชาติแข็ง ดังนี้.

นิเทศอาโปธาตุภายใน

ในนิเทศอาโปธาตุเป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในหันหลังนั่นแหละ.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อาโป อาโปคต (ควานเอิบอาบ ธรรมชาติที่

เอิบอาบ) ดังนี้เป็นต้น ที่ชื่อว่า อาโป (ความเอิบอาบ) ด้วยอำนาจความ

เกาะกุม คำว่า อาโป นั้นนั่นแหละ ทีชื่อว่า อาโปคต (ธรรมชาติที่เอิบอาบ)

เพราะตามที่อาโปธาตุน้ำนั้นนั่นแหละ ถึงความเป็นสภาพแห่งอาโป. ที่ชื่อว่า

สิเนโห (ความเหนียว) ด้วยอำนาจแห่งสิเนหา ความสิเนหานั้นนั่นแหละ.

ชื่อว่า สิเนหคต (ธรรมชาติที่เหนียว) เพราะถึงสภาพแห่งความเหนียว.

บทว่า พนฺนตฺต รูปสฺส (ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป) ได้แก่

เครื่องผูกของอวินิโภครูป (รูปที่แยกออกไม่ได้ ๘ รูป). แม้คำว่า ปีตฺต

(น้ำดี) เสมฺห (เสลด) เป็นต้น พระโยคีพึงมนสิการด้วยอำนาจแห่งความ

เป็นธาตุนั้นแหละ โดยกำหนดถือเอาด้วยสามารถแห่งสี สัณฐาน ทิศ โอกาส

และปริจเฉท.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ ปิตฺต (น้ำดี)

ในอธิการแห่งอาโปธาตุนั้น มีนัยดังต่อไปนี้

ก็บรรดาน้ำดีทั้งหลาย น้ำดีที่ไม่อยู่ในถุง (อพทฺธปิตฺต) ตั้งอยู่

ซึมซาบสรีระทั้งสิ้นอันเนื่องด้วยชีวิตินทรีย์ น้ำดีที่อยู่ในถุง (พทฺธปิตฺต)

ตั้งอยู่ในถุงของน้ำดี. บรรดาน้ำดีทั้ง ๒ เหล่านั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

เมื่อมีน้ำมันซึมซาบขนมตั้งอยู่ ขนมย่อมไม่รู้ว่า น้ำมันซึมซาบเราตั้งอยู่

แม้น้ำมันก็ไม่รู้ว่า เราซึมซาบขนมตั้งอยู่ ดังนี้ ฉันใด สรีระก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า น้ำดีที่ไม่อยู่ในถุงซึมซาบเราตั้งอยู่ แม้น้ำดีที่

ไม่อยู่ในถุงเล่าก็ไม่รู้ว่า เราซึมซาบสรีระตั้งอยู่ ดังนี้ และเหมือนรังบวบขม

ที่เต็มด้วยน้ำฝน รังบวบขมย่อมไม่รู้ว่า น้ำฝนตั้งอยู่ในเรา แม้น้ำฝนก็ย่อม

ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในรังบวบขม ดังนี้ ฉันใด ถุงน้ำดีก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมไม่รู้ว่า น้ำดีในถุงตั้งอยู่ในเรา แม้น้ำดีในถุงก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ใน

ถุงของน้ำดี ดังนี้ ธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน

เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า น้ำดีที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มี

เจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติเหลว มีอาการ

เกาะกุม ชื่อว่า อาโปธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ เสมฺห (เสลด)

เสมห เสลด มีประมาณเต็มกอบหนึ่งตั้งอยู่ที่เยื่อบุท้อง ในเสลดนั้น

พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อบ่อน้ำคลำมีแผ่นฝาฟองขึ้นเบื้องบนมีอยู่ บ่อน้ำคลำ

ย่อมไม่รู้ว่า แผ่นฝาฟองตั้งอยู่ในเรา แม้แผ่นฝาฟองก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่

ในบ่อน้ำคลำ ดังนี้ ฉันใด เยื่อบุท้องก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า

เสลดตั้งอยู่ในเรา แม้เสลดเล่าก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในเยื่อบุท้อง ดังนี้

ธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า

เสลดที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ

เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติเหลว มีอาการเกาะกุม ชื่อว่า อาโปธาตุ

ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

ว่าด้วยวิธีมนสิการ ปุพฺโพ (น้ำหนอง)

ปุพฺโพ น้ำหนอง ไม่ตั้งอยู่ประจำ เมื่อส่วนแห่งร่างกายถูกตอ

หนาม การประหาร และเปลวไฟเป็นต้นกระทบแล้วในที่ใด ๆ โลหิตก็จะห้อขึ้น

หรือว่าฝีและต่อมเป็นต้น ก็ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ในส่วนแห่งร่างกายนั้น ๆ ทีเดียว

ในน้ำหนองเหล่านั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อต้นไม้มียางไหลออกด้วย

อำนาจการประหารด้วยขวานเป็นต้น ส่วนแห่งต้นไม้ที่ถูกประหารด้วยขวาน

เป็นต้นย่อมไม่รู้ว่า ยางต้นไม้ตั้งอยู่ในพวกเรา แม้ยางต้นไม้ก็ไม่รู้ว่า

เราตั้งอยู่ในส่วนแห่งต้นไม้ที่ถูกประหารด้วยขวานเป็นต้น ดังนี้ ฉันใด

ประเทศแห่งร่างกายที่ถูกกระทบด้วยตอ หนามเป็นต้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม

ไม่รู้ว่า น้ำหนองตั้งอยู่ในพวกเรา แม้น้ำหนองเล่าก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ใน

ประเทศร่างกายเหล่านั้น ดังนี้ ธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดและพิจารณา

ซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า น้ำหนองที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะ

ในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นสัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นของเหลว

มีอาการเกาะกุม ชื่อว่า อาโปธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ โลหิต (น้ำเลือด)

โลหิต น้ำเลือด ที่ไหลไปมาตั้งซึมซาบสรีระทั้งสิ้นอยู่เหมือนน้ำดี

ที่ไม่อยู่ในถุง เลือดที่ตั้งอยู่มีประมาณเต็มกอบหนึ่ง ขังอยู่ภายใต้ฐานของตับ

ทำให้ไต หัวใจ ตับ ปอด ชุ่มอยู่ ในเลือดเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัย

เลือดที่ไหลไปมาเช่นเดียวกับน้ำดีที่มิได้อยู่ในถุงนั่นแหละ ส่วนเลือดอีกอย่าง

หนึ่งนอกนี้ พระโยคีพึงมนสิการว่า น้ำขังอยู่ที่ภาชนะเก่ายังก้อนดินและท่อนไม้

ในภายใต้ให้ชุ่มอยู่ วัตถุมีก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น ย่อมไม่รู้ว่า พวกเรา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

เปียกน้ำตั้งอยู่ แม้น้ำก็ไม่รู้ว่า เราทำก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้นให้

เปียก ดังนี้ ฉันใด ที่อันเป็นส่วนเบื้องล่างของตับก็ดี ส่วนต่าง ๆ มีไต

เป็นต้นก็ดี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า เลือดขังอยู่ในเรา เราเท่านั้น

เปียกอยู่ แม้เลือดเล่าก็ไม่รู้ว่า เรายังไตเป็นต้นให้เปียกอยู่ ยังส่วน

ภายใต้ของตับให้เต็มแล้ว ดังนี้ ธรรมชาติเหล่านี้เว้นจากความคิดและพิจารณา

ซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า เลือดที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะ

ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติเหลว

มีอาการเกาะกุม ชื่อว่า อาโปธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ เสโท (เหงื่อ)

เสโท เหงื่อ ย่อมตั้งอยู่เต็ม และไหลออกตามช่องผมและขุมขน

ในเวลาเร่าร้อนด้วยไฟเป็นต้น บรรดาเหงื่อเหล่านั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า

เมื่อบุคคลถอนกำเหง้าบัว รากบัว และก้านดอกบัวขาวขึ้นจากน้ำ ช่องกำแห่ง

เหง้าบัวเป็นต้นย่อมไม่รู้ว่า น้ำย่อมไหลออกจากพวกเรา แม้น้ำที่ไหล

ออกจากช่องกำแห่งเหง้าบัวเป็นต้น ก็ย่อมไม่รู้ว่า เราย่อมไหลออกจากช่อง

กำแห่งเหง้าบัวเป็นต้น ดังนี้ ฉันใด ช่องผมและขุมขนก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมไม่รู้ว่า เหงื่อย่อมไหลออกจากพวกเรา แม้เหงื่อเล่าก็ไม่รู้ว่า เรา

ย่อมไหลออกจากช่องผมและขุมขน ดังนี้ ธรรมเหล่านั้นเว้นจากความคิด

และพิจารณาซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า เหงื่อที่เป็นโกฏฐาสหนึ่ง

โดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์

เป็นธรรมชาติเหลว มีอาการเกาะกุม ชื่อว่า อาโปธาตุ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

ว่าด้วยวิธีมนสิการ เมโท (มันข้น)

เมโท มันข้น เป็นมันเหนียวข้น ของคนอ้วนแผ่กระจายไปสู่สรีระ

ทั้งสิ้น ของคนผอมอาศัยเนื้อปลีแข้งเป็นต้นตั้งอยู่ ในบรรดามันข้นเหล่านั้น

พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อก้อนเนื้อถูกปกปิดด้วยผืนผ้าเก่าสีเหมือนขมิ้นอยู่

ก้อนเนื้อย่อมไม่รู้ว่า ผืนผ้าเก่าสีเหมือนขมิ้นอาศัยเราตั้งอยู่ แม้ผืนผ้าเก่า

สีขมิ้นก็ไม่รู้ว่า เราอาศัยก้อนเนื้อตั้งอยู่ ดังนี้ ฉันใด เนื้อในสรีระทั้งสิ้น

หรือปลีแข้งเป็นต้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า มันข้นอาศัยเราตั้งอยู่

แม้มันข้นเล่าก็ไม่รู้ว่า เราอาศัยเนื้อตั้งอยู่ในสรีระทั้งสิ้น หรือที่ปลีแข้ง

เป็นต้น ดังนี้ ธรรมเหล่านั้นเว้นจากความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน

เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า มันข้นที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มี

เจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นยางข้น เป็นน้ำข้น

มีอาการเกาะกุม ชื่อว่า อาโปธาตุ ดังนี้ .

ว่าด้วยวิธีมนสิการ อสฺสุ (น้ำตา)

อสฺสุ น้ำตา ในเวลามันเกิดจะคลออยู่เต็มเบ้าตาบ้าง ย่อมไหลออก

บ้าง ในน้ำตานั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อเบ้าแห่งผลตาลอ่อนเต็มด้วยน้ำ

เบ้าแห่งผลตาลอ่อนทั้งหลายย่อมไม่รู้ว่า น้ำตั้งอยู่ในพวกเรา แม้น้ำก็ไม่รู้ว่า

เราตั้งอยู่ในเบ้าแห่งผลตาลอ่อนทั้งหลาย ดังนี้ ฉันใด เบ้าแห่งตาก็ฉัน

นั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า น้ำตาตั้งอยู่ในพวกเรา แม้น้ำตาเล่าก็ไม่รู้ว่า

เราตั้งอยู่ในเบ้าตาทั้งสอง ดังนี้ ธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดและพิจารณา

ซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า น้ำตาที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งมีอยู่โดยเฉพาะ

ในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรม-

ชาติเหลว มีอาการเกาะกุม ชื่อว่า อาโปธาตุ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

ว่าด้วยวิธีมนสิการ วสา (มันเหลว)

วสา มันเหลว เป็นมันเหนียวที่ละลายในสรีระที่ตั้งอยู่ตามฝามือ

หลังเท้า ฝาเท้า โพรงจมูก หน้าผาก และจะงอยบ่าในเวลาเกิดความร้อน

ด้วยไฟเป็นต้น บรรดามันเหลวเหล่านั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า ในข้าวตัง

ที่บุคคลใส่น้ำมันเข้าไปแล้ว ข้าวตังย่อมไม่รู้ว่า น้ำมันท่วมทับเราตั้งอยู่

แม้น้ำมันก็ไม่รู้ว่า เราท่วมทับข้าวตังตั้งอยู่ ดังนี้ ฉันใด ประเทศแห่ง

ฝามือเป็นต้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า มัน เหลวท่วมทับเราตั้งอยู่

แม้มันเหลวก็ไม่รู้ว่า เราท่วมทับประเทศมีฝ่ามือเป็นต้นตั้งอยู่ ดังนี้

ธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกันเพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า

มันเหลวที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ

เป็นของสิ้น ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติเหลว มีอาการเกาะกุม ชื่อว่า เป็น

อาโปธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ เขโฬ (น้ำลาย)

เขโฬ น้ำลาย เมื่อมีปัจจัยที่จะให้เกิดน้ำลายอย่างใดอย่างหนึ่ง

มัน จะไหลจากกระพุ้งแก้มทั้ง ๒ มาตั้งอยู่ที่ลิ้น บรรดาน้ำลายนั้น พระโยคี

พึงมนสิการว่า บ่อใกล้ฝั่งแม่น้ำ มีน้ำไหลมาไม่ขาดสาย พื้นบ่อย่อมไม่รู้ว่า

น้ำตั้งอยู่ในเรา แม้น้ำก็ไม่รู้ว่า เร่าตั้งอยู่ในบ่อ ดังนี้ ฉันใด พื้นลิ้น

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า น้ำลายไหลจากกระพุ้งแก้มทั้ง ๒ มา

ตั้งอยู่ในเรา แม้น้ำลายเล่าก็ไม่รู้ว่า เราไหลจากกระพุ้งแก้มทั้ง ๒ มาตั้ง

อยู่ที่พื้นลิ้น ดังนี้ ธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน

เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า น้ำลายที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะโดยสรีระนี้ ไม่มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

เจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติเหลว มีอาการ

เกาะกุม ชื่อว่า อาโปธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ สิงฺฆาณิกา (น้ำมูก)

สงฺฆาณิกา น้ำมูก ในเวลาที่มันเกิด มันจะตั้งอยู่เต็มโพรงจมูกบ้าง

ย่อมไหลออกบ้าง ในน้ำมูกนั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อช้อนหอยที่เขา

ตักในภาชนะที่เต็มด้วยนมส้ม บนช้อนหอยย่อมไม่รู้ว่า นมส้มบูดตั้งอยู่ในเรา

แม้นมส้มบูดก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในช้อนหอย ดังนี้ ฉันใด โพรงจมูกก็

ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า น้ำมูกตั้งอยู่ในพวกเรา แม้น้ำมูกเล่าก็ไม่

รู้ว่า เราตั้งอยู่ในโพรงจมูก ดังนี้ ธรรมเหล่านั้นเว้นจากความคิดและพิจารณา

ซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า น้ำมูกที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งในสรีระนี้ไม่มี

เจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติเหลว มีลักษณะ

เกาะกุม ชื่อว่า อาโปธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ ลสิกา (ไขข้อ)

ลสิกา ไขข้อ ทำกิจหยอดข้อต่อกระดูก ตั้งอยู่ที่ข้อต่อ ๑๘๐ ข้อ

ในไขข้อนั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อเอาน้ำมันหยอดเพลารถ เพลารถ

ย่อมไม่รู้ว่า มีน้ำมันหยอดเราอยู่ แม้น้ำมันก็ไม่รู้ว่า เราหยอดเพลารถ

อยู่ ดังนี้ ฉันใด ข้อต่อกระดูก ๑๘๐ ข้อ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า

ไขข้อหยอดพวกเราอยู่ แม้ไขข้อเล่าก็ไม่รู้ว่า เราหยอดข้อต่อ ๑๘๐

ข้ออยู่ ดังนี้ ธรรมเหล่านั้นเว้นจากความคิดแสะพิจารณาซึ่งกันและกัน เพราะ

ฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า ไขข้อที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

เป็นอัพยากะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติเหลว มีอาการเกาะกุม

ชื่อว่า อาโปธาตุ ดังนี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการ มุตฺต (น้ำมูตร)

มุตฺต (น้ำมูตร) ตั้งอยู่ภายในกระเพาะปัสสาวะ ในน้ำมูตรนั้น

พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อหม้อเกลือคว่ำปากถูกทิ้งไว้ในน้ำคลำ หม้อเกลือ

ย่อมไม่รู้ว่า รสน้ำคลำตั้งอยู่ในเรา แม้รสน้ำคลำก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ใน

หม้อเกลือ ดังนี้ ฉันใด กระเพาะปัสสาวะก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า

น้ำมูตรตั้งอยู่ในเรา แม้น้ำมูตรเล่าก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในกระเพาะ

ปัสสาวะ ดังนี้. ธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน

เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า น้ำมูตรที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มี

เจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สตว์ เป็นธรรมชาติเหลว มีอาการ

เกาะกุม ชื่อว่า อาโปธาตุ ดังนี้.

คำว่า ย วา ปน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาอาโปธาตุใน

โกฏฐาส ๓ ที่เหลือ.

นิเทศแห่งอาโปธาตุนอก

พึงทราบวินิจฉัยนิเทศอาโปธาตุภายนอก ต่อไป

ตรัสที่อาศัยรากไม้เกิดขึ้น ชื่อว่า มูลรส (รสรากไม้). แม้ในรส

ทั้งหลายมีรสเกิดแต่ลำต้นไม้เป็นต้น ชื่อ มูลรส (รสรากไม้). แม้ในรส

แจ่มแจ้งแล้วทั้งหมดทีเดียว แต่ในทีนี้ไม่มีกำหนดแน่นอนเหมือนในสิกขาบท

ว่าด้วยเภสัช. น้ำมันอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า น้ำนมนั่นแหละ แม้ในบท

ที่เหลือทั้งหลาย ก็นัยนี้แล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

บทว่า ภุมฺมานิ (พื้นดิน) ได้แก่ น้ำที่อยู่ในบ่อเป็นต้น.

บทว่า อมฺตกฺขานิ (อากาศ) ได้แก่ น้ำฝนที่ยังไม่ตกถึงแผ่นดิน.

บทว่า ย วา ปน (ก็หรือว่า น้ำใด) ได้แก่ น้ำหิมะ น้ำยังกับ

ให้พินาศ น้ำรองแผ่นดินเป็นต้นจัดเข้าฐานะในเยวาปนกนัย ในที่นี้.

นิเทศเตโชธาตุภายใน

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศเตโชธาตุ ต่อไป

ที่ชื่อว่า เตโช (ธาตุไฟ) ด้วยสามารถแห่งความร้อน. เตโชนั่นแหละ

ชื่อว่า เตโชคต (ธรรมชาติที่ร้อน) เพราะเป็นธรรมชาติถึงความเป็นของ

ร้อน. บทว่า อุสฺมา (ความอุ่น) ได้แก่ อาการร้อน. ความอุ่นนั่นเอง

ชื่อว่า อุสฺมาคต ( ธรรมชาติที่อุ่น) เพราะเป็นธรรมชาติถึงความเป็นอาการ

ร้อน.

บทว่า เยน จ ได้แก่ ธรรมชาติที่ร้อนอันกำเริบแล้ว.

บทว่า สนฺตปฺปติ (ย่อมร้อน) ได้แก่กายนี้ย่อมร้อน คือ เกิดไออุ่น

โดยภาวะที่มีความแก่สิ้นวันหนึ่งเป็นต้น.

คำว่า เยน จ ชิรยติ (เตโชธาตุทำให้ทรุดโทรม) ได้แก่ กายนี้

ย่อมทรุดโทรมย่อมถึงความขาดแคลนแห่งอินทรีย์ สิ้นกำลัง และภาวะมี

หนังเหี่ยว และผมหงอกเป็นต้น ด้วยธาตุใด.

คำว่า เยน จ ปริฑยฺหติ (เตโชธาตุที่ทำให้เร่าร้อน) ได้แก่

กายนี้ถูกธาตุใดที่กำเริบแผดเผา และบุคคลนั้น ก็จะครำครวญว่า เราร้อน

เร่าร้อน ดังนี้ ก็จะหวังเอาเนยใสที่ชำระตั้งร้อยครั้งและจันทน์แดงเป็นต้นมา

ไล้ทา และลมจากพัดในตาล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

คำว่า เยน จ อสิตปีติขายิตสายิต สมฺมา ปริณาม คจฺฉติ

(เตโชธาตุที่ทำให้ของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มถึงความย่อยไปด้วยดี) ความว่า

ของกินมีข้าวสุกเป็นต้นก็ดี ของดื่มมีน้ำดื่มเป็นต้นก็ดี ของเคี้ยวมีของเคี้ยว

ที่เป็นแป้งก็ดี ของลิ้มมีผลมะม่วงสุกน้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้นก็ดี ย่อมถึงการย่อย

คือย่อมละลายไปโดยความเป็นรสเป็นต้น ด้วยธาตุใด อนึ่ง ในเตโชธาตุ ๔

เหล่านี้ เตโชธาตุ ๓ ข้างนี้มีสมุฏฐาน ๔ อย่าง เตโชธาตุหลังมีกรรมเป็น

สมุฏฐานอย่างเดียว.

วรรณนาบทในเตโชธาตุมีเพียงเท่านี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการเตโชธาตุ

ก็วิธีมนสิการเตโชธาตุ มีดังต่อไปนี้.

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมมนสิการว่า กายนี้ย่อมร้อน (อบอุ่น)

ด้วยธาตุ ธาตุนี้เป็นโกฏฐาส (ส่วน) หนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา

เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ มีอาการทำให้ร้อน ชื่อว่า เตโชธาตุ

ดังนี้ ย่อมมนสิการว่ากายนี้ย่อมทรุดโทรมด้วยธาตุใด ย่อมเร่าร้อนด้วยธาตุใด

ย่อมยังของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มให้ถึงการย่อยด้วยดี ด้วยธาตุใด

ธาตุนี้ เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ

เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ มีอาการทำให้ร้อน ชื่อว่า เตโชธาตุ ดังนี้.

บทว่า ย วา ปน (หรือธาตุใด) ความว่า ในสรีระนี้ มีอุตุ

(คือไออุ่น) ชนิดหนึ่งเป็นปกติ อุตุนั้นก็รวมเข้าฐานของเยวาปนกนัย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

นิเทศเตโชธาตุภายนอก

ไฟมีไม้เป็นเชื้อลุกโพลงเพราะอาศัยไม้ ชื่อว่า กัฏฐัคคิ (ไฟฟืน).

แม้ในคำมีอาทิว่าไฟสะเก็ดไม้ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า สงฺการคฺคิ (ไฟหยากเยื่อ) ได้แก่ ไฟที่บุคคลลากเอา

หยากเยื่อมาทำให้โพลงขึ้น ชื่อว่า ไฟหยากเยื่อ.

บทว่า อินฺทคฺคิ ได้แก่ ไฟอสนีบาต (ฟ้าผ่า).

บทว่า อคฺคิสนฺตาโป (ความร้อนแห่งไฟ) ได้แก่ ความร้อนของ

เปลวไฟ หรือของถ่านไฟที่ปราศจากเปลว.

บทว่า สุริยสนฺตาโป (ความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ได้แก่ แดด.

บทว่า กฏฺสนฺนิจยสนฺคาโป (ความร้อนแห่งกองฟืน) ได้แก่

ความร้อนในกองฟืน. ในบทแม้ที่เหลือก็นัยนี้แหละ.

บทว่า ย วา ปน (หรือว่าไฟธาตุใด) ได้แก่ ไฟไหม้เปรต

ไฟที่ยังกัปให้พินาศ และไฟในนรกเป็นต้นก็รวมเข้าฐานะของเยวาปนกนัย

ในที่นี้.

นิเทศวาโยธาตุภายใน

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศวาโยธาตุ ต่อไป

ที่ชื่อว่า วาโย ด้วยสามารถความพัดไปมา วาโยนั่นแหละ ชื่อว่า

วาโยคต (ธรรมชาติที่พัดไปมา) เพราะถึงความเป็นวาโย.

บทว่า ถมฺภิตตฺต รูปสฺส (ความเคร่งตึงแห่งรูป) ได้แก่ ความ

เคร่งตึงแห่งอวินิโภครูป (รูปที่แยกจากกันไม่ได้ ๘ รูป).

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

บทว่า อุทฺธงฺคมา วาตา (ลมพัดขึ้นเบื้องบน) ได้แก่ ลมพัด

ขึ้นข้างบนทำให้อาเจียนและสะอึกเป็นต้น.

บทว่า อโธคฺมา วาตา (ลมพัดลงเบื้องคำ) ได้แก่ ลมพัดลง

เบื้องต่ำซึ่งยังอุจจาระและปัสสาวะเป็นต้น ให้ออกไป.

บทว่า กุจฺฉิสยา วาตา (ลมในท้อง) ได้แก่ ลมที่อยู่ภายนอก

ลำไส้ใหญ่.

บทว่า โกฏาสยา วาตา (ลมในไส้) ได้แก่ ลมภายในไส้ใหญ่

ทั้งหลาย.

บทว่า องฺคมงฺคานุสาริโน วาตา (ลมพัดไปตามควัน) ได้แก่

ลมที่พัดไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ในสรีระทั้งสิ้น โดยพัดไปตามช่องของเส้นเอ็น

ทำให้เกิดงอมือและเหยียดมือเป็นต้น. บทว่า สตฺถกวาตา (ลมศัสตรา)

ได้แก่ ลมที่พัดไป เหมือนเอากรรไกรตัดข้อต่อและเส้นเอ็น. บทว่า ขรกวาตา

(ลมมีดโกน) ได้แก่ ลมผ่าหัวใจ เหมือนผ่าด้วยมีดโกน. บทว่า อุปฺปลกวาตา

(ลมเพิกหัวใจ) ได้แก่ ลมที่ทำลายเนื้อหัวใจนั่นแหละ.

บทว่า อสฺสาโส (ลมหายใจเข้า) ได้แก่ ลมจมูกเข้าไปในภายใน.

บทว่า ปสฺสาโส (ลมหายใจออก) ได้แก่ ลมจมูกออกไปภายนอก. ก็ลม

ในภายในนี้ ลมทั้งหมดข้างต้นมีสมุฏฐาน ๔ ลมหายใจเข้าลมหายใจออกมีจิต

เป็นสมุฏฐานอย่างเดียว.

การพรรณนาบทในธาตุนี้ มีเพียงเท่านี้.

ว่าด้วยวิธีมนสิการวาโยธาตุ

อนึ่ง วิธีมนสิการ มีดังต่อไปนี้ ภิกษุในพระศาสนานี้กำหนดลมทั้งหลาย

อันต่างด้วยลมพัดขึ้นเบื้องเป็นต้น ด้วยสามารถการพิจารณาลมพัดขึ้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

เบื้องบนเป็นต้นแล้ว มนสิการว่า ขึ้นชื่อว่า ลมพัดขึ้นเบื้องบนเป็นโกกฐาส

หนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์

มีอาการเคร่งตึง ชื่อว่า วาโยธาตุ ดังนี้. แม้ในลมที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า ย วา ปน (ก็หรือลมใด) ได้แก่ ลมที่พัดไปในโกฏฐาส

วาโยธาคุที่เหลือ ก็รวมเข้าฐานะของเยวาปนกนัยในที่นี้.

นิเทศวาโยธาตุภายนอก

บทว่า ปุรตฺถิมา วาตา (ลมตะวันออก) ได้แก่ ลมที่พัดมาจาก

ทิศตะวันออก แม้ในลมที่พัดมาจากทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศใต้ก็นัยนี้

เหมือนกัน.

บทว่า สรชา วาตา (ลมมีฝุ่นละออง) ได้แก่ลมพัดไปพร้อมกับ

ฝุ่นละออง ชื่อว่า ลมมีฝุ่นละออง.

บทว่า อรชา วาตา (ลมไม่มีฝุ่นละออง) ได้แก่ ลมอย่างเดียว

ปราศจากฝุ่นละออง ชื่อว่า ลมไม่มีฝุ่นละออง.

บทว่า สีตา (ลมหนาว) ได้แก่ลมที่มีฤดูหนาวเป็นสมุฏฐานตั้งขึ้น

ในระหว่างเมฆที่เย็น.

บทว่า อุณฺหา (ลมร้อน) ได้แก่ลมที่มีฤดูร้อนเป็นสมุฏฐานตั้งขึ้น

ในภายในเมฆที่ร้อน.

บทว่า ปริตฺตา (ลมอ่อน) ได้แก่ลมพัดมาอ่อน ๆ คือพัดมาเบา ๆ

บทว่า อุธิมตฺตา (ลมแรง) ได้แก่ ลมที่พัดมาแรง.

บทว่า กาฬา (ลมดำ) ได้แก่ ลมที่ตั้งขึ้นภายในเมฆดำ อาจารย์

พวกหนึ่งกล่าวว่า คำว่า ลมดำ นี้ เป็นชื่อของลมที่พัดทำให้ผิวดำดังนี้ก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

บทว่า เวรมฺภวาตา (ลมบน)* ได้แก่ ลมพัดไปเกินหนึ่งโยชน์.

บทว่า ปกฺขวาตา (ลมกระพือปีก) ได้แก่ ลมที่ตั้งขึ้นแก่การ

กระพือปีกโดยที่สุดแม้แมลงวัน.

บทว่า สุปณฺณวาตา ได้แก่ ลมครุฑ แม้ลมครุฑนี้จะเป็นลมเกิด

แต่ปีกก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็ถือไว้ส่วนหนึ่งด้วยสามารถเป็นลมแรง.

บทว่า ตาลวณฺฑวาตา (ลมใบตาล) ได้แก่ ลมที่เกิดแต่ใบตาล

หรือวัตถุมีสัณฐานกลมอย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า วธูปนวาตา (ลมใบพัด) ได้แก่ ลมที่เกิดขึ้นด้วยใบพัด

ก็ลมที่เกิดแต่ใบตาล และลมใบพัดเหล่านั้น ย่อมยังลมแม้ไม่เกิดในเกิด นี้

แม้ที่เกิดแล้วก็ให้เปลี่ยนไป.

ในบทว่า ย วา ปน นี้ ได้แก่ ลมที่เหลือ เว้นลมที่มาในบาลี

แล้วรวมเข้าในฐานะเป็นเยวาปนกนัย.

นิเทศอากาสธาตุภายใน

พึงทราบวินิจฉัยนิเทศอากาสธาตุ ต่อไป

ที่ชื่อว่า อากาส เพราะอรรถว่า ย่อมไถไม่ได้ โดยอรรถว่ากระทบ

ไม่ได้ อากาสนั่นเอง ชื่อว่า อากาสคต (ธรรมชาติอันนับว่าอากาส)

เพราะถึงภาวะเป็นกากาส. ที่ชื่อว่า อฆ (ความว่างเปล่า) เพราะเป็นสิ่งที่

กระทบไม่ได้. บทว่า วิวโร (ช่องว่าง) ได้แก่ ช่องในระหว่าง ช่องว่าง

นั้นนั่นเองชื่อว่า ววรคต (ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง). บทว่า อสมฺผุฏ

มสโลหิเตหิ (ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง) ได้แก่ ที่อันเนื้อและเลือดไม่

* ค่าว่า เวรมฺภวาตา หมายถึงลมพายุใหญ่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

ติดกัน. ก็บทว่า กณฺณจฺฉิทฺท (ช่องหู) เป็นต้นนี้ เป็นแสดงประเภท

ธรรมคือเนื้อและเลือดไม่ติดนั้นนั่นแหละ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

กณฺณจฺฉิทฺท ได้แก่ ช่อง คือ โพรงในหูเป็นโอกาส (คือช่องว่าง) ที่

เนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง. แม้ในคำที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า เยน* (ด้วยช่อง ๒) ความว่า สัตว์ย่อมกลืนกินสิ่งที่ควร

ของกินเป็นต้นนี้ ให้เข้าไปภายใน ด้วยช่องใด. บทว่า ยตฺถ (ที่ใด)

ความว่า อาหารที่กลืนกินเข้าไป ๔ อย่างนี้นั้นแหละ ย่อมตั้งอยู่ในโอกาส

(ช่องว่าง) กล่าวคือในภายในกระเพาะอันใด. บทว่า เยน (โดยช่องใด)

ความว่า อาหาร ๔ อย่างนั้นแม้ทั้งหมด ซึ่งย่อยแล้ว ถึงความเป็นกากแล้ว

ย่อมออกไป โดยช่องใด ช่องนั้นจากเพดานท้องถึงทวารหนักมีประมาณ ๑ คืบ

๔ นิ้ว เป็นที่อันเนื้อและเลือดได้ถูกต้อง คือเป็นที่อันเนื้อและเลือดไม่ติดกัน

พึงทราบว่า เป็นอากาสธาตุ.

ในบทว่า ย วา ปน นี้ ได้แก่ ช่องว่างทั้งหมดนี้ คือ ช่องว่าง

ระหว่างหนัง ช่องว่างระหว่างเนื้อ ช่องว่างระหว่างเอ็น ช่องว่างระหว่าง

กระดูก ช่องว่างระหว่างขน ท่านรวมเข้าฐานะของเยวาปนกนัย.

นิเทศอากาสธาตุภายนอก

พึงทราบวินิจฉัยอากาสธาตุภายนอก ต่อไป

คำว่า อสมฺผุฏฺ จตูหิ มหาภูเตหิ (ที่อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้อง)

นั้น บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นช่องฝาเรือน ช่องประตูเป็นต้นอันมหาภูตรูป ๔

* บทว่า เยน บทว่า ยตฺถ และบทว่า เยน โดยลำดับ สำนวนในพระไตรปิฎกฉบับแปลท่าน

ตัดออก แต่ถ้าไม่ตัดออกจะมีเนื้อความตามที่ท่านอรรถกถากล่าวไว้นี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

ไม่ติดกัน. เมื่อพระโยคาวจรทำบริกรรมในอากาสใด ฌานหมวด ๔ หรือฌาน

หมวด ๕ ย่อมเกิดขึ้น คำนั้น ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยคำที่เป็นอากาสภายนอกนี้.

นิเทศวิญญาณธาตุ

พึงทราบวินิจฉัยนิเทศวิญญาณธาตุ ต่อไป

ธาตุกล่าวคือ จักขุวิญญาณ ชื่อว่า จักขุวิญญาณธาตุ. แม้ในธาตุ

ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. เมื่อพระโยคาวจรกำหนดธาตุ ๖ เหล่านั้น ด้วยประโยคการ

ฉะนี้แล้ว ธาตุ ๑๘ ชื่อว่า เป็นอันกำหนดแล้วได้อย่างไร ? คือโผฏฐัพพธาตุ

ย่อมเป็นอันท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า ปถวี เตโช วาโย นั่นแหละก่อน.

ธรรมธาตุ เป็นอันท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า อาโปธาตุ และอากาสธาตุนั้นเป็น

มโนธาตุ เป็นอันท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่าวิญญาณ เพราะความที่มโนธาตุนั้น

เป็นธรรมเกิดก่อนและเกิดหลังของวิญญาณธาตุนั้นทีเดียว มีจักขุวิญญาณธาตุ

เป็นต้นมาแล้วในสูตรนั่นแหละ ธาตุ ๙ อย่างที่เหลือบัณฑิตพึงนำมาแสดง.

จริงอยู่ จักขุธาตุอันเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณธาตุนั้น และรูป

ธาตุอันเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณธาตุนั้น ย่อมเป็นอันท่านถือเอาด้วยศัพท์

ว่า จักขุวิญญาณธาตุ. ด้วยประการฉะนี้ โสตธาตุเป็นต้น ก็ย่อมเป็นอันท่าน

ถือเอาด้วยศัพท์ว่า โสตวิญญาณธาตุเป็นต้น ธาตุแม้ ๑๘ ก็ย่อมเป็นอันถือเอา

แล้วด้วยประการฉะนี้.

บรรดาธาตุ ๑๘ เหล่านั้น ท่านกำหนดรูปธาตุไว้ ๑๐ กำหนดอรูป

ธาตุไว้ ๗ ในธรรมธาตุ ท่านกำหนดเอารูปธาตุก็ กำหนดเอาอรูปธาตุก็มี

* มโนธาตุ ๓ คือ อเหตุกกิริยา (ปัญจทวาราวัชชนจิต) ๑ ดวง อเหตุกวิบาก (สัมปฏิฉันนจิต)

๒ ดวง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

ด้วยเหตุนี้ การกำหนดรูปธาตุจึงมี ๑๐ ครึ่ง ( ๑๐ ๑/๒) กำหนดอรูปธาตุจึงมี

๗ ครึ่ง (๗ ๑/๒) เพราะฉะนั้น การถือเอารูปธาตุแลอรูปธาตุ ชื่อว่า ท่านถือ

เอาแล้ว. บัณฑิตพึงแสดงขันธ์ ๕ ที่เป็นรูปและอรูป (อย่างนี้คือ) ธรรมที่

เป็นรูปและอรูปนั้นเป็นทุกขสัจจะ ตัณหาในภพก่อนที่เป็นเหตุให้ทุกขสัจจะ

นั้นตั้งขึ้น เป็นสมุทยสัจจะ ความไม่เป็นไปแห่งทุกขสัจจะและสมุทยสัจจะ

ทั้ง ๒ เป็นนิโรธสัจจะ มรรคอันเป็นเหตุรู้นิโรธสัจจะนั้น เป็นมรรคสัจจะ

กรรมฐานคือสัจจะ ๔ นี้ ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสธรรมเป็นเครื่องออกเพราะบรรลุธรรมอันสุงสุดจนถึงพระอรหัตของภิกษุผู้

มุ่งมั่นด้วยธาตุ ๑๘.

นิเทศธาตุ ๖ นัยที่สอง

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคจ้าเมื่อจะทรงแสดงธาตุ ๖ นัยที่สอง จึงตรัส

ว่า อปราปิ ฉ ธาตุโย (ธาตุ ๖ อีกนัยหนึ่ง) เป็นต้น.

ในพระบาลีนั้น คำว่า สุขธาตุ ทกฺขธาตุ (สุขธาตุ ทุกขธาตุ)

ได้แก่ สุขและทุกข์ที่อาศัยกายประสาทเกิด ทรงแสดงกระทำให้เป็นของคู่กัน

ด้วยอำนาจความเป็นปฏิปักษ์กัน จริงอยู่ สุขเป็นปฏิปักษ์ (เป็นธรรมตรงกัน

ข้าม) ต่อทุกข์ ทุกข์ก็เป็นปฏิปักษ์ต่อสุข. ฐาน (ที่) อันสุขแผ่ไปแล้วมีประมาณ

เท่าไร (ในกายนี้ ) ทุกข์ก็แผ่ไปมีประเท่านั้น. ฐานอันทุกข์แผ่ไปแล้วมี

ประมาณเท่าไร สุขก็แผ่ไปมีประมาณเท่านั้น.

คำว่า โสมนสฺสธาตุ โทมนสฺสธาตุ (โสมนัสสธาตุ โทมนัสส-

ธาตุ) แม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำให้เป็นคู่กัน เหมือนอย่างสุขและ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

ทุกข์นั่นแหละ จริงอยู่ โสมนัสเป็นปฏิปักษ์ต่อโทมนัส. โทมนัสก็เป็นปฏิปักษ์

ต่อโสมนัส ฐานที่โสมนัสแผ่ไปในสรีระนี้มีประมาณเท่าไร โทมนัสก็แผ่ไปมี

ประมาณเท่านั้น ฐานที่โทมนัส แผ่ไปมีประมาณเท่าไร โสมนัสก็แผ่ไปมี

ประมาณเท่านั้น.

อนึ่ง คำว่า อเปกฺขาธาตุ อวิชฺชาธาตุ (อุเปกขาธาตุ อวิชชา-

ธาตุ) ๒ บทนี้ ตรัสการทำให้คู่กันด้วยอำนาจเป็นธรรมคล้ายกัน. จริงอยู่

ธาตุทั้ง ๒ นี้เป็นธาตุคล้ายกัน เพราะความเป็นธาตุไม่แจ่มแจ้ง.

บรรดาธาตุเหล่านั้น กายธาตุที่ประกอบกันสุขและทุกข์นั้น เป็นที่อาศัย

ให้กายวิญญาณเกิด และโผฉฐัพพธาตุที่เป็นอารมณ์ประกอบกับสุขและทุกข์นั้น

ย่อมเป็นอันถือเอาด้วยศัพท์ว่าสุขทุกขธาตุนั้นอง. มโนวิญญาณธาตุที่สัมปยุต-

โสมนัสและโทมนัสนั้น ย่อมเป็นอันนับถือเอาด้วยศัพท์ว่า โสมนัสและโทมนัสธาตุ

ธรรมธาตุถือเอาด้วยอวิชชาธาตุ. จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆาน-

วิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ และมโนธาตุ (๓) และจักขุธาตุรูปธาตุเป็น

ต้นที่เป็นวัตถุ (เป็นที่อาศัยให้วิญญาณเกิด) แต่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ

ธาตุเป็นต้น เหล่านั้นนั่นแหละ เป็นอันถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า อุเปกขาธาตุ

เพราะฉะนั้น ธาตุแม้ ๑๘ อย่าง จึงเป็นอันถือเอาแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

บัดนี้ พึงทราบคำทั้งหมดมีอาทิว่า บรรดาธาตุ ๑๘ เหล่านั้น ท่าน

กำหนดรูปธาตุไว้ ๑๐ อย่าง โดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นเอง และพึงทราบ

ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมเป็นเครื่องออกไปแก่ภิกษุรุปหนึ่งผู้บรรลุธรรม

อันสูงสุดจนถึงพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

คำว่า ตตฺถ กตมา สุขธาตุ ย กายิก สาต (ในธาตุ ๖ นั้น

สุขธาตุ เป็นไฉน ความสบายกาย ความสุขใจ) เป็นต้น มีนัยตามที่กล่าว

ไว้ในหนหลังนั่นแล.

นิเทศธาตุ ๖ นัยที่สาม

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศธาตุ ๖ นัยที่สาม ต่อไป

คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ คือ วัตถุกาม และกิเลสกาม บรรดา

กามทั้ง ๒ นั้น ธาตุที่ประกอบด้วยกาม หมายถึงกิเลสกาม ชื่อว่า กามธาตุ

กามธาตุนี้เป็นชื่อของกามวิตก (ความตรึกในกาม) ธาตุคือกามนั่นเอง หมาย

ถึงวัตถุกาม ชื่อว่า กามธาตุ คำนี้เป็นชื่อของกามาวจรธรรม. ธาตุที่ประกอบ

ด้วยพยาบาท ชื่อว่า พยาปาทธาตุ คำว่า พยาปาทธาตุนี้ เป็นชื่อของ

พยาปาทวิตก (ความตรึกในพยาบาท) ธาตุคือ พยาบาทนั้นเอง ชื่อว่า

พยาปาทธาตุ คำว่า พยาปาทธาตุนี้ เป็นชื่อของปฏิฆะมีอาฆาตวัตถุ ๑๐

ประการ. ธาตุที่ประกอบด้วยวิหิงสา (ความเบียดเบียน) ชื่อว่า วิหิงสาธาตุ

คำว่า วิหิงสาธาตุนี้เป็นชื่อของวิหิงสาวิตก (ความตรึกในการเบียดเบียน)

ธาตุคือวิหิงสานั่นเอง ก็ชื่อว่า วิหิงสาธาตุ คำนี้เป็นชื่อของการเบียดเบียน

สัตว์อื่น.

๑ อาฆาตวัตถุ ๑๐ ประการ คือ ๑. อาฆาตโดยคิดว่าเขาได้เคยทำความเสื่อมให้เรา ๒. อาฆาต

โดยคิดว่าเขากำลังทำความเสื่อมให้เรา ๓. อาฆาตโดยความคิดว่า เขาจะทำความเสื่อมให้เรา

๔. อาฆาตโดยความคิดว่า เขาได้เคยทำความเสื่อมให้คนที่เรารัก ๕. อาฆาตโดยคิดว่า เขา

กำลังทำความเสื่อมให้คนที่เรารัก ๖. อาฆาตโดยคิดว่า เขาจะทำความเสื่อมให้คนที่เรารัก

๗. อาฆาตโดยคิดว่า เขาเคยทำคุณประโยชน์แก่คนที่เราชัง ๘. อาฆาตโดยคิดว่าเขากำลัง

ทำคุณประโยชน์แก่คนที่เราชัง ๙. อาฆาตโดยคิดว่า เขาทำคุณประโยชน์แก่คนที่เราชัง

๑๐. อาฆาตในฐานอันไม่ควร มีการเดินสะดุดเป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

อนึ่ง วิหิงสานี้ เพราะยังไม่มา (ยังไม่ได้กล่าวไว้) ในหนหลัง จึง

ควรทราบโดยการจำแนกอรรถเป็นต้น ดังต่อไปนี้

คำว่า วิหึส มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า วิหิงสา เพราะอรรถว่า มี

เจตนาเป็นเหตุเบียดเบียนสัตว์ หรือสัตว์มีความเบียดเบียน. วิหิงสานั้น บัณฑิต

พึงทราบว่า มีความเบียดเบียนเป็นลักษณะ หรือว่ามีความเป็นปฏิปักษ์ต่อ

กรุณาเป็นลักษณะ มีความให้เกิดความหวาดเสียวในสันดานของสัตว์อื่นเป็นรส

หรือว่า มีความกำจัดความกรุณาในสันดานของคนเป็นรส มีความเป็นบ่อเกิด

แห่งทุกข์เป็นปัจจุปัฏฐาน มีปฎิฆะเป็นปทัฏฐาน.

อโลภะ (ความไม่โลภ) เรียกว่า เนกขัมมะ เพราะออกจากความ

โลภ. ปฐมฌานก็เรียกว่า เนกขัมะ เพราะออกจากนิวรณ์ทั้งหลาย กุศลทั้ง

หมดก็เรียกว่า เนกขัมมะ เพราะออกจากอกุศลทั้งหมด. ธาตุประกอบด้วย

เนกขัมมะ ชื่อว่า เนกขัมมธาตุ คำว่าเนกขัมมธาตุนี้ เป็นชื่อของเนกขัมม-

วิตก. ธาตุที่ประกอบด้วยความไม่พยาบาท ชื่อว่า อัพยาปาทธาตุ คำว่า

อัพยาปาทธาตุนี้เป็นชื่อของเมตตา. ธาตุที่ประกอบความไม่เบียดเบียน ชื่อว่า

อวิหิงสาธาตุ คำว่า อวิหิงสาธาตุนี้เป็นชื่อของอวิหิงสาวิตก ธาตุคืออวิหิงสา

นั้นเอง ชื่อว่า อวิหิงสาธาตุ คำว่า อวิหิงสาธาตุนี้เป็นชื่อของกรุณา.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะแสดงเนื้อความ (ธาตุ ๖)

นั้นนั่นแหละจึงเริ่มบทภาชนะ (บทขยายความ) ว่า ตตฺถ กตมา กามธาตุ

(ในธาตุ ๖ นั้น กามธาตุเป็นไฉน) เป็นต้น .

ในพระบาลีนั้น บทว่า ปฏิสยุตฺโต (ประกอบ) ที่ชื่อว่า ปฏิสยุตฺโต

(ประกอบ) ด้วยอำนาจสัมปโยคะ. บทว่า ตกฺโก วิตกฺโก (ความตรึก

๑ สัมปโยคะ ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์อันเดียวกัน และ

มีวัตถุที่อาศัยเกิดอันเดียวกัน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

ความตรึกอย่างแรง) เป็นต้นมีเนื้อความตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. คำว่า วิเห-

เฐติ แปลว่า ย่อมเบียดเบียน คือย่อมให้รับทุกข์. คำว่า เหนา (ความ

ข่มเหง) ได้แก่ การก่อให้เกิดความทุกข์ โดยการเบียดเบียนด้วยฝ่ามือเป็น

ต้น ความข่มเหงอย่างแรง ชื่อว่า วิเหนา เจตนาเป็นเหตุเบียดเบียน ชื่อ

ว่า หิงสนา เจตนาเป็นเหตุเบียดเบียนมีกำลัง ชื่อว่า วิหิงสนา. คำว่า

โรสนา ได้แก่ ความขึ้งเคียด คำว่า วิโรสนา ได้แก่ เคียดแค้น ใน

บททั้งหมดท่านเพิ่มบท ด้วยวิอุปสรรค. เจตนาเป็นเหตุเข้าไปเบียดเบียน ชื่อ

ว่า อุปฆาตะ ความทำร้ายผู้อื่น ชื่อว่า ปรูปฆาตะ.

เจตนาเป็นเหตุมีไมตรี ชื่อว่า เมตฺติ (ความมีไมตรี) อาการแห่ง

ความมีไมตรี ชื่อว่า เมตฺตายนา (กิริยาที่มีความไมตรี) ความเป็นของ

บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยเมตตา ของบุคคลผู้ประกอบด้วยเมตตา ชื่อว่า เมตุ-

ตายิตตฺต (สภาพที่มีไมตรี) ความหลุดพ้นทางใจของผู้หลุดพ้นจากพยาบาท

ชื่อว่า เจโตวิมุตฺติ ในที่นี้เมตตาที่กล่าวไว้ ๓ บทแรก* ถึงอุปจารสมาธิบ้าง

ถึงอัปปนาสมาธิบ้าง บทหลัง (คือ เจโตวิมุตติ) ตรัสเมตตาไว้ถึงอัปปนา

เท่านั้น.

เจตนาเป็นเหตุให้เอ็นดู ชื่อว่า ความกรุณา อาการของความกรุณา

ชื่อว่า กรุณายนา (กิริยาที่กรุณา) ภาวะของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกรุณาของ

บุคคลผู้ประกอบด้วยความกรุณา ชื่อว่า กรุณยิตตฺต (สภาพที่กรุณา) ความ

หลุดพ้นทางใจของผู้หลุดพ้นจากความเบียดเบียน ชื่อว่า เจโตวิมุตติ. แม้

ในข้อนี้ก็พึงทราบความต่างกันแห่งอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิโดยนัยก่อน

* เมตตาที่กล่าวไว้ ๓ บทแรก คือ เมตฺติ (ความมีไมตรี) ๑ เมตฺตายนา (กิริยาที่มีไมตรี)

๑ เมตฺตายิตตฺต (ความเป็นของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยเมตตา ของบุคคลผู้ประกอบด้วยเมตตา) ๑

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

นั้นแหละ อนึ่ง ในบทสุดท้ายแม้ทั้ง ๒ คือ เมตตา กรุณาพระองค์ไว้

เพื่อแสดงความแปลกกันของเจโตวิมุตติ.

อนึ่ง ในบรรดาธาตุ ๖ เหล่านี้ กามวิตกย่อมเกิดขึ้นในเพราะสัตว์ทั้ง

หลายบ้าง ในเพราะสังขารทั้งหลายบ้าง กามวิตก แม้เกิดขึ้นในเพราะสัตว์

และสังขารทั้ง ๒ เป็นการทำลายกรรมบถโดยแท้ แต่ความพยาบาท เกิดขึ้น

ในสัตว์ทั้งหลายอย่างเดียว ก็ทำลายกรรมบถ นอกนี้ไม่ทำลาย. แม้ในวิหิงสา

ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในอธิการนี้ มีกถา ๒ คือ สัพพสังคาหิกะ (รวมไว้ทั้ง

หมด) และอสัมภินนะ (แยกกัน).

จริงอยู่ แม้พยาปาทธาตุ และวิหิงสาธาตุ ทรงถือเอาด้วยศัพท์ว่า

กามธาตุ ก็แลความพยาบาทและวิหิงสานี้แม้ทั้ง ๒ ก็นำออกแล้ว ๆ จากกามธาตุ

นั่นเองทรงแสดงไว้ เพราะฉะนั้น กถานี้พึงทราบว่าชื่อ สัพพสังคาหิกกถา

ในที่นี้ก่อน. ส่วนกถาที่ตรัสว่า เว้นพยาปาทและวิหิงสาธาตุแล้ว ธรรมที่เหลือ

แม้ทั้งหมด เป็นกามธาตุเท่านั้น ดังนี้ นี้ ชื่อว่า อสัมภินนกถา.

อัพยาปาทธาตุ และอวิหิงสาธาตุพระองค์ทรงถือเอาแม้ด้วยศัพท์ว่า

เนกขัมมธาตุนั้นแหละ ก็ความไม่พยาบาทและความไม่เบียดเบียนแม้ทั้ง ๒ นั้น

พระองค์ก็ทรงนำออกแล้ว ๆ จากเนกขัมมธาตุมาแสดง เพราะฉะนั้น กถานี้

จึงชื่อว่า สัพพสังคาหิกกถา แม้ในที่นี้. กถานี้ว่า อัพยาปาทธาตุและอวิหิงสา-

ธาตุ ที่เหลือ ชื่อว่า เนกขัมมธาตุ ดังนี้ ชื่อว่า อสัมภินนกถา.

อนึ่ง ธาตุ ๖ เหล่านี้ ทรงถือเอาแล้ว ธาตุ ๑๘ ก็ชื่อว่า ทรงถือเอา

แล้วเหมือนกัน เพราะธาตุแม้ทั้งหมดเหล่านั้นอันบุคคลนำออกแล้ว ๆ จาก

กามธาตุก็ได้ธาตุ ๑๘ เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยธาตุหมวด ๖ ทั้ง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

สามหมวด ก็ย่อมได้ธาตุ ๑๘ แต่ถ้าไม่ถือเอาธาตุด้วยอาการอย่างนี้ ก็พึงทราบ

ว่า ในหมวดธาตุ ๖ แต่ละหมวดกระทำให้เป็นหมวดละ ๑๘ โดยนัยที่กล่าวแล้ว

แม้ย่นธาตุ ๑๘ ทั้งหมดเหล่านั้นเป็นอันเดียวกัน ก็จะมีเพียง ๑๘ เท่านั้น. ใน

สุตตันตภาชนีย์นี้ กามธาตุ ๑๖ ที่เป็นไปในภูมิ ๓ มี ๒ ธาตุ เพราะฉะนั้น

พึงทราบว่า วาระว่าด้วยสัมมสนะ (การพิจารณา) ในอธิการแห่งธาตุนี้ พระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยประการฉะนี้.

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

อภิธรรมภาชนีย์

[๑๒๔ ] ธาตุ ๑๘ คือ

๑. จักขุธาตุ

๒. รูปธาตุ

๓. จักขุวิญญาณธาตุ

๔. โสตธาตุ

๕. สัททธาตุ

๖. โสตวิญญาณธาตุ

๗. ฆานธาตุ

๘. คันธธาตุ

๙. ฆานวิญญาณธาตุ

๑๐. ชิวหาธาตุ

๑๑. รสธาตุ

๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ

๑๓. กายธาตุ

๑๔. โผฏฐัพพธาตุ

๑๕. กายวิญญาณธาตุ

๑๖. มโนธาตุ

๑๗. ธรรมธาตุ

๑๘. มโนวิญญาณธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

[ ๑๒๕] ในธาตุ ๑๘ นั้น จักขุธาตุ เป็นไฉน ?

จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ๑ นี้เรียกว่า บ้านว่าง

บ้าง นี้เรียกว่า จักขุธาตุ.

รูปธาตุ เป็นไฉน ?

รูปใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ ได้แก่ สี ฯลฯ นี้เรียกว่า รูปธาตุบ้าง

นี้เรียกว่า รูปธาตุ.

จักขุวิญญาณธาตุ เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยจักขุปสาทและรูปารมณ์

เกิด นี้เรียกว่า จักขุวิญญาณธาตุ.

[๑๒๖] โสตธาตุ เป็นไฉน ?

โสตะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า

บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า โสตธาตุ.

สัททธาตุ เป็นไฉน ?

เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เห็นไม่ได้ กระทบได้ ฯลฯ นี้เรียกว่า

สัททธาตุบ้าง นี้เรียกว่า สัททธาตุ.

โสตวิญญาณธาตุ เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ โสตวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยโสตปสาทและ

สัททารม์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า โสตวิญญาณธาตุ.

๑. ความที่ ฯลฯ ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ พึงดูควานเต็มในธรรมสังคณีปกรณ์ตั้งแต่ข้อ (๕๑๖)

เป็นลำดับไป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

[๑๒๗] ฆานธาตุ เป็นไฉน ?

ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง

บ้าง นี้เรียกว่า ฆานธาตุ.

คันธธาตุ เป็นไฉน ?

กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ ฯลฯ นี้เรียกว่า

คันธธาตุบ้าง นี้เรียกว่า คันธธาตุ.

ฆานวิญญาณธาตุ เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนาตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ ฆานวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยฆานปสาทและ

คันธารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ฆานวิญญาณธาตุ.

[๑๒๘] ชิวหาธาตุ เป็นไฉน ?

ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง

บ้าง นี้เรียกว่า ชิวหาธาตุ.

รสธาตุ เป็นไฉน ?

รสใด อาศัยมหาภูตรูป เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้เรียกว่า

รสธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รสธาตุ.

ชิวหาวิญญาณธาตุ เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ ชิวหาวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยชิวหาปสาทและ

รสารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชิวหาวิญญาณธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

[๑๒๙] กายธาตุ เป็นไฉน ?

กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง

บ้าง นี้เรียกว่า กายธาตุ.

โผฏฐัพพธาตุ เป็นไฉน ?

ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้เรียกว่า โผฏฐัพพาธาตุบ้าง นี้เรียกว่า โผฏฐัพพธาตุ.

กายวิยญาณธาตุ เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ กายวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยกายปสาทและโผฏ-

ฐัพพารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า กายวิญญาณธาตุ.

[๑๓๐] มโนธาตุ เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งกาเกิดดับของ

จักขุวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ ของโสตวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ ของฆานวิญญาณธาตุ

จิต ฯลฯ ของชิวหาวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน

มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน เกิดใน

ลำดับ แห่งการเกิดดับของกายวิญญาณธาตุ หรือความพิจารณาอารมณ์ที่แรกใน

ธรรมทั้งปวง นี้เรียกว่า มโนธาตุ.

ธรรมธาตุ เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้

นับเนื่องในธรรมายตนะ และอสังขตธาตุ.

ในธรรมธาตุนั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์ เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. เวทนาขันธ์หมวดละ ๓

คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนาขันธ์

หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์.

สัญญาขันธ์ เป็นไฉน ?

สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สัญญาขันธ์หมวดละ

๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สัญญาขันธ์

หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์.

สังขารขันธ์ เป็นไฉน ?

สังขารขันธืหมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์

หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ

สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ

มากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สังขารขันธ์.

รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธรรมายตนะ

เป็นไฉน ?

อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบ

ไม่ได้ นับเนื่องในธรรมายตนะ.

อสังขตธาตุ เป็นไฉน ?

ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อสังขตธาตุ.

สภาวธรรมนี้เรียกว่า ธรรมธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

มโนวิญญาณธาตุ เป็นไฉน ?

มโนธาตุเกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของจักขุวิญญาณธาตุ จิต มโน

มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับแม้ของ

มโนะธาตุอีกชั้นหนึ่ง มโนธาตุเกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของโสตวิญญาณธาตุ

ฯลฯ มโนธาตุ เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ

เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ เกิดในลำดับ

แห่งการเกิดดับของกายวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ

ที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับแม้ของมโนธาตุอีกชั้นหนึ่ง จิต มโน

มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์

มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า มโน-

วิญญาณธาตุ.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงธาตุแม้ทั้งหมดในอภิธรรมภาชนีย์

โดยรวบรัดเท่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า อฏฺารส ธาตุโย จกฺขุธาตุ รูปธาตุ

(ธาตุ ๑๘ คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ) ดังนี้. ในการวรรณนาอภิธรรมภาชนีย์นั้น

พึงทราบวาระด้วยอุเทศก่อน.

อตฺถโต ลกฺขณาทีหิ กมตาวตฺวสขโต

ปจฺจยา อถ ทฏฺพฺพา เวทิตพฺโพ วินจฺฉโย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

พึงทราบวินิจฉัยโดยอรรถ โดย

ลักษณะเป็นต้น โดยลำดับ โดยมีจำนวน

เท่านั้น โดยการนับ โดยปัจจัย และโดยเป็น

ธรรมที่ควรเห็น.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ

บรรดาอุทเทสเหล่านั้น คำว่า โดยอรรถ พึงทราบวินิจฉัยโดยอรรถ

ที่แปลกกันของธรรมมีจักขุเป็นต้น โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ที่ชื่อว่า จักขุ

เพราะอรรถว่า ย่อมเห็น ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่า ย่อมแสดงตนให้ปรากฏ

ความรู้ (วิญญาณ) ทางจักขุ ชื่อว่า จักขุวิญญาณ ดังนี้ก่อน.

ส่วนโดยไม่แปลกกันมีวินิจฉัย ดังนี้

ที่ชื่อว่า ธาตุ เพราะอรรถว่า ย่อมจัดแจง เพราะอรรถว่าย่อมทรง

ไว้ เพราะอรรถว่าเป็นการจัดแจง เพราะอรรถว่าเป็นเหตุทรงไว้โดยประการ

ต่าง ๆ หรือเพราะอรรถว่าเป็นที่ทรงไว้.

จริงอยู่ ธาตุทั้งหลายที่เป็นโลกีย์ เป็นธาตุที่กำหนดไว้โดยความเป็น

เหตุ ย่อมจัดแจงสังสารทุกข์ไว้หลายประการ เหมือนธาตุที่เป็นทองและเงิน

เป็นต้น ที่บุคคลจัดทำเป็นทองและเงินเป็นต้น อนึ่ง ธาตุทั้งหลายอันสัตว์ย่อม

ทรงไว้ คือรองรับไว้ เหมือนของหนักที่แบกไปอยู่. อนึ่ง ธาตุเหล่านี้ชื่อว่า

เป็นเพียงจัดแจงทุกข์ไว้เท่านั้น เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ อนึ่ง ธาตุเหล่านั้น

เป็นเหตุให้พวกสัตว์ทั้งหลายท่องเที่ยวไปสู่สังสารทุกข์ อนึ่ง ธาตุที่เป็นเหตุ

เหล่านี้ เป็นที่ตั้ง คือเป็นที่ยังสังสารทุกข์ให้สถิตอยู่ ในบรรดาจักขุเป็นต้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

ธรรมแต่ละอย่างท่านเรียกว่า ธาตุ ด้วยอรรถว่า ย่อมจัดแจง ย่อมทรงไว้

เป็นต้น ด้วยอำนาจการมีอยู่ ตามที่มีอยู่จริง ดังพรรณนามาฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ขึ้นชื่อว่า อัตตาของพวกเดียรถีย์ย่อมไม่มีโดยภาวะ

ของตนฉันใด ธาตุเหล่านี้ย่อมเป็นฉันนั้น หามิได้ ก็ที่เรียกว่า ธาตุ เพราะ

อรรถว่า ย่อมทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน เปรียบเหมือนส่วนแห่งศิลามีหรดาลและ

มโนศิลาเป็นต้น อันวิจิตรในโลก เรียกว่า ธาตุ ฉันใด ธาตุ (มีจักขุเป็นต้น)

แม้เหล่านั้น ก็เรียกว่าธาตุฉันนั้นเหมือนกัน เพราะธาตุอันธรรมเหล่านั้นเป็น

อวัยวะที่พึงรู้ได้ด้วยญาณเท่านั้น หรือว่าในส่วนทั้งหลายมีรสและเลือดเป็นต้น

ซึ่งกำหนดด้วยลักษณะที่ตรงกันข้ามซึ่งกันและกัน อันเป็นส่วนของกายที่ตั้งขึ้น

คือ สรีระ ท่านเรียกชื่อว่า ธาตุ ฉันใด ในส่วนของอัตภาพกล่าวคือเบญจขันธ์

แม้นี้ ก็พึงทราบว่า ชื่อว่า ธาตุ ฉันนั้นนั่นแหละ เพราะว่า จักขุเป็นต้น

เหล่านี้ ท่านกำหนดโดยลักษณะที่ต่างซึ่งกันและกัน.

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ธาตุ นี้ เป็นเพียงชื่อของสิ่งปราศจากชีวะ

จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธาตุ เพื่อถอนความสำคัญว่ามี

ชีวะไว้ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ฉ ธาตุโร อย ภิกฺขุ ปุริโส (ดูก่อนภิกษุ คน

นี้มีธาตุ ๖) ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ชื่อว่า จักขุธาตุ เพราะอรรถว่า

เป็นจักขุด้วย เป็นธาตุด้วย ฯลฯ ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ เพราะอรรถว่า

เป็นมโนวิญญาณด้วย เป็นธาตุด้วย โดยอรรถตามที่กล่าวแล้วแล.

พึงทราบวินิจฉัยในธาตุนี้โดยอรรถอย่างนี้ก่อน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น

ก็คำว่า โดยลักษณะเป็นต้น ในที่นี้ พึงทราบวินิจฉัยโดยลักษณะ

เป็นต้นเหล่านั้น แห่งธรรมมีจักขุเป็นต้นเหล่านั้น โดยนัยตามที่กล่าวไว้ใน

หนหลังนั้นแล.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลำดับ

ในข้อว่า โดยลำดับ แม้ในที่นี้ บรรดาลำดับทั้งหลายมีลำดับแห่ง

การเกิดเป็นต้นตามที่กล่าวไว้ก่อน ลำดับคือการแสดง (เทศนา) เท่านั้น

สมควร ก้ลำดับแห่งการแสดงนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอำนาจ

การกำหนดตามลำดับเหตุและผล. จริงอยู่ สองบทคือ จักขุธาตุและรูปธาตุ

นี้เป็นเหตุ คำว่า จักขุวิญญาณธาตุ นี้เป็นผล. พึงทราบวินิจฉัยในบท

ทั้งปวงโดยลำดับดังกล่าวมานี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยมีจำนวนเท่านั้น

ข้อว่า โดยมีจำนวนเท่านั้น ได้แก่ โดยจำนวนมีอยู่เท่านั้น คำนี้มี

อธิบายว่า ก็ในบทแห่งพระสูตรและพระอภิธรรมเหล่านั้น ๆ ธาตุแม้อื่น ๆ

ย่อมปรากฏมีอาทิอย่างนี้ว่า อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ

วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตธาตุ

สัญญาเวทยตนิโรธธาตุ กามธาตุ พยาปาทธาตุ วิหิงสาธาตุ เนกขัมมธาตุ

อัพยาปาทธาตุ อวิหิงสาธาตุ สุขธาตุ ทุกขธาตุ โสมนัสธาตุ โทมนัสธาตุ

อุเปกขาธาตุ อวิชชาธาตุ อารัมภธาตุ นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ หีนธาตุ

มัชฌิมธาตุ ปณีตธาตุ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ

๑. ลำดับมี ๕ ตามที่กล่าวไว้ในเชิงอรรถหน้า ๑๖๘

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

วิญญาณธาตุ สังขตธาตุ อสังขตธาตุ โลกเป็นอเนกธาตุ และมีธาตุต่าง ๆ

ดังนี้.*

หากมีคำถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงไม่ทรงกำหนดจำนวนธาตุทั้งหมด ทรงกำหนดไว้ ๑๘ ธาตุเท่านั้น.

ตอบว่า เพราะธาตุทุกอย่างมีอยู่โดยสภาวะรวมอยู่ภายในธาตุ ๑๘

เหล่านั้น.

จริงอยู่ อาภาธาตุก็คือรูปธาตุนั่นเอง ก็สุภธาตุเป็นธาตุที่เนื่องด้วย

รูปธาตุเป็นต้น เพราะเหตุไร เพราะเป็นสุภนิมิต (เครื่องหมายของความดี)

จริงอยู่ สุภนิมิต ชื่อว่า สุภธาตุ และสุภนิมิตนั้นจะพ้นไปจากรูปเป็นต้น

ก็ไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง สุภธาตุก็คือรูปธาตุเป็นต้นที่เป็นอารมณ์ของกุศลวิบาก

นั่นแหละ เพราะฉะนั้น สุภธาตุนี้จึงเป็นเพียงรูปธาตุเป็นต้นนั่นเอง. จิตใน

อากาสานัญจายตนธาตุเป็นต้นได้แก่มโนวิญญาณธาตุ. ธาตุที่เหลือเป็นธรรม-

ธาตุ. ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธธาตุโดยสภาวะย่อมไม่มี เพราะสัญญาเวทยิต-

นิโรธธาตุนั้นเป็นเพียงการดับธาตุทั้งสอง (คือสัญญาและเวทนา) เท่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง กามธาตุย่อมเป็นเพียงธรรมธาตุ เหมือนอย่างพระดำรัส

ที่ตรัสไวุ้ (ข้อ ๑๒๒) ว่า ตตฺถ กตมา กามธาตุ กามปฏิสยุตฺโต

ตกฺโก ฯเปฯ มิจฺฉาสงิกปฺโป ในธาตุ ๖ กามธาตุเป็นไฉน ? ความตรึก

ความตรึกอย่างแรง ความดำริอันประกอบด้วยกาม ฯลฯ มิจฉาสังกัปปะ

นี้เรียกว่า กามธาตุ. อีกอย่างหนึ่ง กามธาตุก็คือธาตุแม้ ๑๘ อย่าง เหมือน

อย่างที่ตรัสไว้ว่า เบื้องล่างนับแต่อเวจีนรกเป็นที่สุด เบื้องบนกำหนดเทพชั้น

ปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด ในระหว่างนี้ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา

* ธาตุมีมาก ในที่นี้ท่านแสดงไว้ ๓๕ ธาตุ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

สัญญา สังขาร วิญญาณอันใดซึ่งท่องเที่ยวไปในที่นี้ นับเนื่องในเขตนี้ ธรรมนี้

เรียกว่า กามธาตุ.

เนกขัมมธาตุคือธรรมธาตุนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระบาลีว่า

กุศลธรรมแม้ทั้งหมด ชื่อว่า เนกขัมมธาตุ ดังนี้ เนกขัมมธาตุนั้นก็ย่อมเป็น

มโนวิญญาณธาตุได้เหมือนกัน. พยาปาทธาตุ วิหิงสาธาตุ อัพยาปาทธาตุ

อวิหิงสาธาตุ สุขธาตุ ทุกขธาตุ โสมนัสธาตุ โทมนัสธาตุ อุเปกขาธาตุ

อวิชชาธาตุ อารัมภธาตุ นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ เป็นธรรมธาตุนั่นเอง.

หีนธาตุ มัชฌิมธาตุ ปณีตธาตุ เป็นเพียงสักว่าธาตุ ๑๘ เท่านั้น เพราะ

จักขุธาตุเป็นต้นที่เป็นหีนะ (เลว) ชื่อว่า หีนธาตุ จักขุเป็นต้นที่เป็นมัชฌิมะ

และปณีตะก็จัดเป็นมัชฌิมธาตุ และปณีตธาตุ.

แต่เมื่อว่าโดยนิปปริยาย (โดยตรง) ธรรมธาตุและมโนวิญญาณธาตุ

ที่เป็นอกุศล เป็นหีนธาตุ. กุศลและอัพยากตะทั้ง ๒ ที่เป็นโลกิยะก็ดี

จักขุธาตุเป็นต้นก็ดี เป็นมัชฌิมธาตุ ส่วนธรรมธาตุและมโนวิญญาณธาตุที่เป็น

โลกุตระ เป็นปณีตธาตุ. ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุก็คือโผฏฐัพพธาตุ

นั่นเอง. อาโปธาตุ และอากาศธาตุก็คือธรรมธาตุ วิญญาณธาตุย่อมเข้าใน

วิญญาณธาตุ ๗ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น. ธาตุ ๑๗ และส่วนหนึ่งแห่งธรรมธาตุ

เป็นสังขตธาตุ แต่ส่วนหนึ่งแห่งธรรมธาตุนั้นแหละ เป็นอสังขตธาตุ ก็โลก

ที่เป็นอเนกธาตุ และนานาธาตุ เป็นสักแต่ว่าประเภทของธาตุ ๑๘ เท่านั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธาตุไว้ ๑๘ เท่านั้น เพราะทั้งหมดมีโดยสภาวะ

รวมอยู่ภายในแห่งธาตุ ๑๘ นั้น ดังพรรณหามาฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธาตุไว้ ๑๘ เท่านั้น เพื่อจะถอน

ความสำคัญว่ามีชีวะของสัตว์ผู้มีความสำคัญว่ามีชีวะในวิญญาณซึ่งมีการรู้อารมณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

เป็นสภาวะ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความสำคัญว่ามีชีวะในวิญญาณซึ่งมีการรู้

อารมณ์เป็นสภาวะมีอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เพื่อจะถอนขึ้นซึ่งความ

สำคัญว่ามีชีวะอันนอนเนื่องอยู่สิ้นกาลนานของสัตว์เหล่านั้น จึงประกาศความ

มีมากมายแห่งธาตุนั้นโดยแยกเป็นจักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆาน-

วิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ

และประกาศความที่ธาตุเหล่านั้นเป็นของไม่เที่ยง เพราะต้องเป็นไปเนื่องด้วย

ปัจจัยมีจักขุและรูปเป็นต้น จึงทรงประกาศธาตุไว้ ๑๘ อย่าง อนึ่ง เหตุอะไร ๆ

อื่นยิ่งที่พระองค์ทรงประกาศธาตุ ๑๘ อย่าง ด้วยอำนาจอัชฌาศัยของ

เวไนยสัตว์และด้วยอำนาจอัชฌาศัยเวไนยสัตว์โดยเทศนาที่ไม่ย่อและไม่พิสดาร

เกินไปนี้โดยแท้.

จริงอยู่ ความมืดในหทัยของเวไนย-

สัตว์ จะถึงความย่อยยับไปโดยพลัน อันขจัด

ได้ด้วยเดชแห่งพระสัทธรรมของพระองค์ได้

โดยประการใด ๆ พระองค์ทรงประกาศ

ธรรมโดยนัยอันย่อและพิสดาร โดยประการ

นั้น ๆ แล.

พึงทราบวินิจฉัยในธาตุนี้ โดยจำนวนมีเท่านั้นอย่างนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยการนับ

ข้อว่า โดยการนับ คือ ว่าโดยชาติ จักขุธาตุ ได้แก่ จักขุประสาท

ย่อมถึงการนับว่าเป็นธรรมอันหนึ่งเท่านั้นก่อน โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

กายธาตุ รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ ก็เป็นอย่างละหนึ่งเหมือนกัน

ด้วยอำนาจเป็นโสตประสาทเป็นต้น แต่โผฏปฐัพพธาตุย่อมถึงการนับว่าเป็น

ธรรม ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ.

จักขุวิญญาณธาตุย่อมถึงการนับว่าเป็นธรรม ๒ อย่าง ด้วยอำนาจแห่ง

วิบากที่เป็นกุศลและอกุศล. โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณ-

ธาตุ กายวิญญาณธาตุ ก็ถึงการนับว่าเป็นธรรมอย่างละ ๒ อย่างเหมือนกัน.

แต่มโนธาตุย่อมถึงการนับว่าเป็นธรรม ๓ อย่าง คือ ด้วยสามารถเป็นอาวัชชนะ

ของปัญจทวาร ๑ ด้วยสามารถเป็นสันปฏิจฉนะของกุศลวิบาก ๑ ของอกุศลวิบาก

๑ ธรรมธาตุย่อมถึงการนับว่าเป็นธรรม ๒๐ คือ ด้วยสามารถแห่งอรูปขันธ์ ๓

(เวทนา สัญญา สังขารขันธ์) ด้วยสามารถแห่งสุขุมรูป ๑๖* และด้วยสามารถ

แห่งอสังขตธาตุ ๑. มโนวิญญาณธาตุ ย่อมถึงการนับว่าเป็นธรรม ๗๖ อย่าง

ด้วยสามารถแห่งวิญญาณที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากตะที่เหลือแล.

พึงทราบวินิจฉัยในธาตุนี้โดยการนับอย่างนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยปัจจัย

ข้อว่า โดยปัจจัย พึงทราบวินิจฉัยโดยความที่จักขุธาตุเป็นต้น

เป็นปัจจัยในจักขุวิญญาณเป็นต้น ก็ความที่จักขุธาตุเป็นต้นเหล่านั้น เป็นปัจจัย

นั้นจักแจ่มแจ้งในนิเทศวาร.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยเป็นธรรมควรเห็น

ข้อว่า โดยเป็นธรรมควรเห็น พึงทราบวินิจฉัยในธาตุนี้ โดยเป็น

ธรรมที่ควรเห็น เพราะสังขตธาตุทั้งหมดทีเดียว พึงเห็นโดยความเป็นของ

* สุขุมรูป ๑๖ คือ อาโปธาตุ ๑ หทัยรูป ๑ อาหารรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑

ภาวรูป ๒ วิญญัตติรูป ๒ ลหุตารูป ๓ ลักขณรูป ๔

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

ว่างจากที่สุดเบื้องต้นและเบื้องปลาย โดยความเป็นของสูญจากความยั่งยืน

ความงาม ความสุข ความเป็นอัตตา และโดยความเป็นไปเนื่องด้วยปัจจัย.

ก็ว่าโดยความแปลกกันในอธิการแห่งธาตุนี้ จักขุธาตุ พึงเห็นเหมือน

พื้นกลอง รูปธาตุ พึงเห็นเหมือนไม้ตี จักขุวิญญาณธาตุ พึงเห็นเหมือน

เสียงกลอง. อนึ่ง จักขุธาตุ พึงเห็นเหมือนพื้นกระจก รูปธาตุ พึงเห็น

เหมือนหน้า จักขุวิญญาณธาตุ พึงเห็นเหมือนนิมิตของหน้า (เงาหน้า).

อีกอย่างหนึ่ง จักขุธาตุ พึงเห็นเหมือนลำอ้อยและเมล็ดงา รูปธาตุ พึงเห็น

เหมือนเครื่องหีบ จักขุวิญญาณธาตุ พึงเห็นเหมือนน้ำอ้อยและน้ำมันงา.

อนึ่ง จักขุธาตุ พึงเห็นเหมือนไม้สีไฟอันล่าง รูปธาตุ พึงเห็นเหมือนไม้

สีไฟอันบน จักขุวิญญาณธาตุ พึงเห็นเหมือนไฟ. ในโสตธาตุเป็นต้นก็นัยนี้

เหมือนกัน.

ส่วนมโนธาตุ ว่าโดยตามที่เกิดขึ้นพึงเห็นเหมือนการเที่ยวไปก่อน

(เกิดก่อน) และเที่ยวไปตาม (เกิดหลัง) ของธาตุมีจักขุวิญญาณเป็นต้น ว่า

โดยธรรมธาตุ เวทนาขันธ์ พึงเห็นเหมือนลูกศรและหลาว สัญญาและ

สังขารขันธ์ พึงเห็นเหมือนคนกระสับกระส่าย เพราะถูกลูกศรและหลาว คือ

เวทนาเสียบแทง. อีกอย่างหนึ่ง สัญญา ของพวกปุถุชน พึงเห็นเหมือน

กำมือเปล่าเพราะเกิดความหวังอันเป็นทุกข์ และเหมือนเนื้อป่าไม่ถือนิมิตตาม

ความเป็นจริง สังขารทั้งหลาย พึงเห็นเหมือนบุรุษโยนของใส่หลุมถ่านเพลิง

เพราะการส่งจิตไปปฏิสนธิ เป็นเหมือนพวกโจรถูกราชบุรุษติดตาม เพราะ

การติดตามของชาติทุกข์ และพึงเห็นเหมือนเมล็ดพืชต้นไม้มีพิษ เพราะเป็น

เหตุแห่งความสืบต่อของขันธ์ อันนำมาซึ่งความฉิบทายทั้งปวง. รูป พึงเห็น

เหมือนจักรกรด เพราะเป็นเครื่องหมายของอุปัทวะมีนานาชนิด.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

แต่อสัขตธาตุ พึงเห็นโดยความเป็นอมตะ โดยความเป็นธรรม

สงบและโดยเป็นธรรมเกษตร เพราะเหตุไร ? เพราะความเป็นปฏิปักษ์ต่อความ

ฉิบหายทั้งมวล. มโนวิญญาณธาตุ พึงเห็นเหมือนลิงในป่าใหญ่เพราะแม้

ปล่อยอารมณ์ที่ตนจับไว้แล้วก็ยืดอารมณ์อื่นเป็นไปอีก เป็นเหมือนม้ากระจอก

เพราะฝึกได้ยาก เป็นเหมือนท่อนไม้ที่โยนไปในอากาศ เพราะจะตกไปใน

อารมณ์ที่มันชอบ และเป็นเหมือนนักเต้นรำบนเวทีเพราะประกอบด้วยกิเลส

มีประการต่าง ๆ โดยมีโลภะและโทสะเป็นต้น.

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศวาร ต่อไป :-

คำว่า จกฺขญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จ (อาศัยจักขุประสาทและรูปารมณ์)

อธิบายว่า เพราะอาศัยจักขุประสาทและรูปารมณ์ทั้ง ๒ นี้ด้วย เพราะอาศัย

ธรรมอื่น คือ กิริยามโนธาตุและขันธ์ ๓ (เวทนา สัญญา สังขารขันธ์) ที่

สัมปยุตด้วย เพราะจักขุ (ประสาท) เป็นนิสสยปัจจัย รูปเป็นอารัมมณปัจจัย

กิริยามโนธาตุ (อาวัชชนจิต) เป็นวิตตปัจจัย อรูปขันธ์ ๓ (เวทนา สัญญา

สังขารขันธ์) เป็นสหชาตปัจจัยของจักขุวิญญาณธาตุ เพราะฉะนั้น จักขุวิญญาณ

ธาตุนี้ จึงชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย ๔ เหล่านี้. แม้ในคำว่า อาศัย

โสตประสาทเป็นต้นนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า นิรุทฺธสมนนฺตรา ตัดบทเป็น นิรุทฺธาย สมนนฺตรา

แปลว่า ในลำดับแห่งการดับของจักขุวิญญาณธาตุ.

บทว่า ตชฺชา มโนธาตุ (มโนธาตุที่สมกัน) ได้แก่ มโนธาตุ ๒

อย่าง โดยเป็นกุศลวิบาก และอกุศลวิบาก ซึ่งเกิดในอารมณ์นั้นทำหน้าที่รับ

อารมณ์.

๑. บาลีข้อ ๑๒๕ หน้า ๘๐๘ ๒. บาลีข้อ ๑๓๐ หน้า ๑๑๐

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

ข้อว่า สพฺพธมฺเมสุ วาปน ปฐมสมนฺนาหาโร (หรือว่าความ

พิจารณาอารมณ์ที่แรกในธรรมทั้งปวง) ความว่า เมื่อธรรมทั้งปวงมีจักขุ-

วิญญาณเป็นต้นเหล่านี้จะเกิดขึ้น (มโนธาตุนี้) ก็พิจารณาอารมณ์ก่อน อีก

อย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า มโนธาตุนี้พิจารณาอารมณ์ที

แรกในธรรมทั้งปวงกล่าวคืออารมณ์ของจักขุวิญญาณธาตุเป็นต้น พึงทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอา กิริยามโนธาตุ (อาวัชชนจิต ) ที่ทำกิจพิจารณา

อารมณ์ทางปัญจทวารด้วย บทว่า สพฺพธมฺเมสุ วาปน ปมสมนฺนาหาโร

นี้.

ปิอักษร ในข้อว่า มโนธาตุยาปิ อุปฺปชฺชิตวา นิรุทฺธสมนนฺตรา

นี้ มีอรรถว่า ประมวลมา เพราะฉะนั้น ในที่นี้ว่า มโนธาตุยาปิ มโน-

วิญญาณธาตุยาปิ (เมื่อมโนธาตุก็ดี เมื่อมโนวิญญาณธาตุก็ดี) พึงทราบ

เนื้อความว่า เมื่อมโนธาตุที่เป็นวิบาก (สัมปฏิจฉนจิต) เกิดขึ้นดับไปแล้ว

มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก (สันติรณจิต) อันใดเกิดขึ้นทำกิจพิจารณา

อารมณ์ต่อกันทันที เมื่อมโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบากนั้นเกิดขึ้นดับไปแล้ว

มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา (โวฏฐัพพนจิต) อันใดเกิดขึ้นทำกิจตัดสินอารมณ์

ต่อจากนั้น เมื่อมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยานั้นเกิดขึ้นดับไปแล้ว มโนวิญญาณ

ธาตุอันใดเกิดขึ้นทำกิจชวนะในลำดับติดต่อกัน มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ

เหล่านั้น แม้ทั้งหมด พึงทราบว่า ตรัสไว้ด้วยบทว่า มโนธาตุยาปิ นั้น

ดังนี้.

บทว่า มนญฺจ ปฏิจฺจ (อาศัยมโน) ได้แก่ ภวังคจิต. บทว่า

ธมฺเม จ (ธรรมารมณ์) ได้แก่ ธรรมารมณ์อันเป็นไปในภูนิ ๔. คำว่า เกิด-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

มโนวิญญาณ ได้แก่ วนจิตเกิดพร้อมกับพิจารณา ก็ในฐานะนี้ พระมหา-

เถระทั้งหลายถือเอาปัญหาที่พวกได้ยึดถือมาแล้ว ได้ยินว่า พระมหาธัมมรัก-

ขิตเถระได้จับมือพระทีฆภาณกอภัยเถระกล่าวว่า ในอาคตสถานชื่อว่า ปฏิจฺจ

(อาศัย) ดังนี้ ไม่ควรทำอาวัชชนะให้แยกกัน ควรทำอาวัชชนะให้อาศัยภวังค์

เท่านั้น เพราะในคำว่า มโน นี้ ได้แก่ ภวังค์พร้อมทั้งอาวัชชนะ. ในคำว่า

มโนวิญญาณ นี้ ก็ได้แก่มโนวิญญาณในชวนะ ดังนี้.

ก็ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ตรัสธาตุที่เป็นกามาพจร ๑๖ อย่างที่เป็นไปใน

ภูมิ ๔ เจือกันไปทั้งโลกิยะและโลกุตระ ๒ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

ปัญหาปุจฉกะ

[๑๓๑] ธาตุ ๑๘ คือ

๑. จักขุธาตุ

๒. รูปธาตุ

๓. จักขุวิญญาณ

๔. โสตธาตุ

๕. สัททธาตุ

๖. โสตวิญญาณธาตุ

๗. ฆานธาตุ

๘. คันธธาตุ

๙. ฆานวิญญาณธาตุ

๑๐. ชิวหาธาตุ

๑๑. รสธาตุ

๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ

๑๓. กายธาตุ

๑๔. โผฏฐัพพธาตุ

๑๕. กายวิญญาณธาตุ

๑๖. มโนธาตุ

๑๗. ธรรมธาตุ

๑๘. มโนวิญญาณธาตุ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

ติกมาติกาปุจฉา - ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาธาตุ ๑๘ ธาตุไหนเป็นกุศล ธาตุไหนอกุศล ธาตุไหนเป็น

อัพยากฤต ฯลฯ ธาตุไหนเป็นสรณะ ธาตุไหนเป็นอรณะ.

ติกมาติกาวิสัชนา

[๑๓๒] ธาตุ ๑๖ เป็นอัพยากฤต ธาตุ ๒ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็

มี เป็นอัพยากฤตก็มี ธาตุ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสุขเวทนาสัปยุต แม้

เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ธาตุ ๕ เป็น

อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต กายวิญญาณธาตุ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็น

ทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี มโนวิญญาณธาตุ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นทุกข-

เวทนาสัมปยุก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี ธรรมธาตุ เป็นสุขเวทนา-

สัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี กล่าว

ไม่ได้ว่า แม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็น

อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี ธาตุ ๑๐ เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ธาตุ ๕

เป็นวิบากมโนธาตุ เป็นวิบากก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี ธาตุ ๒

เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี

ธาตุ ๑๐ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ สัททธาตุ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ ธาตุ ๕

เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี ธาตุ ๒ เป็นอุปาทิน-

นุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี

ธาตุ ๑๖ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ ธาตุ ๒ เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็น

อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะก็มี ธาตุ ๑๕ เป็นอวิตัก-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

กาวิจาระ มโนธาตุ เป็นสวิตักกสวิจาระ มโนวิญญาณธาตุ เป็นวิตักกสวิ-

จาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี ธรรมธาตุ เป็น

สวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกวิจาระก็มี กล่าว

ไม่ได้ว่า แม้เป็นสวิตักกสวิจาระ แม้เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ แม้เป็นอวิตักกา-

วิจาระก็มี ธาตุ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้

เป็นอุเปกขาสหคตะ ธาตุ ๕ เป็นอุเปกขาสหคตะ กายวิญญาณธาตุ เป็นนปีติ-

สหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขาสหคตะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสุขสหคตะ

ก็มี ธาตุ ๒ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะ

ก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ ธาตุ ๒ เป็นทัสสนปหาตัพพะ-

ก็มี เป็นภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะก็มี ธาตุ ๑๖

เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ธาตุ ๒ เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี

เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นเนวทัสสนภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี ธาตุ

๑๖ เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามี ธาตุ ๒ เป็นอาจยคามีก็มี เป็นอปจยคามีก็มี

เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามีก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นเนวเสกขนาเสกะ ธาตุ ๒ เป็น

เสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสกขนาเสกขะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นปริตตะ

ธาตุ ๒ เป็นปริตตะก็มี เป็นมหัคคตะก็มี เป็นอัปปมาณะก็มี ธาตุ ๑๐ เป็น

อัปปมาณะก็มี ธาตุ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ ธาตุ ๖ เป็นปริตตารัมมณะ ธาตุ ๒

เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะ แม้เป็นอัปป-

มาณารัมมณะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นมัชฌิมะ ธาตุ ๒ เป็นหีนะก็มี เป็นมัชฌิมะก็

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

มี เป็นปณีตะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอนิยตะ ธาตุ ๒ เป็นมิจฉัตตนิยตะก็มี เป็น

สัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี ธาตุ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ ธาตุ ๖ กล่าว

ไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติ ธาตุ

๒ เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี ธาตุ ๑๐

เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอนุปปันนะ สัททธาตุ

เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปปาที ธาตุ ๖ เป็น-

อุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี ธรรมธาตุ เป็นอุปปันนะก็มี

เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปปันนะ แม้เป็น

อนุปปันนะ แม้เป็นอุปปาทีก็มี ธาตุ ๑๗ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็น

ปัจจุบันก็มี ธรรมธาตุ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี กล่าว

ไม่ได้ว่า แม้เป็นอดีต แม้เป็นอนาคต แม้เป็นปัจจุบันก็มี ธาตุ ๑๐ เป็น

อนารัมมณะ ธาตุ ๖ เป็นปัจจุปันนารัมมณะ ธาตุ ๒ เป็นอตีตารัมมณะก็มี

เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

อตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี ธาตุ

๑๘ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี ธาตุ ๑๐ เป็น

อนารัมมณะ ธาตุ ๖ เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี เป็น

อัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี ธาตุ ๒ เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธา-

รัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอัชฌัตตา-

รัมมณะ แม้เป็นพหิทธารัมมณะ แม้เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี รูปธาตุ

เป็นสนิทัสสนสัปปฏิฆะ ธาตุ ๙ เป็นอนิทัสสนสัปปฏิฆะ ธาตุ ๘ เป็น

อนิทัสสนอัปปฏิฆะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๑๓๓] ธาตุ ๑๗ เป็นนเหตุ ธรรมธาตุ เป็นเหตุก็มี เป็นนเหตุก็มี

ธาตุ ๑๖ เป็นอเหตุกะ ธาตุ ๒ เป็นสเหตุกะก็มี เป็นอเหตุกะก็มี ธาตุ ๑๖

เป็นเหตุวิปปยุต ธาตุ ๒ เป็นเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุวิปปยุตก็มี ธาตุ ๑๖

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุ มโนวิญญาณธาตุ

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุกนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่าเป็น

สเหตุกนเหตุก็มี ธรรมธาตุ เป็นเหตุสเหตุกะก็มี เป็นสเหตุกนเหตุก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าว

ไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ มโนวิญญาณธาตุ

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี ธรรมธาตุ เป็นเหตุเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุ-

สัมปยุตตนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมป-

ยุตตนเหตุก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นนเหตุอเหตุกะ มโนวิญญาณธาตุ เป็นนเหตุ-

สเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี ธรรมธาตุ เป็นนเหตุสเหตุกะก็มี เป็น

นเหตุอเหตุกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะ

ก็มี.

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา

[๑๓๔] ธาตุ ๑๗ เป็นสัปปัจจยะ ธรรมธาตุ เป็นสัปปัจจยะก็มี

เป็นอัปปัจจยะก็มี ธาตุ ๑๗ เป็นสังขตะ ธรรมธาตุ เป็นสังขตะก็มี เป็น

อสังขตะก็มี ธาตุ ๑๗ เป็นอหิทสัสนะ รูปธาตุ เป็นสนิทัสสนะ ธาตุ ๑๐

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

เป็นสัปปฏิฆะ ธาตุ ๘ เป็นอัปปฏิฆะ ธาตุ ๑๐ เป็นรูป ธาตุ ๗ เป็นอรูป

ธรรมธาตุ เป็นรูปก็มี เป็นอรูปก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นโลกิยะ ธาตุ ๒ เป็นโลกิยะ

ก็มี เป็นโลกุตระก็มี ธาตุ ๑๘ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา

[๑๓๕] ธาตุ ๑๗ เป็นโนอาสวะ ธรรมธาตุ เป็นอาสวะก็มี เป็น

โนอาสวะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นสาสวะ ธาตุ ๒ เป็นสาสวะก็มี เป็นอนาสวะก็มี

ธาตุ ๑๖ เป็นอาสววิปปยุต ธาตุ ๒ เป็นอาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสววิปปยุตก็มี

ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ มโนวิญญาณธาตุ

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

สาสวโนอาสวะก็มี ธรรมธาตุ เป็นอาสวสาสวะก็มี เป็นสาสวโนอาสวะก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ แม้เป็นสาสวโนอาสวะก็มี ธาตุ ๑๖

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ

มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวอาสวสัมปยุต เป็นอาสวสัมปยุตต-

โนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี ธรรมธาตุ

เป็นอาสวอาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมยุตตโน

อาสวะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ ธาตุ ๒ เป็นอาสววิปปยุตต-

สาสวะก็มี เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสววิปป-

ยุตตสาสวะ แม้เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา

[๑๓๖] ธาตุ ๑๗ เป็นโนสัญโญชนะ ธรรมธาตุ เป็นสัญโญชนะก็มี

เป็นโนสัญโญชนะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นสัญโญชนิยะ ธาตุ ๒ เป็นสัญโญชนิยะ

ก็มี เป็นอสัญโญชนิยะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นสัญโญชนวิปปยุตก็มี ธาตุ ๒ เป็น

สัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชนวิปปุตก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่าเป็น

สัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะ มโนวิญญาณธาตุ

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี

กล่าวไม่ไดว่า เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี ธรรมธาตุ เป็นสัญโญชน-

สัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

สัญโญชนสัญโญชนิยะ เเม้เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าว

ไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโน

สัญโญชนะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต

เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่าเป็นสัญโญชนสัมปยุตต-

โนสัญโญชนะก็มี ธรรมธาตุ เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชน

สัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต

แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นสัญโญชนวิปปยุตต-

สัญโญชนิยะ ธาตุ ๒ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญชน

วิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญช-

นิยะ แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี.

๕. คันถโคจฉกวิสัชนา

[๑๓๗] ธาตุ ๑๗ เป็นโนคันถะ ธรรมธาตุ เป็นคันถะก็มี เป็น

โนคันถะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นคันถนิยะ ธาตุ ๒ เป็นคันถนิยะก็มี เป็นอคันถ-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

นิยะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นคันถวิปปยุต ธาตุ ๒ เป็นคันถสัมปยุตก็มี เป็นคันถ-

วิปปยุตก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะ

มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันนิยโนคันถะก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี ธรรมธาตุ เป็นคันถคันถนิยะก็มี

เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถนิยะ แม้เป็นคันถ-

นิยโนคันถะก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็น

คันถสัมปยุตตโนคันถะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถสัมปยุต

เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี

ธรรมธาตุ เป็นคันถคันถสัมปยุตก็มี เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าว

ไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี ธาตุ ๑๖

เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ ธาตุ ๒ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะก็มี เป็น

คันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ

แม้เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี.

๖.๗.๘ โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา

[๑๓๘] ธาตุ ๑๗ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ ธาตุ ๑๗ เป็นโนโยคะ ฯลฯ

ธาตุ ๑๗ เป็นโนนีวรณะ ธรรมธาตุ เป็นนีวรณะก็มี เป็นโนนีวรณะก็มี

ธาตุ ๑๖ เป็นนีวรณิยะ ธาตุ ๒ เป็นนีวรณิยะก็มี เป็นอนีวรณิยะก็มี ธาตุ ๑๖

เป็นนีวรณวิปปยุต ธาตุ ๒ เป็นนีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตก็มี

ธาตุ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ มโน-

วิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี ธรรมธาตุ เป็นนีวรณนีวรณิยะก็มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก้มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณิยะ แม้เป็น

นีวรณิยโนนีวรณะก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต

แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

นีวรณนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

นีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี ธรรมธาตุ เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุตก็มี เป็น

นีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต

แม้เป็นนีวรณสัมปยุตคตโนนีวรณะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ

ธาตุ ๒ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวร-

ณิยะก็มี.

๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา

[๑๓๙] ธาตุ ๑๗ เป็นโนปรามาสะ ธรรมธาตุ เป็นปรามาสะก็มี

เป็นโนปรามาสะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นปรามัฏฐะ ธาตุ ๒ เป็นปรามัฏฐะก็มี

เป็นอปรามัฏฐะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นปรามาสวิปปยุต มโนวิญญาณธาตุ เป็น

ปรามาสสัมปยุตก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี ธรรมธาตุ เป็นปรามาสสัมปยุต

ก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสสัมปยุต แม้เป็น

ปรามาสวิปปยุตก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็น

ปรามัฏฐโนปรามาสะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ.

เป็น ปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี

ธรรมธาตุ เป็นปรามาสปรามัฏฐะก็มี เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี กล่าว

ไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี ธาตุ ๑๖

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ ธาตุ ๒ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะก็มี

เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสวิปปยุตต-

ปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี.

๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา

[๑๔๐] ธาตุ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ ธาตุ ๗ เป็นสารัมมณะ ธรรมธาตุ

เป็นสารัมมณะก็มี เป็นอนารัมมณะก็มี ธาตุ เป็นโนจิตะ ธาตุ ๗ เป็น

จิตะ ธาตุ ๑๗ เป็นอเจตสิกะ ธรรมธาตุ เป็นเจตสิกะก็มี เป็นอเจตสิกะก็มี

ธาตุ ๑๐ เป็นจิตตวิปปยุต ธรรมธาตุ เป็นจิตตสัมปยุตก็มี เป็นจิตตวิปปยุต

ก็มี ธาตุ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสัมปยุต แม้เป็นจิตตวิปปยุต ธาตุ ๑๐

เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ ธรรมธาตุ เป็นจิตตสังสัฏฐะก็มี เป็นจิตตวิสังสัฏฐะก็มี

ธาตุ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสังสัฏฐะ แม้เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ ธาตุ ๑๒

เป็นมโนจิตตสมุฏฐานะ ธาตุ ๖ เป็นจิตตสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสมุฏฐานะก็มี

ธาตุ ๑๗ เป็นโนจิตตสหภุ ธรรมธาตุ เป็นจิตตสหภูก็มี เป็นโนจิตตสหภูก็มี

ธาตุ ๑๗ เป็นโนจิตตานุปริวัตติ ธรรมธาตุ เป็นจิตตานุปริวัตติก็มี เป็นโน-

จิตตานุปริวัตติก็มี ธาตุ ๑๗ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ ธรรมธาตุ เป็น

จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี ธาตุ ๑๗ เป็น

โนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู ธรรมธาตุ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี

เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี ธาตุ ๑๗ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี

ปริวัตติ ธรรมธาตุ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐ-

สมุฏฐานานุปริวัตติก็มี ธาตุ ๑๒ เป็นอัชฌัตติกะ ธาตุ ๖ เป็นพาหิระ ธาตุ ๙

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

เป็นอุปาทา ธาตุ ๘ เป็นนอุปาทา ธรรมธาตุ เป็นอุปาทาก็มี เป็นนอุปาทา

ก็มี ธาตุ ๑๐ เป็นอุปาทินนะ สัททธาตุ เป็นอนุปาทินนะ ธาตุ ๗ เป็นอุปาทินนะ

ก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี.

๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา

[๑๔๑] ธาตุ ๑๗ เป็นนอุปาทานะ ธรรมธาตุ เป็นอุปาทานะก็มี

เป็นนอุปาทิานะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอุปาทานิยะ ธาตุ ๒ เป็นอุปาทานิยะก็มี

เป็นอนุปาทานิยะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอุปาทานวิปปยุต ธาตุ ๒ เป็นอุปาทาน-

สัมปยุตก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตก็มี ธาตุ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทาน

อุปาทานิยะ เป็นอุปาทนิยโนอุปาทานะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

อุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี ธรรมธาตุ เป็นอุปาทานอุปาทานิยะก็มี เป็น

อุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ แม้เป็น

อุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทาน

สัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมยุตตโนอุปาทานะก็มี มโนวิญญาณธาตุ กล่าว

ไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานะสัมปยุต เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี ธรรมธาตุ เป็นอุปาทาน

อุปาทานสัมปยุตก็มี เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี

ธาตุ ๑๖ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ ธาตุ ๒ เป็นอุปาทานวิปปยุตต-

อุปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

อุปาทานวิปปยุตตออุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา

[๑๔๒] ธาตุ ๑๗ เป็นโนกิเลสะ ธรรมธาตุ เป็นกิเลสะก็มี เป็น

โนกิเลสะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นสังกิเลสิกะ ธาตุ ๒ เป็นสังกิเลสิกะก็มี เป็น

อสังกิเลสิกะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอสังกิลิฏฐะ ธาตุ ๒ เป็นสังกิลิฏฐะก็มี เป็น

อสังกิลิฏฐะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นกิเลสวิปปยุต ธาตุ ๒ เป็นกิเลสสัมปยุตก็มี เป็น

กิเลสวิปปยุตก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเล-

สิกโนกิเลสะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็น

สังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี ธรรมธาตุ

เป็นกิเลสังกิเลสิกะก็มี เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

กิเลสสังกิเลสิกะ แม้เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

กิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิลิฏฐ-

โนกิเลสะก็มี ธรรมธาตุ เป็นสังกิเลสสังกิลิฏฐะก็มี เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี ธาตุ ๑๖

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะ

มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตต-

โนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี ธรรมธาตุ

เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุตก็มี เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นกิเสสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็น

กิเลวิปปยุตตสังกิเลสิกะ ธาตุ ๒ เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะก็มี เป็นกิเลสะ

วิปปยุตตอสังกิเสสิกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ

แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา

[๑๔๓] ธาตุ ๑๖ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ ธาตุ ๒ เป็นทัสสนปหา-

ตัพพะก็มี เป็นนทัสสนปหาตัพพะก็มี ธาตุ ๖ เป็นนภาวนาปหาตัพพะ ธาตุ ๒

เป็นภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นนภาวนาปหาตัพพะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นนทัสสน-

ปหาตัพพเหตุกะ ธาตุ ๒ เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนทัสสนปหา-

ตัพพเหตุกะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นนภาวนปหาตัพพเหตุกะ ธาตุ ๒ เป็นภาวนา-

ปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี ธาตุ ๑๕ เป็นอวิตักกะ

มโนวิญญาณธาตุเป็นสวิตักกะ ธาตุ ๒ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี

ธาตุ ๑๕ เป็นอวิจาระ มโนธาตุ เป็นสวิจาระ ธาตุ ๒ เป็นสวิจาระก็มี เป็น

อวิจาระก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอัปปีติกะ ธาตุ ๒ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะ

ก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นนปีติสหคตะ ธาตุ ๒ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะ

ก็มี ธาตุ ๑๕ เป็นนสุขสหคตะ ธาตุ ๓ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะ

ก็มี ธาตุ ๑๑ เป็นนอุเปกขาสคหคะ ธาตุ ๕ เป็นอุเปกขาสหคตะ ธาคุ ๒ เป็น

อุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี ธาตุ ๖ เป็นกามาวจร ธาตุ ๒

เป็นกามาวจรก็มี เป็นนกามาวจรก็มี ธาตุ ๑๖ เป็รนรูปาวจร ธาตุ ๒ เป็น

รูปาวจรก็มี เป็นนรูปาวจรก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอรูปาวจร ธาตุ ๒ เป็น

อรูปาวจรก็มี เป็นนอรูปาวจรก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นปริยาปันนะ ธาตุ ๒ เป็น

ปริยาปันนะก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอนิยยานิกะ ธาตุ ๒ เป็น

นิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอนิยตะ ธาตุ ๒ เป็นนิยตะก็มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

เป็นอนิยตะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นสอุตตระ ธาตุ ๒ เป็นสอุตตระก็มี เป็นอนุตตระ

ก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอรณะ ธาตุ ๒ เป็นสรณะก็มี เป็นอรณะก็มี ฉะนี้แล.

ปัญหาปุจฉกะ จบ

ธาตุวิภังค์ จบบริบูรณ์

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ

ก็ในปัญหาปุจฉกะ บัณฑิตพึงทราบความที่ธาตุทั้ง ๑๘ เป็น

เป็นต้น โดยทำนองแห่งนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ ส่วนในอารัมมณติกะ

ทั้งหลาย คำว่า ฉ ธาตุโย ปริตฺตารมฺมณา (ธาตุ ๖ เป็นปริตตารัมมณะ)

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาความเป็นไปของวิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณ

เป็นต้น และมโนธาตุ ในอารมณ์ มีรูปารมณ์เป็นต้นโดยส่วนเดียว แต่

พึงทราบความที่ธรรมธาตุและมโนวิญญาณธาตุที่ตรัสว่า เทฺว ธาตุโย (ธาตุ

๒) ดังนี้ เป็นปริตตารัมมณะเป็นต้น โดยนัยที่กล่าวไว้ในมนายตนะและ

ธรรมายตนะนั่นแหละ ในปัญหาปุจฉกะแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสธาตุที่

เป็นกามาพจร ๑๖ เป็นไปในภูมิ ๔ ปนกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ ๒ อย่าง

ดังพรรณนามาฉะนี้ ธาตุวิภังค์นี้ พระผู้มีพระภาคเจาก็ทรงนำออกจำแนก

แสดงไว้ ๓ ปริวรรค (คือโดยสุตตันตภาชนีย์ อภิธรรมภาชนีย์ และปัญหา

ปุจฉกะ) ด้วยประการฉะนี้แล.

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ จบ

ธาตุวิภังคนิเทศที่ ๓ จบ

เพียงเท่านี้

๑ พระบาลีข้อ ๑๓๒ หน้า ๑๑๔

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

๔. สัจจวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

[๑๔๔] อริยสัจ ๔ คือ

๑. ทุกขอริยสัจ

๒. ทุกชสมุทัยอริยสัจ

๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ

๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

ทุกขอริยสัจ

[๑๔๕] ในอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน ?

ชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ โลกปริเทวทุกขโทมนัสสอุปายาสทุกข์

อัปปีเยหิสัมปโยคทุกข์ ปีเยหิวิปปโยคทุกข์ ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ โดยย่อ

อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์.

[๑๔๖] ในทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นไฉน ?

ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งถึง ความเกิดจำเพาะ ความ

ปรากฏแห่งขันธ์ ความได้เฉพาะอายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ

อันใด นี้เรียกว่าชาติ.

[๑๔๗] ชรา เป็นไฉน ?

ความคร่ำคร่า ภาวะที่ครำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก

ความที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ใน

หมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อันใด นี้เรียกว่าชรา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

[๑๔๘] มรณะ เป็นไฉน ?

ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน ความทำลาย ความหายไป มฤตยู

ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาด

แห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อันใด นี้เรียกว่า

มรณะ.

[๑๔๙] โสกะ เป็นไฉน ?

ความโศกเศร้า กิริยาโศกเศร้า สภาพโศกเศร้า ความแห้งผากภายใน

ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศก

ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อม

เกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความ

เสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง

นี้เรียกว่า โสกะ.

[๑๕๐] ปริเทวะ เป็นไฉน ?

ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ

สภาพร้องไห้ สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพูดพร่ำ ความพร่ำเพ้อ

ความพิไรร่ำ กิริยาพิไรร่ำ สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถุกกระทบ ด้วยความ

เสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล

หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่

ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ปริเทวะ.

[๑๕๑] ทุกข์ เป็นไฉน ?

ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็น

ทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กาย

สัมผัสอันใด นี้เรียกว่า ทุกข์.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

[๑๕๒] โทมนัส เป็นไฉน ?

ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส

อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส.

[๑๕๓] อุปายาส เป็นไฉน ?

ความแค้น ความขุ่นแค้น สภาพแค้น สภาพขุ่นแค้น ของผู้ที่ถูก

กระทบด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค

ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใด

อย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า

อุปายาส.

[๑๕๔] อัปปีเยหิสัมปโยคทุกข์ เป็นไฉน ?

ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุมร่วม ความทำร่วม กับ

อารมณ์อันไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจของเขาในโลก

ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผกฐัพพะ หรือกับบุคคลผู้ที่มุ่งต่อความพินาศ

มุ่งทำ ประโยชน์ มุ่งทำลายความผาสุก มุ่งทำอันตรายความเกษมจากโยค่ะ

ของเขา นี้เรียกว่า อัปปีเยหิสัมปโยคทุกข์.

[๑๕๕ ] ปีเยหิวิปปโยคทุกข์ เป็นไฉน ?

ความไม่ไปร่วม ความไม่มาร่วม ความไม่ประชุมร่วม ความไม่อยู่

ร่วมกับอารมณ์ อันเป็นที่ปรารถนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ชอบใจของเขาในโลก

ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือกับบุคคลผู้ที่ใคร่แต่ความเจริญ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

ใคร่แต่ประโยชน์ ใคร่แต่ความสำราญ ใคร่แต่ความเกษมจากโยคะของเขา

ได้แก่ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตรอำมาตย์

ญาติ สาโลหิต นี้เรียกว่า ปิเยหิวิปปโยคทุกข์.

[๑๕๖] ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ เป็นไฉน ?

ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้ความเกิดเป็นธรรมดาอย่าง

นี้ว่า เออหนอ ของเราทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือ

ความเกิดอย่าได้มาถึงเราทั้งหลายเลยหนา ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จตามความปรารถนา

นี้เรียกว่า ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ประการหนึ่ง.

ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าพวกสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ

ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ฯลฯ ความ

ปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ ความปรารถนา

ย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา

อย่างนี้ว่า เออหนอ ขอเราทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้มีโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัส-

อุปายาสเป็นธรรมดา หรือโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสอย่าได้มาถึงเรา

ทั้งหลายเลยหนา ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จตามความปรารถนา นี้เรียกว่า ยัมปิจฉัง-

นลภติตัมปิทุกข์ประการหนึ่ง.

[๑๕๗] โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน ?

รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทาน

ขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

ทุกขสมุทยอริยสัจ

[๑๕๘ ] ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็รไฉน ?

ตัณหานี้ใด อันเป็นเหตุเกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด

ยินดี เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.

[๑๕๙] ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อเกิด ย่อมเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ย่อม

ตั้งอยู่ที่ไหน ?

ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุนี้

เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูปนี้

ก็อะไร เป็นปิยรูปสาตรูป ในโลก ?

จักขุ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุนี้

เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุนี้ โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กายะ ฯลฯ

มโน เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนนี้ เมื่อตั้งอยู่

ก็ตั้งอยู่ที่มโนนี้.

รูป เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปนี้ เมื่อตั้ง

อยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปนี้ สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รสะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ

ธัมมารมณ์เป็นปิยสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมารมณ์นี้

เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมารมณ์นี้

จักขุวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่

จักขุวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆาน-

วิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ

เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่

ก็ตั้งอยู่ที่มโนวิญญาณนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

จักขุสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่

จักขุสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯ

ชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก

ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสนี้

จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็

เกิดที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ โสต-

สัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา

ฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปใน

โลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่

มโนสัมผัสสชาเวทนานี้.

รูปสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่

รูปสัญญานี้ เมือตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ

รสสัญญา ฯสฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ธัมมสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก

ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญญานี้

รูปสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่

รูปสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ

คันธสัญเจตนา ฯลฯ รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฎฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ธัมมสัญ-

เจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมสัญเจตนานี้

เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญเจตนานี้.

รูปตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปตัณหา

นี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้

เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมตัณหานี้

รูปวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปวิตกนี้

เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯ

โผฎฐัพพวิตก ฯลฯ ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็

เกิดที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิตกนี้

รูปวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปวิจารนี้

เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯ

โผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ธัมมวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด

ก็เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิจารนี้

สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

ทุกขนิโรธอริยสัจ

[๑๖๐] ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน ?

ได้แก่ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความ

ส่งคืน ความพ้น ความไม่ติดอยู่ แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว.

[๑๖๑] ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อจะละ ละที่ไหน ? เมื่อดับ ดับที่ไหน ?

ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ปิยรูปสาตรูปนี้

เมื่อดับก็ดับที่ปิยรูปสาตรูปนี้

ก็อะไร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

จักขุ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่จักขุนี้ เมื่อ

ดับก็ดับที่จักขุนี้ โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กายะ ฯลฯ มโน

เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนนี้ เมื่อดับก็ดับที่

มโนนี้

รูป เป็นปิยสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปนี้ เมื่อดับก็

ดับที่รูปนี้ สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รสะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธัมมารมณ์

เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมารมณ์ เมื่อดับก็ดับที่

ธัมมารมณ์นี้.

จักขุวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่

จักขุวิญญาณนี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุวิญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ

ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูป

ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อดับก็ดับที่มโนวิญญาณนี้

จักขุสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ

จักขุสัมผัสนี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯ

ชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก

ตัณหานี้ เมื่อจะละที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อดับก็ดับที่มโนสัมผัสนี้

จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ

ก็ละที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ โสตสัมผัส

สชาเวทนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ

กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก

ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อดับก็ดับที่มโนสัมผัสชา-

เวทนานี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

รูปสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่

รูปสัญญานี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ

รสสัญญา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ธัมมสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก

ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมสัญญานี้.

รูปสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่

รูปสัญเจตนานี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญ-

เจตนา ฯลฯ รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ธัมมสัญเจตนา

เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อดับ

ก็ดับที่ธัมมสัญเจตนานี้

รูปตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูป-

ตัณหานี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ

รสตัณหา ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก

ตัณหา เมื่อจะละก็ละที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมตัณหานี้.

รูปวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปวิตกนี้

เมื่อดับก็ดับที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯ

โผฏฐัพพวิตก ฯลฯ ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ

กะละที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมวิตกนี้

รูปวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปวิจาร

นี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯ

โผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ธัมมวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ

ก็ละที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมวิจารนี้

สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

[๑๖๒] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน ?

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา

สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

[๑๖๓] ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้

ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

[๑๖๔] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ?

ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริ

ในการไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.

[๑๖๕] สัมมาวาจา เป็นไฉน ?

ความงดเว้นจากการพูดเท็จ ความเว้นจากการพูดส่อเสียด ความ

งดเว้นจากการพูดหยาบ ความงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา.

[๑๖๖] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน ?

ความงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ความงดเว้นจากการลักทรัพย์ ความ

งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ.

[๑๖๗] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน ?

บุคคลผู้อริสาวกในศาสนานี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้วเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วย

สัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ.

[๑๖๘] สัมมาวายามะ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร

ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อป้องกันอกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

เพื่อละอกุศลบาปธรรมที่เกิดแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด

ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อ

ความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ

ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.

[๑๖๙] สัมมาสติ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ ผู้ประกอบด้วยความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติพิจารณา

เห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก ผู้ประกอบ

ด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่

ฯลฯ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นจิตในจิต

เนือง ๆ อยู่ ฯลฯ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณา

เห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก นี้เรียกว่า

สัมมาสติ.

[๑๗๐] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุ

ปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน

อันยังใจให้ผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายใน ไม่มีวิตก

ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะคายปีติได้อีกด้วย จึง

เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ

ตติยฌาน พึงเป็นฌานที่พระอริยทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มี

จิตเป็นอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

เพราะละสุขละทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์

เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิทาอริยสัจ.

สุตตันตภาชนีย์ จบ

๔. สัจจวิภังคนิเทศ

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์

ว่าด้วยอุเทศวาร

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในสัจจวิภังค์ในลำดับแห่งธาตุวิภังค์ต่อไป

บทว่า จตฺตาริ (๔) เป็นคำกำหนดจำนวน. บทว่า อริยสจฺจานิ (อริยสัจ)

เป็นคำแสดงไขธรรมที่กำหนดไว้. ก็พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศวารมีคำว่า

ทุกฺข อริยสจฺจ (ทุกขอริยสัจ) เป็นต้น.

วิภาคโต นิพฺพจน ลกฺขณาทิปฺปเภทโต

อตฺถตฺถุทฺธารโต เจว อนูนาธิกโต ตถา

กมโต อริยสจฺเจสุ ย ญาณ ตสฺส กิจฺจโต

อนฺโตคธาน ปเภทา อุปมาโต จตุกฺกโต

สุญฺเตกวธาทีหิ สภาควิสภาคโต

วินิจฺฉโย เวทิตพฺโพ วิญฺญุนา สาสนกฺกเม

บาลีข้อ ๑๔๔

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

บัณฑิตผู้รู้แจ้ง พึงทราบวินิจฉัยใน

ลำดับคำสอน โดยวิภาค ๑ โดยวิเคราะห์

ศัพท์ ๑ โดยประเภทมีลักษณะเป็นต้น ๑

โดยอรรถ ๑ โดยถอดความ ๑ โดยไม่หย่อน

ไม่ยิ่ง ๑ โดยลำดับ ๑ โดยกิจแห่งญาณใน

อริยสัจ ๑ โดยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลง

ภายใน ๑ โดยอุปมา ๑ โดยจตุกะ (หมวด๔) ๑

โดยสุญญตา (ว่าง) ๑ โดยเป็นธรรมอย่างเดียว

กันเป็นต้น ๑ โดยสภาคะและวิสภาคะ ๑.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยวิภาค

บรรดาอุเทศเหล่านั้น คำว่า โดยวิภาค ได้แก่ อรรถแห่งอริยสัจ ๔

มีทุกข์เป็นต้น พระองค์ทรงจำแนกไว้สัจจะละ ๔ ประการ เป็นของแท้

เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ที่กุลบุตรผู้จะตรัสรู้ทุกข์เป็นต้น พึงตรัสรู้

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า* ทุกข์ มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถว่าอันปัจจัยปรุงแต่ง

มีอรรถว่าให้เร่าร้อน มีอรรถว่าปรวนแปร อรรถ ๔ แห่งทุกข์นี้ เป็นอรรถของ

ทุกข์ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น สมุทัย มีอรรถว่า

ประมวลมา มีอรรถว่าเป็นเหตุมอบให้ซึ่งผล มีอรรถว่าประกอบไว้ มีอรรถว่า

เป็นเครื่องกังวล ฯลฯ นิโรธ มีอรรถว่าสลัดออก มีอรรถว่าสงัด มีอรรถว่า

อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ มีอรรถว่าเป็นอมตะ ฯลฯ มรรค มีอรรถว่าการนำออก

มีอรรถว่าเป็นเหตุ มีอรรถว่าเป็นทัสสนะ (เห็น) มีอรรถว่าเป็นอธิบดี อรรถ ๔

* ขุ. ป. เล่ม ๓๑ ๕๔๕/๔๔๙

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

แห่งมรรคนี้เป็นอรรถของมรรค เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น

ดังนี้.

อนึ่ง พระบาลีมีอาทิอย่างนี้ว่า ทุกข์ มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถว่า

อันปัจจัยปรุงแต่ง มีอรรถว่าให้เร่าร้อน มีอรรถว่าปรวนแปร เป็นอรรถที่ควร

ตรัสรู้ ดังนี้ พึงทราบสัจจะมีทุกข์เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งอรรถสัจจะอย่างละ ๔

ตามที่ทรงจำแนกไว้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

พึงทราบวินิจฉัยในสัจจะนี้โดยวิภาคก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยวิเคราะห์ศัพท์

ก็ในข้อว่า โดยวิเคราะห์ศัพท์ และประเภทมีลักษณะเป็นต้น

นี้ พึงทราบสัจจะโดยวิเคราะห์ศัพท์ก่อน.

ในบทว่า ทุกฺข นี้ ศัพท์ว่า ทุ นี้ย่อมแสดงความน่าเกลียด จริงอยู่

ชาวโลกเรียกบุตรที่น่าเกลียดว่า ทุปุตฺโต (บุตรน่าเกลียด) ส่วนศัพท์ว่า ข

ย่อมปรากฏในความว่างเปล่า เพราะอากาศที่ว่างเปล่าเรียกกันว่า ข ก็สัจจะ

ที่หนึ่ง นี้ ชื่อว่า กุจฺฉิต (น่าเกลียด) เพราะเป็นที่ตั้งแห่งอุปัทวะมิใช่น้อย

ชื่อว่า ตุจฺฉ (ว่างเปล่า) เพราะเว้นจากความยั่งยืน ความงาม ความสุขและ

เป็นอัตตาที่ชนพาลคิดกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทุกฺข

(ทุกข์) เพราะเป็นของน่าเกลียด และเป็นของว่างเปล่า.

ศัพท์ว่า ส นี้ ในคำว่า สมุทย นี้ ย่อมแสดงการประกอบพร้อม

เช่นในคำเป็นต้นว่า สมาคโม สเมต (การประชุมกัน รวมกัน) ศัพท์ว่า

๑. คนพาลคิดเห็นว่า...เป็นของเที่ยง สวยงาม เป็นสุข และเป็นอัตตา

๒. คำว่า ทุกข นี้ อีกนัยหนึ่งแยกศัพท์เป็น ทุ บทหน้า และขมธาตุ ลบที่สุดธาตุ สำเร็จรูป

ตามไวยากรณ์เป็น ทุกฺข แปลว่า ทนได้ยาก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

อุท นี้ ย่อมแสดงความเกิดขึ้น เช่นในคำเป็นต้นว่า อุปฺปนฺน อุทิต

(เกิดขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว). แต่ศัพท์ว่า อย ย่อมแสดงถึงเหตุ ก็เมื่อมีการ

ประกอบด้วยปัจจัยที่คงอยู่ สัจจะที่สอง นี้ ก็เป็นเหตุคือการเกิดขึ้นแห่งทุกข์

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทุกฺขสมุทย (ทุกขสมุทัย) เพราะ

สัจจะที่สองนี้เป็นเหตุเกิดทุกข์.

อนึ่ง สัจจะที่สาม เพราะศัพท์ว่า นิ ย่อมแสดงความไม่มี และศัพท์ว่า

โรธ ย่อมแสดงถึงผู้ท่องเที่ยว เพราะฉะนั้น ในสัจจะที่สาม (นิโรธ) นี้

จึงได้แก่ความไม่มีความท่องเที่ยวไปแห่งทุกข์ กล่าวคือการท่องเที่ยวไปใน

สังสารเพราะว่างจากคติทั้งปวง อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพระโยคาวจรบรรลุสัจจะ

ที่สามนั้นแล้ว ความไม่มีการท่องเที่ยวไปแห่งทุกข์กล่าวคือการท่องเที่ยวไปใน

สังสาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทุกฺขนิโรธ (ทุกขนิโรธ) เพราะเป็น

ปฏิปักษ์ต่อการท่องเที่ยวไปนั้น อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า ทุกขนิโรธ เพราะ

เป็นปัจจัยแก่ความไม่เกิด คือความดับสนิทแห่งทุกข์.

อนึ่ง สัจจะที่ ๔ นี้ ย่อมดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ เพราะมุ่งหน้าต่อ

พระนิพพานนั้นด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ และเป็นปฏิปทาเพื่อถึงความดับทุกข์

เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

ก็เพราะพระอริยะมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นย่อมแทงตลอดสัจจะเหล่านั้น

ฉะนั้น สัจจะเหล่านั้น จึงตรัสเรียกว่า อริยสัจจะ เหมือนอย่างพระดำรัสที่

ตรัสไว้ว่า จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว อริสจฺจานิ กตมานิ ฯ เป ฯ อิมานิ

โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริสจฺจานิ อริยา อิมานิ ปฏิวิชฺฌนฺติ ตสฺมา

๑. สมุทย ในที่นี้ก็คือ ส + อุท + อย สำเร็จรูปเป็น สมุทย

๒. ศัพท์นิโรธ อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า นิ หมายถึงความไม่มี ศัพท์ว่า โรธ หมายถึงเรือนจำ

สังสาร นิโรธ จึงแปลได้อีกว่า ไม่มีเรือนจำในสังสาร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้

๔ ประการเป็นไฉน ? คือทุกขอริยสัจ. . . ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการเหล่านี้แล พระอริยะทั้งหลายย่อม

แทงตลอดอริยสัจเหล่านี้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อริยสัจ ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า อริยสัจ เพราะอรรถว่า เป็นสัจจะของ

พระอริยะดังนี้บ้าง เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า สเทวเก ภิกฺขเว โลเก ฯ เป ฯ

สเทวมนุสฺสาย ตถาคโต อริโย ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอริยะในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก

พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น

จึงเรียกว่า สัจจะของพระอริยะ.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อริยสัจ เพราะความที่อริยสัจเหล่านั้นอันพระ-

อริยะตรัสรู้แล้วบ้าง เพราะความสำเร็จโดยความเป็นอริยะบ้าง เหมือนอย่างที่

ตรัสว่า อิเมส โข ภิกฺขเว จตุนฺน อริยสจฺจาน ยถาภูต อภิสมฺพุทฺธตฺตา

ตถาคโต อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ อริโยติ วุจฺจติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ตถาคตเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวโลกเรียกว่า อริยะ เพราะตรัสรู้

อริยสัจ ๔ เหล่านี้แลตามความจริง.

อีกอย่างหนึ่งแล ชื่อว่า อริยสัจ เพราะอรรถว่า เป็นสัจจะอันประเสริฐ

คำว่า อริยะนี้มีอธิบายว่า เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นของคลาดเคลื่อน

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริสจฺจานิ ตถานิ

อวิตถานิ อนญฺญกานิ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

๑. ๒. ส. มหาวาร เล่ม ๑๙ ๑๗๐๘/๕๔๕

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เป็นของแท้ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น

จึงเรียกว่า อริยสัจ (สัจจะอันประเสริฐ) ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในสัจจะนี้โดยวิเคราะห์เพียงเท่านี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้น

พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้นอย่างไร จริงอยู่ ใน

สัจจะ ๔ เหล่านี้ ทุกขสัจจะมีการเบียดเบียนเป็นลักษณะ มีความให้เร่าร้อน

เป็นรส มีปวัตติเป็นปัจจุปัฏฐาน. สมุทยสัจจะ มีเหตุเป็นแดนเกิดเป็น

ลักษณะ มีการไม่เข้าไปตัดเป็นรส มีปลิโพธเป็นปัจจุปัฏฐาน. นิโรธสัจจะ

มีความสงบเป็นลักษณะ มีการไม่จุติเป็นรส มีการไม่มีนิมิตเป็นปัจจุปัฏฐาน.

มรรคสัจจะ มีการนำออกเป็นลักษณะ มีการประหาณกิเลสเป็นรส มีวุฏฐานะ

(คือการออก) เป็นปัจจุปัฏฐาน.

อีกอย่างหนึ่ง สัจจะ ๔ นี้มีปวัตติ (การเป็นไป) มีปวัตตนะ (เหตุ

ให้เป็นไป) มีนิวัตติ (ความกลับ) มีนิวัตตนะ (เหตุให้กลับ) เป็นลักษณะ

โดยลำดับ* และมีสังขตะ (คือธรรมชาติอันปัจจัยปรุงแต่ง) มีตัณหา มีอสังขตะ

(คือธรรมชาติอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง) มีทัสสนะ (การเห็น) เป็นลักษณะตาม

ลำดับเหมือนกันแล.

พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้นในที่นี้ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ

ก็ในข้อว่า โดยอรรถและโดยถอดความ นี้ พึงทราบโดยอรรถ

ก่อน หากมีคำถามว่า อะไรเป็นอรรถของสัจจะ ก็จะพึงมีคำตอบอย่างพิสดาร

๑ คำว่า ประวัติหมายถึงทุกขสัจจะ ปวัตตนะหมายถึงสมุทัย นิวัตติหมายถึงนิโรธ นิวัตตนะ

หมายถึงมรรค (ผู้แปล)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

ว่า ภาวะใด เมื่อบุคคลเพ่งอยู่ด้วยปัญญาจักษุ ย่อมไม่วิปริตเหมือนมายากล

ไม่ลวงตาเหมือนพยับแดด ไม่เป็นสภาวะที่ใคร ๆ หาไม่ได้เหมือนอัตตาของ

พวกเดียรถีย์ โดยที่แท้เป็นโคจร (อารมณ์) ของอริยญาณ โดยประการมี

การเบียดเบียน (ทุกขสัจ) มีเหตุเป็นแดนเกิด (สมุทัยสัจ) มีความสงบ

(นิโรธสัจ) มีการนำออก (มรรคสัจ) ซึ่งเป็นของแท้ ไม่วิปริต เป็นของจริง

ทีเดียว ภาวะที่สัจจะเป็นของแท้ ไม่วิปริต เป็นของจริง เป็นดังลักษณะไฟ

และเป็นดังธรรมดาของสัตว์โลก (ต้องเกิดแก่เจ็บตาย) นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า

เป็นอรรถของสัจจะ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า อิท ทุกฺขนฺติ โข ภิกฺขเว

ตถเมต อวิตเมต อนญฺญถเมต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า นี้ทุกข์

ดังนี้แล นั่นเป็นของแท้จริง นั่นเป็นของไม่ผิด นั่นไม่เป็นไปโดยประการอื่น

เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง

นาพาธก ยโต ทุกฺข ทุกฺขา อญฺญ น พาธก

พาธกตฺตนิยาเมน ตโต สจฺจมิท มต

นอกจากทุกข์แล้ว ตัวเบียดเบียนย่อม

ไม่มีตัวเบียดเบียนอื่นนอกจากทุกข์ก็หามีไม่

เพราะฉะนั้น ทุกข์นี้ บัณฑิตจึงรู้ว่าเป็น

สัจจะ โดยกำหนดอรรถว่าเป็นตัวเบียด-

เบียน.

ต วินา นาญฺญโต ทุกฺข น โหติ น จ ต ตโต

ทุกฺขเหตุนิยาเมน อิติ สจฺจ วิสตฺติกา

เว้นจากตัณหานั้นแล้วทุกข์ย่อมไม่มี

แต่เหตุอื่น และทุกข์นั้นย่อมไม่มีจากตัณหา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

นั้นก็หาไม่ เพราะฉะนั้น ตัณหาตัวซัดซ่าย

ไปในอารมณ์ต่าง ๆ นั้น บัณฑิตจึงรู้ว่า

เป็นสัจจะ โดยกำหนดอรรถว่าเป็นเหตุแห่ง

ทุกข์.

นาญฺา นิพฺพานโต สนฺติ สนฺต น จ น ต ยโต

สนฺตภาวนิยาเมน ตโต สจฺจมิท มต

ความสงบอื่นนอกจากพระนิพพาน

แล้วย่อมไม่มี และพระนิพพานนั้นเว้นจาก

ความสงบก็หามีไม่ เพราะฉะนั้น พระ-

นิพพานนี้ บัณฑิตจึงรู้ว่าเป็นสัจจะ โดย

กำหนดอรรถว่าเป็นความสงบ.

มคฺคา อญฺ น นิยฺยาน อนิยฺยาโน น จาปิ โส

ตจฺฉนิยฺยานภาวตฺตา อิติ โส สจฺจสมฺมโต

นอกจากมรรคแล้ว เครื่องนำออก

อย่างอื่นย่อมไม่มี แม้มรรคนั้นมิใช่เครื่อง

นำออกก็หาไม่ เพราะฉะนั้น มรรคนั้น

บัณฑิตจึงรู้ว่าเป็นสัจจะ เพราะอรรถว่าเป็น

เครื่องนำออกอย่างแท้จริง.

อิติ ตจฺฉาวิปลฺลาส ภูตภาว จตูสุปิ

ทุกฺขาทีสฺววิเสเสน สจฺจตฺถ อาหุ ปณฺฑิตา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวภาวะอันแท้ไม่

แปรผัน เป็นของจริงในสัจจะทั้ง ๔ มีทุกข์

เป็นต้น โดยไม่แปลกกันว่า เป็นอรรถแห่ง

สัจจะ ด้วยประการฉะนี้แล.

พึงทราบวินิจฉัยสัจจะโดยอรรถ ดังพรรณนามาฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยถอดความ

พึงทราบวินิจฉัย โดยถอดเอาความ อย่างไร ? สัจจศัพท์ใน

อธิการนี้ ย่อมปรากฏในอรรถมิใช่น้อย อย่างไร คือสัจจศัพท์ ย่อมปรากฏ

ในวาจาสัจจะ(พูดจริง)เหมือนในประโยคมีอาทิว่า สจฺจ ภเณ น กุชฺเฌยฺย

บุคคลพึงกล่าวคำสัตย์ ไม่พึงโกรธ. ที่ปรากฏในวิรติสัจจะ (มุสาวาทวิรัติ)

เหมือนในประโยคมีอาทิว่า สจฺเจ ิตา สมณพฺราหฺมณา สมณพราหมณ์

ผู้ตั้งอยู่ในสัจจะ. ที่ปรากฏใน ทิฏิสัจจะ (จริงโดยทิฏฐิ) เหมือนในประโยค

มีอาทิว่า กสฺมา นุ สจฺจานิ วทนฺติ นานาปวาทิยาเส กุสลาวทานา

เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะไปต่าง ๆ คือเป็นผู้อ้างตน

ว่าเป็นผู้ฉลาดกล่าวยืนยันสัจจะหลายอย่าง. ที่ปรากฏใน ปรมัตถสัจจะ คือ

นิพพานและมรรค เหมือนในประโยคมีอาทิว่า เอก หิ สจฺจ น ทุติยมตฺถิ

สัจจะมีอย่างเดียวไม่มีอย่างที่สอง. ที่ปรากฏใน อริยสัจจะ เหมือนในประโยค

มีอาทิว่า จตุนฺน สจฺจาน กติ กุสลา บรรดาสัจจะ ๔ สัจจะที่เป็นกุศลมี

เท่าไร. แม้ในที่นี้ สัจจศัพท์นี้นั้นย่อมเป็นไปในอริยสัจจะ (สัจจะอันประเสริฐ)

ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยโดยถอดความในสัจจะนี้ ฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยไม่หย่อนไม่ยิ่ง

ในข้อว่า ไม่หย่อนไม่ยิ่ง นี้ หากมีคำถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอริยสัจไว้ ๔ เท่านั้นไม่หย่อนไม่ยิ่ง ตอบว่าเพราะไม่มี

สัจจะอย่างอื่น และนำออกข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่ได้ จริงอยู่ สัจจะอื่นยิ่งกว่าสัจจะ ๔

เหล่านี้ หรือว่าบรรดาสัจจะ ๔ เหล่านี้จะพึงนำออกไปสักข้อหนึ่ง หาได้ไม่.

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ในโลก

นี้ พึงเอ่ยอ้างว่า ทุกข์ที่พระสมณโคดมแสดงไว้นี้ ไม่ใช่ทุกขอริยสัจ ทุกข

อริยสัจเป็นอย่างอื่น เราจักเว้นทุกขอริยสัจนี้แล้วบัญญัติทุกขอริยสัจอื่น ข้อนี้

ไม่ใช่ฐานะที่เป็นได้ ดังนี้ และดังที่ตรัสไว้มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นั่นมิใช่ทุกขอริยสัจ

ข้อที่หนึ่งที่สมณโคคมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกขอริยสัจข้อที่หนึ่งนั้นเสีย

แล้วบัญญัติทุกขอริยสัจข้อที่หนึ่งอย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ดังนี้*.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสบอกความเป็นไปแห่งทุกข์

ก็ตรัสบอกพร้อมทั้งเหตุ และเมื่อจะตรัสบอกความไม่เป็นไป ก็ตรัสบอกพร้อม

ทั้งอุบาย (เป็นเครื่องสลัดออก) เพราะฉะนั้น จึงตรัสอริยสัจไว้ ๔ เท่านั้น

เพราะความที่สัจจะเหล่านั้นมีความเป็นไป (ปวัตติ) ความไม่เป็นไป (นิวัตติ)

และเหตุแห่งความเป็นไป ความไม่เป็นไปทั้งสองอันมีสัจจะ ๔ นี้เป็นอย่างยิ่ง.

อนึ่ง พระองค์ตรัสอริยสัจ ๔ เท่านั้น แม้ด้วยอำนาจแห่งปริญเญย-

ธรรม (ธรรมที่ควรกำหนดรู้) ปหาตัพพธรรม (ธรรมที่ควรละ) สัจฉิกา-

ตัพพธรรม (ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง) ภาเวตัพพธรรม (ธรรมที่ควรเจริญ) และ

* ส. มหาวาร. เล่มที่ ๑๙ ๑๖๙๓/๕๓๘

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

ตรัสไว้ ๔ ด้วยอำนาจแห่งตัณหา วัตถุที่อาศัยเกิดของตัณหา ความดับ

ตัณหา และอุบายเป็นเครื่องดับตัณหา และตรัสไว้ ๔ แม้ด้วยอำนาจแห่งความ

อาลัย เหตุที่ยินดีในอาลัย การถอนขึ้นซึ่งอาลัยและอุบายเป็นเหตุถอนขึ้นซึ่ง

อาลัย.

พึงทราบวินิจฉัยโดยไม่หย่อนไม่ยิ่งในอธิการนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลำดับ

ข้อว่า โดยลำดับ แม้นี้ ได้แก่ ลำดับแห่งเทศนานั่นเอง ก็ใน

อริยสัจ ๔ เหล่านี้ ทุกขสัจจะ เป็นสัจจะที่รู้ได้ง่าย เพราะเป็นของหยาบ และ

เพราะเป็นของทั่วไปแก่สัตว์ทั้งหมด ฉะนั้น จึงตรัสไว้ก่อน สมุทัยสัจจะตรัส

ไว้ในลำดับแห่งทุกขสัจจะนั้นเพื่อแสดงเหตุของทุกขสัจจะนั้นเอง นิโรธสัจจะ

ตรัสไว้โดยลำดับสมุทัยสัจจะนั้น เพื่อแสดงให้รู้ว่า เพราะเหตุดับ ผลจึงดับ

มรรคสัจจะตรัสไว้ในที่สุด เพื่อแสดงอุบายเครื่องบรรลุนิโรธสัจจะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทุกข์ก่อน เพื่อให้เกิดความ

สังเวชแก่พวกสัตว์ผู้ยินดีและปรารถนาความสุขในภพ ตรัสสมุทัยในลำดับแห่ง

ทุกข์นั้น เพื่อให้รู้ว่า ทุกข์นั้นตัณหามิได้สร้างแล้วย่อมไม่มา มันย่อมมีเพราะ

เหตุภายนอกมีพระอิศวรบันดาลก็หาไม่ ที่แท้มันย่อมมีเพราะตัณหานี้ ต่อจาก

นั้นก็ตรัสนิโรธ เพื่อให้เกิดความโล่งใจ ด้วยการเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออก

แก่สัตว์ผู้มีใจสลดซึ่งแสวงหาอุบายเป็นเครื่องออกจากทุกข์ เพราะความเป็นผู้

ถูกทุกข์พร้อมทั้งเหตุ (ตัณหา) ครอบงำแล้ว ต่อจากนั้นก็ตรัสมรรคอันเป็น

ธรรมให้ถึงนิโรธ เพื่อบรรลุนิโรธ.

พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยลำดับในสัจจะนี้ ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยกิจแห่งญาณในอริยสัจ

ข้อว่า โดยกิจแห่งญาณในอริยสัจ นี้ อธิบายว่า พึงทราบวินิจฉัย

แม้โดยกิจแห่งสัจจญาณ จริงอยู่ สัจจญาณมี ๒ อย่าง คือ

อนุโพธญาณ (ญาณที่รู้โดยลำดับ)

ปฏิเวธญาณ (ญาณที่แทงตลอด).

บรรดาญาณทั้ง ๒ นั้น อนุโพธญาณ เป็นโลกิยะย่อมดำเนินไปใน

นิโรธและมรรค ด้วยอำนาจแห่งการสดับฟังเป็นต้น. ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตระ

ทำนิโรธให้เป็นอารมณ์แล้วแทงตลอดสัจจะแม้ทั้ง ๔ โดยกิจ เหมือนอย่างที่

ตรัสไว้ว่า โย โกจิ ภิกฺขเว ทุกฺข ปสฺสติ ทุกฺขสมุทยมฺปิ โส ปสฺสติ

ทุกฺขนิโรธมฺปิ ปสฺสติ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทมฺปิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ผู้ใดผู้หนึ่งเห็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นแม้ทุกขสมุทัย ย่อมเห็นแม้ทุกขนิโรธ

ย่อมเห็นแม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา*. พึงกล่าวพุทธวจนะ (ในสูตรนี้) แม้

ทั้งหมด.

อนึ่ง ญาณที่เป็นโลกิยะในสัจจญาณ ๔ เหล่านี้ ทุกขญาณ (ญาณใน

ทุกข์) ย่อมห้ามสักกายทิฏฐิที่กำลังเป็นไปด้วยอำนาจแห่งความครอบงำโดย

ปริยุฏฐาน. สมุทยญาณ (ญาณในสมุทัย) ย่อมห้ามอุจเฉททิฏฐิ. นิโรธญาณ

(ญาณในนิโรธ) ย่อมห้ามสัสสตทิฏฐิ. มรรคญาณ (ญาณในมรรค) ย่อม

ห้ามอกิริยทิฏฐิ.

อีกอย่างหนึ่ง ทุกฺขญาณ ย่อมห้ามความปฏิบัติผิดในผลกล่าวคือ

ความสำคัญในเบญจขันธ์ซึ่งปราศจากความยั่งยืน ความงาม ความสุข และ

* ส. มหาวาร. เล่ม ๑๙ ๑๗๑๑/๕๔๗

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

อัตตา ว่ามีความยั่งยืน มีความงาม มีสุข และมีอัตตา สมุทยญาณ ย่อม

ห้ามความปฏิบัติผิดให้เหตุ ที่เป็นไปในการนับถืออย่างยิ่งคือในสิ่งที่มิใช่เหตุ

ว่าเป็นเหตุ โดยเข้าใจว่า โลก ย่อมเป็นไปโดยพระอิศวรโดยพระผู้เป็นประธาน

โดยพระกาฬ และโดยภาวะของตนเองเป็นต้น นิโรธญาณ ย่อมห้ามความ

ปฏิบัติผิดในนิโรธที่ยึดถือในอรูปโลก และในภูมิที่เป็นยอดโลกเป็นต้น ว่าเป็น

พระนิพพาน* มรรคญาณ ย่อมห้ามความปฏิบัติผิดในอุบายที่เป็นไปด้วย

ความยึดถือในมรรคที่ไม่บริสุทธิ์ อันต่างโดยกามสุขัลลิถานุโยคและอัตตกิลมถา-

นุโยคว่าเป็นมรรคอันบริสุทธิ์ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงประพันธ์คำคาถานี้ไว้ว่า

โลเก โลกปฺปภเว โลกตฺถคเม สิเว จ ตทุปาเย

สมฺมุยฺหติ ตาว นโร น วิชานาติ ยาว สจฺจานิ

นรชน ยังไม่รู้แจ้งสัจจะทั้งหลาย

ตราบใด เขาก็ย่อมลุ่มหลงในโลก (ทุกข์) ใน

เหตุเกิดของโลก (สมุทัย) ในพระนิพพาน

อันเป็นที่ดับไปแห่งโลก และในอุบายของ

ความดับโลกนั้น (มรรค) อยู่ตราบนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยโดยกิจแห่งญาณในอริยสัจจะนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายใน

ข้อว่า โดยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายใน ความว่า จริงอยู่ ยก

เว้นตัณหาและอนาสวธรรม (ธรรมที่ไม่มีอาสวะ) แล้วธรรมทั้งหมดที่เหลือนับว่า

* พวกอุทกดาบสและอาฬารดาบส ถืออรูปโลกว่าเป็นนิพพาน พวกนิครนถ์ถือยอดภูมิ (โลก

ถูปิกา) ว่าเป็นนิพพาน (มหาฎีกา)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

หยั่งลงภายใน ในทุกขสัจ. ตัณหาวิจริต ๓๖ หยั่งลงภายใน ใหสมุทยสัจ.

นิโรธสัจไม่มีอะไรเจือปน ธรรมมีวิมังสิทธิบาท ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละและ

ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ โดยมีสัมมาทิฏฐิเป็นประมุขเป็นธรรมหยั่งลงภายใน

ในมรรคสัจ. วิตก ๓ มีเนกขัมมวิตกเป็นต้นโดยอิงอาศัยสัมมาสังกัปปะเป็นธรรม

หยั่งลงภายใน วจีสุจริต ๔ โดยอิงอาศัยสัมมาวาจาเป็นธรรมหยั่งลงภายใน กาย

ทุจริต โดยอิงอาศัยสัมมากัมมันตะเป็นธรรมหยั่งลงภายใน ความมักน้อยและ

ความสันโดษโดยมีสัมมาอาชีวะเป็นประมุขเป็นธรรมหยั่งลงภายในนับเข้าใน

มรรคสัจ. อีกอย่างหนึ่ง เพราะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะทั้งหมด

เหล่านี้เป็นอริยกันตศีล เพราะศีลอันบุคคลพึงรับด้วยมือคือศรัทธา และเพราะ

ความที่ศีลจะมีอยู่ก็เพราะความที่สัมมาวาจาเป็นต้นเหล่านั้นมีอยู่ สัทธินทรีย์

สัทธา พละ ฉันทิทธิบาท จึงเป็นชาติหยั่งลงในภายใน. สัมมัปปธาน ๔ วิริยิท-

ธิบาท วิริยินทรีย์ วิริยพละ วิริยสัมโพชฌงค์ โดยอิงอาศัยสัมมาวายามะเป็นธรรม

หยั่งลงภายใน สติปัฏฐาน ๔ สตินทรีย์ สติพละ และสติสัมโพชฌงค์ โดยอิง

อาศัยสัมมาสติ เป็นธรรมหยั่งลงภายใน สมาธิอย่างละ ๓ คือสมาธิมีวิตกและ

มีวิจารเป็นต้น จิตตสมาธิ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิ

สัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นธรรมหยั่งลงภายใน

คือนับเข้าในมรรคสัจ.

พึงทราบวินิจฉัยแม้ประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายในสัจจะนี้ ด้วย

ประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอุปมา

ก็ในข้อว่า โดยอุปมา นี้ พึงเห็นทุกขสัจเหมือนของหนัก สมุทัยสัจ

เหมือนการถือของหนัก นิโรธสัจเหมือนวางของหนัก มรรคสัจเหมือนอุบาย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

เป็นเครื่องวางของหนัก. อนึ่ง ทุกขสัจเป็นดังโรค สมุทยสัจเป็นดังสมุฏฐาน

ของโรค นิโรธสัจเป็นดังความสงบของโรค มรรคสัจเป็นดังเภสัช.

อีกอย่างหนึ่ง ทุกขสัจเปรียบเหมือนมีภิกษาหาได้โดยยาก สมุทยสัจ

เปรียบเหมือนฝนไม่ดี นิโรธสัจเปรียบเหมือนมีภิกษาหาได้ง่าย มรรคสัจ

เปรียบเหมือนฝนดี.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบสัจจะเหล่านี้โดยอุปมาประกอบด้วยคนมีเวร

มูลเหตุแห่งเวร การถอนขึ้นซึ่งเวร อุบายการถอนขึ้นซึ่งเวร และพึงทราบ

ด้วยต้นไม้มีพิษ รากเหง้าของต้นไม้มีพิษ การโค่นตัดต้นไม้มีพิษ อุบาย

โค่นตัดต้นไม้มีพิษ และพึงทราบด้วยมีภัย เหตุที่มีภัย ความปลอดภัย อุบาย

ให้ปลอดภัย และพึงทราบด้วยฝั่งนี้ ห้วงน้ำใหญ่ของฝั่งนี้ ฝั่งโน้น และผู้พยายาม

ให้ถึงฝั่งโน้นนั้นแล.

พึงทราบวินิจฉัยโดยอุปมาในอริยสัจนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยจตุกะ (หมวด ๔)

ข้อว่า โดยจตุกะ ความว่า ก็บรรดาสัจจะ ๔ เหล่านี้ ธรรมที่

เป็นทุกข์แต่ไม่ใช่ทุกข์อริยสัจก็มี ธรรมที่เป็นอริยสัจไม่เป็นทุกข์ก็มี ธรรมที่

เป็นทุกข์ด้วยเป็นอริยสัจด้วยก็มี ธรรมที่ไม่เป็นทุกข์และไม่ใช่อริยสัจก็มี.

ในสมุทัยเป็นต้นก็นัยนี้.

ในจตุกะนั้น ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผล

ทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นสังขารทุกข์ โดยพระบาลีว่า ยทนิจฺจ

ต ทุกฺข (สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์)* แต่ไม่ใช่อริยสัจ นิโรธเป็นอริยสัจ

* ส. ขนฺธวาร เล่ม ๑๗ ๔๒/๒๘

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

แต่ไม่เป็นทุกข์ ส่วนอริยสัจทั้ง ๒ นอกนี้ (สมุทัยและมรรค) พึงเป็นทุกข์

เพราะความไม่เที่ยง แต่ไม่ใช่ทุกข์โดยที่กุลบุตรผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน

พระผู้มีพระภาคเจ้ากำหนดรู้ ส่วนอุปาทานขันธ์ ๕ เว้นตัณหาแล้วเป็นทั้งทุกข์

เป็นทั้งอริยสัจโดยประการทั้งปวง ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรค และสามัญผล

ทั้งหลายไม่ใช่ทุกข์โดยสภาวะที่กุลบุตรผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี-

พระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ ทั้งไม่ใช่อริยสัจ.

พึงทราบการประกอบแม้ในสมุทัยเป็นต้น* ตามสมควรแล้ววินิจฉัย

ในอริยสัจนี้โดยจตุกะ ด้วยประการฉะนี้แล.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยสุญญตา (ว่าง)

ในข้อว่า โดยสุญญตาและโดยเป็นธรรมอันเดียวกันเป็นต้น นี้

พึงทราบโดยสภาพว่างก่อน. จริงอยู่ โดยปรมัตถ์ สัจจะทั้งหมดทีเดียว พึง

ทราบว่า เป็นสภาพว่าง เพราะไม่มีผู้เสวย ไม่มีผู้ทำ ไม่มีผู้ดับ ไม่มีผู้

เดิน ด้วยเหตุนั้น นักปราชญ์จึงประพันธ์คำคาถานี้ไว้ว่า

* ในข้อสมุทัยเป็นต้น กิเลสที่เป็นสมุทัย (นอกจากตัณหา) เป็นสมุทัยเพราะอรรถว่าทำให้

เกิดทุกข์แต่ไม่ใช่อริยสัจที่เป็นสมุทัย นิโรธเป็นอริยสัจแต่ไม่เป็นสมุทัย ทุกข์และมรรครวม

๒ พึงเป็นสมุทัยก็ได้เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดผลของตน แต่ไม่เป็นสมุทัยที่เป็นปหาตัพพ-

ธรรม ตัณหาเป็นทั้งสมุทัยเป็นทั้งอริยสัจ ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผลไม่เป็น

สมุทัยที่จะต้องละ และไม่เป็นอริยสัจ (เป็นสัจจวิมุตติ)

ในนิโรธ สังขารนิโรธ และนิโรธสมาบัติเป็นนิโรธแต่ไม่เป็นนิโรธอริยสัจ สมุทัยเป็น

อริยสัจแต่ไม่เป็นนิโรธ ทุกข์และมรรคทั้ง ๒ เป็นนิโรธก็ได้เพราะเป็นขณนิโรธ แต่ไม่ใช่นิโรธ

สัจจะ. อสังขตะเป็นทั้งนิโรธเป็นทั้งอริยสัจธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผลไม่เป็นนิโรธ

และไม่ใช่อริยสัจ

องค์มรรคอื่นจากอริยมรรคเป็นมรรคแต่ไม่ใช่อริยมรรค นิโรธเป็นอริยสัจแต่เป็น

มรรค ทุกข์และสมุทัยทั้ง ๒ เป็นมรรคก็ได้เพราะเป็นทางไปสู่ภพแต่มิใช่อริยมรรคที่ควรเจริญ

เพื่อนิโรธ นิโรธคามินีปฏิปทาเป็นทั้งมรรค เป็นทั้งอริยสัจโดยประการทั้งปวง ธรรมที่สัมปยุต

ด้วยมรรคและสามัญผลไม่เป็นมรรค และไม่เป็นอริยสัจ (เก็บความจากมหาฎีกา)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

ทุกฺขเมว หิ น โกจิ ทุกฺขิโต

การโก น กิริยาว วิชฺชติ

อตฺถิ นิพฺพุติ น นิพฺพุโต ปุมา

มคฺคมตถิ คมโถ น วิชฺชติ

ความจริง ทุกข์เท่านั้นมีอยู่ แต่

บุคคลไร ๆ ผู้เป็นทุกข์หามีไม่ การทำมีอยู่

แต่ผู้ทำหามีไม่ ความดับมีอยู่ แต่บุคคลผู้

ดับหามีไม่ ทางมีอยู่ แต่บุคคลผู้เดินหามีไม่.

อีกอย่างหนึ่ง

ความว่างในสัจจะ ๔ เทล่านั้น พึง

ทราบอย่างนี้ คือ สัจจะ ๒ บทแรกว่างจาก

ความเที่ยง ความงาม ความสุข และอัตตา

อมตบทคือพระนิพพานว่างจากอัตตา มรรค

ว่างจากความยั่งยืน ความสุข และอัตตา.

อีกอย่างหนึ่ง สัจจะ ๓ ว่างจากนิโรธ และนิโรธก็ว่างจากสัจจะ ๓ ที่

เหลือ. อีกอย่างหนึ่ง ในสัจจะ ๔ เหล่านี้ เหตุว่างจากผล เพราะไม่มีทุกข์ใน

สมุทัย และไม่มีนิโรธในมรรค เหตุไม่ร่วมกับผล เหมือนดังปกติ (ประพฤติ)

๑. ทุกข์เป็นสัจจะสวนบุคคลเป็นบัญญัติ สัจจะเป็นของมีอยู่โดยปรมัตถ์ บัญญัติไม่มีโดยปรมัตถ์

การกระทำมีอยู่ท่านหมายเอาตัณหาเป็นเหตุกระทำ มิได้หมายเอาบุคคลซึ่งเป็นบัญญัติ. ความ

ดับหมายถึงนิพพาน ไม่ใช่บุคคลเป็นผู้ดับ. ทางหมายถึงมรรค ๘ มีอยู่จริง ส่วนบุคคลผู้เดิน

ไม่มี เพราะมิใช่บุคคล.

๒. ลัทธิภายนอกชื่อว่าปกติวาที มีความเห็นว่า ปกติเดิมเหตุรวมอยู่กับผล ต่อมาจึงแยกออกเป็น

คนละอย่าง ลัทธิสมวายวาทีก็ทำนองเดียวกัน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

ของลัทธิทั้งหลายมีปกติวาทีเป็นต้น. และผลเล่าก็ว่างจากเหตุ เพราะความทุกข์

กับสมุทัย และนิโรธกับมรรคมิได้เป็นอันเดียวกัน ผลนั้นมิได้เป็นอย่างเดียว

กับเหตุ เป็นเหตุผล เหมือนอณูทั้ง ๒ ของลัทธิทั้งหลาย มีสมวายวาทีเป็นต้น

เพราะเหตุนั้น นักปราชญ์จึงประพันธ์คำคาถานี้ไว้ว่า

ตยมิธ นิโรธสุญฺ ตเยน เตนาปิ นิพฺพุติ สุญฺา

สุญฺโ ผเลน เหตุ ผลปิ ต เหตุนา สุญฺ

บรรดาอริยสัจจะ ๔ นี้ สัจจะ ๓ ว่าง

จากนิโรธ นิโรธ (นิพฺพุติ) เล่าก็ว่างจาก

สัจจะ ๓ แม้นั้น สัจจะที่เป็นเหตุว่างจาก

สัจจะที่เป็นผล แม้สัจจะที่เป็นผลนั้นเล่าก็

ว่างจากสัจจะที่เป็นเหตุ ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในสุญญตา (ว่าง) อย่างนี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยเป็นธรรมอย่างเดียวเป็นต้น

ข้อว่า โดยเป็นธรรมอย่างเดียวเป็นต้น ความว่า ก็บรรดาสัจจะ

๔ เหล่านั้น ทุกข์ทั้งหมดทีเดียว ชื่อว่ามีอย่างเดียวเพราะเป็นปวัตติ (คือเป็น

ธรรมหมุนไปในวัฏฏะ) เป็น ๒ อย่างโดยเป็นนามและรูป เป็น ๓ อย่างโดย

แยกเป็นอุปปัตติภพ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เป็น ๔ อยู่ โดยประเภท

แห่งอาหาร ๔ เป็น ๕ อย่างโดยประเภทแห่งอุปาทานขันธ์ ๕.

แม้สมุทัย ชื่อว่ามีอย่างเดียว เพราะเป็นสภาพให้วัฏฏะหมุนไป เป็น

๒ อย่างโดยเป็นธรรมสัมปยุตด้วยทิฏฐิ และไม่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เป็น ๓ อย่าง

โดยแยกเป็น กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็น ๔ อย่างเพราะเป็นโทษ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

อันมรรค ๔ พึงละ เป็น ๕ อย่างโดยแยกอารมณ์ มีความยินดียิ่งในรูปเป็นต้น

เป็น ๖ อย่างโดยประเภทแห่งกองตัณหา ๖.

นิโรธชื่อว่ามีอย่างเดียว เพราะเป็นอสังขตธาตุ แต่โดยปริยาย (อ้อม)

นิโรธเป็น ๒ อย่างโดยเป็นสอุปาทิเสสนิพพาน และอนุปาทิเสสนิพพาน เป็น

๓ อย่างเพราะสงบภพทั้ง ๓ เป็น ๔ อย่างเพราะเป็นอารมณ์ให้มรรค ๔ บรรลุ

เป็น ๕ อย่างเพราะสงบความยินดียิ่ง ๕ (มีรูปารมณ์เป็นต้น) เป็น ๖ อย่าง

โดยประเภทแห่งความสิ้นไปแห่งกองตัณหา ๖.

แม้มรรคเล่าก็ชื่อว่ามีอย่างเดียว เพราะเป็นธรรมควรเจริญ เป็น ๒

อย่างโดยแยกเป็นสมถะและวิปัสสนา อีกอย่างหนึ่ง เป็น ๒ อย่างโดยประเภท

แห่งทัสสนะ (โสดามรรค) และภาวนา (มรรค ๓ ที่เหลือ) เป็น ๓ อย่าง

โดยประเภทธรรมขันธ์ ๓ (มีศีลขันธ์เป็นต้น). จริงอยู่ มรรคนี้ เพราะเป็น

สัปปเทสธรรม จึงสงเคราะห์ (รวมเข้า) ด้วยขันธ์ ๓ ที่เป็นนิปปเทสธรรม

เหมือนหัวเมืองรวมอยู่ด้วยราชอาณาจักรฉะนั้น. เหมือนอย่างพระธัมมทินนา-

เถรีกล่าวแก้ปัญหาวิสาขอุบาสกว่า ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ ขันธ์ ๓ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าไม่ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ส่วนอริยมรรคมีองค์ ๘

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ แล ดูก่อนท่านวิสาขะ สัมมา-

วาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ พระองค์ทรงสงเคราะห์์ในศีลขันธ์

สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ พระองค์ทรงสงเคราะห์ในสมาธิขันธ์

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ พระองค์ทรงสงเคราะห์์ในปัญญาขันธ์ ดังนี้

๑. กองตัณหา ๖ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฎฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา

๒. สัปปเทสธรรม หมายถึง ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงไว้เป็นบางส่วน (ส่วนเล็ก)

๓. นิปปเทสธรรม หมายถึง ธรรมที่ทรงแสดงไว้โดยสิ้นเชิง (ส่วนใหญ่).

๔. ม. มู. เล่ม ๑๒ ๕๐๘/๕๔๙.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

เพราะในอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ มรรคมีสัมมาวาจาเป็นต้นเป็นศีลอย่างเดียว

ฉะนั้น มรรค ๓ มีสัมมาวาจาเป็นต้นนั้น พระองค์จึงทรงสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์

โดยกำเนิดของตน แม้ในพระบาลีพระองค์ทรงทำนิเทศไว้ด้วยสัตตมีวิภัตติ

ว่า สีลขนฺเธ ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็พึงทราบด้วยอำนาจแห่งตติยาวิภัตติ

เท่านั้น.

อนึ่ง ในมรรค ๓ มีสัมมาวายามะเป็นต้น สมาธิย่อมไม่อาจแน่วแน่

(เป็นอัปปนา)ด้วยความมีอารมณ์เป็นหนึ่งในอารมณ์ตามธรรมดาของตนได้ แต่

เมื่อวิริยะยังกิจคือการประคองจิตไว้ให้สำเร็จ และเมื่อสติยังกิจคือการไม่ฟั่นเฟือน

ให้สำเร็จอยู่ สมาธิก็ย่อมแน่วแน่ได้. ในข้อนั้น มีอุปมาดังนี้ เปรียบเหมือน

สหาย ๓ เข้าไปสู่อุทยานด้วยประสงค์ว่า พวกเราจักเล่นนักขัตฤกษ์ คน

หนึ่งเห็นต้นจำปามีดอกบานสะพรั่ง แม้เอื้อมมือไปก็ไม่อาจเก็บได้ ทีนั้นสหาย

คนที่สองจึงก้มหลังให้ สหายคนที่หนึ่งนั้นแม้ยืนบนหลังสหายคนที่สองแล้วสั่น

อยู่ ไม่อาจเก็บดอกไม้ได้ ทีนั้นสหายคนที่สามนอกนี้จึงเอียงไหล่ไป สหาย

คนที่หนึ่งนั้นจึงยืนบนหลังสหายคนหนึ่ง เหนี่ยวไหล่สหายคนหนึ่ง จึงเลือก

เก็บดอกไม้ทั้งหลายตามชอบใจ ประดับกายเล่นนักษัตร ฉันใด ข้ออุปไมยนี้

พึงเห็นฉันนั้น.

จริงอยู่ ธรรม ๓ มีสัมมาวายามะเป็นต้น เกิดพร้อมกันเหมือนสหาย

๓ คน เข้าไปสู่อุทยานพร้อมกัน. อารมณ์เหมือนต้นจำปามีดอกบานสะพรั่ง.

สมาธิไม่สามารถแน่วแน่โดยความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ในอารมณ์ตามธรรมดา

ของตนเหมือนสหายคนที่หนึ่ง แม้เอื้อมมือไปก็ไม่อาจเก็บได้. วายามะ (ความ

๑. คำว่า สีลขนฺเธ แปลว่า ในศีลขันธ์ แต่ท่านอรรถกถาจารย์ให้แปลว่า ด้วยศีลขันธ์.

๒. งานประจำปี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

เพียร) เหมือนสหายคนที่ก้มหลังให้. สติเหมือนสหายคนที่ยืนให้ไหล่ บรรดา

สหาย ๓ คนนั้น สหายคนหนึ่งนี้ยืนบนหลังสหายคนหนึ่ง ยึดไหล่สหายคนหนึ่ง

ย่อมอาจเก็บดอกไม้ได้ตามปรารถนา ฉันใด สมาธิก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อความ

เพียรยังกิจคือการประคองจิตให้สำเร็จอยู่ และเมื่อสติยังกิจคือการไม่ฟั่นเฟือน

ให้สำเร็จอยู่ ได้อุปการะแล้วย่อมอาจแน่วแน่โดยมีอารมณ์เป็นหนึ่งในอารมณ์

เพราะฉะนั้น ในมรรค ๓ เหล่านี้ มรรคคือสมาธิเท่านั้น พระองค์ทรงสงเคราะห์

ด้วยสมาธิขันธ์โดยกำเนิดของตน ส่วนมรรคมีวายามะและสติ ทรงสงเคราะห์

ด้วยสมาธิขันธ์โดยกิริยา (คือโดยเป็นธรรมมีอุปการะ).

แม้ในสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะเล่า ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ) ก็ไม่

อาจวินิจฉัยอารมณ์ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ตามธรรมดาของตน

ได้ แต่เมื่อวิตก (สัมมาสังกัปปะ) กระทบแล้ว ๆ ให้อยู่ ก็อาจตัดสินได้

อย่างไร ? เปรียบเหมือนเหรัญญิก (เจ้าหน้าที่ดูเงิน) วางเหรียญกหาปณะใน

มือ แม้เป็นผู้ใคร่เพื่อจะตรวจส่วนทั้งปวงของเหรียญ ก็ไม่อาจเพื่อใช้เปลือกตา

พลิกไปรอบ ๆ ได้ แต่เมื่อใช้ข้อนิ้วพลิกไป ๆ ก็อาจเพื่อแลดูข้างโน้นข้างนี้ได้

ฉันใด ปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่อาจวินิจฉัยอารมณ์ด้วยสามารถแห่ง

ความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ตามธรรมดาของตน แต่ย่อมอาจวินิจฉัยอารมณ์

ที่วิตกมีการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์เป็นลักษณะ มีการทำจิตให้กระทบอารมณ์บ่อย ๆ

เป็นกิจ ดุจการกระทบอยู่ และดุจจับพลิกกับไปมาให้อยู่นั่นแหละ เพราะฉะ

นั้น ในอธิการแม้นี้ สัมมาทิฏฐิเท่านั้นพระองค์ทรงสงเคราะห์ไว้ด้วยปัญญาขันธ์

เพราะกำเนิดของตน ส่วนสัมมาสังกัปปะเป็นธรรมอันพระองค์ทรงสงเคราะห์

ในปัญญาขันธ์โดยกิริยา มรรคย่อมถึงการสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ เหล่านี้ ด้วย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

ประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า มรรคมี ๓ อย่างโดยประเภทแห่งขันธ์

๓. มรรคมี ๔ อย่างด้วยสามารถแห่งมรรค ๔ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง สัจจะทั้งหมดนั่นแหละมีอย่างเดียว เพราะเป็นภาวะที่มี

อยู่โดยแท้จริง หรือเพราะเป็นอภิญไญยธรรม (ธรรมที่พึงรู้ยิ่ง) มี ๒ อย่าง

โดยเป็นโลกิยะและโลกุตระ และเป็นสังขตะและอสังขตะ มี ๓ อย่าง โดย

เป็นธรรมที่พึงละด้วยทัสสนะและภาวนา โดยเป็นธรรมไม่พึงละด้วยทัสสนะ

และภาวนา และโดยเป็นธรรมที่พึงละก็ไม่ใช่ ไม่พึงละก็ไม่ใช่ มี ๔ อย่าง

โดยประเภทปริญไญยธรรมเป็นต้นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในอธิการนี้โดยเป็นธรรมอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยสภาคะและวิสภาคะ

ข้อว่า โดยสภาคะและวิสภาคะ ความว่า สัจจะทั้งหมดนั่นแหละ

ชื่อว่า เป็นสภาคะ (คือมีส่วนเสมอ) กันและกัน โดยเป็นของแท้ โดยเป็น

ของว่างจากอัตตา และโดยเป็นสิ่งที่แทงตลอดได้ยาก เหมือนอย่างที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า " ดูก่อนอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

อย่างไหนหนอจะทำได้ยากกว่ากัน หรือจะให้เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน คือการที่

ยิงลูกศรให้เข้าไปติด ๆ กัน โดยช่องดาลเล็กแต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด กับการ

ยิงปลายขนทราย ด้วยขนทรายที่แบ่งออกเป็น ๗ ส่วน*" ดังนี้ พระอานนท์

ทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยิงปลายขนทราย ด้วยปลายขนทรายที่แบ่ง

ออกเป็น ๗ ส่วน กระทำได้ยากกว่าและให้เกิดขึ้นได้ยากกว่า พระเจ้าข้า"

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใด ย่อม

* ปลายขนทรายแบ่งเป็น ๗ ส่วน ติดที่ปลายลูกศรแล้วยิงปลายขนทรายนั้นให้ถูกเป็นการยาก

แต่พระองค์ตรัสว่า การแทงตลอดสัจจะยากกว่า (เก็บจากมหาฎีกา)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

แทงตลอดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชน

เหล่านั้น ย่อมแทงตลอดได้ยากว่าโดยแท้ " ดังนี้.

ชื่อว่า วิสภาคะ (มีส่วนไม่เสมอกัน) โดยการกำหนดลักษณะของตน

ก็สัจจะ ๒ ข้อแรก ชื่อว่า เป็นสภาคะ เพราะเป็นของลึกซึ้ง ด้วยอรรถว่า

หยั่งลงได้โดยยาก เพราะเป็นโลกีย์ และเพราะความเป็นไปกับอาสวะ ชื่อว่า

เป็นวิสภาคะ เพราะแยกออกโดยเป็นผลและเหตุ และเพราะเป็นธรรมที่ควรรู้.

และเป็นธรรมที่ควรละ (ปริญฺเยฺยปหาตพฺพกิจ) สัจจะ ๒ แม้ข้างหลัง

ก็เป็นสภาคะ คือมีส่วนเสมอกัน เพราะหยั่งลงได้ยากโดยความเป็นของลึกซึ้ง

เพราะเป็นโลกุตระ และเพราะเป็นอนาสวะ อนึ่ง สัจจะ ๒ ข้อหลังเป็นวิสภาคะ

เพราะแยกเป็นวิสยะและวิสยี และเพราะเป็นสัจฉิกาตัพพะ (ธรรมที่ควรทำ

ให้แจ้ง) และภาเวตัพพะ (ธรรมที่ควรเจริญ) อนึ่ง สัจจะที่ ๑ และที่ ๓ ชื่อว่า

เป็นสภาคะกัน เพราะอ้างถึงผล ชื่อว่า เป็นวิสภาคะกัน เพราะเป็นสังขตะและ

อสังขตะ อนึ่ง สัจจะที่ ๒ และที่ ๔ ชื่อว่า เป็นสภาคะกัน เพราะอ้างถึงเหตุ

ชื่อว่า เป็นวิสภาคะกัน เพราะเป็นกุศลและอกุศลโดยส่วนเดียว ก็สัจจะที่ ๑

และที่ ๔ ชื่อว่าเป็นสภาคะกัน เพราะเป็นสังขตะ ชื่อว่าเป็นวิสภาคะกัน

เพราะเป็นโลกิยะ และโลกุตระ ก็สัจจะที่ ๒ ที่ ๓ เป็นสภาคะกันโดยเป็น

เนวเสกขานาเสกขา และชื่อว่า เป็นวิสภาคะ เพราะเป็นสารัมมณะ และ

อนารัมมณะ (มีอารมณ์และไม่มีอารมณ์).

อิติ เอว ปกาเรหิ นเยหิ จ วิจกฺขโณ

วิชญฺา อริยสจฺจาน สภาควิสภาคต

บัณฑิตผู้ฉลาด พึงรู้แจ้งความที่

อริยสัจทั้งหลายเป็นสภาคะ (มีส่วนเสมอกัน)

๑. ส. มหาวาร เล่ม ๑๙ ๑๗๓๘/๕๖๖

๒. วิสยะในที่นี้คือนิโรธ วิสยีคือมรรค.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

และเป็นวิสภาคะ (มีส่วนไม่เสมอกัน) โดย

ประการและโดยนัยทั้งหลายอย่างนี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

วรรณนานิเทศวาร

ว่าด้วยทุกขอริยสัจ (บาลีข้อ ๑๔๕)

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงจำแนกสัจจะ ๔ มีทุกข์เป็นต้น

ที่พระองค์ทรงยกขึ้นแสดงโดยย่อ จึงเริ่มนิเทศวารนี้ว่า ตตฺถ กตม ทุกฺข

อริยสจฺจ ชาติปิ ทุกฺขา ในอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติ

ก็เป็นทุกข์ ดังนี้เป็นต้น.

ในนิเทศแห่งทุกขอริยสัจนั้น บัณฑิตพึงทราบ ชาติ พึงทราบอรรถ

แห่งชาติเป็นทุกข์ พึงทราบชรา พึงทราบอรรถแห่งชราเป็นทุกข์ พึงทราบ

มรณะ พึงทราบอรรถแห่งมรณะเป็นทุกข์ พึงทราบโสกะ พึงทราบอรรถแห่ง

โสกะเป็นทุกข์ พึงทราบปริเทวะ พึงทราบอรรถแห่งปริเทวะเป็นทุกข์ พึงทราบ

ทุกข์ พึงทราบอรรถแห่งทุกข์เป็นทุกข์ พึงทราบโทมนัส พึงทราบอรรถแห่ง

โทมนัสเป็นทุกข์ พึงทราบอุปายาส พึงทราบอรรถแห่งอุปายาสเป็นทุกข์

พึงทราบอัปปิยสัมปโยคะ พึงทราบอรรถแห่งอัปปิยสัมปโยคะเป็นทุกข์ พึงทราบ

ปิยวิปปโยคะ พึงทราบอรรถแห่งปิยวิปปโยคะเป็นทุกข์. พึงทราบอิจฉา

(ความปรารถนา) พึงทราบอรรถแห่งความปรารถนาเป็นทุกข์ พึงทราบขันธ์

พึงทราบอรรถแห่งขันธ์เป็นทุกข์ นี้ เป็นมาติกาเพื่อประโยชน์ในการกล่าว

ทุกขอริยสัจในนิเทศวารนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าทุกข์นี้มีประการต่าง ๆ เป็นอเนก คือ

ทุกขทุกข์ (ทุกข์เพราะทนได้ยาก)

วิปริณามทุกข์ (ทุกข์เพราะเปลี่ยนแปลง)

สังขารทุกข์ (ทุกข์ของสังขาร)

ปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์ปกปิด)

อัปปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์เปิดเผย)

ปริยายทุกข์ (ทุกข์โดยอ้อม)

นิปปริยายทุกข์ (ทุกข์โดยตรง).

บรรดาทุกข์เหล่านั้น ทุกขเวทนาที่เป็นไปทางกายและจิต ชื่อว่า

ทุกขทุกข์ เพราะเป็นทุกข์ทั้งโดยสภาวะทั้งโดยชื่อ. สุขเวทนา ชื่อว่า

วิปริณามทุกข์ เพราะเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ โดยการเปลี่ยนแปลง. อุเบกขา

เวทนา และสังขารทั้งหลายที่เหลือเป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า สังขารทุกข์

เพราะถูกความเกิดและดับบีบคั้น ก็ความบีบคั้น (ด้วยความเกิดและดับ)

ย่อมมีแม้แก่มรรคและผลทั้งหลายเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าธรรม

เหล่านั้น ชื่อว่า สังขารทุกข์ ด้วยอรรถว่า นับเนื่องด้วยทุกขสัจจะ. ความ

ป่วยไข้ทางกายและจิตมีปวดหู ปวดฟัน ความเร่าร้อนเกิดแต่ราคะ ความ

เร่าร้อนเกิดแต่โทสะเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิจฉันนทุกข์* เพราะต้องถามจึงรู้

และเพราะก้าวเข้าไปแล้วก็ไม่ปรากฏ ท่านเรียกว่า ทุกข์ไม่ปรากฏดังนี้บ้าง

ความป่วยไข้มีการถูกลงกรรมกรณ์ ๓๒ เป็นต้น เป็นสมุฏฐาน ชื่อว่า อัป-

ปฏิจฉันนทุกข์ เพราะไม่ถามก็รู้ได้ และเพราะเข้าถึงแล้วก็ปรากฏ ท่าน

* ปฏิจฉันนทุกข์ที่ว่าทางกาย คือ ปวดหู ปวดฟัน ท่านหมายเอาทุกข์เล็กน้อยจึงไม่มีใครรู้

ต้องถามจึงรู้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

เรียกว่า ปรากฏทุกข์บ้าง. ทุกข์แม้ทั้งหมดมีชาติเป็นต้น อันมาแล้วในวิภังค์

แห่งทุกขสัจจะ เว้นทุกขทุกข์ที่เหลือ ชื่อว่า ปริยายทุกข์ เพราะเป็นวัตถุ

(ที่อาศัยเกิด) แห่งทุกข์นั้น ๆ. ทุกขทุกข์ ชื่อว่า นิปปริยายทุกข์.

ในบรรดาทุกข์เหล่านั้น พึงกล่าวทุกขอริยสัจตั้งไว้ใน ๒ บท นี้ คือ

ปริยายทุกข์ และนิปปริยายทุกข์ ก็ธรรมดาอริยสัจนี้ย่อมมาในพระบาลีโดย

ย่อบ้าง โดยพิสดารบ้าง ในที่มาโดยย่อควรกล่าวโดยย่อก็ได้ โดยพิสดาร

ก็ได้ แต่ในที่มาโดยพิสดารสมควรกล่าวโดยพิสดารเท่านั้น ไม่ควรกล่าวโดยย่อ

ในที่นี้ทุกข์นี้นั้นมาโดยพิสดารดังนั้น พึงกล่าวโดยพิสดารอย่างเดียว ฉะนั้น

คำนี้ใด ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้มีอาทิว่า พึงทราบชาติ พึงทราบอรรถของชาติ

เป็นทุกข์ เพราะถือเอาพระบาลีในนิเทศวารมีอาทิว่า ตตฺถ กตม ทุกฺข

อริยสจฺจ ชาติปิ ทุกฺขา ในอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้

ชาติก็เป็นทุกข์ ดังนี้.

ว่าด้วยนิเทศแห่งชาติโดยสมมติกถา (บาลีข้อ ๑๔๖)

บรรดาทุกขอริยสัจนั้น พึงทราบคำว่า ชาติ เป็นต้นก่อน ก็บัณฑิต

พึงทราบชาติด้วยสามารถแห่งบทภาชนีย์นี้ว่า ตตฺถ กตฺมา ชาติ ยา เตส

สตฺตาน ตมฺหิ ตมฺหิ สตฺตนิกาเย ชาติ ในทุกขอริยสัจนั้น

ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม...ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์นั้น ๆ

อันใด... เป็นต้น. อรรถวรรณนาในนิเทศแห่งชาตินั้น ดังต่อไปนี้.

คำว่า เตส เตส สตฺตาน (ของสัตว์นั้น ๆ) นี้เป็นอรรถแสดง

ถึงความทั่วไปแก่สัตว์มิใช่น้อย โดยย่อ คือ เมื่อกล่าวคำอย่างนี้ว่า ความเกิด

ของเทวทัต ความเกิดของโสมทัต ดังนี้ แม้ทั้งวัน สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไม่ถึง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

การกำหนดถือเอาได้ ย่อมไม่สำเร็จการแสดงในสัตว์อื่น ๆ ได้ทั้งหมด แต่ด้วย

สองบทนี้ สัตว์บางชนิดย่อมไม่เป็นอันกำหนดถือเอาได้ ย่อมไม่สำเร็จการแสดง

ในสัตว์อื่นๆ อย่างไรก็หามิได้ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า ยา เตส เตส สตฺตา

น (ของสัตว์เหล่านั้น ๆ อันใด). คำว่า ตมฺหิ ตมฺหิ (นั้น ๆ) นี้เป็นเนื้อความ

แสดงความทั่วไปของสัตว์นิกายมิใช่น้อยด้วยสามารถแห่งคติและชาติ. คำว่า

สตฺตนิกาเย ได้แก่ ในหมู่สัตว์ คือ ในกลุ่มสัตว์ ในประชุมสัตว์. บทว่า

ชาติ คือ ศัพท์ว่าชาตินี้มีอรรถเป็นอเนก.

จริงอย่างนั้น ศัพท์ว่าชาตินี้ มาในภพ ในประโยคนี้ ว่า เอกมฺปิ

ชาตึ เทฺวปิ ชาติโย (ย่อมระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง) เป็นต้น

มาในนิกาย (หมู่) ในประโยคนี้ว่า อตฺถิ วิสาเข นิคนฺถา นาม

สมณชาติ (ดูก่อนนางวิสาขา สมณนิกายหนึ่งมีชื่อว่า นิครนถ์) มาใน

บัญญัติ ในประโยคนี้ว่า ติริยา นาม ติณชาติ นาภิยา อุคฺคนฺตฺวา

นภ อาหจฺจ ฐิตา อโหสิ (ติณชาติชื่อ ติริยา ขึ้นจากนาภีแล้วตั้งจด

ท้องฟ้า) มาในสังขตลักษณะ ในประโยคนี้ว่า ชาติ ทฺวีหิ ขนฺเธหิ

สงฺคหิตา (ชาติสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๒) มาในปฏิสนธิ ในประโยคนี้ว่า

ย ภิกฺขเว มาตุ กุจฺฉิสฺมึ ปฐม จิตฺต อุปฺปนฺน ปฐม วิญฺญาณ

ปาตุภูต ตทุปาทาย สาวสฺส ชาติ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตดวงแรกใด

เกิดแล้วในอุทรมารดา วิญญาณดวงแรกปรากฏแล้ว ปฏิสนธินั้นนั่นแหละ

อาศัยจิตที่เกิดขึ้นและวิญญาณนั้น) มาในประสูติในประโยคนี้ว่า สมฺปติ

ชาโต โข อานนฺท โพธิสตฺโต (ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์ในบัดดล

ที่ประสูติแล) มาในตระกูล ในประโยคนี้ว่า อนุปกฏฺโ ชาติวาเทน

๑. ที. สี. เล่ม ๙ ๒๗/๑๗ ๒. อ. ติก เล่ม ๒๐ ๕๑๐/ ๓. อภิ. ธาตุ เล่ม ๓๖/๑๔

๔. วิ. มหาวคฺค เล่ม ๔ ๑๔๑/๑๘๗ ๕. ม. อุ. เล่ม ๑๔ ๓๗๗/๒๕๓

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

(ไม่มีใครคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงตระกูล) มาในอริยศีล ในประโยคนี้ว่า

ยโตห ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโต (ดูก่อนน้องหญิง จำเดิมแต่เรา

เกิดแล้วโดยอริยชาติ).

แต่ศัพท์ชาติในอธิการนี้ ย่อมควรในขันธ์ที่เกิดครั้งแรกพร้อมทั้งวิการ

เพราะฉะนั้น คำว่าชาตินี้ ในอาการนี้จึงเป็นรูปเฉพาะตนโดยสภาวะว่า ความ

เกิดของสัตว์ผู้กำลังเกิด. บทที่ทรงเพิ่มด้วยอุปสรรคว่า สัญชาติ ด้วยอำนาจ

แห่งความเกิดพร้อม. ชื่อว่า โอกกันติ ด้วยอำนาจความหยั่งลง. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า ชาติ ด้วยอรรถว่าการเกิด ชาตินั้นประกอบไว้ด้วยสามารถแห่ง

สัตว์ผู้มีอายตนะบกพร่อง ชื่อว่า สัญชาติ ด้วยอรรถว่าเกิดพร้อม สัญชาติ

นั้นประกอบไว้ด้วยสามารถแห่งสัตว์ผู้มีอายตนะสมบูรณ์. ชื่อว่า โอกกันติ

ด้วยอรรถว่าหยั่งลง โอกกันตินั้นประกอบไว้ด้วยอำนาจสัตว์ผู้เกิดในไข่และ

เกิดในครรภ์ เพราะสัตว์เหล่านั้นย่อมหยั่งลงสู่ฟองไข่และมดลูก ก็เมื่อหยั่งลง

ย่อมถือปฏิสนธิ ดุจสัตว์ทั้งหลายผู้เข้าไปอยู่. ชื่อว่า อภินิพพัตติ ด้วยอรรถว่า

บังเกิดยิ่ง อภินิพพัตตินั้น ประกอบไว้ด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เกิดในเถ้าไคล

และโอปปาติกสัตว์ เพราะสัตว์เหล่านั้นย่อมเกิด ปรากฏทันที.

นี้เป็นสมมติกถา ก่อน.

ว่าด้วยนิเทศแห่งชาติโดยปรมัตถกถา

บัดนี้ เป็นกถาว่าด้วยปรมัตถ์ จริงอยู่ ขันธ์ทั้งหลายนั่นเอง ย่อม

ปรากฏโดยปรมัตถ์ ไม่ใช่สัตว์ และในพระบาลีนั้น บทว่า ขนฺธาน (แห่ง

ขันธ์ทั้งหลาย) พึงทราบการถือเอาขันธ์หนึ่งในเอกโวการภพ ขันธ์สี่ในจตุโว-

๑. ม. ม. เล่ม ๑๓ ๖๔๙/๕๙๔ ๒. ม. ม. เล่ม ๑๓ ๕๓๑/๔๘๕

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

การภพ ขันธ์ห้าในปัญจโวการภพ. บทว่า ปาตุภาโว (ความปรากฏ)

ได้แก่ ความเกิดขึ้น.. ในบทว่า อายตนาน นี้ พึงทราบการสงเคราะห์ด้วย

สามารถมนายตนะที่เกิดขึ้นในภพนั้น. บทว่า ปฏิลาโภ (ความได้เฉพาะ)

ได้แก่ ความปรากฏในการสืบต่อนั่นเอง เพราะการปรากฏนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า

การได้เฉพาะ. คำว่า อย วุจฺจติ ชาติ (นี้เรียกว่าชาติ) ความว่า นี้

เรากล่าวเรียกว่า ชาติ. ก็ชาตินี้นั้น ตตฺถ ตตฺถ ภเว ปฐมาภินิพฺพตฺ-

ติลกฺขณา มีการเกิดก่อนในภพนั้นๆ เป็นลักษณะ นิยฺยาตนรสา มีการ

มอบให้เป็นกิจ* อตีตภวโต อิธ อุมฺมุชฺชนปจฺจุปฏฺานา มีการจาก

ภพอดีตมาโผล่ขึ้นในภพนี้เป็นปัจจุปัฏฐาน ผลวเสน ทุกฺขวิจิตฺตตาปจฺจุ

ปฏฺฐานา วา อีกอย่างนี้ มีความวิจิตร (รวบรวมไว้) ซึ่งทุกข์ด้วยอำนาจ

ผลเป็นปัจจุปัฏฐาน.

พึงทราบอรรถแห่งชาติเป็นทุกข์

บัดนี้ พึงทราบข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งชาติเป็นทุกข์ จริงอยู่

ชาตินี้ตัวเองไม่เป็นทุกข์ แต่ตรัสว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งให้ทุกข์เกิด.

ถามว่า ก็ชาตินี้เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ชนิดไหน ?

ตอบว่า ชาตินี้เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์นั้นแม้ทั้งหมด คือทุกข์ที่เป็นไปใน

อบายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้ ด้วยสามารถอุปมาในสูตรทั้งหลายมี

พาลปัณฑิตสูตรเป็นต้น และทุกข์อันต่างด้วยทุกข์มีการหยั่งลงสู่ครรภ์เป็นมูล

เป็นต้น ในมนุษยโลกเกิดขึ้นในสุคติภูมิ. ในอธิการนี้ พึงทราบทุกข์อันต่าง

ด้วยทุกข์มีการหยั่งลงสู่ครรภ์เป็นมูลเป็นต้นต่อไป.

* ผู้รู้อธิบายว่า มีการเป็นไปคล้ายกับหมอบขันธ์ที่มีขอบเขตในแต่ละภพให้แก่สัตว์เป็นกิจ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

ว่าด้วยทุกข์มีการหยั่งลงสู่ครรภ์เป็นมูล

จริงอยู่ สัตว์นี้เมื่อบังเกิดในท้องมารดา มิได้บังเกิดในที่ทั้งหลายมี

ดอกอุบล ดอกปทุม และดอกปุณฑริกเป็นต้น โดยที่แท้ ย่อมบังเกิดใน

บริเวณท้องซึ่งน่าเกลียดอย่างยิ่ง เป็นการหมกอยู่ในป่าใหญ่คือสิ่งไม่สะอาดและ

กลิ่นเหม็นยิ่งนัก อบอวลด้วยกลิ่นซากศพต่าง ๆ มืดตื้อคับแคบอย่างยิ่ง

ในท่ามกลางพื้นท้องและกระดูกสันหลังภายใต้กระเพาะอาหารใหม่บนกระเพาะ

อาหารเก่า เหมือนหนอนเกิดอยู่ในปลาเน่า ในขนมบูด และน้ำคลำเป็นต้น.

สัตว์นั้นบังเกิดในท้องนั้นแล้วถูกไออุ่นที่เกิดในท้องมารดา ๑๐ เดือน อบดุจ

ห่อข้าว นึ่งอยู่ดุจก้อนแป้ง เว้นจากอาการมีการคู้เข้าและเหยียดออกเป็นต้น

เสวยอยู่ซึ่งทุกข์มีประมาณยิ่งแล.

ทุกข์นี้ เป็นทุกข์มีการหยั่งลงสู่ครรภ์เป็นมูลก่อน.

ว่าด้วยทุกข์มีการบริหารครรภ์เป็นมูล

อนึ่ง สัตว์นั้น ย่อมเสวยทุกข์ใดมีประมาณยิ่ง ด้วยพากเพียรของ

มารดามีการคร่าไป คร่าไปทั่ว ซัดลง ซัดขึ้นเป็นต้น ในอิริยาบถทั้งหลาย

มีการลื่นถลา การเดิน การนั่ง การลุกขึ้น และในการหมุนตัวเป็นต้น โดย

ผลุนผลัน เป็นเหมือนลูกแพะในเงื้อมมือของนักเลงสุรา และเป็นเหมือนลูกงู

ในเงื้อมมือของหมองู. และสัตว์นั้น ย่อมเสวยทุกขเวทนากล้าอันใด คือใน

เวลาที่มารดาดื่มน้ำเย็น ก็เป็นเหมือนบังเกิดในสีตนรก ในเวลาที่มารดากลืน

กินยาคูร้อนและภัตร้อนเป็นต้น ก็เป็นเหมือนฝนถ่านเพลิงประพรมไปโดยรอบ

ในเวลาที่มารดากลืนของเค็มและเปรี้ยวเป็นต้น ก็เป็นเหมือนสัตว์ถึงกรรมกรณ์

โดยวิธีราดด้วยน้ำด่างเป็นต้น.

ทุกข์นี้ เป็นทุกข์มีการบริหารครรภ์เป็นมูล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

ว่าด้วยทุกข์มีความวิบัติแห่งครรภ์เป็นมูล

อนึ่ง เมื่อมารดาของสัตว์นั้นมีครรภ์หลง ทุกข์ใด ย่อมเกิดขึ้นโดย

อาการมีการผ่าตัดเป็นต้น ในที่เป็นที่เกิดแห่งทุกข์อันไม่ควรเห็นแม้แต่มิตร

อำมาตย์ และเพื่อนเป็นต้น.

ทุกข์นี้ มีการพิบัติแห่งครรภ์เป็นมูล.

ว่าด้วยทุกข์มีการคลอดเป็นมูล

ทุกข์ใด ย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้ถูกลมกรรมชวาตของมารดากำลังคลอด

ให้พลิกกลับลงไปโดยลำดับสู่ทางกำเนิดอันน่ากลัวยิ่ง ดุจปล่องเหว ผลักไปทาง

ช่องกำเนิดอันคับแคบยิ่ง ดุจช้างใหญ่ถูกผลักออกทางช่องลูกดาล และดุจสัตว์

นรกถูกภูเขากระทบบดให้แหลกเป็นจุณไป.

ทุกข์นี้ ชื่อว่ามีการคลอดเป็นมูล.

ว่าด้วยทุกข์มีการออกนอกครรภ์เป็นมูล

อนึ่ง ทุกข์ใด ย่อมเกิดแก่สัตว์ผู้คลอดแล้วซึ่งมีสรีระยังอ่อนแอเช่น

กับแผลใหม่ ในคราวที่เขาเอามือจับอาบน้ำชำระและเช็ดด้วยท่อนผ้าเป็นต้น

ก็จะเป็นเช่นกับเจาะด้วยเข็มและการผ่าด้วยมีดโกน

ทุกข์นี้ เป็นทุกข์มีการออกนอกครรภ์มารดาเป็นมูล.

ว่าด้วยทุกข์มีความพยายามของตนเป็นมูล

เบื้องหน้าแต่นี้ไป ในปวัตติกาล ทุกข์ใด ย่อมมีแก่สัตว์ผู้ฆ่าตนเอง

ก็ดี ผู้ประกอบความเพียรโดยการทำตัวให้เร่าร้อน ให้เร่าร้อนทั่วด้วยสามารถ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

แห่งวัตรมีอเจลกวัตรเป็นต้น ก็ดี ผู้อดอาหาร และผู้ผูกแขวนตัวด้วยอำนาจ

ความโกรธก็ดี

ทุกข์นี้ เป็นทุกข์มีการพยายามของตนเป็นมูล.

ว่าด้วยทุกข์มีความพยายามของผู้อื่นเป็นมูล

อนึ่ง ทุกข์ใด ย่อมเกิดแก่ผู้เสวยทุกข์มีถูกฆ่าและจองจำเป็นต้นจาก

ผู้อื่น ทุกข์นี้ เป็นทุกข์มีการพยายามของผู้อื่นเป็นมูล.

ชาตินี้ เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์นี้แม้ทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้ เพราะ

ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำคาถานี้ไว้ว่า

ชาเยถ โน เจ นรเกสุ สตฺโต

ตตฺถคฺคิทาหาทิกมปฺปสยฺห

ลเภถ ทุกข น กุหึ ปติฏฺ

อิจฺจาห ทุกฺชาติ มนีธ ชาตึ

หากว่า สัตว์ไม่พึงเกิดในนรกไซร้

เขาก็ไม่พึงได้ทุกข์ มีการถูกเผาไหม้ในนรก

นั้นเป็นต้น ที่ใคร ๆ อดกลั้นไม่ได้ ไม่มีที่

พึ่ง ในที่ไหน ๆ เพราะเหตุนั้น พระมุนีจึง

กล่าว ความเกิดในโลกนี้ว่า เป็นทุกข์.

ทุกฺข ติรจฺเฉสุ กสาปโตท

ทณฺฑาภิฆาฏาทิภว อเนก

ยนฺต กถ ตตฺถ ภเวยฺย ชาตึ

วินา ตหึ ชาติ ตโตปิ ทุกฺขา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

ความทุกข์ในพวกสัตว์เดรัจฉาน มี

การกระหน่ำด้วยแส้ ปฏักและท่อนไม้

เป็นต้น มิใช่น้อย เว้นชาติเสีย ทุกข์พึงมีใน

พวกสัตว์นั้นได้อย่างไร แม้เพราะเหตุนั้น

ชาติจึงชื่อว่า เป็นทุกข์ในพวกสัตว์นั้น.

เปเตสุ ทุกฺข ปน ขุปฺปิปาสา

วาตาตปาทิปฺปภว วิจิตฺต

ยสฺมา อชาตสฺส น ตตฺถ อตฺถิ

ตสฺมาปิ ทุกฺข มุนิ ชาติมาห

อนึ่ง ทุกข์เพราะหิวกระหายในพวก

เปรต มีแดนเกิดแต่ลมและแดดเป็นต้น

ชนิดต่าง ๆ ย่อมไม่มีแก่สัตว์ผู้ไม่เกิดในพวก

เปรตนั้น แม่เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ก็กล่าว

ว่า ชาติเป็นทุกข์.

ติพฺพนฺธนกาเร จ อสยฺหสีเต

โลกนฺตเร ย อสุเรสุ ทุกฺข

น ต ภเว ตตฺถ น จสฺส ชาติ

ยโต อย ชาติ ตโตปิ ทุกฺขา

อนึ่ง ทุกข์ในพวกอสุรกายที่มีใน

โลกันตร์ ซึ่งเย็นทนไม่ได้ มืดตื้อจะไม่พึง

มีในพวกอสุรกายนั้น เพราะไม่มีความเกิด

แม้เหตุนั้น ชาตินี้ ก็ชื่อว่า เป็นทุกข์.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

ยญฺจาปิ คูถนรเก วิย มาตุ คพฺเภ

สตฺโต วสญฺจิรมโต พหิ นิกฺขมญฺจ

ปปฺโปติ ทุกฺขมติ โฆรมิทปิ นตฺถิ

ชาตี วินา อิติปิ ชาติรย หิ ทุกฺขา

อนึ่ง สัตว์ในครรภ์มารดา อันเป็น

ราวกะคูถนรก โดยการอยู่ตลอดกาลนานก็ดี

ออกจากครรภ์มาในภายนอกก็ดี ย่อมถึงทุกข์

แม้ไดอันร้ายแรง ทุกข์แม้นี้เว้นความเกิด

เสียย่อมไม่มี แม้เพราะเหตุนั้น ความเกิด

นั้นแหละ ชื่อว่า เป็นทุกข์.

กึ ภาสิเตน พหุนา นนุ ย กุหิญฺจิ

อตูถีธ กิญฺจิรปิ ทุกฺขมิท กทาจิ

เนวตฺถิ ชาติวิรเห ยทโต มเหสิ

ทุกฺขาติ สพฺพปฐม อิมมาห ชาตึ

ประโยชน์อะไร ด้วยการกล่าวมาก

ไป ทุกข์แม้ไร ๆ ในโลกนี้ ซึ่งมีในที่ไหน ๆ

นี้ จะไม่มีในกาลไหน ๆ เพราะเว้นจาก

ความเกิด มิใช่หรือ เพราะเหตุนั้น พระ-

มหาฤาษี จงตรัสความเกิดนี้ว่า เป็นทุกข์

ก่อนทุกข์ทั้งปวง ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

ว่าด้วยนิเทศชรา (บาลีข้อ ๑๔๗)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศชรา ต่อไป

บทว่า ชรา (ความคร่ำคร่า) เป็นรูปความเฉพาะตนโดยภาวะของ

ตน. บทว่า ชิรณตา (ภาวะที่คร่ำคร่า) เป็นศัพท์แสดงถึงอาการ. ศัพท์

ทั้ง ๓ มีคำว่า ขณฺฑิจจ (ความที่ฟันหลุด) เป็นต้น เป็นศัพท์แสดงถึงกิจใน

เมื่อล่วงกาลผ่านไป สองศัพท์หลังเป็นการอธิบายความตามปกติ.*

จริงอยู่ ชรานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยภาวะของตนด้วย

บทว่า ความคร่ำคร่า นี้. เพราะเหตุนั้น บทว่า ความคร่ำคร่า นี้ จึงเป็น

รูปความเฉพาะตนโดยสภาพแห่งบทว่า ความคร่ำคร่า นั้น. ทรงแสดงชรา

นั้นโดยอาการ ด้วยบทว่า ชิรณตา (ภาวะที่คร่ำคร่า) เพราะเหตุนั้น ศัพท์

ว่าชิรณตา นี้ จึงเป็นการอธิบายถึงอาการของชรานั้น.

ด้วยบทว่า ขณฺฑิจิจ นี้ พระผู้นีพระภาคเจ้าทรงแสดงชราโดยกิจ

คือกระทำความเป็นผู้มีฟันและเล็บหักในเมื่อล่วงกาลผ่านไป. ด้วยบทว่า

ปาลิจฺจ (ความที่ผมหงอก) นี้ ทรงแสดงชราโดยกิจ คือการทำความเป็นผู้มี

ผมและขนหงอก. ด้วยบทว่า วลิตฺตจตา (ความที่หนังเหี่ยวย่น) นี้ ทรง

แสดงชราโดยกิจ คือการทำความเป็นผู้มีเนื้อเหี่ยวแล้ว หนังย่นแล้ว เพราะ

เหตุนั้น ศัพท์ทั้ง ๓ มีอาทิว่า ขณฺฑิจฺจ ( ความที่ฟันหลุด) เหล่านี้ จึงเป็น

ศัพท์แสดงกิจในเมื่อล่วงกาลผ่านไปของชรานั้น. ด้วยศัพท์ทั้ง ๓ นั้น พระองค์

ทรงแสดง ปากฏชรา ว่า ชรานั้นเป็นธรรมชาติปรากฏแล้ว ด้วยสามารถ

แห่งการเห็นภาวะเหล่านี้ เป็นของพิการไป เปรียบเหมือนทางเดินของน้ำ หรือ

* คือ อายุโน สหานิ ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ และ อินฺทฺริยาน ปริปาโก ความแก่หง่อมแห่ง

อินทรีย์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

ลม หรือไฟ ย่อมปรากฏเพราะความที่หญ้าและต้นไม้เป็นต้นหักโค้นทลายแล้ว

หรือถูกไฟไหม้ และทางที่เป็นไปแล้วนั้นมิใช่น้ำเป็นต้นเหล่านั้นเลย ข้อนี้

ฉันใด ทางเดินของเรา ก็่ฉันนั้นเหมือนกันย่อมปรากฏในที่มีฟันเป็นต้น ด้วย

อำนาจลักษณะมีภาวะที่หักเป็นต้น ใคร ๆ แม้ลืมตาก็รู้ได้ แต่ลักษณะมีภาวะ

ที่ฟันหักเป็นต้นเท่านั้น มิใช่ชรา เพราะชรามิใช่สิ่งที่พึงรู้แจ้งด้วยตา.

อนึ่ง ชรานั้น พระองค์ทรงแสดงโดยปกติ กล่าวคือความสิ้นอายุ

และความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ซึ่งปรากฏเฉพาะในเมื่อล่วงกาล

ผ่านไปเท่านั้น ด้วยบทเหล่านี้ว่า อายุโน สหานิ อินฺทฺริยาน ปริปาโก

(ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ และความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์) เพราะเหตุนั้น

สองศัพท์หลังเหล่านั้น พึงทราบว่า เป็นศัพท์อธิบายความตามปกติของชรานั้น

บรรดาบททั้ง ๒ (คือความเสื่อมสิ้นแห่งอายุและความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์) นั้น

เพราะอายุของผู้ถึงชราแล้วย่อมเสื่อม ฉะนั้น ชรา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

โดยผลูปจารนัยว่า ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ. อนึ่ง เพราะอินทรีย์มีจักษุ

เป็นต้น ในเวลาที่ยังเป็นหนุ่มเป็นของผ่องใสดี สามารถรับวิสัยของตน

แม้ละเอียดได้โดยง่ายที่เดียว เมื่อเขาถึงชราแล้ว เป็นอินทรีย์หง่อมแล้ว

สับสนไม่คล่องแคล่ว ไม่สามารถรับวิสัยของตนแม้หยาบได้ ฉะนั้น พระองค์

จึงตรัสว่า อินฺทฺริยาน ปริปาโก (ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์) โดยผลู-

ปจารนัยที่เดียว.

ว่าด้วยชรา ๒ อย่าง

อนึ่ง ชราแม้ทั้งหมด ที่ทรงยกขึ้นแสดงไว้อย่างไว้อย่างนี้นั้นมี ๒ อย่าง คือ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

ปากฏชรา

ปฏิจฉันชรา.

บรรดาชราทั้ง ๒ นั้น ชราในรูปธรรม ชื่อว่า ปากฏชรา เพราะ

แสดงภาวะมีการหักเป็นต้นในอวัยวะมีฟันเป็นต้น ส่วนชราในอรูปธรรม ชื่อว่า

ปฏิจฉันนชรา เพราะไม่แสดงพิการเช่นนั้น.

ในชราทั้ง ๒ นั้น ภาวะมีความเป็นผู้มีฟันหักเป็นต้นใดนี้ ย่อมปรากฏ

ภาวะความเป็นผู้มีฟันหักนั้น เป็นวรรณะ (สี) เท่านั้น เพราะความที่อวัยวะมี

ฟันเป็นต้นเช่นนั้น เป็นสิ่งที่รู้ได้โดยง่าย บุคคลเห็นวรรณะ (สี) นั้นด้วยจักษู

แล้วก้คิดโดยมโนทวาร ย่อมทราบชราว่า ขันธ์เหล่านี้ถูกชราประหารแล้ว ดุจ

การแลดูวัตถุทั้งหลายมีเขาโคเป็นต้น ที่ผูกไว้ในที่เป็นที่ตั้งแห่งน้ำก็จะทราบได้

ว่า น้ำมีภายใต้ ฉะนั้น.

ชรานี้ มีอีก ๒ อย่าง คือ

อวีจิชรา (ชราไม่มีร่องรอย)

สวีจิชรา (ชรามีร่องรอย).

บรรดาชราทั้ง ๒ นั้น ชรา (ความคร่ำคร่า) ของแก้วมณี ทอง เงน

แก้วประพาฬ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์เป็นต้น ชื่อว่า อวิจิชรา เพราะ

ความพิเศษแห่งสีเป็นต้นในระหว่าง ๆ เป็นของที่รู้ได้โดยยาก เหมือนความ

แปลกแห่งสีเป็นต้นของสัตว์มีชีวิตในพวกมันททสกะเป็นต้น และสิ่งไม่มีชีวิต

ในพวกที่เป็นดอกไม้ผลไม้และใบอ่อนเป็นต้น. มีอธิบายว่าเป็นนิรันตรชราคือ

ชราไม่มีระหว่าง แต่ชรา (ความคร่ำคร่า) ในสิ่งอื่น ๆ จากวัตถุมีแก้วมณี

เป็นต้นนั้น ชื่อว่า สวีจิชรา เพราะความแปลกแห่งสีเป็นต้นในระหว่าง ๆ

เป็นสิ่งที่รู้ได้ง่าย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

ในชราทั้ง ๒ นั้น สวีจิชรา พึงทราบอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่ง

อุปาทินนรูป และอนุปาทินนรูป. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า ฟันน้ำนมของพวกเด็ก ๆ

ย่อมเกิดก่อนทีเดียว ฟันเหล่านั้นไม่ถาวร แต่เมื่อฟันเหล่านั้นหักไปแล้ว ฟัน

ก็จะตั้งขึ้นอีก ฟัน (แท้) เหล่านั้นครั้งแรกเป็นสีขาว ย่อมเป็นสีดำในเวลา

ถูกลมคือชรากระทบ. อนึ่ง ผมครั้งแรกย่อมเป็นสีแดงบ้าง ย่อมเป็นสีดำบ้าง

ขาวบ้าง. ส่วนผิวย่อมมีสีแดง เมื่อบุคคลกำลังเจริญ ๆ บุคคลขาวก็จะ

ปรากฏเป็นสีขาว บุคคลดำก็จะปรากฏเป็นสีดำ แต่เมื่อถูกลมคือชรากระทบแล้ว

ผิวนั้นก็จะจับรอยย่น. ข้าวกล้าแม้ทั้งหมดในเวลาที่หว่านแล้ว ย่อมงอกเป็น

สีขาว ภายหลังจะเป็นสีเขียว แต่ในเวลาถูกลมคือชรากระทบแล้วก็เป็นสีเหลือง

จะแสดงแม้ด้วยหน่อมะม่วงก็ควรเหมือนกัน. คำว่า อย วุจฺจติ ชรา

(นี้เรียกว่าชรา) ความว่า นี้เรากล่าวให้ชื่อว่า ชรา.

ก็ชรานี้นั้น ขนฺธปริปากลกฺขณา มีความแก่ของขันธ์เป็นลักษณะ

มรณูปนยนรสา มีการนำเข้าไปหาความตายเป็นกิจ โยพฺพนวินาสปจฺจุปฏฺ-

ฐานา มีความพินาศแห่งวัยหนุ่มสาวเป็นปัจจุปัฏฐาน.

พึงทราบอรรถแห่งชราเป็นทุกข์

ก็พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งชราเป็นทุกข์ นี้

ต่อไป แม้ชรานี้ตัวเองไม่เป็นทุกข์ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์

เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งของทุกข์.

ถามว่า เป็นที่ตั้งของทุกข์ไหน.

ตอบว่า ของทุกข์ในกาย และทุกข์คือโทมนัส.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

จริงอยู่ อัตภาพของคนชราแล้วย่อมทุรพล เหมือนเกวียนเก่าคร่ำคร่า

เมื่อเขาพยายามเพื่อจะยืน หรือเดิน หรือนั่ง ย่อมเกิดทุกข์ทางกายอย่างรุนแรง

เมื่อบุตรและภรรยาไม่ค่อยสนใจเหมือนแต่ก่อนก็เกิดโทมนัส พึงทราบชรา

เป็นทุกข์ โดยความเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ทั้งสองด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง (ท่านประพันธ์เป็นคาถาไวัว่า)

อนึ่ง สัตว์ย่อมถึงทุกข์ใด ทั้งทางกาย

และทางใจ เพราะความที่อวัยวะหย่อนยาน

เพราะความพิการแห่งอินทรีย์ เพรระความ

พินาศแห่งความหนุ่นสาว เพราะกาลังถูก

บั่นทอน เพราะปราศจากคุณมีสติเป็นต้น

และบุตรภรรยาของตนไม่เลื่อมใส และถึง

ความเป็นคนพาลอย่างยิ่ง ทุกข์ทั้งหมดนี้ มี

ชราเป็นเหตุ เพราะฉะนั้น ชราจึงเป็นทุกข์

แล.

ว่าด้วยนิเทศมรณะโดยสมมติ

พึงทรานวินิจฉัยในนิเทศมรณะ ต่อไป

ที่ชื่อว่า จุติ ด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เคลื่อน (จากภพ) คำว่าจุตินี้

เป็นคำพูดธรรมดาของจุติที่เป็นขันฐ์ ๑ ขันธ์ ๔ และขันธ์ ๕.

บทว่า จวนตา (ภาวะที่เคลื่อน) เป็นบทแสดงไขถึงลักษณะโดยกล่าว

ภาวะ บทว่า เภโท (ความทำลาย) เป็นบทอธิบายความเกิดขึ้นแห่งภังคะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

ของขันธ์ที่จุติ. บทว่า อนฺตรธาน (ความหายไป) เป็นบทอธิบายความไม่มี

ฐานะโดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่งของจุติขันธ์ที่แตกทำลาย ดุจหม้อที่แตกไป

ฉะนั้น. บทว่า มจฺจุมรณ แปลว่า มฤตยูคือความตาย มัจจุผู้กระทำซึ่งที่สุด

ชื่อว่า กาละ การกระทำของกาละนั้น ชื่อว่า กาลกิริยา (ความทำกาละ).

มรณะโดยสมมติ เป็นคำอันข้าพเจ้าแสดงแล้วเพียงเท่านี้.

ว่าด้วยนิเทศแห่งมรณะโดยปรมัตถ์

บัดนี้ เพื่อกำหนดมรณะโดยปรมัตถ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ขนฺธาน เภโท (ความแตกแห่งขันธ์) เป็นต้น .

จริงอยู่ ว่าโดยปรมัตถ์ ขันธ์ทั้งหลายเท่านั้นย่อมแตกไป ขึ้นชื่อว่า

สัตว์ไร ๆ ย่อมตายหามีไม่ แต่เมื่อขันธ์ทั้งหลายกำลังแตก สัตว์ก็ย่อมมีโวหาร

ว่ากำลังตาย เมื่อขันธ์แตกแล้ว ก็มีโวหารว่า สัตว์ตายแล้ว ก็ในอธิการนี้

ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจจตุโวการภพ และปัญจโวการภพ.

ความทอดทิ้งกเฬวระ (ซากศพ) ด้วยอำนาจเอกโวการภพ. อีกอย่างหนึ่ง

ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยอำนาจขันธ์ ๔ (จตุโวการภพ) พึงทราบ

ความทอดทิ้งซากศพไว้ ด้วยอำนาจบททั้ง ๒ ที่เหลือ เพราะเหตุไร ? เพราะ

การเกิดแห่งกเฬวระ กล่าวคือรูปกาย ย่อมมีในภพแม้ทั้ง ๒ อีกอย่างหนึ่ง

เพราะขันธ์ทั้งหลายในจาตุมหาราชิกาเป็นต้นย่อมแตกไปอย่างเดียว ไม่มีอะไร ๆ

ต้องทอดทิ้ง ฉะนั้น ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยอำนาจแห่งขันธ์

ในจาตุมหาราชิกาเป็นต้นเหล่านั้น ความทอดทิ้งซากศพ ย่อมมีในพวกมนุษย์

เป็นต้น. ก็ในนิเทศนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ความตายโดยเหตุแห่งการ

ทอดทิ้งร่างกายว่า การทิ้งซากศพ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

ด้วยบทว่า ชีวิตินฺทฺริยสฺส อุปจฺเฉโท (ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์)

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า ขึ้นชื่อว่า ความตายของขันธ์ที่เนื่องด้วย

อินทรีย์เท่านั้น มีอยู่ ขึ้นชื่อว่า ความตายของขันธ์ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์หามีไม่

แค่คำว่า ข้าวกล้าตาย ต้นไม้ตาย นี้ เป็นเพียงโวหารเท่านั้น แต่เมื่อว่า

โดยอรรถแล้ว คำพูดเช่นนี้ย่อมแสดงถึงความที่สรรพสิ่งทั้งหลายมีข้าวกล้าเป็น

ต้นเป็นของสิ้นไปเสื่อมไปนั่นเอง.

คำว่า อิท วุจฺจจิ มรณ (นี้เรียกว่ามรณะ) ความว่า แม้ทั้งหมดนี้

เราก็ให้ชื่อว่า มรณะ.

อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า มรณะ นี้ พึงทราบประเภทแม้นี้ คือ

ขณิกมรณะ (ตายทุกขณะ)

สมมติมรณะ (ตายโดยสมมติ)

สมุจเฉทมรณะ (ตายโดยตัดขาด).

บรรดามรณะเหล่านั้น ความแตกแห่งรูปธรรมและอรูปธรรมใน

ประวัติกาล ชื่อว่า ขณิกมรณะ. ความตายนี้ว่า ท่านติสสะตาย ท่านปุสสะตาย

เป็นต้น ชื่อว่า สมมติมรณะ. การทำกาละของพระขีณาสพไม่มีปฏิสนธิ ชื่อว่า

สมุจเฉทมรณะ. แต่ในนิเทศนี้ พระองค์ประสงค์เอาสมมติมรณะ แม้คำว่า

ความตายเพราะความเกิดเป็นปัจจัย ความตายด้วยความพยายาม ความตาย

โดยหน้าที่ ความตายเพราะสิ้นอายุ ดังนี้ ก็เป็นชื่อความตายโดยสมมตินั่นเอง.

ความตายโดยสมมตินี้นั้น จุติลกฺขณ มีการเคลื่อนจากภพเป็น

ลักษณะ วิโยครส มีการพรากไปเป็นกิจ วิปฺปวาสปจฺจุปฏฺาน มีการ

ปราศจากภพเก่าเป็นปัจจุปัฏฐาน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

พึงทราบอรรถแห่งมรณะเป็นทุกข์

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในคำนี้ว่า พึงทราบอรรถแห่งมรณะเป็น

ทุกข์ ต่อไป. แม้มรณะนี้ตัวเองก็ไม่เป็นทุกข์ แต่พระองค์ตรัสว่า ชื่อว่า

เป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ เพราะเวทนามีในสรีระแม้เกิดในที่สุด

แห่งความตายจะเผาสรีระ เหมือนคบหญ้าติดไฟที่ถือไว้ทวนลม ในเวลาที่นิมิต

แห่งนรกเป็นต้นปรากฏ โทมนัสรุนแรงย่อมเกิดขึ้น.

พึงทราบมรณะว่าเป็นทุกข์ โดยเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์แม้ทั้ง ๒ นี้

ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง

เพราะความตายนี้ เป็นวัตถุที่ตั้งแห่ง

ทุกข์ใจ ของคนใกล้ตายที่เป็นคนลามกซึ่ง

เห็นนิมิต มีกรรมอันลามกเป็นต้นอยู่โดย

ลำดับ สำหรับคนดี ผู้ไม่สามารถข่มความ

พลัดพรากจากวัตถุอันเป็นที่รัก (คือสัตว์และ

สังขารอันเป็นที่รักใคร่) ได้ แม้ทุกข์ซึ่งเกิด

ในสรีระมีโรคลมอันตัดข้อต่อ และเส้นเอ็น

เป็นต้น ซึ่งข่มไม่ได้ แก้ไขไม่ได้ ที่มีแก่

เหล่าสัตว์ทั้งปวงที่กำลังถูกโรคเสียดแทงเป็น

ธรรมดา โดยไม่แปลกกันนี้ ฉะนั้น มรณะนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นทุกข์

เหมือนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

ว่าด้วยทุกข์ทั้ง ๓ ดังข้าศึก ๓ คน

อีกนัยหนึ่ง ขึ้นชื่อว่า ชาติ ชรา และมรณะเหล่านี้ ย่อมเที่ยวแสวงหา

โอกาส ดุจปัจจามิตรผู้เข่นฆ่าสัตว์เหล่านี้ คือ เปรียบเหมือนข้าศึก ๓ คนของ

บุรุษ ผู้คอยโอกาสเฝ้าดูอยู่ คนหนึ่งพูดว่า ข้าจักกล่าวชมชื่อป่าโน้นแล้ว

จักพาเขาไปในป่านั้น ในเรื่องนี้ไม่มีอะไรที่ทำได้ยากสำหรับเรา. คนที่ ๒ พูดว่า

ในเวลาที่เจ้าพาคนนี้ไป เราจักโบยตีการทำให้ทุรพล ในเรื่องนี้ไม่มีอะไรยาก

สำหรับเรา. คนที่ ๓ พูดว่า เมื่อเจ้าโบยตีทำบุรุษนี้ให้หมดกำลังแล้ว ชื่อว่า

เอาดาบคมตัดศีรษะ จงเป็นหน้าที่ของเราเถิด ดังนี้. ข้าศึกทั้ง ๓ นั้นครั้นพูด

อย่างนั้นแล้ว ก็กระทำอย่างนั้น.

ในการอุปมานั้น ชื่อว่า การคร่าออกจากวงของเพื่อนและญาติแล้ว

ให้เกิดในภพใดภพหนึ่ง ดุจเวลาที่ข้าศึกคนที่หนึ่งกล่าวชมป่าแล้วพาบุรุษนั้นไป

ในป่านั้น พึงทราบว่า เป็นหน้าที่ของชาติ (ความเกิด). การที่ขันธ์ซึ่งเกิดขึ้น

แล้วตกไป (คืออ่อนกำลังลง) แล้ว ทำให้เป็นผู้พึ่งคนอื่นและมีเตียงนอนเป็น

เบื้องหน้า ดุจข้าศึกคนที่ ๒ โบยตีทำให้เป็นผู้ทุรพล พึงทราบว่า เป็นหน้าที่

ของชรา. การให้ถึงความสิ้นชีวิต ดุจข้าศึกคนที่ ๓ เอาดาบคมตัดศีรษะ

พึงทราบว่า เป็นหน้าที่ของมรณะ ฉะนั้น.

อีกประการหนึ่ง ในทุกข์ทั้ง ๓ นี้ พึงเห็นชาติทุกข์ เหมือนการ

เข้าสู่ทางกันดารใหญ่ที่มีโทษ. พึงเห็นชราทุกข์ เหมือนความเป็นผู้ทุรพลที่

อดข้าวและน้ำในทางกันดารนั้น. พึงเห็นมรณทุกข์ เหมือนการให้ถึงความ

พินาศ ด้วยเครื่องผูกมัดเป็นต้น แก่คนทุรพลผู้มีความพยายามให้อิริยาบถ

เป็นไปถูกขจัดแล้วแล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

ว่าด้วยนิเทศโสกะ (บาลีข้อ ๑๔๙)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศโสกะ ต่อไป

สภาวะใด ย่อมถึงความพราก อธิบายว่า ย่อมชัดไป คือย่อมกำจัด

ประโยชน์เกื้อกูลและความสุข เพราะเหตุนั้น สภาวะนั้น จึงชื่อว่า พยสนะ

(ความเสื่อม) ความเสื่อมญาติ ชื่อว่า ญาติพยสนะ อธิบายว่า ความสิ้น

ญาติคือความพินาศแห่งญาติ ด้วยภัยแต่โจรและโรคเป็นต้น คือด้วยความเสื่อม

แห่งญาตินั้น.

บทว่า ผุฏฺสฺส (ของผู้ที่ถูกกระทบ) ได้แก่ ของบุคคลผู้อันความ

เสื่อมท่วมทับแล้ว ครอบงำแล้ว คือประกอบพร้อมแล้ว. แม้ในคำที่เหลือก็

นัยนี้แหละ.

แต่ความแปลกกันมี ดังนี้.

ความเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลาย ชื่อว่า โภคพยสนะ อธิบายว่า

ความสิ้นโภคะ ความพินาศแห่งโภคะ ด้วยอำนาจแห่งภัยมีราชภัยและโจรภัย

เป็นต้น. ความเสื่อมคือโรค ชื่อว่า โรคพยสนะ จริงอยู่ โรคย่อมยังความ

ไม่มีโรคให้พราก คือย่อมให้พินาศไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พยสนะ.

ความพินาศแห่งศีล ชื่อว่า สีลพยสนะ (ความเสื่อมศีล) คำว่า สีลพยสนะ

นี้เป็นชื่อของความเป็นผู้ทุศีล. ความเสื่อมคือทิฏฐิซึ่งยังสัมมาทิฏฐิให้พินาศ

เกิดขึ้น ชื่อว่า ทิฏฐิพยสนะ* (ความเสื่อมทิฏฐิ). อนึ่ง บรรดาความเสื่อม

๕ เหล่านี้ ความเสื่อม ๒ เบื้องต้น (คือความเสื่อมญาติ และความเสื่อม

โภคทรัพย์), เป็นของยังไม่เกิดขึ้น แต่ความเสื่อมหลัง ๓ (คือความเสื่อมด้วย

โรค ความเสื่อมศีล ความเสื่อมทิฏฐิ) เป็นของเกิดขึ้นแล้ว คือถูกไตรลักษณ์

* หมายถึงความเสื่อมจากสัมมาทิฏฐิ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

กระทบแล้ว. อนึ่งความเสื่อม ๓ แรกไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ความเสื่อม

๒ คือ ศีลและทิฏฐิเป็นอกุศล.

บทว่า อญฺตรญฺตเรน (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ได้แก่ ด้วยความ

เสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาความเสื่อมทั้งหลายมีความเสื่อมจากมิตรและ

อำมาตย์เป็นต้นที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งถือเอาก็ตามไม่ถือเอาก็ตาม.

บทว่า สมนนฺนาคตสฺส (ของบุคคลผู้ประกอบ) ได้แก่ ของผู้

พัวพันอยู่คือผู้ยังไม่พ้นไป.

บทว่า อญฺตรญฺตเรน ทุกฺขธมฺเนน (ด้วยเหตุแห่งทุกข์

อย่างใดอย่างหนึ่ง) ได้แก่ ด้วยเหตุที่เกิดขึ้นแห่งทุกข์คือความโศกอย่างใด

อย่างหนึ่ง.

บทว่า โสโก (ความโศก) ที่ชื่อว่า ความโศก ด้วยอำนาจความ

เศร้าโศก คำว่า ความโศกนี้เป็นบทเฉพาะคนโดยสภาพของความโศกที่เกิดขึ้น

ด้วยเหตุเหล่านี้. บทว่า โสจนา (กิริยาที่โศก) ได้แก่ อาการของความ

โศกเศร้า. ความเป็นแห่งความโศกเศร้าชื่อว่า โสจิติตตฺต (สภาพโศกเศร้า).

บทว่า อนฺโต โสโก (ความแห้งผากภายใน) ได้แก่ ความโศก

เศร้าในภายใน. บทที่ ๒ (อนฺโต ปริโสโก ความแห้งกรอบภายใน) ทรง

เพิ่มบทอุปสรรค. จริงอยู่ ความโศกเศร้านั้นยังภายในให้แห้งผาก ให้แห้งกรอบ

เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า ความแห้งผากภายใน และความแห้งกรอบ

ภายใน.

บทว่า เจตโส ปริชฺฌายนา (ความเกรียมใจ) ได้แก่ อาการ

ที่เผาจิต เพราะความโศกเศร้า เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเผาจิต ย่อมไหม้จิตอย่างเดียว

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

ย่อมยังบุคคลให้บ่นว่า จิตของเราเกรียมแล้ว ไม่มีอะไร ๆ แจ่มใส ดังนี้.

มนะที่ถึงทุกข์ ชื่อว่า ทุมมนะ (เสียใจ) ภาวะแห่งทุมมนะนั้น ชื่อว่า

ความโทมนัส ชื่อว่า ลูกศร คือ ความโศกเศร้า ด้วยอรรถว่าแล่นเข้าไป

โดยลำดับ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า โสกสัลละ (ลูกศรคือความโศก).

คำว่า อย วุจฺจติ โสโก (นี้เรียกว่า โสกะ) ความว่า นี้เราย่อม

เรียกชื่อว่า โสกะ ก็ความโศกนี้ว่าโดยใจความก็ได้แก่ โทมนัสเวทนาอย่าง

เดียวเท่านั้น แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ความโศกนั้น อนฺโตนิชฺฌายนลกฺขโณ

มีการเผาไหม้ภายในเป็นลักษณะ เจตโส ปรินิชฺฌายนรโส มีการเผารนใจ

เป็นรส อนุโสจนปจฺจุปฏฺาโน มีความเศร้าโศกเนืองๆ เป็นปัจจุปัฏฐาน*.

พึงทราบอรรถแห่งความโศกเป็นทุกข์

ก็ในข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งความโศกเป็นทุกข์ นี้ ความว่า

โศกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์ เพราะความโศกนั้นเป็นสภาว

ทุกข์ และเพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์.

ถามว่า ของทุกข์ไหน ?

ตอบว่า ของทุกข์กาย และทุกข์คือโทมนัสในขณะแห่งชวนะ.

จริงอยู่ ด้วยกำลังแรงของความโศก ฝีใหญ่ย่อมตั้งขึ้นที่หัวใจสุกงอม

แล้วย่อมแตกออก และโลหิตดำย่อมไหลออกทางปากแผล ทุกข์ทางกายรุนแรง

ย่อมเกิดขึ้น. เมื่อครุ่นคิดอยู่ว่า ญาติของเราเท่านี้สิ้นไปแล้ว โภคะของเรา

เท่านี้สิ้นไปแล้ว ดังนี้ โทมนัสแรงกล้าก็เกิดขึ้นได้.

* คำว่า โทสจิตฺตุปฺปาทปทฏฺฐาโน โศกมีโทสจิตตุปบาทเป็นปทัฏฐาน ในที่นี้ท่านไม่กล่าวไว้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

พึงทราบโศกนี้ว่าเป็นทุกข์ เพราะความเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ทั้ง ๒ นี้

ด้วยประการฉะนี้แล.

อีกอย่างหนึ่ง

สตฺตาน หทย โสโก สลฺล วิย วิตุชฺชติ

อคฺคีตตฺโตว นาราโจ ภูสญฺจ อุหเต ปุน,

สมาวหติ จ พฺยาธิ ชรามรณเภทน

ทุกฺขปิ วิวิธ ยสฺมา ตสฺมา ทุกฺโขติ วุจฺจติ

โศก ย่อมเสียดแทงหทัยของเหล่า

สัตว์ดุจลูกศร และย่อมแผดเผาอย่างแรงกล้า

อีก เหมือนหลาวเหล็กเผาไฟสังหารอยู่

เพราะโศกนั้นย่อมนำมาพร้อมแม้ซึ่งทุกข์

ชนิดต่าง ๆ อันต่างโดยพยาธิ ชรา และมรณะ

ฉะนั้นโศกนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

ว่า เป็นทุกข์แล.

ว่าด้วยนิเทศปริเทวะ (บาลีข้อ ๑๕๐)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศปริเทวะ ต่อไป

ที่ชื่อว่า อาเทวะ (ความร้องไห้) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้สัตว์

เปล่งเสียงร้องไห้โดยอ้างว่า ธิดาของฉัน บุตรของฉัน ดังนี้ ที่ชื่อว่า ปริเทวะ

(ความคร่ำครวญ) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้สัตว์คร่ำครวญถึงธิดาและบุตร

นั้น ๆ. บทละ ๒ บท* ข้างหน้านอกจากบทที่ ๒ บททีกล่าวนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสด้วยการขยายความโดยอาการของ ๒ บท นั่นเอง. บทว่าวาจา

* ได้แก่ คำว่า กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ สภาพที่ร้องไห้ สภาพที่คร่ำครวญ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

ก็คือคำพูด. คำที่พูดเปล่าไม่มีประโยชน์ ชื่อว่า ปลาโป (พูดพร่ำ) พูดพร่ำ

จนน่าเกลียดด้วยอำนาจการพูดครึ่ง ๆ กลาง ๆ และพูดไปอย่างอื่นเป็นต้น เพราะ

เหตุนั้น จึงชื่อว่า วิปปลาปะ (ความพร่ำเพ้อ). บทว่า ลาลโป (ความ

พิไรร่ำ) ได้แก่ การพูดซ้ำซาก อาการแห่งการพูดซ้ำซาก ชื่อว่า ลาลปนา

(กิริยาที่พิไรร่ำ). ภาวะแห่งกิริยาพิไรร่ำ ชื่อว่า ลาลปฺปิตตฺต (สภาพพิไร

ร่ำ).

คำว่า อย วุจฺจติ ปริเทโว (นี้เรียกว่า ปริเทวะ) ความว่า นี้เรา

กล่าวให้ ชื่อว่า ปริเทวะ. ปริเทวะนั้น ลาลปฺปนลกฺขโณ มีการพิลาป

รำพันเป็นลักษณะ คุณโทสปริกิตฺตนรโส มีการรำพันถึงคุณและโทษเป็น

กิจ สมฺภมปจฺจุปฏฺาโน มีความวุ่นวายไม่ตั้งมั่นเป็นปัจจุปัฏฐาน.*

พึงทราบอรรถแห่งปริเทวะเป็นทุกข์

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งปริเทวะเป็นทุกข์

ต่อไป. ปริเทวะแม้นี้ตัวเองไม่เป็นทุกข์ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็น

ทุกข์ เพราะความเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์กายและทุกข์โทมนัส.

จริงอยู่ บุคคลผู้กำลังคร่ำครวญย่อมเอากำปั้นทุบลำตัวของตนได้ ย่อม

เอามือทั้ง ๒ ตีอก ขยี้อก ย่อมเอาหัวชนฝาก็ได้ เพราะเหตุนั้น ทุกข์กาย

อย่างแรงจึงเกิดแก่เขาได้ เขาย่อมคิดเป็นต้นว่า ญาติของเราเท่านี้สิ้นแล้ว เสื่อม

แล้ว ตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้น โทมนัสอย่างแรงจึงเกิดขึ้นแก่เรา.

* และคำว่า โทสจิตฺตชมหาภูตปทฏฺฐาโน มีมหาภูตรูปที่เกิดแต่โทสจิต เป็นปทัฏฐาน ท่าน

ไม่ได้กล่าวไว้ในที่นี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

พึงทราบปริเทวะว่าเป็นทุกข์โดยความเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ทั้ง ๒ แม้

เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

อีกนัยหนึ่ง

ย โสกสลฺลวิหโต ปริเทวมาโน

กณฺโฏฺตาลุตลโสสชมปฺปสยห

ภิยฺโยธิมตฺตมธิคจฺฉติเยว ทุกฺข

ทุกฺโขติ เตน ภควา ปริเทวมาห

บุคคล ผู้ถูกลูกศรคือความโศกเสียด

แทงแล้ว คร่ำครวญอยู่ ย่อมประสบทุกข์ใด

ซึ่งทนไม่ได้ อันเกิดแต่แห้งที่คอริมฝีปาก

พื้นเพดานอย่างยิ่งเหลือประมาณ ด้วยทุกข์

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสปริเทวะคือ

ความคร่ำครวญว่าเป็นทุกข์แล.

นิเทศแห่งทุกข์และโทมนัส (บาลีข้อ ๑๕๑ - ๑๕๒) ปรากฏชัดแล้ว

เพราะข้าพเจ้าพรรณนาไว้ในอรรถกถาธรรมสังคหะ (อรรถกถาอรรถสาลีนี)

ในหนหลังนั่นแล. และหมวดธรรม ๔ มีลักษณะเป็นต้นของทุกข์และโทมนัส

เหล่านั้น ข้าพเจ้าก็ได้กล่าวไว้ในที่นั้นเหมือนกัน.

พึงทราบอรรถกถาแห่งทุกข์เป็นทุกข์เป็นต้น

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในข้อนี้ว่า พึงทราบอรรถแห่งทุกข์ว่าเป็นทุกข์

และพึงทราบอรรถแห่งโทมนัสว่าเป็นทุกข์ต่อไป ทุกข์และโทมนัสแม้ทั้ง ๒ นี้

พระผู้มีพระเจ้าตรัสว่าเป็นทุกข์ เพราะตัวเองเป็นทุกข์ด้วย เป็นวัตถุที่ตั้ง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

แห่งทุกข์ทางกายและทางจิตด้วย. จริงอยู่ เมื่อบุคคลประสบทุกข์ โดยทุกข์คือ

การถูกตัดมือตัดเท้า และตัดหูตัดจมูกซึ่งนอนวางกระเบื้องเก่าไว้ข้างหน้าขอ

อาหารในศาลาของคนอนาถา เมื่อมีหมู่หนอนออกจากแผลทั้งหลาย ทุกข์กาย

เหลือกำลังย่อมเกิดขึ้น โทมนัสรุนแรงก็ย่อมเกิด เพราะเห็นมหาชนผู้มีเสื้อผ้า

ย้อมด้วยสีต่าง ๆ ประดับได้ตามชอบใจเล่นงานักกษัตรอยู่.

พึงทราบความที่ทุกข์เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์แม้ทั้ง ๒ อย่างนี้ก่อน.

อีกอย่างหนึ่ง

เพราะทุกข์ทางกายนี้ ย่อมบีบคั้น

และย่อมให้เกิดทุกข์ทางใจอย่างยิ่ง ฉะนั้น

คำว่า เป็นทุกข์ จึงมีโดยความต่างกัน.

อนึ่ง บุคคลผู้เพรียบด้วยทุกข์ทางใจ ย่ดมสยายผม ย่อมขยี้อก

ย่อมกลิ้งเกลือกไปมา ย่อมโดดเหว ย่อมนำศัสตรามา ย่อมเคี้ยวยาพิษ ย่อม

เอาเชือกแควนคอ ย่อมเข้าไปสู่กองไฟ เป็นผู้มีความเดือดร้อน โดยประการ

นั้น ๆ เป็นผู้มีจิตรุ่มร้อนอยู่ ย่อมคิดถึงเรื่องวิปริตนั้น ๆ.

พึงทราบความที่โทมนัสเป็นวัตถุที่ตั้งของทุกข์ทั้ง ๒ ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง

เพราะโทมนัส ย่อมบีบคั้นจิต และ

ย่อมนำความบีบคั้นมาแก่ร่างกาย ฉะนั้น

บัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวแม้โทมนัสว่าเป็น

ทุกข์ เพราะความเสียใจนั้นแล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

ว่าด้วยนิเทศอุปายาส (บาลีข้อ ๑๕๓)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอุปายาส ต่อไป

ที่ชื่อว่า อายาสะ (ความแค้น) ด้วยอรรถว่าลำบาก คำว่าอายาสะ

นี้เป็นชื่อของความลำบากจิตที่เป็นไปโดยอาการตกใจและเศร้าใจ ความแค้นใจ

อย่างแรง ชื่อว่า อุปายาส (ความขุ่นแค้น ). ภาวะแห่งบุคคลผู้แค้นใจ

ชื่อว่า อายาสิตตฺต ( ภาพแค้น ) ภาวะแห่งบุคคลผู้ขุ่นแค้น ชื่อว่า อุปายา-

สิตตฺต (สภาพขุ่นแค้น).

คำว่า อย วุจฺจติ อูปายาโส (นี้เรียกอุปายาส) ความว่า นี้เรา

เรียกชื่อว่า อุปายาส. ก็อุปายาสนี้นั้น พฺยาสตฺติลกฺขโณ มีการติดในอารมณ์

ต่าง ๆ เป็นลักษณะ นิตฺถุนนรโส มีการทอดถอนใจเป็นกิจ วิสาทปจฺ-

จุปฏฺาโน มีความเศร้าใจเป็นปัจจุปัฏฐาน*.

พึงทราบอรรถแห่งอุปายาสเป็นทุกข์

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งอุปายาสเป็น

ทุกข์ นี้ต่อไป อุปายาสแม้นี้ตัวเองไม่เป็นทุกข์ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เป็นทุกข์ ดังนี้ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์แม้ทั้ง ๒.

จริงอยู่ เมื่อบุคคล ถูกพระราชากริ้ว ถอดยศมีบุตรและพี่ชายน้องชาย

ถูกประหารตัวเองเล่าก็ถูกสั่งฆ่าก็จะเข้าไปสู่ดงเพราะความกลัวหลบหลีกแล้ว ถึง

ความเป็นผู้เศร้าใจอย่างใหญ่หลวง ย่อมเกิดทุกข์กายมีกำลัง เพราะยืนเป็นทุกข์

นอนเป็นทุกข์ นั่งเป็นทุกข์. เมื่อคิดอยู่ว่า พวกญาติของเราเท่านี้ โภคทรัพย์

เท่านี้ ฉิบหายแล้ว ดังนี้ โทมนัสมีกำลังก็ย่อมเกิดขึ้น.

* หทยวตฺถุปทฏฺาโน มีหทยวัตถุเป็นปทัฏฐาน (ไม่กล่าวไว้ในที่นี้)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

พึงทราบอุปายาสว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์เหล่านี้แม้ทั้ง

๒ ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง

อุปายาส ย่อมยังทุกข์มีประมาณยิ่ง

อันใด ให้เกิดขึ้น เพราะการเผาจิต และทำ

กายให้เศร้าหมอง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

อุปายาสว่าทุกข์ เพราะทุกข์นั้นแล.

ว่าด้วยการเปรียบทุกข์ ๓ อย่าง

อนึ่ง บรรดาทุกข์ ๓ อย่างมีโสกะเป็นต้นเหล่านี้ โสกะ พึงเห็น

เหมือนการหุงน้ำมันเป็นต้น ในภายในภาชนะเท่านั้น ด้วยไฟอ่อน. พึงเห็น

ปริเทวะ เหมือนการล้นออกข้างนอกภาชนะของน้ำมันที่หุงอยู่ ด้วยไฟแรง.

พึงเห็น อุปายาส เหมือนการเคี้ยวจนแห้งในภายในภาชนะนั้นนั่นแหละ

ของน้ำมันเป็นต้น ซึ่งเหลือจากการล้นไปข้างนอกไม่พอที่จะล้นไปได้.

ว่าด้วยนิเทศอัปปิยสัมปโยคทุกข์ (บาลีข้อ ๑๕๔ )

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอัปปิยสัมปโยคทุกข์ ต่อไป

บทว่า ยสฺส ตัดบทเป็น เย อสฺส (แปลว่า อันใด...ของ).

บทว่า อนิฏฺา (อันไม่เป็นที่ปรารถนา) ได้แก่ ที่เขาไม่แสวงหา คือว่า

ที่เขาแสวงหา หรือไม่แสวงหาก็ตาม. อนึ่ง บทว่า อนิฏฺา นี้ เป็นชื่อของ

อารมณ์ที่ไม่ชอบใจอันไม่พึงแสวงหา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

ธรรมมีรูปเป็นต้นเหล่าใด ย่อมไม่ก้าวไป คือย่อมไม่เข้าไปในใจ

เพราะเหตุนั้น ธรรมมีรูปเป็นต้นเหล่านั้น จึงชื่อว่า อกันตา (ไม่เป็นที่

รักใคร่). ธรรมเหล่าใด ย่อมไม่น่ารัก ย่อมไม่ยังใจให้เจริญ เพราะเหตุนั้น

ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อมนาปา (ไม่เป็นที่ชอบใจ).

คำว่า รูป เป็นต้นเป็นคำขยายความสภาวะของธรรมเหล่านั้น. บุคคล

เหล่าใด ย่อมใคร่คือย่อมปรารถนาสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ เพราะเหตุนั้น บุคคล

เหล่านั้น จึงชื่อว่า อนตฺถถามา (ผู้มุ่งก่อความพินาศ). บุคคลเหล่าใด ย่อม

ใคร่ คือย่อมปรารถนาสิ่งที่มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น

จึงชื่อว่า อหิตกามา (ผู้มุ่งทำลายประโยชน์เกื้อกูล). บุคคลเหล่าใด ย่อมใคร่

คือย่อมปรารถนาความไม่ผาสุกคือการอยู่เป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น

จึงชื่อว่า อผาสุกา (ผู้มุ่งทำลายความผาสุก). บุคคลเหล่าใด ย่อมไม่ปรารถนา

แดนเกษมจากโยคะ คือวิวัฏฏะอันปราศภัย คือย่อมใคร่ ย่อมปรารถนา

วัฏฏะอันมีภัยนั้นแหละเพื่อโยคะ ๔ เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น

จึงชื่อว่า อโยคกฺเขมกามา (ผู้มุ่งทำลายและเกษมจากโยคะ).

อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในบททั้ง ๘ มีคำว่า อนตฺถกามา

เป็นต้นนี้ อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ชื่อว่า อนตฺถกามา (ผู้มุ่งก่อความพินาศ) เพราะ

ไม่ใคร่ต่อประโยชน์กล่าวคือความเจริญธรรมมีศรัทธาเป็นต้น และเพราะใคร่

ต่อสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ กล่าวคือความเสื่อมแห่งศรัทธาเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ.

ที่ชื่อว่า อหิตกามา (ผู้มุ่งทำลายประโยชน์เกื้อกูล) เพราะไม่ใคร่ต่อประโยชน์

เกื้อกูลอันเป็นอุบายวิถีแห่งศรัทธาเป็นต้นนั่นเอง และเพราะใคร่ต่อสิ่งที่มิใช่

ประโยชน์เกื้อกูลอันเป็นอุบายวิธีแห่งอกุศลมีความเสื่อมศรัทธาเป็นต้นนั่นแหละ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

ที่ชื่อว่า อผาสุกา (ผู้มุ่งทำลายความผาสุก) เพราะไม่ใคร่ต่อการอยู่เป็นผาสุก

และเพราะใคร่ต่อการอยู่โดยไม่เป็นผาสุก. ที่ชื่อว่า อโยคกฺเขมกามา (ผู้มุ่ง

ทำลายแดนเกษม) เพราะไม่ใคร่ต่อความปลอดภัยอย่างใดอย่างหนึ่ง และเพราะ

ใคร่ต่อภัย ดังนี้. การไปประกอบพร้อมกัน ชื่อว่า สคติ (ความไปร่วม).

ความมาร่วมกัน ชื่อว่า สมาคโม (ความมาร่วม). ภาวะที่พร้อมกันในการยืน

การนั่งเป็นต้น ชื่อว่า สโมธาน (ความประชุมร่วม). การทำร่วมกันซึ่งกิจ

ทั้งปวง ชื่อว่า มิสฺสีภาโว (ความเป็นผู้กระทำร่วม).

นี้เป็นโยชนา คือข้อแนะนำด้วยอำนาจแห่งสัตว์.

ส่วนโยชนาด้วยอำนาจแห่งสังขาร พึงถือเอาความตามที่ได้. คำว่า

อย วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า นี้เราเรียกชื่อว่า อัปปิยสัมปโยคทุกข์

อัปปิยสัมปโยคนั้น อนุฏฺสโมธานลกฺขโณ มีการประชุมลงซึ่งสิ่งที่ไม่น่า

ปรารถนาเป็นลักษณะ จิตฺตวิฒาฏกรณรโส มีการทำความพินาตจิตเป็นรส

อนตฺถภาวปจฺจุปฏฺาโน มีภาวะที่ไร้ประโยชน์เป็นปัจจุปัฏฐาน อัปปิย-

สัมปโยคทุกข์นั้น ชื่อว่าเป็นธรรมหนึ่งไม่มีโดยอรรถะ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์แม้ทั้ง ๒ อย่างแก่บุคคลผู้

ประกอบด้วยอารมณ์อันไม่เป็นที่รักอย่างเดียว เพราะวัตถุทั้งหลายอันไม่น่า-

ปรารถนาถึงการประชุมลงแล้ว ย่อมยังทุกข์ทางกายให้เกิดขึ้นโดยการแทง

การตัด การผ่าเป็นต้นบ้าง ย่อมยังทุกข์ทางใจให้เกิดขึ้นโดยการเกิดความสะดุ้ง

กลัวบ้าง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

เพราะเห็นสัตว์อันไม่เป็นที่รัก จึง

เป็นทุกข์ที่ใจก่อนทีเดียว และการเกิดทุกข์

ด้วยความพยายามของสัตว์อันไม่เป็นที่รักนั้น

ในกาย เพราะฉะนั้น พึงทราบการสมาคม

กับสัตว์อันไม่เป็นที่รักนั้นว่า พระมหาฤาษี

ตรัสว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแม้แห่ง

ทุกข์ทั้ง ๒ ในโลกนี้แล.

ว่าด้วยนิเทศปิยวิปปโยคทุกข์ (บาลีข้อ ๑๕๕)

นิเทศแห่งปิยวิปปโยคทุกข์ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าว

แล้วแล. ก็ในนิเทศนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า มาตา วา (มารดาก็ตาม)

เป็นต้น เพื่อทรงแสดงบุคคลผู้ใคร่ประโยชน์โดยย่อ.

ในพระบาลีนั้น มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า มารดา เพราะอรรถว่า

ย่อมถนอมรัก. ที่ชื่อว่า บิดา เพราะอรรถว่า ย่อมพอใจ. ที่ชื่อว่า พี่ชาย

น้องชาย ด้วยอรรถว่า ย่อมคุ้นกัน. ที่ชื่อว่า ภคินี ก็เหมือนกัน. ที่ชื่อว่า

มิตร เพราะอรรถว่า ประพฤติเมตตา หรือว่าด้วยอรรถว่า นับถือ อธิบายว่า

ย่อมสอดใส่ความลับทั้งหมดไว้ภายใน. ที่ชื่อว่า อำมาตย์ เพราะอรรถว่า

ย่อมเป็นผู้ร่วม ด้วยอรรถว่าเป็นผู้พร้อมกันในกรณียกิจทั้งหลาย. ที่ชื่อว่า

ญาติ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้ หรือทราบอย่างนี้ว่า คนนี้เป็นคนภายในของ

พวกเรา. ที่ชื่อว่า สาโลหิต เพราะอรรถว่า เป็นผู้สัมพันธ์กันด้วยสายเลือด.

พึงทราบบทเหล่านี้ โดยเนื้อความ ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

คำว่า อย รุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า นี้เราเรียกชื่อว่า ปิเยหิวิปปโยค

ทุกข์. ปิเยหิวิปปโยคทุกข์นั้น อิฏฺวตฺถุวิโยคลกฺขโณ มีการพลัดพรากจาก

วัตถุที่ปรารถนาเป็นลักษณะ โสกุปฺปาทนรโส มีการให้เกิดขึ้นแห่งความโศก

เป็นรส พฺยาสนปจฺจุปฏฺาโน มีความฉิบหายเป็นปัจจุปัฏฐาน.

ปิเยหิวิปปโยคทุกข์นั้น ชื่อว่าเป็นธรรมอย่างหนึ่งโดยอรรถ ย่อมไม่มี

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์แม้ทั้ง ๒

ของบุคคลผู้พลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักอย่างเดียว เพราะวัตถุที่น่าปรารถนา

ทั้งหลายเมื่อพลัดพรากไป ย่อมยังทุกข์แม้ทางกายให้เกิดขึ้นโดยความเป็นผู้มี

สรีระซูบซีดและเหี่ยวแห้งเป็นต้น แม้ทางใจก็ให้เกิดทุกข์ โดยการให้เศร้าโศก

ว่า แม้สิ่งที่มีอยู่แก่พวกเรานั้นก็ไม่มีแล้ว ดังนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว

ไว้ดังนี้ว่า

เพราะพลัดพรากจากญาติและทรัพย์

เป็นต้น พวกคนพาลผู้เพรียบพร้อมด้วยลูก-

ศรคือความโศกเสียดแทงอยู่ เพราะเหตุใด

เพราะเหตุนั้น ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก

เขาจึงรู้กันว่า เป็นทุกข์.

ว่าด้วยนิเทศอิจฉา (บาลีข้อ ๑๕๖)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอิจฉา (ความปรารถนา) ต่อไป

บทว่า ชาติธมฺมาน (มีความเกิดเป็นธรรมดา) ได้แก่ มีภพเกิด

เป็นสภาพ มีความเกิดปกติ. บทว่า อิจฺฉา อุปฺปชฺชติ (ความปรารถนา

ย่อมเกิด) ได้แก่ ตัณหาย่อมเกิด. ศัพท์ว่า อโห วต (โอหนอ) เป็นการ

ปรารถนา. คำว่า น โข ปเนต อิจฺฉาย ปตฺตพฺพ (ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

ตามความปรารถนา) ความว่า ความไม่มาแห่งชาติ (ความเกิด) อันมีอยู่ใน

พวกสาธุชนผู้ละสมุทัยได้แล้ว และมีอยู่ในท่านผู้ปรินิพพาน ซึ่งไม่มีความเกิด

เป็นธรรมดา อันชนทั้งหลายปรารถนาแล้วอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอพวกเราอย่ามี

ความเกิดเป็นธรรมดา และขอความเกิดอย่ามาถึงพวกเราเลยหนา ดังนี้นั้น

ชื่อว่า ย่อมไม่สำเร็จตามความปรารถนาได้ เพราะเว้นจากมรรคภาวนา แม้บุคคล

ปรารถนาอยู่ก็ไม่พึงสำเร็จ และเพราะเป็นธรรมพึงถึงด้วยมรรคภาวนา แม้แก่

บุคคลผู้ไม่ปรารถนา. บทว่า อิทมฺปิ แปลว่า แม้นี้. ปิ อักษร หมายเอาบทที่

แปลกกันข้างหน้า. บทว่า ยมฺปิจฺฉ เป็นต้น ความว่า เมื่อบุคคลปรารถนา

วัตถุที่ไม่พึงได้โดยธรรมแม้ใด ย่อมไม่ได้ซึ่งความปรารถนาในวัตถุที่ไม่พึงได้

นั้น พึงทราบว่า เป็นทุกข์. แม้ในบทมีคำว่า แก่เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็น

ธรรมดา เป็นต้น ก็นัยนี้. ความปรารถนาในวัตถุที่ไม่พึงได้ในนิเทศนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ยมฺปิจฺฉ น ลภติ ตมฺปิ ทุกข (ปรารถนา

สิ่งใดไม่ได้ แม้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์) ด้วยประการฉะนี้.

ความปรารถนานั้น อลพฺภเนยฺยวตฺถุอิจฺฉนลกฺขณา มีความ

อยากในวัตถุที่ไม่พึงได้เป็นลักษณะ ตปฺปริเยสนรสา มีการแสวงหาสิ่งนั้น

เป็นรส เตส อปฺปตฺติปจฺจุปฏฺานา มีความไม่สำเร็จสิ่งเหล่านั้น เป็น

ปัจจุปัฏฐาน. ก็ความปรารถนานั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทุกข์ เพราะ

เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์แม้ทั้ง ๒ จริงอยู่ บางคนที่คนอื่นยกย่องว่า จักเป็นพระ-

ราชา เขามีคณะที่ฝ่ายบ้านเมืองตัดขาดแตกไปติดตามแล้วเข้าไปยังโขดเขา หรือ

ราวไพร. ที่นั้นพระราชาทรงทราบพฤติการณ์นั้นแล้วทรงกองทัพไป บุรุษนั้น

มีบริวารถูกราชบุรุษกำจัดแล้ว แม้ตนเองก็ถูกทำร้าย จึงหนีเข้าไปยังระหว่าง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

ต้นไม้ หรือระหว่างแผ่นหิน. สมัยนั้น เมฆใหญ่ตั้งขึ้น มีฝนพราดำมืดยิ่ง

ในขณะนั้นฝูงสัตว์มีมดดำเป็นต้นก็ล้อมเกาะเขารอบด้าน ด้วยเหตุนั้น ความ

ทุกข์กายมีกำลังจึงเกิดแก่เขา เมื่อคิดอยู่ว่า พวกญาติเท่านี้ และโภคทรัพย์เท่านี้

ฉิบหายแล้ว เพราะอาศัยเราคนเดียว ดังนี้ โทมนัสมีกำลังก็เกิดแก่เขา.

ความปรารถนานี้พึงทราบว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์

เหล่านั้นแม้ทั้ง ๒ ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง

เมื่อสัตว์ปรารถนาวัตถุนั้น ๆ อยู่

เพราะไม่ได้วัตถุนั้น ๆ ความทุกข์อันใด ซึ่ง

เกิดแด่ความพลาดหวัง ย่อมเกิดแก่พวกสัตว์

ในโลกนี้ ความปรารถนาวัตถุที่บุคคลไม่พึง

ได้เป็นเหตุแห่งทุกข์นั้น เพราะฉะนั้น พระ

ชินพุทธเจ้าจึงตรัสความไม่ได้ตามความ

ปรารถนา ว่าเป็นทุกข์แล.

ว่าด้วยนิเทศอุปาทานขันธ์ (บาลีข้อ ๑๕๗)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งอุปาทานขันธ์ ต่อไป

บทว่า สขิตฺเตน (โดยย่อ) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา

เทศนา จริงอยู่ ใคร ๆ ไม่อาจย่อทุกข์ได้ เท่านี้เป็นทุกข์ร้อยหนึ่ง หรือว่า

เท่านี้เป็นทุกข์พันหนึ่ง แต่เทศนาอาจย่อได้ เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงย่อเทศนา

ว่า ขึ้นชื่อว่า ทุกข์ มิใช่อะไรอื่น โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

จึงตรัสแล้วอย่างนี้. ศัพท์ว่า เสยฺยถีท เป็นนิบาต เนื้อความแห่งนิบาตนั้น

มีอธิบายว่า หากว่า มีผู้ถามว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้น เป็นไฉนดังนี้.

เนื้อความแห่งบทว่า รุปูปาทานกฺขนฺโธ (รูปูปาทานขันธ์) เป็นต้น ข้าพเจ้า

พรรณนาไว้แล้วในขันธวิภังค์แล.

พึงทราบอรรถแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็นทุกข์

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งขันธ์ ทั้ง

หลายว่าเป็นทุกข์ นี้ ต่อไป

ชาติปฺปภูติก ทุกฺข ย วุตฺต อิธ ตาทินา

อวุตฺต ยญฺจ ต สพฺพ วินา เอเต น วิชฺชติ

ยสฺมา ตสฺมา อุปาทาน กฺขนฺธา สเขปโต อิเม

ทกฺขาติ วุตฺตา ทุกฺขนฺเต เทสเกน มเหสินา

เพราะทุกข์มีชาติเป็นแดนเกิดอันใด

อันพระพุทธเจ้าผู้คงที่ตรัสไว้ในโลกนี้ และ

ทุกข์ใดที่มิได้ตรัสไว้ ทุกข์นั้นทั้งหมดเว้น

อุปาทานขันธ์ ๕ แล้ว ย่อมไม่มี ฉะนั้น พระ-

มหาฤาษีพุทธเจ้า ผู้ทรงแสดงซึ่งที่สุดแห่ง

ทุกข์ จึงตรัสว่า โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ นี้

เป็นทุกข์แล.

จริงอย่างนั้น ชาติเป็นต้นเบียดเบียนอยู่ซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ นั้นแหละ

โดยประการต่าง ๆ เหมือนไฟป่าเบียดเบียนเชื้อไฟ เหมือนเครื่องประหารเบียด

เบียนเป้า เหมือนเหลือบและยุงเป็นต้นเบียดเบียนโค เหมือนผู้เก็บเกี่ยวเบียด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

เบียนนา เหมือนโจรปล้น เบียดเบียนหมู่บ้าน ย่อมเกิดขึ้นในอุปาทาน-

ขันธ์ ๕ นั่นเอง เหมือนหญ้าและเถาวัลย์เป็นต้นย่อมเกิดขึ้นในพื้นดิน ดุจ

ดอกไม้ ผลไม้และใบอ่อนเป็นต้นเกิดที่ต้นไม้ ฉะนั้น.

อนึ่ง ทุกข์ที่เป็นเบื้องต้นแห่งอุปาทานขันธ์ คือ ชาติ ทุกข์ในท่าม

กลาง คือ ชรา ทุกข์ในที่สุด คือ มรณะ. เพราะกระทบทุกข์มีความตาย

เป็นที่สุด จึงมีทุกข์แผดเผา คือ โสกะ. เพราะการอดกลั้นความโศกนั้นไม่ได้

มีทุกข์เป็นเหตุพูดรำพัน คือ ปริเทวะ. จากนั้นก็มีทุกข์เป็นทุกข์เบียดเบียน-

กาย เพราะประกอบกับโผฏฐัพพะ (กระทบ ) กับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา

คือ ธาตุกำเริบ. เพราะปุถุชน ผู้ถูกทุกข์กายนั้นเบียดเบียนอยู่โดยเกิดปฏิฆะ

ในอุปาทานขันธ์นั้น ก็เกิดทุกข์ที่เบียดเบียนทางใจ คือ โทมนัส. ทุกข์มี

การทอดถอนใจของบุคคลผู้เศร้าหมองอันเกิดแต่ความเจริญของโสกะเป็นต้น

คือ อุปายาส. ทุกข์พลาดหวัง ของบุคคลผู้พลัดจากมโนรถ คือ การ ไม่ได้

สิ่งที่ตนปรารถนา. อุปาทานขันธ์ที่บุคคลมีปัญญาเข้าไปพิจารณาอยู่ โดยประ-

การต่าง ๆ เทียว ด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่า เป็นทุกข์แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงย่อทุกข์ที่ตรัสแสดงไว้แต่ละอย่าง

ซึ่งใคร ๆ ไม่สามารถแสดงโดยไม่เหลือด้วยกัปเป็นอเนกนั้นแม้ทั้งหมด ใน

อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดุจทรงย่อรสน้ำในสมุทรทั้งสิ้นมาแสดง

ในน้ำหยดเดียว (มีรสเค็ม ) จึงได้ตรัสว่า สขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา

ทุกฺขา โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์.

กถาว่าด้วยนิเทศแห่งทุกขสัจจะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

วรรณนานิเทศวาร

ว่าด้วยสมุทยสัจจะ (บาลีข้อ ๑๕๘)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสมุทยสัจจะ ต่อไป

บทว่า ยาย ตณฺหา ตัดบทเป็น ยา อย ตณฺหา แปลว่า

ตัณหา นี้ใด. บทว่า โปโนพฺภวิกา มีวิเคราะห์ว่า เหตุทำซึ่งภพใหม่

ชื่อว่า โปโนพฺภโว เหจุทำซึ่งภพใหม่เป็นปกติของตัณหานั้น มีอยู่ เพราะ

เหตุนั้น ตัณหานั้น จึงชื่อว่า โปโนพฺภวิกา (เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ๆ)

อีกอย่างหนึ่ง ตัณหาใด ย่อมให้ซึ่งภพใหม่ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อภพใหม่

ย่อมเกิดในภพบ่อย ๆ เพราะเหตุนั้น ตัณหานั้น จึงชื่อว่า โปโนพฺภวิกา.

อนึ่ง ตัณหานั้นเป็นตัวให้ภพใหม่ก็มี ไม่ให้ภพใหม่ก็มี เป็นไปเพื่อ

ภพใหม่ก็มี ไม่เป็นไปเพื่อภพใหม่ก็มี แม้แต่ที่อำนวยอุปธิในปฏิสนธิที่ตัณหา

นั้นให้แล้ว. ตัณหานั้นเมื่อให้อยู่ซึ่งภพใหม่ก็ดี ไม่ให้ก็ดี เป็นไปเพื่อภพใหม่

ก็ดี ไม่เป็นไปเพื่อภพใหม่ก็ดี แม้แต่อำนวยอุปธิในปฏิสนธิที่ตนให้แล้วนั้น

ก็ได้ชื่อว่า โปโนพฺภวิกา เหมือนกัน.

ที่ชื่อว่า นันทิราคสหคตา (ประกอบด้วยความกำหนัดยินดี)

เพราะอรรถว่า ไปพร้อมกับนันทิราคะ กล่าวคือ ความยินดียิ่ง มีอธิบายว่า

โดยอรรถไปสู่ความเป็นอันเดียวกับนันทิราคะนั่นเอง. บทว่า ตตฺรตตฺรา-

ภินนฺทินี เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ ความเป็นอัตตามีอยู่ในที่

ใด ๆ ก็มีความยินดียิ่งในที่นั้น ๆ หรือว่า มีความเพลิดเพลินในอารมณ์มีรูป

เป็นต้นนั้น ๆอธิบายว่า มีความเพลิดเพลินในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

และธรรมารมณ์.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

ศัพท์ว่า เสยฺยถีท เป็นนิบาต เนื้อความแห่งศัพท์ว่า เสยฺยถีท

นั้นว่า หากมีคำถามว่า ตัณหานั้นเป็นไฉนดังนี้.

บทว่า กามตณฺหา มีวิเคราะห์ว่า ตัณหาในกาม ชื่อว่า กานตัณหา.

คำว่า กามตัณหานี้เป็นชื่อของราคะอันประกอบด้วยกามคุณ ๕. ตัณหาในภพ

ชื่อว่า ภวตัณหา. คำว่าภวตัณหานี้เป็นชื่อของราคะ (ความยินดี) ในรูป

ภพ อรูปภพและความพอใจในฌาน ที่สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิซึ่งเกิดขึ้นแล้ว

ด้วยอำนาจปรารถนาภพ. ตัณหาในวิภพ ชื่อว่า วิภวตัณหา. คำว่า วิภว-

ตัณหานี้เป็นชื่อของราคะสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงวัตถุที่ตั้ง แห่งตัณหานั้น

โดยพิสดาร จึงตรัสคำเป็นต้น ว่า สา โข ปเนสา (ก็ตัณหานี้นั้นแล).

ในพระบาลีนั้น บทว่า อุปฺปชฺชติ แปลว่าย่อมเกิด. บทว่า นิวีสติ (ย่อม

ตั้งอยู่) ได้แก่ ย่อมตั้งมั่นด้วยอำนาจความเป็นไปบ่อย ๆ. คำว่า ย โลเก

ปิยรูป สาตรูป (ปิยรูป สาตรูปใด มีอยู่ในโลก) ความว่า สิ่งใดเป็นสภาพ

น่ารัก และเป็นสภาพอ่อนหวานในโลก.

พึงทราบวินิจฉัยในคำมีอาทิว่า จกฺข โลเก จักษุเป็นปิยรูปสาตรูป

ในโลก ต่อไป จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้ยึดมั่นในจักษุเป็นต้นโดยความถือตัวของ

เราในโลก ตั้งมั่นในสมบัติ ย่อมสำคัญจักษุของตน (เป็นต้น ) ว่าเป็นประสาท

๕ ที่ผ่องใส โดยทำนองการถือเอานิมิตให้กระจกเงาเป็นต้น ดุจสีหบัญชรแก้ว

มณีที่เผยออกในวิมานทอง ย่อมสำคัญโสตเป็นดุจหลอดเงินและดังสายสังวาล

ย่อมสำคัญฆานะมีโวหารอันได้แล้วว่า มีจมูกโด่ง ดุจเกลียวหรดาลกลมตั้งอยู่

ย่อมสำคัญชิวหาอันอ่อนให้รสอันละเอียดดุจผ้ากัมพลแดง ย่อมสำคัญกาย ดุจ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

หลักเสาไม้แก่น และดุจเสาค่ายทองคำ ย่อมสำคัญใจว่าโอฬารไม่เหมือนใจ

ของชนเหล่าอื่น ย่อสำคัญรูป ดุจสีทอง และสีดอกกรรณิการ์เป็นต้น ย่อม

สำคัญเสียง ดุจเสียงขันของนกการเวกและดุเหว่าที่กำลังเพลิน และเสียงกังวาน

ของขลุ่ยแก้วมณีที่เป่าเบา ๆ ย่อมสำคัญอารมณ์ คือกลิ่นเป็นต้นที่เกิดแต่สมุฏ-

ฐาน ที่ตนได้เฉพาะแล้วว่า คนอื่นใครเล่าจะมีอารมณ์เห็นปานนี้. เมื่อชน

เหล่านั้นสำคัญอยู่อย่างนี้ อายตนะเหล่านั้น มีจักษุเป็นต้นก็ย่อมเป็นปิยรูป

และสาตรูป เมื่อเป็นเช่นนั้น ตัณหาของชนเหล่านั้น ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นก็ย่อม

เกิดขึ้นในจักษุเป็นต้นนั้น และที่เกิดแล้วก็ย่อมตั้งมั่น ด้วยอำนาจที่เป็นไปบ่อยๆ

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงพระดำรัสมีอาทิว่า จกฺขุ โลเก ปิยรูป

สาตรูป เอตฺเถสา ตณฺหา อุปฺปชฺชมานา อุปิปชฺชติ จักษุเป็นปิยรูป-

สาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็ย่อมเกิดที่จักษุนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปปฺชฺชมานา (เมื่อเกิด) ความว่า เมื่อใด

ตัณหาย่อมเกิด เมื่อนั้นก็ย่อมเกิดในจักษุนี้. แม้ในบททั้งปวงก็นัยนี้แล.

กถาว่าด้วยนิเทศแห่งสมุทัยสัจจะ จบ

วรรณนานิเทศวาร

ว่าด้วยนิโรธสัจจะ (บาลีข้อ ๑๖๐)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศนิโรธสัจจะ ต่อไป.

ในข้อว่า โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย (ความสำรอก....แห่งตัณหา

นั้นเทียว) ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าควรจะตรัสว่า โย ตสฺเสว

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

ทุกฺขสฺส (ความสำรอก...ทุกข์นั้นนั่นแหละ) ดังนี้ แต่เพราะทุกข์ดับไป

เพราะการดับสมุทัยมิใช่โดยประการอื่น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ยถา หิ มูเล อนุปทฺทเว ทฬฺเห

ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปุนเรว รูหติ

เอวปิ ตณฺหานุสเย อนุหเต

นิพฺพตฺตเต ทุกฺขมิท ปุนปฺปุน

เปรียบเหมือนต้นไม้แม้ถูกตัดแล้ว

เมื่อรากยังมั่นคง ไม่มีอุปัทวะ ก็ย่อมงอกขึ้น

อีกฉันใด แม้ทุกข์นี้ก็ฉันนั้น เมื่อตัณหานุสัย

ยังมิได้ถอนขึ้น ก็ย่อมขึ้นบ่อย ๆ.

ฉะนั้น เมื่อทรงแสดงการดับทุกข์นั้นจึงตรัสไว้อย่างนี้ เพื่อทรงแสดง

โดยความดับสมุทัย แท้จริง พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงประพฤติเปรียบเสมือน

สีหราชพระตถาคตเจ้าทั้งหลายเมื่อทรงดับทุกข์ และเมื่อทรงแสดงความดับทุกข์

ย่อมปฏิบัติในเหตุ มิใช่ในผล แต่พวกอัญเดียรถีย์มีความประพฤติเปรียบด้วย

สุนัข พวกเขาเหล่านั้นเมื่อจะดับทุกข์ก็ดี เมื่อจะแสดงความดับทุกข์ก็ดี ย่อม

ปฏิบัติในผลโดยประกอบความเพียรในอันทำตนให้ลำบาก (อัตกิลมถานุโยค)

และด้วยการแสดงการประกอบความเพียรในอันทำตนให้ลำบากนั่นเอง ไม่

ปฏิบัติในเหตุแล.

พระศาสดาผู้ปฏิบัติอยู่ในเหตุ เพราะประพฤติเปรียบด้วยสีหะ จึงตรัส

พระดำรัสมีอาทิว่า โย ตสฺสา เยว ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

ในพระบาลีนั้น บทว่า ตสฺสาเยว (แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว)

ความว่า สภาวะนั้นใดแห่งตัณหานั้นนั่นแหละที่พระองค์ทรงประกาศไว้ใน

หนหลัง ด้วยสามารถแห่งความเกิดและความตั้งมั่น.

บทว่า อเสสวิราคนิโรโธ (ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ)

เป็นต้น ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของพระนิพพานทั้งนั้น เพราะอาศัยพระนิพพาน

ตัณหาย่อมสำรอก ย่อมดับโดยไม่เหลือ ฉะนั้น พระนิพพานนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อเสสวิราคนิโรธ (ความสำรอกและความดับโดย

ไม่เหลือ) แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว. และเพราะอาศัยพระนิพพานแล้ว บุคคล

จึงชนะตัณหาได้ ย่อมสละคืนได้ ย่อมพ้นได้และย่อมไม่ติดอยู่ ฉะนั้นจึงตรัส

เรียกพระนิพพานว่า จาโค (ความสละ) ปฏินิสฺสคฺโค (ความสละคืน)

มุตฺติ (ความพ้น) อนาลโย (ความไม่อาลัย).

ธรรมที่เป็นไวพจน์พระนิพพาน

ความจริง พระนิพพานมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่พระนิพพานนั้น มีชื่อ

เรียกแทนพระนิพพานเป็นอเนก ด้วยสามารถแห่งชื่อที่เป็นปฏิปักษ์แห่งสังขต-

ธรรมทั้งหมด อย่างไร คือ ชื่อมีอาทิว่า

อเสสโต วิราโค (ความสำรอกโดยไม่เหลือ)

นิโรโธ (ความดับ)

จาโค (ความสละ)

ปฏินิสฺสคฺโค (ความสละคืน)

มุตฺติ (ความพ้น)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

อนาลโย (ความไม่มีอาลัย)

ราคกฺขโย (ความสิ้นราคะ)

โทสกฺขโย (ความสิ้นโทสะ)

โมหกฺขโย (ความสิ้นโมหะ)

ตณฺหกฺขโย (ความสิ้นตัณหา)

อนุปฺปาโท (ความไม่เกิดขึ้น)

อปฺปวตฺต (ความไม่เป็นไป)

อนิมิตฺต ( ความไม่มีเครื่องหมาย)

อปฺปณิหิต (ความไม่มีที่ตั้ง)

อนายูหน (ความไม่พยายาม)

อปฺปฏิสนฺธิ (ความไม่มีปฏิสนธิ)

อปฺปฏิวตฺติ (ความไม่กลับเป็นไป)

อคติ (ความไม่มีคติ)

อชาต (ความไม่เกิด)

อชร (ความไม่แก่)

อพฺยาธิ (ความไม่เจ็บ)

อมต (ความไม่ตาย)

อโสก (ความไม่มีโศก)

อปริเทว (ควานไม่มีปริเทวะ)

อนุปายาส (ความไม่มีอุปายาส)

อสกิฏฺ (ความไม่เศร้าหมอง).

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงความไม่มีแห่งตัณหาอันมรรค

ตัดแล้ว แม้อาศัยพระนิพพานแล้วก็ถึงความไม่เป็นไปในวัตถุเป็นที่ตั้งอันใด

ที่พระองค์ทรงแสดงความเกิดของมันไว้ในที่นั้นนั่นแหละ จึงตรัสคำว่า สา โข

ปเนสา (ก็ตัณหานี้นั้นแล) เป็นต้น.

ในพระดำรัสนั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บุรุษเห็นเถาบวบขมเกิดในนา แล้วพึงแสวงหารากไปตั้งแต่ยอดแล้วก็

ตัดเสีย บวบขมนั้นก็จะเหี่ยวแห้ง ถึงความไม่มีบัญญัติ แต่นั้น เถาบวบขม

ในนานั้น บุคคลก็พึงกล่าวได้ว่า อันตรธานไปแล้ว ถูกทำลายแล้ว ฉันใด

ตัณหาในอารมณ์ทั้งหลายมีจักษุเป็นต้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดุจเถาบวบขมในนา

ตัณหานั้นถูกอริยมรรคตัดรากแล้ว เพราะอาศัยพระนิพพานจึงถึงความเป็นไป

ไม่ได้ ก็ตัณหานั้นถึงความเป็นไปอย่างนี้ ก็ย่อมไม่ปรากฏในวัตถุที่ตั้งเหล่านั้น

ดุจเถาบวบขมในนาไม่ปรากฏอยู่ ฉะนั้น.

อนึ่ง พวกราชบุรุษนำพวกโจรมาจากดงแล้วพึงประหารชีวิตที่ประตู

ด้านทักษิณของพระนคร ต่อจากนั้น ใคร ๆ ก็พึงกล่าวว่า โจรในดงตายแล้ว

หรือโจรถูกราชบุรุษฆ่าแล้ว ฉันใด ตัณหาในจักษุเป็นต้น อันใดเป็นเหมือน

พวกโจรในดงก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดับไปแล้วเพราะอาศัยพระนิพพาน ชื่อว่า

ดับไปในพระนิพพาน ดุจพวกโจรถูกประหารที่ประตูด้านทักษิณ ก็ตัณหานั้น

ดับแล้วอย่างนี้ จึงไม่ปรากฏในวัตถุที่ตั้งเหล่านั้น ดุจพวกโจรไม่ปรากฏในดง

ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความดับตัณหานั้นใน

ที่อารมณ์มีจักษุเป็นต้น เหล่านั้นนั่นแหละ จึงตรัสคำมีอาทิว่า จกฺขุ โลเก

ปิยรูป สาตรูป เอตฺเถสา ตณฺหา ปหียมานา ปหียติ เอตฺถ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

นิรุชฺฌมานา นิรุชฺฌติ ( จักษุเป็นปิยรูป สาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อจะละ

ย่อมละที่จักษุนี้ เมื่อจะดับย่อมดับที่จักษุนี้). คำที่เหลือในที่ทั้งหมดมีเนื้อความ

ตื้นทั้งนั้นแล.

กถาว่าด้วยนิเทศแห่งนิโรธสัจจะ จบ

วรรณนานิเทศวาร

ว่าด้วยมรรคสัจจะ (บาลีข้อ ๑๖๒)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งมรรคสัจจะ ต่อไป.

บทว่า อยเมว (นี้เท่านั้น) เป็นคำกำหนดแน่นอน เพื่อปฏิเสธ

มรรคอื่น. บทว่า อริโย (อริยะ) ความว่า ที่ชื่อว่า อริยะ เพราะไกล

จากกิเลสทั้งหลายที่ฆ่าด้วยมรรคนั้น ๆ เพราะทำความเป็นอริยะ และเพราะ

ทำการไดเฉพาะซึ่งอริยผล. องค์ ๘ ของมรรคนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น มรรคนั้น

จึงชื่อว่า อฏฺงฺคิโก (มีองค์ ๘) องค์ ๘ ของมรรคนี้นั้นเป็นเพียงองค์เท่านั้น

เหมือนเสนามีองค์ ๔ และดนตรีมีองค์ ๕ พ้นจากองค์มิได้มี. ที่ชื่อว่า มรรค

เพราะอรรถว่า อันผู้ต้องการพระนิพพานย่อมแสวงหา หรือย่อมแสวงหา

พระนิพพาน หรือเป็นสภาพฆ่ากิเลสทั้งหลายไป. ศัพท์ว่า เสยฺยถีท ความว่า

ถ้ามีผู้ถามว่า องค์มรรคนั้นเป็นไฉน ดังนี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงว่า มรรค คือ องค์มรรค

นั่นเอง นอกจากองค์มรรคย่อมไม่มีจึงตรัสว่า สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ลมั มาสมาธิ

ดังนี้. บรรดาองค์มรรค ๘ เหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ สมฺมาทสฺสนลกฺขณา

มีปัญญาเห็นโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาสังกัปปะ สมฺมา อภินิโรปน-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

ลกฺขโณ มีการยกสัมปยุตธรรมขึ้นโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาวาจา สมฺมา

ปริคฺคหลกฺขณา มีการกำหนดถือโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมากัมมันตะ

สมฺมา สมุฏาปนลกฺขโณ มีการงานดีโดบชอบเป็นลักษณะ สัมมา-

อาชีวะ สมฺมา โวทานลกฺขโณ มีอาชีวะที่ผ่องแผ้วโดยชอบเป็นลักษณะ

สัมมาวายามะ สมฺมา ปคฺคหลกฺขโณ มีความเพียรประคองไว้โดยชอบ

เป็นลักษณะ สัมมาสติ สมฺมา อุปฏานลกฺขณา* มีการปรากฏโดยชอบ

เป็นลักษณะ สัมมาสมาธิ สมฺมา สมาธานลกฺขโณ มีการตั้งใจมั่น

โดยชอบเป็นลักษณะ.

บรรดาองค์มรรค ๘ เหล่านั้น แต่ละองค์มีกิจ คือหน้าที่องค์ล่ะ ๓.

อย่างไร คือ สัมมาทิฏฐิก่อน ย่อมละมิจฉาทิฏฐิกับกิเลสที่เป็นข้าศึกของตน

แม้อื่น ๆ ได้ ๑ ย่อมทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ ๑ ย่อมเห็นสัมปยุตตธรรม

ทั้งหลายเพราะไม่ฟั่นเฝือด้วยอำนาจกำจัดโมหะอันปกปิดสัมปยุตตธรรมนั้น ๆ

ได้ ๑ แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้นก็เช่นนั้นเหมือนกัน ย่อมละมิจฉาสังกัปปะ

เป็นต้น ย่อมกระทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ แต่ในสัมมาสังกัปปะเป็นต้นนี้

ว่าโดยความแปลกกัน สัมมาสังกัปปะย่อมยกขึ้นซึ่งสหชาตธรรม สัมมาวาจา

ย่อมกำหนดถือไว้โดยชอบ สัมมากัมมันตะย่อมยังการงานให้ตั้งขึ้นดีโดยชอบ

สัมมาอาชีวะย่อมให้อาชีวะผ่องแผ้วโดยชอบ สัมมาวายามะย่อมประคองไว้โดย

ชอบ สัมมาสติ ย่อมปรากฏโดยชอบ สัมมาสมาธิ ย่อมตั้งมั่นโดยชอบ.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมดาสัมมาทิฏฐินี้ ในส่วนเบื้องต้น (โลกีย์มรรค)

มีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน ในกาลแห่งมรรคมีขณะเดียวกัน มีอารมณ์

* คำว่า อุปฏานลกฺขณา นี้ เฉพาะคำว่า อุปฏาน มีคำแปลหลายอย่างคือแปลว่า มีการ

ปรากฏบ้าง มีการบำรุงบ้าง มีการปฏิบัติบ้าง มีการตั้งมั่นบ้าง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

เดียวกัน ก็ว่าโดยกิจ (หน้าที่) ย่อมได้ชื่อ ๔ อย่างมีคำอาทิว่า ทุกฺเข าณ

(ญาณในทุกข์). แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้นในส่วนเบื้องต้นก็มีขณะต่างกัน มี

อารมณ์ต่างกัน ในกาลแห่งมรรค มีขณะเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน บรรดาองค์

มรรค ๗ มีสัมมาสังกัปปะเป็นต้นเหล่านั้น ว่าโดยกิจ (หน้าที่) สัมมาสังกัปปะ

ย่อมได้ชื่อ ๓ อย่าง ว่า เนกขัมมสังกัปปะเป็นต้น. องค์มรรค ๓ มีสัมมาวาจา

เป็นต้นในส่วนเบื้องต้น มีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน คือ ย่อมเป็นวิรตี

บ้าง เป็นเจตนาบ้าง ในขณะแห่งมรรคเป็นวิรตีอย่างเดียว. องค์มรรค ๒ แม้นี้

คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ว่าโดยกิจย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง ด้วยอำนาจแห่ง

สัมมัปปธาน และสติปัฏฐาน ส่วนสัมมาสมาธิ ในส่วนเบื้องต้นก็ดี ในขณะ

แห่งมรรคก็ดี ก็ชื่อว่า สัมมาสมาธินั่นแล.

ว่าด้วยธรรม ๘ โดยลาดับ

ในธรรม ๘ ตามที่แสดงมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมาทิฏฐิ

ก่อนเพราะเป็นธรรมอุปการะมากแก่พระโยคีผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน

เพราะสัมมาทิฏฐินี้พระองค์ตรัสเรียกว่า "ประทีปอันโพลงทั่วคือปัญญา ศัสตรา

คือปัญญา เป็นต้น ฉะนั้น พระโยคาวจรผู้ทำลายความมืดคืออวิชชา ด้วย

สัมมาทิฏฐิ กล่าวคือวิปัสสนาญาณในกาลเบื้องต้นนี้แล้วฆ่าโจรคือกิเลสอยู่ ย่อม

บรรลุพระนิพพานได้โดยปลอดภัย ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า "พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมาทิฏฐิก่อน เพราะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่พระ-

โยคีผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน ดังนี้.

อนึ่ง สัมมาสังกัปปะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐินั้น เพราะ

ฉะนั้น จึงตรัสไว้ในลำดับสัมมาทิฏฐินั้น เปรียบเหมือนเหรัญญิก (ผู้ดูเงิน)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 362

ใช้มือพลิกเงินกลับไปมาแล้วตรวจดูกหาปณะด้วยตา ย่อมรู้ว่า กหาปณะนี้เก๊

กหาปณะนี้ดี ฉันใด แม้พระโยคาวจร ก็ฉันนั้น ใช้วิตกตรึกแล้ว ๆ ในกาล

ส่วนเบื้องต้นแล้วตรวจดูอยู่ด้วยวิปัสสนาปัญญา ก็จะทราบได้ว่า ธรรมเหล่านี้

เป็นกามาพจร ธรรมเหล่านั้นเป็นรูปาพจรเป็นต้น ก็หรือว่า เปรียบเหมือนช่าง

ถากใช้มีดถากท่อนไม้ใหญ่ อันบุรุษ จับตรงปลายพลิกกลับไปมาโดยรอบ ให้

แล้ว ย่อมนำไปในการงานได้ ฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น กำหนดธรรม

ทั้งหลายอันวิตกตรึกแล้ว ๆ ให้แล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกามาพจร

ธรรมเหล่านั้น เป็นรูปาพจร ด้วยปัญญา ดังนี้แล้ว ย่อมน้อมไปในการงานได้

ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า ก็สัมมาสังกัปปะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐิ

นั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัมมาสังกัปปะในลำดับแห่งสัมมา-

ทิฏฐินั้น.

สัมมาสังกัปปะนี้เป็นธรรมมีอุปการะมากแม้แก่สัมมาวาจา ดุจมี

อุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐิ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า " ดูก่อนคหบดี บุคคล

ตรึกแล้วตรองแล้วก่อนแล ย่อมเปล่งวาจาภายหลัง เพราะฉะนั้น พระองค์

จึงตรัสสัมมาวาจาในลำดับของสัมมาสังกัปปะนั้น.

อนึ่ง เพราะชนทั้งหลายจัดแจงด้วยวาจาก่อนว่า พวกเราจะทำสิ่ง

นี้ ๆ " แล้วจึงประกอบการงานในโลก ฉะนั้น วาจา จึงเป็นธรรมมีอุปการะ

แก่กายกรรม เพราะเหตุนั้น จึงตรัสสัมมากัมมันตะในลำดับแห่งสัมมาวาจา.

อนึ่ง เพราะอาชีวัฏฐมกศีล (ศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘) ย่อมเต็มแก่บุคคล

ผู้ละวจีทุจริต ๔ กายทุจริต ๓ ยังสุจริตทั้ง ๒ ให้บริบูรณ์นั่นแหละ มิใช่เต็มแก่

บุคคลนอกจากนี้ ฉะนั้น จึงตรัสสัมมาอาชีวะในลำดับสุจริตทั้ง ๒ นั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 363

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงว่า "บุคคลผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์

แล้วอย่างนี้ ไม่สมควรจะพอใจเพียงเท่านี้ว่า อาชีวะของเราบริสุทธิ์แล้ว เป็น

ประมาทดังคนหลับ โดยที่แท้ ควรเริ่มความเพียรนี้ในทุกอิริยาบถ ดังนี้

จึงตรัสสัมมาวายามะในลำดับสัมมาอาชีวะนั้น.

ต่อจากนั้น เพื่อจะทรงแสดงว่า พระโยคาวจรแม้มีความเพียรเริ่มแล้ว

ก็พึงทำสติให้ตั้งมั่นอย่างดีในวัตถุ มีกาย* เป็นต้น" ดังนี้ จึงทรงแสดงสัมมา-

สติในลำดับแห่งสัมมาวายามะนั้น.

อนึ่ง เพราะสติตั้งมั่น ดีอย่างนี้แล้ว ก็จะตรวจดูคติทั้งหลายแห่งธรรม

ทั้งหลาย ที่มีอุปการะและไม่มีอุปการะของสมาธิ จึงเพียงพอเพื่อตั้งจิตมั่นใน

อารมณ์มีความเป็นหนึ่งได้ ฉะนั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

สัมมาสมาธิไว้ในลำดับแห่งสัมมาสติ ดังนี้.

ว่าด้วยนิเทศแห่งสัมมาทิฏฐิ (บาลีข้อ ๑๖๓)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งสัมมาทิฏฐิ ต่อไป

กรรมฐานในสัจจะ ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยพระดำรัสมี

อาทิว่า ทุกฺเข าณ (ความรู้ในทุกข์) ดังนี้. บรรดาสัจจะ ๔ เหล่านั้น

สัจจะ ๒ ข้างต้นเป็นวัฏฏะ สัจจะ ๒ หลังเป็นวิวัฏฏะ ในสัจจะที่เป็นวัฏฏะและ

วิวัฏฏะเหล่านั้น ภิกษุย่อมมีความยึดมั่นกรรมฐานในสัจจะที่เป็นวัฏฏะ. ไม่มี

ความยึดมั่นในสัจจะที่เป็นวิวัฏฏะ.

จริงอยู่ พระโยคาวจรเรียนสัจจะ ๒ ข้างต้นในสำนักอาจารย์โดยย่อ

อย่างนี้ว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ตัณหาเป็นสมุทัย ดังนี้ และโดยพิสดารมีนัย

อาทิว่า "ขันธ์ ๕ เป็นไฉน คือรูปขันธ์ ดังนี้ แล้วทบทวนด้วยวาจาอยู่บ่อย ๆ

ย่อมทำกรรม. แต่ในสัจจะ ๒ นอกนี้ พระโยคาวจรย่อมทำกรรมด้วยการฟัง

* คือ กาย เวทนา จิต ธรรม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 364

อย่างนี้ว่า "นิโรธสัจจะน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มรรคสัจจะน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ" ดังนี้ เมื่อเธอทำกรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมแทงตลอดสัจจะทั้ง

๔ ด้วยการแทงตลอดคราวเดียวกัน ย่อมตรัสรู้ด้วยการตรัสรู้คราวเดียวกัน คือ

แทงตลอดทุกข์ด้วยการแทงตลอดคือการกำหนดรู้ (ปริญญากิจ) ย่อมแทง

ตลอดสมุทัยด้วยการแทงตลอด คือการละ (ปหานกิจ) ย่อมแทงตลอดนิโรธ

ด้วยการแทงตลอดคือการทำให้แจ้ง (สัจฉิกิริยากิจ) ย่อมแทงตลอดมรรคด้วย

การแทงตลอดคือการเจริญ ย่อมตรัสรู้ทุกข์ด้วยการตรัสรู้คือการกำหนดรู้ ฯลฯ

ย่อมตรัสรู้มรรคด้วยการตรัสรู้คือการเจริญ.

การแทงตลอด (ปฏิเวธ) ด้วยการเรียน การสอบถาม การฟัง การทรง

จำ และการพิจารณาในสัจจะ ๒ ในส่วนเบื้องต้นของภิกษุนั้น ย่อมมีด้วยประการ

ฉะนี้ ในสัจจะ ๒ หลัง มีการแทงตลอดได้ด้วยการฟังอย่างเดียว. ในการส่วน

อื่นอีก ย่อมมีการแทงตลอดในสัจจะ ๓ โดยกิจการแทงตลอดด้วยอารมณ์ ย่อม

มีในนิโรธ ในการแทงตลอดโดยกิจและอารมณ์เหล่านั้น ความรู้ด้วยปฏิเวธะ

(ปฏิเวธญาณ) แม้ทั้งหมดเป็นโลกุตระ ความรู้ด้วยการฟัง การทรงจำ และการ

พิจารณาเป็นโลกิยะฝ่ายกามาพจร ก็มรรคสัจจะย่อมมีปัจจเวกขณะ และพระ-

โยคาวจรนี้เป็นอาทิกัมมิกบุคคล เพราะฉะนั้น ปัจจเวกขณะ (คือการพิจารณา)

นั้น ข้าพเจ้าจึงไม่กล่าวไว้ในที่นี้.

อนึ่ง การผูกใจ การใส่ใจ การมนสิการ เละการพิจารณา ย่อม

ไม่มีแก่ภิกษุนี้ ผู้ถือเอาในเบื้องต้น "ว่าเราจะกำหนดรู้ทุกข์ จะละสมุทัย จะ

ทำนิโรธให้แจ้ง จะเจริญมรรค" แต่ย่อมมีจำเดิมแต่การกำหนดถือเอา ส่วน

ในกาลอื่นอีก ทุกข์ย่อมเป็นอันเธอรู้แล้วโดยแท้ ฯลฯ มรรคก็ย่อมเป็นอันเธอ

เจริญแล้วเหมือนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 365

บรรดาสัจจะ เหล่านั้น สองสัจจะเป็นธรรมลึกซึ้ง เพราะสัตว์เห็น

ได้ยาก สัจจะ ๒ ที่ชื่อว่า เห็นได้โดยยาก เพราะลึกซึ้ง จริงอยู่ ทุกขสัจจะเป็น

ของปรากฏเพราะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงแม้คำอันบุคคลพึงกล่าวว่า ทุกข์หนอ ใน

เวลาที่ถูกคอ หรือหนามทิ่มแทงเป็นต้น. ถึงสมุทัยก็ปรากฏโดยการเกิดขึ้นด้วย

อำนาจแห่งบุคคลผู้ประสงค์จะเคี้ยวจะบริโภค ก็สัจจะทั้ง ๒ แม้นั้นเป็นของลึก

โดยการแทงตลอดลักษณะ ก็สัจจะ ๒ เหล่านั้น ชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะสัตว์เห็น

ได้ยาก ด้วยประการฉะนี้. การประกอบความเพียรเพื่อจะเห็นสัจจะ ๒ นอกนี้

(นิโรธ มรรค) ย่อมดุจการเหยียดมือไปเพื่อจับภวัตรพรหม ดุจการเหยียด

เท้าเพื่อถูกต้องอเวจีนรก และเป็นดุจเอาปลายขนทรายจดปลายขนทรายที่แบ่ง

แล้วร้อยส่วน* สัจจะ ๒ เหล่านั้น ชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้งด้วยประการ

ฉะนี้. คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทุกฺเข าณ นี้ ทรงหมายเอาความเกิด

ขึ้นแห่งญาณในบุพภาค ด้วยสามารถแห่งการเรียนเป็นต้นในสัจจะ ๔ ชื่อว่า

ลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยาก และชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะความลึกซึ้ง ด้วยประการ

ฉะนี้ แต่ในขณะแห่งการแทงตลอด ญาณนั้นย่อมมีครั้งเดียวกันแล.

ว่าด้วยนิเทศแห่งสัมมาสังกัปปะ (บาลีข้อ ๑๖๔)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งสัมมาสังกัปปะ ต่อไป.

สังกัปปะ (ความดำริ) ใด ออกจากกาม เพราะเหตุนั้น สังกัปปะนั้น

จึงชื่อว่า เนกขัมมสังกัปปะ (ความดำริในการออกจากกาม). สังกัปปะใด

ออกจากพยาบาท เพราะเหตุนั้น สังกัปปะนั้น จึงชื่อว่า อัพยาปาทสังกัปปะ

* บางแห่งแสดงว่า เอาปลายขนทรายยินปลายขนทรายที่แบ่งแล้ว ๗ ส่วน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 366

(ความดำริในการไม่พยาบาท). สังกัปปะใดออกจากความเบียดเบียน เพราะ

เหตุนั้น สังกัปปะนั้น จึงชื่อว่า อวิหิงสาสังกัปปะ (ความดำริในการไม่

เบียดเบียน).

บรรดาสังกัปปะทั้ง ๓ เหล่านั้น เนกขัมมวิตกเกิดขึ้นทำการตัดทาง

คือทำลายทางเป็นเครื่องดำเนินของกามวิตก อัพยาบาทวิตกเกิดขึ้นทำการตัดทาง

คือทำลายทางเป็นเครื่องดำเนินของพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นทำการ

ตัดทาง คือทำลายทางเป็นเครื่องดำเนินของวิหิงสาวิตก. อนึ่ง เนกขัมมวิตก

เกิดขึ้นเป็นข้าศึกต่อกามวิตก อัพยาบาทวิตกและอวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นเป็นข้าศึก

ต่อพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตก.

ในวิตกเหล่านั้น พระโยคาวจรย่อมพิจารณากามวิตก ก็หรือสังขาร

ไร ๆ อื่น เพื่อทำนายทางของกามวิตก ต่อจากนั้น ความดำริของเธอซึ่ง

สัมปยุตด้วยวิปัสสนาในขณะแห่งวิปัสสนาก็จะเกิดขึ้นทำการตัดทาง คือทำลาย

ทางของกามวิตก ด้วยสามารถแห่งองค์ของวิปัสสนานั้น (ตทังคปหาน) เธอ

ขวนขวายวิปัสสนาก็จะบรรลุมรรคได้ ลำดับนั้น สังกัปปะ (ความดำริ) ซึ่ง

สัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคของเธอก็จะเกิดขึ้นทำการตัดทาง คือทำลาย

เครื่องดำเนินของกามวิตก ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉท. อนึ่ง พระโยคาวจรย่อม

พิจารณาพยาบาทวิตก หรือสังขารอื่น เพื่อทำลายทางของพยาบาทวิตก หรือ

ย่อมพิจารณาวิหิงสาวิตก หรือสังขารอื่น เพื่อทำลายทางของวิหิงสาวิตก ต่อ

จากนั้น พึงประกอบคำทั้งปวงในขณะแห่งวิปัสสนาของเธอ โดยนัยมีในก่อน

นั่นแล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

กรรมฐานที่เป็นข้าศึกต่ออกุศลวิตก ๓

อนึ่ง ในอารมณ์กรรมฐาน ๓๘ ที่ทรงจำแนกไว้ในพระบาลี แม้กรรม

ฐานหนึ่ง ชื่อว่า ไม่เป็นข้าศึกต่ออกุศลวิตก ๓ มีกามวิตกเป็นต้น หามีไม่.

ก็ปฐมฌานในอสุภะทั้งหลายทั้งหมดทีเดียว เป็นข้าศึกต่อกามวิตกโดยส่วนเดียว

ก่อน ฌานหมวด ๓ หมวด ๔ (ปัญจกนัย) ในเมตตาภาวนาเป็นปฏิปักษ์ต่อ

พยาบาทวิตก ฌานหมวด ๓ และหมวด ๔ ในกรุณาเป็นปฏิปักษ์ต่อวิหิงสา-

วิตก เพราะฉะนั้น เมื่อพระโยคาวจรกระทำบริกรรมในอสุภะเข้าฌานสังกัป-

ปะ (ความดำริ) ที่สัมปยุตด้วยฌานในขณะแห่งสมาบัติ ก็จะเกิดเป็นข้าศึกต่อ

กามวิตก ด้วยสามารถแห่งวิกขัมภนะ เมื่อพระโยคาวจรทำฌานให้เป็นบาท

เริ่มตั้งวิปัสสนา สังกัปปะอันสัมปยุตด้วยวิปัสสนาในขณะแห่งวิปัสสนาก็ย่อม

เกิดเป็นข้าศึกต่อกามวิตกด้วยสามารถแห่งองค์ของวิปัสสนา (ตทังคปหาน) นั้น

เมื่อเธอขวนขวายวิปัสสนาบรรลุมรรคแล้ว สังกัปปะที่สัมปยุตด้วยมรรคใน

ขณะแห่งมรรคก็เกิดขึ้นเป็นข้าศึกต่อกามวิตก ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทปหาน

สังกัปปะ (ความดำริ) อันเกิดขึ้นอย่างนี้ พึงทราบว่า ตรัสเรียกว่า เนกขัมม-

สังกัปปะแล.

อนึ่ง บัณฑิตพึงประกอบคำทั้งปวงว่า "พระโยคาวจรทำบริกรรมใน

เมตตาภาวนา ท่าบริกรรมในกรุณาภาวนาเข้าฌาน" เป็นต้น โดยนัยก่อน

นั่นแหละ พึงทราบว่า สังกัปปะอันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ตรัสเรียกว่า อัพยาปาท-

สังกัปปะ และอวิหิงสาสังกัปปะ สังกัปปะเหล่านี้มีเนกขัมมสังกัปปะเป็นต้นด้วย

อาการอย่างนี้ ชื่อว่า มีอารมณ์ต่าง ๆ ในส่วนเบื้องต้น เพราะความที่สังกัปปะ

เหล่านั้นเกิดขึ้นมีอารมณ์ต่างกันด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาและฌาน แต่ในขณะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 368

แห่งมรรค กุศลสังกัปปะ (ความดำริที่เป็นกุศล) ย่อมเกิดขึ้นเป็นอันเดียวกัน

ทำองค์แห่งมรรคให้บริบูรณ์ เพราะตัดทางดำเนินแห่งอกุศลสังกัปปะที่เกิดขึ้น

ในฐานะ ๓ เหล่านี้ ด้วยสามารถแห่งการไม่เกิดขึ้นได้สำเร็จ.

นี้ ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ.

ว่าด้วยนิเทศแห่งสัมมาวาจา (บาลีข้อ ๑๖๕)

พึงทราบวินิจฉัยแม้ในนิเทศแห่งสัมมาวาจา ต่อไป

อนึ่ง เพราะบุคคลย่อมงดเว้นมุสาวาทด้วยจิตดวงหนึ่ง ย่อมงดเว้น

ปิสุณาวาจาเป็นต้นด้วยจิตดวงหนึ่ง ฉะนั้น เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นทั้ง ๔

เหล่านั้น จึงต่าง ๆ กันในส่วนเบื้องต้น แต่ในขณะแห่งมรรค ย่อมเกิดเจตนา

งดเว้นเป็นกุศลกล่าวคือสัมมาวาจาอย่าวเดียวเท่านั้นอันยังองค์มรรคให้บริบูรณ์

เพราะตัดทางดำเนินแห่งเจตนาความเป็นผู้ทุศีลในอกุศล ๔ อย่าง กล่าวคือมิจ-

ฉาวาจาด้วยสามารถไม่เกิดขึ้นได้สำเร็จ.

นี้ ชื่อว่า สัมมาวาจา.

ว่าด้วยนิเทศสัมมากัมมันตะ

พึงทราบวินิจฉัยแม้ในนิเทศแห่งสัมมากัมมันตะ ต่อไป

อนึ่ง เพราะบุคคลย่อมงดเว้นปาณาติบาตจิตดวงหนึ่ง ย่อมงดเว้น

อทินนาทานด้วยจิตดวงหนึ่ง ย่อมงดเว้นกาเมสุมิจฉาจารด้วยจิตดวงหนึ่ง ฉะนั้น

เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น ทั้ง ๓ เหล่านี้ จึงต่าง ๆ กันในส่วนเบื้องต้น แต่ใน

ขณะแห่งมรรค ย่อมเกิดกุศลเจตนาเป็นเครื่องงดเว้น กล่าวคือสัมมากัมมันตะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 369

วงเดียวเท่านั้น อันยังองค์มรรคให้บริบูรณ์ เพราะตัดทางดำเนินของเจตนา

เป็นเหตุศีลในอกุศล ๓ อย่าง กล่าวคือมิจฉากัมมันตะ ด้วยสามารถแห่ง

ความไม่เกิดขึ้นได้สำเร็จ.

นี้ ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ.

ว่าด้วยนิเทศสัมมาอาชีวะ

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสัมมาอาชีวะ ต่อไป

บทว่า อิธ ได้แก่ ในพระศาสนานี้. บทว่า อริยสาวโก ได้แก่

สาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นอริยะ. บทว่า มจฺฉาอาชีว ปหาย (ละมิจฉา

อาชีวะแล้ว) ได้แก่ ละขาดซึ่งอาชีวะอันลามก. บทว่า สมฺมาอาชีเวน

(ด้วยสัมมาอาชีวะ) ได้แก่ อาชีวะอันเป็นกุศลที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว.

บทว่า ชีวิต กปฺเปติ (เลี้ยงชีวิตอยู่) ได้แก่ ยังความเป็นไปแห่งชีวิตให้

ดำเนินไป. แม้ในสัมมาอาชีวะนี้ เพราะบุคคลย่อมงดเว้นจากการก้าวล่วง

กายทวารด้วยจิตดวงหนึ่ง ย่อมงดเว้นจากการก้าวล่วงทางวจีทวารด้วยจิตดวง

หนึ่ง ฉะนั้น ในส่วนเบื้องต้นจึงเกิดขึ้นในขณะต่าง ๆ แต่ในขณะแห่งมรรค

ย่อมเกิดกุศลเจตนาเครื่องงดเว้น กล่าวคือสัมมาอาชีวะดวงเดียวเท่านั้น อันยัง

องค์มรรคให้บริบูรณ์ เพราะตัดทางดำเนินของเจตนาเป็นเครื่องทุศีลในมิจฉา

อาชีวะที่เกิดขึ้น ด้วยอำนาจกรรมบถ ๗ ในทวารทั้ง ๒ ด้วยสามารถไม่ให้เกิด

ขึ้นได้สำเร็จ.

นี้ ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ.

ว่าด้วยนิเทศสัมมาวายามะเป็นต้น

นิเทศแห่งสัมมาวายามะจักแจ่มแจ้งด้วยสามารถการพรรณนาตามบท

ในสัมมัปปธานวิภังค์. ก็สัมมาวายามะนี้ย่อมได้ในจิตต่าง ๆ ในกาลเบื้องต้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 370

เพราะบุคคลย่อมทำความเพียรเพื่อความไม่เกิด แห่งอกุศลธรรมอันลามก

ทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยจิตดวงหนึ่ง เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว

ด้วยจิตดวงหนึ่ง และเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยจิตดวง

หนึ่ง เพื่อความดำรงอยู่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วด้วยจิตดวงหนึ่ง แต่ในขณะ

แห่งมรรค ย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น เพราะความเพียรอันสัมปยุตด้วย

มรรคอันเดียวเท่านั้น ย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง ด้วยอรรถว่ายังกิจ ๔ อย่างให้สำเร็จ.

แม้นิเทศแห่งสัมมาสติก็จักมีแจ้งด้วยสามารถการพรรณนาตามบท

ในสติปัฏฐานวิภังค์. อนึ่ง สัมมาสติแม้นี้ก็ย่อมได้ให้จิตต่าง ๆ ในส่วนเบื้องต้น

จริงอยู่ บุคคลย่อมกำหนดกายเป็นอารมณ์ด้วยดวงหนึ่ง ย่อมกำหนดเวทนา

เป็นต้น ด้วยจิตดวงหนึ่ง ๆ แต่ในขณะแห่งมรรคย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น

เพราะสติที่สัมปยุตด้วยมรรคดวงเดียวเท่านั้น ย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง ด้วยอรรถว่า

ให้สำเร็จกิจ ๔ อย่าง.

ว่าด้วยนิเทศสัมมาสมาธิ (บาลีข้อ ๑๗๐)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสัมมาสมาธิ ต่อไป

ฌาน ๔ มีความต่างกันแม้ในส่วนเบื้องต้น แม้ในขณะแห่งมรรค ใน

ส่วนเบื้องต้นต่างกันด้วยอำนาจสมาบัติ ในขณะแห่งมรรคต่างกันด้วยอำนาจ

แห่งมรรค. ความจริง ปฐมมรรคของบุคคลคนหนึ่งย่อมเป็นธรรมประกอบ

ด้วยปฐมฌาน แม้มรรคดวงที่ ๒ เป็นต้นก็เป็นธรรมประกอบด้วยปฐมฌาน

หรือประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งมีทุติยฌานเป็นต้น. ปฐมมรรคของบุคคล

คนหนึ่งก็ประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งมีทุติยฌานเป็นต้น. แม้ทุติยมรรค

เป็นต้น ก็เป็นธรรมประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งแห่งทุติยฌานเป็นต้น หรือว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 371

ประกอบด้วยปฐมฌาน. ด้วยอาการอย่างนี้ มรรคแม้ทั้ง ๔ ย่อมเป็นเช่นเดียวกัน

บ้าง ไม่เป็นเช่นเดียวกันบ้าง หรือเป็นเช่นเดียวกันบ้างอย่าง ด้วยอำนาจฌาณ.

ส่วนความแปลกของมรรคนั้น ด้วยกำหนดฌานเป็นบาทมีดัง

ต่อไป ว่าด้วยนิยาม (การกำหนด) มรรคที่มีฌานเป็นบาทก่อน เมื่อบุคคล

ผู้ได้ปฐมฌานออกจากปฐมฌานแล้วเห็นแจ้งอยู่ มรรคเป็นธรรมประกอบด้วย

ปฐมฌานก็เกิดขึ้น และในมรรคนี้ องค์มรรคและโพชฌงค์ ย่อมเป็นธรรม

บริบูรณ์ทีเดียว เมื่อบุคคลได้ทุติยฌานออกจากทุติยฌานพิจารณาเห็นแจ้งอยู่

มรรคประกอบด้วยทุติยฌานก็เกิดขึ้น แต่ในมรรคนี้ องค์มรรคย่อมมี ๗ องค์

เมื่อได้ตติยฌานออกจากตติยฌานแล้วพิจารณาเห็นแจ้งอยู่ มรรคประกอบด้วย

ตติยฌานก็เกิดขึ้น แต่ในมรรคนี้ องค์มรรคมี ๗ โพชฌงค์ ๖. นับตั้งแต่

จตุตถฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็นัยนี้. ฌานที่เป็นจตุกนัยและ

ปัญจกนัยย่อมเกิดขึ้นในอรูปภพ. ก็ฌานนั้นแลตรัสเรียกว่า โลกุตระมิใช่โลกิยะ

ถามว่า ในอธิการนี้เป็นอย่างไร ตอบว่า ในอธิการนี้ พระโยคาวจรออกจาก

ณานใด บรรดาปฐมฌานเป็นต้น ได้เฉพาะซึ่งโสดาปัตติมรรคแล้วเจริญอรูป-

สมาบัติเกิดขึ้นในอรูปภพ มรรค ๓ (เบื้องต้น) ของเขาประกอบด้วยฌาน

นั้นแหละ ย่อมเกิดขึ้นในภพนั้น ด้วยอาการอย่างนี้ ฌานที่เป็นบาทนั้นเอง

ย่อมกำหนดมรรค.

แต่พระเถระบางพวกย่อมกล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของ

วิปัสสนาย่อมกำหนด บางพวกกล่าวว่า อัชฌาสัยของบุคคลย่อมกำหนด

บางพวกกล่าวว่า วิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินีย่อมกำหนด บัณฑิตพึงทราบ

วินิจฉัยวาทะของพระเถระเหล่านั้น โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในการวรรณนา

บทภาชนีย์ว่าด้วยโลกรุตระในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลังนั่นแล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

คำว่า อย วุจฺจติ สมฺมาสมาธิ (นี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ) ความว่า

เอกกัคคตา (สมาธิจิต ) ในฌาน ๔ เหล่านั้น เราเรียกชื่อว่า สัมมาสมาธิ เป็น

โลกิยะในส่วนเบื้องต้น แต่ในกาลภายหลังเป็นโลกุตระ. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงมรรคสัจจะด้วยสามารถเป็นโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการฉะนี้

ว่าด้วยมรรคที่เป็นโลกีย์และโลกุตระ

บรรดามรรคที่เป็นโลกีย์และโลกุตระเหล่านั้น ในโลกิยมรรค องค์-

มรรคทั้งหมด ย่อมมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในอารมณ์ ๖ ตามสมควร

แต่ในโลกุตรมรรค ปัญญาจักษุ (จักษุคือปัญญา) มีนิพพานเป็นอารมณ์ อัน

ถอนเสียซึ่งอวิชชานุสัย ของพระอริยสาวกผู้ประพฤติเพื่อแทงตลอดสัจจะ ๔ เป็น

สัมมาทิฏฐิ. อนึ่ง การยกจิตขึ้นสู่แนวทางพระนิพพานซึ่งสัมปยุตด้วยสัมมา-

ทิฏฐินั้นแล้วถอนเสียซึ่งมิจฉาสังกัปปะ ๓ อย่าง ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ

เป็น สัมมาสังกัปปะ. อนึ่ง เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นมิจฉาวาจา ที่สัมปยุต

ด้วยสัมมาสังกัปปะนั้นแหละ ถอนขึ้นซึ่งวจีทุจริต ๔ อย่าง ของบุคคลผู้เห็นอยู่

และตรึกอยู่ เป็น สัมมาวาจา. เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นกายทุจริต ๓ อย่าง

ที่สัมปยุตด้วยสัมมาวาจานั้นแหละตัดขาดมิจฉากัมมันตะ ของบุคคลผู้งดเว้นอยู่

เป็น สัมมากัมมันตะ. เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นมิจฉาอาชีวะ ที่เป็นธรรมชาติ

ผ่องแผ้วของสัมมาวาจาและกัมมันตะ. เหล่านั้นนั่นเอง เป็นธรรมสัมปยุตด้วย

สัมมาวาจาและกัมมันตะนั้น ๆ แหละตัดขาดอกุศลมีการหลอกลวงเป็นต้น เป็น

สัมมาอาชีวะ. อนึ่ง วิริยารัมภะ (ปรารภความเพียร) ของบุคคลผู้ตั้งมั่น

ในภูมิศีล กล่าวคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ นี้สมควรแก่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

ศีลนั้น สัมปยุตด้วยศีลนั้นแลตัดขาดความเกียจคร้าน ให้สำเร็จความไม่เกิด

อกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ยังกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ที่เกิด

แล้วให้ดำรงอยู่ เป็น สัมมาวายามะ. ความที่จิตไม่หลงลืมของผู้พยายามอยู่

อย่างนี้ สัมปยุตด้วยสัมมาวายามะนั้นถอนขึ้นซึ่งมิจฉาสติ ให้สำเร็จเป็นกายา-

นุปัสสนาเป็นต้น ในอารมณ์มีกายเป็นต้น เป็น สัมมาสติ. ความที่จิตมีอารมณ์

เป็นหนึ่งของผู้รักษาจิตอันอนุตรสติจัดแจงดีแล้ว สัมปยุตด้วยสัมมาสติและ

ถอนขึ้นซึ่งมิจฉาสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ ด้วยประการฉะนี้แล.

นี้ เป็นอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นโลกุตระ.

ว่าด้วยมรรคเป็นทั้งวิชาและจรณะเป็นต้น

อนึ่ง โลกุตรมรรคใด พร้อมท่งโลกิยมรรค ถึงซึ่งการนับ ว่าเป็น

ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา (ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์) มรรคนั้นแลเป็น

ทั้งวิชชาและจรณะ เพราะสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะทรงสงเคราะห์ไว้ด้วย

วิชชา ธรรมที่เหลือสงเคราะห์ไว้ด้วยจรณะ อนึ่ง มรรคนั้นเป็นทั้งสมถะและ

วิปัสสนา เพราะความที่สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะทั้ง ๒ เหล่านั้น ทรง

สงเคราะห์ไว้ด้วยวิปัสสนาญาณ. ธรรมนอกจากนี้ สงเคราะห์ไว้ด้วยสมถญาณ.

อีกอย่างหนึ่ง มรรคนั้นเป็นทั้งขันธ์ ๓ และสิกขา ๓ เพราะความที่สัมมาทิฏฐิ

และสัมมาสังกัปปะทั้ง ๒ เหล่านั้น ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์ ธรรม ๓

ในลำดับต่อจากสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะนั้นสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์ ที่เหลือ

สงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์ และธรรมเหล่านั้นแหละสงเคราะห์ด้วยอธิปัญญาสิกขา

อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา.

พระอริยสาวกประกอบด้วยมรรคใด เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ

จรณะดุจบุคคลผู้เดินทางไกลประกอบด้วยจักษุทั้ง ๒ อันสามารถในการเห็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 374

และเท้าทั้ง ๒ อันสามารถในการเดิน เว้นที่สุด ๒ อย่าง คือกามสุขัลลิกานุโยค

ด้วยวิปัสสนาญาณ และอัตตกิลมถานุโยคด้วยสมถญาณ ดำเนินไปสู่มัชฌิม-

ปฏิปทา ทำลายอยู่ซึ่งกองโมหะด้วยปัญญาขันธ์ ซึ่งกองแห่งโทสะด้วยศีลขันธ์

ซึ่งกองโลภะด้วยสมาธิขันธ์ บรรลุสมบัติ ๓ คือ ซึ่งปัญญาสัมปทาด้วยอธิปัญญา-

สิกขา ซึ่งศีลสัมปทาด้วยอธิศีลสิกขา ซึ่งสมาธิสัมปทาด้วยอธิจิตตสิกขา ย่อม

กระทำให้แจ้งซึ่งอมตะคือพระนิพพาน ชื่อว่าหยั่งลงสู่อริยภูมิ กล่าวคือสัมมัตต-

นิยาม (นิยามอันชอบ) ซึ่งวิจิตรด้วยรัตนะคือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

อันงามในเบื้องต้น ท่ามกลางและปริโยสาน แล.

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

อภิธรรมภาชนีย์

อัฏฐังคิกวาร

[๑๗๑] สัจจะ ๔ คือ

๑. ทุกข์

๒. ทุกขสมุทัย

๓. ทุกขนิโรธ

๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

[๑๗๒] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ?

ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.

[๑๗๓] ทุกข์ เป็นไฉน ?

กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ อกุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

อกุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลกรรม และอกุศล.

ธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศล อกุศลและกรรมวิบาก

รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.

[๑๗๔] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน ?

การประหาณตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.

[๑๗๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ [โสดาปัตติผล]

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

วิจารมีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัย

ใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น.

[๑๗๖] ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็น

ชอบ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อัน

ใด นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

[๑๗๗] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริชอบ อันเป็นองค์แห่ง

มรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.

[๑๗๘] สัมมาวาจา เป็น ไฉน ?

การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากวจีทุจริต ๔ กิริยา

ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุวจี

ทุจริต ๔ วาจาชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียก

ว่า สัมมาวาจา.

[๑๗๙] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน ?

การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากกายทุจริต ๓

กิริยาไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ

กายทุจริต ๓ การงานชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรคอันใด

นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ.

[๑๘๐] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน ?

การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากมิจฉาอาชีวะ

กิริยาไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 377

มิจฉาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค

อันใด นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ.

[๑๘๑] สัมมาวายามะ เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความพยายามชอบ วิริยสัมโพชฌงค์

เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.

[๑๘๒] สัมมาสติ เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็น

องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสติ.

[๑๘๓] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็น

องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.

นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลายที่เหลือสัมปยุตด้วย

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

[๑๘๔] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ?

ตัณหาและกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย

[๑๘๕] ทุกข์ เป็นไฉน ?

อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมที่

เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและอุกุศลกรรมที่เป็น

อารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศลอกุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด

นี้เรียกว่า ทุกข์.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 378

[๑๘๖] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน ?

การประหาณซึ่งตัณหาแสะกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.

[๑๘๗] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไป

โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหารทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมฌาน สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุข

อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘

คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ-

คามีนิปฏิปทา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทา.

[๑๘๘] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ?

ตัณหา กิเลสที่เหลือ และอกุศลกรรมที่เหลือนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย

[๑๘๙] ทุกข์ เป็นไฉน ?

กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของ

อาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศลอกุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.

[๑๙๐] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน ?

การประหาณซึ่งตัณหากิเลสที่เหลือและอกุศลธรรมที่เหลือ นี้เรียกว่า

ทุกขนิโรธ.

[๑๙๑] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกจากโลก

ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 379

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอัน

เกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ

สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

[๑๙๒] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ?

ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์

ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.

[๑๙๓] ทุกข์ เป็นไฉน ?

กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและ

อกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศลอกุศลและกรรม

วิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.

[๑๙๔] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน ?

การประหาณซึ่งตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ และกุศล-

มูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.

[๑๙๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก

ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิด

แต่วิเวกเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ

สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินี-

ปฏิปทา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 380

[๑๙๖] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ?

ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์

ของอาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.

[๑๙๗] ทุกข์ เป็นไฉน ?

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมที่

เป็นกิริยามิใช่กุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.

[๑๙๘] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน ?

การประหาณซึ่งตัณหา กิเลสที่เหลือ กุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓

ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และกุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้

เรียกว่า ทุกขนิโรธ.

[๑๙๙] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้

เข้าสู่นิพพานเพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล

ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก

เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ

ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

ปัญจังคิกวาร

[๒๐๐] สัจจะ ๔ คือ

๑. ทุกข์

๒. ทุกขสมุทัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 381

๓. ทุกขนิโรธ

๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

[๒๐๑] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ?

ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.

[๒๐๒] ทุกข์ เป็นไฉน ?

กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของ

อาสวะ กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและ

อกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมที่เป็นกิริยามิใช่กุศล อกุศล และ

กรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.

[๒๐๓] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน ?

การประหาณตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.

[๒๐๔] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติสุขอัน

เกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๕ คือ

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ย่อมมีใน

สมัยนั้น.

[๒๐๕] ในมรรคมีองค์ ๕ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ

ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด

นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

[๒๐๖] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ?

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ฯลฯ อันเป็นองค์แห่งมรรค

นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.

[๒๐๗] สัมมาวายามะ เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความเพียรชอบ วิริยสัมโพชฌงค์

อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.

[๒๐๘] สัมมาสติ เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็น

องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสติ.

[๒๐๙] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ?

ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็น

องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.

นี้เรียกว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วย

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯลฯ

[๒๑๐] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ?

ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์

ของอาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.

[๒๑๑] ทุกข์ เป็นไฉน ?

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรม

เป็นกิริยามิใช่กุศล อกุศล และกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

[๒๑๒] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน ?

การประหาณซึ่งตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓

ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และกุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้

เรียกว่า ทุกขนิโรธ.

[๒๑๓] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก

โลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุข

อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๕

คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ย่อมมี

ในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุต

ด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

สัพพสังคาหิกวาร

[๒๑๔] สัจจะ ๔ คือ

๑. ทุกข์

๒. ทุกขสมุทัย

๓. ทุกขนิโรธ

๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

[๒๑๕] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ?

ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 384

[๒๑๖] ทุกข์ เป็นไฉน ?

กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศล

ธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศล อกุศล และกรรม

วิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.

[๒๑๗] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน ?

การประหาณตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.

[๒๑๘] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก

ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิด

แต่วิเวกเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯลฯ

[๒๑๙] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ?

ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์

ของอาสวะ กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.

[๒๒๐] ทุกข์ เป็นไฉน ?

วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรม

เป็นกิริยามิใช่กุศล อกุศล และธรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์.

[๒๒๑] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน ?

การประหาณซึ่งตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓

ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และกุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ

นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 385

[๒๒๒] ทุกขนิโรธคามินีปฏิทา เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก

ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิด

แต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

บัดนี้ เป็นอภิธรรมภาชนีย์ ในอภิธรรมภาชนีย์นั้น พระผู้มีพระภาค-

เจ้าไม่ตรัสว่า อริยสัจจะทั้งหลาย ตรัสว่า จตฺตาริ สจฺจานิ (สัจจะ ๔) ดังนี้

เพื่อทรงแสดงสมุทัย กล่าวคือธรรมเป็นปัจจัยโดยสิ้นเชิง (นิปปเทสะ).

จริงอยู่ เมื่อพระองค์ตรัสว่า อริยสัจจะ ดังนี้ กิเลสที่เหลือ กุศล

ธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่มีอาสวะ กุศลธรรมที่เหลือซึ่งมีอาสวะ ย่อมสง-

เคราะห์ไม่ได้ ด้วยว่าตัณหาอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมให้ทุกข์ตั้งขึ้นก็หาไม่ แม้

ธรรมเหล่านั้นที่เหลือมีกิเลสเป็นต้น เป็นปัจจัยก็ย่อมยังทุกข์ให้ตั้งขึ้นได้ เพราะ

ฉะนั้น เพื่อทรงแสดงสมุทัยกล่าวคือธรรมเป็นปัจจัย โดยสิ้นเชิงว่า แม้ธรรม

ที่เป็นปัจจัยเหล่านั้น ย่อมให้ทุกข์ตั้งขึ้นเหมือนกัน จึงตรัสว่า จตฺตาริ สจฺจานิ

ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 386

ว่าด้วยวินิจฉัยในนิเทศวาร

ก็ในนิเทศวารแห่งสัจจะทั้ง ๔ เหล่านั้น พระองค์มิได้ทรงแสดงทุกข์

ก่อน เพื่อต้องการแสดงทุกข์นั้นนั่นแหละให้เข้าใจโดยง่าย จึงทรงยกทุกข-

สมุทัยขึ้นแสดง. เพราะเมื่อพระองค์ทรงแสดงทุกขสมุทัยแล้ว ทุกขสัจจะโดย

นัยมีอาทิว่า "ก็กิเลสทั้งหลายที่เหลือ" ดังนี้ ย่อมเป็นการแสดงได้ง่าย. นิโรธ-

สัจจะในนิเทศวารนี้ ทรงแสดงโดยอาการ ๕ ด้วยอำนาจแห่งการละสมุทัยตาม

ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า "การละตัณหา และการละกิเลสที่เหลือนอกจากตัณหา"

เป็นต้น. ส่วนมรรคสัจจะในนิเทศวารนี้ พระองค์เมื่อจะทรงแสดงก็ทรงแสดง

เพียงเป็นหัวข้อแห่งนัยเทศนาที่จำแนกไว้ในธรรมสังคณี ด้วยอำนาจโสดาปัตติ-

มรรคที่ประกอบด้วยปฐมฌาน ในมรรคสัจจะนั้น บัณฑิตพึงทราบความแตก

ต่างกันแห่งนัย ที่ข้าพเจ้าจักประกาศข้างหน้า.

ว่าด้วยปฏิปทาที่ประกอบด้วยองค์มรรค ๕ เป็นต้น

อนึ่ง มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นปฏิปทาอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่

แต่เพราะพระบาลีว่า ปุพฺเพว โข ปนสฺส กายกมฺม วจีกมฺม อาชีโว

สุปริสุทฺโธ โหติ (ก็กายกรรม วจีกรรม อาชีวะของบุคคลนั้นบริสุทธิ์ดีแล้ว

ในกาลก่อนทีเดียว) ดังนี้ มรรคแม้ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมเป็นทรงแสดงว่า

เป็นปฏิปทาเหมือนกัน ด้วยอำนาจอัธยาศัยของบุคคล เพราะฉะนั้น เพื่อจะ

ทรงแสดงนัยนั้น จึงทรงแสดงแม้ปัญจังคิกวาร (วาระว่าด้วยองค์มรรค ๕)

อนึ่ง เพราะมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ และองค์ ๕ เป็นปฏิปทาเท่านั้นก็หาไม่

ถึงสัมปยุตตธรรมทั้งหลายเกิน ๕๐ ก็เป็นปฏิปทาเหมือนกัน ฉะนั้น เพื่อทรง

แสดงนัยนั้น จึงทรงแสดงแม้สัพพสังคาหิกวาร (วาระว่าด้วยธรรมที่สงเคราะห์

เข้าด้วยกันทั้งหมด) ที่ ๓. ในสัพพสังคาหิกวารนั้น ย่อมขาดคำว่า "ธรรมที่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 387

เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา" นี้ไป. คำที่เหลือเป็นเช่นเดียวกัน

ทั้งนั้น ในวาระทั้งปวงแล.

ว่าด้วยปฏิปทา ๖๐,๐๐๐ นัย

ในวาระทั้ง ๓ (ปัญจังคิกวาร อัฏฐังคิกวาร สัพพสังคาหิกวาร) เหล่า

นั้น พึงทราบโกฏฐาสแรกในโกฏฐาส ๕ ของอัฏฐังคิกวารมีคำว่า การละตัณหา

และการละกิเลสทั้งหลายที่เหลือจากตัณหา ดังนี้ก่อน. ในการอาศัยฌานในโส-

ดาปัตติมรรคมี ๑๐ นัย ด้วยอำนาจฌานที่เป็นจตุกนัยและปัญจกนัยอย่างละ ๒

ในฐานะ ๕ เหล่านั้น คือ สุทธิกปฏิปทา สุทธิสุญญตา สุญญตปฏิปทา สุทธิก-

อัปปณิหิตะ อัปปณิหิตปฏิปทา. แม้ในการอาศัยฌานที่เหลือก็อย่างนี้ เพราะ

ฉะนั้น ในการอาศัยฌาน ๒๐ นัย จึงเป็น ๒๐๐ นัย. ๒๐๐ นัยนั้นคูณด้วย

อธิบดี ๔ เป็น ๑๐,๐๐๐ นัย รวมนัยแม้ทั้งหมดคือ สุทธิกนัย ๒๐๐ สาธิปตินัย

๘๐๐ เป็น ๑,๐๐๐ นัย ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง ในโสดาปัตติมรรคฉันใด แม้

ในมรรคที่เหลือก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงรวมเป็น ๔,๐๐๐ นัย. อนึ่ง ใน

โกฏฐาสแรก มี ๔,๐๐๐ นัย ฉันใด แม้ในโกฏฐาสที่เหลือก็ฉันนั้น เหตุนั้น

ในโกฏฐาสทั้ง ๕ ในอัฏฐังคิกวารจึงเป็น ๒๐,๐๐๐ นัย ในปัญจังคิกวาร และ

ในสัพพสังคาหิกวารก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น นัยแม้ทั้งหมด พระศาสดาจึง

ทรงจำแนกไว้ ๖๐,๐๐๐ นัย แต่ในพระบาลีมาแล้วโดยย่อ บัณฑิตพึงทราบว่า

ชื่อว่า อภิธรรมภาชนีย์นี้ มีมหาวาระ ๓ มีโกฏฐาส ๑๕ ประดับด้วยนัย

๖๐,๐๐๐ นัย เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้านำออกแสดงแล้ว ด้วยประการ

ฉะนี้.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 388

ปัญหาปุจฉกะ

[๒๒๓] อริยสัจ ๔ คือ

๑. ทุกขอริยสัจ

๒. ทุกขสมุทัยอริยสัจ

๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ

๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาอริยสัจ ๔ อริยสัจไหนเป็นกุศล อริยสัจไหนเป็นอกุศล อริยสัจ

ไหนเป็นอัพยากฤต ฯลฯ อริยสัจไหนเป็นสรณะ อริยสัจไหนเป็นอรณะ ?

ติกมาติกาวิสัชนา

[๒๒๔] สมุทยสัจเป็นอกุศล มัคคสัจเป็นกุศล นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต

ทุกขสัจเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี สัจจะ ๒ เป็นสุขเวทนา-

สัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี นิโรธสัจ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

สุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต

ทุกขสัจ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขม-

สุขเวทนาสัมปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกขม-

เวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต สัจจะ ๒ เป็นวิปากธัมมธรรม

นิโรธสัจ เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ทุกขสัจ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปาก.

ธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี สมุทยสัจ เป็นอนุปาทินนุ-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

ปาทานิยะ สัจจะ ๒ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ ทุกขสัจ เป็นอุปาทินนุ-

ทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี สมุทยสัจ เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ

สัจจะ ๒ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ ทุกขสัจ เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี

เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี สมุทยสัจ เป็นสวิตักกสวิจาระ นิโรธสัจเป็น

อวิตักกาวิจาระ มัคคสัจ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี

เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี ทุกขสัจ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ

ก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสวิตักกสวิจาระ แม้เป็น

อวิตักกวิจารมัตตะ แม้เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี สัจจะ ๒ เป็นปีติสหคตะก็มี

เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี นิโรธสัจ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

ปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะ ทุกขสัจ เป็นปีติสหคตะ

ก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

ปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี สัจจะ ๒ เป็น

เนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ สมุทยสัจ เป็นทัสสนปหาตัพพะก็มี เป็น

ภาวนาปหาตัพพะก็มี ทุกขสัจ เป็นทัสสหปหาตัพพะก็มี เป็นภาวนาปหาตัพพะ

ก็มี เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะก็มี สัจจะ ๒ เป็นเนวทัสสนนภานา-

ปหาตัพพเหตุกะ สมุทัยสัจ เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นภาวนาปหา-

ตัพพเหตุกะก็มี ทุกขสัจ เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นภาวนาปหาตัพพ-

เหตุกะก็มี เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี สมุทัยสัจ เป็นอาจยคามี

มัคคสัจ เป็นอปจยคามี นิโรธสัจ เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามี ทุกขสัจ

เป็นอาจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี มัคคสัจ เป็นเสกขะ สัจจะ

๓ เป็นเนวเสกขหาเสกขะ สมุทยสัจ เป็นปริตตะ สัจจะ ๒ เป็นอัปปมาณะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 390

ทุกขสัจ เป็นปริตตะก็มี เป็นมหัคคตะก็มี นิโรธสัจ เป็นอนารัมมณะ

มัคคสัจ เป็นอัปปมาณารัมมณะ สมุทยสัจ เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็น

มหัคคตารัมมณะก็มี ไม่เป็นอัปปมาณารัมมณะ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

ปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี ทุกขสัจ เป็นปริตตารัมมณะก็มี

เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

ปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะ แม้เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี

สมุทยสัจ เป็นหีนะ สัจจะ ๒ เป็นปณีตะ ทุกขสัจ เป็นหีหะก็มี เป็นมัชฌิมะ

ก็มี นิโรธสัจ เป็นอนิยตะ มัคคสัจ เป็นสัมมัตตนิยตะ สัจจะ ๒ เป็น

มิจฉัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี นิโรธสัจเป็นอนารัมมณะ สมุทยสัจ กล่าว

ไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติ มัคคสัจ

ไม่เป็นมัคั คารัมทณะ. เป็นมัค.คเหตุกะ.ก็มี เป็นมัคคาธิปิ ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี ทุกขสัจ เป็นมัคคารัมมณะก็มี

ไม่เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ

แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี สัจจะ ๒ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปันนะก็มี กล่าว

ไม่ได้ว่า เป็นอุปปาที นิโรธสัจ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปปันนะ แม้เป็น

อนุปปันนะ แม้เป็นอุปปาที ทุกขสัจ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี

เป็นอุปปาทีก็มี สัจจะ ๓ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี

นิโรธสัจ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอดีต แม้เป็นอนาคต แม้เป็นปัจจุบัน

นิโรธสัจ เป็นอนารัมมณะ มัคคสัจ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ

แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ สัจจะ ๒ เป็นอตีตารัมมณะ

ก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 391

แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี

นิโรธสัจ เป็นพหิทธา สัจจะ ๓ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็น

อัชฌัตตพหิทธาก็มี นิโรธสัจ เป็นอนารัมมณะ มัคคสัจ เป็นพหิทธารัมมณะ

สมุทยสัจ เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตต-

พหิทธารัมมณะก็มี ทุกขสัจ เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะ

ก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอัชฌัตตารัมมณะ

แม้เป็นพหิทธารัมมณะ แม้เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี สัจจะ ๓ เป็น

อนิทัสสนอปปฏิฆะ ทุกขสัจ เป็นอนิทัสสนสัปปฏิฆะก็มี เป็นอนิทัสสนสป-

ฏิฆะก็มี เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะก็มี.

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๒๒๕] สมุทยสัจ เป็นเหตุ นิโรธสัจ เป็นอเหตุ สัจจะ ๒ เป็น

เหตุก็มี เป็นนเหตุก็มี สัจจะ ๒ เป็นสเหตุกะ นิโรธสัจ เป็นอเหตุกะ

ทุกขสัจ เป็นสเหตุกะก็มี เป็นอเหตุกะก็มี สัจจะ ๒ เป็นเหตุสัมปยุต นิโรธสัจ

เป็นเหตุวิปปยุต ทุกขสัจ เป็นเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุวิปปยุตก็มี สมุทยสัจ

เป็นเหตุสเหตุกะ นิโรธสัจ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็น

สเหตุกนเหตุ มัคคสัจ เป็นเหตุสเหตุกะก็มี เป็นสเหตุกนเหตุก็มี ทุกขสัจ

เป็นเหตุสเหตุกะก็มี เป็นสเหตุกนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ

แม้เป็นสเหตุกนเหตุ สมุทยสัจ เป็นเหตุเหตุสัมปยุต นิโรธสัจ กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ มัคคสัจ เป็นเหตุเหตุ-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 392

สัมปยุตก็มี เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี ทุกขสัจ เป็นเหตุเหตุสัมปยุตก็มี เป็น

เหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุ-

สัมปยุตตนเหตุก็มี นิโรธสัจ เป็นนเหตุ เป็นอเหตุกะ สมุทยสัจ กล่าวไม่ได้

ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะ มัคคสัจ เป็นนเหตุสเหตุกะ

ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นเหตุอเหตุกะก็มี ทุกขสัจ

เป็นนเหตุสเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุ-

สเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี.

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา

[๒๒๖] สัจจะ ๓ เป็นสัปปัจจยะ นิโรธสัจ เป็นอัปปัจจยะ สัจจะ ๓

เป็นสังขตะ นิโรธสัจ เป็นอสังขตะ สัจจะ ๓ เป็นอนิทัสสนะ ทุกขสัจ

เป็นสนิทัสสนะก็มี เป็นอนิทัสสนะก็มี สัจจะ ๓ เป็นอัปปฏิฆะ ทุกขสัจ

เป็นสัปปฏิฆะก็มี เป็นอัปปฏิฆะก็มี สัจจะ ๓ เป็นอรูป* ทุกขสัจ เป็นรูปก็มี

เป็นอรูปก็มี สัจจะ ๒ เป็นโลกิยะ สัจจะ ๒ เป็นโลกุตระ สัจจะ ๔ เป็น

เกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา

[๒๒๗] สมุทยสัจ เป็นอาสวะ สัจจะ ๒ เป็นโนอาสวะ ทุกขสัจ

เป็นอาสวะก็มี เป็นโนอาสวะก็มี สัจจะ ๒ เป็นสาสวะ สัจจะ ๒ เป็นอนาสวะ

สมุทยสัจ เป็นอาสวสัมปยุต สัจจะ ๒ เป็นอาสววิปปยุต ทุกขสัจ เป็น

อาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสวิปปยุตก็มี สมุทยสัจ เป็นอาสวสาสวะ สัจจะ ๒

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ แม้เป็นสาสวโนอาสวะ ทุกขสัจ เป็น

* บาลีเป็น ตีณิ สจฺจา รูปา ที่ถูกควรเป็น ตีณิ สจฺจารูปา ฉบับ ม. เป็น ตีณิ สจฺจานิ

อรูปานิ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 393

อาสวสาสวะก็มี เป็นสาสวโนอาสวะก็มี สมุทัยสัจ เป็นอาสวอาสวสัมปยุต

สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตโน-

อาสวะ ทุกขสัจเป็นอาสวอาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี กล่าว

ไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี สัจจะ

๒ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ สมุทยสัจ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสววิปป-

ยุตตสาสวะ แม้เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ ทุกขสัจ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ

ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ แม้เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ

ก็มี.

๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา

[๒๒๘] สมุทยสัจ เป็นสัญโญชนะ สัจจะ ๒ เป็นโนสัญโญชนะ

ทุกขสัจ เป็นสัญโญชนะก็มี เป็นโนสัญโญชนะก็มี สัจจะ ๒ เป็นสัญโญชนิยะ

สัจจะ ๒ เป็นอสัญโญชนิยะ สมุทยสัจ เป็นสัญโญชนสัมปยุต สัจจะ ๒ เป็น

สัญโญชนวิปปยุต ทุกขสัจ เป็นสัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุต

ก็มี สมุทยสัจ เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

สัญโญชนสัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะ ทุกขสัจ เป็น

สัญโญชนสัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี สมุทยสัจ เป็น

สัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชน-

สัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ ทุกขสัจ เป็นสัญโญชน-

สัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 394

ก็มี สัจจะ ๒ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ สมุทยสัจ กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญ-

ชนิยะ ทุกขสัจ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้

เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ

ก็มี.

๕. คันถโคจฉกวิสัชนา

[๒๒๙] สมุทยสัจ เป็นคันถะ สัจจะ ๒ เป็นโนคันถะ ทุกขสัจ

เป็นคันถะก็มี เป็นโนคันถะก็มี สัจจะ ๒ เป็นคันถนิยะ สัจจะ ๒ เป็น

อคันถนิยะ สัจจะ ๒ เป็นคันถวิปปยุต สัจจะ ๒ เป็นคันถสัมปยุตก็มี เป็น

คันถวิปปยุตก็มี สมุทยสัจ เป็นคันถคันถนิยะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

คันถคันถนิยะ แม้เป็นคันถนิยโนคันถะ ทุกขสัจ เป็นคันถคันถนิยะก็มี เป็น

คันถนิยโนคันถะก็มี สมุทยสัจ เป็นคันถคันถสัมปยุต กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

คันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะ ทุกขสัจ เป็น

คันถคันถสัมปยุตก็มี เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

คันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี สัจจะ ๒ เป็นคันถวิปป-

ยุตตอคันถนิยะ สัจจะ ๒ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้

เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ แม้เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี.

๖,๗,๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา

[๒๓๐] สมุทยสัจ เป็นโอฆะ ฯลฯ สมุทยสัจ เป็นโยคะ ฯลฯ

สมุทยสัจ เป็นนีวรณะ สัจจะ ๒ เป็นโนนีวรณะ ทุกขสัจ เป็นนีวรณะก็มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 395

เป็นโนนีวรณะก็มี สัจจะ ๒ เป็นนีวรณิยะ สัจจะ ๒ เป็นอนีวรณิยะ สมุทยสัจ

เป็นนีวรณสัมปยุต สัจจะ ๒ เป็นนีวรณวิปปยุต ทุกขสัจ เป็นนีวรณสัมปยุต

ก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตก็มี สมุทยสัจ เป็นนีวรณนีวรณิยะ สัจจะ ๒ กล่าว

ไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ ทุกขสัจ เป็น

นีวรณนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี สมุทยสัจ เป็นนีวรณนีวรณ-

สัมปยุต สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็น

นีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ ทุกขสัจ เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณ-

สัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็น

นีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี สัจจะ ๒ เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะ

สมุทยสัจ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณ-

วิปปยุตตอนีวรณิยะ ทุกขสัจ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี.

๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา

[๒๓๑] สัจจะ ๓ เป็นโนปรามาสะ ทุกขสัจ เป็นปรามาสะก็มี เป็น

โนปรามาสะก็มี สัจจะ ๒ เป็นปรามัฏฐะ สัจจะ ๒ เป็นอปรามัฏฐะ สัจจะ ๒

เป็นปรามาสวิปปยุต สมุทยสัจ เป็นปรามาสสัมปยุตก็มี เป็นปรามาสวิปปยุต

ก็มี ทุกขสัจ เป็นปรามาสสัมปยุตก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นปรามาสสัมปยุต แม้เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี สมุทัยสัจ กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นปรามาสปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะ ทุกขสัจ เป็นปรามาส-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 396

ปรามัฏฐะก็มี เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี สัจจะ ๒ เป็นปรามาสวิปปยุตต-

อปรามัฏฐะ สัจจะ ๒ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้

เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี.

๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา

[๒๓๒] สัจจะ ๒ เป็นสารัมมณะ นิโรธสัจ เป็นอนารัมมณะ

ทุกขสัจ เป็นสารัมมณะก็มี เป็นอนารัมมณะก็มี สัจจะ ๓ เป็นโนจิตตะ

ทุกขสัจ เป็นจิตตะก็มี เป็นโนจิตตะก็มี สัจจะ ๒ เป็นเจตสิกะ นิโรธสัจ

เป็นอเจตสิกะ ทุกขสัจ เป็นเจตสิกะก็มี เป็นอเจตสิกะก็มี สัจจะ ๒ เป็น

จิตตสัมปยุต นิโรธสัจ เป็นจิตตวิปปยุต ทุกขสัจ เป็นจิตตสัมปยุตก็มี เป็น

จิตตวิปปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสัมปยุต แม้เป็นจิตตวิปปยุตก็มี

สัจจะ ๒ เป็นจิตตสังสัฏฐะ นิโรธสัจ เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ ทุกขสัจ เป็น

จิตตสังสัฏฐะก็มี เป็นจิตตวิสังสัฏฐะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสังสัฏฐะ

แม้เป็นจิตตวิสังสัฏฐะก็มี สัจจะ ๒ เป็นจิตตสมุฏฐานะ นิโรธสัจ เป็นโน-

จิตตสมุฏฐานะ ทุกขสัจ เป็นจิตตสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสมุฏฐานะก็มี

สัจจะ ๒ เป็นจิตตสหภู นิโรธสัจ เป็นโนจิตตสหภู ทุกขสัจ เป็นจิตตสหภู

ก็มี เป็นโนจิตตสหภูก็มี สัจจะ ๒ เป็นจิตตานุปริวัตติ นิโรธสัจ เป็น

โนจิตตานุปริวัตติ ทุกขสัจ เป็นจิตตานุปริวัตติก็มี เป็นโนจิตตานุปริวัตติก็มี

สัจจะ ๒ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ นิโรธสัจ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ

ทุกขสัจ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี สัจจะ

๒ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู นิโรธสัจ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 397

ทุกขสัจ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี เป็นโนจิตตสังสีฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี

สัจจะ ๒ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ นิโรธสัจ เป็นโนจิตตสังสัฏฐ-

สมุฏฐานานุปริวัตติ ทุกขสัจ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติก็มี เป็น

โนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติก็มี สัจจะ ๓ เป็นพาหิระ ทุกขสัจ เป็น

อัชฌัติติกะก็มี เป็นพาหิระก็มี สัจจะ ๓ เป็นนอุปาทา ทุกขสัจ เป็นอุปาทา

ก็มี เป็นนอุปาทาก็มี สัจจะ ๓ เป็นอนุปาทินนะ ทุกขสัจ เป็นอุปาทินนะก็มี

เป็นอนุปาทินนะก็มี.

๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา

[๒๓๓] สมุทยสัจ เป็นนอุปาทานะ สัจจะ ๒ เป็นอุปาทานะ ทุกขสัจ

เป็นอุปาทานะก็มี เป็นนอุปาทานะก็มี สัจจะ ๒ เป็นอุปาทานิยะ สัจจะ ๒

เป็นอนุปาทานิยะ สัจจะ ๒ เป็นอุปาทานวิปปยุต สัจจะ ๒ เป็นอุปาทาน-

สัมปยุตก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตก็มี สมุทยสัจ เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ

สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานิยโน-

อุปาทานะ ทุกขสัจ เป็นอุปาทานอุปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะ

ก็มี สมุทยสัจ เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

อุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี สัจจะ ๒

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโน-

อุปาทานะ ทุกขสัจ เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุตก็มี เป็นอุปาทานสัมปยุตต-

โนอุปาทนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็น

อุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี สัจจะ ๒ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 398

สัจจะ ๒ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

อุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี.

๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา

[๒๓๘] สมุทยสัจ เป็นกิเลสะ สัจจะ ๒ เป็นโนกิเลสะ ทุกขสัจ

เป็นกิเลสะก็มี เป็นโนกิเลสะก็มี สัจจะ ๒ เป็นสังกิเลสิกะ สัจจะ ๒ เป็น

อสังกิเลสิกะ สมุทยสัจ เป็นสังกิลิฏฐะ สัจจะ ๒ เป็นอสังกิลิฏฐะ ทุกขสัจ

เป็นสังกิลิฏฐะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐะก็มี สมุทยสัจ เป็นกิเลสสัมมปยุต สัจจะ ๒

เป็นกิเลสวิปปยุต ทุกขสัจ เป็นกิเลสสัมปยุตก็มี เป็นกิเลสวิปปยุตก็มี

สมุทยสัจ เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลลสังกิเล-

สิกะ แม้เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสิกะ ทุกขสัจ เป็นกิเลสสังกิเลสิกะก็มี เป็น

สังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี สมุทยสัจ เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะ ทุกขสัจ เป็น กิเลสสังกิลิฏฐะ

ก็มี เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็น

สังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี สมุทยสัจ เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้

ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะ ทุกขสัจ เป็น

กิเลสกิเลสลัมปยุตก็มี เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

กิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี สัจจะ ๒ เป็นกิเลส-

วิปปยุตตอสังกิเลสิกะ สมุทยสัจ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ

แม้เป็นกิเสสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ ทุกขสัจ เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตอสัง-

กิเลสิกะก็มี.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 399

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา ,

[๒๓๕] สัจจะ ๒ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ สัจจะ ๒ เป็นทัสสน-

ปหาตัพพะก็มี เป็นนทัสสนปหาตัพพะก็มี สัจจะ ๒ เป็นนภาวนาปหาตัพพะ

สัจจะ ๒ เป็นภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นนภาวหาปหาตัพพะก็มี สัจจะ ๒ เป็น

นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ สัจจะ ๒ เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนทัสสน-

ปหาตัพพเหตุกะก็มี สัจจะ ๒ เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ สัจจะ ๒ เป็น

ภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี สมุทยสัจ เป็น

สวิตักกะ นิโรธสัจ เป็นอวิตักกะ สัจจะ ๒ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี

สมุทยสัจ เป็นสวิจาระ นิโรธสัจ เป็นอวิจาระ สัจจะ ๒ เป็นสวิจาระก็มี

เป็นอวิจาระก็มี นิโรธสัจ เป็นอัปปีติกะ สัจจะ ๓ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็น

อัปปีติกะก็มี นิโรธสัจ เป็นนปีติสหคตะ สัจจะ ๓ เป็นปีติสหคตะก็มี

เป็นนปีติสหคตะก็มี นิโรธสัจ เป็นนสุขสหคตะ สัจจะ ๓ เป็นสุขสหคตะก็มี

เป็นนสุขสหคตะก็มี นิโรธสัจ เป็นนอุเปกขาสหคตะ สัจจะ ๓ เป็นอุเปกขา-

สหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี สมุทยสัจ เป็นกามาวจร สัจจะ ๒

เป็นนกามาวจร ทุกขสัจ เป็นกามาวจรก็มี เป็นนกามาวจรก็มี สัจจะ ๓

เป็นนรูปาวจร ทุกขสัจ เป็นรูปาวจรก็มี เป็นนรูปาวจรก็มี สัจจะ ๓

เป็นนอรูปาวจร ทุกขสัจ เป็นอรูปาวจรก็มี เป็นนอรูปาวจรก็มี สัจจะ ๒ เป็น

ปริยาปันนะ สัจจะ ๒ เป็นอปริยาปันนะ มัคคสัจ เป็นนิยยานิกะ สัจจะ ๓

เป็นอนิยยานิกะ มัคคสัจ เป็นนิยตะ นิโรธสัจ เป็นอนิยตะ สัจจะ ๒ เป็น

นิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี สัจจะ ๒ เป็นสอุตตระ สัจจะ ๒ เป็นอนุตตระ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 400

สมุทยสัจ เป็นสรณะ สัจจะ ๒ เป็นอรณะ ทุกขสัจ เป็นสรณะก็มี เป็นอรณะ

ก็มี ฉะนี้แล.

ปัญหาปุจฉกะ จบ

สัจจวิภังค์ จบบริบูรณ์

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ

พึงทราบวินิจฉัยในปัญหาปุจฉกะ ต่อไป

บัณฑิตพึงทราบความที่สัจจะแม้ทั้ง ๔ เป็นกุศลเป็นต้น โดยทำนอง

แห่งนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในขันธวิภังค์นั่นแล แต่ในอารัมมณติกะทั้งหลาย

สมุทยสัจจะ เป็นปริตตารัมมณะแก่ผู้ยินดีอยู่ในกามาวจรธรรม เป็นมหัคคตา-

รัมมณะแก่ผู้ยินดีอยู่ในมหัคคตธรรม เป็นนวัตตัพพารัมมณะแก่ผู้ยินดีอยู่ใน

บัญญัติธรรม. ทุกขสัจจะ เป็นปริตตารัมมณะซึ่งปรารภกามาวจรธรรมเกิดขึ้น

เป็นมหัคคตารัมมณะในกาลปรารภรูปาวจรธรรมและอรูปาวจรธรรมเกิดขึ้น

เป็นอัปปมาณารัมมณะเกิดในเวลาพิจารณาโลกุตรธรรม ๙ เป็นนวัตตัพพารัม-

ณะในเวลาพิจารณาบัญญัติ. มรรคสัจจะ เป็นมัคคเหตุกะ (มีมรรคเป็นเหต)

แม้ในการทั้งปวง ด้วยสามารถเป็นสหชาตเหตุ เป็นมัคคาธิปติในเวลาเจริญ-

มรรคกระทำวริยะหรือวิมังสาให้เป็นใหญ่ ชื่อว่าเป็นนวัตตัพพธรรมในเวลาที่

ฉันทะและจิตอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอธิบดี. ทุกขสัจจะ เป็นบรรดารัมมณะใน

เวลาพิจารณามรรคของพระอริยะ เป็นมัคคาธิบดีในเวลาพิจารณามรรคของ

พระอริยเจ้าเหล่านั้นนั่นเทียว กระทำให้หนักเป็นนวัตตัพพธรรมในเวลาพิจาร-

ณาธรรมที่เหลือ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 401

บทว่า เทฺว สจฺจานิ (สัจจะ ๒)* ได้แก่ทุกขสัจจะและสมุทยสัจจะ

เพราะสัจจะทั้ง ๒ เหล่านี้ เป็นอารมณ์ มีอดีตเป็นต้น ในเวลาที่ปรารภธรรม

อันต่างด้วยอดีตเป็นต้นเกิดขึ้น สมุทยสัจจะ ย่อมเป็นอารมณ์มีอารมณ์ภายใน

เป็นต้น แก่บุคคลผู้ยินดีอยู่ในธรรมอันต่างด้วยธรรมมีอัชฌัตตะเป็นต้น. ทุกข-

สัจจะ ในเวลาเป็นอากิญจัญญายตนะ พึงทราบว่า เป็นนวัตตัพพารัมมณะก็มี.

เพราะฉะนั้น ในปัญหาปุจฉกะนี้ สองสัจจะ (ต้น) เป็นโลกีย์ สองสัจจะ

(หลัง) เป็นโลกุตระ ในปัญหาปุจฉกะนี้ ฉันใด ในสุตตันตภาชนีย์และ

อภิธรรมภาชนีย์ทั้ง ๒ แม้ก่อนก็ฉันนั้น เพราะสัจจะที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ

พระสัมมาสัมพุทธะตรัสแล้วในการวรรณนาแม้ทั้ง ๓ มีสุตตันตภาชนีย์เป็นต้น

แม้สัจจวิภังค์นี้ พระองค์ก็ทรงนำออกจำแนกแสดงไว้ ณ ปริวรรต ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

สัจจวิภังคนิเทศ จบ

* บาลีข้อ ๒๒๔

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 402

๕. อินทริยวิภังค์

[๒๓๖] อินทรีย์ ๒๒ คือ

๑. จักขุนทรีย์

๒. โสตินทรีย์

๓. ฆานินทรีย์

๔. ชิวหินทรีย์

๕. กายินทรีย์

๖. มนินทรีย์

๗. อิตถินทรีย์

๘. ปุริสินทรีย์

๙. ชีวิตินทรีย์

๑๐. สุขินทรีย์

๑๑. ทุกขินทรีย์

๑๒. โสมนัสสินทรีย์

๑๓. โทมนัสสินทรีย์

๑๔. อุเปกขินทรีย์

๑๕. สัทธินทรีย์

๑๖. วิริยินทรีย์

๑๗. สตินทรีย์

๑๘. สมาธินทรีย์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 403

๑๙. ปัญญินทรีย์

๒๐. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์

๒๑. อัญญินทรีย์

๒๒. อัญญาตาวินทรีย์.

[๒๓๗] ในอินทรีย์ ๒๒ นั้น จักขุนทรีย์ เป็นไฉน?

จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง

บ้าง นี้เรียกว่า จักขุนทรีย์.

โสตินทรีย์ ฯลฯ ฆานินทรีย์ ฯลฯ ชิวหินทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์

เป็นไฉน ?

กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง

บ้าง นี้เรียกว่า กายินทรีย์.

มนินทรีย์ เป็นไฉน ?

มนินทรีย์หมวดละ ๑ คือ มนินทรีย์เป็นผัสสสัมปยุต ฯลฯ มนินทรีย์

หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า มนินทรีย์.

[๒๓๘] อินถินทรีย์ เป็นไฉน ?

ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายรู้ว่าหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพ

หญิง ภาวะหญิง ของหญิง อันใด นี้เรียกว่า อินถินทรีย์.

ปุริสินทรีย์ เป็นไฉน ?

ทรวดทรงชาย เครื่องหมายรู้ว่า กิริยาชาย อาการชาย สภาพชาย

ภาวะชาย ของชาย อันใด นี้เรียกว่า ปุริสินทรีย์.

๑. ความที่ ฯลฯ พึงดูในธรรมสังคณิปกรณ์ ภาค ๑ ข้อ (๕๑๖) เป็นลำดับไป

๒. ความที่ ฯลฯ พึงดูในขันธวิภังค์ ข้อ (๗๔) เป็นลำดับไป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 404

ชีวิตินทรีย์ เป็นไฉน ?

ชีวิตินทรีย์มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ อรูปชีวิตินทรีย์ ในชีวิติน-

ทรีย์ ๒ อย่างนั้น รูปชีวิตินทรีย์ เป็นไฉน ?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่

สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์

คือชีวิต ของรูปธรรมนั้น ๆ อันใด นี้เรียกว่า รูปชีวิตินทรีย์.

อรูปชีวิตินทรีย์ เป็นไฉน ?

อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่

สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์

คือชีวิต ของนามธรรมนั้น ๆ อันใด นี้เรียกว่า อรูปชีวิตินทรีย์.

[๒๓๙] สุขินทรีย์ เป็นไฉน ?

ความสบายทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็น

สุขอันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัส

อันใด นี้เรียกว่า สุขินทรีย์.

ทุกขินทรีย์ เป็นไฉน ?

ความไม่สบายทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

สัมผัส อันใด นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์.

โสมนัสสินทรีย์ เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

อันใด นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 405

โทมนัสสินทรีย์ เป็นไฉน ?

ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่

เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.

อุเปกขินทรีย์ เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย-

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์.

[๒๔๐] สัทธินทรีย์ เป็นไฉน ?

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา

อินทรีย์คือศรัทธา สัทธาพละ อันใด นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.

วิริยินทรีย์ เป็นไฉน ?

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ

ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความ

หมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้ง

ธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ อินทรีย์คือวิริยะ วิริยพละ สัมมา-

วายามะ อันใด นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.

สตินทรีย์ เป็นไฉน ?

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ

ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ อินทรีย์คือสติ สติพละ สัมมาสติ อันใด

นี้เรียกว่า สตินทรีย์.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 406

สมาธินทรีย์ เป็นไฉน ?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ

ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ

อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.

ปัญญินทรีย์ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยารู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ฯลฯ ความไม่หลง

ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์.

[๒๔๑] อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ครามไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรม

ที่ยังไม่เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ

เพื่อทราบธรรมที่ยังไม่เคยทราบ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่เคยทำให้แจ้งนั้น ๆ

อันใด นี้เรียกว่า อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์.

อัญญินทรีย์ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรม

ที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบ

ธรรมที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้น ๆ อันใด นี้เรียกว่า

อัญญินทรีย์.

อัญญาตาวินทรีย์ เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 407

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรม

ที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบ

ธรรมที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้น ๆ อันใด นี้เรียกว่า

อัญญาตาวินทรีย์.

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

อินทริยวิภังคนิเทศ*

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในอินทริยวิภังค์ต่อจากสัจจวิภังค์นั้น ต่อไป

บทว่า พาวีสติ (๒๒) เป็นบทกำหนดจำนวน. บทว่า อินฺทฺริยานิ

(อินทรีย์ทั้งหลาย) เป็นบทอธิบายธรรมที่ทรงกำหนดไว้. บัดนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเมื่อจะแสดงอินทรีย์เหล่านั้น โดยย่อ จึงตรัสคำว่า จกฺขุนฺทฺริย (จักขุน-

ทรีย์) เป็นต้น.

ว่าด้วยความหมายของอินทรีย์ ๒๒

ในอินทรีย์เหล่านั้น ที่ชื่อว่า จักขุนทรีย์ เพราะอรรถว่า ครอง

ความเป็นใหญ่ในจักขุวาร. ที่ชื่อว่า โสตินทรีย์ เพราะอรรถร่า ครองความ

เป็นใหญ่ในโสตทวาร. ที่ชื่อว่า ฆานินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความ

* บาลีข้อ ๒๓๖

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 408

เป็นใหญ่ในฆานทวาร. ที่ชื่อว่า ชิวหินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความ

เป็นใหญ่ในชิวหาทวาร. ที่ชื่อว่า กายินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความ

เป็นใหญ่ในกายทวาร. ที่ชื่อว่า มนินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความ

เป็นใหญ่ในลักษณะการรู้อารมณ์. ที่ชื่อว่า อิตถินทรีย์ เพราะอรรถว่า

ครองความเป็นใหญ่ในความเป็นหญิง. ที่ชื่อว่า ปุริสินทรีย์ เพราะอรรถว่า

ครองความเป็นใหญ่ในความเป็นชาย. ที่ชื่อว่า ชีวินทรีย์ เพราะอรรถว่า

ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการตามรักษา (อนุบาล). ที่ชื่อว่า สุขิน-

ทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณสุข. ที่ชื่อว่า ทกขินทรีย์

เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณทุกข์. ที่ชื่อว่า โสมนัสสินทรีย์

เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณโสมนัส. ที่ชื่อว่า โทมนัส-

สินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณโทมนัส. ที่ชื่อว่า

อุเปกขินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณอุเบกขา. ที่ชื่อว่า

สัทธินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะการน้อมใจเชื่อ.

ที่ชื่อว่า วิริยินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะความเพียร.

ที่ชื่อว่า สตินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะความ

ปรากฏ (ของอารมณ์). ที่ชื่อว่า สมาธินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครองความ

เป็นใหญ่ในลักษณะความไม่ฟุ้งซ่าน. ที่ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ เพราะอรรถว่า

ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะการเห็น. ที่ชื่อว่า อนัญญตัญญัสสามีตินท-

รีย์ เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการรู้ซึ่งการดำเนินไป

ว่า เราจักรู้ทั่วถึงสิ่งที่ยังไม่รู้ (นี้ เป็นโสดาปัตติมรรค). ที่ชื่อว่า อัญญินทรีย์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 409

เพราะอรรถว่า ครองความเป็นใหญ่ในการรู้ทั่วธรรมที่รู้แล้วนั่นแหละ (โสดา-

ปัตติผลถึงอรหัตมรรค). ที่ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์ เพราะอรรถว่า ครอง

ความเป็นใหญ่ในความเป็นผู้รู้แจ้ง (อรหัตผล).

ในอินทริยวิภังค์ วรรณนาชื่อว่า สุตตันตภาชนีย์ พระองค์มิได้

ทรงถือเอา เพราะเหตุไร เพราะอินทรีย์ ๒๒ โดยลำดับนี้มิได้มาในพระสูตร

เพราะในพระสูตรบางแห่งทรงตรัสอินทรีย์ไว้ ๒ บางแห่งตรัสไว้ ๓ บางแห่ง

ตรัสไว้ ๕ ก็ด้วยเหตุนี้ อินทรีย์ ๒๒ ติดต่อกันเช่นนี้มิได้มี นี้เป็นนัยแห่ง

อรรถกถาในอินทริยวิภังค์ก่อน.

ก็นัยอื่นอีก พึงทราบดังต่อไปนี้. จริงอยู่ ในอินทรีย์เหล่านี้

อตฺถโต ลกฺขณาทีหิ กมโต จ วิชานิยา

เภทาเภทา ตถา กิจฺจา ภูมิโต จ วินิจฺฉย

พึงทราบการวินิจฉัย โดยอรรถ

โดยลักษณะเป็นต้น โดยลำดับ โดยความ

ต่างกันและไม่ต่างกัน โดยกิจ และโดยภูมิ.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ

บรรดาวินิจฉัยเหล่านั้น อรรณแห่งอินทรีย์มีจักขุเป็นต้น ข้าพเจ้า

ประกาศไวก่อนแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ที่ชื่อว่า จักขุ เพราะอรรถว่า ย่อม

เห็น. แต่ในอินทรีย์ (ที่เป็นโลกุตระ) ๓ หลัง โลกุตรอินทรีย์ข้อแรก

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ดังนี้ เพราะ

ความเกิดขึ้น และเพราะความเกิดพร้อมแห่งอรรถของอินทรีย์แก่พระอริยะผู้ถึง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 410

แล้วในส่วนเบื้องต้น อย่างนี้ว่า "เราจักรู้อมตบทหรือสัจจธรรม ๔ ที่ยังไม่รู้"

ดังนี้. โลกุตรอินทรีย์ที่ ๒ ตรัสเรียกว่า อัญญินทรีย์ เพราะความรู้ทั่ว และ

เพราะความเกิดพร้อมแห่งอรรถของอินทรีย์. โลกุตรอินทรีย์ที่ ๓ ตรัสเรียกว่า

อัญญาตาวินทรีย์ เพราะความเกิดขึ้น และเพราะความเกิดพร้อมแห่งอรรถ

ของอินทรีย์ แก่เฉพาะพระขีณาสพ ผู้รู้แจ้ง ผู้มีกิจแห่งญาณในสัจจะ ๔

สำเร็จแล้ว.

ก็ชื่อว่า อรรถแห่งอินทรีย์นั่นเป็นอย่างไร. อรรถแห่งอินทรีย์มี

อรรถว่าเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นใหญ่ (จอม) อรรถแห่งอินทรีย์ มีอรรถ

ว่าอันผู้เป็นใหญ่แสดงแล้ว อรรถแห่งอินทรีย์มีอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่เห็นแล้ว

อรรถแห่งอินทรีย์มีอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่ประกาศแล้ว อรรถแห่งอินทรีย์มี

อรรถว่าอันบุคคลผู้เป็นใหญ่เสพแล้ว อรรถแห่งอินทรีย์แม้ทั้งหมดนั้น ย่อม

สมควรตามความเหมาะสมในที่นี้.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า เป็นจอม

(เป็นใหญ่) เพราะความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด. กรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ชื่อว่า

เป็นใหญ่ เพราะในกรรมทั้งหลายไม่มีอะไรที่มีความเป็นใหญ่กว่า ด้วย

เหตุนั้นนั่นแหละ ในอธิการนี้ อินทรีย์ทั้งหลายอันเกิดพร้อมด้วยกรรมย่อม

แสดงซึ่งธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลก่อน และอินทรีย์เหล่านั้นอันพระสัมมาสัม-

พุทธะผู้เป็นจอมนั้นทรงสอนแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อินทรีย์ ด้วย

อรรถว่าเป็นเครื่องหมายความเป็นใหญ่ สละด้วยอรรถว่า เป็นสิ่งที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าผู้เป็นใหญ่แสดงแล้ว.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

อนึ่ง อินทรีย์ทั้งหมดนั่นแหละ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้

และตรัสรู้ยิ่งตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถ

ว่าอันผู้เป็นใหญ่แสดงแล้ว และเพราะอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่เห็นแล้ว อินทรีย์

บางอย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นจอมมุนีพระองค์นั้นแหละเสพแล้ว ด้วยการ

เสพแห่งอารมณ์ และบางอย่าง ก็ทรงเสพแล้วด้วยการเสพแห่งการเจริญ

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่า อันบุคคลผู้เป็นจอมเสพแล้ว

บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อินทรีย์เหล่านี้ ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอิสระ

กล่าวคือ ความเป็นอธิบดีบ้าง ด้วยว่าความเป็นอธิบดีแห่งจักขุเป็นต้น

สำเร็จแล้วในความเป็นไปแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น เพราะเมื่ออินทรีย์นั้นแก่

กล้า จักขุวิญญาณเป็นต้นนั้นก็แก่กล้า และเมื่ออินทรีย์นั้นอ่อน จักขุวิญญาณ

เป็นต้นนั้นก็อ่อนแอ.

นี้วินิจฉัยโดยอรรถในอินทรีย์นี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น

ข้อว่า โดยลักษณะเป็นต้น มีอธิบายว่า บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย

อินทรีย์มีจักขุเป็นต้น แม้ด้วยลักษณะ (สภาวะ) ด้วยรส (กิจ) ด้วยปัจจุปัฏฐาน

(ผลที่ปรากฏ) และด้วยปทัฏฐาน (เหตุใกล้ให้เกิดขึ้น). ก็ลักษณะเป็นต้น

เหล่านั้น แห่งธรรมมีจักขุเป็นต้นเหล่านั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลัง

(อรรถกถาอัฏฐสาลนี) ทั้งหมดแล้ว ก็อินทรีย์ ๔* มีปัญญินทรีย์เป็นต้น

โดยอรรถ ได้แก่ อโมหะนั่นเอง อินทรีย์ที่เหลือในพระบาลีนั้นมาแล้ว

โดยย่อแล.

* อินทรีย์ ๔ คือ ตั้งแต่ข้อ ๑๙ ถึง ๒๒

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 412

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลำดับ

ข้อว่า โดยลำดับ แม้นี้ เป็นลำดับของเทศนานั่นเอง. ในลำดับนั้น

การได้เฉพาะซึ่งอริยภูมิย่อมมีด้วยการกำหนดรู้ธรรมอันเป็นภายใน เพราะ

เหตุนั้น พระองค์จึงทรงแสดงจักขุนทรีย์เป็นต้นซึ่งนับเนื่องด้วยอัตภาพก่อน.

ก็อัตภาพนั้นอาศัยธรรมใด ย่อมถึงการนับว่า เป็นหญิง หรือ เป็นชาย

เพื่อทรงชี้แจงแสดงว่า ธรรมนั้นคืออัตภาพนี้ ถัดจากนั้นจึงทรงแสดง

อิตถินทรีย์ และ ปุริสินทรีย์. เพื่อให้ทราบว่า อัตภาพแม้ทั้ง ๒ นั้นมีความ

เป็นไปเนื่องด้วยชีวิตินทรีย์ ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงชีวิตินทรีย์. ตราบใดที่

ชีวิตินทรีย์นั้นยังเป็นไปอยู่ ตราบนั้นความไม่หยุดยั้งแห่งอารมณ์ที่เสวยแล้ว

(เวทนา) เหล่านั้นก็มีอยู่ เพื่อให้ทราบว่า สุขและทุกข์ทั้งหมดนั้นอย่างใด

อย่างหนึ่งที่เสวยแล้ว ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงสุขินทรีย์ เป็นต้น.

อนึ่ง เพื่อทรงแสดงข้อปฏิบัติว่า "ธรรมเหล่านี้พึงเจริญเพื่อความดับ

สุขินทรีย์เป็นต้นนั้น" ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงคำว่า สัทธา เป็นต้น. เพื่อ

ทรงแสดงความไม่เป็นโมฆะแห่งข้อปฏิบัติว่า "ด้วยข้อปฏิบัตินี้ เอกธรรมย่อม

ปรากฏในตนก่อน" ถัดจากนั้น จึงทรงแสดงอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์

พระองค์ทรงแสดง อัญญินทรีย์ ไว้ต่อจากอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น

เพราะความที่อัญญินทรีย์นั้นเป็นผลของอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้นนั่นเอง

และเป็นอินทรีย์ที่พึงเจริญในลำดับต่อจากอนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น.

เบื้องหน้าแต่นี้ เพื่อให้รู้ว่า "การบรรลุอินทรีย์นี้ได้ด้วยภาวนา (การเจริญ)

ก็แล เมื่อบรรลุอินทรีย์นี้แล้ว อินทรีย์อะไร ๆ ที่พึงกระทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก

ย่อมไม่มี" จึงตรัสอัญญาตาวินทรีย์อันเป็นความโล่งใจอย่างยิ่งไว้ในข้อสุดท้าย

แล. ่

นี้เป็นลำดับในอินทรีย์เหล่านี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 413

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความต่างกันและไม่ต่างกัน

ก็ข้อว่า โดยความต่างกัน และ ไม่ต่างกัน นั้น ได้แก่ ในอินทรีย์

๒๒ นี้ ความต่างกันย่อมมีแก่ชีวิตินทรีย์อย่างเดียว เพราะชีวิตินทรีย์นั้น มี ๒

อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ และอรูปชีวิตินทรีย์. อินทรีย์ที่เหลือไม่ต่างกัน.

พึงทราบวินิจฉัยโดยความต่างกันและไม่ต่างกันในอินทรีย์เหล่านั้นอย่างนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยกิจ

ข้อว่า โดยกิจ นั้น หากมีผู้ถามว่า "กิจของอินทรีย์ทั้งหลายเป็น

อย่างไร ตอบว่า พึงทราบกิจของจักขุนทรีย์ก่อน เพราะพระบาลีว่า จกฺขฺวายตน

จกฺขุวิญฺาณธาตุยา ตสมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมาน อินฺทฺริยปจฺจเยน

ปจฺจโย* (จักขวายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมที่สัมปยุต

ด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจอินทรีย์ปัจจัย) จักขุนทรีย์นั้นใด พึงให้

สำเร็จโดยความเป็นอินทรีย์ปัจจัยแก่ธรรมมีจักขุวิญญาณเป็นต้น ด้วยความเป็น

อินทรีย์กล้าและอ่อนเป็นต้นของตน เป็นการคล้อยอาการของตนกล่าวคือ

เป็นสภาพแก่กล้าและอ่อนเป็นต้น นี้ เป็นกิจ (ของจักขุนทรีย์นั้น). กิจของ

โสต ฆาน ชิวหาและกายินทรีย์ก็อย่างนั้น. แต่การให้สหชาตธรรมทั้งหลาย

เป็นไปในอำนาจของตน เป็นกิจของมนินทรีย์. การตามรักษาสหชาตธรรม

เป็นกิจของชีวิตินทรีย์. การทรงไว้ซึ่งอาการแห่งนิมิต (เครื่องหมาย) กิริยา

อาการ และท่าทางของหญิงและชาย เป็นกิจของอิตถินทรีย์ และ ปุริสินทรีย์.

การครอบงำสหชาตธรรมแล้วให้ถึงลำดับตามอาการอันหยาบ (โอฬาร) ตาม

* ในอภิธรรม ปัฏฐานเล่ม ๔๐ ข้อ ๑๗ หน้า ๑๐ ใช้คำว่า จกฺขุนฺทฺริย ไม่ใช้คำว่า

จกฺขฺวายตน นอกนั้นเหมือนกัน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 414

ภาวะของตน เป็นกิจของสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัสสินทรีย์. การให้

ถึงอาการมัชฌัตตา (อุเบกขา) อันสงบและประณีต เป็นกิจของอุเปกขินทรีย์.

การครอบงำธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสัทธาเป็นต้น และการให้สัมปยุต

ธรรม ถึงความเป็นภาวะมีอาการผ่องใสเป็นต้น เป็นกิจของสัทธินทรีย์เป็นต้น.

การละสังโยชน์ ๓ (มีทิฏฐิสังโยชน์เป็นต้น ) และการทำให้สัมปยุตตธรรม

มุ่งหน้าต่อการละสังโยชน์ ๓ นั้น เป็นกิจของ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์.

การละทำให้เบาบาง (ตนุกรปหาน) ซึ่งกามราคะ พยาบาทเป็นต้น และ

การให้สัมปยุตตธรรมให้เป็นไปตามอำนาจของตน เป็นกิจของ อัญญินทรีย์.

การละความขวนขวายในกิจทั้งหมด และความเป็นปัจจัยให้สัมปยุตตธรรมมุ่งไป

สู่อมตะ เป็นกิจของอัญญาตาวินทรีย์แล.

พึงทราบวินิจฉัยในอินทรีย์เหล่านั้นโดยกิจด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยภูมิ

ข้อว่า โดยภูมิ ความว่า บรรดาอินทรีย์เหล่านั้น จักขุนทรีย์

โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์

สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ และโทมนัสสินทรีย์ เป็นกามาพจรอย่างเดียว มนินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์

ปัญญินทรีย์ เป็นอินทรีย์นับเนื่องในภูมิ ๔ โสมนัสสินทรีย์นับเนื่องด้วยภูมิ ๓

ด้วยอำนาจแห่งกามาพจร รูปาพจรและโลกุตระ อินทรีย์ ๓ ในที่สุดเป็น

โลกุตระอย่างเดียวและ.

พึงทราบวินิจฉัยโดยภูมิ ด้วยประการฉะนี้.

จริงอยู่ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 415

ภิกษุ ผู้มากด้วยความสลดใจ ดำรง

อยู่ในอินทรีย์สังวร กำหนดรู้อันทรีย์ทั้งหลาย

ได้แล้ว ย่อมเข้าถึงซึ่งความสงบแห่งทุกข์

ได้แล.

ในนิเทศวาร พึงทราบคำทั้งปวงมีอาทิว่า ย จกฺขุ จตุนฺน

มหาภูตาน (จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภุตรูป ๔) ดังนี้ โดยนัยที่

กล่าวไว้ในบทภาชนะในธรรมสังคณีนั่นแล.

อนึ่ง ในนิเทศทั้งหลายมีวิริยินทรีย์ สาธินทรีย์เป็นต้น พระองค์

มิได้ตรัสคำว่า สัมมาวายามะ มิจฉาวายามะ สัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิเป็นต้น

ไว้ เพราะเหตุไร เพราะเป็นสัพพสังคาหิกวาร (วาระว่าด้วยธรรมที่สงเคราะห์

เข้าด้วยกันทั้งหมด) จริงอยู่ อินทรีย์ทั้งหลายที่สงเคราะห์เข้าด้วยกันได้ทั้งหมด

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อินทริยวิภังค์นี้. อนึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ บรรดาอินทรีย์

๒๒ นี้ อินทรีย์ ๑๐ อย่างซึ่งเป็นโลกีย์ เป็นกามาวจรอย่างเดียว อินทรีย์ ๓

เป็นโลกุตระ อินทรีย์ เป็นโลกิยะและโลกุตระปะปนกัน ฉะนี้แล.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 416

ปัญหาปุจฉกะ

[๒๔๒] อินทรีย์ ๒๒ คือ

๑. จักขุนทรีย์

๒. โสตินทรีย์

๓. ฆานินทรีย์

๔. ชิวหินทรีย์

๕. กายินทรีย์

๖. มนินทรีย์

๗. อิตถินทรีย์

๘. ปุริสินทรีย์

๙. ชีวิตินทรีย์

๑๐. สุขินทรีย์

๑๑. ทุกขินทรีย์

๑๒. โสมนัสสินทรีย์

๑๓. โทมนัสสินทรีย์

๑๔. อุเปกขินทรีย์

๑๕. สัทธินทรีย์

๑๖. วิริยินทรีย์

๑๗. สตินทรีย์

๑๘. สมาธินทรีย์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 417

๑๙. ปัญญินทรีย์

๒๐. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์

๒๑. อัญญินทรีย์

๒๒. อญัญาตาวินทรีย์.

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา

บรรดาอินทรีย์ ๒๒ อินทรีย์ไหนเป็นกุศล อินทรีย์ไหนเป็นอกุศล

อินทรีย์ไหนเป็นอัพยากฤต ฯลฯ อินทรีย์ไหนเป็นสรณะ อินทรีย์ไหนเป็น

อรณะ ?

ติกมาติกาวิสัชนา

[๒๔๓] อินทรีย์ ๑๐ เป็นอัพยากฤต โทมนัสสินทรีย์ เป็นอกุศล

อนัญญตัญญญัสสามีตินทรีย์ เป็นกุศล อินทรีย์ ๔ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤต

ก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี อินทรีย์ ๑๒

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็น

อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต อินทรีย์ ๖ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขม-

สุขเวทนาสัมปยุตก็มี อินทรีย์ ๓ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนา-

สัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี ชีวิตินทรีย์ เป็นสุขเวทนาสัมปยุต

ก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี กล่าวไม่ได้

ว่า แม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุข-

เวทนาสัมปยุตก็มี อินทรีย์ ๗ เป็นเนววิปากธัมมธรรม อินทรีย์ ๓ เป็นวิบาก

อินทรีย์ ๒ เป็นวิปากธัมมธรรม อัญญินทรีย์ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมม-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 418

ธรรมก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปาก-

นวิปากธัมมธรรมก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นอุปาทินนุปาทานิยั โทมนัสสินทรีย์

เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ อินทรีย์ ๙

เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปา-

ทานิยะก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ โทมนัสสินทรีย์เป็นสังกิลิฏฐ-

สังกิเลสิกะ อินทรีย์ ๓ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ อินทรีย์ ๓ เป็นอสังกิลิฏฐ-

สังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ

ก็มี เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะก็มี อินทรีย์ ๙ เป็น

อวิตักกาวิจาระ โทมนัสสินทรีย์ เป็นสวิตักกสวิจาระ อุเปกขินทรีย์ เป็นสวิตักก-

สวิจาระก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี อินทรีย์ ๑ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็น

อวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี อินทรีย์ ๑๑ กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะ โสมนัสสินทรีย์

เป็นปีติสหคตะ เป็นนสุขสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นปีติสหคตะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็น

อุเปกขาสหคตะก็มี อินทรีย์ ๔ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็น

อุเปกขาสหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ

แม้เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี อินทรีย์ ๑๕ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ

โทมนัสสินทรีย์ เป็นทัสสนปหาตัพพะก็มี เป็นภาวนาปหาตัพพะก็มี อินทรีย์

๖ เป็นทัสสนปหาตัพพะก็มี เป็นภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นเนวทัสสนน-

ภาวนาปหาตัพพะก็มี อินทรีย์ ๑๕ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ

โทมนัสสินทรีย์ เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 419

ก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี

เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี อินทรีย์ ๑๐ เป็นเนวาจยคามินาป-

จยคามี โทมนัสสินทรีย์ เป็นอาจยคามี อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็น

อปจยคามี อัญญินทรีย์ เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี

อินทรีย์ ๙ เป็นอาจยคามีก็มี เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี

ก็มี อินทรีย์ ๑๐ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ อินทรีย์ ๒ เป็นเสกขะ อัญญาตา-

วินทรีย์ เป็นอเสกขะ อินทรีย์ ๙ เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็น

เนวเสกขนาเสกขะก็มี อินทรีย์ ๑๐ เป็นปริตตะ อินทรีย์ ๓ เป็นอัปปมาณะ

อินทรีย์ ๙ เป็นปริตตะก็มี เป็นมหัคคตะก็มี เป็นอัปปมาณะก็มี อินทรีย์ ๗

เป็นอนารัมมณะ อินทรีย์ ๒ เป็นปริตตารัมณะ อินทรีย์ ๓ เป็นอัปปมาณา-

รัมมณะ. โทมนัสสินทรีย์ เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี

ไม่เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็น

มหัคคตารัมมณะก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะ

ก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็น

มหัคคตารัมมณะ แม้เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นมัชฌิมะ

โทมนัสสินทรีย์ เป็นหีนะ อินทรีย์ ๓ เป็นปณีตะ อินทรีย์ ๓ เป็นมัชฌินะก็มี

เป็นปณีตะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นหีนะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี เป็นปณีตะก็มี

อินทรีย์ ๑๐ เป็นอนิยตะ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นสัมมัตตนิยตะ

อินทรีย์ ๔ เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี โทมนัสสินทรีย์ เป็น

มิจฉัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นมิจฉัตตนิยตะก็มี เป็น

สัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี อินทรีย์ ๗ เป็นอนารัมมณะ อินทรีย์ ๔

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 420

อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ไม่เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็น

มัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี

อัญญินทรีย์ ไม่เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี อินทรีย์ ๙ เป็น

มัคคารัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี อินทรีย์ ๑๐

เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอนุปปันนะ อินทรีย์ ๒

เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปปาที อินทรีย์ ๑๐

เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี อินทรีย์ ๒๒ เป็นอดีต

ก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี อินทรีย์ ๗ เป็นอนารัมมณะ อินทรีย์

๒ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ

แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ อินทรีย์ ๑๐ เป็น

อตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี กล่าว

ไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมนณะ แม้เป็นปัจจุปปันนา-

รัมมณะก็มี อินทรีย์ ๒๒ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตต-

พหิทธาก็มี อินทรีย์ ๗ เป็นอนารัมมณะ อินทรีย์ ๓ เป็นพหิทธารัมมณะ

อินทรีย์ ๔ เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตต-

พหิทธารัมมณะก็มี อินทรีย์ ๘ เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะ

ก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอัชฌัตตารัมมณะ

แม้เป็นพหิทธารัมมณะ แม้เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี อินทรีย์ ๕เป็น

อนิทัสสนสัปปฎิฆะ อินทรีย์ ๑๗ เป็นอนิทัสสนอับปฏิฆะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 421

ทุกมาติกาวิสัชนา

๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา

[๒๔๔] อินทรีย์ ๔ เป็นเหตุ อินทรีย์ ๑๘ เป็นเหตุ อินทรีย์ ๗

เป็นสเหตุกะ อินทรีย์ ๙ เป็นอเหตุกะ อินทรีย์ ๖ เป็นสเหตุกะก็มี เป็นอเหตุกะ

ก็มี อินทรีย์ ๗ เป็นเหตุสัมปยุต อินทรีย์ ๙ เป็นเหตุวิปปยุต อินทรีย์ ๖

เป็นเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุวิปปยุตก็มี อินทรีย์ ๔ เป็นเหตุสเหตุกะ อินทรีย์

๙ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุ อินทรีย์ ๓

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุกนเหตุ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุกนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสเหตุกนเหตุก็มี

อินทรีย์ ๔ เป็นเหตุเหตุสัมปยุต อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุ-

สัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุ-

สัมปยุต เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุ-

สัมปยุต เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี

อินทรีย์ ๙ เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะ อินทรีย์ ๖ เป็นนเหตุ-

สเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี.

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา

[๒๔๕] อินทรีย์ ๒๒ เป็นสัปปัจจยะ เป็นสังขตะ เป็นอนิทสสนะ

อินทรีย์ ๕ เป็นสัปปฏิฆะ อินทรีย์ ๑๗ เป็นอัปปฏิฆะ อินทรีย์ ๗ เป็นรูป

อินทรีย์ ๑๔ เป็นอรูป ชีวิตินทรีย์ เป็นรูปก็มี เป็นอรูปก็มี อินทรีย์ ๑๐

เป็นโลกิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นโลกุตระ อินทรีย์ ๙ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตระ

ก็มี อินทรีย์ ๒๒ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 422

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา

[๒๔๖] อินทรีย์ ๒๒ เป็นโนอาสวะ อินทรีย์ ๑๐ เป็นสาสวะ

อินทรีย์ ๓ เป็นอนาสวะ อินทรีย์ ๙ เป็นสาสวะก็มี เป็นอนาสวะก็มี อินทรีย์

๑๕ เป็นอาสววิปปยุต โทมนัสสินทรีย์ เป็นอาสวสัมปยุต อินทรีย์ ๖ เป็น

อาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสววิปปยุตก็มี อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

อาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสว-

สาสวะ แม้เป็นสาสวโนอาสวะ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ

เป็นสาสวโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสาสวโนอาสวะก็มี อินทรีย์ ๕

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ

โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวอาสวสัมปยุต เป็นอาสวสัมปยุตต-

โนอาสวะ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวอาสวสัมปยุต เป็นอาสว-

สัมปยุตตโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี อินทรีย์

๙ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ อินทรีย์ ๓ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ โทมนัส

สินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ แม้เป็นอาสววิปปยุตต-

อนาสวะ อินทรีย์ ๓ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ

ก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ แม้เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี.

๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา

[๒๔๗] อินทรีย์ ๒๒ เป็นโนสัญโญชนะ อินทรีย์ ๑๐ เป็นสัญโญ-

ชนิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นอสัญโญชนิยะ อินทรีย์ ๙ เป็นสัญโญชนิยะก็มี เป็น

อสัญโญชนิยะก็มี อินทรีย์ ๑๕ เป็นสัญโญชนวิปปยุต โทมนัสสินทรีย์ เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 423

สัญโญชนสัมปยุต อินทรีย์ ๖ เป็นสัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุต

ก็มี อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยะ

โนสัญโญชนะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ แม้

เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชน-

สัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญ-

ชนิยโนสัญโญชนะก็มี อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชน-

สัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้

ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ

อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชน-

สัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ

ก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นสัญโญชน-

วิปปยุตตอสัญโญชนิยะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชน-

วิปปยุตตสัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ อินทรีย์ ๓

เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี

อินทรีย์ ๖ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตต-

อสัญโญชนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ แม้

เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี.

๕. คันถโคจฉกวิสัชนา

[๒๔๘] อินทรีย์ ๒๒ เป็นโนคันถะ อินทรีย์ ๑๐ เป็นคันถนิยะ

อินทรีย์ ๓ เป็นอคันถนิยะ อินทรีย์ ๙ เป็นคันถนิยะก็มี เป็นอคันถนิยะก็มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 424

อินทรีย์ ๑๕ เป็นคันถวิปปยุต โทมนัสสินทรีย์ เป็นคันถสัมปยุต อินทรีย์ ๖

เป็นคันถสัมปยุตก็มี เป็นคัหถวิปปยุตก็มี อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

คันถคันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถ-

คันถนิยะ แม้เป็นคันถนิยโนคันถะ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถ-

คันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี

อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตต-

โนคันถะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถสัมปยุต เป็นคัหถ-

สัมปยุตตโนคันถะ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถสัมปยุต เป็น

คันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี

อินทรีย์ ๙ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นคันถวิปปยุตตคันถ-

นิยะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ แม้เป็น

คันถวิปปยุตตอคันถนิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะก็มี เป็น

คันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะก็มี เป็น

คันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ

แม้เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะก็มี.

๖.๗. ๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา

[๒๔๙] อินทรีย์ ๒๒ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ อินทรีย์ ๒๒ เป็นโนโยคะ

ฯลฯ อินทรีย์ ๒๒ เป็นโนนีวรณะ อินทรีย์ ๑๐ เป็นนีวรณิยะ อินทรีย์ ๓

เป็นอนีวรณิยะ อินทรีย์ ๙ เป็นนีวรณิยะก็มี เป็นอนีวรณิยะก็มี อินทรีย์ ๑๕

เป็นนีวรณวิปปยุต โทมนัสสินทรีย์ เป็นนีวรณสัมปยุต อินทรีย์ ๖ เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 425

นีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตก็มี อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

นีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

นีวรณนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

นีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณิยโน-

นีวรณะก็มี อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้

เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณ-

นีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ

อินทรีย์ ๓ เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า

แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตนรวรณิยะ แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะ อินทรีย์

๓ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี อินทรีย์

๖ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี กล่าว

ไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะ

ก็มี.

๗. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา

[๒๕๐] อินทรีย์ ๒๒ เป็นโนปรามาสะ อินทรีย์ ๑๐ เป็นปรามัฏฐะ

อินทรีย์ ๓ เป็นอปรามัฏฐะ อินทรีย์ ๙ เป็นปรามัฏฐะก็มี เป็นอปรามัฏฐะก็มี

อินทรีย์ ๖ เป็นปรามาสวิปปยุต อินทรีย์ ๖ เป็นปรามาสสัมปยุตก็มี เป็น

ปรามาสวิปปยุตก็มี อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 426

ปรามัฏฐโนปรามาสะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสปรามัฏฐะ

แม้เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ

เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี

อินทรีย์ ๑๐ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ อินทรีย์ ๓ เป็นปรามาสวิปปยุตต-

อปรามัฏฐะ อินทรีย์ ๓ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะก็มี เป็นปรามาสวิปป-

ยุตตอปรามัฏฐะก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะก็มี เป็น

ปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสวิปปยุตต-

ปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี.

๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา

[๒๕๑] อินทรีย์ ๗ เป็นอนารัมมณะ อินทรีย์ ๑๔ เป็นสารัมมณะ

ชีวิตินทรีย์ เป็นสารัมมณะก็มี เป็นอนารัมมณะก็มี อินทรีย์ ๒๑ เป็นโนจิตตะ

มนินทรีย์เป็นจิตตะ อินทรีย์ ๑๓ เป็นเจตสิกะ อินทรีย์ ๘ เป็นอจิตตะ

ชีวิตินทรีย์ เป็นเจตสิกะก็มี เป็นอเจตสิกะก็มี อินทรีย์ ๑๓ เป็นจิตตสัมปยุต

อินทรีย์ ๗ เป็นจิตตวิปปยุต ชีวิตินทรีย์ เป็นจิตตสัมปยุตก็มี เป็นจิตตวิปปยุต

ก็มี มนินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่าแม้เป็นจิตตสัมปยุต แม้เป็นจิตตวิปปยุต อินทรีย์

๑๓ เป็นจิตตสังสัฏฐะ อินทรีย์ ๗ เป็นจิตตสังสัฏฐะ ชีวิตินทรีย์ เป็น

จิตตสังสัฏฐะก็มี เป็นจิตตวิสังสัฏฐะก็มี มนินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

จิตตสังสัฏฐะ แม้เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ อินทรีย์ ๑๓ เป็นจิตตสมุฏฐานะ อินทรีย์

๘ เป็นโนจิตตสมุฏฐานะ ชีวิตินทรีย์ เป็นจิตตสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตต-

สมุฏฐานะก็มี อินทรีย์ ๑๓ เป็นจิตตสหภู อินทรีย์ ๘ เป็นโนจิตตสหภู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 427

ชีวิตินทรีย์ เป็นจิตตสหภูก็มี เป็นโนจิตตสหภูก็มี อินทรีย์ ๑๓ เป็นจิตตานุ-

ปริวัตติ อินทรีย์ ๘ เป็นโนจิตตานุปริวัตติ ชีวิตินทรีย์ เป็นจิตตานุปริวัตติ

ก็มี เป็นโนจิตตานุปริวัตติก็มี อินทรีย์ ๑๓ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ อินทรีย์

๘ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ ชีวิตินทรีย์เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี เป็น

โนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี อินทรีย์ ๑๓ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู

อินทรีย์ ๘ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู ชีวิตินทรีย์ เป็นจิตตสังสัฏฐ-

สมุฏฐานสหภูก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี อินทรีย์ ๑๓ เป็น

จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ อินทรีย์ ๘ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุ-

ปริวัตติ ชีวิตินทรีย์ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติก็มี เป็นโนจิตต-

สังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติก็มี อินทรีย์ ๖ เป็นอัชฌัตติกะ อินทรีย์ ๑๖ เป็น

พาหิระ อินทรีย์ ๗ เป็นอุปาทา อินทรีย์ ๑๔ เป็นนอุปาทา ชีวิตินทรีย์ เป็น

อุปาทาก็มี เป็นนอุปาทาก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นอุปาทินนะ อินทรีย์ ๔ เป็น

อนุปาทินนะ อินทรีย์ ๙ เป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี.

๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา

[๒๕๒] อินทรีย์ ๒๒ เป็นนอุปาทนะ อินทรีย์ ๑๐ เป็นอุปาทานิยะ

อินทรีย์ ๓ เป็นอนุปาทานิยะ อินทรีย์ ๙ เป็นอุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทานิยะ

ก็มี อินทรีย์ ๑๖ เป็นอุปาทานวิปปยุต อินทรีย์ ๖ เป็นอุปาทานสัมปยุตก็มี

เป็นอุปาทานวิปปยุตก็มี อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ

เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทา-

นิยะ แม้เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทาน-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 428

อุปาทานิยะ เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานิยโน-

อุปาทานะก็มี อินทรีย์ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต

แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

อุปาทานอุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี อินทรีย์ ๑๐ เป็นอุปาทานวิปปยุตต-

อุปาทานิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะ อินทรีย์ ๓ เป็น

อุปาทานวิปปยุตตอุปปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี

อินทรีย์ ๖ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุ-

ปาทานิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ แม้เป็น

อุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี.

๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา

[๒๕๓] อินทรีย์ ๒๒ เป็นโนกิเลสะ อินทรีย์ ๑๐ เป็นสังกิเลสิกะ

อินทรีย์ ๓ เป็นอสังกิเลสิกะ อินทรีย์ ๙ เป็นสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิเลสิกะ

ก็มี อินทรีย์ ๑๕ เป็นอสังกิลิฏฐะ โทมนัสสินทรีย์ เป็นสังกิลิฏฐะ อินทรีย์ ๖

เป็นสังกิลิฏฐะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐะก็มี อินทรีย์ ๑๕ เป็นกิเลสวิปปยุต

โทมนัสสินทรีย์ เป็นกิเลสสัมปยุต อินทรีย์ ๖ เป็นกิเลสสัมปยุตก็มี เป็น

กิเลสวิปปยุตก็มี อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็น

สังกิเลสิกโนกิเลสะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ แม้

เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็น

สังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี อินทรีย์ ๑๕

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 429

กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะ โทมนัส-

สินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะ อินทรีย์ ๖

กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า

เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี อินทรีย์ ๕ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต

แม้เป็นกิเสสสัมปยุตตโนกิเลสะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลส-

กิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น

กิเลสกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลส-

สัมปยุตตโนกิเลสะก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ อินทรีย์ ๓

เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ โทมนัสสินทรีย์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น

กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ อินทรีย์ ๓ เป็น

กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะก็มี เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี อินทรีย์ ๖

เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะก็มี เป็นกิเลสวิปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี กล่าวไม่ได้

ว่า แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี.

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา

[๒๕๔] อินทรีย์ ๑๕ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ อินทรีย์ ๗ เป็น

ทัสสนปหาตัพพะก็มี เป็นนทัสสนปหาตัพพะก็มี อินทรีย์ ๑๕ เป็นนภาวนา-

ปหาตัพพะ อินทรีย์ ๗ เป็นภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นนภาวนาปหาตัพพะก็มี

อินทรีย์ ๑๕ เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี อินทรีย์ ๑๕ เป็นนภาวนาปหา-

ตัพพเหตุกะ อินทรีย์ ๗ เป็นภาวนาปหาตัพเหตุกะก็มี เป็นนภาวนาปหา-

ตัพพเหตุกะก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นอวิตักกะ โทมนัสสินทรีย์ เป็นสวิตักกะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 430

อินทรีย์ ๑๒ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นอวิจาระ

โทมนัสสินทรีย์เป็นสวิจาระ อินทรีย์ ๑๒ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี

อินทรีย์ ๑ เป็นอัปปีติกะ อินทรีย์ ๑๑ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี

อินทรีย์ ๑๑ เป็นนปีติสหคตะ อินทรีย์ ๑๑ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติ-

สหคตะก็มี อินทรีย์ ๑๒ เป็นนสุขสหคตะ อินทรีย์ ๑๐ เป็นสุขสหคตะก็มี

เป็นนสุขสหคตะก็มี อินทรีย์ ๑๒ เป็นนอุเปกขาสหคตะ อินทรีย์ ๑๐ เป็น

อุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี อินทรีย์ ๑๐ เป็นกามาวจร

อินทรีย์ ๓ เป็นนกามาวจร อินทรีย์ ๙ เป็นกามาวจรก็มี เป็นนกามาวจรก็มี

อินทรีย์ ๑๓ เป็นนรูปาวจร อินทรีย์ ๙ เป็นรูปาวจรก็มี เป็นนรูปาวจรก็มี

อินทรีย์ ๑๔ เป็นนอรูปาวจร อินทรีย์ ๘ เป็นอรูปาวจรก็มี เป็นนอรูปาวจร

ก็มี อินทรีย์ ๑๐ เป็นปริยาปันนะ อินทรีย์ ๓ เป็นอปริยาปันนะ อินทรีย์ ๙

เป็นปริยาปันนะก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี อินทรีย์ ๑๑ เป็นอนิยยานิกะ

อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นนิยยานิกะ อินทรีย์ ๑๐ เป็นนิยยานิกะก็มี

เป็นอนิยยานิกะก็มี อินทรีย์ ๑๐ เป็นอนิยตะ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็น

นิยตะ อินทรีย์ ๑๑ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี อินทรีย์ ๑๐ เป็นสอุตตระ

อินทรีย์ ๓ เป็นอนุตตระ อินทรีย์ ๙ เป็นสอุตตระก็มี เป็นอนุตตระก็มี

อินทรีย์ ๑๕ เป็นอรณะ โทมนัสสินทรีย์ เป็นสรณะ อินทรีย์ ๖ เป็นสรณะ

ก็มี เป็นอรณะก็มี ฉะนี้แล.

ปัญหาปุจฉกะ จบ

อินทริยวิภังค์ จบบริบูรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 431

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ

พึงทราบการจำแนกอินทรีย์ แม้ทั้งหมดในปัญหาปุจฉกะ ว่าเป็นกุศล

เป็นต้น โดยทำนองแห่งนัยของพระบาลีนั้น แหละ อนึ่ง ในอารัมมณติกะ

ทั้งหลาย คำว่า อินทรีย์ ๗ เป็นอนารัมมณะ นั้น ตรัสหมายเอาจักขุนทรีย์

โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์

แต่ชีวิตินทรีย์ไม่มาในฐานะนี้ เพราะปะปนด้วยอรูป.

บทว่า ทฺวินฺทฺริยา ได้แก่ อินทรีย์ ๒ คำนี้ตรัสหมายเอาอินทรีย์ ๒

คือ สุขินทรีย์ และทุกขินทรีย์ เพราะอินทรีย์ ๒ นั้น เป็นปริตตารัมมณะ

โดยส่วนเดียว. คำว่า โทมนสฺสินฺทฺริย สิยา ปริตฺตารมฺมณ สิยา

มหคฺคตารมฺมณ (โทมนัสสินทรีย์เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตา-

รัมมณะก็มี) ความว่า ในเวลาปรารภกามาวจรธรรมเป็นไปก็เป็นปริตตารัมมณะ

แต่ในเวลาที่ปรารภรูปาวจร อรูปาวจรเป็นไปก็เป็นมหัคคตารัมมณะ และใน

เวลาที่ปรารภบัญญัติเป็นไปก็เป็นนวัตตัพพารัมมณะ.

คำว่า นิวินฺทฺริยา สิยา ปริตฺตารมฺมณา (อินทรีย์ ๙ แม้ปริตตา-

รัมมณะก็มี) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอามนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

โสมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และอินทรีย์หมวด ๕ มีสัทธินทรีย์เป็นต้น

จริงอยู่ ชีวิตินทรีย์ แม้สงเคราะห์ในรูปธรรมซึ่งไม่มีอารมณ์เพราะระคนด้วย

รูป และสงเคราะห์ในฝ่ายที่เป็นธรรมชาติมีอารมณ์ได้โดยส่วนแห่งอรูป.

คำว่า จตฺตาริ อินฺทฺริยานิ (อินทรีย์ ๘) ได้แก่ สุขินทรีย์

ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ และอัญญาตาวินทรีย์ เพราะอินทรีย์ เหล่านั้น

ไม่รวมอยู่ในมัคคารัมมณติกะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 432

บทว่า มคฺคเหตฺก (เป็นมรรคเหตุกะ) นี้ ตรัสไว้หมายเอาเหตุที่

เป็นสหชาตะ ในเวลาที่วิริยะหรือวิมังสาเป็นใหญ่ เป็นมัคคาธิปติ แต่ในเวลาที่

ฉันทะหรือจิตเป็นใหญ่ ก็เป็นนวัตตัพพธรรม.

คำว่า ทสินฺทฺริยา สิยา อุปฺปนฺนา สิยา อุปฺปาทิโน (อินทรีย์

๑๐ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอุปาทีก็มี) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอารูป

อินทรีย์ ๗ และวิปากอินทรีย์ ๓ อินทรีย์ ๑๐ ตรัสไว้ในหนหลังพร้อมทั้ง

โทมนัสสินทรีย์ ในอินทรีย์ ๑๐ เหล่านั้น โทมนัสสินทรีย์ ในเวลาที่ปรารภ

บัญญัติเป็นไปก็เป็นนวัตตัพพารัมมณะ อินทรีย์ที่เหลือ แม้ในเวลาที่พิจารณา

นิพพานก็เป็นนวัตตัพพารัมมณะ.

คำว่า ตีณินฺทฺริยานิ พหิทฺธารมฺมณานิ (อินทรีย์ ๓ เป็น

พหิทธารัมมณะ) ได้แกุ อินทรีย์ ๓ ที่เป็นโลกุตรินทรีย์.

บทว่า จติตาริ ได้แก่ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์

โทมนัสสินทรีย์ เพราะอินทรีย์ ๔ เหล่านั้น ปรารภเป็นไปในอัชฌัตตธรรม

บ้าง ในพหิทธาธรรมบ้าง.

บทว่า อฏฺินฺทฺริยา (อินทรีย์ ๘) ได้แก่ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

อุเปกขินทรีย์ และอินทรีย์หมวด ๕ มีศรัทธาเป็นต้น ในบรรดาอินทรีย์ ๘

เหล่านั้น ความเป็นนวัตตัพพารัมมณะ พึงทราบในเวลาแห่งอากิญจัญญายตนะ.

ในปัญหาปุจฉกะแม้นี้ อินทรีย์ ๑๐ เป็นกามาพจร อินทรีย์ ๓ เป็น

โลกุตระ อินทรีย์ ๙ เป็นอินทรีย์ระคนกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ เป็นธรรมอัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ปัญหาปุจฉกะแม้นี้ ก็เป็น

ปริจเฉทอย่างเดียวกับอภิธรรมภาชนีย์นั่นเอง ก็อินทริยวิภังค์นี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงนำออกจำแนกแสดงแล้ว ๒ ปริวรรค ด้วยประการฉะนี้.

วรรณนาอินทริยวิภังค์ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

๖. ปัจจยาการวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

[๒๕๕] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เกิดเพราะ

ชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

[๒๕๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ทุกข์ ความไม่รู้ทุกขสมุทัย ความไม่รู้ทุกขนิโรธ ความไม่รู้

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า อวิชชา

[๒๕๗] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เป็นไฉน ?

ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร

วจีสังขาร จิตตสังขาร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 434

ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน ?

กุศลเจตนา เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร ที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จ-

ด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร

ในสังขารเหล่านั้น อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน ?

อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร

ในสังขารเหล่านั้น อาเนญชาภิสังขาร เป็นไฉน ?

กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร

ในสังขารเหล่านั้น กายสังขาร เป็นไฉน ?

กายสัญเจตนา เป็นกายสังขาร วจีสัญเจตนา เป็นวจีสังขาร มโน-

สัญเจตนา เป็นจิตตสังขาร

เหล่านี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.

[๒๕๘] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ

มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

[๒๕๙] นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน ?

มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญาณเป็น

ปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 435

[๒๖๐] สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ

มหายตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย.

[๒๖๑] ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน-

สัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย.

[๒๖๒] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา

ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๒๖๓] ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา

ธัมมตัณหา นี้เรียกว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย.

[๒๖๔] อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย.

[๒๖๕] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ภพ ๒ คือ กรรมภพ ๑ อุปปัตติภพ ๑

ในภพ ๒ นั้น กรรมภพ เป็นไฉน ?

ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร นี้เรียกว่า

กรรมภพ กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า กรรมภพ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 436

อุปปัตติภพ เป็นไฉน ?

กามภพ รูปภพ อรุปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญา-

นาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ นี้เรียกว่า อุปปัตติภพ

กรรมภพและอุปปัตติภพดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทาน

เป็นปัจจัย.

[๒๖๖] ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความเกิด ความเกิดพร้อม ควานหยั่งลง ความเกิดจำเพาะ ความ

ปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ

อันใด นี้เรียกว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย.

[๒๖๗] ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ชรา ๑ มรณะ ๑

ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน ?

ความคร่ำคร่า ภาวะทีคร่ำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก

ความที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่

สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อันใด นี้เรียกว่า ชรา

มรณะ เป็นไฉน ?

ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน ความทำลาย ความหายไป มฤตยู

ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความ-

ขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อันใด นี้เรียกว่า

มรณะ

ชราและมรณะดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็น

ปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 437

[๒๖๘] โสกะ เป็นไฉน ?

ความโศกเศร้า กิริยาโศกเศร้า สภาพโศกเศร้า ความแห้งผากภายใน

ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศกเศร้า

ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค

ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความ

เสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว

นี้เรียกว่า โสกะ.

[๒๖๙] ปริเทวะ เป็นไฉน ?

ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ

สภาพร้องไห้ สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้

ความพิไรร่ำ กิริยาพิไรร่ำ สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความ-

เสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ

กระทบแล้ว ของผู้ประกบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกเหตุ

แห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า ปริเทวะ.

[๒๗๐] ทุกข์ เป็นไฉน ?

ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็น

ทุกข์อันเกิดแก่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กาย

สัมผัส อันใด นี้เรียกว่า ทุกข์.

[๒๗๑] โทมนัส เป็นไฉน ?

ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส

อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 438

[๒๗๒] อุปายาส เป็นไฉน ?

ความแค้น ความขุ่นแค้น สภาพแค้น สภาพขุ่นแค้น ของผู้ที่ถูก

ความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล

หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใด

อย่างหนึ่ง ข องผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า

อุปายาส.

[๒๗๓] คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้นั้น ได้แก่ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏ

แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย ประการอย่างนี้.

สุตตันตภาชนีย์ จบ

ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์*

วรรณนาสุตตันตภาชนีย

ว่าด้วยอุเทศวาร

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ในลำดับต่อจากอินทรีย์

วิภังค์ต่อไป:-

พระบาลีตันติ (แบบแผน) นี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้

โดยนัยมีอาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา สขารา (สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย)

* บาลีข้อ ๒๕๕ เป็นปัจจยาการวิภังค์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 439

ดังนี้ อันกุลบุตรผู้ที่กระทำการสังวรรณนาเนื้อความแห่งพระบาลีนั้น ควรเข้าสู่ที่

ประชุมพุทธสาวกผู้เป็นวิภัชชวาที พึงเป็นผู้ไม่กล่าวตู่ต่ออาจารย์ ไม่เลี่ยงไปสู่ลัทธิ

ของคน ไม่กังวลขวนขวายลัทธิอื่น ไม่ปฏิเสธพระสูตร คล้อยตามพระวินัย

ตรวจดูมหาประเทศแสดงธรรม (ปฏิจจสมุปบาท) รวบรวมอรรถ ไม่เปลี่ยน

แปลงเนื้อความ และแสดงโดยปริยาแม้อย่างอื่น จึงสมควรทำการสังวรรณนา

ความตามพระบาลี.

อนึ่ง การสังวรรณนาความแห่งปฏิจจสมุปบาท แม้โดยปรกติก็เป็น

เรื่องที่กระทำได้โดยยาก เหมือนอย่างที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า

สจฺจ สตฺโต ปฏิสนฺธิ ปจฺจยาการเมว จ

ทุทฺทสา จตุโร ธมฺมา เทเสตุญฺจ สุทุกฺกรา

ธรรม ๔ อย่าง คือ สัจจะ ๑ สัตว์-

บัญญัติ ๑ ปฏิสนธิ ๑ ปัจจยาการ ๑ เป็น

ธรรมเห็นได้โดยยาก และแสดงได้แสนยาก.

เพราะฉะนั้น การสังวรรณนาความแห่งปฏิจจสมุปบาท จึงกระทำไม่

ได้โดยง่าย เว้นแต่ท่านผู้สำเร็จปริยัติ และบรรลุมรรคผลทั้งหลายแล้ว เท่านั้น.

ข้าพเจ้า (พระพุทธโฆสาจารย์) ใคร่

ครวญประสงค์จะกล่าวพรรณนาปัจจยาการ

ในวันนี้ แต่ยังไม่ได้ที่พึ่งพิงเหมือนหยั่งลงสู่

สาคร แต่เพราะพระศาสนา (บาลีปฏิจจสมุ-

ปบาท) นี้ ประดับด้วยนัยแห่งเทศนาต่าง ๆ

และแนวประพันธ์ แห่งบุรพาจารย์ (อรรถกถา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 440

ปฏิจจสมุปบาทเก่า )ก็ยังเป็นไปอยู่มิขาดสาย

ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักอาศัยข้อความทั้ง ๒ นั้น

เริ่มการวรรณนาความแห่งปฏิจจสมุปบาทนี้

ขอท่านทั้งหลายตั้งใจสดับการสังวรรณนานั้น.

ข้อนี้ สมด้วยคำที่ท่านบูรพาจารย์ กล่าวไว้ว่า

ผู้ใดผู้หนึ่งสนใจฟังการสังวรรณนานี้

เขาก็จะพึงได้คุณพิเศษสืบต่อไปในภพหน้า

ครั้น ได้คุณวิเศษสืบต่อไปในภพหน้าแล้ว ก็

พึงถึงที่อันไม่พบเห็นของพระยามัจจุราช.

อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำมีอาทิว่า อิวิชฺชาปจฺจยา สขารา

ดังนี้ จำเดิมแต่ต้นก่อนทีเดียว.

เทศนาเภทโต อตฺถ ลกฺขเณกวิธาทิโต

องฺคานญฺจ ววตฺถานา วิญฺาตพฺโพ วินิจฺฉโย

พึงทราบวินิจฉัย โดยความแตกต่าง

แห่งเทศนา ๑ โดยอรรถ ๑ โดยลักษณะ

เป็นต้น ๑ โดยเป็นธรรมมีอย่างเดียวเป็นต้น ๑

และโดยการกำหนดองค์ทั้งหลาย ๑.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความแตกต่างแห่งเทศนา

บรรดาข้อวินิจฉัยเหล่านั้น ข้อว่า โดยความแตกต่างแห่งเทศนา

นั้น อธิบายว่า การแสดงปฏิจจสมุปบาทของพระผูมีพระภาคเจ้ามี ๔ นัย คือ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 441

ทรงแสดงตั้งแต่ข้อต้นไปข้อสุดท้าย (ปลาย) บ้าง ตั้งแต่ท่ามกลางไปข้อสุดท้าย

บ้าง อนึ่ง ทรงแสดงตั้งแต่ข้อสุดท้ายไปข้อต้นบ้าง ตั้งแต่ท่ามกลางไปข้อต้น

บ้าง เหมือนการจับเถาวัลย์ของบุรุษ ๔ คน ผู้นำเถาวัลย์ไปฉะนั้น.

แสดงปฏิจจสมุปบาทอย่างที่ ๑

เหมือนอย่างว่า ในบุรุษ ๔ คน ผู้นำเถาวัลย์ไป คนหนึ่งเห็นโคน

เถาวัลย์ก่อนนั่นเทียว เขาจึงตัดโคนเถาวัลย์นั้นจับดึงเถาวัลย์ทั้งหมดไปใช้ใน

การงาน ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ย่อมทรงแสดงปฏิจจสมุปบาท

ตั้งแต่ข้อต้นจนถึงแม้ข้อสุดท้ายว่า อิโต โข ภิกฺขเว อวิชฺขาปจฺจยา สขารา

ฯเปฯ ชาติปจฺจยา ชรามรณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย

เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ ชราและมรณะ เกิดเพราะชาติ

เป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้แล* ดังนี้.

แสดงปฏิจจสมุปบาทอย่างที่ ๒

เหมือนอย่างว่า ในบุรุษเหล่านั้น คนหนึ่งเห็นท่ามกลางเถาวัลย์ก่อน

เขาจึงตัดในท่ามกลาง ดึงเอาส่วนท่อนบนเท่านั้นมาใช้ในการงาน ฉันใด

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ย่อมทรงแสดงตั้งแต่ท่ามกลางไปจนถึงแม้สุดท้าย

ว่า ตสฺส ต เวทน อภินนฺทโต อภิวทโต อชฺโฌสาย ติฏฺโต

อุปฺปชฺชติ นนฺทิ ยา เวทนาสุ นนฺทิ ตทุปาทาน ตสฺสุปาทานปจฺจยา

ภโว ภวปจฺจยา ชาติ เมื่อกุมารนั้น เพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ

เวทนานั้น ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนา

* ม. มูล. เล่ม ๑๒. ๔๔๖/๔๘๐

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 442

ทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ

เป็นปัจจัย จึงมีชาติ (เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ) ดังนี้.

แสดงปฏิจจสมุปบาทอย่างที่ ๓

เหมือนอย่างว่า ในบุรุษเหล่านั้น คนหนึ่งเห็นปลายเถาวัลย์ก่อนเขา

จึงจับปลายสาวเอามาทั้งเถาจนถึงโคนตามแนวของปลายแล้วนำไปใช้ ฉันใด

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ย่อมทรงแสดงปุฏิจจสมุปบาทตั้งแต่ข้อปลายจนถึง

แม้ข้อต้นว่า ชาติปจฺจยา ขรามรณนฺติ อิติ โข ปเนต ฯเปฯ อวิชฺชา-

ปจฺจยา สขารา ก็ข้อว่า ชราและมรณะมี เพราะชาติเป็นปัจจัย

ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัย

ชราและมรณะจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือมิใช่(พวกภิกษุกราบทูล

ว่า) พระพุทธเจ้าว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ใน

ข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แลว่า เพราะชาติปัจจัย จึงมีชรามรณะ

ก็ข้อที่ว่า ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ดังนี้นั้นเรากล่าแล้ว ฯลฯ

(พระผู้มีพระภาคเจ้า) ก็ข้อที่ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

ทั้งหลาย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชา

เป็นปัจจัยจึงมีสงขารทั้งหลาย ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้ หรือมิใช่ (พวก

ภิกษุ) พระพุทธเจ้าข้า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ในข้อนี้

ก็เป็นอย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลายดังนี้

๑. ม. มูล. เล่ม ๑๒. ๔๕๓/๔๘๘ ๒. ม. มูล. เล่ม ๑๒. ๔๔๗/๔๘๐

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 443

แสดงปฏิจจสมุปบาทข้อที่ ๔

เหมือนอย่างว่า ในบุรุษเหล่านั้น คนหนึ่งเห็นท่ามกลางเถาวัลย์

นั่นแหละก่อน เขาก็ตัดตรงกลางจับสาวลงมาข้างล่างจนถึงโคนนำไปใช้การงาน

ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมทรงแสดงตั้งแต่ท่ามกลาง

จนถึงข้อต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร ๔ เหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ

มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด. อาหาร

๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหาเป็นกำเนิด

มีตัณหาเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้ มีอะไรเป็น

เหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด.

ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นกำเนิด มี

เวทนาเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ เวทนา...ผัสสะ...

สฬายตนะ...นามรูป...วิญญาณ...สังขารทั้งหลายมีอะไรเป็นเหตุ

มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด สังขาร

ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นกำเนิด

มีอวิชชาเป็นแดนเกิด* ดังนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงแสดงเช่นนี้

ตอบว่า เพราะปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมเจริญรอบด้าน และพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเล่าก็ทรงถึงความเป็นผู้งดงามด้วยเทศนา.

จริงอยู่ ปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นธรรมเจริญรอบด้าน ย่อมเป็นไป

พร้อมเพื่อแทงตลอดญายธรรมโดยเทศนานั้นนั่นแหละ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

* ม. มูล เล่ม ๑๒ ๔๔๖/๔๗๙

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 444

ทรงถึงความเป็นผู้งดงามด้วยเทศนา เพราะทรงประกอบด้วยเวสารัชชญาณ ๔

และปฏิสัมภิทาญาณ ๔ และทรงถึงความลึกซึ้ง (ในปฏิจจสมุปบาท) ๔ อย่าง

พระองค์ทรงแสดงธรรมโดยนัยต่าง ๆ ก็เพราะทรงถึงความเป็นผู้งดงามด้วย

เทศนานั้นแล.

แต่เมื่อว่าโดยแปลกกันแห่งปฏิจจสมุปบาทนั้น เทศนาใดเป็นเทศนา

โดยอนุโลมจำเดิมแต่ต้น เทศนานั้นบัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเทศนาที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าพิจารณาเห็นเวไนยชนผู้ลุ่มหลงในการจำแนกเหตุที่เป็นไปทรง

ประกาศแล้ว เพื่อทรงชี้แจงความเป็นไปตามเหตุอันควรแก่ตน และเพื่อทรง

ชี้แจงถึงลำดับแห่งความเกิดขึ้น. เทศนาใดที่ทรงแสดงโดยปฏิโลมตั้งแต่ข้อ

สุดท้ายทวนไป เทศหานั้น พึงทราบว่า เป็นเทศนาที่พระองค์พิจารณาเห็นโลก

ที่ถึงความลำบาก โดยนัยมีอาทิว่า "โลกนี้ถึงความลำบากหนอ ย่อมเกิด

ย่อมแก่ และย่อมตาย" * ทรงประกาศแล้ว เพื่อทรงชี้แจงถึงเหตุแห่งทุกข์

มีชราและมรณะเป็นต้น นั้น ๆ ที่พระองค์ทรงบรรลุแล้ว โดยทำนองแห่งการ-

แทงตลอดในส่วนเบื้องต้น. อนึ่ง เทศนาใดทรงแสดงตั้งแต่ท่ามกลางไปจนถึง

ข้อต้น เทศนานั้นพระองค์ทรงประกาศแล้ว เพื่อทรงนำอดีตกาลมาแสดงโดย

ลำดับแห่งเหตุและผล จำเดิมแต่อดีตกาลอีก โดยทำนองการกำหนดตัณหา

เป็นเหตุแห่งอาหาร. แต่เทศนาใดที่ทรงแสดงตั้งแต่ท่ามกลางจนถึงที่สุด เทศนา

นั้นเป็นเทศนาที่ทรงประกาศเพื่อทรงชี้แจงอนาคตกาล จำเดิมแต่สมุฏฐานแห่ง

เหตุของอนาคตกาลในปัจจุบันนกาล.

ในเทศนา ๔ เหล่านั้น เทศนานี้ใดที่ตรัสแสดงโดยอนุโลมตั้งแต่ต้น

เพื่อทรงชี้แจงความเป็นไปตามเหตุของคนแก่เวไนยชนผู้ลุ่มหลงเหตุแห่งความ

* ที. มหาวคฺค. เล่ม ๒. ๓๘/๓๕

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

เป็นไป และเพื่อทรงชี้แจงลำดับความเกิดขึ้นนั้น เทศนานั้นพึงทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้แล้วในปฏิจจสมุปปาทวิภังค์นี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในปฏิจจสมุปบาทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสอวิชชาไว้แต่ต้น แม้อวิชชาก็ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นเหตุเดิมของโลก

เหมือนความคงที่ของพวกปกติวาทีหรือ ?

ตอบว่า อวิชชา มิใช่ไม่มีเหตุ เหตุแห่งอวิชชา พระองค์ตรัสว่า

อาวสมุทยา อวิชฺชาสมุทโย (อวิชชาเกิดขึ้น เพราะอาสวเกิดขึ้น) ดังนี้.

ถามว่า ก็ปริยายที่เป็นเหตุเดิมมีโดยสภาวะใด ก็สภาวะนั้นได้แก่อะไร

ตอบว่า ได้แก่ภาวะที่เป็นประธานของวัฏฏกถา (กถาว่าด้วยวัฏฏะ).

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสวัฏฏกถา ก็ตรัสธรรม ๒ อย่าง

ทำให้เป็นประธานหรือตรัส อวิชชาเป็นประธาน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ปุริมา ภิกฺขเว โกฏิ น ปญฺายติ อวิชฺชาย อิโต ปุพฺเพ อวิชฺชา นาโหสิ

อถ ปจฺฉา สมภวีติ เอวญฺเจต ภิกฺขเว วุจฺจติ อถ จ ปน ปญฺายติ

อิทปฺปจฺจยา อวิชฺชา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาไม่

ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้ อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น

เราจึงกล่าวคำนี้ อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็น

ปัจจัย จึงปรากฏ* ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ตรัส ภวตัณหาเป็นประธาน เหมือนอย่างที่ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งภวตัณหาไม่ปรากฏ ในกาลก่อน

แต่นี้ภวตัณหาไม่มี แต่กายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้

* องฺ ทสก. เล่ม ๒๔ ๖๑/๑๒๐

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 446

อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ภวตัณหามีข้อนี้เป็นปัจจัย จึง ปรากฏ*

ดังนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสวัฏฏกถา จึงตรัส

ธรรม ๒ นี้ ทำให้เป็นประธาน.

ตอบว่า เพราะอวิชชา เป็นเหตุพิเศษแห่งกรรมให้สัตว์ถึงสุคติ

หรือทุคติ. จริงอยู่ อวิชชาเป็นเหตุพิเศษแห่งกรรมอันให้สัตว์ถึงทุคติ. เพราะ

เหตุไร เพราะปุถุชนผู้อันอวิชชาครอบงำแล้ว ย่อมเริ่มทำกรรมอันให้ตน

ถึงทุคติอเนกประการมีปาณาติบาตเป็นต้น อันไม่มีความชื่นใจเพราะความ

เร่าร้อนด้วยกิเลสบ้าง อันนำความพินาศแก่ตนเพราะต้องตกไปสู่ทุคติบ้าง

เหมือนแม่โคที่จะถูกฆ่าถูกความบอบช้ำครอบงำ เพราะเร่าร้อนด้วยไฟและถูก

ตีด้วยค้อน และเหมือนการต้มน้ำร้อนอันไม่มีความชื่นใจ เพราะความเป็นผู้

กระหายด้วยการบอบช้ำนั้น แม้นำมาซึ่งความพินาศแก่ตน.

ส่วนภวตัณหาเป็นเหตุพิเศษแห่งกรรมอันยังสัตว์ให้ถึงสุคติ เพราะ

เหตุไร ? เพราะปุถุชนผู้อันภวตัณหาครอบงำแล้ว ย่อมเริ่มทำกรรมอันให้ถึง

สุคติอเนกประการมีเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ซึ่งมีแต่

สำราญใจ เพราะเว้นจากความเร่าร้อนด้วยกิเลส และบรรเทาความบอบช้ำด้วย

ทุกข์ ในทุคติของคน เพราะลุถึงสุคติ เหมือนแม่โคมีประการตามที่กล่าวแล้ว

เริ่มดื่มน้ำเย็นซึ่งมีแต่ความสำราญด้วยความอยากในน้ำเย็น และบรรเทาความ

บอบช้ำของตน ฉะนั้น.

ก็บรรดาธรรมที่เป็นประธานแห่งวัฎฏกถาเหล่านี้ ในที่บางแห่ง พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงเทศนาอันมีธรรมอย่างเดียวเป็นมูล อย่างไร คือ

* องฺ ทสก. เล่ม ๒๔. ๖๒/๑๒๔

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 447

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุดังนี้แล สังขาร

ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย วิญญาณมีสังขารเป็นที่อิงอาศัย

เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็น

ความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่

ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เป็นต้น.

ในที่บางแห่ง ทรงแสดงธรรมแม้ทั้ง ๒ เป็นมูล คือ อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กายของคนพาลผู้มีอวิชชานิวรณ์ ประกอบพร้อมด้วย

ตัณหาเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ และกายนี้ด้วย นามรูปภายนอกทั้งนี้ย่อม

มีด้วยประการฉะนี้ เพราะอาศัยกายและนามรูปภายนอกทั้ง ๒ จึงเกิด

ผัสสะ สฬายตนะทั้งหลาย คนพาลผู้อันผัสสะและสฬายตนะทั้ง ๒

เหล่าใด ถูกต้องแล้ว ก็ย่อมเสวยเฉพาะสุขหรือทุกข์ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาเทศนาเหล่านั้น ๆ เทศนานั้นอธิการนี้ ด้วยอำนาจอวิชชาว่า

สังขารทั้งหลายย่อมเกิด เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า

เป็นธรรมอันหนึ่งที่เป็นมูล (เอกธมฺมมูลิกา).

พึงทราบวินิจฉัยโดยความต่างแห่งเทศนาในปฏิจจสมุปบาทนี้ ด้วย

ประการฉะนี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ

ข้อว่า โดยอรรถ ได้แก่ โดยอรรถ (เนื้อความ) แห่งบททั้งหลาย

มีอวิชชาเป็นต้น คืออย่างไร คือ กายทุจริตเป็นต้น ชื่อว่า อวินฺทิย

(ธรรมชาติไม่ควรได้) เพราะอรรถว่าไม่ควรบำเพ็ญ คือสิ่งที่ไม่ควรได้

(วิเคราะห์ว่า) ต อวินฺทิย วินฺทตีต อวิชฺชา ที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะ

อรรถว่า ย่อมได้สิ่งที่ไม่ควรได้นั้น.

๑. ส. นิทาน. เล่ม ๑๖. ๖๙/๓๗ ๒. ส. นิทาน เล่ม ๑๖. ๑๙๖/๑๐๒

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 448

กายสุจริตเป็นต้น ชื่อว่า ธรรมชาติที่ควรได้ เพราะเป็นภาวะ

ตรงกันข้ามกับกายทุจริตเป็นต้นนั้น. (วิเคราะห์ว่า) ต วินฺทิย น วินฺทตีต

อวิชฺชา ที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ย่อมไม่ได้สิ่งที่ควรได้นั้น.

ที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ย่อมกระทำ (ปัญญา) ไม่ให้รู้แจ้ง

ซึ่งอรรถ (เนื้อความ) แห่งกองขันธ์ทั้งหลาย ซึ่งอรรถแห่งการเกิดของอายตนะ

ทั้งหลาย ซึ่งอรรถแห่งความว่างเปล่าของธาตุทั้งหลาย ซึ่งอรรถอันแท้จริงของ

สัจจะทั้งหลาย ซึ่งอรรถแห่งความเป็นอธิบดีของอินทรีย์ทั้งหลาย.

ที่ชื่อว่า อวิชชา แม้เพราะอรรถว่า ย่อมกระทำอรรถอย่างละ ๔*

ตามที่ตรัสไว้ด้วยอำนาจการบีบคั้นเป็นต้นของทุกข์เป็นต้น.

* ในวิสุทธิมรรคบาลีตอนญาณทัสสนวิสุทธิ หน้า ๓๔๖ แสดงว่า

ทุกฺขสฺส บีฬนฏฺโ ทุกข์มีความบีบคั้นเป็นอรรถ

สงฺขตฏฺโ มีความปรุงแต่งเป็นอรรถ

สนฺตาปฏฺโ มีความให้เร่าร้อนเป็นอรรถ

วิปริณามฏฺโ มีความแปรปรวนเป็นอรรถ

สมุทยสฺส อายูหนฏฺโ สมุทัยมีอันประมวลมาเป็นอรรถ

นิทานฏฺโ มีเหตุเป็นแดนเกิดเป็นอรรถ

สโยคฏฺโ มีอันประกอบไว้เป็นอรรถ

ปสิโพธฏฺโ มีความกังวลใจเป็นอรรถ

นิโรธสฺส นิสฺสรณฏฺโ นิโรธมีอันสลัดออกเป็นอรรถ

วิเวกฏฺโ มีความสงัดจากทุกข์เป็นอรรถ

อสงฺขตฎฺโ มีสภาวะไม่ปรุงแต่งเป็นอรรถ

อมตฏิโ มีอมตะเป็นอรรถ

มคฺคสฺส นิยฺยานฏิโ มรรคมีการนำออกเป็นอรรถ

เหตวฏฺโ มีอันเป็นเหตุเป็นอรรถ

ทสฺสนฏฺโ มีการเห็นนิพพานเป็นอรรถ

อธิปเตยฺยฏฺโ มีความเป็นอธิบดีในการสำเร็จกิจเป็นอรรถ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 449

ที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัตว์ให้แล่นไปในสงสาร

อันไม่มีที่สุด คือ ในกำเนิด คติ ภพ วิญญาณฐิติ และสัตตาวาส.

ที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ย่อมแล่นไปในหญิงชายเป็นต้น

อัน ไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์ ย่อมไม่แล่นไปในธรรมมีขันธ์เป็นต้น แม้อันเป็นของ

มีอยู่.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า อวิชชา แม้เพราะปกปิดธรรมซึ่งอาศัย

กันและกันเกิดขึ้นแห่งปฏิจจสมุปบาทด้วยอำนาจวัตถุและอารมณ์มีจักขุวิญญาณ

เป็นต้น ย ปฏิจฺจ ผลเมติ โส ปจฺจโย ผลอาศัยธรรมใดเกิดขึ้นเป็น

ไป เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า ปัจจัย. คำว่า ปฏิจฺจ (อาศัย)

ได้แก่ ไม่เว้นธรรมนั้น คือเว้นธรรมนั้นแล้วก็ไม่ปรากฏ. คำว่า เอติ*

ได้แก่ ย่อมเกิดขึ้น และย่อมเป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง อรรถแห่งปัจจัยมีความ

หมายถึงอุปการธรรม.

อวิชชา จ สา ปจฺจโย จาติ อวิชฺชาปจฺจโย อวิชชานั้นด้วย

เป็นปัจจัยด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อวิชชาปจฺจโย (อวิชชาเป็นปัจจัย).

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั้น. สขตมภิสขโรฺตีติ สขารา ธรรมที่ชื่อว่า

สังขารทั้งหลาย เพราะอรรถว่า ย่อมปรุงแต่งสังขตธรรม.

อีกนัยหนึ่ง สังขาร มี ๒ อย่าง คือ

สังขารที่มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ๑

สังขารที่มาด้วยศัพท์ว่า สังขาร ๑

บรรดาสังขารทั้ง ๒ นั้น สังขารที่มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ๖

เหล่านี้ คือ สังขาร ๓ ได้แก่ ปัญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร

* คำว่า เอติ แยกมาจากบทว่า ผลเมติ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 450

อาเนญชาภิสังขาร และสังขาร ๓ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร

สังขารเหล่านั้นแม้ทั้งหมดสักว่าเป็นโลกิยกุศล และอกุศลเท่านั้น.

ก็สังขาร ที่มาแล้วโดยสังขารศัพท์เหล่านั้น คือ สังขตสังขาร

อภิสังขตสังขาร อภิสังขรณกสังขาร ปโยคาภิสังขาร. บรรดาสังขาร

เหล่านั้น ธรรมพร้อมทั้งปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในประโยคมีอาทิว่า

อนิจฺจา วต สขารา แม้ทั้งหมด ชื่อว่า สังขตสังขาร. รูปธรรม

อรูปธรรมเป็นไปในภูมิ ๓ ที่เกิดแต่กรรมซึ่งกล่าวไว้ในอรรถกถา ชื่อว่า

อภิสังขตสังขาร. รูปธรรมและอรูปธรรมแม้เหล่านั้น ย่อมสงเคราะห์ใน

บาลีนี้ว่า อนิจฺจา วต สขารา ดังนี้ทั้งหมด แต่อาคตสถานแห่งธรรม

เหล่านั้น ไม่ปรากฏส่วนหนึ่ง ก็เจตนาที่เป็นกุศลและอกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓

ท่านเรียกว่า อภิสังขรณกสังขาร. อาคตสถานแห่งอภิสังขรณกสังขารนั้น

ย่อมปรากฏในประโยคมีคำว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลตกอยู่ในอวิชชา

ถ้าอภิสังขารคือบุญ ย่อมปรุงแต่ง ดังนี้เป็นต้น. อนึ่ง ความเพียรอันเป็น

ไปทางกายและจิต ท่านเรียกว่า ปโยคาภิสังขาร. ปโยคาภิสังขารนั้นมาใน

ประโยคว่า "ล้อนั้น เมื่อนายช่างรถหมุนไป ก็หมุนไปได้เท่าที่นายช่างรถหมุน

ไปแล้วตั้งอยู่เหมือนอยู่ในเพลา ฉะนั้น" เป็นต้น.

อนึ่ง มิใช่แต่สังขารเหล่านั้นอย่างเดียวเท่านั้น แม้สังขารเหล่าอื่นเป็น

อเนก ที่มาโดยศัพท์สังขาร โดยนัยมีอาทิว่า "ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุ

เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารย่อมดับก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารก็ดับ ต่อ

จากนั้น จิตสังขารก็ย่อมดับ" ดังนี้ บรรดาสังขารเหล่านั้น สังขารที่ไม่

สงเคราะห์เข้าให้สังขตสังขาร ย่อมไม่มี.

๑. อ ติก. เล่ม ๒๐. ๔๕๔/๑๔๑ ๒. อ ติก เล่ม ๒๐. ๔๕๔/๑๔๑

๓. ม. มูล เล่ม ๑๒. ๕๑๐/๕๕๑

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 451

เบื้องหน้าแต่นี้ไป คำใดที่ตรัสไว้ในประโยคมีอาทิว่า สขารปจฺจยา

วิญฺาณ (วิญญาณเกิด เพราะสังขารเป็นปัจจัย) ดังนี้ คำนั้น พึงทราบ

โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ส่วนในคำที่ยังมิได้กล่าวนั้น พึงทราบวินิจฉัย

ต่อไปนี้

วิชชานาตีติ วิญฺาณ ชื่อว่า วิญญาณ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้แจ้ง.

นมตีติ นาม ชื่อว่า นาม เพราะอรรถว่า ย่อมน้อมไป.

รุปฺปตีติ รูป ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่า ย่อมสลาย.

อาเย ตโนติ อายตญฺจ นยตีติ อายตน ที่ชื่อว่า อายตนะ

เพราะอรรถว่า ย่อมแผ่ไปซึ่งกาย (นามรูป) อันเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ และ

ย่อมนำไปสู่สังสารอันยาวนาน.

ผุสตีติ ผสฺโส ชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่า ถูกต้อง.

เวทยตีติ เวทนา ชื่อว่า เวทนา เพราะอรรถว่า เสวยอารมณ์.

ปริตสฺสตีติ ตณฺหา ชื่อว่า ตัณหา เพราะอรรถว่า ทะยานอยาก.

อุปาทิยตีติ อุปาทาน ชื่อว่า อุปาทาน เพราะอรรถว่า ยึดมั่น.

ภวติ ภาวยติ จาติ ภโว ชื่อว่า ภพ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็น

และย่อมให้เป็น.

ชนน ชาติ ความเกิด ชื่อว่า ชาติ.

ชิรณ ชรา ความคร่ำคร่า ชื่อว่า ชรา.

มรนฺติ เอเตนาติ มรณ ชื่อว่า มรณะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุตาย

ของสัตว์ทั้งหลาย. โสจน โสโก ความเศร้า ชื่อว่า โสกะ ปริเทวน ปริเท-

โว ความร้องคร่ำครวญ ชื่อว่า ปริเทวะ ทุกฺขยตีติ ทุกฺข ชื่อว่า ทุกข์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 452

เพราะอรรถว่า ทำให้ลำบาก อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทุกข์ เพราะอรรถว่า

ย่อมขุด ๒ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอุปปาทะและฐีติ. ทุมฺมนสฺส ภาโว ภาวะ

แห่งทุมนัส ชื่อว่า โทมนัส. ภูโส อายาโส อุปายาโส ความดับแค้น

ใจอย่างมาก ชื่อว่า อุปายาส.

บทว่า สมฺภวนฺติ แปลว่า ย่อมเกิด บัณฑิตพึงทำการประกอบศัพท์

สมฺภวนฺติ ด้วยบทมีความโศกเป็นต้น อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ โดยที่แท้

ควรทำประกอบด้วยบททั้งหมด เพราะเมื่อกล่าวว่า อวิชฺชาปจฺจยา สขารา

นอกจาก สมฺภวนฺติ ศัพท์นี้ ธรรมคืออวิชชาและสังขารก็ไม่พึงปรากฏว่า.

ย่อมกระทำซึ่งกิจอะไรกัน แต่เมื่อมีการประกอบด้วยบทว่า สมฺภวนฺติ ศัพท์

ก็เป็นอันกำหนดธรรมที่เป็นปัจจัยและธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัย* ว่า อวิชชา

นั้นด้วย เป็นปัจจัยด้วย ชื่อว่า อวิชชาเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้น สังขารทั้งหลาย

จึงเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้. ในบททั้งหลายก็นัยนี้.

บทว่า เอว (ด้วยประการฉะนี้) นี้เป็นบทอธิบายนัยแห่งปฏิจจสมุป-

บาทที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว อธิบายว่า ด้วยบทว่า เอว นั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า ธรรมที่เป็นปัจจยาการเหล่านั้นย่อมเกิดเพราะเหตุ

ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น เท่านั้นมิใช่เกิดขึ้นด้วยเหตุมีพระอิศวรเนรมิตเป็นต้น.

บทว่า เอตสฺส (นี้) ได้แก่ ตามที่กล่าวแล้ว.

บทว่า เกวลสฺส ได้แก่ (กองทุกข์) ที่ไม่ปะปนกัน หรือว่า

ทั้งมวล.

* คือที่เป็น ปัจจัยธรรม และปัจจยุปบันนธรรม.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 453

บทว่า ทุกฺขกฺขนฺธสฺส (กองทุกข์) ได้แก่ ประชุมแห่งทุกข์

มิใช่ประชุมแห่งสัตว์ มิใช่ประชุมแห่งวิปัลลาสมีความสุขและความงามเป็นต้น

บทว่า สมุทโย ได้แก่ ความเกิด.

บทว่า โหติ ได้แก่ ย่อมเกิด.

พึงทราบวินิจฉัยโดยอรรถในปฏิจจสมุปบาทนี้ ด้วยประการฉะนี้

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น

ข้อว่า โดยลักษณะเป็นต้น ได้แก่ โดยธรรม ๔ มีลักษณะเป็นต้น

แห่งปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชาเป็นต้น อย่างไร ? คือ อวิชชา

๑. อาณลกฺณา มีความไม่รู้เป็นลักษณะ

สมฺโมหนรสา มีความหลงเป็นกิจ

ฉาทนปจฺจุปฏฺานา มีความปกปิดสภาวะแห่งอารมณ์

เป็นปัจจุปัฏฐาน

อาสวปทฏฺานา มีอาสวะเป็นปทัฏฐาน

๒. อภิสขรณลกฺขณา สังขารทั้งหลายมีการปรุงแต่งเป็น

ลักษณะ

อายูหนรสา มีความขวนขวายเป็นกิจ

เจตนาปจฺจุปฏฺานา มีเจตนาเป็นปัจจุปัฏฐาน

อวิชฺชาปทฏฺานา มีอวิชชาเป็นปทัฏฐาน

๓. วิชานนลกฺขณ วิญญาณมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ

ปุพฺพงฺคมรส มีการเป็นประธานเป็นกิจ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 454

ปฏิสนฺธิปจฺจุปฏฺาน มีการเกิดสื่อเป็นปัจจุปัฏฐาน

สขารปทฏฺาน มีสังขารเป็นปทัฏฐานหรือ

วตฺถารมฺมณปทฏฺาน มีวัตถุและอารมณ์เป็นปทัฏฐาน

๔. นมนลกฺขณ นามมีการน้อมไปเป็นลักษณะ

สมฺปโยครส มีการประกอบพร้อมกันเป็นกิจ

อวินิพฺโภคปจฺจุปฏฺาน มีการไม่แยกจากจิตเป็นปัจจุปัฏ-

ฐาน

วิญฺญาณปทฏฺาน วิญญาณเป็นปทัฏฐาน

๕. รุปฺปนลกฺขณ รูปมีการแปรปรวนเป็นลักษณะ

วิกิรณรส มีการกระจัดกระจายไปเป็นรส

อพฺยากตปจฺจุปฏฺาน มีความเป็นอัพยากตธรรมเป็น

ปัจจุปัฏฐาน

วิญฺญาณปทฏฺาน มีวิญญาณเป็นปทัฏฐาน

๖. อายตนลกฺขณ สฬายตนะมีการทำวัฏฏะให้ยาวนาน

เป็นลักษณะ

ทสฺสนาทิรส มีการทำความเห็นเป็นต้นเป็นรส

วตฺถุทฺวารภาวปจิจุปฏฺาน มีความเป็นวัตถุและทวารเป็น

ปัจจุปัฏฐาน

นามรูปปทฏฺาน มีนามรูปเป็นปทัฏฐาน

๗. ผุสนลกฺขโณ ผัสสะมีการกระทบอารมณ์เป็น

ลักษณะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 455

สฆฏฺฏนรโส มีการประสานอารมณ์กับจิตเป็นรส

สงฺคติปจฺจุปฏฺาโน มีการประชุม (วัตถุ อารมณ์ จิต)

เป็นปัจจุปัฏฐาน

สฬายตนปทฏฺาโน มีสฬายตนะเป็นปทัฏฐาน

๘. อนุภวนลกฺขณา เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็น

วิสยรสสมฺโภครสา มีการบริโภคร่วมกันซึ่งรสแห่ง

อารมณ์เป็นรส

สุขทุกฺขปจฺจุปฏฺานา มีสุขและทุกข์เป็นปัจจุปัฏฐาน

ผสฺสปทฏฺานา มีผัสสะเป็นปทัฏฐาน

๙. เหุตุลกฺขณา ตัณหามีความเป็นเหตุเป็นลักษณะ

อภินนฺทนรสา มีความบันเทิงใจเป็นรส

อติตฺติภาวปจฺจุปฏฺานา มีความไม่อิ่มในอารมณ์เป็นปัจจุ-

ปัฏฐาน

เวทนาปทฏฺานา มีเวทนาเป็นปทัฏฐาน

๑๐. คหณลกฺขณ อุปาทานมีการยึดไว้เป็นลักษณะ

อมุญฺจนรส มีการไม่ปล่อยเป็นรส

ตณฺหาทฬฺหตฺตทิฏฺิปจฺจุปฏฺานา มีความมั่นคงด้วยตัณหา

และเห็นผิดในอัตตาเป็นปัจจุปัฏ-

ฐาน

ตณฺหาปทฏฺาน มีตัณหาเป็นปทัฏฐาน

๑๑. กมฺมกมฺมผลลกฺขโณ ภพมีกรรม และผลของกรรมเป็น

ลักษณะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 456

ภาวนภวนรโส มีความทำให้เกิดขึ้นและความ

เกิดขึ้นเป็นรส

กุสลากุสลาพฺยากตปจฺจุปทฏฺาโน มีความเป็นกุศล อกุศล

และอัพยากตะเป็นปัจจุปัฏฐาน

อุปาทานปทฏฺาโน มีอุปาทานเป็นปทัฏฐาน.

ธรรมมีลักษณะเป็นต้น แห่งปัจจยาการมีชาติเป็นต้น พึงทราบโดย

นัยที่กล่าวแล้วในสัจจวิภังค์นั้นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในปัจจยาการนี้ แม้โดยลักษณะเป็นต้น ด้วยประการ

ฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยมีอย่างเดียวเป็นต้น

ในข้อว่า โดย มีอย่างเดียวเป็นต้น นี้ พึงทราบว่า อวิชชา ชื่อว่า

มีอย่างเดียว เพราะเป็นอัญญาณ (ไม่รู้) อทัสสนะ (ไม่เห็น) และโมหะ

(ความหลง) เป็นต้น. ที่ชื่อว่า มี ๒ อย่าง เพราะความไม่ปฏิบัติ และความ

ปฏิบัติ อนึ่ง เพราะเป็นสังขาร และอสังขาร ที่ชื่อว่า มี ๓ อย่าง เพราะ

สัมปยุตด้วยเวทนา ๓ ที่ชื่อว่า มี ๒ อย่าง เพราะไม่แทงตลอดสัจจะ ๔ ที่ชื่อว่า

มี ๕ อย่าง เพราะปกปิดโทษแห่งคติ ๕ อนึ่ง ว่าโดยทวารและอารมณ์

อวิชชานั้น พึงทราบว่า มี ๖ อย่าง ในอรูปธรรมแม้ทั้งหมด.

สังขาร ชื่อว่า มีอย่างเดียว เพราะเป็นสาสววิปากธัมมธรรม

เป็นต้น ที่ชื่อว่า มี ๒ อย่าง เพราะเป็นกุศลและอกุศล อนึ่ง เพราะเป็น

ปริตตธรรมและมหัคคตธรรม เพราะเป็นหีนธรรมและมัชฌิมธรรม และเพราะ

เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม และมิจฉัตตอนิยธรรม ที่ชื่อว่า มี ๓ อย่าง เพราะเป็น

ปุญญาภิสังขารเป็นต้น ชื่อว่า มี ๔ อย่าง เพราะเป็นไปในกำเนิด ๔ ชื่อว่า

มี ๕ อย่าง เพราะเป็นทางแห่งคติ ๕.

๑-๒ ปกปิดคติ ๕ คือ ทางไปเกิดเป็นสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน ปิตติวิสัย มนุษย์ และเทวดา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 457

วิญญาณ ชื่อว่า มีอย่างเดียว เพราะเป็นโลกิยวิบากเป็นต้น ชื่อว่า

มี ๒ อย่าง เพราะเป็นสเหตุกะ และอเหตุกะเป็นต้น ชื่อว่า มี ๓ อย่าง

เพราะนับเนื่องด้วยภพ ๒ เพราะประกอบพร้อมด้วยเวทนา ๓ และเพราะเป็น

อเหตุกะ ทุเหตุกะ และติเหตุกะ ชื่อว่า เป็น ๔ อย่าง และเป็น ๕ ด้วย

อำนาจกำเนิด และอำนาจคติ.

นามรูป ชื่อว่า มีอย่างเดียว เพราะอาศัยวิญญาณและโดยมีกรรม

เป็นปัจจัย ชื่อว่า มี ๒ อย่าง เพราะเป็นสารัมมณะและอนารัมมณะ ชื่อว่า

มี ๓ อย่าง เพราะเป็นอดีตเป็นต้น ชื่อว่า มี ๔ และ ๕ อย่าง ด้วยอำนาจ

กำเนิด ๔ และคติ ๕.

สฬายตนะ ชื่อว่า มีอย่างเดียว เพราะเป็นที่เกิดและประชุม ชื่อว่า

มี ๒ อย่าง เพราะภูตรูป ประสาทรูป และวิญญาณ* เป็นต้น ชื่อว่า

มี ๓ อย่าง เพราะเป็นอารมณ์ที่เป็นสัมปัตตะ อสัมปัตตะ และไม่ใช่ทั้ง ๒

(คือทางมโนทวาร) ชื่อว่า มี ๔ และ ๕ อย่าง เพราะนับเนื่องด้วยกำเนิด ๔

และคติ ๕ แล. บัณฑิตพึงทราบธรรมแม้มีผัสสะเป็นต้นว่าเป็นธรรมอย่างเดียว

เป็นต้นโดยนัยนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในปัจจยาการนี้แม้โดยเป็นธรรมมีอย่างเดียวเป็นต้น

อย่างนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยการกำหนดองค์

ชื่อว่า โดยการกำหนดองค์ ความว่า ก็ในปัจจยาการนี้ ความโศก

เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อทรงแสดงความไม่ขาดตอนของภวจักร

เพราะความโศกเป็นต้นนั้น ย่อมเกิดแก่คนพาลผู้ถูกชราและมรณะเบียดเบียน

* ทวีปัญจวิญญาณ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 458

แล้วเหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ

อันทุกขเวทนาทางกายถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ย่อมลำบาก ย่อม

คร่ำครวญ ย่อมตีอกร้องไห้ ย่อมถึงการหลงใหล* ดังนี้เป็นต้น.

อนึ่ง อวิชชายังเป็นไปตราบเท่าที่ความโศกเป็นต้นเหล่านั้นยังเป็นไป

อยู่ เพราะเหตุนั้น การเกี่ยวเนื่องกันว่า อวิชชาปจฺจยา สขารา (สังขาร

เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) ดังนี้ แม้อีกจึงเป็นภวจักรทีเดียว เพราะฉะนั้น

พึงทราบองค์แห่งปฏิจจสมุปบาทมี ๑๒ เท่านั้น เพราะประมวลความโศกเป็นต้น

แม้เหล่านั้นเข้าด้วยกันกับชรามรณะนั่นเอง พึงทราบวินิจฉัยในปัจจยาการนี้

แม้โดยการกำหนดองค์ทั้งหลายไว้ ด้วยประการฉะนี้.

กถาว่าโดยย่อในปัจจยากรนี้ด้วยสามารถอุเทศวารเพียงเท่านี้

วรรณนาอุเทศวาร จบ

ว่าด้วยนิเทศอวิชชาเป็นปัจจัย (บาลีข้อ ๒๔๖)

บัดนี้ เป็นกถาว่าโดยพิสดาร ด้วยสามารถแห่งนิเทศวาร จริงอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อวิชฺชาปจฺจยา สขรา ดังนี้ ในพระบาลีนั้น

เมื่อจะทรงแสดงสังขารทั้งหลายอันมีอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะบุคคลเมื่อจะพูด

ถึงบุตรก็ย่อมกล่าวถึงบิดาก่อน ด้วยว่าเมื่อเป็นเช่นนี้ บุตรก็เป็นคำพูดได้ดีว่า

บุตรของนายมิต บุตรของนายทัตตะ ดังนี้ ฉะนั้น พระศาสดาทรงเป็น

ผู้ฉลาดในเทศนา เพื่อทรงแสดงอวิชชาเช่นเป็นบิดาด้วยอรรถว่ายังสังขาร

ทั้งหลายให้เกิดก่อน จึงตรัสคำว่า ตตฺถ กตมา อวิชฺชา ทุกฺเข อญฺาณ

(ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชาเป็นไฉน ? ความไม่รู้ทุกข์) เป็นต้น.

* ส. สฬายตน. เล่ม ๑๘ ๓๖๙/๒๕๗

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 459

ในพระบาลีนั้น เพราะอวิชชานี้ย่อมไม่ให้เพื่ออันรู้ เพื่ออันเห็น

เพื่ออันแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งกิจรสตามความเป็นจริงของทุกขสัจจะ จึง

ปกปิด หุ้มห่อยึดถือไว้อยู่ ฉะนั้น จึงตรัสว่า ทุกฺเข อญฺาณ (ความไม่รู้

ในทุกข์) ดังนี้. อนึ่ง เพราะอวิชชาย่อมไม่ให้เพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อแทงตลอด

ซึ่งลักษณะพร้อมทั้งรสตามความเป็นจริงแห่งทุกขสมุทัย แห่งทุกขนิโรธ แห่ง

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ปกปิดแล้ว หุ้มห่อแล้ว ยึดถือไว้อยู่ ฉะนั้นจึงตรัสว่า

ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกข

นิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ (อัญญาณ) ตรัสว่า อวิชชา ในฐานะ

๔ เหล่านี้ โดยปริยายแห่งพระสูตร.

แต่โดยปริยายแห่งพระอภิธรรมในนิกเขปกัณฑ์ ทรงถือเอาอัญญาณ

(ความไม่รู้) ในฐานะ ๔ แม้อื่นอีกว่า ปุพฺพนฺเต อญฺาณ (ความไม่รู้

ในอดีต) เป็นต้น. ในพระบาลีนั้น คำว่า ปุพฺพนฺโต ได้แก่ อดีตอัทธา

คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะทั้งหลายที่ล่วงแล้ว. บทว่า อปรนฺโต ได้แก่

อนาคตอัทธา คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะทั้งหลายที่ยังไม่มาถึง. บทว่า

ปุพฺพนฺตาปรนฺโต ได้แก่ กาลทั้ง ๒ แห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะที่ล่วงแล้ว

และยังไม่นาถึงนั้น. บทว่า อิทปฺปจฺจยตา (ความมีธรรมนี้เป็นปัจจัย)

ได้แก่ องค์ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุแห่งธรรมทั้งหลายมีสังขาร

เป็นต้น. บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนธมฺมา (ธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น)

ได้แก่ธรรนทั้งหลายมีสังขารเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแต่ธรรมทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น

ในธรรมเหล่านั้น เพราะอวิชชานี้ ย่อมไม่ให้เพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อแทงตลอด

ซึ่ชงลักษณะพร้อมทั้งกิจรสตามความเป็นจริง แห่งขันธ์เป็นต้น ที่เป็นอดีต ย่อม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 460

ปกปิด หุ้มห่อ ยึดถือเอาไว้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปุพฺพนฺเต

อญฺาณ (ความไม่รู้ในอดีต). อนึ่ง เพราะอวิชชานี้ ย่อมไม่ให้ เพื่อรู้

เพื่อเห็น เพื่อแทงตลอดซึ่งลักษณะพร้อมทั้งรสตามความเป็นจริง แห่งขันธ์

เป็นต้นอันเป็นอนาคต ฯลฯ แห่งขันธ์เป็นต้น ที่เป็นทั้งอดีตและอนาคต ฯลฯ

ย่อมไม่ให้ เพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อแทงตลอดซึ่งลักษณะพร้อมทั้งรสตามความ

เป็นจริงแห่งความที่ธรรมนี้เป็นปัจจัย และธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น

ย่อมปกปิด หุ้มห่อ ยึดถือเอาไว้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ความไม่รู้ในความที่ธรรมนี้เป็นปัจจัย ในธรรมทั้งหลายที่อาศัยกันและกันเกิด

ขึ้นดังนี้. ตรัสความไม่รู้โดยปริยายแห่งพระอภิธรรมในฐานะทั้ง ๘ เหล่านี้ว่า

เป็น อวิชชา.

ถามว่า ด้วยลักษณะอย่างนี้ ย่อมเป็นอันพระองค์ตรัสถึงอะไร ?

ตอบว่า ชื่อว่า เป็นอันตรัสอวิชชา โดยกิจ และโดยชาติ. อย่างไร ?

ก็อวิชชานี้ย่อมไม่ให้ เพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อแทงตลอดฐานะทั้ง ๘ เหล่านี้

เพราะฉะนั้น จึงตรัสโดยกิจ และอวิชชานี้แม้เมื่อเกิดก็ย่อมเกิดในฐานะ ๘

เหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัส โดยชาติ ครั้นตรัสอย่างนี้แล้วทรงถือเอาบท

๒๕ มีอาทิว่า ย เอวรูป อญฺาณ อทสฺสน (ความไม่รู้ ความไม่เห็น

อันใดเห็นปานนี้ ) อีก เพื่อทรงแสดงลักษณะอวิชชา ต่อไป.

อธิการนี้ เพราะอวิชชานี้แม้ตรัสแล้วด้วยบททั้ง ๘ เหล่านี้ เมื่อยัง

ไม่ตรัสถึงลักษณะด้วยบท ๒๕ อีก ชื่อว่าเป็นอันตรัสดีแล้วยังไม่ได้ แต่เมื่อ

ตรัสถึงลักษณะด้วยบท ๒๕ แล้ว ย่อมชื่อว่า เป็นอันตรัสดีแล้ว เหมือนบุรุษ

เมื่อกำลังแสวงหาโคที่หายไป พึงถามพวกมนุษย์ว่า เจ้านาย ท่านเห็นโคขาว

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 461

ท่านเห็นโคแดงบ้างไหม ดังนี้ พวกมนุษย์เหล่านั้น ก็พึงพูดอย่างนี้ว่า ในแคว้นนี้

มีโคสีขาวสีแดงมากมาย โคของท่านมีลักษณะอย่างไรเล่า ลำดับนั้น เมื่อบุรุษ

นั้นพูดว่า เป็นรูปผ้าพาด หรือเป็นรูปคันไถ ดังนี้ โคจึงชื่อว่าเขาบอกดีแล้ว

ฉันใด อวิชชานี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน แม้ตรัสด้วยบททั้ง ๘ ยังมิได้ตรัสถึง

ลักษณะด้วยบท ๒๕ อีก ย่อมชื่อว่าตรัสดีแล้วก็หาไม่ แต่เมื่อตรัสถึงลักษณะ

แล้วนั่นแหละ จึงชื่อว่า ตรัสไว้ดีแล้ว เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงลักษณะแห่ง

อวิชชานั้น พึงทราบด้วยอำนาจแม้บท ๒๕ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว

เหล่านั้น. ข้อนี้เป็นอย่างไร ?

อวิชชามีลักษณะ ๒๕

คือ ปัญญา ชื่อว่า ญาณ ปัญญานั้น ย่อมกระทำสัจจธรรม ๔

ซึ่งเป็นผลและเป็นผล ซึ่งเป็นเหตุและเป็นเหตุ ที่รู้แล้วให้ปรากฏ แต่อวิชชา

นี้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันกระทำสัจจธรรม ๔ นั้น ให้รู้ ให้ปรากฏ

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัญญาณ (ความไม่รู้) เพราะเป็นข้าศึกต่อญาณ.

ปัญญา ชื่อว่า ทัสสนะ (ความเห็น) ก็มี ปัญญาแม้นั้นย่อมเห็น

ซึ่งอาการแห่งสัจจธรรม ๔ ตามที่กล่าวนั้น แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้

เพื่อเห็นสัจจธรรม ๔ นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อทัสสนะ.

ปัญญา ชื่อว่า อภิสมัย (ความตรัสรู้) ก็มี ปัญญานั้น ย่อมตรัสรู้

อาการแห่งสัจจธรรม ๔ ตามที่กล่าวนั้น แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อ

ตรัสรู้อริยสัจจะ ๔ นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนภิสมัย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 462

ปัญญา ชื่อว่า อนุโพธะ (ความตรัสรู้ตาม) สัมโพธะ (ความ

ตรัสรู้พร้อม) ปฏิเวธะ (การแทงตลอด). ก็มี ปัญญานั้น ย่อมตรัสรู้ตาม

ย่อมตรัสรู้พร้อม ย่อมแทงตลอดอาการแห่งสัจจธรรม ตามที่กล่าวแล้วนั้น

แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อตรัสรู้ตาม เพื่อตรัสรู้พร้อม เพื่อแทงตลอด

สัจจธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนนุโพธะ อสัมโพธะ และ

อัปปฏิเวธะ.

ปัญญา ชื่อว่า สังคาหณา (ความถือเอาถูก) ก็มี ปัญญานั้น

ถือเอาแล้ว ทดลองแล้ว ย่อมถือเอาอาการนั้น แต่อวิชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้

เพื่อถือเอา ทดลองแล้วถือเอาอาการนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อสัง-

คาหณา.

ปัญญา ชื่อว่า ปริโยคาหณา (ความหยั่งโดยรอบ) ก็มี ปัญญานั้น

หยั่งลงแล้ว ชำแรกแล้วซึ่งอาการนั้น ย่อมถือเอา แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว

ไม่ไห้เพื่อหยั่งลง ชำแรกแล้วถือเอา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อปริโยคาหณา.

ปัญญา ชื่อว่า สมเปกขนา (ความพินิจ) ก็มี ปัญญานั้น ย่อม

เพ่งอาการนั้นโดยสม่ำเสมอและโดยชอบ แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่อ

อันเพ่งอาการนั้นโดยสม่ำเสมอและโดยชอบ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อสม-

เปกขนา.

ปัญญา ชื่อว่า ปัจจเวกขณา (ความพิจารณา) ก็มี ปัญญานั้น

ย่อมพิจารณาอาการนั้น แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่ออันพิจารณาอาการ

นั้น เพราะฉะนั้น จึงถือว่า อปัจจเวกขณา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 463

กรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง อันประจักษ์ ย่อมไม่มีแก่อวิชชานี้ และ

กรรมที่ตัวเอง (คืออวิชชา) ไม่พิจารณาแล้วกระทำ มีอยู่ เพราะเหตุนั้น

อวิชชานี้จึงชื่อว่า อัปปัจจักขกรรม (มีกรรมอันไม่พิจารณากระทำให้

ประจักษ์).

อวิชชานี้ ชื่อว่า ทุมมิชฌะ (ความทรามปัญญา) เพราะความ

โฉดเฉา.

อวิชชานี้ ชื่อว่า พาลยะ (ความโง่เขลา) เพราะความเป็นธรรมชาติ

โง่เขลา.

ปัญญา ชื่อว่า สัมปชัญญะ (ความรู้ทั่วพร้อม) ก็มี ปัญญานั้น

ย่อมรู้ทั่วซึ่งสัจจธรรม ๔ เป็นผลและเป็นผล ที่เป็นเหตุและเป็นเหตุโดยชอบ

แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันรู้ทั่วซึ่งอาการนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

อสัมปชัญญะ.

อวิชชา ชื่อว่า โมหะ (ความหลง) ด้วยอำนาจแห่งความโง่.

อวิชชา ชื่อว่า ปโมหะ (ความลุ่มหลง) ด้วยอำนาจความหลงทั่ว.

อวิชชา ชื่อว่า สัมโมหะ (ความหลงใหล) ด้วยอำนาจความหลง

พร้อม.

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชา ด้วยอำนาจอรรถมีอาทิว่า ย่อมรู้สิ่งที่ไม่

ควรรู้.

อวิชชา ชื่อว่า อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา) เพราะย่อมนำลง

คือ ให้จมลงในวัฏฏะ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 464

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา) เพราะประกอบ

ไว้ในวัฏฏะ.

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชานุสัย (อนุสัยคืออวิชชา) ด้วยอำนาจการละ

ยังไม่ได้ และเพราะเกิดขึ้นบ่อย ๆ.

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาปริยุฏฐาน (การกลุ้มรุมจิตคืออวิชชา)

เพราะย่อมกลุ้มรุม ย่อมจับ ย่อมปล้นกุศลจิต เหมือนพวกโจรซุ่มในหนทาง

ปล้นคนเดินทางฉะนั้น.

อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาลังคี (กลอนเหล็กคืออวิชชา) เพราะอรรถว่า

เมื่อลิ้มคือกลอนเหล็กที่ประตูเมืองตกไปแล้ว ย่อมตัดขาดซึ่งการออกไปภายนอก

เมือง ของพวกคนภายในเมืองบ้าง ซึ่งการเข้าไปภายในเมืองของพวกคน

ภายนอกเมืองบ้าง ฉันใด อวิชชานี้ตกไปในกายนครของตนแห่งบุคคลใด

ย่อมตัดขาดการดำเนินไป คือ ญาณอันให้ถึงพระนิพพานของบุคคลนั้นฉันนั้น.

อวิชชา ชื่อว่า อกุศลมูล เพราะอรรถว่า อกุศลนั้นเป็นมูล หรือ

เพราะอรรถว่า อวิชชาเป็นมูลแห่งอกุศลทั้งหลาย. ก็อกุศลมูลนั้น มิใช่อื่น

ในที่นี้ทรงประสงค์เอา โมหะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อกุศลมูล คือ

โมหะ.

บทว่า อย วุจิจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกว่า นี้ ชื่อว่า อวิชชามีลักษณะอย่างนี้.

พึงทราบลักษณะอวิชชาด้วยอำนาจบท ๒๕ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง อวิชชานี้มีลักษณะอย่างนี้ แม้ตรัสว่า ความไม่รู้ในทุกข์

เป็นต้น ก็ย่อมเป็นส่วนหนึ่งแห่งทุกขสัจจะ เป็นธรรมเกิดพร้อมกัน ย่อม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 465

กระทำทุกขสัจจะนั้นให้เป็นอารมณ์ ย่อมปกปิดทุกขสัจจะนั้น. มิใช่เป็น

ส่วนหนึ่งของสมุทยสัจจะ เป็นธรรมเกิดพร้อมกัน ย่อมกระทำสมุทยสัจจะนั้น

ให้เป็นอารมณ์ ย่อมปกปิดสมุทยสัจจะนั้น. ไม่เป็นส่วนหนึ่งของนิโรธสัจจะ

ไม่เกิดพร้อมกัน ไม่ทำนิโรธสัจจะนั้นให้เป็นอารมณ์ ย่อมปกปิดอย่างเดียว.

ไม่เป็นส่วนหนึ่งแม้แห่งมรรคสัจจะ ไห้เกิดพร้อมกัน ไม่ทำมรรคสัจจะนั้น

ให้เป็นอารมณ์ ย่อมปกปิดอย่างเดียว.

อวิชชาย่อมเกิดขึ้นเพราะความมีทุกข์เป็นอารมณ์ และย่อมปกปิดทุกข์

ที่เป็นอารมณ์นั้น อวิชชาย่อมเกิดขึ้น เพราะความมีสมุทัยเป็นอารมณ์ และ

ย่อมปกปิดสมุทัยที่เป็นอารมณ์นั้น อวิชชาย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะความมีนิโรธ

เป็นอารมณ์ และย่อมปกปิดนิโรธนั้น อวิชชาย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะความมีมรรค

เป็นอารมณ์ แต่ย่อมปกปิดมรรคนั้น.

สัจจะ ๒ ชื่อว่า ลึกซึ้ง (คัมภีระ) เพราะเห็นได้โดยยาก สัจจะ ๒

ชื่อว่า เห็นได้โดยยาก เพราะความเป็นของลึกซึ้ง. อีกอย่างหนึ่ง อริยสัจคือ

ทุกขนิโรธ เป็นสภาพลึกซึ้งและเห็นได้โดยยาก. บรรดาสัจจะเหล่านั้น ขึ้น

ชื่อว่า ทุกข์ เป็นสภาพปรากฏ แต่ที่ชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะเป็นลักษณะได้ยาก.

แม้ในสมุทัย ก็นัยนี้เหมือนกัน เปรียบเหมือนหนึ่ง ธรรมดาว่า การกวน

มหาสมุทรแล้วนำเอาโอชะออกมาเป็นภาระ (ของหนัก) ธรรมดาว่า การขน

ทรายจากเชิงเขาสิเนรุ ก็เป็นภาระ ธรรมดาว่า การบีบคั้นภูเขาแล้วนำรสออกมา

ก็เป็นภาระ ฉันใด สัจจะทั้ง ๒ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชื่อว่า เห็นได้ยาก

เพราะความเป็นภาวะลึกซึ้งโดยแท้ แต่นิโรธสัจจะทั้งลึกซึ้งอย่างยิ่ง และเห็น

ได้ยากอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น ความบอดคือโมหะซึ่งปกปิดอริยสัจ ๔ ที่ชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 466

ลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยาก และชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะความลึกซึ้ง

ด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสเรียกว่า อวิชชา.

บทว่าด้วยนิเทศอวิชชา จบ

ว่าด้วยนิเทศสังขาร (บาลีข้อ ๒๕๗)

พึงทราบวินิจฉัยในบทแห่งสังขาร ต่อไป

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเฉพาะสังขารที่มีอวิชชาเป็นปัจจัย

เท่านั้น ไม่ทรงพาดพิงสังขารที่มาด้วยสังขารศัพท์ ในสังขารตามที่ตรัสไว้ใน

หนหลัง จึงตรัสคำว่า ตตฺถ กตเม อวิชฺชาปจฺจยา สขารา ปุญฺภิ-

สขาโร บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เป็นไฉน ? ปุญญาภิสังขาร ดังนี้เป็นต้น.

ในพระบาลีนั้น สภาวะที่ชื่อว่า บุญ เพราะอรรถว่า ย่อมชำระ

กรรมอันเป็นการทำของตน คือ ย่อมยังอัชฌาศัยของผู้กระทำตนนั้นให้บริบูรณ์

และยังภพอันน่าบูชาให้เกิดขึ้น. ที่ชื่อว่า อภิสังขาร เพราะอรรถว่า ย่อม

ปรุงแต่งวิบาก และกฏัตตารูป. อภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่ง) คือ บุญ

ชื่อว่า ปุญญาภิสังขาร. สภาพที่ชื่อว่า อปุญฺโ (อบุญ) เพราะเป็น

ปฏิปักษ์ต่อบุญ. อภิสังขารคืออบุญ ชื่อว่า อปุญญาภิสังขาร. ที่ชื่อว่า

อาเนญชะ เพราะอรรถว่า ย่อมไม่หวั่นไหว. ที่ชื่อว่า อาเนญชาภิสังขาร

เพราะอรรถว่า อภิสังขารคืออาเนญชะ (ความไม่หวั่นไหว) และสภาพที่ปรุงแต่ง

ภพอันไม่หวั่นไหว. ที่ชื่อว่า กายสังขาร เพราะอรรถว่า เป็นสังขาร

(การปรุงแต่ง) อันกายให้เป็นไป หรือเพราะกาย หรือเป็นไปแก่กาย แม้ใน

วจีสังขารและจิตสังขาร ก็นัยนี้เหมือนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 467

ในสังขารเหล่านั้น สังขาร ๓ แรก ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่ง

ปริวิมังสนสูตร จริงอยู่ ในสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า หากว่า

บุคคลย่อมปรุงแต่งสังขาร (สภาพปรุงแต่ง) ที่เป็นบุญ วิญญาณก็เข้า

ถึงความเป็นบุญ หากว่า บุคคลย่อมปรุงแต่งสังขารที่เป็นอบุญ

วิญญาณก็เข้าถึงความเป็นอบุญ (บาป) หากว่า บุคคลย่อมปรุงแต่ง

สังขารที่เป็นอาเนญชะ วิญญาณก็เข้าถึงความเป็นอาเนญชะ ดังนี้.

สังขาร ๓ ที่สอง ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งวิภังคสูตรอันเป็นลำดับแห่งปริวิมัง-

สนสูตรนั้น แม้กล่าวว่าทรงถือเอาโดยปริยายแห่งสัมมาทิฏฐิสูตร ดังนี้ ก็ควร

เหมือนกัน. เพราะในวิภังคสูตรนั้น ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขาร

๓ เหล่านี้ สังขาร ๓ เป็นไฉน ? กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร

ดังนี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จึงทรงถือเอาสังขารเหล่านั้นด้วยอำนาจแห่ง

สูตรเหล่านั้นเล่า.

ตอบว่า เพื่อแสดงบทนี้ว่า ธรรมดาพระอภิธรรมนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้ามิได้ทรงกระทำไว้ในบัดนี้ พวกฤาษีภายนอก หรือพวก

พระสาวก หรือพวกเทวดามิได้ภาษิตไว้ ก็พระอภิธรรมนี้เป็นภาษิต

ของพระชินเจ้าผู้เป็นสัพพัญญูพุทธะ เพราะในพระอภิธรรมก็ดี

ในพระสูตรก็ดี เป็นพระบาลีแบบแผนที่ยกขึ้นแสดงออกเป็นเช่น

เดียวกันทั้งนั้น ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 468

ว่าด้วยปุญญาภิสังขาร

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงสังขารเหล่านั้นโดยชนิดต่าง ๆ จึงตรัสคำมีอาทิว่า

คติถ กตโม ปุญฺาภิสขาโร ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขารเป็นไฉน ?

ในพระบาลีนั้น แม้เจตนาที่เป็นไปในภูมิ ๔ ตรัสโดยไม่กำหนด

ไว้ว่า เจตนาที่เป็นกุศล แต่เพราะทรงกำหนดว่า กามาวจร รูปาวจร

ดังนี้ เจตนา ๑๓ ดวง คือ กามาวจรกุศลเจตนา ๘ ดวง และรูปาวจรกุศล-

เจตนา ๕ ดวง ชื่อว่า ปุญญาภิสังขาร. ด้วยบททั้งหลายว่า ทานมยา

(ทานมัย) เป็นต้น ทรงแสดงความเป็นไปด้วยสามารถแห่งบุญกิริยาวัตถุแห่ง

เจตนาเหล่านั้นนั่นเอง.

ในพระบาลีนั้น เจตนา ๘ ดวงเป็นกามาพจรย่อมสำเร็จด้วยทานและ

ศีลเท่านั้น แต่เจตนาแม้ทั้ง ๑๓ ดวง สำเร็จด้วยภาวนา เปรียบเหมือนบุคคล

สาธยายธรรมคล่องแคล่ว ย่อมไม่รู้ซึ่งธรรมที่เป็นไปแม้สนธิหนึ่ง แม้สนธิ

สอง เมื่อนึกถึงจึงรู้ในภายหลัง ฉันใด เมื่อพระโยคาวจรกระทำกสิณบริกรรม

พิจารณาฌานที่เกิดคล่องแคล่ว และเมื่อมนสิการกรรมฐานที่ชำนาญก็ฉันนั้น

เหมือนกัน เจตนาแม้ปราศจากญาณ ก็ย่อมสำเร็จเป็นภาวนา ด้วยเหตุนั้น

ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า เจตนาแม้ทั้ง ๑๓ ดวง สำเร็จด้วยภาวนา ดังนี้.

ในเทศนานั้น เทศนานี้เป็นเทศนาโดยย่อในบุญกิริยาวัตถุมีทานเป็นต้น

ว่า เจตนา สัญเจตนา (ความตั้งใจ) ความคิดปรารภทาน ทำทานให้เป็น

ใหญ่ อันใด ย่อมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขารสำเร็จด้วยทาน

เจตนา ความตั้งใจ ความคิด ปรารภศีล ฯลฯ ปรารภภาวนาทำภาวนาให้

เป็นใหญ่อันใด นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขารสำเร็จด้วยภาวนา ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 469

ส่วนกถานี้เป็นกถาโดยพิสดารว่า บรรดาปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น หรือ

บรรดาอารมณ์ ๖ มีรูปารมณ์เป็นต้น หรือทานวัตถุ ๑๐ มีการให้ข้าวเป็นต้น

เจตนาของบุคุคลผู้ให้วัตถุนั้น ๆ ที่เป็นไปในกาลทั้ง ๓ คือ ในบุรพภาค (ส่วน

เบื้องต้น ) จำเดิมแต่การเกิดขึ้นแห่งของนั้น ๆ ๑ ในเวลาบริจาค ๒ ในการ

ระลึกถึงด้วยจิตโสมนัสในภายหลัง ๑ ชื่อว่า ทานมัย. ส่วนเจตนาที่เป็นไป

แก่บุคคลผู้ไปสู่วิหารผู้ตั้งใจว่า เราจักบวชเพื่อบำเพ็ญศีล ดังนี้ บวชแล้วยัง

มโนรถให้ถึงที่สุดแล้ว รำพึงอยู่ว่า เราบวชแล้วเป็นการดีหนอ ๆ ดังนี้

สำรวมพระปาฏิโมกข์ พิจารณาอยู่ซึ่งปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น ระวังอยู่ซึ่ง

จักขุทวารเป็นต้นในอารมณ์มีรูปเป็นต้นที่มาสู่คลอง และชำระอาชีวะให้หมด

จดอยู่ ชื่อว่า ศีลมัย. เจตนาที่เป็นไปแก่พระโยคาวจรผู้เจริญอยู่ซึ่งจักษุ

โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เจริญรูปทั้งหลาย ฯลฯ

เจริญธรรมทั้งหลาย เจริญจักขุวิญญาณ ฯลฯ เจริญมโนวิญญาณ เจริญจักขุ

สัมผัส ฯลฯ เจริญมโนสัมผัส เจริญจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เจริญมโน

สัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เจริญรูปสัญญา ฯลฯ เจริญชรามรณะ โดยความเป็น

ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยทางแห่งวิปัสสนาที่กล่าวไว้ในปฏิสัม-

ภิทามรรค ชื่อว่า ภาวนามัย ดังนี้.

ว่าด้วยอปุญญาภิสังขาร

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอปุญญาภิสังขาร ต่อไป

บทว่า อกุสลา เจตนา (อกุศลเจตนา) ได้แก่ เจตนาสัมปยุต

ด้วยอกุศลจิต ๑๒ ดวง. บทว่า กามาวจรา (เป็นกามาพจร) ความว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 470

บรรดาอกุศลเจตนา ๑๒ ดวงเหล่านั้น เว้นเจตนาที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง

ที่เหลือ ย่อมเกิดขึ้นแม้ในรูปภพและอรูปภพ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ชัก

ปฏิสนธิมาในรูปภพและอรูปภพนั้น ย่อมยังวิบากให้ท่องเที่ยวไปในกามาวจร

ด้วยอำนาจปฏิสนธินั่นแหล่ะ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า เป็นกามาพจรเท่านั้น

ดังนี้.

ว่าด้วยอาเนญชาภิสังขาร

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอาเนญชาภิสังขาร ต่อไป

บทว่า กุสลา เจตนา อรูปาวจรา (กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร)

ได้แก่ กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร ๔ จริงอยู่ กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร ๔

เหล่านั้น ตรัสเรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว

และเพราะอรรถว่า ปรุงแต่งความไม่หวั่นไหว ด้วยว่าธรรม ๑๕ คือ เจตนา

ที่เป็นกุศล วิบาก กิริยาที่เกิดแต่จตุตถฌานที่เป็นรูปาวจร ๓ ดวง เจตนาที่เป็น

อรูปาวจร ๑๒ ดวง ชื่อว่า อาเนญชา เพราะอรรถว่า มั่นคง เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหว. บรรดาเจตนา ๑๕ เหล่านั้น รูปาวจรกุศลเจตนา แม้เป็นสภาพ

ไม่หวั่นไหว แต่ก็ให้เกิดรูปและอรูปที่เหมือนกับตนบ้าง ไม่เหมือนกับตนบ้าง

ให้มีความหวั่นไหวบ้าง ไม่มีความหวั่นไหวบ้าง เพราะฉะนั้น จึงไม่ชื่อว่า

อาเนญชาภิสังขาร ส่วนรูปาวจรวิบากเจตนาและรูปาวจรกิริยาเจตนา ย่อม

ปรุงแต่งวิบากไม่ได้ เพราะไม่มีวิบาก จึงชื่อว่า เป็นอาเนญชาภิสังขารไม่ได้

เจตนาที่เป็นอรูปาวจรวิบากและกิริยา ก็เป็นอาเนญชาภิสังขารไม่ได้เหมือนกัน

เพราะฉะนั้น เจตนาเหล่านั้นแม้ทั้ง ๑๑ ดวง จึงเป็น อาเนญชา (ความไม่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 471

หวั่นไหว) เท่านั้น ไม่เป็นอภิสังขาร. แต่อรูปาวจรกุศลเจตนา ๔ ดวง

เท่านั้น ตรัสเรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร เพราะอรรถว่า ย่อมให้เกิดอรูป

อันไม่หวั่นไหวเช่นกับตน เหมือนเงาของสัตว์มีช้างม้าเป็นต้น ก็เป็นเช่นเดียวกับ

สัตว์มีช้างม้าเป็นต้น ฉะนั้น เจตนาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด คือ กามาวจรกุศลเจตนา

๓ ดวง ด้วยอำนาจแห่งปุญญาภิสังขาร อกุศลเจตนา ๑๒ ดวง ด้วยอำนาจ

แห่งอปุญญาภิสังขาร อรูปกุศลเจตนา ๔ ดวง ด้วยอำนาจอาเนญชาภิสังขาร

ประมวลมาเป็นเจตนา ๒๙ ดวง ด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดเจตนาที่เป็นกุศลและอกุศลที่เกิดขึ้นแก่

เหล่าสัตว์หาประมาณมิได้ ในจักรวาลอันประมาณมิได้ ด้วยพระสรรพัญญุต-

ญาณ ทรงแสดงเจตนาไว้ ๒๙ ดวงเท่านั้น เหมือนทรงชั่งอยู่ด้วยคันชั่งอัน

ใหญ่ และเหมือนทรงตวงใส่ไว้ในทะนานนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยทวารแห่งกรรม

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงทวารแห่งกรรม ๓ ที่

เหล่าสัตว์ซึ่งหาประมาณมิได้ ในจักรวาลอันนับประมาณมิได้ ผู้ประกอบอยู่ซึ่ง

กุศลกรรมและอกุศลกรรม ย่อมประกอบด้วยทวารเหล่านั้น จึงตรัสคำว่า

ตตฺถ กตโม กายสขโร กายสญฺเจตนา ในสังขารเหล่านั้น กายสังขาร

เป็นไฉน ? คือ กายสัญเจตนา ดังนี้เป็นต้น.

ในพระบาลีนั้น คำว่า กายสัญเจตนา ได้แก่ เจตนา ๒๐ ถ้วน

คือ กามาวจรกุศลเจตนา ๘ ดวง อกุศลเจตนา ๑๒ ดวง ที่เป็นไปโดยกายทวาร

ซึ่งยังกายวิญญัตติให้ตั้งขึ้น แม้จะกล่าวว่า เจตนาที่เป็นกุศลและอกุศล ๒๐ ที่

เกิดขึ้นให้ถึงการไหวไปด้วยการยืด และการถือเอาในกายทวาร ดังนี้ก็สมควร.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 472

คำว่า วจีสัญเจตนา ได้แก่ เจตนา ๒๐ ดวงนั้นนั่นเองเป็นไป

ทางวจีทวารยังวจีวิญญัตติให้ตั้งขึ้น แม้จะกล่าวว่า เจตนา ๒๐ ดวงที่เกิดขึ้น

ให้คงหวั่นไหวถึงเปล่งวาจา ในวจีทวารดังนี้ก็ควร. แต่ในอธิการนี้ อภิญญา-

เจตา ย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่วิญญาณข้างหน้า เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่ถือเอา

แม้อุทธัจจเจตนาก็ไม่เป็นปัจจัยเหมือนอภิญญาเจตนา เพราะฉะนั้น แม้อุทธัจจ-

เจตนานั้น ก็พึงนำออกจากความเป็นปัจจัยของวิญญาณ ก็เจตนาแม้ทั้งหมด

เหล่านั้น ย่อมที่เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.

คำว่า มโนสัญเจตนา ได้แก่ เจตนา ๒๙ ดวงแม้ทั้งหมดที่เกิดขึ้น

ในมโนทวาร ไม่ยังวิญญัตติแม้ทั้ง ๒ ให้ตั้งขึ้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงทวารแห่งกรรมที่สัตว์พยายามไว้ว่า สัตว์

ทั้งหลายในจักรวาลซึ่งนับประมาณมิได้ เมื่อประกอบกุศลและ

อกุศลกรรม ย่อมประกอบด้วยทวาร ๓ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

ว่าด้วยสัมปโยคะแห่งอภิสังขาร

อนึ่ง พึงทราบสัมปโยคะ (การประกอบพร้อมกัน) แห่งหมวด ๓

ทั้ง ๒ เหล่านั้น ต่อไป. สัมปโยคะกันอย่างไร ? คือ ปุญญาภิสังขาร

พึงเป็นกายสังขารแก่บุคคลผู้งดเว้นจากกายทุจริตก็มี พึงเป็นวจีสังขารแก่บุคคล

ผู้งดเว้นจากวจีทุจริตก็มี ดังนั้น กุศลเจตนา ๘ ดวง จึงเป็นกามาพจร

เป็นปุญญาภิสังขาร เป็นกายสังขาร และวจีสังขาร. ส่วนเจตนา ๑๓ ดวง

ที่เกิดในมโนทวารเป็นปุญญาภิสังขาร และจิตตสังขาร.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 473

แม้อปุญญาภิสังขาร พึงเป็นกายสังขารในเวลาเป็นไปด้วยอำนาจ

กายทุจริตนั่นแหละก็มี พึงเป็นวจีสังขารในเวลาเป็นไปด้วยอำนาจวีทุจริตก็มี

พึงเป็นจิตตสังขารในเวลาเป็นไปในมโนทวารยกเว้นทวาร ๒ ก็มี ดังนั้น

อปุญญาภิสังขารจึงเป็นกายสังขารบ้าง เป็นวจีสังขารบ้าง เป็นจิตตสังขารบ้าง.

ก็กายสังขาร พึงเป็นปุญญาภิสังขารก็มี เป็นอปุญญาภิสังขารก็มี ไม่เป็น

อาเนญชาภิสังขาร. วจีสังขารก็เหมือนกัน (คือเป็นปุญญาภิสังขารก็มี

อปุญญาภิสังขารก็มี ไม่เป็นอาเนญชาภิสังขาร) แต่จิตตสังขาร พึงเป็น

ปุญญาภิสังขารก็มี เป็นอปุญญาภิสังขารก็มี เป็นอาเนญชาภิสังขารก็มี เพราะ

ฉะนั้น ชื่อว่า สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.

ว่าด้วยสังขารมีอวิชชาเป็นปัจจัยอย่างไร

ถามว่า ก็ข้อนี้ จะพึงทราบได้อย่างไรว่า สังขารทั้งหลายเหล่านั้น

ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย. ตอบว่า รู้ได้เพราะความที่อวิชชามีสังขารจึงมี

จริงอยู่ บุคคลใดยังละอัญญาณ (ความไม่รู้) กล่าวคืออวิชชาในสัจจะ ๔ มี

ทุกข์เป็นต้นไม่ได้ บุคคลนั้นก็ยึดถือสังสารทุกข์ โดยความสำคัญว่าเป็นสุข

ด้วยความไม่รู้ธรรมมีขันธ์เป็นอดีตเป็นต้นก่อน แล้วย่อมปรารภสังขารแม้ทั้ง ๓

(มีปุญญาภิสังขารเป็นต้น ) อันเป็นเหตุแห่งสังสารทุกข์นั้น. ด้วยความไม่รู้ใน

ทุกขสมุทัย เมื่อเขาสำคัญก็ย่อมปรารภสังขารทั้งหลายที่เป็นบริวารของตัณหา

แม้เป็นเหตุแห่งทุกข์ โดยความเป็นเหตุแห่งสุข. อนึ่ง เพราะความที่ไม่รู้ใน

นิโรธและมรรค บุคคลจึงมีความสำคัญในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ใน

คติพิเศษแม้มิใช่ความดับทุกข์ และมีความสำคัญในพิธีกรรมทั้งหลายมีการ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 474

บูชายัญ และบำเพ็ญตบะเพื่อให้เป็นเทวดาเป็นต้นแม้มิใช่ทางแห่งความดับทุกข์

ว่าเป็นทางดับทุกข์ เมื่อปรารถนาทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ก็ย่อมปรารภ

สังขารแม้ ๓ อย่าง โดยมุ่งหน้าพิธีกรรมมีการบูชายัญ และทำตบะเพื่อความ

เป็นเทวดาเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะบุคคลนั้น ยังไม่ได้ละอวิชชาในสัจจะ ๔ นั้น จึง

ไม่รู้อยู่ซึ่งทุกข์กล่าวคือผลแห่งบุญแม้ระคนด้วยโทษเป็นอเนกมีชาติ ชรา และ

มรณะเป็นต้น โดยความเป็นทุกข์พิเศษ ย่อมปรารภปุญญาภิสังขารอันต่าง

ด้วยกายสังขารและวจีสังขาร เพื่อบรรลุทุกข์นั้น เหมือนผู้ต้องการนางฟ้า

(เทพอัปสร) ปรารถนาเกิดเป็นเทพบุตรฉะนั้น และเมื่อบุคคลนั้นแม้ไม่เห็น

ผลบุญนั้น แม้สมมติว่าเป็นสุขซึ่งถึงความเป็นทุกข์เพราะแปรปรวนอันยังความ

เร่าร้อนใหญ่ให้เกิดขึ้นในบั้นปลาย และความที่ผลบุญนั้นมีความสำราญน้อย

ย่อมปรารภปุญญาภิสังขารมีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ซึ่งมีผลบุญนั้น

เป็นปัจจัย เหมือนตั๊กแตนบ่ายหน้าตกลงสู่เปลวประทีป และเหมือนบุคคลผู้

ติดใจในหยดน้ำผึ้งถึงกับเลียคมศัสตราที่เปื้อนน้ำผึ้งฉะนั้น.

อนึ่ง เมื่อไม่เห็นโทษในธรรมที่มีวิบากมีการเสพกามเป็นต้น ย่อม

ปรารภอปุญญาภิสังขาร แม้เป็นไปด้วยทวาร ๓ เพราะสำคัญว่าเป็นสุข

และเพราะความเป็นผู้ถูกกิเลสครอบงำแล้ว ดุจทารกเล่นอยู่ซึ่งคูถอันปฏิกูล

ดุจผู้ต้องการตายเคี้ยวกินยาพิษฉะนั้น และเมื่อไม่หยั่งรู้ความทุกข์อันมีความ

แปรปรวนแห่งสังสาร แม้ในวิมากของความเป็นอรูป ก็ย่อมปรารภ อาเน-

ญชาภิสังขาร อันเป็นจิตตสังขารโดยวิปลาสมีความเที่ยงเป็นต้น ดุจคน

หลงทิศ เริ่มเดินทางมุ่งหน้าไปสู่นครปิศาจฉะนั้น. เพราะความที่อวิชชามีอยู่.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 475

นั่นแหละสังขารจึงมี มิใช่เพราะความไม่มี ฉะนั้น ข้อนี้จึงทราบได้ว่า สังขาร

เหล่านี้ย่อมมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้ แม้คำนี้พระผู้

มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเขลาตกอยู่ในอวิชชา

แล้ว เพราะความไม้รู้ ย่อมปรุงแต่งปุญญาภิสังขารบ้าง ย่อมปรุงแต่ง

อุปุญญาภิสังขารบ้าง ย่อมปรุงแต่งอาเนญชาภิสังขารบ้าง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแลภิกษุละอวิชชาเสียแล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น

เพราะการสำรอกอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา ภิกษุนั้นย่อม

ไม่ปรุงแต่งปุญญาภิสังขาร ดังนี้.

ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารอย่างไร

ถามว่า ในอธิการนี้ หากมีผู้กล่าวว่า พวกเรายอมรับว่า อวิชชา

เป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย นี้ไว้ก่อน แต่คำที่ท่านกล่าวว่า อวิชชาเป็น

ปัจจัยอย่างไรแก่สังขารเหล่าไหนเล่า ?

ในปัญหากรรมนี้ ท่านย่อมกล่าวคำนี้ว่า

ปจฺจโย โหติ ปุญฺาน ทุวิธาเนกธา ปน

ปเรส ปจฺฉิมาน สา เอกธา ปจฺจโย มตา

อวิชชานั้นเป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสัง-

ขาร ๒ อย่าง เป็นปัจจัยแก่อปุญญาภิสังขาร

ซึ่งมีข้างหน้าหลายอย่าง เป็นปัจจัยแก่

อาเนญชาภิสังขารสุดท้ายอย่างเดียว ดังนี้.

ในการกล่าวแก้ปัญหานั้น ข้อว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิ-

สังขาร ๒ อย่าง ได้แก่ เป็นปัจจัย ๒ อย่าง คือ ด้วยอารัมมณปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 476

และอุปนิสสยปัจจัย จริงอยู่ อวิชชานั้นเป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขารที่เป็น

กามาพจร ในการพิจารณาสังขารโดยความสิ้นไปเสื่อมไป และเป็นปัจจัยแก่

ปุญญาภิสังขารที่เป็นรูปาวจรในกาลรู้จิตมีโมหะด้วยอภิญญาจิต ด้วยอารัมมณ

ปัจจัย. อนึ่ง เมื่อบุคคลบำเพ็ญซึ่งบุญกิริยาวัตถุที่เป็นกามาพจร มีการให้ทาน

เป็นต้น และเมื่อบุคคลยังรูปาวจรฌานทั้งหลายให้เกิดขึ้นอยู่เพื่อก้าวล่วงอวิชชา

ก็เป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขารเหล่านั้น แม้ทั้งสองด้วยอุปนิสสยปัจจัย และ

เมื่อบุคคลปรารถนาสมบัติในกามภพและรูปภพ กระทำซึ่งบุญเหล่านั้นแหละ

ก็ย่อมเป็นปัจจัยด้วยอุปนิสสยปัจจัยเหมือน เพราะความหลงใหลด้วยอวิชชา.

อนึ่ง ข้อว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่อปุญญาภสังขารซึ่งมีข้างหน้า

หลายอย่าง ได้แก่ อวิชชาเป็นปัจจัยแก่อปุญญาภิสังขารหลายอย่าง อย่างไร ?

คือ อวิชชานี้ปรารภอวิชชา ในกาลเกิดกิเลสมีราคะเป็นต้น ก็เป็นปัจจัยด้วย

อารัมมปัจจัย ในเวลาที่ยินดีการทำให้หนักก็เป็นปัจจัย ด้วยอารัมมณา-

ธิปติปัจจัย และอารัมมณูปนิสสยปัจจัย. เมื่อบุคคลหลงใหลด้วยอวิชชา

ไม่เห็นโทษกระทำอยู่ซึ่งปาณาติบาตเป็นต้น ก็เป็นปัจจัยด้วยอุปนิสสยปัจจัย

เป็นปัจจัยแก่ชวนะที่ ๒ เป็นต้น ด้วยอนันตระ สมนันตระ อุปนิสสยะ

อาเสวนะ นัตถิ และวิคตปัจจัย. เมื่อทำอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็น

ปัจจัยหลายอย่าง คือ ด้วยเหตุ สหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ สัมปยุตตะ

อัตถิ และอวิคตปัจจัย.

ข้อว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่อาเนญชาภิสังขารสุดท้ายอย่างเดียว

ความว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่อาเนญชาภิสังขาร ด้วยอุปนิสสยปัจจัย อย่าง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 477

เดียวเท่านั้น ก็ความที่อวิชชาเป็นอุปนิสสยปัจจัยนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าว

ในปุญญาภิสังขารนั่นแหละ.

ก็ในที่นี้มีผู้สงสัยกล่าว ถามว่า อวิชชาอย่างเดียวเท่านั้นเป็นปัจจัย

แก่สังขารทั้งหลาย หรือว่า แม้ธรรมเหล่าอื่นเป็นปัจจัยก็มีอยู่. พึงเฉลยว่า ใน

ข้อนี้จะมีคำกล่าวอะไรเล่า ? ถ้ามีอวิชชาอย่างเดียวเท่านั้น ลัทธิว่าเหตุสำหรับ

กระทำมีอย่างเดียวก็จะปรากฏ ถ้าธรรมแม้อื่นเป็นปัจจัยมีอยู่ การอธิบายถึง

เหตุอย่างเดียวว่า สังขารทั้งหลายย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้

ก็ไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะเหตุไร ? เพราะว่า

เอก น เอกโต อิธ นาเนกมเนกโตปี โน เอก

ผลมตฺถิ อตฺถิ ปน เอก เหตุผลทีปเน อตฺโถ

ในโลกนี้ ผลอย่างเดียว ย่อมมีเพราะ

เหตุอย่างเดียวก็หาไม่ ผลหลายอย่าง ย่อมมี

เพราะเหตุอย่างเดียวก็ทาไม่ ผลอย่างเดียว

ย่อมมีเพราะเหตุหลายอย่างก็หาไม่ แต่ว่า

ประโยชน์ในการแสดงเหตุ และ แต่ละ-

อย่างมีอยู่.

อธิบายว่า โนโลกนี้ ผลอย่างเดียวย่อมมีเพราะเหตุอย่างเดียวก็หาไม่

ผลหลายอย่างย่อมมีเพราะเหตุอย่างเดียวก็หาไม่ ผลอย่างเดียวย่อมมี แม้เพราะ

เหตุหลายอย่างก็หาไม่ แต่ว่า ผลมากอย่างเท่านั้น ย่อมมีเพราะเหตุมากอย่าง

จริงอย่างนั้น ผล (พืชพันธุ์ไม้) กล่าวคือหนอมีรูป (สี) กลิ่นรสเป็นต้น

ซึ่งเกิดขึ้นมิใช่น้อยเลย ย่อมปรากฏได้ เพราะเหตุทั้งหลายเป็นอเนก คือ อุตุ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 478

แผ่นดิน พืชและน้ำ. ก็แต่ว่า การแสดงเหตุและผลแต่ละอย่างอันใดนี้ว่า

อวิชฺชาปจฺจยา สขารา สขารปจฺจยา วิญฺาณ (สังขารทั้งหลายเกิด

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย) ที่ทรงทำไว้แล้ว

ความต้องการคือประโยชน์ในการอธิบายเหตุผลแต่ละอย่างเหล่านั้น มีอยู่.

เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงเหตุหรือผลอย่างเดียวเท่านั้น โดย

สมควรแก่เทศนาวิลาส (ความไพเราะแห่งเทศนา) และแก่เหล่าเวไนยสัตว์

เพราะในที่บางแห่งมีเหตุและผลเป็นประธาน เพราะในที่บางแห่งมีเหตุและผล

ปรากฏแล้ว เพราะในที่บางแห่งมีเหตุและผลเป็นอสาธารณะ.

จริงอยู่ ในข้อว่า ผสฺสปจิจยา เวทนา (เวทนาย่อมเกิด เพราะ

ผัสสะเป็นปัจจัย) นี้ พระองค์ตรัสเหตุและผลอย่างเดียวเท่านั้น. เพราะ

ผัสสะเป็นปธานเหตุ (เหตุอันเป็นประธาน) ของเวทนา เพราะทรงกำหนด

เวทนาตามผัสสะ และเวทนาก็เป็นปธานผล (ผลที่เป็นประธาน) ของผัสสะ

เพราะทรงกำหนดผัสสะตามเวทนา.

ในข้อว่า เสมฺหสมุฏฺานา อาพาธา (อาพาธทั้งหลายย่อมเกิด

เพราะเสมหะเป็นสมุฏฐาน) นี้ พระองค์ตรัสเหตุอย่างเดียว เพราะเป็นของ

ปรากฏ (ชัดเจน) แล้ว ก็ในอธิการนี้เสมหะปรากฏ มิใช่กรรมเป็นต้นปรากฏ.

ในข้อว่า เยเกจิ ภิกฺขเว อกุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต

อโยนิโสมนสิการ มูลกา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมเหล่าใดเหล่า-

หนึ่ง มีอยู่ อกุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีอโยนิโสมนสิการเป็นมูล) ดังนี้

ตรัสเหตุอย่างเดียว เพราะเป็นเหตุไม่ทั่วไป. จริงอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายมี

อโยนิโสมนสิการเป็นอสาธารณเหตุ แต่มีวัตถุและอารมณ์เป็นต้น เป็นสาธารณ-

เหตุ ฉะนี้แล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 479

เพราะฉะนั้น ในอธิการนี้ อวิชชานี้ เมื่อธรรมอื่น ๆ มีวัตถุ อารมณ์

และสหชาตธรรมเป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุแห่งสังขารแม้มีอยู่ บัณฑิตก็พึงทราบว่า

พระองค์ทรงแสดงโยความเป็นเหตุแห่งสังขารทั้งหลาย เพราะคำว่า เหตุ ดังนี้

เป็นประธานแห่งเหตุของสังขารแม้เหล่าอื่นมีตัณหาเป็นต้น โดยพระบาลีว่า

เมื่อบุคคลมีปรกติตามเห็นความชอบใจเนือง ๆ ตัณหาย่อมเจริญและพระบาลีว่า

อาสวสมุทัยย่อมเกิดเพราะ.วิชชาสมุทัย ดังนี้ และเพราะความเป็นเหตุปรากฏ

และเป็นอสาธารณเหตุ โดยพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความ

ไม่รู้ คนเขลาผู้ตกอยู่ในอวิชชาย่อมปรุงแต่งซึ่งปุญญาภิสังขารบ้างเป็นต้น. ก็

ด้วยคำเฉลยการแสดงเหตุและผลแต่ละอย่างนี้นั้นแหละ พึงทราบประโยชน์ใน

การแสดงเหตุและผลในที่ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้แล.

ในข้อนี้ หากมีผู้กล่าวถามว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชาเป็นธรรม

มีโทษมีผล ไม่น่าปรารถนาโดยส่วนเดียวย่อมควรซึ่งความเป็นปัจจัยแก่ปุญญา-

ภิสังขารและอาเนญชาภิสังขารได้อย่างไร เพราะอ้อยย่อมไม่เกิดแต่พืชสะเดา

ตอบว่า อวิชชานั้น จักไม่ควรซึ่งความเป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขาร และ

อาเนญชาภิสังขารได้อย่างไร เพราะในโลกนี้

ธรรมทั้งหลายที่สำเร็จเป็นปัจจัยแล้ว

ผิดฐานะกันก็มี เหมือนกันก็มี อนึ่ง เป็นเช่น

เดียวกันและไม่เป็นเช่นเดียวกันก็มี ธรรม

เหล่านั้นหาใช่วิบากอย่างเดียวไม่.

อธิบายว่า ปัจจัยแห่งธรรมทั้งหลายที่สำเร็จแล้วในโลก เป็นธรรมที่

ผิดแผกกันโดยฐานะ โดยสภาวะ และโดยกิจ (หน้าที่) เป็นต้นก็มี ที่ไม่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 480

ผิดกันก็มี จริงอยู่ จิตดวงแรกเป็นปัจจัยที่ผิดฐานของจิตดวงหลัง และ

การศึกษาศิลป์ครั้งแรกเป็นต้น เป็นปัจจัยที่ผิดฐานแก่การทำศิลป์เป็นต้นที่

กำลังเป็นไปในภายหลัง. กรรมเป็นปัจจัยที่ผิดสภาวะของรูป นมสดเป็นต้น

เป็นปัจจัยที่ผิดสภาวะ ของนมส้มเป็นต้น. แสงสว่างเป็นปัจจัยที่ผิดกิจ

ของจักขุวิญญาณและงบน้ำอ้อยเป็นต้น เป็นปัจจัยที่ผิดกิจของเครื่องหมักดอง

เป็นต้น.

ส่วนจักขุและรูปเป็นต้น เป็นปัจจัยไม่ผิดฐานะของจักขุวิญญาณ

เป็นต้น ชวนะดวงแรกเป็นต้น เป็นปัจจัยที่ไม่ผิดสภาวะและไม่ผิดกิจ

ของชวนะดวงหลังเป็นต้น. อนึ่ง ปัจจัยที่สำเร็จแล้วผิดฐานกันและไม่ผิดฐานกัน

มีอยู่ฉันใด แม้ปัจจัยที่สำเร็จแล้วที่เหมือนกัน และไม่เหมือนกันก็มีอยู่ฉันนั้น.

จริงอยู่ รูปกล่าวคือ อุตุและอาหารเป็นเช่นเดียวกันนั่นแหละเป็นปัจจัยแก่รูป.

พืชข้าวสาลีเป็นต้นเป็นปัจจัยแก่ผล แห่งข้าวสาลีเป็นต้น. แม้สิ่งที่ไม่เหมือนกัน

คือ รูปเป็นปัจจัยแก่รูป อรูปเป็นปัจจัยแก่รูปก็ได้. และขนโค ขนแกะ

เขาสัตว์ นมส้ม งา และแป้งเป็นต้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่หญ้าแพรกและตะไคร้

น้ำเป็นต้น อนึ่ง ธรรมเหล่าใดที่มีปัจจัยที่ผิดกันและไม่ผิดกัน ที่เหมือนกัน

และไม่เหมือนกัน ธรรมเหล่านั้นมิใช่วิบากแห่งธรรมเหล่านั้น. อวิชชานี้แม้

เป็นธรรมมีโทษ ด้วยอำนาจแห่งการให้ผล (วิบาก) และด้วยอำนาจสภาวะที่มี

ผลไม่น่าปรารถนาโดยส่วนเดียว ก็พึงทราบว่า เป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขาร

เป็นต้นเหล่านี้แม้ทั้งหมดตามควร ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่ผิดกัน และไม่ผิดกัน

โดยฐานะ โดยกิจ โดยสภาวะ และด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่เหมือนกันและ

ไม่เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 481

ก็ความที่อวิชชานั้นเป็นปัจจัยนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า จริง

อยู่ บุคคลใด ยังสะอัญญาณ (ความไม่รู้) กล่าวคืออวิชชา ในสัจจะ ๔ มีทุกข์

เป็นต้นไม่ได้ บุคคลนั้นจะยึดถือสังสารทุกข์ โดยความไม่รู้ในทุกข์และใน

ขันธ์ที่เป็นส่วนอดีตเป็นต้น ด้วยความสำคัญว่าเป็นสุขก่อนแล้วย่อมปรารภสัง-

ขารแม้ ๓ อย่าง (มีปุญญาภิสังขารเป็นต้น ) ที่เป็นเหตุของทุกข์นั้น ดังนี้.

ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารอีกอย่างหนึ่ง

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบปริยายแม้อื่น ดังต่อไปนี้ว่า

บุคคลใด หลงใหลอยู่ในการตาย

และการเกิด (จุติและอุปบัติ) ในสังสาร

ในลักษณะแห่งสังขารทั้งหลาย ในธรรมที่

อาศัยกันเกิดขึ้น บุคคลนั้น ย่อมปรุงแต่ง

สังขาร ๓ เหล่านี้ เพราะเหตุที่อวิชชาเป็น

ปัจจัยแต่สังขารแม้ทั้ง ๓ เหล่านี้ ดังนี้.

อนึ่ง หากมีผู้กล่าวถามว่า ก็บุคคล ผู้หลงใหลในธรรมเหล่านั้น

ย่อมทำสังขารแม้ทั้ง ๓ เหล่านี้ อย่างไร ?

ขอตอบว่า บุคคลผู้หลงใหลในการตาย (จุติ) ก่อน เมื่อเขา

ไม่ถือเอาซึ่งจุติว่า การแดกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่า มรณะ ในที่ทุกแห่ง

ดังนี้ ย่อมกำหนดว่า สัตว์ย่อมหลาย คือ การก้าวไปสู่กายอื่นของสัตว์เป็นต้น.

ผู้หลงใหลในการเกิด (อุปปาตะ) เมื่อไม่ถือการเกิดว่า ความปรากฏแห่ง

ขันธ์ทั้งหลาย ในที่ทั้งปวง ชื่อว่า ชาติ ย่อมกำหนดว่า สัตว์เกิด คือ ความ

ที่สัตว์ปรากฏมีสรีระใหม่เป็นต้น. ผู้หลงใหลในสังสาร เมื่อไม่ถือ ซึ่ง

สังสารที่ท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 482

ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนาน จ

อพฺโพจฺฉินฺนา วตฺตมานา สสาโร ปวุจฺจติ

ลำดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย และแห่ง

ธาตุอายตนะทั้งหลาย เป็นไปอยู่ไม่ขาดสาย

เรียกว่า สังสาร ดังนี้

ย่อมกำหนดเหตุเป็นต้นว่า สัตว์นี้ย่อมไปสู่โลกอื่นจากโลกนี้ ย่อมมาสู่

โลกนี้จากโลกอื่น ดังนี้. ผู้หลงใหลในลักษณะแห่งสังขารทั้งหลาย

เมื่อไม่ถือเอาสภาวลักษณะ (ลักษณะแห่งความมีของคน) และสามัญลักษณะ

(ลักษณะที่เสมอกัน) ของสังขารทั้งหลาย ย่อมกำหนดสังขารทั้งหลาย โดย

ความเป็นตน โดยเป็นของเนื่องด้วยตน โดยความยั่งยืน โดยความงาม และ

โดยความสุข. ผู้หลงใหลในธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น เมื่อไม่ถือเอาความ

เป็นไปแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้น เพราะปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้น ย่อมกำหนดว่า

"อัตตาย่อมรู้บ้าง ย่อมไม่รู้บ้าง อัตตานั้นแหละย่อมกระทำ ย่อมยังผู้อื่นให้

กระทำ อัตตานั้นย่อมเกิดในปฏิสนธิ อณู และพระอิศวรเป็นต้นตั้งสรีระของ

อัตตานั้นไว้โดยความเป็นกลละเป็นต้น แล้วยังอินทรีย์ทั้งหลายให้บริบูรณ์

อัตตานั้นสมบูรณ์ด้วยอินทรีย์ ย่อมถูกต้อง ย่อมเสวย ย่อมถือเอา ย่อม

ยึดถือ ย่อมสืบต่อ อัตตานั้นจะมีในภพอื่นอีก" ดังนี้บ้าง ว่า สัตว์ทั้งหลาย

ทั้งปวง เป็นผู้แปรเปลี่ยนไปเป็นของเที่ยง เป็นของเกี่ยวข้องกัน ดังนี้บ้าง

บุคคลนั้นอันอวิชชาทำให้บอดแล้ว เมื่อกำหนดอยู่อย่างนี้ ย่อมปรุงแต่งอภิ-

สังขาร คือบุญบ้าง บาปบ้าง อาเนญชาบ้าง เหมือนคนตาบอด เมื่อเที่ยว

ไปบนแผ่นดิน ย่อมเดินสู่ทางบ้าง นอกทางบ้าง ที่ดอนบ้าง ที่ลุ่มบ้าง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 483

ที่เสมอบ้าง ที่ไม่เสมอบ้าง" ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวคาถานี้

ไว้ว่า

ยถาปี นาม ชจฺจนฺโธ นโร อปรินายโก

เอกธา ยาติ มคฺเคน อุมฺมคฺเคนาปิ เอกธา

ธรรมดา คนบอดแต่กำเนิด ไม่มี

ผู้นำไป ในกาลบางครั้งย่อมไปตามทาง ใน

กาลบางครั้ง ย่อมเดินไปนอกทาง แม้ฉันใด

สสาเร สสร พาโล ตถา อปรินายโก

กโรติ เอกธา ปุญฺณ อปุญฺปิ เอกธา

คนพาล ก็ฉันนั้น เมื่อท่องเที่ยวไป

ในสังสาร ไม่มีผู้แนะนำ ในกาลบางคราว

ย่อมทำบุญ บางคราวก็ย่อมทำบาป.

ยทา ตฺวา จ โส ธมฺม สจฺจานิ อภิสเมสฺสติ

ตทา อวิชฺชูปสมา อุปสนฺโต จริสฺสติ

อนึ่ง เมื่อใดคนพาลนั้นรู้ธรรมแล้ว

จักตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย เมื่อนั้นเขาจักเข้าไป

สงบ เพราะอวิชชาสงบแล้ว เที่ยวไป ดังนี้.

นี้ เป็นกถาพิสดารในบทว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา แล.

นิเทศอวิชชาเป็นปัจจัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 484

ว่าด้วยนิเทสสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จกฺขุวิญฺาณ เป็นต้น ในนิเทศแห่ง

บทว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ต่อไป.

จักขุวิญญาณ มี ๒ อย่าง คือ เป็นกุศลวิบาก และอกุศลวิบาก.

โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณ ก็มีอย่างละ ๒

เหมือนกัน (เรียกว่า ทวิปัญจวญญาณ ๑๐). ส่วนมโนวิญญาณมี ๒๒ อย่าง

คือ.

มโนธาตุที่เป็นกุศลและอกุศลวิบาก

อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ

สเหตุกกามาวจรวิบากจิต

รูปาวจรจิต

อรูปาวจรจิต ๔.

โลกิยวิญญาณแม้ทั้งหมดมี ๓๒ ที่สงเคราะห์ (รวบรวมไว้) ด้วย

วิญญาณ ๖ อย่างเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ส่วนโลกุตรวิญญาณทั้งหลายไม่

ควรในวัฏฏกถา เพราะฉะนั้น จึงไม่ถือเอา.

ในนิเทศสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณนั้น หากมีคำถามว่า ก็ข้อนี้จะ

พึงรู้ได้อย่างไรว่า วิญญาณมีประการตามที่กล่าวมานี้ย่อมมีเพราะสังขารเป็น

ปัจจัย.

ตอบว่า รู้ได้ เพราะเมื่อไม่มีกรรมที่สร้างไว้ วิบากก็ไม่มี.

จริงอยู่ วิญญาณนี้เป็นวิบาก และวิบากย่อมไม่เกิด เพราะไม่มีกรรม

ที่สร้างไว้ หากว่า จะพึงเกิดไซร้ วิบากทั้งหมดก็พึงเกิดแก่เหล่าสัตว์ทุกจำพวก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 485

แต่ก็หาเกิดไม่ เพราะฉะนั้น ข้อนี้ก็จะพึงทราบได้ว่า "วิญญาณนี้ ย่อมมี

เพราะสังขารเป็นปัจจัย ดังนี้.

หากมีคำถามว่า วิญญาณไหน มีเพราะสังขารไหนเป็นปัจจัย

ตอบว่า กุศลวิบากจิต ๑๖ ดวง คือ จักขุวิญญาณเป็นต้น

ที่เป็นกุศลวิบาก ๕ ดวง มโนธาตุ ที่เป็นกุศลวิบาก ๑ ดวง มโน-

วิญญาณธาตุ (กุศลวิบาก) ๒ ดวง กามาวจรมหาวิบาก ๘ ดวง มีเพราะ

ปุญญาภิสังขารที่เป็นกามาพจรเป็นปัจจัยก่อน.

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า จักขุวิญาณอันเป็นวิบากจิตเกิดขึ้น

เพราะกามาพจรกุศลกรรมที่ทำไว้แล้ว ที่สั่งสมไว้แล้ว*. โสตวิญญาณ

ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ก็เกิดขึ้นเหมือนกัน (รวม ๕ ดวง).

มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก (สัมปฏิจฉันนจิต ๑ ดวง) ก็เกิดขึ้น. มโนวิญญาณ-

ธาตุ ๒ ดวง คือ ที่สัมปยุตด้วยโสมนัส และสัมปยุตด้วยอุเบกขา ก็เกิดขึ้น

กามาวจรมหาวิบาก ๘ คือ มโนวิญญาณธาตุ ที่สหรคตด้วยโสมนัส

สัมปยุตด้วยญาณ โดยเป็นอสังขาร (ไม่มีการชักชวน) ๑ ดวง ที่สหรคต

ด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ โดยเป็นสสังขาร ๑ ดวง ที่สหรคตด้วยโสมนัส

ที่เป็นญาณวิปปยุตโดยอสังขาร ๑ ดวง ที่สหรคตด้วยโสมนัส ที่เป็นญาณ-

วิปปยุต โดยสสังขาร ๑ ดวง ที่สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ โดย

อสังขาร ๑ ดวง ที่สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณโดยสสังขาร ๑ ดวง

* อภิ. ส เล่ม ๓๔. ๓๓๘/๑๒๘

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 486

ที่สหรคตด้วยอุเบกขา ที่เป็นญาณวิปปยุต โดยอสังขาร ๑ ดวง ที่สหรคตด้วย

อุเบกขา ที่เป็นญาณวิปปยุต ที่เป็นสสังขาร ๑ ดวงเกิดขึ้น.*

อนึ่ง รูปาวจรวิบาก ๕ ดวง เกิดเพราะปุญญาภิสังขารที่เป็นรูปาวจร

เป็นปัจจัย เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า เมื่อโยคาวจรบุคคลนั้นแหละ สงัด

จากกามทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญญจฌานอันเป็น

วิบาก เพราะรูปาวจรกุศลอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว อยู่

ดังนี้.

วิญญาณมี ๒๑ ดวง มีเพราะปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัยด้วยประการ

ฉะนี้.

อนึ่ง วิญญาณ ๗ ดวง คือ จักขุวิญญาณเป็นต้นที่เป็นอกุศล-

วิบาก ๕ ดวง มโนธาตุ (สัมปฏิจฉันนจิต) ๑ ดวง มโนวิญญาณธาตุ

๑ ดวง มีเพราะอปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัย.

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า จักขุวิญญาณอันเป็นวิบากเกิดขึ้น

เพราะอกุศลกรรม ที่ทำไว้แล้ว ที่สั่งสมไว้แล้ว. โสตวิญญาณ

ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณที่เป็นวิบาก ก็เกิดขึ้นเหมือนกัน

(รวม ๕ ดวง) มโนธาตุวิบาก ๑ ดวง มโนวิญญาณธาตุ (สันตีรณจิต) ๑

ดังนี้.

วิญญาณ ๔ ดวงอย่างนี้ คือ อรูปวิบาก ๔ ดวง มีเพราะอาเนญชาภิ-

สังขารเป็นปัจจัย เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า โยคาวจรบุคคลก้าวล่วงรูปสัญญา

โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานภูมิอันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอากาสา-

๑. อภิ. ส เล่ม ๓๔. ๔๑๕/๑๔๓ ๒. อภิ. ส เล่ม ๓๔. ๔๑๗/๑๔๔

๓. อภิ. ส. เล่ม ๓๔. ๔๗๒/๑๗๓

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 487

นัญจายตนสัญญา ฯลฯ วิญญาณัญจายตนสัญญา ฯลฯ อากิญจัญญายตนสัญญา

ฯลฯ อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา เพราะละสุขเสียได้ เพราะ

อรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละอันได้ทำไว้แล้ว สั่งสมไว้แล้ว* ดังนี้.

ว่าด้วยปวัตติวิญญาณ ๒ อย่าง

วิญญาณโดย ย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย บัณฑิตทราบวิญญาณนั้น

ตามที่พรรณนามาฉะนี้แล้ว บัดนี้พึงทราบปวัตติ (ความเป็นไป) ของวิญญาณ

นั้น ต่อไป.

จริงอยู่ วิญญาณทั้งหมดนี้แหละย่อมเป็นไป ๒ อย่าง ด้วยอำนาจ

ปวัตติวิญญาณ และปฏิสนธิวิญญาณ ในวิญญาณทั้ง ๒ นั้น ทวิปัญจวิญญาณ

(วิญญาณ ๑๐ ดวง) มโนธาตุ ๒ ดวง อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วย

โสมนัส ๑ ดวง รวมเป็น ๑๓ ดวงเหล่านี้ ย่อมเป็นไปในปวัตติกาลในปัญจ-

โวการภพเท่านั้น วิญญาณที่เหลือ ๑๙ ดวง ย่อมเป็นไปในปวัตติกาลบ้าง ใน

ปฏิสนธิกาลบ้าง ตามควรในภพทั้ง ๓. อย่างไร.

วิญญาณในปัญจโวการภพในปวัตติกาล ๑๓ ดวง

วิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น ที่เป็นกุศลวิบากก่อน สำหรับผู้เกิด

ด้วยกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบาก ผู้มีอินทรีย์ที่เข้าถึงความแก่รอบตามลำดับ

ปรารภอารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่น่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนา ที่มาสู่คลองแห่ง

จักขุทวารเป็นต้น อาศัยประสาทมีจักษุเป็นต้น จึงให้สำเร็จทัสสนกิจ (การเห็น)

*ภิ. ส เล่ม ๓๔. ๔๑๙/๑๔๕

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 488

สวนกิจ (การได้ยิน) ฆายนกิจ (การได้กลิ่น) สายนกิจ (การลิ้มรส)

ผุสนกิจ (การสัมผัส) เป็นไป. วิญญาณ ๕ ที่เป็นอกุศลวิบาก ก็เหมือนกัน.

ก็วิญญาณที่เป็นอกุศลวิบากเหล่านั้น มีรูปเป็นต้นเป็นอารมณ์เป็นอนิฏฐารมณ์

และเป็นอนิฏฐมัชฌัตตารมณ์เพียงอย่างเดียว. เนื้อความนี้เท่านั้นที่แปลกกัน

และวิญญาณ ๑๐ แม้เหล่านี้มีทวารที่แน่นอย อารมณ์ที่แน่นอน วัตถุฐานะที่

แน่นอน และมีกิจที่แน่นอนเหมือนกัน.

ต่อจากนั้น มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบากในลำดับแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น

ซึ่งเป็นกุศลวิบาก ปรารภอารมณ์แห่งจักขุวิญญาณเป็นต้นเหล่านั้นแหละ อาศัย

หทยวัตถุยังสัมปฏิจฉันนกิจ (หน้าที่รับอารมณ์) ให้สำเร็จเป็นไป. มโนธาตุ

ที่เป็นอกุศลวิบากในลำดับแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น ที่เป็นอกุศลวิบาก ก็เหมือน

กัน. ก็แต่ว่า มโนธาตุทั้ง ๒ นี้ (คือที่เป็นกุศลวิบากและอกุศลวิบาก) มีทวาร

และอารมณ์ไม่แน่นอน มีวัตถุฐานะแน่นอน และมีกิจ (หน้าที่) แน่นอน.

ส่วนมโนวิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุกะที่สหรคตด้วยโสมนัส ปรารภ

อารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นต้น เหล่านั้นแหละ ในลำดับแห่งมโนธาตุที่เป็น

กุศลวิบาก อาศัยหทัยวัตถุ ยังสันตีรณกิจให้สำเร็จ ตัดขาดวิถีด้วยภวังค์ใน

อารมณ์ที่มีกำลังในทวาร ๖ ในที่สุดแห่งชวนะซึ่งสัมปยุตด้วยโลภะของสัตว์ใน

กามาพจร โดยมาก ย่อมเป็นไปครั้งหนึ่งบ้าง สองครั้งบ้าง ด้วยอำนาจ

ตทารัมมณะในอารัมณ์อันชวนะถือแล้ว. แต่ในการนับความเป็นไปของจิต ใน

ตทารัมมณะในทวารทั้งหมดมีวาระแห่งจิต ๒ เท่านั้น มาแล้ว. ก็จิตนี้ได้ชื่อ ๒

อย่าง คือ ตทารัมมณะและปิฏฐิภวังค์ (ภวังค์ดวงหลัง) มีทวารและอารมณ์

ไม่แน่นอน มีวัตถุแน่นอน มีฐานะและกิจไม่แน่นอน จิต ๑๓ ดวง พึงทราบ

ว่า ย่อมเป็นไปในปัญจโวการภพ ในปวัตติกาล ด้วยประการฉะนี้ก่อน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 489

ว่าด้วยจิตไนปวัตติกาล และปฏิสนธิกาลใน ๓ ภพ ๑๙ ดวง

บรรดาจิต ๑๙ ดวง ที่เหลือ จิตอะไร ๆ ย่อมไม่เป็นไปในปฏิสนธิ

ตามสมควรของคน ๆ หามิได้ แต่ในปวัตติกาล มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอเหตุกะ

๒ ดวง คือ เป็นกุศลวิบาก และอกุศลวิบาก ในเบื้องต้น ให้สำเร็จกิจ ๔ อย่าง

คือ สันติรณกิจ ในลำดับแห่งมโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบากใน

ทวารห้า ๑ ดวง เป็นตทารัมมณกิจ ในทวาร ๖ โดยนัยที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น

นั่นแหละ ๑ ดวง เป็นภวังคกิจ ในเมื่อพ้นไปจากปฏิสนธิอันตนให้แล้ว

ไม่มีจิตตุปบาทอันเข้าไปตัดเสียซึ่งภวังค์ ๑ ดวง และจุติกิจในที่สุด ๑ ดวง

มี (หทยะ) วัตถุแน่นอน มีทวาร อารมณ์ ฐานะและกิจไม่แน่นอนเป็นไป

สเหตุกจิตที่เป็นกามาพจร ๘ ดวง ย่อมยังกิจ ๓ อย่าง ให้สำเร็จ คือ

เป็นตทารัมมณกิจ ในทวารกาล ๖ โดยนัยที่กล่าวไว้ในปวัตติกาล ๑ ดวง

เป็นภวังคกิจ ในเมื่อพ้นไปจากปฏิสนธิกิจที่ตนให้แล้ว ไม่มีจิตตุปบาทที่เข้า

ไปตัดเสียซึ่งภวังค์ ๑ ดวง จุติกิจในกาลเป็นที่สุด ๑ ดวง มีวัตถุแน่นอน

มีทวาร อารมณ์ ฐานะและกิจไม่แน่นอนเป็นไป.

รูปาวจรวิบากจิต ๕ ดวง และอรูปาวจรวิบากจิต ๔ ดวง ย่อมยังกิจ

๒ อย่างให้เป็นไป คือ เป็นภวังคกิจ ในเมื่อพ้นไปจากปฏิสนธิกิจอันตนให้

แล้ว ไม่มีจิตตุปบาทที่เข้าไปตัดเสีย ซึ่งภวังค์ ๑ ดวง และจุติกิจในกาลเป็น

ที่สุด ๑ ดวง. บรรดาวิบากจิต ๙ ดวงเหล่านั้น รูปาวจรวิบากจิต มีวัตถุและ

อารมณ์แน่นอน มีฐานะและกิจไม่แน่นอน วิบากจิตนอกนี้ไม่มีวัตถุ (อรูป)

มีอารมณ์แน่นอน มีฐานะและกิจไม่แน่นอนเป็นไป.

วิญญาณ (เป็นวิบาก) แม้ ๓๒ ย่อมเป็นไปเพราะสังขารเป็นปัจจัย

ในปวัตติกาล ด้วยประการฉะนี้ก่อน ในปวัตติกาลนั้น สังขารเหล่านั้น ๆ

ย่อมเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ๓๒ นั้น ด้วยกรรมปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 490

ว่าด้วยเหตุที่ตทารัมมณะไม่เป็นไปในรูปและอรูปภูมิ

ในวิบากวิญญาณ ๓๒ ดวงเหล่านั้น ตรัสตารัมมณจิต ๑๑ ดวงนั้น

เหล่าใดไว้ วิบากจิตแม้หนึ่งดวง เป็นตทารัมมณะในรูปภพและอรูปภพเป็นไป

หามีไม่ เพราะเหตุไร ? เพราะไม่มีพืช จริงอยู่ ในรูปภูมิและอรูปภูมินั้น

พืช คือ ปฏิสนธิ กล่าวคือ กามาวจรวิบาก ที่จะให้เกิดตทารัมมณกิจใน

อารมณ์มีรูปเป็นต้น ย่อมไม่มี หากมีผู้แย้งว่า ถ้าเช่นนั้น จักขุวิญญาณ

เป็นต้น ก็ไม่มีปรากฏในรูปภพนะซิ ขอตอบว่า มิใช่เช่นนั้น เพราะอานุภาพ

แห่งความเป็นไปของอินทรีย์ และเพราะจิตตนิยมในความต่างกันแห่งทวารวิถี.

ก็ตทารัมมณะนี้ ย่อมไม่เป็นไปในรูปภพและอรูปภพโดยแน่นอน

ฉันใด ก็ย่อมไม่ติดตามธรรมที่ไม่ใช่กามาพจรแม้ทั้งหมด ฉันนั้น เพราะ

เหตุไร ? เพราะความที่ธรรมมิใช่กามาพจร ทำให้ตทารัมมณะเกิดไม่ได้ และ

เพราะไม่เหมือนกับธรรมที่เป็นตัวให้กำเนิด. จริงอยู่ ตทารัมมณะนั้น

เปรียบเหมือนทารกผู้เยาว์ออกจากบ้านต้องการจะไปภายนอกก็จะเกาะนิ้วมือบิดา

ผู้ให้กำเนิดของตน หรือญาติผู้มุ่งประโยชน์เช่นกับบิดาไป หาใช่ติดตามคนอื่น

มีราชบุรุษเป็นต้นไปไม่ ฉันใด ตทารัมมณะแม้นี้ก็ฉันนั้น ย่อมติดตาม

กามาวจรชวนะเท่านั้น ซึ่งเป็นบิดาผู้กำเนิดของตน หรือผู้เป็นญาติผู้เช่นเดียว

กับบิดาของตน เพราะเป็นธรรมทั้งหลายที่ออกไปภายนอกจากอารมณ์ภวังค์

เหมือนกัน ย่อมไม่ติดตามจิตอื่น คือ มหัคคตะหรือโลกุตระ.

อนึ่ง ตทารัมมณะนี้ ย่อมไม่ติดตามมหัคคตะและโลกุตรธรรม ฉันใด

แม้กามาวจรธรรมเหล่านี้ ก็ฉันนั้น เมื่อใด จิตเป็นธรรมมีมหัคคตะเป็นอารมณ์

เป็นไป เมื่อนั้น ตทารัมมณะนี้ก็ย่อมไม่ติดตามธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 491

เป็นไป เพราะเหตุไร ? เพราะเป็นถิ่นไม่เคยไป. และเพราะความที่ตน

เป็นปริตตะ (กาม) อารมณ์โดยส่วนเดียว. จริงอยู่ตทารัมมณะนั้นเปรียบ

เหมือนทารกยังเยาว์ เมื่อจะติดตามบิดาหรือญาติผู้เช่นกับบิดาไป ย่อมติดตาม

ไปในถิ่นที่เคยไปมีประตูเรือนระหว่างถนน ทางสี่แพร่งเป็นต้นเท่านั้น ย่อม

ไม่ติดตามผู้ไปสู่ป่า หรือสนามรบ ฉันใด แม้ตทารัมมณะนั้นก็ฉันนั้น เมื่อ

ติดตามกามาวจรธรรมทั้งหลายไป ก็ย่อมติดตามธรรมเหล่านั้น ซึ่งเป็นไปในถิ่น

ที่คุ้นเคยมีธรรมที่มิใช่มหัคคตะเป็นต้นเท่านั้น หาใช่ติดตาม คือ ปรารภม-

หัคคตะและโลกุตรธรรมเหล่านั้นไปไม่ เพราะอารมณ์ที่เป็นปริยา (กาม)

โดยส่วนเดียว ที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า กามาวจรวิบากทั้งหมด กิริยามโนธาตุ

กิริยาอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ธรรมที่สหรคตด้วยโสมนัส เหล่านี้เป็นปริตตา-

รมณ์ ดังนี้ ฉะนั้น ตทารัมมณะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมไม่ติดตามแม้

กามาวจรธรรมที่มีมหัคคตะและโลกุตรธรรมเป็นอารมณ์ไป ฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง จะมิประโยชน์อะไรด้วยยุติกถา (กถาประกอบ) นี้

เพราะท่านอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถาโดยส่วนเดียวเท่านั้นว่า ตทา-

รัมมณจิต ๑๑ ดวง ย่อมไม่รับตทารัมณในเมื่อชวนะปรารภนามและโคตรแล่น

ไป. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้เมื่อชวนะปรารภบัญญัติแล่นไป. ตทารัมมณ์ย่อมไม่

ได้ในวิปัสสนาที่มีอารมณ์ไตรลักษณ์. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในพลวิปัสสนาที่เป็น

วุฏฐานคามินี. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในเมื่อชวนะที่ปรารภธรรมที่เป็นรูปและอรูป

แล่นไป. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในธรรมที่เป็นมิจฉัตตนิยตะ. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ใน

ธรรมที่เป็นสัมมัตตนิยตะ. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในเมื่อชวนะปรารภโลกุตรธรรม

แล่นไป. ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในเมื่อชวนะปรารภอภิญญาญาณทั้งหลายแล่นไป.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 492

ตทารมณ์ย่อมไม่ได้ในเมื่อชวนะปรารภปฏิสัมภิทาญาณแล่นไป. ตทารมณ์ย่อม

ไม่ได้ในกามาพจรที่มีอารมณ์ทุรพล ย่อมได้ในอารมณ์ที่มีกำลังมาสู่คลองใน

ทวาร ๖ เท่านั้น และตทารมณ์นั้น เมื่อได้ย่อมได้ในกามาพจรอย่างเดียว ขึ้น

ชื่อว่า ตทารมณ์ในรูปภพและอรูปภพนั่นแหละ ย่อมไม่มี ดังนี้.

อนึ่ง คำใด ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า "บรรดาจิต ๑๙ ดวงที่เหลือ จิต

อะไร ๆ ไม่เป็นไปด้วยปฏิสนธิสมควรแก่ตน" ดังนี้ คำนั้นใคร ๆ ก็เข้าใจได้

โดยยาก เพราะย่อเกินไป เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงนัยโดยพิสดารแห่งคำนั้น

ข้าพเจ้าจะกล่าวเป็นคำถามว่า ปฏิสนธิมีเท่าไร ? ปฏิสนธิจิต มีเท่าไร ?

ปฏิสนธิ มีในภูมิไหนด้วยจิตอะไร ? อารมณ์ของปฏิสนธิ มีอย่างไร ดังนี้.

ว่าด้วยปฏิสนธิ ๒๐ ประเภท

ในปัญหากรรมนั้น วิสัชนาว่า ปฏิสนธิมี ๒๐ ประเภท รวมทั้ง

อสัญญีปฏิสนธิ. ปฏิสนธิจิตมี ๑๙ ดวง มีประการดังกล่าวแล้วนั้นแล. บรรดา

ปฏิสนธิจิตเหล่านั้น ปฏิสนธิในอุบายภูมิ ย่อมมีด้วยอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ

ที่เป็นอกุศลวิบาก ๑ ดวง ปฏิสนธิของสัตว์ผู้บอดแต่กำเนิด หนวกแต่กำเนิด

บ้าแต่กำเนิด ผู้ทั้งหนวกทั้งใบ้แต่กำเนิด และเป็นกะเทยเป็นต้น ในมนุษยโลก

(มนุษย์) ย่อมมีด้วยอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก ๑ ดวง ปฏิสนธิ

ของผู้มีบุญทั้งหลาย ในหมู่เทพชั้นกามาพจรและในพวกมนุษย์ ย่อมมีด้วย

สเหตุกมหาวิบาก ๘ ดวง ปฏิสนธิของผู้มีบุญโนโลกรูปพรหม ย่อมมีด้วยรูปาว-

จรวิบาก ๕ ดวง ปฏิสนธิของผู้มีบุญในอรูปโลก ย่อมมีด้วยอรูปาวจรวิบาก ๔

ดวง. ก็ปฏิสนธิย่อมมีในภูมิใด ด้วยจิตใดปฏิสนธินั้นแหละ ชื่อว่า ปฏิสนธิ

สมควรแก่จิตดวงนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 493

ว่าด้วยอารมณ์ของปฏิสนธิ

ว่าโดยสังเขป อารมณ์ของปฏิสนธิจิต มี ๓ คือ

กรรม

กรรมนิมิต

คตินิมิต.

บรรดาอารมณ์ทั้ง ๓ เหล่านั้น เจตนาที่เป็นกุศลและอกุศลที่ทำแล้ว

ชื่อว่า กรรม กรรมย่อมประกอบวัตถุใด ทำให้เป็นอารมณ์ วัตถุนั้นชื่อว่า

กรรมนิมิต ในกรรมและกรรมนิมิตนั้น เมื่อกรรมที่สัตว์ทำไว้ในอดีต

เเม้ในที่สุดแห่งแสนโกฏิกัป กรรมนั้นย่อมมาปรากฏเป็นกรรมหรือกรรมนิมิต

ในขณะนั้น. ในข้อนั้น มีเรื่องเทียบเคียงของกรรมนิมิต ดังต่อไปนี้

เรื่องนายโคปกสีวลี

ได้ยินว่า บุรุษชื่อ นายโคปกสีวลี ยังบุคคลให้สร้างพระเจดีย์ในวิหาร

ชื่อว่า ตาลปิฏฐิกะ เมื่อเขานอนในเตียงจะมรณะ พระเจดีย์ปรากฏแล้ว

เขาถือเอาเจดีย์นั้นนั่นแหละเป็นนิมิต ทำกาละแล้วไปบังเกิดในเทวโลก.

เรื่องการตายของผู้ลุ่มหลง

ยังมีความตายอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัมมุฬหกาลกิริยา (การทำ

กาละของผู้ลุ่มหลง) จริงอยู่ เมื่อบุคคลมุ่งเดินไปข้างหน้า บุคคลเอาดาบอันคม

กล้าตัดศีรษะข้างหลังก็ดี เมื่อบุคคลนอนหลับถูกบุคคลเอาดาบคมกล้า ตัดศีรษะ

ก็ดี ถูกบุคคลกดให้จมน้ำตายก็ดี ในกาลแม้เห็นปานนี้ กรรมหรือว่ากรรม-

นิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ย่อมปรากฏ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 494

วินิจฉัยเรื่องตายทันที

ยังมีการตายอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ลหุกมรณะ (ตายเร็ว) จริงอยู่

บุคคลเอาค้อนทุบขยี้แมลงวันที่หลบซ่อนอยู่บนด้ามสิ่ว ในเวลาแม้เห็นปานนี้

กรรมหรือกรรมนิมิต ก็ย่อมปรากฏ อนึ่ง เมื่อแมลงวนถูกค้อนบดขยี้อยู่

อย่างนี้ ภวังค์ยังไม่เปลี่ยน (หมุน) มาเป็นอวัชชนะทางกายทวารก่อน

ย่อมเปลี่ยน (หมุน) มาสู่เฉพาะมโนทวาราวัชชนะ ทันทีนั้น ชวนะก็แล่น

ไปแล้วหยั่งลงสู่ภวังค์. ในวาระที่ ๒ ภวังค์จึงเปลี่ยน (หมุน) มาสู่

อาวัชชนะทากายทวาร ต่อแต่นั้นวิถีจิตทั้งหลาย คือ กายวิญญาณ สัมปฏิจ

ฉันนะ สันติรณะ โวฏฐัพพนะ จึงเป็นไป ชวนะก็แล่นไปแล้วหยั่งลงสู่ภวังค์.

ในวาระที่ ๓ ภวังค์เปลี่ยน (หมุน) มายังมโนทวาราวัชชนะ ลำดับนั้น

ชวนะก็แล่นไปหยั่งลงสู่ภวังค์ แมลงวันย่อมทำกาละ (ตาย) ในฐานะนี้*

เนื้อความนี้ท่านนำมาเพื่ออะไร เพื่อแสดงว่า ขึ้นชื่อว่า อารมณ์ของอรูปธรรม

ทั้งหลายเป็นไปเร็วอย่างนี้.

ภาพ (วรรณะ) อย่างหนึ่ง ปรากฏในภูมิ (โอกาส) ของสัตว์ที่จะ

บังเกิดขึ้น ชื่อว่า คตินิมิต ในคตินิมิตนั้น เมื่อนรกจะปรากฏก็จะปรากฏ

เป็นภาพเช่นกับโลหกุมภี (หม้อทองแดง) เมื่อมนุษยโลกจะปรากฏ ก็จะปรากฏ

* คำว่าในฐานะนี้ หมายถึงมรณาสันนวิถี (วิถีใกล้ความตาย) ประเภทใดประเภทหนึ่งใน ๔t

อย่าง เหล่านี้คือ

ประเภทที่ ๑ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง มีตทารัมมณะ ๒ ครั้ง แล้วจุติ

ประเภทที่ ๒ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง แล้วจุติ

ประเภทที่ ๓ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง มีตทารัมมณะ ๒ ครั้ง แล้วมีภวังค์...แล้วจุติ

ประเภทที่ ๔ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง มีภวังค์...แล้วจุติ

ในฐานะนี้ แมลงวันตายในประเภทที่ ๔

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 495

เป็นภาพท้องมารดา ผ้ากัมพล และยาน. เมื่อเทวโลกจะปรากฏ ก็จะปรากฏ

เป็นภาพต้นกัลปพฤกษ์ วิมาน และที่นอนเป็นต้น ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่าง

โดยสังเขป คือ กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ด้วยประการฉะนี้.

อีกนัยหนึ่ง ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่าง คือ

อารมณ์อดีต

อารมณ์ปัจจุบัน

อารมณ์ที่เป็นนวัตตัพพะ.*

อสัญญีปฏิสนธิไม่มีอารมณ์ บรรดาปฏิสนธิเหล่านั้น วิญญาณัญจายตน

ปฏิสนธิ และเนวสัญญานาสัญญายตนปฏิสนธิมีอารมณ์เป็นอดีตอย่างเดียว

กามาวจรวิบาก ๑๐ มีอารมณ์เป็นอดีตบ้าง เป็นปัจจุบันบ้าง ปฏิสนธิที่เหลือมี

อารมณ์เป็นนวัตตัพพะ (อารมณ์ที่พึงกล่าวไม่ได้). ก็ปฏิสนธิที่กำลังเป็นไป

ในอารมณ์ ๓ อย่าง ย่อมเป็นไปในลำดับแห่งจุติที่มีอดีตเป็นอารมณ์ หรือ

มีนวัตตัพพารมณ์ แต่ชื่อว่า จุติจิตที่มีอารมณ์เป็นปัจจุบันมิได้มี เพราะฉะนั้น

พึงทราบอาการที่เป็นไปแห่งปฏิสนธิมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในอารมณ์ ๓

อย่าง ในลำดับแห่งจุติที่มีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ ๒ อย่าง ด้วย

อำนาจสุคติและทุคติ. ข้อนี้เป็นอย่างไร ?

ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต

คือ ในเบื้องต้น บาปกรรมตามที่ตนสั่งสมไว้ หรือกรรมนิมิต ย่อม

มาสู่คลองมโนทวารแก่บุคคลผู้นอนในเตียงมรณะ เพราะพระบาลีว่า "ก็บาป

* อารมณ์นี้เห็นตรงกับอารมณ์บัญญัติ คือ บัญญัติกรรมนิมิต และบัญญัติมหัคคตกรรมนิมิต

ของผู้ที่จะไปเกิดในพรหมโลก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 496

กรรมเหล่านั้น ย่อมเข้าไปปรากฏแก่บุคคลผู้มีบาปกรรมซึ่งดำรงอยู่ในกามาพจร

สุคติในสมัยนั้น" ดังนี้ จุติจิตก็ทำภวังควิสัย (คืออารมณ์แห่งภวังค์) ให้เป็น

อารมณ์ เกิดขึ้นในที่สุดแห่งตทารัมมณะ หรือในชวนะถ้วน ๆ เกิดขึ้น

ปรารภกรรมหรือกรรมนิมิตนั้น เมื่อจุติจิตนั้นดับแล้ว ก็เกิดปฏิสนธิจิต

อันนับเนื่องด้วยทุคติภูมิ อันกำลังแห่งกิเลสที่ยังมิได้ตัดให้น้อมไปในบาปกรรม

ต่าง ๆ ปรารภกรรมหรือกรรมนิมิตที่มาสู่คลองนั้นนั่นแหละ

นี้เป็นปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตต่อจากจุติจิตมีอารมณ์อดีต.

ปฏิสนธิมีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต

ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก นิมิตในทุคติภูมิมีภาพเปลวเพลิงเป็น

ต้นในนรกเป็นต้น มาสู่คลองมโนทวาร ด้วยอำนาจแห่งกรรมตามที่กล่าวแล้ว

เมื่อภวังค์ของบุคคลนั้นเกิดดับสิ้นสองครั้งแล้วเกิดวิถีจิตทั้ง ๓ คือ อาวัชชนะ

ซึ่งปรารภอารมณ์นั้น ๑ ชวนะ ๕ ดวง เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้ต่อมรณะ ๑

และตทารัมมณะ ๒ ดวง ๑. ต่อจากนั้น จุติจิต ๑ ดวง กระทำภวังควิสัย

ให้เป็นอารมณ์ ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ ขณะจิตย่อมล่วงไป ๑๑ ดวง

ในลำดับนั้น ปฏิสนธิจิต จึงเกิดขึ้นในอารมณ์ที่มีอายุแห่งขณะจิตที่ยังเหลืออยู่

๕ ขณะนั้นนั่นแล. นี้ ปฏิสนธิมีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต.

ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก หีนารมณ์ (อารมณ์เลว) มีราคะเป็นต้น

เป็นเหตุ ย่อมพาสู่คลองทวารในทวาร ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในที่สุดแห่งโวฏฐัพ

พนะที่เกิดขึ้นตามลำดับ ชวนะ ๕ ดวง เเละตทารัมมณะ ๒ ดวง ของบุคคลนั้น

ย่อมเกิด เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้ต่อความตาย ต่อจากนั้น จุติจิตหน่วงก็ทำ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 497

ภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ขณะแห่งจิตย่อมเป็นอัน

ล่วงไป ๑๕ ขณะ คือ ภวังค์ ๒ ดวง อาวัชชนะ ๑ ดวง ทัศนะ ๑ ดวง

สัมปฏิจฉันนะ ๑ ดวง สันตีรณะ ๑ ดวง โวฏฐัพพนะ ๑ ดวง ชวนะ ๑ ดวง

ตทารัมมณะ ๒ ดวง และจุติจิต ๑ ดวง ในลำดับนั้น ปฏิสนธิจิต จึงเกิดขึ้นใน

อารมณ์ที่มีอายุขณะจิต ๑ ขณะที่ยังเหลืออยู่นั้นนั่นแหละ ปฏิสนธิแม้นี้ก็มีอารมณ์

ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต.

ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตและปัจจุบันในลำดับจุติมีอารมณ์อดีต

พึงทราบอาการความเป็นไปแห่งปฏิสนธิในทุคติภูมิที่มีอารมณ์อดีตและ

ปัจจุบัน ในลำดับแห่งจุติในสุคติภูมิซึ่งมีอารมณ์อดีตนี้ก่อน. ส่วนกรรมอัน

ปราศจากโทษนั้น หรือกรรมนิมิต ย่อมมาสู่คลองมโนทวารของบุคคลผู้ดำรง

อยู่ในทุคติภูมิมีกรรมอันปราศจากโทษที่สั่งสมไว้แล้ว โดยนัยที่กล่าวแล้ว

นั่นแหละ เพราะฉะนั้น พึงเว้นธรรมที่เป็นฝ่ายขาว (บริสุทธิ์) ไว้ในธรรม

ที่เป็นฝ่ายดำแล้ว พึงทราบคำทั้งหมดโดยนัยก่อนนั่นแหละ. นี้เป็นอาการแห่ง

ความเป็นไปแห่งปฏิสนธิในสุคติภูมิ ซึ่งมีอารมณ์อดีตและปัจจุบัน ต่อจากจุติ

ในทุคติภูมิอันมีอารมณ์เป็นอดีต.

ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตหรือนวัตตัพพะในลำดับจุติมีอารมณ์อดีต

อนึ่ง กรรมอันปราศจากโทษ หรือกรรมนิมิต ย่อมมาสู่คลอง

มโนทวารของบุคคลผู้ดำรงอยู่ในสุคติภูมิ ผู้มีกรรมปราศจากโทษซึ่งสั่งสม

ไว้แล้ว ผู้นอนบนเตียงมรณะ โดยมีพระบาลีมีอาทิว่า ตานิ จสฺส ตสฺมี

สมเย โอลมฺพนฺติ ก็กรรมอันงามคือกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 498

เหล่านั้น ย่อมเข้าไปปรากฏแก่บุคคลนั้นผู้นอนบนเตียงในสมัยนั้น เป็นต้น*

ก็แลกรรมอันปราศจากโทษ หรือกรรมนิมิตนั้น ย่อมมาสู่คลองมโนทวารของ

บุคคลผู้มีกรรมปราศจากโทษอันเป็นกามาพจรที่สั่งสมไว้แล้วนั่นแหละ ส่วน

กรรมนิมิตอย่างเดียว ย่อมมาสู่คลองมโนทวารของบุคคลผู้มีมหัคคตกรรมที่

สั่งสมไว้แล้ว จุติจิตทำภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ในลำดับแห่งตทา-

รัมมณะ หรือในชวนวิถีล้วน ๆ ซึ่งเกิดขึ้นปรารภกรรมนิมิตนั้น เมื่อจุติจิต

นั้นดับ ปฏิสนธิจิตอันนับเนื่องด้วยสุคติภูมิ ซึ่งถูกกำลังกิเลสที่ยังมิได้ตัดให้

น้อมไป เกิดขึ้นปรารภกรรม หรือกรรมนิมิตอันมาสู่คลองนั้นนั่นแหละ. นี้

เป็นปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตหรืออารมณ์นวัตตัพพะต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต.

ปฏิสนธิมีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต

ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก สุคตินิมิตกล่าวคือภาพท้องมารดาใน

มนุษยโลก หรือภาพอุทยานและต้นกัลปพฤกษ์ในเทวโลก ย่อมมาสู่คลองมโน-

ทวารด้วยอำนาจกรรมที่ปราศจากโทษอันเป็นกามาพจร ปฏิสนธิจิตย่อมเกิดขึ้น

แก่บุคคลนั้นในลำดับแห่งจิติจิต โดยลำดับที่แสดงไว้ในทุคตินิมิตนั้น แหละ.

นี้เป็นปฏิสนธิมีปัจจุบันอารมณ์ในลำดับแห่งจิตมีอดีตอารมณ์.

ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก พวกญาติพากันแสดงอารมณ์ กล่าวว่า

ดูก่อนพ่อ นี้เป็นการบูชาพระพุทธเจ้า พ่อจงทำเพื่อประโยชน์แก่ตัวพ่อ พ่อจง

ยังจิต ให้เลื่อมใสแล้วแสดงรูปารมณ์ ด้วยสามารถแห่งพวงดอกไม้ ธงชัย และ

* ม. อุ. เล่ม ๑๔. ๔๘๗/๓๒๓

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 499

ธงแผ่นผ้าเป็นต้น หรือแสดงสัททารมณ์ด้วยสามารถแห่งการฟังธรรม และ

ดุริยบูชาเป็นต้น หรือแสดงคันธารมณ์ด้วยสามารถกลิ่นธูป กลิ่นเครื่องอบที่

หอมเป็นต้น หรือกล่าวว่า ดูก่อนพ่อ พ่อจงลิ้มไทยธรรมนี้ ที่เขาถวายเพื่อ

ประโยชน์แก่พ่อแล้วแสดงรสารมณ์ ด้วยสามารถแห่งน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น

หรือกล่าวว่า ดูก่อนพ่อ พ่อจงสัมผัสไทยธรรมนี้ ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่พ่อ

แล้วแสดงโผฏฐัพพารมณ์ด้วยอำนาจแห่งผ้าจีนและผ้าโสมาระเป็นต้นน้อมเข้า

ในทวาร ๕. ชวนะ ๕ ดวงย่อมเกิดแก่บุคคลนั้น เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้

ต่อความตาย ในที่สุดแห่งโวฏฐัพพนะซึ่งเกิดขึ้นตามลำดับในอารมณ์มีรูปเป็น

ต้นที่มาสู่คลองนั้น และย่อมเกิดตทารัมมณะ ๒ ดวง ลำดับนั้น จุติจิตหนึ่ง

ดวงการทำภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์ ในที่สุดแห่งจุติจิตนั้น ปฏิสนธิจิตก็เกิด

ขึ้นในอารมณ์ที่ตั้งอยู่ในขณะแห่งจิตหนึ่งดวงนั้นแหละ. ปฏิสนธิแม้นี้ ก็มี

อารมณ์ปัจจุบันต่อจากจิตมีอารมณ์อดีต.

ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง

ต่อจากจุติมีอารมณ์นวัตตัพพะ

อนึ่ง ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก ผู้ดำรงอยู่ในสุคติภูมิผู้ได้เฉพาะ

มหัคคตะด้วยอำนาจแห่งฌานมีปฐวีกสิณเป็นต้น บรรดากุศลกรรม กรรมนิมิต

คตินิมิตที่เป็นกามาพจรอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือนิมิตมีปฐวีกสิณเป็นต้น หรือ

มหัคคตจิต ย่อมมาสู่คลองมโนทวาร หรืออารมณ์อันประณีต อันมีการเกิดขึ้น

แห่งกุศลเป็นเหตุ ย่อมมาสู่คลองในจักษุ หรือโสตทวารอย่างใดอย่างหนึ่ง ชวนะ

๕ ดวง ย่อมเกิดแก่บุกคลนั้น เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้ต่อมรณะ ในที่สุดแห่ง

โวฏฐัพพนะซึ่งเกิดขึ้นโดยลำดับ แต่ว่า ตทารัมมณะย่อมไม่มีแก่เหล่าสัตว์ผู้มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 500

มหัคคตจิตเป็นคติ ฉะนั้น จึงเกิดจุติจิตหนึ่งดวงกระทำภวังควิสัยให้เป็น

อารมณ์ในลำดับแห่งชวนะนั้นแล ในที่สุดแห่งจุติจิตนั้น ย่อมเกิดปฏิสนธิจิต

มีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ทั้งหลายตามที่ปรากฏ อันนับเนื่องในสุคติ

อย่างใดอย่างหนึ่งแห่งสุคติของกามาพจร หรือมหัคคตะ. ปฏิสนธินี้มีอารมณ์

อดีต ปัจจุบัน นวัตตัพพะอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อจากจุติที่มีอารมณ์เป็นนวัต-

ตัพพะ.

พึงทราบปฏิสนธิ ในลำดับแม้จุติในอรูปภูมิ โดยทำนองนี้. นี้เป็น

อาการเป็นไปแห่งปฏิสนธิมีอารมณ์อดีต มีอารมณ์นวัตตัพพะ มีอารมณ์ปัจจุบัน

ต่อจากจุติในสุคติภูมิมีอารมณ์อดีต และอารมณ์นวัตตัพพะ.

ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต

ส่วนบุคคลผู้ดำรงอยู่ในทุคติภูมิ ผู้มีบาปกรรม กรรม กรรมนิมิตหรือ

คตินิมิตนั้น ย่อมมาสู่คลองในมโนทวารโดยนัยที่กล่าวนั้นแหละ แต่อารมณ์ที่

เป็นเหตุเกิดอกุศลย่อมมาสู่คลองในปัญจทวาร ลำดับนั้น ปฏิสนธิจิตของบุคคล

นั้นมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ ๓ เหล่านั้น อันนับเนื่องในทุคติภูมินี้

ที่สุดแห่งจุติจิตตามลำดับก็เกิดขึ้น. นี้เป็นอาการเป็นไปแห่งปฏิสนธิจิตมีอารมณ์

อดีต และปัจจุบันในลำดับต่อจากจิตในทุคติภูมิมีอารมณ์อดีต ฉะนี้แล ด้วย

ลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันแสดงความเป็นไปแห่งวิญญาณ ๑๙ ดวง

ด้วยอานาจปฏิสนธิ.

อีกอย่างหนึ่ง วิญญาณ ๑๙ ดวงทั้งหมดนี้นั้น

เมื่อเป็นไปในปฏิสนธิ ย่อมเป็นไป

ด้วยธรรม ๒ อย่าง และวิญญาณที่แตกต่างกัน

เป็นไป ๒ อย่างเป็นต้น โดยความแตกต่างกัน

แห่งธรรมที่ระคนกันเป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 501

จริงอยู่ วิปากวิญญาณ ๑๙ ดวงนี้ เมื่อจะเป็นไปในปฏิสนธิ ย่อมเป็น

ไปด้วยกรรม ๒ อย่าง ด้วยว่า กรรมอัน ให้กำเนิดวิปากวิญญาณ ๑๙ ดวงนั้น

ย่อมเป็นปัจจัยโดยนานาขณิกกรรมปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัยตามควรแก่ตน

ข้อนี้สมกับคำที่ตรัสว่า กุสลากุสล กมฺมวิปากสฺส อุปนิสฺสยปจฺจเยน

ปจฺจโย กุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่กรรมวิบาก ด้วยอุปนิสสยปัจจัย ก็เมื่อ

วิญญาณนี้เป็นไปอย่างนี้ ก็พึงทราบความแตกต่างกันแม้มี ๒ อย่าง เป็นต้น

โดยความแตกต่างกันแห่งธรรมที่ระคนกันเป็นต้น อย่างไร ? คือ วิญญาณนี้

แม้เป็นไปอยู่อย่างเดียวด้วยอำนาจปฏิสนธิ ชื่อว่ามี ๒ อย่าง โดยความต่างกัน

แห่งธรรมที่ระคนกันและไม่ระคนกันกับรูป มี ๓ อย่าง เพราะความต่างกัน

แห่งกามภพ รูปภพ อรูปภพ มี ๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่งกำเนิดอัณฑชะ

ชลาพุชะ สังเสทชะ และโอปปาติกะ มี ๕ อย่าง ด้วยสามารถคติ (มีทาง

ไปสู่นรกเป็นต้น) มี ๗ อย่าง ด้วยอำนาจวิญญาณฐิติ มี ๙ อย่าง ด้วย

อำนาจ สัตตาวาส.

บรรดาวิญญาณเหล่านั้น

วิญญาณที่ระคนกับรูป ๒ อย่าง

เพราะความต่างกันแห่งภาวะ และในวิญญาณ

ทั้ง ๒ นั้น วิญญาณที่มีภาวะ ๒ อย่าง มี ๒

ทสกะบ้าง ๓ ทสกะบ้าง กำหนดอย่างต่ำ เกิด

พร้อมกับวิญญาณที่ระคนกันกับรูปเบื้องต้น.

คำว่า วิญญาณที่ระคนกับรูป ๒ อย่าง เพราะความแตกต่าง

กันแห่งภาวะ นั้น ความว่า จริงอยู่ บรรดาวิญญาณเหล่านั้น ปฏิสนธิ-

๑. อภิ. ป. เล่มที่ ๔๐ ๑๓๗๘/๔๖๐

๒. ดูคติ ๕ ที่เชิงอรรถ หน้า ๔๕๖

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 502

วิญญาณนั้นระคนด้วยรูปเกิดขึ้นเว้นอรูปภพ. ปฏิสนธิวิญญาณนั้น มี ๒ อย่าง

คือ มีภาวะ ๑ ไม่มีภาวะ ๑ เพราะในรูปภพเกิดขึ้นเว้นจากภาวะ คือ อิตถิ-

นทรีย์ และปุริสินทรีย์ เพราะในกามภพเกิดพร้อมกับภาวะ เว้นแต่ปฏิสนธิ

ของบัณเฑาะก์โดยกำเนิด.

คำว่า และในวิญญาณทั้ง ๒ นั้น วิญญาณที่มีภาวะ ๒ อย่าง

นั้น ความว่า ในวิญญาณแม้เหล่านั้น วิญญาณมีภาวะ ๒ อย่าง โดยการเกิด

พร้อมกันแห่งอิตถีภาวะ หรือปุริสภาวะอย่างใดนั่นแหละ.

คำว่า มี ๒ ทสกะบ้าง มี ๓ ทสกะบ้าง กำหนดอย่างต่ำ

เกิดพร้อมกับวิญญาณที่ระคนกับรูปเบื้องต้น ความว่า ในวิญญาณ

เหล่านั้น วิญญาณ ๒ อย่าง คือ วิญญาณที่ระคนกับรูป และไม่ระคนกับรูป

ปฏิสนธิวิญญาณที่ระคนกับรูปอันเป็นเบื้องต้นนี้ใด เกิดพร้อมกัน ๒ ทสกะ

คือ กายทสกะและวัตถุทสกะ หรือ ๓ ทสกะ คือ วัตถุทสกะ กายทสกะ

ภาวทสกะ เป็นอย่างต่ำไม่มีรูปลดลงกว่านั้น.

ก็ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น มีกำหนดรูปอย่างต่ำอย่างนี้ เมื่อเกิดขึ้น

ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมชาติได้การนับว่าเป็นกลละ มีประมาณเท่าหยาดน้ำมันงา

ใสที่ปลายขนเส้นหนึ่งแห่งเนื้อทราย ในกำเนิดทั้ง ๒ อันมีชื่อว่า อัณฑชะ

และชลาพุชะ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งการเกิดขึ้นกำเนิดเหล่านั้น ด้วย

สามารถแห่งคติของกำเนิดทั้งหลาย.

จริงอยู่ บรรดาการเกิดด้วยสามารถแห่งคติเหล่านั้น

นิรเย ภุมฺมวชฺเชสุ เทเวสุ จ น โยนิโย

ติสฺโส ปุริมิกา โหนฺติ จตสฺโสปิ คติตฺตเย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 503

กำเนิด ๓ ข้างต้น* ย่อมไม่มีในนรก

และไม่มีในพวกเทพทั้งหลายเว้นภุมมเทวดา

กำเนิด ๔ ย่อมมีในคติ ๓.

ในคาถานั้น ด้วย จ ศัพท์ ในบทว่า เทเวสุ จ นี้ กำเนิด ๓

ข้างต้น พึงทราบว่า ไม่มี ในนิชฌามตัณหิกเปรต เหมือนไม่มีในนรกและใน

เทพทั้งหลายเว้นภุมมเทวดา เพราะสัตว์เหล่านั้นเป็นโอปปาติกะกำเนิดอย่าง

เดียว แต่กำเนิด ๔ มีในคติ ๓ ที่เหลือกล่าวคือสัตว์เดรัจฉาน ปีตติวิสัยและ

มนุษย์ และพวกภุมมเทวดาที่เว้นไว้ในเบื้องต้น.

บรรดากำเนิดเหล่านั้น

ในรูปพรหม ย่อมเกิดรูป ๓๙ กลาป

ในสังเสทชะกำเนิด และโอปปาติกะกำเนิด

ย่อมเกิดรูป ๗๐ กลาป โดยกำหนดอย่างสูง

หรืออย่างต่ำมี ๓๐ กลาป.

ในรูปพรหมซึ่งกำเนิดเป็นโอปปาติกะก่อน รูป ๓๙ กลาป ย่อมเกิด

พร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณด้วยสามารถแห่งกลาป ๔ คือ จักขุทสกะ โสตทสกะ

วัตถุทสกะ และชีวิตนวกะ. ส่วนในสังเสทชะกำเนิด และโอปปาติกะกำเนิด

เหล่าอื่นเว้นพวกรูปพรหม ย่อมได้รูป ๗๐ กลาปอย่างสูง ด้วยอำนาจแห่ง

วัตถุทสกะ โสตทสกะ ฆานทสกะ ชิวหาทสกะ กายทสกะ ภาวทสกะ และ

วัตถุทสกะ และรูป ๗๐ กลาปเหล่านั้น ย่อมเกิดในพวกเทพเป็นนิตย์ ในรูป

ที่เป็นทสกะเหล่านั้น กองรูป ๑๐ เหล่านั้น คือ วรรณะ ๑ คันธะ ๑ รสะ ๑

* ชลาพุชะ อัณฑชะ สังเสทชะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 504

โอชา ๑ และธาตุ ๔ (คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม) จักขุประสาท ๑

ชีวิตินทรีย์ ๑ ชื่อว่า จักขุทสกะ โสตทสกะเป็นต้น ที่เหลือก็พึงทราบอย่างนี้.

อนึ่ง กำหนดอย่างต่ำ รูป ๓๐ กลาป ย่อมเกิดพร้อมกับปฏิสนธิ-

วิญญาณ ด้วยสามารถแห่งชิวหาทสกะ กายทสกะ วัตถุทสกะ แก่บุคคลผู้บอด

หนวกแต่กำเนิด ผู้ไม่มีฆานประสาท และผู้เป็นนปุงสกะมาแต่กำเนิด. บัณฑิต

พึงทราบการกำหนด โดยสมควรในระหว่างรูปที่กำหนดอย่างสูง และอย่างต่ำ

ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว

พึงกำหนดรู้ธรรมพิเศษ แห่งความ

ต่างกันและไม่ต่างกันของจุติ และปฏิสนธิ

โดยขันธ์ โดยอารมณ์ โดยคติ โดยเหตุ

โดยเวทนา โดยปีติ โดยวิตก และโดยวิจาร

ต่อไป.

อธิบายว่า ก็ปฏิสนธิจิต ๒ อย่าง โดยระคนด้วยรูปและไม่ระคนด้วย

รูปอันใดนี้ และจุติในลำดับแห่งอดีตแห่งปฏิสนธินั้นอันใด บัณฑิตพึงทราบ

ธรรมพิเศษแห่งความต่างกันและไม่ต่างกัน แห่งจิตและปฏิสนธิเหล่านั้น โดย

ขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น อย่างไร คือ บางคราว ขันธ์ เท่านั้น เป็นปฏิสนธิโดย

ไม่ต่างกันแม้โดยอารมณ์ ในลำดับแห่งจุติในอรูปภูมิซึ่งมีขันธ์ ๔ บางคราว

เป็นปฏิสนธิในอรูปภูมิมีอารมณ์เป็นมหัคคตะและอารมณ์ภายใน ต่อจากจุติที่มี

อารมณ์มิใช่มหัคคตะและมีอารมณ์ภายนอก. นี้เป็นนัยในอรูปภูมิอย่างเดียวก่อน.

อนึ่ง ในบางคราว อรูปขันธ์ ๔ เป็นปฏิสนธิในอรูปภูมิ ต่อจากจุติ

ในกามาพจร หรือจุติในรูปาพจรที่มีขันธ์ ๕ ด้วยอาการอย่างนี้ ปฏิสนธิก็มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 505

อารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต. ปฏิสนธิในทุคติบางอย่างต่อจากจุติใน

สุคติภูมิบางอย่าง ปฏิสนธิที่เป็นสเหตุกะต่อจากจุติที่เป็นอเหตุกะ ปฏิสนธิ

ที่เป็นติเหตุกะ ต่อจากจิตที่เป็นทุเหตุกะ ปฏิสนธิที่เป็นโสมนัสสสหคตะ ต่อจาก

จุติที่เป็นอุเบกขาสหคตะ ปฏิสนธิที่มีปีติ ต่อจากจุติที่ไม่มีปีติ ปฏิสนธิที่มี

วิตก ต่อจากจุติที่ไม่มีวิตก ปฏิสนธิที่เป็นสวิจาร ต่อจากจุติที่ไม่มีวิจาร

ปฏิสนธิที่เป็นสวิตักกะและสวิจารต่อจากจุติที่เป็นอวิตักกะอวิจา เพราะฉะนั้น

บัณฑิตพึงประกอบตามควรโดยตรงกันข้ามกับวิญญาณนั้น ๆ เถิด.

ลทฺธปฺปจิจยมิติ ธมฺม มตฺตเมต ภวนฺตรมุเปติ

นาสฺส ตโต สงฺกนฺติ น ตโต เหตุ วินา โหติ

วิญญาณนี้ เป็นเพียงธรรมที่มีปัจจัย

อันได้แล้ว ย่อมเข้าถึงภพอื่น ด้วยประการ

ฉะนี้วิญญาณนั้น จึงไม่มีการเคลื่อนไปจาก

ภพนี้ เว้นเหตุแต่ภพอดีตแล้ว วิญญาณก็หา

ปรากฏไม่.

จริงอยู่ วิญญาณนี้ มีปัจจัยอันได้แล้ว สักว่าเป็นธรรมอาศัยรูปและ

อรูปเมื่อเกิดขึ้นอยู่ เรียกว่า ย่อมเข้าถึงภพอื่น วิญญาณนี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่

ชีวะ วิญญาณนั้น จึงไม่มีการก้าวจากภพอดีตมาในภพนี้ เว้นเหตุแต่ภพอดีต

แล้ว วิญญาณนั้นก็ไม่ปรากฏในภพนี้. ข้าพเจ้าจักประกาศวิญญาณนี้ โดยลำดับ

แห่งจุติและปฏิสนธิของมนุษย์ ตามที่ปรากฏต่อไป.

ว่าด้วยจุติวิญญาณและปฏิสนธิวิญญาณ

ความจริง เมื่อสัตว์ใกล้ต่อความตาย โดยสภาวะตามปรกติ หรือ

โดยความพยายามในภพอดีต อดทนไม่ได้ซึ่งกลุ้มรุมแห่งศัสตรา ซึ่งมีเวทนา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 506

อันใกล้ต่อความตาย อันตัดซึ่งเส้นเอ็นอันเป็นข้อต่อแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง

ซึ่งใคร ๆ ก็ทนไม่ได้ เมื่อสรีระซูบซีดโดยลำดับดุจใบตาลสดที่ตากไว้กลางแดด

เมื่ออินทรีย์มีจักขุเป็นต้นดับแล้ว เมื่อกายินทรีย์ มนินทรีย์ และชีวิตินทรีย์

อันดำรงอยู่ในฐานะสักว่าหทยวัตถุ วิญญาณอาศัยหทยวัตถุที่ยังเหลือในขณะนั้น

ปรารภกรรมกล่าวคือสังขารมีปัจจัยที่ยังเหลือได้แล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา

ครุกรรม อาจิณณกรรม อาสันนกรรม และกรรมที่ทำไว้ก่อน หรือปรารภ

อารมณ์กล่าวคือกรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ที่เข้าไปปรากฏแล้วนั้น เป็นไป

วิญญาณนั้นนั่นแหละ เมื่อเป็นไป เพราะละตัณหาและอวิชชายังไม่ได้ จึงถูกตัณ-

หาให้น้อมไป สังขารอันเป็นสหชาตธรรมย่อมซัดไปในอารมณ์นั้นอันเป็นโทษ

อันอวิชชาปกปิดแล้วนั้น วิญญาณนั้นถูกตัณหาให้น้อมไป อันสังขารทั้งหลาย

ซัดไปอยู่ ด้วยอำนาจการสืบต่อ ย่อมละหทัยที่อาศัยอันมีมาก่อน จะยินดีอยู่

ก็ตาม ไม่ยินดีอยู่ก็ตามซึ่งหทัยอันเป็นที่อาศัยอันกรรมให้ตั้งขึ้นอื่นอีก ย่อม

เป็นไปด้วยปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้น ทีเดียว เหมือนบุรุษเหนี่ยวเชือกที่

ผูกกับต้นไม้ฝั่งนี้ข้ามเหมืองไปฉะนั้น.

อนึ่ง ในวิญญาณทั้งหลายเหล่านี้ วิญญาณดวงก่อน เรียกว่า จุติ

เพราะเคลื่อนไป ดวงหลัง เรียกว่า ปฏิสนธิ เพราะสืบต่อภพอื่นเป็นต้น

ปฏิสนธิวิญญาณนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่จากภพก่อนมาในภพนี้ แม้เว้น

เหตุมีกรรม สังขาร คติ และอารมณ์เป็นต้น แต่ภพก่อนนั้น ก็ไม่ปรากฏ.

สิยุ นิสฺสนาเนตฺถ ปฏิโฆสาทิกา อถ

สนฺตานพนฺธโต นตฺถิ เอกตา นาปิ นานตา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 507

เปรียบเหมือนเสียงสะท้อนเป็นต้น

พึงเป็นอุทาหรณ์ได้ในเรื่องนี้ ก็เสียงสะท้อน

นั้น มิใช่เป็นเสียงเดียวกัน มิใช่เป็นเสียง

ต่างกัน ( กับเสียงเดิม) เพราะเนื่องกันด้วย

ความสืบต่อ.

ก็ธรรมที่จำแนกโดยเสียงสะท้อน แสงประทีป รอยประทับตรา และ

เงาพึงเป็นอุทาหรณ์ในเรื่องนี้ คือ ในการที่วิญญาณนี้ ไม่มาในภพนี้แต่ภพก่อน

และความที่วิญญาณนี้เกิดขึ้นเหตุที่นับเนื่องด้วยอดีตภพ ดังนี้ เหมือนอย่างว่า

เสียงสะท้อน แสงประทีป รอยประทับตรา และเงา มีเหตุมาแต่เสียงเป็น

เบื้องต้น มิได้แยกกันไปในที่ใด ฉันใด จิตนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ก็ในฐานะนี้

จิตนี้มิใช่เป็นดวงเดียวกัน ทั้งมิใช่ต่างกัน เพราะเนื่องกันโดยความสืบต่อ

จริงอยู่ ถ้าว่า เมื่อมีความเนื่องกันด้วยความสืบต่อ ความเป็นอย่างเดียวกัน

พึงมีโดยส่วนเดียวไซร้ นมส้ม ก็ไม่พึงเกิดแต่นม ก็ถ้าว่า ความต่างกันพึงมี

โดยส่วนเดียวไซร้ นมส้มก็ไม่พึงมีเพราะนมสดเป็นใหญ่. ในเหตุที่เกิดขึ้น

แห่งเหตุทั้งหมดก็นัยนี้. ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะพึงเป็นการตัดโวหารแห่งโลก

ทั้งหมดไปเสีย และการตัดโวหารของโลกทั้งหมดนั้น ไม่น่าปรารถนา เพราะ

ฉะนั้น ในเรื่องนี้ ไม่ควรเข้าใกล้ความเป็นอันเดียวกัน หรือความต่างกันโดย

ส่วนเดียวกัน ฉะนี้แล.

ก็ในอธิการนี้ หากมีผู้ถามว่า เมื่อความไม่เคลื่อน ความปรากฏมีอยู่

อย่างนี้ เหตุทีขันธ์ในอัตภาพมนุษย์นี้ดับแล้ว และเหตุที่กรรมอันเป็นปัจจัย

แก่ผล มิได้เป็นไปในที่เกิดผลนั้น ผลนั้นของกรรมอื่น ก็พึงมีแต่กรรมอื่น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 508

มิใช่หรือ ก็เมื่อผู้เข้าไปเสวยไม่มีอยู่ ผลนั้น พึงมีแก่ใคร เพราะฉะนั้น

วิธีนี้ไม่ดี ในข้อนั้น ท่านจึงประพันธ์คาถานี้ไว้ว่า

สนฺตาเน ย ผล เอต นาญฺสฺส น จ อญฺโต

วีชาน อภิสขาโร เอตสฺสถสฺส สาธโก

ผลใด ในความสืบต่อ ผลนี้มิใช่

ของกรรมอื่น และมิใช่แต่กรรมอื่น สภาพ-

ปรุงแต่งพืชทั้งหลาย เป็นเครื่องสาธกเนื้อ-

ความนี้.

จริงอยู่ ผล เมื่อเกิดขึ้นในความสืบต่ออันเดียวกัน ก็เพราะความที่

เป็นอันเดียวกัน และความต่างกัน จึงสำเร็จเฉพาะได้โดยส่วนเดียวในผลนั้น

จึงไม่มีว่า เป็นของกรรมอื่น หรือแต่กรรมอื่น ก็สภาพปรุงแต่งพืชทั้งหลาย

เป็นเครื่องสาธกเนื้อความนี้ เพราะเมื่อบุคคลปลูกพืช มะม่วงเป็นต้น ผลพิเศษ

ในกาลอื่นได้ปัจจัยในการสืบต่อแห่งพืชนั้น ๆ เมื่อเกิด ย่อมไม่เกิดแก่พืชอื่น

ย่อมไม่เกิดแต่ปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอื่น อนึ่ง พืชเหล่านั้น หรือเครื่องปรุงแต่ง

นั้น ย่อมไม่ถึงฐานะเป็นผลได้ พึงทราบอุปไมยนี้ ฉันนั้น และพึงทราบ

เนื้อความนี้ ด้วยวิชชา ศิลปะ และโอสถเป็นต้น ที่ใช้ประกอบในร่างกายเด็ก

อำนวยผลให้ร่างกายเติบโตเป็นต้นในกาลอื่น. และคำที่กล่าวว่า เมื่อไม่มีผู้เข้า

ไปเสวย ผลนี้ พึงมีแก่แก่ใคร. ในข้อนั้น

สมมติว่าผู้เสวยสำเร็จ เพราะความ

เกิดขึ้นแห่งผล เหมือนกับสมมติว่า ต้นไม้

ย่อมมีผล เพราะการเกิดขึ้นแห่งผล ฉะนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 509

เหมือนอย่างว่า ต้นไม้ชาวโลกย่อมเรียกว่า ย่อมผลิผล หรือออกผล

แล้ว เพราะความเกิดขึ้นแห่งผลของต้นไม้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมที่เรียก

ว่าต้นไม้นั้นแหละ ฉันใด เทวดาหรือมนุษย์ ท่านก็เรียกว่า ผู้เข้าไปเสวย

หรือเรียกว่า ผู้มีสุข ผู้มีทุกข์ เพราะความเกิดขึ้นแห่งผลคือสุขและทุกข์ ที่

เรียกว่า ผู้เข้าไปเสวยอันเป็นส่วนหนึ่งแห่งขันธ์ทั้งหลาย กล่าวคือเทวดาและ

มนุษย์ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น ในที่นี้ จึงไม่มีเนื้อความอะไร ๆ ด้วยบุคคล

อื่นที่ชื่อว่า ผู้เข้าไปเสวย ดังนี้.

แม้บุคคลใดจะพึงพูดว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น สังขารเหล่านี้มีอยู่ก็ตาม

ไม่มีอยู่ก็ตาม ก็พึงเป็นปัจจัยแก่ผลได้ ก็ผิว่าสังขารที่มีอยู่ วิบากก็พึงมีแก่สังขาร

เหล่านั้นในขณะแห่งความเป็นไป ก็ถ้าสังขารเหล่านั้นไม่มีอยู่ ก็จะพึงนำมาซึ่ง

ผลเป็นนิตย์ทั้งก่อนและหลัง แต่ความเป็นไป. ปัญหากรรมนั้น พึงตอบอย่างนี้

สังขารเหล่านี้เป็นปัจจัย เพราะเป็น

ผู้ทำและมิใช่จะนำผลมาให้เป็นนิตย์ ในข้อ

นั้นพึงทราบเรื่องนายประกันเป็นต้น เป็น

อุทาหรณ์.

จริงอยู่ สังขารทั้งหลายย่อมเป็นปัจจัยแก่ผลของตน เพราะเป็นผู้

กระทำกรรม มิใช่เพราะมีอยู่ หรือไม่มีอยู่ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า จักขุ

วิญญาณอันเป็นวิบาก เกิดขึ้นเพราะกระทำ เพราะการสั่งสมกุศลกรรมที่เป็น

กามาพจร เป็นต้น และเป็นปัจจัยแก่ผลของตนตามควร มิใช่นำผลมาให้

ซ้ำซาก เพราะความวิบากอันให้ผลแล้ว. ก็ในความแจ่มแจ้งแห่งเนื้อความนี้

พึงทราบเรื่องนายประกันเป็นอุทาหรณ์ ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 510

เหมือนอย่างว่า นายประกันคนใดคนหนึ่งให้โลก เพื่อรับมอบ

ประโยชน์บางอย่าง ย่อมซื้อสินค้าบ้าง ย่อมเป็นหนี้ (ซื้อเชื่อ) บ้าง การทำนั้น

ซึ่งก็เป็นเพียงการทำการงานของนายประกันนั้นนั่น เองเป็นปัจจัยในการรับมอบ

หมายประโยชน์นั้น มิใช่กิริยามีอยู่ หรือไม่มี เขาย่อมไม่ยอมเป็นลูกหนี้แม้

เกินกว่าการรับมอบหมายในประโยชน์นั้น เพราะเหตุไร ? เพราะความมอบ

หมายเป็นต้น ตนการทำไว้แล้ว ฉันใด แม้สังขารทั้งหลายผู้กระทำกรรมก็

ฉันนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่ผลของนี้ เพราะตนกระทำ และย่อมไม่นำผลแม้

เกินกว่าการอำนวยผลตามควรแล.

ด้วยคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันแสดงความเป็นไปแห่งปฏิสนธิวิญญาณ

ที่กำลังเป็นไปทั้ง ๒ อย่าง ด้วยสามารถธรรมที่ระคนด้วยรูปและไม่ระคนด้วย

รูป เพราะสังขารเป็นปัจจัย.

บัดนี้ เพื่อป้องกันความหลงลืมในวิญญาณ ๓๒ ดวง เหล่านั้นทั้งหมด

นั้นแหละ

พึงทราบสังขารเหล่านั้นว่าเป็นปัจจัย

แล้ววิญญาณเหล่าใด และเป็นปัจจัยใด ประ-

การใด ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิกาล และ

ปวัตติกาล ในที่ทั้งหลายมีภพเป็นต้น.

ในคาถานั้น มีอธิบายว่า ธรรมเหล่านี้ คือ ภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕

วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ ชื่อว่า ภพเป็นต้น ในภพเป็นต้นเหล่านั้น สังขาร

เหล่านี้เป็นปัจจัยแก่วิปากวิญญาณเหล่าใด และสังขารเหล่านั้น เป็นปัจจัย ใน

ปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล โดยประการใด บัณฑิตพึงทราบโดยประการนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 511

ว่าด้วยปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัย

บรรดาสังขารเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยในปุญญาภิสังขารก่อน

ว่าโดยไม่ต่างกัน ปุญญาภิสังขารจำแนกด้วยเจตนา ๘ ดวง นี้

กามาพจรได้ปัจจัย ๒ อย่าง คือ ด้วยกรรมปัจจัยที่เกิดต่างขณะกัน และด้วย

อุปนิสสยปัจจัยในปฏิสนธิ แก่วิปากวิญญาณ ๙ ดวง ในปฏิสนธิกามภพสุคติภูมิ

ปุญญาภิสังขารที่จำแนกด้วยกุศลเจตนา ๕ ดวง ในรูปาวจรก็เป็นปัจจัยแก่

วิปากวิญาณ ๕ ดวง ในปฏิสนธิกาลรูปภพเหมือนกัน แต่กามาพรประเภท

ตามที่กล่าวเป็นปัจจัย ๒ อย่าง ในปวัตติกาล มิใช่ปฏิสนธิกาลแก่ปริตตวิปาก-

วิญญาณ ๗ ดวง เว้นมโนวิญญาณธาตุอเหตุกะที่สหรคด้วยอุเบกขา ในกาม

ภพสุคติโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ปุญญาภิสังขารนั้นแหละเป็นปัจจัยใน

ปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล. แก่วิปากวิญญาณ ๕ ดวง ในรูปภพ อย่าง

นั้น เหมือนกัน.

ก็ในกามภพทุคติภูมิ ก็เป็นปัจจัยแก่ปริตตวิปากวิญญาณทั้ง ๘ ใน

ปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล อย่างนั้นเหมือนกัน ในกามภพทุคติภูมินั้น

ปุญญาภิสังขารนั้น เป็นปัจจัย ด้วยการประสบอิฏฐารมณ์ในนรก ในคราวเที่ยว

ไปในนรกเป็นต้นของพระมหาโมคคัลลานเถระ. แต่อิฏฐารมร์ย่อมได้ในพวก

สัตว์เดรัจฉาน และในพวกนาค สุบรรณ และเปรตผู้มีฤทธิ์มากทีเดียว

ปุญญาภิสังขารนั้นแหละ เป็นปัจจัยในปวัตติกาล และในปฏิสนธิกาล แก่กุศล

วิปากวิญญาณทั้ง ๑๖ ดวง ในกามภพสุคติภูมิ ว่าโดยไม่แปลกกัน ปุญญา-

ภิสังขาร เป็นปัจจัยในปวัตติกาล และปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๑๐ ดวง

ในรูปภพอย่างนั้นเหมือนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 512

ว่าด้วยอปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัย

อปุญญาภิสังขาร จำแนกโดยอกุศลเจตนา ๑๒ ดวง เป็นปัจจัยใน

ปฏิสนธิกาล ไม่เป็นปัจจัยในปวัตติกาล แก่วิญญาณ ๑ ดวง ในกามภพทุคติ-

ภูมิเหมือนกันนั่นแหละ เป็นปัจจัยในปวัตติ ไม่เป็นปัจจัยในปฏิสนธิกาล แก่

วิญญาณ ๖ ดวง เป็นปัจจัยทั้งในปวัตติกาล และปฏิสนธิกาลเหมือนอย่างนั้น

แหละแก่อกุศลวิปากวิญญาณ ๗ ดวง แต่ในกามภพสุคติภูมิ เป็นปัจจัยในปวัต-

ติกาล ไม่เป็นปัจจัยในปฏิสนธิกาลแก่อกุศลวิปากวิญญาณ ๗ ดวงเหล่านั้น

เหมือนกันนั่นแหละ เป็นปัจจัยในปวัตติกาล ไม่เป็นปัจจัยในปฏิสนธิกาล อย่าง

นั้นแหละแก่วิญญาณ ๔ ดวง ในรูปภพ. ก็อปุญญาภิสังขารนั้นแล เป็นปัจจัย

แก่วิญญาณในกามาพจร ด้วยอำนาจการเห็นรูป ฟังเสียงอันไม่น่าปรารถนา

เป็นต้น แต่ในพรหมโลก ชื่อว่า รูปเป็นต้นที่ไม่น่าปารถนา มิได้มี.

แม้ในเทวโลกกามาพจรก็ไม่มีรูปเป็นต้น ที่ไม่น่าปรารถนาเหมือนกัน.

ว่าด้วยอาเนญชาภิสังขารเป็นปัจจัย

ก็อาเนญชาภิสังขารเป็นปัจจัยเหมือนกันนั่นแหละแก่วิปากวิญญาณ ๔

ดวงทั้งในปวัตติกาล ทั้งในปฏิสนธิกาล ในอรูปภพ.

ว่าด้วยกายสังขาร ๒๐ ดวงเป็นปัจจัย*

อนึ่ง ว่าโดยกุศลและอกุศลในกามาพจร กายสังขารจำแนกโดยเจตนา

ทั้ง ๒๐ ดวง โดยสัพพังคาหิกนัย เป็นปัจจัย ๒ อย่าง คือด้วยกรรมปัจจัยที่

* ได้แก่ มหากุศลเจตนา ๘ ดวง อกุศลเจตนา ๑๒ ดวง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 513

เกิดต่างขณะกัน และด้วยอุปนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๑๐

ดวง ในกามภพ กายสังขารนั้นนั่นแหละ เป็นปัจจัยอย่างนั้นเหมือนกันใน

ปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๑๓ ดวง ในกามภพ แก่

วิปากวิญญาณ ๙ ดวง ในรูปภพ. กายสังขารนั้นนั่นแหละ เป็นปัจจัยเหมือน

อย่างนั้นทั้งในปวัตติกาล ทั้งในปฏิสนธิกาล แก่วิปากวิญญาณ ๒๓ ดวง ใน

กามภพ. แม้ในวจีสังขาร ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ว่าด้วยจิตตสังขาร ๑๙ ดวง เป็นปัจจัย

ส่วนจิตตสังขารที่จำแนกด้วยเจตนา ๑๙ ดวง เป็นปัจจัยเหมือนอย่าง

นั้น แหละในปฏิสนธิกาล มิใช่ในปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาณ ๑๙ ดวงในภพ

ทั้ง ๓ จิตตสังขารนั้นแหละ เป็นปัจจัยในปวัตติกาลมิใช่ปฏิสนธิกาล แก่วิปาก

วิญญาณ ๒๒ ดวง คือ แก่วิปากวิญญาณ ๑๓ ดวง ในกามภพ และแก่วิปาก-

วิญญาณ ๙ ดวง ในรูปภพ ตามที่กล่าวมาแล้วในภพทั้งสอง อนึ่ง จิตตสังขาร

นั้น เป็นปัจจัยอย่างนั้นแหละทิ้งในปวัตติกาล และปฏิสนธิกาล แก่วิปาก

วิญญาณ ๓๒ ดวง ในภพ ๓

บัณฑิตพึงเข้าใจสังขารเหล่านั้นว่า เป็นปัจจัยแก่วิญญาณเหล่าใดและ

เป็นปัจจัยโดยประการใดนั้น ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิกาล และปวัตติกาลใน

ภพทั้งหลายอย่างนี้ก่อน. แม้ในกำเนิด เป็นต้นก็พึงทราบโดยนัยนี้เหมือนกัน

ว่าด้วยสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ

ในนิเทศแห่งสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณนั้น คำที่ประกาศพอเป็นหัว

ข้อตั้งแต่ต้น มีดังนี้ ก็บรรดาสังขารเหล่านี้ ปุญญาภิสังขาร อำนวยปฏิสนธิ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 514

ให้เกิดวิบากทั้งหมดของตนในภพทั้ง ๒ ก่อน ย่อมอำนวยปฏิสนธิให้เกิดวิบาก

ทั้งหมดของตนเหมือนกันในกำเนิด ๔ มีอัณฑชะเป็นต้น ในคติ ๒ กล่าวคือ

เทวคติและมนุษยคติ ในวิญญาณฐิติ ๔ กล่าวคือผู้มีกายต่างกันมีสัญญาต่าง

กัน ๑ มีกายต่างกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน ๑ มีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาต่าง

กัน ๑ มีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน ๑ ด้วยอำนาจแห่งมนุษย์

ทั้งหลาย และในปฐมฌานภูมิ ทุติยฌานภูมิ และตติยฌานภูมิ แต่ในอสัญญ-

สัตตาวาส ปุญญาภิสังขารนี้ย่อมปรุงแต่งเพียงแต่รูปเท่านั้น ฉะนั้น จึงอำนวย

ปฏิสนธิให้เกิดวิบากทั้งหมดของตนในสัตตาวาส ๔ (เหมือนวิญญาณฐิติ) นั้น

แหละ. เพราะฉะนั้น ปุญญาภิสังขารนี้ จึงเป็นปัจจัยทั้งในปฏิสนธิกาล และ

ในปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาน ๒๑ ดวง ตามควรแก่การเกิดขึ้นในภพ ๒

กำเนิด คติ ๒ วิญญาณฐิติ ๔ และสัตตาวาส ๔ เหล่านั้น โดยนัยตามที่กล่าว

นั่นแล.

อนึ่ง อปุญญาภิสังขาร ย่อมให้วิบาก ด้วยอำนาจปฏิสนธิในกาม-

ภพ ๑ เท่านั้น ในกำเนิด ๔ ในคติ ๓ ที่เหลือ ในวิญญาณฐิติ ๑ คือที่มีกาย

ต่างกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน และในสัตตาวาส ๑ เช่นเดียวกับวิญญาณฐิตินั้น

แหละ เพราะฉะนั้น อปุญญาภิสังขารนี้ จึงเป็นปัจจัยทั้งในปฏิสนธิกาล และ

ในปวัตติกาลแก่วิปากวิญญาน ๗ ในภพ ๑ กำเนิด คติ ๓ วิญญาณฐิติ ๑

และในสัตตาวาส ๑ โดยนัยที่กล่าวนั่นแหละ.

แต่ อาเนญชาภิสังขาร ย่อมให้วิบาก ด้วยอำนาจปฏิสนธิในอรูป

ภพ ๑ ในโอปปาติกะกำเนิด ๑ ในเทวคติ ๑ ในวิญญาณฐิติ ๓ มี อากาสานัญจาย

ตนะเป็นต้น ในสัตตาวาส ๔ มีอากาสานัญจายตนะเป็นต้น เพราะฉะนั้น

๑. ต่อสัตว์ผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ๑ วิญญาณัญจายตนะ ๑ อากิญจัญญายตนะ ๑

๒. ผู้เข้าถึงอรูปภพ ๔

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 515

อาเนญชาภิสังขารนี้ จึงเป็นปัจจัย ทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล แก่

วิญญาณ ๔ ดวง ในภพ ๑ เหล่านั้น ในกำเนิด ๑ ในคติ ๑ ในวิญญาณฐิติ ๓

ในสัตตาวาส ๔ ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

แม้กายสังขาร ก็ย่อมอำนวยปฏิสนธิให้วิบากของตนทั้งหมดเกิดขึ้น

ในกามภพ ๑ ในกำเนิด ๑ ในคติ ๕ ในวิญญาณฐิติ ๒ และในสัตตาวาส ๒

เพราะฉะนั้น กายสังขารนั้น จึงเป็นปัจจัยเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละทั้งใน

ปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาณ ๒๓ ดวง ในภพ ๑ ในกำเนิด

๔ ในคติ ๕ ในวิญญาณฐิติ ๒ และในสัตตาวาส ๒. แม้ในวจีสังขาร ก็นัยนี้

เหมือนกัน.

ส่วนจิตตสังขาร เว้นสัตตาวาส (อสัญญีสัตว์) อย่างเดียว จะไม่

ให้ผลในที่ไหน ๆ ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น จิตตสังขารนี้จึงเป็นเหมือนกันนั่น

แหละทั้งในปฏิสนธิกาล และในปวัตติกาล แก่วิปากวิญญาณทั้ง ๓๒ ดวง

ตามควรในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ และในสัตตาวาส ๘ อนึ่ง

ในสัตตาวาสที่ไม่มีวิญญาณ วิญญาณก็ย่อมไม่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

อีกอย่างหนึ่ง ปุญญาภิสังขาร เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลายในพวก

อสัญญีสัตว์ ด้วยกรรมปัจจัยที่เกิดต่างขณะกัน ด้วยประการฉะนี้แล

บัณฑิตพึงทราบสังขารเหล่านั้นเป็น

ปัจจัยแก่วิญญาณเหล่าใด และเป็นโดยประ

การใด ด้วยอำนาจปฏิสนธิสนธิกาล และปวัตติ-

กาล ในฐานะทั้งหลาย มีภพเป็นต้น.

นิเทศสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 516

ว่าด้วยนิเทศนามรูป (บาลีข้อ ๒๕๙)

ในนิเทศนามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.

บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย โดยประเภท

เทศนา โดยความเป็นไปในฐานะทั้งหลาย

ภพเป็นต้นทั้งปวง โดยสงเคราะห์ และโดย

นัยแห่งปัจจัย.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทเทศนา

ข้อว่า โดยประเภทเทศนา อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ทำเทศนาถึงรูปบทเช่นเดียว โดยให้ต่างกันก่อนนั้นพระสูตรและในนามรูป

นิเทศนี้อย่างนี้ว่า ตตฺถ กตม รูป จตฺตาโร จ มหาภูตา จตุนฺนญฺจ

มหาภูตาน อุปาทายรูป บรรดานามและรูปเหล่านั้น รูปเป็นไฉน ? มหา-

ภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔. แต่บทว่า นาม ทรงกระทำเทศนาไว้

ต่างกัน เพราะในพระสุตตันตะ ตรัสไว้ว่า ในนามและรูปนั้น นามเป็น

ไฉน ? เวทนาขันธ์ สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ในพระอธิธรรมนี้

ตรัสว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ด้วยว่า ในพระสูตรนั้น

นามแม้อันใด ย่อมเกิดขึ้น เพราะจักขุวิญญาณเป็นปัจจัย และนามใดที่เกิดแล้ว

เมื่อจะทรงแสดงนามนั้นที่ปรากฏ โดยความไม่ควรถือเอาโดยอาศัยร่วมกับธรรม

อื่นอย่างนี้ว่า "ความตั้งอยู่แห่งจิตเป็นอายุของอรูปธรรมทั้งหลาย" ดังนี้ จึง

ทรงแสดงจำแนกสังขารขันธ์โดย ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งเจตนา ผัสสะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 517

มนสิการพร้อมกับขันธ์ ๒ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์). แต่ในพระอภิธรรมนี้

เมื่อจะทรงสงเคราะห์นามทั้งหมดที่ตรัสแล้วก็ดี ยังมิได้ตรัสก็ดี ในพระสุตตันตะ

นั้น จึงตรัสว่า ตโย ขนฺธา เวทนากฺขนฺโธ สญฺยากฺขนฺโธ สงฺขารกฺ-

ขนฺโธ ขันธ์ ๓ คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ดังนี้.

ถามว่า ขันธ์ เหล่านี้เท่านั้น ชื่อว่าเป็นนาม วิญญาณไม่ชื่อว่า

เป็นนามหรือ ?.

ตอบว่า วิญญาณมิใช่ไม่เป็นนาม แต่เมื่อถือเอาวิญญาณนั้น วิญญาณ

ทั้ง ๒ คือ วิญญาณซึ่งเป็นนาน วิญญาณที่เป็นปัจจัย ก็จะปรากฏรวมกัน

เพราะฉะนั้น จึงตรัสขันธ์ ๓ เพื่อทรงแสดงนามที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยเว้น

วิญญาณไว้ในฐานะเป็นปัจจัย. พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทแห่งเทศนา ด้วย

ประการฉะนี้ก่อน.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยความเป็นไปในภพเป็นต้น

ก็ในข้อว่า โดยความเป็นไปในฐานะทั้งหลายมีภพเป็นต้นทั้ง-

ปวง นี้อธิบายว่า ยกเว้นสัตตาวาส (อสัญญสัตตภูมิ) หนึ่งแล้ว นามย่อมเป็น

ไปในภพ ในกำเนิด ในคติ ในวิญญาณฐิติ และในสัตตาวาสที่เหลือทั้งปวง.

รูปย่อมเป็นไปในภพ ๒ ในกำเนิด ๔ ในคติ ๕ ในวิญญาณฐิติ ๔ แสดงสัตตาวาส

๕ ข้างต้น เมื่อนามและรูปนี้เป็นไปอยู่อย่างนี้ ก็เพราะในขณะปฏิสนธิของคัพภ

ไสยกะไม่มีภาวะ และอณัฑชะ ย่อมปรากฏ สันติรูปเป็นประธาน ๒ อย่าง

โดยรูปด้วยอำนาจแห่งวัตถุ และกาย (ทสกะ) และอรูปขันธ์ ๓ ฉะนั้น ว่า

โดยพิสดารของสัตว์เหล่านั้น ธรรม ๒๓ ทั้งรูปและอรูป คือธรรม (ที่เป็นรูป)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 518

๒๐ ขันธ์ที่เป็นอรูป ๓ เหล่านี้ พึงทราบว่า "นามรูปเกิดเพราะวิญญานเป็น

ปัจจัย" ดังนี้.

แต่เมื่อว่าโดยการถือเอาจำนวนที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้ธรรม ๑๔ โดยคัด

เอารูปธรรม ๙ ออกจากสันตติรูปที่เป็นประธานหนึ่ง สำหรับสัตว์ผู้มีภาวะก็เพิ่ม

ภาวทสกะเข้าเป็น ๓๓ อนึ่ง เมื่อว่าโดยการถือเอาจำนวนที่ยังมิได้ถือเอาของ

สัตว์แม้เหล่านั้น ก็ได้ธรรม ๑๕ โดยนำรูปธรรม ๑๘ ออกจากสันตติรูปที่เป็น

ประธานทั้ง ๒ ก็เพราะในขณะของปฏิสนธิของรูปพรหมเป็นต้นในสัตว์ผู้เป็น

โอปปาติกะกำเนิดย่อมปรากฏสันตติรูปที่เป็นประธาน ๔ โดยเป็นรูปรูป ด้วย

อำนาจแห่งจักขุทสกะ โสตทสกะ วัตถุทสกะ และชีวิตินทริยนวกะ และอรูป

ขันธ์ ๓ ฉะนั้น เมื่อว่าโดยพิสดาร ของกำเนิดเหล่านั้น ธรรม ๒ คือรูป

ธรรม ๓๙ โดยเป็นรูปรูป และอรูปขันธ์ ๓ นี้ พึงทราบว่า "นามรูปเกิด

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย" ดังนี้ แต่เมื่อว่าโดยสภาวะที่ถือเอาแล้วไม่ถือเอาอีก

ก็จะได้ธรรม ๑๕ อย่าง โดยนำเอารูปธรรม ๒๗ ออกจากสันตติรูปที่เป็นประ-

ธานทั้ง ๓ ก็เพราะในกามภพ ในขณะปฏิสนธิของโอปปาติกะที่เหลือ หรือ

สังเสทชะผู้มีภาวะและอายตนะบริบูรณ์ ย่อมปรากฏสันตติรูปที่เป็นประธาน ๗

โดยเป็นรูปรูป และอรูปขันธ์ ๓ เพราะฉะนั้น ว่าโดยพิสดารแห่งธรรมเหล่า

นั้น ก็ได้ธรรม ๗๓ เหล่านั้น คือ (รูป) ธรรม ๗๐ โดยเป็นรูปรูป และอรูป

ขันธ์ ๓ เหล่านั้น พึงทราบว่า "นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย แต่เมื่อ

ว่าโดยการถือเอาแล้วไม่ถือเอาอีก ก็ได้ธรรม ๑๙ โดยนำธรรม ๕๔ ออกจาก

สันตติรูปที่เป็นประธาน ๖. นี้ว่าโดยอุกฤษฏ์.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 519

แต่เมื่อว่าโดยอย่างต่ำ บัณฑิตพึงลดลง ๆ แห่งธรรมคือสันตติรูปที่

เป็นประธานอันบกพร่องนั้น ๆ ด้วยสามารถแห่งสัตว์นั้น ๆ แล้ว ทราบธรรม

กล่าวคือ นามรูปเกิดเพราะปฏิสนธิวิญญาณ ทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร. ส่วน

สำหรับอรูปพรหม ได้อรูปขันธ์เกิดเพราะปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจัย สำหรับ

อสัญญีสัตว์ทั้งหลาย ได้ชีวิตินทริยนวก (ชีวิตินทรีย์ ๙ กลาป) โดยรูปอย่าง

เดียวแล. นี้เป็นนัยในปฏิสนธิกาล ก่อน.

ส่วนในปวัตติกาล สุทธัฏฐกะ (อวินิโภครูป ๘ ล้วน) ที่มีอุตุเป็น

สมุฏฐานแต่อุตุที่เป็นไปกับปฏิสนธิจิต ย่อมปรากฏในฐิติขณะของปฏิสนธิจิตซึ่ง

เป็นถิ่นที่เป็นไปแห่งรูปทั้งหมด แต่ว่า ปฏิสนธิจิตย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้นไม่ได้ ก็

ปฏิสนธิจิตนั้นไม่อาจเพื่อยังรูปให้ตั้งขึ้นได้ เพราะความที่วัตถุมีกำลังอ่อน

เหมือนบุรุษตกลงไปในเหวไม่สามารถจะช่วยเหลือคนอื่นได้ฉะนั้น. แต่เมื่อพ้น

ปฏิสนธิจิตไปแล้ว จำเดิมแต่ปฐมภวังค์ สุทธัฏฐกรูป มีจิตเป็นสมุฏฐานก็ตั้ง

ขึ้นในกาลปรากฏแห่งเสียง ย่อมปรากฏเป็นสัททนวกรูป แต่อุตุชรูปที่เป็นไป

ข้างหน้าปฏิสนธิจิต และแต่จิต. คัพภไสยกสัตว์เหล่าใด เป็นอยู่ด้วยกพฬิง

การาหาร ในสรีระของสัตว์เหล่านั้น ซึมซาบไปด้วยอาหารที่มารดากลืนกินเข้า

ไปแล้ว โดยพระบาลีว่า

ก็มารดา ของคัพภไสยกสัตว์นั้น

ย่อมบริโภคข้าวและน้ำอันใด นระผู้อยู่ใน

ครรภ์ของมารดานั้น ยังอัตภาพให้เป็นไป

ด้วยข้าว และน้ำนั้น ในครรภ์นั้น ดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 520

สำหรับโอปปาติกะกำเนิด ในเวลาที่ตนกลืนเข้าไปในปากคำแรก

ทั้งหมด ก็ปรากฏเป็นสุทธัฏฐกรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ฉะนี้แล แต่เมื่อว่า

โดยย่อได้แก่กรรม ๙๙ อย่าง คือ รูป ๒๖ ด้วยสามารถแห่งสุทธัฏฐกรุปี่มี

อาหารเป็นสมุฏฐาน และนวกรูปทั้งสองโดยอุกฤษฏ์แห่งรูปที่มีอุตุและจิตเป็น

สมุฏฐานและรูป ๗๐ อย่าง ที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ซึ่งเกิดขึ้นสามครั้งในขณะ

แห่งจิตแต่ละดวงอันกล่าวแล้วในเบื้องต้นนี้ รวมเป็นรูป ๙๖ อย่าง และอรูป

ขันธ์ ๓. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเสียงไม่แน่นอนปรากฏในกาลบางครั้งบางคราว

ฉะนั้น น้ำเสียงทั้ง ๒ นั้นออกแล้ว ธรรม ๙๗ เหล่านั้น พึงทราบว่า "นาม

รูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายตามที่เกิดขึ้น.

ก็ธรรม (ทั้งรูปและอรูป) เหล่านั้น ย่อมเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

แก่สัตว์เหล่านั้นผู้ประมาทบ้าง ผู้กำลังท่องเที่ยวบ้าง ผู้กำลังเคี้ยวกินบ้าง ผู้กำลัง

คือบ้าง ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน. และความที่วิญญาณเป็นปัจจัย แก่รูปเหล่า

นั้น ข้าพเจ้าจักพรรณนาข้างหน้า.

อนึ่ง ในอธิการนี้ กรรมชรูปนี้ใด แม้ดำรงอยู่ครั้งแรกในที่ทั้งปวง

คือในภพ ในกำเนิด ในคติ ในวิญญาณฐิติ และในสัตตาวาส อันสมุฏฐานิก

รูปทั้ง ๓ ไม่อุปถัมภ์แล้ว ย่อมไม่อาจเพื่อดำรงอยู่ได้ แม้สมุฏฐานิกรูปทั้ง ๓

นั้น อันกรรมชรูปนั้นไม่อุปถัมภ์แล้วก็ดำรงอยู่ไม่ได้ โดยที่แท้ รูปเหล่านั้นต่าง

ก็อุปถัมภ์ซึ่งกันและกันไม่ให้ตกไป จึงดำรงอยู่ได้ ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง ฯลฯ

๑๐๐ ปีบ้าง จนถึงสิ้นอายุหรือสิ้นบุญของสัตว์เหล่านั้นไป เหมือนกลุ่มอ้อเป็น

ต้นที่เกี่ยวเกาะกันทั้ง ๔ ทิศ ถูกลมพัดแล้วก็ยังเป็นอยู่ได้ หรือเปรียบเหมือน

คนมีพาหนะคือ เรืออับปางในมหาสมุทรบางแห่งได้ที่พึงแล้ว แม้ถูกกำลังคลื่น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 521

ชัดแล้ว ก็ยังเป็นอยู่ได้ฉะนั้น. พึงทราบวินิจฉัยในอธิการนี้ โดยความเป็นไป

ในฐานะทั้งหลายมีภพเป็นต้นทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยสงเคราะห์

ก็ในข้อว่า โดยสงเคราะห์ นี้อธิบายว่า บัณฑิตพึงสงเคราะห์

โดยสรุปเสสนัยแห่เอกเทศอย่างนี้ว่า นามอย่างเดียวเกิดเพราะวิญญาณเป็น

ปัจจัยในปวัตติกาลและปฏิสนธิกาลในอรูปภพ และในปวัตติกาล ในปัญจ

โวการภพอันใด และรูปอย่างเดียวเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ในปฏิสนธิ

กาลและปวัตติกาลทั้งหมดในพวกอสัญญีภพ และในปวัตติกาลในปัญจ

โวการภพ อันใด และนามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยในกาลทั้งหมดใน

ปัญจโวการภพ อันใด นามด้วย รูปด้วย นามรูปด้วย ทั้งหมดนั้น ชื่อว่า

นามรูปดังนี้ แล้วทราบว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.

หากมีผู้สงสัย ถามว่า เพราะความที่อสัญญีสัตว์ไม่มีวิญญาณ วิญญาณ

จึงไม่ควรหรือ.

ตอบว่า ไม่ควร หามิได้.

จริงอยู่ วิญญาณนี้ ( ท่านกล่าวไว้ว่า)

นามรูปสฺส ย เหตุ วิญฺญาณนฺต ทฺวิธา มต

วิปากมวิปากญฺจ ยุตฺตเมว ตโต อิท

วิญญาณนั้น เป็นเหตุแห่งนามรูป

วิญญาณนั้นท่านกล่าวไว้ ๒ อย่าง คือ วิญญาณ

ที่เป็นวิบาก และวิญญาณที่ไม่เป็นวิบาก

วิญญาณนี้ จึงควรเป็นปัจจัยแก่รูปใน

อสัญญีภพนั้นทีเดียว.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 522

จริงอยู่ วิญญาณใดเป็นเหตุแห่งนามรูป วิญญาณนั้นท่านกล่าวไว้ ๒

อย่างโดยแยกเป็นวิบากและไม่เป็นวิบาก และในอสัญญีสัตว์ทั้งหลายก็เกิด

เพราะวิญญาณที่เป็นอภิสังขารที่.เป็นไปในปัญจโวการภพเป็นปัจจัยเพราะความ

ที่รูปเป็นลำนั้นมีกรรมเป็นสมุฏฐาน ในปัญจโวการภพในปวัตติกาลในขณะแห่ง

จิตเป็นกุศลเป็นต้น ก็มีกรรมเป็นสมุฏฐานเหมือนกัน เพราะฉะนั้น วิญญาณนี้

จึงสมควรเป็นปัจจัยเหมือนกัน. พึงทราบวินิจฉัยโดยสงเคราะห์ในอธิการนี้ด้วย

ประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยปัจจัย

ก็พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า โดยนัยแห่งปัจจัย นี้ ต่อไป.

นามสฺส ปากวิญฺาณ นวธา โหติ ปจฺจโย

วตฺถุรูปปสฺส นวธา เสสรูปสฺส อฏฺธา

อภิสัขารวิญฺาณ โหติ รูปสฺส เอกธา

ตทญฺ ปย วิญฺาณ ตสฺส ตสฺส ยถารห

วิปากวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม ๙ อย่าง

เป็นปัจจัยแก่วัตถุรูป ๙ อย่าง เป็นปัจจัยแก่

รูปที่เหลือ ๘ อย่าง อภิสังขารวิญญาณเป็น

ปัจจัยแก่รูปอย่างเดียว ส่วนวิญญาณอื่นนอก

จากนั้นเป็นปัจจัยแก่นามรูปนั้น ๆ ตามควร.

จริงอยู่ นาม กล่าวคือวิบากในปฏิสนธิกาล หรือในปวัตติกาลนี้ใด

ปฏิสนธิวิญญาณ หรือวิปากวิญญาณอื่น เป็นปัจจัย ๙ อย่าง แก่นามนั้นซึ่ง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 523

ระคนด้วยรูปบ้าง ไม่ระคนด้วยรูปบ้าง โดยสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย

นิสสยปัจจัย สัมปยุตนปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย

อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย. เป็นปัจจัยแก่วัตถุรูปในปฏิสนธิกาล ๙ ปัจจัย โดย

สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย

อินทริยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย เป็นปัจจัยแก่รูป

ที่เหลือ ๘ ปัจจัย เว้นวัตถุรูปแล้วนำอัญญมัญญปัจจัยในปัจจัย ๙ ปัจจัยนี้ออก.

ส่วนอภิสังขารวิญญาณ เป็นปัจจัยแก่อสัญญสัตตรูป หรือแก่กรรม-

ชรูปในปัญจโวการภูมิ ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย อย่างเดียวเท่านั้น โดย

ปริยายอันมาในพระสุตตันตะ วิญญาณทั้งหมดที่เหลือ จากเดิมแต่ปฐมภวังค์

พึงทราบวา เป็นปัจจัยแก่นามรูปนั้น ๆ ตามควร อนึ่ง เมื่อจะแสดงนัยแห่ง

ปัจจัยของนามรูปนั้น โดยพิสดาร บัณฑิตก็จะพึงยังปัฏฐานกถาแม้ทั้งหมดให้

กว้างขวาง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักยังไม่เริ่มปัฏฐานกถานั้น.

ในข้อนั้น หากมีผู้ถามว่า ก็ข้อนี้จะพึงรู้ได้อย่างไรว่า "นามรูปใน

ปฏิสนธิกาลมีวิญญาณเป็นปัจจัย ตอบว่า รู้ได้โดยพระสูตร และโดยยุกติ

(ความชอบด้วยเหตุผล) เพราะในพระสูตร ความที่ธรรมมีเวทนาเป็นต้นเป็น

ปัจจัยสำเร็จแล้วโดยมาก โดยนัยมีอาทิว่า จิตฺตานุปริวตฺติโน ธมฺมา

(ธรรมทั้งหลายคล้อยไปตามจิต) ดังนี้* ส่วนโดยยุกติว่า

ความจริง วิญญาณ ย่อมสำเร็จได้

ด้วยจิตตรูปที่เห็นได้ ในโลกนี้ วิญญาณก็

เป็นปัจจัย แม้แก่รูปที่เห็นไม่ได้แล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 524

จริงอยู่ เมื่อจิตผ่องใสหรือไม่ผ่องใสก็ตาม รูปทั้งหลายที่ควรแก่จิตนั้น

เมื่อเกิดขึ้น วิญญาณจึงเห็น ก็การอนุมาน (คาดคะเน) รูปที่เห็นไม่ได้

ย่อมมีด้วยรูปที่เห็นได้ เพราะฉะนั้น ข้อนี้พึงรู้ได้ด้วยบทนี้ว่า วิญญาณย่อม

เป็นปัจจัยแก่รูปในปฏิสนธิ แม้ที่เห็นไม่ได้ ด้วยจิตตชรูปที่เห็นได้ ในโลกนี้.

เพราะความที่รูปในปฏิสนธินั้นแม้มีกรรมเป็นสมุฏฐาน เป็นปัจจัยมาแล้วใน

ปัฏฐาน เหมือในรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน. ในอธิการนี้พึงทราบวินิจฉัยโดยนัย

แห่งปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ในข้อว่า วิญฺญาณปจฺจยา นามรูป

(นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย) นี้ ชื่อว่า ทรงประกาศพระธรรมจักร

อันยอดเยี่ยม ที่สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี เทวดาก็ดี มารดาก็ดี พรหมก็ดี

หรือว่าใคร ๆ ในโลกก็ดี เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะบรรดาบัณฑิตเข้าไป

ใคร่ครวญอยู่ ย่อมเห็นเป็นเพียงนามรูป โดยปรมัตถ์เท่านั้น กำลังเป็นไป

หาใช่สัตว์บุคคลไม่ ฉะนี้แล.

นิเทศแห่งนามรูปมีวิญญาณเป็นปัจจัย จบ

ว่าด้วยนิเทศสฬายตนะ (บาลีข้อ ๒๖๐)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยต่อไป

นาม ขนฺธตฺตย รูป ภูตวตฺถาทิก มต

กเตกเสส ตนฺตสฺส ตาทิสสฺเสว ปจฺจโย

นามคือ ขันธ์ ๓ รูป ได้แก่ รูปที่

กล่าวว่า ภูตะ และวัตถุเป็นต้น นามรูปนั้น

ท่านทำเอกเสสนัยว่าเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ

นั้นเช่นนั้นแล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 525

จริงอยู่ ในนามรูปที่เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะนั้น ขันธ์ ๓ มีเวทนา

เป็นต้น ชื่อว่า นาม ส่วนรูปที่นับเนื่องด้วยสันตติของตน พึงทราบว่า

ท่านเรียกว่า ภูคะและวัตถุ โดยกำหนดอย่างนี้ คือ ภูตรูป ๔ วัตถุรูป ๖

และชีวิตินทรีย์ ก็นามรูปนั้น ท่านทำเอกเสสนัยไว้อย่างนี้ว่า นามด้วย รูปด้วย

นามรูปด้วย ชื่อว่า นามรูป. นามรูปนั้น พึงทราบว่า เป็นปัจจัยแก่

สฬายตนะที่ท่านทำเอกเสสนัยอย่างนั้นแหละ ด้วยลักษณะอย่างนี้ว่า ฉฏฺาย-

ตนญฺจ สฬายตนญฺจ สฬายตน (อายตนะที่ ๖ ด้วย อายตนะ ๖ ด้วย

ชื่อว่า สฬายตนะ ดังนี้ เพราะเหตุไร ? เพราในอรูปภพ นามอย่างเดียว

เป็นปัจจัย และนามนั้นก็เป็นปัจจัยแก่อายตนะทั้ง ๖ เท่านั้น ไม่เป็นปัจจัยแก่

อายตนะอื่น เพราะในอัพยากตวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นามปจฺจยา

ฉฏฺายตน (อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย) ดังนี้ ก็นามที่ทรง

สงเคราะห์ไว้ในทีนี้ พึงทราบว่าทรงจำแนกไว้ในอัพยากตวาระนั้นแล.*

ในข้อนั้น หากมีผู้ถามว่า ก็ข้อนี้จะพึงทราบได้อย่างไรว่า "นามรูป

เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะเล่า" ตอบว่า ทราบได้เพราะเมื่อนามรูปมีสฬายตนะก็มี.

จริงอยู่ เมื่อนามและรูปนั้น ๆ มี อายตนะนั้น ๆ ก็ย่อมมี มิใช่เป็นโดยประการอื่น

ก็สฬายตนะนั้นมีเพราะความที่นามรูปมีนั้นจักแจ่มแจ้งในนัยแห่งปัจจัยทีเดียว

เพราะฉะนั้น

นามรูปใด เป็นปัจจัยแก่อายตนะใด

ในปฏิสนธิกาล หรือในปวัตติกาล และเป็น

ปัจจัยโดยประการใด บัณฑิตพึงแนะนำโดย

ประการนั้น.

* อภิ. วิ. เล่ม ๓๕ นี้ ๓๗๙/๒๓๕

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 526

ว่าด้วยนามเป็นปัจจัยแก่อายตนะ

บรรดานามรูปที่เป็นปัจจัยนั้น มีอธิบายความดังนี้

ความจริง ว่าโดยการกำหนดอย่างต่ำ

นามอย่างเดียวนั้น เป็นปัจจัย ๗ อย่าง แก่

อายตนะที่ ๖ ในอรูปภพ ทั้งในปฏิสนธิกาล

และปวัตติกาล.

นามเป็นปัจจัยอย่างไร ? คือ ในปฏิสนธิกาล ว่าโดยกำหนดอย่างต่ำ

ก่อน นามเป็นปัจจัย ๗ อย่างแก่อายตนะที่ ๖ โดยสหชาตปัจจัย อัญญมัญญ-

ปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปากปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิตตปัจจัย อนึ่ง

ในปฏิสนธิกาลนี้ ก็มีปัจจัยแม้โดยประการอื่นอย่างนี้ คือ นามบางอย่างเป็น

ปัจจัย ด้วยเหตุปัจจัย นามบางอย่างเป็นปัจจัย ด้วยอาหารปัจจัย บัณฑิต

พึงทราบการกำหนดปัจจัยอย่างต่ำและอย่างสูง ด้วยสามารถแห่งปัจจัยมีเหตุ-

ปัจจัยเป็นต้นนั้นเถิด.

แม้ในปวัตติกาล นามคือวิบากเป็นปัจจัยโดยนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน

แต่นามนอกนี้ซึ่งมิใช่วิบากเป็นปัจจัย ๖ อย่าง กำหนดอย่างต่ำเว้นวิปากปัจจัย

ในบรรดาปัจจัยทั้งหลายตามที่กล่าวแล้ว และในปวัตติกาลนั้น ก็มีปัจจัยแม้โดย

ประการอื่นอย่างนี้ คือ นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยเหตุปัจจัย นามบางอย่าง

เป็นปัจจัยด้วยอาหารปัจจัย บัณฑิตพึงกำหนดอย่างสูงและอย่างต่ำด้วยอำนาจ

แห่งปัจจัยมีเหตุปัจจัยเป็นต้นนั้น.

แม้ในภพอื่น นามเป็นปัจจัยแก่

อายตนะที่ ๖ ในปฏิสนธิกาลเหมือนอย่างนั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 527

แหละ นามนั้นยังเป็นปัจจัยโดยอาการ ๖

อย่าง แก่อายตนะทั้งหลายนอกจากอายตนะ

ที่ ๖ นี้.

จริงอยู่ แม้ในภพอื่นนอกจากรูปภพ คือในปัญจโวการภพ นามที่

เป็นวิบากนั้น เป็นสหายของหทยวัตถุเป็นปัจจัย ๗ อย่าง แก่อายตนะที่ ๖ คือ

มนายตนะ โดยกำหนดอย่างต่ำเหมือนกล่าวไว้ในอรูปภูมินั้นแหล่ะ อนึ่ง นาม

นั้น เป็นสหายกับหาภูตรูป ๖ เป็นปัจจัยแก่อายตนะ ๕ มีจักขายตนะเป็นต้น

นอกจากอายตนะที่ ๖ เป็นโดยอาการ ๖ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งสหชาตปัจจัย

นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย ก็ใน

ปฏิสนธิกาลนี้ มีปัจจัยแม้อื่นอย่างนี้ คือ นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยเหตุปัจจัย

นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยอาหารปัจจัย บัณฑิตพึงทราบกำหนดอย่างสูงแล.

อย่างต่ำ ด้วยสามารถแห่งเหตุปัจจัยเป็นต้นนั้น.

แม้ในปวัตติกาล นามที่เป็นวิบากก็

เป็นปัจจัย แก่อายตนะที่เป็นวิบากเหมือนกัน

นามที่ไม่ใช่วิบากก็เป็นปัจจัย ๖ อย่าง แก่

อายตนะที่ ๖ ซึ่งมิใช่วิบาก.

จริงอยู่ แม้ในปวัตติกาล ในปัญจโวการภพ นามที่เป็นวิบากก็เป็น

ปัจจัยแก่วิบาก คืออายตนะที่ ๖ โดยกำหนดอย่างต่ำ ๗ ปัจจัย เหมือนใน

ปฏิสนธิกาลนั่นแหละ ส่วนนามที่มิใช่วิบากเป็นปัจจัยแก่นามที่ไม่ใช่วิบาก คือ

อายตนะที่ ๖ โดยกำหนดอย่างต่ำ ๖ อย่าง โดยนำวิปากปัจจัยออกจากปัจจัย

ทั้ง ๗ นั้น และในปวัตติกาลนี้ ก็พึงทราบกำหนดอย่างสูงและอย่างต่ำโดยนัย

ที่กล่าวแล้วเหมือนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 528

ในปวัตติกาลนั้นนั่นแหละ นามที่

เป็นวิบากก็เป็นปัจจัย ๔ อย่าง แก่อายตนะ ๕

ที่เหลือ แม้นามที่ไม่ใช่วิบาก ก็ทรงประกาศ

ไว้เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ.

จริงอยู่ ในปวัตติกาลนั้นแหละ นามที่เป็นวิบากอาศัยวัตถุมีจักขุ-

ประสาทเป็นต้นบ้าง วัตถุนอกนี้บ้าง เป็นปัจจัย ๔ อย่าง แก่อายตนะที่เหลือ ๕

มีจักขายตนะเป็นต้น โดยปัจฉาชาตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคต-

ปัจจัย แม้นามที่ไม่ใช่วิบาก ก็ทรงประกาศเหมือนนามที่เป็นวิบากนั่นเอง

เพราะฉะนั้น แม้นามอันต่างด้วยกุศลเป็นต้น ก็พึงทราบว่าเป็นปัจจัย ๔ อย่าง

แก่อายตนะ ๕ เหล่านั้น นามอย่างเดียว เป็นปัจจัยแก่อายตนะใด ๆ และเป็น

โดยประการใด ในปฏิสนธิกาลหรือในปวัตติกาล พึงทราบอายตนะนั้น ๆ

โดยประการนั้น ๆ อย่างนี้ก่อน.

ว่าด้วยรูปเป็นปัจจัยแก่อายตนะ

ก็ในอายตนะเหล่านี้ รูปไม่เป็นปัจจัย

แม้แก่อายตนะหนึ่งในอรูปภพ แต่เป็นปัจจัย

ในภพที่มีขันธ์ ๕ ว่าโดยรูป วัตถุรูปใน

ปฏิสนธิกาลเป็นปัจจัย ๖ อย่าง แก่อายตนะ

ที่ ๖ ภูตรูปทั้งหลายเป็นปัจจัย ๔ อย่าง

แก่อายตนะ โดยไม่แปลกกัน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 529

จริงอยู่ ว่าโดยรูป วัตถุรูปในปฏิสนธิกาล เป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖

คือมนายตนะ ๖ อย่าง โดยสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย

วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิตตปัจจัย. ส่วนภูตรูป ๔ เป็นปัจจัย ๔ อย่าง

แก่อายตนะแม้ทั้ง ๕ มีจักขายตนะเป็นต้น โดยสหชาตปัจจัย นิสสยปัจจัย

อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย ด้วยอำนาจแห่งอายตนะที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ทั้งในปฏิสนธิ

กาลและปวัตติกาล โดยไม่แปลกกัน.

ชีวิตรูป เป็นปัจจัย ๓ อย่าง แก่วัตถุ

เหล่านี้ และอาหารรูปก็เป็นปัจจัย ๓ อย่าง

แก่วัตถุเหล่านั้น ในปวัตติกาล อายตนะ

เหล่านั้น เป็นปัจจัย ๖ อย่าง แก่อายตนะที่ ๖

วัตถุรูปเป็นปัจจัย ๕ อย่าง แก่อายตนะที่ ๖

นั้น.

ก็ชีวิตรูป ในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล เป็นปัจจัย ๓ อย่าง

แก่วัตถุเหล่านี้ทั้ง ๕ มีจักขุเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งอัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย

และอินทริยปัจจัย.

ก็คำว่า และอาหาร คือ และอาหารก็เป็นปัจจัย ๓ อย่างนั้นแหละ

ด้วยอำนาจอัตถิปัจจัย อวิตตปัจจัย อาหารปัจจัย ก็อาหารนั้นแลเป็นปัจจัยใน

ปวัตติกาลเท่านั้น มิใช่ในปฏิสนธิกาล ในกายที่มีอาหารซึมซาบของสัตว์ผู้มี

อาหารเลี้ยงชีพเหล่านั้น อนึ่ง อายตนะ ๕ มีจักขวายตนะเป็นต้นเหล่านั้น

เป็นปัจจัยในปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล แก่มนายตนะอันเป็นอายตนะที่ ๖

กล่าวคือจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 530

กายวิญญาณ โดยอาการ ๖ อย่าง ด้วยอำนาจนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย

อินทริยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิตตปัจจัย. ส่วนวัตถุรูป

เป็นปัจจัย ๕ อย่าง ในปวัตติกาล มิใช่ในปฏิสนธิกาล แก่มนายตนะที่เหลือ

ยกเว้นวิญญาณ ๕ นั้นแล ด้วยอำนาจนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย วิปปยุตต-

ปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิตตปัจจัย รูปอย่างเดียวเป็นปัจจัยแก่อายตนะใด ๆ

ในปฏิสนธิกาล หรือปวัตติกาล และเป็นโดยประการใด พึงทราบโดยประการนั้น

ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยนามรูปเป็นปัจจัยแก่อายตะ

ก็นามรูปทั้ง ๒ อันใด เป็นปัจจัยแก่

อายตนะใด และโดยประการใด บัณฑิตพึง

ทราบนามรูปแม้นั้นและโดยประการนั้น ใน

ที่ทุกแห่ง.

พึงทราบอย่างไร ? คือในเบื้องต้น นามรูปกล่าวคือนามขันธ์ ๓ และ

วัตถุรูปในปฏิสนธิกาลปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ ด้วยสหชาต-

ปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปากปัจจัย อัตถิปัจจัย

และอวิคตปัจจัยเป็นต้น.

คำที่กล่าวนี้พอเป็นหัวข้อในข้อว่านามรูปเป็นปัจจัยแก่อายตนะ แต่

บุคคลผู้ฉลาดอาจประกอบเนื้อความทั้งหมด โดยทำนองแห่งคำที่กล่าวแล้ว

เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่แสดงความพิสดารไว้ในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

นิเทศสฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 531

ว่าด้วยนิเทศผัสสะ (บาลีข้อ ๒๖๑)

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ต่อไป

ว่าโดยย่อผัสสะ ๖ อย่างเท่านั้น มี

จักขุสัมผัสเป็นต้น ว่าโดยพิสดาร ผัสสะ

เหล่านั้นก็มี ๓๒ อย่าง เหมือนวิญญาณ.

จริงอยู่ ว่าโดยย่อ ผัสสะ ๖ อย่างเท่านั้น มีคำอาทิว่า จกฺขุสมฺผสฺโส

(จักขุสัมผัส) ดังนี้มาแล้วในบาลี. แต่โดยพิสดาร ผัสสะแม้ทั้งหมดมี ๓๒

อย่าง เหมือนวิญญาณตามที่กล่าว เพราะสังขารเป็นปัจจัยอย่างนี้ คือ ผัสสะ

ทั้งหลาย มีจักขุสัมผัสสะเป็นต้น ที่เป็นกุศลวิบาก ๕ ที่เป็นอกุศลวิบาก ๕

เพราะฉะนั้น จึงรวมเป็น ๑๐ ผัสสะที่เหลือ ๒๒ ได้แก่ ผัสสะที่สัมปยุตด้วย

วิปากวิญญาณที่เป็นโลกีย์ ๒๒ แล.

ว่าด้วยสฬายตนะเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ

ก็ในสฬายตนะเป็นปัจจัย แก่ผัสสะทั้ง ๓๒ นั้น

บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมปรารถนาอาย-

ตนะภายในมีจักขวายตนะเป็นต้นกับอาย-

ตนะที่ ๖ พร้อมกับอายตนะแม้ภายนอก ๖

ว่าชื่อว่า สฬายตนะ.

ในพระบาลีว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย นั้น มี

อธิบายว่า บัณฑิตเหล่าใดย่อมแสดงปัจจัยและปัจจยุปบัน (ธรรมที่เกิดเพราะ

ปัจจัย) อันเนื่องด้วยสันตติหนึ่งเท่านั้นว่า นี้เป็นกถาแสดงความเป็นไปแห่ง

อุปาทินนกสังขาร ดังนี้ก่อน บัณฑิตเหล่านั้น ย่อมปรารถนาอายตนะภายในมี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 532

จักขวายตนะเป็นต้นกับอายตนะที่ ๖ ว่า ชื่อว่า สฬายตนะ เพราะการทำสรู-

เปกเสสนัยโดยเอกเทศว่า อายตนะที่ ๖ ในอรูปภพ และอายตนะ ๖ โดยรวมทั้ง

หมดในที่อื่นเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ. โดยทำนองแห่งพระบาลีว่า ผัสสะเกิดเพราะ

อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ดังนี้ จริงอยู่ อายตนะนั้น ในเพราะทำบทเหล่านี้ให้

เป็นเอกเสสมาสว่าอายตนะที่ ๖ นั้นด้วย สฬายตนะด้วย ย่อมถึงอันนับว่า

สฬายนะ ดังนี้ ส่วนบัณฑิตเหล่าใด ย่อมแสดงปัจจยุปบันนธรรม (ธรรม

ที่เกิดแก่ปัจจัย) เป็นธรรมนับเนื่องด้วยสันตติเดียว แม้ปัจจัยมีสันดานต่างกัน

ก็มี บัณฑิตเหล่านั้น เมื่อแสดงอายตนะทั้งหมดที่เป็นปัจจัยแก่ผัสสะนั้น ก็กำหนด

เอาแม้อายตนะภายนอก ย่อมปรารถนาอายตนะภายในนั้น แหละกับอายตนะที่ ๖

กับรูปายตนะเป็นต้น แม้เป็นอายตนะภายนอกว่า ชื่อว่า สฬายตนะ เพราะ

อายตนะภายนอกแม้นั้น ย่อมถึงการนับว่า สฬายตนะเหมือนกัน ในเพราะ

ท่านทำเอกเสสสมาสแห่งบทเหล่านี้ว่า อายตนะที่ ๖ ด้วย สฬายตนะด้วย

ชื่อว่า สฬายตนะ ดังนี้.

ในข้อนี้ หากมีผู้ถามว่า ผัสสะหนึ่งย่อมไม่เกิดแต่อายตนะทั้งหมด แม้

ผัสสะทั้งหมดก็ย่อมไม่เกิดแต่อายตนะหนึ่ง ก็ผัสสะนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เป็นหนึ่งเท่านั้น ด้วยพระดำรัสว่า สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส (ผัสสะเกิด

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย) ดังนี้ เพราะเหตุไร.

ในปัญหากรรมนี้ มีวิสัชนา ดังนี้ ข้อนี้เป็นความจริง ผัสสะหนึ่ง

ย่อมไม่เกิดแต่อายตนะทั้งหมด หรือผัสสะทั้งหมดย่อมไม่เกิดแต่อายตนะหนึ่ง

ก็แต่ว่า ผัสสะหนึ่งย่อมเกิดแต่อายตนะหลายอย่าง เช่นจักขุสัมผัสเกิดแต่จัก-

ขวายตนะ แต่รูปายตนะ แต่มนายตนะกล่าวคือจักขุวิญญาณ และแต่ธรรมาย-

ตนะที่สัมปยุตตกันที่เหลือ ฉันใด ในผัสสะทั้งปวงก็ฉันนั้น พึงประกอบตาม

สมควร ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 533

ก็เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ

ผัสสะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้คงที่

จึงทรงแสดงว่า ผัสสะหนึ่ง มีอายตะเป็น

อเนก (หลายอย่าง) เป็นแดนเกิด โดยนิเทศ

เป็นเอกวจนะในข้อว่า ผสฺโส สฬายตน-

ปุจฺจยา นี้.

คำว่า นิเทศเป็นเอกวจนะ นั้น ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้

คงที่ทรงแสดงว่า ผัสสะหนึ่งย่อมเกิดแต่อายตนะหลายอย่างดังนี้ โดยนิเทศเป็น

เอกวจนะนี้ว่า สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็น

ปัจจัย. ส่วนในอายตนะทั้งหลาย (ตรัสว่า)

อายตนะภายใน ๕ เป็นปัจจัย ๖ อย่าง

ต่อจากนั้น อายตนะหนึ่ง (มนายตนะ) เป็น

ปัจจัย ๙ อย่าง และพึงชี้แจงอายตนะภาย

นอกทั้งหลาย ในความเป็นปัจจัยแก่ผัสสะนี้

ตามที่เกิดขึ้น.

ในคาถานั้น มีอธิบายดังนี้ อายตนะภายในมีจักขวายตนะเป็นต้น

เป็นปัจจัย ๖ อย่าง แก่ผัสสะ ๕ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งนิสสยปัจจัย ปุเรชาต-

ปัจจัย อินทริยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย แก่ผัสสะ๕

อย่าง อันต่างโดยผัสสะ ๕ มีจักขุสัมผัสเป็นต้น. เบื้องหน้าแต่นั้น อายตนะ

หนึ่ง คือมนายตนะที่เป็นวิบากเป็นปัจจัย ๙ อย่าง แก่มโนสัมผัสที่เป็นวิบาก

โดยประเภทอเนก ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 534

วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และ

อวิคตปัจจัย แต่พึงอธิบายอายตนะภายนอก ๖ ในความเป็นปัจจัยแก่ผัสสะนี้

ตามที่เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า บรรดาอายตนะภายนอกทั้งหลาย รูปายตนะเป็นปัจจัย

แก่จักขุสัมผัส ด้วยอำนาจแห่งอารัมมณปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อัตถิปัจจัย และ

อวิคตปัจจัย สัททายตนะเป็นต้น ก็เป็นปัจจัยแก่โสตสัมผัสเป็นต้น เหมือนอย่าง

นั้น แต่ว่า อายตนะภายนอกเหล่านั้น และธรรมายตนะเป็นปัจจัยแก่มโน-

สัมผัสโดยประการนั้น และโดยเพียงเป็นอารัมมณปัจจัยเท่านั้น ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

นิเทศผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จบ

ว่าด้วยนิเทศเวทนา (บาลีข้อ ๒๖๒)

พึงทราบวินิจฉัยนิเทศเวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ต่อไป

ว่าโดยทวาร พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเวทนาไว้ ๖ อย่างเท่านั้น มีเวทนาเกิด

แต่จักขุสัมผัสเป็นต้น โดยประเภท เวทนา

เหล่านั้น ตรัสไว้ ๘๙ อย่าง.

จริงอยู่ ว่าโดยทวาร เวทนา ๖ อย่างเท่านั้น มีเวทนาเกิดแต่จักขุ

สัมผัสเป็นต้นเหล่านี้ ตรัสไว้ในพระบาลีโดยนัยมีอาทิว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา

เวทนา (เวทนาเกิดแต่จักขุสัมผัส) ดังนี้ แต่โดยประเภท เวทนาเหล่านั้น พึง

ทราบว่า มี ๘๙ เพราะสัมปยุตด้วยจิต ๘๙ ดวงแล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 535

ก็บรรดาเวทนา ๘๙ ประเภทเหล่านี้

ตรัสเวทนาที่ประกอบด้วยวิบากจิต ๓๒ ดวง

เท่านั้น ว่าทรงประสงค์เอาในข้อว่า ผสฺส-

ปจฺจยา เวทนา นี้.

ผัสสะเป็นปัจจัย ๘ อย่างแก่เวทนา ๕

ในปัญจทวารนั้น เป็นปัจจัยอย่างเดียวแก่

เวทนาที่เหลือ แม้ในมโนทวาร ผัสสะนั้นก็

เป็นปัจจัยเหมือนอย่างนั้น.

จริงอยู่ ในปัญจทวารนั้น ผัสสะเกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นต้น เป็นปัจจัย

๘ อย่าง แก่เวทนา ๕ ที่มีจักขุประสาทเป็นต้นเป็นวัตถุที่เกิด ด้วยอำนาจ

สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย

สัมปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย ก็ผัสสะมีจักขุสัมผัสเป็นต้นเป็น

ปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย แก่กามาวจรวิบากเวทนาที่

เหลือ ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ และตทารัมมณะในทวาร

แต่ละทวาร.

ข้อว่า แม้ในมโนทวาร ผัสสะนั้นก็เป็นปัจจัยเหมือนอย่างนั้น

ความว่า ผัสสะนั้น คือสหชาตมโนสัมผัส เป็นปัจจัย ๘ อย่าง เหมือนกันนั่น

แหละ แก่กามาวจรวิบากเวทนาที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งตทารมณ์แม้ในมโน-

ทวาร และเป็นปัจจัย แม้แก่วิบากเวทนาในภูมิ ๓ ที่เป็นไปด้วยอำนาจปฏิสนธิ

ภวังค์และจุติ. อนึ่ง มโนสัมผัสที่สัมปยุตด้วยอาวัชชนะ เป็นปัจจัยอย่างเดียว

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 536

ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย ในมโนทวาร แก่กามาวจรเวทนาซึ่งเป็นไปด้วย

อำนาจตทารัมมณะในมโนทวารนั้น ฉะนี้แล.

นิเทศเวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย จบ

ว่าด้วยนิเทศตัณหา (บาลีข้อ ๒๖๓)

พึงทราบวินิจฉัยนิเทศตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ต่อไป

ตันหา ๖ อย่าง พระองค์ทรงแสดง

ไว้ในนิเทศนี้ โดยความต่างแห่งรูปตัณหา

เป็นต้น ในตัณหา ๖ เหล่านั้น แต่ละตัณหา

ตรัสไว้ ๓ อย่าง โดยอาการที่เป็นไป.

ก็ในนิเทศตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัยนี้ มีอธิบายว่า ตัณหา ๖

อย่างเหล่านั้นพระองค์ทรงแสดงแล้ว คือ ประกาศแล้ว ตรัสแล้ว ด้วยอำนาจแห่ง

ชื่อโดยอารมณ์ว่า รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ-

ตัณหา ธรรมตัณหา ดังนี้ เหมือนบุตรที่เขาประกาศชื่อตามบิดาว่า เสฏฺิ-

ปุตฺโต ( บุตรเศรษฐี) พฺราหฺมณปุตฺโต (บุตรพราหมณ์) ฉะนั้น. บรรดา

ตัณหา ๖ เหล่านั้น พึงทราบอรรถแห่งคำโดยนัยนี้ว่า รูเป ตณฺหา รูปต-

ณฺหา ตัณหาในรูป ชื่อว่า รูปตัณหา ดังนี้.

ว่าด้วยตัณหา ๑๘ อย่าง

ก็แล บรรดาตัณหาเหล่านั้น ตัณหาแต่ละอย่าง ตรัสไว้ ๓ อย่างนี้

คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตามอาการที่เป็นไป จริงอยู่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 537

ในกาลใดรูปตัณหาแหละยินดีรูปารมณ์ที่มาสู่คลองจักษุด้วยอำนาจความยินดี

ในกามเป็นไป ในกาลนั้นชื่อว่า กามตัณหา ในกาลใดรูปตัณหาเป็นไปพร้อม

กับทิฏฐิที่เป็นไปว่า รูปารมณ์นั้นนั่นแหละเที่ยง ยั่งยืน ดังนี้ ในกาลนั้นชื่อว่า

ภวตัณหาเพราะราคะเกิดร่วมกับสัสสตทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า ภวตัณหา แต่ในกาล

ใด รูปตัณหานั้นเป็นพร้อมกับอุจเฉททิฏฐิที่เป็นไปว่า รูปารมณ์นั้นนั่นแหละ

ขาดสูญ ย่อมพินาศ ดังนี้ ในกาลนั้น ชื่อว่า วิภวตัณหา เพราะราคะเกิดร่วม

กับอุจเฉททิฏฐิ ตรัสเรียกว่า วิภวตัณหา. แม้ในสัททตัณหาเป็นต้นก็นัยนี้

เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ตัณหาเหล่านี้ จึงรวมเป็น ๑๘.

ตัณหาเหล่านั้นในรูปภายในเป็นต้นมี ๑๘ อย่าง ในภายนอกมี ๑๘

อย่าง เพราะฉะนั้น จึงเป็น ตัณหา ๓๖ อย่าง ตัณหาเหล่านั้นเป็นอดีต ๓๖

อนาคต ๓๖ เป็นปัจจุบัน ๓๖ รวม ตัณหา ๑๐๘ ด้วยประการฉะนี้.

ก็ตัณหา ๑๐๘ เหล่านั้น เมื่อย่อลง พึงทราบว่าเป็น ตัณหา ๖ ด้วย

สามารถแห่งอารมณ์มีรูปเป็นต้น หรือเป็นตัณหา ๓ เท่านั้น ด้วยอำนาจ

กามตัณหาเป็นต้น.

ก็เพราะสัตว์เหล่านี้ ยินดีเวทนาอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจอารมณ์มีรูป

เป็นต้น จึงทำสักการะใหญ่แก่จิตรกร (ช่างเขียน) คนธรรพ์ (นักดนตรี)

ผู้ปรุงแต่งด้วยของหอม พ่อครัว ช่างทอ และแพทย์ผู้ทำวิธีต่าง ๆ ให้เกิด

ความยินดีเป็นต้น อันให้ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้น ด้วยยึดเวทนาว่าเป็นของเรา

เหมือนบุคคลผู้รักใคร่บุตรด้วยความยึดถือบุตรเป็นของเรา กระทำสักการะ

ใหญ่แก่นางนม ฉะนั้น ตัณหาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า เกิดเพราะเวทนา

เป็นปัจจัยแล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 538

ว่าด้วยสุขเวทนาที่เป็นวิบากเป็นปัจจัย

แต่เพราะในนิเทศว่า เวทนาปจฺจยา

ตณฺหา ทรงประสงค์เอาสุขเวทนาที่เป็น

วิบากอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนั้น เวทนานี้จึง

เป็นปัจจัยต่างเดียวเท่านั้นแก่ตัณหา.

คำว่า เป็นปัจจัยอย่างเดียว คือเป็นปัจจัยด้วยอุปนิสสยปัจจัย.

ว่าด้วยเวทนา ๓ เป็นปัจจัย

อีกอย่างหนึ่ง เพราะว่า

คนมีทุกข์ ย่อมปรารถนาสุข คนมี

สุข ก็ย่อมปรารถนาสุขแม้ยิ่งขึ้นไป ส่วน

อุเบกขาตรัสว่า สุขนั่นแหละ เพราะเป็น

ธรรมสงบ.

ฉะนั้น เวทนาแม้ทั้ง ๓ จึงเป็นปัจจัย

แก่ตัณหา พระมหาฤาษี จึงตรัสว่า ตัณหา

เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย.

อนึ่ง เพราะเว้นอนุสัยเสีย แล้ว

ตัณหาย่อมไม่เกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ฉะนั้น ตัณหานั้นจึงไม่มีแก่พราหมณ์ผู้จบ

พรหมจรรย์แล.

นิเทศตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 539

ว่าด้วยนิเทศอุปาทาน (บาลีข้อ ๒๖๔)

พึงทราบวินิจฉัยนิเทศอุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัยต่อไป.

บัณฑิตพึงชี้แจงอุปาทาน ๔ เหล่านั้น

โดยการจำแนกโดยอรรถ โดยย่อและพิสดาร

แห่งธรรม และโดยลำดับ.

จริงอยู่ ในพระบาลี ทรงยกอุปาทาน ๔ เหล่านั้นขึ้น ด้วยพระดำรัส

ที่ตรัสว่า คำว่า อุปาทาน ได้แก่ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน

อัตตวาทุปาทาน.

ว่าด้วยการจำแนกโดยอรรถ

การจำแนกโดยอรรถแห่งอุปาทาน ๔ เหล่านั้น ดังนี้

ธรรมที่ชื่อว่า กามุปทาน เพราะอรรถว่า ยึดมั่นกามกล่าวคือ

วัตถุกาม. อนึ่ง กามนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

กามุปาทาน.

คำว่า อุปาทาน ได้แก่การยึดมั่น เพราะอุปศัพท์ในคำว่า อุปาทาน

นี้ มีอรรถว่ามั่น เหมือนในศัพท์มีคำว่า อุปายาส (ความดับแค้นใจ)

อุปกัฏฐะ (เวลาใกล้เข้ามาแล้ว ) เป็นต้น. อนึ่ง ทิฏฐินั้น ด้วยเป็นอุปาทาน

ด้วย จึงชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน เพราะ

อรรถว่า ยึดมั่นทิฏฐิ เพราะทิฏฐิหลังย่อมยึดมั่นทิฏฐิแรก เหมือนในประโยค

มีอาทิว่า "อัตตาและโลกเที่ยง" เป็นต้น. อนึ่ง ที่ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน

เพราะอรรถว่า ยึดมั่นศีลและพรต. ศีลและพรตนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย

ดังนี้ก็ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน เพราะโคศีล (ปรกติของโค) โควัตร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 540

(การปฏิบัติของโค) เป็นต้น เป็นตัวอุปาทานเองทีเดียว เพราะยึดมั่นว่า

"ความบริสุทธิ์มีด้วยอาการอย่างนี้" ดังนี้. อนึ่ง ที่ชื่อว่า วาทะ เพราะเป็น

เหตุกล่าวของคนทั้งหลาย ที่ชื่อว่า อุปาทาน เพราะเหตุยืดมั่นของคนทั้งหลาย

ถามว่า ย่อมกล่าวอะไร หรือยึดมั่นอะไร ? ตอบว่า กล่าวอัตตา ยึดมั่นอัตตา

คือ การยึดมั่นวาทะของตน ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน. อีกอย่างหนึ่ง อัตตา

ก็เป็นเพียงกล่าวถึงคนเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน เพราะ

อรรถว่า เป็นเหตุยึดมั่นของคนทั้งหลาย นี้เป็นการจำแนกโดยอรรถแห่งอุปา-

ทาน ๔ เหล่านั้น ก่อน.

ว่าด้วยความย่อและพิสดารแห่งธรรม

ก็พึงทราบวินิจฉัยในความย่อและพิสดารแห่งธรรม ต่อไป

กามุปาทานก่อน ว่าโดยย่อ ตรัสว่า ความยึดมั่นด้วยตัณหา เพราะบาลี

มาแล้วว่า บรรดาอุปาทาน ๔ นั้น กามุปาทานเป็นไฉน ความพอใจ

คือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความ

ใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือ

ความใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ ใน

กามทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กามุปาทาน* ดังนี้ ตัณหาหลังเกิดขึ้น

มั่นคงด้วยอุปนิสสยปัจจัย เพราะตัณหาแรกนั่นเอง ชื่อว่า ความยึดมั่นด้วย

ตัณหา.

มิติของอาจารย์บางพวก

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า "ความปรารถนาอารมณ์ที่ยังไม่มาถึง

ชื่อว่า ตัณหา เหมือนโจรเหยียดมือไปเพื่อขโมยของในที่มืด การรับอารมณ์

*อภิ. ส. เล่ม ๓๔. ๗๘๑/๓๐๖

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 541

ที่มาถึงแล้ว ชื่อว่า อุปาทาน เหมือนโจรนั้นแหละจับภัณฑะไว้ ก็ธรรม (คือ

ตัณหาอุปาทาน) เหล่านั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อความมักน้อยและความสันโดษ อนึ่ง

ธรรมเหล่านี้ ยังเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์เพราะต้องแสวงหา และรักษา" ดังนี้ ก็อุปา-

ทาน ๓ ที่เหลือโดยย่อก็เป็นเพียงทิฏฐิเท่านั้น.

แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร ความยืดมั่นด้วยตัณหาทั้ง ๑๐๘ ประเภท

ตามที่กล่าวไว้ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น ในก่อน ชื่อว่า กามุปาทาน.

มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ชื่อว่า ทิฏฐฺปาทาน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

บรรดาอุปาทาน ๔ เหล่านี้ ทิฏฐุปาทานเป็นไฉน ? ความเห็นว่า

ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ที่ทำ

ให้แจ้ง ซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้

คนอื่นรู้ได้ ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส เห็น

ปานนี้อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน* ดังนี้.

อนึ่ง การยึดมั่นว่าความบริสุทธิ์มีด้วยศีลและพร ชื่อว่า สีลัพพตุ-

ปาทาน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า บรรดาอุปาทาน ๔ เหล่านั้น สีลัพพตุ-

ปาทาน เป็นไฉน ? ความเห็นผิด ฯลฯ การถือโดยวิปลาส โดย

ลักษณะนี้ว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและด้วยพรต

เห็นปานนี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตุปาทาน ดังนี้.

สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน เหมือนอย่างที่

ตรัสว่า บรรดาอุปาทาน ๔ เหล่านั้น อัตตวาทุปาทาน เป็นไฉน ?

ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาด

* อภิ. ส. เล่ม ๓๔. ๗๘๒/๓๐๖

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 542

ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็น

รูปโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ การถือโดยวิปลาส นี้เรียกว่า อัตตวา

ทุปาทาน ดังนี้. นี้เป็นความย่อและความพิสดารแห่งธรรมในอธิการนี้.

ว่าโดยลำดับ

ก็ในข้อว่า โดยลำดับ นี้ ลำดับมี ๓ อย่าง คือ

อุปฺปตฺติกฺกโม ลำดับแห่งการเกิด

ปหานกฺกโม ลำดับแห่งการละ และ

เทสนากฺกโม ลำดับแห่งเทศนา.

บรรดาลำดับทั้ง ๓ นั้น ลำดับแห่งการเกิดขึ้นของกิเลสทั้งหลาย

ไม่ตรัสไว้โดยนิปปริยาย (โดยตรง) เพราะไม่มีคำว่า อุปาทานนี้เกิดขึ้นก่อนใน

สังสารมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว แต่ก็ตรัสไว้โดยปริยาย (โดย

อ้อม) ว่าเป็นความยึดมั่นในสัสสตะและอุจเฉทะซึ่งมีความยึดถืออัตตาเป็นใหญ่

ในภพหนึ่งโดยมาก ต่อจากนั้น เมื่อยึดถือว่า "อัตตานี้เที่ยง" ดังนี้ จึงเกิด

สีลัพพตุปาทาน เพื่อความปฏิบัติอันบริสุทธิ์แห่งอัตตา เมื่อยึดถือว่า "อัตตา

ย่อมขาดสูญ" ดังนี้ ก็จะเกิดกามุปาทานแก่บุคคลผู้ไม่มีความอาลัยในโลกอื่น

เพราะฉะนั้น อัตตาทุปาทานจึงเกิดขึ้นก่อน ต่อจากนั้นก็เกิดทิฏฐุปาทาน

สีลัพพตุปาทานและกามุปาทาน ดังนี้ เป็นลำดับแห่งความเกิดขึ้นของอุปาทาน

เหล่านั้นในภพหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้.

ก็ในข้อว่า ลำดับแห่งการละนี้ ทิฏฐุปาทานเป็นต้นอันบุคคลย่อม

ละก่อน เพราะเป็นกิเลสอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ ภายหลังจึงละกามุ-

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 543

ปาทาน เพื่อเป็นกิเลสอันอรหัตมรรคพึงประหาณ นี้ลำดับการละอุปาทาน

เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

ก็บรรดาอุปาทาน ๔ เหล่านี้ ทรงแสดงกามุปาทานก่อน เพราะเป็น

กิเลสมีอารมณ์มาก และเพราะกิเลสปรากฏแล้ว จริงอยู่ กามุปาทานนั้น ชื่อว่า

มีอารมณ์มาก เพราะประกอบด้วย (โลภมูล) จิต ๘ ดวง อุปาทานนอกจากนี้

มีอารมณ์น้อย เพราะประกอบด้วย (โลภมูลที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ) จิต ๔ ดวง.

อนึ่ง กามุปาทานปรากฏแก่หมู่สัตว์ เพราะความอาลัยและยินดีโดยมาก อุปาทาน

นอกนี้ไม่เป็นเช่นนั้น อีกอย่างหนึ่ง กามุปาทานเป็นของมีมากแก่บุคคลผู้ถือ

มงคลตื่นข่าวเป็นต้น เพื่อบรรลุวัตถุกามทั้งหลาย สัสสตทิฏฐิหาเป็นเช่นนั้นไม่

เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงทิฏฐุปาทานในลำดับต่อจากกามุปาทานนั้น ทิฏฐุ-

ปาทานนั้น เมื่อจำแนกก็เป็น ๒ อย่าง ด้วยสามารถแห่งสีลัพพตุปาทาน และ

อัตตวาทุปาทาน. ในอุปาทาน ๒ นั้นทรงแสดงสีลัพพตุปาทานมีอารมณ์อันหยาบ

ก่อน เพราะบุคคลแม้เห็นกิริยาของโค หรือกิริยาของสุนัขแล้วก็รู้ได้ แล้ว

ทรงแสดงอัตตวาทุปาทานในที่สุด เพราะเป็นธรรมมีอารมณ์ละเอียด. นี้ลำดับ

แห่งเทศนาของอุปาทานทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

ตัณหาเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน

ก็บรรดาอุปาทานเหล่านี้ ตัณหาเป็น

ปัจจัยอย่างเดียวแก่อุปาทานแรก ตัณหาแม้-

นั้น เป็นปัจจัย ๗ อย่างบ้าง ๘ อย่างบ้าง แก่

อุปาทาน ๓ ที่เหลือ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 544

ก็ในอุปาทาน ๔ ที่ทรงแสดงไว้ในนิเทศนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ กาม-

ตัณหาย่อมเป็นปัจจัยอย่างเดียว ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย แก่กามุปาทานแรก

เพราะเกิดในอารมณ์ทั้งหลายที่พอใจด้วยตัณหา แต่ตัณหานั้น ย่อมเป็นปัจจัย

๗ อย่าง ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตต-

ปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย และเหตุปัจจัย หรือเป็นปัจจัย ๘ อย่าง พร้อม

ด้วยอุปนิสสยปัจจัย แก่อุปาทาน ๓ ที่เหลือ อนึ่ง เมื่อใดตัณหานั้นเป็นปัจจัย

ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย เมื่อนั้นตัณหานั้น ย่อมเกิดพร้อมกันทีเดียว.

นิเทศอุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย จบ

ว่าด้วยนิเทศแห่งภพ (บาลีข้อ ๒๖๕)

ในนิเทศแห่งภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

พึงทราบวินิจฉัยโดยอรรถโดยธรรม

โดยทบทวนบทที่มีประโยชน์ โดยการแยก

ภพและรวมภพ และโดยอุปาทานใดเป็น

ปัจจัยแก่ภพใด.

ในพระบาลีนั้น พึงทราบวินิจฉัยว่า ที่ชื่อว่า ภพ เพราะอรรถว่ามี.

บทว่า ทุวิเธน (ภพ ๒) มีอธิบายว่า กำหนดโดยอาการ ๒ อย่าง อีกอย่างหนึ่ง

บทว่า ทุวิเธน เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในปฐมาวิภัตติ อธิบายว่า เท่ากับ ทุวิโธ

แปลว่า ๒ อย่าง. บทว่า อตฺถิ แปลว่า มีอยู่พร้อม.

ภพคือกรรม ชื่อว่า กรรมภพ. ภพคือความเกิดขึ้น ชื่อว่า

อุปปัตติภพ. ในกรรมภพและอุปปัตติภพนี้ ความเกิดขึ้น ชื่อว่า ภพ

เพราะอรรถว่า ย่อมมี ส่วนกรรม พึงทราบว่า ชื่อว่า ภพ โดยโวหารว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 545

เป็นผล เพราะกรรมเป็นเหตุของภพ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า สุโข พุทฺธาน

อุปฺปาโท ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นสุข เพราะเป็นเหตุ

นำมาซึ่งความสุข.

คำว่า ตตฺถ กตโม กมฺมภโว (ในภพ ๒ นั้น กรรมภพเป็นไฉน)

ความว่า บรรดาภพทั้ง ๒ นั้น กามภพที่ตรัสแล้วนั้นเป็นไฉน. ปุญญาภิสังขาร

เป็นต้น มีเนื้อความตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ

บทว่า สพฺพ (ทั้งปวง) ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ.

กรรมที่ชื่อว่า ภวคามี เพราะอรรถว่า ย่อมไป คือ ย่อมให้สัตว์

ถึงภพ ด้วยบทว่ากรรมเป็นเหตุให้ถึงภพนี้ ท่านปฏิเสธโลกุตระ เพราะกถานี้

เป็นวัฏฏกถา (กถาที่แสดงถึงวัฏฏะ) ก็โลกุตระนั้น ท่านกล่าวว่า เป็นธรรม

อาศัยวิวัฏฏะ.

ที่ชื่อว่า กรรม เพราะอรรถว่า เป็นสิ่งที่เขาทำ. บรรดากามเทพ

เป็นต้น ภพกล่าวคือกาม ชื่อว่า กามภพ. ในรูปภพและอรูปภพก็นัยนี้. ที่

ชื่อว่า สัญญาภพ เพราะอรรถว่า เป็นภพของเหล่าสัตว์ผู้มีสัญญา หรือ

สัญญามีอยู่ในภพนี้. ที่ชื่อว่า อสัญญาภพ โดยปริยายที่ต่างกัน. ที่ชื่อว่า

เนวสัญญานาสัญญาภพ ด้วยอรรถว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีก็ไม่ใช่ เพราะ

ไม่มีสัญญาหยาบ และเพราะมีสัญญาละเอียดในภพนี้. ภพที่เกลื่อนกล่นด้วย

รูปขันธ์อย่างเดียว ชื่อว่า เอกโวหารภพ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า โวการภพ

เพราะอรรถว่า ภพนี้มีขันธ์เดียว. ในจุโวการภพและปัญจโวการภพก็นัยนี้.

บทว่า อย วุจฺจติ อุปฺปตฺติภโว (นี้เรียกว่าอุปปัตติภพ) ได้แก่

ภพนี้ทั้ง ๙ อย่าง ตรัสเรียกชื่อว่า อุปปัตติภพแล. พึงทรามวินิจฉัยโดยอรรถ

ในอธิการนี้อย่างนี้ก่อน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 546

ส่วนข้อวินิจฉัยโดยธรรม ก็ในนิเทศนี้ ว่าโดยธรรม ปุญญาภิสังขาร

ได้แก่ เจตนา ๓ ดวง อปุญญาภิสังขาร ได้แก่ เจตนา ๑๒ ดวงอาเนญชา

ภิสังขาร ได้แก่ เจตนา ดวง.

ด้วยบทว่า สพฺพมฺปิ ภวคามิกมฺม (กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพ

ทั้งหมด) นี้ ทรงสงเคราะห์ธรรมเหล่านี้ แม้ทั้งหมดที่สัมปยุตด้วยเจตนา หรือ

ธรรมที่เป็นอาจยคามี กล่าวคือกรรมเข้าด้วย อธิบายว่า ทรงสงเคราะห์

อุปาทินนขันธ์ ๕ ที่เป็นกามภพ รูปภพก็เหมือนกัน ขันธ์ ๔ ที่เป็นอรูปภพ

ขันธ์ ๔ และ ๕ ที่เป็นสัญญาภพ อุปาทินนขันธ์หนึ่งที่เป็นอสัญญาภพ ขันธ์ ๔

ที่เป็นเนวสัญญานาสัญญาภพ ขันธ์ ๑ ขันธ์ ๔ ขันธ์ ๕ ที่เป็นเอกโวการภพ

เป็นต้น ด้วยอุปาทินนขันธ์ทั้งหลายแล. พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมในนิเทศนี้

ด้วยประการฉะนี้.

ข้อว่า โดยทบทวนบทที่มีประโยชน์ นี้ ความว่า ปุญญาภิสังขาร

เป็นต้นนั่นเองตรัสไว้ในนิเทศแห่งสังขาร คือ กรรมเหมือนในนิเทศแห่งภพ

นั่นแหละ แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ปุญญาภิสังขารเป็นต้นซึ่งเกิดก่อนตรัสไว้

เพราะความเป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิในอธิการนี้ ด้วยอดีตกรรม ปุญญาภิสังขาร

เป็นต้นเหล่านี้ ตรัสไว้เพราะความเป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิต่อไป ด้วยอำนาจ

กรรมในปัจจุบัน เพราะฉะนั้น การตรัสย้ำ จึงชื่อว่ามีประโยชน์ทีเดียว.

อีกอย่างหนึ่ง ในเบื้องต้น ตรัสเจตนาเท่านั้นว่าเป็นสังขาร โดยมี

อาทิอย่างนี้ว่า ในอภิสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน ?

กุศลเจตนา กามาวจร ดังนี้ แต่ในนิเทศแห่งภพเกิดเพราะอุปาทานเป็น

ปัจจัยนี้ ธรรมแม้สัมปยุตด้วยเจตนา ก็ตรัสว่า สังขาร เพราะพระบาลีว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 547

สพฺพมฺปิ ภวคามิกมฺม (กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งหมด) ดังนี้ อนึ่ง

ในตอนต้น ตรัสว่า กรรมเฉพาะที่มีวิญญาณเป็นปัจจัยเท่านั้นว่าเป็นสังขาร

ในบัดนี้ แม้กรรมที่มีวิญญาณเป็นปัจจัย อันให้เกิดขึ้นในอสัญญาภพ ก็ตรัสว่า

สังขาร ก็การพูดมากจะมีประโยชน์อะไร เพราะกรรมที่เป็นกุศลและอกุศล

คือ ปุญญาภิสังขารเป็นต้นนั่นเอง ตรัสไว้ ในข้อว่า อวชฺชาปจฺจยา สขารา

นี้ อนึ่ง ตรัสธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต เพราความที่แม้

อุปปัตติภพก็ทรงสงเคราะห์ในบทว่า อุปาทานปจฺจยา ภโว (ภพเกิดเพราะ

อุปาทานเป็นปัจจัย) นี้ ฉะนั้น การตรัสซ้ำนี้ จึงชื่อว่ามีประโยชน์โดยประการ

ทั้งปวงแล. พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยทบทวนบทที่มีประโยชน์ในอธิการนี้ ด้วย

ประการฉะนี้.

ข้อว่า โดยการแยกออกและรวมกันไว้ คือ โดยการแยกและ

การรวมแห่งภพเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย. จริงอยู่ กรรมที่สัตว์กระทำให้เกิด

ขึ้นในกามภพเพราะกามุปาทานเป็นปัจจัยนั้น ชื่อว่า กรรมภพ. ขันธ์ทั้งหลาย

ที่เกิดขึ้นแต่กรรมนั้น ชื่อว่า อุปปัตติภพ. ในรูปและอรูปภพก็นัยนี้เหมือน

กัน. ด้วยประการฉะนี้ กามภพมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมี ๒ อย่าง สัญญาภพ

และปัญจโวการภพรวมอยู่ภายในกามภพนั้นแหละ รูปภพมีกามุปาทานเป็น

ปัจจัยก็มี ๒ อย่าง สัญญาภพ อสัญญาภพ เอกโวการภพ ปัญจโวการภพ

รวมอยู่ภายในรูปภพนั้นแหละ อรูปภพมีกามุปาทานก็มี ๒ อย่าง สัญญาภพ

เนวสัญญานาสัญญาภพ จตุโวการภพรวมอยู่ภายในอรูปภพเหมือนกัน เพราะ

ฉะนั้น ภพที่มีกามุปาทานเป็นถึงปัจจัยจึงมี ๖ ภพ พร้อมกับภพทั้งหายที่ผนวก

เข้าด้วยกัน. ก็ภพ ๖ ที่มีกามุปาทานเป็นปัจจัยพร้อมทั้งภพทั้งหลายที่ผนวกเข้า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 548

ด้วยกัน ฉันใด แม้ภพทั้งหลายที่มีอุปาทาน (๓) ที่เหลือเป็นปัจจัยก็ฉันนั้น

ภพทั้งหลายจึงเป็น ๒๔ พร้อมกับภพที่ผนวกเข้าด้วยกัน โดยการแยกออกเพราะ

อุปาทาน (๔) เป็นปัจจัยอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนโดยการรวมกัน มีอธิบายว่า รวมกรรมภพและอุปปัตติภพ

พร้อมกับภพที่ผนวกเข้าด้วยกันเกิดเพราะกามุปาทานเป็นปัจจัยเป็นกามภพหนึ่ง

รูปภพและอรูปภพก็เห็นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงเป็น ๓ ภพ แม้ภพที่มีอุปาทาน ๓

ที่เหลือก็เหมือนกัน จึงเป็น ๑๒ พร้อมกับภพที่ผนวกเข้าด้วยกันโดยสงเคราะห์

(คือรวมกัน ) เพราะอุปาทาน (๔) เป็นปัจจัยอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

อีกนัยหนึ่ง ว่าโดยไม่ต่างกัน กรรมที่ให้สัตว์เข้าถึงกามภพเพราะ

อุปาทานเป็นปัจจัย ชื่อว่า กรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในกามภพนั้น

ชื่อว่า อุปปัตติภพ. ในรูปภพและอรูปภพก็เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้

จึงเป็น ๖ ภพ โดยการสงเคราะห์ (การรวมกัน ) อีกปริยายหนึ่งคือกามภพ ๒

รูปภพ ๒ อรูปภพ ๒ พร้อมกับภพที่ผนวกเข้าด้วยกันมี เพราะอุปาทานเป็น

ปัจจัย.

อีกอย่างหนึ่ง จัดเป็น ๓ ภพ ด้วยอำนาจกามภพเป็นต้น พร้อมกับภพที่

ผนวกเข้าด้วยกันโดยไม่แยกกรรมภพและอุปปัตติภพออกจากกัน และจัดเป็น ๒

ภพ ด้วยอำนาจกรรมภพและอุปปัตติภพ โดยไม่แยกกามภพเป็นต้น และจัด

เป็นภพ ๑ ด้วยอำนาจแห่งภพว่า ภพที่เกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย โดยไม่

อาศัยแยกกรรมและอุปปัตติ. พึงทราบวินิจฉัยในอธิการนี้ แม้โดยการแยกและ

รวมกันแห่งภพมีอุปาทานเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

ข้อว่า โดยอุปาทานใดเป็นปัจจัยแก่ภพใด อธิบายว่า ก็ในนิเทศนี้

พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยอุปาทานใดเป็นปัจจัยแก่ภพใดนั้น ก็ในนิเทศนี้ อุปาทาน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 549

เป็นปัจจัยแก่ภพใด อย่างไร ? คืออุปาทานอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นปัจจัย

แก่ภพใดภพหนึ่งได้ทั้งนั้น เพราะปุถุชนเปรียบเหมือนคนบ้า ปุถุชนนั้นมิได้

พิจารณาว่า "สิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร" ดังนี้ ปรารถนาภพอย่างใดอย่างหนึ่ง

ด้วยอำนาจอุปาทานอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะ

ฉะนั้น คำที่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า "รูปภพและอรูปภพย่อมไม่มีเพราะ

สีลัพพตุปาทาน" นั้น บัณฑิตไม่ควรถือเอา แต่คำว่า " ภพทั้งหมดย่อมเกิด

เพราะอุปาทานทั้งหมด ดังนี้ ควรถือเอา. อย่างไร ? คือคนบางคนในโลกนี้

คิดว่า ขึ้นชื่อว่ากามเหล่านี้เป็นของสำเร็จแล้วในตระกูลกษัตริย์มหาศาลเป็นต้น

ในมนุษยโลก และในเทวโลกกามาพจร ๖ ชั้น" ดังนี้ ด้วยสามารถที่ได้ฟังมา

หรือโดยทำนองที่เห็นมา ถูกลวงโดยให้เสพอสัทธรรมเป็นต้น เพื่อบรรลุกาม

เหล่านั้น จึงสำคัญอยู่ว่า "กามทั้งหลายย่อมสำเร็จด้วยกรรมนี้" ดังนี้ จึง

กระทำแม้กายทุจริตเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งอุปาทานคือกาม บุคคลนั้นจึงเกิด

ขึ้นในอุบายเพราะบริบูรณ์ด้วยทุจริต. ก็ เมื่อปรารถนากามทั้งหลายที่คนเห็น

แล้ว หรือเมื่อจะรักษากามที่ได้มาแล้ว ย่อมทำกายทุจริตเป็นต้น ด้วยอำนาจ

กามุปาทาน บุคคลนั้นย่อมเกิดในอบายเพราะความสมบูรณ์ด้วยทุจริต กรรม

ที่เป็นเหตุให้บุคคลนั้นเกิดในอบายนั้น ชื่อว่า กรรมภพ ขันธ์ที่เกิดขึ้นแต่

กรรมนั้นชื่อว่า อุปปัตติภพ ส่วนสัญญาภพและปัญจโวการภพก็รวมเข้าใน

กรรมภพและอุปปัตติภพนั้นนั่นแหละ.

ส่วนอีกคนหนึ่ง มีความรู้อันการฟังพระสัทธรรมเป็นต้นพอกพูนแล้ว

สำคัญอยู่ว่า "กามทั้งหลายย่อมสำเร็จด้วยกรรมนี้" ดังนี้ จึงทำกายสุจริต

เป็นต้น ด้วยอำนาจกามุปาทาน บุคคลนั้น ย่อมเกิดขึ้นในสวรรค์ทั้งหลาย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 550

หรือในมนุษย์ทั้งหลาย เพราะความบริบูรณ์ด้วยสุจริต. กรรมที่เป็นเหตุให้เขา

เกิดในสุคติมีเทวดาเป็นต้นนั้น ชื่อว่า กรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแต่กรรม

ชื่อว่า อุปปัตติภพ ก็สัญญาภพและปัญจโวการภพก็รวมอยู่ในกรรมภพและ

อุปปัตติภพนั้นเหมือนกัน กามุปาทานเป็นปัจจัยแก่กามภพพร้อมทั้งประเภท

พร้อมทั้งผนวกเข้าด้วยกัน ด้วยประการฉะนี้.

อีกคนหนึ่ง ฟังมาหรือคิดเอาเองว่า ในรูปภพและอรูปภพ กาม

ทั้งหลายสำเร็จดีกว่ากามภพนั้น จึงยังรูปและอรูปสมาบัติให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจ

กามุปาทานแล้วบังเกิดขึ้นในโลกแห่งรูปพรรณหรืออรูปพรหมด้วยกำลังแห่ง

สมาบัติ. ในการเกิดขึ้นในรูปพรหมหรืออรูปพรหมนั้น กรรมที่เป็นเหตุให้

บุคคลนั้นเกิด ชื่อว่า กรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแต่กรรม ชื่อว่า อุปปัตติภพ

ส่วนสัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ

และปัญจโวการภพก็รวมอยู่ภายในรูปภพหรืออรูปภพนั้น. กามุปาทาน เป็น

ปัจจัยแม้แก่รูปภพและอรูปภพ พร้อมทั้งประเภท พร้อมทั้งภพที่ผนวกเข้าด้วย

ก็มี ด้วยประการฉะนี้.

อีกบุคคลหนึ่ง อาศัยอุจเฉททิฏฐิว่า "ที่ชื่อว่า อัตตานี้ ขาดสูญแล้ว

ในภพอันเป็นสมบัติของกามาพจร หรือว่าบรรดารูปภพหรืออรูปภพ ภพใด

ภพหนึ่งย่อมขาดสูญโดยแท้" ดังนี้ จึงทำกรรมอันเข้าถึงภพนั้น. กรรมนั้น

ของบุคคลนั้น ชื่อว่า กรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายอันเกิดแต่กรรม ชื่อว่า

อุปปัตติภพ ส่วนภพมีสัญญาภพเป็นต้นก็รวมอยู่ภายในกรรมภพและอุปปัตติ

ภพนั้นนั่นแหละ ทิฏฐุปาทานเป็นปัจจัยแก่กามภพ รูปภพ และอรูปภพทั้ง ๓

พร้อมทั้งประเภท พร้อมทั้งภพที่ผนวกเข้าด้วยกัน ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 551

อีกบุคคลหนึ่ง กำหนดเอาว่า "ชื่อว่า อัตตานี้ ย่อมมีความสุข

ปราศจากความเร่าร้อนในภพอันเป็นสมบัติในกามาพจร หรือบรรดารูปภพและ

อรูปภพ ภพใดภพหนึ่ง" จึงทำกรรมอันเข้าถึงภพนั้น ด้วยอัตตวาทุปาทาน

กรรมนั้นของบุคคลนั้น ชื่อว่า กรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแต่กรรมภพ

นั้น ชื่อว่า อุปปัตติภพ ส่วนสัญญาภพเป็นต้น ก็รวมอยู่ในกรรมภพและ

และอุปปัตติภพนั้นนั่นแหละ อัตตวาทุปาทานเป็นปัจจัยแก่ภพ ๓ พร้อมทั้ง

ประเภท พร้อมทั้งภพที่ผนวกเขาด้วยกัน ด้วยประการฉะนี้.

อีกบุคคลหนึ่ง มีความเห็นว่า "ชื่อว่า ศีลและพรตนี้ ย่อมถึงความสุข

อันบริบูรณ์แก่บุคคลผู้บำเพ็ญ ในภพอันเป็นสมบัติของกามาพจร หรือบรรดา

รูปภพ หรืออรูปภพ ภพใดภพหนึ่ง" ดังนี้ จึงทำกรรมอันเข้าถึงภพนั้น

ด้วยอำนาจสีลัพพตุปาทาน. กรรมนั้นของบุคคลนั้น ชื่อว่า กรรมภพ ขันธ์

ทั้งหลายที่เกิดแต่กรรมภพนั้น ชื่อว่า อุปปัตติภพ ส่วนสัญญาภพเป็นต้น

ก็รวมอยู่ภายในกรรมภพและอุปปัตติภพนั้นแหละ. สีลัพพตุปาทาน ย่อมเป็น

ปัจจัยแก่ภพ ๓ พร้อมทั้งประเภท พร้อมทั้งภพที่ผนวกเข้าด้วยกัน ดังนี้แล.

พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยอุปาทานใด เป็นปัจจัยแก่ภพใด ในนิเทศนี้นั้น

ด้วยประการฉะนี้.

หากมีผู้สงสัย ถามว่า "ก็ในนิเทศนี้ อุปาทานอะไร เป็นปัจจัย

อย่างไรแก่ภพไหน" ดังนี้ไซร้.

ตอบว่า

ปัญหากรรมนั้น พึงทราบว่าอุปาทาน

เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่รูปภพ และอรูปภพ

อุปาทานนั้น เป็นปัจจัยแก่กามภพ แม้ด้วย

ปัจจัยมีสหชาตะเป็นต้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 552

จริงอยู่ ก็อุปาทานทั้ง ๔ นี้ เป็นปัจจัยแก่รูปภพ อรูปภพ และ

อุปปัตติภพที่เป็นกุศลกรรมในกรรมภพอันนับเนื่องด้วยกามภพ ด้วยอุปนิสสย-

ปัจจัยอย่างเดียว. อุปาทาน ๔ นั้นเป็นปัจจัยแก่อกุศลกรรมภพที่สัมปยุตด้วย

ตนในกามภพโดยสหชาตปัจจัยเป็นต้น คือ สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย

นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย และเหตุปัจจัย แต่เป็น

ปัจจัยแก่ภพที่เป็นวิปปยุตกัน ด้วยอุปนิสสยปัจจัยเดียวเท่านั้นแล.

นิเทศแห่งภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จบ

ว่าด้วยนิเทศแห่งชาติ (บาลีข้อ ๒๒๖)

พึงทราบวินิจฉัยปัจจยาการมีชาติเป็นต้น ในนิเทศแห่งชาติเกิดเพราะ

ภพเป็นปัจจัยเป็นต้น โดยนัยที่กล่าวไว้ในสัจจวิภังค์นั่นแหละ. แต่คำว่าภพ

ในที่นี้ ทรงประสงค์เอากรรมภพเท่านั้น เพราะกรรมภพนั้น เป็นปัจจัยแก่ชาติ

อุปปัตติภพหาเป็นปัจจัยแก่ชาติไม่ ก็แลกรรมภพนั้น เป็นปัจจัย ๒ อย่าง

เท่านั้น ด้วยอำนาจกรรมปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย.

หากมี ผู้ถามว่า ข้อนี้ จะพึงรู้ได้อย่างไรว่า ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ.

ตอบว่า รู้ได้ เพราะแสดงความต่างกันแห่งภาวะมีความเลวและ

ประณีตเป็นต้น ในเหตุแม้สักว่าเป็นปัจจัยภายนอก.

จริงอยู่ เมื่อปัจจัยภายนอกมีบิดามารดา น้ำสุกกะ ประจำเดือน

และอาหารเป็นต้น ของสัตว์ผู้แม้ฝาแฝดแม้ในอัตภาพที่เหมือนกันมีอยู่ ก็ยัง

ปรากฏต่างกันด้วยภาวะมีความเลวและประณีตเป็นต้น ก็ความต่างกันโดยเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 553

หีนะและประณีต มิใช่ไม่มีเหตุ เพราะสภาวะทั้งปวงไม่มีอยู่ในกาลทั้งปวง

แก่พวกสัตว์ทั้งหมด และทั้งมิใช่เหตุอันนอกจากกรรมภพ เพราะไม่มีเหตุอื่น

ในสันดานอันมีในภายในของเหล่าสัตว์ผู้เกิดแต่กรรมภพนั้น เพราะฉะนั้น

สัตว์นั้น จึงมีกรรมภพเป็นเหตุโดยแท้ แท้จริง กรรมก็เป็นเหตุที่แปลกกันใน

ความเลวและประณีตเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า กมฺม สตฺเต วิภชติ ยทิท หีนปณีตตาย กรรมย่อมจำแนก

สัตว์ทั้งหลาย ให้เลวและประณีต ดังนี้ เพราะฉะนั้น ข้อนี้พึงทราบได้ว่า

ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ.

อนึ่ง เมื่อชาติไม่มี ขึ้นชื่อว่า ชรามรณะก็หามีไม่ และธรรมมีความโศก

เป็นต้นก็หามีไม่ แต่เมื่อชาติมี ชรามรณะและธรรมมีความโศกเป็นต้น อัน

เกี่ยวเนื่องด้วยชรามรณะ ของคนพาลผู้ถูกทุกขธรรม คือ ชรามรณะถูกต้องแล้ว

หรือไม่เนื่องด้วยชรามรณะ. ของคนพาลผู้อันทุกขธรรมนั้น ๆ ถูกต้องแล้ว

เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ชาตินี้ เป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ และ

แก่ธรรมที่ความโศกเป็นต้นแล. ก็ชาตินั้นเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น โดย

เงื่อนแห่งอุปนิสสยปัจจัย ดังนี้แล.

นิเทศแห่งชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัยเป็นต้น จบ

อธิบายภวจักร ๑๒ (บาลีข้อ ๒๗๓)

พึงทราบอรรถแห่งบทมีอาทิว่า เอวเมตสฺส (ความเกิดขึ้น. . .นี้

ย่อมมีด้วยประการฉะนี้นั้น) โดยนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสวาร. บทว่า สงฺคติ

(ความไปร่วม) เป็นต้น* เป็นคำไวพจน์ของ บทว่า สมุทโย (ความเกิด

ขึ้น) ทั้งหมด.

* สงฺคติ สมาคโม สโมธาน ปาตุภาโว แปลว่า ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม

ควานปรากฏ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 554

ก็เพราะในปัจจยาการวิภังค์นี้ กรรมมีโสกะเป็นต้น ตรัสไว้สุดท้าย

ฉะนั้น อวิชชานั้นใด ที่ตรัสในเบื้องต้นแห่งภวจักรนี้ อย่างนี้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา

สขารา (สังขารทั้งหลายเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) ดังนี้ อวิชชานั้น สำเร็จ

แล้วแต่ธรรมมีโสกะเป็นต้น.

ภวจักรนี้มีเบื้องต้น มิได้ปรากฏ เว้นจากผู้สร้าง และผู้เสวย

ว่างเปล่าจากความว่างเปล่า ๑๒ อย่าง บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นไปร่วมกัน

ดังนี้.

หากมีผู้สงสัย ถามว่า ก็ในภวจักรนี้ อวิชชาสำเร็จแต่ธรรมมีโสกะ

เป็นต้น อย่างไร ? ภวจักรหรือเบื้องต้นมิได้ปรากฏอย่างไร ? เว้น จากผู้สร้าง

และผู้เสวยอย่างไร ? ว่างเปล่าจากความว่างเปล่า ๑๒ อย่าง อย่างไร ?

ก็คำตอบในที่นี้ คือ โสกะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสและปริเทวะเหล่า

ไปจากอวิชชา และขึ้นชื่อว่า ปริเทวะ (ความคร่ำครวญรำพัน) ย่อมมีแก่

คนหลง เพราะฉะนั้น เมื่อโสกะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสและปริเทวะเหล่า

นั้นสำเร็จแล้ว อวิชชาก็เป็นอันสำเร็จแล้วโดยแท้. อีกอย่างนี้ ก็คำที่ตรัสไว้ว่า

"เพราะอาสวะเกิด อวิชชาจึงเกิด" ดังนี้ และข้อว่า ธรรมมีโสกะเป็นต้นนี้

ย่อมมีเพราะอาสวะเกิด ข้อนี้เป็นอย่างไร ? คือ โสกะ ในเพราะขัดการพลัดพราก

จากกาม ย่อมมีเพราะอาสวะเกิดเท่านั้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ตสฺส เจ กามยมานสฺส ฉนฺทชาตสฺส ชนฺตุโน

เต กามา ปริหายนฺติ สลุลวิทฺโธว รุปฺปติ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 555

ถ้าเมื่อสัตว์นั้นปรารถนาอยู่ เกิด

ความอยากได้แล้ว กามเหล่านั้น ย่อมเสื่อม

ไปไซร้ สัตว์นั้น ย่อมซบเซา เหมือนถูกศร

แทง ฉะนั้น.

และเหมือนอย่างที่ตรัสว่า กามโต ชายติ โสโก (ความโศกย่อม

เกิดแต่กาม) ก็ความโศกเป็นต้นเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ย่อมเกิดแต่ทิฏฐาสาวะ

เหมือนอย่างที่ตรัสว่า เมื่อเขายึดถืออยู่ว่า เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา

ดังนี้ ย่อมเกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส เพราะ

ความที่รูปนั้นแปรเปลี่ยนไป. อนึ่ง ธรรมมีโสกะเป็นต้นย่อมเกิด แม้

เพราะภวาสวะเกิด เหมือนทิฏฐาสวะเกิด เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย แม้พวกเทวดาที่มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดำรง

อยู่กาลนานในวิมานสูง แม้เทวดาเหล่านั้น ได้สดับพระธรรมเทศนา

ของตถาคตแล้ว โดยมากพากันถึงความกลัว ความสะดุ้ง ความสลด

ใจ ดังนี้ เหมือนพวกเทวดาเป็นบุพนิมิต ๕ พากันสะดุ้งเพราะกลัวแต่ความ

ตาย ฉะนั้น.

อนึ่ง ธรรมมีโสกเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นแม้เพราะความเกิดขึ้นแห่ง

อวิชชา เหมือนภวาสวะเกิดขึ้นฉะนั้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย คนพาลนั้นแล ย่อมเสวยทุกข์โทมนัส (เพราะคิดชั่ว พูดชั่ว

ทำชั่ว) ๓ อย่าง ในทิฏฐธรรมนี้ ดังนี้ เพราะธรรม (มีโสกะเป็นต้น )

เหล่านี้ ย่อมมีเพราะอาสวะเกิด ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้นเมื่อสำเร็จจึงยังอาสวะ

๑. ขุ. สุตฺต. เล่ม ๒๕. ๔๐๘/๔๘๔ ๒. ส. ขนฺธวาร. เล่ม ๑๗. ๔/๔

๓. ส ขนฺธวาร. เล่ม ๑๗. ๑๕๖/๑๐๔ ๔. ม. อุ. เล่ม ๑๔. ๔๖๘/๓๑๑

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 556

ทั้งหลายอันเป็นเหตุแห่งอวิชชาให้สำเร็จ และเมื่ออาสวะทั้งหลายสำเร็จแล้ว

แม้อวิชชาก็เป็นอันสำเร็จทีเดียว เพราะเมื่อมีปัจจัยจึงมีได้แล. ในที่นี้พึงทราบ

ว่า อวิชชาสำเร็จแล้วด้วยธรรมมีโสกะเป็นต้นอย่างนี้ก่อน.

ก็เพราะเมื่ออวิชชาสำเร็จแล้ว เพราะเมื่อปัจจัยมีจึงมีอย่างนี้ ความ

สืบต่อกันไปแห่งเหตุและผลอย่างนี้ว่า "สังขารทั้งหลายเกิดเพราะอวิชชาเป็น

ปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นต้นมิได้มีสิ้นสุด ฉะนั้น

ภวจักรมีองค์ ๑๒ ที่เป็นไป ด้วยอำนาจความเกี่ยวเนื่องกันแห่งเหตุและผลนั้น

จึงสำเร็จว่ามีเบื้องต้นมิได้ปรากฏ.

หากมีผู้สงสัยถามว่า เมื่อมีเบื้องต้นมิได้ปรากฏเช่นนี้ การกล่าวคำว่า

อวิชชาเป็นธรรมข้อต้นว่า "เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย"

ดังนี้ ก็ผิดไป มิใช่หรือ ?

ตอบว่า ข้อนี้ มิใช่การกล่าวอวิชชาเป็นเพียงธรรมเบื้องต้น แต่ข้อนี้

เป็นการกล่าวธรรมที่เป็นประธาน.

จริงอยู่ อวิชชาเป็นประธานแห่งวัฏฏะ ๓* เพราะว่า ด้วยการยึดถือ

อวิชชา กิเลสวัฏฏะที่เหลือ และกรรมวัฏฏะเป็นต้น ย่อมผูกพันคนพาลไว้

เหมือนการจับศีรษะงู สรีระงูที่เหลือก็จะพันแขนอยู่ แต่เมื่อตัดอวิชชาขาด

แล้วย่อมหลุดพ้นจาววัฏฏะเหล่านั้น เหมือนบุคคลตัดศีรษะงูแล้วก็จะพ้นจาก

การถูกพันแขน ฉะนั้น เหมือนอย่างที่ตรัสว่า "เพราะสำรอกอวิชชา โดยไม่

เหลือ สังขารจึงดับ" ดังนี้เป็นต้น. เมื่อบุคคลยึดธรรมใด ความผูกพันย่อมมีและ

เมื่อปล่อยธรรมใด ความหลุดพ้นย่อมมี การกล่าวนี้เป็นการกล่าวธรรมที่เป็น

* คือ กิเลสวัฏ กรรมวัฏ และริปากวัฏ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 557

ประธาน (คืออวิชชา) นั้น มิใช่การกล่าวธรรมสักว่าเป็นเบื้องต้น พึงทราบ

ภวจักรนี้ว่า "มีเบื้องต้นมิได้ปรากฏ ด้วยประการฉะนี้.

ภวจักรนี้นั้น เพราะเหตุทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้นเป็นปัจจัยแก่ธรรม

มีสังขารเป็นต้น ฉะนั้น จึงเว้นจากผู้สร้างสังสารนอกจากอวิชชาเป็นต้นนั้น

เช่นพรหมเป็นต้นที่เขาคาดคะเนเอาอย่างนี้ว่า "พรหม มหาพรหมเป็นผู้

ประเสริฐสุด เป็นผู้จัดสรร ดังนี้ หรือว่า เว้นจากอัตตาผู้เสวยสุข และ

ทุกข์ ที่เขาสมมติกันอย่างนี้ว่า " ก็อัตตาของเรานี้แลเป็นผู้กล่าวเป็นผู้เสวย"

บัณฑิตพึงทราบว่า "เว้นจากผู้สร้างและผู้เสวย" ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง เพราะในภวจักรนี้ อวิชชาชื่อว่า ว่างจากความยั่งยืนเพราะ

เป็นธรรมเกิดขึ้นและมีเสื่อมไปเป็นธรรมดา ชื่อว่า ว่างจากความงามเพราะ

เป็นธรรมเศร้าหมองและเพราะประกอบด้วยสังกิเลส ชื่อว่า ว่างจากความสุข

เพราะถูกความเกิดและความเสื่อมบีบคั้น ชื่อว่า ว่างจากอัตภาพผู้ครองอำนาจ

เพราะมีความเป็นไปเนื่องด้วยปัจจัย. องค์ทั้งหลายแม้มีสังขารเป็นต้นก็เหมือน-

กัน.

อีกหัยหนึ่ง เพราะอวิชชา ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่ของอัตตา ไม่ใช่มี

ในอัตตา ไม่ใช่มีอัตตา องค์ทั้งหลายแม้มีสังขารเป็นต้นก็เหมือนกัน ฉะนั้น

พึงทราบว่า ภวจักรนี้ว่างเปล่าโดยครามว่าง ๑๒ อย่าง ด้วยประการฉะนี้

ก็ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว พึงทราบอีกว่า

ภวจักรนั้น มีอวิชชา และตัณหา

เป็นมูล มีกาล ๓ มีอดีตกาลเป็นต้น ในกาล

เหล่านั้น โดยสังเขปได้องค์ ๒ (อวิชชาและ

สังขาร) องค์ (มีวิญญาณเป็นต้น) และ

องค์ ๒ (ชาติและชรามรณะ) เท่านั้น.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 558

อธิบายว่า ธรรม ๒ คือ อวิชชา และตัณหา พึงทราบว่าเป็นมูล

แห่งภวจักรนี้นั้นแล. ภวจักรนี้นั้นจึงมี ๒ อย่าง คือ อวิชชาเป็นมูลมีเวทนา

เป็นที่สุดเพราะนำมาแต่ส่วนเบื้องต้น ตัณหาเป็นมูลมีชรามรณะเป็นที่สุดเพราะ

สืบต่อในส่วนเบื้องปลาย บรรดาภวจักรทั้ง ๒ นั้น ภวจักรแรก ตรัสด้วยอำนาจ

แห่งบุคคลผู้มีทิฏฐิจริต ภวจักรหลัง ตรัสด้วยอำนาจบุคคลผู้มีตัณหาจริต.

เพราะว่า บุคคลทั้งหลายผู้มีทิฏฐิจริต อวิชชาเป็นตัวนำไปสู่สังสาร แต่บุคคล

ผู้มีตัณหาจริต ตัณหาเป็นตัวนำไปสู่สังสาร.

อีกนัยหนึ่ง ภวจักรแรกตรัสไว้เพื่อถอนอุจเฉททิฏฐิ เพราะทรงประกาศ

การไม่ตัดขาดแห่งเหตุทั้งหลายของความเกิดขึ้นแห่งผล ภวจักรที่ ๒ ตรัสเพื่อ

ถอนสัสสตทิฏฐิ เพราะทรงประกาศชรามรณะของพวกสัตว์ที่เกิดขึ้น.

อีกนัยหนึ่ง ภวจักรแรกตรัสด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ เพราะ

ทรงแสดงความเป็นไปโดยลำดับ (อายตนะที่เกิด) ภวจักรหลัง ตรัสด้วย

อำนาจแห่งสัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะ เพราะทรงแสดงความเกิดขึ้นพร้อมกัน (แห่ง

อายตนะ).

อธิบายกาล ๓

อนึ่ง กาลของภวจักรนั้น มี ๓ คืออดีต ปัจจุบัน และอนาคต

ในกาลเหล่านั้น ว่าด้วยอำนาจกาลที่มาในพระบาลีโดยสรุป พึงทราบว่ามีองค์

๒ คือ อวิชชาและสังขาร เป็นอดีตกาล. องค์ ๘ มีวิญญาณเป็นต้น มีภพ

เป็นที่สุด* เป็นปัจจุบันกาล. และองค์ ๒ คือ ชาติ และชรามรณะ. เป็นอนา-

คตกาล และพึงทราบอีกว่า

* อรรถกถาว่า ภวาสวานิ. แต่ฉบับ ม. ว่า ภวาวสานานิ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 559

อธิบายสนธิ ๓

ก็ภวจักรนี้มีสนธิ ๓ คือ เหตุผล-

สนธิ ๑ ผลเหตุสนธิ ๑ เหตุ ๓ เหตุปุพพกผลสนธิ ๑

และมีสังคหะ ๔ ประเภท คือ อาการ ๒๐

มีวัฏฏะ ๓ ย่อมหมุนไปไม่มีกำหนด ดังนี้.

บรรดาภวจักรเหล่านั้น ในระหว่างสังขารทั้งหลายและปฏิสนธิวิญญาณ

เป็นสนธิหนึ่ง ชื่อว่า เหตุผลสนธิ. ในระหว่างเวทนาและตัณหา เป็นสนธิหนึ่ง

ชื่อว่า ผลเหตุสนธิ. ในระหว่างภพและชาติ เป็นสนธิหนึ่ง ชื่อว่า เหตุปุพพก

ผลสนธิ. เพราะฉะนั้น ภวจักรนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า มีสนธิ ๓ คือ เหตุผล

สนธิ ๑ ผลเหตุสนธิ ๑ และเหตุปุพพกผลสนธิ ๑ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

อธิบายสังคหะ ๔

อนึ่ง ภวจักรนี้ มีสังคหะ ๔ ซึ่งกำหนดถือเอาภวจักรตั้งแต่เบื้องต้น

(คืออวิชชา) และที่สุด (คือชรามรณะ) แห่งสนธิทั้งหลาย. ข้อนี้เป็นอย่างไร ?

คือ อวิชชาและสังขาร เป็นสังคหะที่ ๑ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ

และเวทนา เป็นสังคหะที่ ๒ ตัณหา อุปาทาน และภพ เป็นสังคหะที่ ๓

ชาติชรามรณะ เป็นสังคหะที่ ๔ พึงทราบว่า ภวจักรนี้มีสังคหะ ๔ ประเภท

ด้วยประการฉะนี้.

๑ เหตุผลสนธิอันแรก ได้แก่ สังขารเป็นเหตุอดีตต่อกับวิญญาณซึ่งเป็นผลในปัจจุบัน ผลเหตุ

สนธิที่ ๒ ได้แก่ เวทนาซึ่งเป็นปัจจุบันผลต่อกับตัณหาในปัจจุบันเหตุ และเหตุผลสนธิสุดท้าย

ได้แก่ ภพเป็นปัจจุบันเหตุต่อกับชาติอันเป็นอนาคตผล.

๒ คำว่า สังคหะ ๔ ในอภิธัมมัตถสังคหะ ท่านเรียกว่า สังเขป ๔

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 560

อธิบายอาการ ๒๐

อนึ่ง พึงทราบว่า ภวจักรมีอาการ ๒๐ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านั้น คือ

ในอดีตมีเหตุ ๕ ในปัจจุบันมี ๕

ในปัจจุบันมีเหตุ ๕ ในอนาคตมีผล ๕.

บรรดาภวจักรเหล่านั้น คำว่า ในอดีตมีเหตุ ๕ ความว่า องค์ ๒

เหล่านี้คืออวิชชา และสังขาร ตรัสไว้ก่อนทีเดียว แต่เพราะบุคคลผู้โง่เขลา

ย่อมสะดุ้ง บุคคลผู้สะดุ้งย่อมยึดมั่น ภพจึงเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัยแก่

บุคคลนั้น ฉะนั้น จึงทรงถือเอาแม้ตัณหา อุปาทาน และภพด้วย เพราะเหตุ

นั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงกล่าวว่า โมหะคืออวิชชา กรรมที่ประกอบ

คือ สังขาร ความใคร่คือตัณหา การเข้าถึงคืออุปาทาน เจตนาคือภพ ธรรม

ทั้ง ๕ เหล่านี้ในกรรมภพก่อน เป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิในภพนี้. ในคำเหล่านั้น

คำว่า ในกรรมภพก่อน ได้แก่ กรรมภพที่เกิดก่อน คือ กรรมภพที่ทำ

ไว้ในอดีตชาติ. คำว่า โมหะคืออวิชชา อธิบายว่า โมหะ (ความหลง)

ในสัจจะมีทุกข์เป็นต้น ในกาลนั้น อันใด สัตว์นั้นหลงแล้วย่อมทำกรรมด้วย

โมหะใด นั้นเป็นอวิชชา. คำว่า กรรมที่ประกอบคือสังขาร ได้แก่

เจตนาแรกของบุคคลผู้ทำกรรมนั้น เหมือนการยังจิตให้เกิดขึ้นด้วยอันคิคว่า

เราจักถวายทาน แล้วจัดแจงอยู่ซึ่งอุปกรณ์แห่งการให้ทานหนึ่งเดือนบ้าง

หนึ่งปีบ้าง ก็เจตนาของบุคคลที่ยังทักษิณาให้ตั้งขึ้นในมือของปฏิคาหกทั้งหลาย

ท่านเรียกว่า ภพ. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาในชวนะ ๖ ซึ่งมีอาวัชชนะเดียวกัน

ชื่อว่าอายุหนสังขาร (กรรมที่ประกอบคือสังขาร) เจตนาดวงที่ ๗ ชื่อว่า ภพ

อนึ่ง เจตนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อ ภพ ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนานั้น ชื่อว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 561

อายุหนสังขาร. คำว่า ความใคร่ คือตัณหา ความว่า ความใคร่ คือ

ความปรารถนาในอุปปัตติภพซึ่งเป็นผลของบุคคลผู้ทำกรรมอยู่นั้น ชื่อว่า

ตัณหา. คำว่า ความเข้าถึงคืออุปาทาน ความว่า การเข้าถึง การยึด

การถือ ที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า "เราทำกรรมนี้ให้เป็นปัจจัยแก่ภพแล้ว จัก

เสพกามในฐานะชื่อโน้น จักขาดสูญ" ดังนี้ อันใด นี้ชื่อว่า อุปาทาน.

คำว่า เจตนาคือภพ ได้แก่ เจตนาที่เป็นไปในที่สุดแห่งกรรมที่ประกอบ

ชื่อว่า ภพ พึงทราบเนื้อความนี้ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า ในปัจจุบันมีผล ๕ ได้แก่ ภวจักรมีวิญญาณเป็นต้นมีเวทนา

เป็นที่สุดมาในพระบาลีนั้นแหละ เหมือนอย่างที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร

กล่าวว่า ในอุปปัตติภพนี้ ปฏิสนธิคือวิญญาณ ๑ ความก้าวลงคือนามรูป ๑

ประสาทคืออายตนะ ๑ ความถูกต้องคือผัสสะ ๑ ความเสวยอารมณ์คือเวทนา ๑

ธรรมทั้ง ๕ เหล่านี้ เป็นปัจจัยแก่กรรมที่ทำแล้วก่อนในอุปปัตติภพนี้ ด้วย

ประการฉะนี้. ในธรรม ๕ นั้น คำว่า ปฏิสนธิคือวิญญาณ ที่ท่านกล่าวว่า

ชื่อว่า ปฏิสนธิ เพราะความเกิดขึ้นด้วยอำนาจความสืบต่อในภพอื่น ดังนี้

อันใด นั้นชื่อว่า วิญญาณ. คำว่า การก้าวลงคือนามรูป ความว่า การ

หยั่งในครรภ์ของรูปธรรมและอรูปธรรมเป็นเหมือนมาแล้วเข้าไป อันใด

นี้เรียกว่า นามรูป. คำว่า ประสาทคืออายตนะ นี้ กล่าวไว้ด้วยอำนาจ

อายตนะ ๕ มีจักขวายตนะเป็นต้น. คำว่า การถูกต้องคือผัสสะ ได้แก่

การถูกต้องแล้ว หรือกำลังถูกต้องซึ่งอารมณ์ อันใด นี้เรียกว่า ผัสสะ.

คำว่า ความเสวยอารมณ์ คือเวทนา ได้แก่ การเสวยวิบากซึ่งเกิดขึ้น

พร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณ หรือผัสสะที่มีสฬายตนะเป็นปัจจัย อันใด นั้นเรียกว่า

เวทนา พึงทราบเนื้อความนี้ ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 562

คำว่า ในปัจจุบันมีเหตุ ๕ ได้แก่ เหตุทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น

มาแล้วในพระบาลีนั้นแหละ คือตัณหา อุปาทาน และภพ ก็เมื่อถือเอาภพแล้ว

ก็เป็นอันถือสังขารอันเป็นบุพภาคแห่งภพนั้น หรือธรรมอันสัมปยุตด้วยภพนั้น

เหมือนกัน และด้วยการถือเอาตัณหาและอุปาทาน ก็เป็นอันถือเอาอวิชชาอัน

สัมปยุตด้วยตัณหาและอุปาทานนั้น หรือว่าเป็นเหตุให้คนผู้หลงทำกรรมนั้น

เพราะฉะนั้น องค์แห่งภวจักรนั้น จึงเป็น ๕ ด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้น

พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงกล่าวว่า เพราะความที่อายตนะทั้งหลายในโลกนี้

แก่หง่อมแล้ว โมหะคืออวิชชา กรรมที่ประกอบคือสังขาร ความใคร่คือตัณหา

การเข้าถึงคืออุปาทาน เจตนาคือภพ ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ดังกล่าวนี้ให้

ภพนี้เป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิวิญญาณในอนาคต ดังนี้. ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า

เพราะความที่อายตนะทั้งหลายในโลกนี้แก่หง่อมแล้ว นั้น แสดง

บุคคลผู้หลงใหลในเวลาทำกรรมของสัตว์ผู้มีอายตนะหง่อมแล้ว. คำที่เหลือมี

เนื้อความต้นทั้งนั้น.

คำว่า ในอนาคตมีผล ๕ ได้แก่ ผล ๕ มีวิญญาณเป็นต้น. ผล ๕

มีวิญญาณเป็นต้นนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ด้วยศัพท์ว่าชาติ ส่วนชรามรณะก็เป็นชรา-

มรณะของผล ๕ มีวิญญาณเป็นต้นเหล่านั้นแหละ ด้วยเหตุนั้น พระธรรม

เสนาบดีสารีบุตรจึงกล่าวว่า ในอนาคต ปฏิสนธิคือวิญญาณ ความก้าวลงคือ

นามรูป ประสาทคืออายตะ การถูกต้องคือผัสสะ การเสวยอารมณ์คือเวทนา

ธรรมทั้ง ๕ เหล่านี้ ดังกล่าวนี้ในอุปปัตติภพในอนาคตเป็นปัจจัยแก่กรรมที่ทำ

ไว้แล้วในภพนี้ ดังนี้. ภวจักรนี้มีอาการ ๒๐ ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 563

บรรดาภวจักรมีอาการ ๒๐ เหล่านั้น ในภพก่อนมีองค์ประกอบ คือ

กรรม (ที่เป็นเหตุ) ๕ อย่าง ในปัจจุบันมีธรรมที่เป็นวิบาก ๕ อย่าง ใน

ปัจจุบันมีองค์ประกอบคือกรรม ๕ อย่าง ในอนาคตมีธรรมที่เป็นวิบาก ๕ อย่าง

เพราะฉะนั้น จึงรวมเป็นธรรมที่เป็นกรรม ๑๐ อย่าง เป็นวิบาก ๕ อย่าง

ด้วยอาการที่กล่าว กรรมในฐานะทั้งสองจึงชื่อว่า กรรม วิบากในฐานะทั้งสอง

ชื่อว่า วิบาก ภวจักรแม้ทั้งหมดนี้เป็นทั้งกรรมเป็นทั้งวิบากของกรรม หมุนไป

โดยปัจจยาการ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง กรรมในฐานะทั้ง ๒ ชื่อว่า กรรมสังเขป (ย่อกรรม) วิบาก

ในฐานะทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่า วิปากสังเขป (ย่อวิบาก) เพราะฉะนั้น ภวจักร

ทั้งหมดนี้ จึงเป็นทั้งกรรมวัฏ และวิปากวัฏ. อนึ่ง กรรมในฐานะทั้ง ๒

ชื่อว่า กรรมภพ วิบากในฐานะทั้ง ๒ ชื่อว่า วิปากภพ เพราะฉะนั้น

ภวจักรทั้งหมดนี้ จึงเป็นทั้งกรรมภพ และวิปากภพ. กรรมในฐานะทั้ง ๒

ชื่อว่า กรรมปวัตตะ วิบากในฐานะทั้ง ๒ ชื่อว่า วิปากปวัตตะ เพราะ

ฉะนั้น ภวจักรทั้งหมดนี้ จึงเป็นทั้งกรรมสันตติและวิปากสันตติ อนึ่ง กรรม

ในฐานะทั้ง ๒ ชื่อว่า กรรมสันตติ วิปากในฐานะทั้ง ๒ ชื่อว่า วิปากสันตติ

เพราะฉะนั้น ภวจักรทั้งหมดนี้ จึงเป็นทั้งกรรมสันตติและวิปากสันตติ อนึ่ง

กรรมในฐานะทั้ง ๒ ชื่อว่า กิริยา วิบากในฐานะทั้ง ๒ ชื่อว่า ผลของกิริยา

เพระฉะนั้น ภวจักรทั้งสิ้นนี้ จึงเป็นทั้งกิริยาและผลของกิริยา ด้วยประการ

ฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 564

ภวจักรนี้เกิดขึ้นพร้อมแล้วประกอบ

ด้วยเหตุ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มีความหวั่นไหว

เปลี่ยนแปลง ไม่ยั่งยืน ธรรมทั้งหลาย ย่อม

เกิดแต่ธรรมทั้งหลาย โดยความเป็นเหตุ

เพราะในธรรมเหล่านี้หาตัวตน และคนอื่น

มิได้.

ธรรมและอธรรม ย่อมยังธรรมและ

อธรรม ให้เกิดขึ้นเอง เพราะปัจจัยคือเหตุ

เป็นองค์ประกอบ ก็พระธรรมอันพระพุทธ-

เจ้า ทรงแสดงไว้ เพื่อความดับซึ่งเหตุ

ทั้งหลาย.

เมื่อเหตุทั้งหลายดับแล้ววัฏฏะก็ขาด

ไม่หมุนเวียน ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ใน

พระธรรมวินัยนี้ ย่อมมีเพื่อทำซึ่งที่สุดแท่ง

ทุกข์ ด้วยประการฉะนี้ อนึ่ง เมื่อค้นหา

ความเป็นสัตว์ไม่ได้ ความขาดสูญและความ

ยั่งยืน ก็ย่อมไม่มี.

ก็ในคำว่า วัฏฏะ ๓ ย่อมหมุนไปไม่มีกำหนด นี้ อธิบายว่า

ภวจักรนี้มีวัฏฏะ ๓ ด้วยวัฏฏะ ๓ เหล่านั้น คือ "สังขารและภพ เป็นกรรมวัฏ

อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นกิเลสวัฏ วิญญาณ นามรูป สฬาตนะ

ผัสสะ และเวทนา เป็นวิปากวัฏ" พึงทราบว่า ย่อมหมุนไปโดยการหมุนไป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 565

รอบบ่อย ๆ ชื่อว่า ไม่มีกำหนดเพราะมีปัจจัยไม่ขาดสายตลอดเวลาที่กิเลสวัฏ

ยังไม่ขาดทีเดียว. ภวจักรนี้ เมื่อหมุนอย่างนี้

พึงทราบ โดยความเป็นสัจจะ และ

เป็นแดนเกิดแห่งสัจจะ ๑ โดยกิจ ๑ โดยการ

ห้าม ๑ โดยการอุปมา โดยประเภทแห่งความ

ลึกซึ้ง ๑ โดยประเภทแห่งนัย ๑ ตามควร.

พึงทราบโดยความเป็นสัจจะและเป็นแดนเกิด

ในคาถานั้น เพราะคำที่ตรัสไว้ในสัจจวิภังค์ว่า " กุศลและอกุศลกรรม

เป็นสมุทยสัจจะ โดยไม่แปลกกัน " ดังนี้ ฉะนั้น คำว่า อวิชฺชาปจฺจยา

สงฺขารา ดังนี้ ได้แก่ สังขารทั้งหลายเกิดเพราะอวิชชา จัดเป็นสัจจะที่ ๒ มี

สัจจะที่ ๒ เป็นแดนเกิด. วิญญาณเกิดแต่สังขารทั้งหลาย จัดเป็นสัจจะที่ ๑

มีสัจจะ ๒ เป็นแดนเกิด. นามรูปเป็นต้นมีวิปากเวทนาเป็นที่สุด เกิดเพราะ

วิญญาณเป็นต้น จัดเป็นสัจจะที่ ๑ มีสัจจะที่ ๑ เป็นแดนเกิด ตัณหาเกิด

แต่เวทนา จัดเป็นสัจจะที่ ๒ มีสัจจะที่ ๑ เป็นแดนเกิด. อุปาทานเกิดแต่

ตัณหา จัดเป็นสัจจะที่ ๒ มีสัจจะที่ ๒ เป็นแดนเกิด. ภพเกิดแต่อุปาทาน

จัดเป็นสัจจะทั้ง ๒ คือที่ ๑ และที่ ๒ เกิดแต่สัจจะที่ ๒ เป็นแดนเกิด. ชาติเกิด

แต่ภพ จัดเป็นสัจจะที่ ๑ เกิดแต่สัจจะที่ ๒. ชรามรณะเกิดแต่ชาติ จัดเป็น

สัจจะที่ ๑ มีสัจจะที่ ๑ เป็นแดนเกิด. ภวจักรน้ พึงทราบโดยเป็นสัจจะ

และเป็นแดนเกิดตามควร ดังพรรณนามาฉะนี้ก่อน.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 566

พึงทราบภวจักรโดยกิจ

อนึ่ง เพราะในภวจักรนี้ อวิชชาย่อมยังเหล่าสัตว์ให้หลงใหลในวัตถุ

ทั้งหลาย และย่อมเป็นปัจจัย เพราะความปรากฏแห่งสังขารทั้งหลาย อนึ่ง

สังขารทั้งหลายย่อมปรุงแต่งสังขตธรรม และย่อมเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ. แม้

วิญญาณก็ย่อมรู้ชัดซึ่งวัตถุ และย่อมเป็นปัจจัยแก่นามรูป. แม้นามรูปก็อุปถัมภ์

ซึ่งกันและกัน และย่อมเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ. แม้สฬายตนะก็ย่อมเป็นไปใน

วิสัยของตน และย่อมเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ. แม้ผัสสะก็ถูกต้องซึ่งอารมณ์ และ

ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนา. แม้เวทนาก็เสวยซึ่งรสอารมณ์ และย่อมเป็นปัจจัย

แก่ตัณหา. แม้ตัณหาก็กำหนัดในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด และ

ย่อมเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน. แม้อุปาทานก็ยึดถือธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ยึดถือ และย่อมเป็นปัจจัยแก่ภพ. แม้ภพก็สับสนไปในคติต่าง ๆ และย่อมเป็น

ปัจจัยแก่ชาติ. แม้ชาติก็ยังขันธ์ทั้งหลายให้เกิด เพราะขันธ์เหล่านั้นเป็นไปด้วย

ภาวะคือความเกิดโดยเฉพาะ และย่อมเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ. แม้ชรามรณะก็

ตั้งอยู่เฉพาะซึ่งความแก่และความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย และย่อมเป็นปัจจัยแก่

ความปรากฏในภพอื่น เพราะความที่ขันธ์ทั้งหลายเป็นที่รองรับความโศกเป็นต้น

ฉะนั้น ภวจักรนี้ บัณฑิตพึงทราบแม้โดยกิจอันเป็นไป ๒ อย่าง ในบท

ทั้งปวงตามสมควร.

พึงทราบภวจักรโดยการห้าม

อนึ่ง เพราะในภวจักรนี้ ควว่า "สังขารทั้งหลายเกิดเพราะ

อวิชชาเป็นปัจจัย" ดังนี้ เป็นการห้ามความเห็นว่ามีผู้สร้าง. คำว่า วิญญาณ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 567

เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นี้เป็นการห้ามความเห็นว่าอัตตาเคลื่อนจากที่

(หนึ่งไปที่หนึ่ง) ได้. คำว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นี้

เป็นการห้ามความสำคัญว่าเป็นก้อย เพราะเห็นการแตกไปแห่งวัตถุที่กำหนด

กันว่ามีอัตตา. ในคำว่า สฬายตนะเกิดเพราะนานรูปเป็นปัจจัย ดังนี้

เป็นต้น เป็นการห้ามความเห็นมีอาทิอย่างนี้ว่า อัตตาย่อมเห็น ฯลฯ ย่อมรู้

ย่อมถูกต้อง ย่อมเสวย ย่อมยึด ย่อมถือมั่น ย่อมมี ย่อมเกิด ย่อมแก่

ย่อมตาย" ดังนี้ ฉะนั้น พึงทราบภวจักรแม้นี้โดยการห้ามความเห็นผิด

ตามควรเถิด.

พึงทราบภวจักรโดยการอุปมา

ก็เพราะในภวจักรนี้ อวิชชาเปรียบเหมือนคนบอด เพราะไม่เห็นธรรม

ทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งสภาวลักษณะและสามัญลักษณะ. สังขารทั้งหลาย

ที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนการลื่นถลาของของคนบอด. วิญญาณ

ที่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนการล้มของคนบอดผู้ลื่นถลา

นามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนความปรากฏแผลฝีของ

คนบอดที่ล้มแล้ว. สฬายตนะที่เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เปรียบเหมือน

ต่อมที่แตกของหัวฝี. ผัสสะที่เกิดเพราะสฬายเป็นปัจจัย เปรียบเหมือน

การกระทบกับหัวฝี . เวทนาที่เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนความ

ไม่สบาย (ทุกข์) เพราะการกระทบ. ตัณหาที่เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

เปรียบเหมือนผู้ต้องการบำบัดทุกข์. อุปาทานที่เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

เปรียบเหมือนการถือเอาเภสัชที่เป็นอสัปปายะมาโดยปรารถนาจะบำบัดโรค.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 568

ภพที่เกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนการพอกยาอสัปปายะที่ตน

เก็บมา. ชาติที่เกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เปรียบเหมือนการปรากฏเป็นฝีกลาย

ด้วยการพอกยาที่เป็นอสัปปายะ. ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เปรียบ-

เหมือนการแตกแห่งฝีเพราะฝีกลาย.

ก็หรือว่า เพราะในภวจักรนี้ อวิชชาย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย โดย

ภาวะที่ไม่ปฏิบัติ และภาวะที่ปฏิบัติผิด ดุจผ้าปิดดวงตา ก็คนพาลถูกอวิชชา

ครอบงำแล้ว ย่อมผูกคนไว้ด้วยสังขารทั้งหลาย อันให้เกิดในภพใหม่ ดุจตัวไหม

รัดตัวไว้โดยส่วนแห่งรังไหม. วิญญาณที่กำหนดไว้ด้วยสังขาร ย่อมได้ที่อาศัย

ในคติทั้งหลาย ดุจพระราชกุมารผู้อันปริณายกประคองแล้ว ย่อมได้เสวยราช-

สมบัติ. วิญญาณย่อมยังนามรูปมีประการอเนกให้บังเกิดในปฏิสนธิ เพราะ

กำหนดนิมิตแห่งการอุบัติ ดุจนายมายากรยังมายากลให้เกิด. สฬายตนะอาศัย

นามรูปแล้วย่อมถึงความเจริญงอกงาม ไพบูล ดุจกอไม้ป่าอาศัยในภูมิภาค

อันดี. ผัสสะย่อมเกิดเพราะการกระทบแห่งอายตนะ ดุจไฟเกิดเพราะการสีกัน

แห่งไม้สีไฟ. เวทนาย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้กระทบด้วยผัสสะ ดุจความร้อน

ของบุคคลผู้ถูกต้องไฟ. ตัณหาย่อมเจริญแก่บุคคลผู้เสวยอารมณ์อยู่ ดุจความ

กระหายของผู้ดื่มน้ำเค็มเพิ่มขึ้น บุคคลผู้กระหายแล้วย่อมทำความปรารถนาใน

ภพทั้งหลาย ดุจบุคคลกระหายในการดื่มน้ำ. การทำความอยากนั้นเป็นอุปาทาน

ของเรา ย่อมยึดถือภพด้วยอุปาทาน ดุจปลาติดเบ็ด ด้วยความโลภในเหยื่อ.

เมื่อภพมี ชาติก็ย่อมมี ดุจเมื่อเมล็ดพืชมี หน่อก็ต้องมี. บุคคลเกิดแล้ว ย่อม

เข้าถึงชรามรณะแน่นอน ดุจต้นไม้เกิดขึ้นแล้วก็ต้องล้มไป ฉะนั้น ภวจักรนี้

บัณฑิตพึงทราบด้วยการอุปมาทั้งหลายตามควร ด้วยประการฉะนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 569

พึงทราบภวจักรโดยประเภทแห่งความลึกซึ้ง

ก็อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความลึกซึ้ง

โดยอรรถบ้าง โดยธรรมบ้าง โดยเทศนาบ้าง โดยการแทงตลอดบ้างจึงตรัสว่า

"ดูก่อนอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งที่มีกระแสความลึกซึ้ง"

ดังนี้.* ฉะนั้น ภวจักรแม้นี้ บัณฑิตพึงทราบโดยประเภทแห่งความลึกซึ้ง

ตามควร.

ในความลึกซึ้งโดยอรรถเป็นต้นเหล่านั้น เพราะชรามรณะจะไม่มีมา

แต่ชาติ (ความเกิด) ก็หาไม่ และเว้นชาติเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดจากสิ่งอื่น

และย่อมปรากฏเพราะชาติแน่แท้ เพราะฉะนั้น อรรถว่าเกิดและปรากฏ เพราะ

ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ ชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะอรรถปรากฏขึ้นเพราะชาติ

เป็นปัจจัยอันสัตว์ตรัสรู้ได้ โดยยาก ด้วยประการฉะนี้. อรรถว่าเกิดและปรากฏ

เพราะภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ ฯลฯ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย

ก็ชื่อว่า ลึกซึ้ง ฉะนั้น ภวจักรนี้ ชื่อว่า ลึกซึ้งโดยอรรถ. นี้เป็นความ

ลึกซึ้งโดยอรรถในภวจักรนี้ก่อน.

ก็ผลอันเกิดแต่เหตุ ตรัสเรียกว่า อรรถ เหมือนอย่างที่ตรัสว่า "ญาณ

(ความรู้) ในผลของเหตุ ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา เป็นต้น .

อนึ่ง เพราะอวิชชามีกิริยาที่ตั้งลงอันใด โดยอาการใด จึงเป็นปัจจัย

แก่สังขารเหล่านั้น ๆ อรรถว่าเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลายของอวิชชา เพราะ

กิริยาและอาการนั้นอันสัตว์ตรัสรู้ได้ยาก จึงชื่อว่า ลึกซึ้ง อรรถว่าเป็นปัจจัย

แก่วิญญาณของสังขารทั้งหลาย ฯลฯ อรรถว่าเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะของชาติ

* ส.นิทาน. เล่มที่ ๑๖. ๒๒๕/๑๑๑

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 570

ก็ชื่อว่า ลึกซึ้ง เหมือนกัน ฉะนั้น ภวจักร จึงชื่อว่า ลึกซึ้งโดยธรรม.

นี้เป็นความลึกซึ้งโดยธรรมในภวจักรนี้.

ก็คำว่า ธรรม นี้เป็นชื่อของเหตุ เหมือนอย่างที่ตรัสว่า "ญาณ

(ความรู้) ในเหตุ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา" เป็นต้น อนึ่ง เพราะแม้เทศนา

ซึ่งภวจักรนั้นชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะพระองค์ทรงให้เป็นไปโดยเหตุนั้น ๆ

โดยประการนั้น ๆ ญาณอื่น ๆ นอกจากสัพพัญญุตญาณแล้วย่อมไม่ได้ความ

มั่นคงในเทศนานั้น เพราะภวจักรนี้ในพระสูตรบางแห่งทรงแสดงโดยอนุโลม

บางแห่งทรงแสดงโดยปฏิโลม บางแห่งทรงแสดงตั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม

บางแห่งก็ทรงแสดงโดยอนุโลมบ้าง โดยปฏิโลมบ้างตั้งแต่ท่ามกลางไป บางแห่ง

ก็ทรงแสดงเป็นสนธิ ๓ และสังเขป ๔ บางแห่งทรงแสดงสนธิ ๒ และสังเขป ๓

บางแห่งทรงแสดงสนธิ ๑ และสังเขป ๒ ฉะนั้น ภวจักรนี้ จึงชื่อว่า ลึกซึ้ง

โดยเทศนา. นี้เป็นความลึกซึ้งโดยเทศนา ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง เพราะในภวจักรนี้ สภาวะแห่งธรรมมีอวิชชาเป็นต้น อันใด

ธรรมมีอวิชชาเป็นต้นย่อมเป็นธรรมอันบุคคลแทงตลอดโดยลักษณะ. ของตน

ด้วยการแทงตลอดอันใด สภาวะนั้น ชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะหยั่งลงได้โดยยาก

ฉะนั้น ภวจักรนี้ จึงชื่อว่า ลึกซึ้งโดยการแทงตลอด เพราะในภวจักรนี้

อรรถแห่งอวิชชาเป็นอัญญาณ (ความไม่รู้) เป็นอทรรศนะ (ความไม่เห็น)

และการไม่แทงตลอดสัจจะซึ่งเป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งสังขารทั้งหลายว่าเป็น

สภาพปรุงแต่ง การประกอบกรรม เป็นไปกับราคะและปราศจากราคะ เป็น

อรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งวิญญาณว่าเป็นสุญญตะ (ว่างเปล่า) ไม่ขวนขวาย

ไม่เคลื่อนไป และปรากฏเป็นปฏิสนธิ เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งนามรูป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 571

ว่าเป็นสภาพเกิดพร้อมกัน แยกกันได้ แยกกันไม่ได้ น้อมไป และแปรผัน

เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งสฬายตนะว่าเป็นอธิบดี (เป็นใหญ่ยิ่ง) เป็นโลก

เป็นทวาร เป็นเขต และเป็นอารมณ์ เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งผัสสะว่าเป็น

การถูก การกระทบ การประจวบ และการประชุม เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถ

แห่งเวทหาว่าเป็นการเสวยรสอารมณ์ เป็นสุขเป็นทุกข์ ความวางเฉย และ

เสวยอารมณ์อันไม่มีชีวะ เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งตัณหาว่าเป็นความ

เพลิดเพลิน ความปรารถนาความเพลิดเพลินนั้น เป็นของให้เต็มได้ยาก ดัง

สายลำธาร แม่น้ำ ตัณหาคือทะเล เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งอุปาทาน

ว่าเป็นความยืด ความถือ ตัณหาคือทะเล เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งอุปาทาน

เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห้งภพว่าเป็นการซัดไปในกำเนิด คติ วิญญาณฐิติ

สัตตาวาสเพราะการปรุงแต่งแห่งการทำกรรม เป็นอรรถลึกซึ้ง. อรรถแห่งชาติ

ว่าเป็นความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด และความปรากฏ

เป็นอรรถลึกซึ้ง อรรถแห่งชรามรณะว่าเป็นความสิ้น ความเสื่อม ความแตก

และความแปรปรวน เป็นอรรถลึกซึ้ง. นี้เป็นความลึกซึ้งโดยการแทงตลอดใน

ภวจักรนี้ ด้วยประการฉะนี้.

พึงทราบภวจักรโดยประเภทแห่งนัย

อนึ่ง ในภวจักรนี้ มีอรรถนัย (นัยแห่งอรรถ) ๔ คือ

เอกัตตนัย นัยที่มีอรรถอย่างเดียวกัน

นานัตตนัย นัยที่มีอรรถต่างกัน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 572

อัพยาปารนัย นัยที่ไม่มีการขวนขวาย

เอวังธัมมตานัย นัยที่มีอย่างนี้เป็นธรรมดา.

เพราะฉะนั้น พึงทราบภวจักรนี้ แม้โดยความต่างนัยตามควร.

บรรดานัยที่ ๔ นั้น ความไม่ขาดแห่งสันดาน (ความสืบต่อ)

เหมือนความที่เมล็ดพืชเกิดเป็นต้นไม้ โดยความมีหน่อเป็นต้น อย่างนี้ คือ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขารทั้งหลาย เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิด

วิญญาณ ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า เอกัตตนัย.

เมื่อพระโยคาวจรเห็นภวจักรโดยชอบ ย่อมละอุจเฉททิฏฐิได้ เพราะ

หยั่งรู้ความไม่ขาดไปแห่งความสืบต่ออันเป็นไปอยู่ด้วยความเกี่ยวข้องกันทั้งเหตุ

และผล เมื่อเห็นผิด ย่อมยึดถือสัสสตทิฏฐิ โดยยึดเป็นอันเดียวกันแห่งความ

ไม่ขาดตอนแห่งความสืบต่อ ซึ่งกำลังเป็นไป ด้วยความพันกันซึ่งเหตุและผล.

ส่วนความกำหนดลักษณะภวจักรมีอวิชชาเป็นต้น ตามภาวะของตน

ชื่อว่า นานัตตนัย เมื่อพระโยคาวจรเห็นภวจักรโดยชอบ ย่อมละสัสสตทิฏฐิ

ได้ เพราะเห็นความเกิดขึ้นแห่งสภาวะใหม่ ๆ เมื่อเห็นผิดย่อมยึดถืออุเฉททิฏฐิ

เพราะยึดถือความต่างกัน แห่งความสืบต่อที่แตกไป ซึ่งตกไปในสันดานเดียวกัน

นั่นเอง.

ความที่อวิชชาไม่มีความขวนขวายว่า สังขารทั้งหลายอันเราพึงให้

เกิดขึ้น หรือความที่สังขารทั้งหลายไม่มีความขวนขวายว่า วิญญาณอันพวกเรา

พึงให้เกิดขึ้น ดังนี้ เป็นต้นด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่า อัพยาปารนัย. เมื่อ

พระโยคาวจรเห็นอยู่โดยชอบ ย่อมละอัตตทิฏฐิ เพราะหยั่งเห็นความไม่มีผู้สร้าง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 573

เมื่อเห็นผิดย่อมยึดถืออกิริยทิฏฐิ เพราะความไม่ยึดถือความที่เหตุอันสำเร็จโดย

กำหนดสภาวะแห่งอวิชชาเป็นต้น ในเพราะไม่มีความขวนขวายแม้นั้น.

อนึ่ง ความเกิดขึ้นแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้น ด้วยเหตุทั้งหลายมี

อวิชชาเป็นต้น ไม่ใช่ธรรมเหล่าอื่น เหมือนความที่นมส้มเป็นต้น เกิดแต่นมสด

เป็นต้น ดังนี้ นี้ชื่อว่า เอวังธัมมตานัย. เมื่อพระโยคีเห็นโดยชอบย่อมละ

อเหตุกทิฏฐิและอกิริยทิฏฐิได้ เพราะหยั่งรู้ผลโดยสมควรแก่ปัจจัย เมื่อเห็นผิด

ย่อมยึดถืออเหตุกทิฏฐิ และนิยตวาทะ (ความเห็นว่าเที่ยง) เพราะไม่ยึดถือ

ความเป็นไปแห่งผลอันควรแก่ปัจจัย ไม่ยึดถือความเกิดของสภาพอะไร ๆ

แต่ที่ไหน ๆ เลย เพราะฉะนั้น ภวจักรนี้ บัณฑิต

พึงทราบโดยความเป็นสัจจะและเป็น

แดนเกิดแห่งสัจจะ ๑ โดยกิจ ๑ โดยการห้าม

๑ โดยอุปมา ๑ โดยประเภทอันลึกซึ้ง ๑

โดยประเภทแห่งนัย ๑ ตามควรด้วยประการ

ฉะนี้.

จริงอยู่ ภวจักรนี้ ชื่อว่า หยั่งไม่ถึง เพราะลึกซึ้ง ชื่อว่า ก้าวล่วง

ได้ยาก เพราะต้องศึกษาเอาโดยนัยต่าง ๆ ใคร ๆ ยังไม่ทำลายภวจักร (ความ

หมุนไปแห่งภพ) อันย่ำยีอยู่เป็นนิตย์ดุจอสนิบาต ด้วยดาบคือญาณอันลับดีแล้ว

บนหินคือสมาธิอันประเสริฐแล้วจะผ่านพ้นภัยคือสังสารไม่ได้ ย่อมไม่มีแม้ในระ-

หว่างแห่งความฝัน ข้อนี้สมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน

อานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 574

เพราะไม่รู้ ไม่ตรัสรู้ ไม่แทงตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเป็นผู้ยุ่ง

เหมือนเส้นด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมกระจุกเส้นด้าย เป็นเหมือน

หญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ย่อมไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต

สังสาร ดังนี้* เพราะฉะนั้น บัณฑิตในโลกนี้ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล

เพื่อความสุข แก่ตนหรือแก่ชนเหล่าอื่น พึงละกิจที่เหลือแล้ว

พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ ประกอบความ

เพียรเนือง ๆ จะพึงได้ความหยั่งลงใน

ประเภทแห่งปัจจยาการอันลึกซึ้งนี้ได้แล.

วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

* ส. นิทาน. เล่มที่ ๑๖ ๒๒๕/๑๑๑

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 575

อภิธรรมมาติกา

ปัจจยจตุกกะ

[อวชชามูลกนัย]

[๒๗๔] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๗๕] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 576

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๗๖] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๗๗] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 577

สฬาตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย*

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

ปัจจยตุกกะ จบ

เหตุจตุกกะ

[อวิชชามูลกนัย]

[๒๗๘] สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ มีนามเป็นเหตุ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

ผัสสะมีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็น

ปัจจัย

เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

* ตามบาลีฉัฏฐสังคายนา.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 578

ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทามีตัณหาเป็นเหตุ เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย.

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

[๒๗๙] สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

ผัสสะมีนามเป็นเหตุ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๘๐] สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ มีนามรูปเป็นเหตุ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 579

ผัสสะมีอายตะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็น

ปัจจัย

เวทนามี่ผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๘๑] สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะมีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็น

ปัจจัย

เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

เหตุจตุกกะ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 580

สัมปยุตตจตุกกะ

[อวิชชามูลกนัย]

[๒๘๒] สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ อันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖

เป็นปัจจัย

เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานอันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๘๓] สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

ผัสสะอันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 581

อุปาทานอันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๘๔] สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปและนามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณ

เป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ อันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามรูปเป็น

ปัจจัย

ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖

เป็นปัจจัย

เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานอันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 582

[๒๘๕] สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปและนามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณ

เป็นปัจจัย

สฬายตนะอันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะอันสัมปยุตด้วยสฬายตนะ เกิดเพราะสฬายตนะเป็น

ปัจจัย

เวทนาอันสัมปยุตด้ยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานอันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

สัมปยุตตจตุกกะ จ

อัญญมัญญจตุกกะ

[อวิชชามูลกนัย]

[๒๘๖] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 583

สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

นามเกิดแม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดแม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดแม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๘๗] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 584

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

นามเกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดแม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

อุปทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดแม้เพราะอุปทานเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๘๘] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 585

นามรูปเกิดแม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดแม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดแม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๘๙] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย

สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดแม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 586

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดแม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดแม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อัญญมัญญจตุกกะ จบ

[นัย ๘ มีสังขารมูลกนัยเป็นต้น]

[๒๙๐] อวิชชาเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ

อวิชชาเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ฯลฯ

อวิชชาเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ฯลฯ

อวิชชาเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ฯลฯ

อวิชชาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ

อวิชชาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 587

อวิชชาเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ฯลฯ

อวิชชาเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ฯลฯ

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อภิธรรมมาติกา จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 588

ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

พระศาสดาผู้มีพระญาณอันไม่มีอะไรขัดขวางในธรรมทั้งปวง ครั้น

ทรงแสดงปัจจยาการอันปราศจากขอดปม และไม่ยุ่งยากในสุตตันตภาชนีย์ ด้วย

อำนาจจิตต่าง ๆ ปานดังทรงคลี่ผืนมหาปฐพี และปานดังทรงขยายนภากาศ

ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพราะปัจจยาการนี้จะมีในจิตต่าง ๆ กัน อย่างเดียว

เท่านั้นก็หาไม่ ย่อมมีแม้ในจิตดวงเดียวทีเดียว ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงปัจจยา-

การซึ่งเกิดในขณะจิตดวงเดียวกัน โดยประการต่าง ๆ ด้วยอำนาจอภิธรรม-

ภาชนีย์จึงทรงตั้งมาติกาไว้ก่อนโดยนัยมีอาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา สขาโร

(สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) ดังนี้. ก็มาติกาที่ทรงตั้งไว้ อย่างนี้ว่า

อวิชฺชาทีหิ มูเลหิ นว มูลปทา นว

นยา ตตฺถ จตุกฺกานิ วารเภทญฺจ ทีปเย

บัณฑิตพึงแสดงหมวด ๔ (แห่ง

ปัจจัย) และประเภทแห่งวาระในนัยทั้ง ๙

ซึ่งมีบทแห่งมูล ๙ ด้วยมูลทั้งหลายมีอวิชชา

เป็นต้น.

อธิบายนัยแห่งมาติกามีอวิชชาเป็นมูล

ในคาถานี้ มีการอธิบาย ดังต่อไปนี้:-

จริงอยู่ ในปฏิจจสมุปบาทนี้มี ๙ นัย มีบทที่เป็นมูล ๙ บท เหล่านี้

คือ มีอวิชชาเป็นต้น ๑ มีสังขารเป็นต้น ๑ มีวิญญาณเป็นต้น ๑ มีนาม

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 589

เป็นต้น ๑ มีอายตนะที่ ๖ เป็นต้น ๑ มีผัสสะเป็นต้น ๑ มีเวทนาเป็นต้น ๑

มีตัณหาเป็นต้น ๑ มีอุปาทานเป็นต้น ๑ ด้วยบทที่เป็นมูล ๙ บท มีอวิชชา

เป็นต้น คือ โดยประเภทแห่งอวิชชา สังขาร วิญญาณ นาม อายตนะที่ ๖

ผัสสะ เวทนา ตัณหา และอุปาทาน.

บรรดานัยทั้ง ๙ เหล่านั้น นัยนี้ใดมีอวิชชาเป็นต้นก่อน ในนัยที่มี

อวิชชาเป็นต้นนั้นมีจตุกะ ๔ คือ

ปัจจยจตุกะ หมวด ๔ กำหนดด้วยปัจจัยธรรม

เหตุจตุกะ หมวด ๔ กำหนดด้วยเหตุธรรม

สัมปยุตตจตุกะ หมวด ๔ กำหนดด้วยสัมปยุตธรรม

อัญญมัญญจตุกะ หมวด ๔ กำหนดด้วยอัญญมัญญธรรม.

แม้นัยที่เหลือก็เหมือนในนัยมีอวิชชานี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ในแต่ละนัย

จึงรวมเป็น ๓๖ จตุกะ ด้วยอำนาจแห่งจตุกะ ๔. บรรดาจตุกะเหล่านั้น เพราะ

รวมวาระอย่างละ ๔ ด้วยจตุกะแต่ละจตุกะ จึงเป็นวาระละ ๑๖ ในแต่ละนัย

ด้วยอำนาจแห่งจตุกะทั้ง ๔ ดังนั้น พึงทราบว่าเป็น ๑๔๔ วาระแล.

ว่าด้วยปัจจยจตุกะ

บรรดาจตุกะทั้ง ๔ นั้น ปัจจยจตุกะในนัยมีอวิชชาเป็นมูลก่อนกว่านัย

ทั้งหมดนี้ใด ในปัจจยจตุกะนั้น วาระที่หนึ่ง (บาลีข้อ ๒๗๔) ชื่อว่า ทวาท-

สังคิกวาร (วาระประกอบด้วยองค์ ๑๒) ประกอบด้วยองค์สองไม่บริบูรณ์

เพราะตรัสนามไว้ในที่แห่งนามรูป และตรัสอายตนะที่ ๖ ไว้ในที่แห่งสฬายตนะ.

วาระที่ ๒ (บาลีข้อ ๒๗๕) ชื่อว่า เอกาทสังคิกวาร (วาระประกอบด้วย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 590

องค์ ๑ ) ซึ่งประกอบด้วยองค์หนึ่งไม่บริบูรณ์ เพราะตรัสนามอย่างเดียวในที่

แห่งนามรูป และไม่ตรัสองค์อะไร ๆ ในที่แห่งสฬายตนะ. วาระที่ ๓ (บาลี

ข้อ ๒๗๖) ชื่อว่า ทวาทสังคิกวาร (วาระประกอบด้วยองค์ ๑๒) ประกอบ

ด้วยองค์หนึ่งบริบูรณ์ เพราะตรัสอายตนะที่ ๖ ไว้ในที่แห่งสฬายตนะ แต่วาระ

ที่ มีองค์ ๒ บริบูรณ์แล้วโดยแท้.

ในข้อนั้น หากมีข้อสงสัยว่า แม้วาระที่ ๓ นี้ก็ประกอบด้วยองค์ที่ไม่

บริบูรณ์เหมือนกัน เพราะตรัสว่า ฉฏฺายตนปจฺจยา ผสฺโส (ผัสสะเกิด

เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย) ดังนี้. ข้อนั้นขอเฉลยว่า มิใช่เป็นดังนั้น

เพราะอายตนะที่ ๖ นั้นมิใช่เป็นองค์ ความจริง ผัสสะอย่างเดียวเป็นองค์ในวาระ

ที่ ๓ นี้ มิใช่อายตนะที่ ๖ เป็นองค์ เพราะฉะนั้น วาระที่ ๓ นี้ มิใช่ประกอบ

ด้วยองค์หนึ่งไม่บริบูรณ์ เพราะอายตนะที่ ๖ นั้น มิใช่เป็นองค์ฉะนี้แล. อนึ่ง

ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า วาระที่หนึ่ง พระองค์ทรงถือเอา ด้วยอรรถว่าทรง

รวบรวมองค์ไว้ทั้งหมด วาระที่ ๒ ทรงถือเอาด้วยอรรถว่าเป็นความต่างกัน

แห่งปัจจัย วาระที่ ๓ ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ วาระที่ ๔

ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะ อนึ่ง วาระที่หนึ่งทรงถือเอาด้วย

อรรถว่าการรวบรวมองค์ไว้ทั้งหมด วาระที่ ๒ ทรงถือเอาด้วยอรรถว่าความ

ต่างกันแห่งปัจจัย วาระที่ ๓ ทรงถือเอาด้วยสามารถแห่งสัตว์มีอายตนะไม่

บริบูรณ์ วาระที่ ๔ ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งสัตว์มีอายตนะบริบูรณ์. อนึ่ง

วาระที่หนึ่งทรงถือเอาด้วยอรรถว่ารวบรวมองค์ทั้งหมดนั่นแหละ วาระที่ ๒

ทรงถือเอาด้วยอำนาจมหานิทานสูตร วาระที่ ๓ ทรงถือเอาด้วยอำนาจรูปภพ

วาระที่ ๔ ทรงถือเอาด้วยอำนาจกามภพ.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 591

บรรดาวาระทั้ง เหล่านั้น วาระที่หนึ่ง ตรัสว่า สัพพสังคาหิกะ

(รวบรวมองค์ไว้ทั้งหมด) เพราะในวาระทั้ง ๓ มีวาระที่ ๒ เป็นต้นเหล่านั้น

จะไม่รวมเข้าไปในที่ไหน ๆ มิได้มี ความต่างกันแห่งวาระที่เหลือจักแจ่มแจ้ง

ข้างหน้า. เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งวาระที่หนึ่งนั้น พึงทราบว่า

องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ในวาระใดที่

ตรัสโดยประการอื่นและแม้องค์ปฏิจจสมุป-

บาทใด ที่ไม่ตรัสไว้ในวาระใด องค์ปฏิจจ-

สมุปบาทใด เป็นปัจจัยแก่องค์ปฏิจจสมุป-

บาทใด โดยประการใด พึงเข้าไปกำหนด

องค์ทั้งหมดนั้นแล.

ในคาถานั้นมีนัย ดังต่อไปนี้:-

ว่าโดยความไม่ต่างกันก่อน ถามว่า บรรดาวาระทั้ง ๔ เหล่านี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสว่า สขารา (สังขารทั้งหลาย) ดังนี้ เหมือนในสุตตัน-

ตภาชนีย์ แต่ตรัสว่า สขาโร (สังขาร) ดังนี้นั้น เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะสังขารประกอบด้วยขณะแห่งจิตดวงเดียว จริงอยู่ใน

สุตตันตภาชนีย์นั้น ทรงจำแนกปัจจยาการอันเป็นไปในขณะแห่งจิตต่าง ๆ กัน

ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ ทรงปรารภปัจจยาการที่เป็นไปในขณะเดียวกัน ก็ในขณะ

แห่งจิตดวงเดียวกัน ย่อมไม่มีเจตนา (คือสังขาร) มาก จึงไม่ตรัสว่า สขารา

(สังขารทั้งหลาย) แต่ตรัสว่า สขาโร (สังขาร คือ เจตนา) ดังนี้.

อนึ่ง บรรดาวาระเหล่านี้ ในวาระที่หนึ่งทรงทิ้งรูปเสีย ตรัสว่า

วิญฺาณปจฺจยา นาม (นามเท่านั้นมีวิญญาณเป็นปัจจัย) ดังนี้ เพราะทรง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 592

รวบรวมธรรมที่นับเนื่องในขณะแห่งจิตดวงเดียว และเพราะเป็นธรรมสาธา-

รณะไปในที่ทุกสถาน จริงอยู่ นามธรรมนั้นนับเนื่องในขณะจิตดวงเดียวกัน

และเป็นธรรมสาธารณะไปในที่ทั้งหมด ย่อมไม่เป็นไปในฐานะแห่งความเป็นไป

ของวิญญาณ ในที่ไหน ๆ หามิได้ ก็เพราะวาระที่หนึ่งนี้ ผัสสะก็มีหนึ่งเท่านั้น

นับเนื่องเข้าในขณะแห่งจิตดวงเดียวกัน ฉะนั้น เมื่อทรงถือเอาอายตนะที่เป็น

ปัจจัยอันสมควรแก้ผัสสะนั้น จึงตรัส มนายตนะดวงเดียวเท่านั้น ว่า นามปจฺ-

จยา ฉฏฺายตน (อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย) ดังนี้ไว้ในฐานะ.

แห่งสฬายตนะ เพราะว่ามนายตนะนั้น เป็นปัจจัยอันสมควรแก่ผัสสะที่เป็น

อกุศลดวงหนึ่ง และมนายตนะนี้ ก็ตรัสไว้แม้ในข้อนี้ว่า สงฺขารปจฺจยา

วิญฺาณ (วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย) ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น

เพื่อทรงแสดงความต่างกันแห่งเหตุและผล และเพื่อครบองค์ จึงทรงถือเอาใน

ที่นี้อีก เพราะในสุตตันตภาชนีย์นั้น สังขารเป็นเหตุต่างกันแก่มนายตนะนี้

นามเป็นผลโดยไม่ต่างกัน แต่ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ นามเป็นเหตุโดยไม่ต่าง

กันแก่มนายตนะนี้ ผัสสะเป็นผลโดยต่างกันฉะนี้แล.

ส่วนธรรมทั้งหมดมี โสกะ เป็นต้น เพราะไม่เกิดในขณะแห่งจิต

ดวงเดียวกัน ไม่เป็นไปในฐานะ.แห่งจิตและในจิตทั้งหมด ฉะนั้นจึงไม่ทรง

ถือเอา แต่ชาติ ชรามรณะ แม้มีประมาณขณะแห่งจิตไม่ได้ ก็ทรงถือเอาเพื่อ

ครบองค์ (แห่งปัจจยาการ) เพราะผนวกเข้าภายในขณะจิต ในวาระที่หนึ่ง

องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ตรัสเคยประการอื่น และองค์ปฏิจจสมุปบาทใด ไม่

ตรัสไว้ พึงทราบองค์ปฏิจจสมุปบาทนั้น ด้วยประการฉะนี้ก่อน.

อนึ่ง ในวาระเหล่านี้ องค์ปฏิจจสมุปบาทใดที่ตรัสในวาระอื่นจากวาระ

ที่หนึ่งนี้ พึงทราบอรรถแห่งองค์ปฏิจจสมุปบาทนั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแหละ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 593

แต่ความต่างกันใด ๆ มาแล้วในวาระใด ๆ ข้าพเจ้าจักประกาศอรรถอันต่างกัน

นั้น ๆ ในวาระนั้น ๆ ทีเดียว.

ส่วนในข้อว่า องค์ปฏิจจสมุปบาทใดเป็นปัจจัยแก่องค์ปฏิจจ-

สมุปบาทใด โดยประการใด นี้ มีอธิบายว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร

๗ อย่าง คือ โดยปัจจัย ๖ ปัจจัย มีสหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ สัมปยุตตะ

อัตถิ และอวิคตปัจจัย อันทั่วไปแก่สัมปยุตตธรรม และด้วยเหตุปัจจัย.

บรรดาปัจจัยเหล่านั้นเพราะจตุกะ ๓ มีเหตุจตุกะเป็นต้นข้างหน้า ตรัสไว้ด้วย

อำนาจอวิคตะ สัมปยุตตะ และอัญญมัญญปัจจัย ฉะนั้น ในปัจจยจตุกะนี้พึงนำ

ปัจจัยทั้ง ๓ เหล่านั้น ออกแล้ว พึงทราบว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร ๔

ด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือ.

สังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ๘ อย่าง คือ โดยปัจจัยที่เป็นสาธารณะ

๖ ปัจจัย และด้วยกัมมปัจจัย ๑ อาหารปัจจัย ๑ แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำ

๓ ปัจจัยเหล่านั้นแหละออก ก็พึงได้ปัจจัย ๕ อย่าง.

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม ๙ อย่าง คือ โดยปัจจัยที่เป็นสาธารณะ

ปัจจัย ๖ อย่าง และด้วยอินทริยปัจจัย ๑ อาหารปัจจัย ๑ และอธิปติปัจจัย ๑

แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำ ๓ ปัจจัยเหล่านั้นแหละออก คงได้ปัจจัย ๖ อย่าง

นามเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ โดยปัจจัยที่เป็นสาธารณะ ๖ อย่าง

ข้อว่า นามเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ นี้ นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยอธิปติ-

ปัจจัย นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยอาหารปัจจัย เพราะฉะนั้น นามจึงเป็น

ปัจจัยได้หลายอย่าง แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำเอา ๓ ปัจจัยเหล่านั้นแหละ

ออกแล้วคงได้ปัจจัย ๓ อย่างบ้าง ๔ อย่างบ้าง ๕ อย่างบ้าง.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 594

อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัยแก่ผัสสะ เหมือนวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม.

ผัสสะเป็นปัจจัยแก่เวทนา ๗ อย่าง คือ โดยสาธารณปัจจัย ๖ อย่าง และ

อาหารปัจจัย ๑ แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำปัจจัย ๓ เหล่านั้นแหละออก

คงได้ปัจจัย ๔ อย่าง.

เวทนาเป็นปัจจัยแกตัณหา ๘ อย่าง คือ โดยสาธารณปัจจัย ๖ อย่าง

ด้วยฌานปัจจัย ๑ และอินทริยปัจจัย ๑ แต่ในปัจจยจตุกะนี้พึงนำออก ๓ ปัจจัย

เหล่านั้นแหละ คงได้ปัจจัย ๕ อย่าง.

ตัณหาเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน เหมือนอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร

อุปาทานเป็นปัจจัยแก่ภพ ๗ อย่าง คือ โดยสาธารณปัจจัย ๖ อย่าง และด้วย

มรรคปัจจัย ๑ แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำปัจจัย ๓ อย่างเหล่านั้นแหละออก

ก็ได้ปัจจัย อย่าง.

ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติด้วยอุปนิสสยปัจจัยเท่านั้นโดยปริยาย (อ้อม)

เพราะในคำว่า ชาติ นี้ ประสงค์เอาสังขตลักษณะ ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ

ด้วยอุปนิสสยปัจจัยอย่างเดียวเหมือนกัน.

ส่วนอาจารย์เหล่าใด กล่าวอย่างนี้ว่า " ในจตุกะนี้ อวิชชาเป็นต้น

เป็นปัจจัยแก่สังขารเป็นต้นแม้ทั้งหมด ด้วยสหชาตปัจจัย เพราะวาระที่หนึ่ง

ทรงเริ่มด้วยอำนาจสหชาตปัจจัยเท่านั้น" อาจารย์เหล่านั้น อันใคร ๆ พึงแสดง

ความไม่มีแห่งภพเป็นต้นเหมือนอย่างนั้น และแสดงความเกิดขึ้นแห่งปัจจัย

ที่เหลือแล้วพึงปฏิเสธ เพราะภพมิได้เป็นสหชาตปัจจัยแก่ชาติ ชาติก็ไม่เป็น

สหชาตปัจจัยแก่ชรามรณะ ฝ่ายปัจจัยที่เหลือเหล่าใดตรัสไว้แก่สังขารเป็นต้น

เหล่านั้น ปัจจัยแม้เหล่านั้นมีอยู่โดยแท้ เพราะฉะนั้น จึงไม่อาจทิ้งเสีย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 595

องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ในวาระใด

ที่ตรัสไว้ โดยประการอื่น และแม่องค์

ปฏิจจสมุปบาทใด ที่ไม่ตรัสไว้ในวาระใด

องค์ปฏิจจสมุปบาทใด เป็นปัจจัยแก่องค์

ปฏิจจสมุปบาทใด โดยประการใด พึงทราบ

ว่าองค์ปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นปัจจัยแก่องค์

ปฏิจจสมุปบาทนั้น โดยประการนั้น ดังนี้

ในวาระที่หนึ่งอย่างนี้ก่อน.

แม้ในวาระที่ ๒ เป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

ว่าด้วยความต่างกันในวาระที่ ๒ (บาลีข้อ ๒๗๔)

ส่วนความต่างกัน พึงทราบดังนี้

ถามว่า ในวาระที่ ๒ ตรัสว่า นามปุจฺจยา ผสฺโส (ผัสสะเกิด

เพราะนามเป็นปัจจัย) มิได้ตรัสคำอะไร ๆ ไว้ในที่แห่งสฬายตนะนั้น เพื่อ

อะไร ?

ตอบว่า เพื่อแสดงความต่างกันแห่งปัจจัย และเพื่อสงเคราะห์เข้าด้วย

เทศนาในมหานิทานสูตร.

จริงอยู่ ผัสสะหามีสฬายตนะเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ที่แท้

มีแม้ขันธ์ ๓ มีเวทนาขันธ์เป็นต้นเป็นปัจจัยด้วยทีเดียว ก็ในมหานิทานสูตร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปฏิจจสมุปบาทมีองก์ ๑๑ ทรงทิ้งสฬายตนะเสีย อย่างนี้ว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 596

ดูก่อนอานนท์ เมื่อเธอถูกถามว่า ผัสสะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยหรือ เธอพึง

ตอบว่า มี ถ้าถามว่า ผัสสะมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า

มีนามรูปเป็นปัจจัย ดังนี้* เพราะฉะนั้น เพื่อทรงแสดงความต่างกันแห่ง

ปัจจัยนี้ และเพื่อทรงกำหนดเทศนาในมหานิทานสูตรนี้ จึงตรัสว่า นามปจฺจยา

ผสฺโส ไว้ในวาระที่ ๒ มิได้ตรัสคำอะไร ๆ ไว้ในที่แห่งสฬายตนะ. นี้เป็น

ความต่างกันในทุติยวาระก่อน.

ว่าด้วยความต่างกันในวาระที่ ๓ (บาลีข้อ ๒๗๖)

ส่วนในวาระที่ ๓ ตรัสองค์ที่ ๙ อันมาในสุตตันตภาชนีย์ว่า วิญฺาณ-

ปจฺจยา นามรูป (นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย) ดังนี้. หากมีผู้

ถามว่า องค์ที่ ๔ นั้น ไม่ควรในปัจจยจตุกะนี้ เพราะความที่ปัจจยาการเป็นไป

ในขณะจิตเดียว. พึงตอบว่า องค์ที่ ๔ (นามรูป) นั้น ไม่ควรหามิได้ เพราะ

เหตุไร เพราะความเป็นปัจจัยในลักษณะของตน จริงอยู่ แม้ถ้าว่า ใน

นามรูปนั้น รูปจะตั้งอยู่เกินกว่าของจิต ถึงอย่างนั้น วิญญาณนั้นก็เป็น

ปัจจัยแก่รูปนั้นในลักษณะของตน ข้อนี้เป็นอย่างไร ? คือ เบื้องต้นวิญญาณ

เป็นปัจจัย โดยเป็นปัจจัยแก่รูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐานซึ่งเกิดก่อนบ้าง แก่รูปที่

เกิดภายหลังบ้าง ข้อนี้ สมกับพระดำรัสที่ตรัสว่า ปจฺฉาชาตา จิตฺตเจตสิกา

ธมฺมา ปุเรชาตสฺส อิมสฺส กายสฺส ปจฺฉาชาตปจฺจเยน ปจฺจโย

(ธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วย

ปัจฉาชาตปัจจัย) ดังนี้. อนึ่ง วิญญาณยังเป็นปัจจัยแก่รูปที่เกิดพร้อมกันซึ่ง

มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยนิสสยปัจจัย เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ธรรมทั้งหลาย

* ที. มหาวคฺค เล่ม ๑๐ ๕๗/๖๖

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 597

คือจิตและเจตสิก เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยนิสสย-

ปัจจัย.

ถามว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ในวาระแรก จึงไม่ตรัส

อย่างนี้เล่า

ตอบว่า เพราะทรงแสดงหมายถึงถิ่นที่รูปเป็นไป

จริงอยู่ ปัจจยาการนี้ พระองค์ทรงแสดงในกามภพอันเป็นถิ่นที่รูป

เป็นไปด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ แห่งโอปปาติกะผู้มีอายตนะไม่บริบูรณ์

และแห่งเทพในรูปาวจร ด้วยเหตุนั้นแหละ ในวาระที่ ๓ นี้ จึงไม่ตรัสว่า

นามรูปปจฺจยา สฬายตน (สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย) แต่

ตรัสว่า ฉฏฺยตน (อายตนะที่ ๖) ดังนี้ ในนามรูปนั้น นาม มีนัยตาม

ที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ ส่วนรูปพึงทราบว่า หทยรูป หทยรูปนั้น เป็น

ปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ นี้ ๒ อย่าง คือ ด้วยนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย

แล.นี้เป็นวาระที่ต่างกันในวาระที่ ๓.

ว่าด้วยความต่างกันในวาระที่ ๔

ก็วาระที่ ๔ ตรัสไว้ด้วยอำนาจพวกสัตว์ที่เป็นสังเสทชะและโอปปาติกะ

ด้วยอำนาจกำเนิด พวกสัตว์ผู้มีอายตนะบริบูรณ์ด้วยอำนาจอายตนะ พวกสัตว์ใน

กามาพจรด้วยสามารณแห่งภพ ด้วยเหตุนั้นแหละ ในวาระที่ ๔ นี้ จึงตรัสว่า

นามรูปปจิจยา สฬายตน (สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย) ดังนี้ ใน

นามรูปนั้น นามเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ ด้วยสหชาตปัจจัยเป็นต้น เป็นปัจจัย

แก่อายตนะมีจักขุป็นต้น ด้วยปัจฉาชาตปัจจัย บรรดารูป หทยรูปเป็นปัจจัยแก่

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 598

อายตนะที่ ๖ ด้วยนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย. มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัย

แก่จักขวายตนะเป็นต้น ด้วยสหชาตะ นิสสยะ อัตถิ และอวิคตปัจจัย ก็เพราะ

ปัจจยาการนี้เป็นไปในขณะจิตเดียว ฉะนั้น จึงไม่ตรัสในวาระที่ ๔ นี้ว่า

สฬายตนปจฺจยา (เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย) ตรัสว่า ฉฏฺายตนปจฺจยา

ผสฺโส (ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย). นี้เป็นความต่างกันในวาระ

ที่ ๔ ด้วยประการฉะนี้.

บัณฑิตครั้นทราบเหตุต่างกันแห่งวาระทั้ง ๔ เหล่านั้น อย่างนี้แล้ว

พึงทราบอีกว่า ในวาระทั้ง ๔ เหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว วาระ ๒ ข้อข้างต้น

ตรัสเพื่อแสดงปัจจยาการในอรูปภพ เพราะองค์ปฏิจจสมุปบาทที่ไม่ระคนด้วยรูป

ย่อมเป็นไปในอรูปภพ. วาระที่ ๓ ตรัสไว้เพื่อทรงแสดงปัจจยาการในรูปภพ

เพราะว่าเนื้อความระคนด้วยรูปยังมีอยู่. สฬายตนะก็ย่อมไม่เป็นไปในรูปภพ.

วาระที่ ๘ ตรัสเพื่อทรงแสดงปัจจยาการในกามภพ เพราะว่า สฬายตนะทั้งสิ้น

ย่อมเป็นไปในกามภพ. อีกอย่างหนึ่ง วาระที่ ๓ ตรัสหมายเอาขณะอกุศลเป็นไป

แก่พวกสัตว์ที่มีอายตนะบกพร่องในรูปภพ และในกามภพ วาระที่ ๔ ตรัส

หมายสัตว์ผู้มีอายตนะครบในกามภพ.

อีกนัยหนึ่ง วาระที่ ๑ ตรัสหมายเอาจิตที่เป็นไปในที่ทั้งหมด เพราะ

ว่า วาระที่ ๑ นั้น จะไม่เป็นไปในถิ่นที่จิตเป็นไปที่ไหน ๆ หามิได้. วาระที่ ๒

ตรัสหมายเอาความต่างกันแห่งปัจจัย เพราะว่า ความที่วาระมีองค์ ๑๑ และ

ความที่ผัสสะมีนามเป็นปัจจัย เป็นความต่างแห่งปัจจัย ในวาระที่ ๒ นี้.

วาระที่ ๓ ตรัสหมายเอากำเนิด ๒ ข้างต้น เพราะว่า วาระที่ ๓ นั้นย่อมมีใน

กำเนิด ๒ ข้างต้น เพราะความที่สฬายตนะไม่เกิดทุกเมื่อในกำเนิด ๒ ข้างต้นนั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 599

วาระที่ ๔ ตรัสหมายเอากำเนิด ๒ หลัง เพราะว่า วาระที่ ๔ นั้นยังไม่มีในกำเนิด

๒ หลัง เพราะความที่สฬายตนะเกดขึ้นทุกเมื่อในกำเนิด ๒ หลังนั้นแล.

ก็โดยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ องค์ใดที่กล่าวในวาระทั้ง ๔ ว่า

องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ในวาระใด

ที่ตรัสไว้โดยประการอื่น และแม้องค์ปฏิจจ-

สมุปบาทใด ที่ไม่ตรัสไว้ในวาระใด องค์-

ปฏิจจสมุปบาทใด เป็นปัจจัยแก่องค์ปฏิจจ-

สมุปบาทใด โดยประการใด พึงเข้าไป

กำหนดองค์ทั้งหมดนั้น ดังนี้.

การแสดงความแห่งคาถา ย่อมเป็นอันข้าพเจ้ากระทำแล้ว ด้วย

ประการฉะนี้ .

ต่อจากจตุกะนี้ไป บัณฑิตพึงทราบ

นัยทั้งหมดนี้ และควานต่างกัน แม้ในจตุกะ

อื่น โดยทำนองนี้นั่นแหละ.

ว่าด้วยเหตุจตุกะ (บาลีข้อ ๒๗๘)

บรรดาจตุกะเหล่านั้น นัยที่ตรัสไว้ในปัจจยจตุกะก่อนนั้น ปรากฏ

ชัดแล้วในจตุกะทั้งหมดทีเดียว ส่วนความต่างกันในเหตุจตุกะเป็นต้นพึงทราบ

อย่างนี้ ในเหตุจตุกะก่อน.

อวิชฺชา เหตุ อสฺสาติ อวิชฺชาเหตุโก อวิชชาเป็นเหตุแห่ง

สังขารนี้ เพราะเหตุนั้น สังขารนี้ จึงชื่อว่า อวิชฺชาเหตุโก (มีอวิชชาเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 600

เหตุ มีอธิบายว่า สังขารนี้มีอวิชชาเป็นไป คือ ไปจนถึงขณะดับ เพราะ

เป็นไป (เกิด) พร้อมกัน.

อนึ่ง พระองค์ครั้นทรงแสดงว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร

โดยสาธารณปัจจัยด้วยอำนาจแห่งปัจจัยมีสหชาตะเป็นต้น โดยพระดำรัสเพียง

เท่านี้ว่า อวิชชาปจฺจยา (เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) แล้ว จึงทรงแสดง

ความที่อวิชชาเป็นอวิคตปัจจัย โดยพิเศษ ด้วยพระดำรัสว่า อวิชฺชาเหตุโก

(มีอวิชชาเป็นเหตุ) อีก. แม้ในคำมีอาทิว่า สขารปจฺจยา วิญฺาณ สขาร-

เหตุก (วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย) ดังนี้ ก็นัยนี้

เหมือนกัน.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไรในองค์มีภพเป็นต้น จึงไม่ทรงทำศัพท์ว่า

เทตุกะ ไว้

ตอบว่า เพราะองค์มีภพเป็นต้นนั้นไม่มีความกำหนดด้วยอวิคตปัจจัย

และเพราะไม่มีอวิคตปัจจัย เพราะคำว่า ภพ ในเหตุจตุกะนี้เป็นชื่อของขันธ์ ๔

ที่มีอุปาทานเป็นปัจจัย โดยพระบาลีว่า ตตฺถ กตฺโม อุปาทานปจฺจยา

ภโว ฯเปฯ อย วุจฺจติ อุปาทานปจฺจยา ภโว ในพระบาลีนั้น ภพ

เกิดเพราะอุปาทานเป็นไฉน ? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์

วิญญาณขันธ์ เว้นอุปาทาน นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ดังนี้.

อนึ่ง ชาติ ชรามรณะก็ผนวกเข้าในสังขารขันธ์ โดยพระบาลีมีอาทิว่า ชาติ

ทฺวีหิ ขนฺเธหิ สงฺคหิตา (ชาติสงเคราะห์เข้าด้วยขันธ์ ๒) ดังนี้.

ในพระบาลีนั้น อุปาทาน ย่อมไม่เป็นอวิคตปัจจัยแก่ภพโดยแน่นอน

เพราะความไม่ได้ชาติ ชรามรณะตลอดเวลาที่มีอุปาทาน ความเป็นอวิคตปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 601

ย่อมไม่เกิดแก่ชาติในสังขตลักษณะทั้งหลาย เพราะความที่ภพกล่าวคือชรามรณะ

ไม่มีเพียงขณะแห่งชาติเดียว โดยพระบาลีมีอาทิว่า "ชาติ (ความเกิด)

แห่งธรรมนั้น ๆ อันใด" ดังนี้ ความเป็นอวิคตปัจจัยย่อมไม่เกิดแก่ชาติ เพราะ

ความที่ชาติไม่มีในขณะชราและมรณะโดยแท้.

อนึ่ง ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ และชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ ด้วย

อุปนิสสยปัจจัยอย่างเดียว เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า มิได้ทรงทำศัพท์ว่า เหตุกะ

ในองค์ทั้งหลายมีภพเป็นต้น เพราะไม่มีกำหนดด้วยอวิคตปัจจัย และเพราะ

ความไม่มีอวิคตปัจจัย แม้โดยประการทั้งปวง.

ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ภพซึ่งระคนด้วยอุปบัติ โดยพระบาลีว่า

ภพมี ๒ อย่าง และอุปาทานเป็นอวิคตปัจจัยแก่อุปปัตติภพ เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ เกิดเพราะอุปาทาน

เป็นปัจจัย แต่ตรัสว่า ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ดังนี้ เพราะทรง

ตัดออกแล้วในเหตุจตุกะนี้ แม้ข้างหน้าก็มิได้ตรัสไว้ อุปาทานนั้นไม่สมควร

เพราะในที่นี้ มิทรงประสงค์เอาภพที่ระคนด้วยอุปบัติ ด้วยว่าอรูปขันธ์มาใน

ที่นี้ว่า ภพ.

อนึ่ง ในข้อว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย นี้ ภพที่เหลือเว้น

ชาติ และชรามรณะแล้ว พึงทราบว่า เป็นปัจจัยแกชาติ เพราะเหตุไร

เพราะชาติเป็นต้น ไม่เป็นไปปัจจัยแก่ชาติ ดังนี้ ถ้าเป็นอย่างนั้น เว้นชาติชรา

และมรณะแล้ว ภพก็ควรตรัสว่า เป็นปัจจัยแก่ชาติ. ควรตอบว่า ถูกแล้ว แต่

พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัส เพราะไม่มีข้ออ้างที่ควรตรัส ก็ในนิเทศแห่งองค์

ที่ ๑๐ ควรตรัสภพซึ่งเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ในนิเทศแห่งองค์ที่ ๑๑

ควรตรัสถึงชาติ แต่ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ ไม่มีข้ออ้างควรกล่าวบทนั้น ฉะนั้น

จึงไม่ตรัส เพราะไม่มีข้ออ้างที่พึงตรัส ถึงแม้มิได้ตรัส ก็ควรถือเอาโดยควรแล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 602

ก็ในคำว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นต้น ทรง

กระทำคำว่า มีวิญญาณเป็นเหตุ เป็นต้น เพราะความที่วิญญาณเป็นต้น เกิด

พร้อมกับความเป็นอวิคตปัจจัย. นี้เป็นความต่างกันในเหตุจตุกะ.

ว่าด้วยสัมปยุตตจตุกะ (บาลีข้อ ๒๘๒)

แม้ในสัมปยุตตจตุกะ ก็ทรงแสดงความที่สังขารมีอวิชชาเป็นปัจจัย

ด้วยอำนาจปัจจัยมีสหชาตะเป็นต้น โดยตรัสเพียงเท่านี้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา

(เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) แล้วทรงแสดงความที่อวิชชาเป็นสัมปยุตตปัจจัยว่า

อวิชฺชาสมฺปยุตฺโต (สัมปยุตตด้วยอวิชชา) ดังนี้. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้

เหมือนกัน. แต่เพราะอรูปธรรมไม่ประกอบกับรูปธรรมทั้งหลาย ฉะนั้น แม้ใน

คำว่า วิญฺาณปจฺจยา นามรูป (นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย) เป็นต้น

ก็ถือเอาเฉพาะองค์ที่ได้เท่านั้น โดยนัยมีอาทิว่า วิญาณสมฺปยุตฺต นาม

(นามสัมปยุตด้วยวิญญาณ) ในบทวาระที่ ๓ และที่ ๔. นี้เป็นความต่างกันใน

สัมปยุตตจตุกะ.

ว่าด้วยอัญญมัญญจตุกะ (บาลีข้อ ๒๘๖)

อนึ่ง ในอัญญมัญญจตุกะ พระองค์ทรงแสดงความที่สังขารมีอวิชชาเป็น

ปัจจัย ด้วยอำนาจปัจจัยมีสหชาตะเป็นต้นว่า อวิชฺชาปจฺจยา (เพราะอวิชชา

เป็นปัจจัย) แล้วแสดงความที่อวิชชาเป็นอัญญมัญญปัจจัยว่า สขารปจฺจยาปิ

อวิชฺชา (อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย) ดังนี้. แม้ในบทที่เหลือก็นัย

นี้เหมือนกัน. แต่เพราะภพเป็นนิปปเทสะ (คือทรงแสดงโดยสิ้นเชิง) อุปาทาน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 603

เป็นสัปปเทสะ (คือทรงแสดงเล็กน้อย) และธรรมที่เป็นสัปปเทสะเป็นปัจจัย

แก่ธรรมที่เป็นนิปปเทสะ ธรรมที่เป็นนิปปเทสะไม่เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็น

สัปปเทสะ ฉะนั้น ในอัญญมัญญจตุกะนี้ จึงไม่ตรัสว่า ภวปจฺจยาปิ

อุปาทาน (อุปาทานเกิดแม้เพราะภพเป็นปัจจัย) อีกนัยหนึ่ง มิได้ตรัสอย่าง

นี้เพราะทรงตัดออกแล้วโดยเทศนาไว้ในหนหลัง แต่เพราะสฬายตนะมีเพราะ

นามรูปเป็นปัจจัย นามรูปย่อมไม่มีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยในขณะจิตดวง

เดียวกัน สฬายตนะพึงเป็นอัญญมัญญปัจจัยแก่นามรูปใด ฉะนั้น ในวาระที่ ๔

จึงทรงถือเอาเฉพาะองค์ที่ได้ในข้อว่า สฬายตนปจฺจยาปิ นามรูป (นามรูป

เกิดแม้เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย). นี้เป็นความต่างกันในอัญญมัญญจตุกะ.

มาติกาแห่งนัยมีอวิชชาเป็นมูล จบ

อธิบายนัยแห่งมาติกามีสังขารเป็นมูลเป็นต้น*

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มนัยมีสังขารเป็นมูลว่า สขารปจฺจยา

อวิชฺชา (อวิชชาเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย) แม้ในพระบาลีสังขารเป็นมูล

เป็นต้นนั้น ก็พึงทราบจตุกะ ๔ และวาระ ๑๖ เหมือนในนัยที่มีอวิชชาเป็นมูล.

ว่าด้วยนิเทศจตุกะที่ ๑

ก็ในจตุกะที่ ๑ พระองค์ทรงแสดงเฉพาะวาระที่ ๑ เท่านั้น แล้วทรงย่อ

เทศนาไว้ แม้ในนัยที่มีวิญญาณเป็นมูลเป็นต้นก็เหมือนในนัยที่มีสังขารเป็น

มูลนี้ บรรดานัยเหล่านั้น พระองค์ทรงแสดงความที่อวิชชามีสังขารเป็นต้น เป็น

* บาลีข้อ ๒๙๐

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 604

ปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัยมีสหชาตะเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า สขารปจฺจยา

อวิชฺชา (อวิชชาเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย) ในนัยทั้ง ๘ มีสังขารเป็นมูล

เป็นต้นเหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว แล้วจึงทรงแสดงความเป็นไปแห่งจักร คือ

ปัจจยาการ แม้ในขณะแห่งจิตดวงเดียวกัน โดยนัยมีอาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา

สขาโร (สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) ดังนี้อีก.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จึงไม่ตรัสนัยทั้งหลายมีภพเป็นมูล หรือมีชาติ

และชรามรณะเป็นมูล อวิชชาย่อมไม่มีเพราะภพเป็นปัจจัย หรือ ?

ตอบว่า ไม่มี หามิได้. แต่เมื่อตรัสคำมีอาทิอย่างนี้ว่า สขารปจฺจยา

อวิชฺชา (อวิชชาเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย) ก็จะไม่ได้ตรัสธรรมที่นับเนื่อง

ด้วยภพไร ๆ เป็นปัจจัยแก่อวิชชา เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสนัยมีภพเป็นมูล

เพราะไม่มีธรรมอื่นที่ไม่อยู่ข้างต้นซึ่งเป็นปัจจัยแก่อวิชชาที่ควรตรัส และแม้

อวิชชาก็ย่อมถึงการสงเคราะห์ไว้ด้วยศัพท์ว่าภพ เพราะฉะนั้น เมื่อพระองค์

ตรัสว่า ภวปจฺจยา อวิชฺชา (อวิชชาเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย) ก็พึงเป็นการ

ตรัสแม้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา อวิชฺชา (อวิชชาเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย)

ด้วยว่าในขณะแห่งจิตดวงเดียว อวิชชาย่อมไม่ชื่อว่าเป็นปัจจัยแก่อวิชชา เพราะ

ทรงตัดออกในภพนั่นแหละ นัยแม้มีชาติ ชรามรณะเป็นมูล ก็ไม่ทรงถือเอา

อีกนัยหนึ่ง แม้ชาติ ชรามรณะ ก็ทรงผนวกเข้าในภพ และชาติชรามรณะ

เหล่านี้จะเป็นปัจจัยแก่อวิชชา ในขณะแหงจิตดวงเดียวกัน ก็หาไม่ เพราะฉะนั้น

จึงไม่ตรัสนัยที่มีภพเป็นมูล หรือมีชาติชรามรณะเป็นมูลฉะนี้แล.

จบมาติกา กถา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 605

อภิธรรมภาชนีย์

อกุศลนิเทศ

อกุศลจิต ๑๒

อกุศลจิต ดวงที่ ๑

ปัจจยจตุกกะ

[๒๙๑] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิมีรูปเป็นอารมณ์

หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะ

เป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด

ในสมัยนั้นสังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็น

ปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพ

เกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัยชรามรณะเกิดเพราะ

ชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๙๒] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือโมหะ

อันใด นี้รียกว่า อวิชชา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 606

[๒๙๓] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่านอันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.

[๒๙๔ ] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณ

เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

[๒๙๕] นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะ

วิญญาณเป็นปัจจัย.

[๒๙๖] อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า อายตนะ

ที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย.

[๒๙๗] ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องอันใด นี้

เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย.

[๒๙๘] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 607

[๒๙๙] ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความชักนำให้คล้อยตามไป ความ

ยินดีความเพลิดเพลิน ความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัด

นักแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย.

[๓๐๐] อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ

การถือเอาโดยวิปลาส อันใด นี้เรียกว่า อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย.

[๓๐๑] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอุปาทาน

นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย.

[๓๐๒] ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดจำเพาะ ความ

ปรากฏแห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย.

[๓๐๓] ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ชรา มรณะ ๑

ในชรามรณะนั้น ชรา เป็นไฉน ?

ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความเสื่อมสิ้นอายุ แห่งธรรมเหล่านั้น

อันใด นี้เรียกว่า ชรา

มรณะ เป็นไฉน ?

ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง

ความหายไป แห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า มรณะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 608

ชราและมรณะดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็น

ปัจจัย

[๓๐๔] คำว่า ควานเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้ นั้น ได้แก่ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏ

แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

[๓๐๕] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณ

เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะ

นามเป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็น

ปัจจัย อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้น

แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๐๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 609

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียก

ว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะ

วิญญาณเป็นปัจจัย

คำว่า ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัยนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นผัสสะ นี้

เรียกว่า นาม

ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้องอันใด นี้

เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

[๓๐๗] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณ

เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖

เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนา

เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิด

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพ

เป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวล

นี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 610

[๓๐๘] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่านอันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน ?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ความเกิดขึ้นแห่งโสตายตนะ ความเกิด

ขึ้นแห่งฆานายตนะ ความเกิดขึ้นแห่งชิวหายตนะ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ

หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแค่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน

นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็น

ปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 611

คำว่า อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั้น นามรูป เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่ผสมกัน อันใด นี้เรียกว่า

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด

นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

[๓๐๙] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิด

เพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะเกิด

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะ

ผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดเพราะตัณหา

เป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรา

มรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 612

[๓๑๐] ในปัจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน ?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือ

รูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมฏฐาน นี้

เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็น

ปัจจัย

คำว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั้น นามรูป เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 613

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน ?

มหาภูตรูป ๔ และมโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ

มนายตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด

นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ควานเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

ปัจจยจตุกกะ จบ

เหตุจตุกกะ

[๓๑๑] ในสมัยนั้น สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็น

ปัจจัย วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามมีวิญญาณ

เป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ มีนามเป็นเหตุ เกิด

เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะมีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖

เป็นปัจจัย เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหามีเวทนา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 614

เป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ เกิดเพราะ

ตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

[๓๑๒] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด

นี้เรียกว่า สังขารมี อวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

นามมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามมีวิญญาณเป็น

เหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.

อายตนะที่ ๖ มีนามเป็นเหตุ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

อายตนะที่ ๖ มีนามเป็นเหตุ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย.

ผัสสะมีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัยเป็น

ไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 615

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด

นี้เรียกว่า ผัสสะมีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย.

เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบาย เป็น

สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

อันใด นี้เรียกว่า เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด

นี้เรียกว่า ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย.

อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ รกชัฏคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อ

สัมมาทิฏฐิ ความเห็นโลเล สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความถือผิด ความถือผิดเฉพาะ

ความเห็นดิ่งไปในทางผิด ความถือผิดจากสภาวะ ทางแห่งความชั่ว ทางผิด

ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด

นี้เรียกว่า อุปาทานมีตัณหาเป็นปัจจัย ฯลฯ.

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

มีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๑๓] ในสมัยนั้น สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็น

ปัจจัย วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามมีวิญญาณ

เป็นปัจจัย วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามมี

วิญญาณเป็นเหตุเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ผัสสะมีนามเป็นเหตุ เกิดเพราะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 616

นามเป็นปัจจัยเวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหามี

เวทนาเป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ เกิด

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพ

เป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้ง

มวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๑๔] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อัน

ใด นี้เรียกว่า อวิชชา.

สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

มีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

นามวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามวิญญาณเป็นเหตุ

เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.

คำว่า ผัสสะมีนามเป็นเหตุ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัยนั้น นาม เป็น

ไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นผัสสะ นี้

เรียกว่า นาม.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 617

ผัสสะมีนามเป็นเหตุ เกิดเพราะมีนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด

นี้เรียกว่า ผัสสะมีนามเป็นเหตุ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ฯลฯ.

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

[๓๑๕] ในสมัยนั้น สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็น

ปัจจัย วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปมีวิญญาณ

เป็นเหตุเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ มีนามรูปเป็นเหตุ เกิด

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะมีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖

เป็นปัจจัย เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหามีเวทนา

เป็นเหตุ เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ เกิดเพราะ

ตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

[๓๑๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อัน

ใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

มีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 618

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน ?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือ

รูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้

เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิด

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

คำว่า อายตนะที่ ๖ มีนามรูปเป็นเหตุ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

นั้น นามรูป เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่านาม

รูป เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่ารูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 619

อายตนะที่ ๖ มีนามรูปเป็นเหตุเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

อายตนะที่ ๖ มีนามรูปเป็นเหตุ เกิดเพราะนามรูปเป็น ปัจจัย

ผัสสะมีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้

เรียกว่า ผัสสะมีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จิต เรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

[๓๑๗] ในสมัยนั้น สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็น

ปัจจัย วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปมีวิญญาณ

เป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ เกิดเพราะ

นามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ เกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย

เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ

เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ เกิดเพราะตัณหาเป็น

ปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะ

เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้.

[๓๑๘] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะอันใด

นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารมี

อวิชชาเป็นเหตุ เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 620

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่านาม

รูป เป็นไฉน ?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือ

รปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน

นี้เรียกว่ารูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้รียกว่า นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิด

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

คำว่า สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั้น

นามรูป เป็นไฉน ?

นามรูป ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่านาม

รูป เป็นไฉน ?

มหาภูตรูป ๔ และมโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่ารูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 621

สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ

เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ เกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อัน ใด

นี้เรียกว่า ผัสสะมีสฬายนะเป็นเหตุ เกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้.

เหตุจตุกกะ จบ

สัมปยุตตจตุกกะ

[๓๑๙] ในสมัยนั้น สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชา

เป็นปัจจัย วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นาม

อันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ อันสัมปยุต

ด้วยนาม เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ เกิดเพราะ

อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะเป็น

ปัจจัย ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานอัน

สัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพ เกิดเพราะอุปาทานเป็น

ปัจจัย ชาติ เกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะ เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 622

[๓๒๐] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

อันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามอันสัมปยุต

ด้วยวิญญาณเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ อันสัมปยุคด้วยนาม เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

อายตนะที่ ๖ อันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด

นี้เรียกว่า ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 623

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

อันใด นี้เรียกว่า เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด

นี้เรียกว่า ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานอันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ

การถือเอาโดยวิปลาส อันใด นี้เรียกว่า อุปาทานอันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิด

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

[๓๒๑] ในสมัยนั้น สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชา

เป็นปัจจัย วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นาม

อันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ผัสสะอันสัมปยุตด้วย

นาม เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะ

เป็นปัจจัย ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทาน

อันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็น

ปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความ

เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 624

[๓๒๒] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือ โมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชาเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

อันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสงขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เรียกว่า นามอันสัมปยุตด้วย

วิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

คำว่า ผัสสะอันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามเป็นปัจจัยนั้น นาม

เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นผัสสะ

นี้เรียกว่า นาม

ผัสสะอันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด

นี้เรียกว่า ผัสสะอันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยเหตุ

นั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 625

[๓๒๓] ในสมัยนั้น สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชา

เป็นปัจจัย วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูป

และนามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖

อันสัมปยุตด้วยนามเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอายตนะ

ที่ ๖ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะ เกิด

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปาทานอันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพ เกิดเพราะ

อุปาทานเป็นปัจจัย ชาติ เกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะ เกิดเพราะชาติ

เป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

[๓๒๔] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือ โมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

อันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูป และนามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็น

ปัจจัย เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 626

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน ?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือ

รูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน

นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปและนามอันสัมปยุตด้วย

วิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

คำว่า อายตนะที่ ๖ อันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

นั้น นามรูป เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

อายตนะที่ ๖ อันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็น

ไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

อายตนะที่ ๖ อันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 627

ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด นี้

เรียกว่า ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

[๓๒๕] ในสมัยนั้น สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชา

เป็นปัจจัย วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูป

และนามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะอัน

สัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะอันสัมปยุตด้วยสฬายตนะ

เกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะ เกิดเพราะผัสสะ

เป็นปัจจัย ตัณหาอันสัมปยุตด้วยเวทนา เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทาน

อันสัมปยุตด้วยตัณหา เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพ เกิดเพราะอุปาทานเป็น

ปัจจัย ชาติ เกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะ เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๒๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือ โมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารอันสัมปยุตด้วยอวิชชาเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

อันสัมปยุตด้วยอวิชชา เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 628

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขาร เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามรูปและนามอันสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน ?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือ

รูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน

นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปและนามอันสัมปยุตด้วย

วิญญาณ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

คำว่า สฬายตนะอันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั้น

นามรูป เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน ?

มหาภูตรูป ๔ และมโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่า รูป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 629

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

สฬาตนะอันสัมปยุตด้วยนาม เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน

จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะอันสัมปยุตด้วย

นาม เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

ผัสสะอันสัมปยุตด้วยสฬายตนะ เกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็น

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใดนี้

เรียกว่า ผัสสะอันสัมปยุตด้วยสฬายตนะ เกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วย ประการอย่างนี้.

สัมปยุตตจตุกกะ จบ

อัญญมัญญจตุกกะ

[๓๒๗] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย อวิชชาเกิด

แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย สังขารเกิดแม้

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดแม้

เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย นามเกิดแม้เพราะ

อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย อายตนะที่

๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดแม้

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เวทนาเกิดแม้เพราะ

ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดแม้เพราะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 630

อุปาทานเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็น

ปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๒๘] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือ โมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา.

[๓๒๙] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่าสังขาร

เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือ โมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย.

[๓๓๐] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

สังขารเกิดแม้เพราะวิญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

[๓๓๑] นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะ

วิญญาณเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 631

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามเป็นปัจจัย.

[๓๓๒] อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สนกัน อันใด นี้เรียกว่า

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย.

นามเกิดแม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามเกิดแม้เพราะ

อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

[๓๓๓] ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด

นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียก

ว่า อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๓๓๔] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแก่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแก่เจโตสัมผัส

อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด

นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 632

[๓๓๕] ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อัน

ใด นี้เรียกว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดแม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแก่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดแม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย.

[๓๓๖] อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ

ความถือเอาโดยวิปลาส อันใด นี้เรียกว่า อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ตัณหาเกิดแม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด

นี้เรียกว่า ตัณหาเกิดแม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย.

[๓๓๗] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอุปาทาน

นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย.

[๓๓๘] ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดจำเพาะ ความ

ปรากฏ แห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย.

[๓๓๙] ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ชรา ๑ มรณะ ๑

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 633

ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน ?

ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความเสื่อมสิ้นอายุ แห่งธรรมเหล่านั้น

อันใด นี้เรียกว่า ชรา

มรณะ เป็นไฉน ?

ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง

ความหายไป แห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า มรณะ

ชราและมรณะดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ชรามรณะ เกิดเพราะชาติ

เป็นปัจจัย.

[๓๔๐] คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้นั้น ได้แก่ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความ

ปรากฏแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย การอย่างนี้.

[๓๔๑] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย อวิชชา เกิด

แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย สังขารเกิดแม้

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดแม้

เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย นามเกิดแม้เพราะผัสสะ

เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็น

ปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เวทนาเกิดแม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดแม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอุปาทาน ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิด

เพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 634

[๓๔๒] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือ โมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะ

วิญญาณเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 635

คำว่า ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัยนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นผัสสะ นี้

เรียกว่า นาม

ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยากระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด

นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

นามเกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า

นามเกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

[๓๔๓] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย อวิชชาเกิด

แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย สังขารเกิดแม้

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย วิญญาณเกิด

แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย นามรูป

เกิดแม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเถิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เวทนา

เกิดแม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ตัณหา

เกิดแม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 636

เพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่ง

กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๔๔] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะวิชชาเป็นปัจจัย

อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 637

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน ?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือ

รูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน

นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

คำว่า วิญญาณเกิดแม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั้น นามรูป เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามเป็นปัจจัย

คำว่า อายตนุที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั้น นามรูป เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 638

มโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดแม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน ?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือ

รูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน

นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป เกิดแม้เพราะอายตนะที่ ๖

เป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด

นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัสญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 639

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

[๓๔๕] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย อวิชชาเกิด

แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะ.สังขารเป็นปัจจัย สังขารเกิด

แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

เกิดแม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย นามรูป

เกิดแม้เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย สฬาย-

นะเกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ผัสสะเกิด

แม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เวทนาเกิดแม้

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดแม้

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพ

เป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะ ชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้ง

มวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๔๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ควานไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือ โมหะ

อันใดนี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

อวิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือ โมหะ

อันใด นี้เรียกว่า วิชชาเกิดแม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 640

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียก

ว่าวิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

สังขารเกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดแม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน ?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือ

รูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้

เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวนี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

คำว่า วิญญาณเกิดแม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั้น นามรูป เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่า รูป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 641

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณเกิดแม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย

คำว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั้น นามรูป เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน ?

มหาภูตรูป ๔ และมโนวิญญาณธาตุอาศัยรูปใดเป็นไป นี้เรียกว่า รูป

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป

สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูป

เป็นปัจจัย

นามรูปเกิดแม้เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

นาม ๑ รูป ๑

ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม

รูป เป็นไฉน ?

ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกายายตนะ หรือ

รูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่รูปอันเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน

นี้เรียกว่า รูป

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 642

นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดแม้เพราะสฬายตนะ

เป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด

นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย

สฬายตนะเกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะเกิดแม้เพราะ

ผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้

อัญญมัญญจตุกกะ จบ

อกุศลจิตดวงที่ ๒-๓-๔

[๓๔๗] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ

มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ

สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ. . .เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส

วิปปยุตจากทิฏฐิ. . .เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขาร

เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะ

วิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะ

อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 643

เวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์

เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๔๘] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด

นี้เรียกว่า อวิชชา

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ

อธิโมกข์เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด

นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์

นี้ เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้ ฯลฯ

อกุศลจิตดวงที่ ๕

[๓๔๙] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ

มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ในสมัยนั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 644

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นาม

เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะ

เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหา

เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดเพราตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะ

อุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็น

ปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๕๐] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ อันใด

นี้เรียกว่า อวิชชา ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้ ฯลฯ

อกุศลจิตดวงที่ ๖-๗-๘

[๓๕๑] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์

ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง

ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ....เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 645

วิปปยุตจากทิฏฐิ...เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขาร

เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะ

วิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะ

อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะ

เวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์

เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯลฯ

อกุศลจิตดวงที่ ๙-๑๐

[๓๕๒] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ มีรูปเป็นอารมณ์

ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคต

ด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์

หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขาร

เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะ

วิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะ

อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปฏิฆะเกิดเพราะ

เวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปฏิฆะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์

เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 646

[๓๕๓] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความไม่สบายใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่

เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ปฏิฆะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิตอาฆาต จิตอาฆาตตอบ ฯลฯ ความดุร้าย ความปากร้าย ความ

ไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ปฏิฆะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะปฏิฆะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด

นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะปฏิฆะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์

นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้ ฯลฯ

อกุศลจิตดวงที่ ๑๑

[๓๕๔] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา มีรูปเป็นอารมณ์

ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ใน

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 647

สมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะ

เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย วิจิกิจฉา

เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะวิจิกิจฉาเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพ

เป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้ง

มวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๕๕] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใดนี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

วิจิกิจฉาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิด

เห็นไปต่าง ๆ นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นสองแง่ ความเห็น

เหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้

ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้

ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉาเกิดเพราะ

เวทนาเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 648

ภพเกิดเพราะวิกิจฉาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังสารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นวิจิกิจฉา

นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะวิจิกิจฉาเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้ ฯลฯ

อกุศลจิตดวงที่ ๑๒

[๓๕๖] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?

อกุศลจิต สหรตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์

ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ใน

สมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

อุทธัจจะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะอุทธัจจะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิด

เพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้.

[๓๕๗] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?

ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ

อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 649

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

อุทธัจจะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความ

พล่านแห่งจิต ดันใด นี้เรียกว่า อุทธัจจะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะอุทธัจจะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด

นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะอุทธัจจะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์

นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้ ฯลฯ

อกุศลนิเทศ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 650

อธิบายอกุศลนิเทศ

ปฐมจตุกะ

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงถือเอากุศล (ในปัจจยาการ) ก่อน

เพราะนิเทศอกุศลนี้ มิได้ทรงตั้งมาติกาเหมือนในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลัง

ซึ่งทรงกระทำกุศลติกะไว้เป็นเบื้องต้นแล้วทรงจำแนกกุศลก่อนโดยลำดับมาติกา

ที่ทรงตั้งไว้ เพื่อจะทรงจำแนกแสดงองค์ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชาเป็นต้นตาม

ลำดับที่ทรงตั้งไว้ในมาติกา ด้วยอำนาจอกุศลธรรมว่า อวิชฺชาปจฺจยา

สขาโร (สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) เท่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า

กตเม ธมฺมา อกุสลา (ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน). เนื้อความแห่งพระ

บาลีนั้น พึงทราบโดยนัยที่ตรัสไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์ ในหนหลังนั่นแหละ.

อนึ่ง เพราะตัณหาและกามุปาทานย่อมไม่เกิดในขณะแห่งจิตเดียว

กันฉะนั้นในที่นี้ เพื่อทรงแสดงอุปาทานที่ได้เพราะตัณหาเป็นปัจจัยนั้นนั่นแหละ

จึงตรัสคำมีอาทิว่า ทิฏิ ทิฏฺิคต ดังนี้.

อนึ่ง เพราะในนิเทศแห่งภพ อุปาทานถึงการสงเคราะห์เข้าในสังขาร

ขันธ์ ฉะนั้น จึงตรัสว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณ-

ขันธ์ เว้นอุปาทาน ดังนี้เป็นต้น เพราะเมื่อตรัสอยู่อย่างนี้ก็จะพึงปรากฏ

ความที่อุปาทานเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน ก็อุปาทานนั้นนั่นแหละย่อมไม่เป็นปัจจัย

แก่อุปาทานนั้น.

ในนิเทศแห่งชาติเป็นต้น เพราะธรรมเหล่านั้นมีชาติเป็นต้นเป็นความ

เกิดเป็นต้นของอรูปธรรมทั้งหลาย ฉะนั้นจึงไม่ตรัสว่า ความที่ฟันหัก ความ

ที่ผมหงอก ความที่หนังเหี่ยวย่น จุติกิริยาที่จุติ ดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 651

พระองค์ทรงตั้งวาระที่หนึ่งอย่างนี้แล้ว ต่อไปก็ทรงแสดงปัจจยาการ

ในวาระที่ ๒ โดยวาระที่ ๑ ในสมัยนั้นแหละ เพื่อทรงแสดงปัจจยาการโดยนัย

แม้อื่นอีก จึงไม่ตรัสวาระกำหนดสมัยไว้ต่างหากแล้วทรงทำเทศนาโดยนัยมีอาทิ

ว่า ตสฺมึ สมเย อวิชฺชาปจจฺยา สขาโร (สังขารเกิดเพราะอวิชชา

เป็นปัจจัย ในสมัยนั้น).

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เว้นผัสสะ นี้ตรัสไว้เพื่อทรงนำผัสสะ

ออกจากนาม เพราะแม้ผัสสะก็นับเนื่องด้วยนาม.

ในวาระที่ ๓ วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เมื่อรูปมีจิต

เป็นสมุฏฐานกำลังเป็นไปอยู่ เพราะความที่จักขายตนะเบื้องต้นอันรูปมีจิตเป็น

สมุฏฐานนั้นค้ำจุนแล้วย่อมปรากฏ ฉะนั้น จึงตรัสว่า จกฺขฺวายตนสฺส

อุปจโย (ความเกิดขึ้นแห่งจักขายตนะ) เป็นต้น. อนึ่ง เพราะวิญญาณเป็น

ปัจจัย ด้วยปัจจฉาชาตปัจจัยแม้นก็กรรมชรูปซึ่งกำลังเป็นไปในสมัยนั้น แม้

เพราะเหตุนั้น จึงตรัสอย่างนี้ ในวาระที่ ๓ นั้น ทรงถือเอาสันตติ ๒ คือ

สันตติรูปเกิดแต่กรรม และสันตติรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น

สันตติ ๒ แม้นอกนี้ก็พึงถือเอา เพราะวิญญาณก็เป็นปัจจัยแก่สันตติ ๒ นอกนี้

เหมือนกัน.

ส่วนในวาระที่ ๔ ก็เพราะแม้ในขณะจิตเดียวกันจักขวายตนะเป็นต้น มี

มหาภูตรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ มีหทยรูปเป็นปัจจัย และอายตนะแม้ทั้ง

หมด มีเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไปด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัย และสหชาต

ปัจจัยเป็นต้น ตามควรฉะนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตตฺถ กตฺม นามรูปปจฺจยา

สฬายตน จกฺขวายตน ในปัจจยาการนั้นสฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็น

ปัจจัยเป็นไฉน ? คือจักขวายตนะ.

ปฐมจตุกนิเทศ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 652

นิเทศจตุกะที่ ๒

คำทั้งหมดในจตุกะที่ ๒ ตื้นทั้งนั้น.

นิเทศจตุกะที่ ๓

ในจตุกะที่ ๓ ความเป็นสัมปยุตตปัจจัยไม่มีแก่ปัจจัยใด ปัจจยาการใด

มี เพื่อทรงแสดงปัจจยาการนั้น ๆ ไว้แผนกหนึ่ง จึงตรัสว่า อิท วุจฺจติ

วิญฺาณปจฺจยา นามรูป วิญฺาณสมฺปยุตฺต นาม นี้เรียกว่านามรูป

เรียกว่า นามสัมปยุตด้วยวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

ตติยจตุกนิเทศ จบ

นิเทศจตุกะที่ ๔

นิเทศแห่งนามเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัยในจตุกะที่ ๔ แม้มิได้ตรัสว่า

"เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เว้นผัสสะ นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะผัสสะ

เป็นปัจจัย" ดังนี้ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะได้ตรัสว่า "เวทนาขันธ์ ฯลฯ

วิญญาณขันธ์ เว้นผัสสะ" ดังนี้ ในนิเทศบทอดีตโดยลำดับ นั้นแม้มิได้ตรัส

ก็นับว่าเป็นอันตรัสแล้วโดยแท้ เพราะนามใดเป็นปัจจัยแก่ผัสสะนั้นแหละ แม้

ผัสสะก็เป็นปัจจัยแก่นามนั้น เหมือนกันฉะนี้แล.

จตุตถจตุกนิเทศ จบ

อนึ่ง พึงทราบนัย ๘ แม้มีสังขารเป็นมูลเป็นต้น เหมือนนัยที่หนึ่ง

มีอวิชชาเป็นมูลซึ่งจำแนกไว้ ๑๖ วาระ ในจตุกะ ๔ ที่ทรงประกาศในอกุศลจิต

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 653

ดวงที่ ๑ นี้ ส่วนพระบาลีทรงย่อไว้ และพึงทราบว่า ในอกุศลจิตดวงที่หนึ่ง

นั้นแหละ มี ๙ นัย ๓๖ จตุกะ และ ๑๔๔ วาระ ด้วยประการฉะนี้.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงปัจจยาการแม้ในอกุศลจิตที่เหลือ โดยนัยนี้

แหละ จึงเริ่มคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา อกุสลา (ธรรมเป็นอกุศล เป็น

ไฉน).

ในพระบาลีนั้น เพราะในจิตที่พรากจากทิฏฐิ ไม่มีอุปาทานเกิด เพราะ

ตัณหาเป็นปัจจัย ฉะนั้นจึงทรงเพิ่มอธิโมกข์ซึ่งเป็นนิบาตกระทำให้มั่นคง เป็น

ดุจอุปาทานเกิดในที่แห่งอุปาทาน. และเพราะในจิตที่สหรคตด้วยโทมนัส แม้

ตัณหาที่มีเวทนาเป็นปัจจัยก็ไม่มี ฉะนั้นจึงทรงเพิ่มบทปฏิฆะที่เป็นกิเลสมีกำลัง

เป็นดุจตัณหาเกิดในที่ตัณหา ทรงเพิ่มบทอธิโมกข์นั่นแหละ ในที่แห่งอุปาทาน.

ส่วนในอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา ย่อมไม่มีแม้อธิโมกข์ เพราะ

ไม่มีการตัดสิน ฉะนั้น จึงทรงเพิ่มบทด้วยวิจิกิจฉาซึ่งเป็นกิเลสมีกำลังไว้ในที่

แห่งตัณหาลดฐานะแห่งอุปาทานเสีย แต่ในอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยอุทธัจจะมีอธิ-

โมกข์ฉะนั้น จึงทรงเพิ่มบทด้วยอุทธัจจะซึ่งเป็นกิเลสมีกำลัง ในที่แห่งตัณหา

ทรงเพิ่มบทอธิโมกข์นั่นแหละไว ในที่อุปาทาน. ก็พระผู้พระภาคเจ้าทรง

แสดงเหตุสักว่า ความต่างกันในอกุศลทั้งหมด แล้วทรงย่อพระบาลีไว้ ก็

ความต่างกันนี้ ทรงแสดงไว้ในนิเทศอธิโมกข์นั้น เป็นนิเทศอธิโมกข์ที่ยังมิได้

เคยแสดงมาก่อน. คำที่เหลือมาในภายหลังทั้งนั้น.

ก็ในนิเทศแห่งอธิโมกข์ มีวินิจฉัยว่า

ที่ชื่อว่า อธิโมกข์ เพราะอำนาจการตัดสินอารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง

ที่ชื่อว่าอธิโมกข์ (การตัดสินใจ) เพราะอรรถว่า น้อมใจไปให้อารมณ์นั้น คือ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 654

ถึงความตกลงใจ เพราะไม่มีความสงสัย. อาการที่ตัดสินอารมณ์ ชื่อว่า

อธิมุจฺจนา (กิริยาที่ตัดสินใจ) ที่ชื่อว่า ตทธิมุตฺตตา (ความตัดสินใจใน

อารมณ์นั้น) เพราะอรรถว่า ความน้อมใจไปในอารมณ์นั้น ก็ในจิตทุกดวง

พึงทราบประเภทแห้งนัยจตุกะโดยนัยที่กล่าวในปฐมจิต (อกุศล) นั่นแหละ

ก็เพราะในอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาไม่มีนัย มีอุปาทานเป็นมูลอย่างเดียว

จึงมี ๘ นัย ๓๒ จตุกะ และเป็น ๑๒๘ วาระ ฉะนี้แล.

อกุศลนิเทศ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 655

กุศลนิเทศ

กามาวจรกุศลจิต ๘

กามาวจรกุลจิตดวงที่ ๑

[๓๕๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยวิญญาณ มีรูปเป็น

อารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏ-

ฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นใน

สมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะ

สังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที ๖ เกิดเพราะ

นามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะ

ผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็น

ปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะ

เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้.

[๓๕๙] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน ?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ

ในกุศลมูลนั้น อโลภะ เป็นไฉน ?

การไม่โลภ กิริยาที่จะไม่โลภ ความไม่โลภ ความไม่กำหนัดนัก

กิริยาที่ไม่กำหนัดนัก ความไม่กำหนัดนัก ความไม่เพ่งเล็งที่เอาทรัพย์สมบัติ

ของผู้อื่น กุศลมูลคืออโลภะ อันใด นี้เรียกว่า อโลภะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 656

อโทสะ เป็นไฉน ?

การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่คิดประทุษ

ร้าย ความไม่คิดพยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ อันใด

นี้เรียกว่า อโทสะ

อโมหะ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-

ทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า อโมหะ

สภาวธรรมเหล่านั้นเรียกว่า กุศลมูล

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สงบ เป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง อันใด นี้

เรียกว่า ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด

นี้เรียกว่า อธิโมกข์เพราะปสาทะเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 657

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์

นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๒-๓-๔

[๓๖๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยวิญญาณ มีรูปเป็น

อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมี

การชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ...เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ .... เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด

ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็น

ปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็น

ปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็น

ปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิด

เพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้.

[๓๖๑] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน ?

อโลภะ อโทสะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 658

ในกุศลมูลนั้น อโลภะ เป็นไฉน ?

การไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความไม่โลภ การไม่กำหนัดนัก กิริยา

ที่ไม่กำหนัดนัก ความไม่กำหนัดนัก ความไม่เพ่งเล็งที่จะเอาทรัพย์สมบัติของ

ผู้อื่น กุศลมูลคืออโลภะ อันใด นี้เรียกว่า อโลภะ

อโทสะ เป็นไฉน ?

การไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ความไม่ประทุษร้าย

ความไม่คิดพยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ อันใด นี้

เรียกว่า อโทสะ.

สภาวธรรมเหล่านั้น เรียกว่า กุศลมูล

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๕-๖

[๓๖๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น

อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด

ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญาณเกิดเพราะสังขารเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 659

ปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็น

ปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็น

ปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิด

เพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้.

[๓๖๓] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน ?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า กุศลมูล

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใดนี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 660

กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๗-๘

[๓๖๔] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต หรือด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็น

อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ใน

สมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัยวิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพ

เกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิด

เพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้.

[๓๖๕] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน ?

อโลภะ อโทสะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้น เรียกว่า กุศลมูล

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม

มีด้วยประการอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 661

รูปาวจรกุศลจิต

[๓๖๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นาม

เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะ

เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะ

เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะ

อธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็น

ปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๖๗] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน ?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า กุศลมูล

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 662

อรูปาวจรกุศลจิต

[๓๖๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง

อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนว-

สัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ

โสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัยใด

ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็น

ปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็น

ปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็น

ปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิด

เพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้.

[๓๖๙] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน ?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านั้น เรียกว่า กุศลมูล

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 663

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

โลกุตรกุศลจิต

[๓๗๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก

ให้เช้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและ

สุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นาม

เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะ

เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะ

เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะ

อธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็น

ปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๗๑] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน ?

อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฯลฯ

ในกุศลมูลเหล่านั้น อโมหะ เป็นไฉน ?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ

ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้

เรียกว่า อโมหะ สภาวธรรมเหล่านี้เล่า กุศลมูล

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 664

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง อันใด นี้

เรียกว่า ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด

นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์

นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ

คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้นั้น

ได้แก่ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏแห่งธรรมเหล่านี้

ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งธรรม

เหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฉะนี้แล.

กุศลนิเทศ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 665

อธิบายกุศลนิเทศ (บาลีข้อ ๓๕๘)

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เพื่อทรงแสดงปัจจยาการใน

กุศลจิตเป็นต้น โดยนัยนี้แหละ จึงเริ่มคำมีอาทิว่า กตเม ธมมา กุสลา

(ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน) ดังนี้.

ก็ในอกุศลจิต พระองค์ทรงตั้งมาติกาไว้ก่อนแล้วทรงทำนิเทศไว้ใน

ภายหลัง แต่ในกุศลนิเทศนี้ พระองค์มิได้ทรงทำเช่นนั้น เพราะเหตุไร ?

เพราะความต่างกันในวาระว่าด้วยอัปปนา ด้วยว่าในโลกิยกุศลจิตเป็นต้น

ย่อมเป็นอัปปนา โดยพระบาลีว่า เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺ-

ธสฺส กองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ เพราะความที่ธรรมเหล่านั้น

เนื่องในทุกขสัจจะ ในโลกุตรกุศลเป็นต้น ย่อมเป็นอัปปนาแก่ธรรมเหล่านั้น

ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น ในกุศลเป็นต้นนี้ จึงไม่อาจเพื่อทรงตั้งมาติกา

โดยสาธารณะ จึงทรงยกมาติกาแห่งกุศลเป็นต้นเหล่านั้น ๆ ขึ้นแสดงแต่ละอย่าง

แล้วทรงทำนิเทศ ในกุศลเหล่านั้น เพราะไม่มีอวิชชารวมกับกุศลสังขารใน

ขณะแห่งจิตดวงเดียวกัน ฉะนั้น จึงไม่ตรัสอวิชชานั้น แล้วตรัสกุศลมูลโดย

เป็นรากเหง้าแห่งกุศลทั้งหลาย เหมือนอวิชชาเป็นรากเหง้าของอกุศลทั้งหลาย

และเพราะความไม่มีตัณหาอุปาทาน จึงตรัสปสาทะ (ความผ่องใส) อันหยั่ง

ลงในภายในอารมณ์ เหมือนตัณหาตั้งอยู่ในที่แห่งตัณหา ตรัสอธิโมกข์ ชื่อว่า

การตกลงใจอย่างมั่นคงเหมือนอุปาทานตั้งอยู่ในที่แห่งอุปาทานฉะนั้น. คำที่

เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวในหนหลังนั้นแหละ ฉะนี้แล.

กุศลนิเทศ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 666

อัพยากตนิเทศ

อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๑

[๓๗๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

จักขุวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิด

ขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วในสมัยใด

ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็น

ปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖

เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย มรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้น

แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๗๓] ในปัจจยาการเหล่านี้ สังขาร เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้ เรียกว่าสังขาร

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ จักขุวิญญาณธาตุสมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะ

วิญญาณเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 667

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด

นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย-

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดพระผัสสะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะเป็นเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นเวทนา นี้เรียกว่า ภพ

เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

[๓๗๔] ในสมัยนั้น วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดขึ้นเพราะสังขารเป็น

ปัจจัย นามมีวิญญาณเป็นเหตุ เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ มี

นามเป็นเหตุ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะมีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุ เกิด

เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนามีผัสสะเป็นเหตุเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 668

เพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีประการ

อย่างนี้.

[๓๗๕] ในสมัยนั้น วิญญาณอันสัมปยุตด้วยสังขารเกิดเพราะสังขาร

เป็นปัจจัย นามอันสัมปยุตด้วยวิญาณเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะ

ที่ ๖ อันสัมปยุตด้วยนามเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอายตนะ

ที่ ๖ เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาอันสัมปยุตด้วยผัสสะเกิดเพราะ

ผัสสะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม

มีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๗๖] ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย สังขารเกิด

แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย วิญญาณเกิด

แม้เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย นามเกิด

แม้เพราะอายตน่ะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดแม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดแม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ชาติเกิด

เพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่ง

กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๒-๓-๔-๕

[๓๗๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โสตวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 669

อารมณ์ เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรส

เป็นอารมณ์เกิดขึ้น กายวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยสุขมีโผฏฐัพพะเป็น

อารมณ์ เกิดขึ้นเพราะกามาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว

ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะ

วิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะ

อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะ

เวทนาเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็น

ปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๗๘] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่านอันใด นี้เรียกว่าสังขาร ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความสบายทางกายความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่กายสัมผัสอันใด

นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นเวทนา นี้เรียกว่าภพ

เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 670

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๖

[๓๗๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์หรือมี

เสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์

หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว

ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะ

เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย อธิโมกข์

เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพ

เป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้ง

มวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๘๐] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่าสังขาร

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณ

เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่าเวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 671

อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด

นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์

นี้เรียกว่าภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๗

[๓๘๑] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์

ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นเพราะกามาวจร-

กุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณ

เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖

เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิด

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะ

อธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็น

ปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๘๒] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่าสังขาร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 672

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาที่เสวยอารมณ์ สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจ ในอารมณ์นั้น อันใด

นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์

นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๘

[๓๘๓] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์

ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นเพราะกามาวจร-

กุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 673

เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖

เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิด

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะ

อธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็น

ปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๘๘] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น นี้เรียกว่า

อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์

นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 674

กามาวจรวิบากจิต ๘

[๓๘๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ

มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น

ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ...เกิดขึ้น โดยมีการชักจูง ฯลฯ

สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ...เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส

วิปปยุตจากญาณ...เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต

ด้วยญาณ...เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ...เกิดขึ้น

โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ...เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ....เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง เพราะ

กามาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะ

ที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนา

เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิด

เพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพ

เป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์

ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

[๓๘๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 675

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ

ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง อันใด

นี้เรียกว่า ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด

นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์

นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

รูปาวจรวิบากจิต

[๓๘๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลกรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ

อวิกเขปะมีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 676

โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุ

ปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่ง

สมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก มี

ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขาร

เป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็น

ปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็น

ปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิด

เพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้.

อรูปาวจรวิบากจิต

[๓๘๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง

อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วย

เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราละสุขละทุกข์ได้

เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ใน

สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล

โยคาวจรบุคคล เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง

จึงบรรลุจตุตถฌาน อันเป็นวิบากเพราะอรูปาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว

ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มี

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 677

ทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสบสนิทในก่อน

มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะ

สังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนาม

เป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็น

ปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิด

เพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้.

โลกุตรวิบากจิต

[๓๘๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก

ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร มี

ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด ผัสสะ

ฯลฯ อวิกเขปะมีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล

โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุ

ปฐมฌาน อันเป็นวิมาก เพราะโลกุตรกุศลฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญ

ไว้แล้วทั้งนั้นแล ประกอบด้วยวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขา-

ปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิด

เพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 678

เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะ

ผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะ

เป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้.

อกุศลวิบากจิต ๗

อกุศลวิบากจิต

ดวงที่ ๑-๒-๓-๔-๕

[๓๙๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

จักขุวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิด

ขึ้น ฯลฯ โสตวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัย

นั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะ

ภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์

ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 679

[๓๙๑] ในปัจจยาการเหล่านี้ สังขาร เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ กายวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความไม่สบายทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่

สบาย เป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อัน

เกิดแต่กายสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นเวทนา นี้เรียกว่า ภพ

เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม

มีด้วยประการอย่างนี้.

อกุศลวิบากจิตดวงที่ ๖

[๓๙๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี

โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรม

อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะ

สังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 680

นามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะ

เป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็น

ปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความ

เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๙๓] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า วิญญาณ

เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด

นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์

นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 681

อกุศลวิบากจิตดวงที่ ๗

[๓๙๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์

ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นเพราะอกุศลกรรม

อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะ

สังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะ

นามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะ

ผัสสะเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์

เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๓๙๕] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

อเหตุกกิริยาจิต ๓

[๓๙๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก

สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 682

ปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยาไม่ใช่กุศล

ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ

มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ

เป็นกิริยาไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศลและไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา

มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น

ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะ

วิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะ

อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะ

เวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

กามาวจรกิริยาจิต ๘

[๓๙๗] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรม-

วิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรม

เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส

สัมปยุตด้วยญาณ . . . เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปยุต-

จากญาณ. . . เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปยุตจากญาณ. . .เกิดขึ้น

โดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ. . . เกิดขึ้นโดย

มีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ. . . เกิดขึ้น ฯลฯ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 683

สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ . . .เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด

ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็น

ปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖

เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติ

เกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่ง

กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

รูปาวจรกิริยาจิต

[๓๙๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

พระขีณาสพ เจริญรูปาวจรฌาน เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล

และไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐิธรรมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล-

ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข

อันเกิดแต่วิเวก มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น วิญญาณ

เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖

เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนา

เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิด

เพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพ

เป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้ง-

มวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 684

อรูปาวจรกิริยาจิต

[๓๙๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

พระขีณาสพ เจริญอรูปาวจรฌาณ เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่

อกุศลและไม่ใช่กรรมวิบาก แต่เป็นทิฏฐิธรรมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงอากิญ-

จัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานอันสหรคตด้วยเนวสัญ-

ญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ เพราะ

โสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ในสัตว์ใด

ในสมัยนั้น วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็น

ปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖

เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติ

เกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่ง

กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อัพยากตนิเทศ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 685

อัพยากตนิเทศ (บาลีข้อ ๓)

อธิบายความ

อัพยากฤต ทรงจำแนกไว้โดยลำดับที่มาในจิตตุปปาทกัณฑ์ ในหน

หลังแล้วนั้นแหละ ในวาระทั้งหมด ทรงลดอวิชชาเป็นมูล เพราะเหตุไร ?

เพราะไม่มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในฐานะแห่งอวิชชา จริงอยู่ ในกุศลจิตทั้งหลาย

มีกุศลมูลพึงตั้งในฐานะแห่งอวิชชา ในอเหตุกจิตมีจักขุวิญญาณเป็นต้น ก็ไม่มี

แต่ในสเหตุกจิตทั้งหลายมีกุศลมูอยู่โดยแท้ แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์จึง

ทรงตัดออกเสียในสเหตุกจิตนี้ ไม่ทรงถือเอาในอเหตุกจิตนั้น ในกระแสแห่ง

วิญญาณ ๕ พึงทราบว่า ทรงทำเทศนาเป็นสภาพให้ตกไปในกระแสเดียว

(คือแสดงโดยลำดับ ).

อนึ่ง ว่าโดยต่างกัน ในอัพยากฤตนี้ทรงลดฐานะแห่งตัณหา และอุปา-

ทานในอเหตุกจิตมีจักขุวิญญาณเป็นต้น เพราะเหตุไร ? เพราะไม่มีธรรมที่มี

กำลังอันควรแก่ฐานะแห่งตัณหา และเพราะเว้นจากอธิโมกข์ แต่ในอเหตุกจิตที่

เหลือ ทรงลดฐานะแห่งตัณหาโดยแท้.

ในสเหตุกจิตทั้งหลาย ทรงเพิ่มบทปสาทะ ในที่แห่งตัณหา เพราะ

เป็นสภาพแห่งความผ่องใส. บรรดาอัพยากฤตเหล่านี้ ในอเหตุกจิตมีจักขุวิญ-

ญาณเป็นต้นที่เป็นกุศลวิบาก และอกุศลวิบาก พึงทราบนัยอย่างละ ๖ ซึ่งมี

สังขาร วิญญาณ นาม สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนาเป็นมูล ในอเหตุกจิต

ที่เหลือ พึงทราบว่า มีนัยอย่างละ ๗ กับนัยที่มีอธิโมกข์เป็นมูล. ส่วนใน

สเหตุกจิตทั้งหลาย พึงทราบนัยอย่างละ ๘ กับปสาทะเป็นมูล.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 686

บรรดาอัพยากฤตเหล่านั้น ตรัสวาระเบื้องต้นของจตุกะทั้ง ๔ ไว้

อย่างเดียวแม้ในจักขุวิญญาณเป็นต้น. วาระที่ ๒ แม้ได้อยู่ด้วยอรรถว่าความ

ต่างกันแห่งปัจจัย ก็ไม่ตรัสไว้. วาระที่ ๓ ที่ ๔ ไม่ตรัสไว้เพราะไม่มีนั่นเอง

ก็วาระที่ ๓ ที่ ๔ ระคนด้วยรูป และจักขุวิญญาณเป็นต้นย่อมยังรูปให้ตั้งขึ้น

ไม่ได้ แม้ในจตุกะที่เหลือก็ได้เหมือนในจตุกะที่หนึ่งซึ่งมี ๒ วาระ เพราะฉะ

นั้น พึงทราบทุติยวาระในปฐมจตุกะ และวาระในจตุกะที่เหลือจตุกะละ ๒ วาระ

แม้ไม่ตรัสไว้ พึงทราบว่าตรัสไว้ทีเดียว ในอัพยากตะแห่งอเหตุกะที่เหลือได้

วาระแม้ทั้งปวงในจตุกะทั้งหมด. แต่เพราะตัดออกในจตุกะนี้ จึงมิทรงถือเอา

ข้างหน้า เทศนาที่ตกไปในกระแสทรงทำแล้ว ด้วยประการฉะนี้. แม้ใน

วิบากได้สเหตุกวิบากที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน เว้นอรูปวจรวิบาก เพราะใน

อรูปาวจร ๒ วาระเท่านั้น ฉะนี้แล.

อัพยากตนิเทศ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 687

อวิชชามูลกกุศลนิเทศ

กามาวจรกุศลจิต ๘

กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑

[๔๐๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น

อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด

ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็น

ปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพ

เกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะ

ชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๔๐๑] ในปัจจยากการเหล่านั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิด เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโต-

สัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 688

ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง อันใด

นี้เรียกว่า ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด

นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์

นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

[๔๐๒] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิด

เพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะนาม

เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติ

เกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่ง

กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๔๐๓] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิด

เพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิด

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิด

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 689

ปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์กองมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

[๔๐๔] ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิด

เพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะเกิด

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะ

ผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะ

เป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม

มีด้วยประการอย่างนี้.

กามาวจรกุศลจิต

ดวงที่ ๒-๓-๔-๕-๖-๗-๘

[๔๐๕] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น

อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมี

การชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ... เกิดขึ้น ฯลฯ

สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ . . . เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ

สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ. . . เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา

สัมปยุตด้วยญาณ. . . เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปป-

ยุตจากญาณ. . .เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ. . .

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 690

เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็น

ปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์

เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะ

ภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์

ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

รูปาวจรกุศลจิต

[๔๐๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาณ ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสรมัยใด ในสมัยนั้น

สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นาม

เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตยะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะ

เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะ

เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะ

อธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็น

ปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 691

อรูปาวจรกุศลจิต

[๔๐๗] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง

อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนว-

สัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ เพราะ

โสมนัส และ โทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัย

ใด ในสมัยนั้นสังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็น

ปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็น

ปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็น

ปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิด

เพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้.

โลกุตรกุศลจิต

[๔๐๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก

ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ

และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ใน

สมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 692

นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายนตะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะ

เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะ

เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะ

อธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็น

ปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อวิชชามุลกกุศลนิเทศ จบ

กุศลมูลกวิบากนิเทศ

อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘

อเหตุกกุศลวิบากจิตดวงที่ ๑

[๔๐๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

จักขุวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิด

ขึ้นเพราะกามาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด

ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็น

ปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย

ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ภพ

เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะ

ชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๔๑๐] ในปัจจยาการเหล่านั้น การเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย

เป็นไฉน ?

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 693

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

อเหตุกกุศลวิบากจิต

ดวงที่ ๒- ๓-๔-๕-๖-๗-๘

[๔๑๑] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โสตวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิด

ขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณเป็นวิบากสหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยสุข มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น ฯลฯ มโนธาตุเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ

มีโผฏฐัพพะเป็นอารรมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ฯลฯ มโนวิญ-

ญาณธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรม

เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ

เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์

หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะกามาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว

ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะ

ที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 694

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิด

เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะ

ชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้.

กามาวจรวิบากจิต ๘

[๔๑๒] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุเป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ

มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น

ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ. . .เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ

สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ . . .เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส

วิปปยุตจากญาณ . . . เกิดขึ้นโดยมีการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมป-

ยุตด้วยญาณ. . . เกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ. . .

เกิดขึ้นด้วยการชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ. . .เกิดขึ้น

ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ. . . เกิดขึ้นโดยมีการชักจูงเพราะ

กามาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นาม

เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะ

เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะ

เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะ

อธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็น

ปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 695

รูปาวจรวิบากจิต

[๔๑๓] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัย

นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล

โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย แล้ว

บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลธรรนอันได้ทำไว้แล้ว ได้

สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก มี

ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูล

เป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็น

ปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖

เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติ

เกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่ง

กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อรูปาวจรวิบากจิต

[๔๑๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทา เพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าว

ล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาณ อันสหรคตด้วย

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 696

เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้

เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า

กุศล

โยคาวจรบุคคล เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง

จึงบรรลุจตุตถฌาน อันเป็นวิบาก เพราะอรูปาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้

แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา

ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิท

ในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัยใด สมัยนั้น สังขารเกิดเพราะ

กุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิด เพราะ

วิญญารเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะ

อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิดเพราะ

เวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์

เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

โลกุตรวิบากจิต

[๔๑๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้

เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล

ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิด

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 697

แต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ

มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล

โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว

บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตรกุศลฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้

เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก

เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อ ยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขาร

เกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิด

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิด

เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ปสาทะเกิด

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะ

อธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็น

ปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

กุศลมูลกวิบากนิเทศ จบ

อวิชชามูลกกุศลนิเทศ (บาลีข้อ ๔๐๐)

ว่าด้วยกุศลนิเทศ อีกอย่างหนึ่ง

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงปัจจยาการในขณะแห่งจิต

เดียวกัน โดยปริยายอื่น จึงเริ่มคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ดังนี้อีก.

ในพระบาลีนั้น คำว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย นี้ตรัสหมายเอา

ความเป็นอุปนิสสยปัจจัย ด้วยเหตุนั้นแหละ ในนิเทศวาร จึงมิได้ทรงจำแนก

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 698

ว่า ตตฺถ กตมา อวิชฺชา (ในปัจจยาการนั้น อวิชชาเป็นไฉน) ทรงจา

แนกว่า ตตฺถ กตโม อวิชฺชาปจฺจยา สขาโร (ในปัจจยาการนั้น สังขาร

เกิดเพราะอวิชชา เป็นไฉน) เพราะสังขารกล่าวต่อกุศลเจตนาอย่างเดียวเท่านั้น

เกิดร่วมกับจิตในสมัยนั้น หาใช่อวิชชาไม่.

ในพระบาลีนั้น อวิชชาเป็นปัจจัยแก่โลกิยกุศล โดยนัยทีกล่าวไว้ใน

สุตตันตภาชนีย์ในหนหลังนั้นแหละ ก็เพราะบุคคลยังละอวิชชาไม่ได้ จึงเจริญ

โลกุตรกุศล เพื่อละอวิชชา. ฉะนั้น สังขารคือกุศลเจตนานั้น จึงเป็นปัจจัย

ได้ด้วยอำนาจการก้าวล่วงอวิชชาแม้นั้น จริงอยู่ เมื่อบุคคลยังมีอวิชชานั่นแหละ

จึงประกอบกุศล การประกอบกุศลของบุคคลนอกนี้หามีไม่ ในการประกอบ

กุศลนั้น ย่อมได้การประกอบกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓ ด้วยอำนาจแห่งความ

ลุ่มหลงบ้าง ด้วยอำนาจแห่งการเจริญเพื่อก้าวล่วงบ้าง ในโลกุตรกุศล ย่อม

ได้ด้วยอำนาจภาวนาตัดขาดฉะนี้แล. คำที่เหลือ มีนัยตามที่กล่าวแล้วนั้น แหละ.

ส่วนความต่างกัน มีดังนี้

ในกุศลแต่ละอย่างในหนหลังได้กุศล๑๖ หมวด รวม ๙ หมวด ด้วย

อำนาจจตุกะละ ๔ ในที่นี้ไม่ได้เหมือนอย่างนั้น เพราะเหตุไร เพราะอวิชชา

ไม่เป็นอวิคตปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย. ก็ในกุศลมีอวิชชา

เป็นมูลนี้ ย่อมได้จตุกะที่หนึ่งเท่านั้น ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย แม้จตุกะที่

หนึ่งนั้น ก็ทรงแสดงย่อไว้เฉพาะวาระที่หนึ่งเท่านั้น แต่บัณฑิตก็ควรนำออก

แสดง ฉะนี้แล.

อวิชชามูลกกุศลนิเทศ จบ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 699

อกุศลมูลกวิบากนิเทศ

อกุศลวิบากจิต ๗

อกุศลวิบากจิตดวงที่ ๑

[๔๑๖] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

จักขุวิญญาณ อันเป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ใน

สมัยนั้น สังขารเกิดเพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็น

ปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็น

ปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็น

ปัจจัย ภพเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะ

เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้.

[๔๑๗] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขารเกิดเพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย

เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 700

อกุศลวิบากจิตดวงที่ ๒-๓-๔-๕-๖

[๔๑๘] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

โสตวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น ฯลฯ ฆานวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็น

อารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรส

เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณเป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะ

เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ มโนธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูป

เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น

เพราะอกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น

สังขารเกิดเพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นาม

เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะ

เกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย อธิโมกข์

เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะ

ภพเป็นปัจจัย ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์

ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อกุศลวิบากจิตดวงที่ ๗

[๔๑๙] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?

มโนวิญญาณธาตุ เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์

ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรม

อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว ในสมัยใด ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะ

อกุศลมูลเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามเกิดเพราะวิญญาณ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 701

เป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่

๖ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖

เป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็น

ปัจจัย ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะ

เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้.

[๔๒๐] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขารเกิดเพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย

เป็นไฉน ?

การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขาร

เกิดเพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย.

[๔๒๑] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

[๔๒๒] นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นามเกิดเพราะ

วิญญาณเป็นปัจจัย.

[๔๒๓] อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย.

[๔๒๔] ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ความถูกต้อง อันใด

นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย.

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 702

[๔๒๕] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย

อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๔๒๖] อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด

นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย.

[๔๒๗] ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์

นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย.

[๔๒๘] ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดจำเพาะ ความ

ปรากฏ แห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ชาติเกิดเพราภพเป็นปัจจัย.

[๔๒๙] ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?

ชรา ๑ มรณะ ๑

ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน ?

ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความเสื่อมสิ้นอายุ แห่งธรรมเหล่านั้น

อันใด นี้เรียกว่า ชรา

มรณะ เป็นไฉน ?

ความสิ้นไป ควานเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง

ความหายไป แห่งธรรมเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า มรณะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 703

ชราและมรณะดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็น

ปัจจัย.

[๔๓๐] คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้ นั้น ได้แก่ ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความ

ปรากฏแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึง

เรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

อกุศลมูลกวิบากนิเทศ จบ

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

ปัจจยาการวิภังค์ จบบริบูรณ์

อกุศลมูลวิบากนิเทศ (บาลีข้อ ๔๑๖)

ว่าด้วยอกุศลวิบากจิต ๗

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะทรงแสดงปัจจยาการแม้ใน

อัพยากฤตทั้งหลาย โดยนัยอื่นอีกทีเดียว จึงทรงเริ่มคำมีอาทิว่า กตเม ธมฺมา

อพฺยากตา ธรรมเป็นอัพยากฤตเป็นไฉน ดังนี้.

ในพระบาลีนั้น คำว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย แม้นี้ ตรัส

หมายเอาความเป็นอุปนิสสยปัจจัย จริงอยู่ กุศลมูลย่อมเป็นปัจจัยแก่กุศลวิบาก

และอกุศลมูลเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่อกุศลวิบาก แต่ไม่ควรกล่าวถึงกรรมปัจจัย

ที่เกิดต่างขณะกันทีเดียว ฉะนั้น ปัจจัยที่เป็นกุศลมูล และอกุศลนี้ จึงเป็น

ปัจจัย ด้วยอุปนิสสยปัจจัย และกรรมปัจจัยที่เกิดต่างขณะกัน ด้วยเหตุนั้นแหละ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 704

ในนิเทศวาร จึงไม่จำแนกว่า ตตฺถ กตม กุสลมูล ในปัจจยาการนั้น

กุศลมูลเป็นไฉน ทรงจำแนกว่า ตตฺถ กตโม กุสลมูลปจฺจยา สขาโร

ในปัจจยาการนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน ดังนี้. แม้ใน

อกุศลวิบากก็นัยนี้เหมือนกัน.

อนึ่ง ในวิบากนิเทศแม้นี้ ย่อมได้เฉพาะปัจจยจตุกะที่หนึ่งเท่านั้น

ดุจในนิเทศแห่งอกุศลมีอวิชชาเป็นมูล แม้ปัจจยจตุกะนั้น ก็ทรงแสดงปฐมวาร

แล้วทรงย่อไว้ ฉะนั้น พึงทราบประเภทแห่งวาระ ในนัยที่มีกุศลเป็นมูลและ

อกุศลเป็นมูล ด้วยอำนาจจตุกะแต่ละจตุกะในวิปากจิตแต่ละดวง แต่เพราะ

อวิชชา และกุศลมูล อกุศลมูล ย่อมไม่ได้ความเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่-

เป็นกิริยา ฉะนั้น จึงไม่ควรกล่าวปัจจยาการ ด้วยอำนาจกิริยาแล.

ด้วยประการฉะนี้ ปัจจยาการนี้

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีวาทะประ-

เสริฐตรัสไว้ โดยประเภทมิใช่น้อย ในธรรม

ที่เป็นอกุศล กุศล และอัพยากฤต ส่วนใน

วิบากแห่งกุศลและอกุศล ตรัสไว้อย่างเดียว

เท่านั้น ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย เพื่อความ

แตกฉานปรีชาญาณ ในประเภทธรรมที่เป็น

ปัจจัย เพราะเมื่อเว้นลำดับแห่งปริยัติ การฟัง

การคิดการปฏิบัติย่อมไม่แตกฉานปรีชาญาณ

ในปัจจยาการนี้ แม้ในกาลไหน ๆ ฉะนั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 705

นักปราชญ์ ผู้มีปัญญาทรงจำ ควรทำในปัจจ

ยาการนั้น โดยลำดับแห่งปริยัติ การฟัง การ

คิด และปฏิบัติในกาลทุกเมื่อ เพราะกิจอื่นที่

ควรทำยิ่งกว่าปัจจยาการนั้น มิได้มี ฉะนี้แล.

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

ก็ในปัจจยาการนี้ พระองค์ทรงนำออกจำแนกแสดงไว้ ๒ ปริวรรค คือ

ด้วยอำนาจสุตตันตภาชนีย์ และอภิธรรมภาชนีย์เท่านั้น ดังนี้แล.

ปฏิจจสมุปปาทวิภังคนิเทศ จบ