ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 1

จริยาปิฎก

๑. การบำเพ็ญทานบารมี

๑. อกิตติจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของอกิตติดาบส

[๑] ในสี่อสงไขยแสนกัป ความประพฤติอัน

ใดในระหว่างนี้ ความประพฤติทั้งหมดนั้น เป็น

เครื่องบ่มพระโพธิญาณ เราจักเว้นความประ-

พฤติในภพน้อยใหญ่ในกัปล่วงแล้วเสีย จัก

บอกความประพฤติในกัปนี้ จงฟังเรา ในกาล

ใด เราเป็นดาบส ชื่ออกิตติ เข้าไปอาศัยอยู่

ในป่าใหญ่อันว่างเปล่า สงัดเงียบ ปราศจาก

เสียงอื้ออึง ในกาลนั้น ด้วยเดชแห่งการประ-

พฤติตบะของเรา สมเด็จอัมรินทร์ผู้ครองไตร-

ทิพย์ทรงร้อนพระทัย ทรงแปลงเพศเป็น

พราหมณ์เข้ามาหาเราเพื่อภิกษา เราได้เห็นอินท-

พราหมณ์มาขึ้นอยู่ใกล้ประตูบรรณศาลาของเรา

จึงเอาใบหมากเม่าที่เรานำมาแต่ป่า อันไม่มีน้ำ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 2

มัน ทั้งไม่เค็มให้หมด พร้อมกับภาชนะ.

ครั้นได้ให้หมากเม่าแก่อินทพราหมณ์นั้นแล้ว

เราจึงคว่ำภาชนะ ละการแสวงหารบทมากเม่า

ใหม่ เข้าไปยังบรรณศาลา แม้ในวันที่ ๒

แม้ในวันที่ ๓ อินทพราหมณ์ก็เข้ามายังสำนัก

ของเรา เราไม่หวั่นไหว ไม่อาลัยในชีวิต ได้

ให้หมดสิ้นเช่นวันก่อนเหมือนกัน ในสรีระ

ของเราไม่มีความหมองศรีเพราะการอดอาหาร

นั้นเป็นปัจจัย เรายังวันนั้น ๆ ให้น้อมล่วง

ไปด้วย ปีติ สุข และความยินดี ถ้าเรา

พึงได้ทักขิไณยบุคคลผู้ประเสริฐ แม้เดือน

หนึ่งสองเดือนเราก็ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อแท้ใจ

พึงทานอันอุดม เมื่อให้ทานแก่ อินทพราหมณ์

นั้น เราจะได้ปรารถนายศและลาภก็หามิได้

เราปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณเท่านั้น จึง

ได้ประพฤติกรรมเหล่านั้น ฉะนี้.

จบอกิตติจริยาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 3

อรรถกถาจริยาปิฎก

ในขุททนิกายชื่อว่าปรมัตถทีปนี

ขอความนอบน้อมจงมีแด่

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

คันถารัมภกถา

(กถาเริ่มแต่งคัมภีร์)

พระจริยาเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพ

โลกของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณ

ใหญ่พระองค์ใด ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีอานุภาพเป็นอจิน-

ไตย ผู้เป็นนายกเลิศของโลก.

พระจริยาสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ

นำสัตว์ออกจากโลกด้วยพระธรรมใด ข้าพเจ้า

ขอนมัสการพระธรรมอันอุดมนั้น อันพระสัม-

มาสัมพุทธเจ้าทรงบูชาแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 4

พระอริยสงฆ์ใด เป็นผู้ตั้งอยู่ในมรรค

และผลสมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ข้าพเจ้า

ขอนอบน้อมพระอริยสงฆ์นั้น ผู้เป็นเนื้อนาบุญ

อันยอดเยี่ยม.

บุญใด เกิดแต่การนอบน้อมนมัสการ

พระรัตนตรัย ขอข้าพเจ้า ปราศจากอันตราย

ในที่ทั้งปวงด้วยเดชแห่งบุญนั้น.

บารมีใด มีทานบารมีเป็นต้น อันเป็น

บารมีชั้นอุกฤษฏ์ซึ่งบุคคลทำได้ยาก อันพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณใหญ่ประทับ

อยู่ ณ นิโครธารามในแคว้นสักกะ ทรงประ-

กาศอานุภาพแห่งสัมโพธิจริยา แห่งพระบารมี

เหล่านั้น ทรงสะสมไว้ในภัตรกัปนี้.

ปิฎกใด ชื่อว่าจริยาปิฎกอันพระโลกนาถ

ทรงแสดงแล้วแก่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้

เป็นยอดแห่งพระสาวกทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 5

พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายผู้แสวง

หาคุณใหญ่ ได้ร้อยกรองปิฎกใดอันแสดงถึง

เหตุสมบัติของพระศาสดา.

การพรรณนาอรรถที่ทำได้ยาก ข้าพเจ้า

สามารถจะทำได้เพราะอาศัยนัยอันจำแนกสัม-

โพธิสมภารแห่งปิฎกนั้น.

เพราะการพรรณนาอันเป็นคำสอนของ

พระศาสดา จะทรงอยู่ การวินิจฉัยของบุรพ-

จารย์ผู้เป็นดังสีหะ จะดำรงอยู่ ฉะนั้น ข้าพเจ้า

จะรักษาและยึดปิฎกนั้นอันเป็นนัยแห่งอรรถ-

กถาเก่า อาศัยชาดกโดยประการทั้งปวงเป็นที่

อาศัยได้ มิใช่เป็นทางแห่งคำพูด บริสุทธิ์ด้วย

ดี ไม่วุ่นวาย เป็นข้อวินิจฉัยอรรถอันละเอียด

ของพระเถระทั้งหลายผู้อาศัยอยู่ ณ มหาวิหาร

แล้วจักทำการพรรณนาอรรถแห่งจริยาปิฎกนั้น

แสดงพระบารมีอันมีเนื้อความที่ได้แนะนำแล้ว

และควรแนะนำต่อไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 6

ด้วยประการฉะนี้ขอท่านสาธุชนทั้งหลาย

เมื่อหวังให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ตลอดกาลนาน

จงพิจารณาอรรถแห่งปิฎกนั้น ซึ่งจำแนกไว้

ฉะนี้แล.

ในบทเหล่านั้นบทว่า จริยาปิฎก ชื่อว่าจริยาปิฎกด้วยอรรถว่าอย่าง

ไร ? ด้วยอรรถว่าเป็นตำราประกาศถึงพระจริยานุภาพของพระศาสดาในชาติ

ที่เป็นอดีต. จริงอยู่ ปิฎก ศัพท์นี้ มีอรรถว่า ตำรา ดุจในบทมีอาทิว่า มา

ปิฏกสมฺปาทเนน อย่าเชื่อโดยอ้าง ตำรา. อีกอย่างหนึ่ง เพราะปริยัตินั้น

เป็นดังภาชนะประกาศอานุภาพของพระจริยาทั้งหลาย ในชาติก่อนของพระ-

ศาสดานั้นเอง ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า จริยาปิฎกจริงอยู่ แม้อรรถว่าภาชนะ

ท่านก็แสดงถึง ปิฎก ศัพท์ ดุจในประโยคมีอาทิว่า อถ ปุริโส อาคจฺเฉยฺย

กุทาลปิฏก อาทาย ครั้นบุรุษเดินมาก็ถือเอาจอบและ ตะกร้า มาด้วย.

อนึ่ง จริยาปิฎกที่นั้นนับเนื่องอยู่ในสุตตันตปิฎก ในปิฎก ๓ คือ วินัยปิฎก

สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก. นับเนื่องอยู่ในขุททกนิกายในนิกาย ๕ คือ

ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย.

สงเคราะห์เข้าใน คาถา ในองค์แห่งคำสอน ๙ องค์ คือ สุตตะ เคยยะ

เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตะ เวทัลละ. สงเคราะห์

เข้าในธรรมขันธ์เบ็ดเตล็ดในธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อันท่าน

ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก ได้ประกาศไว้อย่างนี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 7

เราได้ถือธรรมที่ปรากฏแก่เราจากพระ-

พุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ จากภิกษุ

๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์.

โดยวรรคสงเคราะห์เข้าใน ๓ วรรค คือ อกิตติวรรค หัตถินาค-

วรรค ยุธัญชนวรรค. โดยจริยาสังเคราะห์เข้าในจริยา ๓ คือใน อกิตต-

วรรค ๑๐ ในหัตถินาควรรค ๑๐ ในยุธัญชนวรรค ๑๕ ใน ๓ วรรค อกิตติ-

วรรค เป็นวรรคต้น. ในจริยา อกิตติจริยา เป็นจริยาต้น. คาถาต้นของ

อกิตติจริยานั้น มีอาทิว่า :-

ความประพฤติทั้งหมด ในระหว่างสี่

อสงไขยแสนกัป เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ.

ต่อจากนี้ไปจะเป็นการพรรณนาอรรถของจริยาปิฎกนั้นตามลำดับ.

จบ คันถวรัมภกถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 8

นิทานกถา

เพราะการพรรณนาอรรถนี้ ท่านกล่าวแสดงนิทาน ๓ เหล่านี้ คือ

ทูเรนิทาน นิทานมีในที่ไกล อวิทูเรนิทาน นิทานมีในที่ไม่ไกล สันติเก

นิทาน นิทานมีในที่ใกล้ เป็นอันผู้ฟังทั้งหลายย่อมรู้แจ้งด้วยดีตั้งแต่เริ่มเรื่อง

ฉะนั้น พึงทราบการจำแนกนิทานเหล่านั้น ดังต่อไปนี้.

กถามรรคตั้งแต่พระมหาโพธิสัตว์ทรงสะสมบารมี ในศาสนาของ

พระทุศพลพระนามว่าทีปังกรจนกระทั่งทรงอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต ชื่อว่า

ทูเรนิทาน. กถามรรคที่เป็นไปแล้วตั้งแต่สวรรค์ชั้นดุสิตจนถึงบรรลุพระ-

สัพพัญญุตญาณ ณ โพธิมณฑล ชื่อว่า อวิทูเรนิทาน. กถามรรคที่เป็นไปแล้ว

ตั้งแต่มหาโพธิมณฑลจนถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ชื่อว่า สันติเกนิทาน.

ในนิทาน ๓ อย่างนี้ เพราะทูเรนิทานและอวิทูเรนิทาน เป็นสรรพสาธารณะ

ฉะนั้น นิทานเหล่านั้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัยกล่าวไว้พิสดารแล้วใน

อรรถกถาชาดก นั่นแล. แต่ในสันติเกนิทานมีความต่างออกไป ดังนั้น

พึงทราบกถาโดยสังเขปแห่งนิทานแม้ ๓ อย่าง ตั้งแต่ต้น ดังต่อไปนี้.

ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าทีปังกร พระพุทธเจ้าผู้

เป็นที่พึ่งของโลก เป็นพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ สมควรแก่

อภินิหารของพระองค์ ทรงยังบารมีที่สะสมมาเพื่อพระสัพพัญญุตญาณให้ถึง

ที่สุด เสด็จอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต รอเวลาเพื่อให้เกิดความเป็นพระพุทธะ

ทรงดำรงอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดุสิตนั้นตราบเท่าถึงอายุขัย จุติจากนั้นแล้วทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 9

ถือปฏิสนธิในตระกูลศากยราช ทรงได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี ทรงเจริญ

ด้วยสิริโสภาคอันยิ่งใหญ่ ถึงความเป็นหนุ่มโดยลำดับ เมื่อพระชนม์ ๒๙

พรรษา เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงเริ่มทำความเพียรใหญ่อยู่ถึง ๖ ปี

ประทับนั่ง ณ โคนต้นโพธิในวันวิสาขบูรณมี เมื่อดวงอาทิตย์ตกทรงกำจัด

มารและพลมาร ในปฐมยามทรงได้บุพเพนิวาสญาณ ( ระลึกชาติได้) ใน

มัชฌิมยาม ทรงได้ทิพยจักษุ ในปัจฉิมยาม ทรงยังกิเลสพันห้าร้อยให้สิ้น

ไป ทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ.

แต่นั้นทรงประทับอยู่ ณ แถว ๆ นั้นล่วงไป ๗ สัปดาห์ แล้วเสด็จไป

ยังป่าอิสิปตนมฤคทายวันกรุงพาราณสี ในวันอาสาฬหบูรณมี ( ขึ้น ๑๕ ค่ำ

เดือน ๘ ) ยังพรหม ๑๘ โกฏิ มีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นประมุขให้ดื่ม

อมตธรรม ทรงยังพระธรรมจักรให้เป็นไป ยังเวไนยสัตว์มีพระยสะเป็นต้น

ให้ตั้งอยู่ในอรหัตผล แล้วทรงมอบให้พระอรหันต์ ๖๐ รูป ทั้งหมดเหล่านั้น

ไปเพื่ออนุเคราะห์สัตวโลก พระองค์เองเมื่อจะเสด็จไปยังอุรุเวลา ยังพระ-

ภัททวัคคีย์ ๓๐ รูป ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลเป็นต้น ณ ไร่ฝ้าย ครั้น

เสด็จถึงอุรุเวลาแล้วได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ๓,๕๐๐ ครั้ง ทรงแนะนำชฏิล

สามพี่น้องมีอุรุเวลกัสสปเป็นต้นกับชฏิลบริวารอีกหนึ่งพัน อันชฎิลเหล่านั้น

แวดล้อมแล้วประทับนั่ง ณ สวนลัฏฐิวัน ใกล้กรุงราชคฤห์ ทรงยังพราหมณ์

และคฤหบดีแสนสองหมื่น มีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประมุข ให้หยั่งลงใน

พระศาสนาประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหารอันพระราชามคธทรงสร้างถวาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 10

ครั้นต่อมาเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร

เมื่อทรงตั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะไว้ในตำแหน่งพระอัครสาวก

เมื่อเกิดสาวกสันนิบาต พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงสดับว่า มีข่าวว่าพระ-

โอรสของเราบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ถึง ๖ ปี แล้วได้บรรลุพระปรมาภิเษกพสัมโพธิ-

ญาณ ทรงยังธรรมจักรอันบวรให้เป็นไป ทรงอาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่

ดังนี้ จึงทรงส่งอำมาตย์ ๑๐ คนมีบุรุษหนึ่งหมื่นเป็นบริวารรับสั่งว่า พวกเจ้า

จงนำโอรสของเรามา ณ ที่นี้. เมื่ออำมาตย์เหล่านั้นไปกรุงราชคฤห์แล้ว ได้

ตั้งอยู่ในพระอรหัต เพราะพระธรรมเทศนาของพระศาสดา พระกาฬุทายี-

เถระกราบทูลความประสงค์ของพระราชบิดาให้ทรงทราบ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแวดล้อมด้วยพระขีณาสพสองหมื่นเสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ ถึง

กรุงกบิลพัสดุประมาณ ๖๐ โยชน์ เวลาสองเดือน. บรรดาเจ้าศากยะทั้งหลาย

ทรงประชุมกันด้วยหวังพระทัยว่า จักเห็นพระญาติผู้ประเสริฐของพวกเรา

จึงรับสั่งให้สร้างนิโครธารามเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า และเป็น

ที่อยู่ของภิกษุสงฆ์ ต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ทรงกระทำการ

ต้อนรับทูลอาราธนาพระศาสดาให้เสด็จเข้าไปยังนิโครธาราม.

ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า แวดล้อมด้วยพระขีณาสพสองหมื่น

ประทับเหนือพุทธาสนะอันประเสริฐที่เจ้าศากยะปูถวาย. เจ้าศากยะทั้งหลาย

ทรงมานะจัดมิได้ทรงทำความเคารพ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยา-

ศัยของเจ้าศากยะเหล่านั้น แล้วทรงเข้าจตุตถฌานมีภิญญาเป็นบาทเพื่อทำ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 11

ลายมานะ แล้วทำเจ้าศากยะเหล่านั้นให้เป็นภาชนะรองรับ พระธรรมเทศนา

ทรงออกจากสมาบัติเหาะไปสู่อากาศ ดุจเรี่ยรายฝุ่นพระบาทลงบนพระเศียร

ของเจ้าศากยะเหล่านั้น ได้ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์เช่นกับปาฏิหาริย์ที่พระ

องค์การทำ ณ โคนต้นคัณฑมัพพฤกษ์. พระราชาทอดพระเนตรเห็นความ

อัศจรรย์นั้น ทรงดำริว่าโอรสนี้เป็นบุคคลเลิศในโลก. เมื่อพระราชาถวาย

บังคมแล้ว เจ้าศากยะทั้งหลายเหล่านั้นไม่อาจเฉยอยู่ได้ ทั้งหมดก็พากัน

ถวายบังคม.

นัยว่าในครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์

ได้ทรงกระทำปาฏิหาริย์เปิดโลก เมื่อปาฏิหาริย์เป็นไปอยู่พวกมนุษย์ยืนอยู่

ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตามในมนุษยโลก ย่อมเห็นแต่เทวดาสนทนาธรรมซึ่งกันและ

กัน ตั้งแต่สวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกาถึงชั้นอกนิฏฐภพด้วยตาของตนด้วย

พุทธานุภาพ ในผืนแผ่นดินเบื้องล่าง ย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลายเสวยมหาทุกข์

ในนรกนั้น ๆ คือ ในมหานรก ๘ ขุม ในอุสสทนรก ๑๖ ขุม และในโล-

กันตริยนรก. พวกเทวดาในหมื่นโลกธาตุ เข้าไปเฝ้าพระตดถาคตด้วยเทวา-

นุภาพอันยิ่งใหญ่ บังเกิดจิตอัศจรรย์อย่างไม่เคยมี ประคองอัญชลีนมัสการ

พากันเข้าไปเฝ้า ต่างเปล่งคาถาปฏิสังยุตด้วยพระพุทธคุณ สรรเสริญ

ปรบมือรื่นเริง ประกาศถึงปีติและโสมนัส. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

ภุมมเทวดา จาตุมมหาราชิกาเทวดา พวก

เทพชั้นดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมิตเทพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 12

ปรนิมมิตเทพ และหมู่พรหมกายิกา ต่างยินดี

พากันบอกกล่าวป่าวร้องแพร่หลาย.

ก็ในครั้งนั้นพระทศพล ทรงดำริว่า เราจักแสดงกำลังของพระพุทธ-

เจ้าของพระองค์มิให้มีใครเปรียบได้ จึงเพิ่มพระมหากรุณาให้สูงขึ้น ทรง

เนรมิตจงกรมในที่ประชุมหมื่นจักรวาฬบนอากาศ เสด็จยืน ณ ที่จงกรม

สำเร็จด้วยแก้วทุกอย่างในเนื้อที่กว้าง ๑๒ โยชน์ ทรงแสดงปาฏิหาริย์แสดง

ถึงอานุภาพแห่งสมาธิและญาณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น

น่าอัศจรรย์ ตกไปในที่แห่งเดียวกันของเทวดามนุษย์และผู้ไปในเวหาได้

เห็นกันตามที่กล่าวแล้ว เสด็จจงกรม ณ ที่จงกรมนั้น ทรงแสดงธรรม สมควร

แก่อัธยาศัยของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ด้วยพระพุทธลีลาอันไม่มีที่เปรียบ อันมี

อานุภาพที่เป็นอจินไตย. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านี้ ย่อม

ไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้านี้ เป็นผู้สูงสุดว่าคนเป็น

เช่นไร กำลังฤทธิ์ และกำลังปัญญาเป็นเช่นไร

กำลังของพระพุทธเจ้าพึงเป็นประโยชน์แก่

สัตวโลก เป็นเช่นไร

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านี้ย่อมไม่

รู้ว่า พระพุทธเจ้านี้ เป็นผู้สูงสุดกว่าคนเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 13

เช่นนี้ กำลังฤทธิ์ และกำลังปัญญาเป็นเช่นนี้

กำลังพระพุทธเจ้าพึงเป็นประโยชน์แก่โลก

เป็นเช่นนี้.

เอาเถิดเราจักแสดงกำลังของพระพุทธ-

เจ้าอันยอดเยี่ยม เราจักเนรมิตจงกรมประดับ

ด้วยแก้วบนท้องฟ้า.

เมื่อพระตถาคตทรงแสดงปาฏิหาริย์ แสดงถึงพุทธานุภาพของพระองค์

อย่างนี้แล้วทรงแสดงธรรม ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ยืนอยู่บนภูเขา

คิชฌกูฎในกรุงราชคฤห์ เห็นด้วยทิพยจักษุ เกิดจิตอัศจรรย์ไม่เคยมีด้วย

การเห็นพุทธานุภาพนั้น จึงเกิดความคิดขึ้นว่า เอาละเราจักทำพุทธานุภาพ

ให้ปรากฏแก่โลกให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป จึงแจ้งความนั้นแก่ภิกษุ ๕๐๐ ซึ่งเป็น

บริวารของตน ทันใดนั้นเองจึงมาทางอากาศด้วยฤทธิ์พร้อมกับบริวาร เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ประคองอัญชลี

ขึ้นเหนือศีรษะ กราบทูลถามถึงมหาภินิหารและการบำเพ็ญบารมีของพระ-

ตถาคต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำท่านพระสารีบุตรนั้นให้เป็นกายสักขี

คือ พยานทางกาย เมื่อจะทรงแสดงพุทธานุภาพของพระองค์ แก่พวกมนุษย์

ที่ประชุมกัน และเทวดาพรหมในหมื่นจักรวาฬจึงทรงแสดงพุทธวงศ์. สมดัง

ที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 14

พระสารีบุตรผู้มีปัญญามาก ฉลาดใน

สมาธิฌาน บรรลุบารมีด้วยปัญญา ย่อมทูล

ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นนายกแห่งโลกว่า

ข้าแต่พระมหาวีระผู้สูงสุดกว่าคน อภินิหาร

ของพระองค์เป็นเช่นไร ข้าแต่ท่านผู้ทรงปัญญา

ในกาลไร ที่พระองค์ทรงปรารถนาความตรัสรู้

อันอุดม.

ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ

สัจจะ อธิษฐาน เมตตาและอุเบกขาเป็นเช่น

ไร.

ข้าแต่ท่านผู้ทรงปัญญา ผู้เป็นนายกแห่ง

สัตวโลก บารมี ๑๐ ที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ

แล้วเป็นเช่นไร.

อุปบารมีเป็นอย่างไร ปรมัตถบารมีเป็น

อย่างไร.

พระองค์ผู้มีพระสุรเสียงไพเราะ ดุจนก

การะเวก ข้าพระองค์เมื่อจะยังหทัยให้เยือกเย็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 15

ยังมนุษย์พร้อมด้วยเทวดาให้รื่นเริง จึงทูลถาม

ขอพระองค์ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิด.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพุทธวงศ์อย่างนี้แล้ว ท่านพระ-

ธรรมเสนาบดีสารีบุตรส่งญาณมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ว่า โอ การถึงพร้อม

ด้วยเหตุ การถึงพร้อมด้วยผล การสำเร็จแห่งมหาภินิหาร ของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีอย่างนี้ตลอดกาลเพียงนี้ ทรง

กระทำสิ่งที่คนทำได้ยาก นี่เป็นผลอันสมควรแก่การสะสมโพธิสมภารอัน

เป็นวิธีอย่างนี้ คือ ความเป็นพระสัพพัญญู ความเป็นผู้ชำนาญในกำลังทั้ง

หลาย ความเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ ความเป็นผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้.

ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรนั้น ตามไปตามระลึกถึง โดยติดตาม

ธรรม ถึงพระพุทธคุณอันมีอานุภาพเป็นอจินไตยมีอาทิอย่างนี้ คือ ศีล

สมาธิ ปัญญา วิมุติ วิมุติญาณทัศนะ หิริโอตตัปปะ ศรัทธา วิริยะ สติ-

สัมปชัญญะ ศีลวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ สมถะ วิปัสสนา กุสลมูล ๓ สุจริต ๓

สัมมาวิตก ๓ สัญญาที่ไม่มีโทษ ๓ ธาตุ ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔

อิทธิบาท ๔ อริยมรรค ๔ อริยสัจ ๔ ปฎิสัมภิทา ๔ ญาณกำหนดกำเนิด ๔

อริยวงศ์ ๔ เวสารัชชญาณ ๔ ปธานิยังคะ ( องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร) ๕

สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ นิสสรณิยธาตุ (ธาตุนำออกไป ) ๕

วิมุตตายตนญาณ (ญาณมีอายตนะพ้นไปแล้ว)๕ วิมุตติปริปาจนียธรรม(ธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 16

อันเป็นความงอกงามแห่งวิมุติ ) ๕ สาราณิยธรรม ๖ อนุสสติ ๖ คารวะ ๖

นิสสรณียธาตุ ๖ สัตตวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนื่องๆ) ๖ อนุตตริยะ ๖

นิพเพธภาคิสัญญา (สัญญาอันเป็นส่วนแทงตลอด) ๖ อภิญญา ๖ อสาธารณ-

ญาณ ๖ อปริหานิยธรรม ๗ อริยทรัพย์ ๗ โพชฌงค์ ๗ สัปปุริสธรรม ๗

นิททสวัตถุ ( เรื่องชี้แจง ) ๗ สัญญา ๗ ทักขิไณยบุคคลเทศนา ( การ

แสดงถึงทักขิไณยบุคคล) ๗ ขีณสวพลเทศนา ( การแสดงถึงกำลังของ

พระขีณาสพ ) ๗ ปัญญาปฏิลาภเหตุเทศนา ( การชี้แจงถึงเหตุได้ปัญญา ) ๘

สัมมัตตะ ๘ การก้าวล่วงโลกธรรม ๘ อารัมภวัตถุ (เรื่องปรารภ) ๘ อักขณ-

เทศนา (การแสดงแบบสายฟ้าแลบ) ๘ มหาปุริสวิตก ๘ อภิภายตนเทศนา

(การแสดงอายตนะของท่านผู้เป็นอภิภู) ๘ วิโมกข์ ๘ ธรรมเป็นมลแห่งโยนิ-

โสมนสิการ ๙ องค์แห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเพียรอันบริสุทธิ์ ๙ สัตตาวาส

๙ อาฆาตปฏิวินัย (การกำจัดความอาฆาต) ๙ ปัญญา ๙ นานัตตเทศนา

(การแสดงความต่างกัน) ๙ อนุบุพพวิหารธรรม ๙ นาถกรณธรรม ๑๐

กสิณายตนะ ๑๐ กุสลกรรมบถ ๑๐ สัมมัตตะ ๑๐ อริยวาสะ ๑๐ อเสกข-

ธรรม ๑๐ รตนะ ๑๐ กำลังของพระตถาคต ๑๐ อานิสงส์เมตตา ๑๑ อาการ

ของธรรมจัnร ๑๒ ธุดงคคุณ ๓ พุทธญาณ ๑๔ วิมุตติปริปาจนียธรรม ๑๕

อานาปานสติ ๑๖ อปรัมปริยธรรม (ธรรมที่ไม่เป็นปรัมปรา) ๑๖ พุทธธรรม

๑๘ ปัจจเวกขณญาณ ๑๙ ญาณวัตถุ ๔๔ อุทยัพพยญาณ ๕๐ กุสลธรรมเกิน ๕๐

ญาณวัตถุ ๗๗ มหาวชิรญาณอันเป็นจารีตร่วมกับสมาบัติ สองล้านสี่แสน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 17

โกฏิ และเทศนาญาณเป็นเครื่องค้นคว้าและพิจารณา สมันตปัฏฐาน (การ

เริ่มตั้งโดยรอบคอบ) อันมีนัยไม่มีที่สุด และญาณประกาศอัธยาศัยเป็นต้น

ของสัตว์ทั้งหลายไม่มีที่สุดในโลกธาตุอันหาที่สุดมิได้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อันไม่สาธารณ์แก่ผู้อื่นไม่เห็นที่สุด ไม่เห็นประมาณ. จริงอยู่พระเถระ. เมื่อ

นึกถึงที่สุดก็ดี ประมาณก็ดี แห่งคุณทั้งหลายแม้ของตนเองก็ไม่เห็น. พระ-

เถระนั้นจักเห็นประมาณ หรือ ข้อกำหนดแห่งพระคุณทั้งหลายของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้อย่างไร. จริงอยู่ผู้ที่มีปัญญามาก มีญาณเฉียบแหลมย่อมเชื่อ

พระพุทธคุณทั้งหลายโดยความเป็นพระพุทธคุณใหญ่. ด้วยประการฉะนี้

พระเถระเมื่อไม่เห็นประมาณ หรือ ข้อกำหนดแห่งพระคุณทั้งหลายของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตัดสินใจลงไปว่า เมื่อคนเช่นเราผู้ตั้งอยู่ในสาวก

บารมีญาณยังไม่สามารถกำหนดพระพุทธคุณทั้งหลายโดยญาณได้ จะกล่าว

ไปไยถึงคนพวกนี้ น่าอัศจรรย์พระสัพพัญญูคุณเป็นอจินไตย ไม่มีข้อ

กำหนด มีอานุภาพมาก อนึ่ง พระสัพพัญญูคุณเหล่านี้เป็นโคจรแห่งพุทธ-

ญาณอย่างเดียวเท่านั้นโดยประการทั้งปวง มิได้เป็นโคจรแก่ผู้อื่น. แม้พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่สามารถกล่าวโดยพิสดารได้เลย. สมจริงดังที่

ท่านกล่าวไว้ว่า :-

แม้พระพุทธเจ้าก็กล่าวคุณของพระพุทธ-

เจ้า หากว่ากล่าวถึงคุณอื่นแม้ตลอดกัป กัป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 18

ย่อมสิ้นไปในระหว่างเวลายาวนาน คุณของ

พระตถาคต หาได้สิ้นไปไม่.

พระสารีบุตรเถระมีปีติโสมนัสเป็นกำลังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความที่

พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระคุณใหญ่อย่างนี้จึงคิดต่อไปว่า น่าอัศจรรย์ ธรรม

ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า คือบารมี มีอานุภาพมาก เป็นเหตุแห่งพุทธคุณทั้ง

หลายเห็นปานนี้ . ความเป็นบารมี เป็นความเจริญงอกงามในชาติไหนหนอ

หรือว่าถึงความแก่กล้าอย่างไร.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งขัดสมาธิ ๓ ชั้น ณ รตนะ

จงกรมนั้น ประทับนั่งรุ่งโรจน์ดุจดวงอาทิตย์อ่อนรุ่งเรืองอยู่ ณ ภูเขายุคนธร

ฉะนั้น ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร พุทธการกธรรมของ

เราได้เจริญงอกงามจากภพสู่ภพ จากชาติสู่ชาติ ในกัปทั้งปวง เพราะทำด้วย

ความเคารพติดต่อกัน และด้วยการอุปถัมภ์ของวิริยะตั้งแต่สมาทาน แต่

ในภัทรกัปนี้ พุทธการกธรรมเหล่านั้นเกิดแก่กล้าในชาติเท่านี้แล้วได้ตรัส

ธรรมปริยาย อันมีชื่อเป็นที่สองว่า จริยาปีฏก พุทฺธาปทานิย จริยา-

ปิฎก เป็นที่ตั้งแห่งตำนานของพระพุทธเจ้า ด้วยบทมีอาทิว่า กปฺเป จ

สตสหสฺเส ตลอดแสนกัป. ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ผู้เป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดาทรงจงกรมอยู่ ณ ที่จงกรมแก้ว อัน

เทวดาและพรหมเป็นต้นบูชาทรงหยั่งลง ณ นิโครธารามแวดล้อมด้วยพระ-

ขีณาสพสองล้านรูป ประทับนั่งเหนือวรพุทธาสนะที่เขาปูไว้ อันท่านพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 19

สารีบุตรทูลถามโดยนัยดังกล่าวแล้ว จึงทรงแสดงจริยาปิฎก. ด้วยเหตุเพียง

เท่านี้ ท่านแสดงทูเรนิทานและอวิทูเรนิทานโดยสังเขปแล้วชี้แจง สันติเก-

นิทานแห่งจริยาปิฎก โดยพิสดาร. ส่วนทูเรนิทานจักมีแจ้งในการอธิบาย

เรื่องอสงไขย.

บัดนี้จะพรรณนาเนื้อความแห่งบาลี จริยาปิฎกที่มีมาโดยนัยมีอาทิว่า

กปฺเป จ สตสหสฺเส ดังนี้. กัปปศัพท์ในบทนั้นทั้งที่มีอุปสรรค และไม่มี

อุปสรรค ย่อมปรากฏในความมีอาทิว่า วิตก วิธาน ปฏิภาค บัญญัติ กาล

ปรมายุ สมณโวหาร สมันตภาวะ อภิสัททหนะ เฉทนะ วินิโยคะ วินยะกิริยา

เลสะ อันตรกัป ตัณหาทิฏฐิ อสงไขยกัป มหากัป.

กัปปศัพท์มาใน วิตก ในบทมีอาทิว่า เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป อพฺยา-

ปาทสงฺกปฺโป ดำริในการออกจากกาม ดำริในความไม่พยาบาท. มาใน วิธาน

ในบทมีอาทิว่า จีวเร วิกปฺป อาปชฺเชยฺย ภิกษุพึงทำวิกัปในจีวร. อธิบายว่า

ควรปฏิบัติตามธรรมเนียมเป็นอย่างยิ่ง. มาใน ปฏิภาค ในบทมีอาทิว่า สตฺถุ-

กปฺเปน วต ฯลฯ น ชานิมฺหา ท่านผู้เจริญทั้งหลายได้ยินว่า พวกเราปรึกษา

กับพระสาวกซึ่งคล้ายกับพระศาสดาก็ยังไม่รู้. ในบทนั้นมีอธิบายว่า คล้ายกับ

เช่นกับ พระศาสดา. มาใน บัญญัติ ในบทมีอาทิว่า อิธายสฺมา กปฺโป

ท่านผู้มีอายุเป็นบัญญัติในศาสนานี้. มาใน กาล ในบทมีอาทิว่า เยน สุท

นจฺจกปฺป วิหรามิ ได้ยินว่าข้าพเจ้าจะอยู่ตลอดกาลเป็นนิจ. มาใน ปรมายุ

ในบทมีอาทิว่า อากงฺขมาโน ฯลฯ กปฺปาวเสส วา ดูก่อนอานนท์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 20

ตถาคต หวังจะดำรงอยู่ตลอดกัป. หรือตลอดส่วนที่เหลือของกัป. กัปในที่นี้

ท่านประสงค์เอาอายุกัป. มาใน สมณโวหาร ในบทมีอาทิว่า อนุชานามิ

ฯลฯ ปริภุญฺชิตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ฉันผลไม้ด้วยสมณกัป ๕

อย่างมาใน สมันตภาวะ ในบทมีอาทิ เกวลกปฺป เชตวน โอภาเสตฺวา

ยังพระเชตวันโดยรอบทั้งสิ้นให้สว่างไสว. มาในอภิสัททหนะในบทมีอาทิว่า

สทฺธา สทฺทหนา โอกปฺปนา อภิปฺปสาโท ศรัทธาความเชื่อ ความเชื่อ

อย่างยิ่ง ความเลื่อมใสอย่างยิ่ง. มาเน เฉทนะ ในบทมีอาทิว่า อลงฺกโต

กปฺปิตเกสมสฺสุ โกนผมแลหนวดตกแต่งแล้ว. มาใน วินิโยคะ ในบท

มีอาทิว่า เอวเมว อิโต ทินฺน เปตาน อุปกปฺปติ ทานที่ให้แล้วจากโลกนี้

ย่อมสำเร็จแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ฉันนั้น. มาใน วินยกิริยา ในประโยคมี

อาทิว่า กปฺปกเตน อกปฺปกต สสิพฺพิต โหติ จีวรอันภิกษุผู้ทำกัปปะมิ

ได้ทำตามวินัยก็เป็นอันเย็บดีแล้ว. มาใน เลสะ ในประโยคมีอาทิว่า อตฺถิ

กปฺโป นิปชฺชิตุ หนฺทาห นิปชฺชามิ มีเลสเพื่อจะนอน เอาเถิดเราจะ

นอนละ. มาใน อันตรกัป ในประโยคมีอาทิว่า อาปายิโก เนรยิโก ฯลฯ

นิรยมุหิ ปจฺจติ ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ต้องตกอบาย ตกนรก ตั้งอยู่กัปหนึ่ง

และไหม้อยู่ในนรกตลอดกัป. มาในตัณหาและทิฏฐิในคาถามีอาทิว่า :-

แม่ธรรมทั้งหลายก็ไม่ดำริถึง ไม่ทำไว้

ข้างหน้า ไม่ยอมรับ เขามิใช่พราหมณ์ที่ผู้มีศีล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 21

จะพึงแนะนำ เขาเป็นผู้ถึงฝั่ง เป็นผู้คงที่ ย่อม

ไม่หมกไหม้.

เป็นความจริงอย่างนั้นท่านกล่าวไว้ในนิทเทสว่า จากบทว่า กปฺป

นี้ กัปมีสองอย่าง คือ ตัณหากัป ๑ ทิฏฐิกัป ๑. มาในอสงไขยกัปในบท

มีอาทิว่า อเนเกปิ สวฏฺฏกปฺเป อเนเกปิ วิวฏฺฏกปฺเป ในสังวัฏฏกัป

ไม่น้อยในวิวัฏฏกัปไม่น้อย. มาในมหากัปในบทมีอาทิว่า จตฺตาริมานิ

ภิกฺขเว กปฺปสฺส อสงฺเขยฺยานิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัปมีสี่อสงไขย.

กัปในที่นี้ได้แก่มหากัป.

บทสำเร็จในคำว่า กปฺป นั้นมีดังนี้ ชื่อว่า กปฺโป เพราะย่อม

กำหนด. อธิบายว่า พึงกำหนดมีปริมาณที่ควรกำหนดด้วยการเปรียบกับ

กองเมล็ดผักกาดเป็นต้นอย่างเดียวเพราะไม่สามารถคำนวณด้วยปีได้ว่า เท่า

นั้นปี เท่านั้นร้อยปี เท่านั้นพันปี เท่านั้นแสนปี. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปยาวเพียงไรหนอ. ดูก่อนภิกษุ กัปยาวมาก

กำหนดไม่ได้ว่า เท่านั้นปี เท่านั้นร้อยปี เท่านั้นพันปี เท่านั้นแสนปี.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สามารถจะเปรียบเทียบได้หรือไม่พระเจ้าข้า. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า สามารถเปรียบเทียบได้ ภิกษุ. เหมือนอย่างว่ากองเมล็ด

ผักกาด โดยความยาวโยชน์หนึ่ง โดยความกว้างโยชน์หนึ่ง โดยความสูง

โยชน์หนึ่ง เมื่อล่วงไปร้อยปี พันปี ผู้วิเศษเก็บเมล็ดผักกาดไปเมล็ดหนึ่ง ๆ

เมล็ดผักกาดหมด. ก็ยังไม่สิ้นกัป. ดูก่อนภิกษุกัปยาวอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 22

มหากัปนี้นั้นสงเคราะห์เข้าด้วยสี่อสงไขยกัป ด้วยสามารถแห่งสัง-

วัฏฏกัปเป็นต้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สี่อสงไขยกัปเหล่า

นี้ สี่อสงไขยกัปเป็นไฉน. คือ สังวัฏฏกัป

สังวัฎฏัฏฐายีกัป วิวัฏฏกัป วิวัฎฏัฏฐายีกัป.

ในกัปเหล่านั้น สังวัฏฏกัปมี ๓ คือ เตโชสังวัฏฏกัป ๑ อาโป-

สังวัฏฏกัป ๑ วาโยสังวัฏฏกัป ๑. แดนสังวัฏฏกัปมี ๓ คือ อาภัสสรา ๑

สุภกิณหา ๑ เวหัปผลา ๑. ก็ในกาลใดกัปย่อมเป็นไปด้วยไฟ ในกาลนั้น

กัปเบื้องล่างจากอาภัสสราย่อมถูกไฟไหม้. ในกาลใดกัปย่อมเป็นไปด้วยน้ำ

ในกาลนั้นกัปเบื้องล่างจากสุภกิณหาย่อมถูกน้ำละลาย. ในกาลใดกัปย่อม

เป็นไปด้วยลม ในกาลนั้นกัปเบื้องล่างจากเวหัปผลาย่อมถูกลมกำจัด. แต่โดย

กว้างออกไปจักรวาฬแสนโกฏิ ย่อมพินาศ. ท่านกล่าวว่าเป็นอาณาเขตของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ในสังวัฏฏกัป ๓ เหล่านั้น การทำลายเปลวไฟ น้ำ

หรือลม ตั้งแต่มหาเมฆยังกัปให้พินาศตามลำดับ นี้เป็นอสงไขยหนึ่ง .ชื่อว่า

สังวัฏฏกัป. มหาเมฆตั้งขึ้นเต็มจักรวาฬแสนโกฏิตั้งแต่การทำลายเปลวไฟอัน

ยังกัปให้พินาศ นี้เป็นอสงไขยที่สองชื่อว่า สังวัฏฏฐายีกัป.

ความปรากฏแห่งดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ตั้งแต่มหาเมฆตั้งขึ้น นี้เป็น

อสงไขยกัปที่สาม ชื่อว่าวิวัฏฏกัป. มหาเมฆยังกัปให้พินาศอีก ตั้งแต่ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 23

ปรากฏแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ นี้เป็นอสงไขยกัปที่สี่ ชื่อว่าวิวัฏฏัฏ-

ฐายีกัป. ในกัปเหล่านี้ การสงเคราะห์กัปในระหว่าง ๖๔ กัป ชื่อว่า

วิวัฏฏัฏฐายีกัป. ด้วยบทนั้นพึงทราบว่าวิวัฏฏกัปเป็นต้นกำหนดด้วยกาลอัน

เสมอกัน. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า การสงเคราะห์กัปในระหว่าง ๒๐ กัป.

ด้วยประการฉะนี้ สี่สงไขยกัปเหล่านี้เป็นหนึ่งมหากัป. ด้วยเหตุนั้นท่าน

จึงกล่าวว่า มหากัปนี้นั้น สงเคราะห์ด้วยสี่อสงไขยกัปด้วยอำนาจแห่ง

สังวัฏฏกัปเป็นต้น.

อนึ่ง บทว่า กปฺเป เป็นทุติยาวิภัตติ์พหุวจนะ ด้วยเป็นอัจจันตสังโยคะ

แปลว่า ตลอดกัป สิ้นกัป. บทว่า สตสหสฺเส แสดงถึงปุลลิงค์โดยเชื่อม

กับศัพท์ว่า กปฺป. แม้ในที่นี้ก็เป็นพหุวจนะด้วยเป็นอัจจันตสังโยคะ ทั้งสอง

บทนี้เป็นอธิกรณะเสมอกัน. แม้ในบทว่า จตุโร จ อสงฺขิเย นี้ ก็มีนัยนี้แล.

อนึ่ง บทว่า อสงฺขิเย ย่อมให้รู้ความนี้ว่า กปฺปาน โดยคัมภีร์ เพราะไม่กล่าว

บทอื่นและเพราะกล่าวถึงกัปเท่านั้น. การเว้นบทที่กล่าวแล้วคือเอาบทอะไร ๆ

ที่ไม่ได้กล่าวไว้ไม่สมควร. จ ศัพท์เป็นสัมบิณฑนัตถะ ( บวกความท่อนหลัง

เข้ากับความท่อนต้น ). มีเนื้อความว่า สี่อสงไขยแห่งมหากัปและแสนมหา-

กัป พึงทราบความในบทว่า อสงฺขิเย นี้ ชื่อว่า อสงฺขิยา เพราะไม่

สามารถจะนับได้. อธิบาย เกินการคำนวณ. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า

บทว่า อสงฺเขยฺย เป็นการนับที่แปลกอย่างหนึ่ง. อาจารย์พวกนั้นกล่าวว่า

คะแนนมหากำลังสิบเว้นฐานะ ๕๙ อันมีคะแนนมหากำลังเป็นที่สุดตั้งแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 24

รวมเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าอสงไขย ในลำดับอัฏฐานะ ๖๐. ข้อนั้นไม่ถูก

การคำนวณที่แปลกชื่อว่าในระหว่างฐานะที่นับได้. ในระหว่างฐานะหนึ่ง

ชื่อว่าอสงไขย เพราะไม่มีความที่การคำนวณที่แปลกนั้นจะพึงนับไม่ได้

เพราะเหตุนั้น ข้อนั้นจึงผิด. ข้อที่กัปนั้นมี ๔ อย่าง ในความเป็นอสงไขย

กัป เพราะความที่เป็นกัปนับไม่ได้ไม่ถูกมิใช่หรือ. ไม่ถูกก็ไม่ใช่ เพราะ

ความที่อสงไขยกัปท่านปรารถนาแล้วในฐานะ ๔. ในบทนั้นพึงทราบการ

ชี้แจงตั้งแต่ต้นดังต่อไปนี้.

มีเรื่องเล่ามาว่า ในกัปนี้ครั้งอดีต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ พระองค์

คือ พระตัณหังกร ๑ พระเมธังกร ๑ พระสรณังกร ๑ พระทีปังกร ๑

ทรงอุบัติขึ้นในโลกตามลำดับ . ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นในศาสนา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ทีปังกรได้มีเมืองว่า อมรวดี. สุเมธ-

พราหมณ์อาศัยอยู่ในเมืองนั้นเป็นอุภโตสุชาตสังสุทธเคราหณี (มีครรภ์เป็น

ที่ปฏิสนธิอันบริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย) ทางฝ่ายมารดาและบิดาตลอด ๗ ชั่วตระกูล

ไม่ถูกรังเกียจโดยชาติ. มีรูปงาม น่าชม น่าเลื่อมใสถึงพร้อมด้วยผิวพรรณ

งดงามอย่างยิ่ง สุเมธพราหมณ์มิได้ทำการงานอย่างอื่น เรียนศิลปะของ

พราหมณ์อย่างเดียว. มารดาบิดาได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่เขายังเป็นหนุ่ม. ครั้งนั้น

สิริวัฑฒกะ อำมาตย์ของเขา นำบัญชีทรัพย์สินมาให้แล้วเปิดห้องทรัพย์สิน

เต็มไปด้วย ทอง เงิน แก้วมณี แก้วมุกดาเป็นต้น แล้วแจ้งทรัพย์สิน

ตั้งแต่ ๗ ชั่วตระกูลว่า ข้าแต่กุมารทรัพย์ประมาณเท่านี้เป็นของมารดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 25

ของท่าน ประมาณเท่านี้เป็นของบิดาของท่าน ประมาณเท่านี้เป็นของ

ปู่ ย่า ตา ยาย และทวดของท่าน แล้วกล่าวว่า ขอท่านจงปกครองทรัพย์

สินนี้เถิด. สุเมธบัณฑิตคิดว่า ญาติทั้งหลายมีมารดาบิดาเป็นต้นของเรา

รวบรวมทรัพย์สินนี้ไว้เป็นอันมาก ถึงอย่างนี้ก็ยังไปสู่ปรโลก มิได้ถือเอา

ไปได้แม้แต่กหาปณะเดียว แต่เราควรจะทำเหตุแห่งการถือเอาไปได้ ดังนี้

เขาจึงทูลแด่พระราชาแล้วให้ตีกลองประกาศทั่วไปในเมือง ได้ให้ทานแก่

มหาชนแล้วไปยังหิมวันตประเทศบวชเป็นดาบสล่วงไปได้ ๗ วัน จึงยัง

สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดขึ้นอยู่ด้วยสมาบัติวิหารธรรม.

ก็ในกาลนั้น พระทศพลพระนามว่า ทีปังกรบรรลุพระปรมาภิเษก

สัมโพธิญาณ ยังบวรธรรมจักรให้เป็นไปแวดล้อมด้วยพระขีณาสพ หนึ่ง

แสนรูป เสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงรัมมวดีนครประทับอาศัยอยู่ที่สุทัศน-

มหาวิหารไม่ไกลเมืองนั้น. ชาวเมืองรัมมวดีนครได้ฟังว่า ได้ยินว่า-

พระศาสดาเสด็จถึงนครของพวกเราแล้วประทับอยู่ ณ สุทัศนมหาวิหาร จึง

พากันถือของหอมมีดอกไม้เป็นต้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดาถวายบังคมแล้ว บูชา

ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น นั่งอยู่ส่วนข้างหนึ่งฟังพระธรรมเทศนา

แล้วนิมนต์เพื่อเสวยภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น พากันลุกจากที่นั่งกลับไป. วัน

รุ่งขึ้นชาวเมืองเหล่านั้นเตรียมมหาทานตกแต่งนคร ต่างรื่นเริงยินดีทำความ

สะอาดทางที่พระทศพลเสด็จมา.

อนึ่ง ในกาลนั้น สุเมธดาบสมาทางอากาศเห็นพวกมนุษย์เหล่านั้น

รื่นเริงยินดีจึงถามว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านทำความสะอาดทางนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 26

เพื่อใคร. เมื่อพวกมนุษย์บอกว่า พวกเราทำความสะอาดทางเพื่อพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าเสด็จมา เพราะค่าที่ตนได้สะสมบารมีมาในพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ในอดีตพอได้ยินคำว่า พุทฺโธ ก็เกิดปีติโสมนัส ลงจากอากาศในทันใด

นั่นเอง แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงให้โอกาสแก่เราบ้าง แม้เราก็จักทำ

ความสะอาดด้วย ครั้นพวกมนุษย์ให้โอกาสแล้ว จึงคิดว่า ความจริงเรา

พอจะทำทางนี้ให้วิจิตรด้วยรัตนะ ๗ ด้วยฤทธิ์แล้วตกแต่งได้ แต่วันนี้เรา

ควรทำความขวนขวายทางกาย เราจักถือเอาบุญสมควรแก่กาย แล้วจึงนำ

หญ้าและหยากเยื่อเป็นต้นออกไปเอาฝุ่นมาเกลี่ยให้เสมอทำให้สะอาด. ก็เมื่อ

ทำความสะอาดที่นั้นยังไม่สำเร็จ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระทีปังกรแวดล้อม

ด้วยพระขีณาสพผู้ได้อภิญญา ๖ ผู้มีมหานุภาพสี่แสนรูปเสด็จมาถึงทางนั้น.

สุเมธบัณฑิตคิดว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวกของ

พระพุทธเจ้าจงอย่าเหยียบโคลนจึงคลี่ผ้าป่าน แผ่นหนัง และห่อชฎาออก

ตนเองนอนคว่ำหันศีรษะไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า. และเขาคิดอย่างนี้ว่า

หากเราจักปรารถนา เราจักเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ จักทำลาย

กิเลสในวันนี้ทีเดียว. ประโยชน์อะไรด้วยการนอนจากโอฆะใหญ่คือสงสาร

ของเราเพียงผู้เดียวเท่านั้น ถ้ากระไรแม้เราก็พึงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เห็นปานนี้ ยังโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามจากห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร. สุเมธ-

บัณฑิตตั้งใจด้วยอภินิหารประกอบด้วยองค์ ๘ ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 27

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาประทับยืน ณ เบื้องศีรษะของ

สุเมธบัณฑิตนั้น ทรงทราบความสำเร็จวารจิตของสุเมธบัณฑิตนั้นทรง

พยากรณ์ความเป็นไปนี้ทั้งหมดของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จากนี้ไปในที่สุด

สี่แสนอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป สุเมธบัณฑิตนี้จักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าโคดมดังนี้ แล้วหลีกไป.

จากนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้อื่นทรงอุบัติขึ้นตามลำดับ มีพระผู้มี-

พระภาคเจ้า พระนามว่า โกณฑัญญะเป็นต้นจนถึงพระทศพล พระนามว่า

กัสสปเป็นที่สุด ทรงพยากรณ์พระมหาสัตว์ว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า. เมื่อ

พระโพธิสัตว์ของพวกเราทรงบำเพ็ญบารมีอยู่นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงอุบัติขึ้น ๒๔ พระองค์. ในกัปที่พระทศพลพระนามว่าทีปังกรทรงอุบัติ

ได้มีพระพุทธเจ้าอื่นอีก ๓ พระองค์. ในสำนักของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น

มิได้มีการพยากรณ์พระโพธิสัตว์. เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้นจึง

ไม่ถือเอาในที่นี้. แต่ในอรรถกถาเก่า เพื่อแสดงถึงพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย

ตั้งแต่กัป ท่านจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

พระตัณหังกร พระเมธังกร พระสรณังกร

พระทีปังกร ผู้เป็นพระสัมพุทธเจ้า และพระ

โกณฑัญญะ ผู้สูงสุดกว่าสัตว์สองเท้า พระ

มังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตะ

ผู้เป็นมุนี พระอโนมทัสสี พระปทุม พระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 28

นารทะ พระปทุมุตตระ พระสุเมธะ ผู้เกิดดี

แล้ว พระปิยทัสสี ผู้มียศใหญ่ พระอัตถทัสสี

พระธรรมทัสสี พระสิทธัตถะ ผู้เป็นนายก

ของโลก พระติสสะ พระผุสสะ ผู้เป็น

พระสัมพุทธเจ้า พระวิปัสสี พระสิขี พระ

เวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ

พระกัสสปะ ผู้เป็นนายก. ท่านเหล่านี้ได้

เป็นพระสัมพุทธเจ้า ปราศจากราคะ ตั้งมั่น

แล้ว มีรัศมี ๑๐๐ บรรเทาความมืดใหญ่

รุ่งเรืองดุจกองไฟ พระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น

พร้อมด้วยสาวกทั้งหลาย ได้นิพพานแล้ว.

ในระหว่างพระทศพลพระนามว่าทีปังกร และพระทศพลพระนามว่า

โกณฑัญญะ โลกได้ว่างพระพุทธเจ้าไปตลอดอสงไขยหนึ่งแห่งมหากัป. ใน

ระหว่างพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกณฑัญญะ และพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า มังคละ ก็เหมือนกัน ในระหว่างพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

โสภิตะ พระนามว่า อโนมทัสสี พระนามว่า นารทะ พระนามว่า ปทุ-

มุตตระ ก็เหมือนกัน. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ในพุทธวงศ์ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 29

กัปทั้งหลายในระหว่างแห่งพระพุทธเจ้า

เหล่านั้น คือแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

ทีปังกร และแห่งพระศาสดาพระนามว่า โภณ-

ฑัญญะเป็นกัปที่นับไม่ได้โดยการคำนวณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายกพระนาม

ว่า มังคละ โดยพระนามอื่นจากพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าพระนามว่า โกณฑัญญะ กัปทั้งหลาย

ในระหว่างพระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น ก็เป็นกัป

ที่นับไม่ได้โดยการคำนวณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนม-

ทัสสี ผู้มียศใหญ่อื่นจากพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า โสภิตะ กัปทั้งหลายในระหว่าง

พระพุทธเจ้า แม้เหล่านั้นก็เป็นกัปที่นับไม่ได้

โดยการคำนวณ.

กัปทั้งหลายในระหว่างพระพุทธเจ้า แม้

เหล่านั้น คือ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่า นารทะ แห่งพระศาสดาพระนามว่า ปทุ-

มุตตระ ก็เป็นกัปที่นับไม่ได้โดยคำนวณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 30

ด้วยประการฉะนี้ท่านจึงกล่าวว่า จตุโร จ อสงฺขิเย สื่อสงไขยโดย

การล่วงการคำนวณมหากัปในฐานะ ๔ แม้ในความเป็นอสงไขยกัป เพราะ

ความเป็นกัปที่ล่วงเลยการคำนวณ. พึงทราบว่าท่านมิได้กล่าวด้วยสังขยา-

วิเสสนะ ( การนับที่แปลกออกไป ). อนึ่ง เพราะ ๓ หมื่นกัปในระหว่าง

พระทศพลพระนามว่า ปทุมุตตระ และพระทศพลพระนามว่า สุเมธะ

๖๙,๘๘๒ กัป แห่งพระทศพลพระนามว่า สุชาตะ และ พระทศพล

พระนามว่า ปิยทัสสี. ๒๐ กัป ในระหว่างพระทศพลพระนามว่า

ธรรมทัสสี และพระทศพลพระนามว่า สิทธัตถะ ๑ กัป ในระหว่างพระทศ-

พลพระนามว่า สิทธัตถะ และพระทศพลพระนามว่า ติสสะ ๖ กัป ใน

ระหว่างพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี และพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า สิขี. ๓๐ กัป ในระหว่างพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า เวสสภู

และพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ. และ ๑๐๐,๐๐๐ มหากัป พร้อม

ด้วยกัปที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ทรงอุบัติภายหลังตั้งแต่กัปที่พระ

ทศพลพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงอุบัติและด้วยภัตรกัปนี้ ด้วยประการฉะนี้

ท่านจึงกล่าวว่า กปฺเป จ สตสหสฺเส ตลอดแสนกัปหมายถึงมหากัป

เหล่านั้น. เมื่อเนื้อความนี้กล่าวพิสดารควรจะนำบาลีพุทธวงศ์ทั้งหมดมา

พรรณนา ฉะนั้นเราจะรักษาใจของมหาชนผู้กลัวความพิสดารเกินจึงจะไม่

กล่าวให้พิสดาร. ผู้มีความต้องการความพิสดารพึงเรียนจากพุทธวงศ์. อนึ่ง

ในที่นี้กถามรรคใดที่ควรกล่าว กถามรรคแม้นั้นก็พึงทราบโดยนัยดังที่ได้

กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาธรรมสังคหะชื่อว่า อัฏฐสะลินี และอรรถกถาชาดก

นั่นและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 31

อนฺตร ศัพท์ในบทว่า เอตฺถนฺตเร นี้ มาแล้วใน เหตุ ในบทมี

อาทิว่า :-

ชนทั้งหลาย ประชุมกันที่ฝั่งแม่น้ำ ที่

เรือน ที่สภา และที่ถนนปรึกษาเหตุอะไร

กะเราและกะท่าน.

มาแล้วใน ขณะ ในประโยคมีอาทิว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญหญิงคนหนึ่ง

ล้างภาชนะในขณะฟ้าแลบ ได้เห็นข้าพระองค์. มาแล้วใน จิต ในประโยค

มีอาทิว่า ความโกรธไม่มีแต่จิตของผู้ใด. มาแล้วใน ระหว่าง ในบทมีอาทิ

ว่า เมืองคยาในระหว่าง และต้นโพธิ์ในระหว่าง. มาแล้วใน ท่ามกลาง

ในบทมีอาทิว่า เมื่อพระอุปัชฌาย์ยังพูดอยู่ไม่ควรสอดคำพูดในท่ามกลาง

แม้ในที่นี้พึงเห็นว่า ในท่ามกลางนั่นแล เพราะฉะนั้น ในระหว่างนี้

ความว่าในท่ามกลาง. บทนี้เป็นอันท่านกล่าวไว้ว่า ในมหากัปพระผู้มีพระ-

ภาคของเรา เป็นสุเมธบัณฑิตในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

ทีปังกรได้ทรงกระทำมหาภินิหารประกอบด้วยองค์ ๘ ซึ่งท่านกล่าวไว้อย่างนี้

คือ ความเป็นมนุษย์ ๑ ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๑ เหตุ ๑ การเห็นพระ-

ศาสดา ๑ บรรพชา ๑ คุณสมบัติ ๑ อธิการ ๑ ความพอใจ ๑. ทรง

สะสม สมาทานบารมี ๓๐ ทัศ ทรงปรารภเพื่อยังพุทธการกธรรมแม้ทั้งหมด

ให้สมบูรณ์ อนึ่ง มีพระบารมีเต็มเปี่ยมด้วยประการทั้งปวง ในภัตรกัปนี้

ได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. กาลวิเศษมีกำหนดตามที่กล่าวแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 32

ในระหว่างมหากัปสองเหล่านี้. ก็ข้อนั้นรู้ได้อย่างไร. จริงอยู่บทนี้ว่า กปฺเป

จ สตสหสสฺเส จตุโร จ อสงฺขิเย สี่อสงไขยแสนกัป เป็นบทแสดง

ถึงการนับมหากัปโดยกำหนดและมิได้กำหนด. ก็การนับนี้นั้นเป็นการถือเอา

เบื้องต้นและที่สุดของการคำนวณ เว้นจากนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้นการเริ่ม

โพธิสมภารและการแสวงหาย่อมรู้ได้ว่า แม้ทั้งสองอย่างนั้นท่านแสดงโดย

เนื้อความในบทนี้ว่า เอตฺถนฺตเร ในระหว่างนี้ด้วยความมีเขตจำกัด อนึ่ง

เขตจำกัดนี้พึงทราบด้วยวิธีอันยิ่ง. ไม่พึงทราบด้วยอำนาจขอบเขต เพราะ

กัปเริ่มและกัปสุดท้ายหยั่งลงภายในโดยเอกเทศ อนึ่ง วิธีอันยิ่งย่อมไม่มี

ในที่นี้ เพราะมิได้กำหนดกัปเหล่านั้นไว้ โดยไม่มีขอบเขตมิใช่หรือ ไม่

ใช่อย่างนั้น เพราะนั่นเป็นแม้ในเอกเทศของกัปนั้น. จริงอยู่ กัปที่เป็น

เอกเทศของกัปนั้น กำหนดไว้โดยไม่มีขอบเขต.

บทว่า จริต ในบทนี้ว่า ย จริต, สพฺพ ต โพธิปาจน ความ

ประพฤติทั้งหมดนั้นเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ ได้แก่ จริยา อันเป็นข้อปฏิบัติ

มีทานและศีลเป็นต้น สงเคราะห์เข้าในบารมี ๓๐ ทัศ เพราะญาตัตถจริยา

โลกัตถจริยา และพุทธัตถจริยา หยั่งลงภายในจริยานั้น. อนึ่ง จริยา นี้

มี ๑ คือ อิริยาปถจริยา จริยาในอิริยาบถ ๔ ของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยความ

ตั้งใจ ๑ อายตนจริยา จริยาในอายตนะภายในของท่านผู้มีทวารคุ้มครอง

แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ สติจริยา จริยาในสติปัฏฐาน ๔ ของท่านผู้มี

ความไม่ประมาทเป็นธรรมเครื่องอยู่ ๑ สมาธิจริยา จริยาในฌานทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 33

๔ ของท่านผู้ขวนขวายในอธิจิต ๑ าณจริยา จริยาในอริยสัจ ๔ ของ

ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ๑ มคฺคจริยา จริยาในอริยมรรค ๔ ของท่าน

ผู้ปฏิบัติชอบ ๑ ปตฺติจริยา จริยาในสามัญผล ๔ ของท่านผู้บรรลุผล ๑

โลกตฺถจริยา จริยาในสรรพสัตว์ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๓ พระองค์.

ในจริยาเหล่านั้น โลกัตถจริยา ของพระโพธิสัตว์สององค์ และพระปัจ-

เจกพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้า โดยมีขอบเขต แต่ของพระโพธิสัตว์

และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายโดยไม่มีขอบเขต. มีดังที่ท่านกล่าวไว้ใน

นิทเทสว่า บทว่า จริยา ได้แก่จริยา ๘ คือ อิริยาปถจริยา และอายตน-

จริยา เป็นต้น ความพิสดารมีอยู่ว่า พระโยคาวจรประพฤติน้อมไปด้วย

ศรัทธา ประพฤติประคองไว้ด้วยความเพียร ประพฤติรู้ทั่วด้วยปัญญา

ประพฤติรู้แจ้งด้วยวิญญาณ เมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนี้ กุศลธรรมทั้งหลายย่อมแผ่

ไป ด้วยเหตุนั้นชื่อว่าประพฤติด้วยอายตนจริยา. แม้ปฏิบัติอย่างนี้ ก็ย่อม

บรรลุคุณวิเศษด้วยเหตุนั้นชื่อว่าประพฤติด้วยวิเสสจริยา ดังนั้นท่านจึงกล่าว

ถึงจริยา ๘ แม้อื่น. พึงทราบการปิดบังในบารมีทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นไว้.

ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า บทว่า จริต คือ จริยา อันเป็นข้อปฏิบัติมี

ทานและศีลเป็นต้น สงเคราะห์เข้าในบารมี ๓๐ ทัศ. แต่ในที่นี้พึงทราบ

ความไม่ปิดกั้นมรรคจริยาและปัตติจริยา เพราะประสงค์เอาเหตุจริยานั้นแล

ในที่นี้. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า สพฺพ ต โพธิปาจน ความประพฤติ

ทั้งหมดนั้นเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 34

สพฺพ ศัพท์ในบทนั้นย่อมปรากฏในอรรถ ๔ อย่าง คือ สพฺพสพฺพ

๑ อายตนสพฺพ ๑ สกฺกายสพฺพ ๑ ปเทสสพฺพ ๑. ในอรรถว่า

สพฺพสพฺพ ในบทมีอาทิว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ย่อมมาสู่ครองในหัวข้อ

ว่า ญาณ ของพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาค ด้วยอาการทั้งปวง. ในอรรถว่า

อายตนสพฺพ ในบทนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราจักแสดงอายตนะทั้งปวง

พวกเธอจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ รูป ฯลฯ มนะและธรรม

ทั้งหลาย เป็นอย่างไร. ในอรรถว่า สกฺกายสพฺพ ในบทมีอาทิว่า ภิกษุ

ย่อมรู้สิ่งทั้งปวงโดยประการทั้งปวง. ในอรรถว่า ปเทสสพฺพ ในบทมี

อาทิว่า ดูก่อนสารีบุตรถ้อยคำอันพวกเธอทั้งหมดกล่าวดีแล้วโดยปริยาย. แม้

ในที่นี้พึงทราบว่า สพฺพ ศัพท์ในอรรถว่า ปเทสสพฺพ เพราะท่านประ-

สงค์เอาความประพฤติอันเป็นการสะสมโพธิญาณ.

บทว่า โพธิ ได้แก่ต้นไม้บ้าง อริยมรรคบ้าง นิพพานบ้าง สัพพัญ-

ญุตญาณบ้าง. ต้นไม้ชื่อว่า โพธิ เพราะต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ ในอาคตสถานว่า

ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งแรก ณ ควงต้นโพธิและว่า คยาประเทศ

ในระหว่าง และต้นโพธิในระหว่าง. อริยมรรคชื่อว่า โพธิ เพราะอริย-

มรรคเป็นเหตุตรัสรู้อริยสัจ ๔ ในอาคตสถานว่า ญาณในมรรค ๔ ท่าน

เรียกว่า โพธิ. นิพพานชื่อว่า โพธิ เพราะนิพพานเป็นนิมิต ในอาคต-

สถานว่า ทรงบรรลุโพธิญาณอันเป็นอมตะและอสังขตะ. พระสัพพัญญุตฌาณ

ชื่อว่า โพธิ เพราะพระสัพพัญญุตญาณเป็นเหตุตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยอาการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 35

ทั้งปวง ในอาคตสถานว่าท่านผู้มีปัญญาว่าประเสริฐดุจแผ่นดิน ย่อมบรรลุ

โพธิญาณ. ในที่นี้ประสงค์เอาพระสัพพัญญุตญาณ. หรือว่า สัพพัญญุตญาณ

อันเป็นอรหัตมรรคพึงทราบว่า โพธิ ในที่นี้. พระสัพพัญญุตญาณของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า โพธิ เพราะประสงค์เอา มหาโพธิ. จริงอยู่

พระสัพพัญญุตญาณ อันมีอาสวักขยญาณเป็นปทัฏฐาน และอาสวักขยญาณ

อันมีพระสัพพัญญุตญาณเป็นปทัฏฐาน ท่านกล่าวว่า มหาโพธิ. ความย่อ

ในบทนี้ มีดังนี้ ความประพฤติกล่าวคือการปฏิบัติมีทานและศีลเป็นต้น ของ

เราอันใด ในการกำหนดกาลตามที่กล่าวแล้ว ความประพฤตินั้นทั้งหมด

เป็นเครื่องบ่ม เป็นความสำเร็จ ทำให้เกิดมหาโพธิญาณ อันไม่มีส่วนเหลือ

อกิตติดาบสแสดงการบำเพ็ญโพธิสมภารติดต่อกันไปด้วยบทนี้. อีกออย่างหนึ่ง

บทว่า สพฺพ ได้แก่ความประพฤติอันใดในระหว่างนี้ คือ ในการกำหนด

กาลตามที่กล่าวแล้ว ความประพฤตินั้นทั้งหมด เป็นโพธิสมภารทั้งสิ้น ไม่

มีส่วนเหลือ. อกิตติดาบสแสดงการบำเพ็ญบุญบารมีทั้งหมดด้วยบทนี้.

ภาวนาในโพธิสมภารมี ๔ อย่าง คือ สพฺพสมฺภารภาวนา ๑

นิรนฺตรถาวนา ๑ จิรกาลภาวนา ๑ สกฺกจฺจภาวนา ๑. ในภาวนา

อย่างนั้น ท่านกล่าว จิรกาลภาวนา ( การบำเพ็ญตลอดกาลนาน ) ด้วยบท

นี้ว่า กปฺเป จ สตสหสฺเส, จตุโร จ อสงฺขิเย ในสี่อสงไขยแสนกัป.

ท่านกล่าว นิรนฺตรถาวนา (การบำเพ็ญติดต่อกันไป) ด้วยการถือเอาทั้งหมด

ในอรรถวิกัปที่หนึ่ง ด้วยการประกอบล่วงส่วนในระหว่างนี้. ท่านกล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 36

สพฺพสมฺภารกาวนา (การบำเพ็ญบุญกุศลทั้งหมด) ด้วยบทนี้ว่า สพฺพ

จริต ความประพฤติทั้งหมด ในอรรถวิกัปที่สอง. ท่านกล่าว สกฺกจฺจ-

ภาวนา ( การบำเพ็ญโดยความเคารพ ) ด้วยบทนี้ว่า โพธิปาจน เป็น

เครื่องบ่มโพธิญาณ. ความประพฤตินั้นย่อมบ่มสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะ

แสดงความเป็นอย่างนั้น ฉันใด ความประพฤตินั้นย่อมควรที่จะกล่าวว่า

โพธิปาจน เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ ฉันนั้นไม่ควรที่จะกล่าวโดยอาการ

อื่น. ก็ในบทนี้พึงทราบความที่โพธิจริยาติดต่อกันไปอย่างไร. ผิว่า จิตนั้น

ไม่ควร เพราะจิตติดต่อกันไป เป็นความจริงที่ไม่อาจจะกล่าวได้ว่า จิตอื่นจาก

จิตสะสมโพธิสมภาร จะเกิดขึ้นสูงกว่ามหาภินิหารของพระมหาสัตว์ทั้งหลาย.

เมื่อเป็นเช่นนั้น พึงกล่าวหมายถึงความเป็นไปแห่งจิตสำเร็จด้วยกิริยา. แม้

อย่างนี้ก็ไม่ควร. ความจริงไม่ควรเห็นว่า จิตสำเร็จด้วยกิริยาทั้งหมดของพระ

มหาโพธิสัตว์เหล่านั้น ย่อมเป็นไปได้ด้วยอำนาจแห่งการสะสมโพธิสมภาร

เท่านั้น แม้การทำความเพียรติดต่อกันไป ท่านก็ห้ามด้วยบทนี้เหมือนกัน.

อนึ่ง พึงทราบนิรันดรภาวนา เพราะความติดต่อกันแห่งชาติ. พระมหา-

โพธิสัตว์ยังมหาปณิธานให้เกิดในชาติใด ชาตินั้นย่อมไม่เข้าไปได้ตั้งแต่นั้น

จนถึงอัตภาพหลัง. ชาติใดที่พระมหาโพธิสัตว์สะสมโพธิสมภารไว้หมดสิ้น

ทุกประการ โดยที่สุดหมายเอาเพียงทานบารมีก็พึงมีไม่ได้. เพราะชาตินี้

เป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนากิจของพระศาสนา. พระ-

โพธิสัตว์เหล่านั้น ยังไม่ถึงความเป็นผู้ชำนาญในกรรมเป็นต้น เพียงใด

พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมถึงความขวนขวายอันมีขอบเขตในการสะสมบุญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 37

เพียงนั้น. อนึ่ง เมื่อใดพระโพธิสัตว์ทั้งหลายถึงความเป็นผู้ชำนาญในกรรม

เป็นต้นโดยประการทั้งปวง เมื่อนั้นความเคลื่อนไหวและกระทำติดต่อใน

โพธิสมภารทั้งหลาย ย่อมสมบูรณ์โดยไม่มีขอบเขตตั้งแต่นั้น. ก็การทำโดย

ความเคารพย่อมเป็นกาลทั้งหมด. ความสำเร็จตามความประสงค์ ย่อม

สมบูรณ์ในทางของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย. พึงทราบว่าท่านประกาศภาวนา

๔ อย่าง คือ สพฺพสมฺภารภาวนา ๑ จิรกาลภาวนา ๑ นิรนฺตรภาวนา ๑

สกฺกจฺจภาวนา ๑ ในโพธิสมภารทั้งหลาย ด้วยคาถานี้.

ในบทนั้นเพราะความประพฤติของพระโพธิสัตว์ โพธิสมภาร โพธิ-

จริยา อัครยาน บารมี เป็นอันเดียวกันโดยอรรถ พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน.

อนึ่ง เพราะบทว่า จริต นี้ เป็นคำไม่วิเศษไปจากบารมี มีทานบารมี เป็นต้น

ซึ่งจะกล่าวโดยวิภาคข้างหน้า ฉะนั้นในที่นี้ควรพรรณนาบารมีทั้งหลายเพื่อ

ให้เกิดความเป็นผู้ฉลาดในโพธิสมภารทั้งหมด. เราจักพรรณนาในปกิณณก-

กถา ข้างหน้าจนครบ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงพระจริยาในภูมิของพระโพธิสัตว์

ของพระองค์. โดยไม่วิเศษว่า เป็นเครื่องบ่มมหาโพธิญาณตั้งแต่เริ่มจน

สุดท้าย บัดนี้ เพื่อทรงแสดงถึงความที่พระจริยานั้นเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ

โดยสมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วยการถึงความยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง เมื่อจะทรงประกาศ

บุรพจริยาเล็ก ๆ น้อย ๆ ในภัตรกัปนี้โดยวิภาค จึงตรัสคำมีอาทิว่า อตีต-

กปฺเป ในกัปล่วงแล้วดังนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 38

ในบทเหล่านั้น บทว่า อตีตกปฺเป คือในมหากับมีกำหนดตามที่

กล่าวแล้วล่วงไปแล้วทั้งหมดก่อนหรือกว่าจากกัปนี้ อริบายว่า ในสี่อสงไขย

แสนกัป. บทว่า จริต คือการปฏิบัติบารมีมีทานบารมีเป็นต้น ที่สะสมไว้

แล้ว. บทว่า ปยิตฺวา คือเว้นไม่ถือเอา อธิบายว่า ไม่กล่าวถึง. บทว่า

ภวาภเว คือในภพน้อยใหญ่. พึงทราบความในบทว่า อิติภวาภวกถ ดัง

ต่อไปนี้ ท่านกล่าวถึงความเจริญและความเสื่อมว่า ภวาภว. ในบทที่ว่าล่วง

ความเป็นผู้เจริญและเป็นผู้เสื่อม ท่านประสงค์เอา สมบัติวิบัติ ความเจริญ

ความเสื่อม สสัสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ บุญและบาป ว่า ภวาภว. อนึ่ง

ในบทนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดขึ้น เพราะ

เหตุของประณีต ท่านประสงค์เอาเภสัชมีเนยใสและเนยขึ้นเป็นต้นอันประ-

ณีต ประณีตยิ่ง ว่า ภวาภว. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ในสมบัติภพ ภพ

น้อยภพใหญ่ประณีตยิ่ง ประณีตที่สุด ดังนี้บ้าง. เพราะฉะนั้น แม้ในที่นี้

ก็พึงทราบความนั้นนั่นแล ท่านอธิบายว่า ในภพน้อยและภพใหญ่. บทว่า

อิมมฺหิ กปฺเป คือในภัทรกัปนี้. บทว่า ปวกฺขิสฺส คือเราจักบอก. บทว่า

สุโณหิ ท่านจงฟัง คือทรงชักชวนพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ในการฟัง.

บทว่า เมห คือในสำนักของเรา. อธิบายว่า จากคำพูดของเรา.

จบ นิทานกถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 39

อรรถกถาอกิตติวรรคที่ ๑

๑. การบำเพ็ญทานบารมี

อรรถกถาอกิตติจริยาที่ ๑

ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงยังอุตสาหะในการฟัง บุรพ-

จริยาของพระองค์ให้เกิดแก่ท่านพระสารีบุตรเถระ และแก่บริษัทกับทั้ง

เทวดาและมนุษย์แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงกระทำบุรพจริยานั้นซึ่งปกปิดไว้ใน

ระหว่างภพให้ประจักษ์ ดุจมะขามป้อมในฝ่ามือ ฉะนั้นจึงตรัสพระดำรัสมี

อาทิว่า :-

ในกาลใดเราเป็นดาบสชื่ออกิตติเข้าไป

อาศัยอยู่ในป่าใหญ่อันว่างเปล่า สงัดเงียบ

ปราศจากเสียงอื้ออึง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยทา คือ ในกาลใด. บทว่า พฺรหารญฺเ

คือ ในป่าใหญ่ อธิบายว่า ในป่าใหญ่ชื่อว่า อรัญญานี. บทว่า สุญฺเ

ว่างเปล่า คือ สงัดจากชน. บทว่า วิปินภานเน คือ ป่าเล็ก ๆ อันสงัด

เงียบ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเงียบของป่านั้นด้วยสองบท บท

ทั้งหมดนั้นท่านกล่าวหมายถึงการทวีป. บทว่า อชฺโฌคาเหตฺวา คือเข้าไป

อาศัย. บทว่า วิหรามิ คือเรากำจัดทุกข์ของร่างกายอยู่ยังอัตภาพให้เป็นด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 40

อิริยาบถวิหารอันวิเศษกว่าสุขที่เกิดจากอาเนญชวิหาร คือการอยู่ไม่หวั่น

ไหว ที่เป็นของทิพย์ เป็นของพรหม เป็นของอริยะ. บทว่า อกิตฺติ นาม

ตาปโส คือในกาลใดเราเป็นดาบสมีชื่ออย่างนี้อยู่ในป่านั้น. ในกาลนั้น

พระศาสดาตรัสถึงความที่พระองค์เป็นดาบสชื่ออกิตติ แก่พระธรรมเสนาบดี.

มีกถาเป็นลำดับดังต่อไปนี้ :-

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ภัทรกัปนี้แล ครั้นเมื่อพระเจ้าพรหมทัต

เสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์

มหาสาล มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ มีชื่อว่า อกิตติ. เมื่ออกิตติเดินได้น้องสาวก็เกิด

มีชื่อว่า ยสวดี. เมื่ออกิตติมีอายุได้ ๑๕ ปีก็ไปเรียนศิลปะทุกอย่างในเมือง

ตักกสิลา เรียนสำเร็จแล้วก็กลับ. ครั้งนั้นมารดาบิดาของอกิตติได้ถึงแก่

กรรม. อกิตติทำฌาปนกิจมารดาบิดาแล้วล่วงไปสองสามวัน ให้ผู้จัดการ

มรดกตรวจตราทรัพย์สิน ครั้นสดับว่า ทรัพย์สินส่วนของมารดา ประมาณ

เท่านี้ ส่วนของบิดาประมาณเท่านี้ ส่วนของปู่ตาประมาณนี้ จึงเกิดสังเวช

ว่า ทรัพย์นี้เท่านั้นยังปรากฏอยู่ แต่ผู้จัดหาทรัพย์มาไม่ปรากฏ ทั้งหมดละ

ทรัพย์นี้ไป แต่เราจักเอาทรัพย์นี้ไป จึงกราบทูลพระราชาให้ตีกลองป่าว

ประกาศว่า ผู้มีความต้องการทรัพย์จงมายังเรือนของอกิตติบัณฑิต.

อกิตติบัณฑิตบริจาคมหาทานตลอด ๗ วัน เมื่อทรัพย์ยังไม่หมดจึง

คิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยธนกรีฑานี้แก่เรา ผู้มีความต้องการจักรับตาม

ชอบใจ จึงเปิดประตูเรือนแล้วให้เปิดห้องเก็บสมบัติอันเต็มไปด้วยเงินและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 41

ทองเป็นต้น ประกาศว่า ชนทั้งหลายจงนำเอาทรัพย์ที่เราให้แล้วไปเถิดแล้ว

ละเรือนไปเมื่อวงศ์ญาติร่ำไห้อยู่ ได้พาน้องสาวออกจากกรุงพาราณสีข้าม

แม่น้ำไป ๒-๓ โยชน์ ออกบวชสร้างบรรณศาลาอยู่ ณ ภูมิภาคน่ารื่นรมย์

ท่าที่อกิตติดาบสข้ามแม่น้ำไปชื่อ ท่าอกิตติ. พวกมนุษย์ชาวบ้านชาวนิคม

และชาวเมืองหลวงได้ฟังว่า อกิตติบัณฑิตบวชแล้ว ต่างมีใจจดจ่อด้วยคุณ-

ธรรมของอกิตติดาบสจึงพากันบวชตาม. อกิตติดาบสได้มีบริวารมาก. ลาภ

และสักการะเป็นอันมากเกิดขึ้นดุจพุทธุปาทกาล. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์

ดำริว่า ลาภและสักการะอันมากนี้แม้บริวารก็มาก แม้เพียงกายวิเวกก็ไม่ได้

ในที่นี้ เราควรอยู่แต่ผู้เดียว เพราะเป็นผู้มีความมักน้อยอย่างยิ่ง และเพราะ

เป็นผู้น้อมไปในวิเวกจึงไม่ให้ใคร ๆ รู้ออกไปผู้เดียว ถึงแคว้นทมิฬตามลำดับ

อยู่ในสวนใกล้ท่ากาวีระยังฌานและอภิญญาให้เกิด. แม้ ณ ที่นั้นลาภและ

สักการะใหญ่ก็เกิดขึ้นแก่อกิตติดาบสนั้น. อกิตติดาบสรังเกียจลาภและ

สักการะใหญ่นั้นจึงทิ้งเหาะไปทางอากาศหยั่งลง ณ การทวีป, ในครั้งนั้น

การทวีปมีชื่อว่า อหิทวีป. อกิตติดาบสอาศัยต้นหมากเม่าใหญ่ ณ ที่นั้น

สร้างบรรณศาลาพักอาศัยอยู่. แต่เพราะความเป็นผู้มักน้อยจึงไม่ไปในที่

ไหน ๆ บริโภคผลไม้ในกาลที่ต้นไม้นั้นมีผล เมื่อยังไม่มีผลก็บริโภคใบไม้

ชงน้ำ ยังกาลเวลาให้น้อมไปด้วยฌานและสมาบัติ.

ด้วยเดชแห่งศีลของอกิตติดาบสนั้น ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าว

สักกะนั้นแสดงอาการเร่าร้อน. ท้าวสักกะรำพึงอยู่ว่า ใครหนอประสงค์ให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 42

เราเคลื่อนจากที่นี้ ทอดพระเนตรเห็นอกิตติบัณฑิตทรงดำริว่า ดาบสนี้

ประพฤติตบะที่ทำได้ยากอย่างนี้เพื่ออะไรหนอ หรือจะปรารถนาความเป็น

ท้าวสักกะ หรือว่าอย่างอื่น เราจักทดลองดาบสนั้นดู. จริงอยู่ดาบสนี้มีความ

ประพฤติทางกายวาจาและใจบริสุทธิ์สะอาด ไม่อาลัยในชีวิต บริโภคใบ

หมากเม่าชงน้ำ หากปรารถนาความเป็นท้าวสักกะ จักให้ใบหมากเม่าชงน้ำ

ของตนแก่เรา หากไม่ปรารถนาก็จักไม่ให้ จึงแปลงเพศเป็นพราหมณ์ไปหา

อกิตติดาบสนั้น. แม้พระโพธิสัตว์ก็รินใบหมากเม่าออกคิดว่าจักบริโภคน้ำ

ใบหมากเม่าเย็น นั่งอยู่ที่ประตูบรรณศาลา. ลำดับนั้นท้าวสักกะมีรูปเป็น

พราหมณ์มีความต้องการภิกษา ได้ยืนข้างหน้าพระดาบส. พระมหาสัตว์

เห็นพราหมณ์นั้นก็ดีใจด้วยคิดว่า เป็นลาภของเราแล้วหนอ เราได้ดีแล้ว

หนอ เราไม่ได้เห็นยาจกมานานะแล้วหนอ คิดต่อไปว่าวันนี้เราจักยังความ

ปรารถนาของเราให้ถึงที่สุดแล้วจักให้ทาน จึงถือเอาด้วยภาชนะที่มีอาหาร

สุกไป แล้วนึกถึงทานบารมี ใส่ลงในภิกษาภาชนะของพราหมณ์นั้นจนหมด.

ท้าวสักกะรับภิกษานั้นไปได้หน่อยหนึ่งก็อันตรธานไป. แม้พระมหาสัตว์

ครั้นให้ภิกษาแก่พราหมณ์นั้นแล้วก็ไม่นึกที่จะแสวงหาอีก ยังกาลเวลาให้

น้อมล่วงไปด้วยปีติสุขนั้นนั่นเอง.

ในวันที่สองท่านอกิตติดาบสนั่งอยู่ที่ประตูบรรณศาลา ก็ต้มใบหมาก

เม่าอีกคิดว่า เมื่อวานนี้เราไม่ได้ทักขิไณยบุคคลวันนี้เราจะได้อย่างไรหนอ

ท้าวสักกะก็เสด็จมาเหมือนเดิม. พระมหาสัตว์ได้ให้ภิกษายังกาลเวลาให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 43

น้อมล่วงไปเหมือนอย่างนั้นอัก. ในวันที่สามก็ให้อย่างนั้นอีกแล้วคิดว่าน่าปลื้ม

ใจหนอ เป็นลาภของเรา เราประสบบุญมากหนอ หากเราได้ทักขิไณยบุคคล

เราจะให้ทานอย่างนี้ ตลอดเดือนหนึ่งบ้าง สองเดือนบ้าง. แม้ในสามวัน

พระดาบสก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า ด้วยทานนั้นเรามิได้ปรารถนา ลาภสักการะ

และความสรรเสริญ ไม่ปรารถนาสมบัติจักรพรรดิ ไม่ปรารถนาสักกสมบัติ

ไม่ปรารถนาพรหมสมบัติ ไม่ปรารถนาสาวกโพธิญาณ ไม่ปรารถนาปัจเจก-

โพธิญาณ ที่แท้ขอทานของเรานี้ จงเป็นปัจจัยแห่งพระสัพพัญญุตญาณเถิด.

ด้วยเหตุนั้นท่านอกิตติดาบสจึงกล่าวว่า :-

ในกาลนั้นด้วยเดชแห่งการประพฤติตบะ

ของเรา ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ในไตรทิพย์ทรง

ร้อนพระทัย ทรงแปลงเพศเป็นพราหมณ์ เข้า

มาหาเราเพื่อภิกษา.

เราได้เห็นพราหมณ์มายืนอยู่ใกล้ประตู

บรรณศาลาของเรา จึงเอาใบหมากเม่าที่เรานำ

มาแต่ป่า อันไม่มีน้ำมันทั้งไม่เค็มให้หมด

พร้อมกับภาชนะ.

ครั้นได้ให้ใบหมากเม่าแก่พราหมณ์นั้น

แล้ว เราจึงคว่ำภาชนะ ละการแสวงหาใบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 44

หมากเม่าใหม่ เข้าไปยังบรรณศาลา.

แม้ในวันที่สอง แม้ในวันที่สาม พราหมณ์

ก็เข้ามายังสำนักเรา เราไม่หวั่นไหว ไม่อาลัย

ในชีวิต ได้ให้หมดสิ้นเช่นก่อนเหมือนกัน.

ในสรีระของเราไม่มีความหม่นหมอง เพราะ

การอดอาหารนั้นเป็นปัจจัย เรายังวันนั้น ๆ ให้

น้อมไปด้วยความยินดีด้วยปีติสุข.

ผิว่าเราพึงได้ทักขิไณยบุคคลผู้ประเสริฐ

แม้เดือนหนึ่งสองเดือน เราก็ไม่หวั่นไหว ไม่

ท้อแท้ ฟังให้ทานอันอุดม เมื่อให้ทานแก่

พราหมณ์นั้น เราจะได้ปรารถนายศและลาภ

ก็หามิได้ เราปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณ จึง

ได้ประพฤติธรรมเหล่านั้น ฉะนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตทา คือในกาลที่เราเป็นดาบสชื่อว่าอกิตติ

อยู่ในป่าใบหมากเม่านั้น (การทวีป). บทว่า ม คือของเรา. บทว่า ตปเตเชน

ด้วยเดชแห่งการบำเพ็ญตบะ คือด้วยอานุภาพแห่งศีลบารมี. จริงอยู่ศีลท่าน

เรียกว่า ตบะ เพราะเผาความเศร้าหมองอันเกิดแต่ทุจริต. หรือเพราะอานุ-

ภาพแห่งเนกขัมมบารมีและวีริยบารมี. เพราะแม้บารมีเหล่านั้นท่านก็เรียกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 45

ตบะ เพราะเผาความเศร้าหมองคือตัณหา และความเกียจคร้าน. อนึ่ง

บารมีเหล่านั้นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญอย่างยอดเยี่ยมในอัตภาพนี้. อันที่จริง

ควรจะกล่าวว่า ขนฺติปารมิตานุภาเวน ด้วยอานุภาพแห่งขันติบารมี เพราะ

ขันติสังวรเข้าถึงความยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

ว่า ขนฺตี ปรม ตโป ขันติเป็นตบะอย่างยิ่ง. บทว่า สนฺตตฺโต ท้าวสักกะ

ทรงร้อนพระทัย ความว่า ท้าวสักกะทรงร้อนพระทัยด้วยอาการแสดงความ

เร่าร้อนของปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์อันศักดิ์สิทธิ์ ตามธรรมดาที่เกิดด้วยอานุ-

ภาพของคุณธรรมที่กล่าวแล้ว. บทว่า ติทิวาภิภู ผู้เป็นใหญ่ในไตรทิพย์

คือผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกได้แก่ท้าวสักกะ. ใบหมากเม่าแม้ถือเอาในที่ใกล้

บรรณศาลา ท่านกล่าวว่า ปวนา อาภต นำมาจากป่า เพราะบรรณศาลา

อยู่ท่ามกลางป่า.

บทว่า อเตลญฺจ อโลณิก ไม่มีน้ำมัน ทั้งไม่มีความเค็ม ท่านกล่าว

เพื่อแสดงความรุ่งเรืองอย่างใหญ่หลวงแห่งทานบารมี ด้วยความสมบูรณ์

แห่งอัธยาศัย แม้ไทยธรรมจะไม่ใหญ่โตนัก. บทว่า มม ทฺวาเร คือใกล้

ประตูบรรณศาลาของเรา. ด้วยบทนี้ว่า สกฏาเหน อากิรึ ให้หมดพร้อม

ทั้งภาชนะ ท่านอกิตติดาบสแสดงถึงความที่ตนให้ไม่มีอะไร ๆ เหลือ.

บทว่า ปุเนสก ชหิตฺวาน ละการแสวงหาใบหมากเม่าใหม่คือท่าน

อกิตติดาบสคิดว่า การแสวงหาของบริโภควันหนึ่งสองครั้ง ไม่เป็นการขัด

เกลากิเลส จึงไม่แสวงหาอาหารใหม่ในวันนั้น เป็นดุจว่าอิ่มด้วยความอิ่ม

ในทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 46

บทว่า อกมฺปิโต ไม่หวั่นไหว คือ ไม่หวั่นไหวด้วยความตระหนี่

เพราะข่มเสียได้นานมาแล้ว ไม่กระทำแม้เพียงความหวั่นไหวโดยอัธยาศัย

ในการให้. บทว่า อโนลคฺโค ไม่อาลัยในชีวิต คือ ไม่อาลัยแม้แต่น้อยด้วย

ความโลภ. บทว่า ตติยมฺปิ ย่อมประมวลบทนี้ว่า ทุติยมฺปิ ด้วย ปิ ศัพท์.

บทว่า เอวเมวมทาสห เราได้ให้หมดสิ้นเช่นวันก่อน คือ แม้ในวันที่สอง

แม้ในวันที่สาม เราก็ได้ให้อย่างนั้นเหมือนในวันแรก.

บทว่า น เม ตปฺปจฺจยตา เพราะการอดอาหารนั้นเป็นปัจจัย คือ

ท่านอกิตติดาบสกระทำความที่กล่าวไว้ในคาถาให้ปรากฏ. ในบทเหล่านั้น

บทว่า ตปฺปจฺจยตา ความว่า เพราะการอดอาหารใน ๓ วัน เพราะการ

ให้เป็นปัจจัย จะพึงมีความหม่นหมองอันใดในสรีระ ความหม่นหมองอันนั้น

ในสรีระของเราย่อมไม่มีเพราะการให้เป็นปัจจัยเลย. เพราะเหตุไร เพราะ

เรายังกาลเวลาให้น้อมล่วงไปด้วยปีติสุขตลอด ๓ วัน. มิใช่เพียง ๓ วันเท่านั้น

อันที่จริงเพื่อแสดงว่า เราพอใจที่จะให้อย่างนั้นได้ตลอดเวลาแม้เดือนหนึ่ง

และสองเดือน ท่านอกิตติดาบสจึงกล่าวว่า ยทิ มาสมฺปิ. บทว่า อโน-

ลีโน คือไม่ท้อแท้ใจ อธิบายว่า มีใจไม่ท้อถอยในการให้.

บทว่า ตสฺส คือ ท้าวสักกะผู้มาในรูปของพราหมณ์. บทว่า ยส

คือ เกียรติ หรือ บริวารสมบัติ. บทว่า ลาภญฺจ คือ เราไม่ปรารถนาลาภ

ที่ควรได้ด้วยความเป็นจักรพรรดิเป็นต้นในเทวโลกและมนุษยโลก ที่แท้เรา

ปรารถนา คือหวังพระสัพพัญญุตญาณ จึงได้ประพฤติคือได้กระทำบุญกรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 47

อันสำเร็จด้วยทานอันเกิดขึ้นหลายครั้งใน ๓ วันเท่านั้น หรือบุญกรรมมี

กายสุจริตเป็นต้น อันเป็นบริวารของทาน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศเพียงบุญจริยา ที่ทำได้ยากของ

พระองค์ในอัตภาพนี้แก่พระมหาเถระในวรรคนี้ ด้วยประการฉะนี้. แต่ใน

เทศนาชาดก ท่านประกาศถึงท้าวสักกะเข้าไปหาในวันที่สี่ แล้วทรงทราบ

อัธยาศัยของพระโพธิสัตว์ การประทานพร การแสดงธรรมของพระโพธิ-

สัตว์ด้วยหัวข้อการรับพร และความหวังไทยธรรมและทักขิไณยบุคคล และ

การไม่มาของท้าวสักกะ. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

ท้าวสักกะผู้เป็นภูตบดี ทอดพระเนตร

เห็นท่านอกิตติดาบส พักสำราญอยู่ จึงถามว่า

ข้าแต่มหาพรหม พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรจึง

อยู่ผู้เดียวในฤดูร้อน.

ท่านท้าวสักกรินทรเทพ ความเกิดใหม่

เป็นทุกข์ การแตกทำลายแห่งสรีระ เป็นทุกข์

การตายด้วยความหลง เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น

อาตมาจึงอยู่ผู้เดียว.

ข้าแต่ท่านกัสสปะ เมื่อพระคุณเจ้ากล่าว

คำสุภาษิตอันสมควรนี้แล้ว พระคุณเจ้า

ปรารถนาอะไร ข้าพเจ้าจะให้พรนั้นแก่ท่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 48

ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพทั้งหลาย

หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้

คนทั้งหลายได้บุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัติ และ

ของเป็นที่รักด้วยความโลภใดแล้วไม่เดือดร้อน

ขอความโลภนั้นไม่พึงอยู่ในอาตมาเลย.

ข้าแต่ท่านกัสสปะ เมื่อพระคุณเจ้ากล่าว

ดีแล้ว ฯลฯ พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก.

ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพทั้งหลาย

หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้

นา ไร่ ทอง โค ม้า ทาสและบุรุษ ย่อม

เสื่อมไปด้วยโทษใด โทษนั้น ไม่ฟังอยู่ใน

อาตมาเลย.

ข้าแต่ท่านกัสสปะ ฯลฯ พระคุณเจ้า

ปรารถนาอะไรอีก.

ท่านท้าวสักกะหากท่านจะให้พรแก่อาตมา

ขอจงให้พรดังนี้ บุคคลไม่พึงเห็น ไม่พึงได้ยิน

คนพาล ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยคนพาล ไม่พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 49

กระทำ และไม่พึงชอบใจการสนทนาปราศรัย

ด้วยคนพาล.

ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะอะไรท่านจึง

ไม่ชอบคนพาล ขอจงบอกเหตุ เพราะเหตุไร

พระคุณเจ้าจึงไม่ปรารถนาที่จะเห็นคนพาล.

คนพาลย่อมแนะนำสิ่งไม่ควรแนะนำ

ย่อมขวนขวายในกิจอันไม่ใช่ธุระ คนพาล

แนะนำให้ดีได้ยาก พูดดีหวังจะให้เขาเป็นคน

ประเสริฐกลับโกรธ คนพาลนั้นไม่รู้วินัย การ

ไม่เห็นคนพาลได้เป็นความดี.

ข้าแต่ท่านกัสสปะ พระคุณเจ้าปรารถนา

อะไรอีก.

ท่านท้าวสักกะจอมเทพ หากท่านจะให้

พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ บุคคลพึงเห็น

นักปราชญ์ พึงฟังนักปราชญ์ พึงอยู่ร่วมกับ

นักปราชญ์ พึงกระทำและพึงชอบใจการ

สนทนาปราศรัยกับนักปราชญ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 50

ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะเหตุไร พระ-

คุณเจ้าจึงชอบใจนักปราชญ์ ขอจงบอกเหตุนั้น

เพราะเหตุไร พระคุณเจ้าจึงปรารถนาจะเห็น

นักปราชญ์.

นักปราชญ์แนะนำสิ่งที่ควรแนะนำไม่

ขวนขวายในกิจที่มิใช่ธุระ นักปราชญ์แนะนำ

ได้ง่าย พูดหวังจะให้ดีก็ไม่โกรธ นักปราชญ์

ย่อมรู้จักวินัย การสมโคมกับนักปราชญ์เป็น

ความดี.

พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก.

ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ หากท่าน

จะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ เมื่อราตรี

หมดไป ดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นเจ้าโลก ของ

บริโภคอันเป็นทิพย์ฟังปรากฏ ผู้ขอฟังเป็นผู้มี

ศีล.

เมื่ออาตมาให้ของบริโภคไม่หมดสิ้นไป

ครั้นให้แล้วอาตมาไม่พึงเดือดร้อน เมื่อให้จิต

พึงผ่องใส ท่านท้าวสักกะขอจงให้พรนี้เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 51

พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก.

ท่านท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ หากท่าน

จะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ ท่านไม่

พึงกลับมาหาอาตมาอีก ท่านท้าวสักกะ ขอจง

ให้พรนี้เถิด.

เทพบุตร หรือ เทพธิดา ปรารถนาจะเห็น

ด้วยการประพฤติพรตเป็นอันมาก อะไรจะเป็น

ภัยในการเห็นของอาตมา.

ตบะพึงแตกไป เพราะเห็นสีสรรของ

พวกเทพเช่นนั้น ผู้ล้วนแล้วไปด้วยความสุข

สมบูรณ์ในกามนี้เป็นภัยในการเห็นของพระ-

คุณเจ้า.

ลำดับนั้นท้าวสักกะตรัสว่า ดีแล้วพระคุณเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ไปข้าพเจ้า

จักไม่มาหาพระคุณเจ้าอีกแล้ว ทรงกราบพระดาบสนั้นเสด็จกลับไป. พระ-

มหาสัตว์อยู่ ณ การทวีปนั้นตลอดชีวิต เมื่อสิ้นอายุก็ไปบังเกิดในพรหมโลก.

ในครั้งนั้นพระอนุรุทธเถระเป็นท้าวสักกะ. พระโลกนาถเจ้าเป็น

อกิตติบัณฑิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 52

ย่อมได้รับบารมี ๑๐ เหล่านี้ คือ ชื่อว่า เนกขัมมบารมี เพราะการ

ออกไปของท่านอกิตติบัณฑิตนั้นเช่นกับมหาภิเนษกรมณ์. ชื่อว่า ศีลบารมี

เพราะมีศีลาจารอันบริสุทธิ์ด้วยดี. ชื่อว่า วีริยบารมี เพราะข่มกามวิตก

เป็นต้นด้วยดี. ชื่อว่า ขันติบารมี เพราะขันติสังวรถึงความยอดเยี่ยมอย่าง

ยิ่ง. ชื่อว่า สัจจบารมี เพราะปฏิบัติตามสมควรแก่ปฏิญญา ชื่อว่า อธิฏ-

ฐานบารมี เพราะตั้งใจสมาทานไม่หวั่นไหวในที่ทั้งปวง. ชื่อว่า เมตตาบารมี

ด้วยอัธยาศัยเกื้อกูลในสรรพสัตว์ทั้งหลาย. ชื่อว่า อุเบกขาบารมี เพราะ

ถึงความเป็นกลางในความผิดปกติที่สัตว์และสังขารกระทำแล้ว ชื่อว่า

ปัญญาบารมี ได้แก่ปัญญาอันเป็นอุบายโกศลซึ่งเป็นสหชาตปัญญา และ

ปัญญาให้สำเร็จความประพฤติในการขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง. เพราะรู้ธรรม

เป็นอุปการะ และธรรมไม่เป็นอุปการะแก่บารมีเหล่านั้น ละธรรมอันไม่

เป็นอุปการะเสีย มุ่งประพฤติอยู่ในธรรมอันเป็นอุปการะ.

เทศนาอันเป็นไปแล้วด้วยทานเป็นประธานอันเป็นความกว้างขวางยิ่ง

นักแห่งผู้มีอัธยาศัยในการให้. เพราะฉะนั้นธรรมเหล่าใดมีประเภทไม่น้อย

เป็นร้อยเป็นพัน เป็นโพธิสมภาร เป็นคุณของพระโพธิสัตว์ มีอาทิอย่างนี้

คือ ธรรมเป็นปฏิญญา ๗ มีอาทิ คือ มหากรุณาอันให้สำเร็จในที่ทั้งปวง

บุญสมภาร และญาณสมภาร แม้ทั้งสอง สุจริตของพระโพธิสัตว์ ๓ มี

กายสุจริตเป็นต้น อธิฏฐาน ๔ มีสัจจาธิษฐานเป็นต้น พุทธภูมิ ๔ มีอุตสาหะ

เป็นต้น ธรรมเป็นเครื่องบ่มมหาโพธิญาณ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น อัธยาศัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 53

ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ๖ มีอัธยาศัยไม่โลภเป็นต้น เราข้ามได้แล้วจัก

ข้ามต่อไป มหาปุริสวิตก ๘ มีอาทิว่า ธรรมนี้ของผู้มีความมักน้อย ธรรมนี้

มิใช่ของผู้มีความมักใหญ่ ธรรมมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ๙ อัธยาศัยของ

มหาบุรุษ ๑๐ มีอัธยาศัยในการให้เป็นต้น บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ มีทานและ

ศีลเป็นต้น. ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดควรกล่าวเจ้าจงไปในที่นี้ตามสมควร.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบคุณานุภาพของพระมหาสัตว์ มีอาทิอย่างนี้

คือ การละกองสมบัติใหญ่ และวงศ์ญาติใหญ่ แล้วออกจากเรือนเช่นกับ

มหาภิเนษกรมณ์ ครั้นออกไปแล้ว เมื่อบวชซึ่งชนเป็นอันมากรับรู้แล้ว ก็

ไม่เกี่ยวข้องในตระกูล ในคณะเพราะเป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง รังเกียจลาภ

สักการะและความสรรเสริญสิ้นเชิง ยินดีในความสงัด วางเฉยในร่างกาย

และชีวิตเสียสละ อดอาหาร ยินดีด้วยความอิ่มในทาน แม้ ๓ วัน ร่างกาย

ยังเป็นไปได้ไม่ผิดปกติ เมื่อมีผู้ขอก็ให้อาหารอยู่อย่างนั้น เดือนหนึ่งสอง

เดือน ประพฤติไม่ท้อถอยในการบริจาคมีอัธยาศัยในการให้อย่างกว้างขวาง

ด้วยคิดว่า เราจักยิ่งร่างกายให้เป็นไปอยู่ได้ด้วยปีติสุขอันเกิดจากการให้เท่า

นั้น ครั้นให้ทานแล้วก็ประพฤติขัดเกลากิเลสยิ่งขึ้นไม่เป็นเหตุให้ทำการ

แสวงหาอาหารใหม่. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า :-

น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้วพระมหาสัตว์

ทั้งหลายเป็นผู้แสวงหาคุณธรรมใหญ่หลวง มี

มหากรุณาเป็นนักปราชญ์ เป็นเผ่าพันธุ์เอก

ของสรรพโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 54

พระมหาสัตว์ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ มีอานุ-

ภาพเป็นอจินไตย มีพระสัทธรรมเป็นโคจรใน

กาลทุกเมื่อ มีความประพฤติขัดเกลากิเลส

อย่างหมดจด.

พายุใหญ่ มหาสมุทรมีคลื่นซัดเป็นวง-

กลม พระโพธิสัตว์กระโดดข้ามแดนนั้นไปได้

ไม่ใช่เรื่องธรรมดา.

พระมหาสัตว์เหล่านั้น แม้เป็นผู้เจริญ

โดยสัญชาตในโลก เป็นผู้อบรมดีแล้วก็ไม่ติด

ด้วยโลภธรรมทั้งหลาย เหมือนประทุมไม่ติด

ด้วยน้ำฉันนั้น.

ความเสน่หาเพราะกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย

ย่อมเจริญโดยประการที่ละความเสน่หาในตน

ออกไปของพระมหาสัตว์ทั้งหลาย.

กรรมย่อมอยู่ในอำนาจ ทั้งไม่เป็นตาม

อำนาจของธรรม เหมือนจิตย่อมอยู่ในอำนาจ

ทั้งไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 55

พระมหาสัตว์เหล่านั้น เที่ยวแสวงหา

โพธิญาณอันโทสะไม่ครอบงำ หรือไม่เกิดขึ้น

ดังบุรุษทั้งหลายรู้ถึงความเสื่อม.

แม้จิตเลื่อมใสในท่านเหล่านั้น ก็พึงพ้น

จากทุกข์ได้ จะพูดไปทำไมถึงการทำตามท่าน

เหล่านั้นโดยธรรมสมควรแก่ธรรมเล่า.

จบ อรรถกถาอกิตติจริยาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 56

๒. สังขพราหมณจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของสังพราหมณ์

[๒] อีกเรื่องหนึ่ง เมื่อเราเป็นพราหมณ์มีนามว่า

สังขะ ต้องการจะข้ามมหาสมุทรไปอาศัยปัฏ-

ฏนคามอยู่ ในกาลนั้น เราได้เห็นพระปัจเจก-

พุทธเจ้าผู้รู้เอง ใคร ๆ ชนะไม่ได้ ซึ่งเดินสวน

ทางมาตามทางกันดาร บนภาคพื้นอันแข็ง ร้อน

จัด ครั้นเราเห็นท่านเดินสวนทางมา จึงคิด

เนื้อความนี้ว่า บุญเขตนี้มาถึงแก่เราผู้เป็นสัตว์

ที่ต้องการบุญ เปรียบเหมือนบุรุษชาวนา เห็น

นาอันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ( เป็นที่น่ายินดีมาก)

ไม่ปลูกพืชลงในนานั้น เขาชื่อว่าเป็นผู้ไม่ต้อง

การด้วยข้าวเปลือกฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือน

กัน เป็นผู้ต้องการบุญ เห็นเขตบุญอันประ-

เสริฐสุดแล้ว ถ้าไม่ทำบุญ คือสักการะ เราก็ชื่อ

ว่าเป็นผู้ไม่ต้องการบุญ เปรียบเหมือนอำมาตย์

ต้องการจะให้ชนชาวเมืองของพระราชายินดี

แต่ไม่ให้ทรัพย์และข้าวเปลือกแก่เขา ก็ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 57

เสื่อมจากความยินดี ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือน

กัน เป็นผู้ต้องการบุญ เห็นทักขิไณยบุคคล

อันไพบูลย์แล้ว ถ้าไม่ให้ทานในทักขิไณย-

บุคคลนั้นก็จักเสื่อมจากบุญ ครั้นเราคิดอย่างนี้

แล้วจึงถอดรองเท้า ไหว้เท้าของท่านแล้ว ได้

ถวายร่มและรองเท้า เพราะฉะนั้น เราจึงเป็น

ผู้ละเอียดอ่อนเจริญสุขได้ร้อยเท่าพันทวี อนึ่ง

เมื่อเราบำเพ็ญทานให้บริบูรณ์ ได้ถวายแก่ท่าน

นั้น อย่างนี้แล.

จบ สังขพราหมณจริยาที่ ๒

อรรถกถาสังขพราหมณจริยาที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในสังขพราหมณจริยาที่สองดังต่อไปนี้ บทว่า

ปุนาปร ตัดบทเป็น ปุน อปร อีกเรื่องหนึ่งอธิบายว่า บทนี้มิใช่อกิตติ-

จริยาอย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้เราจักกล่าว แม้สังขจริยาอื่นอีก ท่านจงฟัง. แม้

ในบทอื่นจากนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน . บทว่า สงฺขสวฺหโย เป็นชื่อของสังข-

พราหมณ์. บทว่า มหาสมุทฺท ตริตุกาโม คือประสงค์จะข้ามมหาสมุทร

ด้วยเรือเพื่อไปยังสุวรรณภูมิ. บทว่า อุปคจฺฉามิ ปฏฺฏน คือจะไปอาศัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 58

เมืองท่าชื่อว่าตามลิตติอยู่. พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่า สยัมภู เพราะเป็นผู้

เห็นเอง เพราะบรรลุปัจเจกโพธิญาณด้วยพระสยัมภูญาณ. ชื่อว่า อปราชิตะ

เพราะบรรดามารทั้งหลายมีกิเลสมารเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งชนะไม่ได้.

อธิบายว่า ย่ำยีที่สุดแห่งมารทั้งหลาย ๓. บทว่า ตตฺตาย กินภูมิยา บน

ภาคพื้นอันแข็ง ร้อนจัด คือบนภาคพื้นอันแข็งหยาบ เต็มไปด้วยกรวดและ

ทรายอันร้อนระอุในฤดูร้อน.

บทว่า ต คือพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้น. อิมมตฺถ เนื้อความนี้

คือเนื้อความมีอาทิว่า บุญเขตนี้อันจะกล่าวถึงเดี๋ยวนี้. บทว่า วิจินฺตยึ คิด

แล้ว คือพระศาสดาตรัสว่า ครั้งนั้นเราเป็นสังขพราหมณ์คิดแล้ว พึงทราบ

กถาตามลำดับในบทนั้นดังต่อไปนี้.

ในอดีต กรุงพาราณสีนี้ชือว่าโมฬินีนคร. เมื่อพระเจ้าพรหมทัต

เสวยราชสมบัติอยู่ ณ โมฬินีนคร พระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์ชื่อว่า สังขะ

เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มากให้ตั้งโรงทาน ๖ แห่ง ในที่ทั้ง ๖ คือที่ประตูนคร

๔ ที่กลางนคร ๑ ที่ประตูบ้านของตน ๑ สละทรัพย์ทุกวัน วันละ ๖๐๐,๐๐๐

ยังมหาทาน ให้เป็นไปในบรรดาคนยากจนและเดินทางเป็นต้น วันหนึ่ง

สังขพราหมณ์คิดว่า เมื่อทรัพย์ในเรือนหมดเราก็จักไม่สามารถจะให้ทานได้

เมื่อทรัพย์ยังไม่หมดทีเดียว เราจักไปยังสุวรรณภูมิด้วยเรือแล้วนำทรัพย์มา.

สังขพราหมณ์บรรทุกสินค้าเต็มเรือเรียกบุตรภรรยามากล่าวว่า พวกท่าน

อย่าเลิกละทานของเราพึงทำอย่าให้ขาดจนกว่าเราจะกลับมาแล้ว แวดล้อม

ด้วยทาสและกรรมกร สวมรองเท้ากางร่มบ่ายหน้าไปยังปัฏฏนคาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 59

ในขณะนั้น ณ ภูเขาคันธมาทน์มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งเข้า

นิโรฐสมาบัติอยู่ตลอด ๗ วัน ครั้นออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว จึงตรวจดู

สัตวโลกเห็นสังขพราหมณ์กำลังนำทรัพย์มา รำพึงอยู่ว่า มหาบุรุษจะไป

นำทรัพย์มา อันตรายในมหาสมุทร จักมีแก่เขาหรือไม่มีหนอ รู้ว่า จักมี

อันตราย คิดว่ามหาบุรุษผู้นี้เห็นเราจักถวายร่มและรองเท้าแก่เราด้วยอานิ-

สงส์ถวายรองเท้า เมื่อเรือแตกในมหาสมุทรจักได้ที่พึ่ง เราจักอนุเคราะห์

เขา จึงเหาะไปทางอากาศ แล้วลงไม่ไกลสังขพราหมณ์นั้น ครั้นเวลาเที่ยง

ด้วยลมและแดดอันร้อนแรง เหยียบทรายร้อนคล้ายกับลาดไว้ด้วยถ่านไฟ

เดินมาถึงข้างหน้าสังขพราหมณ์นั้น. สังขพราหมณ์เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

นั้น มีความยินดีร่าเริงคิดว่า บุญเขตมาหาเราแล้ววันนี้ เราควรจะหว่านพืช

ในเขตนี้. ด้วยเหตุพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า เราเห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเดินสวนทางมา จึงคิดเนื้อความนี้ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิท เขตฺต เป็นต้น แสดงอาการคิด. บทว่า

เขตฺต ชื่อว่า เขต เพราะป้องกันพืชที่หว่านไปโดยทำให้มีผลมาก คือพื้นที่

ปลูกปุพพัณณชาติ ( เช่นข้าว ข้าวฟ่าง ลูกเดือย เป็นต้น ) และอปรัณ-

ณ ชาติ ( เช่นถั่ว งา เป็นต้น นอกจากข้าว ) ให้งอกงาม. ในที่นี้พระปัจเจก

พุทธเจ้าเป็นทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ ชื่อว่าเป็นบุญเขตเพราะเป็นดุจเขต. ด้วย

เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปุญฺกามสฺส ชนฺตุโน ผู้เป็นสัตว์ต้องการบุญ.

บทว่า มหาคม คือเป็นที่มาแห่งผลอันไพบูลย์ อธิบายว่า ให้ความสมบูรณ์

แห่งข้าวกล้า. บทว่า พีช น โรเปติ คือไม่ปลูกพืช.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 60

บทว่า เขตฺตวรุตฺตม คืออุดมแม้ในเขตบุญอันประเสริฐ. จริงอยู่

พระอริยสาวกทั้งหลาย ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณมีศีลเป็นต้นเป็นบุญเขตอันประ-

เสริฐกว่ากิเลส. พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศกว่านั้นจึงชื่อว่า เป็นบุญเขต

อันประเสริฐสูงสุด. บทว่า การ คือ สักการะ. พึงเชื่อมความว่า ยทิ น

กโรมิ ผิว่าไม่ทำบุญ. บทนี้ท่านอธิบายไว้ว่า ผิว่าเราได้บุญเขตอันยอดเยี่ยม

แล้วไม่ทำการบูชาสักการะในบุญเขตนั้น เราก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ต้องการบุญ.

พึงทราบความสังเขปแห่งคาถาสองคาถามีอาทิว่า ยถา อมจิโจ ดัง

ต่อไปนี้ เหมือนบุรุษอำมาตย์ หรือเสนาบดี พระราชาทรงตั้งไว้ในตำแหน่ง

เสริมสร้างความยินดีได้รับตราตั้งแล้ว เขาไม่ปฏิบัติตาม พระราชโองการใน

ชนภายในเมืองและในหมู่พลเป็นต้นภายนอก ไม่ให้ทรัพย์สมบัติแก่พวกเขา

ทำให้การปฏิบัติที่ควรทำเสื่อมเขาย่อมเสื่อมจากความยินดี ย่อมเสื่อมจาก

สมบัติที่ได้จากตำแหน่งเสริมสร้างความยินดี ฉันใดแม้เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ยินดีในการทำบุญเป็นผู้ใคร่บุญ กล่าวคือผลบุญที่ควรได้เห็นทักขิไณยบุคคล

อันไพบูลย์นั้น คือได้ทักขิไณยบุคคลผู้เลอเลิศ ด้วยการทำทักษิณให้มีผล

ไพบูลย์ ผิว่าไม่ให้ทานแก่ทักขิไณยบุคคลนั้น จักเสื่อมจากบุญและจากผลบุญ

ต่อไป. เพราะฉะนั้นเราจึงควรทำบุญ ณ ที่นี้แล.

มหาบุรุษครั้นคิดอย่างนี้แล้ว ถอดรองเท้าแต่ไกลรีบเข้าไปไหว้พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวว่าพระคุณเจ้าขอรับนิมนต์เข้าไปยังโคนไม้นี้ เพื่อ

อนุเคราะห์กระผมด้วยเถิด. เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปยังโคนไม้นั้น จึง

ขนทรายมาแล้วปูผ้าห่ม เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้านั่ง ณ ที่นั้นไหว้แล้วเอาน้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 61

ที่กรองไว้ล้างเท้าของพระปัจเจกพุทธเจ้า เอาน้ำมันหอมทา เช็ดรองเท้า

ของตน ขัดด้วยน้ำมันหอมแล้ว สวมเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวว่า พระ-

คุณเจ้าขอรับ นิมนต์สวมรองเท้านี้ แล้วกางร่มนี้ไปเถิดขอรับ แล้วได้ถวาย

ร่มและรองเท้า . แม้พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เมื่อมหาบุรุษแลดูเพื่อเจริญความ

เลื่อมใส ก็รับร่มและรองเท้าเหาะไปยังเวหาไปถึงภูเขาคันมาทน์. ด้วยเหตุ

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้วจึงถอดรองเท้าไหว้

เท้าของท่านแล้วได้ถวายร่มและรองเท้า.

พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นมีใจเลื่อมใสยิ่งนัก จึงขึ้นเรือไปยังปัฏฏนคาม.

ครั้นเมื่อพระโพธิสัตว์ ข้ามมหาสมุทรไปในวันที่ ๗ เรือก็ทะลุ. พวกทาส

และกรรมกรไม่สามารถจะวิดน้ำออกได้. ผู้คนต่างกลัวมรณภัย จึงไหว้เทวดา

ของตน ๆ ร้องเสียงระงม. พระโพธิสัตว์พาคนรับใช้คนหนึ่งไป แล้วเอาน้ำ

มันทาทั่วตัว บริโภคน้ำตาลกรวดกับเนยใส ตามความต้องการ ให้คนรับใช้

บริโภคบ้าง แล้วขึ้นยอดเสากระโดงเรือกับคนรับใช้กำหนดทิศทางว่า เมือง

ของเราอยู่ทางทิศนี้ ตั้งสัจจาธิษฐาน เพื่อให้พ้นจากอันตรายคือปลาและเต่า

จึงก้าวลงยังที่ประมาณอุสภะหนึ่งกับคนรับใช้ พยายามจะว่ายข้ามมหาสมุทร.

ส่วนมหาชนได้ถึงความพินาศในมหาสมุทรนั่นเอง. เมื่อพระโพธิสัตว์ข้าม

อยู่นั้นล่วงไป ๗ วัน. ในเวลานั้นพระโพธิสัตว์เอาน้ำเค็มบ้วนปากแล้วรักษา

อุโบสถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 62

ในครั้งนั้น นางเทพธิดามณีเมขลาซึ่งท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ตั้งไว้คอยดู

แลบุรุษผู้วิเศษเช่นนี้ เผลอไป ๗ วัน ด้วยความเป็นใหญ่ของตนในวันที่

๗ ได้เห็นพระโพธิสัตว์แล้วสังเวชใจว่า หากบุรุษนี้ตายในมหาสมุทรนี้ เรา

ต้องได้รับคำติเตียนมากมาย จึงเอาอาหารทิพย์บรรจุลงในภาชนะทองคำรีบ

มาแล้วกล่าวว่า ท่านพราหมณ์ บริโภคอาหารทิพย์นี้เถิด. พระโพธิสัตว์

มองดูเทพธิดานั้นจึงปฏิเสธว่า เราไม่บริโภค เรารักษาอุโบสถ เมื่อจะถาม

เทพธิดานั้นจึงกล่าวว่า :-

ท่านเชื้อเชิญเราเป็นอย่างดี ท่านกล่าว

กะเราว่า เชิญบริโภคอาหาร ดูก่อนนารีผู้มี

อานุภาพมาก เราขอถามท่าน ท่านเป็นเทพธิดา

หรือเป็นมนุษย์.

เทพธิดามณีเมขลา เมื่อจะให้คำตอบแก่พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถา

เหล่านี้ว่า :-

ท่านสังขพราหมณ์ ข้าพเจ้าเป็นเทพธิดา

มีอานุภาพมาก มาในท่ามกลางมหาสมุทรนี้ มี

ความสงสาร มิได้มีจิตประทุษร้าย มาในที่นี้

เพื่ออประโยชน์แก่ท่าน ข้าพเจ้าขอมอบข้าว

น้ำ ที่นอน ที่นั่ง และยานหลายชนิดแก่ท่าน

ทั้งหมด ขอท่านนำไปใช้ตามความปรารถนา

เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 63

พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า เทพธิดานี้กล่าวว่า ข้าพเจ้าให้

สิ่งนี้ ๆ แก่ท่านบนหลังมหาสมุทร. ก็เทพธิดานี้กล่าวคำใดแก่เรา แม้คำนั้น

ก็สำเร็จด้วยบุญของเรา อนึ่ง เทพธิดานี้จะรู้จักบุญของเราหรือ หรือไม่รู้จัก

เราจักถามนางดูก่อน เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ท่านผู้มีร่างงาม มีตะโพกงาม มีคิ้วและ

ขาอ่อนงาม มีสะเอวงาม เป็นอิสระแห่งบุญ

กรรมทั้งหมดของเรา ท่านทำการบูชา เส้น

สรวงเรา นี้เป็นผลของกรรมอะไรของเรา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยิฏฺ คือบูชาแล้วด้วยการให้. บทว่า หุต.

คือให้แล้วด้วยการบูชาและต้อนรับ. บทว่า สพฺพสฺส โน อิสฺสรา ตฺว คือ

ท่านเป็นอิสระแห่งบุญกรรมทั้งหลายของเราคือ สามารถพยากรณ์ได้ว่า นี้

เป็นผลของกรรมนี้ นี่เป็นผลของกรรมนี้ ดังนี้. บทว่า สุสฺโสณิ คือมี

ตะโพกงาม. บทว่า สุพฺภูรุ คือมีคิ้วและขาอ่อนงาม. บทว่า วิลคฺคมชฺเฌ

ท่ามกลางตัวคือสะเอว. บทว่า กิสฺส เม คือนี่เป็นผลแห่งกรรมอะไรใน

กรรมที่เราทำแล้ว เราได้ที่พึ่งในวันนี้ ในมหาสมุทรซึ่งหาที่พึ่งมิได้ด้วย

กรรมใด.

เทพธิดาได้ฟังดังนั้นคิดว่า พราหมณ์นี้ ไม่รู้กุศลกรรมที่คนทำไว้

เพราะเหตุนั้นคงจะถามเพื่อรู้ เราจักบอกกะเขา เมื่อจะบอกถึงเหตุอันเป็น

บุญที่พราหมณ์ได้ถวายร่มและรองเท้าแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าในวันขึ้นเรือ จึง

กล่าวคาถาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 64

ท่านสังขพราหมณ์ ท่านได้ถวายรองเท้า

กะภิกษุรูปหนึ่งซึ่งเหยียบลงไปบนทรายร้อน

เดือดร้อนลำบากในทางอันร้อนระอุ ทักษิณา

นั้น เป็นผลให้ความปรารถนาแก่ท่านในวันนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกภิกฺขุ ท่านกล่าวหมายถึงพระปัจเจก

พุทธเจ้าองค์หนึ่ง. บทว่า อุคฺฆฏฏปาท คือเหยียบลงไปบนทรายร้อน

อธิบายว่า มีเท้าถูกเบียดเบียน. บทว่า ตสิต คือหวาดสะดุ้ง. บทว่า ปฏิปาทยิ

คือมอบให้. บทว่า กามทุหา คือให้ความใคร่ทั้งปวง.

พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้น มีความยินดีว่า เราถวายร่มและรองเท้า

เป็นผลให้สำเร็จความปรารถนาทั้งปวง ในมหาสมุทรอันหาที่พึ่งมิได้เห็น

ปานนี้. น่าปลื้มใจเราได้ถวายดีแล้ว จึงกล่าวคาถาว่า :-

เรือลำนั้น มีแผ่นกระดานมากไม่ต้อง

ขวนขวายหา ประกอบด้วยลมพัดเฉื่อย ๆ ใน

มหาสมุทรนี้ ไม่มีพื้นที่ของยานอื่น เราต้อง

ไปถึงโมฬินีนครได้ในวันนั้นแหละ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ผลกูปปนฺนา คือประกอบด้วยแผ่นกระดาน

เพราะมีแผ่นกระดานมากเพราะเป็นเรือใหญ่. ชื่อว่าไม่ต้องขวนขวายเพราะ

น้ำไม่ไหลเข้า. ชื่อว่าประกอบด้วยลมพัดเฉื่อย ๆ เพราะลมพาไปเรียบร้อย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 65

เทพธิดาได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์มีความยินดีร่าเริง จึงเนรมิตเรือ

สำเร็จด้วยแก้วทุกชนิด ยาว ๘ อุสภะ กว้าง ๔ อุสภะ ลึก ๑ อุสภะแล้ว

เนรมิตเรือสำเร็จด้วยแก้วอินทนิล เงินและทองเป็นต้นประกอบด้วยเสา-

กระโดง พายและหางเสือ เต็มไปด้วยแก้ว ๗ ประการ แล้วจูงพราหมณ์

ให้ขึ้นเรือ แต่เทพธิดาไม่เห็นคนรับใช้ของพราหมณ์. พราหมณ์ได้แผ่

ส่วนบุญจากความดีที่ตนทำไว้ให้แก่คนรับใช้นั้น. เขาอนุโมทนา. เทพธิดา

จึงจูงคนรับใช้นั้นให้ขึ้นเรือ นำเรือไปถึงโมฬินีนคร เอาทรัพย์ไปตั้งไว้ใน

เรือนของพราหมณ์แล้วจึงกลับที่อยู่ของตน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า :-

เทพธิดานั้น ปลื้มใจ ดีใจ อิ่มเอิบใจ

เนรมิตเรือสวยงาม พาสังขพราหมณ์พร้อม

ด้วยคนรับใช้ ส่งถึงนครเรียบร้อย.

จริงอยู่ ในเจตนา ๗ อย่าง เจตนาต้นด้วยความสมบูรณ์แห่งจิต

ของพระโพธิสัตว์ และด้วยความที่พระปัจเจกพุทธเจ้าออกจากนิโรธ จึงเป็น

เจตนาที่ให้ได้เสวยผลในปัจจุบันและมีผลมากมายยิ่ง. แม้ผลนี้พึงเห็นว่าเป็น

ผลของความไม่ประมาทต่อทานนั้น. จริงอยู่ ทานนั้นมีผลประมาณไม่ได้

เป็นโพธิสมภาร. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

เพราะเหตุนั้นเราจึงเป็นผู้ละเอียดอ่อน

เจริญสุขได้ร้อยเท่า อนึ่ง เมื่อเราบำเพ็ญทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 66

ให้บริบูรณ์ ได้ถวายทานแก่ท่านนั้นอย่างนี้

แล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เตน คือจากพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น. บทว่า

สคคุณโต คือ ร้อยเท่า. ในครั้งนั้นเราเป็นสังขพราหมณ์ เป็นผู้ละเอียด

อ่อน. เพราะฉะนั้นเราจึงได้รับความสุข คือเจริญสุข. อนึ่ง เมื่อเป็นอย่างนี้

เราจึงบำเพ็ญทานให้บริบูรณ์. พระศาสดาทรงประกาศความที่อัธยาศัยใน

ทานของพระองค์กว้างขวางมากว่า ขอทานบารมีของเราจงบริบูรณ์ด้วย

ประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้น เราจึงได้ถวายร่มและรองเท้าแก่พระปัจเจก

พุทธเจ้าองค์นั้น ไม่คำนึงถึงทุกข์ในร่างกายของตนเลย.

แม้พระโพธิสัตว์ อยู่ครองเรือนซึ่งมีทรัพย์นับไม่ถ้วนตลอดชีวิต ได้

ให้ทานมากมาย รักษาศีล เมื่อสิ้นอายุก็ยังเทพนครให้เต็มพร้อมด้วยบริษัท.

เทพธิดาในครั้งนั้น ได้เป็นอุบลวรรณาเถรี ในครั้งนี้ บุรุษรับใช้

ในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนทเถระในครั้งนี้ สังขพราหมณ์คือพระโลกนาถ.

สังขพราหมณ์นั้นย่อมได้รับบารมีแม้เหล่านี้ คือ ศีลบารมี ด้วย

อำนาจแห่งนิจศีลและอุโบสถศีลอันบริสุทธิ์ด้วยดี. เนกขัมมบารมีด้วยอำนาจ

แห่งกุศลธรรม เพราะออกจากธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อทานและศีลเป็นต้น.

วิริยบารมี ด้วยอำนาจแห่งความอุตสาหะยิ่งเพื่อให้สำเร็จ ทานบารมีเป็นต้น

และด้วยอำนาจแห่งความพยายามข้ามมหาสมุทร. ขันติบารมี ด้วยอำนาจ

แห่งความอดกลั้นเพื่อประโยชน์อันนั้น. สัจจบารมี ด้วยการปฏิบัติสมควร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 67

แก่ปฏิญญา. อธิฏฐานบารมี ด้วยอำนาจแห่งการสมาทานและความตั้งใจไม่

หวั่นไหวในที่ทั้งปวง. เมตตาบารมี ด้วยอำนาจแห่งอัธยาศัย เกื้อกูลใน

สรรพสัตว์ทั้งหลาย. อุเบกขาบารมี ด้วยการถึงความเป็นกลางในความผิด

ปกติอันสัตว์และสังขารทำไว้. ปัญญาบารมี คือปัญญาอันเกิดขึ้นเอง และ

ปัญญาอันเป็นอุบายโกศล เพราะรู้ธรรมเป็นอุปการะและไม่เป็นอุปการะแห่ง

บารมีทั้งปวงแล้ว ละธรรมไม่เป็นอุปการะเสียมุ่งปฏิบัติในธรรมเป็นอุปการะ.

เทศนาเป็นไปแล้วด้วยอำนาจแห่งทานบารมี อันเป็นความกว้างขวาง

ยิ่งแห่งผู้มีอัธยาศัยในการให้. อนึ่ง เพราะในที่นี้ได้บารมีครบ ๑๐ ประการ

ฉะนั้น ในที่นี้ควรเจาะจงกล่าวถึงคุณของพระโพธิสัตว์ มีมหากรุณาเป็นต้น

ในภายหลังตามสมควร. อนึ่ง พึงทราบคุณของพระมหาสัตว์มีอาทิอย่างนี้ว่า

การไม่คำนึงถึงโภคสุขของตนด้วยมหากรุณาคิดว่า เราจักบำเพ็ญทานบารมี

ดังนี้ แล้วเตรียมการเดินทาง ทางมหาสมุทร เพื่อนำสัมภาระในการให้ไป

แม้เมื่อตกลงไปในมหาสมุทรก็อธิษฐานอุโบสถ ในมหาสมุทรนั้น และการ

ไม่ให้เทพธิดานำอาหารมาเข้าไปใกล้เพราะกลัวจะทำลายศีล. บัดนี้ เมื่อจะ

กล่าวถึงความประพฤติที่เหลือ พึงทราบถึงการเจาะจงคุณสมบัติโดยนัยนี้แล.

เราจักกล่าวเพียงความที่แปลกกันไปในที่นั้น ๆ.ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า :-

น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว พระมหาสัตว์

ทั้งหลายเป็นผู้แสวงหาคุณใหญ่หลวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 68

ฯลฯ

จะพูดไปทำไมถึงการทำตามท่านเหล่านั้น

โดยธรรมสมควรแก่ธรรม.

จบ อรรถกถาสังขพราหมณจริยาที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 69

๓. กุรุธรรมจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าธนญชัย

[๓] อีกเรื่องหนึ่ง เมื่อเราเป็นพระราชามีนามว่า

ธนญชัย อยู่ในอินทปัตถบุรีอันอุดม ประกอบ

ด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการในกาลนั้น พวก

พราหมณ์ชาวกาลิงครัฐ ได้มาหาเรา ขอ

พระยาคชสารทรง อันประกอบด้วยมงคลหัตถี

กะเราว่าชนบทฝนไม่ตกเลย เกิดทุพภิกขภัย

อดอยากอาหารมาก ขอพระองค์จงทรงพระ-

ราชทานพระยาคชสารตัวประเสริฐ มีสีกาย

เขียวชื่ออัญชนะเถิด เราคิดว่า การห้ามยาจก

ทั้งหลายที่มาถึงแล้ว ไม่สมควรแก่เราเลย

กุศลสมาทานของเราอย่าทำลายเสียเลย เรา

จักให้คชสารตัวประเสริฐ เราได้จับงวงพระยา

คชสาร วางลงบนมือพราหมณ์ แล้วจึงหลั่งน้ำ

ในเต้าทองลงบนมือได้ให้พระยาคชสารแล้ว

พราหมณ์ เมื่อเราได้ให้พระยาคชสารแล้ว

พวกอำมาตย์ได้กล่าวดังนี้ว่า เหตุไรหนอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 70

พระองค์จึงพระราชทานพระยาคชสารตัวประ-

เสริฐ อันประกอบด้วยธัญญลักษณ์ สมบูรณ์

ด้วยมงคล ชนะในสงครามอันสูงสุด แก่

ยาจก เมื่อพระองค์ทรงพระราชทานคชสาร

แล้ว พระองค์จักเสวยราชสมบัติได้อย่างไร

( เราได้ตอบว่า ) แม้ราชสมบัติทั้งหมดเราก็

พึงให้ ถึงสรีระของตนเราก็พึงให้ เพราะ

สัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้น เรา

จึงได้ให้พระยาคชสาร ดังนี้แล.

จบ กุรุธรรมจริยาที่ ๓

อรรถกถากุรุธรรมจริยาที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในกุรุธรรมจริยาที่สามดังต่อไปนี้. บทว่า อินฺท-

ปตฺเถ ปุรุตฺตเม คือเมืองอุดม เมืองประเสริฐ แห่งแคว้นกุรุ ชื่อว่า

อินทปัตถะ. บทว่า ราชา ชื่อว่า ราชา คือยังบริษัทให้ยินดีด้วยสังคห-

วัตถุ ๔ โดยธรรม โดยเสมอ. บทว่า กุสเล ทสหุปาคโม คือ

ประกอบด้วยกุสลกรรมบท ๑๐ ประการ หรือด้วยบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ มีทาน-

มัยเป็นต้น. บทว่า กาลิงฺครฏฺวิสยา คือพวกพราหมณ์ชาวกาลิงครัฐ.

บทว่า พฺราหฺมณา อุปคญฺฉุ ม คือพราหมณ์ ๘ คน อันพระเจ้ากาลิงคะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 71

ส่งมาได้มาหาเรา. ก็และครั้นเข้าไปหาแล้วได้ขอพระยาคชสารกะเรา. บทว่า

ธญฺ คือพระยาคชสารสมบูรณ์ด้วยลักษณะอันสิริโสภาคย์สมควรเป็น

คชสารทรง. บทว่า มงฺคลสมฺมต คืออันชนทั้งหลายเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

ว่าเป็นมงคลหัตถี เป็นเหตุแห่งความเจริญยิ่งด้วยลักษณะสมบัตินั้นนั่นแล.

บทว่า อวุฏฺิโก คือปราศจากฝน. บทว่า ทุพฺภิกฺโข คือหาอาหารได้ยาก.

บทว่า ฉาตโก มหา อดอยากมาก คือเกิดความเจ็บป่วยเพราะความหิว

มาก. บทว่า ททาหิ คือขอทรงพระราชทาน. บทว่า นีล คือมีสีเขียว.

บทว่า อญฺชนสวฺหย คือมีชื่อว่าอัญชนะ. ท่านอธิบายบทนี้ไว้ว่า แคว้น

กาลิงคะของข้าพระพุทธเจ้า ฝนไม่ตก. ด้วยเหตุนั้น บัดนี้ เกิดทุพภิกขภัย

ใหญ่ ฉาตกภัยใหญ่ในแคว้นนั้น. เพื่อสงบภัยนั้น ขอพระองค์จงทรง

พระราชทานมงคลหัตถี ชื่อว่า อัญชนะของพระองค์คล้ายอัญชนคิรีนี้เถิด.

เพราะว่าเมื่อนำพระยาคชสารนี้ไป ณ แคว้นนั้นแล้วฝนก็จะตก. สรรพภัย

นั้นจักสงบไปด้วยพระยาคชสารนั้นเป็นแน่. พึงทราบกถาเป็นลำดับใน

เรื่องนั้นดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ในนครอินทปัตถะแคว้นกุรุ พระโพธิสัตว์ทรงถือ

ปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้ากุรุราช ถึงความเจริญวัย

โดยลำดับไปยังเมืองตักกสิลา เรียนศิลปศาสตร์อันเป็นประโยชน์ในการ

ปกครอง และวิชาหลัก ครั้นเรียนจบกลับพระนครพระชนกให้ดำรง

ตำแหน่งอุปราช. ครั้นต่อมาเมื่อพระชนกสวรรคต ได้รับราชสมบัติยังทศพิธ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 72

ราชธรรมไม่ให้กำเริบ ครองราชสมบัติโดยธรรมมีพระนามว่า ธนญชัย

พระเจ้าธนญชัยทรงให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือที่ประตูพระนคร ๔ แห่ง

กลางพระนคร ๑ แห่ง ประตูราชนิเวศน์ ๑ แห่ง ทรงสละทรัพย์วันละ

๖๐๐,๐๐๐ ทุกวัน ทรงกระทำชมพูทวีปทั้งสิ้นเจริญรุ่งเรืองแล้วทรงบริจาค

ทาน. เพราะพระองค์มีพระอัธยาศัยในการทรงบริจาค ความยินดีในทาน

แผ่ไปทั่วชมพูทวีป.

ในกาลนั้น แคว้นกาลิงคะเกิดภัย ๓ อย่าง คือ ทุพภิกขภัย

ฉาตกภัย โรคภัย. ชาวแคว้นทั้งสิ้นพากันไปทันตบุรี กราบทูลร้องเรียน

ส่งเสียงอึงคะนึงที่ประตูพระราชวังว่า. ข้าแต่เทวะ ขอพระองค์จงทรงให้

ฝนตกเถิดพระเจ้าข้า. พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้วตรัสถามพวกอำมาตย์ว่า

พวกประชาชนร้องเรียนเรื่องอะไรกัน. พวกอำมาตย์กราบทูลความนั้น

แด่พระราชา. พระราชามีพระดำรัสถามว่า พระราชาแต่ก่อน เมื่อฝนไม่ตก

ทรงทำอย่างไร. กราบทูลว่า ทรงให้ทาน ทรงอธิษฐานอุโบสถ ทรงสมาทาน

ศีลเสด็จเข้าห้องสิริบรรทมตลอด ๗ วัน ณ พระที่ทรงธรรม ขอให้ฝนตก

พระราชาสดับดังนั้นก็ได้ทรงกระทำอย่างนั้น. ฝนก็ไม่ตก. พระราชา

ตรัสว่า เราได้กระทำกิจที่ควรทำแล้ว ฝนก็ไม่ตก เราจะทำอย่างไรต่อไป.

กราบทูลว่า ขอเดชะเมื่อนำพระยาคชสารมงคลหัตถีของพระเจ้าธนญชัย

กุรุราชในอินทปัตถนครมา ฝนจึงจักตกพระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งว่า

พระราชาพระองค์นั้นมีพลพาหนะเข้มแข็ง ปราบปรามได้ยาก เราจักนำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 73

พระยาคชสารของพระองค์มาได้อย่างไรเล่า. กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าแต่

มหาราชเจ้ามิได้มีการรบพุ่งกับพระราชานั้นเลย พระเจ้าข้า. พระราชา

พระองค์นั้นมีพระอัธยาศัยในการบริจาค ทรงยินดีในทาน เมื่อมีผู้ทูลขอ

แล้ว แม้พระเศียรที่ตกแต่งแล้วก็ตัดให้ได้ แม้พระเนตรที่มีประสาทบริบูรณ์

ก็ทรงควักให้ได้ แม้ราชสมบัติทั้งสิ้นก็ทรงมอบให้ได้ ไม่ต้องพูดถึงพระยา

คชสารเลย เมื่อทูลขอแล้วจักพระราชทานเป็นแน่แท้ พระเจ้าข้า ตรัสถาม

ว่า ก็ใครจะเป็นผู้สามารถทูลขอได้เล่า. กราบทูลว่า ขอเดชะข้าแต่มหาราช

พราหมณ์ พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้เรียกพราหมณ์ ๘ คนเข้าเฝ้า

ทำสักการะสัมมานะแล้ว ทรงให้สะเบียงส่งไปเพื่อขอพระยาคชสาร.

พราหมณ์เหล่านั้นรีบไปคืนเดียว บริโภคอาหารที่โรงทานใกล้ประตูพระนคร

อยู่ชั่วเวลาเล็กน้อยครั้นอิ่มหนำสำราญแล้วก็ยืนอยู่ที่ประตูด้านตะวันออกรอ

เวลาพระราชาเสด็จมายังโรงทาน.

แม้พระโพธิสัตว์ก็ทรงสรงสนานแต่เช้าตรู่ ทรงประดับด้วยเครื่อง

สรรพาลังการเสร็จขึ้นคอพระยาคชสารตัวประเสริฐที่ตกแต่งแล้ว เสด็จไป

ยังโรงทานด้วยราชานุภาพอันใหญ่หลวง เสด็จลงพระราชทานแก่ชน

๗ - ๘ คน ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์แล้วตรัสว่า พวกท่านจงให้ทำนอง

นี้แหละ เสด็จขึ้นสู่พระยาคชสารแล้วเสด็จไปทางประตูด้านทิศใต้. พวก

พราหมณ์ไม่ได้โอกาสเพราะทางทิศตะวันออกจัดอารักขาเข้มแข็งมาก จึงไป

ประตูด้านทิศใต้ คอยดูพระราชาเสด็จมายืนอยู่ในที่เนินไม่ไกลจากประตู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 74

เมื่อพระราชาเสด็จมาถึงต่างก็ยกมือถวายชัยมงคล.พระราชาทรงบังคับช้างให้

กลับด้วยพระขอเพชรเสด็จไปหาพราหมณ์เหล่านั้น ตรัสถามพวกพราหมณ์

ว่า พวกท่านต้องการอะไร. พวกพราหมณ์กราบทูลว่า ขอเดชะแคว้นกาลิงคะ

ถูกทุพภิกขภัย ฉาตกภัยและโรคภัยรบกวน. ความรบกวนนั้นจักสงบลงได้

เมื่อนำพระยามงคลหัตถีของพระองค์เชือกนี้ไป. เพราะฉะนั้น ขอพระองค์

จงทรงโปรดพระราชทานพระยาคชสารสีดอกอัญชันเชือกนี้เถิด พระเจ้าข้า.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า กาลิงฺครฏฺวิสยา ฯลฯ

อญฺชนสวฺหย พวกพราหมณ์ชาวกาลิงครัฐได้มาหาเรา ขอพระยาคชสาร

ทรง ฯลฯ ขอพระองค์จงทรงพระราชทานพระยาคชสารตัวประเสริฐมีสีกาย

เขียวชื่ออัญชนะเถิด.

บทนั้นท่านอธิบายไว้ดังต่อไปนี้ :-

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ทรงตรัสว่า การที่เราจะทำลายความต้องการ

ของยาจกทั้งหลายไม่เป็นการสมควรแก่เรา และจะพึงเป็นการทำลายกุสล-

สมาทานของเราอีกด้วย จึงเสด็จลงจากคอคชสารมีพระดำรัสว่า หากที่มิได้

ตกแต่งไว้มีอยู่เราจักตกแต่งแล้วจักให้ จึงทรงตรวจดูรอบ ๆ มิได้ทรงเห็นที่

มิได้ตกแต่ง จึงทรงจับพระยาคชสารที่งวงแล้ววางไว้บนมือของพราหมณ์

ทรงหลั่งน้ำที่อบด้วยดอกไม้และของหอมด้วยพระเต้าทอง แล้วพระราชทาน

แก่พราหมณ์. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 75

การห้ามยาจกทั้งหลายที่มาถึงแล้ว ไม่

สมควรแก่เราเลย กุสลสมาทานของเราอย่า

ทำลายเสียเลย เราจักให้คชสารตัวประเสริฐ

เราได้จับงวงคชสารวางบนมือพราหมณ์แล้วจึง

หลั่งน้ำในเต้าทองลงบนมือ ได้ให้พระยา

คชสารแก่พราหมณ์.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยาจกมนุปฺปตฺเต คือยาจกทั้งหลายที่มาถึง

แล้ว. บทว่า อนุจฺฉโว คือเหมาะสม สมควร. บทว่า มา เม ภิชฺชิ

สมาทาน กุสลสมาทานของเราอย่าทำลายเสียเลย คือกุสลสมาทานอันใด

ของเราที่ตั้งไว้ว่า เราจะให้สิ่งทั้งปวงที่ไม่มีโทษซึ่งยาจกทั้งปวงต้องการ

จักบำเพ็ญทานบารมี เพื่อต้องการพระสัพพัญญุตญาณ กุสลสมาทานอันนั้น

อย่าทำลายเสียเลย. เพราะฉะนั้นเราจักให้พระยาคชสารตัวประเสริฐอัน

เป็นมงคลหัตถีนี้. บทว่า อท คือได้ให้แล้ว.

เมื่อพระราชทานพระยาคชสารแล้ว พวกอำมาตย์พากันกราบทูล

พระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เพราะเหตุไรพระองค์จึงพระราชทาน

มงคลหัตถี ควรพระราชทานช้างเชือกอื่นมิใช่หรือ. มงคลหัตถีฝึกไว้

สำหรับเป็นช้างทรงเห็นปานนี้ อันพระราชาผู้ทรงหวังความเป็นใหญ่และ

ชัยชนะไม่ควรพระราชทานเลยพระเจ้าข้า. พระมหาสัตว์ตรัสว่า เราจะให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 76

สิ่งที่ยาจกทั้งหลายขอกะเรา. หากขอราชสมบัติกะเรา เราก็จะให้ราชสมบัติ

แก่พวกเขา. พระสัพพัญญุตญาณเท่านั้นเป็นที่รักยิ่ง แม้กว่าราชสมบัติ แม้

กว่าชีวิตของเรา. เพราะฉะนั้น เราจึงได้ให้คชสารนั้น. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ตสฺส นาเค ปทินฺนมฺหิ

เมื่อพระองค์พระราชทานพระยาคชสารแล้ว.

บทว่า มงฺคลสมฺปนฺน สมบูรณ์ด้วยมงคล คือประกอบด้วยคุณ

อันเป็นมงคล. บทว่า สงฺคามวิชยุตฺตม ชนะในสงครามอันสูงสุด คือสูงสุด

เพราะชนะในสงคราม หรือพระยาคชสารสูงสุด เป็นประธานอันประเสริฐ

ในการชนะสงคราม. บทว่า กึ เต รชฺช กริสฺสติ พระองค์จักเสวย

ราชสมบัติได้อย่างไร. เมื่อพระะยาคชสารไปเสียแล้ว พระองค์จักครอง

ราชสมบัติได้อย่างไร. ท่านแสดงว่า จักไม่ทำราชกิจ แม้ราชสมบัติก็

หมดไป.

บทว่า รชฺชมฺปิ เม ทเท สพฺพ แม้ราชสมบัติทั้งหมดเราก็พึง

ให้ คือ พระยาคชสารเป็นสัตว์เดียรัจฉานยกไว้เถิด แม้แคว้นกุรุทั้งหมดนี้

เราก็พึงให้แก่ผู้ขอทั้งหลาย. บทว่า สรีร ทชฺชมตฺตโน ถึงสรีระของตน

เราก็พึงให้ คือ จะพูดไปทำไมถึงราชสมบัติ แม้สรีระของตนเราก็พึงให้

แก่ผู้ขอทั้งหลาย. แม้สิ่งครอบครองทั้งภายในภายนอกทั้งหมดของเรา เรา

ก็สละให้ได้เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก. ท่านแสดงว่าเพราะพระสัพพัญญุตญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 77

และความเป็นพระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเราอันผู้ไม่บำเพ็ญบารมี

ทั้งปวงมีทานบารมีเป็นต้นไม่สามารถจะให้ได้ ฉะนั้นเราจึงได้ให้พระยาคช-

สาร.

แม้เมื่อนำพระยาคชสารมาในแคว้นกาลิงคะ ฝนก็ยังไม่ตกอยู่นั่นเอง.

พระเจ้ากาลิงคะตรัสถามว่า แม้บัดนี้ฝนก็ยังไม่ตก อะไรหนอเป็นเหตุ

ทรงทราบว่า พระเจ้ากุรุทรงรักษาครุธรรม ด้วยเหตุนั้นในแคว้นของ

พระองค์ฝนจึงตกทุกกึ่งเดือน ทุก ๑๐ วัน ตามลำดับ นั้นเป็นคุณานุภาพ

ของพระราชามิใช่อานุภาพของสัตว์เดียรัจฉานนี้ จึงทรงส่งอำมาตย์ไปด้วย

มีพระดำรัสว่า เราจักรักษาครุธรรมด้วยตนเอง พวกท่านจงไปเขียนครุธรรม

เหล่านั้นในราชสำนักของพระเจ้าธนญชัยโกรพยะ ลงในสุพรรณบัฏแล้ว

นำมา. ท่านเรียกศีล ๕ ว่า ครุธรรม. พระโพธิสัตว์ทรงรักษาศีล ๕

เหล่านั้นนกระทำให้บริสุทธิ์เป็นอย่างดี. อนึ่ง พระมารดา พระอัครมเหสี

พระกนิษฐา อุปราช ปุโรหิต พราหมณ์ พนักงานรังวัด อำมาตย์

สารถี เศรษฐี พนักงานเก็บภาษีอากร คนเฝ้าประตู นครโสเภณี

วรรณทาสีก็รักษาครุธรรมเช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์. ด้วยเหตุนั้นท่านจึง

กล่าวว่า :-

คน ๑๑ คน คือ พระราชา ๑ พระชนนี ๑

พระมเหสี ๑ อุปราช ๑ ปุโรหิต ๑

พนักงานรังวัด ๑ สารถี ๑ เศรษฐี ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 78

พนักงานเก็บภาษีอากร ๑ คนเฝ้าประตู ๑

หญิงงามเมือง ๑ ตั้งอยู่ในครุธรรม.

พวกอำมาตย์เหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระโพธิสัตว์ ถวายบังคมแล้วกราบ

ทูลความนั้น. พระมหาสัตว์ตรัสว่า เรายังมีความเคลือบแคลงในครุธรรมอยู่,

แต่พระชนนีของเรารักษาไว้เป็นอย่างดีแล้ว พวกท่านจงรับในสำนักของ

พระชนนีนั้นเถิด. พวกอำมาตย์ทูลวิงวอนว่า ข้าแต่มหาราชเจ้าชื่อว่าความ

เคลือบแคลงย่อมมีแก่ผู้ยังต้องการอาหาร มีความประพฤติขัดเกลากิเลส

ขอพระองค์ทรงโปรดพระราชทานแก่พวกข้าพระองค์เถิดพระเจ้าข้า. แล้ว

รับสั่งให้เขียนลงในสุพรรณบัฏว่า ไม่ควรฆ่าสัตว์ ๑ ไม่ควรลักทรัพย์ ๑

ไม่ควรประพฤติผิดในกาม ๑ ไม่ควรพูดปด ๑ ไม่ควรดื่มน้ำเมา ๑ แล้ว

ตรัสว่า พวกท่านจงไปรับในสำนักของพระชนนีเถิด.

พวกทูตถวายบังคมพระราชาแล้วไปยังสำนักของพระชนนีนั้น กราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระเทวี ได้ยินว่า พระนางเจ้าทรงรักษาครุธรรม ขอ

พระนางเจ้าทรงโปรดพระราชทานครุธรรมนั้นแก่พวกข้าพระพุทธเจ้าเถิด.

แม้พระชนนีของพระโพธิสัตว์ ก็ทรงทราบว่าพระองค์ยังมีความเคลือบแคลง

อยู่เหมือนกัน แต่เมื่อพวกพราหมณ์วิงวอนขอก็ได้พระราชทานให้. แม้

พระมเหสีเป็นต้นก็เหมือนกัน. พวกพราหมณ์ได้เขียนครุธรรมลงใน

สุพรรณบัฏในสำนักของชนทั้งหมด แล้วกลับทันตบุรี ถวายแด่พระเจ้า

กาลิงคะ แล้วกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ. พระราชาทรงปฏิบัติในธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 79

นั้นทรงบำเพ็ญศีล ๕ ให้บริบูรณ์. แต่นั้นฝนก็ตกทั่วแคว้นกาลิงคะ. ภัย

๓ ประการก็สงบ. แคว้นก็ได้เป็นแดนเกษม หาภิกษาได้ง่าย. พระโพธิสัตว์

ทรงบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น ตลอดพระชนมายุ พร้อมด้วยบริษัทก็ไป

อุบัติในเมืองสวรรค์.

หญิงงามเมืองเป็นต้นในครั้งนั้น ได้เป็นอุบลวรรณาเป็นต้นในครั้ง

นี้. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

หญิงงามเมืองคืออุบลวรรณา คนเฝ้า

ประตู คือ ปุณณะ พนักงานรังวัด ค้อ

กัจจานะ พนักงานภาษีอากร คือ โกลิตะ

เศรษฐี คือ สารีบุตร สารถี คือ อนุรุทธะ

พราหมณ์ คือ กัสสปเถระ อุปราช คือ

นันทบัณฑิต พระมเหสี คือ มารดาพระราหุล

พระชนนี คือ พระมหามายาเทวี พระโพธิ-

สัตว์ผู้เป็นราชาในแคว้นกุรุ คือเราตถาคต

พวกท่านจงทรงจำชาดกไว้ด้วยประการฉะนี้.

แม้ในที่นี้ ธรรมที่เหลือมีเนกขัมมบารมีเป็นต้น พึงเจาะจงลงไป

โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

จบ อรรถกถากุรุธรรมจริยาที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 80

๔. มหาสุทัศนจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระมหาสุทัศนจักรพรรดิ์

[๔] ในเมื่อเราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงพระ-

นามว่ามหาสุทัศนะมีพลานุภาพมาก ได้เป็น

ใหญ่ในแผ่นดิน เสวยราชสมบัติในนครกุสาวดี

ในกาลนั้นเราได้สั่งให้ประกาศทุก ๆ วัน วันละ

๓ ครั้งว่า ใครอยากปรารถนาอะไร เราจะให้

ทรัพย์อะไรแก่ใคร ใครหิว ใครกระหาย ใคร

ต้องการดอกไม้ ใครต้องการเครื่องลูบไล้ ใคร

ขาดแคลนผ้าสีต่าง ๆ ก็จงมาถือเอาไปนุ่งห่ม

ใครต้องการร่มไปในหนทาง ก็จงมารับเอาไป

ใครต้องการรองเท้าอันอ่อนงาม ก็จงมารับเอา

ไป เราให้ประกาศดังนี้ทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า

และเวลาเที่ยง ทุกวัน ทานนั้นมิใช่เราตกแต่ง

ไว้ในที่ ๑๐ แห่ง หรือมิใช่ ๑๐๐ แห่ง เราตก-

แต่งทรัพย์ไว้สำหรับยาจกในที่หลายร้อยแห่ง

วณิพกจะมาในเวลากลางวันก็ตาม หรือในเวลา

กลางคืนก็ตาม ก็ได้โภคะตามความปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 81

พอเต็มมือกลับไป เราได้ให้มหาทานเห็นปาน

นี้ จนตราบเท่าสิ้นชีวิต เราได้ให้ทรัพย์ที่น่า

เกลียดก็หามิได้ และเราไม่มีการสั่งสมก็หามิ

ได้ เปรียบเหมือนไข้กระสับกระส่าย เพื่อจะ

พ้นจากโรค ต้องการให้หมอพอใจด้วยทรัพย์

จึงหายจากโรคได้ ฉันใด เราก็ฉันนั้น รู้อยู่

ว่า ทานบริจาคเป็นอุบายเครื่องเปลื้องตนและ

สัตว์โลกทั้งสิ้น ให้พ้นจากโลกทั้งสิ้น ให้พ้น

จากโลกคือสังขารทุกข์ทั้งสิ้นได้ จงบำเพ็ญ

ทานให้บริบูรณ์โดยไม่มีเศษเหลือ เพื่อยังใจที่

บกพร่องให้เต็มเราจึงให้ทานแก่วณิพก เรามิ

ได้อาลัย มิได้หวังอะไร ได้ให้ทานเพื่อบรรลุ

สัมโพธิญาณ ฉะนี้แล.

จบ มหาสุทัศนจริยาที่ ๔

อรรถกถามหาสุทัศนจริยาที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในมหาสุทัศนจริยาที่ ๔ ดังต่อไปนี้ . บทว่า กุสาว-

ติมฺหิ นคเร คือ ในนครชื่อว่ากุสาวดี. ณ ที่นั้น บัดนี้เป็นที่ตั้งเมืองกุสิ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 82

นารา. บทว่า มหีปติ ได้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน คือเป็นกษัตริย์มีพระนาม

ว่า มหาสุทัศนะ. บทว่า จกฺกวตฺติ พระเจ้าจักรพรรดิ คือยังจักรรัตนะ

ให้หมุนไป หรือหมุนไปด้วยจักรสมบัติ ๔. ยังจักรอื่นจากจักรสมบัติเหล่านั้น

ให้เป็นไป ยังมีความหมุนไปแห่งจักรคืออิริยาบถ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นอีก

เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า จกฺกวตฺติ. หรืออีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จกฺกวตฺติ

เพราะมีความหมุนไปแห่งจักร คือ อาณาเขตอันผู้อื่นครอบงำไม่ได้ ล่วงล้ำ

ไม่ได้ ประกอบด้วยสังคหวัตถุอันเป็นอัจฉริยธรรม ๔ ประการ. ชื่อว่า

มหพพโล มีพลานุภาพมาก็เพราะประกอบด้วยหมู่กำลังมาก อันมีปริณายก

แก้วเป็นผู้นำ มีช้างแก้วเป็นต้นเป็นประมุข และกำลังพระวรกายอันเกิดด้วย

บุญญานุภาพ. พึงทราบการเชื่อม บทว่า ยทา อาสึ เราได้เป็นแล้ว. ใน

บทนั้นพึงทราบเรื่องราวเป็นลำดับต่อไปนี้ :-

ได้ยินว่าในอดีตกาล พระมหาบุรุษบังเกิดในตระกูลคฤหบดีในอัต-

ภาพที่ ๓ จากอัตภาพที่เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมหาสุทัศนะเข้าไปยังป่า ด้วย

การงานของตนเห็นพระเถระรูปหนึ่ง ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ดำรง

พระชนม์อยู่ อาศัยอยู่ในป่า นั่งอยู่ ณ โคนต้นไม้ คิดว่าเราควรจะสร้าง

บรรณศาลาให้แก่พระคุณเจ้าในป่านี้แล้ว ละการงานของตนตัดเครื่องก่อ-

สร้างปลูกบรรณศาลาให้เป็นที่สมควรจะอยู่ประกอบประตู กระทำเครื่อง

ปูลาดด้วยไม้ คิดว่าพระเถระจักใช้หรือไม่ใช้หนอ แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

พระเถระมาจากภายในบ้านเข้าไปยังบรรณศาลา นั่ง ณ ที่ปูลาดด้วยไม้. แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 83

พระมหาสัตว์ก็เข้าไปหาพระเถระนั้นแล้วถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า บรรณ-

ศาลาเป็นที่ผาสุขอยู่หรือ. พระเถระตอบว่า ท่านผู้มีหน้างาม เป็นที่ผาสุขดี

สมควรแก่สมณะ. ข้าแต่พระคุณเจ้า พระคุณเจ้าจักอยู่ ณ ที่นี้หรือ. ถูกแล้ว

อุบาสก. มหาบุรุษทราบว่าพระเถระจักอยู่ โดยอาการแห่งการรับนิมนต์ จึง

ขอให้พระเถระรับปฏิญญาว่า จะมายังประตูเรือนของเราตลอดไป แล้วสละ

ภัตตาหารในเรือนของตนเป็นนิจ. มหาบุรุษปูเสื่อลำแพนในบรรณศาลา

แล้วตั้งเตียงและตั้งไว้. วางแท่นพิงไว้. ตั้งไม้เช็ดเท้าไว้. ขุดสระโบกขรณี

ทำที่จงกรมเกลี่ยทราย. ล้อมบรรณศาลาด้วยรั้วหนามเพื่อป้องกันอันตราย.

โบกขรณีและที่จงกรมก็ล้อมเหมือนกัน. ที่สุดภายในรั้วแห่งสถานที่เหล่านั้น

ปลูกต้นตาลไว้เป็นแถว. ครั้นให้ที่อยู่สำเร็จลงด้วยวิธีอย่างนี้แล้ว จึงได้ถวาย

สมณบริขารทั้งหมดมีไตรจีวรเป็นต้นแก่พระเถระ. จริงอยู่ในกาลนั้นเครื่อง

ใช้สอยของบรรพชิตมีอาทิ ไตรจีวร บิณฑบาต ถลกบาตร หม้อกรองน้ำ

ภาชนะใส่ของบริโภค ร่ม รองเท้า หม้อน้ำ เข็ม กรรไกร ไม้เท้า สว่าน

ดีปลี มีดตัดเล็บ ประทีป ชื่อว่า พระโพธิสัตว์มิได้ถวายแก่พระเถระมิได้

มีเลย. พระโพธิสัตว์รักษาศีล ๕ รักษาศีลอุโบสถ บำรุงพระเถระตลอดชีวิต.

พระเถระอาศัยอยู่ ณ ที่นั้นได้บรรลุพระอรหัตแล้วปรินิพพาน.

แม้พระโพธิสัตว์ก็ได้ทำบุญตราบเท่าอายุไปบังเกิดขึ้นเทวโลก จุติจาก

เทวโลกนั้นมาสู่มนุษยโลก บังเกิดในราชธานีกุสาวดี ได้เป็นพระเจ้าจักร-

พรรดิพระนามว่า มหาสุทัศนะราชา. อานุภาพแห่งความเป็นใหญ่ของพระ-

ราชามหาสุทัศนะนั้น มาแล้วในสูตรโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนอานนท์เรื่องเคย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 84

มีมาแล้ว พระราชามหาสุทัศนะได้เป็นกษัตริย์ พุทธาภิเษก. นัยว่าพระ-

ราชามหาสุทัศนะนั้น มีเมืองประเทศราช ๘๔,๐๐๐ อันมีเมืองกุสาวดีราชธานี

เป็นประมุข. มีปราสาท ๘๔,๐๐๐ มีธรรมปราสาทเป็นประมุข. มีเรือนยอด

๘๔,๐๐๐ มีเรือนยอดหมู่ใหญ่เป็นประมุข. ทั้งหมดเหล่านั้นเกิดด้วยอานิสงส์

แห่งบรรณศาลาหลังหนึ่งซึ่งพระองค์สร้างถวายแก่พระเถระนั้น. บัลลังก์

๘๔,๐๐๐ ช้าง ๑,๐๐๐ ม้า ๑,๐๐๐ รถ ๑,๐๐๐ เกิดด้วยอานิสงส์แห่งเดียง

และตั่งที่พระองค์ถวายแก่พระเถระนั้น. แก้วมณี ๘๔,๐๐๐ เกิดด้วยอานิสงส์

แห่งประทีปที่พระองค์ถวายแก่พระเถระ. สระโบกขรณี ๘๔,๐๐๐ เกิดด้วย

อานิสงส์ แห่งสระโบกขรณีสระหนึ่ง. สตรี ๘๔ ,๐๐๐ บุตร ๑,๐๐๐ และ

คฤหบดี ๑,๐๐๐ เกิดด้วยอานิสงส์แห่งการถวายเครื่องบริขารของบรรพชิต

อันสมควรแก่สมณบริโภคมีถลกบาตรเป็นต้น. แม้โคนม ๘๔,๐๐๐ เกิดด้วย

อานิสงส์แห่งการถวายเบญจโครส. คลังผ้า ๘๔,๐๐๐ เกิดด้วยอานิสงส์แห่ง

การถวายเครื่องนุ่งห่ม. หม้อหุงข้าว ๘ .... เกิดด้วยอานิสงส์แห่งการ

ถวายโภชนะ. พระโพธิสัตว์เป็นพระราชาธิราชประกอบด้วย รตนะ ๗ และ

ฤทธิ์ ๔ ทรงชนะครอบครองปฐพีมณฑลมีสาครเป็นที่สุดทั้งสิ้นโดยธรรม

ทรงสร้างโรงทานในที่หลายร้อยที่ตั้งมหาทาน. ทรงให้ราชบุรุษตีกลองป่าว-

ประกาศในพระนคร วันละ ๓ ครั้ง ว่า ผู้ใดปรารถนาสิ่งใด ผู้นั้นจงมาที่

โรงทานรับเอาสิ่งนั้นเถิด. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตตฺถาห

ทวเส ติกฺขตฺตุ, โฆสาเปมิ ตหึ ตหึ เราให้ประกาศทุก ๆ วัน วันละ

๓ ครั้ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 85

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ คือในพระนครนั้น. ปาฐะว่า ตทาห

ก็มี อธิบายว่า ในครั้งนั้น คือ ในครั้งที่เราเป็นพระราชามหาสุทัศนะ.

บทว่า ตหึ ตหึ คือในที่นั้น ๆ อธิบายว่า ทั้งภายในและภายนอกแห่ง

กำแพงนั้น ๆ. บทว่า โก กึ อิจฺฉติ ใครปรารถนาอะไร คือบรรดา

พราหมณ์เป็นต้น ผู้ใดปรารถนาอะไรในบรรดาไทยธรรม มีข้าวเป็นต้น.

บทว่า ปตฺเถติ เป็นไวพจน์ของบทว่า อิจฉติ นั้น. บทว่า กสฺส กึ ทิยฺยตู

ธน เราจะให้ทรัพย์อะไรแก่ใคร คือ ท่านกล่าว เพื่อแสดงความที่การโฆษณา

ทานเป็นไปแล้ว โดยปริยายหลายครั้ง. ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดง สรุปด้วยทานบารมี. จริงอยู่ทานบารมีของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เว้น

จากการกำหนดไทยธรรมและปฎิคคาหก. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรง

แสดงสรรเสริญบุคคลผู้สมควรแก่ไทยธรรมนั้นด้วยการโฆษณาทาน จึงตรัส

พระดำรัสมีอาทิว่า โก ฉาตโก ใครหิว ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ฉาตโก คืออยาก. บทว่า ตสิโต คือ

กระหาย. พึงนำบทว่า อิจฺฉติ มาประกอบบทว่า โก มาล โก วิเลปน

ความว่า ใครต้องการดอกไม้ ใครต้องการร่มดังนี้. บทว่า นคฺโค ขาด-

แคลนผ้า อธิบายว่า มีความต้องการผ้า. บทว่า ปริทหิสฺสติ คือ นุ่งห่ม.

บทว่า โก ปเถ ฉตฺคมาเทติ ความว่า ใครเดินทางต้องการร่ม

เพื่อป้องกันฝน ลมและแดด ของตนในหนทาง อธิบายว่า มีความต้องการ

ด้วยร่ม. บทว่า โก ปาหนา มุทู สุภา ใครต้องการรองเท้าอันอ่อนงาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 86

คือ รองเท้า ชื่อว่า งาม เพราะน่าดู ชื่อว่า อ่อน เพราะมีสัมผัส สบาย

เพื่อป้องกันเท้าและนัยน์ตาของตน. บทว่า โก อาเทติ ความว่า ใครมี

ความต้องการรองเท้าเหล่านั้น. พึงนำบทว่า มชฺฌนฺติเก จ และเวลา

เที่ยงมาประกอบด้วย จ ศัพท์ในบทนี้ว่า สายญฺจ ปาโตจ ทั้งเวลาเย็น

เวลาเช้า และเวลาเที่ยง. ท่านกล่าวว่าให้ประกาศวันละ ๓ ครั้ง.

บทว่า น ต ทสสุ าเนสุ โยชนาแก้ไว้ว่า ทานนั้นมิใช่เราตก

แต่งไว้ในที่ ๑๐ แห่ง. หรือมิใช่ ๑๐๐ แห่ง ที่แท้เราตกแต่งไว้ในที่หลาย

ร้อยแห่ง. บทว่า ยาจเภ ธน คือ เราตกแต่ง คือ เตรียมไว้สำหรับ ผู้ขอ

ทั้งหลาย. เพราะในนครยาว ๗ โยชน์ กว้าง ๗ โยชน์ ล้อมไปด้วยแนวต้น-

ตาล ๗ แถว. ณ แนวต้นตาลเหล่านั้น มีสระโบกขรณี ๘๔,๐๐๐ สระ เราตั้ง

มหาทานไว้ที่ฝั่งสระโบกขรณี เฉพาะสระหนึ่ง ๆ. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า :-

ดูก่อนอานนท์ พระราชามหาสุทัศนะ

ทรงตั้งทานเห็นปานนี้ไว้ ณ ฝั่งสระโบกขรณี

เหล่านั้น คือ ตั้งข้าวไว้สำหรับผู้ต้องการข้าว

ตั้งน้ำไว้สำหรับผู้ต้องการน้ำ ตั้งผ้าไว้สำหรับผู้

ต้องการผ้า ตั้งยานไว้สำหรับผู้ต้องการยาน ตั้ง

ที่นอนไว้สำหรับผู้ต้องการที่นอน ตั้งสตรีไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 87

สำหรับผู้ต้องการสตรี ตั้งเงินไว้สำหรับผู้ต้อง

การเงิน ตั้งทองไว้สำหรับผู้ต้องการทอง.

พึงทราบความในบทนั้นดังนี้ จริงอยู่มหาบุรุษปรารถนาแต่จะให้ทาน

จึงสร้างเครื่องประดับอันสมควรแก่สตรีและบุรุษ ตั้งสตรีไว้เพื่อให้รับใช้ใน

ที่นั้น และตั้งทานทั้งหมดนั้นไว้เพื่อบริจาค จึงให้ตีกลองป่าวร้องว่า พระ-

ราชามหาสุทัศนะพระราชทานทาน พวกท่านจงบริโภคทานนั้นตามสบาย-

เถิด. มหาชนไปยังฝั่งสระโบกขรณีอาบน้ำ นุ่งห่มผ้าเป็นต้นแล้ว เสวย

มหาสมบัติ ผู้ใดมีสมบัติเช่นนี้แล้ว ผู้นั้นก็ละไป ผู้ใดไม่มี ผู้นั้นก็ถือเอา

ไป. ผู้ใดนั่งบนยานช้างเป็นต้นก็ดี เที่ยวไปตามสบาย นอนบนที่นอนอัน

ประเสริฐก็ดี ก็เอาสมบัติไปเสวยความสุขกับสตรีบ้าง ประดับเครื่องประดับ

ล้วนแก้ว ๗ ประการก็เอาสมบัติไป ถือเอาสมบัติจากสำนักที่ได้เอาไป เมื่อ

ไม่ต้องการก็ละไป. พระราชามหาสุทัศนะทรงกระวีกระวาดบริจาคทานแม้

ทุก ๆ วัน. ในครั้งนั้นชาวชมพูทวีปไม่มีการงานอย่างอื่น. บริโภคทาน เสวย

สมบัติเที่ยวเตร่กันไป. ทานนั้นมิได้มีกำหนดแล. ผู้มีความต้องการจะมา

เมื่อใดทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน ก็พระราชทานเมื่อนั้น. ด้วยประการฉะนี้

มหาบุรุษทรงทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้สนุกสนานรื่นเริง ยังมหาทานให้เป็นไป

ตลอดพระชนมายุ. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทิวา วา

ยทิ วา รตฺตึ ยทิ เอติ วณิพฺพโก วณิพกจะมาในเวลากลางวันก็ตาม

หรือในเวลากลางคืนก็ตาม เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 88

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงทานตามกาลของมหาบุรุษนั้นด้วยบทนี้

ว่า ทิวา วา ยทิ วา รตฺตึ ยทิ เอติ. จริงอยู่กาลเวลาที่ผู้ขอเข้าไปเพื่อ

หวังลาภ ชื่อว่าเป็นกาลเวลาแห่งทานของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย. บทว่า

วณิพฺพโก คือผู้ขอ. ด้วยบทนี้ว่า ลทฺธา ยทิจฺฉก โภค ได้โภคะตาม

ความปรารถนา ท่านกล่าวถึงทานตามความชอบใจ. เพราะว่าผู้ขอคนใด

ปรารถนาไทยธรรมใด ๆ พระโพธิสัตว์ทรงให้ทานนั้น ๆ แก่ผู้ข้อคนนั้น

พระโพธิสัตว์มิได้ทรงคิดถึงความที่ไทยธรรมนั้นมีค่ามากหาได้ยากอันเป็น

การกีดขวางพระองค์เลย. ด้วยบทนี้ว่า ปูรหตฺโถว คจฺฉติ เต็มมือกลับไป

แสดงถึงทานตามความปรารถนา. เพราะว่าผู้ขอทั้งหลายปรารถนาเท่าใด

พระมหาสัตว์ทรงให้เท่านั้นไม่ลดหย่อน เพราะมีพระอัธยาศัยกว้างขวาง

และเพราะมีอำนาจมาก.

ด้วยบทว่า ยาวชีวิก ตลอดชีวิตนี้ แสดงถึงความไม่มีสิ้นสุดของ

ทาน. เพราะว่าตั้งแต่สมาทาน พระมหาสัตว์ทั้งหลายมิได้ทรงกำหนดกาล

เวลาในท่ามกลางจนกว่าจะบริบูรณ์. การไม่เข้าไปตัดรอนแม้ด้วยความตาย

จากการไม่เข้าที่สุดในระหว่าง ๆ เพราะไม่มีความเบื่อหน่ายในการสะสมโพธิ-

สมภาร. แม้อื่นจากนั้น เพราะการปฏิบัติอย่างนั้นท่านจึงกล่าวด้วยอำนาจ

แห่งความประพฤติของพระราชามหาสุทัศนะว่า ยาวชีวิก จนตลอดชีวิต

ดังนี้. บทว่า นปาห เทสฺ ส ธน ทมฺมิ เราได้ให้ทรัพย์ที่น่าเกลียดก็

หามิได้ คือ ทรัพย์ของเรานี้น่าเกลียดไม่น่าพอใจก็หามิได้ เพราะเหตุนั้นเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 89

เมื่อให้มหาทานเห็นปานนี้ จึงให้นำทรัพย์ออกจากเรือน. บทว่า นปิ นตฺถิ

นิจโย มยิ เราไม่มีการสะสมก็หามิได้ คือ การสะสมทรัพย์ การสงเคราะห์

ด้วยทรัพย์ในที่ใกล้ไม่มีแก่เราก็หามิได้. อธิบายว่า แม้การไม่สงเคราะห์

ดุจสมณะผู้ประพฤติขัดเกลากิเลสก็ไม่มี. มหาทานนี้ของพระมหาสัตว์นั้น

เป็นไปแล้วด้วยอัธยาศัยใด เพื่อแสดงถึงอัธยาศัยนั้นท่านจึงกล่าวไว้.

บัดนี้เพื่อแสดงความนั้นโดยอุปมาจึงกล่าวว่า ยถาปิ อาตุโร นาม

เหมือนคนไข้กระสับกระส่าย ดังนี้เป็นต้น.

บทนี้แสดงเนื้อความพร้อมด้วยการเปรียบเทียบโดยอุปมา เหมือน

บุรุษถูกโรคครอบงำกระสับกระส่าย ประสงค์จะให้ตนพ้นจากโรค ต้องการ

ให้หม้อผู้เยียวยาพอใจ คือยินดีด้วยทรัพย์มีเงินและทองเป็นต้น แล้วปฏิบัติ

ตามวิธี ก็พ้นจากโรคนั้นฉันใด แม้เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ประสงค์จะ

เปลื้องสัตว์โลกทั้งสิ้น อันได้รับทุกข์จากโรคคือกิเลส และจากโรคคือทุกข์

ในสงสารทั้งสิ้น รู้อยู่ว่าการบริจาคสมบัติทั้งปวงนี้ เป็นทานบารมี เป็นอุบาย

แห่งการปลดเปลื้องจากโลกนั้น เพื่อยังอัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลายให้บริบูรณ์

ด้วยอำนาจแห่งผู้รับไทยธรรมโดยไม่มีเศษเหลือ และด้วยอำนาจแห่งมหา-

ทานโดยไม่มีเศษเหลือ อนึ่ง ทานบารมีของเรายังไม่บริบูรณ์แก่ตน เพราะ

ฉะนั้น เพื่อยังใจที่บกพร่องอันเป็นไปในบทว่า อูนมน ใจบกพร่องให้

เต็ม จึงได้ให้ทานนั้นแก่วณิพก คือผู้ขอ เราให้มหาทานเห็นปานนี้ เรา

มิได้อาลัยมิได้หวังอะไรในการให้ทานนั้นและในผลของการให้นั้น ให้เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 90

บรรลุพระสัมโพธิญาณ คือ เพื่อบรรลุพระสัพพัญญุตญาณอย่างเดียว.

พระมหาสัตว์ยังมหาทานให้เป็นไปอย่างนี้ เสด็จขึ้นสู่ธรรมปราสาท

อันเกิดด้วยบุญญานุภาพของพระองค์ ทำลายกามวิตกเป็นต้น ณ ประตูเรือน

ยอดหมู่ใหญ่นั่นเอง ประทับนั่งเหนือราชบัลลังก์ทำด้วยทองคำ ณ ประตู

เรือนยอดนั้นยังฌานและอภิญญาให้เกิด เสด็จออกจากที่นั้น เสด็จเข้าไปยัง

เรือนยอดสำเร็จด้วยทอง ประทับนั่งเหนือบัลลังก์สำเร็จด้วยเงิน ณ เรือน

ยอดนั้นทรงเจริญพรหมวิหาร ๔ ยังกาลเวลาให้น้อมล่วงไปด้วยฌานและ

สมาบัติตลอด ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงให้โอวาทแก่นางสนมกำนัลใน ๘๔,๐๐๐ คน มี

พระนางสุภัททาเทวีเป็นหัวหน้า และอำมาตย์กับสมาชิกที่ประชุมกันเป็นต้น

ซึ่งเข้าไปเพื่อเฝ้าในมรณสมัยด้วยคาถานี้ว่า :-

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีการเกิด

ขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา สังขาร

ทั้งหลาย ครั้นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป การเข้าไป

สงบสังขารเหล่านั้นเป็นสุข.

เมื่อสิ้นสุดพระชนมายุ ก็ได้เสด็จสู่พรหมโลก.

พระนางสุภัททาเทวีในครั้งนั้น ได้เป็นพระมารดาพระราหุลในครั้ง

นี้. ปริณายกแก้ว คือ พระราหุล. บริษัทที่เหลือ คือ พุทธบริษัท. ส่วน

พระราชามหาสุทัศนะ คือ พระโลกนาถ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 91

แม้ในจริยานี้เป็นอันได้บารมี ๑๐ โดยสรุป. ทานบารมีเท่านั้นมาใน

บาลี เพราะอัธยาศัยในการให้กว้างขวางมาก. ธรรมที่เหลือมีนัยดังกล่าว

แล้วในหนหลังนั้นแล.

อนึ่ง พึงเจาะจงลงไปถึงคุณานุภาพมีอาทิอย่างนี้ว่า แม้ดำรงอยู่ใน

ความเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ อันรุ่งเรืองด้วยรตนะ ๗ อย่างมากมาย ก็ไม่พอ

ใจโภคสุขเช่นนั้น ข่มกามวิตกเป็นต้นแต่ไกล ยังกาลเวลาให้น้อมไปด้วย

สมาบัติตลอด ๘๔,๐๐๐ ปี ของผู้ประพฤติในมหาทานเห็นปานนั้น แม้

กระทำธรรมกถาปฏิสังยุตด้วยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ก็ไม่ทอดทิ้ง

ความขวนขวายในวิปัสสนาในที่ทั้งปวง.

จบ อรรถกถามหาสุทัศนจริยาที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 92

มหาโควินทจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโควินทพราหมณ์

[๕] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพราหมณ์

นามว่ามหาโควินท์ เป็นปุโรหิตของพระราชา

พระองค์ อันนรชนและเทวดาบูชา ในกาล

นั้น เครื่องบรรณาการอันใดในราชอาณาจักร

ทั้ง ได้มีแล้วแก่เรา เราได้ให้มหาทานร้อย

ล้านแสนโกฏิ เปรียบด้วยสาครด้วยบรรณา-

การนั้น เราจะเกลียดทรัพย์และข้าวเปลือกก็

หามิได้ และเราจะไม่มีการสั่งสมก็หามิได้ แต่

พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้น

เราจึงให้ทานอย่างประเสริฐ ฉะนี้แล.

จบ มหาโควินทจริยาที่ ๕

อรรถถกถามหาโควินทจริยาที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถามหาโควินทจริยาที่ ๕ ดังต่อไปนี้. บทว่า

สตฺตราชปุโรหิโจ คือปุโรหิตผู้เป็นอนุสาสก คือผู้ถวายอนุศาสน์ ในกิจ-

การทั้งปวงแด่พระราชา ๗ พระองค์ มีพระราชาพระนามว่า สัตตภู เป็นต้น.

บทว่า ปูชิโต นรเทเวหิ อันนรชนและเทวดาทั้งหลายบูชาแล้ว คือ อัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 93

นรชนเหล่าอื่น และกษัตริย์ทั้งหมดในชมพูทวีปบูชาแล้วด้วยปัจจัย และ

ด้วยสักการะและสัมมานะ. บทว่า มหาโควินฺทพฺราหฺมโณ คือพราหมณ์

ชื่อว่า มหาโควินทะ เพราะเป็นผู้มีอานุภาพมาก และเพราะได้รับแต่งตั้ง

โดยอภิเษกให้เป็นโควินทะ. เพราะว่าพระโพธิสัตว์ได้ชื่อนี้ตั้งแต่วันอภิเษก

ชื่อเดิมว่า โชติปาละ ได้ยินว่าในวันที่โชติปาละเกิด สรรพาวุธทั้งหลาย

สว่างไสว. แม้พระราชาก็ทอดพระเนตรเห็นมังคลาวุธของพระองค์ สว่าง

ไสวในตอนใกล้รุ่ง ทรงสะดุ้งพระทัยตรัสถามปุโรหิตของพระองค์ซึ่งเป็น

บิดาของพระโพธิสัตว์ผู้มาปฏิบัติราชการ ปุโรหิตทูลให้เบาพระทัยว่า ขอ

เดชะข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์อย่าทรงหวาดสะดุ้งไปเลย บุตรของข้า

พระองค์เกิด ด้วยอานุภาพของบุตรนั้นมิใช่ในกรุงราชคฤห์เท่านั้น แม้ใน

นครทั้งสิ้น อาวุธทั้งหลายก็สว่างไสว อันตรายมิได้มีแด่พระองค์เพราะ

อาศัยบุตรของข้าพระองค์ อนึ่ง ในชมพูทวีปทั้งสิ้น จักหาผู้ที่มีปัญญาเสมอ

ด้วยบุตรของข้าพระองค์ไม่มี. นั่นเป็นบุรพนิมิตของเขาพระเจ้าข้า. พระ-

ราชาทรงยินดี พระราชทานทรัพย์ ๑,๐๐๐ โดยตรัสว่า จงเป็นค่าน้ำนม

ของพ่อกุมารเถิด แล้วตรัสว่า เมื่อบุตรของท่านเจริญวัย จงนำมาอยู่กับเรา.

ต่อมากุมารนั้นเจริญวัย เป็นผู้เห็นประโยชน์อันควรจึงเป็นอนุสาสกในกิจ

ทั้งปวงของพระราชา ๗ พระองค์ ครั้นบวชแล้วก็ได้สั่งสอนสัตว์ทั้งหลาย

จากสิ่งไม่เป็นประโยชน์ แล้วชักชวนด้วยสิ่งมีประโยชน์ทั้งปัจจุบันและ

สัมปรายภพ. ด้วยเหตุนี้จึงได้ขนานนามว่า โชติปาละ เพราะเป็นผู้รุ่งเรือง

และเพราะสามารถในการอบรมสั่งสอน. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า นาเมน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 94

โชติปาโล นาม ชื่อเดิมว่า โชติปาละ. พึงทราบเนื้อความในบทนั้นดัง ต่อ

ไปนี้ พระโพธิสัตว์เป็นบุตรของโควินทพราหมณ์ ผู้เป็นปุโรหิตของพระ-

ราชาพระนามว่าทิสัมบดี เมื่อบิดาของตนล่วงลับไปและพระราชาสวรรคต

แล้ว ยังพระราชา ๗ พระองค์ ให้ดำรงอยู่ในราชสมบัติโดยที่พระราชาทั้ง

๗ พระองค์ คือ พระเรณุราชา โอรสของพระทิสัมบดีราชา พระสหายราชา

พระสัตตภูราชา พระพรหมทัตตราชา พระเวสสภูราชา พระภารตราชา

พระธตรัฐราชา มิได้ทรงวิวาทกันและกัน ถวายอนุศาสน์อรรถธรรมแด่

พระราชาเหล่านั้น พระราชาทั้งหมด พราหมณ์ เทวดา นาค และคฤหบดี

ในพื้นชมพูทวีป สักการะ นับถือ บูชา อ่อนน้อม ได้ถึงฐานะเป็นที่เคารพ

อย่างสูงสุด. เพราะความที่โควินทพราหมณ์นั้นเป็นผู้ฉลาดในอรรถและธรรม

จึงได้รับสมัญญาว่า มหาโควินทะ ด้วยประการฉะนี้. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

โควินฺโท วต โภ พฺราหฺมโณ มหาโควินฺโท วต โภ พฺราหฺมโณ ท่าน

ผู้เจริญโควินทพราหมณ์ ได้เป็นมหาโควินทพราหมณ์แล้วหนอ ด้วยเหตุ

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพราหมณ์

นามว่ามหาโควินทะ เป็นปุโรหิตของพระราชา

๗ พระองค์ อันนรชนและเทวดาบูชาแล้ว.

ลำดับนั้น ลาภสักการะอันมากมายนับไม่ถ้วน อันพระราชาผู้ตื่นเต้น

ด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์ กษัตริย์ผู้นับถือพระราชาเหล่านั้น พราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 95

คฤหบดี และชาวนิคม ชาวชนบท น้อมนำเข้าไปถมไว้ ๆ ดุจห้วงน้ำใหญ่

ท่วมทับโดยรอบ เหมือนอย่างลาภสักการะเกิดแก่ผู้สะสมบุญอันไพบูลย์ซึ่งได้

สะสมไว้ในชาตินับไม่ถ้วน ผู้มีธรรมเกิดขึ้นแล้วมากมาย มีศิลาจารวัตร

บริสุทธิ์ มีศีลเป็นที่รัก สำเร็จศิลปศาสตร์ทุกชนิด มีหทัยอ่อนโยนน่ารักแผ่

ไปด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ทั้งหลายเช่นกับบุตร. พระโพธิสัตว์ดำริว่า

บัดนี้ ลาภและสักการะมากมายเกิดขึ้นแก่เรา ถ้ากระไรเราจะให้สรรพสัตว์ทั้ง

หลาย เอิบอิ่มด้วยลาภและสักการะนี้แล้ว ยังทานบารมีให้บริบูรณ์ จึงให้สร้าง

โรงทานขึ้น ๖ แห่ง คือ กลางพระนคร ๑ ที่ประตูพระนคร ๑ ที่ประตูพระราช

นิเวศน์ ๑ แล้วยังมหาทานให้เป็นไปด้วยการบริจาคทรัพย์หาประมาณมิได้

ทุก ๆ วัน. ของขวัญใด ๆ ที่มีผู้นำมามอบให้เพื่อประโยชน์แก่ตน ทั้งหมด

นั้นส่งไปที่โรงทาน. เมื่อพระโพธิสัตว์ทำมหาบริจาคทุก ๆ วันอย่างนี้ ความ

อิ่มใจก็ดี ความพอใจก็ดี มิได้มีแก่ใจของพระโพธิสัตว์นั้นเลย. ความเหนื่อย-

หน่ายจะมีได้แต่ไหน. หมู่ชนผู้มายังโรงทานเพื่อหวังลาภของพระโพธิสัตว์

ได้รับไทยธรรมกลับไป และประการคุณวิเศษ ของพระมหาสัตว์ โดยรอบ

ด้านทั้งภายในพระนคร และภายนอกพระนคร ได้มีเสียงเซ็งแซ่อึงคะนึง

เป็นอันเดียวกันดุจมหาสมุทร มีห้วงน้ำเป็นอันเดียวกัน หมุนวนเพราะ

กระทบพายุใหญ่อันตั้งขึ้นตลอดกัป ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า :-

ในกาลนั้นเครื่องบรรณาการอันใดในราช-

อาณาจักรทั้ง ๗ ได้มีแล้วแก่เรา เราได้ให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 96

มหาทานร้อยล้านแสนโกฏิ เปรียบด้วยสาคร

ด้วยบรรณาการนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตทาห คือในกาลที่เราเป็นมหาโควินท-

พราหมณ์ เป็นปุโรหิตของพระราชา ๗ พระองค์. บทว่า สตฺตรชฺเชสุ คือ

ในราชอาณาจักรของพระราชา ๗ พระองค์ มีพระราชาพระนามว่า เรณุ

เป็นต้น. บทว่า อกฺโขภ ( การนับที่สูงคือเลข ๑ มีศูนย์ตาม ๔๒ ศูนย์)

ชื่อว่าอันใคร ๆ ให้กำเริบไม่ได้ เพราะข้าศึกภายในและภายนอกเกียดกั้นไม่

ได้. ปาฐะว่า อจฺจุพฺภ บ้าง คือ กองทัพที่มีกระบวนพร้อมมูล อธิบายว่า

บริบูรณ์อย่างยิ่งด้วยความกว้างขวาง และด้วยความไพบูลย์แห่งอัธยาศัยใน

การให้อันเต็มเปี่ยม และแห่งไทยธรรม. บทว่า สาครูปม คือเช่นกับสาคร

อธิบายว่า ไทยธรรมในโรงทานของพระโพธิสัตว์ ดุจน้ำในสาครอันชาวโลก

ทั้งสิ้นนำไปใช้ก็ไม่สามารถให้หมดไปได้.

พึงทราบความในคาถาสุดท้ายดังต่อไปนี้ บทว่า วร น ทรัพย์

ประเสริฐ. คือทรัพย์ สูงสุดหรือทรัพย์ที่คนต้องการ. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าว

แล้วนั่นแล.

พระมหาสัตว์ ยังฝนคือทานใหญ่ให้ตกโดยไม่หยุดยั้งดุจมหาเมฆใน

ปฐมกัป ยังฝนใหญ่ให้ตกฉะนั้น แม้เป็นผู้ขวนขวายในทานเวลาที่เหลือก็ยัง

ไม่ประมาท ถวายอนุสาสน์ อรรถธรรมแด่พระราชา ๗ พระองค์ และยัง

พราหมณ์มหาศาล ๗ ให้ศึกษาวิชาศิลปศาสตร์. และบอกมนต์กะช่างกัลบก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 97

๗๐๐ คน. ครั้นย่อมากิตติศัพท์อันงดงามนี้ ของพระโพธิสัตว์ขจรไปว่า

มหาโควินทพราหมณ์ เผชิญหน้าเห็นพระพรหม. มหาโควินทพราหมณ์

เผชิญหน้า สนทนา พูดจา ปรึกษากับพระพรหม. พระมหาสัตว์บำเพ็ญพรหม

วิหารภาวนาตลอด ๔ เดือนในฤดูฝนโดยตั้งใจว่า เราพึงอำลาพระราชา ๗

พระองค์ พราหมณ์มหาศาล ๗ ช่างกัลบก ๗๐๐ และบุตรภรรยาไปเฝ้า

พระพรหม. ด้วยความตั้งใจของพระโพธิสัตว์นั้น สุนังกุมารพรหมได้รู้ความ

คิดคำนึง จึงได้ปรากฏข้างหน้า. มหาบุรุษเห็นพรหมจึงถามว่า :-

ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นใครหนอ จึงมี

ผิวพรรณ มียศ มีสิริ ข้าพเจ้าไม่รู้จักท่าน จึง

ถามข้าพเจ้าจะรู้จักท่านได้อย่างไร.

พระพรหมเมื่อจะยังพระโพธิสัตว์ให้รู้จักตน จึงกล่าวว่า :-

ท่านโควินทะ ทวยเทพทั้งปวง รู้จัก

ข้าพเจ้า ว่าเป็นกุมารพรหมอยู่ในพรหมโลกมา

เก่าแก่ ขอท่านจงรู้จักข้าพเจ้าด้วยประการ

ฉะนี้เถิด.

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เป็นพรหม ข้าพเจ้าขอต้อนรับ

ท่านผู้เจริญด้วยอาสนะ น้ำ เครื่องเช็ดเท้าและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 98

ผักผสมน้ำผึ้ง ขอได้โปรดรับของมีค่าอันเป็น

ของข้าพเจ้าเถิด.

พระพรหมแม้ไม่มีความต้องการของต้อนรับแขก ที่พระโพธิสัตว์นำ

เข้าไปก็ยินดีรับเพื่อความเบิกบานใจของพระโพธิสัตว์ และเพื่อทำความคุ้น

เคย จึงกล่าวว่า ท่านโควินทะข้าพเจ้าขอรับของมีค่าที่ท่านบอก เมื่อให้โอกาส

จึงกล่าวว่า :-

ข้าพเจ้าให้โอกาส ท่านจงถามสิ่งที่ต้อง

การถาม เพื่อประโยชน์ในภพนั้นและเพื่อความ

สุขในภพหน้า.

ลำดับนั้น พระมหาบุรุษจึงถามถึงประโยชน์ในภพหน้าอย่างเดียวว่า :-

ข้าพเจ้าผู้มีความสงสัย ขอถามท่านสนัง-

กุมารพรหมผู้ไม่มีความสงสัย ในปัญหาอัน

ปรากฏแก่ผู้อื่นว่า สัตว์ตั้งอยู่ในอะไร และ

ศึกษาในอะไร จึงจะถึงพรหมโลกอันเป็น

อมตะ.

พระพรหมเมื่อจะพยากรณ์แก่พระโพธิสัตว์ จึงกล่าวถึงทางอันไปสู่

พรหมโลกว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 99

ท่านผู้ประเสริฐ สัตว์ละความเป็นของ

เราในสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ผู้เดียว น้อมไป

ในกรุณา ไม่มีกลิ่นน้ำยินดี เว้นจากเมถุน

ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น และศึกษาอยู่ในธรรม

เหล่านี้ ย่อมถึงพรหมโลกอันเป็นอมตะ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ม เว ภุมาร ชานนฺติ คือทวยเทพทั้งหลาย

รู้จักข้าพเจ้าว่า เป็นกุมารพรหมโดยส่วนเดียวเท่านั้น. บทว่า พฺรหฺมโลเก

คือในโลกอันประเสริฐ. บทว่า สนนฺตน คือโบราณนานมาแล้ว. บทว่า

เอว โควินฺท ชานาหิ คือ ท่านโควินทะท่านจงจำข้าพเจ้าไว้อย่างนี้.

บทว่า อาสน นี้. คืออาสนะที่ปูไว้ เพื่อให้พระพรหมผู้เจริญนั่ง.

น้ำนี้สำหรับใช้เพื่อล้างเท้า น้ำดื่มเพื่อบรรเทาความกระหาย. เครื่องเช็ดเท้า

นี้ คือน้ำมันทาเท้าเพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อย. ผักผสมน้ำผึ้งนี้ ไม่ใช่

เปรียง ไม่ใช่เกลือ ไม่ใช่ลมควัน ล้างน้ำสะอาด ท่านกล่าวหมายถึงผัก.

ก็ในการนั้นพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ประพฤติพรหมจรรย์ตลอด ๔ เดือน

เป็นพรหมจรรย์ยอดเยี่ยมอย่างยิ่งในการประพฤติขัดเกลากิเลส. ข้าพเจ้าขอ

เอาของมีค่าทั้งหมดเหล่านี้ต้อนรับท่าน ขอจงรับของมีค่านี้อันเป็นของ

ข้าพเจ้าเอง. พระมหาบุรุษแม้รู้อยู่พระพรหมไม่บริโภคของเหล่านั้น แต่งตั้ง

ไว้เป็นพิธีในการปฏิบัติ เมื่อจะแสดงการบูชาแขกที่ตนเคยประพฤติมาจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 100

กล่าวอย่างนั้น แม้พระพรหมก็ทราบความประสงค์ของพระโพธิสัตว์นั้น จึง

กล่าวว่า ท่านโควินทะ ข้าพเจ้าขอรับสิ่งมีค่าที่ท่านบอกนั้นไว้.

อธิบายในบทนั้นว่า ข้าพเจ้าจะนั่งบนอาสนะของท่าน. จะล้างเท้า

ด้วยน้ำล้างเท้า. จะดื่มน้ำดื่ม. จะทาเท้าด้วยเครื่องทาเท้า. จะบริโภคผักที่ล้าง

ด้วยน้ำ.

บทว่า กงฺขี อกงฺขึ ปรเวทิเยสุ คือข้าพเจ้าไม่สงสัยในปัญญาที่

ปรากฏแก่ผู้อื่น เพราะผู้อื่นสร้างปัญหาขึ้นมาเอง.

บทว่า หิตฺวา มมฺตฺต คือสละตัณหาอันเป็นเครื่องอุดหนุนให้เป็น

ไปอย่างนี้ว่า นี้ของเรา นี้ของเรา ดังนี้. บทว่า มนุเชสุ คือในสัตว์ทั้งหลาย

บทว่า พฺรหฺเม คือพระพรหมเรียกพระโพธิสัตว์. บทว่า เอโกทิภูโต

ชื่อว่า เอโกทิภูโต เพราะเป็นไปผู้เดียว คืออยู่ผู้เดียว. ด้วยบทนี้ ท่าน

กล่าวหมายถึงกายวิเวก. อีกชื่อว่า เอโกทิ เพราะเป็นเอกผุดขึ้นได้แก่ สมาธิ.

ชื่อว่า เอโกทิภูโต เพราะถึงความเป็นเอกผุดขึ้นนั้น. อธิบายว่า สมาธิ.

ด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ. พระพรหมเมื่อจะแสดงความเป็นเอก

ผุดขึ้นด้วยอำนาจแห่งกรุณาพรหมวิหาร จึงกล่าวว่า กรุเณธิมุตฺโต คือ

น้อมไปในฌานคือกรุณา. อธิบายว่า ยังฌานให้เกิดขึ้น. บทว่า นิรามคนฺโธ

ไม่มีกลิ่นน่ารื่นรมย์ คือปราศจากกลิ่นเป็นพิษคือกิเลส. บทว่า เอตฺถฏฺิโต

คือตั้งอยู่ในธรรมทั้งหลายเหล่านี้ . ยังธรรมทั้งหลายเหล่านี้ให้สมบูรณ์ บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 101

เอตฺถ จ สิกฺขมาโน คือศึกษาอยู่ในธรรมทั้งลายเหล่านี้ อธิบายว่า

เจริญพรหมวิหารภาวนานี้. นี้เป็นความสังเขปในบทนี้. ส่วนความพิสดาร

มาแล้วในบาลีด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้นพระมหาบุรุษ ได้สดับคำของพระพรหมนั้นรังเกียจกลิ่น

อันเป็นพิษ จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักบวชในบัดนี้ละ. แม้พระพรหมก็กล่าวว่า

ดีแล้วท่านมหาบุรุษ จงบวชเถิด. เมื่อเป็นอย่างนี้การที่ข้าพเจ้ามาหาท่าน จึง

เป็นการมาดีทีเดียว. พ่อเจ้าประคุณพ่อเป็นอัครบุรุษทั่วชมพูทวีปยังอยู่ใน

ปฐมวัย. ชื่อว่าการละสมบัติและความเป็นใหญ่ ถึงอย่างนี้ออกบวชเป็นความ

ประเสริฐยิ่ง ดุจคันธหัตถีทำลายเครื่องผูกทำด้วยเหล็กแล้วกลับไปป่า ฉะนั้น.

นี้ชื่อว่าเป็นเชื้อสายของพระพุทธเจ้า. แม้พระมหาสัตว์ก็ดำริว่า เราออกจาก

เมืองนี้ไปบวชไม่เป็นการไม่สมควร. เรายังถวายอนุสาสน์อรรถและธรรมแก่

ราชตระกูลอยู่. เพราะฉะนั้นเราทูลพระราชาเหล่านั้น หากว่า พระราชาเหล่า

นั้นจะบวชบ้างก็จะเป็นการดีทีเดียว. เราจักคืนตำแหน่งปุโรหิตของเราแล้ว

บวช จึงทูลแด่พระราชาเรณุก่อน พระราชาเรณุทรงปลอบโยนด้วยกามมาก

มาย จึงทูลถึงเหตุความสังเวชของตนและความประสงค์เพื่อจะบวชอย่างเดียว

แด่พระราชา. เมื่อพระราชาเรณุตรัสว่า ผิว่าเป็นอย่างนั้นแม้เราก็จักบวช

ด้วย จึงรับว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า โดยนัยนี้จึงได้ไปอำลากษัตริย์ ๖ พระองค์

มีพระราชาสัตตภูเป็นต้น พราหมณมหาศาล ๗ ช่างกัลบก ๗๐๐ และภรรยา

ของตนแล้วคอยตามดูใจของคนเหล่านั้นอยู่ประมาณ ๗ วัน จึงออกบวช

เช่นเดียวกับมหาภิเนษกรมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 102

ชนเหล่านั้นทั้งหมดมีพระราชา ๗ พระองค์เป็นต้น ออกบวชตาม

พระโพธิสัตว์. ได้เป็นบริษัทใหญ่ขึ้นแล้ว. พระมหาบุรุษแวดล้อมด้วยบริษัท

กว้างหลายโยชน์ เที่ยวจาริกแสดงธรรมในคามนิคมชนบทและราชธานี.

ยังมหาชนให้ตั้งมั่นในบุญกุศล. ในที่ที่ไปปรากฏดุจพุทธโกลาหล. พวกมนุษย์

ได้ฟังว่าโควินทบัณฑิตจักมา จึงพากันสร้างมณฑปไว้ล่วงหน้าก่อนตกแต่ง

มณฑปนั้นแล้วต้อนรับนิมนต์ให้เข้าไปยังมณฑป อังคาสด้วยโภชนะมีรสเลิศ

ต่าง ๆ. ลาภสักการะใหญ่เกิดท่วมทับดุจห้วงน้ำใหญ่ท่วม. พระมหาบุรุษยัง

มหาชนให้ตั้งอยู่ในบุญกุศล คือในศีลสัมปทา อินทรีย์สังวร ความรู้จัก

ประมาณในการบริโภค การประกอบความเพียร บริกรรมกสิณฌาน อภิญญา

สมาบัติ ๘ และพรหมวิหาร. ได้เป็นดุจกาลเกิดแห่งพระพุทธเจ้า.

พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ตราบเท่าอายุ ยังกาลเวลาให้น้อมล่วงไป

ด้วยสุขเกิดแต่สมาบัติ เมื่อสิ้นอายุก็ไปเกิดในพรหมโลก. การประพฤติพรหม-

จรรย์ของพระโพธิสัตว์นั้นมั่นคง แพร่หลายกว้างขวาง รู้กันเป็นส่วนมาก

หนาแน่น จนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศดีแล้วเป็นไปสิ้นยาวนาน.

ผู้ใดรู้คำสอนของพระโพธิสัตว์นั้นโดยสิ้นเชิง. ผู้นั้นตายไปแล้วก็ได้ไปเกิด

ยังพรหมโลกอันเป็นสุคติภพ. ผู้ใดยังไม่รู้ทั่วถึง ผู้นั้นบางพวกก็เข้าถึงความ

กับเหล่าเทพชั้นนิมมานรดี ฯลฯ ดุสิต ยามา ดาวดึงส์ จาตุมมหาราชิกา.

ผู้ใดยังต่ำกว่าเขาทั้งหมด. ผู้นั้นก็ไปเกิดเป็นหมู่คนธรรพ์. มหาชนโดยมาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 103

ได้เข้าถึงพรหมโลก และเข้าถึงสวรรค์ด้วยประการฉะนี้. เพราะฉะนั้น

เทวโลก และพรหมโลกจึงเต็มไปหมด. อบาย ๔ ได้เป็นเหมือนจะสูญไป.

แม้ในมหาโควินทจริยานี้ ก็พึงทราบการกล่าวเจาะจงลงไปถึงโพธิ-

สัมภารดุจในอกิตติชาดก.

พระราชา ๗ พระองค์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระมหาเถระทั้งหลายใน

ครั้งนี้. บริษัทที่เหลือ คือพุทธบริษัท. มหาโควินทะ คือ พระโลกนาถ.

พึงประกาศคุณานุภาพ มีอาทิอย่างนี้ คือ การประดิษฐานในรัชกาล

ของตน ๆ โดยไม่ผิดพ้องหมองใจกันและกันของพระราชา ๗ พระองค์ มี

พระราชาเรณุเป็นต้น. ความไม่ประมาทในการถวายอนุศาสน์อรรถและ

ธรรมแก่พระราชาเหล่านั้นใน ๗ รัชกาลอันใหญ่หลวง. การสรรเสริญอัน

เป็นไปแล้วว่า พระโพธิสัตว์สนทนาแม้กับพระพรหม. การอยู่ประพฤติ

พรหมจรรย์ถึงความยอดเยี่ยมอย่างยิ่งตลอด ๔ เดือนเพื่อทำความจริง. การ

ให้พระพรหมเข้ามาถึงตนด้วยการประพฤติพรหมจรรย์นั้น. การตั้งอยู่ใน

โอวาทของพระพรหมแล้ว ทอดทิ้งลาภสักการะอันพระราชา ๗ พระองค์

และชาวโลกทั้งสิ้นนำเข้าไปให้ดุจก้อนน้ำลาย แล้วยึดมั่นในบรรพชาอัน

เป็นเครื่องหมายการบวชตามของบริษัท มีกษัตริย์และพราหมณ์เป็นต้น

นับไม่ถ้วน. การติดตามคำสอนของตนดุจคำสอนของพระพุทธเจ้าตลอดกาล

นาน.

จบ อรรถกถามหาโควินจริยาที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 104

๖. เนมิราชจิยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าเนมิราช

[๖] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นมหาราชา

พระนามว่าเนมิเป็นบัณฑิต ต้องการกุศลอยู่

ในพระนครมิถิลาอันอุดม ในกาลนั้น เราให้

สร้างศาลา ๔ แห่ง อันมีหน้ามุขหลังละสี่ ๆ

เรายังทานให้เป็นไปในศาลานั้นแก่ เนื้อ นก

และนรชนเป็นต้น ยังมหาทาน คือ เครื่อง

นุ่งห่ม ที่นอน และโภชนะ คือ ข้าว และ

น้ำ ให้เป็นไปแล้วไม่ขาดสาย เปรียบเหมือน

เสวก เข้าไปหานายเพราะเหตุแห่งทรัพย์

ย่อมแสวงหานายที่พึงให้ยินดีได้ ด้วยกาย-

กรรม วจีกรรม และมโนภรรมฉันใด เราก็

ฉันนั้น จักแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณในภพ

ทั้งปวง จึงยังสัตว์ทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยทาน

แล้วปรารถนาโพธิญาณอันอุดม ฉะนี้แล.

จบ เนมิราชจริยาที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 105

อรรถกถาเนมิราชจริยาที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาแห่งเนมิราชจริยาที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า มิถิลาย ปุรุตฺตเม คือในนครอันอุดมแห่งกรุงวิเทหะชื่อว่ามิถิลา.

บทว่า เนมิ นาม มหาราชา คือพระเนมิกุมาร ทรงอุบัติสืบต่อวงศ์

กษัตริย์ดุจกงรถจึงได้ชื่อว่า เนมิ. ชื่อว่าเป็น มหาราชา เพราะเป็น

พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ เพราะใหญ่ด้วยคุณวิเศษมีทานและศีลเป็นต้นใหญ่ และ

เพราะประกอบด้วยราชานุภาพ. บทว่า ปณฺฑิโต กุสลตฺถิโก เป็น

บัณฑิตต้องการกุศล คือต้องการบุญเพื่อตนและเพื่อผู้อื่น.

ได้ยินว่า ในครั้งอดีตในนครมิถิลา แคว้นวิเทหะ พระโพธิสัตว์

ของเราได้เป็นพระราชาพระนามว่ามฆเทพ. พระองค์ทรงสนุกสนานตอน

เป็นพระกุมารอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงได้รับตำแหน่งอุปราชอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี

ทรงครองราชสมบัติอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี พระองค์ตรัสแก่ช่างกัลบกว่า เมื่อใด

เจ้าเห็นผมหงอกบนศีรษะของเรา เมื่อนั้นเจ้าพึงบอกแก่เรา ครั้นต่อมา

ช่างกัลบกเห็นพระเกศาหงอกจึงกราบทูล แล้วเอาแหนบทองคำถอนวางไว้

บนพระหัตถ์ ทรงแลดูพระเกศาหงอก ทรงเกิดความสังเวชว่า เทวทูต

ปรากฏแก่เราแล้ว ทรงดำริว่า บัดนี้เราควรออกบวช. จึงพระราชทาน

บ้านส่วย ๑๐๐,๐๐๐ แก่ช่างกัลบก แล้วตรัสเรียกพระเชษฐกุมารมา

ตรัสว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 106

ผมบนศีรษะของพ่อหงอก ความชรา

ปรากฏแล้ว เทวทูตปรากฏแล้ว ถึงเวลาที่

พ่อจะบวชละ.

จึงมอบราชสมบัติให้ ผิว่าตนมีอายุ ๘๔,๐๐๐ ปี แม้เมื่อเป็นอย่าง

นั้นก็ยังสำคัญตนดุจยืนอยู่ใกล้ความตายจึงสลดใจชอบที่จะบวช ด้วยเหตุ

นั้นท่านจึงกล่าวว่า

พระทิศัมบดีพระนามว่า มฆเทพ ทอด-

พระเนตรเห็นพระเกศาหงอกบนพระเศียร ได้

ความสังเวชพอพระทัยที่จะทรงผนวช.

พระราชาทรงประทานโอวาทแก่พระโอรสว่า ลูกควรประพฤติโดย

ทำนองนี้เหมือนอย่างที่พ่อปฏิบัติ ลูกอย่าได้เป็นคนสุดท้ายเลย แล้วเสด็จ

ออกจากพระนครทรงผนวชเป็นภิกษุ ยังกาลเวลาให้น้อมล่วงไปด้วยฌานและ

สมาบัติตลอด ๘๔,๐๐๐ ปี เมื่อสิ้นพระชนม์ก็ไปบังเกิดในพรหมโลก แม้

พระโอรสของพระองค์ก็ทรงครองราชสมบัติโดยธรรมตลอดหลายพันปี ได้

ทรงผนวชโดยอุบายนั้นเหมือนกันแล้วก็ไปบังเกิดในพรหมโลก. กษัตริย์

๘๔,๐๐๐ หย่อนไปกว่าสองพระองค์อย่างนี้คือ โอรสของกษัตริย์องค์นั้น

ก็เหมือนกัน ขององค์นั้นก็เหมือนกัน ทรงเห็นพระเกศาหงอกบนพระ-

เศียรแล้วก็ทรงผนวช.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 107

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ประดิษฐานอยู่บนพรหมโลกทรงรำพึงว่า

กัลยาณธรรมที่เราได้ทำไว้ในมนุษยโลกยังเป็นไปอยู่หรือ หรือว่าไม่เป็นไป

ได้ ทรงเห็นว่า เป็นไปตลอดกาลเพียงเท่านี้ บัดนี้จักไม่เป็นไปต่อไป.

พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า แต่เราจักไม่ให้การสืบสายของเราขาดไป จึงทรง

ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระราชาผู้มีกำเนิดในวงศ์

ของพระองค์นั่นเอง ทรงบังเกิดสืบต่อวงศ์ของพระองค์ดุจกงรถ ฉะนั้น.

ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า พระโอรสได้พระนามว่า เนมิ เพราะทรง

อุบัติสืบต่อวงศ์ตระกูลดุจกงรถ ฉะนั้น.

ในวันขนานพระนามของพระโอรสนั้น พระชนกตรัสเรียก

พราหมณ์ผู้ชำนาญการพยากรณ์ลักษณะ ครั้นพราหมณ์ตรวจดูพระลักษณะ

แล้วก็พยากรณ์ถวายว่า ขอเดชะข้าแต่พระมหาราชเจ้าพระกุมารนี้จะประดับ

ประคองวงศ์ของพระองค์ พระกุมารนี้มีอานุภาพยิ่งใหญ่ มีบุญมากกว่า

พระชนก พระเจ้าปู่และพระเจ้าตา. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้นจึงทรง

ขนานพระนามพระโอรสนั้นว่า เนมิ เพราะอรรถดังได้กล่าวไว้แล้ว. พระ

โอรสนั้นตั้งแต่ยังเยาว์พระชนม์ ได้ทรงขวนขวายในศีลและอุโบสถกรรม.

ลำดับนั้น พระชนกของพระกุมาร ทอดพระเนตรเห็นพระเกศา

หงอกโดยนัยก่อน จึงพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบก มอบราชสมบัติแก่

พระโอรสแล้ว เสด็จออกจากพระนครทรงผนวช ยังฌานให้เกิดแล้วไป

บังเกิดในพรหมโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 108

ฝ่ายพระเนมิราชทรงให้สร้างโรงทาน ๕ แห่ง คือที่ประตูพระนคร

๔ แห่ง ท่ามกลางพระนคร ๑ แห่ง ทรงบริจาคมหาทาน. ทรงบริจาค

วันละ ๕๐๐,๐๐๐ โรงทานละ ๑๐,๐๐๐. ทรงรักษาศีล ๕. ทรงสมาทาน

อุโบสถกรรมในวันปักษ์. ทรงให้มหาชนยึดมั่นในบุญมีทานเป็นต้น. ทรง

บอกทางสวรรค์ให้. ทรงคุกคามภัยในนรก. ทรงห้ามจากบาป. มหาชน

ตั้งอยู่ในโอวาทของพระเนมิราชนั้น กระทำบุญมีทานเป็นต้น จุติจาก

มนุษยโลกแล้วก็ไปบังเกิดในเทวโลก. เทวโลกเต็มไปด้วยทวยเทพ. นรก

ปรากฏดุจว่างเปล่า.

ก็ในครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความที่อัธยาศัยในการให้

ของพระองค์กว้างขวางและความที่ทานบารมีบริบูรณ์ไม่มีขาดเหลือ จึงตรัส

พระดำรัสมีอาทิว่า :-

ในครั้งนั้นเราสร้างศาลา ๔ แห่ง มี

๔ มุข บริจาคทานแก่ เนื้อ นก และคน

เป็นต้น ณ ที่นั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตทา คือในเวลาที่เป็นพระเนมิราชนั้น.

บทว่า มาปยิตฺวาน คือให้สร้าง. บทว่า จตุสฺสาล คือโรงทานเชื่อมกัน

ใน ๔ ทิศ. บทว่า จตุมฺมุข คือประกอบด้วยประตู ประตูใน ๔ ทิศ.

เพราะไม่สามารถทำทาน ให้สิ้นสุดไปโดยประตูเดียวเท่านั้นได้และให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 109

ไทยธรรมถึงที่สุดได้ เพราะโรงทานใหญ่มากและเพราะไทยธรรมและผู้ขอ

มาก จึงต้องให้สร้างประตูใหญ่ ๔ ประตูใน ๔ ทิศ แห่งโรงทาน. ณ

โรงทานนั้นตั้งแต่ประตูถึงปลายประตูไทยธรรมตั้งอยู่เป็นกองใหญ่. ทาน

ย่อมเป็นไปเริ่มตั้งแต่อรุณขึ้นจนถึงเวลาเข้าไปตามปกติ. แม้ในกาลนอกนี้ก็

จุดประทีปไว้หลายร้อยดวง. ผู้ต้องการจะมาเมื่อใดก็ให้เมื่อนั้น. ทานนั้น

มิได้ให้แก่คนยากจน คนเดินทาง วณิพก และยาจกเท่านั้น ที่จริงแล้ว

มนุษย์ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น แม้ทั้งหมดก็รับและบริโภคทานนั้นเช่นเดียวกับ

ทานของพระมหาสุทัศนราช ด้วยสำเร็จแก่คนมั่งคั่ง และแม้มีสมบัติมาก

เพราะสละไทยธรรมมากมายและประณีต. จริงอยู่พระมหาบุรุษกระทำชมพู

ทวีปทั้งสิ้นให้เจริญงอกงาม แล้วบริจาคมหาทานในครั้งนั้น. ทรงบริจาค

ทานด้วยให้สำเร็จ แม้แก่สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายมีเนื้อและนกเป็นต้นนอก

โรงทาน เช่นเดียวกับมนุษย์. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บริจาคทาน ณ โรงทานนั้นแก่เนื้อ นก และคนเป็นต้น. ไม่บริจาคเฉพาะ

แก่สัตว์เดียรัจฉานเท่านั้น แม้แก่เปรตทั้งหลายก็ทรงให้ส่วนบุญทุก ๆ วัน.

ทรงบริจาคทานในโรงทาน ๕ แห่ง เหมือนในโรงทานแห่งเดียว. แต่ใน

บาลีกล่าวไว้ดุจแห่งเดียวว่า ในครั้งนั้นเราสร้างโรงทาน ๔ โรง มี ๔ มุข.

บทนั้นท่านกล่าวหมายถึงโรงทานท่ามกลางพระนคร.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงไทยธรรม ณ โรงทาน

นั้นโดยเอกเทศ จึงตรัสว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 110

เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ข้าว น้ำ และ

อาหาร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อจฺฉาทน ได้แก่เครื่องนุ่งห่มหลายๆ อย่าง

มีผ้าทำด้วยเปลือกไม้และผ้าเนื้อละเอียดเป็นต้น. บทว่า สยน ได้แก่

ที่ควรนอนหลายอย่าง มีเสียงและบัลลังก์เป็นต้น และพรมทำด้วยขนแกะ

และเครื่องลาดที่ปักเป็นรูปสวยงามเป็นต้น. อนึ่งในบทนี้แม้ที่นั่งก็พึงกล่าว

ว่า ท่านให้ด้วย สยน ศัพท์นั่นเอง. บทว่า อนฺน ปานญฺจ โภชน

ได้แก่ ข้าวและน้ำมีรสเลิศต่าง ๆ ตามความชอบใจของสัตว์เหล่านั้น ๆ และ

ชนิดของอาหารต่าง ๆ ที่เหลือ. บทว่า อพฺโพจฺฉินฺน กริตฺวาน กระทำ

ไม่ให้ขาดสาย คือกระทำไม่ให้ขาดสายทั้งกลางวันและกลางคืนตั้งแต่เริ่ม

จนถึงสิ้นอายุ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความที่ทานนั้นเป็นไปแล้ว

โดยความเป็นทานบารมี ปรารภสัมมาสัมโพธิญาณ เพื่อจะทรงแสดงถึง

อัธยาศัย ของพระองค์ที่เป็นไปแล้วในกาลนั้นด้วยข้ออุปมา จึงตรัสพระดำรัส

มีอาทิว่า ยถาปิ เสวโก เปรียบเหมือนเสวกดังนี้. พระพุทธดำรัสนั้นมี

ความดังต่อไปนี้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้เป็นเสวก เข้าไปหานายของตนด้วย

การคบหากันตามกาลอันควรเพราะเหตุแห่งทรัพย์ที่ควรได้ ย่อมแสวงหา

ความยินดีที่นายพึงให้ยินดีได้โดยอาการที่ให้ยินดีด้วยกายกรรม วจีกรรม

และมโนกรรมฉันใด แม้เราผู้เป็นโพธิสัตว์ก็ฉันนั้น ประสงค์จะเสพความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 111

เป็นพระพุทธเจ้าอันยอดยิ่ง เป็นเจ้าโลกพร้อมทั้งเทวโลก เพื่อให้เป็นที่

ยินดีแก่สัตวโลกนั้นจักแสวงหา ค้นหาพระสัพพัญญุตญาณอันได้ชื่อว่า

โพธิช เพราะเกิดแต่อริยมรรคญาณ กล่าวคือ โพธิ ด้วยอุบายต่าง ๆ

ในที่ทั้งปวงข้างหน้า ในภพทั้งปวง คือในภพที่เกิดแล้ว ๆ เล่า ๆ ทั้งปวง

จึงยังสัตว์ทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยทาน ด้วยการบำเพ็ญทานบารมี. เรา

ปรารถนาโพธิญาณ คือสัมมาสัมโพธิญาณอันอุดมนั้นจึงทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

มีการบริจาคชีวิตเป็นต้น.

เพื่อแสดงถึงความกว้างขวางแห่งอัธยาศัยในการให้ไว้ในที่นี้ด้วยประ-

การฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงกำหนดเทศนาไว้ด้วยทานบารมีเท่านั้น.

แต่ในเทศนาชาดก ท่านชี้แจงถึงความบริบูรณ์แม้แห่งศีลบารมีเป็นต้นของ

พระโพธิสัตว์นั้น. เป็นความจริงอย่างนั้นเมื่อพระโพธิสัตว์ตกแต่งพระองค์

ด้วยคุณมีศีลเป็นต้นตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล แล้วทรงให้มหาชน

ตั้งอยู่ในศีลนั้น เทวดาผู้บังเกิดเพราะตั้งอยู่ในโอวาท จึงประชุมกัน ณ

เทวสภาชื่อสุธรรมา พากันกล่าวสรรเสริญพระคุณของพระมหาบุรุษว่า น่า

อัศจรรย์หนอ พวกเราได้รับสมบัตินี้เพราะอาศัยพระเนมิราชของพวกเรา.

เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติ มนุษย์อัศจรรย์เห็นปานนี้ก็ยังทำพุทธกิจให้

สำเร็จแก่มหาชนอุบัติขึ้นในโลก. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

พระดำรัสมีอาทิว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 112

น่าอัศจรรย์หนอ ได้มีผู้ฉลาดเกิดขึ้น

ในโลก ได้เป็นพระราชาพระนามว่าเนมิราช

เป็นบัณฑิต มีความต้องการด้วยกุศล.

ทวยเทพทั้งปวงมีท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพเป็นต้น ได้สดับดังนั้น

ประสงค์จะเห็นพระโพธิสัตว์. วันหนึ่ง เมื่อพระมหาบุรุษทรงรักษาอุโบสถ

ประทับอยู่เบื้องบนปราสาทอันประเสริฐ ประทับนั่งขัดสมาธิในปัจฉิมยาม

ทรงเกิดความปริวิตกขึ้นว่า ทานประเสริฐ หรือ พรหมจรรย์ประเสริฐ

พระโพธิสัตว์ไม่สามารถตัดสินความสงสัยของพระองค์ได้ ในขณะนั้น

ภพของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน. ท้าวสักกะทรงรำพึงถึงเหตุนั้น ครั้น

ทรงเห็นพระโพธิสัตว์ทรงวิตกอยู่อย่างนั้นจึงทรงดำริว่า เอาเถิดเราจะตัดสิน

ความวิตกของพระโพธิสัตว์นั้น จึงเสด็จมาประทับอยู่ข้างหน้า พระโพธิสัตว์

ตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร ? จึงทรงบอกว่า พระองค์เป็นเทวราชแล้วตรัส

ถามว่า มหาราชพระองค์ทรงดำริถึงอะไร ? พระโพธิสัตว์จึงตรัสบอกความ

นั้น. ท้าวสักกะเมื่อจะทรงแสดงให้เห็นว่าพรหมจรรย์นั่นแหละประเสริฐ

ที่สุด จึงตรัสว่า :-

บุคคลเกิดในตระกูลกษัตริย์ ก็เพราะ

ประพฤติพรหมจรรย์ต่ำ บุคคลเกิดเป็นเทวดา

ก็เพราะประพฤติพรหมจรรย์ปานกลาง บุคคล

บริสุทธิ์ ก็เพราะประพฤติพรหมจรรย์สูงสุด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 113

การเป็นพรหมมิใช่เป็นได้ง่าย ๆ เพียง

วิงวอนขอให้เป็น ผู้ที่จะเป็นพรหมได้นั้น

ต้องไม่มีเหย้าเรือน ต้องบำเพ็ญตบะ.

ในบทนั้นพึงทราบความดังนี้ ความประพฤติเพียงเว้นจากเมถุนใน

ลัทธิศาสนาเป็นอันมาก ชื่อว่า พรหมจรรย์ต่ำ. ด้วยพรหมจรรย์ต่ำนั้น

ย่อมเกิดในตระกูลกษัตริย์. ความประพฤติเพียงใกล้เคียงฌาน ชื่อว่า

พรหมจรรย์ปานกลาง. ด้วยพรหมจรรย์ปานกลางนั้น ย่อมเกิดเป็นเทวดา.

แต่การยังสมาบัติ ๘ ให้เกิด ชื่อว่า พรหมจรรย์สูงสุด. ด้วยพรหมจรรย์

สูงสุดนั้นย่อมบังเกิดในพรหมโลก. ชนภายนอกกล่าวพรหมโลกนั้นว่า

นิพพาน. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า วิสุชฺฌติ ย่อมบริสุทธิ์. แต่ใน

พระศาสนา เมื่อภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ปรารถนาหมู่เทพอย่างใดอย่างหนึ่ง

ชื่อว่าพรหมจรรย์ต่ำเพราะเจตนาในการประพฤติพรหมจรรย์ต่ำ. ด้วย

พรหมจรรย์ต่ำนั้น ย่อมเกิดในเทวโลกตามที่ตนปรารถนา. การที่ผู้มีศีล

บริสุทธิ์ยังสมาบัติ ๘ ให้เกิด ชื่อว่าพรหมจรรย์ปานกลาง. ด้วยพรหมจรรย์

ปานกลางนั้นย่อมเกิดในพรหมโลก. ส่วนผู้มีศีลบริสุทธิ์เจริญวิปัสสนาแล้ว

บรรลุพระอรหัต ชื่อว่าพรหมจรรย์สูงสุด. ย่อมบริสุทธิ์ด้วยพรหมจรรย์

สูงสุดนั้น. ด้วยประการฉะนี้ท้าวสักกะจึงพรรณนาว่า มหาราช การอยู่

ประพฤติพรหมจรรย์นั้นแหละมีผลมากกว่าทานร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า

บทว่า กายา คือหมู่พรหม. บทว่า ยาจโยเคน คือประกอบด้วยความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 114

วิงวอน. บาลีว่า ยาชโยเคน ก็มี คือประกอบด้วยการบูชา อธิบายว่า

ประกอบด้วยการให้. บทว่า ตปสฺสิโน คือบำเพ็ญตบะ. ท้าวสักกะทรง

แสดงถึงการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เท่านั้น ว่ามีอานุภาพมากด้วยคาถานี้.

ก็และท้าวสักกะครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงให้โอวาทพระโพธิสัตว์ว่า มหาราช

แม้พรหมจรรย์จะมีผลมากกว่าทานก็จริง ถึงดังนั้นพระมหาบุรุษก็ควรทำ

ทั้งสองอย่างนั้นแล. จงเป็นผู้ไม่ประมาทในทานและพรหมจรรย์ทั้งสอง

จงให้ทานและจงรักษาศีล แล้วเสด็จกลับเทวโลก.

ครั้งนั้นหมู่เทพทูลถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่จอมเทพพระองค์เสด็จไป

ไหนมา ? ท้าวสักกะตรัสว่า เราไปตัดสินความสงสัยของพระเจ้าเนมิราช

ในกรุงมิถิลา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงพรรณนาคุณสมบัติ

ของพระโพธิสัตว์โดยพิสดาร. ทวยเทพได้สดับดังนั้นจึงทูล ข้าแต่จอมเทพ

พวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายประสงค์จะเห็นพระเจ้าเนมิราช. พวกข้า-

พระพุทธเจ้าขอโอกาส ขอพระองค์ตรัสเรียกพระเจ้าเนมิราชเถิด. ท้าว

สักกะตรัสรับว่าตกลง แล้วตรัสเรียกมาตลีเทพบุตรมารับสั่งว่า ท่านจงไปทูล

เชิญเนมิราชประทับเวชยันตปราสาทแล้วนำมา. มาตลีเทพบุตรรับเทว-

บัญชาแล้วนำรถไปรับพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์ทรงซักไซ้ไล่เลียง จึงทูล

ถึงฐานะของผู้มีบาปกรรมและผู้มีบุญกรรม นำไปสู่เทวโลกตามลำดับ. แม้

ทวยเทพทั้งหลายได้สดับว่า พระเจ้าเนมิราชเสด็จมาแล้วจึงถือของหอมและ

ดอกไม้ทิพย์ไปต้อนรับตั้งแต่ซุ้มประตูจิตตกูฏ บูชาพระมหาสัตว์ด้วยของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 115

หอมทิพย์เป็นต้นแล้วนำไปสู่สุธรรมเทวสภา. พระราชาเสด็จลงจากรถแล้ว

เสด็จเข้าไปยังเทวสภาประทับนั่งร่วมอาสนะกับท้าวสักกะ ท้าวสักกะต้อน

รับด้วยกามทิพย์ ทรงปฏิเสธว่า ข้าแต่จอมเทพ ขออย่าทรงต้อนรับด้วย

กามอุปมาด้วยผู้ยืมของเหล่านี้แก่ข้าพระองค์ แล้วทรงแสดงธรรมโดยอเนก

ปริยาย ทรงประทับอยู่ ๗ วัน โดยนัยจำนวนวันของมนุษย์ แล้วทูลว่า

ข้าพเจ้าจะกลับมนุษยโลก. ข้าพเจ้าจักทำบุญมีทานเป็นต้น ณ มนุษยโลกนั้น.

ท้าวสักกะมีเทวบัญชากะมาตลีเทพบุตรว่า ท่านจงนำพระเจ้าเนมิราชไปยัง

กรุงมิถิลาเถิด. มาตลีเทพบุตรทูลเชิญพระโพธิสัตว์ให้ทรงขึ้นสู่เวชยันตรถ

แล้วพาไปส่งถึงกรุงมิถิลาทางทิศปราจีน. มหาชนเห็นทิพยรถจึงได้ทำการ

ต้อนรับพระราชา. มาตลีเทพบุตรทูลเชิญพระมหาสัตว์ให้ลงข้างสีหบัญชร

แล้วทูลลากลับไปยังเทวโลก. แม้มหาชนก็พากันมาล้อมพระราชาทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ เทวโลกเป็นอย่างไรบ้างพระเจ้าข้า พระราชาทรงพรรณนา

ถึงสมบัติในเทวโลก แล้วทรงแสดงธรรมว่า แม้พวกท่านก็จงทำบุญมีทาน

เป็นต้น. พวกท่านจักเกิดขึ้นเทวโลกนั้นด้วยประการฉะนี้. ครั้นต่อมา

พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นพระเกศาหงอกตามนัยที่กล่าวแล้วในก่อน

ทรงมอบราชสมบัติแก่พระโอรสทรงละกาม ทรงผนวช เจริญพรหมวิหาร ๔

แล้วเสด็จไปสู่พรหมโลก.

ท้าวสักกะในครั้งนั้นได้เป็นพระอนุรุทธเถระในครั้งนี้. มาตลีเทพ-

บุตรคือพระอานนท์. พระราชา ๘๔,๐๐๐ คือพุทธบริษัท. พระเจ้าเนมิราช

คือพระโลกนาถ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 116

แม้ในเนมิราชจริยานี้ ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงโพธิสมภารของพระเจ้า

เนมิราชนั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล.

อนึ่ง พึงเจาะจงกล่าวถึงคุณานุภาพมีอาทิอย่างนี้ คือการละสมบัติ

ในพรหมโลกแล้วบังเกิดในมนุษยโลก ด้วยพระมหากรุณาว่า เราจักติดตาม

กัลยาณวัตรที่พระองค์ปฏิบัติมาแล้วในก่อน. อัธยาศัยในทานอันกว้างขวาง.

การปฏิบัติในทานเป็นต้นอันสมควรแก่อัธยาศัยนั้น. การให้มหาชนตั้งอยู่

ในการปฏิบัตินั้น. ความที่ยศของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายแผ่ไปแล้ว. ความ

น่าพิศวงในการเข้าไปหาของท้าวสักกเทวราช. แม้ท้าวสักกะทรงต้อนรับ

สมบัติทิพย์ก็ไม่พอพระทัย สมบัติทิพย์นั้นแล้วกลับไปยังที่อยู่ของมนุษย์

อีกเพื่อเพิ่มพูนบุญสมภาร. ความไม่ติดอยู่ในสมบัติทั้งปวงมีลาภสมบัติเป็น

ต้น.

จบ อรรถกถาเนมิราชจริยาที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 117

๗. จันทกุมารจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระจันทกุมาร

[๗] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นโอรสของพระ-

เจ้าเอกราชมีนามว่าจันทกุมาร อยู่ในพระนคร

ปุบผวดี ในกาลนั้น เราพ้นจากการบูชายัญ

แล้ว ออกไปจากที่บวงสรวงนั้น ยังความ

สังเวชให้เกิดขึ้น แล้วยังมหาทานให้เป็นไป

เราไม่ให้ทานแก่ทักขิไณยบุคคลแล้วย่อมไม่

ดื่มน้ำ ไม่เคี้ยวของเคี้ยว และไม่บริโภค

โภชนะ ๕ - ๖ ราตรีบ้าง เปรียบเหมือนพ่อค้า

รวบรวมสินค้าไว้แล้ว ในที่ใดจะมีลาภมาก

คือได้กำไรมาก ก็นำส้นค้าไปในที่นั้น ฉันใด

แม้อาหารของตนที่เราให้แล้วแก่คนอื่น มีกำลัง

มาก (มากมาย) ฉันนั้น (สิ่งของที่เราให้ผู้อื่น

มีกำลังมา ว่าสิ่งของที่คนใช้เอง ฉันนั้น)

เพราะฉะนั้น ทานที่เราให้ผู้อื่นจักเป็นส่วนร้อย

เรารู้อำนาจประโยชน์นี้ จึงให้ทานในภพน้อย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 118

ภพใหญ่ เราไม่ถอยกลับ คือไม่ท้อถอย จาก

การให้ทาน เพื่อบรรลุสัมโพธิญาณ ฉะนี้แล.

จบ จันทกุมารจริยาที่ ๗

อรรถกถาจันทกุมารจริยาที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาจันทกุมารจริยาที่ ๗ ดังต่อไปนี้. บทว่า

เอกราชสฺส อตฺรโช คือเป็นพระโอรสของพระเจ้ากาสีพระนามว่า เอกราช.

บทว่า นคเร ปุปฺผวติยา ในพระนครบุปผวดี. บทว่า จนฺทสวฺหโย

คือพึงเรียกชื่อด้วยศัพท์ว่า จนฺท อธิบายว่า ชื่อ จันทะ.

มีเรื่องเล่าว่า ในอดีตกาลกรุงพาราณสีนี้ได้มีชื่อว่าบุปผวดี. ณ เมือง

บุปผวดีนั้น โอรสของพระราชาวสวัดดี พระนามว่า เอกราช ครองราช-

สมบัติ. พระโพธิสัตว์ได้ถือปฏิสนธิ ในพระครรภ์ของพระอัครมเหสี ของ

พระเจ้าเอกราชนั้น พระนามว่าโคตมี. พระชนกชนนีขนานพระนามว่า

จันทกุมาร. เมื่อพระจันทกุมารทรงดำเนินได้ ก็เกิดพระโอรสอื่นอีกพระ-

นามว่า สุริยกุมาร. เมื่อสุริยกุมารทรงดำเนินได้ ก็เกิดพระธิดาองค์หนึ่ง

พระนามว่า เสลา. พระโอรสและพระธิดาเหล่านั้นได้มีพระภาดาต่างพระ-

มารดากันอีกสองพระองค์ คือ ภัทเสนะ และ สูร. พระโพธิสัตว์เจริญวัย

ขึ้นโดยลำดับ ได้สำเร็จศิลปศาสตร์และวิชาปกครอง. พระราชบิดาได้

อภิเษกสมรสพระราชธิดาจันทาแก่พระโพธิสัตว์ แล้วทรงตั้งให้เป็นอุปราช.

พระโพธิสัตว์มีพระโอรสองค์หนึ่ง พระนามว่า วาสุละ. พระราชามีปุโรหิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 119

คนหนึ่ง ชื่อว่า ขัณฑหาละ. ทรงแต่งตั้งขัณฑหาละให้เป็นผู้ตัดสินคดี.

ขัณฑหาละเป็นคนเห็นแก่สินบน ได้สินบนแล้วก็ตัดสินผู้ที่ไม่เป็นเจ้าของ

ให้เป็นเจ้าของ ผู้เป็นเจ้าของให้ไม่เป็นเจ้าของ. อยู่มาวันหนึ่ง บุรุษผู้หนึ่ง.

ถูกตัดสินให้แพ้ จึงร้องคำว่าปุโรหิตในโรงวินิจฉัยคดี ครั้นเดินออกมาเห็น

พระโพธิสัตว์กำลังเสด็จมาเฝ้าพระราชบิดา ก็หมอบลงแทบพระบาทของ

พระโพธิสัตว์ แล้วสะอื้นไห้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ขัณฑหาลปุโรหิตกิน

สินบนในโรงศาล แม้ข้าพระองค์ก็ถูกเขารับสินบน ยังตัดสินให้แพ้อีก.

พระโพธิสัตว์ทรงปลอบบุรุษนั้นว่า อย่ากลัวไปเลย แล้วทรงนำไปยังโรง.

วินิจฉัย ได้ทรงตัดสินผู้ที่เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของ. มหาชนก็พากันส่ง

เสียงซ้องสาธุการ.

พระราชาทรงสดับ ข่าวว่าพระโพธิสัตว์วินิจฉัยคดียุติธรรม จึงตรัส

เรียกพระโพธิสัตว์มาแล้วพระราชทานการวินิจฉัยแก่พระโพธิสัตว์ว่า ตั้งแต่

นี้ไป เจ้าผู้เดียวจงวินิฉัยคดีทั่วไป. ผลประโยชน์ของขัณฑหาละก็ขาดลง

ตั้งแต่นั้นมาขัณฑหาละก็ผูกอาฆาตในพระโพธิสัตว์คอยหาโอกาสจับผิดเรื่อย

มา. ส่วนพระเจ้าเอกราชมีพระสติปัญญาอ่อนเชื่อคนง่าย. วันหนึ่งทรงสุบิน

ไปว่าได้เห็นเทวโลก ประสงค์จะเสด็จไป ณ เทวโลกนั้น จึงตรัสกะปุโรหิต

ว่า ขอท่านจงบอกทางไปพรหมโลก. ปุโรหิตทูลว่า ขอเดชะพระองค์ทรงให้

ทานยิ่งบูชายัญด้วยสิ่งมีชีวิต อย่างละ ๔ ๆ ตรัสถามว่า ทานยิ่งเป็น

อย่างไร ทูลว่า การบริจาคสัตว์สองเท้าสี่เท้าเพื่อบูชายัญ ทำให้เป็นอย่างละ

๔ ๆ เหล่านี้ คือ พระโอรส พระธิดา พระอัครมเหสี เศรษฐี ช้างมงคล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 120

และม้ามงคล บูชาด้วยเลือดในลำคอของสัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าทานยิ่ง พระ-

ราชาทรงยินยอม. ด้วยประการฉะนี้ ขัณฑหาละคิดว่าจักบอกทางสวรรค์

แต่บอกทางนรก.

แม้พระราชาก็ทรงสำคัญว่า ขัณฑหาละนั้นเป็นบัณฑิต มีพระประ-

สงค์จะปฏิบัติตามด้วย ทรงสำคัญว่าวิธีที่ขัณฑหาละบอกนั้นเป็นทางสวรรค์

จึงรับสั่งให้ขุดหลุมบูชายัญหลุมใหญ่ แล้วมีพระบัญชาว่า พวกท่านจงนำสัตว์

สองเท้าสี่เท้าทั้งหมดตามที่ขัณฑหาละสั่งตั้งแต่พระราชกุมาร มีพระโพธิ-

สัตว์เป็นต้นไปในที่ที่ประกอบพิธีบูชายัญ. สิ่งของเครื่องใช้ในการบูชายัญ

ทั้งหมดเตรียมไว้พร้อมแล้ว. มหาชนได้ฟังดังนั้นก็ระเบ็งเซ็งแซ่วุ่นวายกัน

ยกใหญ่. พระราชาทรงร้อนพระทัย แต่ถูกขัณฑหาละ ชักจูงก็ทรงบัญชา

เหมือนอย่างนั้นอีก. พระโพธิสัตว์ทรงทราบว่า ขัณฑหาละไม่ได้ทำหน้าที่

ตัดสินคดีจึงผูกอาฆาตเรา ปรารถนาจะให้เราตาย จะได้ทำความพินาศล่มจม

ให้เกิดแก่มหาชนอีก แม้พยายามเพื่อให้พระราชาทรงสำนึกผิดด้วยอุบาย

หลายอย่าง จากการเข้าพระทัยผิดนั้นก็ไม่สามารถทำให้กลับพระทัยได้. มหา-

ชนร่ำร้องอยู่เซ็งแซ่. พระโพธิสัตว์ทรงสงสารมาก. เมื่อมหาชนร่ำร้องเซ็ง-

แซ่อยู่นั้น พิธีกรรมทั้งหมดในหลุมบูชายัญก็สำเร็จลง. พวกราชบุรุษนำ

พระราชโอรสเข้าไปแล้วให้นั่งก้มคอลง. ขัณฑหาละนำถาดทองคำเข้าไป ถือ

ดาบยืนอยู่ด้วยคิดว่า จักตัดพระศอของพระโพธิสัตว์. พระนางจันทาเทวี

มเหสีของพระโอรสเห็นดังนั้น คิดว่าบัดนี้เราไม่มีที่พึ่งอื่นแล้ว เราจักทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 121

ความสวัสดีแก่พระสวามีด้วยกำลังความสัจของตน จึงประคองอัญชลีดำเนิน

ไปในระหว่างชุมชน กระทำสัตยาธิษฐานว่า ทางสวรรค์ที่ขัณฑหาละบอก

นี้เป็นกรรมชั่วโดยส่วนเดียว. ด้วยคำสัตย์ของข้าพเจ้านี้ขอความสวัสดีจงมี

แก่พระสวามีของข้าพเจ้าเถิด. พระนางจันทาเทวีได้ตั้งสัตยาธิษฐานต่อไป

อีกว่า :-

ขอทวยเทพทั้งหลาย ทั้งมวลบรรดามีอยู่

ในโลกนี้ จงมาเป็นที่พึ่ง ขอจงปกป้องข้าพเจ้า

ผู้ไร้ที่พึ่ง ขอให้ข้าพเจ้าได้อยู่กับสามีด้วยความ

สวัสดีเถิด.

ท้าวสักกเทวราชได้ทรงสดับเสียงร่ำไห้ของพระนางจันทาเทวีนั้น ทรง

ทราบเรื่องราวทั้งหมด จึงทรงฉวยค้อนเหล็กมีไฟโพลง ให้พระราชาหวาด

สะดุ้ง แล้วมีเทวโองการให้ปลดปล่อยผู้ที่จะถูกฆ่าเพื่อบูชายัญทั้งหมด. ท้าว-

สักกะก็ได้ทรงแสดงรูปทิพย์ของพระองค์ในครั้งนั้น ทรงกวัดแกว่งพระขรรค์

เพชรรุ่งโรจน์สว่างไสว ประทับยืนอยู่บนอากาศมีเทวดำรัสว่า ดูก่อนพระ-

ราชาผู้ลามกใจร้าย กาฬกัณณี การไปสวรรค์ด้วยการทำปาณะติบาต ท่าน

เคยเห็นเมื่อไร. ท่านจงปล่อยพระจันทกุมารและชนทั้งหมดเหล่านี้ จาก

เครื่องผูกมัด. หากท่านไม่ปล่อย เราจักผ่าศีรษะของท่านและของพราหมณ์

ชั่วนี้เดี๋ยวนี้ตรงนี้ทีเดียว. พระราชาและพราหมณ์เห็นความอัศจรรย์ดังนั้น

ก็รีบให้ปล่อยสัตว์ทั้งหมดจากเครื่องผูกมัด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 122

ครั้งนั้นมหาชนต่างเอิกเกริกไกล้าหลรีบถมหลุมบูชายัญ แล้วถือก้อน

ดินคนละก้อนปาขัณฑหาละจนถึงแก่ความตาย ณ ที่นั้นเอง แล้วเตรียมจะ

ฆ่าพระราชาด้วย. พระโพธิสัตว์ตรงเข้าสวมกอดพระบิดาไว้ก่อนไม่ให้ถูกฆ่า

ได้. มหาชนพากันกล่าวด้วยความแค้นว่า เราจะไว้ชีวิตพระราชาลามกนั้น

แต่จะไม่ให้เศวตฉัตร ไม่ให้อยู่ในพระนคร จะให้ไปอยู่นอกพระนคร แล้ว

ช่วยกันปลดเปลื้องเครื่องยศของพระราชาออก ให้นุ่งผ้ากาสาวะ เอาผ้าเก่า

ย้อมขมิ้นโพกศีรษะทำเช่นคนจัณฑาล แล้วส่งไปอยู่บ้านคนจัณฑาล. อนึ่ง

ชนเหล่าใดบูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์เองก็ดี ให้ผู้อื่นบูชายัญก็ดี พลอยยินดี

ก็ดี ชนเหล่านั้นทั้งหมดจะต้องตกนรก. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า :-

คนทั้งปวงตกนรก เพราะทำความชั่ว

คนได้ไปสวรรค์ เพราะไม่ทำความชั่ว.

ลำดับนั้น ราชบริษัท ชาวนคร ชาวชนบท แม้ทั้งหมดประชุมกัน

อภิเษกพระโพธิสัตว์ไว้ในราชสมบัติ. พระโพธิสัตว์ทรงเสวยราชสมบัติโดย

ธรรม ทรงระลึกถึงความพินาศอันเกิดขึ้นแก่พระองค์และแก่มหาชน โดย

เหตุอันไม่สมควร ทรงเกิดความสังเวช มีพระอุตสาหะในการบำเพ็ญบุญให้

ยิ่งขึ้นไป ทรงบริจาคมหาทาน. ทรงรักษาศีล. ทรงสมาทานอุโบสถกรรม.

ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 123

ในกาลนั้น เราพ้นจากการบูชายัญแล้ว

ออกไปจากที่บวงสรวงนั้น ยังความสังเวชให้

เกิดขึ้น แล้วบริจาคมหาทาน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยชนา มุตฺโหต พ้นจากการบูชายัญ คือพ้น

จากการถูกฆ่าโดยนัยดังกล่าวแล้วจากยัญพิธีที่ขัณฑหาละเตรียมไว้. บทว่า

นิกฺขนฺโต ยญฺวาฏโต ออกจากที่บวงสรวง คือออกจากที่บูชายัญนั้น

พร้อมกับมหาชนผู้เกิดความอุตสาหะเพื่อจะทำการอภิเษก. บทว่า สเวค

ชนยิตฺวาน ยังความสังเวชให้เกิดคือให้เกิดความสังเวชเป็นอย่างยิ่งว่า การ

อาศัยอยู่ในโลกมีอันตรายมาก. บทว่า มหาทาน ปวตฺตยึ บริจาคมหา-

ทาน คือสร้างโรงทาน ๖ แห่ง แล้วบริจาคมหาทาน เช่นกับทานของพระ-

เวสสันดร ด้วยการบริจาคทรัพย์มาก. ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงความที่มหาทานนั้นเป็นไปแล้วตั้งแต่ได้รับอภิเษก.

บทว่า ทกฺขิเณยฺเย อทตฺวาน คือเราไม่บริจาคไทยธรรมในทัก-

ขิไณยบุคคลแล้ว . บทว่า อปิ ฉปฺปญฺจ. รตฺติโย พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงว่า ทุกครั้งเราไม่บริโภคของดื่มของเคี้ยวและของบริโภค ๖ ราตรี

บ้าง ๕ ราตรีบ้าง.

ได้ยินว่า ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ ทรงกระทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้

เจริญงอกงาม ทรงบริจาคมหาทานดุจฝนตกห่าใหญ่. พระโพธิสัตว์ทรงบริ-

จาคทานมากมาย และประณีตทั้งนั้น มีข้าวและน้ำเป็นต้นในโรงทาน แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 124

ผู้ขอทั้งหลายตามความพอพระทัย ทุก ๆ วัน ก็จริง ถึงดังนั้นหากพระองค์ยัง

ไม่ทรงบริจาคทานแก่ผู้ขอทั้งหลาย ก็จะไม่เสวยพระกระยาหารที่เตรียมไว้

สำหรับพระองค์ แม้พระกระยาหารนั้นจะสมควรแก่พระราชา. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสหมายถึงความนั้นว่า นาห ปิวามิ เราจะยังไม่บริโภค.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงเหตุในการบริจาคแก่

ผู้ขอทั้งหลายอย่างนั้น จึงทรงนำข้อเปรียบเทียบด้วยนัยมีอาทิว่า ยถาปิ

วาณิโช นาม เปรียบเหมือนพ่อค้า ดังนี้.

อธิบายเนื้อความนั้นดังนี้ เปรียบเหมือนพ่อค้าไปทำการค้า มีสินค้า

น้อย แต่ขายได้มาก จึงสะสมสินค้าให้มากไว้เมื่อรู้เทศกาล ในเทศกาล

ใดจะได้กำไรมาก ก็นำสินค้านั้นไปขายในเทศกาลนั้น.

บทว่า สกภุตฺตาปิ คืออาหารของตนก็ดี อาหารที่ตนบริโภคก็ดี.

ปาฐะว่า สกปริภุตฺตา บ้าง. บทว่า ปเร คือบุคคลผู้รับอื่น. บทว่า สตภาโค

ส่วนร้อย คือ ส่วนหลายร้อยจักมีต่อไป. ท่านอธิบายไว้ว่า เหมือนสินค้าที่

พ่อค้าซื้อจะไม่ขายในที่นั้นทันที จะรอไว้ขายในเทศกาล จะได้มีกำไรมาก

มีผลไพบูลย์ ฉันใด ของของตนก็ฉันนั้นตนเองยังไม่บริโภค ให้บุคคลผู้รับ

อื่นก่อน จักมีผลมาก จักมีส่วนหลายร้อย. เพราะฉะนั้นตนเองไม่ควร

บริโภค ควรให้ผู้อื่นก่อน ด้วยประการฉะนี้. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังทักษิณาร้อยเท่า ให้ท่านใน

ปุถุชนผู้เป็นทุศีล หวังได้พันเท่า. พึงทราบความพิสดารต่อไป. พระผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 125

พระภาคเจ้าตรัสแม้อย่างอื่นไว้อีกมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายหากว่าสัตว์

ทั้งหลายพึงรู้ผลของการบริจาคทาน เหมือนอย่างที่เรารู้ คือไม่ให้ก่อนแล้ว

ไม่พึงบริโภค. อนึ่ง จิตมีความตระหนี่เป็นมลทินของสัตว์เหล่านั้น ย่อม

ไม่ควบคุมตั้งไว้. ก้อนข้าวก้อนหลัง คำข้าวคำหลัง พึงมีแก่สัตว์เหล่านั้น

เมื่อยังไม่แบ่งจากก้อนข้าวคำข้าวนั้น ไม่ควรบริโภค.

บทว่า เอตมตฺถวส ตฺวา เรารู้อำนาจประโยชน์นี้ คือรู้อำนาจ

ประโยชน์ รู้เหตุ กล่าวคือความที่ทานมีผลมาก และความที่ทานเป็นปัจจัย

แห่งสัมมาสัมโพธิญาณ. บทว่า น ปฏิกฺกมามิ ทานโต เราไม่ท้อถอย

จากการให้ คือไม่ถอยกลับ ไม่หลีกเลี่ยงจากทานบารมีแม้แต่น้อย. เพื่อ

อะไร. เพื่อบรรลุสัมโพธิญาณ อธิบายว่า เพื่อบรรลุสัมโพธิญาณ คือ พระ-

สัพพัญญุตญาณ.

ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์ เมื่อถูกมหาชนขับไล่พระบิดาไปอยู่บ้านคน

จัณฑาล ได้ทรงประทานเสบียงอันควรให้ผ้านุ่งและผ้าห่ม. แม้พระบิดา

นั้นก็ไม่ได้เข้าพระนคร เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จไปนอกพระนครเพื่อทอด

พระเนตรพระอุทยาน. พระบิดาไม่ไหว้. ไม่ทำอัญชลีกรรมด้วยเห็นว่าเป็น

บุตร แต่กล่าวว่า ขอให้ลูกจงมีอายุยืนนานเถิด. แม้พระโพธิสัตว์ในวันที่

เห็นพระบิดา ก็ทรงกระทำสัมมานะเป็นอย่างยิ่ง. พระโพธิสัตว์ทรงครอง-

ราชสมบัติโดยธรรมอย่างนี้ เมื่อสวรรคตก็เสด็จสู่เทวโลกพร้อมด้วยบริษัท.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 126

ขัณฑหาละในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. พระนางโคตมีเทวี

คือพระนางมหามายา. พระนางจันทาราชธิดา คือพระมารดาพระราหุล.

พระวาสุละ คือพระราหุล. พระนางเสลา คือพระนางอุบลวรรณา. พระ-

สูระ คือพระมหากัสสป. พระภัตทเสนะ คือพระมหาโมคคัลลานะ. พระ-

สุริยกุมาร คือพระสารีบุตร. พระเจ้าจันทราช คือพระโลกนาถ.

แม้ในที่นี้ก็ควรเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือของพระโพธิสัตว์นั้นตาม

สมควรโดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั้นแล. พึงเจาะจงกล่าวถึงคุณานุภาพมี

อาทิว่า ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์แม้ทรงรู้ว่า ขัณฑหาละเป็นคนหยาบคายก็

ทรงใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยคดีโดยธรรมโดยเสมอ แม้ทรงทราบวิธีบูชายัญ

อย่างนั้นของขัณฑหาละ เพื่อประสงค์จะปลงพระชนม์พระองค์ ก็มิได้มีจิต

โกรธเคืองขัณฑหาละนั้น. แม้สามารถจะจับบริษัทของพระองค์ ซึ่งเป็นศัตรู

ของพระบิดา เมื่อพระบิดาประสงค์จะทำพระองค์ให้เป็นบุรุษสัตว์เลี้ยงแล้ว

ปลงพระชนม์เสีย ก็มิได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการลงอาชญา ด้วยทรงดำริว่า

การพิโรธด้วยกรรมหนักไม่สมควรแก่คนเช่นเรา. เมื่อปุโรหิตถอดดาบออก

จากฝักย่างเท้าเข้าไปเพื่อจะตัดศีรษะ เพราะพระองค์มีจิตแผ่เมตตาไปใน

พระบิดาของพระองค์เสมอกับในพระโอรส และสรรพสัตว์ทั้งหลาย. เมื่อ

มหาชนฮือกันเข้าไปหมายจะปลงพระชนม์พระบิดา ตนเองเข้าสวมกอดพระ-

บิดาให้ชีวิตพระบิดานั้น. แม้เมื่อทรงบริจาคมหาทานเช่นกับทานของพระ-

เวสสันดร ทุก ๆ วัน ก็มิได้ทรงอิ่มด้วยทาน. การให้ของที่ควรให้แก่พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 127

ชนก ผู้ถูกมหาชนขับไล่ให้ไปอยู่ในบ้านคนจัณฑาลแล้วทรงเลี้ยงดู. การ

ให้มหาชนตั้งอยู่ในการทำบุญ.

จบ อรรถกถาจันทกุมารจริยาที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 128

๘. สิวิราชจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าสีวิราช

[๘] ในกาลเมื่อเราเป็นกษัตริย์พระนามว่าสิวิ อยู่

ในพระนครอันมีนามว่าอริฏฐะ เรานั่งอยู่ใน

ปราสาทอันประเสริฐ ได้ดำริอย่างนี้ว่า ทาน

ที่มนุษย์ฟังให้อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เราไม่ได้ให้

แล้วไม่มี แม้ผู้ใดพึงขอจักษุกะเรา เราก็พึงให้

ไม่หวั่นใจเลย ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าทวย-

เทพ ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ประทับ-

นั่งในเทพบริษัท ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า พระเจ้า

สิวิผู้มีฤทธิ์มาก ประทับนั่งในปราสาทอันประ-

เสริฐ พระองค์ทรงดำริถึงทานต่าง ๆ ไม่ทรง

เห็นสิ่งที่ยังมิได้ให้ ข้อนั้นจะเป็นจริงหรือไม่

หนอ ผิฉะนั้น เราจักทดลองพระองค์ดู ท่าน

ทั้งหลายพึงคอยอยู่สักครู่หนึ่ง เพียงเรารู้น้ำใจ

ของพระเจ้าสิวิเท่านั้น ท้าวสักกะจึงทรงแปลง-

เพศเป็นคนตาบอด มีกายสั่น ศีรษะหงอก

หนังหย่อน กระสับกระส่ายเพราะชรา เข้าไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 129

เฝ้าพระราชาในกาลนั้น อินทพราหมณ์นั้นประ-

คองพระพาหาเบื้องซ้ายขวา ประนมกรอัญชลี

เหนือเศียร ได้กล่าวคำนี้ว่า ข้าแต่พระมหา-

ราชาผู้ทรงธรรม ทรงปกครองรัฐให้เจริญ ข้า-

พระองค์จงขอกะพระองค์ เกียรติคุณคือความ

ยินดีในทานของพระองค์ ขจรไปในเทวดา

และมนุษย์ หน่วยตาแม้ทั้งสองของข้าพระองค์

บอดเสียแล้ว ขอจงพระราชทานพระเนตรข้าง

หนึ่งแก่ข้าพระองค์เถิด แม้พระองค์จักทรงยัง

อัตภาพให้เป็นไปด้วยพระเนตรข้างหนึ่ง เรา

ได้ฟังคำของพราหมณ์แก่นั้นแล้ว ทั้งดีใจและ

สลดใจประคองอัญชลี มีปีติและปราโมทย์

ได้กล่าวคำนี้ว่า เราคิดแล้วลงจากปราสาทมา

ถึงที่นี้บัดนี้เอง ท่านรู้จิตของเราแล้ว มาขอ

นัยน์ตา โอ ความปรารถนาของเราสำเร็จแล้ว

ความดำริของเราบริบูรณ์แล้ว วันนี้ เราจักให้

ทานอันประเสริฐ ซึ่งเราไม่เคยให้ แก่ยาจก

มานี่แน่ะหมอสิวิกะ จงขมีขมัน อย่าชักช้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 130

อย่าครั่นคร้าม จงควักนัยน์ตาแม้ทั้งสองข้าง

ออกให้แก่วณิพกนี้ เดี๋ยวนี้ ทมอสิวิกะนั้น

เราเตือนแล้ว เชื่อฟังคำของเรา ได้ควักนัยน์-

ตาทั้งสองออกดุจจาวตาลให้แก่ยาจกทันที เมื่อ

เราจะให้ก็ดี กำลังให้ก็ดี ให้แล้วก็ดี จิตของ

เราไม่เป็นอย่างอื่น เพราะเหตุแห่งพระโพธิ-

ญาณนั้นเอง จักษุทั้งสองเราจะเกลียดชังก็หา

มิได้ แม้คนเราก็มิได้เกลียดชัง แต่พระสัพ-

พัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้น เราจึงได้

ให้จักษุ ฉะนี้แล.

จบ สิวิราชจริยาที่ ๘

อรรถกถาสิวิราชจริยาที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาสิวิราชที่ ๘ ดังต่อไปนี้ . บทว่า อริฏฺ-

สวฺหุเย นคเร คือในพระนครชื่อว่า อริฏฐบุรี. บทว่า สิวิ นามาสิ

ขตฺติโย กษัตริย์พระนามว่า สิวิ คือ พระราชาได้มีพระนามอย่างนี้โดย

โคตรว่า สิวิ.

ได้ยินว่าในอดีตกาล ครั้งเมื่อพระเจ้าสีวิครองราชสมบัติอยู่ในอริฏฐ-

ปุรนคร แคว้นสีพีพระมหาสัตว์ทรงอุบัติเป็นพระโอรสของพระเจ้าสิวิราชนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 131

พระนามของพระมหาสัตว์นั้นว่า สิวิกุมาร. ครั้นพระมหาสัตว์เจริญวัยได้

เสด็จไปยังเมืองตักกสิลา ทรงเล่าเรียนศิลปะ สำเร็จแล้วเสด็จกลับ ทรง

แสดงศิลปะแก่พระบิดา ได้รับตำแหน่งอุปราช ย่อมาพระบิดาสวรรคต ได้

เป็นพระราชา ทรงละอคติ ทรงตั้งอยู่ในราชธรรม ครองราชสมบัติ ทรง

ให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือ ที่ประตูพระนคร ๔ แห่ง ท่ามกลางพระนคร

๑ แห่ง ที่ประตูพระราชนิเวศน์ ๑ แห่ง ทรงบริจาคมหาทานวันละ ๖๐๐,๐๐๐

ทุกวัน. ในวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ได้เสด็จไปยังโรงทานด้วยพระ-

องค์เอง ทรงตรวจตราโรงทาน. บางคราวในวัน ๑๕ ค่ำ ตอนเช้าตรู่พระองค์

ประทับนั่งบนราชบัลลังก์ ภายใต้พระเศวตฉัตรที่ยกขึ้น ทรงดำริว่า ทาน

ภายนอกของเราไม่ยังจิตให้ยินดีเหมือนทานภายใน. ไฉนหนอในเวลาที่เรา

ไปโรงทาน จะมีผู้ขอไร ๆ ไม่ขอวัตถุภายนอก พึงขอวัตถุภายในอย่างเดียว.

ก็หากว่าใคร ๆ พึงขอเนื้อหรือเลือดในร่างกายของเรา ศีรษะ เนื้อหัวใจ

นัยน์ตา ร่างกายครั้งหนึ่งหรืออัตภาพทั้งสิ้นเอาไปเป็นทาส เราก็ยังความ

ประสงค์ของผู้นั้นให้บริบูรณ์ในทันที สามารถจะให้ได้. แต่ในบาลีกล่าวไว้

เพียงนัยน์ตาเท่านั้น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เรานั่งอยู่บนปราสาทอันประเสริฐ ได้ดำริ

อย่างนี้ว่า ทานที่มนุษย์พึงให้อย่างใดอย่างหนึ่ง

ที่เราไม่ได้ให้แล้วไม่มี แม้ผู้ใดฟังขอจักษุของ

เรา เราก็จะฟังให้ไม่หวั่นใจเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 132

ในบทเหล่านั้น บทว่า มานุส ทาน ได้แก่ข้าวและน้ำเป็นต้น

อันเป็นทานที่มนุษย์ทั่วไปจะพึงให้. ก็เมื่ออัธยาศัยในการให้อันกว้างขวาง

เกิดขึ้นแก่พระมหาสัตว์อย่างนี้ ปัณฑุกัมพลสิลาอาสน์ของท้าวสักกะแสดง

อาการร้อน. ท้าวสักกะนั้นทรงรำพึงถึงเหตุนั้น ได้ทรงเห็นพระอัธยาศัยของ

พระโพธิสัตว์ว่า พระเจ้าสิวิราชทรงดำริว่า วันนี้หากมีผู้มาขอดวงตาเรา

เราก็จักควักดวงตาให้เขา ท้าวสักกะจึงตรัสแก่เทพบริษัทว่า เราจักทดลอง

พระโพธิสัตว์ดูก่อนว่า จักสามารถให้ดวงตาจริงหรือออไม่ เมื่อพระโพธิสัตว์

ทรงสรงสนานด้วยน้ำหอม ๑๖ หม้อ แล้วทรงประดับด้วยสรรพาลังการ

ทรงประทับบนคอช้างพระที่นั่ง ซึ่งตกแต่งไว้เป็นอย่างดี เสด็จไปยังโรง-

ทาน ท้าวสักกะจึงทรงแปลงเพศเป็นพราหมณ์ตาบอด เป็นคนแก่งก ๆ เงิน ๆ

ทรงเหยียดพระพาหาทั้งสองในที่เป็นเนินแห่งหนึ่ง ให้อยู่ในคลองจักษุของ

พระโพธิสัตว์นั้น แล้วทรงยืนถวายพระพรขอให้พระราชาทรงพระเจริญ

พระโพธิสัตว์ทรงชักช้างไปตรงหน้าพราหมณ์แปลงนั้น แล้วตรัสถามว่า

ท่านพราหมณ์ ท่านต้องการอะไรพราหมณ์ทูลขอดวงตาข้างหนึ่งโดยตรัสว่า

ชาวโลกทั้งสิ้นแพร่สะพัดไปไม่ขาดสายด้วยการประกาศเกียรติคุณอันสูงส่ง

อาศัยอัธยาศัยในทานของพระองค์. ข้าพเจ้าเป็นคนตาบอด. เพราะฉะนั้น

จึงวิงวอนขอดวงตากะพระองค์. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าทวยเทพ ทรง

ทราบความดำริของเราแล้ว ประทับนั่งในเทพ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 133

บริษัท ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า พระเจ้าสิวิราชผู้มี

ฤทธิ์มากประทับนั่งในปราสาทอันประเสริฐ

พระองค์ทรงดำริถึงทานต่าง ๆ ไม่ทรงเห็นสิ่งที่

ยังมิได้ทรงให้ ข้อนั้นจะเป็นจริงหรือไม่หนอ

ช่างเถิดเราจะทดลองพระองค์ดู พวกท่านพึง

คอยอยู่สักครู่หนึ่ง เพียงเรารู้น่าพระทัยของ

พระเจ้าสิวิราชเท่านั้น.

ท้าวสักกะจึงทรงแปลงเพศเป็นคนตาบอด

มีกายสั่น ผมหงอก หนังหย่อนกระสับกระ-

ส่าย เพราะชรา เข้าไปเฝ้าพระราชาในกาลนั้น

ท้าวสักกะแปลงประคองพระพาหาซ้ายขวา

ประนมกรอัญชลีเหนือเศียร ได้กล่าวคำนี้ว่า

ข้าแต่พระมหาราชผู้ทรงธรรม ทรงปกครองรัฐ

ให้เจริญ ข้าพระองค์จะขอกะพระองค์ เกียรติ-

คุณคือความยินดีในทานของพระองค์ ขจรไป

ในเทวดาและมนุษย์ หน่วยตาแม้ทั้งสองของ

ข้าพระองค์บอดเสียแล้ว ขอพระองค์ทรงพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 134

ราชทานพระเนตรข้างหนึ่งแก่ข้าพระองค์เถิด

แม้พระองค์จักทรงยังอัตภาพ ให้เป็นไปด้วย

พระเนตรข้างหนึ่ง.

ในบทเหล่านั้นบทว่า จินฺเตนฺโต วิริธ ทาน ทรงดำริถึงทานต่าง ๆ

คือทรงดำริรำพึงถึงทานต่างๆ ที่พระองค์พระราชทาน คือทรงดำริถึงทาน

หรือไทยธรรมภายนอกหลายอย่างที่พระองค์พระราชทาน. บทว่า อเทยฺย

โส น ปสฺสติ ไม่ทรงเห็นสิ่งที่ยังมิได้ทรงให้ คือมิได้ทรงเห็นแม้วัตถุภาย

ใน ที่ยังมิได้ทรงให้ คือ ไม่อาจให้ได้เหมือนวัตถุภายนอก. อธิบายว่า พระ-

โพธิสัตว์ทรงดำริว่า แม้ดวงตาเราก็จักตวักให้ได้. บทว่า ตถ นุ วิตถ

เนต ข้อนั้นจะเป็นจริงหรือไม่หนอ ความว่า การไม่เห็นแม้วัตถุภายในเป็น

สิ่งที่ยังมิได้ให้ การเห็น การคิด. โดยความเป็นสิ่งที่ควรให้ ข้อนั้นจะเป็น

จริงหรือไม่จริงหนอ. บทว่า โส ตทา ปคฺคเหตฺวาน, วาม ทกฺขิณพาหุจ

คือ ในกาลนั้นทรงประคองพระพาหาซ้ายขวา อธิบายว่า ทรงยกพระพาหา

ทั้งสอง. บทว่า รฏฺวฑฺฒน คือทรงปกครองรัฐให้เจริญ. บทว่า ตวมฺปิ

เอเกน ยาปยา แม้พระองค์จักทรงยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยพระเนตรข้าง

หนึ่ง ท่านแสดงไว้ว่าพระองค์ทรงเห็นเสมอและไม่เสมอด้วยพระเนตรข้าง

หนึ่ง ก็ยังอัตภาพของพระองค์ได้เป็นไปได้. แม้ข้าพระองค์ก็จะยังอัตภาพ

ให้เป็นไปได้ด้วยตาข้างหนึ่งที่ได้จากพระองค์ผู้เจริญ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 135

พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้นทรงดีพระทัย ได้เกิดพระกำลังใจว่า

เรานั่งอยู่บนปราสาทคิดอย่างนี้แล้วมาเดี๋ยวนี้เอง. พราหมณ์นี้ขอดวงตาดุจรู้

ใจของเรา. เป็นลาภของเราเกียจริงหนอ วันนี้ความปรารถนาของเราจักถึง

ที่สุด. เราจักให้ทานที่ไม่เคยให้. พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น

จึงตรัสว่า :-

เราได้ฟังคำของพราหมณ์นั้นแล้วทั้งดีใจ

และสลดใจ ประคองอัญชลี มีปีติและปรา-

โมทย์ ได้กล่าวคำนี้ว่า เราคิดแล้วลงจากปรา-

สาทมาถึงที่นี้บัดนี้เอง ท่านรู้จิตของเราแล้ว

มาขอนัยน์ตา.

โอ ความปรารถนาของเราสำเร็จแล้ว

ความดำริของเราบริบูรณ์แล้ว. วันนี้เราจักให้

ทานอันประเสริฐ ซึ่งเราไม่เคยให้แก่ยาจก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส คือท้าวสักกะผู้มาในรูปของพราหมณ์

นั้น. บทว่า หฏฺโ คือยินดี. บทว่า สวิคฺคมานโส สลดใจ คือพราหมณ์

นี้ขอดวงตา ดุจรู้ใจเรา. ชื่อว่า สลดใจ เพราะเราไม่คิดอย่างนี้มาตลอด

กาลเพียงนี้ เป็นผู้ประมาทแล้วหนอ. บทว่า เวทชาโต คือเกิดปีติและ

ปราโมทย์. บทว่า อพฺรวึ คือได้กล่าวแล้ว. บทว่า มานส คือความตั้งใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 136

ได้แก่อัธยาศัยในการให้. อธิบายว่า เกิดอัธยาศัยในการให้ว่า เราจัก

ให้ดวงตา. บทว่า สงฺกปฺโป คือความปรารถนา. บทว่า ปริปูริโต คือ

บริบูรณ์แล้ว.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า พราหมณ์นี้ขอดวงตาแม้ใคร ๆ ก็

ให้ยาก กะเราดุจรู้วาระจิตของเรา. น่ากลัวว่าจะเป็นเทพองค์หนึ่งแนะมา

หรืออย่างไร. เราจักถามดูก่อนแล้วจึงตรัสถามพราหมณ์นั้น ดังที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ในเทศนาชาดกว่า..

ดูก่อนวณิพก ใครแนะท่านจึงมา ณ ที่นี้

เพื่อขอดวงตา ท่านขอดวงตาอันเป็นอวัยวะ

สำคัญที่คนสละให้ได้ยาก.

ท้าวสักกะ - ในรูปพราหมณ์ สดับดังนั้นแล้วจึงตรัสว่า :-

ในเทวโลกเรียกว่า ท้าวสุชัมบดี ใน

มนุษยโลกเรียกว่า ท้าวมฆวา ข้าพเจ้าเป็น

วณิพก ท้าวมฆวาแนะจึงมา ณ ทีนี้ เพื่อขอ

ดวงตา.

ข้าพเจ้าขอดวงตาของท่าน ขอท่านจงให้

สิ่งที่ขอ อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งไปกว่า แก้ข้าพเจ้า

ผู้ขอเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 137

ขอท่านจงให้ดวงตา ที่คนสละให้ได้ยาก

แก่ข้าพเจ้าเถิด.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า :-

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านมาปรารถนาประ-

โยชน์อันใด ความปรารถนาเหล่านั้นจงสำเร็จ

แก่ท่านเถิด ท่านจงเอาดวงตาไปเถิด.

เมื่อท่านขอดวงดาข้างหนึ่ง เราจะให้

สองข้าง.

ท่านมีดวงตา จงไปเพ่งดูชนเถิด.

ท่านปรารถนาสิ่งใด สิ่งนั้นจงสำเร็จ แก่

ท่าน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วณิพฺพก พระโพธิสัตว์ตรัสเรียกพราหมณ์

นั้น. บทว่า จกฺขุปถานิ นี้ เป็นชื่อของดวงตา เพราะเป็นคลองแห่งการ

เห็น. บทว่า ยมาหุ คือชนทั้งหลายพากันพูดถึงสิ่งใดในโลกว่า สละได้ยาก.

บทว่า วณิพฺพโก คือผู้ขอ. บทว่า วณึ คือการขอ. บทว่า เต เต คือ

ความปรารถนาเหล่านั้นของท่านผู้ตาบอด. บทว่า ส จกฺขุมา คือท่าน

ผู้มีดวงตาด้วยดวงตาของเรา. บทว่า ตท เต สมิชฺฌตุ คือท่านปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 138

สิ่งใดจากาสำนักของเรา สิ่งนั้นจงสำเร็จแก่ท่าน. พระราชาครั้นตรัสเพียงเท่า

นี้แล้ว จึงตรัสว่า พราหมณ์นี้ท้าวสักกะแนะจึงมาหาเรา ณ ที่นี้. ทรงทราบว่า

ดวงตาจักสำเร็จบริบูรณ์แก่พราหมณ์นี้ด้วยอุบายนี้แน่ จึงทรงดำริว่า เราไม่

ควรควักดวงตาให้ ณ ที่นี้ จึงทรงพาพราหมณ์เข้าไปภายในพระนครประทับ

นั่งบนราชอาสน์ ตรัสเรียกหมอชื่อสิวกะมา. ลำดับนั้นได้เกิดเอิกเกริก

โกลาหลขึ้นทั่วพระนครว่า นัยว่าพระราชาของพวกเรามีพระประสงค์จะให้

หมอควักดวงพระเนตรให้แก่พราหมณ์. ครั้งนั้น พวกราชวัลลภของพระราชา

มีพระญาติและเสนาบดีเป็นต้น เหล่าอำมาตย์ บริษัท ชาวพระนครเหล่า

สนมทั้งหมดประชุมกัน ทูลห้ามพระราชาโดยอุบายต่างๆ. แม้พระราชาก็

มิได้ทรงคล้อยตามบุคคลเหล่านั้น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ข้าแต่พระองค์ ขอพระองค์อย่าพระ-

ราชทานพระเนตรเลย อย่าทิ้งพวกข้าพระองค์

ทั้งปวงเสียเลย.

ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์จะให้ทรัพย์

คือแก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ ซึ่งมีหอยู่มากมาย.

ข้าแต่พระองค์ ขอจงพระราชทานรถ-

เทียมม้าอาชาไนยที่ประดับแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 139

ข้าแต่มหาราช ขอจงพระราชทาน ช้าง

เครื่องนุ่งห่มทำด้วยทอง.

ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐในราชสมบัติ

ชาวสีพีทั้งปวง พร้อมด้วยยวดยาน พร้อมด้วย

รถ ยังแวดล้อมพระองค์อยู่โดยรอบทุกเมื่อ

ขอพระองค์จงพระราชทานอย่างอื่นเถิด.

ลำดับนั้นพระราชาได้ตรัส ๓ คาถาว่า :-

ผู้ใดแลกล่าวว่าจักให้แล้วตั้งใจไม่ให้ ผู้

นั้นย่อมสวมบ่วงที่ตกลงไปบนแผ่นดินที่คอ.

ผู้ใดกล่าวว่าจักให้แล้วตั้งใจไม่ให้ ผู้นั้น

เป็นผู้ลามกว่าผู้ลามก จะตกนรกของพระยา-

ยม.

เมื่อเขาขอสิ่งใดควรให้สิ่งนั้น เมื่อเขา

ไม่ขอสิ่งใด ไม่ควรให้สิ่งนั้น.

เราจักให้สิ่งที่พราหมณ์ขอ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โน เป็นเพียงนิบาต. ข้าแต่พระองค์ พระ-

องค์อย่าพระราชทานพระเนตรเลยพระเจ้าข้า. บทว่า มา โน สพฺเพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 140

ปรากริ คือพระองค์อย่าทรงทอดทิ้งพวกข้าพระองค์เสียทั้งหมดเลย.

ชนทั้งหลายกราบทูลอย่างนี้โดยประสงค์ว่า เพราะเมื่อพระองค์พระ-

ราชทานพระเนตร พระองค์ก็จักไม่ทรงครองราชสมบัติ. พวกข้าพระองค์

จักชื่อว่า ถูกพระองค์ทอดทิ้ง. บทว่า ปริกิเรยฺยุ คือแวดล้อม. บทว่า เอว

เทหิ ความว่า ขอพระองค์จงพระราชทานอย่างอื่นเถิด โดยที่ชาวสีพียัง

แวดล้อมพระองค์ผู้มีพระเนตรไม่วิกลมานานแล้ว ขอจงพระราชทานทรัพย์

แก่พราหมณ์นั้นอย่างเดียวเถิด. อย่าพระราชทานพระเนตรเลย. ท่านแสดง

ว่า เพราะเมื่อพระราชทานพระเนตรเสียแล้ว ชาวสีพีก็จักไม่พากันแวดล้อม

พระองค์.

บทว่า ปฏิมุญฺจติ คือสวม. บทว่า ปาปา ปาปาตโร โหติ ชื่อว่า

เป็นผู้ลามกกว่าผู้ลามก. บทว่า สมฺปตฺโต ยมสาธน คือผู้นั้นชื่อว่าตก

อุสสทนรกอันเป็นที่ที่พระยายมบังคับบัญชา. บทว่า ยญฺหิ ยาเจ คือ

พระโพธิสัตว์ตรัสว่าผู้ขอ ขอสิ่งใด. แม้ผู้ให้ก็ควรให้สิ่งนั้น. ไม่ให้สิ่งที่เขา

ไม่ได้ขอ. ก็พราหมณ์นี้ขอดวงตากะเรา ไม่ขอทรัพย์มีแก้วมุกดาเป็นต้น

เราจักให้สิ่งที่พราหมณ์ขอ.

ลำดับนั้น ชนทั้งหลายทูลถามพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่พระองค์ พระ-

องค์ทรงปรารถนาอะไรในอายุเป็นต้น จึงพระราชทานพระเนตร. พระมหา-

บุรุษตรัสว่า เรามิได้ให้เพราะปรารถนาสมบัติในปัจจุบันหรือในภพหน้า. ที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 141

แท้นี้เป็นทางเก่าแก่ที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายประพฤติสะสมกันมา คือการ

บำเพ็ญทานบารมี. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เป็นจอมชนพระองค์ปรารถนา

อะไรหนอ จึงทรงให้ อายุ วรรณะ สุขะ พละ.

จริงอยู่ พระราชาผู้ยอดเยี่ยมกว่าชนใน

แคว้นสีพี พระราชทานพระเนตร เพราะเหตุ

แห่งปรโลกได้อย่างไร.

เราไม่ให้ดวงตานิเพราะหวังยศ ไม่

ปรารถนาบุตร ไม่ปรารถนาทรัพย์ ไม่ปรารถนา

แว่นแคว้น อนึ่ง ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย

เป็นธรรมเก่าอันบัณฑิตประพฤติกันมาแล้ว.

ใจของเรายินดีในการให้ ด้วยประการ-

ฉะนี้แล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปรโลกเหตุ ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

บุรุษบัณฑิตเช่นพระองค์ สละความเป็นใหญ่ที่พระองค์ทรงเห็นอยู่แล้ว เช่น

กับสมบัติของท้าวสักกะ พึงพระราชทานพระเนตร เพราะเหตุแห่งปรโลก

ได้อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 142

บทว่า น วาห ตัดบทเป็น น เว อห. บทว่า ยสฺสา ความว่า

เพราะเหตุแห่งความเป็นใหญ่ อันเป็นของทิพย์ หรือของมนุษย์. อีกอย่าง

หนึ่ง ธรรมอันเป็นพุทธการกธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย คือของพระโพธิ-

สัตว์ทั้งหลาย เป็นของเก่าอันบัณฑิตประพฤติ ประพฤติยิ่งสะสมแล้ว ใจ

ของเราเป็นเช่นนี้ ยินดีเป็นนิจในทานนั่นแล ด้วยเหตุนี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

ก็และพระราชาครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ทรงให้อำมาตย์ทั้งหลายรับรู้

แล้ว ตรัสกะหมอสิวกะว่า:-

ดูก่อนสิงกะมานี่แน่ะ จงลุกขึ้นอย่างชักช้า

อย่าครั่นคร้าม จงควักนัยน์ตาแม้ทั้งสองข้าง

ออกให้แก่วณิพก. หมอสิวกะนั้น เราเดือน

แล้ว เชื่อฟังคำของเราได้ควักนัยน์ตาทั้งสอง

ออกดุจจาวตาลให้แก่ผู้ขอทันที.

บทว่า อุฏฺเหิ คือจงขมีขมัน. ท่านแสดงว่า จงทำกิจของสหายด้วย

การให้ดวงตาของเรานี้. บทว่า มา ทนฺธยิ คืออย่าชักช้า. เพราะขณะของ

ทานนี้หาได้ยากยิ่ง เราปรารถนามานานแล้ว เราได้แล้ว. อธิบายว่า ขณะ

ของทานนั้นอย่าพลาดไปเสีย. บทว่า มา ปเวธยิ อย่าครั่นคร้าม คืออย่า

หวั่นไหวด้วยความหวาดสะดุ้งว่า เราจะควักพระเนตรของพระราชาของเรา

อย่าถึงความปั่นป่วนในร่างกาย คือปวดอุจจาระปัสสาวะ บทว่า อุโภปิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 143

นยน คือนัยน์ตาแม้ทั้งสองข้าง. บทว่า วนิพฺพเก คือผู้ขอ บทว่า มยฺห

คืออันเรา. บทว่า อุทฺธริตฺวาน ปาทาสิ ควักนัยน์ตาทั้งสองข้าง คือ

หมอนั้นควักนัยน์ตา แม้ทั้งสองข้างจากเบ้าพระเนตรของพระราชาแล้วได้

วางบนพระหัตถ์ของพระราชา.

อนึ่ง หมอนั้นเมื่อให้มิได้ควักให้ท้าวสักกะ. เพราะเขาคิดว่า หมอ

ผู้ชำนาญเช่นเราไม่ควรใช้มีดผ่าตัดในพระเนตรของพระราชา จึงบดเภสัช

เอาผงเภสัชผสมเกสรบัว แล้วโรยพระเนตรข้างขวา. พระเนตรกลอกไปมา.

เกิดทุกขเวทนา. หมอผสมแล้วโรยอีก. พระเนตรพ้นจากเบ้าตา. เกิดเวทนา

รุนแรงกว่าเก่า. ครั้งที่ ๓ หมอผสมเภสัชให้แรงขึ้นกว่าเก่าโรยลงไป. พระ-

เนตรหมุนหลุดออกจากเบ้าตาด้วยกำลังเภสัช ห้อยติดอยู่ด้วยสายเอ็น. เกิด

เวทนารุนแรงยิ่งขึ้น พระโลหิตไหล. แม้พระภูษาทรงก็ชุ่มด้วยพระโลหิต

พวกสนม อำมาตย์หมอบลงแทบพระบาทของพระราชาร้องไห้คร่ำครวญว่า

ข้าแต่พระองค์ ขอพระองค์อย่าพระราชทานพระเนตรทั้งสองเลย อย่า

พระราชทานพระเนตรทั้งสองเลย พระเจ้าข้า.

พระราชาทรงอดกลั้นเวทนาแล้วตรัสว่า อย่าชักช้าไปเลยพ่อคุณ.

หมอทูลรับสนองแล้วยึดพระเนตรด้วยมือซ้าย จับศัสตราด้วยมือขวาตัด

สายพระเนตรแล้วหยิบพระเนตรวางไว้บนพระหัตถ์ของพระมหาสัตว์. พระ-

มหาสัตว์ทรงทอดพระเนตร พระเนตรข้างขวาด้วยพระเนตรข้างซ้าย เสวย

ทุกขเวทนาทรงข่มไว้ด้วยปีติในการบริจาค รับสั่งเรียกพราหมณ์ว่า ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 144

พราหมณ์จงมาเถิด ตรัสว่า สมันตจักษุของเรา เป็นที่รักกว่านัยน์ตานี้

ตั้งร้อยเท่าพันเท่า แสนเท่า. การให้ดวงตาของเรานี้ จงเป็นปัจจัยแห่งสมันต-

จักษุนั้นเถิด. ( สมันตจักษุคือพระสัพพัญญุตญาณ ) แล้วได้พระราชทาน

พระเนตรแก่พราหมณ์ พราหมณ์หยิบพระเนตรนั้นใส่ที่นัยน์ตาของตน.

พระเนตรนั้นปรากฏดุจดอกอุบล แย้มด้วยอานุภาพแห่งพราหมณ์แปลงนั้น.

พระมหาสัตว์ทรงเห็นนัยน์ตาของพราหมณ์ด้วยพระเนตรข้างซ้าย มีพระ-

วรกายซาบซ่านด้วยปีติผุดขึ้นภายในเป็นลำดับว่า โอ เราให้นัยน์ตาดีแล้ว

ได้พระราชทานอีกข้างหนึ่ง. แม้ท้าวสักกะก็กระทำเหมือนอย่างเดิม เสด็จ

ออกจากพระราชนิเวศน์ เมื่อมหาชนแลดูอยู่นั่นเอง เสด็จออกจากพระนคร

กลับไปยังเทวโลก.

ในไม่ช้านักพระเนตรของพระราชา ยังไม่ถึงเป็นหลุมมีก้อนพระมังสะ

ขึ้นเต็มดุจลูกคลีหนังหุ้มด้วยผ้ากัมพลฉะนั้น งอกขึ้นดุจรูปจิตรกรรม. เวทนา

หายขาดไป. ลำดับนั้นพระมหาสัตว์ประทับอยู่ ณ ปราสาท ๒ - ๓ วัน ทรง

ดำริว่า คนตาบอดจะครองราชสมบัติไปทำไม เราจักมอบราชสมบัติให้แก่

อำมาตย์ทั้งหลาย แล้วจักไปยังพระอุทยานบวชบำเพ็ญสมณธรรม แล้วทรง

แจ้งความนั้นแก่พวกอำมาตย์ ตรัสว่า ราชบุรุษคนหนึ่ง ทำหน้าที่ให้น้ำ

ล้างหน้าเป็นต้น จงอยู่กับเรา. แม้ในที่ที่เราจะทำสรีรกิจ พวกท่านก็จงผูก

เชือกไว้ให้เรา แล้วเสด็จขึ้นเสลี่ยงประทับนั่ง เหนือราชบัลลังก์ใกล้ฝั่งโบก-

ขรณี. แม้พวกอำมาตย์ถวายบังคมแล้วก็พากันกลับ. พระโพธิสัตว์ก็ทรงรำลึก

ถึงทานของพระองค์. ในขณะนั้น อาสนะของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 145

ท้าวสักกะทรงเห็นดังนั้น ทรงดำริว่า เราจักให้พรแก่มหาราช แล้วทำ

พระเนตรให้เป็นปกติอย่างเดิม. จึงเสด็จเข้าไปใกล้พระโพธิสัตว์ทรงทำเสียง

พระบาท พระมหาสัตว์ตรัสถามนั่นใคร ท้าวสักกะตรัสว่า :-

ข้าพเจ้าเป็นท้าวสักกะจอมเทพ มหาท่าน

ข้าแต่ท่านผู้เป็นราชฤษี ท่านจงเลือกพรที่ท่าน

ปรารถนาเถิด.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า :-

ข้าแต่ท้าวสักกะ ทรัพย์ข้าพเจ้ามีมาก

พอแล้ว ทั้งพลทหาร และท้องพระคลังก็มี

ไม่น้อย บัดนี้ เมื่อข้าพเจ้าตาบอดชอบความ

ตายเท่านั้น.

ลำดับนั้นท้าวสักกะจึงตรัสกะพระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่ท่านสิวิราช ท่าน

ประสงค์จะตาย ชอบความตายหรือ หรือว่า เพราะตาบอด. พระมหาสัตว์

ตรัสว่า เพราะตาบอดซิพระองค์. ท้าวสักกะตรัสว่า ข้าแต่มหาราช ชื่อว่าทาน

มิได้ให้ผลเพื่อภพอย่างเดียวเท่านั้น ยังเป็นปัจจัยแม้เพื่อผลในปัจจุบันด้วย.

เพราะฉะนั้นท่านจงตั้งสัตยาธิษฐานอาศัยบุญแห่งทานของท่านเถิด. ด้วย

กำลังแห่งสัตยาธิษฐานนั้นนั่นแหละ นัยน์ตาของท่านจักเกิดขึ้นเหมือน

อย่างเดิม. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นมหาทานเราให้ดีแล้ว เมื่อจะทรง

ตั้งสัตยาธิษฐาน จึงตรัสว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 146

พวกวณิพกหลายเหล่าหลายตระกูลมาเพื่อ

ขอกะเรา บรรดาวณิพกที่มาเหล่านั้น ผู้ใดขอ

เราผู้นั้นก็เป็นที่รักของเรา ด้วยสัจจวาจานี้

ขอนัยน์ตาของเราจงเกิดขึ้นอย่างเดิมเกิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เย ม คือผู้ใดมาเพื่อขอกะเรา ในบรรดา

ผู้ที่มาเหล่านั้น ผู้ใดออกปากว่า ขอพระองค์จงพระราชทานสิ่งนี้เถิด ดังนี้

ขอกะเราแม้ผู้นั้นก็เป็นที่รักของเรา. บทว่า เอเตน ความว่า หากผู้ขอแม้

ทั้งหมดเป็นที่รักของเรา คำที่เรากล่าวนั้นเป็นความจริง ด้วยสัจจวาจาของ

เรานี้ ขอนัยน์ตาข้างที่หนึ่งจงเกิดเหมือนอย่างเดิมเถิด.

ทันใดนั้นเองพระเนตรดวงที่หนึ่งก็เกิดขึ้นพร้อมกับพระดำรัสของพระ-

มหาสัตว์ ต่อจากนั้นเพื่อให้พระเนตรดวงที่สองเกิดพระมหาสัตว์จึงตรัสว่า :-

พราหมณ์นั้นมาเพื่อขอกะเราว่า ขอท่าน

จงให้นัยน์ตาเถิด เราได้ให้นัยน์ตาทั้งสองข้าง

แต่พราหมณ์ผู้ขอนั้น ปีติล้นพ้นได้เข้าไปถึง

เรา ความโสมนัสไม่น้อยบังเกิดขึ้น ด้วยสัจจ-

วาจานี้ ขอนัยน์ตาดวงที่สองจงเกิดขึ้นแก่เรา

เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 147

ในบทเหล่านั้น บทว่า ย ม คือ โย ม. บทว่า โส คือพราหมณ์ผู้

ขอนัยน์ตานั้น. บทว่า อาคา คือมาแล้ว. บทว่า วณิพฺพโต คือผู้ขอ. บทว่า

ม อาวิสิ เข้าไปหาเรา คือ ปีติล้นพ้นได้เข้าไปถึงเราผู้ให้นัยน์ตาแก่พราหมณ์

แล้วไม่คำนึงถึงเวทนาเห็นปานนั้น แม้ในเวลาตาบอดแล้วพิจารณาอยู่ว่า

โอ ทานเราให้ดีแล้ว. บทว่า โสมนสฺสญฺจนปฺปก คือ ความโสมนัสหา

ประมาณมิได้ เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า เอเตน ความว่า หากว่าในครั้งนั้นปีติ

และโสมนัสไม่น้อยเกิดขึ้นแก่เรา. คำที่เรากล่าวนั้นเป็นความจริง. ด้วย

สัจวาจาของเรานี้ ขอนัยน์ตาแม้ข้างที่สองจงเกิดขึ้นแก่เราเถิด.

ในทันใดนั้นเองพระเนตรแม้ข้างที่สองเกิดขึ้น. แต่พระเนตรทั้งสอง

ของพระโพธิสัตว์นั้นไม่เหมือนเดิมทีเดียว. มิใช่เป็นของทิพย์. เพราะไม่

สามารถจะทำนัยน์ตาที่ให้แก่สักกพราหมณ์เหมือนเดิมได้อีก. อนึ่ง ทิพยจักษุ

ย่อมไม่เกิดแก่ผู้มีนัยน์ตาถูกทำลายแล้ว. นัยน์ตาเกิดด้วยอำนาจแห่งปีติ

ซาบซ่านอาศัยปีติในทานของตน ของพระโพธิสัตว์นั้น ไม่วิปริตในเบื้องต้น

ใน ท่ามกลางและในที่สุด ตามนัยดังกล่าวแล้ว ท่านเรียกว่า สัจจปารมิตา-

จักษุ คือจักษุอาศัยสัจบารมี. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เมื่อเราจะให้ก็ดี กำลังให้ก็ดีให้แล้วก็ดี

จิตของเรามิได้เป็นอย่างอื่น เพราะเหตุแต่ง

พระโพธิญาณนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 148

ในบทเหล่านั้น บทว่า ททมานสฺส คือให้หมอควักเพื่อจะให้นัยน์ตา.

บทว่า เทนฺตสฺส คือวางนัยน์ตาที่ควักแล้วนั้นไว้บนมือสักกพราหมณ์. บทว่า

ทินฺนทานสฺส คือให้นัยน์ตาเป็นทานแล้ว. บทว่า จิตฺตสฺส อญฺกา คือ

อัธยาศัยในการให้มิได้เป็นอย่างอื่น. บทว่า โพธิยาเยว การณา เพราะ

เหตุแห่งพระโพธิญาณนั่นเอง. คือจักษุทานนั้นเป็นเหตุแห่งพระสัพพัญญุต-

ญาณนั่นเอง.

เราทำสิ่งที่ทำได้ยากอย่างนี้ เพราะพระสัพพัญญุตญาณหาได้ยาก

เพราะเหตุนั้นเมื่อจะทรงแสดงว่า เพราะเราไม่รักนัยน์ตาก็หามิได้ ไม่รักอัต-

ภาพก็หามิได้ จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า น เม เทสฺสา จักษุทั้งสองเรา

เกลียดชังก็หามิได้เป็นอาทิ. น อักษรตัวแรกในบทว่า อตฺตา น เม น

เทสฺสิโย เป็นเพียงนิบาต ความว่า แม้ตนเราก็มิได้เกลียดชัง อธิบายว่า

ตนเราก็ไม่โกรธ ไม่เป็นที่รักก็หามิได้. ปาฐะว่า อตฺตาน เม น เทสฺสิย

ก็มีความว่าตนเราก็มิได้เกลียด. บทนั้นมีความว่า เราไม่เกลียดไม่โกรธ

ไม่ควรจะโกรธตนของเรา. อาจารย์บางท่านกล่าวว่า อตฺตาปิ เม น เทสฺสิ-

โย ก็มีความอย่างเดียวกัน. บทว่า อทาสห ตัดบทเป็น อทาสึ อห คือ

เราได้ให้แล้ว. ปาฐะว่า อทาสิห ก็มี แปลอย่างเดียวกัน.

ก็ในครั้งนั้น เมื่อพระเนตรเกิดขึ้นแล้วด้วยสัตยาธิษฐานของพระ-

โพธิสัตว์ พวกราชบริษัททั้งหมดได้ประชุมกันด้วยอานุภาพของท้าวสุกกะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 149

ลำดับนั้นท้าวสักกะประทับยืนบนอากาศท่ามกลางมหาชน สรรเสริญพระ-

โพธิสัตว์ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า :-

ท่านผู้ยังชาวสีพีให้เจริญ คาถาทั้งหลาย

ท่านกล่าวแล้วโดยธรรม พระเนตรทั้งสองของ

ท่านปรากฏเป็นของทิพย์. การเห็นโดยรอบ

๑๐๐ โยชน์ ผ่านนอกฝา นอกหิน และภูเขา

จงสำเร็จแก่ท่านเถิด.

แล้วเสด็จกลับสู่เทวโลก.

แม้พระโพธิสัตว์แวดล้อมด้วยมหาชน เสด็จเข้าสู่พระนครด้วยสักการะ

อันใหญ่ เมื่อตระเตรียมประตูพระราชมณเฑียรเรียบร้อยแล้ว ประทับนั่ง

เหนือราชบัลลังก์ ภายใต้เศวตฉัตรที่เขายกขึ้นไว้ ณ มหามณฑป เมื่อจะ

ทรงแสดงธรรมแก่ชาวพระนคร ชาวชนบท และราชบริษัทผู้ยินดีร่าเริง

เบิกบานด้วยการได้พระเนตรคืนมาเพื่อจะเห็น จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า :-

ใครหนอในโลกนี้ เขาขอแล้วไม่ให้สมบัติ

อันประเสริฐบ้าง เป็นที่รักบ้างของตน. เชิญ

เถิดชาวสีพีทั้งหลายทั้งปวง จงมาประชุมกันดู

นัยน์ตาทิพย์ของเราในวันนี้เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 150

การเห็นโดยรอบร้อยโยชน์ ผ่านนอกฝา

นอกหิน และภูเขา จงสำเร็จแก่ท่าน. อะไร ๆ

ในชีวิตนี้ของสัตว์ทั้งหลาย จะยิ่งไปกว่าการ

บริจาคไม่มี เราให้จักษุอันเป็นของมนุษย์

แล้วได้จักษุอันเป็นทิพย์. ดูก่อนชาวสีพีทั้ง

หลาย พวกท่านเห็นทิพยจักษุนี้แล้วจงให้

ทาน จงบริโภคเถิด. อนึ่ง พวกท่านครั้นให้

แล้ว บริโภคแล้ว ตามอานุภาพไม่ถูกนินทา

จงไปสู่ฐานะอันเป็นแดนสวรรค์เถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน ภาสิตา ความว่า ข้าแต่มหาราช

พระองค์ตรัสคาถาเหล่านี้โดยธรรม โดยความเป็นจริงทีเดียว. บทว่า ทิพฺพานิ

คือประกอบด้วยอานุภาพอันเป็นของทิพย์. บทว่า ปฏิทสฺสเร คือย่อมปรากฏ.

บทว่า ติโรกุฑฑ คือนอกฝา. บทว่า ติโรเสล คือนอกหิน. บทว่า สมติคฺ-

คยฺห คือผ่านไป. บทว่า สมนฺตา คือการเห็นรูปทั่วสิบทิศประมาณร้อย

โยชน์จงสำเร็จแก่ท่าน.

บทว่า โภ นีธ ตัดบทเป็น โก นุ อิธ คือใครหนอในโลกนี้. บทว่า

อปิ วิสิฏฺ คือมีความสูงสุด. บทว่า น จาคมตฺตา คือไม่มีสิ่งอื่นชื่อว่าจะ

ประเสริฐกว่าการบริจาค. บทว่า อิธ ชีวิเต คือในชีวโลกนี้. อาจารย์บางพวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 151

กล่าวว่า อิธ ชีวต บ้าง. ความว่า เป็นอยู่ในโลกนี้. บทว่า อมานุส คือเรา

ได้ทิพยจักษุ. ด้วยเหตุนี้จึงควรกล่าวได้ว่า ไม่มีสิ่งชื่อว่าสูงสุกว่าการบริจาค.

บทว่า เอตมฺปิ ทิสฺวา คือเห็นทิพยจักษุที่เราได้นี้แล้ว.

พระโพธิสัตว์มิได้ทรงแสดงด้วยคาถา ๔ คาถาเหล่านี้ในขณะนั้น

เท่านั้น อันที่จริง พระโพธิสัตว์ทรงประชุมมหาชนในอุโบสถ ทรงแสดงธรรม

แม้ทุกกึ่งเดือนด้วยประการฉะนี้. มหาชนได้สดับพระธรรมนั้นแล้ว ต่าง

ทำบุญมีทานเป็นต้นแล้วก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลก.

หมอในครั้งนั้นได้เป็นพระอานนทเถระในครั้งนี้. ท้าวสักกะ คือ

พระอนุรุทธเถระ. บริษัทที่เหลือ คือพุทธบริษัท. พระเจ้าสีวิราช คือพระ-

โลกนาถ.

แม้ในสิวิราชจริยานี้ของพระโพธิสัตว์นั้น ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมี

ทั้งหลายตามสมควร โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. อนึ่ง พึงทราบคุณานุภาพ

ของพระมหาสัตว์มีอาทิอย่างนี้ คือ ทุกๆ วัน วัตถุอันเป็นไทยธรรมภายนอก

ที่ไม่เคยพระราชทาน ไม่มีฉันใด เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงบริจาคมหาทานอัน

นับไม่ถ้วนก็ฉันนั้น ไม่ทรงยินดีด้วยมหาทานนั้น ทรงดำริว่า ทำอย่างไรหนอ

เราจะพึงบริจาคทานอันเป็นวัตถุภายในได้. เมื่อไรหนอจะพึงมีใคร ๆ มาหา

เราแล้วขอไทยธรรมอันเป็นวัตถุภายใน. หากมีผู้ขออะไร ๆ จะพึงขอเนื้อ-

หทัยของเรา เราจักนำเนื้อหทัยนั้นออกด้วยหอกแล้วนำหทัยซึ่งมีหยาดเลือด

ไหลดุจยกดอกบัวพร้อมด้วยก้านขึ้นจากน้ำใสแล้วจักให้. หากพึงขอเนื้อใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 152

ร่างกาย เราจักเชือดเนื้อในร่างกาย ดุจกรีดเยื่อน้ำอ้อยงบของตาลด้วยการขูด

ออก. หากพึงขอเลือดเราจะเอาคาบแทงหรือสอดเข้าไปในปากแห่งสรีระแล้ว

นำเอาภาชนะเข้าไปรองจนเต็มแล้วจักให้เลือด. อนึ่ง หากใคร ๆ พึงกล่าวว่า

ในเรือนของเรา การงานไม่ค่อยเรียบร้อย ท่านจงรับใช้เราที่เรือนนั้นเถิด.

เราจักเปลื้องเครื่องทรงของพระราชา ออกมอบตนแก่เขาแล้วรับใช้เขา

หรือว่าหากใครๆ พึงขอนัยน์ตาเรา. เราจักให้ควักนัยน์ตา ดุจนำจาวตาลออก

ฉะนั้นแล้วให้แก่เขาดังนี้. พระมหาโพธิสัตว์ทรงถึงความเป็นผู้ชำนาญอันใช่

ทั่วไปแก่ผู้อื่นอย่างนี้ ทรงเกิดความปริวิตกกว้างขวางเป็นพิเศษ. การได้ผู้ขอ

จักษุแล้วแม้เมื่ออำมาตย์และเหล่าบริษัทเป็นผู้ทูลคัดค้าน ก็มิได้ทรงเชื่อฟังคำ

ของชนเหล่านั้น ทรงเสวยปีติอย่างยิ่งด้วยการปฏิบัติสมควรแก่ความปริวิตก

ของพระองค์. ทรงตั้งสัตยาธิษฐานต่อพระพักตร์ของท้าวสักกะ อาศัยความ

ที่การปฏิบัตินั้นเป็นความจริงแท้แน่นอน เพราะพระองค์มีพระทัยอิ่มเอิบ.

ความที่พระเนตรของพระองค์เป็นปกติด้วยสัตยาธิษฐานนั้น และความที่

พระเนตรนั้นมีอานุภาพเป็นของทิพย์ ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสิวิราชจริยาที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 153

๙. เวสสันตรจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเวสสันดร

[๙] นางกษัตริย์พระนามว่าผุสดี พระชนนีของ

เรา พระนางเป็นมเหสีของท้าวสักกะ ในชาติ

ที่ล่วงมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพทรงเห็นว่า

พระนางจะสิ้นอายุ จึงตรัสดังนี้ว่า เราจะให้พร

๑๐ ประการแต่เธอ นางผู้เจริญ จะปรารถนาพร

อันใด พอท้าวสักกะตรัสอย่างนี้เท่านั้น พระ-

เทวีนั้นได้ทูลท้าวสักกะ ดังนี้ว่า หม่อมฉันมี

ความผิดอะไรหรือ หรือพระองค์เกลียดหม่อม

ฉันเพราะเหตุใด จึงจะให้หม่อมฉันเคลื่อน

จากสถานอันรื่นรมย์เหมือนลมพัดให้ต้นไม้

หวั่นไหว ฉะนั้น เมื่อพระนางผุสดีตรัส

อย่างนี้ ท้าวสักกะนั้นได้ตรัสกะพระนางดังนี้

อีกว่า เธอไม่ได้ทำความชั่วเลย และจะไม่

เป็นที่รักของเราก็หามิได้ แต่อายุของเธอมี

ประมาณเท่านี้เอง เวลานี้เป็นเวลาที่เธอจัก

ต้องจุติ เธอจงรับเอาพร ๑๐ ประการอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 154

ประเสริฐสุด ที่ฉันให้เกิด พระนางผุสดีนั้น

มีพระทัยยินดี ร่าเริงเบิกบานพระทัย ทรงรับ

เอาพร ๑๐ ประการซึ่งเป็นพรอันท้าวสักกะ

พระราชทานทรงทำเราไว้ในภายใน พระนาง

ผุสดีนั้น จุติจากดาวดึงส์นั้นแล้ว มาบังเกิด

ในตระกูลกษัตริย์ ได้สมาคมกับพระเจ้า

กรุงสญชัย คือเป็นมเหสีของพระเจ้ากรุงสญชัย

ในพระนครเชตุดร ในกาลเมื่อเราลงสู่-

พระครรภ์ของพระนางผุสดี พระมารดาที่รัก

ด้วยเดชของเรา พระมารดาของเราเป็นผู้ยินดี

ในทานทุกเมื่อ ทรงให้ทานแก่คนยากจน คน

ป่วยไข้ กระสับกระส่าย คนแก่ ยาจก คน

เดินทาง สมณพราหมณ์คนสิ้นเนื้อประดาตัว

คนไม่มีอะไรเลย พระนางผุสดีทรงพระครรภ์

ครบ ๑๐ เดือน เมื่อพระเจ้าสญชัยทรงทำ

ประทักษิณพระนคร พระนางก็ประสูติเรา ณ

ท่ามกลางถนนของพวกคนค้าขาย นามของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 155

เราจึงไม่เนื่องข้างฝ่ายพระมารดา และไม่เกิด

เนื่องข้างฝ่ายพระบิดา เพราะเราเกิดที่ถนน

ของคนค้าขายนี้ ฉะนั้น เราจึงมีชื่อว่าเวสสันดร

ในกาลเมื่อเราเป็นทารกมีอายุ ๘ ปีแต่กำเนิด

ในกาลนั้น เรานั่งอยู่ในปราสาท คิดเพื่อจะ

ให้ทานว่า เราพึงให้หทัย จักษุ แม้เนื้อและ

เลือด เราฟังให้ทานทั้งกาย ถ้าใครได้ยินแล้ว

พึงขอกะเรา เมื่อเราคิดถึงความเป็นจริง จิต

ของเราไม่หวั่นไหว ไม่หดหู่ ในขณะนั้น

แผ่นดิน เขาสิเนรุราชและป่าหิมพานต์ได้

หวั่นไหว ในเดือนเต็มวันอุโบสถที่ ๑๕ ทุก

กึ่งเดือน เราขึ้นคอมงคลหัตถีปัจจัยนาค เข้า

ไปยังศาลาเพื่อจะให้ทาน พราหมณ์ทั้งหลาย

ชาวกาลิงครัฐ ได้มาหาเราได้ขอพระยาคชสาร

ทรง อันประกอบด้วยมงคลหัตถีกะเราว่า

ชนบทฝนไม่ตก เกิดทุพภิกขภัย อดอยาก

มากมาย ขอพระองค์ทรงโปรดพระราชทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 156

พระยาคชสารตัวประเสริฐ เผือกผ่อง อันเป็น

ช้างมงคลอุดม พราหมณ์ทั้งหลายขอสิ่งใด

กะเรา เราย่อมให้สิ่งนั้นไม่หวั่นไหวเลย เรา

ไม่ซ่อนเร้นของที่มีอยู่ ใจของเรายินดีในทาน

เมื่อยาจกมาถึงแล้ว การห้าม คือ การไม่ให้

ไม่สมควรแก่เรา กุศลสมาทานของเราอย่า

ทำลายเสีย เราจักให้คชสารตัวประเสริฐ เรา

ได้จับงวงพระยาคชสาร วางลงบนมือพราหมณ์

แล้วจึงหลังน้ำเต้าทองลงบนมือ ได้ให้พระยา

คชสารแก่พราหมณ์ เมื่อเราให้พระยามงคล

คชสารอันอุดม เผือกผ่อง อีก แม้ในกาลนั้น

แผ่นดินเขาสิเนรุราช และป่าหิมพานต์ ก็ได้

หวั่นไหว เพราะเราให้พระยาคชสารนั้น ชาว

พระนครสีพีพากันโกรธเคือง มาประชุมกัน

แล้ว ขับไล่เราจากแว่นแคว้นของตนว่า จง

ไปยังภูเขาวงกต เมื่อชาวพระนครเหล่านั้น

ขับไล่ จิตของเราไม่หวั่นไหว ไม่หดหู่ เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 157

ได้ขอพรอย่างหนึ่ง เพื่อจะยังมหาทานให้เป็น

ไป เมื่อเราขอแล้ว ชาวพระนครสีพีทั้งหมด

ได้ให้พรอย่างหนึ่งแก่เรา เราจึงให้เอากลอง

คู่หนึ่งไปตีประกาศว่าเราจะให้มหาทาน ครั้ง

เมื่อเราให้ทานอยู่ในโรงทานนั้น เสียงดัง

กึกก้องอึงมี่ย่อมเป็นไปว่า ชาวพระนครสีพี

ขับไล่พระเวสสันดรนี้เพราะให้ทาน พระองค์

จะยังให้ทานอะไรอีกเล่า เราได้ให้ช้าง ม้า รถ

ทาสี ทาส แม่โค ทรัพย์ ครั้นให้มหาทาน

แล้ว ก็ออกจากพระนครไปในกาลนั้น ครั้นเรา

ออกจากพระนครแล้ว กลับผินหน้ามาเหลียว

ดู แม้ในกาลนั้น แผ่นดิน เขาสิเนรุราช

และป่าหิมพานต์ ก็หวั่นไหว เราให้ม้าสินธพ

๔ ตัว และรถ แล้วยินอยู่ที่ทางใหญ่ ๔ แยก

ผู้เดียวไม่มีเพื่อนสอง ได้กล่าวกะพระนาง

มัทรีเทวีดังนี้ว่า ดูก่อนแม่มัทรี เธอจงอุ้ม

กัณหากุมารีเถิด เพราะเธอเป็นน้องคงเบากว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 158

พี่จะอุ้มพ่อชาลี เพราะเขาเป็นพี่คงจะหนัก

พระนางมัทรีทรงอุ้มแม่กัณหาผู้อ่อนนุ่ม ดัง

ดอกปทุมและบัวขาว เราได้อุ้มพ่อชาลีหน่อ

กษัตริย์ เปรียบดังแท่งทองคำ ชนทั้ง ๔ เป็น

กษัตริย์สุขุมาลชาติเกิดในสกุลสูง ได้เสด็จ

ดำเนินไปตามทางอันขรุขระและราบเรียบ ไป

ยังเขาวงกต มนุษย์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เดิน

ตามมาในหนทางก็ดี สวนทางมาก็ดี เรา

ทั้งหลายได้ไต่ถามเขาถึงหนทางว่า เขาวงกต

อยู่ที่ไหน เขาเห็นเราทั้งหลาย ณ ที่นั้นแล้ว

ได้เปล่งเสียงอันประกอบด้วยกรุณาว่า กษัตริย์

เหล่านี้คงจะต้องได้เสวยทุกข์อย่างยิ่ง เพราะ

เขาวงกตยังไกล ถ้าพระกุมารทั้งหลายเห็น

ต้นไม้อันมีผลในป่าใหญ่ พระกุมารกุมารีก็จะ

ทรงกันแสง เพราะเหตุแห่งผลไม้เหล่านั้น

ต้นไม้ทั้งหลายอันสูงใหญ่ไพศาล เห็นพระ-

กุมารกุมารีทรงกันแสง ก็โน้มยอดลงมาหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 159

พระกุมารและพระกุมารีเอง พระนางมัทรีผู้

ทรงความงามทั่วสรรพางค์ ทรงเห็นความ

อัศจรรย์ที่อันไม่เคยมีมา น่าขนลุกขนพอง

จึงยังสาธุการให้เป็นไปว่า ความอัศจรรย์อัน

ไม่เคยมีในโลก บังเกิดขนชูชันหนอ หมู่ไม้

น้อมยอดลงมาเอง ด้วยเดชแห่งพระเวสสันดร

เทวดาทั้งหลายช่วยย่นทางให้ ด้วยความเอ็น

ดูพระกุมารกุมาร ในวันที่เราออกจากพระนคร

สีพีนั้นเอง เราทั้ง ๔ ได้ไปถึงเจตรัฐ ในกาล

นั้น พระราชา (เจ้า) หกหมื่นองค์ อยู่ใน

พระนครมาตุละ ต่างก็ประนมกรอัญชลีพากัน

ร้องไห้มาหา เราเจรจาปราศรัยกับโอรสของ

พระเจ้าเจตราชเหล่านี้อยู่ ณ ที่นั้น ให้โอรส

ของพระเจ้าเจตราชเหล่านั้นกลับที่ประตูนั้น

แล้ว ได้ไปยังเขาวงกต ท้าวสักกะจอม

เทวดา ตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรผู้มีฤทธิ์

มาก แล้วรับสั่งให้ไปเนรมิตบรรณศาลาอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 160

สวยงาม น่ารื่นรมย์ สำหรับเป็นอาศรม เรา

ทั้ง ๔ คน มาถึงป่าใหญ่อันเงียบเสียงอื้ออึง

ไม่เกลื่อนกล่นด้วยฝูงชนอยู่ในบรรณศาลานั้น

ณ เชิงเขา ในกาลนั้น เรา พระนางมัทรีเทวี

พ่อชาลีและแม่กัณหาทั้งสอง บรรเทาความ

เศร้าโศกของกันและกันอยู่ในอาศรม เรา

รักษาเด็กทั้งสองอยู่ในอาศรม อันไม่ว่างเปล่า

พระนางมัทรีนำผลไม้มาเลี้ยงคนทั้งสาม เมื่อ

เราอยู่ในป่าใหญ่ ชูชกพราหมณ์เดินเข้ามาหา

เรา ได้ขอบุตรทั้งสองของเรา คือ พ่อชาลี

และแม่กัณหาชินา เพราะได้เห็นยาจกเข้า

มาหา ความร่าเริงเกิดขึ้นแก่เรา ในกาลนั้น

เราได้พาบุตรทั้งสองมาให้แก่พราหมณ์ เมื่อเรา

สละบุตรทั้งสองของตนให้แก่ชูชกพราหมณ์

ในกาลใด แม้ในกาลนั้น แผ่นดิน เขา

สิเนรุราช และป่าหิมพานต์ ก็หวั่นไหว

ท้าวสักกะทรงแปลงเพศเป็นพราหมณ์ เสด็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 161

ลงจากเทวโลก มาขอนางมัทรีผู้มีศีล มีจริยา-

วัตรอันงาม กะเราอีก เรามีความดำริแห่งใจ

อันเลื่อมใส จับพระหัตถ์พระนางมัทรียัง

ฝ่ามือให้เต็มด้วยน้ำ ได้ให้พระนางมัทรีแก่

พราหมณ์นั้น เมื่อเราให้พระนางมัทรี หมู่

เทวดาในอากาศเบิกบาน พลอยยินดี

แม้ในกาลนั้น แผ่นดิน เขาสิเนรุราช และ

ป่าหิมพานต์ ก็หวั่นไหว เราสละพ่อชาลี

แม่กัณหาชนาผู้ธิดา และพระนางมัทรีเทวีผู้มี

จริยาวัตรอันงาม ไม่คิดถึงเลย เพราะเหตุแห่ง

โพธิญาณนั่นเอง เราจะเกลียดบุตรทั้งสอง

หามิได้ จะเกลียดพระนางมัทรีก็หามิได้ แต่

สัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้นเราให้

บุตรและภรรยาผู้เป็นที่รัก อีกครั้งหนึ่ง เมื่อ

พระมารดาและพระบิดาเสด็จมาพร้อมกัน ณ

ป่าใหญ่ ทรงกันแสงสะอึกสะอื้นน่าสงสาร

ตรัสถามถึงสุขทุกข์กันอยู่ เราได้เข้าเฝ้าพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 162

มารดาและพระบิดาทั้งสองผู้เป็นที่เคารพด้วย

หิริและโอตตัปปะ แม้ในกาลนั้น แผ่นดิน

เขาสเนรุราช และป่าหิมพานต์ ก็หวั่นไหว

อีกครั้งหนึ่ง เรากับบรรดาพระญาติของเราออก

จากป่าใหญ่ จักเข้าสู่พระนครเชตุดร อันเป็น

นครน่ารื่นรมย์ แก้ว ๗ ประการตกลงแล้ว

มหาเมฆยังฝนให้ตก (มหาเมฆยังฝนแก้ว

๗ ประการให้ตกลง) แม้ในกาลนั้นแผ่นดิน

เขาสเนรุราช และป่าหิมพานต์ ก็หวั่นไหว

แม้แผ่นดินนี้ไม่มีจิตใจ ไม่รู้สุขและทุกข์

ก็หวั่นไหวถึง ๗ ครั้ง เพราะกำลังแห่งทาน

ของเรา ฉะนั้นแล.

จบ เวสสันตรจริยาวที่ ๙

อรรถกถาเวสสันตรจริยาที่ ๙

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกุถาเวสสันตรจริยาที่ ๙ ดังต่อไปนี้. บทว่า

เม ในบทนี้ว่า ยา เม อโทสิ ชนิกา นางกษัตริย์พระนามว่าผุสดี

พระชนนีของเรา พระศาสดาตรัสหมายถึงพระองค์ครั้งเป็นพระเวสสันดร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 163

ด้วยเหตุนั้นพระองค์จึงตรัสว่า ผุสฺสตี นาม ขตฺติยา นางกษัตริย์

พระนามว่าผุสดี. เป็นความจริงดังนั้นพระมารดาขอพระโพธิสัตว์เป็นนาง

กษัตริย์พระนามว่าผุสดิ. บทว่า สา อตีตาสุ ชาตีสุ คือพระนางใน

ชาติที่ล่วงมาแล้วเป็นลำดับจากชาตินั้น. จริงอยู่บทนี้เป็นพหูพจน์ในความ

เดียวกัน. พึงทราบการเชื่อมความว่า พระนางเป็นมเหสีเป็นที่รักของท้าว

สักกะ. อนึ่งพระนางได้เป็นพระชนนีของเราในอัตภาพสุดท้าย. ในชาติ

อันล่วงแล้วนั้นพระนางมีพระนามว่า ผุสดี. กษัตริย์ทั้งหลายในชาติอัน

ล่วงแล้วนั้น. เราได้เกิดเป็นเวสสันดรในพระครรภ์ของพระนางในชาติใด

ก่อนแต่ชาตินั้น พระนางได้เป็นพระมเหสีเป็นที่รักของท้าวสักกะ พึง

ทราบเรื่องราวเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้.

ในกัป ๙๑ จากกัปนี้พระศาสดาพระนามว่า วิปัสสีทรงอุบัติขึ้นใน

โลก. เมื่อพระศาสดาพระนามว่า วิปัสสีประทับอาศัยพันธุดื่มนคร ประทับ

อยู่ ณ มฤคทายวันชื่อ เขมะ พระเจ้าพันธุมราชได้พระราชทานแก่นจันทน์

มีค่ามากซึ่งพระราชาองค์หนึ่งส่งไปถวาย แก่พระธิดาองค์ใหญ่ของพระ-

องค์. พระธิดาได้เอาแก่นจันทน์นั้นบดเป็นผงละเอียดบรรจุลงพระอบ เสด็จ

ไปวิหารบูชาพระสรีระของพระศาสดาซึ่งมีผิวดุจทองคำแล้ว เกลี่ยผงที่เหลือ

ลงในพระคันธกุฎี ทรงตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอให้

หม่อมฉันพึงเป็นมารดาของพระพุทธเจ้าเช่นพระองค์ในอนาคตเถิด ครั้น

พระนางจุติจากมนุษยโลกด้วยผลแห่งการบูชาผงจันทน์นั้น มีพระสรีระดุจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 164

อบด้วยจันทน์แดง ทรงท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้ทรงเกิด

เป็นอัครมเหสีของท้าวสักกเทวราชในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. ครั้นพระนางจะ

สิ้นพระชนม์ได้เกิดบุรพนิมิต ท้าวสักกเทวราชทรงทราบว่า พระนางจะ

สิ้นอายุ เพื่อออนุเคราะห์พระนาง จึงตรัสว่า แม่นางผุสดีผู้เจริญ เราจะ

ให้พร ๑๐ ประการแก่เจ้า. เจ้าจงรับพรเถิด. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า :-

ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบว่า พระ-

นางจะสิ้นอายุ จึงตรัสดังนี้ว่า เราจะให้พร

๑๐ ประการแก่เจ้า นางผู้เจริญจะปรารถนาพร

อันใด.

ในบทเล่านั้น บทว่า วร คือจงเลือกรับพร. บทว่า ภทฺเท

ยทิจฺฉสิ ท้าวสักกะตรัสว่า นางผุสดีผู้เจริญ เจ้าปรารถนาพรอันใด.

พรอันใดเป็นที่รักของเจ้า เจ้าจงเลือกรับพรอันนั้น ๑ ประการ.

บทว่า ปุนิทมพฺรวิ คือพระนางไม่รู้ว่าตนจะต้องจุติจึงได้ทูลคำเป็น

อาทิว่า กึ นุ เม อปราธตฺถิ หม่อมฉันมีความผิดอะไรหรือ ? เพราะ

นางเป็นผู้ประมาทไม่รู้ว่าตนจะสิ้นอายุ เมื่อท้าวสักกะตรัสว่า เจ้าจงรับพร

จึงคิดว่า ท้าวสักกะทรงปรารถนาจะให้เราเกิดขึ้นที่ไหน จึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า อปราธตฺถิ คือมีความผิด. บทว่า กึ นุ เทสฺสา อห ตว พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 165

ทรงเกลียดหม่อมฉันเพราะเหตุไร ? คือพระองค์ทรงเกลียด หมดความ

รักเสียแล้ว. บทว่า รมฺมา จาเวสิ ม านา คือพระองค์จะให้หม่อมฉัน

เคลื่อนจากสถานอันน่ารื่นรมย์นี้. บทว่า วาโตว ธรณีรุห เหมือนลมพัด

ให้ต้นไม้หวั่นไหวฉะนั้น พระนางทูลถามท้าวสักกะว่า พระองค์มีพระ-

ประสงค์จะให้หม่อมฉันเคลื่อนจากเทวโลกนี้ เหมือนลมแรงพัดถอนตัดไม้

ฉะนั้น เพราะเหตุไรหนอ ?

บทว่า ตสฺสิท ตัดบทเป็น ตสฺสา อิท ความว่า ท้าวสักกะ

ได้ตรัสกะพระนางดังนี้อีก. บทว่า น เจว เต กต ปาป เจ้าไม่ได้ทำ

ความชั่วเลย คือ ความชั่วไร ๆ เจ้ามิได้ทำไว้ ความผิดของเจ้าก็ไม่มี. บทว่า

น จ เม ตฺวสิ อปฺปิยา เจ้ามิได้เป็นที่รักของเราก็หามิได้ อธิบายว่า.

เป็นที่เกลียดชัง ไม่เป็นที่รักก็หามิได้.

บัดนี้ ท้าวสักกะเมื่อจะทรงแสดงถึงความประสงค์ที่จะประทานพร

จึงตรัสว่า อายุของเจ้ามีประมาณเท่านี้เอง เวลานี้เป็นเวลาที่เจ้าจักต้องจุติ

เมื่อจะทรงให้พระนางรับพรจึงตรัสว่า เจ้าจงรับพร ๑๐ ประการอัน

ประเสริฐสุดที่เราให้เถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วรุตฺตเม คือพรอันประเสริฐสุดกว่าพร

ทั้งหลาย. บทว่า ทินฺนวรา คือพรอันท้าวสักกะประทานแล้วด้วยทรงให้

ปฏิญญาว่า เราจักให้พร. บทว่า ตุฏฺหฏฺา นางมีพระทัยยินดีร่าเริง

คือยินดีด้วยความพอใจในลาภที่พระนางปรารถนาไว้ และร่าเริงด้วยเห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 166

ความปรารถนานั้นถึงที่สุด. บทว่า ปโมทิตา คือมีพระทัยเบิกบานด้วย

ความปราโมทย์มีกำลัง. บทว่า มม อพฺภนฺตร กตฺวา คือทรงทำเรา

ไว้ในภายใน ในพรเหล่านั้น. บทว่า ทส วเร วริ ความว่า พระนาง

ทรงทราบว่า พระนางจะสิ้นอายุ ท้าวสักกะให้โอกาสเพื่อประทานพร จึง

ทรงตรวจดูทั่วพื้นชมพูทวีป ทรงเห็นพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสีพีสมควร

แก่ตน จึงทรงรับพร ๑๐ ประการเหล่านี้คือ ๑. ขอให้เป็นอัครมเหสี

ของพระเจ้ากรุงสีพีในแคว้นสีพีนั้น ๒. ขอให้มีดวงตาดำ ๓. ขอให้มี

ขนคิ้วดำ ๔. ขอให้มีชื่อว่าผุสดี ๕. ขอให้ได้โอรสประกอบด้วยคุณ

วิเศษ ๖. ขออย่าให้ครรภ์นูนโต ๗. ขออย่าให้ถันหย่อนยาน ๘. ขออย่า

ให้ผมหงอก ๙. ขอให้ผิวละเอียด ๑๐. ขอให้ปล่อยนักโทษที่ต้องประหาร

ชีวิต.

ครั้นพระนางได้รับพร ๑๐ ประการแล้วก็จุติจากเทวโลกมาบังเกิดใน

พระครรภ์ของพระอัครมเหสี ของพระเจ้ามัททราช. อนึ่งเมื่อพระนาง

ประสูติมีพระสรีระดุจอบด้วยผงจันทน์. ด้วยเหตุนั้นในวันขนานพระนาม

จึงให้ชื่อว่า ผุสดี พระนางผุสดี มีบริวารมาก เมื่อพระชนม์ได้ ๑๖

พระพรรษามีพระรูปพระโฉมงดงามยิ่งนัก. ลำดับนั้น พระเจ้าสีพีมหาราช

ทรงนำพระนางมาเพื่ออภิเษกสมรสกับพระสญชัยกุมาร ผู้เป็นพระโอรส

รับสั่งให้ยกเศวตฉัตรทรงตั้งพระนางผุสดีไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี ให้

เป็นใหญ่กว่าสตรี ๑๖,๐๐๐ คน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 167

พระนางผุสดีจุติจากดาวดึงส์นั้น แล้ว

มาบังเกิดในตระกูลกษัตริย์ ได้อภิเษกสมรส

กับพระเจ้ากรุงสญชัยในกรุงเชตุดร

พระนานผุสดีนั้น เป็นที่รักเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ากรุงสญชัย.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะทรงรำพึงเห็นว่า พรที่เราให้แก่พระนางผุสดีไป

สำเร็จไปแล้ว ๙ ประการ ทรงดำริว่า พรเกี่ยวกับพระโอรสยังไม่สำเร็จ.

เราจักให้พรนั้นสำเร็จแก่นาง ทรงเห็นว่า พระโพธิสัตว์จะสิ้นอายุในเทวโลก

ชั้นดาวดึงส์ในครั้งนั้นแล้วจึงเสด็จไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์ตรัสว่า ท่าน

ผู้นิรทุกข์ ท่านสมควรถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสี ของ

พระเจ้ากรุงสญชัยแคว้นสีพีในมนุษยโลก ทรงรับปฏิญญาของพระโพธิสัตว์

และเทพบุตร ๖๐,๐๐ เหล่าอื่นที่ปฏิบัติตามเทวบัญชา เสร็จแล้วเสด็จกลับ

วิมานของพระองค์. แม้พระมหาสัตว์ครั้นจุติจากชั้นดาวดึงส์นั้น แล้วก็ทรง

บังเกิดในแคว้นสีพีนั้น. แม้เทพบุตรที่เหลือก็ไปบังเกิดในเรือนของเหล่า

อำมาตย์ ๖๐,๐๐๐ เมื่อพระมหาสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ พระนางผุดี-

เทวี รับสั่งให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือที่ประตูพระนคร แห่ง ท่ามกลาง

พระนคร ๑ ที่ประตูพระนิเวศน์ ๑ แห่ง ทรงสละทรัพย์ ๖๐๐,๐๐๐ ทุกๆ

วัน ได้ทรงแพ้พระครรภ์เมื่อทรงให้ทาน. พระราชาทรงสดับว่า พระนาง

ทรงแพ้พระครรภ์ จึงรับสั่งเรียกพราหมณ์ผู้ท่านายโชคชะตามาตรัสถาม

ทรงสดับคำกราบทูลว่า ขอเดชะข้าแต่มหาราชเจ้า สัตว์มีบุญมาก ยินดีใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 168

ทานจะอุบัติในพระครรภ์ของพระเทวี. สัตว์นั้นจักไม่อิ่มด้วยทานพระเจ้าข้า

ทรงมีพระทัยยินดี ทรงให้ตั้งทานดังได้กล่าวแล้ว. ทรงให้สมณพราหมณ์

คนแก่ คนเดือดร้อน คนยากจน คนเดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลาย

อิ่มหนำสำราญ. ตั้งแต่พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิ คือความเจริญของพระราชา

หาประมาณมิได้. ด้วยบุญญานุภาพของพระโพธิสัตว์นั้น พระราชาทั่วชมพู-

ทวีปต่างส่งเครื่องบรรณาการไปถวาย. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ในกาลเมื่อเราลงสู่พระครรภ์ของพระนาง

ผุสดี พระมารดาที่รัก ด้วยเดชของเรา

พระมารดาเป็นผู้ยินดีในทานทุกเมื่อ ทรงให้

ทานแก่คนยากจน คนป่วยไข้ คนแก่ ยาจก

คนเดินทาง สมณพราหมณ์ คนสิ้นเนื้อ

ประดาตัว คนไม่มีอะไรเลย.

ในบทเหล่านั้น. บทว่า มม เตเชน ด้วยเดชของเรา คือด้วย

อานุภาพแห่งอัธยาศัยในการให้ของเรา. บทว่า ขีเณ คือหมดสิ้นด้วย

โภคะเป็นต้น คือถึงความเสื่อมโทรม. บทว่า อกิญฺจเน คือไม่มีอะไร

ยึดถือเลย. ในทุกบทเป็นสัตตมีวิภัตติ์ลงในอรรถแห่งวิสัยคือเป็นอารมณ์

เพราะว่า คนไม่มีทรัพย์เป็นต้น เป็นอารมณ์แห่งการบริจาคไทยธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 169

พระเทวีทรงได้รับการบริหารพระครรภ์เป็นอย่างมาก เมื่อครบ ๑๐

เดือน มีพระประสงค์จะทอดพระเนตรพระนคร จึงกราบทูลพระราชสวามี

พระราชารับสั่งให้ตกแต่งพระนครดุจเทพนคร อัญเชิญพระเทวีขึ้นรถอัน

ประเสริฐแล้วให้ทำประทักษิณพระนคร. เมื่อพระนางเสด็จถึงท่ามกลาง

ถนนของพวกทำการค้า ลมกรรมชวาต ( ลมเบ่ง ) ได้ปั่นป่วนขึ้นแล้ว

พวกอำมาตย์กราบทูลแด่พระราชา. พระราชารับสั่งให้สร้างเรือนประสูติแก่

พระนางที่ถนนของพวกทำการค้านั่นเองแล้วทรงให้จัดตั้งอารักขา พระนาง

ประสูติพระโอรส ณ ที่นั้นเอง. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พระนางผุสดีทรงพระครรภ์ครบ ๑๐

เดือน เมื่อพระเจ้าสญชัยทรงทำประทักษิณ

พระนคร พระนางก็ประสูติเรา ณ ท่ามกลาง

ถนนของพวกคนทำการค้า นามของเราจึงไม่

เนื่องข้างฝ่ายพระมารดา และไม่เกิดเนื่องข้าง

ฝ่ายพระบิดา เพราะเราเกิดที่ถนนของตน

ค้าขาย ฉะนั้น เราจึงมีชื่อว่า เวสสันดร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ภโรนฺเต ปุร ปทกฺขิณ คือเมื่อพระเจ้า

สญชัยมหาราชทรงพาพระเทวีกระทำประทักษิณพระนคร. บทว่า เวสฺสาน

คือพวกพ่อค้า. บทว่า น มตฺติก นาม คือนามของเราไม่เนื่อง ตา ยาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 170

อันมาข้างมารดา. บทว่า เปตฺติกสมฺภว ชื่อว่า เปตฺติก เพราะนี้ฝ่าย

บิดา. ชื่อว่า สมฺภโว เพราะเกิดจากฝ่ายบิดา. ชื่อว่า เปตฺติกสมฺภว

เพราะเกิดเนื่องข้างฝ่ายบิดา หมายถึงชื่อ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า

มิได้ตั้งพระนามด้วยความผูกพันทางมารดาและบิดา. บทว่า ชาเตตฺถุ

ตัดบทเป็น ชาโต เอตฺถ คือเกิดที่ถนนของตนค้าขายนี้. ปาฐะว่า ชาโตมฺหิ

บ้างคือเราเกิดแล้ว. บทว่า ตสฺมา เวสฺสนฺตโร อหุ คือ เพราะในครั้งนั้น

เราเกิด ณ ถนนของตนค้าขาย ฉะนั้นจึงชื่อว่า เวสสันดร อธิบายว่า

พระชนกชนนีทรงขนานพระนามว่า เวสฺสนฺตร.

พระมหาสัตว์ทรงประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ทรงเฉลียวฉลาด

ทรงลืมพระเนตรประสูติ. พอทรงประสูตินั่นเองทรงเหยียดพระหัตถ์ให้

พระมารดาตรัสว่า แม่จ๋า ลูกจักให้ทาน มีอะไรบ้าง. มารดาของพระ

มหาสัตว์ทรงมอบถุงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ที่อยู่ใกล้พระหัตถ์ด้วยพระดำรัสว่า ลูกรัก

จงให้ทานตามอัธยาศัยเถิด. จริงอยู่พระโพธิสัตว์พอประสูติก็ทรงพูดได้ในที่

๓ แห่ง คือในอุมมังคชาดก ๑ ในชาดกนี้ ๑ ในอัตภาพสุดท้าย ๑.

พระราชาทรงให้แม่นม ๖๐ คนมีน้ำนมหวานเว้นจากโทษมีสูงเกินไปเป็นต้น

ดูแลพระมหาสัตว์. พระราชทานแม่นมแก่ทารก ๖๐,๐๐๐ ซึ่งเกิดพร้อม

กับพระโพธิสัตว์นั้น. พระโพธิสัตว์ทรงเจริญด้วยบริวารมากพร้อมกับทารก

๖๐,๐๐๐ คน. พระราชารับสั่งให้ช่างทำเครื่องประดับพระกุมารมีค่า ๑๐๐,๐๐๐

พระราชทานแก่พระกุมารนั้น. พระกุมารเมื่อมีพระชันษา ๔ - ๕ ขวบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 171

ทรงเปลื้องเครื่องประดับนั้นให้แก่พวกแม่นม พวกแม่นมถวายคืนอีกก็ไม่

ทรงรับ. พระราชาทรงสดับดังนั้นจึงตรัสว่า เครื่องประดับที่โอรสของเรา

ให้เป็นอันให้ดีแล้ว แล้วทรงให้ช่างทำเครื่องประดับอย่างอื่นอีก. พระกุมาร

ก็ทรงให้อีก. เมื่อเป็นทารกนั่นเองได้ทรงให้เครื่องประดับแก่พวกแม่นม

ถึง ๙ ครั้ง.

เมื่อพระชนม์ได้ ๘ พระพรรษา บรรทมเหนือพระยี่ภู่ทรงดำริว่า

เราให้ทานภายนอก. ทานนั้นก็ไม่พอใจเรา. เราประสงค์จะให้ทานภายใน

หากว่าใคร ๆ พึงขอหทัยกะเรา. เราจะนำหทัยออกให้. หากพึงขอจักษุกะเรา.

เราก็จักควักจักษุให้. หากพึงขอเนื้อหรือเลือดในร่างกายทั้งสิ้นของเรา. เรา

ก็จะเชือดเนื้อจากร่างกายทั้งสิ้น เอาดาบเจาะเลือดให้. แม้ใคร ๆ จะพึง

กล่าวว่า ขอท่านจงเป็นทาสของเราเถิด เราก็จะประกาศแล้วให้ตนแก่เขา.

เมื่อพระกุมารทรงดำริตามความจริงพร้อมด้วยสมบัติอันสำคัญอย่างนี้ มหา-

ปฐพีนี้หนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์หวั่นไหว จนถึงที่สุดของน้ำ. ภูเขาสิเนรุโน้ม

แล้วตั้งตรงไปยังพระนครเชตุดร. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ในกาลเมื่อเราเป็นทารกอายุ ๘ ปี แต่กำเนิดในกาลนั้น

เรานั่งอยู่ในปราสาท คิดเพื่อจะให้ทานว่า

เราฟังให้หทัย จักษุ แม้เนื้อและเลือดเราพึงให้

ทานทั้งกาย ถ้าใครได้ยินแล้วฟังขอกะเรา เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 172

เราคิดถึงความเป็นจริง จิตของเราไม่หวั่นไหว

ไม่หดหู่ ในขณะนั้นแผ่นดิน ภูเขาสิเนรุได้

หวั่นไหว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สาเวตฺวา คือประกาศความเป็นทาสว่า

ตั้งแต่วันนี้ไปเราจะเป็นทาสของบุคคลนี้. บทว่า ยทิ โกจิ ยาจเย มม

คือผิว่าใครพึงขอกะเรา. บทว่า สภาว จินฺตยนฺตสฺส เราคิดถึงความเป็นจริง

คือ เราคิดถึงความเป็นจริงตามสภาพของตน อันไม่วิปริตตามอัธยาศัยอัน

ไม่อิ่ม อธิบายว่า เมื่อเราคิด. บทว่า อกมฺปิต คือปราศจากความหวั่นไหว.

บทว่า อสณฺิต คือประกาศความหดหู่. อธิบายว่า เพราะจิตหวั่นไหว

กล่าวคือ จิตหวาดสะดุ้งในการให้จักษุเป็นต้นของผู้ไม่ใช่พระโพธิสัตว์ด้วย

ความโลภเป็นต้น และจิตซบเซากล่าวคือความหดหู่. เว้นจากจิตนั้น. บทว่า

อกมฺปิ คือได้หวั่นไหว. บทว่า สิเนรุวนวฏสกา คือสิเนรุวันอันเป็นสวน

ย่อมกำหนดด้วยนันทวัน ปารุสกวัน มิสสกวัน จิตรลดาวัน เป็นต้นอันตั้ง

ขึ้นที่ภูเขาสิเนรุ. อีกอย่างหนึ่งสิเนรุ และสวนเป็นที่น่ารื่นรมย์ในชมพูทวีป

เป็นต้นชื่อว่า สิเนรุวัน ชื่อว่า สิเนรุวนวฏสกา เพราะสวนนั้นมีลักษณะ

เป็นเครื่องประดับ.

อนึ่ง เมื่อแผ่นดินไหวเป็นไปอยู่อย่างนี้ ท้องฟ้ากระหึ่มยังฝนชั่วคราว

ให้ตก. สายฟ้าแลบ. ระลอกซัดในมหาสมุทร. ท้าวสักกเทวราชปรบพระหัตถ์

มหาพรหมซ้องสาธุการ. ความเอิกเกริกโกลาหลได้มีขึ้นจนถึงพรหมโลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 173

พระมหาสัตว์เมื่อมีพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา ก็ทรงสำเร็จศิลปะทุกแขนง

พระบิดาของพระองค์มีพระประสงค์จะทรงมอบราชสมบัติให้ จึงทรงปรึกษา

กับพระชนนีนำพระราชกัญญาพระนามว่ามัทรี ผู้เป็นพระธิดาของพระเจ้าลุง

จากตระกูลมัททราชแล้วทรงแต่งตั้งให้เป็นพระอัครมเหสี เป็นหัวหน้าของ

สตรี ๑๖,๐๐๐ นาง แล้วอภิเษกพระมหาสัตว์ให้ครองราชสมบัติ. พระมหา-

สัตว์ตั้งแต่ทรงครองราชสมบัติ ทรงสละพระราชทรัพย์วันละ ๖๐๐,๐๐๐ ทุก

วัน ทรงบริจาคมหาทาน เสด็จทรงตรวจตราทานทุกกึ่งเดือน. ครั้นต่อมา

พระนางมัทรีประสูติพระโอรส. พวกอำมาตย์รับพระองค์ด้วยข่ายทอง. เพราะ

เหตุนั้น จึงขนานพระนามว่า ชาลีกุมาร. เมื่อพระชาลีกุมารทรงดำเนินได้

พระนางมัทรีได้ประสูติพระธิดาอีกองค์หนึ่ง. พวกอำมาตย์รับพระธิดานั้นไว้

ด้วยหนังหมีดำ. เพราะเหตุนั้นจึงขนานพระนามว่า กัณหาชินา. ดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ในวันอุโบสถเดือนเต็ม ๕ ค่ำ ทุกกึ่ง

เดือน เราขึ้นคอมงคลหัตถีปัจจัยนาค เข้าไป

ยังศาล เพื่อจะให้ทาน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนฺวทฺธมาเส ทุกกึ่งเดือน. อธิบายว่าทุก ๆ

กึ่งเดือน. บทว่า ปุณฺณมาเส คือในเดือนเพ็ญ พึงทราบการเชื่อมความว่า

เมื่อถึงวัน ๕ ค่ำ ในเดือนเพ็ญและพระจันทร์เต็มดวง เราเข้าไปยังโรงทาน

เพื่อให้ทาน. ในบทนั้นโยชนาแก้ไว้ว่า เราขึ้นคอมงคลหัตถีปัจจัยนาคเข้าไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 174

ยังโรงทานเพื่อให้ทานทุกกึ่งเดือน. อนึ่ง ในกาลใดเมื่อเราเข้าไปอย่างนี้ได้

เข้าไปเพื่อให้ทานในวันอุโบสถเดือนเพ็ญ ๑๕ ค่ำ ครั้งหนึ่ง. ในกาลนั้น

พราหมณ์ชาวแคว้นกาลิงคะได้เข้าไปหาเรา. บทว่า ปจฺจย นาค คือมงคล

หัตถี ชื่อว่าปัจจัยนาค. เพราะในวันที่พระโพธิสัตว์ประสูติ แม้ช้างเที่ยวไป

ในอากาศเชือกหนึ่ง นำลูกช้างเผือกตลอดตัวเป็นช้างที่เขาถือว่าเป็นมงคลยิ่ง

มาปล่อยไว้ในที่ของมงคลหัตถีแล้วก็กลับไป. เพราะช้างนั้นได้มาเพราะ

พระมหาสัตว์เป็นปัจจัย จึงตั้งชื่อว่าปัจจัยนาค. เราขึ้นช้างมงคลนั้นที่ชื่อว่า

ปัจจัยนาคเข้าไปยังโรงทานเพื่อให้ทาน ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พราหมณ์ทั้งหลายชาวกาลิงครัฐได้มาหา

เรา ได้มาขอพระยาคชสารทรงอันประกอบด้วย

มุงคลหัตถีกะเราว่า ชนบทฝนไม่ตกเกิดทุพ-

ภิกขภัยอดอยากมากมาย ขอพระองค์โปรด

พระราชทานพระยาคชสารตัวประเสริฐ เผือก

ผ่องอันเป็นช้างมงคลอุดม.

ในบทเหล่านั้น คาถามีอาทิว่า กาลิงฺครฏฺวิสยา มาแล้วแม้ในกุรุราช-

จริยาในหนหลัง. เพราะฉะนั้น ความแห่งคาถาเหล่านั้นและกถามรรค พึง

ทราบตามนัยดังกล่าวแล้วในกุรุราชจริยานั้นนั่นแล. แต่ในที่นี้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า สพฺพเสต คชุตฺตม เป็นช้างเผือกผ่องเป็นมงคลอุดม.

พระโพธิสัตว์นั้นทรงขึ้นคอพระยาคชสาร เมื่อจะทรงประกาศความยินดี

อย่างยิ่งในทานของพระองค์ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 175

พราหมณ์ทั้งหลายขอสิ่งใดกะเรา เราย่อม

ให้สิ่งนั้นไม่หวั่นไหวเลย เราไม่ซ่อนเร้นของ

ที่มีอยู่ ใจของเรายินดีในทาน.

ทรงปฏิญาณว่า :-

เมื่อยาจกมาถึงแล้ว การห้ามไม่สมควร

แก่เรา กุสลสมาทานของเราอย่าทำลายเสีย เรา

จักให้คชสารตัวประเสริฐ.

แล้วเสด็จลงจากคอคชสาร ทรงพิจารณาเพื่อตรวจดูสถานที่มีมิได้ตก

แต่ง มิได้ทรงเห็นสถานที่ที่มิได้ตกแต่ง จึงทรงจับพระเต้าทองเต็มไปด้วย

น้ำหอมเจือดอกไม้ ตรัสว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงมาข้างนี้ แล้วทรงจับงวง

คชสารเช่นกับพวงเงินที่ตกแต่งแล้ววางไว้บนมือของพวกพราหมณ์ ทรงหลั่ง

น้ำแล้วพระราชทานพระยาคชสารที่ตกแต่งไว้เป็นอย่างดีแก่พวกพราหมณ์.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

เราได้จับงวงพระยาคชสารวางลงบนมือ

พราหมณ์ แล้วจึงหลั่งน้ำในเต้าทองลงบนมือ ได้

ให้พระยาคชสารแก่พราหมณ์ทั้งหลาย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สนฺต คือไทยธรรมอันมีอยู่. บทว่า นปฺปฏิ-

คุยฺหามิ คือไม่ปกปิด. เพราะผู้ใดคิดว่า ของของตนต้องเป็นของเราเท่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 176

ดังนี้. หรือเขาขอแล้วปฏิเสธ. ผู้นั้นชื่อว่าปกปิดแม้ของที่ตั้งไว้ต่อหน้าผู้ขอ

ทั้งหลายโดยใจความ. ส่วนพระมหาสัตว์มีพระประสงค์จะพระราชทาน ทาน

ภายในตั้งแต่ศีรษะเป็นต้นของพระองค์. จะทรงปฏิเสธทานภายนอกได้

อย่างไร. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สนฺต นปฺปฏิคุยฺหามิ

เราไม่ซ่อนเร้นของมีอยู่. ดังที่ตรัสไว้ว่า ทาเน เม รมเต มโน ใจของเรา

ยินดีในทานดังนี้. บทที่เหลือมีความดังกล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล

เครื่องประดับที่เท้าทั้ง ๔ ของคชสารนั้น มีค่า ๔๐๐,๐๐๐. เครื่อง

ประดับที่ข้างทั้งสอง มีค่า ๒๐๐,๐๐๐. ผ้ากัมพลที่ใต้ท้อง มีค่า ๑๐๐,๐๐๐. ข่าย

บนหลัง ๓ ข่าย คือ ข่ายแก้วมุกดา ข่ายแก้วมณี ข่ายทองคำ มีค่า ๓๐๐,๐๐๐.

เครื่องประดับหูทั้งสองข้าง มีค่า ๒๐๐,๐๐๐. ผ้ากัมพลที่ลาดบนหลัง มีค่า

๑๐๐,๐๐๐. เครื่องประดับกระพอง มีค่า ๑๐๐,๐๐๐ พวงมาลัย ๓ พวง มีค่า

๓๐๐,๐๐๐. เครื่องประดับปลายหู มีค่า ๑๐๐,๐๐๐. เครื่องประดับงาทั้งสองข้าง

มีค่า ๒๐๐,๐๐๐. เครื่องประดับตาบทาบทีงวง มีค่า ๑๐๐,๐๐๐. เครื่องประดับ

หาง มีค่า ๑๐๐,๐๐๐. บันไดพาด มีค่า ๑๐๐,๐๐๐. ภาชนะใส่อาหาร มีค่า

๑๐๐,๐๐๐. ของประมาณเท่านี้ มีค่าสองล้านสี่แสนนอกจากของที่หาค่ามิได้.

ของหาค่ามิได้ ๖ อย่างเหล่านี้คือ แก้วมณีที่พุ่มฉัตร ๑ จุฬามณี ๑ แก้ว

มุกดาหาร ๑ แก้วมณีที่ขอ ๑ แก้วมุกดาหารที่สวมคอคชสาร ๑ แก้วมณี

ที่กระพอง ๑ แม้ช้างก็หาค่ามิได้เหมือนกัน รวมของหาค่ามิได้ ๗ อย่าง

กับช้าง. พระโพธิสัตว์ได้พระราชทานของทั้งหมดเหล่านั้นแก่พราหมณ์ทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 177

หลาย อนึ่งได้พระราชทานตระกูลบำรุงช้าง ๕๐๐ ตระกูลพร้อมด้วยควานช้าง

และคนเลี้ยงช้าง. อนึ่ง พร้อมกับพระราชทานได้เกิดอัศจรรย์มีแผ่นดินไหว

เป็นต้น. โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า :-

เมื่อเราได้ให้พระยาคชสารอันอุดมเผือก

ผ่องอีก แม้ในกาลนั้นแผ่นดิน. เขาสิเนรุราช

และป่าก็ได้หวั่นไหว.

ในเมื่อเราให้คชสารอันประเสริฐ ความ

น่ากลัว ความสยดสยองพองขนได้เกิดขึ้น

แผ่นดินก็หวั่นไหว.

บทว่า ตสฺส นาคสฺส ทาเนน เพราะให้คชสารนั้นคือเพราะ

บริจาคมงคลหัตถีนั้น พร้อมด้วยสิ่งของเครื่องประดับมีค่าสองล้านสี่แสนกับ

ของอันหาค่ามิได้อีก ๖ อย่าง. บทว่า สิวโย คือ สีพีราชกุมารทั้งหลาย

และชาวแคว้นสีพี. อนึ่งบทว่า สิวโย นี้เป็นหัวข้อเทศนา. เพราะเหล่า

อำมาตย์ ชุมชน พราหมณ์ คหบดี ชาวนิคม ชาวชนบท ชาวเมือง ชาว

แคว้นทั้งสิ้น ทั้งหมด ยกเว้น พระสญชัยมหาราช พระนางผุสดี และ

พระนางมัทรี ชื่อว่า ชาวสีพีในบทว่า สิวโย นั้น. บทว่า กุทฺธา พากัน

โกรธเคือง คือโกรธเคืองพระโพธิสัตว์ด้วยเทวดาดลใจ. บทว่า สมาคตา

คือประชุมกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 178

นัยว่าพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นได้คชสารแล้วก็ขึ้นคชสารนั้นเข้าไป

ทางประตูใหญ่พากันดื่มถวายพระพร ณ ท่ามกลางพระนคร. อนึ่ง เมื่อมหา

ชนพูดกันว่า พราหมณ์ผู้เจริญท่านขี่ช้างของเรามาจากไหน พราหมณ์ทั้ง

หลายบอกว่า พระเวสสันดรมหาราช พระราชทานแก่พวกเรา พวกท่าน

เป็นใคร แล้วโบกมือไล่ พากันเดินทางต่อไป.

ลำดับนั้นมหาชนมีพวกอำมาตย์เป็นต้น พากันมาประชุมที่ประตู

พระราชวังกล่าวโทษว่า พระราชาควรพระราชทานทรัพย์ ข้าวเปลือก นา

ไร่สวน หรือทาสหญิงชายและนางกำนัลแก่พวกพราหมณ์. พระเวสสันดร

มหาราช พระราชทานมงคลหัตถีอันเป็นช้างพระที่นั่งนี้ไปได้อย่างไร. บัดนี้

พวกเราจักไม่ให้ราชสมบัติต้องพินาศไปอย่างนี้ จึงกราบทูลความนั้นแด่

พระเจ้ากรุงสญชัยมหาราช พระเจ้ากรุงสญชัยมหาราชทรงเห็นด้วยตามคำ

แนะนำ รับจะทำตาม แล้วก็พากันกลับไป. แต่พวกพราหมณ์ยังได้กราบทูล

ว่า :-

พระองค์อย่าฆ่าพระเวสสันดรนั้น ด้วย

ท่อนไม้ หรือศัสตราเลยพระเวสสันดรนั้นไม่

ควรแก่เครื่องพันธนาการเลย แต่ขอพระองค์

จงขับไล่พระเวสสันดรออกจากแว่นแคว้นไป

อยู่ ณ เขาวางกตเถิด พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 179

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ปพฺพาเชสุ สกา รฏฺา, วงฺก คจฺฉตุ

ปพฺพต ชาวกรุงสีพีประชุมกันขับไล่เราจากแคว้นของตนว่า จงไปยังเขา

วงกต.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพาเชสุ พากันขับไล่ คือได้ทำความพยายาม

เพื่อให้ไปอยู่ภายนอกจากราชสมบัติ.

แม้พระราชาก็ทรงดำริว่า นี้เป็นปฏิปักษ์ใหญ่หลวงนัก เอาเถิดโอรส

ของเราจงอยู่ภายนอกราชสมบัติสักเล็กน้อยก่อนแล้วตรัสว่า :-

หากชาวเมืองสีพีมีความพอใจเช่นนั้น เรา

ก็ไม่ขัดความพอใจ แต่ขอให้โอรสของเราอยู่

บริโภคกามทั้งหลายตลอดคืนนี้ก่อน จากนั้น

เมื่อสิ้นราตรีพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาวเมืองสีพี

จงพร้อมใจกันขับไล่ เธอจงออกจากแว่น

แคว้นเถิด.

แล้วส่งนักการไปยังสำนักของพระโอรสด้วยพระดำรัสว่า เจ้าจงบอก

ข่าวนี้แก่โอรสของเรา.

แม้พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสถามถึงเหตุผลว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 180

ดูก่อนนักการชาวกรุงสีพี พากันโกรธเรา

ในเพราะเรื่องอะไร เรายังไม่เห็นความชั่วของ

เรา ท่านจงบอกความชั่วนั้นแก่เรา เพราะ

เหตุไรจึงพากันขับไล่เรา.

เมื่อนักการกราบทูลว่า เพราะพระองค์พระราชทานคชสาร พระ-

เจ้าข้า พระเวสสันดรทรงมีความโสมนัสยิ่งนัก ตรัสว่า :-

เราจะให้หทัย ให้จักษุ เงินทอง แก้ว.

มุกดา แก้วไพฑูรย์ และแก้วมณี เป็นเพียง

ทรัพย์ภายนอกของเรา จะเป็นอะไร.

เมื่อยาจกมา ถึงแล้วเห็นยาจกแล้ว จะ

ให้แขนขวา ซ้าย เราไม่หวั่นไหว เพราะใจของ

เรายินดีในทาน.

ชาวกรุงสีพีทั้งปวง จงขับไล่ หรือจงฆ่า

เราก็ตาม หรือจงตัดเราเป็น ๗ ท่อนก็ตามเถิด

เราจักงดการให้ทานเสียมิได้เลย.

แล้วมีพระดำรัสต่อไปว่า ชาวเมืองทั้งหลายจงให้โอกาสแก่เรา เพื่อ

ให้ทานสักวันหนึ่งเถิด พรุ่งนี้เราให้ทานแล้วในวันที่ ๓ จักไป แล้วทรงส่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 181

นักการไปยังสำนักของพวกพราหมณ์ รับสั่งกะอำมาตย์ผู้ดูแลราชกิจทั้งปวง

ว่า. พรุ่งนี้เราจักให้สัตตสดกมหาทาน ( การให้ทานครั้งใหม่อย่างละ ๗๐๐)

คือช้าง ๗๐๐ ม้า ๗๐๐ รถ ๗๐๐ หญิง ๗๐๐ โคนม ๗๐๐ ทาสชาย ๗๐๐

ทาสหญิง ๗๐๐. ท่านจงเตรียมไว้. จงจัดตั้งข้าวและน้ำเป็นต้น หลายๆ อย่าง

อันเป็นของควรให้ทั้งหมด แล้วพระองค์องค์เดียวเท่านั้น เสด็จไปยังที่ประทับ

ของพระนางมัทรี แล้วตรัสว่า ดูก่อนแม่มัทรีน้อมเมื่อจะฝังทรัพย์อันจะติด

ตามไป พึงให้ในผู้มีศีลทั้งหลาย แล้วทรงชักชวนพระนางมัทรีในการ

บริจาคทาน ทรงแจ้งถึงเหตุที่พระองค์จะเสด็จไปให้พระนางทรงทราบแล้ว

ตรัสว่า พี่จักไปอยู่ป่า ขอให้น้องจงอยู่ในพระนครนี้เถิด อย่าติดตามไปเลย.

พระนางมัทรีทูลว่า ข้าแต่พระราชสวามี หม่อมฉันเว้นพระองค์เสียแล้วจัก

ขออยู่แม้วันเดียว.

ในวันที่สอง พระเวสันดรทรงบริจาคสัตตสดกมหาทาน. เมื่อพระ-

เวสสันดรทรงบริจาคสัตตสดกมหาทานนั่นเองก็ถึงเวลาเย็น. พระองค์เสด็จ

โดยรถที่ตกแต่งแล้วไปเฝ้าพระมารดาพระบิดา ทูลลาพระมารดาพระบิดาว่า

พรุ่งนี้ลูกจักไป เมื่อพระมารดาพระบิดาไม่ทรงประสงค์ทรงพระกันแสงมีน้ำ

พระเนตรนองพระพักตร์ พระเวสสันดรถวายบังคมแล้วกระทำประทักษิณ

เสด็จออกจากที่นั้น ในวันนั้นพระองค์ประทับอยู่ในพระราชนิเวศน์ของ

พระองค์ วันรุ่งขึ้นทรงดำริว่า เราจักไปละจึงเสด็จลงจากปราสาท. พระ-

นางมัทรีแม้พระสัสสุ ( แม่ผัว ) พระสัสสุระ ( พ่อผัว ) ขอร้องโดยนัยต่าง ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 182

ให้กลับก็มิได้ทรงเชื่อฟังพระดำรัสของพระสัสสุและพระสัสสุระ ถวายบังคม

แล้วทรงกระทำประทักษิณ ทรงอำลาบรรดาสตรีที่เหลือ พาพระโอรสและ

ธิดาทั้งสองเสด็จไปหาพระเวสสันดรก่อนประทับยืนอยู่บนรถ.

พระมหาบุรุษเสด็จขึ้นรถประทับยืนบนรถทรงอำลามหาชน ทรง

ประทานโอวาทแก่มหาชนว่า พวกท่านจงอย่าประมาทกระทำบุญมีทานเป็น

ต้น แล้วเสด็จออกจากพระนคร. พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า

โอรสของเราปลาบปลื้มอยู่กับการให้ทาน จงให้ทานเถิด จึงทรงส่งเกวียน

เต็มไปด้วยรตนะ ๗ ประการพร้อมด้วยเครื่องอาภรณ์ไปทั้งสองข้าง. พระ-

มหาบุรุษพระราชทานเครื่องประดับที่ติดไปกับพระวรกายของพระองค์ แก่

ยาจกที่เข้าไปขอถึง ๑๘ ครั้ง ได้พระราชทานสิ่งที่เหลือจนหมด. พระองค์

เสด็จออกจากพระนคร ได้มีพระประสงค์จะเหลียวทอดพระเนตรพระนคร.

ทันใดนั้น ด้วยบุญญานุภาพของพระองค์ มหาปฐพีในที่ชั่วคันรถได้แยกหมุน

กลับทำรถให้บ่ายหน้าไปยังพระนคร. พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรที่ประทับ

ของพระชนกชนนี. ด้วยพระมหากรุณานั้นมหาปฐพีก็ได้ไหว. ดังที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เตส นิจฺฉุภมานาน ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น. บทว่า นิจฺฉุภมานาน คือเมื่อชาวกรุงสีพีเหล่านั้น

คร่าออกไป คือขับไล่. หรือเมื่อกษัตริย์เหล่านั้นเสด็จออกไป. บทว่า มหา-

ทาน ปวตฺเตตุ คือเพื่อบริจาคสัตตสดกมหาทาน. บทว่า อยาจิสฺส คือ

เราได้ขอแล้ว. บทว่า สาวยิตฺวา คือประกาศ. บทว่า กณฺณเภรึ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 183

กลองใหญ่คู่หนึ่ง. บทว่า ททามห คือเราให้มหาทาน. บทว่า อเถตฺถ

ในโรงทานนี้ คือเมื่อเราให้ทานในโรงทานนี้. บทว่า ตุมูโล คือเสียงดัง

กึกก้องอึงมี่. บทว่า เภรโว คือน่ากลัว. จริงอยู่เสียงนั้นทำให้คนอื่นกลัว

เว้นพระมหาสัตว์. เพื่อทรงแสดงอาการที่เสียงนั้นให้เกิดความกลัวจึงตรัสว่า

ทาเนนิม ดังนี้ ความว่า ชาวกรุงสีพีพากันขับไล่พระเวสสันดรมหาราชนี้

ออกจากแว่นแคว้น เพราะเหตุการให้. แม้กระนั้นพระเวสสันดรมหาราชนี้

ก็ยังให้ทานเช่นนั้นอยู่อีก.

บัดนี้เพื่อทรงแสดงทานนั้น จึงตรัสคาถาว่า หตฺถึ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า คว คือแม่โคนม. บทว่า จตฺวาหึ รถ ทตฺวา

เราให้ม้าสินธพ ๔ ตัวและรถ คือม้าชื่อว่า วาหิน เพราะนำไป อธิบายว่า

ให้ม้าสินธพาอาชาไนย ๔ ตัว และรถแก่พวกพราหมณ์.

จริงอยู่พระมหาสัตว์ เมื่อเสด็จออกจากพระนครอย่างนั้น ทรงให้

อำมาตย์ ๖๐,๐๐๐ และชนที่เหลือซึ่งมีหน้านองด้วยน้ำตา ติดตามไป กลับ

ทรงขับรถไปด้วยพระองค์เอง ตรัสกะพระนางมัทรีว่า นี่แน่ะน้องหากมียาจก

ตามมาข้างหลัง. น้องคอยดูด้วย. พระนางมัทรีประทับนั่งดูอยู่. ลำดับนั้น

พราหมณ์ ๔ คนไม่อาจมาทันรับสัตตสดกมหาทานของพระองค์ และทานที่

พระองค์ทรงบริจาคในขณะเสด็จได้จึงพากันเดินทางมาถามว่า พระเวสสันดร

ประทับอยู่ที่ไหน เมื่อเขาตอบว่า พระองค์ทรงให้ทานเสด็จโดยรถกลับไป

แล้ว จึงคิดว่าเราจักขอม้า จึงติดตามไป. พระนางมัทรีทรงเห็นพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 184

เหล่านั้นเดินมา จึงกราบทูลว่า ยาจกมาแล้วพระเจ้าพี่. พระมหาสัตว์ทรง

จอดรถ. พวกพราหมณ์เหล่านั้นจึงกราบทูลขอม้า. พระมหาสัตว์ทรงให้ม้า.

พวกพราหมณ์รับม้าแล้วก็พากันกลับ. ก็เมื่อพระราชทานม้าแล้ว แอกรถก็

ตั้งอยู่บนอากาศนั่นเอง. ลำดับนั้นเทพบุตร ๔ องค์มาด้วยเพศของละมั่งรับ

แอกรถไว้แล้วลากไป. พระมหาสัตว์ทรงทราบว่า ละมั่งนั้นเป็นเทพบุตร

จึงตรัสกะพระนางมัทรีว่า :-

ดูก่อนแม่มัทรี เชิญดูเถิด เนื้อละมั่ง

ปรากฏรูปร่างงดงาม เหมือนม้าที่ชำนาญพาเรา

ไป

ในบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตรูปว มีรูปน่าอัศจรรย์. บทว่า ทกฺ-

ขิณสฺสา คือเหมือนม้าที่ชำนาญพาเราไป.

ครั้งนั้นพราหมณ์อีกคนหนึ่งมาทูลขอรถที่กำลังแล่นอยู่นั้น. พระ-

มหาสัตว์ทรงให้โอรสและมเหสีลง พระราชทานรถ. เมื่อพระราชทานรถ

แล้ว เทพบุตรก็หายไป. ตั้งแต่นั้นกษัตริย์ทั้ง พระองค์ก็ทรงดำเนินด้วย

พระบาท.

ลำดับนั้นพระมหาสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนแม่มัทรี น้องอุ้มกัณหา พี่จะ

อุ้มพ่อชาลี ทั้งของพระองค์ก็เอาพระกุมารกุมารีทั้งสองเข้าเอวไป ทรง

สนทนาปราศรัยเป็นที่รักซึ่งกันและกัน. ตรัสถามทางที่จะไปเขาวงกตกะพวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 185

มนุษย์ที่เดินสวนทางมา. เมื่อต้นไม้ผลโน้มลงมาเอง ก็เก็บผลไม้ให้พระโอรส

และธิดา เพราะเทวดาผู้ใคร่ประโยชน์ย่อทางให้ จึงบรรลุถึงเจตรัฐในวันนั้น

นั่นเอง. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า จตฺวาหึ รถ ทตฺวา เป็นอาทิ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวา จาตุมฺมหาปเถ ยืนอยู่ที่ทางใหญ่

แยก ความว่า ยืนอยู่ที่ทาง แพร่ง เพราะทางที่ตนมาและทางที่พราหมณ์

นั้นมาทะลุบรรจบกัน แล้วให้รถแก่พราหมณ์นั้น. บทว่า เอกากิโย คือ

ผู้เดียวไม่มี เพราะไม่มีเพื่อนมีอำมาตย์และเสวกเป็นต้น. ดังที่ท่านกล่าวว่า

อทุติโย ไม่มีเพื่อน. บทว่า มทฺทิเทวึ อิทมพฺรวิ คือได้กล่าวกะพระนาง

มัทรีเทวีดังนี้. บทว่า ปทุม ปุณฺฑรีก ว ดุจดอกประทุม และดุจบัวขาว

บทว่า ภณฺหาชินคฺคาหี ประนางมัทรีทรงอุ้มแก้วกัณหา. บทว่า อภิชาตา

คือสมบูรณ์ด้วยชาติ. บทว่า วิสม สม คือภูมิประเทศขรุขระและเรียบ

บทว่า เอนฺติ คือมา. บทว่า อนุมคฺเค ปฏิปฺปเถ คือเดินตามมาก็ดี

สวนทางก็ดี. พึงเห็นว่าลบ วา ศัพท์เสีย. บทว่า กรุณ คือสงสาร. อธิบายว่า

คือความเป็นผู้ประกอบด้วยกรุณา. บทว่า ทุกฺข เต ปฏิเวเทนฺติ กษัตริย์

เหล่านั้นคงได้เสวยทุกข์อย่างยิ่ง คือกษัตริย์เหล่านี้เป็นสุขุมาลชาติ ทรง

ดำเนินด้วยพระบาทอย่างนี้ เขาวงกตจากนี้ยังอีกไกล เพราะเหตุนั้นกษัตริย์

เหล่านั้น ตนเองได้รับทุกข์เพราะความสงสารในพวกเราในครั้งนั้น. หรือ

เสวยทุกข์อันเกิดขึ้นแก่ตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 186

บทว่า ปวเน คือในป่าใหญ่. บทว่า ผลิเน คือมีผล. บทว่า

อุพฺพิทฺธา คือสูงมาก. บทว่า อุปคจฺฉนฺจิ ทารเก ความว่า ต้นไม้ทั้งหลาย

โน้มกิ่งเข้าหาพระกุมารกุมารีเอง โดยที่พระกุมารกุมารีเอื้อมพระหัตถ์จับดึง.

บทว่า อจิฉริย คือประกอบด้วยความอัศจรรย์ คือควรแก่ปรบมือให้.

ชื่อว่า อพฺภูต เพราะไม่เคยมีมาก่อน. ชื่อว่า โลมหสน เพราะสามารถ

ทำให้ขนลุกขนพอง. บทว่า สาหุการ คือสาธุการ. ชื่อว่า สพฺพงฺคโส-

ภณา เพราะมีอวัยวะทั้งหมดงดงาม. บทว่า อจฺเฉร วต คือน่าอัศจรรย์.

บทว่า เวสฺสนฺตรสฺส เตเชน คือด้วยบุญญานุภาพของพระเวสสันดร. บทว่า

สงฺขิปึสุ ปถ ยกฺขา ทวยเทพย่นทางให้ คือทวยเทพ อันบุญเดชของ

พระโพธิสัตว์กระตุ้นจึงย่นทางให้ คือทำให้สั้น. ทำดุจกรุณาในพระกุมาร-

กุมารี ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนุกมฺปาย ทารเก คือด้วยความ

เอ็นดูในพระกุมารกุมารี. เพราะภูเขาชื่อว่า สุวรรณคิริตาละ จากกรุงเชตุดร

๕ โยชน์. แม่น้ำชื่อว่า โกนติมารา จากภูเขานั้น ๕ โยชน์. ภูเขาชื่อว่า

มารัญชนาคีรีจากแม่น้ำนั้น ๕ โยชน์. บ้านทัณฑพราหมณคาม จากภูเขา

นั้น ๕ โยชน์. มาตุลนครจากบ้านทัณฑพราหมณคามนั้น ๑๐ โยชน์. รวม

๓๐ โยชน์ จากกรุงเชตุดรถึงแคว้นนั้น. ทวยเทพอันบุญเดชของพระโพธิ-

สัตว์กระตุ้นจึงย่นทางให้. กษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์จึงล่วงพ้นที่ทั้งหมดนั้น

เพียงวันเดียวเท่านั้น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า นิกฺขนฺตทิวเสเยว

เจตรฏฺมุปาคมุ ในวันที่เราออกจากกรุงสีพีนั้นเอง เราทั้ง ๔ ได้ไปถึง

เจตรัฐ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 187

พระมหาสัตว์เสด็จถึงมาตุลนคร แคว้นเจตรัฐในตอนเย็นประทับนั่ง

ในศาลาใกล้ประตูพระนครนั้น. ลำดับนั้นพระนางมัทรี ทรงเช็ดธุลีที่

พระบาทของพระมหาสัตว์แล้วทรงนวดพระบาท ทรงดำริว่า เราจักให้ชน

ทั้งหลายรู้ว่า พระเวสสันดรเสด็จมาจึงเสด็จออกจากศาลา ประทับยืนที่

ประตูศาลา พอที่พระเวสสันดรจะทรงเห็น. บรรดาสตรีที่เข้าออกพระนคร

เห็นพระนางมัทรี จึงพากันแวดล้อม.

มหาชนเห็นพระนางมัทรีพระเวสสันดร และพระโอรสเสด็จมาอย่าง

นั้นจึงไปกราบทูลพระราชา. พระราชา ๖๐,๐๐๐ ทรงกันแสงร่ำไร พากัน

ไปเฝ้าพระเวสสันดร บรรเทาความเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง แล้วจึงทูล

ถามถึงเหตุที่เสด็จมาอย่างนั้น.

พระมหาสัตว์ตรัสเล่าเรื่องทั้งหมด ตั้งต้นแต่พระราชทานคชสาร.

พระราชาเหล่านั้นได้สดับดังนั้นแล้วจึงปรึกษากันมอบราชสมบัติแก่พระองค์.

พระมหาบุรุษตรัสว่า การที่เราจะรับราชสมบัติของพวกท่านยกไว้ก่อนเถิด.

พระราชาขับไล่เราออกจากแว่นแคว้น. เพราะฉะนั้นเราจักไปเขาวงกต แม้

พระราชาเหล่านั้นทูลวิงวอนให้ประทับอยู่ ณ เจตรัฐนั้นมีประการต่าง ๆ ก็

มิได้ทรงพอพระทัยจะรับ ทรงขอร้องให้พระราชาเหล่านั้นจัดอารักขา ประ-

ทับอยู่ ณ ศาลานั้น ตลอดราตรี รุ่งขึ้นแต่เช้าตรู่ เสวยพระกระยาหารมีรส

เลิศต่าง ๆ แล้ว แวดล้อมด้วยพระราชาเหล่านั้น เสด็จออกไปสิ้นทาง ๑๕

โยชน์ ประทับ ณ ประตูป่า รับสั่งให้พระราชาเหล่านั้นกลับ ได้เสด็จไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 188

ตามทางที่พระราชาเหล่านั้นทูล สิ้นหนทาง ๑๕ โยชน์ข้างหน้า. ดังที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ในกาลนั้นพระราชา ๖๐,๐๐๐ องค์ อยู่ใน

มาตุลนคร ต่างก็ประนมกรพากันร้องไห้มาหา

เราเจรจาปราศรัยกับโอรสของพระเจ้าเจตราช

เหล่านี้ อยู่ ณ ที่นั้น ให้โอรสของพระเจ้าเจต-

ราชเหล่านั้น กลับที่ประตูนั้นแล้ว ได้ไปยัง

เขาวงกต.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ วตฺเตตฺวา สลฺลาป คือเจรจาปรา-

ศรัยด้วยคำให้เกิดความเบิกบานกับพระราชาที่มาประชุมกัน ณ ที่นั้น. บทว่า

เจตปุตฺเตหิ คือโอรสของพระราชาเจตราช. บทว่า เต ตโต นิกฺขมิตฺ-

วาน คือให้พระราชาเหล่านั้นกลับที่ประตู ประตูป่านั้น. บทว่า วงฺก อคมุ

ปพฺพต เรา ๔ คน ได้มุ่งไปเขาวงกต.

ลำดับนั้นพระมหาสัตว์เสด็จไปตามทางที่พระเจตราชทูล เสด็จถึง

ภูเขาคันธมาทน์ ทรงเห็นภูเขานั้น ประทับอยู่ ณ ที่นั้น จากนั้นทรงมุ่ง

พระพักตร์ตรงไปยังทิศอุดร เสด็จไปถึงเชิงเขาเวปุลลบรรพตประทับนั่ง ณ

ฝั่งแม่น้ำเกตุมดี เสวยน้ำผึ้งและเนื้อที่พรานป่าถวาย พระราชทานเข็มทองคำ

แก่พรานป่า ทรงสรงสนาน ทรงดื่มระงับความกระวนกระวาย เสด็จออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 189

จากฝั่งน้ำไปประทับนั่งพักผ่อน ณ โคนต้นไทร ชื่อตั้งอยู่ใกล้ยอดสานุบรรพต

เสด็จลุกไปทรงบริหารพระวรกาย ณ นาลิกบรรพต เสด็จไปยังสระมุจลินท์

เสด็จถึงปลายทิศตะวันออกเฉียงเหนือทางฝั่งของสระ เสด็จเข้าไปยังช่องป่า

โดยทางเดินทางเดียวเท่านั้น เลยช่องป่าไปถึงสระโบกขรณี ๔ เหลี่ยม ข้าง

หน้าน้ำพุ เป็นภูเขาเข้าไปลำบาก.

ขณะนั้นท้าวสักกะทรงรำพึงว่า พระมหาสัตว์เสด็จเข้าไปยังหิมวันต-

ประเทศ ควรจะได้ที่ประทับ จึงทรงส่งวิษณุกรรมเทพบุตรไป มีเทวบัญชาว่า

ท่านจงไปสร้างอาศรมบท ณ ที่รื่นรมย์ในหลืบภูเขาวงกต. วิษณุกรรมเทพ-

บุตรรับเทวบัญชาแล้วจึงไปสร้างบรรณศาลาสองหลัง ที่จงกรมสองที่ ที่พัก

กลางคืนและกลางวันสองแห่ง ปลูกไม้ดอกมีดอกสวยงามต่าง ๆ ไม้ผล กอดอก

ไม้ และสวนกล้วยเป็นต้น ณ ที่นั้น ๆ แล้วมอบบริขารบรรพชิตทั้งหมดให้

จารึกอักษรไว้ว่า ผู้ที่ประสงค์จะบรรพชา จงถือเอาเถิด แล้วมิให้อมนุษย์

เนื้อและนกที่มีเสียงน่ากลัวรบกวน เสร็จแล้วกลับไปยังที่ของตน.

พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นทางเดินทางเดียวทรงดำริว่า คงจัก

เป็นที่อยู่ของนักบวช จึงให้พระนางมัทรี พระโอรสและธิดาประทับอยู่ ณ

ที่นั้น เสด็จเข้าสู่อาศรมบท ทอดพระเนตรเห็นอักษร ทรงดำริว่า ท้าว

สักกะทรงประทาน จึงทรงเปิดประตูบรรณศาลาเสด็จเข้าไป เอาพระขรรค์

และธนูออก เปลื้องผ้าสาฎก ทรงถือเพศฤาษี ถือไม้เท้าเสด็จออกไปหาพระ-

กุมารกุมารี ด้วยความสงบเช่นกับพระปัจเจกพุทธเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 190

แม้พระนางมัทรีเทวี ทรงเห็นพระมหาสัตว์ก็ทรงหมอบแทบพระบาท

ทรงกันแสงเสด็จเข้าอาศรมกับพระมหาสัตว์ แล้วเสด็จไปยังบรรณศาลาของ

พระนาง ทรงถือเพศเป็นฤาษี. ภายหลังทรงให้พระกุมารกุมารีเป็นดาบส

กุมาร.

พระโพธิสัตว์ทรงขอพรพระนางมัทรีว่า ตั้งแต่นี้ไปเราเป็นนักบวช

แล้ว. ธรรมดาสตรีย่อมเป็นมลทินแก่พรหมจรรย์. บัดนี้เธออย่ามาหาเรา

ในกาลอันไม่สมควรเลย. พระนางรับว่าดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วขอพรพระ-

มหาสัตว์บ้างว่า ข้าแต่พระองค์ ขอพระองค์ทรงแลดูโอรสธิดาอยู่ ณ บรรณ-

ศาลานี้เถิด หม่อมฉันจักแสวงหาผลาผลมาถวาย. ตั้งแต่นั้นพระนางมัทรีก็

ทรงนำผลาผลมาแต่ป่าทรงปรนนิบัติชนทั้ง ๓. กษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์ประ-

ทับอยู่ ณ หลืบภูเขาวงกตประมาณ ๗ เดือน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า อามนฺตยิตฺวา เทวินฺโท วิสฺสกมฺม มหิทฺธิก ท้าวสักกะจอมเทพ

ตรัสเรียกวิษณุกรรมเทพบุตรผู้มีฤทธิ์มากมาดังนี้เป็นอาทิ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อามนฺตยิตฺวา คือตรัสเรียก. บทว่า มหิทฺธิก

คือผู้ประกอบด้วยฤทธิ์มาก. บทว่า อสฺสม สุกต คือให้สร้างอาศรมบท

ให้ดี. ความว่า บรรณศาลาอันสมควรเป็นที่ประทับของพระเวสสันดรน่า-

รื่นรมย์. บทว่า สุมาปุยา คือให้สร้างให้ดี. บทว่า อาณาเปสิ เป็นคำ

ที่เหลือ. บทว่า สุมาปยิ คือให้สร้างโดยชอบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 191

บทว่า อสุญฺโ คืออ่าศรนั้นไม่ว่างฉันใด เราเป็นผู้ไม่ว่างเพราะ

ทำอาศรมนั้นไม่ให้ว่าง. ปาฐะว่า อสุญฺเ คือเรารักษาเด็กทั้งสองคนอยู่

ในอาศรมอันไม่ว่าง ด้วยการอยู่ของเรา คือเราตั้งอยู่ในอาศรมนั้น. ด้วย

อานุภาพแห่งเมตตาของพระโพธิสัตว์ แม้สัตว์เดียรัจฉานทั้งปวงก็ได้เมตตา

ในที่ ๓ โยชน์โดยรอบ.

เมื่อกษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์ ประทับอยู่ ณ เขาวงกตนั้น พราหมณ์

ชูชก ชาวเมืองกลิงครัฐ เมื่อภรรยาชื่อว่าอมิตตตาปนา พูดว่าเราไม่สามารถ

จะทำการซ้อมข้าว ตักน้ำ หุงข้าวยาคู และข้าวสวยแก่ท่านได้เป็นนิจ. ท่าน

จงนำทาสชายหรือทาสหญิงมารับใช้เราเถิด ชูชกกล่าวว่า น้องเอ๋ย เราหรือ

ก็ยากจน จะได้ทาสชายหรือทาสหญิงแต่ไหนมาให้น้องได้เล่า. เมื่อนาง-

อมิตตตาปนาบอกว่า ก็พระราชาเวสสันดรนั่นอย่างไรเล่า พระองค์ประทับ

อยู่ที่เขาวงกต ท่านจงขอพระโอรสธิดาของพระองค์มาให้เป็นคนรับใช้เรา

เถิด ชูชกไม่อาจละเลยถ้อยคำของนางได้ เพราะว่าที่มีใจผูกพันนางด้วยอำ-

นาจกิเลส จึงให้นางเตรียมสะเบียง เดินทางถึงกรุงเชตุดรโดยลำดับ แล้ว

ทำว่า พระเวสสันดรมหาราชอยู่ที่ไหน.

มหาชนต่างเกรี้ยวกราดว่า ของพวกเรา เพราะทรงให้ทานยาจก

พวกนี้จึงต้องถูกเนรเทศออกจากแว่นแคว้น. อีตาพราหมณ์เฒ่าผู้นี้ทำให้

พระราชาของพวกเราได้รับความพินาศแล้วยังมีหน้ามาถึงที่นี้อีก ต่างถือ

ก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น ด่าว่าติดตามพราหมณ์ไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 192

พราหมณ์ชูชกนั้นเทวดาดลใจออกจากกรุงเชตุดร แล้วเดินตรงไปยัง

ทางที่จะไปเขาวงกต ถึงประตูป่าโดยลำดับ หยั่งลงสู่ป่าใหญ่ หลงทางเที่ยว

ไป เตลิดไปพบกับเจตบุตรซึ่งพระราชาเหล่านั้นทรงตั้งไว้เพื่ออาริกขาพระ-

โพธิสัตว์. เจตบุตรถามว่า จะไปไหนพราหมณ์. ชูชกบอกว่า จะไปหา

พระเวสสันดรมหาราช. เจตบุตรคิดว่าอีตาพราหมณ์นี้น่าจะไปทูลขอพระ

โอรสธิดาหรือพระเทวีของพระเวสสันดรเป็นแน่ จึงขู่ตะคอกว่า พราหมณ์

ท่านอย่าไปที่นั้นนะ. หากไปเราจะตัดหัวท่านเสียที่นี่แหละ แล้วให้สุนัข

ของเรากิน ชูชกถูกขู่ก็กลัวตายจึงกล่าวเท็จว่า พระชนกของพระเวสสันดร

ส่งเราเป็นทูตมาด้วยหมายใจว่าจักนำพระเวสสันดรกลับพระนคร

เจตบุตรได้ฟังดังนั้นก็ร่าเริงยินดี แสดงความเคารพนับถือพราหมณ์

จึงบอกทางไปเขาวงคตให้แก่พราหมณ์. พราหมณ์เดินทางออกจากนั้นใน

ระหว่างทาง ได้พบกับอัจจุตดาบสจึงถามถึงหนทาง เมื่ออัจจุติดาบสบอก

หนทางให้ จึงเดินไปตามทางตามเครื่องหมายที่อัจจุตดาบสบอก ถึงที่ตั้ง

อาศรมบทของพระโพธิสัตว์โดยลำดับ จึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ในเวลาที่

พระนางมัทรีเทวีไปหาผลไม้ แล้วทูลขอพระกุมารกุมารีทั้งสอง ดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เมื่อเราอยู่ในป่าใหญ่ ชูชกพราหมณ์

เดินเข้ามาหาเรา ได้ขอบุตรทั้งสองของเรา

คือ พ่อชาลีและแม่กัณหาชินา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 193

เมื่อพราหมณ์ทูลขอพระกุมารกุมารีอย่างนี้แล้วพระมหาสัตว์ทรงเกิด

โสมนัสด้วยพระประสงค์ว่า นานแล้วยาจกมิได้มาหาเรา วันนี้เราจักบำเพ็ญ

ทานบารมีโดยไม่ให้เหลือ ทรงยังจิตของพราหมณ์ให้ยินดีดุจวางถุงทรัพย์

๑,๐๐๐ ลงบนมือที่เหยียดออก และยังหลืบเขานั้นทั้งสิ้นให้บรรลือตรัสว่า

เราให้ลูกทั้งสองของเราแก่ท่าน. ส่วนพระนางมัทรีเทวีไปป่าเพื่อหาผลาผล

แต่เช้าตรู่จักกลับก็ตอนเย็น. อนึ่งเมื่อนางมัทรีกลับ ท่านจงแสดงลูกทั้งสอง

นั้นจงดื่มเคี้ยวรากไม้และผลาผล อยู่ค้างสักคืนหนึ่ง พอหายเมื่อย เช้าตรู่

จึงค่อยไป. พราหมณ์คิดว่า พระเวสสันดรนี้พระราชทานพระกุมารกุมารี

เพราะมีพระอัธยาศัยกว้างขวางแท้ แต่พระนางมัทรีพระมารดามีความรัก

บุตรกลับมาจะพึงทำอันตรายแก่ทานได้. ถ้ากระไรเราจะทูลแค่นไค้พระเวส-

สันดรนี้แล้ว พาโอรสทั้งสองไปวันนี้ให้จงได้จึงกราบทูลว่า หากพระองค์

พระราชทานพระโอรสทั้งสองแก่ข้าพระองค์แล้ว ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะ

แสดงกะพระมัทรีแล้วจึงส่งไป. ข้าพระองค์จักขอพาโอรสทั้งสองไปในวันนี้

แหละ พระเจ้าข้า. พระเวสสันดรตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ หากท่านไม่

ปรารถนาจะเห็นพระนางมัทรีราชบุตรี. ท่านจงพาทารกทั้งสองนี้ไปยัง

กรุงเชตุดร. ณ ที่นั้น พระสญชัยมหาราชจักรับทารกทั้งสองแล้วพระราช-

ทานทรัพย์เป็นอันมากแก่ท่าน. ท่านจักมีทาสหญิงทาสชายได้ด้วยทรัพย์นั้น

และท่านก็จะมีชีวิตอยู่อย่างสบาย. อีกประการหนึ่งทารกทั้งสองนี้ก็เป็นสุขุ-

มาลชาติ เธอทั้งสองนั้นจักปรนนิบัติท่านได้อย่างไรเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 194

พราหมณ์ทูลว่า ข้าพระองค์มิอาจจะทำอย่างนั้นได้ ข้าพระองค์เกรง

พระราชอาญา. ข้าพระองค์จักนำไปบ้านของข้าพระองค์เลย พระเจ้าข้า.

ทารกทั้งสองได้สดับการสนทนาของพระบิดาและพราหมณ์ คิดว่า พระบิดา

มีพระประสงค์จะพระราชทานเราทั้งสองแก่พราหมณ์ จึงเลี่ยงไปยังสระ

โบกขรณีแอบที่กอประทุม. พราหมณ์ไม่เห็นพระกุมารกุมารี จึงทูลว่า

พระองค์ตรัสว่า จะพระราชทานทารกทั้งสองแล้วให้ทารกทั้งสองหนีไป

แล้วจึงทูลต่อว่าว่า นั่นเป็นอุบายวิธีที่ดีงามของพระองค์.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงรีบลุกขึ้นเที่ยวตามหาพระกุมารกุมารี

ทรงเห็นทั้งสองแอบอยู่ที่กอปทุมจึงตรัสว่า ลูกรักทั้งสองจงขึ้นมาเถิด. ลูก

ทั้งสองอย่าได้ทำอันตรายแก่ทานบารมีของพ่อเลย. จงให้อัธยาศัยในทาน

ของพ่อถึงที่สุดเถิด. อนึ่ง พราหมณ์ผู้นี้พาลูกทั้งสองไปแล้วก็จักไปหา

พระเจ้าสญชัยมหาราชซึ่งเป็นพระอัยกาของลูก. พ่อชาลีลูกรัก ลูกต้องการ

จะเป็นไทก็พึงให้ทอง ๑,๐๐๐ แท่ง แก่พราหมณ์แล้วก็จะได้เป็นไท. ดูก่อน

แม่กัณหาชินาลูกรัก ลูกควรให้สิ่งละ ๑๐๐ คือทาสชาย ๑๐๐ ทาสหญิง ๑๐๐

ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ โคอุสภะ ๑๐๐ ทองคำ ๑๐๐ แท่ง แล้วลูกก็จะพึง

เป็นไท ทรงตีราคาค่าตัวลูกทั้งสองดังนี้แล้วทรงปลอบพากลับไปยังอาศรมบท

เอาคนโทใส่น้ำแล้วหลั่งน้ำลงในมือของพราหมณ์ ทำให้เป็นปัจจัยแห่ง

พระสัพพัญญุตญาณ ทรงเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ยังมหาปฐพีให้บรรลือ

กัมปนาท ได้พระราชทานบุตรเป็นที่รัก. แม้ในจริยานี้ก็ได้มีแผ่นดินไหว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 195

เป็นต้นโดยนัยดังกล่าวแล้วในจริยาก่อน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า :-

เพราะได้เห็นยาจกเข้ามาหา ความร่าเริง

เกิดขึ้นแก่เรา ในกาลนั้นเราได้พาบุตรทั้งสอง

มาให้แก่พราหมณ์ เมื่อเราสละบุตรทั้งสอง

ของตนให้แก่ชูชกพราหมณ์ในกาลใด แม้ใน

กาลนั้น แผ่นดิน ภูเขาสิเนรุราชก็หวั่นไหว.

ครั้งนั้น พราหมณ์เอาเถาวัลย์ผูกพระหัตถ์ฉุดคร่าทารกทั้งสองผู้ไม่

อยากจะไป. ในพระหัตถ์ที่ผูกนั้นโลหิตไหลออกจากผิวหนัง. พราหมณ์เอา

ท่อนเถาวัลย์ ตี ฉุดคร่าไป. พระกุมารกุมารีทรงเหลียวดูพระบิดาแล้วทูล

ว่า :-

ข้าแต่พระบิดา พระมารดาก็เสด็จไปป่า

พระบิดาก็ทรงเห็นแต่ลูกทั้งสอง พระบิดา

อย่าเพิ่งทรงให้ลูกไปเลยจนกว่าพระมารดาจะ

กลับมา เมื่อนั้นแหละอีตาพราหมณ์เฒ่า จะ

ขายหรือจะฆ่าลูกทั้งสองก็ตามที.

ทูลต่อไปอีก มีอาทิว่า อีตาพราหมณ์เฒ่านี้ร้ายกาจนัก ทำการ

หยาบช้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 196

จะเป็นมนุษย์ หรือยักษ์ กินเนื้อและ

เลือดออกจากบ้านมาสู่ป่า จะมาขอทรัพย์กะ

พระบิดา เมื่อตาพราหมณ์เฒ่าปีศาจจะนำลูก

ไป ไฉนพระบิดาจึงทรงมองดูเฉยอยู่เล่า.

ทั้งของพระกุมารกุมารีต่างกันแสงไห้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ธน ได้แก่ทรัพย์คือบุตร.

ชูชก เมื่อพระกุมารกุมารีร่ำไห้อยู่อย่างนั้นก็โบยฉุดกระชากหลีกไป.

พระมหาสัตว์ทรงเกิดความเศร้าโศกเป็นกำลัง ด้วยความสงสารลูกทั้งสองที่

ร้องไห้ และด้วยความไม่สงสารของพราหมณ์ ในขณะนั้นเองทรงรำลึกถึง

ประเพณีของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย. ทรงตำหนิพระองค์ว่า ธรรมดา

พระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงทรงละมหาบริจาค ๕ แล้วจักเป็นพระพุทธเจ้า

แม้เราก็เป็นผู้หนึ่งของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น บริจาคบุตรทาน และมหา

บริจาคอย่างใดอย่างหนึ่ง. เพราะฉะนั้น ดูก่อนเจ้าเวสสันดรการให้ทาน

แล้วเดือดร้อนในภายหลังไม่สมควรแก่เจ้าเลย. แล้วทรงเตือนพระองค์ว่า

ตั้งแต่เวลาที่เราให้ทานแล้วอะไร ๆ ก็มิได้เป็นของเจ้า ทรงอธิษฐาน กุสล-

สมาทานมั่นคง ประทับนั่ง ณ ประตูบรรณศาลา ดุจพระปฏิมาทองคำ

นั่งบนแผ่นหิน ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 197

ลำดับนั้น พระนางมัทรีเทวีหาบผลาผลจากป่าเสด็จกลับ เทพยดา

ทั้งหลายจึงแปลงกายเป็นมฤคร้ายกั้นทางไว้ด้วยดำริว่า พระนางมัทรีจงอย่า

เป็นอันตรายแก่ทานของพระมหาสัตว์เลย เมื่อมฤคร้ายหลีกไปแล้วพระนาง

เสด็จถึงอาศรมช้าไป ทรงดำริว่าวันนี้เราฝันไม่ดีเลย และเกิดนิมิตร้ายขึ้นอีก.

จักเป็นอย่างไรหนอ เสด็จเข้าไปยังอาศรมไม่ทรงเห็นพระกุมารกุมารี จึงเข้า

ไปหาพระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม หม่อมฉันไม่เห็นลูกทั้งสอง

ของเรา. ลูกทั้งสองไปเสียที่ไหนเล่าเพคะ. พระโพธิสัตว์ทรงนิ่ง. พระนาง

มัทรีค้นหาลูกทั้งสอง เที่ยวหาในที่นั้น ๆ มิได้ทรงเห็นจึงกลับไปทูลถามอีก.

พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า เราจักให้แม่มัทรีละความเศร้าโศกถึงบุตร

ด้วยถ้อยคำหยาบจึงตรัสว่า :-

แม่มัทรีผู้มีรูปสมบัติอันประเสริฐ เป็น

ราชบุตรี เป็นผู้มียศเจ้าไปแสวงหามูลผลาหาร

แต่เช้ามิใช่หรือ ไฉนเจ้าจึงกลับมาจนเย็น

เล่า.

เมื่อพระนางทูลถึงเหตุที่ทำให้ล่าช้าก็มิได้ตรัสอะไรๆ ถึงทารกทั้งสอง

อีกเลย. พระนางมัทรีด้วยความเศร้าโศกถึงบุตรคิดถึงบุตร จึงรีบออกป่า

ค้นหาบุตรอีก. สถานที่ที่พระนางมัทรีเที่ยวค้นหาในราตรีเดียวคำนวณดู

แล้วประมาณ ๑๕ โยชน์. ครั้นรุ่งสว่างพระนางได้เข้าไปหาพระโพธิสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 198

ประทับยืน ถูกความโศกมีกำลังครอบงำเพราะไม่เห็นลูกจึงล้มสลบลงบนพื้น

ดินแทบพระบาทของพระโพธิสัตว์นั้นดุจกล้วยถูกตัด.

พระโพธิสัตว์ทรงหวั่นไหวด้วยทรงสำคัญว่า พระนางมัทรีสิ้นพระ-

ชนม์ ทรงเกิดความโศกใหญ่หลวง ดำรงพระสติมั่น ทรงดำริว่า เราจักรู้ว่า

แม่มัทรียังมีชีวิตอยู่ หรือไม่มี แม้ตลอด ๗ เดือนไม่เคยถูกต้องกายกันเลย

เพราะไม่มีอย่างอื่นจึงทรงยกพระเศียรของนางวางบนพระอุรุ (ขา) เอาน้ำ

พรมลูบคลำ พระอุระพระหัตถ์ และพระหทัย. พระนางมัทรีล่วงไปเล็ก

น้อยก็ได้พระสติบังเกิดหิริโอตตัปปะทูลถามว่า ลูกทั้งสองไปไหน. พระ-

โพธิสัตว์ว่า ดูก่อนเทวี พี่ได้ให้บุตรของเราเพื่อเป็นทาสแก่พราหมณ์

คนหนึ่งซึ่งมาขอกะพี่ เมื่อพระนางมัทรีทูลว่า ข้าแต่พระองค์เพราะเหตุไร

พระเจ้าพี่ทรงให้ลูกทั้งสองแก่พราหมณ์แล้วจึงไม่บอกแก่น้องปล่อยให้ร้องไห้

เที่ยวหาอยู่ตลอดคืนเล่า ตรัสว่า เมื่อพี่บอกเสียก่อน น้องก็จะมีทุกข์ใจมาก.

แต่บัดนี้ทุกข์เบาบางลงแล้ว พระองค์จึงทรงปลอบพระมัทรีว่า :-

ดูก่อนแม่มัทรีน้องจงดูพี่ อย่าปรารถนา

ที่จะเห็นลูกเลย อย่ากันแสงไปนักเลย เรา

ไม่มีโรคยังมีชีวิตอยู่ คงจะได้พบลูก เป็น

แน่แท้.

แล้วตรัสต่อไปว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 199

สัตบุรุษเห็นยาจกมาขอทาน แล้วพึงให้

บุตร สัตว์เลี้ยง ข้าวเปลือก และทรัพย์

อย่างอื่นอันมีอยู่ในเรือน. ดูก่อนแม่มัทรี

น้องจงอนุโมทนาบุตรทาน อันสูงสุดของ

พี่เถิด.

แล้วทรงให้พระนางมัทรีอนุโมทนาบุตรทานของพระองค์

แม้พระนางมัทรีก็ทูลอนุโมทนาว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ น้องขอ

อนุโมทนาบุตรทาน อันสูงสุดของพระเจ้าพี่

ครั้นพระเจ้าพี่พระราชทานบุตรแล้ว ขอจงทรง

ยังพระทัยให้ผ่องใส จงทรงบำเพ็ญทานให้

ยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก.

เมื่อกษัตริย์ทั้งสองทรงสนทนากันเป็นที่สำราญพระทัยของกันและ

กันอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจึงทรงดำริว่า เมื่อวานพระมหาบุรุษยังปฐพีให้

กึกก้องกัมปนาท ได้พระราชทานพระโอรสธิดาแก่ชูชก. บัดนี้จะมีบุรุษชั่ว

เราเข้าไปหาพระองค์ แล้วทูลขอพระมัทรีเทวีก็จะพาเอาไปเสียอีก. แต่นั้น

พระราชาโพธิสัตว์ก็จะหมดที่พึ่ง. เอาเถิดเราจะแปลงเพศเป็นพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 200

เข้าไปหาพระองค์ทูลขอพระนางมัทรี ทำให้พระโพธิสัตว์ทรงถือเอายอด

พระบารมี แล้วจักไม่ทรงกระทำสิ่งที่ไม่ควรสละให้แก่ใคร ๆ อีกแล้ว

จักมาคืนพระนางมัทรีนั้นแก่พระโพธิสัตว์. ท้าวสักกะจึงแปลงเพศเป็น

พราหมณ์ ในตอนพระอาทิตย์ขึ้นได้ไปหาพระโพธิสัตว์ พระมหาบุรุษ

ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์นั้น ทรงเกิดปีติโสมนัสว่า แขกของเรามาแล้ว

ทรงกระทำปฏิสันถารอย่างอ่อนหวานกับพราหมณ์นั้น แล้วตรัสถามว่า

ท่านพราหมณ์ท่านมาที่นี้เพื่อประสงค์อะไร.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจึงทูลขอพระนางมัทรีเทวี. ดังที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ท้าวสักกะทรงแปลงเพศเป็นพราหมณ์

เสด็จลงจากเทวโลก มาขอนางมัทรี ผู้มีศีล

มีจริยาวัตรอันงามกะเราอีก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุนเทว คือภายหลังจากวันที่เราให้ลูก

ทั้งสองนั่นแล. อธิบายว่า ในลำดับนั้นนั่นแล. บทว่า โอรุยฺห คือลง

จากเทวโลก. บทว่า พฺราหฺมณสนฺนิโภ คือแปลงเพศเป็นพราหมณ์

ลำดับนั้นพระมหาสัตว์มิได้ตรัสว่า เมื่อวานนี้เราได้ให้ลูกทั้งสอง

แก่พราหมณ์ แม้เราก็อยู่ผู้เดียวเท่านั้นในป่า. เราจักให้แม่มัทรีผู้มีศีล

ปฏิบัติสามีดีแก่ท่านได้อย่างไร. มีพระทัยมิได้ถดถอย เพราะไม่สละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 201

เพราะไม่ผูกมัด ดุจวางรัตนะอันหาค่ามิได้ลงในมือที่เหยียดออกทรงร่าเริง

ยินดีดุจยังคิรีให้กึกก้องกัมปนาทว่า วันนี้ทานบารมีของเราจักถึงที่สุด

ตรัสว่า :-

ท่านพราหมณ์ เราจะให้ เราไม่หวั่นไหว

ท่านขอสิ่งใดกะเรา เราไม่ซ่อนเร้นที่มีอยู่นั้น

ใจของเรายินดีในทาน.

ทรงรีบเอาน้ำใส่คนโทแล้วหลั่งน้ำลงในมือพราหมณ์ได้พระราชทาน

ภรรยาให้. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เรามีความดำริแห่งใจเลื่อมใส เราจับ

พระหัตถ์พระนางมัทรี ยังฝ่ามือให้เต็มด้วยน้ำ

ได้ให้พระนางมัทรีแก่พราหมณ์นั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุทกญฺชลิ คือยังมือให้เต็มด้วยน้ำ. อนึ่ง

บทว่า อุทก เป็นปฐมาวิภัตติ์ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ์. ความว่า ยังมือคือ

ฝ่ามือที่เหยียดออกของพราหมณ์นั้นให้เต็มด้วยน้ำ. บทว่า ปสนฺนมนสงฺ-

กปฺโป คือมีความดำริแห่งใจเลื่อมใสแล้วด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอันเกิด

ขึ้นแล้วว่า เราจักยังที่สุดแห่งทานบารมีให้ถึงด้วยการบริจาคภริยานี้ แล้ว

จักบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแน่นอน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 202

ในขณะนั้นนั่นเอง ได้ปรากฏปาฏิหาริย์ทั้งปวงมีประการดังได้กล่าว

มาแล้วในหนหลัง. หมู่เทพ หมู่พรหม ได้เกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่งว่า

บัดนี้พระสัมมาสัมโพธิญาณของพระโพธิสัตว์นั้นอยู่ไม่ไกล. ดังที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เมื่อเราให้พระนางมัทรีทวยเทพในท้องฟ้า

ต่างเบิกบาน แม้ในครั้งนั้น แผ่นดิน เขา-

สิเนรุราช ก็หวั่นไหว.

อนึ่ง เมื่อเราให้พระนางมัทรีเทวี ไม่มีร้องไห้หน้าเศร้าหรือเพียง

คิ้วขมวด. พระนางมัทรีเทวีได้มีพระดำริอย่างเดียวว่า จะทำสิ่งที่พระสวามี

ปรารถนา. พระนางมัทรีตรัสต่อไปว่า :-

เราเป็นราชกุมารี ได้เป็นภริยาของท่าน

ผู้ใด ท่านผู้นั้นก็เป็นเจ้าของ เป็นอิสระใน

ตัวเรา เมื่อปรารถนาจะให้เราแก่ผู้ใดก็ให้ได้

หรือจะขายก็ได้ จะฆ่าเสียก็ได้.

แม้พระมหาบุรุษก็ตรัสว่า ท่านพราหมณ์ผู้เจริญ พระสัพพัญญุต-

ญาณเท่านั้น เรารักยิ่งกว่าแม่มัทรี ร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า. ขอทาน

ของเรานี้จงเป็นปัจจัยแห่งการรู้แจ้งแทงตลอด พระสัพพัญญุตญาณเถิดแล้ว

พระราชทาน ทาน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 203

เมื่อเราสละพ่อชาลี แม่กัณหาชินาผู้เป็น

ธิดาและพระนางมัทรีผู้จงรักสามี ไม่คิดถึง

เลย เพราะเหตุแห่งโพธิญาณนั่นเอง. บุตร

ทั้งสองเราก็ไม่เกลียด พระนางมัทรีเราก็ไม่

เกลียด แต่สัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา.

เพราะฉะนั้น เราจึงได้ให้บุตรและภริยาอัน

เป็นที่รักของเราอีกครั้งหนึ่ง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า จชมาโน น จินฺเตสิ คือเมื่อเราสละ

ก็มิได้คิดถึงด้วยความเดือดร้อน. อริบายว่า เราสละแล้วก็เป็นอันสละไปเลย.

ในบทนี้สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ก็เพราะเหตุไรเล่าพระมหาบุรุษจึงทรงสละ

บุตรภริยาของพระองค์ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเป็นกษัตริย์ โดยให้เป็นทาสของ

ผู้อื่น. เพราะการทำผู้เป็นไทบางพวก ไม่ให้เป็นไท มิใช่สิ่งที่ดี. ตอบว่า

เพราะเป็นธรรมสมควร. จริงอยู่การเข้าถึงพุทธการกรรม เป็นธรรมดานี้

คือ การบริจาควัตถุที่เขาหวงว่า นี้ของเราเนื่องในตนทั้งปวงได้โดยไม่

เหลือ. จริงอยู่การสละวัตถุที่เขาหวงว่า ของเราแก่ยาจกผู้ขอจะไม่สมควร

แก่พระโพธิสัตว์ ผู้ถึงความขวนขวายเพื่อบำเพ็ญทวนบารมีปราศจากการ

กำหนดไทยธรรมและปฏิคาหกก็หามิได้. แม้นี้ก็เป็นธรรมอันสมควรมีมา

แต่เก่าก่อน. ธรรมที่ประพฤติสะสมมาสม่ำเสมอนี้ เป็นวงศ์ของตระกูล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 204

เป็นประเพณีของตระกูลของพระโพธิสัตว์ทั้งปวง คือการบริจาคของทุกสิ่ง.

แต่โดยพิเศษออกไปในข้อนั้นก็คือการบริจาคสิ่งอันเป็นที่รักกว่า. จริงอยู่

พระโพธิสัตว์บางองค์เป็นพระพุทธเจ้า เพราะทรงบริจาคมหาบริจาค ๕

เหล่านี้ คือ บริจาคทรัพย์มีความเป็นอิสระในราชสมบัติเป็นต้นอันสืบวงค์

มา ๑ การบริจาคอวัยวะ มีศีรษะ และนัยน์ตาเป็นต้นของตน ๑ บริจาค

ชีวิตอันเป็นที่รัก ๑ บริจาคบุตรเป็นที่รักผู้จะดำรงวงศ์ตระกูล ๑ บริจาค

ภริยาเป็นที่รักมีความประพฤติเป็นที่ชอบใจ ๑ เคยมีมาแล้วมิใช่หรือ. เป็น

ความจริงดังนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุมังคละครั้งเป็น

พระโพธิสัตว์ทรงแสวงหาโพธิญาณประทับอยู่ ณ ภูเขาลูกหนึ่งพร้อมด้วย

บุตรภรรยาในอัตภาพที่ ๓ จากอัตภาพก่อนมียักษ์ ชื่อว่า ขรทาฐิกะ

( เขี้ยวแหลม ) ได้ฟังว่าพระมหาบุรุษมีอัธยาศัยในการให้ จึงแปลงเพศ

เป็นพราหมณ์ เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ขอทารกทั้งสอง.

พระมหาสัตว์เบิกบานใจว่า เราจะให้บุตรทั้งสองแก่พราหมณ์ ยัง

ปฐพีมีน้ำเป็นที่สุดให้หวั่นไหวได้ให้ทารกทั้งสอง. ยักษ์ยืนพิงกระดานสำหรับ

ยึดในที่สุดที่จงกรม เมื่อพระโพธิสัตว์เห็นอยู่นั่นเอง ได้เคี้ยวกินเด็กทั้งสอง

ดุจเง่าบัว. เมื่อพระมหาบุรุษแลดูปากของยักษ์ ซึ่งพ่นสายเลือดออกมาดุจ

เปลวไฟ ไม่ให้โอกาสแก่จิตตุปบาทเกิดขึ้นว่ายักษ์ลวงเรา เพราะความเป็นผู้

ฉลาดในอุบายได้อบรมดีมาแล้ว เพราะสภาพของธรรมในอดีตไม่มีปฏิสนธิ

และเพราะความย่ำยีของสังขารทั้งหลายด้วยอำนาจแห่งความเป็นของไม่เที่ยง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 205

เป็นต้น จึงเกิดโสมนัสขึ้นว่า ทานบารมีของเราเต็มแล้ว. เรายังประโยชน์

ใหญ่ให้สำเร็จแล้วได้บรรลุ ดังนี้ด้วยกองสังขารอันหาสาระมิได้ ผุพังไป

ตั้งอยู่เดี๋ยวเดียวอย่างนี้. พระมหาสัตว์ทราบความดีงามแห่งจิตของตน ใน

ขณะนั้นอันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น จึงตั้งความปรารถนาว่า ด้วยผลอันนี้ในอนาคต

ขอรัศมีของเราจงออกจากร่างกาย โดยทำนองเดียวกันนี้เถิด.

รัศมีจากสรีระของพระโพธิสัตว์ผู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น เพราะอาศัย

ความปรารถนานั้น ได้แผ่ซ่านตลอดโลกธาตุ ๑๐,๐๐๐ ตั้งอยู่เป็นนิจ. พระ-

โพธิสัตว์แม้เหล่าอื่นก็อย่างนั้น สละสิ่งอันเป็นที่รักของตนและบุตรภรรยา

ก็รู้แจ้งแทงตลอด พระสัพพัญญุตญาณ. อีกอย่างหนึ่ง เหมือนอย่างว่าบุรุษ

คนใดคนหนึ่งรับ จ้างทำการงานบ้านหรือชนบท ในสำนักของใคร ๆ พึงทำ

ทรัพย์หายไป ด้วยความประมาทของตนหรือของลูกน้อง. เขาถูกจับส่งเข้า

ไปยังเรือนจำ. เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราทำการงานของพระราชาน

เก็บทรัพย์ไว้ได้ประมาณเท่านี้ เราถูกพระราชานั้นส่งเข้าไปในเรือนจำ. หาก

เราอยู่ในเรือนจำนี้. ตนก็จนย่อยยับ. บุตรภรรยากรรมกรและบุรุษของเรา

ปราศจากอาชีพพึงถึงความพินาศย่อยยับ. ถ้ากระไรเราจักทูลพระราชา ทรง

ตั้งบุตรหรือพี่ชายน้องชายของตนไว้ในที่นี้แล้วพึงออกไป. เราพ้นจากเรือน-

จำนี้ ไม่ช้าก็จะรวบรวมทรัพย์ จากมิตร จากสหายแล้วถวายแด่พระราชา

แล้วปล่อยบุตรพี่ชายน้องชายนั้นจากเรือนจำ. เราเป็นผู้ไม่ประมาทจัก

กระทำสมบัติให้เสมือนเดิมด้วยกำลังความเพียร. บุรุษนั้นก็พึงทำอย่างนั้น

ฉันใด. พึงเห็นข้ออุปมาอุปมัยนี้ ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 206

ในข้อนั้นมีความเปรียบเทียบดังต่อไปนี้. การงานดุจพระราชา. สงสาร

ดุจเรือนจำ. พระมหาบุรุษผู้ท่องเที่ยวไปในสงสารด้วยอำนาจกรรม ดุจบุรุษ

ที่พระราชาตั้งไว้ในเรือนจำ. การที่พระมหาบุรุษให้บุตรเป็นต้นของตนแก่

คนอื่นแล้วปลดเปลื้องสัตว์ทั้งปวงให้พ้นจากทุกข์ในวัฏฏะ ด้วยการได้พระ-

สัพพัญญุตญาณ ดุจการพ้นจากทุกข์ของบุตรหรือพี่น้องและของตน ซึ่งถูก

จำอยู่ในเรือนจำด้วยการพึ่งผู้อื่น. การถึงพร้อมด้วยสมบัติคือขอพระสัพพัญ-

ญุตญาณ มีทศพลญาณเป็นต้น ด้วยความเป็นพระพุทธเจ้า ของพระมหา-

บุรุษผู้ปราศจากทุกข์ในวัฏฏะด้วยอรหัตมรรค และการถึงพร้อมด้วยสมบัติมี

วิชา ๓ เป็นต้น ของผู้ทำตามคำสอนของตน ดุจการตั้งอยู่ในสมบัติตามความ

ประสงค์กับชนเหล่านั้นของบุรุษผู้พ้นทุกข์แล้ว เพราะเหตุนั้นการบริจาค

บุตรภรรยา ของพระมหาบุรุษทั้งหลาย จึงเป็นสภาพอันหาโทษมิได้ด้วย

ประการฉะนี้. โดยนัยนี้แล การทักท้วงใดในการบริจาคอวัยวะและชีวิตของ

พระโพธิสัตว์เหล่านั้น แม้การทักท้วงนั้นก็พึงทราบว่า บริสุทธิ์ดีแล้ว.

ก็เมื่อพระมหาสัตว์ทรงให้พระนางมัทรีเทวีอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะทรง

บังเกิดความอัศจรรย์อันไม่เคยมี ได้ทรงสรรเสริญด้วยการอนุโมทนาทาน

ของพระมหาบุรุษโดยนัยมีอาทิว่า :-

ข้าศึกทั้งหลายทิ้งที่เป็นของทิพย์และของ

มนุษย์ พระองค์ชนะได้ทั้งหมดปฐพี พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 207

องค์ก็ให้กึกก้องได้ พระเกียรติศัพท์ของพระ-

องค์ก็ระบือไปถึงไตรทิพย์ เมือพระองค์ทรงให้

สิ่งที่ให้ได้ยาก กระทำสิ่งที่ทำได้ยาก คนที่

เป็นอสัตบุรุษก็ทำตามได้ยาก ธรรมของสัต-

บุรุษนำไปได้ยาก เพราะฉะนั้นคติของสัตบุรุษ

และอสัตบุรุษ จากโลกนี้ไปจึงต่างกัน อสัต-

บุรุษย่อมไปนรก สัตบุรุษย่อมไปสวรรค์.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจูหา คือข้าศึก. บทว่า ทิพฺพา คือ

ผู้ห้ามยศอันเป็นทิพย์. บทว่า มานุสา ผู้ห้ามยศเป็นของมนุษย์. ก็ข้าศึก

เหล่านั้นเป็นใคร คือความตระหนี่. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ความ

ตระหนี่ทั้งหมดนั้น อันพระมหาสัตว์ผู้ทรงให้บุตรภริยา ทรงชนะได้แล้ว.

บทว่า ทุทฺทท ให้ได้ยาก คือเมื่อบุคคลเช่นท่านให้สิ่งที่ให้ได้ยากมีบุตร

ภริยาเป็นต้น กระทำสิ่งที่ทำได้ยากนั้น พระสาวกพระปัจเจกพุทธเจ้า และ

พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่น กระทำตามไม่ได้จะกล่าวไปใยถึงอสัตตบุรุษ

ผู้มีความตระหนี่. เพราะฉะนั้นธรรมของสัตบุรุษ นำไปได้ยาก คือธรรมอัน

เป็นข้อปฏิบัติของตน ึ คือพระมหาโพธิสัตว์ อันบุคคลอื่นตามไปได้ยาก.

ท้าวสักกะทรงสรรเสริญ ด้วยการอนุโมทนาพระมหาบุรุษอย่างนี้แล้ว

เมื่อจะทรงมอบพระนางมัทรีเทวีคืน จึงตรัสว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 208

ข้าพเจ้าขอถวายพระนางมัทรีอัครมเหสีผู้

มีพระวรกายงามพร้อม แก่พระองค์ พระองค์

เท่านั้นคู่ควรแก่พระนางมัทรี และพระนางมัทรี

ก็คู่ควรแก่พระองค์ผู้เป็นพระสวามี.

แล้วทรงมอบพระนางมัทรีคืน เสด็จประทับบนอากาศ รุ่งโรจน์ด้วย

พระอัตภาพเป็นทิพย์ ดุจดวงอาทิตย์อ่อน ๆ ประทับอยู่บนอากาศแสดงพระ-

องค์ตรัสว่า :-

ข้าแต่พระราชฤๅษี ข้าพเจ้าคือท้าวสักกะ

จอมเทพมายังสำนักของพระองค์ ขอพระองค์

จงทรงเลือกพร ข้าพระองค์จะถวายพร ๘ ประ-

การแก่พระองค์.

แม้พระมหาสัตว์ก็ทรงขอพร ๘ ประการเหล่านี้ คือ ๑ ข้าแต่จอม-

เทพ ขอพระบิดาทรงแต่งตั้งข้าพระองค์ให้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ. ๒ ขอให้

ข้าพระองค์ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องถึงประหารให้พ้นจากการประหาร ๓. ขอ

ให้ข้าพระองค์เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทั้งหลาย. ๔. ขอให้ข้าพระองค์อย่าได้

ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น อย่าได้ลุอำนาจของสัตว์. ๕ ขอให้โอรสของ

ข้าพระองค์มีอายุยืนนาน. ๖. ขอให้ไทยธรรมมีข้าวและน้ำเป็นต้นมีมาก

๗. ขอให้ข้าพระองค์มีจิตผ่องใส บริจาคไทยธรรมนั้นไม่รู้จักหมดสิ้น ๘ ขอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 209

ให้ข้าพระองค์บริจาคมหาทานอย่างนี้ ครั้นสิ้นชีพแล้ว ขอให้ไปสู่เทวโลก

กลับจากเทวโลกมาเกิดในมนุษยโลกนี้ ขอให้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ.

ท้าวสักกะตรัสว่า ในไม่ช้าพระเจ้ากรุงสญชัยมหาราชพระบิดาจัก

เสด็จมา ณ ที่นี้ รับพระองค์ไปดำรงในราชสมบัติ. อนึ่ง ความปรารถนา

ของพระองค์นอกนั้นทั้งหมด จักถึงที่สุด พระองค์อย่าทรงวิตกไปเลย. ขอ

พระองค์อย่าทรงประมาท. ครั้นประทานโอวาทแล้วก็เสด็จกลับเทวโลกทันที.

พระโพธิสัตว์และพระนางมัทรีเทวีทรงเบิกบานพระทัย ประทับอยู่ ณ อาศรม

ที่ท้าวสักกะประทานให้.

แม้เมื่อชูชกพาสองกุมารไป ทวยเทพก็ได้ทำการอารักขา. ทุก ๆ วัน

จะมีเทพธิดาองค์หนึ่งมาในตอนกลางคืน แปลงเพศเป็นพระนางมัทรีคอย

ดูแลสองกุมาร.

ชูชกนั้นเทวดาดลใจ คิดว่าจักไปกาลิงครัฐ แต่ก็บรรลุถึงกรุงเชตุดร

โดยกึ่งเดือน. พระราชาประทับนั่ง ณ ที่วินิจฉัย ทอดพระเนตรเห็นสอง

กุมารกับพราหมณ์ไปถึงพระลานหลวง ทรงจำได้รับสั่งให้เรียกสองกุมารกับ

พราหมณ์ ทรงสดับเรื่องราวนั้น จึงพระราชทานทรัพย์ตามจำนวนที่พระ-

โพธิสัตว์ทรงตีราคาไว้ไถ่สองกุมาร ให้สองกุมารสรงสนาน เสวยพระกระ-

ยาหาร ทรงตกแต่งด้วยเครื่องสรรพาลังการ พระราชาทรงให้พระชาลี

ประทับบนพระเพลา พระนางผุสดีทรงให้แก้วกัณหาชินาประทับบนพระ-

เพลา ทรงสดับถึงเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ และพระนางมัทรีราชบุตรี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 210

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้วทรงสลดพระทัยว่า เราได้ทำลายความ

ดีงาม ทันใดนั้นเอง ทรงจัดกองทัพนับได้ ๑๒ อักโขภินี ( อักโขภินีหนึ่ง

เท่ากับร้อยล้านแสนโกฏิ ) ทรงมุ่งพระพักตร์เสด็จไปเขาวงกต พร้อมด้วย

พระนางผุสดีเทวี และสองกุมาร. เสด็จถึงโดยลำดับแล้วทรงเข้าไปหาพระ-

โอรสและพระสุณิสา.

พระเวสสันดรทอดพระเนตรเห็นพระปิยบุตร ไม่สามารถอดกลั้น

ความโศกได้ ทรงสลบล้มลง ณ ที่บรรณศาลานั่นเอง. พระนางมัทรี พระ-

ชนกชนนี และเหล่าอำมาตย์ ๖๐,๐๐๐ ที่เป็นสหชาติต่างก็สลบไสลไปตาม ๆ

กัน. บรรดาผู้เห็นความกรุณานั้นไม่สามารถดำรงอยู่โดยความเป็นตนของตน

ได้. ตลอดอาศรมบท ได้เป็นเหมือนป่าสาละที่ถูกลมยุคันตวาตโหมกระหน่ำ

ฉะนั้น.

ท้าวสักกเทวราช เพื่อให้กษัตริย์และอำมาตย์ฟื้นจากสลบจึงบันดาล

ให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมา. ผู้ประสงค์จะให้เปียกก็เปียก ดุจฝนตกลงใน

ใบบัว แล้วกลับกลายเป็นน้ำไหลไป. ทั้งหมดก็พ่น. แม้ในครั้งนั้นความ

อัศจรรย์มีแผ่นดินไหวเป็นต้น มีประการดังกล่าวแล้วในหนหลังก็ได้ปรากฏ

ขึ้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า :-

อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระชนกชนนีเสด็จมา

พร้อมกัน ณ ป่าใหญ่ ทรงกันแสงสะอึกสะอื้น

น่าสงสาร ตรัสถามถึงทุกข์สุขกันและกันอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 211

เราได้เข้าเฝ้าพระชนกชนนีทั้งสอง ผู้เป็นที่

เคารพด้วยหิริและโอตตัปปะ แม้ในกาลนั้น

แผ่นดินเขาสิเนรุราช ก็หวั่นไหว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กรุณ ปริเทวนฺเต คือเมื่อชนมาพร้อมกัน

ทั้งหมด มีพระชนกชนนีเป็นต้น ทรงกันแสงสะอึกสะอื้นน่าสงสาร บทว่า

สลฺลปนฺเต สุข ทุกฺข คือตรัสถามถึงทุกข์สุข แล้วสนทนากันด้วยการ

ปฏิสันถาร. บทว่า หิโรตฺตปฺเปน ครุนา อุภินฺน เราได้เข้าเฝ้าพระชนก-

ชนนีผู้เป็นที่เคารพด้วยหิริและโอตตัปปะ คือเรามิได้มีจิตโกรธเคืองว่า ชน

เหล่านี้ขับไล่เราผู้เชื่อฟังคำของชาวสีพีไม่ประทุษร้าย ตั้งอยู่ในธรรม แล้ว

เข้าเฝ้าพระชนกชนนี ด้วยหิริโอตตัปปะ อันเกิดขึ้นด้วยความเคารพในธรรม

ในพระชนกชนนีเหล่านี้. ด้วยเหตุนั้น มหาปฐมพีจึงหวั่นไหวขึ้นในครั้งนั้น

ด้วยเดชะแห่งธรรมของเรา.

ลำดับนั้นพระเจ้ากรุงสญชัยมหาราช ทรงให้พระมหาสัตว์ยกโทษให้

แล้วทรงมอบราชสมบัติให้ครอบครอง ในขณะนั้นเองทรงให้พระมหาสัตว์

ปลงพระเกศาและพระมัสสุเป็นต้น ให้ทรงสรงสนาน ทรงอภิเษกพระ-

มหาสัตว์ผู้ทรงตกแต่งด้วยสรรพาภรณ์งดงามดังเทวราช ไว้ในราชสมบัติ

พร้อมพระนางมัทรีเทวี ทันใดนั้นทรงลุกขึ้นพร้อมด้วยเสนา ๔ เหล่า

ประมาณ ๑๒ อักโขภินี แวดล้อมพระโอรสรับสั่งให้ตกแต่งทาง ๖๐ โยชน์

ตั้งแต่เขาวงกตถึงกรุงเชตุดร เสด็จเข้าสู่พระนครโดยสวัสดี เป็นเวลา

สองเดือน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 212

มหาชนได้เสวยปีติโสมนัสเป็นอันมาก. ต่างยกผืนผ้าเป็นต้น โบก

ไปมา. เที่ยวประโคมนันทเภรีไปทั่วพระนคร. สัตว์ทั้งปวงโดยที่สุด แมว

ที่อยู่ในเครื่องผูกมัด ก็ได้พ้นจากเครื่องผูกมัด. พระโพธิสัตว์ในวันเสด็จเข้า

สู่พระนครนั่นเอง ตอนใกล้รุ่งทรงดำริว่า พรุ่งนี้ตอนสว่าง ยาจกทั้งหลาย

ได้ข่าวว่า เรากลับมาก็จักพากันมา. เราจักให้อะไรแก่ยาจกเหล่านั้น.

ในขณะนั้น อาสนะของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน. ท้าวเธอทรง

รำพึงอยู่ทรงทราบเหตุนั้นแล้ว ทันใดนั่นเองทรงบันดาลให้สิ่งของมีอยู่ตอน

ต้นและมีในตอนหลัง ของพระราชนิเวศน์เต็มประมาณเอว ประทานให้ตก

ดุจก้อนเมฆ. ฝนแก้ว ๗ ประการตกทั่วพระนครสูงปานเข่า. ดังที่พระผู้มี-

ภาคเจ้าตรัสว่า :-

อีกครั้งหนึ่ง เรากับบรรดาพระญาติของ

เราออกจากปาใหญ่ จักเข่าสู่กรุงเชตุดรอันน่า

รื่นรมย์ แก้ว ๗ ประการตกลง แล้วมหาเมฆ

ยังฝนให้ตก แม้ในกาลนั้น ปฐพี เขาสิเนรุราช

หวั่นไหว แม้แผ่นดินไม่มีจิตใจ ไม่รู้สุขและ

ทุกข์ก็หวั่นไหวถึง ๗ ครั้ง เพราะกำลังแห่งทาน

ของเรา ฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 213

เมื่อฝนแก้ว ๗ ประการตกอย่างนี้ รุ่งขึ้นพระมหาสัตว์ทรงดำริว่า

ทรัพย์ที่อยู่ในวัตถุที่มีอยู่ก่อนและมีทีหลังของตระกูลใด จงเป็นของตระกูล

นั้น แล้วพระราชทานให้นำส่วนที่เหลือมาใส่ไว้ในท้องพระคลัง รวมกับ

ทรัพย์ในวัตถุที่อยู่ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์ แล้วทรงบริจาคมหาทาน.

บทว่า อเจตนาย ปวี คือปฐพีนี้ใหญ่ปราศจากเจตนา แต่ทวย-

เทพประกอบด้วยเจตนา. บทว่า อวิญฺาย สุข ทุกฺข ไม่รู้สุข ไม่รู้ทุกข์

เพราะไม่มีเจตนานั่นเอง. แม้เมื่อมีการประกอบปัจจัยอันเป็นสุขเป็นทุกข์

ปฐพีนั้นก็มิได้เสวยปัจจัยนั้น. บทว่า สาปี ทานพลา มยฺห คือมหาปฐพี

นั้น แม้เป็นอย่างนั้นก็เพราะเหตุแห่งบุญญานุภาพแห่งการให้ของเรา. บทว่า

สตฺตกฺขตฺตุ ปกมฺปถ ความว่า มหาปฐพีหวั่นไหวถึง ๗ ครั้งในฐานะ

เหล่านี้ คือในเมื่อเรามีอายุได้ ๘ ขวบเกิดอัธยาศัยในการให้ว่า เราพึงให้

แม้หัวใจและเนื้อเป็นต้น แก่ยาจกทั้งหลาย ในเมื่อให้มงคลหัตถี ในการ

ครั้งใหญ่จนถูกขับไล่ ในการให้บุตร ในการให้ภริยา ในคราวหมู่พระญาติ

มาพร้อมกันที่เขาวงกต ในคราวเข้าสู่พระนคร ในคราวฝนรตนะตก. พระ-

มหาสัตว์ทรงบริจาคมหาทานตราบเท่าพระชนมายุอันเป็นเหตุ ปรากฏความ

อัศจรรย์มีมหาปฐพีหวั่นไหวเป็นต้นสิ้น ๗ ครั้ง ในอัตภาพเดียวเท่านั้น เมื่อ

เสด็จสวรรคตได้ไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิตด้วยประการฉะนี้.

ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 214

ครั้นพระเวสสันดรราช ผู้เป็นกษัตริย์มี

พระปัญญา พระราชทานมหาทาน ครั้นสวรรคต

แล้วก็ทรงอุบัติบนสวรรค์.

ชูชกในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. นางอมิตตตาปนา คือนาง-

จิญจมาณวิกา. เจตบุตร คือพระฉันนะ. อจุตดาบส คือพระสารีบุตรเถระ.

ท้าวสักกะ คือพระอนุรุทธะ. พระนางมัทรี คือมารดาพระราหุล. ชาลีกุมาร

คือพระราหุล. กัณหาชินา คือนางอุบลวรรณา. พระชนกชนนี คือตระกูล

มหาราช. บริษัทที่เหลือ คือพุทธบริษัท. พระเวสสันดรราช คือพระโลก-

นาถ.

แม้ใน เวสฺสนฺตรจริยา นี้ ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือตาม

สมควรโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. พึงประกาศคุณานุภาพของ

พระมหาบุรุษไว้ในจริยานี้ อันเป็นเหตุปรากฏความอัศจรรย์หลายอย่าง มี

มหาปฐพีหวั่นไหวเป็นต้นถึง ๗ ครั้ง มีอาทิอย่างนี้ คือเมื่อพระมหาสัตว์

ทรงอยู่ในพระครรภ์ พระชนนีทรงแพ้พระครรภ์ เพราะมีพระประสงค์จะ

ทรงสละทรัพย์ถึง ๖๐๐,๐๐๐ ทุก ๆ วัน. อนึ่ง เมื่อทรงให้ทานพระราชทรัพย์

ก็มิได้หมดสิ้นไป. ในขณะประสูตินั่นเอง ทรงเหยียดพระหัตถ์ แล้วเปล่ง

พระวาจาว่า หม่อมฉันจักให้ทาน. มีอะไรบ้าง. เมื่อมีพระชนม์ได้ ๔ - ๕

พระพรรษา ความที่พระองค์มีพระประสงค์จะทรงให้เครื่องประดับของพระ-

องค์แก่แม่นมทั้งหลาย อันเป็นเหตุแห่งความเป็นผู้เลิศ. เมื่อพระชนม์ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 215

พระพรรษา ความที่พระองค์มีพระประสงค์จะทรงให้อวัยวะของพระองค์มี

หัวใจและเนื้อเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่เหล่านั้น น่า

อัศจรรย์ทั้งไม่เคยมีอย่างนี้ แม้เพียงจิตเลื่อมใส

ในท่านเหล่านั้น ก็พึงพ้นจากทุกข์จะพูดไป

ทำไมถึงการทำตามท่านเหล่านั้น โดยธรรม

สมควรแก่ธรรม.

จบ อรรถกถาเวสสันตรจริยาที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 216

๑๐. สสปัณฑิตจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของสสบัณฑิต

[๑๐] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นกระต่าย

เที่ยวอยู่ในป่า มีหญ้า ใบไม้ ผักและผลไม้

เป็นภักษา เว้นจากการเบียดเบียนผู้อื่น ใน

กาลนั้น ลิง สุนัขจิ้งจอก ลูกนาคและเราเป็น

สหายอยู่ร่วมกัน มาพบกันทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า

เราสั่งสอนสหายเหล่านั้นในกุศลธรรมและ

อกุศลธรรมว่า ท่านทั้งหลาย จงเว้นบาปกรรม

เสีย จงตั้งอยู่ในกรรมอันงาม เราเห็นพระจันทร์

เต็มดวงในวันอุโบสถ จึงนอกแก่สหายเหล่า

นั้นว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ ท่านทั้งหลายจง

ตระเตรียมทานทั้งหลายเพื่ออให้แก่ทักขิไณย.

บุคคลครั้นให้ทานแก่ทักขิไณยบุคคลแล้ว จง

รักษาอุโบสถ สหายเหล่านั้นรับคำของเราว่า

สาธุ แล้วได้ตระเตรียมทานต่าง ๆ ตามสติกำลัง

แล้วแสวงหาทักขิไณยบุคคล เรานอนคิดถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 217

ทานอันสมควรแก่ทักขิไณยบุคคลว่า ถ้าเราพึง

ได้ทักขิไณยบุคคล เราจักให้อะไรเป็นทาน งา

ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวสาร และเปรียง ของ

เราไม่มี เราเลี้ยงชีวิตด้วยหญ้า เราไม่อาจให้

หญ้าได้ ถ้าทักขิไณยบุคคลมาสักท่านหนึ่ง

เพื่อขอในสำนักของเรา เราพึงให้ตนของตน

ทักขิไณยบุคคลจักไม่ไปเปล่า ท้าวสักกะทรง

ทราบความดำริของเราแล้ว แปลงเพศเป็น

พราหมณ์เสด็จเข้ามายังสำนักของเรา เพื่อทรง

ทดลองทานของเรา เราเห็นพราหมณ์นั้นแล้ว

ก็ยินดี ได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านมาถึงในสำนัก

ของเรา เพราะเหตุแต่งอาหาร เป็นการดีแล

วันนี้เราจักให้ทานอันประเสริฐที่ใคร ๆ ไม่เคย

ให้แก่ท่าน ท่านผู้ประกอบด้วยศีลคุณ การ

เบียดเบียนผู้อื่นไม่ควรแก่ท่าน ท่านจงไปนำ

เอาไม้ต่าง ๆ มาก่อไฟขึ้น เราจักปิ้งตัวของเรา

ท่านจักได้กินเนื้อที่สุก พราหมณ์นั้นรับคำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 218

แล้ว มีใจร่าเริง นำเอาไม้ต่าง ๆ มาได้ทำเชิง

ตะกอนใหญ่ ทำเป็นห้องอันเต็มด้วยถ่านเพลิง

ก่อไฟโพลงขึ้น ณ ที่นั้นทันทีเหมือนไฟนั้น

เป็นกองใหญ่ฉะนั้น เราสลัดตัวอันมีธุลีแล้ว

เข้าไปนั่งอยู่ข้างหนึ่ง ในเมื่อกองไม้อันไปติด

ทั่วแล้ว เป็นควันตะลบอยู่ ในกาลนั้น เรา

โดดลงในท่ามกลางระหว่างเปลวไฟ น้ำเย็น

อันผู้ใดผู้หนึ่งดำลงแล้ว ย่อมระงับความกระวน

กระวายและความร้อน ย่อมให้ความยินดี

และปีติ ฉันใดในกาลเมื่อเราเข้าไปยังไฟที่ลุก

โพลง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ความกระวนกระ-

วายทั้งปวงย่อมระงับ ดังดำลงในน้ำเย็นฉะนั้น

เราได้ให้แล้วซึ่งกายทั้งสิ้น โดยไม่เหลือ คือ

ขน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก และชิ้นเนื้อหทัย

แก่พราหมณ์ ฉะนี้แล.

จบ สสปัณฑิตจริยาที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 219

อรรถกถาสสปัณฑิตจริยาที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาสสปัณฑิตจริยาที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ . บทว่า

ยทา โหมิ คือในกาลใดเราเป็น. บทว่า สสโก ความว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราเที่ยวแสวงหาโพธิญาณ ในกาลเมื่อเราเป็นสสปัณฑิต (กระต่าย). จริงอยู่

พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย แม้ถึงความเป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจของกรรมก็ยังบังเกิด

ในกำเนิดเดียรัจฉานเพื่ออนุเคราะห์สัตว์เดียรัจฉานเช่นนั้น. บทว่า ปวน-

จารโก คือผู้เที่ยวไปในป่าใหญ่ ชื่อว่า ติณปณฺณสากผลภกฺโข เพราะ

มีหญ้า มีหญ้าแพรกเป็นต้น ใบไม้ที่กอไม้ ผักอย่างใดอย่างหนึ่ง และผลไม้

ที่ตกจากจากต้นไม้. บทว่า ปรวิเหนวิวชฺชิโต คือเว้นจากการเบียดเบียนผู้

อื่น. บทว่า สุตฺตโปโต จ คือลูกนาก. บทว่า อห ตทา คือในกาล

เมื่อเราเป็นกระต่าย เราสอนสหายมีลิงเป็นต้น. บทว่า กิริเย กลฺยาณปาปเก

คือในกุสลกรรมและอกุสลกรรม. บทว่า ปาปานิ เป็นบทแสดงอาการพร่ำ

สอน. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปาปานิ ปริวชฺเชถ คือท่านทั้งหลายจงเว้น

บาปเหล่านี้ คือฆ่าสัตว์ ฯลฯ มิจฉาทิฏฐิ. บทว่า กลฺยหาเณ อภินิวิสฺสถ

ได้แก่กรรมดี คือทาน ศีล ฯลฯ การทำความเห็นให้ตรง. ท่านทั้งหลาย

จงตั้งอยู่ในกรรมดีนี้ ด้วยความเป็นผู้มีกาย วาจา ใจ ของตนให้อยู่เฉพาะ

หน้า. อธิบายว่า จงปฏิบัติกัลยาณปฏิบัตินี้เถิด.

พระมหาสัตว์แม้อุบัติในกำเนิดเดียรัจฉานอย่างนี้ ก็เป็นกัลยาณมิตร

เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยญาณ ทรงแสดงธรรมด้วยการให้โอวาทแก่สัตว์ทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 220

๓ เหล่านั้นผู้เข้าไปหาตามกาลเวลา. สัตว์ทั้ง ๓ เหล่านั้นรับโอวาทของพระ-

มหาสัตว์แล้วก็เข้าไปยังที่อยู่ของตน. เมื่อกาลผ่านไปอย่างนี้ พระโพธิสัตว์

มองดูอากาศ เห็นดวงจันทร์เต็มดวง จึงสอนว่าพวกท่านจงรักษาอุโบสถ

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เราเห็นพระจันทร์เต็มดวงในวันอุโบสถ

จึงบอกแก่สหายเหล่านั้นว่า วันนี้เป็นวันอุโบ-

สถ ท่านทั้งหลายจงตระเตรียมทานทั้งหลาย

เพื่อให้แก่ทักขิไณยบุคคล ครั้นให้ทานแก่

ทักขิไณยบุคคลแล้ว จงรักษาอุโบสถ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า จนฺท ทิสฺวา น ปูริต คือเราเห็นพระ-

จันทร์ยังไม่เต็มดวงอีกเล็กน้อยในวัน ๑๔ ค่ำข้างแรม แต่ครั้นราตรีสว่าง

เวลาอรุณขึ้น ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ จึงบอกแก่สหายทั้งหลายของเรามีลิง

เป็นต้นเหล่านั้นว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ. เพราะฉะนั้นพึงประกอบ บทว่า

อาจิกฺขึ เราได้บอกแล้วอันเป็นวิธีปฏิบัติในวันอุโบสถนั้นด้วยบทมีอาทิว่า

ทานานิ ปฏิยาเทถ ท่านทั้งหลายจงเตรียมทานทั้งหลายเถิด. ในบทเหล่านั้น

บทว่า ทานานิ คือไทยธรรม. บทว่า ปฏิยาเทถ คือจงเตรียมตามสติตาม

กำลัง. บทว่า ทาตเว คือเพื่อให้. บทว่า อุปวสฺสถ คือจงทำอุโบสถกรรม

ได้แก่ จงรักษาอุโบสถศีล. การตั้งอยู่ในศีลแล้วให้ทานย่อมมีผลมาก. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 221

ฉะนั้น เมื่อยาจกมาถึงพึงให้จากอาหารที่พวกท่านควรเคี้ยวกิน แล้วจึงกิน

ท่านแสดงไว้ดังนี้.

บทว่า เต สาธูติ สัตว์เหล่านั้นรับโอวาทของพระโพธิสัตว์ด้วย

ศีรษะ แล้วอธิษฐานองค์อุโบสถ. ในสัตว์เหล่านั้น ลูกนากไปฝั่งแม่น้ำแต่เช้า

ตรู่ด้วยคิดว่าเราจักหาอาหาร. ครั้งนั้นพรานเบ็ดคนหนึ่ง ตกปลาตะเพียนได้

๗ ตัว เอาเถาวัลย์ร้อยไว้แล้วหมกด้วยทรายที่ฝั่งแม่น้ำไปหาปลาต่อไป ตกลง

ไปทางใต้กระแสน้ำ. ลูกนากสูดกลิ่นปลาคุ้ยทรายเห็นปลาจึงนำออกประกาศ

๓ ครั้งว่า ปลาเหล่านี้มีเจ้าของไหม เมื่อไม่เห็นเจ้าของก็คาบที่เถาวัลย์วางไว้

ที่พุ่มไม้อันเป็นที่อยู่ของตน คิดว่าเราจักกินในเวลาอันควร. นอนนึกถึงศีล

ของตน. แม้สุนัขจิ้งจอกก็เที่ยวหาอาหาร เห็นเนื้อย่างสองชิ้น เหี้ยตัวหนึ่ง

หม้อนมส้มหม้อหนึ่ง ที่กระท่อมของตนเฝ้านาคนหนึ่ง ประกาศ ๓ ครั้งว่า

อาหารเหล่านี้มีเจ้าของไหม ครั้นไม่เห็นเจ้าของก็เอาเชือกที่ผูกหม้อนมส้ม

คล้องคอ คาบเนื้อย่างและเหี้ยวางไว้ที่พุ่มไม้อันเป็นที่อยู่ของตน คิดว่า

จักกินในเวลาอันสมควร นอนนึกถึงศีลของตน. แม้ลิงก็เข้าป่านำผล

มะม่วงมาวางไร้ที่พุ่มไม้อันเป็นที่อยู่ของตน คิดว่า จักกินในเวลาอันสมควร

นอนนึกถึงศีลของตน. ทั้ง ๓ สัตว์ก็คิดว่า โอ ยาจก จะพึงมาที่นี่ไหมหนอ.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

สหายเหล่านั้นรับคำของเราว่า สาธุ แล้ว

ได้ตระเตรียมทานต่าง ๆ ตามสติกำลัง แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 222

แสวงหาทักขิไณยบุคคล.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ออกในเวลาอันสมควร คิดว่า เราจักกินหญ้ามีหญ้า

แพรกเป็นต้นนอนที่พุ่มไม้อันเป็นที่อยู่ของตน คิดว่า เมื่อยาจกทั้งหลายมา

หาเรา ไม่อาจกินหญ้าได้. เราไม่มีแม้งาและข้าวสารเป็นต้น. หากยาจกมา

หาเรา. เราเลี้ยงชีวิตด้วยหญ้า. เราจักให้เนื้อในร่างกายของตน ดังที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เรานอนคิดถึงทานอันสมควรแก่ทักขิไณย-

บุคคลว่า ถ้าเราฟังได้ทักขิไณยบุคคล เราจัก

ให้อะไรเป็นทาน งา ถั่วเขียว ถั่วเหลือง

ข้าวสาร และเปรียง ของเราไม่มี เราเลี้ยงชีวิต

ด้วยหญ้า เราไม่อาจให้หญ้าได้ถ้าทักขิไณย-

บุคคลมาสักท่านหนึ่ง เพื่อขอในสำนักของเรา

เราพึงให้ตนของตน ทักขิไณยบุคคลจักไม่ไป

เปล่า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทาน ทกฺขิณณุจฺฉว คือเราคิดถึงทานอัน

สมควร คือไทยธรรมที่ควรให้แก่ทักขิไณยบุคคล เพราะไม่มีทักขิไณย-

บุคคล. บทว่า ยทิห ลเภ คือผิว่าวันนี้เราพึงได้ทักขิไณยบุคคลไร ๆ. บทว่า

กึ เม ทาน ภวิสฺสติ คือเราจักเอาอะไรให้เป็นทาน. บทว่า น สกฺกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 223

ติณทาตเว ความว่า ผิว่าเราไม่มีงาและถั่วเขียวเป็นต้น เพื่อให้แก่ทักขิไณย-

บุคคล เราไม่อาจให้หญ้าอันเป็นอาหารของเราได้. บทว่า ทชฺชาห สกมตฺ-

ตาน เราพึงให้ตนของตน ความว่า ประโยชน์อะไรที่เราจะมามัวคิดเรื่อง

ไทยธรรม. ร่างกายของเรานี้แหละไม่มีโทษ สมควรเป็นอาหารบริโภคของ

ผู้อื่นทั้งหาได้ง่าย เพราะไม่ต้องพึ่งผู้อื่น หากทักขิไณยบุคคลคนหนึ่งมาหา

เรา. เราจะให้ตนของตนนี้แก่เขา. เมื่อเป็นดังนั้นเขามาหาเราก็จักไม่ไป

เปล่า คิดจักไม่มีมือเปล่าไป.

เมื่อพระมหาบุรุษปริวิตกถึงสภาพตามความเป็นจริงอย่างนี้ ด้วยอานุ-

ภาพแห่งความปริวิตกนั้น ปัณฑุกัมพลศิลาอาศน์ ขอท้าวสักกะก็แสดง

อาการร้อน ท้าวเธอรำพึงอยู่ ทรงเห็นเหตุนี้แล้วจึงดำริว่า เราจักทอดลอง

พระยากระต่ายจึงแปลงเพศเป็นพราหมณ์ไปที่อยู่ของนากก่อน ได้ประทับยืน

อยู่. เมื่อนากถามว่า ท่านพราหมณ์ ท่านยินอยู่เพื่ออะไร. ท้าวเธอตอบว่า

หากเราได้อาหารสักอย่าง เราจะรักษาอุโบสถ บำเพ็ญสมณธรรม. นาก

ตอบว่าสาธุ เราจักให้อาหารแก่ท่าน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ปลาตะเพียนของเรามี ๗ ตัว เพิ่งเอาขึ้น

จากน้ำวางไว้บนบก ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้ามี

สิ่งนี้แหละ เชิญท่านบริโภค แล้วอยู่ในป่าเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 224

พราหมณ์กล่าวว่า รอไว้ก่อน. จักรู้ภายหลัง จึงไปหาสุนัขจิ้งจอก

และลิง เหมือนอย่างนั้น แม้สัตว์เหล่านั้นก็ต้อนรับด้วยไทยธรรมที่ตนมีอยู่

พราหมณ์กล่าวว่า รอไว้ก่อน จักรู้ภายหลัง. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า :-

เนื้อย่างสองชิ้น เหี้ย หม้อนมส้ม ของคน

เฝ้านาโน้น ซึ่งข้าพเจ้านำมาเป็นอาหารกลางคืน

ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้ามีอาหารอย่างนี้แหละ

เชิญท่านบริโภคแล้วอยู่ในป่าเถิด. มะม่วงสุก

น้ำเย็น สถานที่ร่มรื่นเย็นสบาย ท่านพราหมณ์

ข้าพเจ้ามีอย่างนี้ เชิญท่านบริโภคแล้วอยู่ใน

ป่าเถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุสฺส คือโน้น. บทว่า รตฺติ ภตฺต อปาภต

นำออกมา เพราะเป็นอาหารกลางคืน. บทว่า มสสูลา จ เทฺว โคธา

คือเนื้อย่างสองชิ้น และเหี้ยตัวหนึ่ง. บทว่า ทธิวารก คือหม้อนมส้ม.

ต่อจากนั้นพราหมณ์จึงเข้าไปหาสสบัณฑิต. แม้เมื่อสสบัณฑิตถามว่า ท่าน

มาเพื่ออะไร ? พราหมณ์ก็บอกเหมือนอย่างนั้น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 225

ท้าวสักกะทรงทราบความดำริของเราแล้ว

จงแปลงเพศเป็นพราหมณ์ เสด็จเข้ามายัง

สำนักของเรา เพื่อทรงทดลองทานของเรา.

เราเห็นพราหมณ์นั้นแล้วก็ยินดี. ได้กล่าวคำนี้

ว่า ท่านมาถึงในสำนักเรา เพราะเหตุแห่งอาหาร

เป็นการดีแล้ว วันนี้เราจักให้ทานอันประเสริฐ

ที่ใคร ๆ ไม่เคยให้แก่ท่าน. ท่านผู้ประกอบ

ด้วยศีลคุณ การเบียดเบียนผู้อื่นไม่ควรแก่ท่าน

ท่านจงไปเอาไม้ต่าง ๆ มาก่อไฟขึ้นเราจักย่างตัว

ของเรา ท่านจักได้กินเนื้อที่สุก พราหมณ์นั้น

รับคำแล้วมีใจร่าเริง นำเอาไม้ต่าง ๆ มาทำเป็น

เชิงตะกอนใหญ่ ทำเป็นห้องอันเต็มด้วยถ่าน

เพลิง ก่อไฟโพลงขึ้น ณ ที่นั้นทันที เหมือน

ไฟนั้นเป็นกองใหญ่. เราสลัดตัวมีธุลี เข้าไป

อยู่ข้างหนึ่ง ในเมื่อกองไม้อันไฟติดทั่วแล้ว

เป็นควันตระลบอยู่ ในกาลนั้นเรากระโดดลงใน

ท่ามกลางระหว่างเปลวไฟ. น้ำเย็นอันผู้หนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 226

ผู้ใดดำลงแล้ว ย่อมระงับความกระวนกระวาย

และความร้อน ย่อมให้ความยินดีและปีติ ฉัน

ใด. ในกาลเมื่อเราเข้าไปยังไฟที่ลุกโพลง ก็

ฉันนั้นเหมือนกัน ความกระวนกระวายทั้งปวง

ย่อมระงับ ดังดำลงในน้ำเย็นฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มม สงฺกปฺปมญฺาย คือท้าวสักกะทรง

ทราบความปริวิตก มีประการยังกล่าวแล้วในก่อน. บทว่า พราหมณวณฺณินา

คืออัตภาพเป็นรูปพราหมณ์. บทว่า อาสย คือพุ่มไม้เป็นที่อยู่. บทว่า

สนฺตุฏฺโ คือยินดีโดยส่วนทั้งปวงอย่างสม่ำเสมอ. บทว่า ฆาสเหตุ คือ

เพราะเหตุแห่งอาหาร. บทว่า อทินฺนปุพฺพ คืออนใคร ๆ ที่มิใช่พระโพธิ-

สัตว์ไม่เคยให้. บทว่า ทานวร คือทานอันอุดม. สสปัณฑิตกล่าวว่า วันนี้

เราจักให้แก่ท่าน. ท่านผู้ประกอบด้วยศีลคุณ การเบียดเบียนผู้อื่นไม่สมควร

แก่ท่าน บัดนี้เพื่อจะเปลื้องพราหมณ์ออกจากการฆ่าสัตว์ แล้วทำตนให้

สมควรแก่การบริโภคของพราหมณ์นั้นแล้วให้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอหิ

อคฺคึ ปทีเปหิ ท่านจงก่อไฟขึ้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อห ปจิสฺสมตฺตาน เราจักย่างตัวของเรา

คือเมื่อท่านทำห้องอันเต็มด้วยล่านเพลิงแล้วเราจะโดดย่างตัวของเรา. บทว่า

ปกฺก ตฺว ภกฺขยิสฺสสิ คือ ท่านจะได้กินเนื้อที่สุกเช่นนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 227

บทว่า นานากฏฺเ สมานยิ พราหมณ์นำเอาไม้ต่าง ๆ คือท้าวสักกะ

ผู้ทรงเพศเป็นพราหมณ์นั้น ได้เป็นดุจหาไม้ต่าง ๆ. บทว่า มหนฺต อกาสิ

จิตฺตก กตฺวาหนงฺครคพฺภก นำเอาไม้ต่าง ๆ. มาทำเป็นเชิงตะกอนใหญ่ทำ

เป็นห้องอันเต็มด้วยถ่านเพลิง คือ พราหมณ์นั้นได้ทำเชิงตะกอนใหญ่ใน

ขณะนั้นทันที ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ภายในเต็มไปด้วยถ่านเพลิง

ลุกโพลงอยู่โดยรอบ พอที่ร่างกายของเราจะดำลงไปได้. อธิบายว่า ท้าวสักกะ

รีบเนรมิตขึ้นด้วยฤทธิ์. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อฺคคึ ตตฺถ

ปทีเปสิ ยถา โส ขิป์ป มทาภเว ก่อไฟโพลงขึ้น ณ ที่นั้นทันที เหมือน

ไฟนั้นเป็นกองใหญ่.

ในบทเหล่านั้นบทว่า โส คือ พราหมณ์ได้ก่อเหมือนกองไฟนั้น

เป็นกองใหญ่ทันที. บทว่า โผเฏตฺรา รชคเต คตฺเต สลัดตัวอันมีธุลี

ความว่า สลัดตัวของเราอันมีฝุ่น ๓ ครั้งด้วยคิดว่า หากมีสัตว์อยู่ในระหว่าง

ขน. สัตว์เหล่านั้นอย่าตายเสียเลย. บทว่า เอกมนฺต อุปาวสึ เราไปอยู่

ข้างหนึ่ง คือ เราเห็นว่ากองไม้ยังไม่ติดไฟ จึงเลี้ยงไปหน่อยหนึ่ง.

บทว่า ยมา มหากฏฺปุญฺโช, อาทิตฺโต ธมฺธมาผติ ในเมื่อกองไม้

อันไฟติดทั่วแล้ว เป็นควันและรมอยู่ ความว่า ในเมื่อกองไม้นั้นอันไฟติด

ทั่วแล้วโดยรอบเป็นควันตระหลบอยู่ ด้วยอำนาจแห่งเปลวไฟที่ก่อขึ้นด้วย

ความรวดเร็ว. บทว่า ตทุปฺปติตฺวา ปปตึ, มชฺเฌ ชาลสิขนฺตเร เรา

โดดลงในท่ามกลางระหว่างเปลวไฟ ความว่า ในกาลนั้นเราคิดว่ากองถ่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 228

เพลิงนี้สามารถเผาร่างของเราได้ . จึงโดดลงไปให้ร่างทั้งสิ้นเป็นทานโดดลง

ในท่ามกลางกองล่านเพลิงนั้น ซึ่งอยู่ในระหว่างเปลวไฟ มีใจเบิกบานดุจ

พระยาหงส์โดดลงในกอประทุมฉะนั้น.

บทว่า ปวิฏฺ ยสฺส กสฺสจิ น้ำเย็นอันผู้หนึ่งผู้ใดดำลงไป คือ

เหมือนในเวลาร้อน น้ำเย็นอันผู้หนึ่งผู้ใดดำลงไป ย่อมระงับความกระวน

กระวายเดือดร้อนของผู้นั้นได้ คือ ให้เกิดความพอใจและปีติฉันใด. บทว่า

ตเถว ชลิต อคฺคึ เราเข้าไปในไฟทูลุกโพลงก็ฉันนั้น คือ ในกาลเมื่อ

เราเข้าไปในกองถ่านเพลิงที่ลุกโพลงก็ฉันนั้น มิได้มีแม้แต่ความร้อน. โดย

ที่แท้ได้มีความระงับความกระวนกระวายเดือดร้อนทั้งปวง ด้วยความอิ่มใน

ทาน. สรีราพยพทั้งหมดมีขนและหนังเป็นต้นของเรา เข้าถึงความเป็นของ

ควรให้เป็นทาน. ความปรารถนาที่เราปรารถนาไว้ได้ถึงความสำเร็จแล้ว.

ดังนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

เราได้ให้แล้วซึ่งกายทั้งสิ้นโดยไม่เหลือ

คือ ขน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูกและชิ้นเนื้อ

หัวใจ แก่พราหมณ์ ฉะนี้แล.

ในบทเหล่านั้นบทว่า หทยพนฺธน คือชิ้นเนื้อหัวใจ. จริงอยู่ชิ้น

เนื้อหัวใจนั้นท่านเรียกว่า หทยพันธนะ เพราะตั้งอยู่ดุจผูกไว้ซึ่งหทยวัตถุ.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า หทยพนฺธน มีอธิบายว่า หทัย การผูก เนื้อหทัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 229

และเนื้อตับตั้งอยู่ดุจผูกไว้ซึ่งหทยวัตถุนั้น. บทว่า เกวล สกล กาย

ได้แก่สรีระทั้งหมดไม่มีส่วนเหลือ.

แม้พระโพธิสัตว์ก็ไม่สามารถทำความร้อนแม้เพียงขุมขนในร่างกาย

ของตนในกองไฟนั้นได้ จึงทำเป็นดุจเข้าห้องหิมะกล่าวกะท้าวสักกะผู้ทรงรูป

เป็นพราหมณ์อย่างนี้ว่า ท่านพราหมณ์ท่านทำไฟให้เย็นจัดได้ ทำได้อย่างไร.

พราหมณ์กล่าวว่า ท่านบัณฑิตข้าพเจ้ามิใช่พราหมณ์ดอก. ข้าพเจ้าเป็นท้าว

สักกะ. มาทำอย่างนี้ก็เพื่อทดลองท่าน. พระโพธิสัตว์ได้บันลือสีหนาทว่า

ข้าแต่ท้าวสักกะช่างเถิด. หากว่า โลกทั้งสิ้นพึงทดลองข้าพเจ้าด้วยทาน.

ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะไม่ให้ของข้าพเจ้าคงไม่มีอีกแล้ว. ใครจะให้ทานเกิด

ขึ้น ท่านจะเห็นทานนั้นได้อย่างไรอีกเล่า.

ลำดับนั้นท้าวสักกะตรัสว่า ท่านสสบัณฑิตคุณธรรมของท่านจง

ปรากฏอยู่ตลอดกัปเถิด แล้วทรงบีบภูเขาคือเอายางภูเขาวาดลักษณะของ

กระต่ายไว้ ณ จันทมณฑลแล้วให้พระโพธิสัตว์นอนบนตั่งหญ้าแพรกอ่อนที่

พุ่มไม้ในราวป่านั้น แล้วเสด็จกลับเทวโลก. บัณฑิตทั้ง ๒ แม้เหล่านั้นก็

สมัครสมานเบิกบานบำเพ็ญนิจศีลและอุโบสถศีล กระทำบุญตามสมควรแล้ว

ก็ไปตามยถากรรม.

นากในครั้งนั้นได้เป็นพระอานนท์ในครั้งนี้. สุนัขจิ้งจอก คือ พระ-

มหาโมคคัลลานะ. ลิง คือ พระสารีบุตร. สสบัณฑิต คือ พระโลกนาถ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 230

แม้ในสสบัณฑิตจริยานี้ พึงเจาะจงกล่าวถึงศีลบารมีเป็นต้น ของ

สสบัณฑิตนั้นตามสมควรโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. อนึ่งพึง

ประกาศ คุณานุภาพของพระโพธิสัตว์ไว้ในที่นี้มีอาทิอย่างนี้ คือ เมื่อกุสล-

ธรรมเป็นต้นแม้มีอยู่ในกำเนิดเดียรัจฉานการรู้ตามความจริงจากกุสลเป็นต้น.

การเห็นโทษแม้มีประมาณน้อยในอกุสลเหล่านั้นโดยความเป็นของน่ากลัว

แล้วเว้นจากอกุสลเด็ดขาด. การตั้งตนไว้ในกุสลธรรมทั้งหลายโดยชอบ

เท่านั้น. การชี้แจงโทษแก่คนอื่นว่า ธรรมลามกชื่อนี้อันท่านถือเอาแล้ว

อย่างนี้ ลูบคลำแล้วอย่างนี้ ย่อมมีคติอย่างนี้ ในภพหน้าอย่างนี้แล้ว ชักชวน

ในการเว้นจากโทษนั้น. การชี้แจงถึงอานิสงส์ในการทำบุญโดยนัยมีอาทิว่า

เทวสมบัติ มนุษยสมบัติอยู่ในมือของผู้ตั้งอยู่ในทานศีลอุโบสถกรรมดังนี้แล้ว

ให้เขาดำรงอยู่. การไม่คำนึงถึงร่างกายและชีวิตของตน. การอนุเคราะห์

สัตว์เหล่าอื่น. และมีอัธยาศัยในทานอย่างกว้างขวาง. ดังที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เอว อจฺฉริยา เหเต ฯลฯ ธมฺมสฺส อนุธมฺมโต

ความว่า :-

ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ น่า

อัศจรรย์ทั้งไม่เคยมีมา แม้เพียงใจเลื่อมใสใน

ท่านเหล่านั้นก็พึงพ้นจากทุกข์ได้ จะพูดไป

ทำไมถึงการทำตามท่านเหล่านั้น โดยธรรม

สมควรแก่ธรรมเล่า.

จบ อรรถกถาสสบัณฑิตจริยาที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 231

บัดนี้จะกล่าวสรุปถึงจริยา ๑๐ ประการ ตามที่กล่าวแล้วโดยนัยมี

อาทิว่า อกิตฺติพฺราหฺมโณ ดังนี้. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

อกิตติดาบส สังขพราหมณ์ พระเจ้า

ธนญชัยกุรุราช พระเจ้ามหาสุทัศนจักรพรรดิ-

ราช มหาโควินทพราหมณ์ พระเจ้าเนมิราช

จันทกุมาร พระเจ้าสิวิราช พระเวสสันดร

และสสบัณฑิต ผู้ให้ทานอันประเสริฐในกาล

นั้น เป็นเรานี่เอง ทานเหล่านี้เป็นบริวารแห่ง

ทาน เป็นทานบารมี เราได้ให้ชีวิตเป็นทานแก่

ยาจก จึงยังบารมีนี้ให้เต็มได้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อหเมว ทา อาสึ ในกาลนั้นเป็นเรานี่เอง

คือ ผู้ใดได้ให้ทานอันประเสริฐเหล่านั้น คือ ผู้ใดได้ให้ทานอันอุดมเหล่านั้น.

ผู้นั้นมีอกิตติพราหมณ์เป็นต้น ในกาลนั้นได้เป็นเรานี่เอง มิใช่คนอื่น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกเทศนาขึ้นด้วยอำนาจแห่งทานบารมีเท่านั้น ทรง

หมายถึงความกว้างขวางอย่างยิ่งของอัธยาศัยในทาน ในครั้งนั้นของพระองค์

ในความเป็นผู้บำเพ็ญศีลบารมีเป็นต้น แม้มีอยู่ในอัตภาพทั้งหลายเหล่านั้น

ด้วยประการฉะนี้. บทว่า เอเต ทานปริกฺขารา, เอเต ทานสฺส ปารมี

ทานเหล่านี้เป็นบริวารของทาน เป็นทานบารมี ความว่า เราบริจาคไทย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 232

ธรรมอันมีคุณมากมายในอกิตติชาดกเป็นต้น เราบริจาคอวัยวะและบุตร

ของเราเป็นครั้งสุดท้ายเหล่าใด การบริจาคเหล่านั้นเป็นทานบารมีเท่านั้น

ด้วยถึงความยิ่งยวดอย่างยิ่งของทาน เพราะเรายึดความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย

คือกรุณา เพราะเราบริจาคอุทิศพระสัพพัญญุตญาณเท่านั้นโดยแท้. แม้ถึง

อย่างนั้นทานเหล่านี้ก็เป็นบริวารแห่งทาน เพราะช่วยหนุนทานของเราให้

เป็นทานปรมัตถบารมี เพราะช่วยหนุนสันดานให้เจริญรอบ. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงถึงทานที่เป็นบริวารเหล่านั้น จึงตรัสว่า ชีวิต ยาจเก

ทตฺวา, อิม ปารมิ ปูรยึ เราได้ให้ชีวิตเป็นทานแก่ยาจก จึงยังบารมีนี้

ให้เต็มได้. จริงอยู่ในที่นี้พึงทราบทานบารมี ทานอุปบารมีใน ๙ จริยา

ที่เหลือตามสมควรเว้นสสบัณฑิตจริยา. ก็เพราะในสสบัณฑิตจริยาเป็นทาน

ปรมัตถบารมี. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เราเห็นยาจกเข้ามาเพื่อขอแล้ว ได้สละ

คนของตนให้ ความเสมอด้วยทานของเราไม่มี

นี้เป็นทานบารมีของเรา.

จริงอยู่ไม่มีการกำหนดอัตภาพที่บำเพ็ญทานบารมีของพระมหาบุรุษ

ในครั้งที่เสวยพระชาติเป็นอกิตติพราหมณ์เป็นต้นตามที่กล่าวแล้ว และใน

ครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนกและมหาสุตโสมเป็นต้น ก็จริง ถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 233

อย่างนั้นก็พึงประกาศความเป็นปรมตัถบารมีแห่งทานบารมีในครั้งที่เสวย

พระชาติเป็นสสบัณฑิตโดยส่วนเดียวเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาอกิตติวรรคที่ ๑

รวมจริยาที่มีในวรรคนี้ คือ

อกิตติดาบส สังขพราหมณ์ พระเจ้าธนญชัยกุรุราช พระเจ้า

มหาสุทัศนจักรพรรดิราช มหาโควินทพราหมณ์ พระเจ้าเนมิราช จันทกุมาร

พระเจ้าสิวิราช พระเวสสันดร และสสบัณฑิตผู้ให้ทานอันประเสริฐ ใน

กาลนั้น เป็นเรานี้เอง ทานเหล่านี้เป็นบริวารแห่งทาน. เป็นทานบารมี

เราได้ให้ชีวิตเป็นทานแก่ยาจกจึงยังบารมีนี้ให้เต็มได้ เราเห็นยาจกเข้ามา

เพื่อขอแล้ว ได้สละตนของตนให้ ความเสมอด้วยทานของเราไม่มี นี้เป็น

ทานบารมีของเรา ฉะนี้แล ฯ

จบ การบำเพ็ญทานบารมีที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 234

๒. หัตถินาควรรค

๒. การบำเพ็ญศีลบารมี

๑. สีลวนาคจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาช้างสีลวนาค

[๑๑] ในกาลเมื่อเราเป็นกุญชรเลี้ยงมารดาอยู่ใน

ป่าหิมพานต์ ในกาลนั้น ในพื้นแผ่นดินนี้

ไม่มีอะไรที่จะเสมอด้วยศีลคุณของเรา พราน

ป่าพบเราในป่าใหญ่แล้ว ได้กราบทูลแด่พระ-

ราชาว่า ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ ช้างมงคลอัน

สมควร เป็นช้างพระที่นั่งทรง มีอยู่ในป่าใหญ่

อันการจับช้างนั้นไม่ต้องขุดคู แม้การปักเสา

ตะลุงและการขุดหลุดลวงก็ไม่ต้อง ในขณะที่

จับเข้าที่งวงเท่านั้น ช้างนั้นก็จะมา ณ ที่นี้เอง

พระเจ้าข้า ฝ่ายพระราชาได้ทรงฟังคำของพราน

ป่านั้นแล้วทรงดีพระทัย ทรงส่งควาญช้างซึ่ง

เป็นอาจารย์ผู้ฉลาดศึกษาดีแล้ว ควาญช้างนั้น

ไปแล้ว ได้พบช้างกำลังถอนเง่าบัวอยู่ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 235

สระบัวหลวง เพื่อต้องการเลี้ยงมารดา ควาญ

ช้างรู้ศีลคุณของเรา พิจารณาดูลักษณะแล้ว

กล่าวว่า มานี่แน่ะลูก แล้วได้จับที่งวงของเรา

ในกาลนั้น กำลังของเราที่มีอยู่ในกายตาม

ปกติอันใด วันนี้กำลังของเรานั้นเสมอเหมือน

กับกำลังของช้างพันเชือก ถ้าเราโกรธแก่ควาญ

ช้างเหล่านั้น ผู้เข้ามาใกล้เพื่อจับเรา เราพึง

สามารถจะเหยียบย่ำเขาเหล่านั้นได้ แม้ตลอด

ราชสมบัติของมนุษย์แต่ถึงแม้เราจะถูกเขาใส่

ไว้ในเสาตะลุง เราก็ไม่ทำจิตโกรธเคือง เพื่อ

รักษาศีล เพื่อบำเพ็ญศีลบารมีให้บริบูรณ์ ถ้า

เขาเหล่านั้นพึงทำลายเราที่เสาตะลุงนี้ด้วยขวาน

และหอกซัด เราก็จะไม่โกรธเขาเหล่านั้นเลย

เพราะเรากลัวศัลของเราจะขาด ฉะนี้แล.

จบ สีลวนาคจริยาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 236

อรรถกถาหัตถินาควรรคที่ ๒

๒. การบำเพ็ญศีลบารมี

อรรถกถาสีลวนาคจริยาที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาสีลวนาคจริยาที่หนึ่งแห่งวรรคที่ ๒

ดังต่อไปนี้. บทว่า กุญฺชโร คือช้าง. บทว่า มาตุโปสโก ผู้เลี้ยงมารดา

คือบำรุงมารดาชราตาบอด. บทว่า มหิยา คือ ในแผ่นดิน บทว่า คุเณน

คือด้วยสีลคุณ. ในครั้งนั้นไม่มีอะไรที่จะเสมอเรา.

เรื่องมีอยู่ว่า พระโพธิสัตว์ ในครั้งนั้นบังเกิดในกำเนิดช้าง ณ

หิมวันตประเทศ. เผือกผ่องตลอด รูปงาม สมบูรณ์ด้วยลักษณะเป็นหัวหน้า

โขลง มีช้างบริวาร ๑๐๐,๐๐๐ เชือก. ส่วนมารดาของพระโพธิสัตว์ตาบอด

พระโพธิสัตว์ให้ผลาผลมีรสอร่อยในงวงช้างทั้งหลายแล้วเลี้ยงมารดา. ช้าง

ทั้งหลายไม่เอาไปให้มารดาเคี้ยวกินเสียเอง. พระโพธิสัตว์คอยสังเกตดูก็รู้

เรื่องราว คิดว่าเราจะเลิกละโขลงช้าง เลี้ยงดูมารดาเอง ตอนกลางคืน เมื่อ

ช้างเหล่าอื่นไม่รู้ ก็พามารดาไปยังชิงเขาจัณโฑรณบรรพต เข้าไปอาศัย

สระบัว สระหนึ่ง ให้มารดาอยู่ในถ้ำภูเขาซึ่งตั้งอยู่ แล้วเลี้ยงดู.

๑. พม่าเป็น มาตุโปสกจริยา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 237

พรานป่าคนหนึ่งหลงทางไม่สามารถกำหนดทิศได้ร้องคร่ำครวญเสีย

จนดัง. พระโพธิสัตว์ได้ยินเสียงของพรานป่านั้นจึงดำริว่าชายผู้นี้ไร้ที่พึ่ง.

เมื่อเราอยู่การที่ชายผู้นี้จะพึงพินาศไปในที่นี้ไม่เป็นการสมควร. จึงไปหา

พรานป่า เห็นพรานป่าหนีเพราะความกลัวจึงถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่าน

ไม่มีภัยเพราะอาศัยเราดอก. อย่าหนีไปเลย. เพราะเหตุไรท่านจึงเที่ยวร้อง

คร่ำครวญอยู่เล่า พรานป่าตอบว่า ข้าพเจ้าหลงทางมา วันนี้เป็นวันที่ ๗

แล้วละนาย. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า อย่ากลัวไปเลยพ่อ. เราจะพาท่านไป

ที่ทางเดินของมนุษย์ แล้วให้พรานป่านั่งบนหลังของตนนำออกจากป่าแล้ว

ก็กลับ. พรานป่าลามก คิดว่าเราจักไปพระนครกราบทูลแด่พระราชาจึงทำ

เครื่องหมายต้นไม้ภูเขาออกไปกรุงพาราณสี.

ในกาลนั้นมงคลหัตถีของพระราชาล้ม. พรานป่าจึงเข้าไปเฝ้าพระ-

ราชา กราบทูลถึงความที่ตนเห็นพระมหาบุรุษ. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า :-

พรานป่าพบเราในป่าใหญ่แล้วได้กราบทูล

แด่พระราชาว่า ข้าแต่มหาราชช้างมงคลสมควร

เป็นช้างพระที่นั่งทรง มีอยู่ในป่าใหญ่อันการจับ

ช้างนั้นไม่ต้องขุดคู แม้การปักเสาตะลุงและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 238

การขุดหลุมลวงก็ไม่ต้อง ในขณะจับเข้าที่งวง

เท่านั้น ช้างนั้นก็จะมา ณ ที่นี่เองพระเจ้าข้า.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปวเน ทิสฺวา วนจโร คือพรานป่าคนหนึ่ง

เที่ยวไปในป่าใหญ่เห็นเรา. บทว่า รญฺโ ม ปฏิเวทยิ ความว่า จึงกราบทูล

แด่พระราชา. บทว่า ตวานุจฺฉโว คือสมควรทำเป็นช้างพระที่นั่งทรง

ของพระองค์. บทว่า น ตสฺส ปริกฺขายตฺโถ ไม่ต้องขุดคู ความว่า

อันการจับช้างนั้นเพื่อการหนีไปกำบังตนด้วยการขุดคู ด้วยใบหูของนางช้าง

ช้างเข้าไปในเชือกบ่วงที่เหวี่ยงไปหรือในเสาล่ามช้าง คือเสาตะลุงที่ปักไว้

ก็ไม่สามารถจะไปในที่ใดที่หนึ่งได้. ไม่มีประโยชน์ด้วยหลุมลวงเช่นนั้น.

บทว่า สหคหิเต คือในขณะจับ. บทว่า เอหิติ คือจักมา.

พระราชาได้ให้พรานป่าเป็นผู้นำทางไปป่า ทรงส่งควาญช้างไปกับ

บริวารด้วยมีพระดำรัสว่า ท่านจงนำคชสารที่พรานป่าบอกมาให้ได้. ควาญ

ช้างนั้นได้ไปกับพรานป่า เห็นพระโพธิสัตว์เข้าไปยังสระบัวหาอาหาร. ดังนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

แม้พระราชาทรงได้ยินคำของพรานป่านั้น

แล้ว ก็ทรงดีพระทัย ทรงส่งควาญช้างซึ่งเป็น

อาจารย์ผู้ฉลาดศึกษาดีแล้ว. ควาญช้างนั้นไป

ได้พบช้างกำลังถอนเง่าบัวอยู่ ในสระบัวหลวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 239

เพื่อเอาไปเลี้ยงมารดา. ควาญช้างรู้คุณศีลของ

เราพิจารณาดูลักษณะแล้ว กล่าวว่ามานี่แน่ลูก

แล้วจับที่งวงของเรา.

ในบทเหล่านั้นบทว่า เฉกาจริย คือควาญช้างผู้ฉลาดในวิธีจับช้าง

เป็นต้น. บทว่า สุสิกฺขิต คือศึกษาดีแล้วด้วยสำเร็จวิชาฝึกช้าง. บทว่า

วิญฺาย เม สีลคุณ คือ ควาญช้างรู้คุณศีลของเราว่า ช้างผู้เจริญนี้

เป็นช้างอาชาไนย ไม่โง่ ไม่ดุ มีปกติไม่คลุกคลี. รู้อย่างไร ? บทว่า

ลกฺขณ อุปธารยิ คือควาญช้างพิจารณาดูลักษณะของเราโดยถ้วนถี่ เพราะ

เป็นผู้มีศิลปะในการดูช้างซึ่งศึกษามาเป็นอย่างดี. ด้วยเหตุนั้นควาญช้างจึง

กล่าวว่ามานี่แน่ะลูก แล้วจับที่งวงของเรา.

พระโพธิสัตว์เห็นควาญช้างแล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า ภัยของเรานี้เกิด

จากพรานป่าผู้นี้. เรามีกำลังมากสามารถจะกำจัดแม้ช้างตั้งพันเชือกได้. เรา

โกรธขึ้นมาพอที่จะยังเหล่านักรบพร้อมด้วยแคว้นให้พินาศลงไปได้. แต่หาก

เราโกรธ. ศีลของเราก็จะขาด. เพราะฉะนั้น แม้ควาญช้างจะเอาหอกทิ่มแทง

เราะก็จะไม่โกรธ ดังนี้แล้วก็โน้มศีรษะลงยืนนิ่งอยู่. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า :-

ในกาลนั้นกำลังของเราที่มีอยู่ในกายตาม

ปกติอันใด วันนี้กำลังของเรานั้นเสมอเหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 240

กับกำลังของช้างพันเชือก ถ้าเราโกรธควาญ

ช้างผู้เข้ามาจับเรา เราพึงสามารถจะเหยียบย่ำ

เขาเหล่านั้นได้ แม้ตลอดราชสมบัติของมนุษย์.

แต่ถึงแม้เราจะถูกเขาใส่ไว้ในเสาตะลุง เราก็

ไม่คิดโกรธ เพื่อรักษาศีล เพื่อบำเพ็ญศีล

บารมีให้บริบูรณ์. ถ้าเขาพึงทำลายเราที่เสา

ตะลุงนี้ด้วยขวานและหอกซัดเราก็จะไม่โกรธ

เขาเลย เพราะเรากลัวศีลของเราจะขาด.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปากติก คือเหมือนเดิม. บทว่า สรีรานุคต

คือกำลังกายที่ติดอยู่กับร่างกาย. อธิบายว่า มิใช่กำลังกายที่เกิดขึ้นด้วยญาณ

คือ ความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย. บทว่า อชฺช นาคสหสฺสาน ความว่าในวันนี้

เท่ากับช้างพันเชือก. บทว่า พเลน สมสาทิส คือกำลังของเราเท่ากับ

กำลังในร่างกายของช้างเหล่านั้น. มิใช่ด้วยเพียงเปรียบเทียบ. เพราะใน

ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลมงคลหัตถี.

บทว่า ยทิห เตส ปกุปฺเปยฺย คือหากเราโกรธควาญช้างผู้เข้ามา

เพื่อจับเรา. เราพึงมีกำลังต่อสู้ในการทำลายชีวิตของควาญช้างได้. มิใช่มี

กำลังต่อสู้ควาญช้างอย่างเดียว ที่จริงแล้วแม้ตลอดราชสมบัติของมนุษย์ เรา

ก็จักทำลายราชสมบัติทั้งหมดของมนุษย์เหล่านี้ผู้มาโดยราชการ ให้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 241

เป็นผุยผงไป. บทว่า อปิ จาห สีลรกฺขาย คือ แม้เราสามารถอย่างนั้น

ได้ เราก็ได้รับการคุ้มกัน ด้วยการรักษาศีล ด้วยการคุ้มครองของศีล อันตั้ง

อยู่ในตน ดุจผูกพันไว้. บทว่า น หกโรมิ จิตฺเต อญฺถตฺต ความว่า เรา

ไม่ทำจิตโกรธเคือง คือ เราไม่ทำวิธีมีการจับฟาดเป็นต้นแก่สัตว์เหล่านั้น

อันเป็นการทำลายศีลนั้น คือ แม้จิตในการจับฟาดเป็นต้นนั้นก็มิได้เกิดขึ้น

เลย. บทว่า ปกฺขิปนฺต มมาฬฺหเก ความว่า ผูกเราไว้ที่เสาตะลุง คือผูกไว้ที่

เสาล่ามช้าง. คำว่า ทิสวาปิ เป็นคำเกิน. หากถามว่าเพราะเหตุไร. โยชนา

แก้ไว้ว่า เมื่อเราไม่ทำลายศีลในฐานะเช่นนี้ ด้วยการบำเพ็ญศีลบารมีใน

ไม่ช้าศีลบารมีก็จักบริบูรณ์เพราะเหตุนั้น เพื่อบำเพ็ญศีลบารมีเราจึงไม่

ทำลายศีลแม้ในความคิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำความมั่นคงด้วยการ

รักษาศีลแม้ด้วยคาถาว่า ยทิ เต ม ถ้าเขาทำลายเราดังนี้ แล้วทรงแสดง

ถึงความที่ศีลนั้นตั้งมั่นแล้ว. ในบทเหล่านั้นบทว่า โกฏฺเฏยฺยุ คือพึงทำลาย.

บทว่า สีลขณฺฑภยา มม คือเพราะกลัวศีลของเราจะขาด.

ก็พระโพธิสัตว์ครั้นดำริอย่างนี้แล้ว จึงยืนเฉยไม่ไหวติง. ควาญช้าง

หยั่งลงสู่สระประทุม เห็นลักษณะสมบัติของพระโพธิสัตว์นั้นจึงกล่าวว่า

มานี่แน่ะลูก แล้วจับที่งวงเช่นกับพวงเงินไปถึงกรุงพาราณสีใน ๗ วัน.

ควาญช้างเมื่อถึงระหว่างทางได้ส่งข่าวถวายพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชา

ทรงให้ตกแต่งพระนคร. ควาญช้างนำพระโพธิสัตว์ซึ่งมีสายรัดทำด้วยกลิ่น

หอมประดับประดาตกแต่งแล้วไปสู่โรงช้างวงด้วยม่านอันวิจิตรกราบทูลพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 242

ราชาให้ทรงทราบ. พระราชาทรงถือโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ ไปให้แก่พระ-

โพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์มิได้ทรงรับโภชนาหารด้วยดำริว่า เราเว้นมารดา

เสียแล้ว จักไม่รับอาหาร. แม้พระราชาขอร้องก็ไม่รับ กล่าวว่า :-

มารดาผู้น่าสงสาร ตาบอด ไม่มีผู้ดูแล

จะถูกตอดำเท้าตกภูเขาจัณโฑรณะ.

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสถามว่า :-

ท่านมหานาค ใครคือมารดาของท่าน

ตาบอด ไม่มีผู้ดูแล จะถูกตอตำเท้าตกภูเขา

จัณโฑรณะ.

พระโพธิสัตว์ทูลว่า :-

ข้าแต่มหาราช มารดาของข้าพระองค์

ตาบอด ไม่มีผู้ดูแลจะถูกตอตำเท้าตกภูเขา

จัณโฑรณะ.

เมื่อพระโพธิสัตว์ทูลว่า วันนี้เป็นวันที่ ๗. มารดาของข้าพระองค์

ยังไม่ได้อาหารเลย. เพราะฉะนั้นพระราชาจึงตรัสว่า :-

พวกท่านจงปล่อยมหานาค มหานาคนี้

เลี้ยงมารดา ขอมหานาคจงอยู่อย่างสงบกับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 243

มารดาพร้อมด้วยญาติเถิด.

แล้วรับสั่งให้ปล่อยไป.

กุญชรมหานาคพ้นจากพันธนาการแล้ว

พักผ่อนอยู่ครู่หนึ่งก็ได้ไปภูเขาอันเป็นที่อยู่.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กปณิกา คือน่าสงสาร. บทว่า ขาณุ

ปาเทน ฆฏฺเฏติ ความว่า มารดาร่ำให้เพราะตาบอดและเพราะทุกข์ที่พราก

จากบุตร จึงเสียดสีที่ต้นไม้นั้น ๆ ด้วยเท้า. บทว่า จณฺโฑรณ ปติ ได้แก่

ตกภูเขาจัณโฑรณะ คือมุ่งหน้าไปจัณโฑรณบรรพต. อธิบายว่า เดินวนเวียน

อยู่ที่เชิงเขานั้น. บทว่า อคมา เยน ปพฺพโต คือช้างตัวประเสริฐนั้นพ้น

จากพันธนาการ แล้วพักอยู่หน่อยหนึ่ง แล้วแสดงทศพิธราชธรรมคาถา

ถวายพระราชา ทูลให้โอวาทว่า ข้าแต่มหาราชขอพระองค์จงเป็นผู้ไม่ทรง

ประมาทเถิด มหาชนต่างบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ออกจาก

พระนครเข้าไปหามารดาในวันนั้นเอง แล้วแจ้งเรื่องราวทั้งหมดให้มารดา

ทราบ. มารดาดีใจ ได้อนุโมทนาพระราชาว่า :-

ขอ พระราชาผู้ปกครองแคว้น กาสีให้

เจริญ ปล่อยลูกของเราผู้มีความอ่อนน้อมต่อ

ผู้ใหญ่ทุกเมื่อ จงมีพระชนม์ยืนนานเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 244

พระราชาทรงเลื่อมใสในคุณธรรมของพระโพธิสัตว์ รับสั่งให้สร้าง

บ้านไม่ไกลสระบัว ทรงปรนนิบัติพระโพธิสัตว์และมารดาของพระโพธิสัตว์

เป็นเนืองนิจ. ครั้นต่อนาเมื่อมารดาล้มพระโพธิสัตว์ทำการฝังศพมารดาแล้ว

ไปกุรัณฑกอาศรมบท. ก็ ณ ที่นั้นมีฤาษี ๕๐๐ ลงจากหิมวันตประเทศอาศัย

อยู่. พระราชาทรงปรนนิบัติฤาษีเหล่านั้น แล้วทรงให้ช่างแกะสลักหินทำเป็น

รูปปฏิมาเหมือนรูปพระโพธิสัตว์ แล้วทรงบริจาคมหาสักการะ. ชาวชมพู-

ทวีปประชุมกันทุกปีโดยลำดับ กระทำการฉลองรูปเปรียบช้าง.

พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นพระอานนท์ในครั้งนี้. นางช้างคือพระ-

มหามายา. พรานป่าคือเทวทัต. ช้างตัวประเสริฐเลี้ยงมารดาคือตถาคต.

แม้ในสีลวนาคจริยานี้ ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงทานบารมีเป็นต้นตาม

สมควร. แต่ศีลบารมีเป็นบารมียอดเยี่ยมเพราะเหตุนั้น ศีลบารมีนั้นท่าน

จึงยกขึ้นสู่เทศนา. อนึ่งพึงประกาศคุณานุภาพแห่งพระมหาบุรุษไว้ในจริยานี้

มีอาทิอย่างนี้ คือ พระโพธิสัตว์แม้เกิดในกำเนิดเดียรัจฉานยังเข้าไปตั้งจิต

เคารพมารดา อันสมควรแก่ความเป็นผู้แม้อันพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทรง

สรรเสริญด้วยความเป็นพรหม เป็นบุรพเทพ เป็นบุรพาจารย์ เป็นอาหุ-

ไนยบุคคลของบุตร แล้วทำไว้ในใจว่า ขึ้นชื่อว่ามารดาเป็นผู้มีอุปการะมาก

ของบุตร. เพราะฉะนั้นการบำรุงมารดา อันบัณฑิตทั้งหลายบัญญัติไว้แล้ว.

แล้วเลี้ยงดูมารดาด้วยคิดว่าเราเป็นใหญ่กว่าช้างพันเชือกไม่ใช่น้อยมีอานุภาพ

มาก เป็นหัวหน้าโขลง ช้างเหล่านั้นเชื่อฟังไม่คำนึงถึงอันตรายในการอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 245

ผู้เดียว ละโขลงผู้เดียว จักบูชามารดาผู้เป็นเขตแห่งผู้มีอุปการะ. การเห็น

บุรุษหลงทางแล้วรับไปด้วยความเอ็นดู เลี้ยงด้วยอาหารของมนุษย์. การ

อดกลั้นความผิดที่พรานป่านั้นทำไว้. ถึงสามารถจักบีบบุรุษที่มาเพื่อจับตน

มีควาญช้างเป็นหัวหน้า แม้ด้วยเพียงให้เกิดความหวาดสะดุ้งได้ก็ไม่ทำอย่าง

นั้น ด้วยคิดว่าศีลของเราจะขาดแล้วเข้าไปจับได้โดยง่ายดุจช้างที่ฝึกดีแล้ว.

การอดอาหารแม้ตลอด ๗ วัน ด้วยคิดว่า เว้นมารดาเสียแล้วเราจักไม่กลืน

กินอาหารอะไร ๆ. การไม่ทำจิตให้เกิดขึ้นว่า ผู้นี้ผูกคล้องเราแล้วแผ่เมตตา

ถวายพระราชา. และการแสดงธรรมถวายพระราชาโดยนัยต่าง ๆ. ดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ท่านผู้แสวงหาเหล่านี้ น่าอัศจรรย์ ทั้งไม่เคยมี

ฯลฯ

จะพูดไปทำไม ถึงการทำตามโดยธรรมสมควร

แก่ธรรม ดังนี้.

จบ อรรถกถาสีลวนาคจริยาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 246

๒. ภูริทัตตจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของภูริทัตตนาคราช

[๑๒] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระยานาค

ชื่อภูริทัต มีฤทธิ์มาก เราไปยังเทวโลกพร้อม

กับท้าววิรูปักข์มหาราช ในเทวโลกนั้น เราได้

เห็นทวยเทพผู้สมบูรณ์ด้วยความสุข โดยส่วน

เดียว จึงสมาทานศีลวัตร เพื่อต้องการจะไป

ยังสวรรค์นั้น เราชำระร่างกาย บริโภคอาหาร

พอเป็นเครื่องเลี้ยงชีพแล้ว อธิษฐานอุโบสถ

มีองค์ ๔ ประการว่า ผู้ใดพึงทำกิจด้วยผิวหนัง

ก็ดี ด้วยเนื้อก็ดี ด้วยเอ็นก็ดี ด้วยกระดูกก็ดี

ขอผู้นั้นจงนำเอาอวัยวะที่เราให้นี้ไปเถิด แล้ว

นอนอยู่บนยอดจอมปลวก พราหมณ์อาลัม-

พายน์ อันบุคคลผู้ไม่รู้อุปการะที่บุคคลอื่นทำ

แล้ว บอกแล้ว ได้จับเราใส่ไว้ในตะกร้า ให้

เราเล่นในที่นั้น ๆ แม้เมื่อพราหมณ์อาลัมพายน์

ใส่เราไว้ในตะกร้า แม้เมื่อบีบเราด้วยฝ่ามือ

เราก็ไม่โกรธ เพราะเรากลัวศีลของเราจะขาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 247

การที่เราบริจาคชีวิตของตน เป็นของเบาแม้

ว่าหญ้า การล่วงศีลของเรา เป็นเหมือนดังว่า

แผ่นดิน เราพึงสละชีวิตของเราสิ้นร้อยชาติ

เนือง ๆ เราไม่พึงทำลายศีลแม้เพราะเหตุแห่ง

ทวีปทั้ง ๔ ถึงแม้เราจะถูกพราหมณ์อาลัมพายน์

ใส่ไว้ในตะกร้าเราก็มิได้ทำจิตให้โกรธเคือง

เพื่อรักษาศีลเพื่อบำเพ็ญศีลบารมีให้เต็ม ฉะนี้

แล.

จบ ภูริทัตตจริยาที่ ๒

อรรถกถาภูริทัตตจริยาที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาภูริทัตตจริยาที่ ๒ ดังต่อไปนี้. บทว่า

ภูริทตฺโต คือผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน จึงชื่อว่า ภูริทัตตะ. ชื่อที่มารดา-

บิดาของพระโพธิสัตว์ตั้งให้ในครั้งนั้นว่า ทัตตะ. ก็พระโพธิสัตว์นั้นวินิจฉัย

ปัญญาอันเกิดขึ้นในนาคพิภพ ในพิภพของท้าววิรูปักษ์มหาราช และใน

ดาวดึงส์พิภพด้วยดี. เมื่อท้าววิรูปักษ์มหาราชไปเมืองไตรทศกับบริษัทนาค

แล้วนั่งล้อมท้าวสักกะ. ปัญหาตั้งขึ้นในระหว่างทวยเทพ. ใคร ๆ ก็ไม่สามารถ

แก้ปัญหานั้นได้. พระมหาสัตว์นั่งอยู่บนบัลลังก์อันประเสริฐ ซึ่งท้าวสักกะ

อนุญาต จึงแก้ปัญหานั้น. ลำดับนั้นท้าวเทวราช จึงบูชาพระมหาสัตว์ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 248

ของหอมและดอกไม้อันเป็นทิพย์ แล้วกล่าวว่า ทัตตะท่านมีปัญญามากเสมอ

ด้วยแผ่นดิน ตั้งแต่ไปนี้ไปท่านมีชื่อว่า ภูริทัตตะ. บทว่า ภูริ เป็นชื่อของ

แผ่นดิน. เพราะฉะนั้นพระมหาสัตว์ปรากฏชื่อว่า ภูริทัตตะ เพราะยินดี

เนื้อความอันเป็นจริง เพราะเสมอด้วยแผ่นดิน และเพราะประกอบด้วย

ปัญญาใหญ่ดังแผ่นดิน. และมีฤทธิ์มาก เพราะประกอบด้วยฤทธิ์ของนาค

ใหญ่ด้วยประการฉะนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกัปนี้แหละโอรสของพระเจ้ากรุงพาราณสี

ถูกพระบิดาขับไล่ออกจากแว่นแคว้นไปอยู่ในป่า ได้อยู่กินกับนางนาคมาณ-

วิกาตนหนึ่ง. เมื่ออยู่ร่วมกันก็เกิดทารกสองคนเป็นชาย ๑ หญิง ๑. บุตรชื่อ

สาครพรหมทัต. ธิดาชื่อสมุททชา. ต่อมาเมื่อพระบิดาสวรรคต พระโอรส

จึงเสด็จไปกรุงพาราณสี แล้วครองราชสมบัติ ครั้งนั้นนาคราชชื่อว่าธตรัฐ

ครองราชสมบัติอยู่ในนาคพิภพประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ท้าวธตรัฐฟังถ้อยคำที่

เต่าชื่อจิตตจูฬะ ผู้พูดเหลวใหลว่าพระเจ้ากรุงพาราณสีมีพระประสงค์จะยก

พระธิดาให้แก่ตน. พระธิดานั้นชื่อว่าสมุททชา มีรูปงาม น่าดู น่า

เลื่อมใส จึงส่งนาคมาณพ ๔ ตน ไปแล้วขู่พระเจ้ากรุงพาราณสี ผู้ไม่ทรง

ปรารถนายกพระธิดาให้ด้วยพิษนาค เมื่อพระเจ้ากรุงพาราณสีตรัสว่า เรา

จะยกให้ จึงส่งบรรณาการเป็นอันมากด้วยสำแดงฤทธิ์ของนาคยิ่งใหญ่. ด้วย

บริวารมากนำพระธิดาของพระเจ้ากรุงพาราณสีไปสู่นาคพิภพ ตั้งไว้ในตำ-

แหน่งอัครมเหสี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 249

ครั้นต่อมา พระนางอาศัยท้าวธตรัฐได้โอรส ๔ องค์ คือสุทัศนะ ๑

ทัตตะ ๑ สุโภคะ ๑ อริฏฐะ ๑. ในโอรสเหล่านั้น พระโอรสทัตตะ เป็น

พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ อันท้าวสักกะมีจิตยินดีโดยนัยดังกล่าวแล้วใน

ก่อน จึงปรากฏชื่อว่า ภูริทัตตะ เพราะเป็นชื่อที่ท้าวสักกะประทานให้ว่า

ภูริทัตตะ. ครั้งนั้นพระบิดาของโอรสเหล่านั้น ได้ทรงแบ่งราชสมบัติให้

ครององค์ละ ๑๐๐ โยชน์. ได้ปรากฏยศยิ่งใหญ่. มีนางนาคกัญญาองค์ละ

๑๖,๐๐๐ แวดล้อม. แม้พระบิดาก็ได้มีราชสมบัติ ๑๐๐ โยชน์เหมือนกัน.

พระโอรสทั้ง ๓ เสด็จมาเพื่อเยี่ยมพระมารดาบิดา ทุก ๆ เดือน. ส่วนพระ-

โพธิสัตว์ เสด็จมาเยี่ยมทุกกึ่งเดือน.

วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์เสด็จไปอุปฐากท้าวสักกะกับท้าววิรูปักษ์มหา-

ราช ทรงเห็นสมบัติของทัาวสักกะเป็นที่จับใจยิ่งนัก มีเวชยันตปราสาท

สุธรรมเทพสภา ต้นไม้สวรรค์ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ มีเทพอัปสรแวด-

ล้อม จึงคิดว่า แม้สมบัติประมาณเท่านี้ก็ยังหาได้ยากในอัตภาพของนาค. จะ

ได้สัมมาสัมโพธิญาณได้แต่ไหน. ทรงรังเกียจอัตภาพนาค ทรงดำริว่า เรา

จักไปนาคพิภพอยู่รักษาอุโบสถ ประดับประคองศีลเท่านั้น. ศีลนั้นจะเป็น

เครื่องบ่มโพธิญาณ. ในเทวโลกนี้จักมีเหตุการณ์เกิดขึ้น จึงไปนาคพิภพทูล

พระมารดาบิดาว่า ข้าแต่พระมารดาบิดา หม่อมฉันจักรักษาอุโบสถ. เมื่อ

พระมารดาบิดาตรัสว่า ลูกจงอยู่จำอุโบสถในนาคพิภพนี่แหละ ภัยใหญ่หลวง

จักมีแก่นาคผู้ออกไปภายนอก พระโพธิสัตว์ทำอย่างนั้นได้ครั้งเดียว ถูกนาง-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 250

นาคกัญญารบกวน ในครั้งต่อไปไม่บอกพระมารดาบิดา ตรัสเรียกภรรยา

ของตนมาตรัสว่า นี่แน่ะน้อง เราจะไปยังมนุษยโลก ที่ฝั่งแม่น้ำยมุนา มี

ต้นไทรใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง. ไม่ไกลจากต้นไทรนั้น เราจะขดขนดบนยอดจอม

ปลวก นอนอธิษฐานอุโบสถ แล้วจักทำอุโสถกรรม จึงออกจากนาคพิภพ

แล้วทำอย่างนั้น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

เราไปยังเทวโลก พร้อมกับท้าววิรูปักษ์

มหาราชในเทวโลกนั้น เราได้เห็นทวยเทพผู้

สมบูรณ์ด้วยความสุขโดยส่วนเดียว จึงสมา-

ทานศีลวัตร เพื่อต้องการจะไปสวรรค์นั้น เรา

ชำระร่างกาย บริโภคอาหารพอยังชีวิตให้อยู่ได้

อธิษฐานอุโบสถมีองค์ ๔ ว่า ผู้ใดต้องการด้วย

ผิวหนังก็ดี ด้วยเนื้อก็ดี ด้วยเอ็นก็ดี ด้วย

กระดูกก็ดี ขอผู้นั้นจงเอาอวัยวะที่เราให้นี้ไป

เถิด แล้วนอนอยู่บนยอดจอมปลวก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วิรูปกฺเขน มหารญฺา คือท้าวมหาราชผู้

เป็นใหญ่ในหมู่นาคชื่อว่าวิรูปักษ์. บทว่า เทวโลก คือเทวโลกชั้นดาวดึงส์.

บทว่า อคจฺฉห คือเราได้ไปแล้ว เข้าไปใกล้แล้ว. บทว่า ตตฺถ คือใน

เทวโลกนั้น. บทว่า ปสฺสึ ตฺวาห คือเราได้เห็น. ตุ ศัพท์เป็นนิบาต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 251

บทว่า เอกนฺต สุขสมปฺปิเต ทวยเทพผู้สมบูรณ์ด้วยความสุขโดยส่วนเดียว

คือพรั่งพร้อมด้วยความสุขโดยส่วนเดียวเท่านั้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สวรรค์ชื่อว่ามีผัสสายตนะมีอยู่. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สวรรค์อันเป็นความสุขเพียงเพื่อถึงด้วยการพูดนั้น ทำไม่ง่าย

นัก. บทว่า ต สคฺค คมนตฺถาย คือเพื่อต้องการจะไป. ด้วยการเกิดใน

สวรรค์นั้น. บทว่า สีลพฺพต ได้แก่วัตรคือศีล. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

สีลพฺพต ได้แก่อุโบสถศีล และวัตรอันได้แก่การถือมั่นในการบริจาคอวัยวะ

โดยบทมีอาทิว่า ผู้ต้องการหนังของเราจงเอาไปเถิด. บทว่า สรีรกิจฺจ คือ

การรักษาร่างกายมีล้างหน้าเป็นต้น. บทว่า ภุตฺว ยาปนมตฺตก บริโภคเพียง

ให้ชีวิตเป็นไป คือนำอาหารเพียงให้ร่างกายดำรงอยู่ได้ เพื่อทำอินทรีย์

ทั้งหลายให้หมดพยศ. บทว่า จตุโร องฺเค คือมีองค์ ๔. บทว่า อธิฏฺาย

คืออธิษฐาน. บทว่า เสมิ คือนอน.

บทว่า ฉวิยา แสดงถึงองค์ เหล่านั้น. ในองค์ ๔ เหล่านั้นการ

สละผิวหนัง เป็นองค์หนึ่ง. ที่เหลือเป็นองค์หนึ่ง ๆ. แต่ในที่นี้พึงเห็นว่า

ท่านสงเคราะห์ แม้เลือดด้วย มส ศัพท์นั่นแหละ. บทว่า เอเตน คือด้วย

อวัยวะทั้งหลายเหล่านี้. บทว่า หราตุ โส ขอผู้นั้นจงนำอวัยวะนี้ไปเถิด. คือ

ผู้ใดมีกิจที่จะพึงทำด้วยผิวหนังเป็นต้นเหล่านี้ ขอผู้นั้นจงถือเอาอวัยวะที่เรา

ให้นี้ไปทั้งหมด เพราะเหตุนั้นท่านยินยอมให้โดยไม่คำนึงถึงอวัยวะของตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 252

เมื่อพระมหาสัตว์ทรงรักษาอุโบสถทุกกึ่งเดือนโดยทำนองนี้ ล่วงไป

ตลอดกาลยาวนาน. เมื่อกาลผ่านไปอย่างนี้ วันหนึ่งพราหมณ์เนสาทคนหนึ่ง

พร้อมกับบุตรของตนชื่อว่าโสมทัตได้ไปถึงที่นั้น ในเวลาอรุณขึ้นเห็นพระ-

มหาสัตว์แวดล้อมด้วยนาคกัญญา จึงได้ไปหาพระมหาสัตว์. ทันใดนั้นเอง

นาคกัญญาทั้งหลายดำแผ่นดินหนีไปยังนาคพิภพ. พราหมณ์ถามพระมหา-

สัตว์ว่า ท่านผู้พ้นทุกข์ท่านเป็นใคร เป็นเทวดา ยักษ์ หรือนาค. พระ-

โพธิสัตว์ทรงดำริว่า หากพราหมณ์นี้รู้จักตนตามความเป็นจริงก็จะพึงไปเสีย

จากที่นี้. พึงทำการอยู่ของเราในที่นี้ให้ปรากฏแก่มหาชน. ด้วยเหตุนั้น จะ

พึงเป็นอันตรายแก่การอยู่รักษาอุโบสถของเรา. ถ้ากระไรเราจะพาพราหมณ์

ออกจากที่นี้ไปสู่นาคพิภพ แล้วมอบสมบัติอันยิ่งใหญ่ให้. พราหมณ์จักยินดี

ในนาคพิภพนั้นเป็นแน่. ด้วยเหตุนั้น การรักษาอุโบสถของเราก็จะพึงอยู่

ได้นาน.

ลำดับนั้นพระมหาสัตว์ตรัสกะพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราจะ

ให้ยศอันใหญ่ยิ่งแก่ท่าน. พิภพนาคน่ารื่นรมย์. มาไปนาคพิภพกันเถิด.

พราหมณ์กล่าวว่า นาย, ข้าพเจ้ามีบุตร เมื่อเขามาข้าพเจ้าจักมา. พระมหาสัตว์

ตรัสว่า พราหมณ์ท่านจงไปนำบุตรมาเถิด. พราหมณ์ไปบอกความนั้นแก่บุตร

แล้วนำบุตรมา. พระมหาสัตว์พาพ่อลูกทั้งสองนำมาสู่นาคพิภพด้วยอานุภาพ

ของตน. อัตภาพทิพย์ปรากฏแก่พ่อลูกในนาคพิภพนั้น. พระมหาสัตว์ทรง

ประทานทิพยสมบัติให้แก่พ่อลูก แล้วทรงประทานนาคกัญญาให้คนละ ๔๐๐.

พ่อลูกเสวยสมบัติยิ่งใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 253

แม้พระมหาสัตว์ก็มิได้ทรงประมาท ได้รักษาอุโบสถ. ทุกกึ่งเดือน

ได้ทรงไปเยี่ยมพระมารดาบิดา แล้วทรงกล่าวธรรมกถา จากนั้นก็ไปหา

พราหมณ์ถามถึงทุกข์สุขแล้วตรัสว่า ท่านพึงบอกถึงสิ่งที่ท่านต้องการ แล้ว

ตรัสต่อไปว่า ท่านไม่พอใจอะไรก็จงบอก ทรงทำปฏิสันถารกับโสมทัตแล้ว

เสด็จกลับที่ประทับ . พราหมณ์อยู่ที่นาคพิภพได้หนึ่งปี เพราะตนมีบุญน้อย

ไม่พอใจจะอยู่ จึงพาบุตรไปอำลาพระโพธิสัตว์ ไม่รับทรัพย์เป็นอันมากที่

พระโพธิสัตว์ทรงให้ แม้แก้วมณี ซึ่งเป็นแก้วสารพัดนึก ให้สำเร็จสิ่งที่

ปรารถนาทั้งปวงก็ไม่รับ เพราะค่าที่ตนเป็นคนไม่มีวาสนา กล่าวว่า ข้าพเจ้า

จะไปมนุษยโลก แล้วจักบวช. พระมหาสัตว์สั่งให้นาคมาณพพาพราหมณ์

พร้อมกับบุตรไปส่งถึงมนุษยโลก. พ่อลูกทั้งสองเปลื้องเครื่องทิพย์ และผ้า-

ทิพย์ออกแล้วลงสระโบกขรณีเพื่อจะอาบน้ำ. ในขณะนั้นเครื่องประดับ และ

ผ้าทิพย์ก็อันตรธานไปสู่นาคพิภพนั่นเอง ลำดับนั้นผ้ากาสาวะ และผ้าเก่า

ที่ตนนุ่งไปครั้งแรกก็สวมลงในร่างกาย. สองพ่อลูกถือธนู ศร และหอก

เข้าป่าล่าเนื้อ สำเร็จชีวิตอยู่อย่างเดิม.

สมัยนั้นดาบสองค์หนึ่ง ให้มนต์อาลัมพายน์ที่ได้มาจากพระยาครุฑ.

และโอสถ อันสมควรแก่มนต์นั้น และมนต์ทิพย์แก่พราหมณ์คนหนึ่ง ซึ่ง

บำรุงตน. พราหมณ์นั้นคิดว่า เราได้อุบายเครื่องเลี้ยงชีพแล้ว จึงพักอยู่

๒ - ๓ วัน อำลาดาบสไปถึงฝั่งแม่น้ำยมุนา โดยลำดับท่องมนต์นั้น เดิน

ไปตามทางหลวง. ครั้งนั้นนางนาคมาณวิกา ซึ่งเป็นบริจาริกา ของพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 254

โพธิสัตว์ ถือเอาแก้วมณี อันเป็นแก้วสารพัดนึกให้ทุกสิ่งที่ต้องการ วาง

แก้วมณีไว้เหนือกองทราย ณ ฝั่งแม่น้ำยมุนา เพลิดเพลินในยามราตรีด้วย

แสงของแก้วมณีนั้น ตอนอรุณขึ้นได้ยินเสียงมนต์ของพราหมณ์ตกใจกลัว

ด้วยสำคัญว่า เป็นครุฑ ไม่ถือเอาแก้วมณีไปด้วย ดำลงในแผ่นดินไปนาค

พิภพ.

พราหมณ์จึงถือเอาแก้วมณีไป. ในขณะนั้น เนสาทพราหมณ์ไปป่า

กับบุตรเพื่อล่าเนื้อ เห็นแก้วมณีในมือพราหมณ์นั้น จำได้ว่า เป็นแก้วมณี

สารพัดนึกของพระภูริทัตตะ อยากจะได้แก้วมณีนั้น จึงทำเป็นสนทนาปรา-

ศรัยกับพราหมณ์นั้นรู้ว่าแก้วมณีนั้นมีมนต์ขลัง จึงกล่าวว่า หากท่านให้

แก้วมณีนี้แก่เรา. เราจักแสดงนาคซึ่งมีอานุภาพมากแก่ท่าน. ท่านพานาคนั้น

เที่ยวไปยังหมู่บ้าน นิคมและราชธานีจักได้ทรัพย์เป็นอันมาก. เมื่อพราหมณ์

กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นจงจับมาแสดงเถิด. เนสาทพราหมณ์ จึงพาพราหมณ์

นั้นไปยืนอยู่ไม่ไกล ชี้ให้ดูพระโพธิสัตว์ ซึ่งนอนขดขนดอยู่บนยอดจอม

ปลวกอันเป็นที่รักษาอุโบสถ.

พระมหาสัตว์ เห็นเนสาทนั้น ดำริว่า เจ้าเนสาทนี้แม้เรานำไปยัง

นาคพิภพเพราะเกรงว่า จะพึงทำอันตรายแก่อุโบสถของเราให้ดำรงอยู่ใน

มหาสมบัติก็ไม่ปรารถนา. อยากจะหลีกออกจากนาคพิภพกลับไปเอง ใช่

ต้องการแม้แก้วมณีที่เราให้. แต่บัดนี้กลับพาคนจับงูมา. หากเราโกรธคน

ประทุษร้ายมิตรนี้. ศีลก็จักขาด. เราอธิษฐานอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 255

ไว้แต่แรก. อุโบสถนั้นจงเป็นไปตามที่เราอธิษฐานไว้เถิด. เจ้าอาลัมพายน์

จะเชือดเฉือนเราหรือไม่ก็ตาม เราจะไม่โกรธเขา จึงหลับตาทำอธิษฐาน

บารมีให้เป็นปุเรจาริกคือนำไปข้างหน้า สอดศีรษะไว้ในระหว่างขนดนอน

เฉย. แม้เนสาทพราหมณ์ก็กล่าวว่า ท่านอลัมพายน์ท่านจงจับนาคนี้. ท่าน

จงให้แก้วมณีแก่เราเถิด. อาลัมพายน์เห็นนาคก็ดีใจ ไม่คำนึงถึงแก้วมณีแต่

อย่างไร โยนแก้วมณีลงในมือกล่าวว่า เอาไปเถอะพ่อพราหมณ์. แก้วมณี

นั้นพลัดจากมือพราหมณ์ พอตกถึงพื้นดินเท่านั้นก็แทรกแผ่นดินไปสู่นาค-

พิภพทันที. เนสาทพราหมณ์เสื่อมจากแก้วมณี และจากความเป็นมิตรกับ

พระภูริทัตตะจึงหมดที่พึ่งหลีกไป.

แม้อาลัมพายน์ก็เอาโอสถที่มีอานุภาพมาก ทาร่างกายของตนแล้ว

เคี้ยวกินหน่อยหนึ่ง พ่นน้ำลายลงในกายของตนร่ายทิพยมนต์เข้าไปหาพระ-

พระโพธิสัตว์ จับที่หางกระชากออกมา แล้วจับศีรษะจนแน่น งัดปากของ

พระโพธิสัตว์ เคี้ยวโอสถ พ่นโอสถกับน้ำลายเข้าไปในปาก. พระมหาสัตว์

เป็นผู้สะอาด ไม่โกรธเพราะเกรงศีลขาดจึงไม่ลืมตา. เนสาทพราหมณ์ จับ

พระโพธิสัตว์ที่หางด้วยกำลังโอสถและทิพยมนต์ จับศีรษะไว้ข้างล่าง รีดเอา

อาการออก ให้นอนเหยียดยาวบนแผ่นดิน เอามือขยำดุจขยำหมอน. กระดูก

ทั้งหลายได้เป็นเหมือนจะแหลกละเอียด. จับที่หางอีกทุบเหมือนทุบผ้า. พระ-

มหาสัตว์แม้ได้รับทุกข์ถึงปานนี้ก็มิได้โกรธ. รำลึกถึงศีลของตนอย่างเดียว.

เนสาทพราหมณ์ ท่าพระมหาสัตว์ให้หมดกำลัง เอาเถาวัลย์มัดเตรียมกระ-

สอบใส่พระมหาสัตว์ลงในตะกร้า. แต่ร่างกายของพระมหาสัตว์ใหญ่ จึงเข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 256

ไปในตะกร้าไม่ได้. เนสาทพราหมณ์จึงเอาส้นเท้าเหยียบพระมหาสัตว์ให้

เข้าไปจนได้ แล้วแบกตะกร้าไปยังหมู่บ้านหมู่หนึ่งวางลงท่ามกลางบ้านประ-

กาศว่า ผู้ประสงค์จะดูนาคฟ้อนรำจงมาดูได้. พวกชาวบ้านทั้งหมดพากันมา

มุงดู. ในขณะนั้นเนสาทอาลัมพายน์ จึงพูดว่า มหานาคจงออกมา. พระ-

มหาสัตว์ดำริว่า วันนี้เราควรเล่นให้ประชาชนพอใจ. โดยประการฉะนี้

เนสาทอาลัมพายน์ได้ทรัพย์มากจักดีใจปล่อยเรา. เราจักทำสิ่งที่เนสาทให้

เราทำทุกประการ.

เนสาทอาลัมพายน์ พูดกะพระโพธิสัตว์ซึ่งออกจากตะกร้าว่า เจ้าจง

ทำให้ใหญ่. พระมหาสัตว์ก็ได้ทำให้ใหญ่. เมื่อเนสาทพูดว่า จงทำให้เล็ก

จงขด จงคลาย ให้มีพังพานหนึ่ง ให้มีพังพานสองจนถึงพันพังพาน ให้สูง

ให้ต่ำ ให้เห็นตัว ให้หายตัว ให้เห็นครึ่งตัว ให้สีเขียว เหลือง แดง ข้าว

หงสบาท ให้พ่นควัน เปลวไฟและน้ำ. ดังที่ท่านกล่าวว่า พระโพธิสัตว์

เนรมิตอาการนั้นแล้วแสดงการฟ้อน. พวกมนุษย์เห็นดังนั้น คิดว่าน่าอัศ-

จรรย์ไม่เคยมี จึงได้ให้เงินทอง ผู้และเครื่องประดับเป็นอันมาก. เนสาท

พราหมณ์ได้ทรัพย์ในหมู่บ้านนั้นประมาณ ๑,๐๐๐. อันที่จริงเมื่อเนสาทอา-

ลัมพายน์จับพระมหาสัตว์ได้สัญญาว่า ได้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้วจักปล่อยพระ-

มหาสัตว์. แต่เนสาทอาลัมพายน์ ครั้นได้ทรัพย์นั้นแล้วคิดว่า ในหมู่บ้าน

น้อย ๆ เรายังได้ทรัพย์ถึงเพียรนี้. ถ้าในพระนครเราจักได้ทรัพย์อีกมากมาย

ด้วยความโลภทรัพย์จึงมิได้ปล่อยพระโพธิสัตว์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 257

อาลัมพายน์ รวบรวมทรัพย์ในหมู่บ้านนั้น จึงให้ช่างทำตะกร้าแก้ว

ใส่พระมหาสัตว์ลงในตะกร้านั้น ตนขี่ยานเล็กอย่างสบาย พาบริวารใหญ่

ออกจากหมู่บ้าน ให้พระมหาสัตว์เล่นไปตามบ้าน นิคมสละราชธานี จนถึง

กรุงพาราณสี. อาลัมพายน์ไม่ให้น้ำผึ้งและข้าวตอกแก่พระยานใด. ให้แต่

กบ. พระมหาสัตว์ ไม่ยอมรับอาหาร เพราะเกรงว่าอาลัมพายน์จะไม่ปล่อย.

แม้พระโพธิสัตว์จะไม่รับอาหาร อาลัมพายน์ก็ยังพระมหาสัตว์ให้เล่นตาม

หมู่บ้านใกล้ประตูพระนคร ๔ ด้านเป็นต้น ประมาณ ๑ เดือน. ดังที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

อาลัมพายน์อันบุคคลผู้อกตัญญู บอก

แล้วได้จับเราใส่ไว้ในตะกร้า ให้เราเล่นในที่

นั้น ๆ แม้เมื่ออาลัมพายน์ใส่เราไว้ในตะกร้า

แม้เมื่อบีบเราด้วยฝ่ามือ เราก็ไม่โกรธ เพราะ

เรากลัวศีลของเราจะขาด การที่เราบริจาคชีวิต

ของตน เป็นของเบาแม้กว่าหญ้า การล่วงศีล

ของเรา เป็นเหมือนดังว่าแผ่นดิน เราพึงสละ

ชีวิตของเราสิ้นร้อยชาติเนือง ๆ เราไม่พึงทำลาย

ศีล แม้เพราะเหตุแห่งทวีปทั้ง ๔ ถึงแม้เราจะ

ไม่ถูกพราหมณ์อาลัมพายน์ใส่ไว้ในตะกร้า เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 258

ก็มิได้ทำจิตให้โกรธเคือง เพื่อรักษาศีล เพื่อ

บำเพ็ญศีลบารมีให้เต็ม ฉะนี้แล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สสิโต บอกแล้ว คืออาลัมพายน์อันคน

อกตัญญู ชี้บอกถึงที่อยู่อย่างนี้ว่า พระยานาคนี้นอนอยู่ที่ยอดจอมปลวก ใกล้

ต้นไทรโน้น. บทว่า อกตญฺญุนา อธิบายว่า เนสาทพราหมณ์ผู้ประทุษ-

ร้ายมิตร ผู้ไม่รู้อุปการะที่ตนทำแล้ว. บทว่า อาลมฺพาโน คือพราหมณ์

ผู้จับงูได้ชื่ออย่างนี้ว่า อาลมฺพายน เพราะร่ายวิชาชื่อว่าอาลัมพายน์คือวิชา

สะกดจิต บทว่า มมคฺคหิ คือได้จับเรา. บทว่า กีเฬติ ม ตหี ตหึ

คือให้เราเล่นในบ้าน นิคม ชนบท และราชธานีนั้น ๆ เพื่อเลี้ยงชีพของตน.

บทว่า ติณโตปิ ลหุโก มม ความว่าการบริจาคชีวิตของตนเบา

แม่กว่าการบริจาคเส้นหญ้า ย่อมปรากฏแก่เรา. บทว่า ปวีอุปฺปตน วิย

ดุจแผ่นดิน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ส่วนการล่วงศีลย่อมปรากฏ

แก่เราว่า เป็นสิ่งที่หนักกว่านั้นดุจการพลิกแผ่นดิน ซึ่งหนาถึง ๒๔๐,๐๐๐

โยชน์. บทว่า นิรนฺตร ชาติสต ความว่า เราพึงสละคือสามารถสละชีวิต

ของเรา เพราะเหตุการไม่ล่วงศีลเนือง ๆ สิ้นร้อยชาติของเราไม่น้อย คือใน

ชาติแม้ร้อยชาติไม่น้อย. บทว่า เนร สีล ปภินฺเทยฺย ความว่า เราไม่

พึงทำลายศีลแม้ข้อเดียวที่เราสมาทานแล้ว คือไม่ให้เสื่อม. บทว่า จตุทฺที-

ปาน เหตุปิ แม้เพราะเหตุแห่งทวีปทั้ง ๔ ท่านแสดงว่า เพราะเหตุจักร-

พรรดิราชสมบัติอันเป็นสิริ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 259

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงถึงประโยชน์ที่พระองค์ทรง

สละแม้ชีวิตของพระองค์ แล้วทรงรักศีลอย่างเดียว ทั้งพระองค์มิได้ทรง

โกรธเคืองในพราหมณ์เนสาทอาลัมพายน์ ผู้ทำความย่อยยับให้ เพื่อรักษา

ศีลนั้นจึงตรัสพระคาถาสุดท้ายมีอาทิว่า อปิจ ดังนี้. บทนั้นมีความดังได้

กล่าวไว้แล้วนั่นแล.

เมื่อพระโพธิสัตว์ตกอยู่ในเงื้อมมือของตนจับงู พระมารดาของพระ-

โพธิสัตว์ทรงฝันร้าย ไม่ทรงเห็นโอรส ณ ที่นั้น ได้ถูกความโศกครองงำ.

ลำดับนั้น สุทัศนะผู้เป็นเชษฐบุตร (โอรสองค์รอง ) ของพระมารดานั้นได้

ทราบข่าว จึงส่งสุโภคะพระอนุชาไปสั่งว่า น้อมจงไปป่าหิมพานต์ตรวจหาน้อง

ภูริทัตตะที่แม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ และที่สระใหญ่ทั้ง ๗ แล้วจงกลับมา. ส่งอริฏฐะ

พระอนุชาองค์เล็กไปสั่งว่า หากทวยเทพประสงค์จะฟังธรรมพาน้องภูริทัตตะ

ไปเทวโลก แล้วนำไปในที่นั้น. น้องจงนำภูริทัตตะกลับจากเทวโล . ส่วน

ตนเอง จะไปเที่ยวหาในมนุษยโลก จึงแปลงเพศเป็นดาบสออกจากนาคพิภพ.

พระภคินีต่างพระมารดาของพระโพธิสัตว์ ชื่อว่าอัจจิมุขี มีความรักใน

พระโพธิสัตว์มาก จึงได้ติดตามไป. สุทัศนะจึงให้นางอัจจิมุขี แปลงเป็น

ลูกกบใส่ไว้ในระหว่างชฎาเที่ยวตามหาทุกแห่งหน เป็นต้นว่า สถานที่รักษา

อุโบสถของพระมหาสัตว์ ถึงกรุงพาราณสีโดยลำดับ ได้ไปยังประตูพระ-

ราชวัง. ในกาลนั้น อาลัมพายน์เปิดตะกร้า เพื่อให้พระภูริทัตตะแสดงการ

เล่นถวายพระราชาในท่ามกลางมหาชน ณ พระลานหลวงแล้วได้ให้สัญญาณ

ว่า ออกมาเถิดมหานาค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 260

พระมหาสัตว์ โผล่ศีรษะมองดูเห็นสุทัศนะพี่ชายจึงเลื้อยออกจากตะ-

กร้าตรงไปมา. มหาชนต่างกลัวจึงรีบถอยออกไป. พระโพธิสัตว์ไปไหว้

สุทัศนะแล้วกลับเข้าตะกร้า. อาลัมพายน์เข้าใจว่า ดาบสถูกนาคกัด จึงกล่าว

ว่า อย่ากลัวอย่ากลัว. สุทัศนะกล่าวว่านาคนี้จักทำอะไรเราได้ ชื่อว่าหมองู

เช่นกับเราไม่มีอีกแล้ว ต่างโต้เถียงกัน สุทัศนะจึงกล่าวว่า ท่านพานาคนี้

มาขู่. เราจะให้ลูกกบกำจัดอาลัมพายน์ให้ย่อยยับ จึงเรียกน้องสาว แล้ว

เหยียดมือ. ลูกกบนอนอยู่ในระหว่างชฎาได้ยินเสียงของสุทัศนะ. จึงร้องเป็น

เสียงกบ ๓ ครั้ง แล้วกระโดดออกมานั่งที่จะงอยบ่า คายพิษ ๓ หยดลงใน.

ฝ่ามือของสุทัศนะ แล้วเข้าไประหว่างชฎาของสุทัศนะอีก.

สุทัศนะแสดงหยาดพิษกล่าวว่า หากพิษนี้หยดลงในแผ่นดินต้นหญ้า

ต้นหญ้าและป่าทั้งหลายจักย่อยยับหมด. หากขว้างขึ้นไปบนอากาศฝนจะไม่

ตกไปตลอด ๗ ปี. หากหยดลงไปในน้ำ สัตว์น้ำมีเท่าใดจะตายหมด เพื่อให้

พระราชาทรงเชื่อจึงให้ขุดบ่อ ๓ บ่อ. บ่อที่หนึ่งให้เต็มด้วยยาต่างๆ. บ่อที่สอง

ให้เต็มไปด้วยโคมัย (คูถโค) บ่อที่สามให้เต็มด้วยยาทิพย์ แล้วจึงใส่หยดพิษ

ลงในบ่อที่หนึ่ง. ทันใดนั้นก็เกิดควันลุกขึ้นเป็นเปลว. หยดพิษนั้นลามไปจับ

เอาบ่อโคมัย แล้วลุกลามไปถึงบ่อยาทิพย์ ครั้นไหม้ยาทิพย์หมดแล้วก็ดับ.

อาลัมพายน์ยืนอยู่ใกล้บ่อนั้น ไอควันพิษฉาบเอาผิวหนังลอกไป. กลายเป็น

ขี้เรื้อนด่าง. อาลัมพายน์ตกใจกลัวจึงเปล่งเสียงขึ้น ๓ ครั้งว่า ข้าพเจ้าจะ

ปล่อยนาคราช. พระโพธิสัตว์ได้ยินดังนั้น จึงออกจากตะกร้าแล้วเนรมิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 261

อัตภาพ ประดับด้วยสรรพาลังการยืน ยืนโดยท่าทางดั่งเทวราช. สุทัศนะ

และอัจจิมุขีก็ยืนอยู่เหมือนกัน.

ลำดับนั้น สุทัศนะทูลพระราชาว่าตนเป็นพี่ของพระภูริทัตตะ. พระ-

ราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงเข้าไปกอดจุมพิตที่ศีรษะ ทรงนำเข้าภายใน

พระนคร ทรงกระทำสักการะสัมมานะยิ่งใหญ่ เมื่อจะทรงทำปฏิสันถารกับ

พระภูริทัตตะ จึงตรัสถามว่า พ่อคุณ อาลัมพายน์จับพ่อผู้มีอนุภาพมากถึง

อย่างนี้ได้อย่างไร. พระภูริทัตตะทูลเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบแล้วทรง

แสดงธรรมแก่พระเจ้าลุงว่า ข้าแต่มหาราชธรรมดาพระราชาควรครองราช-

สมบัติ โดยทำนองนี้. ลำดับนั้น สุทัศนะทูลว่า ข้าแต่พระเจ้าลุง พระมารดา

ของข้าพระองค์ เมื่อไม่ทรงเห็นภูริทัตตะย่อมลำบาก. พวกข้าพระองค์ไม่

สามารถจะอยู่ช้าในที่นี้ได้ แล้วทรงลาพระเจ้าลุงไปยังนาคพิภพกับพระ-

ภูริทัตตะและนางอัจจิมุขี.

ครั้งนั้น พระมหาบุรุษนอนเป็นไข้ เมื่ออริฏฐะกล่าวโจมตีคัมภีร์

พระเวท คัมภีร์ยัญญ์ เละคัมภีร์พราหมณของนาคบริษัทหมู่ใหญ่ผู้มาเพื่อ

ถามอาการไข้ จึงทำลายวาทะนั้นเสีย แล้วแสดงธรรมโดยนัยต่าง ๆ ให้ตั้ง

อยู่ในศีลสัมปทา และทิฏฐิสัมปทา รักษาศีลตลอดชีวิต กระทำอุโบสถกรรม

เมื่อสิ้นอายุก็ไปบังเกิดบนสวรรค์.

พระมารดาบิดาในครั้งนั้นได้เป็นพระราชตระกูลใหญ่ในครั้งนี้. เน-

สาทพราหมณ์ คือเทวทัต. โสมทัต คือพระอานนท์. นางอัจจิมุขี คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 262

นางอุบลวรรณา. สุทัศนะ คือพระสารีบุตร. สุโภคะ คือพระโมคคัลลานะ.

อริฏฐะ คือสุนักขัตตะ. พระภูริทัตตะ คือพระโลกนาถ.

แม้ในภูริทัตตจริยานี้ ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือของพระภูริทัตตะ

นั้น โดยนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล. แม้ในจริยานี้ก็พึงทราบคุณานุภาพของ

พระโพธิสัตว์ มีอาทิอย่านี้ คือการที่พระโพธิสัตว์อันนางนาคกัญญา ๑๖,๐๐๐

บำเรออยู่ดุจรูปวิจิตร ในนาคพิภพของตนร้อยโยชน์ แม้ดำรงอยู่ในความ

เป็นอิสระในโลกของนาค เช่นกับสมบัติในเทวโลก ก็มิได้มัวเมาในความ

เป็นอิสระ บำรุงมารดาบิดาทุกกึ่งเดือน. การอ่อนน้อมต่อผู้เป็นใหญ่ใน

ตระกูล. การตัดปัญหาที่เกิดขึ้นแก่หมู่นาค หมู่เทพชั้นจาตุมมหาราชิกา หมู่

เทพชั้นดาวดึงส์ทั้งสิ้น ด้วยศัสตราคือปัญญาของตน ในท่ามกลางบริษัท

นั้น ๆ ได้ทันทีทันใด ดุจตัดกำก้านบัวด้วยศัสตราที่ลับดีแล้ว ฉะนั้น แล้ว

แสดงธรรมสมควรแก่จิตของบริษัทเหล่านั้น ละโภคสมบัติมีประการดังกล่าว

แล้ว อธิษฐานอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่คำนึงถึงร่างกายและชีวิตของ

ตน. การยอมตกอยู่ในเงื้อมมือของหมองู เพราะเกรงจะพูดผิดคำปฏิญญา.

แม้เมื่อเนสาทอาลัมพายน์ทำการทารุณมีประการต่างๆ มีอาทิอย่างนี้ คือพ่น

น้ำลายเจือด้วยยาพิษลงในปาก จับหางฉุดกระชากครูดสีบนแผ่นดิน เหยียบ

แม้พระโพธิสัตว์ได้รับทุกข์ใหญ่ถึงปานนี้ แม้สามารถจะทำเนสาทอาลัมพายน์

ให้เป็นเถ้าถ่านด้วยเพียงโกรธแล้วมองดู ก็รำพึงถึงศีลบารมี ไม่มีจิตคิดร้าย

แม้แต่น้อยเพราะเกรงศีลจะขาด. การทำตามใจเนสาทอาลัมพายน์ด้วยคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 263

จะให้เขาได้ทรัพย์. แม้ยังไม่อธิษฐานศีลก็ไม่โกรธเนสาทพรามณ์ผู้ทำลาย

มิตรผู้เป็นคนอกตัญญู ซึ่งสุโภคะนำมาอีก. การทำลายวาทะผิดที่อริฏฐะ

กล่าว แล้วแสดงธรรมโดยปริยายต่างๆ ในนาคบริษัทตั้งอยู่ในศีลและสัมมา-

ทิฏฐิ. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า:-

ท่านผู้แสวงหาธรรมอันยิ่งใหญ่ น่าอัศจรรย์

ไม่เคยมี

ฯ ล ฯ

โดยธรรมสมควรแก่ธรรม ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาภูริทัตตจริยาที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 264

๓. จัมเปยยจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของจัมเปยยกนาคราช

[๑๓] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพยานาค

ชื่อจัมเปยยกะมีฤทธิ์มาก แม้ในกาลนั้น เรา

เป็นผู้ประพฤติธรรม เพียบพร้อมด้วยศิลวัตร

หมองูได้จับเราเป็นผู้ประพฤติธรรม รักษาอุโบ-

สถให้เล่นรำอยู่ที่ใกล้ประตูพระราชวัง หมองู

นั้นคิดเอาสีเช่นใด คือ สีเขียว สีเหลือง หรือ

สีแดง เราย่อมเปลี่ยนไปตามจิตของเขา แปลง

กายให้เหมือนที่เขาคิด เราได้ทำน้ำให้เป็นบก

บ้าง ได้ทำบกให้เป็นน้ำบ้าง ถ้าแหละเราโกรธ

เคืองต่อหมองูนั้น ก็พึงทำเขาให้เป็นเถ้าโดย

ฉับพลัน ถ้าเราจักเป็นไปตามอำนาจจิต เราก็จัก

เสื่อมจากศีล เมื่อเราเสื่อมจากศีล ประโยชน์.

อันสูงสุดจะไม่สำเร็จ กายของเรานี้จะแตกไป

กระจัดกระจายอยู่ ณ ที่นี้ เหมือนแกลบ

จงกระจัดกระจายอยู่ก็ตามเถิด เราจะไม่ทำ

ลายศีลละ ฉะนี้แล.

จบ จัมเปยยจริยาที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 265

อรรถกถาจัมเปยยนาคจริยาที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาจัมเปยยนาคจริยาที่ ๓ ดังต่อไปนี้. บทว่า

จมฺเปยฺยโก พระยานาคชื่อว่าจัมเปยยกะ คือ แม่น้ำชื่อว่าจัมปา อยู่ใน

ระหว่างแคว้นอังคะและมคธะ. ใต้แม่น้ำนั้นแม้นาคพิภพก็ชื่อว่าจัมปา เพราะ

เกิดไม่ไกลกัน. นาคราชชื่อว่าจัมเปยยกะเกิดที่นาคพิภพนั้น. บทว่า ตทาปิ

ธมฺมิโก อาสึ แม้ในกาลนั้นเราเป็นผู้ประพฤติธรรม คือแม้ในกาลที่เรา

เป็นนาคราชชื่อว่า จัมเปยยกะนั้นก็ได้เป็นผู้ประพฤติธรรม.

มีเรื่องย่อว่า พระโพธิสัตว์ในกาลนั้นบังเกิดในนาคพิภพชื่อว่าจัมปา

เป็นนาคราชชื่อว่าจัมเปยยภะ มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก. นาคราชนั้นครอง

นาคราชสมบัติอยู่ในนาคพิภพนั้น เสวยอิสสริยสมบัติเช่นเดียวกับโภคสมบัติ.

ของเทวราช เพราะไม่มีโอกาสได้บำเพ็ญบารมี จึงดำริว่า ประโยชน์อะไร

ด้วยกำเนิดเดียรัจฉานนี้. เราจักเข้าอยู่ประจำอุโบสถ พ้นจากนี้แล้ว จัก

บำเพ็ญบารมีให้ดีทีเดียว ตั้งแต่นั้นมาก็รักษาอุโบสถในปราสาทของตนนั่น

เอง. นางนาคมาณวิกาแต่งตัวแล้วมาหาพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ดำริว่า

อยู่ที่ปราสาทนี้จักเป็นอันตรายแก่ศีลของเรา จึงออกจากปราสาทไปอยู่ใน

สวน. แม้ในสวนนั้นพวกนางนาคมาณวิกาก็มาหาอีก. พระโพธิสัตว์ดำริว่า

ในสวนนี้ ศีลของเราก็จักเศร้าหมอง เราจักออกจากนาคพิภพนี้ไปยังมนุษย์

โลก แล้วอยู่จำอุโบสถ. ตั้งแต่นั้นมาพระโพธิสัตว์ก็ออกจากนาคพิภพในวัน

อุโบสถ สละร่างกายให้เป็นทานโดยอธิษฐานว่า ผู้ต้องการหนังเป็นต้นของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 266

เรา จงเอาหนังไปเถิด. หรือประสงค์จะเอาไปทำกีฬางู ก็จงทำเถิด แล้ว

นอนขดขนดอยู่บนยอดจอมปลวก ใกล้ทางไม่ไกลบ้านชายแดนแห่งหนึ่ง

อยู่ประจำอุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ. ในวันค่ำหนึ่งจึงไปนาคพิภพ.

เมื่อพระโพธิสัตว์รักษาอุโบสอยู่อย่างนี้ กาลเวลาล่วงไปยาวนาน. ลำดับนั้น

อัครมเหสีชื่อสุมนา กล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่พระองค์ พระองค์เสด็จ

ไปมนุษยโลกเข้าจำอุโบสถ. ก็มนุษยโลกนั้นเต็มไปด้วยภัยอันตราย จึงประทับ

อยู่ ณ ฝั่งโบกขรณีอันเป็นมงคล ทรงบอกนิมิต ๓ ประการแก่นางสุมนาว่า

แม่นางผู้เจริญ หากใครทำร้ายเราให้ลำบาก น้ำในสระโบกขรณีนี้จักขุ่น.

หากครุฑจับ. น้ำจักเดือดพล่าน. หากหมองูจับ. น้ำจักมีสีแดงแล้วอธิษฐาน

อุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ จึงออกจากนาคพิภพไปนอนบนยอดจอมปลวกนั้น

ยังจอมปลวกให้งดงามด้วยความงามของร่างพระโพธิสัตว์. เพราะร่างของ

พระโพธิสัตว์ขาว ดุจพวงเงิน. ยอดศีรษะดุจลูกคลีทำด้วยผ้ากัมพลสีแดง.

ร่างกายประมาณหัวงอนไถ. เมื่อครั้งพระภูริทัตประมาณขาอ่อน. เมื่อครั้ง

พระสังขปาละประมาณเรือโกลนลำหนึ่ง.

ในกาลนั้นมาณพชาวกรุงพาราณสีคนหนึ่ง ไปเมืองตักกสิลา เรียน

มนต์อาลัมพายน์ คือ มนต์สะกดจิต เรียนจบแล้วก็กลับบ้านของตน มาตาม

ทางนั้นเห็นพระมหาสัตว์ คิดว่า เรื่องอะไรที่เราจะกลับบ้านมือเปล่า จับ

นาคนี้ไปแสดงการเล่นในหมู่บ้านนิคม และราชธานี ก็จะได้ทรัพย์แล้วจึง

ค่อยไป ได้หยิบโอสถทิพย์ ร่ายทิพยมนต์เข้าไปหานาคราช. นาคราชตั้งแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 267

ได้ยินทิพยมนต์ ได้เป็นดุจซี่เหล็กร้อนยอนเข้าไปในหูของพระมหาสัตว์

ดุจปลายหงอนถูกขยี้. พระมหาสัตว์ยกศีรษะออกจากระหว่างขนดมองดูนั่น

ใครหนอ เห็นหมองู จึงดำริว่า พิษของเราแรงกล้า หากเราโกรธจักพ่นลม

ออกจากจมูก ร่างกายของหมองูนี้ ก็จะกระจุยกระจายดุจแกลบ. ที่นั้นศีล

ของเราก็จะขาด. เราจักไม่มองดูหมองูละ. พระมหาสัตว์หลับตาสอดศีรษะ

เข้าไประหว่างขนด. พราหมณ์หมองู เคี้ยวโอสถร่ายมนต์ พ่นน้ำลายลง

บนร่างของพระมหาสัตว์. ด้วยอานุภาพของโอสถและมนต์ ได้เป็นดุจพุพอ

ผุดขึ้นในที่ที่น้ำลายถูกต้อง.

ลำดับนั้นพราหมณ์หมองู จึงจับที่หางฉุดออกมาให้นอนเหยียด เอา

ไม้ตีนแพะกดไว้ทำให้อ่อนกำลังแล้วจับศีรษะให้มั่น. พระมหาสัตว์อ้าปาก.

หมองูจึงพ่นน้ำลายลงในปากของพระมหาสัตว์ ทำลายฟันด้วยกำลังมนต์

โอสถ. เลือดเต็มปาก. พระมหาสัตว์อดกลั้นทุกข์ถึงปานนี้ เพราะเกรงศีล

ของตนจะขา จึงหลับตาไม่ทำแม้เพียงแลดู. หมองูนั้นคิดว่า เราทำนาคราช

ให้หมดกำลังจึงขยำทั่วร่าง ดุจจะทำให้กระดูกตั้งแต่หางแหลกเหลว พันผ้า

สำลี เอาด้ายมัด จับที่หาง เอาผ้าทุบ. โลหิตเปื้อนทั่วร่างพระมหาสัตว์.

พระมหาสัตว์อดกลั้นเวทนาอันสาหัส.

ลำดับนั้น หมองูรู้ว่าพระมหาสัตว์หมดกำลัง จึงเอาเถาวัลย์ทำตะกร้า

จับพระมหาสัตว์ใส่ลงในตะกร้านำไปยังบ้านชายแดน ให้เล่นกีฬาท่ามกลาง

มหาชน. พระมหาสัตว์ฟ้อนทำตามพราหมณ์ต้องการให้ทำ ในสีมีสีเขียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 268

เป็นต้น ในสัณฐานมีสี่เหลี่ยมเป็นต้น ในประมาณมีละเอียดและหยาบเป็น

ต้น. ทำพังพานร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง. มหาชนชอบใจได้ให้ทรัพย์

เป็นอันมาก. วันเดียวเท่านั้นได้กหาปณะพันหนึ่ง และบริขารมีค่าพันหนึ่ง.

พราหมณ์คิดมาแต่ต้นแล้วว่า ได้ทรัพย์พันหนึ่งแล้วจะปล่อย. แต่ครั้นได้

ทรัพย์นั้นแล้ว คิดว่า ในบ้านชายแดนเท่านั้นเรายังได้ทรัพย์ถึงเพียงนี้ เมื่อ

เราแสดงแก่พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา จักได้ทรัพย์มากเพียงไร.

จึงหาเกวียนและยานน้อยที่สบายบรรทุกบริขารลงในเกวียน ตนเองนั่งบน

ยานน้อยที่สบาย คิดว่า ราจะให้พระมหาสัตว์เล่นกีฬาในบ้าน นิคม และ

ราชธานี ด้วยบริวารอันใหญ่ ครั้นให้เล่นในราชสำนักของพระเจ้าอุคคเสนะ

ในกรุงพาราณสีแล้วก็จะปล่อย จึงได้เดินทางไป. พราหมณ์นั้นได้ฆ่ากบให้

นาคราช. นาคราชไม่กิน ด้วยคิดว่า พราหมณ์จักฆ่ากบเพราะอาศัยเราบ่อยๆ

ทีนั้นพราหมณ์จึงให้น้ำผึ้งและข้าวตอกแก่พระมหาสัตว์. พระมหาสัตว์ไม่กิน

แม้น้ำผึ้งและข้าวตอกเหล่านั้นด้วยคิดว่า หากเราถือเอาอาหาร. จักต้องตาย

ภายในตะกร้านี้แหละ.

พราหมณ์ได้ไปถึงกรุงพาราณสีประมาณ ๑ เดือน ให้พระโพธิสัตว์

เล่นกีฬาที่ประตูบ้านได้ทรัพย์เป็นอันมาก. แม้พระราชาก็รับสั่งให้เรียก

พราหมณ์นั้นมา ตรัสว่า จงให้เล่นกีฬาให้เราดู. พราหมณ์ทูลรับ พระดำรัส

ว่า ขอเดชะข้าพระองค์จะให้เล่นกีฬาถวายพระองค์ในวัน ๑๕ ค่ำ พระเจ้า

ข้า. พระราชารับสั่งให้ตีกลองป่าวประกาศว่า พรุ่งนี้นาคราชจักฟ้อนที่พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 269

ลานหลวง ขอให้มหาชนจงมาประชุมดูเถิด วันรุ่งขึ้นรับสั่งให้ตกแต่งพระ-

ลานหลวง แล้วตรัสเรียกหาพราหมณ์ให้เข้าเฝ้า. พราหมณ์จึงนำพระมหา-

สัตว์ในตะกร้าแก้วไปวางตะกร้าไว้ ณ ที่ลาดอันวิจิตรนั่งอยู่. พระราชาก็เสด็จ

ลงจากปราสาทแวดล้อมด้วยมหาชนประทับนั่งเหนือราชอาสน์. พราหมณ์

นำพระมหาสัตว์ออกมาแล้วให้ฟ้อน. พระมหาสัตว์แสดงไปตามที่พราหมณ์คิด

ให้แสดง. มหาชนไม่อาจทรงภาวะของตนไว้ได้. ต่างยกผ้าพันผืนโบกไปมา

แล้วฝนตกเบื้องบนพระมหาสัตว์. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ตทาปิ

ม ธมฺมจารึ แม้ในกาลนั้นเราเป็นผู้ประพฤติธรรมเป็นอาทิ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตทาปิ คือแม้ในกาลที่เราเป็นนาคราช ชื่อว่า

จัมเปยยกะ. บทว่า ธมฺมจารึ คือประพฤติกุสลกรรมบถ ๑๐. ชื่อว่าผู้

ประพฤติธรรม เพราะไม่ประพฤติสิ่งที่เป็นอธรรมแม้แต่น้อย. บทว่าอุปวุฏฺ-

อุโปสถ คือเข้าจำอุโบสถด้วยการรักษาอริยอุโบสถศีล ประกอบด้วยองค์ ๘.

บทว่า ราชทฺวารมฺหิ กัฬติ คือให้เล่นอยู่ที่ประตูพระราชวัง ของพระเจ้า

อุคคเสนะในกรุงพาราณสี. บทว่า ย ย โส วณฺณ จินฺตยิ คือพราหมณ์

หมองูนั้นคิดว่า จงเป็นสีเขียวเป็นต้นเช่นใด. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า นีล ว ปีตโลหิต สีเขียว สีเหลือง สีแดง เป็นอาทิ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นีล ว. วา ศัพท์ เป็นความไม่แน่นอน.

วา ศัพท์ ทำเสียงให้สั้นเป็น ศัพท์ เพื่อสะกดด้วยในการแต่งคาถา. ด้วย

วา ศัพท์นั้น ท่านสงเคราะห์เอาความต่างของสี มีสีขาวเป็นต้น ความต่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 270

ของสัณฐานมีสันฐานกลมเป็นต้น ความต่างของประมาณมีละเอียดและ

หยาบเป็นต้น. บทว่า ตสฺส จิตฺตานุวตฺตนฺโต คือเปลี่ยนไปตามความคิด

ของหมองูนั้น. บทว่า จินฺติตสนฺนิโภ แปลงกายให้เหมือนเขาคิด พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราช่วยจูงใจชนผู้เพ่งดูด้วยอาการที่หมองูคิด

ให้ทำ. อานุภาพของเรามิใช่แสดงอาการตามที่หมองูคิดอย่างเดียว ที่แท้เรา

ทำน้ำให้เป็นบกบ้าง ทำบกให้เป็นน้ำบ้าง. เราสามารทำแผ่นดินใหญ่อันเป็น

บกให้เป็นน้ำได้ สามารถทำแม้น้ำให้เป็นแผ่นดินได้. อานุภาพใหญ่ด้วย

ประการฉะนี้. บทว่า ยทิห ตสฺส กุปฺเปยฺย คือหากเราโกรธเคืองต่อ

หมองูนั้น. บทว่า ขเณน ฉาริก กเร คือพึงทำให้เป็นเถ้าในขณะเกิด

ความโกรธนั่นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่พระองค์สามารถกำจัด

ความฉิบหายอันจะเกิดขึ้นแก่พระองค์ในกาลนั้น บัดนี้ เพื่อทรงแสดงถึงความ

ประสงค์ที่พระองค์ไม่ทำการกำจัด จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ยทิ จิตฺตวสี

เหสฺส ดังนี้.

บทนั้นมีความดังต่อไปนี้ ถ้าเราจักเป็นไปในอำนาจของจิต แม้ด้วยเหตุ

เพียงโกรธแล้วมองดูด้วยคิดว่า หมองูนี้เบียดเบียนเราเหลือเกิน คงไม่รู้จัก

อานุภาพของเรา. เอาละเราจักแสดงอานุภาพของเราให้หมองูเห็นดังนี้ ทีนั้น

หมองูก็จักกระจุยกระจายดุจแกลบไปฉะนั้น. เราก็จักเสื่อมจากศีลตามที่เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 271

ได้สมาทานไว้. ก็เมื่อเราเสื่อมจากศีลมีศีลขาด ประโยชน์อันใดที่เราปรารถนา

ไว้ตั้งแต่บาทมูลของพระทศพลพระนามว่าทีปังกร ประโยชน์อันสูงสุด คือ

ความเป็นพระพุทธเจ้านั้นก็จะไม่สำเร็จ. บทว่า กาม ภิชฺชตุ ย กาโย คือ

กายมีความไม่เที่ยง ต้องขัดสี ต้องบีบนวด ต้องทำลายและต้องกำจัดเป็น

ธรรมดา สะสมขึ้นด้วยข้าวสุกและขนม คือมหาภูตรูป ๔ นี้จงแตกคือ

พินาศไป จงกระจุยกระจายไปเหมือนแกลบที่ชัดไปในลมแรงในที่นี้ก็ตาม

เถิด. บทว่า เนว สีล ปภินฺเทยฺย, วิกิรนิเต ภุส วิย คือพระโพธิ-

สัตว์คิดว่า แม้เมื่อร่างกายนี้กระจัดกระจายไปเหมือนแกลบ เราก็จะไม่ทำ-

ลายศีลอัน เป็นเหตุแห่งความสำเร็จประโยชน์สูงสุด. เราจะไม่คำนึงถึงร่าง

กายและชีวิต จะบำเพ็ญศีลบารมีเท่านั้น แล้วจะอดกลั้นทุกข์เช่นนั้นใน

กาลนั้น ท่านแสดงไว้ดังนี้.

ก็เมื่อพระมหาสัตว์ตกอยู่ในเงื้อมมือของหมองูครบเดือนพอดี. พระมหา-

สัตว์อดอาหารตลอดกาลประมาณเท่านั้น. นางสุมนาแลดูสระโบกขรณีด้วย

คิดว่า สามีของเราช้าเหลือเกิน. จะมีเหตุอะไรหนอครั้นเห็นน่ามีสีแดงก็รู้ว่า

สามีถูกหมองูจับจึงออกจากนาคพิภพไปใกล้จอมปลวกเห็นที่ที่พระมหาสัตว์

ถูกจับและที่ที่ถูกทรมาน จึงร้องไห้คร่ำครวญไปยังบ้านชายแดนถาม ครั้น

ทราบเรื่องราวแล้วก็ไปกรุงพาราณสี ยินร้องไห้อยู่บนอากาศใกล้ประตูพระ-

ราชวัง. พระมหาสัตว์กำลังฟ้อนอยู่ แหงนสู่อากาศเห็นนางสุมนา จึงละอาย

เข้าตะกร้านอน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 272

พระราชาในขณะที่พระโพธิสัตว์เข้าตะกร้า ทรงดำริว่า มีเหตุอะไร

หนอ ประทับยืนทอดพระเนตรดูข้างโน้นข้างนี้ทรงเห็นนางสุมนายืนอยู่บน

อากาศ ตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร ครั้นทรงทราบว่า นางเป็นนาคกัญญา

ทรงเข้าพระทัยว่า นาคราชคงเห็นนางนาคกัญญานี้ละอายเข้าตะกร้าไปโดย

ไม่ต้องสงสัย. ฤทธานุภาพตามที่ได้แสดงนี้เป็นของนาคราชเท่านั้นมิใช่ของ

หมองู จึงตรัสถามว่า นาคราชนี้มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้ตกไปสู่มือของ

พราหมณ์นี้ได้อย่างไร ทรงสดับว่า นาคราชนี้มีศีลประพฤติธรรมเข้าอยู่จำ

อุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ มอบร่างกายของตัวให้เป็นทาน นอนอยู่บน

ยอดจอมปลวกใกล้ทางหลวง. ถูกหมองูจับในที่นั้น. นาคราชนี้มีนาคกัญญา

ตั้งพันเปรียบด้วยนางเทพอัปสร. สมบัติในนาคพิภพเช่นกับสมบัติในเทว-

โลก. นาคราชนี้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สามารถพลิกแผ่นดินทั้งสิ้นได้.

นาคราชคิดอย่างเดียวว่า ศีลของเราจักขาด จึงยอมรับทุกข์อย่างรุนแรง

เห็นปานนี้ พระราชาทรงเกิดสังเวช ทันใดนั้นเองได้พระราชทานทรัพย์

เป็นอันมาก ยศและความอิสระอย่างใหญ่หลวงแก่พราหมณ์ แล้วทรงให้

ปล่อยด้วยพระดำรัสว่า เอาเถิดท่านพราหมณ์ผู้เจริญขอท่านจงปล่อยนาคราช

นี้เถิด.

พระมหาสัตว์ยังเพศนาคให้หายไปกลายเพศเป็นมาณพ ปรากฏดุจ

เทพกุมาร. แม้นางสุมนาก็ลงจากอากาศยืนอยู่ใกล้กับพระโพธิสัตว์นั้นถวาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 273

บังคมพระราชาทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอเชิญพระองค์เสด็จมาทอดพระเนตร

ที่อยู่ของข้าพระองค์เถิด. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

จัมเปยยกนาคราช พ้นออกมาแล้วจึง

ทูลกะพระราชาว่า ข้าแต่พระเจ้ากาสี ขอความ

นอบน้อมจงมีแด่พระองค์ ข้าแต่ท่านผู้ยัง

แคว้นกาสีให้เจริญ ขอความนอบน้อมจงมีแด่

พระองค์ ข้าพระองค์ขอถวายบังคมแด่พระ-

องค์ ขอพระองค์พึงเห็นนิเวศน์ของข้าพระองค์.

พระราชาทรงอนุญาตให้พญานาคกลับไปยังนาคพิภพ. พระมหาสัตว์พา

พระราชาพร้อมด้วยข้าราชบริพารไปยังนาคพิภพแสดงอิสสริยสมบัติของตน

อยู่ในนาคพิภพได้ ๒- ๓ วัน จึงให้ตีกลองป่าวประกาศว่า พวกข้าราชบริพาร

ทั้งหมดจงถือเอาทรัพย์มีเงินและทองเป็นต้นตามความต้องการ. มอบทรัพย์

ถวายพระราชา ๑๐๐ เล่มเกวียน. พระมหาสัตว์ถวายโอวาทด้วยราชธรรม-

กถา ๑๐ ประการ มีอาทิว่า ข้าแต่มหาราชธรรมดาพระราชาควรทรงบริจาค

ทาน. ควรรักษาศีล. ควรจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองเป็นธรรมในกิจ

ทั้งปวงแล้วส่งเสด็จกลับ. พระราชาเสด็จออกจากนาคพิภพด้วยพระยศ

อันใหญ่เสด็จถึงกรุงพาราณสี. ได้ยินว่าตั้งแต่นั้นมาในพื้นชมพูทวีปมีเงิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 274

และทองเป็นอันมาก. พระมหาสัตว์รักษาศีลกระทำอุโบสถกรรมทุกกึ่งเดือน

พร้อมด้วยบริษัทได้ไปบังเกิดบนสวรรค์.

หมองูในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. นางสุมนา คือมารดา

พระราหุล. อุคคเสนะ คือพระสารีบุตร. จับเปยยกนาคราช คือพระ-

โลกนาถ. แม้ในจริยานี้พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือของพระมหาสัตว์นั้น

ตามสมควร. อานุภาพอันน่าอัศจรรย์ของพระโพธิสัตว์ในที่นี้มีนัยดังกล่าว

แล้วในหนหลังนั่นแล.

จบ อรรถกถาจัมเปยยนาคจริยาที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 275

๔. จูฬโพธิจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของจูฬโพธิปริพาชก

[๑๔] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นบริพาชก

ชื่อจูฬโพธิ มีศีลงาม เราเห็นภพโดยเป็นสิ่ง

น่ากลัว จึงออกบวชเป็นดาบส นางพราหมณ์

ผู้มีผิวพรรณดังทองคำ ซึ่งเป็นภรรยาของเรา

แม้นางก็มิได้อาลัยในวัฏฏะ ออกบวชเป็น

ตาปสินี เราทั้งสองไม่มีความอาลัย ตัดพวก

พ้องขาด ไม่ห่วงใยในตระกูล และหมู่ญาติ

เที่ยวไปยังบ้านและนิคม มาถึงยังพระนคร

พาราณสี เราทั้งสองอยู่ ณ ที่นั้น มีปัญญา

ไม่เกี่ยวข้องในตระกูลและคณะ เราทั้งสอง

อยู่ในพระราชอุทยานอันไม่เกลื่อนกล่น สงัด

เสียง พระราชาเสด็จทอดพระเนตรพระราช-

อุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นนางพราหมณี

จึงเสด็จเข้ามาหาเราแล้วตรัสถามว่า นาง-

พราหมณีคนนี้เป็นอะไรกับท่าน เป็นภริยา

ของใคร เมื่อพระราชาตรัสถามอย่างนี้ เราได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 276

ทูลแก่พระองค์ดังนี้ว่า นางพราหมณีนี้มิใช่

ภริยาของอาตมภาพ เป็นผู้ประพฤติธรรม

ร่วมกัน เป็นผู้มีคำสอนร่วมกัน พระราชาทรง

กำหนัดหนักหน่วงในนางพราหมณีนั้น จึง

รับสั่งให้พวกราชาบุรุษจับ ทรงบีบคั้นด้วย

กำลังสั่งให้นำเข้าไปยังภายในพระนคร เมื่อ

ภริยาเก่าของเราเกิดร่วมกัน มีคำสอนร่วมกัน

ถูกฉุดคร่าไป ความโกรธพึงเกิดแก่เรา เรา

ระลึกถึงศีลวัตรได้พร้อมกับความโกรธที่เกิด

ขึ้น เราข่มความโกรธได้ ณ ที่นั้นเอง ไม่ให้

มันเจริญขึ้นไปอีก ถ้าใคร ๆ พึงเอาหอกอัน

คมกริบแทงนางพราหมณีนั้น เราก็ไม่พึงทำ

ลายศีลของเราเลย เพราะเหตุแห่งโพธิญาณ

เท่านั้น เราจักเกลียดนางพราหมณีนั้น

ก็หามิได้ และเราจะไม่มีกำลังก็หามิได้ เพราะ

พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้น

เราจึงรักษาศีลไว้ ฉะนี้แล.

จบ จูฬโพธิจริยาที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 277

อรรถกถาจูฬโพธิจริยาที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาจูฬโพธิจริยาที่ ๔ ดังต่อไปนี้. บทว่า

จูฬโพธิ ชื่อว่า จูฬโพธิท่านยกขึ้นในจริยานี้ หมายถึงอัตภาพของปริพาชก

ชื่อว่ามหาโพธิ. อนึ่ง ในชาดกนี้ไม่พึงเห็นว่า เพราะมีมหาโพธิพี่ชาย

เป็นต้นของตน. บทว่า สุสีลวา คือมีศีลด้วยดี อธิบายว่า ถึงพร้อม

ด้วยศีล. บทว่า ภว ทิสฺวาน ภยโต เห็นภพโดยเป็นของน่ากลัว คือ

เห็นภพมีกามภพเป็นต้น โดยความเป็นของพึงกลัว. ในบทว่า เนกฺขมฺม

นี้ พึงเห็นว่าลบ ศัพท์. ด้วยเหตุนั้น ควรยก บทว่า ทิสฺวาน เข้า

มาด้วยเป็น เนกฺขมฺม ทิสฺวาน คือเห็นเนกขัมมะ ดังนี้. บทนี้ท่าน

อธิบายว่า เห็นภพมีกามภพเป็นต้น แม้ทั้งปวงปรากฏโดยเป็นของน่ากลัว

ในสังสารวัฏ ด้วยการพิจารณาสังเวควัตถุ ๘ เหล่านี้ คือ ชาติชรา-

พยาธิมรณะ อบายทุกข์. ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอดีต ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูล

ในอนาคต. ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลในปัจจุบัน. ละเห็นเนกขัมมะ

แม้ ๓ อย่างนี้ คือ นิพพาน ๑ สมถวิปัสสนาอันเป็นอุบายแห่งนิพพาน

นั้น ๑ และบรรพชา อันเป็นอุบายแห่งสมถวิปัสสนานั้น ๑ โดยเป็น

ปฏิปักษ์ต่อภพนั้นด้วยญาณจักษุอันสำเร็จด้วยการฟังเป็นต้น แล้วจึงออก

จากความเป็นคฤหัสถ์อันอากูลด้วยโทษมากมาย ด้วยการบรรพชาเป็นดาบส

แล้วจึงไป. บทว่า ทุติยิกา คือภรรยาเก่า ได้แก่ภรรยาครั้งเป็นคฤหัสถ์.

บทว่า กนกสนฺนิภา คือมีผิวดังทองคำ. บทว่า วฏฺเฏ อนเปกฺขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 278

คือมิได้อาลัยในสังสารวัฏ บทว่า เนกฺขมฺม อภินิกฺขมิ คือออกจาก

เรือนเพื่อเนกขัมมะ. ได้แก่บวช. บทว่า อาลย ชื่อว่า อาลย เพราะ

เป็นเหตุให้ข้องคือตัณหา. ชื่อว่า นิราลย เพราะไม่มีตัณหา. ชื่อว่า

ฉินฺนพนฺธุ เพราะแต่นั้นก็ตัดความผูกพันคือตัณหาในญาติทั้งหลาย. พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงถึงความไม่มีการผูกพันในการครองเรือนอย่างนี้

แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงแสดงถึงความไม่มีแม้การผูกพันไร ๆ ของบรรพชิต

ทั้งหลาย จึงตรัสว่า อนเปกฺขา กุเล คเณ คือไม่เกี่ยวข้องในตระกูล

และคณะ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กุเล คือในตระกูลอุปัฏฐาก. บทว่า คเณ

คือในคณะดาบส. ท่านกล่าวชนที่เหลือว่าเป็นพรหมจารี. บทว่า อุปาคมุ

คือเราทั้งสองมาถึงกรุงพาราณสี. บทว่า ตตฺถ คือเขตแดนกรุงพาราณสี.

บทว่า นิปกา คือมีปัญญา. บทว่า นิรากุเล คือไม่วุ่นวายด้วยชน

ทั้งหลาย เพราะปราศจากชนเที่ยวไปมา. บทว่า อปฺปสทฺเท คือสงัด

เสียง เพราะปราศจากเสียงสัตว์ร้องโดยเป็นที่อยู่ของเนื้อและนกทั้งหลาย.

บทว่า วาชุยฺยาเน วสามุโภ คือในกาลนั้นเราทั้งสองอยู่ในพระราช-

อุทยานของพระเจ้ากรุงพาราณสี.

พึงทราบเรื่องราวเป็นลำดับดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 279

ในอดีตกาล ในภัทรกัปนี้แหละ พระโพธิสัตว์จุติจากพรหมโลก

บังเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ มีสมบัติมากตระกูลหนึ่งในกาสิคามแห่งหนึ่ง.

ครั้นถึงคราวตั้งชื่อ มารดาบิดาตั้งชื่อว่า โพธิกุมาร. เมื่อโพธิกุมารเจริญวัย

เขาไปสู่เมืองตักกสิลา เรียนศิลปะทุกสาขา เมื่อเขากลับมาทั้ง ๆ ที่เขาไม่

ปรารถนา มารดาบิดาได้นำกุลสตรีที่มีชาติเสมอกันมาให้. แม้กุลสตรีนั้นก็

จุติจากพรหมโลกเหมือนกัน มีรูปงดงาม เปรียบด้วยเทพอัปสร แม้ทั้งสอง

ไม่ปรารถนา มารดาบิดาก็ทำการอาวาหมงคลและวิวาทมงคลให้แก่กันและ

กัน ทั้งสองไม่เคยมีกิเลสร่วมกันเลย. แม้มองดูกันด้วยอำนาจราคะก็มิได้มี.

ไม่ต้องพูดถึงการร่วมเกี่ยวข้องกันละ. ทั้งสองมีศีลบริสุทธิ์ด้วยประการฉะนี้.

ครั้นต่อมา เมื่อมารดาบิดาถึงแก่กรรม พระโพธิสัตว์กระทำฌาปนกิจ

มารดาบิดาแล้วจึงเรียกภริยามากล่าวว่า นางผู้เจริญ แม่นางจงครองทรัพย์

๘๐ โกฏิ เลี้ยงชีพให้สบายเถิด. ภริยาถามว่า ท่านผู้เจริญก็ท่านเล่า.

พระมหาสัตว์ตอบว่า เราไม่ต้องการทรัพย์ เราจักบวช. นางถามว่า ก็

การบวชไม่สมควรแม้แก่สตรีหรือ. พระโพธิสัตว์ตอบว่า ควรซิแม่นาง.

นางตอบว่า ถ้าเช่นนั้นแม้ฉันก็ไม่ต้องการทรัพย์ ฉันจักบวชบ้าง. ทั้งสอง

สละสมบัติทั้งหมดให้ทานเป็นการใหญ่ ออกจากเมืองเข้าป่าแล้วบวช เลี้ยง

ตัวด้วยผลาผลที่แสวงหามาได้อยู่ ๑๐ ปี ด้วยความสุขในการบวชนั่นเอง

เที่ยวไปตามชนบทเพื่อต้องการเสพของมีรสเค็มและเปรี้ยว ถึงกรุงพาราณสี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 280

โดยลำดับ อาศัยอยู่ในพระราชอุทยาน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ราชุยฺยาเน วสามุโภ เราทั้งสองอยู่ในพระราชอุทยาน.

อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปชมพระราชอุทยาน ครั้นเสด็จถึงที่

ใกล้ดาบสดาบสินี ยังกาลเวลาให้น้อมไปด้วยความสุขในการบรรพชา ณ

ข้างหนึ่งแห่งพระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นปริพาชิกามีรูปงดงามยิ่งนัก

น่าเลื่อมใสอย่างยิ่ง มีพระทัยปฏิพัทธ์ด้วยอำนาจกิเลส ตรัสถามพระโพธิสัตว์

ว่า ปริพาชิกานี้เป็นอะไรกับท่าน. เมื่อพระโพธิสัตว์ทูลว่า มิได้เป็นอะไรกัน.

เป็นบรรพชิต ร่วมบรรพชากันอย่างเดียว. แต่เมื่อเป็นคฤหัสถ์ได้เป็น

ภริยาของอาตมา. พระราชาทรงดำริว่า ปริพาชิกานี้มิได้เป็นอะไรกับ

พระโพธิสัตว์. แต่เมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ได้เป็นภริยา. ถ้ากระไรเราจะนำ

ปริพาชิกานี้เข้าไปภายในเมือง. ด้วยเหตุนั้นแหละเราจักรู้การปฏิบัติของ

ปริพาชิกานี้ต่อพระโพธิสัตว์. พระราชาเป็นอันธพาล ไม่อาจห้ามจิตปฏิพัทธ์

ของพระองค์ในปริพาชิกานั้นได้ จึงรับสั่งกะราชบุรุษคนหนึ่งว่า จงนำ

ปริพาชิกานี้เข้าสู่ราชนิเวศน์.

ราชบุรุษรับพระบัญชาของพระราชาแล้ว กล่าวคำมีอาทิว่า อธรรม

ย่อมเป็นไปในโลก ได้พาปริพาชิกาซึ่งคร่ำครวญอยู่ไป. พระโพธิสัตว์สดับ

เสียงคร่ำครวญของปริพาชิกานั้น แลดูครั้งเดียวก็มิได้แลดูอีก. คิดว่า

หากว่าเราจักห้าม. อันตรายจักมีแก่ศีลของเรา เพราะจิตประทุษร้ายต่อคน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 281

เหล่านั้น จึงนั่งรำพึงถึงศีลบารมีอย่างเดียว. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า อุยฺยานทสฺสน คนฺตวา, ราชา อทฺทส พฺราหฺมณึ พระราชา

เสด็จทอดพระเนตรพระราชอุทยาน ได้ทรงเห็นนางพราหมณี เป็นอาทิ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตุยฺเหสา กา กสฺส ภริยา คือ

พราหมณีคนนี้เป็นอะไรกับท่าน เป็นภริยาหรือ. หรือว่าเป็นน้องสาว

หรือเป็นภริยาของใครอื่น. บทว่า น มยฺห ภริยา เอสา นางพราหมณี

นี้มิใช่ภรรยาของอาตมา คือ พราหมณีนี้ถึงจะเป็นภริยาเมื่อตอนอาตมา

เป็นคฤหัสถ์ก็จริง. แต่ตั้งแต่บวชแล้วมิใช่ภริยาของอาตมา. แม้อาตมาก็มิใช่

สามีของนาง. แต่ร่วมธรรม ร่วมคำสอนอันเดียวกันเท่านั้น. แม้อาตมา

ก็เป็นปริพาชก แม้หญิงนี้ก็เป็นปริพาชิกา เพราะเหตุนั้น จึงมีธรรม

เสมอกัน มีคำสอนร่วมกันด้วยคำสอนของปริพาชก. อธิบายว่า เป็นเพื่อน

พรหมจรรย์ด้วยกัน.

บทว่า ติสฺสา สารตฺตคธิโต พระราชาทรงกำหนัดหนักหน่วง

ในนางพราหมณีนั้น. คือทรงปฏิพัทธ์มีความกำหนัดด้วยกามราคะ. บทว่า

คาหาเปตฺวาน เจฏเก คือรับสั่งให้ราชบุรุษจับ ทรงบังคับราชบุรุษ

ของพระองค์ให้จับปริพาชิกานั้น. บทว่า นิปฺปีฬยนฺโต พลสา ทรงบีบ

คั้นด้วยกำลัง คือทรงบีบบังคับปริพาชิกานั้นผู้ไม่ปรารถนาด้วยการฉุดคร่า

เป็นต้น. อนึ่ง รับสั่งให้ราชบุรุษจับปริพาชิกาผู้ไม่ไปด้วยพลการ แล้วให้

เข้าไปภายในเมือง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 282

บทว่า โอทปตฺตกิยา คือหญิงที่พราหมณ์ - หลั่งน้ำแล้วรับไว้เป็น

ภริยา ชื่อว่า โอทปตฺติกา. คำนี้พึงเห็นเพียงเข้าไปกำหนดโดยความเป็น

ภริยาเก่า. อนึ่ง หญิงนั้นอันมารดาบิดายกให้แก่ชายด้วยพราหมณวิวาหะ.

อนึ่ง บทว่า โอทปตฺตกิยา เป็นสัตตมีวิภัตติ์ลงในภาวลักษณะโดยภาวะ.

บทว่า สหชาตา คือเกิดร่วมกันด้วยเกิดในบรรพชา. ดังที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เอกสาสนี คือคำสอนร่วมกัน. อนึ่ง บทว่า

เอกสาสนี นี้ เป็นปฐมาวิภัตติ์ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ์ คือในคำสอน

อันเดียวกัน. บทว่า นยนฺติยา คือนำเข้าไป. บทว่า โกโป เม อุปฺปชฺชถ

ความโกรธเกิดขึ้นแก่เรา คือ พราหมณีนี้เป็นผู้มีศีล เป็นภริยาของท่านเมื่อ

ครั้งเป็นคฤหัสถ์. ครั้นบวชแล้วเป็นน้องสาวเกิดร่วมโดยความเป็นเพื่อน

พรหมจรรย์. พราหมณีนั้นถูกราชบุรุษฉุดเข้าไปโดยพลการต่อหน้าท่าน.

ความโกรธที่นอนเนื่องอยู่ช้านาน ได้ผุดขึ้นด้วยมานะของลูกผู้ชายว่า ดูก่อน

โพธิพราหมณ์ ท่านเป็นลูกผู้ชายเสียเปล่า ดังนี้จะพลันเกิดขึ้นจากใจของเรา

ดุจอสรพิษถูกบุรุษคนใดคนหนึ่งฉุดครูดออกจากปล่องจอมปลวกแผ่แม่เบี้ย

เสียงดัง สุสุ ดังนี้. บทว่า สหโกเป สมุปฺปนฺเน คือพร้อมกับความ

โกรธที่เกิดขึ้น. อธิบายว่า ในลำดับของความโกรธที่เกิดขึ้นนั้นเอง. บทว่า

สีลพฺพตมนุสฺสรึ เราระลึกถึงศีลวัตร คือระลึกถึงศีลบารมีของตน. บทว่า

ตตฺเถว โกป นิคฺคณฺหึ เราข่มความโกรธได้ ณ ที่นั้นเอง คือตามที่เรา

นั่งบนอาสนะนั้นนั่นเอง เราห้ามความโกรธนั้นได้. บทว่า นาทาสึ

วฑฺฒิตูปริ ไม่ให้มันเจริญขึ้นไปอีก คือไม่ให้มันเจริญยิ่งขึ้นไปกว่าที่เกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 283

ขึ้นครั้งแรกนั้น. บทนี้ท่านอธิบายไว้ว่า เพียงเมื่อความโกรธเกิดขึ้นนั่นเอง

เราบริภาษตนว่า ดูก่อนโพธิปริพาชก ท่านบำเพ็ญบารมีทั้งปวงประสงค์

จะรู้แจ้งแทงตลอด พระสัพพัญญุตญาณมิใช่หรือ. อะไรกันนี่แม้เพียงศีล

ท่านยังเผลอเรอได้. ความเผลอเรอนี้ย่อมเป็นดุจความที่โคทั้งหลายประสงค์

จะไปยังฝั่งโน้นแห่งมหาสมุทรอันจมอยู่ในน้ำกรดฉะนั้น ในขณะนั้นเอง

ข่มความโกรธไว้ได้ด้วยกำลังแห่งการพิจารณา ไม่ให้ความโกรธนั้นเจริญ

ด้วยการเกิดขึ้นอีก. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ยทิ น พราหมณึ

เป็นอาทิ.

บทนั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ พระราชาหรือใคร ๆ อื่นเอาหอกอัน

คมคริบแทงนางพราหมณีปริพาชิกานั้น. หากตัดให้เป็นชิ้น ๆ แม้เมื่อเป็น

อย่างนี้ เราก็ไม่พึงทำลายศีล คือศีลบารมีของตนเลย. เพราะเหตุไร ?

เพราะเหตุแห่งโพธิญาณเท่านั้น คือสามารถบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วย

ศีลไม่ขาดในที่ทั้งปวง มิใช่ด้วยเหตุนอกเหนือจากนี้.

บทว่า น เม สา พฺราหฺมณี เทสฺสา เราจะเกลียดนางพราหมณี

นั้นก็หามิได้ คือ นางพราหมณีนั้นเป็นที่เกลียดชังของเราก็หามิได้ ไม่เป็น

ที่รักของเราก็หามิได้ โดยประการทั้งปวง คือ โดยชาติ ด้วยโคตร โดย

ประกาศของตระกูล โดยมารยาท และโดยคุณสมบัติมีบรรพชาเป็นต้นที่

สะสมมานาน. ไม่มีอะไรที่จะทำให้เราไม่รักนางพราหมณีนี้. บทว่า นปิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 284

เม พล น วิชฺชติ เราจะไม่มีกำลังก็หามิได้ คือ กำลังของเราจะไม่มี

ก็หามิได้. มีอยู่มากทีเดียว. เรามีกำลังดุจช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง

ปรารถนาอยู่สามารถจะลุกขึ้นฉับพลัน แล้วบดขยี้บุรุษที่ฉุดนางพราหมณี

นั้น แล้วจับบุรุษนั้นไปยังที่ต้องการจะไปได้ ท่านแสดงไว้ดังนี้. บทว่า

สพฺพญฺญุต ปิย มยฺห พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา คือพระ-

สัพพัญญุตญาณเท่านั้น เป็นที่รักของเรายิ่งกว่านางปริพาชิกานั้นร้อยเท่า

พันเท่า แสนเท่า. บทว่า ตสฺมา สีลานุรกฺขิสฺส คือด้วยเหตุนั้นเรา

จึงรักษาศีลไว้.

ลำดับนั้น พระราชาไม่ทรงทำให้ชักช้าในพระราชอุทยานรีบเสด็จไป

โดยเร็วเท่าที่จะเร็วได้ ตรัสให้เรียกนางปริพาชิกานั้นมาแล้วทรงมอบยศให้

เป็นอันมาก. นางปริพาชิกานั้นกล่าวถึงโทษของยศ คุณของบรรพชา และ

ความที่ตนและพระโพธิสัตว์ละกองโภคสมบัติ อันมหาศาล แล้วบวชด้วยความ

สังเวช. พระราชา เมื่อไม่ทรงได้นางนั้นสมพระทัยโดยอุบายใด ๆ จึงทรง

ดำริว่า ปริพาชิกาผู้นี้ มีศีล มีกัลยาณธรรม แม้ปริพาชกนั้น เมื่อปริพาชิกา

นี้ถูกฉุดนำมาก็มิได้แสดงอาการผิดปกติแต่อย่างใดเลย. ไม่คำนึงถึงอะไร

ทั้งหมด. การทำสิ่งผิดปกติในผู้มีคุณธรรมเห็นปานนี้ ไม่สมควรแก่เราเลย.

เอาเถิดเราจะพาปริพาชิกานี้ไปยังอุทยานแล้วขอขมาปริพาชิกานี้และปริพา-

ชกนั้น. ครั้นพระราชาทรงดำริอย่างนี้แล้วรับสั่งกะราชบุรุษว่า พวกเจ้า

จงนำปริพาชิกานี้มายังอุทยาน พระองค์เองเสด็จไปก่อน ทรงเข้าไปหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 285

พระโพธิสัตว์ตรัสถามว่า ท่านบรรพชิตผู้เจริญ เมื่อข้าพเจ้านำปริพาชิกา

นั้นไปพระคุณท่านโกรธหรือเปล่า. พระมหาสัตว์ถวายพระพรว่า :-

ความโกรธเกิดแก่อาตมาแต่ไม่ปล่อย

ออก อาตมาจะไม่ปล่อยออกตราบเท่าชีวิต

อาตมาจะห้ามทันที เหมือนฝนตกหนังท่าน

เสียซึ่งธุลีฉะนั้นดังนี้.

พระราชาครั้นสดับดังนั้นแล้วทรงดำริว่า ปริพาชกนี้กล่าวหมายถึง

ความโกรธอย่างเดียว หรืออะไรอื่นมีศิลปะเป็นต้น จึงตรัสถานต่อไปว่า :-

อะไรเกิดแก่พระคุณท่าน พระคุณท่าน

ไม่ปล่อย พระคุณท่านไม่ปล่อยอะไรตลอด

ชีวิต พระคุณท่านห้ามความโกรธนั้นอย่างไร

ดุจฝนตกหนักห้ามธุลีฉะนั้นดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปชฺชิ เกิดขึ้นแล้ว คือ ความโกรธ

เกิดขึ้นครั้งเดียว ไม่เกิดอีก. บทว่า น มุจฺจิตฺถ ไม่ปล่อย คือไม่ปล่อย

ออกด้วยให้เกิดกายวิการและวจีวิการ. อธิบายว่า ไม่ปล่อยความโกรธนั้น

ให้เป็นไปในภายนอก. บทว่า รชว วิปุลา วุฏฺิ ความว่า อาตมาระงับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 286

ความโกรธนั้น ห้ามไว้ เหมือนสายฝนในมิใช่ฤดูกาลตกอย่างหนักขจัดธุลี

อันเกิดขึ้นในเดือนสุดท้ายของฤดูร้อนเป็นปกติ ฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระมหาบุรุษเมื่อจะประกาศโทษของความโกรธ โดย

ประการต่าง ๆ แด่พระราชานั้น จึงแสดงธรรมด้วยคาถาเหล่านี้ว่า :-

เมื่อความโกรธใดเกิดขึ้น ย่อมไม่เห็น

ประโยชน์ เมื่อความโกรธไม่เกิดย่อมเห็น

เป็นอย่างดี. ความโกรธนั้นเป็นโคจรของตน

ไร้ปัญญา เกิดขึ้นแก่อาตมา อาตมาใช่ปล่อย

ออก. เหล่าอมิตรผู้แสวงหาทุกข์ ย่อมยินดี

ด้วยความโกรธใดที่เกิดแล้ว ความโกรธนั้น

เป็นโคจรของคนไร้ปัญญา เกิดขึ้นแล้วแก่

อาตมา อาตมาไม่ปล่อยออก. อนึ่ง เมื่อ

ความโกรธใดเกิดขึ้นบุคคลย่อมไม่รู้สึกถึง

ประโยชน์ตน ความโกรธนั้นเป็นโคจรของ

คนไร้ปัญญา เกิดขึ้นแก่อาตมา อาตมาไม่

ปล่อยออก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 287

บุคคลถูกความโกรธใดครอบงำ ย่อม

ละกุสลธรรมกำจัดประโยชน์แม้ในมูลออกไป

เสีย. มหาบพิตรความโกรธนั้น เป็นเสนาของ

ความน่ากลัว มีกำลังย่ำยีสัตว์ อาตมาไม่

ปล่อยออกไป.

เมื่อไม้ถูกสี ไฟย่อมเกิด. ไฟย่อมเผา

ไม้นั้น. เพราะไฟเกิดแต่ไม้. เมื่อคนปัญญา

อ่อน โง่ เซ่อ ความโกรธย่อมเกิดเพราะความ

ฉุนเฉียว คนพาลแม้นั้นก็ย่อมถูกความโกรธ

นั้นเผาผลาญ ความโกรธย่อมเจริญแก่ผู้ใด

เหมือนไฟที่หญ้าและไม้ ยศของผู้นั้นย่อม

เสื่อมเหมือนดวงจันทร์ในวันข้างแรม ฉะนั้น.

ความโกรธของผู้ใดสงบ เหมือนไฟไม่

มีเชื้อ ยศของผู้นั้นย่อมเต็มเปี่ยมเหมือน

ดวงจันทร์ในวันข้างขึ้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า น ปสฺสติ คือแม้ประโยชน์ตนก็ไม่เห็น

ไม่ต้องพูดถึงประโยชน์ผู้อื่นละ. บทว่า สาธุ ปสฺสติ คือย่อมเห็นทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 288

ประโยชน์ตน ทั้งประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสอง โดยชอบนั่นเอง.

บทว่า ทุมฺเมธโคจโร คือเป็นวิสัยของคนไร้ปัญญา หรือเป็นโคจรที่ไร้

ปัญญา หรือมีเชื้อไฟเป็นอาหาร เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ทุมฺเมธโคจโร.

บทว่า ทุกฺขเมสิโน คือปรารถนาทุกข์. บทว่า สทตฺถ คือความเจริญ

อันเป็นประโยชน์ของตน. บทว่า ปรกฺกเร คือพึงนำออกไป ทำให้หมด

ไป. บทว่า ส ภีมเสโน ความโกรธนั้นเป็นเสนาของความน่ากลัว คือ

ความโกรธนั้นประกอบด้วยเสนาของกิเลสใหญ่ให้เกิดความน่ากลัว. บทว่า

ปมทฺที คือมีปกติย่ำยีสัตว์ทั้งหลายด้วยความมีกำลัง. บทว่า น เม อมุจฺจถ

คือความโกรธนั้นไม่ได้ซึ่งความพ้นไปจากสำนักของเรา. เราทรมานไว้

ในภายในนั่นเอง. อธิบายว่า ทำให้หมดพยศ. หรือว่าตั้งใจด้วยความ

เป็นนมส้มครู่หนึ่งดุจน้ำนม ฉะนั้น.

บทว่า มนฺถมานสฺมึ คือสีไม้เอาไฟ. ปาฐะว่า มถมานสฺมึ บ้าง.

บทว่า ยสฺมา คือแต่ไม้ใด. บทว่า คินิ คือไฟ. บทว่า พาลสฺส

อวิชานโต คือคนพาล คนโง่. บทว่า สารมฺภา ชายเต เกิดเพราะ

ความฉุนเฉียว คือความโกรธย่อมเกิดเพราะความฉุนเฉียว อันมีลักษณะ

ทำมากเกินไป เหมือนไฟเกิดเพราะไม้สีไฟฉะนั้น. บทว่า สปิ เตเนว

คือคนพาลแม้นั้นย่อมถูกความโกรธเผา เหมือนไม้ถูกไฟฉะนั้น. บทว่า

อนินฺโธ ธูมเกตุว คือดุจไฟไม่มีเชื้อฉะนั้น. บทว่า ตสฺส คือยศ ที่ได้

แล้วย่อมเพิ่มพูนต่อ ๆ ไปแก่บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความอดกลั้นนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 289

พระราชาครั้นทรงสดับธรรมกถาของพระมหาสัตว์แล้ว ทรงขอขมา

พระมหาบุรุษ แม้นางปริพาชิกา ผู้มาจากพระราชวัง ตรัสว่าขอพระคุณ

ท่านทั้งสองเสวยสุขในการบรรพชาอยู่ในอุทยานนี้เถิด. ข้าพเจ้าจักทำการ

รักษา ป้องกัน คุ้มครองอันเป็นธรรมแก่พระคุณท่านทั้งสอง นมัสการ

แล้วเสด็จกลับ. ปริพาชกและปริพาชิกาทั้งสองอาศัยอยู่ในพระราชอุทยาน

นั้นเอง. ต่อมานางปริพาชิกาได้ถึงแก่กรรม. พระโพธิสัตว์เข้าไปยังป่า

หิมพานต์ ยังฌานและอภิญญาให้เกิด เมื่อสิ้นอายุก็ได้ไปสู่พรหมโลก.

นางปริพาชิกาในครั้งนั้นได้เป็นมารดาพระราหุลในครั้งนี้. พระราชา

คือพระอานนทเถระ. โพธิปริพาชก คือพระโลกนาถ.

แม้ในจูฬโพธิจริยานี้ พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือของพระ-

โพธิสัตว์ตามสมควร. อนึ่ง พึงประกาศคุณานุภาพแห่งพระมหาบุรุษไว้ใน

ที่นี้มีอาทิอย่างนี้คือ การละกองโภคะใหญ่ และวงศ์ญาติใหญ่ ออกจาก

เรือน เช่นเดียวกับออกมหาภิเนษกรมณ์. การออกไปอย่างนั้นแล้วตั้งใจ

เป็นบรรพชิตที่ชนเป็นอันมากสมมติ ไม่เกี่ยวข้องในตระกูลในคณะ เพราะ

เป็นผู้มักน้อยเป็นอย่างยิ่ง. ความยินดียิ่งในความสงัด เพราะรังเกียจลาภ

และสักการะ โดยส่วนเดียวเท่านั้น. การประพฤติขัดเกลากิเลสอัน

เป็นความดียอดยิ่ง. การนึกถึงศีลบารมีไม่แสดงความโกรธเคืองเมื่อนาง

ปริพาชิกา ผู้มีกัลยาณธรรมมีศีลถึงปานนั้นถูกราชบุรุษจับไปโดยพลการ

ต่อหน้าตนซึ่งไม่ได้อนุญาต. และเมื่อพระราชาทรงรู้พระองค์ว่า ทรงทำผิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 290

จึงเสด็จเข้าไปหา การตั้งจิตบำเพ็ญประโยชน์และถวายคำสั่งสอน ด้วย

ประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในภพหน้า. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า :-

เอว อจฺฉริยา เหเต ฯลฯ ธมฺมสฺส อนุธมฺมโต

มีใจความดังได้กล่าวแล้วข้างต้น.

จบ อรรถกถาจูฬโพธิจริยาที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 291

๕. มหิสราชจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยากระบือ

[๑๕] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นกระบือ

เที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ มีกายอ้วนพี มีกำลังมาก

ใหญ่โต ดูน่ากลัวพิลึก ประเทศไร ๆ ในป่า

ใหญ่นี้อันเป็นที่อยู่ของฝูงกระบือ มีอยู่ที่เงื้อม

เขาก็ดี ที่ซอกห้วยธารเขาก็ดี ที่โคนไม้ก็ดี

ที่ใกล้บึงก็ดี เราเที่ยวไปในที่นั้น ๆ เมื่อเรา

เที่ยวไปในป่าใหญ่ ได้เห็นสถานที่อันเจริญ

เราจึงเข้าไปสู่ที่นั้น แล้วยืนพักอยู่และนอนอยู่

ครั้งนั้น ลิงป่าผู้ลามก หลุดหลิก ล่อกแล่ก

มา ณ ที่นั้น ถ่ายอุจจาระปัสสาวะรดเราที่คอ

ที่หน้าผาก ที่คิ้ว ย่อมเบียดเบียนเราวันหนึ่ง

ครั้งหนึ่ง วันที่ ๒ วันที่ ๓ แม้วันที่ ๔ ก็วัน

ละครั้ง เราจึงเป็นผู้อันลิงนั้นเบียดเบียนตลอด

กาลทั้งปวง เทวดาเห็นเราถูกลิงเบียดเบียน

ได้กล่าวกะเราดังนี้ว่า ท่านจงยังลิงลามกตัวนี้

ให้ฉิบทายตานโหงเสีย ด้วยเขาและกีบเถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 292

เมื่อเทวดากล่าวอย่างนี้ในครั้งนั้นแล้ว เราได้

ตอบเทวดานั้นว่าเหตุไร ท่านจะให้เราเปื้อน

ซากศพอันลามกไม่เจริญเล่า ถ้าเราฟังโกรธ

ต่อลิงนั้น เราก็ฟังเป็นผู้เลวกว่ามัน ศีลของ

เราก็จะฟังแตก และวิญญูชนทั้งหลายก็จะฟัง

ติเตียนเรา เราเป็นผู้บริสุทธิ์ ตายด้วยความ

บริสุทธิ์ ยังประเสริฐ ว่าความเป็นอยู่ที่น่า

ละอายเสียอีก อย่างไรเราจักเบียดเบียนผู้อื่น

แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตเล่า บุคคลผู้มีปัญญา

อดกลั้นคำดูหมิ่นในเพราะของคนเลว คน

ปานกลางและคนชั้นสูง ย่อมได้อย่างนี้ตามใจ

ปรารถนา ฉะนี้แล.

จบ มหิสราชจริยาที่ ๕

อรรถกถามหิสราชจริยาที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถามหิสราชจริยาที่ ๕ ดังต่อไปนี้. บทว่า

มหึโส ปวนจารโก โยชนาแก้ว่าในกาลเมื่อเราเป็นกระบือป่าเที่ยวอยู่ใน

ป่าใหญ่. บทว่า ปวฑฺฒกาโย มีกายอ้วนพี คือมีกายเติบใหญ่ด้วยวัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 293

สมบูรณ์และด้วยความอ้วนของอวัยวะน้อยใหญ่. บทว่า พลวา คือมีกำลัง

มาก สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง. บทว่า มหนฺโต คือมีร่างใหญ่. นัยว่ากาย

ของพระโพธิสัตว์ในครั้งนั้นประมาณเท่าช้างหนุ่ม. บทว่า ภีมทสฺสโน

ดูน่ากลัวพิลึก คือดูน่ากลัวเพราะให้เกิดความกลัวแก่ผู้ไม่รู้จักศีล เพราะ

ร่างใหญ่โตและเพราะเป็นกระบือป่า. บทว่า ปพฺภาเร คือที่เงื้อมเขามีหิน

ย้อย. บทว่า ทกาสเย คือที่ใกล้บึง. บทว่า โทเตตถุ าน คือในป่า

ใหญ่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของกระบือป่า. บทว่า ตหึ ตหึ คือในป่านั้น ๆ.

บทว่า วิจรนฺโต คือเที่ยวไปเพื่อหาความผาสุกในการอยู่. บทว่า าน

อทฺทส ภทฺทก ได้เห็นสถานที่อันเจริญ คือเมื่อเราเที่ยวไปอย่างนี้ได้เห็น

สถานที่โคนไม้อันเป็นที่เจริญในป่าใหญ่นั้น เป็นความผาสุกของเรา. ครั้น

เห็นแล้วเราจึงเข้าไปยังที่นั้น ยืนและนอน หาอาหารในตอนกลางวันแล้วไป

ยังโคนต้นไม้นั้น ยังกาลเวลาให้ล่วงไปด้วยการยืนและการนอน. ท่านแสดง

ไว้ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์ บังเกิดในกำเนิดกระบือใน

หิมวันตประเทศ ครั้นเจริญวัย สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรงมีร่างใหญ่ประมาน

เท่าช้างหนุ่มเที่ยวไปตามเชิงเขา เงื้อมเขา ซอกเขา ป่าและห้วยเป็นต้น

เห็นโคนต้นไม้ใหญ่น่าสบายต้นหนึ่ง หาอาหารแล้วก็มาอาศัยอยู่ที่โคน

ต้นไม้นั้นในเวลากลางวัน. ครั้งนั้นมีลิงลามกตัวหนึ่งลงจากต้นไม้ขึ้นหลัง

พระมหาสัตว์ ถ่ายอุจจาระปัสสาวะรด จับเขาโหนตัว จับหางเล่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 294

ห้อยโหน. พระโพธิสัตว์ไม่สนใจการทำอนาจารของลิงนั้น เพราะถึงพร้อม

ด้วย ขันติ เมตตาและความเอ็นดู. ลิงยิ่งกำเริบทำอย่างนั้นบ่อย ๆ. ดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อเถตฺถ กปิ มาคนฺตฺวา คือลิงมา ณ ที่นั้น.

อักษรเป็นบทสนธิ. บทว่า ปาโป คือลามก. บทว่า อนริโย คือ

ลิงนั้นเหลาะแหละด้วยความประพฤติ ในความเสื่อมและด้วยไม่ประพฤติใน

ความเจริญ อธิบายว่ามีมารยาทเลว. บทว่า ลหุ คือ ล่อกแล่ก. บทว่า

ขนฺเธ คือที่ลำคอ. บทว่า มุตฺเตติ คือถ่ายปัสสาวะ. บทว่า โอหเนติ

คือถ่ายอุจจาระ. บทว่า ต คือ ม ได้แก่ เราผู้เป็นกระบือในครั้งนั้น.

บทว่า สกิมฺปิ ทวส คือ เบียดเบียนเราวันหนึ่งบ้างตลอดกาล

ทั้งปวงบ้าง. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ทูเสติ ม สพฺพกาล

เบียดเบียนเราตลอดกาลทั้งปวง. คือไม่เบียดเบียนเราเพียง ๒ วัน ๓ วัน

๔ วัน ที่แท้เบียดเบียนเราด้วยการถ่ายปัสสาวะเป็นต้นแม้ตลอดกาลทั้งปวง.

ท่านแสดงไว้ว่า ลิงนั้นขึ้นหลังเราในเวลาที่จะถ่ายปัสสาวะเป็นต้นเท่านั้น.

บทว่า อุปทฺทุโต คือเบียดเบียน. อธิบายว่าเราถูกลิงนั้นเบียดเบียนด้วย

การห้อยโหนเป็นต้นที่เขา ด้วยการเอาของสกปรกมีปัสสาวะเป็นต้นมา และ

ด้วยรดน้ำปนเปือกตมและฝุ่นล้างหลายครั้งที่ปลายเขา และปลายหางเพื่อ

นำสิ่งสกปรกออก. บทว่า ยกฺโข คือเทวดาที่สิงสถิตอยู่บนต้นไม้นั้น. บทว่า

ม อิทมพฺรวิ คือเทวดาที่สิงสถิตอยู่บนต้นไม้ เมื่อจะประกาศเนื้อความนี้ว่า

๑. ในอรรถกถาเป็น โอทเทติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 295

ท่านมหิสราชเพราะเหตุไรท่านจึงอดทนความดูแคลนของลิงชั่วนี้อยู่ได้ จึง

ได้กล่าวคำนี้กะเราว่า ท่านจงยังลิงลามกตัวนี้ให้ฉิบหายเสียด้วยเขาและกีบ

เถิด.

บทว่า เอว วุตฺเต ตทา ยกฺเข คือเมื่อเทวดากล่าวอย่างนี้ในกาล

นั้นแล้ว. บทว่า อห ต อิทมพฺรวึ คือเราได้กล่าวตอบกะเทวดานั้นผู้

กล่าวอยู่. บทว่า กุณเปน คือด้วยซากศพเพราะเป็นสิ่งน่าเกลียดอย่างยิ่ง

ของคนดีมีชาติสะอาดด้วยการไหลออกแห่งอสุจิ คือกิเลสและเพราะเป็นเช่น

กับซากศพ ด้วยมีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป. บทว่า ปาเปน คือ ลามกด้วยการ

ฆ่าสัตว์. บทว่า อนริเยน ท่านแสดงไว้ว่า ท่านเทวดาเพราะเหตุไรท่าน

จึงดูแคลนเราด้วยสิ่งอันไม่เจริญ เพราะเป็นธรรมของตนเลวมีพรานเนื้อ

เป็นต้น ผู้ไม่เจริญไม่ใช่คนดี ถ้อยคำที่ท่านกล่าวชักชวนเราในความชั่วนั้น

ไม่สมควรเลย.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศโทษในธรรมอันลามก

นั้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ยทิห ดังนี้.

บทนั้นมีความดังต่อไปนี้ ท่านเทวดาผู้เจริญ ผิว่าเราโกรธลิงนั้น.

เราก็เลวกว่ามัน. เพราะลิงนั้นเป็นลิงพา เป็นลิงเลว ด้วยไม่ประพฤติ

ธรรม. หากเราพึงประพฤติธรรมลามกอันมีกำลังกว่าลิงนั้น. เราก็จะพึง

เป็นผู้ลามกกว่าลิงนั้นด้วยเหตุนั้นมิใช่หรือ. ข้อที่เรารู้โลกนี้โลกหน้าอย่างดี

ยิ่ง แล้วดำรงอยู่ได้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นโดยส่วนเดียวเท่านั้น พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 296

ประพฤติธรรมลามกเห็นปานนั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้นอีก.

มีซิ. บทว่า สีลญฺจ เม ปภิชฺเชยฺย ศีลของเราก็จะพึงแตก คือ เราพึง

ทำความลามกเห็นปานนั้น. ศีลบารมีของเราจะพึงแตก. บทว่า วิญฺญู จ

ครเหยฺยุ ม คือ เทวดาและมนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตจะพึงติเตียนเราได้ว่า พ่อแม่

พี่น้องทั้งหลาย จงดูพระโพธิสัตว์นี้เที่ยวแสวงหาโพธิญาณ ได้ทำความชั่ว

เห็นปานนี้แล้ว.

บทว่า หีฬิตา ชีวิตา วาปิ. วา ศัพท์ เป็นอวธารณะ. อธิบายว่า

ตายด้วยความบริสุทธิ์ คือ เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ยังประเสริฐ อุดมดีกว่ามีชีวิต

อยู่ ถูกวิญญูชนทั้งหลายติฉินนินทาด้วยประการฉะนี้. บทว่า กฺยาห

ชีวิตเหตูปิ, กาหามิ ปรเหน อย่างไรเราจักเบียดเบียนผู้อื่นแม้เพราะเหตุ

แห่งชีวิตเล่า คือ เมื่อเรารู้อยู่อย่างนี้เราจักทำการเบียดเบียนสัตว์อื่น เอา

ชีวิตของเราเป็นเดิมพันได้อย่างไรเล่า อธิบายว่า ไม่มีเหตุในการทำความ

เบียดเบียนนี้.

กระบือกล่าวว่า ลิงนี้สำคัญสัตว์อื่นว่า เป็นเหมือนเราจักทำอนาจาร

อย่างนี้. แต่นั้นกระบือที่ดุจักฆ่าลิงที่ทำไปอย่างนั้นเสีย. การตายของลิงนี้

ด้วยสัตว์อื่นจักเป็นอันพ้นจากทุกข์และจากการฆ่าสัตว์ของเรา.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 297

ลิงนี้จะสำคัญสัตว์อันเป็นเหมือนเรา จัก

ทำอย่างนี้ แม้แก่สัตว์อื่นบ้าง. สัตว์เหล่านั้น

จัดฆ่าลงนั้นเสีย. ความตายของลิงนั้นจักเป็น

อันพ้นเราไปดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า มเมวาย ตัดบทเป็น ม อิว อย. บทว่า

อญฺเปิ คือ แม้แก่สัตว์เหล่าอื่น. บทที่เหลือมีความดังได้กล่าวแล้ว

บทว่า หีนมชฺฌิมอุกฺกฏฺเ คือ เป็นนิมิตในเพราะของตนเลว

คนปานกลางและคนชั้นสูง. บทว่า สทนฺโต อวมานิต คือ อดกลั้นคำ

ดูหมิ่นเหยียดหยามที่คนเหล่านั้นมิได้จำแนกไว้เป็นไปแล้ว. บทว่า เอว

ลภติ สปฺปญฺโ คนมีปัญญามิได้ทำการจำแนกในคนเลวเป็นต้นอย่างนี้

เข้าไปตั้งขันติ เมตตาและความเอ็นดูไว้ อดกลั้นความผิดนั้น เพิ่มพูนศีล

บารมีเป็นต้น ย่อมได้คือแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ ตามใจปรารถนา คือ

ตามต้องการ. ความปรารถนาของเขานั้นอยู่ไม่ไกลนัก ด้วยประการฉะนี้.

พระมหาสัตว์เมื่อจะประกาศอัธยาศัยของตนอย่างนี้ จึงแสดงธรรม

แก่เทวดา. กระบือนั้นล่วงไป ๒-๓ วัน ก็ได้ไปที่อื่น. กระบือดุตัวอื่นได้

ไปตั้งหลักฐานอยู่ ณ ที่นั้นเพราะเป็นที่อยู่สบาย. ลิงชั่วสำคัญว่ากระบือตัวนี้

ก็คือกระบือตัวนั้นนั่นเองจึงขึ้นหลังกระบือดุนั้น แล้วได้ทำอนาจารในที่นั้น

อย่างเดียวกัน. กระบือตัวนั้นจึงสลัดลิงให้ตกลงบนพื้นดินเอาเขาขวิดที่

หัวใจ เอาเท้าเหยียบจนแหลกเหลวไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 298

มหิสราชในครั้งนั้น พระโลกนาถในครั้งนี้.

แม้ในมหิสราชสะจุริยานี้ พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือของพระ-

โพธิสัตว์นั้นตามสมควรโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. อนึ่งพึงทราบ

คุณานุภาพของพระมหาสัตว์ในจริยานี้ ดุจในหัตถินาคจริยา ภูริทัตตจริยา

จัมเปยยจริยา และนาคราชจริยา.

จบอรรถกถามหิสราชจริยาที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 299

๖. รุรุมิคจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาเนื้อ

[๑๖] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระยาเนื้อ

ชื่อรุรุ มีขนสีเหลืองคล้ายหลอมทองคำ ประ-

กอบด้วยศีลอันบริสุทธิ์ยิ่ง เราเข้าไปอาศัยอยู่

ณ ประเทศน่ารื่นรมย์ เป็นรมณียสถาน สงัด

เงียบปราศจากมนุษย์ เป็นที่ยินดีแห่งใจ ใกล้

ฝั่งคงคา ครั้งนั้น บุรุษถูกเจ้าหนี้ทวงถาม จึง

โดดลงในแม่น้ำ ในกระแสน้ำข้างเหนือ ด้วย

โดดว่า เราจะเป็นหรือตายก็ตามที เขาถูกกระแส

น้ำพัดไปในแม่น้ำใหญ่ ตลอดคืน ตลอดวัน

ร้องไห้คร่ำครวญขอความช่วยเหลือ ลอยไปใน

ท่ามกลางคงคา เราฟังเสียงของเขาผู้ร้องไห้คร่ำ

ครวญขอความช่วยเหลือแล้ว ไปยืนอยู่ที่ฝั่ง

คงคา ได้ถามว่า ท่านเป็นใคร เขาอันเราถาม

แล้ว ได้แจ้งเหตุของตนในกาลนั้นว่า เราเป็น

ผู้ถูกเจ้าหนี้ทำให้สะดุ้งกลัว จึงแล่นมายังมหา-

นทีนี้ เราทำความกรุณาแก่เขา สละชีวิตของเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 300

ว่ายน้ำไปนำเขามาในเวลากลางคืนข้างแรม เรา

รู้กาลว่า เขาหายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าแล้วได้

กล่าวกะเขาดังนี้ว่า เราจะขอพรกะท่านสักข้อ

หนึ่ง คือท่านอย่าบอกเราแก่ใคร ๆ เขาไปยัง

พระนครแล้ว พระราชาตรัสถาม จึงกราบทูล

เพราะต้องการทรัพย์ เขาได้พาพระราชาเข้ามา

ยังที่อยู่ของเรา เรากราบทูลเหตุการณ์ทุกอย่าง

แด่พระราชา พระราชาทรงสดับคำของเราแล้ว

ทรงสอดลูกศรจะยิงบุรุษนั้น ตรัสว่า เราจักฆ่า

คนลามกผู้ประทุษร้ายมิตรเสียในที่นี้แหละ เรา

ตามรักษาคนประทุษร้ายมิตรนั้น ได้มอบตน

ของเราถวายว่า ข้าแต่มหาราชา ขอได้ทรงโปรด

งดก่อนเถิดพระเจ้าข้า ข้าพระบาทจะกระทำ

ตามพระราชประสงค์ของพระองค์ เราตาม

รักษาศีลของเรา ไม่ใช่เราตามรักษาชีวิตของเรา

เพราะในกาลนั้น เราเป็นผู้มีศีลเพราะเหตุแห่ง

โพธิญาณนั่นเอง ฉะนี้แล.

จบ รุรุมิคจริยาที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 301

อรรถกถารุรุมิคราชจริยาที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถารุรุมิคราชจริยาที่ ๖ ดังต่อไปนี้ . บทว่า

สุตฺตกนกสนฺนิโภ คือมีขนสีเหลียงคล้ายหลอมทองคำใส่เข้าไปในไฟ โดย

ปราศจากสีดำตลอดตัว. บทว่า มิคราชา รุรุ นาม คือมีชื่อโดยสัญชาติว่า

รุรุมิคราชโดยเชื้อชาติว่า รุรุ อธิบายว่า เป็นราชาแห่งเนื้อทั้งหลาย. บทว่า

ปรมสีลสมาหิโต คือตั้งมั่นอยู่ในศีลอันอุดม พึงทราบเนื้อความในบทนี้

อย่างนี้ว่าศีลบริสุทธิ์และมีจิตตั้งมั่น หรือมีจิตตั้งมั่นโดยชอบในศีลอันบริสุทธิ์.

ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดเนื้อชื่อว่า รุรุ ผิวในร่างกาย

ของเนื้อนั้นมีสีเหมือนแผ่นทองคำที่เผาแล้วขัดเป็นอย่างดี เท้าทั้ง ๔ ดุจฉาบ

ด้วยครั้ง หางดุจหางจามรี เขามีสีเหมือนพวงเงิน ตาดุจก้อนแก้วมณีที่ขัดดี

แล้ว ปากดุจลูกคลีหนังหุ้มผ้ากัมพลสีแดงสอดตั้งไว้. เนื้อนั้นละความคลุกคลี

ประสงค์จะอยู่อย่างสงบ จึงทิ้งบริวารอยู่ผู้เดียวเท่านั้น ในป่าใหญ่สะพรั่งด้วย

ดอกไม้บานปนต้นสาละน่ารื่นรมย์ใกล้แม่น้ำคงคา. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า :-

เราเข้าไปอาศัยอยู่ ณ ประเทศที่น่ารื่นรมย์

เป็นรมณียสถาน สงัดเงียบปราศจากมนุษย์

เป็นที่ยินดีแห่งใจใกล้ฝั่งคงคา.

ใบบทเหล่านั้น บทว่า รมฺเม ปเทเส คือในอรัญญประเทศ

น่ารื่นรมย์ เพราะประกอบด้วยภูมิภาคสีขาวปนทราย เช่นกับพ่นแก้วมุกดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 302

ด้วยพื้นป่าอันมีหญ้าเขียวสดงอกขึ้นอย่างสนิท ด้วยพื้นสิลาวิจิตด้วยสีต่าง ๆ

ดุจปูไว้อย่างสวยงาม และด้วยสระมีน้ำใสสะอาดดุจกองแก้วมณี และเพราะ

ปกคลุมด้วยติณชาติ สัมผัสอ่อนนุ่มโดยมากสีแดงคล้ายสีแมลงค่อมทอง

บทว่า รมมณีเย คือเป็นรมณียสถาน ทำให้เกิดความยินดีแก่ชนผู้เข้าไป

ณ ที่นั้น เพราะงดงามด้วยป่าหนาทึบ มีกิ่งก้านสาขาปกคลุมล้วนแล้วไปด้วย

ดอกไม้ ผลไม้และหน่อไม้ หมู่นกนานาชนิดส่งเสียงร้องเซ็งแซ่ รุ่งเรือง

ไปด้วยต้นไม้เถาวัลย์และป่าหลายอย่างโดยมาก ก็มีมะม่วงต้นสาละไพรสณฑ์

ประดับ. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ในรุรุมิคราชชาดกว่า :-

ในไพรสณฑ์นั้น มีมะม่วง และดอก

สาละบาน ดารดาษไปด้วยแมลงค่อมทอง. ณ

ที่นี้ มิคราชนั้นอาศัยอยู่.

บทว่า วิวิตฺเต คือว่างเปล่าจากคนอยู่. บทว่า อมนุสฺสเก คือ

ปราศจากมนุษย์ เพราะไม่มีมนุษย์สัญจรใบมา ณ ที่นั้น. บทว่า มโนรเม

ชื่อว่า มโนรเม เพราะเป็นที่ยินดีแห่งใจโดยเฉพาะของผู้ต้องการความสงบ

ด้วยคุณสมบัติตามที่กล่าวแล้ว.

บทว่า อถ ในบทว่า อถ อุปริคงฺคาย นี้ เป็นนิบาตลงในอธิการะ

คือเหตุเกิดขึ้น ท่านแสดงไว้ว่า ด้วยเหตุนั้นเมื่อเราอยู่อย่างนั้นในที่นั้น

จึงเกิดเหตุนี้ขึ้น. บทว่า อุปริคงฺคาย คือบนกระแสแม่น้ำคงคา. บทว่า

ธนิเกหิ ปริปีฬิโต คือบุรุษถูกเจ้าหนี้ทวง ไม่สามารถใช้หนี้ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 303

มีเรื่องเล่าว่า เศรษฐีชาวกรุงพาราณสีคนหนึ่ง ไม่ให้บุตรของตน

เล่าเรียนศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยคิดว่า บุตรนี้เรียนศิลปะจักลำบาก.

บุตรเศรษฐีไม่รู้อะไร ๆ นอกจากขับร้อง ประโคมดนตรี ฟ้อนรำ เคี้ยวกิน

และบริโภค. เมื่อบุตรเจริญวัยมารดาบิดาก็หาภรรยาที่สมควรให้มอบทรัพย์

ให้กลัวถึงแก่กรรม. บุตรเศรษฐีห้อมล้อมด้วยนักเลงหญิงนักเลงสุราทำลาย

ทรัพย์ทั้งหมดด้วยอบายมุขต่าง ๆ กู้หนี้ยืมสินในที่นั้น ๆ ไม่สามารถจะใช้หนี้

ได้ เมื่อถูกเจ้าหนี้ทวงจึงคิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยชีวิตของเรา. เกิดมาด้วย

อัตภาพนั้น แม้อย่างนี้ก็เหมือนเป็นอย่างอื่น. ตายเสียดีกว่า จึงบอกเจ้าหนี้

ทั้งหลายว่า พวกท่านจงเอาใบกู้หนี้มา. เรามีทรัพย์อันเป็นของตระกูลฝังไว้ที่

ฝั่งแม่น้ำคงคา. เราจักให้ทรัพย์นั้นแก่พวกท่าน. เจ้าหนี้ทั้งหลายก็ไปกับเขา.

บุตรเศรษฐีทำเป็นบอกที่ฝังทรัพย์ว่า ทรัพย์ฝังไว้ตรงนี้ ๆ. คิดว่า ด้วยอาการ

อย่างนี้เราจักพ้นหนี้ จึงหนีไปโดดน้ำ. บุตรเศรษฐีนั้นลอยไปตามกระแสน้ำ

อันเชี่ยว ร้องขอความช่วยเหลือ. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ครั้งนั้นบุรุษถูกเจ้าหนี้ทวงถาม จึงโดดลง

ในแม่น้ำ ในกระแสน้ำข้างเหนือ ด้วยคิด

ว่า เราจะเป็นหรือตายก็ตามที เราถูกกระแส

น้ำพัดไปในแม่น้ำใหญ่ ตลอดคืนตลอดวัน

ร้องไห้คร่ำครวญขอความช่วยเหลือ ลอยไปใน

ท่ามกลางคงคา ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 304

ในบทเหล่านั้น บทว่า ชีวามิ วา มรามิ วา ความว่าบุรุษนั้นตก

ลงไปในกระแสแม่น้ำนี้ คิดว่าเราจะเป็นหรือตายก็ตามที. อธิบายว่า เราจะ

มีชีวิตอยู่หรือตายในแม่น้ำนี้ก็ตามเถิด. แม้โดยประการทั้งสองอย่าง จะไม่

มีการเบียดเบียนของเจ้าหนี้ ดังนี้. บทว่า มชฺเฌ คงฺคาย คจฺฉติ ลอยไป

ในท่ามกลางแม่น้ำ คือบุรุษนั้นลอยไปในแม่น้ำตลอดวันและคืน เพราะยัง

รักชีวิตอยู่ยังไม่ถึงที่ตาย จึงกลัวมรณภัย ร้องขอความช่วยเหลือ ลอยไป

ตามห้วงน้ำในท่ามกลางแม่น้ำ.

ครั้งนั้นพระมหาบุรุษ ได้ยินเสียงของบุรุษนั้นร้องขอความช่วยเหลือ

ในตอนเที่ยงคืนได้ยินเป็นเสียงมนุษย์ คิดว่า เมื่อเรายังอยู่ในที่นี้ บุรุษอย่า

ตายเลย. เราจักช่วยชีวิตเขา จึงออกจากพุ่มไม้ที่นอนอยู่ไปยังฝั่งแม่น้ำ กล่าว

ว่า บุรุษผู้เจริญท่านอย่ากลัวเลย. เราจักช่วยชีวิตท่าน แล้วปลอบใจเดินฝ่ากระ

แสน้ำให้บุรุษนั้นขึ้นหลังนำไปถึงฝั่ง แล้วพาไปที่อยู่ของตนบรรเทาความ

เหน็ดเหนื่อยแล้วก็ให้ผลไม้ ล่วงไป ๒-๓ วัน จึงกล่าวกะบุรุษนั้นว่า บุรุษ

ผู้เจริญ เราจักพาท่านไปยังทางที่จะไปกรุงพาราณสีท่านอย่าบอกใคร ๆ. ณ

ที่โน้นมีกวางทองอาศัยอยู่. บุรุษนั้นรับว่าจ้ะ ฉันจะไม่บอกใคร ๆ. พระมหา-

สัตว์ให้เขาขี่หลังของตนหยั่งลงในทางที่จะไปกรุงพาราณสี แล้วก็กลับ. ดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เราฟังเสียงของเขาผู้ร้องไห้คร่ำครวญ ขอ

ความช่วยเหลือไปขึ้นอยู่ที่ฝั่งคงคา ได้ถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 305

ท่านเป็นใคร เขาได้บอกถึงการกระทำของตน

ว่า ข้าพเจ้าถูกเจ้าหนี้ให้สะดุ้งกลัว จึงวิ่งมา

ยังมหานทีนี้. เราจึงช่วยเหลือเขาสละชีวิตของ

เรา ว่านน้ำไปนำเขามาให้เวลากลางคืนข้างแรม

เรารู้ว่าเขาหายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ได้กล่าวกะ

เขาดังนี้ว่า เราจะขอพรกะท่านสักข้อหนึ่ง คือ

ท่านอย่าบอกเราแก่ใคร ๆ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โกสิ ตฺว นโร ท่านเป็นใคร อธิบายว่า

ท่านลอยมาจากไหนจึงถึงที่นี้ได้. บทว่า อตฺตโน กรณ คือการกระทำของตน.

บทว่า ธนิเกหิ ภีโต คือถูกเจ้าหนี้ทำให้หวาดสะดุ้ง. บทว่า ตสิโต คือหวาด

เสียว. บทว่า ตสฺส กตฺวาน การุญฺ จชิตฺวา มม ชีวิต คือเราช่วยเหลือ

เขาด้วยความสงสารมาก จึงสละชีวิตของเราแก่บุรุษนั้น. บทว่า ปวิสิตฺวา

นีหรึ ตสฺส คือลงแม่น้ำฝ่ากระแสน้ำไปตรง ๆ ให้เขาขึ้นหลังเราแล้วนำเขา

ออกไปจากที่นั้น. บทว่า ตสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ์ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ์.

บาลีว่า ตตฺถ ก็มี อธิบายว่า ในแม่น้ำนั้น. บทว่า อนฺธการมฺหิ รตฺติยา

คือในราตรีข้างแรม.

บทว่า อสฺสตฺถกาลมญฺาย คือเรารู้กาลที่เขาหายเหน็ดเหนื่อย

แล้วจึงให้ผลาผล ล่วงไป ๒ - ๓ วัน เขาปราศจากความลำบาก. บทว่า เอก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 306

ต วร ยาจามิ คือเราขอพรกะท่านสักข้อหนึ่ง. อธิบายว่า ท่านจงให้พร

เราข้อหนึ่ง. หากถามว่า พรนั้นเป็นอย่างไร ? ตอบว่า ท่านจงอย่าบอกเรา

แก่ใคร ๆ คืออย่าบอกเราแก่พระราชา หรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ว่า

มีกวางทองอาศัยอยู่ ณ ที่โน้นดังนี้.

ลำดับนั้น ในวันที่บุรุษนั้นเข้าไปถึงกรุงพาราณสีนั่นเอง พระอัคร-

มเหสี ได้ทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์หม่อมฉันได้เห็นกวางทองแสดง

ธรรมแก่หม่อมฉัน หม่อมฉันฝันจริง กวางทองจะมีแน่นอน เพราะฉะนั้น

หม่อมฉันใคร่จะฟังธรรมของกวางทอง. หากหม่อมฉันได้ฟังก็จักมีชีวิตอยู่

หากไม่ได้ฟังหม่อมฉันก็จะไม่มีชีวิตอยู่ เพคะ. พระราชาทรงปลอบพระอัคร-

มเหสี แล้วตรัสว่า หากกวางทองมีอยู่ในมนุษยโลก. เธอก็คงจักได้. แล้ว

รับสั่งเรียกหาพราหมณ์ ตรัสถามว่า ธรรมดากวางทองมีอยู่หรือทรงสดับว่า

มีอยู่ จึงทรงเอาถุงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ใส่ไว้ในหีบทองคำยกขึ้นวางที่คอช้าง แล้ว

ตีกล้องเที่ยวป่าวประกาศว่า ผู้ใดจักบอกกวางทองได้ เราจักให้ถุงทรัพย์นี้

พร้อมด้วยช้างแก่ผู้นั้น. พระราชามีพระประสงค์จะให้แม้มากกว่านั้น จึงรับ

สั่งให้จารึกบ้านส่วยลงในแผ่นทองคำ แล้วประกาศไปทั่วพระนครว่า :-

เราให้บ้านส่วย และสตรีที่ตกแต่งแล้ว

อย่างสวยงามแก่ผู้บอกมฤคที่อุดากว่ามฤคทั้ง

หลายดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 307

ลำดับนั้นเศรษฐีบุตรได้ฟังดังนั้นจึงไปหาราชบุรุษแล้วพูดว่า เราจัก

ทูลมฤคเห็นปานนั้นแด่พระราชา ท่านทั้งหลายจงนำเราเข้าเฝ้าพระราชาเถิด

พวกราชบุรุษนำเศรษฐีบุตรนั้นเข้าเฝ้าพระราชา แล้วทูลความนั้นให้ทรง

ทราบ. พระราชาตรัสถามว่า เจ้าได้เห็นจริงหรือ. เขาทูลว่า ขอเดชะจริง

พระเจ้าข้า ขอจงมากับข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์จักให้ทอดพระเนตร

มฤคนั้น. พระราชาให้บุรุษนั้นเป็นผู้นำทางเสด็จไปถึงที่นั้นด้วยบริวารใหญ่

ให้พวกราชบุรุษถืออาวุธล้อมสถานที่ที่บุรุษผู้ทำลายมิตรนั้น ชี้ให้ดูโดยรอบ

แล้วตรัสว่า พวกท่านจงทำเสียงให้ดัง พระองค์เองประทับยืน ณ ข้างหนึ่ง

กับชนเล็กน้อย แม้บุรุษนั้นก็ได้ยืนอยู่ไม่ไกล. พระมหาสัตว์สดับเสียงก็รู้ว่า

เป็นเสียงกองพลใหญ่. ภัยของเราคงจะเกิดจากบุรุษนั้นเป็นแน่ จึงลุกขึ้น

มองดูหมู่ชนทั้งสิ้น ดำริว่า เราจักปลอดภัยในที่ที่พระราชาประทับอยู่ จึง

เดินมุงหน้าเข้าไปหาพระราชา. พระราชาทอดพระเนตรเห็นกวางทองนั้น

เดินมา ทรงดำริว่า กวางทองนี้มีกำลังดุจคชสารคงจะมาทำร้ายเรา จึงทรง

สอดลูกศรเล็งตรงไปยังพระโพธิสัตว์ด้วยทรงพระดำริว่า หากมฤคนี้กลัวหนี

ไป เราจะยิงทำให้ทุพลภาพแล้วจึงจับ. พระมหาสัตว์ได้กล่าวคาถาว่า :-

ข้าแต่มหาราชผู้ประเสริฐ ขอทรงโปรด

รอก่อนอย่าเพิ่งยิงข้าพระองค์เลย ใครบอกเรื่อง

นี้แด่พระองค์ว่า มีเนื้ออยู่ ณ ที่นี้ พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 308

พระราชาทรงยับยั้งด้วยถ้อยคำอันไพเราะของมฤคนั้น ทรงลดคันศร

ประทับยืนด้วยความเคารพ. แม้พระโพธิสัตว์ก็เข้าไปหาพระราชา ได้ทำปฏิ-

สันถารอย่างละมุนละม่อม. แม้มหาชนก็วางสรรพาวุธแวดล้อมพระราชา.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เขาไปยังพระนครแล้ว พระราชาตรัสถาม

จึงกราบทูลเพราะต้องการทรัพย์ เขาได้พาพระ-

ราชามายังที่อยู่ของเรา ดังนี้.

บทนั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้. ผู้ใดประทุษร้ายมิตรเป็นบุรุษชั่ว เรา

สละชีวิตช่วยให้พ้นจากเป็นเหยื่อสัตว์ พาไปกรุงพาราณสีบอกเราแด่พระ-

ราชา เพราะตนต้องการทรัพย์. ครั้นบอกแล้วบุรุษชั่วนั้น เป็นผู้นำทางเพื่อ

ให้พระราชาจับเรา จึงพาพระราชามายังที่อยู่ของเรา

พระมหาสัตว์ ทูลถามพระราชาอีกด้วยเสียงอันไพเราะดุจสั่นกระดิ่ง

ทองคำว่า ใครหนอทูลเรื่องนี้แด่พระองค์ว่า ณ ที่นี้มีมฤคที่อาศัยอยู่. ในขณะ

นั้นบุรุษชั่วนั้นหลีกไปหน่อยหนึ่ง แล้วยืนในที่พอฟังได้ยิน. พระราชา

ตรัสว่า บุรุษผู้นี้บอกท่านแก่เรา แล้วทรงชี้ไปที่บุรุษชั่วนั้น. ลำดับนั้น

พระโพธิสัตว์กล่าวคาถาว่า :-

ได้ยินว่า คนบางพวกในโลกนี้ไม่พูด

ความจริง ไม้ลอยน้ำยังดีกว่า ส่วนคนบางพวก

ไม่ดีเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 309

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงเกิดความสังเวชตรัสคาถาว่า :-

ท่านรุรุมิคราช บรรดามฤค นก มนุษย์

ท่านติเตียนอะไร. มฤคได้ภัยใหญ่กะเราเพราะ

ฟังมนุษย์นั้นบอก.

ลำดับนั้นพระมหาบุรุษ เมื่อจะทูลว่า ข้าแต่มหาราชข้าพระองค์ไม่

ติเตียนมฤค ไม่ติเตียนนก. แต่ข้าพระองค์ติเตียนมนุษย์จึงกล่าวว่า.

ข้าแต่ราชะข้าพระองค์ ช่วยยกบุรุษใดซึ่ง

ลอยอยู่ในน้ำที่มีน้ำมาก มีกระแสเชี่ยวขึ้นมา

ได้ ภัยมาถึงข้าพระองค์ เพราะบุรุษนั้นเป็น

ต้นเหตุ การสมาคมกับอสัตบุรุษเป็นทุกข์แท้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นิปฺลวิต คือลอยน้ำ. บทว่า เอกจฺจิโย

คือคนบางคนประทุษร้ายมิตรเป็นบุรุษชั่ว แม้ตกลงไปในน้ำเมื่อมีผู้ช่วยขึ้น

มาได้ก็ไม่ประเสริฐเลย. เพราะไม้ยังใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง. แต่คนประ-

ทุษร้ายมิตร ย่อมเป็นไปเพื่อความพินาศ. เพราะฉะนั้น ไม้จึงดีกว่าคน

ประทุษร้ายมิตรนั้น. บทว่า มิคาน คือพระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนรุรุมิคราช

บรรดาเนื้อนกหรือมนุษย์ท่านติเตียนอะไร ? บทว่า ภย หิ ม วินฺทตินปฺ-

ปริป คือมฤคได้ภัยใหญ่กะเรา อธิบายว่า ทำดุจเป็นของตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 310

บทว่า วาหเน คือห้วงน้ำสามารถพัดพาคนที่ตกลงไปแล้วๆ เล่า ๆ

ได้. บทว่า มโหทเก สลิเล คือในน้ำอันมีน้ำมาก. แม้ด้วยบททั้งสอง

ท่านแสดงถึงห้วงน้ำมีน้ำมาก. บทว่า ตโตนิทาน คือมิคราชทูลพระราชาว่า

ข้าแต่มหาราช บุรุษใดที่พระองค์แสดงแก่ข้าพระบาท. บุรุษนั้นลอยไปใน

แม่น้ำร้องคร่ำครวญขอความช่วยเหลือในตอนเที่ยงคืน ข้าพระองค์ช่วยยก

เขาขึ้นจากแม่น้ำ. ภัยนี้มาถึงข้าพระองค์ เพราะบุรุษนั้นเป็นต้นเหตุ.

ชื่อว่าการสมาคมกับอสัตบุรุษเป็นทุกข์. พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นแล้ว

ทรงพิโรธบุรุษชั่วนั้น ทรงสอดลูกศรด้วยทรงดำริว่า เจ้านี้ไม่รู้จักคุณของ

ผู้มีอุปการะมากถึงอย่างนี้. ทำให้เกิดลำบาก. เราจะยิงแล้วฆ่ามันเสีย. ดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เรากราบทูลเหตุการณ์ทุกอย่างแด่พระราชา

พระราชาทรงสดับคำของเราแล้ว ทรงสอดลูก

ศรจะยิงบุรุษนั้น ตรัสว่าเราจักฆ่าคนลามกผู้

ประทุษร้ายมิตรเสียในที่นี้แหละ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา กรณ คือทูลถึงการทำอุปการะทั้งหมด

ที่เราทำไว้แก่บุรุษนั้น. บทว่า ปกปฺปยิ คือสอดลูกศร. บทว่า มิตฺตทุพฺภึ

ผู้ประทุษร้ายมิตร คือผู้มีปกติประทุษร้ายมิตรผู้มีอุปการะแก่ตน.

ลำดับนั้นพระมหาสัตว์ ดำริว่า บุรุษพาลนี้อย่าได้พินาศไปเพราะ

อาศัยเราเลยจึงทูลว่า ข้าแต่มหาราชชื่อว่าการฆ่าคนพาลก็ดี บัณฑิตก็ดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 311

วิญญูชนไม่สรรเสริญว่าเป็นคนดี. ที่แท้แล้ววิญญูชนติเตียนอย่างยิ่ง. เพราะ

ฉะนั้นขอพระองค์อย่าฆ่าบุรุษพาลนี้เลย. ปล่อยเขาไปตามความพอใจเถิด

ขอพระองค์อย่าทรงให้เขาเสื่อมเสีย จึงทรงพระราชทานสิ่งที่พระองค์

ปฏิญญาไว้แก่เขาว่า จักพระราชทานเถิดพระเจ้าเข้า แล้วทูลต่อไปว่า อนึ่ง

ข้าพระองค์จักนำสิ่งที่พระองค์ปรารถนา. ข้าพระองค์จะมอบตนแด่พระองค์.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจรัสไว้ว่า :-

เราตามรักษาคนผู้ประทุษร้ายมิตรนั้นได้

มอบตนของเราถวายว่า ข้าแต่มหาราช ขอได้

ทรงโปรดงดก่อนเถิดพระเจ้าข้า ข้าพระองค์จะ

ทำตามพระราชประสงค์ของพระองค์.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นิมฺมินึ คือเราตามรักษาบุรุษนั้น ผู้ประทุษ-

ร้ายมิตรเป็นบุคคลชั่ว ได้มอบอัตภาพของเราถวายกะพระราชานั้น. อธิบาย

ว่า เราได้มอบตนถวายแด่พระราชา แล้วยับยั้งความตายของเขาผู้ตกอยู่ใน

เงื้อมพระหัตถ์ของพระราชา. บทว่า ติฏฺเตโส เป็นต้น เป็นบทแสดง

อาการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน.

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงถึงประโยชน์ที่ทำการถ้อยที

ถ้อยอาศัยกันของพระองค์ จึงตรัสคาถาสุดท้าย.

ความคาถาสุดท้ายนั้นมีดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 312

ในครั้งนั้นเมื่อพระราชามีพระประสงค์จะ

ฆ่าบุรุษผู้ประทุษร้ายมิตรนั้นเพราะอาศัยเรา เรา

จึงสละตนแด่พระราชา ตามรักษาศีลของเรา

มิใช่ตามรักษาชีวิตของเรา. ข้อที่เราเป็นผู้มีศีล

มิได้คำนึงถึงชีวิตของตนก็เพราะเหตุแห่งสัม-

มาสัมโพธิญาณนั้นเอง.

ลำดับนั้นพระราชา เมื่อพระโพธิสัตว์สละชีวิตของตนยับยั้งความตาย

ของบุรุษนั้น มีพระทัยยินดี ตรัสว่า ไปเถิดเจ้า เจ้าพ้นความตายจากมือของ

เราด้วยความช่วยเหลือของมิคราช แล้วพระราชทานทรัพย์แก่บุรุษนั้นตาม

ปฏิญญา. พระราชาทรงอนุญาตพรตามความพอใจของพระโพธิสัตว์แล้วนำ

พระโพธิสัตว์เข้าสู่พระนคร รับสั่งให้ตกแต่งพระนครและประดับพระโพธิ-

สัตว์ ให้พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่พระเทวี. พระมหาสัตว์แสดงธรรมด้วย

ภาษามนุษย์ไพเราะ แด่พระราชาพระเทวี และแก่ราชบริษัทถวายโอวาท

พระราชาด้วยทศพิธราชธรรม สั่งสอนมหาชนแล้วเข้าป่าแวดล้อมด้วยหมู่

มฤคอยู่อย่างสบาย. แม้พระราชาก็ทรงดำรงอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์

ทรงประทานอภัยแก่สรรพสัตว์ทรงบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น ได้มีสวรรค์

เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

เศรษฐีบุตรในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. พระราชาคือพระ-

อานนท์ รุรุมิคราชคือพระโลกนาถ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 313

แม้ในรุรุมิตราชจริยานี้ ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือของพระโพธิ-

สัตว์นั้นตามสมควรโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

อนึ่ง แม้ในจริยานี้ ก็พึงประกาศคุณานุภาพของพระมหาสัตว์ มี

อาทิอย่างนี้ คือ การละฝูงของมฤคราชผู้ไม่ปรารถนาเกี่ยวข้องกับชน เพราะ

ยินดีในความสงบ. การได้ยินเพียงเศร้าโศกของบุรุษผู้คร่ำครวญขอความ

ช่วยเหลือซึ่งลอยอยู่ในแม่น้ำในเวลาเที่ยงคืน จึงลุกจากที่นอนไปยังฝังแม่

น้ำ สละชีวิตของตนหยั่งลงไปในห้วงน้ำซึ่งไหลลงไปในแม่น้ำใหญ่ ฝ่ากระ

แสน้ำให้บุรุษนั้นขึ้นหลังตน พาไปถึงฝั่ง ปลอบโยน ให้ผลาผลเป็นต้นแล้ว

ให้บรรเทาความเหน็ดเหนื่อย. การให้บุรุษนั้นขึ้นหลังตนอีกครั้ง แล้วนำ

ออกจากป่าไปส่งที่ทางหลวง. การเป็นผู้ไม่กลัวไปเผชิญหน้ากับพระราชาผู้

สอดลูกศรประทับยืนจ้องด้วยหมายว่าจักยิง แล้วทูลด้วยภาษามนุษย์ก่อน

แล้วทำการต้อนรับอย่างละมุนละม่อม. การกล่าวธรรมกถากะพระราชา ซึ่งมี

พระประสงค์จะฆ่าบุรุษชั่วผู้ทำลายมิตร แล้วสละชีวิตของตนอีก แล้วก็พ้น

จากความตาย. การทูลให้พระราชาทรงประทานทรัพย์แก่บุรุษนั้นตาม

ปฏิญญา. การที่เมื่อพระราชาทรงประทานพรแก่ตน จึงขอให้พระราชาทรง

ประทานอภัยแก่สรรพสัตว์. การแสดงธรรมแก่มหาชน ซึ่งมีพระราชาและ

พระเทวีเป็นประมุข แล้วให้ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น.

การให้โอวาทแก่เนื้อทั้งหลายที่ได้รับอภัยแล้ว ห้ามกินข้าวกล้าของพวก

มนุษย์. การทำหนังสือสัญญาของบุรุษนั้น ถาวรมาจนกระทั่งทุกวันนี้ด้วย

ประการฉะนี้.

จบ อรรถกถารุรุมิคราชจริยาที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 314

๗. มาตังคจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของมาตังคชฏิล

[๑๗] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นชฏิล มี

ความเพียรอันแรงกล้า มีนามชื่อว่ามาตังคะ

เป็นผู้มีศีล มีจิตมั่นคงดี เราและพราหมณ์คน

หนึ่ง อยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา เราอยู่ข้างเหนือ

พราหมณ์อยู่ข้างใต้ พราหมณ์เที่ยวไปตามริมฝั่ง

ได้เห็นอาศรมของเราข้างเหนือน้ำ บริภาษเรา

ในที่นั้น แล้วแช่งให้เราศีรษะแตก ถ้าเราพึง

โกรธต่อพราหมณ์นั้น ถ้าเราไม่คุ้มครองศีล

เราแลดูพราหมณีนั้นแล้ว พึงทำให้เป็นดังเถ้า

ได้ ครั้งนั้นพราหมณ์นั้นโกรธเคืองมีใจประ-

ทุษร้าย แช่งเรามุ่งหมายจะให้ศีรษะแตก คำ

แช่งนั้นจะตกลงบนศีรษะของเขาเอง เราช่วย

เปลื้องเขาให้พ้นโดยควร เราตามรักษาศีลของ

เรา มิใช่เรารักษาชีวิตของเรา เพราะในกาล

นั้นเราเป็นผู้มีศีลเพราะเหตุแห่งโพธิญาณนั่น

เอง ฉะนี้แล.

จบ มาตังคจริยาที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 315

อรรถกถามาตังคจริยาที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถามาตังคจริยาที่ ๗ ดังต่อไปนี้. บทว่า

ชฏิโล คือมีชฎา อธิบายว่ามีผมมุ่นเป็นชฎา. บทว่า อุคฺคตาปโน มี

ความเพียรแรงกล้า เพราะมีความเพียรคือตบะแรงกล้า เพราะเผาคือข่ม

อินทรีย์ ๖ อันเป็นจุดสำคัญของร่างกาย อธิบายว่ามีตบะแรงกล้า มีอินทรีย์

มั่นคงอย่างยิ่ง. อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า อุคฺคตาปโน เพราะเผากิเลสหยาบ

เพราะทำลายสิ่งไม่เป็นประโยชน์ อันมีในปัจจุบันเป็นต้นหลาย ๆ อย่าง

เพราะทิ้งไว้ในภายเอก หรือเพราะเผากิเลสที่ชื่อว่า อุคฺคา ด้วยอรรถว่า

น่าเกรงกลัวอย่างร้ายกาจ ด้วยตบะคือความเพียร. บทว่า มาตงฺโค นาม

นาเมน คือ มีนามชื่อว่ามาตังคะ. เพราะชื่อนี้ของชฏิลนั้นมาแล้วโดยชาติ

ซึ่งเกิดในตระกูลมาตังคะ. บทว่า สีลวา คือถึงพร้อมด้วย. มีศีลบริสุทธิ์.

บทว่า สุสมาหิโต คือมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ.

อธิบายว่า เป็นผู้ได้ฌานสมาบัติ.

ก็ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดคนจัณฑาล มีรูปร่างน่า

เกลียดอยู่ในบ้านคนจัณฑาลนอกพระนคร. มีชื่อตามประกาศว่า มาตังค-

บัณฑิต. อยู่มาวันหนึ่ง ในพระนคร เมื่อประกาศเล่นนักขัตฤกษ์ ชาวเมือง

โดยมากก็พากันไปเล่นนักขัตฤกษ์. หญิงสาวของพราหมณ์มหาศาลคนหนึ่ง

มีอายุ ๑๕ - ๑๖ ปี มีรูปสวยน่าดูน่าเลื่อมใสดุจเทพกัญญาคิดว่าเราจักเล่น

นักขัตฤกษ์ตามสมควรแก่สมบัติของตน จึงบันทุกของเคี้ยวของบริโภคเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 316

อันมากลงในเกวียน ขึ้นรถเทียมด้วยแม่ม้าขาวตลอด พร้อมด้วยบริวารใหญ่

ไปที่พื้นอุทยาน. หญิงสาวนี้ ชื่อว่า ทิฏฐมังคลิกา. ได้ยินว่านางไม่ปรารถนา

จะเห็นรูปที่มีทรงชั่วเป็นอวมงคล. ด้วยเหตุนั้นนางจึงมี ชื่อว่า ทิฏฐมังคลิกา.

ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์ตื่นขึ้นแต่เช้ามืด นุ่งห่มผ้าเก่า ๆ ถือไม้เท้า

ไม้ไผ่ ทำเป็นรูปนกเป็ดน้ำ ถือภาชนะเข้าไปยังพระนครเห็นพวกมนุษย์

เพื่อให้มนุษย์เหล่านั้นออกไปให้ห่าง จึงเอาไม้เท้านั้นทำสัญญา. ลำดับนั้น

นางทิฏฐมังคลิกา อันบุรุษทั้งหลายของตนที่นำไปทำเสียงเอะอะว่า พวก

ท่านจงออกไป ๆ นางเห็นมาตังคบัณฑิตในท่ามกลางประตูพระนคร จึงลาม

ว่า นั่นใคร ? เมื่อบุรุษเหล่านั้นตอบว่า มาตังคจัณฑาลจ้ะแม่ จึงสั่งให้ยาน

กลับด้วยคิดว่า เห็นคนเช่นนี้แล้วจะหาความเจริญได้แต่ไหน. พวกมนุษย์

พากันโกรธว่า พวกเราไปสวนหวังจะได้ของเคี้ยวของบริโภคเป็นต้นมากมาย.

มาตังคะทำอันตรายแก่พวกเราเสียแล้ว จึงพูดว่า พวกท่านจงจับคนจัณฑาล

แล้วเอาก้อนดินขว้างจนมาตังคบัณฑิตสลบแล้วก็พากันกลับไป.

ไม่ช้ามาตังคบัณฑิตก็ได้สติลุกขึ้นถามพวกมนุษย์ว่า ท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย ธรรมดาประตูเป็นของทั่วไปแก่ทุกคนหรือ หรือว่าทำไว้ให้แก่

พวกพราหมณ์เท่านั้น ? พวกมนุษย์ตอบว่า ทั่วไปแก่ทุกคน. มาตังคบัณฑิต

คิดว่า พวกมนุษย์ทำเราผู้ไม่หลีกออกไปยังสวนข้างหนึ่งในประตูที่เป็น

สาธารณ์แก่ชนทั้งปวง ให้ถึงความพินาศย่อยยับเพราะนางทิฏฐมังคลิกา จึง

บอกแก่พวกมนุษย์ที่ถนนแล้วคิดว่า เอาเถิดเราจักทำลายมานะของนางทิฏฐ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 317

มังคลิกานี้ จึงไปยังประตูบ้านของนาง แล้วก็นอนด้วยตั้งใจว่า เราไม่ได้

นางทิฏฐมังคลิกาแล้วจะไม่ลุกขึ้น. บิดาของนางทิฏฐมังคลิกา ได้ยินว่า

มาตังคะมานอนอยู่ที่ประตูเรือน จึงกล่าวว่า พวกท่านจงให้กากณึกหนึ่งแก่

มาตังคะ. มาตังคะเอาน้ำมันลูบไล้สรีระแล้วจงไปเถิด. มาตังคบัณฑิตกล่าว

อยู่อย่างเดียวว่า เราไม่ได้นางทิฏฐมังคลิกาแล้วก็จักไม่ลุกขึ้น. ลำดับนั้น

แม้พราหมณ์จะพูดว่า พวกท่านจงให้สองกากณึก มาสกหนึ่ง บาทหนึ่ง

กหาปณะหนึ่ง สองสามกหาปณะ จนกระทั่ง ร้อยกหาปณะ พันกหาปณะ

มาตังคบัณฑิตก็ไม่รับท่าเดียว. เมื่อชนทั้งหลายปรึกษากันอยู่อย่างนั้น

พระอาทิตย์ก็ตก.

ลำดับนั้น มารดาของนางทิฏฐมังคลิกาลงจากปราสาทให้วงกำแพง

ม่านไปหามาตังคดาบส แม้เมื่อนางกล่าวว่า พ่อคุณพ่อมาตังคะจงยกโทษ

แก่นางทิฏฐมังคลิกาเถิด. ท่านจงเอาทรัพย์ ๒,๐๐๐ จนถึง ๑๐๐,๐๐๐ มาตังค-

บัณฑิตก็ไม่รับ. คงนอนอยู่นั่งเอง. เมื่อม้าตังคบัณฑิตนอนอยู่อย่างนั้น

ล่วงไป ๖ วัน ครั้นถึงวันที่ ๗ พวกมนุษย์ที่อยู่เรือนใกล้เคียงและผู้คุ้นเคย

กันพากันลุกฮือ กล่าวว่า พวกท่านจงให้มาตังคะลุกขึ้น. หรือจงให้ลูกสาว

ไปเถิด. อย่าให้พวกเราต้องพินาศไปด้วยเลย. นัยว่าในครั้งนั้นมีธรรมเนียม

ในท้องถิ่นนั้นว่า คนจัณฑาลนอนตายอยู่ที่ประตูเรือนของผู้ใด ผู้ที่อยู่ใน

เรือน ๗ ชั่วตระกูลต้องเป็นคนจัณฑาลไปพร้อมกับเรือนนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 318

ลำดับนั้น มารดาบิดาของนางทิฏฐมังคลิกา จึงให้นางทิฏฐมังคลิกา

นุ่งห่มผ้าเก่า ๆ ให้ของใช้อันจำเป็นของคนจัณฑาลแล้วนำนางซึ่งร้องคร่ำ-

ครวญอยู่ไปหามาตังคะกล่าวว่า เชิญท่านลุกขึ้นรับทาริกาในบัดนี้เถิด แล้ว

ก็ยกให้. ส่วนนางทิฏฐมังคลิกายืนอยู่ข้าง ๆ กล่าวว่า ลุกขึ้นเถิด. มาตังค-

บัณฑิต กล่าวว่า เราเมื่อยเหลือเกิน เจ้าจับมือให้เราลุกขึ้นเถิด. นางได้

กระทำอย่างนั้น. มาตังคบัณฑิตกล่าวว่า เราจะอยู่ภายในพระนครไม่ได้.

เจ้าจงมาเถิด. เราจักไปบ้านคนจัณฑาลนอกพระนคร ได้ไปยังเรือนของตน

เพื่อหลบหลีกผู้คน. อาจารย์ผู้แต่งชาดกกล่าวว่า ขี่หลังนางไป.

ก็ครั้นไปถึงเรือนแล้ว มาตังคบัณฑิตมิได้กระทำการล่วงเกินเพราะ

การแบ่งชาติ อยู่ในเรือนได้ ๒-๓ วัน จึงรวบรวมกำลัง คิดว่า เราจะให้

หญิงสาวของพราหมณ์มหาศาลนี้อยู่ในเรือนคนจัณฑาลของเรา. เอาเถิด

บัดนี้เราจักทำนางให้เป็นหญิงเลิศด้วยลาภ เลิศด้วยยศ. มาตังคบัณฑิตจึงเข้า

ป่าบวชยังสมาบัติ ๘ อภิญญา ๕ ให้เกิด ในภายใน ๗ วันนั่นเอง แล้ว

หยั่งลงที่ประตูบ้านของคนจัณฑาลด้วยฤทธิ์ ยืนอยู่ที่ประตูเรือน เรียกนาง

ทิฏฐมังคลิกาซึ่งคร่ำครวญอยู่ว่า สามีเจ้าขาเพราะเหตุไรท่านจึงทำให้ดิฉันไร้

ที่พึ่งแล้วไปบวชเสียเล่า มาตังคบัณฑิตกล่าวว่า น้องหญิงเจ้าอย่าคิดมากไป

เลย. บัดนี้เราจะเพิ่มยศให้ใหญ่กว่ายศเก่าของเจ้า. แต่เจ้าพึงกล่าวในชุมชน

ว่าสามีของเราเป็นท้าวมหาพรหม. มิใช่มาตังคะดอก. สามีของเราไปพรหม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 319

โลก. ต่อนี้ไป ๗ วัน ในวันเพ็ญ สามีจักแหวกจันทรมณฑลกลับมาดังนี้แล้ว

กลับไปหิมวันตประเทศตามเดิม.

แม้นางทิฏฐมังคลิกา ก็ได้กล่าวอย่างนั้นในที่เหล่านั้นๆ ท่ามกลาง

มหาชน ในกรุงพาราณสี. จึงในวันเพ็ญพระโพธิสัตว์ในเวลาที่ยืนอยู่ท่าม

กลางท้องฟ้าแห่งจันทรมณฑล เนรมิตอัตภาพเป็นพรหมแหวกจันทรมณฑล

ทำกรุงพาราณสี ๑๒ โยชน์ และแคว้นกาสีทั้งสิ้นให้มีแสงสว่างเป็นอันเดียว

กันแล้วลงจากอากาศ วนอยู่เบื้องบนกรุงพาราณสี ๓ ครั้ง มหาชนบูชาด้วย

ของหอมและดอกไม้เป็นต้น บ่ายหน้าไปยังบ้านคนจัณฑาล. พวกพรหมภัต

(พวกนับถือพระพรหม) ประชุมกันไปบ้านคนจัณฑาลนั้นตกแต่งเรือนของ

นางทิฏฐมังคลิกาด้วยผ้าขาว ของหอมและดอกไม้เป็นต้น ดุจเทพวิมาน. ใน

ครั้งนั้นนางทิฏฐมังคลิกามีระดู. พระมหาสัตว์ไป ณ ที่นั้นเอานิ้วมือลูบคลำ

นางทิฏฐมัลคลิกาที่ท้องน้อยแล้วกล่าวว่า นางผู้เจริญ นางตั้งครรภ์แล้ว.

จักคลอดบุตร. ทั้งเจ้า ทั้งบุตร จักเป็นผู้เลิศด้วยลาภ เลิศด้วยยศ น้ำ

ล้างศีรษะของเจ้าจักเป็นน้ำอภิเษกพระราชาทั้งหลายทั่วชมพูทวีป. น้ำอาบ

ของเจ้าจักเป็นน้ำอมฤต. ผู้ใดรดน้ำที่ศีรษะผู้นั้นจักพ้นจากโรคทั้งมวล. และ

จักพ้นจากกาลกิณี. คนทั้งหลายวางศีรษะบนหลังเท้าของเจ้าแล้วไหว้ จัก

ได้ทรัพย์ ๑,๐๐๐. ยืนไหว้ในที่ฟังคำพูด จักได้ทรัพย์ ๑๐๐. ยืนไหว้ใน

ครองจักษุ จักได้คนละ ๑ กหาปณะ. เจ้าจงอย่าประมาท. พระมหาสัตว์

ให้โอวาทนางแล้วออกจากเรือน เมื่อมหาชนมองดูอยู่ได้เข้าไปยังจันทร-

มณฑล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 320

พวกพรหมภัตประชุมกัน เชิญนางทิฏฐมังคลิกาเข้าพระนครด้วย

สักการะใหญ่ ให้นางอยู่ในพระนครนั้นด้วยความงดงามอันเป็นสิริมงคล

อย่างใหญ่. ได้สร้างที่อยู่ให้นางเช่นกับเทพวิมาน. น้อมนำลาภสักการะ

มากมายไปให้นาง ณ ที่อยู่นั้น. ลาภทั้งปวงมีการได้บุตรเป็นต้น เป็นเช่นกับ

ที่พระโพธิสัตว์กล่าวไว้ทุกประการ. พราหมณ์ ๑๖,๐๐๐ บริโภคร่วมกับบุตร

ของนางทิฏฐมังคลิกาเป็นเนืองนิจ. พราหมณ์ประมาณ ๑,๐๐๐ แวดล้อม

กุมารนั้น. กุมารให้ทานแก่พราหมณ์ ๑,๐๐๐.

ลำดับนั้นพระมหาสัตว์ดำริว่า บุตรนี้เลื่อมใสผิดที่เสียแล้ว. ช่างเถิด

เราจักให้บุตรรู้จักทักขิไณยบุคคล จึงเที่ยวภิกขาจารไปถึงเรือนของนางทิฏฐ-

มังคลิกานั้น สนทนากับบุตรนั้นแล้วกลับไป.

ลำดับนั้นกุมารกล่าวคาถาว่า :-

ท่านผู้อยู่ป่าดงคนเข็ญใจ คล้ายปีศาจ

สกปรกสวมผู้ขี้ริ้วที่ได้จากกองหยากเยื่อที่คอ

คนร้าย ท่านเป็นใครไม่ใช่ทักขิไณยบุคคล.

ทวยเทพอดกลั้นด้วยคำอนาจารที่กุมารนั้นกล่าวไม่ได้ จึงบิดหน้า

พราหมณ์ ๑๖,๐๐๐ เหล่านั้นของกุมารนั้น. นางทิฏฐมังคลิกาเห็นดังนั้น

จึงเข้าไปหาพระมหาสัตว์แจ้งความนั้นให้ทราบ. พระโพธิสัตว์ กล่าวว่า

ทวยเทพอดกลั้นคำอนาจารของกุมารนั้นไม่ได้ จึงทำให้ผิดปกติไป. ก็แต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 321

ว่าเจ้าจงเอาก้อนข้าวที่เป็นเดนนี้ใส่ลงในปากของพราหมณ์เหล่านั้น แล้ว

ความผิดปกตินั้นก็จะหายไป. นางก็ได้ทำอย่างนั้น ความผิดปกติก็หาย

ไป. นางทิฏฐมังคลิกาจึงกล่าวกะบุตรว่า นี่แน่ะลูกในโลกนี้ขึ้นชื่อว่าทักขิ-

ไณยบุคคล ย่อมเป็นเช่นกับมาตังคบัณฑิต. พราหมณ์เหล่านี้มิใช่ทักขิไณย-

บุคคลดอกเป็นผู้มีความกระด้าง ด้วยมานะโดยเหตุเพียงชาติดุจพราหมณ์

ทั้งหลาย หรือโดยเหตุเพียงสาธยายมนต์. ลูกจงทำความเลื่อมใสให้เกิด

แก่ผู้ที่ประกอบด้วยคุณวิเศษมีศีลเป็นต้น ผู้ได้ฌานสมาบัติและพระปัจเจก-

พุทธเจ้าทั้งหลายในที่นั้นเถิด.

ในกาลนั้น พราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อชาติมันตะในเมืองเวตตวดี แม้

บวชแล้วก็ยังอาศัยชาติได้มีมานะจัด. พระมหาสัตว์คิดว่า เราจักทำลายมานะ

ของพราหมณ์นั้นให้ได้ จึงไปยังที่นั้นอาศัยอยู่เหนือกระแสน้ำใกล้พราหมณ์

นั้น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เราและพราหมณ์คนหนึ่ง อยู่ที่ใกล้

ฝั่งแม่น้ำคงคา เราอยู่ข้างเหนือ พราหมณ์อยู่

ข้างใต้.

ลำดับนั้น วันหนึ่งพระมหาสัตว์เคี้ยวไม้สีฟันแล้วบ้วนลงในแม่น้ำ

อธิษฐานว่า ไม้สีฟันนี้จงไปติดที่ชฎาของชาติมันตะเถิด. ไม้สีฟันนั้นติดที่

ชฎาของชาติมันตะผู้กำลังอาบน้ำ. ชาติมันตะเห็นไม้สีฟันนั้น จึงด่าว่า คน

ระยำ แล้วไปเหนือกระแสน้ำด้วยคิดว่าคนกาลกิณีนี้มาจากไหน เราจักไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 322

ค้นหาคนกาลกิณีนั้น ครั้นเห็นพระมหาสัตว์ จึงถามว่า ท่านเป็นชาติอะไร ?

พระมหาสัตว์ตอบว่า เราเป็นคนจัณฑาล. ถามว่า ท่านบ้วนไม้สีฟันลงใน

แม่น้ำหรือ. ตอบว่า ใช่แล้ว เราบ้วนลงไปเอง. กล่าวว่า คนระยำ. คน

จัณฑาล คนกาลกิณี ท่านอย่าอยู่ที่นี้เลย. จงอยู่ใต้กระแสน้ำเถิด. แม้

เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่ใต้กระแสน้ำบ้วนไม้สีฟันลงไป ก็ทวนกระแสน้ำมาติด

ที่ชฎาอีก. ชาติมันตะจึงกล่าวว่า คนระยำ. หากท่านอยู่ ณ ที่นี้. ในวัน

ที่ ๗ ศีรษะของท่านจักแตกออกเป็น ๗ เสี่ยง. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า :-

พราหมณ์เที่ยวไปตามริมฝั่ง ได้เห็น

อาศรมของเราข้างเหนือ บริภาษเราในที่นั้น

แล้วแช่งให้เราศีรษะแตก. ถ้าเราพึงโกรธต่อ

พราหมณ์นั้น ถ้าเราไม่คุ้มครองศีล เราดู

พราหมณ์นั้นแล้ว พึงทำให้เป็นเถ้าได้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า วิจรนฺโต อนุกูลมฺหิ คือ เมื่อไม้สีฟันที่

ใช้แล้วติดที่ชฎาของตน พราหมณ์จึงเที่ยวไปตามริมฝั่งแม่น้ำเพื่อค้นหาที่มา

ของไม้สีฟันนั้น. บทว่า อุทฺธ เม อสฺสมทฺทส คือได้เห็นบรรณศาลา

อันเป็นอาศรมของเราอยู่เหนือกระแสน้ำจากที่อยู่ของตน. บทว่า ตตฺถ ม

ปริภาเสตฺวา บริภาษเราในที่นั้น คือ พราหมณ์นั้นมายังอาศรมของเรา

ฟังเรื่องชาติ แล้วถอยออกไปยืนอยู่ในที่พอได้ยิน กล่าวคำมีอาทิว่า คนระยำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 323

คนจัณฑาล คนกาลกิณี ท่านอย่าอยู่ที่นี่เลย แล้วขู่ให้กลัว. บทว่า อภิสปิ

มุทฺธผาลน แช่งให้เราศีรษะแตก คือพราหมณ์นั้นกล่าวว่า หากท่าน

ประสงค์จะมีชีวิตอยู่. จงรีบหนีไปเสียจากที่นี้ทีเดียว แล้วแช่งเราว่า หาก

ท่านไม่หลีกไป. จากนี้ไป ๗ วัน ศีรษะของท่านจักแตกออกเป็น ๗ เสี่ยง.

ก็ศีรษะจะแตกตามคำแช่งของพราหมณ์ หรือไม่แตกออก. พราหมณ์

นั้นโกหก. พราหมณ์กล่าวอย่างนั้นเพื่อให้หวาดสะดุ้ง ด้วยสำคัญว่า พระ-

มหาสัตว์จะกลัวมรณภัย แล้วก็จักหลีกไปเสียให้ใกล้แสนไกล ด้วยประการ

บทว่า ยทิห ตสฺส ปกุปฺเปยฺย คือ หากเราพึงโกรธต่อชฎิลโกง

ผู้กระด้างด้วยมานะนั้น. บทว่า ยทิ สีล น โคปเย ถ้าเราไม่คุ้มครองศีล

อธิบายว่า ผิว่าเราไม่พึงคิดว่า ชื่อว่า ศีลนี้พึงรักษาไว้โดยชอบไม่คำนึงถึง

ชีวิต บทว่า โอโลเกตฺวานห ตสฺส, กเรยฺย ฉาริก วิย เราแลดูพราหมณ์

นั้นแล้ว พึงทำให้เป็นดังเถ้าได้ ความว่า หากว่าในกาลนั้นเรามิได้ยินดี

ต่อพราหมณ์นั้น. ถ้าเทวดาผู้เลื่อมใสรู้ความคิดของเราโดยขณะนั้นเอง พึง

กำจัดพราหมณ์นั้นเสียให้เป็นเถ้าถ่านฉะนั้น. ก็ในกาลนั้นเมื่อความไม่พอใจ

ของพระองค์มีอยู่ ทวยเทพทำความพินาศให้แก่พราหมณ์นั้น พระศาสดา

ทรงกระทำดุจทำด้วยพระองค์เอง จึงตรัสว่า กเรยฺย ฉาริก วิย พึงทำให้

เป็นเถ้าได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 324

แต่พวกนอกแบบนอกแผนกล่าวว่า พระโพธิสัตว์นั่นแหละปรารถนา

จะพึงทำชฏิลนั้นให้เป็นเถ้าถ่านด้วยฤทธิ์. ก็เมื่อเป็นอย่างนั้นความแห่ง

บาลีนี้ก็เป็นอันถูกต้องทีเดียว. ควรจะกล่าวว่า ท่านพูดถึงการเบียดเบียน

ผู้อื่นด้วยฤทธิ์. ชื่อว่า ฤทธิ์นี้มี ๑๐ อย่าง คือ ฤทธิ์สำเร็จด้วยความตั้งใจ.

สำเร็จด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างมหัศจรรย์. สำเร็จด้วยใจ. สำเร็จด้วยความ

แผ่ไปแห่งญาณ. สำเร็จด้วยความแผ่ไปแห่งสมาธิ. เป็นฤทธิ์อันประเสริฐ.

เป็นฤทธิ์อันเกิดแต่ผลของกรรม. เป็นฤทธิ์ของผู้มีบุญ. สำเร็จด้วยวิทยา. ชื่อว่า

อิทธิ เพราะอรรถว่าให้สำเร็จปัจจัยเครื่องประกอบโดยชอบในที่นั้น ๆ. ใน

ฤทธิ์ ๑๐ อย่างนั้น ท่านกล่าวถึงฤทธิ์อย่างไหน. กล่าวถึงฤทธิ์สำเร็จด้วย

ภาวนา. ก็การเบียดเบียนผู้อื่นย่อมมีได้ด้วยฤทธิ์ สำเร็จด้วยภาวนาหรือ.

แน่นอนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า มีได้ครั้งเดียว. เหมือนอย่างว่าผู้ประสงค์

จะประหารผู้อื่น ขว้างหม้อที่เต็มด้วยน้ำไป. ผู้อื่นก็ถูกประหาร. หม้อก็แตก.

ฉันใด. การเบียดเบียนผู้อื่นด้วยฤทธิ์สำเร็จด้วยภาวนาย่อมมีได้ครั้งเดียว

ฉันนั้นเหมือนกัน. ต่อแต่นั้นฤทธิ์นั้นก็เสื่อม.

ลำดับนั้น พวกนอกแบบนอกแผนนั้นกล่าวว่า การเบียดเบียนผู้อื่น

ด้วยฤทธิ์สำเร็จด้วยภาวนามิใช่ครั้งเดียว มิใช่สองครั้ง ควรจะถามว่า ฤทธิ์

สำเร็จด้วยภาวนาเป็นอย่างไร เมื่อรู้ว่า ฤทธิ์สำเร็จด้วยภาวนา เป็นกุสล

อกุสล อัพยากฤต สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

มีวิตกวิจาร ไม่มีวิตกแต่มีวิจาร ไม่มีทั้งวิตกวิจาร เป็นกามาวจร รูปาวจร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 325

อรูปาวจร จักกล่าวฤทธิ์สำเร็จด้วยภาวนา เป็นกุสล อัพยากฤต ไม่มีทุกข์

ไม่มีสุข ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เป็นรูปาวจร. ควรกล่าวกะเขาว่า เจตนา

ฆ่าสัตว์ ย่อมได้ส่วนไหนในบรรดากุสลเป็นต้น. เมื่อรู้อยู่จักกล่าวว่า เจตนา

ฆ่าสัตว์ เป็นอกุสลแท้ เป็นทุกขเวทนาแท้ มีวิตกวิจารแท้ เป็นกามาวจร

แท้. เมื่อเป็นอย่างนั้น ปัญหาของท่านควรแสดงให้รู้ถึงความผิดพลาดใน

บาลีว่า ไม่สมด้วยกุสลัตติกะ เวทนาติกะ วิตักกติกะ ภูมันตระ. ก็ถ้าเขา

พึงยกกุลุมปสูตรซึ่งยังมิได้ยกขึ้นสู่สังคีติว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีก

ข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์ในโลกนี้มีฤทธิ์ ถึงความเชี่ยวชาญทางจิต

มีใจลามกเข้าไปเพ่งเล็งถึงสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ของหญิงอื่นว่า โอ สัตว์นี้ไม่ควร

เข้าไปในครรภ์โดยสวัสดีเลยดังนี้. แม้อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ

เข้าไปเบียดเบียนของกุลุมปะยังมีอยู่ดังนี้. ควรให้เขารู้ว่า ท่านยังไม่รู้ความ

แม้ของสูตรนั้น. เพราะในบทนี้ว่า อิทฺธิมา เจโตวสิปฺปตฺโต ผู้มีฤทธิ์

ถึงความเชี่ยวชาญทางจิต มิได้ทรรประสงค์ถึงฤทธิ์สำเร็จด้วยภาวนา ทรง

ประสงค์ฤทธิ์ที่เป็นอาถรรพนะ คือวิชาเสกเป่าป้องกัน. ด้วยว่าฤทธิ์เมื่อจะได้

ย่อมได้ในอาถรรพนะนี้ เพราะเหตุนั้นการเข้าไปเบียดเบียนผู้อื่นด้วยฤทธิ์

จึงมิได้เกิดขึ้นด้วยฤทธิ์ สำเร็จด้วยภาวนา. หากว่ายังไม่รู้ก็ควรขวนขวาย

ทำกรรมดีไว้. เพทะฉะนั้น พึงทราบความแห่งคาถาในบทนี้ โดยนัยดังได้

กล่าวไว้แล้วนั่นแล.

อนึ่ง พระมหาสัตว์ถูกพราหมณ์นั้นแช่ง จึงคิดว่า หากเราโกรธ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 326

พราหมณ์นี้. ศีลของเราก็จะไม่เป็นอันรักษา. เราจักทำลายมานะของ

พราหมณ์ด้วยอุบาย. ก็จักเป็นอันรักษาพราหมณ์นั้นด้วย. ในวันที่ ๗ จึง

ห้ามดวงอาทิตย์ขึ้น. พวกมนุษย์พากันวุ่นวายเพราะดวงอาทิตย์ไม่ขึ้น จึง

เข้าไปหาดาบสชาติมันตะ ถามว่า ข้าแต่พระคุณท่าน พระคุณเท่านี้ไม่ให้

ดวงอาทิตย์ขึ้นหรือ. ดาบสนั้นกล่าวว่า นั่นไม่ใช่เราทำดอก. แต่ว่าที่ริมฝั่ง

แม่น้ำมีดาบสจัณฑาลอยู่องค์หนึ่ง. คงจะเป็นดาบสนั้นทำกระมัง. พวกมนุษย์

จึงพากันไปหาพระมหาสัตว์ ถามว่า พระคุณท่านไม่ให้ดวงอาทิตย์ขึ้นหรือ.

ตอบว่า ถูกแล้ว. ถามว่า เพราะอะไร ? ตอบว่า ดาบสที่เป็นกุลูปกะของ

พวกท่านได้แช่งเราผู้ไม่มีความผิด. เมื่อดาบสนั้นมาหมอบลงแทบเท้าของ

เรา เพื่อขอขมาเราจึงจักปล่อยพระอาทิตย์. พวกมนุษย์พากันไปฉุดดาบสนั้น

นำมาให้หมอบลงแทบเท้าของพระมหาสัตว์ ให้ขอขมาแล้วกล่าวว่า ขอ

พระคุณท่านจงปล่อยดวงอาทิตย์เถิด. พระมหาสัตว์กล่าวว่า เราไม่อาจ

ปล่อยได้. หากเราปล่อย. ศีรษะของดาบสนี้จักแตก ๗ เสี่ยง. ถามว่า เมื่อ

เป็นเช่นนั้น พระคุณท่านจะทำอย่างไรเล่า ? พระมหาสัตว์กล่าวว่า พวก

ท่านจงเอาก้อนดินเหนียวมา ครั้นมนุษย์นำมาแล้ว จึงกล่าวว่า พวกท่านจง

วางดินเหนียวนี้ไว้บนศีรษะของดาบส แล้วให้ดาบสลงไปอยู่ในน้ำ. ดาบส

จงดำลงในน้ำ ในเมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏแล้ว จึงปล่อยดวงอาทิตย์. ก้อนดิน

เหนี่ยว พอรัศมีของดวงอาทิตย์สัมผัสเท่านั้นก็แตกออกเป็น ๗ เสี่ยง. ดาบส

ดำลงไปในน้ำ. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 327

ครั้งนั้นพราหมณ์นั้นโกรธเคืองมีใจ

ประทุษร้าย แช่งเรามุ่งหมายจะให้ศีรษะแตก

คำแช่งนั้นจะตกลงบนศีรษะของเขาเอง เรา

เปลื้องเขาให้พ้นโดยควร.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ย โส ตทา น อภิสปิ คือ ชฏิลชาติมันตะ

นั้นแช่งเราหมายจะให้ศีรษะแตก. บทว่า ตสฺเสว มตฺถเก นิปติ คำแข่ง

นั้นจะตกบนศีรษะของเขาเอง คือ คำแช่งนั้นเขาปรารถนาจะให้ตกบนศีรษะ.

เรา แต่กลับตกบนศีรษะเขา คือ ได้ตั้งอยู่โดยความเป็นของตกลงมา. ข้อนี้

เป็นเหมือนอย่างที่ว่า ประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้าย. สมดังที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้าย ฯลฯ ย่อมเป็น

เหมือนลูกศรที่ซัดไปทวนลมฉะนั้น. บทว่า โยเคน ต ปโมจยึ เราช่วย

เปลื้องเข้าให้พ้นโดยควร คือ เราช่วยเปลื้องเขาให้พ้นจากศีรษะแตกโดย

อุบาย. หรือว่าช่วยเปลื้องชฏิลนั้นให้พ้นจากศีรษะแตก อธิบายว่า ได้ทำ

โดยอุบายที่จะมิให้ศีรษะแตก.

จริงอยู่คำหยาบอันเป็นคำสาปแช่ง ซึ่งเป็นอริยูปวาทใด ซึงดาบส

ได้สาปแช่งพระมหาสัตว์ ผู้ตั้งอยู่ในมหากรุณา อันเป็นสันดานที่ได้อบรม

มาแล้วเป็นอย่างดี ด้วยสีลสัมปทาและทิฏฐิอันเต็มเปี่ยมด้วยสมาบัติวิหาร

ธรรมนานาประการสำเร็จด้วยการอบรมบารมี. หากดาบสนั้นมิให้พระมหา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 328

สัตว์ยกโทษคำหยาบนั้นอันเป็นผลให้ได้เสวยธรรมในปัจจุบัน เพราะพระ-

มหาสัตว์เป็นเนื้อนาบุญอันวิเศษ และเพราะคำหยาบเป็นอัธยาศัยของดาบส

นั้น. ในวันที่ ๗ จะเกิดสภาพสุกงอม คือให้ผลแรง แต่เมื่อพระมหาสัตว์

ยกโทษให้ การห้ามด้วยปโยคสมบัติก็จะถึงความไม่มีวิบากเป็นธรรมดา

เพราะเป็นอโหสิกรรม. นี่เป็นธรรมดาของบาปอันเกิดจากอริยุปวาทซึ่งจะ

ให้ผลในปัจจุบัน. การที่พระโพธิสัตว์ห้ามดวงอาทิตย์ขึ้นในวันที่ ๗ นั้น

เป็นอุบายที่ท่านประสงค์ในบทว่า โยโค นี้. ด้วยเหตุนั้น พวกมนุษย์จึง

วุ่นวายพากันนำดาบสไปหาพระโพธิสัตว์ให้ยกโทษ. พึงทราบว่า แม้ดาบส

นั้นก็รู้คุณของพระมหาสัตว์ ยังจิตให้เลื่อมใสในพระมหาสัตว์นั้น. การที่

เอาก้อนดินเหนียววางบนศีรษะของดาบสนั้น และการที่พระมหาสัตว์ทำ

ก้อนดินเหนียวนั้นให้แตก ๗ เสี่ยง ก็เพื่อเอาใจพวกมนุษย์. เพราะแม้

บรรพชิตเหล่านี้ก็ย่อมเป็นไปในอำนาจของจิตโดยประการอื่น. แต่ไม่ทำจิต

ให้เป็นไปในอำนาจของตนได้ เพราะเหตุนั้นพวกมนุษย์จึงยึดถือ แม้พระ-

มหาสัตว์ทำให้เป็นเช่นกับดาบสนั้น. การทำของดาบสนั้นย่อมเป็นไปเพื่อ

ความไม่เป็นประโยชน์เพื่อความทุกข์แก่มนุษย์เหล่านั้น ตลอดกาลนาน.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงประโยชน์ที่พระมหา-

สัตว์ไม่ทำจิตให้ประทุษร้ายในดาบสนั้น แล้วรักษาศีลให้บริสุทธิ์เท่านั้น

จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า อนุรกฺขึ มม สีล เราตามรักษาศีลของเรา

เป็นอาทิ. บทนั้นมีความดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 329

มัณฑัพยะในครั้งนั้น ได้เป็นพระเจ้าอุเทนในครั้งนี้. มาตังคบัณฑิต

คือพระโลกนาถ.

แม้ในมาตังคจริยานี้ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือ. อนึ่ง พึง

ประกาศคุณานุภาพของพระมหาสัตว์มีอาทิอย่างนี้ คือ การข่มมานะของ

นางทิฏฐมังคลิกาได้ตามความประสงค์ของมาตังคบัณฑิตผู้มีชาติตระกูลต่ำ.

การบวชแล้วมีจิตเกิดขึ้นว่า เราจักเป็นที่พึ่งของนางทิฏฐมังคลิกา ไปป่าบวช

ยังฌานและอภิญญาให้เกิดตามความประสงค์ในภายใน ๗ วันนั่นเอง. การ

กลับจากป่านั้นยังอุบายให้สำเร็จ ด้วยการให้นางทิฏฐมังคลิกาเลิศด้วยลาภ

และเลิศด้วยยศ. การข่มมานะของมัณฑัพยกุมาร. การข่มมานะของดาบส

ชาติมันตะ. การช่วยชีวิตดาบสผู้ไม่รู้จัก. การไม่โกรธดาบสผู้มีความผิดใหญ่

หลวง แล้วตามรักษาศีลของตน. การทำปาฏิหาริย์น่าอัศจรรย์ไม่เคยมี.

จบ อรรถกถามาตังคจริยาที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 330

๘. ธรรมเทวปุตตจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของธรรมเทวบุตร

[๑๘] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นเทพบุตร

ชื่อว่าธัมโม มีอานุภาพมาก มีฤทธิ์มาก บริวาร

มากเป็นผู้อนุเคราะห์แก่โลกทั้งปวง เราชัก-

ชวนให้มหาชนสมาทานกุศลกรรมบถ ๑๐ ประ-

การ เที่ยวไปยังบ้านและนิคม มีมิตรสหาย มี

บริวารชน ในกาลนั้น เทพบุตรลามก เป็นผู้

ตระหนี่ แสดงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ

แม้เทพบุตรนั้นก็เที่ยวไปในแผ่นดินนี้ มีมิตร

สหาย มีบริวารชน เราทั้งสอง คือ ธรรมวาที

เทพบุตรและอธรรมวาทีเทพบุตร เป็นข้าศึก

แก่กัน เราทั้งสองนั่งรถสวนทางกันมา ชนรถ

ของกันและกันที่แอกรถ การที่เลาะวิวาทอัน

พึงกลัวย่อมเป็นไปแก่เทพบุตรทั้งสองผู้ประ-

กอบด้วยกัลยาณธรรมและบาปธรรม มหา

สงครามปรากฏแล้ว เพื่อต้องการจะให้กันและ

กันหลีกทาง ถ้าเราพึงโกรธเคืองอธรรมเทพ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 331

บุตรนั้น ถ้าเราพึงทำลายตบะคุณ เราฟังทำ

อธรรมเทพบุตรนั้นพร้อมทั้งบริวารให้เป็นดุจ

ธุลีได้ แต่เพื่อจะรักษาศีลไว้ เราจึงระงับความ

ปรารถนาแห่งใจเสีย พร้อมทั้งบริษัท ได้หลีก

ทางให้แก่อธรรมวาทีเทพบุตร พร้อมกับเมื่อ

เราหลีกจากทาง ทำการระงับจิตได้ แผ่นดิน

ได้ให้ช่องแก่อธรรมเทพบุตร ในขณะนั้น

ฉะนี้แล.

จบ ธรรมเทวปุตตจริยาที่ ๘

อรรถกถาธรรมเทวปุตตจริยาที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาเทวปุตตจริยาที่ ๘. บทว่า มหาปกฺโข

คือมีบริวารมาก. บทว่า มหิทฺธโก คือประกอบด้วยเทพฤทธิ์มาก บทว่า

ธมฺโม นาม มหายกฺโข คือเทพบุตรผู้มีอานุภาพมาก ชื่อ ธรรม. บทว่า

สพฺพโลกานุกมฺปโก คือเป็นผู้มีเคราะห์ โลกทั้งปวงด้วยมหากรุณาไม่ทำ

การแบ่งแยก.

แท้จริงพระมหาสัตว์ ในกาลนั้น บังเกิดเป็นเทพบุตรชื่อว่า ธรรม-

เทพบุตร. ธรรมเทพบุตรตกแต่งด้วยเครื่องประดับเป็นทิพย์ ขึ้นทิพยรถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 332

แวดล้อมด้วยหมู่นางอัปสร เมื่อมนุษย์ทั้งหลายบริโภคอาหารในตอนเย็นแล้ว

นั่งสนทนากันอย่างเป็นสุขที่ประตูเรือน ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ประดิษฐาน

อยู่บนอากาศ ในบ้าน นิคม และราชธานี ชักชวนมนุษย์ทั้งหลายให้ตั้งอยู่

ในกุศลกรรมบถ ๑๐ ว่า ท่านทั้งหลายจงเว้นจาก อกุศลกรรมบถ ๑๐ มี

ปาณาติบาตเป็นต้น แล้วบำเพ็ญสุจริตธรรม ๓ อย่าง. จงนับถือมารดา บิดา

สมณะ พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล. ท่านทั้งหลายจักได้ไป

สวรรค์ เสวยยศยิ่งใหญ่ ดังนี้ กระทำประทักษิณชมพูทวีป. ดังที่พระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

เราชักชวนมหาชนให้สมาทานกุศลกรรม-

บถ ๑๐ เที่ยวไปยังคามและนิคม มีมิตร มี

บริวารชน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สมิตฺโต คือมีสหาย ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้

กล่าวธรรม.

ก็สมัยนั้น มีเทพบุตรองค์หนึ่ง ชื่อว่า อธรรมเทพบุตร เกิดใน

เทวโลกชั้นกามาวจร. อธรรมเทพบุตรนั้นชักชวนสัตว์ทั้งหลายให้ตั้งอยู่ใน

อกุศลกรรมบถ ๑๐ โดยนัยมีอาทิว่า ท่านทั้งหลายจงฆ่าสัตว์ จงลักทรัพย์เถิด

แวดล้อมด้วยบริษัทใหญ่ ทำชมพูทวีปให้เป็นบ้าน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 333

เทพบุตรลามก เป็นผู้ตระหนี่ แสดง

อกุศลกรรมบถ ๑๐ แม้เทพบุตรนั้นก็เที่ยวไป

ในแผ่นดินนี้ มีมิตรสหาย มีบริวารชน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปาโป คือประกอบด้วยธรรมลามก. บทว่า

กทริโย คือตระหนี่จัด. บทว่า ยกฺโข คือเทพบุตร. บทว่า ทีเปนฺโต

ทส ปาปเก แสดงอกุศลกรรมบถ ๑๐ คือเที่ยวประกาศชักชวนว่าธรรม-

ลามก ๑๐ ประการมีปาณาติบาตเป็นต้น ควรทำด้วยนัยมีอาทิว่า สักการะ

ชื่อว่าเป็นอาหารในสรรพโลก เกิดมาเพื่อเป็นของอุปโภคบริโภค. เพราะ

ฉะนั้น ควรฆ่าสัตว์ทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ตนอิ่มหมีทำอินทรีย์ให้สำราญ.

บทว่า โสเปตฺถ คืออธรรมเทพบุตรนั้นเที่ยวไปในชมพูทวีปนี้. บทว่า

มหิยา คือใกล้แผ่นดิน อธิบายว่า ในอุปจารที่พวกมนุษย์เห็นและได้ยิน.

ในบทนี้ มีความดังต่อไปนี้ สัตว์เหล่าใดทำกรรมดี เป็นผู้หนักใน

ธรรม สัตว์เหล่านั้นเห็นธรรมเทพบุตรมาอย่างนั้น ลุกจากที่นั่ง บูชาด้วย

ของหอมและดอกไม้เป็นต้น. พากันสรรเสริญจนกระทำล่วงเลยสายตา. ยืน

พนมมือไหว้. ได้ฟังถ้อยคำของธรรมเทพบุตรแล้วเป็นผู้ไม่ประมาท ทำบุญ

โดยเคารพ. ส่วนสัตว์เหล่าใดมีความประพฤติลามก มีการงานหยาบช้า

สัตว์เหล่านั้น ฟังถ้อยคำของอธรรมเทพบุตรแล้วก็พากันพอใจเป็นอย่างยิ่ง

ประพฤติกรรมลามกยิ่งขึ้นไปอีก. ในกาลนั้น เทพบุตรทั้งสองต่างก็มีวาทะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 334

ตรงกันข้ามและมีการกระทำตรงกันข้ามของกันและกัน เที่ยวไปในโลกด้วย

ประการฉะนี้. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ธรรมวาทีเทพบุตรและอธรรรมวาทีเทพบุตรเป็นข้าศึกแก่กัน. เมื่อ

กาลผ่านไป อยู่มาวันหนึ่งรถของเทพบุตรทั้งสอง ได้มาประจัญหน้ากันใน

อากาศ. จึงบริวารของเทพบุตรทั้งสองนั้นต่างก็ถามกันว่า พวกท่านเป็นของ

ใคร พวกท่านเป็นของใคร ต่างก็ตอบว่า เราเป็นของธรรมเทพบุตร เราเป็น

ของอธรรมเทพบุตร แล้วทั้งสองฝ่ายหลีกจากทาง. รถของธรรมเทพบุตร

และธรรมเทพบุตรเผชิญหน้ากัน งอนรถกับงอนรถเกยกัน. ทั้งสองฝ่าย

เถียงกันเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งให้ทางว่า ท่านจงหลีกรถของท่านแล้วให้ทางเรา

อีกฝ่ายก็ว่าท่านนั่นแหละ จงหลีกรถของท่านให้ทางเรา. ฝ่ายพวกบริวาร

ของเทพบุตรทั้งสอง ต่างก็นำอาวุธออกเตรียมทำสงครามกัน . ดังที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เราทั้งสองนั่งรถสวนทางคันมา ชนรถ

ของกันและกันที่แอกรถ. การทะเลาะวิวาท

อันพึงกลัว ย่อมเป็นไปแก่เทพบุตรทั้งสองผู้

ประกอบด้วยกัลยาณธรรมและบาปธรรม มหา

สงครามปรากฏแล้ว เพื่อจะให้กันและกัน

หลีกทางให้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 335

ในบทเหล่านั้น บทว่า ธุเร ธุร คืองอนรถของฝ่ายหนึ่งชนงอนรถ

ของอีกฝ่ายหนึ่ง. บทว่า สมิมฺหา คือมาเผชิญหน้ากัน. คำว่า อุโภ ท่าน

กล่าวเพื่อแสดงว่า แม้เราทั้งสองเป็นข้าศึกของกันและกัน เที่ยวไปในโลก

วันหนึ่งมาเผชิญหน้ากัน เมื่อบริวารทั้งสองฝ่ายหลีกจากทาง พร้อมกับรถ

เราทั้งสองก็เผชิญหน้ากันอีก. บทว่า เภสฺมา คือน่ากลัว. บทว่า กลฺยาณ-

ปาปกสฺส จ คือกัลยาณธรรมและบาปธรรม. บทว่า มหายุทฺโธ อุปฏฺิโต

คือมหาสงครามปรากฏแล้ว.

จริงอยู่ ความที่บริวารต้องการจะรบกันและกันก็เกิดขึ้น. ในทั้ง

สองฝ่ายนั้น ธรรมเทพบุตรกล่าวกะอธรรมเทพบุตรว่า ดูก่อนสหายท่าน

เป็นอธรรม เราเป็นธรรม ทางจึงสมควรแก่เรา ท่านจงหลีกรถของท่าน

แล้วให้ทางเราเถิด. อีกฝ่ายหนึ่งก็กล่าวว่า เรามียานแข็งแรงมีกำลังไม่หวาด

สะดุ้ง เพราะฉะนั้น เราไม่ให้ทาง แต่เราจะรบ ทางจงเป็นของผู้ชนะ

ในการรบเถิด. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ธรรมเทพบุตร เราเป็นผู้ให้ยศ ให้บุญ สมณะและ

พราหมณ์สรรเสริญทุกเมื่อ เป็นผู้อัน

เทวดาและมนุษย์บูชา จึงสมควรได้ทาง.

ดูก่อนอธรรมเทพบุตร เราเป็นธรรม-

เทพบุตร ท่านจงให้ทางเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 336

อธรรมเทพบุตร เราไม่หวาดสะดุ้ง มีกำลังขึ้นอธรรมยาน

แข็งแรง. ดูก่อนธรรมเทพบุตร วันนี้

เราจะให้ทางที่เราไม่เคยให้แก่ใคร ๆ แก่

ท่านได้ เพราะเหตุไรเล่า.

ธรรมเทพบุตร ธรรมนั่นแลปรากฏมาก่อน อธรรมเกิด

ในโลกภายหลัง เราเป็นพี่ เป็นผู้

ประเสริฐ เป็นคนเก่าแก่. ดูก่อนน้อง

ท่านจงหลีกทางให้พี่เถิด.

อธรรมเทพบุตร เราพึงให้ทางแก่ท่าน มิใช่เพราะคำอ้อน-

วอน เพราะคำชื่นชม เพราะสมควร

แก่ทาง วันนี้ เราทั้งสองจงมารบกัน

เถิด ทางจักเป็นของผู้ชนะในภารรบ.

ธรรมเทพบุตร ดูก่อนอธรรมเทพบุตร เราธรรมเทพบุตร

มีกำลังมาก มียศนับไม่ได้ หาผู้เปรียบ

มิได้ เข้าถึงคุณธรรมทั้งปวง ปรากฏ

แพร่หลายไปทั่วทิศ ท่านจักชนะได้

อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 337

อธรรมเทพบุตร ค้อนเหล็กทุบเงินได้ เงินทุบค้อนเหล็ก

ไม่ได้ หากวันนี้ อธรรมจักฆ่าธรรมได้

เราผู้เป็นเหล็ก จะพึงแสดงให้เห็นเป็น

ดุจทองคำ.

ธรรมเทพบุตร ดูก่อนอธรรมเทพบุตร หากท่านมีกำลัง

ในการรบ คนเจริญและครู ย่อมไม่มี

แก่ท่าน เราจะให้ทางแก่ท่าน ด้วย

ความไม่รัก ดุจด้วยความรัก เราอดทน

วาจาหยาบของท่านได้.

คาถาเหล่านี้ เป็นคาถาโต้ตอบของธรรมเทพบุตรและอธรรมเทพบุตร

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยโสกโร คือให้ยกแก่เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย ด้วยการชักชวนให้ประพฤติธรรม. แม้ในบทที่สองก็มีนัยนี้เหมือน

กัน. บทว่า สทาตฺถุโต คือยกย่องทุกเมื่อ ได้แก่สรรเสริญเป็นนิจ. บทว่า

ส กิสฺส เหตุมฺหิ ตวชฺช ทชฺช คือเราอธรรมเทพบุตร ขึ้นรถอธรรมยาน

ไม่กลัว มีกำลัง. เฮ้ยธรรมเทพบุตรวันนี้เราจะให้ทางซึ่งเราไม่เคยให้แก่ใครๆ

แก่ท่านได้เพราะเหตุไรเล่า. บทว่า ปาตุรโหสิ ได้แก่ธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐

ในโลกนี้ ได้ปรากฏมาก่อนครั้งปฐมกัป. บทว่า เชฏฺโ จ ท่านกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 338

เราเป็นพี่ เป็นผู้ประเสริฐ และเป็นคนเก่าแก่ เพราะเกิดก่อน. ส่วนท่าน

เป็นน้อง เพราะฉะนั้น น้องจงหลีกทางให้พี่.

บทว่า นปิ ปาติรูปา ดูก่อนท่านธรรมเทพบุตร ความจริงเราพึง

ให้ทางแก่ท่านมิใช่เพราะความอ้อนวอน มิใช่เพราะคำชื่นชม มิใช่เพราะ

สมควรแก่ทาง. บทว่า อนุวิสโฏ คือเราเป็นผู้ปรากฏแพร่หลายด้วยคุณ.

ธรรมของตนไปทั่วทิศ คือทิศใหญ่ ๔. ทิศน้อย ๔. บทว่า โลเหน คือ

ค้อนเหล็ก. บทว่า หญฺฉติ คือจักฆ่า. บทว่า ยุทฺธพโล อธมฺม คือ

ดูก่อนอธรรมเทพบุตร หากท่านเป็นผู้มีกำลังในการรบ. บทว่า วุฑฺฒา จ

ครู จ คือหากว่าคนเจริญเหล่านี้ ครูเหล่านี้ ที่เป็นบัณฑิตไม่มีแก่ท่าน

ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ปิยาปฺปิเยน คือด้วยความไม่รัก ดุจความรัก

อธิบายว่า เมื่อเราให้แม้ด้วยความไม่รักก็ย่อมให้หนทางแก่ท่าน ดุจด้วย

ความรัก.

ก็ในกาลนั้น พระมหาสัตว์คิดว่า หากเราดีดนิ้วมือแล้วพึงกล่าวกะ

บุคคลลามกนี้ผู้ปฏิบัติเพื่อความไม่เป็นประโยชน์แก่สรรพโลก ยึดถือสิ่งตรง

กันข้ามกับเราอย่างนี้ว่า ดูก่อนคนไม่มีมารยาท ท่านอย่าอยู่ที่นี่เลย. รีบ

หลีกไปเสียเถิด จงพินาศเถิด ในขณะนั้นเองเขาจะพึงกระจัดกระจายไป

ดุจเถ้าถ่านด้วยธรรมเดชของเรา. แต่นั่นไม่สมควรแก่เรา. เราอนุเคราะห์

สรรพโลก จะปฏิบัติโดยมุ่งหวังว่าจักยังโลกัตถจริยาให้ถึงที่สุด. ก็คนลามก

นี้แหละจะมีส่วนแห่งทุกข์ใหญ่ต่อไป. เราจะพึงอนุเคราะห์คนลามกนี้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 339

พิเศษ. เพราะฉะนั้น เราจะให้ทางแก่เขา ด้วยอาการอย่างนี้ศีลของเราจัก

บริสุทธิ์ด้วยดีจักไม่ขาด. ครั้นเมื่อพระโพธิสัตว์ดำริอย่างนี้แล้วจึงกล่าวคาถา

ว่า หากท่านเป็นผู้มีกำลังในการรบ ดังนี้เป็นต้น พอหลีกจากทางให้หน่อย

หนึ่งเท่านั้น อธรรมเทพบุตรไม่สามารถอยู่บนรถได้ หัวทิ่มลงบนแผ่นดิน

แผ่นดินแยกออก ไปบังเกิดในอเวจีมหานรก. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า :-

หากเราพึงโกรธเคืองอธรรมเทพบุตรนั้น

ถ้าเราฟังทำลายตบะคุณ เราพึงทำอธรรมเทพ-

บุตรนั้นพร้อมทั้งบริวารให้เป็นดุจธุลีได้ แต่

เพื่อจะรักษาศีลไว้ เราจึงระงับความปรารถนา

แห่งใจเสีย พร้อมทั้งบริษัท ได้หลีกทางให้แก่

อธรรมเทพบุตร พร้อมกับเมื่อหลีกจากทาง

ทำการระงับจิตได้ แผ่นดินได้ให้ช่องแก่-

อธรรมเทพบุตร ในขณะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยทิห ตสฺส ปกุปฺเปยฺย คือ ผิว่า เรา

พึงโกรธอธรรมเทพบุตรนั้น. บทว่า ยทิ ภินฺเท ตโปคุณ คือ ผิว่า

เราพึงยังศีลสังวร อันเป็นตบะคุณของเราให้พินาศไปด้วยความโกรธอธรรม.

เทพบุตรนั้น. บทว่า สหปรชน ตสฺส คือ อธรรมเทพบุตรนั้นพร้อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 340

ด้วยบริวาร. บทว่า รชภูต เป็นดุจธุลี. คือเราพึงทำให้ถึงความเป็นธุลี.

บทว่า อห ในบทว่า อปีจาห นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า สีลรกฺขาย

คือเพื่อรักษาศีล. บทว่า นิพฺพาเปตฺวาน คือสงบใจด้วยสงบความกระวน.

กระวาย้อนเกิดแต่โทสะ โดยไม่ให้ความโกรธอันเกิดขึ้นในอธรรมเทพบุตร

นั้นเกิดขึ้นได้ เพราะเราเข้าไปตั้งขันติ เมตตา และความเอ็นดูไว้ล่วงหน้า

แล้ว. บทว่า สห ชเนโนกฺกมิตฺวา คือเราให้หลีกทางพร้อมกับบริวารชน

ของเรา แล้วให้ทางแก่อธรรมเทพบุตร ผู้ลามกนั้น.

บทว่า สห ปถโต โอกฺกนฺเต พร้อมกับเมื่อเราหลีกทางให้ คือ

พร้อมกับเราทำความสงบจิตตามนัยดังกล่าวแล้ว และกล่าวว่า เราให้ทางแก่

ท่าน แล้วหลีกทางให้หน่อยหนึ่ง. บทว่า ปาปยกฺขสฺส คือธรรมเทพบุตร

บทว่า ตาวเท คือในขณะนั้นเองมหาปฐพีก็ได้ให้ช่อง. แต่ในอรรถกถา

ชาดก ท่านกล่าวไว้ว่า ในขณะที่กล่าวคาถาว่า เราให้ทางแก่ท่านนั่นเอง

มหาปฐพีได้ให้ช่อง.

เมื่ออธรรมเทพบุตรตกลงไปบนแผ่นดินอย่างนั้น มหาปฐพีหนา

๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ แม้ทรงไว้ซึ่งสิ่งดีและไม่ดีทั้งสิ้น ก็ได้แยกออกเป็น ๒ ส่วน

ในที่ที่อธรรมเทพบุตรยืนอยู่นั้น เหมือนจะกล่าวว่า เราไม่ทรงบุรุษชั่วนี้ไว้

ได้. ส่วนพระมหาสัตว์ เมื่ออธรรมเทพบุตรนั้นตกลงไปเกิดในอเวจีมหา-

นรก ยังคงยืนอยู่ที่แอกรถพร้อมกับบริวารด้วยเทวานุภาพใหญ่ ไปตามทาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 341

ที่ไปนั่นเอง แล้วเข้าไปยังภพของตน. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า :-

ธรรมเทพบุตรมีขันติเป็นกำลัง ชนะ

อธรรมเทพบุตร ผู้มีกำลังในการรบ ทำอธรรม-

เทพบุตร ฝังไว้ในแผ่นดิน. ธรรมเทพบุตร

เป็นผู้มีกำลังยิ่งไม่ล่วงสัจจะ ดีใจขึ้นรถไปตาม

นั่นเอง.

อธรรมเทพบุตรในครั้งนั้น ได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. บริวารของ

อธรรมเทพบุตร คือบริษัทของเทวทัต. ธรรมเทพบุตร คือพระโลกนาถ.

บริวารของธรรมเทพบุตร คือพุทธบริษัท.

แม้ในธรรมเทวปุตตจริยานี้ ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือตาม

ควร โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

อนึ่ง แม้ในจริยานี้ ก็พึงประกาศคุณานุภาพแห่งพระมหาสัตว์ มี

อาทิอย่างนี้ คือ การที่เมื่อพระมหาสัตว์เปี่ยมพร้อมด้วย อายุ วรรณะ ยศ

สุข และความเป็นใหญ่อันเป็นทิพย์ ด้วยกามคุณอันยิ่งใหญ่เป็นทิพย์เหมือน

กัน อันนางอัปสร ๑,๐๐๐ บำเรออยู่ตลอดกาล น่าจะตั้งอยู่ในความประมาท

อย่างใหญ่ แต่มิได้ถึงความประมาทแม้แต่น้อย แสดงธรรมในวัน ๑๕ ค่ำ

ทุกๆ เดือนด้วยหวังว่า จักยังโลกัตถจริยาให้ถึงที่สุด พร้อมด้วยบริวารเที่ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 342

ไปในทางของมนุษย์ ยังสรรพสัตว์ให้เว้นจากอธรรม แล้วประกอบในธรรม

ด้วยมหากรุณา การที่พระโพธิสัตว์แม้พบกับอธรรมเทพบุตร ก็มิได้คำนึงถึง

ความไร้มารยาทที่อธรรมเทพบุตรแสดงออกมา ไม่ทำจิตให้โกรธในอธรรม-

เทพบุตรนั้น ยังขันติ เมตตาและความเอ็นดูเท่านั้นให้ตั้งอยู่ แล้วรักษาศีล

ของตนมิให้ขาด และให้บริสุทธิ์เป็นอย่างดี.

จบ อรรถกถาธรรมเทวปุตตจริยาที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 343

๙. ชยทิสจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าชยทิส

[๑๙] พระราชาทรงพระนามว่าชยทิส ทรงประ-

กอบด้วยศีลคุณ เสวยสมบัติในพระนครอัน

ประเสริฐชื่อกัปปิลา เป็นนครอุดมในปัญจาล

รัฐ เราเป็นโอรสของพระราชาพระองค์นั้น มี

ธรรมอันสดับแล้ว มีศีลงาม มีพระนามว่า

อลีนสัตตกุมาร มีคุณสงเคราะห์บริวารชนทุก

เมื่อ พระบิดาของเราเสด็จไปทรงล่าเนื้อ ได้

ทรงพบพระยาโปริสาท พระยาโปริสาทนั้นได้

จับพระบิดาของเราแล้วกล่าวว่า ท่านเป็น

อาหารของเราอย่าดิ้นรน พระบิดาของเราทรง

สดับคำของพระยาโปริสาทนั้น ทรงกลัวสะดุ้ง

หวาดหวั่น พระองค์มีพระเพลาแข็งกระด้าง

เพราะทอดพระเนตรเห็นพระยาโปริสาท พระ-

ยาโปริสาทรับเอาเนื้อแล้วปล่อยไปโดยบังคับ

ให้กลับมาอีก พระราชบิดาพระราชทานทรัพย์

แก่พราหมณ์ แล้วตรัสเรียกเรามาว่า พ่อลูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 344

ชาย จงปกครองราชสมบัติ อย่าประมาทปก-

ครองนครนี้ พระยาโปริสาทบังคับเราให้เรา

กลับไปหาอีก เราถวายบังคมพระมารดาพระ-

บิดาแล้ว ตกแต่งร่างกายสะพายธนูเหน็บพระ-

แสงขรรค์ ออกไปหาพระยาโปริสาท (เราคิด

ว่า) พระยาโปริสาทเห็นมีมือถืออาวุธ นางทีจัก

สะดุ้งกลัว แต่เพราะเมื่อเราทำความสะดุ้งกลัว

แก่พระยาโปริสาท ศีลของเราจะเศร้าหมอง

เพระเรากลัวศีลจะขาดจึงไม่นำสิ่งที่น่าเกลียด

(อาวุธ) เข้าไปใกล้พระยาโปริสาทนั้น เรามี

เมตตาจิต กล่าวคำเป็นประโยชน์ ได้กล่าวคำ

นี้ว่า ท่านจงเอาแก่นไม้มาก่อไฟให้เป็นกอง

ใหญ่ เราจะโดดเข้าไฟ ท่านผู้เป็นพระปิตุจฉา

ท่านทราบเวลาว่าเราสุกดีแล้วจงกินเถิด เราไม่

ได้รักษาชีวิตของเรา เพราะเหตุแห่งพระบิดา

ผู้ทรงศีล เราได้ให้พระยาโปริสาทผู้ฆ่าสัตว์

เป็นปกติทุกเมื่อนั้นบวชแล้ว ฉะนี้แล.

จบ ชยทิสจริยาที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 345

อรรถกถาชยทิสจริยาที่ ๙

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาชยทิสจริยาที่ ๙ ดังต่อไปนี้. บทว่า

ปญฺจาลรฏฺเ คือในชนบทมีชื่ออย่างนี้. บทว่า นครวเร กปฺปิลาย คือ

ในอุตตมนครอันได้ชื่ออย่างนี้ว่า กัปปิลา กล่าวว่า นครวเร แล้วยังกล่าว

ว่า ปรุตฺตเม อีก เพื่อแสดงว่านครนั้นเป็นนครเลิศกว่านครทั้งหมด ใน

ชมพูทวีปในกาลนั้น. บทว่า ชยทิโส นาม คือเมื่อพระราชาทรงชนะ

ข้าศึกของพระองค์. หรือทรงชนะชยทิศคือยักษิณีอันเป็นข้าศึกของพระองค์

เพราะเหตุนั้นจึงทรงได้พระนามอย่างนี้. บทว่า สีลคุณนุปาคโต คือทรง

ประกอบด้วยอาจารศีลและคุณธรรมของพระราชา มีความสมบูรณ์ด้วยพระ-

อุตสาหะเป็นต้น. อธิบายว่า ทรงถึงพร้อมด้วยศีลคุณนั้น.

บทว่า ตสฺส รญฺโ คือแห่งพระเจ้าชยทิสราช. มีคำที่เหลือว่า

อห ปุตฺโต อโหสึ เราเป็นโอรสของพระราชาพระองค์นั้น. บทว่า สุตธมฺโม

คือ ชื่อว่าธรรมอันพระราชบุตรนั้นนิ่งสดับ. ชื่อว่า สุตธมฺโม เพราะทรง

สดับธรรมทั้งปวง อธิบายว่า เป็นพหูสูต. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สุตธมฺโม

คือมีธรรมปรากฏแล้ว ปรากฏชื่อเสียงด้วยธรรมจริยาสมจริยา อธิบายว่า

มีธรรมเป็นเกียรติแพร่หลายไปในโลก มีชื่ออย่างนี้ว่า อลีนสัตตกุมาร. บทว่า

คุณวา มีคุณคือประกอบด้วยคุณของมหาบุรุษอันยิ่งใหญ่. บทว่า อนุรกฺข-

ปริชโน สทา สงเคราะห์บริวารชนทุกเมื่อ คือดูแลบริวารชนตลอดกาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 346

เพราะประกอบด้วยคุณวิเศษมีศรัทธาเป็นต้น และเพราะสงเคราะห์ด้วยสัง-

คหวัตถุ ๔ โดยชอบ.

บทว่า ปิตา เม มิคว คนฺตฺวา, โปริสาท อุปาคมิ คือพระเจ้าชย-

ทิสพระชนกของเราเสด็จไปทรงล่าเนื้อ ครั้นเสด็จถึงท่ามกลางป่าได้ทรง

พบพระยาโปริสาทบุตรยักษิณีกินมนุษย์. จึงเข้าไปหาพระยาโปริสาทนั้น

ได้ยินว่าวันหนึ่ง พระเจ้าชยทิศเสด็จออกจากกบิลนครพร้อมด้วย

บริวารใหญ่อันสมควรแก่พระองค์ ด้วยมีพระประสงค์ว่าจักไปล่าเนื้อ พอ

พระราชาเสด็จออกไปได้พักหนึ่ง นันทพราหมณ์ชาวเมืองตักกสิลาถือเอา

คาถาชื่อว่าสตารหา ๔ บท เข้าไปหาเพื่อจะบอก แล้วกราบทูลถึงเหตุที่ตน

มาแด่พระราชา. พระราชาทรงดำริว่า เราจักกลับไปฟัง จึงพระราชทานเรือน

เป็นที่อยู่และเสบียงแก่เขาแล้วเสด็จเข้าป่าตรัสว่า เนื้อหนีไปทางข้างของผู้ใด

ผู้นั้นจะต้องถูกปรับสินไหม. แล้วทรงเที่ยวล่าเนื้อ. ครั้งนั้นเนื้อฟานตัวหนึ่ง

ได้ยินเสียงเท้าของตนเป็นอันมากจึงออกจากที่อยู่หนีไปทางพระราชา. พวก

อำมาตย์หัวเราะชอบใจ. พระราชาทรงตามเนื้อนั้นไปสุดทาง ๓ โยชน์ทรง

ยิงเนื้อนั้นซึ่งหมดกำลังให้ล้มลง. พระราชาทรงเอาพระขรรค์ชำแหละเนื้อที่

ล้มลงนั้นออกเป็นสองส่วน แม้พระองค์ไม่ปรารถนา ก็เพื่อปลดเปลื้องคำ

พูดว่า พระราชาไม่สามารถจับมฤคเอาเนื้อไปได้ จึงทรงทำคานคอนเสด็จมา

ประทับนั่งเหนือหญ้าแพรกที่โคนต้นไทรต้นหนึ่ง ทรงพักครู่หนึ่งเตรียมจะ

เสด็จไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 347

ก็สมัยนั้น พระเชษฐาของพระราชานั้นในวันประสูติถูกยักษิณีจับ

ไปเพื่อจะกิน ยักษิณีนั้นถูกพวกมนุษย์อารักขาติดตามไปถึงทางทดน้ำ จึงวาง

พระกุมารไว้ที่อก พระกุมารดูดนมด้วยสำคัญว่าพระมารดา ยักษิณีเกิดความ

รักคล้ายบุตร จึงเลี้ยงดูอย่างดี พระกุมารเสวยเนื้อมนุษย์เพราะเขาประกอบ

เป็นอาหารให้เสวย ครั้นเจริญวัยขึ้นตามลำดับ ก็หายตัวได้ด้วยอานุภาพ

ของรากยาที่ยักษิณีให้เพื่อหายตัวได้ จึงเสวยเนื้อมนุษย์เลี้ยงชีพ เมื่อยักษิณี

ตายรากยานั้นหายด้วยความประมาทของตน จึงมีร่างปรากฏ เปลือยน่ากลัว

เคี้ยวกินเนื้อมนุษย์ เห็นราชบุรุษที่ติดตามหาพระราชา จึงหนีเข้าป่าอาศัย

อยู่ที่โคนต้นไทรนั้น ครั้นเห็นพระราชาจึงพูดว่า ท่านเป็นอาหารของเรา

แล้ว จึงจับที่พระหัตถ์. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พระยาโปริสาทนั้นได้จับพระบิดาของเรา

แล้วกล่าวว่า ท่านเป็นอาหารของเราอย่าดิ้นรน

พระบิดาของเราทรงสดับคำของพระยาโปริสาท

นั้น ทรงกลับสะดุ้งหวาดหวั่น พระองค์มี

พระเพลาแข็งกระด้าง เพราะทรงเห็นพระยา-

โปริสาท พระยาโปริสาทรับเอาเนื้อแล้ว ปล่อย

ไป โดยบังคับให้กลับมาอีก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โส เม ปิตุมคฺคเหสิ ความว่า พระยา

โปริสาทนั้น ได้จับพระเจ้าชยทิส พระบิดาของเราซึ่งแสดงมาใกล้ต้นไม้ที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 348

ตนนั่ง ที่พระหัตถ์ด้วยกล่าวว่า ท่านเป็นอาหารของเรามาแล้ว. อย่าดิ้นรน

ด้วยการาสะมัดมือเป็นต้น. เราจักกินท่านแม้ดิ้นรนอยู่ ดังนี้. บทว่า ตสฺส

คือแห่งบุตรยักษิณีนั้น. บทว่า ตสิตเวธิโต คือสะดุ้งด้วยความกลัว

หวาดหวั่นด้วยร่างกายสั่น. บทว่า อุรุกฺขมฺโภ คือพระเพลาทั้งสองกระด้าง.

พระราชาไม่สามารถจะหนีไปจากนั้นได้.

บทว่า มิคว ในบทนี้ว่า มิคว คเหตฺวา มุญฺจสฺสุ คือเอาเนื้อ

แล้วปล่อยไป ท่านกล่าวถึงเนื้อของมฤคนั้นว่า มิคว เพราะได้เนื้อไป.

อธิบายว่า พระยาโปริสาทถือเอาเนื้อของมฤคนี้แล้วจึงปล่อยเรา. เพราะ

พระราชาทรงเห็นบุตรยักษิณีนั้น ทรงกลัวถึงกับพระเพลาแข็งกระด้างประ-

ทับยืนดุจตอไม้. พระยาโปริสาทรีบไปจับพระราชาที่พระหัตถ์แล้วกล่าวว่า

ท่านเป็นอาหารของเรามาแล้ว. ลำดับนั้นพระราชาทรงตั้งสติแล้วตรัสกะ

พระยาโปริสาทว่า หากท่านต้องการอาหาร. เราจะให้เนื้อนี้แก่ท่าน. ท่าน

จงรับเนื้อนั้นไปกินเถิด. ขอท่านจงปล่อยเราเถิด. พระยาโปริสาทได้ฟังดังนั้น

จึงกล่าวว่า ท่านให้ของของเราเองแล้วยังจะมาพูดดีกับเรา. ทั้งเนื้อทั้งท่าน

เป็นของของเราตั้งแต่เราจับมือท่านไว้มิใช่หรือ. เพราะฉะนั้นเราจักกินท่าน

ก่อนแล้วจึงกินเนื้อในภายหลัง.

ลำดับนั้นพระราชาทรงพระดำริว่า เจ้าโปริสาทนี้คงจะไม่ปล่อยเรา

เพราะเอาเนื้อเป็นสินไถ่แน่. อนึ่ง เมื่อเรามาล่าเนื้อได้ทำปฏิญญาไว้กับ

พราหมณ์นั้นว่า เรากลับมาแล้วจะให้ทรัพย์ท่าน. หากยักษ์นั้นอนุญาต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 349

เราจะรักษาคำสัตย์ไว้กลับไปเรือนปลงเปลื้องปฏิญญานั้นแล้ว จะพึงกลับมา

เป็นอาหารของยักษ์นี้อีก ทรงแจ้งความนั้นแก่ยักษ์. พระยาโปริสาท ฟัง

ดังนั้นแล้วกล่าวว่า หากท่านรักษาคำสัตย์ประสงค์จะไป. ท่านไปให้ทรัพย์

แก่พราหมณ์นั้นแล้วรักษาคำสัตย์ พึงรีบกลับมาอีกแล้วปล่อยพระราชาไป.

พระราชาครั้นพระยาโปริสาทปล่อยแล้วจึงตรัสว่า ท่านอย่าวิตกไปเลย. เรา

จะมาแต่เช้าทีเดียวแล้วทรงสังเกตเครื่องหมายทาง เสด็จเข้าไปถึงหมู่พลของ

พระองค์ อันหมู่พลแวดล้อมเสด็จเข้าพระนคร ตรัสเรียกนันทพราหมณ์

นั้นมา ให้นั่งเหนืออาสนะอันสมควร ทรงสดับคาถาเหล่านั้นแล้วพระราช

ทานทรัพย์ ๔,๐๐๐ ให้พราหมณ์ขึ้นยาน มีพระดำรัสว่า พวกท่านจงนำ

พราหมณ์นี้ไปส่งให้ถึงเมืองตักกสิลา แล้วทรงให้พวกมนุษย์ไปส่งพราหมณ์

ในวันที่สองมีพระประสงค์จะไปหาพระยาโปริสาท เมื่อทรงตั้งพระโอรสไว้

ในราชสมบัติ จึงทรงให้โอวาทตรัสบอกความนั้น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า :-

พระยาโปริสาทรับเอาเนื้อแล้ว ปล่อยไปโดย

บังคับให้กลับมาอีก พระบิดาพระราชทาน

ทรัพย์แก่พราหมณ์ แล้วตรัสเรียกเรามาว่า

ดูก่อนลูก ลูกจงปกครองราชสมบัติ อย่าประ-

มาทปกครองนครนี้ พระยาโปริสาทบังคับพ่อ

ให้พ่อกลับไปหาอีก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 350

ในบทเหล่านั้น บทว่า อาคมน ปุน คือได้รับรองไว้แก่พระยาโปริสาท

ว่าจะกลับมาอีก. บทว่า พราหมณสฺส ธน ทตฺวา คือฟังคาถาของนันท-

พราหมณ์ ซึ่งมาจากเมืองตักกสิลาแล้วให้ทรัพย์ไปประมาณ ๔,๐๐๐. บทว่า

ปิตา อามนฺตยี มม คือพระเจ้าชยทิศพระบิดาของเราไปหา หากถามว่า

เรียกไปหาเรื่องอะไร. ตอบว่า เรื่องราชสมบัติ. มีความว่า พระราชาตรัสว่า

ดูก่อนลูก ลูกจงปกครองราชสมบัติอันเป็นของตระกูลนี้เถิด. พ่อครองราช-

สมบัติโดยธรรมโดยเสมอไว้อย่างใด. แม้ลูกเขายกเศวตฉัตรให้ครองราช-

สมบัติก็จงเป็นอย่างนั้น. ลูกรักษาพระนครนี้ และครองราชสมบัติอย่าได้

ถึงความประมาทเลย. พ่อได้รับรองไว้กับยักษ์โปริสาทที่โคนต้นไทรในที่โน้น

ว่า พ่อจะมาหาเขาอีก. พ่อรักษาคำสัตย์จึงกลับมาที่นี้ก็เพื่อให้ทรัพย์แก่

พราหมณ์นั้นอย่างเดียว. เพราะฉะนั้นพ่อจะกลับ ณ ที่นั้น.

พระมหาสัตว์ทรงสดับดังนั้นจึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระบิดาอย่า

เสด็จไป ณ ที่นั้นเลยพระเจ้าข้า. หม่อมฉันจักไป ณ ที่นั้นเอง. ข้าแต่

พระบิดา หากพระบิดาจักเสด็จไปให้ได้. แม้หม่อมฉันก็จักไปกับพระบิดา

ด้วย. พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า เมื่อเป็นอย่างนั้นเราจะไปทั้งสองก็ไม่ได้.

เพราะฉะนั้นเรานี่แหละจักไป ณ ที่นั้นเอง. ได้รับอนุญาตจากพระราชา

ผู้ทรงห้ามโดยประการต่าง ๆ แล้วถวายบังคมพระมารดาบิดา ทรงสละชีวิต

เพื่อประโยชน์แก่พระบิดา เมื่อพระบิดาทรงให้โอวาทและเมื่อพระมารดา

พระภคินี พระชายากระทำสัจจกิริยา เพื่อความสวัสดีจึงถืออาวุธออกจาก

พระนครตรัสอำลามหาชนผู้มีหน้านองด้วยน้ำตาติดตามไป ทรงดำเนินไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 351

ตามทางที่อยู่ของยักษ์โดยนัยที่พระบิดาทรงบอกไว้. แม้บุตรยักษิณีก็คิดว่า

ขึ้นชื่อว่ากษัตริย์มีมารยามาก. ใครจะรู้ จักเป็นอย่างไรจึงขึ้นต้นไม้นั่งคอย

การมาของพระราชา เห็นพระกุมารเสด็จมาจึงคิดว่า บุตรจักมาแทนบิดา.

ภัยไม่มีแก่เราแน่จึงลงจากต้นไม้ นั่งหันหลังให้พระโพธิสัตว์. พระมหาสัตว์

เสด็จมาประทับยืนข้างหน้าพระยาโปริสาทนั้น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า :-

เราถวายบังคมพระมารดาบิดาแล้ว ตกแต่ง

ร่างกาย สะพายธนูเหน็บพระแสงขรรค์ ออก

ไปหาพระยาโปริสาท. พระยาโปริสาทเห็นมีมือ

ถืออารุธ บางทีจักสะดุ้งกลัว แต่เพราะเมื่อเรา

ทำความสะดุ้งกลัวแก่พระยาโปริสาท ศีลของ

เราจะเศร้าหมอง. เพราะเรากลัวศีลจะขาด จึง

ไม่นำสิ่งที่น่าเกลียด เข้าไปใกล้พระยาโปริสาท

นั้น เรามีเมตตาจิต กล่าวคำ เป็นประโยชน์จึง

ได้กล่าวคำนี้.

บทว่า สสตฺถหตฺถูปคต เห็นมีมือถืออาวุธ คือพระยาโปริสาทเห็น

เรามีมือถืออาวุธเข้าไปหาตน. บทว่า กทาจิ โส ตสิสฺสติ คือบางทียักษ์

นั้นจะพึงกลัว. บทว่า เตน ภิชฺชสฺสติ สีล ศีลจักแตกด้วยเหตุนั้นคือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 352

ศีลของเราจักพินาศ เศร้าหมองด้วยเหตุที่ทำให้ยักษ์นี้เกิดความกลัวนั้น.

บทว่า ปริตาส กเต มยิ คือเมื่อเราทำให้ยักษ์นั้นหวาดกลัว. บทว่า

สีลขณฺฑภยา มยฺห, ตสฺส เทสฺส น พฺยาหรึ เพราะเรากลัวศีลจะขาด

จึงไม่นำสิ่งที่น่าเกลียดเข้าไปใกล้พระยาโปริสาทนั้น คือเราได้วางศัสตรา

เพราะกลัวศีลจะขาดเข้าไปหาพระยาโปริสาทนั้นอย่างใด เพราะเรากลัวศีล

จะขาดอย่างนั้น จึงไม่น่าสิ่งที่นำเกลียดไม่น่าปรารถนาเข้าไปหาพระยาโปริ-

สาทนั้น. แต่เรากล่าวคำเป็นประโยชน์ด้วยจิตเมตตาจึงได้กล่าวคำที่จะ

กล่าวนี้ในบัดนี้.

พระมหาสัตว์ครั้นเสด็จไปประทับยืนอยู่ข้างหน้า. บุตรยักษิณีประ-

สงค์จะทดลองพระมหาสัตว์นั้น จึงถามว่า ท่านเป็นใคร มาแต่ไหน ท่าน

ไม่รู้จักเราหรือว่าเราเป็นพรานกินเนื้อมนุษย์ เหตุไรท่านจึงมาถึงที่นี่.

พระกุมารตรัสว่า เราเป็นโอรสของพระเจ้าชยทิส เรารู้ว่าท่านคือโปริสาท

ผู้กินคน เรามาที่นี่ก็เพื่อจะรักษาพระชนม์ของพระบิดา เพราะฉะนั้น

ท่านจงเว้นพระบิดา กินเราแทนเถิด. บุตรยักษิณีกล่าวด้วยอาการฉงนอีกว่า

เรารู้จักท่านว่าเป็นโอรสของพระราชาชยทิสนั้น แต่ท่านมาอย่างนี้ชื่อว่า

ท่านกระทำสิ่งที่ทำได้ยาก. พระกุมารตรัสว่า ไม่ยากเลย การสละชีวิตใน

เพราะประโยชน์ของบิดา จริงอยู่บุคคลทำบุญเห็นปานนี้ เพราะเหตุมารดา

บิดา ย่อมบรรเทิงในสวรรค์โดยส่วนเดียวเท่านั้น. อนึ่งเรารู้ว่า สัตว์ไร ๆ

ชื่อว่าไม่มีความตายเป็นธรรมดานั้นย่อมไม่มี และเราจะไม่ระลึกถึงบาป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 353

อย่างใดอย่างหนึ่งที่ตนทำไว้. เพราะฉะนั้นเราจึงไม่กลัวต่อความตาย เราสละ

ชีวิตนี้ให้แก่ท่าน แล้วตรัสว่า ท่านจงก่อไฟแล้วกินเราเถิด. ดังที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ท่านจงเอาแก่นไม้มาก่อไฟให้เป็นกอง

ใหญ่ เราจะโดดเข้าไป. ท่านผู้เป็นพระเจ้าลุง

ท่านทราบเวลาว่าเราสุกดีแล้ว จงกินเถิด.

บุตรยักษิณีได้ฟังดังนั้นคิดว่า เราไม่อาจกินเนื้อกุมารนี้ได้. เราจัก

ให้กุมารนี้หนีไปโดยอุบาย จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงเข้าป่าหาไม้มีแก่

มาทำให้เป็นถ่านเพลิงไม่มีควัน. เราจะปิ้งเนื้อท่านที่ถ่านเพลิงนั้นแล้วกิน

เสีย. พระมหาสัตว์ได้ทำตามนั้นแล้วจึงบอกแก่โปริสาท. โปริสาทแลดู

พระกุมารนั้นคิดว่า กุมารนี้เป็นบุรุษสีหราชไม่กลัวแม้แต่ความตาย. คนไม่

กลัวตายอย่างนี้เราไม่เคยเห็น เกิดขนลุกชันมองดูพระกุมาร. พระกุมาร

ตรัสถามว่า ท่านมองดูเราทำไมเล่า ท่านไม่ทำตามคำพูด. บุตรยักษิณีกล่าวกะ

พระมหาสัตว์ว่า ผู้ใดกินท่าน ศีรษะของผู้นั้นจะพึงแตก ๗ เสี่ยง. พระมหา-

สัตว์ตรัสว่า หากท่านไม่ประสงค์จะกินเรา. ท่านก่อไฟทำไมเล่า ยักษ์ตอบ

ว่า เพื่อข่มท่าน. พระกุมารเมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้นว่า ท่านจักข่มเรา

ได้อย่างไรในบัดนี้. เราแม้เกิดในกำเนิดเดียรัจฉานก็ยังมิให้ท้าวสักกเทวราช

ข่มเราได้เลยดังนี้ จึงกล่าวคาถาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 354

ก็กระต่ายนั้นสำคัญว่า ท่าวสักกะนี้เป็น

พราหมณ์ จึงได้เชิญให้อยู่ ณ ที่นั้น. ข้าแต่

เทวะ. ด้วยเหตุนั้นแล กระต่ายนั้นจึงเป็น

จันทิมาเทพบุตร ได้ความสรรเสริญด้วยเสียงว่า

สส ให้เจริญความใคร่จนทุกวันนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สโส อวาเสสิ สเก สรีเร คือกระต่าย

เมื่อจะให้ร่างกายของตน ในสรีระของตนอย่างนี้ว่า ท่านจงเคี้ยวกินสรีระ

แล้วจงอยู่ที่นี้เถิด เพราะสรีระของตนเป็นเหตุ จึงให้ท้าวสักกะผู้มีรูปเป็น

พราหมณ์ นั้นอยู่ ณ ที่นั้น. บทว่า สสตฺถุโต คือได้ความสรรเสริญด้วย

เสียงว่า สส อย่างนี้ว่า สส ดังนี้. บทว่า กามทุโห คือให้เจริญความ

ใคร่. บทว่า ยกฺข คือเทวดา.

พระมหาสัตว์ทรงแสดงเครื่องหมายกระ-

ต่ายในดวงจันทร์ อันเป็นปาฏิหาริย์ ตั้งอยู่

ตลอดกัปให้เป็นพยาน แล้วได้ตรัสถึงความที่

พระองค์แม้ท้าวสักกะก็ไม่สามารถจะข่มได้.

พระยาโปริสาทได้ฟังดังนั้นเกิดจิตอัศจรรย์ไม่เคยมี จึงกล่าวคาถาว่า :-

ดวงจันทร์พ้นจากปากราหู ย่อมรุ่งเรือง

ดุจแสงสว่างในวันเพ็ญ ฉันใด. ท่านกปิละผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 355

มีอานุภาพใหญ่ ท่านพ้นจากโปริสาทย่อมรุ่ง

โรจน์ ฉันนั้น. พระองค์ยังพระชนกชนนีให้

ปลาบปลื้ม ทั้งผู้ที่เป็นฝ่ายพระญาติทั้งปวงของ

พระองค์ก็ยินดี.

แล้วก็ปล่อยพระกุมารไปด้วยทูลว่า ขอท่านผู้เป็นวีระบุรุษผู้ยิ่งใหญ่

จงกลับไปเถิด. แม้พระมหาสัตว์ก็ทรงทำให้โปริสาทนั้นหมดพยศได้แล้วให้

ศีล ๕ เมื่อจะทรงทดลองดูว่า โปริสาทนี้เป็นยักย์หรือไม่จึงสันนิษฐานเอา

โดยไม่พลาด ดุจด้วยพระสัพพัญญุตญาณโดยอนุมาน คือถือเอาตามนัยดังนี้

คือ นัยน์ตายักษ์มีสีแดงไม่กะพริบ. เงาไม่ปรากฏ. ไม่หวาดสะดุ้ง. โปริสาท

นี้ไม่เป็นอย่างนั้น. เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่ยักษ์. เป็นมนุษย์นี่เอง. นัยว่า

พระบิดาของเรามีพระภาดา ๓ องค์ ถูกยักษิณีจับไป. ทั้ง ๓ องค์นั้นถูก

ยักษิณีกินเสีย ๒ องค์. องค์หนึ่งยักษิณีเลี้ยงดูด้วยความรักเหมือนลูก.

โปริสาทนี้คงจักเป็นองค์นั้นเป็นแน่แล้วคิดว่า เราจักทูลพระบิดาของเราให้

ตั้งโปริสาทไว้ในราชสมบัติ แล้วกล่าวว่า ท่านมิใช่ยักษ์เป็นพระเชษฐา ของ

พระบิดาของเรา มาเถิดท่านจงมาไปกับเรา แล้วครองราชสมบัติอันเป็นของ

ตระกูล. ดังที่พระกุมารกล่าวว่า ท่านเป็นลุงของเรา. เมื่อโปริสาทกล่าวว่า

เราไม่ใช่มนุษย์ พระกุมารจึงนำไปหาดาบสผู้มีตาทิพย์ซึ่งโปริสาทเชื่อถือ. เมื่อ

ดาบสกล่าวถึงความเป็นพ่อว่า พวกท่านทำอะไรกันทั้งพ่อทั้งลูกเที่ยวไปในป่า

ดังนี้โปริสาทจึงเชื่อกล่าวว่าไปเถิดลูก. เราไม่ต้องการราชสมบัติ. เราจักบวช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 356

ละ แล้วบวชเป็นฤาษีอยู่ในสำนักของดาบส. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า :-

เรามิได้รักษาชีวิตของเรา เพราะเหตุแห่ง

พระบิดาเป็นผู้ทรงศีล เราได้ให้พระยาโปริสาท

ผู้ฆ่าสัตว์เป็นปกติทุกเมื่อนั้นบวชแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สีลวต เหตุ คือเพราะแห่งบิดาแห่งบิดาของ

เราเป็นผู้ทรงศีล. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สีลวต เหตุ คือเพราะเหตุแห่ง

ความมีศีล. อันเป็นเครื่องหมายแห่งการสมาทานความมีศีลของเรา เพื่อ

มิให้ศีลขาด. บทว่า ตสฺส คือ โปริสาทนั้น.

ลำดับ นั้นพระมหาสัตว์ทรงนมัสการพระเจ้าลุงของตน ซึ่งบวชแล้วไป

ใกล้พระนคร พระราชา ชาวพระนคร ชาวนิคม ชาวชนบท ได้ฟังว่าพระ-

กุมารเสด็จกลับมาแล้ว ต่างก็ร่าเริงยินดีลุกไปตั้งรับ พระกุมารถวายบังคม

พระราชา แล้วทูลเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น

แล้ว ในขณะนั้นเอาจึงทรงรับสั่งให้ตีกลองป่าวประกาศ เสด็จไปหาพระดาบส

โปริสาทนั้นด้วยบริวารใหญ่แล้วตรัสว่า ข้าแต่เจ้าพี่ ขอเชิญเจ้าพี่มาครองราช-

สมบัติเถิด. พระดาบสทูลว่า อย่าเลยมหาบพิตร. พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น

นิมนต์อยู่ในพระราชอุทยานของข้าพเจ้าเถิด. พระดาบสทูลว่า อาตมาไม่มา.

พระราชารับสั่งให้ปลูกบ้านใกล้อาศรมนั้นแล้วจัดตั้งภิกษา. บ้านนั้น ชื่อจูฬ -

กัมมาสทัมมนิคม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 357

พระมารดาพระบิดาในครั้งนั้น ได้เป็นมหาราชตระกูลในครั้งนี้.

พระดาบส คือพระสารีบุตร. โปริสาท คือพระองคุลิมาล. พระกนิษฐา คือ

นางอุบลวรรณา. พระอัครมเหสี คือมารดาพระราหุล. อลีนสัตตุกุมาร คือ

พระโลกนาถ.

แม้ในชยทิสจริยานี้ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือของพระโพธิสัตว์

นั้นตามสมควร โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. อนึ่ง พึงประกาศคุณา-

นุภาพของพระโพธิสัตว์ไว้ในจริยานี้ มีอาทิอย่างนี้ คือการที่พระบิดาทรงห้าม

สละชีวิตของตน เพื่อรักษาชีวิตของพระบิดาจึงตัดสินพระทัยว่า จักไปหา

โปริสาท. การที่วางศัสตราไปเพื่อมิให้โปริสาทนั้นหวาดสะดุ้ง. การเจรจา

ถ้อยคำน่ารักกับโปริสาทนั้นด้วยหวังว่า ศีลของตนจงอย่าขาดเลย. การไม่

มีความสะดุ้งต่อความตาย ทั้ง ๆ ที่โปริสาทนั้นข่มขู่โดยนัยต่าง ๆ การร่าเริง

ยินดีว่า เราจักทำร่างกายของเราให้มีผลในประโยชน์ของพระบิดา. การรู้ภาวะ

ของตนที่ไม่คำนึงถึงชีวิต เพื่อบริจาคในชาติเป็นกระต่าย ซึ่งแม้ท้าวสักกะ

ไม่สามารถจะข่มได้. การไม่มีความผิดปกติแม้เมื่อถูกสมาคมปล่อย. การรู้

ไม่ผิดพลาดของความเป็นมนุษย์ และความเป็นพระเจ้าลุงของโปริสาทนั้น.

ความเป็นผู้ใคร่เพื่อให้โปริสาทนั้น ดำรงอยู่ในราชสมบัติอันเป็นของตระกูล

เพียงได้รู้จักกัน. การให้โปริสาทเกิดสลดใจในการแสดงธรรมแล้วให้ตั้งอยู่.

ในศีล.

จบ อรรถกถาชยทิสจริยาที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 358

๑๐. สังขปาลจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของสังขปาลนาคราช

[๒๐] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระยานาค

ชื่อสังขปาละ มีฤทธิ์มาก มีเขี้ยวเป็นอาวุธ

มีพิษแรงกล้า มีลิ้นสองแฉก เป็นใหญ่กว่า

นาคทั้งหลาย เราอธิษฐานอุโบสถมีองค์ ๔

ประการว่า ผู้ใดมีกิจด้วยผิวหนังก็ดี เนื้อก็ดี

เอ็นก็ดี กระดูกก็ดี ของเรา ผู้นั้นจงนำเอา

อวัยวะที่เราให้แล้วนี้ไปเถิด แล้วสำเร็จการอยู่

ณ สถานที่ใกล้ทางใหญ่สี่แยก อันเกลื่อนกล่น

ด้วยหมู่ชนต่าง ๆ พวกบุตรของนายพรานเป็น

คนดุร้าย หยาบช้า ไม่มีกรุณา ได้เห็นเราแล้ว

มีมือถือไม้พลองตะบองสั้น กรูกันเข้ามาหาเรา

ณ ที่นั้น พวกบุตรนายพรานเอาหอกแทงเราที่

จมูก ที่หาง ที่กระดูกสันหลัง แล้วเอาหวาย

ร้อยหามเราไป ถ้าเราปรารถนา ก็พึงยังมหา-

ปฐพีอันมีสมุทรสาครเป็นที่สุด พร้อมทั้งป่า

ทั้งภูเขา ให้ไหนด้วยลมจมูกในที่นั้น ๆ แต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 359

เราไม่โกรธเคืองพวกบุตรนายพราน แม้จะแทง

ด้วยหลาว แม้จะทิ่มด้วยหอก นี้เป็นศีลบารมี

ของเรา ฉะนี้แล.

จบ สังขปาลจริยาที่ ๑๐

อรรถกถาสังขปาลจริยาที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาสังขปาลจริยาที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้. ความ

สังเขปในบทว่า สงฺขปาโล เป็นต้น มีดังนี้. ชื่อว่า มหิทฺธิโก มีฤทธิ์

มาก เพราะประกอบด้วยฤทธิ์ของนาคใหญ่เช่นกับโภคสมบัติของเทพ. ชื่อว่า

ทาาวุโธ มีเขี้ยวเป็นอาวุธ เพราะมีเขี้ยวเป็นอาวุธ ๔ เขี้ยว คือข้างล่าง ๒

ข้างบน ๒. ชื่อว่า โฆรวิโส มีพิษแรงกล้า เพราะมีพิษมีเดชสูง. ชื่อว่า

ทวิชิวฺโห มีลิ้นสองแฉก เพราะประกอบด้วยลิ้นสองแฉก สำเร็จมาแต่

กำเนิดนาค. ชื่อว่า อุรคาภิภู เป็นใหญ่กว่านาคทั้งหลาย เพราะความเป็น

ใหญ่กว่านาคทั้งหลาย อันได้ชื่อว่า อุรค เพราะไปด้วยอก แม้ของนาคผู้มี

อานุภาพใหญ่. ในทาง ๒ แยก กล่าวคือที่ที่นั้น ทาวสองสายทะลุติดต่อ

กันไป. ในทางใหญ่ คือเป็นที่ที่มหาชนสัญจรไปมาเสมอๆ. อันเกลื่อนกล่น

ด้วยหมู่ชนต่าง ๆ เพราะจากที่นั้นหีมหาชนมากมาย. องค์ ๔ ด้วยสามารถ

แห่งองค์ ๔ ซึ่งจะกล่าวในบัดนี้. บทว่า อธิฏฺาย คืออธิษฐานได้แก่ตั้ง.

ใจ. เมื่อใดเราเป็นนาคราชมีรูปตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่าสังขบาล. เมื่อนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 360

เราสำเร็จการอยู่ในที่ดังกล่าวแล้วในหนหลัง คือสำเร็จการอยู่ ด้วยการอยู่

จำอุโบสถ.

จริงอยู่พระมหาสัตว์ เป็นผู้ขวนขวายในบุญมีทานและศีลเป็นต้น

ท่องเที่ยวไปมาในคติของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยการแสวงหาโพธิ-

ญาณ บางครั้ง เกิดในนาคพิภพอันมีสมบัติเช่นกับสมบิดของเทพ เป็นนาค-

ราชชื่อว่าสังขปาละ. มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก. นาคราชนั้น เมื่อกาล

ผ่านไป รังเกียจสมบัตินั้นปรารถนากำเนิดมนุษย์ จึงอยู่จำอุโบสถ. เมื่อ

นาคราชนั้นอยู่ในนาคพิภพ การอยู่รักษาอุโบสถไม่สมบูรณ์. ศีลจักเศร้า-

หมอง. ด้วยเหตุนั้นนาคราชจึงออกจากนาคพิภพ ล้อมจอมปลวกแห่งหนึ่ง

ในระหว่างทางใหญ่ และทางเดินทางเดียว ไม่ไกลแม่น้ำ กัณหวรรณา แล้ว

อธิษฐานอุโบสถ สมาทานในวัน ๑๔ - ๑๕ ค่ำ เป็นปกติ. อธิษฐานว่า ผู้

ต้องการหนังเป็นต้นของเราจงเอาไป สละตนให้เป็นทานแล้วนอน. วันค่ำ

หนึ่งจึงไปนาคพิภพ. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า. อีกเรื่องหนึ่งในกาล

เมื่อเราเป็นนาคราช ชื่อว่า สังขปาละ มีฤทธิ์มากเป็นต้น.

ท่านกล่าวบทว่า จตุโร องฺเค อธิฏฺาย อธิษฐานองค์ ๔ มีผิวหนัง

เป็นต้น ไว้ในที่นี้ เป็นการแสดงถึง อธิษฐานมีองค์ ๔. เพราะผิวหนังเป็น

องค์หนึ่งในที่นี้. เมื่อพระมหาสัตว์อยู่จำอุโบสถอย่างนี้ กาลล่วงไปยาวนาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 361

อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อสังขปาลนาคราชสมาทานศีลอย่างนั้นแล้วนอน

บุตรของพราน ๑๖ คน คิดกันว่าจะหาเนื้อ จึงถืออาวุธเที่ยวไปในป่า ครั้น

ไม่ได้อะไร ๆ ก็กลับเห็นนาคราชนั้นนอนอยู่บนยอดจอมปลวก คิดว่า วันนี้

เราไม่ได้อะไรเลยแม้แต่ลูกเหี้ย. เราจักฆ่านาคราชนี้กิน แต่นาคราชนี้ใหญ่

มาก เมื่อเข้าไปจับคงหนีไป ดังนั้นจึงคิดกันว่า เราจงเอาหลาวแทงนาค-

ราชนั้นทั้ง ๆ ที่นอนอยู่นั่นแหละที่ขนด ทำให้อ่อนกำลังแล้วจึงจับ จึงถือ

หลาวเข้าไปหา. แม้พระโพธิสัตว์ก็มีร่างกายใหญ่ประมาณเท่าเรือโกลนลำ-

หนึ่ง ดุจพวกดอกมะลิที่ร้อยวางไว้งามยิ่งนัก ประกอบด้วยดวงตาเช่นกับผล

มะกล่ำ และศีรษะเช่นกับดอกชบา. นาคราชนั้นโผล่ศีรษะจากระหว่างขน

เพราะเสียงเท้า ของตน ๑๖ คนเหล่านั้น ลืมตาสีแดงเห็นคน ๑๖ คนถือ

หลาวเดินมา คิดว่าวันนี้ความปรารถนาของเราจักถึงที่สุด ได้มอบตนให้เป็น

ทานแล้ว ตั้งจิตอธิษฐานแน่วแน่ เพราะกลัวศีลของตนจะขาดว่า เราจะไม่

แลดูชนเหล่านี้ ซึ่งเอาหลาวแทงร่างกายของเรา ทำให้เป็นช่องเล็กช่องใหญ่

จึงสอดศีรษะเข้าไปในระหว่างขนดนอนต่อไป.

ลำดับนั้น บุตรพรานเหล่านั้นจึงเข้าไฝจับนาคราชนั้นที่หางฉุดลงมา

ตกบนแผ่นดิน เอาหลาวคมกริบแทงในที่ ๘ แห่ง สอดท่อนหวายดำพร้อม

ด้วยหนามเข้าไปทางปากเพื่อประการ เอาคานหามในที่ ๘ แห่ง เดินไปสู่

ทางหลวง. พระมหาสัตว์ตั้งแต่ถูกแทงด้วยหลาวก็กลับหามิได้มองดูลูกพราน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 362

เหล่านั้น แม้ในทีเดียว. นาคราชนั้นเมื่อลูกพรานเอาคาน ๘ อันหามนำไป

ห้อยศีรษะกระทบแผ่นดิน. ลำดับนั้นพวกลูกพราน เห็นว่าศีรษะนาคราช

ห้อย จึงให้นาคราชนั้นนอนบนทางหลวง เอาหลาวแหลมแทงที่ตั้งจมูกสอด

เชือกเข้าไปยกศีรษะขึ้น แล้วคล้องที่ปลายคานยกขึ้นอีก เดินทางต่อไป.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พวกลูกพรานเป็นคนดุร้าย หยาบช้า ไม่

มีกรุณา ได้เห็นเราแล้ว ถือไม้พลองตะบอง

สั้นกรูกันเข้ามาหาเรา ณ ที่นั้น พวกลูกพราน

เอาหอกแทงเราที่จมูก ที่หาง ที่กระดูกสันหลัง

แล้วสอดคานหามเราไป.

ถ้าเราปรารถนา ก็พึงยังมหาปฐพี อันมี

สมุทรสาครเป็นที่สุด พร้อมทั้งป่า ทั้งภูเขา

ให้ไหม้ด้วยลมจมูกในที่นั้น ๆ.

แต่เราไม่โกรธเคืองลูกพรานทั้งหลาย แม้

จะแทงด้วยหลาว แม้จะทุบตีด้วยหอก.

นี้เป็นศีลบารมีของเรา ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 363

ในบทเหล่านั้น บทว่า โภชปุตฺตา คือลูกพราน. บทว่า ขรา

คือดุร้าย ได้แก่พูดหยาบ. บทว่า ลุทฺทา คือหยาบช้า ได้แก่มีใจร้าย

บทว่า อการุณา คือไม่มีความสงสาร. บทว่า ทณฺฑมุคฺครปาณิโน คือถือ

กระบอง ๔ เหลี่ยม. บทว่า นาสาย วินิวิชฺฌิตฺวา คือเอาหลาวแทงเรา

ที่จมูกเพื่อสอดเชือกเข้าไป. บทว่า นงฺคุฏฺเ ปิฏฺถณฺฏเก ที่หางที่กระดูก

สันหลัง. พึงทราบการเชื่อมความว่า แทงที่หางและที่นั้น ๆ อันใกล้กับกระ-

ดูกสันหลัง. บทว่า กาเช อาโรปยิตฺวาน สอดคาน คือลูกพรานสองคน

ยกคานข้างละคนที่แทงไว้ในข้างหนึ่ง ๆ ในบริเวณของหวายและเถาวัลย์ ๘

แห่งที่แทงผูกไว้ในที่ทั้ง ๘ ขึ้นบ่าของตน ๆ. บทว่า สสาครนฺต ปวึ คือ

มหาปฐพีอันมีสมุทรสาครเป็นที่สุด. บทว่า สกานน สปพฺพต คือพร้อม

ด้วยป่าและภูเขา. บทว่า นาสาวาเตน ฌาปเย ความว่า ถ้าเราต้องการ

อยู่ ปรารถนาอยู่ โกรธแล้วพึงปล่อยซึ่งลมจมูก ยังมหาปฐพีนี้ อันมีมหา-

สมุทรเป็นที่สุด พร้อมด้วยป่าและภูเขาให้ไหม้. คือพึงทำให้เป็นเถ้าถ่าน

พร้อมกับด้วยการให้ไหม้ด้วยลมจมูก. ในกาลนั้น อานุภาพของเราเป็นเช่น

นี้. แม้เมื้อเป็นเช่นนั้น ถึงจะแทงด้วยหลาว ถึงจะทิ่มด้วยหอก. บทว่า

โภชปุตฺเต น กุปฺปามิ ความว่า เราก็ไม่โกรธลูกพราน คือเราไม่

โกรธลูกพรานผู้ดุร้าย แม้จะแทงด้วยหลาวอันคมกริบที่ถากทำด้วยไม้แก่น

เพื่อทำให้หมดกำลัง และเมื่อสอดหวายและเถาวัลย์เข้าไปในที่ ๘ แห่ง และ

แม้จะทิ่มด้วยหลาวอันคมกริบ เพื่อทำให้หมดกำลังในที่นั้น ๆ. บทว่า เอสา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 364

เม สีลปารมี นี้เป็นศีลบารมีของเรา คือการที่เราผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้

อธิษฐานอย่างนั้น ไม่โกรธลูกพรานเพราะกลัวศีลจะขาด นี้เป็นศีลบารมี

ของเราซึ่งเป็นไปแล้วโดยความไม่คำนึงถึงชีวิตโดยส่วนเดียวเท่านั้น. อธิบาย

ว่า เป็นปรมัตถบารมี ด้วยอำนาจของศีล.

อนึ่ง เมื่อพระโพธิสัตว์ถูกพวกลูกเศรษฐีนำไป กุฎุมพีชื่ออาฬาระชาว

เมืองมิถิลา นำเกวียน ๕๐๐ นั่งอยู่บนยานอันสำราญไปเห็นพวกลูกพราน

เหล่านั้น กำลังนำพระมหาสัตว์ไป ก็เกิดความสงสารถามพรานเหล่านั้นว่า

พวกท่านนำนาคราชนี้ไปทำไม ? พวกท่านจักนำไปทำอะไร ? พวกพราน

ตอบว่า พวกเราจักปิ้งเนื้ออร่อยอ่อนอ้วนของนาคนี้กิน. กุฎุมพีนั้นจึงให้โค

ใช้งาน ๑๖ ตัว ทองคำฟายมือหนึ่งแก่พวกลูกพรานเหล่านั้น ผ้านุ่งห่ม

แม้แก่ภรรยาของทุกคน วัตถุสิ่งของที่ระลึกแก่พวกลูกพรานแล้วกล่าวว่า

นาคนี้เป็นนาคราชมีอานุภาพมากโดยชอบ. ไม่ประทุษร้ายพวกท่านด้วยศีล

คุณของตน. พวกที่ทำให้นาคราชนี้ลำบาก เป็นบาปมาก. ปล่อยเสียเถิด.

พวกลูกพรานเหล่านั้นกล่าวว่า นาคนี้เป็นอาหารเอร็ดอร่อยของพวกเรา.

พวกเราไม่เคยกินนาคเลย. เอาเถิดพวกเราบูชาถ้อยคำของท่าน. เพราะ

ฉะนั้นเราจะปล่อยนาคนี้. แล้วปล่อยให้พระมหาสัตว์นอนบนพื้นดินเพราะ

ความหยาบช้าของตนๆ จึงจับที่ปลายหวายและเถาวัลย์ที่ร้อยไว้ด้วยหนาม

เหล่านั้นเตรียมจะกระชาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 365

ลำดับนั้น กุฎุมพีเห็นนาคราชลำบาก จึงทำไม่ให้ลำบากด้วยการเอา

ดาบตัดเถาวัลย์ค่อย ๆ. ดึงออกไม่ให้เจ็บปวดทำนองเดียวกับการนำเครื่องเจาะหู

ของทารกทั้งหลายออก. ในกาลนั้น ลูกพรานทั้งหลายช่วยกันค่อยๆ ดึงเครื่อง

ผูกมัดที่สอดสวมออกจากจมูกของนาคราชนั้น. สักครู่หนึ่งพระมหาสัตว์

ก็บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออกมองดูอาฬาระด้วยตาเต็มไปด้วยน้ำตา. พวก

พรานไปได้หน่อยหนึ่ง แอบปรึกษากันว่า นาคอ่อนกำลัง เมื่อนาคตายพวก

เราจักเอานาคนั้นไป. อาฬารกุฎุมพีไหว้พระมหาสัตว์กล่าวว่า จงไปเถิดมหา-

นาค. พวกพรานจะไม่จับท่านอีกแล้ว ได้ตามไปส่งนาคราชนั้นหน่อยหนึ่ง

แล้วก็กลับ.

พระโพธิสัตว์ไปยังนาคพิภพไม่ทำให้เสียเวลาในนาคพิภพนั้น ออก

ไปพร้อมด้วยบริวารใหญ่ เข้าไปหาอาฬาระพรรณนาคุณของนาคพิภพ แล้ว

นำอาฬาระไปในนาคพิภพนั้น ให้ยศยิ่งใหญ่พร้อมด้วยนางนาคกัญญา ๓๐๐

แก่อาฬาระ. ให้อาฬาระเอิบอิ่มด้วยกามทิพย์. อาฬาระอยู่ในนาคพิภพได้

หนึ่งปี บริโภคกามทิพย์ จึงบอกแก่นาคราชว่า สหาย ข้าพเจ้าปรารถนา

จะบวช จึงถือเอาบริขารของบรรพชิตออกจากนาคพิภพนั้น ไปหิมวันต-

ประเทศแล้วบวชอาศัยอยู่ ณ หิมวันตประเทศนั้นเป็นเวลาช้านาน ต่อมา

เที่ยวจาริกไปถึงกรุงพาราณสี พระเจ้ากรุงพาราณสีทอดพระเนตรเห็นทรง

เลื่อมใส อาจารสมบัติตรัสถามว่า พระคุณท่านบวชจากตระกูลที่มีสมบัติ

มาก. เพราะเหตุไรจึงบวช เมื่อจะทูลถึงเหตุที่ตนบวช จึงทูลเรื่องราวทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 366

ตั้งต้นแต่การขอให้พวกพรานปล่อยพระโพธิสัตว์จากเงื้อมมือ แด่พระราชา

แล้วแสดงธรรมด้วยคาถาทั้งหลายเหล่านี้ว่า :-

มหาบพิตร แม้กามทั้งหลายอันเป็นของ

มนุษย์ เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไป

เป็นธรรมดา อาตมาภาพก็ได้เห็นแล้ว อาต-

มาภาพเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย จึงบวช

ด้วยศรัทธา มหาบพิตร มนุษย์ทั้งหลาย

ทั้งหนุ่มทั้งแก่ ตายหมด เหมือนผลไม้ในป่า

หล่น ฉะนั้น อาตมาภาพเห็นดังนั้น จึงบวช

ความเป็นสมณะ ไม่ผิด เป็นสิ่งประเสริฐ.

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสว่า :-

ผู้มีปัญญาเป็นพหูสูต มีความคิดถึงฐานะ

มาก ควรคบแน่นอน ท่านอาฬาระ ข้าพเจ้า

ได้ฟังเรื่องนาคราชและเรื่องท่านแล้ว จักกระ-

ทำบุญไม่น้อยทีเดียว.

ลำดับนั้น พระดาบสแสดงธรรมถวายพระราชอย่างนี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 367

ผู้มีปัญญา เป็นพหูสูต มีความคิดถึง

ฐานะมากควรคบ ข้าแต่ราชะ พระองค์ทรง

สดับเรื่องราวของนาคราชและของอาตมาภาพ

แล้ว ขอจงทรงทำบุญไม่น้อยเถิด.

พระดาบสพักอยู่ ณ กรุงพาราณสีนั้นตลอดฤดูฝน ๔ เดือนแล้วไป

หิมวันตประเทศ เจริญพรหมวิหาร ๔ ตลอดชีวิต ก็ได้เข้าถึงพรหมโลก. แม้

พระโพธิสัตว์ก็อยู่จำอุโบสถตลอดชีวิตก็ได้ไปสู่สวรรค์. แม้พระราชานั้นก็

ทรงทำบุญมีทานเป็นต้น แล้วก็ไปตามยถากรรม.

อาฬาระในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตรในครั้งนี้. พระเจ้าพาราณสี

คือพระอานนท์เถระ. สังขปาลนาคราช คือพระโลกนาถ.

การบริจาคสรีระ ของนาคราชนั้นเป็นทานบารมี. การที่นาคราช

ผู้ประกอบด้วยเดชเป็นพิษเห็นปานนั้น เมื่อมีการเบียดเบียนก็ไม่ทำลายศีล

ชื่อว่า ศีลบารมี. การละโภคสมบัติเช่นกับโภคสมบัติของเทพ แล้วออกจาก

นาคพิภพ บำเพ็ญสมณธรรม ชื่อว่า เนกขัมมบารมี. การเตรียมตัวว่าควร

ทำประโยชน์มีทานเป็นต้น และสิ่งนี้ ๆ ชื่อว่า ปัญญาบารมี. การบรรเทา

กามวิตก และความเพียรด้วยการอดกลั้น ชื่อว่า วีริยบารมี. ความอดทน

ด้วยความอดกลั้น ชื่อว่า ขันติบารมี. การสมาทานสัจจะ ชื่อว่า สัจจบารมี.

การตั้งใจสมาทานไม่หวั่นไหว ชื่อว่า อธิษฐานบารมี. ความเป็นผู้มีเมตตา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 368

และความเอ็นดูในสรรพสัตว์ทั้งหลาย หมายถึงมวลลูกพราน ชื่อว่า เมตตา

บารมี. ความเป็นกลางในเวทนา และความผิดปกติที่ทำแล้วในสัตตสังขาร

ทั้งหลาย ชื่อว่า อุเบกขาบารมีเป็นอันได้บารมี ๑๐ อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

แต่ศีลบารมีเท่านั้นที่ท่านยกขึ้นสู่เทศนา ทำให้เป็นบารมีมีความยิ่งยวด

อย่างยิ่ง. อนึ่ง คุณานุภาพของพระโพธิสัตว์ในจริยานี้ พึงประกาศโดยนัย

ดังกล่าวแล้วในภูริทัตตจริยามีอาทิว่า โยชนสติเก นาคภวนฏฺาเน ใน

ที่ตั้งนาคพิภพ ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ดังนี้.

จบ อรรถกถาสังขปาลจริยาที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 369

บทว่า เอเต คือจริยามีหัตถินาคจริยาเป็นต้น ที่แสดงแล้วใน

วรรคนี้ และจริยา ๙ ที่รวบรวมแสดงด้วยหัวข้อมีอาทิว่า หตฺถิ นาโค

ภูริทตฺโต หัตถินาคจริยา ภูริทัตตจริยาเหล่าใด ทั้งหมดเหล่านั้น ชื่อว่า

สีลพลา เพราะมีศีลเป็นกำลัง โดยความเป็นไปด้วยการบำเพ็ญศีลบารมี

เป็นพิเศษ. ชื่อว่า ปริกฺขารา เพราะปรับปรุงศีลอันเป็นปรมัตถบารมีและ

เพราะปรับปรุงสันดานด้วยอำนาจแห่งการอบรม. ชื่อว่า ปเทสิกา สปฺป-

เทสา คือยังมีการสละให้ เพราะศีลปรมัตถบารมีอันถึงความอุกฤษฏ์ ยัง

ไม่สมบูรณ์. คือไม่ให้ก็ไม่ใช่. หากถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะ

รักษาชีวิต แล้วจักตามรักษาศีล อธิบายว่า เพราะบรรดาจริยาทั้งหลาย มี

หัตถินาคจริยาเป็นต้นเหล่านั้น เรารักษาชีวิตของตนโดยเป็นเอกเทศเท่านั้น

แล้วตามรักษาศีล. เรามิได้สละชีวิตโดยประการทั้งปวง. แต่เมื่อเราเป็น

สังขปาลนาคราช มีอานุภาพมาก มีเดชคือพิษสูง ชีวิตของเราถูกพราน

เหล่านั้นรวมหัวกัน มิได้จำแนกบุคคลทั้งก่อนทั้งหลัง นำไปโดยส่วนเดียว

เท่านั้น. เราสละชีวิตที่ถูกเขานำไปให้เป็นทาน เพื่อตามรักษาศีลเท่านั้น.

เพราะฉะนั้น จริยานั้นถึงความเป็นปรมัตถบารมี จึงเป็นศีลบารมีของเรา

ท่านแสดงไว้ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาทุติยวรรค

เป็นการชี้แจงศีลบารมีโดยวิเศษอันสงเคราะห์เข้าในจริยา ๑๐ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 370

รวมจริยาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สีลวนาคจริยา ๒. ภูริทัตตจริยา ๓. จัมเปยยกจริยา

๔. จูฬโพธิจริยา ๕. มหิสราชจริยา ๖. รุรุมิคจริยา ๗. มาตังคจริยา

๘. ธรรมเทวปุตตจริยา ๙. ชยทิสจริยา ๑๐. สังขปาลจริยา จริยา

ทั้งหมดนี้เป็นกำลังของศีล เป็นบริขารของศีล เราให้สละชีวิตตามรักษาศีล

เราผู้เป็นสังขปาลนาคราช ได้มอบชีวิตให้แก่คนใดคนหนึ่ง แม้ตลอดกาล

ทุกเมื่อ เหตุนั้น จริยานั้นจึงเป็นศีลบารมี ฉะนี้แล.

จบ สีลบารมีนิเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 371

๓. ยุธัญชยวรรค

การบำเพ็ญเนกขัมมบารมีเป็นต้น

๑. ยุธัญชยจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของยุธัญชยกุมาร

[๒๑] ในกาลเมื่อเราเป็นพระราชโอรส ( ของ

พระเจ้าสัพพทัตตราช ) นามว่ายุธัญชัย มี

บริวารยศหาประมาณมิได้ สลดใจเพราะได้

เห็นหยาดน้ำค้างอันเหือดแห้งเพราะแสง

อาทิตย์ เราทำความเป็นอนิจจังนั้นแลให้เป็น

ปุเรจาริก พอกพูนความสังเวช เราถวายบังคม

พระมารดาและพระบิดาแล้ว ทูลขอบรรพชา

มหาชนพร้อมทั้งชาวนิคมทั้งชาวจังหวัด ประ-

นมอัญชลีอ้อนวอนเรา พระบิดาตรัสว่า วันนี้

เจ้าจงปกครองแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาลเถิด

ลูก เมื่อมหาชนพร้อมทั้งพระราชบิดา นาง

สนม ชาวนคม และชาวแว่นแคว้น ร้องไห้

ร่ำไรควรสงสาร เราไม่ห่วงใยสละไปแล้ว เรา

สละราชสมบัติในแผ่นดินหมู่ญาติ บริวารชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 372

และยศศักดิ์ทั้งสิ้นได้ไม่คิดถึงเลย เพราะเหตุ

แห่งโพธิญาณ เราจะเกลียดพระมารดาพระบิดา

ก็หามิได้ เราจะเกลียดยศศักดิ์อันยิ่งใหญ่ก็หา

มิได้ แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา

ฉะนั้น เราจึงสละราชสมบัติ ฉะนี้แล.

จบ ยุธัญชยจริยาที่ ๑

อรรถกถายุธัญชยวรรคที่ ๓

การบำเพ็ญเนกขัมมบารมี

อรรถกถายุธัญชยจริยาที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถายุธัญชยจริยาที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดัง

ต่อไปนี้. บทว่า อมิตยโส คือมีบริวารและสมบัติหาประมาณมิได้. บทว่า

รณชปุตฺโต ยุธญฺชโย คือชื่อยุธัญชยเป็นโอรสของพระราชาพระนามว่า

สัพพทัตตะในรัมมนคร.

กรุงพาราณสีนี้ ในอุทยชาดก ชื่อว่า สุรุนธนนคร. ในจูฬสุต-

โสมชาดก ชื่อว่า สุทัศนนคร. . ในโสณนันทชาดก ชื่อว่า พรหมวัฑฒน

นคร. ในขัณฑหาลชาดก ชื่อว่า บุบผวตีนคร. แต่ในยุธัญชยชาดก ชื่อว่า

รัมมนคร. บางครั้งชื่อของนครนี้ก็เปลี่ยนไปอย่างนี้. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 373

พระราชบุตรเป็นโอรสของพระราชา พระนามว่า สัพพทัตตะในรัมมนคร.

พระราชาพระองค์นั้นได้มีพระโอรส ๑,๐๐๐ องค์.พระโพธิสัตว์เป็นโอรสองค์

ใหญ่. พระราชาพระราชทานตำแหน่งอุปราชให้. พระโอรสนั้นทรงให้

มหาทานทุก ๆ วัน ตามนัยดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล. เมื่อกาลผ่านไป

อย่างนี้ วันหนึ่งพระโพธิสัตว์ขึ้นประทับรถอันประเสริฐแต่เช้าตรู่ เสด็จ

ประพาสพระราชอุทยานด้วยสมบัติอันเป็นสิริใหญ่ ทอดพระเนตรเห็น

หยาดน้ำค้างที่ค้างอยู่บนยอดไม้ ยอดหญ้า ปลายกิ่งและใยแมลงมุมเป็นต้น

มีลักษณะเหมือนข่ายแก้วมุกดา ตรัสถามว่า ดูก่อนสารถีนั่นอะไร. ครั้น

ทรงสดับว่า นั่นคือหยาดน้ำค้างที่ตกในเวลามีหิมะ. ทรงเพลิดเพลินอยู่ ณ

พระราชอุทยาน ตอนกลางวัน ครั้นตกเย็นเสด็จกลับ ไม่ทรงเห็นหยาด

น้ำค้างเหล่านั้น จึงตรัสถามว่า ดูก่อนสารถี หยาดน้ำค้างเหล่านั้นหาย

ไปไหนหมด. เดี๋ยวนี้เราไม่เห็นหยาดน้ำค้างเหล่านั้น ครั้นทรงสดับว่า

เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นหยาดน้ำค้างทั้งหมดก็สลายละลายไป ทรงดำริว่า หยาด

น้ำค้างเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วสลายไปฉันใด แม้สังขารคือชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย

เหล่านี้ก็ฉันนั้น เช่นกับหยาดน้ำค้างที่ยอดหญ้า. เพราะฉะนั้น เราซึ่งยัง

ไม่ถูกพยาธิ ชราและมรณะเบียดเบียนควรทูลลาพระมารดาพระบิดาออก

บวช จึงทรงทำหยาดน้ำค้างให้เป็นอารมณ์ เห็นภพทั้งสามดุจถูกไฟไหม้

เสด็จมายังพระตำหนักของพระองค์ เสด็จไปเฝ้าพระบิดาซึ่งประทับอยู่

โรงวินิจฉัย ซึ่งประดับตกแต่งเป็นอย่างดี ถวายบังคมพระชนก ประทับยืน

อยู่ข้างหนึ่งทูลขอบวช. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 374

เราสลดใจเพราะเห็นหยาดน้ำค้างเหือด

แห้งไป เพราะแสงของดวงอาทิตย์. เราทำ

ความไม่เที่ยงของหยาดน้ำค้างนั้นให้เป็นปุเร-

จาริก พอกพูนความสังเวช เราถวายบังคม

พระบิดาทูลขอบรรพชา.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สูริยาตเป คือเพราะแสงดวงอาทิตย์. การ

สัมผัสรัศมีดวงอาทิตย์. ปาฐะว่า สูริยาตเปน บ้าง. บทว่า ปติต ทิสฺวาน

เพราะทรงเห็นหยาดน้ำค้างเหือดแห้ง คือเพราะทรงแลดูหยาดน้ำค้างที่ค้าง

อยู่บนยอดต้นไม้เป็นต้นก่อนยังปรากฏอยู่ ครั้นต้องรัศมีดวงอาทิตย์ก็เหือด

แห้งไป ด้วยปัญญาจักษุ. บทว่า สวิชึ คือทรงถึงความสลดพระทัยด้วย

ทรงมนสิการถึงความไม่เที่ยงว่า หยาดน้ำค้างเหล่านี้ฉันใด แม้ชีวิตของสัตว์

ทั้งหลายก็ฉันนั้น มีสภาพแตกสลายไปอย่างรวดเร็ว. บทว่า ตญฺเวาธิปตึ

กตฺวา สเวคมนุพฺรูหยึ คือพระโพธิสัตว์ทรงกระทำความไม่เที่ยงของหยาด

น้ำค้างนั้นนั่นเองให้เป็นใหญ่ เป็นประธาน เป็นหัวหน้า เป็นปุเรจาริก

แล้วทรงมนสิการถึงความที่สังขารทั้งปวงมีเวลานิดหน่อย ตั้งอยู่ไม่นาน

ทรงพอกพูนความสังเวชอันเกิดขึ้นครั้งเดียว ด้วยให้เกิดขึ้นบ่อย ๆ. บทว่า

ปพฺพชฺชมนุยาจห คือ เราดำริว่าเราผู้ที่พยาธิชราและมรณะยังไม่ครอบงำ

ในชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย อันไม่ตั้งอยู่นานดุจหยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า ควร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 375

บวชแสวงหามหานิพพานอันเป็นอมตะ ซึ่งไม่มีพยาธิชราและมรณะเหล่านี้

แล้วเข้าไปเฝ้าพระมารดาพระธิดาถวายบังคมแล้วทูลขอบรรพชาว่า ขอพระ-

มารดาพระบิดาจงทรงอนุญาตให้หม่อมฉันบวชเถิด. เมื่อพระมหาสัตว์ทูลขอ

อนุญาตบวชอย่างนี้แล้วได้เกิดโกลาหลใหญ่ทั่วพระนครว่า ได้ยินว่า พระ-

อุปราชยุธัญชัยมีพระประสงค์จะทรงผนวช.

ก็สมัยนั้น ชาวแคว้นกาสีมาเพื่อจะเฝ้าพระราชาพากันเข้าไปใน

รัมมนคร. ทั้งหมดนั้นประชุมกัน. พระราชาพร้อมด้วยบริวาร ชาวนิคม

ชาวชนบท พระมารดา พระเทวี ของพระโพธิสัตว์และพวกสนมทั้งปวง

พากันทูลห้ามพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่พระกุมารอย่าทรงบวชเลย บรรดา

ชนเหล่านั้น พระราชาตรัสว่า หากกามทั้งหลายของลูกยังพร่องอยู่. พ่อ

จะเพิ่มให้ลูก. วันนี้ขอให้ลูกครองราชสมบัติเถิด. พระมหาสัตว์ทูลถึงความ

พอพระทัยในการบวชของพระองค์อย่างเดียวแต่พระบิดาตรัสว่า :-

ข้าแต่พระบิดาผู้เป็นใหญ่ในแว่นแคว้น

ขอพระบิดาอย่าทรงห้ามลูกเลย ลูกสมบูรณ์

ด้วยกามทุกอย่าง อย่าตกไปในอำนาจของชรา

เลย.

เมื่อพระมารดาพร้อมด้วยพวกสนมคร่ำครวญอยู่อย่างน่าสงสาร จึง

ทูลถึงเหตุแห่งการบวชของพระองค์ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 376

อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ก็เหมือนน้ำค้าง

บนยอดหญ้า. พอดวงอาทิตย์ขึ้นก็เหือดแห้ง

ไป ข้าแต่พระมารดา ขอพระมารดาอย่าห้าม

ลูกเลย.

แม้เมื่อพระมารดาพระบิดาทรงห้ามอยู่ ก็มิได้มีพระทัยท้อถอยเพราะ

ความสังเวชพอกพูนเป็นอย่างยิ่ง มิได้มีพระทัยห่วงใยในพระประยูรญาติ

หมู่ใหญ่อันเป็นที่รักและในราชอิสสริยยศอันโอฬาร ทรงบรรพชาแล้ว.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

มหาชนพร้อมทั้งชาวนิคม ทั้งชาวแว่น-

แคว้น ประนมอัญชลีอ้อนวอนเรา. พระบิดา

ตรัสว่า วันนี้ลูกจงปกครองแผ่นดินอันกว้าง-

ใหญ่ไพศาลเถิด. เมื่อมหาชนพร้อมทั้งพระ-

บิดา นางสนม ชาวนิคม และชาวแว่นแคว้น

ร้องไห้คร่ำครวญอย่างน่าสงสาร. เราไม่ห่วงใย

สละไปแล้ว.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปญฺชลิกา คือประคองอัญชลี. บทว่า

สเนคมา สรฏฺกา คือราชบุรุษทั้งปวงพร้อมด้วยชาวนิคมและชาวแว่น-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 377

แคว้นพากันอ้อนวอนเราว่า ข้าแต่เทวะขอพระองค์อย่าทรงผนวชเลย.

พระมารดาพระบิดาตรัสว่า ลูกจงครองราชสมบัติในวันนี้เถิด. คือจงปกครอง

แผ่นดินอันใหญ่นี้ อันกว้างใหญ่ด้วยความเจริญยิ่งของบ้านนิคมและราชธานี

และด้วยถึงความไพบูลย์อันไพศาล ด้วยความสมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์สาร

และด้วยความงอกงามของพืชพรรณมีข้าวกล้าเป็นต้น. พระมารดาพระบิดา

รับสั่งให้ยกเศวตฉัตรแล้วทรงขอร้องว่า ลูกจงครองราชสมบัติเถิด ก็เมื่อ

มหาชนพร้อมด้วยพระราชา นางสนม ชาวนิคม ชาวแว่นแคว้นร้องไห้

คร่ำครวญอย่างน่าสงสาร โดยอาการที่ความกรุณาอันใหญ่ย่อมมีแม้แก่ผู้ฟัง

ไม่ต้องพดถึงผู้เห็นเราไม่ห่วงใย ไม่เกาะเกี่ยวในบุคคลนั้น ๆ บวชแล้วใน

กาลนั้นเอง ท่านแสดงไว้ด้วยประการฉะนี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงว่า เราละสิริราชสมบัติเช่นกับ

สมบัติจักรพรรดิ พระประยูรญาติอันเป็นที่รักไม่ห่วงใยสละปริวารชน คน

สนิทและยศอันใหญ่ที่ชาวโลกเขาเพ่งเล็งกันได้ ตรัสพระคาถาของคาถา

ว่า :-

เราสละราชสมบัติในแผ่นดิน หมู่ญาติ

บริวารชน และยศศักดิ์ทั้งสิ้นมิได้คิดถึงเลย

เพราะเหตุแห่งโพธิญาณ เราจะเกลียดพระ-

มารดาพระบิดาก็หามิได้ เราจะเกลียดยศศักดิ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 378

อันยิ่งใหญ่ก็ตามิได้ แต่พระสัพพัญญุตญาณ

เป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงสละ

ราชสมบัติ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เกวล แปลว่า สิ้นเชิง อธิบายว่า เราสละ

ตำหนักนางสนมจนหมดสิ้น และแผ่นดินมีมหาสมุทรเป็นที่สุดด้วยประสงค์

จะบวช ไม่คิดถึงอะไร ๆ เพราะเหตุแห่งโพธิญาณอย่างเดียวว่า เราสามารถ

บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณได้ด้วยอาการอย่างนี้. อธิบายว่า เราไม่เกิดความ

เกี่ยวเกาะในสิ่งนั้นแม้แต่น้อย. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเราจะเกลียด

พระมารดาพระบิดา ยศศักดิ์อันยิ่งใหญ่และราชสมบัติก็หามิได้ เรารัก

ทั้งนั้น. แต่พระสัพพัญญุตญาณเท่านั้น เป็นที่รักของเรายิ่งกว่าสิ่งเหล่านั้น

ร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า. ฉะนั้นเราจึงสละราชสมบัติกับพระมารดา

เป็นต้น ในกาลนั้นได้ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อพระมหาสัตว์ทรงสละทุกสิ่งทุกอย่าง เสด็จออกบวชยุธิฏฐิลกุมาร

พระกนิษฐาของพระโพฐิสัตว์นั้นถวายบังคมพระชนก ทรงขออนุญาตบวช

ติดตามพระโพธิสัตว์. ทั้งสองกษัตริย์ก็ออกจากพระนคร รับสั่งให้มหาชน

กลับเสด็จเข้าป่าหิมวันตะ สร้างอาศรมบทในที่น่าพอใจ ทรงบวชเป็นฤาษี

ยังฌานและอภิญญาให้เกิด ทรงเลี้ยงชีวิตด้วยรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นต้น

จนตลอดพระชนม์ แล้วก็เสด็จไปสู่พรหมโลก. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 379

พระกุมารทั้งสอง คือ ยุธัญชัยะ และ

ยุธิฏฐิละ ละพระมารดาพระบิดา ตัดความข้อง

ของมัจจุออกบวชแล้ว.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สงฺค เฉตฺวาน มจฺจุโน คือพระกุมารตัด

ความข้อง คือ ราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นของมีอยู่ เพราะเป็นเหตุ

ทำร่วมกันกับมัจจุมาด้วยการข่มใจไว้ แล้วบวช.

พระมารดาพระบิดาในครั้งนั้น ได้เป็นมหาราชตระกูลในครั้งนี้.

ยุธิฏฐิลกุมาร คือพระอานนท์เถระ. ยุธัญชย คือพระโลกนาถ.

การบริจาคมหาทานเมื่อก่อนบวช และการสละราชสมบัติเป็นต้น

ของพระมหาสัตว์นั้นเป็นทานบารมี. การสำรวมกายวาจาเป็นศีลบารมี.

การบรรพชาและการบรรลุฌานเป็นเนกขัมมบารมี. ปัญญาเริ่มต้นด้วยทำ

มนสิการโดยความเป็นของไม่เที่ยง จนบรรลุอภิญญาเป็นที่สุดและปัญญา.

กำหนดธรรมเป็นอุปการะและไม่เป็นอุปการะแห่งทานเป็นต้น เป็นปัญญา

บารมี. ความเพียรยังประโยชน์นั้นให้สำเร็จในที่ทั้งปวง เป็นวีริยบารมี.

ญาณขันติและอธิวาสนขันติ เป็นขันติบารมี. การไม่พูดผิดจากคำปฏิญญา

ชื่อว่า สัจจบารมี. การตั้งใจสมาทานอันไม่หวั่นไหวในที่ทั้งปวง ชื่อว่า

อธิษฐานบารมี. เพราะจิตคิดแต่ประโยชน์ในสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วยอำนาจ

แห่งเมตตาพรหมวิหาร ชื่อว่า เมตตาบารมี. ด้วยการวางเฉยในความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 380

ผิดปกติที่ทำแล้วในสัตตสังขาร และด้วยอุเบกขาพรหมวิหาร ชื่อว่า อุเบกขา-

บารมีเป็นอันได้บารมี ๑๐ ด้วยประการดังนี้. แต่พึงทราบโดยความพิเศษว่า

เป็นเนกขัมมบารมี. อนึ่ง แม้ในจริยานี้พึงเจาะจงกล่าวถึงอัจฉริยคุณของ

พระมหาบุรุษ ตามสมควรดุจในอกิตติจริยา. สมดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า เอว อจฺฉริยา เหเต, อพฺภูตา จ มเหสิโน ฯลฯ ธมฺมสฺส

อนุธมฺมโต มีใจความดังได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น ๆ.

จบ อรรถกถายุธัญชยจริยาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 381

๒. โสมนัสสจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของโสมนัสสกุมาร

[๒๒ ] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นราชบุตร

สุดที่รัก เป็นที่ปรารถนา เป็นที่น่ารักของ

พระมารดาพระบิดาปรากฏนามว่า โสมนัส อยู่

ในอินทปัตถนครอันอุดม เป็นผู้มีศีล สมบูรณ์

ด้วยคุณธรรม มีปฏิภาณอันเฉียบแหลม

เคารพนบนอบต่อบุคคลผู้เจริญมีหิริ และ

ฉลาดในสังคหธรรม ครั้งนั้น มีดาบสโกงผู้หนึ่ง

เป็นที่โปรดปรานของพระราชาพระองค์นั้น

ดาบสนั้นปลูกต้นผลไม้ ดอกไม้และผัก เก็บ

ขายเลี้ยงชีวิต เราได้เห็นดาบสโกงนั้น เหมือน

กองแกลบอันไม่มีข้าวสาร เหมือนไม้เป็น

โพลงข้างใน เหมือนต้นกล้วยหาแก่นมิได้

ดาบสโกงผู้นี้ไม่มีธรรมของสัตบุรุษ ปราศจาก

ความเป็นสมณ ละธรรมขาวคือหิริ เพราะ

เหตุแห่งการเลี้ยงชีวิต ปัจจันตชนบทกำเริบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 382

ขึ้น เพราะโจรอันเที่ยวอยู่ในดง พระราชบิดา

ของเรา เมื่อจะเสด็จไปปราบความกำเริบนั้น

ตรัสสั่งเราว่า พ่ออย่าประมาทในชฎิลผู้มีความ

เพียรอันแรงกล้านะ พ่อจงอนุวัตรตามความ

ปรารถนา ด้วยว่าชฎิลนั้น เป็นผู้ให้ความ

สำเร็จความปรารถนาทั้งปวง เราไปสู่ที่บำรุง

ชฎิลนั้นแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี

ท่านสบายดีดอกหรือ หรือว่าท่านจะให้นำเอา

อะไรมา เหตุนั้น ดาบสโกงนั้นอาศัยมานะ

จึงโกรธเราว่า เราจะให้พระราชาฆ่าท่านเสีย

ในวันนี้ หรือจะให้ขับไล่เสียจากแว่นแคว้น

พระราชาทรงปราบปัจจันตชนบทสงบแล้ว ได้

ตรัสถามชฏิลโกงว่า พระผู้เป็นเจ้าสบายดี

หรือสักการะสัมมานะยังเป็นไปแก่พระผู้เป็น

เจ้าหรือ ชฎิลโกงนั้นทราบทูลแด่พระราชา

เหมือนว่าพระราชกุมารให้ฉิบหาย พระเจ้า

แผ่นดินทรงสดับคำของชฎิลโกงนั้นทรงบังคับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 383

ว่า จงตัดศีรษะเสียในที่นี้นั่นแหละ จงสับ

ฟันบั่นออกเป็น ๔ ท่อน ทิ้งไว้ในท่ามกลาง

ถนนให้คนเห็นว่า นั่นเป็นผลของตนเบียด-

เบียนชฎิล พวกโจรฆาตก็ใจดุร้ายไม่มีกรุณา

เหล่านั้น เพราะรับสั่งบังคับ เมื่อเรานั่งอยู่

บนตักของพระมารดา ก็ฉุดคร่านำเราไป เรา

ได้กล่าวแก่เขาเหล่านั้น ซึ่งกำลังผูกมัดอย่าง

มั่นคงอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงพาเราไปเฝ้า

พระราชาโดยเร็ว ราชกิจของเรามีอยู่ เขา

เหล่านั้นเป็นคนลามกและเสพคนลามก พาเรา

ไปเฝ้าพระราชา เราไปเฝ้าพระราชา แล้วทูล

ให้ทรงเข้าพระทัย และนำมาสู่อำนาจของเรา

พระบิดาขมาเรา ณ ที่นั้นแล้ว ได้พระราชทาน

ราชสมบัติอันใหญ่หลวงแก่เรา เรานั้นทำลาย

ความมืดมัวเมาแล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต

เราจะเกลียดราชสมบัติ อันใหญ่หลวงก็หา

มิได้ จะเกลียดกามโภคสมบัติก็หามิได้ แต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 384

พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้น

เราจึง สละราชสมบัติเสีย ฉะนี้แล.

จบ โสมนัสสจริยาที่ ๒

อรรถกถาโสมนัสสจริยา ๒

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาโสมนัสจริยาที่ ๒ ดังต่อไปนี้. บทว่า

อินฺทปตฺเถ ปุรุตฺตเม คือนครประเสริฐมีชื่ออย่างนี้. บทว่า กามิโต

เพราะเป็นที่ปรารถนา คือเป็นผู้อันพระชนกชนนีปรารถนาในกายนานอย่าง

นี้ว่า ไฉนหนอบุตรจะพึงเกิดสักคนหนึ่ง. บทว่า ทยิโต ได้แก่เป็นที่รัก.

บทว่า โสมนสฺโสติ วิสฺสุโต คือมีชื่อตามประกาศอย่างนี้ว่า โสมนัส.

บทว่า สีลวา คือประกอบด้วยศีล คือกุศลกรรมบถ ๑. และศีลคืออาจาร.

บทว่า คุณสมฺปนฺโน คือเข้าถึงหรือบริบูรณ์ด้วยคุณ มีศรัทธาและ

พาหุสัจจะเป็นต้น. บทว่า กลฺยาณปฏิภาณวา คือประกอบด้วยปฏิภาณงาม

กล่าวคือ เป็นผู้ฉลาดในอุบายยังกิจที่ควรทำนั้น ๆ ให้สำเร็จ. บทว่า

วุฑฺฒาปจายี เคารพอ่อนน้อมต่อผู้เจริญ คือมีปกติอ่อนน้อมต่อมารดาบิดา

ผู้เจริญในตระกูลต่อบุคคลผู้เจริญโดยชาติ และต่อบุคคลผู้เจริญด้วยคุณธรรม

มีศีลเป็นต้น. บทว่า หิริมา คือประกอบด้วยหิริมีลักษณะเกลียดบาป.

บทว่า สงฺคเหสุ จ โกวิโท คือฉลาดในการสงเคราะห์สัตว์ทั้งหลายตาม

สมควรด้วยสังคหวัตถุ ๔ มีทาน คือการให้ ปิยวาจา คือเจรจาน่ารัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 385

อัตถจริยา คือประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์ สมานัตตตา คือมีตนเสมอไม่ถือตัว.

พึงทราบการเชื่อมความว่า ในกาลเมื่อเราปรากฏชื่อว่า โสมนัสเป็นโอรสของ

พระเจ้ากุรุพระนามว่า เรณุเห็นปานนี้. บทว่า ตสฺส รญฺโ ปติกโร

คือเป็นที่โปรดปราน เพราะพระเจ้ากุรุเข้าไปบำรุงอยู่เนือง ๆ. บทว่า

กุหกตาปโส คือดาบสผู้หนึ่งสำเร็จชีวิตด้วยความหลอกลวงมีลักษณะยกย่อง

คุณของอสัตบุรุษ. เป็นผู้ที่พระราชาทรงนับถือ. บทว่า อาราม คือสวน

ผลไม้ ดาบสปลูกผลที่เป็นเถา มีฟักทอง น้ำเต้า ฟักเขียว แตงกวาเป็นต้น

และผักมีกระเพลาเป็นต้น. บทว่า มาลาวจฺฉ คือดอกไม้มีดอกมะลิและ

ลำดวนเป็นต้น. ด้วยเหตุนี้ท่านจึงแสดงว่า เป็นสวนดอกไม้. พึงทราบ

อธิบายว่า ดาบสทำสวนปลูกไม้ดอกและไม้ผลดังกล่าวแล้วในสวนนั้น รวบ

รวมทรัพย์ที่ได้จากการขายไม้ดอกไม้ผลนั้นเลี้ยงชีพ.

ในเรื่องนั้นพึงทราบกถาเป็นลำดับดังต่อไปนี้. ในครั้งนั้นมีดาบส

ชื่อว่ามหารักขิตะ มีดาบส ๕๐๐ เป็นบริวารอยู่ในหิมวันตประเทศ เที่ยว

จาริกไปยังชนบทเพื่อต้องการเสพของเค็มและของเปรี้ยว ถึงกรุงอินทปัตถะ

อยู่ในพระราชอุทยานพร้อมด้วยบริวารเที่ยวไปบิณฑบาตถึงประตูพระราชวัง

พระราชาทอดพระเนตรเห็นหมู่ฤาษี ทรงเลื่อมใสในอิริยา ให้นั่งบนพื้น

ใหญ่ที่ตกแต่งแล้ว ทรงอังคาสด้วยอาหารอันประณีต แล้วตรัสว่า ขอ

พระคุณท่านจงอยู่ในอุทยานของข้าพเจ้าตลอดฤดูฝนนี้เถิด แล้วเสด็จไป

พระราชอุทยานกับพระดาบสเหล่านั้นรับสั่งให้สร้างที่อยู่ ทรงถวายบริขาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 386

ของบรรพชิตแล้วเสด็จออกไป. ตั้งแต่นั้นมาดาบสทั้งปวงเหล่านั้นก็บริโภค

ในพระราชนิเวศน์.

ฝ่ายพระราชาไม่มีโอรสทรงปรารถนาโอรส. โอรสก็ยังไม่เกิด. ครั้น

ออกพรรษาพระมหารักขิตะคิดว่า เราจะต้องกลับไปป่าหิมวันตะ จึงลา

พระราชา พระราชาทรงการทำสักการะสัมมานะแล้วออกไปในระหว่างตอน

กลางวันและจากทางพร้อมด้วยบริวาร นั่งภายใต้ต้นไม้มีเงาหนาทึบต้นหนึ่ง.

ดาบสทั้งหลายสนทนากันว่า พระราชาไม่มีพระโอรส. จะพึงเป็นการดี

หากพระราชาได้พระราชบุตร. ท่านมหารักขิตะได้ฟังการสนทนานั้นจึงใคร่

ครวญดูว่า พระโอรสของพระราชาจักมีหรือไม่หนอ. ทราบว่าจักมีจึงกล่าวว่า

พวกท่านอย่าคิดไปเลย วันนี้เวลาใกล้รุ่ง เทพบุตรองค์หนึ่งจักจุติลงมาเกิด

ในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระราชา.

ชฎิลโกงคนหนึ่งได้ฟังดังนั้นคิดว่า บัดนี้เราจักเป็นราชกุลูปกะ คือผู้

เข้าถึงราชตระกูล ครั้นดาบสทั้งหลายจะไปจึงทำเป็นไข้นอนชมเมื่อดาบส

กล่าวว่า มาไปกันเถิด. กล่าวว่า ผมไปไม่ไหว. มหารักขิตดาบสรู้เหตุที่

ดาบสนั้นนอน จึงกล่าวว่า ท่านไปได้เมื่อใดก็ถึงตามไปเถิด แล้วพาหมู่ฤาษี

ไปถึงหิมวันตประเทศ. ดาบสโกหกรีบกลับไปยืนอยู่ที่ประตูพระนครให้คน

ไปทูลพระราชาว่า ดาบสอุปัฏฐากของมหารักขิตดาบสกลับมา พระราชา

รับสั่งให้ราชบุรุษรีบไปเรียกมา จึงขึ้นปราสาท นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้.

พระราชาทรงไว้ดาบสนั้น แล้วประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ตรัสถามถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 387

ความไม่มีโรคของฤาษีทั้งหลายแล้วตรัสว่า พระคุณท่านกลับมาเร็วนัก มี

ความต้องการอะไรหรือ.

ดาบสโกงทูลว่า มหาราชหมู่ฤาษีเป็นสุขดี สนทนากันว่า จะพึงเป็น

การดี หากพระราชบุตรผู้ดำรงวงศ์ตระกูลของพระราชาจะพึงบังเกิด. อาตมา

ได้ฟังการสนทนากันจึงตรวจดูด้วยทิพยจักษุว่า พระโอรสของพระราชาจักมี

หรือไม่หนอ จึงเห็นว่า เทพบุตรผู้มีฤทธิ์มากจักจุติลงมาเกิดในพระครรภ์

ของพระนางสุธรรมาอัครมเหสี แล้วทูลว่าอาตมามาก็เพื่อจะทูลพระองค์ว่า

ชนทั้งหลาย เมื่อไม่รู้จะพึงยังพระครรภ์ให้พินาศได้ อาตมาจะทูลข้อนั้นก่อน.

อาตมาทูลแด่พระองค์แล้ว อาตมาก็จะกลับไป. พระราชาตรัสว่า พระคุณ

อย่าไปเลย ทรงยินดีร่าเริงมีพระทัยเลื่อมใส ทรงนำดาบสโกงไปพระราช-

อุทยานจัดแจงที่อยู่พระราชทาน. ตั้งแต่นั้นมาดาบสโกงนั้นก็บริโภคใน

ราชตระกูลอาศัยอยู่. ดาบสโกงมีชื่อว่า ทิพพจักขุกะ.

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์จุติจากดาวดึงสพิภพ ถือปฏิสนธิในกรุง

อินทปัตถะนั้น. ในวันขนานพระนามของพระกุมารที่ประสูติ พระชนกชนนี

ทรงตั้งพระนามว่า โสมนัสสะ. โสมนัสสกุมารทรงเจริญด้วยการเลี้ยงดู

กุมาร. ดาบสโกงก็ปลูกผักสำหรับแกง และผลมีเถาเป็นต้นเอาไปขายใน

ท้องตลาดรวบรวมทรัพย์ไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 388

ลำดับนั้น ในขณะที่พระโพธิสัตว์มีพระชนม์ได้ ๗ พระพรรษา

ชายแดนของพระราชากำเริบ. พระองค์ตรัสสั่งพระกุมารว่า ลูกอย่า

ประมาทในทิพพจักขุดาบส แล้วเสด็จเพื่อทรงปราบชายแดนให้สงบ.

อยู่มาวันหนึ่งพระกุมารเสด็จไปพระราชอุทยานด้วยทรงดำริว่า จัก

เยี่ยมชฏิล ทรงเห็นชฎิลโกงนุ่งผ้ากาสาวะมีกลิ่นผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ถือ

หม้อสองใบด้วยมือทั้งสอง รดน้ำในที่ปลูกผักทรงรู้ว่าชฎิลโกงนี้ไม่ประกอบ

สมณธรรมของตน ทำการขายของในตลาด จึงตรัสถามว่า คหบดีฝักบัว

ทำอะไร ? ทำเอาดาบสโกงละอายแล้วเสด็จออกไป.

ชฏิลโกงคิดว่า กุมารนี้เดี๋ยวนี้ยังเป็นถึงอย่างนี้ ภายหลังใครจะรู้ว่า

กุมารนี้จักทำอะไร เราควรจัดการกุมารนี้ให้พินาศเสียในตอนนี้แหละ. ใน

เวลาพระราชาเสด็จมาจึงเหวี่ยงแผ่นหินไปเสียข้างหนึ่ง แล้วทำลายหม้อน้ำ

เสียเกลี่ยหญ้าที่บรรณศาลา เอาน้ำมันทาร่างกายเข้าไปยังบรรณศาลาคลุม

ตลอดศีรษะนอนบนเตียงดุจเป็นทุกข์หนัก. พระราชาเสด็จกลับทรงกระทำ

ประทักษิณพระนครยังไม่เสด็จเข้าพระราชวัง ทอดพระเนตรเห็นความผิด

ปกตินั้น ทรงดำริว่า นั่นอะไรกัน จึงเสด็จเข้าไปภายในทรงเห็นดาบสโกง

นั้นนอนอยู่ จึงทรงลูบที่เท้าตรัสถามว่า ใครเบียดเบียนพระคุณท่านอย่างนี้.

เราจะฆ่าเสียวันนี้แหละ. พระคุณท่านจงรีบบอกมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 389

ชฏิลโกงฟังดังนั้นถอนหายใจลุกขึ้นทูลว่า มหาราช ข้าพระองค์มา

เฝ้าพระองค์. เพราะการมาเฝ้านั่นแหละ ข้าพระองค์จึงต้องได้รับความ

เดือดร้อนนี้ เพราะความคุ้นเคยในพระองค์โอรสของพระองค์นั่นแหละ

เบียดเบียนข้าพระองค์. พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงมีพระราชบัญชาให้

เพชฌฆาตจงไปตัดศีรษะพระกุมาร ตัดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วนำไปทิ้ง

ไว้กลางถนน. พวกเพชฌฆาตก็ไปฉุดพระกุมารซึ่งพระมารดาตกแต่งแล้ว

ให้ประทับนอนบนตักของพระนาง ทูลว่า พระราชามีพระบัญชาให้ฆ่า

พระกุมาร.

พระกุมารทรงกลัวความตาย เสด็จลุกจากตักพระมารดาแล้วตรัสว่า

พวกท่านจงนำเราไปเฝ้าพระราชา. เรามีราชกิจที่จะต้องกราบทูล. พวก

เพชฌฆาตฟังพระดำรัสของพระกุมารแล้วก็ไม่อาจฆ่าได้จึงเอาเชือกมัดดุจมัด

โค นำไปเฝ้าพระราชา. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เราได้เห็นดาบสโกงนั้น เหมือนกอง

แกลบอันไม่มีข้าวสาร เหมือนไม้เป็นโพลง

ข้างใน เหมือนต้นกล้วยไม่มีแก่น ดาบสโกง

ผู้นี้ไม่มีธรรมของสัตบุรุษ ปราศจากความเป็น

สมณะ ละธรรมขาวคือหิริ เพราะเหตุแห่ง

การเลี้ยงชีวิต. ปัจจันตชนบทกำเริบขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 390

เพราะโจรอันเที่ยวอยู่ในดง พระชนกของเรา

เมื่อจะเสด็จไปปราบความกำเริบนั้น ตรัสสั่ง

เราว่า พ่ออย่าประมาทในชฎิลผู้มีความเพียร

อันแรงกล้านะ พ่อจงอนุวัตรตามความ

ปรารถนา ด้วยว่าชฎิลนั้น เป็นผู้ให้ความ

สำเร็จความปรารถนาทั้งปวง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ถุสราสึว อตณฺฑุล คือดุจกดยงแกลบอัน

ปราศจากข้าวสารและรำ ดุจต้นไม้เป็นโพลงใหญ่ภายใน. เราเห็นดาบส

ปราศจากสาระมีศีลสาระเป็นต้น ดุจต้นกล้วยไม่มีแก่น ธรรมมีญาณเป็นต้น

ของสัตบุรุษคือคนดีทั้งหลายไม่มีแก่ดาบสนี้เลย. เพราะเหตุไร ? เพราะดาบส

นี้ปราศจาก คือเสื่อมจากความเป็นสมณะแม้เพียงศีล. เป็นความจริงดังนั้น

ดาบสนี้ปราศจากธรรมขาวคือหิริ คือเป็นผู้ละธรรมขาวอันได้แก่หิริ เพราะ

เหตุแห่งการเลี้ยงชีวิต. ท่านแสดงว่า เราคิดว่าดาบสนี้เที่ยวไปด้วยเพศ

ของดาบสเพราะเหตุแห่งชีวิตอย่างเดียวเท่านั้น. บทว่า ปรนฺติหิ ท่าน

แสดงว่า ชื่อว่า ปรนฺติโน เพราะมีชายแดนอันเป็นส่วนอื่นเป็นที่อยู่

คืออยู่ในระหว่างพรมแดน. ชายแดนกำเริบด้วยโจรที่อยู่ในดงชายแดน.

พระเจ้ากุรุ พระชนกของเราเมื่อเสด็จไปปราบความกำเริบในชายแดนนั้นให้

สงบ ในกาลนั้นได้สอนเราว่า พ่อโสมนัสสกุมาร พ่ออย่าประมาทชฎิล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 391

ผู้เป็นนายของพ่อมีความเพียรสูง มีตระกล้ามีอินทรีย์สงบอย่ายิ่ง. ชฎิล

นั้นได้ให้ความสำเร็จที่ปรารถนาทุกอย่างแก่พวกเรา เพราะฉะนั้น พ่อจง

อนุวัตรตามความปรารถนา ตามความชอบใจ อนุเคราะห์ชฎิลนั้น. ดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เราไปสู่ที่บำรุงชฏิลนั้นแล้วได้กล่าวดังนี้

ว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านสบายดีดอกหรือ

หรือว่าท่านจะให้นำเอาอะไรมา เหตุนั้นดาบส

โกงนั้นอาศัยมานะจึงโกรธเราว่า เราจะให้

พระราชาฆ่าท่านเสียในวันนั้น หรือจะให้ขับไล่

เสียจากแว่นแคว้น พระราชาทรงปราบปัจจันต-

ชนบทสงบแล้ว ได้ตรัสถานชฎิลโกงว่า

พระคุณท่านสบายดีหรือ สักการะสัมมานะ

ยังเป็นไปแก่พระคุณท่านหรือ. ชฎิลโกงนั้น

ทูลแด่พระราชาเหมือนว่าพระกุมารจะทำให้

ฉิบหาย. พระราชาทรงสดับคำของชฎิลโกงนั้น

ทรงมีพระราชบัญชาว่า จงตัดศีรษะเสียในที่นี้

นั่นแหละ จงสับฟันบั่นออกเป็น ๔ ท่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 392

ทิ้งไว้ในท่ามกลางถนนให้คนเห็นว่า นั่นเป็น

ผลของตนเบียดเบียนชฎิล พวกเพชฌฆาต

มีใจดุร้ายไม่มีสงสารเหล่านั้น เพราะมีพระราช-

บัญชา เมื่อเรานั่งอยู่บนตักของพระมารดา

ก็ฉุดคร่านำเราไป.

บทว่า ตมห คนฺตฺวานุปฏฺาน ความว่า เราไม่ละเลยพระดำรัส

ของพระชนก ได้ไปเพื่อบำรุงดาบสโกงนั้น ได้เห็นดาบสโกงนั้นกำลังรดน้ำ

ในพื้นที่ปลูกผัก ก็รู้ว่าดาบสนี้เป็นคนขายผัก จึงได้กล่าวคำนี้ว่า คฤหบดี

ท่านสบายดีดอกหรือ. อนึ่ง ท่านรดน้ำในพื้นที่ปลูกผัก. ท่านได้รับเงินหรือ

ทองบ้างหรือ. อนึ่ง ท่านประพฤติเยี่ยงคนขายผัก.

บทว่า เตน โส กุปิโต อาสิ คือด้วยคำพูดที่เราเรียกว่า

คฤหบดี นั้น ดาบสโกงอาศัยมานะติดแน่นอยู่ในมานะได้โกรธเรามาก.

ถึงกับพูดว่า วันนี้เราจักให้พระราชาฆ่าท่านเสีย. หรือจะให้พระราชาขับไล่

ท่านออกจากแว่นแคว้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตุว อชฺช คือให้พระราชาฆ่าท่านเสีย.

อธิบายว่า ในเวลาที่พระราชาเสด็จมาในบัดนี้แหละ. บทว่า นิเสธยิตฺวา

ปจฺจนฺต ความว่า พระราชาทรงปราบชายแดนสงบแล้ว ยังไม่เสด็จเข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 393

พระนคร เสด็จไปพระราชอุทยานในขณะนั้นเองตรัสถามว่า พระคุณท่าน

สบายดีหรือ. สัมมานะยังเป็นไปแก่พระคุณท่านหรือ คือพระกุมารได้มา

แสดงความนับถือพระคุณท่านบ้างหรือ.

บทว่า กุมาโร ยถา นาสิโย คือดาบสโกงนั้นได้ทูลแด่พระราชานั้น

ดูเหมือนว่าพระกุมารจะทำให้ฉิบหายคือจะให้ฆ่าเสีย. บทว่า อาณาเปสิ

คือพระราชาทรงดำริว่า เมื่อยังมีทิพยจักขุดาบสนี้ผู้เป็นเจ้านายของเราอยู่

อะไรเล่าจะไม่สำเร็จแก่เรา. เพราะฉะนั้น เราไม่ต้องการบุตรแล้ว. ดาบส

นี้ประเสริฐกว่าบุตร ดังนี้แล้ว จึงมีพระราชบัญชาบังคับ.

บทว่า สีส ตตฺเถว ฉินฺทิตฺวา พวกท่านจงตัดศีรษะของกุมาร

นั้น ในที่ที่พวกท่านเห็นแล้วจงสับฟันร่างของกุมารนั้นออกเป็น ๔ ท่อน

เอาไปวางไว้กลางถนน กระจายให้เต็มถนนให้คนเห็น. เพราะเหตุไร ?

เพราะนั่นเป็นผลของคนเบียดเบียนชฏิล คือ นั่นเป็นคติ นั่นเป็นความ

สำเร็จ นั่นเป็นผลของคนเบียดเบียนชฎิล. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ชฎิลหีฬิตา

คือนั่นเป็นการสำเร็จโทษพระกุมาร เพราะเหตุการเบียดเบียนชฎิล. พึง

ทราบเนื้อความในบทนี้ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ตตฺถ คือในเพราะพระบัญชาของพระราชานั้น. หรือใน

เพราะความเย้ยหยันดาบสนั้น. บทว่า การณิกา คือเพชฌฆาตได้แก่

โจรฆาต. บทว่า จณฺฑา คือดุร้าย. บทว่า ลุทฺทา คือหยาบสิ้นดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 394

บทว่า อการุณา เป็นไวพจน์ของบทว่า ลุทฺทา นั่นเอง. บาลีว่า อกรุณา

บ้าง อธิบายว่า ไม่มีกรุณา. บทว่า มาตุ องฺเก นิสิหนฺนสฺส คือนั่งอยู่

บนตักของพระสุธรรมาเทวีพระชนนีของเรา. บทว่า นิสินฺนสฺส เป็น

ฉัฏฐีวิภัตติ์ลงในอนาทร คือแปลว่า เมื่อ. บทว่า อากฑฺฒิตฺวา นยนฺติ ม

คือพวกเพชฌฆาตเหล่านั้นเอาเชือกฉุดคร่าเราดุจโค ซึ่งพระชนนีตกแต่ง

แล้วให้นั่งบนตักของพระองค์ นำไปฆ่าตามพระราชบัญชา. ก็เมื่อพระกุมาร

ถูกเพชฌฆาตนำไป พระสุธรรมาเทวีแวดล้อมด้วยหมู่หาสีพร้อมด้วยพวก

สนม แม้ชาวพระนครต่างก็พากันไปกับพระกุมารนั้น ด้วยคิดว่า พวกเราจัก

ไม่ให้ฆ่าพระกุมารนั้นผู้ไม่มีความผิด. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เราได้กล่าวแก่เขาเหล่านั้นซึ่งกำลังผูก

มัดอย่างมั่นคงอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงพา

เราไปเฝ้าพระราชาโดยเร็ว ราชกิจของเรามีอยู่

เขาเหล่านั้นเป็นคนลามก และคบกับคนลามก

พาเราไปเฝ้าพระราชา. เราไปเฝ้าพระราชา

แล้วทูลให้เข้าพระทัย และนำมาสู่อำนาจ

ของเรา.

บทว่า พนฺธต คาฬฺหพนฺธน คือพวกเพชฌฆาตเหล่านั้นผูกมัด

อย่างมั่นคง. บทว่า ราชกิริยานิ อตฺถิ เม คือเรามีราชกิจที่จะต้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 395

กราบทูลแด่พระราชา. เพราะฉะนั้นพวกท่านจงพาเราไปเฝ้าพระราชา เรา

ได้กล่าวถ้อยคำอย่างนี้แก่พวกเพชฌฆาต.

บทว่า รญฺโ ทสฺสยึสุ ปาปสฺส ปาปเสวิโน คือพวก

เพชฌฆาตคบคนลามก เพราะคบดาบสโกงผู้มีศีลลามก มีอาจาระลามก

ด้วยตนพาเราไปเฝ้าพระราชา. บทว่า ทิสฺวาน ต สญฺาเปสึ คือเราไป

เฝ้าพระราชากุรุพระชนกของเรา แล้วทูลถามว่า เพราะเหตุไรพระบิดาจึง

ให้ฆ่าลูกเสียเล่าพระเจ้าข้า. เมื่อพระราชาตรัสว่า ก็เพราะเหตุไรเจ้าจึง

เรียกทิพพจักขุดาบสผู้เป็นเจ้านายของพ่อด้วยคำว่า คฤหบดี เล่า. เจ้าทำ

ผิดมาก. พระกุมารทูลว่า ข้าแต่พระบิดา เมื่อข้าพระองค์กล่าวกะผู้ที่เป็น

คฤหบดีว่า คฤหบดี ดังนี้ จะมีความผิดได้อย่างไร ? แล้วทูลต่อไปว่า

ขอพระบิดาทรงเชื่อว่าดาบสนั้นปลูกไม้ดอกไม้ผลนานาชนิด แล้วขายดอกไม้

ผัก และผลาผลเป็นต้น พวกขายพวงมาลัยและผักซื้อของเหล่านั้นจากมือ

ดาบสนั้นทุกวัน แล้วโปรดทรงพิจารณาพื้นที่ปลูกไม้ดอก และพื้นที่ปลูกผัก

เถิดพระเจ้าข้า แล้วเราเข้าไปยังบรรณศาลาของดาบสนั้นให้พวกราชบุรุษ

ของตน นำกหาปณะและภัณฑะที่ดาบสได้จากการขายดอกไม้เป็นต้น ให้

พระราชาทรงรู้เห็น. เราให้พระราชาทรงทราบถึงความที่ดาบสนั้นเป็น

ดาบสโกงแล้ว. บทว่า มมญฺจ วสมานยึ เรานำมาสู่อำนาจของเรา ความว่า

ด้วยการให้ทรงเข้าพระทัยนั้น พระราชาทรงทราบดีว่า กุมารพูดจริง

ดาบสโกงนี้ ครั้งก่อนทำเป็นมีความมักน้อย เดี๋ยวนี้กลายเป็นคนมักมาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 396

เพราะเหตุนั้น เราจึงนำพระราชามาสู่อำนาจของเรา โดยที่พระองค์ทรง

เบื่อหน่ายในดาบสนั้น แล้วตกอยู่ในอำนาจของเรา.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า เราควรเข้าป่าบวชดีกว่าอยู่ใน

สำนักของพระราชาผู้โง่เขลาเห็นปานนี้ แล้วทูลลาพระราชาว่า ข้าแต่

มหาราช ข้าพระองค์ไม่ต้องการอยู่ในที่นี้. ขอพระองค์ทรงอนุญาต.

ข้าพระองค์จักบวช. พระราชาตรัสว่า ลูกรักพ่อมิได้ใคร่ครวญบังคับให้ฆ่าลูก.

ลูกจงยกโทษให้พ่อเถิด แล้วให้พระมหาสัตว์ยกโทษให้ ตรัสว่า ลูกจงครอง

ราชสมบัติเถิด. พระกุมารทูลว่า ข้าแต่พระบิดาในโภคสมบัติ อันเป็นของ

มนุษย์จะมีอะไร. ลูกเคยเสวยโภคสมบัติอันเป็นทิพย์มาตลอดกาลนาน. ลูก

ยังไม่ติดในสมบัตินั้นเลย. ลูกจักบวชละ. ลูกไม่ขออยู่ในสำนักของผู้ที่มี

ปัญญาโดยถูกผู้อื่นนำไปเป็นคนโง่เช่นนั้นแล้ว เมื่อจะทรงสั่งสอนพระราชา

จึงทรงแสดงธรรมด้วยคาถาเหล่านี้ว่า :-

กรรมที่บุคคลไม่ใคร่ครวญแล้วทำลงไป

ไม่กำหนดความคิด เหมือนความวิบัติของยาก

ย่อมเป็นผลชั่ว. อนึ่ง กรรมที่บุคคลใคร่ครวญ

ก่อนแล้วทำ กำหนดความคิดโดยชอบ.

เหมือนสมบัติของยา ย่อมเป็นผลเจริญ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 397

คฤหัสถ์เกียจคร้านบริโภคกาม ไม่ดี

เลข บรรพชิตไม่สำรวมก็ไม่ดี. พระราชาไม่

ใคร่ครวญแล้วทำลงไปดีไม่ดี. ผู้ที่เป็นบัณฑิต

มักโกรธก็ไม่ดี.

ข้าแต่ราชะผู้เป็นใหญ่ในทิศ กษัตริย์

พึงใคร่ครวญก่อนแล้วทำ ไม่ใคร่ครวญก่อน

แล้วไม่ทำ. ยศและเกียรติย่อมเจริญแก่

พระราชาผู้ใคร่ครวญก่อนแล้วทำ.

ข้าแต่พระภูมิบาล ผู้เป็นใหญ่ใคร่ครวญ

ก่อนแล้วจึงปรับสินไหม. ย่อมอิ่มใจถึงสิ่งที่

ทำแล้วโดยพลัน. ประโยชน์ทั้งหลายของตน

ที่ด้วยการตั้งใจชอบ ย่อมไม่ตามเดือดร้อนใน

ภายหลัง. ผู้จำแนกกรรมทั้งหลายในโลกอัน

วิญญูชนสรรเสริญแล้วอันมีสุขเป็นกำไร ทำ

กรรมอันไม่ตามเดือดร้อน กรรมเหล่านั้นย่อม

เป็นกรรมอันบัณฑิตทั้งหลายเห็นชอบแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 398

ข้าแต่พระบิดาผู้เป็นใหญ่ในชน เพชฌ-

ฆาตสะพายดาบ นุ่งผ้าย้อมน้ำฝาดเดินมาจะฆ่า

ข้าพระองค์. ข้าแต่เทวะ ข้าพระองค์นั่งบน

ตักพระชนนี เพชฌฆาตเหล่านั้นฉุดคร่า

ข้าพระองค์อย่างรีบร้อน. ข้าแต่พระราชา

ข้าพระองค์ได้รับทุกข์เผ็ดร้อนแสนสาหัส ได้

มีจิตเพราะพูดคำอ่อนหวานน่ารัก. วันนี้

ข้าพระองค์พ้นจากการฆ่าได้ด้วยความยาก.

ข้าพระองค์มีใจมุ่งต่อบรรพชา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนิสมฺม คือไม่ใคร่ครวญ. บทว่า

อนวตฺถาย คือไม่กำหนด. บทว่า เวภงฺโค คือวิบัติ. บทว่า วิปาโก

คือความสำเร็จ. บทว่า อสญฺโต คือไม่สำรวม ทุศีล. บทว่า ปณเยยฺย

คือพึงปรับ. บทว่า เวคา คือโดยเร็ว โดยพลัน. บทว่า สมฺมาปณีธีจ

คือด้วยการตั้งใจไว้โดยชอบ อธิบายว่า ประโยชน์ทั้งหลายของตนที่ทำด้วย

จิตตั้งไว้โดยแยบคาย. บทว่า วิภชฺช คือจำแนกด้วยปัญญาอย่างนี้ว่า

กรรมนี้ควรทำ กรรมนี้ไม่ควรทำ ดังนี้ . บทว่า กมฺมายตนานิ คือกรรม

ทั้งหลาย. บทว่า พุทฺธานุมตานิ คืออันบัณฑิตทั้งหลายเห็นชอบ คือไม่มีโทษ.

บทว่า กฏุก คือข้าพระองค์ถึงมรณภัยอันเป็นทุกข์ ไม่น่ายินดี คับแค้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 399

แสนสาหัส. บทว่า ลทฺธ คือให้ชีวิต ด้วยกำลังความรู้ของตน. บทว่า

ปพฺพชฺชเมวาภิมโน คือข้าพระองค์มีจิตมุ่งต่อบรรพชา.

เมื่อพระมหาสัตว์ทรงแสดงธรรมอย่างนี้ พระราชาตรัสกับพระเทวี

ว่า ดูก่อนพระเทวี เธอจงยับยั้งโอรสไว้. แม้พระเทวีก็ทรงพอพระทัย

การบวชของพระกุมารเหมือนกัน. พระมหาสัตว์ถวายบังคมพระชนกชนนี

แล้วทรงขอขมาว่า หากโทษมีอยู่แก่ข้าพระองค์ ขอได้ทรงโปรดยกโทษให้

ข้าพระองค์เถิด แล้วทรงอำลามหาชนได้เสด็จบ่ายหน้าไปหิมวันตประเทศ.

ก็และเมื่อพระมหาสัตว์เสด็จไปแล้ว มหาชนพากันทุบตีชฎิลโกงจนถึงสิ้น

ชีวิต. แม้พระโพธิสัตว์ก็รับสั่งให้ราชบุรุษ มีอำมาตย์ราชบริษัท พร้อมด้วย

ชาวพระนครซึ่งมีหน้าเต็มไปด้วยน้ำตาให้กลับ . เมื่อมนุษย์ทั้งหลายพากัน

กลับ ทวยเทพมาในเพศของมนุษย์ นำพระโพธิสัตว์ล่วงเลยแนวภูเขา ๗ ลูก

พระโพธิสัตว์บรรพชาเป็นฤาษีอยู่ ณ บรรณศาลา ที่วิษณุกรรมเนรมิตไว้

ในหิมวันตประเทศ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พระบิดาขมาเราในที่นั้นแล้ว ได้พระ-

ราชทานราชสมบัติอันใหญ่หลวงแก่เรา เรานั้น

ทำลายความมืดมัว แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตม ทาลยิตฺวา ได้แก่กำจัดความมืดคือ

โมหะอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการเห็นโทษในกาม. บทว่า ปพฺพชึ คือเข้าถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 400

แล้ว. บทว่า อนคาริย คือการบวช.

บัดนี้ พระมีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงถึงประโยชน์ที่พระองค์

ทรงสละราชอิสริยยศนั้น ในกาลนั้น จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า น เม เทสฺส

ความแห่งคาถานั้นมีนัยดังกล่าวแล้ว.

เมื่อพระมหาสัตว์บวชแล้วอย่างนี้ ทวยเทพมาด้วยเพศของปริจาริกา

ในราชตระกูลบำรุงพระมหาสัตว์นั้นตลอดเวลา ๑๖ ปี. พระมหาสัตว์ยัง

ฌานและอภิญญาให้เกิด ณ ที่นั้นแล้วได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก.

ดาบสโกงในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. พระชนนี้คือพระมหา-

มายา. มหารักขิตดาบสคือพระสารีบุตรเถระ. โสมนัสสกุมารคือพระโลกนาถ.

พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมี ๑๐ โดยนัยดังกล่าวแล้วในยุธัญชยจริยานั้น.

แม้ในจริยานี้ท่านยกเนกขัมมบารมีขึ้นสู่เทศนา ว่าเป็นบารมียอด

เยี่ยมอย่างยิ่ง. อนึ่ง พึงทราบคุณานุภาพของพระมหาสัตว์มีอาทิอย่างนี้คือ

ความที่พระองค์สามารถในราชกิจทั้งหลายในขณะมีชนม์ได้ ๗ พระพรรษา.

การจับดาบสนั้นว่าเป็นชฎิลโกงได้. ความไม่มีหวาดสะดุ้งเมื่อพระราชาทรง

ขวนขวายมีพระบัญชาให้ฆ่า. การประกาศถึงความที่พระโพธิสัตว์เสด็จไป

เฝ้าพระราชาแล้วแสดงโทษของชฏิลโกงโดยนัยต่าง ๆ และความที่พระองค์

ไม่มีความผิด แล้วทรงเริ่มต่อว่าความที่พระราชามีปัญญาถูกคนอื่นนำไป

และความเป็นพระราชาโง่ แม้เมื่อพระราชาทรงขอขมาแล้วก็ยังถึงความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 401

สังเวชจากการอยู่ในราชสำนัก และจากความเป็นใหญ่ในราชสมบัติ แม้

พระราชาทรงวิงวอนมีประการต่างๆ ก็ทรงทอดทิ้งสิริราชสมบัติอันอยู่ใน

เงื้อมพระหัตถ์แล้วดุจถ่มก้อนน้ำลายทิ้ง เป็นผู้ไม่มีจิตติดอยู่ในที่ไหนออก

บวช. ครั้นบวชแล้วยินดีในความสงัด ไม่ช้านักก็ทรงยังฌานและอภิญญา

ให้เกิด ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาโสมนัสสจริยาที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 402

๓. อโยฆรจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของอโยฆรกุมาร

[๒๓] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระราช-

โอรสของพระเจ้ากาสี เจริญวัยในเรือนเหล็ก

มีนามชื่อว่าอโยฆระ พระบิดาตรัสว่า เจ้าได้

รับความทุกข์ตั้งแต่เกิดมา เขาเลี้ยงไว้ในที่

แคบลูกเอ๋ย วันนี้จงปกครองแผ่นดินทั้งสิ้น

พร้อมทั้งแว่นแคว้น พร้อมทั้งชาวนิคมและ

บริวารชนนี้เถิด เราถวายบังคมจอมกษัตริย์

แล้วประคองอัญชลี ได้ทูลดังนี้ว่า บรรดาสัตว์

ในแผ่นดินบางพวกต่ำช้า บางพวกอุกฤษฏ์

บางพวกปานกลาง สัตว์ทั้งหมดนั้นไม่มีอารัก-

ขา เจริญอยู่ในเรือนของตนพร้อมด้วยหมู่ญาติ

การเลี้ยงดูข้าพระบาทในที่คับแคบนี้ไม่มีใคร

เหมือนในโลก ข้าพระบาทเติบโตอยู่ในเรือน

เหล็ก เหมือนพระจันทร์พระอาทิตย์ไม่มีรัศมี

ข้าพระบาทประสูติจากพระครรภ์พระมารดาอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 403

เต็มไปด้วยซากศพเน่าแล้ว ยังถูกใส่ ( ขัง )

ไว้ในเรือนเหล็ก ซึ่งมีทุกข์ร้ายกว่านั้นอีก ข้า

พระบาทได้รับความทุกข์ร้ายอย่างยิ่งเช่นนี้แล้ว

ถ้ายังยินดีในราชสมบัติ ก็จะเป็นผู้เลวทราม

กว่าคนเลวทรามไป ข้าพระบาทเป็นผู้เหนื่อย-

หน่ายในกาย ไม่ต้องการได้ราชสมบัติ ข้า

พระบาทจะแสวงหาธรรมเครื่องดับ ซึ่งเป็นที่

ที่มัจจุราชพึ่งย่ำยีข้าพระบาทไม่ได้ เราคิดอย่าง

นี้แล้ว เมื่อมหาชนร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ได้ตัด

เครื่องผูกเสียแล้วเข้าไปยังป่าใหญ่ เหมือนช้าง

ฉะนั้น เราจะเกลียดพระมารดาพระบิดาก็หา

ไม่ จะเกลียดยศศักดิ์อันใหญ่หลวงก็หามิได้

แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้น

เรา จงสละราชสมบัติ ฉะนี้แล.

จบ อโยฆรจริยาที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 404

อรรถกถาอโยฆรจริยาที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาอโยฆรจริยาที่ ๓ ดังต่อไปนี้. บทว่า

อโยฆรมฺหิ สวฑฺโฒ คือเจริญแล้วในเรือนทำด้วยเหล็กทั้งหมดใหญ่ ทำ

๔ เหลี่ยมเพื่อป้องกันอมนุษย์และอันตราย. บทว่า นาเมนาสิ อโยฆโร

เพราะความเป็นผู้เกิดและเจริญในเรือนเหล็ก จึงปรากฏชื่อว่า อโยฆร-

กุมาร.

ความโดยย่อมีว่า ในกาลนั้น ในอัตภาพก่อนทางพระอัครมเหสีของ

พระเจ้ากาสี หญิงร่วมสามี ตั้งความปรารถนาว่า เราพึงกินบุตรที่เกิดแล้ว ๆ

ของเจ้า แล้วเกิดในกำเนิดนางยักษิณี ครั้นได้โอกาสในการที่อัครมเหสีนั้น

ประสูติ จึงกินพระโอรสเสีย ๒ ครั้ง. แต่ในครั้งที่ ๓ พระโพธิสัตว์ทรงถือ

ปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีนั้น. พระราชาทรงปรึกษากับพวก

มนุษย์ว่า นางยักษิณีตนหนึ่งกินโอรสที่เกิดแล้วของพระเทวี. เราควรทำ

อย่างไรดี เมื่อพวกมนุษย์ทูลว่า ธรรมดาอมนุษย์ย่อมกลัวเรือนเหล็ก จึง

รับสั่งให้ช่างเหล็กสร้างเรือนเหล็กใหญ่เป็นโรง ๔ เหลี่ยม ด้วยเครื่องปรุง

เรือนทั้งหมดสำเร็จด้วยเหล็ก ตั้งแต่เสาเป็นต้นให้สำเร็จ แล้วทรงให้พระ-

เทวีซึ่งทรงพระครรภ์แก่ ประทับอยู่ ณ เรือนเหล็กนั้น. พระเทวีประสูติ

พระโอรสมีบุญลักษณะดี ณ เรือนเหล็กนั้น. ขนาดเพระนามว่า อโยฆร-

กุมาร. พระราชาทรงให้พระกุมารนั้น แก้พวกแม่นมจัดการอารักขาใหญ่โต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 405

ทรงนำพระเทวีเข้าไปประทับภายใน. แม้นางยักษิณีถึงวาระตักน้ำ นำน้ำไป

ให้ท้าวเวสสวัณก็สิ้นชีวิตไปแล้ว.

พระมหาสัตว์ ทรงเจริญอยู่ในเรือนเหล็กนั้นเอง ถึงความเป็นผู้รู้

เรียนศิลปะทั้งปวง ณ เรือนเหล็กนั้น. พระราชาทรงทราบว่า พระโอรสมี

พระชนม์ ๑๖ พรรษา จึงมีรับสั่งกะพวกอำมาตย์ว่า เราจักมอบราชสมบัติ

ให้ พวกท่านจงนำโอรสของเรามาเถิด. พวกอำมาตย์กราบทูลรับพระบัญชา

แล้วทรงให้ตกแต่งพระนคร นำมงคลหัตถีประดับด้วยเครื่องสรรพาลังการไป

ณ ที่นั้น ตกแต่งพระกุมารให้ประทับนั่งที่คอมมงคลหัตถี กระทำประทักษิณ

พระนคร แล้วนำมาเฝ้าพระราชา. พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระวรกาย

ของพระโอรสงดงาม จึงทรงกอดพระโอรสนั้นด้วยความสิเนหาอย่างแรง

รับสั่งกะพวกอำมาตย์ว่า พวกเจ้าจงอภิเษกโอรสของเราในวันนี้แหละ. พระ-

มหาสัตว์ถวายบังคมพระชนกแล้วทูลว่า หม่อมฉันไม่ต้องการสมบัติ. หม่อม-

ฉันจักบวช. ขอจงทรงอนุญาตให้หม่อมฉันบวชเถิดพระเจ้าข้า. ดังที่พระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ทุกฺเขน ชีวิโต ลทฺโธ สมฺปีเฬ ปติโปสิโต

ฯ ล ฯ

ตสฺมา รชฺช ปริจฺจชึ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 406

คำปรากฏอยู่แล้วในบาลีแปลข้างต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า

ทุกฺเขน คือพระบิดาตรัสว่า ลูกเอ๋ย พี่ชายของลูก ๒ คน

ถูกนางยักษิณีตนหนึ่งกิน. ลูกได้ความทุกข์ความลำบากที่ทำเพื่อป้องกัน

ลูกจากภัยขออมนุษย์นั้นตั้งแต่เกิด. บทว่า สมฺปีเฬ ปติโปสิโต เขา

เลี้ยงลูกไว้ในที่คับแคบ ความว่าลูกเจริญเติบโตมาในที่คับแคบตั้งแต่คลอดใน

เรือนเหล็กอันคับแคบเพื่อป้องกันอมนุษย์ หลาย ๆ อย่างจนกระทั่งอายุได้ ๑๖.

บทว่า อชฺเชว ปุตฺต ปฏิปฏิปชฺช เกวล วสุธ อิม วันนี้ลูกจงปกครอง

แผ่นดินทั้งสิ้นนี้ ความว่าลูกได้อภิเษกด้วยสังข์ ๓ สังข์ วางอยู่บนกองรัตนะ

ภายใต้เศวตฉัตรประดับด้วยมาลัยทอง วันนี้จงปกครองมหาปฐพีนี้ พร้อม

ทั้งแว่นแคว้นอันมีมหาสมุทรเป็นที่สุดทั้งสิ้นอย่างเดียว อันเป็นของตระกูลนี้

พร้อมทั้งชาวนิคมอันเป็นหมู่บ้านใหญ่ พร้อมทั้งบริวารชนมากมาย. อธิบาย

ว่า ลูกจงเสวยราชสมบัติเถิด. บทว่า วนฺทิตฺวา ขตฺติย, อญฺสชลึ ปคฺ-

คเหตฺวาน อิท วจนมพฺรวึ คือเราถวายบังคมจอมกษัตริย์พระชนกของเรา

ผู้เป็นราชาแห่งแคว้นกาสี ประคองอัญชลีแด่พระองค์แล้วจึงได้กล่าวคำนี้ :-

บทว่า เย เกจิ มหิยา สตฺตา คือสัตว์ทั้งหลายบางพวกในมหา-

ปฐพีนี้. บทว่า หีนอุกฺกฏฺมชฺฌิมา คือ ลามก อุกฤษฏ์ และปานกลาง

เพราะเป็นอยู่ในท่ามกลางของสัตว์ทั้งสอง. บทว่า สเก เคเห คือสัตว์

ทั้งหมดเหล่านั้น เจริญในเรือนของตน. บทว่า สกาติหิ พร้อมด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 407

ญาติของตน คือสัตว์ทั้งหลายบันเทิง คุ้นเคย ไม่ลำบากย่อมเจริญด้วยสมบัติ

กับญาติของตน.

บทว่า อิท โลเก อุตฺตริย คือการเลี้ยงดูนี้ ไม่มีใครเหมือนใน

โลกเป็นพิเศษเฉพาะข้าพระองค์. การเลี้ยงดูข้าพระองค์ในที่คับแคบ คือ

ความเจริญเติบโตของข้าพระองค์ในที่คับแคบนั้นเป็นอย่างไร. เป็นความ

เจริญเติบโตในเรือนเหล็ก ปราศจากแสงจันทร์และดวงอาทิตย์. บทว่า

สวฑฺโฒมฺหิ คือข้าพระองค์เจริญเติบโต. บทว่า ปูติกุณปสมฺปุณฺณา

เต็มไปด้วยศากศพเน่า คือเมื่อความสงสัยในชีวิตเป็นไปอยู่ ข้าพระองค์

ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี เต็มไปด้วยซากศพนานัปการ มีกลิ่น

เหม็น เช่นกับคูถนรกได้อย่างไร. บทว่า ตโต โฆรตเร คือทารุณยิ่งกว่า

อยู่ในครรภ์ เป็นทุกข์เพราะอยู่ไม่ดีเลย. บทว่า ปกฺขิตฺตโยฆเร คือใส่

ไว้ในเรือนเหล็ก ท่านแสดงว่า ได้เป็นดุจขังไว้ในเรือนจำ.

บทว่า ยทิ ในบทว่า ยทิห นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ตาทิส

คือข้าพระองค์ได้รับทุกข์ทารุณอย่างยิ่ง เช่นที่กล่าวไว้แล้วในครั้งก่อน ถ้า

ยังยินดีในราชสมบัติ. เมื่อเป็นอย่างนั้น ข้าพระองค์ก็จะเลวทรามยิ่งกว่าคน

เลวทรามชั่วช้าลามกไป. บทว่า อุกฺกณฺิโตมฺหิ กาเยน คือข้าพระองค์

เบื่อหน่ายด้วยกายอันเน่ามียังไม่พ้นจากการอยู่ในครรภ์เป็นต้น. บทว่า รชฺ-

เชนมฺหิ อนตฺถิโก คือข้าพระองค์ไม่ต้องการแม้ราชสมบัติ. ถึงแม้ข้าพระ-

องค์จะพ้นจากเงื้อมมือของนางยักษิณี ก็จะไม่พ้นชราและมรณะไปได้เลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 408

ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติแก่ข้าพระองค์. เพราะธรรมดาราชสมบัติ

เป็นที่ประชุมของอนัตตาทั้งปวง. ตั้งแต่เวลาที่ตั้งอยู่ในราชสมบัตินั้น เป็น

อันออกไปได้ยาก. เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จักไม่ครองราชสมบัติจักแสวง

หาความดับ. บทว่า ยตฺถ ม มจฺจุ น มทฺทิเย ความว่า ข้าพระองค์

จักแสวงหาธรรมเครื่องดับ คืออมตมหานิพพาน ซึ่งเป็นที่ที่มัจจุราชผู้มีเสนา

ใหญ่พึงย่ำยี พึงท่วมทับข้าพระองค์ผู้ตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว. บทว่า เอวาห จินฺต-

ยิตวาน ความว่า เราคิดโดยแยบคายด้วยการพิจารณาถึงโทษในสงสารมี

ประการต่าง ๆ ดังได้กล่าวไว้แล้วนี้อย่างนี้ และด้วยการเห็นอานิสงส์ในนิพ-

พาน. บทว่า วิวรนฺเต มหาชเน คือเมื่อมหาชนมีพระชนกชนนี เป็น

หัวหน้าร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ด้วยอดกลั้นถึงทุกข์ที่ต้องพลัดพรากจากเราไปไม่

ได้. บทว่า นาโคว พนฺธน เฉตฺวา ความว่า เราได้ตัดเครื่องผูกด้วย

การตัดเครื่องผูกคือตัณหา ในชนนั้นมีญาติสงเคราะห์เป็นต้น แล้วเข้าสู่ป่า

ใหญ่ด้วยการเข้าถึงบรรพชา เหมือนคชสารมีกำลังมากตัดเครื่องผูก คือเชือก

อันไม่มีความแข็งแรง ได้โดยง่ายฉะนั้น. คาถาสุดท้ายมีความดังได้กล่าวไว้

แล้ว นั่นแล.

อนึ่ง พึงทราบความในบทนั้น ดังต่อไปนี้. พระมหาสัตว์ทรงแน่

พระทัยในการบวชของพระองค์แล้ว เมื่อพระราชาตรัสว่า ลูกรัก ลูกจะบวช

ไปทำไม จึงทูลว่า ข้าแต่พระชนก ลูกอยู่ในครรภ์ของพระชนนีตลอด ๑๐

เดือน เหมือนอยู่ในคูถนรก ครั้นออกจากพระครรภ์ของพระชนนีแล้วก็ยัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 409

ต้องอยู่ในเรือนจำอีกถึง ๑๖ ปี เพราะกลัวนางยักษิณี ไม่ได้แม้แต่จะเห็น

ในภายนอก. ได้เป็นเหมือนตกอยู่ในอุสสทนรก. แม้ลูกพ้นจากนางยักษิณี

ก็จะไม่พ้นความแก่และความตายไปได้เลย. ขึ้นชื่อว่ามัจจุนี้ อันใคร ๆ ไม่

สามารถจะชนะได้. ลูกเบื่อหน่ายในภพ. ลูกจักบวชประพฤติธรรมจนกว่า

พยาธิ ชราและมรณะ จะไม่มาถึงลูกได้. พอกันทีสำหรับราชสมบัติของลูก

ข้าแต่พระชนก ขอจงทรงอนุญาตให้ลูกบวชเถิด แล้วทรงแสดงธรรมเเก่

พระชนกด้วยคาถา ๒๔ คาถา มีอาทิว่า :-

มนุษย์อยู่ในห้องตลอดคืนหนึ่ง ครั้น

มนุษย์นั้นลุกไป. เมื่อเขาไป ย่อมไม่กลับ

มาอีก.

แล้วทูลว่า ข้าแต่พระบิดา ราชสมบัติของพระบิดาก็จงเป็นของพระ-

บิดาเท่านั้นเถิด. ลูกไม่ต้องการราชสมบัตินี้เลย. เมื่อลูกพูดอยู่กับพระบิดา

นี่แหละ พยาธิ ชราและมรณะ ก็พึงมาถึง. จงทรงหยุดเถิดพระเจ้าข้า.

แล้วทรงละกามทั้งหลาย ดุจช้างตกมันตัดเชือกเหล็ก ดุจลูกสีหะทำลายกรง

ทองฉะนั้น แล้วถวายบังคมพระชนกชนนีเสด็จออกบรรพชา.

ลำดับนั้น พระชนกของพระมหาสัตว์ทรงดำริว่า กุมารนี้ใคร่จะบวช.

ก็เราเล่าจะอยู่ไปทำไม. แม้เราก็ไม่ต้องการราชสมบัติ . จึงทรงสละราชสมบัติ

เสด็จออกบรรพชา. เมื่อพระราชาเสด็จออกบรรพชา ชาวพระนครทั้งสิ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 410

มีพระเทวี อำมาตย์ พราหมณ์ คฤหบดีเป็นต้น ก็ทิ้งโภคสมบัติออกบวช.

ได้เป็นมหาสมาคม. มีบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์. พระมหาสัตว์ทรงพาชน

เหล่านั้นเสด็จเข้าสู่หิมวันตประเทศ.

ท้าวสักกเทวราชทรงทราบว่า พระมหาสัตว์เสด็จออกบวชจึงทรงส่ง

พระวิษณุกรรมให้สร้างอาศรมบท ยาว ๑๒ โยชน์ กว้าง ๗ โยชน์. ทรง

มอบบริขารบรรพชิตครบ. ในจริยานี้การบรรพชาของพระมหาสัตว์ การให้

โอวาท การไปสู่พรหมโลก และการปฏิบัติโดยชอบของบริษัททั้งหมด พึง

ทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในมหาโควินทจริยานั่นแล.

พระชนกชนนีในครั้งนั้น ได้เป็นราชตระกูลใหญ่ในครั้งนี้. บริษัท

ทั้งหลาย คือพุทธบริษัท. อโยฆรบัณฑิต คือพระโลกนาถ. การเจาะจง

กล่าวถึงบารมีที่เหลือ และการประกาศถึงอานุภาพของพระโพธิสัตว์นั้นพึง

ทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

จบ อรรถกถาอโยฆรจริยาที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 411

๔. ภิงสจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของภิงสพราหมณ์

[๒๔] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราอยู่ในพระนคร

กาสีอันประเสริฐสุด น้องหญิงชาย ๗ คน เกิด

ในตระกูลพราหมณ์มหาศาล เราเป็นพี่ใหญ่

ของน้องหญิงชายเหล่านั้น ประกอบด้วยหิริ

และธรรมขาว เราเห็นภพโดยความเป็นภัย

จงยินดีอย่างยิ่งในเนกขัมมะ พวกสหายร่วมใจ

ของเรา ที่มารดาและบิดาส่งมาแล้ว เชื้อเชิญ

เราด้วยกามทั้งหลายว่า เชิญท่านดำรงวงศ์สกุล

เถิด คำใดที่สหายเหล่านั้นกล่าวแล้วเป็นเครื่อง

นำสุขมาให้ในธรรมของคฤหัสถ์ คำนั้นเป็น

เหมือนคำหยาบเสมอด้วยผาลอันร่อน ได้มีแก่

เรา ในกาลนั้น สหายเหล่านั้นได้ถามเราผู้ห้าม

อยู่ถึงความปรารถนาของเราว่า ท่านปรารถนา

อะไรเล่าเพื่อน ถ้าท่านไม่บริโภคกาม เราผู้

ใคร่ประโยชน์แก่ตน ได้กล่าวแก่สหายผู้แสวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 412

หาประโยชน์เหล่านั้นว่า เราไม่ปรารถนาความ

เป็นคฤหัสถ์ เรายินดีอย่างยิ่งในเนกขัมมะ

สหายเหล่านั้นฟังคำเราแล้ว ได้บอกแก่มารดา

และบิดา มารดาและบิดาได้กล่าวอย่างนี้ว่า

แม้เราทั้งสองก็จะบวช มารดาบิดาทั้งสอง

และน้องหญิงชายทั้ง ๗ ของเรา สละทิ้งทรัพย์

นับไม่ถ้วนเข้าไปยังป่าใหญ่ ฉะนี้แล.

จบ ภิงสจริยาที่ ๔

อรรถกถาภิงสจริยาที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในภิงสจริยาที่ ๔ ดังต่อไปนี้. บทว่า ยทา โหมิ

ภาสีน ปุรวรุตฺตเม ในกาลเมื่อเราอยู่ในแคว้นกาสีอันประเสริฐสุด มี

อธิบายว่า เราเจริญเติบโตอยู่ในกรุงพาราณสี อันเป็นนครประเสริฐของ

แคว้นที่ได้ชื่อว่า กาสี. บทว่า ภคินี จ ภาตโร สตฺต, นิพฺพตฺตา

โสตฺติเย กุเล น้องหญิงชาย ๗ คนเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ความ

ว่า พวกเราทั้งหมด ๘ คน คือ พี่ชาย น้องชาย ๗ คน คือ ๖ คนมีอุป-

กัญจนะ เป็นต้นและเรา กับน้องสาวคนเล็กชื่อกัญจนเทวี ในกาลนั้นเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 413

ในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ชื่อว่า โสตติยะ เพราะไม่ยินดีในการเชื้อเชิญ

ด้วยมนต์.

ได้ยินว่า ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นบุตรพราหมณ์มหาศาล

มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในกรุงพาราณสี. มีชื่อว่า กัญจนกุมาร. ครั้นเมื่อ

กัญจนกุมารเดินได้ ได้มีบุตรอื่นเกิดขึ้นอีก ชื่อว่า อุปกัญจนกุมาร. ตั้งแต่

นั้นมา ชนทั้งหลายพากันเรียกพระมหาสัตว์ว่า มหากัญจนกุมาร. โดยลำดับ

อย่างนี้ ได้มีบุตรชาย ๗ คน. ส่วนน้องคนเล็กเป็นธิดาคนเดียว ชื่อว่า

กัญจนเทวี. พระมหาสัตว์ครั้นเจริญวัยได้ไปเมืองตักกศิลา เล่าเรียนศิลปะ

ทุกอย่างสำเร็จแล้วก็กลับ.

ลำดับนั้น มารดาบิดาประสงค์จะผูกพระมหาสัตว์ให้อยู่ครองเรือน

จึงกล่าวว่า พ่อและแม่จะนำทาริกาจากตระกูลที่มีชาติเสมอกับตนมาให้ลูก.

พระมหาสัตว์กล่าวว่า แม่และพ่อจ๋า ลูกไม่ต้องการอยู่ครองเรือน. เพราะ

โลกสันนิวาสทั้งหมดมีภัยเฉพาะหน้าสำหรับลูกดุจถูกไฟไหม้. ผูกมัดดุจ

เรือนจำ. ปรากฏเป็นของน่าเกลียดดุจที่เทขยะ. จิตของลูกมิได้กำหนัดใน

กามทั้งหลาย พ่อแม่ยังมีลูกอื่นอยู่อีก. ขอให้ลูกเหล่านั้นอยู่ครองเรือนเถิด.

แม้มารดาบิดาสหายทั้งหลายขอร้องก็ไม่ปรารถนา. ครั้งนั้น พวกสหายถาม

พระโพธิสัตว์ว่า ดูก่อนสหาย ก็ท่านปรารถนาอะไรเล่า จึงไม่อยากบริโภค

กาม. พระโพธิสัตว์จึงบอกถึงอัธยาศัยในการออกบวชของตนแก่สหายเหล่า

นั้น ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 414

เอเตส ปุพฺพโช อาสึ หิริสุกฺกมุปาคโต

ฯ ล ฯ

มาตาปิตา เอวมาหุ สพฺเพว ปพฺพชาม โภ.

มีคำแปลปรากฏแล้วในตอนต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอเตส ปุพฺพโช อาสึ คือในกาลนั้น

เราเป็นพี่ใหญ่ของน้องหญิงชาย ๗ คน มีอุปกัญจนะเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า

หิริสุกฺกมุปาคโต ประกอบด้วยหิริและธรรมขาว มีอธิบายว่า เรามีธรรม

งามคือหีริมีลักษณะเกลียดบาป ชื่อว่า เป็นธรรมขาว เพราะมีธรรมขาว

เป็นวิบาก และเพราะชำระสันดานให้บริสุทธิ์. เราเกลียดบาปเป็นอย่างยิ่ง.

บทว่า ภว ทิสฺวาน ภยโต , เนกฺขมฺมาภิรโต อห เราเห็นภพโดยความ

เป็นภัย จึงยินดีอย่างยิ่งในเนกขัมมะ มีอธิบายว่า เราเห็นภพทั้งหมดมี

กามภพเป็นต้น มีภัยเฉพาะหน้าโดยความเป็นของน่ากลัว ดุจเห็นช้างดุแล่น

มา ดุจเห็นเพชฌฆาตเงื้อมดาบมาเพื่อประหาร ดุจเห็น สีหะ ยักษ์ รากษส

สัตว์มีพิษร้าย อสรพิษ และถ่านเพลิงที่ร้อน แล้วยินดีในบรรพชา เพื่อพ้น

จากนั้น ออกบวชคิดว่า เราพึงบำเพ็ญสัมมาปฏิบัติอันเป็นธรรมจริยา และ

พึงยังฌานและสมาบัติให้เกิดขึ้นได้อย่างไรหนอ ดังนี้จึงยินดีในบรรพชา

กุศลธรรมและปฐมฌานเป็นต้น ในกาลนั้น. บทว่า ปหิตา คืออันมารดา-

บิดาส่งมา. บทว่า เอกมานสา พวกสหายร่วมใจ คือพวกสหายที่มีอัธยาศัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 415

เสมอกัน มีความพอใจเป็นอันเดียวกัน มีความประพฤติเป็นที่พอใจกับเรา

มาก่อน กล่าวคำน่าเกลียด ไม่เป็นที่พอใจพระมารดาบิดาส่งมา. บทว่า

กาเมหิ ม นิมนฺเตนฺติ คือมีใจร่วมกันกับมารดาบิดาเชื้อเชิญเราด้วยกาม

ทั้งหลาย. บทว่า กุลวส ธาเรหิ เชื้อเชิญท่านดำรงวงศ์ตระกูล มีอธิบายว่า

พวกเขาเชื้อเชิญเราว่า ขอให้ท่านอยู่ครองเรือนดำรงวงศ์ตระกูลของตนเถิด.

บทว่า ย เตส วจน วุตฺต คือคำใดที่สหายที่รักของเราเหล่านั้น

กล่าวแล้ว. บทว่า คิหิธมฺเม สุขาวห ความว่า เป็นเครื่องนำสุขมาให้ใน

ธรรมของคฤหัสถ์ คือ เมื่อความเป็นคฤหัสถ์มีอยู่ ชื่อว่า จะนำสุขมาให้ เพราะ

นำความสุข อันเป็นไปในปัจจุบันและเป็นไปในภพหน้ามาให้ เพราะบุรุษ

ผู้ตั้งอยู่ในความเป็นคฤหัสถ์ เป็นผู้ปฏิบัติตามระเบียบที่ถูกต้อง. บทว่า ต

เม อโหสิ กิน คำนั้นเป็นเหมือนคำหยาบ คือคำของพวกสหายของเรา

เหล่านั้น และของมารดาบิดา เป็นเหมือนคำหยาบ ดุจเผาที่หูทั้งสองข้าง

เช่นเดียวกับผาลอันร้อนตลอดวัน เพราะไม่เป็นที่พอใจของเรา เพราะเรา

ยินดียิ่งแล้วในการบวชโดยส่วนเดียวเท่านั้น. บทว่า เต ม ตทา อุกฺขิปนฺต

ความว่า สหายของเราเหล่านั้นได้ถามเราผู้ซัดไป ทิ้งไป ห้ามไป ซึ่งกาม

ทั้งหลาย ที่มารดาบิดานำเข้าไปหลายครั้งด้วยการเชื้อเชิญตน. บทว่า ปตฺถิต

มม ความว่า ความปรารถนาด้วยกามนี้หรือจะบริสุทธิ์กว่าการบรรพชานี้

ด้วยเหตุนั้นพวกสหายจึงถามถึงความปรารถนานั้นของเรา ซึ่งเราปรารถนา

แล้วว่า ท่านปรารถนาอะไรเล่าเพื่อน ถ้าท่านไม่บริโภคกาม. บทว่า อตฺถ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 416

กาโม คือผู้ใคร่ประโยชน์ตน อธิบายว่า กลัวบาป. บาลีว่า อตฺตกาโม บ้าง.

บทว่า หิเตสิน คือสหายที่รักผู้แสวงหาประโยชน์ให้แก่เรา. อาจารย์บ้าง

พวกกล่าวว่า อตฺถกามหิเตสิน คือผู้ใคร่ประโยชน์และแสวงหาประโยชน์

บทนั้นไม่ดี. บทว่า ปิตุ มาตุญฺจ สาวยุ ความว่า สหายของเราเหล่านั้น

รู้ความพอใจในบรรพชาของเราไม่เปลี่ยนแปลง จึงบอกคำของเราอันแสดง

ถึงความใคร่จะบรรพชาแก่บิดาและมารดา ได้กล่าวว่า พ่อแม่ทั้งหลายท่านจง

รู้เถิด มหากาญจนกุมารจักบวช โดยส่วนเดียวเท่านั้น. มหากาญจนกุมารนั้น

ใคร ๆ ไม่สามารถจะนำเข้าไปในกามทั้งหลายด้วยอุบายไร ๆ ได้. บทว่า

มาตาปิตา เอวมาหุ ความว่า ในกาลนั้นมารดาบิดาของเรา ฟังคำของเรา

ที่พวกสหายของเราบอก จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ พวกเราทั้งหมดจะ

บวชบ้าง. ผิว่า มหากาญจนกุมารชอบใจการบวช. แม้พวกเราก็ชอบใจสิ่ง

ที่ลูกเราชอบ. เพราะฉะนั้น เราทั้งหมดก็จะบวช. บทว่า โภ เป็นคำเรียก

พราหมณ์เหล่านั้น. ปาฐะว่า ปพฺพชาม โข บ้าง ความว่า เราจะบวช

เหมือนกัน. น้องชาย ๖ มีอุปกัญจนะเป็นต้น และน้องสาวกัญจนเทวี รู้

ความพอใจในบรรพชาของพระมหาสัตว์ ได้ประสงค์จะบวชเหมือนกัน. ด้วย

เหตุนั้น แม้ชนเหล่านั้นอันมารดาเชื้อเชิญให้อยู่ครองเรือนก็ไม่ปรารถนา.

เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราทั้งหมดก็จะบวชเหมือนกันนะท่าน

พราหมณ์ทั้งหลาย.

ก็และครั้นสหายทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว มารดาบิดาจึงเรียกพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 417

มหาสัตว์แจ้งความประสงค์แม้ของตน ๆ แก่พระมหาสัตว์แล้วกล่าวว่า ลูกรัก

ถ้าลูกประสงค์จะบวชให้ได้ ลูกจงสละทรัพย์ ๘๐ โกฏิอันเป็นของลูกตาม

สบายเถิด. ลำดับนั้น พระมหาบุรุษบริจาคทรัพย์นั้นแก่คนยากจน และคน

เดินทางเป็นต้น แล้วออกบวชเข้าไปยังหิมวันตประเทศ. มารดาบิดา น้อง

ชาย ๖ น้องหญิง ๑ ทาส ๑ ทาสี ๑ และสหาย ๑ ละฆราวาสได้ไปกับ

พระมหาสัตว์นั้น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

มารดาบิดาทั้งสอง และน้องหญิงชายทั้ง

๗ ของเรา สละทรัพย์นับไม่ถ้วน เข้าไปยัง

ป่าใหญ่.

แต่ในอรรถกถาชาดกท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อมารดาบิดาถึงแก่กรรม

พระมหาสัตว์ทำกิจที่ควรทำแก่มารดาบิดาเหล่านั้น แล้วจึงออกบวช.

ก็ครั้นชนเหล่านั้นมีพระโพธิสัตว์เป็นประมุข เข้าไปยังหิมวันตประ-

เทศอย่างนั้นแล้ว จึงอาศัยสระปทุมสระหนึ่ง สร้างอาศรมในภูมิภาคอัน

น่ารื่นรมย์ บวชแล้ว ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยอาหารอันเป็นรากไม้และผลไม้

ในป่า. บรรดานักบวชเหล่านั้น ชน ๘ คนมีอุปกัญจนะเป็นต้น ผลัดเวร

กันหาผลไม้ แบ่งส่วนของตนและคนนอกนั้นไว้บนแผ่นหินแผ่นหนึ่ง ให้

สัญญาระฆัง ถือเอาส่วนของตน ๆ. เข้าไปยังที่อยู่. แม้พวกที่เหลือก็ออกจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 418

บรรณศาลาด้วยสัญญาณระฆัง ถือเอาส่วนที่ถึงของตน ๆ ไปยังที่อยู่บริโภค

แล้วบำเพ็ญสมณธรรม.

ครั้นต่อมาได้นำเอาเง่าบัวมาบริโภคเหมือนอย่างนั้น. ฤาษีเหล่านั้น

มีความเพียรกล้า มีอินทรีย์มั่นคงอย่างยิ่ง กระทำกสิณบริกรรมอยู่ ณ ที่นั้น.

ลำดับนั้น ด้วยเดชแห่งศีลของฤาษีเหล่านั้น ภพของท้าวสักกะหวั่นไหว

ท้าวสักกะทราบเหตุนั้นทรงดำริว่า จักทดลองฤาษีเหล่านี้ ด้วยอานุภาพของ

ตนจึงทำให้ส่วนของพระมหาสัตว์หายไปตลอด ๓. วัน. ในวันแรกพระมหา-

สัตว์ไม่เห็นส่วนของตน คิดว่า คงจะลืมส่วนของเรา. ในวันที่ ๒ คิดว่า

เราจะมีความผิดกระมัง. ไม่ตั้งส่วนของเราคงจะไล่เรากระมัง. ในวันที่ ๓

คิดว่า เราจักฟังเหตุการณ์นั้นแล้วจักให้ขอขมา จึงให้สัญญาณระฆังในเวลา

เย็น เมื่อฤาษีทั้งหมดประชุมกันด้วยสัญญาณนั้น จึงบอกเรื่องนั้นให้ทราบ

ครั้นฟังว่า ฤาษีเหล่านั้นได้แบ่งส่วนไว้ให้ทั้ง ๓ วัน จึงกล่าวว่า พวกท่าน

แบ่งส่วนไว้ให้เรา แต่เราไม่ได้ มันเรื่องอะไรกัน ? ฤาษีทั้งหมดฟังดังนั้น

ก็ได้ถึงความสังเวช.

ณ อาศรมนั้นแม้รุกขเทวดาก็ลงมาจากภพของตน นั่งในสำนักของ

ฤาษีเหล่านั้น. ช้างเชือกหนึ่งหนีจากเงื้อมมือของพวกมนุษย์เข้าป่า วานร

ตัวหนึ่งหนีจากเงื้อมมือของหมองูพ้นแล้ว เพราะจะให้เล่นกับงู ได้ทำความ

สนิทสนมกับฤาษีเหล่านั้น ในกาลนั้นก็ได้ไปหาฤาษีเหล่านั้น ได้ยืนอยู่ ณ

ส่วนข้างหนึ่ง. ในขณะนั้น อุปกัญจนดาบสน้องของพระโพธิสัตว์ ลุกขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 419

ไหว้พระโพธิสัตว์ แล้วแสดงความเคารพพวกที่เหลือ ถามขึ้นว่า ข้าพเจ้า

เริ่มตั้งสัญญาณแล้วจะได้เพื่อยังตนให้บริสุทธิ์หรือ เมื่อฤาษีเหล่านั้นกล่าวว่า

ได้ซิ จึงยืนขึ้นในท่ามกลางหมู่ฤาษี เมื่อจะทำการแช่ง จึงได้กล่าวคาถานี้

ว่า :-

ท่านพราหมณ์ผู้ใดได้ลักเง่าบัวของท่านไป

ผู้นั้นจงได้ม้า โค ทอง เงิน ภริยาและสิ่งพอใจ

ณ ที่นี้ จงพรั่งพร้อมด้วยบุตรและภริยาเถิด.

เพราะอุปกัญจนดาบสนั้น ตำหนิวัตถุกามว่า ความทุกข์ทั้งหลาย

ย่อมเกิดขึ้น ในเพราะการพลัดพรากจากวัตถุอันเป็นที่รัก จึงกล่าวคาถานี้.

หมู่ฤาษีได้ฟังดังนั้น จึงปิดหูด้วยกล่าวว่า ท่านผู้นิรทุกข์ท่านอย่า

กล่าวอย่างนั้น. คำแช่งของท่านหนักเกินไป. แม้พระโพธิสัตว์ก็กล่าวว่า

คำแช่งของท่านหนักเกินไป. อย่าถือเอาเลยพ่อคุณ. นั่งลงเถิด. แม้ฤาษีที่

เหลือก็ทำการแช่ง ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ตามลำดับว่า :-

ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเง่าบัวของท่าน

ไป ผู้นั้นจงทรงไว้ซึ่งมาลัยและจันทน์แดง จาก

แคว้นกาสี. สมบัติเป็นอันมากจงมีแก่บุตร.

จงทำความเพ่งอย่างแรงกล้าในกามทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 420

ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเง่าบัวของท่าน

ผู้นั้นจงมีข้าวเปลือกมาก สมบูรณ์ด้วยกสิกรรม

มียศ จงได้บุตร จงเป็นคฤหัสถ์ จงมีทรัพย์

จงได้สิ่งที่ปรารถนาทุกอย่าง ไม่เห็นความเสื่อม

จงครองเรือน.

ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเง่าบัวของท่าน

ผู้นั้นเป็นกษัตริย์ จงเป็นผู้ทำการข่มขี่ จงเป็น

พระราชายิ่งกว่าพระราชา ทรงพลัง จงมียศ

จงครองแผ่นดินพร้อมด้วยทวีปทั้ง ๔ เป็นที่

สุด.

ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเง่าบัวของท่าน

ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ จงไม่ปราศจากราคะ จง

ขวนขวายในฤกษ์ยาม และในวิถีโคจรของ

นักษัตรผู้เป็นเจ้าแว่นแคว้น มียศ จงบูชาผู้

นั้น.

ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเง่าบัวของท่าน

โลกทั้งปวง จงสำคัญผู้นั้นว่า ผู้คงแก่เรียน

ผู้มีเวทพร้อมด้วยมนต์ทุกอย่าง ผู้มีตบะ ชั่ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 421

ชนบทพิจารณาเห็นแล้ว จงบูชาผู้นั้น.

ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเง่าบัวของท่าน

ผู้นั้นจงบริโภค บ้านส่วยอันหนาแน่นด้วยสิ่ง

ทั้ง ๔ อันบริบูรณ์พร้อม ที่ท้าววาสวะประทาน

จงไม่ปราศจาราคะ เข้าถึงมรณะ.

ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเง่าบัวของท่าน

ผู้นั้นเป็นผู้ใหญ่บ้าน จงบันเทิงอยู่ด้วยการ

ฟ้อนรำ การขับร้องในท่ามกลางสหาย ผู้นั้น

อย่าได้ความเสื่อมเสียไร ๆ จากพระราชา.

ท่านพราหมณ์หญิงใดได้ลักเง่าบัวของท่าน

หญิงนั้น เป็นอัครชายา ทรงชนะหญิงทั่วปฐพี

จงดำรงอยู่ในความเป็นผู้เลิศกว่าหญิง ๑,๐๐๐

จงเป็นผู้ประเสริฐกว่าหญิงทั่วแดน.

ท่านพราหมณ์หญิงใดได้ลักเง่าบัวของท่าน

หญิงนั้น ไม่หวั่นไหว บริโภคของอร่อยใน

ท่ามกลางฤาษีทั้งหลาย ที่ประชุมกันทั้งหมด.

จงเที่ยวอวดด้วยลาภ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 422

ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเง่าบัวของท่าน

ผู้นั้น จงเป็นผู้ดูแลวัด ในมหาวิหาร จงเป็นผู้

ดูแลการก่อสร้าง ในคชังคลนคร จงทำหน้า-

ต่างเสร็จเพียงวันเดียว.

ท่านพราหมณ์ช้างใดได้ลักเง่าบัวของท่าน

ช้างนั้นถูกคล้องด้วยบ่วง ๑๐๐ บ่วงในที่ ๖ แห่ง

จงนำออกจากป่าน่ารื่นรมย์ไปสู่ราชธานี ช้างนั้น

ถูกเบียดเบียนด้วยขอมีด้ามยาว.

ท่านพราหมณ์วานรใดได้ลักเง่าบัวของท่าน

วานรนั้น ประดับดอกรักที่คอ หลังหูประดับ

ด้วยดีบุก ถูกเฆี่ยนด้วยไม้เรียว จงนำเข้าไป

ต่อหน้างู ผูกติดกับผ้าเคียนพุง จงเที่ยวไป

ตลอด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ติพฺพ คือจงทำการเพ่งอย่างหนักในวัตถุกาม

และกิเลสกามทั้งหลาย. บทว่า ปุตฺเต คิหี ธนิมา สพฺพกาเม คือ

จงได้บุตร จงเป็นคฤหัสถ์ จงมีทรัพย์ ด้วยทรัพย์ ๗ อย่าง จงได้ความ

ใคร่ทั้งปวงมีรูปเป็นต้น. บทว่า วย อปสฺส คือแม้ในเวลาแก่ก็ไม่เห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 423

ความเสื่อมของตน จงครองเรือนอันสำเร็จด้วยกามคุณ ๕. บทว่า ราชา-

ภิราชา คือเป็นพระราชายิ่งในระหว่างพระราชาทั้งหลาย. บทว่า อวีตราโค

ยังไม่ปราศจากราคะ คือมีความอยากด้วยอยากในตำแหน่งปุโรหิต บทว่า

ตปสฺสิน คือตบะและศีล จงสำคัญผู้นั้นว่าเป็นผู้มีศีล. บทว่า จตุสฺสท

คือหนาแน่นด้วยสิ่ง ๔ อย่างคือด้วยมนุษย์ทั้งหลาย เพราะมีมนุษย์เกลื่อน-

กล่น ๑ ด้วยข้าวเปลือก เพราะมีข้าวเปลือกมาก ๑ ด้วยไม้ เพราะไม้หา

ได้ง่าย ๑ ด้วยน้ำ เพราะมีน้ำสมบูรณ์ ๑. บทว่า วาสเวน คือไม่หวั่น-

ไหว ดุจท้าววาสวะประทาน. อธิบายว่า ยังพระราชาให้ทรงโปรดปราน

ด้วยอานุภาพพรที่ได้จากท้าววาสวะ อันท้าววาสวะนั้นประทานบ้าง บทว่า

อวีตราโค คือยังไม่ปราศจากราคะ จงเป็นผู้จมลงในเปือกตม คือกามดุจ

สุกรในเปือกตมฉะนั้น. บทว่า คามณี คือผู้ใหญ่บ้าน. บทว่า ต คือ

หญิงนั้น. บทว่า เอกราชา คือพระอัครราชา คำว่า อิตฺถีสหสฺสสฺส

ท่านกล่าวเป็นบทตั้งไว้ อธิบายว่า จงดำรงอยู่ในฐานะอันเลิศกว่าหญิง

๑๖,๐๐๐ บทว่า สีมนฺตินีน คือหญิงทั้งหลาย. บทว่า สพฺพสมาคตาน

คือนั่งในท่ามกลางฤาษีทั้งหลายที่มาประชุมกันทั้งหมด. บทว่า อปิกมฺปมา-

นา ไม่หวั่นไหว คือไม่ชักช้าจงบริโภคอาหารมีรสอร่อย. บทว่า จราตุ

ลาเภน วิกตฺถมานา คือแต่งตัวน่ารัก เพราะลาภเป็นเหตุ จงเที่ยวไป

เพื่อให้เกิดลาภ. บทว่า อาวาสิโก คือผู้ดูแลวัด. บทว่า คชงฺคลาย คือ

ในนครมีชื่ออย่างนี้ ได้ยินว่าในนครนั้น มีทัพพสัมภาระหาได้ง่าย. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 424

อาโลกสนฺธึ ทิวส คือจงทำหน้าต่างบานเดียวให้เสร็จในวันเดียว. นัยว่า

เทพบุตรนั้นเมื่อครั้งศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้า อาศัยคชังคลนคร เป็นพระ-

สังฆเถระ ผู้ดูแลวัดในมหาวิหารประมาณโยชน์หนึ่ง กระทำการก่อสร้างใน

วิหารได้รับทุกข์อย่างมาก ท่านกล่าวหมายถึงพระสังฆเถระนั้น. บทว่า

ปาสสเตหิ คือหลายบ่วง. บทว่า ฉมฺหิ ได้แก่ ในที่ ๖ แห่ง คือ ที่เท้า ๔

ที่คอ ๑ ที่ส่วนเอว ๑. บทว่า ตุตฺเตหิ คือไม้ด้ามยาวมีหนามสองข้าง.

บทว่า ปาจเนหิ คือปฏักสั้นหรือหอก. บทว่า อลกฺกมาลี ได้แก่ดอกรัก

คือประกอบด้วยมาลัยดอกรักที่หมองู คล้องไว้ที่คอ. บทว่า ติปุกณฺณปิฏฺโ

คือหลังหูประดับด้วยดีบุก. บทว่า ลฏฺิหโต คือหมองู สอนวานรให้เล่น

กับงู ถูกเฆี่ยนด้วยไม้เรียว. ฤาษีเหล่านั้นเกลียดการบริโภคกาม การอยู่

ครองเรือน และทุกข์ที่ตนได้รับทั้งหมด จึงกล่าวแช่งอย่างนั้นๆ.

ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ดำริว่า เมื่อดาบสเหล่านี้ทำการแช่ง. แม้เรา

ก็ควรทำบ้าง. เมื่อจะทำการแช่ง จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ผู้ใดแลกล่าวสิ่งที่ไม่สูญหายว่าสูญหาย ผู้

นั้นจงได้และจงบริโภคกามทั้งหลาย หรือว่า

ข้าแต่เทวะผู้เจริญทั้งหลาย ผู้ใดไม่เคลือบ-

แคลงอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้นั้นจงเข้าถึงมรณะ

ในท่ามกลางเรือนเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 425

ในบทเหล่านั้น บทว่า โภนฺโต คือผู้เจริญทั้งหลาย. บทว่า สงกติ

คือย่อมไม่สงสัย. บทว่า กญฺจิ คืออย่างใดอย่างหนึ่ง.

ลำดับนั้นท้าวสักกะทรงทราบว่า ฤาษีทั้งหมดเหล่านี้ไม่มีความเพ่งใน

กามทั้งหลาย จึงทรงสลดพระทัย เมื่อจะทรงแสดงว่า บรรดาฤาษีเหล่านั้น

แม้ผู้ใดผู้หนึ่ง ก็มิได้นำเง่าบัวไป. แม้ท่านก็มิได้กล่าวถึงสิ่งที่ไม่สูญหายว่า

หาย. ที่แท้ข้าพเจ้าประสงค์จะทดลองพวกท่านจึงทำให้หายไปดังนี้ จึงกล่าว

คาถาสุดท้ายว่า :-

ข้าพเจ้าเมื่อจะทดลอง จึงถือเอาเง่าบัว

ของฤาษีที่ฝั่งแม่น้ำ แล้วเก็บไว้บนบก. ฤาษี

ทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ลามก ย่อมอาศัยอยู่.

ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ นี่เง่าบัวของท่าน.

พระโพธิสัตว์ได้สดับดังนั้น จึงต่อว่าท้าวสักกะว่า :-

ท่านเทวราชผู้เป็นท่าวสหัสนัยน์ พวก

อาตมาไม่ใช่นักฟ้อนรำของท่าน ไม่ใช่ผู้ควร

จะฟังเล่นของท่าน ไม่ใช่ญาติของท่าน ไม่ใช่

สหายของท่าน ที่พึงทำการรื่นเริง ท่านอาศัย

ใครจึงเล่นกับพวกฤาษี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 426

ลำดับนั้นท้าวสักกะทรงขอให้ฤาษีนั้นยกโทษให้ด้วยพระดำรัสว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เป็นดังพรหม ท่านเป็น

อาจารย์ของข้าพเจ้า และเป็นบิดาของข้าพเจ้า

เงาเท้าของท่านนี้จงเป็นที่พึ่งแห่งความผิดพลาด

ของข้าพเจ้า ท่านผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน ขอ

ท่านจงอดโทษสักครั้งเถิด บัณฑิตทั้งหลาย

ย่อมไม่มีความโกรธเป็นกำลัง.

พระมหาสัตว์ได้ยกโทษให้แก่ท้าวสักกเทวราชแล้ว ตนเองเมื่อจะยัง

หมู่ฤาษีให้ยกโทษให้ จึงกล่าวว่า :-

การอยู่ในป่าของพวกฤาษี แม้คืนเดียว

เป็นการอยู่ที่ดี พวกเราได้เห็นท้าววาสวะภูต-

บดี. ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงดีใจเถิด เพราะ

พราหมณ์ใดได้เง่าบัวคืนแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า น เต นฏา ความว่า ท่านเทวราช พวก

อาตมามิใช่นักฟ้อนรำของท่าน หรือมิใช่ผู้อันใคร ๆ จะพึงล้อเล่น มิใช่

ญาติของท่าน มิใช่สหายของท่าน ที่ควรทำการร่าเริง. เมื่อเป็นเช่นนั้น

ท่านอาศัยใคร คือใครเป็นผู้อุปถัมภ์ อธิบายว่า ท่านเล่นกับพวกฤาษีเพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 427

อาศัยอะไร. บทว่า เอสา ปติฏฺา คือเงาเท้าของท่านนี้จงเป็นที่พึ่งแห่ง

ความผิดพลาดของข้าพเจ้าในวันนี้เถิด. บทว่า สุวาสิต ความว่า การอยู่ใน

ป่านี้แม้เพียงคนเดียวของพวกฤาษี เป็นการอยู่ดีแล้ว เพราะเหตุไร ? เพราะ

พวกเราได้เห็นท้าววาสวะภูตบดี หากว่าพวกเราอยู่ในนคร พวกเราก็จะไม่

เห็นท้าววาสวะนี้. บทว่า โภนฺโต คือท่านผู้เจริญทั้งหลาย. แม้ทั้งหมด

จงดีใจ คือจงยินดี จงยกโทษให้แก่ท้าวสักกเทวราชเถิด เพราะเหตุไร ?

เพราะอาจารย์ของเราได้เง่าบัวแล้ว ท้าวสักกะทรงไหว้หมู่ฤาษีแล้วกลับสู่

เทวโลก. แม้หมู่ฤาษียังฌานและอภิญญาให้เกิด แล้วได้ไปสู่พรหมโลก.

น้องชายทั้ง ๖ คน มีอุปกัญจนะเป็นต้น ในครั้งนั้น ได้เป็นพระ-

สารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธะ และพระ-

อานนทเถระ ในครั้งนี้. น้องสาว คือนางอุบลวรรณา. ทาสี คือนางขุช-

ชุตตรา. ทาส คือจิตตคฤหบดี. รุกขเทวดา คือสาตาถิระ. ช้าง คือช้าง

ปาลิไลยยะ. วานร คือมธุวาสิฏฐะ. ท้าวสักกะ คือกาฬุทายี. มหากัญจน-

ดาบส คือพระโลกนาถ.

แม้ในจริยานี้ ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมี ๑๐ ของพระโพธิสัตว์โดย

นัยดังที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. อนึ่ง พึงประกาศคุณานุภาพมีความไม่

คำนึงถึงในกามทั้งหลายเป็นต้น ส่วนเดียวเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาภิงสจริยาที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 428

๕. โสณนันทปัณฑิตจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของโสณนันทบัณฑิต

[๒๕] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเกิดในตระกูล

มหาศาลอันประเสริฐสุด อยู่ในพระนครพรหม-

วัทธนะ ในกาลนั้น เราเห็นสัตวโลกเป็นผู้ถูก

ความมืดครอบงำ จิตของเราเบื่อหน่ายจากภพ

เหมือนช้างถูกสับด้วยของด้วยกำลัง ฉะนั้นเรา

เห็นความลามกต่าง ๆ หลายอย่าง จึงคิดอย่างนี้

ในกาลนั้นว่า เมื่อไร เราจึงจะออกไปจากเรือน

แล้วเข้าป่าได้ แม้ในกาลนั้น พวกญาติก็เชื้อ

เชิญเราด้วยกามโภคะทั้งหลาย เราได้บอก

ความพอใจแม้แก่เขาเหล่านั้นว่า อย่าเชื้อเชิญ

เราด้วยสิ่งเหล่านั้นเลย น้องชายของเราเป็น

บัณฑิตชื่อว่า นันทะ แม้เขาก็ศึกษาตามเราชอบ

ใจบรรพชา แม้ในกาลนั้น เราคือโสณบัณฑิต

นันทบัณฑิต และมารดาบิดาทั้งสองของเราก็

ละทิ้งโภคสมบัติทั้งหลาย แล้วเข้าป่าใหญ่

ฉะนี้แล.

จบ โสณนันทปัณฑิตจริยาที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 429

อรรถกถาโสณนันทปัณฑิตจริยาที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในโสณนันทปัณทิตจริยาที่ ๕ ดังต่อไปนี้. บทว่า นคเร

พฺรหฺมวฑฺฒเน คือในนครชื่อว่าพรหมวัทธนะ. บทว่า กุลวเร คือในตระกูล

เลิศ. บทว่า เสฏฺเ คือน่าสรรเสริญที่สุด. บทว่า มหาสาเล คือมหาศาล.

บทว่า อชายห คือเราได้เกิดแล้ว ท่านอธิบายไว้ว่า ในกาลนั้น เราได้

เกิดในกรุงพาราณสีอันได้ชื่อว่าพรหมวัทธนะ. ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์

มหาศาล เพราะมีสมบัติถึง ๘๐ โกฏิ เป็นผู้เลิศโดยความเป็นผู้สูงด้วยเป็น

อภิชาตบุตร เป็นผู้ประเสริฐโดยความเป็นผู้มีวิชา.

ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระมหาสัตว์ จุติจากพรหมโลกบังเกิด

เป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาลคนหนึ่งมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในพรหมวัทธน-

นคร. ในวันตั้งชื่อกุมารนั้นมารดาบิดาตั้งชื่อว่า โสณกุมาร. ครั้นโสณกุมาร

นั้นเดินได้ สัตว์อื่นจุติจากพรหมโลกได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของมารดาพระ-

โพธิสัตว์ชื่อว่า นันทกุมาร. มารดาบิดาเห็นรูปสมบัติของบุตรทั้งสอง ผู้

เจริญวัยเรียนพระเวท สำเร็จศิลปะทุกอย่าง ยินดีร่าเริงคิดว่า จักผูกพันให้

อยู่ครองเรือน ได้กล่าวกะโสณกุมารก่อนว่า ลูกรักพ่อแม่จักนำทาริกาจาก

ตระกูลที่สมควรมาให้ลูก. ลูกจงปกครองสมบัติเถิด.

พระมหาสัตว์กล่าวว่า ลูกไม่ต้องการอยู่ครองเรือน. ลูกจะปฏิบัติ

พ่อแม่ตลอดชีวิต เมื่อพ่อแม่ล่วงลับแล้วลูกจักบวช. เพราะในกาลนั้น ภพแม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 430

ทั้งสามได้ปรากฏแก่พระมหาสัตว์ดุจเรือนถูกไฟไหม้ และดุจอยู่ในหลุมถ่าน

เพลิง. อนึ่งโดยความพิเศษอย่างยิ่ง พระมหาสัตว์มีอัธยาศัยในเนกขัมมะ

ได้น้อมใจไปในการบวช. มารดาบิดาไม่ทราบความประสงค์ของพระมหาสัตว์

แม้กล่าวอยู่บ่อย ๆ ก็มิได้ทำใจของพระโพธิสัตว์นั้นให้เห็นดีงามได้ จึงเรียก

นันทกุมารมากล่าวว่า ลูกรักถ้าเช่นนั้นลูกจงปกครองทรัพย์สมบัติเถิด แม้

นันทกุมารก็กล่าวว่า ลูกไม่เอาศีรษะรับน้ำลายที่พี่ชายของลูกถ่มทิ้งไว้. แม้

ลูกก็จะบวชกับพี่ชาย เมื่อพ่อแม่ล่วงลับไป. มารดาบิดาจึงคิดว่า คนหนุ่ม ๆ

เหล่านี้ยังจะละกามทั้งหลายอย่างนี้ได้. ก็เราทำไมจะละไม่ได้เล่า ด้วยเหตุนั้น

เราทั้งหมดจักบวช. จึงกล่าวว่า ลูกรักประโยชน์อะไรของพวกลูกที่จะบวช

ต่อเมื่อพ่อแม่ล่วงลับไป. พ่อแม่จักบวชพร้อมกับลูกด้วย แล้วให้สิ่งที่ควรให้

แก่พวกญาติ ทำทาสให้เป็นไททูลแด่พระราชา สละทรัพย์ทั้งหมดบริจาค

มหาทาน ชนทั้ง ๔ ออกจากพรหมวัทธนนครอาศัยสระใหญ่ดารดาษด้วย

บัวหลวงบัวขาวในหิมวันตประเทศสร้างอาศรมในราวป่าน่ารื่นรมย์ พากัน

บวชอยู่ ณ ที่นั้น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ตทาปิ โลก ทิสฺวาน ฯลฯ ปาริสิมฺห มหาวน.

คำแปลปรากฏแล้วในบาลีแปลข้างต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตทาปิ คือในครั้งเราได้เป็นพราหมณกุมารชื่อว่า

โสณะ ในพรหมวัทธน นคร. บทว่า โลก ทิสฺวาน คือเห็นสัตวโลกแม้ทั้งสิ้น

ด้วยปัญญาจักษุ. บทว่า อนฺธีภูต คือถึงความมิดด้วยปราศจากปัญญาจักษุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 431

บทว่า ตโมตฺถฏ คือถูกความมืดครอบงำ. บทว่า จิตฺต ภวโต ปติกุฏติ คือ

จิตของเราเบื่อหน่ายหดหู่ ท้อแท้จากภพมีกามภพเป็นต้น ด้วยพิจารณาวัตถุให้

เกิดสังเวชมิชาติเป็นต้น. บทว่า ตุตฺตเวคหต วิย เหมือนช้างถูสับด้วยขอ

ด้วยกำลัง หัวมีหนามเหล็กเรียกว่า ตุตฺตะ ไม้ยาวเรียกว่า ปโตทะ. ช้าง

อาชาไนยถูกสับด้วยขอนั้นด้วยกำลัง เป็นผู้ถึงความสลดใจ ฉันใด จิตของเรา

ถึงความสลดด้วยการพิจารณาโทษของกาม ฉันนั้น. ท่านแสดงไว้ดังนี้.

บทว่า ทิสฺวาน วิวิธ ปาป เราเห็นความลามกหลาย ๆ อย่าง คือ

เราเห็นความลามกของสัตว์เหล่านั้น ผู้มีกรรมลามกมีปาณาติบาตเป็นต้น

และนิมิตของกรรมลามกนั้นหลาย ๆ อย่าง ที่ผู้ครองเรือนทั้งหลายกระทำด้วย

อำนาจอคติมีฉันทาคติ และโทสาคติเป็นต้น อันเป็นนิมิตของผู้ครองเรือน.

บทว่า เอว จินฺเตสห ตทา คือเราจึงคิดในขณะที่เป็นโสณกุมารอย่างนี้ว่า

เมื่อไรหนอเราจึงจะตัดความผูกพันในเรือน ดุจช้างใหญ่ตัดเครื่องผูกทำด้วย

เหล็กได้ฉะนั้น แล้วเข้าป่าด้วยการออกจากเรือน. บทว่า ตทาปิม นิมนฺตึสุ

แม้ในกาลนั้นพวกญาติเชื้อเชิญเรา คือ มิใช่ในขณะที่เราเป็นอโยฆรบัณฑิต

อย่างเดียวเท่านั้น. ที่จริงแล้ว แม้ในขณะที่เราเป็นโสณกุมารนั้น ญาติทั้ง

หลายมีมารดาบิดาเป็นต้น ผู้บริโภคกาม ผู้มีอัธยาศัยในกาม เชื้อเชิญเรา

ด้วยโภคะอันมากมายว่า ลูกเอ๋ย ลูกจงมาปกครองทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏินี้

เถิด. จงดำรงวงศ์ตระกูลเถิด. บทว่า เตสมฺปิ ฉนฺทมาจิกฺขึ คือเราได้บอก

ความพอใจของตนแก่ญาติของเราแม้เหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายอย่าเชื้อเชิญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 432

เราด้วยกามโภคะเหล่านั้นเลย. เราได้บอกถึงอัธยาศัยที่น้อมไปในบรรพชา

อธิบายว่า พวกท่านจงปกครองตามอัธยาศัยเถิด. บทว่า โสปิ ม อนุสิกฺขนฺโต

แม้นันทกุมารนั้นก็ศึกษาตามเรา ความว่า เราพิจารณาถึงโทษในกามทั้ง

หลายมีหลายประการ โดยนัยมีอาทิว่า ชื่อว่ากามทั้งหลายเหล่านี้มีความยินดี

น้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก แล้วศึกษาศีลเป็นต้น ชอบใจการบวช.

แม้นันทบัณฑิตนั้นก็ศึกษาตามเรา ด้วยการออกบวชของเขาอย่างนั้น ย่อม

ชอบใจการบวช. บทว่า อห โสโณ จ นนฺโท จ คือในกาลนั้นเราคือ

โสณะ และนันทะน้องชายของเรา. บทว่า อุโภ มาตาปีตา มม คือมารดา

และบิดาของเราเกิดความสลดใจว่า บุตรเหล่านี้ยังละกามทั้งหลายได้แม้ใน

เวลาเป็นหนุ่มอย่างนี้ ก็เราทำไมจะละไม่ได้เล่า. บทว่า โภเค ฉฑฺเฑตฺวา

ความว่า เราทั้ง ๒ คนไม่คำนึงถึงมหาโภคะสมบัติ ๘๐ โกฏิ สละได้ดุจ

ก้อนน้ำลาย เข้าป่าใหญ่ในหิมวันตประเทศ ด้วยอัธยาศัยมุ่งต่อบรรพชา.

ก็ครั้นเข้าไปแล้ว ได้สร้างอาศรมอยู่ ณ ภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์นั้นบวช

เป็นดาบสอยู่ ณ ที่นั้น. พี่น้องสองคนบำรุงมารดาบิดา. นันทบัณฑิตคิดว่า

เราจักให้มารดาบิดาบริโภคผลาผลที่เรานำมาเท่านั้น จึงนำผลาผลที่เหลือเมื่อ

วานนี้และในที่ที่ตนหาอาหารในวันก่อน ๆ มาแต่เช้าตรู่ให้มารดาบิดาบริโภค.

มารดาบิดาบริโภคผลาผลเหล่านั้นแล้วบ้วนปากรักษาอุโบสถ. ส่วนโสณบัณฑิต

ไปไกลหน่อยนำผลไม้ที่สุกดีแล้ว มีรสเอร็ดอร่อยน้อมเข้าไปให้มารดาบิดา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 433

ลำดับนั้น มารดาบิดากล่าวกะโสณบัณฑิตว่า ลูกเอ๋ย เราบริโภคผลาผล

ที่น้องนำมาแล้วจึงรักษาอุโบสถ. บัดนี้เราไม่ต้องการแล้ว. ผลาผลของนันท-

บัณฑิตนั้น ไม่ได้บริโภคจึงเสีย แม้ในวันรุ่งขึ้น ก็อย่างนั้นเหมือนกัน ด้วย

ประการอย่างนี้ นันทบัณฑิตจึงไปไกลนำมาเพราะได้อภิญญา ๕. แต่มารดา

บิดาก็ยังไม่บริโภค.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ดำริว่า มารดาบิดาเป็นคนแบบบาง. ก็นันทะ

นำผลาผลดิบบ้าง สุกไม่ดีบ้าง มาให้มารดาบิดาบริโภค. เมื่อเป็นเช่นนั้น

มารดาบิดาจักอยู่ได้ไม่นาน. เราจักห้ามนันทะนั้น. จึงเรียกนันทะมากล่าว

ว่า ดูก่อนนันทะ ตั้งแต่นี้ไปน้องจะนำผลาผลมา จงรอให้พี่กลับก่อน เราจัก

ให้มารดาบิดาบริโภคร่วมกัน. แม้เมื่อโสณบัณฑิตกล่าวอย่างนี้แล้ว นันท-

บัณฑิตหวังได้บุญจึงไม่ทำตาม. พระมหาสัตว์ปรบมือไล่นันทบัณฑิตผู้มาบำรุง

มารดาบิดากล่าวว่า น้องไม่ทำตามคำของบัณฑิต พี่เป็นพี่. มารดาบิดาเป็น

ภาระของพี่เอง พี่จักบำรุงมารดาบิดาเอง น้องจงไปจากที่นี้ไปอยู่เสียที่อื่น.

นันทบัณฑิตถูกพี่ชายไล่ไม่อาจอยู่ในที่นั้นได้ จึงไหว้พระโพธิสัตว์

แล้วบอกเรื่องราวแก่มารดาบิดาเข้าไปยังบรรณศาลาของตน เพ่งกสิณในวัน

นั้นเอง ยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิด แล้วคิดว่า เราจักนำทรายรัตนะ

มาจากเชิงเขาสิเนรุ เกลี่ยบริเวณบรรณศาลาของพี่ชายของเราแล้วขอขมา

หรือว่านำน้ำมาจากสระอโนดาตแล้วจึงขอขมา. หรืออีกอย่างหนึ่งพี่ชายของ

เราพึงยกโทษให้ด้วยอำนาจแห่งเทวดา เราจักนำมหาราช และท้าวสักก-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 434

เทวราชมาแล้วจึงขอขมา อย่างนี้ก็ไม่งาม. พระราชาเมืองพรหมวัทธนะ

พระนามว่า มโนชะ นี้เป็นพระอัครราชาทั่วชมพูทวีป เราจักนำพระราชา

ทั้งหมด ตั้งต้นแต่พระเจ้ามโนชะนั้นมาแล้วขอขมา เมื่อเป็นอย่างนี้คุณของพี่

ชายของเราจักครองงำไปทั่วชมพูทวีป และจักปรากฏดุจดวงจันทร์และดวง-

อาทิตย์.

ทันใดนั้นเองนันทบัณฑิตได้ไปด้วยฤทธิ์ ลงที่ประตูพระราชนิเวศน์

ของพระราชานั้นในพรหมวัทธนนคร ให้คนไปทูลแด่พระราชาว่า มีดาบส

องค์หนึ่งประสงค์จะเฝ้าพระองค์ ครั้นพระราชทานโอกาวให้เข้าเฝ้าได้ จึง

เข้าไปเฝ้าทูลว่า อาตมภาพจะยึดราชสมบัติทั่วชมพูทวีป ด้วยกำลังของตนนำ

มาถวายพระองค์. พระราชาตรัสถามว่า พระคุณท่านจะยึดราชสมบัติทั่ว

ชมพูทวีปมาให้ได้อย่างไร. ทูลว่า มหาราชอาตมาภาพจะไม่ฆ่าใคร ๆ จะยึด

ด้วยฤทธิ์ของตนเท่านั้นแล้วนำมาถวาย แล้วพาพระราชาพร้อมด้วยเสนา

หมู่ใหญ่ไปถึงแคว้นโกศล พักค่ายไว้ไม่ไกลพระนคร ส่งทูตไปทูลแด่พระ-

เจ้าโกศลว่า จะรบหรือจะยอมอยู่ในอำนาจ. เมื่อการรบกับพระเจ้าโกศลซึ่ง

ทรงพิโรธเตรียมการรบเสด็จออกมาเริ่มขึ้นแล้ว ด้วยฤทธานุภาพของตน

นันทบัณฑิตได้นำโดยที่นักรบทั้งสองฝ่ายมิได้ทำร้ายกัน. แล้วตระเตรียมด้วย

การนำคำโต้ตอบกันโดยที่พระเจ้าโกศล ทรงยอมอยู่ในอำนาจของพระราชา

นั้น. โดยอุบายนี้ นันทบัณฑิตยังพระราชาทั่วชมพูทวีปให้ตกอยู่ในอำนาจ

ของพระราชานั้นหมดสิ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 435

พระราชานั้นทรงยินดีกับนันทับณฑิต ตรัสกะนันทบัณฑิตว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ พระคุณท่านได้ทำเหมือนอย่างที่ปฏิญญาไว้แล้ว. พระคุณท่าน

เป็นผู้มีอุปการะมากแก่ข้าพเจ้า. ข้าพเจ้าจักทำอะไรตอบแทนพระคุณท่าน

ได้เล่า. ข้าพเจ้าปรารถนาจะให้ราชสมบัติกึ่งหนึ่งในชมพูทวีปทั้งสิ้นแก่พระ-

คุณท่าน. การกำหนดช้าง ม้า รถ แก้วมณี แก้วมุกดา แก้วประพาฬ เงิน

ทอง ทาสหญิง ทาสชาย และบริวารชนจะทำอย่างไร. นันทบัณฑิตได้ฟังดัง

นั้นทูลว่า มหาราชอาตมาภาพไม่ต้องการราชสมบัติ. แม้พาหนะช้างเป็นต้นก็

ไม่ต้องการ. ก็แต่ว่ามารดาบิดาของอาตมาบวชอยู่ในอาศรมโน้นในแคว้น

ของพระองค์. อาตมาภาพบำรุงมารดาบิดาเหล่านั้น ถูกโสณบัณฑิตพี่ชาย

ของอาตมา ผู้แสวงหาคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ไล่ในเพราะความผิดอย่างหนึ่ง.

อาตมาภาพจักพาพระองค์ไปหาพี่ชายขอขมา. ขอพระองค์จงทรงเป็นเพื่อน

ในการให้พี่ชายของอาตมายกโทษให้เถิด. พระราชาทรงรับแวดล้อมด้วย

นักรบมีประมาณ ๒๔ อักโขภินีกับพระราชาร้อยเอ็ด นันทบัณฑิตนำหน้า

ครั้นถึงอาศรมบทนั้น จึงปล่อยระยะไว้สี่อังคุละ นำน้ำมาจากสระอโนดาด

ด้วยเครื่องหาบซึ่งตั้งอยู่บนอากาศ เตรียมน้ำดื่ม กวาดบริเวณ แล้วเข้าไปหา

พระมหาสัตว์ ผู้อิ่มด้วยความยินดีในฌานนั่งอยู่ใกล้มารดาบิดา แล้วขอขมา.

พระมหาสัตว์ให้นันทบัณฑิตดูแลมารดา ตนเองบำรุงบิดาจนตลอด

ชีวิต. พระมหาสัตว์แสดงธรรมแด่พระราชาเหล่านั้นด้วยพุทธลีลาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 436

ความยินดีความบันเทิง อันผู้รู้พึงได้

เพราะบำรุงบำเรอมารดาให้ท่านหัวเราะแจ่มใส

อยู่ทุกเมื่อ.

ความยินดีความบันเทิง อันผู้รู้พึงได้

เพราะบำรุงบำเรอบิดาให้ท่านหัวเราะแจ่มใสอยู่

ทุกเมื่อ.

การสงเคราะห์เหล่านี้แลในโลก ตามสม-

ควรในธรรมนั้น ๆ คือ การให้ การเจรจาถ้อย

คำอ่อนหวาน การประพฤติเป็นประโยชน์ การ

วางตนเสมอต้นเสมอปลาย ดุจลิ่มรถที่แล่น

ไปฉะนั้น.

การสงเคราะห์เหล่านั้นไม่พึงมี มารดาย่อม

ไม่ได้การนับถือหรือการบูชา เพราะเหตุแห่ง

บุตร. หรือบิดาย่อมไม่ได้การนับถือหรือการบูชา

เพราะเหตุแห่งบุตร.

เพราะบัณฑิตทั้งหลาย เพ่งเล็งโดยชอบ

ถึงการสงเคราะห์เหล่านี้ ฉะนั้นจึงถึงความเป็น

ผู้ยิ่งใหญ่และได้ความสรรเสริญ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 437

มารดาบิดาท่านกล่าวว่าเป็นพรหม เป็น

บุรพาจารย์และเป็นผู้ควรบูชาของบุตรทั้งหลาย

เป็นผู้อนุเคราะห์สัตว์.

เพราะฉะนั้นแล บัณฑิตพึงนอบน้อม พึง

สักการะมารดาบิดาเหล่านั้น ด้วยข้าว ด้วยน้ำ

ด้วยผ้า ด้วยที่นอน ด้วยเครื่องนุ่งห่ม ด้วย

น้ำอาบ. และด้วยการล้างเท้า.

บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น

ในโลกนี้ ด้วยการบำรุงบำเรอในมารดาบิดาทั้ง

หลาย. บุคคลนั้นละจากโลกนี้ไปแล้วย่อม

บันเทิงในสวรรค์

พระราชาทั้งหมดเหล่านั้นครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว ก็ทรงเลื่อมใสพร้อม

กับกองพล. ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ยังพระราชาเหล่านั้นให้ตั้งอยู่ในศีล ๕

แล้วให้โอวาทว่า ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทในทานเป็นต้นเถิด.

แล้วก็ปล่อยไป. พระราชาเหล่านั้นทั้งหมดทรงครองราชสมบัติโดยธรรม

ครั้นสวรรคตก็ไปบังเกิดในสวรรค์. พระโพธิสัตว์ให้นันทบัณฑิต แลมารดา

ด้วยกล่าวว่า ตั้งแต่นี้น้องจงบำรุงมารดาตนเองบำรุงบิดาจนตลอดชีวิต. ทั้ง

สองพี่น้องเมื่อถึงแก่กรรมก็ไปเกิดบนพรหมโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 438

มารดาบิดาในครั้งนั้นได้เป็นตระกูลมหาราชในครั้งนี้. นันทบัณฑิต

คือพระอานนท์เถระ. พระราชาคือพระสารีบุตรเถระ. พระราชาร้อยเอ็ดคือ

พระอสีติมหาเถระ และพระเถระรูปอื่น ๆ บริษัท ๒๔ อักโขภินีคือพุทธบริษัท.

โสณบัณฑิต คือพระโลกนาถ.

เนกขัมมบารมียอดเยี่ยมอย่างยิ่งของโสณบัณฑิตนั้นก็จริง แม้ถึงอย่าง

นั้นก็พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

อนึ่ง พึงประกาศคุณานุภาพของพระมหาสัตว์มีอาทิอย่างนี้คือ ความเป็นผู้

ไม่คำนึงในกามทั้งหลายโดยสิ้นเชิง. ความเป็นผู้มีความเคารพยำเกรง อย่าง

แรงกล้าในมารดาบิดาทั้งหลาย ความไม่อิ่มด้วยการบำรุงมารดาบิดา. แม้เมื่อ

มีการบำรุงมารดาบิดาเหล่านั้นอยู่ ก็ยังกาลเวลาทั้งหมดให้น้อมไปด้วยสมาบัติ

วิหารธรรม ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาโสณนันทปัณฑิตจริยาที่ ๕

จบ เนกขัมมมารมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 439

๖. มูคผักขจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของมูคผักขกุมาร

[๒๖] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระราช-

โอรสของพระเจ้ากาสี ชนทั้งหลายเรียกเรา

โดยชื่อว่า มูคผักขกุมารบ้าง เตมิยกุมารบ้าง

ในกาลนั้น พระสนมนางในหมื่นหกพัน ไม่มี

พระราชโอรส โดยวันคืนล่วงไป ๆ เราบังเกิด

ผู้เดียว พระบิดารับสั่งให้ตั้งเศวตรฉัตร ให้

เลี้ยงดูเราผู้เป็นบุตรสุดที่รัก อันได้ด้วยยาก

เป็นอภิชาตบุตร ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง บนที่

นอนในกาลนั้น เรานอนอยู่บนที่นอนอันอ่อน

นุ่ม ตื่นขึ้นแล้วได้เห็นเศวตรฉัตรอันเป็นเหตุ

ให้เราไปสู่นรก ความสะดุ้งหวาดกลัวเกิดขึ้น

แล้วแก่เรา พร้อมกับได้เห็นฉัตร เราถึงความ

วินิจฉัยว่า เมื่อไรหนอ เราจึงจะเปลื้องราช-

สมบัตินี้ได้ เทพธิดาผู้เป็นสายโลหิตของเรามา

๑. พม่า เป็น เตมิยจริยา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 440

ก่อน ผู้ใคร่ประโยชน์ต่อเรา นางเห็นเราผู้

ประกอบด้วยทุกข์ จึงแนะนำให้เราประกอบ

ในเหตุ ๓ ประการ ว่าท่านจงอย่าแสดงความ

เป็นบัณฑิต จงแสดงความเป็นคนโง่แก่ชน

ทั้งปวง ชนทั้งหมดนั้นก็จะดูหมิ่นท่าน

ประโยชน์จักมีแก่ท่านด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อ

เทพธิดากล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวดังนี้ว่า

ดูก่อนนางเทพธิดา ข้าพเจ้าจะทำตามคำที่ท่าน

กล่าวกะเราฉันนั้น ท่านเป็นผู้ปรารถนา

ประโยชน์ เป็นผู้ใคร่ความเกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า

แม่เทพธิดา ครั้นเราได้ฟังคำของเทพธิดานั้น

แล้ว เหมือนดังได้พบฝั่งในสาคร ร่าเริงดีใจ

ได้อธิษฐานองค์ ๓ ประการ คือ เราเป็นคนใบ้

เป็นคนหนวก เป็นคนง่อยเปลี้ย เว้นจากคติ

เราอธิษฐานองค์ ๓ ประการนี้อยู่ ๑๖ ปี ครั้งนั้น

เสนาบดีเป็นต้นตรวจดูมือเท้า ลิ้น และช่องหู

ของเราแล้ว เห็นความไม่บกพร่องของเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 441

ติเตียนว่าเป็นคนกาลกรรณี ทีนั้นชาวชนบท

เสนาบดี และปุโรหิตทั้งปวงร่วมใจกันทั้งหมด

พลอยดีใจการที่รับสั่งให้นำไปทิ้ง เรานั้นได้ฟัง

ความประสงค์ของเสนาบดีเป็นต้นนั้นแล้ว

ร่าเริงดีใจว่า เราประพฤติตบะมาเพื่อประโยชน์

ใด ประโยชน์นั้นจะสำเร็จแก่เรา ราชบุรุษ

ทั้งหลายอาบน้ำให้เรา ไล้ทาด้วยของหอม สวม

ราชมงกุฎราชาภิเศกแล้ว มีฉัตรที่บุคคลถือไว้

ให้ทำประทักษิณพระนคร ดำรงเศวตรฉัตรอยู่

๗ วัน พอดวงอาทิตย์ขึ้นนายสารถีอุ้มเราขึ้น

รถ เข้าไปยังป่า นายสารถีหยุดรถไว้ ณ โอกาส

หนึ่งปล่อยรถเทียมม้าพอพ้นมือ ก็ขุดหลุม

เพื่อจะฝังเราเสียในแผ่นดิน พระมหากษัตริย์

ทรงคุกคามการอธิษฐาน ที่เราอธิษฐานไว้

ด้วยเหตุต่าง ๆ แต่เราก็ไม่ทำลายการอธิษฐาน

นั้น เพราะเหตุแห่งโพธิญาณนั่นเอง เราจะ

เกลียดพระมารดาพระบิดาก็หามิได้ เราจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 442

เกลียดตนเองก็หามิได้ แต่พระสัพพัญญุตญาณ

เป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้นแหละ เราจึง

อธิษฐานองค์ ๓ ประการนั้น เราอธิษฐานองค์

๓ ประการนี้อยู่ ๑๖ ปี ผู้เสมอด้วยอธิษฐาน

ของเราไม่มี นี้เป็นอธิษฐานบารมีของเรา ฉะนี้

แล.

จบ มูคผักขจริยาที่ ๖

อรรถกถามูคผักขจริยาที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถามูคผักขจริยาที่ ๖ ดังต่อไปนี้. บทว่า

กาสิราชสฺส อตฺรโช คือในกาลเมื่อเราเป็นโอรสของพระเจ้ากาสี. ใน

กาลนั้น ชื่อว่า มูคผักขะ. ชนทั้งหลายเรียกเราว่า เตมิยะ. ควรเชื่อม

ความว่า ชนทั้งหลายทั้งปวงตั้งแต่พระมารดาพระบิดาเป็นต้นเรียกเราว่า

มูคผักขะ เพราะอธิษฐานเป็นคนใบ้และเป็นคนง่อยเปลี้ย. อนึ่ง เพราะ

พระมหาสัตว์นั้นยังหทัยของพระราชาและของอำมาตย์เป็นต้นให้ชุ่ม อัน

เกิดด้วยปีติและสิเนหาอย่างยิ่ง. ฉะนั้น จึงได้พระนามว่า เตมิยกุมาร.

บทว่า โสฬสิตถีสหสฺสาน คือ สนมของพระเจ้ากาสี ๑๖,๐๐๐

บทว่า น วิชฺชติ ปุโม คือ ไม่มีพระโอรส มิใช่ไม่มีพระโอรสอย่างเดียว

เท่านั้น แม้พระบิดาของพระองค์ก็ไม่มี. บทว่า อโหรตฺตาน อจฺจเยน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 443

นิพฺพตฺโต อหเมกโก ความว่า พระศาสดาทรงแสดงว่า โดยวันคืนล่วงไป ๆ

เราเกิดผู้เดียว คือ โดยวันคืนน้อมล่วงไปไม่น้อยเพราะล่วงไปหลายปี เราผู้

เดียวเท่านั้นที่ท้าวสักกะประทานให้แด่พระราชาพระองค์นั้นผู้ไม่มีโอรส เรา

เที่ยวแสวงหาโพธิญาณ ในกาลนั้นได้เกิดเป็นโอรสของพระราชา.

ในจริยานั้นมีเรื่องราวเป็นลำดับดังต่อไปนี้. ในอดีตกาลครั้งพระเจ้า-

กาสีครองราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี. พระองค์มีสนม ๑๖,๐๐๐ นาง.

ในสนมเหล่านั้นไม่ได้บุตรหรือธิดาแม้แต่คนเดียว. ชาวพระนครเกิด

เดือดร้อนว่า พระโอรสแม้องค์เดียวที่จะรักษาราชวงศ์ของพวกเราไม่มีเลย

จึงประชุมกัน ทูลพระราชาว่า ขอพระองค์จงปรารถนาพระโอรสเถิด

พระเจ้าข้า. พระราชาทรงรับสั่งกะสนม ๑๖,๐๐๐ นางว่า พวกเจ้าจงปรารถนา

บุตรเถิด. พวกสนมเหล่านั้นทำการบวงสรวงพระจันทร์เป็นต้น แม้ปรารถนา

ก็ไม่ได้บุตร. ฝ่ายพระจันทาเทวี พระธิดาของพระเจ้ามัททราชอัครมเหสี

ของพระราชานั้น พระนางสมบูรณ์ด้วยศีล. พระราชาตรัสว่า แม้เธอก็จง

ปรารถนาโอรสเถิด. ในวันเพ็ญพระนางรักษาอุโบสถระลึกถึงศีลของตน

ทรงตั้งสัจจกิริยาว่า หากเรามีศีลไม่ขาด ด้วยสัจจะของเรานี้ขอให้โอรส

เกิดเถิด. ด้วยเดชแห่งศีลของนางนั้น อาสนะของท้าวสักกะแสดงอาการ

ร้อน. ท้าวสักกะทรงรำพึงก็ทรงทราบเหตุนั้น จึงดำริว่า. เราจักอนุเคราะห์

นางจันทาเทวีให้ได้โอรส ทรงใคร่ครวญถึงโอรสผู้สมควรแก่พระเทวีนั้น

ทรงเห็นพระโพธิสัตว์ผู้ประสงค์จะอุบัติในดาวดึงสพิภพดำรงอยู่บนดาวดึงส-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 444

พิภพนั้นตราบเท่าอายุแล้วจุติจากนั้น ไปบังเกิดในเทวโลกสูงขึ้นไป จึงเสด็จ

เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ ตรัสว่า ดูก่อนสหาย เมื่อท่านเกิดในมนุษยโลก

บารมีเหล่านั้นจักบริบูรณ์ ความเจริญจักมีแก่มหาชน พระนางจันทา

อัครมเหสีของพระเจ้ากาสีทรงปรารถนาพระโอรส ขอให้ท่านจงไปอุบัติใน

พระครรภ์ของพระนางนั้นเถิด. พระโพธิสัตว์รับเทวดำรัส แล้วจึงถือปฏิสนธิ

ในพระครรภ์ของพระนางจันทาเทวีนั้น. เทพบุตร ๕๐๐ สหายของพระ-

โพธิสัตว์นั้นสิ้นอายุ จุติจากเทวโลก คือปฏิสนธิ ในครรภ์ของภริยาอำมาตย์

ทั้งหลายของพระราชานั้น. พระเทวีทรงทราบว่า พระนางตั้งครรภ์แล้ว

จึงกราบทูล พระราชาให้ทรงทราบ. พระราชารับสั่งให้ดูแลพระครรภ์.

พระเทวีทรงครรภ์ครบกำหนด จึงประสูติพระราชบุตรสมบูรณ์ด้วยบุญ

ลักษณะทุกประการ. ในวันนั้นเองในเรือนของพวกอำมาตย์ทั้งหลาย กุมาร

๕๐๐ ก็เกิด. พระราชาทรงสดับแม้ทั้งสองประการ ทรงดำริว่า กุมารเหล่านี้

จงเป็นบริวารโอรสของเรา จึงทรงส่งแม่นม ๕๐๐ และส่งเครื่องประดับ

ของกุมารให้แก่กุมาร ๕๐๐. อนึ่ง พระราชาทรงให้แม่นม ๖๔ คน ผู้มี

น้ำมันอร่อยมีก้นไม่หย่อนยาน เว้นจากโทษมีสูงเกินไปเป็นต้น แล้วทรง

ทำสักการะใหญ่แก่พระโพธิสัตว์ได้ทรงประทานพรแม้แก่พระนางจันทาเทวี.

พระนางจันทาเทวีทรงรับพรไว้แล้ว. พระกุมารทรงเจริญด้วยบริวารใหญ่.

ลำดับนั้น พวกแม่นมตกแต่งพระกุมาร ซึ่งมีพระชนม์ได้ ๑ เดือน นำมา

เฝ้าพระราชา. พระราชาทรงแลดูพระโอรสน่ารัก จึงทรงสวมกอด ให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 445

พระกุมารประทับนั่งบนพระเพลา ประทับนั่งทรงรื่นรมย์กับพระโอรส. ใน

ขณะนั้นโจร ๔ คน ถูกนำมาให้ทรงพิพากษาโทษ. ในโจร ๔ คนนั้น

คนหนึ่ง พระราชาทรงตัดสินให้เฆี่ยนด้วยหวายมีหนาม ๑,๐๐๐ ครั้ง.

คนหนึ่ง ใส่ตรวนส่งเข้าเรือนจำ. คนหนึ่ง ให้เอาหอกทิ่มแทงบนร่างกาย.

คนหนึ่ง เสียบด้วยหลาว. พระมหาสัตว์สดับคำพิพากษาของพระบิดาก็เกิด

สลดใจ ทรงดำริว่า โอน่าเศร้า พระบิดาของเราอาศัยความเป็นพระราชา

กระทำกรรมอันจะนำไปสู่นรก เป็นกรรมหนัก. รุ่งขึ้นพวกแม่นมให้พระ-

มหาสัตว์บรรทมเหนือสิริไสยาสน์ที่ตกแต่งไว้ภายใต้เศวตรฉัตร.

พระมหาสัตว์บรรทมหลับไปได้หน่อยหนึ่ง ทรงลืมพระเนตรและ

เศวตรฉัตรทรงเห็นสิริสมบัติใหญ่โต. ทีนั้นพระมหาสัตว์ แม้ตามปกติก็ทรง

สลดพระทัยอยู่แล้ว ยิ่งเกิดความกลัวหนักขึ้น. พระมหาสัตว์ทรงรำพึงอยู่ว่า

เรามาสู่พระราชวังนี้จากไหนหนอ ครั้นทรงทราบว่ามาจากเทวโลก ด้วย

ทรงระลึกชาติได้ จึงทรงตรวจดูเหนือไปจากนั้น ทรงเห็นว่า พระองค์

เคยหมกไหม้อยู่ในอุสสทนรก. ทรงตรวจดูเหนือไปจากนั้นอีกทรงเห็นความ

ที่พระองค์เป็นพระราชาอยู่ในนครนั่นเอง. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์บรรทม

ดำริว่า เราครองราชสมบัติอยู่ ๒๐๐ ปี หมกไหม้อยู่ในอุสสทนรก ๘๐,๐๐๐ ปี.

บัดนี้ เราเกิดในเรือนโจรนี้เอง. แม้พระบิดาของเราเมื่อวานนี้ เมื่อเขา

นำโจรมา ๔ คน ก็ตรัสพระดำรัสรุนแรงถึงป่านนั้น อันจะทำให้ตกนรก.

เราไม่ต้องการราชสมบัติ อันจะนำความพินาศอย่างใหญ่หลวง ชื่อยังไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 446

ปรากฏนี้มา. เราจะพึงพ้นไปจากเรือนโจรนี้ได้อย่างไรหนอ. ลำดับนั้น

เทพธิดาองค์หนึ่งได้ปลอบพระโพธิสัตว์นั้นว่า พ่อเตมิยกุมาร พ่ออย่ากลัว.

ความปลอดภัยจักมีแก่ท่านเพราะอธิษฐานองค์ ๓. พระมหาสัตว์สดับดังนั้น

มีพระประสงค์จะพ้นจากความพินาศ คือราชสมบัติ จึงทรงอธิษฐานองค์ ๓

ตลอด ๑๖ ปี ด้วยความอธิษฐานไม่หวั่นไหว. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า :-

กิจฺฉาลทฺธ ปิยปุตฺต ฯ ล ฯ ผกฺโข คติวิวชฺชิโต

คำแปลปรากฏแล้วในบาลีแปลข้างต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า

กิจฺฉาลทฺธ คือได้ด้วยความปรารถนามาตลอดกาลช้านาน ยาก ฝืดเคือง.

บทว่า อภิชาต คือสมบูรณ์ด้วยชาติ. ชื่อว่า ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง เพราะ

ประกอบด้วยความรุ่งเรืองทางกายและความรุ่งเรืองด้วยญาณ. บทว่า เสตจฺ-

ฉตฺต ธารยิตฺวาน, สยเน โปเสติ ม ปิตา พระบิดารับสั่งให้กั้นเศวตรฉัตร

ให้เลี้ยงดูเราบนที่นอน ความว่า พระเจ้ากาสี พระบิดาของเราให้เรานอน

บนที่สิริไสยาสน์ภายใต้เศวตรฉัตร ตั้งแต่เราเกิดให้เลี้ยงดูเรากับด้วยบริวาร

ใหญ่ โดยพระดำรัสว่า ธุลีหรือน้ำค้าง จงอย่าต้องกุมารนั้น. เรานอนอยู่

บนที่นอนอันประเสริฐ ตื่นขึ้นแล้วมองดูได้เห็นเศวตรฉัตรสีขาว. บทว่า

เยนาห นิรย คโต ความว่า อันเป็นเหตุให้เราไปสู่นรกในอัตภาพที่ ๓

จากอัตภาพนี้ด้วยเศวตรฉัตร. ท่านกล่าวถึงราชสมบัติด้วยหัวข้อว่า เศวตร-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 447

ฉัตร. บทว่า สห ทิฏฺสฺส เม ฉตฺต คือความสะดุ้งกลัวเกิดขึ้นแล้ว

แก่เราผู้เห็นเศวตรฉัตรนั้น พร้อมกับความเห็นนั้น. อธิบายว่า ตลอดเวลา

ที่เห็นนั่นเอง. บทว่า ตาโส อุปฺปชฺชิ เภรโว คือ เกิดความสะดุ้งน่ากลัว

เพราะเป็นโทษที่ปรากฏชัดเจนแล้ว. บทว่า วินิจฺฉย สมาปนฺโน, กถาห

อิม มุญฺจิสฺส ความว่า เราตรึกตรองอย่างนี้ว่า เราจะปลดเปลื้องราชสมบัติ

อันเป็นกาลกรรณีได้อย่างไรหนอ. บทว่า ปุพฺพาสาโลหิตา มยฺห ความว่า

เทพธิดาผู้เป็นมารดาของเราในอัตภาพหนึ่ง สิงสถิตอยู่ในเศวตรฉัตรนั้น

เป็นผู้ใคร่ประโยชน์ แสวงหาประโยชน์แก่เรา. บทว่า สา ม ทิสฺวาน

ทุกฺขิต, ตีสุ าเนสุ โยชยิ ความว่า เทพธิดานั้นเห็นเราประกอบด้วยทุกข์

เพราะทุกข์ใจอย่างนั้น จึงแนะนำให้เราประกอบในเหตุที่จะออกจากทุกข์

ในราชสมบัติ ๓ ประการ คือ เป็นใบ้ เป็นคนง่อยเปลี้ย เป็นคนหนวก.

บทว่า ปณฺฑิจฺจย คือความเป็นบัณฑิต. บทว่า มา วิภาวย คือท่าน

จงประกาศความเป็นบัณฑิต. บทว่า พาลมโต คือให้เขารู้ว่าเป็นคนโง่.

บทว่า สพฺโพ คือ ชนภายในและชนภายนอกทั้งสิ้น. บทว่า โอจินายตุ

คือ คนทั้งปวงย่อมดูหมิ่นว่า พวกท่านจงนำคนกาลกรรณีนี้ออกไป. บทว่า

เอว ตว อตฺโถ ภวิสฺสติ ประโยชน์จักมีแก่ท่านด้วยอาการอย่างนี้ ความว่า

เมื่อท่านถูกดูหมิ่น โดยนัยดังกล่าวแล้วอย่างนั้น ประโยชน์อันยังบารมี

ให้บริบูรณ์ด้วยการออกจากเรือนจักมีแก่ท่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 448

บทว่า เตต วจน ความว่า ข้าพเจ้าจะทำตามคำของท่านที่กล่าวว่า

ท่านจงอธิษฐานองค์ ๓ ดังนี้. บทว่า อตฺถกามาสิ เม อมฺม คือ แม่

เทพธิดาท่านเป็นผู้ปรารถนาประโยชน์แก่ข้าพเจ้า. บทว่า หิตกามา ท่าน

เป็นผู้ใคร่ความเกื้อกูล เป็นคำกล่าวโดยปริยายของคำว่า อตฺถกามา นั้น

นั่นเอง. หรือว่า พึงทราบว่า ความสุขในบทว่า อตฺโถ นี้. บทว่า หิต

คือบุญอันเป็นเหตุของความสุขนั้น.

บทว่า สาคเรว ถล ลภึ เหมือนเราได้พบฝั่งในสาคร ความว่า

เราคิดว่า เราเกิดในเรือนโจร. ความพินาศใหญ่หลวงได้มีแก่เรา เราจมอยู่

ในสาคร คือความโศกได้ฟังคำของเทพธิดานั้น เหมือนจมอยู่ในสาคร

ได้เห็นฝั่ง คือที่ฟังแล้ว. อธิบายว่า เราได้อุบายออกจากราชตระกูลแล้ว

บทว่า ตโย องฺเค อธิฏฺหึ คือ เราได้อธิษฐานองค์ ๓ ประการ จนกว่า

เราจะออกไปจากเรือน.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงองค์ ๓ ประการเหล่านั้นโดยสรุป

จึงตรัสพระคาถาว่า มูโค อโหสึ เราเป็นใบ้ ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น

บทว่า ผกฺโข คือ เป็นง่อยเปลี้ย. บทที่เหลือ เข้าใจง่ายดีแล้ว.

เมื่อพระมหาสัตว์ทรงตั้งอยู่ในนัยที่เทพธิดาให้ไว้ แล้วทรงแสดง

พระองค์ด้วยความเป็นใบ้เป็นต้น ตั้งแต่ปีที่ประสูติ พระมารดาพระบิดาและ

พวกนางนมเป็นต้น คิดว่า ธรรมดาปลายคางของตนใบ้ ช่องหูของคนหนวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 449

มือเท้าของคนง่อยเปลี้ย มิได้เป็นอย่างนี้. ในเรื่องนี้ พึงมีเหตุ. เราจัก

ทดลองพระกุมารนี้ดู. คิดว่า เราจักทดลองด้วยน้ำมันก่อน จึงไม่ให้น้ำมัน

ตลอดวัน. พระกุมารนั้น แม้ซูบซีดก็มิได้ร้องเพื่อต้องการน้ำมัน.

ลำดับนั้น พระมารดาของพระกุมาร ทรงดำริว่า ลูกของเราคงหิว.

พวกเจ้าจงให้น้ำมันแก่ลูกเราเถิด แล้วให้พวกแม่นมให้น้ำมัน. พวกแม่นม

ไม่ให้น้ำมันเป็นระยะ ๆ อย่างนี้ แม้ทดลองอยู่ปีหนึ่งก็ยังไม่เห็นช่องทาง.

แต่นั้นพวกแม่นมคิดว่า ธรรมดาเด็กย่อมชอบขนมและของเคี้ยว. ชอบ

ผลาผล. ชอบของเล่น. ชอบอาหาร จึงนำของปลอบใจเหล่านั้น ๆ เข้าไป

ให้ ปลอบใจด้วยการทดลองก็ไม่เห็นช่องทางตลอด ๕ ปี. ลำดับนั้น พวก

แม่นม คิดว่า ธรรมดาเด็กย่อมกลัวไฟ กลัวช้างตกมัน กลัวงู กลัวคน

เงื้อดาบ. เราจักทดลองด้วยเหตุเหล่านั้น จึงตระเตรียมดังกล่าว โดยที่มิให้

เกิดความเสียหายแก่พระกุมารด้วยอาการเหล่านั้นได้ แล้วให้เข้าไปแสดงโดย

อาการอันน่ากลัวอย่างยิ่ง.

พระมหาสัตว์ทรงรำพึงถึงภัยในนรก จึงไม่หวั่นไหวด้วยทรงเห็นว่า

นรกน่ากลัวยิ่งกว่านี้ ร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า. พวกแม่นมทดลองอยู่

แม้อย่างนี้ก็ไม่เห็นช่องทาง จึงคิดว่า ธรรมดาเด็กต้องการดูมหรสพ จึงให้

สร้างโรงมหรสพ เอาม่านกั้นพระมหาสัตว์ แล้วให้ประโคมด้วยเสียงสังข์

และเสียงกลองให้กึกก้องเป็นอันเดียวกันในทันที ณ ข้างทั้ง ๒ ของพระกุมาร

ผู้ไม่รู้เรื่องเลย จุดตะเกียงส่องในที่มืด ให้แสงสว่าง เอาน้ำอ้อยทาทั่วตัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 450

ให้นอนในที่มีแมลงวันชุม ไม่ให้อาบน้ำเป็นต้น เข้าไปคอยกุมารนอนบน

อุจจาระ ปัสสาวะ เสียดสีด้วยการเยาะเย้ย และคำว่า กุมารซึ่งนอนจม

มูตรและกรีส. ทำกระเบื้องไฟไว้ใต้เตียง แล้วเผาให้ร้อนบ้าง. แม้ทดลอง

อยู่ด้วยอุบายหลาย ๆ อย่าง อย่างนี้ก็ไม่เห็นช่องทางของพระกุมารนั้น.

พระมหาสัตว์ทรงรำพึงถึงภัยในนรกเท่านั้น ในที่ทั้งปวงไม่ทรง

ทำลายการตั้งใจ ไม่ไหวติง. พวกแม่นมทดลองอย่างนี้ถึง ๑๕ ปี ครั้น

พระชนม์ได้ ๑๖ พระพรรษา พวกแม่นมคิดว่า คนง่อยเปลี้ยก็ตาม คนใบ้

คนหนวกก็ตาม จะไม่กำหนัดในสิ่งควรกำหนัด จะไม่อยากเห็นในสิ่งควร

เห็น ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้นเราจะหานาฏศิลป์มาทดลองพระกุมาร จึงเอา

น้ำหอมอาบพระกุมาร ประดับประดาดุจเทพบุตรเชิญขึ้นบนปราสาท อันมี

แต่ความบรรเทิงเบิกบานอย่างเดียว ด้วยดอกไม้ของหอมและพวงมาลัย

เป็นต้นเหมือนเทพวิมาน จึงให้สตรีล้วนมีรูปร่างงดงาม พราวด้วยเสน่ห์

เปรียบด้วยเทพอัปสรคอยบำเรอว่า พวกเจ้าจงให้พระกุมารอภิรมย์ด้วยความ

เป็นของเที่ยงเป็นต้น. สตรีเหล่านั้นต่างก็พยายามเพื่อจะเข้าไปทำตามนั้น.

พระกุมาร เพราะพระองค์สมบูรณ์ด้วยพระปัญญา จึงทรงกลั้นลมอัสสาสะ

ปัสสาสะด้วยทรงหวังว่า สตรีเหล่านี้อย่าได้สัมผัสร่างกายของเราเลย. สตรี

เหล่านั้น เมื่อไม่ได้สัมผัสร่างกายของพระกุมาร จึงคิดว่า พระกุมารนี้มี

พระวรกายกระด้าง. คงไม่ใช่มนุษย์แน่. คงจักเป็นยักษ์ จึงพากันกลับไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 451

พระมารดาพระบิดา ไม่ทรงสามารถที่จะยึดถือได้ด้วยการทดลอง

ใหญ่ ๑๖ ครั้ง และด้วยการทูลองเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกหลายครั้งตลอด ๑๖ ปี

อย่างนี้ จึงทรงขอร้องต่าง ๆ กันและหลายครั้งว่า เตมิยกุมารลูกรัก พ่อ

และแม่รู้ว่าลูกไม่เป็นใบ้. เพราะปาก หู และเท้าอย่างนี้มิใช่ของคนใบ้

คนหนวก และคนง่อยเปลี้ยเลย. ลูกเป็นบุตรที่พ่อและแม่ปรารถนาจะได้มา.

ลูกอย่าให้พ่อแม่ต้องพินาศเสียเลย. จงปลดเปลื้องข้อครหาจากราชสำนัก

ในชมพูทวีปทั้งสิ้นเถิด. พระกุมารนั้น แม้พระมารดาพระบิดาทรงขอร้อง

อยู่อย่างนี้ ก็บรรทมทำเป็นไม่ได้ยิน.

ลำดับนั้น พระราชารับสั่งให้บุรุษผู้ฉลาดตรวจดูพระบาททั้งสอง ช่อง

พระกรรณทั้งสอง พระชิวหา และพระหัตถ์ทั้งสองแล้ว ทรงสดับคำที่

อำมาตย์กราบทูลว่า บัดนี้ ผู้ชำนาญการทายลักษณะ กล่าวว่า ผิว่า พระบาท

เป็นต้นของพระกุมารนี้ เหมือนของตนไม่ง่อยเปลี้ยเป็นต้น พระกุมารนี้

ก็จะไม่เป็นง่อยเปลี้ย ใบ้และหนวกจริง. เห็นจะเป็นกาลกรรณี. เมื่อคน

กาลกรรณีเช่นนี้อยู่ในพระราชวัง จะปรากฏอันตราย ๓ อย่าง คือ อันตราย

ของชีวิต อันตรายของเศวตรฉัตร ๑ อันตรายของพระมเหสี ๑. แต่

ในวันประสูติเพื่อมิให้พระองค์ทรงเสียพระทัย จึงกล่าวว่า กุมารนี้มีบุญ

ลักษณะครบถ้วน ทรงกลัวภัยอันตราย จึงมีพระบัญชาว่า พวกท่านจงไป

ให้กุมารนั้นบรรทมในรถอวมงคล นำออกทางประตูหลังแล้วฝังเสียในป่าช้า

ผีดิบ. พระมหาสัตว์ทรงสดับดังนั้น ทรงร่าเริงยินดีอย่างยิ่งว่า ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 452

ปรารถนาของเราเป็นเวลาช้านาน จักถึงความสำเร็จ. ดังที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เราอธิษฐานองค์ ๓ ประการนี้อยู่ ๑๖ ปี

ครั้งนั้นเสนาบดีเป็นต้น ตรวจมือเท้าลิ้นแล

ช่องหูของเรา แล้วเห็นความไม่บกพร่องของ

เรา ติเตียนว่า เราเป็นคนกาลกรรณี ที่นั้นชาว

ชนบท เสนาบดีและปุโรหิตทั้งปวง ร่วมใจ

กันทั้งทมด พลอยดีใจในการรับสั่งให้นำไป

ทิ้ง. เรานั้นได้ฟังความประสงค์ของเสนาบดี

เป็นต้น นั้นแล้ว ร่าเริงดีใจ เราประพฤติตบะ

มาเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้น จะสำเร็จ

แก่เรา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มทฺทิย คือตรวจด้วยการลูบคลำ. บทว่า

อนูนต คือมือเป็นต้นไม่บกพร่อง. บทว่า นินฺทิสุ คือติเตียนว่า แม้มี

อวัยวะไม่บกพร้องอย่างนี้ แต่เฉยเมยดุจคนใบ้เป็นต้นก็ไม่ควรครองราช-

สมบัติ. พระกุมารนี้เป็นคนกาลกรรณี. บทว่า ฉฑฺฑน อนุโมทิสุ ความว่า

ชาวชนบททั้งปวง พวกราชบุรุษมีเสนาบดีและปุโรหิตเป็นหัวหน้ามาเพื่อเฝ้า

พระราชา ร่วมใจกันทั้งหมด ไม่แสดงอาการสยิ้วหน้า ที่พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 453

รับสั่งให้นำเราไปทิ้งด้วยการฝังลงในแผ่นดิน เพื่อผ่านพ้นอันตราย ต่าง

พลอยดีใจด้วยมีสีหน้าเบิกบานว่า ดีแล้ว ควรทำทีเดียว.

บทว่า โส เม อตฺโถ สมิชฺฌถ ความว่า เราประพฤติสะสม

ความประพฤติ ความประพฤติที่ทำได้ยากด้วยอธิษฐานความเป็นใบ้เป็นต้น

เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นจะสำเร็จแก่เรา. พึงทราบความสัมพันธ์

ด้วยคำที่เหลือว่า เรานั้นได้ฟังความประสงค์ของเสนาบดีเหล่านั้น มีพระ-

มารดาพระบิดาเป็นต้น ของเรา แล้วร่าเริงด้วยความสำเร็จ ความประสงค์

ของเรา ดีใจด้วยการไม่ไตร่ตรอง แล้วอนุญาตให้ฝังลงในแผ่นดิน.

เมื่อพระราชามีพระบัญชาให้ฝังพระกุมารลงในแผ่นดินอย่างนี้แล้ว

พระนางจันทาเทวี ทรงสดับเรื่องราวนั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระราชา ทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ พระองค์ทรงประทานพรให้แก่หม่อมฉัน. หม่อมฉันยัง

ยึดถือพรนั้นไว้. บัดนี้ ขอพระองค์โปรดประทานพรนั้นแก่หม่อมฉันเถิด.

พระราชาตรัสว่า จงรับพรเถิด. พระเทวีทูลว่า ขอพระองค์ทรงประทาน

ราชสมบัติแก่โอรสของหม่อมฉันเถิด. ตรัสว่า โอรสของเจ้าเป็นกาลกรรณี.

เราไม่อาจให้ได้ดอก. ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ เมื่อพระองค์ไม่ทรงให้ตลอด

ชีวิต ก็ขอโปรดให้ ๗ ปีเถิด. ตรัสว่า ก็ไม่อาจให้ได้อีก. ทูลว่า ขอได้

โปรดให้ ๖ ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี ๗ เดือน ๖ เดือน

๕ เดือน ๔ เดือน ๓ เดือน ๒ เดือน ๑ เดือน ครึ่งเดือน ๗ วันเถิด.

ตรัสว่า ดีแล้วจงรับได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 454

พระเทวีตกแต่งพระโอรส ทรงให้ตีกลองป่าวประกาศในพระนครว่า

นี้เป็นราชสมบัติของเตมิยกุมาร แล้วให้พระโอรสขึ้นคอช้าง ยกเศวตรฉัตร

ให้พระโอรส ซึ่งทำประทักษิณพระนครเสด็จกลับมา แล้วบรรทม ณ สิริ-

ไสยาสน์ที่ตกแต่งแล้ว ทรงขอร้องอยู่ตลอดคืน ว่า พ่อเตมิยะ แม่นอนไม่

หลับมา ๑๖ ปีแล้ว เพราะอาศัยลูกร้องจนนัยน์ตาแม่บวมแล้ว. หัวใจของแม่

เพียงจะแตกด้วยความเศร้าโศก. แม้รู้ว่าลูกไม่ง่อยเปลี้ยเป็นต้น. ลูกอย่าทำ

ให้แม่หมดที่พึ่งเลย. พระเทวีขอร้องโดยทำนองนี้ล่วงไป ๖ วัน. ในวันที่ ๖

พระราชาตรัสเรียกสุนัขขนทสารถีมา แล้วตรัสว่า พรุ่งนี้เจ้าจงนำพระกุมาร

โดยรถอวมงคลออกไปแต่เช้าตรู่ ฝังลงในแผ่นดินที่ป่าช้าผีดิบ กลบดินให้

เรียบ แล้วจงกลับ. พระเทวีได้สดับดังนั้น ตรัสว่า ลูกเอ๋ย พระเจ้ากาสี

มีพระบัญชาให้ฝังลูกที่ป่าช้าผีดิบในวันพรุ่งนี้. พรุ่งนี้ ลูกก็จักถึงความตาย.

พระมหาสัตว์ทรงสดับดังนั้น จึงร่าเริงยินดีอย่างยิ่งว่า ดูก่อนเตมิยะ

เจ้าทำความเพียรมา ๑๖ ปี จะถึงที่สุดแล้ว. แต่พระหทัยของพระมารดา

พระโพธิสัตว์ได้เป็นดุจมีอาการแตกสลายไป. เมื่อราตรีนั้นผ่านไป สารถี

นำรถมาแต่เช้าตรู่ จอดไว้ที่ประตู เข้าไปยังห้องสิริ ทูลว่า ข้าแต่พระเทวี

พระองค์อย่าทรงพิโรธหม่อมฉันเลย. หม่อมฉันทำตามพระราชบัญชา แล้ว

ผลักพระเทวีด้วยหลังมือ ซึ่งบรรทมกอดพระโอรสออก แล้วอุ้มพระกุมาร

ลงจากปราสาท. พระเทวีทรงทุบพระอุระ ทรงพระกันแสงร่ำไห้ด้วยพระ-

สุรเสียงดัง ทรงล้มลงบนพื้นกว้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 455

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงมองดูพระมารดา ทรงดำริว่า เมื่อเรา

ไม่พูด พระมารดาจักเศร้าโศกสุดกำลัง แม้อยากจะพูดแต่ก็อดกลั้นไว้ด้วย

พระดำริว่า หากเราจักพูด ความพยายามที่เราทำมาตลอด ๑๖ ปี ก็จะเป็น

โมฆะ. แต่เมื่อเราไม่พูด จักเป็นปัจจัยแก่ตัวเราและแก่พระมารดาพระบิดา.

สารถีคิดว่า เราจักนำพระมหาสัตว์ขึ้นรถ แล้วจักแล่นรถไป มุ่งไปทางประตู

ทิศตะวันตก แต่กลับแล่นมุ่งไปทิศตะวันออก. รถออกจากพระนครด้วย

อานุภาพของเทวดา แล่นไปยังที่ประมาณ ๓ โยชน์. พระมหาสัตว์ทรง

ยินดีเป็นที่ยิ่ง. แนวป่า ณ ที่นั้น ได้ปรากฏแก่สารถี ดุจป่าช้าผีดิบ. สารถี

คิดว่า ที่นี้ดีแล้ว จึงหยุดรถจอดไว้ข้างทาง แล้วลงจากรถ เปลื้องเครื่อง

ประดับของพระมหาสัตว์ออกห่อวางไว้ ถือเอาจอบ เริ่มขุดหลุมไม่ไกลนัก.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ราชบุรุษทั้งหลายอาบน้ำให้เรา ไล้ทา

ด้วยของหอม สวมราชมงกุฎราชาภิเษกแล้ว

มีฉัตรที่บุคคลถือไว้ให้ทำประทักษิณพระนคร

ดำรงเศวตรฉัตรอยู่ ๗ วัน พอดวงอาทิตย์ขึ้น

สารถีอุ้มเราขึ้นรถเข้าป่า สารถีหยุดรถไว้ ณ

โอกาสหนึ่ง ปล่อยรถเทียมม้าพอพ้นมือ ก็

ขุดหลุมเพื่อจะฝังเราเสีย ในแผ่นดิน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 456

ในบทเหล่านั้น บทว่า นหาเปตฺวา คือ ให้อาบน้ำด้วยหม้อน้ำหอม

๑๖ หม้อ. บทว่า อนุลิมฺปิตฺวา คือ ให้ลูบไล้ด้วยของหอม. บทว่า เวเตฺวา

ราชเวน คือ สวมราชมงกุฎที่พระเศียร อันเป็นไปตามประเพณีของ

พระเจ้ากาสีทั้งหลาย. บทว่า อภิสิญฺจิตฺวา คือ อภิเษกโดยแบบแผนราชา-

ภิเษก ในราชตระกูลนั้น. บทว่า ฉตฺเตน กาเรสุ ปุร ปทกฺขิณ คือ

มีเศวตรฉัตรกั้นให้เราทำประทักษิณพระนคร.

บทว่า สตฺตาห ธารยิตฺวาน ความว่า ดำรงเศวตรฉัตรของเรา

ที่พระนางจันทาเทวี พระมารดาของเราได้ด้วยพรอยู่ ๗ วัน. บทว่า อุคฺคเต

รวิมณฺฑเล ความว่า แต่นั้นวันรุ่งขึ้น พอดวงอาทิตย์ขึ้น สุนัขขนทสารถี

คือรถเทียมม้า ความว่า สารถีหยุดรถของเราซึ่งเทียมม้าที่แอกไว้ในโอกาส

รถเทียมม้า ความว่า สารถีหยุดรถของเราซึ่งเทียมม้าที่แอกไว้ในโอกาส

หนึ่ง ด้วยหลีกออกจากทาง. บทว่า หตฺถมุจฺจิโต คือพ้นจากมือ อธิบายว่า

มีมือพ้นจากคันรถ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า หตฺถมุจฺจิโต คือพ้นจากมือ

อธิบายว่า ปล่อย. บทว่า กาสุ คือหลุม. บทว่า นิขาตุ คือเพื่อฝัง.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงถึงประโยชน์ที่พระองค์

อธิษฐาน ประพฤติสิ่งที่ทำได้ยากตลอด ๑๖ ปี ด้วยอธิษฐาน เป็นใบ้เป็นต้น

จึงตรัสสองคาถาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 457

พระราชาทรงคุมคามการอธิษฐาน ที่เรา

อธิษฐานไว้ด้วยเหตุต่าง ๆ แต่เราไม่ทำลาย

การอธิษฐานนั้น เพราะเหตุแห่งโพธิญาณนั่น

เอง เราจะเกลียดพระมารดาพระบิดาก็หามิได้

เราจะเกลียดตนเองก็หามิได้ แต่พระสัพพัญ-

ญุตญาณเป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้นแหละ

เราจึงอธิฐานองค์ ๓.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตชฺเชนฺโต วิวิธการณา คือ คือ พระราชาทรง

คุมคามด้วยเหตุต่าง ๆ ความว่า ทรงคุมคามด้วยเหตุหลายประการ มีห้าม

น้ำนมเป็นต้น ตั้งแต่เรามีอายุได้ ๒ เดือน จนกระทั่ง อายุ ๑๖ ปี คือ

ให้ลำบากด้วยอาการกำจัดภัย. บทที่เหลือ เข้าใจได้ง่ายแล้ว.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อสุนันทสารถีกำลังขุดหลุม คิดว่า

นี้เป็นการพยายามของเรา จึงลุกขึ้น แล้วบีบพระหัตถ์และพระบาทของ

พระองค์ ทรงทราบว่า เรามีกำลังอยู่ จึงทรงดำริจะเสด็จลงจากรถ. ทันใด

นั้นเอง ที่วางพระบาทของพระมหาสัตว์ก็ผุดขึ้นดุจถึงหนังเต็มด้วยลมตั้งขึ้น

จรดท้ายรถ. พระมหาสัตว์เสด็จลง ทรงดำเนินไป ๆ มา ๆ เล็กน้อย ทรง

ทราบว่า เรามีกำลังพอที่จะไปได้ แม้ตั้ง ๑๐๐ โยชน์ จึงทรงจับรถข้างท้าย

แล้วยกขึ้นดุจยานน้อยสำหรับเด็กเล่น ทรงสังเกตว่า หากสารถีจะพึงทำร้าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 458

เรา. เราก็มีกำลังพอที่จะป้องกันการทำร้ายได้ ทรงคิดที่จะตกแต่งพระองค์.

ขณะนั้นเอง ภพของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน. ท้าวสักกะทรงทราบเหตุ

นั้น จึงมีเทวบัญชากะวิษณุกรรมว่า ท่านจงไปตกแต่งพระโอรสของพระเจ้า-

กาสี. วิษณุกรรมรับเทวบัญชาแล้ว จึงตกแต่งพระมหาสัตว์นั้น ด้วยเครื่อง

อลังการอันเป็นของทิพย์และของมนุษย์ ดุจท้าวสักกะ. พระมหาสัตว์เสด็จ

ไปยังสถานที่ที่สารถีกำลังขุดหลุม ด้วยเทพลีลาประทับยืนริมหลุมตรัสว่า :-

ดูก่อนสารถี ท่านรีบร้อนขุดหลุมไป

ทำไม ดูก่อนสหาย เราถามท่าน ขอท่านจง

บอกเราเถิด ว่าท่านจักทำอะไรแก่หลุม.

สารถีมิได้เงยหน้าดู กล่าวว่า :-

พระโอรสของพระราชา เป็นใบ้ ง่อย

เปลี้ย ไม่มีความรู้สึก. พระราชามีพระบัญชา

ให้เราฝังพระโอรสนั้นในป่า.

พระมหาสัตว์ ตรัสว่า :-

ดูก่อนสารถี เราไม่หนวก ไม่ใบ้ ไม่

ง่อยเปลี้ย และไม่วิกล. หากท่านฝังเราในป่า.

ท่านพึงทำสิ่งที่ไม่ชอบธรรม ดูก่อนสารถี ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 459

จงดู ขาและแขนของเรา และจงพึงเราพูด.

หากท่านฝังเราในป่า. ท่านพึงทำสิ่งที่ไม่ชอบ

ธรรม.

สารถีนั้น หยุดขุดหลุมแหงนดู เห็นรูปสมบัติของพระมหาสัตว์

ไม่รู้ว่า เป็นมนุษย์หรือเทวดา จึงถามว่า :-

ท่านเป็นเทวดา เป็นคนธรรพ์ หรือเป็น

ท้าวสักกะจอมเทพ. ท่านเป็นใคร เป็นลูก

ของใคร. เราจะรู้จักท่านได้อย่างไร.

พระมหาสัตว์ จึงทรงแสดงธรรม โดยนัยมีอาทิว่า :-

เราไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่

ท้าวสักกะ เราเป็นโอรสของพระเจ้ากาสี ที่

ท่านจะฝังในหลุมนี้แหละ. ท่านอาศัยเราผู้เป็น

โอรสของพระราชาพระองค์นั้น เป็นอยู่.

ดูก่อนสารถี หากท่านฝังเราในป่า. ท่านฟังทำ

สิ่งที่ไม่ชอบธรรม. บุคคลพึงนั่งหรือพึงนอนได้

ร่มไม้ใด ไม่พึงหักกิ่งไม้นั้น. เพราะทำลาย

มิตร เป็นคนลามก. พระราชาเหมือนต้นไม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 460

เราเหมือนกิ่งไม้. ดูก่อนสารถี ท่านเหมือน

บุรุษที่เข้าไปอาศัยร่มเงา. หากท่านฝังเราในป่า.

ท่านพึงทำสิ่งที่ไม่ชอบธรรม.

แล้วสารถีก็ทูลวิงวอนเพื่อขอให้พระโพธิสัตว์เสด็จกลับ จึงตรัสถึง

เหตุที่ไม่กลับ และความพอใจในการบรรพชา ตลอดถึงเรื่องราวของ

พระองค์ในภพที่ล่วงไปแล้ว มีภัยในนรกเป็นต้น เพราะเหตุแห่งความพอใจ

ในการบรรพชานั้น โดยพิสดาร. แม้เมื่อสารถีนั้น ประสงค์จะบวช เพราะ

ธรรมกถานั้น และเพราะการปฏิบัตินั้น จึงตรัสคาถานี้ว่า :-

ดูก่อนสารถี ท่านจงนำรถกลับไป แล้ว

เป็นคนไม่มีหนี้กลับมา. เพราะบรรพชาเป็น

ของตนไม่มีหนี้. ข้อนี้ฤาษีทั้งหลายสรรเสริญ

แล้ว.

แล้วก็ทรงส่งสารถีกลับไปแจ้งแด่พระราชา.

สารถี นำรถและเครื่องอาภรณ์ไปเฝ้าพระราชา ทูลความนั้นให้

ทรงทราบ ในทันใดนั้นเอง พระราชาทรงดำริว่า เราจักไปหาพระมหาสัตว์

จึงเสด็จออกจากพระนคร พร้อมด้วยจตุรงคเสนา นางสนมและชาวพระนคร

ชาวชนบท. แม้พระมหาสัตว์ ครั้นทรงส่งสารถีกลับไปแล้ว ก็มีพระ-

ประสงค์จะทรงผนวช. ท้าวสักกะทรงทราบ จิตของพระโพธิสัตว์ จึงมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 461

เทวบัญชากะวิษณุกรรมว่า เตมิยบัณฑิตประสงค์จะทรงผนวช ท่านจง

เนรมิตอาศรมบท และเครื่องบริขารของบรรพชิต ให้แก่พระมหาสัตว์นั้น.

วิษณุกรรม จึงไปเนรมิตอาศรมในราวป่าประมาณ ๓ โยชน์ ทำให้สมบูรณ์

ด้วยที่พักกลางคืน ที่พักกลางวัน ที่จงกรม สระโบกขรณี ผลไม้ และต้นไม้

และเนรมิตเครื่องบริขารของบรรพชิตทั้งปวง เสร็จแล้วกลับที่อยู่ของตน.

พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ทรงทราบว่า ท้าวสักกะประทานให้

จึงเสด็จเข้าสู่บรรณศาลา เปลื้องผ้าออก ถือเพศเป็นดาบส นั่งบนเครื่องลาด

ทำด้วยไม้ ยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิด ประทับนั่งในอาศรม

ด้วยความสุขในการบรรพชา.

แม้พระเจ้ากาสี ก็เสด็จไปตามทางที่สารถีได้ทูลไว้ แล้วเสด็จเข้าสู่

อาศรม พระมหาสัตว์ทรงร่วมกันปฏิสันถาร แล้วทรงเชื้อเชิญให้ครอง

ราชสมบัติ. เตมิยบัณฑิต ทรงปฏิเสธ แล้วทูลให้พระราชาเกิดสังเวช

ด้วยธรรมิกถาปิสังยุต ด้วยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น และปฏิสังยุต

ด้วยโทษของกาม อันเป็นของต่ำช้าด้วยอาการหลายอย่าง. พระราชาทรง

สลดพระทัย ทรงเบื่อหน่ายในการครองเรือน มีพระประสงค์ จะทรงผนวช

จึงตรัสถามพวกอำมาตย์และสนมทั้งหลาย. แม้ทั้งหมดก็ประสงค์จะบวช.

ลำดับนั้น พระราชาทรงทราบว่า นางสนมกำนัลใน ๑๖,๐๐๐ คน ตั้งแต่

พระนางจันทาเทวีเป็นต้น และพวกอำมาตย์เป็นต้น ประสงค์จะบวช จึง

รับสั่งให้ตีกลองป่าวประกาศในพระนครว่า ผู้ใดประสงค์จะบวชในสำนัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 462

พระโอรสของเรา ผู้นั้นก็จงบวชเถิด ทรงให้เปิดห้องพระคลังทองเป็นต้น

แล้วทรงบริจาค. อนึ่ง ชาวพระนครละทิ้งตลาดอันยาวเหยียดและปิดประตู

เรือนไปเฝ้าพระราชา. พระราชาทรงผนวชในสำนักของพระมหาสัตว์

พร้อมด้วยมหาชน. อาศรมบทประมาณ ๓ โยชน์ ที่ท้าวสักกะประทานเต็ม

พอดี.

พระราชาสามนตราชทั้งหลาย ได้ทรงสดับว่า พระเจ้ากาสีทรง

ผนวช จึงดำริว่า จักยึดราชสมบัติในกรุงพาราณสี จึงเสด็จเข้าพระนคร

ทรงเห็นพระนครเช่นกับเทพนคร และพระราชนิเวศน์เช่นกับเทพวิมาน

เต็มไปด้วยรัตนะ ๗ ประการ ทรงคิดว่า จะพึงมีภัยเพราะอาศัยทรัพย์นี้

เสด็จออกกลับไปในทันใดนั้นเอง. พระมหาสัตว์ทรงสดับการมาของพระ-

ราชาเหล่านั้น จึงเสด็จไปชายป่าประทับนั่ง ทรงแสดงธรรมอยู่บนอากาศ

พระราชาเหล่านั้นทั้งหมด พร้อมด้วยบริวารก็พากันบวชในสำนักของพระ-

โพธิสัตว์นั้น. ด้วยประการฉะนี้ ได้เป็นมหาสมาคมอื่น ๆ อีกมากมาย ฤาษี

ทั้งหมดบริโภคผลาผล แล้วบำเพ็ญสมณธรรม. ผู้ใดวิตกถึงกามวิตกเป็นต้น

พระโพธิสัตว์ทรงทราบจิตของผู้นั้น แล้วเสด็จไป ณ ที่นั้น ประทับนั่ง

แสดงธรรมบนอากาศ.

พระราชานั้น ทรงได้สัปปายะในการฟังธรรม จึงยังสมาบัติและ

อภิญญาให้เกิด แม้ผู้อื่น ๆ ก็เป็นอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ ทั้งหมดเมื่อสิ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 463

ชีวิตก็ไปบังเกิดในพรหมโลก. แม้สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายที่มีใจเลื่อมใส

ในพระมหาสัตว์ แม้ในหมู่ฤาษีก็ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นกามภูมิ ๖ ชั้น.

พรหมจรรย์ของพระมหาสัตว์ยังเป็นไปอยู่ ตลอดกาลยาวนาน.

เทพธิดาสิงสถิตอยู่ ณ เศวตรฉัตร ในครั้งนั้นได้เป็นนางอุบลวรรณา

ในครั้งนี้. สารถี คือ พระสารีบุตรเถระ. พระมารดาพระบิดา คือ ตระกูล

มหาราช. บริษัททั้งหลาย คือ พุทธบริษัท. เตมิยบัณฑิต คือ พระโลกนาถ.

อธิษฐานบารมีของพระมหาสัตว์นั้น ถึงที่สุดในจริยานี้. แม้บารมี

ที่เหลือ ก็พึงเจาะจงกล่าวตามสมควร. อนึ่ง พึงประกาศคุณานุภาพมีอาทิ

อย่างนี้ คือ ความกลัวนรกตั้งแต่ประสูติได้หนึ่งเดือน. ความกลัวบาป.

ความรังเกียจราชสมบัติ. การอธิษฐานความเป็นใบ้เป็นต้น อันมีเนกขัมมะ

เป็นนิมิต และความไม่หวั่นไหวแม้ในการประชุมวิโรธิปัจจัย ( ข้าศึก,

ผู้ทำร้าย ).

จบ อรรถกถามูคผักขจริยาที่ ๖

จบ อธิษฐานบารมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 464

๗. กปิลราชจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาวานร

[๒๗] ในกาลเมื่อเราเป็นพระยาวานร อยู่ ณ ซอก

เขาใกล้ฝั่งแม่น้ำ ในกาลนั้น เราถูกจระเข้เบียด

เบียนไปไม่ได้ เรายืนอยู่ ณ โอกาสใด โดด

จากฝั่งนี้ไปยังฝั่งโน้น จระเข้มันเป็นสัตว์ดุร้าย

แสดงความน่ากลัวอยู่ ณ โอกาสนั้น จระเข้

นั้นกล่าวกะเราว่า มาเถิด แม้เราก็กล่าวกะ

จระเข้นั้นว่า จะมา เราโดดลงเหยียบศีรษะ

จระเข้นั้น แล้วโดดไปยืนอยู่ฝังโน้น เรามิได้

ทำตามคำของจระเข้ที่กล่าวหลอกลวงนั้นหา

มิได้ ผู้เสมอด้วยคำสัจของเราไม่มี นี้เป็นสัจจ-

บารมีของเรา ฉะนี้แล.

จบ กปิลราชจริยาที่ ๗

อรรถกถากปิลราชจริยาที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถากปิลราชจริยาที่ ๗ ดังต่อไปนี้ บทว่า

ยทา อห กปิ อาสึ ความว่าในกาลเมื่อเราเกิดในกำเนิดวานร อาศัยความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 465

เจริญได้เป็นพระยาวานรมีกำลังดุจช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง มีร่างกาย

ใหญ่ประมาณเท่าลูกม้า. บทว่า นทีกูเล ทรีสเย ความว่าเราอยู่ที่ซอก

เขาแห่งหนึ่งใกล้ฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง.

ได้ยินว่า ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์มิได้ดูแลฝูง เที่ยวไปผู้เดียว. ก็ ณ

ท่ามกลางแม่น้ำนั้นมีเกาะอยู่เกาะหนึ่ง สมบูรณ์ด้วยผลไม้มีขนุนและมะม่วง

เป็นต้นหลาย ๆ อย่าง. พระโพธิสัตว์เพราะสมบูรณ์ด้วยกำลังเร็ว กระโดดจาก

ฝั่งนี้ของแม่น้ำ ไปถึงแผ่นหินแผ่นหนึ่งซึ่งมีอยู่ในท่ามกลางเกาะและแม่น้ำ.

กระโดดจากแผ่นหินนั้นไปถึงเกาะนั้น. พระยาวานรเคี้ยวกินผลาผลหลาย ๆ

อย่าง ณ เกาะนั้น ตอนเย็นก็กลับโดยวิธีนั้นนั่นเองอยู่ในที่อยู่ของตน รุ่งขึ้น

ก็ทำอย่างนั้นอีก สำเร็จการอยู่โดยทำนองนี้. ในกาลนั้นมีจระเข้ตัวหนึ่ง

พร้อมด้วยนางจระเข้อาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำนั้น. นางจระเข้เมียของจระเข้นั้น

เห็นพระโพธิสัตว์ไป ๆ มาๆ อยู่เกิดแพ้ท้องอยากกินเนื้อหัวใจของพระโพธิ-

สัตว์ จึงบอกกะจระเข้ผู้เป็นผัวว่า นายจ๋า ฉันแพ้ท้องอยากกินเนื้อหัวใจลิง

นั้น. จระเข้กล่าวว่า ได้ซิเธอ. แล้วก็ไปด้วยหวังว่า จักจับพระยาลิงนั้น

ซึ่งกลับจากเกาะในตอนเย็น จึงอยู่บนหลังแผ่นหิน. พระโพธิสัตว์เที่ยวหา

อาหารตลอดวัน ในตอนเย็นได้ยืนบนเกาะนั่นเอง มองดูแผ่นหินคิดว่า หิน

แผ่นนี้ บัดนี้ปรากฏว่าสูงกว่าเดิม จะมีเหตุอะไรหนอ เพราะพระมหาสัตว์

สังเกตปริมาณของน้ำและปริมาณของแผ่นหินไว้เป็นอย่างดี. ด้วยเหตุนั้น

พระโพธิสัตว์จึงดำริว่า วันนี้น้ำของแม่น้ำนี้ก็ยังไม่ลด. แต่ทำไมแผ่นหินนี้

จึงปรากฏใหญ่มาก. คงจะเป็นเจ้าจระเข้นอนหมายจะจับเรา ณ ที่นั้นเป็นแน่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 466

พระยาวานรคิดว่า เราจักทดลองจระเข้นั้นก่อน จึงยืนอยู่อย่างนั้น ทำ

เป็นพูดกับแผ่นหิน พูดว่า เฮ้ยเจ้าหิน ก็ไม่ได้รับคำตอบ พูดว่า เฮ้ยเจ้าหิน

อยู่ ๓ ครั้ง หินก็ไม่ให้คำตอบ. พระโพธิสัตว์จึงพูดอีกว่า เฮ้ยเจ้าหินทำไม

วันนี้ไม่ให้คำตอบแก่เราเล่า. จระเข้คิดว่า หินนี้ในวันอื่น ๆ คงให้คำตอบ

แก่พระยาวานรเป็นแน่. แต่วันนี้หินไม่ให้คำตอบเพราะเราครอบไว้. เอาเถิด

เราจะให้คำตอบแก่พระยาวานร จึงพูดว่า ว่าอย่างไรพระยาวานร. ถามว่า

เจ้าเป็นใคร. ตอบว่า เราเป็นจระเข้. ถามว่า เจ้ามานอนที่นี้เพื่ออะไร ตอบ

ว่า ต้องการหัวใจท่าน. พระโพธิสัตว์คิดว่า เราไม่มีทางไปทางอื่น ทางไป

ของเราถูกปิดเสียแล้ว. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เราถูกจระเข้เบียดเบียนไปไม่ได้ เรายืน

อยู่ ณ โอกาสใด โดดจากฝั่งนี้ไปยังฝั่งโน้น.

จระเข้มันเป็นสัตว์ดุร้าย แสดงความน่ากลัว

อยู่ ณ โอกาสนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปีฬิโต สุสุมาเรน ท่านทำความที่กล่าวด้วย

กึ่งคาถาเท่านั้นให้ปรากฏด้วยคาถาว่า ยมฺโหกาเส ดังนี้. บทว่า ยมฺโหกาเส

คือยืนอยู่ท้องที่อันได้แก่หลังแผ่นหินซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางแม่น้ำใด. บทว่า

โอรา คือฝั่งใน ได้แก่เกาะ. บทว่า ปาร คือฝั่งนอกแห่งแม่น้ำอันเป็นที่อยู่

ของเราในครั้งนั้น. บทว่า ปตามห คือเรากระโดดไปถึง. บทว่า ตตฺถจฺฉิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 467

ความว่า จระเข้เป็นสัตว์ดุร้าย เป็นฆาตกร เป็นศัตรู แสดงความหยาบคาย

ร้ายกาจเห็นแล้วน่ากลัว มันอยู่บนหลังแผ่นหินนั้น.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ดำริว่า เราไม่มีทางอื่นจะไป. วันนี้เราจะลวง

จระเข้. เราจะเปลื้องจระเข้จากบาปใหญ่ด้วยอาการอย่างนี้, และเราก็จะได้

ชีวิตด้วย. พระมหาสัตว์จึงกล่าวกะจระเข้ว่า จระเข้สหาย เราจักโดดไปบน

ตัวท่าน. จระเข้กล่าวว่า พระยาวานรท่านอย่ามัวชักช้าเชิญมาข้างนี้ซิ. พระ-

มหาสัตว์ได้กล่าวว่า เรากำลังมา. แต่ท่านจงอ้าปากของท่านไว้ แล้วจับเรา

ตอนที่เรามาหาท่าน. ก็เมื่อจระเข้อ้าปากตาทั้งสองข้างก็กลับ . จระเข้นั้น

มิได้กำหนดเหตุการณ์นั้นจึงอ้าปาก. ตาของจระเข้ก็หลับ . จระเข้อ้าปากนอน

ไม่ลืมตาเลย. พระมหาสัตว์รู้ความเป็นจริงของจระเข้นั้น จึงกระโดดจาก

เกาะไปเหยียบหัวจระเข้ แล้วกระโดดจากนั้นไปยืนบนฝั่งโน้นดุจสายฟ้าแลบ.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

จระเข้นั้นกล่าวกะเราว่า จงมา. แม้เรา

ก็กล่าวกะจระเข้ว่าเราจะมา. เราโดดลงเหยียบ

หัวจระเข้นั้น แล้วโดดไปยืนอยู่ที่ฝั่งโน้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อสสิ คือได้กล่าวแล้ว. บทว่า อหมฺเปมิ

คือแม้เราก็กล่าวกะจระเข้นั้นว่า เราจะมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 468

อนึ่งเกาะนั้นน่ารื่นรมย์ ประดับด้วยแนวต้นไม้ผลมี มะม่วง หว้า

ขนุน เป็นต้น และเหมาะที่จะเป็นที่อยู่. แม้พระมหาสัตว์รักษาคำสัจ เพราะ

ได้ให้ปฏิญญาไว้ว่าเราจะมา ก็ได้กระทำอย่างนั้นว่า เราจักมาแน่นอน. ดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เรามิได้ทำตามคำของจระเข้ที่กล่าวหลอก

ลวงนั้น หามิได้.

เพราะรักษาคำสัจนี้ ได้สละชีวิตของตนทำแล้ว ฉะนั้นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ผู้เสมอด้วยคำสัจของเราไม่มี. นี้เป็น

สัจจบารมีของเรา.

จระเข้เห็นความอัศจรรย์ดังนั้นคิดว่า พระยาวานรนี้ทำอัศจรรย์ยิ่งนัก

จึงกล่าวว่า พระยาวานรผู้เจริญ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ อย่างในโลก

นี้ ย่อมครอบงำศัตรูได้. ธรรมทั้งหมดนั้นคงมีอยู่ในตัวของท่าน.

ท่านพระยาวานร ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้

คือสัจจะ ธรรม ธิติ จาคะ มีอยู่แก่ผู้ใด

เหมือนอย่างท่าน ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส บุคคลไร ๆ. บทว่า เอเต คือท่านแสดง

ถึงข้อที่ควรกล่าวไว้ในบัดนี้. บทว่า จตฺโร ธมฺมา คือคุณธรรม ๔ ประการ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 469

บทว่า สจฺจ คือวจีสัจจะ. ที่ท่านกล่าวว่า เราจักมาสำนักของเรา แล้วไม่

โกหกมาจนได้ นี้เป็นวจีสัจจะของท่าน. บทว่า ธมฺโม คือวิจารณปัญญา

ได้แก่ปัญญาไตร่ตรอง ปัญญาที่เป็นไปว่า เมื่อเราทำอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้

ชื่อว่าวิจารณปัญญาของท่าน. บทว่า ธิติ ได้แก่ความเพียรที่ไม่ขาด แม้

ความเพียรนี้ก็มีแก่ท่าน. บทว่า จาโค คือการบริจาคตน ท่านสละตน

มาหาเรา เราไม่สามารถจะจับท่านได้ นี้เป็นความผิดของเราเอง. บทว่า

ทิฏฺ คือศัตรู. บทว่า โส อติวตฺตติ ความว่า ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้มี

อยู่แก่บุคคลใดเหมือนอย่างมีแก่ท่าน ผู้นั้นย่อมก้าวล่วง คือครอบงำศัตรูของ

ตนเหมือนท่านพ้นเราในวันนี้.

จระเข้สรรเสริญพระโพธิสัตว์อย่างนี้แล้วได้ไปที่อยู่ของตน. จระเข้

ในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. เมียจระเข้คือนางจิญจมาณวิกา. ส่วน

พระยาวานร คือพระโลกนาถ.

แม้ในจริยานี้ พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือของพระโพธิสัตว์นั้น

โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

อนึ่งพึงประกาศคุณานุภาพมีอาทิอย่างนี้ คือ การรู้ว่าจระเข้นอนบน

แผ่นหินด้วยสังเกตประมาณของน้ำและของหิน ด้วยกำหนดเอาว่า บัดนี้

ปรากฏหินสูงเกินไป. การตัดสินเนื้อความนั้นโดยอ้างว่าเคยพูดกับหิน. การ

เปลื้องจระเข้ให้พ้นจากบาปใหญ่ เพราะรีบทำด้วยการเหยียบหัวจระเข้แล้ว

ไปยืนอยู่ที่ฝั่งโน้นทันที. การรักษาชีวิตของตน. และการตามรักษาสัจจวาจา.

จบ อรรถกถาปิลราชจริยาที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 470

๘. สัจจสวหยปัณฑิตจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของสัจจดาบส

[๒๘] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นดาบส

ปรากฏนามว่า สัจจะ เรารักษาสัตวโลกไว้ด้วย

คำสัจ ได้ทำหมู่ชนให้สามัคคีกัน ฉะนี้แล.

จบ สัจจสวหยปัณฑิตจริยาที่ ๘

อรรถกถาสัจจสวหยปัณฑิตจริยาที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาสัจจสวหยปัณฑิตจริยาที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ตาปโส สจฺจสวฺหย ปณฺฑิตจริยา คือในกาลเมื่อเราเป็นดาบส ชื่อว่า

สัจจะ ที่เขาเรียกกันด้วย สจฺจ ศัพท์. บทว่า สจฺเจน โลก ปาเลสึ คือ

เรารักษาสัตวโลก หมู่สัตว์ในชมพูทวีปนั้น ๆ จากบาปและจากความพินาศ

หลายๆ อย่าง ด้วยความไม่พูดเท็จของตน. บทว่า สมคฺค ชนมกาสห

ความว่า เราได้ทำให้มหาชนที่ทะเลาะกัน เถียงกัน วิวาทกันในที่นั้น ๆ ให้

สามัคคีกัน ไม่วิวาทกัน บันเทิงกันด้วยแสดงถึงโทษในการทะเลาะกัน แล้ว

กล่าวถึงอานิสงส์ในความสามัคคี.

ได้ยินว่า ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์มหาศาล

ตระกูลหนึ่งในกรุงพาราณสี ชื่อว่า สัจจะ. พระโพธิสัตว์ครั้นเจริญวัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 471

ได้ไปยังเมืองตักกศิลา เรียนศิลปะในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ไม่ช้า

ก็สำเร็จศิลปะทุกอย่าง อาจารย์อนุญาต จึงกลับกรุงพาราณสี ไหว้มารดา-

บิดา มารดาบิดาชื่นชมยินดี เพื่อรักษาน้ำใจของมารดาบิดา จึงอยู่กับมารดา-

บิดาสิ้นวันเล็กน้อย. ลำดับนั้นมารดาบิดาประสงค์จะหาภริยาที่สมควรให้

จึงมอบสมบัติทั้งหมดให้ แล้วเชื้อเชิญพระโพธิสัตว์นั้นให้อยู่ครองเรือน.

พระมหาสัตว์มีอัธยาศัยในการออกบวช ประสงค์จะเพิ่มพูนเนก-

ขัมมบารมีของตน จึงกล่าวถึงโทษในการครองเรือน และอานิสงส์ในการ

บรรพชา โดยประการต่าง ๆ เมื่อมารดาบิดามีหน้าอาบด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่

ได้ละกองสมบัติอันหาประมาณมิได้ ยศอันสูงส่ง และวงศ์ใหญ่หมู่ใหญ่ ตัด

ความผูกพันทางเรือน ดุจช้างใหญ่ทำลายเครื่องผูกเหล็กฉะนั้น ออกแล้ว

เข้าไปยังหิมวันตประเทศ บวชเป็นฤาษี เลี้ยงชีวิตด้วยรากไม้และผลาผลใน

ป่า ไม่ช้าก็ยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิด เพลิดเพลินกับฌานอยู่ด้วย

วิหารสมาบัติ.

วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์ตรวจดูโลกด้วยทิพยจักษุ ได้เห็นพวกมนุษย์

โดยมากขวนขวายในอกุศลกรรมบถ ๑๐ มีปาณาติบาตเป็นต้น ทะเลาะกัน

และกัน มีกามเป็นตัวเหตุ. ครั้นเห็นแล้วจึงคิดอย่างนี้ว่า การที่เห็นสัตว์

เหล่านี้ขวนขวายในบาป และทะเลาะกันแล้ววางเฉยเสีย ไม่เป็นการสมควร

แก่เรา. เพราะเราปฏิบัติสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยหวังว่าจะขนสัตว์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 472

ออกจากเปือกตมคือสงสาร แล้วให้ตั้งอยู่บนบกคือนิพพาน. เพราะฉะนั้น

เพื่อไม่ให้ผิดปฏิญญานั้น ถ้ากระไรเราพึงไปยังที่อยู่ของมนุษย์ ยังสัตว์

เหล่านั้นให้งดเว้นจากบาป และให้การวิวาทของมนุษย์เหล่านั้นสงบ.

พระมหาสัตว์ครั้นดำริอย่างนี้แล้ว อันมหากรุณาเร่งเร้าหนักขึ้นจึงละ

สุขอันเกิดแต่สมาบัติที่มีอยู่ไปในที่นั้น ๆ ด้วยฤทธิ์ แสดงธรรมอันเหมาะแก่

จิตของคนเหล่านั้น แสดงถึงโทษในการผิดพ้องหมองใจกัน ที่จะได้รับใน

ปัจจุบันและในภพหน้า ยังสัตว์ทั้งหลายผู้ทะเลาะกัน เถียงกัน วิวาทกันให้

สามัคคีกัน ประกอบประโยชน์ให้แก่กันและกัน. ชี้แจงถึงความหยาบช้ามี

อาการต่าง ๆ และโทษในบาป ให้สัตว์ทั้งหลายเว้นจากนั้นแล้วยังบางพวก

ให้ตั้งอยู่ในกุสลกรรมบถ ๑๐ บางพวกให้บวชแล้วให้ตั้งอยู่ในศีลสังวร ใน

การคุ้มครองอินทรีย์ ในสติสัมปชัญญะ ในการอยู่ในที่สงัด และในฌาน

และอภิญญา ตามสมควร. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ปุนาปร ยทา โหมิ ฯ ล ฯ สมคฺค ชนมกาสห

คำแปลปรากฏแล้ว ในบาลีแปลข้างต้น

แม้ในจริยานี้ ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือของพระมหาบุรุษ

โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. อนึ่ง พึงประกาศคุณานุภาพเหมือน

อย่างนั้นด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสัจจสวหยปัณฑิตจริยาที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 473

๙. วัฏฏกโปตกจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของลูกนกคุ้ม

[๒๙] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นลูกนกคุ่ม

ขนยังไม่งอก ยังอ่อนเป็นดังชิ้นเนื้อ อยู่ในรัง

ในมคธชนบท ในกาลนั้น มารดาเอาจะงอย

ปากคาบเหยื่อมาเลี้ยงเรา เราเป็นอยู่ด้วยผัสสะ

ของมารดา กำลังกายของเรายังไม่มี ในฤดู

ร้อนทุก ๆ ปี มีไฟป่าไหม้ลุกลามมา ไฟไหม้

ป่าเป็นทางดำลุกลามมาใกล้เรา ไฟไหม้ป่า

ลุกลามใหญ่หลวงเสียงสนั่นอื้ออึง ไฟไหม้

ลุกลามมาโดยลำดับ เข้ามาใกล้จวนจะถึงเรา

มารดาบิดาของเราสะดุ้งใจหวาดหวั่น เพราะ

กลัวไฟที่ไหม้มาโดยเร็ว จึงทิ้งเราไว้ในรังหนี

เอาตัวรอดไปได้ เราเหยียดเท้า กางปีกออก

รู้ว่า กำลังกายของเราไม่มี เรานั้นไปไม่ได้อยู่

ในรังนั้นเอง จึงคิดอย่างนี้ในกาลนั้นว่า เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 474

ก่อนเราสะดุ้งหวาดหวั่น พึงเข้าไปซ่อนตัวอยู่

ในระหว่างปีของมารดาบิดา บัดนี้ มารดาบิดา

ทิ้งเราหนีไปเสียแล้ว วันนี้ เราจะทำอย่างไร

ศีลคุณ ความสัตย์ พระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้

ประกอบด้วยความสัตย์ เอ็นดูกรุณามีอยู่ใน

โลก ด้วยความสัตย์นั้น เราจักกระทำสัจจกิริยา

อันสูงสุด เราคำนึงถึงกำลังพระธรรม ระลึกถึง

พระพุทธเจ้าผู้พิชิตมารอันมีในก่อน ได้กระทำ

สัจจกิริยา แสดงกำลังความสัตย์ว่า ปีกของ

เรามีอยู่ แต่ยังบินไม่ได้ เท้าของเรามีอยู่ แต่

ยังเดินไม่ได้ มารดาบิดาก็พากันบินออกไปแล้ว

แน่ะไฟ จงกลับไป ( จงดับเสีย) พร้อมกับ

เมื่อเรากระทำสัจจกิริยา ไฟที่ลุกรุ่งโรจน์ใหญ่

หลวงเว้นไว้ ๑๖ กรีส ไฟดับ ณ ที่นั้นเหมือน

จุ่มลงในน้ำ ผู้เสมอด้วยความสัตย์ของเราไม่มี

นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ฉะนี้แล.

จบ วัฏฏกโปตกจริยาที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 475

อรรถกถาวัฏฏโปตกจริยาที่ ๙

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาวัฏฏกโปตกจริยาที่ ๙ ดังต่อไปนี้. ใน

บทว่า มคเธ วฏฺฏโปตโก เป็นอาทิ มีความสังเขปดังต่อไปนี้. ในกาลเมื่อ

เราเกิดในกำเนิดนกคุ่มในอรัญญประเทศแห่งหนึ่ง ในแคว้นมคธ ทำลาย

เปลือกไข่ยังอ่อนเพราะออกไม่นาน ยังเป็นชิ้นเนื้อขนยังไม่ออกเป็นลูกนก

คุ่มอยู่ในรังนั่นเอง. บทว่า มุขตุณฺฑเกนาหริตฺวา ความว่า มารดาของเรา

เอาจะงอยปากคาบเหยื่อมาเลี้ยงเราตลอดกาล. บทว่า ตสฺสา ผสฺเสน ชีวามิ

เราเป็นอยู่ด้วยผัสสะของมารดานั้น ความว่า เราเป็นอยู่ คือยังอัตภาพให้

เป็นไปด้วยการสัมผัสตัวของมารดาของเรานั้น ผู้สัมผัสเราตลอดกาลโดยชอบ

เพื่อความอบอุ่นและเพื่ออบรม. บทว่า นตฺถิ เม กายิก พล คือกำลัง

อาศัยกายของเราไม่มี เพราะยังเล็กนัก.

บทว่า สวจฺฉเร คือทุก ๆ ปี. บทว่า คิมฺหสมเย คือในฤดูร้อน.

ไฟไหม้ป่า ในท้องที่นั้นด้วยไฟที่เกิดขึ้นเพราะการเสียดสีกันและกันของกิ่ง-

ไม้แห้ง ไฟไหม้ป่าด้วยเหตุนั้น. บทว่า อุปคจฺฉติ อมฺหาก คือไฟที่ได้

ชื่อว่า ปาวก เพราะชำระพื้นที่อันเป็นที่อยู่ของเราให้สะอาด ด้วยทำที่ไม่

สะอาดอันเป็นที่ตั้งของตนให้สะอาด. และทางไปชื่อว่า เป็นทางดำเพราะนำ

เชื้อไฟมาเป็นเถ้าไหม้ที่กอไม้ในป่าเข้ามาใกล้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 476

บทว่า สทฺทายนฺโต คือทำเสียงสนั่นอื้ออึง ในกาลนั้น เพราะเข้า

มาใกล้อย่างนี้. บทว่า ธมธมอิติ นี้ แสดงถึงเสียงดังสนั่นลั่นของไฟป่า.

บทว่า มหาสิขี ชื่อว่า มหาสิขี เพราะมีเปลวไฟใหญ่ ด้วยอำนาจของ

เชื้อไฟเช่นกับยอดเขา. ไฟไหม้ท้องที่ป่านั้นมาโดยลำดับ เข้ามาใกล้จวนจะ

ถึงเรา.

บทว่า อคฺคิเวคภยา ความว่า มารดาบิดาของเรากลัวไฟที่ลุกลาม

มาโดยไว. บทว่า ตสิตา คือหวาดสะดุ้ง ด้วยเกิดหวาดสะดุ้งทางจิต และ

ด้วยความหวาดเสียวทางกาย. บทว่า มาตาปิตา คือมารดาและบิดาทั้งหลาย.

บทว่า อตฺตาน ปริโมจยุ หนีเอาตัวรอด คือได้ทำความปลอดภัยให้แก่ตน

ด้วยไปในที่ที่ไฟไม่รบกวน. จริงอยู่ในกาลนั้น พระมหาสัตว์ได้มีร่างกาย

ใหญ่ประมาณเท่าตะกร้อลูกใหญ่. มารดาบิดาไม่สามารถจะพาลูกนกนั้นไปได้

ด้วยอุบายไร ๆ และเพราะความรักตนครอบงำ จึงทิ้งความรักบุตรหนีไป.

บทว่า ปาเท ปกฺเข ปชหามิ คือเราเตรียมจะไปบนแผ่นดิน และบน

อากาศ จึงเหยียดเท้าทั้งสองและพยายามกางปีกทั้งสอง. ปาฐะว่า ปฏิหามิ

บ้าง. ความว่า เราพยายามเพื่อจะบินไปบนอากาศ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

ปตึหามิ บ้าง. บทนั้นมีความดังนี้ เราพยายามเหยียดเท้าและกางปีก. คือ

พยายามจะบินไป. เพราะเหตุไรจึงพยายามดังนั้น. เพราะกำลังกายของเรา

ไม่มี. บทว่า โสห อคติโก ตตฺถ เรานั้นไปไม่ได้อยู่ในรังนั่นเอง ความว่า

เราเป็นอย่างนั้น หนีไปไม่ได้เพราะความบกพร่องของเท้าและปีก หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 477

มารดาบิดาก็เอาเป็นที่พึ่งไม่ได้โดยหนีไปเสีย. เราอยู่ในป่าถูกไฟป่ารบกวน

หรือในรังนั้น ในกาลนั้น จึงคิดโดยอาการที่จะพึงกล่าวในบัดนี้อย่างนี้.

อนึ่ง บทว่า อห บทที่สองพึงเห็นว่าเป็นเพียงนิบาต.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงถึงอาการที่พระองค์ทรงคิด

ในกาลนั้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า เยสาห ดังนี้.

ในบทนั้น มีความว่า เมื่อก่อนเราสะดุ้งหวาดหวั่นพึงเข้าไปซ่อนตัว

ในระหว่างปีกของมารดาบิดา คือเรากลัวเพราะกลัวตายหวาดสะดุ้ง เพราะ

จิตสะดุ้งต่อมรณภัยนั้น. หวั่นไหวเพราะร่างกายสั่น บัดนี้ถูกไฟป่ารบกวน

สำคัญดุจหล่มน้ำจึงวิ่งเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในระหว่างปีกของมารดาบิดา. มารดา-

บิดาของเราเหล่านั้นทิ้งเราไว้แต่ผู้เดียวหนีไปเสียแล้ว. บทว่า กถ เม อชฺช

กาตเว คือวันนี้เราควรทำ ควรปฏิบัติอย่างไร ? พระมหาสัตว์มิได้หลงลืมสิ่ง

ที่ควรทำ ยืนคิดอย่างนี้ว่า ในโลกนี้คุณของศีลยังมีอยู่. คุณของสัจจะยังมี

อยู่. ธรรมดาพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย ในอดีต บำเพ็ญบารมี นั่ง ณ

พื้นโพธิมณฑล ตรัสรู้แล้ว ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ และ

วิมุตติญาณทัศนะ ประกอบด้วยสัจจะความเอ็นดูกรุณาและขันติ บำเพ็ญ

เมตตาในสรรพสัตว์ ยังมีอยู่. พระธรรมอันพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเหล่านั้น

แทงตลอดแล้ว เป็นคุณอันประเสริฐโดยส่วนเดียว ยังมีอยู่. อนึ่ง ความ

สัตย์อย่างนี้แม้ในเราก็ยังมีอยู่. สภาวธรรมอย่างหนึ่ง ยังมีอยู่ย่อมปรากฏ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 478

เพราะฉะนั้น เราควรระลึกถึงพระพุทธเจ้าในอดีต และคุณธรรมที่พระพุทธ-

เจ้าเหล่านั้นแทงตลอดแล้ว ถือเอาสภาวธรรมอันเป็นสัจจะซึ่งมีอยู่ในตน

แล้วทำสัจจกิริยา ให้ไฟกลับไป แล้วทำความสวัสดีแก่ตนเอง และแก่สัตว์

ที่เหลือซึ่งอยู่ ณ ที่นี้ ในวันนี้. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

คุณของศีล ความสัตย์ พระสัพพัญญู-

พุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยความสัตย์ เอ็นดูกรุณา

มีอยู่ในโลก. ด้วยความสัตย์นั้น เราจักกระทำ

สัจจกิริยาอันสูงสุด เราคำนึงถึงกำลังของพระ-

ธรรม ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้พิชิตมารอันมี

อยู่ในก่อนได้กระทำสัจจกิริยา แสดงกำลัง

ความสัตย์.

ในบทนั้น มีความว่า พระมหาสัตว์ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ซึ่งปรินิพพานแล้วในอดีต ปรารภสภาพของสัจจะอันมีอยู่ในตน

แล้วกล่าวคาถาใด ได้ทำสัจจกิริยาในกาลนั้น. เพื่อแสดงคาถานั้น จึงกล่าว

คาถามีอาทิว่า :-

ปีกของเรามีอยู่ แต่บินไปไม่ได้ เท้า

ของเรามีอยู่ แต่ยังเดินไม่ได้ มารดาบิดาก็พา

กันบินออกไปแล้ว แน่ะไฟ จงกลับไปเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 479

ในบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ ปกฺขา อปตนา ความว่า ปีกของ

เรามีอยู่แต่ยังบินไปไม่ได้ เพราะไม่สามารถจะกระโดดไปทางอากาศด้วยปีก

นั้นได้. บทว่า สนฺติ ปาทา อวญฺจนา คือแม้เท้าของเราก็มียู่ แต่ยัง

เดินไม่ได้ เพราะไม่สามารถะก้าวไปด้วยเท่านั้นได้. บทว่า มาตาปีตา จ

นิกฺขนฺตา ความว่า แม้มารดาบิดาของเราที่ควรจะนำเราไปในที่อื่น ก็ออก

ไปเสียแล้ว เพราะกลัวตาย. บทว่า ชาตเวท เป็นคำเรียกไฟ. เพราะว่า

ไฟนั้นเกิดให้รู้ ปรากฏด้วยเปลวควันพลุ่งขึ้น. ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า ชาต-

เวทะ. บทว่า ปฏิกฺกม คือขอร้องไฟว่า ท่านจงไปคือจงกลับไป.

พระมหาสัตว์ ได้นอนทำสัจจกิริยาว่า หากความที่เรามีปีก. ความที่

เหยียดปีกบินไปในอากาศไม่ได้ ความที่เรามีเท้า. ความที่เรายกเท้าเดินไป

ไม่ได้. และความที่มารดาบิดาที่เราไว้ในรังแล้วหนีไป เป็นความสัตย์จริง.

แน่ะไฟด้วยความสัตย์นี้ ขอท่านจงหลีกไปเสียจากที่นี้. พร้อมด้วยสัจจกิริยา

ของพระมหาสัตว์นั้น ไฟได้หลีกไปในที่ประมาณ ๑๖ กรีส. และเมื่อไฟ

หลีกไปก็มิได้ไหม้กลับเข้าป่าไป. ดับ ณ ที่นั้น ดุจคบเพลิงที่จุ่มลงไปในน้ำ

ฉะนั้น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พร้อมกับเมื่อเราทำสัจจกิริยา ไฟที่ลุก

รุ่งโรจน์ใหญ่หลวง เว้นไว้ ๑๖ กรีส ไฟดับ

ณ ที่นั้นเหมือนจุ่มลงในน้ำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 480

ก็สัจจกิริยาของพระโพธิสัตว์นั้น เป็นเบื้องต้นของการงานระลึกถึง

พระพุทธคุณในสมัยนั้น ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า สจฺเจน เม สโม นตฺถิ, อสา เม สจฺจปารมี คือผู้เสมอ

ด้วยสัจจจะของเราไม่มี. นี้เป็นบารมีของเรา ถามที่นั้นจึงเป็นปฏิหาริย์ตั้ง

อยู่กัปหนึ่ง เพราะไม่ถูกไฟไหม้ในกัปนี้ทั้งสิ้น

ด้วยเหตุนี้พระมหาสัตว์ ด้วยอำนาจสัจจกิริยา จึงทำความปลอดภัย

ให้แก่ตนและแก่สัตว์ทั้งหลายผู้อยู่ ณ ที่นั้น เมื่อสิ้นอายุก็ได้ไปตามยถากรรม.

มารดาบิดา ในครั้งนั้น ได้เป็นมารดาบิดาในครั้งนี้. ส่วนพระยา

นกคุ่ม คือพระโลกนาถ. แม้บารมีที่เหลือของพระโพธิสัตว์นั้น ก็พึงเจาะ

จงกล่าวตามสมควร โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

อนึ่ง เมื่อไฟป่าลุกลามมาอย่างน่ากลัวอย่างนั้น พระโพธิสัตว์แม้อยู่

ผู้เดียวในวัยนั้นก็ยังกลัว จึงระลึกถึงพระธรรมคุณมีสัจจะเป็นต้น และพระ-

พุทธคุณ. พึงประกาศอานุภาพมีการยังสัตว์ทั้งหลายแม้ที่อยู่ ณ ที่นั้น ให้

ถึงความปลอดภัยด้วยสัจจกิริยา เพราะอาศัยอานุภาพของตนเท่านั้น.

จบ อรรถกถาวัฏฏโปตกจริยาที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 481

๑๐. มัจฉราชจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาปลา

[๓๐] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระยา

ปลาอยู่ในสระใหญ่ น้ำในสระแห้งขอด เพราะ

แสงพระอาทิตย์ในฤดูร้อน ที่นั้น กา แร้ง

นกกระสา นกตะกรุมและเหยี่ยว มาคอยจับ

ปลากินทั้งกลางวันกลางคืน ในกาลนั้น เรา

คิดอย่างนี้ว่า เรากับหมู่ญาติถูกบีบคั้น จะพึง

เปลื้องหมู่ญาติให้พ้นจากทุกข์ได้ด้วยอุบาย

อะไรหนอ เราคิดแล้ว ได้เห็นความสัตย์อัน

เป็นอรรถเป็นธรรมว่า เป็นที่พึ่งของหมู่ญาติ

ได้ เราตั้งอยู่ในความสัตย์แล้ว จะเปลื้อง

ความพินาศใหญ่ของหมู่ญาตินั้นได้ เรานึกถึง

ธรรมของสัตบุรุษ คิดถึงการไม่เบียดเบียน

สัตว์ อันตั้งอยู่ในเที่ยงแท้ในโลก ซึ่งเป็น

ประโยชน์อย่างยิ่งได้ แล้วได้กระทำสัจกิริยา

ว่า ตั้งแต่เราระลึกตนได้ ตั้งแต่เรารู้ความมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 482

จนถึงบัดนี้ เราไม่รู้สึกว่าแกล้งเบียดเบียน

สัตว์แม้ตัวหนึ่งให้ได้รับความลำบากเลย ด้วย

สัจวาจานี้ ขอเมฆจงยังฝนให้ตกห่าใหญ่

แน่ะเมฆ ท่านจงเปล่งสายฟ้าคำรามให้ฝนตก

จงทำขุมทรัพย์ของกาให้พินาศไป ท่านจงยัง

กาให้เดือดร้อนด้วยความโศก จงปลดเปลื้อง

ฝูงปลาจากความโศก พร้อมกับเมื่อเราทำ

สัจกิริยา เมฆส่งเสียงสนั่นครั่นครื้น ยังฝน

ให้ตกครู่เดียว ก็เต็มเปี่ยมทั้งที่ดอนและที่ลุ่ม

ครั้นเราทำความเพียรอย่างสูงสุด อันเป็นความ

สัตย์อย่างประเสริฐเห็นปานนี้แล้วอาศัยกำลัง

อานุภาพความสัตย์ จึงยังฝนให้ตกห่าใหญ่

ผู้เสมอด้วยความสัตย์ของเราไม่มี นี้เป็นสัจ-

บารมีของเราฉะนี้แล

จบ มัจฉราชจริยาที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 483

อรรถกถามัจฉราชจริยาที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถามัจฉราชจริยาที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้. บทว่า

ยทา โหมิ, มจฺฉราชา มหาสเร ในกาลเมื่อเราเป็นพระยาปลาอยู่ใน

สระใหญ่ ความว่า ในอดีตกาล เราเกิดในกำเนิดปลายินดีอยู่ด้วยสังคหวัตถุ

๔ ประการของปลาทั้งหลาย ในสระใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งปกคลุมด้วยเถาวัลย์

อันเป็นสระโบกขรณีใกล้พระเชตวันกรุงสาวัตถี แคว้นโกศล. ครั้งนั้น

เราเป็นพระยาปลาแวดล้อมด้วยหมู่ปลาอาศัยอยู่ ณ ที่นั้น. บทว่า อุเณฺเห

คือฤดูร้อน. บทว่า สูริยสนฺตาเป คือเพราะแสงอาทิตย์. บทว่า สเร อุทก

ขียถ คือน้ำในสระนั่นแห้งขอด. ในแคว้นนั้น ขณะนั้นฝนไม่ตกเลย

ข้าวกล้าเหี่ยวแห้ง. น้ำในบึงเป็นต้นแห้งขอด. ปลาและเต่าพากันเข้าไป

อาศัยเปือกตม. แม้ในสระนั้นปลาทั้งหลายก็เข้าไปยังเปือกตม ซ่อนอยู่ใน

ที่นั้นๆ.

บทว่า ตโต คือภายหลังจากน้ำแห้งนั้น. บทว่า กุลลเสนกา

คือนกตะกรุมและเหยี่ยว. ภกฺขยนฺติ ทิวารตฺตึ, มจฺเฉ อุปนิสีทิย

ความว่า กาและนกนอกนั้นเข้าไปแอบอยู่บนหลังเปือกตมนั้น ๆ เอาจะงอย

เช่นกับปลายหอกสั้นจิกกินปลา ซึ่งเข้าไปนอนซ่อนอยู่ที่เปือกตมทั้ง ๆ ที่ยัง

ดิ้นอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 484

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เห็นความพินาศของปลาทั้งหลาย เกิดสงสาร

คิดอยู่ว่า นอกจากเราไม่มีผู้อื่นที่สามารถจะปลดเปลื้องญาติทั้งหลายของเรา

ให้พ้นจากทุกข์นี้ได้. เราจะปลดเปลื้องปลาเหล่านั้นจากทุกข์นี้ได้ด้วยอุบาย

อย่างไรหนอ จึงตัดสินใจว่า ถ้ากระไรเราพึงทำสัจกิริยาอาศัยสัจธรรมที่

ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่ก่อน ประพฤติสะสมมา และที่มีอยู่ในตัวเรา ยังฝน

ให้ตกและสละชีวิตเป็นทานเพื่อหมู่ญาติของเรา. ด้วยเหตุนั้นเป็นอันเรา

ได้ยังมหาอุปการะให้เกิดแก่สัตว์โลก ผู้อาศัยอาหารเลี้ยงชีพ แม้ทั้งสิ้น.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ในกาลนั้นเราคิดอย่างนี้ว่า เรากับหมู่

ญาติถูกบีบคั้น จะพึงเปลื้องหมู่ญาติให้พ้น

จากทุกข์ได้ด้วยอุบายอะไรหนอ เราคิดแล้ว

ได้เห็นความสัตย์ อันเป็นอรรถเป็นธรรมว่า

เป็นที่พึ่งของหมู่ญาติได้ เราตั้งอยู่ในความ

สัตย์แล้ว จะปลดเปลื้องความพินาศใหญ่ของ

หมู่ญาตินั้นได้ เรานึกถึงธรรมของสัตบุรุษ

คิดถึงการไม่เบียดเบียนสัตว์อันยั่งยืนเที่ยงแท้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 485

ในโลก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้ แล้วได้

ทำสัจกิริยา.

บทว่า สห าตีหิ ปีฬิโต คือเรากับพวกญาติของเราถูกบีบคั้น

ด้วยน้ำแห้งนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สห เป็นเพียงนิบาต. คือญาติ

ทั้งหลายผู้มีทุกข์เป็นเหตุถูกบีบคั้นด้วยความพินาศนั้น เพราะมีมหากรุณา

จึงคิดจะปลดเปลื้อง อธิบายว่า หมู่ญาติได้รับทุกข์. บทว่า ธมฺมตฺถ

คือประโยชน์ที่เป็นธรรม หรือมีอยู่ไม่ปราศจากธรรม ได้แก่อะไร ? ได้แก่

สัจจะ. บทว่า อทฺทสปสฺสย คือได้เห็นที่พึ่งของเราและของญาติทั้งหลาย

บทว่า อติกฺขย คือความมหาพินาศ.

บทว่า สทฺธมฺน คือระลึกถึงธรรม คือความไม่เบียดเบียนสัตว์แม้

ตัวหนึ่งของสัตบุรุษ คือคนดีมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. บทว่า ปรมตฺถ

วิจินฺตย คือเราคิดถึงสัจจะอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งนั้นอันมีสภาพไม่วิปริต.

บทว่า ย โลเก ธุวสสฺสต อันยั่งยืนเที่ยงแท้ในโลก คือการไม่

เบียดเบียนสัตว์แม้ตัวหนึ่งของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวก

ของพระพุทธเจ้าตลอดกาลใด. พึงทราบการเชื่อมความว่า เราได้คิดถึงการ

ไม่เบียดเบียนสัตว์อันยั่งยืนเที่ยงแท้โดยความเป็นจริง ตลอดกาลทั้งปวงนั้น

ได้กระทำสัจกิริยา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 486

บัดนี้ พระมหาสัตว์ซึ่งมีร่างเช่นกับสีปุ่มแก่นไม้อัญชัน ประสงค์

จะรับเอาธรรมนั้นซึ่งมีอยู่ในตน แล้วประกอบคำพูดที่เป็นสัตย์ จึงคุ้ย

เปือกตมสีดำออกเป็นสองข้าง ลืมตาทั้งสองแหงนมองอากาศ กล่าวคาถา

ว่า :-

ตั้งแต่เราระลึกตนได้ ตั้งแต่เรารู้ความมา

จนถึงบัดนี้ เราไม่รู้สึกว่าแกล้งเบียดเบียน

สัตว์แม้ตัวหนึ่งให้ได้รับลำบากเลย. ด้วย

สัจวาจานี้ ขอเมฆจงยังฝนให้ตกห่าใหญ่.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยโต สรามิ อตฺตาน ความว่า ตั้งแต่

เราระลึก คือความระลึกตนอันได้แก่อัตภาพ. บทว่า ยโต ปตฺโตสฺมิ

วิญฺญุต คือตั้งแต่เรารู้ความที่วิญญูชนรู้แล้วในสิ่งอันควรทำนั้น ๆ ชื่อว่า

รู้ความที่วิญญูชนรู้แล้ว เพราะสามารถระลึกถึง กายกรรม วจีกรรม ของ

เราจากนี้ไปได้ด้วยการแหงนขึ้นไปในเบื้องบน ในระหว่างนี้แม้เกิดในที่จะ

ต้องกินสัตว์ที่มีชาติเสมอกัน เราก็ไม่เคยกินปลาแม้ประมาณเท่ารำข้าวสาร

เราไม่รู้สึกว่าแกล้งเบียดเบียนสัตว์ไร ๆ แม้อื่น ไม่ต้องพูดถึงฆ่า. บทว่า

เอเตน สจฺจวชฺเชน ความว่า เรากล่าวถึงการไม่เบียดเบียนสัตว์ไร ๆ

อันใด หากการไม่เบียดเบียนนั้นเป็นความจริง ไม่วิปริต ด้วยสัจวาจานี้

ขอเมฆจงยังฝนให้ตกเถิด. พระยาปลากล่าวว่า ขอเมฆจงปลดเปลื้องหมู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 487

ญาติของเราจากทุกข์เถิด แล้วเรียกปัชชุนนเทวราชดุจบังคับคนรับใช้ของ

ตนอีกว่า :-

แน่ะปัชชุนนะ ท่านจงเปล่งสายฟ้าคำราม

ให้ฝนตก จงทำขุมทรัพย์ของกาให้พินาศไป

ท่านจงยังกาให้เดือดร้อน ด้วยความโศก

จงปลดเปลื้องฝูงปลาจากความโศก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อภิตฺถนย ปชฺชุนฺน ความว่า เมฆท่าน

เรียกว่า ปัชชุนนะ ก็พระยาปลานี้เรียกวัสสวลาหกเทวราช ที่ได้ชื่อด้วย

อำนาจแห่งเมฆ.

บทนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ ธรรมดาฝนไม่คำรามไม่เปล่งสายฟ้า

แม้ให้ฝนตกก็ไม่งาม. เพราะฉะนั้น ท่านคำรามเปล่งสายฟ้าให้ฝนตก

เถิด. บทว่า นิธึ กากสฺส นาสย จงทำขุมทรัพย์ของกาให้พินาศไป

คือกาทั้งหลาย เอาจะงอยจิกปลาที่เข้าไปยังเปือกตมนำออกมากิน เพราะ

ฉะนั้น ปลาทั้งหลายภายในเปือกตม ท่านเรียกว่า นิธิ คือขุมทรัพย์

ของกาเหล่านั้น. ท่านยังฝนให้ตกน้ำท่วมขุมทรัพย์ของฝูงกานั้น บทว่า

กาก โสกาย รนฺเธหิ ท่านจงยังกาให้เดือดร้อนด้วยความโศก ความว่า

ฝูงกาเมื่อไม่ได้ปลาในสระใหญ่นี้ซึ่งมีน้ำเต็มจักเศร้าโศก. ท่านยังเปือกตมนี้

ให้เต็มยังฝูงกานั้นให้เดือดร้อนด้วยความโศก. ท่านจงยังฝนให้ตกเพื่อให้กา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 488

เศร้าโศก. อธิบายว่า ท่านจงทำโดยอาการที่ฝูงกาถึงความเศร้าโศกอันมี

ลักษณะจ้องดูภายใน. บทว่า มจฺเฉ โสกา ปโมจย จงปลดเปลื้อง

ฝูงปลาจากความเศร้าโศก คือท่านจงปลดเปลื้องฝูงปลาทั้งหมดซึ่งเป็นญาติ

ของเราให้พ้นจากความเศร้าโศก คือความตายนี้เถิด. อาจารย์บางคนกล่าว

ไว้ในชาดกว่า ท่านจงปลดเปลื้องข้าพเจ้าจากความเศร้าโศก. อักษรใน

บทนั้นเป็นสัมบิณฑนัตถะ ความว่า ท่านจงปลดเปลื้องสัตว์ทั้งปวง คือเรา

และญาติของเราให้พ้นจากความโศกคือความตายเถิด. จริงอยู่ปลาทั้งหลาย

มีความเศร้าโศกคือความตายอย่างใหญ่หลวงว่า พวกเราจะถึงความเป็น

อาหารของศัตรูเพราะไม่มีน้ำ. พึงทราบว่าความเศร้าโศกเกิดขึ้นด้วยความ

กรุณาของพระมหาสัตว์ผู้เปี่ยมด้วยความกรุณา เพราะอาศัยความพินาศย่อย

ยับของปลาเหล่านั้น.

พระโพธิสัตว์เรียกปัชชุนนะเทพบุตร ดุจบังคับคนรับใช้ของตนให้

ฝนห่าใหญ่ตกทั่วแคว้นโกศล. ด้วยเดชแห่งศีลของพระมหาสัตว์ปัณฑุกัมพล-

ศิลาอาสน์ของท้าวสักกะแสดงอาการร้อนตลอดกาล ด้วยสัจกิริยานั่นแล.

ท้าวสักกะทรงรำพึงว่า อะไรหนอ ? ครั้นทรงทราบเหตุนั้นแล้วจึงรับสั่งให้

เรียกวัสสวลาหกเทวราชมามีเทวบัญชาว่า นี่แน่ะเจ้าพระยาปลาผู้เป็นมหา-

บุรุษปรารถนาให้ฝนตกเพราะความเศร้าโศก คือความตายของญาติทั้งหลาย.

เจ้าจงทำเมฆให้เป็นกลุ่มเดียวกัน แล้วให้ฝนตกทั่วแคว้นโกศลเถิด. วัสส-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 489

วลาหกเทวราชรับเทวบัญชาแล้ว นุ่งวลาหกก้อนหนึ่ง ห่มก้อนหนึ่ง ขับ

เพลงขับสายฝน บ่ายหน้าไป มุ่งไปยังโลกทางด้านทิศตะวันออก. ทางด้าน

ทิศตะวันออก ก้อนเมฆก้อนหนึ่งประมาณเท่าบริเวณลานได้ตั้งขึ้นร้อยชั้น

พันชั้น คำรามเปล่งสายฟ้าไหลลงมาเหมือนหม้อน้ำที่คว่ำ หลั่งน้ำใหญ่ท่วม

แคว้นโกศลทั้งสิ้น. ฝนตกอยู่ไม่ขาดสาย ครู่เดียวเท่านั้นสระใหญ่นั้นก็เต็ม

ปลาทั้งหลายก็พ้นจากมรณภัย. กาเป็นต้นได้หมดที่พึ่ง. ไม่เฉพาะปลา

อย่างเดียวเท่านั้น แม้มนุษย์ทั้งหลายก็ยังข้าวกล้าหลายอย่างให้งอกงาม

แม้สัตว์ ๒ เท้าเป็นต้น ทั้งหมดที่อาศัยฝนเลี้ยงชีวิตก็พ้นจากทุกข์กายและ

ทุกข์ใจ. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พร้อมกับเมื่อเราทำสัจกิริยา เมฆส่ง

เสียงสนั่นครั่นครื้นยังฝนให้ตกครู่เดียวก็เต็ม

เปี่ยมทั้งที่ดอนและที่ลุ่ม. ครั้นเราทำความ

เพียรอย่างสูงสุด อันเป็นความสัตย์อย่าง

ประเสริฐเห็นปานนี้แล้ว. อาศัยกำลังอานุภาพ

ความสัตย์จึงยังฝนให้ตกห่าใหญ่. ผู้เสมอด้วย

ความสัตย์ของเราไม่มี. นี้เป็นสัจบารมีของ

เรา ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 490

ในบทเหล่านั้น บทว่า ขเณน อภิวสฺสถ คือไม่ชักช้าฝนก็ตกโดย

ขณะที่ทำสัจกิริยานั้นเอง. บทว่า กตฺวา วีริยมุตฺตม ทำความเพียรอย่าง

สูงสุด คือเมื้อฝนไม่ตกเราก็ไม่เกียจคร้านมัวคิดว่าควรทำอะไร แล้วทำ

ความเพียรอย่างสูงสุด ยังประโยชน์สุขให้สำเร็จแก่หมู่สัตว์ใหญ่โดยวิธี

บำเพ็ญญาตัตถจริยา. บทว่า สจฺจเตชพลสฺสิโต คืออาศัยกำลังอานุภาพ

ความสัตย์ของเรายังฝนห่าใหญ่ให้ตกในกาลนั้น. เพราะเหตุการณ์เป็นอย่าง

นั้น ฉะนั้น พระธรรมราชาจึงทรงแสดงถึงความที่สัจบารมีของพระองค์

ไม่ทั่วไปแก่คนอื่นเมื่อครั้งเป็นพระยาปลาใหญ่ว่า สจฺเจน เม สโม นตฺถิ,

เอสา เม สจฺจปารมี ผู้เสมอด้วยสัจจะของเราไม่มี. นี้เป็นสัจจบารมี

ของเรา.

พระมหาสัตว์มีใจเร่งเร้าด้วยมหากรุณาอย่างนี้ จึงได้ปลดเปลื้อง

มหาชนจากมรณทุกข์ด้วยยังฝนห่าใหญ่ให้ตกทั่วแว่นแคว้น เมื่อสิ้นอายุก็

ไปตามยถากรรม.

ปัชชุนนเทวราชในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนทเถระในครั้งนี้. ฝูง

ปลาคือพุทธบริษัท. พระยาปลาคือพระโลกนาถ.

พึงเจาะจงกล่าวแม้บารมีที่เหลือ ของพระมหาสัตว์นั้นโดยนัยดังได้

กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 491

อนึ่ง พึงประกาศคุณานุภาพมีอาทิอย่างนี้คือ การเกิดในกำเนิดปลา

ในที่ที่จะกินสัตว์ที่มีชาติเสมอกับตนได้แล้วไม่กินสัตว์ไร ๆ เช่นปลาแม้เพียง

รำข้าวสาร. การไม่กินก็ชั่งเถิดยังไม่เบียดเบียนสัตว์แม้ตัวหนึ่ง. การยังฝน

ให้ตกด้วยทำสัจจะอย่างนั้น. เมื่อน้ำแห้งด้วยความกล้าไม่คำนึงถึงทุกข์ที่ตน

ได้รับด้วยการดำลงไปในเปือกตม เมื่อหมู่ญาติทนไม่ไหว จึงทำทุกข์นั้นไว้

ในใจด้วยตนช่วยเหลือโดยทุกวิธี. และการปฏิบัติด้วยประการนั้น.

จบ อรรถกถามัจฉราชจริยาที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 492

๑๑. กัณหทีปายนจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของกัณหทีปายนะดาบส

[๓๑] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นฤาษีชื่อว่า

กัณหทีปายนะ เราไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์

ยิ่งกว่า ๕๐ ปี ใคร ๆ จะรู้ใจที่ไม่ยินดีประพฤติ

พรหมจรรย์ของเรานั้นหามิได้ แม้เราก็ไม่บอก

แก่ใคร ๆ ว่า ความไม่ยินดีมีในใจของเราสหาย

เพื่อนพรหมจรรย์ของเรา ชื่อมัณฑัพยะ เป็น

ฤาษีมีอานุภาพมาก ประกอบด้วยบุรพกรรม

คือกรรมเก่าให้ผล ถูกเสียบด้วยหลาวทั้งเป็น

เราทำการพยาบาลมัณฑัพยะ ดาบสนั่นให้หาย

โรค แล้วได้อำลามาสู่บรรณศาลาอันเป็นอาศรม

ของเราเอง พราหมณ์ผู้เป็นสหายของเรา ได้พา

ภริยาและบุตร ต่างถือสักการะสำหรับต้อนรับ

แขก รวมสามคนมาหาเรา เรานั่งเจรจาปราศัย

กับสหายและภริยาของเขาอยู่ในอาศรมของตน

เด็กโยนลูกข่างเล่นอยู่ ทำงูเห่าให้โกรธแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 493

ทีนั้น เด็กนั้นเอามือควานหาลูกข่างไปตาม

ปล่องจอมปลวก ความไปถูกเอาศีรษะงูเข้า

พอมือไปถูกศีรษะของมัน งูก็โกรธ อาศัย

กำลังพิษ เคืองจนเหลือจะอดกลั้นได้กัดเด็ก

ในทันที พร้อมกับถูกงูกัด เด็กล้มลงที่พื้นดิน

ด้วยกำลังพิษกล้า เหตุนั้น เราเป็นผู้ได้รับทุกข์

หรือว่าเรามีความรักจึงเป็นทุกข์ เราได้ปลอบ

มารดาบิดาของทารกนั้น ผู้มีทุกข์เศร้าโศก ให้

สร่างแล้ว ได้ทำสัจกิริยาอันประเสริฐสุด

ก่อนว่า.

เราผู้ต้องการบุญ ได้ประพฤติพรหมจรรย์

มีจิตเลื่อมใสอยู่ ๗ วันเท่านั้น ต่อแต่นั้นมา

การประพฤติของเราไม่เลื่อมใส ๕๐ ปีเศษ เรา

ไม่ปรารถนาจะประพฤติเสียเลย ด้วยความ

สัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เด็กนี้เถิด พิษจง

ระงับ ยัญญทัตตกุมารจงเป็นอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 494

พร้อมกับเมื่อเราทำสัจกิริยา มาณพ

หวั่นไหวด้วยกำลังพิษไม่รู้สึกตัว ได้ฟื้นกาย

หายโรค ลุกขึ้นได้ ผู้เสมอด้วยความสัตย์ของ

เราไม่มี นี้เป็นสัจบารมีของเรา ฉะนี้แล.

จบ กัณหทีปายนจริยาที่ ๑๑

อรรถกถากัณหทีปายนจริยาที่ ๑๑

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถากัณหทีปายนจริยาที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้.

บทว่า กณฺหทีปายโน อิสิ คือดาบสมีชื่อว่า กัณหทีปายนิะ.

ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์ในกาลนั้นชื่อว่า ทีปายนะเข้าไปหาดาบส

มัณฑัพยะผู้เป็นสหายของตนถูกเสียบหลาว ไม่ทอดทิ้งดาบสนั้นด้วยศีลคุณ

ของเขา ได้ยืนพิงอยู่กับหลาวตลอด ๓ ยาม จึงได้ปรากฏชื่อว่า กัณหทีปายนะ

เพราะร่างกายมีสีดำ ด้วยหยาดเลือดแห้งที่ไหลจากร่างกายของดาบสนั้นแล้ว

ลงมาใส่. บทว่า ปโรปญฺาสวสฺสานิ คือยิ่งกว่า ๕๐ ปี บทว่า อนภิรโต

จรึ อห คือเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์อย่างไม่ยินดี ในเสนาสนะสงัดและใน

ธรรมอันเป็นอธิกุศล. ครั้นบวชแล้วพระมหาสัตว์ยินดีประพฤติพรหมจรรย์

อยู่ ๗ วันเท่านั้น. ต่อจากนั้นก็อยู่อย่างไม่ยินดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 495

ก็เพราะเหตุไร พระมหาบุรุษในอัตภาพหลายแสนมีอัธยาศัยในเนก-

ขัมมะยินดีอยู่พรหมจรรย์ แต่ในจริยานี้ไม่ยินดีพรหมจรรย์นั้น. เพราะความ

หวั่นไหวแห่งความเป็นปุถุชน. ก็เพราะเหตุไร จึงไม่ครองเรือนใหม่เล่า

เพราะครั้งแรกเห็นโทษในกามทั้งหลาย ด้วยมีอัธยาศัยในเนกขัมมะจึงบวช

เมื่อเป็นดังนั้นพระมหาบุรุษจึงเกิดความไม่ยินดีด้วยมิได้ใส่ใจโดยแยบคาย.

พระมหาบุรุษ แม้เมื่อไม่สามารถบรรเทาความไม่ยินดีนั้นได้ จึงเชื่อกรรมและ

ผลแห่งกรรม ละสมบัติใหญ่ออกจากเรือน ละสมบัติใด ก็กลับไปเพื่อสมบัติ

นั้นอีก. รังเกียจคำติเตียนนี้ว่า กัณหทีปายนะนี้บ้าน้ำลาย กลับกลอกจริง

หนอ เพราะเกรงหิริโอตตัปปะของตนจะแตก. อนึ่งชื่อว่าบุญในการบรรพชานี้

ท่านผู้รู้ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญแล้ว. และก็ดำรงอยู่มิได้.

เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษแม้ร้องไห้น้ำตานองหน้า ด้วยความทุกข์โทมนัส

ก็ยังอยู่ประพฤติพรหมจรรย์. ไม่สละพรหมจรรย์นั้น. สมดังที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

กัณหทีปายนะนั้นออกบวชด้วยศรัทธาแล้ว

ก็กลับมาอีก เขารังเกียจคำพูดนี้ว่า กัณหที-

ปายนะนี้ บ้าน้ำลายกลับกลอกหนอ เราไม่

ปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์เสียเลย อนึ่ง

ฐานะของสัตบุรุษอันผู้รู้สรรเสริญแล้ว เราจะ

เป็นผู้ทำบุญอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 496

บทว่า น โกจิ เอต ชานาติ ความว่า ใครๆ ที่เป็นมนุษย์ย่อม

ไม่รู้ใจที่ไม่ยินดีของเรานั้น คือใจที่ปราศจากความยินดีในการประพฤติ

พรหมจรรย์. เพราะเหตุไร ? เพราะเราไม่บอกแก่ใคร ๆ ว่า ความไม่ยินดี

เป็นไปในใจของเรา. ฉะนั้นใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์จึงไม่รู้ใจนั้น.

บทว่า พฺรหฺมจารี คือชื่อพรหมจารี เพราะเป็นผู้ศึกษาเสมอด้วย

การบรรพชาเป็นดาบส. มณฺฑพฺย คือมีชื่อว่ามัณฑัพยะ บทว่า. สหาโย

คือเป็นสหายที่รัก เพราะเป็นมิตรแท้ทั้งในเวลาเป็นคฤหัสถ์และเวลาเป็น

บรรพชิต. บทว่า มหาอิสิ คือเป็นฤาษีมีอานุภาพมาก. บทว่า ปุพฺพกมฺม-

สมายุตฺโต สูลมาโรปน ลภิ ความว่า ประกอบด้วยบุรพกรรมของตนถูก

เสียบด้วยหลาวทั้งเป็น.

ในบทนี้มีเรื่องราวเป็นลำดับดังต่อไปนี้. ในอดีตกาลพระราชาพระนาม

ว่า โกสัมพิกะครองราชสมบัติอยู่ในกรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ. ในกาลนั้น

พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาลมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ใน

นิคมแห่งหนึ่ง พราหมณ์กุมารได้มีสหายที่รักของเขาชื่อมัณฑัพยะ. ต่อมา

เมื่อมารดาบิดาถึงแก่กรรมทั้งสองเห็นโทษในกาม จึงบริจาคมหาทานละกาม

เมื่อญาติมิตรบริวารชนร้องไห้คร่ำครวญได้ออกไปสร้างอาศรม ณ หิมวันต-

ประเทศ แล้วบวชเลี้ยงชีพด้วยอาหารอันเป็นรากไม้และผลไม้ในป่า ด้วย

การเที่ยวขออยู่เกิน ๕๐ ปี. ทั้งสองไม่สามารถข่มกามฉันทะได้. แม้เพียง

ฌานก็เกิดขึ้นไม่ได้. สองดาบสเที่ยวจาริกไปยังชนบท เพื่อเสพอาหารมีรส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 497

เค็มและเปรี้ยว .ถึงแคว้นกาสี. ณ แคว้นกาสีนั้น ในนิคมหนึ่งสหายครั้ง

เป็นคฤหัสถ์ของทีปายนะชื่อว่า มัณฑัพยะอาศัยอยู่. ทั้งสองจึงเข้าไปหามัณ-

ฑัพยะนั้น. มัณฑัพยะเห็นดาบสทั้งสองก็ดีใจสร้างบรรณศาลา บำรุงด้วย

ปัจจัย ๔ ดาบสทั้งสองอยู่ ณ ที่นั้นได้ ๓ - ๔ ปี ก็ลามัณฑัพยะนั้นเที่ยวจาริก

ไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เต็มไปด้วยไม้เต็งใกล้กรุงพาราณสี. ที่นั้นทีปายนะอยู่

ตามความพอใจ แล้วไปหามัณฑัพยะสหายของตนในนิคมนั้นอีก. มัณฑัพย-

ดาบสคงอยู่ ณ ที่นั้นเอง.

อยู่มาวันหนึ่ง โจรคนหนึ่งกระทำโจรกรรมภายในเมืองลักทรัพย์หนี

ถูกพวกเจ้าของเรือน และพวกมนุษย์ที่รักษานครติดตามออกไปทางท่อน้ำ

รีบเข้าป่าช้าทิ้งห่อทรัพย์ไว้ที่ประตูบรรณศาลาของดาบสแล้วหนีไป. พวก

มนุษย์เห็นห่อทรัพย์จึงคุกคามว่า เจ้าชฎิลชั่วคนร้ายทำโจรกรรมในกลางคืน

กลางวันเที่ยวไปโดยเพศของดาบส แล้วช่วยกันทุบตีพาดาบสนั้นไปแสดง

แด่พระราชา. พระราชามิได้ทรงสอบสวนมีพระบัญชาให้เสียบบนหลาว.

พวกมนุษย์นำดาบสนั้นไปยังป่าช้า เสียบบนหลาวไม้ตะเคียน. หลาวมิได้เข้า

ไปในร่างกายของดาบส. แต่นั้นจึงนำหลาวไม้สะเดามา. แม้หลาวนั้นก็มิได้

เข้า. จึงนำหลาวเหล็กมา. หลาวเหล็กก็ไม่เข้า. ดาบสคิดว่า เป็นกรรมเก่า

ของเรากระมังหนอ. ดาบสระลึกชาติได้. ได้เห็นกรรมเก่าด้วยเหตุนั้น. นัยว่า

ดาบสนั้นในอัตภาพก่อนเป็นบุตรของนายช่าง ไปยังที่ที่บิดาถากไม้จับแมลง-

วันตัวหนึ่งจึงเอาเสี้ยนไม้ทองหลางเสียบดุจหลาว. บาปของเขาได้โอกาสที่นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 498

ดาบสรู้ว่าไม่อาจพ้นจากบาปนี้ไปได้ จึงกล่าวกะพวกราชบุรุษว่า หากพวก

ท่านประสงค์จะเสียบเราที่หลาว. พวกท่านจงนำหลาวไม้ทองหลางมาเถิด

พวกราชบุรุษได้ทำตามนั้นแล้วเสียบดาบสที่หลาว จัดอารักขาแล้วหนีไป.

ในกาลนั้น กัณหทีปายนดาบสคิดว่า เราไม่ได้เห็นสหายมานานแล้ว

จึงมาหามัณฑัพยดาบส ฟังเรื่องราวนั้นแล้วจึงไปยังที่นั้นยืนอยู่ข้างหนึ่งถามว่า

สหายท่านทำอะไร เมื่อดาบสบอกว่าเราไม่ได้ทำอะไร ? กัณหทีปายนะ ถามว่า

ท่านสามารถรักษาความประทุษร้ายทางใจได้หรือไม่ได้. มัณฑัพยดาบส

ตอบว่า เราไม่มีความประทุษร้ายทางใจต่อพวกราชบุรุษและพระราชาที่จับ

เรา. กัณหทีปายนดาบสกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนั้นร่มเงาของผู้มีศีลเช่นท่าน

เป็นความสุขของเราแล้วนั่งพิงหลาวอยู่ พวกบุรุษที่ดูแลกราบทูลเรื่องราวนั้น

แด่พระราชา. พระราชาทรงดำริว่า เราไม่ได้สอบสวนทำลงไป จึงรีบเสด็จไป

ณ ที่นั้นตรัสถามทีปายนดาบสว่า เพราะเหตุไร พระคุณท่านจึงนั่งพิงหลาวอยู่

เล่า ? ดาบสทูลว่า อาตมาภาพนั่งคอยรักษาดาบสนี้ มหาราช. พระราชาตรัส

ถามว่า พระคุณท่านทราบความที่ดาบสนี้ทำแล้วหรือจึงได้ทำอย่างนี้ ? ทีปายน

ดาบสทูลถึงกรรมที่ไม่บริสุทธิ์.

ลำดับนั้นทีปายนดาบสกล่าวคำมีอาทิว่า :-

ธรรมดาพระราชาควรเป็นผู้ใคร่ครวญก่อน

ทำ คฤหัสถ์เกียจคร้าน บริโภคกามไม่ดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 499

บรรพชิตไม่สำรวมก็ไม่ดี. พระราชาไม่ใคร่

ครวญก่อนทำก็ไม่ดี. บัณฑิตมักโกรธก็ไม่ดี.

แล้วแสดงธรรมแก่พระราชา.

พระราชาทรงทราบว่า มัณฑัพยดาบสไม่ผิดจึงรับสั่งให้นำหลาวออก.

พวกราชบุรุษดึงหลาวแต่ไม่สามารถนำออกได้. มัณฑัพยะกล่าวว่า ข้าแต่

มหาราชอาตมาภาพได้รับโทษเห็นปานนี้ ก็เพราะโทษของกรรมที่ทำไว้ใน

ชาติก่อน. ใคร ๆ ก็ไม่อาจดึงหลาวออกจากร่างกายของอาตมาภาพได้. หาก

พระองค์มีพระประสงค์จะทรงให้ชีวิตแก่อาตมาภาพ ก็ขอได้รับสั่งให้ทำหลาว

นี้ เสมอกับผิวหนังแล้วเอาเลื่อยตัดเถิด. พระราชาทรงให้ทำอย่างนั้น. หลาว

ได้อยู่ภายในนั่นเอง. ไม่เกิดเดือดร้อนอย่างไร. นัยว่าในครั้งนั้นทีปายนดาบส

เอาเสี้ยนอย่างเล็กเสียบเข้าไปทางผิวหนังของแมลงวัน. เสี้ยนนั้นยังอยู่ใน

ร่างของแมลงวันนั่นเอง. แมลงวันมิได้ตายด้วยเหตุนั้น แต่ตายด้วยสิ้นอายุ

ของมันเอง. เพราะฉะนั้นแม้มัณฑัพยดาบสนี้จึงยังไม่ตาย. พระราชาทรง

ไหว้ดาบสแล้วทรงขอขมา ทรงให้ดาบสทั้งสองอยู่ในพระราชอุทยานนั่นเอง

ทรงบำรุง. ตั้งแต่นั้นดาบสนั้นจึงมีชื่อว่า อาณิมัณทัพยะ. ดาบสนั้นอาศัย

พระราชาอยู่ ณ พระราชอุทยานนั่นเอง. ส่วนทีปายนดาบสชำระแผลของ

มัณฑัพยดาบสจนหายดีแล้ว จึงไปยังบรรณศาลาที่มัณฑัพยะผู้เป็นสหายของ

ตนครั้งเป็นคฤหัสถ์. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 500

สหายเพื่อนพรหมจรรย์ของเราชื่อว่า มัณ-

ฑัพยะเป็นฤาษีมีอานุภาพมาก ประกอบด้วย

บุรพกรรมถูกเสียบด้วยหลาวทั้งปวง. เราพยา-

บาลมัณฑัพยดาบสนั้นให้หายโรคแล้ว ได้อำ-

ลามาสู่บรรณศาลาอันเป็นอาศรมของเราเอง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อาปุจฺฉิตฺวาน คืออำลามัณฑัพยดาบสผู้เป็น

สหายของเรา. บทว่า ย มยฺห สกมสิสม คือเข้าไปอยู่ยังบรรณศาลาอัน

เป็นอาศรมของเราเอง ซึ่งมัณฑัพยพราหมณ์ผู้เป็นสหายของเรา เมื่อครั้ง

เป็นคฤหัสถ์สร้างให้.

พวกพราหมณ์เห็นทีปายนดาบสนั้นเข้าไปยังบรรณศาลา จึงบอกแก่

สหาย. สหายนั้นฟังแล้วดีใจ จึงพร้อมด้วยบุตรภรรยาถือเอาของหอมดอกไม้

และน้ำผึ้งเป็นต้นเป็นอันมากไปยังบรรณศาลา ไหว้ทีปายนดาบสล้างเท้าให้

ดื่มน้ำ นั่งฟังเรื่องราวของอาณิมัณฑัพยดาบส. ลำดับนั้นบุตรของมัณฑัพยะ

พราหมณ์ชื่อว่ายัญญทัตตกุมาร เล่นลูกข่างอยู่ที่ท้ายที่จงกรม. ณ ที่นั้นงูเห่า

อาศัยอยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง. ลูกข่างที่เด็กโยนลงไปบนพื้นได้ไปตกลงบน

หัวของงูเห่าในปล่องจอมปลวก. เด็กไม่รู้จึงล้วงมือลงไปในปล่อง. งูโกรธ

เด็กจึงกัดเข้าที่มือ. เด็กล้มลง ณ ที่นั้นด้วยกำลังของพิษงู. มารดาบิดารู้ว่า

เด็กถูกงูกัดจึงอุ้มเด็กให้เข้าไปนอนลงแทบเท้าของดาบส กล่าวว่า ข้าแต่ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 501

ผู้เจริญ ขอพระคุณท่านได้โปรดใช้ยาหรือมนต์ทำบุตรของกระผมให้หายโรค

เถิด. ทีปายนดาบส กล่าวว่า เราไม่รู้จักยา. เราไม่ใช่หมอ. เราเป็นนักบวช.

มารดาบิดาของเด็กกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นขอพระคุณท่านได้โปรดแผ่เมตตาใน

กุมารนี้แล้วทำสัจกิริยาเถิด. ดาบสกล่าวว่า ดีแล้วเราจักทำสัจกิริยา จึง

วางมือไว้บนศีรษะของยัญญทัตตะ ได้ทำสัจกิริยา ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า :-

พราหมณ์ผู้เป็นสหายของเราได้พาภรรยา

และบุตรต่างถือสักการะสำหรับต้อนรับแขก

รวม ๓ คนมาหาเรา เรานั่งเจรจาปราศัยกับ

สหายและภรรยาของเขารอยู่ในอาศรมของตน.

เด็กโยนลูกข้างเล่นอยู่ ทำงูเห่าให้โกรธแล้ว

ทีนั้นเด็กนั้นเอามือควานหาลูกข่างไปตามปล่อง

จอมปลวก ควานไปถูกเอาหัวงูเห่าเข้า พลมือ

ไปถูกหัวของมัน งูก็โกรธอาศัยกำลังพิษ เคือง

จนเหลือจะอดกลั้นได้กัดเด็กในทันที พร้อม

กัดถูกงูกัดเด็กล้มลงที่พื้นดิน ด้วยกำลังพิษ

กล้า เหตุนั้น เราเป็นผู้ได้รับทุกข์ หรือเรามี

ความรักจึงเป็นทุกข์ เราได้ปลอบมารดาบิดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 502

ของเด็กนั้นผู้มีทุกข์เศร้าโศกให้สร่างแล้ว ได้

ทำสัจกิริยาอันประเสริฐสุด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อาคจฺฉุ ปาหุนฺคต คือเข้าไปหาพร้อม

ด้วยสักการะต้อนรับแขก. บทว่า วฏฺฏมนุกฺขิป คือขว้างลูกข่างที่มีชื่อว่า

วัฏฏะ เพราะหยุดหมุนขณะขว้างลงไป อธิบายว่า เล่นลูกข่าง. บทว่า

อาสีวสมโกปยิ ความว่า เด็กขว้างลูกข่างไปบนพื้นดิน ลูกข่างเข้าไปใน

ปล่องจอมปลวกกระทบหัวงูเห่าซึ่งอยู่ในจอมปลวกนั้นทำให้งูโกรธ. บทว่า

วฏฺฏคต มคฺค อเนฺวสนฺโต คือความไปยังทางที่ลูกข่างนั้นไป. บทว่า

อาสีวิสสฺส หตฺเถน, อุตฺตมงฺค ปรามสิ คือเด็กเอามือของตนซึ่งล้วงเข้า

ไปยังปล่องจอมปลวกถูกหัวงูเห่าเข้า. บทว่า วิสพลสฺสิโต อาศัยกำลังพิษ

คืองูเกิดเพราะอาศัยกำลังพิษของตน. บทว่า อฑสิ ทารก ขเณ คืองูได้

กัดพราหมณ์กุมารนั้น ในขณะที่ลูบคลำนั่นเอง. บทว่า สห ทฏฺโ คือ

พร้อมกับถูกงูกัดนั่นเอง. บทว่า อติวิยเสน คือพิษร้าย. บทว่า เตน

ความว่าเราเป็นผู้ได้รับทุกข์ เพราะเด็กล้มลงบนพื้นดินด้วยกำลังพิษ. บทว่า

มม วา หสิ ต ทุกฺข เรามีความรักจึงเป็นทุกข์ คือทุกข์ของเด็กและของ

มารดาบิดานำมาไว้ที่เรา. นำมาด้วยความกรุณาของเราดุจในสรีระของเรา.

๑. ม. อาสิวิเสน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 503

บทว่า ตฺยาห คือเราปลอบมารดาบิดาของเด็กนั้นโดยนัยมีอาทิว่า อย่าเศร้า

โศกเสียใจไปเลย. บทว่า โสกสลฺลิเน คือมีลูกศรคือความโศก. บทว่า อคฺค

คือแต่นั้นเราได้ทำสัจกิริยาอันประเสริฐสูงสุด.

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงสัจจกิริยาโดยสรุป จึงตรัส

คาถาว่า :-

เราต้องการบุญ ได้ประพฤติพรหมจรรย์

มีจิตเลื่อมใสอยู่ ๗ วันเท่านั้น. ต่อแต่นั้นมา

การประพฤติของเราไม่เลื่อมใส ๕๐ ปีเศษ. เรา

ไม่ปรารถนาจะประพฤติเสียเลย ด้วยความ

สัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เด็กนี้เถิด พิษจง

ระงับ ยัญญทัตตกุมารจงเป็นอยู่.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สตฺตาหเมว คือ ๗ วันตั้งแต่วันที่เราบวช.

บทว่า ปสนฺนจิตฺโต คือมีจิตเลื่อมใสเพราะเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม

บทว่า ปุญฺตฺถิโก คือผู้ต้องการบุญ, ได้แก่ ผู้ประกอบแล้วด้วยความพอใจ

ในธรรม. บทว่า อถาปร ย จริต คือ เพราะฉะนั้นการประพฤติพรหมจรรย์

ของเราเกิน ๗ วัน. บทว่า อกามโกวาหิ คือเราไม่ปรารถนาบรรพชา

๑. ม. โสกสลฺลิเต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 504

เสียเลย. บทว่า เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ด้วยความสัตย์นี้ขอความ

สวัสดีจงมี คือหากว่า ความที่เราผู้อยู่อย่างไม่ยินดีตลอด ๕๐ ปีเศษไม่มีใครรู้

เป็นความสัตย์. ด้วยความสัตย์นั้น ขอความสวัสดีจงมีแก่ยัญญทัตตกุมารเถิด.

ขอยัญญทัตตกุมาร จงได้คืนชีวิตเถิด.

ก็เมื่อพระมหาสัตว์ทำสัจกิริยาอย่างนี้แล้ว พิษตกจากสรีระของ

ยัญญทัตตะลงไปสู่แผ่นดิน. กุมารลืมตาแลดูมารดาบิดาแล้วลุกขึ้นเรียก แม่

จ๋า พ่อจ๋า. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พร้อมกับเมื่อเราทำสัจกิริยา เด็กหวั่น-

ไหวด้วยกำลังพิษไม่รู้สึกตัวได้ฟื้นกายหายโรค

ลุกขึ้นได้.

บทนี้มีเนื้อความดังต่อไปนี้ พร้อมกับการทำสัจจะของเราแต่นั้นเด็ก

หวั่นไหวด้วยกำลังพิษในกาลก่อน ไม่รู้สึกตัวเพราะสลบ ได้ฟื้นขึ้นเพราะ

ปราศจากพิษลุกขึ้นทันที. กุมารนั้นได้หายโรคเพราะไม่มีกำลังพิษ.

บัดนั้นพระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงถึง ความที่สัจกิริยาของพระองค์

นั้น เป็นปรมัตถบารมี จึงกล่าวว่า สจฺเจน เม สโม นตฺถิ,เอสา เม

สจฺจปารมี มีคำแปลดังได้แปลไว้แล้ว. แต่มาในอรรถกถาชาดกว่าด้วย

สัจกิริยาของพระมหาสัตว์ พิษได้ตกจากเบื้องบนถันของกุมารแล้วไหลไป.

ด้วยสัจกิริยาของบิดา พิษตกจากบนสะเอวของเด็ก. ด้วยสัจกิริยาของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 505

มารดาพิษตกจากร่างกายที่เหลือของเด็กแล้วไหลไป. สมดังที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

บางครั้งเราเห็นแขกมาเรือนก็ไม่ยินดีจะให้.

อนึ่ง สมณพราหมณ์ผู้เป็นพหูสูตร ก็ไม่รู้ความ

ที่เราไม่รัก เราไม่ปรารถนาจะให้ ด้วยความ

สัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เจ้า พิษจงระงับ

ขอยัญญทัตตกุมารจงเป็นอยู่เถิด.

ดูก่อนพ่อยัญญทัตตะ อสรพิษมีพิษร้าย

ออกจากปล่องได้เห็นเจ้า วันนี้ความพิเศษไร ๆ

ไม่มีแก่เรา เพราะความไม่รักในอสรพิษนั้น

และในบิดาของเจ้าด้วยความสัตย์นี้ ขอความ

สวัสดีจงมีแก่เจ้า พิษจงระงับ ยัญญทัตต

กุมารจงเป็นอยู่เถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วาสกาเล คือในเวลามาเรือนเพื่อต้องการ

อยู่. บทว่า น จาปิ เม อปฺปิยต อเวทุ คือ สมณพราหมณ์ทั้งหลายแม้

เป็นพหูสูตก็ไม่รู้ความที่เราไม่รักนี้ว่า ที่ปายนดาบสนี้ไม่ยินดีการให้. ไม่

ยินดีเราดังนี้. ท่านแสดงว่า เพราะเราแลดูสมณพราหมณ์เหล่านั้นด้วยตา

อันน่ารักเท่านั้น. บทว่า เอเตน สจฺเจน ความว่า หากเราแม้ให้ก็ไม่เชื่อผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 506

ให้เพราะความไม่ปรารถนาของตน. อนึ่งชนเหล่าอื่นไม่รู้ความที่เราไม่

ปรารถนา. อธิบายว่า ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีเถิด . บทว่า

ปหูตเตโช คือมีพิษร้ายแรง. บทว่า ปตรา คือปล่อง. บทว่า อุทิจฺจ คือ

โผล่ขึ้น อธิบายว่า ขึ้นจากปล่องจอมปลวก. ท่านอธิบายไว้ว่า ดูก่อนพ่อ

ยัญญทัตตะ ความพิเศษไร ๆ ย่อมไม่มีแก่เรา เพราะความไม่รักในอสรพิษ

นั้นและในบิดาของเจ้า. อนึ่งเว้นความไม่เป็นที่รักนั้น วันนี้เราไม่เคยรู้จัก

ความพิเศษไรๆ. หากข้อนี้เป็นความจริง ด้วยคำสัตย์นั้นขอความสวัสดี

จงมีแก่เจ้าเถิด ด้วยประการฉะนี้.

พระโพธิสัตว์เมื่อเด็กหายจากโรคแล้ว จึงให้บิดาของเด็กนั้นตั้งอยู่ใน

ความเชื่อกรรมและผลของกรรมว่า ชื่อว่าผู้ให้ทานควรเชื่อกรรมและผลแห่ง

กรรมแล้ว พึงให้ดังนี้ ตนเองบรรเทาความไม่ยินดี แล้วยังฌานและอภิญญา

ให้เกิดครั้นสิ้นอายุก็ไปเกิดในพรหมโลก.

มัณฑัพยะในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์เถระในครั้งนี้. ภริยาของ

มัณฑัพยะนั้นคือ นางวิสาขา. บุตรคือพระราหุลเถระ. อาณิมัณฑัพยะ คือ

พระสารีบุตรเถระ. กัณหทีปายนะ คือพระโลกนาถ.

ในจริยานี้ พึงเจาะจงกล่าวถึงสัจบารมี และบารมีที่เหลือของพระ-

มหาสัตว์นั้นซึ่งท่านยกขึ้นไว้ในบาลีโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง. อนึ่ง

พึงประกาศคุณานุภาพมีการบริจาคมหาโภคสมบัติจนหมดสิ้น. ด้วยประการ

ฉะนี้.

จบ อรรถกถากัณหทีปายนจริยาที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 507

๑๒. สุตโสมจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าสุตโสม

[๓๒] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระเจ้า

แผ่นดินพระนามว่า สุตโสม ถูกพระเจ้า

โปริสาทจับไปได้ ระลึกถึงคำผิดเพี้ยนไว้กะ

พราหมณ์ พระยาโปริสาทเอาเชือกร้อยฝ่ามือ

กษัตริย์ ๑๐๑ ไว้แล้ว ทำกษัตริย์เหล่านั้นให้

ได้รับความลำบาก นำเราไปด้วยเพื่อต้องการ

ทำพลีกรรม พระยาโปริสาทได้ถามเราว่า ท่าน

ปรารถนาจะให้ปล่อยหรือ เราจักทำตามชอบ

ใจของท่าน ถ้าท่านจะกลับมาสู่สำนักเรา เรา

รับคำพระยาโปริสาทนั้นว่า จะกล่าวใย ถึง

การมาของเรา แล้วเข้าไปยังพระนครอันรื่นรมย์

มอบราชสมบัติแล้วในกาลนั้น เพราะเราระลึก

ถึงธรรมของสัตบุรุษ เป็นของเก่า อันพระ-

พุทธเจ้า เป็นต้นเสพแล้ว ให้ทรัพย์แก่

พราหมณ์แล้ว จึงเข้าไปหาพระยาโปริสาท ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 508

การมาในสำนักพระยาโปริสาทนั้น เราไม่มี

ความสงสัยว่า จักฆ่าหรือไม่ เราตามรักษา

สัจวาจายอมสละชีวิตเข้าไปหาพระยาโปริสาทผู้

เสมอด้วยความสัตย์ของเราไม่มี นี้เป็นสัจ

บารมีของเรา ฉะนี้แล.

จบ สุตโสมจริยาที่ ๑๒

อรรถกถามหาสุตโสมจริยาที่ ๑๒

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถามหาสุตโสมจริยาที่ ๑๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สุตโสโม มหีปติ คือเป็นกษัตริย์ พระนามว่า สุตโสมะ.

ได้ยินว่า ในกาลนั้นพระมหาสัตว์ทรงอุบัติในพระครรภ์ของ

พระอัครมเหสีของพระเจ้าโกรัพยะ ในกรุงอินทปัตถะแคว้นกุรุ. พระมารดา

พระบิดาทรงขนานพระนาม พระกุมารว่า สุตโสมะ เพราะปลื้มใจด้วย

การฟัง และเพราะมีพระฉวีเปล่งปลั่งเสมอดุจพระจันทร์. ครั้นพระกุมาร

สุตโสมทรงเจริญวัยสำเร็จศิลปะทุกแขนง พระมารดาพระบิดาทรงอภิเษก

ไว้ในราชสมบัติ. บทว่า คหิโต โปริสาเทน ความว่า ถูกพระราชากรุง

พาราณสี พระนามว่า โปริสาท เพราะเคี้ยวกินพวกมนุษย์ จับไปเพื่อ

ทำพลีกรรมเทวดา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 509

พระเจ้าพาราณสีเว้นเนื้อแล้วก็ไม่เสวย คนทำอาหารเมื่อไม่ได้

เนื้ออื่น ก็ทำเนื้อมนุษย์ให้เสวย ทรงติดในรส รับสั่งให้ฆ่ามนุษย์ แล้ว

เสวยเนื้อมนุษย์ จึงมีพระนามว่า โปรสาท พวกชาวพระนคร ชาวนิคม

ชาวชนบท มีอำมาตย์ราชบริษัทเป็นหัวหน้า และกาฬหัตถีเสนาบดีของ

พระองค์ พากันไปทูลว่า ข้าแต่เทวะ หากพระองค์ยังทรงต้องการราชสมบัติอยู่

ขอได้ทรงเว้นจากการเสวยเนื้อมนุษย์เสียเถิด ตรัสว่า แม้เราสละราชสมบัติ

ก็จะไม่เว้นการกินเนื้อมนุษย์ จึงถูกชนเหล่านั้นขับไล่ออกจากเเว่นแคว้น

เข้าป่าอาศัยอยู่ ณ โคนต้นไทรต้นหนึ่ง เพื่อรักษาแผลที่เท้าเพราะถูก

ตอตำ จึงทำการบวงสรวงเทวดาว่า ข้าพเจ้าจะเอาโลหิตที่ลำคอของกษัตริย์

๑๐๑ ในชมพูทวีปทั้งสิ้น กระทำพลีกรรม. เมื่อแผลหายเป็นปกติ เพราะ

อดอาหารมา ๗ วัน สำคัญว่า เพราะอานุภาพของเทวดา เราจึงได้ความ

สวัสดี คิดว่า เราจักนำพระราชามาเพื่อพลีกรรมเทวดา จึงไปสมคบกับยักษ์

ซึ่งเคยเป็นสหายกันในอดีตภพ ด้วยกำลังมนต์ที่ยักษ์นั้นให้ไว้ จึงมีกำลัง

เรี่ยวแรงว่องไวยิ่งนัก นำพระราชา ๑๐๐ มาได้ภายใน ๗ วันเท่านั้น

แขวนไว้ที่ต้นไทรอันเป็นที่อยู่ของตน เตรียมทำพลีกรรม.

ลำดับนั้น เทวดาที่สิงสถิตอยู่ ณ ต้นไม้นั้น ใช่ปรารถนาพลีกรรม

นั้น คิดว่า เราจะหาอุบายห้ามพระยาโปริสาทนั้น จึงมาในรูปของนักบวช

แสดงตนให้เห็น พระยาโปริสาทติดตามไป สิ้นทาง ๓ โยชน์ แล้วจึงแสดง

รูปทิพย์ของตนให้ปรากฏ กล่าวว่า ท่านพูดเท็จ ท่านบนไว้ว่า จักนำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 510

พระราชาในสกลชมพูทวีปมาทำพลีกรรม. บัดนี้ ท่านนำพระราชากระจอก ๆ

มา. หากท่านไม่นำพระเจ้าสุตโสมผู้ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีปมา. เราไม่ต้องการ

พลีกรรมของท่าน.

พระยาโปริสาท ดีใจว่า เราได้เห็นเทวดาของตนแล้ว จึงกล่าวว่า

ข้าแต่เทพเจ้า อย่าวิตกเลย ข้าพเจ้าจักนำสุตโสมมาในวันนี้แหละ. จึงรีบ

ไปยังสวนสัตว์ซึ่งมีเนื้อและเสือเหลือง เมื่อยังไม่จัดการอารักขา จึงหยั่งลง

สระโบกขรณียืนเอาใบบัวคลุมศีรษะ. เมื่อพระยาโปริสาทไปภายในพระ-

ราชอุทยานนั้นแล ตอนใกล้รุ่งพวกราชบุรุษจัดการอารักขา สิ้น ๓ โยชน์

โดยรอบ. พระมหาสัตว์เสด็จประทับบนคอคชสารที่ตกแต่งแล้ว เสด็จออก

จากพระนครพร้อมด้วยเสนา ๔ เหล่า แต่เช้าตรู่. ในกาลนั้น นันทพราหมณ์

จากเมืองตักกศิลา ถือเอาสตารหคาถา ๔ บท เดินทางไปประมาณ ๑๒๐

โยชน์ ถึงพระนครนั้น เห็นพระราชาเสด็จออกทางประตูด้านตะวันออก

จึงยกมือ ทูลว่า ขอพระมหาราชจงทรงพระเจริญ แล้วถวายพระพร.

พระราชาทรงไสช้างเข้าไปหาพราหมณ์นั้น ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์

ท่านมาแต่ไหน ? ปรารถนาอะไร ? ควรให้อะไรแก่ท่าน. พราหมณ์ได้ยินว่า

พระองค์เป็นผู้ปลื้มใจในการฟัง จึงทูลว่า ข้าพระองค์รับสตารหคาถา ๔ บท

มาเพื่อแสดงถวายแด่พระองค์. พระมหาสัตว์ทรงดีพระทัย ตรัสว่า เราไป

อุทยานอาบน้ำ แล้วจะมาฟัง. ท่านอย่าเบื่อเลย แล้วมีรับสั่งว่า พวกท่าน

จงไปจัดที่อยู่ ณ เรือนหลังโน้น และอาหารเครื่องนุ่งห่มให้แก่พราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 511

แล้วเสด็จไปพระราชอุทยาน จัดอารักขาอย่างใหญ่โต ทรงเปลื้องเครื่อง

อาภรณ์อันโอฬาร ทรงแต่งพระมัสสุ ทรงฟอกพระวรกาย ทรงสรงสนาน

ณ สระโบกขรณี แล้วเสด็จขึ้น ทรงประทับยืนนุ่งผ้าสาฎกชุ่มด้วยน้ำ.

ลำดับนั้น พวกเครื่องต้นนำของหอมดอกไม้และเครื่องประดับ เข้า

ไปถวายพระราชา. พระยาโปริสาท คิดว่า ในเวลาแต่งพระองค์ พระราชา

จักหนักเกินไป. เราจักจับพระราชาในตอนที่ยังเบา จึงแผดเสียงแกว่ง

พระขรรค์ ประกาศชื่อว่า เราโปริสาท แล้วโผล่ขึ้นจากน้ำ. ควาญช้าง

เป็นต้น ได้ยินเสียงของพระยาโปริสาทนั้น ก็ตกจากช้างเป็นต้น. หมู่ทหาร

ที่ยืนอยู่ไกลก็หนีไปจากนั้น. ที่อยู่ใกล้ก็ทิ้งอาวุธของตนนอนหมอบ.

พระยาโปริสาท อุ้มพระราชาประโยคทับนั่งที่คอ กระโดดข้ามกำแพงสูง ๑๘ ศอก

ไปต่อหน้า เหยียบกระพองช้างตกมันซึ่งแล่นไปข้างหน้า ให้ล้มลงดุจ

ยอดเขาล้ม เหยียบหลังม้าแก้วซึ่งวิ่งเร็วให้ล้ม เหยียบงอนรถให้ล้มลง ดุจ

หมุนลูกข่าง ดุจขยี้ใบต้นไทรสีเขียว ไปสิ้นทาง ๓ โยชน์ด้วยความเร็ว

แพล็บเดียวเท่านั้น ไม่เห็นใครติดตาม จึงค่อย ๆ ไป หยาดน้ำบนพระเกศา

ของพระเจ้าสุตโสมหล่นลงบนตน สำคัญว่า หยาดน้ำตา จึงกล่าวว่า

นี่อะไรกัน แม้สุตโสมยังทรงกันแสงเศร้าโศกถึงความตายเลย.

พระมหาสัตว์ ตรัสว่า เราไม่ได้เศร้าโศกถึงความตายดอก. ร้องไห้

ที่ไหนกัน. แต่ธรรมดาการถือความสัตย์ เพราะทำการผัดเพี้ยนเป็นข้อ

ปฏิบัติของบัณฑิตทั้งหลาย. เราเศร้าโศกถึงว่า นั่นยังไม่สำเร็จต่างหาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 512

เราทำอาคันตุกวัตรแก่พราหมณ์ผู้รับสตารหคาถา ๔ บท ที่พระทศพล พระ

นามว่า กัสสปะ ทรงแสดงไว้ แล้วผัดว่า เราอาบน้ำแล้วจักมาฟัง. ท่าน

รอจนกว่าเราจะมา แล้วไปพระราชอุทยาน และท่านไม่ให้ฟังคาถาเหล่านั้น

จับเรามา. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เราถูกพระยาโปริสาทจับไปได้ ระลึกถึง

คำผัดเพี้ยนไว้กะพราหมณ์. พระยาโปริสาท

เอาเชือกร้อยฝ่ามือกษัตริย์ ๑๐๑ ไว้แล้ว ทำ

กษัตริย์เหล่านั้นให้ได้รับความลำบาก. นำเรา

ไปด้วย เพื่อต้องการทำพลีกรรม.

ในบทเหล่านั้น บทว่า พฺราหฺมเณ สงฺคร สรึ คือระลึกถึงคำปฏิญญา

ที่ตนทำไว้กะนันทพราหมณ์. บทว่า อาวุณิตฺวา กรตฺตเล ร้อยฝ่ามือ

คือพระยาโปริสาท เจาะฝ่ามือของกษัตริย์ ๑๐๑ ที่ไปในพระราชอุทยาน

เป็นต้นนั้น ๆ แล้วนำมาด้วยกำลังของตน แล้วร้อยเชือกเพื่อแขวนไว้ที่

ต้นไม้. บทว่า เอเตส ปมิลาเปตฺวา ความว่า พระยาโปริสาทจับเป็นกษัตริย์

๑๐๑ เหล่านั้น เอาพระบาทขึ้น พระเศียรลง ประการพระเศียรด้วยส้นเท้า

เอาเชือกร้อยที่ฝ่ามือด้วยการหมุน ให้ได้รับความลำบาก ให้ซูบซีด ให้

เดือดร้อนด้วยประการทั้งปวง ด้วยการแขวนไว้ที่ต้นไม้ และด้วยการตัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 513

อาหารทุกชนิด. บทว่า ยญฺตฺเถ คือเพื่อต้องการทำพลีกรรม ได้แก่

ให้เกิดผลสำเร็จ. บทว่า อุปนยี มม คือนำเราไปด้วย.

พระยาโปริสาทนำพระมหาสัตว์ไปอย่างนั้น จึงถามว่า ท่านกลัว

ความตายหรือ. พระมหาสัตว์ตรัสว่า เราไม่กลัวตาย. แต่เราเศร้าโศกถึงว่า

เราได้ผัดเพี้ยนพราหมณ์นั้นไว้ ยังไม่ได้ปลดเปลื้องเลย. หากท่านปล่อยเรา.

เราฟังธรรมนั้น และทำสักการะสัมมานะแก่พราหมณ์นั้น แล้วจักกลับมา

อีก. พระยาโปริสาทกล่าวว่า เราไม่เชื่อว่าเราปล่อยท่านไป แล้วท่านจักมา

สู่เงื้อมมือเราอีก. พระมหาสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนสหาย โปริสาท ท่านกับเรา

เป็นสหายศึกษาในสำนักอาจารย์เดียวกัน ไม่เชื่อหรือว่า เราไม่พูดปด

แม้เพราะเหตุของชีวิต.

เมื่อพระมหาสัตว์ตรัสคาถานี้ว่า :-

เราลูบคลำคาบและหอก โดยเพียงคำพูด

นี้ ของเราโดยแท้. ดูก่อนสหาย เราขอสาบาน

กับท่านว่า เมื่อเราพ้นไปจากท่าน หมดหนี้

แล้ว รักษาความสัตย์ จักกลับมาอีก.

โปริสาทคิดว่า สุตโสมนี้กล่าวว่า เราขอสาบาน ซึ่งกษัตริย์ไม่

ควรทำ. แม้สุตโสมไปแล้วไม่กลับ ก็จักไม่พ้นจากมือเราไปได้ จึงปล่อยไป

ด้วยกล่าวว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 514

ความผัดเพี้ยนใด อันท่านผู้ตั้งอยู่ใน

ความเป็นอิสระในแคว้นของตน ได้ทำไว้กับ

พราหมณ์ ดูก่อนพราหมณ์ ท่านปฏิบัติความ

ผัดเพี้ยนนั้นแล้ว เป็นผู้รักษาความสัตย์ จง

กลับมาอีก.

พระมหาสัตว์มีกำลังดุจช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง เสด็จถึง

พระนครนั้นเร็วพลันดุจพระจันทร์พ้นจากปากราหู ฉะนั้น. แม้เสนาของ

พระองค์ก็คิดว่า พระเจ้าสุตโสมเป็นบัณฑิตจักทรมานพระยาโปริสาท แล้ว

รีบกลับมาดุจช้างตกมัน จึงพักอยู่นอกพระนคร เพราะเกรงครหาว่า ให้

พระราชาแก่โปริสาท แล้วพากันกลับ ครั้นเห็นพระมหาสัตว์เสด็จมาแต่

ไกล จึงลุกขึ้นต้อนรับถวายบังคม กระทำปฏิสันถารว่า ช้าแต่มหาราช

โปริสาททำพระองค์ให้ลำบากบ้างหรือ ตรัสว่า กรรมที่แม้พระมารดาพระ-

บิดาของเราทำได้ยาก โปริสาทก็ได้ทำแล้ว. พระจันทร์ว่องไวถึงปานนั้น

ยังเชื่อเรา แล้วปล่อยเรา จึงตกแต่งพระราชาให้ประทับบนคอคชสาร

แวดล้อมเข้าพระนคร. ชาวพระนครทั้งหมดเห็นพระมหาสัตว์ แล้วต่าง

พากันยินดี.

แม้พระมหาสัตว์ เพราะพระองค์สนพระทัยในธรรม จึงไม่เข้าเฝ้า

พระมารดาพระบิดา เสด็จไปยังพระตำหนัก ตรัสเรียกหาพราหมณ์ ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 515

กระทำสักการะสัมมานะใหญ่โตแก่พราหมณ์นั้น เพราะพระองค์ทรงหนัก

ในธรรม พระองค์เองประทับนั่งบนอาสนะที่ต่ำ แล้วตรัสว่า ท่านอาจารย์

ข้าพเจ้าจะฟังสตารหคาถา ที่ท่านนำมาเพื่อเรา. พราหมณ์ในเวลาที่พระ-

มหาสัตว์ทรงขอร้อง จึงเอาน้ำหอมพอกมือ แล้วนำคัมภีร์เป็นที่พอใจออก

จากถุง จับด้วยมือทั้งสอง ทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอได้โปรดฟังเถิด

พระเจ้าข้า เมื่อจะอ่านคัมภีร์ จึงได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า :-

ข้าแต่พระเจ้าสุตโสม การสมาคมกับ

สัตบุรุษ แม้คราวเดียวเท่านั้น การสมาคมนั้น

ย่อมรักษาผู้นั้น การสมาคมมากกับอสัตบุรุษ

ย่อมรักษาไม่ได้ ควรสมาคมกับสัตบุรุษเท่า

นั้น ไม่ควรทำความคุ้นเคยกับอสัตบุรุษ รู้

สัทธรรมของสัตบุรุษประเสริฐกว่า ไม่ลามก

เลย.

ราชรถวิจิตรงดงามยังคร่ำคร่าได้ อนึ่ง

แม้ร่างกายก็เข้าถึงความคร่ำคร่า แต่ธรรมของ

สัตบุรุษ ไม่ถึงความคร่ำคร่า สัตบุรุษแล ย่อม

ประกาศด้วยสัตบุรุษ ข้าแต่ราชา ฟ้าและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 516

แผ่นดินไกลกัน ฝังข้างโน้นของมหาสมุทร

เขาก็ว่าไกลกัน ธรรมของสัตบุรุษและธรรม

ของอสัตบุรุษบัณฑิตทั้งหลาย กล่าวว่า ไกล

กว่านั้น.

พระมหาสัตว์ทรงสดับดังนั้นแล้ว มีพระทัยยินดีว่า การมาของเรา

มีผล ทรงดำริว่า คาถาเหล่านี้ ไม่ใช่สาวกกล่าว ไม่ใช่ฤาษีกล่าว ไม่ใช่

กวีกล่าว ไม่ใช่เทวดากล่าว แต่พระสัพพัญญูนั่นแลกล่าวไว้. จะมีค่า

อย่างไรหนอ ? ทรงดำริต่อไปว่า แม้เราจะทำจักรวาลทั้งสิ้นนี้ จนถึง

พรหมโลก ให้เต็มด้วยรตนะ ๗ ประการ แล้วให้ยังเป็นการทำอันไม่

สมควร. แต่เราพอที่จะให้ราชสมบัติ ในแคว้นกุรุประมาณ ๓๐๐ โยชน์

ในอินทปัตถนครประมาณ ๗ โยชน์ แก่พราหมณ์นั้นได้. แต่พราหมณ์นั้น

ไม่มีส่วนที่จะครองราชสมบัติได้. เป็นความจริง ความเป็นผู้มีอานุภาพน้อย

ปรากฏแก่พราหมณ์นั้น โดยมองดูลักษณะของอวัยวะ. เพราะฉะนั้น แม้

ให้ราชสมบัติไป ก็ไม่ดำรงอยู่ได้ในพราหมณ์นี้ จึงตรัสถามว่า ท่านอาจารย์

ท่านแสดงคาถาเหล่านี้แก่กษัตริย์ทั้งหลายเหล่าอื่น แล้วได้อะไร. ทูลว่า

ข้าแต่มหาราชได้คาถาละร้อย ๆ. ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า สตารหคาถา.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสแก่พราหมณ์นั้นว่า ท่านอาจารย์ ท่านรับด้วย

ตนเองยังไม่รู้ค่าของสินค้าที่เที่ยวไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 517

ท่านพราหมณ์ คาถาเหล่านี้มีค่า ๑,๐๐๐

มิใช่มีค่า ๑๐๐. ท่านจงรีบรับทรัพย์ ๔,๐๐๐

ไปเถิด.

พระมหาสัตว์ทรงให้ทรัพย์ ๔,๐๐๐ และยานน้อยเป็นสุข ๑ คัน

ส่งพราหมณ์นั้นไปด้วยสักการะและสัมมานะอันยิ่งใหญ่ ถวายบังคมพระ-

มารดาพระบิดา แล้วทูลว่า หม่อมฉันได้ให้ปฏิญญาไว้แก่โปริสาทว่า เรา

บูชาพระสัทธรรมรัตนะที่พราหมณ์นำมาแล้ว และทำสักการะและสัมมานะ

แก่พราหมณ์นั้นแล้ว จะกลับมา จึงมาได้. สิ่งที่ควรทำควรปฏิบัติแก่

พราหมณ์ในข้อนั้น ได้ทำเสร็จแล้ว บัดนี้ หม่อมฉันจักไปหาโปริสาท.

พระมารดาพระบิดาทรงขอร้องว่า พ่อสุตโสม ลูกพูดอะไรอย่างนั้น. เรา

จะจับโจรด้วยทหาร ๔ เหล่า. อย่าไปหาโจรเลยลูก. หญิงฟ้อน ๑๖,๐๐๐

แม้บริวารชนที่เหลือต่างก็พากันร่ำไห้ว่า ข้าแต่เทวะ พระองค์ทำให้พวก

หม่อมฉันไร้ที่พึ่ง แล้วจะเสด็จไปไหน. ได้เกิดโกลาหลขึ้นอีกครั้งว่า ได้

ยินว่า พระราชาจะเสด็จไปหาโจรอีก.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า ธรรมดาการทำตามคำสัตย์ปฏิญญาเป็นหลัก

ปฏิบัติของสาธุสัตบุรุษทั้งหลาย. แม้โปริสาทนั้นก็ยังเธอเรา แล้วปล่อย

ออกมา. เพราะฉะนั้น เราจักไปละ ถวายบังคมพระมารดาพระบิดา แล้ว

ทรงสั่งสอนชนที่เหลือ นางสนมกำนัลในเป็นต้น มีน้ำตานองหน้า ร่ำไห้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 518

มีประการต่าง ๆ ตามส่งเสด็จออกจากพระนคร ทรงเอาไม้ขีดขวางทาง เพื่อ

ให้ชนพากันกลับ ตรัสว่า ชนทั้งหลายอย่าล่วงเลยเส้นขีดของเรานี้ แล้ว

ได้เสด็จไป. มหาชนไม่อาจละเมิดพระดำรัสของพระมหาสัตว์ผู้ทรงเดชได้

จึงคร่ำครวญกันแสงไห้ด้วยเสียงดัง แล้วพากันกลับ. ดังที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

อปุจฺฉิ ม โปริสาโท ฯ ล ฯ เอสา เม สจฺจปารมี

คำแปลปรากฏแล้วในบาลี แปลข้างต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กึ ตฺว อิจฺฉสิ นิสชฺช คือ ท่านปรารถนา

จะให้ปล่อยจากเงื้อมมือของเราไปนครของตนหรือ ? ท่านกล่าวว่า การพูด

คำสัตย์ อันเราสะสมมานานแล้วในเมืองตักกศิลาเป็นต้น เพราะฉะนั้น

เราจักทำตามใจชอบของท่าน คือ ทำตามชอบใจของท่าน. บทว่า ยทิ เม

ตฺว ปุเนหิสิ คือ หากท่านจักกลับมาหาเราอีกโดยแน่นอน. บทว่า ปญฺเห

อาคมน มม คือ เรารับการมาของเราแก่โปริสาทนั้น แล้วทำสัญญาว่า

จักมาแต่เช้าตรู่ทีเดียว. บทว่า รชฺช นิยฺยาทยึ ตทา ความว่า ในกาลนั้น

เราประสงค์จะไปหาโปริสาท จึงมอบราชสมบัติ ประมาณ ๓๐๐ โยชน์

แก่พระมารดาพระบิดาว่า ขอพระองค์ทรงปกครองราชสมบัติของพระองค์

เถิด เพราะเหตุไร เราจึงมอบราชสมบัติ ? เพราะระลึกถึงธรรมสัตบุรุษ.

เพราะธรรมดาการทำตามคำสัตย์ปฏิญญา เป็นประเพณี เป็นวงศ์ตระกูล

ของพระมหาโพธิสัตว์ผู้เป็นสัตบุรุษ คือเป็นคนดี. ฉะนั้น เราจึงระลึกถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 519

ธรรม คือสัจจบารมีนั้น อันเป็นของเก่ามีมาก่อน อันพระชินะทั้งหลาย

มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงเสพแล้ว เมื่อจะตามรักษาความสัตย์ จึงให้

ทรัพย์แก่พราหมณ์นั้น สละชีวิตของตนเข้าไปหาโปริสาท. บทว่า นตฺถิ

เม สสโย ตตฺถ ความว่า ในกาลไปหาโปริสาทนั้น เราไม่มีความสงสัย

ว่า โปริสาทนี้จักฆ่าเรา หรือไม่หนอ ? เรารู้อยู่ว่า โปริสาทนั้นดุร้ายป่าเถื่อน

เตรียมฆ่ากษัตริย์ ๑๐๐ กับเรา ทำพลีกรรมแก่เทวดา จักฆ่าท่าเดียว จึง

ตามรักษาสัจวาจาอย่างเดียว สละชีวิตของตนเข้าไปหาโปริสาทนั้น เพราะ

เรื่องเป็นอย่างนี้แหละ ฉะนั้น ผู้เสมอด้วยสัจจะของเราจึงไม่มี. นี้เป็น

สัจบารมี ถึงความเป็นปรมัตถบารมีของเรา ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง เมื่อพระมหาสัตว์เข้าไปหา โปริสาท แล้วเห็นพระพักตร์ของ

พระมหาสัตว์นั้น มีสง่าดุจกลีบบัวแย้ม จึงคิดว่า พระเจ้าสุตโสมนี้ ไม่

กลัวตาย จึงมา. นี้เป็นอานุภาพของอะไรหนอ ? จึงสันนิษฐานว่า พระเจ้า.

สุตโสมนี้ เป็นผู้มีเดชและไม่กลัวตายอย่างนี้ เห็นจะเป็นเพราะฟังธรรม

นั้นกระมัง. แม้เราฟังธรรมนั้นแล้ว ก็จักเป็นผู้มีเดชและไม่กลัวตายเหมือน

กัน จึงกล่าวกะพระมหาสัตว์ว่า ข้าพเจ้าขอฟังสตารหคาถาที่ท่านไปพระนคร

ของตนเพื่อจะฟัง.

พระโพธิสัตว์ทรงสดับดังนั้น ทรงดำริว่า โปริสาทนี้ มีธรรมลามก

เราจักข่มให้ละอายเสียหน่อยหนึ่ง แล้วจึงจักกล่าว จึงตรัสว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 520

สัจจะย่อมไม่มี แก่ผู้ไม่มีธรรม ผู้

หยาบคาย ผู้มีฝ่ามือเต็มไปด้วยเลือดเป็นนิจ

ธรรมจะมีได้แต่ไหน. ท่านจะฟังไปทำไม.

เมื่อโปริสาทเกิดความตั้งใจจะฟังด้วยดี จึงตรัสว่า :-

ชนทั้งหลายฟังธรรมแล้ว ย่อมรู้ดีและ

ชั่ว อนึ่ง ใจของเรายินดีในธรรม ก็เพราะ

ฟังคาถาทั้งหลาย ดังนี้.

พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า โปริสาทนี้ เกิดความสนใจใคร่จะฟังอย่างยิ่ง

เอาเถิดเราจักกล่าวคาถาแก่เขา จึงตรัสว่า สหาย ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟังให้ดี

จงใส่ไว้ในใจ แล้วทรงสดุดีคาถาทั้งหลาย ทำนองเดียวกับที่นันทพราหมณ์

กล่าวโดยเคารพ เกิดโกลาหลเป็นอันเดียวกันในสวรรค์ชั้นกามาวจร ๖ ชั้น

เมื่อทวยเทพซ้องสาธุการ พระมหาสัตว์ จึงทรงแสดงธรรมแก่โปริสาท

ว่า :-

มหาราช การสมาคมกับสัตบุรุษคราว

เดียวเท่านั้น การสมาคมนั้นย่อมรักษาผู้นั้น

การสมาคมกับอสัตบุรุษมาก ย่อมไม่รักษา

ฯลฯ ธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัต-

บุรุษ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า ไกลกว่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 521

เมื่อโปริสาทนั้น ฟังคาถาทั้งหลาย เพราะพระมหาสัตว์ตรัสดีแล้ว

และเพราะบุญญานุภาพของตน สกลกายจึงเต็มไปด้วยปีติมีองค์ ๕. โปริสาท

มีจิตอ่อนโยนในพระโพธิสัตว์กล่าวว่า สุตโสม ผู้สหายเราไม่เห็นเงิน

เป็นต้น ที่เป็นของควรให้. เราจักให้พรอย่างหนึ่ง ๆ ในคาถาหนึ่ง ๆ

มีสี่คาถา พรสี่ข้อ.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์รุกรานโปริสาทว่า ท่านไม่รู้ประโยชน์

แม้ของตน จักให้พรแก่ผู้อื่นได้อย่างไร ? ครั้นโปริสาทขอร้องอีกว่า ท่านจง

รับพรเถิด. พระมหาสัตว์ จึงขอพรข้อแรกว่า เราพึงเห็นโปริสาทไม่มีโรค

ตลอดกาลนาน. โปริสาทดีใจว่า พระเจ้าสุตโสมนี้ เมื่อเราประสงค์จะฆ่า

กินเนื้อในบัดนี้ ยังปรารถนาชีวิตของเราผู้ทำความมหาพินาศอีก ไม่รู้ว่า

ถูกลวงรับพร จึงได้ให้ไป. จริงอยู่พระมหาสัตว์ เพราะพระองค์เป็นผู้ฉลาด

ในอุบาย ทรงขอชีวิตของพระองค์ โดยอ้างใคร่ขอให้โปริสาทมีชีวิตอยู่

ตลอดกาลนาน. ต่อไป จึงตรัสขอพรข้อที่ ๒ ว่า ขอท่านจงให้ชีวิตแก่

กษัตริย์ทั้งหลายมากกว่า ๑๐๐. ขอให้ปล่อยกษัตริย์เหล่านั้นกลับแว่นแคว้น

ของตน เป็นพรข้อที่ ๓. ขอให้โปริสาทเว้นจากการกินเนื้อมนุษย์ เป็นพร

ข้อที่ ๔. โปริสาทให้พร ๓ ข้อ ประสงค์จะไม่ให้พรข้อที่ ๔ แม้กล่าวว่า

ท่านจงขอพรข้ออื่นเถิด ก็ถูกพระมหาสัตว์ทรงแค่นไค้ จึงได้ให้พรข้อที่ ๔

นั้นจนได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 522

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ทรงทำให้โปริสาทหมดพยศ จึงให้โปริสาท

ปล่อยพระราชาทั้งหลาย แล้วให้โปริสาทนอนลงบนพื้นดินค่อย ๆ ดึงเชือก

ออก ดุจดึงเส้นด้ายออกจากหูของพวกเด็ก ๆ ให้โปริสาทนำหนังมาแผ่นหนึ่ง

ถูกับหิน แล้วทรงทำสัจกิริยาทาที่ผ่าพระหัตถ์ของกษัตริย์เหล่านั้น. ความ

ผาสุกก็ได้มีในขณะนั้นเอง. พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ณ ที่นั้น ๒-๓ วัน

ทรงให้โปริสาทเยียวยากษัตริย์เหล่านั้นให้หายโรค แล้วให้ทำความสนิทสนม

ฉันมิตร มีความไม่ทำลายกันกับกษัตริย์เหล่านั้น แล้วทรงนำโปริสาทนั้น

ไปกรุงพาราณสี พร้อมด้วยกษัตริย์เหล่านั้น ให้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ ทรง

ประทานโอวาทว่า ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด แล้วทรงส่ง

พระราชาเหล่านั้นไปยังนครของตน ๆ ทรงแวดล้อมด้วยหมู่จาตุรงคเสนา

ของพระองค์ ซึ่งมาจากอินทปัตถนคร เสด็จกลับพระนครของพระองค์

ชนชาวพระนคร ต่างยินดีเบิกบานห้อมล้อม เสด็จเข้าภายในพระนคร

ถวายบังคมพระมารดาพระบิดา แล้วเสด็จขึ้นสู่พื้นใหญ่.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงให้สร้างศาลาทาน ๖ แห่ง ทรงบริจาค

มหาทานทุกวัน ทรงบำเพ็ญศีลรักษาอุโบสถ เพิ่มพูนบารมีทั้งหลาย. แม้

พระราชาเหล่านั้น ก็ทรงตั้งอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์ ทรงทำบุญมีทาน

เป็นต้น เมื่อสวรรคตก็เสด็จสู่สวรรค์.

พระยาโปริสาทในครั้งนั้น ได้เป็นพระองคุลิมาลเถระในครั้งนี้.

กาฬหัตถีอำมาตย์ คือ พระสารีบุตรเถระ. นันทพราหมณ์ คือ พระอานนท-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 523

เถระ. รุกขเทวดา คือ พระมหากัสสปเถระ. พระราชาทั้งหลาย คือ

พุทธบริษัท. พระมารดาพระบิดา คือ ตระกูลมหาราช. พระเจ้าสุตโสม-

มหาราช คือ พระโลกนาถ.

พึงเจาะจงกล่าว แม้บารมีที่เหลือของพระมหาสัตว์นั้น โดยนัยดัง

ได้กล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล. อนึ่ง พึงประกาศคุณานุภาพของพระมหา -

สัตว์ ดุจในอรรถกถาอลีนสัตตุจริยา ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสุตโสมจริยาที่ ๑๒

จบ สัจบารมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 524

๑๓. สุวรรณสามจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของสุวรรณสามดาบส

[๓๓] ในกาลเมื่อเราเป็นดาบส อันท้าวสักกะ

เชื้อเชิญมาอยู่ในป่า เรากับราชสีห์และเสือ-

โคร่งในป่าใหญ่ ต่างน้อมเมตตาเข้าหากัน

เราเข้าใกล้ราชสีห์และเสือโคร่งในป่าใหญ่ได้

ด้วยเมตตา เราแวดล้อมด้วยราชสีห์ เสือโคร่ง

เสือเหลือง หมี กระบือ กวางดาวและหมู

อยู่ในป่าใหญ่ สัตว์อะไร ๆ มิได้สะดุ้งกลัว

เรา แม้เราก็มิได้กลัวสัตว์อะไร ๆ เพราะเรา

อันกำลังเมตตาค้ำจุน จึงยินดีอยู่ในป่า ในกาล

นั้น ฉะนี้แล.

จบ สุวรรณสามจริยาที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 525

อรรถกถาสุวรรณสามจริยาที่ ๑๓

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาสุวรรณสามจริยาที่ ๑๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สาโม ยทา วเน อาสึ คือในครั้งเมื่อเราเป็นดาบสกุมาร ชื่อสามะ

อยู่ในป่าใหญ่ใกล้ฝั่งแม่น้ำ ชื่อว่า มิคสัมมตา ณ หิมวันตประเทศ. บทว่า

สกฺเกน อภินิมฺมิโต ความว่า อันท้าวสักกะเชื้อเชิญให้มาเกิด เพราะ

สมบัติสืบทอดมาเกิดแก่ท้าวสักกะจอมเทพ.

ในสุวรรณสามจริยานั้น มีเรื่องราวเป็นลำดับดังต่อไปนี้. ในครั้งอดีต

ได้มีบ้านพรานบ้านหนึ่งใกล้ฝั่งแม่น้ำไม่ไกลจากกรุงพาราณสี. ณ บ้านเป็น

มีบุตรของพรานหัวหน้า ชื่อว่า ทุกูละ. แม้ใกล้ฝั่งแม่น้ำนั้นก็ได้มีบ้าน

พรานอีกบ้านหนึ่ง. ณ บ้านนั้นมีลูกสาวของพรานหัวหน้า ชื่อว่า ปาริกา.

ทั้งสองนั้นเป็นสัตว์บริสุทธิ์มาจากพรหมโลก. เมื่อทั้งสองเจริญวัยทั้ง ๆ ที่ไม่

ปรารถนา แต่มารดาบิดาก็จัดการสมรสให้จนได้. ทั้งสองก็มิได้ก้าวลงสู่

สมุทรคือกิเลส คือไม่ร่วมประเวณี อยู่ร่วมกันดุจพวกพรหมฉะนั้น. ทั้ง

ไม่ทำกรรมของพรานด้วย.

ครั้งนั้น มารดาบิดากล่าวกะทุกูละว่า ลูกรักลูกไม่ทำกรรมของพราน

ลูกไม่ปรารถนาอยู่ครองเรือน ลูกจะทำอะไร ? ทุกูละกล่าวว่า เมื่อพ่อแม่

อนุญาต ลูกจะขอบวช. มารดาบิดากล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นลูกจงบวชเถิด. ชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 526

ทั้งสองจึงเข้าป่าหิมวันตประเทศ ไปถึงที่ที่แม่น้ำมิคสัมมตาไหลลงจากหิม-

วันตประเทศถึงแม่น้ำคงคา เลยแม่น้ำคงคามุ่งหน้าไปแม่น้ำมิคสัมมตา จึง

พากันขึ้น. ในกาลนั้น ภพของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน ท้าวสักกะทรง

ทราบเหตุนั้น จึงมีเทวบัญชาให้วิษณุกรรมไปสร้างอาศรม ณ ที่นั้น. ทั้งสอง

ไปถึงอาศรมนั้น แล้วบวชอาศัยอยู่เจริญเมตตาเป็นกามาวจร ณ อาศรมที่

ท้าวสักกะทรงประทาน แม้ท้าวสักกะก็เสด็จมาบำรุงสองสามีภริยานั้น.

วันหนึ่ง ท้าวสักกะทรงทราบว่า จักษุของสามีภริยาจักเสื่อม จึง

เสด็จเข้าไปหาแล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ จักษุของท่านทั้งสองจะได้รับอันตราย

ควรได้บุตรไว้ดูแล ข้าพเจ้าทราบว่าท่านทั้งสองมีใจบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น

ในขณะที่นางปาริพาชิกามีระดู พระคุณท่านเอามือลูบคลำท้องน้อย ด้วย

อาการอย่างนี้บุตรของท่านจักเกิด บุตรนั้นจักบำรุงท่านทั้งสอง ดังนี้แล้ว

เสด็จกลับ. ทุกูลบัณฑิตบอกเหตุนั้นแก่นางปาริกา ในขณะที่นางปาริกามี

ระดู จึงลูบคลำท้องน้อย. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์จุติจากเทวโลกถือปฏิสนธิ

ในครรภ์ของนางปาริกา. ครั้นล่วงไป ๑๐ เดือน นางปาริกาก็คลอดบุตรมี

ผิวพรรณดุจทองคำ จึงตั้งชื่อว่า สุวรรณสาม. มารดาบิดาเลี้ยงดูสุวรรณ-

สามนั้นเจริญมีอายุได้ ๑๖ ปี ให้สุวรรณสามนั่งในอาศรมตนเองไปหารากไม้

และผลาผลในป่า.

อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อฝนตกไม่ไกลจากอาศรมบท น้ำปนกลิ่นเหงื่อ

จากร่างกายของมารดาบิดา ซึ่งถือผลไม้ในป่าแล้วกลับเข้าไปยังโคนต้นไม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 527

ยืนอยู่บนยอดจอมปลวก หล่นลงยังดั้งจมูกของอสรพิษซึ่งอยู่ในปล่องจอม

ปลวกนั้น อสรพิษโกรธจัดจึงพ่นพิษออกมา ทั้งสองตาบอดร้องคร่ำครวญ.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ คิดว่า มารดาบิดาของเราช้าเหลือเกิน มารดาบิดา

จะเป็นอย่างไรหนอ ? จึงเดินสวนทางแล้วทำเสียง. มารดาบิดาจำเสียงของ

สุวรรณสามได้ จึงทำเสียงตอบรับ ด้วยความรักในบุตรจึงห้ามว่า พ่อสุวรรณ-

สามตรงนี้มีอันตราย อย่ามาเลยลูก แล้วตนเองก็มาพบตามกระแสเสียง.

สุวรรณสาม ถามว่า เพราะเหตุไร จักษุทั้งสองข้างจึงบอด ? พอมารดาบิดา

พูดว่าไม่รู้ชิลูก เมื่อฝนตกพ่อและแม่ก็ยืนอยู่บนยอดจอมปลวกใกล้ต้นไม้

ต่อจากนั้นก็มองไม่เห็นเลย เท่านั้นสุวรรณสามก็รู้ทันทีว่า ที่จอมปลวกนั้น

มีอสรพิษ มันคงโกรธจึงพ่นพิษใส่.

ลำดับนั้น สุวรรณสาม กล่าวว่า พ่อแม่อย่าคิดอะไรเลย ลูกจัก

บำรุงพ่อและแม่เอง แล้วนำมารดาบิดาไปอาศรม ผูกเชือกไว้ในที่ที่มารดา-

บิดาเดินไปมา มีที่พักกลางวัน และที่พักกลางคืนเป็นต้น. ตั้งแต่นั้นมา

สุวรรณสามจึงให้มารดาบิดาอยู่ในอาศรม นำรากไม้และผลาผลในป่ามาเลี้ยง

ดูมารดาบิดา ตอนเช้าตรู่ก็กวาดที่อยู่ น้ำของดื่มมาให้ ตั้งของบริโภคไหว้

ให้ไม้สีฟันและน้ำล้างหน้า แล้วให้ผลลาผลที่มีรสอร่อย. เมื่อมารดาบิดาบ้วน

ปากตนเองก็บริโภค ไหว้มารดาบิดาแล้วก็นั่งอยู่ใกล้ ๆ มารดาบิดานั่นเอง

ด้วยคิดว่า มารดาบิดาสั่งอะไรบ้าง และโดยพิเศษได้แผ่เมตตาไว้มาก ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 528

เหตุนั้นสัตว์ทั้งหลาย จึงไม่รบกวนสุวรรณสาม. พระโพธิสัตว์ไม่รบกวน

สัตว์ทั้งหลาย เหมือนอย่างที่สัตว์ทั้งหลายไม่รบกวนพระโพธิสัตว์ พระ-

โพธิสัตว์ทั้งไปทั้งมาสู่ป่า เพื่อผลาผลทุก ๆ วันอย่างนี้ จึงได้แวดล้อมไปด้วย

ฝูงเนื้อ. แม้สัตว์ที่เป็นศัตรูมีราชสีห์และเสือโคร่งเป็นต้น ก็คุ้นเคยเป็น

อย่างดียิ่งกับพระโพธิสัตว์. ก็ด้วยอานุภาพแห่งเมตตา สัตว์เดียรัจฉาน

ทั้งหลายได้ความเป็นผู้มีจิตอ่อนโยนต่อกันและกัน ในที่อยู่ของพระโพธิสัตว์

นั้น ด้วยประการฉะนี้ พระโพธิสัตว์นั้นด้วยอานุภาพแห่งเมตตาในที่ทั้งปวง

จึงเป็นผู้ไม่กลัว ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่มีเวร อยู่ดุจพรหม. ดังที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสไว้ว่า :-

เรากับราชสีห์และเสือโคร่งในป่าใหญ่ต่าง

น้อมเมตตาเข้าหากัน. เราแวดล้อมด้วยราชสีห์

เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี กระบือ กวาง

และหมู อยู่ในป่า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เมตฺตายมุปนามยึ ม อักษรเป็นบทสนธิ

อธิบายว่า แผ่เมตตาภาวนาไปในราชสีห์และเสือโคร่ง ซึ่งเป็นสัตว์ดุร้าย

จะกล่าวไปใยถึงสัตว์ที่เหลือ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เมตฺตาย เพราะเป็น

เหตุเป็นไปแห่งเมตตา ได้แก่ เมตตาภาวนา. เราน้อมเมตตาเข้าหากัน คือ

น้อมโดยไม่เจาะจงในสัตว์ทั้งหลาย ปาฐะว่า สีหพฺยคฺเฆหิ ดังนี้บ้าง. ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 529

ใช่เราเท่านั้น. โดยที่แท้ในกาลนั้น เราอยู่ในป่าใดกับราชสีห์และเสือโคร่ง

เราน้อมเมตตาในสัตว์ทั้งหลาย พร้อมกับราชสีห์และเสือโคร่งในป่านั้น

เพราะแม้ราชสีและเสือโคร่ง ในครั้งนั้นก็ได้รับตอบความเป็นผู้มีจิตเมตตา

ในสัตว์ทั้งหลาย ด้วยอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ไม่ต้องพูดถึงสัตว์นอกนั้นละ

ท่านแสดงไว้ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ปสทมิควราเหหิ คือกวางและหมูป่า. บทว่า ปริวาเรตฺวา

คือเราอยู่ในป่าทำให้สัตว์เหล่านั้นแวดล้อมตน.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงอานิสงส์และการบรรลุผล

ที่สุดที่ได้แล้ว ด้วยเมตตาภาวนาของพระองค์ในกาลนั้น จึงตรัสคาถาสุด-

ท้ายว่า :-

สัตว์อะไร ๆ มิได้สะดุ้งกลัวเรา แม้เรา

ก็มิได้กลัวสัตว์อะไร. เพราะเราอันกำลังเมตตา

ค้ำจุน จึงยินดีอยู่ในป่าในกาลนั้น.

บทนั้นมีความดังต่อไปนี้ สัตว์ไร ๆ แม้เป็นสัตว์ขี้ขลาดมีกระต่ายและ

แมวเป็นต้น ก็ไม่สะดุ้ง ไม่ตกใจกลัวเรา แม้เราก็มิได้กลัวแต่สัตว์อะไร ๆ

คือแต่สัตว์เดียรัจฉาน มีราชสีห์และเสือโคร่งเป็นต้น แต่อมนุษย์มียักษ์

เป็นต้น แต่มนุษย์หยาบช้ามีมือเต็มไปด้วยเลือด เพราะเหตุไร ? เพราะเรา

อันกำลังเมตตาค้ำจุน คืออนุอานุภาพเมตตาบารมีที่เราบำเพ็ญมาตลอด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 530

กาลนานค้ำจุน จึงยินดีอยู่ในป่าใหญ่นั้น ในกาลนั้น. บทที่เหลือเข้าใจง่าย

ดีแล้ว.

อนึ่ง พระมหาสัตว์แผ่เมตตาไปในสรรพสัตว์อย่างนี้ เลี้ยงดูมารดา-

บิดาเป็นอย่างดี วันหนึ่งจะนำผลาผลมีรสอร่อยมาจากป่า จึงไหว้มารดาบิดา

ซึ่งพักอยู่ที่อาศรม คิดว่า เราจักหาน้ำมา แวดล้อมด้วยฝูงเนื้อ ให้เนื้อสอง

ตัวมารวมกัน แล้ววางหม้อน้ำไว้บนหลังเนื้อทั้งสองเอามือคอยจับไว้ แล้ว

ไปท่าน้ำ.

ในสมัยนั้น พระราชาพระนามว่า กปิลยักษ์ครองราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี. พระองค์อยากเสวยเนื้อกวาง จึงมอบราชสมบัติไว้กะมารดา

สอดอาวุธทั้ง ๕ เสด็จเข้าป่าหิมพานต์ ล่ากวาง แล้วเสวยเนื้อ เสด็จเที่ยวไป

ถึงแม่น้ำมิคสัมมตา ถึงท่าที่สุวรรณสามไปเอาน้ำ โดยลำดับ ทรงเห็นรอย

เท้ากวางจึงเสด็จตามไป ทรงเห็นสุวรรณสามเดินไป ทรงดำริว่า ตลอดกาล

เพียงเท่านี้เรายินไม่เคยเห็นมนุษย์เที่ยวไปอย่างนี้เลย มนุษย์ผู้นี้จะเป็น

เทวดาหรือนาคหนอ หากเราเข้าไปถาม ก็จะหนีไปทันที. ดังนั้นถ้ากระไร

เรายิงมนุษย์นั้นทำให้หมดกำลังแล้วพึงถาม ในขณะที่พระมหาสัตว์อาบน้ำ

นุ่งผ้าเปลือกไม้ กระทำหนังเสือเหลืองเฉวียงบ่า ตักน้ำเต็มหม้อน่าแล้วยก

ขึ้นตั้งไว้ที่จะงอยบ่าข้างซ้าย พระราชาทรงดำริว่า บัดนี้ได้เวลายิงแล้ว จึงยิง

พระมหาสัตว์ที่ข้างขวาด้วยลูกศรอาบยาพิษ ลูกศรทะลุออกข้างซ้าย ฝูงกวาง

รู้ว่าพระโพธิสัตว์ถูกยิง ต่างก็กลัวพากันหนีไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 531

ส่วนสามบัณฑิต แม้ถูกยิงแล้วก็มิได้ตระหนกตกใจ คงแบกหม้อน้ำ

อยู่อย่างนั้น ตั้งสติค่อยๆ ยกลง เกลี่ยทรายวางไว้ กำหนดทิศทางนอนหัน

ศีรษะไปทางทิศที่อยู่ของมารดาบิดา. บ้วนโลหิตออกจากปาก กล่าวว่า เรา

ไม่มีเวรกะใคร ๆ ชื่อว่า เวรในที่ไหน ๆ ก็ไม่มีแก่เรา แล้วกล่าวคาถานี้

ว่า :-

ใครหนอยิงเราผู้เผลอกำลังแบกน้ำ ด้วย

ลูกศร ใครเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์

ยิงเราแล้วแอบอยู่.

พระราชาครั้นสดับดังนั้น ทรงดำริว่า มนุษย์นี้แม้ถูกเรายิงจนล้มลง

บนแผ่นดิน ไม่ด่า ไม่บริภาษเรา ยังเรียกหาเราด้วยวาจาอ่อนหวานคล้าย

จะบีบเนื้อหัวใจเรา เราจะไปหาเขา จึงเสด็จเข้าไปประกาศพระองค์ และ

รับว่าพระองค์ยิง แล้วตรัสถามพระมหาสัตว์ว่า ท่านเป็นใคร ? หรือว่าเป็น

บุตรใคร ? สามบัณฑิตกล่าวว่า ข้าพเจ้าชื่อสามะเป็นบุตรของฤาษีเนสาท

ชื่อว่า ทุกูลบัณฑิต ก็ท่านยิงข้าพเจ้าทำไม ? พระราชาตรัสเท็จเป็นครั้งแรก

ว่า สำคัญว่ากวาง ทรงพลอยเศร้าโศกไปด้วยว่า เรายิงสามะนี้ผู้ไม่มีความ

ผิดโดยใช่เหตุ แล้วทรงบอกตามความจริง ตรัสถามถึงที่อยู่ของมารดาบิดา

ของสามบัณฑิต แล้วเสด็จไป ณ ที่นั้น แล้วทรงแจ้งพระองค์ แก่ดาบส-

ดาบสินี. มารดาบิดาของสามบัณฑิตได้ทำปฏิสันถาร ทรงบอกว่า เรายิงสามะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 532

เสียแล้ว. ทรงปลอบดาบสดาบสินีผู้ร่ำไห้เศร้าโศกว่า ข้าพเจ้าจะรับเลี้ยงดู

ท่านทั้งสองเช่นเดียวกับที่สุวรรณสามเลี้ยงดูท่านทุกอย่าง แล้วทรงนำไปหา

สามบัณฑิต. มารดาบิดาไปในที่นั้นแล้วพร่ำเพ้อรำพันมีประการต่าง ๆ แล้ว

คลำไปที่อกของสามบัณฑิต กล่าวว่า บนร่างกายบุตรของเรายังมีไออุ่นอยู่.

คงจะสลบไปเพราะกำลังของพิษ คิดว่า เราจักทำสัจกิริยา เพื่อให้พิษออก

ไป จึงตั้งสัตยาธิษฐานว่า :-

บุญอันใดที่พ่อสุวรรณสามทำแล้ว แก่

มารดาและบิดา ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้นทั้ง-

หมด ขอพิษจงหายไปเถิด.

ทุกูลบัณฑิต ผู้เป็นบิดาก็ตั้งสัตยาธิษฐานอย่างเดียวกับที่นางปาริกา

ดาบสินีอธิษฐาน เมื่อเทพธิดาทำสัจกิริยาว่า :-

เราอยู่ที่เขาคันธมาทน์มาเป็นเวลานาน เรา

ไม่รักใครยิ่งกว่าสามะนี้เลย. ด้วยความสัตย์

ขอให้พิษจงหายไป.

พระมหาสัตว์ก็ลุกขึ้นทันที ความเจ็บปวดก็หมดไป ดุจหยาดน้ำบน

ใบบัวฉะนั้น อวัยวะตรงที่ถูกยิงก็หายเป็นปกติ จักษุทั้งสองข้างของมารดา

บิดาก็ปรากฏเป็นปกติ ทันใดนั้นก็เกิดอัศจรรย์ ๔ อย่างขึ้นในขณะเดียวกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 533

คือ พระมหาสัตว์หายจากโรค ๑ มารดาบิดาได้จักษุ ๑ อรุณขึ้น ๑ คน

ทั้ง ๔ ปรากฏอยู่ ณ อาศรม ๑.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กระทำปฏิสันถารกับพระราชา แล้วแสดง

ธรรมถวาย โดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่มหาราชขอพระองค์ทรงประพฤติธรรม

เถิด แล้วถวายโอวาทให้ยิ่งขึ้นไป ได้ให้ศีล ๕. พระราชารับโอวาทของ

พระมหาสัตว์ด้วยพระเศียร ทรงไหว้แล้วเสด็จกลับกรุงพาราณสี ทรงทำบุญ

มีทานเป็นต้น แล้วได้ไปสู่สวรรค์. แม้พระโพธิสัตว์กับมารดาบิดาก็ยัง

อภิญญาและสมาบัติให้เกิด เมื่อสิ้นอายุก็ไปเกิดบนพรหมโลก

พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์เถระในครั้งนี้. เทพธิดา

คือนางอุบลวรรณา. ท้าวสักกะ คือพระอนุรุทะ. บิดาคือพระมหากัสสป-

เถระ. มารดา คือนางภัททกาปิลานี. สามบัณฑิต คือพระโลกนาถ.

พึงเจาะจงกล่าวบารมีที่เหลือของพระโพธิสัตว์นั้น โดยนัยดังได้กล่าว

แล้วในหนหลังนั่นแล.

อนึ่ง พึงประกาศคุณานุภาพมีอาทิอย่างนี้คือ การที่พระโพธิสัตว์แม้

ถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ โดยเข้าไปข้างขวาแล้วทะลุออกข้างซ้ายไม่แสดง

อาการเจ็บปวดแต่อย่างไร แล้วยังค่อย ๆ วางหม้อน้ำลงบนแผ่นดิน. ความ

ไม่มีวิการทางจิตในบุคคลผู้ฆ่า แม้ไม่รู้จักก็เหมือนรู้จัก. การเปล่งเสียงด้วย

คำน่ารัก. ความเศร้าโศกเพียงว่า เราเสื่อมจากบุญ คือการบำรุงมารดาบิดา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 534

เมื่อโรคหายยังตั้งความกรุณา และเมตตา แล้วแสดงธรรมถวายพระราชา.

การให้โอวาท

จบ อรรถกถาสุวรรณสามจริยาที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 535

๑๔. เอกราชจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าเอกราช

[๓๔] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระราชา

ปรากฏพระนามว่าเอกราช ในกาลนั้น เรา

อธิษฐานศีลอันบริสุทธิ์ยิ่ง ปกครองแผ่นดิน

ใหญ่ สมาทานกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ

ประพฤติโดยไม่มีเศษ สงเคราะห์มหาชน

ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ เมื่อเราเป็นผู้ไม่

ประมาทในประโยชน์โลกนี้และโลกหน้าด้วย

อาหารอย่างนี้ พระเจ้าโกศลพระนามว่า

ทัพพเสนะ ยกกองทัพมาซึ่งเอาพระนครเรา

ได้ ทรงทำข้าราชการ ชาวนิคม พร้อมด้วย

ทหาร ชาวชนบท ให้อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์

ทั้งหมดแล้ว ตรัสสั่งให้ฝังเราเสียในหลุม เรา

เห็นพระเจ้าทัพพเสนะกับหมู่อำมาตย์ ชิงเอา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 536

ราชสมบัติอันมั่งคั่งภายในพระนครของเรา

เหมือนบุตรสุดที่รัก ฉะนั้น ผู้เสมอด้วย

เมตตาของเราไม่มี นี้เป็นเมตตาบารมีของเรา

ฉะนี้แล.

จบ เอกราชจริยาที่ ๑๔

อรรถกถาเอกราชจริยาที่ ๑๔

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาเอกราชจริยาที่ ๑๔ ดังต่อไปนี้. บทว่า

เอกราชาติ วิสฺสุโต คือปรากฏในพื้นชมพูทวีปโดยพระนามที่กำหนดไว้

นี้ว่า เอกราช.

ในครั้งนั้น พระมหาสัตว์ทรงอุบัติเป็นโอรสพระเจ้ากรุงพาราณสี.

ครั้นทรงเจริญวัยถึงความสำเร็จศิลปะทุกแขนง ครั้นพระบิดาสวรรคต จึง

ครองราชสมบัติมีพระนามประกาศว่า เอกราช เพราะทรงบำเพ็ญบารมี

ด้วยการประกอบคุณวิเศษอันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่นมีศีลอาจาระ ศรัทธาและสุตะ

อันเป็นกุศลเป็นต้น และด้วยความเป็นหัวหน้าเพราะไม่มีใครเป็นที่สองใน

พื้นชมพูทวีป. บทว่า ปรม สีล อธิฏฺาย คืออธิษฐานศีล อันได้แก่

กุศลกรรมบถ ๑๐ อันบริสุทธิ์สูงสุด กล่าวคือสำรวมทางกาย ทางวาจา

บริสุทธิ์ด้วยดี และประพฤติชอบทางใจบริสุทธิ์ด้วยดี ด้วยการสมาทานและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 537

ด้วยการไม่ก้าวล่วง. บทว่า ปสาสามิ มหามหึ ความว่า ปกครองแผ่นดิน

ใหญ่ คือครองราชสมบัติในแคว้นกาสีประมาณ ๓๐๐ โยชน์.

บทว่า ทสภุสลกมฺมปเถ คือสมาทานกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ

มีการเว้นจากการฆ่าสัตว์ จนถึงเห็นชอบ หรือประพฤติกุศลกรรมเหล่านั้น

ไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า จตูหิ สงฺคหวตฺถูหิ ความว่า ในกาลเมื่อเรา

ปรากฏชื่อว่า เอกราช สงเคราะห์มหาชนด้วยธรรมเป็นเหตุสงเคราะห์ คือ

สังคหวัตถุ ๔ เหล่านี้ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อรรถจริยา สมานัตตตา.

บทว่า เอว คือเมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาทด้วยอาการนี้ตามที่กล่าว

แล้ว คือการยังศีลคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ให้บริบูรณ์ การสงเคราะห์มหาชน

ด้วยสังคหวัตถุ ๔. บทว่า อิธ โลเก ปรตฺถ จ ความว่า เมื่อเราเป็น

ผู้ไม่ประมาท คือมีสติในประโยชน์ปัจจุบันและโลกหน้า. บทว่า ทพฺพเสโน

ได้แก่พระเจ้าโกศลพระนามว่าทัพพเสนะ. บทว่า อุปคนฺตฺวา ความว่า

พระเจ้าโกศลเข้าไปชิงราชสมบัติของเราด้วยการยกกองทัพ ๔ เหล่ามาครอบ

ครอง. บทว่า อจฺฉินฺทนฺโต ปุร มม คือยึดกรุงพาราณสีของเราด้วย

กำลัง.

ในบทนั้นมีเรื่องราวตามลำดับดังต่อไปนี้ .

ได้ยินว่า ครั้งนั้นพระมหาสัตว์ทรงให้สร้างโรงทาน ๖ แห่งคือที่

พระทวาร ๔ ด้านของพระนคร ท่ามกลางพระนคร ๑ ที่ประตูพระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 538

นิเวศน์ ๑ ทรงให้ทานแก่คนยากจนและคนเดินทางเป็นต้น. ทรงรักษาศีล

ทรงรักษาอุโบสถ ทรงถึงพร้อมด้วยขันติ เมตตาและความเอ็นดู ทรงยินดี

สรรพสัตว์ดุจมารดาบิดายินดีบุตรที่นั่งบนตัก ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม.

อำมาตย์ของพระองค์คนหนึ่ง คิดขบถภายในพระนครปรากฏขึ้นในภายหลัง.

พวกอำมาตย์พากันกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาทรงคอยสังเกตทรงรู้ชัด

ด้วยพระองค์ จึงตรัสให้เรียกอำมาตย์นั้นมารับสั่งว่า อ้ายคนอันธพาล

เจ้าทำกรรมไม่สมควร เจ้าไม่ควรอยู่ในแว่นแคว้นของเรา จงถือเอาทรัพย์

และพาลูกเมียไปอยู่ที่อื่น แล้วทรงขับไล่ออกจากแว่นแคว้น.

อำมาตย์นั้นไปโกศลชนบท เข้ารับราชการกะพระเจ้าโกศลพระนาม

ว่าทิพพเสนะ ได้ทำความคุ้นเคยกับพระราชานั้นโดยลำดับ วันหนึ่งทูล

พระราชาว่า ข้าแต่พระองค์กรุงพาราณสีเช่นกับรังผึ้งไม่มีตัวผึ้ง พระราชา

ก็อ่อนแอ พระองค์สามารถยึดราชสมบัตินั้นได้โดยง่ายทีเดียว พระราชา

ทัพพเสนะไม่ทรงเชื่อคำของอำมาตย์นั้น เพราะพระเจ้ากรุงพาราณสีทรง

อานุภาพมาก จึงทรงส่งพวกมนุษย์ให้ไปทำการปล้นมีการฆ่าชาวบ้านเป็นต้น

ในแคว้นกาสี ทรงสดับว่าพระโพธิสัตว์ทรงให้ทรัพย์แก่โจรเหล่านั้นแล้ว

ทรงปล่อย ครั้นทรงทราบว่าพระราชาเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมอย่างยิ่ง

ทรงดำริว่า เราจักยึดราชสมบัติในกรุงพาราณสี จึงยกกองทัพเสด็จออกไป.

ลำดับนั้น ทหารของพระเจ้ากรุงพาราณสีได้ข่าวว่า พระเจ้าโกศลยกกองทัพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 539

มา จึงกราบทูลแด่พระราชาของตนว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะจับโบย

พระราชานั้นตอนยังไม่ล่วงล้ำรัฐสีมาของเรา.

พระโพธิสัตว์ทรงห้ามว่า ท่านทั้งหลาย การท่าคนอื่นให้ลำบากเพราะ

อาศัยเราไม่มี. ผู้ต้องการราชสมบัติจงยึดราชสมบัติเถิด. พวกท่านอย่าไปเลย

พระเจ้าโกศลเสด็จเข้าไปถึงท่ามกลางชนบท. พวกทหารทูลแด่พระราชา

เหมือนอย่างนั้นอีก. พระราชาทรงห้ามโดยนัยก่อน. พระเจ้าทัพพเสนะ

ประทับยืนอยู่นอกพระนคร ทรงส่งสาส์นถึงพระเจ้าเอกราชว่า จะมอบ

ราชสมบัติให้หรือจะรบ. พระเจ้าเอกราชทรงส่งสาส์นตอบไปว่า เราไม่ต้อง

การรบจงเอาราชสมบัติไปเถิด. พวกทหารทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์ พวก

ข้าพระองค์จะไม่ให้พระเจ้าโกศลเข้าพระนครได้. จะช่วยกันโบยพระเจ้า-

โกศลนั้นนอกพระนครแล้วจับมาถวายพระเจ้าข้า. พระราชาทรงห้ามเหมือน

ก่อนทรงรับสั่งไม่ให้ปิดประตูพระนคร ประทับนั่งท่ามกลางบัลลังก์บนพื้น

ใหญ่. พระเจ้าทัพพเสนะเสด็จเข้าพระนครด้วยกองทัพใหญ่ ไม่ทรงเห็น

ข้าศึกต่อต้านแม้แต่คนเดียวเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ ยึดราชสมบัติทั้งหมด

ให้อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ เสด็จขึ้นสู่พื้นใหญ่รับสั่งให้จับพระโพธิสัตว์ผู้ไม่มี

ความผิดฝังในหลุม. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พระเจ้าทัพพเสนะยกกองทัพมาชิงเอา

พระนครเราได้ ทรงทำข้าราชการ ชาวนิคม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 540

พร้อมด้วยทหาร ชาวชนบท ให้อยู่ในเงื้อม

พระหัตถ์ทั้งหมดแล้ว ตรัสสั่งให้ฝังเราเสีย

ในหลุม.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ราชูปชีเว ได้อำมาตย์ราชบริษัทพราหมณ์

คหบดีเป็นต้น อาศัยพระราชาเลี้ยงชีพ. บทว่า นิคเม คือนิคม. บทว่า

สพลฏฺเ ชื่อว่า พลฏฺา เพราะตั้งกองพลเนื่องด้วยเหล่าทหาร. มีเหล่า

ช้างเป็นต้น. พร้อมด้วยทหาร. บทว่า สรฏฺเก คือชาวชนบท. อธิบายว่า

พระเจ้าทัพพเสนะ ทรงทำข้าราชการชาวนิคมและอื่น ๆ ให้อยู่ในเงื้อม

พระหัตถ์ทั้งหมดแล้ว. บทว่า กาสุยา นิขณี มม ความว่า พระเจ้า

ทัพพเสนะยึดราชสมบัติของเรา พร้อมด้วยพลพาหนะจนหมดสิ้นแล้ว ยัง

รับสั่งให้ฝังเราในหลุมแค่คอ. แม้ในชาดกก็กล่าวว่า ฝังในหลุมมีความว่า :-

พระเจ้าเอกราชเมื่อก่อนทรงเสวยกาม-

คุณยอดเยี่ยมบริบูรณ์ประทับอยู่ บัดนี้พระองค์

ถูกฝังในหลุมนรก มิได้ทรงสละวรรณะและ

พละเดิม.

แต่ในอรรถกถาชาดกกล่าวไว้ว่า พระเจ้าทัพพเสนะรับสั่งให้ใส่

สาแหรกแขวนเอาพระเศียรลงข้างล่างที่ธรณีประตูทางทิศเหนือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 541

พระมหาสัตว์ทรงเจริญเมตตาปรารภพระราชาโจรแล้ว ทรงกระทำ

กสิณบริกรรมยังฌานและอภิญญาให้เกิด ทรงผุดขึ้นจากทรายประทับนั่ง

ขัดสมาธิบนอากาศ . ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

เราเห็นพระเจ้าทัพพเสนะกับหมู่อำมาตย์

ชิงเอาราชสมบัติอันมั่งคั่งภายในพระนครของ

เราเหมือนบุตรสุดที่รัก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนจฺจมณฺฑล คือผู้ที่ปฏิบัติร่วมกับพระราชา

ในราชกิจนั้น ๆ ชื่อว่าอำมาตย์ หรือพร้อมกับหมู่อำมาตย์เหล่านั้น. บทว่า

ผีต คืทอราชสมบัติอันมั่งคั่งด้วยพลพาหนะ ด้วยชาวพระนครและชาวชนบท

เป็นต้น อธิบายว่า เราเห็นพระราชาผู้เป็นศัตรูชิงเอาราชสมบัติอันมั่งคั่ง

ด้วยนางกำนัล ทาสหญิง ทาสชาย และบริวาร และด้วยของใช้มีผ้าและ

เครื่องประดับเป็นต้น ภายในพระนครของเราเหมือนบุตรสุดที่รักของตน

ด้วยเมตตาใด ผู้เสมอด้วยเมตตานั้นของเราไม่มีในสกลโลก เพราะฉะนั้น

ที่เป็นอย่างนี้นี่เป็นเมตตาบารมีของเรา ถึงความเป็นปรมัตถบารมี.

ก็เมื่อพระมหาสัตว์ทรงแผ่เมตตาปรารภพระราชาโจรนั้น ประทับนั่ง

ขัดสมาธิบนอากาศ พระเจ้าทัพพเสนะจึงเกิดความเร่าร้อนในพระวรกาย.

พระองค์ทรงส่งเสียงร้องว่า เราถูกไฟไหม้ เราถูกไฟไหม้ ทรงกลิ้งเกลือก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 542

ไปมาบนแผ่นดิน. ตรัสว่านี่อะไรกัน พวกราชบุรุษทูลว่า ข้าแต่มหาราช

พระองค์รับสั่งให้ฝังพระราชาผู้ทรงธรรมผู้ไม่มีความผิดไว้ในหลุม. ตรัสว่า

ถ้าเช่นนั้นพวกท่านรีบไปเอาพระราชานั้นขึ้นเถิด. พวกราชบุรุษไปเห็น

พระราชานั้นประทับนั่งขัดสมาธิบนอากาศ จึงกลับมาทูลแด่พระเจ้าทัพพ-

เสนะ. พระเจ้าทัพพเสนะรีบเสด็จไปถวายบังคมขอขมาแล้วตรัสว่า ขอ

พระองค์จงครองราชสมบัติของพระองค์เถิด. ข้าพระองค์จักป้องกันพวกโจร

แด่พระองค์ แล้วรับสั่งให้ลงอาญาแก่อำมาตย์ชั่ว เสด็จกลับพระนคร. แม้

พระโพธิสัตว์ก็ทรงมอบราชสมบัติให้แก่พวกอำมาตย์ แล้วทรงบวชเป็นฤาษี

ยังมหาชนให้ตั้งอยู่ในคุณมีศีลเป็นต้น ครั้นสิ้นอายุแล้วก็ไปสู่พรหมโลก.

พระเจ้าทัพพเสนะในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์เถระในครั้งนี้.

พระเจ้าเอกราชคือพระโลกนาถ.

พึงทราบ ทานบารมี ด้วยการสละทรัพย์ ๖๐๐,๐๐๐ ณ โรงทาน

๖ แห่ง ทุกๆ วันของพระโพธิสัตว์นั้น และด้วยการทรงบริจาคราชสมบัติ

ทั้งสิ้นแก่พระราชาข้าศึก. ศีลบารมี ด้วยการรักษาศีลและอุโบสถเป็นนิจ

และด้วยการสำรวมศีลไม่เหลือเศษของนักบวช. เนกขัมมบารมี ด้วยการ

ออกบวชและด้วยการบรรลุฌาน. ปัญญาบารมี ด้วยการไตร่ตรองถึง

ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย และด้วยการจัดแจงทานและ

ศีลเป็นต้น. วิริยบารมี ด้วยการขมักเขม้นสะสมบุญมีทานเป็นต้น และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 543

ด้วยการบรรเทากามวิตกเเป็นต้น. ขันติบารมี ด้วยการอดกลั้นความผิด

ของอำมาตย์โหดและของพระเจ้าทัพพเสนะ. สัจจบารมี ด้วยการไม่ผิดพลาด

ด้วยการให้เป็นต้นตามปฏิญญา. อธิษฐานบารมี ด้วยการอธิษฐานการ

สมาทานไม่หวั่นไหวต่อการให้เป็นต้น. เมตตาบารมี ด้วยการทำสิ่งที่เป็น

ประโยชน์ให้แก่ข้าศึกโดยส่วนเดียว และด้วยการยังเมตตาฌานให้เกิด. และ

อุเบกขาบารมี เพราะมีพระทัยเสมอในความผิดที่อำมาตย์โหดและพระเจ้า

ทัพพเสนะกระทำในอุปการะที่พวกแสวงหาประโยชน์มีอำมาตย์เป็นต้น ของ

พระองค์ให้เกิดขึ้น ทรงวางเฉยในคราวที่ถึงความสุขในราชสมบัติ ในคราว

ที่ถูกพระราชาข้าศึกฝังในหลุม. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เป็นจอมชน ท่านจงบรรเทา

ความสุขด้วยความทุกข์ หรือจงอดกลั้นความ

ทุกข์ด้วยความสุข. สัตบุรุษทั้งหลายย่อมวาง

เฉย ในสุขและทุกข์ทั้งสองอย่าง เพราะ

เกิดขึ้นแล้ว.

ก็เพราะในจริยานี้ เมตตาบารมีเป็นการมียอดเยี่ยมอย่างยิ่ง. ฉะนั้น

เพื่อแสดงความนั้น ท่านจึงยกเมตตาบารมีนั้นเท่านั้นขึ้นสู่บาลี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 544

อนึ่ง ในจริยานี้พึงเจาะจงกล่าวถึงคุณวิเศษ มีความเป็นผู้อนุเคราะห์

เสมอกันเป็นต้นในสรรพสัตว์ของพระมหาสัตว์ ดุจบุตรเกิดในอก ฉะนั้น

ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาเอกราชจริยาที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 545

๑๕. มหาโลมหังสจริยา

ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโลมหังสบัณฑิต

[๓๕] เรานอนอยู่ในป่าช้า เอาซากศพอันมีแต่

กระดูกทำเป็นหมอนหนุน เด็กชาวบ้านพวก

หนึ่ง พากันเข้าไปทำความหยาบช้าร้ายกาจนา-

นัปการ อีกพวกหนึ่งร่าเริง อีกพวกหนึ่งสลดใจ

พากันนำเอาของหอม ดอกไม้ อาหาร และ

เครื่องบรรณาการต่าง ๆ เป็นอันมากมาให้เรา

พวกใดนำทุกข์มาให้เรา และพวกใดให้สุขแก่

เรา เราเป็นผู้มีจิตเสมอแก่เขาทั้งหมด ไม่มี

ความเอ็นดู ไม่มีความโกรธ เราเป็นผู้วางเฉย

ในสุขและทุกข์ ในยศแลความเสื่อมยศ เป็น

ผู้มีใจเสมอในสิ่งทั้งปวง นี้เป็นอุเบกขาบารมี

ของเรา ฉะนี้แล.

จบ มหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 546

อรรถกถามกาโลมหังสจริยาที่ ๑๕

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถามหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สุสาเน เสยฺย กปฺเปมิ เรานอนอยู่ในป่าช้านี้ มีเรื่องราวเป็น

ลำดับดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า ในครั้งนั้นพระมหาสัตว์บังเกิดในตระกูลมีโภคะยิ่งใหญ่

อาศัยความเจริญอยู่กับครูในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ สำเร็จศิลปะทุก

แขนง มายังเรือนของตระกูล เมื่อมารดาบิดาล่วงลับไปแล้ว แม้พวกญาติ

ขอร้องให้ครอบครองทรัพย์สมบัติ เป็นผู้เกิดความสังเวชในภาวะทั้งปวงด้วย

มนสิการถึงความเป็นของไม่เที่ยง ได้อสุภสัญญาในกาย ไม่ยึดถือกิเลสอันทำ

ให้มีความกังวลในการครองเรือน เพิ่มพูนอัธยาศัยในเนกขัมมะที่สะสมมา

ช้านาน ประสงค์ละกองโภคะใหญ่ออกบวช จึงคิดต่อไปว่า หากเราบวช

จักเป็นผู้ไม่ปรากฏด้วยการยกย่องทางคุณธรรม.

พระมหาสัตว์รังเกียจลาภและสักการะ ไม่เข้าไปบวชตรึกถึงตนว่า

เราเพียงพอเพื่อไม่เป็นผู้ผิดปกติในลาภและเสื่อมลาภเป็นต้น จึงคิดว่า เรา

บำเพ็ญปฏิปทามีความอดทนคำเย้ยหยันของผู้อื่นเป็นต้น อย่างวิเศษ จักยัง

อุเบกขาบารมี ให้ถึงที่สุดได้จึงออกจากเรือนด้วยผ้าผืนที่นุ่งอยู่นั่นแหละ

เป็นผู้ประพฤติขัดเขลากิเลสอย่างยิ่ง หมดกำลังก็ทำเป็นมีกำลัง ไม่โง่ก็ทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 547

เป็นโง่ ถูกคนอื่นเยาะเย้ย เย้ยหยันด้วยรูปร่างอันไร้จิตใจ เที่ยวไปในหมู่

บ้าน นิคม และราชธานีโดยอยู่เพียงคนเดียวเท่านั้น. ในที่ใดได้รับการ

เย้ยหยันมาก ก็อยู่ในที่นั้นนาน. เมื่อผ้าที่นุ่งเก่า แม้ผ้านั้นจะเก่าจนเป็น

ผ้าขี้ริ้วก็ไม่รับผ้าที่ใคร ๆ ให้ เที่ยวไปเพียงปกปิดอวัยวะยังหิริให้กำเริบเท่า-

นั้น. เมื่อกาลผ่านไปอย่างนี้ เขาได้ไปถึงบ้านและนิคมแห่งหนึ่ง.

ณ ที่นั้น เด็กชาวบ้าน นิสัยนักเลงชอบตีรันฟันแทง บางคนก็เป็น

บุตรหลานและทาสเป็นต้น ของพวกราชวัลลภ หยิ่ง ทะลึ่ง ล่อกแล่ก

ปากจัด พูดจาสามหาว เที่ยวเล่นตลอดเวลาเสียแหละมาก. เด็กชาวบ้าน

เหล่านั้น เห็นชายและหญิงที่เป็นคนแก่เข็ญใจก็เอาฝุ่นละอองโปรยไปบน

หลัง ห้อยใบลำเจียกไว้ในระหว่างรักแร้ แสดงการเล่นด้วยท่าทางอันไม่

เหมาะสมน่าตำหนิ ก็หัวเราะใส่คนที่กำลังดู. พระมหาบุรุษเห็นพวกเด็ก

นักเลงเหล่านั้นเที่ยวไปในนิคมนั้น จึงคิดว่า บัดนี้ เราได้อุบายเครื่อง

บำเพ็ญอุเบกขาบารมี แล้วจึงอยู่ ณ ที่นั้น. พวกเด็กนักเลงเห็นพระมหา-

บุรุษนั้น จึงเริ่มที่จะทำความไม่เหมาะสม.

พระมหาสัตว์ลุกขึ้นเดินไปทำคล้ายกับทนไม่ได้ และทำคล้ายกลัวเด็ก

พวกนั้น. พวกเด็กเหล่านั้นก็ตามพระโพธิสัตว์ไป. พระโพธิสัตว์เมื่อถูก

พวกเด็กตามไป จึงไปป่าช้าด้วยเห็นว่าที่ป่าช้านี้คงไม่มีใครขัดคอ เอาโครง-

กระดูกทำเป็นหมอนหนุนแล้วนอน. พวกเด็กนักเลงก็พากันไปที่ป่าช้านั้น

ทำความไม่เหมาะสมหลาย ๆ อย่าง มีการถ่มน้ำลายเป็นต้น แล้วก็กลับไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 548

พวกเด็กนักเลงทำอย่างนี้ทุก ๆ วัน. พวกที่เป็นวิญญูชนเห็นเด็ก ๆ ทำอย่าง

นั้น ก็ห้าม รู้ว่าท่านผู้นี้มีอานุภาพมาก มีตบะเป็นมหาโยคี จึงพากันกระทำ

สักการสัมมานะอย่างมากมาย. ฝ่ายพระมหาสัตว์เป็นเช่นเดียว คือเป็น

กลางในทุกอย่าง. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

สุสาเน เสยฺย กปฺเปมิ ฯ ล ฯ ทยา โกโป น วิชฺชติ

คำแปลปรากฏแล้วในบาลีแปลข้างต้น

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุสาเน เสยฺย กปฺเปมิ, ฉวฏฺิก

อุปนิธาย เรานอนอยู่ในป่าช้า เอาซากศพอันมีแต่โครงกระดูกทำเป็นหมอน

หนุน ความว่า เรานอนอยู่ในป่าช้านั้น เพราะเรามีจิตเสมอกันในสิ่งที่

สะอาดและไม่สะอาด จึงเอาบรรดากระดูกที่กระจัดกระจายอยู่ในที่นั้น จาก

ซากที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าผีดิบ มีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น กระดูก

ชิ้นหนึ่งเป็นหมอนหนุน. บทว่า คามมณฺฑลา คือเด็กชาวบ้าน บทว่า

รูป ทสฺเสนฺตินปฺปก ความว่า เด็กชาวบ้านเหล่านั้นกระทำความไม่เหมาะ-

สมความหยาบช้าหลายอย่าง ด้วยการถ่มน้ำลายหัวเราะเยาะและถ่ายปัสสาวะ

เป็นต้น และด้วยการแยงเส้นหญ้าเป็นต้น เข้าไปในช่องหู เพราะเล่นได้

ตามความพอใจ.

บทว่า อปเร คือบรรดาเด็กชาวบ้านเหล่านั้นบางพวก. บทว่า อุ-

ปายนานิ อุปเนนฺติ ความว่า เด็กชาวบ้านพวกนั้นสังเกตดูว่า ท่านผู้นี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 549

เมื่อเด็กเหล่านั้นทำความไม่เหมาะสม เห็นปานนี้ด้วยการเยาะเย้ยยังไม่แสดง

ความผิดปกติไร ๆ เลย จึงพากันนำของหอม ดอกไม้ อาหารหลายอย่าง

และเครื่องบรรณาการอย่างอื่นมาให้. หรือว่ามนุษย์ผู้เป็นวิญญูชนเหล่าอื่น

นอกจากเด็กชาวบ้านไร้มารยาทเหล่านั้น ร่าเริงว่า ท่านผู้นี้เมื่อเด็กเหล่านี้

ทำความไม่เหมาะสมหลายอย่างอย่างนี้ก็ไม่โกรธ. กลับเข้าไปตั้งขันติ เมตตา

และความเอ็นดูในเด็กเหล่านั้นอีก. โอ อัจฉริยบุรุษ มีใจสังเวชว่า เด็ก

พวกนี้ปฏิบัติผิดในท่านผู้นี้เป็นผู้ขวนขวายบาปเป็นอันมาก จึงนำของหอม

ดอกไม้เป็นอันมาก อาหารหลายอย่างและเครื่องสักการะอื่นเข้ามาให้.

บทว่า เย เน ทุกฺข อุปหรนฺติ ความว่า เด็กชาวบ้านพวกใด

นำทุกข์ในร่างกายมาให้เรา. ปาฐะว่า อุปทหนฺติ ดังนี้บ้าง แปลว่าให้เกิด

บทว่า เย จ เทนฺติ สุข มม ความว่า มนุษย์ที่เป็นวิญญูชนพวกใด

ให้ความสุขแก่เรา นำความสุขมาให้เราด้วยเครื่องบำรุงความสุข มีดอกไม้

ของหอม และอาหารเป็นต้น. บทว่า สพฺเพส สมโก โหมิ ความว่า เรา

เป็นผู้มีจิตเสมอ คือเป็นเช่นเดียวกันแก่ชนเหล่านั้น เพราะเรามีจิตเสมอ

โดยไม่เกิดความผิดปกติในที่ไหน ๆ. บทว่า ทยา โกโป น วิชฺชติ ความ

ว่า เพราะความเอ็นดู กล่าวคือความมีจิตเมตตาในผู้ทำอุปการะไม่มีแก่เรา.

แม้ความโกรธ กล่าวคือความประทุษร้ายทางใจในผู้ไม่ทำอุปการะก็ไม่มี.

ฉะนั้นเราจึงเป็นผู้มีใจเสมอแก่ชนทั้งปวง ท่านแสดงไว้ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 550

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ในกาลนั้น เพื่อทรงแสดงถึงความไม่มี

ผิดปกติ และความไม่ติดอยู่ในโลกธรรมทั้งหลาย เพราะพระองค์ทรงสะสม

ญาณสัมภารไว้ จึงมีพระทัยเสมอในสัตว์ทั้งหลายทั้งที่มีอุปการะและไม่มีอุป-

การะ จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า :-

เราเป็นผู้วางเฉยในสุขและทุกข์ ในยศ

และความเสื่อมยศ เป็นผู้มีใจเสมอในสิ่งทั้ง

ปวง นี้เป็นอุเบกขาบารมีของเรา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สุขทุกฺเข คือในสุข และในทุกข์ บทว่า

ตุลาภูโต ได้แก่ เป็นผู้วางตนเป็นกลาง เว้นการยินดียินร้าย คือไม่ยินดี

ยินร้าย ดุจตาชั่งที่จับไว้เสมอกัน . อนึ่ง ด้วยศัพท์ว่า สุขทุกฺข ในบทว่า

สุขทุกฺเข นี้ พึงทราบว่า หมายถึงแม้ลาภและความเสื่อมลาภด้วย เพราะ

สุขทุกข์นั้นเป็นนิมิต. บทว่า ยเสสุ คือเกียรติยศ. บทว่า อยเสสุ คือ

นินทา. บทว่า สพฺพตฺถ คือในโลกธรรมทั้งหมดมีสุขเป็นต้น ด้วยประ-

การฉะนี้ ในครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแสดงความที่พระองค์เป็น

กลางในสรรพสัตว์ และในโลกธรรมทั้งปวง ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น แล้วเมื่อจะ

ทรงประกาศความที่พระองค์ถึงยอดแห่งอุเบกขาบารมี ในอัตภาพนั้นด้วยบท

นั้น จึงทรงจบเทศนาลงด้วยบทว่า เอสา เม อุเปกฺขาปารมี ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 551

แม้ในจริยานี้ พระมหาสัตว์ย่อมได้บารมี ๑๐ ครบโดยเฉพาะทาน-

บารมีก่อน. การบริจาคสมบัติทั้งปวงและการบริจาคอัตภาพของตนโดยไม่

คำนึงว่าใคร ๆ ถือเอาสรีระนี้ แล้วจงทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่ตนปรารถนา

เป็น ทานบารมี. การไม่ทำสิ่งไม่ควรทำทั้งปวง มีความเลวเป็นต้น เป็น

ศีลบารมี. การเพิ่มพูนอสุภสัญญาในกายของพระโพธิสัตว์ผู้หันหลังให้ความ

ยินดีในกาม ออกจากเรือน เป็น เนกขัมมบารมี. ความเป็นผู้ฉลาดใน

การกำหนดธรรมเป็นอุปการะแก่สัมโพธิสมภาร แลในการละธรรมอันเป็น

ปฏิปักษ์ต่ออุปการะธรรมนั้น ละการคิดถึงสภาวธรรมจากธรรมอันไม่วิปริต

เป็น ปัญญาบารมี. การบรรเทากามวิตกเป็นต้น และการพยายามอดกลั้น

ความทุกข์ เป็น วีริยบารมี. ความอดทนด้วยความอดกลั้น เป็น ขันติ-

บารมี. จริงวาจา และจริงด้วยการเว้นโดยไม่ผิดสมาทาน เป็น สัจบารมี.

การตั้งใจสมาทานไม่หวั่นไหวในธรรมอันไม่มีโทษ เป็น อธิษฐานบารมี.

ความเป็นผู้มีเมตตา และความเอ็นดูในสรรพสัตว์โดยไม่เจาะจง เป็น เมต-

ตาบารมี. ส่วนอุเบกขาบารมี ของพระโพธิสัตว์นั้นพึงทราบตามที่กล่าวแล้ว

นั่นแล. อนึ่ง ในจริยานี้ ท่านทำอุเบกขาบารมีให้เป็นบารมียอดเยี่ยมอย่าง

ยิ่ง จึงยกอุเบกขาบารมีนั้นขึ้นสู่เทศนา.

อนึ่ง ในจริยานี้ พึงประกาศคุณานุภาพของพระมหาสัตว์ มีอาทิ

อย่างนี้ คือการละกองโภคสมบัติใหญ่และวงศ์ญาติใหญ่ แล้วออกจากเรือน

เช่นกับการออกบวช. การไม่ถือเพศบรรพชิตของพระมหาสัตว์ผู้ออกไปอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 552

นั้น แล้วรังเกียจลาภและสักการะประสงค์จะรักษาความนับถือของผู้อื่น แล้ว

อธิษฐานคุณของบรรพชาไม่ให้มีเหลือด้วยจิตเท่านั้น แล้วอยู่เป็นสุขอย่างยิ่ง.

ความเป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง. ความยินดีในความสงัด การไม่คำนึงถึงกายแล

ชีวิตของตนด้วยประสงค์จะวางเฉย. การประพฤติขัดเกลากิเลสถึงขั้นอุกฤษฏ

อดกลั้นความน่าเกลียดที่ผู้อื่นทำเบื้องบนของตน. การยังตนให้ตั้งมั่นด้วย

ความที่กิเลสอันเป็นปฏิปักษ์ต่อโพธิสมภารมีน้อย ด้วยความเป็นกลางใน

ที่ทั้งปวง อันเป็นเหตุแห่งความไม่ผิดปกติในผู้มีอุปการะและไม่มีอุปการะ

ของคนอื่น ดุจพระขีณาสพฉะนั้น แล้วไม่ติดด้วยโลกธรรมทั้งหลาย. การ

ถึงยอดแห่งอุเบกขาบารมี อันเป็นพุทธบารมีของบารมีทั้งปวง

จบ อรรถกถามหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕

จบ อุเบกขาบารมี

จบ ยุธัญชยวรรคที่ ๓

รวมจริยาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ยุธัญชยจริยา ๒. โสมนัสสจริยา ๓. อโยฆรจริยา ๔. ภิงสจริยา

๕. โสณนันทปัณฑิตจริยา ๖. มูคผักขจริยา ๗. กปิลราชจริยา ๘. สัจจ-

สวหยปัณฑิตจริยา ๙. วัฏฏกโปตกจริยา ๑๐. มัจฉราชจริยา ๑๑. กัณห-

ทีปายนจริยา ๑๒. สุตโสมจริยา ๑๓. สุวรรณสามจริยา ๑๔. เอกราชจริยา

๑๕. มหาโลมหังสจริยา เป็นอุเบกขาบารมีดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 553

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่

ตรัสแล้ว เราได้เสวยทุกข์และสมบัติมากมาย

หลายอย่าง ในภพน้อยภพใหญ่ ตามนัยที่

กล่าวแล้วอย่างนี้ แล้วจึงได้บรรลุสัมมาสัม-

โพธิญาณอันสูงสุด เราได้ให้ทานอันควรให้

บำเพ็ญศีล โดยหาเศษมิได้ถึงเนกขัมมบารมี

แล้ว จึงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณอันสูงสุด เรา

สอบถามบัณฑิตทั้งหลาย ทำความเพียรอย่าง

อุกฤษฏ์อย่างถึงขันติบารมี แล้วจึงบรรลุสัมมา-

สัมโพธิญาณอันสูงสุด เรากระทำอธิษฐาน

อย่างมั่น ตามรักษาสัจวาจา ถึงเมตตาบารมี

แล้ว จึงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณอันสูงสุด

เราเป็นผู้มีจิตเสมอในลาภและความเสื่อมลาภ

ในยศและความเสื่อมยศ ในความนับถือและ

การดูหมิ่นทั้งปวงแล้ว จึงบรรลุสัมมาสัมโพธิ-

ญาณอันสูงสุด ท่านทั้งหลายจงเห็นความ

เกียจคร้านโดยความเป็นภัย และเห็นการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 554

ปรารภความเพียรโดยเป็นทางเกษม แล้วจง

ปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงเห็น

ความวิวาทโดยความเป็นภัย และเห็นความ

ไม่วิวาทโดยเป็นทางเกษม แล้วจงกล่าววาจา

อ่อนหวานอันสมัครสมากันเถิด นี้เป็นคำสั่ง

สอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย

จงเห็นความประมาทโดยความเป็นภัย และ

เห็นความไม่ประมาทโดยเป็นทางเกษม แล้ว

จงเจริญมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

เถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้ง-

หลาย.

ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงยกย่องบุรพจรรยาของพระ-

องค์ จึงได้ตรัสธรรมบรรยายชื่อพุทธาปทานีย์ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบ จริยาปิฎก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 555

สโมธานกถา

สรุปการบำเพ็ญบารมี ๓๐ ข้อ

[๓๖] การบำเพ็ญบารมีอันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิ-

ญาณเหล่านี้ จัดเป็นบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐

ปรมัตถบารมี ๑๐ คือการบำเพ็ญทานในภพที่

ตถาคตเป็นพระเจ้าสิวิราชผู้ประเสริฐเป็นทาน-

บารมี ในภพที่เราเป็นเวสสันดรและเป็น

เวลามพราหมณ์ เป็นทานอุปบารมี ในภพที่เรา

เป็นอกิตติดาบสอดอาหารนั้นเป็นทานอุปบารมี

ในภพที่เราเป็นพระยาไก่ป่าสีลวนาคและพระ-

ยากระต่าย เป็นทานปรมัตถบารมี ในภพที่เรา

เป็นพระยาวานร ช้างฉันททันต์ และช้างเลี้ยง

มารดา เป็นศีลบารมี พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวง

หาคุณยิ่งใหญ่ตรัสไว้ดังนี้ การรักษาศีลในภพ

ที่เราเป็นจัมเปยยกนาคราช และภูริทัตตนาค-

ราช เป็นศีลอุปบารมี ในภพที่เราเป็นสังข-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 556

ปาลบัณฑิต เป็นศีลปรมัตถบารมี ในภพที่เรา

เป็นยุธัญชยกุมาร มหาโควินทพราหมณ์ คน

เลี้ยงช้าง อโยฆรราชโอรส ภัลลาติ สุวรรณ-

สาม มฆเทวะและเนมิราช บารมีเหล่านี้เป็น

อุปปบารมี ในภพที่เราเป็นมโหสถผู้เป็นทรัพย์

ของรัฐ กุณฑลตัณฑิละและนกกระทาบารมี

เหล่านี้เป็นปัญญาอุปบารมี ในภพที่เราเป็น

วิธูรบัณฑิตและสุริยพราหมณ์มาตังคะ ผู้เป็น

ศิษย์เก่าของอาจารย์ บารมีทั้ง ๒ ครั้งนี้ เป็น

ปัญญาบารมี ในภพที่เราเป็นพระราชผู้มีศีล มี

ความเพียร เป็นผู้ก่อให้เกิดสัตตุภัสตชาดก

บารมีนี้แลเป็นปัญญาปรมัตถบารมี ในภพที่เรา

เป็นพระราชาผู้มีความเพียร บากบั่น เป็น

วีริยปรมัตถบารมี ในภพที่เราเป็นพระยาวานร

ผู้มีครุธรรม ๕ ประการ เป็นวีริยบารมี ในภพ

ที่เราเป็นธรรมปาลกุมาร เป็นขันติบารมี ใน

ภพที่เราเป็นธรรมิกเทพบุตร ทำสงครามกับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 557

อธรรมิกเทพบุตร เรียกว่าขันติอุปบารมี ใน

ภพที่เราเป็นขันติวาทีดาบส แสวงหาพุทธภูมิ

ด้วยการบำเพ็ญขันติบารมี ได้ทำกรรมที่ทำได้

ยากเป็นอันมาก นี้เป็นขันติปรมัตถบารมี ใน

ภพที่เราเป็นสสบัณฑิต นกคุ่ม ซึ่งประกาศ

คุณสัจจะยังไฟให้ดับด้วยสัจจะ นี้เป็นสัจจ-

บารมี ในภพที่เราเป็นปลาอยู่ในน้ำ ได้ทำ

สัจจะอย่างสูง ยังฝนให้ตกใหญ่ นี้เป็นสัจจ-

บารมีของเรา ในภพที่เราเป็นสุปารบัณฑิตผู้

เป็นนักปราชญ์ ยังเรือให้ข้ามสมุทรจนถึงฝั่ง

เป็นกัณหทีปายนดาบส ระงับยาพิษได้ด้วย

สัจจะ และเป็นวานรข้ามกระแสแม่น้ำคงคา

ได้ด้วยสัจจะ นี้เป็นสัจอุปบารมีของเรา ใน

ภพที่เราเป็นสุตโสมราชา รักษาสัจจะอย่างสูง

ช่วยปล่อยกษัตริย์ ๑๐๑ นี้ เป็นสัจปรมัตถ-

บารมี อะไรที่จะเป็นความพอใจไปกว่าอธิษ-

ฐาน นี้เป็นอธิษฐานบารมี ในภพที่เราเป็น-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 558

มาตังคชฎิล และช้างมาตังคะ นี้เป็นอธิษฐาน

อุปบารมี ในภพที่เราเป็นมูคผักขกุมาร เป็น

อธิษฐานปรมัตถบารมี ในภพที่เป็นมหากัณห-

ฤาษี และพระเจ้าโสธนะ และบารมีสอง

อย่าง คือในภพที่เราเป็นพระเจ้าพรหมทัต

และคัณฑิติณฑกะ ที่กล่าวแล้วเป็นเมตตา.

บารมี ในภพที่เป็นโสณนันทบัณฑิตผู้ทำความ

รัก บารมีเหล่านั้นเป็นเมตตาอุปบารมีเมตตา

บารมี ในภพที่เราเป็นพระเจ้าเอกราช เป็น

บารมีไม่มีของผู้อื่นเหมือน นี้เป็นเมตตาปร-

มัตถบารมี ในภพที่เราเป็นนกแขกเต้าสองครั้ง

เป็นอุเบกขาบารมี ในภพที่เราเป็นโลมหังส-

บัณฑิต เป็นอุเบกขาปรมัตถบารมี บารมีของ

เรา ๑๐ ประการนี้ เป็นส่วนแห่งโพธิญาณอัน

เลิศ บารมียิ่งกว่า ๑๐ ไม่มี หย่อนกว่า ๑๐

ก็ไม่มี เราบำเพ็ญบารมีทุกอย่างไม่ยิ่งไม่หย่อน

เป็นบารมี ๑๐ ประการ ฉะนี้แล.

จบ สโมธานกถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 559

อรรถกถาอุททานคาถา

พึงทราบวินิจฉัยในอุททานคาถา ดังต่อไปนี้. อุททานคาถา มีอาทิว่า

ยุทฺธญฺชโย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ภิเสน ท่านแสดงมหากัญจนจริยา ด้วย

ชื่อเรื่องว่า ภิงสจริยา. ท่านแสดงโสณบัณฑิตจริยา ด้วยบทว่า โสณนนฺโท

นี้. อนึ่ง บทว่า มูคผกฺโข ท่านแสดงเตมิยบัณฑิตจริยา ด้วยชื่อเรื่องว่า

มูคภักขะ. ท่านแสดงมหาโลมหังสจริยา ด้วยหัวข้อธรรมคืออุเบกขาบารมี.

บทว่า อาสิ อิติ วุตฺต มเหสินา พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณอัน

ยิ่งใหญ่ตรัสแล้ว อธิบายว่า ดูก่อนสารีบุตร ในครั้งนั้นเราเป็นพระโพธิสัตว์

ชื่อว่า แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพราะแสวงหาโพธิสมภารมีทานบารมีเป็นต้น

ใหญ่โดยวิธีนี้ได้ประพฤติปฏิบัติมาแล้ว เหมือนอย่างที่แสดงแก่เธอในบัดนี้

แหละ. บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงถึงประโยชน์ที่พระองค์ทรง

บำเพ็ญบารมี ทรงกระทำทุกรกิริยาของพระองค์ทั้งที่กล่าวแล้ว และยังไม่ได้

กล่าวในที่นี้ อันเป็นไปตลอดกาลนาน ด้วยการบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์รวม

เป็นอันเดียวกัน โดยสังเขปเท่านั้น จึงตรัสคาถานี้ว่า:-

เราได้เสวยทุกข์และสมบัติมากมายหลาย

อย่าง ในภพน้อยภพใหญ่ ตามนัยที่กล่าว

แล้วนี้ แล้วจึงได้บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 560

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอว คือโดยนัยดังกล่าวแล้วนี้. บทว่า

พหุวิธ ทุกฺข คือทุกข์หลายอย่างหลายประการ เพราะอาหารมีใบหมากเม่า

เป็นต้น เมื่อครั้งเป็นอกิตติบัณฑิตเป็นต้น และด้วยการอดอาหารเป็นต้น

เพราะให้ใบหมากเม่านั้นแก่ยาจก. อนึ่ง เมื่อครั้งเป็นพระเจ้ากุรุเป็นต้น

สมบัติมีหลายอย่าง เช่นกับสมบัติของท้าวสักกะ. บทว่า ภวาภเว คือภพ

น้อยภพใหญ่. หรือเสวยความเจริญและความเสื่อม ในภพน้อยภพใหญ่ ไม่

เดือดร้อนด้วยทุกข์หลายอย่าง ไม่ถูกฉุดคร่าด้วยสมบัติหลายอย่าง เป็นผู้

ขวนขวายในการบำเพ็ญบารมี ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันสมควรแก่บารมีนั้น บรรลุ

อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอย่างสูงสุด คือพระสัพพัญญุตญาณ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงถึงความที่บารมีที่พระองค์

ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา สิ้นกาลนาน เพื่อให้บริบูรณ์ให้เต็มเปี่ยมโดยไม่มี

เหลือ และความที่ผลที่ควรบรรลุ พระองค์ได้บรรลุแล้ว จึงตรัสคาถามีอาทิ

ว่า :-

เราได้ให้ทานอันควรให้ บำเพ็ญศีลโดย

หาเศษมิได้ ถึงเนกขัมมบารมีแล้วจึงบรรลุ

สัมโพธิญาณอันสูงสุด. เราสอบถามบัณฑิต

ทั้งหลาย ทำความเพียรอยู่อย่างอุกฤษฏ์ อย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 561

ถึงขันติบารมีแล้ว จึงบรรลุสัมโพธิญาณอัน

สูงสุด. เราทำอธิษฐานอย่างมั่น ตามรักษา

สัจวาจา ถึงเมตตาบารมีแล้ว จึงบรรลุสัม-

โพธิญาณอันสูงสุด. เราเป็นผู้มีจิตเสมอใน

ลาภและเสื่อมลาภ ในยศและเสื่อมยศ ใน

ความนับถือและการดูหมิ่นทั้งปวง แล้วจึง

บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทตฺวา ทาตพฺพก ทาน ความว่า ใน

กาลนั้น เราได้สละไทยธรรม มีราชสมบัติเป็นต้นในภายนอก อวัยวะและตา

เป็นต้นในภายใน ที่พระโพธิสัตว์ผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นยานเลิศ เพื่อบรรลุ

พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จากนั้นได้บริจาคทานมีประเภทเป็นทาน.

บารมี ทานอุปบารมี และทานปรมัตถบารมี มีการบริจาคใหญ่ . อย่างเป็น

ที่สุด คือบริจาคราชสมบัติ ๑ บริจาคอวัยวะ ๑ บริจาคนัยน์ตา ๑ บริจาค

บุตรภรชยา ๑ บริจาคตน ๑ โดยไม่มีเหลือ. ไม่มีปริมาณของอัตภาพ ที่

พระมหาบุรุษบำเพ็ญทานบารมี ในกาลที่แล้วมา ในจริยานี้มีอาทิอย่างนี้ คือ

ในกาลเป็นอกิตติพราหมณ์ ในกาลเป็นสังขพราหมณ์ แม้ในกาลที่มิได้มา

มีอาทิอย่างนี้ คือในกาลเป็นวิสัยหเศรษฐี ในกาลเป็นเวลามพราหมณ์.

ทานบารมีของพระโพธิสัตว์ ครั้งเป็นสสบัณฑิต สละตนอย่างนี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 562

เราเห็นยาจกเข้าไปขออาหาร จึงสละตน

ของตน ผู้เสมอด้วยทานของเราไม่มี นี้คือ

ทานบารมีของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว. ส่วนในบารมีนอกนั้นพึงทราบ

บารมีและอุปบารมี ตามสมควร.

บทว่า สีล ปูเรตฺวา อเสสโต ความว่า อันผู้บำเพ็ญศีลของ

พระโพธิสัตว์ มีอาทิอย่างนี้ คือ สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมทั้งกาย

วาจา สำรวมอินทรีย์ รู้จักประมาณในกาลบริโภค มีอาชีพบริสุทธิ์ ควร

บำเพ็ญบารมี อันมีประเภทเป็นศีลบารมี ศีลอุปบารมี ศีลปรมัตถบารมี ยัง

ศีลทั้งปวงให้บริบูรณ์ คือให้ถึงพร้อมด้วยชอบ โดยไม่มีส่วนเหลือ. แม้ใน

ที่นี้ไม่มีปริมาณของอัตภาพที่พระมหาสัตว์บำเพ็ญศีลบารมี ในกาลที่มาแล้ว

ในจริยานี้ มีอาทิอย่างนี้ คือในกาลเป็นศีลวนาคราช ในกาลเป็นจัมเปยย-

นาคราช และในกาลที่มิได้มา มีอาทิอย่างนี้ว่า ในกาลเป็นมหาวานร ใน

กาลเป็นช้างฉัททันตะ. ศีลบารมีของพระโพธิสัตว์ ครั้งเป็นสังขปาละ.

สละตนอย่างนี้ว่า :-

เราไม่โกรธเคืองพวกบุตรพราน แม้จะ

แทงด้วยหลาว แม้จะทิ่มด้วยหอก นี้เป็นศีล-

บารมีของเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 563

ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว. ส่วนในบารมีนอกนี้พึงทราบ

บารมีและอุปบารมีตามสมควร.

บทว่า เนกฺขมฺเม ปารมึ คนฺตฺวา คือถึงบารมีในการออกบวชครั้ง

ใหญ่ ๓ อย่าง อุกฤษฏ์อย่างยิ่ง. ในบทนั้นไม่มีปริมาณของอัตภาพที่พระ-

มหาสัตว์ สละราชสมบัติยิ่งใหญ่ แล้วบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ในกาลที่มาแล้ว

ในจริยานี้อย่างนี้ คือ ในกาลเป็นยุธัญชยบัณฑิต ในกาลเป็นโสมนัสกุมาร

และที่มิได้ คือ ในกาลมีอาทิอย่างนี้ ในกาลเป็นหัตถิปาลกุมาร ในกาลเป็น

มฆเทวะ. อนึ่ง เนกขัมมบารมีของพระมหาสัตว์นั้น ผู้สละราชสมบัติออก

บวช เพราะไม่เกี่ยวข้องอย่างนี้ว่า :-

เราสละราชสมบัติอันใหญ่หลวงที่อยู่ใน

เงื้อมมือ ดุจถ่มก้อนน้ำลาย เมื่อเราสละก็ไม่

เกี่ยวข้อง นี้เป็นเนกขัมมบารมีของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตบารมีโดยส่วนเดียว. ส่วนในบารมีนอกนี้ พึงทราบ

บารมีและอุปบารมีตามสมควร.

บทว่า ปณฺฑิเต ปริปุจฺฉิตฺวา ความว่า เราสอบถามถึงการจำแนก

ธรรมมีกุศลเป็นต้น ด้วยนัยมีอาทิว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไร

มีโทษ อะไรไม่มีโทษ การจำแนกกรรมและผลของกรรม กรรมศิลปะวิชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 564

อันไม่มีโทษ อันนำมาซึ่งอุปการะแก่สัตว์ทั้งหลาย กะบัณฑิตผู้มีปัญญา. ด้วย

บทนี้ ท่านแสดงถึงปัญญาบารมี. ในบทนั้นไม่มีปริมาณของอัตภาพที่พระ-

มหาสัตว์บำเพ็ญปัญญาบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือในกาลเป็นวิธูรบัณฑิต

ในกาลเป็นมหาโควินทบัณฑิต ในกาลเป็นกุททาลบัณฑิต ในกาลเป็นอรก-

บัณฑิต ในกาลเป็นโพธิปริพาชก ในกาลเป็นมโหสถบัณฑิต. อนึ่ง ปัญญา-

บารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ผู้แสดงถึงงูที่อยู่ภายในกระสอบว่า :-

เราค้นหาด้วยปัญญา ปลดเปลื้องพราหมณ์

จากทุกข์. ผู้เสมอด้วยปัญญาของเราไม่มี นี้

เป็นปัญญาบารมีของเรา.

ชื่อว่า ปรุมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

บทว่า วีรย กตฺวาน อุตฺตม คือการทำวีริยบารมีหลายอย่างให้เกิด.

คือ ปธานะ วีริยะอันสูงสุดเพราะสามารถให้ถึงสัมมาสัมโพธิญาณได้. ใน

บทนั้น ไม่มีปริมาณของอัตภาพที่พระมหาสัตว์บำเพ็ญวีริยบารมี ในกาลมี

อาทิอย่างนี้ คือ ในกาลเป็นมหาศีลวราช ในกาลเป็นปัญจาวุธกุมาร ใน

กาลเป็นพระยามหาวานร. อนึ่ง วีริยบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ครั้งเป็น

พระมหาชนก ข้ามมหาสมุทร อย่างนี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 565

เราอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรมองไม่เห็นฝั่ง

พวกมนุษย์ทั้งหลาย พากันตายหมดแล้ว เรา

ไม่มีจิตเป็นอย่างอื่น นี้เป็นวีริยบารมีของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

บทว่า ขนฺติยา ปารมึ คนฺตฺวา ความว่า เราบรรลุถึงอธิวาสนขันติ

เป็นต้น อันมีสภาพเป็นขันติชั้นอุกฤษฏ์อย่างยอดเยี่ยม ถึงขันติบารมีชั้น

ยอด. อธิบายว่า ยังขันติบารมีให้สมบูรณ์. ในบทนั้นไม่มีปริมาณของอัต-

ภาพที่พระมหาสัตว์บำเพ็ญขันติบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือ ในกาลเป็น

พระยาวานร ในกาลเป็นพระยากระบือ ในกาลเป็นรุรุมิคราช ในกาลเป็น

ธรรมเทพบุตร. อนึ่ง ขันติบารมีของพระมหาสัตว์นั้น ครั้งเป็นขันติวาที

ดาบสเสวยทุกข์ใหญ่ ดุจไม่มีจิตใจอย่างนี้ว่า :-

เราไม่โกรธพระราชากาสี ผู้โบยเราด้วย

ขวานอันคม เหมือนเราไม่มีจิตใจ. นี้เป็น

ขันติบารมีของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

บทว่า กตฺวา ทฬฺหมธิฏฺาน ความว่า เราทำอธิษฐานสมาทาน-

กุศลอธิษฐานสมาทานบารมีนั้น ๆ และสมาทานธรรมเป็นอุปการะ แก่บารมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 566

นั้นให้มั่นไม่ให้หย่อน. อธิบายว่า อธิษฐานสมาทานข้อปฏิบัตินั้น ๆ โดย

ไม่มีการกลับกลอก. ในบทนั้น ไม่มีปริมาณแห่งอัตภาพของพระมหาสัตว์ผู้

บำเพ็ญอธิษฐานบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือ ในกาลเป็นโชติปาละ ใน

กาลเป็นสรภังคะ ในกาลเป็นพระเนมิ. อธิษฐานบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น

ครั้งเป็นพระเตมิยกุมาร อธิษฐานพรตสละชีวิตอย่างนี้ว่า :-

เราไม่เกลียดชังพระมารดาและพระบิดา

เราไม่เกลียดตัวเรา. พระสัพพัญญุตญาณเป็น

ที่รักของเรา เพราะฉะนั้นเราจึงอธิษฐานพรต.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

บทว่า สจฺจวาจานุรกฺขิย ความว่า เราตามรักษาสัจวาจารังเกียจ

โวหารที่ไม่เป็นอริยะ แม้ในเวลามีอันตรายถึงชีวิต ก็คงรักษาไว้ คือรักษา

คำพูดที่ไม่ผิดปกติโดยประการทั้งปวง. ในบทนั้น ไม่มีปริมาณของอัตภาพ

ของพระมหาสัตว์ที่บำเพ็ญสัจบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือ ในกาลเป็น

พระยาวานร ในกาลเป็นสัจจดาบส ในกาลเป็นพระยาปลา. อนึ่ง สัจ-

บารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ครั้งเป็นมหาสุตโสม สละชีวิตตามรักษาคำสัตย์

อย่างนี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 567

เราตามรักษาสัจวาจา สละชีวิตของเรา

ให้โปริสาทปลดปล่อยกษัตริย์ ๑๐๑. นี้เป็น

สัจบารมีของเรา.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

บทว่า เมตฺตาย ปารมึ คนฺตฺวา ความว่า เราถึงเมตตาบารมีอัน

มีลักษณะนำสิ่งเป็นประโยชน์ในสรรพสัตว์โดยไม่เจาะจง อันเป็นบารมีชั้น

อุกฤษฏ์อย่างยิ่ง. ในบทนั้น ไม่มีปริมาณของอัตภาพของพระโพธสัตว์ ที่

บำเพ็ญเมตตาบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือ ในกาลเป็นจูฬธรรมปาละ ใน

กาลเป็นมหาสีลวราช. ในกาลเป็นสามบัณฑิต. อนึ่ง เมตตาบารมีของพระ-

โพธิสัตว์นั้น ครั้งเป็นสุวรรณสาม แผ่เมตตาไม่เหลียวแลแม้ชีวิตอย่างนี้

ว่า :-

ใคร ๆ ไม่สะดุ้งหวาดกลัวเรา แม้เราก็

ไม่กลัวใคร ๆ. อันกำลังแห่งเมตตาอุปถัมภ์ไว้

เราจึงยินดีในป่าใหญ่ ในกาลนั้น.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

บทว่า สมฺมานนาวมานเน ความว่า เรามีจิตเสมอไม่ผิดปกติ ใน

การนับถือด้วยการบูชาสักการะเป็นต้น โดยเคารพ ในการดูหมิ่นด้วยการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 568

ถ่มน้ำลายเป็นต้น และในโลกธรรมทั้งปวง ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ

อันยอดเยี่ยมสูงสุด. ในบทนั้น ไม่มีปริมาณแห่งอัตภาพ ที่พระมหาสัตว์

บำเพ็ญอุเบกขาบารมี ในกาลมีอาทิอย่างนี้ คือ ในกาลเป็นพระยามหาวานร

ในกาลเป็นพระเจ้ากาสี ในกาลเป็นเขมพราหมณ์ ในกาลเป็นอัฐิเสนปริ-

พาชก. อนึ่ง อุเบกขาบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น ครั้งเป็นมหาโลมหังสะ

แม้เมื่อเด็กชาวบ้านทำให้เกิดสุขและทุกข์ ด้วยการถ่มน้ำลายเป็นต้น และ

ด้วยการนำดอกไม้ของหอมเป็นต้น เข้าไปก็ไม่ละเลยอุเบกขาอย่างนี้ว่า :-

เรานอนอยู่ในป่าช้า เอาซากศพอันมีแต่

กระดูกทำเป็นหมอนหนุน. เด็กชาวบ้านพวก

หนึ่ง พากันเข้าไปทำความหยาบช้าร้ายกาจนา-

นัปการ.

ชื่อว่า ปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถึงการบำเพ็ญทุกรกิริยา

ที่พระองค์ทรงทำแล้วในภัตรกัปนี้ เพื่อบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณโดยสังเขป

ว่า :-

เราได้เสวยทุกข์และสมบัติมากมายหลาย

อย่าง ในภพน้อยและภพใหญ่ตามนัยที่กล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 569

แล้วนี้ แล้วจึงได้บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

แล้วทรงแสดงบารมี ๑๐ ที่พระองค์ทรงบำเพ็ญแล้วโดยชอบอีกว่า:-

ทตฺวา ทาตพฺพก ทาน ฯ ล ฯ ปตฺโต สมฺโพธิมุตฺตม

เราให้ทานที่ควรให้ ฯลฯ บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด ( มีคำแปล

ซ้ำกับที่แปลไว้แล้วในตอนต้น).

จบ อรรถกถาอุททานคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 570

ปกิณณกกถา

เพื่อความฉลาดหลายประการในโพธิสมภารของกุลบุตรทั้งหลาย ผู้

ตั้งอยู่ในฐานะนั้นมีความอุตสาหะในการปฏิบัติเพื่อไปสู่มหาโพธิญาณ จึงควร

กล่าวปกิณณกกถาในบารมีทั้งปวง.

ในบารมีนั้นมีปัญหาดังต่อไปนี้ :- บารมีนั้นคืออะไร บารมีเพราะ

อรรถว่ากระไร บารมีมีกี่อย่าง ลำดับของบารมีเป็นอย่างไร อะไรเป็นลักษณะ

รสปัจจุปัฏฐานและปทัฏฐาน อะไรเป็นปัจจัย อะไรเป็นความเศร้าหมอง

อะไรเป็นความผ่องแผ้ว อะไรเป็นปฏิปักษ์ อะไรเป็นข้อปฏิบัติ อะไร

เป็นการจำแนก อะไรเป็นการสงเคราะห์ อะไรเป็นอุบายให้สำเร็จ ให้สำเร็จ

โดยกาลไหน อะไรเป็นอานิสงส์ และอะไรเป็นผลของบารมีเหล่านั้น.

คำตอบมีดังต่อไปนี้ :- บารมีคืออะไร ? บารมีคือคุณธรรมทั้งหลาย

มีทานเป็นต้น กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย คือกรุณาอันตัณหา

มานะ และทิฏฐิไม่เข้าไปกำจัด.

บารมีเพราะอรรถว่ากระไร ? พระมหาสัตว์พระโพธิสัตว์เป็นผู้ยอดยิ่ง

เพราะสูงกว่าสัตว์ด้วยการประกอบคุณวิเศษมีทานและศีลเป็นต้น ความเป็น

หรือการกระทำของพระโพธิสัตว์เหล่านั้นเป็นบารมี กรรมมีการบำเพ็ญเป็น

ต้น ก็เป็นบารมี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 571

อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า ปรม เพราะอรรถว่าบำเพ็ญ ชื่อว่า โพธิสัตตะ

เพราะอรรถว่าเป็นผู้บำเพ็ญและเป็นผู้รักษาคุณทั้งหลายมีทานเป็นต้น. คุณ

ดังกล่าวมานี้ เป็นบารมีของผู้บำเพ็ญ. ภาวะก็ดี, กรรมก็ดีเป็นบารมีของ

ผู้บำเพ็ญ. กรรมมีการบำเพ็ญทานเป็นต้น ก็เป็นบารมีของพระโพธิสัตว์

ผู้บำเพ็ญ.

อีกอย่างหนึ่งบารมีย่อมผูกสัตว์อื่นไว้ในตนด้วยการประกอบคุณวิเศษ.

หรือบารมีย่อมขัดเกลาสัตว์อื่นให้หมดจดจากมลทินคือกิเลส. หรือบารมีย่อม

ถึงนิพพานอันประเสริฐที่สุดด้วยคุณวิเศษ หรือบารมีย่อมกำหนดรู้โลกอื่นดุจ

รู้โลกนี้ด้วยคุณวิเศษคือญาณอันเป็นการกำหนดแล้ว หรือบารมีย่อมตักตวง

คุณมีศีลเป็นต้นอื่น ไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง. หรือบารมีย่อมทำลาย

ปฎิปักษ์อื่นจากธรรมกายอันเป็นอัตตา. หรือหมู่โจรคือกิเลสอันทำความ

พินาศแก่ตนนั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ปรมะ. สัตว์ใดประกอบด้วยปรมะ

ดังกล่าวมานี้ สัตว์นั้นชื่อว่า มหาสัตว์. คำเป็นต้นว่า ปรมสฺส อย ดังนี้

ก็พึงประกอบตามนัยที่กล่าวมาแล้ว. หรือบารมีย่อมขัดเกลาคือย่อมบริสุทธิ์

ในฝั่งคือพระนิพพาน และยังสัตว์ทั้งหลายให้หมดจด. หรือบารมีย่อมผูก

ย่อมประกอบสัตว์ทั้งหลายไว้ในพระนิพพานนั้น. หรือบารมีย่อมไปย่อมถึง

ย่อมบรรลุถึงพระนิพพานนั้น. หรือบารมีย่อมกำหนดรู้ซึ่งพระนิพพานนั้น

ตามความเป็นจริง. หรือบารมีย่อมตักตวงซัดสัตว์ไว้ในพระนิพพานนั้น.

หรือบารมีย่อมกำจัดข้าศึกคือกิเลสของสัตว์ทั้งหลายไว้ในพระนิพพานนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 572

ฉะนั้น จึงชื่อว่าบารมี. บุรุษใดบำเพ็ญบารมีดังกล่าวมานี้ บุรุษนั้นชื่อว่า

มหาบุรุษ.

ความเป็นหรือการการทำของมหาบุรุษนั้น ชื่อว่าความเป็นผู้มีบารมี.

กรรมมีการบำเพ็ญทานเป็นต้นก็เป็น ความเป็นผู้มีบารมี พึงทราบอรรถแห่ง

ศัพท์ว่าบารมีโดยนัยดังกล่าวนี้แล.

บารมีมีกี่อย่าง ? โดยย่อมี ๑๐ อย่าง. บารมีเหล่านั้นปรากฏโดยสรุป

ในบาลี. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ในกาลนั้นเราเลือกทานบารมี อันเป็นทาง

ใหญ่ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่ก่อนประ-

พฤติมาแล้ว เป็นครั้งแรก ได้เห็นแล้ว.

ดังที่พระสารีบุตรทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามีเท่าไรพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนสารีบุตร ธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามี ๑๐ ประการแล. ธรรม

๑๐ ประการคืออะไรบ้าง ? ดูก่อนสารีบุตร ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ

ขันติ สัจจะ อธิษฐานะ เมตตา อุเบกขา เป็นธรรมทำให้เป็นพระพุทธเจ้า.

ดูก่อนสารีบุตร ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้แล เป็นพุทธการกธรรม. พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล้ว พระสุคตครั้นตรัสพุทธพจน์นี้ พระศาสดา

ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 573

บารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา

วีริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐานะ เมตตา อุเบกขา.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่ามี ๖ อย่าง. ท่านกล่าวดังนั้นด้วยการ

สงเคราะห์บารมีเหล่านั้น. การสงเคราะห์นั้นจักมีแจ้งข้างหน้า.

บทว่า กโม ในบทว่า โภ ตาส กโม ลำดับของบารมีเหล่านั้น

เป็นอย่างไร ? นี้เป็นลำดับแห่งเทศนา. อนึ่ง ลำดับนั้นเป็นเหตุแห่งการสมา-

ทานครั้งแรก. การสมาทานเป็นเหตุแห่งการค้นคว้า. ด้วยประการฉะนี้ จึง

เป็นอันแสดงโดยอาการค้นคว้าและสมาทานในเบื้องต้น. ในบารมีเหล่านั้น

ทานมีอุปการะมากแก่ศีลและทำได้ง่าย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวทานนั้น

ไว้ในเบื้องต้น. ทานอันศีลกำหนด จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เพระเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวศีลในลำดับของทาน. ศีลอันเนกขัมมะกำหนด. เนกขัมมะอัน

ปัญญากำหนด. ปัญญาอันวีริยะกำหนด. วีริยะอันขันติกำหนด. ขันติอัน

สัจจะกำหนด. สัจจะอันอธิษฐานะกำหนด. อธิษฐานะอันเมตตากำหนด.

เมตตาอันอุเบกขากำหนด จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เพราะเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวอุเบกขาในลำดับแห่งเมตตา. แต่พึงทราบว่า อุเบกขาอัน กรุณากำหนด

และกรุณาอันอุเบกขากำหนด. พระโพธิสัตว์ทั้งหลายมีมหากรุณา จึงเป็นผู้มี

อุเบกขาในสัตว์ทั้งหลายอย่างไร อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระโพธิสัตว์

ทั้งหลาย เป็นผู้วางเฉยตลอดอย่างใดอย่าหนึ่งในที่ควรวางเฉย. แต่ไม่วางเฉย

ในที่ทั้งปวง และโดยประการทั้งปวง ส่วนอาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 574

โพธิสัตว์ทั้งหลายไม่วางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย. แต่วางเฉยในความไม่เหมาะสม

ที่สัตว์กระทำ.

อีกนัยหนึ่ง ท่านกล่าวทานในเบื้องต้นเพราะเป็นสิ่งทั่วไปแก่สรรพ-

สัตว์ โดยเป็นไปแม้ในชนเป็นอันมาก เพราะมีผลน้อยและเพราะทำได้ง่าย.

ท่านกล่าวศีลในลำดับของทาน เพราะความบริสุทธิ์ของผู้ให้และผู้รับด้วยศีล

เพราะกล่าวถึงการอนุเคราะห์ผู้อื่น แล้วกล่าวถึงความไม่เบียดเบียนผู้อื่น

เพราะกล่าวถึงธรรมที่ควรทำ แล้วกล่าวถึงธรรมที่ไม่ควรทำ เพราะกล่าว

ถึงเหตุแห่งโภคสมบัติ แล้วจึงกล่าวถึงเหตุแห่งภวสมบัติ. ท่านกล่าวเนกขัมมะ

ในลำดับของศีล เพราะความสำเร็จศีลสมบัติด้วยเนกขัมมะ เพราะกล่าวถึง

กายสุจริตและวจีสุจริต แล้วจึงกล่าวถึงมโนสุจริต เพราะศีลบริสุทธิ์ให้สำเร็จ

ฌานโดยง่าย เพราะกล่าวถึงความบริสุทธิ์ในความขวนขวายด้วยการละโทษ

ของกรรม แล้วกล่าวถึงความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัยด้วยการละโทษของกิเลส

และเพราะกล่าวถึงการละการครอบงำจิตด้วยการละความก้าวล่วง. ท่านกล่าว

ปัญญาในลำดับเนกขัมมะ เพราะความสำเร็จและความบริสุทธิ์แห่งเนกขัมมะ

ด้วยปัญญา เพราะกล่าวถึงความไม่มีปัญญาด้วยไม่มีฌาน. จริงอยู่ ปัญญามี

สมาธิเป็นปทัฏฐาน และสมาธิมีปัญญาเป็นปัจจุปัฏฐาน. เพราะกล่าวถึง

สมถนิมิต แล้วจึงกล่าวถึงอุเบกขานิมิต เพราะกล่าวถึงความฉลาดในอุบาย

อันทำประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยการตั้งใจทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น. ท่านกล่าววีริยะ

ในลำดับของปัญญา เพราะความสำเร็จกิจด้วยปัญญาโดยปรารภความเพียร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 575

เพราะกล่าวถึงความอดทนด้วยการเพ่งธรรมคือความสูญของสัตว์ แล้วจึง

กล่าวถึงความอัศจรรย์ของการปรารภเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ เพราะกล่าวถึง

อุเบกขานิมิต แล้วจึงกล่าวถึงปัคคหนิมิต คือนิมิตในการประคับประคองจิต

และเพราะกล่าวถึงความใคร่ครวญก่อนทำแล้วจึงกล่าวถึงความเพียร เพราะ

ความเพียรของผู้ใคร่ครวญแล้วทำ ย่อมนำมาซึ่งผลวิเศษ.

ท่านกล่าวขันติในลำดับของความเพียร เพราะความสำเร็จแห่งความ

อดกลั้นด้วยความเพียร จริงอยู่คนมีความเพียรย่อมครอบงำทุกข์ที่สัตว์และ

สังขารนำเข้าไปเพราะปรารภความเพียรแล้ว. เพราะความเพียรเป็นอลัง-

การของความอดกลั้น จริงอยู่ ความอดกลั้นของผู้มีความเพียรย่อมงาม

เพราะกล่าวถึงปัคคหนิมิตแล้วจึงกล่าวถึงสมถนิมิต เพราะกล่าวถึงการละ

อุทธัจจและโทสะด้วยความเพียรยิ่ง จริงอยู่ อุทธัจจะและโทสะละได้ด้วย

ความอดทนในการเพ่งธรรม. เพราะกล่าวถึงการทำความเพียรติดต่อของผู้มี

ความเพียร. จริงอยู่ ผู้หนักด้วยขันติเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านทำความเพียรติดต่อ

เพราะกล่าวถึงความไม่มีตัณหา เพื่อทำตอบในการปรารภทำประโยชน์เพื่อ

ผู้อื่นของผู้ไม่ประมาท. จริงอยู่ เมื่อความเพ่งธรรมตามความเป็นจริงมีอยู่

ตัณหาย่อมไม่มี. และเพราะกล่าวถึงความอดกลั้นทุกข์ที่ผู้อื่นทำในการปรารภ

ประโยชน์เพื่อผู้อื่น. ท่านกล่าวสัจจะในลำดับของขันติ เพราะขันติตั้งอยู่ได้

นานด้วยสัจจะ เพราะกล่าวถึงความอดทนต่อความเสียหายของผู้ทำความ

เสียหาย แล้วกล่าวถึงความไม่ผิดพลาดในการทำอุปการะนั้น. และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 576

เพราะกล่าวถึงความอดทนในการเพ่งธรรม คือความสูญของสัตว์ แล้วกล่าว

ถึงสัจจะอันเป็นญาณเพิ่มพูนขันตินั้น. ท่านกล่าวอธิษฐานในลำดับของสัจจะ

เพราะความสำเร็จแห่งสัจจะด้วยอธิษฐาน เพราะการงดเว้นย่อมสำเร็จ

แก่ผู้ตั้งใจไม่หวั่นไหว. เพราะกล่าวคำไม่ผิดความจริง แล้วกล่าวถึงความเป็น

ผู้ไม่หวั่นไหว ในการกล่าวคำไม่ผิดความจริงนั้น จริงอยู่ ผู้ไว้ใจได้หวั่น

ไหว ประพฤติตามสมควรแก่ปฏิญญาในทานเป็นต้น เพราะกล่าวญาณสัจจะ

แล้วจึงกล่าวถึงการเพ่งความเป็นไปในสัมภาระทั้งหลาย จริงอยู่ ผู้มีญาณ

ตามเป็นจริง ย่อมอธิษฐานโพธิสมภารทั้งหลาย และยังโพธิสมภารนั้นให้

สำเร็จ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยปฏิปักษ์ทั้งหลาย. ท่านกล่าวเมตตาในลำดับ

แห่งอธิษฐาน เพราะความสำเร็จแห่งอธิษฐานด้วยการสมาทานทำประโยชน์

เพื่อผู้อื่นด้วยเมตตา เพราะกล่าวถึงอธิษฐานแล้วจึงกล่าวถึงการนำประโยชน์

เข้าไป เพราะผู้สำรวมในในโพธิสมภารเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา. และเพราะ

ผู้มีอธิษฐานไม่หวั่นไหว ยังสมทานให้เจริญด้วยการไม่ทำลายสมาทาน.

ท่านกล่าวอุเบกขาในลำดับแห่งเมตตา เพราะความบริสุทธิ์แห่งเมตตาด้วย

อุเบกขา เพราะกล่าวถึงการนำประโยชน์ในสัตว์ทั้งหลาย แล้วจึงกล่าวถึง

ความไม่สนใจโทษผิดของผู้นั้น เพราะกล่าวถึงเมตตาภาวนา แล้วกล่าวถึง

ความเจริญอันเป็นผลของเมตตาภาวนานั้น และเพราะกล่าวถึงความเป็นคุณ

น่าอัศจรรย์ว่า ผู้วางเฉยแม้ในสัตว์ ผู้ใคร่ประโยชน์ พึงทราบลำดับแห่ง

บารมีทั้งหลายเหล่านั้นด้วยประการ ฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 577

ในบทว่า อะไรเป็นลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐานนี้พึง

ทราบความดังต่อไปนี้. โดยความไม่ต่างกัน บารมีแม้ทั้งหมดมีการอนุเคราะห์

ผู้อื่นเป็นลักษณะ มีการทำอุปการะแก่ผู้อื่นเป็นรส. หรือมีความไม่หวั่นไหว

เป็นรส. มีการแสวงหาสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นปัจจุปัฏฐาน หรือมีความเป็น

พระพุทธเจ้าเป็นปัจจุปัฏฐาน มีมหากรุณาเป็นปทัฏฐาน. หรือมีความเป็น

ผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณาเป็นปทัฏฐาน

แต่โดยความต่างกัน เพราะเจตนาบริจาคเครื่องอุปกรณ์ของตนกำหนด

ด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา เป็นทานบารมี. กายสุจริต วจีสุจริต

กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา และโดยใจความ เจตนา

เว้นสิ่งไม่ควรทำและสิ่งที่ควรทำเป็นต้นเป็นศีลบารมี. จิตเกิดขึ้นเพื่อจะ

ออกจากกามภพ มีการเห็นโทษเป็นอันดับแรก กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาด

ในอุบายแห่งกรุณา เป็นเนกขัมมบารมี. ความเข้าใจถึงลักษณะวิเศษอันเสมอ

กันแห่งธรรมทั้งหลาย กำหนัดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา เป็น

ปัญญาบารมี. การปรารภถึงประโยชน์ของผู้อื่นด้วยกายสละจิต กำหนดด้วย

ความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา เป็นวีริยบารมี. การอดกลั้นโทษของสัตว์

และสังขารกำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา การตั้งอยู่ใน

อโทสะ จิตเกิดขึ้นเป็นไปในอาการของอโทสะนั้น เป็นขันติบารมี. การพูด

ไม่ผิดมีวิรัติเจตนาเป็นต้น กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา

เป็นสัจบารมี. การตั้งใจสมาทานไม่หวั่นไหว กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 578

ในอุบายแห่งกรุณา จิตเกิดขึ้นเป็นไปในอาการแห่งความตั้งใจสมาทานไม่

หวั่นไหวนนั้น เป็นอธิษฐานบารมี. การนำประโยชน์สุขให้แก่โลก กำหนด

ด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา โดยถือความไม่พยาบาท เป็นเมตตา-

บารมี. การกำจัดความเสื่อมและความเคียดแค้น กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาด

ในอุบายแห่งกรุณา. ความเป็นไปเสมอในสัตว์และสังขารทั้งหลายทั้งที่น่า

ปรารถนาและไม่น่าปรารถนา เป็นอุเบกขาบารมี.

ฉะนั้นทานบารมี มีการบริจาคเป็นลักษณะ มีการกำจัดโลกในไทย

ธรรมเป็นรส. มีความสามารถเป็นปัจจุปัฏฐาน. หรือมีภวสมบัติและวิภว-

สมบัติเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีวัตถุอันควรบริจาคเป็นปทัฏฐาน. ศีลบารมี มีการ

ละเว้นลักษณะ. ท่านอธิบายว่า มีการสมาทานเป็นลักษณะ และมีการตั้ง

มั่นเป็นลักษณะ. มีการกำจัดความเป็นผู้ทุศีลเป็นรส. หรือมีความไม่มีโทษ

เป็นรส. มีความสะอาดเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีหิริโอตตัปปะเป็นปทัฏฐาน.

เนกขัมมบารมี มีการออกจากกามและจากความมีโชคเป็นลักษณะ. มีการ

ประกาศโทษของถามนั้นเป็นรส. มีความหันหลังจากโทษนั้นเป็นปัจจุปัฏ-

ฐาน. มีความสังเวชเป็นปทัฏฐาน. ปัญญาบารมี มีการรู้แจ้งแทงตลอดตาม

สภาวธรรมเป็นลักษณะ. หรือการรู้แจ้งแทงตลอดไม่พลาดเป็นลักษณะ ดุจ

การซัดธนูและยิงด้วยลูกศรของคนฉลาด. มีแสงสว่างตามวิสัยเป็นรสดุจ

ประทีป. มีความไม่หลงเป็นปัจจุปัฏฐาน. ดุจคนนำทางไปในป่า. มีสมาธิ

เป็นปทัฏฐาน. หรือมีอริยสัจ ๔ เป็นปทัฏฐาน. วีริยบารมี มีอุตสาหะเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 579

ลักษณะ. มีการอุปถัมภ์เป็นรส. มีการไม่จมเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีวัตถุปรารภ

ความเพียรเป็นปทัฏฐาน. หรือมีความสังเวชเป็นปทัฏฐาน. ขันติบารมี มี

ความอดทนเป็นลักษณะ. มีความอดกลั้นสิ่งที่น่าปรารถนาและไม่น่า

ปรารถนาเป็นรส. มีความอดกลั้นเป็นปัจจุปัฏฐาน. หรือมีความไม่โกรธเป็น

ปัจจุปัฏฐาน. มีเห็นตามความจริงเป็นปทัฏฐาน. สัจจบารมี มีการไม่พูดผิด

เป็นลักษณะ. มีการประกาศตามความเป็นจริงเป็นรส. มีความชื่นใจเป็น

ปัจจุปัฏฐาน. มีความสงบเสงี่ยมเป็นปทัฏฐาน. อธิษฐานบารมี มีความตั้งใจ

ในโพธิสมภารเป็นลักษณะ. มีการครอบงำสิ่งเป็นปฏิปักษ์ของโพธิสมภาร

เหล่านั้นเป็นรส. มีความไม่หวั่นไหวในการครอบงำสิ่งเป็นปฏิปักษ์เป็นปัจจุ-

ปัฏฐาน. มีโพธิสมภารเป็นปทัฏฐาน. เมตตบารมี มีความเป็นไปแห่งอาการ

เป็นประโยชน์เป็นลักษณะ. มีการนำประโยชน์เข้าไปเป็นรส. หรือมีการ

กำจัดความอาฆาตเป็นรส. มีความสุภาพเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีการเห็นสัตว์

ทั้งหลายเป็นที่น่าพอใจเป็นปทัฏฐาน. อุเบกขาบารมี มีความเป็นไปโดยอาการ

ที่เป็นกลางเป็นลักษณะ. มีเห็นความเสมอกันเป็นรส. มีการสงบความเคียด

แค้นและความเสื่อมเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีการพิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็น

ของตนเป็นปทัฏฐาน.

อนึ่งในบทนี้ ควรกล่าวถึงบารมีโดยความต่างกันแห่งลักษณะ มีการ

บริจาคเป็นต้น ของทานเป็นต้น เพราะกำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดใน

อุบายแห่งกรุณา. จริงอยู่ทานเป็นต้น กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 580

แห่งกรุณา เป็นไปแล้วในสันดานของพระโพธิสัตว์ ชื่อว่าบารมี มีทานบารมี

เป็นต้น.

อะไรเป็นปัจจัย. อภินิหารเป็นปัจจัยแห่งบารมีทั้งหลาย. จริงอยู่

อภินิหารใด ยังธรรมสโมธาน ๘ ให้ถึงพร้อม ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้อย่างนี้ว่า :-

อภินิหารย่อมสำเร็จเพราะธรรมสโมธาน

๘ ประการ คือ ความเป็นมนุษย์ ๑ ลิงค-

สมบัติ ๑ เหตุ ๑ เห็นศาสดา ๑ บรรพชา ๑

คุณสมบัติ ๑ อธิการ ๑ ความพอใจ ๑.

อันเป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า เราข้ามแล้วพึงให้สัตว์ข้าม เราพ้น

แล้วพึงให้สัตว์พ้น เราฝึกแล้วพึงให้สัตว์ฝึก เราสงบแล้วพึงให้สัตว์สงบ

เราหายใจคล่องแล้วพึงให้สัตว์หายใจคล่อง เรานิพพานแล้วพึงให้สัตว์

นิพพาน เราบริสุทธิ์แล้วพึงให้สัตว์บริสุทธิ์ เราตรัสรู้แล้วพึงให้สัตว์

ตรัสรู้ ดังนี้. อภินิหารนั้นเป็นปัจจัยแห่งบารมีทั้งปวงโดยไม่ต่างกัน . ความ

สำเร็จแห่งการค้นคว้า การตั้งมั่น การตั้งใจสมาทานบารมีให้สูงขึ้นไป

เพราะความเป็นไปแห่งปัจจัยนั้น ย่อมมีแก่พระมหาบุรุษทั้งหลาย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มนุสฺสตฺต คืออัตภาพของมนุษย์. เพราะ

ความปรารถนา ย่อมสำเร็จแก่ผู้ตั้งอยู่ในอัตภาพของมนุษย์เท่านั้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 581

ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า. ไม่สำเร็จแก่ผู้ตั้งอยู่ในชาติมีนาค และ

ครุฑเป็นต้น. ถ้าถามว่าเพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะสมควรแก่ความเป็น

พระพุทธเจ้า.

บทว่า ลิงฺคสมฺปตฺติ ความว่า แม้ตั้งอยู่ในอัตภาพของมนุษย์

ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่บุรุษเท่านั้น, ไม่สำเร็จแก่สตรี บัณเฑาะก์

คือกะเทย นปุงสกะ คือไม่มีเพศชายหญิง อุภโตพยัญชนกะ คือปรากฏทั้ง

สองเพศ. ถ้าถามว่าเพราะอะไร ? ตอบว่า เพราะเหตุตามที่ได้กล่าวแล้ว

และเพราะไม่มีความบริบูรณ์แห่งลักษณะ. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันการที่สตรีจะพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้านั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะเป็นได้. เพราะฉะนั้น ความ

ปรารถนาจึงไม่สำเร็จ แม้แก่มนุษย์ผู้ตั้งอยู่ในเพศสตรี หรือแก่บัณเฑาะก์

เป็นต้น.

บทว่า เหตุ คือถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย. จริงอยู่ ความปรารถนา

ย่อมสำเร็จแก่มนุษย์บุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เพราะเหตุสมบัติ. นอกนั้น

ไม่สำเร็จ.

บทว่า สตฺถารทสฺสน คือความมีพระศาสดาอยู่เฉพาะหน้า. เพราะ

ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้ปรารถนาในสำนักของพระพุทธเจ้า ซึ่งยังทรง

พระชนม์อยู่. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ความปรารถนาย่อม

ไม่สำเร็จในสำนักของพระเจดีย์ ที่โคนโพธิ์ ที่พระปฏิมา หรือที่สำนัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 582

ของพระปัจเจกพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้า. เพราะเหตุไร ? เพราะ

ไม่มีอธิการ คือวิสัยที่ทำยิ่ง มีกำลัง. ความปรารถนาจะสำเร็จในสำนักของ

พระพุทธเจ้าเท่านั้น. เพราะอธิการนั้นยังไม่ถึงความมีกำลังโดยความเป็น

อัธยาศัยอันยิ่ง.

บทว่า ปพฺพชฺชา คือความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้ปรารถนาใน

สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ผู้บวชในสำนักดาบสหรือในสำนัก

ของภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นกรรมกิริยวาที คือผู้เชื่อกรรมและผลของกรรม.

ไม่สำเร็จแก่ผู้ตั้งอยู่ในเพศคฤหัสถ์. เพราะเหตุไร ? เพราะไม่สมควรเป็น

พระพุทธเจ้า. เพราะบรรพชิตเท่านั้นเป็นพระมหาโพธิสัตว์ ย่อมบรรลุ

สัมมาสัมโพธิญาณได้ มิใช่เป็นคฤหัสถ์ เพราะฉะนั้น ในเวลาตั้งปณิธาน

ควรเป็นเพศของบรรพชิตเท่านั้น เพราะเป็นการอธิษฐานด้วยคุณสมบัติ

โดยแท้.

บทว่า คุณสมฺปตฺติ คือถึงพร้อมด้วยคุณมีอภิญญาเป็นต้น. เพราะ

ความปรารถนาย่อมสำเร็จแม้แก่บรรพชิต ผู้ได้สมาบัติ ๘ มีอภิญญา ๕

เท่านั้น. ไม่สำเร็จแก่ผู้ปราศจากคุณสมบัติตามที่กล่าวแล้ว. เพราะเหตุไร ?

เพราะสามารถค้นคว้าบารมีได้. พระมหาบุรุษบำเพ็ญอภินิหาร เป็นผู้สามารถ

ค้นคว้าบารมีได้ด้วยตนเอง เพราะประกอบด้วยอุปนิสัยสมบัติและอภิญญา-

สมบัติ.

บทว่า อธิกาโร คือมีอุปการะยิ่ง. จริงอยู่ ผู้ใดแม้ถึงพร้อมด้วย

คุณสมบัติตามที่กล่าวแล้ว แม้ชีวิตของตนก็สละแด่พระพุทธเจ้าได้ ย่อมทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 583

อุปการะอันยิ่งในกาลนั้น. อภินิหารย่อมสำเร็จแก่ผู้นั้น. ไม่สำเร็จแก่คน

นอกนี้.

บทว่า ฉนฺทตา คือพอใจในกุศลด้วยความใคร่ที่จะทำ. จริงอยู่

ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้ประกอบด้วยธรรมตามที่กล่าวแล้ว มีความ

พอใจมาก มีความปรารถนามาก มีความใคร่เพื่อจะทำมาก เพื่อประโยชน์

แก่ธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น. ไม่สำเร็จแก่คนนอกนี้.

ต่อไปนี้เป็นความเปรียบเทียบ เพราะความเป็นผู้มีฉันทะใหญ่. พึง

ทราบความที่ฉันทะเป็นความใหญ่หลวง ในบทว่า ฉนฺทตา นี้ โดยนัยมี

อาทิดังต่อไปนี้ :- บุคคลฟังมาว่า ผู้ใดสามารถข้ามท้องจักรวาลนี้ทั้งสิ้นอันมี

น้ำท่วมนองเป็นอันเดียวกัน ด้วยกำลังแขนของตนเท่านั้นแล้วจะถึงฝั่งได้

ผู้นั้นย่อมถึงความเป็นพระพุทธเจ้า แล้วไม่ย่อท้อเพราะทำได้ยาก กลับ

พอใจว่า เราจักข้ามถึงฝั่งได้. ไม่แสดงอาการสยิ้วหน้าในกาลนั้นเลย

อนึ่ง บุคคลฟังมาว่า ผู้ใดเหยียบจักรวาลนี้ทั้งสิ้นอันเต็มไปด้วยถ่านเพลิง

ปราศจากเปลวไฟ ปราศจากควันไฟด้วยเท้าทั้งสองสามารถก้าวเลยไปถึงฝั่ง

ได้. ผู้นั้นย่อมถึงความเป็นพระพุทธเจ้า. แล้วไม่ย่อท้อเพราะทำได้ยาก

กลับพอใจว่า เราจักก้าวเลยไปถึงฝั่งได้. เขาไม่แสดงอาการสยิ้วหน้าใน

การนั้นเลย. อนึ่ง บุคคลฟังมาว่า ผู้ใดสามารถทะลุจักรวาลทั้งสิ้นปกคลุม

ด้วยพุ่มไม้ไผ่หนาทึบ รกรุงรังไปด้วยป่าหนามและเถาวัลย์ แล้วก้าวเลยไป

ถึงฝั่งได้ ฯลฯ เขาไม่แสดงอาการสยิ้วหน้าในการนั้นเลย. อนึ่ง บุคคลฟัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 584

มาว่า ผู้ใดที่หมกไหม้ในนรกตลอดอสงไขยแสนกัป จะพึงบรรลุความเป็น

พระพุทธเจ้าแล้วไม่ย่อท้อเพราะได้ยากกลับพอใจว่า เราจักหมกไหม้ในนรก

นั้น แล้วบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า. เขาไม่แสดงอาการสยิ้วหน้าในการ

นั้นเลย.

อภินิหารประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ อย่างนี้โดยเนื้อความพึงทราบว่า

จิตตุปบาทที่เป็นไปอย่างนั้น เพราะประชุมองค์ ๘ เหล่านั้น. จิตตุปบาทนั้น

มีการตั้งใจแน่วแน่เพื่อสัมมาสัมโพธิญาณโดยชอบนั่นเอง เป็นลักษณะ.

มีความปรารถนามีอาทิอย่างนี้ว่า โอ เราพึงตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ

เป็นลำดับไป. เราพึงยังประโยชน์สุขให้สำเร็จแก่สัตว์ เป็นรส. มีความ

เป็นเหตุแห่งโพธิสัมภารเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีมหากรุณาเป็นปทัฏฐาน. หรือ

มีอุปนิสัยสมบัติเป็นปทัฏฐาน.

พึงเห็นว่า บุญวิเศษอันเป็นมูลแห่งธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้า

ทั้งปวงเป็นความเจริญอย่างยิ่ง เป็นความงามอย่างยิ่ง เป็นความสง่าหา

ประมาณมิได้ โดยความเป็นไปปรารภพุทธภูมิอันเป็นอจินไตย และ

ประโยชน์ของสัตวโลกอันหาประมาณมิได้

อนึ่ง พระมหาบุรุษพร้อมด้วยการบรรลุนั้นแล เป็นผู้ชื่อว่าหยั่งลง

สู่การปฏิบัติเพื่อบรรลุมหาโพธิญาณ ย่อมได้สมัญญาว่า พระโพธิสัตว์

เพราะมีสภาพไม่กลับจากนั้น เพราะบรรลุความเป็นของแน่นอน ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 585

เป็นผู้เอาใจใส่สม่ำเสมอในสัมมาสัมโพธิญาณโดยภาวะทั้งปวง และความ

เป็นผ้สามารถศึกษาโพธิสมภารย่อมตั้งอยู่พร้อมแก่พระมหาบุรุษนั้น จริงอยู่

พระมหาบุรุษทั้งหลายค้นคว้าบารมีทั้งปวงโดยชอบ ด้วยยังอภินิหารตามที่

กล่าวแล้วให้สำเร็จ ด้วยบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ อันมีเพศเป็นเบื้องต้น

ด้วยสยัมภูญาณ แล้วบรรลุโดยลำดับด้วยการถือมั่น. เหมือนสุเมธบัณฑิต

ผู้บำเพ็ญอภินิหารไว้มากปฏิบัติแล้ว. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

ดูเถิด เราค้นหาธรรมอันทำให้เป็นพระ-

พุทธเจ้าจากที่โน้นที่นี่ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ

ตลอด ๑๐ ทิศ จนถึงธรรมธาตุ เมื่อเราค้น

หาในครั้งนั้นได้เห็นทานบารมีเป็นอันดับแรก.

ได้ยินว่า พึงทราบปัจจัย ๔ เหตุ ๔ และพละ ๔ แห่งอภินิหาร

นั้น.

ในอภินิหารนั้น ปัจจัย ๔ เป็นอย่างไร ? พระมหาบุรุษในโลกนี้

ย่อมเห็นพระตถาคต ทรงกระทำปาฏิหาริย์น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีด้วยพุทธา-

นุภาพยิ่งใหญ่ จิตของพระมหาบุรุษนั้นย่อมตั้งอยู่ในมหาโพธิญาณ กระทำ

ปาฏิหาริย์นั้นให้เป็นอารมณ์ เพราะอาศัยพระตถาคตนั้นว่า พระผู้มีพระภาค-

เจ้ามีธรรมน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีและอานุภาพเป็นอจินไตยอย่างนี้ เพราะรู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 586

แจ้งแทงตลอด ธรรมธาตุใดธรรมธาตุนี้ มีอานุภาพมากหนอ. พระมหาบุรุษ

นั้นน้อมไปในสัมโพธิญาณนั้น ทำธรรมธาตุนั้นให้เป็นปัจจัยอาศัยการเห็น

มหานุภาพนั้นนั่นแลย่อมตั้งจิตไว้ในอภินิหารนั้น. นี้เป็นปัจจัยที่ ๑ แห่ง

มหาภินิหาร.

มหาบุรุษย่อมไม่เห็นความที่พระตถาคตมีอานุภาพใหญ่ตามที่กล่าว

แล้ว แต่ฟังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเช่นนี้และเป็นเช่นนี้ ดังนี้. พระ-

มหาบุรุษนั้นน้อมไปในสัมโพธิญาณ ทำธรรมธาตุนั้นให้เป็นปัจจัย อาศัย

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมตั้งจิตไว้ในอภินิหารนั้น. นี้เป็นปัจจัยที่ ๒

แห่งมหาภินิหาร.

มหาบุรุษย่อมไม่เห็นความที่พระตถาคตนั้นมีอานุภาพใหญ่ ตามที่

กล่าวแล้ว. ทั้งไม่ได้ฟังมหานุภาพนั้นจากผู้อื่น. แต่เมื่อพระตถาคตทรง

แสดงธรรม มหาบุรุษย่อมฟังธรรมปฏิสังยุตด้วยพุทธานุภาพโดยนัยมีอาทิว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยกำลัง ๑๐ ดังนี้. มหาบุรุษนั้น

น้อมไปในสัมโพธิญาณ ทำธรรมธาตุนั้นให้เป็นปัจจัยอาศัยพุทธานุภาพนั้น

ย่อมตั้งจิตไว้ในอภินิหารนั้น. นี้เป็นปัจจัยที่ ๓ แห่งมหาภินิหาร.

มหาบุรุษย่อมไม่เห็นความที่พระตถาคตนั้นมีอานุภาพใหญ่ ตามที่

กล่าวแล้ว. ทั้งไม่ได้ฟังอภินิหารนั้นจากผู้อื่น. ทั้งไม่ได้ฟังธรรมของ

พระตถาคต. แต่เป็นผู้มีอัธยาศัยกว้างขวาง มีความตั้งใจงามคิดว่า เราจัก

รักษาวงศ์ของพระพุทธเจ้า แบบแผนของพระพุทธเจ้า ประเพณีของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 587

พระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมของพระพุทธเจ้า แล้วสักการะ เคารพนับถือ

บูชาธรรมเท่านั้น ประพฤติธรรม น้อมไปในสัมโพธิญาณ ทำธรรมธาตุ

นั้นให้เป็นปัจจัย อาศัยธรรมนั้นย่อมตั้งจิตไว้ในอภินิหารนั้น. นี้เป็นปัจจัย

ที่ ๔ แห่งมหาภินิหาร.

เหตุ ๔ แห่งมหาภินิหารเป็นอย่างไร ? มหาบุรุษในโลกนี้ตามปกติ

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย สร้างสมอธิการในพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ใน

ครั้งก่อน. นี้เป็นเหตุที่ ๑ แห่งมหาภินิหาร. ยังมีข้ออื่นอีก มหาบุรุษ

ตามปกติเป็นผู้มีอัธยาศัยกรุณา น้อมไปในกรุณา ประสงค์จะนำทุกข์ของ

สัตว์ทั้งหลายออกไป สละกายและชีวิตของตน. นี้เป็นเหตุที่ ๒ แห่งมหา-

ภินิหาร. ยังมีข้ออื่นอีก มหาบุรุษเพียรพยายามไม่เบื่อหน่ายจากวัฏฏทุกข์

แม้ทั้งสิ้นและจากการประพฤติกิจที่ทำได้ยากเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ ตลอด

กาลนาน ไม่หวาดสะดุ้ง ตลอดถึงสำเร็จประโยชน์ที่ปรารถนา. นี้เป็นเหตุ

ที่ ๓ แห่งมหาภินิหาร. ยังมีข้ออื่นอีก มหาบุรุษเป็นผู้อาศัยกัลยาณมิตร

ผู้ที่ห้ามจากสิ่งไม่เป็นประโยชน์ ให้ตั้งอยู่ในสิ่งเป็นประโยชน์. นี้เป็นเหตุ

ที่ ๔ แห่งมหาภินิหาร.

พึงทราบอุปนิสสัยสัมปทาของมหาบุรุษ ดังต่อไปนี้ . อัธยาศัยของ

มหาบุรุษนั้น น้อมไป โน้มไป โอนไปในสัมโพธิญาณโดยส่วนเดียวเท่านั้น

ฉันใด การประพฤติประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น เพราะมหาบุรุษนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 588

ทำความตั้งใจแน่วแน่เพื่อสัมโพธิญาณในสำนักของพระพุทธเจ้าในกาลก่อน

ด้วยใจและวาจาว่า แม้เราก็จะเป็นเช่นกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงยัง

ประโยชน์สุขให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายโดยชอบนั่นแล. มหาบุรุษมีอุปนิสัย

สมบูรณ์อย่างนี้ ความวิเศษใหญ่ การกระทำต่างใหญ่ ด้วยสาวกโพธิสัตว์และ

ปัจเจกโพธิสัตว์ของมหาบุรุษผู้ประกอบด้วยเพศ ปรากฏด้วยอุปนิสสยสมบัติ

ย่อมปรากฏจากอินทรีย์ การปฏิบัติและความเป็นผู้ฉลาด. คนนอกนี้มิได้

ปฏิบัติเหมือนอย่างมหาบุรุษในโลกนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัยมีอินทรีย์

บริสุทธิ์ มีญาณบริสุทธิ์ มหาบุรุษเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น. มิใช่เพื่อ

ประโยชน์ตน. เป็นความจริงดังนั้น คนนอกนี้มิได้ปฏิบัติเหมือนอย่าง

มหาบุรุษนั้นปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์

โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

อนึ่ง มหาบุรุษย่อมนำมาซึ่งความเป็นผู้ฉลาดในประโยชน์สุขนั้น ด้วย

ปฏิภาณอันเกิดขึ้นตามฐานะ และเพราะความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ และ

อฐานะ.

อนึ่ง พึงทราบลักษณะแห่งทานบารมีของมหาบุรุษผู้มีอัธยาศัยใน

ทาน มีอาทิว่า มหาบุรุษตามปกติเป็นผู้มีอัธยาศัยในทาน ยินดีในทาน เมื่อ

มีไทยธรรมย่อมให้ทีเดียว. ไม่เบื่อหน่ายจากการเป็นผู้มีปกติแจกจ่ายเนือง ๆ

สม่ำเสมอ มีความเบิกบาน เอื้อเฟื้อให้ มีความสนใจให้. ครั้นให้ทาน

แม้มากมาย ก็ยังไม่พอใจด้วยการให้. ไม่ต้องพูดถึงให้น้อยละ. อนึ่ง เมื่อ

จะยังอุตสาหะให้เกิดแก่ผู้อื่น ย่อมกล่าวถึงคุณในการให้. แสดงธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 589

ปฏิสังยุตด้วยการให้. อนึ่ง เห็นคนอื่นให้แก่คนอื่นก็พอใจ. ให้อภัยแก่คน

อื่นในฐานะที่เป็นภัย.

อนึ่ง พึงทราบลักษณะแห่งศีลบารมี ของมหาบุรุษผู้มีอัธยาศัยในศีล

มีอาทิอย่างนี้ว่า มหาบุรุษย่อมละอายย่อมกลัว ธรรมลามกมีการฆ่าสัตว์

เป็นต้น. เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ยินดีในธรรมงาม มีศีล

ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ชื่อตรง ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็นผู้ว่าง่าย

อ่อนโยน ไม่กระด้าง ไม่ดูหมิ่นท่าน ไม่ถือเอาของคนอื่นโดยที่สุดเส้นหญ้า

หรือเมื่อคนอื่นลืมของไว้ในที่อยู่ของตน บอกให้เขารู้แล้วมอบให้โดยไม่เอา

ของของคนอื่นเก็บไว้. ไม่เป็นผู้โลภ. แม้จิตลามกในการถือเอาของคนอื่น

ก็ไม่ให้เกิดขึ้น. เว้นการทำลายหญิงเป็นต้นเสียแต่ไกล. พูดจริงไว้ใจได้ สมาน

คนที่แตกกัน เพิ่มสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ พูดน่ารักยิ้มแย้มแจ่มใส พูดเป็น

อรรถ พูดเป็นธรรม ไม่มีความอยากได้ ไม่มีใจพยาบาท มีความเห็นไม่

วิปริต ด้วยรู้ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตนด้วยกำหนดรู้อริยสัจ มีความ

กตัญญูกตเวที อ่อนน้อมต่อผู้เจริญ มีอาชีพบริสุทธิ์ ใคร่ธรรม ชักชวน

คนอื่นในธรรม ห้ามสัตว์ทั้งหลายจากสิ่งที่ไม่ควรทำด้วยประการทั้งปวง ให้

ตั้งอยู่ในสิ่งที่ควรทำ ประกอบความเพียรในกิจนั้นด้วยตน ครั้นทำสิ่งไม่

ควรทำด้วยตนเอง รีบเว้นจากสิ่งนั้นทันที.

อนึ่ง พึงทราบลักษณะแห่งเนกขัมมบารมีเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่ง

อัธยาศัยในเนกขัมมะเป็นต้น ของมหาบุรุษมีอาทิอย่างนี้ว่า มหาบุรุษเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 590

ผู้มีกิเลสเบาบาง มีนิวรณ์เบาบาง มีอัธยาศัยในความสงัด ไม่ฟุ้งซ่าน.

วิตกลามก ไม่ไหลเข้าไปยังจิตของมหาบุรุษนั้น. อนึ่ง จิตของมหาบุรุษนั้น

ถึงความสงัดตั้งมั่นโดยไม่ยาก. ความเป็นผู้มีจิตเมตตาย่อมตั้งอยู่แม้ในฝ่ายที่

เป็นศัตรูอย่างเร็ว. ไม่ต้องพูดถึงคนนอกนี้ เป็นผู้มีสติ ระลึกถึงสิ่งที่ทำ

แม้คำพูดนานแล้วได้. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญามีโอชะเกิดแต่

ธรรม. เป็นผู้เฉลียวฉลาดในกิจที่ควรท่านั้น ๆ. เป็นผู้ปรารภความเพียรใน

การทำประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย. เป็นผู้ประกอบด้วยกำลังขันติอดกลั้นได้

ทั้งหมด. เป็นผู้มีความตั้งใจไม่หวั่นไหว มีสมาทานมั่นคงและเป็นผู้วางเฉย

ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา.

เมื่อมหาบุรุษประกอบด้วยลักษณะแห่งโพธิสมภารเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้ ท่านจึงกล่าวว่า การอาศัยกัลยาณมิตรเป็นเหตุแห่งมหาภินิหาร

ดังนี้. กัลยาณมิตรในโลกนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ

วีริยะ สติ สมาธิ ปัญญา. เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคตและผลของกรรม

ด้วยศรัทธาสมบัติ. ไม่สละการแสวงประโยชน์ให้สัตว์ทั้งหลายอันเป็นเหตุ

แห่งสัมมาสัมโพธิญาณ. เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพน่ายกย่องของ

สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้คอยตักเตือน ติเตียนความชั่ว คอยว่ากล่าว อดทนต่อ

ถ้อยคำด้วยศีลสมบัติ. เป็นผู้กล่าวธรรมลึกซึ้งนำมาซึ่งประโยชน์สุขแก่สัตว์

ทั้งหลายด้วยสุตสมบัติ. เป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลีด้วยจาค

สมบัติ. เป็นผู้ปรารภความเพียรในการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 591

ด้วยวีริยสมบัติ. เป็นผู้มีสติตั้งมั่นในธรรมอันไม่มีโทษด้วยสติสมบัติ. เป็น

ผู้ไม่ฟุ้งซ่านมีจิตตั้งมั่นด้วยสมาธิสมบัติ. ย่อมรู้ความไม่วิปริตด้วยปัญญา-

สมบัติ. มหาบุรุษนั้นแสวงหาคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมด้วยสติ รู้

ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย ตามความเป็นจริงด้วยปัญญา

มีจิตเป็นหนึ่งในธรรมนั้นด้วยสมาธิ ห้ามสัตว์ทั้งหลายจากสิ่งไม่เป็นประ-

โยชน์ แล้วให้ประกอบในสิ่งเป็นประโยชน์ด้วยวีริยะ. ดังที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

มหาบุรุษเป็นผู้น่ารัก น่าเคารพ น่ายกย่อง

ค่อยว่ากล่าว อดทนถ้อยคำ กล่าวธรรมลึกซึ้ง

ไม่ชักชวนในทางไม่ถูก.

มหาบุรุษ อาศัยกัลยาณมิตรประกอบด้วยคุณอย่างนี้แล้ว ย่อมยัง

อุปนิสสัยสมบัติของตนให้ผ่องแผ้วโดยชอบนั่นแล. และเป็นผู้ประกอบด้วย

อัธยาศัยบริสุทธิ์ด้วยดี ประกอบด้วยพละ ๔ ยังองค์ ๘ ให้ประชุมกันโดย

ไม่ช้านัก ทำมหาภินิหาร มีอันไม่กลับเป็นธรรมดา เป็นผู้แน่นอน มี

สัมโพธิญาณเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ย่อมตั้งอยู่ในความเป็นพระโพธิสัตว์.

พึงทราบพละ ๔ เหล่านี้ของอภินิหารนั้น ดังต่อไปนี้. อัชฌัตติก-

พละ คือกำลังภายใน ได้แก่ ความชอบใจด้วยเคารพในธรรมอาศัยตน ใน

สัมมาสัมโพธิญาณ เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปโดยส่วนเดียว. มหาบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 592

มีตนเป็นใหญ่ มีความละอายเป็นที่พึ่งอาศัย และถึงพร้อมด้วยอภินิหาร

บำเพ็ญบารมี แล้วบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ พาหิรพละ คือกำลังภายนอก

ได้แก่ ความพอใจอาศัยคนอื่นในสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัย

น้อมไปโดยส่วนเดียว. มหาบุรุษมีโลกเป็นใหญ่ มีความนับถือเป็นที่พึ่งอาศัย

และถึงพร้อมด้วยอภินิหาร บำเพ็ญบารมีแล้วบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ. อุป-

นิสสยพละ คือกำลังอุปนิสัย ได้แก่ ความพอใจด้วยอุปนิสสยสมบัติใน

สัมมาสัมโพธิญาณ เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปโดยส่วนเดียว. มหาบุรุษ

มีอินทรีย์กล้า มีความฉลาด อาศัยสติ ถึงพร้อมด้วยอภินิหาร บำเพ็ญบารมี

แล้วบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ. ปโยคพละ คือกำลังความเพียร ได้แก่

ความถึงพร้อมด้วยความเพียร ความเป็นผู้ทำด้วยความเคารพ ความเป็นผู้

ทำติดต่อ อันเกิดแต่ความเพียรนั้นในสัมมาสัมโพธิญาณ. มหาบุรุษ มีความ

เพียรบริสุทธิ์ ทำเป็นลำดับ และถึงพร้อมด้วยอภินิหาร บำเพ็ญบารมีแล้ว

บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ.

อภินิหารนี้อันถึงพร้อมด้วยสโมธานมีองค์ ๘ มีการเริ่มสมบูรณ์ด้วย

ปัจจัย ๔ เหตุ พละ อย่างนี้ เป็นปัจจัยแห่งบารมีทั้งหลาย เพราะ

ความเป็นมูลเหตุ. อนึ่ง ธรรมทั้งหลายน่าอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการ ย่อม

ตั้งอยู่ในมหาบุรุษด้วยความเป็นไปของผู้ใด. ย่อมยึดถือหมู่สรรพสัตว์ด้วยจิต

เป็นที่รักดุจบุตรเกิดแต่อกของตน. จิตของผู้นั้นจะไม่เศร้าหมองด้วยอำนาจ

ความเศร้าหมองถึงบุตร. อัธยาศัย และความเพียรของมหาบุรุษนั้นย่อมนำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 593

ประโยชน์สุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย. ธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้าของตน

ย่อมเจริญ ย่อมให้มีผลยิ่ง ๆ ขึ้น. อนึ่ง มหาบุรุษประกอบด้วยความหลั่งไหล

แห่งบุญกุศลอันสูงที่สุด อันเป็นปัจจัยแห่งความเป็นไป เป็นอาหารแห่ง

ความสุข เป็นผู้ควรรับทักษิณา เป็นที่ตั้งแห่งคารวะอย่างสูง และเป็นบุญ-

เขตไม่มีใครเหมือน. มหาภินิหาร มีคุณมากมาย มีอานิสงส์มากมายอย่างนี้

พึงทราบว่าเป็นปัจจัยแห่งบารมีทั้งหลาย

มหากรุณาและความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย ก็เหมือนอภินิหารนั้นแล.

ปัญญาอันเป็นนิมิต แห่งความเป็นโพธิสมภาร ของทานเป็นต้น ชื่อว่า

ความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย. ความไม่คำนึงถึงสุขของตน ความขวนขวาย

ในการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นเป็นลำดับ ความไม่มีความตกต่ำ ด้วยความ

ประพฤติของพระมหาโพธิสัตว์แม้ทำได้ยาก และความเป็นเหตุได้ประโยชน์

สุขของสัตว์ทั้งหลาย แม้ในเวลาเลื่อมใส การรู้ การเห็น การฟัง การ

ระลึกถึง ย่อมสำเร็จแก่มหาบุรุษทั้งหลาย ด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายอัน

เป็นมหากรุณา. เป็นความจริงอย่างนั้น ความสำเร็จแห่งความเป็นพระ-

พุทธเจ้าด้วยปัญญา ของมหาบุรุษนั้น. ความสำเร็จแห่งการกระทำของพระ-

พุทธเจ้า ด้วยกรุณา. ตนเองข้ามด้วยปัญญา. ยังคนอื่นให้ข้ามด้วยกรุณา.

กำหนดรู้ทุกข์ของคนอื่น ด้วยปัญญา. ปรารภช่วยเหลือทุกข์ของคนอื่นด้วย

กรุณา. และเบื่อหน่ายในทุกข์ด้วยปัญญา. รับทุกข์ด้วยกรุณา. อนึ่ง เป็น

ผู้มุ่งต่อนิพพานด้วยปัญญา. ถึงวัฏฏะด้วยกรุณา. อนึ่ง มุ่งต่อสงสารด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 594

กรุณา. ไม่ยินดีในสงสารนั้นด้วยปัญญา. และหน่ายในที่ทั้งปวงด้วยปัญญา

เพราะไปตามด้วยการุณา จึงต้องอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง. สงสารสัตว์ทั้งปวง

ด้วยกรุณา. เพราะไปตามด้วยปัญญาจึงมีจิตหน่ายในที่ทั้งปวง. ความเป็น

ผู้ไม่มีอหังการมมังการด้วยปัญญา. ความไม่มีความเกียจคร้าน ความเศร้า

ด้วยกรุณา. อนึ่ง ความเป็นที่พึ่งของตนและคนอื่น ความเป็นผู้มีปัญญา

และกล้าตามลำดับด้วยปัญญาและกรุณา. ความเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน

ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน. ความสำเร็จประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น. ความ

เป็นผู้ไม่มีภัยไม่หวาดกลัว. ความเป็นผู้มีธรรมเป็นใหญ่และมีโลกเป็นใหญ่.

ความเป็นผู้รู้คุณท่านและทำอุปการะก่อน. ความปราศจากโมหะและตัณหา

ความสำเร็จแห่งวิชชาและจรณะ. ความสำเร็จแห่งพละและเวสารัชชะ

คือธรรมทำให้กล้า ปัญญาและกรุณา เป็นปัจจัยแห่งบารมีทั้งหลาย เพราะ

ความเป็นอุบายโดยพิเศษแห่งผลของบารมีทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้แล.

ทั้งสองนี้เป็นปัจจัยแม้แห่งปณิธาน ดุจแห่งบารมีทั้งหลาย.

อนึ่ง ความอุตสาหะ ปัญญา ความมั่งคง และการประพฤติประ-

โยชน์ พึงทราบว่า เป็นปัจจัยแห่งบารมีทั้งหลาย. ความเพียรด้วยความ

อดกลั้นยิ่ง แห่งโพธิสมภารทั้งหลาย ชื่อว่า อุสฺสาห ในบารมีที่ท่านกล่าวว่า

เป็นพุทธภูมิ เพราะเป็นฐานะแห่งความเกิดความเป็นพระพุทธเจ้า. ปัญญา

อันเป็นความฉลาดในอุบาย ในโพธิสมภารทั้งหลาย ชื่อว่า อุมฺมงฺค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 595

ความตั้งใจมั่นเพราะตั้งใจไม่หวั่นไหว ชื่อว่า อวตฺถาน. เมตตาภาวนาและ

กรุณาภาวนา ชื่อว่า หิตจริยา.

อนึ่ง อัธยาศัย ๖ อย่าง อันมีประเภทเป็นเนกขัมมะ ความสงัด

อโลภะ อโทสะ อโมหะและนิสสรณะ คือการออกไปจากทุกข์. พระโพธิ-

สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้เห็นโทษในกามและในการครองเรือน ชื่อว่า มีอัธยาศัย

ในเนกขัมมะ. อนึ่ง พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเห็นโทษในการคลุกคลี ชื่อว่า

มีอัธยาศัยสงัด. เห็นโทษในโลภะ ชื่อว่า มีอัธยาศัยไม่โลภ. เห็นโทษใน

โทสะ ชื่อว่า มีอัธยาศัยไม่โกรธ. เห็นโทษในโมหะ ชื่อว่า มีอัธยาศัย

ไม่หลง. เห็นโทษในทุกภาวะ ชื่อว่า มีอัธยาศัยออกไปจากทุกข์ ด้วยประ-

การฉะนี้. เพราะฉะนั้นอัธยาศัย ๖ อย่างเหล่านี้ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย.

พึงทราบว่าเป็นปัจจัยแห่งบารมีทั้งหลาย มีทานเป็นต้น. จริงอยู่บารมี มี

ทานบารมีเป็นต้น เว้นจากโทษโนโลภเป็นต้น และจากความยิ่งยวด

ของอโลภะเป็นต้น ย่อมมีไม่ได้. เพราะความเป็นผู้มีจิตน้อมไปในบริจาค

เป็นต้น ด้วยความยิ่งยวดของอโลภะเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นผู้มีอัธยาศัย

ไม่โลภ.

อนึ่ง แม้ความเป็นผู้มีอัธยาศัยในทานก็เหมือนอย่างนั้น เป็นปัจจัย

แห่งบารมีมีทานบารมีเป็นต้น ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้ประพฤติเพื่อ

โพธิญาณ. จริงอยู่เพราะความเป็นผู้อัธยาศัยในทาน พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 596

จึงเป็นผู้เห็นโทษในความตระหนี่ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อทานนั้น ย่อมบำเพ็ญ

ทานบารมีให้บริบูรณ์โดยชอบ. เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยในศีล จึงเป็นผู้เห็น

โทษในความเป็นผู้ทุศีล บำเพ็ญศีลบารมีให้บริบูรณ์โดยชอบ. เพราะเป็นผู้

มีอัธยาศัยในเนกขัมมะ จึงเห็นโทษในกามและในการครองเรือน เพราะ

เป็นผู้มีอัธยาศัยในการรู้ตามความเป็นจริง จึงเห็นโทษในความไม่รู้ และ

ความสงสัย. เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยในความเพียร จึงเห็นโทษในความ

เกียจคร้าน. เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยในความอดทน จึงเห็นโทษในความไม่

อดทน. เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยในสัจจะ จึงเห็นโทษในการพูดผิด. เพราะ

เป็นผู้มีอัธยาศัยในความตั้งใจมั่น จึงเห็นโทษในความไม่ตั้งใจมั่น. เพราะ

เป็นผู้มีอัธยาศัยเมตตา จึงเห็นโทษในพยาบาท. เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยใน

ความว่างเฉย จึงเห็นโทษในโลกธรรม บำเพ็ญบารมีมีเนกขัมมบารมีเป็นต้น

ให้บริบูรณ์โดยชอบ. ความเป็นผู้มีอัธยาศัยในทานเป็นต้น เป็นปัจจัยแห่ง

บารมีมีทานบารมีเป็นต้น เพราะเป็นเหตุให้สำเร็จ.

การพิจารณาเห็นโทษและอานิสงส์ ตามลำดับในการไม่บริจาคและ

การบริจาคเป็นต้น เป็นปัจจัยแห่งบารมีมีทานบารมีเป็นต้น เหมือนกัน.

ในบทนั้น พึงทราบวิธีพิจารณาดังต่อไปนี้. การนำมาซึ่งความพินาศมาก-

มายหลายอย่างนี้ คือ จากความเป็นผู้ปรารถนามากด้วยวัตถุกามอันมีที่ดิน

เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายผู้มีใจหวงแหน ข้องอยู่มีที่ดิน สวน เงิน ทอง โค

กระบือ ทาสหญิง ทาสชาย บุตรภรรยาเป็นต้น จากความเป็นสาธารณภัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 597

มีราชภัย โจรภัยเป็นต้น จากการตั้งใจวิวาทกัน จากการเป็นข้าศึกกัน จาก

สิ่งไม่มีแก่นสาร จากเหตุการเบียดเบียนผู้อื่น ในการได้และการคุ้มครอง

นิมิตแห่งความพินาศ เพราะนำมาซึ่งความพินาศหลายอย่าง มีความโศก

เป็นต้น และมีความไม่สามารถเป็นเหตุ เพราะความเป็นเหตุให้เกิดในอบาย

ของผู้มีจิตหมกมุ่นอยู่ในมลทิน คือ ความตระหนี่ ชื่อว่า ปริคคหวัตถุ คือ

วัตถุที่หวงแหน. ควรทำความไม่ประมาทในการบริจาคว่า การบริจาควัตถุ

เหล่านั้นเป็นความสวัสดีอย่างเดียว.

อีกอย่างหนึ่งพิจารณาว่า ผู้ขอเมื่อขอเป็นผู้คุ้นเคยของเราเพราะบอก

ความลับของตน เป็นผู้แนะนำแก่เราว่า ท่านจงละสิ่งควรถึง ถือเอาของ

ของตนไปสู่โลกหน้า เมื่อโลกถูกไฟคือมรณะเผา เหมือนเรือนถูกไฟเผา

เป็นสหายช่วยแบกของของเราออกไปจากโลกนั้น เมื่อเขายังไม่แบกออกไป

เขาก็ยังไม่เผา วางไว้ เป็นกัลยาณมิตรอย่างยิ่ง เพราะความเป็นสหายใน

กรรมงาม คือทานและเพราะความเป็นเหตุให้ถึงพุทธภูมิที่ได้ยากอย่างยิ่ง

เลิศกว่าสมบัติทั้งปวง.

อนึ่ง พึงเข้าไปตั้งความน้อมในการบริจาคว่า ผู้นี้ยกย่องเราในกรรม

อันยิ่ง. เพราะฉะนั้นควรทำความยกย่องนั้นให้เป็นความจริง. แม้เขาไม่ขอ

เราก็ให้ เพราะชีวิตของเขาแจ้งชัดอยู่แล้ว. ไม่ต้องพูดถึงขอละ. ผู้ขอมา

แล้วเองจากที่เราแสวงหาด้วยอัธยาศัยอันยิ่ง ควรให้ด้วยบุญของเรา. การ

อนุเคราะห์ของเรานี้โดยมุ่งถึงการให้แก่ยาจก. เราควรอนุเคราะห์โลก แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 598

ทั้งหมดนี้เหมือนตัวเรา.เมื่อยาจกไม่มี ทานบารมีของเราจะพึงเต็มได้อย่างไร

เราควรยึดถือทั้งหมดไว้เพื่อประโยชน์แก่ยาจกเท่านั้น. เมื่อไรยาจกทั้งหลาย

ไม่ขอเราพึงถือเอาของของเราไปเอง. เราพึงเป็นที่รักและเป็นที่ชอบของ

ยาจกทั้งหลายได้อย่างไร. ยาจกเหล่านั้นพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของเรา

ได้อย่างไร. เราเมื่อให้ก็พอใจ แม้ให้แล้วก็ปลื้มใจ เกิดปีติโสมนัสได้อย่างไร

หรือยาจกทั้งหลายของเราพึงเป็นอย่างไร เราจึงจะเป็นผู้มีอัธยาศัยกว้าง-

ขวาง. ยาจกไม่ขอ เราจะรู้ใจของยาจกทั้งหลายได้อย่างไรแล้วจึงให้ เมื่อ

ทรัพย์มี ยาจกมี การไม่บริจาค เป็นการหลอกลวงของเราอย่างใหญ่หลวง.

เราพึงสละอวัยวะหรือชีวิตของตนแก่ยาจกทั้งหลายได้อย่างไร. อีกอย่างหนึ่ง

ควรทำจิตให้เกิดขึ้นเพราะไม่คำนึงถึงประโยชน์ว่า ชื่อว่าประโยชน์นี้ ย่อม

ติดตามทายกผู้ไม่สนใจ. เหมือนตั๊กแตนติดตามคนแผลงศรผู้ไม่สนใจ.

อนึ่ง ผิว่า ผู้ขอเป็นคนที่รัก พึงให้เกิดโสมนัสว่า ผู้เป็นที่รักขอ

เรา. แม้ผู้ขอเป็นคนเฉย ๆ พึงให้เกิดความโสมนัสว่า ยาจกนี้ขอเราย่อม

เป็นมิได้ด้วยการบริจาคนี้แน่แท้. แม้ผู้ให้ก็ย่อมเป็นที่รักของยาจกทั้งหลาย

แม้บุคคลผู้มีเวรขอ ก็พึงให้เกิดโสมนัสเป็นพิเศษว่า ศัตรูขอเรา. ศัตรูนี้

เมื่อขอเราเป็นผู้มีเวร ย่อมเป็นมิตรที่รักด้วยการบริจาคนี้แน่แท้ พึงยัง

กรุณามีเมตตาเป็นเบื้องหน้าให้ปรากฏ แล้วพึงให้แม้ในบุคคลเป็นกลางและ

บุคคลมีเวร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 599

ก็หากว่า โลภธรรมอันเป็นวิสัยแห่งไทยธรรม พึงเกิดขึ้นแก่โลภะ

เพราะบุคคลนั้นอบรมมาช้านาน. อันผู้ปฏิญญาเป็นพระโพธิสัตว์นั้นพึงสำ-

เหนียกว่า ดูก่อนสัตบุรุษท่านบำเพ็ญอภินิหารเพื่อความตรัสรู้มิใช่หรือ ได้

สละกายนี้เพื่อเป็นอุปการะแก่สรรพสัตว์ และบุญสำเร็จด้วยการบริจาคกาย

นั้น. ความข้องเป็นไปในวัตถุแม้ภายนอกของท่านนั้น เป็นเช่นกับอาบน้ำ

ช้าง. เพราะฉะนั้น ท่านไม่ควรให้ความข้องเกิดในที่ไหนๆ. เหมือนอย่างว่า

เมื่อต้นไม้เป็นยาใหญ่เกิดขึ้น ผู้ต้องการรากย่อมนำรากไป. ผู้ต้องการสะเก็ด

เปลือก ลำต้น ค่าคบ แก่น กิ่ง ใบ ดอก ย่อมนำไป ผู้ต้องการผล

ย่อมนำผลไป. ต้นไม้นั้นใช่เรียกร้องด้วยความวิตกว่า คนพวกนี้นำของของ

เราไป ฉันใด เมื่อกายไม่สะอาดเป็นนิจ จมอยู่ในทุกข์ใหญ่อันเราผู้ถึงความ

ขวนขวาย เพื่อประโยชน์แก่สรรพโลกประกอบการ เพื่ออุปการะแก่สัตว์

เหล่าอื่น ไม่ควรให้มิจฉาวิตกแม้เล็กน้อยเกิดขึ้นฉันนั้น หรือว่าความพิเศษ

ในธรรมเครื่องทำลาย กระจัดกระจาย และกำจัดโดยส่วนเดียว อันเป็น

มหาภูตรูปภายในและภายนอกเป็นอย่างไร. แต่ข้อนี้เป็นความหลงและความ

ซบเซาอย่างเดียว. คือการยึดถือว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตนของ

เรา. เพราะฉะนั้น ผู้ไม่คำนึงในมือเท้านัยน์ตาเป็นต้น และในเนื้อเป็นต้น

แม้ในภายในดุจภายนอก พึงมีใจสละว่า ผู้มีความต้องการสิ่งนั้น ๆ จงนำไป

เถิด.

อนึ่ง เมื่อมหาบุรุษสำเหนียกอย่างนี้ ประกอบความเพียรเพื่อตรัสรู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 600

ไม่คำนึงในกายและชีวิต กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เป็นอันบริสุทธิ์

ด้วยดีโดยไม่ยากเลย. มหาบุรุษนั้นมีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมบริสุทธิ์

ด้วยดี มีอาชีพบริสุทธิ์ตั้งอยู่ในการปฏิบัติเพื่อรู้ เป็นผู้สามารถเพื่ออนุเคราะห์

สรรพสัตว์ ด้วยการถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้ฉลาดในความเสื่อม และฉลาด

ในอุบาย ด้วยการบริจาคไทยธรรมโดยประมาณยิ่ง และด้วยการให้อภัยให้

พระสัทธรรม นี้เป็นนัยแห่งการพิจารณาในทานบารมีด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พิจารณาในศีลบารมีอย่างนี้ว่า ชื่อว่าศีลนี้เป็นน้ำล้างมลทินคือ

โทสะอันไม่อาจชำระได้ด้วยน้ำในแม่น้ำคงคาเป็นต้น. เป็นการกำจัดอันตราย

มีราคะเป็นต้น อันไม่สามารถกำจัดได้ด้วยจันทน์เหลืองเป็นต้น. เป็นเครื่อง

ประโยคดับอย่างวิเศษของคนดีทั้งหลาย ไม่ทั่วไปด้วยเครื่องประดับของชนเป็น

อันมาก มีสร้อยคอมงกุฏและต่างหูเป็นต้น. มีกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ และ

เหมาะสมทุกกาล. มีอำนาจอย่างยิ่ง เพราะนำมาซึ่งคุณอันกษัตริย์มหาศาล

เป็นต้น และเทวดาทั้งหลายควรไว้. เป็นแถวบันใดก้าวขึ้นสู่เทวโลก มี

สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นต้น. เป็นอุบายบรรลุฌานและอภิญญา. เป็น

ทางให้ถึงมหานครคือนิพพาน. เป็นภูมิประดิษฐานสาวกโพธิ ปัจเจกโพธิ

และสัมมาสัมโพธิญาณ. อีกอย่างหนึ่ง ศีลย่อมอยู่บนแก้วสารพัดนึกและต้น

กัลปพฤกษ์เป็นต้น เพราะเป็นอุบายให้สิ่งที่ปรารถนาต้องการสำเร็จ.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศีลย่อม

สำเร็จเพราะผู้มีศีล เป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยความตั้งใจแน่วแน่. แม้ข้ออื่นก็ตรัสไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 601

มีอาทิว่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพึงหวังว่าเราพึงเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจ

เป็นที่เคารพ เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย. ภิกษุพึงเป็นผู้ทำ

ความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลายนั้นแล. อนึ่ง ดูก่อนอานนท์ ศีลเป็นกุศลมีความ

ไม่เดือดร้อนเป็นประโยชน์. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ อย่างเหล่านี้

ของผู้มีศีล พึงพิจารณาคุณของศีลด้วยสามารถแห่งสูตร มีศีลสัมปทาสูตร

เป็นต้น. พึงพิจารณาโทษในการปราศจากศีล ด้วยสามารถแห่งสูตร มี

อัคคิขันโธปมสูตรเป็นต้น พึงพิจารณาศีลโดยเป็นนิมิตแห่งปีติและโสมนัส

โดยความไม่มีการติเตียนตนกล่าวโทษผู้อื่น และภัยจากอาชญาและทุคติ โดย

ความเป็นสิ่งอันวิญญูชนสรรเสริญ โดยเป็นเหตุแห่งความไม่เดือดร้อน โดย

เป็นที่ตั้งแห่งความสวัสดี และโดยเป็นสิ่งยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง กว่าการถึงพร้อม

ด้วยชนยิ่งใหญ่ สมบัติ อธิปไตย อายุ รูป ฐานะ พวกพ้องมิตร จริงอยู่

ปีติและโสมนัสใหญ่ย่อมเกิดแก่ผู้มีศีล เพราะเหตุแห่งศีลสัมปทาของตนว่า

เราได้ทำกุสลแล้ว. เราได้ทำความดีแล้ว. เราได้ทำการป้องกันความกลัวแล้ว.

อนึ่ง ผู้มีศีลย่อมไม่ติเตียนตน. วิญญูชนไม่กล่าวโทษผู้อื่น. ภัยเพราะ

อาชญาและทุคติย่อมไม่มีเกิด วิญญูชนทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นบุคคลผู้มี

ศีล มีธรรมงาม. อนึ่ง ความเดือดร้อนใดย่อมเกิดแก่ผู้ทุศีลว่า เราได้ทำความ

ชั่วแล้วหนอ. เราได้ทำกรรมหยาบช้าทารุณแล้ว. ความเดือดร้อนนั้นย่อม

ไม่มีแก่ผู้มีศีล. อนึ่งธรรมดาศีลนี้ชื่อว่าเป็นฐานแห่งความสวัสดี เพราะตั้งใจ

ในความไม่ประมาท เพราะยังประโยชน์ใหญ่ให้สำเร็จ ด้วยหลักการคุ้มครอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 602

มีความพินาศแห่งโภคะเป็นต้น และเพราะความเป็นมงคล. คนมีศีลแม้มี

ชาติตระกูลต่ำก็เป็นปูชนียบุคคล ของกษัตริย์มหาศาลเป็นต้น เพราะเหตุ-

นั้นศีลสัมปทาจึงอยู่กับกุลสมบัติ. มหาบพิตรพระองค์สำคัญข้อนั้นเป็นไฉน.

ในบทนี้ คำมีอาทิว่า ทาสกรรมกรพึงเป็นตัวอย่างแก่มหาบพิตรเป็นอย่างดีใน

เรื่องนี้. ศีลย่อมอยู่กับทรัพย์ภายนอก เพราะไม่ทั่วไปด้วยโจรเป็นต้น เพราะ

อนุเคราะห์โลกอื่น เพราะมีผลมากและเพราะอธิษฐานคุณมีสมถะเป็นต้น.

ศีลย่อมอยู่กับความเป็นอิสระของกษัตริย์เป็นต้น เพราะตั้งมั่นความอิสระ

ทางใจเป็นอย่างยิ่ง. จริงอยู่ ศีลนิมิตเป็นอิสระของสัตว์ทั้งหลายในหมู่สัตว์

นั้น ๆ. เพราะกล่าวได้ว่าชีวิตที่มีศีล แม้วันเดียวก็ประเสริฐกว่าชีวิตยั่งยืน-

ยาวประมาณ ๑๐๐ ปี และเมื่อยังมีชีวิต ศีลก็ประเสริฐกว่าชีวิต เพราะกล่าว

ได้ว่า ร่างกายเมื่อตายไปก็ฝัง. ศีลย่อมอยู่กับรูปสมบัติ เพราะนำความพอใจ

มาแม้แก่ศัตรู และเพราะความชราโรคและวิบัติครอบงำไม่ได้. ศีลย่อมอยู่

กับความวิเศษของสถานที่มีปราสาทและเรือนแถวเป็นต้น เพราะตั้งใจความ

วิเศษอันเป็นสุข. ในบทนี้คำมีอาทิว่า มารดาบิดาไม่พึงทำอะไรได้ยกเป็น

ตัวอย่าง เพราะศีลให้สำเร็จประโยชน์โดยส่วนเดียว และเพราะอนุเคราะห์

โลกอื่น. อนึ่ง ศีลเท่านั้นประเสริฐกว่า กองทัพช้าง ม้า รถ และทหารราบ

และกว่าการประกอบความสวัสดีด้วยมนต์และยาวิเศษ โดยการรักษาตนที่

รักษาได้ยาก เพราะอาศัยตนไม่อาศัยผู้อื่น และเพราะวิสัยยิ่งใหญ่. ด้วย

เหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 603

ธมฺมจารึ ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม. เมื่อมหาบุรุษพิจารณาอยู่ว่า

ศีลประกอบด้วยคุณมากมายอย่างนี้ ศีลสัมปทาที่ยังไม่บริบูรณ์ ย่อมถึงความ

บริบูรณ์ ที่ยังไม่บริสุทธิ์ย่อมถึงความบริสุทธิ์.

ก็หากว่าธรรมทั้งหลายมีโทสะเป็นต้น เป็นปฏิปักษ์ต่อศีลพึงเกิดขึ้นแก่

มหาบุรุษนั้นในระหว่างๆ ด้วยสะสมมานาน. อันผู้ปฏิญญาเป็นพระโพธิสัตว์

นั้นพึงพิจารณาอย่างนี้ว่า ท่านตั้งใจแน่วแน่เพื่อตรัสรู้มิใช่หรือ. แม้สมบัติ

เป็นโลกิยะท่านก็ยังไม่สามารถจะถึงได้ด้วยความไม่ปกติของศีล. ไม่ต้องพูดถึง

สมบัติเป็นโลกุตระเลย. ศีลเป็นการอธิษฐานเพื่อสัมมาสัมโพธิญาณอันเลิศ

กว่าสมบัติทั้งปวง ควรให้ถึงความอุกฤษฏ์อย่างยิ่ง. เพราะฉะนั้นท่านผู้รักษา

ศีลโดยชอบตามนัยดังกล่าวแล้วมีอาทิว่า กิกีว อณฺฑ ดุจนกต้อยตีวิดรักษาไข่

ฉะนั้นควรเป็นผู้มีศีลเป็นที่รักด้วยดียิ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านควรทำการหยั่งลงและความเจริญแก่สัตว์ทั้งหลาย

ในยาน ๓ ด้วยการแสดงธรรม. ไม่ควรปรารถนาถ้อยคำของผู้มีศีลผิดปกติ.

ดุจการเยียวยาของหมอผู้ตรวจดูอาหารผิดสำแดง. เพราะฉะนั้นควรเป็นผู้มี

ศีลบริสุทธิ์ตามสภาพว่า เราเป็นผู้มีศรัทธาพึงทำการหยั่งลงและความเจริญ

แก่สัตว์ทั้งหลายได้อย่างไร. ความเป็นผู้สามารถในการทำอุปการะแก่สัตว์

ทั้งหลายและการบำเพ็ญบารมีมีปัญญาบารมีเป็นต้นของเราด้วยการประกอบ

คุณวิเศษมีฌานเป็นต้นโดยแท้. อนึ่งคุณทั้งหลายมีฌานเป็นต้น เว้นความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 604

บริสุทธิ์แห่งศีลย่อมมีไม่ได้ เพราะเหตุนั้น จึงควรยังศีลให้บริสุทธิ์โดยชอบ

ทีเดียว.

อนึ่ง พึงทราบการพิจารณาในการครองเรือนโดยนัยมีอาทิว่า การ

ครองเรือนคับแคบเป็นทางแห่งธุลี. ในกามทั้งหลายโดยนัยมีอาทิว่า ถาม

ทั้งหลายอุปมาด้วยโครงกระดูก และโดยนัยมีอาทิว่า แม้มารดาก็ทะเลาะกับ

บุตร. เบื้องต้นเห็นโทษในกามฉันทะเป็นต้นโดยนัยมีอาทิว่า เหมือนอย่าง

บุรุษกู้หนี้ไปประกอบการงาน. ในเนกขัมมบารมีด้วยการพิจารณาอานิสงส์

ในบรรพชาเป็นต้นโดยนัยมีอาทิว่า. บรรพชาเป็นอัพโภกาส คือโอกาสดียิ่ง

โดยปริยายดังกล่าวแล้ว. นี้เป็นสังเขปในที่นี้ . ส่วนความพิสดารพึงทราบ

ในทุกขักขันธสูตรและอาสีวิโสปมสูตรเป็นต้น.

อนึ่ง พึงมนสิการถึงปัญญาคุณว่า ธรรมทั้งหลายมีทานเป็นต้น เว้น

จากปัญญาย่อมบริสุทธิ์ไม่ได้. ย่อมไม่มีความสามารถขวนขวายตามที่เป็น

ของตนได้. เหมือนอย่างสรีรยนต์เว้นชีวิตก็ย่อมไม่งาม. อนึ่งย่อมไม่สามารถ

ปฏิบัติในกิริยาทั้งหลายของตนได้. และอินทรีย์ทั้งหลายมีจักขุเป็นต้น

เว้นวิญญาณเสียแล้วก็ไม่พอที่จะทำกิจในวิสัยของตนได้. อินทรีย์ทั้งหลาย

มีสัทธาเป็นต้น ก็อย่างนั้นเว้นปัญญาเสียแล้วก็ไม่สามารถในการปฏิบัติ

กิจของตนได้ เพราะเหตุนั้นปัญญาจึงเป็นใหญ่ในการปฏิบัติมีการบริจาค

เป็นต้น. จริงอยู่พระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาจักษุอันลืมแล้ว ให้แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 605

อวัยวะน้อยใหญ่ของตนเป็นผู้ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น. เป็นผู้เกิดโสมนัสแม้ใน

๓ กาล ปราศจากการกำหนดดุจต้นไม้ที่เป็นยา. จริงอยู่การบริจาคโดย

ประกอบด้วยความฉลาดในอุบายด้วยปัญญา ย่อมเข้าถึงความเป็นทานบารมี

เพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น. เพราะว่าทานเป็นเช่นกับกำไรอันเป็น

ประโยชน์ของตน.

อนึ่ง ความบริสุทธิ์แห่งศีล โดยไม่ปราศจากความเศร้าหมองมีตัณหา

เป็นต้น ย่อมเกิดไม่ได้เพราะไม่มีปัญญา. การอธิษฐานคุณแห่งความเป็น

พระสัพพัญญูจักมีได้แต่ไหน. ผู้มีปัญญาเท่านั้นพิจารณาเห็นโทษ ในการ

ครองเรือน ในกามคุณและในสงสารและอานิสงส์ ในการบรรพชา ในฌาน

สมาบัติ และในนิพพานด้วยดี ครั้นบวชแล้วยังฌานสมาบัติให้เกิดมุ่งหน้า

ต่อนิพพาน และยังคนอื่นให้ตั้งอยู่ในฌานสมาบัตินั้น. ไม่ยังความเพียร

ปราศจากปัญญาเพียงตั้งความปรารถนาไว้ให้สำเร็จได้เพราะเริ่มไม่ดี. การไม่

เริ่มยังประเสริฐกว่าการเริ่มไม่ดี. การบรรลุยาก อย่างใดอย่างหนึ่งด้วย

ความเพียรประกอบด้วยปัญญา ไม่ประเสริฐกว่าการปฏิบัติโดยอุบาย. อนึ่ง

ผู้มีปัญญาเท่านั้นเป็นผู้มีความอดกลั้นต่อความเสียหายของผู้อื่นเป็นต้น. ผู้มี

ปัญญาทรามไม่เป็นผู้อดกลั้น. ความเสียหายที่ผู้อื่นนำไปให้แก่ผู้ปราศจาก

ปัญญา ย่อมเพิ่มพูนความเป็นปฏิปักษ์ของความอดทน. แต่ความเสียหาย

เหล่านั้นของผู้มีปัญญาย่อมเป็นไป เพื่อความมั่นคงแห่งขันตินั้นด้วยเพิ่มพูน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 606

ความสมบูรณ์แห่งขันติ. ผู้มีปัญญาเท่านั้นรู้สัจจะ ๓ อย่าง เหตุแห่งสัจจะ

เหล่านั้น และปฏิปักษ์ตามความเป็นจริงเป็นผู้ไม่กล่าวผิดแก่ผู้อื่น.

อนึ่ง ผู้อุปถัมภ์ตนด้วยกำลังปัญญาเป็นผู้ตั้งใจสมาทานไม่หวั่นไหวใน

บารมีทั้งปวงด้วยการถึงพร้อมด้วยปัญญา. ผู้มีปัญญาเท่านั้น ไม่ทำการแบ่ง

แยกคนที่รัก คนกลางและคนที่เป็นศัตรู เป็นผู้ฉลาดในการนำประโยชน์เข้า

ไปในที่ทั้งปวง. อนึ่ง เป็นผู้มีความเป็นกลางเพราะไม่มีความผิดปกติในการ

ประสบโลกธรรมมีลาภ เสื่อมลาภเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งปัญญา. ปัญญาเท่า

นั้นเป็นเหตุแห่งความบริสุทธิ์ของบารมีทั้งปวงด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุ-

นั้นควรพิจารณาคุณของปัญญา. อีกอย่างหนึ่ง เว้นปัญญาเสียแล้วทัศนสมบัติ

ย่อมมีไม่ได้. เว้นทิฏฐิสัมปทาโดยระหว่างศีลสัมปทาก็มีไม่ได้. ผู้ปราศจาก

ศีลสัมปทาและทิฏฐิสัมปทา สมาธิสัมปทาก็มิไม่ได้. อนึ่งผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นไม่

สามารถแม้เพียงประโยชน์ตนให้สำเร็จได้. ไม่ต้องพูดถึงประโยชน์ผู้อื่นอัน

ถึงขั้นอุกฤษฏ์กันละ เพราะเหตุนั้นพระโพธิสัตว์ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

ควรสอนตนว่า ท่านควรทำความเพียรในความเจริญด้วยปัญญาโดยเคารพ

มิใช่หรือ. จริงอยู่ พระมหาสัตว์ตั้งมั่นในอธิษฐานธรรม ๔ ด้วยบุญญา-

นุภาพอนุเคราะห์โลกด้วยสังคหวัตถุ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้หยั่งลงใน

มรรคอันเป็นการออกไป. และยังอินทรีย์ของสัตว์เหล่านั้นให้เจริญงอกงาม.

อนึ่ง พึงกำหนดคุณของปัญญามีอาการไม่น้อยโดยนัยมีอาทิว่า ผู้มาก

ด้วยการค้นคว้าในขันธ์อายตนะเป็นต้น ด้วยกำลังปัญญากำหนดรู้ความเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 607

ไปและการกลับตามความเป็นจริงแนะนำคุณมีทานเป็นต้น อันเป็นส่วนแห่ง

ความรู้อย่างวิเศษเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในการศึกษาของพระโพธิสัตว์แล้วพึง

พอกพูนปัญญาบารมี.

อนึ่ง กรรมอันเป็นโลกิยะแม้ปรากฏอยู่ก็ไม่สามารถบรรลุได้ด้วย

ความเพียรชั้นต่ำ. ผู้ปรารภความเพียรไม่คำนึงถึงความลำบาก จะบรรลุได้

ไม่ยากเลย. จริงอยู่ผู้มีความเพียรต่ำไม่สามารถจะปรารภว่า เราจักยังสรรพ-

สัตว์ให้ข้ามพ้นจากห้วงใหญ่คือสงสาร. ผู้มีความเพียรปานกลางปรารภแล้ว

ย่อมถึงที่สุดในระหว่าง. ส่วนผู้มีความเพียรอุกฤษฏ์ไม่เพ่งถึงความสุขของ

สัตว์ ย่อมบรรลุบารมีที่ปรารภไว้ เพราะเหตุนั้น พึงพิจารณาถึงวิริยสมบัติ

อีกอย่างหนึ่งพึงพิจารณาถึงคุณของความเพียรโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า การ

ปรารภเพื่อถอนจากเปือกตมคือสงสารของตนของบุคคลใด การถึงที่สุดแห่ง

ความปรารถนาในความเป็นผู้มีความเพียรย่อหย่อน แม้ของบุคคลนั้นไม่

สามารถให้เกิดขึ้นได้. ไม่ต้องพูดถึงการสร้างอภินิหารเพื่อถอนโลกพร้อมกับ

เทวโลกกันละ เพราะหมู่แห่งกิเลสเป็นเครื่องประทุษร้ายมีราคะเป็นต้น

ห้ามได้ยากดุจคชสารตกมัน เพราะการสมาทานกรรมอันมีกิเลสเป็นเครื่อง

ประทุษร้ายนั้นเป็นเหตุ เช่นกับเพชฌฆาตเงื้อดาบเพราะทุคติอันเป็นนิมิต

แห่งกรรมนั้นเปิดอยู่ตลอดกาล เพราะมิตรชั่วชักชวนในกรรมนั้นได้เตรียม

ไว้แล้วทุกเมื่อ และเพราะทำตามโอวาทของมิตรชั่วนั้น. ในความมีสติของ

ความเป็นปุถุชนคนพาล จึงควรออกจากสงสารทุกข์เองได้ เพราะเหตุนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 608

มิจฉาวิตกย่อมอยู่ไกลด้วยอานุภาพของความเพียร และหากว่าสามารถบรรลุ

สัมโพธิญาณได้ด้วยความเพียรอาศัยตน. อะไรเล่าจะทำได้ยากในข้อนี้.

อนึ่งชื่อว่าขันตินี้ เป็นอาวุธไม่เบียดเบียนคนดี ในเพราะสมบูรณ์

ด้วยคุณสมบัติ เพราะกำจัดความโกรธอันเป็นปฏิปักษ์ต่อคุณธรรมไม่มีส่วน

เหลือ เป็นเครื่องประดับของผู้สามารถครอบงำผู้อื่นได้. เป็นพลสัมปทาของ

สมณพราหมณ์. เป็นสายน้ำกำจัดไฟคือความโกรธ. เป็นเครื่องชี้ถึงความ

เกิดแห่งกิตติศัพท์อันดีงาม. เมื่อเป็นมนต์และยาวิเศษระงับพิษคำพูดของคนชั่ว.

เป็นปกติของผู้มีปัญญายอดเยี่ยมของผู้ตั้งอยู่ในสังวร. เป็นสาครเพราะอาศัย

ความลึกซึ้ง. เป็นฝั่งของมหาสาครคือโทสะ. เป็นบานประตูปิดประตูอบาย.

เป็นบันไดขึ้นสู่เทวโลกและพรหมโลก. เป็นภูมิที่อยู่ของคุณทั้งปวง.

เป็นความบริสุทธิ์ กาย วาจา และใจ อย่างสูงสุด. พึงมนสิการด้วยประการ

ฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้เดือดร้อนในโลกนี้ เพราะไม่มี

ขันติสมบัติ. และเพราะประกอบธรรมอันทำให้เดือดร้อนในโลกหน้า. หาก

ว่าทุกข์มีความเสียหายของผู้อื่นเป็นนิมิตเกิดขึ้น. อัตภาพอันเป็นเขตของ

ทุกข์นั้น และกรรมอันเป็นพืชของทุกข์นั้นอันเราปรุงจาแต่งแล้ว. นั่นเป็น

เหตุแห่งความเป็นหนี้ของทุกข์นั้น. เมื่อไม่มีผู้ทำให้เสียหายขันติสัมปทาของ

เราจะเกิดได้อย่างไร. แม้หากว่าบัดนี้ผู้นี้หนี้ไม่ทำให้เสียหาย. ผู้นั้นก็ได้ทำอุป-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 609

การะแก่เรามาก่อน. อีกอย่างหนึ่งผู้ไม่ทำให้เสียหายนั่นแหละเป็นผู้มีอุปการะ

เพราะมีขันติเป็นนิมิต. สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ทั้งหมดเป็นเช่นบุตรของเรา.

ใครจักโกรธในความผิดที่บุตรทำได้. บุตรนี้ทำผิดแก่เราโดยมิใช่เพศของ

ปีศาจที่โกรธอันใด เราควรแนะนำบุตรผู้มีใช่เพศที่เป็นความโกรธนั้น.

ทุกข์นี้เกิดแก่เราด้วยความเสียหายใด. แม่เราก็เป็นนิมิตของความเสียหาย

นั้น. ทำความเสียหายด้วยธรรมใดและทำในที่ใด ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดก็

ดับไปในขณะนั้นเอง. บัดนี้ใครพึงทำความโกรธแก่ใคร. และใครผิดแก่

ใครเพราะธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา พิจารณาดังนี้ควรเพิ่มพูนขันติสัมปทา

ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง หากว่าความโกรธมีการทำความเสียหายต่อผู้อื่นเป็นนิมิต ด้วย

การสะสมมาตลอดกายของบุคคลนั้นพึงครอบงำจิตตั้งอยู่. บุคคลนั้นควร

สำเหนียกว่าดังนี้ ชื่อว่าขันตินี้เป็นเหตุช่วยเหลือการปฏิบัติเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้

ไม่ทำความเสียหายต่อผู้อื่น. ขันติเป็นปัจจัยแห่งศรัทธาโดยให้ทุกข์เกิดว่า

ศรัทธาอาศัยทุกข์เป็นความเสียหายของเราและแห่งอนภิรติสัญญา คือกำหนด

ประกอบสม่ำเสมอในอารมณ์อันน่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาในอินทรีย์

ปกตินั้น การประกอบสม่ำเสมอในอารมณ์อันไม่น่าปรารถนาไม่พึงมีแก่เรา

ด้วยเหตุนั้น การประกอบสม่ำเสมอในอารมณ์ไม่น่าปรารถนานั้น จะพึงมีได้

ในที่นี้แต่ไหน. สัตว์ผู้ตกอยู่ในอำนาจของความโกรธมัวเมาด้วยความโกรธมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 610

จิตฟุ้งซ่าน. ในสัตว์ผู้ตกอยู่ในอำนาจของความโกรธนั้นจะได้อะไรด้วยการ

ช่วยเหลือ. สัตว์เหล่านี้ทั้งหมด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงคุ้มครองดุจบุตร

เกิดแต่อกฉะนั้น. เพราะฉะนั้น เราไม่ควรทำใจโกรธในสัตว์นั้น. เมื่อผู้ทำ

ความผิดมีคุณ เราไม่ควรทำความโกรธในผู้มีคุณ. เมื่อไม่มีคุณควรแสดงความ

สงสารเป็นพิเศษ. ยศอันเป็นคุณของเราย่อมเสื่อมเพราะความโกรธ. สิ่งเป็น

ช้าศึกทั้งหลายมีผิวพรรณเศร้าหมองและการอยู่เป็นทุกข์เป็นต้น ย่อมมาถึง

เราด้วยความโกรธ. อนึ่งชื่อว่าความโกรธนี้กระทำสิ่งไม่เป็นประโยชนได้ทุก

อย่าง ยังประโยชน์ทั้งปวงให้พินาศเป็นข้าศึกมีกำลัง. เมื่อมีขันติข้าศึกไร ๆ ก็

ไม่มี. ทุกข์มีความผิดเป็นนิมิตอันผู้ทำความผิดพึงได้รับต่อไป อนึ่งเมื่อมีขันติ

เราก็ไม่มีทุกข์. ข้าศึกติดตามเราผู้คิดและโกรธ. เมื่อเราครอบงำความโกรธ

ด้วยขันติ ข้าศึกเป็นทาสของความโกรธนั้นก็จะถูกครองงำโดยชอบ. การ

สละขันติคุณอันมีความโกรธเป็นนิมิตไม่สมควรแก่เรา. เมื่อมีความโกรธอัน

เป็นข้าศึกทำลายคุณธรรม ธรรมมีศีลเป็นต้น จะพึงถึงความบริบูรณ์แก่เราได้

อย่างไร. เมื่อไม่มีธรรมมีศีลเป็นต้นเหล่านั้น เราเป็นผู้มากด้วยอุปการะแก่

สัตว์ทั้งหลาย จักถึงสมบัติสูงสุดสมควรแก่ปฏิญญาได้อย่างไร. เมื่อมีความ

อดทนสังขารทั้งหลายทั้งปวง ของผู้มีจิตตั้งมั่นเพราะไม่มีความฟุ้งซ่านในภาย

นอก ย่อมทนต่อการเพ่งโดยความเป็นของไม่เที่ยงโดยความเป็นทุกข์ ธรรม

ทั้งหลายทั้งปวงย่อมทนการเพ่งโดยความเป็นอนัตตา และนิพพานย่อมทน

ต่อการเพ่งโดยความเป็น อสังขตะ อมตะ สันตะ และปณีตะเป็นต้น และ

พุทธธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏโดยเป็นอจินไตย และหาประมาณมิได้. ด้วย

ประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 611

อนึ่ง แต่นั้นพึงทราบการพิจารณาขันติบารมีโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า

ผู้ตั้งอยู่ในขันติอันเหมาะสมย่อมควรแก่การเพ่ง เพราะเป็นผู้ไม่ตั้งมั่นอยู่ใน

อหังการมมังการว่า ความเป็นสิ่งธรรมดาเว้นจากการถือตัวถือตนเหล่านี้อย่าง

เดียว ย่อมเกิด ย่อมเสื่อม ด้วยปัจจัยทั้งหลายของตน. ย่อมไม่มาแต่ที่ไหน ๆ.

ย่อมไม่ไปในที่ไหนๆ. ทั้งไม่ตั้งอยู่ในที่ไหนๆ. ทั้งไม่มีความขวนขวายไร ๆ

ของใครๆ ในที่นี้ ดังนี้. พระโพธิสัตว์เป็นผู้เที่ยงต่อโพธิญาณ เป็นผู้

ไม่กลับมาเป็นธรรมดา ดังนี้.

อนึ่ง พึงพิจารณาความถึงพร้อมแห่งสัจจบารมี โดยนัยมีอาทิว่า

เพราะเว้นสัจจะเสียแล้ว ศีลเป็นต้นก็มีไม่ได้. เพราะไม่มีการปฏิบัติอัน

สมควรแก่ปฏิญญา. เพราะรวมธรรมลามกทั้งปวง ในเพราะก้าวล่วงสัจจ-

ธรรม. เพราะผู้ไม่มีสัจจะเป็นคนเชื่อถือไม่ได้. เพราะนำถ้อยคำที่ไม่ควร

ยึดถือต่อไปมาพูด. เพราะผู้มีสัจจะสมบูรณ์เป็นผู้ตั้งมั่นในคุณธรรมทั้งปวง.

เพราะเป็นผู้สามารถบำเพ็ญโพธิสมภารทั้งปวงให้บริสุทธิ์ได้. เพราะกระทำ

กิจแห่งโพธิสมภารทั้งปวง ด้วยไม่ให้ผิดสภาวธรรม และเพราะสำเร็จใน

การปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ ดังนี้.

อนึ่ง พึงพิจารณาคุณในอธิษฐานโดยนัยมีอาทิว่า การสมาทานมั่น

ในทานเป็นต้น และการอธิษฐานไม่หวั่นไหวของคุณเหล่านั้น ในเพราะ

การประชุมธรรมเป็นปฏิปักษ์ต่อการสมาทานมั่นนั้น การสะสมบารมีมีทาน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 612

บารมีเป็นต้น อันมีสัมโพธิญาณเป็นนิมิต เว้นความเป็นผู้มีปัญญาและความ

กล้าในอธิษฐานนั้นเสีย ย่อมมีไม่ได้ ดังนี้.

อนึ่ง พึงพิจารณาคุณของเมตตา โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า อันผู้ตั้งลง

ในคุณเพียงประโยชน์ตน เว้นความเป็นผู้มีจิตมุ่งประโยชน์ในสัตว์ทั้งหลาย

ไม่สามารถบรรลุสมบัติในโลกนี้และในโลกหน้าได้. ไม่ต้องพูดถึงผู้ใคร่ยัง

สรรพสัตว์ให้ตั้งอยู่ในนิพพานสมบัติกันละ. บัดนี้ หวังโลกิยสมบัติก็ควรแล้ว

ภายหลังจึงค่อยหวังโลกุตรสมบัติแก่สรรพสัตว์. บัดนี้ เราไม่สามารถทำการ

นำเข้าไปซึ่งประโยชน์สุขแก่สัตว์เหล่าอื่นด้วยคุณเพียงอัธยาศัยได้ เมื่อไรจึง

จักให้ประโยชน์นั้นสำเร็จด้วยความเพียรเล่า. บัดนี้ เราให้เจริญด้วยการ

นำประโยชน์สุขเข้าไปให้ ภายหลังสหายผู้จำแนกธรรมจักมีแก่เรา. เพราะ-

ฉะนั้น พึงเข้าไปตั้งความเป็นผู้มีอัธยาศัยบำเพ็ญประโยชน์ในสรรพสัตว์

พร้อมกับความวิเศษว่า สัตว์เหล่านี้ เป็นบุญเขตอย่างยิ่ง เป็นบ่อเกิดแห่ง

กุศลอย่างเยี่ยม เป็นที่ตั้งแห่งความเคารพอย่างสูงของเรา เพราะเป็นเหตุ

ให้สำเร็จความเจริญด้วยพุทธคุณทั้งปวง. พึงเพิ่มพูนเมตตาในสรรพสัตว์

แม้โดยความอธิษฐานกรุณาอย่างแท้จริง ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะกำจัดสิ่งไม่มี

ประโยชน์และทุกข์ของสัตว์เหล่านั้น มีกำลัง มีรากมั่นคง ย่อมเกิดแก่ผู้

ยินดี นำประโยชน์สุขเข้าไปให้ในสัตว์ทั้งหลาย ด้วยใจที่ไม่มีขอบเขต.

อนึ่ง กรุณา เป็นเบื้องต้น เป็นจรณะ เป็นหลัก เป็นมูล เป็นหน้า

เป็นประมุขของพุทธการกธรรมทั้งหลาย ทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 613

อนึ่ง พึงพิจารณาอุเบกขาบารมี โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ความเสีย

หายที่สัตว์ทั้งหลายทำ เพราะไม่มีอุเบกขา พึงให้เกิดความพิการทางจิต

เมื่อจิตพิการก็ไม่มีการสะสมบารมีมีทานบารมีเป็นต้น. เมื่อจิตยังผูกพันอยู่

ด้วยเมตตา เว้นอุเบกขาเสียแล้ว การสะสมบารมีก็มีไม่ได้. ผู้ไม่มีอุเบกขา

ไม่สามารถจะน้อมบุญสมภารและประโยชน์เกื้อกูล อันเป็นผลของบุญสมภาร

นั้นเข้าไปในการสะสมทั้งหลายได้. เพราะไม่มีอุเบกขา ไม่ทำการจำแนก

ไทยธรรมและปฏิคาหก แล้วไม่สามารถบริจาคได้. อันผู้ปราศจากอุเบกขา

ไม่มนสิการถึงอันตรายแห่งปัจจัยเป็นเครื่องนำมาซึ่งชีวิตและชีวิต แล้วไม่

สามารถทำศีลให้บริสุทธิ์ได้.

อนึ่ง ความสำเร็จแห่งการตั้งใจสมาทานโพธิสมภารทั้งปวงให้บริบูรณ์

ย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งอุเบกขา คือ โดยความไม่ยินดีและความยินดี

พันหนึ่ง สำเร็จด้วยกำลังแห่งเนกขัมมะ ด้วยอำนาจแห่งอุเบกขา โดย

เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งการพิจารณา โดยสำเร็จกิจแห่งการสะสมบารมีทั้งปวง

โดยไม่ทำกิจการใหญ่ ๆ ในเพราะไม่เพ่งถึงความเพียรที่เริ่มไว้มากแล้ว โดย

ความวางเฉย โดยมีความเพ่งถึงความอดกลั้นโดยไม่พูดผิดต่อสัตว์สังขาร

ด้วยอำนาจแห่งอุเบกขา โดยความสำเร็จ ความตั้งใจ อันไม่หวั่นไหวในธรรม

ที่สมาทานแล้ว ด้วยความวางเฉยต่อโลกธรรม โดยความสำเร็จแห่งเมตตา

วิหารธรรม ด้วยการไม่ผูกใจในความเสียหายของผู้อื่นเป็นต้น. การพิจารณา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 614

โทษและอานิสงส์ ตามลำดับ ในการไม่บริจาคและการบริจาคเป็นต้น อย่างนี้

พึงเห็นว่า เป็นปัจจัยแห่งบารมีมีทานบารมีเป็นต้น.

อนึ่ง พึงทราบ จรณธรรม ๑๕ และอภิญญา ๕ พร้อมด้วยธรรมเป็น

บริวาร ดังต่อไปนี้. ศีลสังวร ๑ การคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความ

รู้จักประมาณในการบริโภค ๑ การประกอบความเพียรเนืองๆ ๑ สัทธรรม ๗

และฌาน ๔ ชื่อว่า จรณธรรม. ในจรณธรรมเหล่านั้น ธุดงค์ ๑๓ และ

ความมักน้อยเป็นต้น เป็นบริวารของธรรม ๔ มีศีลเป็นต้น. ในสัทธรรม

ทั้งหลาย ความที่จิตน้อมไปในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ศีล จาคะ

การระลึกถึงเทวดา การเว้นบุคคลเศร้าหมอง การคบหาบุคคลผู้สนิท การ

พิจารณาธรรมอันน่าเลื่อมใส เป็นบริวารของศรัทธา. ความที่จิตน้อมไปใน

การพิจารณาโทษของอกุศล ของอบาย การพิจารณาความอุปถัมภ์ของกุศล-

ธรรม การเว้นบุคคลที่ปราศจากหิริโอตตัปปะ การคบบุคคลที่ถึงพร้อม

ด้วยหิริโอตตัปปะเป็นบริวารของหิริโอตตัปปะ. ความเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า

ด้วยการสะสมมีการสอบถาม การประกอบความเพียรในเบื้องต้น การตั้งอยู่

ในพระสัทธรรม และดำรงอยู่ในวิชาอันไม่มีโทษ ความที่จิตน้อมไปในการ

เว้นการฟังน้อยถึงความไกลจากกิเลส และเสพการฟังมาก เป็นบริวารของ

พาหุสัจจะ ความที่จิตน้อมไปในการพิจารณาเห็นภัยในอบาย พิจารณา

เห็นทางดำเนิน พิจารณาถึงการบูชาธรรม พิจารณาถึงการบรรเทาถีนมิทธะ

การเว้นบุคคลเกียจคร้าน การคบบุคคลปรารภความเพียรและความเพียร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 615

ชอบ เป็นบริวารของวีริยะ. ความที่จิตน้อมไปในการเว้นบุคคลผู้ขาด

สติสัมปชัญญะ หลง ๆ ลืม ๆ และคนบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นบริวารของสติ.

ความที่จิตน้อมไปในสติให้ถึงความบริบูรณ์ด้วยอินทรีย์ ทำความเฉียบแหลม

ในเรื่องที่สอบถาม เว้นบุคคลปัญญาทราม คบบุคคลมีปัญญา และพิจารณา

ถึงข้อควรประพฤติอันเป็นญาณลึกซึ้ง เป็นบริวารของปัญญา. หมวด ๔

แห่งคุณมีศีลเป็นต้น, บุพภาคภาวนาในอารมณ์ ๓๘, และการการทำวสี มี

อาวัชชนวสีเป็นต้น เป็นบริวารของฌาณทั้ง ๔. พึงเจาะจงกล่าวตามสมควร

ถึงความที่จรณะเป็นต้น เป็นปัจจัยแห่งการสะสมบารมีมีทานบารมีเป็นต้น

โดยนัยมีอาทิว่า ชื่อว่า เป็นผู้สามารถในการให้อภัยสัตว์ทั้งหลาย ด้วยความ

บริสุทธิ์แห่งการประกอบด้วยศีลเป็นต้น ในการให้อามิส ด้วยความบริสุทธิ์

แห่งอัธยาศัย ในการให้ธรรมด้วยความบริสุทธิ์ทั้งสองอย่าง. เราจะไม่เจาะจง

กล่าวเพราะเกรงว่าจะพิสดารเกินไป. แม้สมบัติจักรเป็นต้น ก็พึงทราบว่า

เป็นปัจจัยแห่งทานเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.

อะไรเป็นความเศร้าหมอง. ความลูบคลำด้วยตัณหาเป็นต้น เป็น

ความเศร้าหมองแห่งบารมีทั้งหลาย โดยไม่ต่างกัน. แต่โดยความต่างกัน

เป็นความเศร้าหมองแห่งทานบารมี เพราะกำหนดไทยธรรมและปฏิคาหก.

เป็นความเศร้าหมองแห่งศีลบารมี เพราะกำหนดบุคคลและกาลเวลา. เป็น

ความเศร้าหมองแห่งเนกขัมมบารมี เพราะกำหนดความยินดีและความไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 616

ยินดีในการเข้าไประงับกิเลสนั้นในกามภพ. เป็นความเศร้าหมองแห่งปัญญา

บารมี เพราะกำหนดว่า เรา ของเรา ดังนี้. เป็นความเศร้าหมองแห่ง

วีริยบารมี เพราะกำหนดด้วยความหดหู่และความฟุ้งซ่าน. เป็นความเศร้า

หมองแห่งขันติบารมี เพราะกำหนดตนและผู้อื่น. เป็นความเศร้าหมองแห่ง

สัจบารมี เพราะกำหนดด้วยมีการเห็นในสิ่งที่ไม่ได้เห็นเป็นต้น. เป็น

ความเศร้าหมองของอธิษฐานบารมี เพราะกำหนดด้วยโทษและคุณ ใน

โพธิสมภารและฝ่ายตรงข้ามกับโพธิสมภาร. เป็นความเศร้าหมองของเมตตา

บารมี เพราะกำหนดด้วยประโยชน์และมิใช่ประโยชน์. เป็นความเศร้าหมอง

ของอุเบกขาบารมี เพราะกำหนดด้วยสิ่งน่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา

พึงเห็นด้วยประการฉะนี้แล.

อะไรเป็นความผ่องแผ้ว. พึงทราบว่า การไม่เข้าไปอาฆาตด้วยตัณหา

เป็นต้น การปราศจากความกำหนดตามที่กล่าวแล้ว เป็นความผ่องแผ้วของ

บารมีเหล่านั้น. เพราะบารมีมีทานบารมีเป็นต้น ปราศจากการกำหนด

ไทยธรรมและปฏิคาหกเป็นต้น อันกิเลสทั้งหลายมี ตัณหา มานะ ทิฏฐิ โกธะ

อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาไถย ถัมภะ สารัมภะ

มทะ ปมาทะ เป็นต้น ใช่จะเข้าไปกระทบ ย่อมเป็นบารมีบริสุทธิ์ผุดผ่อง.

อะไรเป็นปฏิปักษ์ ? ความเศร้าหมองแม้ทั้งหมด อกุศลธรรมแม้

ทั้งหมด เป็นปฏิปักษ์ของบารมีเหล่านั้น โดยไม่ต่างกัน. แต่โดยความ

ต่างกัน พึงทราบว่า ความตระหนี่เป็นต้น ที่กล่าวแล้ว ในตอนก่อนเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 617

ปฏิปักษ์ของบารมีเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ทานเป็นปฏิปักษ์แก่โลภะ โทสะ

และโมหะ เพราะประกอบด้วยคุณ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ใน

ไทยธรรม, ปฏิคาหกและผลของทานทั้งหลาย. ศีลเป็นปฏิปักษ์แก่โลภะ

เป็นต้น เพราะปราศจากความคดคือโทสะมีกายเป็นต้น. เนกขัมมะเป็น

ปฏิปักษ์แก่หมวด ๓ แห่ง โทสะ เพราะเว้นจาก กามสุข การเข้าไป

เบียดเบียนผู้อื่น และการทำตนให้ลำบาก. ปัญญาเป็นปฏิปักษ์ของโลภะ

เป็นต้น เพราะทำความมืดมนแก่โลภะเป็นต้น และเพราะทำความไม่มืดมน

แก่ญาณ. วีริยะเป็นปฏิปักษ์แก่โลภเป็นต้น ด้วยไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่าน

และปรารภเพื่อความรู้. ขันติเป็นปฏิปักษ์แก่โลภเป็นต้น เพราะอดทนต่อ

ความสูญของสิ่งที่น่าปรารถนาและสิ่งไม่น่าปรารถนา. สัจจะเป็นปฏิปักษ์แก่

โลภเป็นต้น เพราะเป็นไปตามความเป็นจริง เมื่อผู้อื่นทำอุปการะและทำ

ความเสียหาย. อธิษฐานะเป็นปฏิปักษ์แก่ความโลภเป็นต้น เพราะครอบงำ

โลกธรรม แล้วไม่หวั่นไหวในการสั่งสมบารมีตามที่สมาทานแล้ว. เมตตา

เป็นปฏิปักษ์แก่ความโลภเป็นต้น เพราะสงบจากนิวรณ์. อุเบกขาเป็น

ปฏิปักษ์แก่ความโลภเป็นต้น เพราะกำจัดความคล้อยตามและความคับแค้น

ในสิ่งที่น่าปรารถนาและสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา และเพราะเป็นไปอย่างสม่ำ

เสมอ พึงเห็นด้วยประการฉะนี้.

อะไรเป็นข้อปฏิบัติ ? การทำความอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลายโดยส่วนมาก

ด้วยการสละเครื่องอุปกรณ์ความสุข ร่างกายและชีวิตด้วยการกำจัดภัย และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 618

การชี้แจงธรรมเป็นข้อปฏิบัติของทานบารมี. ในทานบารมีนั้นมีทาน ๓ อย่าง

โดยเป็นวัตถุที่ควรให้ คือ อามิสทาน ๑ อภัยทาน ๑ ธรรมทาน ๑.

ในทานเหล่านั้น วัตถุที่พระโพธิสัตว์ควรให้มี ๒ อย่าง คือ วัตถุภายใน ๑

วัตถุภายนอก ๑. ใน ๒ อย่างนั้น วัตถุภายนอกมี ๑๐ อย่าง คือ ข้าว ๑

น้ำ ๑ ผ้า ๑ ยาน ๑ ดอกไม้ ๑ ของหอม ๑ เครื่องลูบไล้ ๑ ที่นอน ๑

ที่อาศัย ๑ ประทีป ๑. บรรดาวัตถุมีข้าวเป็นต้น มีวัตถุหลายอย่าง โดย

จำแนก ของควรเคี้ยวและของควรบริโภคเป็นต้น. อนึ่ง วัตถุ ๖ อย่าง คือ

รูปารมณ์จนถึงธรรมารมณ์. อนึ่ง บรรดาวัตถุมีรูปารมณ์เป็นต้น วัตถุ

หลายอย่าง โดยการจำแนกเป็นสีเขียวเป็นต้น. อนึ่ง วัตถุหลายอย่าง ด้วย

เครื่องอุปกรณ์อันทำความปลาบปลื้มหลายชนิด มีแก้วมณี กนก เงิน มุกดา

ประพาฬ นา ไร่ สวน ทาสหญิง ทาสชาย โค กระบือ เป็นต้น.

ในวัตถุเหล่านั้น พระมหาบุรุษ เมื่อจะให้วัตถุภายนอกรู้ด้วยตนเอง

ว่า จะให้วัตถุแก่ผู้มีความต้องการ. แม้เขาไม่ขอก็ให้. ไม่ต้องพูดถึงขอละ.

มีของให้ จึงให้. ไม่มีของให้ ย่อมไม่ให้. ให้สิ่งที่ปรารถนา. เมื่อมีไทยธรรม

ย่อมไม่ให้สิ่งที่ไม่ปรารถนา. อาศัยอุปการะตอบย่อมให้. เมื่อไม่มีไทยธรรม

ย่อมแบ่งสิ่งที่ปรารถนาให้สมควรแก่การแจกจ่าย. อนึ่ง ไม่ให้ศัสตรายาพิษ

และของเมาเป็นต้น อันจะนำมาซึ่งความเบียดเบียนผู้อื่น. แม้ของเล่นอัน

ประกอบด้วยความพินาศ และนำมาซึ่งความประมาท ก็ไม่ให้. อนึ่ง ไม่ให้

ของไม่เป็นที่สบาย มีน้ำดื่มและของบริโภคเป็นต้น หรือของที่เว้นจากการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 619

กำหนดแก่ผู้ขอที่เป็นไข้. แต่ให้ของเป็นที่สบายเท่านั้นอันสมควรแก่

ประมาณ.

อนึ่ง คฤหัสถ์ขอก็ให้ของสมควรแก่คฤหัสถ์. บรรพชิตขอก็ให้ของ

สมควรแก่บรรพชิต. ให้ไม่ให้เกิดความเบียดเบียนแก่ใคร ๆ ในบรรดาบุคคล

เหล่านี้ คือ มารดาบิดา ญาติสาโลหิต มิตรอำมาตย์ บุตรภรรยา ทาส

และกรรมกร. อนึ่ง รู้ไทยธรรมดีมาก ไม่ให้ของเศร้าหมอง. อนึ่ง ไม่ให้

อาศัยลาภสักการะความสรรเสริญ. ไม่ให้อาศัยการตอบแทน. ไม่ให้หวังผล

เว้นแต่สัมมาสัมโพธิญาณ. ไม่ให้รังเกียจผู้ขอหรือไทยธรรม. อนึ่ง ไม่ให้

ทานทอดทิ้ง ยาจกผู้ไม่สำรวม แม้ผู้ด่าและผู้โกรธ. ที่แท้มีจิตเลื่อมใสให้

อนุเคราะห์ด้วยความเคารพอย่างเดียว. ไม่ให้เพราะเชื่อมงคลตื่นข่าว. ให้

เพราะเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมเท่านั้น. ไม่ให้โดยที่ทำยาจกให้เศร้าหมอง

ด้วยการให้เข้าไปนั่งใกล้เป็นต้น. ให้ไม่ทำให้ยาจกเศร้าหมอง. อนึ่ง ไม่ให้

ประสงค์จะลวงหรือประสงค์จะทำลายผู้อื่น. ให้มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างเดียว.

ไม่ให้ทานใช้วาจาหยาบ หน้านิ่วคิ้วขมวด. ให้พูดน่ารัก พูดก่อน พูดพอ

ประมาณ. โลภะมีมากในไทยธรรมใด เพราะความพอใจยิ่งก็ดี เพราะสะสม

มานานก็ดี เพราะความอยากตามสภาพก็ดี. พระโพธิสัตว์รู้อยู่บรรเทาไทย-

ธรรมนั้นโดยเร็ว แล้วแสวงหายาจกให้. อนึ่ง ไทยวัตถุใดนิดหน่อย

แม้ยาจกก็ปรากฏแล้ว แม้ไม่คิดถึงไทยวัตถุนั้น ก็ทำตนให้ลำบาก แล้วให้

ยาจักนับถือเหมือนอกิตติบัณฑิต ฉะนั้น. อนึ่ง มหาบุรุษ เมื่อบุตรภรรยา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 620

ทาสกรรมกรบุรุษของตน ไม่รู้องเรียกถึงความโทมนัสขอ ย่อมไม่ให้แก่

ยาจกทั้งหลาย. แต่เมื่อชนเหล่านั้นร้องเรียกถึงความโสมนัสโดยชอบ จึงให้.

อนึ่ง เมื่อให้รู้อยู่ย่อมไม่ให้แก่ยักษ์ รากษส ปีศาจ เป็นต้น หรือแก่มนุษย์

ผู้ทำการงานหยาบช้า. อนึ่ง แม้ราชสมบัติก็ไม่ให้แก่คนเช่นนั้น. ให้แก่

ผู้ที่ไม่ปฏิบัติเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ เพื่อความพินาศแก่โลก

ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม คุ้มครองโลกโดยธรรม. พึงทราบการปฏิบัติในทาน

ภายนอก ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนทานภายในพึงทราบโดยอาการ ๒ อย่าง. อย่างไร ? เหมือน

บุรุษคนใดคนหนึ่งสละตน เพราะเหตุอาหารและเครื่องปกปิดแก่ผู้อื่น. ย่อม

ถึงความเป็นผู้เชื่อฟัง ความเป็นทาสฉันใด. พระมหาบุรุษก็ฉันนั้นเหมือน

กัน มีจิตปราศจากอามิสเพราะเหตุสัมโพธิญาณ ปรารถนาประโยชน์สุขอัน

ยอดเยี่ยมแก่สัตว์ทั้งหลาย ประสงค์จะบำเพ็ญทานบารมีของตน จึงสละตน

เพื่อคนอื่น ย่อมถึงความเป็นผู้เชื่อฟัง ความเป็นผู้ต้องทำตามความประสงค์.

ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อแท้ มอบอวัยวะน้อยใหญ่มีมือเท้าและนัยน์ตาเป็นต้น

ให้แก่ผู้ต้องการด้วยอวัยวะนั้น ๆ. ไม่ข้องใจ ไม่ถึงความสยิ้วหน้า ในการ

มอบให้นั้น เหมือนในวัตถุภายนอก. เป็นความจริงอย่างนั้น พระมหาบุรุษ

ยังความปรารถนาของยาจกเหล่านั้นให้บริบูรณ์ ด้วยการบริโภคตามสบาย

หรือด้วยความชำนาญของตน จึงสละวัตถุภายนอกด้วยอาการ ๒ อย่าง ด้วย

หวังว่า เราให้ทานหมดสิ้นแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณด้วยการเสียสละอย่างนี้

ดังนี้. พึงทราบการปฏิบัติในวัตถุภายใน ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 621

ให้วัตถุภายในที่ให้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ยาจกโดยส่วนเดียว

เท่านั้น. ใช่จะให้พวกนั้น. อนึ่ง พระมหาบุรุษ เมื่อรู้ย่อมไม่ให้อัตภาพหรือ

อวัยวะน้อยใหญ่ของตนแก่มารหรือแก่เทวดาผู้เนื่องด้วยหมู่มาร ผู้ประสงค์

จะเบียดเบียน ด้วยคิดว่า ความฉิบหายอย่าได้มีแก่มารเหล่านั้น. ย่อม

ไม่ให้แม้แต่ตุ๊กตาแป้ง เหมือนไม่ให้แก่เทวดาผู้เนื่องด้วยหมู่มาร ฉะนั้น.

ไม่ให้แม้แก่คนบ้า. แต่คนพวกนั้นขอให้ตลอดไป. เพราะการขอเช่นนั้น

หาได้ยาก และเพราะการให้เช่นนั้นทำได้ยาก.

ส่วนอภัยทาน พึงทราบโดยความป้องกันจากภัย ที่ปรากฏแก่สัตว์

ทั้งหลาย จากพระราชา โจร ไฟ น้ำ ศัตรู สัตว์ร้ายมีราชสีห์ เสือโคร่ง

เป็นต้น.

ส่วนธรรมทาน ได้แก่การแสดงธรรมไม่วิปริต แก่ผู้มีจิตไม่เศร้า

หมอง. การชี้แจงประโยชน์อันสมควร นำผู้ยังไม่เข้าถึงศาสนาให้เข้าถึง

ผู้เข้าถึงแล้วให้เจริญงอกงาม ด้วยทิฏฐธรรมิกประโยชน์ สัมปรายิกและ

ปรมัตถประโยชน์. ในการแสดงธรรมนั้น พึงทราบนัยโดยสังเขป ดังนี้ก่อน

คือ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษและความเศร้าหมองของกามและ

อานิสงส์ในการออกจากกาม. ส่วนโดยพิสดาร พึงทราบประดิษฐานและ

การทำให้ผ่องแผ้วในธรรมนั้นๆ ตามสมควร ด้วยสามารถการประกาศคุณของ

ธรรมเหล่านั้น แก่ผู้มีจิตน้อมไปแล้วในสาวกโพธิญาณ คือ การเข้าถึงสรณะ

การสำรวมศีล ความคุ้มครองทวารอินทรีย์ทั้งหลาย ความรู้จักประมาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 622

ในการบริโภค การประกอบความเพียรเนือง ๆ สัทธรรม ๗ การประกอบ

สมถะ ด้วยการทำกรรมในอารมณ์ ๓๘ การประกอบวิปัสสนา ด้วยหัวข้อ

คือการยึดมั่นตามสมควรในการยึดมั่นวิปัสสนา ในรูปกายเป็นต้น. ปฏิปทา

เพื่อความหมดจดอย่างนั้น การยึดถือความถูกต้อง วิชชา ๓ อภิญญา ๖

ปฏิสัมภิทา ๔ สาวกโพธิญาณ. อนึ่ง พึงทราบการประดิษฐาน การทำให้

ผ่องแผ้วในญาณทั้งสอง ด้วยการประกาศความเป็นผู้มีอานุภาพมาก ของ

พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ในฐานะแม้ ๓ อย่าง โดยหัวข้อประกาศมิสภาวะ

ลักษณะและรสเป็นต้น ของบารมีมีทานบารมีเป็นต้น ตามสมควรแก่สัตว์

ทั้งหลาย ผู้น้อมไปในปัจเจกโพธิญาณ และในสัมมาสัมโพธิญาณ. พระ-

มหาบุรุษย่อมให้ธรรมทานแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พระมหาบุรุษเมื่อให้อามิสทานแก่สัตว์ทั้งหลาย ย่อมให้ทานข้าว

ด้วยตั้งใจว่า เราพึงยังสมบัติมีอายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณเป็นต้น และ

สมบัติคือผลเลิศน่ารื่นรมย์ให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายด้วยทานนี้. อนึ่ง ให้น้ำ

เพื่อระงับความกระหายคือกามกิเลสของสัตว์ทั้งหลาย. ให้ผ้าเพื่อให้ผิวพรรณ

งาม และเพื่อให้สำเร็จเครื่องประดับคือหิริโอตตัปปะ. ให้ยานเพื่อให้สำเร็จ

อิทธิวิธี คือการแสดงฤทธิได้ และนิพพานสุข. ให้ของหอม เพื่อให้

สำเร็จความหอมคือศีล. ให้ดอกไม้และเครื่องลูบไล้เพื่อให้สำเร็จความงาม

ด้วยพุทธคุณ. ให้อาสนะเพื่อให้สำเร็จอาสนะ ณ โพธิมณฑล. ให้ที่นอน

เพื่อให้สำเร็จตถาคตไสยา คือนอนแบบพระตถาคต. ให้ที่พักเพื่อให้สำเร็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 623

ความเป็นสรณะ. ให้ประทีปเพื่อให้ได้ปัญจจักขุ. ให้รูปเป็นทานเพื่อให้

สำเร็จรัศมีออกจากกายวาหนึ่ง. ให้เสียงเป็นทานเพื่อให้สำเร็จเสียงดุจเสียง

พรหม. ให้รสเป็นทานเพื่อเป็นที่รักของโลกทั้งปวง. ให้โผฏฐัพพะเป็นทาน

เพื่อความเป็นพุทธสุขุมาล คือความละเอียดอ่อนของพระพุทธเจ้า. ให้

เภสัชเป็นทานเพื่อความไม่แก่ไม่ตาย. ให้ความเป็นไทแก่ทาสทั้งหลายเพื่อ

ปลดเปลื้องความเป็นทาสคือกิเลส. ให้ความยินดีในของเล่นที่ไม่มีโทษ

เป็นทานเพื่อความยินดีในพระสัทธรรม. ให้บุตรเป็นทานเพื่อนำสัตว์ทั้งหมด

ออกไปจากความเป็นบุตรของตนในชาติเป็นอริยะ. ให้ภรรยาเป็นทานเพื่อ

ถึงความเป็นใหญ่แห่งโลกทั้งสิ้น. ให้ทองแก้วมณี แก้วมุกดา แก้ว

ประพาฬเป็นต้น เป็นทานเพื่อความสมบูรณ์ด้วยลักษณะงาม. ให้เครื่อง

ประดับนานาชนิดเป็นทานเพื่อความสมบูรณ์แห่งอนุพยัญชนะ. ให้คลัง

สมบัติเป็นทานเพื่อบรรลุพระสัทธรรม. ให้ราชสมบัติเป็นทานเพื่อความเป็น

พระธรรมราชา. ให้สวน สระ ป่า เป็นทานเพื่อความสมบูรณ์แห่งฌาน

เป็นต้น ให้เท้าเป็นทานเพื่อก้าวไปสู่รัศมีโพธิมณฑลด้วยเท้ามีรอยจักร.

ให้มือเป็นทานเพื่อให้มือคือพระสัทธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย เพื่อถอนออกจาก

โอฆะ ๔. ให้หูและจมูกเป็นทานเพื่อได้อินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้น. ให้

จักษุเป็นทานเพื่อให้สมันตจักข คือจักษุโดยรอบ. ให้เนื้อและเลือดเป็นทาน

ด้วยหวังว่า จะนำประโยชน์สุขมาให้แก่สรรพสัตว์ตลอดกาลทั้งปวง ในการ

เห็น การฟัง การระลึกถึง การบำเรอเป็นต้น. และกายของเราพึงเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 624

กายอันโลกทั้งปวงพึงเข้าไปอาศัย. ให้อวัยวะสูงที่สุด เป็นทานด้วยหวังว่า

เราจะพึงเป็นผู้สูงที่สุดในโลกทั้งปวง.

อนึ่ง มหาบุรุษเมื่อให้อย่างนี้ไม่ให้เพื่อนแสวงหาผิด ไม่ให้เพื่อเบียด

เบียนผู้อื่น ไม่ให้เพราะกลัว เพราะละอาย เพราะเคืองทักขิไณยบุคคล.

เมื่อมีของประณีตไม่ให้ของเศร้าหมอง. ไม่ให้ด้วยการยกตน ด้วยการข่ม

ผู้อื่น ด้วยหวังผล ด้วยเกลียดยาจก ด้วยไม่เคารพ. ที่แท้ให้ด้วยความ

เคารพ. ให้ด้วยมือของตน. ให้ตามกาล. ทำความเคารพแล้วให้. ให้ด้วย

ไม่แบ่งออก. ให้มีใจยินดีใน ๓ กาล. ครั้นให้แล้วก็ไม่เดือดร้อนในภาย

หลัง. ไม่ยกย่องและดูหมิ่นปฏิคาหก. เปล่งถ้อยคำน่ารัก รู้คำพูด ผู้เข้าไปขอ

ให้พร้อมทั้งบริวาร. เพราะเมื่อให้ข้าวเป็นทานย่อมให้พร้อมด้วยผ้าเป็นต้น

ด้วยตั้งใจว่า เราจักทำสิ่งนั้นให้เป็นบริวารแล้วให้. อนึ่ง เมื่อให้ผ้าเป็นทาน

ย่อมให้พร้อมกับข้าวเป็นต้น ด้วยตั้งใจว่า เราจักทำผ้านั้นให้บริวารแล้วให้

แม้ในการให้ยานเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

อนึ่ง มหาบุรุษเมื่อให้รูปเป็นทานกระทำแม้อารมณ์นอกนั้น ให้เป็น

บริวารของรูปนั้นแล้วให้. แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนี้. ได้รูปเป็นทานอย่างใด

อย่างหนึ่ง ในบรรดาดอกไม้และผ้าเป็นต้น มีสีเขียว เหลือง แดงและขาว

เป็นต้น แล้วนั่งขัดสมาธิกำหนดรูปคิดว่า เราจักให้รูปเป็นทาน. รูปเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 625

ทาน เป็นของเราทำพร้อมวัตถุยังทานให้ตั้งอยู่ในทักขิไณยบุคคลเช่นนั้น.

นี้ชื่อว่ารูปเป็นทาน.

พึงทราบการให้เสียงเป็นทานด้วยเสียงกลองเป็นต้น. ในการให้เสียง

เป็นทานนั้นไม่สามารถให้เสียงได้ดุจถอนเง่าและรากบัว และดุจวางกำดอก.

บัวเขียวลงบนมือ. แต่ทำให้พร้อมกับวัตถุ แล้วให้ชื่อว่าให้เสียงเป็นทาน.

เพราะฉะนั้น ในกาลใดทำเองและใช้ให้ทำเพลงบูชาพระรัตนตรัยด้วยดนตรี

อย่างใดอย่างหนึ่งมีกลองและตะโพนเป็นต้น ด้วยคิดว่าเราจักให้เสียงเป็น

ทาน. ตั้งไว้เองและให้ผู้อื่นตั้งกลองเป็นต้น ด้วยตั้งใจว่า เสียงเป็นทาน

ของเรา. ให้ยาเสียงมีน้ำมันและน้ำผึ้งเป็นต้นแก่พระธรรมกถึกทั้งหลาย.

ประกาศฟังธรรม. สวดสรภัญญะ. กล่าวธรรมกถา. ทำเองและให้ผู้อื่นทำ

อุปนิสินนกถา คือกถาของผู้เข้าไปนั่งใกล้ และอนุโมทนากถา คือกถา

อนุโมทนา. ในกาลนั้นชื่อว่าให้เสียงเป็นทาน.

อนึ่ง มหาบุรุษได้วัตถุมีกลิ่นหอมน่ายินดีอย่างใดอย่างหนึ่ง มีกลิ่น

หอมที่รากของต้นไม้มีกลิ่นเป็นต้น หรือกลิ่นไร ๆ ที่อบแล้ว นั่งขัดสมาธิ

กำหนดกลิ่นคิดว่า เราจักให้กลิ่นเป็นทาน. กลิ่นเป็นทานของเราแล้วทำเอง

และให้ผู้อื่นทำการบูชาพระพุทธรัตนะเป็นต้น. มหาบุรุษบริจาควัตถุมีกลิ่น

มีกฤษณาและจันทน์เป็นต้นเพื่อบูชากลิ่น. นี้ชื่อว่าให้กลิ่นทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 626

อนึ่ง มหาบุรุษได้วัตถุมีรสน่ายินดีอย่างใดอย่างหนึ่งมีรากที่รากเป็นต้น

นั่งขัดสมาธิกำหนดรสคิดว่าเราจักให้รสเป็นทาน รสเป็นทานของเราแล้ว

ให้แก่ทักขิไณยบุคคล. หรือสละข้าวเปลือกและโคเป็นต้นอันมีวัตถุเป็นรส.

นี้ชื่อว่าให้รสเป็นทาน.

อนึ่ง ให้โผฏฐัพพะเป็นทานพึงทราบด้วยสามารถเตียงและตั่งเป็นต้น

และด้วยสามารถเครื่องลาดและเครื่องคลุมเป็นต้น.

มหาบุรุษได้วัตถุเป็นโผฏฐัพพะไม่มีโทษน่ายินดี มีสัมผัสสบาย มี

เตียงตั่งฟูกหมอนเป็นต้น หรือมีผ้านุ่งผ้าห่มเป็นต้น นั่งขัดสมาธิกำหนด

โผฏฐัพพะคิดว่า เราจักให้โผฏฐัพพะเป็นทาน. โผฏฐัพพะเป็นทานของเรา

แล้วให้แก่ทักขิไณยบุคคล. ได้วัตถุเป็นโผฏฐัพพะตามที่กล่าวแล้วสละ. นี้

ชื่อว่าให้โผฏฐัพพะเป็นทาน.

อนึ่ง พึงทราบธรรมทานด้วยสามารถแห่งชีวิตดื่มด่ำมีโอชะ เพราะ

ประสงค์เอาธรรมารมณ์. จริงอยู่ มหาบุรุษได้วัตถุน่ายินดีอย่างใดอย่างหนึ่ง

มีรสโอชาเป็นต้น แล้วนั่งขัดสมาธิคิดว่า เราจักให้ธรรมเป็นทาน. ธรรม

เป็นทานของเราแล้วให้ของมีรสอร่อยมีเนยใสเนยขึ้นเป็นต้นเป็นทาน ให้

ปานะ ๘ อย่าง มีอัมพปานะเป็นต้น. มหาบุรุษนั่งขัดสมาธิคิดว่าจะให้ชีวิต

เป็นทาน จึงให้สลากภัตรและปักขิกภัตรเป็นต้น. จัดหาหมอเยียวยาคนเจ็บ

ป่วย. ทำลายตาข่าย. รื้อไซดักปลา. เปิดกรงนก. ให้ปล่อยสัตว์ที่ผูกไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 627

ด้วยเครื่องผูก. ตีกลองป่าวประกาศมิให้ฆ่าสัตว์. ทำเองและให้ผู้อื่นทำกรรม

อย่างอื่นและกรรมเห็นปานนี้เพื่อป้องกันชีวิตสัตว์ทั้งหลาย. นี้ชื่อว่าให้ธรรม

เป็นทาน.

มหาบุรุษน้อมทานสัมปทาตามที่กล่าวแล้วนี้ทั้งหมด เพื่อประโยชน์

สุขแก่โลกทั้งสิ้น. อนึ่ง น้อมทานสัมปทาเพื่อสัมมาสัมโพธิญาณของตน

เพื่อวิมุติไม่กำเริบ เพื่อฉันทะ วิริยะ สมาธิ ปฏิภาณ ญาณ วิมุติไม่

สิ้นไป. พระมหาสัตว์ปฏิบัติทานบารมีนี้พึงปรากฏอนิจจสัญญาในชีวิต ใน

โภคะก็เหมือนกัน. พึงมนสิการถึงความเป็นสาธารณะอย่างมากแก่สัตว์

เหล่านั้น. พึงให้ปรากฏมหากรุณาในสัตว์ทั้งหลายเนือง ๆ สม่ำเสมอ. ถือ

เอาทรัพย์สินที่ควรถือเอาไปได้ นำสมบัติทั้งหมดและตนออกจากเรือนดุจ

ออกจากบ้านที่ถูกไฟไหม้ไม่ให้มีอะไรเหลือ. ไม่ทำการแบ่งในที่ไหน ๆ.

โดยที่แท้เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งสละหมดเลย. นี้เป็นลำดับแห่งการปฏิบัติทาน.

บารมี.

อนึ่ง พึงทราบลำดับแห่งการปฏิบัติศีลบารมีต่อไป. มหาบุรุษผู้

ประสงค์จะตกแต่งสัตว์ทั้งหลายด้วยเครื่องประดับ คือศีลของพระสัพพัญญู

ควรชำระศีลของตนตั้งแต่ต้นก่อน. อนึ่ง ศีลย่อมบริสุทธิ์โดยอาการ ๔ อย่าง

คือโดยความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย ๑ โดยการสมาน ๑ โดยไม่ก้าวล่วง ๑

และโดยทำให้เป็นปกติเมือมีการก้าวล่วง ๑ จริงอยู่ บางคนมีตนเป็นใหญ่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 628

เพราะอัธยาศัยบริสุทธิ์ เกลียดบาปยังหิริให้ปรากฏในภายใน แล้วมีสมา-

จารบริสุทธิ์ด้วยดี. อนึ่ง บางคนเมื่อมีการสมาทาน ถือโลกเป็นใหญ่ สะดุ้ง

ต่อบาปยังโอตตัปปะให้ปรากฏ เป็นผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ด้วยดี. ด้วยประการ

ฉะนี้ คนเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ในศีล เพราะไม่ล่วงแม้ทั้งสองอย่าง. ก็แต่ว่า

บางคราว เพราะหลงลืมไปศีลก็จะพึงขาดไปเป็นต้น. กระทำศีลที่ขาดไปนั้น

ให้เป็นปกติโดยเร็ว ด้วยการอยู่กรรมเป็นต้น เพื่อความถึงพร้อมแห่งหิริ-

โอตตัปปะตามที่กล่าวแล้วนั้น.

ศีลนี้มี ๒ อย่าง คือวาริตตศีล ๑ จาริตตศีล ๑. ในศีล ๒ อย่าง

นั้น พึงทราบลำดับการปฏิบัติ ในวาริตตศีลของพระโพธิสัตว์ดังต่อไปนี้.

พึงเป็นผู้มีจิตเอ็นดูในสรรพสัตว์โดยที่แม้ฝันก็ไม่พึงเกิดความอาฆาต. ไม่พึง

จับต้องของของคนอื่นดุจงู เพราะยินดีในการช่วยเหลือผู้อื่น หากเป็น

บรรพชิต เป็นผู้ประพฤติห่างไกลจากอพรหมจรรย์ ปราศจากเมถุนสังโยค

๗ อย่าง. ไม่ต้องพูดถึงจากการล่วงภรรยาคนอื่นละ. อนึ่ง หากว่าเป็น

คฤหัสถ์ไม่ใช่บรรพชิต แม้จิตลามกก็มิให้เกิดขึ้นในภรรยาของผู้อื่นทุกเมื่อ

เมื่อพูดก็พูดคำพอประมาณเป็นคำจริงมีประโยชน์ น่ารัก แกละกล่าวธรรม

ตามกาละ. ไม่โลภ ไม่พยาบาท ไม่เห็นวิปริต ประกอบด้วยกัมมัสสกตญาณ

มีศรัทธามั่นคงในการปฏิบัติชอบ มีความรักมั่นคงในที่ทั้งปวง

เมื่อมหาบุรุษงดเว้นจากอกุศลกรรมบถอันเป็นทางแห่งอบาย ๔ และ

วัฏฏทุกข์และจากอกุศลธรรม แล้วตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถอันเป็นทางแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 629

สวรรค์และนิพพาน ความปรารถนาอันเข้าไปประกอบประโยชน์สุขแก่สัตว์

ทั้งหลายตามปรารถนา เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยบริสุทธิ์ย่อมสำเร็จเร็วพลัน.

บารมีย่อมบริบูรณ์. มหาบุรุษนี้เป็นอย่างนี้. มหาบุรุษย่อมให้อภัยทานแก่

สรรพสัตว์ด้วยไม่ประพฤติเบียดเบียน. ยังเมตตาภาวนาให้สมบูรณ์โดยไม่

ยาก. ย่อมบรรลุอานิสงส์เมตตา ๑๑ ประการ. มีอาพาธน้อย ไม่ป่วยเจ็บ

มีอายุยืน มีสุขมากย่อมถึงลักษณวิเศษ. และตัดวาสนาอันเป็นโทษได้.

อนึ่ง เพราะไม่ลักทรัพย์จึงได้โภคสมบัติอันไม่ทั่วไปด้วยโจรเป็นต้น.

คนอื่นไม่รังเกียจ เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ น่าคบหามีใจไม่ข้องวิภวสมบัติ

ชอบบริจาค และตัดวาสนาอันเป็นโลภะได้.

เพราะไม่ประพฤติผิดพรหมจรรย์จึงเป็นผู้ไม่โลเลมีกายใจสงบ. เป็น

ที่รักเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่รังเกียจของสัตว์ทั้งหลาย. กิตติศัพท์อันงาม

ของเขาย่อมฟุ้งไป. ไม่มีจิตข้องในมาตุคามทั้งหลาย มีอัธยาศัยไม่โลภ.

มากไปด้วยเนกขัมมะย่อมได้ลักษณะวิเศษและตัดวาสนาอันเป็นโลภะได้.

เพราะไม่พูดเท็จจึงเป็นประมาณของสัตว์ทั้งหลาย เป็นที่เชื่อถือได้ไว้

ใจได้มีถ้อยคำควรถือได้. เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของทวยเทพ. มีปากหอม

รักษากายสมาจาร วจีสมาจาร. ย่อมได้ลักษณวิเศษ. และตัดวาสนาอัน

เป็นกิเลสได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 630

เพราะไม่พูดส่อเสียดจึงมีกายไม่แตกแยก มีบริวารไม่แตกแยก แม้

ด้วยความพยายามของคนอื่น. มีเสียงไม่แตกแยกในพระสัทธรรม. มีมิตร

มั่นคง เป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลายโดยส่วนเดียวดุจสะสมไว้ในระหว่างภพ

มากด้วยความไม่เศร้าหมอง.

เพราะไม่พูดหยาบ จึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของสัตว์ทั้งหลาย มี

ปกติอยู่เป็นสุข พูดเพราะ น่ายกย่อง. เสียงของเขาประกอบด้วยองค์ ๘

ย่อมเกิดขึ้น.

เพราะไม่พูดเพ้อเจ้อจึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ น่าเคารพ น่ายกย่อง

ของสัตว์ทั้งหลาย มีถ้อยคำควรเชื่อถือได้ พูดพอประมาณ. มีศักดิ์และ

อานุภาพมาก. ฉลาดในการแก้ปัญหาด้วยปฏิภาณฉับพลัน. สามารถในการ

แก้ปัญหามากมายของสัตว์ทั้งหลาย หลายภาษาด้วยคำคำเดียวเท่านั้นใน

พุทธภูมิ.

เพราะเป็นผู้ไม่โลภ จึงมีลาภที่ต้องการ. ได้ความชอบใจในโภคะ

มากมาย. เป็นที่ยอมรับของกษัตริย์มหาศาลเป็นต้น. ข้าศึกครอบงำไม่ได้.

ไม่ถึงความเป็นผู้มีอินทรีย์พิกลพิการ. และเป็นบุคคลหาผู้เปรียบมิได้.

เพราะไม่พยาบาทจึงเป็นผู้ดูน่ารัก. เป็นที่ยกย่องของสัตว์ทั้งหลาย

ให้สัตว์เลื่อมใสโดยไม่ยาก เพราะเป็นผู้พอใจยิ่งในประโยชน์ของผู้อื่น. อนึ่ง

เป็นผู้มีสภาวะไม่เศร้าหมอง อยู่ด้วยเมตตา. เป็นผู้มีศักดิ์มีอานุภาพมาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 631

เพราะเป็นผู้ไม่เห็นผิดจึงย่อมได้สหายดี. แม้จะถึงตัดศีรษะก็ไม่ทำ

กรรมชั่ว. เป็นผู้ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าวเพราะเห็นความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ

ตน. ศรัทธาของเราเป็นรากตั้งมั่นในพระสัทธรรม. เชื่อการตรัสรู้ของ

พระตถาคต. ไม่ยินดีในลัทธิอื่นดุจพระยาหงส์ ไม่ยินดีในที่มีขยะฉะนั้น.

เป็นผู้ฉลาดในการกำหนดรู้ลักษณะ ๓ อย่างไร. และเป็นผู้ได้อนาวรณญาณ

ในที่สุด. ยังไม่บรรลุโพธิญาณเพียงใด จะเป็นผู้เด่นในหมู่สัตว์นั้น ๆ เพียง

นั้นและถึงสมบัติมากมายก่ายกอง. พึงยังการนับถืออย่างมากให้เกิดขึ้นว่า

ชื่อว่าศีลนี้เป็นที่ตั้งแห่งสรรพสมบัติ. เป็นแดนเกิดของพระพุทธคุณทั้งปวง.

เป็นเบื้องต้น เป็นจรณะ เป็นหน้า เป็นประมุขของพุทธการกธรรมทั้งปวง

แล้ว พึงเป็นผู้ไม่ประมาทในการสำรวมกายวาจา ในการฝึกอินทรีย์ ใน

ความบริสุทธิ์ของอาชีวะและในการบริโภคปัจจัยทั้งหลาย ด้วยกำลังแห่ง

สติสัมปชัญญะ กำหนดลาภสักการะและความสรรเสริญ ดุจศัตรูต่อหน้า

ทำเป็นมิตรแล้วให้ศีล สมบูรณ์โดยเคารพตามนัยดังกล่าวแล้ว มีอาทิว่า

กิกิว อณฺฑ ดังนี้. นี้เป็นลำดับของการปฏิบัติในวาริตตศีล.

ส่วนการปฏิบัติในจาริตตศีลพึงทราบอย่างนี้. พระโพธิสัตว์กระทำ

อภิวาท ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่กัลยาณมิตรผู้ดำรงอยู่ในฐานะ

ครูตลอดเวลา. อนึ่งทำการบำรุงกัลยาณมิตรเหล่านั้นตลอดเวลา. ทำการ

ช่วยเหลือคนไข้ทั้งหลาย. ฟังบทสุภาษิตแล้วทำสาธุการ. พรรณาคุณของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 632

ผู้มีคุณธรรม อดทนในการทำความเสียหายของคนอื่น. ระลึกถึงผู้ทำ

อุปการะ. อนุโมทนาบุญ. น้อมบุญของตนเพื่อสัมมาสัมโพธิญาณ. อยู่ใน

ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลายตลอดกาล. เมื่อมีโทษเห็นโดยความ

เป็นโทษแล้ว แจ้งแก่สหธรรมิกเช่นนั้นตามความเป็นจริง. บำเพ็ญสัมมา

ปฏิบัติให้ยิ่งโดยชอบ.

อนึ่ง เมื่อควรทำสิ่งเป็นประโยชน์อันสมควรของตนแก่สัตว์ทั้งหลาย

เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านถึงความเป็นสหาย. อนึ่ง เมื่อทุกข์มีความเจ็บป่วย

เป็นต้นเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้จัดการช่วยเหลือตามสมควร. เมื่อ

สัตว์ทั้งหลายตกอยู่ในความเสื่อมมีความเสื่อมจากญาติและสมบัติเป็นต้น ก็

ช่วยบรรเทาความเศร้าโศก เป็นผู้ตั้งอยู่ในสภาพที่จะช่วยเหลือ ข่มผู้ที่

ควรข่มโดยถูกธรรม เพื่อให้พ้นจากอกุศลแล้วตั้งอยู่ในกุศล. ยกย่องผู้ที่

ควรยกย่องโดยธรรม. กรรมใดที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง กว้างขวางที่สุด มี

อานุภาพเป็นอจินไตยอันนำประโยชน์สุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลายโดยส่วนเดียว

อันพระมหาโพธิสัตว์แต่ก่อนได้ประพฤติแล้ว. โพธิสมภารของพระมหา-

โพธิสัตว์เหล่านั้นได้ถึงความแก่กล้าโดยชอบด้วยกรรมใด. ฟังกรรมเหล่านั้น

แล้วไม่หวาดสะดุ้ง มหาบุรุษแม้เหล่านั้นก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน. มีอัตภาพ

อบรมเพื่อความบริบูรณ์แห่งการศึกษาตามลำดับ ได้บรรลุถึงบารมีอย่าง

อุกฤษฏ์ในโพธิสมภารเพื่อถึงพร้อม ด้วยอานุภาพอันยอดเยี่ยมเช่นนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 633

เพราะฉะนั้น แม้เราก็พึงปฏิบัติอย่างนั้นโดยชอบในสิกขามีศีลสิกขาเป็นต้น.

ไม่สละความเพียรอันมีศรัทธาเป็นบุเรจาริกด้วยคิดว่า แม้เราก็จะบำเพ็ญ

สิกขาให้บริบูรณ์ตามลำดับด้วยการปฏิบัติ แล้วจักบรรลุตามถึงบทนั้นโดย

ส่วนเดียว ดังนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลายโดยชอบ.

อนึ่ง มหาบุรุษเป็นผู้ปกปิดความดี เปิดเผยโทษ. มักน้อย สันโดษ

สงัด ไม่คลุกคลี ทนต่อทุกข์ ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เย่อหยิ่ง ไม่

หวั่นไหว ไม่ปากร้าย ไม่แส่หาเรื่อง มีอินทรีย์สงบ ใจสงบปราศจาก

มิจฉาชีพมีการหลอกลวงเป็นต้น ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร เห็นภัย

ในโทษ แม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบท ปรารภความเพียร

มีตนมั่นคง ไม่คำนึงถึงกายและชีวิต. ไม่ยอมรับละบรรเทาความเพ่งในกาย

และชีวิตแม้มีประมาณน้อย. ไม่ต้องพูดถึงมีประมาณมากละ. ละบรรเทา

อุปกิเลส มีโกรธ และผูกโกรธเป็นต้น อันเป็นเหตุแห่งความเป็นผู้ทุศีล

แม้ทั้งปวง. เป็นผู้ไม่ยินดีด้วยการบรรลุธรรมวิเศษอันมีประมาณน้อย. ไม่

ท้อแท้ใจพยายามเพื่อบรรลุธรรมวิเศษยิ่ง ๆ ขึ้นไป.

สมบัติตามที่ได้แล้ว ไม่มีส่วนแห่งความเสื่อมหรือความมั่นคง. อนึ่ง

มหาบุรุษเป็นผู้นำคนตาบอด บอกทางให้. ให้สัญญาด้วยนิ้วมือแก่คนหูหนวก

อนุเคราะห์ประโยชน์. คนใบ้ก็เหมือนกัน. ให้ตั้ง ให้ยานแก่คนพิการ หรือ

นำไป. คนไม่มีศรัทธาพยายามให้มีศรัทธา, คนเกียจคร้านพยายามให้เกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 634

อุตสาหะ. คนหลงลืมพยามให้ได้สติ. คนมีใจวุ่นวายพยายามให้ได้สมาธิ.

คนมีปัญญาทรามพยายามให้มีปัญญา. คนหมกมุ่นในกามฉันทะ. พยายาม

บรรเทากามฉันทะ. คนหมกมุ่นในพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ

และวิจิกิจฉา พยายามให้บรรเทาวิจิกิจฉา. คนไม่ปกติมีกามวิตกเป็นต้น

พยายามบรรเทามิจฉาวิตกมีกามวิตกเป็นต้น. อาศัยความเป็นผู้รู้คุณที่ทำแล้ว

แก่สัตว์ผู้เป็นบุรพการี จึงพูดขึ้นก่อน พูดน่ารัก สงเคราะห์ นับถือ โดย

ทำการตอบแทนเช่นเดียวกันหรือยิ่งกว่า.

มหาบุรุษย่อมติดตามช่วยเหลือสหายในอันตรายทั้งหลาย. มหาบุรุษ

กำหนดรู้ตนและสภาพปกติของสหายเหล่านั้น ๆ แล้ว อยู่รวมกับสหายเหมือน

ที่เคยอยู่ร่วมกันมา. อนึ่ง ปฏิบัติในสหายเหมือนอย่างที่เคยปฏิบัติมา. ด้วย

ให้พ้นจากอกุศลแล้วให้ตั้งอยู่ในกุศล. มิใช่ให้ตั้งอยู่โดยอย่างอื่น. เพราะการ

ตามรักษาจิตของผู้อื่นของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ก็เพียงเพื่อความเจริญอย่าง

ยิ่งเท่านั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงไม่ควรเบียดเบียนสัตว์อื่น. ไม่ควรทะเลาะ.

ไม่ควรให้ถึงความเป็นผู้เก้อเขิน เพราะอัธยาศัยนั้น. ไม่ควรให้เกิดความ

รังเกียจสัตว์อื่น. ควรทักท้วงในฐานะที่ควรข่ม. เมื่อเขาอยู่ต่ำกว่าไม่ควร

วางตนในที่สูงกว่า. ไม่ควรคบในผู้อื่นจนหมดสิ้นก็หามิได้. ไม่ควรคบมาก

เกินไป. ไม่ควรคบพร่ำเพรื่อ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 635

แต่คบสัตว์ที่ควรคบตามสมควรแก่กาละเทศะ. ไม่ติเตียนคนที่รักหรือ

สรรเสริญคนที่ไม่รัก ต่อหน้าผู้อื่น. ไม่วิสาสะกับคนที่ไม่คุ้นเคย. ไม่ปฏิ-

เสธการเชื้อเชิญที่เป็นธรรม. ไม่แสดงตัวมากไป. ไม่รับของมากเกินไป.

ย่อมยินดีกับผู้ที่มีศรัทธาด้วยการกล่าวอานิสงส์ของศรัทธา. อนึ่ง หากว่า

พระโพธิสัตว์เป็นผู้ถึงกำลังปัญญา แสดงนรกเป็นต้น ตามสมควรด้วยกำลัง

อภิญญา ยังสัตว์ผู้ถึงความประมาทให้สังเวชแล้วยังสัตว์ผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น

ให้ตั้งอยู่ในศรัทธาเป็นต้น. ให้หยั่งลงในศาสนา. ให้เจริญงอกงามในคุณ-

สมบัติมีทานเป็นต้น. สัตว์นี้เป็นผู้ประพฤติตามจารีตของมหาบุรุษเป็นผู้หลั่ง-

ไหล บุญกุศลหาประมาณมิได้ ย่อมเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป พึงทราบด้วยประ-

การฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านตั้งคำถามไว้ว่า ศีลคืออะไร ศีลด้วยอรรถว่า

กระไร แล้วกล่าวความพิสดารของศีลไว้ในวิสุทธิมรรคด้วยประการต่าง ๆ

โดยนัยมีอาทิว่า ธรรมมีเจตนาเป็นต้น ของผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น

หรือผู้บำเพ็ญวัตรปฏิบัติ ชื่อว่า ศีล. กถาทั้งหมดนั้นควรนำมากล่าวในที่นี้.

ในวิสุทธิมรรคนั้นศีลกถามาด้วยอำนาจแห่งสาวกโพธิสัตว์อย่างเดียว. ในที่

นี้ท่านกล่าวถึงศีลกถา ทำความเป็นผู้ฉลาดในอุบายคือกรุณาเป็นส่วนเบื้อง-

ต้น ด้วยอำนาจแห่งพระมหาโพธิสัตว์ เพราะเหตุนั้น นี้แหละเป็นความ

ต่างกัน. มหาบุรุษไม่น้อมไปเพื่อวิชชา ๓ อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทา ๔ สาวก-

โพธิญาณ ปัจเจกโพธิญาณ เหมือนศีลนี้ ไม่น้อมไปเพื่อพ้นความเศร้าหมอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 636

ในทุคติของตน ไม่น้อมไปเพื่อราชสมบัติ เพื่อจักรพรรดิสมบัติ เพื่อเทว-

สมบัติ เพื่อสักกสมบัติ เพื่อมารสมบัติ เพื่อพรหมสมบัติ แม้ในสุคติ. ที่

แท้พระมหาโพธิสัตว์ย่อมน้อมไป เพื่อให้ถึงศีลาลังการอันยอดเยี่ยมของสัตว์

ทั้งหลายด้วยความเป็นพระสัพพัญญูฉะนี้แล. นี้คือลำดับแห่งการปฏิบัติศีล-

บารมี.

อนึ่ง เพราะการเกิดขึ้นแห่งกุศลจิตเป็นไปแล้วด้วยการออกจากกาม

และภพทั้งหลาย มีการเห็นโทษเป็นเบื้องต้น กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาด

ในอุบายคือกรุณา ชื่อว่า เนกขัมมบารมี. ฉะนั้นกามทั้งหลายมีความยินดี

น้อย มีการผูกพันด้วยสิ่งไม่เป็นประโยชน์มากมายลิ้มเลีย ความที่ฆราวาส

ไม่มีโอกาสหาความสุขในเนกขัมมะได้และความใคร่ ดุจลิ้มเลียหยาดน้ำผึ้งที่

ติดอยู่บนคมมีด เพราะตั้งอยู่กับความเศร้าหมองทั้งสิ้น เพราะคับแค้นมาก

ด้วยบุตรภรรยาเป็นต้น เพราะวุ่นวายด้วยการตั้งใจทำการงานหลายอย่างมี

กสิกรรม และพาณิชยกรรมเป็นต้น. ได้เวลานิดหน่อยดุจการฟ้อนรำที่ต้อง

ใช้แสงไฟ. ได้สัญญาวิปริต ดุจเครื่องประดับของคนบ้า. เป็นการตอบแทน

ดุจปกปิดไว้ด้วยคูถ. ไม่อิ่ม ดุจดื่มน้ำที่นิ้วมืออันเปียกด้วยน้ำ. มีความไม่สบาย

ดุจบริโภคอาหารในเวลาหิว. เป็นเหตุรวมความพินาศ ดุจเหยื่อที่เบ็ด เป็น

เหตุเกิดทุกข์ใน ๓ กาล ดุจความร้อนของไฟ. มีการผูกเป็นเครื่องหมาย

ดุจยางดักลิง. มีการปิดไว้ด้วยสิ่งไม่มีประโยชน์ ดุจปิดด้วยเปรียง เป็นที่ตั้ง

แห่งภัย ดุจอยู่บ้านศัตรู. เป็นเหยื่อของกิเลสมารเป็นต้น ดุจเลี้ยงศัตรู. มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 637

ทุกข์เกิดจากการปรวนแปรไป ดุจสมบัติมหรสพ. มีการเผาภายในดุจไฟใน

โพรงไม้. มีโทษไม่น้อย ดุจหญ้าปล้องห้อยลงไปในหลุมเก่า. เป็นเหตุ

แห่งความกระหาย ดุจดื่มน้ำเค็ม. การเสพของชนชั้นต่ำ ดุจสุราเมรัย.

อุปมาด้วยโครงกระดูกเพราะมีความยินดีน้อย. อนึ่ง เพราะเนกขัมมะเป็น

เหตุของบรรพชา. ฉะนั้น จึงไม่ยกบรรพชาขึ้นมาก่อน. และเมื่อพระพุทธ-

เจ้ายังไม่อุบัติ พระมหาสัตว์ดำรงอยู่ในบรรพชา จึงไม่ยกบรรพชาของดาบส

ปริพาชกผู้เป็นกรรมวาที กิริยาวาที ขึ้นมากล่าว.

ก็เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติแล้ว ควรบวชในพระ-

ศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น. อนึ่ง ครั้นบวชแล้วอันผู้ตั้งอยู่

ในศีลตามที่กล่าวแล้วควรสมาทานธุดงค์คุณ เพื่อความผ่องแผ้วแห่งศีลบารมี

นั้นนั่นแล. จริงอยู่มหาบุรุษทั้งหลายสมาทานธุดงค์ธรรม แล้วบริหารธุดงค์-

ธรรมเหล่านั้นโดยชอบเป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีสมาจารทั้งปวงบริสุทธิ์ด้วย

คุณของผู้มีศีลอันหาโทษมิได้ เพราะเป็นผู้มีมลทินคือกิเลสบ้วนออกด้วยน้ำ

คือคุณธรรม มีความขัดเกลากิเลส สงัด ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เลี้ยง

ง่าย คงที่ เป็นต้น ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ๓ อันเป็นของเก่า เข้าถึงฌานอันมี

ประเภท เป็นอุปจารฌาน และอัปนาฌาน ตามสมควรในอารมณ์ ๔๐ เพื่อ

บรรลุอริยวงศ์ คือความเป็นผู้ยินดีในภาวนาที่ ๔ อยู่. ด้วยประการฉะนี้

เป็นอันมหาบุรุษนั้นบำเพ็ญเนกขัมมบารมีโดยชอบแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 638

อนึ่ง ในที่นี้พึงกล่าวกรรมฐาน และวิธีภาวนาแห่งสมาธิภาวนา ๔๐

คือ กสิณ ๑๐ พร้อมด้วยธุดงค์ธรรม ๑๓ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร

๔ อรูปฌาน ๔ สัญญา ๑ ววัตถานะ คือการกำหนดธาตุ ๑ โดยพิสดาร.

เพราะทั้งหมดนั้นท่านกล่าวไว้พิสดารแล้ว ในวิสุทธิมรรค โดยประการทั้ง-

ปวง. ฉะนั้นพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในวิสุทธิมรรคนั้นแล. จริงอยู่

ในวิสุทธิมรรคนั้นท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งสาวกโพธิสัตว์อย่างเดียว. ในที่

นี้ควรกล่าวทำความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย คือกรุณาด้วยอำนาจแห่งพระมหา-

โพธิสัตว์ ความต่างกันมีด้วยประการฉะนี้. พึงทราบลำดับแห่งเนกขัมมบารมี

ในที่นี้อย่างนี้แล.

อนึ่ง ปัญญาเป็นดุจแสงสว่าง ย่อมไม่ร่วมกับโมหะอันเป็นความมืด

ฉะนั้นพระโพธิสัตว์ผู้หวังในปัญญาบารมีสมบูรณ์ จึงควรเว้นเหตุแห่งโมหะ

ก่อน. พึงทราบถึงเหตุแห่งโมหะเหล่านี้ ดังต่อไปนี้ :- ความริษยา ความ

เฉื่อยชา ความซบเซา ความเกียจคร้าน ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่

ความหลับง่าย การไม่ตั้งใจแน่วแน่ ความไม่สนใจในญาณ ถือตัวผิด

การไม่สอบถาม การไม่บริหารร่างกายให้ดี จิตไม่ตั้งมั่น คบบุคคลปัญญา

ทราม ไม่เข้าไปใกล้คนมีปัญญา ดูหมิ่นตน ใคร่ครวญผิด ยึดถือวิปริต

มั่นในกายมาก ไม่มีความสังเวชใจ นิวรณ์ ๕ ผู้เสพธรรมโดยย่อปัญญายัง

ไม่เกิดย่อมเกิด ที่เกิดแล้วย่อมเสื่อม. ผู้เว้นเหตุแห่งความหลงเหล่านี้ พึง

ทำความเพียรในพาหุสัจจะ และในฌานเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 639

พึงทราบการจำแนกลักษณะของพาหุสัจจะดังต่อไปนี้ :- ขันธ์ ๕

อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อริยสัจ ๔ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ สติ-

ปัฏฐาน ๔ และประเภทธรรมมีกุศลเป็นต้น. วิทยาการอันไม่โทษในโลก การ

พยากรณ์วิเศษอันประกอบด้วยวิธีนำประโยชน์สุขให้แก่สัตว์ทั้งหลาย. พึง

ให้เกิดสุตมยปัญญาด้วยการหยั่งลงสู่สุตวิสัยทุกอย่างทุกประการด้วยปัญญาอัน

เป็นความฉลาดในอุบายเป็นเบื้องต้น ด้วยสติ ด้วยวิริยะ ด้วยการเรียน

การฟัง การทรงจำ การสะสม การสอบถามด้วยดี แล้วให้ผู้อื่นตั้งอยู่ใน

ปัญญานั้นด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ปัญญาอันเป็นปฏิภาณที่จะทำให้สัตว์ทั้งหลายบรรลุถึงจุดหมาย

ในสิ่งที่ควรทำ และเป็นผู้ฉลาดในความเจริญ ความเสื่อมและอุบาย พึงให้

เป็นไปตามสมควรในปัญญานั้น ๆ อาศัยความเป็นผู้แสวงหาประโยชน์. อนึ่ง

ผู้ที่ยังสัตว์ทั้งหลายให้ทนต่อความเพ่ง ด้วยการวิตกถึงอาการแห่งสภาวธรรม

มีขันธ์เป็นต้น พึงให้เกิดจินตามยปัญญา. อนึ่ง อันผู้ที่ยังโลกิยปัญญาให้

เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งการกำหนดลักษณะของตน และสามัญลักษณะของ

ขันธ์เป็นตัน พึงให้สมบูรณ์ด้วยภาวนมยปัญญา อันเป็นส่วนเบื้องต้น.

จริงอยู่ นี้เป็นเพียงนามรูปย่อมเกิดขึ้นและดับไปด้วยปัจจัยทั้งหลายตามสม-

ควร. ในเรื่องนี้ไม่มีใครทำเองหรือให้ผู้อื่นทำ. เป็นความไม่เที่ยงเพราะเป็น

แล้วไม่เป็น. เป็นทุกข์เพราะเกิดเสื่อมและบีบคั้น. เป็นอนัตตา เพราะไม่

อยู่ในอำนาจตน. ด้วยเหตุนั้นมหาบุรุษกำหนดรู้ธรรมภายในและธรรมภาย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 640

นอกไม่ให้เหลือ ละความข้องในธรรมนั้น และให้ผู้อื่นละความข้องในธรรม

นั้นด้วยอำนาจแห่งกรุณาอย่างเดียวเท่านั้น พระพุทธคุณยังไม่มาถึงฝ่ามือ

เพียงใด ยังสัตว์ทั้งหลายให้ตั้งอยู่ในญาณ ๓ ด้วยการหยั่งลง และการทำให้

เจริญ ยังฌานวิโมกข์สมาธิและสมาบัติ อภิญญาอันเป็นโลกิยะให้ถึงความ

ชำนาญ ย่อมบรรลุถึงที่สุดแห่งปัญญา.

ในโลกิยอภิญญานั้น ภาวนาปัญญา คือโลกิยอภิญญา ๕ พร้อมด้วย

บริภัณฑ์ของญาณ ได้แก่กลุ่ม คืออิทธิวิธญาณ ทิพพโสตธาตุญาณ เจโต-

ปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพพจักขุญาณ ยถากัมมูปคญาณ

อนาคตังสญาณ. อนึ่ง ภาวนาปัญญา อันเป็นโลกิยะและโลกุตระ อันผู้ทำ

การสะสมญาณด้วยการเรียน การสอบถามในธรรมอันเป็นพื้นฐาน มีขันธ์-

อายตนธาตุ อินทรีย์ อริยสัจ และปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น แล้วตั้งอยู่ใน

วิสุทธิ ๒ อันเป็นรากฐานเหล่านี้ คือศีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ แล้วพึงเจริญ

ให้วิสุทธิ ๕ เหล่านั้นอันเป็นร่างให้สมบูรณ์ ได้แก่ ทิฏฐิวิสุทธิ คือความ

หมดจดแห่งทิฏฐิ ๑ กังขาวิตรณวิสุทธิ คือความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่อง

พ้นความสงสัย ๑ มัคคามัคญาณทัสสนวิสุทธิ คือความหมดจดแห่งญาณ

เป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง ๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือความ

หมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ ๑ ญาณทัสสนวิสุทธิ คือความ

หมดจดแห่งญาณทัสสนะ ๑. เพราะวิธีการให้สำเร็จ ภาวนาปัญญาเหล่า-

นั้นท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วพร้อมกับจำแนกลักษณะในวิสุทธิมรรค โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 641

ประการทั้งปวง โดยนัยมีอาทิว่า พระโยคีผู้เป็นอาทิกัมมิกะประสงค์จะ

ทำการแสดงฤทธิ์ มีอาทิว่า แม้คนเดียวก็เป็นคนหลายคนได้ และโดยนัย

มีอาทิ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือขันธ์. ฉะนั้นพึงทราบ

โดยนัยดังกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นนั่นแล. ปัญญามาแล้วด้วยอำนาจแห่ง

สาวกโพธิสัตว์ ในภาวนาปัญญานั้นอย่างเดียว. ในที่นี้ด้วยอำนาจแห่งพระ-

มหาโพธิสัตว์ พึงกล่าวถึงภาวนาปัญญา ทำความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย คือ

กรุณาเป็นเบื้องแรก. พึงตั้งวิปัสสนาไว้ในปฏิปทาญาณทัสนวิสุทธิเท่านั้น

ยังไม่ถึงญาณทัสสนวิสุทธิ นี้เป็นความต่างกัน . พึงทราบลำดับแห่งการปฏิบัติ

ปัญญาบารมีในที่นี้ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง เพราะพระมหาสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อสัมมาสัมโพธิญาณ พึง

เป็นผู้ประกอบความขวนขวายตลอดกาล เพื่อให้บารมีบริบูรณ์ด้วยบำเพ็ญ

เกี่ยวเนื่องกันไป. ฉะนั้นตลอดเวลาพระมหาสัตว์พิจารณาทุก ๆ วันว่า วันนี้

เราจะสะสม บุญสมภาร หรือญาณสมภารอะไรหนอ. หรือว่า เราจะทำ

ประโยชน์เพื่อผู้อื่นอย่างไรดี พึงทำความอุตสาหะเพื่อประโยชน์แก่สัตว์.

พระโยคาวจรมีจิตไม่คำนึงถึงกายและชีวิต พึงสละวัตถุอันเป็นที่หวงแหน

ของตน เพื่อช่วยสัตว์แม้ทั้งปวง. กระทำกรรมอย่างไรอย่างหนึ่งด้วยกาย

หรือวาจา. พึงทำกรรมนั้นทั้งหมดด้วยใจน้อมไปในสัมโพธิญาณเท่านั้น. พึง

มีจิตพ้นจากกามทั้งหลายทั้งที่ยิ่งและยอด. พระโยคาวจร พึงเข้าไปตั้งความ

เป็นผู้ฉลาดในอุบายแล้วพึงปฏิบัติในบารมีทั้งปวงที่ควรกระทำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 642

พึงปรารภความเพียรในประโยชน์ของสัตว์นั้น ๆ พึงอดกลั้นสิ่งทั้ง

ปวงมีสิ่งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาเป็นต้น. พึงไม่พูดผิดความจริง.

พึงแผ่เมตตาและกรุณาแก่สัตว์ทั้งปวงโดยไม่เจาะจง. การเกิดขึ้นแห่งทุกข์

อย่างใดอย่างหนึ่งจะพึงมีแก่สัตว์ทั้งหลาย พึงหวังการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ทั้งปวง

นั้นไว้ในตน. อนึ่งพึงอนุโมทนาบุญของสัตว์ทั้งปวง. พึงพิจารณาเนือง ๆ

ถึงความที่พระพุทธเจ้าเป็นใหญ่มีอานุภาพมาก. กระทำกรรมใด ๆ ด้วยกาย

หรือวาจา พึงทำกรรมนั้นทั้งหมดให้มีจิตน้อมไปเพื่อโพธิญาณเป็นเบื้องแรก

ก็ด้วยอุบายนี้ พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์ประกอบความขวนขวายในทาน

เป็นต้น มีเรี่ยวแรง มีความเพียรมั่น เข้าไปสะสมบุญสมภารและญาณ

สมภารหาประมาณมิได้ทุก ๆ วัน.

อีกอย่างหนึ่ง เพื่อให้สัตว์ได้บริโภคและเพื่อคุ้มครองสัตว์ จึงสละ

ร่างกายและชีวิตของตน พึงแสวงหาและพึงนำสิ่งกำจัดทุกข์ มีความหิว

กระหาย หนาว ร้อน ลมและแดดเป็นต้น. ย่อมได้รับความสุขอันเกิดแต่

การกำจัดทุกข์ตามที่กล่าวแล้วด้วยตน. อนึ่งย่อมได้รับความสุขด้วยตนเพราะ

ไม่มีความร้อนทางกายและใจในสวน ในปราสาท ในสระเป็นต้น และใน

แนวไพรอันน่ารื่นรมย์. อนึ่งฟังมาว่า พระพุทธเจ้า พระอนุพุทธเจ้า พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย. และพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ

ปฏิบัติย่อมเสวยสุขในฌานและสมาบัติเช่นนี้ อันเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 643

ในปัจจุบันดังนี้ ทำความสุขทั้งหมดนั้นไปในสัตว์ทั้งหลายโดยไม่เจาะจง นี้

เป็นนัยของผู้ตั้งอยู่ในพื้นฐานอันไม่มั่นคง.

ส่วนผู้ตั้งอยู่ในพื้นฐานอันมั่นคงเมื่อน้อม ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ

ยถาภูตญาณ อันเกิดด้วยการบรรลุคุณวิเศษตามที่ตนเสวยแล้ว เข้าไปใน

สัตว์ทั้งหลายย่อมน้อมนำเข้าไป. อนึ่งพระโยคาวจรเห็นหมู่สัตว์จมอยู่ใน

สังสารทุกข์ใหญ่แลในอภิสังขารทุกข์ คือกิเลสอันเป็นนิมิตแห่งสังสารทุกข์

นั้น. แม้ในหมู่สัตว์นั้นเห็นสัตว์นรกเสวยเวทนาลำบาก กล้าหนัก เผ็ดร้อน

อันเกิดจากการตัด ทำลาย ผ่า บด เผาไฟ เป็นต้น. สัตว์เดียรัจฉานเสวย

ทุกข์หนักด้วยการโกรธกันและกัน ทำให้เดือดร้อนเบียดเบียนให้ลำบาก และ

อาศัยผู้อื่นเป็นต้น. เปรต มีนิชฌามตัณหิกเปรตเป็นต้น ถูกความหิวกระ-

หาย ลมและแดดเป็นต้นแผดเผาในร่างกายด้วยกลุ่มมาลัยไฟ ซูบซีดชูมือร้อง

ขออาหารมีน้ำลายที่เขาคายทิ้งเป็นต้น เสวยทุกข์ใหญ่. สัตว์นรกเปรต

เดียรัจฉาน ผู้ถึงความย่อยยับใหญ่หลวงมีการแสวงหาอาหารเป็นเหตุ เพราะ

ถูกกรรมอันมีกำลังครอบงำ ด้วยการประกอบเหตุมีการตัดมือเป็นต้น ด้วย

การให้เกิดโรคมีหิวกระหายเป็นต้น โดยทำให้เป็นผู้มีผิวพรรณทรามน่า

เกลียดเป็นคนจนเป็นต้น เพราะการนำไปของผู้อื่น และเพราะอาศัยผู้อื่น

และมนุษย์ผู้เสวยทุกข์หนักอันไม่มีเศษเหลือจากทุกข์ในสบาย. และ กามา-

วจรเทพ ผู้ถูกความเร่าร้อนอันมีราคะเป็นต้น แผดเผาเพราะมีจิตฟุ้งซ่านใน

การบริโภคของเป็นปกติและมีพิษ มีความเดือดร้อนไม่สงบดุจกองไฟสุมด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 644

ไม้แห้งมีเปลวไฟโพลงขึ้นด้วยแรงลม อาศัยผู้อื่นกำจัดความไม่สงบ. และ

รูปาวจรเทพ อรูปาวจรเทพว่า เมื่อยังมีความเป็นไปอยู่ได้นาน เทพเหล่านั้น

ก็เหมือนนกที่โฉบสู่อากาศไกลด้วยความพยายามมาก และเหมือนลูกศรที่คน

มีกำลังซัดไปตกในที่ไกล แต่ในที่สุดก็ตกเพราะมีความไม่เที่ยงในที่สุด จึง

ไม่ล่วงพ้นชาติชรา และมรณะไปได้เลย ยังความสังเวชใหญ่หลวงให้ปรากฏ

แล้วแผ่เมตตาและกรุณาไปยังสัตว์ทั้งหลายโดยไม่เจาะจง. ผู้สะสมโพธิสมภาร

ด้วย กาย วาจา และใจ เป็นลำดับอย่างนี้ บารมีย่อมเต็มเปี่ยมฉันใด. ผู้ทำ

โดยความเคารพ ทำติดต่อ ประพฤติไม่ย่อหย่อน พึงยังความอุตสาหะให้เป็น

ไป พึงบำเพ็ญวิริยบารมีให้บริบูรณ์ ฉันนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ความเพียรประโยคกอบด้วยความขวนขวายต่อความเป็น

พระพุทธเจ้า อันเป็นอจินไตยและเป็นที่ตั้งแห่งการสะสมคุณอันหาประมาณ

มิได้ ไพบูลย์โอฬารยิ่งนัก ปราศจากมลทิน ไม่มีข้อเปรียบ ไม่มีอุปกิเลส

เป็นอานุภาพแห่งอจินไตยนั่นแล. ก็ชนเป็นอันมากสามารถแม้ฟังได้. ไม่ต้อง

พูดถึงปฏิบัติกันละ.

อนึ่ง อภินิหารจิตตุปบาท ๓. พุทธภูมิ ๔. สังคหวัตถุ ๔. ความมี

กรุณาเป็นรสอย่างเอก. การทนต่อความเพ่งอันเป็นวิเสสปัจจัยด้วยการทำให้

แจ้งในพุทธธรรม. การไม่เข้าไปเพียงลูบไล้ในพุทธธรรม. ความสำคัญใน

สัตว์ทั้งปวงว่าเป็นบุตรที่น่ารัก. ความไม่กระหายด้วยสังสารทุกข์. การบริจาค

ไทยธรรมทั้งปวง. ความมีใจยินดีด้วยการบริจาคนั้น. การอธิษฐานอธิศีล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 645

เป็นต้น. ความไม่หวั่นไหวในอธิษฐานนั้น. ปีติและปราโมทย์ในกุสลกิริยา.

ความที่จิตน้อมไปในวิเวก. การประกอบฌานเนือง ๆ. การไม่ติเตียนธรรม

ที่ไม่มีโทษ. แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมาด้วยอัธยาศัยเกื้อกูลแก่ผู้อื่น. ให้สัตว์

ทั้งหลายตั้งอยู่ในระเบียบ. ความมั่นคงในการริเริ่ม. ความฉลาดและกล้า.

ไม่มีข้อเสียหายในการกล่าวร้ายต่อผู้อื่น และทำความเสื่อมเสียแก่ผู้อื่น. ตั้ง

มั่นในสัจจะ. ชำนาญในสมาบัติ. มีกำลังในอภิญญา. รู้ลักษณะ ๓. สะสม

บารมีในโลกุตรมรรค ด้วยการประกอบความเพียรในสติปัฏฐานเป็นต้น.

ก้าวลงสู่โลกุตรธรรม ๙. การปฏิบัติเพื่อโพธิสมภาร แม้ทั้งหมดมีอาทิอย่างนี้

ด้วยประการฉะนี้ย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งวิริยะ. เพราะเหตุนั้น ตั้งแต่

อภินิหารจนถึงมหาโพธิพระโยคาวจรไม่สละทิ้ง ยังความเพียรให้สมบูรณ์

เหมือนความเพียรเป็นลำดับโดยเคารพอันนำคุณวิเศษมาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นฉะนั้น.

เมื่อความเพียรตามที่กล่าวแล้วสมบูรณ์ พึงทราบการปฏิบัติโดยนัยนี้ แม้ใน

ขันติเป็นต้นว่า โพธิสมภารแม้ทั้งหมดมีขันติ สัจจะ อธิษฐานะ ทาน ศีล

เป็นต้น เป็นอันสมบูรณ์เพราะประพฤติอาศัยความเพียรนั้น.

การทำความอนุเคราะห์ด้วยการบริจาคอุปกรณ์ความสุขแก่สัตว์ทั้งหลาย

โดยส่วนมาก ชื่อว่าปฏิบัติด้วยการให้. เหตุทั้งหลายมีอาทิ การรักษาชีวิต

สมบัติ ภรรยา และกล่าวคำไม่ให้แตกกันน่ารักเป็นประโยชน์ และไม่

เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติด้วยศีล. การประพฤติประโยชน์

หลายอย่างด้วยรับอามิสและให้ทานเป็นต้นของสัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 646

ด้วยเนกขัมมะ. ความเป็นผู้ฉลาดในอุบายทำประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า

ปฏิบัติด้วยปัญญา. มีความอุตสาหะริเริ่มไม่ท้อถอยในการนั้น ชื่อว่าปฏิบัติ

ด้วยวิริยะ. การไม่ล่อลวงทำอุปการะสมาทานและไม่พูดผิดจากความจริงเป็น

ต้นแก่สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติด้วยสัจจะ แม้ตกอยู่ในความพินาศก็มิได้

หวั่นไหวในการทำอุปการะ ชื่อว่าปฏิบัติด้วยอธิษฐานะ. คิดถึงแต่ประโยชน์

สุขของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าปฏิบัติด้วยเมตตา. ไม่คำนึงถึงความผิดปกติใน

ความอุปการะความเสียหายของสัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติด้วยอุเบกขา. พระ-

โยคาวจรปรารภสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว

เป็นผู้สะสมบุญสมภาร และญาณสมภารหาประมาณมิได้ เป็นที่รับรองเสมอ

ของพระมหาโพธิสัตว์ผู้อนุเคราะห์สรรพสัตว์ พึงทราบว่าเป็นการปฏิบัติใน

บารมีเหล่านี้.

อะไรเป็นการจำแนก. บารมี ๓๐ คือ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐

ปรมัตถบารมี ๑๐. บารมีเฉย ๆ เป็นธรรมขาวเจือด้วยธรรมดำของพระโพธิ-

สัตว์ผู้บำเพ็ญอภินิหารในบารมีเหล่านั้น ประกอบด้วยอัธยาศัยน้อมไปในการ

ทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น. อุปบารมีเป็นธรรมขาวไม่เจือด้วยธรรมดำ. อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า ปรมัตถบารมีเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว. หรือบารมีบำเพ็ญใน

กาลเริ่มต้น. อุปบารมี บำเพ็ญเต็มแล้วในภูมิของพระโพธิสัตว์. ปรมัตถ-

บารมี บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงในพุทธภูมิ. หรือบารมี เพราะทำประโยชน์

เพื่อผู้อื่นในพุทธภูมิ. อุปบารมี เพราะทำประโยชน์เพื่อตน. ปรมัตถบารมี

เพราะบำเพ็ญประโยชน์ด้วยการบรรลุพลธรรมและเวสารัชธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 647

อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า การจำแนกบารมีเหล่านั้น ในตอนตั้ง

ความปรารถนา การเริ่มบำเพ็ญและความสำเร็จ คือเบื้องต้นท่ามกลางและ

ที่สุด. อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า การจำแนกบารมีเหล่านั้นโดยประเภท

การสะสมบุญของผู้สงบโทสะตั้งอยู่ในกรุณา ผู้บรรลุ ภวสุข วิมุติสุข และ

บรมสุข. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า การจำแนกบารมีตามที่กล่าวแล้วจากการ

เกิดขึ้นของพระโพธิสัตว์ คือบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี ของท่านผู้มี

ความละอาย มีสติ มีการนับถือเป็นที่พึ่งพิง ของท่านผู้มีโลกุตตรธรรมเป็น

ใหญ่ของผู้หนักอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา ของท่านผู้ข้ามไปได้แล้ว ของพระ-

อนุพุทธ พระปัจเจกพุทธ และพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า

การสะสมบารมีเป็นไปแล้วตั้งแต่การตั้งความปรารถนาทางใจ จนถึงตั้งความ

ปรารถนาทางวาจาชื่อบารมี. การสะสมบารมีเป็นไปแล้วตั้งแต่ตั้งความ

ปรารถนาทางวาจา จนถึงตั้งความปรารถนาทางกาย เป็นอุปบารมี. ตั้งแต่ตั้ง

ความปรารถนาทางกายไปเป็นปรมัตถบารมี. แต่อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า การ

สะสมบารมีเป็นไปแล้ว ด้วยอำนาจการอนุโมทนาบุญของผู้อื่นเป็นบารมี.

การสะสมบารมีเป็นไปแล้ว ด้วยอำนาจการให้ผู้อื่นทำเป็นอุปบารมี. เป็นไป

แล้ว ด้วยการทำเองเป็นปรมัตถบารมี.

อนึ่ง อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า บุญสมภาร ญาณสมภาร อันนำ

ภวสุขมาให้เป็นบารมี. การนำนิพพานสุขมาให้แก่ตนเป็นอุปบารมี. การนำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 648

สุขทั้งสองอย่างนั้นมาให้เป็นปรมัตถบารมี. อนึ่งการบริจาคบุตรภรรยาและ

อุปกรณ์มีทรัพย์เป็นต้นเป็นทานบารมี. การบริจาคอวัยวะเป็นทานอุปบารมี.

การบริจาคชีวิตของตนเป็นทานปรมัตถบารมี. อนึ่งศีลบารมี ๓ อย่างด้วยการ

ไม่ก้าวล่วงเหตุแม้ทั้ง ๓ อย่าง มีบุตรและภรรยาเป็นต้น. เนกขัมมบารมี

๓ อย่าง ด้วยการตัดอาลัยในวัตถุ ๓ อย่างเหล่านั้นแล้วออกบวช. ปัญญา

บารมี ๓ อย่าง ด้วยการประมวลตัณหาในอุปกรณ์ อวัยวะ ชีวิตแล้วทำการ

ตัดสินประโยชน์มิให้ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย. วิริยบารมี ๓ อย่าง ด้วย

การพยายามบริจาคประเภทตามที่กล่าวแล้ว. ขันติบารมี ๓ อย่างอดทนต่อผู้ที่

จะทำอันตรายแก่อุปกรณ์ อวัยวะและชีวิต. สัจจบารมี ๓ อย่างด้วยการไม่

สละสัจจะเพราะเหตุอุปกรณ์ อวัยวะและชีวิต. อธิษฐานบารมี ๓ อย่าง

ด้วยการอธิษฐานไม่หวั่นไหว แม้ถึงคราวที่อุปกรณ์เป็นต้นพินาศไป โดย

เห็นว่าบารมีมีทานบารมีเป็นต้น ย่อมบริสุทธิ์ด้วยอำนาจอธิษฐานไม่กำเริบ.

เมตตาบารมี ๓ อย่าง ด้วยไม่ละเมตตาในสัตว์ทั้งหลาย แม้ผู้เข้าไปทำลาย

อุปกรณ์เป็นต้น. อุเบกขาบารมี ๓ อย่าง ด้วยได้ความที่ตนเป็นกลางในสัตว์

และสังขารทั้งหลาย ทั้งที่มีอุปการะและทำความเสียหาย วัตถุ ๓ อย่าง

ตามที่กล่าวแล้ว. พึงทราบการจำแนกบารมีเหล่านั้น โดยนัยมีอาทิอย่างนี้

ด้วยประการฉะนี้แล.

พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า อะไรเป็นการสงเคราะห์. พึงทราบบารมี

๖ อย่างโดยสภาวะคือ ทาน ศีล ขันติ วีริยะ ฌาน และปัญญา เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 649

บารมี ๓ อย่างโดยการจำแนก ๑๐ โดยความเป็นทานบารมีเป็นต้น. จริงอยู่

ในบารมีเหล่านั้น เนกขัมมบารมีสงเคราะห์เข้าด้วยศีลบารมี ในเพราะการ

บรรพชาของเนกขัมมบารมีนั้น. อนึ่งสงเคราะห์เข้าด้วยฌานบารมีในเพราะ

ความสงัดจากนิวรณ์. สงเคราะห์ด้วยแม้ทั้ง ๖ ในเพราะความเป็นกุสลธรรม

สัจจบารมีเป็นเอกเทศของศีลบารมี ในเพราะเป็นฝ่ายแห่งวจีวิรัติสัจจะ. อนึ่ง

สงเคราะห์เข้าด้วยปัญญาบารมีในเพราะเป็นฝ่ายแห่งญาณสัจจะ. เมตตาบารมี

สงเคราะห์เข้าด้วยฌานบารมีเท่านั้น. แม้อุเบกขาบารมีก็สงเคราะห์เข้าด้วย

ฌานบารมีและปัญญาบารมี. เป็นอันท่านสงเคราะห์อธิษฐานบารมี แม้ด้วย

บารมีทั้งหมด.

บารมีทั้งหลายมี ๑๕ คู่ ของการสัมพันธ์กันแห่งคุณทั้งหลาย ๖ มี

ทานเป็นต้นเหล่านี้ เป็นอันให้สำเร็จเป็นคู่ ๆ ได้ ๑๕ คู่เป็นต้น เป็น

อย่างไร. ความสำเร็จแห่งคู่คือทำและไม่ทำสิ่งเป็นประโยคโยชน์และไม่เป็น

ประโยชน์เพื่อผู้อื่นด้วยคู่ทานกับศีล. ความสำเร็จคู่อโลภะและอโทสะด้วย

คู่คือ ทานกับขันติ. ความสำเร็จคู่จาคะและสุตะด้วยคู่คือ ทานกับวิริยะ.

ความสำเร็จคู่การละกามและโทสะ ด้วยคู่คือทานกับฌาน. ความสำเร็จ

แห่งคู่คือยานและแอกของพระอริยะด้วยคู่คือ ทานกับปัญญา. ความสำเร็จ

ทั้งสองอย่างคือ ความบริสุทธิ์แห่งปโยคะและอาสยะ. ด้วยคู่ทั้งสองคือศีล

และขันติ. ความสำเร็จภาวนาทั้งสอง ด้วยคู่ทั้งสองคือศีลกับวิริยะ. ความ

สำเร็จทั้งสองอย่างคือละความเป็นผู้ทุศีล และความหมกมุ่นด้วยคู่ทั้งสองคือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 650

ศีลกับฌาน. ความสำเร็จทานทั้งสองด้วยคู่คือศีลกับปัญญา. ความสำเร็จคู่

ทั้งสองคือ ความอดทนและความไม่มีเดช ด้วยคู่คือขันติกับวิริยะ. ความ

สำเร็จคู่คือวิโรธ คือความพิโรธ และอนุโรธะ คือความคล้อยตาม ด้วยคู่

คือขันติกับฌาน. ความสำเร็จคู่ทั้งสองคือขันติและปฏิเวธของสุญญตา ด้วยคู่

คือขันติกับปัญญา. ความสำเร็จคู่ทั้งสองคือปัคคหะ. คือการประคองไว้ และ

อวิกเขปะ คือความไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยคู่คือวิริยะกับฌาน. ความสำเร็จคู่คือ

สรณะด้วยคู่ คือวิริยะกับปัญญา. ความสำเร็จหมวด ๒ คือยานด้วยคู่ คือ

ฌานกับปัญญา. ความสำเร็จ ๓ หมวดคือละ โลภะ โทสะและโมหะ ด้วย ๓

หมวดคือ ทาน ศีล และขันติ. ความสำเร็จ ๓ หมวด คือการให้สิ่งเป็น

สาระคือสมบัติ ชีวิต และร่างกาย ด้วย ๓ หมวด คือ ทาน ศีล และ

วิริยะ. ความสำเร็จบุญกิริยาวัตถุ ๓ ด้วยหมวด ๓ คือ ทาน ศีลและฌาน.

ความสำเร็จ ๓ หมวดคืออามิสทาน อภัยทาน และธรรมทานด้วย ๓ หมวด

คือ ทาน ศีล และปัญญา. ด้วยประการฉะนี้แล.

พึงประกอบติกะ และจตุกกะเป็นต้น ตามที่ปรากฏด้วยกะ และ

จตุกกะ แม้นอกนี้อย่างนี้.

อนึ่ง พึงทราบการสงเคราะห์ด้วยอธิษฐานธรรม ๔ แห่งบารมีเหล่า-

นั้นแม้ ๖ อย่างด้วยประการฉะนี้ . จริงอยู่อธิษฐานธรรม ๔ โดยรวมบารมี

ทั้งหมดไว้. คือสัจจาธิษฐาน จาคาธิษฐน อุปสมาธิษฐาน ปัญญาธิษฐาน.

ในอธิษฐานธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อธิษฐาน เพราะเป็นเหตุตั้งมั่น. หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 651

เป็นที่ตั้งมั่น หรือเพียงตั้งมั่นเท่านั้น. ชื่อว่า สัจจาธิษฐาน เพราะสัจจะ

และอธิษฐาน. หรือเพราะเป็นที่ตั้งแห่สัจจะ หรือเพราะมีสัจจะเป็น

อธิษฐาน. แม้ในอธิษฐานธรรมที่เหลือก็เหมือนอย่างนั้น. ในอธิษฐาน

ธรรมนั้นโดยไม่ต่างกัน สัจจาธิษฐาน เพราะกำหนดบารมีทั้งปวงสมควรแก่

ปฏิญญาของพระมหาสัตว์ ผู้อนุเคราะห์สรรพสัตว์ สะสมบุญญาภินิหารใน

โลกุตตรคุณ. จาคาธิษฐาน เพราะสละสิ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อสัจจะ. อุป

สมาธิษฐาน เพราะสงบจากสิ่งไม่เป็นคุณของบารมีทั้งปวง. ปัญญาธิษฐาน

เพราะเป็นผู้ฉลาดในอุบายอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ด้วยอธิษฐานธรรม

เหล่านั้น.

แต่โดยที่ต่างกัน ทาน เป็นปทัฏฐานแห่งอธิษฐานธรรม ๔ แห่งกุศล-

ธรรมทั้งหลาย เพราะปฏิญญาว่า เราจักให้ไม่ให้ยาจกผิดหวัง เพราะให้

ไม่ผิดปฏิญญา เพราะอนุโมทนาไม่ผิดทาน เพราะสละสิ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อ

มัจฉริยะเป็นต้น เพราะสงบจากภัยคือโลภะ โทสะ และโมหะในไทยธรรม

ปฏิคคาหกทานและความสิ้นไปแห่งไทยธรรม เพราะให้ตามสมควรตามกาล

และตามวิธี และเพราะปัญญายิ่ง. อนึ่ง ศีล เป็นปทัฏฐานแห่งอธิษฐาน

ธรรม ๔ เพราะไม่ล่วงสังวรสมาทาน เพราะสละความทุศีล เพราะสงบจาก

ทุจริต และเพราะปัญญายิ่ง. ขันติ เป็นปทัฏฐานแห่งอธิษฐาน . เพราะ

อดทนได้ตามปฏิญญา เพราะสละการกำหนดโทษของผู้อื่น เพราะสงบความ

โกรธและความหมกมุ่น และเพราะมีปัญญายิ่ง. วิริยะ เป็นปทัฏฐานแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 652

อธิษฐานธรรม ๔ เพราะทำเพื่อประโยชน์ผู้อื่นตามสมควรแก่ปฏิญญา เพราะ

สละความสละสลวย เพราะสงบจากอกุศล และเพราะมีปัญญายิ่ง. ฌานเป็น

ปทัฏฐานแห่งอธิษฐานธรรม ๔ เพราะคิดถึงประโยชน์ของโลกตามสมควร

แก่ปฏิญญา เพราะสละนิวรณ์ เพราะสงบจิต และเพราะมีปัญญายิ่ง ปัญญา

เป็นปทัฏฐานแห่งอธิษฐานธรรม ๔ เพราะฉลาดในอุบายทำประโยชน์เพื่อ

ผู้อื่นตามปฏิญญา เพราะสละการกระทำอันไม่เป็นอุบาย เพราะสงบความ

เร่าร้อนอันเกิดแต่โมหะ และเพราะได้ความเป็นพระสัพพัญญู.

ในอธิษฐานธรรมเหล่านั้น สัจจาธิษฐาน ด้วยการจัดตามปฏิญญา

เพื่อสิ่งควรรู้. จาคาธิษฐาน ด้วยการสละวัตถุกามและกิเลสกาม. อุป-

สมาธิษฐาน ด้วยการสงบทุกข์อันเกิดแต่โทสะ. ปัญญาธิษฐาน ด้วยการ

ตรัสรู้ตามและการรู้แจ้งแทงตลอด.

สัจจาธิษฐาน มีข้าศึกคือโทสะ ๓ อย่าง กำหนดด้วยสัจจะ ๓ อย่าง

จาคาธิษฐาน มีข้าศึกคือโทสะ ๓ อย่าง กำหนดด้วยจาคะ ๓ อย่าง. อุป-

สมาธิษฐาน มีช้าศึกคือโทสะ ๓ อย่าง กำหนดด้วยอุปสมะ ๓ อย่าง. ปัญญา-

ธิษฐาน มีข้าศึกคือโทสะ ๓ อย่าง กำหนดด้วยญาณ ๓ อย่าง.

จาคาธิษฐาน อุปสมาธิษฐาน และปัญญาธิษฐาน กำหนดด้วยสัจจา-

ธิษฐาน เพราะพูดไม่ผิดความจริง เพราะจัดตามปฏิญญา. สัจจาธิษฐาน

อุปสมาธิษฐานและปัญญาธิษฐาน กำหนดด้วยจาคาธิษฐาน เพราะสละสิ่ง

เป็นปฏิปักษ์ และเพราะผลแห่งการสละทั้งปวง. สัจจาธิษฐาน จาคาธิษฐาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 653

และปัญญาธิษฐาน กำหนดด้วยอุปสมาธิษฐาน เพราะสงบจากความเร่าร้อน

คือกิเลส เพราะสงบจากกามและเพราะสงบจากความเร่าร้อนคือกาม. สัจจา-

ธิษฐาน จาคาธิษฐานและอุปสมาธิษฐาน กำหนดด้วยปัญญาธิษฐาน เพราะ

มีญาณถึงก่อน และเพราะหมุนไปตามญาณ. บารมีแม้ทั้งหมด ประกาศสัจจะ

ทำจาคะให้ปรากฏพอกพูนอุปสมะ มีปัญญาบริสุทธิ์อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

จริงอยู่สัจจะเป็นเหตุเกิดบารมีเหล่านั้น.

จาคะ เป็นเหตุกำหนดบารมี. อุปสมะ เป็นเหตุเจริญรอบ. ปัญญา

เป็นเหตุแห่งความบริสุทธิ์. อนึ่ง สัจจาธิษฐานมีในเบื้องต้น เพราะสัจจ-

ปฏิญญา.

จาคาธิษฐานมีในท่ามกลาง เพราะสละตนเพื่อประโยชน์ผู้อื่นของผู้

ทำความตั้งใจแน่วแน่. อุปสมาธิษฐานมีในที่สุด. เพราะความสงบทั้งปวง

เป็นที่สุด ปัญญาธิษฐานมีในเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด เพราะเชื่อสัจจะ

จาคะ อุปสมะ มีปัญญาก็มี เพราะเมื่อสัจจะ จาคะ อุปสมะไม่มี ปัญญา

ก็ไม่มี และเพราะมีตามปฏิญญา.

ในอธิษฐานธรรมนั้น มหาบุรุษทั้งหลายเป็นคฤหัสถ์ ย่อมอนุเคราะห์

สัตว์อื่นด้วยอามิสทาน โดยทำประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่นเนือง ๆ โดยทำ

ความเป็นผู้น่าเคารพ น่ารักและด้วยสัจจาธิษฐาน และจาคาธิษฐาน. อนึ่ง

เป็นบรรพชิต ย่อมอนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยธรรมทาน โดยทำประโยชน์ตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 654

ประโยชน์ผู้อื่น โดยทำความเป็นผู้น่าเคารพ น่ารัก และด้วยอุปสมาธิษฐาน

และปัญญาธิษฐาน.

ในภพที่สุดนั้น พระโพธิสัตว์บำเพ็ญอธิษฐานธรรม ๔ ให้บริบูรณ์.

อาจารย์บางคนกล่าวว่า เป็นความจริงพระโพธิสัตว์มีอธิษฐานธรรม ๔ บริ-

บูรณ์แล้วจะอุบัติในภพสุดท้าย. ก็ในการอุบัติในภพสุดท้ายนั้น พระโพธิสัตว์

มีสติสัมปชัญญะ โดยเริ่มด้วยปัญญาธิษฐาน ในการหยั่งลงสู่พระครรภ์ การ

ดำรงอยู่และการประสูติ เพื่อยังสัจจาธิษฐานให้บริบูรณ์ พอประสูติในบัด

เดี๋ยวนั้น ทรงบ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ ย่างพระบาทไป ๗ ก้าว ทรงตรวจ

ดูทิศทั้งปวงมีพระวาจามุ่งมั่นในสัจจะ ทรงบันลือสีหนาท ๓ ครั้งว่า อคฺโค-

หมสฺมิ โลกสฺส, เชฏฺโหมสฺมิ โลกสฺส, เสฏฺโหมสฺมิ โลกสฺส

เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก. เราเป็นผู้เจริญแห่งโลก. เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก.

พระโพธิสัตว์ผู้ฉลาดในการชี้แจงธรรม ๔ ประการ ผู้เห็นคนแก่

คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต ด้วยการเริ่มอุปสมาธิษฐาน เป็นความสงบ

ของผู้เมาในความเป็นหนุ่ม ความไม่มีโรค ชีวิตและสมบัติทั้งหลาย. การ

สละไม่คำนึงถึงวงศ์พระญาติใหญ่ และจักรวรรดิราชสมบัติอันจะถึงเงื้อม

พระหัตถ์ด้วยเริ่มจาคาธิษฐาน.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อธิษฐานธรรม ๔ บริบูรณ์แล้วในอภิสัม-

โพธิญาณในฐานะที่ ๒. เพราะในฐานะนั้นการตรัสรู้อริยสัจ ๔ โดยเริ่ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 655

ด้วยสัจจาธิษฐานตามปฏิญญา แต่นั้นสัจจาธิษฐานจึงบริบูรณ์. การสละ

กิเลสและอุปกิเลสทั้งปวงโดยเริ่มด้วยจาคาธิษฐาน เพราะแต่นั้นจาคาธิษ-

ฐานจึงบริบูรณ์ การบรรลุถึงความสงบอย่างยิ่งโดยเริ่มด้วยอุปสมาธิษฐาน

เพราะแต่นั้น อุปสมาธิษฐานจึงบริบูรณ์. การได้อนาวรณญาณ โดยเริ่ม

ด้วยปัญญาธิษฐาน เพราะแต่นั้นปัญญาธิษฐานจึงบริบูรณ์. ข้อนั้นยังไม่

สมบูรณ์นัก เพราะแม้อภิสัมโพธิญาณก็เป็นปรมัตถธรรม.

อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า อธิษฐานธรรม ๔ บริบูรณ์ ครั้งทรงแสดง

พระธรรมจักรในฐานะที่ ๓ เพราะในฐานะนั้นสัจจาธิษฐานบริบูรณ์ด้วยการ

แสดงอริยสัจ โดยอาการ ๑๒ ของท่านผู้เริ่มด้วยสัจจาธิษฐาน. จาคาธิษฐาน

บริบูรณ์ด้วยการทำการบูชาใหญ่ ซึ่งพระสัทธรรมของท่านผู้เริ่มด้วยจาคา-

ธิษฐาน. อุปสมาธิษฐานบริบูรณ์ด้วยการสงบกิเลสเหล่าอื่นของผู้สงบด้วย

ตนเอง ผู้เริ่มด้วยอุปสมาธิษฐาน. ปัญญาธิษฐานบริบูรณ์ด้วยการกำหนด

อัธยาศัยเป็นต้น ของเวไนยสัตว์ ของผู้เริ่มด้วยปัญญาธิษฐาน. แม้ข้อนั้น

ก็ยังไม่สมบูรณ์นัก เพราะพุทธกิจยังไม่จบ. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า

อธิษฐานธรรม ๔ บริบูรณ์ในการปรินิพพานในฐานะที่ ๔. เพราะในฐานะ

นั้น สัจจาธิษฐานบริบูรณ์ด้วยการสมบูรณ์แห่งปรมัตจสัจ เพราะปรินิพพาน

แล้ว. จาคาธิษฐานบริบูรณ์ด้วยการสละอุปธิทั้งปวง. อุปสมาธิฐานบริบูรณ์

ด้วยการสงบสังขารทั้งปวง. ปัญญาธิษฐานบริบูรณ์ด้วยการสำเร็จประโยชน์

ด้วยปัญญา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 656

ในอธิษฐานธรรม ๔ นั้น ความบริบูรณ์ด้วยสัจจาธิษฐาน เป็น

ความเฉียบแหลมของพระมหาบุรุษผู้เริ่มด้วยสัจจาธิษฐาน ในอภิชาติอันเป็น

เขตแห่งเมตตาโดยพิเศษ. ความบริบูรณ์ด้วยปัญญาธิษฐาน เป็นความ

เฉียบแหลมของมหาบุรุษผู้เริ่มด้วยปัญญาธิษฐาน ในอภิสัมโพธิญาณอันเป็น

เขตแห่งกรุณาโดยพิเศษ. ความบริบูรณ์ด้วยจาคาธิษฐานเป็นความเฉียบ-

แหลมของพระมหาบุรุษผู้เริ่มด้วยจาคาธิษฐาน เมื่อครั้งทรงแสดงพระธรรม-

จักรอันเป็นเขตแห่งมุทิตาโดยพิเศษ. ความบริบูรณ์ด้วยอุปสมาธิษฐาน เป็น

ความเฉียบแหลมของพระมหาบุรุษผู้เริ่มด้วยอุปสมาธิษฐาน ในการปรินิพ-

พานอันเป็นเขตแห่งอุเบกขาโดยพิเศษ. พึงเหตุด้วยประการฉะนี้แล.

ในอธิษฐานธรรม ๔ นั้น ศีล พึงทราบด้วยการอยู่ร่วมกันของพระ-

มหาบุรุษผู้เริ่มด้วยสัจจาธิษฐาน. ความสะอาด พึงทราบด้วยกิจการของ

พระมหาบุรุษผู้เริ่มด้วยจาคาธิษฐาน. กำลัง พึงทราบในเวลามีอันตราย ของ

พระมหาบุรุษผู้เริ่มด้วยอุปสมาธิษฐาน. ปัญญา พึงทราบด้วยการสนทนา

ของพระมหาบุรุษผู้เริ่มด้วยปัญญาธิษฐาน. พึงทราบความบริสุทธิ์แห่งศีล

อาชีวะ จิตและทิฏฐิ ด้วยอาการอย่างนี้. อนึ่ง ไม่ถึงโทสาคติ เพราะ

หลอกลวงโดยเริ่มด้วยสัจจาธิษฐาน. ไม่ถึงโลภาคติ เพราะไม่เกี่ยวข้องโดย

เริ่มด้วยจาคาธิษฐาน. ไม่ถึงภยาคติ เพราะไม่ผิดโดยเริ่มด้วยอุปสมาธิษฐาน.

ไม่ถึงโมหาคติ เพราะตรัสรู้ตามความเป็นจริงโดยเริ่มด้วยปัญญาธิษฐาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 657

อนึ่ง ไม่ประทุษร้ายอดกลั้นด้วยอธิษฐานธรรมข้อที่ ๑. ไม่โลภ

เสพด้วยข้อที่ ๒. ไม่กลัว เว้นด้วยข้อที่ ๓. ไม่หลง บรรเทาได้ด้วยข้อที่ ๔.

การบรรลุเนกขัมมสุข ด้วยอธิษฐานธรรมข้อที่ ๑. การได้ปีติสุขเกิดแต่ความ

สงัด ความสงบ และสัมโพธิ ด้วยอธิษฐานธรรม นอกนั้นพึงทราบ

ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง การได้อุเบกขาสุขเกิดแต่วิเวก เกิดแต่ปีติสุข สมาธิ

เกิดแต่สุขทางกายอันเกิดแต่ปีติสุขและไม่มีปีติ และสติบริบูรณ์ ย่อมมีตาม

ลำดับ ด้วยอธิษฐานธรรม เหล่านี้ . พึงทราบการประมวลบารมีทั้งหมดลง

ด้วยอธิษฐานธรรม ๔ อันเกี่ยวพันด้วยคุณไม่น้อยด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง

พึงเห็นว่า การประมวลบารมีทั้งหมดลงแม้ด้วยกรุณาและปัญญา เหมือนการ

ประมวลบารมีทั้งหมดลงด้วยอธิษฐานธรรม ๔. เพราะโพธิสมภารแม้ทั้งหมด

ท่านสงเคราะห์ด้วยกรุณาและปัญญา. คุณมีทานเป็นต้น กำหนดด้วยกรุณา

และปัญญาเป็นมหาโพธิสมภาร มีความสำเร็จความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นที่

สุด. พึงทราบการสงเคราะห์บารมีเหล่านี้อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้แล.

อะไรเป็นอุบายให้สำเร็จ ? คือการสะสมบุญญาทิสมภารแม้ทั้งสิ้น

อุทิศสัมมาสัมโพธิญาณโดยไม่ทำให้บกพร่อง. การทำโดยความเคารพใน

สัมมาสัมโพธิญาณนั้น ด้วยความเอื้อเฟื้อและความนับถือมาก. การทำความ

เพียรติดต่อ ด้วยความพยายามเป็นลำดับไป. และความพยายามตลอดกาล-

นานเป็นต้น ในระหว่างด้วยการให้ถึงที่สุด. ปริมาณกาลของอุบายให้สำเร็จ

นั้นจักมีแจ้งข้างหน้า. การประกอบองค์ ๔. เป็นอุบายให้บารมีเหล่านั้นสำเร็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 658

ด้วยประการดังนี้. อนึ่ง พระมหาสัตว์ผู้ปฏิบัติเพื่อตรัสรู้ ควรมอบตนแด่

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อสัมมาสัมโพธิญาณก่อนทีเดียวว่า ข้าพเจ้าขอมอบ

อัตภาพนี้แด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ควรสละก่อนแต่จะได้วัตถุที่หวงแหนนั้น ๆ

ในทานมุขว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันของใช้ประจำชีวิตซึ่งเกิดแก่ข้าพเจ้า สิ่งนั้น

ทั้งหมด เมื่อมีผู้ขอ ข้าพเจ้าจักให้. ข้าพเจ้าจักพึงบริโภคส่วนที่เหลือจากที่

ให้แก่ยาจกเหล่านั้นเท่านั้น.

เมื่อมหาบุรุษนั้นตั้งใจเพื่อบริจาคโดยชอบอย่างนี้ วัตถุที่หวงแหน

หรือวัตถุไม่มีวิญญาณอันใดเกิดขึ้น. การผูกใจในทาน ๔ คือ การไม่สะสมทาน

ในกาลก่อน ๑ ความที่วัตถุหวงแหนมีน้อย ๑ ความพอใจยิ่ง ๑ ความคิดถึง

ความหมดสิ้น ๑ ในวัตถุนั้น. ในการติดตามทานเหล่านั้น ในกาลใด เมื่อ

ไทยธรรมมีอยู่แก่พระมหาโพธิสัตว์ และเมื่อยาจกปรากฏ จิตในกาลให้ไม่

แล่นไปไม่ก้าวไป. ด้วยเหตุนั้นควรแน่ใจในข้อนั้นได้ว่า เมื่อก่อนเรามิได้

สะสมในการให้เป็นแน่. ดังนั้นในบัดนี้ ความใคร่ที่จะให้ของเราจึงไม่ตั้งอยู่

ในใจ. พระมหาโพธิสัตว์นั้น บริจาค มีมือสะอาด ยินดีในการเสียสละ

มีผู้ขอ ยินดีในการแจกทาน ย่อมให้ทานด้วยคิดว่า ต่อแต่นี้ไป เราจักมี

ใจยินดีในทานเป็นอย่างยิ่ง. เอาเถิดเราจักให้ทานตั้งแต่วันนี้ไป. การผูกใจ

ในทานข้อที่หนึ่ง เป็นอันถูกขจัดไป ตัดขาดไปด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พระมหาสัตว์ เมื่อไทยธรรมมีน้อยและบกพร่อง ย่อมสำเหนียก

ว่า เมื่อก่อนเพราะเราไม่ชอบให้ บัดนี้เราจึงขาดแคลนปัจจัยอย่างนี้. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 659

ฉะนั้น บัดนี้แม้เราจะเบียดเบียนตนด้วยไทยธรรมตามที่ได้นิดหน่อยก็ตาม

เลวก็ตาม จะต้องให้ทานจนได้. เราจักบรรลุทานบารมีแม้ต่อไปจนถึงที่สุด.

พระมหาสัตว์นั้น บริจาค มีฝ่ามือสะอาด ยินดีในการเสียสละ มีผู้ของยินดี

ในการแจกจ่ายทาน ให้ทานตามมีตามได้. การผูกใจในทานข้อที่ ๒. เป็น

อันถูกขจัดไป ตัดขาดไป ด้วยอาการอย่างนี้.

อนึ่ง พระมหาสัตว์ เมื่อจิตใคร่จะไม่ให้เกิดขึ้นเพราะเสียดายไทย-

ธรรม ย่อมสำเสนียกว่า ดูก่อนสัตบุรุษ ท่านปรารถนาสัมมาสัมโพธิญาณ

อย่างสูงสุด ประเสริฐกว่าสิ่งทั้งปวงมิใช่หรือ. เพราะฉะนั้นท่านควรให้ไทย-

ธรรมที่พอใจอย่างยิ่ง เพื่อสัมมาสัมโพธิญาณนั้นเท่านั้น. พระมหาสัตว์นั้น

บริจาค มีมือสะอาด ยินดีในการเสียสละ มีผู้ขอ ยินดีในการแจกจ่ายทาน.

การผูกใจทานข้อที่ ๓ ของพระมหาสัตว์ เป็นอันถูกขจัดไป ตัดขาดไป ด้วย

อาการอย่างนี้.

อนึ่ง พระมหาสัตว์เมื่อให้ทาน ย่อมเห็นความสิ้นเปลืองของไทย-

ธรรมในกาลใด. ย่อมสำเหนียกว่า สภาพของโภคะทั้งหลายเป็นอย่างนี้ คือ

มีความสิ้นไป เสื่อมไปเป็นธรรมดา. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเราไม่ทำทาน

เช่นนั้นมาก่อน. โภคะทั้งหลายจึงปรากฏความในรูปอย่างนี้. เอาเถิดเราจะ

พึงให้ทานด้วยไทยธรรมตามที่ได้น้อยก็ตาม ไพบูลย์ก็ตาม. เราจักบรรลุถึง

ที่สุดแห่งทานบารมีต่อไป. พระมหาสัตว์นั้น บริจาค มีมือสะอาด ยินดี

ในการเสียสละ มีผู้ขอ ยินดีในการแจกจ่ายทาน ให้ทานด้วยของตามที่ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 660

การผูกใจในทานข้อที่ ๔ ของพระมหาสัตว์ เป็นอันถูกขจัดไป ตัดขาดไป

ด้วยอาการอย่างนี้. การพิจารณาตามสมควรแล้วปัดเป่าไป เป็นอุบายของ

ความไม่มีประโยชน์ อันเป็นการผูกใจในทานบารมี ด้วยอาการอย่างนี้. พึง

เห็นแม้ในศีลบารมีเป็นต้น อย่างเดียวกับทานบารมี.

อีกอย่างหนึ่ง การมอบตนแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ของพระมหาสัตว์

นั้นเป็นอุบายให้บารมีทั้งปวงสำเหนียกโดยชอบ. จริงอยู่พระมหาบุรุษมอบ

ตนแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้วดำรงอยู่ เพียรพยายามเพื่อความบริบูรณ์แห่ง

โพธิสมภารในบารมีนั้น ๆ เมื่อตัดอุปกรณ์อันทำให้ร่างกายเป็นสุขทนได้ยาก

บ้าง ลำบากมีความยินดีได้ยากบ้าง ความพินาศร้ายแรง อันคร่าชีวิตไป

น้อมนำเข้าไปในสัตว์และสังขารตั้งความปรารถนาว่า เราบริจาคอัตภาพนี้

แด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ขอการบริจาคนั้นจงเป็นผลในโลกนี้เถิด. นิมิต

นั้นไม่หวั่น ไม่ไหว ไม่ถึงความเป็นอย่างอื่นแม้แต่น้อย เป็นผู้มีอธิษฐาน

มั่นคงในการทำกุศลโดยแท้. แม้การมอบตนอย่างนี้ก็เป็นอุบายให้บารมีเหล่า-

นั้นสำเร็จได้.

อีกอย่างหนึ่งว่าโดยย่อ ผู้สะสมบุญญาภินิหารมีความเยื่อใยในตนจืด

จาง มีความเยื่อใยในผู้อื่นเจริญ เป็นอุบายให้บารมีเหล่านั้นสำเร็จได้. จริง

อยู่ เพราะบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ความเยื่อใยในตนของพระมหาสัตว์

ผู้กระทำมหาปณิธานไว้ ผู้ไม่ติดในธรรมทั้งปวงด้วยกำหนดรู้โดยความเป็น

จริงย่อมถึงความสิ้นไป ความเหนื่อยหน่าย. ความเยื่อใยด้วยเมตตาและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 661

กรุณาในสัตว์เหล่านั้น ย่อมเจริญแก่พระมหาบุรุษผู้เห็นสรรพสัตว์ดุจบุตรที่

น่ารักเปี่ยมด้วยมหากรุณา. แต่นั้นพระมหาบุรุษได้ทำสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ

โพธิสมภารมีมัจฉริยะเป็นต้น ให้ไกลแสนไกลกระการหยั่งลงในยาน ๓

เบื้องบน และความเจริญงอกงาม ด้วยการทำความสงเคราะห์แก่ชนโดย

ส่วนเดียวด้วยสังคหวัตถุ ๔ คือ ทาน ปิยวาจา อตฺถจริยา คือการ

ประพฤติประโยชน์ และสมานัตตา คือความมีตนเสมอต้นเสมอปลาย ตามไป

ด้วยอธิษฐานธรรม ๔.

จริงอยู่ มหากรุณา และมหาปัญญา ของพระมหาสัตว์ทั้งหลายประดับ

ด้วยทาน. ทานประดับด้วยปิยวาจา. ปิยวาจาประดับด้วยอัตถจริยา. อัตถ-

จริยาประดับและสงเคราะห์เพราะเป็นผู้มีตนเสมอคือไม่ถือตัว. เมื่อพระมหา-

สัตว์เหล่านั้นทำสัตว์แม้ทั้งปวง ไม่ให้มีเศษด้วยตนปฏิบัติในโพธิสมภาร

ความสำเร็จย่อมมี เพราะความมีตนเสมอกัน เพราะมีสุขทุกข์เสมอในที่ทั้ง

ปวง. การปฏิบัติด้วยการทำความสงเคราะห์ส่วนเดียวแก่ชนด้วยสังคหวัตถุ

๔ เหล่านั้น อันเป็นการทำอธิษฐานธรรม ๔ ให้บริบูรณ์และเจริญยิ่งย่อม

สำเร็จแก่พระมหาสัตว์ทั้งหลาย แม้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว. เพราะทานเป็น

ความบริบูรณ์และเจริญยิ่ง ด้วยจาคาธิษฐานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง

หลาย. ปิยวาจา เป็นความบริบูรณ์และเจริญยิ่งด้วยสัจจาธิษฐาน. อัตถจริยา

เป็นความบริบูรณ์และเจริญยิ่งด้วยปัญญาธิษฐาน. สมานัตตาเป็นความ

บริบูรณ์และเจริญยิ่งด้วยอุปสมาธิษฐาน. จริงอยู่ พระตถาคตเป็นผู้เสมอด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 662

พระสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวงในการปรินิพพาน. ในการปรินิพ-

พานนั้นท่านเหล่านั้นเป็นอย่างเดียวกันโดยไม่ต่างกันเลย. สมดังที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ความต่างกันแห่งวิมุติย่อมไม่มี.

อนึ่งในข้อนี้มีคาถา ดังต่อไปนี้ :-

พระศาสดาผู้มีสัจจะ มีจาคะ มีความสงบ

มีปัญญา ผู้อนุเคราะห์ ผู้สะสมบุญบารมีทั้งปวง

ไม่พึงยังประโยชน์ชื่อไรให้สำเร็จบ้าง. พระ-

ศาสดาผู้มีพระมหากรุณา แสวงหาคุณอันเป็น

ประโยชน์ ผู้วางเฉยและไม่คำนึงในสิ่งทั้งปวง

โอ พระชินเจ้า น่าอัศจรรย์. พระศาสดาผู้ทรง

หน่ายในสรรพธรรม ทรงวางเฉยในสัตว์ทั้ง

หลาย ทรงขวนขวายประโยชน์แก่สัตว์ทุกเมื่อ

โอ พระชินเจ้า น่าอัศจรรย์. พระศาสดาทรง

ขวนขวายไม่เกียจคร้าน เพื่อประโยชน์ เพื่อ

ความสุขแก่สรรพสัตว์ ในกาลทั้งปวง โอ

พระชินเจ้า น่าอัศจรรย์.

ให้สำเร็จประโยชน์โดยกาลไหน ? ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า โดย

กำหนดอย่างต่ำสี่อสงไขยแสนมหากัป. โดยกำหนดอย่างกลาง แปดอสง-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 663

ไขยแสนมหากัป. ส่วนโดยกำหนดอย่างสูง สิบหกอสงไขยแสนมหากัป

ความต่างกันเหล่านี้พึงทราบด้วยอำนาจแห่งปัญญาธิกะ ศรัทธาธิกะและ

วิริยาธิกะ ตามลำดับ. จริงอยู่

ศรัทธาอ่อนปัญญากล้าย่อมมีแก่ผู้เป็นปัญญาธิกะทั้งหลาย ปัญญา

ปานกลางมีแก่ผู้เป็นศรัทธาธิกะทั้งหลาย ปัญญาอ่อนย่อมมีแก่ผู้เป็นวีริยา-

ธิกะทั้งหลาย.

อนึ่งพึงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณด้วยอานุภาพแห่งปัญญา.

ฝ่ายอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า นี้เป็นการแบ่งกาลของพระโพธิสัตว์

ทั้งหลายด้วยความแก่กล้า ปานกลางและอ่อนแห่งความเพียร แต่โดยความ

ไม่ต่างกัน โพธิสมภารทั้งหลายย่อมถึงความบริบูรณ์แห่งบารมีเหล่านั้น โดย

ความต่างแห่งกาลตามที่กล่าวแล้ว โดยความแก่กล้าปานกลางและอ่อนแห่ง

ธรรมทั้งหลายอันบ่มบารมีให้แก่กล้าด้วยวิมุติ. เพราะเหตุนั้นความต่างแห่ง

กาล ๓ เหล่านี้จึงควรแล้ว. ด้วยอาการอย่างพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมมี

๓ ส่วนในขณะแห่งอภินิหารโดยความต่างกันแห่ง อุคฆฏิตัญญู วิปัจจิตัญญู

และเนยยะ. ใน ๓ อย่างนั้น ผู้ที่ฟังคาถา ๔ บท ต่อพระพักตร์ของพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อยังไม่จบคาถาบทที่ ๓ เป็นผู้มีอุปนิสัยสามารถบรรลุ

พระอรหัตด้วยอภิญญา ๖ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา เป็นอุคฆฏิตัญญู. หากพึง

น้อมไปในสาวกโพธิญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 664

บุคคลประเภทที่สองฟังคาถา ๔ บท ต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาค-

เจ้า เมื่อยังไม่จบคาถาบทที่ ๔ เป็นผู้มีอุปนิสัยสามารถบรรลุพระอรหัตด้วย

อภิญญา ๖ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. หากพึงน้อมไปในสาวกโพธิญาณ.

ส่วนบุคคลประเภทที่สามฟังคาถา ๔ บท ต่อพระพักตร์พระผู้มี-

พระภาคเจ้า เมื่อจบคาถาแล้วเป็นผู้มีอุปนิสัยสามารถบรรลุพระอรหัตด้วย

อภิญญา ๖.

พระโพธิสัตว์ ๓ จำพวกเหล่านี้ เว้นความต่างแห่งกาละสะสมบุญญา-

ภินิหาร และได้พยากรณ์ในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลายบำเพ็ญบารมีมา

โดยลำดับ บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตามกาลมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว.

เมื่อประเภทแห่งกาลเหล่านั้น ๆ ยังไม่บริบูรณ์พระมหาสัตว์เหล่านั้น ๆ แม้

ให้มหาทานเช่นกับทานของพระเวสสันดรทุก ๆ วัน แม้สะสมบารมีธรรม

ทั้งปวงมีศีลเป็นต้นตามสมควร แม้สละมหาบริจาค ๕ แม้ยังญาตัตถจริยา

โลกัตถจริยา พุทธธัตถจริยา ให้ถึงที่สุดอย่างยิ่ง ก็จักเป็นพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าในระหว่าง. ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้. เพราะเหตุไร. เพราะญาณ

ยังไม่แก่กล้า เพราะพุทธการกธรรมยังไม่สำเร็จ. จริงอยู่ แม้พยายามด้วย

อุตสาหะทั้งหมดในระหว่างนั้นก็ไม่สามารถบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณอันสำเร็จ

ด้วยกำหนดกาลตามที่กล่าวแล้วได้ ดุจข้าวกล้าสำเร็จตามที่กำหนดไว้เท่านั้น

เพราะเหตุนั้นพึงทราบว่า ความบริบูรณ์แห่งบารมีย่อมสำเร็จด้วยกาลวิเศษ

ตามที่กล่าวแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 665

อะไรเป็นอานิสงส์. ท่านพรรณนาอานิสงส์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

ผู้สะสมบุญญาภินิหารไว้อย่างนี้ว่า :-

นรชนทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยอวัยวะทั้ง

ปวง ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาวนาน นับได้

ร้อยโกฏิกัป เป็นผู้เที่ยงต่อโพธิญาณ. ย่อมไม่

เกิดในอเวจี และในโลกันตรนรก. ไม่เกิด

เป็นนิชฌามตัณหิกเปรต ขุปิปาสิกเปรตและ

กาลกัญชิกาเปรต. สัตว์เล็ก ๆ แม้เข้าถึงทุคติ

ก็ไม่มี. สัตว์เหล่านั้นเมื่อเกิดในมนุษยโลก

ก็ไม่เกิดเป็นคนตาบอด หูหนวก และเป็นใบ้.

ไม่เป็นอุภโตพยัญชนกและบัณเฑาะก์ และก็

ไม่ถึงความเป็นสตรี. นรชนทั้งหลายยังไม่

สำเร็จก็จะพ้นจากนรก มีโคจรบริสุทธิ์ในที่

ทั้งปวงเที่ยงต่อโพธิญาณ. เชื่อกรรม ผลของ

กรรมไม่เสพมิจฉาทิฏฐิ แม้อยู่ในสวรรค์ก็ไม่

เข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีความรู้สึก. ย่อมไม่มี

เหตุในเทวโลกชั้นสุทธาวาส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 666

สัตบุรุษทั้งหลายน้อมไปในเนกขัมมะไม่

เกี่ยวข้องในภพน้อยภพใหญ่. ย่อมประพฤติ

โลกัตถจริยา. บำเพ็ญบารมีทั้งปวง.

อนึ่ง ชนิดธรรมน่าอัศจรรย์ไม่เคยมี ๑๖ อย่าง โดยนัยมีอาทิว่า

ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์มีสติสัมชัญญะจุติจากเทพชั้นดุสิตแล้วหยั่งลงสู่

ครรภ์มารดา. อนึ่ง มีชนิดแห่งบุรพนิมิต ๓๒ อย่าง โดยนัยมีอาทิว่า ความ

หนาวปราศไป. และความร้อนสงบ. สละโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนสารีบุตร

เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ หมื่นโลกธาตุนี้ย่อมหวั่นไหว สั่นสะเทือน. หรือว่า

อานิสงส์แม้อื่นใดมีอาการที่ได้แสดงไว้ในชาดกและพุทธวงศ์เป็นต้นนั้น ๆ มี

อาทิอย่างนี้ว่า ความเป็นผู้ชำนาญในกรรมเป็นต้น เป็นความสำเร็จความ

ประสงค์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย. ทั้งหมดนั้นเป็นอานิสงส์แห่งบารมีเหล่า

นั้น. อนึ่ง พึงทราบว่าอานิสงส์มีคู่แห่งคุณธรรมมีอโลภะและอโทสะเป็น

ต้น มีประเภทตามที่ได้แสดงไว้แล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระโพธิสัตว์เป็นเสมอบิดาของสรรพสัตว์ทั้ง

หลาย ตั้งแต่สะสมอภินิหารเพื่อแสวงหาประโยชน์ เป็นผู้ควรทักษิณา น่า

เคารพน่ายกย่องและเป็นบุญเขตอย่างยิ่งด้วยประกอบคุณวิเศษ. และโดยมาก

พระโพธิสัตว์เป็นที่รักของมนุษย์ของอมนุษย์ ทวยเทพคุ้มครอง สัตว์ร้ายเป็น

ต้น ครอบงำไม่ได้ เพราะมีสันดานอบรมด้วยเมตตากรุณา. อนึ่ง พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 667

โพธิสัตว์เกิดในหมู่สัตว์ใด ๆ ย่อมครอบงำสัตว์อื่นในหมู่สัตว์นั้น ๆ ด้วย วรรณ

ยศ สุข พละ อธิปไตย้อนยอดยิ่ง เพราะประกอบด้วยบุญวิเศษ.

เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย. ศรัทราของพระโพธิสัตว์นั้นบริสุทธิ์

ด้วยดี. ความเพียรบริสุทธิ์ด้วยดี. สติ สมาธิ ปัญญา บริสุทธิ์ด้วยดี. มี

กิเลสเบาบาง มีความกระวนกระวายน้อย มีความเร่าร้อนน้อย. เป็นผู้ว่าง่าย

เพราะมีกิเลสเบาบาง. เป็นผู้มีความเคารพ. อดทนสงบเสงี่ยม. อ่อนโยน

ฉลาดในปฏิสันถาน. ไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ไม่ตีเสมอ. ไม่ริษยา

ไม่ตระหนี่. ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา. ไม่กระด้าง ไม่ถือตัว. ไม่รุนแรง ไม่

ประมาท. อดทนต่อความเดือดร้อนจากผู้อื่น ไม่ทำผู้อื่นให้เดือนร้อน.

อันตรายมีภัยเป็นต้นที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดในตำบลที่ตนอาศัยอยู่. และที่

เกิดแล้วย่อมสงบไป. ทุกข์มีประมาณยิ่งย่อมไม่เบียดเบียนดุจชนเป็นอันมาก

ในอบายที่ทุกข์เกิด. ย่อมถึงความสังเวชโดยประมาณยิ่ง. เพราะฉะนั้นพึง

ทราบว่าคุณวิเศษเหล่านั้น มีความเป็นทักขิไณยบุคคลเสมอด้วยบิดาเป็นต้น

ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอานิสงส์ที่พระมหาบุรุษได้ในภพนั้น ๆ ตามสมควร.

อนึ่ง แม้คุณสมบัติเหล่านี้ คือ อายุสัมปทา รูปสัมปทา กุสลสัมป-

ทา อิสริยสัมปทา อาเทยยวจนตา คือพูดเชื่อได้ มหานุภาวตา พึงทราบ

ว่า เป็นอานิสงส์แห่งบารมีทั้งหลายของมหาบุรุษ. ในคุณวิเศษเหล่านั้น

ชื่อว่า อายุสัมปทา ได้แก่ความมีอายุยืน ความตั้งอยู่นานในการเกิดนั้น ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 668

ยังกุสลสมาทานตามที่เริ่มไว้ในอายุสัมปทานั้นให้ถึงที่สุด และสะสมกุสลไว้

มาก. ชื่อว่า รูปสัมปทา ได้แก่ความมีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส เป็นผู้

นำมาซึ่งความเลื่อมใส น่ายกย่องของสัตว์ทั้งหลายที่ถือรูปเป็นประมาณด้วย

รูปสัมปทานั้น. ชื่อว่า กุสลสัมปทา ได้แก่การเกิดในกุสลอันยิ่ง ควร

เข้าไปหา ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ผู้มัวเมามีมัวเมาด้วยชาติเป็นต้น ด้วยกุสล-

สัมปทา ทำชนเหล่านั้นให้หมดพยศด้วยเหตุนั้น. ชื่อว่า อิสริยสัมปทา

ได้แก่ความเป็นผู้มีสมบัติมาก มีศักดิ์ใหญ่ และมีบริวารมาก เป็นผู้สามารถ

สงเคราะห์ผู้ที่ควรสงเคราะห์ และข่มผู้ที่ควรข่มโดยธรรม ด้วยอิสริยสัมปทา

นั้น. ชื่อว่า อาเทยฺยวจนตา ได้แก่ความเป็นผู้เชื่อได้ เชื่อถือได้ เป็นประมาณ

ของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยความเชื่อถือนั้น คำสั่งของพระโพธิสัตว์นั้นกลับกลอก

ไม่ได้. ชื่อว่า มหานุภาวตา ได้แก่เพราะมีอานุภาพมาก คนอื่นครอบงำ

ไม่ได้. แต่ตนเองครอบงำคนอื่นได้โดยแท้ โดยธรรม โดยเสมอและโดย

คุณตามเป็นจริงด้วยความเป็นผู้มีอานุภาพใหญ่นั้น. พึงทราบว่าคุณวิเศษมี

อายุสัมปทาเป็นต้นเหล่านี้ เป็นอานิสงส์แห่งบารมีทั้งหลายของพระมหาบุรุษ.

และเป็นเหตุแห่งความเจริญของบุญสมภารหาประมาณมิได้ และเป็นเหตุแห่ง

การหยั่งลงและความเจริญงอกงามของสัตว์ทั้งหลายในญาณ ๓.

อะไรเป็นผล. กล่าวโดยย่อความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผล

ของบารมีเหล่านั้น. กล่าวโดยพิสดาร สิริธรรมกายอันงดงามทั่วไปตั้งขึ้นด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 669

คุณหาประมาณมิได้ ไม่มีสิ้นสุดตั้งแต่สมบัติของรูปกายอันรุ่งเรืองด้วยหมู่คุณ

ไม่น้อยมีอาทิ มหาปุริสลักษณะ ๓๒ อนุพยัญชนะ ๘๐ พระรัศมีวาหนึ่ง

เป็นต้น อธิษฐานธรรม ทศพลพลญาณ เวสารัชชญาณ ๔ อสาธารณญาณ ๖

พุทธธรรม ๑๘ หมวด. อนึ่ง แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่สามารถจะ

สรรเสริญพระพุทธคุณทั้งหลายให้สิ้นสุดลงได้ด้วยกัปไม่น้อย. นี้เป็นผลของ

บารมีเหล่านั้น. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

แม้พระพุทธเจ้าก็พึงสรรเสริญคุณของ

พระพุทธเจ้า. หากกล่าวกะผู้อื่นแม้ตลอดกัป.

กัปสิ้นไปในระหว่างเป็นเวลายาวนาน แต่

พระคุณของพระตถาคตยังไม่สิ้นไป.

พึงทราบปกิณณกกถาในบารมีทั้งหลายในที่นี้ ด้วยประการฉะนี้. แต่

บทใดในบาลี ท่านแสดงบารมีแม้ทั้งหมดรวมกันโดยนัยมีอาทิว่า ทตฺวา

ทาตพฺพก ทาน ให้ทานที่ควรให้ดังนี้แล้วกล่าวคาถาสองคาถาสุดท้าย โดย

นัยมีอาทิว่า โกสชฺช ภยโต ทิสฺวา เห็นความเกียจคร้านโดยความเป็นภัย

ดังนี้ข้างหน้า. บทนั้นท่านกล่าวเพื่อให้โอวาทแก่เวไนยสัตว์เพื่อบ่มวิมุติให้

แก่กล้า ด้วยธรรมที่เป็นเมตตาภาวนาปรารภความเพียร ตามที่กล่าวแล้ว

ด้วยอัปปมาทวิหารธรรม พุทธการกธรรมถึงความบริสุทธิ์ และการบ่มวิมุติ

ของตนกล่าวคือสัมมาสัมโพธิญาณให้แก่กล้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 670

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอานิสงส์ ในการปรารภความเพียรด้วย

หัวข้อแสดงถึงโทษในฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ ด้วยบทนี้ว่า โกสชฺช ภยโต

ทิสฺวา, วีริยารมฺภญฺจ เขมโต เห็นความเกียจคร้านโดยความเป็นภัย และ

เห็นการปรารภความเพียรโดยเป็นธรรมเกษม ดังนี้. ทรงชักชวนในการ

ปรารภความเพียรด้วยบทนี้ว่า อารทฺธวีริยา โหถ ท่านทั้งหลายจงเป็น

ผู้ปรารภความเพียรเถิด. อนึ่ง เพราะทรงประกาศไว้โดยสังเขปว่า :-

การไม่ทำบาปทั้งปวง ๑ การเข้าถึงกุศล ๑

การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑ ทั้ง ๓ นี้ เป็น

คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

แต่โดยพิสดารทรงประกาศความสมบูรณ์ แม้ทุกอย่างอาศัยธรรม

เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรชอบ โดยส่วนเดียวเท่านั้น ด้วยพุทธพจน์ทั้งสิ้น.

ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงชักชวนในการปรารภความเพียรแล้ว จึง

ตรัสว่า เอสา พุทฺธานุสาสนี นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

ในบทนั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้ . การปรารภความเพียรประกอบ

ด้วยสัมมัปปธาน ด้วยังอธิศีลสิกขาเป็นต้น ให้สมบูรณ์ เพราะเห็นความ

เกียจคร้านโดยความเป็นภัยว่า ความเกียจคร้านเป็นตัวขจัดความพินาศทั้ง

ปวง โดยเป็นรากแห่งความเศร้าหมองทั้งปวง และการปรารภความเพียร

โดยความเป็นปฏิปักษ์ต่อความเกียจคร้านนั้น โดยให้ปลอดจากโยคะ ๔ โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 671

ความเป็นธรรมเกษม. การชักชวนชอบในการปรารภความเพียรนั้นว่า ท่าน

ทั้งหลาย จงปรารภความเพียรกันเถิด ดังนี้. นี้เป็นคำสอน คำพร่ำสอน

โอวาทของพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคทั้งหลาย. แม้ในคาถาที่เหลือก็พึงทราบ

ความโดยนัยนี้แล.

แต่ความต่างกันมีดังนี้. บทว่า วิวาท คือพูดด้วยความโกรธ. อธิ-

บายว่า เถียงกันด้วยวิวาทวัตถุ คือเหตุแห่งความวิวาท ๖ ประการ. บทว่า

อวิวาท คือ เมตตาวจีกรรม หรือ เมตตาภาวนา อันเป็นปฏิปักษ์ต่อความ

วิวาทกัน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อวิวาท คือสาราณิยธรรม ๖ อย่าง อัน

เป็นเหตุไม่วิวาทกัน. บทว่า สมคฺคา คือไม่แบ่งพวก. อธิบายว่า ร่วมกัน

ทางกายและใจ ไม่เว้นไม่แยกกัน. บทว่า สขิลา คือน่ารักอ่อนโยน.

อธิบายว่า มีใจอ่อนโยนในกันและกัน . ในบทว่า เอสา พุทฺธานุสาสนี

นี้ คือไม่อาศัยการวิวาทกันโดยประการทั้งปวง แล้วชักชวนให้อยู่ร่วม

สามัคคีกันโดยบำเพ็ญสาราณิยธรรม ๖. พึงประกอบบทว่า เอสา พุทฺธาน

อนุสิฏฺิ นี้เป็นคำพร่ำสอนของพระพุทะเจ้าทั้งหลาย. จริงอยู่ชนทั้งหลาย

อยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี มีศีลและทิฏฐิเสมอกัน ไม่วิวาทกัน จักยัง

ไตรสิกขาให้บริบูรณ์ได้โดยง่ายทีเดียว เพราะเหตุนั้นพระศาสดา . จึงทรง

แสดงว่า การชักชวนให้อยู่ร่วมสามัคคีกัน เป็นคำสอนของพระองค์ ดังนี้.

บทว่า ปมาท คือความประมาท. ได้แก่การหลงลืมกุศลธรรมและ

การปล่อยจิตให้ตกอยู่ในอกุศลธรรม. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ความประมาท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 672

เป็นไฉน. การปล่อย เพิ่มการปล่อยจิตลงในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

หรือในกามคุณ ๕ ไม่ทำความเคารพ ไม่ทำความเพียรติดต่อ ไม่ทำความ

มั่นคง ประพฤติย่อหย่อน ทอดฉันทะ ทอดธุระ ไม่เสพ ไม่อบรม ไม่

ทำให้มาก เพื่อความเจริญแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. ความประมาท ความ

มัวเมา ความเป็นผู้มัวเมา เห็นปานนี้ เรียกว่า ปมาโท.

บทว่า อปฺปมาท คือความไม่ประมาท. พึงทราบความไม่ประมาท

นั้น โดยเป็นปฏิปักษ์ของความประมาท. เพราะโดยอรรถความไม่อยู่ปราศ-

สติ ชื่อว่า ความไม่ประมาท. บทว่า สติยา อวิปฺปวาโส ความไม่อยู่

ปราศจากสตินี้เป็นชื่อของสติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วเป็นนิจ. แต่อาจารย์อีกพวก

หนึ่งกล่าวว่า อรูปขันธ์ ๔ เป็นไปโดยตั้งสติสัมปชัญญะไว้ ชื่อว่า ความ

ไม่ประมาท. ก็ชื่อว่า อัปปมาทภาวนา ไม่มีการภาวนาแยกออกจากกัน

เป็นหนึ่ง. บุญกิริยา กุศลกิริยา ทั้งหมดพึงทราบว่า เป็นอัปปมาทภาวนา

ทั้งนั้น.

แต่โดยความต่างกัน ศีลภาวนา สมาธิภาวนา ปัญญาภาวนา กุศล-

ภาวนา อนวัชชภาวนา คือภาวนาอันไม่มีโทษ อัปปมาทภาวนาทั้งหมด

ประสงค์เอาสรณคมน์ และการสำรวมกายวาจา อันเข้าไปอาศัยวิวัฏฏะ คือ

นิพพาน. จริงอยู่ บทว่า อปฺปมาโท นี้ แสดงถึงอรรถใหญ่. กำหนด

อรรถใหญ่ตั้งอยู่. พระธรรมกถึกนำพระพุทธพจน์อันเป็นไตรปิฎก แม้ทั้งสิ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 673

มากล่าวขยายอรรถแห่งบท อปฺปมาท ไม่ควรพูดว่า ออกนอกลู่นอกทาง.

เพราะเหตุไร. เพราะบทแห่ง อปฺปมาท กว้างขวางมาก. เป็นความจริง

ดังนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรทมในคราวปรินิพพาน ในระหว่างต้นสาละ

คู่ ณ กรุงกุสินารา ทรงแสดงธรรมที่พระองค์ตรัสมา ๔๕ ปี ตั้งแต่อภิสัม-

โพธิกาล สงเคราะห์ด้วยบทเดียวเท่านั้น ได้ทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุ

ทั้งหลายว่า อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาท

ให้ถึงพร้อมเถิด. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

รอยเท้าสัตว์ทั้งหลายที่เที่ยวไปเหล่าใดเหล่าหนึ่ง. รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด

ย่อมรวมลงในเท้าช้าง. เท้าช้างท่านกล่าวว่า เลิศกว่าเท้าสัตว์ทั้งหลายเพราะ

เป็นเท้าใหญ่ฉันใด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็

ฉันนั้นเหมือนกัน ทั้งหมดนั้นมีความไม่ประมาทเป็นมูล หยั่งลงสู่ความไม่

ประมาท. ความไม่ประมาที่ท่านกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น. พระศาสดา

เมื่อทรงแสดงถึงอัปปมาทภาวนา ถึงความเป็นยอด จึงตรัสว่า ภาเวถฏฺงฺคิก

มคฺค พวกเธอจงเจริญมรรคมีองค์ ๘ เถิด.

บทนั้นมีความดังนี้. พวกเธอจงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ สงเคราะห์

เข้าในขันธ์ ๓ มีศีลขันธ์เป็นต้น มีสัมมาทิฏฐิเป็นบทนำ ด้วยสามารถ

แห่งองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนั่นแล. จงยังมรรคนั้นให้เกิดในสันดาน

ของตน. พวกเธอไม่ตั้งอยู่เพียงมรรคที่เห็น จงเจริญโดยให้มรรค ๓ ข้างบน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 674

เกิดขึ้นด้วย. อัปปมาทภาวนาของพวกเธอจักถึงยอดด้วยประการฉะนี้. บทว่า

เอสา พุทฺธานุสาสนี นี้ คือความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย. อนึ่ง

การขวนขวายความไม่ประมาทนั้นแล้วอบรมอริยมรรค นี้เป็นคำสอนเป็น

พระโอวาทของพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาจริยาปิฎก ด้วยธรรมเป็นยอดแห่ง

พระอรหัตด้วยประการฉะนี้. บทว่า อิตฺถ ในบทมีอาทิว่า อิตฺถ สุท ได้แก่

โดยประการมีอาทิว่า กปฺเป จ สตสหสฺเส คือในแสนกัป. บทว่า สุ ท

เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ภควา ชื่อว่า ภควา ด้วยเหตุมีความเป็นผู้มีโชค

เป็นต้น. บทว่า อตฺตโน ปุพฺพจริย บุรพจริยาของพระองค์ คือ การ

บำเพ็ญทุกรกิริยาอันเป็นข้อปฏิบัติของพระองค์ ในชาติเป็นอกิตติบัณฑิต

เป็นต้น ในกาลก่อน. บทว่า สมฺภาวยมาโน คือทรงประกาศโดยชอบ

ดุจชี้มะขามป้อมบนฝ่ามือฉะนั้น. บทว่า พุทฺธาปทฺนิย นาม ชื่อว่า พุทธา-

ปทาน เพราะแสดงถึงกรรมเก่าอันเป็นอธิกิจที่ทำได้ยากแต่ก่อนของพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย. บทว่า ธมฺมปริยาย คือการแสดงธรรมหรือเหตุที่เป็น

ธรรม. บทว่า อภาสิตฺถ คือได้กล่าวแล้ว. อนึ่ง บทใดที่มิได้กล่าวไว้ใน

ที่นี้ พึงทราบว่า บทนั้นไม่ได้กล่าวไว้ เพราะมีนัยดังกล่าวไว้แล้วในหนหลัง

และเพราะมีความง่ายแล้ว.

จบ ปกิณณกกถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 675

บทสรุป

พระศาสดามีพระจริตบริสุทธิ์ ทรงถึงฝั่ง

แห่งพุทธิจริยา ทรงฉลาดในสรรพจริยาทั้ง-

หลาย ทรงเป็นอาจารย์ของโลกอย่างยอดเยี่ยม.

ทรงบรรลุความอัศจรรย์ทั้งปวงแห่งอัจฉริยธรรม

ทั้งหลาย ทรงประกาศอานุภาพแห่งบุรพจริยา

ของพระองค์. พระศาสดาผู้เป็นที่พึ่ง ทรง

แสดงจริยาปิฎกและพระเถระผู้สังคายนาพระ-

ธรรม ได้สังคายนาจริยาปิฎกเหมือนอย่างนั้น.

เพื่อประกาศความแห่งจริยาปิฎกนั้น ข้าพเจ้า

จึงเริ่มพรรณนาความ อาศัยนัยแห่งอรรถกถา

เก่า. เลือกประกาศความอันยิ่งในจริยาปิฎก

นั้นตามสมควร โดยชื่อว่า ปรมัตถทีปนี.

การวินิจฉัยไม่ยุ่งยาก ถึงความสำเร็จโดยภาณ-

วารแห่งบาลี ๒๘ บริบูรณ์. ขอให้ข้าพเจ้าผู้

ปรับปรุงปรมัตถทีปนีนั้น ได้บรรลุถึงบุญอัน

เป็นคำสอนของพระโลกนาถ ด้วยอานุภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 676

แห่งบุญนั้น. ขอสัตวโลกแม้ทั้งปวง จงหยั่ง

ลงเพื่อปฏิบัติศีลเป็นต้น อันบริสุทธิแล้วจงมี

ส่วนแห่งวิมุตติรสเถิด. ขอศาสนาของพระสัม-

มาสัมพุทธเจ้า จงประดิษฐานอยู่ในโลกตลอด

กาลนาน. ขอสัตว์แม้ทั้งปวง จงมีความเคารพ

ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นนิจ

เถิด. แม้เทพผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ขอจงให้

ฝนตกตามฤดูกาลโดยชอบ. เป็นผู้ยินดีใน

พระสัทธรรม จงปกครองโลกโดยธรรมเถิด

ด้วยประการฉะนี้แล.

นิคมนกถา คือบทสรุปนี้ พระอาจารย์ธรรมปาละผู้อยู่ในพัทรดิตถ-

วิหาร ได้แต่งไว้.

จบ อรรถกถาจริยาปิฎก