ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย อปทาน

เล่มที่ ๙

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น

ภัททาลิวรรคที่ ๔๒

๓. เถราปทาน

ภัททาลิเถราปทานที่ ๑ (๔๑๑)

ว่าด้วยผลแห่งการมุงมณฑปด้วยดอกรัง

[๑] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า

สุเมธะ ผู้เลิศ ประกอบด้วยพระกรุณา เป็นมุนี

ปรารถนาความวิเวก เลิศในโลกได้เสด็จเข้าไปยัง

ป่าหิมพานต์

ครั้นแล้ว พระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้นำ

โลก พระเสริฐกว่าบุรุษ ได้ประทับนั่งขัดสมาธิ

พระพุทธเจ้าผู้นำโลก พระนามว่าสุเมธะผู้สูงสุด

กว่าบุรุษ พระองค์ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่ ๗ คืน

๗ วัน

เราถือหาบเข้าไปกลางป่า ณ ที่นั้นเราได้

เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว

ไม่มีอาสวะ

๑. บาลีเล่มที่ ๓๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

ครั้งนั้น เราจับไม้กวาด กวาดอาศรม

ปักไม้สี่อันทำเป็นมณฑป

เราเอาดอกรังมานุงมณฑป เราเป็นผู้มีจิต

เลื่อมใส โสมนัส ได้ถวายบังคมพระผู้นำโลกแล้ว

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธะ

ที่ชนทั้งหลายกล่าวกันว่า มีพระปัญญาดังแผ่นดิน

มีพระปัญญาดี ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางพระภิกษุ

สงฆ์ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้

เทวดาทั้งปวงทราบว่าพระพุทธเจ้าจะ

เปล่งวาจา จึงพากันมาประชุมด้วยคิดว่า พระพุทธ

เจ้าผู้ประเสริฐสุด มีพระจักษุ จะทรงแสดงพระ

ธรรมเทศนาโดยไม่ต้องสงสัย

พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ผู้สม-

ควรรับเครื่องบูชา ประทับนั่งในหมู่เทวดา ได้ตรัส

พระคาถาดังต่อไปนี้

ผู้ใดทรงมณฑป มีดอกรังเป็นเครื่องมุง

แก่เราตลอด ๗ วัน เราพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้ง

หลายจงฟังเรากล่าว

ผู้นั้น เกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ จักเป็น

ผู้มีผิวพรรณเหมือนทองคำ จักมีโภคทรัพย์

ล้นเหลือ บริโภคกาม

ช้างมาตังคะ ๖ หมื่นเชือกประดับด้วย

เครื่องอาภรณ์ทุกชนิด รัดปะคน และพานหน้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

พานหลังล้วนทองกอปรด้วยเครื่องประดับศีรษะ

และข่ายทอง

มีนายหัตถาจารย์ผู้มีมือถือหอกซัดและขอ

ขึ้นขี่ประจำ จักมาสู่ที่บำรุงผู้นั้นทั้งเวลาเย็นเวลา

เช้า

ผู้นี้จักเป็นผู้อันช้างเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว

รื่นรมย์อยู่ สินธพอาชาไนยโดยกำเนิด ๖ หมื่นม้า

ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่างเป็นพาหนะ

ว่องไว มีอัศวาจารย์ผู้สวมเกราะถือธนูขึ้นขี่ประจำ

จักแวดล้อมอยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

รถ ๖ หมื่นคันประดับด้วยสรรพาลังการ

หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองบ้าง ด้วยหนังเสือโคร่งบ้าง

มีธงปักหน้ารถ มีคนขับถือธนูสวมเกราะขึ้น

ประจำ จักแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผล

แห่งพุทธบูชา

บ้าน ๖ หมื่นบริบูรณ์ด้วยเครื่องใช้ทุกสิ่ง

มีทรัพย์และข้าวเปลือกล้นเหลือ บริบูรณ์ดีทุก

ประการ จักมีปรากฏอยู่ทุกเมื่อ นี้เป็นผลแห่ง

พุทธบูชา

เสนาสี่เหล่า คือ กองช้าง กองม้า กอง

รถ กองราบ จักแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิตย์ นี้เป็น

ผลแห่งพุทธบูชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

ใน ๑๘,๐๐๐ กัป ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทว-

โลก จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ครั้ง

และจักเสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง จักได้

เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับ

ไม่ถ้วน

ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ แต่กัปนี้ พระศาสดามี

พระนามชื่อว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้า

โอกกากราชจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

ข้าพระองค์เป็นทายาทในธรรมของพระ-

องค์ท่าน เป็นโอรสอันธรรมนิรมิตแล้ว กำหนด

รู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐(แต่กัปนี้) ข้าพระองค์

ได้เห็นพระศาสดาผู้นำโลก ในระหว่างนี้ ข้าพระ-

องค์ได้แสวงหาอมฤตบท

การที่ข้าพระองค์รู้ศาสนธรรมนี้ เป็นลาภ

ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้ดีแล้ว วิชชา ๓

ข้าพระองค์บรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนา

ข้าพระองค์ทำเสร็จแล้ว

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้า

พระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์

ผู้สูงสุดกว่าบุรุษ ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่

พระองค์ ข้าพระองค์ได้บรรลุอมฤตบท เพราะ

กล่าวสดุดีพระพุทธญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

ข้าพระองค์เข้าถึงกำเนิดใดๆ คือ จะเป็น

เทวดาหรือมนุษย์ ย่อมเป็นผู้มีความสุขในทุก

สถาน นี้เป็นผลในการทที่ข้าพระองค์ กล่าวสดุดี

พระพุทธญาณ

นี้เป็นการเกิดครั้งหลังของข้าพระองค์

ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่ ข้าพระองค์ตัดกิเลส

เครื่องผูก ดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ

อยู่

ข้าพระองค์เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอน

ภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูก ดังช้าง

ตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

การที่ข้าพระองค์ได้มาในสำนักของพระ-

พุทธเจ้าของข้าพระองค์นี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ

วิชชา ๓ พระองค์บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ข้าพระองค์ได้ทำเสร็จแล้ว

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔

วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพระองค์ได้ทำให้แจ้ง

แล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพระองค์ได้ทำ

เสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระภัททาลิเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบภัททาลิเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

เอกฉัตติยเถราปทานที่ ๒ (๔๑๒)

ว่าด้วยแห่งการกางเศวตฉัตรถวายพระพุทธเจ้า

[๒] ข้าพระองค์ได้สร้างอาศรม ซึ่งมี

ทรายสีขาวสะอาดเกลื่อนกล่นใกล้แม่น้ำจันทภาคา

และได้สร้างบรรณศาลาไว้ แม่น้ำจันทภาคานั้น

เป็นแม่น้ำที่มีฝั่งลาด มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์

สมบูรณ์ด้วยปลาและเต่า อันจระเข้เสพอาศัย

หมี นกยูง เสือเหลือง นกการะเวก

และนกสาริกา ร่ำร้องอยู่ทุกเวลา ช่วยทำอาศร

ของข้าพระองค์ให้งดงาม

นกดุเหว่าเสียงหวาน และหงส์มีเสียง

เสนาะร้องอยู่ใกล้อาศรมนั้น ช่วยทำอาศรมของ

ข้าพระองค์ให้งดงาม

ราชสีห์ เสือโคร่ง หมู นกยาง หมาป่า

และหมาใน บันลือเสียงอยู่ที่ช่องเขา ช่วยทำ

อาศรมของข้าพระองค์ให้งดงาม

เนื้อทราย กวาง หมาจิ้งจอก สุกร มีมาก

บันลือเสียงอยู่ที่ช่องเขา ช่วยทำอาศรมของข้า-

พระองค์ให้งดงาม

ต้นราชพฤกษ์ ต้นจำปา ไม้แคฝอย ไม้

ยางทราย ไม้อุโลก และต้นอโศก ช่วยทำอาศรม

ของข้าพระองค์ให้งดงาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

ต้นปรู ต้นคัดเค้า ต้นตีนเป็ด เถาตำลึง

ต้นคนทีสอ ไม้กรรณิการ์ ออกดอกอยู่ใกล้อาศรม

ของข้าพระองค์ ไม้กากะทิง ต้นรัง และต้นสน

บัวขาว ดอกบานสะพรั่ง ใกล้อาศรมนั่น กลิ่น

หอมฟุ้งไป ช่วยทำอาศรมของข้าพระองค์ให้

งดงาม

และที่ใกล้อาศรมนั้น มีไม้โพธิ์ ไม้ประดู่

ไม้สะท้อน ต้นรัง และไม้ประยงค์ ดอกบาน

สะพรั่ง ช่วยทำอาศรมของข้าพระองค์ให้งดงาม

ต้นมะม่วง ต้นหว้า ต้นหมากหอมควาย

ต้นกระทุ่ม ต้นรังที่งดงาม มีกลิ่นหอมฟุ้งขจรไป

ย่อมทำอาศรมของข้าพระองค์ให้งดงาม

ต้นอโศก ไม้มะขวิด และต้นภคิมิมาลา

ดอกบานสะพรั่ง มีกลิ่นหอมฟุ้งขจรไป ย่อมทำ

อาศรมของข้าพระองค์ไห้งดงาม

ต้นกระทุ่ม ต้นกล้วย ถั่วฤาษี และต้น

มะกล่ำดำ มีผลอยู่เป็นนิตย์ ช่วยทำอาศรมของ

ข้าพระองค์ ให้งดงาม

ต้นสมอไทย มะขามป้อม มะม่วง หว้า

สมอพิเภก กระเบา ไม้รกฟ้า มะตูม ผลิตผลอยู่

ใกล้อาศรมของข้าพระองค์ ในที่ไม่ไกลอาศรม

มีสระโบกขรณี มีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ใจ .

ดารดาษไปด้วยบัวขม กอปทุมและกออุบล กอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

ปทุมกอหนึ่งกำลังดอกตูม กออื่น ๆ มีดอกบาน

บ้างก็มีใบและกลีบหลุดลง บานอยู่ใกล้อาศรม

ของข้าพระองค์

ปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลา

เค้าและปลาตะเพียน ว่ายอยู่ในน้ำใส ช่วยทำ

อาศรมของข้าพระองค์ให้งดงาม มะม่วงหอมที่

น่าดู กับต้นเกดที่ขึ้นอยู่ริมฝั่ง มีกลิ่นหอมฟุ้งขจร

ไป ช่วยทำอาศรมของข้าพระองค์ให้งดงาม

น้ำหวานที่ไหลออกจากเหง้า รสหวาน

ปานดังน้ำผึ้ง นมสดและเนยใสมีกลิ่นหอมฟุ้ง

ขจรไป ย่อมทำให้อาศรมของข้าพระองค์ให้งดงาม

ใกล้อาศรมนั้น มีกองทรายที่สวยงาม

อันน้ำเสพแล้วเกลื่อนไป ดอกไม้หล่น ดอกไม้

บาน สีขาว ๆ ช่วยทำอาศรมของข้าพระองค์ให้

งดงาม

ฤาษีทั้งหลายสวนชฎา มีหาบเต็ม นุ่ง

หนังสัตว์ทั้งเล็บ ทรงผ้าเปลือกไม้กรอง ย่อมยัง

อาศรมของข้าพระองค์ให้งดงาม

ฤาษีทั้งหลายทอดตาดูประมาณชั่วแอก

มีปัญญา มีความประพฤติสงบ ไม่ยินดีในความ

กำหนัดในกาม อยู่ในอาศรมของข้าพระองค์

ฤาษีทั้งหลายผู้มีขนรักแร้และเล็บงอกยาว

ฟันเขลอะ มีธุลีบนศีรษะ ทรงธุลีละอองและของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

เปรอะเปื้อน ล้วนอยู่ในอาศรมของข้าพระองค์

ฤาษีเหล่านั้นถึงที่สุดแห่งอภิญญาเหาะเหินเดิน

อากาศได้ เมื่อเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้า ย่อมพาให้อาศรม

ของข้าพระองค์งดงาม

ครั้งนั้น ข้าพระองค์อันศิษย์เหล่านั้น

แวดล้อมอยู่ในป่า เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความ

ยินดีในฌาน ไม่รู้กลางวันกลางคืน ก็สมัยนั้น

พระผู้มีพระภาคมหามุนี พระนามว่าอัตถทัสสี

เป็นนายกของโลก เสด็จอุบัติขึ้น ยังความมืดให้

พินาศไป

ครั้งนั้น ศิษย์คนหนึ่งได้ยังสำนักของ

ข้าพระองค์ เขประสงค์ จะเรียนลักษณะชื่อว่า

ฉฬังคะ ในคัมภีร์พระเวท

พระพุทธเจ้าพระนามว่าอัถทัสสี ผู้เป็น

มหามุนี ทรงอุบัติขึ้นในโลก เมื่อทรงประกาศ

สัจจะ ๔ ทรงแสดงอมตบท ข้าพระองค์เป็นผู้ยินดี

ร่าเริงบันเทิงจิต มีหมวดธรรมอย่างอื่นเป็นที่มา

นอน ออกจากอาศรมแล้ว พูดดังนี้ว่า

พระพุทธเจ้าผู้มีพระลักษณะอันประเสริฐ

๓๒ ประการ เกิดอุบัติขึ้นแล้วในโลก มาเถอะ

ท่านทั้งหลาย เราทุกคนจักไปยังสำนักของพระ

สัมมาสัมพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

ศิษย์เหล่านั้นดูปฏิบัติตามคำสั่งสอนถึง

ที่สุดในสัจธรรม แสวงหาประโยชน์อย่างเยี่ยม

ได้รับปากว่าดีแล้ว

ในกาลนั้น พวกเขาผู้สวมชฎา มีหาบเต็ม

นุ่งหนังสัตว์พร้อมทั้งเล็บ เสาะหาประโยชน์อย่าง

เยี่ยม ได้ออกจากป่าไป

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระยศ

ใหญ่ พระนามว่าอัตถทัสสี เมื่อทรงประกาศ

สัจจะ ๔ ได้ทรงแสดงอมตบท

ข้าพระองค์ถือเศวตฉัตรกั้นถวายแด่พระ

พุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ข้าพระองค์ครั้นกั้นถวายวัน

หนึ่งแล้วได้ถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี

ผู้เชษฐะของโลก ประเสริฐกว่านรชน ประทับนั่ง

ในท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัสพระคาถา

เหล่านี้ว่า

ผู้ใดมีจิตเลื่อมใส ได้กั้นเศวตฉัตรให้เรา

ด้วยมือทั้งสอของตน เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่าน

ทั้งหลายจงฟังเรากล่าว

เมื่อผู้นี้เกิดในเทวดาหรือมนุษย์ ชนทั้ง

หลายจักคอยกั้นเศวตฉัตรให้ทุกเมื่อ นี้เป็นผล

แห่งการกั้นฉัตรถวาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๗๗ กัป จัก

ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑๐๐๐ ครั้ง จักเสวย

ทิพย์สมบัติในเทวโลก ๗๗ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้า

ประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับไม่ถ้วน ใน

๑๘๐๐ กัป พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคดม ศากย-

บุตร จักเสด็จอุบัติ กำจัดความมืดมนธนการให้

พินาศ

เขาจักเป็นทายาทในธรรมของพระพุทธ-

เจ้าพระองค์นั้น เป็นโอรสในธรรมนิรมิตแล้ว

จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวง แล้วเป็นผู้ไม่มีอาสวะ

ปรินิพพาน

ในระหว่างกาล นับตั้งแต่ข้าพระองค์ได้

ทำกรรม คือ ได้กั้นเศวตฉัตรถวายแด่พระพุทธเจ้า

มา ข้าพระองค์ไม่รู้จักเศวตฉัตรที่ไม่ถูกกั้น

ชาตินี้เป็นชาติหลังสุดของข้าพระองค์

ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่

ทุกวันนี้ เหนือศีรษะของข้าพระองค์ได้

มีการกั้นเศวตฉัตร ซึ่งเป็นไปตลอดกาลเป็นนิตย์

โดยข้าพระองค์ได้ทำกรรมไว้ดีแล้ว แด่พระพุทธ-

เจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้คงที่ ข้าพระองค์เป็น

ผู้สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ข้า

พระองค์เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูก ดังช้างตัดเชือก

แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

การที่ข้าพระองค์ไม่มาในสำนักของพระ-

พุทธเจ้าของข้าพระองค์นี้ เป็นการมาดีแล้ว,

วิชชา ๓ ข้าพระองค์บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ข้าพระองค์ได้ทำสำเร็จแล้ว

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔

วิโมกข ์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพระองค์ทำให้แจ้ง

แล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพระองค์ได้

กระทำเสร็จแล้ว ดังนี้

ทราบว่า ท่านพระเอกฉัตติยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล

จบเอกฉัตตติยเถราปทาน

ติณสูลกฉาทนิยเถรปทานที่ ๓ (๔๑๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกมะลิซ้อนเป็นพุทธบูชา

[๓] ครั้งนั้น เราได้พิจารณาถึงความ

เกิด ความแก่ และความตาย ผู้เดียว ได้ออกบวช

เป็นบรรพชิต

เราเที่ยวไปโดยลำพัง ได้ไปถึงฝั่งแม่น้ำ

คงคา ได้เห็นพื้นแผ่นดินที่ฝั่งแม่น้ำคงคานั้น

เรียบราบ สม่ำเสมอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

จึงได้สร้างอาศรมขึ้นที่ฝั่งแม่น้ำคงคานั้น

อยู่ในอาศรมของเรา ที่จงกรม ซึ่งประกอบด้วย

หมู่นกนานาชนิด เราได้ทำไว้อย่างสวยงาม

สัตว์ทั้งหลายอยู่ใกล้เรา และส่งเสียง

รื่นรมย์ เรารื่นรมย์อยู่กับสัตว์เหล่านั้นอยู่ใน

อาศรม

ที่ใกล้อาศรมของเรามีมฤคราชสี่เท้าออก

จากที่อยู่แล้ว มันคำรามเหมือนอสนีบาต

ก็เมื่อมฤคราชคำราม เราเกิดความร่าเริง

เราค้นหามฤคราชอยู่ ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้นำโลก

ครั้นได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้นำชั้นเลิศของ

โลกพระนามว่าติสสะ ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาแล้ว

เป็นผู้ร่าเริง มีจิตบันเทิง เอาดอกกากะทิงบูชา

พระองค์

ได้ชมเชยพระผู้นำโลก ผู้เด่นเหมือน

พระอาทิตย์ บานเหมือนดอกไม้พญารัง รุ่งโรจน์

เหมือนดาวประกายพฤกษ์ว่า

พระองค์ผู้สัพพัญญู ทำให้พระองค์พร้อม

ทั้งเทพยดาให้สว่าง ด้วยพระญาณของพระองค์

บุคคลทำให้พระองค์โปรดปรานแล้ว ย่อมพ้นจาก

ชาติได้

เพราะไม่ได้เฝ้าพระสัพพัญญูพุทธเจ้า

ผู้เห็นธรรมทั้งปวง สัตว์ทั้งหลายที่ถูกราคะและ

โทสะทับถม จึงพากันตกนรกอเวจี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

เพราะอาศัยการได้เข้าเฝ้าพระองค์ผู้สัพ-

พัญญูนายกของโลก สัตว์ทั้งปวงจึงหลุดพ้นจากภพ

ย่อมถูกต้องอมตบท

เมื่อใด พระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาจักษุ

เปล่งรัศมี อุบัติขึ้น เมื่อนั้น พระองค์ทรงเผา

กิเลสแล้ว ทรงแสดงแสงสว่าง

เราได้กล่าวสดุดีพระสัมพุทธเจ้าพระนาม

ว่าติสสะ ผู้เป็นนายกชั้นเลิศของโลกแล้ว เป็น

ผู้ร่าเริงมีจิตบันเทิง เอาดอกมะลิซ้อนบูชาพระองค์

พระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะผู้นำชั้น

เลิศของโลกทรงทราบความดำริของเรา ประทับ

นั่งบนอาสนะของพระองค์แล้ว ได้ตรัสพระคาถา

เหล่านี้ว่า

ผู้ใดเป็นผู้เลื่อมใส ได้เอาดอกไม้บังเรา

ด้วยมือของตน เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้ง

หลายจงฟังเรากล่าว

ผู้นั้นจักเสวยทิพยสมบัติในเทวโลก ๒๕

ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง จักได้

เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับ

มิได้ ผลแห่งกรรมนั้นเป็นผลแห่งการบูชาด้วย

ดอกไม้

ก็บุรุษที่ได้เอาดอกไม้บังเราทั้งเย็นและ

เช้า เป็นผู้ประกอบด้วยบุญกรรม จักปรากฏต่อไป

ข้างหน้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

เขาปรารถนาสิ่งใด ๆ สิ่งนั้น ๆ จักปรากฏ

ตามความในประสงค์ เขาทำความดำริชอบให้

บริบูรณ์แล้ว จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน

เขาเผากิเลส มีสติสัมปชัญญะ นั่งบน

อาสนะเดียว บรรลุอรหัตได้

เราเมื่อเดินยืน นั่ง หรือนอน ย่อมระลึก

ถึงพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด อยู่ทุกขณะ

ความพร่องในปัจจัยนั้น ๆ คือ จีวร

บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง และคิลานปัจจัย มิได้มี

แก่เรา นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

บัดนี้ เราบรรลุอมตบท อันสงบระงับ

เป็นธรรมยอดเยี่ยม กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว

เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระ-

พุทธเจ้าอันใด ด้วยการบูชานั้น เราจึงไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้

ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือก

แล้ว เป็นผู้ไม่มี อาสวะอยู่

การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของ

เรานี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราได้

บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้า

เราได้ทำเสร็จแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔

วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว

คำสอนของพระพุทธเจ้าเราทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระติณสูลกฉาทนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล

จบติณสูลกฉาทนิยเถราปทาน

๔๑๑. - ๔๑๓.อรรถกถาภัททาลิวรรคที่ ๔๒

อุปทานที่ ๑ อปทานที่ ๒ และอุปทานที่ ๓ ในวรรคที่ ๔๒ มีเนื้อ

ความพอจะกำหนดรู้ได้โดยง่าย คามลำดับ แห่งนัยนั่นแล.

จบอรรถกถาภัตทาลิวรรคที่ ๔๒

มธุมังสทายกเถรปทานที่ ๔ (๔๑๔)

[๔] เราเป็นคนฆ่าหมูอยู่ในนครพันธุมดี

เราเลือกเอาเนื้อดี ๆ มาเทลงแช่น้ำผึ้ง เราได้ไป

สู่ที่ประชุมสงฆ์ ถือเอาบาตรมาใบหนึ่ง เอาเนื้อ

ใส่บาตรนั้นให้เต็มแล้วได้ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์

ครั้งนั้น เราได้ถวายแก่พระสงฆ์เถระ

ด้วยคิดว่า เพราะเอาเนื้อใส่บาตรให้เต็มนี้ เราจัก

ได้สุขอันไพบูลย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

เราได้เสวยสมบัติทั้งสองแล้ว อันกุศล

มูลตักเตือนแล้ว เมื่อเราดำรงชีพอยู่ในภพสุดท้าย

จักเผากิเลสทั้งหลายได้

เรายังจิตให้เลื่อมใสในทานนั้นแล้ว ได้

ไปยังดาวดึงสพิภพ ณ ที่นั่น เรากิน ดื่ม ได้สุข

อย่างไพบูลย์

ที่มณฑป หรือโคนไม้ เรานึกถึงบุรพ-

กรรมเสมอ ห่าฝน คือ ข้าวและน้ำ ย่อมตกลงมา

เพื่อเราในครั้งนั้น

ชาตินี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา ภพหลัง

กำลังเป็นไป ถึงในภพนี้ ข้าวและน้ำ ก็ตกลงมา

เพื่อเราตลอดกาลทุกเมื่อ

เพราะมธุทานนั่นแหละ เราท่องเที่ยวไป

ในภพ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มี

อาสวะอยู่

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ให้ทานใด

ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลยนี้เป็นผลแห่ง

มธุทาน

เราเผากิเลสแล้ว . . . คำสอนของพระ-

พุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระมธุนังสทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล ฯ

จบทธุมังสทายกเถราปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

๔๑๔. อรรถกถามธุมังสทายกเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอุปทานที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

อุปทานของท่านพระมธุมังสทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นคเร

พนฺธุมติยา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สูกริโก ได้แก่ ขายเนื้อสุกรเลี้ยงชีวิต

บทว่า อุกฺโกฏก รนฺธยิตฺวา ความว่า เราต้มเนื้อไตและเนื้อปอดแล้ว แช่

ใส่ลงในเนื้อที่ผสมน้ำผึ้ง อธิบายว่า เอาเนื้อนั้นบรรจุจนเต็มบาตรแล้ว ถวาย

แด่ภิกษุสงฆ์ ด้วยบุญกรรรมนั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ บวชแล้วจึงได้บรรลุ

พระอรหัตแล.

จบอรรถกถามธุมังสทายกเถราปทาน

นาคปัลลวกเถราปทานที่ ๕ (๔๑๕)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยกิ่งไม้กากะทิง

[๕] เราอาศัยอยู่ในสวนหลวงในพระ-

นครพันธุมดี พระพุทธเจ้าผู้นำโลก ได้ประทับ

อยู่ใกล้อาศรมของเรา

เราถือเอากิ่งไม้กากะทิงไปปักไว้ข้างหน้า

พระพุทธเจ้า เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัสได้ถวาย

อภิวาทพระสุคตเจ้า

ในกัปที่ 8 แต่กัปนี้เราได้เอากิ่งไม้บูชา

ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล

แห่งพุทธบูชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระนาคปัลลวกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบนาคปัลลวกเถราปทาน.

เอกทีปิยเถราปทานที่ ๖ (๔๑๖)

ว่าด้วยการตามประทีปเป็นพุทธบูชา

[๖] เมื่อพระสุคตเจ้าผู้นำโลกพระนาม

ว่าสิทธัตถะ ปรินิพพานแล้ว ชนทั้งปวงทั้งเทวดา

และมนุษย์ ต่างก็บูชาพระองค์ผู้สูงสุดกว่าสัตว์

และเมื่อเขาช่วยกันยกพระผู้นำโลก พระ

นามว่าสิทธัตถะ ขึ้นบนเชิงตะกอน ชนทั้งหลาย

พากันบูชาเชิงตะกอนของพระศาสดาตามกำลัง

เราได้ตามประทีปไว้ไม่ไกลเชิงตะกอน

ประทีปของเราลุกโพรงจนพระอาทิตย์ขึ้น

เพราะกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และ

เพราะความตั้งใจชอบ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้

ไปสู่ดาวดึงสพิภพ

เขาย่อมทราบกันว่า วิมานอันบุญกรรม

ได้ทำไว้เป็นอย่างดี เพื่อเราในดาวดึงสพิภพนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

ชื่อว่าเอกทีปะ ประทีปแสนดวงส่องสว่างอยู่ใน

วิมานของเรา

ร่างกายของเรารุ่งเรืองอยู่ทุกเมื่อ เหมือน

พระอาทิตย์ที่กำลังอุทัยฉะนี้ สรีระของเรามีแสง

สว่างด้วยรัศมีในกาลทุกเมื่อ

เรามองเห็นได้ตลอด ด้วยจักษุ ทะลุฝา

กำแพง ภูเขา โดยรอบร้อยโยชน์

รื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๗๗ ครั้ง เสวย

รัชสมบัติในเทวโลก ๓๑ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักร-

พรรดิราช ๒๘ ครั้ง เป็นพระเจ้าประเทศราชอัน

ไพบูลย์โดยคณนานับมิได้ เราจุติจากเทวโลกแล้ว

เกิดในครรภ์ของมารดา นัยน์ตาของเราผู้แม้จะ

อยู่ในครรภ์ ของมารดา ก็ไม่วินาศ

เรามีอายุ ๔ ขวบแต่กำเนิดก็ได้ออกบวช

เป็นบรรพชิต ได้บรรลุพระอรหัตแต่ยังไม่ทันได้

ถึงกึ่งเดือน เราชำระทิพยจักษุให้บริสุทธิ์แล้ว

ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสทั้งปวงขาด

แล้ว นี้เป็นผลแห่งประทีปดวงเดียว

นอกฝา นอกกำแพง และถึงภูเขาทั้งสิ้น

เราก็เห็นทะลุไปได้ นี้ก็เป็นผลแห่งประทีปดวง

เดียว

สำหรับเรา ภูมิภาคที่ขรุขระ ย่อมเป็น

ที่ราบเรียบ ความมืดย่อมไม่ปรากฏมี เราไม่เห็น

ความมืด นี้ก็เป็นแห่งประทีปดวงเดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายประ-

ทีปใด ด้วยการถวายประทีปนั้น เราไม่รู้จักทุคติ

เลย นี้ก็เป็นผลแห่งประทีปดวงเดียว

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้

ทราบว่า ท่านพระเอกปิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบเอกทีปิยเถราปทาน

อุจฉังคปุปผิยเถราปทานที่ ๗ (๔๑๗)

ว่าด้วยการถวายดอกไม้หนึ่งพก

[๗] ในกาลนั้น เราเป็นช่างดอกไม้อยู่

ในพระนครพันธุมดี เราเอาดอกไม้ห่อเต็มพก

แล้วได้ไปยังตลาด

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นายกของ

โลก อันภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมแล้ว เสด็จออกไป

ด้วยอานุภาพใหญ่

เราได้เห็นพระวิปัสสนา สัมพุทธเจ้าผู้ส่อง

โลกให้โพรงทั่ว ยังโลกให้ข้ามพ้น จึงหยิบดอกไม้

ออกจาก บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระ-

พุทธเจ้าประเสริฐสุด ด้วยพุทธบูชานั้น เราไม่

รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอุจฉังคปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบอุจฉังคปุปผิยเถราปทาน

ยาคุทายกเถราปทานที่ ๘ [๔๑๘]

ว่าด้วยผลแห่งการถวายข้าวยาคู

[๘] ครั้งนั้น เราได้พาแขกมาบ้าน

เห็นแม่น้ำที่เต็มฝั่ง จึงเข้าไปสู่สังฆาราม ภิกษุ

ทั้งหลายเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร รักษาธุดงค์ ยินดี

ในณาน มีจีวรเศร้าหมอง ชอบสงัด เป็นนัก

ปราชญ์ ท่านกำลังอยู่ในสังฆาราม

ท่านเหล่านั้นผู้หลุดพ้นดีแล้ว เป็นผู้คงที่

ได้ตัดคติเสียแล้ว ในเวลาที่แม่น้ำที่กั้นด้วยน้ำ

ท่านไปบิณฑบาตไม่ได้ เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส

เกิดปีติปราโมทย์ ประนมกรอัญชลี ประคอง

ข้าวสาร ถวายยาคุทานแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

เราเลื่อมใส ถวายข้าวยาคูที่เราต้มด้วย

มือทั้งสองตน ปรารภแต่เฉพาะกรรนของตัว

ได้ไปดาวดึงสพิภพแล้ว

วิมานที่สำเร็จด้วยแก้วมณี ได้เกิดแก่

เราในหมู่ไตรทศ เราประกอบด้วยหมู่เทพนารี

บันเทิงอยู่ในวิมานอันอุดม

เราได้เป็นจอมเทพยดาเสวยราชสมบัติใน

เทวโลก ๓๓ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเสวย

ราชสมบัติใหญ่ ๓๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าประเทศ

ราชอันไพบูลย์โดยคณานับได้มิได้ เสวยยศ ใน

เทวโลกบ้าง ในมนุษย์โลกบ้าง

เมื่อถึงภพที่สุด เราได้ออกบวชเป็น

บรรพชิต ได้ละทิ้งสมบัติทุกอย่าง พร้อมกับผม

ที่ถูกโกน

เราพิจารณาร่างกายโดยความสิ้นไปและ

ความเสื่อมไป ก็ได้บรรลุพระอรหัตก่อนให้สิกขา

ทานอันประเสริฐเกิดแต่เมื่อ ซึ่งเราประ-

กอบดีแล้ว ชื่อว่าเป็นอันให้ดีแล้ว เพราะข้าว

ยาคูนั้นนั่นเอง เราจึงได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว

เราไม่รู้สึกว่า ความโศก ความร่ำไร

ความป่วยไข้. ความกระวนกระวาย ความเดือด

ร้อนใจเกิดขึ้นเลย นี้เป็นผลแห่งการพวายข้าวยาคู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

เราได้ถวายข้าวยาคูแก่สงฆ์ในบุญเขตอัน

ยอดเยี่ยม ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ เพราะ

เราเป็นผู้ถวายข้าวยาคูดีหนอ คือ ความเป็นผู้ไม่มี

พยาธิ ๑ ความเป็นผู้มีรูปสวย ๑ ความเป็นผู้ได้

ตรัสรู้ธรรมได้เร็วพลัน ๑ ความเป็นผู้ได้ข้าวและ

น้ำ ๑ และอายุเป็นที่ ๕

ผู้ใดผู้หนึ่ง เมื่อจะไห้เกิดโสมนัส ผู้นั้น

ควรถวายข้าวยาคูในสงฆ์ บัณฑิตพึงถือเอาเฉพาะ

ฐานะ ๕ ประการนี้

เราทำกิจที่ควรทำทุกอย่างแล้ว เพิกถอน

ภพทั้งหลายแล้ว อาสวะสิ้นไปหมดแล้ว บัดนี้ภพ

ใหม่ไม่มีอีก

เรานั้นจักเที่ยวไปนมัสการพระสัมพุทธเจ้า

และพระธรรมอันดี จากบ้านหนึ่งไปยังบ้านหนึ่ง

จากบุรีหนึ่งไปยังบุรีหนึ่ง

ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ เราได้ถวายทานใดใน

กาลนั้น ด้วยทานนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น

ผลแห่งการถวายข้าวยาคู

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้

ทราบว่า ท่านพระยาคุทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบยาคุทายกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

ปัตโถทนทายกเถราปทานที่ ๙ (๔๑๙)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายข้าวสาลีหนึ่งแล่ง

[๙] เมื่อก่อน, เราเป็นคนชอบเที่ยวใน

ป่าประกอบการงานในป่าเสมอ เราถือเอาข้าวสุก

แห่งข้าวสาลีแล่งหนึ่ง แล้วได้ไปทำการงาน

ณ ที่นั้น เราได้เห็นพระสยัมภูสัมพุท-

เจ้า ผู้ไม่พ่ายแพ้อะไร ๆ เสด็จออกจาป่าเพื่อ

บิณฑบาต

ครั้นแล้วเราได้ยังจิตให้เลื่อมใส เราประ

กอบในทางการงานของคนอื่น และบุญของเรา

ก็ไม่มี มีแต่ข้าวสุกแห่งข้าวสารแล่งหนึ่ง เราจัก

นิมนต์พระมุนีให้เสวย เราหยิบข้าวสุกแห่งข้าว

สาลีแห่งหนึ่งถวายแด่พระสยัมภู เมื่อเราเพ่งดูอยู่

พระมหามุนีทรงเสวย

เพราะกรรมที่เราได้ทำไวดีแล้วนั้น และ

เพราะความตั้งเจตนาไว้ เราละร่างมนุษย์แล้วก็ไป

สู่ดาวดึงสพิภพ

เราได้เป็นจอมเทวดาเสวยรัชสมบัติ ใน

เทวโลก ๓๒ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๓๓

ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดย

คณนานับมิได้ เราเป็นผู้ถึงความสุข มียศ นี้เป็น

ผลของข้าวสุกแห่งข้าวแล่งหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่

ได้ทรัพย์นับไม่ถ้วน ความบกพร่องในโภคทรัพย์

มิได้มีแก่เราเลยนี้เป็นผลของข้าวสุกแห่งข้าวสาร

แล่งหนึ่ง

โภคสมบัติเปรียบด้วยกระแสน้ำเกิดขึ้น

แก่เรา เราไม่สามารถจะนับได้ นี้ก็เป็นผลของ

ข้าวสุกแห่งข้าวสารแล่งหนึ่ง

เพราะมีผู้เชื้อเชิญว่า เชิญเคี้ยวกินสิ่งนี้

เชิญบริโภคสิ่งนี้ เชิญนอนบนที่นอนนี้ ฉะนั้น

เราจึงเป็นคนมีความสุข นี้ก็เป็นผลของข้าวสุก

แห่งข้าวสารแล่งหนึ่ง

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใด

ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี่ก็เป็นผลของ

ข้าวสุกแห่งข้าวสารแล่งหนึ่ง

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระปัตโถทนทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบปัตโถทนทายกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

มัญจทายกเถราปทานที่ ๑๐ (๔๒๐)

ว่าด้วยผลแห่งการทำเตียงถวาย

[๑๐] เมื่อพระพุทธเจ้าผู้นำโลก พระนาม

ว่าสิทธัตถะ ผู้ประกอบด้วยพระกรุณา ปรินิพพาน

แล้ว เธอปาพจน์มีความแพร่หลาย อันเทวดา

และมนุษย์สักการะแล้ว

ในครั้งนั้น เราเป็นคนจัณฑาล ทำเก้าอี้

และตั่ง เลี้ยงชีพด้วยการงานนั้น เลี้ยงดูเด็ก ๆ

ก็ด้วยการงานนั้น

เราเลื่อมใสแล้ว ทำเก้าอี้ยาวเป็นอย่างดี

ด้วยมือทั้งสองของตน แล้วได้เข้าไปถวายแก่

พระภิกษุสงฆ์ด้วยตนเอง

ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วย

ความตั้งเจตนานั้นไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป

ยังดาวดึงสพิภพ

เราไปสู่เทวโลก บันเทิงอยู่ในหมู่ไตรทศ

ที่นอนมีราคามาก ย่อมเกิดตามความปรารถนา

เราได้เป็นจอมเทพเสวยรัชสมบัติในเทว-

โลก ๕๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๘๐

ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าประเทศราช อันไพบูลย์

โดยคณนานับมิได้ เราเป็นผู้ถึงความสุข มียศ

นี้เป็นผลแห่งการถวายเตียงนอน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

เมื่อเราจุติจากเทวโลกมาสู่ภพมนุษย์

ที่นอนสวย ๆ ควรแก่ค่ามาก ย่อมเกิดแก่เราเอง

นี้เป็นการเกิดครั้งหลังของเรา ภพสุดท้ายกำลัง

เป็นไป แม้ทุกวันนี้ ที่นอนก็ปรากฏในเวลาที่จะ

นอน

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้เราได้ถวายทานใด

ด้วยทานนั้น เราไม่รู่จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง

การถวายเตียง

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้

ทราบว่า ท่านพระมัญจทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบมัญจทายกเถราปทาน

อรรถกถาภัททาลิวรรคที่ ๔๒

แม้อปทานที่ ๕ ของพระนาคปัลลวกเถระ แม้อปทานที่ ๖ ของพระ

เอกทีปิยเถระ แม้อปทานที่ ๗ ของพระอุจฉังคปุปผิยเถระ แม้อปทานที่๘

ของพระยาคุทายกเถระ แม้อปทานที่ ๙ ของพระปัตโถทนทายกเถระ แม้

อปทานที่ ๑๐ ของพระมัญจทายกเถระ ทุกๆ อปทานทั้งหมด มีเนื้อความพอ

ที่นักศึกษาจะรู้ได้โดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถาภัตทาลิวรรคที่ ๔๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภัททาลิเถราปทาน ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน ๓. ติณสูลฉาท-

นิยเถราปทาน ๔. มธุมังสทายเถราปทาน ๕. นาคปัลลวกเถราปทาน

๖. เอกทีปิยเถราปทาน ๗. อุจฉังคปุปผิยเถราปทาน ๘. ยาคุทายกเถรา

ปทาน ๙. ปัตโถทนายกเถราปทาน ๑๐. มัญจทายกเถราปทาน

บัณฑิตคำนวณคาถาแผนกหนึ่งได้ ๒๐๐ คาถา.

จบภัททาลิวรรคที่ ๔๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

สกิงสัมมัชชกวรรคที่ ๔๓

สกิมมัชชกเถราปทานที่ ๑ [๔๒๑]

ว่าด้วยผลแห่งการกวาดลานพระศรีมหาโพธิ

[๑๑] เราได้เห็นแคฝอย ซึ่งเป็นไม้โพธิ

อันอุดมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนานว่าวิปัสสนา

แล้วยังใจให้เลื่อมใสในไม้โพธินั้น

เราหยิบเอาไม้กวาดมากวาด (ลานโพธิ-

พฤกษ์ ) อันเป็นที่ตั้งแห่งไม้โพธิในกาลนั้น ครั้น

แล้วได้ไหว้ไม้แคฝอยซึ่งเป็นไม้โพธินั้น

เรายังจิตให้เลื่อมใสในไม้โพธินั้น ประ-

นมกรอัญชลีเหนือเศียรเกล้า นมัสการไม้โพธินั้น

แล้ว กลับไปยังกระท่อม

เราเดินนึกถึงไม้โพธิอันอุดมไปตามหน

ทางสัญจร งูเหลือมซึ่งมีรูปร่างน่ากลัว มีกำลัง

มาก รัดเรา

กรรมที่เราทำในเวลาใกล้จะตาย ได้ทำ

ให้เรายินดีด้วยผล งูเหลือมกลืนกินร่างของเรา

เรารื่นรมย์อยู่ในเทวโลก

จิตของเราไม่ขุ่นมัว บริสุทธิ์ขาวสะอาด

ในกาลทุกเมื่อ ลูกศรคือความโศก ที่เป็นเหตุทำ

จิตของเราให้เร่าร้อน เราไม่รู้จักมัน เลย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

เราไม่มีโรคเรื้อน ฝี โรคกลาก ลมบ้าหมู

คุดทะราด หิดเปื่อย และหิดด้าน นี้ก็เป็นผล

แห่งการกวาด

ความโศก ความเร่าร้อน ไม่มีในหทัยของ

เรา จิตของเราตรง ไม่วอกแวก นี้เป็นผลแห่ง

การกวาด

เราถึงสมาธิอีก ใจของเราเป็นธรรมชาติ

บริสุทธิ์ สมาธิที่เราปรารถนาย่อมสำเร็จแก่เรา

เราไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง

ความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง

ความขัดเคือง และไม่หลงในอารมณ์ เป็นที่ตั้ง

แห่งความหลง นี้เป็นผลแห่งการกวาด

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้เราได้ทำกรรนใดใน

กาลนั้น ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น

ผลแห่งการกวาค

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสกิงสัมมัชชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบสกิงสัมมัชชกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

เอกทุสสทายกเถราปทานที่ ๒ (๔๒๒)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผ้าเป็นพุทธบูชา

[๑๒] เราเป็นคนเกี่ยวหญ้าขายอยู่ใน

พระนครหังสวดี เลี้ยงชีพด้วยการเกี่ยวหญ้า

เลี้ยงดูเด็ก ๆ ด้วยการเกี่ยวหญ้านั้น

พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระผู้รู้จบ

ธรรมทั้งปวง เป็นนายของ เสด็จอุบัติขึ้น

กำจัดความมืดมนให้พินาศ

ครั้งนั้น เรานั่งอยู่ในเรือนของตน คิด

อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก

ไทยธรรมของเราไม่มี เรามีแต่ผ้าสาฎกผืนเดียวนี้

ไม่มีใครจะให้เรา การถูกต้องนรกนำความทุกข์

มาให้ เราจะปลูกฝังทักษิณา

ครั้นคิดได้เช่นนี้แล้ว เราจึงได้ยังจิตของ

เราให้เลื่อมใส ได้ถือผ้าผืนหนึ่งไปถวายแด่พระ-

พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

ครั้นถวายผ้าแล้วประกาศเสียงก้องว่า

ข้าแต่พระมหามุนีวีระเจ้า ถ้าพระองค์เป็น

พระพุทธเจ้า ก็ขอทรงโปรดช่วยข้าพระองค์ให้

ข้ามด้วยเถิด

พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรง

รู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา เมื่อจะทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

ประกาศทานของเรา ได้ทรงทำอนุโมทนาแก่

เราว่า

ด้วยการถวายผ้าผืนหนึ่งนี้ และด้วยการ

ตั้งเจตนาไว้ บุรุษนี้จะไม่ไปสู่วินิบาศเลยตลอด

แสนกัป

เขาจักได้เป็นจอมเทพเสวยรัชสมบัติใน

เทวโลก ๓๖ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช

๓๓ ครั้ง

และจักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอัน

ไพบูลย์โดยคณนานับมิได้ เมื่อเธอท่องเที่ยวอยู่

ในภพ คือ ในเทวโลกหรือมนุษย์โลก

จักเป็นผู้มีรูปสวยงาม สมบูรณ์ด้วยคุณ

มีกายสง่า จักได้ผ้าร้อยล้านแสนโกฏินับไม่ได้

ตามความปรารถนา

ครั้นพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ

ผู้เป็นนักปราชญ์ตรัสดังนี้แล้ว ได้เสด็จเหาะเหิน

สู่อากาศเหมือนพญาหงส์ในอันพรฉะนั้น

เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือ เป็นเทวดาหรือ

มนุษย์ ในกำเนิดนั้น ๆ เราไม่มีความพร่องใน

โภคสมบัติเลย นี้เป็นผลแห่งผ้าผืนหนึ่ง

ผ้าเกิดแก่เราทุก ๆ ย่างก้าว ข้างล่างเรา

ยืนอยู่บนผ้าล่างบนเรานี้ผ้าเป็นเครื่องบัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

ทุกวันนี้จักรวาลพร้อมทั้งป่า ภูเขา เมื่อ

เราปรารถนาจะถือเอา ก็พึงคลุมได้ด้วยผ้า

เพราะผ้าผืนเดียวนั่นแหละ เมื่อยังท่อง

เที่ยวอยู่ในภพน้อยใหญ่ เราเป็นผู้มีผิวพรรณ

เหมือนทองคำ ท่องเที่ยวไปในภพน้อยใหญ่

เราถึงความเป็นภิกษุเพราะวิบากแห่ง

ผ้าผืนเดียว ถึงชาตินี้จะเป็นชาติสุดท้าย แม้ใน

ชาตินี้ ผ้าก็ยังให้ผลแก่เราอยู่

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ถวายผ้าใด

ในกาลนั้น ด้วยการถวายผ้านั้น เราไม่รู้จักทุคติ

เลย นี้เป็นผลแห่งผ้าผืนเดียว

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเอกทุสสทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบเอกทุสสทายเถราปทาน

เอกาสนทายกเถราปทานที่ ๓ (๔๒๓)

ว่าด้วยผ้าแห่งการแต่งอาสนะบูชา

[๑๓] มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อสิกะ อยู่ในที่

ไม่ไกลจากภูเขาหิมวันต์ เราสร้างอาศรมอย่าง

สวยงาม สร้างบรรณศาลาไว้ที่ภูเขานั้น เรามีนาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

ชื่อว่านารทะ แต่คนทั้งหลายเรียกว่า กัสสปะ

ในกาลนั้น เราแสวงหาทางบริสุทธิ์อยู่ที่ภูเขากสิกะ

พระชินสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ

ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง ทรงใคร่ต่อวิเวก ได้เสด็จ

มาทางอากาศ

เราเห็นพระรัศมีของพระองค์ผู้แสวงหา-

คุณอันยิ่งใหญ่ กำลังเสด็จมาที่ชายป่า จึงตบแต่ง

เตียงไม้แล้วปูลาดหนังสัตว์

ครั้นตบแต่งอาสนะเสร็จแล้ว จึงประนม

กรอัญชลีขึ้นเหนือเศียรเกล้า ประกาศถึงความ

โสมนัสแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์เป็นปราชญ์ นำสัตว์ออก

จากโลก ขอพระองค์ผู้เป็นดังแพทย์รักษา

ความเดือดร้อน ได้โปรดประทานการรักษาแก่ข้า

พระองค์ ผู้อันความกำหนัดครอบงำเถิด

ข้าแต่พระมุนีชนเหล่าใดมีความต้องการ

ด้วยบุญ มองดูพระองค์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าผู้ประ-

เสริฐสุด ชนเหล่านั้นย่อมถึงความสำเร็จแห่ง

ประโยชน์อันยั่งยืน พึงเป็นผู้ไม่แก่

ข้าพระองค์หามีไทยธรรมเพื่อพระองค์ไม่

เพราะข้าพระองค์บริโภคไม้ที่หล่นเอง ข้าพระ

องค์มีแต่อาสนะนี้ ขอเชิญประทับนั่งบนเตียงไม้

เถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไม่มีความสะดุ้ง

เหมือนราชสีห์ ได้ประทับนั่งบนเตียงไม้แล้ว

ทรงยับยั้งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วได้ตรัสอย่างนี้ว่า

ท่านจงเบาใจอย่าได้กลัวเลย แก้วมณีที่

สว่างไสว ควรยินดี ท่านได้แล้ว ความปรารถนา

ที่ท่านได้ตั้งไว้ จักสำเร็จทุกประการก็เพราะ

อาสนะ

บุญที่ได้บำเพ็ญไว้ดีแล้วในเขตบุญอัน

ยอดเยี่ยม หาน้อยไม่เลย อันผู้ที่ตั้งจิตไว้ดีแล้ว

สามารถที่จะรื้อตนขึ้นได้

เพราอาสนะทานนี้ และเพราะการตั้ง

เจตนาไว้ ท่านจะได้ไปสู่วินิบาตตลอดแสนกัป

จักได้เป็นจอมเทพ เสวยราชสมบัติใน

เทวโลก ๕๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช

๘๐ ครั้ง

จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์

โดยคณนานับมิได้ ขณะที่ยังท่องเที่ยวอยู่ใน

สังสารวัฏ จักเป็นผู้มีความสุขในที่ทั้งปวง

พระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าปทุมุตตระ

เป็นนักปราชญ์ ครั้นตรัสดังนี้แล้วได้เสด็จขึ้นสู่

นภากาศ ปานดังว่าพญาหงส์ในอัมพรฉะนั้น

ยานช้าง ยานม้า รถ คานหาม เราได้สิ้น

ทุกอย่าง นี้เป็นผลของอาสนะอันหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

ในเมื่อเราเข้าป่าแล้วต้องการนั่ง บัลลังก์

ดุจว่ารู้ความดำริของเรา

ในเมื่อเราอยู่ท่ามกลางน้ำต้องการที่นั่ง

บัลลังก์ดังจะรู้ความดำริของเรา ตั้งขึ้นใกล้ ๆ

เราจะเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือ เป็นเทวดา

หรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้น ๆ บัลลังก์ตั้งแสน ย่อม

แวดล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ

เราจะท่องเที่ยวอยู่แต่ในสองภพ คือ ใน

เทวดาและมนุษย์ และจะเกิดในสองสกุล คือ

กษัตริย์และพราหมณ์

เราถวายอาสนะอันหนึ่งในเขตบุญอัน

ยอดเยี่ยม รู้ทั่วถึงบัลลังก์ คือ ธรรมแล้ว เป็นผู้

ไม่มีอาสนะอยู่

ในกัปที่แสน แต่กัปนี้เราได้ถวายทาน

ใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลของอาสนะอันหนึ่ง

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเอกาสนทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบเอกาสนทายกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

สัตตกทัมพปุปผิยเถราปทานที่ ๔ (๔๒๔)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกกระทุ่ม ๗ ดอก

[๑๔] มีภูเขาชื่อทัมพะ อยู่ในที่ไม่

ไกลภูเขาหิมวันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๗ องค์อาศัย

อยู่ที่ข้างภูเขานั้น

เราเห็นดอกกระทุ่มจึงประนมมือไหว้แล้ว

หยิบเอามา ๗ ดอก ได้เรี่ยรายลงด้วยจิตอันเปี่ยม

เพราะกรรมที่เราได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และ

เพราะความตั้งเจตนาไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว

ได้ไปยังดาวดึงสพิภพ

ในกัปที่ ๙๔ แด่กัปนี้ เราได้กระทำกรรม

ใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเ ล

นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสัตตกทัมพปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบสัตตกทัมพปุปผิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

โกรัณฑปุปผิยเถราปทานที่ ๕ (๔๒๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายหงอนไก่

[๑๕ ] เมื่อก่อน เรากับบิดาและปู่ เลี้ยง

ชีพด้วยการฆ่าปศุสัตว์ กุศลกรรมของเราไม่มี

ใกล้กับที่อยู่ของเรา พระพุทธเจ้าผู้นำ

ชั้นเลิศของโลก พระนามว่าติสสะ ผู้มีพระปัญญา

จักษุ ได้ทรงแสดงรอยพระบาทไว้ ๓ รอย เพื่อ

อนุเคราะห์

เราได้เห็นรอยพระบาทของพระศาสดา

พระนามว่าติสสะ ที่พระองค์ทรงเหยียบไว้ เป็น

ผู้ร่าเริงมีจิตยินดี ยังจิตให้เลื่อมใสในรอยพระบาท

เราเห็นต้นหงอนไก่ ที่ขึ้นมาจากแผ่นดิน

มีดอกบานแล้ว จึงเด็ดมาพร้อมทั้งยอด บูชารอย

พระบาทอันประเสริฐสุด

เพราะกรรมที่เราได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และ

เพราะครามตั้งเจตนาไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว

ไปสู่ดาวดึงสพิภพ

เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือ เป็นเทวดาหรือ

มนุษย์ในกำเนิดนั้น ๆ เรามีผิวกายเหมือนสีดอก

หงอนไก่ มีรัศมีมีเป็นแดนซ่านออกจากตน

ในกัปที่ ๒ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด

ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการบูชารอยพระพุทธบาท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระโกรัณฑปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบโกรัณฑปุปผิยเถราปทาน

ฆฏมัณฑทายกเถราปทานที่ ๖ (๔๒๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายเปรียง

[๑๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีเหตุอันทรง

ดำริดีแล้ว เป็นเชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ

กว่านรชน เสด็จเข้าไปสู่ป่าใหญ่ ถูกอาพาธอัน

เกิดแต่ลมเบียดเบียน

เราเห็นแล้ว จึงทำจิตให้เลื่อมใส นำเอา

ขี้ตะกอนเปรียงเข้าไปถวาย เพราะเราได้กระทำ

กุศลกรรมและได้บูชาพระพุทธเจ้าเนือง ๆ แม่น้ำ

คงคาชื่อภาคีรีสีห์

มหาสมุทรทั้ง ๘ และพื้นปฐพีที่น่ากลัว

ซึ่งจะประมาณมิได้ นับไม่ถ้วนนี้ ย่อมสำเร็จเป็น

เปรียงขึ้นได้สำหรับเรา

น้ำผึ้ง น้ำตาลกรวด ดังจะรู้ความดำริ

ของเรา เกิดขึ้น ต้นไม้ที่งอกขึ้นแต่แผ่นดินใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

ทิศทั้ง ๔ ดังจะรู้ความดำริของเรา ย่อมเกิดเป็น

ต้นกัลปพฤกษ์ขึ้น

เราได้เป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติใน

เทวโลก ๕๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๑

ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าประเทศราอันไพบูลย์ โดย

คณนานับไม่ถ้วน

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ให้ทานใด

ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งขี้ตะกอนเปรียง

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระฆฏมัณฑทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบฆฏมัณฑทายกเถราปทาน

เอกธัมมสวนิยเถราปทานที่ ๗ (๔๒๗)

ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรมครั้งเดียว

[๑๗] พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ

ทรงรู้จบธรรมทั้งปวงประกาศสัจจะ ๔ ทรงยังชน

เป็นอันมากให้ข้ามพ้นดีแล้ว

สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีตบะใหญ่ สลัด

ผ้าคากรองเปลือกไม้เหาะไปอัมพรในกาลนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

เราไม่สามารถจะเหาะไปได้เหนือพระ-

พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เราเหาะไปไม่ได้ เหมือน

นกเข้าไปใกล้ภูเขาแล้วไปไม่ได้ฉะนั้น

เราบังหวนเป็นไอน้ำลอยอยู่ในอัมพร

เช่นนี้ ด้วยคิดว่า เหตุเครื่องทำให้อิริยาบถกำเริบ

เช่นนี้ มิได้เคยมีแก่เรา

เอาละ เราจักค้นหาเหตุนั้น บางทีเรา

จะพึงได้ผล เราลงจากอากาศ ก็ได้สดับพระ

สุรเสียงของพระศาสดา

เมื่อพระศาสดาตรัสถึงว่าสังขารไม่เที่ยง

ด้วยพระสุรเสียงที่น่ายินดี น่าฟัง กลมกล่อม

ขณะนั้นเราได้เรียนเอาอนิจจลักษณะนั่นแหละ

ครั้นเรียนอนิจจลักษณะได้แล้ว ก็ไปสู่

อาศรมของตน เราอยู่ในอาศรมนั้นแหละ ตราบ

เท่าสิ้นอายุ ตายไปแล้ว

เมื่อกาลที่สุดกำลังเป็นไป เราระลึกถึง

การฟังพระสัทธรรม เพราะกรรมที่เราได้ทำไว้ดี

แล้วนั้น และเพราะความตั้งเจตนาไว้

เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่ดาวดึงส-

พิภพ รื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๓ หมื่นกัป

ได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๕๑ ครั้ง

ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๑ ครั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์

โดยคณนานับมิได้ เราเสวยบุญของตน ถึงความ

สุขในภพน้อยใหญ่

เราท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ก็ยัง

ระลึกได้ถึงสัญญานั้น บทอันไม่เคลื่อน คือ

นิพพาน เราหาได้แทงตลอดด้วยธรรมอันหนึ่งไม่

สมณะผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว นั่งในเรือนบิดา

เมื่อจะแสดงธรรมกถาท่านได้ยกอนิจจ-

ลักษณะขึ้นมาในธรรมกถานั้น

พร้อมกับที่ได้ฟังคาถาว่า สังขารทั้งหลาย

ไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป

เป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความที่

สังขารเหล่านั้นสงบระงับ เป็นความสุข ดังนี้

เราจึงนึกถึงสัญญาขึ้นได้ทุกอย่าง เรานั่ง

ณ อาสนะเดียว บรรลุอรหัตแล้ว

เราได้บรรลุอรหัต โดยเกิดได้ ๗ ปี พระ

พุทธเจ้าทรงให้เราอุปสมบทแล้ว นี้เป็นผลแห่ง

การฟังธรรม

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ฟังธรรมใด

ในกาลนั้น ด้วยการฟังธรรมนั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการฟังธรรม

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

ทราบว่า ท่านพระเอกธัมมสวนิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบเอกธัมมสวนิยเถราปทาน

สุจินติตเถราปทานที่ ๘ (๔๒๘)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายข้าวใหม่

[๑๘ ] ครั้งนั้น เราเป็นชาวนา อยู่ในพระ

นครหังสวดี เลี้ยงชีพด้วยกสิกรรม เลี้ยงดูเด็ก ๆ

ก็ด้วยกสิกรรมนั้น ครั้งนั้น นาของเราสมบูรณ์ดี

ข้าวของเราออกรวงแล้ว เมื่อถึงเวลาข้าวแก่ดีแล้ว

เราคิดอย่างนี้ในกาลนั้นว่า

เป็นการไม่เหมาะไม่สมควรแก่เราผู้รู้คุณ

น้อยใหญ่ ที่เราไม่ถวายทานในสงฆ์แล้ว พึง

บริโภคส่วนอันเลิศด้วยตน

พระสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสนอเหมือน

ในโลก มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ

และพระสงฆ์ผู้ตนอันอบรมแล้ว เป็นนาบุญของ

โลก ไม่มีนาบุญอื่นจะยิ่งไปกว่า

เราจักถวายทาน คือ ข้าวกล้าใหม่ในพระ

พุทธเจ้าและพระสงฆ์นั้น เสียก่อน ครั้นคิดเช่นนี้

แล้ว เราเป็นผู้ร่าเริง มีใจประกอบด้วยปีติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

นำเอาข้าวเปลือกมาจากนา เข้าไปเฝ้า

พระสัมพุทธเจ้า ครั้นเข้าไปเผาพระสัมพุทธเจ้า

ผู้เป็นเชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านรชน

ถวายบังคมพระบาทของพระศาสดาแล้ว

กราบทูลว่า ข้าแต่พระมุนี ข้าวกล้าสมบูรณ์

ทั้งพระองค์ก็กำลังประทับอยู่ ณ ที่นี้ ข้าแต่

พระองค์ผู้มีพระปัญญาจักษุ ของพระองค์จงทรง

พระกรุณารับเถิด

พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้รู้

แจ้งโลกสมควรรับเครื่องบูชา ทรงทราบความดำริ

ของเราแล้วตรัสพระดำรัสนี้ว่า บุรุษบุคคลผู้ปฏิบัติ

๔ จำพวก ผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก นี้ คือสงฆ์

เป็นผู้ตรง มีปัญญา ศีล และมีจิตมั่นคง บุญย่อม

เป็นอันสั่งสมแล้ว ในเมื่อมนุษย์เพ่งบุญบูชากระ

ทำอยู่

ทานที่ให้ในสงฆ์ ย่อมมีผลมาก และ

ควรให้ทานในสงฆ์นั้น ข้าวกล้าของท่านนี้ก็เช่น

เดียวกัน ควรให้ในสงฆ์

ท่านจงอุทิศแด่สงฆ์ นำเอาภิกษุทั้งหลาย

ไปสู่เรือนของตน แล้วจงถวายสิ่งที่มีอยู่ในเรือน

ซึ่งท่านได้ตกแต่งแล้วเพื่อภิกษุสงฆ์เถิด เราอุทิศ

แด่สงฆ์ นำภิกษุทั้งหลายไปเรือน ได้ถวายสิ่งที่

เราได้ตกแต่งไว้ในเรือนแด่ภิกษุสงฆ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

เพราะกรรมที่เราได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และ

เพราะความตั้งเจตนาไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว

จึงไปยังดาวดึงสพิภพ วิมานทองงามผุดผ่องสูง

๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์ บุญกรรมได้สร้างไว้

อย่างงามแล้วเพื่อเรา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น

จบภาณวารที่ ๑๙

ภพของเรา เกลื่อนกล่นระคนไปด้วย

เทพนารี เรากิน ดื่มในภพนั้น อยู่ในสวรรค์ชั้น

ไตรทศ

เราได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓,๐๐๐

ครั้ง และได้เสวยราชสมบัติในเทวโลกอีก ๕๐๐

ครั้ง

ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง และ

ได้เป็นพระเจ้าประเทศราช โดยคณนานับมิได้

เราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยใหญ่ ได้ทรัพย์

นับไม่ได้ เราไม่มีความบกพร่องในโภคสมบัติเลย

นี้เป็นผลแห่งข้าวใหม่

ยานช้าง ยานม้า วอ และคานหาม เรา

ได้ทุกสิ่ง นี้เป็นผลแห่งข้าวใหม่

ผ้าใหม่ ผลไม้ใหม่ โภชนะมีรสอัน

เลิศใหม่ เราได้ทุกอย่าง นี้เป็นผลแห่งข้าวใหม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

ผ้าใหม่ ผ้ากัมพล ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย

เราได้ทุกอย่าง นี้เป็นผลแห่งข้าวใหม่

หมู่ทาสี หมู่ทาส และนารี ที่ประดับ

ประดาอย่างสวยงาม เราได้ทุกจำพวก นี้เป็นผล

แห่งข้าวใหม่

หนาวหรือร้อนไม่เบียดเบียนเรา เราไม่มี

ความเร่าร้อน อนึ่ง ทุกข์ทางใจ ไม่มีในหทัย

ของเรา

เชิญเคี้ยวสิ่งนี้ เชิญบริโภคสิ่งนี้ เชิญ

นอนบนที่นอนนี้ คำเช่นนี้ เราได้ทุกประการ

นี้เป็นผลแห่งข้าวใหม่

บัดนี้ ชาตินี้เป็นชาติหลังสุดภพสุดท้าย

กำลังเป็นไป ถึงทุกวันนี้ ไทยธรรมของเรา ก็ทำ

เราให้ยินดีอยู่ทุกเมื่อ

เราได้ถวายข้าวใหม่ในหมู่สงฆ์ผู้ประ-

เสริฐสุด ย่อมเสวยอานิสงส์ ๘ ประการ อัน

สมควรแก่กรรนของเรา

คือ เราเป็นผู้มีผิวพรรณผิวผ่อง ๑ มียศ ๑

มีโภคทรัพย์มากมาย ใคร ๆ ลักไม่ได้ ๑ มีภักษา

มากทุกเมื่อ มีบริษัทไม่ร้าวรานกันทุกเมื่อ

สัตว์ที่อาศัยแผ่นดินล้วนยำเกรงเรา ๑

เราได้ไทยธรรมก่อน จะในท่ามกลางสงฆ์ หรือ

เฉพาะพระพักตร์ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

ก็ตาม พวกทายกเลยองค์อื่น ๆ เสียหมด ถวายแก่

เราเท่านั้น ๑

เราได้เสวยอานิสงส์เหล่านี้ เพราะได้

ถวายข้าวใหม่ในหมู่สงฆ์ผู้อุดมก่อน นี้เป็นผล

แห่งข้าวใหม่

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใด

ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง

ข้าวใหม่

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสุจินติตเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบสุจินติตเถราปทาน

โสณณกิงกณยเถราปทานที่ ๙ ( ๔๒๙ )

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกกะดึงทอง

[๑๙ ] เราได้ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วย

ศรัทธา เรานุ่งห่มผ้าเปลือกไม้กรอง เห็นกรรม

คือการบำเพ็ญตบะ

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เชษฐ-

บุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ พระนามว่าอัตถ-

ทัสสี เสด็จอุบัติขึ้นช่วยมหาชนให้ข้าม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

ก็เราสิ้นกำลังเพราะพยาธิอย่างหนัก เรา

นึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ก่อพระสถูปอัน

อุดมที่หาดทราย

ครั้นแล้ว เป็นผู้จิตยินดี มีใจโสมนัส

เรี่ยรายดอกกะดึงทองลงโดยพลัน เราบำเรอพระ

สถูปของพระพุทธเจ้า พระนามว่าอัตถทัสสี

ผู้คงที่ ด้วยใจอันเลื่อมใสนั้น ปานดังบำเรอพระ

พุทธเจ้าเฉพาะพระพักตร์

เราไปสู่เทวโลกแล้ว ได้ความสุขอัน

ไพบูลย์ ในเทวโลกนั้น เรามีผิวพรรณปานทองคำ

นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เทพนารีของเรามีประมาณ ๘๐ โกฏิ

ประดับประดาสวยงาม บำรุงเราอยู่ทุกเมื่อ นี้เป็น

ผลแห่งพุทธบูชา

นักดนตรี ๖ หมื่น กับ กลอง ตะโพน

สังข์ บัณเฑาะว์ มโหระทึก บรรเลงอย่าง

ไพเราะในเทวโลกนั้น

ช้างกุญชรตระกูลมาตังคะแตกมัน ๓ ครั้ง

อายุ ๖๐ ปี ๘๔,๐๐๐ เชือก ประดับสวยงามคลุมด้วย

ตาข่ายทอง ทำการบำรุงเรา ความเป็นผู้บกพร่อง

ในพลกายและที่อยู่ ไม่มีแก่เรา

เราเสวยผลของดอกกะดึงทอง ได้เสวย

ราชสมบัติในเทวโลก ๕๘ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้า

ม.ยุ. คเช ช้างศึก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

จักรพรรดิ ๗๑ ครั้ง และได้เสวยราชสมบัติ

มหาปฐพี ๑๐๑ ครั้ง

บัดนี้เราได้บรรลุอมตบทอันลึกซึ้ง ยาก

ที่จะเห็นได้ สังโยชน์หมดสิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพ

ใหม่ไม่มี

ในกัปที่ ๑,๘๐๐ แต่กัปนี้ เราได้เอา

ดอกไม้บูชา ด้วยการบูชานั้น เราจักไม่รู้จักทุคติ

เลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระโสณณกิงกณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนั้นแล.

จบโสณณกิงกณิยเถราปทาน

โสวัณณโกนตริกเถราปทานที่ ๑๐ (๔๓๐)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายกระโหลกน้ำเต้า

[๒๐] เราเห็นพระพุทธเจ้าผู้อบรมใจ ฝึก

พระองค์แล้ว มีพระทัยตั้งมั่นเสด็จดำเนินอยู่ใน

ทางใหญ่

-ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ทรงยินดีในการ

สงบระงับจิต ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง มีปรกติเพ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

พินิจ ยินดีในณาน เป็นมุนี เข้าสมาบัติ สำรวม

อินทรีย์

จึงเอากระโหลกน้ำเต้าตักน้ำเข้าไปเผา

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ล้างพระบาทของ

พระพุทธเจ้าแล้วถวายกระโหลกน้ำเต้า

และพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ

ได้ทรงบังคับว่า ท่านจงเอากระโหลกน้ำเต้านี้

ตักน้ำมาวางไว้ที่ใกล้ ๆ เท้าของเรา

เรารับสนองพระพุทธดำรัสว่า สาธุ แล้ว

เอากระโหลกน้ำเต้ามาวางไว้ใกล้พระพุทธเจ้า

ผู้ประเสริฐสุด เพราะความเคารพต่อพระศาสดา

พระศาสดาผู้ทรงมีความเพียรใหญ่ เมื่อ

จะทรงยังจิตของเราให้ดับสนิท ได้ทรงอนุโมทนา

ว่าด้วยการถวายน้ำเต้านี้ ขอความดำริของท่าน

จงสำเร็จ

ในกัปที่ ๑๕ แต่กัปนี้ เรารื่นรมย์อยู่ใน

เทวโลก ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๓๓ ครั้ง

จะเป็นกลางวันหรือกลางคืนก็ตาม เมื่อ

เราเดินหรือยืนอยู่ คนทั้งหลายถือถ้วยทองยืนอยู่

ข้างหน้าเรา

เราได้ถ้วยทองเพราะการถวายกระโหลก

น้ำเต้าแด่พระพุทธเจ้า สักการะที่ทำไว้ในท่าน

ผู้คงที่ทั้งหลาย ถึงจะน้อยก็ย่อมเป็นของไพบูลย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

ในกัปที่แสนแค่กัปนี้ เราได้ถวายน้ำเต้า

ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งน้ำเต้า

เราเผากิเลสทั่งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระโสวัณณโกนตริกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบโสวัณณโกนตริกเถราปทาน

อรรถกถาสกิงสัมมัชชกวรรคที่ ๔๓

อปทานของพระเถระทั้งหมดในวรรคที่ ๔๓ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล

ความต่างกันแห่งชื่อของพระเถระทั้งหลาย และความต่างกันแห่งบุญของพระ

เถระทั้งหลายเท่านั้นเป็นความแปลกกัน.

จบอรรถถาสกิงสัมมัชชกวรรคที่ ๔๓

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. สกิงสัมมัชชกเถราปทาน ๒. เอกทุสสทายกเถราปทาน

๓. เอกาสนทายกเถราปทาน ๔. สัตตกทัมพปุปผิยเถราปทาน ๕. โกรัณฑ-

ปุปผิยเถราปทาน ๖. ฆฏมัณฑทายกเถราปทาน ๗. เอกธัมสวนิยเถรา

ปทาน ๘. สุจินติตเถราปทาน ๙. โสณณกิงณยเถราปทาน ๑๐. โสวัณณ-

โกนตริกเถราปทาน และในวรรคนี้ บัณฑิตคำนวนคาถาไว้ ๑๗๑ คาถา.

จบสกิงสัมมัชชกวรรคที่ ๔๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

เอกวิหาริวรรคที่ ๔๔

ว่าด้วยผลแห่งการอยู่ป่าแต่ผู้เดียว

[๒๑] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระ

นามว่ากัสสปะโดยพระโคตรเป็นเผ่าพรหม มีพระ

ยศใหญ่ ประเสริฐ ว่านักปราชญ์ ทั้งหลาย เสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว

พระองค์ไม่มีธรรมเครื่องให้เนิ่นช้า ไม่มี

เครื่องยึดหน่วง มีพระทัยเสมอด้วยอากาศ มาก

ด้วยสุญญตสมาธิ คงที่ ยินดีในอนิมิตตสมาธิ

ประทับอยู่แล้ว

พระองค์ผู้มีพระทัยรังเกียจ ไม่มีตัณหา

เครื่องฉาบทา ไม่เกี่ยวข้องในตระกูล ในคณะ

ประกอบด้วยพระกรุณาใหญ่ เป็นนักปราชญ์ ทรง

ฉลาดในอุบายเรื่องแนะนำ

ทรงขวนขวายในกิจของผู้อื่น ทรงแนะ

นำในหนทางอันยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน ซึ่งเป็น

เหตุทำเปือกตมคือคติให้แห้ง ในโลกพร้อมทั้ง

เทวโลก

ประทับนั่งแสดงอมตธรรมอันเป็นความ

แช่มชื่นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องห้ามชราและมรณะ

ในท่ามกลางบริษัทใหญ่ ยังสัตว์ให้ข้ามโลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

พระวาจาไพเราะเหมือนนกการะเวก เป็น

นาถะของโลก มีพระสุรเสียงกังวาลประหนึ่งเสียง

พรหม ผู้เสด็จมาด้วยประการนั้น ถอนพระองค์

ขึ้นมาจากมหันตทุกข์ ในเมื่อโลกปราศจากผู้แนะนำ

ทรงแสดงธรรมที่ปราศจากธุลี นำสัตว์

ออกจากโลก เราได้เห็นแล้ว ได้ฟังธรรมของ

พระองค์ จึงออกบวชเป็นบรรพชิต

ครั้นเราบวชแล้วในกาลนั้น คิดถึงคำ

สอนของพระชินเจ้า ถูกความเกี่ยวข้องบีบคั้น จึง

ได้อยู่เสวยในป่าที่น่ารื่นรมย์แต่ผู้เดียวเท่านั้น

การที่เรามีกายหลีกออกมาได้ เป็นเหตุ

แห่งการหลีกออกแห่งใจของเราผู้เห็นภัยในความ

เกี่ยวข้อง

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเอกวิหาริยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบเอกวิหาริยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

เอกสังขิยเถราปทานที่ ๒ (๔๓๓)

ว่าด้วยผลแห่งการเป่าสังข์เป็นพุทธบูชา

[๒๒] ได้มีการสมโภชไม้มหาโพธิ์ของ

พระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี มหาชนมา

ประชุมกันบูชาไม้มหาโพธิ์อันอุดม

ไม้มหาโพธิ์ที่ควรบูชาเช่นนี้ ของพระ

ศาสดาพระองค์ใด พระศาสดาพระองค์นั้น จัก

เป็นผู้เว้นจากความเศร้าโศกใหญ่ มีปัญญา เป็น

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

ครั้งนั้น เราถือเอาสังข์มาบำรุงโพธิ์พฤกษ์

เราเป่าสังข์ตลอดวันยังค่ำ ไหว้ไม้มหาโพธิ์อัน

อุดมแล้ว

กรรมที่เราได้ทำในเวลาก่อนจะตาย

ส่งให้เราไปเทวโลก ซากศพของเราตกไปแล้ว

เรารื่นรมย์อยู่ในเทวโลก

นักดนตรีหกหมื่น ยินดี ร่าเริง บันเทิง

บำรุงเราอยู่ทุกเมื่อ นี้เป็นผลของพุทธบูชา

ในกัปที่ ๗๑ เราได้เป็นพระราชาพระ

นามว่าสุทัสสนะ เป็นใหญ่อยู่ในชมพูทวีป มีมหา

สมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต

ครั้งนั้น นักดนตรี ๘๐๐ แวดล้อมเรา

ตลอดเวลา เราย่อมเสวยกรรมของตน นี้เป็นผล

ของการบำรุง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

เราเข้าถึงกำเนิดใด คือ เทวดาหรือมนุษย์

แม้เรายังอยู่ในครรภ์ของมารดา กลองก็ประคม

อยู่ตลอดเวลา

เพราะอุปัฏฐากพระสัมพุทธเจ้า เราได้

เสวยสมบัติแล้ว เป็นผู้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว

เป็นบทอันเกษมไม่มีมลทิน ไม่ตาย

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด

ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเอกสังขิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบเอกสังขิยเถราปทาน

ปาฏิหิรสัญญกเถราปทานที่ ๓ (๔๓๓)

ว่าด้วยผลแห่งความเลื่อมใสในปาฏิหาริย์

[๒๓] ครั้งนั้น พระพิชิตมารผู้สมควร

รับเครื่องบูชาพระนามว่าปทุมุตตระ ได้เสด็จเข้า

ไปยังพระนคร พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ผู้มีอินทรีย์อัน

สำรวมแล้ว แสนรูป ขณะนั้นได้มีเสียงสนั่นก้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

ไพเราะรับเสด็จพระพุทธเจ้าผู้สงบระงับ คงที่ ซึ่ง

กำลังเสด็จเข้าพระนครโดยทางรถ

ด้วยพุทธานุภาพ พิณที่ไม่ถูกทำเพลง

ไม่ถูกเคาะ ก็บรรเลงขึ้นได้เอง ในเมื่อพระพุทธ-

เจ้าเสด็จเข้าบุรี

เรานมัสการพระพุทธเจ้าผุ้ประเสริฐสุด

พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้เป็นพระมหามุนี และเห็น

ปาฏิหาริย์แล้ว ได้ยังจิตให้เลื่อมใสในปาฏิหาริย์นั้น

โอ พระพุทธเจ้า โอ พระธรรม โอ

สมบัติแห่งพระศาสดาของเรา ดนตรีถึงไม่มี

เจตนาถึงยังบรรเลงได้เองเทียว

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้สัญญาใด

ในกาลนั้น ด้วยการได้สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

เลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระพุทะเจ้า

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระปาฏิหิรสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล .

จบปาฏิหิรสัญญกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

ญาณัตถวิกเถราปทานที่ ๔ (๔๓๔)

ว่าด้วยผลแห่งการสดุดีพระพุทธเจ้า

[๒๕] เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้สูงสุด

กว่าสัตว์ ผู้รุ่งเรืองเหมือนต้นกรณิการ์ โชติช่วง

ดังดวงประทีป ไพโรจน์ดุจทองคำ

เราวางคนโทน้ำ ผ้าเปลือกไม้กรอง

ธมกรก ทำหนังเสือเฉวียงบ่า แล้วกล่าวสดุดีพระ-

พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดว่า

ข้าแต่พระมุนี พระองค์ทรงขจัดความ

มืดมิด ซึ่งอากูลไปด้วยข่ายคือโมหะ ทรงแสดง

แสงสว่าง คือ พระญาณแล้วเสด็จข้ามไป

พระองค์ได้ยกโลกนี้ขึ้นแล้ว สิ่งที่ยอด

เยี่ยมซึ่งมีอยู่ทั้งหมด จะเปรียบปานกับพระญาณ

เป็นประมาณเครื่องไปจากโลกของพระองค์ไม่มี

ด้วยพระญาณนั้น โลกจึงขนานนาม

พระองค์ว่าสัพพัญญู สัพพัญญู ข้าพระองค์ขอ

ถวายบังคมพระองค์ผู้มีความเพียรใหญ่ ทรงทราบ

ธรรมทั้งปวง ไม่มีอาสวะ

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้สดุดีพระ

พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ด้วยการสดุดีนั้น เราไม่

รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการสดุดีพระญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระญาณัตถวิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบญาณัตถวิกเถราปทาน

อุจฉขัณฑิกเถราปทานที่ ๕ (๔๓๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายท่อนอ้อย

[๒๕] เราเป็นคนเฝ้าประตูอยู่ในพระ-

นครพันธุมดี ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากธุลี

ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง

เรามิจิตเลื่อมใสโสมนัส ไดถือเอาท่อน

อ้อยมาถวาย แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดพระ

นามว่าวิปัสสี ผู้แสวงทาคุณอันยิ่งใหญ่

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้เราได้ถวายอ้อยใด

ในกาลนั้น ด้วยการถวายอ้อยนั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายท่อนอ้อย

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอุจฉุขัณฑิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบอุจฉุขัณฑิกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

กลัมพทายกเถราปทานที่ ๖ (๔๓๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายมันอ้อน

[๒๖] พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโรมสะ

ประทับอยู่ที่ซอกเขา เราเลื่อมใสได้ถวายมันอ้อน

แด่พระองค์ด้วยมือทั้งสองของตน

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใด

ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการถวายมันอ้อน

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้สำเร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระกลัมพทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบกลัมพทายกเถราปทาน

อัมพาฏกทายกเถราปทานที่ ๗ (๔๓๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายมะกอก

[๒๗] เราได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้าผู้ไม่

ทรงพ่ายแพ้อะไร ในป่าใหญ่ จึงได้เอาผลมะกอก

มาถวายแด่พระสยัมภู

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้

ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้นเราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอัมพาฏกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบอัมพาฏกทายกเถราปทาน

หรีตกิทายกเถราปทานที่ ๘ (๔๓๘)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลสมอ

[๒๘] เรากำลังนำผลสมอ ผลมะขาม

ป้อม ผลมะม่วง ผลหว้า สมอพิเภก กระเบา

ผลรกฟ้า มะตูม มาด้วยตนเอง

เราได้เห็นพระมหามุนีผู้มีปรกติเพ่งพินิจ

ยินดีในณาน เป็นนักปราชญ์ ถูกอาพาธเบียดเบียน

เสด็จเดินทางไกล ประทับอยู่ที่เงื้อมเขา

จึงได้เอาผลสมอทำเภสัชเสร็จแล้วถวาย

แด่พระสยัมภู พยาธิหายไปในทันใดนั้นเอง

พระพุทธเจ้าผู้มีความกระวนกระวายอันละ

ได้แล้ว ได้ทรงทำอนุโมทนาว่า ก็ด้วยการถวาย

เภสัชอันเป็นเครื่องระงับพยาธินี้ ท่านเกิดเป็น

เทวดา เป็นมนุษย์ หรือจะเกิดในชาติอื่น จงเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

ผู้ถึงความสุขในที่ทุกแห่ง และท่านอยู่ถึงความ

ป่วยไข้

ครั้นพระสยัมภูพุทธเจ้าผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้

อะไร เป็นนักปราชญ์ ตรัสดังนี้แล้วได้เสด็จเหาะ

ขึ้นสู่อากาศ เหมือนพญาหงส์ในอัมพรฉะนั้น

เพราะเราได้ถวายสมอแด่พระสยัมภูพุทธ-

เจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ความป่วยไข้จึงมิได้

เกิดแก่เราเลยจนถึงชาตินี้ นี้เป็นความเกิดครั้ง

หลังของเรา

ภพสุดท้ายกำลังเป็นไป วิชชา ๓ เรา

ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้า

เราได้ทำเสร็จแล้ว

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายเภสัช

ในกาลนั้น ด้วยการถวายเภสัชนั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งเภสัชทาน

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระหรีตกิทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบหรีตกิทายกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

อัมพปิณฑิยเถราปทานที่ ๙ (๔๓๙)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายมะม่วง

[๒๙] ครั้งนั้น เราเป็นพญาช้างมีงางอน

งาม ทรงกำลังกล้าว่องไว เที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ได้

เห็นพระผู้นำโลก

เราได้หยิบเอาชิ้นมะม่วงมาถวายแด่พระ

ศาสดา พระมหาวีรเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะผู้นายก

ของโลก ทรงรับประเคน

เมื่อเราเพ่งดู พระพิชิตมารได้เสวยในกาล

นั้น เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระชินเจ้าพระองค์นั้น

จึงเข้าถึงสวรรค์ชั้นดุสิต

เราจุติจากดุสิตนั้นแล้ว ได้เป็นพระเจ้า

จักรพรรดิราชเสวยสมบัติโดยอุบายเช่นนั้นแหละ

เรามีตนส่งไปเพื่อความเพียร สงบระงับ

ไม่มีอุปธิกิเลส กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็น

ผู้ไม่มีอาสวะอยู่

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใด

ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้สำเร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอัมพปิณฑิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบอัมพปิณฑิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

ชัมพูผลิยเถราปทานที่ ๑๐

ว่าด้วยผลแห่งการถวายลูกหว้า

[๓๐] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุ-

มุตตระ เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ ผู้ทรงยศอัน

สูงสุด กำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาตอยู่

ข้าพระองค์มีใจเลื่อมใส ได้ถือเอาผลหว้า

อย่างดีมาถวายแด่พระศาสดา ผู้เป็นทักขิไณย

บุคคล เป็นนักปราชญ์

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่าสัตว์ เชษฐ-

บุรุษของโลก ประเสริฐกว่านรชน เพราะกรรม

นั้น ข้าพระองค์จึงเป็นผู้ละความชนะ และความ

แพ้แล้ว ได้ถึงฐานะที่ไม่หวั่นไหว

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ ข้าพระองค์ได้ถวาย

ทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น ข้าพระองค์ไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้อย่างดีเป็น

ทาน

ข้าพระองค์เผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . .

คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพระองค์ได้ทำเสร็จ

แล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระชัมพูผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบชัมพูผลิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

อรรถกถาเอกวิหาริวรรคที่ ๔๔

แม้ในวรรคที่ ๔๔ อปทานทั้งหมด ก็ปรากฏชัดแล้วเหมือนกัน

ความต่างแห่งบุญ และความต่างแห่งผลอย่างเดียวเท่านั้น เป็นความแปลกกัน

จบอรรถกถาเอกวิหาริวรรคที่ ๔๔

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอกวิหาริยเถราปทาน ๒. เอกสังขิยเถราปทาน ๓. ปาฏิหิร-

สัญญกเถราปทาน ๔. พาณัตถวิกเถราปทาน ๘. อุจฉุขัณฑิกเถราปทาน

๖. กลัมพทายกเถราปทาน ๗. อัมพาฏกทายกเถรปทาน ๘. หรีตกิทายก

เถราปทาน ๙. อัมพปิณฑิยเถราปทาน ๑๐. ชัมพูผลิยเถราปทาน

บัณฑิตคำนวณคาถาได้ ๘๖ คาถา.

จบเอกวิหาริวรรคที่ ๔๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

วิเภทกิวรรคที่ ๔๕

วิเภทกพีชิยเถราปทานที่ ๑ (๔๔๑)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายเมล็ดพืชสมอพิเภก

[๓๑] พระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรใหญ่

ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง พระนามว่ากกุสันธะ พระ

องค์เสด็จหลีกออกจากหมู่ไปสู่ภายในป่า

เราถือเมล็ดพืชเครือเถาเที่ยวมา สมัยนั้น

พระผู้มีพระภาคทรงเข้าฌานอยู่ ณ ระหว่างเขา

เราเห็นพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเทพของ

ทวยเทพแล้ว มีใจเลื่อมใสได้ถวายเมล็ดพืชแด่

พระพุทธเจ้า ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล เป็นนัก

ปราชญ์

ในกัปนี้เอง เราได้ถวายพืชใดในกาลนั้น

ด้วยการถวายพืชนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น

ผลแห่งเมล็ดพืช

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระวิเภทกพีชิยเถระได้ภาษิจคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบวิเภทกพีชิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

อรรถกถาวิเภทิกวรรคที่ ๔๕

๔๔๑. อรรถกถาวิเภทิกมิญชิยเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑ วรรคที่ ๔๕ ดังต่อไป

อปทานของท่านพระวิเภทิกมิญชิยเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า กกฺสนฺโธ

มหาวีโร ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทล่า พีชมิญฺชมทาสห ความว่าเราได้ผ่าผลสมอ

พิเภกแล้ว ถือเอาเมล็ดในพืชปรุงกับน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด ถวายแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ แล.

จบอรรถกถาวิเภทิกมิญชิยเถราปทาน

โกลทายกเถราปทานที่ ๒ (๔๔๒)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายพุทรา

[๓๒] ครั้งนั้น เรานุ่งหนังเสือ ห่มผ้า

คากรอง บำเพ็ญวัตรจริยาอย่างหนัก ใกล้อาศรม

ของเรามีต้นพุทรา

ในกาลนั้น พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี

เป็นเอก ไม่มีผู้เสมอสอง ทรงทำให้โชติช่วง

อยู่ตลอดกาลทั้งปวง เสด็จเข้ามายังอาศรมของเรา

เรายังจิตของตนให้เลื่อมใส เราถวาย

บังคมพระพุทธเจ้าผู้มีวัตรอันงามแล้ว ได้เอามือ

ทั้งสองกอบพุทราถวายแด่พระพุทธเจ้า

๑. บาลีว่า วิเภทกพีชิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายพุทรา

ใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการถวายพุทรา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนพิภพขึ้นได้

ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือก

แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

การที่เราได้มายังสำนักของพระพุทธเจ้า

ของเรานี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราได้

บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้า

เราได้ทำเสร็จแล้ว

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔

วิโมกข์ ๘ และอภิญญา เราได้ทำให้แจ้งชัด

แล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว

ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระโกลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบโกลทายกเถราปทาน

เวลุวผลิยเถราปทานที่ ๓ (๔๔๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมะตูม

[๓๓] เราสร้างอาศรมไว้อย่างสวยงาม

ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา อาศรมนั้นเกลื่อนกล่น

ไปด้วยต้นมะตูม เป็นที่รวมหมู่ไม้นานาชนิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

เราเห็นผลมะตูมมีกลิ่นหอมแล้ว ระลึก

ถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เราทั้งยินดีทั้งสลด

ใจ เอาผลมะตูมใส่หาบจนเต็ม

ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระนามว่า

กกุสันธะ แล้วถวายผลมะตูมสุกแด่พระองค์ผู้เป็น

เนื้อนาบุญ เป็นนักปราชญ์ ด้วยใจอันผ่องใส

ในกัปนี้เอง เราได้ถวายผลมะตูมกดใดใน

กาลนั้น ด้วยการถวายผลมะตูมนั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายมะตูม

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเวลุวผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบเวลุวผลิยเถราปทาน

ภัลลาตกทายกเถราปทานที่ ๔ (๔๔๔)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลรกฟ้า

[๓๔] เราตกแต่งเครื่องลาดที่ทำด้วยหญ้า

แล้ว ได้ทูลอาราธนาพระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระฉวี

วรรณเหมือนทองคำ มีพระลักษณะอันประเสริฐ

๓๒ ประการ ผู้ประหนึ่งว่าพระยารังที่กำลังมีดอก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

บาน เป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด กำลังเสด็จ

ไปทางท้ายป่าใหญ่ว่า ขอพระพุทธเจ้าทรงโปรด

อนุเคราะห์ข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์ปรารถนา

จะถวายภิกษา

พระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้อนุ-

เคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา มีพระยศใหญ่

ได้ทรงทราบความดำริของเรา จงเสด็จแวะที่

อาศรมของเรา

ครั้นแล้ว พระองค์ได้ประทับบนเครื่อง

ลาดที่ทำด้วยหญ้า เราได้หยิบเอาผลรกฟ้ามาถวาย

แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

เมื่อเรามองดูอยู่ พระพิชิตมารจึงเสวย

ในเวลานั้น เรายังจิตให้เลื่อมใสในทานนั้นแล้ว

ได้ถวายบังคมพระพิชิตมารในกาลนั้น

ในกัปที่ ๑๘๐๐ เราได้ถวายผลไม้ใดใน

กาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติ

เลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระภัลลาตกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบภัลลาตกทายกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

อุมมาปุปผิยเถราปทานที่ ๕ (๔๔๕)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกผักตบ

[๓] ครั้น เมื่อต้นไทรอันเป็นไม้โพธิ-

พฤกษ์ งอกงามสีเขียวขจี เราได้เอาดอกผักตบ

มาบูชาไม้โพธิพฤกษ์

ในกัปนี้เอง เราได้บูชาโพธิพฤกษ์ใด

ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล

แห่งการบูชาไม้โพธิพฤกษ์

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอุมมาปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบอุมมาปุปผิยเถราปทาน

อัมพาฏกิยเถราปทานที่ ๖ (๔๔๖)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกมะกอก

[๓๖] พระมุนีพระนามว่าเวสสภูผู้อภิ-

ชาติ เสด็จเข้าไปสู่ป่ารังซึ่งมีดอกบานสะพรั่ง

ประทับอยู่ที่ซอกเขา เหมือนไกรสรสีหราชฉะนั้น

เรามีจิตผ่องใสโสมนัส เลื่อมใสได้เอา

ดอกมะกอกบูชาพระมหาวีรเจ้า ผู้เป็นบุญเขตด้วย

มือทั้งสองของตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาด้วย

ดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอัมพาฏกิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบอัมพาฏกิยเถราปทาน

สีหาสนิกเถราปทานที่ ๗ (๔๔๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายอาสนะทอง

[๓๗] เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ได้

ถวายอาสนะทองแด่พระผู้มีพระภาคพระนามว่า

ปทุมุตตระ ผู้แสวงหาประโยชน์แด่สรรพสัตว์

เราอยู่ในโลกใดๆ คือ ในเทวโลกหรือ

มนุษยโลก ในโลกนั้น ๆ เราได้วิมาน อันไพบูลย์

นี้เป็นผลของอาสนะทอง

บัลลังก์อันสำเร็จด้วยทองและเงิน สำเร็จ

ด้วยแก้วปทุมราช และสำเร็จด้วยแก้วมณี เกิด

แก่เรามากมาย ในกาลทุกเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

เราทำอาสนะไม้โพธิ์ของพระพุทธเจ้าพระ

นามว่าปทุมุตตระแล้ว ได้บังเกิดในสกุลสูง

โอ พระธรรมเป็นธรรมดีแล้ว

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ทำอาสนะ

ทอง ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น

ผลแห่งอาสนะทอง

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสีหาสนิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบสีหาสนิกเถราปทาน

ปาทปีฐิยเถราปทานที่ ๘ (๔๔๘)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายตั่งรองเท้า

[๓๘า พระมหามุนีสัมพุทธเจ้า ผู้ประ-

กอบด้วยพระกรุณา พระนามว่าสุเมธะ ยังสัตว์

ให้ข้ามเป็นอันมากแล้ว พระองค์ผู้ทรงพระยศ

ใหญ่ก็ได้เสด็จนิพพาน

เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ได้ใช้ให้คน

ทำตั่งสำหรับรองเท้า ไว้ที่ใกล้อาสนะทอง ของ

พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ผู้แสวงหาคุณ

อันยิ่งใหญ่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

เราทำกุศลกรรมอันมีความสุขเป็นผล มี

ความสุขเป็นกำไรแล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยบุญ

กรรม ได้ไปสู่สวรรค์ในชั้นดาวดึงส์

เมื่อเราผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยบุญกรรม

อยู่ในดาวดึงส์นั้น ตั่งทองย่อมเกิดแก่เราผู้ยกเท้า

ก้าวไปอยู่

นรชนเหล่าใดได้เข้าไปฟังใกล้ ๆ ทำ

สักการะในพระพุทธเจ้าผู้เสด็จนิพพานแล้ว ได้

สุขอันไพบูลย์ นรชนเหล่านั้น ได้ลาภดีแล้ว

แม้เราก็ได้สร้างกรรมไว้ดีแล้ว เราทำตั่ง

สำหรับรองเท้าอันประกอบแล้วในการค้าขาย จึง

ได้ตั่งทอง เราเหยียบไปบนตั่งทองในทิศที่ไปด้วย

กิจบางอย่าง นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม

ในกัปที่สามหมื่น เราได้ทำกรรมใดใน

กาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น

ผลแห่งตั่งสำหรับรองเท้า

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

จบปาทปีฐิยกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

เวทิยการกเถราปทานที่ ๙ (๔๔๙)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายไพรที

[๓๙] เราได้สร้างไพรทีอย่างสวยงาม

ไว้ที่โพธิพฤกษ์ของพระพุทธเจ้าพระนามว่า

ปทุมุตตระ ซึ่งเป็นไม้สูงสุดกว่าไม้ทั้งหลาย แล้ว

ยังจิตของตนให้เลื่อมใส

เครื่องใช้สอยหลายชนิดเลิศโอฬาร ทั้งที่

ทำเสร็จและยังทำไม่เสร็จ ตกลงมาจากอากาศ

นี้เป็นผลแห่งไพรที

ในสงความที่สองฝ่ายประชิดกัน อันน่า

กลัว เมื่อเราเข้าไป ก็ไม่พบสิ่งที่น่าขลาดกลัว

เลย นี้เป็นผลแห่งไพรที

วิมานอันงดงามและที่นอนอันล้นค่า เกิด

ขึ้นดังจะรู้ความดำริของเรา นี้เป็นผลแห่งไพรที

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ทำไพรทีใด

ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง

ไพรที

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเวทิยการกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบเวทิยการกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

โพธิฆรการกเถราปทานที่ ๑๐ (๔๕๐)

ว่าด้วยผลแห่งการสร้างเรือนไม้โพธิ์

[๔๐] เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ได้ใช้

คนทำเรือนไม้โพธิ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น

ใหญ่กว่าสัตว์ผู้คงที่ พระนามว่าสิทธัตถะ

เราเข้าถึงสวรรค์ชั้นดุสิต อยู่ในเรือนแก้ว

หนาว ร้อน หรือลม มิได้ถูกต้องตัวเราเลย

ในกัปที่ ๖๔ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้า

จักรพรรดิ วิสสุกรรมเทพบุตรได้เนรมิตนครชื่อ

กาสิกะ ยาว ๑๐โยชน์ กว้าง ๘ โยชน์ให้เรา ใน

นครนั้นไม่มีไม้ เครือเถา และดินเหนียวเลย

วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตปราสาทชื่อ

มงคล ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างครึ่งโยชน์ ให้เรา

เสาปราสาท ๘๔,๐๐๐ ต้น ล้วนเป็นทองคำ

พื้นสำเร็จด้วยแก้วมณี หลังคาเป็นเงิน

เรือนสำเร็จด้วยทองนี้ เราได้อยู่ครอบ

ครองมาแล้ว นี้เป็นผลแห่งการให้เรือนเป็นทาน

เราได้เสวยผลทั้งปวงนั้น ในภพทั้งที่เป็น

ของเทวดาและมนุษย์ วันนี้เราบรรลุนิพพานอัน

เป็นบทสงบระงับ ไม่มีบทใดจะยิ่งกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

ในกัปที่ ๓ หมื่น เราได้ให้ทำเรือนโพธิ-

พฤกษ์ ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้ก็เป็น

ผลแห่งการให้เรือนเป็นทาน

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระโพธิฆรการกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบโพธิฆรการกเถราปทาน

อรรถกถาวิเภทกิวรรคที่ ๔๕

อปทานทั้งหมดมีอปทานที่ ๒ เป็นต้น ไป มีเนื้อความพอจะกำหนด

รู้ได้โดยง่ายทีเดียว ถึงจะมีข้อแตกต่างระหว่างชื่อของพระเถระทั้งหลาย ก็พึง

ทราบได้โดยตามลำดับพระบาลีแล

จบอรรถกถาวิเภทกิวรรคที่ ๔๕

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิเภทกิพีชิยเถราปทาน ๒. โกลทายกเถราปทาน ๓. เวลุว-

ผลิยเถราปทาน ๔. ภัลลาตกทายกเถราปทาน ๕. อุมมาปุปผิยเถราปทาน

๖. อัมพาฏกิยเถราปทาน ๗. สีหาสนิกเถราปทาน ๘. ปาทปีฐิยเถราปทาน

8. เวทิยการกเถราปทาน ๙. โพธิฆรการกเถราปทาน.

ในวรรคนี้ บัณฑิตได้ภาษิตคาถาไว้คำนวณได้ ๗๙ คาถา.

จบวิเภทกิวรรคที่ ๔๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

ชคติวรรคที่ ๔๖

ชคติทายกเถราปทานที่ ๑ (๔๕๑)

ว่าด้วยผลแห่งการพรวนดินโคนต้นโพธิ์

[๔๑] เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ได้

ใช้ให้คนพรวนดินที่ไม้โพธิพฤกษ์ของพระมหามุนี

พระนามว่าธัมมทัสสี อันเป็นต้นไม้สูงสุดกว่าไม้

ทั้งหลาย

เราพลาดจากภูเขาหรือตกจากต้นไม้จุติ

แล้ว ย่อมได้ที่พึ่ง นี้เป็นผลของการพรวนดิน

โจรไม่เบียดเบียนเรา กษัตริย์ก็ไม่ดูหมิ่น

เรา เราก้าวล่วงข้าศึกได้ทุกคน นี้เป็นผลของ

การพรวนดิน

เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือ เทวดาหรือ

มนุษย์ในกำเนิดนั้น ๆ เราย่อมเป็นผู้อันเขาบูชา

ทุกแห่งไป นี้ก็เป็นผลของการพรวนดิน

ในกัปที่ ๑,๘๐๐๐ เราได้ใช้ให้คนพรวนดิน

ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลของ

การพรวนดิน

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระชคติทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบชคติทายกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

โมรหัตถิยเถราปทานที่ ๒ (๔๕๒)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายกำหางนกยูง

[๔๒] เราถือกำหางนกยูงเข้าไปเฝ้าพระ

โลกนายก เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ถวาย

กำหางนกยูง

ด้วยกำหางนกยูงนี้ และด้วยการตั้งเจตนา

ไว้ ไฟ ๓ กองของเราจึงดับสนิทแล้ว เราได้สุข

อันไพบูลย์

โอ พระพุทธเจ้า โอ พระธรรม โอ

สัมปทาแห่งพระศาสดาของเรา เราถวายกำหาง

นกยูงแล้ว ได้ความสุขอันไพบูลย์

ไฟ ๓ กองของเราดับสนิทแล้ว เราถอน

ภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว อาสวะทั้งปวงหมดสิ้นไป

แล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้เราได้ถวายทานใด

ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการถวายกำหางนกยูง

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระโมรหัตถิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบโมรหัตถิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

สีหาสนพิชิยเถราปทานที่ ๓ (๔๕๓)

ว่าด้วยผลแห่งการพัดพุทธอาสน์

[๔๓] เราได้ไหว้โพธิพฤกษ์ของพระผู้มี

พระภาคเจ้าพระนามว่าติสสะ ได้ถือเอาพัดวีชนี

พัดอาสนะทองในที่นั้น

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้พัดอาสนะ

ทอง ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น

ผลของการพัด

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสีหาสนพีชิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบสีหาสนพีชิยเถราปทาน

ติณุกกธาริยเถราปทานที่ ๔ (๔๕๔)

ว่าด้วยผลแห่งการทำคบเพลิงบูชา

[๔๔] เราเป็นผู้มีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส

ได้ชูคบเพลิงไว้ ๓ ดวง ที่ไม้โพธิพฤกษ์ ของ

พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ซึ่งเป็นไม้

สูงสุดกว่าไม้ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้บูชาด้วย

คบเพลิงใด ด้วยการชูคบเพลิงนั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลของการให้คบเพลิงเป็นทาน

เราเผากิเลส ทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระติณุกกธาริยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบติณุกกธาริยเถราปทาน

อักกมนทายกเถราปทานที่ ๕ (๔๕๕)

ว่าด้วยผลแห่งการเหยียบนวด

[๔๕] เราได้ถวายการเหยียบแด่พระ-

พุทธเจ้าพระนามว่ากุสันธะ ผู้เป็นนักปราชญ์

มีบาปอันลอยเสียแล้ว ทรงอยู่จบพรหมจรรย์ ซึ่ง

กำลังเสด็จดำเนินไปสู่ที่พักกลางวัน

ในกัปนี้เองเราได้ถวายทานใดในกาลนั้น

ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง

การถวายการเหยียบ

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้

ทราบว่า ท่านพระอักกมนทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล

จบอักกมนทายกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

วนโกรัณฑิยเถรปทานที่ ๖ (๔๕๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกหางช้าง

[๔๖] เราถือดอกหางช้างป่ามาบูชา

พระผู้มี พระภาค พุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ

ประเสริฐสุดกว่าโลก ผู้คงที่

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้เราได้เอาดอกไม้ใด

บูชา ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น

ผลแห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระวนโกรัณฑิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบวนโกรัณฑิยเถราปทาน

จบภาณวารที่ ๒๐

เอกฉัตติยจเถราปทานที่ ๗ (๔๕๗)

ว่าด้วยผลแห่งการกั้นร่มถวายพระพุทธเจ้า

[๔๗ ] แผ่นดินร้อนดังเพลิง แผ่นดิน

ดุจมีเถ้ารึงไหล พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

ปทุมุตตระ เสด็จจงกรมอยู่ที่กลางแจ้ง

เรากั้นร่มขาวเดินทางไปได้เห็นพระสัม-

พุทธเจ้าเข้าที่กลางแจ้งนั้น แล้วเกิดควานคิดขึ้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

ภูมิภาคลูกพยับแดดแผ่คลุม แผ่นดินนี้

จึงเป็นเหมือนถ่านเพลิง ลมพายุใหญ่ที่ทำสรีรกาย

ให้ลอยขึ้นได้ตั้งขึ้นอยู่

หนาวร้อน ย่อมทำใจลำบาก ขอได้โปรด

รับร่มนี้ อันเป็นเครื่องป้องกันลมและแดดเถิด

ข้าพระองค์จักถูกต้องนิพพาน

พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระผู้ทรง

อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา มีพระยศใหญ่

ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ทรงรับไว้ในกาล

นั้น

เราได้เป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติใน

เทวโลก ๓๐ กัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช

๕๐๐ ครั้ง

และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์

โดยคณนานับมิได้ เราได้เสวยกรรมของตนซึ่งตน

ได้ก่อสร้างไว้ดีแล้วในปางก่อน

นี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา ภพที่สุดกำลัง

เป็นไป ถึงทุกวันนี้ชนทั้งหลายก็พากันกั้นเศวต-

ฉัตรให้เราตลอดกาลทุกเมื่อ

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ถวายร่มใด

ในกาลนั้น ด้วยการถวายร่มนั้น เราไม่รู้จักทุคติ

เลย นี้เป็นผลแห่งการถวายร่ม

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

ทราบว่า ท่านพระเอกฉัตติยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบเอกฉัตติยเถราปทาน

ชาติปุปผิยเถราปทานที่ ๘ (๔๕๘)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกไม้

[๔๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่าปทุมุตตระ ผู้มีพระยศใหญ่ ปรินิพพานแล้ว

เราได้เอาผอบอันเต็มด้วยดอกไม้ไปบูชาพระสรีระ

เรายังจิตให้เลื่อมใสในบุญกรรมนั้น แล้ว

ได้ไปสู่สวรรค์ ชั้นนิมมานรดี เราถึงจะไปอยู่ยัง

เทวโลก ก็ยังประพฤติบุญกรรมอยู่

ฝนดอกไม้ตกจากฟากฟ้าเพื่อเราตลอด

กาลทั้งปวง เราสมภพในมนุษย์ก็เป็นพระราชา

ผู้มียศใหญ่

ในอัตภาพนั้น ฝนดอกโกสุมตกลงมาเพื่อ

เราทุกเมื่อ เพราะอำนาจที่เอาดอกไม้บูชาที่พระ-

กายของพระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นเหตุทั้งปวง

นี้เป็นความเกิดครั้งสุดท้ายของเรา ภพ

ที่สุดกำลังเป็นไป ถึงทุกวันนี้ ฝนดอกไม้ถึงตกลง

มาเพื่อเราทุกเวลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราเอาดอกไม้ใด

บูชา ด้วยการบูชาด้วยดอกไม้นั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระสรีระ

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระชาติปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบชาติปุปผิยเถราปทาน

สัตติปัณณิยเถราปทานที่ ๙ (๔๕๙)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกสัตตบรรณ

[๔๙] เมื่อมหาชนช่วยกันนำพระสรีระ

ของพระพุทธเจ้าไป เมื่อกลองบรรเลงอยู่ เรามี

จิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ได้เอาดอกสัตตบรรณบูชา

ในกัปที่แสนแต่กัป เราได้เอาดอกไม้

ใดมาบูชา ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระสรีระ

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านสัตติปัณณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบสัตติปัณณิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

คันธปูชกเถราปทานที่ ๑๐ (๔๖๐)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยของหอม

[๕๐] เมื่อมหาชนกำลังช่วยกันทำจิต-

กาธารอยู่ และเมื่อของหอมนานาชนิดถูกนำเอามา

เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ได้เอาของหอมกำมือ

หนึ่งบูชา

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้บูชาจิต-

กาธารใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการบูชาจิตกาธาร

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระคันธปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล .

จบคันธปูชกเถราปทาน

อรรถกถาชคติวรรคที่ ๔๖

๔๕๑. อรรถกถาชคติทายกเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑ วรรคที่ ๔๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ชคตึ การยึ อห ความว่า เราได้ทำระเบียงไว้รอบต้นโพธิ์-

พฤกษ์อันอุดม อปทานทั้งหมดมีอปทานที่ ๒ เป็นต้นไปที่เหลือ มีเนื้อความ

ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาชคติทายกเถราปทาน

จบอรรถกถาชคติวรรคที่ ๔๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ชคติทายกเถราปทาน ๒. โมรหัตถิยเถราปทาน ๓. สีหาสน-

พีชิยเถราปทาน ๔. ติณุกกธาริยเถราปทาน ๘. อักกมนทายกเถราปทาน

๖. วนโกรัณฑิยเถราปทาน ๗. เอกฉัตติเถราปทาน ๘. ชาติปุปผิยเถรา-

ปทาน 6. สัตติปัณณิยเถราปทาน ๑๐. คันธปูชกเถราปทาน.

บัณฑิตคำนวณคาถาได้ ๖๗ คาถา.

จบชคติทายกวรรคที่ ๔๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

สาลปุปผิวรรคที่ ๔๗

สาลกุสุมิยเถราปทานที่ ๑ (๔๖๑)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกสาละ

[๕๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่าปทุมุตตระปรินิพพานแล้ว เมื่อมหาชนช่วยกัน

ยกพระพุทธสรีระขึ้นบนจิตกาธาร เราได้เอาดอก

สาละบูชา

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้เอาดอกไม้

ใดบูชา ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการบูชาจิตกาธาร

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสาลกุสุมิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบสาลกุสุมิยเถราปทาน

จิตกปูชกเถราปทานที่ ๒

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาจิตกาธาร

[๕๒] เมื่อเทวดาและมนุษย์พากันถวาย

พระเพลิงพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิขี ผู้เป็น

เผ่าพันธุ์ของโลก เราได้เอาดอกจำปา ดอกบูชา

จิตกาธาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้เอาดอกไม้

ใดบูชา ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระจิตกปูชกถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบจิตกปูชกเถราปทาน

จิตกนิพพาปกเถราปทานที่ ๓ (๔๖๓)

ว่าด้วยผลแห่งการดับจิตกาธาร

[๕๓] เมื่อเทวดาและมนุษย์พากันถวาย

พระเพลิงพระสรีระของผู้แสวงหาคุณใหญ่ พระ

นามว่าเวสสภู เราเอาน้ำหอมดับจิตกาธาร

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราเอาน้ำหอมดับ

จิตกาธารใด ด้วยกรรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลของน้ำหอม

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระจิตกนิพพาปกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบจิตกนิพพาปกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

เสตุทายกเถราปทานที่ ๔ (๔๖๔)

ว่าด้วยผลแห่งการสร้างสะพาน

[๕๔] เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส

ได้ใช้คนสร้างสะพานในที่เฉพาะพระพักตร์ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้เสด็จจง-

กรมอยู่

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ให้สร้าง

สะพานใดไว้ ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการถวายสะพาน

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเสตุทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบเสตุทายกเถราปทาน

สุมนตาลวัณฏิยเถราปทานที่ ๕ (๔๖๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายพัดใบตาล

[๕๕] เราได้ถวายพัดใบตาลอันคลุมด้วย

ดอกมะลิ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

สิทธัตถะ เราจึงได้ทรงยศใหญ่

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายพัด

ใบตาลใด ด้วยการถวายพัดใบตาลนั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพัดใบตาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสุมนตาลวัณฏิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบสุมนตาลวัณฏิยเถราปทาน

อวฏผลิยเถราปทานที่ ๖ (๔๖๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลไม้

[๕๖] พระผู้มีพระภาคผู้สยัมภูพระนาม

ว่าสตรังสี ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้อะไร ๆ ทรงใคร่ต่อ

ความวิเวก ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเสด็จออกบิณฑ-

บาต เราถือผลไม้อยู่ได้เห็นเข้า จึงได้เข้าไปเฝ้า

พระนราสภ เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ได้

ถวายผลไม้

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัป เราได้ถวายผลไม้

ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอวฏผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบอวฏผลิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

ลพุชผลทายกเถราปทานที่ ๗ (๔๖๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายขนุนสำมะลอ

[๕๗] ครั้งนั้น เราเป็นคนเฝ้าสวนอยู่

ในพระนครพันธุมดี ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศ-

จากกิเลสธุลี เสด็จเหาะไปในอากาศ

เราได้หยิบเอาผลขนุนสำมะลอถวายแด่

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระพุทธเจ้าผู้มีพระ

ยศใหญ่ให้เกิดควานปลื้มใจแก่เรา นำความสุขมา

ให้ในปัจจุบัน ประทับอยู่ในอากาศนั้นเอง ได้

ทรงรับประเคน

เราถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้าด้วยใจอัน

เลื่อมใสแล้ว ได้ประสบปีติอันไพบูลย์ เป็นสุข.

ยอดเยี่ยมในครั้งนั้น รัตนะเกิดขึ้นแก่เราผู้เกิด

ในที่นั้น ๆ

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้

ใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแต่งการถวายผลไม้

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระลพุชผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบลพุชผลทายกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

มิลักขุผลทายกเถราปทานที่ ๘ (๔๖๘)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลไม่มิลักขุ

[๕๘] เราได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนาม

ว่าอัตถทัสสี ผู้มีพระยศใหญ่ เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส

มีใจโสมนัส ได้ถวายผลไม้มิลักขุ

ในกัปที่ ๑,๘๐๐ เราได้ถวายผลไม้ใดใน

กาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น

ผลแห่งการถวายผลไม้

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระมิลักขุผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบลักขุผลทายกเถราปทาน

สยัมปฏิภาณิยเถราปทานที่ ๙ (๔๖๙)

ว่าด้วยการสดุดีพระพุทธเจ้าด้วยปฏิภาณ

[๕๘] ใครได้เห็นพระนราสภผู้ประเสริฐ

กว่าเทวดา งามเหมือนดอกรกฟ้าขาว กำลังเสด็จ

ดำเนินอยู่ที่ถนนแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า ใครได้ได้เห็น

พระพุทธเจ้าผู้กำจัดความมืดมิดให้พินาศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

ทรงช่วยเหลือนรชนให้ข้ามพ้นไปได้เป็น

อันมาก ยังโลกให้โชติช่วงด้วยแสงสว่างคือพระ-

ญาณแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า

ใครได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของ

โลก กำลังเสด็จออกไปพร้อมกับพระขีณาสพผู้มี

อำนาจตั้งแสน ผู้ทรงรื้อขนสัตว์ไปเสียมากมาย

แล้ว จะไม่เลื่อมใสเล่า

ใครได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ตีกลองคือ

พระธรรมทรงย่ำยีหมู่เดียรถีย์ บันลือสีหนาทแล้ว

จะไม่เลื่อมใสเล่า

ทวยเทพพร้อมด้วยพรหม พากันมาจาก

เทวโลกตราบเท่าพรหมโลก แล้วทูลถามปัญหา

อันลุ่มลึกกะพระพุทธเจ้าพระองค์ใด พระพุทธเจ้า

พระองค์นั้น ใครได้เห็นเข้าแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า

มนุษย์พร้อมด้วยเทวดาประนมกรอัญชลี

แด่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ย่อมได้เสวยบุญด้วย

การประนมกรอัญชลีนั้น พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ใครได้เห็นเข้าแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า

ชนทั้งปวงมาประชุมพร้อมห้อมล้อมพระผู้มี

ปัญญาจักษุ พระผู้มีปัญญาจักษุพระองค์ใดได้รับ

อาราธนาแล้วไม่ทรงหวั่นไหว พระผู้มีปัญญาจักษุ

พระองค์นั้น ใครได้เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

เมื่อพระนราสภพระองค์ใดเสด็จเข้าพระ

นคร กลองเป็นอันมากประโคมกึกก้อง คชสาร

ที่ตกมันพากันบันลือ พระนราสภพระองค์นั้น

ใครได้เห็นเข้าแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า

เมื่อพระนราสภพระองค์ใดเสด็จดำเนิน

ไปในถนน พระรัศมีย่อมส่องสว่างไสวทุกเมื่อ

ที่ซึ่งลุ่ม ๆ ดอน ๆ ย่อมสม่ำเสมอ พระนราสภ

พระองค์นั้น ใครได้เห็นเข้าแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสอยู่ ประชาสัตว์ใน

จักรวาลได้ยินทั่วกัน พระพุทธเจ้าพระองค์ใดยัง

สัตว์ให้รู้ชัดได้ทั่วกัน พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ใครได้เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้สดุดีพระ-

พุทธเจ้า ด้วยการสดุดีนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการสดุดี

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสยัมปฏิภาณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบสยัมปฏิภาณิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

นิมิตพยากรณิยเถราปทานที่ ๑๐ (๔๗๐)

ว่าด้วยผลแห่งการพยากรณ์นิมิต

[๖๐] ครั้งนั้น เราได้เข้าไปป่าหิมวันต์

บอกมนต์ ศิษย์ ๕,๔๐๐ คนได้อุปัฏฐากเรา

ศิษย์เหล่านั้นล้วนเป็นนักศึกษา รู้จบ

ไตรเทพถึงความเต็มเปี่ยมในธรรมมีองค์ ๖ พวก

เขาถือตัวจัดเพราะวิทยาของคน อยู่ในป่าหิมวันต์

เทพบุตรผู้มียศใหญ่ เป็นผู้มีสติสัมป-

ชัญญะ จุติจากชั้นดุสิตอุบัติในครรภ์แห่งมารดา

เมื่อพระสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น หมื่น

โลกธาตุก็หวั่นไหว คนตาบอดก็มองเห็นได้

ในเมื่อพระผู้นำเสด็จอุบัติขึ้น

พื้นพสุธานี้ทั้งสิ้นสั่นสะเทือน ๖ ประการ

มหาชนได้สดับเสียงกึกก้องแล้ว พากันแย้มสรวล

ชนทั้งปวงประชุมกันแล้ว ได้พากัน ไป

ยังสำนักของเรา ถามว่า พื้นพสุธานี้สั่นสะเทือน

จักมีผลเป็นอย่างไร

ครั้งนั้นเราได้พยากรณ์แก่เขาทั้งหลายว่า

อย่ากลัวเลย ไม่มีภัยแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทุกๆ

คนจงเบาใจเถิด ความเกิดนี้ประกอบด้วยสุข

ประโยชน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

พื้นพสุธาอันเหตุ ๘ ประการถูกต้องแล้ว

ย่อมจะสั่นสะเทือน นิมิตย่อมจะปรากฏโดยอาการ

เช่นเดียวกัน แสงสว่างอันไพบูลย์ใหญ่โต ก็เช่น

กัน

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้มีจักษุ จัก

เสด็จอุบัติขึ้นโดยไม่ต้องสงสัย เรายังประชุมชน

ให้เข้าใจดีแล้ว ได้บอกเบญจศีล

พวกเขาได้สดับเบญจศีลแล้วคิดว่า การ

เสด็จอุบัติของพระพุทธเจ้า ยากที่จะหาได้ เป็น

ผู้เกิดอุพเพงคาปีติ มีใจโสมนัส ยินดี ร่าเริง

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้พยากรณ์

นิมิตใด ด้วยการพยากรณ์นิมิตนั้น เราไม่รู้จักทุคติ

เลย นี้เป็นผลแห่งการพยากรณ์

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระนิมิตตพยากรณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบนิมิตตพยากรณิยเถราปทาน

อรรถกถาสาลปุปผิวรรคที่ ๔๗

อปทานมีอปทานที่ ๑ เป็นต้นไป ในวรรคที่ ๔๗ นักศึกษาพอจะ

กำหนดรู้ได้ง่ายตามลำดับพระบาลีนั่นแล.

จบอรรถกถาสาลปุปผิวรรคที่ ๔๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สกลกุสุมิยเถราปทาน ๒. จิตกปูชกเถราปทาน ๓. จิตก-

นิพพาปกเถราปทาน ๔. เสตุทายกเถราปทาน ๕. สุมนตาลวัณฏิยเถรา-

ปทาน ๖. อวฏผลิยเถราปทาน ๗. ลพุชผลทายกเถราปทาน ๘. มิลักขุ-

ผลทายกเถราปทาน ๙. สยัมปฏิภาณิยเถราปทาน ๑๐. นิมิตตพยากรณิย-

เถราปทาน

บัณฑิตคำนวณคาถาได้ ๗๒ คาถา.

จบสาลปุปผิยวรรคที่ ๔๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

นฬมาลิยวรรคที่ ๔๘

นฬมาลิยเถราปทานที่ ๑ (๔๗๑)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายพวงดอกอ้อ

[๖๑] เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระ

ฉวีวรรณดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา เป็น

นายกของโลก กำลังเสด็จไปทางชายป่าใหญ่

เราหยิบพวงดอกไม้อ้อและออกไปใน

ทันใดนั้น ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะได้

แล้ว ไม่มีอาสวะ ณ ที่นั้น

เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ได้เอาพวง

ดอกไม้อ้อบูชาพระพุทธเจ้าผู้เป็นทักขิเณยยบุคคล

ผู้มีความเพียรใหญ่ ทรงอนุเคราะห์โลกทั้งสิ้น

ในกัปทั้ง ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ดอกไม้ใด

บูชา ด้วยการบูชา เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น

ผลแห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระนฬมาลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบนฬมาลิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

มณิปูชกเถราปทานที่ ๒ (๔๗๒)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยแก้วมณี

[๖๒] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ

ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง ใคร่ต่อความสงบ ตรัสรู้

ด้วยพระองค์เอง เสด็จไปในอากาศ

สระใหญ่มีอยู่ในที่ไม่ไกลป่าหิมวันต์ ภพ

ของเราอันบุญกรรมประกอบดีแล้ว มีอยู่ในสระ

นั้น

เราออกจากภพได้เห็นพระผู้นำโลก ผู้ทรง

รุ่งเรืองเหมือนต้นราชพฤกษ์ โชติช่วงเหมือนดัง

กับไฟลุกโพลง

เราได้เห็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่มีในป่า

เปลี่ยว คิดว่าจักบูชาพระผู้นำโลก ทำจิตของตน

ให้เลื่อมใสแล้ว ได้ถวายบังคมพระศาสดา

เราหยิบแก้วมณีที่ศีรษะของเรา บูชาพระ

ผู้นำด้วยความปรารถนาว่า ด้วยการเอาแก้วมณี

บูชานี้ ขอจงมีวิบากอันดี

พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรง

รู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ประทับอยู่ใน

อากาศ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

ขอความดำริของท่านจงสำเร็จเถิด ท่าน

จงได้สุขอันไพบูลย์ ด้วยการบูชาแก้วมณีนี้ ขอ

ท่านจงได้เสวยยศอันใหญ่หลวงเถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระนามว่า

ปทุมุตตระ ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ครั้นตรัส

แก่เราผู้ตั้งปรารถนาไว้ดังนี้แล้ว ได้เสด็จไป

เราได้เป็นจอมเทพเสวยราชสมบัติในเทว

โลก ๖๐กัป และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหลาย

ร้อยครั้ง

เมื่อเราเกิดเป็นเทวดา ระลึกถึงบุญกรรม

ขึ้นมา แก้วมณีอันส่องแสงสว่างให้เรา ย่อม

เกิดแก่เรา

เรามีนางเทพอัปสร ๘๖,๐๐๐ ซึ่งมีผ้าและ

เครื่องอาภรณ์อันวิจิตรสวมต่างหูแก้วมณีเป็น

บริวาร

นางเทพอัปสรเหล่านั้น มีหน้าแฉล้ม

มักยิ้มก่อนเจรจา ตะโพกผาย เอวบางอ้อนแอ้น

แวดล้อมเราอยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการบูชา

ด้วยแก้วมณี

ภัณฑะ คือ เครื่องประดับอันสำเร็จด้วย

ทอง สำเร็จด้วยแก้วมณี และสำเร็จด้วยแก้วทับ-

ทิม ย่อมเป็นของบุคคลทำดีแล้วเพื่อเรา ตาม

ที่เราต้องการ

เรือนยอดและถ้ำที่น่ารื่นรมย์และที่นอน

อันสูงค่า ดังจะรู้ความประสงค์ของเรา ย่อมเกิด

ตามความปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

ก็การที่ชนเหล่าใดได้เข้าไปฟัง ชนเหล่า

นั้นได้ลาภดีแล้ว การได้เข้าไปฟังเป็นบุญเขต

ของมนุษย์ เป็นโอสถของสรรพสัตว์ ถึงกรรมที่

เราผู้ได้เห็นพระผู้นำ ก็ชื่อว่าเป็นอันทำไว้ดีแล้ว

เราเป็นผู้รอดพ้นจากวินิบาต เป็นผู้บรรลุบทอัน

ไม่หวั่นไหว

เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือ เป็นเทวดาหรือ

มนุษย์ ในกำเนิดนั้น ๆ แสงสว่างย่อมมีแก่เรา

ทุกเมื่อ ทั้งกลางวันและกลางคืน

เพราะการบูชาด้วยแก้วมณีนั้น เราจึงได้

เสวยสมบัติ พบแสงสว่าง คือ ญาณ เป็นผู้บรรลุ

บทอันไม่หวั่นไหว

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราเอาแก้วมณีบูชา

ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล

แห่งการบูชาด้วยแก้วมณี

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . . คำสอนของ

พระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระมณิปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบมณิปูชกเถราปทาน

อรรถกถานฬมาลิยวรรคที่ ๔๘

อทานที่ ๑ และ ๒ ในวรรคที่ ๔๘ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

อุกกาสติกเถราปทานที่ ๓ (๔๗๓)

ว่าด้วยผลแห่งการจุดคบเพลิง

[๖๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-

นามว่าโกสิกะ ประทับอยู่ที่ภูเขาจิตตกูฏ พระองค์

เป็นผู้เพ่งพินิจ ยินดีในฌาน เป็นผู้ตื่นแล้ว อภิ-

รมย์ในวิเวก เป็นมุนี

ข้าพระองค์อันหมู่นารีแวดล้อมเข้าไปใน

ป่าหิมวันต์ ได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกสิกะ

ผู้ปานดังพระจันทร์ในวันเพ็ญ

ครั้งนั้น ข้าพระองค์ถือเอาคบเพลิงร้อย

ดวง แวดล้อมพระพุทธเจ้าอยู่ตลอด ๗ วัน ๗ คืน

ได้ไปโดยวันที่ ๘

ข้าพระองค์มีจิตเลื่อมใส ถวายบังคม

พระสยัมภูพุทธเจ้าพระนามว่าโกสิกะ ผู้ไม่ทรง

พ่ายแพ้อะไร ๆ เสด็จออกจากสมาบัติ แล้วได้ถวาย

ภิกษาอย่างหนึ่ง

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งสัตว์ เชษฐ-

บุรุษของโลก ประเสริฐกว่านรชน เพราะกรรม

นั้น ข้าพระองค์จึงเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต นี้เป็น

ผลแห่งภิกษาอย่างหนึ่ง

แสงสว่างย่อมมีแก่ข้าพระองค์ทุกเมื่อ

ทั้งกลางวันและกลางคืน ข้าพระองค์แผ่รัศมีไป

ได้โดยรอบร้อยโยชน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

ในกัปที่ ๕๕ ข้าพระองค์ได้เป็นพระเจ้า

จักรพรรดิ ผู้เป็นใหญ่ในชมพูทวีป มีมหาสมุทร

๔ เป็นขอบเขต ชำนะแล้ว

ครั้งนั้น พระนครของข้าพระองค์ เป็น

เมืองมั่งคั่ง เจริญสร้างสรรอย่างสวยงาม ยาว ๓๐

โยชน์ กว้าง ๒๐ โยชน์

พระนครชื่อโศภน อันวิสสุกรรมเทพบุตร

นิรมิตให้ นครนั้นสงัดจากเสียง ๑๐ อย่าง ประ-

กอบด้วยกังสดาลเสียงไพเราะ

ในพระนครนั้นไม่มีเครือเถา ไม้ และดิน

เลย สำเร็จด้วยทองคำล้วน ๆ ทีเดียว โชติช่วงอยู่

ตลอดกาลเนืองนิตย์

พระนครนั้นล้อมด้วยกำแพง ๔ ชั้น ๓ ชั้น

สำเร็จด้วยแก้วมณี ส่วนตรงกลางวิสสุกรรมเทพ-

บุตรได้เนรมิตถ่องแถวต้นตาลไว้

สระโบกขรณีตั้งหมื่นปกคลุมไปด้วยปทุม

และอุบล ดารดาษไปด้วยบุณฑริกเป็นต้น หอม

กรุ่นไปด้วยกลิ่นนานาชนิด

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ ข้าพระองค์ได้

ทรงคบเพลิงใด ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการทรงคบเพลิงไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

ข้าพระองค์เผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . . คำ

สอนของพระพุทธเจ้า ข้าพระองค์ได้ทำเสร็จแล้ว

ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอุกกาสติเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบอุกกาสติกเถราปทาน

๔๗๓. อรรถกถาอุกกาสติกเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โกสิโย นาม ภควา ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่า

โกสิยะเพราะเกิดในโกสิยโครต. บทว่า จิตฺตกูเฏ ความว่า ในบรรดายอดภูเขา

ที่ตั้งเรียงรายอยู่ ปกคลุมสระอโนดาต เช่น ภูเขาจิตตกูฏ ภูเขาเกลาสกูฏ และ

ภูเขาสานุกูฏเป็นต้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้น อยู่ที่ภูเขาจิตตกูฏอันงดงาม

วิจิตรไปด้วยรัตนะและโอสถเป็นต้นนานาชนิดที่เกิดบนยอดภูเขาทั้งหลาย.

จบอรรถกถาอุกกาสติกเถราปทาน

สุมนวีชนิยเถราปทานที่ ๕ (๔๗๔)

ว่าด้วยผลแห่งการพัดไม้โพธิ์

[๖๔] เราเป็นผู้มีใจโสมนัส จับพัดวีชนี

พัดไม้โพธิ์อันอุดม ที่ไม้โพธิ์ของพระผู้มีพระภาค-

เจ้าพระนามว่าวิปัสสี ซึ่งเป็นไม้สูงสุด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้พัดไม้โพธิ์

อันอุดม ด้วยการพัดไม้โพธิ์นั้น เราไม่รู้จักทุคติ

เลย นี้เป็นผลแห่งการพัดไม้โพธิ์

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสุมนวีชนิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบสุมนวีชนิยเถราปทาน

กุมมาสทายกเถราปทานที่SUP>๑ ๕ (๔๗๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายขนมกุมมาส

[๖๕ ] เราเห็นบาตรอันว่างเปล่าของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

พระนามว่าวิปัสสี ผู้เสด็จเที่ยวแสวงหาบิณฑบาต

อยู่ จึงใส่ขนมกุมมาสจนเต็มบาตร

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายภิกษา

ใด ด้วยการถวายภิกษานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งขนมกุมมาส

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

๑.อปทานที่ ๔ และที่ ๕ อรรถกถาว่า มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

ทราบว่า ท่านพระกุมมาสทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบกุมมาสทายกเถราปทาน

กุสัฏฐกทายกเถราปทานที่ ๖ (๔๗๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายสลากภัต

[๖๖ ] เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ได้

ถวายสลากภัต ๘ ที่ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่ากัสสปะ ผู้มีบาปอันลอยเสียแล้ว มี

พรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว

ในกัปนี้นั้นเอง เราได้ถวายสลากภัต ที่

ด้วยการถวายสลากภัตนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการถวายสลากภัต ๘ ที่

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระกุสัฏฐกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบกุสัฏฐกทายกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

๔๗๖. อรรถกถากุสัฏฐกทายกเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กุสฏฺกมทาสห ความว่า ในบรรดาภัต เช่น ปักขิกภัตร

อุโปสถิกภัต ธุวภัต และสลากภัตเป็นต้น เราได้ถวายสลากภัต ๘ ที่ ที่พึ่ง

ถวายด้วยสามารถแห่งใบสลาก.

จบอรรถกถากุสัฏฐกทายกเถราปทาน

คิริปุนนาคิยเถราปทานที่ ๗

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกบุนนาคบูชา

[๖๗] ครั้งนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระ-

นามว่าโสภิตะ ประทับอยู่ที่ภูเขาจิตตกูฏ เราได้

ถือเอาดอกบุนนาคเข้ามาบูชาพระสยัมภู

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระ-

สัมพุทธเจ้า ด้วยกานบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งพุทธบุชา . . .

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...คำสอนของ

พระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระคิริปุนนาคิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบคิริปุนนาคิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

๔๗๗. อรรถกถาคิริปุนนาคิยเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โสภิโต นาม สมฺพุทฺโธ ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

มีพระนามว่า โสภิตะ เพราะพระองค์มีพระสรีระงดงามไปด้วยพระมหาปุริส-

ลักษณะ ๓๒ ประการ และพระรัศมีแผ่ออกข้างละวา ทั้งส่วนยาวและส่วน

กว้าง.

จบอรรถกถาคิริปุนนาคิยเถราปทาน

วัลลิการผลทายกเถราปทานที่ ๘ (๔๗๘)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลไม้

[๖๘] ครั้งนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระ-

นามว่าสุมนะ ประทับอยู่ในพระนครตักกรา

เราได้หยิบเอาผลไม้วิลลิการะถวายแด่พระสยัมภู

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้

ใด ในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่

รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอน

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระวัลลิการผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบวัลลิการผลทายกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

๔๗๘. อรรถกถาวัลลิการผลทายกเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตกฺกราย วสี ตทา ความว่า ราชธานี ชื่อว่า ตักกรา

เพราะเป็นที่อยู่ประจำของประชาชนผู้บำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ ใน

คราวที่ประทับอยู่ในตักกรานครนั้น.

จบอรรถกถาวัลลิการผลทายกเถราปทาน

ปานธิทายกเถราปทานที่ ๙ (๔๗๙)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายรองเท้า

[๖๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

อโนมทัสสี เชษฐบุรุษของโลกประเสริฐกว่า

นรชน มีพระจักษุ เสด็จออกจากที่ประทับสำราญ

กลางวันแล้ว เสด็จขึ้นถนน

เราสวมรองเท้าที่ทำอย่างดีออกเดินทาง

ไป ณ ที่นั้น เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้างามน่าดู

น่าชม เสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า เรายังจิต

ของตนให้เลื่อมใส ถอดรองเท้าออกวางไว้แทบ

พระบาท แล้วกราบทูลว่า

ข้าแต่พระสุคต ผู้เป็นมหาวีรบุรุษ

เป็นใหญ่เป็นผู้นำชั้นพิเศษ ขอเชิญสวมรองเท้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

เถิด ข้าพระองค์จักได้ผลแต่รองเท้าคู่นี้ ขอความ

ต้องการของข้าพระองค์จงสำเร็จเถิด

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี

เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านรชน ทรง

สวมรองเท้าแล้ว ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า

ผู้ใดเลื่อมใสถวายคู่รองเท้าแก่เรา ด้วย

มือทั้งสองของตน เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่าน

ทั้งหลายจงฟังเรากล่าว

เทวดาทุก ๆ องค์ได้ทราบพระพุทธเจ้าดำรัส

แล้ว มาประชุมกัน ต่างก็มีจิตปีติ ดีใจเกินความ

โสมนัส ประนมกรอัญชลี

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า เพราะการ

ถวายรองเท้านี้แล ผู้นี้จักเป็นผู้ถึงความสุข จัก

เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๕๕ ครั้ง

จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐

ครั้ง และจักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์

โดยคณนานับมิได้

ในกับซึ่งนับไม่ถ้วย แต่กัปนี้ไป จักทรง

สมภพในสกุลโอกกากะ มีพระนามว่าโคดม จัก

เสด็จอุบัติขึ้นเป็นพระศาสดาของโลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

ผู้นี้จักเป็นทายาทในธรรมของพระศาสดา

พระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต จัก

กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ

ปรินิพพาน

ผู้นี้บังเกิดในเทวโลกหรือในมนุษย์โลก

จักเป็นผู้มีปัญญา จักได้ยานอันเปรียบด้วยยาน

ของเทวดา

ปราสาท วอ ช้าง ที่ประดับประดาแล้ว

และรถที่เทียมแล้วด้วยม้าอาชาไนย ย่อมเกิด

ปรากฏแก่เราทุกเมื่อ

แม้เมื่อเราออกบวช ก็ได้ออกบวชด้วยรถ

ได้บรรลุอรหัตเมื่อกำลังปลงผม

นี้เป็นลาภของเรา เราได้ดีแล้ว คือ

การค้าขายเราได้ประกอบถูกทางแล้ว เราถวาย

รองเท้าคู่หนึ่งจึงได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว

ในกัปอันประมาณมิได้แต่กัปนี้ เราได้

ถวายรองเท้าใด ด้วยการถวายรองเท้านั้น เราไม่

รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายรองเท้า

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

ทราบว่า ท่านพระปานธิทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบปานธิทายกเถราปทาน

๔๗๖. อรรถกถาปานธิทายกเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปานธึ สุกต คยฺห ความว่า เราสวมคู่แห่งรองเท้าที่ทำเสร็จ

โดยอาการอย่างดีแล้วแล.

จบอรรถกถาปานธิทายกเถราปทาน

ปุฬินจังกมิยเถราปทานที่ ๑๐ (๔๘๐)

ว่าด้วยการขนทรายใส่ที่จงกรม

[๗๐] เมื่อก่อน เราเป็นพรานเนื้อ เรา

เที่ยวหาเนื้อสมันอยู่ในอรัญราวป่า ได้พบที่จงกรม

เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัสกอบเอาทรายใส่พกมา

โรยลงในที่จงกรมของพระสุคตเจ้าผู้มีสิริ

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้โรยทราย

ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง

ทราย

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

ทราบว่า ท่านพระปุฬินจังมิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบปุฬินจังกมิยเถราปทาน

๔๘๐. อรรถกถาปุฬินจังกมิยเถราปทาน

อปทานที่ ๑๐ มีเนื้อความที่จะกำหนดได้โดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถานฬมาลิวรรคที่ ๔๘

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นฬมาลิยเถราปทาน ๒. มณิปูชกเถราปทาน

๓. อุกกาสติเถราปทาน ๔. สุมนวีชนิยเถราปทาน

๕. กุมมาสทายกเถราปทาน ๖. กุสัฏฐกทายกเถราปทาน

๗. คิริปุนนาคิยเถราปทาน ๘. วัลลิการผลทายกเถราปทาน

๙. ปานธิทายกเถราปทาน ๑๐. ปุฬินจังกมิยเถราปทาน

บัณฑิตคำนวณคาถาได้ ๙๕ คาถา.

จบนฬมาลิวรรคที่ ๔๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

ปังสุกูลวรรคที่ ๔๙

ปังสุกูลสัญญกเถราปทานที่ ๑ (๔๘๑)

ว่าด้วยผลแห่งการไหว้ผ้าบังสุกุลจีวร

[๗๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สยัมภู ผู้

นำของโลก พระนามว่าติสสะ ได้เสด็จอุบัติขึ้น

แล้ว พระพิชิตมารทรงวางบังสุกุลจีวรไว้แล้ว

เสด็จเข้าพระวิหาร

เราสะพายธนูที่มีสายและกระบอกน้ำ

ถือดาบเข้าป่าใหญ่

ครั้งนั้น เราได้เห็นบังสุกุลจีวรซึ้งแขวน

อยู่บนยอดไม้ในป่านั้น จึงวางธนูลง ณ ที่นั้นเอง

ประนมกรอัญชลีเหนือเศียรเกล้า

เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส และมี

ปีติเป็นอันมาก ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ

สุด แล้วได้ไหว้บังสุกุลจีวร

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ไหว้บังสุกุล

จีวรใด ด้วยการไหว้บังสุกุลจีวรนั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการไหว้

เราเผากิเลสทั้งหลาย. . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

ทราบว่า ท่านพระปังสูกุลสัญญเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบปังสุกูลสัญญกเถราปทาน

อรรถกถาปังสุกูลวรรคที่ ๔๙

อปทานที่ ๑ ในวรรคที่ ๔๙ มีเนื้อความพอที่จะกำหนดรู้ได้โดยง่าย

ทีเดียวแล.

พุทธสัญญกเถราปทานที่ ๒ (๔๘๒)

ว่าด้วยผลแห่งการเกิดพุทธสัญญา

[๗๒] เราเป็นคนเล่าเรียน ทรงจำมนต์

รู้จบไตรเพท ชำนาญในคัมภีร์ทำนายมหาปุริส

ลักษณะ คัมภีร์อิติหาสะ พร้อมด้วยคัมภีร์

นิฆัณธุศาสตร์ แลคัมภีร์เกฏุภศาสตร์

ครั้งนั้นพวกศิษย์มาหาเราปานดังกระแส

น้ำ เราไม่เกียจคร้าน บกกมนต์แก่ศิษย์เหล่านั้น

ทั้งกลางวันและกลางคืน

ครั้งนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า

สิทธัตถะ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์ทรง

กำจัดความมืดมิดให้พินาศแล้ว ยังแสงสว่างคือ

พระญาณให้เป็นไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

ครั้งนั้น ศิษย์ของเราคนหนึ่งได้บอกแก่

ศิษย์ทั้งหลายของเรา พวกเขาได้ฟังความนั้น จึง

ได้บอกแก่เรา เราคิดว่าพระสัพพัญญูพุทธเจ้า

ผู้เป็นนายกของโลก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ชนย่อม

อนุวัตรตามพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เราไม่มีลาภ

พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้มีการอุบัติ

เลิศลอย มีจักษุ ทรงยศใหญ่ ไฉนหนอ เราพึง

เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เป็นผู้นำโลก

เราถือหนังสือ ผ้าเปลือกไม้กรอง และ

คนโทน้ำของเรา แล้วออกจากอาศรม เชิญชวน

พวกศิษย์ว่า

ความเป็นผู้นำโลกหาได้ยาก เหมือนกับ

ดอกมะเดื่อ กระต่ายในดวงจันทร์หรือเหมือนกับ

น้ำนมกา ฉะนั้น

พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว

แม้ความเป็นมนุษย์ก็หาได้ยาก และเมื่อความมี

พระพุทธเจ้าผู้นำโลกและความเป็นมนุษย์ทั้งสอง

อย่างมีอยู่ การได้ฟังธรรมก็ยังได้ยาก

พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พวก

เราจักได้ดวงตาเห็นธรรมอันเป็นของพวกเรา มา

เถอะท่านทั้งหลาย เราจักไปยังสำนักของพระ-

พุทธเจ้าด้วยกันทุกคน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

ศิษย์ทุกคนแบกคนโทน้ำ นุ่งหนังเสือ

ทั้งเล็บ พวกเขาเต็มไปด้วยภาชนะคือชฎา พากัน

ออกไปจากป่าใหญ่ในครั้งนั้น

พวกเขามองดูประมาณชั่วแอก แสวงหา

ประโยชน์อันสูงสุด เดินมาเหมือนลูกช้าง เป็น

ผู้ไม่สะดุ้ง ประหนึ่งไกรสรสีหราช ฉะนั้น

เขาทั้งหลายไม่มีความสะดุ้ง หมดความ

ละโมภ มีปัญญา มีความประพฤติสงบ เมื่อ

เสาะแสวงหาโมกขธรรม ได้พากันเข้าไปเฝ้า

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

เราเกิดป่วยเจ็บขึ้นในประเทศประมาณ

หนึ่งโยชน์ครึ่ง เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประ-

เสริฐสุดแล้ว ตายที่ประเทศนั้น

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใด

ในกาลนั้น ด้วยการได้สัญญานั้นเราไม่รู้จักทุคติ

เลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระพุทธเจ้า

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระพุทธสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-

การฉะนี้แล.

จบพุทธสัญญกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

๔๘๒. อรรถกถาพุทธสัญญกเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อธิจฺจุปฺปตฺติกา พุทฺธา ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็น

ผู้มีการอุบัติเลิศลอย คือ ไม่มีเหตุการณ์อะไรขัดข้อง ได้แก่ เกิดเป็นด้วยพระ

ญาณของพระองค์เอง ปราศจากเทวดาพรหมและมารเป็นต้นเหล่าอื่น ที่จะ

ให้คำแนะนำ. บทว่า อุทุมฺพริกปุปฺผว ได้แก่ คล้ายดอกมะเดื่อที่หาได้โดยยาก

คือเกิดขึ้นได้ยากฉะนั้น. บทว่า จนฺทมฺหิ สสก ยถา ได้แก่ คล้ายรูปกระต่าย

ในดวงจันทร์ ซึ่งหาได้ยาก. บทว่า วายสาน ยถา ขีร ความว่าคล้ายกับน้ำนม

กาจะบีบคั้นเป็นนิตย์ คือทั้งคืนทั้งวันให้ได้สักนิดหน่อย ก็ได้โดยยากฉันใด

พระผู้นำของชาวโลกก็หาได้ยาก เพราะกว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ ต้อง

บำเพ็ญบารมีถึง ๔ อสงไขยกำไรแสนกัปก็มี ถึง ๘ อสงไขยกำไรแสนกัปก็มี

จึงจะได้เป็นพระผู้นำของชาวโลกได้ ฉันนั้นแล.

จบอรรถกถาพุทธสัญญกเถราปทาน

ภิสทายกเถราปทานที่ ๓ (๔๘๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายเหง้าบัว

[๗๓] ครั้งนั้น เราลงสู่สระโบกขรณีที่

ช้างนานาชนิดเสพแล้วถอนเหง้าบัวในสระนั้น

เพราะเหตุจะกิน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ตื่นแล้ว ทรงผ้ากัมพล

สีแดง สลัดผ้าบังสุกุลเหาะไปในอากาศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

เวลานั้น เราได้ยินเสียงจึงแหงนขึ้นไป

ดู ได้เห็นพระผู้นำโลก

เรายืนอยู่ในสระโบกขรณีนั่นแหละ ได้

ทูลอ้อนวอนพระผู้นำโลกว่า น้ำหวานน้ำนมและ

เนยใสกำลังไหลจากเหง้าบัว

ขอพระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาจักษุโปรด

ทรงรับเพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพระองค์เถิด ลำดับ

นั้นพระสัมพุทธเจ้าผู้ศาสดา ทรงประกอบด้วย

พระกรุณา มียศใหญ่ มีพระปัญญาจักษุ เสด็จ

ลงจากอากาศมารับภิกษาของเรา เพื่อความอนุ-

เคราะห์ ครั้นแล้วได้ทรงทำอนุโมทนาแก่เราว่า

แน่ะ ท่านผู้มีบุญใหญ่ ท่านจงเป็นผู้มี

ความสุขเถิด คติจงสำเร็จแก่ท่าน ด้วยการให้

เหง้าบัวเป็นทานนี้ ท่านจงได้สุขอันไพบูลย์

ครั้นพระสัมพุทธชินเจ้าพระนามว่าปทุมุต-

ตระตรัสฉะนี้แล้ว ได้ทรงรับภิกษาแล้วเสด็จไป

ในอากาศ

ลำดับนั้น เราเก็บเหง้าบัวจากสระนั้น

กลับมายังอาศรม วางเหง้าบัวไว้บนต้นไม้ระลึก

ถึงทานของเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

ครั้งนั้น ลมพายุใหญ่ดังขึ้นแล้วพัดป่า

ให้สั่นสะเทือน อากาศดังลั่นในเมื่อฟ้าฝ่า

ลำดับนั้น อสนีบาตได้ตกลงบนศีรษะ

ของเรา ก็ในกาลนั้น เราเป็นผู้นั่งตายอยู่ ณ ที่นั้น

เราเป็นผู้ประกอบด้วยบุญกรรม เข้าถึง

สวรรค์ชั้นดุสิต ซากศพของเราตกไป ส่วนเรา

รื่นรมย์อยู่ในเทวโลก

นางเทพอัปสร ๘๔,๐๐๐ นาง ล้วนประดับ

ประดาสวยงาม ต่างก็บำรุงเราทั้งเช้าเย็น นี้เป็น

ผลแห่งการถวายเหง้าบัว

ครั้งนั้น เรามาสู่กำเนิดมนุษย์เป็นผู้ถึง

ความสุข ความบกพร่องในโภคทรัพย์ ไม่มีแก่

เราเลย นี้ก็เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว

เราอันพระสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ

กว่าทวยเทพ ผู้คงที่ พระองค์นั้นทรงอนุเคราะห์

แล้ว จึงเป็นผู้สิ้นอาสวะทั้งปวง บัดนี้ภพใหม่

ไม่มีอีก

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ถวายภิกษา

ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายภิกษา เราไม่

รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

จบภิสทายกเถราปทาน

๔๘๓. อรรถกถาภิสทายกเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอุปทานที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มธุ ภิเสหิ สวติ ความว่า น้ำผึ้งกำลังไหลหลั่งออกจากเกสร

บัว. บทว่า ขีร สปฺปึ มุฬาลิภิ ความว่า น้ำนมและรสเนยใส กำลังไหล

หลั่งออกจากเหง้าบัว อธิบายว่า เพราะฉะนั้น ขอพระพุทธเจ้า จงรับภิกษา

ทั้ง ๒ นั้นของข้าพระองค์เถิด.

จบอรรถกถาภิสทายกเถราปทาน

ญาณถวิกเถราปทานที่ ๔ (๔๘๕)

ว่าด้วยผลแห่งการสรรเสริญพระพุทธญาณ

[๗๔] เราสร้างอาศรมอย่างสวยงามไว้ ณ

ทิศทักษิณแห่งภูเขาหิมวันต์ ครั้งนั้น เราเสาะหา

ประโยชน์อันสูงสุด จึงอยู่ในป่าใหญ่

เรายินดีด้วยลาภและความเสื่อมลาภ คือ

ด้วยเหง้ามันและผลไม้ ไม่เบียดเบียนใคร ๆ เที่ยว

ไป เราอยู่คนเดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

ครั้งนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า

สุเมธะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์กำลัง

รื้อขนมหาชน ทรงประกาศสัจจะอยู่

เรามิได้สดับข่าวพระสัมพุทธเจ้า ถึง

ใคร ๆ ที่จะบอกกล่าวให้เรารู้ก็ไม่มี เมื่อล่วงไป

ได้ ๘ ปี เราจึงได้สดับข่าวพระนายกของโลก

เรานำเอาไฟและฟืนออกไปเสียแล้ว

กวาดอาศรม ถือเอาหาบสิ่งของออกจากเตาไป

ครั้งนั้นเราพักอยู่ในบ้านและนิคมแห่ง

ละคืน เข้าไปใกล้พระนครจันทวดีโดยลำดับ

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำของ

โลกพระนามว่าสุเมธะ กำลังรื้อขนสัตว์เป็นอัน

มาก ทรงแสดงอมตบท

เราได้ผ่านหมู่ชนไปถวายบังคมพระชินเจ้า

ผู้เสด็จมาดี ทำหนังสัตว์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้ว

สรรเสริญพระผู้นำของโลกว่า

พระองค์เป็นพระศาสดาประหนึ่งยอด

เป็นธงชัยและเป็นเสายัญของหมู่สัตว์ เป็นที่ยึด

หน่วง เป็นที่พึ่ง และเป็นเกาะของหมู่สัตว์ เป็น

ผู้สูงสุดกว่าสัตว์.

จบภาณวารที่ ๒๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

พระองค์เป็นผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์ใน

ทัศนะ ทรงช่วยประชุมชนให้ข้ามพ้นไปได้

ข้าแต่พระมุนี ผู้อื่นที่จะช่วยให้สัตว์ข้ามพ้นไป

ยิ่งไปกว่าพระองค์ ไม่มีในโลก

สาครแสนลึกสุด ก็พึงอาจที่จะประมาณ

ได้ด้วยปลายหญ้าคา ข้าแต่พระสัพพัญญู ส่วน

พระญาณของพระองค์ ใคร ๆ ไม่อาจจะประมาณ

ได้เลย

แผ่นดิน ก็อาจที่จะวางบนตาชั่งแล้ว

กำหนดได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ แต่สิ่งที่เสมอ

กับพระปัญญาของพระองค์ไม่มีเลย

อากาศก็อาจจะวัดได้ด้วยเชือกและนิ้วมือ

ข้าแต่พระสัพพัญญู ส่วนศีลของพระองค์ ใคร ๆ

ไม่อาจจะประมาณได้เลย

น้ำในมหาสมุทร อากาศและภูมิภาค ๓

อย่างนี้ประมาณเอาได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ

พระองค์ย่อมเป็นผู้อันใคร ๆ จะประมาณเอาไม่

ได้เลย

เรากล่าวสรรเสริญพระสัพพัญญู ผู้มี

พระยศใหญ่ ด้วยคาถา ๖ คาถาแล้ว ประนมกร

อัญชลี ยืนนิ่งอยู่ในเวลานั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

พระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาเสมอด้วย

แผ่นดิน เป็นเมธีชั้นดี เขาขนานพระนามว่า

สุเมธะ.

ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว

ได้ตรัสพระคาลาเหล่านี้ว่า ผู้ใดมีใจเลื่อมใส ได้

กล่าวสรรเสริญญาณของเรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น

ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว

ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๗๗ กัป จัก

เป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติอยู่ในเทวโลก

๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเกินกว่า

ร้อยครั้ง

และจักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอัน

ไพบูลย์ โดยคณานับมิได้ เขาเป็นเทวดาหรือ

มนุษย์ จักเป็นผู้ตั้งมั่นในบุญกรรม จักเป็นผู้

ความดำริแห่งใจไม่บกพร่อง มีปัญญากล้า

ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ พระศาสดามีพระนามว่า

โคดม จักทรงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช

จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

ผู้นี้ไม่มีความกังวล ออกบวชเป็น

บรรพชิต จักบรรลุพระอรหัตแต่อายุ ๗ ขวบ ใน

ระหว่างเวลาที่เราระลึกถึงคน และได้บรรลุศาสน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

ธรรม เจตนาที่ไม่น่ารื่นรมย์ใจ เราไม่รู้จักเลย

เราท่องเที่ยวไปเสวยสมบัติในภพน้อยภพใหญ่

ความบกพร่องในโภคทรัพย์ไม่มีแก่เราเลย นี้เป็น

ผลในการสรรเสริญพระญาณ

ไฟ ๓ กองเราดับสนิทแล้ว เราถอนภพ

ทั้งปวงขึ้นหมดแล้ว เราเป็นผู้สิ้นอาสวะทุกอย่าง

แล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก

ในกัปที่สามหมื่น เราได้สรรเสริญ

พระญาณใด ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้ก็เป็นผลแห่งการสรรเสริญพระญาณ

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระญาณถวิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบญาณถวิกเถราปทาน

จันทนมาลิยเถราปทานที่ ๕ (๔๘๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายแก่นจันทร์และดอกรัง

[๗๕] เราละเบญจกามคุณอันน่ารัก น่า

รื่นรมย์ใจและละทรัพย์ประมาณ ๘๐ โกฏิแล้ว

บวชเป็นบรรพชิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

ครั้นบวชแล้วได้เว้นการทำความชั่วด้วย

กายละความประพฤติชั่วด้วยวาจาอยู่แทบฝั่งแม่น้ำ

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ได้เสด็จมา

หาเราผู้อยู่คนเดียว เราไม่รู้จักว่าเป็นพระพุทธเจ้า

เราได้ทำปฏิสันถาร

ครั้นทำปฏิสันถารแล้ว จึงได้ทูลถามถึง

พระนามและพระโคตรว่า ท่านเป็นเทวดาหรือ

คนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ ท่านเป็น

ใคร หรือเป็นบุตรของใคร หรือเป็นท้าวมหา-

พรหมนาในที่นี้ ย่อมสว่างไสวไปทั่วทิศ เหมือน

พระอาทิตย์อุทัย ฉะนั้น

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ จักรมีกำพันหนึ่ง

ปรากฏที่เท้าของท่าน ท่านเป็นใคร หรือเป็น

บุตรของใคร เราจะรู้จักท่านอย่างไร ขอท่านจง

บอกชื่อและโคตรบรรเทาความสงสัยของเราเถิด.

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า เราไม่ใช่เทวดา

ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ และ

ความเป็นพรหมก็หามีแก่เราไม่ เราสูงสุดกว่า

พรหมเหล่านั้น ล่วงวิสัยของพรหมเหล่านั้น เรา

ได้ทำลายเครื่องผูกพันคือกามได้แล้ว เผากิเลส

เสียหมดสิ้น บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดมแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

เราได้สดับพระดำรัสของพระองค์แล้ว

จึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหามุนี ถ้าพระองค์

เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าขอเชิญพระองค์ประทับ

นั่งเถิด ข้าพระองค์จะขอบูชาพระองค์ ขอพระ-

องค์จงทำที่สุดแห่งทุกข์แก่ข้าพระองค์เถิด.

เราได้ลาดหนังสัตว์ถวายพระศาสดาแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือหนังสัตว์นั้น

ดังสีหราชนั่งอยู่ที่ซอกภูเขา ฉะนั้น

เขารีบขึ้นภูเขาเก็บเอาผลมะม่วง ดอกรัง

อันสวยงามและแก่นจันทน์อันมีค่ามาก

เขารีบถือเอาทั้งหมดเข้าไปเฝ้าพระผู้นำ

ของโลก ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า แล้วเอา

ดอกรังบูชา ก็เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส มี

ปีติอันไพบูลย์ ได้เอาแก่นจันทน์ลูบไล้แล้ว ถวาย

บังคม พระศาสดาพระผู้นำของโลกพระนาม

ว่าสุเมธะ ประทับนั่งบนหนังเสือ เมื่อจะยังเรา

ให้รื่นเริงได้ทรงพยากรณ์กรรมของเราในครั้งนั้น

ว่า

ด้วยการถวายผลไม้กับของหอมและ

ดอกไม้ทั้งสองอย่างนี้ ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก

๒,๕๐๐ กัป เขาจักเป็นผู้มีความดำริทางใจไม่

บกพร่อง ยังอำนาจให้เป็นไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

ในกัปที่ ๒,๖๐๐ จักไปสู่ความเป็นมนุษย์

จักได้เป็นพระเจ้าจักพรรดิผู้ทรงมหิฤทธิ์ มี

มหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต วิสสุกรรมเทพบุตร

เนรมิตพระนครอันนามว่า เวกระ ให้ พระนคร

นั้นจักสำเร็จด้วยทองล้วน ๆ ประดับประดาด้วย

รัตนะนานาชนิด เขาจักท่องเที่ยวไปยังกำเนิด

ทั้งหลายโดยอุบายนี้เทียว

เขาจักเป็นผู้ถึงความสุขในทุกภพ คือ

ในความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ เมื่อถึงภพสุดท้าย

เขาจักเป็นบุตรพราหมณ์

จักออกบวชเป็นบรรพชิตจักเป็นผู้ถึงฝั่ง

อภิญญาไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน

พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะผู้นำ

ของโลก ครั้นตรัสดังนี้ เมื่อเรากำลังเพ่งมองอยู่

ได้เสด็จเหาะไปในอากาศ

ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้ว และด้วย

ความตั้งเจตนาไว้ เราละร่างมนุษย์แล้วได้เข้าถึง

สวรรค์ชั้นดุสิต

จุติจากดุสิตแล้ว ไปเกิดในครรภ์ของ

มารดา ในครรภ์ที่เราอยู่ ไม่มีความบกพร่อง

ด้วยโภคทรัพย์แก่เราเลย

เมื่อเรายังอยู่ในครรภ์ของมารดา ข้าว

น้ำ โภชนาหารเกิดตามความปรารถนาแก่มารดา

ของเราตามชอบใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

เราออกบวชเป็นบรรพชิตแต่อายุ ๕ ขวบ

เมื่อปลงผมเสร็จ เราก็ได้บรรลุพระอรหัต

เราค้นหาบุรพกรรมอยู่ ก็มิได้เห็นฝั่ง

เลย เราระลึกถึงกรรมของเราในสามหมื่นกัปได้

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้า

พระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์

ผู้เป็นอุดมบุรุษ ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระ-

องค์ ข้าพระองค์อาศัยคำสั่งสอนของพระองค์

จึงได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว

ในกัปที่สามหมื่น เราบูชาพระสัมพุทธ-

เจ้า ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น

ผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระจันทนมาลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-

การฉะนี้แล.

จบจันทนมาลิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

ธาตุปูชกเถราปทานที่ ๖ (๔๘๖)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาพระธาตุ

[๗๖] เมื่อพระโลกนาถผู้นำโลก

พระนามว่าสิทธัตถะ ปรินิพพาน เราได้นำ

พวกญาติของเรามาทำการบูชาพระธาตุ

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระ-

ธาตุใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระธาตุ

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระธาตุปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบธาตุปูชกเถราปทาน

อรรถกถาอปทานที่ ๔,๕ และ ๖

อปทานที่ ๔,๕ และ ๖ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

ปุฬินุปปาทกเถราปทานที่ ๗ (๔๘๓)

ว่าด้วยผลแห่งการก่อพระเจดีย์ทราย

[๗๗] เราเป็นดาบสชื่อเทวละ อาศัยอยู่

ที่ภูเขาหิมพานต์ ที่จงกรมของเราเป็นที่อัน

อมนุษย์เนรมิตให้ ณ ภูเขานั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

ครั้งนั้น เรามุ่นมวยผมสะพายคนโทน้ำ

เมื่อจะแสวงหาประโยชน์อันสูงสุด ได้ออกไปจาก

ป่าใหญ่

ครั้งนั้น ศิษย์ ๘๔,๐๐๐ คน อุปัฏฐากเรา

เขาทั้งหลายขวนขวายเฉพาะกรรมของตนอยู่ใน

ป่าใหญ่

เราออกจากอาศรม ก่อพระเจดีย์ทราย

แล้วรวบรวมเอาดอกไม้นานาชนิดมาบูชาพระเจดีย์

นั้น

เรายังจิตให้เลื่อมใสพระเจดีย์นั้น แล้ว

เข้าไปสู่อาศรม พวกศิษย์ได้มาประชุมพร้อมกัน

ทุกคนแล้ว ถามถึงความข้อนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ สถุปที่ท่านนมัส-

การก่อด้วยทราย แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็อยากจะรู้

ท่านอันข้าพเจ้าทั้งหลายถามแล้ว ขอจงบอกแก่

ข้าพเจ้าทั้งหลาย.

เราตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้นี้

พระจักษุ มียศใหญ่ ท่านทั้งหลายได้พบแล้วใน

บทมนต์ของเรามิใช่หรือ เรานมัสการพระพุทธ -

เจ้าผู้ประเสริฐสุด มียศใหญ่เหล่านั้น.

ศิษย์เหล่านั้นได้ถามอีกว่า พระพุทธเจ้า

ผู้มีความเพียรใหญ่ รู้ไญยธรรมทั้งปวง ทรงเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

ผู้นำโลกเหล่านั้น เป็นเช่นไร มีคุณเป็นอย่างไร

มีศีลเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศใหญ่

เหล่านั้นเป็นดังฤา.

เราได้ตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มี

พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มีพระทนต์

ครบ ๔๐ ถ้วน มีดวงพระเนตรดังตาแห่งโคและ

เหมือนผลมะกล่ำ

อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเมื่อเสด็จ

ดำเนินไป ก็ย่อมทอดพระเนตรดูเพียงชั่วแอก

พระชานุของพระองค์ไม่ลั่น ใคร ๆ ไม่ได้ยิน

เสียงที่ต่อ

อนึ่ง พระสุคตทั้งหลาย เมื่อเสด็จดำเนิน

ไป ย่อมไม่รีบร้อนเสด็จดำเนินไป ทรงก้าว

พระบาทเบื้องขวาก่อน นี้เป็นธรรมดาของพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย

และพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นผู้ไม่

หวาดกลัว เปรียบเหมือนไกรสรมฤคราช ฉะนั้น

พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่ทรงยกพระองค์ และ

ไม่ทรงข่มขี่สัตว์ทั้งหลาย

ทรงหลุดพ้นจากการถือตัวและดูหมิ่น

ท่านเป็นผู้มีพระองค์เสมอในสัตว์ทั้งปวง พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่ทรงยกพระองค์ นี้เป็น

ธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

และพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อเสด็จ

อุบัติขึ้น พระองค์ทรงแสดงแสงสว่าง ทรงประ-

กาศวิการ ๖ ทั่วพื้นแผ่นดินนี้ทั้งสิ้น

ทั้งพระองค์ทรงเห็นนรกด้วย ครั้งนั้น

ไฟนรกดับ มหาเมฆยังฝนให้ตก นี้เป็นธรรมดา

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

พระพุทธเจ้าผู้มหานาคเหล่านั้น เป็น

เช่นนี้ พระพุทธเจ้าผู้มียศใหญ่เหล่านั้น ไม่มีใคร

เทียมเท่าพระตถาคตทั้งหลาย เป็นผู้มีพระคุณหา

ประมาณมิได้ ใคร ๆ ไม่เกินพระองค์ไปโดย

เกียรติคุณ.

ศิษย์ทุกตนเป็นผู้มีความเคารพ ชื่นชม

ถ้อยคำของเรา ต่างได้ปฏิบัติเช่นนั้น ตามสัตติ

กำลัง

พวกเขามีความเพลิดเพลินในกรรมของ

ตน เชื่อฟังถ้อยคำของเรา มีฉันทะอัธยาศัยน้อม

ไปในความเป็นพระพุทธเจ้า พากันบูชาพระเจดีย์

ทรายในกาลนั้น เทพบุตรผู้มียศใหญ่ จุติจากชั้น

ดุสิต บังเกิดในพระครรภ์ของพระมารดา หมื่น

โลกธาตุหวั่นไหว

เรายืนอยู่ในที่จงกรมไม่อาศรม ศิษย์

ทุกคนได้มาประชุมพร้อมกันในสำนักของเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

ถามว่า แผ่นดินบันลือลั่น ดุจโคอุสภะ คำรณ

ดุจมฤคราช ร้องดุจจระเข้ จักมีผลเป็นอย่างไร.

เราตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ-

องค์ใดที่เราประกาศ ณ ที่ใกล้พระสถูปคือกอง-

ทราย บัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีโชค เป็น

ศาสดาพระองค์นั้น เสด็จลงสู่พระครรภ์พระ-

มารดาแล้ว.

เราแสดงธรรมกถาแก่พวกศิษย์เหล่านั้น

แล้ว กล่าวสดุดีพระมหามุนี ส่งศิษย์ของตนไป

แล้ว นั่งขัดสมาธิ

ก็เราเป็นผู้สิ้นกำลังนอนเจ็บหนัก ระลึก

ถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทำกาลกิริยา ณ ที่

นั้นเอง

ครั้งนั้น ศิษย์ทุกคนพร้อมกันทำเชิง

ตะกอนแล้ว ยกซากศพของเราขึ้นเชิงตะกอน

พวกเขาล้อมเชิงตะกอน ประนมอัญชลี

เหนือเศียร อันลูกศรคือ ความโศกครอบงำ ชวน

กันมาคร่ำครวญ

เมื่อศิษย์เหล่านั้นพิไรรำพันอยู่ เราได้

ไปใกล้เชิงตะกอน สั่งสอนพวกเขาว่า เราคือ

อาจารย์ของท่าน แน่ะท่านผู้มีปัญญาดีทั้งหลาย

ท่านทั้งหลายอย่าได้เศร้าโศกเลย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

ท่านทั้งหลายควรเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน

พยายามในประโยชน์ของตน ทั้งกลางคืนและ

กลางวัน ท่านทั้งหลายอย่าได้ประมาท ควรทำ

ขณะเวลาให้ถึงเฉพาะ

เราพร่ำสอนศิษย์ของตนแล้วกลับไปยัง

เทวโลก เราได้อยู่ในเทวโลกถึง ๑๘ กัป

ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง และ

ได้เสวยราชสมบัติในเทวโลกเกินร้อยครั้ง

ในกัปที่เหลือ เราได้ท่องเที่ยวไปอย่าง

สับสน แต่ก็ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ

ก่อเจดีย์ทราย

ในเดือนที่ดอกโกมุทบาน ต้นไม้เป็นอัน

มากต่างก็ออกดอกบานฉันใด เราก็เป็นผู้อันพระ-

ศาสดาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ให้บานแล้วใน

สมัย ฉันนั้นเหมือนกัน

ความเพียรของเรานำธุระน้อยใหญ่ไป นำ

เอาธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมา เราตัด

กิเลสเครื่องผูก ดังช้างตัดเชือกแล้ว ฉะนั้น เป็น

ผู้ไม่มีอาสวะอยู่

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้สรรเสริญ

พระพุทธเจ้าใด ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระปุฬินุปปาทกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบปุฬินุปปาทกเถราปทาน

อรรถกถาปุฬินุปปทากเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า จตฺตลีสทิชาปิ จ ได้แก่ ชื่อว่า ทิชา เพราะเกิด ๒ ครั้ง

อธิบายว่า ชื่อว่า ทิชา เพราะฟันที่งอกขึ้นในวัยเป็นเด็กหักไปแล้ว งอกขึ้นอีก

และฟันเหล่านั้นจึงชื่อว่า ทิชา ก็การพยากรณ์ในนิทานกถา ข้าพเจ้าได้กล่าว

ไว้แล้วในหนหลังแล้วทีเดียว.

จบอรรถกถาปุฬินุปปาทกเถราปทาน

ตรณิยเถราปทานที่ ๘ ( ๔๘๘)

ว่าด้วยผลแห่งการทอดตนเป็นสะพาน

[๗๘] ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

อัตถทัสสี ผู้เป็นสยัมภู เป็นนายกของโลก

พระตถาคต ได้เสด็จไปที่ฝั่งแม่น้ำวินตา

เราเป็นเต่าเที่ยวไปในน้ำ ออกไปจาก

น้ำแล้วประสงค์จะเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จข้ามฟาก

จึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ ผู้นายกของโลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

(กราบทูลว่า) ขอเชิญพระพุทธเจ้าผู้เป็น

มหามุนีพระนามว่าอัตถทัสสี เสด็จขึ้นหลัง

ข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์จะให้พระองค์เสด็จ

ข้ามฟาก ขอพระองค์โปรดทรงทำที่สุดแห่งทุกข์

แก่ข้าพระองค์เถิด

พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศใหญ่พระนามว่า

อัตถทัสสี ทรงทราบถึงความดำริของเรา จึงได้

เสด็จขึ้นหลังเรา แล้วประทับยืนอยู่

ความสุขของเราในเวลาที่นึกถึงตนได้

และในเวลาถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา หาเหมือน

ความสุขของเราเมื่อพื้นพระบาทสัมผัสไม่

สัมพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้มี

พระยศใหญ่ เสด็จขึ้นประทับยืนที่ฝั่งแม่น้ำแล้ว

ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

เราข้ามกระแสคงคา ชั่วเวลาประมาณ

เท่าจิตเป็นไป ก็พระยาเต่าผู้มีบุญนี้ ส่งเราข้าม

ฟาก

ด้วยการส่งพระพุทธเจ้าข้ามฟากนี้ และ

ด้วยความเป็นผู้มีจิตเมตตา เขาจักรื่นรมย์อยู่ใน

เทวโลกตลอด ๑,๘๐๐ กัป

จากเทวโลกมามนุษยโลกนี้เป็นผู้อันกุศล

มูลตักเตือนแล้ว นั่ง ณ อาสนะเดียว จักข้าม

พ้นกระแส คือ ความสงสัยได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

พืชแม้น้อยแต่เขาเอาหว่านลงในเนื้อนา

ดี เมื่อฝนยังอุทกธารให้ตกอยู่โดยชอบ ผลย่อม

ทำชาวนาให้ยินดี แม้ฉันใด

พุทธเขตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง

ไว้นี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อบุญเพิ่มอุทกธาร

ให้โดยชอบ ผลจักทำให้เรายินดี

เราเป็นผู้มีตนอันส่งไปแล้วเพื่อความเพียร

เป็นผู้สงบระงับ ไม่มีอุปธิ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวง

แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

ในกัปที่ ๑,๘๐๐ เราได้ทำกรรมใด ใน

กาลนั้น ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น

ผลแห่งการส่งพระพุทธเจ้าข้ามฟาก

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอนขอ

พระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระตรณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบตรณิยเถราปทาน

อรรถกถาตรณิยเถราปทาน

อปทานที่ ๘ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาตรณิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

ธรรมรุจิเถราปทานที่ ๙ (๔๘๙)

ว่าด้วยผลแห่งความพอใจในธรรม

[๗๙] ในเวลาที่พระพุทธเจ้าผู้พิชิตมาร

พระนามว่าทีปังกร ทรงพยากรณ์สุเมธดาบสว่า

ในกัปจากกัปนี้ไปนับไม่ถ้วย ดาบสนี้จักเป็น

พระพุทธเจ้า

พระมารดาบังเกิดเกล้าของดาบสนี้จักทรง

พระนามว่ามายา พระบิดาจักทรงพระนามว่า

สุทโธทนะ ดาบสนี้จักชื่อว่าโคดม

ดาบสนี้จักเริ่มตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา

แล้ว จักเป็นพระสัมพุทธเจ้าผู้มียศใหญ่ ตรัสรู้

ที่ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์

พระอุปติสสะและพระโกลิตะจักเป็น

พระอัครสาวก ภิกษุอุปัฏฐากชื่อว่าอานนท์ จัก

บำรุงดาบสนี้ผู้เป็นพระพิชิตมาร

นางภิกษุณีชื่อว่าเขมาและอุบลวรรณา

จักเป็นอัครสาวิกา จิตตคฤหบดีและชาวเมืองอาฬวี

(ชื่อว่า หัตถกะ) จักเป็นอัครอุบาสก

นางขุชชุตตรา และนางนันทมาตา จัก

เป็นอัครอุบาสิกา ไม้โพธิ์ของนักปราชญ์ผู้นี้

เรียกว่าอัสสตถพฤกษ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

มนุษย์และเทวได้สดับพระดำรัสของ

พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ซึ่งจะหาใคร

เสมอเหมือนมิได้แล้ว ต่างเป็นผู้เบิกบาน ประ-

นมอัญชลีถวายนมัสการ

เวลานั้น เราเป็นมาณพชื่อว่าเมฆะ เป็น

นักศึกษา ได้สดับคำพยากรณ์อันประเสริฐของ

สุเมธดาบส พระมหามุนี

เราเป็นผู้คุ้นเคยในสุเมธดาบสผู้เป็นที่อยู่

แห่งกรุณา และได้บวชตามสุเมธดาบส ผู้เป็น

วีรบุรุษนั้น ผู้ออกบวชอยู่

เป็นผู้สำรวมในพระปาติโมกข์และ

อินทรีย์ ๕ เป็นผู้มีอาชีวะหมดจด มีสติ เป็น

นักปราชญ์ กระทำตามคำสอนของพระพิชิตมาร

เราเป็นอยู่เช่นนี้ ถูกปาปมิตรบางคน

ชักชวนในอนาจาร ถูกกำจัดจากหนทางอันชอบ

เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งวิตก ได้

หลีกไปจากพระศาสนา ภายหลังถูกมิตรอัน

น่าเกลียดนั้น ชักชวนให้ฆ่ามารดา

เรามีใจอันชั่วช้าได้ทำอนันตริยกรรมฆ่า

มารดา เราจุติจากอัตภาพนั้นแล้วเกิดในอเวจี

มหานรกอันแสนทารุณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

เราไปสู่วินิบาตถึงความลำบากท่องเที่ยว

ไปนาน ไม่ได้เป็นสุเมธดาบสผู้เป็นนักปราชญ์

ผู้ประเสริฐกว่านระอีก

ในกัปนี้ เราเกิดเป็นปลาติมิงคละ อยู่

ในมหาสมุทร เราเห็นเรือในสาครจึงเข้าไปเพื่อจะ

กิน

พวกพ่อค้าเห็นเราก็กลัว ระลึกถึงพระ-

พุทธเจ้าประเสริฐสุด เราได้ยินเสียงกึกก้องว่า

โคตโม ที่พ่อค้าเหล่านั้นเปล่งขึ้น

จึงนึกถึงสัญญาเก่าขึ้นมาได้ ต่อจากนั้น

ได้ทำกาลกิริยา เกิดในสัญชาติพราหมณ์ ใน

สกุลอันมั่งคั่ง ณ พระนครสาวัตถี

เราชื่อว่าธรรมรุจิ เป็นคนเกียจบาป

กรรมทุกอย่าง พออายุได้ ๗ ขวบ ก็ได้พบพระ-

พุทธองค์ผู้ส่องโลกให้โชติช่วง

จึงได้ไปยังพระมหาวิหารเชตวัน แล้ว

บวชเป็นบรรพชิต เราเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ๓ ครั้ง

ต่อคนหนึ่งกับวันหนึ่ง

ครั้งนั้น พระพุทธองค์ผู้เป็นมหามุนี

ทอดพระเนตรเห็นเราเข้า จึงได้ตรัสว่า ดูก่อน

ธรรมรุจิ ท่านจงระลึกถึงเรา ลำดับนั้น เราได้

กราบทูลบุรพกรรมอย่างแจ่มแจ้ง กะพระพุทธเจ้า

ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

เพราะปัจจัยแห่งความบริสุทธิ์ในปางก่อน

ข้าพระองค์จึงมิได้พบพระองค์ ผู้ทรงพระลักษณะ

แห่งบุญตั้งร้อยเสียนาน วันนี้ ข้าพระองค์ได้เห็น

แล้วหนอ ข้าพระองค์เห็นพระสรีระของพระองค์

อันหาสิ่งอะไรเปรียบมิได้

ข้าพระองค์ตามหาพระองค์มานานนักแล้ว

ตัณหานี้ข้าพระองค์ทำให้เหือดแห้งไปโดยไม่

เหลือด้วยอินทรีย์สิ้นกาลนาน ข้าพระองค์ชำระ

นิพพานให้หมดมลทินได้ โดยกาลนาน ข้าแต่

พระมหามุนี นัยน์ตาอันสำเร็จด้วยญาณ ถึงความ

พร้อมเพรียงแก่พระองค์ได้ ก็สิ้นเวลานานนัก

ข้าพระองค์พินาศไปเสียในระหว่าง อีกเป็นเวลา

นาน วันนี้ได้สมาคมกับพระองค์อีก ข้าแต่พระ-

โคดม กรรมที่ข้าพระองค์ได้ทำไว้ จะไม่พินาศไป

เลย.

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . . คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระธรรมรุจิเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบธรรมรุจิเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

๔๘๙. อรรถกถาธรรมรุจิเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตทาห มาณโว อาสึ ความว่า สุเมธบัณฑิตได้รับพยากรณ์

จากสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าทีปังกรในกาลใดในกาลนั้นเรา

ชื่อว่า เมฆะ เป็นพราหมณ์หนุ่มบวชเป็นฤาษีร่วมกับสุเมธดาบส ศึกษาใน

สิกขาบททั้งหลายจบแล้วคลุกคลีกับเพื่อนชั่วบางคนเข้า เพราะโทษที่คลุก-

คลีสมาคมกันจึงตกไปในอำนาจแห่งวิตกที่ลามกเป็นต้น ด้วยกรรมคือการ

ฆ่ามารดา จึงได้เสวยทุกข์อันเนื่องด้วยเปลวไฟเป็นต้นในนรก จุจิจากอัตภาพ

นั้นแล้ว ได้บังเกิดเป็นปลาใหญ่ชื่อ ติมิงคละ ในมหาสมุทร มีความประสงค์

จะกลืนเรือใหญ่ที่แล่นไปในท่ามกลางมหาสมุทร จึงได้ว่ายไป พวกพ่อค้า

เห็นเราเข้าจึงกลัวร้องเสียงดังว่า โอ พระผู้มีพระภาคเจ้าโคดม ลำดับนั้น

ด้วยอำนาจวาสนาที่ได้อบรมมาในกาลก่อน ปลาใหญ่จึงเกิดความเคารพใน

พระพุทธเจ้า จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ที่สมบูรณ์

ด้วยสมบัติในกรุงสาวัตถี มีศรัทธาเลื่อมใส ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระ

ศาสดาแล้วบวช ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ ได้ไปสู่ที่บำรุง

วันละ ๓ ครั้ง ระลึกถึงไหว้อยู่ ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะ

เราว่า เป็นผู้ยินดีในธรรมได้นาน. ลำดับนั้น พระเถระรูปนั้นกล่าวชมเชย

ด้วยคาถาเป็นต้นว่า สุจิร สตปุญฺญลกฺขณ ผู้ทรงพระลักษณะแห่งบุญตั้งร้อย

เสียนานดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้ทรงพระลักษณะแห่งบุญตั้งร้อยผู้เจริญ. บทว่า

ปติปุพฺเพน วิสุทฺธปจฺจย ความว่า ข้าพเจ้ามิได้พบเห็นท่านผู้มีปัจจัยสมภารที่

บำเพ็ญมาจนบริบูรณ์ ณ บาทมูลของพระพุทธเจ้าทีปังกรในกาลก่อนเสียนาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

แสนนาน. บทว่า อหมชฺช สุเปกขน ความว่า ในวันนี้นี่เอง ข้าพเจ้าได้

พบเห็นแล้วหนอ ซึ่งพระโคตรผู้มีพระสรีระอันปราศจากอุปมา นับว่าเป็นการ

เห็นด้วยดี หรือเป็นการเห็นที่งาม. บทว่า สุจิร วิหตตโม มยา ความว่า

พระองค์ทรงกำจัดความมืดได้แล้วโดยพิเศษ คือทรงกำจัดโมหะได้แล้ว แม้

ข้าพระองค์ ก็ได้ชมเชยแล้วเป็นอย่างดีตลอดกาลนาน. บทว่า สุจิรกฺเขน

นที วิโสสิตา ความว่า แม่น้ำคือตัณหานี้ ซึ่งข้าพระองค์รักษาคุ้มครองมา

เป็นอย่างดี ได้ให้เหือดแห้งไปโดยพิเศษแล้ว คือพระองค์ทำให้ไม่สมควร

จะเกิดได้อีก. บทว่า สุจิร อมล วิโสธิต ความว่า ข้าพระองค์ชำระพระนิพพาน

ให้หมดจดได้โดยกาลนาน คือพระองค์ทำให้ข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว. บทว่า

นยน าณมย มหามุเน จิรากาลสมงฺคิโต ความว่า ข้าแต่พระมหามุนีคือ

พระมหาสมณะ นัยน์ตาอันสำเร็จด้วยญาณ ถึงความพร้อมเพรียงกับพระองค์

ได้ ก็สิ้นเวลานานนักหนา. บทว่า อวินฏฺโ ปุนรนฺตร ความว่า ข้าพระองค์

ได้พินาศ คือเสื่อมเสียไปในระหว่างภพ คือในท่ามกลางอีกเป็นเวลานาน.

บทว่า ปุนรชฺชสมาคโต ตฺยา ความว่า วันนี้ คือในเวลานี้ข้าพระองค์ได้

มาสมาคมกับพระองค์ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้ง. บทว่า น หิ นสฺสนฺติ

กตานิ โคตม ความว่า ข้าแต่พระโคดม คือ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า กรรมมี

การสมาคมเป็นต้น ที่ข้าพระองค์ได้ทำร่วมกับพระองค์จะไม่พินาศไป จน

กว่าจะดับขันธปรินิพพาน จึงจักไม่มี. คำที่เหลือ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาธัมมรุจิเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

สาลมัณฑปิยเถราปทานที่ ๑๐ (๔๙๐)

[๘๐] เราเข้าไปสู่ป่ารัง สร้างอาศรมอย่าง

สวยงาม มุงบังด้วยดอกรัง ครั้งนั้นเราอยู่ในป่า

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สยัมภูเกอัคร-

บุคคล ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง พระนามว่า ปิยทัสสี

ทรงประสงค์ความสงัด จึงได้เสด็จเข้าสู่ป่ารัง

เราออกจากอาศรมไปป่าเที่ยวแสวงหามูล

ผลาผลในป่า ณ เวลานั้น

ณ ที่นั้น เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระ-

นามว่า ปิยทัสสี ผู้มีพระยศใหญ่ ประทับนั่งเข้า

สมาบัติรุ่งโรจน์อยู่ในป่าใหญ่

เราปักเสา ๔ เสา ทำปะรำอย่างเรียบร้อย

แล้วเอาดอกรังมุงเหนือพระพุทธเจ้า เราทรงปะรำ

ซึ่งมุงด้วยดอกรังไว้ ๗ วัน ยังจิตให้เลื่อมใสใน

กรรมนั้น ได้ถวายบังคมพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด

สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อุดมบุรุษ

เสด็จออกจากสมาธิประทับนั่งทอดพระเนตรดู

เพียงชั่วแอก

สาวกของพระศาสดาพระนามว่า ปิยทัสสี

ชื่อว่า วรุณ กับพระอรหันตขีณาสพแสนองค์ได้

มาเฝ้าพระศาสดาผู้นำชั้นพิเศษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าพิชิตมารพระ-

นามว่าปิยทัสสี เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่า

นรชน ประทับนั่งในท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์แล้ว

ได้ทรงกระทำการแย้มพระสรวลให้ปรากฏ

พระอนุรุทธเถระ ผู้อุปัฏฐาก ของพระ-

ศาสดาพระนามว่า ปิยทัสสี ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้าง

หนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระมหามุนีว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า อะไรเล่าหนอ

เป็นเหตุให้พระศาสดาทรงแย้มพระสรวลให้

ปรากฏ เพราะเมื่อเหตุ พระศาสดาจึงทรงแย้ม

พระสรวลให้ปรากฏ.

พระศาสดาตรัสว่า มาณพใดทรงปะรำที่

มุงด้วยดอกไม้ไว้ตลอด ๗ วัน เรานึกถึงกรรม

ของมาณพนั้น จึงได้ทำการยิ้มแย้มให้ปรากฏ

เราไม่พิจารณาเห็นช่องทางที่ไม่ควรที่บุญ

จะไม่ให้ผล ช่องทางที่ควรในเทวโลกหรือมนุษย์-

โลก ย่อมไม่ระงับไปเลย

เขาผู้เพียบพร้อมด้วยบุญกรรมอยู่ใน

เทวโลกมีบริษัทเท่าใด บริษัทเท่านั้นจักถูกมุงบัง

ด้วยดอกรัง เขาเป็นผู้ประกอบด้วยบุญกรรม จัก

รื่นเริงอยู่ในเทวโลกนั้น ด้วยการฟ้อน การขับ

การประโคม อันเป็นทิพย์ในกาลนั้นทุกเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

บริษัทของเขาประมาณเท่าที่มี จักมี

กลิ่นหอมฟุ้ง และฝนดอกรังจักตกลงทั่วไปใน

ขณะนั้น มาณพนี้จุติจากเทวโลกแล้ว จักมาสู่

ความเป็นมนุษย์ แม้ในมนุษย์โลกนี้หลังคาดอกรัง

ก็จักทรงอยู่ตลอดกาลทั้งปวง

ณ มนุษยโลกนี้การฟ้อนและการขับ ที่

ประกอบด้วยกังสดาล จักแวดล้อมมาณพนี้อยู่

เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

และเมื่อพระอาทิตย์อุทัย ฝนดอกรังที่

บุญกรรมปรุงแต่งแล้ว จักตกลงทุกเวลา

ในกัปที่ ๑,๘๐๐ พระศาสดาพระนาม

โคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จัก

เสด็จอุบัติขึ้นในโลก

มาณพนี้จักเป็นทายาทในธรรมของพระ-

ศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต

จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ

นิพพาน

เมื่อเขาตรัสรู้ธรรมอยู่ จักมีหลังคา

ดอกรัง เมื่อถูกทำฌาปนกิจอยู่บนเชิงตะกอน ที่

เชิงตะกอนนั้น ก็จักมีหลังคาดอกรัง.

พระมหามุนีพระนามว่า ปิยทัสสี ทรง

พยากรณ์ว่าแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่บริษัท ให้

อิ่มหนำด้วยฝนคือธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

เราได้เสวยราชสมบัติในเทวโลกในหมู่

เทวดา ๒๐ กัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๗ ครั้ง

เราออกจากเทวโลกมาในมนุษยโลกนี้

ได้ความสุขอันไพบูลย์ แม้ในมนุษย์โลกนี้ ก็มี

หลังคาดอกรัง นี้เป็นผลแห่งการถวายปะรำ

นี้เป็นความเกิดครั้งหลังของเรา ภพ

สุดท้ายกำลังเป็นไป แม้ในภพนี้หลังคาดอกรัง

ก็จักมีตลอดกาลทั้งปวง

เรายังพระมหามุนีพระนามว่า โคดม ผู้

ประเสริฐกว่าศากยราชให้ทรงยินดีได้ ละความ

มีชัยและความปราชัยเสียแล้ว บรรลุถึงฐานะที่

ไม่หวั่นไหว

ในกัปที่ ๑,๘๐๐ เราได้บูชาพระพุทธเจ้า

ด้วยพุทธบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล

แห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . . คำสอน

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสาลมัณฑปิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบสาลมัณฑปิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

อรรถกถาสาลมัณฑปิยเถราปทาน

อปทานที่ ๑๐ มีเนื้อความพอที่จะกำหนดรู้ได้โดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถาปังสุกูลวรรคที่ ๔๙

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปังสุกูลสัญญกเถราปทาน ๒. พุทธสัญญกเถราปทาน ๓.

ภิสทายกเถราปทาน ๔. ญาณถวิกเถราปทาน ๕. จันทนมาลิยเถราปทาน

๖. ธาตุปูชกเถราปทาน ๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน ๘. ตรณิยเถราปทาน

๙. ธัมมรุจิเถราปทาน ๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน.

มีคาถาคำนวณได้ ๒๑๙ คาถา.

จบปังสุกูลวรรคที่ ๔๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

กิงกณิปุปผวรรคที่ ๕๐

ตีณิกิงกณิปุปผิยเถราปทานที่ ๑ (๔๙๑)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกกระดึงทอง

[๘๑] เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจาก

ธุลีพระนามว่า วิปัสสี ผู้เป็นนายกของโลก โชติ

ช่วงเหมือนต้นกรรณิการ์ ประทับนั่งที่ซอกเขา

เราเก็บดอกกระดึงทอง ๓ ดอก มาบูชา

ครั้นบูชาพระสัมพุทธเจ้าแล้ว เดินบ่ายหน้าไป

ทางทิศทักษิณ

ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการ

ตั้งเจตาจำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้เราได้บูชาพระพุทธ-

เจ้าใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้

เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระตีณิกิงกณิปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบตีณิกิงกณิปุปผิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

ปังสุกุลปูชกเถราปทานที่ ๒

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาบังสุกุล

[๘๒] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มี

ภูเขาลูกหนึ่งชื่ออุทัพพละที่ภูเขานั้น เราได้เห็น

ผ้าบังสุกุลห้อยอยู่บนยอดไม้ครั้งนั้น เราร่าเริง

มีจิตยินดี เลือกเก็บเอกดอกกระดึงทอง ๓ ดอก

มาบูชาผ้าบังสุกุลจีวร

ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้วและด้วยการครั้ง

เจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์

ชั้นดาวดึงส์

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด

ในกาลนั้น เพราะบูชาธงชัยแห่งพระอรหันต์

เราไม่รู้จักทุคติเลย

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระปังสุกูลปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบปังสุกูลปูชกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

โกรัณฑปุปผิยเถราปทานที่ ๓ (๔๙๓)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาบังสุกุล

[๘๓] เมื่อก่อน เรากับบิดาและปู่ เป็น

คนทำงานในป่า เลี้ยงชีพด้วยฆ่าปศุสัตว์

กุศลกรรมของเราไม่มี

พระผู้นำชั้นเยี่ยมของโลกพระนามว่า

ติสสะ ผู้มีพระปัญญาจักษุ ทรงแสดงรอยพระบาท

๓ รอยไว้ใกล้ที่อยู่ของเรา ด้วยทรงพระอนุ-

เคราะห์

เราเห็นรอยพระบาทของพระศาสดาพระ-

นามว่า ติสสะ ที่ทรงเหยียบไว้ เป็นผู้ร่าเริง มีจิต

บันเทิง ยังจิตให้เลื่อมใสในรอยพระบาท

เราเห็นต้นหงอนไก่งอกงามอยู่มีดอกบาน

จึงเก็บใส่ผอบมาบูชารอยพระบาทอันประเสริฐ

สุด

ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการ

ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือเป็นเทวดาหรือ

มนุษย์ในกำเนิดนั้น ๆ เรามีผิวพรรณเหมือนดอก

หงอนไก่ มีรัศมีซ่านออกจากตัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด

ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการบูชารอยพระพุทธบาท

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระโกรัณฑปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบโกรัณฑปุปผิยเถราปทาน

กิงสุกปุปผิยเถราปทานที่ ๔ (๔๙๔)

ว่าด้วยผลแห่งการถาวายดอกทองกวาว

[๘๔] เราเห็นต้นทองกวาวมีดอก จึง

ประนมกรอัญชลี นึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ

สุด แล้วบูชาในอากาศ

ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการ

ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์

ชั้นดาวดึงส์

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด

ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

ทราบว่า ท่านพระกิงสุกปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบกิงสุกปุปผิยเถราปทาน

อุปัฑฒทุสสทายกเถราปทานที่ ๕ (๔๙๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผ้าครึ่งผืน

[๘๕] ครั้งนั้น สาวกของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ชื่อว่า สุชาตะ แสวง

หาผ้าบังสุกุลอยู่ที่กองหยากเยื่อใกล้ทางรถ

เราเป็นลูกจ้างของคนอื่นอยู่ในพระนคร

หงสาวดี ได้ถวายผ้าครึ่งผืนแล้วอภิวาทด้วยเศียร

เกล้า

ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการ

ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เราเป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติใน

เทวโลก ๓๓ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๗

ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์

โดยคณนานับมิได้ เพราะถวายผ้าครึ่งผืนเป็น

ทาน

เราเป็นผู้ไม่มีภัยแต่ไหน เบิกบานอยู่

ทุกวันนี้เราปรารถนา ก็พึงเอาผ้าเปลือกไม้คลุม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

แผ่นดินนี้พร้อมทั้งป่าและภูเขาได้ นี้เป็นผลแห่ง

ผ้าครึ่งผืน

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ให้ทานใด

ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้

เป็นผลแห่งผ้าครึ่งผืน

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอปัฑฒทุสสทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบอุปัฑฒทุสสทายกเถราปทาน

ฆตมัณฑทายกเถราปทานที่ ๖ (๔๙๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายกากเปรียง

[๘๖] เราเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรง

พระดำริดี เชษฐบุรุษของโลกประเสริฐกว่านรชน

เสด็จเข้าป่าใหญ่ประชวรด้วยพระโรคลม

จึงทำจิตให้เลื่อมใสนำกากเปรียงเข้าไป

ถวาย เพราะกุศลกรรมอันเราได้ทำและสั่งสมไว้.

แม่น้ำชื่อว่า ภาคีรถีนี้ และมหาสมุทร

ทั้ง ๔ ย่อมสำเร็จเป็นเปรียงแก่เรา

และแผ่นดินอันกว้างใหญ่จะนับประมาณ

มิได้นี้ ดังจะรู้ความดำริของเรา ย่อมกลายเป็น

น้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

พฤกษชาติที่งอกงามอยู่บนแผ่นดินซึ่งมี

อยู่ทั่วทั้งสี่ทิศนี้ ดังจะรู้ความดำริของเรา ย่อม

กลายเป็นต้นกัลปพฤกษ์ไป

เราได้เป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติใน

เทวโลก ๕๐ ครั้งได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๑ ครั้ง

และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดย

คณนานับมิได้

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ให้ทานใด

ในกาลนั้น ด้วยทานนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้

เป็นผลแห่งกากเปรียง

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระฆตมัณฑทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบฆตมัณฑทายกเถราปทาน

อุทกทายกเถราปทานที่ ๗ (๔๙๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายน้ำดื่ม

[๘๗] เรามีจิตเลื่อนใสมีใจโสมนัส ใน

ภิกษุสงฆ์ผู้ยอดเยี่ยมของพระพุทธเจ้าพระนามว่า

ปทุมุตตระ จึงได้ตักน้ำใส่หม้อน้ำฉันจนเต็ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

ในเวลาที่เราจะต้องการน้ำ จะเป็นยอด

ภูเขา ยอดไม้ในอากาศ หรือพื้นดิน น้ำย่อม

เกิดแก่เราทันที

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ให้ทานใด

ในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้

เป็นผลแห่งการให้น้ำเป็นทาน

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอุทกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-

การฉะนี้แล.

จบอุทกทายกเถราปทาน

ปุฬินถูปิยเถราปทานที่ ๘ (๔๙๔)

ว่าด้วยผลแห่งการก่อเจดีย์ทราย

[๘๘] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขา

ลูกหนึ่งชื่อว่า ยมกะ เราได้ทำอาศรมสร้างบรรณ

ศาลาไว้ที่ภูเขานั้น เราเป็นชฎิลผู้มีตบะใหญ่ มี

นามชื่อว่า นารทะ ศิษย์ ๔ หมื่นคนบำรุงเรา

ครั้งนั้น เราเป็นผู้หลีกออกเร้นอยู่ คิด

อย่างนี้ว่า มหาชนบูชาเรา เราไม่บูชาอะไร ๆ

เลย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

ผู้ที่จะกล่าวสั่งสอนเราก็ไม่มี ใคร ๆ ที่

จะตักเตือนเราก็ไม่มีอ เราไม่มีอาจารย์และอุปัชฌาย์

อยู่ในป่า

ศิษย์ผู้ภักดีพึงบำรุงเราก็ไม่มี ความเป็น

อาจารย์เช่นนั้นของเราไม่มี การอยู่ในป่าจึงไม่มี

ประโยชน์

สิ่งที่ควรบูชา เราควรแสวงหา สิ่งที่ควร

เคารพก็ควรแสวงหาเหมือนกัน เราจักชื่อว่าเป็น

ผู้มีที่พึงพำนักอยู่ ใคร ๆ จักไม่ติเราได้

ในที่ไม่ไกลอาศรมของเรา มีแม่น้ำซึ่ง

มีชายหาด มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ เกลื่อน

ไปด้วยทรายที่ขาวสะอาด ครั้งนั้น เราได้ไปยัง

แม่น้ำชื่อว่า อมริกา ตะล่อมเอาทรายมาก่อเป็น

เจดีย์ทราย

พระสถูปของพระสัมพุทธเจ้าผู้ทำที่สุด

ภพ เป็นมุนี ที่ได้มีแล้ว เป็นเช่นนี้ เราได้ทำ

สถูปนั้นให้เป็นนิมิต

เราก่อพระสถูปที่หาดทรายแล้วปิดทอง

แล้วเอาดอกกระดึงทอง ๓ ดอกมาบูชา

เราเป็นผู้มีความอิ่มใจ ประนมกรอัญชลี

นมัสการทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ไหว้พระเจดีย์ทราย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

เหมือนถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าในที่เฉพาะพระ

พักตร์ ฉะนั้น

ในเวลาที่กิเลสและความตรึกเกี่ยวด้วย

กามเกิดขึ้น เราย่อมนึกถึง เพ่งดูพระสถูปที่ได้

ทำไว้ เราอาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้นำสัตว์

ออกจากที่กันดาร ผู้นำชั้นพิเศษ ตักเตือนตนว่า

ท่านควรระวังกิเลสไว้ แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ การ

ยังกิเลสให้เกิดขึ้นไม่สมควรแก่ท่าน

ครั้งนั้น เมื่อเราคำนึงถึงพระสถูป ย่อม

เกิดความเคารพขึ้นพร้อมกัน เราบรรเทาวิตกที่

น่าเกลียดเสียได้ เปรียบเหมือนช้างตัวประเสริฐ

ถูกเครื่องแทงหูเบียดเบียน ฉะนั้น

เราประพฤติอยู่เช่นนี้ได้ถูกพระยามัจจุ-

ราชย่ำยี เราทำกาลกิริยา ณ ที่นั้นแล้ว ได้ไป

ยังพรหมโลก

เราอยู่ในพรหมโลกนั้นตราบเท่าหมดอายุ

แล้วมาบังเกิดในไตรทิพย์ ได้เป็นจอมเทวดา

เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๘๐ ครั้ง

ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ครั้ง และ

ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณนา

นับมิได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

เราได้เสวยผลของดอกกระดึงทองเหล่า

นั้น ดอกกระดึงทอง ๒๒,๐๐๐ ดอกแวดล้อมเรา

ทุกภพ

เพราะเราเป็นผู้บำเรอพระสถูปฝุ่นละออง

ย่อมไม่ติดที่ตัวเรา เหงื่อไม่ไหล เรามีรัศมีซ่าน

ออกจากตัว

โอ พระสถูปเราได้สร้างไว้ดีแล้ว แม่น้ำ

อมริกา เราได้เห็นหมดแล้ว เราได้บรรลุบทอันไม่

หวั่นไหว

ก็เพราะได้ก่อพระสถูปทราย อันสัตว์ผู้

ปรารถนาจะกระทำกุศลควรเป็นผู้ยึดเอาสิ่งที่เป็น

สาระ ไม่ใช่เป็นด้วยเขตหรือไม่ใช่เขต ความ

ปฏิบัตินั่นเองเป็นสาระ

บุรุษผู้มีกำลัง มีความอุตสาหะที่จะข้าม

ทะเลหลวง พึงถือเอาท่อนไม้เหล็ก วิ่งไปสู่ทะเล

หลวง ด้วยคิดว่า

เราอาศัยไม้นี้จักข้ามทะเลหลวงไปได้

นรชนพึงข้ามทะเลหลวงไปด้วยความเพียรอุตสาหะ

แม้ฉันใด

เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยกรรมเล็ก ๆ

น้อย ๆ ที่ได้ทำไว้แล้ว จึงข้ามพ้นสงสารไปได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

เมื่อถึงภพสุดท้าย เราอันกุศลมูลตักเตือน

แล้วเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาลอันมั่งคั่ง ใน

พระนครสาวัตถี

มารดาบิดาของเรา เป็นคนมีศรัทธา

นับถือพระพุทธเจ้า ท่านทั้งสองนี้ เป็นผู้ฟัง

ทิฏฐิธรรมแล้ว ประพฤติตามคำสอน

ท่านทั้งถือเอาผ้าลาดสีขาว มีเนื้อ

อ่อนมาที่ต้นโพธิ์ ได้ทำพระสถูปทองนมัสการใน

ที่เฉพาะพระพักตร์แห่งพระศากยบุตร ทุกเย็นเช้า

ในวันอุโบสถ ท่านทั้งสองนำเอาพระ-

สถูปทองออก กล่าวสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า

ยับยั้งอยู่ตลอด ๓ ยาม เราได้เห็นพระสถูปเสมอ

จึงจะระลึกถึงเจดีย์ทรายขึ้นได้ นั่งบนอาสนะ

เดียว ได้บรรลุอรหัตแล้ว.

จบภาณวารที่ ๒๒

เราแสวงหาพระพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์นั้น

อยู่ ได้เห็นพระธรรมเสนาบดี จึงออกจากเรือน

บรรพชาในสำนักของท่าน

เราได้บรรลุอรหัตแต่อายุ ๗ ขวบ พระ-

พุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาจักษุ ทรงทราบถึงคุณวิเศษ

ของเราจึงให้เราอุปสมบท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

เรามีการกระทำอันบริบูรณ์ดีแล้ว แต่

ยังเป็นทารกอยู่ทีเดียว ทุกวันนี้กิจที่ควรทำใน

ศาสนาของพระศากยบุตร เราทำเสร็จแล้ว

ข้าแต่พระฤาษีผู้มีความเพียรใหญ่ สาวก

ของพระองค์เป็นผู้ล่วงพ้นเวรภัยทุกอย่าง ล่วงพ้น

ความเกี่ยวข้องทั้งปวง นี้เป็นผลแห่งพระสถูปทอง

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระปุฬินถูปิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบปุฬินถูปิยเถราปทาน

นฬกุฏิกทายกเถราปทานที่ ๙ (๔๙๙)

ว่าด้วยผลแห่งการสร้างกุฏิไม้อ้อ

[๘๙] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขา

ลูกหนึ่งชื่อหาริกะ ครั้งนั้นพระสยัมภูพระนามว่า

นารทะ ประทับอยู่ใกล้ต้น

เราทำเรือนไม้อ้อแล้วมุงด้วยหญ้า เราได้

ชำระที่จงกรมถวายพระสยัมภู

ด้วยกรรมที่ได้ทำดีแล้ว และด้วยการ

ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์

ชั้นดาวดึงส์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

ณ ดาวดึงส์นั้น วิมานของเราสูง ๖๐ โยชน์

กว้าง ๓๐ โยชน์ อันบุญกรรมเนรมิตขึ้นอย่างสวย

งาม เพราะกุฎีไม้อ้อ

เรารื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๑๔ กัป ได้

เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๗๑ ครั้ง

ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๔ ครั้ง และ

ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณนา

นับไม่ถ้วน

เราขึ้นปราสาทคือธรรมแล้ว เข้าสู่เรือน

อันว่างเปล่า อยู่ในศาสนาของพระศากยบุตรตาม

ปรารถนา

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด

ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้

เป็นผลแห่งกุฎีไม้อ้อ

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระนฬกุฏิกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบนฬกุฏิกทายกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

ปิยาลผลทายกเถราปทานที่ ๑๐ (๕๐๐)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายลูกมะหาด

[๙๐] เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้อ ครั้งนั้น

เราเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้

ปราศจากกิเลสธุลี ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง

เราเลื่อมใส ได้เอาผลมะหาดมาถวาย

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เป็นเขตแห่งบุญ ผู้

แกล้วกล้า ด้วยมือทั้งสองของตน

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้

ใด ในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระปิยาลผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบปิยาลผลทายกเถราปทาน

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตีณิกิงกณิปุปผิยเถราปทาน ๒. ปังสุกูลปูชกเถราปทาน

๓. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน ๔. กิงสุกปุปผิยเถราปทาน ๕. อุปัฑฒทุสส-

ทายกเถราปทาน ๖. ฆตมัณทายกเถราปทาน ๗. อุทกทายกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน ๙. นฬกุฏิทายกเถราปทาน ๑๐. ปิยาลผลทายก

เถราปทาน

บัณฑิตคำนวณคาถาไว้ ๑๐๙ คาถา

จบกิงกณิปุปผวรรคที่ ๕๐

และรวมวรรคมี ๑๐ วรรค คือ

๑. เมตเตยยวรรค ๒. ภัททาลิวรรค ๓. สกิงสัมมัชชกวรรค

๔. เอกวิหาริวรรค ๕. วิเภทกิวรรค ๖. ชคติวรรค ๗. สาลปุปผิยวรรค-

๘. นฬมาลิวรรค ๙. ปังสุกูลวรรค ๑๐. กิงกณิปปผวรรค.

มีคาถา ๑,๔๘๒ คาถา

จบหมวด ๑๐ แห่งเมตเตยวรรค

จบหมวด ๑๐๐ ที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

กณิการวรรคที่ ๕๑

ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทานที่ ๑ (๕๐๑)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกกรรณิการ์

[๙๑] พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธะ

มีพระมหาปุริสลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ

พระองค์ทรงประสงค์ความสงัด จงเสด็จไปป่า

หิมพานต์

พระมุนีผู้มีเลิศ ประกอบด้วยพระกรุณา

เป็นอุดมบุรุษ เสด็จถึงป่าหิมพานต์แล้ว ประทับ

นั่งขัดสมาธิ

ครั้งนั้น เราเป็นวิทยาธรสัญจรไปใน

อากาศ เราถือตรีศูลซึ่งกระทำไว้ดีแล้วเหาะไปใน

อัมพร

พระพุทธเจ้าส่องสว่างอยู่ในป่า เหมือน

ไฟบนยอดภูเขา เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ

และเหมือนต้นพระยารังที่มีดอกบานฉะนั้น

เราออกจากป่าเหาะไปตามพระรัศมีพระ-

พุทธเจ้าเห็นคล้ายกับสีของไฟที่ไหม้อ้อ ยังจิต

ให้เลื่อมใส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

เราเลือกเก็บดอกไม้อยู่ ได้เห็นดอก-

กรรณิการ์ที่มีกลิ่นหอมจึงเก็บเอา ๓ ดอก บูชา

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ครั้งนั้น

ดอกไม้ของเราทั้ง ๓ ดอกเอาขั้วขึ้นเอากลีบลงทำ

เป็นเงา (บัง) แด่พระศาสดา

ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วย

การตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

วิมานของเราสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐

โยชน์ อันบุญกรรมทำให้อย่างสวยงามในดาวดึงส์

นั้น ปรากฏชื่อว่า กรรณิการ์ แล่งธนูตั้งพัน ลูก

คลีหนัง ๗ ลูก คนถือธงสำเร็จด้วยสีเขียวใบไม้

หิ้งแขวนตั้งแสน ปรากฏในปราสาทของเรา

บัลลังก์สำเร็จด้วยทองก็มี สำเร็จด้วย

แก้วมณีก็มี สำเร็จด้วยแก้วทับทิมก็มี สำเร็จ

ด้วยแก้วผลึกก็มี ตามแต่จะต้องการปรารถนา

ที่นอนมีค่ามากยัดด้วยนุ่น มีผ้าลาดลาย

รูปสัตว์ต่างๆ มีราชสีห์เป็นต้น ผ้าลาดมีชายเดียว

มีหมอนพร้อม ปรากฏว่ามีอยู่ในปราสาทของเรา

ในเวลาที่เราปรารถนาจะออกจากภพเที่ยว

จาริกไปในเทวโลก ย่อมเป็นผู้อันหมู่เทวดาแวด-

ล้อมไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

เราสถิตอยู่ภายใต้ดอกไม้ เบื้องบนเรามี

ดอกไม้เป็นเครื่องกำบัง สถานที่โดยรอบร้อย

โยชน์ ถูกคลุมด้วยดอกกรรณิการ์

นักดนตรี ๖ หมื่นบำรุงเราทั้งเช้าและเย็น

ไม่เกียจคร้าน แวดล้อมเราเป็นนิตย์ ตลอดคืน

ตลอดวัน

เรารื่นรมย์ด้วยการฟ้อน การขับและ

ด้วยกังสดาล เครื่องประโคม เป็นผู้มักมากด้วย

กาม บันเทิงอยู่ด้วยความยินดีในการเล่น

ครั้งนั้น เราบริโภคและดื่มในวิมานนั้น

บันเทิงอยู่ในไตรทศ เราพร้อมด้วยหมู่นางเทพ

อัปสร บันเทิงอยู่ในวิมานอันสูงสุด

เราได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๕๐๐

ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ครั้ง

และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์

โดยคณานับมิได้ เมื่อเรายังท่องเที่ยวอยู่ในภพ

น้อยภพใหญ่ ย่อมได้โภคทรัพย์มากมาย ความ

บกพร่องในโภคทรัพย์ ไม่มีแก่เราเลย นี้เป็น

ผลแห่งพุทธบูชา

เราท่องเที่ยวอยู่ในสองภพคือ ในความ

เป็นเทวดาและในความเป็นมนุษย์ คติอื่นไม่รู้จัก

นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

เราเกิดในสองสกุล คือ ในสกุลกษัตริย์

หรือสกุลพราหมณ์ ย่อมไม่เกิดในสกุลอันต่ำทราม

นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

ยานช้าง ยานม้า และวอคานหาม นี้เรา

ได้ทุกสิ่งทุกอย่างทีเดียว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

หมู่ทาส หมู่ทาส และนารีที่ประดับ

ประดาแล้ว เราได้ทุกอย่างทีเดียว นี้เป็นผลแห่ง

พุทธบูชา

ผ้าแพร ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้า

ฝ้าย เราได้ทุกชนิด นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

ผ้าใหม่ ผลไม้ใหม่ โภชนะมีรสอันเลิศ

ใหม่ ๆ เราได้ทุกชนิด นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

คำว่า เชิญเคี้ยวสิ่งนี้ เชิญบริโภคสิ่งนี้

เชิญนอนบนที่นอนนี้ เราได้ทั้งนั้น นี้เป็นผลแห่ง

เราเป็นผู้อันเขาบูชาในที่ทุกสถาน เรา

มียศใหญ่ยิ่ง มีศักดิ์ใหญ่ มีบริษัทไม่แตกแยก

ทุกเมื่อ เราเป็นผู้อุดมกว่าหมู่ญาติ นี้เป็นผลแห่ง

พุทธบูชา

เราไม่รู้จักหนาว ไม่รู้จักร้อน ไม่มีความ

กระวนกระวาย อนึ่ง ทุกข์ทางจิตย่อมไม่มีในหทัย

ของเราเลย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

เราเป็นผู้มีผิวพรรณดังทองคำ เที่ยวไป

ในภพน้อยภพใหญ่ ความเป็นผู้มีวรรณะผิดแผก

ไป เราไม่รู้จักเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จึงจุติจาก

เทวโลก มาเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาลอัน

มั่งคั่ง ในพระนครสาวัตถี

ละกามคุณ ๕ ออกบวชเป็นบรรพชิต

เรามีอายุได้ ๗ ขวบแต่กำเนิ ได้บรรลุอรหัต

พระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาจักษุ ทรง

ทราบถึงคุณของ เรา จึงรับสั่งให้เราอุปสมบท

เรายังหนุ่ม ก็ควรบูชา นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

ทิพยจักษุของเราบริสุทธิ์ เราฉลาดใน

สมาธิ ถึงความบริบูรณ์แห่งอภิญญา นี้เป็นผล

แห่งพุทธบูชา

เราบรรลุปฏิสัมภิทา ฉลาดหลักแหลม

ในอิทธิบาท ถึงความบริบูรณ์ในพระสัทธรรม นี้

เป็นผลแห่งพุทธบูชา

ในกัปที่ ๓ หมื่น เราได้บูชาพระพุทธเจ้า

ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น

ผลแห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . .คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

ทราบว่า ท่านพระตีณิกณิการปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน

เอกปัตตทายกเถราปทานที่ ๒ (๕๐๒)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายบาตร

[๙๒] ข้าพระองค์เป็นช่างหม้ออยู่ใน

พระนครหังสวดี ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจาก

กิเลสธุลี มีโอฆะอันข้ามได้แล้ว ไม่มีอาสวะ

ข้าพระองค์ได้ถวายบาตรดินที่ทำดีแล้ว

แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ครั้นถวายบาตร

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรงผู้คงที่แล้ว

เมื่อข้าพระองค์เกิดในภพ ย่อมได้ภาชนะ

ทองและจานที่ทำด้วยเงิน ทำด้วยทอง และทำ

ด้วยแก้วมณี

ข้าพระองค์บริโภคในถาด นี้เป็นผลแห่ง

บุญกรรม ข้าพระองค์เป็นผู้เลิศกว่าชนทั้งหลาย

โดยยศ

พืชแม้ถึงน้อย แต่หว่านลงในนาดี เมื่อฝน

ยังท่อธารให้ตกลงทั่วโดยชอบ ผลย่อมยังชาวนา

ให้ยินดีได้ ฉันใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

การถวายบาตรนี้ก็ฉันนั้น ข้าพระองค์

ได้หว่านลงในพุทธเขต เมื่อท่อธารคือปีติตกลง

อยู่ ผลจักทำข้าพระองค์ให้ยินดี

เขต คือ หมู่และคณะมีประมาณเท่าใด

ที่จะให้ความสุขแก่สรรพสัตว์ เสมอด้วยพุทธเขต

ไม่มีเลย

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้า-

พระองค์ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ข้าแต่พระองค์

ผู้เป็นอุดมบุรุษ ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระ-

องค์ ข้าพระองค์ได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว ก็

เพราะได้ถวายบาตรใบหนึ่ง

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ ข้าพระองค์ได้

ถวายบาตรใดในกาลนั้น ด้วยการถวายบาตรนั้น

ข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ

ถวายบาตร

ข้าพระองค์เผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .

คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพระองค์ได้ทำเสร็จ

แล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเอกปัตตทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบเอกปัตตทายกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

กาสุมาริกผลทายกเถราปทานที่ ๒ (๕๐๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมะรื่น

[๙๓] เราได้พบพระพุทธเจ้าผู้ปราศจาก

กิเลสธุลี เชษฐบุรุษของโลกประเสริฐกว่านรชน

โชติช่วงเหมือนต้นกรรณิการ์ ประทับนั่งอยู่ที่

ซอกภูเขา

เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ประนมกร

อัญชลีเหนือเศียรเกล้า แล้วเอาผลไม้มะรื่น

ถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้

ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่

รูจักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอนของ

พระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระกาสุมาริกผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้

ด้วยประการฉะนี้แล.

จบกาสุมาริกผลทายกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

อวฏผลิยเถราปทานที่ ๔ (๕๐๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลไม้พิเศษ

[๙๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สยัมภู ผู้มี

พระรัศมีนับด้วยพัน ไม่ทรงพ่ายแพ้อะไร ๆ ทรง

ออกจากวิเวกแล้ว เสด็จออกโคจรบิณฑบาต

เราถือผลไม้อยู่ ได้เห็นเข้า เราได้ถวายผลไม้

ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่

รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอนของ

พระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอวฏผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบอวฏผลิยเถราปทาน

จารผลิยเถราปทานที่ ๕ (๕๐๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมะม่วงกะล่อน

[๙๕] เราได้ถวายผลมะม่วงกะล่อนทอง

แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระฉวีวรรณเหมือน

ทองคำผู้สมควรรับเครื่องบูชา กำลังเสด็จดำเนิน

อยู่ในถนน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้

ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระจารผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบจารผลิยเถราปทาน

มาตุลุงคผลทายกเถราปทานที่ ๖ (๕๐๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมะงั่ว

[๙๖] เราได้เห็นสมเด็จพระโลกนายก

ผู้โชติช่วงเหมือนต้นกรรณิการ์ รุ่งเรืองดังพระ-

จันทร์ในวันเพ็ญ และเหมือนต้นไม้ประจำทวีปที่

โพลงอยู่

เราเลื่อมใส ได้เอาผลมะงั่วถวายแด่

พระศาสดาผู้เป็นทักขิเณยยบุคคล เป็นวีรบุรุษ

ด้วยมือทั้งสองของตน

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้

ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระมาตุลุงคผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบมาตุลุงคผลทายกเถราปทาน

อัชเชลผลทายกเถราปทานที่ ๗ (๕๐๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลรกฟ้า

[๙๗] ครั้งนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระ-

นามว่าอชินะ ผู้สมบูรณ์ด้วยจรณะ และเป็นมุนี

ผู้ฉลาดในสมาธิ ประทับอยู่ในป่าหิมพานต์

เราเอามือประคองผลไม้รกฟ้าซึ่งมีขนาด

เท่าหม้อถือร่มใบไม้แล้วถวายแด่พระศาสดา

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้เราได้ถวายผลไม้ใด

ในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . .คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอัชเชลผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบอัชเชลผลทายกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

อโมรผลิยเถราปทานที่ ๘ (๕๐๘)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลไม้พิเศษ

[๙๘] เราได้ถวายผลไม้โมระแด่พระสัม-

พุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณปานดังทองคำ ผู้สมควร

รับเครื่องบูชา กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้

ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่

รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอโมรผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประ

การฉะนี้แล.

จบอโมรผลยเถราปทาน

ตาลผลิยเถราปทานที่ ๙ (๕๐๙)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลตาล

[๙๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สยัมภูพระ-

นามว่าสตรังสี ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้อะไร ๆ เสด็จ

ออกจากที่สงัดแล้วออกโคจรบิณฑบาต

เราถือผลไม้อยู่ ได้เห็นเข้า จงได้เข้าไป

เฝ้าสมเด็จพระนราสภ เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส

ได้ถวายผลตาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้

ใดกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่

รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระตาลผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบตาลผลิยเถราปทาน

นาลิเกรผลทายกเถราปทานที่ ๑๐ (๕๑๐)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมะพร้าว

[๑๐๐] ครั้งนั้น เราเป็นชาวสวน อยู่ใน

พระนครพันธุมดี ได้พบพระพุทธเจ้าผู้ปราศจาก

กิเลสธุลี กำลังเหาะอยู่ในอากาศ

เราได้เอาผลมะพร้าวถวายแด่พระพุทธเจ้า

ผู้ประเสริฐสุด พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศใหญ่

ทำปีติให้แก่เรา ทรงนำความสุขมา

ให้ในปัจจุบัน ประทับยืนอยู่ในอากาศ ได้ทรง

รับแล้ว

เรามีจิตผ่องใส ครั้นถวายผลมะพร้าวแด่

พระพุทธเจ้าแล้ว ได้ประสบปีติอันไพบูลย์และ

อุดมสุข รัตนะย่อมบังเกิดแก่เราผู้เกิดในภพนั้น ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้

ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

ทิพยจักษุของเราสะอาดหมดจด เราเป็นผู้

ฉลาดในสมาธิ ถึงความบริบูรณ์ในอภิญญา นี้

เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระนาลิเกระผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบนาลิเกรผลทายกเถราปทาน

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตีณิกิงกณิการปุปผิยเถราปทาน ๒. เอกปัตตทายกเถราปทาน

๓. กาสุมาริกผลทายกเถราปทาน ๔. อวฏผลิยเถราปทาน ๕. จารผลิย-

เถราปทาน ๖. มาตุลุงคผลทายกเถราปทาน ๗. อัชเชลผลทายกเถราปทาน

๘. อโมรผลิยเถราปทาน 8. ตาลผลิยเถราปทาน ๑๐. นาลิเกรผลทายก

เถราปทาน

ในวรรคนี้ มีคาถาคำนวณได้ ๑๐๐ คาถาถ้วน.

จบกณิกาวรรคที่ ๕๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

ผลทายกวรรคที่ ๕๒

กุรัญชิยผลทายกเถราปทานที่ ๑ (๕๑๑)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลอัญชันขาว

[๑๐๐] เมื่อก่อน เราเป็นพรานเนื้อ

เที่ยวอยู่ในป่า ได้พบพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลส

ธุลี ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง

เราเลื่อมใสได้เอาผลอัญชันขาวถวายแด่

พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุดเป็นเนื้อนาบุญ เป็น

นักปราชญ์ ผู้ประเสริฐสุดเป็นเนื้อนาบุญ เป็น

นักปราชญ์ ด้วยมือทั้งสองของตน

ในกัปนี้ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้

ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระกุรัญชิยผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบกุรัญชิยผลทายกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

กปิฏฐผลทายกเถราปทานที่ ๒ (๔๑๒)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลมะขวิด

[๑๐๒] เราได้ถวายผลมะขวิด แด่พระ-

สัมพุทธเจ้าผู้มีพระฉวีวรรณ ปานดังทองคำ ผู้

สมควรรับเครื่องบูชา กำลังเสด็จดำเนินอยู่ใน

ถนน

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้

ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแต่งการถวายผลไม้

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระกปิฏฐผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบกปิฏฐผลทายกเถราปทาน

โกสุมพผลิยเถราปทานที่ ๓ (๔๑๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลสะคร้อ

[๑๐๓] ในกาลนั้น เราได้ถวายผลสะคร้อ

แด่พระนราสภผู้ประเสริฐกว่าทวยเทพ งาม

เหมือนต้นรกฟ้าขาว กำลังเสด็จดำเนินอยู่ใน

ถนน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้

ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระโกสุมพผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้.

จบโกสุมพผลิยเถราปทาน

เกตกปุปผิยเถราปทานที่ ๔ (๕๑๔)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกเกด

[๑๐๔] พระพุทธเจ้าผู้อุดมบุรุษประทับ

นั่งอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำมินตานที เราได้พบพระพุทธเจ้า

ผู้ปราศจากเกิดกิเลสธุลี เป็นเอกอัครบุคคลพระทัย

ตั้งมั่นดี

ครั้งนั้น เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส

บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ด้วยดอกเกด ซึ่ง

มีกลิ่นหอมเหมือนน้ำผึ้ง

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้เอาดอกไม้

ใดบูชา ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้

เป็นผลแห่งพุทธบูชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเกตกปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-

การฉะนี้แล.

จบเกตกปุปผิยเถราปทาน

นาคปุปผิยเถราปทานที่ ๕ (๕๑๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกกากะทิง

[๑๐๕] เราได้เอาดอกกากะทิงบูชาพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระฉวีวรรณเปล่งปลั่งดัง

ทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา กำลังเสด็จดำเนิน

อยู่ในถนน

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้เอาดอกไม้

ใดบูชา ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้

เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระนาคปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-

ประการนี้แล.

จบนาคปุปผิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

อัชชปุปผิยเถราปทานที่ ๖ (๕๑๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกรกฟ้า

[๑๐๖] ครั้งนั้น เราเป็นกินนรอยู่ที่ใกล้

ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้า

ผู้ปราศจากกิเลสธุลี ผู้ไม่พ่ายแพ้

มีความเลื่อมใสโสมนัส และด้วย

การตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างกินนรแล้ว ได้

ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เราได้เป็นจอมเทพเสวยราชสมบัติใน

เทวโลก ๓๖ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเสวย

ราชสมบัติอันใหญ่ ๑๐ ครั้ง

ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์

ทุกวันนี้ เราควรแก่การบูชาในศาสนาของพระ-

ศากยบุตร

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

ทราบว่า ท่านพระอัชชุนปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบอัชชุนปุปผิยเถราปทาน

กุฏชปุปผิยเถราปทานที่ ๗ (๕๑๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกอัญชันเขียว

[๑๐๗] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มี

ภูเขาลูกหนึ่งชื่อว่า อัจจละ พระพุทธเจ้าพระนามว่า

สุทัสสนะ ประทับอยู่ที่ซอกเขา

เราถือดอกไม้ที่เกิดในป่าหิมพานต์ เหาะ

ขึ้นอากาศที่นั้น เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ข้าม

พ้นโอฆะ ไม่มีอาสวะ

ครั้งนั้นเราถือเอาดอกอัญชันเขียวจบ

เหนือเศียรเกล้าแล้ว บูชาแด่พระสยัมภูพุทธเจ้า

ผู้แสวงหาประโยชน์ใหญ่

ในกัปที่ ๓ แต่กัปนี้ เราได้เอาดอกไม้

ใดบูชา ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้

เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระกุฏชปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประ

การฉะนี้แล.

จบกุฏชปุปผิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

โฆสสัญญกเถราปทานที่ ๘ (๕๑๘)

ว่าด้วยผลแห่งความเลื่อมใสในเสียงแสดงธรรม

[๑๐๘] เมื่อก่อน เราเป็นพรานล่าเนื้อ

เที่ยวอยู่ในไพรวัน อันสงัดเงียบ ได้พบพระ

พุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี อันหมู่เทวดาห้อม-

ล้อม กำลังทรงประกาศสัจจะ ๔ ทรงแสดงอมตบท

เราได้สดับธรรมอันไพเราะของพระพุทธเจ้าผู้เผ่า

พันธุ์ของโลกพระนามว่า สิขี

เราจิตให้เลื่อมใสในพระสุรเสียง เรา

ยังจิตให้เลื่อมใสในพระองค์ท่านผู้ไม่มีบุคคล

เปรียบเสมอเหมือนแล้ว ข้ามพ้นภพที่ข้ามได้

ยาก

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใด

ในกาลนั้น ด้วยการได้สัญญานั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในเสียง

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอน

ทราบว่า ท่านพระโฆสสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบโฆสสัญญกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

สัพพผลทายกเถราปทานที่ ๙ (๕๑๙)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลไม้ต่าง ๆ

[๑๐๙] ครั้งนั้น เราเป็นพราหมณ์มีนาม

ชื่อว่า วรุณะ เป็นผู้เรียนจบมนต์ ทิ้งบุตร ๑๐ คน

เข้าไปกลางป่า สร้างอาศรมอย่างสวยงาม สร้าง

บรรณศาลาจัดไว้เป็นห้อง ๆ น่ารื่นรมย์ใจ อาศัย

อยู่ในป่าใหม่

พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้

แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ทรงพระประ-

สงค์จะช่วยเหลือเรา พระองค์จึงได้เสด็จมายัง

อาศรมของเรา

พระรัศมีได้แผ่กว้างใหญ่ตลอดไพรสณฑ์

ครั้งนั้น ป่าใหญ่โพลงไปด้วยพุทธานุภาพ เรา

เห็นปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้

คงที่ ได้เก็บเอาไปไม้มาเย็บเป็นกระทง แล้วเอา

ผลไม้ใส่จนเต็มหาบ เข้าไปเฝ้าพระสัมมา-

พุทธเจ้าแล้วได้ถวายพร้อมทั้งหาบ เพื่อทรง

อนุเคราะห์เรา พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่เราว่า

ท่านจงถือเอาหาบเดินตามหลังเรามา เมื่อ

สงฆ์บริโภคแล้ว บุญจักมีแก่ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

เราได้หาบผลไม้ไปถวายแก่พระภิกษุ-

สงฆ์ เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระภิกษุสงฆ์แล้ว

ได้เข้าถึงสวรรค์ชั้นดุสิต

เป็นผู้ประกอบด้วยการฟ้อน การขับ

การประโคมอันเป็นทิพย์ เสวยยศในสวรรค์ชั้น

ดุสิตนั้นโดยบุญกรรม เราเข้าถึงกำเนินใด ๆ คือ

เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้น ๆ เราไม่มี

ความบกพร่องในเรื่องโภคทรัพย์เลย นี้เป็นผล

แห่งการถวายผลไม้

เพราะได้ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า เรา

จึงได้เป็นใหญ่ตลอดทวีปทั้ง ๔ พร้อมด้วยสมุทร

พร้อมทั้งภูเขา ถึงฝูงนกมีเท่าใดที่บินอยู่ในอากาศ

นกเหล่านั้นก็ตกอยู่ในอำนาจของเรา นี้เป็นผล

แห่งการถวายผลไม้

ยักษ์ ภูต รากษส กุมภัณฑ์และครุฑ

เท่าที่มีอยู่ในไพรสัณฑ์ ต่างก็บำรุงบำเรอเรา ถึง

พวกเต่า หมาไน ผึ้งและเหลือบยุง ก็ตกอยู่ใน

อำนาจของเรา นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

แม้เหล่าสกุณปักษีมีกำลังมากชื่อสุบรรณ

ก็นับถือเรา นี้ก็เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

ถึงพวกนาคที่มีอายุยืน มีฤทธิ์ มียศใหญ่

ก็ตกอยู่ในอำนาจเรา นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี

หมาป่า หมาจิ้งจอก ก็อยู่ในอำนาจของเรา

นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

ที่อยู่ในซากไม้ตายและหญ้า กับผู้ที่อยู่

ในอากาศ ล้วนนับถือเราทั้งหมด นี้เป็นผลแห่ง

การถวายผลใหม่

ธรรมที่เห็นได้ยาก ละเอียด ลึกซึ้ง ซึ่ง

พระศาสดาทรงประกาศไว้ดีแล้ว เราถูกต้องแล้ว

อยู่ นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เราถูกต้องวิโมกข์ เป็นผู้ไม่มีอาสวะ

เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส และมีปัญญารักษาตน

นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เราเป็นผู้หนึ่งในจำนวนโอรสของพระ-

พุทธเจ้าที่ดำรงอยู่ในผล สิ้นโทสะ มียศใหญ่ นี้

เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เราถึงความบริบูรณ์ในอภิญญา อันกุศล

มูลตักเตือน กำหนดรู้อาสวะทั้งปวง เป็นผู้ไม่มี

อาสวะอยู่

เราเป็นผู้หนึ่งในจำนวนพระโอรสของ

พระพุทธเจ้าที่ได้วิชชา ๓ บรรลุฤทธิ์ มียศใหญ่

สมบูรณ์ด้วยทิพโสต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้

ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่

รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสัพพผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบสัพพผลทายกเถราปทาน

ปทุมธาริยเถราปทานที่ ๑๐ (๕๒๐)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกบัว

[๑๑๐] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีเขา

ลูกหนึ่งชื่อโรมสะ ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าพระนาม

ว่าอภิสัมภวะ ประทับอยู่กลางแจ้ง

เราออกจากที่อยู่ไป ถือเอาดอกปทุมบูชา

เราถือดอกปทุมบูชาอยู่หนึ่งวัน แล้วจึงได้กลับที่

อยู่

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระ

พุทธเจ้าใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

ทราบว่า ท่านพระปทุมธาริยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-

การฉะนี้แล.

จบปทุมธาริยเถราปทาน

รวมอปทานในวรรคนี้ คือ

๑. กุรัญชิยผลทายกเถราปทาน ๒. กปิฏฐผลทายกเถราปทาน

๓. โกสุมพผลิยเถราปทาน ๔. เกตุกปุปผิยเถราปทาน ๕. นาคปุปผิย-

เถราปทาน ๖. อัชชุนปุปผิยเถราปทาน ๗. กุฏชปุปผิยเถราปทาน

๘. โฆสสัญญกเถราปทาน ๙. สัพพผลทายกเถราปทาน ๑๐. ปทุมธาริย-

เถราปทาน

และในวรรคมีคาถาคำนวณได้ ๘๓ คาถา.

จบผลทายกวรรคที่ ๕๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

ติณทายกวรรคที่ ๕๒

ติณมุฏฐิทายกเถราปทานที่ ๑ (๕๒๑)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายหญ้าคา ๑

[๑๑๑] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขา

ลูกหนึ่งชื่อว่า ลัมพกะ ที่ภูเขาลัมพกะนั้น พระ-

สัมมาพุทธเจ้าพระนามว่า ติสสะ เสด็จจงกรม

อยู่กลางแจ้ง

เมื่อก่อน เราเป็นพรานเนื้อ อยู่ในอรัญ

ราวป่า ได้พบพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดกว่าทวย

เทพ จึงได้ถวายหญ้าคากำหนึ่งแด่พระพุทธเจ้า เพื่อ

เป็นที่ประทับนั่ง ครั้นแล้วเรายังจิตให้เลื่อมใส

ถวายบังคมพระสัมมาพุทธเจ้าแล้ว บ่ายหน้า

กลับทางทิศอุดร

เราเดินไปไม่นาน ก็ถูกราชสีห์ฆ่า เรา

เป็นผู้ถูกราชสีห์ฆ่าตายในที่นั้นนั่นเอง เราได้ทำ

อาสันนกรรม ณ ที่ใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

ไม่มีอาสวะ เราได้ไปยังเทวโลก เหมือนลูกศรที่

พ้นจากแล่ง ฉะนั้น

ปราสาทในเทวโลกนั้น ซึ่งบุญกรรม

เนรมิตให้ เป็นของงดงามมีแล่งธนูตั้งพัน มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

ลูกหนังเป็นจำนวนร้อย มีธงประจำปราสาทเป็น

สีเขียว

รัศมีของปราสาทนั้นแผ่ซ่านไป เหมือน

พระอาทิตย์อุทัย เราเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยเหล่า

นางเทพกัญญา เพียบพร้อมด้วยกามคุณารมณ์

บันเทิงเริงรมย์อยู่

เราอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จุติจากเทว-

โลกมาเป็นมนุษย์ เป็นผู้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้น

อาสวะ

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายหญ้า

สำหรับรองนั่ง ด้วยการถวายหญ้านั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายหญ้ากำหนึ่ง

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระติณมุฏฐิทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบติณมุฏฐิทานกเถราปทาน

เวจจกทายกเถราปทานที่ ๒ (๕๒๒)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายวัจจกุฎี

[๑๑๒] เราเลื่อมใส ได้ถวายวัจจกุฎีหลัง

หนึ่งแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เชษฐบุรุษของโลก

ผู้คงที่ พระนามว่า วิปัสสี ด้วยมือของตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

เราได้ยานช้าง ยานน้ำและยานทิพย์

เราไดบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ ก็เพราะการ

ถวายวัจจกุฎีนั้น

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายวัจจกุฎี

ใด ด้วยการถวายวัจจกุฎีนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการถวายวัจจกุฎี

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเวจจกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-

การฉะนี้แล.

จบเวจจกทายเถราปทาน

สรณคมนิยเถราปทานที่ ๓ (๕๒๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถึงสรณะ

[๑๑๓] ครั้งนั้น ภิกษุและเราผู้เป็นอาชีวก

ขึ้นโดยสารเรือไปด้วยกัน เมื่อเรื่อกำลังจะอับปาง

ภิกษุได้ให้สรณะแก่เรา

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ ภิกษุนั้นได้ให้

สรณะใดแก่เรา เพราะสรณะนั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสรณคมน์

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว... คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

ทราบว่า ท่านพระสรณคมนิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบสรณิคมนิยเถราปทาน

อัพภัญชนทายกเถราปทานที่ ๔ (๕๒๔)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายยาหยอดตา

[๑๑๔] เราอยู่ใกล้พระราชอุทยาน ใน

พระนครพันธุมดี ครั้งนั้นเรานุ่งหนังเสือเหลือง

ถือคณโฑน้ำ

เราได้พบพระสยัมภูพุทธเจ้าผู้ปราศจาก

กิเลสธุลี ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้อะไร ๆ มีความเพียร

เผากิเลส มีพระหทัยแน่วแน่ มีปรกติเพ่งพินิจ

ยินดีในฌาน มีความชำนาญ สำเร็จความประสงค์

ทั้งปวง ข้ามพ้นโอฆะแล้ว ไม่มีอาสวะ

ครั้นเราพบแล้วก็เลื่อมใสโสมนัส ได้ถวายยา

หยอดตา

ในกัปที่ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใด ใน

กาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น

ผลแห่งยาหยอดตา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

ทราบว่า ท่านพระอัพภัญชนทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบอัพภัญชนทายกเถราปทาน

สุปฏทายกเถราปทานที่ ๕ (๕๒๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผ้าเนื้อดี

[๑๑๕] พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้นำ

โลก เสด็จออกจากที่ประทับสำราญในกลางวัน

เราได้ถวายผ้าอย่างดีมีเนื้อเบา แล้วบันเทิงอยู่ใน

สวรรค์ตลอดกัป

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายผ้าใด

ด้วยการถวายผ้านั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น

ผลแห่งผ้าอย่างดี

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสุปฏทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

จบสุปฏทายกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

ทัณฑทายกเถราปทานที่ ๖ (๕๒๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายไม้เท้า

[๑๑๖] ครั้งนั้น เราเข้าไปยังป่าใหญ่

คัดเอาไม้ไผ่มาทำเป็นไม้เท้า ถวายแด่พระสงฆ์

เรากราบไหว้ท่านผู้มีวัตรอันงามด้วยจิต

เลื่อมใสนั้น ถวายไม้เท้าแล้วเดินบ่ายหน้าไปทาง

ทิศอุดร

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายไม้เท้า

ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายไม้เท้านั้น เราไม่

รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายไม้เท้า

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระทัณฑทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบทัณฑทสยกเถราปทาน

คิริเนลปูชกเถราปทานที่ ๗ (๕๒๗)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกอัญชันเขียว

[๑๑๗ ] เมื่อก่อน เราเป็นพรานเนื้อเที่ยว

อยู่ในป่า ได้พบพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี

ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัสในพระพุทธเจ้า

พระองค์นั้น ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณาทรง

ยินดีในประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ จึงได้

บูชาด้วยดอกอัญชันเขียว

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระ-

พุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระคิริเนลปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบคิริปูชกเถราปทานที่ ๘ (๕๒๘)

โพธิสัมมัชชกเถราปทานที่ ๘ (๕๒๘)

ว่าด้วยผลแห่งการกวาดลานโพธิ์

[๑๑๘] ในกาลก่อน เราเก็บใบโพธิ์ที่

ถูกทิ้งไว้ ณ ลานพระเจดีย์เอาไปทิ้งเสีย เราจึงได้

คุณ ๒๐ ประการ

ด้วยเดชแห่งกรรมนั้น เมื่อเรายังท่อง-

เที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมท่องเที่ยวไปแต่

ในสองภพ คือ ในเทวดาและมนุษย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

จุติจากเทวโลกแล้วมาสู่มนุษย์โลก ก็เกิด

แต่ในสองสกุล คือ สกุลกษัตริย์และสกุลพราหมณ์

เรามีอวัยวะน้อยใหญ่สมบูรณ์สูงใหญ่ รูป

สวย สะอาดสะอ้าน เต็มเปี่ยม ไม่บกพร่อง

เราเกิดในภพใดภพหนึ่ง คือ ในเทวโลก

หรือมนุษย์โลกในภพนั้น เรามีผิวพรรณเหมือน

ทองคำ เปรียบดังทองคำที่นายช่างหลอมแล้ว ผิว

ของเราอ่อนนุ่ม สนิท สุขุม ละเอียดอ่อนอยู่

ตลอดเวลา เพราะใบโพธิ์อันเราทิ้งดีแล้ว

ในคติไหน ๆ ก็ตามที ฝุ่นละอองย่อม

ไม่ติดในสรีระของเรา ผู้เป็นไปอยู่ นี้เป็นวิบาก

แห่งการทิ้งใบโพธิ์

เพราะความร้อน ลม แดด หรือเพราะ

ความร้อนของไฟก็ตาม ที่ตัวของเราไม่มีเหงื่อ

ไหล นี้เป็นวิบากแห่งการทิ้งใบโพธิ์

ในกายของเรา ไม่มีโรคเรื้อน ฝี กราก

ตกกระ หูดและหิดเปื่อยเลย นี้เป็นวิบากแห่งการ

ทิ้งใบโพธิ์

คุณแห่งการทิ้งใบโพธิ์อกข้อหนึ่ง คือ

บุคคลเกิดในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมไม่มีโรคใน

กาย นี้เป็นวิบากแห่งการทิ้งใบโพธิ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

คุณอีกข้อหนึ่ง คือ เขาเกิดในภพน้อยภพ

ใหญ่ ย่อมไม่มีความบีบคั้นที่เกิดขึ้นทางใจเลย

นี้เป็นวิบากแห่งการทิ้งใบโพธิ์

คุณอีกข้อหนึ่ง คือ เขาเกิดในภพน้อย

ภพใหญ่ ย่อมไม่มีใครเป็นข้าศึกเลย นี้เป็นวิบาก

แห่งการทิ้งใบโพธิ์

คุณอีกข้อหนึ่ง คือ เขาเกิดในภพน้อยภพ

ใหญ่ ย่อมมีโภคทรัพย์ไม่บกพร่องเลย นี้เป็น

วิบากแห่งการทิ้งใบโพธิ์

คุณอีกข้อหนึ่ง คือ เขาเกิดในภพน้อยภพ

ใหญ่ ย่อมไม่มีภัยแต่ไฟ พระราชา โจรและน้ำ

คุณอีกข้อหนึ่ง คือ เขาเกิดในภพน้อย

ภพใหญ่ ทาสหญิงและชายและคนติดตาม ย่อม

ประพฤติตามต้องการของเขา

เขาเกิดในมนุษย์โลกในปริมาณอายุเท่าใด

อายุของเขา ย่อมไม่ลดไปจากปริมาณอายุนั้น

ย่อมดำรงอยู่ตราบเท่าสิ้นอายุ

คนใน คนนอก ตลอดถึงชาวนิคม ชาว

รัฐ ล้วนแต่เป็นผู้ช่วยเหลือ ใคร่ให้ความเจริญ

ปรารถนาให้ความสุขแก่เขาทั้งนั้น ในทุก ๆ ภพ

เราเป็นคนมีโภคทรัพย์ มียศ มีสิริ มีญาติพวกพ้อง

ไม่มีเวร หมดความสะดุ้ง ในทุกภพ เรามีทุกสิ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

เมื่อเรายังท่องเที่ยวอยู่ในภพ เทวดา

มนุษย์ อสูร คนธรรพ์ ยักษ์และรากษส ล้วน

แต่ป้องกันรักษาเราทุกเมื่อ

เราเสวยยศสองอย่างทั้งในเทวโลกและ

มนุษยโลก ในอวสานกาล เราได้บรรลุศิวโมกข์

มหานฤพานอันยอดเยี่ยม

บุรุษใดประสพบุญเพราะเจาะจงพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้า หรือโพธิ์พฤกษ์ของพระศาสดาพระ-

องค์นั้น สำหรับบุรุษเช่นนั้น สิ่งอะไรเล่าที่เขา

จะหาได้ยาก

เขาย่อมเป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าคนอื่น ๆ ใน

มรรค, ผล การศึกษาปริยัติและคุณ คือ ฌาน

และอภิญญา ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน

เมื่อก่อน เรามีใจยินดีเก็บใบโพธิ์เอาไป

ทิ้ง จึงเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยองค์คุณ ๒๐ ประการ

นี้ทุกทิพาราตรีกาล

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระโพธิสัมมัชชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบโพธิสัมมัชชกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

อามัณฑผลทายกเถราปทานที่ ๙ (๕๒๙)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายแฟง

[๑๑๙] พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ

ผู้ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เป็นนายกของโลก ออก

จากสมาธิแล้ว เสด็จจงกรมอยู่

ครั้งนั้น เราเอาผลไม้ใส่หาบ หาบมา ได้

พบพระพุทธเจ้ามหามุนีผู้ปราศจากกิเลสธุลี กำลัง

เสด็จจงกรมอยู่

เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ประนมกรอัญชลี

เหนือเศียรเกล้า ถวายบังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

แล้วถวายผลแฟง

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ถวายผลไม้

ใด ในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งผลแฟง

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอามัณฑผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบอามัณฑผลทายกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

สุคันธเถราปทานที่ ๑๐ (๕๓๐)

ว่าด้วยผลแห่งการสดุดีพระรัตนตรัย

[๑๒๐] พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง

พราหมณ์ ทรงพระยศใหญ่มีพระนามว่ากัสสปะ

ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

ในภัทรกัปนี้

พระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะมี

พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ อันรัศมี

วาหนึ่งแวดล้อม มีข่ายรัศมีบังเกิดปรากฏ ก่อให้

เกิดความยินดีเหมือนพระจันทร์ ส่องแสงสว่าง

เหมือนพระอาทิตย์ ทรงยังหมู่สัตว์ให้เยือกเย็น

เหมือนเมฆฝน เป็นบ่อเกิดแห่งคุณเหมือนสาคร

พระองค์ประหนึ่งว่า แผ่นดินโดยศีล

ประหนึ่งว่า ภูเขาหิมวันต์โดยสมาธิ ประหนึ่งว่า

อากาศโดยปัญญา เป็นผู้ไม่เกาะเกี่ยวเสมือนลม

ฉะนั้น

พระองค์ไม่ทรงบกพร่องเหมือนวิหาร

ทรงแกล้วกล้าในบริษัท ทรงประกาศสัจธรรม

ช่วยมหาชนให้รอดพ้น

ครั้งนั้น เราเป็นเศรษฐีบุตรผู้มียศใหญ่

ในพระนครพาราณสี มีทรัพย์และข้าวเปลือก

มากมาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

เราเที่ยวเดินเล่นไปจนถึงป่ามฤคทายวัน

ได้เห็นพระศาสดาผู้เป็นนาถะ กำลังทรงแสดง

พระธรรมเทศนา เรื่องบทอมตธรรม

เราได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้

เป็นเทพยิ่งกว่าทวยเทพ มีพระดำรัสเกลี้ยงเกลา

น่ารัก มีพระสุรเสียงสม่ำเสมอเหมืนนกการะเวก

มีพระสำเนียงก้องเหมือนเสียงหงส์และเสียงกลอง

ใหญ่ ยังมหาชนให้ทราบชัดได้ และได้สดับ

พระสุรเสียงอันไพเราะ จึงได้ละโภคทรัพย์มิใช่

น้อย ออกบวชเป็นบรรพชิต เราบวชแล้วเช่นนี้

ไม่นานก็เป็นพหูสูต เป็นพระธรรมกถึก มีปฏิภาณ

อันวิจิตร

เราเป็นคนองอาจในการพรรณนา ได้

พรรณนาพระคุณของพระศาสดาผู้มีพระฉวีวรรณ

เหมือนทองคำ ในท่ามกลางบริษัทบ่อย ๆ ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ เป็นพระ

ขีณาสพ เป็นผู้ตื่นแล้วไม่มีทุกข์ ทรงตัดความ

สงสัยได้แล้วทรงถึงควานสั้นกรรมทุกอย่าง ทรง

พ้นกิเลสแล้วในเพราะธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้นั้น เป็นผู้

ตื่นแล้ว ทรงแกล้วกล้าดุจสีหะ พระองค์เป็นผู้

ประเสริฐยิ่ง ทรงประกาศพรหมจักรแก่โลก พร้อม

ทั้งเทวโลก ทรงฝึกพระองค์เองและทรงฝึกผู้อื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

ทรงสงบระงับเอง และทรงทำผู้อื่นให้สงบระงับ

เป็นผู้ดับกิเลส เป็นนักบวช ทรงยังผุ้อื่นให้ดับ

กิเลส เป็นผู้เบาพระทัยและทรงยังมหาชนให้

เบาใจ

ทรงมีความเพียร องอาจ กล้าหาญ มี

พระปัญญา ทรงประกอบด้วยพระกรุณา ทรงมี

ความชำนาญ เป็นผู้มีชัยชนะ เป็นพระพิชิตมาร

ไม่ทรงคนอง ทรงหมดความห่วงใย

เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นสะเทือน เป็น

นักปราชญ์ ไม่ทรงหลงใหล ไม่มีใครเทียมทัน

เป็นมุนี มีปรกตินำธุระไป ทรงอาจหาญแม้ในพวก

ครู ดังโคอุสภราช พระยาคชสาร (และ) ไกรสร

สีหราช

เป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากมลทิน

เป็นดังพรหม กล้ากว่านักปราชญ์ หักเสียซึ่งข้าศึก

คือกิเลส หมดเสี้ยนหนาม ปราศจากความเศร้า-

โศก ไม่มีใครเสมอเหมือน เป็นผู้ประเสริฐ สะอาด

หมดจด

เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นนาถะ

เป็นหมอ เป็นผู้กำจัดลูกศร เป็นนักรบ เป็นผู้

เบิกบาน เป็นผู้หลับและตื่น ไม่หวั่นไหว มีใจ

เบิกบาน ยิ้มแย้ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

ทรงทำการฝึกอินทรีย์ เป็นผู้ทำตนไป

เป็นผู้ทำ เป็นผู้นำ เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ทำ

สัตว์ให้ร่าเริง เป็นผู้วิด เป็นผู้ตัก เป็นผู้ฟัง

เป็นผู้สรรเสริญ

เป็นผู้ไม่กำเริบ ปราศจากลูกศร ไม่มี

ทุกข์ ไม่ทรงมีความสงสัย เป็นผู้หมดตัณหา

ปราศจากธุลี เป็นผู้ขุด เป็นผู้ทำลาย เป็นผู้กล่าว

เป็นผู้ทำให้ปรากฏ

เป็นผู้ยังสัตว์ให้ข้าม ให้ทำประโยชน์

เป็นผู้ถึงสัมปทา เป็นผู้ยังสัตว์ให้บรรลุ เป็นผู้

ไปด้วยกัน เป็นผู้ฆ่า ทรงยังกิเลสให้เร่าร้อน ให้

เหือดแห้ง

ดำรงอยู่ในสัจจะ เสมอด้วยผู้เสมอ ไม่

มีสหาย เป็นที่อยู่แห่งความเอ็นดู มีมนต์อัศจรรย์

ไม่ทรงลวงให้พิศวง เป็นผู้นำ เป็นนักบวชองค์

ที่ ๗

ทรงข้ามพ้นความสงสัยแล้ว ไม่ทรงถือ

พระองค์ ทรงมีคุณหาประมาณมิได้ ไม่มีใคร

เปรียบปาน ล่วงคลองแห่งถ้อยคำทุกชนิด ล่วง

เวไนยสัตว์ทุกคน ทรงชนะหมู่มาร

ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ

มีพระรัศมีกำหนดด้วยร้อยพระองค์นั้น ย่อมนำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

อมตมหานิพพานมาให้ เพราะฉะนั้น ความเชื่อ

ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรมและในพระสงฆ์

จึงมีประโยชน์ใหญ่

เราสรรเสริญพระพุทธเจ้าผู้เป็นสรณะอย่าง

สูงสุดของโลก ๓ ด้วยคุณมีอาทิเห็นปานดังนี้

แสดงธรรมกถาในท่ามกลางบริษัท

จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้เสวยมหันตสุข

ในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากดุสิตแล้วเกิดในมนุษย์

เป็นผู้มีกลิ่นหอม

ลมหายใจ กลิ่นปากและกลิ่นตัวเองเรา

ก็เช่นนั้นเหมือนกัน คือ มีกลิ่นหอม และกลิ่น

หอมนั้น นั่นแหละฟุ้งไปเนืองนิตย์ เรามีกลิ่นหอม

ทุกอย่าง

กลิ่นปากของเราหอมฟุ้งอยู่ทุกเมื่อ สรีระ

ของเรางดงาม หอมฟุ้งทุกทิพาราตรีกาล ปานดัง

ดอกปทุม ดอกอุบลและดอกจำปาฉะนั้น

ทั้งหมดนั้นเป็นผลแห่งการกล่าวสรรเสริญ

คุณพระพุทธเจ้า ผลนั้นน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ขอ

ท่านทั้งหลายจงตั้งใจสดับคุณของพระพุทธเจ้านั้น

ซึ่งเราได้กล่าวแล้ว

ครั้นเรากล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธ-

เจ้าซึ่งนำประโยชน์และความสุขมาให้แล้ว เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

ผู้มีจิตผ่องแผ้วในธรรมทั้งปวง พระสงฆ์เป็นผู้

ประกอบด้วยความเพียร มียศ ถึงความสุข งด

งามรุ่งเรือง น่ารักน่าชม เป็นผู้กล่าวไม่ดูหมิ่นดู

แคลนไม่มีโทษ และเป็นผู้มีปัญญา

ขวนขวายในธรรมที่เป็นที่สิ้นกิเลส

สำหรับผู้ภักดีต่อพระพุทธเจ้าได้นิพพานโดยง่าย

เราจักกล่าวถึงเหตุของพวกเรา เชิญท่านทั้งหลาย

ฟังเหตุนั้นตามเรื่อง

เราถวายบังคมก็เพราะค้นพบพระยศของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าที่มีอยู่ เพราะฉะนั้น แม้เรา

จะเกิดในภพใด ๆ ก็ย่อมเป็นผู้มียศในภพนั้น ๆ

เราสรรเสริญพระพุทธเจ้า ผู้ทำที่สุด

ทุกข์ และพระธรรมอันสงบระงับ อันปัจจัยมิได้

ปรุงแต่ง จึงได้เป็นผู้ถึงความสุข เพราะฉะนั้น

พระพุทธเจ้าจึงขอว่า ทรงประทานความสุขแก่

สัตว์ทั้งหลาย

เรากล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า

ว่ามีทั้งส่วนพระองค์และที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่น

จึงเป็นผู้ประกอบด้วยปีติในพระพุทธเจ้า เพราะ

ฉะนั้น เราจึงเป็นผู้มีความงดงาม เมื่อเรากล่าว

สรรเสริญพระคุณ ชื่อว่าชมเชยพระผู้นำ ซึ่งทรง

ชำนะมาร ล่วงเสียซึ่งเดียรถีย์ ครอบงำเดียรถีย์ ถึง

เสียได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นคนมีความรุ่งเรือง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

เมื่อเรากล่าวสรรเสริญพระคุณของพระ-

สัมพุทธเจ้า ชื่อว่าทำพระองค์ให้เป็นที่รักแม้แห่ง

หมู่ชน เพราะฉะนั้นเราจึงเป็นผู้น่ารัก น่าชม

เหมือนพระจันทร์อันมีในสรทกาลฉะนั้น เรา

เชยพระสุคตเจ้าด้วยวาจาทุกอย่าง ตามสติสามารถ

เพราะฉะนั้น เราจึงมีปฏิภาณวิจิตร เหมือนท่าน

พระวังคีสะ

คนพาลพวกใดเป็นผู้ถึงความสงสัย จึง

ดูหมิ่นพระมหามุนี เราข่มขี่คนพาลพวกนั้น โดย

ชอบธรรม เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ถูกดูหมิ่น เรา

ได้ช่วยนำกิเลสของสัตว์ทั้งหลายให้หมดไป ด้วย

การสรรเสริญพระคุณพระพุทธเจ้า เพราะอำนาจ

ของกรรมนั้น เราจึงเป็นผู้มีใจไม่มีกิเลส

เราผู้แสดงพุทธานุสสติ ได้ทำปัญญา

เครื่องตรัสรู้ให้เกิดแก่ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น เราจึง

เป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งอรรถอันละเอียด

เราจักเป็นผู้สิ้นอาสวะทุกอย่างจักข้ามพ้น

สาครคือสงสารไปได้ และมีความชำนิชำนาญ

ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ถึงควานดับสนิท

ในกัปนี้เองเราได้ชมเชยพระชินเจ้าใด

ด้วยการชมเชยนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น

ผลแห่งพุทธบูชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสุคันธเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบสุคันธเถราปทาน

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน ๒. เวจจทายกเถราปทาน

๓. สรณคมนิยเถราปทาน ๔. อัพภัญชนทายกเถราปทาน

๕. สุปฏทายกเถราปทาน ๖. ทัณฑทายกเถราปทาน

๗. คิริเนลปูชกเถราปทาน ๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน

๙. อามัฑผลทายกเถราปทาน ๑๐. สุคันธเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตคำนวณคาถาทั้งหมดได้ ๑๒๓ คาถา.

จบติณทายกวรรคที่ ๕๓

อรรถกถากิงกณิปุปผวรรคที่ ๕๐ เป็นต้น

อปทานทั้งหมด ในวรรคที่ ๕๐ วรรคที่ ๕๑ วรรคที่ ๕๒ และ

วรรคที่ ๕๓ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถากิงกณิปุปผวรรคที่ ๕๐ เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

กัจจายนวรรคที่ ๕๔

มหากัจจายนเถราปทานที่ ๑ (๕๑๓)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระมหากัจจายนเถระ

[๑๒๑] พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ

ผู้ปราศจากตัณหา ทรงชำนะสิ่งที่ใคร ๆ เอาชนะ

ไม่ได้ เป็นพระผู้นำ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในกัปที่แสน

แต่ภัทรกัปนี้

พระองค์เป็นผู้แกล้วกล้าสามารถ มีพระ-

อินทรีย์เสมือนใบบัว มีพระพักตร์ปราศจากมลทิน

คล้ายพระจันทร์ มีพระฉวีวรรณปานดังทองคำ มี

พระรัศมีซ่านออกจากพระองค์ เหมือนรัศมี

พระอาทิตย์ฉะนั้น

น้ำตาและใจของสัตว์ลง ประดับด้วย

พระลักษณะอันประเสริฐ ล่วงทางแห่งคำพูดทุก

อย่าง อันหมู่มนุษย์และอมรเทพสักการะ

ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงยังสัตว์ให้

ตรัสรู้ ทรงนำไปได้อย่างรวดเร็ว มีพระสุรเสียง

ไพเราะ มีพระสันดานมากไปด้วยพระกรุณา ทรง

แกล้วกล้าในที่ประชุม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

พระองค์ทรงแสดงธรรมอันไพเราะ ซึ่ง

ประกอบด้วยสัจจะ ๔ ทรงฉุดขึ้นซึ่งหมู่สัตว์ที่จม

อยู่ในเปือกตมคือโมหะ

ครั้งนั้น เราเป็นดาบสสัญจรไปแต่คนเดียว

มีป่าหิมพานต์เป็นที่อยู่อาศัย เมื่อไปสู่มนุษย์โลก

ทางอากาศ

ก็ได้พบพระพิชิตมาร เราได้เข้าไปเฝ้า

พระองค์แล้วสดับพระธรรมเทศนาของพระธีรเจ้า

ผู้ทรงพรรณนาคุณอันใหญ่ของพระสาวกอยู่ว่า

เราไม่เห็นสาวกองค์อื่นใดในธรรมวินัยนี้

ที่จะเสมอเหมือนกับกัจจายนภิกษุนี้ ผู้ซึ่งประกาศ

ธรรมที่เราแสดงแล้วแต่โดยย่อได้โดยพิสดาร ทำ

บริษัทและเราให้ยินดี

เพราะฉะนั้น กัจจายนภิกษุนี้ จึงเลิศ

ในการกล่าวซึ่งอรรถแห่งภาษิต ที่เรากล่าวไว้แต่

โดยย่อนั้นได้โดยพิสดาร ภิกษุทั้งหลาย ท่าน

ทั้งหลายจงทรงจำไว้อย่างนี้เถิด

ครั้งนั้น เราได้ฟังพระดำรัสอันรื่นรมย์

ใจแล้ว เกิดความอัศจรรย์ จึงไปป่าหิมพานต์นำ

เอากลุ่มดอกไม้มาบูชาพระผู้เป็นที่พึ่งของโลก

แล้วปรารถนาฐานันดรนั้น ครั้งนั้น พระผู้เป็น

ที่อยู่แห่งสรณะ ทรงทราบอัธยาศัยของเราแล้ว

ได้ทรงพยากรณ์ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

จงดูฤาษีผู้ประเสริฐนี้ ซึ่งเป็นผู้มีผิวพรรณ

เหมือนทองคำ ที่ไล่มลทินออกแล้ว มีโลมชาติ

ชุนชันและใจโสมนัส ยืนประนมอัญชลีนิ่งไม่ไหว

ติง ร่าเริง มีนัยน์ตาเต็มดี มีอัธยาศัยน้อมไปใน

คุณของพระพุทธเจ้า มีธรรมเป็นธง หทัยร่าเริง

เหมือนกับถูกรดด้วยน้ำอมฤต

เขาได้สดับคุณของกัจจายนภิกษุแล้ว จึง

ได้ปรารถนาฐานันดรนั้น ในอนาคตกาล ฤาษี

ผู้นี้จักได้เป็นธรรมทายาทของพระโคดมมหามุนี

เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต จักเป็นพระสาวกของ

พระศาสดา มีนามชื่อว่ากัจจายนะ

เขาจักเป็นพหูสูต มีญาณใหญ่ รู้อธิบาย

แจ้งชัด เป็นนักปราชญ์ จักถึงฐานันดรนั้น ดัง

ที่เราได้พยากรณ์ไว้แล้ว

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ทำกรรม

ใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราท่องเที่ยวอยู่แต่ในสองภพ คือ ใน

เทวดาและมนุษย์ คติอื่นเราไม่รู้จัก นี้เป็นผลแห่ง

พุทธบูชา

เราเกิดในสองสกุล คือ สกุลกษัตริย์และ

สกุลพราหมณ์ เราไม่เกิดในสกุลที่ต่ำทราม

นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

และในภพสุดท้าย เราเกิดเป็นบุตรของ

ติปิตวัจฉพราหมณ์ ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้า

จัณฑปัชโชต ในพระนครอุชเชนีอันรื่นรมย์ เรา

เป็นคนฉลาดเรียนจบไตรเพท ส่วนมารดาของเรา

ชื่อจันทนปทุมา เราชื่อกัจจานะ เป็นผู้มีผิวพรรณ

งาม

เราอันพระเจ้าแผ่นดินทรงส่งไปเพื่อ

พิจารณาพระพุทธเจ้า ได้พบพระผู้นำซึ่งเป็น

ประตูของโมกขบุรี เป็นที่สั่งสมคุณ

และได้สดับพระพุทธภาษิตอันปราศจาก

มลทิน เป็นเครื่องชำระล้างเปือกตมคือคติ จึง

ได้บรรลุอมตธรรมอันสงบระงับ พร้อมกับบุรุษ

คนที่เหลือ

เราเป็นผู้รู้อธิบายในพระมติอันใหญ่ ของ

พระสุคตเจ้าได้แจ้งชัด และพระศาสดาทรงตั้งไว้

ในตำแหน่งเอตทัคคะ เราเป็นผู้มีความปรารถนา

สำเร็จด้วยดีแล้ว

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ...คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระมหากัจจายนเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบมหากัจจายนเถราปทาน

ม. ติริฏิวัจฉะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

อรรถกถากัจจายนวรรคที่ ๕๔

๕๓๑. อรรถกถากัจจายนเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระมหากัจจายนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร

นาม ชิโน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-

องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ

นั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิด

ในตระกูลคฤหบดีมหาศาล พอเจริญวัยแล้ว วันหนึ่งได้ฟังธรรมในสำนักของ

พระศาสดา ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งพระศาสดาทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งที่

(สามารถ) จำแนกเนื้อความที่พระศาสดาตรัสไว้โดยย่อให้พิสดารได้ แม้

ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้นบ้าง จึงตั้งปณิธานทำบุญมีทานเป็นต้นไว้เป็น

อันมาก แล้วท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในกาลแห่งพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ได้เป็นวิทยาธร เที่ยวไปทางอากาศ ได้พบพระผู้มี

พระภาคเจ้า ซึ่งประทับนั่งในชัฏแห่งป่าแห่งหนึ่ง มีใจเลื่อมใสได้เอาดอก

กรรณิการ์มาทำการบูชา.

ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงกลับไปกลับมาเฉพาะแต่ในสุคติอย่างเดียว ใน

กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เขาได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุล

ในกรุงพาราณสี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ได้เอาแผ่นอิฐ

ทองคำ มีค่าราคาแสนหนึ่ง ทำการบูชา ณ ที่สุวรรณเจดีย์สำหรับบำเพ็ญ

กัมมัฏฐาน ได้ตั้งความปรารถนาไว้ว่า ด้วยผลแห่งบุญอันนี้ ขอให้สรีระของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

ข้าพระองค์จงมีวรรณะดุจทองคำ ในที่ที่ได้บังเกิดแล้ว ๆ เถิด ตั้งแต่นั้นมา

ก็ได้ทำแต่กุศลกรรมจนตลอดชีวิตแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก

ตลอดพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือนปุโรหิต ของ

พระเจ้าจัณฑปัชโชตในกรุงอุชเชนี ในวันตั้งชื่อเขามารดาคิดว่า ลูกของเรามี

สีกายดุจทองคำ เขาถือเอาชื่อของตนเองมา (แต่เกิด) ดังนี้จึงตั้งชื่อเขาว่า

กัจจนมาณพทีเดียว. เขาเจริญวัยแล้ว เล่าเรียนจบไตรเพท พอบิดาล่วงลับ

ดับชีวิตแล้ว ก็ได้รับตำแหน่งปุโรหิตแทน ว่าโดยอำนาจโคตรเขาปรากฏ

แล้วว่า กัจจายนะ. ย่อมาพระเจ้าจัณฑปัชโชตได้ทรงสดับว่า พระพุทธเจ้า

ทรงอุบัติขึ้น จึงส่งเขาไปด้วยพระราชดำรัสว่า ท่านอาจารย์ ท่านจงไปที่พระ

อารามนั้นแล้ว ทูลนิมนต์พระศาสดามาในวังนี้ ท่านปุโรหิตนั้น มีตนเป็น

ที่ ๘ เข้าไปเฝ้าพระศาสดา พระศาสดาได้ทรงแสดงธรรมแก่ปุโรหิตนั้นแล้ว .

ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ท่านปุโรหิตพร้อมกับคนทั้ง ๗ ได้ดำรงอยู่ใน

พระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔

ท่านได้บรรลุอรหัตผลแล้วอย่างนี้ ระลึกถึงบุรพกรรมของตนได้

เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่คนเคยได้ประพฤติมาแล้วใน

กาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. คำนั้น

มีเนื้อความดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. ลำดับนั้นพระศาสดา

ทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด. ในขณะนั้น พวก

ภิกษุเหล่านั้นได้มีผมและหนวดยาวประมาณ ๒ องคุลี ทรงบาตรและจีวรอัน

สำเร็จด้วยฤทธิ์ ได้เป็นคล้ายพระเถระบวชมา ๖๐ พรรษา พระเถระทำประ-

โยชน์ของตนให้สำเร็จแล้วอย่างนี้ (วันหนึ่ง) จึงกราบทูลพระศาสดาว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าจัณฑปัชโชต ปรารถนาจะไหว้พระบาท และฟังธรรม

ของพระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า กัจจานะ เธอนั่นแหละจงไปใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

วังนั้น เมื่อเธอไปถึงแล้ว พระราชาจักทรงเลื่อมใส พระเถระมีตนเป็นที่ ๘

ได้ไปในพระราชวังนั้น ตามพระบัญชาของพระศาสดา ได้ทำให้พระราชาทรง

เลื่อมใสแล้ว ได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้ในอวันตีชนบทเรียบร้อยแล้ว จึง

ได้กลับมาเฝ้าพระศาสดาอีก ด้วยอำนาจความปรารถนาในครั้งก่อนของตน

ปกรณ์ทั้ง ๓ คือ กัจจายนปกรณ์ มหานิรุตติปกรณ์ และเนตติปกรณ์ จึงได้

ปรากฏแล้วในท่ามกลางสงฆ์. ต่อมาท่านได้รับสถาปนาจากพระผู้มีพระภาค

เจ้าผู้ทรงสันโดษ ไว้ในตำแหน่งที่เลิศ ด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มหากัจจานะเป็นเลิศกว่าสาวกทั้งหลายของเรา ผู้จำแนกเนื้อความที่เรากล่าวไว้

โดยย่อ ทำให้พิสดารได้ ดังนี้แล้ว ท่านก็อยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่พระอรหัต-

ผลแล.

จบอรรถกถามหากัจจายนเถราปทาน

วักกลิเถราปทานที่ ๒ (๕๓๒)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระวักกลิเถระ

[๑๒๒] สมเด็จพระผู้นำมีพระนามไม่

ทราม มีพระคุณนับไม่ได้ พระนามว่า ปทุมุตตระ

เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้

พระองค์ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ก็

เพราะมีพระพักตร์เหมือนดอกปทุม มีพระฉวี-

วรรณงามไม่มีมลทินเหมือนดอกปทุม ไม่เปื้อน

ด้วยโลก เหมือนดอกปทุมไม่เปื้อนด้วยน้ำ ฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

เป็นนักปราชญ์ มีพระอินทรีย์ดังใบปทุม

และน่ารักเหมือนดอกปทุม ทั้งมีพระโอษฐ์มีกลิ่น

อุดม เหมือนกลิ่นในกลีบของดอกปทุม เพราะ

ฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ.

พระองค์เป็นผู้เจริญกว่าโลก ไม่ทรงถือ

พระองค์ เปรียบเสมือนเป็นนัยน์ตาให้คนตาบอด

มีพระอิริยาบถสงบ เป็นที่ฝั่งพระคุณ เป็นที่

รองรับกรุณาและมติ

ถึงในครั้งไหน ๆ พระมหาวีรเจ้าพระ-

องค์นั้น ก็เป็นผู้อันพรหม อสูรและเทวดาบูชา

สูงสุดกว่าชน ในท่ามกลางหมู่ชนที่เกลื่อนกล่นไป

ด้วยเทวดาและมนุษย์

เมื่อจะยังบริษัททั้งปวงให้ยินดีด้วยพระ-

สำเนียงอันเสนาะ และด้วยพระธรรมเทศนาอัน

เพราะพริ้ง จึงได้ชมสาวกของพระองค์ว่า

ภิกษุอื่นที่พ้นกิเลสด้วยศรัทธา มีมติดี

ขวนขวายในการดูเรา เช่นกับวักกลิภิกษุนี้ ไม่มี

เลย

ครั้งนั้น เราเป็นบุตรของพราหมณ์ใน

พระนครหังสวดี ได้สดับพระพุทธภาษิตนั้น จึง

ชอบใจฐานันดรนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

ครั้งนั้น เราได้นิมนต์พระตถาคตผู้

ปราศจากมลทินพระองค์นั้น พร้อมด้วยพระสาวก

ให้เสวยตลอด ๗ วัน แล้วให้ครองผ้า

เราหมอบศีรษะลงแล้วจมลงในสาครคือ

อนันตคุณของพระศาสดาพระองค์นั้น เต็มเปี่ยม

ไปด้วยปีติ ได้กราบทูล ดังนี้ว่า

ข้าแต่พระมหามุนี ขอให้ข้าพระองค์ได้

เป็นเช่นกับภิกษุผู้สัทธาธิมุต ที่พระองค์ตรัส

ชมเชยว่า เลิศกว่าภิกษุผู้มีศรัทธาในพระศาสนา

นี้เถิด

เมื่อเรากราบทูลดังนี้แล้ว พระมหามุนี

ผู้มีความเพียรใหญ่ มีพระทรรศนะมิได้เครื่อง

กีดกัน ได้ตรัสพระดำรัสนี้ในท่ามกลางบริษัทว่า

จงดูมาณพผู้นี้ ผู้นุ่งผ้าเนื้อเกลี้ยงสีเหลือง

มีอวัยวะอันบุญสร้างสมให้คล้ายทองคำ ดูดดื่มตา

และใจของหมู่ชน ในอนาคตกาล มาณพผู้นี้จักได้

เป็นพระสาวกของพระโคดมผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง

ใหญ่ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายสัทธาธิมุต

เขาเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตามจักเป็นผู้

เว้นจากความเดือดร้อนทั้งปวง รวบรวมโภคทรัพย์

ทุกอย่าง มีความสุขท่องเที่ยวไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระ-

นามชื่อว่า โคดม ทรงสมภพในวงศ์พระเจ้า

โอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

มาณพผู้นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระ-

ศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมเนรมิต

จักเป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าวักกลิ

เพราะผลกรรมที่เหลือนั้น และเพราะ

ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เรามีความสุขในที่ทุกสถาน ท่องเที่ยวไป

ในภพน้อยภพใหญ่ ได้เกิดในสกุลหนึ่งในพระ-

นครสาวัตถี

มารดาของเราถูกภัยแต่ปีศาจคุกคาม มี

ใจหวาดกลัวจึงให้เราผู้ละเอียดอ่อนเหมือนเนยข้น

นุ่นนิ่มเหมือนใบไม้อ่อน ๆ ซึ่งยังนอนหงาย ให้

นอนลงแทบบาทมูลของพระผู้แสวงหาคุณอัน

ยิ่งใหญ่ กราบทูลว่าข้าแต่พระโลกนาถ หม่อม

ฉันขอถวายทารกนี้แด่พระองค์ ข้าแต่พระโลก

นายก ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของเราด้วยเถิด

ครั้งนั้น สมเด็จพระมุนีผู้เป็นที่พึ่งของ

หมู่สัตว์ผู้หวาดกลัว พระองค์ได้ทรงรับเราด้วย

ฝ่าพระหัตถ์อันอ่อนนุ่มมีตาข่ายอันท่านกำหนด

ด้วยจักร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

จำเดิมแต่นั้นมา เราก็เป็นผู้ถูกรักษาโดย

พระพุทธเจ้า จึงเป็นผู้พ้นจาความป่วยไข้ทุก

อย่าง อยู่โดยสุขสำราญ

เราเว้นจากพระสุคตเสียเพียงครู่เดียวก็

กระสัน พออายุได้ ๗ ขวบ เราก็ออกบวชเป็น

บรรพชิต

เราเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยการดูพระรูปอันประ-

เสริฐเกิดเพราะบารมีทุกอย่าง มีดวงตาสีเขียว

ล้วน เกลื่อนกล่นไปด้วยวรรณสัณฐานอันงดงาม

ครั้งนั้น พระพิชิตมารทรงทราบว่า เรา

ยินดีในพระรูป จงได้ตรัสสอนเราว่า อย่าเลย

วักกลิ ประโยชน์อะไรในรูปที่น่าเกลียด ซึ่งชน

พาลชอบเล่า

ก็บัณฑิตใดเห็นสัทธรรม บัณฑิตนั้นชื่อ

ว่าเห็นเรา ผู้ไม่เห็นสัทธรรม ถึงจะเห็นเราก็ชื่อ

ว่าไม่เห็น

กายมีโทษไม่สิ้นสุดเปรียบเสมอด้วยต้นไม้

มีพิษ เป็นที่อยู่ของโรคทุกอย่าง ล้วนเป็นที่ประชุม

ของทุกข์

เพราะฉะนั้น ท่านจงเบื่อหน่ายในรูป

พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่ง

ขันธ์ทั้งหลาย จักถึงที่สุดแห่งสรรพกิเลสได้โดย

ง่าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

เราอันสมเด็จพระโลกนายกผู้แสวงหา

ประโยชน์พระองค์นั้น ทรงพร่ำสอนอย่างนี้ ได้

ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏ เพ่งดูอยู่ที่ซอกเขา

พระพิชิตมารผู้มหามุนีประทับยืนอยู่ที่

เชิงเขา เมื่อจะทรงปลอบโยนเรา ได้ตรัสเรียก

ว่า วักกลิ เราได้ฟังพระดำรัสนั้นเข้าก็เบิกบาน

ครั้งนั้น เราวิ่งลงไปที่เงื้อมเขาสูงหาย

ร้อยชั่วบุรุษ แต่ถึงแผ่นดินได้โดยสะดวกทีเดียว

ด้วยพุทธานุภาพ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระ-

ธรรมเทศนา คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป

แห่งขันธ์ทั้งหลายอีก เรารู้ธรรมนั้นทั่วถึงแล้วจึง

ได้บรรลุอรหัต

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระ-

ปรีชาใหญ่ทรงทำที่สุดแห่งจรณะ ทรงประกาศ

ในท่ามกลางมหาบุรุษว่า เราเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ

ทั้งหลายฝ่ายสัทธามุต

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด

ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

ทราบว่า ท่านพระวักกลิเถระได้ภาษิตภาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบวักกลิเถราปทาน

๕๓๒. อรรถกถาวักกลิเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระวักกลิเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า อิโต สตสหสฺสมฺหิ

ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้าพระ-

องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ

นั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้

บังเกิดในเรือนอันมีสากล ในหังสวดีนคร บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ไปยัง

พระวิหารพร้อมกับพวกอุบาสกอุบาสิกา ซึ่งกำลังเดินทางไปเฝ้าพระศาสดา

ไปถึงแล้วยืนอยู่ที่ท้ายบริษัท กำลังฟังธรรมอยู่ มองเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่ง

พระศาสดาทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นศรัทธา-

ธิมุต (คือหนักไปในความเชื่อ) แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงได้

ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน แล้วได้ตั้ง

ปณิธานไว้แล้ว พระศาสดาทรงเห็นว่าเธอไม่มีอันตราย จึงได้ทรงพยากรณ์.

เขาได้บำเพ็ญกุศลกรรมไว้จนตลอดชีวิตแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลก

และมนุษยโลก ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ได้บังเกิดใน

ตระกูลพราหมณ์ในกรุงสาวัตถี. มารดาบิดาได้ตั้งชื่อเขาว่า วักกลิ. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า กลิ เป็นชื่อของโทษมีมลทินและตกกระเป็นต้น กลิ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

โทษของผู้นั้นไปปราศแล้ว จากไปแล้ว เพราะเป็นเช่นกับก้อนทองคำที่ไล่

มลทินแล้ว เหตุนั้น ผู้นั้นท่านจึงเรียกว่า วักกลิ เพราะลง อาคม วักกลิ

นั้น เจริญวัยแล้ว เล่าเรียนไตรเพทจนจบในศิลปศาสตร์ของพวกพราหมณ์

ทั้งหมด (วันหนึ่ง) เห็นพระศาสดา มองดูรูปกายสมบัติไม่อิ่ม จึงเที่ยวจาริก

ไปกับพระศาสดา เขาคิดว่า เราอยู่แต่ในบ้าน ก็จักไม่ได้เห็นพระศาสดา

ตลอดกาลเป็นนิตย์ ดังนี้แล้ว จึงบวชในสำนักของพระศาสดา เว้นเวลาขบ

ฉัน และเวลาการทำสรีรกิจเท่านั้น ส่วนเวลาที่เหลือ ก็จะไปยืนอยู่ในที่ที่

สามารถจะเห็นพระทศพลได้ ยอมละหน้าที่อื่นเสีย ไปเฝ้าดูอยู่แต่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าอย่างเดียวเท่านั้น. พระศาสดา ทรงคอยความแก่รอบแห่งญาณของเธอ

ถึงเธอจะเที่ยวติดตามไปดูรูปหลายเวลา ก็มิได้ตรัสอะไร ๆ จนถึงวันหนึ่ง จึง

ตรัสว่า ดูก่อนวักกลิ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการที่เธอต้องมาดูร่างกายอัน

เปื่อยเน่านี้ วักกลิเอย ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้น

ชื่อว่าเห็นธรรม ก็วักกลิเห็นธรรมอยู่ ก็ชื่อว่าเห็นเรา แม้เมื่อพระศาสดาตรัส

สอนอยู่อย่างนี้ พระเถระก็ไม่อาจจะละการมองดูพระศาสดาแล้วไปในที่อื่น

ได้ แค่นั้นพระศาสดาจึงทรงดำริว่า ภิกษุนี้ไม่ได้ความสังเวช จักไม่ได้ตรัสรู้

แน่ พอใกล้วันเข้าพรรษา จึงทรงขับไล่พระเถระไปด้วยพระดำรัสว่า วักกลิ

เธอจงหลีกไปเสียเถิด เธอถูกพระศาสดาทรงขับไล่แล้ว จึงไม่สามารถจะอยู่

ต่อพระพักตร์พระศาสดาได้ คิดว่าเราไม่ได้เห็นพระศาสดา จะมีชีวิตอยู่ไป

ทำไม ดังนี้แล้ว จึงขึ้นไปที่ปากเหว บนภูเขาคิชฌกูฏ. พระศาสดาทรง

ทราบความเป็นไปนั้นของเธอแล้ว ทรงดำริว่า ภิกษุนี้เมื่อไม่ได้รับความเบาใจ

จากสำนักของเรา ก็จะพึงทำให้อุปนิสัยแห่งมรรคและผลพินาศไป ดังนี้แล้ว

ทรงแสดงพระองค์ เปล่งพระโอภาส ตรัสพระคาถาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

ภิกษุผู้มากไปด้วยความปราโมทย์

เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จะพึงบรรลุบทอัน

สงบ อันเข้าไประงับสังขารเป็นสุขได้ ดังนี้.

ทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า มานี่เถิด วักกลิ. พระเถระได้เกิดปีติและโสมนัสใจ

เป็นกำลังว่า เราจะได้เห็นพระทศพลแล้ว ความไม่เสื่อมเราได้แล้ว ด้วย

พระดำรัสว่า จงมา ดังนี้แล้วคิดว่า เราจะไปทางไหน แล้วไม่รู้หนทางที่ตน

จะไปเฝ้า จึงไปในอากาศเฉพาะพระพักตร์พระศาสดา โดยเอาเท้าข้างหนึ่ง

เหยีนบบนภูเขา รำพึงถึงพระคาถาที่พระศาสดาได้ตรัสแล้ว ข่มปีติในอากาศ

นั่นแล บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา แล้วข่มเรื่องที่ว่ามานี้ มา

ในอรรถกถาอังคุตตรนิกาย และในอรรถกถาธรรมบทแล.

ส่วนในอรรถกถานี้ นักศึกษาพึงทราบอย่างนี้ว่า พระวักกลิพอได้รับ

พระโอวาทจากพระศาสดา โดยนัยเป็นต้นว่า กึ เต วกฺกลิ อิมินา ปูติกาเยน

ทิฏฺเน ดูก่อนวักกลิ จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการที่เธอต้องมาดูร่างกายอัน

เปื่อยเน่านี้ ดังนี้แล้ว ก็อยู่บนภูเขาคิชฌกูฏเริ่มเจริญวิปัสสนา เพราะความที่

เธอมีศรัทธาหนักมากไป วิปัสสนาจึงไม่หยั่งลงสู่วิถี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ทราบเรื่องนั้นแล้ว ได้ทรงประทานให้เธอชำระกัมมัฏฐานใหม่. พระวักกลินั้น

ไม่สามารถจะทำวิปัสสนาให้ถึงที่สุดได้เลยทีเดียว.

ต่อมาอาพาธเนื่องด้วยลม เกิด ขึ้นแก่เธอ เพราะความบกพร่องแห่ง

อาหาร (ท้องว่าง) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าเธอถูกอาพาธเนื่องด้วย

โรคลมเบียดเบียน จึงเสด็จไปในที่นั้น เมื่อจะตรัสถาม จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ในป่าใหญ่ ซึ่ง

เป็นที่ปราศจากโคจร เป็นที่เศร้าหมอง ถูกโรคลม

ครอบงำจักทำอย่างไร

พระเถระได้สดับพระดำรัสนั้นแล้ว จึงกราบทูลด้วยคาถา ๔ คาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

ข้าพระองค์จะทำปีติและความสุข

ไพบูลย์ให้แผ่ไปสู่ร่างกาย ครอบงำปัจจัยอัน

เศร้าหมองอยู่ในป่าใหญ่

จักเจริญสติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕

และโพชฌงค์ ๗ อยู่ในป่าใหญ่

เพราะได้เห็นภิกษุทั้งหลายผู้ปรารถนาความ

เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์

ความพร้อมเพรียงกัน มีความเห็นร่วมกัน ข้า

พระองค์จึงจักอยู่ในป่าใหญ่

เมื่อข้าพระองค์ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้นี้

พระองค์อันฝึกแล้ว มีพระหทัยตั้งมั่น จึงเป็น

ผู้ไม่เกียจคร้านตลอดทั้งกลางคืนและกลางวัน อยู่

ในป่าใหญ่ ดังนี้.

เนื้อความแห่งคาถาเหล่านั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในอรรถกถาเถรคาถา

แล้วแล. พระเถระ พยายามเจริญวิปัสสนาอย่างนี้ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.

พระวักกลิเถระนั้น ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้ระลึกถึงบุญกรรม

ของตน เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติ

มาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อิโต สตสหสฺสมฺหิ ดังนี้ . บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า อิโต ความว่า ในที่สุดแสนกัป ภายหลังแต่ภัทรกัปที่

พระกกุสันธพุทธเจ้าเป็นต้น เสด็จอุบัติแล้วไป. บทว่า ปทุมาการวทโน ได้แก่

มีพระพักตร์มีความงดงามดุจดอกปทุมที่เบ่งบานดีแล้ว. บทว่า ปทุมปตฺตกฺโข

ความว่า มีพรเนตรเช่นกับดอกและใบปทุมขาว. บทว่า ปทุมุตฺตรคนฺโธ ว

ความว่า มีพระโอษฐ์มีกลิ่นคล้ายกลิ่นดอกปทุม. บทว่า อนฺธาน นยนูปโม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

ความว่า เป็นเสมือนนัยน์ตาของปวงสัตว์ผู้ปราศจากนัยน์ตา (คนตาบอด) คือ

ทรงประทานจักษุมีปัญญาจักษุเป็นต้น ให้ปวงสัตว์ทั้งหลาย ด้วยพระธรรม

เทศนา. บทว่า สนฺตเวโส ได้แก่ ทรงมีความสงบระงับเป็นสภาพ คือ ทรงมีพระ

อิริยาบถอันสงบ. บทว่า คุณนิธี ได้แก่ เป็นที่ฝังแห่งพระคุณทั้งหลาย, อธิบายว่า

เป็นที่รองรับหมู่แห่งพระคุณทั้งหมด. บทว่า กรุณามติอากโร ความว่า เป็น

บ่อเกิด คือ เป็นที่รองรับซึ่งความกรุณา กล่าวคือการยังจิตของสาธุชนทั้งหลาย

ให้หวั่นไหว และเป็นที่รองรับซึ่งมติอันเป็นเครื่องกำหนดประโยชน์และตัด

เสียซึ่งสิ่งอันหาประโยชน์มิได้. บทว่า พฺรหฺมาสุรสุรจฺจิโต ความว่าเป็นผู้อัน

พรหม อสูร และเทวดาเคารพ คือบูชาแล้ว. บทว่า นธุเรน รุเตน จ เชื่อม

ความว่า ทรงยังประชาชนทั้งหมดให้ยินดีด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะเสนาะดุจ

นกการเวก. บทว่า สนฺถวี สาวก สก ความว่า ได้ทรงชมเชย คือ ทรง

กระทำการชมเชยสาวกของพระองค์ด้วยพระธรรมเทศนาอันไพเราะเพราะพริ้ง.

บทว่า สทฺธาธิมุตโต ความว่า น้อมใจตั้งมั่นในพระศาสนาด้วยศรัทธาคือ

การน้อมใจเธอ. บทว่า มม ทสฺสนลาลโส ความว่า ขวนขวายมีใจจดจ่อใน

การดูเรา. บทว่า ต านภิโรจยึ ความว่า เราชอบใจ ต้องการปรารถนา

ตำแหน่งสัทธาธิมุตนั้น. บทว่า ปีตมฏฺนิวาสน ความว่า ผู้นุ่งผ้ามีสีดุจ

ทองคำเนื้อเกลี้ยง. บทว่า เหมยญฺโปจิตงฺค ความว่า มีอวัยวะอันบุญสร้างสม

ให้คล้ายกับสายสร้อยทองคำ. บทว่า โนนีตสุขุมาล ม ความว่า ผู้มีมือและ.

เท้าอันละเอียดอ่อนดุจเนยข้น. บทว่า ชาตปลฺลวโกมล ความว่า นุ่มนิ่มอ่อน

ดุจความอ่อนของใบอโศกอ่อน ๆ ฉะนั้น. บทว่า ปิสาจีภยตชฺชิตา ความว่า

ในคราวที่หญิงแม่มดอื่น คือราษสตนหนึ่ง คุกคามทำให้เราผู้เป็นกุมารมีความ

กลัว มารดาบิดาได้ให้เรานอนใกล้บาทมูลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวง

คุณใหญ่อธิบายว่า มารดาบิดาของเราผู้มีจิตหวาดกลัวได้กราบทูลว่า ข้าแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

พระโลกนาถ พระผู้นำของชาวโลก หม่อมฉันขอถวายทารกนี้แด่พระองค์

ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของทารกนี้ด้วยเถิด. บทว่า ตทา ปฏิคฺคหิ โส ม

ความว่า ในคราวที่มารดาถวายเราแล้วนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ได้ทรงรับเราด้วยผ่าพระหัตถ์อันอ่อนนุ่มบริสุทธิ์ มีตาข่าย คือประกอบด้วย

ตาข่ายที่ท่านกำหนดด้วยจักรลักษณะเป็นต้น. บทว่า สพฺพปารมิสมฺภูต ความ

ว่า อันบังเกิดพร้อมด้วยพระบารมีทุกอย่าง มีทานบารมีเป็นต้น. บทว่า

นีลกฺขินยน วร ได้แก่ มีดวงตาสีเขียวอันอุดม เกิดแต่บุญสมภาร. บทว่า

สพฺพสุภากิณฺณ ความว่า ได้ดูพระรูปเช่น พระหัตถ์ พระบาท และพระ-

เศียรเป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันลึกซึ้งเกลื่อนกล่นไปด้วยพระวรรณะ

สัณฐานอันงดงามพร้อมสรรพ. เชื่อมความว่า เรา (ดู) อยู่ ไม่ถึงความอิ่ม.

บทว่า ตทา น จรณนฺตโค ความว่า เมื่อเราได้บรรลุพระอรหัต

แล้วนั้น ได้ทรงทำที่สุดแห่งจรณะธรรม ๑๕ ประการมีศีลเป็นข้อต้น อธิบาย

ว่า บรรลุถึงที่สุด คือบำเพ็ญจนเต็มบริบูรณ์. บาลีเป็น มรณนฺตโค ดังนี้

ก็มี อธิบายว่า ถึงที่สุดแห่งความตายนั้น ก็คือพระนิพพาน เธอมีความว่าได้

ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้เป็นสัทธาธิมุต. มีคำที่ท่านกล่าว

อธิบายไว้ว่า ลำดับนั้น พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรง

สถาปนาเราไว้ในตำแหน่งที่เลิศด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วักกลิ

เป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นสัทธาธิมุตแล. คำที่เหลือมีเนื้อความ

พอกำหนดรู้ได้โดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถาวักกลิเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

มหากัปปิยเถราปทานที่ ๓ (๕๓๓)

ว่าด้วยบุพจริยาของมหากัปปินเถระ

[๑๒๓] พระพิชิตมารผู้ทรงรู้จักธรรม

ทั้งปวงพระนามว่า ปทุมุตตระ ปรากฏในอัชฎากาศ

เหมือนพระอาทิตย์ ปรากฏในอากาศในสรทกาล

ฉะนั้น

พระองค์ยังดอกบัวคือเวไนยสัตว์ให้บาน

ด้วยพระญาณนี้คือพระดำรัส สมเด็จพระโลกนายก

ทรงยังเปือกตม คือกิเลสให้แห่งไปด้วยพระรัศมี

คือพระปรีชา

ทรงกำจัดยศของพวกเดียรถีย์เสียด้วย

พระญาณปานดังเพชร เหมือนพระอาทิตย์กำจัด

ความมืด ฉะนั้นสมเด็จพระทิพากรเจ้าทรงส่อง

แสงสว่างจ้าทั้งกลางคืน และกลางวัน ในที่ทุก

หนทุกแห่ง

เป็นบ่อเกิดแห่งคุณเหมือนสาครเป็นบ่อ

เกิดแห่งรัตนะ ทรงยังเมฆ คือ ธรรมให้ตกลง

เพื่อหมู่สัตว์ เหมือนเมฆยังฝนให้ตก ฉะนั้น

ครั้งนั้น เราเป็นผู้พิพากษาอยู่ในพระ

นครหังสวดี ได้เข้าไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้า

ผู้มีพระนามว่า ปทุมุตตระ ซึ่งกำลังประกาศคุณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

ของพระสาวกผู้มีสติ ผู้กล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย

อยู่ ทรงยังใจของเราให้ยินดี

เราได้ฟังแล้วเกิดปีติโสมนัส นิมนต์

พระตถาคตพร้อมด้วยศิษย์ ให้เสวยและฉันแล้ว

ปรารถนาฐานนันดรนั้น

ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีส่วนเสมอ

ด้วยหงส์ มีพระสุรเสียงเหมือนหงส์และมโหรทึก

ได้ตรัสว่า จงดูมหาอำมาตย์ผู้นี้ ผู้แกล้วกล้าใน

การตัดสินหมอบอยู่แทบเท้าของเรา มีประกายดุจ

ลอยขึ้นและมีใจสูงด้วยปีติ วรรณะเหมือนแสง

แห่งแก้วมุกดา งดงาม นัยน์ตาและหน้าผ่องใส

มีบริวารเป็นอันมาก ทำราชการ มียศ

ใหญ่ มหาอำมาตย์นี้เขาปรารถนาตำแหน่งภิกษุ

ผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุ เพราะพลอยยินดีด้วย

ด้วยการบริจาคบิณฑบาตนี้ และด้วยการ

ตั้งเจตน์จำนงไว้ เขาจักไม่เข้าถึงทุคติเลยตลอด

แสนกัป

จักเสวยความเป็นผู้มีโชคดีในหมู่ทวยเทพ

และจักเสวยความเป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์ จักบรรลุ

ถึงนิพพาน ด้วยผลกรรมส่วนที่เหลือ

ในแสนกัปแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระ-

นามชื่อว่า โคดม ทรงสมภพในวงศ์พระเจ้า

โอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

มหาอำมาตย์นี้ จักเป็นธรรมทายาทของ

พระศาสดาพระองค์นั้นจักเป็นโอรสอันธรรม

เนรมิต จักมีนามว่า กัปปินะ เป็นสาวกของพระ-

ศาสดา

ต่อแต่นั้น เราก็ได้ทำสักการะด้วยดีใน

พระศาสนาของพระชินสีห์ ละร่างมนุษย์แล้ว

ได้ไปสวรรค์ชั้นดุสิต

เราครองราชย์ในเทวดาและมนุษย์โดย

เป็นส่วน ๆ แล้วเกิดในสกุลช่างหูก ที่ตำบลบ้าน

ใกล้พระนครพาราณสี

เรากับภรรยามีบริวารแสนคน ได้อุปัฏ-

ฐากพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์

ได้ถวายโภชนาหารตลอดไตรมาส แล้ว

ให้ครองไตรจีวร เราทั้งหมดจุติจากอัตภาพนั้น

แล้ว ได้เข้าถึงสวรรค์ชั้นไตรทส

เราทั้งหมดจุติจากสวรรค์นั้นแล้ว กลับมา

เป็นมนุษย์อีก พวกเราเกิดในกุกกุฏบุรี ข้างป่า

หิมพานต์

เราได้เป็นราชโอรสผู้มียศใหญ่ พระนาม

ว่ากัปปินะ พวกที่เหลือเกิดในสกุลอำมาตย์ เป็น

บริวารของเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

เราเป็นผู้ถึงความสุขอันเกิดแต่ความเป็น

มหาราชา ได้สำเร็จสิ่งที่ต้องประสงค์ทุกประการ

ได้สดับข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าที่พวกพ่อค้า

บอกดังนี้ว่า

พระพุทธเจ้าผู้เอกอัครบุคคลไม่มีใคร

เสมอเสมือน เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์

ทรงประกาศพระสัทธรรมอันเป็นธรรมไม่ตาย

เป็นอุดมสุข

และสาวกของพระองค์เป็นผู้หมั่นขยัน

พ้นทุกข์ไม่มีอาสวกิเลส ครั้นเราได้สดับคำของ

พ่อค้าเหล่านั้นแล้ว ได้ทำการสักการะพวกพ่อค้า

สละราชสมบัติพร้อมด้วยอำมาตย์ เป็น

พุทธมามกะ พากันออกเดินทาง ได้พบแม่น้ำ

มหาจันทานที มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง ทั้ง

ไม่มีท่าน้ำ ไม่มีแพ ข้ามได้ยาก มีกระแสน้ำไหล

เชี่ยว เราระลึกถึงพระพุทธคุณแล้ว ข้ามแม่น้ำ

ไปไดโดยสวัสดี

ถ้าพระพุทธองค์ทรงข้ามกระแสน้ำคือภพ

ไปได้ ถึงที่สุดแห่งโลก ทรงรู้แจ้งชัดไซร้ ด้วย

สัจวาจานี้ ขอให้การไปของเราจงสำเร็จ

ถ้ามรรคเป็นเครื่องให้สัตว์ถึงความสงบ

ได้ เป็นเครื่องให้โมกขธรรม เป็นธรรมอันสงบระงับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

นำความสุขมาให้ได้ไซร้ ด้วยสัจวาจานี้ ก็

ขอให้การไปของเราจงสำเร็จ

ถ้าพระสงฆ์เป็นผู้ข้ามพ้นทางกันดารไป

ได้ เป็นเนื้อนาบุญอันเยี่ยมไซร้ ด้วยสัจวาจานี้

ขอให้การไปของเราจงสำเร็จ

พร้อมกับที่เราได้ทำสัจจะอันประเสริฐ

ดังนี้ น้ำได้ไหลหลีกออกไปจากหนทาง ลำดับ

นั้น เราได้ข้ามไปขึ้นฝั่งแม่น้ำอันน่ารื่นรมย์ใจได้

โดยสะดวก

ได้พบพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่เหมือน

พระอาทิตย์ที่กำลังอุทัย ดังภูเขาทองที่ลุกโพลง

ฉะนั้น

เหมือนประทีปด้ามที่ถูกไฟไหม้โชติช่วง

อันสาวกแวดล้อมเปรียบดังพระจันทร์ที่ประกอบ

ด้วยดวงดาว ยังเทวดาและมนุษย์ให้เพลิดเพลิน

ปานท้าววาสวะ ผู้ยังฝนคือรัตนะให้ตกลงฉะนั้น

เราพร้อมด้วยอำมาตย์ถวายบังคมแล้ว

เฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระ-

พุทธเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของเราได้แสดงพระ-

ธรรมเทศนา

เราฟังธรรมอันปราศจากมลทินแล้ว ได้

กราบทูลพระพิชิตมารว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ขอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

ได้ทรงโปรดให้พวกข้าพระองค์ได้บรรพชาเถิด

พวกข้าพระองค์เป็นผู้ลงสู่ภพแล้ว

พระมหามุนีผู้สูงสุดได้ตรัสว่า ท่าน

ทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดี

แล้ว ท่านทั้งหลายจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำ

ที่สุดแห่งทุกข์เถิด

พร้อมกันกับพระพุทธดำรัส เราทุกคน

ล้วนทรงเพศเป็นภิกษุ เราทั้งหลายอุปสมบทแล้ว

เป็นภิกษุผู้โสดาบันในพระศาสนา

ต่อแต่นั้นมา พระผู้นำชั้นพิเศษได้เสด็จ

เข้าพระเชตวันมหาวิหารแล้วทรงสั่งสอน เราอัน

พระพิชิตมารทรงสั่งสอนแล้ว ได้บรรลุอรหัต

ลำดับนั้น เราได้สั่งสอนภิกษุพันรูป แม้

พวกเขาทำตามคำสอนของเรา ก็เป็นผู้ไม่มีอาสวะ

พระพิชิตมารทรงพอพระทัยในคุณข้อนั้น

จึงทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ณ ท่ามกลาง

มหาชนว่า ภิกษุกัปปินะ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย

ผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุ

กรรมที่ได้ทำไว้ในแสนกัป ได้แสดงผล

ให้เราในครั้งนี้ เราพ้นจากกิเลส ดุจดังลูกศรที่

พ้นจากแล่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระมหากัปปินเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-

การฉะนี้แล.

จบมหากัปปินเถราปทาน

๕๓๓. อรรถกถามหากัปปินเถราปทาน

อปทานของท่านพระมหากัปปีนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร

นาม ชิโน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระ-

องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้มากในภพนั้น ๆ

ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเข้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิดในเรือน

อันมีสกุล ในหังสวดีนคร บรรลุนิติภาวะแล้ว เมื่อกำลังฟังพระธรรมเทศนา

ในสำนักของพระศาสดา ได้มองเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ที่พระศาสดาทรงสถาปนา

ไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้ให้โอวาทแล้ว ได้กระทำกรรมที่สูงยิ่งขึ้น

ไป แล้วปรารถนาตำแหน่งนั้น .

เขาได้กระทำกุศลกรรมไว้ในมนุษยโลกนั้น จนตลอดชีวิตแล้วท่อง-

เที่ยวไปในเทวโลกและมนุษย์โลก ได้มาบังเกิดในเรือนของท่านหัวหน้าช่าง

หูก ในหมู่บ้านช่างหูกแห่งหนึ่ง ในที่อันไม่ไกลจากกรุงสาวัตถีนัก ในคราว

นั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณ ๑,๐๐๐ องค์ อยู่ที่ภูเขาหิมวันต์ ๘ เดือน

เวลาจะเข้าพรรษาก็มาอยู่ในชนบท ๔ เดือน พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น

ครั้งแรกก็ลงมาในที่อันไม่ไกลกรุงพาราณสีแล้ว ส่งพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

ไปพบพระราชายังพระราชวังด้วยคำว่า พวกท่านจงขอหัตถกรรมเพื่อก่อสร้าง

เสนาสนะ ดังนี้ ก็ในคราวนั้นได้มีพระราชพิธีวัปปมงคล (พืชมงคล) พระราชา

นั้นได้ทรงทราบว่านัยว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายมา จึงเสด็จออกมาถาม

ถึงเหตุที่ท่านพากันมาแล้ว ตรัสว่า ท่านผู้เจริญ วันนี้ไม่มีโอกาส พรุ่งนี้เป็น

พระราชพิธีวัปปมงคลของโยม วันที่ ๓ โยมจักทำกิจให้ดังนี้แล้ว ไม่นิมนต์

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เสด็จเข้าไปแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายพา

กันหลีกไปด้วยกล่าวว่า พวกเราจักเข้าไปยังหมู่บ้านอื่น ดังนี้.

ในสมัยนั้น ภริยาของหัวหน้าช่างหูก เดินทางไปยังกรุงพาราณสี

ด้วยหน้าที่การงานบางอย่าง ได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นเข้า จึงเอ่ย

ถามว่า พระคุณเข้ามาในกาลอันมิใช่เวลาเพื่อต้องการอะไรเจ้าคะ พระปัจเจก

พุทธเจ้าเหล่านั้นได้เล่าเรื่องแต่ต้นให้ฟังแล้ว. หญิงผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาถึง

พร้อมด้วยปัญญา พอได้ฟังเรื่องนั้นแล้ว จึงกราบเรียนนิมนต์ว่า ท่านเจ้าขา

พรุ่งนี้นิมนต์รับภิกษาของพวกดิฉันนะเจ้าคะ. พระปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวว่า

โยมน้องหญิง พวกอาตมภาพมีด้วยกันมากองค์. หญิงนั้นถามว่า มีกี่องค์พระ-

คุณเจ้า. พระปัจเจกพุทธเจ้าตอบว่า มีประมาณ ๑,๐๐๐ องค์น้องหญิง. หญิง

คนนั้น กราบเรียนว่า ท่านเจ้าขา ในหมู่บ้านของพวกดิฉันนี้ ก็มีคนอยู่

ประมาณ ๑,๐๐๐ คนเช่นกัน คนคนหนึ่งจะถวายภิกษาแก่ภิกษุองค์หนึ่ง ขอ

นิมนต์ท่านจงรับภิกษาเถิด ดิฉันคนเดียว จักให้ช่างก่อสร้างที่อยู่สำหรับพระ-

คุณเจ้าทั้งหลาย. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายรับนิมนต์แล้ว.

หญิงคนนั้น เข้าไปยังหมู่บ้านโฆษณาป่าวร้องว่า แม่พ่อทั้งหลายเอย

ฉันได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณ ๑,๐๐๐ องค์ได้นิมนต์ท่านไว้แล้ว พวก

ท่านจงช่วยกันตระเตรียมที่สำหรับพระคุณเจ้าทั้งหลายด้วย (และ) จงช่วยกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

ตระเตรียมข้าวยาคูและภัตรเป็นด้วย ดังนี้แล้ว ให้คนช่วยกันก่อสร้าง

มณฑปในท่ามกลางหมู่บ้าน ให้ปูลาดอาสนะทั้งหลายไว้ พอถึงวันรุ่งขึ้น จึง

นิมนต์ให้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งแล้ว อังคาสด้วยขาทนียะโภชนียะอัน

ประณีต ในเวลาเสร็จภัตรกิจ ได้พาผู้หญิงทั้งหมดในหมู่บ้านนั้นมา ได้ไหว้

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายพร้อมกับผู้หญิงเหล่านั้น นิมนต์ให้ท่านรับปฏิญญา

เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดไตรมาสแล้ว จึงได้ป่าวร้องในหมู่บ้านอีกว่า แม่และ

พ่อทั้งหลายบุรุษคนหนึ่งๆ จากตระกูลหนึ่ง ๆ (คัดเอาผู้ชายบ้านละคน)

ให้ถือมีดและขวานเป็นต้น เข้าป่าไปนำทัพพสัมภาระมาแล้ว จงสร้างที่อยู่

ถวายสำหรับพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายเถิด พวกชาวบ้าน ได้ฟังคำของนางนั้น

แล้ว แต่ละคนก่อสร้างบรรณศาลาคนละหลัง ทำงานก่อสร้างทั้งคืนทั้งวัน จน

บรรณศาลา ๑,๐๐๐ หลังเสร็จเรียบร้อยแล้ว กราบเรียนพระปัจเจกพุทธเจ้า

ผู้ซึ่งเข้าไปอยู่ในบรรณศาลาของตนของตนว่า เราจักบำรุงท่านโดยความเคารพ

เราจักบำรุงท่านโดยความเคารพแล้ว จึงได้พากันบำรุง พอถึงเวลาออก

พรรษาแล้ว ภริยาหัวหน้าช่างหูกคนนั้น จึงกล่าวว่า พวกท่านจงตระเตรียม

ผ้าจีวรสาฎก ถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้อยู่จำพรรษาแล้ว ในบรรณศาลา

ของตนของตนเถิด แล้วช่วยกันตระเตรียมเสร็จแล้ว จึงได้ช่วยกันถวายผ้าจีวร

มีค่า ๑,๐๐๐ แด่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ละ ๑ ผืน ออกพรรษาแล้วพระปัจเจก-

พุทธเจ้าทั้งหลาย ทำอนุโมทนาแล้วก็หลีกไป แม้พวกชาวบ้านที่ทำบุญกรรม

นี้แล้ว จุติจากอัตภาพนั้น ได้ไปบังเกิดในดาวดึงสเทวโลก ได้เป็นผู้ชื่อว่า

คณเทวดา.

เทวดาเหล่านั้น ได้เสวยทิพยสมบัติในดาวดึงสเทวโลกนั้นแล้ว ใน

กาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ได้พากันมาบังเกิดในบ้าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

เรือนของพวกกุฎุมพี หัวหน้าช่างหูกในกาลก่อน ได้มาเกิดเป็นลูกชายของ

หัวหน้ากุฎุมพี แม้ภริยาของหัวหน้าช่างหูกในกาลก่อน ก็ได้มาเกิดเป็นลูกสาว

ของหัวหน้ากุฎุมพีคนหนึ่ง. พวกภริยาของช่างหูกที่เหลือในกาลก่อน ได้มา

เกิดเป็นพวกลูกสาวของกุฎุมพีที่เหลือทั้งหลาย หญิงเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเจริญ

วัยแล้ว เมื่อจะไปสู่ตระกูลอัน (มีเหย้าเรือน) ต่างก็แยกกันไปยังเรือนของ

กุฏุมพีเหล่านั้น (ชาติก่อนเคยเป็นสามีภรรยากันอย่างใด แม้ชาตินี้ก็ได้มา

เป็นสามีภรรยากันอย่างนั้นอีก). ภายหลังวันหนึ่ง เมื่อมีการป่าวประกาศให้

ไปฟังธรรมที่พระวิหาร พวกกุฎุมพีเหล่านั้นแม้ทั้งหมดได้ทราบว่า พระศาสดา

จักทรงแสดงธรรม จึงได้พร้อมกับภริยาไปยังพระวิหารด้วยมุ่งหมายว่า พวก

เราจักฟังธรรม ในขณะที่คนเหล่านั้นเข้าไปยังท่ามกลางพระวิหาร ฝนก็ตก

ลงมา พวกคนที่รู้จักมักคุ้นกับพระหรือมีญาติที่เป็นสามเณรเป็นต้น ต่างก็จะ

เข้าไปยังบริเวณเป็นต้นของพระและสามเณรที่คุ้นเคยเป็นญาติกันเหล่านั้น

(เพื่อหลบฝน) แต่กุฎุมพีเหล่านั้น ไม่อาจจะเข้าไปในที่แห่งใดแห่งหนึ่งได้

เพราะไม่มีพระภิกษุสามเณรที่รู้จักหรือเป็นญาติเช่นนั้นเลย จึงได้ยืนอยู่ท่าม

กลางพระวิหารเท่านั้น. ต่อมาหัวหน้ากุฎุมพีเหล่านั้นกล่าวว่า ชาวเราเอ๋ย จงดู

ประการอันแปลกของพวกเราซิ ธรรมดาว่าพวกกุลบุตรควรจะเกี่ยวข้องกันได้

ด้วยเหตุเพียงไร. พวกกุฎุมพีจึงถามว่า พวกเราจะทำอย่างไรดีนาย พวกเรา

ถึงซึ่งประการอันแปลกนี้ เพราะไม่มีที่อยู่สำหรับผู้คุ้นเคยกัน พวกเราทั้งหมด

จักรรวบรวมทรัพย์สร้างบริเวณ. หัวหน้าจึงพูดว่า ดีละนาย แล้วได้ให้ทรัพย์

พันหนึ่ง. คนที่เหลือได้ให้ทรัพย์คนละห้าร้อย พวกผู้หญิงได้ให้ทรัพย์คนละ

สองร้อยห้าสิบ กุฎุมพีเหล่านั้นนำทรัพย์นั้นมาแล้วมอบให้ช่างสร้างเรือนยอด

รายไป ๑,๐๐๐ หลัง ได้ชื่อว่าเป็นบริเวณกว้างขวางเพื่อเป็นที่ประทับสำหรับ

พระศาสดา เพราะด่าที่การก่อสร้างนั้นใหญ่ไปเมื่อทรัพย์ไม่เพียงพอ จึงได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

ช่วยกันออกให้อีกครึ่งหนึ่งของจำนวนทรัพย์ที่ได้บริจาคให้แล้วในครั้งก่อน.

เมื่อบริเวณสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว ก็ทำการฉลองพระวิหาร ได้ถวายมหาทานแด่

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ตลอด ๗ วัน แล้ว จัดแจงผ้าจีวรสำหรับ

ภิกษุ ๒,๐๐๐ องค์

ส่วนภริยาของหัวหน้ากุฎุมพี ดำรงอยู่ด้วยปัญญาของตนเองคิดว่า

เราจัดไม่ทำให้เสมอกับพวกเขา แต่จะทำให้ยิ่งไปกว่าพวกเขาคือ จักบูชา

พระศาสดา ดังนี้แล้ว จึงถือเอาผอบบรรจุดอกอโนชาพร้อมกับผ้าสาฎก มี

มูลค่า ๑,๐๐๐ ซึ่งมีสีดุจดอกอโนชาแล้ว เอาดอกอโนชาบูชาพระศาสดา วาง

ผ้าสาฎกนั้นไว้ใกล้บาทมูลของพระศาสดา ได้ตั้งความปรารถนาไว้ว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอให้สรีระของข้าพระองค์จงมีสีคล้ายดอกอโนชา ในที่ที่

ข้าพระองค์เกิดแล้วเกิดแล้วเถิด และจงมีชื่อว่า อโนชา ดังนี้เถิด. พระศาสดา

ได้ทรงกระทำอนุโมทนาด้วยพระดำรัสว่า จงสำเร็จดังปรารถนาเถิด. คน

เหล่านั้นแม้ทั้งหมดดำรงอยู่จนตลอดอายุแล้ว จุติจากอัตภาพนั้นได้ไปบังเกิด

ในเทวโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ เทวดาเหล่านั้น จุติจากเทวโลกแล้ว ผู้เป็น

หัวหน้ากุฏุมพี ได้บังเกิดในราชตระกูลในกุกกุฎวดีนคร บรรลุนิติภาวะแล้ว

ได้เป็นพระเจ้ามหากัปปินะ. คนที่เหลือได้ไปบังเกิดในตระกูลอำมาตย์ทั้งหมด

ภริยาของหัวหน้ากุฎุมพีได้บังเกิดในราชตระกูล ในมัททรัฐสาคลนคร พระ-

นางได้มีพระสรีระงามมีสีดุจดอกอโนชาทีเดียว ด้วยเหตุนั้นพระชนกพระชนนี

จึงได้ทรงขนานพระนามของพระนางว่า อโนชา นั่นแล พระนางทรงเจริญวัย

แล้ว ก็เสด็จไปยังพระราชวังของพระเจ้ามหากัปปินะ ได้มีพระนามปรากฏว่า

อโนชาเทวี.

แม้พวกผู้หญิงที่เหลือ ก็ได้ไปบังเกิดในตระกูลพวกอำมาตย์เจริญวัย

แล้ว ได้ไปสู่คฤหาสน์แห่งบุตรอำมาตย์เหล่านั้นแล. คนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

ได้เสวยสมบัติเช่นกับสมบัติของพระราชา ก็ในกาลใด พระเจ้าแผ่นดิน ทรง

ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ เสด็จขึ้นหลังพญาช้างเที่ยวไป แม้

ในกาลนั้น คนเหล่านั้น ก็เที่ยวไปอย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อพระราชาพระองค์

นั้น เสด็จเที่ยวไปด้วยม้าหรือด้วยรถ ถึงพวกอำมาตย์เหล่านั้นก็เที่ยวไปอย่าง

นั้นเหมือนกัน เพราะกำลังแห่งบุญเป็นอันมากที่ได้ทำไว้ร่วมกันอย่างนั้น

พวกอำมาตย์เหล่านั้นจึงได้เสวยสมบัติอย่างเดียวกันกับพระราชาแล. ก็พระ-

ราชามีม้า ๕ ตัวคือม้าชื่อว่า วาละ วาลวาหนะ ปุปผะ ปุปผวาหนะ และม้าชื่อว่า

สุปัตตะ ในบรรดาม้า ๕ ตัวเหล่านั้น พระราชาย่อมทรงม้าชื่อว่า สุปัตตะด้วย

พระองค์เอง ส่วนม้าอีก ๔ ตัวนอกนี้ได้พระราชทานแก่พวกคนขี่ม้าทั้งหลาย

เพื่อใช้นำข่าวสารมา. พระราชาให้พวกคนเหล่านั้น บริโภคแค่เช้ารู้แล้ว

ทรงส่งพวกเขาไปด้วยพระราชดำรัสว่า พนาย พวกเธอจงเที่ยวไปให้ถึงระยะ

ทาง ๒ โยชน์ หรือ ๓ โยชน์ แล้วสืบเสาะฟังว่า พระพุทธเจ้า พระธรรมหรือ

ว่าพระสงฆ์ อุบัติขึ้นแล้ว จงนำสารอันเป็นสุขมาบอกแก่เรา คนเหล่านั้น

ออกจากประตูทั้ง ๔ ทิศแล้ว เที่ยวไปได้ ๒-๓ โยชน์ ไม่ได้รับข่าวสาร

อะไร ๆ เลย จึงกลับมา.

วันต่อมา พระราชาเสด็จขึ้นม้าสุปัตตะ ทรงมีอำมาตย์พันคนเป็น

บริวาร กำลังเสด็จไปยังพระราชอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นพวกพ่อค้า

ประมาณ ๕๐๐ คน ผู้ซึ่งมีร่างกายอิดโรยเหนื่อยอ่อนกำลังเข้าไปยังพระนคร

จึงทรงดำริว่า พวกพ่อค้าเหล่านี้ อิดโรยเหนื่อยอ่อนเพราะเดินทางมาไกล

เราจักได้ฟังข่าวสารอันเจริญอย่างหนึ่งจากสำนักของพวกพ่อค้าเหล่านี้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

แน่ จึงมีพระราชดำรัสสั่งให้อำมาตย์ไปเรียกพวกพ่อค้าเหล่านั้นมาแล้ว ตรัส

ถามว่า พวกเธอมาจากเมืองไหน. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

สมมุติเทพ นครหนึ่งนามว่าสาวัตถีมีอยู่ไกลจากที่นี้ไปอีก ๒๐๐ โยชน์ พวก

ข้าพระองค์มาจากพระนครนั้นพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า มีข่าวสาร

อะไรเกิดขึ้นในประเทศถิ่นที่อยู่ของพวกเธอบ้างเล่า. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพข่าวสารอะไรอย่างอื่นไม่มี นอกจากข่าวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงอุบัติขึ้นเท่านั้นพระเจ้าข้า. ในขณะนั้นนั่นเอง พระราชาทรงมีพระสรีระอัน

ปีติมีกำลังกระทบถูกแล้ว ไม่ทรงอาจจะกำหนดอะไร ๆ ได้ทรงนิ่งเงียบไป

ครู่หนึ่ง แล้วตรัสถามอีกว่า พูดอะไรนะพ่อคุณ. พวกพ่อค้าก็กราบทูลว่า

พระพุทธเจ้า ทรงอุบัติแล้วพระเจ้าข้า. พระราชาทรงนิ่งเงียบไปครู่หนึ่ง แม้

ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓ ก็เหมือนครั้งแรกนั่นแล แล้วตรัสถามเป็นครั้งที่ ๔ ว่า

พูดอะไรนะพ่อคุณ. เมื่อพวกพ่อค้ากราบทูลว่า พระพุทธเจ้า ทรงอุบัติขึ้นแล้ว

พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า พ่อค้า เพราะการที่ได้ฟังข่าวสารอันเป็นสุข เราจะ

ให้ทรัพย์ ๑ แสนแก่พวกเธอ แล้วตรัสถามว่า ข่าวสารอะไรแม้ที่นอกเหนือ

ไปกว่านี้ยังมีอีกไหมพ่อคุณ. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ มีพระ-

ธรรมอุบัติขึ้นแล้วพระเจ้าข้า. พระราชาทรงสดับถ้อยคำแม้นั้นแล้ว ทรงนิ่ง

เงียบไปครู่หนึ่งตลอด ๓ วาระเหมือนนัยก่อนนั่นแล ในวาระที่ ๔ เมื่อพวก

พ่อค้ากราบทูลว่า พระธรรมอุบัติขึ้นแล้ว ตรัสว่า แม้ในวาระนี้ เราก็จะให้

ทรัพย์ ๑ แสนแก่พวกเธอแล้ว ตรัสถามว่า ข่าวสารอะไรแม้ที่นอกเหนือไป

กว่านี้ ยังมีอีกไหมพ่อคุณ. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

สงฆ์อุบัติขึ้นแล้ว. พระราชาทรงสดับถ้อยคำแม้นั้นแล้ว ทรงนิ่งเงียบไปครู่

หนึ่งตลอด ๓ วาระเหมือนอย่างครั้งก่อนนั่นแล ในวาระที่ ๔ เมื่อพวกพ่อค้า

กราบทูลว่า พระสงฆ์อุบัติขึ้นแล้ว ตรัสว่า แม้ในครั้งนี้เราจะให้ทรัพย์ ๑ แสน

แก่พวกเธอแล้วทรงทอดพระเนตรดูอำมาตย์พันคน ตรัสถามว่า พ่อคุณ พวก

เราจักทำอย่างไร. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่สมมุติเทพ พระองค์จักทำ

อย่างไร. พระราชาตรัสว่า พ่อคุณเราได้สดับฟังว่า พระพุทธเจ้า ทรงอุบติขึ้น

แล้ว พระธรรมทรงอุบัติขึ้นแล้ว พระสงฆ์ทรงอุบัติขึ้นแล้ว เราจักไม่หวน

กลับไปอีก เราจักไปบวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าในสำนักของพระองค์. พวก

อำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่สมมุติเทพ แม้พวกข้าพระองค์ ก็จักบวชกับ

พระองค์. พระราชาทรงให้พวกอาลักษณ์จารึกพระอักษรลงในพระสุพรรณบัฏ

พระราชทานแก่พวกพ่อค้าแล้วตรัสว่า พวกเธอ จงมอบพระสุพรรณบัฏนี้แด่

พระราชเทวีพระนามว่าอโนชา พระราชเทวีนั้นจักพระราชทานทรัพย์จำนวน

๓ แสนแก่พวกเธอ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้นพวกเธอพึงกราบทูลกับพระราชเทวีนั้น

ว่า ทราบว่าพระราชาทรงมอบความเป็นใหญ่ถวายแด่พระองค์ ขอพระองค์

จงเสวยสมบัติตามความสบายเถิด ก็ถ้าว่าพระนางตรัสถามว่า พระราชาของ

พวกท่านเสด็จไปที่ไหนเสีย พวกท่านพึงกราบทูลว่า พระราชาตรัสว่า เรา

จักบวชอุทิศพระศาสดา แล้วก็เสด็จไปแล้ว. แม้พวกอำมาตย์ก็ส่งข่าวสารไป

เพื่อภรรยาของตนของคนเหมือนอย่างนั้นเช่นกัน. พระราชาทรงส่งพวกพ่อค้า

ไปแล้ว ก็เสด็จขึ้นม้า มีอำมาตย์พันคนติดตามแวดล้อม เสด็จออกไปใน

ขณะนั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

แม้พระศาสดา ในเวลาเช้ามืดวันนั้น ทรงตรวจดูสัตวโลก ได้ทอด

พระเนตรเห็นพระเจ้ามหากัปปิยนะพร้อมด้วยบริวาร ทรงพระดำริว่า พระเจ้า

มหากัปปินะ พระองค์นี้ ได้ทรงทราบข่าวจากสำนักของพวกพ่อค้าว่า พระ-

รัตนตรัยอุบัติขึ้นแล้ว จึงทรงเอาทรัพย์ ๓ แสน บูชาถ้อยคำของพวกพ่อค้า

เหล่านั้นแล้ว ทรงละพระราชสมบัติ ทรงมีอำมาตย์พันคนแวดล้อมแล้ว ทรง

มีพระประสงค์จะบวชอุทิศเรา พรุ่งนี้จักเสด็จออก พระราชาพระองค์นั้นพร้อม

ทั้งบริวารจักได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ เราจักกระทำการ

ต้อนรับ ดังนี้ ในวันรุ่งขึ้น เมื่อจะเสด็จไปต้อนรับพระราชาผู้ครอบครอง

บ้านเมืองเล็ก ซึ่งคล้ายกับว่าเสด็จไปต้อนรับพระเจ้าจักรพรรดิฉะนั้น พระ-

องค์เอง ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จไปต้อนรับสิ้นระยะทาง ๑๒๐ โยชน์

ทรงประทับนั่งเปล่งพระพุทธรัศมีมีวรรณะ ๖ ประการ ณ ควงไม้นิโครธ ใกล้

กับฝั่งแม่น้ำจันทภาคา. แม้พระราชาเสด็จมาถึงแม่น้ำสายหนึ่ง ก็ตรัสถามว่า

แม่น้ำสายนี้ ชื่ออะไร. พวกอำมาตย์ก็กราบทูลว่า แม่น้ำสายนี้ชื่อว่าอปรัจฉา

พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า พ่อคุณ แม่น้ำสายนี้ มีขนาดประมาณเท่าไร.

พวกอำมาตย์กราบทูลว่า แม่น้ำสายนี้ลึก ๑ คาวุต กว้าง ๒ คาวุต พระเจ้าข้า.

พระราชาตรัสถามว่า ก็ในที่นี้มีเรือหรือแพบ้างไหม. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า

ไม่มีพระเจ้าข้า พระราชาตรัสว่า เมื่อเรามัวห่วงถึงพาหนะมีเรือเป็นต้น ชาติ

คือความเกิด ย่อมนำเข้าไปหาชราความแก่ และชราความแก่ย่อมนำเข้าไปหา

มรณะความตาย. เราเป็นผู้ไม่มีความสงสัย ออกเดินทางมาแล้ว ก็เพื่ออุทิศ

พระรัตนตรัย ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัยนั้น ขอน้ำนี้ จงอย่าได้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

เหมือนน้ำแก่เราเลย แล้วทรงระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ระลึกถึงพระพุทธ-

คุณว่า อิติปิโส ภควา อรห สมฺมาสมฺพุทโธ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าผู้อรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ดังนี้ พร้อมด้วยบริวาร กับ

ม้า ๑,๐๐๐ ตัว เสด็จไปบนหลังน้ำ ม้าสินธพทั้งหลายวิ่งไปบนหลังน้ำคล้าย

กับว่าวิ่งไปบนหลังแผ่นหินดาดฉะนั้น ม้าทุกตัวเปียกแค่ปลายกีบเท่านั้น.

พระราชาพระองค์นั้น ทรงข้ามแม่น้ำนั้นแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไป

ข้างหน้า ทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำแม้อื่นอีก ตรัสถามว่า แม่น้ำสายนี้ ชื่อ

อะไร. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ชื่อว่านีลวาหา พระเจ้าข้า พระราชาตรัสถาม

ว่า แม่น้ำสายนี้มีขนาดประมาณเท่าไร. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ทั้งส่วนลึกทั้ง

ส่วนกว้างมีขนาดประมาณครึ่งโยชน์พระเจ้าข้า. คำที่เหลือ ก็เป็นเช่นกับคำที่

กล่าวมาแล้วในตอนแรกนั่นแล. ก็พระราชาทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำนั้นแล้ว

ก็ทรงอนุสรณ์ระลึกถึงพระธรรมคุณว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรม

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ดังนี้แล้วก็เสด็จไปได้ พอเสด็จพระราช

ดำเนินล่วงพ้นแม่น้ำนั้นไปแล้ว พระราชาได้ทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำอื่นอีก

ตรัสถามว่า แม่น้ำสายนี้ ชื่ออะไร. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ชื่อว่า จันทภาคา

พระเจ้าข้า พระราชาตรัสถามว่า แม่น้ำสายนี้มีขนาดประมาณเท่าไร. พวก

อำมาตย์กราบทูลว่า ทั้งส่วนลึกทั้งส่วนกว้างมีขนาดโยชน์หนึ่งพอดีพระเจ้าข้า.

คำที่เหลือก็เป็นเช่นกับคำที่กล่าวมาแล้วในตอนแรกนั่นแล ก็พระราชาได้ทอด

พระเนตรเห็นแม่น้ำนั้นแล้ว ก็ทรงอนุสรณ์ระลึกถึงพระสังฆคุณว่า สุปฏิปนฺโน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้

แล้วเสด็จไปได้ พอเสด็จพระราชดำเนินล่วงพ้นแม่น้ำแม้นั้นไปได้ พระราชา

ได้ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ ประการ แผ่ซ่านออกจาก

พระสรีระของพระศาสดา สว่างไสวรอดออกจากกิ่งค่าคบและใบของต้นนิโครธ

แล้ว ทรงพระดำริว่า แสงสว่างนี้ มิใช่แสงสว่างของพระจันทร์ มิใช่แสง

สว่างของพระอาทิตย์ มิใช่แสงสว่างของเทวดา มาร พรหม ครุฑ และนาค

อย่างใดอย่างหนึ่งเลย เราเดินทางมาเพื่ออุทิศพระศาสดา เห็นทีจักได้พบเห็น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเป็นแน่ ในบัดดลนั้นเองพระราชาพระองค์นั้น ก็

เสด็จลงจากหลังม้า น้อมพระสรีระเข้าไปเฝ้าพระศาสดาตามแนวแสงแห่งพระ-

รัศมี ได้เสด็จเข้าไปภายในพระพุทธรัศมีดุจดำลงไปที่มโนศิลารส ฉะนั้น

พระราชาพระองค์นั้น ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ก็ประทับนั่ง ณ สถานที่

อันสมควรข้างหนึ่งพร้อมกับอำมาตย์พันคน พระศาสดา ตรัสอนุปุพพีกถา

แก่คนเหล่านั้น พอจบพระธรรมเทศนา พระราชาพร้อมกับบริวารก็ดำรงอยู่

ในโสดาปัตติผล.

ลำดับนั้น ชนทั้งหมดลุกขึ้นแล้ว ทูลขอบวช พระศาสดา ทรงใคร่ครวญ

ว่า บาตรและจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ จักมาประสิทธิ์แก่กุลบุตรเหล่านี้หรือไม่

หนอ ก็ทรงทราบว่า กุลบุตรเหล่านั้นได้เคยถวายจีวรพันผืน แด่พระปัจเจก-

พุทธเจ้าพันองค์ ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ได้ถวายจีวร

สองหมื่นผืน แด่ภิกษุสองหมื่นองค์ การมาแห่งบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วย

ฤทธิ์ จึงไม่เป็นเหตุอัศจรรย์แก่กุลบุตรเหล่านั้นเลย ดังนี้แล้ว ทรงเหยียด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

พระหัตถ์ขวาตรัสว่า พวกเธอ จงเป็นภิกษุมาเกิด จงประพฤติพรหมจรรย์

เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด ในขณะนั้นนั่นเอง ภิกษุเหล่านั้นก็ได้ทรง

บริวาร ๘ เป็นดังพระเถระมีพรรษาตั้ง ๖๐ พรรษาฉะนั้น เหาะขึ้นสู่เวหาส

แล้ว ก็กลับลงมาถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรด้านหนึ่ง.

ฝ่ายพวกพ่อค้าเหล่านั้น เดินทางไปยังกรุงราชคฤห์แล้ว กราบทูล

ข่าวสารที่พระราชาส่งไปถวายแด่พระราชเทวีให้ทรงทราบ เมื่อพระราชเทวี

ตรัสว่า จงเข้ามา จึงเข้าไปยืน ณ ที่สมควรด้านหนึ่ง ที่นั้นพระราชเทวีจึง

ตรัสถามพวกพ่อค้าเหล่านั้นว่า พ่อคุณ เพราะเหตุไรจึงเดินทางมานี่ พวก

พ่อค้าจึงกราบทูลว่า พระราชาทรงส่งพวกข้าพระพุทธเจ้ามาเฝ้าพระองค์ นัยว่า

พระองค์จะพระราชทานทรัพย์ ๓ แสน แก่พวกข้าพระองค์ พระราชเทวี

ตรัสว่า พนาย ! พวกท่านพูดมากไปแล้ว พวกท่านทำประโยชน์อะไรใน

สำนักของพระราชา พระราชาทรงเลื่อมใสในเรื่องอะไร จึงรับสั่งให้พระราช

ทานทรัพย์ถึงเพียงนี้ แก่พวกท่าน. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระราชเทวี

พวกข้าพระองค์มิได้กระทำเรื่องอะไรอย่างอื่นเลย เพียงแค่แจ้งข่าวสารอย่าง

หนึ่งให้ทรงทราบเท่านั้น พระราชเทวีตรัสถามว่า พ่อคุณ อาจพอที่จะบอก

ข่าวสารนั้นแม้แก่เราบ้างได้หรือ. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า อาจ พระเจ้าข้า

แล้วบ้วนปากด้วยสุวรรณภิงคาร กราบทูล ว่า ข้าแต่พระราชเทวี พระพุทธ-

เจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก แม้พระราชเทวี พระองค์นั้น พอได้สดับคำนั้น

แล้ว เป็นผู้มีพระเสรีระอันปีติถูกต้องแล้วไม่อาจจะกำหนดอะไร ๆ ได้ถึง ๓

ครั้ง ในครั้งที่ ๔ ได้ทรงสดับว่า พระพุทธเจ้า ทรงอุบัติขึ้นแล้ว จึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

พ่อคุณในเพราะบทนี้ พระราชาทรงพระราชทานทรัพย์ให้พ่อเท่าไร. พวก

พ่อค้ากราบทูลว่า ๑ แสนพระเจ้าข้า. พระราชเทวีตรัสว่า พ่อคุณ พระราชา

พระราชทานทรัพย์ ๑ แสนแก่พวกท่าน เพราะได้สดับข่าวสารถึงขนาดนี้

นับว่าทรงกระทำไม่สมควรเลย เราจะให้ทรัพย์ ๓ แสน ในเพราะบรรณา

การอันยากแค้นของเรา แก่พวกท่าน พวกท่านได้กราบทูลเรื่องอะไรอย่างอื่น

อีกหรือไม่ พวกพ่อค้าเหล่านั้น กราบทูลถึงข่าวสาร ๒ อย่างแม้นอกนี้ให้

ทรงทราบว่า เรื่องนี้ และเรื่องนี้ พระราชเทวี ไม่อาจจะกำหนดอะไร ๆ

ได้ตลอด ๓ วาระ เหมือนกับนัยที่กล่าวแล้วในตอนแรกนั่นแล ทุก ๆ ครั้งที่

๔ ได้พระราชทานทรัพย์ครั้งละ ๓ แสน รวมความว่า พวกพ่อค้าเหล่านั้น

ได้รับทรัพย์ทั้งหมดไปถึง ๑๒ แสน.

ลำดับนั้น พระราชเทวีจึงตรัสถามพวกพ่อค้าเหล่านั้นว่า พ่อคุณ พระ-

ราชาเสด็จไปในที่ไหนเล่า พวกพ่อค้าจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระเทวี ระราชา

ตรัสว่า เราจักบวชอุทิศพระศาสดาแล้วก็เสด็จไป พระราชเทวี ตรัสถามว่า

ข่าวสารอะไรที่พระราชาพระองค์นั้น ได้มอบแก่เรามีไหม พวกพ่อค้ากราบ

ทูลว่า นัยว่า ทรงสละมอบความเป็นใหญ่ทั้งหมดแด่พระองค์ นัยว่า พระ-

องค์จงเสวยสมบัติตามความสุขสำราญเถิด. พระราชเทวี ตรัสถามว่า พวก

อำมาตย์ไปไหนเสียเล่าพ่อคุณ. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระราชเทวี แม้

พวกอำมาตย์เหล่านั้นก็พูดว่า พวกเราจักบวชกับพระราชาแล้วไปแล้ว พระ-

ราชเทวีพระองค์นั้น จึงรับสั่งเรียกหาพวกภรรยาของอำมาตย์เหล่านั้นมาแล้ว

ตรัสว่า แม่คุณ สามีของพวกเจ้าสั่งไว้ว่า พวกเราจักบวชกับพระราชา แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

ก็พากันไปแล้ว พวกเจ้าจักทำอะไร. พวกภรรยาของอำมาตย์เหล่านั้นจึงทูล

ถามว่า ข้าแต่พระราชเทวี ข่าวสารอะไร ที่พวกสามีส่งฝากมาถึงพวกหม่อมฉัน

พระราชเทวีตรัสว่า ได้ทราบว่า พวกอำมาตย์เหล่านั้นได้สละมอบสมบัติ

ของตนแก่พวกเธอ ได้ทราบว่า พวกเธอจงบริโภคสมบัติตามสบายเถิด พวก

ภรรยาของอำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลถามว่า ข้าแต่พระราชเทวี พวกเราจัก

กระทำอย่างไรดีเล่า. พระราชเทวีตรัสว่า เบื้องแรก พระราชาของพวกเรา

พระองค์นั้น ดำรงอยู่ในหนทาง เอาทรัพย์ ๓ แสนบูชาพระรัตนตรัยแล้ว

สละพระราชสมบัติที่คล้ายกับก้อนเขฬะ ออกไปได้ด้วยตั้งพระราชหฤทัยว่า เรา

จักบวช แม้เราได้สดับข่าวสารของพระรัตนตรัย ก็นำเอาทรัพย์ ๙ แสน

บูชาพระรัตนตรัยนั้นแล้ว ก็ขึ้นชื่อว่าสมบัตินั้น มิใช่จะเป็นทุกข์แด่พระราชา

อย่างเดียวเท่านั้น ย่อมเป็นทุกข์แม้แก่เราเหมือนกัน ใครจักคุกเข่าลงที่พื้นดิน

แล้ว อ้าปากรับก้อนเขฬะที่พระราชาถ่มแล้วเล่า เราไม่มีความต้องการสมบัติ

เราจักบวชอุทิศพระศาสดา. พวกภรรยาของพวกอำมาตย์เหล่านั้น กราบทูลว่า

ข้าแต่พระราชเทวี ถึงพวกข้าพระองค์ ก็จักบวชพร้อมกับพระองค์. พระราช

เทวีตรัสว่า ถ้าพวกเจ้าอาจสามารถ ก็นับว่าเป็นการดี. พวกภรรยาของพวก

อำมาตย์เหล่านั้น กราบทูลว่า พวกข้าพระองค์ อาจสามารถ พระเจ้าข้า

พระราชเทวีตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นพวกเจ้าจงมา แล้วรับสั่งให้ตระเตรียมรถ

พันคันเสร็จแล้ว ก็เสด็จขึ้นรถ เสด็จออกไปพร้อมกับพวกภรรยาของอำมาตย์

เหล่านั้น ในระหว่างทางได้ทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำสายแรก ได้ตรัสถาม

เหมือนอย่างที่พระราชาตรัสถามครั้งแรกเช่นกัน ได้ทรงสดับความเป็นไปทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

หมดแล้ว จึงตรัสว่า พวกเธอจงแลดูหนทางที่พระราชาเสด็จไปแล้วซิ เมื่อ

พวกภรรยาของอำมาตย์เหล่านั้น กราบทูลว่า พวกหม่อมฉันมองไม่เห็น

รอยเท้าของม้าสินธพเลย แล้วตรัสว่า พระราชาทรงกระทำสัจกิริยาว่า เรา

เป็นผู้ออกไปเพื่ออุทิศพระรัตนตรัยแล้ว ทรงระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย

จึงจักเสด็จไปแล้ว แม้เราออกมา ก็เพื่ออุทิศพระรัตนตรัย ด้วยอานุภาพแห่ง

พระรัตนตรัย ขอน้ำนี้จงอย่าเป็นดุจน้ำแก่เราเลย ดังนี้ ทรงอนุสรณ์ถึงคุณ

ของพระรัตนตรัย รถพันคันก็แล่นไปได้ แม่น้ำได้เป็นเช่นกับแผ่นหินดาด.

รถทุกคันเปียกเพียงแค่ขอบล้อเท่านั้นแล แม่น้ำอีก ๒ สายนอกนี้พระนางและ

ทุกคนก็ได้ข้ามไปแล้ว ด้วยอุบายวิธีนี้นั่นแล.

พระศาสดา ได้ทรงทราบว่าหญิงเหล่านั้นมาแล้ว จึงทรงอธิษฐาน

โดยประการที่พวกภิกษุผู้เป็นสามีซึ่งนั่งอยู่แล้วในสำนักของพระองค์ให้มองไม่

เห็นหญิงเหล่านั้น แม้พระราชเทวีกำลังเสด็จมา ได้ทอดพระเนตรเห็นพระ-

รัศมี ซึ่งแผ่ซ่านออกจากพระสรีระของพระศาสดาแล้ว ก็ได้ทรงจินตนาการ

เช่นเดียวกับพระเจ้ามหากัปปิยนะเหมือนกัน แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวาย

บังคมประทับยืนอยู่ สถานที่อันสมควรข้างหนึ่งแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระ-

องค์ผู้เจริญ พระเจ้ามหากัปปินะ เสด็จออกเพื่ออุทิศพระองค์ (บัดนี้ ) พระเจ้า

มหากัปปินะพระองค์นั้น ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ขอพระองค์จงแสดง

พระราชาพระองค์นั้น ให้ปรากฏแก่พวกหม่อมฉันเถิดพระเจ้าข้า. พระศาสดา

ตรัสว่า เชิญพวกเธอนั่งก่อนเถอะ พวกเธอจักได้พบเห็นพระราชาพระองค์

นั้นในที่นี้แหละ. หญิงเหล่านั้น แม้ทั้งหมดร่าเริงดีใจพูดกันว่า นัยว่าพวกเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

นั่งแล้วในที่นี้แหละ. จักได้พบเห็นพวกสามีของพวกเราแน่ ดังนี้ จึงนั่งแล้ว.

พระศาสดาได้ตรัสแสดงอนุปุพพีกถา (แก่หญิงทั้งหมด) ในเวลาจบเทศนา

พระนางอโนชาเทวี ก็บรรลุโสดาปัตติผลพร้อมกับหญิงเหล่านั้น พระมหา-

กัปปินะเถระพร้อมด้วยพระบริวาร ได้สดับพระธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรง

แสดงแก่หญิงเหล่านั้นแล้ว ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔. ใน

ขณะนั้น พระศาสดาได้ทรงแสดงให้หญิงเหล่านั้นเห็นภิกษุเหล่านั้นได้ ก็ใน

ขณะที่หญิงเหล่านั้นมาถึงแล้ว ได้เห็นพวกสามีของตน ซึ่งทรงผ้ากาสาวะ มี

ศีรษะโล้นเข้า จิตก็จะไม่พึงมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ จะไม่พึงอาจเพื่อที่จะทำ

มรรคและผลให้บังเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น ตั้งแต่เวลาที่พวกเธอมีศรัทธา

ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวแล้ว พระศาสดาจึงทรงแสดงภิกษุเหล่านั้นผู้ได้บรรลุพระ-

อรหัตแล้ว แก่หญิงเหล่านั้น แม้หญิงเหล่านั้นได้เห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว ก็ได้

กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วเรียนว่า ท่านผู้เจริญ กิจแห่งบรรพชิตของ

ท่านถึงที่สุดแล้ว ดังนั้นแล้ว ถวายบังคมพระศาสดา ยืน ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง

แล้วได้ทูลขอบรรพชา.

ในขณะที่หญิงเหล่านั้น กล่าวคำขอบรรพชาอย่างนี้พระศาสดา ได้

ทรงดำริถึงการมาของนางอุบลวรรณาเถรี ในบัดดลที่พระศาสดาทรงดำริ

แล้วเท่านั้น นางอุบลวรรณาเถรีนั้น ก็มาโดยทางอากาศ รับเอาหญิง

เหล่านั้น ทั้งหมดนำไปยังสำนักภิกษุณีโดยทางอากาศแล้ว จึงให้บรรพชา ไม่

นานเท่าไรนักหญิงเหล่านั้น ทั้งหมด ก็ได้บรรลุพระอรหัต พระศาสดาได้ทรง

พาภิกษุพันรูปไปยังพระเชตวันวิหารโดยทางอากาศ สดับมาว่า ณ ที่พระเชตวัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

นั้น ท่านพระมหากัปปินะเที่ยวเปล่งอุทานว่า อโห สุข อโห สข โอ้ สุข

จริงหนอ โอ้ สุขจริงหนอ ในสถานที่ต่าง ๆ มีที่พักกลางคืนเป็นต้น ภิกษุ

ทั้งหลายจึงได้กราบทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ พระมหากัปปิยนะ เที่ยวเปล่งอุทานว่า โอ สุขจริงหนอ โอ สุขจริงหนอ

ดังนี้ คงจะเปล่งอุทานปรารภถึงความสุขอัน เกิดแต่พระราชสมบัติของตน

กระมัง พระศาสดา รับสั่งให้เรียกพระมหากัปปินะนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า

กัปปินะ ทราบว่า เธอเปล่งอุทานปรารภถึงความสุขอันเกิดแก่กามจริง

หรือ. พระมหากัปปินะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมทรงทราบว่าข้าพระองค์เปล่งอุทานปรารภถึงความสุขนั้น หรือว่าข้าพระ

องค์เปล่งอุทานปรารภถึงความสุขอื่น. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเรา จะได้เปล่งอุทานปรารภถึงความสุขอันเกิดแก่กาม

(หรือว่า) ความสุขอันเกิดแก่ราชสมบัติก็หามิได้ หากแต่ธรรมปีติ ย่อม

บังเกิดขึ้นแก่บุตรของเราผู้ประพฤติธรรมอยู่เท่านั้น เธอปรารภถึงอมตมหา-

นิพพานจึงได้เปล่งอุทานอย่างนั้น ดังนี้ เมื่อจะทรงสืบต่ออนุสนธิแสดงธรรม

จึงตรัสพระคาถาว่า.

ผู้มีปีติในธรรม มีใจผ่องใสแล้ว ย่อม

อยู่เป็นสุข บัณฑิตย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้า

ประกาศแล้ว ในกาลทุกเมื่อ ดังนี้.

ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พระกัปปินะได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายหรือเปล่า ? พวกภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระมหากัปปินะ เป็นผู้มีความขวนขวาย

น้อย ประกอบอยู่ด้วยความสุขที่เป็นไปในทิฏฐธรรม ไม่ยอมให้แม้กระทั่ง

โอวาท. พระศาสดาทรงมีรับสั่งให้เรียกพระเถระมาแล้ว ตรัสถามว่า กัปปินะ

ทราบว่าเธอไม่ยอมให้แม้กระทั่งโอวาทแก่พวกภิกษุอันเตวาสิก จริงไหม ?

พระมหากัปปินะกราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า พราหมณ์

เธออย่าได้กระทำอย่างนั้นเลย ตั้งแต่วันนี้ไป เธอจงแสดงธรรมแก่พวกภิกษุ

ที่เข้ามาหาแล้ว. พระเถระทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย

เศียรเกล้าว่า สาธุ ดีละ พระเจ้าข้า ดังนี้แล้วจึงโอวาทให้สมณะพันรูป ดำรง

อยู่ในพระอรหัต ด้วยการโอวาทเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระ-

ศาสดา เมื่อจะทรงสถาปนาพระสาวกของพระองค์ไว้ตามลำดับ จึงได้ทรง

สถาปนาไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระมหากัปปินะ เป็น

ผู้เลิศกว่าสาวกทั้งหลายของเราผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุแล.

พระเถระได้บรรลุพระอรหัตผลแล้วอย่างนี้ ระลึกถึงบุรพกรรมของ

ตน ได้เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่คนเคยได้ประพฤติมา

แล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้ . บทว่า

อุทิโต อชฏากาเส ได้แก่ ผุดขึ้น ตั้งขึ้น ปรากฏในอากาศทั้งสิ้น อธิบาย

ว่า คล้ายพระอาทิตย์ปรากฏกลางอากาศในฤดูสุรทกาล ฉะนั้น. บทว่า

อกฺขทสฺโส ตทา อาสึ ความว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

ปทุมุตตระนั้น เราได้เป็นผู้มีปกติเห็นสาระ คือ เป็นผู้มีปกติเห็นประโยชน์

(เป็นผู้พิพากษาชี้ขาด) ได้ปรากฏเป็นอาจารย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

บทว่า สาวกสสฺ กตาวิโน เชื่อมความว่า ได้ฟังพระดำรัสของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งกำลังทรงประกาศคุณของพระสาวกผู้กล่าว

สอนภิกษุ คือ ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งที่เลิศ ได้แก่ทรงประกอบไว้ในหน้าที่

ที่เป็นไปติดต่อกัน ทรงยังใจของเราให้ร่าเริงยินดี.

บทว่า หสสมภาโค ได้แก่ มีส่วนเสมอกับหงส์. บทว่า หสทุนฺทุ-

ภินิสฺสโน เชื่อมความว่า มีพระสุรเสียงดุจหงส์ คือ มีพระดำรัสคล้ายกับเสียง

มโหระทึกและกลองเภรี ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูมหา-

อำมาตย์ผู้นี้เถิด. บทว่า สมุคฺคตตนูรุห ความว่า มีขนลุกขึ้นชูชันด้วยดี

หรือว่ามีใจฟูขึ้น (ด้วยปีติ). บทว่า ชีมูตวณฺณ ความว่า มีวรรณะเสมอ

ด้วยแก้วมุกดา คือ มีรัศมีแผ่ซ่านออกจากสรีระงดงาม. บทว่า ปิณส แปลว่า

มีพระอังสาบริบูรณ์. บทว่า ปสนฺนนยนานน ความว่า มีนัยน์ตาและใบหน้า

ผ่องใส.

บทว่า กตาวิโน เชื่อมความว่า มหาอำมาตย์นี้นั้น ปรารถนาตำแหน่ง

ของภิกษุผู้บำเพ็ญกุศลมาแล้ว ดำรงอยู่ในตำแหน่งอันเลิศเพราะเขามีความ

พลอยยินดี คือมีใจร่าเริง บทว่า สตโส อนุสาสิยา ความว่า พร่ำสอนด้วย

อำนาจถ้อยคำอันเป็นธรรมสม่ำเสมอเป็นเหตุ. บทว่า พาราณสิยมาสนฺเน ได้

แก่ในหมู่บ้านช่างหูกใกล้พระนครพาราณสี. บทว่า ชาโต เกนิยชาติย ความ

ว่า เกิดในตระกูลช่างทอผ้า คือ ในตระกูลช่างหูก. คำที่เหลือ มีเนื้อความ

พอที่จะกำหนดได้โดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถามหากัปปินเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

ทัพพมัลลปุตตเถราปทานที่ ๔ (๔๓๕)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระทัพพมัลลปุตตเถระ

[๑๒๔] พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุต-

ตระ ทรงรู้แจ้งโลกทั้งหมดที่เป็นมุนี มีพระจักษุ

ได้เสด็จอุบัติขึ้นในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้

พระองค์ทรงตรัสสอน ทำสัตว์ให้รู้ชัด

ยังสรรพสัตว์ให้ข้ามวัฏสงสาร ทรงฉลาดใน

เทศนา เป็นผู้เบิกบาน ทรงยังประชุมชนเป็น

อันมากให้ข้ามพ้นไปได้

พระองค์เป็นผู้พระอนุเคราะห์ ทรงประกอบ

ด้วยพระกรุณา ทรงแสวงหาประโยชน์แก่สรรพ-

สัตว์ ยังเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทุกคนให้ดำรงอยู่ใน

เบญจศีล

เมื่อเป็นเช่นนี้ พระศาสนาจึงหมดความ

อากูล ว่างจากพวกเดียรถีย์ และวิจิตรด้วยพระ-

อรหันต์ผู้คงที่ มีความชำนิชำนาญ

พระมหามุนีพระองค์นั้นสูง ๕๘ ศอก มี

พระฉวีวรรณงามคล้ายทองคำอันล้ำค่า มีพระ-

ลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

ครั้งนั้นอายุขัยของสัตว์แสนปี พระชิน-

สีห์พระองค์นั้น ดำรงพระชนม์อยู่โดยกาลประมาณ

เท่านั้น ทรงยังประชุมชนเป็นอันมากให้ข้ามพ้น

วัฏสงสารไปได้

ครั้งนั้น เราเป็นบุตรเศรษฐี มียศใหญ่

ในพระนครหังสวดี เข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้ส่องโลก

ให้สว่างไปทั่ว แล้วได้สดับพระธรรมเทศนา

เราได้ฟังพระดำรัสของพระศาสดาผู้ตรัส

สรรเสริญสาวกของพระองค์ ผู้แต่งตั้งเสนาสนะ

ให้ภิกษุทั้งหลาย ก็ชอบใจ

จึงทำอธิการแด่พระองค์ผู้ทรงแสวงหา

คุณอันใหญ่พร้อมทั้งพระสงฆ์แล้ว หมอบลง

แทบพระบาทด้วยเศียรเกล้า แล้วปรารถนา

ฐานันดรนั้น

แท้จริง ในครั้งนั้น พระมหาวีรเจ้าพระ-

องค์นั้น ได้ทรงพยากรณ์กรรมของเราไว้ว่า

เศรษฐีบุตรนี้ ได้นิมนต์พระโลกนายก

พร้อมด้วยพระสงฆ์ให้ฉันตลอด ๗ วัน เขาจักมี

อินทรีย์ดังใบบัว มีจะงอยบ่าเหมือนของราชสีห์

มีผิวพรรณดุจทองคำ หมอบอยู่แทบเท้าของเรา

ปรารถนาตำแหน่งอันสูงสุด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้พระศาสดามีพระ-

นามว่า โคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกาก-

ราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

เศรษฐีบุตรนี้จักได้เป็นสาวกของพระ-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น ปรากฏโดยชื่อว่า ทัพพะ เป็น

ภิกษุผู้เลิศฝ่ายจัดแจงเสนาสนะตามที่ปรารถนา

ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้ว และด้วยการตั้ง

เจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์

ชั้นดาวดึงส์

เราได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐

ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง เป็น

พระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้

เพราะกรรมนั้นนำไป เราจึงมีความสุขในที่ทุก

สถาน

ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ พระนายก

พระนามว่าวิปัสสี ผู้มีพระเนตรงาม ทรงเห็น

แจ้งธรรมทั้งปวงได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เราเป็นผู้มี

จิตขัดเคือง ได้พูดตู่สาวกของพระพุทธเจ้าผู้คงที่

พระองค์นั้น ผู้สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว ทั้ง ๆ ที่รู้

อยู่ว่าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

และเราจับสลากแล้ว ถวายข้าวสุกที่

หุงด้วยน้ำนม แก่พระเถระทั้งหลาย ผู้แสวงหา

คุณใหญ่ ผู้เป็นสาวกของพระผู้แกล้วกล้ากว่า

นรชนพระองค์นั้นแหละ

ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นพงศ์พันธ์

ของพรหม มีพระยศใหญ่ ประเสริฐกว่านัก-

ปราชญ์ พระนามว่า กัสสปะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

พระองค์ทรงยังศาสนธรรมให้รุ่งโรจน์ ข่มขี่

เดียรถีย์ผู้หลอกลวงเสีย ทรงแนะนำเวไนยสัตว์

แล้ว เสด็จปรินิพพานพร้อมทั้งพระสาวก

ครั้นเมื่อพระโลกนาถเจ้าพร้อมทั้งพระ-

สาวกปรินิพพานแล้ว ครั้นเมื่อศาลธรรม กำลัง

จะสิ้นสูญอันตรธาน ทวยเทพและมนุษย์พากัน

สลดใจ สยายผม มีหน้าเศร้า คร่ำครวญว่า

ดวงตาคือธรรมจักดับแล้ว เราจักไม่ได้

เห็นท่านที่มีวัตรดีงามทั้งหลาย เราจักไม่ได้ฟัง

พระสัทธรรม น่าสังเวช เราเป็นคนมีบุญน้อย

ครั้งนั้น พื้นปฐพีทั้งหมดนี้ ทั้งใหญ่ทั้ง

หนาได้ไหวสะเทือน สาครสมุทรได้ แม่น้ำ

ร้องอย่างน่าสงสาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

อมนุษย์ตีกลองดังทั่วทั้งสี่ทิศ อสนีบาต

อันน่ากลัวตกลงไปรอบ ๆ อุกกาบาตตกจากท้องฟ้า

ดาวหางปรากฏ เกลียวแห่งเปลวไฟมีควันพวยพุ่ง

หมู่มฤคร้องครวญครางอย่างน่าสงสาร

ครั้งนั้น เราทั้งหลายเป็นภิกษุรวม ๗ รูป

ด้วยกัน ได้เห็นความอุบาทว์อันร้ายแรง แสดง

เหตุว่าพระศาสนาจะสิ้นสูญ จึงเกิดความสังเวช

คิดกันว่า

เว้นพระศาสนาเสีย ไม่ควรที่เราจะมี

ชีวิตอยู่ เราทั้งหลายจึงจะเข้าไปสู่ป่าใหญ่แล้ว

บำเพ็ญเพียรตามคำสอนของพระชินสีห์เจ้า

ครั้งนั้น เราทั้งหลายได้พบภูเขาหินใน

ป่าสูงลิ่ว เราไต่ขึ้นทางพะอง แล้วผลักพะอง

ให้ตกลงเสีย

ครั้งนั้น พระเถระได้ตักเตือนเราว่าการ

อุบัติแห่งพระพุทธเจ้าหาได้ยาก อีกประการหนึ่ง

ความเชื่อที่บุคคลได้ไว้ ก็หาได้ยาก และพระ-

ศาสนายังเหลืออีกเล็กน้อย

ผู้ที่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปเสีย จะต้องตก

ลงไปในสาคร คือความทุกข์อันไม่มีที่สิ้นสุด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

เพราะฉะนั้น พวกเราควรกระทำความเพียร ตลอด

เวลาที่พระศาสนายังดำรงอยู่เถิด ดังนี้

ครั้งนั้น พระเถระนั้นเป็นพระอรหันต์

พระอนุเถระได้เป็นอนาคามี พวกเราที่เหลือ

จากนี้ เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ประกอบความเพียร จึง

ได้ไปยังเทวโลก

องค์ที่ข้ามสงสารไปได้ปรินิพพานแล้ว

อีกองค์หนึ่งเกิดในชั้นสุทธาวาส, เราทั้งหลาย คือ

ตัวเรา ๑ พระปุกกุสาติ ๑ พระสภิยะ ๑ พระ-

พาหิยะ ๑ พระกุมารกัสสปะ ๑ เกิดในที่นั้น ๆ

อันพระโคดมบรมศาสดา ทรงอนุเคราะห์ จึง

หลุดพ้นไปจากเครื่องจองจำ คือ สังสารวัฏได้

เราเกิดในพวกมัลลกษัตริย์ในพระนคร

กุสินารา เมื่อเรายังอยู่ในครรภ์นั่นแล มารดาได้

ถึงแก่กรรม เขาช่วยกันยกสรีระขึ้นสู่เชิงตะกอน

ลำดับนั้น เราตกลงมา ตกลงไปในกอง

ไม้ ฉะนั้นจึงปรากฏนามว่า ทัพพะ ด้วยผลแห่ง

การประพฤติพรหมจรรย์ เรามีอายุได้ ๗ ขวบ

ก็หลุดพ้นจากกิเลส ด้วยผลที่ถวายข้าวสุก

ผสมน้ำนม เราจึงเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ด้วย

บาปเพระกล่าวตู่พระขีณาสพ เราจึงถูกคนโจท

มากมาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

บัดนี้เราล่วงบุญและบาปได้ทั้งสองอย่าง

แล้ว ได้บรรลุบรมสันติ เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

เราแต่งตั้งเสนาสนะให้ท่านผู้มีวัตรอันดี

งามทั้งหลายยินดี พระพิชิตมารทรงพอพระทัยใน

คุณข้อนั้นจึงได้ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระทัพพมัลลปุตตเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล

จบทัพพมัลลปุตตเถราปทาน

๕๓๔. อรรถกถาทัพพมัลลปุตตเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระทัพพมัลลปุตตเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร

นาม ชิโน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-

องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากใน

ภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้

เกิดเป็นบุตรเศรษฐี ได้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติ เขาเลื่อมใสในพระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

กำลังฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาอยู่ได้มองเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ซึ่ง

พระศาสดาทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุผู้จัดแจงเสนาสนะแล้ว

มีใจเลื่อมใส นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ได้ถวายมหาทาน

ตลอด ๗ วัน พอล่วงได้ ๗ วัน ได้หมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว ปรารถนาตำแหน่งนั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบถึงความ

สำเร็จของเขาจึงได้ตรัสพยากรณ์แล้ว.

เขาได้บำเพ็ญกุศลกรรมจนตลอดชีวิตแล้วจุติจากอัตภาพนั้น ได้เสวย

ทิพยสมบัติในหมู่เทวดาชั้นดุสิตเป็นต้น แล้วจุติจากอัตภาพนั้น ในกาลแห่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เขาได้บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง เพราะ

ได้คบหากับอสัปบุรุษ แม้รู้ว่าภิกษุสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

เป็นพระอรหันต์ก็ยังได้พูดกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง. เขาได้ถวายสลากภัตรน้ำนม

แด่พระสาวกทั้งหลาย ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นนั่นแล. เขาได้ทำบุญจน

ตลอดอายุแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้ง

๒ แล้ว ในกาลแห่งพระกัสสปทศพล เขาได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุล ในกาล

ที่สุดบวชแล้วในพระศาสนา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ความ

โกลาหลอลหม่านก็ได้เกิดขึ้นในสกลโลก ภิกษุ ๗ รูป เป็นบรรพชิตในรูป

ยังภูเขาลูกหนึ่งในท่ามกลางป่า ในปัจจันตชนบทแล้ว ผลักพะองให้ตกลง

ด้วยคิดว่า ความหวังในชีวิต จงตกลงไป ความสิ้นอาลัย จงจมลงไปเสียเถิด

หัวหน้าพระเถระผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุเหล่านั้น ภายใน ๗ วัน ก็ได้เป็นพระ-

อรหันต์. พระเถระที่รองลงมาจากพระเถระนั้น ได้เป็นพระอนาคามี. พระเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

อีก ๕ รูปนอกนี้ เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ จุติจากอัตภาพนั้นแล้วไปบังเกิดใน

เทวโลก. ได้เสวยทิพยสุขในเทวโลกนั้นตลอดพุทธันดรหนึ่ง. ในพุทธุปบาท

กาลนี้ ภิกษุ ๔ รูปเหล่านั้นคือ ปุกกุสาติ ๑ สภิยะ ๑ พาหิยะ ๑ กุมารกัสสปะ ๑

ได้บังเกิดแล้วในที่นั้น ส่วนพระเถระนี้ได้บังเกิดในอนุปิยนครในมัลลรัฐ.

มารดาได้กระทำกาละเสีย ในระหว่างที่ทารกนั้นยังมิทันได้ออกจากท้องมารดา

แล. ลำดับนั้น บุคคลหนึ่ง จึงให้ช่วยกันยกร่างของนางขึ้นวางบนจิตกาธาน

เพื่อทำการฌาปนกิจ แล้วได้ช่วยกันรับประคับประคองกุมารซึ่งตกลงมาใน

ระหว่างกองไม้ไว้. ดังนี้ พระเถระนี้ จึงได้ปรากฏชื่อว่า ทัพพมัลลบุตร เพราะ

ตกลงมาที่กองไม้. ในกาลต่อมา ด้วยอำนาจบุญสมภารที่ทำไว้ในปางก่อน

ท่านจึงได้บวชแล้วประกอบความเพียรเจริญกัมมัฏฐาน ไม่นานเท่าไรนัก ก็ได้

บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔.

ลำดับนั้น พระศาสดา จึงทรงมอบหมายท่านไว้ในตำแหน่งจัด

เสนาสนะ และในตำแหน่งจัดแจงเรื่องภัตรแก่ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าท่าน

วางตนเป็นกลาง และเพราะท่านมีอานุภาพสมบูรณ์ และพระภิกษุสงฆ์ทั้งหมด

ก็พร้อมกันยกย่องท่าน อันว่าเรื่องนั้นได้มาแล้วในวินัยขันธกะนั้นแล. ใน

กาลต่อมาพระเถระได้เจาะจงสลากภัตรของท่านผู้ให้สลากอันประเสริฐคนหนึ่ง

แก่พวกภิกษุเมตติยภูมชกะ. พวกภิกษุเหล่านั้น ร่าเริงดีใจ พูดกันว่าพรุ่งนี้

พวกเราจักบริโภคภัตรที่เจือด้วยถั่วเขียวเนยใสและน้ำผึ้งของเรา ดังนี้แล้วจึง

ได้มีความอุตสาหะ. ฝ่ายอุบาสกนั้น ทราบว่าถึงวาระของภิกษุเหล่านั้นจึงสั่ง

นางทาสีว่า แน่ะแม่ พรุ่งนี้ภิกษุเหล่าใดจักมาถึงในที่นี้เจ้าจงอังคาสภิกษุเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

ด้วยข้าวปลายเกรียน มีน้ำผักดองเป็นที่ ๒ แม้ทาสีนั้นก็ได้นิมนต์ให้

ภิกษุเหล่านั้นผู้มาถึงแล้วให้นั่ง ณ ที่มุมซุ้มประตู นิมนต์ท่านบริโภคแล้วอย่าง

ที่นายสั่งนั่นแล. ภิกษุเหล่านั้น ไม่พอใจ เดือดดาลอยู่ด้วยความโกรธ ผูก

อาฆาตในพระเถระพูดติเตียนว่า พระเถระรูปนั้นแหละ ทำใช้ให้ทายกผู้ให้

ภัตอันอร่อย สั่งให้ให้ภัตรอันไม่อร่อยแก่พวกเรา จึงมีความทุกข์ เศร้าใจ

นั่งแล้ว. ลำดับนั้น นางภิกษุณีชื่อว่าเมตติยาจึงถามภิกษุเหล่านั้นว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ท่านมีความทุกข์ใจเรื่องอะไร ? ภิกษุเหล่านั้นพูดว่า น้องหญิง !

เรื่องอะไรพวกเราจึงมาถูกพระทัพพมัลลบุตรเบียดเบียน คอยเพ่งโทษ. นาง

ภิกษุณีจึงถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มีเรื่องอะไรที่ดิฉันพอสามารถจะช่วยทำได้

ไหม ? ภิกษุเหล่านั้นพูดว่า เธอจงยกโทษของพระทัพพมัลลบุตรนั้นขึ้นเถิด.

นางภิกษุณีนั้น จึงได้กระทำการกล่าวตู่ยกโทษแก่พระเถระในเรื่องนั้น ๆ. ภิกษุ

ทั้งหลายได้สดับเรื่องนั้นแล้ว จึงกราบทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงรับสั่งเรียกหาพระทัพพมัลลบุตรแล้ว

ตรัสถามว่า ทัพพะ ได้ยินว่าเธอได้กระทำประการอันแปลกแก่นางเมตติยา

ภิกษุณี จริงไหม ? พระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่าข้าพระองค์เป็นอย่างไร. พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่า ทัพพะ พวกทัพพมัลลบุตรทั้งหลาย ย่อมไม่อธิบายอย่างนั้นแล

เธอจงบอกมาว่า เป็นผู้กระทำหรือว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำ. พระทัพพมัลลบุตร

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้เป็นผู้กระทำพระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงประกอบภิกษุเหล่านั้นให้เมตติยาภิกษุณี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

พินาศเสีย ภิกษุทั้งหลายมีพระอุบาลีเถระเป็นประธาน จึงสั่งให้นางภิกษุณี

นั้นสึกเสียแล้ว ซักถามพวกภิกษุเมตติยภูมชกะ เมื่อพวกภิกษุเหล่านั้น กราบ

เรียนว่า พวกเราได้ใช้นางภิกษุณีนั้นเอง ดังนี้แล้วจึงได้พากันกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงบัญญัติ

อาบัติสังฆาทิเสสในเพราะกล่าวตู่เรื่องอันไม่มีมูลแก่พวกภิกษุเมตติยภูมชกะ.

ก็โดยสมัยนั้นแล พระทัพพเถระเมื่อจะจัดแจงเสนาสนะสำหรับพวก

ภิกษุ คือเมื่อจะส่งพวกภิกษุผู้ที่เสมอกันไปในพระมหาวิหาร ๑๘ แห่ง รอบ

พระเวฬุวันมหาวิหาร ในส่วนแห่งราตรีในเวลามืด ใช้นิ้วทำแสงประทีป

ให้ลุกโพลงแล้ว ส่งพวกภิกษุผู้ไม่มีฤทธิ์ไปด้วยแสงสว่างนั้นนั่นแล เมื่อ

หน้าที่จัดแจงเสนาสนะและหน้าที่จัดแจงเรื่องภัตรของพระเถระเกิดปรากฎแล้ว

อย่างนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงแต่งตั้งพระทัพพเถระไว้ในฐานันดร ใน

ท่ามกลางหมู่พระอริยเจ้าจึงทรงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งที่เลิศว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พระทัพพมัลลบุตร เป็นผู้เลิศแห่งหมู่ภิกษุสาวกของเรา ผู้จัดแจง

เสนาสนะแล.

พระเถระ ระลึกถึงบุรพกรรมของตน เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะ

ประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้น

ว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้ ถ้อยคำนั้นทั้งหมดมีเนื้อความดังที่ข้าพเจ้า

ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. เธอมีความว่าในกัปที่ ๙๑ แต่นี้ไป พระ

ผู้นำของชาวโลกพระนามว่า วิปัสสีทรงได้อุบัติขึ้นแล้วในโลกแล. บทว่า

ทุฏฺจิตฺโต ความว่าผู้มีจิตอันโทษประทุษร้ายแล้ว คือ ผู้มีจิตไม่ผ่องใสเพราะ

สมาคมกับคนไม่ดี. บทว่า อุปวทึ สาวก ตสฺส ความว่า เราได้ให้ร้ายพระ

สาวกที่เป็นพระขีณาสพ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น คือ เราได้ยก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

เอาถ้อยคำที่ไม่เป็นจริงกล่าวทับถม ได้แก่เราได้กระทำการกล่าวตู่ด้วยเรื่องที่

ไม่เป็นจริง. บทว่า ทุนฺทุภิโย ความว่า เภรีท่านเรียกว่าทุนทุภิ กลอง

มะโหระทึกเพราะเปล่งเสียงว่า ทุง ทุง ดังนี้. บทว่า นาทยึสุ แปลว่า เปล่ง

เสียงดัง. บทว่า สมนฺตโต อสนิโย เชื่อมความว่า ประกอบลงแล้วในหิน

คือให้พินาศไปโดยทิศาภาคทั้งหมด รวมความว่า สายฟ้าอาชญาของเทวดา

อัน นำมาซึ่งความหวาดกลัวได้ผ่าแล้ว. บทว่า อุกฺกา ปตึสุ นภสา ความว่า

ก่อกองไฟได้ตกลงแล้ว จากอากาศ. บทว่า ธุมเกตุ จ ทิสฺสติ ความว่า และ

กองไฟอันประกอบด้วยกลุ่มควัน ย่อมปรากฏชัดเจน. คำที่เหลือ มีเนื้อความ

พอที่จะกำหนดได้โดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถาทัพพมัลลปุตตเถราปทาน

กุมารกัสสปเถราปทานที่ ๕ (๕๓๕)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระกุมารกัสสปเถระ

[๑๒๕] ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าผู้นายก ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก

ทั้งปวง เป็นนักปราชญ์ มีพระนามว่าปทุมุตตระ

ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

ครั้งนั้น เราเป็นพราหมณ์มีชื่อเสียง

โด่งดัง รู้จบไตรเพท เที่ยวไปในที่พักสำราญ

กลางวัน ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นายกของ

โลก กำลังทรงประกาศสัจจะ ๔ ทรงยัง

มนุษย์พร้อมด้วยทวยเทพให้ตรัสรู้ กำลังทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

สรรเสริญพระสาวกของพระองค์ ผู้กล่าวธรรม

กถาวิจิตรอยู่ในหมู่มหาชน

ครั้งนั้น เราชอบใจ จึงได้นิมนต์พระ-

ตถาคตแล้วประดับประดามณฑปให้สว่างไสวด้วย

รัตนะนานาชนิด ด้วยผ้าอันย้อมด้วยสีต่าง ๆ

นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ให้เสวยและ

ฉันในมณฑปนั้น เรานิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อม

ด้วยพระสาวกให้เสวยและฉันโภชนะมีรสอันเลิศ

ต่าง ๆ ถึง ๗ วัน

แล้วเอาดอกไม้ที่สวยงามต่าง ๆ ชนิด

เป็นที่อาศัยอยู่แห่งกรุณา ได้ตรัสว่า จงดูพราหมณ์

นี้ ผู้มีปากและตาเหมือนดอกปทุมมากด้วยความ

ปรีดาปราโมทย์ มีกายและใจฟูขึ้นเพราะโสมนัส

นำความร่าเริงมา จักษุเบิกกว้าง มีความปรารถนา

ในศาสนาของเรา หมอบลงแทบบาทมูลาของเรา

มีความประพฤติมั่น มีใจโสมนัส เขาปรารถนา

ฐานันดรนั้น คือ การกล่าวธรรมกถาอันวิจิตร

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระ-

นามว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช

จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

ผู้นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดา

พระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมเนรมิต จัก

มีนามว่ากุมารกัสสปะเป็นสาวกของพระศาสดา

เพราะอำนาจดอกไม้และผ้าอันวิจิตรกับ

รัตนะ เขาจักถึงความเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย

ผู้กล่าวธรรมกถาอันวิจิตร

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีแล้ว และเพราะการ

ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป

สวรรค์ดาวดึงส์

เราท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่

เหมือนตัวละครหมุนเวียนอยู่กลางเวทีเต้นรำ

ฉะนั้น เราเป็นบุตรของเนื้อชื่อสาขะหยั่งลงใน

ครรภ์แห่งแม่เนื้อ

ครั้งนั้น เมื่อเราอยู่ในท้องมารดาของ

เรา ถึงเวรที่จะต้องถูกฆ่า มารดาของเราถูกเนื้อ

สาขะทอดทิ้ง จึงยึดเอาเนื้อนิโครธเป็นที่พึ่ง

มารดาของเราอันพญาเนื้อนิโครธ ช่วย

ให้พ้นจากความตาย สละเนื้อสาขะแล้ว ตัก

เตือนเราผู้เป็นบุตรของตัวในครั้งนั้นอย่างนี้ว่า

ควรคบหาแต่เนื้อโครธเท่านั้น ไม่ควร

เข้าไปคบหาเนื้อสาขะ ตายในสำนักเนื้อนิโครธ

ประเสริฐกว่า มีชีวิตอยู่ในสำนักเนื้อสาขะจะประ-

เสริฐอะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

เรา มารดาของเรา และเนื้อนอกจากนี้

อันเนื้อนิโครธ ผู้เป็นเป็นนายฝูงนั้นพร่ำสอน อาศัย

โอวาทของเนื้อนิโครธนั้น จึงได้ไปยังที่อยู่อาศัยคือ ส

คือ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์อันรื่นรมย์ ประหนึ่งว่าไป

ยังเรือนของตัวที่ทิ้งจากไป ฉะนั้น.

เมื่อพระศาสนาของพระกัสสปธีรเจ้า

กำลังถึงความสิ้นสูญอันตรธาน เราได้ขึ้นภูเขาอัน

ล้วนด้วยหิน บำเพ็ญเพียรตามคำสอนของพระ-

พิชิตมาร

ก็บัดนี้ เราเกิดในสกุลเศรษฐีในพระ-

นครราชคฤห์ มารดาของเรามีครรภ์ ออกบวช

เป็นภิกษุณี พวกภิกษุณี รู้ว่ามารดาของเรามีครรภ์

จึงนำไปหาพระเทวทัต พระเทวทัตนั้น กล่าวว่า

จงนาสนะภิกษุณีผู้ลามกนี้เสีย

ถึงในบัดนี้มารดาบังเกิดเกล้าของเรา เป็น

ผู้อันพระพิชิตมารจอมมุนีทรงอนุเคราะห์ไว้ จึง

ได้ถึงความสุขในสำนักของภิกษุณี

พระเจ้าแผ่นดินพระนามว่าโกศล ได้

ทรงทราบเรื่องนั้นจึงทรงเลี้ยงดูเราไว้ด้วยเครื่อง

บริหารแห่งกุมาร และตัวเรามีชื่อว่ากัสสปะ เพราะ

อาศัยท่านพระมหากัสสปเถระ เราจึงถูกเรียกว่า

กุมารกัสสปะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

เพราะได้สดับพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้า ที่พระ-

พุทธเจ้าทรงแสดงว่า กายเช่นเดียวกับจอมปลวก

จิตของเราจึงพ้นอาสวะทั้งปวง เราได้รับ

ตำแหน่งเอตทัคคะ ก็เพราะทรมานพระเจ้าปายาสิ

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระกุมารกัสสปะได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบกุมารกัสสปเถราปทาน

จบภาณวารที่ ๒๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

๕๓๕. อรรถกถากุมารกัสสปเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระกุมารกัสสปเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า อิโต

สตสหสฺสมฺหิ ดังนี้.

ได้ทราบว่า พระเถระรูปนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว วัน

หนึ่ง ขณะที่กำลังฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่ง

พระศาสดาทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่งที่เสิศกว่าภิกษุผู้กล่าวธรรมถถาอัน

วิจิตร แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้นบ้าง จึงตั้งปณิธานไว้ กระทำบุญ

ทั้งหลาย อันเหมาะแก่ตำแหน่งนั้น ดำรงชีวิตอยู่จนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพ

นั้น ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้ง ๒ แล้ว

ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เขาได้บังเกิดในเรือนอัน มี

สกุล บวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว บำเพ็ญ

สมณธรรม ท่องเที่ยวไปเฉพาะในสุคติทั้งหลายอย่างเดียว ได้เสวยทิพยสุข

และมนุษยสุขแล้วในพุทธุปบาทกาลนี้เขาได้บังเกิดในท้องของลูกสาวเศรษฐี

คนหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์. ทราบว่า ลูกสาวเศรษฐีนั้น ในเวลาที่เป็นเด็ก

หญิงนั้นแล มีความประสงค์จะบวช จึงขออนุญาตมารดาบิดา เมื่อไม่ได้รับ

อนุญาตให้บวชจึงไปยังตระกูลสามี ได้มีครรภ์ แต่ไม่รู้ว่ามีครรภ์นั้น จึงคิด

แล้วว่า เราจักทำให้สามียินดี (ทำให้ถูกใจสามี) แล้วจึงจักขออนุญาตบวช.

เมื่อนางจะทำให้ถูกใจสามี จึงชี้ถึงโทษของสรีระโดยนัยเป็นต้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

ถ้าว่าในภายในของร่างกายนี้ จะพึงกลับ

ออกมาในภายนอกไซร้ บุคคลก็จะต้องถือท่อนไม้

คอยไล่หมู่กาและหมู่สุนัขแน่นอน ดังนี้.

จึงทำสามีผู้ประเสริฐนั้น ให้ยินดีแล้ว

หญิงนั้น ได้รับอนุญาตจากสามีแล้ว ไม่รู้ว่ามีครรภ์จึงได้บวชใน

หมู่นางภิกษุณีฝ่ายของพระเทวทัต. พวกนางภิกษุณีได้เห็นว่านางมีครรภ์

จึงไปถามพระเทวทัต. พระเทวทัตนั้นตัดสินว่า นางภิกษุณีนี้ไม่เป็นสมณะ.

นางภิกษุณีนั้นจึงคิดว่า เรามิได้บวชอุทิศพระเทวทัต. แต่เราบวชอุทิศ

พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ จึงได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทูลถามพระ-

ทศพล. พระศาสดา ทรงมอบหมายให้พระอุบาลีเถระรับหน้าที่ไป พระเถระ

สั่งให้เรียกตระกูลชาวพระนครสาวัตถี และนางวิสาขาอุบาสิกามาแล้ว เมื่อจะ

วินิจฉัยเรื่องนั้นพร้อมกับบริษัทผู้มีความขัดแย้ง จึงกล่าวว่า นางได้มีครรภ์

ก่อนบวช ครรภ์ไม่มีอันตรายบวชแล้ว. พระศาสดาได้ทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว

ตรัสว่า อุบาลีวินิจฉัยอธิกรณ์ถูกต้องดีแล้ว จึงทรงประทานสาธุการแก่พระ-

เถระ.

นางภิกษุณีรูปนี้ ได้ตลอดบุตรรูปร่างงดงามดุจทองคำ. พระเจ้า

ปเสนทิโกศล ทรงพระดำริว่า การเลี้ยงดูทารก จะเป็นความกังวลใจแก่พวก

นางภิกษุณี จึงทรงรับสั่งให้แก่พวกญาติแล้ว รับสั่งให้เลี้ยงดู. พวกญาติได้

ตั้งชื่อทารกนั้นว่า กัสสปะ. ในกาลต่อมามารดาประดับตกแต่งแล้ว นำไป

เฝ้าพระศาสดาแล้วทูลขอบรรพชาแล้ว. ก็เพราะท่านบวชในเวลาที่เป็นเด็ก

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเรียกกัสสปะมา พวกเธอจงให้

ผลไม้หรือว่าของที่ควรเคี้ยวนี้แก่กัสสปะ พวกภิกษุจึงทูลถามว่า กัสสปะไหน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

ต่อมาในเวลาเจริญวัยแล้ว จึงปรากฏชื่อว่า กุมารกัสสปะ เพราะตั้งชื่อเสีย

ใหม่ว่ากุมารกัสสปะ และเพราะเป็นบุตรที่พระราชาทรงชุบเลี้ยง.

จำเดิมแต่บวชแล้ว ท่านก็บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน และศึกษา

เล่าเรียนพระพุทธวจนะ. ลำดับนั้น ท้าวมหาพรหมผู้เป็นพระอนาคามีเกิด

ในชั้นสุทธาวาส ได้บำเพ็ญสมณธรรมบนยอดภูเขาร่วมกับท่านคิดว่า เราจัก

ชี้ทางวิปัสสนาแล้ว กระทำอุบายเพื่อบรรลุมรรคผลได้ ดังนี้แล้ว จึงแต่ง

ปัญหาขึ้น ๑๕ ข้อแล้ว บอกแก่พระเถระผู้อยู่ในป่าอัมธวันว่า ท่านควรถาม

ปัญหาเหล่านั้น กะพระศาสดา. ทีนั้นท่านจึงทูลถามปัญหาเหล่านั้นกะพระผู้มี

พระภาคเจ้า. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ทรงวิสัชนาแก่เธอแล้ว. พระเถระ

เล่าเรียนปัญหาเหล่านั้น โดยทำนองที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วทั้งหมด ยัง

วิปัสสนาให้ถือเอาซึ่งห้องแล้ว ได้บรรลุพระอรหัต.

พระกุมารกัสสปะนั้น พอได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงบุรพ-

กรรมของตน ได้เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่คุ้นเคยได้

ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อิโต สตสหสฺสมหิ ดังนี้

คำใดในคาถานั้น มีเนื้อความซ้ำกับที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง คำนั้น

ทั้งหมด ข้าพเจ้าจักไม่พรรณนา ข้าพเจ้าจักพรรณนาเฉพาะบทที่ยาก ๆ

เท่านั้น.

บทว่า อาปนฺนสตฺตา เม มาตา ความว่า มารดาของเรามีครรภ์แก่

เป็นหญิงมีครรภ์ ได้แก่มีครรภ์แก่ใกล้เวลาคลอด. บทว่า วมฺมิกสทิส กาย

ความว่า ขึ้นชื่อว่า สรีระเป็นเช่นกับจอมปลวก พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง

แสดงคือทรงประกาศไว้ว่าร่างกายนี้มีช่องอยู่ช่อง ซึ่งไหลไปอยู่เป็นนิตย์

เปรียบเหมือนจอมปลวกมีช่องเล็กช่องใหญ่ข้างโน้นข้างนี้ เป็นที่อยู่อาศัยของ

สัตว์ทั้งหลาย เช่น มอดและตัวปลวกเป็นต้น ฉันนั้นเหมือนกัน อธิบายว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

ครั้นได้สดับพระดำรัสนั้นแล้ว จิตของเราไม่ยึดถืออาสวะทั้งหลาย พ้นแล้วจาก

กิเลสได้โดยพิเศษ คือ ดำรงอยู่แล้วในพระอรหัตผล. ในกาลต่อมา พระ-

ศาสดาได้ทรงทราบจากภิกษุทั้งหลายในที่นั้น ๆ ว่า พระเถระนั้นเป็นผู้กล่าว

ธรรมกถาได้อย่างวิจิตร จึงทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่งที่เลิศว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กุมารกัสสปะนี้ เป็นผู้เลิศแห่งภิกษุสาวกของเรา ผู้กล่าว

ธรรมกถาให้วิจิตรแล.

จบอรรถกถากุมารกัสสปเถราปทาน

พาหิยเถราปทานที่ ๖ (๕๓๖)

ว่าด้วยบุพกรรมของพระพาหิยเถระ

[๑๒๖] ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าผู้นายก มีพระรัศมีใหญ่ เลิศกว่า

ไตรโลก มีพระนามชื่อว่าปทุมุตตระ ได้เสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว

เมื่อพระมุนี ตรัสสรรเสริญคุณของภิกษุ

ผู้ตรัสรู้ได้เร็วพลันอยู่ เราได้ฟังแล้วชอบใจ จึง

ได้ทำสักการะแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แสวงหา

คุณอันใหญ่

ถวายทานแด่พระมหามุนีพร้อมด้วยพระ-

สาวกตลอด ๗ วัน ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า

แล้วปรารถนาฐานันดรนั้นในกาลนั้น

ลำดับนั้นพระสัมพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์

เราว่า จงดูพราหมณ์ที่หมอบอยู่แทบเท้าของเรานี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

ผู้สมบูรณ์ด้วยโสมนัส มีผิวพรรณเหมือนเด็กอายุ

๑๖ ปี

มีร่างกายอันบุญกรรมสร้างสรรให้คล้าย

ทองคำ ผุดผ่อง ผิวบาง ริมฝีปากแดงเหมือน

ผลตำลึงสุก มีฟันขาวคมเรียบเสมอ

มากด้วยกำลังคือคุณ มีกายและใจสูง

เพราะโสมนัส เป็นบ่อเกิดแห่งกระแสน้ำ คือ

คุณ มีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสด้วยปีติ

เขาปรารถนาตำแหน่งแห่งภิกษุผู้ตรัสรู้

ได้โดยเร็วพลัน พระมหาวีรเจ้าพระนามว่าโคดม

จักเสด็จอุบัติขึ้นในอนาคตกาล

เขาจักเป็นธรรมทายาทของพระมหาวีร-

เจ้าพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต จัก

ได้เป็นสาวกของพระศาสดามีนามชื่อว่าพาหิยะ

ก็ครั้งนั้น เราเป็นผู้ยินดี หมั่นกระทำ

สักการะพระมหามุนีเจ้า ตราบเท่าสิ้นชีวิต จุติแล้ว

ได้ไปสวรรค์ ดุจไปที่อยู่ของตนฉะนั้น

เราจะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ย่อมเป็นผู้ถึง

ความสุข เพราะกรรมนั้นชักนำไป เราจึงได้

ท่องเที่ยวไปเสวยราชสมบัติ

เมื่อพระศาสนาของพระกัสสปธีรเจ้าเสื่อม

ไปแล้ว เราได้ขึ้นสู่ภูเขาอันล้วนแล้วด้วยหิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

บำเพ็ญเพียรตามคำสอนของพระชินสีห์ เป็นผู้มี

ศีลบริสุทธิ์ มีปัญญา ทำกิจพระศาสนาของพระ-

ชินสีห์ เรา ๕ คนด้วยกัน จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว

ไปสู่เทวโลก

เราเกิดเป็นบุรุษชื่อพาหิยะ ในภาระกัจฉ-

นครอันเป็นเมืองอุดม ภายหลัวได้แล่นเรือไป

ยังสมุทรสาคร ซึ่งมีความสำเร็จเพียงเล็กน้อย

ไปได้ ๒-๓ วันเรือก็อัปปาง ครั้งนั้น

เราตกลงไปยังมหาสมุทร อันเป็นที่อยู่แห่งมังกร

ร้ายกาจ น่าหวาดเสียว

ครั้งนั้น เราพยายามว่ายข้ามทะเลใหญ่

ไปถึงท่าสุปปารกะ มีคนรู้จักน้อย

เรานุ่งผ้ากรองเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต ครั้ง

นั้น หมู่ชนเป็นผู้ยินดีกล่าวว่า นี้พระอรหันต์

ท่านมาที่นี่

พวกเราสักการะพระอรหันต์ด้วยข้าว น้ำ

ผ้า ที่นอนและเภสัชแล้วจักเป็นผู้มีความสุข

ครั้งนั้น เราได้ปัจจัยอันเขาสักการะบูชา

ด้วยปัจจัยเหล่านั้น เกิดความดำริโดยไม่แยบคาย

ขึ้นว่า เราเป็นพระอรหันต์

ครั้งนั้น บรุพเทวดารู้ว่าวาระจิตของเรา จึง

ตักเตือนว่าท่านหารู้ช่องทางแห่งอุบายไม่ ที่ไหน

จะเป็นพระอรหันต์เล่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

ครั้งนั้น เราอันเทวดานั้นตักเตือนสลดใจ

จึงสอบถามเทวดานั้น พระอรหันต์ผู้ประเสริฐ

กว่านรชนในโลกนี้คือใคร อยู่ที่ไหน

เทวดานั้นบอกว่า

พระพิชิตมารผู้มีพระปัญญามาก ผู้มี

ปัญญาเสมือนแผ่นดินประเสริฐ ประทับอยู่ที่กรุง

สาวัตถี แคว้นโกสล พระองค์เป็นโอรสของ

เจ้าศากยะ เป็นพระอรหันต์ ไม่มีอาสวะ ทรง

แสดงธรรมเพื่อบรรลุพระอรหันต์.

เราได้สดับคำของเทวดานั้นแล้ว อิ่มใจ

เหมือนคนกำพร้าได้ขุมทรัพย์ ถึงความอัศจรรย์

เบิกบานใจที่จะได้พบพระอรหันต์อันอุดมชวนมอง

พึงใจ มีอารมณ์ไม่มีที่สุด

ครั้งนั้น เราออกจากที่นั้นไปด้วยตั้งใจ

ว่าเมื่อเราชนะกิเลสได้ ก็จะได้เห็นพระพักตร์

อันปราศจากมลทิน ของพระศาสดาทุกทิพาราตรี

กาล เราไปถึงแคว้นอันน่ารื่นรมย์นั้นแล้ว ได้

ถามพวกพราหมณ์ว่า พระศาสดาผู้ยังโลกให้ยินดี

ประทับอยู่ที่ไหน

ครั้งนั้น พราหมณ์ทั้งหลาย ตอบว่า

พระศาสดา อันนราชรและทวยเทพถวายวันทนา

เสด็จเข้าไปสู่บุรีเพื่อทรงแสวงหาพระกระยาหาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

แล้ว พระองค์ก็เสด็จกลับมา ท่านขวนขวาย

ที่จะเข้าเฝ้าพระมุนีเจ้า ก็จงรีบเข้าไปถวายบังคม

พระองค์ผู้เป็นเอกอัครบุคคลนั้นเถิด

ลำดับนั้น เรารีบไปยังเมืองสาวัตถีบุรี

อันอุดม ได้พบพระองค์ผู้ไม่กำหนัดในอาหาร

ไม่ทรงนุ่งด้วยความโลภ ทรงยังอมตธรรมให้โชติ

ช่วง อยู่ ณ พระนครนี้ ประหนึ่งว่าเป็นที่อยู่ของ

สิริ พระพักตร์โชติช่วงเหมือนรัศมีพระอาทิตย์

ทรงถือบาตร กำลังเสด็จโคจรบิณฑบาตอยู่

ครั้นพบพระองค์แล้วเราจึงได้หมอบลง

กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดม ขอพระองค์โปรด

เป็นที่พึ่งของข้าพระองค์ ผู้เสียหายไปในทาง

ผิดด้วยเถิด

พระมุนีผู้สูงสุดได้ตรัสว่า เรากำลังเที่ยว

บิณฑบาต เพื่อประโยชน์แก่การยังสัตว์ให้ข้าม

พ้น เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะแสดงธรรมแก่ท่าน

ครั้งนั้น เราปรารถนาได้ธรรมนัก จึง

ได้ทูลอ้อนวอนพระพุทธเจ้าบ่อย ๆ พระองค์ได้

ตรัสพระธรรมเทศนาสุญญตบทอันลึกซึ้งแก่เรา

เราได้สดับธรรมของพระองค์แล้ว โอ

เราเป็นผู้อัน พระศาสดาทรงอนุเคราะห์

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

พระพาหิยทารุจิริยเถระผู้ได้กล่าวการ

พยากรณ์อย่างนี้แล้ว ล้มลงที่กองหยากเยื่อ เพราะ

แม่โคภูตผีมองไม่เห็นตัวขวิดเอา พระเถระผู้มี

ปรีชามาก เป็นนักปราชญ์ ครั้นกล่าวบุรพจริต

ของตนแล้ว ท่านปรินิพพาน ณ พระนครสาวัตถี

เมืองอุดมสมบูรณ์

สมเด็จพระฤาษีผู้สูงสุด เสด็จออกจาก

พระนคร ทอดพระเนตรเห็นท่านพระพาหิยะผู้

นุ่งผ้าคากรองนั้น ผู้เป็นนักปราชญ์ มีความ

เร่าร้อนอันลอยเสียแล้ว ล้มลงที่ภูมิภาค ดุจเสา

คันธงถูกลมล้มลง ฉะนั้น หมดอายุ กิเลสแห้ง

ทำกิจพระศาสนาของพระชินสีห์เสร็จแล้ว

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสเรียกพระสาวก

ทั้งหลาย ผู้ยินดีในพระศาสนามาสั่งว่า ท่าน

ทั้งหลายจงช่วยกันจับร่างของเพื่อนสพรหมจารี

แล้วเผาเสีย

จงสร้างสถูปบูชา เขาเป็นคนมีปรีชา

มาก นิพพานแล้ว สาวกผู้ทำตามคำของเราผู้นี้

เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายที่ตรัสรู้ได้เร็วพลัน

คาถาแม้ตั้งพัน ถ้าประกอบด้วยบทที่

แสดงความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์ไซร้ คาถาบท

เดียวที่บุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ ก็ประเสริฐ

กว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

น้ำ ดิน ไฟ และ ลม ไม่ตั้งอยู่

นิพพานใด ในนิพพานนั้น บุญกุศลส่องไปไม่

ถึง พระอาทิตย์ส่องแสงไม่ถึง

พระจันทร์ก็ส่องแสงไม่ถึง ความมืดก็ไม่

มี อนึ่ง เมื่อใด พราหมณ์ผู้ชื่อว่ามุนีเพราะความ

เป็นผู้นิ่ง รู้จริงด้วยตนเองแล้ว

เมื่อนั้นเขาพ้นจากรูป อรูป สุขและ

ทุกข์ พระโลกนาถผู้เป็นมุนี เป็นที่นับถือของ

โลกทั้งสาม ได้ภาษิตไว้ด้วยประการดังกล่าวมา

ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระพาหิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบพาหิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

๕๓๖. อรรถกถาพาหิยเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระทาหิยพารุจิริยเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า อิโต

สตสหสฺสมฺหิ ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-

องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ

นั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้พระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิด

ในตระกูลพราหมณ์ ถึงความสำเร็จในศิลปะของพวกพราหมณ์แล้ว เป็นผู้มี

ความรู้ไม่ขาดตกบกพร่องในเวทางคศาสตร์ทั้งหลาย. วันหนึ่งได้ไปยังสำนัก

ของพระศาสดา ขณะฟังธรรมมีใจเลื่อมใส ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งพระ

ศาสดาทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้ขิปปาภิญญา (ตรัสรู้

ได้เร็วไว) เป็นผู้ประสงค์จะได้ตำแหน่งนั้นบ้าง จึงได้ถวายทานแด่ภิกษุ

สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ตลอด ๗ วัน โดยล่วง ๗ วันไปแล้ว จึง

หมอบลงที่บาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ตั้งความปรารถนาไว้ว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ในวันที่ ๗ แต่วันนี้ไป พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงได้สถาปนา

ภิกษุใดไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้ขิปปาภิญญา ในอนาคตกาล แม้

ข้าพระองค์ก็พึงเป็นเหมือนภิกษุรูปนั้น คือ พึงเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุผู้ขิปปา-

ภิญญา ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงตรวจดูด้วยอนาคตังสญาณแล้ว ทรงทราบว่าสำเร็จผลแน่ จึงทรงพยา-

กรณ์ว่า ในอนาคตกาล เขาบวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่าโคคม จักเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุผู้ขิปปาภิญญาแล. เขาได้ทำบุญไว้เป็นอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

มากจนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้บังเกิดในเทวโลก ได้เสวยสมบัติ

ในกามาวจร ๖ ชั้นในเทวโลกนั้นแล้ว. ก็ได้เสวยสมบัติมีจักรพรรดิสมบัติ

เป็นต้นในมนุษยโลกอีกหลายร้อยโกฏิกัป ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-

นามว่ากัสสปะ เขาได้บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ปรินิพพานแล้ว จึงได้บวชแล้ว. เมื่อพระศาสนา เสื่อมสิ้นลง ภิกษุ ๗ รูป

มองเห็นความประพฤติผิดของบริษัท ๔ ถึงความสังเวชสลดจิต พากันเข้าไป

ป่า คิดว่า พวกเราจักกระทำที่พึ่งแก่ตนเองตลอดเวลาที่พระศาสนายังไม่เสื่อม

สิ้นไป จึงพากัน ไหว้พระสุวรรณเจดีย์แล้ว ได้มองเห็นภูเขาลูกหนึ่งในป่านั้น

จึงพูดขึ้นว่า ผู้มีความห่วงใยในชีวิต จงกลับไปเสีย ผู้ไม่ห่วงใยในชีวิต จงพา

กันขึ้นไปยังภูเขาลูกนี้เถิด แล้วจึงพาดพะอง ทั้งหมดพากันขึ้นไปยังภูเขาลูก

นั้นแล้ว ผลักพะองให้ตกไปแล้วต่างก็บำเพ็ญสมณธรรม. ในบรรดาภิกษุทั้ง

๗ รูปเหล่านั้น พระสังฆ์เถระได้บรรลุพระอรหัต โดยล่วงไปเพียงราตรีเดียว

เท่านั้น. พระเถระนั้นเคี้ยวไม้สีฟันชื่อนาคลดา ในสระอโนดาด ล้างหน้า

แล้ว นำเอาบิณฑบาตมาจากอุตตรกุรุทวีปแล้ว พูดกะภิกษุเหล่านั้นว่า ผู้มี

อายุ จงฉันบิณฑบาตนี้เถิด. ภิกษุเหล่านั้นพูดว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกเราได้

กระทำกติกาอย่างนี้ไว้แล้วหรือว่า รูปใดบรรลุพระอรหัตก่อน รูปที่เหลือ

จงบริโภคฉันบิณฑบาตที่รูปนั้นนำมาแล้ว. พระเถระถามว่า ผู้มีอายุ ข้อนั้น

มิใช่เป็นเช่นนั้น. ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ก็ถ้าว่าแม้พวกเราจักได้ทำคุณวิเศษ

ให้บังเกิดขึ้นได้เหมือนอย่างท่านไซร้ ตนเองก็จักนำมาบริโภคฉันเอง ดังนี้

จึงไม่ปรารถนาแล้ว.

ในวันที่ ๒ พระเถระรูปที่ ๒ ได้เป็นพระอนาคามี ได้นำเอาบิณฑบาต

มาแล้วอย่างนั้นเหมือนกันแล้ว นิมนต์ให้ภิกษุนอกนี้ฉัน ภิกษุเหล่านั้นกล่าว

แล้วอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ พวกเราได้ทำกติกากัน ไว้แล้วหรือว่า พวกเราจักไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

ฉันบิณฑบาตที่พระมหาเถระนำมา จักฉันบิณฑบาตเฉพาะที่พระอนุเถระนำ

มาแล้ว. พระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ ก็ข้อนั้นมิใช่เป็นเช่นนั้น. ภิกษุเหล่านั้น

กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม้พวกเราจักทำคุณวิเศษให้บังเกิดขึ้นเหมือน

อย่างพวกท่านอย่างนั้นแล้ว ก็จักอาจเพื่อขบฉันตามความเป็นอย่างบุรุษของ

ตนของตน ดังนี้ ไม่ปรารถนาแล้ว. ในบรรดาภิกษุเหล่านั้นพระเถระที่ได้

บรรลุพระอรหัต ได้ปรินิพพานแล้ว. พระเถระรูปที่ ๒ ได้เป็นพระอนาคามี

ได้ไปบังเกิดพรหมโลก ภิกษุอีก ๕ รูปนอกนี้ไม่สามารถจะทำคุณวิเศษให้

บังเกิดขึ้นได้ จึงเศร้าโศกใจในวันที่ ๗ ได้กระทำกาละไปบังเกิดในเทวโลก.

ได้เสวยทิพยสุขในเทวโลกนั้นแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ จุติจากอัตภาพนั้น

แล้ว บังเกิดในมนุษยโลก. ในบรรดาชน ๕ คนเหล่านั้น คนหนึ่งได้เป็น

พระราชาพระนามว่าปุกกุสะ คนหนึ่งชื่อว่ากุมารกัสสปะ อยู่ในกรุงตักกสิลา

แคว้นคันธาระ คนหนึ่งชื่อว่า พาหิยทารุจิริยะ คนหนึ่งชื่อว่าทัพพมัลลบุตร

และคนหนึ่งชื่อว่า สภิยปริพพาชกแล. ในบรรดาชน ๕ คนเหล่านั้น พาหิย-

ทารุจิริยะคนนี้ ได้บังเกิดในตระกูลพ่อที่ท่าสุปปารกะ ถึงความสำเร็จใน

พาณิชยกรรมแล้ว มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก. เขาได้ขึ้นเรือไปต่างประเทศ

พร้อมกับพวกพ่อค้าซึ่งกำลังเดินทางไปยังสุวรรณภูมิ เดินทางไปได้เล็กน้อย

เรือก็อัปปาง ผู้คนที่เหลือ ก็กลายเป็นภักษาของปลาและเต่า เหลือเขาเพียง

คนเดียวเท่านั้น เกาะไม้กระดานแผ่นหนึ่งพยายามว่ายน้ำ ในวันที่ ๗ ก็ล่วง

ถึงฝั่งแห่งท่าสุปปากะ. เขาไม่มีผ้านุ่งและผ้าห่ม เขามองไม่เห็นใครอื่น จึง

เอาปอผูกท่อนไม้แห้งแล้ว นุ่งและห่ม ถือเอากระเบื้องจากเทวสถานได้ไป

ยังท่าสุปปารกะ. พวกมนุษย์เห็นเขาเข้าแล้ว ต่างก็พากันให้ยาคูและภัตร

เป็นต้นแล้ว ยกย่องว่า ท่านผู้นี้คนเดียวเป็นพระอรหันต์. เมือพวกชาวบ้าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

นำเอาผ้านุ่งผ้าห่มมาให้มากมายเขาจึงคิดว่า ถ้าว่า เราจะนุ่งหรือจะห่มผ้าไซร้

ลาภและสักการะของเราก็จักเสื่อมสิ้นไป จึงพูดห้ามผ้าเหล่านั้น เสียแล้ว ใช้สอย

เฉพาะแต่ผ้าเปลือกไม้อย่างเดียว.

ลำดับนั้น เมื่อเขาได้รับยกย่องจากประชาชนเป็นอันมากว่า เป็น

พระอรหันต์ พระอรหันต์ดังนี้ จึงมีความปริวิตกเกิดขึ้นในใจอย่างนี้ว่า พวก

ที่เป็นพระอรหันต์ หรือว่าปฏิบัติดำเนินไปเพื่อบรรลุพระอรหัตมีอยู่ในโลกนี้

ตัวเราก็เป็นผู้หนึ่งของพวกนั้น. เขาเลี้ยงชีวิตด้วยการงานที่หลอกลวงคนอื่น

โดยทำนองนั้นแล.

ในพระศาสนาแห่งพระกัสสปทศพล เมื่อชนทั้ง ๗ คนในรูปยัง

ภูเขาบำเพ็ญสมณธรรม คนหนึ่งได้เป็นพระอนาคามีได้ไปบังเกิดในพรหมโลก

ชั้นสุทธวาส ตรวจดูพรหมสมบัติของตน รำพึงถึงสถานที่ที่ตนมาแล้ว ขึ้น

ไปยังภูเขา เห็นที่บำเพ็ญสมณธรรมแล้ว รำพึงถึงสถานที่ที่คนที่เหลือไปเกิด

รู้ว่าท่านหนึ่งปรินิพพานแล้ว และรู้ว่า นอก อีก ๕ คนไปบังเกิดในเทวโลก

ชั้นกามาวจร ได้รำพึงถึงคนทั้ง ๕ เหล่านั้นตามกาลอันสมควร. เมื่อรำพึงว่า

ก็ในเวลานี้คนทั้ง เหล่านั้นไปบังเกิดในที่ไหนหนอ จึงได้เห็นทารุจิริยะ

ผู้อาศัยท่าสุปปารกะเลี้ยงชีวิต ด้วยการงานคือการหลอกลวงแล้ว คิดว่า ผู้นี้เป็น

คนพาลฉิบหายแล้วหนอ เขาบำเพ็ญสมณธรรมในกาลก่อน ไม่ได้ฉันบิณฑ-

บาตแม้ที่พระอรหันต์นำมาแล้ว โดยความอุกฤษฏ์ยิ่ง บัดนี้เป็นผู้ไม่สมควร

เพราะเหตุแห่งต้อง อ้างว่าเป็นพระอรหันต์เที่ยวหลอกลวงชาวโลกอยู่ ไม่รู้

ว่าพระทศพล ทรงอุบัติขึ้นแล้ว เราจะไปทำให้เกิดความสังเวช จักให้เขา

ได้ทราบว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว ดังนี้ ในขณะนั้นนั่นแล จึงลงจาก

พรหมโลกแล้วได้ปรากฏข้างหน้าทารุจิริยะ ในระหว่างภาคราตรี ณ ที่ท่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

สุปปารกะ. ทารุจิริยะนั้น ได้เห็นแสะสว่างส่องมาในที่อยู่ของตน จึงออกมา

ข้างนอก เห็นท้าวมหาพรหมเข้า จึงประคองอัญชลีถามว่า ท่านเป็นใครหนอ .

ท้าวมหาพรหมตอบว่า เราเป็นสหายเก่าของท่าน ได้บรรลุอนาคามิผลแล้ว

ไปบังเกิดในพรหมโลก หัวหน้าของพวกเราทั้งหมด เป็นพระอรหันต์ปรินิพ-

พานแล้ว ส่วนพวกท่าน ๕ คน ไปบังเกิดในเทวโลก บัดนี้เรานั้นได้เห็น

ท่านเลี้ยงชีวิตด้วยการงานคือการหลอกลวงในที่นี้ จึงได้มาเพื่อสั่งสอนท่าน

แล้วกล่าวถึงเหตุนี้ว่า พาหิยะ ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ ทั้งไม่ใช่เป็นผู้ปฏิบัติ

ตามหนทางพระอรหัตเลย ท่านจะเป็นพระอรหันต์ หรือว่าท่านจะเป็นผู้ปฏิบัติ

ตามหนทางพระอรหัตด้วยปฏิปทาใด ปฏิปทาแม้นั้นไม่ได้มีแก่ท่านเลย. ลำดับ

นั้น ท้าวมหาพรหมได้บอกเขาว่า พระศาสดาทรงอุบัติขึ้นแล้ว และได้บอก

เขาว่า พระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ได้ส่งเขาไปด้วยสั่งว่า จงไปเฝ้า

พระศาสดาเถิด แล้วก็ได้กลับไปยังพรหมโลกตามเดิม.

ฝ่ายพาหิยะ มองดูท้าวมหาพรหมผู้ยืนกล่าวอยู่ในอากาศแล้ว คิดว่า

โอ เราได้กระทำกรรมหนักหนอ เรามิได้เป็นพระอรหันต์ แต่คิดว่าเป็นพระ-

อรหันต์แล้ว ท้าวมหาพรหมกล่าวกะเราว่า ท่านไม่ใช่เป็นพระอรหันต์เลย

ทั้งท่านก็มิได้ปฏิบัติตามหนทางพระอรหัตด้วยดังนี้ คนอื่นที่เป็นพระอรหันต์

ในโลกนี้ มีหรือไม่หนอ. ลำดับนั้น พาหิยะจึงถามเทวดานั้นว่า เมื่อเป็นเช่น

นั้นพวกใครเล่า เป็นพระอรหันต์ หรือว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามหนทางพระอรหัต.

ลำดับนั้น เทวดาจึงบอกเขาว่า พาหิยะ ในอุตตรชนบทมีพระนครหนึ่ง ชื่อ

สาวัตถี บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กำลังประทับอยู่ในพระนครนั้น พาหิยะ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

พระอรหันต์ และทรงแสดงธรรมเพื่อให้คนเป็นพระอรหันต์. ในส่วนแห่ง

ราตรีนั้น พาหิยะได้ฟังถ้อยคำของเทวดาแล้ว มีความสังเวชสลดใจ จึงได้

ออกจากท่าสุปปารกะในขณะนั้นนั่นเอง แล้วได้ไปยังกรุงสาวัตถีโดยคืน

เดียวแล. ก็เมื่อขณะกำลังเดินทางไปด้วยอานุภาพแห่งเทวดา และด้วยอานุภาพ

ของพระพุทธเจ้าจึงทำให้เขาเดินทางไปได้ถึง ๑๒๐ โยชน์ ถึงกรุงสาวัตถี.

ในขณะนั้น พระศาสดากำลังเสด็จเข้าไปยังกรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต

เขาเข้าไปยังพระเชตวันแล้ว ถามพวกภิกษุมากรูป ผู้กำลังเดินจงกรมอยู่

ในที่กลางแจ้งว่า บัดนี้ พระศาสดาเสด็จไปไหนเสียเล่า ? พวกภิกษุตอบว่า

พระศาสดาเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้วถามว่า คุณมาจากไหนเล่า ?

เขาตอบว่า ผมมาจากท่าสุปปารกะขอรับ. ถามว่า คุณออกเดินทางเวลาเท่าไร ?

เขาตอบว่า ผมออกเดินทางเมื่อเย็นวานนี้ ขอรับ. พวกภิกษุกล่าวต้อนรับว่า

คุณเดินทางมาไกล เชิญนั่ง ล้างเท้าทาน้ำมันเสียก่อน พักผ่อนสักหน่อย ใน

เวลาไม่นานนัก จักได้เห็นพระศาสดา. พาหิยะกราบเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ผมไม่รู้ถึงอันตรายในชีวิตของพระศาสดา หรือว่าของตัวผมเอง ผมไม่ได้ยืน

พัก ไม่ได้นั่งพักในที่ไหนเลย เดินทางมาถึง ๑๒๐ โยชน์โดยราตรีเดียวเท่า

นั้น ผมจักขอเข้าเฝ้าพระศาสดาเสียก่อนแล้ว จึงพักผ่อนภายหลัง เขาพูด

อย่างนั้นแล้วก็รีบร้อน เข้าไปยังกรุงสาวัตถี ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่ง

กำลังเสด็จจาริกไปด้วยพระพุทธสิริอันหาที่เปรียบมิได้ คิดว่า เป็นเวลานาน

หนอที่เราได้พบพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้ ตั้งแต่ที่ได้พบเห็นแล้วก็

น้อมสรีระไปแล้ว กราบลงที่ระหว่างถนนด้วยเบญจางคประดิษฐ์จับที่ข้อพระ-

บาทไว้มั่นแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

จงทรงแสดงธรรมเถิด ขอพระสุคตเจ้า จงทรงแสดงธรรมเถิด ซึ่งจะได้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

ไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนาน. ลำดับนั้น พระศาสดาทรง

ตรัสห้ามเขาไว้ว่า เวลานี้มิใช่กาล พาหิยะ เราจะเข้าไปยังละแวกบ้านเพื่อ

บิณฑบาต.

พาหิยะ ได้สดับพระดำรัสนั้นแล้ว จึงกราบทูลวิงวอนอีกว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ผู้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ ไม่เคยได้อาหารคือคำข้าวไม่มี

ข้าพระองค์ไม่รู้อันตรายในชีวิตของพระองค์ หรือว่าของข้าพระองค์ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด

ขอพระสุคตเจ้า จงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด. พระศาสดา ตรัสห้าม

อย่างนั้นนั่นแลแม้ครั้งที่ ๒. นัยว่าพระศาสดาได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า ตั้งแต่

เวลาที่พาหิยะนี้เห็นแล้ว สรีระทั้งสิ้นของเขามีปีติท่วมทับหาระหว่างมิได้

กำลังแห่งปีติที่มีกำลังมาก แม้จะได้ฟังธรรมแล้ว ก็จักไม่สามารถเพื่อบรรลุ

ได้เลย จงพักผ่อนด้วยมัชฌัตตุเปกขาเสียก่อน เพราะเมื่อเขาเดินทางมาสิ้น

หนทางถึง ๑๒๐ โยชน์ โดยราตรีเดียวเท่านั้น จงระงับความเหน็ดเหนื่อย

อันนั้นเสียก่อน เพราะเหตุนั้นพระศาสดา จึงตรัสห้ามถึง ๒ ครั้ง เขาทูลขอ

ในครั้งที่ ๓ ประทับยืนอยู่ในระหว่างทางนั่นแล ได้ทรงแสดงธรรมโดย

อเนกปริยายโดยนัยเป็นต้นว่า เพราะเหตุนั้นในข้อนี้ เธอพึงศึกษาอย่างนี้

พาหิยะ เมื่อเธอเห็นแล้ว จักเป็นสักว่าเห็น. พาหิยะนั้นขณะกำลังฟังธรรม

ของพระศาสดาอยู่นั่นแล ได้ทำอาสวะทั้งปวงให้หมดสิ้นไปแล้ว ได้บรรลุ

พระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔.

พาหิยะนั้น ในขณะที่ได้บรรลุพระอรหัตแล้วนั่นแล ระลึกถึงบุรพ-

กรรมของตน เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนได้เคย

ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อิโต สตสหสฺสมฺหิ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

คำนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง

นั่นแล. ข้าพเจ้าจักกระทำการพรรณนาเฉพาะบทที่ยากเท่านั้น.

บทว่า หสน ปจฺจเวกฺขณ ความว่า พิจารณาความสมบูรณ์ด้วย

โสมนัส คือมีวรรณะ ของคนวัยหนุ่มวัยสาว ละเอียดอ่อนยิ่งนัก. บทว่า

เหมยญฺโญปจิตงค์ ความว่า ผู้มีอวัยวะสรีระร่างกายอันบุญกรรมสร้างสรรให้

คล้ายกับเส้นทองคำ. บทว่า ปลมฺพพิมฺพตมฺโพฏฐ ความว่า มีริมผีปากทั้ง ๒

ข้างเป็นสีแดงคล้ายกับผลตำลึงสุก. บทว่า เสตติณฺหสม ทิช ความว่า มีฟัน

เสมอคล้ายกระทำการคัคด้วยเครื่องคัคเหล็กและโลหะอันคมด้วยหินลับมีดชั้นดี

ทำให้เสมอ. บทว่า ปีติสมฺผุลฺลิตานน ความว่า มีใบหน้าเบิกบานด้วย

ดีด้วยปีติ คือมีหน้าแจ่มใสเช่นกับพื้นกระจก. บทว่า ขิปฺปาภิญฺญสฺส ภิกฺขฺโน

ความว่า แห่งภิกษุผู้สามารถเพื่อจะตรัสรู้ได้โดยพิเศษยิ่งโดยเร็วพลัน คือ ใน

ขณะที่ยกธรรมขึ้นแสดงเท่านั้น . บทว่า สคฺค อค สภวน ยถา ความว่า เรา

ได้ไปสูโลกสวรรค์ซึ่งคล้ายกับบ้านเรือนของตนฉะนั้น. บทว่า น ตฺว อุปาย-

มคฺคญฺญ ความว่า เธอมิใช่เป็นผู้รู้หนทางอันเป็นอุบายให้ได้บรรลุพระ-

นิพพาน. บทว่า สตฺถุโน สทา ชิน มีโยชนาว่า เราพ่ายแพ้ต่อความกำเริบ

จักได้เห็นพระชินเจ้า ผู้มีพระพักตร์อันผ่องใสดุจพื้นกระจก ของพระศาสดา

สัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดกาลทั้งปวง คือ จักออกไปเพื่อเข้าเฝ้า. บทว่า ทิเช

อปุจฉึ กุหึ โลกนนฺทโน ความว่า เราได้ถามพวกผู้เกิดสองครั้ง คือพราหมณ์

ได้แก่ พวกภิกษุว่า พระศาสดาผู้ทรงกระทำให้ชาวโลกเลื่อมใส ประทับ

อยู่ ณ ที่ไหน. บทว่า สโสว ขิปฺป มุนิทสฺสนุสฺสุโก ความว่า เป็นผู้มีความ

พยายามอุตสาหะในการเห็นพระมุนีเจ้า คือ ในการเห็นพระตถาคตเจ้า ดุจ

กระต่ายหมายจันทร์ ฉะนั้น ย่อมบรรลุโดยพลัน. บทว่า ตุวฏ คนฺตฺวา คือไป

โดยเร็วพลัน. บทว่า ปิณฺฑตฺถ อปิหาคิธ ความว่า อาศัยบิณฑบาตไม่ละโมบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

ปราศจากความละโมบ ไม่กำหนัด ไม่มีตัณหา. บทว่า อโลลกฺข เชื่อมความ

ว่า เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไม่เหลียวมองดูข้างโน้นข้างนี้ เสด็จเที่ยว

ไปเพื่อบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีอันอุดม. บทว่า สิรินิยสงฺกาส ความว่า

คล้ายกับที่อยู่อันงดงามด้วยสิริลักษณะและอนุพยัญชะ คือ เช่นกับเสาค่ายอัน

ลุกโพลง. บทว่า รวิทิตฺติหรานน ความว่ามณฑลหน้ามุขอันลุกโชติช่วง คล้าย

กับมณฑลพระอาทิตย์นี้รุ่งโรจน์ฉะนั้น. บทว่า กุปเถ วิปฺปนฏฺฐสฺส ความ

ว่า ขอพระองค์จงเป็นสรณะ คือจงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์ ผู้หลงทาง

ปฏิบัติผิดในหนทางที่บัณฑิตติเตียน คือ ในหนทางที่มีอันตราย. คำว่า โคตม

ความว่า พาหิยะย่อมร้องเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยพระโคตร. บทว่า

น ตตฺก สกฺกา โชตนฺติ ความว่า หมู่ดาวมีประกายพรึกที่เรืองแสง

เป็นต้น สมบูรณ์ด้วยรัศมีสุกเปล่งปลั่ง ย่อมไม่รุ่งโรจน์อับแสงไป. คำที่เหลือ มี

เนื้อความง่ายทั้งนั้นแล. พาหิยะนั้น ครั้นได้ประกาศเรื่องราวที่ตนเคยได้

ประพฤติมาแล้วในกาลก่อนอย่างนั้นแล้ว จึงได้ทูลขอบรรพชากะพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าในขณะนั้นนั่นแล. และเขาถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า บาตร

และจีวรของเธอมีครบแล้วหรือ จึงกราบทูลว่า ยังไม่ครบพระเจ้าข้า. ลำดับ

นั้น พระศาสดาจึงตรัสกะเขาว่า ถ้าอย่างนั้น เธอจงไปแสวงหาบาตรและ

จีวรมาเถิด แล้วก็เสด็จหลีกไป. ได้ทราบมาว่าเขาบำเพ็ญสมณธรรมมาสิ้น

๒ หมื่นปี กล่าวว่า ธรรมดาว่าภิกษุได้ปัจจัยทั้งหลายมาด้วยตัวเอง ไม่ห่วงใย

ภิกษุรูปอื่น ตนเองเท่านั้นย่อมสมควรเพื่อจะใช้สอยเอง ดังนี้แล้ว จึงไม่ได้

ทำการสงเคราะห์ด้วยบาตรหรือจีวรแม้แก่ภิกษุรูปหนึ่งเลย. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงทราบว่า บาตรและจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ จักไม่เกิดขึ้นแก่เราแน่

จึงมิได้ประทานการบรรพชาด้วยเอหิภิกขุ. อมนุษย์ผู้มีเวรกันในกาลก่อน เข้า

สิงในร่างของโคแม่ลูกอ่อนตัวหนึ่ง ขวิดเขาเข้าที่โคนขาข้างซ้าย นำเขาผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

กำลังแสวงหาบาตรและจีวร ซึ่งฉุดดึงเอาท่อนผ้าออกจากกองหยากเยื่อแม้นั้น

ให้ถึงความสิ้นชีวิตไป. พระศาสดา เสด็จจาริกไปบิณฑบาตแล้วทรงกระทำ

ภัตรกิจเสร็จแล้ว ขณะกำลังเสด็จออกพร้อมกับพวกภิกษุมากรูป ได้ทอด

พระเนตรเห็นร่างของพาหิยะ ซึ่งฟุบจมกองหยากเยื่อแล้ว ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงประคองพาหิยทารุจิริยะนี้ไป ดังนี้ แล้ว ประทับ

ยืนที่ประตูเรือนแห่งหนึ่ง ทรงสั่งพวกภิกษุว่า จงนำร่างนี้ขึ้นเตียงนำออก

ไปจากประตูเมืองแล้ว ให้ทำการฌาปนกิจ เก็บเอาธาตุไว้ก่อเป็นสถูป.

พวกภิกษุเหล่านั้นช่วยกันก่อสร้างสถูปบรรจุพระธาตุไว้ที่หนทางใหญ่

แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ได้กราบทูลให้ทรงทราบถึงการงานที่คนได้ทำเสร็จ

แล้ว แต่นั้นมาในท่ามกลางสงฆ์ก็เกิดถ้อยคำขึ้นว่า พระตถาคตเจ้า ทรงบังคับ

ให้เก็บเอาพระธาตุบรรจุไว้ที่เจดีย์ หนทางไหนหนอ ที่พาหิยะนั้นได้บรรลุแล้ว

เขาเป็นสามเณร หรือว่า ภิกษุหนอแล. พระศาสดาทรงทำเรื่องนั้น ให้เป็นอัต-

ถุปปัตติเหตุ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพาหิยะ ทารุจิริยะดำรงอยู่ในพระอรหัต

แล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนาเพิ่มเติมขึ้นอีก. และพระศาสดาได้ตรัสบอกว่า

พาหิยะนั้นปรินิพพานแล้ว จึงทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่งที่เลิศว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พาหิยะ ทารุจิริยะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเราผู้ตรัสรู้ได้

โดยพลันแล.

ลำดับนั้น พวกภิกษุจึงกราบทูลถามพระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ พระองค์ตรัสว่า พาหิยะ ทารุจิริยะบรรลุพระอรหัตแล้ว เขาได้บรรลุ

พระอรหัตในเวลาใดพระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน

เวลาที่เขาได้ฟังธรรมของเราแล้ว. พวกภิกษุทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

ก็พระองค์ตรัสแสดงธรรมแก่เขาเมื่อไร พระศาสดาตรัสว่า เมื่อเวลาที่เรา

จาริกไปเพื่อภิกษา ยืนอยู่ระหว่างถนน. พวกภิกษุทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พระองค์ประทับยืนอยู่ระหว่างถนนแสดงธรรมเพียงเล็กน้อย เขายังคุณ

วิเศษให้บังเกิดขึ้น ได้ด้วยพระธรรมเพียงเท่านั้นได้อย่างไร. ลำดับนั้น พระ-

ศาสดา จึงตรัสกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าคิดว่า

ธรรมของเราน้อยหรือมาก ด้วยว่าคาถา ๑,๐๐๐ คาถา ที่ประกอบด้วยบทอัน

หาประโยชน์มิได้ แม้จะมีเป็นอเนกก็ตาม ย่อมไม่ประเสริฐเลย ส่วนว่า

บทแห่งคาถา แม้บทเดียวที่ประกอบด้วยประโยชน์ ย่อมประเสริฐแท้ ดังนี้

เมื่อจะทรงสืบต่ออนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

หากว่าคาถาที่ประกอบด้วยบทอันไม่มี

ประโยชน์แม้มีตั้ง ๑,๐๐๐ คาถา บทแห่งคาถาเพียง

คาถาเดียว ที่ตนได้ฟังแล้วสงบได้ ประเสริฐกว่า

คาถาตั้ง ๑,๐๐๐ นั้น.

ในเวลาจบเทศนา สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรมาภิสมัยแล.

จบอรรถกถาพาหิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

มหาโกฏฐิตเถราปทานที่ ๗ (๕๓๗)

[๑๒๗] ในแสนกัปนับจากภัทรกัปนี้ไป

พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้รู้แจ้ง

โลกทั้งปวง เป็นมุนีมีจักษุ ได้เสด็จอุบัติขึ้น

แล้ว

พระองค์ตรัสสอน ทรงแสดงให้สัตว์รู้

ชัดได้ ทรงยังสรรพสัตว์ให้ข้ามวัฏสงสาร ทรง

ฉลาดในเทศนา เป็นผู้เบิกบาน ทรงช่วยให้

ประชุมชนข้ามพ้นไปเสียเป็นอันมาก

พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วย

พระกรุณา แสวงหาประโยชน์ให้สรรพสัตว์ ยัง

เดียรถีย์ที่มาเฝ้าให้ดำรงอยู่ในเบญจศีลได้ทุกคน

เมื่อเป็นเช่นนี้ พระศาสนาจึงไม่มีความ

อากูล ว่างสูญจากเดียรถีย์ วิจิตรด้วยพระอรหันต์

ผู้คงที่มีความชำนิชำนาญ

พระมหามุนีพระองค์นั้น สูงประมาณ

๕๘ ศอก พระฉวีวรรณงามคล้ายทองคำอันล้ำค่า

มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ

ครั้งนั้นอายุของสัตว์แสนปี พระชินสีห์

พระองค์นั้น เมื่อดำรงพระชนม์อยู่ โดยกาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

ประมาณเท่านั้น ได้ทรงยังประชุมชนเป็นอันมาก

ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารไปได้

ครั้งนั้น เราเป็นพราหมณ์ผู้เรียนจบ

ไตรเพท ชาวพระนครหังสวดี ได้เข้าไปเฝ้า

พระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่าโลกทั้งปวง แล้วสดับพระ-

ธรรมเทศนา

ครั้งนั้น พระธีรเจ้าพระองค์นั้น ทรง

ตั้งสาวกผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ฉลาดในอรรถ

ธรรม นิรุตติและปฏิภาณ ในตำแหน่งเอตทัคคะ

เราได้ฟังดังนั้นแล้วก็ชอบใจ จึงได้นิมนต์พระ-

ชินวรเจ้าพร้อมด้วยพระสาวก ให้ครองผ้าแล้ว

ถึง ๗ วัน

ในกาลนั้น เรายังพระพุทธเจ้าผู้เปรียบ

ด้วยสาคร พร้อมทั้งพระสาวก ให้ครองผ้าแล้ว

หมอบลงแทบบาทมูล ปรารถนาฐานันดรนั้น

ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าผู้เลศกว่าโลกได้

ตรัสว่า จงดูพราหมณ์ผู้สูงสดที่หมอบอยู่แทบเท้า

ผู้นี้มีรัศมีเหมือนกลับดอกบัว พราหมณ์นี้ปรารถนา

ตำแหน่งแห่งภิกษุผู้แตกฉาน ซึ่งเป็นตำแหน่ง

ประเสริฐสุด เพราะการบริจาคทานด้วยศรัทธา

นั้นและเพราะการสดับพระธรรมเทศนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

พราหมณ์นี้จักเป็นผู้ถึงสุขในทุกภพ เที่ยว

ไปในภพน้อยภพใหญ่ จักได้สมมโนรถเช่นนี้

ในกัปนับแต่นี้ขึ้นไปแสนหนึ่ง พระ-

ศาสดามีพระนามชื่อว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์

พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

พราหมณ์นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระ-

พราหมณ์นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระ-

ศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมเนรมิต

เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่า โกฏฐิตะ

เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว เป็น

ผู้เบิกบาน มีใจยินดี บำรุงพระชินสีห์เจ้าตราบ

เท่าสิ้นชีวิต ในกาลนั้น เพราะเราเป็นผู้มีสติ

ประกอบด้วยปัญญา ด้วยผลของกรรมนั้น

และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์

แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เราได้เสวยราชสมบัติ ในเทวโลก ๓๐๐

ครั้งได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้งและได้เป็น

พระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้

เพราะกรรมนั้นนำไป เราจึงเป็นผู้ถึงความสุขใน

ทุกภพ

เราท่องเที่ยวไปแต่ในสองภพ คือใน

เทวดาและมนุษย์ คติอื่นเราไม่รู้จัก นี้เป็นผล

แห่งกรรมที่สั่งสมไว้ดีแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

เราเกิดแต่ในสองสกุล คือสกุลกษัตริย์

และสกุลพราหมณ์ หาเกิดในสกุลต่ำทรามไม่ นี้

เป็นผลแห่งกรรมที่สั่งสมไว้ดีแล้ว

เมื่อถึงภพสุดท้าย เราเป็นบุตรของ

พราหมณ์ เกิดในสกุลที่มีทรัพย์สมบัติมาก ใน

พระนครสาวัตถี มารดาของเราชื่อจันทวดี บิดาชื่อ

อสัสลายนะ ในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำ

บิดาเรา เพื่อความบริสุทธิ์ทุกอย่าง

เราเลื่อมใสในพระสุคตเจ้า ได้ออกบวช

เป็นบรรพชิต พระโมคคัสลานะ เป็นอาจารย์

พระสารีบุตร เป็นอุปัชฌาย์

เราตัดทิฏฐิพร้อมด้วยมูลรากเสียได้ในเมื่อ

กำลังปลงผม และเมื่อกำลังนุ่งผ้ากาสาวะ ก็ได้

บรรลุพระอรหัต

เรามีปรีชาแตกฉานในอรรถ ธรรม นิรุตติ

และปฏิภาณ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เลิศกว่า

โลก จึงทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

เราอันท่านพระอุปติสสะไต่ถามในปฏิ-

สัมภิทา ก็แก้ได้ไม่ขัดข้อง ฉะนั้น เราจึงเป็น

ผู้เลิศในพระพุทธศาสนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระมหาโกฏฐิตเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบมหาโกฏฐิเถราปทาน

๕๓๗. อรรถกถามหาโกฏฐิกฺเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระมหาโกฏฐิกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร

นาม ชิโน ดังนี้.

มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ? แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมา

แล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระ-

นิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิดในตระกูลที่มีโภคะมากในหังสวดีนคร บรรลุนิติ-

ภาวะแล้ว พอมารดาล่วงลับไปแล้ว ดำรงตำแหน่งกุฎุมพีอยู่ครองฆราวาส.

วันหนึ่งในเวลาที่พระมีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระทรงแสดงธรรม เขา

ได้มองเห็นชาวหังสวดีนคร ถือของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น ซึ่งกำลัง

นอบน้อม น้อมกายไปในที่เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า พระธรรม และ

พระสงฆ์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับคนเหล่านั้นด้วย ได้เห็นภิกษุ

รูปหนึ่งซึ่งพระศาสดาทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้บรรลุ

๑. บาลีเป็น มหาโกฏฐิเตเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

ปฏิสัมภิทาจึงคิดว่า ภิกษุรูปนี้ เยี่ยมยอดกว่าพวกภิกษุผู้บรรลุปฏิสัมภิทาใน

พระศาสนานี้ ถ้าแม้ไฉนเราพึงเป็นผู้ยอดเยี่ยม กว่าพวกภิกษุผู้บรรลุปฏิสัมภิทา

เหมือนดังภิกษุรูปนี้บ้าง ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าสักพระองค์หนึ่ง ดังนี้

ในเวลาจบเทศนาของพระศาสดา เมื่อบริษัทลุกไปแล้ว จึงเข้าไปใกล้พระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้วกราบทูลนิมนต์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรุ่งนี้ขอนิมนต์

รับภิกษาที่เรือนของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า. พระศาสดาทรงรับนิมนต์

แล้ว. เขาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทำประทักษิณแล้ว กับไปยัง

เรือนของตน เอาของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น ประดับที่ที่ประทับนั่ง

ของพระพุทธเจ้า และที่นั่งของภิกษุสงฆ์ตลอดทั้งคืนยังรุ่งแล้ว ให้คนจัดแจง

ขาทนียะและโภชนียะ ณ ที่อยู่ของตน พอล่วงราตรีนั้นไป ได้นิมนต์พระ-

ศาสดา ซึ่งมีภิกษุแสนรูปเป็นบริวารให้ฉันข้าวสาลีอันมีกลิ่นหอม พร้อมทั้งสูปะ

และพยัญชนะ อันเป็นบริวารของยาคูและของเคี้ยวนานาชนิด ในเวลาเสร็จ

ภัตรกิจ คิดว่า เราจะขอปรารถนาตำแหน่งให้ยิ่งใหญ่แล แต่เราไม่ควรถวาย

ทานเพียงวันเดียวเท่านั้น ควรถวายทานตลอด ๗ วัน ตามลำดับเพื่อปรารถนา

ตำแหน่งนั้น แล้วจึงจักปรารถนา. เขาได้ถวายมหาทานตลอด ๗ วัน โดย

ทำนองนั้นนั่นแล ในเวลาเสร็จภัตรกิจ ให้คนเปิดโรงเก็บผ้าแล้ว วางผ้า

เนื้อละเอียดชนิดเยี่ยมซึ่งเพียงพอทำเป็นไตรจีวรได้ ณ ที่บาทมูลของพระพุทธ-

เจ้า และได้ถวายไตรจีวรแก่ภิกษุแสนรูปแล้ว เข้าไปใกล้พระตถาคตเจ้า

หมอบลงที่บาทมูลของพระศาสดาแล้วตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญภิกษุรูปใดที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้ปฏิ-

สัมภิทาในวันที่ ๗ นับแต่วันนี้ แม้ข้าพระองค์ก็พึงเป็นเหมือนภิกษุรูปนั้นบ้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

คือ ขอให้ได้บวชในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้จะทรงอุบัติในอนาคตกาล

แล้ว พึงเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุผู้บรรลุปฏิสัมภิทาเถิด. พระศาสดาทรงทราบ

ถึงความสำเร็จของเขา จึงทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล คือในที่สุดแห่ง

แสนกัปแต่นี้ไป พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักทรงอุบัติขึ้นในโลก ความ

ปรารถนาของเธอ จักสำเร็จในพระศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

และ เขากระทำบุญไว้ในที่นั้นเป็นอันมากจนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้น

แล้ว ได้เสวยเทวสมบัติวนเวียนอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก

เขาท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษย์โลกอย่างนั้น ได้รวบรวมสั่งสม

บุญสมภารไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์

มหาศาลในกรุงสาวัตถี. มารดาบิดาได้ตั้งชื่อเขาว่าโกฏฐิกะ. หากจะมีคำถาม

ว่า ทำไมไม่ดังชื่อตามมารดา หรือ ตามฝ่ายญาติมีปู่ ตา เป็นต้น เพราะ

เหตุไรจึงพากันตั้งชื่ออย่างนั้นเล่า. บัณฑิตพึงทราบคำตอบว่า มารดาบิดาได้

ตั้งชื่อเขาตามความหมายว่า เป็นผู้ทำชนที่ตนเห็นแล้ว เห็นแล้วให้หลบซ่อน

เที่ยวเจาะแทงด้วยหอกคือปาก เพราะว่าตนเป็นผู้ฉลาด ในเวทางคศาสตร์

ในตักกศาสตร์ของคนและของผู้อื่น ในนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ของตน

ในประเภทแห่งอักษรสมัยของตน และในการพยากรณ์ทั้งหมดแล. เขาเจริญ

วัยแล้วเล่าเรียนไตรเพทจนถึงความสำเร็จในศิลปของพราหมณ์ วันหนึ่งเข้าไป

เฝ้าพระศาสดาฟังธรรมแล้ว ได้มีศรัทธาบวช ตั้งแต่เวลาได้อุปสมบทแล้ว

ก็บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฎฐาน ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ เป็น

ผู้เชี่ยวชาญในการประพฤติในปฏิสัมภิทา ไม่กลัว แม้เข้าไปหาพระมหาเถระก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

ถามปัญหา เข้าไปเฝ้าพระทศพลแล้วก็ยังถามปัญหาในปฏิสัมภิทา ๔ นั่นแล.

พระเถระรูปนี้ กลายเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุผู้บรรลุปฏิสัมภิทาได้ ก็เพราะ

ท่านได้สั่งสมบุญไว้ในปฏิสัมภิทานั้น และเพราะท่านชำนาญในการประพฤติ

ปฏิสัมภิทานั้น. ลำดับนั้น พระศาสดาได้ทรงการทำมหาเวทัลลสูตรให้เป็น

อัตถุปัตติเหตุแล้ว ทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้บรรลุ

ปฏิสัมภิทา และตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโกฏฐิกะนี้ เป็นผู้เลิศกว่า

พวกภิกษุสาวกของเราผู้บรรลุปฏิสัมภิทาแล.

สมัยต่อมา ท่านเมื่อได้เสวยความสุขอันเกิดแต่ก็วิมุตติ เกิดความ

โสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน

ของตน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. คำนั้นทั้งหมด

มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล.

คำว่า สุท ในบทว่า อิตฺถ สุทมายสฺมา มหาโกฏฺฐิโก นิ เป็นนิบาตใช้ลงใน

การชี้แจงแสดงตัวอย่าง. คำว่า อายสฺมา เป็นความเรียกโดยความเคารพอย่างยิ่ง

เหมือนดังคำว่า อายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

ดังนี้แล.

จบอรรถกถามหาโกฏฐิกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

อุรุเวทกัสสปเถราปทานที่ ๘ (๕๓๘)

. .

ว่าด้วยบุพจริยาของพระอุรุเวลกัสสปเถระ

[๑๒๘] ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระพิชิต

มาร พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้รู้แจ้งโลกทั้งปวง

เป็นนักปราชญ์มีจักษุ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระ-

องค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงให้สัตว์รู้ชัด ได้ยัง

สรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสาร ฉลาดในเทศนา

เป็นผู้เบิกบาน ทรงช่วยประชุมชนให้ข้ามพ้นไป

เสียเป็นอันมาก

พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ประกอบด้วย

พระกรุณา แสวงหาประโยชน์ให้สรรพสัตว์ ยัง

เดียรถีย์ที่มาเฝ้าให้ดำรงอยู่ในเบญจศีลได้ทุกคน

เมื่อเป็นเช่นนี้ พระศาสนาจึงไม่มีความ

อากูล ว่างสูญจากเดียรถีย์ วิจิตรด้วยพระอรหันต์

ผู้คงที่มีความชำนิชำนาญ

พระมหามุนีพระองค์นั้น สูงประมาณ

๕๘ ศอก มีพระฉวีวรรณงามคล้ายทองคำอันล้ำค่า

มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ

ครั้งนั้น อายุของสัตว์แสนปี พระชิน-

สีห์พระองค์นั้น เมื่อดำรงพระชนม์อยู่โดยกาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

ประมาณเท่านั้น ได้ทรงยังประชุมชนเป็นอันมาก

ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารไปได้

ครั้งนั้นเราเป็นพราหมณ์ชาวเมื่อหังสวดี

อันชนสมมติว่าเป็นคนประเสริฐ ได้เข้าไปเฝ้า

พระพุทธเจ้าผู้ส่องโลก แล้วสดับพระธรรมเทศนา

ครั้งนั้น เราได้ฟังพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงตั้งสาวกของพระองค์ในตำแหน่งเอตทัคคะ

ในที่ประชุมใหญ่ ก็ชอบใจจึงนิมนต์พระมหาชิน-

เจ้ากับบริวารเป็นอันมาก แล้วได้ถวายทานพร้อม

กันกับพราหมณ์อีก ๑,๐๐๐ คน

ครั้นแล้วเราได้ถวายบังคมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ผู้นายก ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เป็นผู้ร่าเริง ได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าด้วยความเชื่อใน

พระองค์และด้วยอธิการคุณ ขอให้ข้าพระองค์

ผู้เกิดในภพนั้น ๆ มีบริษัทมากเถิด

ครั้งนั้น พระศาสดาผู้มีพระสุรเสียง

เหมือนคชสารคำรณ มีพระสำเนียงเหมือนนก

การเวกได้ตรัสกะบริษัทว่า จงดูพราหมณ์ผู้นี้ ผู้มี

วรรณะเหมือนทองคำ แขนใหญ่ ปากและตา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

เหมือนดอกบัวมีกายและใจสูงเพราะปีติ ร่าเริง

มีความเชื่อในคุณของเรา

เขาปรารถนาตำแหน่งแห่งภิกษุผู้มีเสียง

เหมือนราสีห์ ในอนาคตกาล เขาจักได้

ตำแหน่งนี้สมดังมโนรถปรารถนา

ในกัปนับแต่นั้นไปหนึ่งแสน พระ-

ศาสดามีพระนามชื่อว่า โคดม ซึ่งสมภพในวงศ์

พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

พราหมณ์นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระ-

ศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต

จักเป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่ากัสสปะ

พระอัครนายกของโลกพระนามว่าผุสสะ

ผู้เป็นศาสดาอย่างยอดเยี่ยม หาผู้เปรียบมิได้ ไม่

มีใครจะเสมอเหมือน ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัป

ที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้

พระศาสดาพระนามว่าผุสสะพระองค์นั้น

แล ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง สางรกชัฏใหญ่

ทรงยังฝนคืออมตธรรมให้ตกลง ให้มนุษย์และ

ทวยเทพอิ่มหนำ

ครั้งนั้น เราสามคนพี่น้องเป็นราชมหา-

อำมาตย์ในพระนครพาราณสี ล้วนแต่เป็นที่ไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

วางพระทัยของพระมหากษัตริย์รูปร่างองอาจแกล้ว

กล้า สมบูรณ์ด้วยกำลัง ไม่พ่ายแพ้ใครเลยใน

สงครามครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินผู้มีเมืองชายแดน

ก่อการกำเริบ ได้ตรัสสั่งเราว่า ท่านทั้งหลายจง

ไปชนบทชายแดน

พวกท่านจงยังกำลังของแผ่นดินให้เรียบ-

ร้อย ทำแว่นแคว้นของเราให้เกษม แล้วกลับมา

เถิด

ลำดับนั้น เราได้กราบทูลว่า ถ้าพระองค์

จะพึงพระราชทานพระนายกเจ้าเพื่อให้ข้าพระองค์

ทั้งหลายอุปัฏฐากไซร้ ข้าพระองค์ทั้งหลายก็จัก

ทำกิจของพระองค์ให้สำเร็จ

ลำดับนั้น พวกเราผู้ได้รับพระราชทานพร

อันสมเด็จพระภูมิบาลส่งไป ทำชนบทชายแดน

ให้วางอาวุธแล้ว กลับมายังพระนครนั้น

เราทูลขอการอุปัฏฐากพระศาสดาแด่พระ

ราชา ได้พระศาสดาผู้เป็นนายกของโลกผู้ประ-

เสริฐกว่ามุนีแล้ว ได้บูชาพระองค์ตราบเท่าสิ้น

ชีวิต

เราทั้งหลายเป็นผู้มีศีล ประกอบด้วย

กรุณา มีใจประกอบด้วยภาวนาได้ด้วยผ้ามีค่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

มาก ภัตมีรสอันประณีต เสนาสนะอันน่ารื่นรมย์

และเภสัชที่เป็นประโยชน์ ที่ตนให้เกิดขึ้นโดย

ชอบธรรมแก่พระมุนีพร้อมทั้งพระสงฆ์ อุปัฏฐาก

พระองค์ด้วยจิตเมตตาตลอดกาล ครั้นพระศาสดา

ผู้เลิศพระองค์นั้นเสด็จนิพพานแล้ว เราได้ทำการ

บูชาตามลำพัง

เราทุกคนจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปสู่

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เสวยมหันต์สุขในดาวดึงส์นั้น

นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

เมื่อเรากำลังท่องเที่ยวอยู่ในภพเป็นเหมือน

นายช่างดอกไม้ ได้ดอกไม้แล้วแสดงชนิดแห่ง

ดอกไม้แปลก ๆ มากมายฉะนั้น ได้เกิดเป็น

พระเจ้าวิเทหราช

เพราะถ้อยคำของคุณาเจลก เราจึงมี

อัธยาศัยอันมิจาฉาทิฏฐิกำจัดแล้วขึ้นสู่ทางนรก ไม่

เอื้อเฟื้อโอวาทของธิดาเราผู้ชื่อว่ารุจา

เมื่อถูกพรหมนารทะสั่งสอนเสียมากมาย

จึงละความเห็นที่ชั่วช้าเสียได้

บำเพ็ญกุศลกรรมบถ ๑๐ ให้บริบูรณ์โดย

พิเศษ ละทิ้งร่างกายแล้วได้ไปสวรรค์เหมือนไป

ที่อยู่ของตัว ฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

เมื่อถึงภพสุดท้ายเราเป็นบุตรของพราหมณ์

เกิดในสกุลที่สมบูรณ์ในพระนครพาราณสี

เรากลัวต่อความตายความเจ็บไข้และ

ความแก่ชราจึงเข้าป่าใหญ่ แสวงหาหนทาง

นิพพาน ได้บวชในสำนักของชฎิล

ครั้งนั้น น้องชายทั้งสองของเราก็ได้

บวชพร้อมกับเรา เราได้สร้างอาศรมอาศัยอยู่ที่

ตำบลอุรุเวลา

เรามีนามตามโคตรว่ากัสสปะ แต่เพราะ

อาศัยอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาเราจึงมีนามบัญญัติว่า

อุรุเวลกัสสปะ

เพราะน้องชายของเราอาศัยอยู่ที่ชายแม่น้ำ

เขาจึงได้นามว่านทีกัสสปะ เพราะน้องชายของ

เรา อีกคนหนึ่ง อาศัยอยู่ที่ตำบลคยา เขาจึงถูก

ประกาศนามว่าคยากัสสปะ

น้องชายคนเล็กมีศิษย์ ๒๐๐ คน น้องชาย

คนกลางมี ๓๐๐ คน เรามี ๕๐๐ คนถ้วน ศิษย์ทุกคน

ล้วนแต่ประพฤติตามเรา

ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าผู้เลิศในโลกเป็น

สารถีฝึกนรชน ได้เสด็จมาหาเรา ทรงทำ

ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ แก่เราแล้วทรงแนะนำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

เรากับบริวารพันหนึ่งได้อุปสมบทด้วย

เอหิภิกขุ ได้บรรลุอรหัตพร้อมกับภิกษุเหล่านั้น

ทุกองค์

ภิกษุเหล่านั้นและภิกษุพวกอื่นเป็นอันมาก

แวดล้อมเราเป็นยศบริวาร และเราก็สามารถที่จะ

สั่งสอนได้เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าสูงสุด

จึงทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะความเป็นผู้มี

บริษัทมาก โอ สักการะที่ได้ทำไว้ในพระพุทธเจ้า

ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่มีผลแก่เราแล้ว

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอุรุเวลกัสสปเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบอุรุเวลกัสสปเถราปทาน

๕๓๘. อรรถกถาอุรุเวลกัสสปเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระอุรุเวลกัสสปเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร

นาม ชิโน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองค์

ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้น ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ท่านบังเกิดในเรือนอันมี

สกุล เจริญวัยแล้ว ได้ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้มองเห็นภิกษุ

รูปหนึ่ง ซึ่งพระศาสดาทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้มีบริ-

วารมาก แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น ได้ถวายมหาทาน กระทำปณิธาน

ไว้แล้ว. และพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นว่าเขาไม่มีอันตราย จึงทรงพยา-

กรณ์ว่า ในอนาคตกาล ในพระศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า เขาจักเป็นผู้เลิศ

กว่าพวกภิกษุผู้มีบริวารมาก. เขากระทำบุญไว้ในภพนั้นเป็นอันมาก จนตลอด

อายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในที่สุด

๙๒ กัปแต่กัปนี้ ได้บังเกิดเป็นพระกนิฏฐภาดาต่างพระมารดาของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระนามว่า ผุสสะ เขาได้มีกนิฏฐภาดา ๒ คนแม้เหล่าอื่น. คน ๓

คนเหล่านั้น ได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข บูชาด้วยเครื่อง

บูชาอย่างยอดเยี่ยมได้กระทำกุศลไว้จนตลอดชีวิตแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลก

และมนุษยโลก ได้บังเกิดเป็นพี่น้องกัน ๓ คน ในตระกูลพราหมณ์ ในกรุง

พาราณสี ก่อนหน้าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงอุบัติขึ้นทีเดียว

ทั้ง ๓ คนได้มีชื่ออย่างนี้ว่า กัสสปะ ด้วยอำนาจแห่งโคตร. คนทั้ง ๓ คน

เหล่านั้นเจริญวัยแล้ว ก็ได้เล่าเรียนจบไตรเพท. บรรดาคนทั้ง ๓ เหล่านั้น

คนพี่ชายใหญ่มีบริวาร ๕๐๐ คน คนกลางมีบริวาร ๓๐๐ คน คนน้องเล็กมี

บริวาร ๒๐๐ คน คนทั้ง ๓ นั้น ตรวจดูสาระประโยชน์ในคัมภีร์ทั้งหมดของ

ตน ได้เห็นแต่เพียงประโยชน์ปัจจุบันเท่านั้น จึงพากันยินดีการบวช. บรรดา

พี่น้อง ๓ คนนั้น คนพี่ใหญ่ได้ไปยังตำบลอุรุเวลาพร้อมกับบริวารของตน

บวชเป็นฤาษี ได้ปรากฏชื่อว่า อุรุเวลกัสสปะ คนกลางบวชอยู่ที่ทางโค้งแม่น้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

คงคา ปรากฏชื่อว่านทีกัสสปะ คนเล็กบวชอยู่ที่คยาสีสะ ได้ปรากฏชื่อว่า

คยากัสสปะ. เมื่อพี่น้อง ๓ คนนั้นได้บวชเป็นฤาษีอย่างนั้น ต่างก็อยู่กันในที่

นั้น ๆ โดยล่วงไปได้หลายวัน พระโพธิสัตว์ของพวกเรา ได้เสด็จออก

มหาภิเนษกรมณ์ ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ทรงประกาศธรรมจักร

ให้เป็นไปแล้วโดยลำดับ ทรงให้พระเถระปัญจวัคคีย์ ดำรงอยู่แล้วในพระ-

อรหัต ทรงแนะนำคน ๕ คนซึ่งเป็นสหายกัน อันมียศสกุลบุตรเป็นหัวหน้า

(ให้ดำรงอยู่ในพระอรหัต) ทรงส่งพระอรหันต์ ๖๐ องค์ไปด้วยพระดำรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไปเถิด ดังนี้แล้ว ทรงแนะนำพวก

ภิกษุภัททวัคคีย์ ๓๐ รูป แล้วได้เสด็จไปยังที่อยู่ของอุรุเวลกัสสปะ เสด็จเข้าไป

ยังโรงไฟเพื่อพักอาศัย ณ ที่นั้น ได้ทรงแนะนำอุรุเวลกัสสปะพร้อมทั้งบริวาร

ด้วยปาฏิหาริย์ ๓,๕๐๐ มีการทรมานนาคเป็นต้นเสร็จแล้ว จึงให้เขาได้บรรพชา

วิธีการบรรพชาของอุรุเวลกัสสปะนั้น และการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ทั้งหมด

จักมีแจ่มแจ้งในอรรถกถาอปทานของท่านนทีกัสสปะแล. แม้ถึงพี่น้องที่เหลือ

อีก ๒ คนนอกนี้ พอได้ทราบข่าวว่าอุรุเวลกัสสปะผู้พี่ใหญ่นั้นบวชแล้ว ต่าง

ก็พร้อมด้วยบริวาร พากันมาบวชในสำนักของพระศาสดาแล้ว. พี่น้อง ๓ คน

ทั้งหมดนั้นทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วย. ได้เป็นเอหิภิกษุแล้ว. พระ-

ศาสดา ทรงพาสมณะ ๑,๐๐๐ องค์นั้น เสด็จไปยังคยาสีสะ ประทับนั่งบน

แผ่นหิน ทรงให้สมณะทั้งหมดนั้นดำรงอยู่ในพระอรหัต ด้วยอาทิตตปริยาย-

เทศนา.

พระอุรุเวลกัสสปะนั้น พอได้บรรลุพระอรหัตแล้วอย่างนั้น เกิดความ

โสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

ของตน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. ข้าพเจ้าจัก

พรรณนาเฉพาะบทที่ยากเท่านั้น. บทว่า โส สพฺพ ตม หนฺตฺวา ความ

ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ผุสสะ พระองค์นั้น ทรงกำจัดได้แล้ว ซึ่ง

ความมืดคือกิเลสอันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น . บทว่า วิชเฏตฺวา

มหาชฏ ความว่า สะสาง ทำลายล้างผลาญชัฏเครื่องยุ่งกันใหญ่ ด้วยหมู่

แห่งกิเลส ๑,๕๐๐ มีตัณหาและมานะเป็นต้น . มีวาจาประกอบความว่า ทำ

เทวโลกคือโลกสันนิวาสทั้งสิ้นให้ยืนดี ให้อิ่มใจ ให้ชุ่มใจอยู่ ยังฝนคืออมตะ

มหานิพพานให้ตกลงไหลเอิบอาบแล. บทว่า ตทา หิ พาราณสิย มีอรรถ

วิเคราะห์ว่า คำว่า พารส แปลว่า ๑๒ ดุจในประโยคเป็นต้นว่า มนุษย์ ๑๒

คน เมืองที่มี ๑๒ ราศี ฤาษีจากหิมวันตประเทศ และฤาษีคือพระปัจเจกมุนี

มาจากภูเขาคันธมาทน์โดยทางอากาศ ย่อมพากันไป คือ หยั่งลง ได้แก่ย่อม

เข้าไป ในเมืองที่มี ๑๒ ราศีนั้น เหตุนั้น เมืองนั้นจึงชื่อว่า พาราณสี อีก

ความหมายหนึ่งว่า สถานที่อันบุคคลคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลายแสน

พระองค์ทรงหยั่งลงเพื่อประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปทั่ว บัณฑิตเรียกกัน

ว่า พาราณสี ด้วยอำนาจทางศัพท์เป็นอิตถีลิงค์ เพราะทำ นคร ศัพท์ให้เป็น

ลิงควิปลาส. ในพระนครพาราณนั้น. บทว่า นิกฺขิตฺตสตฺถ ปจฺจนฺต ความ

ว่า ทำปัจจันตชนบทให้ทิ้งศัสตรา ให้วางอาวุธ ให้สิ้นพยศ. บทว่า กตฺวา

ปุนรุปจฺจ ต ความว่า แล้วกลับเข้ามาถึงยังพระนครนั้นอีก. คำที่เหลือมีเนื้อ

ความพอที่จะกำหนดรู้ได้โดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถาอุรุเวลกัสสปเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

ราธเถราปทานที่ ๙ (๕๓๙)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระราธเถระ

[๑๒๙] ในกัปนับจากภัทรกัปนี้ไปแสน

หนึ่ง พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรง

รู้แจ้งเทวโลกทั้งปวงเป็นนักปราชญ์ มีจักษุ ได้เสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว

พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงให้

สัตว์รู้ชัดได้ ยังสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสาร

ทรงฉลาดในเทศนา เป็นผู้เบิกบาน ทรงช่วย

ประชุมชนให้ข้ามพ้นไปเสียเป็นอันมาก

พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วย

พระกรุณาแสวงหาประโยชน์ให้สรรพสัตว์ยัง

เดียรถีย์ที่มาเฝ้าให้ดำรงอยู่ในเบญจศีลได้ทุกคน

เมื่อเป็นเช่นนี้พระศาสนาจึงไม่มีความ

อากูล ว่างสูญจากเดียรถีย์ วิจิตรด้วยพระอรหันต์

ผู้คงที่ มีความชำนิชำนาญ

พระมหามุนีพระองค์นั้นสูงประมาณ ๕๘

ศอก มีพระฉวีวรรณงามคล้ายทองคำอันล้ำค่า มี

พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

ครั้งนั้นอายุของสัตว์แสนปี พระชินสีห์

พระองค์นั้นเมื่อดำรงพระชนม์อยู่โดยกาลประมาณ

เท่านั้น ได้ทรงยังประชุมชนเป็นอันมากให้ข้าม

พ้นวัฏสงสารไปได้

ครั้งนั้น เราเป็นพราหมณ์ชาวพระนคร

หังสวดี ผู้เรียนจบไตรเพท ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ ว่านรชนทรงมีความเพียร

ใหญ่ ทรงแกล้วกล้าในบริษัท กำลังทรงแต่งตั้ง

ภิกษุผู้มีปฏิภาณไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ แล้วได้

ฟังพระธรรมเทศนา

ครั้งนั้น เราทำสักการะในพระโลกนายก

พร้อมทั้งพระสงฆ์ แล้วหมอบศีรษะลงแทบพระ-

บาทปรารถนาฐานันดรนั้น

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระรัศมี

ซ่านออกจากพระองค์ดุจลิ่มทองสิงคีได้ตรัสกะเรา

ด้วยพระสุรเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งควานยินดีมีปรกติ

นำไปส่งมลทินคือกิเลสว่า

ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืนเถิด ปณิ-

ธานความปรารถนาของท่านจงสำเร็จเถิด สักการะ

ที่ท่านทำในเรากับพระสงฆ์ ก็จงมีผลไพบูลย์ยิ่ง

เถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระ-

นาทชื่อว่าโคดมซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกาก-

ราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

พราหมณ์นี้จักได้เป็นธรรมทายาทของ

พระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต

เป็นสาวกของพระศาสดามีนามชื่อว่าราธะ พระ-

นายจักทรงแต่งตั้งท่านว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ

ทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ เราได้สดับพุทธพยากรณ์นั้น

แล้วก็เป็นผู้เบิกบานมีจิตประกอบด้วยเมตตาบำรุง

พระพิชิตมารในกาลนั้นตลอดชีวิต

เพราะเราเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา ด้วย

กรรมที่เราได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้ง

เจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์

ชั้นดาวดึงส์ ได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐

ครั้ง

ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง และ

เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับ

มิได้

เพราะกรรมนั้นนำไปเราจึงเป็นผู้ถึงความ

สุขในทุกภพ เมื่อถึงภพสุดท้ายเราเกิดในสกุล

ที่ยากจน ขาดเครื่องนุ่งห่มและอาหารให้พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

นครราชคฤห์อันอุดม ได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง

แก่ท่านพระสารีบุตรผู้คงที่

ในเวลาเราแก่เฒ่า เราอาศัยวัดอยู่ ใคร ๆ

ไม่ยอมบวชให้เรา ผู้ชรา หมดกำลังเรี่ยวแรง

เพราะฉะนั้น ครั้งนั้น เราเป็นผู้เป็นคนยาก

เข็ญจึงเป็นผู้ปราศจากผิวพรรณ เศร้าโศก พระ-

มหามุนีผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณาทอดพระเนตร

เห็นเข้า จึงตรัสถามเราว่า

ลูกไฉนจึงเศร้าโศก จงบอกถึงโรคที่เกิด

ในจิตของเจ้า เราได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

มีความเพียร ข้าพระองค์ไม่ได้บวชในศาสนา

ของพระองค์ ซึ่งพระองค์ตรัสดีแล้ว

เพราะเหตุนั้นข้าพระองค์จึงมีความเศร้า-

โศก ข้าแต่พระนายก ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่ง

ของข้าพระองค์ด้วยเถิด ครั้งนั้น พระมหามุนีผู้

สูงสุดได้รับสั่งให้เรียกภิกษุมาประชุมพร้อมแล้ว

ตรัสถามว่า

ผู้ที่นึกถึงอธิการของพราหมณ์นี้ได้มีอยู่

จงบอกมา เวลานั้น พระสารีบุตรได้กราบทูลว่า

ข้าพระองค์นึกถึงอธิการของเขาได้อยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

พราหมณ์ผู้นี้ได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่งแก่

ข้าพระองค์ผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต พระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ๆ สารี-

บุตร เธอเป็นคนกตัญญู เธอจงยังพราหมณ์นี้ให้

บวช พราหมณ์นี้จักเป็นผู้ควรบูชา ลำดับนั้น

เราได้การบรรพชาและอุปสมบทด้วยกรรมวาจา

โดยเวลาไม่นานเลย เราก็ได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้น

ไปแห่งอาสวะ เพราะเราเป็นผู้เพลิดเพลิน สดับ

พระพุทธดำรัสโดยเคารพ ฉะนั้น พระพิชิตมารจึง

ทรงแต่งตั้งเราว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มี

ปฏิภาณ

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระราธเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบราธเถราปทาน

๕๓๔. อรรถกถาราธเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระราธเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

คำนั้นทั้งหมด วิญญูชนทั้งหลาย พึงกำหนดรู้ได้โดยง่ายด้วยการ

ติดตามเนื้อความไปตามลำดับของปาฐะนั่นแล จะต่างกันก็แต่บุญกุศลอย่าง

เดียวเท่านั้นแล.

จบอรรถกถาราธเถราปทาน

โมฆราชเถราปทานที่ ๑๐ (๕๔๐)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระโมฆราชเถระ

[๑๓๐] ในกัปนับจากภัทรกัปนี้ไปแสน-

หนึ่ง พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรง

รู้แจ้งโลกทั้งปวง เป็นนักปราชญ์ มีจักษุ ได้

เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรง

แสดงให้สัตว์รู้ชัดยังสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสาร

ทรงฉลาดในเทศนา เป็นผู้เบิกบาน ทรงช่วย

ประชุมชน ให้ข้ามพ้นไปเสียเป็นอันมาก

พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วย

พระกรุณา แสวงหาประโยชน์ให้สรรพสัตว์ ยัง

เดียรถีย์ที่มาเฝ้า ให้ดำรงอยู่ในเบญจศีลได้ทุกคน

เมื่อเป็นเช่นนี้พระศาสนาจึงไม่มีความ

อากูล ว่างสูญจากเดียรถีย์ วิจิตรด้วยพระอรหันต์

ผู้คงที่ มีความชำนิชำนาญ พระมหามุนีพระองค์

นั้นสูงประมาณ ๕๘ ศอก มีพระฉวีวรรณงามคล้าย

ทองคำอันล้ำค่า มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒

ประการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

ครั้งนั้น อายุของสัตว์แสนปี พระชินสีห์

พระองค์นั้น เมื่อดำรงพระชนม์อยู่โดยกาลประมาณ

เท่านั้น ได้ทรงยังประชุมชนเป็นอันมาก ให้ข้าม

พ้นวัฏสงสารไปได้

ครั้งนั้น เราเป็นผู้ประกอบในหนทาง

แห่งการงานของบุคคลอื่น ในสกุลหนึ่ง ใน

พระนครหังสวดี ทรัพย์สินอะไร ๆ ของเราไม่มี

เราอาศัยอยู่ที่พื้นซึ่งเขาทำไว้ที่หอฉัน

เราได้ก่อไฟที่พื้นหอฉันนั้น พื้นศิลาจึงดำไป

เพราะไฟลน

ครั้งนั้น พระโลกนาถผู้ประกาศสัจจะ ๔

ได้ตรัสสรรเสริญพระสาวกผู้ทรงจีวรเศร้าหมองใน

ประชุมชน

เราชอบใจในคุณของท่าน จึงได้ปฏิบัติ

พระตถาคต ปรารถนาฐานันดรอันสูงสุด คือความ

เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

ปทุมุตตระ ได้ตรัสกะพระสาวกทั้งหลายว่า จง

ดูบุรุษนี้ ผู้มีผ้าห่มน่าเกลียด ผอมเกร็ง มีหน้า

ผ่องใสเพราะปีติ ประกอบด้วยทรัพย์คือศรัทธา มี

กายและใจสูง เพราะปีติ ร่าเริง ไม่หวั่นไหว

หนาแน่นไปด้วยธรรมที่เป็นสาระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

บุรุษนี้ชอบใจในคุณของภิกษุผู้ทรงจีวร

เศร้าหมอง ปรารถนาฐานันดรนั้นอย่างจริงใจ

เราได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว ก็เบิก

บาน ถวายบังคมพระพิชิตมารด้วยเศียรเกล้า ทำ

แต่กรรมที่ดีงามในศาสนาของพระชินเจ้าตราบ

เท่าสิ้นชีวิต

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการ

ตั้งเจตนจำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เพราะกรรมคือการเอาไฟลนพื้นที่หอฉัน

เราจึงถูกเวทนาเบียดเบียน ไหม้แล้วในนรกพันปี

ด้วยเศษกรรมที่เหลือนั้น เราเป็นมนุษย์

เกิดในสกุล จึงเป็นผู้มีรอยเครื่องหมายถึง ๕๐๐

ชาติโดยลำดับ

เพราะอำนาจกรรมนั้น เราจึงเป็นผู้เพียบ

พร้อมด้วยโรคเรื้อน เสวยมหันต์ทุกข์ถึง ๕๐๐ ชาติ

เหมือนกัน

ในภัทรกัปนี้ เรามีจิตเลื่อมใส เลี้ยงดู

พระอุปริฏฐะผู้มียศ ให้อิ่มหนำด้วยบิณฑบาต

เพราะเศษกรรมที่ยังเหลือนั้น และ

เพราะการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว

ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

เมื่อถึงภพสุดท้าย ได้บังเกิดในสกุล

กษัตริย์ เมื่อพระชนกล่วงไปแล้วก็ได้เป็นพระ-

มหาราชา

เราถูกโรคเรื้อนครอบงำ กลางคืนไม่ได้

รับความสุข เพราะสุขที่เกิดจากความเป็นพระ-

เจ้าแผ่นดินหาประโยชน์นั้นได้ ฉะนั้น เราจึงชื่อว่า

โมฆราช

เราเห็นโทษของร่างกาย จงได้บวชเป็น

บรรพชิต มอบตัวเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี

ผู้ประเสริฐ เราเข้าไปเฝ้าพระผู้นำนรชนพร้อม

ด้วยบริวารเป็นอันมาก ได้ทูลถามปัญหาอัน

ละเอียดลึกซึ้งว่า

โลกนี้ โลกหน้า พรหมโลกกับทั้ง

เทวโลก ข้าพระองค์ไม่ทราบความเห็นของพระ

องค์ ผู้ทรงพระนามว่าโคดม ผู้มียศ

เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้มีปัญหามาถึงพระ-

องค์ ผู้ทรงเห็นล่วงสามัญชน ข้าพระองค์จะ

พิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงจะไม่เห็น

พระพุทธเจ้าผู้ทรงรักษาโรคทุกอย่างให้

หายได้ ได้ตรัสกะเราว่า ดูก่อนโมฆราช ท่านจง

เป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พิจารณาเห็นโลกโดยความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

เป็นของว่างเปล่า ถอนความเห็นว่าตัวตนเสีย

บุคคลพึงข้ามพ้นมัจจุราชไปได้ด้วยอุบายเช่นนี้

ท่านพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้ มัจจุราชจึง

จะไม่เห็น เราเป็นผู้ไม่ผมและหนวด นุ่งผ้า

กาสาวพัสตร์ เป็นภิกษุพร้อมกับเวลาจบพระคาถา

เราเป็นผู้ถูกโรคเบียดเบียน ถูกเขาว่า

กล่าวว่า วิหารอย่าเสียหายเสียเลย จึงไม่ได้อยู่

ในวิหารของสงฆ์ เรานำเอาผ้ามาจากกองหยาก

เยื่อ ป่าช้าและหนทาง แล้วทำผ้าสังฆาฏิด้วยผ้า

เหล่านี้ ทรงจีวรที่เศร้าหมอง

พระผู้นำชน พิเศษเป็นนายแพทย์ใหญ่

ทรงพอพระทัยในคุณอันนั้นของเรา จึงทรงตั้งเรา

ไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย

ฝ่ายที่ทรงจีวรเศร้าหมอง

เราสิ้นบุญและบาป หายโรคทุกอย่าง ไม่

มีอาสวะ ดับสนิทเหมือนเปลวไฟที่มอดเชื้อ

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระโมฆราชเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบโมฆราชเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

อรรถกถาโมฆราชเถราปทาน

อปทานของท่านพระโมฆราชเถระที่ ๑. มีเนื้อความพอที่จะกำหนด

ได้โดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถาโมฆราชเถราปทาน

จบอรรถกถากัจจายนวรรคที่ ๕๔

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มหากัจจายนเถราปทาน ๒. วักลลิเถราปทาน ๓. มหากัปปิน-

เถราปทาน ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน ๕. กุมารกัสสปเถราปทาน

๖. พาหิยเถราปทาน ๗. มหาโกฏฐิตเถราปทาน ๘. อรุเวลกัสสปเถราปทาน

๙. ราธเถราปทาน ๑๐. โมฆราชเถราปทาน.

ในวรรคนี้ บัณฑิตประมวลคาถาได้ ๓๖๒ คาถา

จบกัจจายนวรรคที่ ๕๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

ภัททิยวรรคที่ ๕๕

ลกุณฏกภัททิยเถราปทานที่ ๑ (๕๔๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระลกุณฏกเถระ

[๑๓๑] ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระ-

พิชิตมาร พระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรม

ทั้งปวง เป็นพระผู้นำ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก

ครั้งนั้น เราเป็นบุตรเศรษฐี มีทรัพย์มาก

ในพระนครหังสวดี เที่ยวเดินพักผ่อนอยู่ ได้ไป

ถึงสังฆาราม

คราวนั้น พระผู้นำ ผู้ส่องโลกให้โชติช่วง

พระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมเทศนา ได้ตรัส

สรรเสริญพระสาวกผู้ประเสริฐกว่าภิกษุทั้งหลาย

ที่มีเสียงไพเราะ

เราได้สดับพระธรรมเทศนานั้นแล้วก็

ชอบใจ จึงได้ทำสักการะแก่พระองค์ผู้แสวงหา

คุณอันใหญ่ ถวายบังคมพระบาททั้งสองของ

พระศาสดาแล้ว ปรารถนาฐานันดรนั้น

ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้นำชั้น

พิเศษ ได้ตรัสพยากรณ์ในท่ามกลางพระสงฆ์ว่า

ในอนาคตกาล ท่านจักได้ฐานันดรนี้สมดังมโนรถ

ความปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดา

พระนามชื่อว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้า

โอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เศรษฐีบุตร

ผู้นี้ จักได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระ-

องค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต เป็นสาวก

ของพระศาสดา มีนามชื่อว่า ภัตทิยะ

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการ

ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้พระพิชิตมาร

พระนามว่าผุสสะ เป็นผู้นำยากที่จะหาผู้เสนอ

ยากที่จะข่มขี่ได้ สูงสุดกว่าโลกทั้งปวงได้เสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว

และพระพุทธองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยจรณะ

เป็นผู้ประเสริฐเที่ยงตรง ทรงมีความเพียรเผา

กิเลสทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์

ทรงเปลื้องสัตว์เป็นอันมากจากกิเลสเครื่องจองจำ

เราเกิดเป็นนกดุเหว่าขาวในพระอาราม

อันน่าเพลิดเพลินเจริญใจ ของพระผุสสสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เราอยู่ที่ต้นมะม่วงใกล้

พระคันธกุฎี

ครั้งนั้น เราเห็นพระพิชิตมารผู้สูงสุด

เป็นพระทักขิไณยบุคคล เสด็จพระราชดำเนินไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

บิณฑบาต จึงทำจิตให้เลื่อมใส แล้วร้องด้วย

เสียงอันไพเราะ

ครั้งนั้น เราบินไปสวนหลวง คาบผล

มะม่วงที่สุกดีมีเปลือกเหมือนทองคำมาแล้ว น้อม

เข้าไปถวายแด่พระสัมพุทธเจ้า

เวลานั้นพระพิชิตมารผู้ประกอบด้วยพระ-

กรุณา ทรงทราบวาระจิตของเรา จึงทรงรับบาตร

จากมือของภิกษุอุปัฏฐาก

เรามีจิตร่าเริงถวายผลมะม่วงแด่พระมหา-

มุนี เราใส่บาตรแล้วก็ประนมปีก ร้องด้วยเสียง

อันไพเราะ น่ายินดี เสนาะน่าฟัง เพื่อบูชา

พระพุทธเจ้า แล้วไปนอนหลับ

ครั้งนั้น นกเหยี่ยวผู้มีใจชั่วช้าได้โฉบ

เอาเรา ผู้มีจิตเบิกบาน มีอัธยาศัยไปสู่ความรัก

พระพุทธเจ้า แล้วไปนอนหลับ

เราจุติจากอัตภาพนั้นไปเสวยมหันตสุข

ในสวรรค์ชั้นดุสิต แล้วมาสู่กำเนิดมนุษย์ เพราะ

กรรมนั้นพาไป

ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้มีพระนาม

ตามพระโคตรว่ากัสสปะ เป็นเผ่าพันธุ์พรหม มี

พระยศใหญ่ ประเสริฐกว่านักปราชญ์ ได้เสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

พระองค์ทรงยังพระศาสนาให้โชติช่วง

ครอบงำเดียรถีย์ผู้หลอกลวง ทรงแนะนำเวไนย-

สัตว์ พระองค์พร้อมทั้งพระสาวกปรินิพพานแล้ว

เมื่อพระพุทธองค์ผู้เลิศในโลกปรินิพพาน

แล้ว ประชุมชนเป็นอันมากที่เลื่อมใส จักทำ

พระสถูปของพระศาสด เพื่อต้องการจะบูชา

พระพุทธเจ้า

เขาปรึกษากันอย่างนี้ว่า จักช่วยกันทำ

พระสถูปของพระศาสดา ผู้แสวงหาพระคุณ

อันใหญ่ ให้สูงเจ็ดโยชน์ ประดับด้วยแก้ว ๗

ประการ

ครั้งนั้น เราเป็นจอมทัพของพระเจ้า

แผ่นดินแคว้นกาสี พระนามว่ากิกี ได้พูดลด

ประมาณ ที่พระเจดีย์ของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มี

ประมาณเสีย

ครั้งนั้น ชนเหล่านั้นได้ช่วยกันทำเจดีย์

ของพระศาสดา ผู้มีพระปัญญากว่านรชน สูง

โยชน์เดียว ประดับด้วยรัตนะนานาชนิด ตาม

ถ้อยคำของเรา

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการ

ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

ในภพสุดท้ายในบัดนี้ เราเกิดในสกุล

เศรษฐีอันมั่งคั่งสมบูรณ์ มีทรัพย์มากมาย ใน

พระนครสาววัตถีอันประเสริฐ

เราได้เห็นพระสุคต เจ้าในเวลาเสด็จเข้า

พระนครก็อัศจรรย์ใจ จึงบรรพชา ไม่นานก็ได้

บรรลุอรหัต

เพราะกรรมคือการลดประมาณ ของพระ-

เจดีย์เราได้ทำไว้ เราจึงมีร่างกายต่ำเตี้ย ควรจะ

เป็นร่างกายกลม

เราบูชาพระพุทธเจ้าสูงสุดด้วยเสียงอัน

ไพเราะจึงได้ถึงความเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย

ที่มีเสยงไพเราะ

เพราะการถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า

และเพราะการอนุสรณ์ถึงพระพุทธคุณ เราจึง

สมบูรณ์ด้วยสามัญผล ไม่มีอาสวะอยู่

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...คำสอนของ

พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระลกุณฏกภัททิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบลกุณฏกภัททิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

ภัททิยาวรรคที่ ๕๕

๕๔๑. อรรถกถาลกุณฏกภัททิยเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑ วรรคที่ ๕๕ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระลกุณฏกภัททิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร

นาม ชิโน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระ-

องก์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ

นั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิด

ในตระกูลที่มีโภคะมากมาย ในหังสวดีนคร บรรลุนิติภาวะแล้ว กำลังนั่ง

ฟังธรรมของพระศาสดา ได้มองเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งพระศาสดาทรงสถาปนา

ท่านไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้มีเสียงไพเราะ แม้ตนเองก็ปรารถนา

ตำแหน่งนั้นบ้างได้ถวายมหาทานอันเจือปนด้วยรสหวาน เช่น เนยใส และ

น้ำตาลกรวดเป็นต้น แต่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว ตั้งปณิธาน

ไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในอนาคตกาล แม้ข้าพระองค์ก็พึงเป็นเหมือน

ภิกษุรูปนี้ คือพึงเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุผู้มีเสียงไพเราะ ในพระศาสนาของ

พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่าเขาไม่มีอันตราย

จึงทรงพยากรณ์แล้ว เสด็จหลีกไป.

เขาทำบุญไว้เป็นอันมากจนตลอดอายุแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลก

และมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้ง ๒ แล้ว ในกาลแห่งพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระนามว่า ผุสสะ เขาได้บังเกิดเป็นนกดุเหว่าสวยงาม บินมาโฉบเอา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

ผลมะม่วงพันธุ์อร่อยไปจากพระราชอุทาน มองเห็นพระศาสดาแล้วมีใจเลื่อมใส

เกิดความคิดขึ้นว่า เราจักถวายแด่พระพุทธเจ้า. พระศาสดา ทรงทราบความ

เป็นไปทางจิตของเขา จึงทรงรับบาตรแล้วประทับนั่ง. นกดุเหว่านั้นได้วาง

ผลมะม่วงสุกลงในบาตรของพระทศพล. เพื่อจะให้เขาเกิดความโสมนัสใจ

พระศาสดาได้เสวยผลมะม่วงสุกนั้น ขณะที่เขากำลังเห็นอยู่นั้นแล. ลำดับ

นั้นนกดุเหว่านั้น มีใจเลื่อมใส ระงับยับยังอยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่ปีตินั้น

นั่นแลตลอด ๗ วัน. ด้วยบุญกรรมนั้นนั่นแหละทุก ๆ ภพที่เขาเกิดแล้ว จึง

ได้มีเสียงไพเราะ ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ เขา

ได้บังเกิดในตระกูลช่างไม้ ได้ปรากฏว่าเป็นหัวหน้าช่างไม้. เมื่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว เขาพูดกะพวกประชาชนผู้เริ่มจะก่อสร้างสถูปประ-

มาณ ๗ โยชน์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นว่า

เราจักกระทำวงกลมรอบ ๑ โยชน์ และส่วนสูงอีก ๑ โยชน์. คนเหล่านั้น

ทั้งหมดได้ตั้งอยู่ในถ้อยคำของเขาแล้ว. เขาได้ช่วยกันสร้างเจดีย์อันมีประมาณ

ต่ำ แด่พระพุทธเจ้า ผู้หาประมาณมิได้ ด้วยประการฉะนี้. ด้วยกรรมอัน

นั้นทุก ๆ ที่ที่เขาได้เกิดแล้ว จึงได้มีรูปร่างประมาณต่ำกว่าคนอื่น ๆ. ในกาล

แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เขาได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุล ได้

ปรากฏชื่อว่า ลกุณฏกภัททิยะ เพราะมีรูปร่างต่ำ และเพราะมีสรีระสวยงาม

คล้ายรูปเปรียบทองคำ ฉะนั้น. ในกาลต่อมาเขาได้ฟังพระธรรมเทศนาของ

พระศาสดาแล้ว ได้มีศรัทธา บวชแล้วเป็นพหูสูต เป็นพระธรรมกถึก

แสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่นด้วยเสียงอันไพเราะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

ต่อมาในวันมีมหรสพวันหนึ่ง หญิงคณิกาคนหนึ่ง นั่งรถไปกับ

พราหมณ์คนหนึ่ง เธอมองเห็นพระเถระเข้า จึงหัวเราะจนมองเห็นฟัน.

พระเถระถือเอากระดูกฟันของหญิงคนนั้นมาเป็นนิมิต ทำฌานให้บังเกิดขึ้น

แล้ว ทำฌานนั้นให้เป็นพื้นฐานเจริญวิปัสสนา ได้เป็นพระอนาคามี. ท่าน

อยู่ด้วยสติเป็นไปในกายเนือง ๆ วันหนึ่งท่านได้รับคำแนะนำพร่ำสอนจาก

ท่านพระธรรมเสนาบดี จนถึงได้ดำรงอยู่ในพระอรหัต. ภิกษุแสะสามเณรบาง

พวก ไม่รู้ว่าท่านได้บรรลุพระอรหัตแล้ว แกล้งดึงหูท่านเสียบ้าง จับศีรษะ

จับแขน หรือจับมือและเท้าเป็นต้นสั่นเล่น เบียดเบียนบ้าง.

ท่านเป็นพระอรหัตแล้ว เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึง

เรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อนของตน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า

ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้ . บทว่า มญฺชุนาภินิกูชห ความว่า เราได้พูด

ได้เปล่งเสียงด้วยเสียงอัน ไพเราะน่ารัก คำที่เหลือในเรื่องนี้ พอจะกำหนดรู้

ได้โดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถาลกุณฏกภัททิยเถราปทาน

กังขาเรวตเถราปทานที่ ๒ (๒๔๕)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระกังขาเรวตเถระ

[๑๓๒] ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระ-

พิชิตมารมีพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้มีพระจักษุใน

ธรรมทั้งปวง เป็นพระผู้นำ มีพระหนุเหมือนคาง

ราชสีห์ พระดำรัสเหมือนเสียงพรหม พระสุร-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

เสียงคล้ายเสียงหงส์และกลองใหญ่ เสด็จดำเนิน

ดุจช้าง มีพระรัศมีประหนึ่งรัศมีของจันทเทพบุตร

เป็นต้น

มีพระปรีชาใหญ่ มีความเพียรมากมี

ความเพ่งพินิจมาก มีคติใหญ่ ประกอบด้วยพระ-

มหากรุณาเป็นที่พึ่งสัตว์ กำจัดความมืดใหญ่ ได้

เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

คราวหนึ่ง พระสัมพุทธเจ้าผู้เลิศกว่า

ไตรโลก เป็นมุนี ทรงรู้จักวาระจิตของสัตว์พระ-

องค์นั้น ทรงแนะนำเวไนยสัตว์เป็นอันมาก ทรง

แสดงพระธรรมเทศนาอยู่

พระพิชิตมารตรัสสรรเสริญภิกษุผู้มีปกติ

เพ่งพินิจ ยินดีในฌาน มีความเพียรสงบระงับ

ไม่ขุ่นมัวในท่ามกลางบริษัท ทรงทำให้ประชาชน

ยินดี

ครั้งนั้น เราเป็นพราหมณ์เรียน. ไตรเพท

อยู่ในพระนครหังสวดี ได้สดับพระธรรมเทศนาก็

ชอบใจ จึงปรารถนาฐานันดรนั้น

ครั้งนั้น พระพิชิตมารผู้ทรงเป็นพระ

ผู้นำชั้นพิเศษได้ตรัสพยากรณ์ในท่ามกลางสงฆ์ว่า

จงดีใจเถิดพราหมณ์ ท่านจักได้ฐานันดรนี้ สมดัง

มโนรถความปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดามี

พระนามชื่อว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้า

โอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ท่านจัก

ได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น

เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต เป็นสาวกของพระ-

ศาสดา มีนามชื่อว่าเรวตะ

เพราะกรรมที่ทำไว้ดี และเพราะการตั้ง

เจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้วได้ไปยังสวรรค์

ชั้นดาวดึงส์

ในภพสุดท้ายในบัดนี้ เราเกิดในสกุล

กษัตริย์อันมั่งคั่งสมบูรณ์ มีทรัพย์มากมาย ใน

โลกิยนคร

ในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม

เทศนาในพระนครกบิลพัสดุ์ เราเลื่อมใสในพระ-

สุคตเจ้า จึงออกบวชเป็นบรรพชิต

ความสงสัยของเราในสิ่งที่เป็นกัปปิยะ

และอกัปปิยะนั้น ๆ มีมากมายพระพุทธเจ้าได้ทรง

แสดงธรรมอันอุดม แนะนำข้อสงสัยทั้งปวงนั้น

แต่ต่อนั้น เราก็ข้ามพ้นสงสารได้ เป็น

ผู้ยินดีด้วยความสุขในฌานอยู่ ในครั้งนั้น

พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นเรา จึงได้ตรัส

พระพุทธภาษิตว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

ความสงสัยในโลกนี้หรือโลกอื่น ใน

ความรู้ของตนหรือในความรู้ของผู้อื่นอย่างใด

อย่างหนึ่งนั้น อันบุคคลผู้มีปรกติเพ่งพินิจ มี

ความเพียรเผากิเลสประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมละ

ได้ทั้งสิ้น

กรรมที่ทำไว้ในกัปที่แสน ได้แสดงผล

แก่เราแล้วในอัตภาพนี้ เราพ้นกิเลสแล้วเหมือน

ลูกศรพ้นจากแล่ง ได้เผากิเลสของเราเสียแล้ว

ลำดับนั้น พระมุนีผู้มีปรีชาใหญ่ เสด็จ

ถึงที่สุดของโลก ทรงเห็นว่าเรายินดีในฌาน จึง

ทรงแต่งตั้งว่าเป็นเลิศกว่าภิกษุทั้ง หลายฝ่ายที่ได้

ฌาน

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระกังขาเรวตเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-

การฉะนี้แล.

จบกังขาเรวตเถราปทาน

๕๔๒. อรรถกถากังขาเรวตเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระกังขาเรวตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร

นาม ชิโน ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-

องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ

นั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้นี้พระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เขาได้บังเกิดใน

ตระกูลพราหมณ์. คำนั้นทั้งหมด พอจะกำหนดได้โดยง่ายตามลำดับแห่งปาฐะ

นั้นนั่นแล.

จบอรรถกถากังขาเรวตเถราปทาน

สีวลิเถราปทานที่ ๓ (๕๔๓)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระสีวลิเถระ

[๑๓๓ ] ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระพิชิต

มารพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้มีจักษุในธรรมทั้งปวง

เป็นผู้นำ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ศีลของพระองค์

ใคร ๆ ก็คำนวณไม่ได้ สมาธิของพระองค์เปรียบ

ด้วยแก้ววิเชียร ฌานอันประเสริฐของพระองค์

ใคร ๆ ก็นับไม่ได้ และวิมุตติของพระองค์ก็หา

อะไรเปรียบมิได้

พระนายกเจ้าทรงแสดงธรรมในสมาคม

มนุษย์ เทวดา นาคและพรหม ซึ่งเกลื่อนกล่น

ไปด้วยสมณะและพราหมณ์

พระพุทธองค์ก็แกล้วกล้าในบริษัท ทรง

ตั้งสาวกของพระองค์ ผู้มีลาภมากมีบุญ ทรงซึ่ง

ฤทธิ์อันรุ่งเรือง ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

ครั้งนั้น เราเป็นกษัตริย์ในพระนครหังส-

วดี ได้ยินพระพิชิตมารตรัสถึงคุณเป็นอันมากของ

พระสาวก ดังนั้น จึงได้นิมนต์พระชินสีห์พร้อม

ทั้งพระสาวก ให้เสวยและฉันถึง ๗ วัน ครั้น

ถวายมหาทานแล้วก็ได้ปรารถนาฐานันดรนั้น

พระธีรเจ้าผู้ประเสริฐกว่าบุรุษ ทอดพระ-

เนตรเห็นเราหมอบอยู่แทบพระบาทในคราวนั้น

จึงได้ตรัสพระดำรัสด้วยพระสุรเสียงอันดัง

ลำดับนั้น มหาชน ทวยเทพ คนธรรพ์

พรหมผู้มีฤทธิ์มากและสมณพราหมณ์ ผู้ใคร่จะฟัง

พระพุทธพจน์ ต่างประณตน้อมถวายนมัสการ

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษผู้เป็นอาชาไนย

ข้าพระองค์ทั้งหลายขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้า

แต่พระองค์ผู้เป็นอุดมบุรุษ ข้าพระองค์ทั้งหลาย

ขอนอบน้อมแด่พระองค์

พระมหากษัตริย์ได้ถวายทานกว่า ๗ วัน

ข้าพระองค์ทั้งหลายประสงค์จะฟังผลของมหาทาน

นั้น ข้าแต่พระมหามุนีขอได้ทรงโปรดพยากรณ์

เถิด

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ท่านทั้งหลายจงคอยสดับภาษิตของเรา ทักษิณาที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

ตั้งไว้ในพระพุทธเจ้าผู้มีคุณหาประมาณมิได้พร้อม

ทั้งพระสงฆ์ ใครเล่าจะเป็นผู้ถือเอามากล่าว

เพราะทักษิณานั้น มีผลหาประมาณมิได้ อีกประ-

การหนึ่งกษัตริย์ผู้มีโภคะมานี้ ทรงปรารถนา

ฐานันดรอันอุดมว่า ถึงเราก็พึงเป็นผุ้ได้ลาภมาก

เหมือนภิกษุชื่อสุทัสสนะฉะนั้นเถิด มหาบพิตร

จักได้ฐานันดรนี้ในอนาคต

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ไปพระศาสดามี

พระนามว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์ของพระเจ้า

โอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

กษัตริย์องค์นี้จักได้เป็นธรรมทายาทของ

พระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรม

เนรมิต จักเป็นสาวกของพระศาสดา นามชื่อว่า

สีวลี

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีแล้ว และเพราะ

การตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้

ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้พระโลกนายก

พระนามว่าวิปัสสี ผู้มีพระเนตรงดงาม ทรงเห็น

แจ้งธรรมทั้งปวง ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

ครั้งนั้น เราเป็นคนโปรดปรานของสกุล

หนึ่งในพระนครพันธุมวดี และเป็นคนที่หมั่น

ขยันขวนขวายในกิจการงาน ครั้งนั้น พระราชา

พระองค์หนึ่งตรัสสั่งให้นายช่างสร้างพระอาราม

ซึ่งปรากฏว่าใหญ่โต ถวายสมเด็จพระวิปัสสี

ผู้แสวงหาประโยชน์ใหญ่

เมื่อการสร้างพระอารามสำเร็จแล้ว ชน

ทั้งหลายได้ถวายมหาทานซึ่งเข้าใจว่าของเคี้ยว

ชนทั้งหลาย ค้นคว้าหานมส้มใหม่และน้ำผึ้ง

ไม่ได้ เวลานั้น เราถือนมส้มใหญ่และน้ำผึ้งไป

เรือนของนายงาน ชนทั้งหลายที่แสวงหานมส้ม

ใหญ่และน้ำผึ้งพบเราเข้า ของสองสิ่งเขาได้ให้

ราคาตั้งพันกหาปณะก็ยังไม่ได้ไป

ครั้งนั้น เราคิดว่าของสองสิ่งนี้เราไม่มี

กะใจที่จะขายมัน ชนเหล่านี้ทั้งหมดสักการะพระ-

ตถาคต ฉันใด แม้เราก็จะทำสักการะในพระผู้นำ

โลกกับพระสงฆ์ ฉันนั้นก็เหมือนกัน

ครั้งนั้น เราได้นำเอาไปแล้ว ผสมนม

ส้มกับน้ำผึ้งป่าด้วยกัน แล้วถวายแด่พระโลกนาถ

พร้อมทั้งพระสงฆ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีแล้วและเพราะการ

ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ต่อมา เราได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินผู้มียศ

ใหญ่ในพระนครพาราณสี ในครั้งนั้น เราเคือง

ศัตรูจึงสั่งให้ทหารทำการล้อมประตูเมืองศัตรู

ไว้

ประตูที่ถูกล้อมของพระราชาผู้มีเดชรักษา

ไว้ได้เพียงวันเดียว เพราะผลของกรรมนั้น เรา

จงต้องตกนรกอันร้ายกาจที่สุด

และในภพสุดท้ายในบัดนี้ เราเกิดใน

โกลิยบุรี พระชนนีของเราพระนามว่าสุปปวาสา

พระชนกของเรา พระนามว่ามหาลิลิจฉวี เรา

เกิดในราชวงศ์เพราะบุญกรรม เพราะการล้อม

ประตูเมืองให้ผล เราจึงต้องประสบทุกข์อยู่ใน

พระครรภ์ของพระมารดาถึง ๗ ปี

เราต้องหลงทวารอยู่อีก ๗ วัน เพียบ

พร้อมไปด้วยมหันตทุกข์ พระมารดาของเรา

ต้องประสบทุกข์ด้วยเช่นนี้ ก็เพราะให้ฉันทะใน

การล้อมประตูเมือง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

เราอันพระพุทธเจ้าทรงอนุเคราะห์ จึง

ออกจากพระครรภ์พระมารดาโดยสวัสดีเราได้ออก

บวชเป็นบรรพชิต ในวันที่เราคลอดออกมานั่นเอง

ท่านพระสารีบุตรเถระ เป็นอุปัชฌาย์ของ

เราพระโมคคัลลานเถระผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ มีปรีชา

มาก เมื่อปลงผมให้ ได้อนุศาสน์พร่ำสอนเรา

เราได้บรรลุอรหัตเมื่อกำลังปลงผมอยู่ ทวยเทพ

นาคและมนุษย์ ต่างก็น้อมนำปัจจัยเข้ามาถวาย

เรา

เพราะเศษของกรรมที่เราเป็นผู้เบิกบาน

บูชาพระผู้นำชน พิเศษพระนามว่าปทุมุตตระและ

พระนามว่าวิปัสสี ด้วยปัจจัยทั้งหลายโดยพิเศษ

เราจึงได้ลาภอันอุดมไพบูลย์ทุกแห่งหน คือ ใน

ป่า ในบ้าน ในน้ำ บนบก

ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นำโลก

ชั้นเลิศ พร้อมด้วยภิกษุสามหมื่นรูป เสด็จ

ไปเยี่ยมท่านพระเรวตะ

พระพุทธเจ้าผู้มีพระปรีชาใหญ่ มีความ

เพียรมาก เป็นนายกของโลก พร้อมด้วยพระ-

สงฆ์ เป็นผู้อันเราบำรุงด้วยปัจจัยที่เทวดานำเข้า

มาถวายเราได้เสด็จไปเยี่ยมท่านเรวตะแล้ว ภาย

หลังเสด็จกลับมายังพระเชตวันมหาวิหารแล้วจึง

ทรงแต่งตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

พระศาสดาผู้ทรงประพฤติประโยชน์แก่

สัตว์ทั้งปวง ได้ตรัสสรรเสริญเราในท่ามกลาง

บริษัทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาสาวก

ของเรา ภิกษุสีวลีเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายที่มี

ลาภมา

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสีวลีเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

จบสีวลิเถราปทาน

๕๔๓. อรรถกถาสีวลิเถรปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระสีวลีเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม

ชิโน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-

องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ

นั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิด

ในเรือนอันมีสกุล ได้ไปยังพระวิหารโดยนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง

ยืนอยู่ท้ายบริษัท ก็กำลังฟังธรรม ในเห็นพระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งพระศาสดา

ทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้มีลาภ แล้วคิดว่า ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

อนาคตกาลแม้เราก็ควรเป็นเช่นภิกษุรูปนี้บ้าง จึงได้นิมนต์พระทศพล ถวาย

มหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน แล้ว ได้ตั้งความ

ปรารถนาไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยกรรมดีที่สั่งสมไว้นี้ ข้าพระองค์

มิได้ปรารถนาสมบัติอื่นเลย หากแต่ในอนาคตกาล ในพระศาสนาของพระ-

พุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง แม้ข้าพระองค์พึงก็เป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุผู้มีลาภ

เหมือนเช่นภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งที่เลิศนั้นเถิด.

พระศาสดา ทรงเห็นว่าเขาไม่มีอันตราย จึงทรงพยากรณ์ว่าความ

ปรารถนาของเธอนี้ จักสำเร็จในสำนักของพระโคดมพุทธเจ้าในอนาคตกาล

แล้วเสด็จหลีกไป. กุลบุตรนั้น ได้กระทำกุศลไว้จนตลอดชีวิตแล้ว ได้เสวย

สมบัติทั้ง ๒ ในเทวโลกและมนุษยโลก ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-

นามว่าวิปัสสี เขาได้เกิดในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ไกลจากพันธุมดีนคร ใน

สมัยนั้น ชนชาวพันธุมดีนคร ได้สนทนากันกับพระราชาแล้ว ได้ถวายทาน

แด่พระทศพลเจ้า.

วันหนึ่ง คนทั้งหมดได้รวมเป็นพวกเดียวกัน เมื่อจะถวายทานก็

ตรวจดูว่า ความเลิศแห่งทานของพวกเรามีหรือไม่หนอ ไม่ได้เห็นน้ำผึ้ง

และนมส้ม. คนเหล่านั้นจึงคิดว่าพวกเราจักนำมาจากที่ไหนหนอ จึงมอบ

หน้าที่ให้พวกบุรุษยืนอยู่ที่หนทางจากชนบทเข้าพระนคร. ครั้งนั้น กุลบุตร

คนนั้นถือเอาหม้อนมส้มมาจากบ้านของตน เดินทางไปยังเมือง ด้วยคิดว่า

เราจักแลกนำอะไรบางอย่างมา ดังนี้ มองไปเห็นสถานที่อันมีความผาสุก

คิดว่า เราจักล้างหน้า ชำระล้างมือและเท้าให้สะอาดก่อนแล้วจึงจักเข้าไป

ดังนี้แล้วได้มองเห็นรังผึ้งอันไม่มีตัวผึ้งประมาณเท่าหัวไถ คิดว่า สิ่งนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

เกิดขึ้นแล้วแก่เราด้วยบุญ จึงถือเอาแล้ว เข้าไปยังพระนคร. บุรุษที่ชาว

พระนครมอบหมายหน้าที่ให้ เห็นเขาแล้วจึงถามว่า แน่ะเพื่อน ท่านนำน้ำผึ้ง

เป็นต้นนี้มาเพื่อใคร. เขาตอบว่า นาย เรามิได้นำมาเพื่อใคร สิ่งนี้เราขาย.

บุรุษนั้นจึงพูดว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงถือเอากหาปณะนี้แล้ว จงให้น้ำผึ้ง

และนมส้มนั้นเถิด.

เขาคิดว่า น้ำผึ้งเป็นต้นนี้มิได้มีค่ามากสำหรับเราเลย แต่บุรุษนี้ย่อม

ให้ราคามากโดยการให้ราคาครั้งเดียวเราจักพิจารณาดูต่อแต่นั้นเขาจึงกล่าวกะ

ชาวเมืองนั้นว่า เราจะไม่ยอมให้ด้วยราคาเพียงกหาปณะเดียว. บุรุษชาวเมือง

จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นท่านรับกหาปณะ ๒ อันไป แล้วจงให้น้ำผึ้งเป็นต้น

เถิด เขากล่าวว่า ถึงจะให้กหาปณะ ๒ อัน เราก็ไม่ยอมให้. บุรุษชาวเมือง

เพิ่มกหาปณะขึ้นด้วยอุบายนั้น จนถึงพันกหาปณะ. เขาคิดว่า เราไม่ควร

เพิ่มราคาขึ้น หยุดไว้ก่อน เราจักถามถึงการงานที่ผู้นี้จะพึงทำ. ลำดับนั้นเขา

จึงกล่าวกะบุรุษชาวเมืองนั้นว่า น้ำผึ้งเป็นต้นนี้ มิได้มีค่ามีราคามากเลย แต่

ท่านให้ราคาเสียมากมาย ท่านจะรับน้ำผึ้งเป็นต้นนี้ไปเพราะจะทำอะไร. บุรุษ

ชาวเมืองชี้แจงว่า ท่านผู้เจริญ ชาวพระนครในที่นี้ ได้ขัดแย้งกับพระราชา

กำลังถวายทานแด่พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า มองไม่เห็นน้ำผึ้งเป็นต้น

ทั้งสองนี้ ในทานอันเลิศ จึงใช้ให้เรามาแสวงหา ถ้าว่าจักไม่ได้น้ำผึ้งเป็นต้น

ทั้งสองนี้ไซร้ พวกชาวเมือง ก็จักมีความพ่ายแพ้แน่ เพราะฉะนั้นเราให้

ทรัพย์พันกหาปณะแล้ว จะขอรับน้ำผึ้งเป็นต้นนี้ไป. เขากล่าวว่า ก็น้ำผึ้ง

เป็นต้นนี้ สมควรแก่พวกชาวเมืองเท่านั้นหรือ หรือว่า สมควรเพื่อให้แก่

ชนเหล่าอื่นก็ได้. บุรุษชาวเมืองตอบว่า น้ำผึ้งเป็นต้นนี้ เรามิได้ห้ามเพื่อจะ

ให้แก่ใคร. เขากล่าวว่ามีใครบ้างไหม ที่ให้ทรัพย์พันหนึ่งตลอดวันหนึ่งใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

ทานของพวกชาวพระนคร. บุรุษชาวเมืองตอบว่า ไม่มีดอกเพื่อน. เขากล่าวว่า

น้ำผึ้งเป็นต้นนี้ ที่เราให้แก่พวกชาวเมืองเหล่านั้น ท่านจงรู้ว่ามีค่าราคาตั้งพัน

เชียวนะ. บุรุษชาวเมืองตอบว่า ใช่ เรารู้. เขากล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นจงไป

ท่านจงบอกให้พวกชาวเมืองรู้ว่า บุรุษคนหนึ่ง ไม่ยอมให้สิ่งของเหล่านี้ด้วย

มูลค่าสองพัน เขาประสงค์จะร่วมกับพวกท่านให้ด้วยมือของตนเอง พวกท่าน

จึงหมดความกังวล เพราะเหตุแห่งสิ่งของทั้งสองอย่างนี้เถิด. บุรุษชาวเมือง

กล่าวว่า ท่านจงเป็นพยานของผู้มีส่วนเป็นหัวหน้าในทานนี้ด้วยเถิด แล้วก็

ไป ส่วนกุลบุตรนั้น ได้เอากหาปณะที่ตนเก็บไว้เพื่อเสบียงเดินทางจากบ้าน

ไปซื้อเครื่องเทศ ๕ อย่างแล้ว ทำให้ป่น นำเอาน้ำส้มมาจากนมส้มแล้ว คั้น

รังผึ้งลงในนั้น ปรุงด้วยจุณเครื่องเทศ ๕ อย่างแล้ว ใส่ลงในใบบัวตระเตรียม

สิ่งนั้นเรียบร้อยแล้ว ถือไปนั่งในที่ไม่ไกลพระทศพล. เมื่อมหาชนเป็นอันมาก

นำเอาสักการะไป เขามองดูวาระที่จะถึงแก่ตนในลำดับ รู้ช่องทางแล้ว

จึงเข้าเฝ้าพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักการะอันยากไร้นี้

เป็นของข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดอาศัยความอนุเคราะห์ข้าพระองค์ รับ

สักการะนี้เถิด. พระศาสดาทรงอนุเคราะห์เขา ทรงรับสักการะนั้น ด้วยบาตร

ศิลา อันท้าวมหาราชทั้ง ๔ ถวายแล้ว ได้ทรงอธิษฐานโดยประการที่เมื่อ

ถวายแก่ภิกษุ ๖ ล้าน ๘ แสนรูป สักการะก็ไม่หมดไป.

กุลบุตรนั้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสร็จภัตรกิจเรียบร้อย

แล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่งแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว วันนี้พวกชาวพันธุมดีนครนำ

สักการะมาถวายพระองค์ ด้วยผลแห่งกายถวายสักการะนี้ แม้ข้าพระองค์พึง

เป็นผู้เลิศด้วยลาภและเลิศด้วยยศ ในภพที่เกิดแล้วเกิดแล้วเถิด พระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

ตรัสว่า จงเป็นอย่างปรารถนาเถิดกุลบุตร แล้วทรงกระทำภัตตานุโมทนาแก่

เขา และชาวพระนคร แล้วก็เสด็จหลีกไป. กุลบุตรคนนั้น ทำกุศลจนตลอด

ชีวิตแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลก และมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้

ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพระราชธิดาสุปปวาสา. จำเดิมแค่เวลาที่เขาถือปฏิสนธิ

มา คนทั้งหลายย่อมนำเอาบรรณาการ ๕๐๐ สิ่งมาถวายแด่พระนางสุปปวาสา

ทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า. ลำดับนั้นพระนางทรงยืนใช้ให้คนเอามือแตะกระเช้า

พืช เพื่อจะทดลองบุญบารมีของเขา. ร้อยสลากจากพืชแต่ละเมล็ด ย่อมรวม

ลงในพันสลาก. จากนาแต่ละกรีสก็เกิดข้าวมีประมาณ ๕๐ เกวียน ๖๐ เกวียน

เมื่อพระราชธิดาเอาพระหัตถ์ไปแตะที่ประตูฉาง แม้ในเวลาที่ฉางยังเต็มเปี่ยม

เมื่อคนทั้งหลายมารับเอาไป ก็เต็มขึ้นอีกด้วยบุญ. แม้จากหม้อที่เต็มเปี่ยมด้วย

ภัตร ชนทั้งหลายกล่าวว่า เป็นบุญของพระราชธิดา ดังนี้แล้ว เมื่อให้แก่ใคร

คนใคคนหนึ่ง ตลอดเวลาที่ยังไม่ดึงมือออก ภัทรก็ยังไม่พร่องไป. ขณะที่

ทารกยังอยู่ในท้องนั่นแล ได้ล่วงไปแล้ว ๗ ปี.

ก็เมื่อพระครรภ์แก่เต็มที่แล้ว พระนางได้เสวยทุกขเวทนามากตลอด

๗ วัน พระนางทูลเชิญพระราชสวามีมาแล้วตรัสว่า ก่อนตาย หม่อมฉันจักขอ

ถวายทานขณะยังมีชีวิตอยู่. ดังนี้แล้วทรงส่งพระราชสวามีไปยังสำนักของพระ

ศาสดาว่า ข้าแต่พระสวามี ขอพระองค์จงไป กราบทูลให้พระศาสดาทรงทราบ

ความเป็นไปนี้แล้ว จงนิมนต์พระศาสดามา และพระศาสดา ตรัสพระดำรัส

อันใด พระองค์จงกำหนดพระดำรัสนั้นให้ดี แล้วกลับมาบอกแก่หม่อมฉัน.

พระสวามีนั้นเสด็จไปถึงแล้ว กราบทูลข่าวสาสน์ของพระนางให้พระศาสดาทรง

ทราบแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางโกลิยธิดาฝากถวายบังคมมาที่

พระบาทของพระศาสดา. พระศาสดาทรงอาศัยความอนุเคราะห์พระนาง ตรัสว่า

ขอพระนางสุปปวาสาโกลิยธิดา จงเป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเถิด จง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

คลอดบุตรที่หาโรคมิได้เถิด. พระสวามีนั้น ทรงฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ก็ถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มุ่งตรงไปยังบ้านของตน. สัตว์ผู้มาบังเกิดใน

ครรภ์ได้คลอดออกจากท้องของพระนางสุปปวาสา ง่ายดายดุจเทน้ำออกจาก

ธรมกรกฉะนั้น เรียบร้อยก่อนที่พระสวามีจะมาถึง ประชาชนที่มีมานั่งแวดล้อม

มีน้ำตาคลอ เริ่มจะร้องไห้ ก็กลับเป็นหัวเราะร่าดีใจเมื่อพระสวามีของ

พระนางกลับมาแจ้งข่าวสาสน์อันน่ายินดีให้ได้ทราบ. พระสวามีนั้น ทรงเห็น

กิริยาท่าทางของคนเหล่านั้นแล้ว ทรงคิดว่า ชรอยว่าพระดำรัสที่พระทศพลตรัส

แล้ว คงจักสำเร็จผลไปในทางที่ดีเป็นแน่. พระสวามีนั้น พอเสด็จมาถึงแล้ว

ก็ตรัสถึงพระดำรัสของพระศาสดาแก่พระราชธิดา. พระราชธิดาตรัสว่า ความ

ภักดีในชีวิตที่พระองค์นิมนต์พระศาสดาแล้วนั้นแหละ จักเป็นมงคล ขอพระองค์

จงไปนิมนต์พระทศพลตลอด ๗ วัน . พระราชสวามีทรงกระทำตามพระดำรัส

ของพระนางแล้ว. ชนทั้งหลายได้ยังมหาทานให้เป็นไปแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระ-

พุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วันแล้ว. ทารกนั้น เป็นผู้ทำจิตใจของหมู่ญาติที่

กำลังเร่าร้อนให้ดับสนิทคือทำให้กลายเป็นความเย็น เพราะเหตุนั้น หมู่ญาติ

จึงตั้งชื่อเขาว่า สีวลี. ตั้งแต่เวลาที่ได้เกิดมาแล้ว ทารกนั้นได้เป็นผู้แข็งแรง

อดทนได้ในการงานทั้งปวง (มีกำลังดี) เพราะค่าที่เขาอยู่ในครรภ์มานานถึง

๗ ปี. พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ ได้ทำการสนทนาปราศรัยกับเขาใน

วันที่ ๗. แม้พระศาสดา ก็ได้ตรัสพระคาถานี้ไว้ว่า.

บุคคลใดล่วงพ้นหนทางลื่น หล่ม สงสาร

โมหะได้ ข้ามฝั่งแล้ว มีความเพียรเพ่งพินิจไม่มี

ความหวั่นไหว หมดความสงสัย ดับแล้วเพราะ

ไม่ยึดมั่นถือมั่น เราเรียกบุคคลนั้นว่าเป็น

พราหมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

ลำดับนั้น พระเถระได้กล่าวกะเด็กนั้นอย่างนี้วา เธอได้รับความ

ทุกข์เห็นปานนี้ การบวชจะไม่ควรหรือ. เด็กคนนั้นตอบว่าเมื่อได้รับ

อนุญาตก็จะพึงบวช ขอรับ. พระนางสุปปวาสา เห็นเด็กนั้นกำลังพูดกับ

พระเถระ จึงคิดว่า ลูกของเรา กำลังพูดเรื่องอะไรกับพระธรรมเสนาบดี

หนอแล จึงเข้าไปหาพระเถระถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ลูกชายของ

ดิฉัน พูดเรื่องอะไรกับพระคุณเจ้า พระเถระพูดว่า เด็กนั่น พูดถึงความทุกข์

ในการอยู่ในครรภ์ที่ตนเองได้เสวยมาแล้ว แล้วพูดว่า กระผมได้รับอนุญาต

แล้ว จักบวช. พระนางตรัสว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดีละ. ขอให้พระ-

คุณเจ้าให้เขาบวชเถิด. พระเถระจึงนำเขาไปยังวิหารแล้ว ได้ให้ตจปัญจก-

กัมมัฏฐานแล้ว ก็ให้เขาบวช พร่ำสอนว่า สีวลีเอ๋ย ! หน้าที่เกี่ยวกับโอวาท

อย่างอื่นของเธอไม่มี เธอจงพิจารณา ถึงความทุกข์ที่เธอได้เสวยมาแล้ว

ตลอด ๗ ปีเถิด. ท่านตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมจักได้รู้ถึงภาระของ

ท่านเกี่ยวกับการบวชบ้าง เพื่อผมจักได้ทำตาม. ก็พระสีวลีนั้น ได้ดำรงอยู่ใน

โสดาปัตติผล ในขณะที่เขาปลงมวยผมชั้นที่ ๑ ลง ได้ดำรงอยู่ในสกทาคามิผล

ในขณะที่ปลงมวยผมชั้นที่ ๒ ลง ได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล ในขณะที่เขา

ปลงมวยผมชั้นที่ ๓ ลง การปลงผมทั้งหมดได้อย่างเรียบร้อย และการกระทำ

ให้แจ้งซึ่งพระอรหัตผลได้มีแล้วในเวลาไม่ก่อนไม่หลังแล.

ต่อมา ได้มีถ้อยคำเกิดขึ้นในหมู่ภิกษุว่า โอ พระเถระถึงจะมีบุญ

อย่างนี้ ก็ยังอยู่ในครรภ์ของมารดาถึง ๗ ปี ๗ เดือน แล้วยังอยู่ในครรภ์

หลงอีก ๗ วัน. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก

เธอกำลังนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อพวกภิกษุกราบทูลให้ทรงทราบ

แล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้นี้ มิใช่กระทำกรรมไว้ในชาติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

นี้เท่านั้นแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล

ก่อนแต่พุทธุปบาทกาลนั่นแล กุลบุตรผู้นี้ ได้บังเกิดในราชตระกูลในกรุง

พาราณสี พอพระราชบิดาสวรรคตแล้ว ก็ได้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ ได้

ปรากฏว่าสมบูรณ์ด้วยสมบัติ ในคราวนั้นพระราชาในปัจจันตชนบทพระองค์

หนึ่ง ทรงดำริว่า เราจักยึดเอาราชสมบัติให้ได้ แล้วจึงเสด็จมาล้อมพระนคร

เอาไว้ ได้ตั้งค่ายพักแรมแล้ว. ลำดับนั้น พระราชาได้มีสมานฉันท์เป็น

อันเดียวกันกับพระราชมารดา สั่งให้ปิดประตูทั้ง ๔ ทิศ ตั้งค่ายป้องกันตลอด

๗ วัน ความหลงประตูได้มีแก่พวกคนที่จะเข้าไป และคนที่จะออกมาครั้งนั้น

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ประกาศธรรมในมิคทายวิหาร. พระราชาได้ทรง

สดับแล้ว จึงทรงมีรับสั่งให้เปิดประตูเมืองแล. แม้พระเจ้าปัจจันตราชา ก็ทรง

หนีไปแล้ว. ด้วยวิบากแห่งกรรมอันนั้น เขาจึงได้เสวยความทุกข์ในอบายมี

นรกเป็นต้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ แม้จะได้บังเกิดในราชตระกูลก็ตาม ยังได้

เสวยความทุกข์เห็นปานนี้ร่วมกับพระราชมารดา. ก็ตั้งแต่เวลาที่ท่านได้บวช

แล้ว ปัจจัย ๔ ย่อมบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุสงฆ์ตามปรารถนา. เรื่องในอดีตต้น

ได้บังเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้.

ในกาลต่อมา พระศาสดาได้เสด็จไปยังพระนครสาวัตถี. พระเถระ

ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์จักทดลองกำลังบุญของข้าพระองค์ ขอพระองค์จงประทานภิกษุให้

๕๐๐ องค์เถิด. พระศาสดาตรัสว่าเธอจงพาไปเถิดสีวลี. พระสีวลีนั้นได้พา

ภิกษุ ๕๐๐ องค์ไปแล้ว มุ่งหน้าไปยังหิมวันตประเทศ ถึงหนทางปากดง.

เทวดาที่สิง อยู่ ณ ต้นนิโครธอันพระเถระนั้นเห็นแล้วเป็นครั้งแรก ได้ถวาย

ทานแล้วตลอด ๗ วัน. เพราะเหตุนั้น พระเถระนั้นจึงกล่าวว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

ท่านจงดูต้นนิโครธเป็นครั้งที่ ๑ ภูเขา

บัณฑวะเป็นครั้งที่ ๒ แม่น้ำอจิรวดีเป็นครั้งที่ ๓

แม่น้ำสาครอันประเสริฐ เป็นครั้งที่ ๔ ภูเขาหิม-

วันต์เป็นครั้งที่ ๕ ท่านเข้าถึงสระฉัททันต์ เป็น

ครั้งที่ ๖ ภูเขาคันธมาทน์เป็นครั้งที่ ๗ และที่อยู่

ของพระเรวตะ เป็นครั้งที่ ๘

ประชาชนทั้งหลาย ได้ถวายทานในที่ทุกแห่งตลอด ๗ วัน เท่านั้น.

ก็ในบรรดา ๗ วัน นาคทัตตเทวราช ที่ภูเขาคันธมาทน์ ได้ถวายบิณฑบาต

ชนิดน้ำนมวันหนึ่ง ได้ถวายบิณฑบาตชนิดเนยใสวันหนึ่ง ลำดับนั้นภิกษุสงฆ์

จึงกล่าวกะท่านว่า ผู้มีอายุ แม่โคนมที่เขารีดนมถวายแด่เทวราชนี้ มิได้ปรากฏ

การบีบน้ำนมส้ม ก็มิได้ปรากฏ แน่ะเทวราช ผลนี้เกิดขึ้นแก่ท่านแต่กาลไร.

เทวราชา ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผลนี้ เป็นผลแห่งการถวายสลากภัตรน้ำนม

ในกาลแห่งพระกัสสปทศพล.

ในกาลต่อมา พระศาสดา ได้ทรงกระทำการต้อนรับพระขทิรวนิย-

เรวตเถระ. อย่างไร คือ ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร กราบทูลพระศาสดา

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นัยว่า พระเรวตะผู้เป็นน้องชายของข้าพระองค์

บวชแล้ว เธอจะพึงยินดียิ่ง (ในพระศาสนา) หรือไม่พึงยินดี ข้าพระองค์

จักไปเยี่ยมเธอ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่าพระเรวตะเริ่มทำความเพียร

เจริญวิปัสสนา จึงทรงห้าม (พระสารีบุตร) ถึง ๒ ครั้ง ในครั้งที่ ๓ เมื่อ

พระสารีบุตรทูลอ้อนวอนอีก ทรงทราบว่า พระเรวตะบรรลุพระอรหัตแล้ว

จึงตรัสว่า สารีบุตร แม้เราเองก็จักไป เธอจงบอกให้พวกภิกษุได้ทราบด้วย.

พระเถระสั่งให้ภิกษุทั้งหลายมาประชุมกันแล้ว แจ้งให้ภิกษุทั้งหมดได้

ทราบด้วยคำว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดา ทรงมีพระประสงค์จะเสด็จไป

สู่ที่จาริก พวกท่านผู้มีความประสงค์จะตามเสด็จด้วย ก็จงมาเถิด. ในกาลที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

พระทศพลจะเสด็จไปเพื่อสู่ที่จาริก ชื่อว่าพวกภิกษุผู้ที่มักชักช้าอยู่ มีจำนวน

น้อย โดยมากมีความประสงค์จะคามเสด็จมีจำนวนมากกว่า เพราะตั้งใจกันว่า

พวกเราจักได้เห็นพระสรีระอันมีวรรณะดุจทองคำของพระศาสดา หรือว่า

พวกเราจักได้ฟังพระธรรมกถาอันไพเราะ เพราะเหตุนั้น พระศาสดามีภิกษุ

สงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จออกไปด้วยพระประสงค์ว่า จักเยี่ยมพระเรวตะ.

ณ ที่ประเทศแห่งหนึ่ง พระอานนทเถระถึงหนทาง ๒ แพร่ง แล้ว

กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญตรงนี้มีหนทาง ๒

แพร่ง ภิกษุสงฆ์จะไปทางไหน พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสถามว่า อานนท์

หนทางไหน เป็นหนทางตรง. พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

หนทางตรงมีระยะประมาณ ๓๐๐ โยชน์ เป็นหนทางที่มีอมนุษย์ ส่วนหนที่

อ้อมมีระยะทาง ๖๐ โยชน์ เป็นหนทางสะดวกปลอดภัย มีภิกษาดีหาง่าย.

พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ สีวลีได้มาพร้อมกับพวกเรามิใช่หรือ. พระอานนท์

กราบทูลว่า ใช่ พระสีวลีมาแล้วพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น

พระสงฆ์จงไปตามเส้นทางตรงนั้นแหละ เราจักได้ทดลองบุญของพระสีวลี.

พระศาสดามีพระภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จขึ้นสู่เส้นทาง ๓๐ โยชน์ เพื่อจะ

ทรงทดลองบุญของพระสีวลีเถระ.

จำเดิมแต่ที่ได้เสด็จไปตามหนทาง หมู่เทวดาได้เนรมิตพระนคร

ในที่ทุก ๆ โยชน์ ช่วยกันจัดแจงพระวิหารเพื่อเป็นที่ประทับ และที่อยู่แด่

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. พวกเทวบุตรซึ่งเป็นดุจกรรมกรที่พระ-

ราชาทรงส่งไป ได้ถือเอาข้าวยาคูและของเคี้ยวเป็นต้นไป ถามอยู่ว่า พระ-

ผู้เป็นเจ้าสีวลีไปไหน ดังนี้แล้ว จึงไป. พระเถระให้ช่วยกันถือเอาสักการะ

และสัมมานะแล้วไปเฝ้าพระศาสดา. พระศาสดา ได้ทรงเสวยร่วมกับภิกษุสงฆ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

โดยทำนองนี้แหละ พระศาสดาเมื่อจะทรงเสวยสักการะ เสด็จไปวันละโยชน์

เป็นอย่างสูงจนล่วงพ้นหนทางกันดาร ๓๐ โยชน์เสด็จถึงที่อยู่ของพระทิรวนิย-

เรวตเถระแล้ว. พระเถระทรงว่าพระศาสดาเสด็จมา จึงเนรมิตวิหารจำนวน

เพียงพอแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขและเนรมิตพระคันธกุฏีที่ประทับ

กลางคืนและประทับกลางวันแด่พระทศพล ด้วยฤทธิ์ ณ ที่อยู่ของตนนั่นแหละ

แล้วออกไปทำการต้อนรับพระตถาคตเจ้า. พระศาสดาเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร

ตามหนทางที่ประดับตกแต่งแล้ว. ครั้นเมื่อพระตถาคต เสด็จเข้าไปยังพระ-

คันธกุฎีแล้ว พวกภิกษุจึงค่อยเข้าไปยังเสนาสนะที่ถึงแล้วตามลำดับพรรษา.

พวกเทวดาคิดว่า เวลานี้มิใช่เวลาอาหาร จึงได้นำเอาน้ำปานะ ๘ อย่างถวาย.

พระศาสดา ทรงดื่มน้ำปานะร่วมกับพระภิกษุสงฆ์. เมื่อพระตถาคต เสวย

สักการะและสัมมานะโดยทำนองนี้นั่นแหละ เวลาผ่านไปแล้วครึ่งเดือน

ลำดับนั้น ภิกษุผู้ไม่พอใจบางพวก นั่งแล้วในที่แห่งหนึ่งพากันยก

เรื่องขึ้นสนทนากันว่า พระทศพล ตรัสว่า พระน้องชายแห่งอัครสาวกของ

เราดังนี้ แล้วเสด็จมาเพื่อทอดพระเนตรภิกษุผู้เป็นช่างก่อสร้างเห็นปานนี้ พระ-

เชตวันมหาวิหาร หรือว่า พระวิหารเช่นเวฬุวันวิหารเป็นต้น จักทำอะไร

ในสำนักแห่งวิหารนี้ได้ ถึงภิกษุรูปนี้ ก็เป็นผู้ทำการก่อสร้างงานเห็นอย่างนี้

จักบำเพ็ญสมณธรรมอะไรได้. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงดำริว่า เมื่อเราอยู่

ในที่นี้นานไป สถานที่นี้จักกลายเป็นที่เกลื่อนกล่น ธรรมดาพวกภิกษุผู้อยู่ใน

ป่า ต้องการความสงบเงียบมีอยู่ การอยู่ด้วยความผาสุก จักไม่มีแก่พระ-

เรวตะแน่. แต่นั้นก็เสด็จไปสู่ที่พักกลางวันของพระเถระ. แม้พระเถระก็อยู่

เพียงผู้เดียวอาศัยแผ่นกระดานพาดยึดที่ท้ายจงกรม นั่งบนหลังแผ่นหินแล้ว

ได้มองเห็นพระศาสดา เสด็จมาแต่ไกลเทียว จึงลุกขึ้นต้อนรับแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเธอว่า เรวตะ สถานที่นี้มีเนื้อร้าย

เธอได้ฟังเสียงช้างม้าเป็นต้นที่ดุร้ายแล้ว จะทำอย่างไร ? พระเถระกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมดาว่าความยินดีในการอยู่ป่า บังเกิดขึ้นแล้วแก่

ข้าพระองค์ ก็เพราะได้ฟังเสียงของสัตว์เหล่านั้นแล. ณ สถานที่นั้นพระศาสดา

ได้ตรัสถึงชื่อว่า อานิสงส์ในการอยู่ป่า ด้วยพระคาถา ๕๐๐ พระคาถาแต่

พระเรวตเถระ วันรุ่งขึ้นเสด็จไปบิณฑบาตในสถานที่ไม่ไกล ตรัสเรียก

พระเรวตเถระมาแล้ว ได้ทรงกระทำพวกภิกษุผู้ที่กล่าวโทษพระเถระให้หลง

ลืมไม้เท้า รองเท้า ทะนานน้ำมันและร่มแล้ว. พวกภิกษุเหล่านั้น พากัน

กลับมาเพื่อนำบริขารของตนไป แม้จะย้อนไปตาเส้นทางที่มาแล้วก็ตาม แต่

เดินไปตามเส้นทางที่ประดับตกแต่งแล้ว แต่วันนั้น เดินไปตามทางขรุขระ

ในที่นั้นต้งอนั่งยอง ๆ ต้องเดินเข้า. ภิกษุเหล่านั้นพากันเดินเหยียบย่ำกอไม้

พุ่มไม้ และหนาม ไปถึงสถานที่ที่ตนเคยอยู่ จำได้ว่าร่มของตนคล้องไว้ที่

ตอตะเคียนตรงนั้น ตรงนั้น จำได้ว่ารองเท้าไม้เท้าและทะนานน้ำมันอยู่

ตรงนั้น. ในตอนนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงทราบว่า ภิกษุรูปนี้มีฤทธิ์ จึงถือเอา

บริขารของตน แล้วพากันพูดว่า สักการะเห็นปานนี้ ย่อมเป็นสักการะที่

พระเถระจัดแจงไว้เพื่อพระทศพล ดังนี้แล้ว จึงได้พากันไป.

ในเวลาที่พวกภิกษุพากันนั่งแล้วในเรือนของตน นางวิสาขาอุบาสิกา

จึงเรียนถามพวกภิกษุที่ล่วงหน้ามาก่อนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สถานที่อยู่ของ

พระเรวตะเป็นที่น่าจับใจไหมหนอ ? พวกภิกษุกล่าวว่า ดูก่อนอุบาสิกา น่า

จับใจ เสนาสนะนั้นมีส่วนเปรียบด้วยนันทวันและจิตตลดาวันแล. ต่อมานาง

วิสาขาก็ถามพวกภิกษุผู้พากันมาภายหลังกว่าภิกษุเหล่านั้นบ้างว่า พระคุณเจ้า

สถานที่อยู่ของพระเรวตะเป็นที่น่าพอใจไหม ? ภิกษุเหล่านั้น ตอบว่า อย่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

ถามเลย อุบาสิกา สถานที่นั้นเป็นที่ไม่สมควรจะกล่าว ภิกษุรูปนั้น ย่อมอยู่

ในสถานที่ซึ่งมีแต่ที่แห้งแล้ง ก้อนกรวด ก้อนหิน ขรุขระและตอไม้เท่านั้น

แล.

นางวิสาขา ได้ฟังถ้อยคำของพวกภิกษุผู้มาก่อนและมาหลังแล้ว คิด

ว่า ถ้อยคำของภิกษุพวกไหนหนอเป็นความจริง จึงถือเอาของหอมและ

ระเบียบดอกไม้ภายหลังภัตรไปสู่ที่บำรุงของพระทศพลเจ้า ถวายบังคมแล้ว

นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง กราบทูลถามพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ภิกษุบางพวกพากันนินทาที่อยู่ของพระเรวตเถระ สถานที่อยู่นั้นเป็นอย่างไร

พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนวิสาขา ที่อยู่จะเป็นสถานที่อยู่รื่นรมย์

หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่ว่า จิตของพระอริยะทั้งหลายย่อมยินดีในสถานที่ใด สถานที่

นั้นนั่นแหละชื่อว่าสถานที่รื่นรมย์ใจ ดังนี้แล้วจึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

พระอรหันต์อยู่ในที่ใด จะเป็นบ้านก็ตาม

ป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นย่อม

เป็นภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ใจ.

ในกาลต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่พระ-

อริยเจ้าแล้ว ทรงสถาปนาพระเถระนั้นไว้ในตำแหน่งอันเลิศว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พระสีวลีเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีลาภ.

ลำดับนั้น ท่านพระสีวลีเถระ ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับเอตทัคคะ

แล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตนแล้ว เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศ

ถึงเรื่องราวที่ตนได้เคยประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า

ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. ข้าพเจ้า จักกระทำการพรรณนาเนื้อความ

เฉพาะบทที่ยากเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

บทว่า สีล ตสฺส อสงฺเขยฺย ความว่า ศีลของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า ปทุมุตตระพระองค์นั้น กำหนดนับไม่ได้ สิกขาบททั้งหลายที่

ตรัสไว้แล้ว อย่างนี้ว่า:-

สังวรวินัยเหล่านี้คือ จำนวน ๙ พันโกฏิ,

๑๘๐ โกฏิ, ๕ ล้าน และอื่นอีก ๓๖ พระสัม-

พุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้ว คือ ทรงแสดงไว้แล้ว

โดยมุขเปยยาล ในสิกขาวินัยสังวรแล.

อธิบายว่า ก็ศีลของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันใคร ๆ ไม่อาจจะกำหนด

นับได้โดยสิ้นเชิง. บทว่า สมาธิวชิรูปโม ความว่า เพชรที่อยู่ ย่อมทำ

การตัดรัตนะเช่น แก้วอินทนิล แก้วไพฑูรย์ แก้วมณี แก้วผลึก และเพชรตาแมว

เป็นต้น ให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ ฉันใด สมาธิในโลกุตตรมรรคของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือย่อมแทง ย่อมทำลาย

ย่อมตัดได้เด็ดขาดซึ่งธรรมทั้งหลายอันเป็นฝ่ายตรงกันข้ามและเป็นข้าศึก.

บทว่า อสงฺเขยฺย าณวร ความว่า หมู่แห่งพระญาน เช่น พระสยัม-

ภูญาณและพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้นของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งสามารถ

เพื่อจะรู้และแทงตลอดอริยสัจ ๔ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ และสังขตธรรมและ

อสังขตธรรมทั้งหลายได้ อันบุคคลกำหนดนับไม่ได้ คือ ปราศจากการนับ

โดยประเภทเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันเป็นต้น. บทว่า วิมุตฺติ จ อโนปมา

ความว่าวิมุตฺติ ๔ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ไม่มีข้ออุปมา ปราศจากข้ออุปมา

เพราะพ้นจากสังกิเลสทั้งหลาย อันใคร ๆ ไม่สามารถเพื่อจะอุปมาว่า เป็น

เช่นกับสิ่งเหล่านี้. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสีวลิเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

วังคีสเถราปทานที่ ๔ (๕๔๔)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระวังคีสเถระ

[๑๓๔] ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระ-

พิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้มีจักษุในธรรม

ทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระ-

ศาสนาของพระองค์ วิจิตรไปด้วยพระอรหันต์

ทั้งหลายเหมือนคลื่นในสาคร และเหมือนดาวใน

ท้องฟ้า พระพิชิตมารผู้สูงสุด อันมนุษย์พร้อม

ทั้งทวยเทพ อสูรและนาคห้อมล้อม ในท่ามกลาง

หมู่ชนซึ่งเกลื่อนกล่นไปด้วยสมณะและพราหมณ์

พระพิชิตมารผู้ถึงที่สุดโลก ทรงทำโลก

ทั้งหลายให้ยินดีด้วยพระรัศมี พระองค์ยังดอก

ปทุม คือเวไนยสัตว์ให้ชื่นบานด้วยพระดำรัส ทรง

สมบูรณ์ด้วยเวสารัชชธรรม ๔ เป็นอุดมบุรุษ และ

ความกลัวแลความยินดีให้เด็ดขาด ทรงถึงธรรม

อันเกษม องอาจกล้าหาญ

พระผู้เลิศในโลกทรงปฏิภาณซึ่งฐานะของ

ผู้เป็นโจกอันประเสริฐและพุทธภูมิทั้งสิ้น ไม่มี

ใครจะทักท้วงได้ในฐานะไหน ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

เมื่อพระพุทธเจ้าผู้คงที่พระองค์นั้นบันลือ

สีหนาทอันน่าสะพรึงกลัว ย่อมไม่มีเทวดามนุษย์

หรือพรหมบันลือตอบได้

พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้าในบริษัท ทรง

แสดงธรรมอันประเสริฐ ช่วยมนุษย์พร้อมทั้ง

เทวดาให้ข้ามวัฏสงสาร ทรงประกาศธรรมจักร

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสรรเสริญคุณ

เป็นอันมากของพระสาวก ผู้ได้รับสมมติว่า เลิศ

กว่าภิกษุผู้ที่มีปฏิภาณทั้งหลาย แล้วทรงตั้งท่าน

ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

ครั้งนั้น เราเป็นพราหมณ์ชาวเมืองหังสวดี

เป็นผู้ได้รับสมมติว่าเป็นคนดี รู้แจ้งพระเวททุก

คัมภีร์ มีนามว่า วังคีสะ เป็นที่ไหลออกแห่งนัก

ปราชญ์

เราเข้าไปเฝ้าพระมหาวีรเจ้าพระองค์นั้น

สดับพระธรรมเทศนานั้นแล้วได้ปีติอันประเสริฐ

เป็นผู้ยินดีในคุณของพระสาวก จึงได้นิมนต์

พระสุคต ผู้ทำให้โลกให้เพลิดเพลิน พร้อมด้วย

พระสงฆ์ให้เสวยและฉัน ๗ วันแล้ว นิมนต์ให้

ครองผ้า.

ในครั้งนั้น เราได้หมอบลงแทบพระบาท

ทั้งสองด้วยเศียรเกล้า ได้โอกาสจึงยืนประนม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

อัญชลีอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เป็นผู้ร่าเริงกล่าว

สดุดีพระชินสีห์ผู้สูงสุดว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นที่ไหลออกแห่งนัก-

ปราชญ์ ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นฤาษีสูงสุด ข้าพระองค์ขอ

นอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เลิศกว่า

โลกทั้งปวง ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงทำความไม่มีภัย

ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์

ผู้ทรงย่ำยีมารข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงทำทิฏฐิให้ไหลออก ข้า-

พระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์

ผู้ทรงประทานสันติสุข ข้าพระองค์ขอนอบน้อม

แด่พระองค์.

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงทำให้เป็นที่นับถือ

ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ พระ-

องค์เป็นที่พึ่งของชนทั้งหลายผู้ไม่มีที่พึ่ง ทรง

ประทานความไม่มีภัยแก่คนทั้งหลายที่กลัว เป็น

ที่คุ้นเคยของคนทั้งหลาย ที่มีภูมิธรรมสงบระงับ

เป็นที่พึ่งที่ระลึกของคนทั้งหลายผู้แสวงหาที่พึ่ง ที่

ระลึก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

เราได้ชมเชยพระสัมพุทธเจ้าด้วยคำกล่าว

สดุดีมีอาทิอย่างนี้ แล้วได้กล่าวสรรเสริญพระคุณ

อันใหญ่ จึงได้บรรลุคติของภิกษุผู้กล้าว่านักพูด

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปฏิญาณ

ไม่มีที่สิ้นสุดได้ตรัสว่า ผู้ใดเป็นผู้เลื่อมใสนิมนต์

พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสาวก ให้ฉันสิ้น ๗ วัน

ด้วยมือทั้งสองของตน และได้กล่าวสดุดีคุณของ

เรา ปรารถนาตำแหน่งแห่งภิกษุผู้กล้ากว่านักพูด

ในอนาคตกาล ผู้นั้นจักได้ตำแหน่งนี้

สมดังมโนรถปรารถนา เขาจักได้เสวยทิพยสมบัติ

และมนุษย์สมบัติมีประมาณไม่น้อย

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดามี

พระนามว่าโคดมซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกาก-

ราช จักเสด็จอุบัติขึ้น พราหมณ์นี้จักได้เป็นธรรม

ทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรส

อันธรรมเนรมิต จักเป็นสาวกของพระศาสดามี

นามชื่อว่า วังคีสะ

เราได้สดับพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้วเป็น

ผู้มีความเบิกบาน มีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุง

พระพิชิตมารด้วยปัจจัยทั้งหลายในกาลครั้งนั้น จน

ตราบเท่าสิ้นชีวิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น และเพราะ

การตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้วได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ในภพสุดท้ายในบัดนี้ เราเกิดในสกุล

ปริพาชก เมื่อเราเกิดในครั้งหลัง มีอายุได้ ๗ ปี

แต่กำเนิด เราเป็นผู้รู้เวททุกคัมภีร์แกล้วกล้าใน

วาทศาสตร์มีเสียงไพเราะ มีถ้อยคำวิจิตร ย่ำยี

วาทะของผู้อื่น

เพราะเราเกิดที่วังคชนบท และเราเป็น

ใหญ่ในถ้อยคำ เราจึงชื่อว่า วังคีสะ เพราะ

ฉะนั้นถึงแม้ชื่อของเราจะเป็นเลิศ ก็เป็นชื่อสมมติ

ตามโลก

ในเวลาที่เรารู้เดียงสาตั้งอยู่ในปฐมวัย เรา

ได้พบท่านพระสารีบุตรเถระในพระนครราชคฤห์

อันรื่นรมย์

จบภาณวารที่ ๒๕

ท่านถือบาตร สำรวมดี ตาไม่ลอกแลก

พูดแต่พอประมาณ แลดูเพียงชั่วแอก เที่ยว

บิณฑบาตอยู่

ครั้นเราเห็นท่านแล้วก็เป็นผู้อัศจรรย์ใจ

ได้กล่าวบทคาถาอันวิจิตร เป็นหมวดหมู่เหมือน

ดอกกรรณิการ์ ที่ร้อยไว้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

ท่านบอกแก่เราว่าพระสัมพุทธเจ้าผู้นำ

โลก เป็นศาสดาของท่าน ครั้งนั้นท่านพระสารี-

บุตรเถระผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์นั้น ได้พูดแก่

เราเป็นอย่างดียิ่ง

เราอันพระเถระผู้คงที่ให้ยินดีด้วยปฏิภาณ

อันวิจิตร เพราะทำถ้อยคำที่ปฏิสังยุตด้วยวิราค-

ธรรมเห็นได้ยาก สูงสุด จึงซบศีรษะลงแทบเท้า

ของท่านแล้วก็กล่าวว่า ขอได้โปรดให้กระผม

บรรพชาเถิด ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรบุตรผู้มี

ปัญญามาก ได้นำเราไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประ-

เสริฐสุด

เราซบเศียรลงแทบพระบาทแล้ว นั่งลง

ในที่ใกล้พระศาสดา พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่า

นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้ตรัสถามเราว่า ดูก่อน

วังคีสะ ท่านรู้ศีรษะของคนที่ตายไปแล้วว่า จะ

ไปสู่สุคติหรือทุคติด้วยวิชาพิเศษของท่านจริง

หรือ

ถ้าท่านสามารถก็ขอให้ท่านบอกมาเถิด

เมื่อเรากราบทูลว่า เป็นศีรษะของคนที่เกิดใน

นรกและเทวดา

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นำของ

โลกได้แสดงศีรษะของพระขีณาสพ ลำดับนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

เราเหมดมานะ จึงได้ทูลอ้อนวอนขอบรรพชา

ครั้นบรรพชาแล้ว ได้กล่าวสดุดีพระสุคตเจ้าโดย

ไม่เลือกสถานที่ ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย

พากันโพนทนาว่า เราเป็นจิตตกวี

ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าผู้ชั้นวิเศษได้

ตรัสถามเราเพื่อทดลองว่า คาถาเหล่านี้ย่อมแจ่ม-

แจ้งโดยควรแก่คนทั้งหลายผู้ตรึกตรอง

แล้วมิใช่หรือ

เราทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร

ข้าพระองค์ไม่ใช่นักกาพย์กลอน แต่ว่าคาถาทั้ง

หลายแจ่มแจ้งโดยควรแก่เหตุแก่ข้าพระองค์

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนวังคีสะ

ถ้ากระนั้นท่านาจงกล่าวคาถาสดุดีพระธีรเจ้าผู้เป็น

พระฤาษีสูงสุดแล้ว พระพิชิตมารทรงพอพระทัย

ในคราวนั้น จึงทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

เราดูหมิ่นภิกษุอื่น ๆ ก็เพราะปฏิภาณอัน

วิจิตร เราเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก จึงเกิดความสลดใจ

เพราะเหตุนั้นได้บรรลุพระอรหัต

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ไม่มีใคร

อื่นที่จะเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ที่มีปฏิภาณเหมือน

ดัง วังคีสะภิกษุนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่าน

ทั้งหลายจงทรงจำไว้อย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

กรรมที่เราได้ทำไว้ในกัปที่แสน ได้

แสดงแก่ผลแก่เราแล้วในอัตภาพนี้ เราหลุดพ้น

จากกิเลส เหมือนลูกศรพ้นจากแล่งฉะนั้น กิเลส

ทั้งหลายเราเผาเสียแล้ว

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ทั้งหลายพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระวังคีสเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบวังคีสเถราปทาน

๕๔๔. อรรถกถาวังคีสเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระวังคีสเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม

ชิโน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระ-

องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ

นั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิด

ในตระกูลที่มีโภคะมากมาย ในหังสวดีนคร เจริญวัยแล้วได้ไปยังพระวิหาร

พร้อมกับชาวพระนคร ผู้กำลังเดินไปเพื่อฟังธรรม ขณะ กำลังฟังธรรม ได้

เห็นภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งพระศาสดาทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวก

ภิกษุผู้มีปฏิภาณแล้ว ได้บำเพ็ญกรรมที่ดียิ่งแด่พระศาสดาแล้ว ตั้งความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

ปรารถนาไว้ว่า ในอนาคตกาล แม้เราก็พึงเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุผู้มีปฏิภาณ

บ้าง ดังนี้ ได้รับการพยากรณ์จากพระศาสดาแล้ว ก็บำเพ็ญแต่กุศลกรรมจน

ตลอดชีวิต แล้ว ได้เสวยสมบัติทั้งสองในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุป-

บาทกาลนี้ เขาได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกรุงสาวัตถี เพราะมี

ปริพาชิกาเป็นมารดา ในกาลย่อมา จึงได้ปรากฏว่า ปริพพาชก และ

มีชื่อว่า วังคีสะ เล่าเรียนไตรเพทแล้ว เพราะไตรเพทนั้นจึงทำอาจารย์ให้

ยินดี ได้ศึกษามนต์ชนิดที่สามารถจะรู้ได้ด้วยหัวกระโหลก เอาเล็บดีดหัว

กระโหลกแล้ว ย่อมรู้ว่า สัตว์ผู้นี้ได้บังเกิดในกำเนิดโน้น.

พวกพราหมณ์ พากันคิดว่า อาชีพนี้ เป็นทางเครื่องเลี้ยงชีวิตของ

พวกเรา จึงพาวังคีสะนั้นท่องเที่ยวไปในหมู่บ้าน ตำบลและตัวเมือง. วังคีสะ

ประกาศให้ผู้คนนำเอาศีรษะ เฉพาะของพวกคนผู้ตายไปแล้ว ภายในขอบเขต

๓ ปีมาแล้ว เอาเล็บคิดแล้วกล่าวว่า สัตว์ผู้นี้ บังเกิดแล้วในกำเนิดโน้น

ดังนี้แล้ว ให้ชนเหล่านั้นนำเอามาเพื่อกำจัดตัดความสงสัยของมหาชนเสียแล้ว

ก็ให้หัวกระโหลกบอกถึงคติของตนของตน. ด้วยเหตุนั้น มหาชนจึงเลื่อมใส

อย่างยิ่งในตัวเขา. เขาอาศัยมนต์อันนั้น ย่อมได้เงิน ๑๐๐ กหาปณะบ้าง

๑,๐๐๐ กหาปณะบ้าง จากมือของมหาชน พวกพราหมณ์ อาศัยวังคีสะพา

กันเที่ยวไปแล้วตามความสบายใจ. วังคีสะได้สดับพระคุณทั้งหลายของพระ-

ศาสดาแล้ว ได้มีความประสงค์จะเข้าไปเฝ้าพระศาสดา. พวกพราหมณ์ พา

กันห้ามว่า พระสมณโคดมจักเอามายาเข้ากลับใจท่านเสีย.

วังคีสะ ไม่เชื่อคำของพราหมณ์เหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดา

กระทำการปฏิสันถารแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. พระศาสดาตรัสถามเขาว่า

วังคีสะ เธอรู้ศิลปะอะไรบ้าง. วังคีสะกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

ใช่แล้ว ข้าพระองค์ รู้มนต์อย่างอนึ่งชื่อว่า มนต์สำหรับดีดหัวกระโหลก โดย

การที่ข้าพระองค์ เอาเล็บดีดศีรษะแม้ของคนที่ตายแล้ว ภายในระยะเวลา ๓ ปี

ก็จะรู้ถึงที่ที่เขาไปบังเกิดแล้วได้. ลำดับนั้น พระศาสดารับสั่งให้ภิกษุนำเอา

ศีรษะของผู้ที่บังเกิดในนรก ๑ ศีรษะ ศีรษะของคนที่บังเกิดในหมู่มนุษย์

๑ ศีรษะ ศีรษะของผู้บังเกิดในหมู่เทวดา ๑ ศีรษะ ศีรษะของผู้ปรินิพพาน

แล้ว ๑ ศีรษะ ให้แสดงแก่วังคีสะนั้น. เขาดีดศีรษะที่ ๑ แล้วกราบทูลว่า

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สัตว์ผู้นี้ไปบังเกิดในนรก. พระศาสดาตรัสว่า ดีละ

วังคีสะ เธอเห็นแล้วด้วยดี แล้วตรัสถามอีกว่า สัตว์ผู้นี้ ไปบังเกิดทีไหน ?

วังคีสะ กราบทูลว่า ในมนุษยโลกพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามอีกว่า

สัตว์ผู้นี้ ไปบังเกิดที่ไหน วังคีสะกราบทูลว่า ในเทวโลกพระเจ้าข้า. วังคีสะ

ได้กราบทูลที่บังเกิดของสัตว์ทั้ง ๓ ได้อย่างถูกต้อง. แต่เมื่อเอาเล็บดีดศีรษะ

ของผู้ปรินิพพานแล้ว ก็ไม่เห็นเบื้องต้นและเบื้องปลาย. ลำดับนั้น พระศาสดา

จึงตรัสถามเขาว่า วังคีสะไม่สามารถหรือ วังคีสะกราบทูลว่า ข้าแต่พระ-

โคดมผู้เจริญ พระองค์คอยดูนะ ขอให้ข้าพระองค์พิจารณาดูก่อน ดังนี้แล้ว

แม้จะพยายามร่ายมนต์กับไปกลับมา ก็ไม่สามารถจะรู้ศีรษะของพระขีณาสพ

ด้วยมนต์ภายนอก. ลำดับนั้น เหงื่อได้ไหลออกจากศีรษะของเขาแล้ว. เขา

ละอายใจได้แต่นิ่งเงียบไป. ลำดับนั้น พระศาสดา จึงได้ตรัสกะเขาว่า ลำบาก

ใจนักหรือ วังคีสะ. วังคีสะ กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ใช่แล้ว

ข้าพระองค์ไม่สามารถที่จะรู้ถึงที่บังเกิดของศีรษะนี้ได้ ถ้าพระองค์ทรงทราบ

ขอจงตรัสบอก. พระศาสดาตรัสว่า วังคีสะ เรารู้ถึงศีรษะนี้ได้อย่างดี เรารู้

ยิ่งกว่านี้ ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถานี้ว่า.

ผู้ใดรู้การจุติและการอุบัติของสัตว์ทั้งปวงสัตว์

ได้ทั้งหมด เรากล่าวผู้นั้น ซึ่งไม่ขัดข้อง ไปดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 362

แล้ว รู้แล้วว่า เป็นพราหมณ์. เทวดา คนธรรพ์

และหมู่มนุษย์ ไม่รู้ทางไปของผู้ใด เรากล่าว

ผู้นั้น ผู้สิ้นอาสวะ เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็น

พราหมณ์ ดังนี้.

วังคีสะนั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นขอพระ-

องค์ จงประทานวิชานั้นให้แก่ข้าพระองค์เถิด แล้ว แสดงความเคารพนั่งเฝ้า

พระศาสดาแล้ว. พระศาสดาตรัสว่า เราจะให้แก่คนที่มีเพศเสมอกับเรา.

วังคีสะคิดว่า เราควรทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเรียนมนต์นี้ให้ได้ จึง

เข้าไปหาพวกพราหมณ์พูดว่า เมื่อเราออกบวชพวกท่านก็อย่าคิดอะไรเลย

เราเรียนมนต์แล้ว จักได้เป็นผู้ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีปทั้งสิ้น แม้พวกท่านก็

จักมีชื่อเสียงไปกับเรานั้นด้วย. วังคีสะนั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว ทูลขอ

บวชเพื่อต้องการมนต์. ก็ในเวลานั้นพระนิโครธกัปปเถระ อยู่ในสำนักของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสั่งเธอว่า นิโครธกัปปะ

เธอจงบวชวังคีสะผู้นี้ด้วยเถิด ดังนี้แล้ว ทรงบอก (สมถะ) กัมมัฏฐานคือ

อาการ ๓๒ และวิปัสสนากัมมัฏฐานให้แล้ว. พระวังคีสะนั้น เมื่อกำลังสาธยาย

กัมมัฏฐานคืออาการ ๓๒ อยู่ ก็เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว. พวก

พราหมณ์เข้าไปหาวังคีสะนั้นแล้ว ถามว่า วังคีสะผู้เจริญ ท่านเล่าเรียนศิลปะ

ในสำนักของพระสมณโคดมจบแล้วหรือ. พระวังคีสะตอบว่า ใช่ เราเล่า

เรียนจบแล้ว. พวกพราหมณ์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงมา พวกเราจักไป

กัน ประโยชน์อะไรด้วยการศึกษาศิลปะ. พระวังคีสะ ตอบว่า พวกท่านจง

ไปกันเถิด เราไม่มีกิจที่จะพึงทำร่วมกับพวกท่าน. พวกพราหมณ์ กล่าวว่า

บัดนี้ ท่านตกอยู่ภายใต้อำนาจของพระสมณโคดม พระสมณโคดมใช้มายา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 363

กลับใจท่านเสียแล้ว พวกเราจักทำอะไรในสำนักของท่านได้ ดังนี้แล้ว จึง

หลีกไปตามหนทางที่มาแล้วนั่นเอง. พระวังคีสะเจริญวิปัสสนาแล้วกระทำให้

แจ้งพระอรหัต.

พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้วอย่างนั้น ก็ระลึกถึงบุรพกรรมของตน

เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วใน

กาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. ข้าพเจ้าจัก

พรรณาเฉพาะบทที่มีเนื้อความยากเท่านั้น. บทว่า ปภาหิ อนุรญฺชนฺโต

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระพระองค์นั้น ทรงเปล่งปลั่ง

รุ่งเรือง สวยงาม โชติช่วงด้วยพระรัศมี มีแสงสว่างด้วยฉัพพรรณรังสี มี

สีเขียวและสีเหลืองเป็นต้น. บทว่า เวเนยฺยปทุมานิ โส ความว่า พระอาทิตย์

คือพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ. ทรงยังดอกปทุมคือเวไนยชนให้ตื่น ให้

เบิกบานโดยพิเศษ ด้วยรัศมีแห่งพระอาทิตย์ กล่าวคือพระดำรัสของพระองค์

ได้แก่ ทรงกระทำให้ผลิผลได้ ด้วยการบรรลุอรหัตมรรคแล. บทว่า

เวสารชฺเชหิ สมฺปนฺโน ความว่า สมบูรณ์ พรั่งพร้อมคือประกอบพร้อมแล้ว

ด้วยจตุเวสารัชชญาณ สมตามที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า:-

พระพุทธเจ้า ทรงแกล้วกล้าเป็นอย่างดี

ในฐาน ๔ เหล่านี้คือ ในเมื่อมีอันตราย ในธรรม

เครื่องนำออกจาวัฏฏะ ในความเป็นพระพุทธเจ้า

และในการทำอาสวะให้สิ้นไปห ดังนี้.

บทว่า วาคีโส วาทิสูทโน ความว่า เป็นใหญ่คือเป็นประธานของพวก

นักปราชญ์ คือ พวกบัณฑิต. พึงทราบว่า ควรจะกล่าวว่า วาทีโส แต่กล่าวไว้

อย่างนั้น เพราะทำ ท อักษรให้เป็น ค อักษร. ชื่อว่า วาทิสูทนะ เพราะทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 364

อรรถะของตนให้เป็นอรรถะอื่น คือ ให้ไหลออก ได้แก่ ทำให้ชัดเจน

บทว่า มารมสนา มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า มารมสนะ เพราะถูกต้อง ลูบคลำ

ทำลายมาร ๕ มีขันธมารเป็นต้นได้. บทว่า ทิฏฺสูทนา มีวิเคราะห์ว่า

ชื่อว่า ทิฏฐิสูทนะ เพราะความเห็นตามทิฏฐิคือจริงตามที่โลกกล่าว ย่อม

หลั่งไหลออก คือแสดงถึงความไหลออก. บทว่า วิสฺสามภูมิ สนฺตาน

ความว่า ภูมิเป็นที่พัก ที่เป็นที่หยุดอยู่ ได้แก่เป็นที่เข้าไปสงบของสัตว์ผู้

ต้องสืบต่อ ผู้ลำบากอยู่ในสงสารสาครทั้งสิ้น ด้วยการบรรลุมรรคมีโสดาปัตติ-

มรรคเป็นต้น. บทว่า ตโตห วิหตารมฺโก ความว่า เพราะได้เห็นพระสรีระ

ของพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์นั้น เราฆ่าความหัวดื้อ ทำความแข่งดีให้

พินาศไป กำจัดมานะเสียไม่มัวเมาแล้ว จึงอ้อนวอนขอการบวชแล้ว. คำที่

เหลือมีเนื้อความพอจะรู้ได้โดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถาวังคีสเถราทาน

นันทกเถราปทานที่ ๕ (๕๔๕)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระนันทกเถระ

[๑๓๕] ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระ-

พิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้มีจักษุในธรรม

ทั้งปวง เป็นพระผู้นำ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระ-

องค์ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย เป็นบุรุษ

อาชาไนย ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล เพื่อประโยชน์

เพื่อสุขแก่สรรพสัตว์ ในโลกพร้อมด้วยเทวโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 365

ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศ มีสิริ มี

เกียรติคุณเป็นเครื่องอลังการ ทรงชำนะมาร ได้

รับการบูชาทั่วโลก ปรากฏทั่วไปทุกทิศ

พระองค์ทรงข้ามพ้นวิจิกิจฉา ล่วงพ้น

ความสงสัย มีความดำริชอบเต็มเปี่ยม ทรงบรรลุ

สัมโพธิญาณอันอุดม

ทรงยังหนทางที่ยังไม่เกิดให้เกิด เป็น

ผู้สูงสุดกว่านรชน ตรัสบอกสิ่งที่คนอื่นยังไม่ได้

บอก และทรงยังสิ่งที่ยังไม่เกิดให้เกิดมีพร้อม

ทรงรู้จักหนทาง ทรงเข้าใจหนทางแจ้ง

ชัด ตรัสบอกหนทางให้ ประเสริฐกว่านรชน

ทรงฉลาดในหนทาง เป็นครู เป็นพระผู้สูงสุดกว่า

นายสารถีทั้งหลาย

ครั้งนั้น พระโลกนายกผู้ประกอบด้วย

พระมหากรุณา ได้ตรัสพระธรรมเทศนา ทรงฉุด

ขึ้นซึ่งสัตว์ทั้งหลาย ผู้จมลงแล้วในหล่มคือโมหะ

พระมหามุนีทรงสรรเสริญพระสาวกผู้มี

สมมติว่าเลิศในการให้โอวาทแก่นางภิกษุณีทั้ง

หลาย ได้ทรงแต่งตั้งไว้ตำแหน่งเอตทัคคะ

เราได้ฟังพระพุทธดำรัสนั้นแล้ว ก็ชอบใจ

จึงนิมนต์พระตถาคตพร้อมด้วยพระสงฆ์ให้เสวย

และฉันภัตตาหาร แล้วปรารถนาฐานันดรนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 366

ครั้งนั้น พระโลกนาถผู้แสวงหาคุณอัน

ยิ่งใหญ่ ทรงเบิกบานพระทัยได้ตรัสกะเราว่า

ท่านจงมีความสุข อายุยืนเถิด ท่านจักได้ฐานัน-

ดรนี้ สมมโนรถปรารถนา

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระ-

นามว่าโคดม ผู้ทรงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอก-

กากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ท่านจักเป็น

ธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็น

โอรสอันธรรมเนรมิต จักได้เป็นสาวกของพระ

ศาสดา มีนามว่านันทกะ

เพราะกรรมที่ได้ทำไว้ดีนั้น และเพราะ

การตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ก็ในภพสุดท้ายในบัดนี้ เราเกิดในสกุล

เศรษฐี อันมั่งคั่งสมบูรณ์ มีทรัพย์มากมาย ใน

พระนครสาวัตถี

เราได้พบพระสุคตเจ้า ในวันที่พระองค์

เสด็จเข้าพระนคร เป็นผู้มีใจอัศจรรย์ได้ออกบวช

เป็นบรรพชิต ในวันที่พระพุทธองค์ทรงรับพระ-

เชตวนาราม.

ได้บรรลุอรหัตผลโดยกาลไม่นานเลย

ครั้งนั้นเราอันพระศาสดาผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวง

ทรงพร่ำสอน จึงข้ามพ้นสังสารวัฏไปได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

เราสอนธรรมแก่พระภิกษุทั้งหลาย

พระภิกษุณีที่เราสอนนั้นรวม ๕๐๐ รูปด้วยกัน

ล้วนเป็นผู้ไม่มีอาสวะ

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีประโยชน์

เกื้อกูลใหญ่ ทรงพอพระทัย จึงทรงตั้งเราไว้ใน

ตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายให้

โอวาทพระภิกษุณี

กรรมที่เราทำไว้ในกัปที่แสน แสดงผล

แก่เราในอัตภาพนี้แล้ว เราเป็นผู้พ้นจากกิเลส

ด้วยดี เหมือนลูกศรที่พ้นไปจากแล่ง ฉะนั้น เรา

เผากิเลสเสียแลแล้ว

เราเผากิเลสทั้งหลาย. . .คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระนันทกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบนันทกเถราปทาน

๕๔๕. อรรถกถานันทกเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระนันทกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม

ชิโน ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 368

คำตั้งแต่เริ่มต้นเรื่องว่า แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมา

แล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ดังนี้ทั้งหมดมีเนื้อความพอจะรู้ได้โดยง่าย

ตามแนวพระบาลีนั้นนั่นแล.

จบอรรถกถานันทกเถราปทาน

กาฬุทายีเถราปทานที่ ๖ (๕๔๖)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระกาฬุทายีเถระ

[๑๓๖] ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ไป

พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้มีจักษุใน

ธรรมทั้งปวง เป็นผู้นำ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

พระองค์เป็นครูผู้ประเสริฐกว่าพวกผู้นำ เป็น

พระพิชิตมารผู้เข้าใจสิ่งดีและสิ่งที่ชั่วแจ้งชัด และ

เป็นคนกตัญญูกตเวทีย่อมประกอบสัตว์ทั้งหลาย

เข้าในอุบาย อันเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน

พระองค์ทรงรู้ธรรมทั้งปวง เป็นที่อาศัย

อยู่แห่งความเอ็นดู เป็นที่สั่งสมแห่งอนันตคุณ

ทรงพิจารณาด้วยพระญาณนั้นแล้ว ทรงแสดง

ธรรมอันประเสริฐ

พระองค์เป็นผู้มีความเพียรใหญ่ ผู้มีพระ

ปัญญาไม่มีที่สุด บางครั้ง ทรงแสดงธรรมไพเราะ

ปฏิสังยุตด้วยสัจจะ ๔ แก่หมู่ชนไม่มีที่สุด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 369

สัตว์จำนวนแสนได้บรรลุธรรม เพราะ

ได้ฟังธรรมอันประเสริฐ อันงามในเบื้องต้น งาม

ในท่ามกลางและงามในที่สุดนั้น

ครั้งนั้น แผ่นดินสั่นสะเทือน เมฆ

กระหึ่ม ทวยเทพ พรหม มนุษย์และอสูร ต่างก็

แซ่ซ้องสาธุการว่า

โอ พระศาสดา ประกอบด้วยพระกรุณา

โอ พระสัทธรรมเทศนา โอ พระพิชิตมารทรง

ฉุดหมู่สัตว์ที่จมลงในสมุทรคือภพขึ้นมาแล้ว

เมื่อสัตว์พร้อมทั้งมนุษย์ เทวดาและ

พรหม เกิดความสังเวชเช่นนี้แล้ว พระพิชิตมาร

ได้ทรงสรรเสริญสาวก ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย

ฝ่ายทำสกุลให้เลื่อมใส

ครั้งนั้น เราเกิดในสกุลอำมาตย์ในพระ-

นครหังสวดี เป็นผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใส น่าดู

มีทรัพย์และธัญญาหารเหลือล้น

เราเข้าไปยังพระวิหารหังสาราม ถวาย

บังคมพระตถาคตพระองค์นั้น ได้สดับธรรมอัน

ไพเราะ และทำสักการะแด่พระผู้คงที่ หมอบลง

แทบบาทมูลแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมุนี

ผู้มีความเพียรใหญ่ ภิกษุใดในศาสนาของพระ-

องค์ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายผู้ทำสกุลให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 370

เลื่อมใส ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นเหมือนภิกษุนั้น

ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดเถิด

ครั้งนั้น พระศาสดาผู้ประกอบด้วยพระ-

มหากรุณา เมื่อจะเอาน้ำอมฤตรดเรา ได้ตรัสกะ

เราว่า ลุกขึ้นเถิดลูก ท่านจะได้ฐานันดรนี้

สมมโนรถปรารถนา บุคคลทำสักการะในพระ-

พิชิตมารแล้ว จะพึงเป็นผู้ปราศจากผล อย่างไร

ได้เล่า

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดามี

พระนามว่าโคดม ผู้สมภพในวงศ์พระเจ้า-

โอกกากราช เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ท่านจัก

ได้ธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น

เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต จักเป็นสาวกของพระ-

ศาสดา มีนามว่ากาฬุทายี

ครั้งนั้น เราได้สดับพระพุทธพยากรณ์

แล้ว เป็นผู้เบิกบาน มีจิตประกอบด้วยเมตตา

บำรุงพระพิชิตมารซึ่งเป็นผู้นำชั้นพิเศษด้วยปัจจัย

ทั้งหลาย ตราบเท่าสิ้นชีวิต

เพราะวิบากของกรรมนั้น และเพราะ

ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 371

ก็ในภพสุดท้ายในบัดนี้ เราเกิดในสกุล

มหาอำมาตย์ ของพระเจ้าแผ่นดิน พระนามว่า

สุทโธทนะ ในพระนครกบิลพัสดุ์อันรื่นรมย์

ครั้งนั้น พระสิทธัตถราชกุมาร ผู้ประ-

เสริฐกว่านรชน ได้ประสูติแล้วที่สวนลุมพินีอัน

รื่นรมย์ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่โลกทั้ง

มวล เราก็เกิดในวันเดียวกัน เติบโตมาพร้อม

กันกับพระสิทธัตถราชกุมารนั้นแหละ เป็นสหาย

รักใคร่ชอบใจของกัน คุ้นเคยกัน ฉลาดในทาง

นิติบัญญัติ

พระสิทธัตถราชกุมารนั้น มีพระชนมายุ

๒๙ พรรษา ได้เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ยับยั้ง

อยู่ ๖ พรรษา ก็ได้เป็นพระพุทธเจ้าผู้นำชั้นเลิศ

พระพุทธองค์ทรงชำนะมารพร้อมทั้งเสนามาร ยัง

อาสวะให้สิ้นไป ข้ามห้วงอรรณพคือภพแล้ว

เป็นพระพุทธเจ้าในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก

เสด็จไปยังป่าอิสิปตนะ ทรงแนะนำภิกษุ

ปัญจวัคคีย์ ต่อจากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จ

ไป ในที่นั้น ๆ แล้วทรงแนะนำเวไนยสัตว์

พระพิชิตมารพระองค์นั้น ทรงแนะนำเวไนยสัตว์

ทรงสงเคราะห์มนุษย์พร้อมทั้งทวยเทพ ได้เสด็จ

ไปถึงภูเขาในแคว้นมคธ แล้วประทับอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

ในคราวครั้งนั้น เราอันพระเจ้าแผ่นดิน

พระนามว่า สุทโธทนะ ทรงส่งไป ได้ไปเฝ้าพระ-

ทศพล บวชแล้ว ได้เป็นพระอรหันต์

ครั้งนั้น เราทูลอ้อนวอนพระศาสดา

ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ให้เสด็จไปนคร

กบิลพัสดุ์ ต่อจากนั้น เราได้ล่วงหน้าไปก่อน

กุลใหญ่ ๆ ให้เลื่อมใส

พิชิตมารผู้ประเสริฐกว่าบุรุษ ทรง

พอพระทัยในคุณข้อนั้นของเรา จึงได้ทรงแต่งตั้ง

เราไว้ว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายที่ทำสกุล

ให้เลื่อมใส

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอนของ

พระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระกาฬุทายีเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบกาฬุทายีเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

๕๔๖. อรรถกถากาฬุทายีเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระกาฬุทายีเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม

ชิโน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-

องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ

นั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิด

ในเรือนอันมีสกุลในหังสวดีนคร ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว ขณะฟังพระธรรม

เทศนาของพระศาสดา มองเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งพระศาสดาทรงสถาปนาเธอ

ไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้ทำสกุลให้เลื่อมใสแล้ว เร่งกระทำบุญกรรม

สู่สมไว้เพื่อได้ตำแหน่งนั้น ได้ปรารถนาตำแหน่งนั้นแล้ว. ถึงแม้พระศาสดา

ก็ได้ทรงพยากรณ์แล้ว. เขาได้บำเพ็ญกุศลกรรมไว้จนตลอดชีวิตแล้ว ท่อง

เที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในวันที่พระโพธิสัตว์ของพวกเราถือปฏิสนธิ

ในพระครรภ์มารดา (เขาก็) จุติจากเทวโลกแล้ว ได้ถือปฏิสนธิในตระกูลอำมาตย์

ในกรุงกบิลพัสดุ์นั่นเอง. เขาได้เกิดในวันเดียวกันกับพระโพธิสัตว์ทีเดียว ใน

วันนั้นนั่นเอง มารดาบิดาให้เขานอนบนที่นอนที่ทำด้วยผ้าเนื้อดีชนิดหนึ่งแล้ว

พาไปสู่ที่บำรุงของพระโพธิสัตว์ จริงอยู่ ต้นโพธิ์พฤกษ์ มารดาของพระ-

ราหุล ขุมทรัพย์ ๔ แห่ง ช้างทรง ม้ากัณฐกะ นายฉันนะ และกาฬุทายี

อำมาตย์ รวม ๗ อย่างเหล่านี้ ได้เป็นสหชาติกับพระโพธิสัตว์ เพราะเกิด

ในวันเดียวกัน. ครั้นถึงวันตั้งชื่อ มารดาบิดาได้ตั้งชื่อเขาว่า อุทายี เพราะ

เหตุที่เขาเกิดในวันที่ชาวพระนครทั้งสิ้นมีจิตเบิกบาน. แต่กลับปรากฏชื่อว่า

กาฬุทายี เพราะเขามีธาตุดำไปหน่อย. เขาเมื่อจะเล่นตามประสาเด็ก ๆ

ก็เล่นกับพระโพธิสัตว์ได้ถึงความเจริญวัยแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 374

ในกาลต่อมา เมื่อพระโลกนาถเจ้า เสด็จออกสู่พระมหาภิเนษกรมณ์

ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณตามลำดับแล้ว ทรงอาศัยพระนครราชคฤห์

ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐให้เป็นไปแล้ว ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน

วิหาร พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ได้ทรงทราบความเป็นไปนั้นแล้ว ทรง

ส่งอำมาตย์คนหนึ่งซึ่งมีบริวาร ๑,๐๐๐ คนไปด้วยพระดำรัสว่า เธอจงไปนำลูก

ของเรามาในพระราชวังนี้เถิด. ในเวลาที่พระศาสดาทรงแสดงพระธรรม

เทศนา เขาก็ได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ยืนอยู่ที่ท้ายบริษัท ฟังพระธรรมเทศนา

แล้ว พร้อมด้วยบริวาร ก็ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว. ลำดับนั้นพระศาสดาทรง

เหยียดพระหัตถ์ตรัสกะคนเหล่านั้นว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด. ในบัดดล

นั้นเอง ชนทั้งหมดได้ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ ได้เป็นเช่นกับ

พระเถระมีพรรษาตั้ง ๖๐ พรรษา. ตั้งแต่ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ธรรมดาว่า

พระอริยะทั้งหลายย่อมเป็นผู้วางตนเป็นกลาง เพราะฉะนั้น ข่าวสารที่

พระราชาทรงส่งไปจึงมิได้กราบทูลให้พระทศพลได้ทรงทราบ. พระราชาตรัส

ว่า เขาไปแล้ว ไม่ยอมกลับมา ไม่ได้รับข่าวสารกันเลย จึงทรงส่งอำมาตย์

อีกคนหนึ่งพร้อมด้วยบริวาร ๑,๐๐๐ คนไปอีก. ถึงจะทรงส่งไปอีกคนหนึ่ง

ก็คงปฏิบัติดำเนินตามอำมาตย์นั้นดังนั้น ทรงส่งไปโดยนัยนี้ จึงรวมอำมาตย์ได้

ถึง ๙ คน บริวารของอำมาตย์รวมได้ ๙,๐๐๐ คน. ชนทั้งหมดไปแล้วพอบรรลุ

พระอรหัตแล้ว ก็ได้เป็นผู้นิ่งเฉยเสีย.

ลำดับนั้น พระราชาทรงพระดำริว่า ชนทั้งหลายมีประมาณเท่านี้

มิได้กราบทูลคำอะไร ๆ เพื่อการเสด็จมาในพระราชวังนี้แด่พระทศพล เพราะ

ไม่ได้มีความเยื่อใยในเราเลย แต่อุทายีคนนี้แล มีวัยเสมอกันกับพระทศพล

เคยเล่นฝุ่นด้วยกัน และมีความเยื่อใยในเราแท้ เราจักส่งอุทายีนี้ไป. ลำดับ

นั้น พระราชาทรงมีรับสั่งให้เรียกอุทายีนั้นมาแล้ว ตรัสว่า พ่อคุณเอ๋ย พ่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

จงพาบริวาร ๑,๐๐๐ คนไป นิมนต์พระทศพลมาในพระราชวังนี้เถิด ดังนี้

แล้ว จึงทรงส่งไปแล้ว. ก็อุทายีนั้น เมื่อจะไปจึงกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่

สมมุติเทพ ถ้าหากว่าข้าพระองค์จักได้บวชไซร้ ข้าพระองค์ก็จักนิมนต์

พระผู้มีพระภาคเจ้ามาในพระราชวังนี้ให้จงได้ ดังนี้แล้ว พระราชาตรัสว่า

แม้เจ้าบวชแล้ว จงชี้แจงกะบุตรของเราด้วย ดังนี้แล้ว เขาจึงไปยังพระนคร

ราชคฤห์ ในเวลาที่พระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา จึงยืนอยู่ที่ท้ายบริษัท

ฟังธรรมแล้ว พร้อมกับบริวารได้บรรลุพระอรหัต ดำรงอยู่ในความเป็น

เอหิภิกษุแล้ว. ท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว คิดว่า รอก่อน เวลานี้ยังมิใช่เวลาที่

พระทศพลจะเสด็จไปยังพระนครตระกูลเดิม แต่เมื่อใกล้จะเข้าพรรษาจักเป็น

กาลที่ควรเสด็จไปได้ ตามภูมิภาคที่ดารดาษไปด้วยติณชาติอันเขียวชอุ่มตามที่

ภูเขาลำเนาไพร ดังนี้ เมื่อรอกาลเวลาอันควรเสด็จไป ถึงใกล้เข้าพรรษา

เข้ามา จึงพรรณนาถึงหนทางที่พระศาสดาจะเสด็จไปยังพระนครแห่งราชตระ-

กูล. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในเถรคาถาว่า.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ หมู่ไม้

ทั้งหลายมีดอกและใบมีสีแดงดังถ่านเพลิง ผลิต

ผลผลัดใบเก่าร่วงหล่นไป หมู่ไม้เหล่านั้น งดงาม

รุ่งเรืองดั่งเปลวเพลิง ข้าแต่พระองค์ผู้มีความ

เพียรใหญ่ กาลนี้เป็นเวลาสมควรอนุเคราะห์หมู่

พระญาติ

ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า หมู่ไม้ทั้งหลาย

มีดอกบานงามดี น่ารื่นรมย์ใจ ส่งกลิ่นหอม

ฟุ้งตระหลบไปทั่วทิศโดยรอบด้าน ผลัดใบเก่า

ผลดอกออกผล เวลานี้เป็นเวลาสมควรจะหลีก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

ออกไปจากที่นี้ ขอเชิญพระพิชิตมารเสด็จไปสู่

กรุงกบิลพัสดุ์เถิด

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฤดูนี้ก็เป็นฤดูที่

ไม่หนาวนัก ไม่ร้อนนัก เป็นฤดูพอสบาย ทั้ง

มรรคาก็สะดวก ขอพวกศากยะและโกลิยะ

ทั้งหลาย จงได้เข้าเฝ้าพระองค์ที่แม่น้ำโรหินี

อันมีหน้าในภายหลังเถิด

ชาวนาไถนาด้วยความหวังผล หว่านพืช

ด้วยความหวังผล พ่อค้าผู้เที่ยวไปหาทรัพย์ ย่อม

ไปสู่สมุทรด้วยความหวังทรัพย์ ข้าพระองค์อยู่ใน

ที่นี้ด้วยความหวังทรัพย์ ของความหวังผลอันนั้น

จงสำเร็จแก่ข้าพระองค์เถิด

ข้าแต่พระมหามุนี ภาคพื้นมีหญ้าสีเขียว

สด ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป ภิกษาหา

ได้ง่าย ไม่แร้นแค้น กาลนี้แลเป็นกาลสมควรจะ

เสด็จไปได้

ชาวนาหว่านพืชบ่อย ๆ ฝนตกบ่อย ๆ

ชาวนาไถนาบ่อย ๆ แว่นแคว้นสมบูรณ์ด้วยธัญญา-

หารบ่อย ๆ

พวกยาจกเที่ยวของทานบ่อย ๆ ผู้เป็น

ทานาธิบดี ก็ให้ทานบ่อย ๆ ครั้นให้ทานบ่อย ๆ

แล้ว ย่อมเข้าถึงสวรรค์บ่อย ๆ

บุรุษผู้มีความเพียร มีปัญญากว้างขวาง

เกิดในสกุลใด ย่อมยังสกุลนั้นให้บริสุทธิ์สะอาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 377

คน ข้าพระองค์ย่อมเข้าใจว่า พระองค์เป็นเทพเจ้า

ประเสริฐกว่าเทพเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงสามารถ

ทำให้สกุลบริสุทธิ์ เพราะพระองค์เกิดแล้วโดย

อริยชาติ ได้สัจนามว่าเป็นนักปราชญ์

สมเด็จพระบิดาของพระองค์ผู้แสวงหา

คุณอันยิ่งใหญ่ ทรงพระนามว่าสุทโธทนะ สมเด็จ

พระนางเจ้ามายาพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ

เป็นพระพุทธมารดา ทรงบริหารพระองค์ผู้เป็น

พระโพธิสัตว์มาด้วยพระครรภ์เสด็จสวรรคตไป

บันเทิงอยู่ในไตรทิพย์

สมเด็จพระนางเจ้ามายาเทวีนั้น ครั้น

สวรรคต จุติจากโลกนี้แล้ว ทรงพรั่งพร้อมด้วย

กามคุณอันเป็นทิพย์ มีหมู่นางฟ้าห้อมล้อม บันเทิง

อยู่ด้วยเบญจกามคุณ

อาตมภาพเป็นบุตรของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มี

สิ่งใดจะย่ำยีได้ มีพระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระ-

วรกาย ไม่มีผู้จะเปรียบปาน ผู้คงที่ ดูก่อน

มหาบพิตร พระองค์เป็นโยมบิดาขอโยมบิดา

แห่งอาตมภาพ ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เป็น

พระอัยกาของอาตมภาพโดยธรรม.

มะม่วง ขนุน และมะขวิด ถูกประดับ

ประดาไปด้วยดอกและใบ มีผลอยู่เนืองนิตย์ ยัง

มีผลเล็กรสอร่อย มีอยู่สองข้างทาง ข้าแต่พระ-

ผู้ทรงยศใหญ่ บัดนี้ เป็นเวลาสมควรจะเสด็จไปได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 378

ผลหว้ามีรสอร่อยหวานเย็น ผลไม้สวรรค์

คือรวงผึ้งเหล่านั้น รุ่งเรืองงามทั้งสองข้างทาง

ข้าแต่พระผู้ทรงยศใหญ่ บัดนี้เป็นเวลาสมควร

จะเสด็จไปได้.

หมู่ต้นหญ้า ไม้มะหาด มีสีดุจทองคำ

เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ ผลไม้อันประกอบด้วยน้ำก็มี

อยู่เป็นนิตย์ ข้าแต่พระผู้ทรงยศใหญ่ บัดนี้เป็น

เวลาสมควรจะเสด็จไปได้.

ต้นกล้วยและกล้วยเล็บมือนาง ต่างก็มี

ผลสุกงอมห้อยย้อยอยู่สองข้างทาง ข้าแต่พระผู้

ทรงยศใหญ่ บัดนี้เป็นเวลาสมควรจะเสด็จไปได้.

ต้นไม้มีผลหวานอร่อยเป็นนิตย์ ต้น

หางนกยูงดูเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ ต้นไม้ที่มีผลเล็ก

ก็มีอยู่เป็นนิตย์ ข้าแต่พระผู้ทรงยศใหญ่ บัดนี้

เป็นเวลาสมควรจะเสด็จไปได้.

ต้นเต่าร้างมีผลสุก มีลำต้นคล้ายสีเงิน

โชติช่วง ต้นไม้เล็กซึ่งดารดาษไปด้วยผลสุก มี

รสอร่อย จะได้เสวยผลไม้เหล่านั้น ข้าแต่พระผู้

ทรงยศใหญ่ บัดนี้เป็นเวลาสมควรจะเสด็จไปได้.

ต้นมะเดื่อมีสีคล้ายสีอรุณ มีผลอร่อยดี

ทุกเมื่อ มีผลห้อยย้อยอยู่สองข้างทาง ข้าแต่

พระทรงยศใหญ่ บัดนี้เป็นเวลาสมควรจะเสด็จ

ไปได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 379

ต้นไม้ที่มีผลนานาชนิดมากมายเหล่านั้น

เป็นเช่นนี้ ห้อยย้อยอยู่ในที่ทั้งสองข้างทาง

ข้าแต่พระผู้ทรงยศใหญ่ บัดนี้เป็นเวลาสมควรจะ

เสด็จไปได้.

ดอกจำปา ดอกช้างน้าว มีกลิ่นหอม

ยามเมื่อลมรำเพยพัด ที่ยอดที่ดอกสะพรั่ง งาม

รุ่งเรือง ได้บูชาแล้วด้วยกลิ่นอันหอมชื่น มีความ

เอื้อเฟื้อ นอบน้อมแล้ว ข้าแต่พระผู้ทรงยศใหญ่

บัดนี้เป็นเวลาสมควรจะเสด็จไปได้.

ดอกบุนนาค ดอกบุนนาคบนเขา ก็เบ่ง

บาน ลำต้นอันมั่นคง มีดอกงามสะพรั่งรุ่งเรือง

ได้บูชาแล้วด้วยกลิ่นอันหอมหวล เอื้อเฟื้อ มี

ปลายยอดน้อมลง ข้าแต่พระผู้ทรงยศใหญ่ บัดนี้

เป็นเวลาสมควรจะเสด็จไปได้.

ดอกอโศก และดอกปาริชาต อันประ-

เสริฐสร้างเสริมความโสมนัสใจ กรรณิการ์กิ่งก้าน

เกี่ยวพันมีดอกหอม ประดับพื้นที่ด้วยสีเงิน

เอื้อเฟื้อ มีปลายยอดน้อมลง ข้าแต่พระผู้ทรง

ยศใหญ่ บัดนี้ เป็นเวลาสมควรของพระองค์จะ

เสด็จไปได้.

ต้นกรรณิการ์ ผลิดอกบานเป็นนิตย์

รุ่งโรจน์ด้วยแสงทอง มีดอกหอมคล้ายดอกไม้

ทิพย์ฟุ้งขจรไป ดูงดงามไปทั่วทุกทิศ มีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 380

เอื้อเฟื้อ น้อมกิ่งลง ข้าแต่พระผู้ทรงยศใหญ่

บัดนี้เป็นเวลาสมควรของพระองค์จะเสด็จไปได้.

ดอกการะเกด ดอกลำเจียก มีใบงาม

สมบูรณ์ด้วยกลิ่น มีกลิ่นหอมฟุ้งขจรไป หอมไป

ทั่วทุกทิศ มีความเอื้อเฟื้อ น้อมกิ่งลงบูชา ข้าแต่

พระผู้ทรงยศใหญ่ บัดนี้เป็นเวลาสมควรของ

พระองค์จะเสด็จไปได้.

ดอกมัลลิกา ดอกมะลิวัลย์ มีกลิ่นหอม

มีดอกเล็ก ส่งกลิ่นหอมไปทั่วทุกทิศ งดงามใน

ระหว่างสองข้างทาง มีความเอื้อเฟื้อ น้อมกิ่งลง

เพื่อพระองค์ ข้าแต่พระผู้ทรงยศใหญ่ บัดนี้เป็น

เวลาสมควรของพระองค์จะเสด็จไปได้.

ดอกไม้ใกล้ฝั่งแม่น้ำสินธุ มีกลิ่นหอม

ฟุ้ง น้อมลงบูชาทั่วทุกทิศ งดงามในระหว่าง

สองฟากทาง มีความเอื้อเฟื้อน้อมกิ่งลง มีปลาย

อ่อนน้อมลง ข้าแต่พระผู้ทรงยศใหญ่ บัดนี้เป็น

เวลาสมควรของพระองค์จะเสด็จไปได้.

สิงห์และราชสีห์ สัตว์ ๔ เท้าอาศัยตั้งมั่น

มิคราชผู้ไม่สะดุ้งกลัวถึงความเป็นสัตว์แกล้วกล้า

ย่อมพากันบูชาด้วยการบันลือสีหนาท มีความ

เอื้อเฟื้อแด่พระองค์ ครอบงำหมู่เนื้อ ไล่ออก

ไปจากสองข้างทาง ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงยศใหญ่

บัดนี้เป็นเวลาสมควรของพระองค์จะเสด็จไปได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 381

เสือโคร่ง น่าสินธพ พังพอน ซึ่งมี

รูปร่างงดงามมีความสะดุ้งกลัว เหมือนโลดแล่น

ไปในอากาศ ไม่มีความกลัวอะไร ๆ ด้วยเหตุ

บางอย่าง สัตว์เหล่านั้นมีความเอื้อเฟื้ออ่อนน้อม

ต่อพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงยศใหญ่ ดังนี้

เป็นเวลาสมควรของพระองค์จะเสด็จไปได้.

ช้างตระกูลฉัททันต์ ตกมันแล้ว ๓ ครั้ง

มีรูปร่างดี มีเสียงไพเราะ งดงาม มีองค์อัน

ตั้งมั่นน้อมลงเพื่อพระองค์ ส่งเสียงร้องบันลือ

ในสองข้างทาง มีความเอื้อเฟื้อ ร่าเริงอยู่ ข้าแต่

พระองค์ผู้ทรงยศใหญ่ บัดนี้เป็นเวลาสมควรของ

พระองค์จะเสด็จได้.

มิคะ หมู อีเก้ง มีอวัยวะงดงาม งดงาม

ด้วยเส้นคาดเป็นทางลงมีรูปดีสำรวมตัว ขับกล่อม

ในระหว่างสองข้างทาง ข้าแต่พระองค์ผู้ทรง

ยศใหญ่ บัดนี้เป็นเวลาสมควรของพระองค์จะ

เสด็จไปได้.

กวางโคกัณณา กวางสรภาและกวางรุร

ซึ่งมีเขาตรงและโค้ง มีรูปดี มีร่างกายสมบูรณ์

ซึ่งกำลังพากันหยุดพักอยู่ในคราวนั้น ผู้ต้องการจะ

คบหากับพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงยศใหญ่

บัดนี้เป็นเวลาสมควรของพระองค์จะเสด็จไปได้.

เสือเหลือง หมี และเสือดาว ซึ่งตะปบ

กินสัตว์ทุกเมื่อ บัดนี้สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

ศึกษาดีแล้ว มีความมั่นคงต่อพระองค์ด้วยเมตตา

เป็นผู้ต้องการจะคบหาเฉพาะพระองค์มาเป็นเวลา

นาน ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงยศใหญ่ บัดนี้เป็นเวลา

สมควรของพระองค์จะเสด็จไปได้.

กระต่าย สุนัขจิ้งจอก พังพอน และ

กระรอก กระแตเป็นจำนวนมาก ไม่มีความสะดุ้ง

กล้าหาญ พากันขับร้องเพื่อพระองค์อย่างเดียว

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงยศใหญ่ บัดนี้เป็นเวลาสมควร

ของพระองค์จะเสด็จไปได้.

หมู่นกยูงเหล่านั้น มีคอสีเขียว มีหงอน

งาม มีปีกสวย มีกำหางงาม ร้องไพเราะ

งดงามคล้ายกับแก้วไพฑูรย์และแก้วมณี ย่อมพา

กันเปล่งเสียงร้องบูชาพระองค์อยู่ บัดนี้เป็นเวลา

ที่พระองค์จะได้เห็นชนกแล้ว.

หมู่หงส์ทองอันงดงาม เป็นหงส์ที่บินไว

ไปในอากาศ หงส์เหล่านั้นทั้งหมด ทั้งถิ่นแล้ว

อาศัยอยู่ พากันขวนขวายในการที่จะได้เห็นพระ-

ชินเจ้า ย่อมส่งเสียงร้องด้วยเสียงอันไพเราะ บัดนี้

เป็นเวลาที่พระองค์จะได้เห็นพระชนกแล้ว.

หมู่หงส์ หมู่นกกระเรียน พากันร้องเสียง

ไพเราะ หมู่นกจากพราก ก็เที่ยวไปในน้ำ หมู่

นกกระยาง หมู่นกตะกรุมอันงดงามน่าพอใจ หมู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

กาน้ำ หมู่ไก่ฟ้าเหล่นั้นพากันมีความเอื้อเฟื้อ

ร้องเสียงอันไพเราะ บัดนี้เป็นเวลาที่พระองค์จะ

ได้เห็นพระชนกแล้ว.

หมู่นกสาลิกา หมู่นกแก้ว มีรูปงามวิจิตร

มีเสียงไพเราะ พากันส่งเสียงร้องบนยอดไม้

ส่งเสียงร้องทั้งสองข้างทาง บัดนี้เป็นเวลาที่พระ-

องค์จะได้เห็นพระชนกแล้ว.

นกดุเหว่า ซึ่งล้วนแต่สวยวิจิตร มี

สำเนียงเสียงไพเราะ ประเสริฐ เป็นที่อัศจรรย์ใจ

แก่ปวงชน มีความกล้าหาญ ในการเป็นมิตร

ร่วมกันเป็นต้น กำลังพากันบูชาอยู่ด้วยเสียง บัดนี้

เป็นเวลาที่พระองค์จะได้เห็นพระชนกแล้ว.

พวกลูกช้าง นกเขา นกกระเด็น มีอยู่

บริบูรณ์ในป่าทุกเมื่อ พากันขับกล่อม มีความ

สามัคคีซึ่งกันและกัน ขับร้องด้วยเสียงอันไพเราะ

บัดนี้เป็นเวลาที่พระองค์จะได้เห็นพระชนกแล้ว.

หมู่นกกระทา นกกระเต็น มีเสียงอัน

ไพเราะ ไก่ป่าก็มีเสียงเพราะ น่ารื่นรมย์ใจ บัดนี้

เป็นเวลาที่พระองค์จะได้เห็นพระชนกแล้ว.

มีสถานที่อันมั่นคง งดงามน่ารื่นรมย์

ดารดาษไปด้วยทรายสีขาว มีสระน้ำอันบริบูรณ์

ด้วยน้ำสะอาด สวยงามทุกเมื่อ ทุกชีวิตพากัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 384

อาบและดื่มกินในสระน้ำนั้น บัดนี้เป็นเวลาที่

พระองค์จะได้เห็นหมู่พระญาติแล้ว.

จรเข้แหวกว่ายไปมาเกลื่อนกล่น ปลาสร้อย

ปลาเค้า ปลาตะเพียนแดง ปลา และเต่า แหวก-

ว่ายไปมาในสระที่มีน้ำเย็นสะอาด ซึ่งเป็นที่อาบ

และดื่มกินของทุกชีวิต บัดนี้เป็นเวลาที่พระองค์

จะได้เห็นพระญาติแล้ว.

มีสระน้ำงดงาม ดารดาษไปด้วยดอก

อุบลสีเขียว และดอกอุบลสีแดง ดารดาษไปด้วย

ดอกโกมุท มากมายหลายชนิดในสระน้ำนั้น มี

น้ำเย็นสะอาด บัดนี้เป็นเวลาที่พระองค์จะได้เห็น

พระญาติแล้ว.

สระน้ำนั้นดารดาษด้วยดอกบุณฑริก มาก

ด้วยดอกปทุม สวยงามทั้งสองข้างทาง ในที่

นั้น ๆ ได้มีสระโบกขรณีอื่น ๆ อีก ซึ่งเป็นที่ชน

ทั้งหลายสรงสนานในสระนั้น บัดนี้เป็นเวลาที่

พระองค์จะได้เห็นพระญาติแล้ว.

มีสถานที่อันตั้งมั่น น่ารื่นรมย์ใจ เกลื่อน

กล่นไปด้วยเม็ดทรายสีขาว มีแม่น้ำอันสวยงดงาม

สมบูรณ์เปี่ยมด้วยน้ำเย็นและมีห้วงน้ำกว้างใหญ่

มีน้ำไหลทั้งสองข้างทาง บัดนี้เป็นเวลาที่พระ-

องค์จะได้เห็นพระญาติแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 385

ในสองข้างทาง มีบ้านและนิคมตั้งเรียง

ราย ประชาชนทั้งหลายมีศรัทธาเลื่อมใส นับถือ

พระรัตนตรัย พวกเขามีความดำริอันเต็มเปี่ยม

บัดนี้เป็นเวลาที่พระองค์จะได้เห็นพระญาติแล้ว.

พวกเทวดาและพวกมนุษย์ทั้งสอง ในถิ่น

ที่นั้น ๆ ต่างก็พากันบูชาพระองค์ด้วยระเบียบของ

หอม บัดนี้เป็นเวลาที่พระองค์จะได้เห็นพระ-

ญาติแล้ว.

พระเถระได้พรรณนาถึงความงดงามแห่งหนทางเสด็จไปแด่พระศาสดา

ด้วยคาถาประมาน ๖๐ คาถาอย่างนี้แล้ว.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า กาฬุทายีปรารถนา

จะให้เราไป เราจักทำความดำริของเธอให้บริบูรณ์ ดังนี้แล้วทรงเห็นว่าใน

การไปในที่นั้น ประชาชนเป็นจำนวนมากจะได้บรรลุคุณวิเศษ ทรงมีพระ-

ขีณาสพ ๒ หมื่นในรูปแวดล้อม เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ ทรงเสวยผลาผลมี

ประการดังได้กล่าวแล้ว ด้วยอำนาจการเสด็จไปโดยไม่รีบด่วน หมู่แห่งสัตว์

๒ เท้าและ ๔ เท้าเป็นต้นพากันบูชาด้วยเครื่องบูชา ได้ทรงรับกลิ่นหอมแห่ง

ดอกไม้มีประการดังได้กล่าวแล้ว ทรงกระทำการสงเคราะห์แก่ชาวบ้านและ

ชาวนิคมเสด็จถึงหนทางไปกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว. พระเถระไปยังกรุงกบิลพัสดุ์

ด้วยฤทธิ์ยืนกลางอากาศข้างหน้าพระราชา พระราชาได้เห็นเพศที่ยังไม่เคยเห็น

จึงตรัสถามว่า ท่านเป็นใครกัน ? พระเถระเมื่อจะกล่าวว่า ถ้าพระองค์ไม่

ทรงรู้จักลูกอำมาตย์ ผู้ถูกพระองค์ส่งไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วไซร้ ก็จง

รู้จักอย่างนั้นเถิด ดังนี้จึงกล่าวคาถาว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 386

อาตมภาพเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่

มีสิ่งใดจะย่ำยีได้ มีพระรัศมีแผ่ซ่านออกจาก

พระวรกาย ไม่มีผู้ที่จะเปรียบปานได้ ผู้คงที่

ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เป็นพระบิดาของ

บิดาแห่งอาตมภาพ ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์

เป็นพระไอยกาของอาตมภาพโดยทางธรรม ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺสฺส ปุตฺโตมหิ ความว่า อาตมภาพ

เป็นพระโอรส เพราะเกิดจากความพยายามให้เกิดในพระอุระ และจาก

พระธรรมเทศนาของพระสัมพัญญูพุทธเจ้า. บทว่า อสยฺหสาหิโน ความว่า

ตั้งแต่ในกาลที่ได้บรรลุพระสัมโพธิญาณแล้วไป เป็นผู้ที่มีพระโพธิสมภาร

ทั้งสิ้น ใคร ๆ จะย่ำยีไม่ได้ เพราะคนเหล่าอื่นไม่สามารถจะข่มขี่พระมหา-

โพธิสัตว์ได้ และเป็นผู้มากไปด้วยพระมหากรุณา มีความอดทน เพราะคน

เหล่าอื่นแม้ที่อื่นยิ่งไปกว่านั้นก็ยังไม่สามารถเพื่อที่จะข่มขี่ครอบงำได้ ทรงข่มขี่

ครอบงำมารทั้ง ๕ ที่คนอื่นย่ำยีไม่ได้ ทรงอดทนต่อพุทธกิจที่คนพวกอื่น

จะอดทนย่ำยีไม่ได้ กล่าวคือทรงพร่ำสอนทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิ-

กัตถประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์ แก่ปวงเวไนยสัตว์ผู้สมควร ซึ่งมี

อาสัย อนุสัย จริต และอธิมุตติที่จะหยั่งรู้เบื้องต้นและคุณส่วนพิเศษได้หรือ

เป็นผู้ไมมีสิ่งใดจะย่ำยีได้ เพราะทรงมีปกติกระทำคุณงามความดีไว้ในที่นั้น ๆ.

บทว่า องฺคีรสสฺส ได้แก่ ผู้มีสมบัติเช่นศีลที่ทรงทำเป็นส่วน ๆ. อาจารย์พวก

อื่นกล่าวว่า พระองค์ผู้มีพระโอภาสแผ่ไปจากส่วนต่าง ๆ. ส่วนอาจารย์บาง

พวกกล่าวว่า พระนามทั้งสองเหล่านั้นคือ อังคีรส และสิทธัตถะ ที่พระบิดา

เท่านั้นทรงถือเอาแล้ว. บทว่า อปฺปฏิมสฺส ความว่า ไม่มีผู้จะเปรียบปานได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 387

เป็นผู้คงที่ เพราะสมบูรณ์ด้วยพระลักษณะแห่งความเป็นผู้คงที่ ในอารมณ์ที่

น่าปรารถนาเป็นต้น. บทว่า ปีตุปิตา มยฺห ตุวสิ ความว่า พระองค์เป็น

พระบิดาโดยโลกโวหารของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระบิดาของอาตมภาพ

โดยอริยชาติ. พระเถระเรียกพระราชาโดยพระวงศ์ว่าสักกะ. บทว่า ธมฺเมน

ได้แก่ สภาวสโมธานที่มีเองโดยทั้ง ๒ ชาติ คืออริยชาติและโลกิยชาติโดย

สภาพ. พระเถระเรียกพระราชาโดยพระโคตรว่า โคตมะ บทว่า อยฺยโกสิ

ได้แก่ ได้เป็นพระปิตามหะ (ปู่) และพระเถระเมื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า พุทฺธสฺส

ปุตฺโตมฺหิ ดังนี้ ในคาถานั้น ก็ได้พยากรณ์พระอรหัตผลไว้แล้ว.

ก็พระเถระได้ให้พระราชารู้จักคนอย่างนั้นแล้ว พระราชาทรงร่าเริง

ยินดี นิมนต์ให้นั่งบนบัลลังก์ที่สมควรแล้ว ทรงบรรจุบาตรให้เต็มด้วยโภชนะ

อันมีรสเลิศนานาชนิด ที่ราชบุรุษตระเตรียมไว้เพื่อพระองค์ เมื่อพระราชา

ทรงถวายบาตรแล้ว พระเถระก็แสดงอาการที่จะไป เมื่อพระราชาตรัสว่า

เพราะเหตุไรท่านจึงประสงค์จะไปเสียเล่า นิมนต์ฉันภัตรก่อน. พระเถระทูลว่า

ไปเฝ้าพระศาสดา แล้วจึงจักฉันภัตร. พระราชาตรัสถามว่าพระศาสดาอยู่

ที่ไหนเล่า. พระเถระทูลว่า พระศาสดาทรงมีภิกษุสองหมื่นเป็นบริวาร กำลัง

ดำเนินมาตามทางเพื่อต้องการพบพระองค์แล้ว. พระราชาตรัสว่า ท่านจง

ฉันบิณฑบาตนี้เถิด จงนำบิณฑบาตอื่นไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า. เวลาที่

บุตรของเราถึงพระนครนี้ ท่านจึงค่อยนำบิณฑบาตจากที่นี้เท่านั้นไปถวาย.

พระเถระทำภัตรกิจเสร็จแล้ว แสดงธรรมโปรดพระราชาและบริษัท เพราะ

มาถึงยังพระราชนิเวศน์ก่อนกว่าพระศาสดา จึงกระทำให้หมู่ชนเลื่อมใสยิ่ง ใน

คุณของพระรัตนตรัย เมื่อคนทั้งหมดกำลังแลดูอยู่นั้นแหละ ได้ปล่อยบาตรที่

เต็มด้วยภัตรที่ต้องนำไปเพื่อพระศาสดาไปในกลางอากาศ แม้ตนเองก็เหาะขึ้นสู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 388

เวหาส น้อมเอาบิณฑบาตไปวางไว้ในพระหัตถ์พระศาสดา. แม้พระศาสดา

ก็ได้เสวยบิณฑบาตนั้นแล้ว. เมื่อเดินทางไปวันละโยชน์ตลอดหนทาง ๖๐

โยชน์อย่างนี้ พระเถระได้นำเอาภัตรจากพระราชวังไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปถึงพระนครกบิลพัสดุ์แล้ว วันรุ่งขึ้นเสด็จ

เที่ยวไปบิณฑบาตในถนนหลวง. พระเจ้าสุทโธทนมหาราชได้สดับถึงข่าวนั้น

แล้ว เสด็จไปในที่นั้นตรัสว่า อย่าสำคัญถึงสิ่งที่พึงกระทำอย่างนี้เลย สิ่งนี้

มิใช่ประเพณีแห่งพระราชวงศ์เลย. พระศาสดาตรัสว่า มหาราชเจ้า นี้เป็น

วงศ์ของพระองค์ แต่การกระทำเช่นนี้เป็นพุทธวงศ์ของพวกเรา แล้วแสดง

ธรรมว่า:-

บรรพชิตไม่พึงประมาทในก้อนข้าว อัน

ตนพึงลุกขึ้นยืนรับ บุคคลพึงประพฤติธรรมให้

สุจริต ผู้มีปกติประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขใน

โลกนี้และโลกหน้า บุคคลพึงประพฤติธรรมให้

สุจริต ไม่พึงประพฤติธรรมนั้นให้ทุจริต ผู้มีปกติ

ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และโลก

หน้า ดังนี้.

พระราชาทรงดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. แต่นั้นพระราชา ก็ทรงนิมนต์

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้เสวยและบริโภคในภาชนะที่พระองค์

ตบแต่งไว้แล้วในพระราชมนเทียรของพระองค์ ในที่สุดแห่งการบริโภค

ทรงสดับธัมมปาลชาดกแล้ว พร้อมด้วยบริษัทได้ทรงดำรงอยู่ในอนาคามิผล.

กาลต่อมาบรรทมอยู่ ณ ภายใต้มหาเศวตฉัตรนั่นแหละทรงบรรลุพระอรหัต

ปรินิพพานแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปยังปราสาทของพระนางพิมพา-

เทวี พระมารดาของพระราหุลกุมาร ทรงแสดงธรรมแก่พระนาง ทรงบรรเทา

ความเศร้าโศกแล้ว ทรงทำให้พระนางได้เกิดความเลื่อมใสด้วยเทศนา

คือจันทกินนรีชาดกแล้ว ได้เสด็จไปยังนิโครธาราม. ครั้งนั้นพระนาง

พิมพาเทวี ได้ตรัสกะพระราหุลกุมารผู้พระราชโอรสว่า พ่อจงไปขอทรัพย์ที่

มีอยู่ของพระบิดาของพ่อเถิด. พระกุมารทูลว่า ข้าแต่พระสมณะขอพระองค์

จงพระราชทานสมบัติแก่หม่อมฉันเถิด แล้วติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไป

พลางกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะพระองค์เป็นร่มเงาที่สุขสบายของหม่อมฉัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำพระราหุลกุมารนั้น ไปยังนิโครธารามแล้วตรัสว่า

เธอจงรับเอาทรัพย์สมบัติคือโลกุตธรรมเถิด แล้วทรงให้บรรพชา. ลำดับ

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทับนั่ง ณ ท่ามกลางหมู่พระอริยสงฆ์ ทรง

สถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งที่เลิศว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาพวก

ภิกษุผู้สาวกที่ทำตระกูลให้เลื่อมใสของเราแล้ว กาฬุทายีนับว่าเป็นเลิศกว่าเขา

ทั้งหมด.

พระเถระได้รับตำแหน่งเอตทัคคะนั้นแล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตน

ได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนได้เคยประพฤติมา

แล้วในกาลก่อน จึงได้กล่าวคาถาเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.

ในคาถานั้น ข้าพเจ้าจักพรรณนาแต่เฉพาะบทที่ยากเท่านั้น.

บทว่า คุณาคุณวิทู มีความหมายว่า คุณและสิ่งมิใช่คุณ ชื่อว่า

คุณาคุสะ คือคุณและโทษ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า คุณาคุณวิทู เพราะย่อมรู้จัก

ชัดซึ่งกุศลกรรมและอกุศลกรรมนั้น . บทว่า กตญฺญู ความว่า ชื่อว่า กตัญญู

เพราะรู้คุณที่คนเหล่าอื่นกระทำแล้ว, ชื่อว่า กตัญญู เพราะสามารถเพื่อจะให้

แม้ราชสมบัติ แก่ผู้กระทำอุปการะด้วยการให้ภัตรเป็นต้นแม้ตลอดวันหนึ่งได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 390

บทว่า กตเวที ความว่า ชื่อว่า กตเวที เพราะย่อมได้ ย่อมเสวยคือย่อมรับ

เฉพาะซึ่งอุปการะที่เขาทำแล้ว. บทว่า ติตฺเถ โยเชติ ปาณิเน ความว่า ย่อม

ประกอบ คือย่อมประกอบพร้อมสรรพ ได้แก่ ย่อมให้สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่

เฉพาะในหนทางแห่งกุศลธรรมคือมรรค อันเป็นอุบายให้เข้าถึงพระนิพพาน

ได้ด้วยการแสดงธรรม. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล. เนื้อความแห่ง

คาถาอันพรรณนาถึงหนทางเสด็จข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในเถรคาถานั้นนั่นแล.

อรรถกถากาฬุทายีเถราปทาน

อภยเถราปทานที่ ๗ (๕๔๗)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระอภยเถระ

[๑๓๗] ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระ-

พิชิตมารผู้รู้จบธรรมทั้งปวง เป็นพระผู้นำ พระ-

นามว่าปทุมตตระได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระตถาคต-

เจ้า ยังบุคคลบางพวกให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์ ยัง

บุคคลบางพวกให้ตั้งอยู่ในศีล คือ กุศลกรรมบถ

๑๐ อันอุดม

พระธีรเจ้าพระองค์นั้น ทรงประทาน

สามัญผลอันอุดมแก่บุคคลบางคน ทรงประทาน

สมาบัติ ๘ และวิชา ๓ แก่บุคคลบางคน

พระโลกนาถผู้สูงสุดกว่านรชนพระองค์

นั้น ทรงประกอบสัตว์บางพวกไว้ในอภิญญา ทรง

ประทานปฏิสัมภิทา ๔ แก่บุคคลบางคน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 391

พระผู้เป็นสารถีฝึกนระ ทรงเห็นประชา

สัตว์ที่ควรจะนำไปให้ตรัสรู้ได้ แม้ในสถานที่นับ

ด้วยโยชน์ไม่ถ้วน ก็รีบเสด็จไปทรงแนะนำ

ครั้งนั้น เราเป็นบุตรของพราหมณ์ใน

พระนครหังสวดี เป็นผู้เรียนจบทุกเวท เข้าใจ

ไวยากรณ์ ฉลาดในนิรุตติ เฉียบแหลมในคำภีร์

นิฆัณฑุ เข้าใจตัวบท รู้ชัดในคัมภีร์เกฏุตะ ฉลาด

ในฉันท์และกาพย์กลอน

เมื่อเที่ยวเดินพักผ่อน ได้ไปถึงพระวิหาร

หังสาราม ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

อันมหาชนแวดล้อม

เรามีมติเป็นข้าศึก เข้าไปเฝ้าพระพุทธ-

เจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี ซึ่งกำลังทรงแสดงธรรม

ได้สดับพระดำรัสอันงามของพระองค์อันปราศจาก

มลทิน

ไม่ได้พบเห็นพระดำรัส ที่ไร้ประโยชน์

ของพระมุนี คือ คำที่ซักมาผิด คำที่ต้องกล่าวซ้ำ

หรือคำที่ไม่ถูกทาง เพราะฉะนั้นเราจึงได้บวช

โดยเวลาไม่นานเลยเราก็เป็นผู้แกล้วกล้า

ในธรรมทุกอย่าง ได้รับสมมติให้เป็นเจ้าหมู่เจ้า

คณะ ในพระพุทธพจน์อันละเอียด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 392

ครั้งนั้น เราได้ร้อยกรองคาถา ๔ คาถา ซึ่ง

มีพยัญชนะสละสลวย ชมเชยพระพุทธเจ้าผู้เลิศ

ในโลก ๓ ทรงแสดงธรรมทุกวัน

พระองค์เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด มี

ความเพียรมาก ทรงอยู่ในสงสาร ที่มีภัย ไม่

เสด็จนิพพาน ก็เพราะพระกรุณา ฉะนั้นพระ-

มุนีเจ้าจึงชื่อว่าทรงประกอบด้วยพระกรุณา

เพราะเหตุนั้น สัตว์ที่เป็นปุถุชนแต่ไม่

ตกอยู่ในอำนาจกิเลส มีสัมปชัญญะ ประกอบ

ด้วยสตินี้ ไม่ควรจะคิด

กิเลสที่มีกำลังทุรพล อันนอนเนื่องอยู่

ในสันดานของเรา ถูกเผาด้วยไฟคือญาณแล้วไม่

สิ้นไป ข้อนั้นไม่เคยมีเลย

ผู้ใดเป็นที่เคารพของโลกทั้งปวง เป็น

ผู้เลิศในโลก และเป็นอาจารย์ของโลก โลกย่อม

อนุวัตรตามผู้นั้น

เราประกาศพระธรรมเทศนาสดุดีพระ-

สัมพุทธเจ้า ด้วยคาถา มีอาทิ ดังกล่าวมาตราบ

เท่าสิ้นชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้วได้ไปสวรรค์.

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เรากล่าวสดุดี

พระพุทธเจ้าใด เพราะกล่าวสดุดีนั้น เราไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการกล่าวสดุดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 393

ครั้งนั้น เราได้เสวยราชสมบัติใหญ่อัน

เป็นทิพย์ในโลก ได้เสวยราชสมบัติใหญ่ของ

พระเจ้าจักรพรรดิ ก็มากครั้ง

เราเกิดแต่ในสองภพ คือ ในเทวดาและ

มนุษย์ ไม่รู้จักคติอื่น นี้เป็นผลแห่งการกล่าวสดุดี.

เราเกิดแต่ในสองสกุล คือ สกุลกษัตริย์

และสกุลพราหมณ์ หาเกิดในสกุลที่ต่ำทรามไม่

นี้เป็นผลแห่งการกล่าวสดุดี

ก็ในภพสุดท้าย ในบัดนี้ เราเป็นโอรส

ของพระเจ้าพิมพิสาร ในพระนครราชคฤห์อัน

อุดม มีนามว่า อภัย

เราไปสู่อำนาจของบาปมิตร สมาคมกับ

นิครนถ์ อันนิครนถ์นาฏบุตรส่งไป จึงได้เฝ้า

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เราทูลถามปัญหาอัน

ละเอียดสุขุม ได้สดับการฟังพยากรณ์อย่างสูงแล้ว

จึงบวช ไม่นาน ก็ได้บรรลุพระอรหัต

เราเป็นผู้กล่าวสดุดีพระชินวรเจ้าทุกเมื่อ

เพราะกรรมนั้น เราจึงเป็นผู้มีร่างกายและปากมี

กลิ่นหอม เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข

เพราะกรรมนั้นส่งผลให้ เราจึงเป็นคน

มีปัญญากล้า มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาเร็ว มี

ปัญญามาก และปฏิภาณอันวิจิตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 394

เราเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส กล่าวสดุดีพระ-

สยัมภู ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน พระนามว่า

ปทุมุตตระ เพราะผลของกรรมนั้น เราจึงไม่ไป

อบายภูมิถึงแสนกัป

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านอภยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบอภยเถราปทาน

๕๔๗. อรรถกถาอภยเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านอภยเถระ มีเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม

ชิโน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระชินวรพุทธ-

เจ้าพระองค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอัน

มากในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้

บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในหังสวดีนคร. ท่านได้เจริญวัยแล้ว เป็นผู้

เล่าเรียนจนจบเวทางคศาสตร์ เป็นผู้ฉลาดในลัทธิสมัยของตนและของ

ผู้อื่น วันหนึ่งได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใส กล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 395

ชมพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาทั้งหลาย. ท่านดำรงอยู่ในมนุษยโลกนั้นจน

ตลอดอายุ ได้ทำบุญทั้งหลายไว้ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปบังเกิดใน

เทวโลก ท่องเที่ยวไปมาเฉพาะแต่ในสุคติภพเท่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้

ได้บังเกิดเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร ในกรุงราชคฤห์ พระราช-

บิดาและพระราชมารดาได้ทรงขนานพระนามพระราชโอรสนั้นว่า อภยกุมาร.

พระราชกุมารนั้น พอได้เจริญวัยแล้ว ก็ได้เป็นผู้คุ้นเคยกับพวกนิครนถ์ท่อง-

เที่ยวไปด้วยกัน วันหนึ่ง ถูกนิครนถ์นาฎบุตร ส่งไปเฝ้าพระศาสดาเพื่อยก

วาทะขึ้นกล่าวแย้ง ได้ทูลถามปัญหาอันสุขุมละเอียด ได้ฟังคำพยากรณ์อัน

ละเอียดแล้ว มีความเลื่อมใส บวชในสำนักของพระศาสดา ได้ส่งญาณไปตาม

ลำดับกัมมัฏฐานแล้ว ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต.

ท่านครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตนได้ เกิด

ความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาล

ก่อนจึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. คำนั้นทั้งหมด มี

เนื้อความพอจะกำหนดได้โดยง่ายเลยทีเดียวแล.

จบอรรถกถาอภยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 396

โลมสติยเถราปทานที่ ๘ (๕๔๘)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระโลมสติยเถระ

[๑๓๘] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระ-

นามว่ากัสสปะ ผู้เป็น (เผ่าพันธุ์) พรหม มีพระ-

ยศใหญ่ ประเสริฐกว่านักปราชญ์ ได้เสด็จอุบัติ

ขึ้นแล้ว.

ครั้งนั้น เราและสหายชื่อว่า จันทนะ

ได้บรรพชาในพระศาสนา บำเพ็ญกิจพระศาสนา

ที่ท้ายร้านตลาด.

จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เข้าถึงสวรรค์

ชั้นดุสิตทั้งสองคน ครอบงำเทพบุตรที่เหลือใน

ดุสิตนั้น ด้วยการฟ้อน การขับ การประโคม

และด้วยองค์ ๑๐ มีรูปเป็นต้นอันเป็นทิพย์ อยู่

เสวยมหันตสุขตราบเท่าสิ้นอายุ

จุติจากดุสิตนั้นแล้ว จันทนเทพบุตรเข้า

ถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนเราเกิดเป็นโอรสของ

เจ้าศากยะในพระนครกบิลพัสดุ์.

ในคราวที่พระศาสดาผู้นายกของโลก อัน

พระอุทายีเถระเชิญเสด็จมาถึงพระนครกบิลพัสดุ์

เพื่อจะทรงอนุเคราะห์เจ้าศากยะ.

๑.ในบางสูตรเป็นพระโลมสกังคิยเถระ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 397

ครั้งนั้น พวกเจ้าศากยะมีมานะจัด ไม่

รู้จักคุณของพระพุทธเจ้า เป็นคนกระด้างเพราะ

ชาติ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่นอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า

พระพิชิตมารผู้เป็นมุนี ทรงทราบความ

ดำริของเจ้าศากยะเหล่านั้น จึงได้เสด็จจงกรมใน

อากาศ ยังธุลีพระบาทให้ตกลง เหมือนเมฆยังฝน

ให้ตกลงแล้วเหมือนเปลวไฟลุกโพรงอยู่ฉะนั้น

ทรงแสดงพระรูปที่ไม่กระสับกระส่าย

แล้วทรงหายไปเสียอีก แม้พระองค์เดียวก็เป็น

มากองค์ได้ แล้วกลับเป็นพระองค์เดียวอีก.

ทรงแสดงความมืดและแสงสว่าง ทรง

ทำปาฏิหาริย์มากมาย ทรงปราบพวกพระ-

ญาติให้หมดมานะ

ขณะนั้นเองมหาเมฆอันตั้งขึ้นในทวีปทั้ง

๔ ยังฝนให้ตกลงแล้ว ก็ในครั้งนั้น พระพุทธเจ้า

ได้ตรัสเทศนาเวสสันดรชาดก

คราวนั้น กษัตริย์เหล่านั้นทุก ๆ พระ-

องค์ กำจัดความเมาอันเกิดจากชาติได้แล้ว ถึง

พระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ ในกาลนั้น พระเจ้า

สุทโธทนะได้ตรัสว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน

มีจักษุโดยรอบ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓ ที่หม่อมฉัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 398

ถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระองค์ ก็ใน

ครั้งพระองค์ประสูติ แผ่นดินไหว หม่อมฉันก็

ได้ถวายบังคม และครั้งที่เงาไม้หว้าไม่เอนเอียง

หม่อมฉันก็ได้ถวายบังคมพระองค์

ครั้งนั้น เราเห็นพุทธนุภาพนั้นแล้ว

เป็นผู้อัศจรรย์ใจจึงได้บรรพชา เป็นคนบูชา

มารดา จึงได้อาศัยอยู่ในพระนครกบิลพัสดุ์นั่น

เอง

ครั้งนั้น จันทนเทพบุตรได้เข้ามาหาเรา

แล้ว ถามถึงนัยแห่งผู้มีราตรีเดียวเจริญทั้งย่อและ

พิสดาร

ครั้งนั้น เราอันจันทนเทพบุตรตักเตือน

แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดาผู้นำของนรชน ได้สดับ

ภัทเทกรัตตสูตร เป็นผู้สลดใจ รักใคร่ป่า

ได้บอกลามารดาว่า จักอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว

เมื่อถูกมารดาท่านปรามว่า ท่านเป็นคนละเอียด

อ่อน

เราได้ตอบว่า เราจักทำหญ้าคา หญ้าเลา

แฝก หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย ให้แหลก

ละเอียดทั้งหมดด้วยอก พอกพูนวิเวก

ครั้งนั้น เราได้เข้าป่า นึกถึงคำสอนของ

พระพิชิตมาร คือ ภัทเทกรัตตสูตร ได้บรรลุ

พระอรหัตแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 399

ผู้มีปัญญาไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว

ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สิ่งใด ที่ล่วงไป

แล้ว สิ่งนั้น ก็ละไปแล้ว และสิ่งใดที่ยังมาไม่

ถึง สิ่งนั้นก็ยังไม่ถึง

ก็บุคคลได้เห็นแจ้งธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะ

หน้า ในที่นั้น ๆ ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน

บุคคลนั้นมาร้องแจ้งธรรมนั้นแล้ว ควรเจริญธรรม

นั้นไว้เนือง ๆ

ความเพียร ควรทำเสียในวันนี้แหละ

เพราะใครเล่า จะพึงรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่งนี้

การผัดเพี้ยนกับพระยามัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น

ย่อมไม่มีเลย

มุนีผู้สงบระงับ ย่อมกล่าวสรรเสริญ

บุคคลผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความเพียรเผากิเลส

ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างนี้นั้น

แลว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ ดังนี้แล้วได้บรรลุ

อรหัต

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระโลมสติยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบโลมสติยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 400

๕๔๘. อรรถกถาโลมกังคิยเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระโลมสกังคิยเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า อิมมฺหิ

ภทฺทเก กปฺเป ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระ-

องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ

นั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ท่านได้บังเกิดใน

ตระกูลพราหมณ์ได้มีศรัทธาเลื่อมใสแล้ว. อีกคนหนึ่งชื่อว่า จันทนะ ได้เป็น

สหายของเขา, พวกเขาทั้งสองคน ได้ฟังพระธรรมเทศนาในสำนักของพระ-

ศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใสบวชแล้ว ได้รักษาศีลจนตลอดชีวิต ได้เสวยทิพยสุข

จนตลอดพุทธันดรหนึ่งแล้ว. ทั้งสองคนนั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ คนหนึ่ง

ได้มาบังเกิดในตระกูลสักยะ อีกคนหนึ่ง ที่มีชื่อว่า จันทนะ ได้บังเกิดเป็น

เทพบุตรอยู่ในภพดาวดึงส์. ลำดับนั้น ท่านได้มอบเห็นอิทธิปาฏิหาริย์ฝน

โบกขรพรรษที่พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพระกาฬุทายีผู้เลื่อมใสในสักยะตระกูล

กราบทูลให้ทรงยินดีแล้ว ทรงกระทำการข่มมานะของพวกเจ้าสักยะ แสดง

พระ.ธรรมคือเวสสันดรชาดกแล้ว มีใจเลื่อมใสบวชแล้ว ได้ฟังพระธรรม

เทศนาภัทเทกรัตตสูตร ที่ตรัสไว้แล้วในมัชฌิมนิกาย อยู่ในป่า อนุสรณ์ถึง

เทศนาคำสั่งสอนในภัทเทกรัตตสูตรแล้ว ส่งญาณไปตามลำดับของเทศนานั้น

ตั้งใจบำเพ็ญกัมมัฏฐาน ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.

ครั้นท่านได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตนเกิด

ความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่คนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาล

๑. บาลีว่า โลมสติเถราปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 401

ก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อิมมฺหิ ภทฺทเก กปฺเป ดังนี้. คำว่า กัป ในคำว่า

กปฺเป นั้นมี ๔ อย่างเท่านั้นคือ สารกัป วรกัป มัณฑกัป และภัททกัป. ใน

บรรดากัปทั้ง ๔ อย่างนั้น พระพุทธเข้าพระองค์เดียว ทรงอุบัติขึ้นในกัปใด

กัปนี้ชื่อว่า สารกัป, พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์หรือ ๓ พระองค์ ทรงอุบัติขึ้น

ในกัปใด กัปนี้ชื่อว่า วรกัป. พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ทรงอุบัติขึ้นในกัปใด

กัปนี้ชื่อว่า มัณฑกัป. พระพุทะเจ้า พระองค์ทรงอุบัติขึ้นในกัปใด กัปนี้

ชื่อว่า ภัททกัป. แต่ในที่อื่นท่านกล่าวกัปไว้ ๕ อย่าง อย่างคือ:-

กัปมี ๕ อย่างคือ สารกัป มัณฑกัป สาร-

มัณฑกัป วรกัป และภัททกัป. พระผู้นำโลก

ย่อมทรงอุบัติขึ้น ในบรรดากัปทั้ง ๕ อย่างเหล่านี้

ตามลำดับคือ:-

พระพุทธเจ้า ๑ พระองค์ ทรงอุบัติขึ้น

ในสารกัป พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ทรงอุบัติ

ขึ้นในสารมัณฑกัป พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ ทรง

อุบัติขึ้นในสารมัณฑกัป พระพุทธเจ้า ๔ พระ-

องค์ ทรงอุบัติขึ้นในวรกัป พระพุทธเจ้า ๕

พระองค์ ทรงอุบัติขึ้นในภัททกัป.

บรรดากัปเหล่านั้น กัปนี้ได้มีชื่อว่า ภัททกัป เพราะประดับไปด้วย

พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ คือ พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า

พระกัสสปพุทธเจ้า พระโคดมพุทธเจ้า และพระเมตเตยยพุทธเจ้า. เชื่อม

ความว่า เพราะฉะนั้น พระกัสสปพุทธเจ้าผู้นำโลก ทรงอุบัติขึ้นแล้วใน

ภัททกกัปนี้. คำที่เหลือ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาโลมสกังคิยเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 402

วนวัจฉเถราปทานที่ ๙ (๕๔๙)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระวนวัจฉเถระ

[๑๓๙] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้า

มีพระนามว่า กัสสปะ ผู้เป็นพงศ์พันธุ์ของพรหม

ทรงพระยศใหญ่ ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย

ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

ครั้งนั้น เราบวชในศาสนาของพระพุทธ-

เจ้าพระองค์นั้น ประพฤติพรหมจรรย์ตราบเท่า

สิ้นชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้นและเพราะการตั้ง

เจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์นั้นแล้วได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

จุติจากนั้นแล้ว ได้เป็นนกพิราบอยู่ใน

ป่า ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ ยินดีในฌานทุกเมื่อ

อาศัยอยู่ในป่านั้น

ท่านเป็นผู้มีจิตเมตตาประกอบด้วยกรุณา

มีหน้าเบิกบานทุกเมื่อ วางเฉย มีความเพียรมาก

ฉลาดในอัปปมัญญา

มีความดำริปราศจากนิวรณ์ มีอัธยาศัย

ใคร่ประโยชน์แก่สรรพสัตว์ โดยไม่นาน เรา

คุ้นเคยในพระสาวกของพระสุคตนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 403

เมื่อเราเข้าไปจับอยู่แทบเท้าของท่านผู้นั่ง

อยู่ในอาศรม ณ ครั้งนั้น บางครั้งท่านก็ให้เหยื่อ

บางครั้งท่านก็แสดงธรรมเทศนา

ครั้งนั้น เราเข้าไปหาท่านผู้เป็นโอรส

ของพระพิชิตมารด้วยความรักอันไพบูลย์ จุติจาก

อัตภาพนั้นแล้วได้ไปสวรรค์ ปานดังจากที่อยู่

แล้วกลับไปเรือนของตัว ฉะนั้น

เราจุติจากสวรรค์แล้ว เกิดในมนุษย์ด้วย

บุญกรรม ได้ละทิ้งเรือนออกบวชโดยมาก เรา

เป็นสมณะ ดาบส พราหมณ์ ปริพาชกอยู่ในป่า

กว่าร้อยชาติ

ก็ในภพสุดท้ายในบัดนี้เราหยั่งลงสู่ครรภ์

ภรรยาของพราหมณ์วัจฉโคตร ในพระนครกบิล-

พัสดุ์ อันน่ารื่นรมย์

เมื่อเรายังอยู่ในครรภ์ของมารดา มารดา

ของเราแพ้ท้องในเวลาที่เราใกล้จะคลอด ท่านตัด

สินใจเพื่อจะอยู่ในป่า

จากนั้น มารดาของเราได้คลอดเราภายใน

ป่าอันน่ารื่นรมย์ เมื่อเราออกจากครรภ์มารดา

ชนทั้งหลายเอาผ้ากาสวะรองรับเรา

ในขณะนั้น พระสิทธัตถราชกุมารผู้เป็น

ธงชัยของสักยวงศ์ ก็ประสูติ เราเป็นสหายรัก

สนิทชิดชอบของพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 404

เมื่อพระองค์ละยศใหญ่ เสด็จออก

มหาภิเนษกรมณ์เพื่อสาระประโยชน์แก่สัตว์ แม้

เราก็บวชแล้วเข้าสู่ป่าหิมพานต์

เราพบท่านพระกัสสปะ ผู้อยู่ป่าน่าสรร-

เสริญบอกกล่าวธุดงค์ จึงได้สดับข่าวว่า พระ-

พิชิตมารเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ก็ได้เข้าไปเฝ้าพระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นสารถีฝึกนระ

พระองค์ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา

ประกาศประโยชน์ทุกประการแก่เรา ต่อนั้น เรา

ก็ได้บวชแล้วเข้าไปป่าตามเดิม เมื่อเราอยู่ในป่า

นั้น เป็นผู้ไม่ประมาท ก็ได้เห็นอภิญญา ๖ โอ

เราเป็นผู้มีลาภอันได้ดีแล้ว เป็นผู้อันพระศาสดา

ผู้เป็นกัลยาณมิตรทรงอนุเคราะห์แล้ว

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระวนวัจฉเถระได้ภาษิตเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบวนวัจฉเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 405

๕๔๙. อรรถกถาวนวัจฉเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๙ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระวนวัจฉเถระ คำเริ่มต้นว่า อิมมฺหิ ภทฺทเก

กปฺเป ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระ-

องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ

นั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ท่านได้บังเกิดใน

เรือนอันมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้สดับพระธรรมเทศนาของพระศาสดา

เกิดศรัทธาบวชแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ได้อย่างบริสุทธิ์ จุติจากอัตภาพนั้น

แล้ว ไปบังเกิดในเทวโลก จุติจากเทวโลกนั้น ไปบังเกิดในกำเนิดนกพิราบ

อยู่ใกล้พวกภิกษุผู้อยู่ในป่า. เขามีเมตตาจิตในหมู่ภิกษุเหล่านั้น ได้ฟังธรรม

จุติจากอัตภาพนั้น ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้

ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกรุงกบิลพัสดุ์. ในเวลาที่เขาอยู่ในท้องของ

มารดานั่นแหละ มารดาได้เกิดการแพ้ท้อง เพื่อจะอยู่ในป่า และเพื่อคลอด

ในป่า. การออกจากครรภ์ได้มีแก่มารดาผู้อยู่ในป่า ตามอำนาจแห่งความ

ปรารถนานั้นแล้ว. และพวกญาติได้เอาท่อนผ้ารับเขาผู้คลอดออกจากครรภ์

แล้ว. เวลานั้นเป็นเวลาที่พระโพธิสัตว์ก็ได้ทรงอุบัติขึ้นแล้ว. พระราชา ทรงมี

รับสั่งให้พวกคนนำเด็กนั้นมาแล้ว เลี้ยงไว้ร่วมกับพระโพธิสัตว์ ลำดับนั้น

พระโพธิสัตว์ เสด็จออกสู่พระมหาภิเนษกรมณ์ ผนวชแล้ว ทรงบำเพ็ญ

ทุกกรกิริยาตลอดเวลา ๖ ปี เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว. นายวนวัจฉะนั้น ไป

หาพระมหากัสสปะเลื่อมใสแล้วในโอวาของท่าน ได้ทราบจากสำนักของท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 406

ว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้ว จึงไปเฝ้าพระศาสดา ได้ฟังธรรมแล้วจึงบวช

ไม่นานนัก ก็ได้เป็นพระอรหันต์พร้อมด้วยอภิญญา ๖.

ท่านบรรลุพระอรหันต์แล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตน ได้เกิดความ

โสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน

จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อิมมฺหิ ภทฺทเก กปฺเป ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น ใน

บทว่า พฺรหฺมพนฺธุ มหายโส นี้ได้แก่ เป็นพวกพ้องคือญาติของพวก

พราหมณ์ พึงทราบว่า ในเมื่อควรจะกล่าวว่า พฺราหฺมณพนฺธุ แต่ท่านได้กล่าว

ไว้ว่า พฺรหฺมพนฺธุ ก็เพื่อความสะดวกแก่การประพันธ์คาถา. ชื่อว่า มหายโส

เพราะมียศแผ่ปกคลุมไปในโลกทั้ง ๓ คำที่เหลือทั้งหมด มีเนื้อความพอที่จะ

กำหนดได้โดยง่ายทีเดียวแล

จบอรรถกถาวนวัจฉเถราปทาน

จูฬสุคันธเถราปทานที่ ๑๐ (๕๕๐)

[๑๔๐] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้ามีพระ-

นามว่า กัสสปะผู้เป็นพงศ์พันธ์พรหม ทรงพระยศ

ใหญ่ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย ได้เสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว

พระองค์สมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ มี

พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ มีพระ-

รัศมีล้อมรอบข้างละวา ประกอบด้วยข่ายรัศมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 407

ทรงยังสัตว์ให้ยินดีได้เหมือนพระจันทร์

แผดแสงเหมือนพระอาทิตย์ ทำให้เยือกเย็น

เหมือนเมฆ เป็นบ่อเกิดแห่งคุณเหมือนสาคร

มีศีลเหมือนแผ่นดิน มีสมาธิเหมือนขุน

เขาหิมวันต์ มีปัญญาเหมือนอากาศ ไม่ข้องเหมือน

กับลมฉะนั้น

ครั้งนั้น เราเกิดในสกุลใหญ่ มีทรัพย์และ

ธัญญาหารมากมาย เป็นที่สั่งสมแห่งรัตนะต่าง ๆ

ในพระนครพาราณสี

เราได้เข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้เป็นนายกของ

โลก ซึ่งประทับนั่งอยู่กับบริวารมากมาย ได้สดับ

อมตธรรมอันนำมาซึ่งความยินดีแห่งจิต

พระพุทธองค์ทรงพระมหาปุริส ลักษณะ

๓๒ ประการ มีนักษัตรฤกษ์ดีเหมือนพระจันทร์

ทรงสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ บานเหมือนต้น

พระยารัง

อันข่ายคือพระรัศมีแวดวง มีพระรัศมี

รุ่งเรืองเหมือนภูเขาทอง มีพระรัศมีล้อมรอบ

ด้านละวา มีรัศมีนับด้วยร้อยเหมือนอาทิตย์

มีพระพักตร์เหมือนทองคำเป็นพระพิชิต

มารผู้ประเสริฐ เป็นเหมือนภูเขาอันให้เกิดความ

ยินดี มีพระหฤทัยเต็มด้วยพระกรุณา มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 408

คุณปานดังสาคร มีพระเกียรติปรากฏแก่โลก

เหมือนเขาสิเนรุซึ่งเป็นภูเขาสูงสุด มีพระยศ เป็น

ที่ปลื้มใจ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นเดียวกับ

อากาศ เป็นนักปราชญ์

มีพระทัยไม่ข้องในที่ทั้งปวงเหมือนลม

เป็นผู้นำ เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์เหมือนแผ่นดิน

เป็นมุนีพระองค์ที่ ๗

อันโลกไม่เข้าไปฉาบทาได้ เหมือนปทุม

ไม่ติดน้ำฉะนั้น เป็นผู้เช่นกับกองไฟ เผาทำลาย

พวกมีวาทะผิด

พระองค์เป็นเสมือนยาบำบัดโรค ทำให้

ยาพิษคือกิเลสพินาศ ประดับด้วยกลิ่นคือคุณ

เหมือนภูเขาคันธมาทน์

เป็นนักปราชญ์ที่เป็นบ่อเกิดของคุณ ดุจ

ดังสาครเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย ฉะนั้น

และเป็นเหมือนม้าสินธพอาชาไนย เป็นผู้นำออก

ซึ่งมลทินคือกิเลส

ทรงย่ำยีมารและเสนามารเสียได้ เหมือน

นายทหารใหญ่ผู้มีชัยโดยเด็ดขาด ทรงเป็นใหญ่

เพราะรัตนะคือโพชฌงค์เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ

ฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 409

ทรงเป็นผู้เยียวยาพยาธิคือโทสะเหมือนกับหมอ

ใหญ่ ทรงเป็นศัลยแพทย์ผ่าฝีมือคือทิฏฐิ เหมือน

ศัลยแพทย์ผู้ประเสริฐสุด

ครั้งนั้น พระองค์ทรงส่องโลกให้โชติช่วง

อันมนุษย์และทวยเทพ สักการะเป็นดัง พระอาทิตย์

ส่องแสงสว่างให้แก่นรชน ฉะนั้น ทรงแสดง

พระธรรมเทศนาในบริษัททั้งหลาย

พระองค์ทรงพร่ำสอนอย่างนี้ว่า บุคคลจะ

มีโภคทรัพย์มากได้ เพราะให้ทาน จะเข้าถึงสุคติ

ได้เพราะศีล จะดับกิเลสได้ เพราะภาวนา ดังนี้

บริษัททั้งหลายฟังเทศนานั้นอันให้เกิด

ความแช่มชื่นมาก ไพเราะทั้งเบื้องต้นท่ามกลาง

และที่สุด มีรสใหญ่ ประหนึ่งน้ำอมฤต เราได้

สดับพระธรรมเทศนาของพระพิชิตมาร จึงถึง

พระสุคตเจ้าสรณะ นอบน้อมตราบเท่าสิ้นชีวิต

ครั้งนั้น เรานั้นได้เอาของหอมมีชาติ ๔

ทาพื้นพระคันธกุฎีของพระมหามุนีเดือนหนึ่ง ๘

วัน โดยตั้งปณิธานให้สรีระที่ปราศจากกลิ่นหอม

ให้มีกลิ่นหอม ครั้งนั้น พระพิชิตมารได้ตรัส

พยากรณ์เราผู้จะได้มีกลิ่นหอมว่า

นระใดเอาของหอมทาพื้นพระคันธกุฎี

คราวเดียว ด้วยผลของกรรมนั้น นระนี้เกิดใน

ชาติใด ๆ จักเป็นผู้มีตัวหอมทุกชาติไป จักเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 410

ผู้เจริญด้วยกลิ่นคือคุณ จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะปริ-

นิพพาน

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีแล้ว และเพราะการ

ตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ก็ในภพสุดท้ายในบัดนี้ เราเกิดในสกุล

อันมั่งคั่ง เมื่อเรายังอยู่ในครรภ์มารดา มารดา

เป็นหญิงมีกลิ่นตัวหอม

และในเวลาที่เราคลอดจากครรภ์มารดา

นั้น พระนครสาวัตถีหอมฟุ้งเหมือนกับถูกอบด้วย

กลิ่นตัวหอมทุกอย่าง

ขณะนั้นฝนดอกไม้อันหอมหวล กลิ่น

ทิพย์อันน่ารื่นรมย์ใจ และธูปมีค่ามาก หอมฟุ้ง

ไป

เราเกิดในเรือนหลังใด เรือนหลังนั้น

เทวดาได้เอาธูปและดอกไม้ล้วนแต่มีกลิ่นหอม

และเครื่องหอมมาอบ

ก็ในเวลาที่เรายังเยาว์ ตั้งอยู่ในปฐมวัย

พระศาสดาผู้เป็นสารถีฝึกนระ ทรงแนะนำบริษัท

ของพระองค์ที่เหลือแล้ว

เสด็จมายังพระนครสาวัตถี พร้อมด้วย

พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมด ครั้งนั้น เราได้

พบพุทธานุภาพจึงออกบวช

เราเจริญธรรม ๔ ประการ คือ ศีล สมาธิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

ปัญญา และวิมุตติอันยอดเยี่ยม แล้วบรรลุธรรม

เป็นที่สิ้นอาสวะ

ในคราวที่เราออกบวช ในคราวที่เราเป็น

พระอรหันต์ และในคราวที่เราจักนิพพาน ได้มี

ฝนมีกลิ่นหอมตกลงมา

ก็กลิ่นสรีระอันประเสริฐสุดของเรา

ครอบงำจันทน์อันมีค่า ดอกจำปาและดอกอุบล

เสีย และเราไปในที่ใด ๆ ก็ย่อมจะข่มขี่กลิ่น

เหล่านี้เสียโดยประการทั้งปวง ฟุ้งไปเช่นนั้น

เหมือนกัน

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้น

ได้หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือก

แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

การที่เราได้มายังสำนักของพระพุทธเจ้า

ของเรานี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุ

แล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำ

เสร็จแล้ว

คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์

๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอน

ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระจูฬสุคันธเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบจูฬสุคันธเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 412

๕๕๐. อรรถกถาจูฬสุคันธเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระจูฬสุคันธเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า อิมมฺหิ ภทฺทเก

กปฺเป ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระ-

องค์ดูก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ

นั้น ๆ ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ท่านได้บังเกิดใน

ตระกูลซึ่งสมบูรณ์ด้วยสมบัติ ในกรุงพาราณสี บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ฟัง

ธรรมในสำนักของพระศาสดาแล้ว นมัสการอยู่ทุกเมื่อ ถวายมหาทาน นำ

เอาของหอมโดยชาติ ๔ อย่าง ฉาบไล้พระคันธกุฎีพระผู้มีพระภาคเจ้าเดือน

ละ ๗ ครั้ง. เขาได้ส่งความปรารถนาไว้ว่า ขอให้กลิ่นหอมอย่างดียิ่ง จง

บังเกิดแก่สรีระของข้าพระองค์ในสถานที่ที่ได้เกิดแล้วเกิดแล้วเถิด. พระผู้มี

พระภาคเจ้า ได้ตรัสพยากรณ์กะเขาแล้ว. เขาดำรงอยู่ในตลอดอายุ บำเพ็ญ

บุญไว้เป็นอันมาก จุติจากอัตภาพนั้นไปบังเกิดในเทวโลก กระทำกลิ่นสรีระ

ให้หอมฟุ้งทั่วกามาวจรโลก จึงได้ปรากฏชื่อว่า สุคันธเทวบุตร. เทพบุตร

นั้น ได้เสวยสมบัติเทวโลกแล้ว จุติจากอัตภาพนั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ได้

บังเกิดในตระกูลที่มีโภคะมากมาย. ด้วยกลิ่นแห่งสรีระของมารดาเขา เรือน

ทั้งสิ้นและพระนครทั้งสิ้น ได้มีกลิ่นหอมเป็นอันเดียวกัน. ในขณะเขาเกิดแล้ว

สาวัตถีนครทั้งสิ้น ได้เป็นคล้ายกับผอบของหอม. ด้วยเหตุนั้น มารดาบิดา

จึงได้ตั้งชื่อเขาว่า สุคันธะ. เขาได้ถึงความเจริญวัยแล้ว. ในคราวนั้นพระ-

๑. กลิ่นหญ้าฝรั่น กลิ่นกฤษณา กลิ่นกำยาน กลิ่นบุปผชาติ กลิ่น ๔ อย่างนี้ เรียกว่า จตุชาติ

คันธะ หรือเรียกว่า จตุชาติสุคันธะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 413

ศาสดาได้เสด็จถึงสาวัตถี ได้ทรงรับพระเชตวันมหาวิหาร. นายสุคันธะนั้น

เห็นพระศาสดาพระองค์นั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส บวชในสำนักของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔. ตั้งแต่วันที่

ท่านเกิดขึ้นจนถึงปรินิพพาน ในระหว่างนี้ กลิ่นหอมเท่านั้นฟุ้งตลบไปใน

ที่ทั้งหลายเช่นที่นอนและที่ยืนเป็นต้น. แม้พวกเทวดาก็ยังโปรดจุณทิพย์และ

ดอกไม้หอมทิพย์ลงถวาย.

ก็พระเถระนั้น ครั้นได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของ

ตน เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมา

แล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อิมมฺหิ ภทฺทเก กปฺเป ดังนี้. คำนั้น

ทั้งหมดมีเนื้อความพอที่จะกำหนดได้โดยง่ายทีเดียว เพราะมีนัยดังที่ได้กล่าว

ไว้แล้วในหนหลัง และเพราะมีเนื้อความง่าย. ความต่างกันแห่งบุญและความ

ต่างกันแห่งชื่ออย่างเดียวเท่านั้นเป็นความแปลกกันแล.

จบอรรถกถาจูฬสุคันธเถราปทาน

จบอรรถกถาภัททิยวรรคที่ ๕๕

รวมอปทานที่มีในวรรคที่ คือ

๑. ลกุณกฏภัททิยเถราปทาน ๒. กังขาเรวตเถราปทาน ๓. สีวลี-

เถราปทาน ๔. วังคีสเถราปทาน ๕. นันทกเถราปทาน ๖. กาฬุทายี

เถราปทาน ๗. อภยเถราปทาน ๘. โลมสติยเถราปทาน ๙. วนวัจฉ-

เถราทาน ๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน และในวรรคนี้มีคาถา ๓๑๖ คาถา.

จบภัททิยวรรคที่ ๕๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 414

รวมวรรค

๑. กณิการวรรค ๒. ผลทายกวรรค ๓. ติณทายกวรรค ๔. กัจจา-

ยนวรรค ๕. ภัททิยวรรค

บัณฑิตคำนวณคาถาไว้แผนกหนึ่ง รวมได้ ๙๘๔ คาถา และประกาศ

อปทานรวมได้ ๕๕๐ อปทาน พร้อมกับอุทานคาถา มีคาถา รวม ๖,๒๑๘

คาถา.

จบพุทธาปทาน ปัจเจกพุทธาปทาน และเถราปทานตั้งแต่เท่านี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 415

ยสวรรคที่ ๕๖

ยสเถราปทานที่ ๑ (๕๕๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระยสเถระ

[๑๔๑] ครั้งเมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นพญานาค

ได้นำพระพุทธเจ้า พระนามว่า สุเมธะ พร้อม

ด้วยพระภิกษุสงฆ์ผู้ดำลงสู่มหาสมุทร สู่ภาคพื้นที่

อยู่ของข้าพเจ้า อันสำเร็จด้วยการเนรมิตเป็นอย่าง

ดี มีสระโบกขรณี ที่เนรมิตเป็นอย่างดี มีเสียง

นกจากพรากร่ำร้องขับกล่อมอยู่.

ภพที่อยู่นั้น มุงบังด้วยดอกมณฑารพ

ด้วยดอกปทุมและดอกอุบล นที ก็ไหลผ่านไปใน

ที่นั้น ๆ มีท่าขึ้นลงเป็นที่รื่นรมย์ใจ.

คลาคล่ำไปด้วยหมู่ปลาและเต่า หมู่นก

นานาพันธุ์ ก็โบยบินอยู่เบื้องบน นกยูงและนก

กะเรียนก็ร่อนร้อง นกดุเหว่าก็ร่ำร้องซ้องสำเนียง

เสนาะ.

นกเขา นกคับแค นกจากพราก นก

เป็ดน้ำ นกกะทา นกสาลิกา นกกะปูด นก

ออกก็มีอยู่ในที่นั้น.

๑. วรรคนี้ในบาลีไทย ขาดหายไป แต่ของฉบับภาษาอื่นและอรรถกถา จึงนำมาเพิ่ม

ให้ครบ พร้อมทั้งเพิ่มเลขข้อต่อจากข้อ ๑๔๐ ไปตามลำดับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 416

หมู่หงส์ และนกกระเรียน ส่งเสียงร้อง

ดัง นกแสกสีน้ำตาลก็มีมาก ภพที่อยู่นั้น สมบูรณ์

ด้วยรัตนะทั้งประการ เช่นแก้วมณี แก้วมุกดา

และแล้วประพาฬ.

ต้นไม้เล่า ก็สำเร็จด้วยทองทั้งสิ้น ลำต้น

ต่างก็โอนเอนไปมา ส่องแสงแวววาวทั้งวันทั้งคืน

ภพที่อยู่มีทุกสิ่งตลอดกาล.

มีนักดนตรีหญิงหกหมื่น ขับกล่อมทั้ง

เย็นทั้งเช้า มีสตรีหนึ่งหมื่นหกพันนาง แวดล้อม

บำรุงเราตลอดการ.

ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส มีใจเป็นสุข ถวาย

บังคมพระพุทธเจ้า พระนามว่า สุเมธะ ผู้เป็น

นายกของโลกผู้มีพระยศใหญ่นั้น ในกาลที่พระ-

องค์เสด็จออกจากภพของข้าพเจ้า.

ครั้นข้าพเจ้าถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า

แล้ว ทูลนิมนต์พระองค์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์

พระสุเมธพุทธเจ้าผู้จอมปราชญ์ ผู้เป็นนายกของ

โลก พระองค์นั้น ทรงรับนิมนต์แล้ว.

ครั้นแล้ว ทรงแสดงธรรมถลาแก่ข้าพ-

เจ้า ข้าพเจ้าได้ส่งพระมหามุนีเสด็จกลับแล้ว

ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าแล้ว จึงกลับเข้าสู่ภพ

ของข้าพเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 417

ข้าพเจ้า บอกกับบริวารชนทั้งหมดที่

กำลังประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้นว่า ในเวลาเช้าวัน

รุ่งขึ้น พระพุทธเจ้าจักเสด็จมายังภพของเรา.

พวกเราเหล่าใด ทั้งที่อยู่ในสำนักของ

พระองค์แม้พวกเราเหล่านั้น ไม่ใช่จะได้ลาภโดย

ง่ายนัก จึงพวกเราจักบูชาพระพุทธเจ้า ผู้ประ-

เสริฐ ผู้เป็นพระศาสดา.

เมื่อเรา จัดตั้งภัตตาหารและน้ำฉันเสร็จ

แล้ว จึงไปกราบทูลภัตกาล พระพุทธเจ้า ผู้เป็น

นายกของโลกพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ผู้ชำนาญ

ในฤทธิ์จำนวนหนึ่งแสนรูป จะเสด็จเข้ามาแล้ว.

ข้าพเจ้าได้ทำการต้อนรับพระองค์ ด้วย

การประโคมด้วยดนตรีเครื่องห้า พระองค์ ผู้เป็น

บุรุษสูงสุด ประทับนั่งบนตั่งอันสำเร็จด้วยทองคำ

ล้วน.

ได้มีการมุงบังในเบื้องบน ครั้งนั้น

อาสนะสำเร็จด้วยทองทั้งนั้น พัดวีชนี ก็พัด

โบกพระองค์ผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า พร้อมด้วยพระ-

ภิกษุสงฆ์.

ได้อังคาส พระพุทธองค์ พร้อมด้วย

พระภิกษุสงฆ์ ให้อิ่มหนำ ด้วยข้าวและน้ำอัน

เพียงพอ แล้วได้ถวายคู่ผ้าแด่พระองค์ และพระ-

ภิกษุสงฆ์องค์ละคู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 418

พระสุเมธพุทธเจ้า พระองค์นั้น ผู้ควร

รับเครื่องบูชา ประทับนั่งในท่ามกลางพระภิกษุ

สงฆ์แล้ว จะตรัสพระดำรัส จึงตรัสพระคาถา

เหล่านี้ ว่า

บุคคลใด อังคาสเราด้วยข้าวและน้ำ ให้

เราเหล่านี้ทั้งหมดอิ่มพอแล้ว เราจะสรรเสริญผู้นั้น

พวกท่านจงฟังเรากล่าวเถิด.

ตลอดกาล ๑,๘๐๐ กัป ผู้นั้น จักชื่นชม

ยินดีอยู่ในเทวโลก จักชื่นชมอยู่ในความเป็น

พระราชา ๑,๐๐๐ ครั้ง แล้วจักเป็นพระเจ้าจักร-

พรรดิ.

เมื่ออุบัติในกำเนิดใด ก็อุบัติแต่ในกำเนิด

เทวดาและมนุษย์เท่านั้น เครื่องมุงบังอันสำเร็จ

ด้วยทองล้วน ก็จักกั้นอยู่เบื้องบนเขา.

ในกัปที่สามหมื่น พระมหาบุรุษ พระ-

นามว่า โคตมะ โดยพระโคตร จักทรงสมภพใน

พระราชวงศ์แห่งพระเจ้าโอกกากราช จักเป็น

พระศาสดาในโลก.

เขาจักเป็นทายาทในธรรมของพระองค์

จักเป็นพระโอรส โดยธรรมเนรมิต เพราะกำหนด

รู้อาสวะทั้งสิ้นแล้ว จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพ-

พาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 419

เมื่อเขานั่งในท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์

เขาจักบรรลือสีหนาท มนุษย์ทั้งหลาย จักสร้าง

ฉัตรเบื้องบนจิตกาธารแล้วฌาปนกิจบนจิตการธาร

ภายใต้ฉัตร.

สามัญผลเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าโดยลำดับ

บรรดากิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้เผาหมดสิ้นแล้ว

เมื่ออยู่ในเรือนยอด หรือโคนต้นไม้ ข้าพเจ้าก็

ไม่มีความหวาดกลัวเลย.

ในกัปที่สามหมื่น ข้าพเจ้า ได้ถวาย

ทานใดไว้ในกาลนั้น เพราะทานนั้นในกาลนี้

ข้าพเจ้ามิได้รู้จักทุคติเลย อันนี้เป็นผลของการ

ถวายทานทั้งสิ้น.

ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายหมดสิ้นแล้ว

ภพทั้งหลาย ข้าพเจ้าถอนขึ้นแล้ว ข้าพเจ้าตัด

เครื่องผูกพันขาดสิ้นแล้ว เสมือนช้างตัดเครื่อง

ผูกออกแล้วฉะนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้าได้เป็นผู้มาดีแล้วแล ข้าพเจ้า

ได้บรรลุวิชชาสามในสำนักของพระพุทธเจ้า ของ

เรา คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำ

เสร็จแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 420

ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ อภิญญา ๖

ข้าพเจ้าได้กระทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของ

พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระยสเถระ ได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้

แล.

จบยสเถราปทาน

ยศวรรคที่ ๕๖

๕๕๑.อรรถกถาสเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๕๖ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระยสเถระ มีคำเริ่มต้นว่า มหาสนุทฺท โอคฺคยฺห

ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์

ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้น ๆ

ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธะ ท่านได้เป็นนาคราชผู้มี

อานุภาพมาก ได้นำภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขไปยังภพของตนแล้ว

ได้ถวายมหาทาน. ได้ถวายไตรจีวรที่มีค่ามากให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครอง

ได้ถวายคู่แห่งผ้า และเครื่องสมณบริขารทั้งปวงอันมีค่ามากกะพระภิกษุรูปละ

คู่. ด้วยบุญกรรมอันนั้น เขาได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในกาล

แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ได้เกิดเป็นบุตรเศรษฐี นำเอา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 421

รัตนะ ๗ ประการบูชารอบต้นมหาโพธิ์. ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-

นามว่า กัสสปะ ได้บวชแล้วในพระศาสนา ได้บำเพ็ญสมณธรรม. ด้วยความ

ประพฤติอย่างนี้เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเฉพาะแต่สุคติอย่างเดียว ในกาลแห่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เป็นบุตรของเศรษฐีผู้มีสมบัติมาก ในกรุง

พาราณสี ได้บังเกิดในท้องของธิดาเศรษฐี ชื่อนางสุชาดา ผู้ถวายข้าวปายาส

ผสมน้ำมันแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าถึงชื่อ เขาชื่อว่า ยสะ เป็นผู้ละเอียดอ่อน

อย่างยิ่ง ยสะนั้นมีปราสาท ๓ หลัง คือ หลังหนึ่ง สำหรับอยู่ในฤดูหนาว

หลังหนึ่งสำหรับอยู่ในฤดูร้อน หลังหนึ่งสำหรับอยู่ในฤดูฝน. เขาอยู่ในปราสาท

ฤดูฝน ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน มีนักดนตรีสตรีล้วนบำเรออยู่. มิได้ลงมา

ยังพื้นปราสาทชั้นล่างเลย. เขาอยู่บนปราสาทประจำฤดูหนาวตลอด ๘ เดือน

ปิดบานประตูหน้าต่างอย่างสนิทดี อยู่ประจำบนปราสาทนั้นนั่นแล. เขาอยู่

บนปราสาทประจำฤดูร้อน อันสมบูรณ์ด้วยบานประตูและหน้าต่างมากมาย

อยู่ประจำบนปราสาทนั้นนั่นแล. กิจการงานที่เกี่ยวกับการนั่งเป็นต้น บน

ภาคพื้นไม่มี เพราะมือและเท้าของเขาละเอียดอ่อน. เขาลาดพื้นให้เต็มไปด้วย

ปุยนุ่นและปุยงิ้วเป็นต้นแล้ว จึงทำการงานบนหมอนที่รองพื้นนั้น . เมื่อความ

เพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้ง ๕ กำลังบำเรอขับกล่อมอยู่ ยสกุลบุตรนอนหลับ

ก่อนเขา คล้ายเทวบุตรผู้อยู่ในเทวโลกอย่างนั้นแล แม้เมื่อพวกบริวารชน

นอนหลับ. และประทีปน้ำมันยังลุกโพลงอยู่ตลอดราตรี. ครั้นต่อมา ยสกุลบุตร

ตื่นก่อนเขาทั้งหมด ได้พบเห็นบริวารชนของตนนอนหลับใหล บางนางก็มี

พิณอยู่ที่รักแร้ บางนางก็มีตระโพนอยู่ที่ข้างลำคอ บางนางก็มีเปิงมางอยู่ที่

รักแร้ บางนางก็สยายผม บางพวกก็มีน้ำลายไหล บางพวกก็บ่นเพ้อละเมอ

บางพวกก็นอนแบมือคล้ายซากศพในป่าช้า ครั้นได้มองเห็นแล้ว โทษจึงได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 422

ปรากฏชัดแก่ยสกุลบุตรนั้น จิตเบื่อหน่ายแล้วมีความดำรงมั่น. ลำดับนั้นแล

ยสกุลบุตร จึงได้เปล่งอุทานว่า ผู้เจริญทั้งหลาย ที่นี่วุ่นวายหนอ ผู้เจริญ

ทั้งหลาย ที่นี่ขัดข้องหนอ.

ลำดับนั้นแล ยสกุลบุตรจึงสวมรองเท้าทองคำ เข้าไปยังประตู

นิเวศน์ พวกอมนุษย์เปิดประตูแล้วด้วยคิดว่า ใคร ๆ อย่าทำอันตรายแก่ยส-

กุลบุตร เพื่อจะได้ออกจากเรือนบวช ดังนี้. ลำดับนั้นแล ยสกุลบุตรจึงเข้า

ไปยังประตูพระนคร พวกอมนุษย์เปิดประตูแล้วด้วยคิดว่า ใคร ๆ อย่าทำ

อันตรายแก่ยสกุลบุตร เพื่อจะได้ออกจากเรือนไปบวชดังนี้. ลำดับนั้น ยส-

กุลบุตร จึงได้เข้าไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวันแล.

ก็ในสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จลุกขึ้นในเวลาเช้ามืด

เสด็จจงกรมในเวลาจงกรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นยสกุล-

บุตรแต่ไกลเทียว ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นแล้ว จึงเสด็จลงจากที่จงกรม

ประทับนั่งบนบัญญัตตาอาสน์. ลำดับนั้นแล ยสกุลบุตร ได้เปล่งอุทานในที่

ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้เจริญทั้งหลาย ที่นี่วุ่นวายหนอ ผู้เจริญ

ทั้งหลาย ที่นี่ขัดข้องหนอ ดังนี้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกะยสกุลบุตรนั้นว่า ยสะ

ที่นี่แลไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ยสะ เธอจงมานั่งเถิด เราจักแสดงธรรม

ให้เธอฟัง. ลำดับนั้นแล ยสกุลบุตร ดีใจร่าเริงว่า เราได้ยินว่าที่ไม่

วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้องดังนี้แล้ว ดีใจ ถอดรองเท้าทองคำออกแล้ว เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วจงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว ก็นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสแสดงอนุปุพพิกถา

คือ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษของกามทั้งหลาย ความต่ำช้าคือสังกิเลส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 423

แล้วทรงประกาศอานิสงส์ในเนกขัมมะ แก่ยสกุลบุตรผู้นั่งแล้ว ณ ส่วนข้างหนึ่ง

แล้วแล. ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงทราบถึงยสกุลบุตรนั้นว่า มี

จิตสมควร มีจิตอ่อนโยน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตร่าเริง มีจิตแจ่มใส

จึงได้ทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงเอง

อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค. จิตอันปราศจากธุลี จิตอัน

ปราศจากมลทิน คือธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแก่ยสกุลบุตร ณ ที่นั่งนั้นนั่นเองว่า

สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีเหตุเป็นแดนเกิด สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับเป็นธรรมดา

เปรียบเหมือนผ้าอันบริสุทธิ์ สะอาดปราศจากจุดดำ พึงควรรับน้ำย้อมที่ดีได้

ทันที.

ลำดับนั้นแล มารดาของยสกุลบุตรนั้น ไปยังปราสาท มองไม่เห็น

ยสกุลบุตร จึงเข้าไปหาท่านเศรษฐีคหบดี พอเข้าไปหาแล้วจึงกล่าวกะท่าน

เศรษฐีคฤหบดีนั่นว่า ท่านคฤหบดี ยสะ บุตรของท่านไม่เห็นปรากฏ. ลำดับ

นั้นแล ท่านเศรษฐีคหบดี จึงส่งพวกทูตม้าเร็วไปทั้ง ๔ ทิศแล้ว ตนเอง

ก็เข้าไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน. ท่านเศรษฐีคฤหบดี ได้พบแต่รองเท้า

ทองคำถอดไว้ ครั้นเห็นแล้ว จึงได้ติดตามเข้าไป. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้

ทอดพระเนตรเห็นเศรษฐีคฤหบดี ผู้มาแต่ที่ไกลทีเดียว ครั้น ได้ทอดพระ-

เนตรเห็นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงมีพระดำริว่า ไฉนหนอ เราพึง

แสดงฤทธิ์ให้เศรษฐีคฤหบดีผู้นั่งอยู่แล้วในที่นี้มองไม่เห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่

แล้วในที่นี่ ดังนี้. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้แสดงฤทธิ์อย่าง

พระดำริแล้ว. ลำดับนั้น เศรษฐีคฤหบดี จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี

พระภาคเจ้า ได้เห็นยสกุลบุตรบ้างไหม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 424

คฤหบดี เชิญนั่งก่อน ท่านนั่งแล้วในที่นี้ ก็จึงได้เห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่

แล้วในที่นี้ ต่อมาเศรษฐีคฤหบดี คิดว่า นัยว่าเรานั่งแล้วในที่นี้เท่านั้น จัก

ได้เห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่แล้วในที่นี้เป็นแน่ ดังนี้แล้ว จึงร่าเริงดีใจ ถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่งแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่เศรษฐีคฤหบดีผู้นั่งอยู่แล้ว ณ ที่สมควรนั้นแลฯลฯ

ท่านเศรษฐีคฤหบดี เป็นผู้มีความเชื่อในคำสั่งสอนของพระศาสดา โดยมิต้อง

อาศัยผู้อื่นเป็นปัจจัย ได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พระดำรัสน่ายินดียิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระดำรัสน่ายินดี

ยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของ

ที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือจุดไฟให้สว่างไสวในที่มืด ด้วยคิดว่า

รูปทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่คนนัยน์ตาดี ดังนี้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็

ฉันนั้นเช่นกัน ทรงแสดงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายแล้วแล. ข้าแต่พระ-

องค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมเจ้า และพระภิกษุ

สงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น ไป ข้าพระองค์ขอถึงสรณะจนตลอดชีวิต. ท่านเศรษฐีนั้น

ได้เป็นอุบาสก (ผู้กล่าวถึงสรณะ ๓) คนแรกในโลกแล.

ลำดับนั้นแล เมื่อพระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่บิดาของยสกุลบุตร

ยสกุลบุตรได้พิจารณาถึงภูมิธรรมตามที่คนเห็นแล้ว ตามที่ตนทราบแล้ว จิต

หลุดพ้นจากอาสาวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่น. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ทรงมีพระดำริว่า เมื่อเราแสดงธรรมแก่บิดาของยสกุลบุตร ยสกุล-

บุตรก็พิจารณาถึงภูมิธรรมตามที่ตนเห็นแล้ว ตามที่ตนทราบแล้ว จิตหลุดพ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 425

แล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่น ยสกุลบุตรไม่สมควรเวียนมา เพื่อ

ความเป็นคนเลว เพื่อบริโภคกามคุณ เหมือนคนครองเรือนในกาลก่อน

ถ้ากระไรเราพึงระงับอิทธาภิสังขารนั้นเสีย.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ทรงระงับอิทธาภิสังขารนั้นเสีย

ท่านเศรษฐีคฤหบดีได้เห็นแล้วซึ่งยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่แล้วแล ครั้นได้เห็นแล้ว

จึงได้กล่าวกะยสกุลบุตรนั้นว่า พ่อยสะเอ๋ย ! มารดาของเจ้า กำลังได้ประสบ

ความเศร้าโศกปริเทวนาการมาก เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาเถิด. ลำดับนั้นแล

ยสกุลบุตรได้แลดูพระผู้มีพระภาคเจ้า. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้

ตรัสกะท่านเศรษฐีคฤหบดีนั้นว่า ท่านคฤหบดี ท่านจะสำคัญยสกุลบุตรนั้น

อย่างไรธรรมที่ยสกุลบุตรได้เห็นแล้ว ได้ทราบแล้ว ด้วยเสกขญาณ ด้วยเสกข-

ทัสสนะเหมือนกับท่าน เมื่อยสกุลบุตรนั้น พิจารณาถึงภูมิธรรมตามที่ตน

เห็นแล้ว ตามที่ตนทราบแล้ว จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่น

เขาเป็นผู้สมควรเพื่อจะเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว เพื่อบริโภคกามคุณ

เหมือนคนครองเรือนในกาลก่อนอย่างนั้นหรือ. ท่านเศรษฐีกราบทูลว่า มิใช่

อย่างนั้น พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรมที่ยสกุลบุตร

ได้เห็นแล้ว ได้ทราบแล้วด้วยเสกขญาณ ด้วยเสกขทัสสนะ เหมือนกับท่าน

แต่เมื่อยสกุลบุตรนั้น ได้พิจารณาถึงภูมิธรรมตามที่ตนเห็นแล้ว ตามที่คน

ทราบแล้ว จิตก็หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่น ท่านคฤหบดี

ยสกุลบุตรแล เป็นผู้ไม่สมควรเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว เพื่อบริโภค

กามคุณ เหมือนกับคนครองเรือน ในกาลก่อนเลย. ท่านเศรษฐีคหฤบดี

ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเป็นลาภของยศกุลบุตรแล้วหนอ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ยสกุลบุตรได้ดีแล้วหนอ จิตของยสกุลบุตรหลุดพ้นแล้วจาก

อาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 426

จงทรงรับนิมนต์เสวยภัตตาหาร ในวันพรุ่งนี้ โดยมียสกุลบุตรเป็นปัจฉาสมณะ

เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพแล้ว. ลำดับนั้นแล

ท่านเศรษฐีคฤหบดี ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกขึ้น

จากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป. ลำดับ

นั้นแล ยสกุลบุตร เมื่อเศรษฐีคฤหบดีหลีกไปไม่นาน ก็ได้กราบทูลกะพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา

อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จง

เป็นภิกษุมาเถิด แล้วได้ตรัสว่า ธรรมเรากล่าวไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหม-

จรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด. พระวาจานั้นแลได้เป็นอุปสมบท

ของท่านผู้มีอายุนั้น.

ก็ครั้นท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประ-

กาศเรื่องราวที่ตนได้เคยประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า

มหาสมุทฺท โอคฺคยฺห ดังนี้ .

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมุทฺท มีความหมายว่า ชื่อว่า สมุทร

เพราะอันบุคคลพึงแสดงชี้ด้วยดี ด้วยแหวนตรา อีกความหมายหนึ่งชื่อว่า

สมุทร เพราะผุดขึ้น กระเพื่อม ชำระด้วยดี คือทำเสียงครั่นครื้น ย่อม

เคลื่อนไหวเป็นลูกคลื่น, สมุทรนั้นด้วย ใหญ่ด้วย ชื่อว่า มหาสมุทร ซึ่งมหา-

สมุทรนั้น . บทว่า โอคฺคยฺห ความว่า จมลงแล้ว เข้าไปภายในคือเข้าไป

ภายในมหาสมุทรนั้น ก็คำว่า โอคฺคยฺห ความว่าไหลท่วมเข้าไปในภายในคือ

ไหลเข้าไปภายในมหาสมุทรนั้น . บทนั้นพึงทราบว่าเป็นทุติยาวิภัตติ ลงใน

อรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ. บทว่า ภวน เม สุมาปิต ความว่า ชื่อว่า ภวนะ เพราะ

เป็นที่มี ที่เกิด ที่อยู่อาศัย คือ เป็นที่เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยอิริยาบถ ๔ ในที่อยู่

นั้น วิมานนั้นเป็นของเรา ปราสาทนั้นคือนครที่เราสร้างไว้แล้วเป็นอย่างดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 427

ด้วยเรือนยอดมีปราการ ๕ แห่ง หมายความว่า สร้างเป็นอย่างดีด้วยกำลังของ

ตน. บทว่า สุนิมฺมิตา โปกฺขรณี ความว่า ชื่อว่า โปกขรณี เพราะเป็นสระ

ใหญ่ดี ถึง ไป เป็นไป สร้างไว้แล้วโดยครู่เดียว อธิบายว่า เพราะสร้างให้

มีพร้อมด้วย ปลา เต่า ดอกไม้ ทราย ท่าลง และน้ำหวานเป็นต้น. บทว่า

จกฺกวากูปกูชิตา เชื่อมความว่า สระโปกขรณีนั้นมีนกจากพราก ไก่ป่า และ

หงส์ เป็นต้นร้องกึกก้องบันลือเสียง. เบื้องหน้าต่อแต่นี้ไป การพรรณนาถึง

แม่น้ำ ป่า สัตว์ปีกชนิดสองเท้าและสี่เท้า การได้พบเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า สุเมธะ และการนิมนต์แล้ว ถวายทานตามลำดับแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธะ ทุกประเด็นบัณฑิตพอจะกำหนดได้โดยง่ายทีเดียว.

ในบทว่า โลกาหุติปฏิคฺคห นี้ มีความหมายว่า เครื่องบูชาและ

สักการะในโลก เรียกว่า โลกาหุติ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรับเครื่อง

บูชาและสักการะของชาวโลก คือ กามโลก, รูปโลกอรูปโลก เพราะเหตุนั้น

จึงรวมเรียกว่า โลกาหุติปฏิคฺคห อธิบายว่า ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-

นามว่า สุเมธะ. เรื่องราวเกี่ยวกับการประทานพยากรณ์ และการบรรลุพระ-

อรหัตผลที่เหลือ บัณฑิตพอจะกำหนดรู้ได้โดยง่ายทีเดียว.

จบอรรถกถายสเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 428

นทีกัสสปเถราปทานที่ ๒ (๕๕๒)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระนทีกัสสปเถระ

[๑๔๒] ข้าพเจ้าปฏิเสธความเป็นผู้มียศ

สูงแล้ว บวชเป็นดาบส ถือเอาผลมะม่วงสุกอัน

มีรสเลิศ ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนาม

ว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นใหญ่ที่สุดในโลก ผู้คงที่

ผู้เป็นพระศาสดา ซึ่งกำลังเสด็จจาริกไป เพื่อ

บิณฑบาต.

ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้าได้อุปบัติเป็น

จอมเทวดา เป็นนราสพ ผู้เป็นใหญ่ในโลก ได้

ดำรงตำแหน่งอันมั่นคง ครั้นละโลกนั้นแล้ว ก็

เป็นผู้มีชัยในเบื้องหน้า.

ในแสนกัปแต่กัปนี้ ข้าพเจ้าได้ถวาย

ผลไม้ใดไว้ ในครั้งนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น

ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติเลย อันนี้เป็นผลแห่งการ

ถวายผลไม้อันมีรสเลิศ.

ข้าพเจ้า ได้เผากิเลสทั้งหลายชิ้นแล้ว

ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้าได้เป็นผู้มาดีแล้วแล คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 429

ปฏิสัมภิทา ๔ ฯลฯ คำสอนของพระพุทธ-

เจ้า ข้าพเจ้าได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระนทีกัสสปเถระ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ไว้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบนทีกัสสปเถราปทาน

๕๕๒. อรรถกถานทีกัสสปเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระนทีกัสสปเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺส

ภวคโต ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระ-

องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ

นั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิด

ในเรือนอันมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่งได้มองเห็นพระศาสดาเสด็จไป

บิณฑบาตแล้ว มีใจเลื่อมใส ได้น้อมถวายผลมะม่วงผลหนึ่ง มีสีดุจมโนศิลา

ซึ่งบังเกิดผลครั้งแรก ของต้นมะม่วงที่ตนเองปลูกไว้. ด้วยบุญกรรมอันนั้น

เขาจึงท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษย์โลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิด

เป็นน้องชายของท่านอุรุเวลกัสสปะ. ในตระกูลพราหมณ์ ในแคว้นมคธะ ไม่

ปรารถนาอยู่เป็นฆราวาส เพราะมีอัธยาศัยเพื่อออกจากทุกข์ จึงบวชเป็น

พระดาบสได้พร้อมกับพวกพระดาบสจำนวน ๓๐๐ คน ช่วยกันสร้างอาศรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 430

อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา. ได้มีสมัญญาว่า นทีกัสสปะ เพราะอาศัยอยู่ใกล้ฝั่ง

แม่น้ำ และเพราะมีโคตรว่ากัสสปะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานอุป-

สมบท ด้วยความเป็นเอหิภิกขุแก่เขาพร้อมทั้งบริษัทด้วย. นทีกัสสปะนั้น

ดำรงอยู่ในพระอรหัต ด้วยพระธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตรของพระผู้มี

พระภาคเจ้า ณ คยาสีสประเทศ.

ในเรื่องนั้น มีอนุปุพพิกถาดังต่อไปนี้ :- พระศาสดาทรงประทาน

อนุญาตให้ยสกุลบุตรได้บวชแล้ว ได้เสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาเพื่อทรมานชฎิล

๓ พี่น้อง ณ อุรุเวลาประเทศ. ก็โดยสมัยนั้นแล ชฎิล ๓ พี่น้องคือ อุรุเวล-

กัสสปะ นทีกัสสปะและคยากัสสปะ ย่อมอยู่อาศัยในอุรุเวลประเทศ บรรดา

ชฎิลทั้ง ๓ นั้น อุรุเวลกัสสปชฎิล เป็นผู้นำ เป็นหัวหน้า เป็นผู้เลิศ เป็น

ประมุข เป็นปาโมกข์ ของพวกชฎิล ๕๐๐ คน, นทีกสัสปชฎิล เป็นผู้นำ

เป็นหัวหน้า เป็นผู้เลิศ เป็นประมุข เป็นปาโมกข์ ของพวกชฎิล ๓๐๐ คน,

คยากัสสปชฎิลก็เป็นผู้นำ เป็นหัวหน้า เป็นผู้เลิศ เป็นประมุข เป็นปาโมกข์

ของพวกชฎิล ๒๐๐ คน. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปยังอาศรม

ของอุรุเวลกัสสปชฎิล ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้ตรัสกะอุรุเวลกัสสปชฎิลนั้นว่า

กัสสปะ ถ้าท่านไม่มีความหนักใจแล้วไซร้ เราจะขอพักอาศัยอยู่ที่โรงไฟนี้

สักราตรีหนึ่งเถิด. อุรุเวลกัสสปะ กล่าวว่า มหาสมณะ เราไม่มีความหนักใจ

อะไรเลย แต่ว่า นาคราชดุร้าย มีฤทธิ์ มีพิษ มีพิษร้ายแรงอาศัยอยู่ในโรงไฟ

นั้น เขาอย่าเบียดเบียนท่านเลย, แม้ถึงวาระที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้

ตรัสกะอุรุเวลกัสสปชฎิลนั้นอีก ฯลฯ แม้ถึงวาระที่ ๓ ฯลฯ เขาอย่าเบียดเบียน

ท่านเลย พระศาสดาตรัสว่า ถึงอย่างไร เขาก็ไม่เบียดเบียนเราดอก กัสสปะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 431

ขอท่านจงอนุญาตโรงไฟให้เถิด. อุรุเวลกัสสปะกล่าวว่ามหาสมณะ ตามใจ

ท่าน ท่านจงอยู่ตามสบายเถิด. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จ

เข้าไปยังโรงไฟ ทรงปูลาดสันถัดหญ้า ประทับนั่ง คู้บัลลังก์ ทรงตั้งพระกาย

ตรง ดำรงพระสติไว้เฉพาะหน้าอย่างนั้นคง.

นาคราชนั้น ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปแล้ว เดือดดาลใจ

จึงบังหวนควัน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงมีพระดำริว่า ถ้า

อย่างไรเราพึงครอบงำเดชด้วยเดชให้จรดผิวหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อใน

กระดูกของนาคราชนี้. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรุงแต่งอิทธาภิ-

สังขารเช่นนั้น ทรงบังหวนควันแล้ว. ลำดับนั้นแลนาคราชนั้น ไม่สามารถ

จะอดทนความลบหลู่ได้โพลงไฟขึ้นแล้ว. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ทรงเข้า

เตโชกสิณโพลงไฟขึ้นแล้ว.

โรงไฟมีกองไฟ ๒ กองลุกโพลง ดุจแสงพระอาทิตย์ ลุกโชติช่วง

โพลงไปทั่ว . ลำดับนั้นแล พวกชฎิลเหล่านั้น พากันแวดล้อมโรงไฟแล้ว

กล่าวอย่างนี้ว่า ชาวเราเอ๋ย ! พระมหาสมณะผู้มีพระรูปพระโฉมอันแสนจะ

งดงาม กำลังถูกนาคราชเบียดเบียนอยู่. ลำดับนั้นแล เมื่อราตรีนั้นผ่านไป

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงใช้เดชครอบงำเดชของนาคราชนั้น จนจรดถึง ผิว

หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก และเยื่อในกระดูกแล้วจับใส่ในบาตร แสดงให้

อุรุเวลกัสสปชฎิลได้เห็นประจักษ์แล้ว. ตรัสว่า กัสสปะ นาคราชของท่านนี้

ได้ถูกเราใช้เดชครอบงำเดชจนหมดฤทธิ์แล้ว. ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสป-

ชฎิลได้มีความคิดว่า พระมหาสมณะนี้ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากนักหนา

จึงได้ใช้เดชครอบงำเดชของนาคราชที่ดุร้ายมีฤทธิ์ มีพิษ มีพิษร้ายแรงนี้ได้

ถึงกระนั้น ก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 432

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ใกล้แม่น้ำ

เนรัญชราได้ตรัสกะอุรุเวลกัสสปชฎิลว่า กัสสปะ

ถ้าว่าความไม่หนักใจ มีอยู่แก่ท่านไซร้ วันนี้

เราจะขอพักอาศัยอยู่ ณ ที่โรงไฟ.

อุรุเวลกัสสปะกล่าวว่า มหาสมณะ ข้าพ-

เจ้าไม่มีความหนักใจแต่อย่างไรเลย ข้าพเจ้าผู้

ประสงค์ความผาสุก จึงห้ามท่านว่า นาคราชดุร้าย

มีฤทธิ์ มีพิษ มีพิษร้ายนี้อยู่ในที่นั้น นาคราชนั้น

อย่าเบียดเบียนท่านเลย.

พระศาสดาตรัสว่า ถึงอย่างไร นาคราช

ก็ไม่พึงเบียดเบียนเราแน่ กัสสปะ ขอท่านจง

อนุญาตโรงไฟให้เราเถิด.

พระศาสดาทรงทราบว่า อุรุเวลกัสสปะ

นั้น อนุญาตให้แล้ว ไม่ทรงหวาดกลัว ก้าวล่วง

เสียได้ซึ่งภัย เสร็จเข้าไปแล้ว.

นาคราช พอได้เห็นพระฤาษีเจ้า (พระ-

พุทธเจ้า) เข้าไปจึงเดือดดาลใจ บังหวนควันแล้ว

พระศาสดา ทรงมีพระหทัยอันสม่ำเสมอ มีน้ำ

พระทัยเยี่ยมยอด แม้ (จะถูก) นาคราชในร่าง

มนุษย์ บังหวนควันในที่นั้นก็ตาม.

ส่วนนาคราชไม่สามารจะอดกลั้น ต่อ

ความลบหลู่ได้ ได้บังหวนควันโพลงไฟทั่วแล้ว.

พระศาสดาทรงเป็นผู้ฉลาดอย่างยอดเยี่ยมในเตโซ-

ธาตุกสิน ได้ทรงบังหวนควันจนโพลงไฟทั่วแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

โรงไฟมีเปลวไฟโพลงของทั้งสองฝ่าย ลุกโพลง

โชติช่วง ดุจแสงพระอาทิตย์. พวกชฎิลพากัน

พูดว่า ชาวเราเอ๋ย ! พระมหาสมณะ ผู้มีรูปงาม

ยิ่ง กำลังถูกนาคราชเบียดเบียนอยู่.

พอราตรีนั้นผ่านไป เปลวไฟของนาคราช

นั้นก็ถูกเบียดเบียน. ส่วนพระศาสดาก็คงทรงมี

พระฤทธิ์อยู่ เปลวไฟจึงมีวรรณะมากมายที่พระกายของ

พระอังคีรส. พระศาสดา ทรงให้นาคาราชขดลง

ในบาตรแล้ว แสดงแก่พราหมณ์ว่า กัสสปเอ่ย

นี่อย่างไร นาคราชของท่านถูกเราใช้เดชทำลาย

เดชของนาคราชนั้นแล้วแล.

ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสปฎิล เลื่อมใสยิ่งแล้วในอิทธิปาฏิหาริย์

นี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระมหาสมณะ ขอพระองค์จงประทับอยู่ในที่นี้เท่านั้นเถิด ข้าพเจ้า จักถวาย

ภัตรเป็นประจำแก่พระองค์.

จบปาฏิหาริย์ครั้งแรก

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในราวป่าแห่งหนึ่ง

ซึ่งไม่ไกลจากอาศรมของอุรุเวลกัสสปชฎิลนัก. ลำดับนั้นแล ท้าวมหาราช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 434

ทั้ง ๔ เมื่อปฐมยามแห่งราตรีล่วงไปแล้ว มีรัศมีงดงามยิ่งนัก ยังราวป่าทั้งสิ้น

ให้สว่างไสวแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยืนอยู่ทั้ง ๔ ทิศ เปรียบเหมือนกองไฟใหญ่.

ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสปชฎิล พอราตรีนั้นล่วงพ้นไป จึงเข้าไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระมหาสมณะ บัดนี้ถึงเวลาแล้ว ภัตรสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ข้าแต่

พระมหาสมณะ เมื่อปฐมยามแห่งราตรีล่วงไปแล้ว ใครหนอแลมีรัศมีงดงาม

ยิ่งนัก ยังราวป่าทั้งสิ้นให้สว่างไสวแล้ว จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระองค์ ครั้น

เข้าไปเฝ้าแล้ว ได้ถวายบังคมพระองค์แล้ว ได้ยืนอยู่ในทิศทั้ง ๔ เปรียบด้วย

กองไฟอันใหญ่ยิ่ง. พระศาสดาตรัสว่า กัสสป ท่านเหล่านั้นคือท้าวมหาราช

ทั้ง ๔ เข้ามาหาเราก็เพื่อฟังธรรม. ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสปชฎิลได้มีความ

คิดว่า พระมหาสมณะทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ซึ่งท้าวมหาราชทั้ง

๔ เข้าเฝ้าเพื่อฟังธรรม ถึงอย่างไร ก็ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยภัตรของอุรุเวลกัสสปชฎิลแล้วประทับ

อยู่ในราวป่านั้นนั่นแล.

จบปาฏิหาริย์ครั้งที่สอง

ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะเทวานมินทะ เมื่อปฐมยามแห่งราตรีล่วงพ้น

ผ่านไป มีรัศมีงดงามยิ่งนัก ยังราวป่าทั้งสิ้นให้สว่างไสวเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ประทับยืน ณ ที่สมควรด้านหนึ่งเปรียบเหมือนกองไฟใหญ่ มีรัศมีมากกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 435

และประณีตกว่ารัศมีสีแสงที่มีมาก่อน. ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสปชฎิล เมื่อ

ราตรีนั้นล่วงผ่านไป จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วได้

กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระมหาสมณะ บัดนี้ถึงเวลาแล้ว ภัตร

สำเร็จเรียบร้อยแล้ว ข้าแต่พระมหาสมณะ ใครกันหนอแล เมื่อปฐมยามแห่ง

ราตรีผ่านไป มีรัศมีงดงามยิ่งนัก ยังราวป่าทั้งสิ้นไห้สว่างไสว เข้าไปเฝ้า

พระองค์ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วได้ถวายบังคมพระองค์ ยืนอยู่ ณ ที่สมควรข้าง

หนึ่ง เปรียบเหมือนกองไฟใหญ่ยิ่งมีรัศมีมากกว่า และประณีตกว่ารัศมีสีแสง

ที่มีมาก่อน. พระศาสดาตรัสว่า กัสสป ผู้นั้นคือท้าวสักกะเทวานมินทะ เข้า

มาหาเราก็เพื่อฟังธรรม. ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสปชฎิลได้มีความคิดว่า

พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ซึ่งแม้ท้าวสักกะเทวานมินทะ

ก็ยังเข้ามาเฝ้าเพื่อฟังธรรม ถึงอย่างไรก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสวยภัตรของอุรุเวลกัสสปชฎิลแล้ว

ประทับอยู่ที่ราวป่านั้นนั่นแล.

จบปาฏิหาริย์ครั้งที่สาม

ลำดับนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม เมื่อปฐมยามแห่งราตรีผ่านพ้นไป

ทรงมีรัศมีงดงามยิ่งนัก ยังราวป่าทั้งสิ้นให้สว่างไสวแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้า ครั้น เข้าไปเฝ้าแล้ว ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ยืนอยู่ ณ

ที่สมควรข้างหนึ่ง เปรียบเหมือนกองไฟอันใหญ่ยิ่ง มีรัศมีมากกว่า และประณีต

กว่าแสงสีที่มีมาก่อน. ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสปชฎิลเมื่อราตรีนั้นผ่านพ้น

ไป จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ได้กราบทูลกะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 436

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระมหาสมณะ บัดนี้ถึงเวลาแล้ว ภัตรสำเร็จ

เรียบร้อยแล้ว ข้าแต่พระมหาสมณะ ใครหนอแล เมื่อปฐมยามแห่งราตรี

ผ่านไปแล้ว ทรงมีพระรัศมีงดงามยิ่งนัก ยังราวป่าทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้า

ไปเฝ้าพระองค์ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระองค์แล้วได้ยืน ณ ที่สมควร

ข้างหนึ่ง เปรียบเหมือนกองไฟอันใหญ่ยิ่ง มีรัศมีมากกว่าและประณีตกว่า

แสงสีที่มีมาก่อน พระศาสดาตรัสว่า กัสสป ผู้นั้นคือท้าวสหัมบดีพรหม เข้า

มาหาเรา เพื่อฟังธรรม. ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสปชฎิลได้มีความคิดว่า

พระมหาสมณะ ทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ซึ่งแม้ท้าวสหัมบดีพรหม

ยังเข้าไปเฝ้าเพื่อฟังธรรมเลย ถึงอย่างไรก็คงไม่เป็นพระอรหันต์ เหมือนเรา

แน่นอน. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เสวยภัตรของอุรุเวลกัสสปชฎิล

แล้ว ประทับอยู่ที่ราวป่านั้นนั่นแล.

จบปาฏิหาริย์ครั้งที่สี่

ก็โดยสมัยนั้นแล มหายัญ ได้ตั้งขึ้นเฉพาะแล้วเพื่ออุรุเวลกัสสปชฎิล

และชาวแคว้นอังคะและมคธะทั้งสิ้น ตั้งใจถือเอาขาทนียะโภชนียะเป็นอันมาก

มุ่งหน้าไป. ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสปชฎิล ได้มีความคิดว่า บัดนี้มหายัญ

ตั้งขึ้นแล้วเพื่อเรา ชาวแคว้นอังคะและมคธะทั้งสิ้น จักถือเอาขาทนียะ

โภชนียะเป็นอันมากมุ่งหน้าไป ถ้าว่า พระมหาสมณะ จักกระทำอิทธิปาฏิหาริย์

ในหมู่มหาชน ลาภและสักการะจักเจริญยิ่งแก่พระมหาสมณะ ลาภและสักการะ

ของเราจักเสื่อมไป โอ ทำไฉน พระมหาสมณะจะไม่พึงมาในวันพรุ่งนี้. ลำดับ

นั้นแล พระมีผู้พระภาคเจ้า ได้ทรงทราบถึงความปริวิตกทางใจ ของอุรุเวล-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 437

กัสสปชฎิลด้วยใจแล้ว เสด็จไปยังอุตตรกุรุ ทรงนำเอาบิณฑบาตมาจากที่

นั้นแล้ว เสวยใกล้สระอโนดาตแล้ว ได้ทรงกระทำการพักผ่อนเวลากลางวัน

ในที่นั้นนั่นแหสะ. ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสปชฎิลครั้นราตรีนั้นล่วงผ่าน

ไปแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงได้กราบทูล

กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระมหาสมณะ บัดนี้ถึงเวลาแล้ว ภัตรเสร็จ

เรียบร้อยแล้ว ข้าแต่พระมหาสมณะ เพราะเหตุไรหนอ เมื่อวานนี้พระองค์

จึงไม่เสด็จมา อนึ่งพวกเรานึกถึงพระองค์ เพราะเหตุไรหนอ พระมหาสมณะ

จึงไม่เสด็จมา พวกเราได้แบ่งขาทนียะและโภชนียะวางไว้สำหรับพระองค์แล้ว.

พระศาสดาตรัสว่า กัสสป เธอได้มีความคิดอย่างนี้มิใช่หรือว่า บัดนี้แล มหายัญ

เกิดขึ้นเฉพาะเพื่อเรา และชาวแคว้นอังคะและมคธะทั้งสิ้น จักถือเอาขาทนียะ

โภชนียะเป็นอันมากมุ่งหน้าไป ถ้าว่าพระมหาสมณะจักกระทำอิทธิปาฏิหาริย์

ในหมู่มหาชนไซร้ ลาภและสักการะของพระมหาสมณะก็จักเจริญยิ่งขึ้น ส่วน

ลาภและสักการะของเราก็จักเสื่อมสิ้นไป โอ ทำไฉน พระมหาสมณะ จะไม่

พึงมาในวันพรุ่งนี้ ดังนั้น ดูก่อนกัสสป เรานั้นแล ได้ทราบความปริวิตก

ทางใจของท่านด้วยใจ จึงไปยังอุตตรกุรุ นำเอาบิณฑบาตมาจากที่นั้นแล้ว

ฉันใกล้สระอโนดาต ได้ทำการพักผ่อนกลางวันในที่นั้นนั่นเอง. ลำดับนั้นแล

อุรุเวลกัสสปชฎิลได้มีความคิดว่า พระมหาสมณะทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ

มาก จึงจักทราบชัดถึงจิตใจได้ด้วยใจ ชื่อเห็นปานนี้ ถึงอย่างไรก็ไม่เป็น

พระอรหันต์เหมือนเราแน่. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสวยภัตร

ของอุรุเวลกัสสปชฎิลแล้ว ประทับอยู่ ณ ราวป่านั้นนั่นแล.

จบปาฏิหาริย์ครั้งที่ห้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 438

ก็โดยสมัยนั้นแล ผ้าบังสุกุลเกิดขึ้นแล้ว แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงมีพระดำริว่าเราจะพึงชักผ้าบังสุกุล

ในที่ไหนหนอแล. ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะเทวานมินทะ ได้ทรงทราบถึง

ความปริวิตกแห่งพระทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจแล้ว จึงใช้มือขุด

สระโบกขรณีเสร็จแล้ว ก็กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงซักผ้าบังสุกุลในที่สระโบกขรณีนี้เถิด.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงมีพระดำริว่า เราพึงขยำผ้าบังสุกุล

ณ ที่ไหนหนอแล. ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะเทวานมินทะ ได้ทรงทราบความ

ปริวิตกแห่งใจของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจแล้ว จึงทรงยกแผ่นศิลาใหญ่

มาวางไว้แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจง

ขยำผ้าบังสุกุล ณ ที่แผ่นศิลานี้เถิด. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้

ทรงมีพระดำริว่า เราจะพึงห้อยตากผ้าบังสุกุลในที่ไหนหนอแล. ลำดับนั้นแล

เทพยดาผู้สิงสถิตอยู่ ณ ที่นี้ไม้รกฟ้า ได้ทราบถึงความปริวิตกแห่งใจของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจแล้ว จึงน้อมเอากิ่งไม้ลงมาแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงตากผ้าบังสุกุลไว้ที่กิ่งไม้นี้. ครั้ง

นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงมีพระดำริว่า เราพึงเปลี่ยนผ้าบังสุกุลใน

ที่ไหนหนอแล. ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะเทวานมินทะ ได้ทรงทราบความ

ปริวิตกแห่งใจของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจแล้ว จึงได้ยกเอาแผ่นศิลาใหญ่

มาวางไว้แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

เปลี่ยนผ้าบังสุกุล ณ ที่นี้เถิด. ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสปชฎิลพอเมื่อราตรี

นั้นผ่านพ้นไปแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 439

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระมหาสมณะ บัดนี้ถึงกาลเวลา

แล้ว ภัตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ข้าแต่พระมหาสมณะ เพราะเหตุไรในกาล

ก่อนโบกขรณีนี้ไม่มีในที่นี้ เย็นนี้จึงมีสระโบกขรณีในที่นี้ได้ ก้อนศิลา

นี้ในกาลก่อนไม่มีวางไว้ ใครยกเอาก้อนศิลานี้มาวางไว้ กิ่งแห่งต้นรกฟ้า

นี้ในกาลก็มิได้น้อมลง เย็นนี้ก็มีกิ่งไม้น้อมลงแล้ว. พระศาสดาตรัสว่า

ดูก่อนกัสสป ผ้าบังสุกุลได้เกิดขึ้นแก่เราในที่นี้ ดูก่อนกัสสป เราได้มีความ

ดำรินี้ว่า เราจะพึงซักผ้าบังสุกุลในที่ไหนหนอแล กัสสป ลำดับนั้นแล ท้าว

สักกะเทวานมินทะ ได้ทราบถึงความปริวิตกแห่งใจของเราด้วยใจ จึงใช้

ฝ่ามือขุดสระโบกขรณีแล้ว ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจงซักผ้าบังสุกุลในที่นี้เถิด. ดูก่อนกัสัสป เย็นนี้ เท1า

ซึ่งมิใช่มนุษย์ใช้ฝ่ามือขุดเป็นสระโบกขรณี ดูก่อนกัสสป เราได้มีความ

ดำริว่า เราจะพึงขยำผ้าบังสุกุลในที่ไหนหนอแล ดูก่อนกัสสป ลำดับนั้นแล

ท้าวสักกะเทวานมินทะ ได้ทราบถึงความปริวิตกแห่งใจของเราด้วยใจ จึงได้

เอาแผ่นศิลาใหญ่มาวางไว้ กราบทูล ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้า จงขยำผ้าบังสุกุล ณ ที่แผ่นศิลานี้เถิด ดูก่อนกัสสป เย็นวานนี้

เทวดามิใช่มนุษย์จึงได้วางแผ่นศิลาไว้แล้ว ดูก่อนกัสสป เราได้มีความดำริว่า

เราจะพึงตากผ้าบังสุกุลในที่ไหนหนอแล ดูก่อนกัสสป ลำดับนั้นแล เทพยดา

ผู้สิงสถิตอยู่ ณ ต้นรกฟ้า ได้ทราบถึงความปริวิตกแห่งใจของเราด้วยใจแล้ว

จึงน้อมเอากิ่งไม้ลงมาแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี-

พระภาคเจ้าจงห้อยตาก ณ ที่กิ่งไม้นี้เถิด ก็ต้นรกฟ้านั้นสูงแค่มือเอื้อมถึง. ดู

ก่อนกัสสป เราได้มีความดำริว่าเราจะพึงเปลี่ยนผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 440

ดูก่อนกัสสป ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะเทวานมินทะได้ทราบถึงความปริวิตก

แห่งใจของเราด้วยใจ ยกเอาแผ่นศิลาใหญ่มาวางไว้แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปลี่ยนผ้าบังสุกุล ณ ที่นี่เถิด

ดูก่อนกัสสป แผ่นศิลานี้เทวดามิใช่มนุษย์ยกมาวางไว้ ลำดับนั้นแล ท่าน

อุรุเวลกัสสปได้มีความคิดว่า พระมหาสมณะนี้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก

ซึ่งแม้ท้าวสักกะเทวานมินทะก็ยังมาทำการช่วยเหลือถึงที่ ถึงอย่างไรก็ไม่เป็น

พระอรหันต์เหมือนเราแน่. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสวยภัตรของ

อุรุเวลกัสสปชฎิลแล้วประทับอยู่ ณ ราวป่านั้นนั่นแล.

ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสปชฎิล พอเมื่อราตรีนั้นผ่านพ้นไปแล้ว จึง

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นพอเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงกราบทูลภัตกาลแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระมหาสมณเจ้า บัดนี้ถึงภัตกาลแล้ว ภัตร

เสร็จเรียบร้อยแล้ว. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนกัสสป เธอไปก่อนเถอะแล้ว

เราจะตามไป ดังนี้แล้ว เสด็จส่งท่านอุรุเวลกัสสปชฎิล. ชมพูทวีป ย่อม

ปรากฏมีต้นหว้า จึงทรงถือเอาผลจากต้นหว้านั้นแล้ว รีบเสด็จมาประทับ

นั่ง ณ ที่โรงไฟก่อนกว่า. อุรุเวลกัสสปชฎิลพอได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับนั่ง ณ ที่โรงไฟจึงกราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระสมณะ

พระองค์เสด็จมาโดยหนทางไหน พระเจ้าข้า ข้าพระองค์หลีกไปก่อนกว่า

พระองค์ แต่ทำไม พระองค์จึงมาถึงก่อนกว่าข้าพระองค์ แล้วยังประทับนั่ง

ณ ที่โรงไฟ (อย่างสำราญเสียอีก). พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนกัสสป เราส่ง

เธอ ณ ที่นั่นแล้ว ชมพูทวีปเกิดมีต้นหว้าใหญ่ เราจึงเก็บผลหว้าจากต้นหว้า

นั้นแล้ว มานั่ง ณ โรงไฟก่อนกว่า ดูก่อนกัสสป ผลหว้านี้แล สมบูรณ์ด้วยสี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 441

สมบูรณ์ด้วยกลิ่น สมบูรณ์ด้วยรสชาติ ถ้าเธอประสงค์ ก็จงบริโภคเถิด.

อุรุเวลกัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาสมณะ พอแล้ว พระองค์เท่านั้น

สมควรแก่ผลไม้นั้น พระองค์เท่านั้น จงบริโภคผลไม้นั้นเถิด. ลำดับนั้นแล

อุรุเวสกัสสปชฎิลได้มีความคิดว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ

มากแล ทรงส่งเราให้ไปก่อนกว่าแล้ว ชมพูทวีปก็ปรากฏมีต้นหว้าขึ้น เก็บ

ผลไม้จากต้นหว้านั้น มาถึงประทับนั่ง ณ โรงไฟก่อนกว่าเรา ถึงอย่างไรก็

คงไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวย

ภัตรของอุรุเวลกัสสปชฎิลแล้ว ประทับอยู่ ณ ราวป่านั้นแล.

ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสปชฎิล เมื่อพอว่าราตรีนั้นล่วงไปแล้วจึง

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงได้กราบทูลภัตกาลให้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ข้าแต่พระมหาสมณะ บัดนี้ถึงภัตกาลแล้ว

ภัตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนกัสสป เธอจงไปก่อน

เราจะตามไปแล้วทรงส่งอุรุเวลกัสสปชฏิลไป ชมพูทวีปปรากฏมีต้นหว้าขึ้น

ต้นมะม่วงมีไม่ไกลต้นหว้านั้นนัก ฯลฯ ต้นมะขามป้อมมีไม่ไกลต้นหว้านั้น

นัก ฯลฯ ต้นสมอไทยมีไม่ไกลต้นหว้านั้นนัก ฯลฯ จึงไปยังดาวดึงส์ ถือเอา

ดอกปาริฉัตตกะมาประทับนั่ง ณ โรงไฟก่อนกว่า. อุรุเวลกัสสปชฎิล ได้เห็น

แล้วแลซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่ง ณ โรงไฟ ครั้นได้เห็นแล้วจึงได้

กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระมหาสมณะ พระองค์เสด็จมาโดย

หนทางไหน ข้าพระองค์หลีกไปก่อนกว่าพระองค์ พระองค์นั้นกลับมาประทับ

นั่ง ณ โรงไฟก่อนกว่าข้าพระองค์. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนกัสสป เราส่ง

เธอในที่นั้นแล้ว ก็ไปยังดาวดึงส์ ถือเอาดอกปาริฉัตตกะ มานั่ง ณ โรงไฟ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 442

ก่อนกว่า ดูก่อนกัสสป ดอกปาริฉัตตกะนี้แล สมบูรณ์ด้วยสี สมบูรณ์ด้วย

กลิ่น ถ้าเธอประสงค์ ก็จงถือเอาเถิด. อุรุเวลกัสสป กราบทูลว่า ข้าแต่

พระมหาสมณะ พอแล้ว พระองค์เท่านั้น สมควรแก่ดอกไม้นั้น พระองค์

เท่านั้น จงถือเอาดอกไม้นั้นเถิด. ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสปชฎิลได้มีความ

คิดว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากมายนักแล ทรงส่งเราไป

ล่วงหน้าก่อนแล้ว พระองค์เสด็จไปยังดาวดึงส์ เลือกเก็บดอกปาริฉัตตกะแล้ว

มาประทับนั่ง ณ โรงไฟก่อนกว่าเราอีก ถึงอย่างไรก็คงไม่เป็นพระอรหันต์

เหมือนเราแน่.

ก็โดยสมัยนั้นแล พวกชฎิลเหล่านั้น มีความประสงค์เพื่อจะทำการ

บูชาไฟ แต่ไม่อาจเพื่อจะฝ้าฟืนได้. ลำดับนั้นแล พวกชฎิลเหล่านั้นจึงได้มี

ความคิดว่า ต้องเป็นอิทธานุภาพของพระมหาสมณะเป็นแน่ อย่างมิต้องสงสัย

พวกเราจึงไม่อาจจะฝ่าฟืนได้. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัส

กะอุรุเวลกัสสปชฎิลนั้นว่า ดูก่อนกัสสป พวกของเธอจงฝ่าฟืนเถิด. อุรุเวล-

กัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาสมณะ พวกชฎิลจะฝ่าฟืน. พวกชฎิลได้ฝ่าฟืน

๕๐๐ ท่อนครั้งเดียวเท่านั้น . ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสปชฎิลได้มีความคิดว่า

พระมหาสมณะทรงมีฤทธิ์มาก ทรงมีอานุภาพมากนักแล ทรงบันดาลให้

พวกเราฝ่าฟืนทั้งหลายได้ ถึงอย่างไรก็คงจะไม่เป็นพระอรหันต์ เหมือนเรา

แน่.

ก็โดยสมัยนั้นแล พวกชฎิลเหล่านั้น มีความประสงค์จะบูชาไฟแต่

ไม่อาจเพื่อจะก่อไฟได้. ลำดับนั้นแล พวกชฎิลเหล่านั้น ได้มีความคิดว่า คง

จะเป็นอิทธานุภาพของพระมหาสมณะแน่นอน อย่างมิต้องสงสัย พวกเราจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 443

ไม่อาจเพื่อจะก่อไฟได้. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสกะ

อุรุเวลกัสสปชฎิลนั้นว่า ดูก่อนกัสสป ไฟจงลุกโพลงขึ้นเถิด. อุรุเวลกัสสป

กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาสมณะ ขอไฟจงลุกโพลงขึ้นเถิด. พวกชฎิลได้ให้

กองไฟ ๕๐๐ กองลุกโพลงขึ้นแล้วคราวเดียวเท่านั้น . ลำดับนั้นแล อุรุเวล-

กัสสปชฎิลได้มีความคิดนี้ว่า พระมหาสมณะ ทรงมีฤทธิ์มาก ทรงมีอานุ-

ภาพมากนักแล ทรงสามารถบันดาลแม้กระทั่งไฟให้ลุกโพลงขึ้นได้ ถึงอย่าง

ไรก็คงไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

ก็โดยสมัยนั้นแล พวกชฎิลเหล่านั้นบูชาไฟแล้ว แต่ไม่สามารถเพื่อ

จะทำการดับไฟได้. ลำดับนั้นแล พวกชฎิลเหล่านั้นได้มีความคิดนี้ว่า คง

เป็นอิทธานุภาพของพระมหาสมณะอย่างมิต้องสงสัย พวกเราจึงไม่สามารถ

เพื่อจะทำการดับไฟได้. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสกะ

อุรุเวลกัสสปชฎิลนั้นว่า ดูก่อนกัสสป พวกชฎิลจงดับไฟเถิด. อุรุเวลกัสสป

กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาสมณะ พวกชฎิลจงดับไฟเถิด. พวกชฎิลพากันดับ

ไฟ ๕๐๐ กองคราวเดียวเท่านั้น. ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสปชฎิลได้มีความ

คิดนี้ว่า พระมหาสมณะทรงมีฤทธิ์มาก ทรงมีอานุภาพมากนักแล ซึ่งบันดาล

ให้เราดับไฟได้. ถึงอย่างไรก็คงไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

ก็โดยสมัยนั้นแล ในราตรีที่เย็นหนาว ในสมัยที่มีหิมะตกในวันที่

หนาวที่สุด ๘ วันในฤดูหิมะตก พวกชฎิลเหล่านั้น ต่างก็พากันอาบน้ำโผล่ขึ้น

บ้าง ดำลงบ้างในแม่น้ำเนรัญชรา กระทำการโผล่ขึ้นและดำลงบ้าง. ลำดับ

นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ทรงเนรมิตเชิงกรานก่อไฟขึ้นประมาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 444

๕๐๐ ที่ซึ่งพวกชฎิลเหล่านั้นต่างก็พากันผิงไฟ. ลำดับนั้นแล พวกชฎิล

เหล่านั้นจึงคิดว่า คงจะเป็นอิทธานุภาพของพระมหาสมณะเป็นแน่มิต้องสงสัย

จึงเกิดมีการเนรมิตเชิงกรานก่อไฟขึ้น. ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสปชฎิล ได้

มีความคิดขึ้นว่า พระมหาสมณะ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากนักแล ทรงเนรมิต

เชิงกรานก่อไฟขึ้นมาก ถึงอย่างไรก็คงไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

ก็โดยสมัยนั้นแล มหาเมฆก้อนใหญ่ตกลงมา มิใช่ตามฤดูกาล ได้

มีน้ำท่วมมาก พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในประเทศถิ่นที่ใด ประเทศ

ถิ่นที่นั้น ก็ไม่มีน้ำท่วม. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงมีพระดำริ

ว่า ไฉนหนอเราจะพึงยังน้ำนั้นให้เป็นขอบสูงในรูปในทิศโดยรอบได้. ลำดับ

นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงยังน้ำนั้นให้เป็นขอบสูงขึ้นไปในทิศโดย

รอบ เสด็จจงกรมตรงกลางที่มีพื้นเป็นธุลีฟุ้งขึ้น. ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสป

ชฎิลคิดว่า พระมหาสมณะ อย่าได้ถูกน้ำท่วมทับพัดพาไปเลย จึงได้ไปยัง

ถิ่นที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่พร้อมกับพวกชฎิลมากมาย โดยมีเรือเป็น

พาหนะ. อุรุเวลกัสสปชฎิลได้เห็นแล้วแล ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์

ผู้ทรงเนรมิตน้ำนั้นให้เป็นขอบสูงขึ้นโดยรอบ ทรงจงกรมตรงกลางที่มีพื้นเป็น

ฝุ่นฟุ้งขึ้น. ครั้นได้เห็นแล้ว จึงได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระมหาสมณะ นี่พระองค์หรือ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป

นี้เราเอง แล้วเสด็จเหาะขึ้นสู่เวหาส ได้เสด็จขึ้นไปพร้อมกับเรือ ลำดับ

นั้นแล อุรุเวลกัสสปชฎิล ได้มีความคิดว่า พระมหาสมณะทรงมีฤทธิ์มาก

ทรงมีอานุภาพมากนักแล ซึ่งแม้กระทั่งน้ำก็ยังไม่พัดพาไปได้ ถึงอย่างไร

ก็คงไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงมีพระดำริว่า เป็นเวลา

นานหนอ จึงจักมีโมฆบุรุษเช่นนี้ โดยที่คิดว่าพระมหาสมณะ. ทรงมีฤทธิ์

มาก ทรงมีอานุภาพมากนักแล ถึงอย่างไรก็คงไม่เป็นพระอรหันต์ เช่น

กับเราแน่ดังนี้ ถ้ากระไร เราพึงทำชฎิลนี้ให้เกิดความสังเวช. ลำดับนั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกะอุรุเวลกัสสปชฎิลนั้นว่า ดูก่อนกัสสป เธอ

ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ทั้งยังไม่ได้เข้าถึงแม้อรหัตมรรคด้วย เธอจัก

เป็นพระอรหันต์ หรือว่า จักเข้าถึงอรหัตมรรค ด้วยปฏิปทาใด ปฏิปทาแม้

นั้นของเธอยังไม่มีเลย. ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสปชฎิล ได้ซบศีรษะ

ลงที่พระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้กราบทูลกับพระผู้

มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้การ

บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. พระศาสดาตรัสว่า

ดูก่อนกัสสป เธอแล เป็นนายกผู้คอยแนะนำ เป็นผู้เลิศเป็นประมุข เป็น

ประธานของพวกชฎิล ๕๐๐ คน เธอจงบอกลาพวกชฎิลเหล่านั้นเสียก่อน พวก

ชฎิลเหล่านั้นจักได้ทำตามที่เธอสำคัญเข้าใจได้. ลำดับนั้นแล อุรุเวลกัสสปชฎิล

จึงเข้าไปหาพวกชฎิลเหล่านั้น ครั้นเข้าไปหาแล้วจึงได้กล่าวกะชฎิลเหล่านั้นว่า

ชาวเราเอ่ย เราต้องการจะประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ ขอพวก

ท่านจงทำตามที่ท่านผู้เจริญเข้าใจเถิด. พวกชฎิลกล่าวว่า ชาวเราเอ่ย ตั้งแต่

กาลนานมาแล้ว พวกเราได้มีความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่งในพระมหาสมณะ ถ้า

ท่านผู้เจริญจักประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะไซร้ แม้พวกเราทั้งหมด

ก็จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะนั้นด้วยเหมือนกัน. ลำดับนั้นแล

ชฎิลเหล่านั้นจึงปล่อยให้สิ่งที่เจือปนด้วยเส้นผม ชฎา สาแหรก เครื่องบูชาไฟ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 446

ลอยไปในน้ำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วจึงซบ

ศีรษะลงแทบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท

ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอ จงเป็น

ภิกษุมาเถิด แล้วตรัสต่อไปอีกว่า ธรรมอันเรากล่าวไว้ดีแล้ว พวกเธอจง

ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด. พระวาจานั้นแลได้

เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.

นทีกัสสปชฎิล ได้เห็นแล้วซึ่งมวยผม ชฎา สาแหรก เครื่องบูชา

ไฟ ลอยน้ำมา ครั้นเขาได้เห็นแล้ว จึงมีความคิดว่า คงจะมีอันตรายแก่

พระพี่ชายของเราแน่ จึงส่งชฎิลไปสืบว่า ท่านจงไปให้รู้เรื่องพี่ชายของเราให้

ได้ดังนี้ และตนเองพร้อมกับชฎิล ๓๐๐ คน ได้ไปหาท่านอุรุเวลกัสสป

ครั้นเข้าไปหาแล้ว จึงกล่าวกะท่านอุรุเวลกัสสปนั้นว่า พี่กัสสป การบวชนี้

เป็นสิ่งประเสริฐดีหรือ. ท่านอุรุเวลกัสสปตอบว่า ใช่ การบวชแบบนี้ เป็น

สิ่งประเสริฐแน่. ลำดับนั้นแลพวกชฎิลเหล่านั้นจึงได้เอามวยผม ชฎา สาแหรก

เครื่องบูชาไฟ ลอยน้ำไปแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้า

แล้ว จึงซบศีรษะลงแทบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจึงได้

กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์

พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าบ้าง. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด แล้วตรัสอีกว่าธรรมอันเรากล่าว

ไว้ดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด.

พระวาจานั้นแลได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น .

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 447

คยากัสสปชฎิล ได้เห็นแล้วซึ่งมวยผม ชฎา สาแหรก เครื่องบูชา

ไฟ อันลอยน้ำมา ครั้นเขาได้เห็นแล้ว จึงได้มีความคิดว่า อันตรายจะมีแก่

พี่ชายทั้งสองของเราแน่นอน แล้วได้ส่งชฎิลไปสืบให้รู้ว่า พวกท่านจงไป

จงรู้เรื่องราวแห่งพี่ชายของเราดังนี้ และตนเองพร้อมด้วยพวกชฎิล ๒๐๐คน

จึงพากันเข้าไปหาท่านอุรุเวลกัสสป ครั้นเข้าไปหาแล้ว จึงได้กล่าวกะท่าน

อุรุเวลกัสสปนั้นว่า ข้าแต่พี่กัสสป การทำอย่างนี้ประเสริฐแล้วหรือ. ท่าน

อุรุเวลกัสสป ตอบว่า ใช่แล้ว การทำอย่างนี้เป็นสิ่งประเสริฐแน่. ลำดับ

นั้นแล พวกชฎิลเหล่านั้น จึงได้พากันลอยมวยผม ชฎา สาแหรก เครื่อง

บูชาไฟ ในน้ำแล้ว พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว

จึงได้ซบศีรษะลงแทบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้กราบ

ทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์

พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด แล้วตรัสอีกว่า ธรรมอันเรา

กล่าวไว้ดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ

เถิด. พระวาจานั้นแลได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น .

ด้วยการอธิษฐานของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ปาฏิหาริย์ ๓,๕๐๐ วิธี จึงมีโดยนัยนี้คือ พวกชฎิล

ฝ่าฟืน ๕๐๐ ท่อนไม่ออก พอฝ่าฟืนออกแล้ว ก็

ก่อไฟไม่ติด พอก่อไฟติดแล้ว จะดับไฟก็ดับ

ไม่ได้ ครั้นพอดับไฟได้แล้ว ก็ทรงนิรมิต

เชิงกราน ๕๐๐ ที่ให้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 448

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประ

ทับอยู่ในอุรุเวลาตามความพอพระทัย ทรงพร้อม

กับภิกษุสงฆ์จำนวนมาก ร่วมกับปุราณชฎิล

ทั้งหมด ๑,๐๐๐ คน เสร็จหลีกจาริกไปยังคยาสีสะ

ประเทศ ได้ทราบว่า ในครั้งนั้น พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ คยาสีสะประเทศ ได้

แม่น้ำคยาพร้อมกับภิกษุจำนวน ๑,๐๐๐

ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้

ตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง

ทั้งปวงเป็นของร้อน ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า

ชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ภิกษุทั้งหลาย จักษุ

เป็นของร้อน รูปทั้งหลายก็เป็นของร้อน วิญญาณ

อาศัยจักษุก็เป็นของร้อน.

จักษุสัมผัสก็เป็นของร้อน ความเสวย

อารมณ์นี้เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้

อันใด เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข

ก็ดี แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร

ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ

ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่ และเพราะ

ความตาย เพราะความเศร้าโศก เพราะความคร่ำ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 449

ครวญเพราะความทุกข์ เพราะความโทมนัส

เพราะความคับแค้นใจ เราจึงกล่าวว่าเป็นของ

ร้อน.

โสตเป็นของร้อน เสียงทั้งหลายก็เป็น

ของร้อน ฯลฯ ฆานะเป็นของร้อน กลิ่นทั้งหลาย

ก็เป็นของร้อน ฯลฯ ลิ้นเป็นของร้อน รสก็เป็น

ของร้อน ฯลฯ กายเป็นของร้อน โผฏฐัพพะก็

เป็นของร้อน ฯลฯ ใจเป็นของร้อน ธรรมทั้งหลาย

ก็เป็นของร้อน

มโนวิญญาณก็เป็นของร้อน มโนสัมผัส

ก็เป็นของร้อน ความเสวยอารมณ์นี้เกิดขึ้น

เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใดเป็นสุขก็ดี

เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่สุขก็ดี แม้อันนั้น

ก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟ

คือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ

ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่ และ

ความตาย เพราะความเศร้าโศก เพราะความ

คร่ำครวญ เพราะความทุกข์ เพราะความโทมนัส

เพราะความคับแค้นใจ เราจึงกล่าวว่าเป็นของ

ร้อนแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 450

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้เห็น

ได้ฟังแล้วอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในจักษุ ย่อม

เบื่อหน่ายในรูป ย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณที่

อาศัยจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายในสัมผัสอาศัยจักษุ

ความเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสแม้

อันใด เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่

สุขก็ดี ย่อมเบื่อหน่ายในความเสวยอารารมณ์ นั้น

ย่อมเบื่อหน่ายในโสต ย่อมเบื่อหน่ายในเสียง ฯลฯ

ย่อมเบื่อหน่ายในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายในกลิ่น ฯลฯ

ย่อมเบื่อหน่ายในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายในรส

ทั้งหลาย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อม

เบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่าย

แม้ในใจ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย ย่อม

เบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้

ในมโนสัมผัส ความเสวยอารมณ์นี้เกิดขึ้นเพราะ

มโนสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขก็ดี เป็น

ทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี ย่อมเบื่อหน่าย

แม้ในความเสวยอารมณ์นั้น เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม

คลายความกำหนัด เพราะคลายความกำหนัด

จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 451

หลุดพ้นแล้ว พระอริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า

ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจอื่นที่

ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีก เพื่อความเป็น

อย่างนี้ มิได้มีอีกต่อไป ดังนี้.

ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังตรัสไวยากรณ์นี้อยู่ จิตของภิกษุ

๑,๐๐๐ รูปนั้น ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นแล.

เพราะได้ฟังอาทิตตปริยายเทศนาอย่างนี้ พระนทีกัสสปเถระจึงได้

บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศ

ถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า

ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต ดังนี้ . บรรดาบทเหล่านั้น บท อคฺคผล คือผลอัน

สูงสุด หรือ ผลที่ตนเก็บเอาในครั้งแรกแห่งต้นมะม่วงที่ตนเองได้ปลูกไว้. คำ

ที่เหลือ มีเนื้อความพอที่จะกำหนดรู้ได้โดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถานทีกัสสปเถราปทาน

คยากัสสปเถราปทานที่ ๓ (๕๕๓)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระคยากัสสปเถระ

[๑๔๓ ] ครั้งเมื่อข้าพเจ้าเป็นดาบส ครอง

หนังเสือเหลือง ประกอบด้วยเครื่องหาบ หาบ

เครื่องหาบไปเที่ยวหาผลไม้ ได้นำเอาผลพุทรา

มายังอาศรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 452

ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระชิน-

เจ้า เพียงพระองค์เดียว ทรงแผ่พระรัศมีตลอด

กาลทั้งสิ้น เสด็จมายังอาศรมของข้าพเจ้า.

ข้าพเจ้ายังจิตตนเองให้เลื่อมใสแล้ว ถวาย

บังคมพระองค์ ผู้มีวัตรอันงาม ประคองอัญชลี

ประนมด้วยหัตถ์ทั้งสองแล้ว ถวายผลพุทราแด่

พระพุทธเจ้า.

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ ข้าพเจ้าได้ถวาย

ผลไม่ได้ไว้ ในคราวนั้น แต่นั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลพุทรา.

ข้าพเจ้า ได้เผากิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว

ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้าเป็นผู้มาดีแล้วแล ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

ปฏิสัมภิทา ๔ ฯลฯ คำสอนของพระ-

พุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระคยากัสสปเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบคยากัสสปเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 453

๕๕๓. อรรถกถาคยากัสสปเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระคยากัสสปเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า อชินมฺม-

วตฺโถห ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-

องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ

นั้น ๆ ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ไป ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

สิขี ท่านได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้วเพราะความที่ตนเองมี

อัธยาศัยที่จะออกจากทุกข์ จึงละเพศฆราวาสออกบวชเป็นพระดาบส สร้างอา-

ศรมอยู่ในป่า มีมูลผลาผลในป่าเป็นอาหาร. ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์เดียวไม่มีผู้ติดตามเป็นที่สอง ได้เสด็จไปใกล้อาศรมของพระดาบส

นั้นแล้ว. ดาบสนั้น พอได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็มีใจเลื่อมใส เข้าไป

ใกล้แล้ว ถวายบังคมยืนอยู่ ณ ที่อันสมควรด้านหนึ่ง คอยดูเวลาอยู่จึงน้อม

เอาผลพุทธราอันเป็นที่น่าจับใจเข้าไปถวายแด่พระศาสดา. ด้วยบุญกรรมอัน

นั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้

ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว เพราะความที่คนมีอัธยาศัยที่จะออก

จากทุกข์ จึงละเพศฆราวาส บวชเป็นพระดาบสอยู่ร่วมกับพระดาบส ๒๐๐ องค์

ณ ใกล้แม่น้ำคยา. เพราะอยู่ใกล้แม่น้ำคยา และเพราะมีโคตรว่ากัสสป

จึงได้มีสมัญญาว่าคยากัสสป. ท่านได้ฟังโอวาทคืออาทิตตปริยายเทศนา โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 454

นัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้พร้อมกับบริษัท ดัง

ที่ได้กล่าวไว้แล้วในอปทานของพระนทีกัสสป จึงได้ดำรงอยู่ในพระอรหัต-

ผล

ครั้นท่านได้บรรลุพระอรหัตแล้ว เกิดมีความโสมนัสใจเมื่อจะประ-

กาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า

อชินจมฺมวตฺโถห ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชินจมฺมวตฺโถ

ความว่า เพราะบวชเป็นดาบส จึงนุ่งห่มด้วยหนังเสือ. บทว่า ขาริภารธโร

ความว่า ในเวลาเป็นดาบส ต้องบรรจุหาบบริขารสำหรับดาบสหาบไป. คือ

เอาบริขารของดาบสบรรจุลงจนเต็มหาบ. บทว่า โกล อหาสิ อสฺสม

ความว่า เอาผลพุทราวางจนเต็มเกลื่อนอาศรมแล้วก็นั่งในอาศรม. บทว่า

อโคปยึ ความว่า เราได้แสวงหาผลพุทราแล้วเก็บรักษาไว้ในอาศรม. คำที่

เหลือทั้งหมด มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาคยากัสสปเถราปทาน

กิมิลเถราปทานที่ ๔ (๕๕๔)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระกิมิลเถระ

[๑๔๔] เมื่อพระพุทธเจ้า พระนามว่า

กกุสันธะ ปรินิพพานแล้ว ข้าพเจ้า ได้เก็บเอา

ดอกเข็มมาทำเป็นมณฑปบรรจุพระธาตุ ของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงมีวสี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 455

ครั้นจุติแล้ว ไปสู่ภพดาวดึงส์ ได้วิมาน

สูงใหญ่เป็นพิเศษรุ่งโรจน์ล่วงวิมานของเทวดา

เหล่าอื่น นี้เป็นผลแห่งกรรมอันเป็นบุญ.

จะเป็นกลางวัน หรือกลางคืนก็ดี ข้าพ-

เจ้า จะเดินอยู่ หรือยืนอยู่ก็ดี ดอกเข็มจะต้อง

มาครอบคลุมอยู่เบื้องบน นี้เป็นผลแห่งกรรมอัน

เป็นบุญ.

ในกัปนี้นี่แหละ ข้าพเจ้าได้บูชาอย่างยิ่ง

ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้า

ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธ-

เจ้า.

กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้เผาสิ้นแล้ว

ฯลฯ ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้า ได้มาดีแล้วแล ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระกิมิลเถระ ได้กล่าวคาถาเหล่านั้นไว้ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จนกิมิลเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 456

๕๕๔. อรรถกถากิมิลเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระกิมิลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต กกุสนฺธมฺหิ

ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-

องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ

นั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ ท่านได้บังเกิด

ในเรือนอันมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ได้ช่วย

กันเอาดอกเข็มมาทำเป็นมณฑปอุทิศถวายพระธาตุของพระองค์ ได้ทำการบูชา

แล้ว. ด้วยบุญกรรมอันนั้น ท่านได้บังเกิดในภพดาวดึงส์ ได้ท่องเที่ยวไป

ในเทวโลกและมนุษยโลกกลับไปกลับมา ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดใน

สักยราชตระกูลในกบิลพัสดุ์นคร เขาได้มีชื่อว่า กิมิละ. พอเขาเจริญวัยแล้ว

อยู่อย่างประมาทด้วยโภคสมบัติ. พระศาสดาประทับอยู่นอนุปิยนิคม ทรง

ทราบว่าญาณของเขาแก่กล้าแล้ว เพื่อจะให้เขาเกิดความสังเวช จึงทรงเนรมิต

รูปหญิงที่งามน่ารื่นรมย์ใจ อยู่ในวัยรุ่น ทรงแสดงให้ปรากฏข้างหน้าตาม

ลำดับอีก ปรากฏเป็นไปตามความวิบัติด้วยความชราและโรคภัยไข้เจ็บ. ได้ทรง

กระทำอย่างนั้นแล้ว. กิมิลกุมารได้เห็นรูปนั้น แล้วได้เกิดความสังเวชเป็นยิ่งนัก

เมื่อจะประกาศความสังเวชของตน ทำให้ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้

รับคำสั่งสอนแล้ว ก็ได้บรรลุพระอรหัต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 457

ท่านได้บรรลุพระอรหัตแล้ว เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึง

เรื่องราวที่ตนเองเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า

นิพฺพุเต กกุสนฺธมฺหิ ดังนี้. บทว่า พฺราหฺมณมฺหิ วุสีมติ ความว่า เมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุวสี ด้วยวสี ๕ อย่าง อธิบายว่า เมื่อพราหมณ์

คือพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ เพราะประดับและเจริญยิ่งด้วยหมู่

แห่งคุณทั้งปวงของพราหมณ์ ปรินิพพานแล้ว คำที่เหลือทั้งหมด มีเนื้อ

ความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถากิมิลเถราปทาน

วิชชีปุตตเถราปทานที่ ๕(๕๕๕)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระวัชชีปุตตเถระ

[๑๔๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มี

พระรัศมีเป็นพัน เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง

ผู้อันใคร ๆ เอาชนะไม่ได้ ทรงออกจากนิโรธ

แล้ว จะเสด็จไปสู่ที่โคจร.

ข้าพเจ้า มีผลไม้อยู่ในมือ เห็นพระ-

ศาสดาเสด็จเข้ามา มีจิตเลื่อมใส มีใจแช่มชื่น

จึงถวายผลไม้หมดทั้งพวง.

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ ข้าพเจ้าได้ถวาย

ผลไม้ใด ในครั้งนั้น ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้า

ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 458

ข้าพเจ้าได้เผากิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว

ฯลฯ ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้าเป็นผู้มาดีแล้วแล ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ทำเสร็จแล้ว.

ปฏิสัมภิทา ๔ ฯลฯ คำสอนของพระ-

พุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระวัชชีปุตตเถระ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบวัชชีปุตตเถราปทาน

๕๕๕. อรรถกถาวัชชีปุตตเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระวัชชีปุตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สหสฺสรสี ภควา

ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระ-

องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ

นั้น ๆ ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ ได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งกำลังเที่ยว

ภิกขาจารอยู่ มีใจเลื่อมใสได้ถวายผลกล้วย ด้วยบุญกรรมนั้น เขาจึงได้ท่อง-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 459

เที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดเป็นลิจฉวี

ราชกุมารในเมืองเวสาลี. เพราะท่านเป็นโอรสของเจ้าวัชชี จึงได้รับสมัญญา

ว่า วัชชีบุตร. ท่านเป็นหนุ่ม ในเวลาที่ศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างเป็นต้น

เพราะสมบูรณ์ด้วยเหตุ จึงเป็นผู้มีอัธยาศัยใคร่จะออกจากทุกข์เที่ยวไป ได้

ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ได้มีศรัทธาบวชในสำนักของพระ-

ศาสดา บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ไม่นานเท่าไรนัก ก็ได้อภิญญา ๖. ก็

ท่านเป็นผู้ได้อภิญญา ๖ ในกาลต่อมา เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้วไม่นาน

นัก จึงทำหมายกำหนดการเพื่อสังคายนาพระธรรม เมื่อพระมหาเถระทั้งหลาย

ประชุมกันในที่นั้น ๆ วันหนึ่ง ได้เห็นท่านพระอานนท์ซึ่งเป็นพระเสขบุคคล

มีบริษัทใหญ่แวดล้อมกำลังแสดงธรรมอยู่. เมื่อจะทำความอุตสาหะให้เกิดขึ้น

เพื่อบรรลุมรรคผลที่สูงขึ้นไปกว่าท่านพระอานนท์นั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า:-

โคตมะเอ่ย ! ท่านจงเข้าไปยังโคนต้นไม้

ในป่า จงตั้งพระนิพพานไว้ในหทัย จงเจริญ

ภาวนาและอย่าประมาท พูดซุบซิบนินทาคนอื่น

จักทำประโยชน์เช่นไร ให้สำเร็จแก่ท่านได้เล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุกฺขมูลคหน ความว่า ป่าที่มีโคนต้นไม้

จริงอยู่ ป่าไม่มีโคนต้นไม้ก็มีอยู่ และโคนต้นไม้ที่ไม่มีในป่าก็มี. บรรดา

บทเหล่านั้น ท่านแสดงถึงความไม่มีอันตรายคือลมและแดด เพราะเป็นสถานที่

อันสมบูรณ์ด้วยร่มเงา ด้วยศัพท์ว่า รุกขมูละ ท่านแสดงถึงความไม่มีอันตราย

คือลม เพราะปราศจากสายลมและแสดงถึงความไม่เบียดเสียดด้วยฝูงชน ไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 460

ด้วย คหนะ ศัพท์. และท่านได้ประกอบบททั้งสองนั้นมุ่งถึงการบำเพ็ญเพียร

ทางภาวนา. บทว่า ปสกฺกิย แปลว่าเข้าไปแล้ว. บทว่า นิพฺพาน หทยสฺมึ โอปิย

ความว่า ตั้งพระนิพพานไว้ในหทัย คือ ทำไว้ในจิตว่าเราปฏิบัติอย่างนี้แล้ว

จะพึงบรรลุพระนิพพานได้. บทว่า ฌาย ความว่า จงเพ่งด้วยการเพ่งไตร-

ลักษณะ คือ จงเจริญมรรคภาวนาอันประกอบด้วยวิปัสสนาภาวนา. ท่านเรียก

พระธรรมภัณฑาคาริกโดยโคตรว่า โคตมะ. บทว่า มา จ ปมาโท ความว่า

อย่าถึงความประมาทในกุศลธรรมทั้งปวงเลย. บัดนี้ ความประมาทเช่นใดมีแก่

พระเถระ เมื่อจะแสดงถึงการห้ามความประมาทนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กึ เต

พิฬิพิฬิกา กริสฺสติ การพูดซุบชิบนินทาคนอื่นจักทำประโยชน์เช่นไรให้

สำเร็จแก่ท่านได้เล่า ดังนี้ไว้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พิฬิพิฬิกา ความ

ว่า กิริยาที่ซุบซิบนินทาคนอื่น ความเป็นไปแห่งเสียงซุบซิบนินทาคนอื่น

ไม่มีประโยชน์อย่างไร การบัญญัติของหมู่ชนอันเช่นกับเสียงซุบชิบนินทาคน

อื่นก็อย่างนั้นแล. บทว่า กึ เต กรสฺสติ ความว่า การซุบซิบนินทาคนอื่นจัก

ทำประโยชน์เช่นไรให้สำเร็จแก่ท่านได้เล่า เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้ให้โอวาท

ว่า ท่านจงละการบัญญัติว่าคน จงขวนขวายในประโยชน์ของตนเถิด.

พระเถระได้ฟังคำนั้นแล้ว เกิดความสลดใจตามคำอันระบายออกซึ่ง

ความหอมฟุ้งที่ท่านผู้อื่นได้กล่าวแล้ว ทำราตรีโดยมากให้ล่วงไปด้วยการจง-

กรมพยายามเจริญวิปัสสนา เข้าไปสู่ที่นอนและที่นั่ง พอนั่งบนเตียงเท่านั้น

ก็คิดว่า เราจะนอนพักผ่อนสักเล็กน้อย ดังนี้แล้วจึงยกเท้าขึ้นจากพื้นพอศีรษะ

ถึงหมอน ในขณะที่สรีระอยู่ในอากาศนั่นแล (อยู่ในท่าอิริยาบถ) ก็ได้

บรรลุพระอรหัต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 461

ในกาลต่อมา พระวัชชีปุตตเถระเกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศ

ถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า

สหสฺสรสี ภควา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสรสี ซึ่งในที่นี้ควร

จะกล่าวว่า อเนกสตสหสฺสรสี บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้แล้วว่า

สหสฺสรสี ก็เพื่อสะดวกในการประพันธ์คาถา. คำที่เหลือมีเนื้อความพอที่

จะกำหนดได้โดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถาวัชชีปุตตเถราปทาน

อุตตรเถราปทานที่ ๖ (๕๕๖)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระอุตตรเถระ

[๑๔๖] พระผู้มีพระภาคสัมพุทธเจ้า

พระนามว่า สุเมธะ ทรงประกอบด้วยพระวร-

ลักษณะ ๓๒ ประการ ทรงพอพระทัยในความ

วิเวก เสด็จเข้าไปยังหิมวันตประเทศ

พระมุนี ผู้เป็นบุรุษสูงสุด ทรงประกอบ

ด้วยพระกรุณา ผู้เลิศ ครั้นถึงหิมวันตประเทศ

แล้ว ประทับนั่งขัดสมาธิ.

ในกาลครั้งนั้น ข้าพเจ้า เกิดเป็นวิทยาธร

สามารถแม้เหาะไปในอากาศได้ ถืออาวุธวิเศษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 462

คือตรีศูลอันคมฉกาจนัก ในเวลานั้น ข้าพเจ้า

กำลังเหาะท่องเที่ยวไปในอัมพร.

พระพุทธเจ้า ทรงยังป่าหิมวันต์ให้สว่าง

กระจ่างแจ้งอยู่ เสมือนกองไฟที่ลุกโพลงอยู่บน

ยอดภูเขา เสมือนแสงแห่งดวงจันทร์ที่กำลังเต็ม

ดวง หรือเสมือนต้นพญาสาละที่มีดอกกำลังบาน

เต็มต้นฉะนั้น.

จิตของข้าพเจ้าเลื่อมใส เพราะได้เห็น

พระพุทธเจ้า ผู้กำลังเสด็จออกมาจากป่า มีพระ-

พุทธรังสีกำลังซ่านออก ดุจดังแสงไฟที่กำลังเผา

ไหม้ป่าต้นอ้อฉะนั้น.

ข้าพเจ้าได้ถือเอาดอกไม้ ๓ ดอก คือ

ดอกทานตะวัน ดอกกรรณิการ์ และดอกเทว-

คันธีมาบูชาพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ.

เพราะอานุภาพของพระพุทธเจ้า ในขณะ

นั้น ดอกไม้ทั้งสามดอกของข้าพเจ้า ได้ทำขั้ว

ขึ้นเบื้องบน เอาดอกลงเบื้องล่าง ทำเป็นดังร่ม

บังเงาให้พระศาสดา.

เพราะกรรมที่ข้าพเจ้า ได้กระทำมาดี

แล้วนั้น ประกอบกับที่ข้าพเจ้าตั้งเจตนาไว้ดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 463

เมื่อข้าพเจ้าจุติจากความเป็นมนุษย์แล้ว ก็ไปเกิด

ในดาวดึงส์.

วิมานของข้าพเจ้าในดาวดึงส์นั้น บุญ

กรรมได้สร้างให้เป็นอย่างดี มีชื่อปรากฏว่า

กัณณิการี สูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์.

มียอดแหลม ๑,๐๐๐ ยอด มียอดเป็นโดม

๑๐๐ ยอดประดับด้วยธงสีเหลือง ประกอบด้วย

ป้อมหอคอยหนึ่งแสนป้อม สิ่งเหล่านี้มีปรากฏอยู่

ในวิมานของข้าพเจ้า.

แท่นนั่งสำเร็จด้วยแก้วผลึกก็มี สำเร็จ

ด้วยทอง ด้วยแก้วมณี และด้วยทับทิมก็มี ผู้นั่ง

ย่อมได้ตามปรารถนา.

ที่นอนมีราคามาก ประกอบด้วยชนิดที่

ยัดด้วยนุ่น แต่ละชายประดับด้วยครุยขนสัตว์

และประกอบด้วยหมอน.

ครั้นข้าพเจ้าจุติจากภพแล้ว ท่องเที่ยว

ไปสู่ภพเทวดา ข้าพเจ้าท่องเที่ยวไปตามปรารถนา

เป็นผู้มีหมู่เทวดาแวดล้อมแล้ว.

ข้าพเจ้า ดำรงอยู่ภายใต้ร่มดอกไม้

ดอกไม้กั้นอยู่เบื้องบนข้าพเจ้า กว้างโดยรอบ

หนึ่งร้อยโยชน์แวดล้อมด้วยดอกกรรณิการ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 464

นักดนตรี หกหมื่นคน บำรุงข้าพเจ้า

อยู่ ตลอดเวลาตั้งแต่เย็นถึงเช้า แวดล้อมข้าพเจ้า

อยู่เป็นประจำทั้งกลางคืนกลางวัน โดยไม่เกียจ

คร้าน.

ในเทวโลกนั้น ข้าพเจ้า ยินดีอยู่กับ

นางรำ นางร้อง นางประโคม นางนักดนตรี

เพลิดเพลินอยู่กับความยินดี บันเทิงอยู่กับความ

ใคร่ในกาม.

ในเทวโลกนั้น มีแต่รับประทาน และ

ดื่ม ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าเพลิดเพลินอยู่ในไตรทศ

พรั่งพร้อมไปด้วยหมู่นางสนมนารี ข้าพเจ้าเพลิด

เพลินอยู่ในวิมานอันอุดม.

ข้าพเจ้าเสวยรัชสมบัติอยู่ ๕๐๐ ครั้ง และ

ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิอยู่ ๓๐๐ ครั้ง ส่วนที่

เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ ไม่อาจจะนับ

ประมาณได้.

เมื่อข้าพเจ้าท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างภพ

กับภพ ย่อมได้โภคสมบัติเป็นอันมาก ข้าพเจ้า

ไม่มีความบกพร่องในโภคสมบัติเป็นอันมาก นี้ เป็นผล

แห่งการบูชาพระพุทธเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 465

เมื่อข้าพเจ้าท่องเที่ยวอยู่ในภพ ก็ท่อง-

เที่ยวอยู่ในภพทั้งสอง คือ ภพแห่งเทวดา และ

ภพแห่งมนุษย์ ข้าพเจ้า ไม่รู้จักทุคติอื่นเลย นี้

เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า.

เมื่อข้าพเจ้าเกิด ก็เกิดในตระกูลทั้งสอง

คือ ตระกูลกษัตริย์ และตระกูลพราหมณ์ ข้าพ-

เจ้า ไม่รู้จักตระกูลต่ำเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชา

พระพุทธเจ้า.

ข้าพเจ้า ได้รับยานช้าง ยานม้า ยาน

วอ อันไปได้รวดเร็ว ทั้งหมดนี้ นี้เป็นผลแห่ง

การบูชาพระพุทธเจ้า.

ข้าพเจ้า ได้รับหมู่ทาสี หมู่ทาส หมู่

สตรีผู้แต่งกายงดงาม ทั้งหมดนี้ นี้เป็นผลแห่ง

การบูชาพระพุทธเจ้า.

ข้าพเจ้าได้รับผ้าไหม ผ้ากัมพล ผ้าลินิน

และผ้าฝ้าย ทั้งหมดนี้ นี้เป็นผลแห่งการบูชา

พระพุทธเจ้า.

ข้าพเจ้า ได้รับผ้าใหม่ และผลไม้ใหม่

โภชนะมีรสอร่อยเลิศ ทั้งหมดนี้ นี้เป็นผลแห่งการบูชา

พระพุทธเจ้า.

ข้าพเจ้า ได้รับคำบอกเล่าว่า เชิญท่านจง

เคี้ยวกินสิ่งนี้ เชิญท่านจงบริโภคสิ่งนี้ เชิญท่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 466

จงนอนบนที่นอนนี้ ทั้งหมดนี้ นี้เป็นผลแห่ง

การบูชาพระพุทธเจ้า.

ข้าพเจ้า ได้รับการบูชาในที่ทุกแห่ง

เกียรติยศของข้าพเจ้าฟุ้งขจรไป มีสหายมากใน

กาลทุกเมื่อ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกแยก

ในกาลทุกเมื่อ ข้าพเจ้าเป็นผู้สูงสุดกว่าหมู่ญาติ

นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า.

ข้าพเจ้าไม่รู้จักความหนาว ความร้อน

ไม่มีความเร่าร้อน อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่มีทุกข์ทางจิต

ในหทัยเลย.

ข้าพเจ้าเป็นผู้มีวรรณะ เพียงดังวรรณะ

แห่งทอง ท่องเที่ยวไปในระหว่างภพกับภพ

ข้าพเจ้าไม่รู้จักความเป็นผู้มีวรรณะต่างออกไปเลย

นี้ เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า.

ข้าพเจ้า จุติจากเทวโลกแล้ว อันกุศล-

มูลชักจูงแล้ว ไปเกิดในนครสาวัตถี ในตระกูล

มหาศาล ผู้มั่งคั่ง.

ครั้น ข้าพเจ้าละกามคุณ ๕ แล้ว บวช

ในความเป็นผู้ไม่มีเรือน ข้าพเจ้ามีอายุเพียง ๗

ขวบแต่ปีเกิด ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.

พระพุทธเจ้า ผู้มีพระจักษุ ทรงทราบ

คุณของข้าพเจ้าแล้ว ทรงอนุญาตการอุปสมบท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 467

ข้าพเจ้ายังเป็นเด็ก เป็นผู้ได้รับการบูชา

ผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า.

ข้าพเจ้า เป็นผู้มีทิพยจักษุบริสุทธิ์ เป็น

ผู้ฉลาดในสมาธิ เป็นผู้บรรลุถึงฝั่งแห่งอภิญญา

นี้ เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า.

ข้าพเจ้า เป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทาตาม

ลำดับแล้ว เป็นผู้ฉลาดในอิทธิบาท เป็นผู้บรรลุ

ถึงฝั่งในธรรมทั้งหลาย นี้ เป็นผลแห่งการบูชา

พระพุทธเจ้า.

ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ ข้าพเจ้าได้บูชาพระ-

พุทธเจ้าใด ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ

เลย นี้ เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า.

ข้าพเจ้า เผากิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว

ฯลฯ ข้าพเจ้าเป็น ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้าเป็นผู้มาดีแล้วแล ฯลฯ คำสอน

พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

ปฏิสัมภิทา ๔ ฯลฯ คำสอนของพระ-

พุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระอุตตรเถระ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบอุตตรเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 468

๕๕๖. อรรถกถาอุตตรเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านอุตตรสามเณร มีคำเริ่มต้นว่า สุเมโธ นาม สมฺพุทฺ-

โธ ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์

ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้น ๆ

ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธะ ท่านเป็นวิทยาธรเที่ยวไป

ทางอากาศ. ก็โดยสมัยนั้น พระศาสดาประทับนั่งเปล่งพระพุทธรัศมีมีพรรณะ

๖ ประการ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่งระหว่างป่า เพื่อทรงอนุเคราะห์สรรพสัตว์

ในที่นั้นนั่นแล. วิทยาธรนั้น ไปทางอากาศ มองเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

มีใจเลื่อมใส ลงจากอากาศนำเอาดอกกรรณิการ์อันบริสุทธิ์สะอาดงามตา น้อม

บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ดอกไม้ทั้งหลายได้

ตั้งอยู่โดยอาการดังฉัตรอยู่เบื้องบนพระศาสดา. วิทยาธรนั้น มีจิตเลื่อมใส

โดยประมาณยิ่ง ในกาลต่อมา กระทำกาละแล้ว บังเกิดในดาวดึงส์ เสวย

ทิพยสมบัติ ดำรงอยู่ในดาวดึงส์นั้นจนตลอดอายุ จุติจากภพนั้นแล้ว ท่อง

เที่ยวไปโนเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ได้บังเกิดเป็นบุตรของ

พราหมณ์มหาศาลในกรุงราศคฤห์. เขาได้มีชื่อว่า อุตตระ. เขาได้บรรลุนิติ-

ภาวะแล้ว ถึงความสำเร็จในวิชาของพราหมณ์แล้ว ด้วยชาติตระกูล ด้วยรูป

สมบัติ ด้วยความรู้ ด้วยวัย และด้วยศีลจารวัตร เขาจึงได้รับความยกย่อง

จากชาวโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 469

วัสสการพราหมณ์ ตำแหน่งมหาอำมาตย์ประจำแคว้นมคธ ได้มอง

เห็นสมบัติอันนั้นของอุตตระนั้นแล้ว จึงมีความประสงค์ที่จะยกธิดาของตน

มอบให้แก่เขา ได้ประกาศความประสงค์ของตนให้ทราบแล้ว. อุตตระนั้น

ปฏิเสธเรื่องผู้หญิง เพราะว่าเขาเป็นผู้มีอัธยาศัยเพื่อจะออกจากทุกข์ เข้าไปหา

พระธรรมเสนาบดีเป็นประจำตามการอันสมควร ได้ฟังธรรมในสำนักของ

ท่านแล้ว ได้มีศรัทธาบรรพชาแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติ บำรุง

พระเถระเป็นประจำ.

ก็โดยสมัยนั้น อาพาธอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่พระเถระ อุตตรสามเณร

ประสงค์จะปรุงเภสัชถวายพระเถระ. รุ่งขึ้นเช้า จึงถือบาตรและจีวรออกจาก

วิหาร ในระหว่างหนทางได้วางบาตรไว้ใกล้สระน้ำแล้ว เข้าไปใกล้น้ำ ล้าง

หน้าอยู่. ครั้งนั้น โจรขุดอุโมงค์คนหนึ่ง ไปทำการลักขโมยมาแล้ว ถูก

พวกจำรวจติดตามไล่จับ ออกจากเมืองโดยถนนใหญ่ เมื่อจะหนีไป

ได้ใส่ห่อรัตนะที่ตนถือมาลงในบาตรของสามเณรแล้ว จึงหนีไป. แม้

สามเณร เข้าไปใกล้บาตรแล้ว. พวกตำรวจติดตามโจรไป มองเห็นห่อ

ของในบาตรของสามเณรเข้าใจผิดว่า ผู้นี้ เป็นโจร, ผู้นี้ได้กระทำโจรกรรม

แล้ว. ดังนี้แล้ว จึงผูกแขนสามเณรไพล่หลัง นำไปแสดงแก่ท่านวัสสการ-

พราหมณ์. ก็ในครั้งนั้น ท่านวัสสการพราหมณ์เป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษา

ประจำพระราชสำนัก ย่อมตัดสินการตัดและการทำลายได้. ท่านวสัสการ-

พราหมณ์กล่าวว่า ครั้งก่อน ท่านไม่เชื่อถ้อยคำเรา. ไปบวชในหมู่ผู้ประพฤติ

นอกรีตนอกรอยจากทางที่บริสุทธิ์ ดังนี้ ไม่ยอมชำระคดีให้ขาวสะอาด ใคร่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 470

จะตัดสินฆ่าอย่างเดียว โดยวิธีเอาหลาวเสียบเขาทั้ง ๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่

นั่นแหละ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงแลเห็นว่าญาณของเขาแก่กล้า

แล้ว จึงเสด็จไปยังสถานที่นั้น ทรงวางพระหัตถ์มีพระองคุลียาวเรียวอ่อนนุ่ม

ดุจปุยนุ่นเหมือนตัดด้วยเปลวไฟ คล้ายท่อธารทองคำสีแดงชาติหลั่งไหลออก

เพราะมีพระหัตถ์และพระนขาอันงดงามดุจสำเร็จด้วยแก้วมณีทำให้สั่นสะเทือน

ลงบนศีรษะของอุตตรสามเณรตรัสว่า อุตตระ นี้เป็นผลกรรมในครั้งก่อน

เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ เธอพึงอดกลั้นด้วยกำลังแห่งปัจจเวกขณญาณแล้ว จึง

ทรงแสดงธรรมอันเหมาะแก่อัธยาศัย. อุตตรสามเณร ได้รับปีติปราโมทย์

อันโอฬาร เพราะเกิดความเลื่อมใสโสมนัสใจ ด้วยการสัมผัสพระหัตถ์

ของพระคาสดา เช่นกับได้รับการรดด้วยน้ำอมฤต เริ่มยกจิตขึ้นสู่หนทาง

วิปัสสนาตามที่ตนได้สั่งสมมา เพราะญาณถึงความแก่กล้า และเพราะ

ความไพเราะแห่งเทศนาของพระศาสดา จึงทำกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปได้ตาม

ลำดับแห่งมรรค ในขณะนั้นนั่นเอง เป็นผู้ได้อภิญญา ๖. ก็ครั้นท่านเป็นผู้

ได้อภิญญา ๖ แล้วได้ถอนตนขึ้นจากหลาว ยืนอยู่ในอากาศ เพื่ออนุเคราะห์

ผู้อื่น จึงแสดงปาฏิหาริย์แล้ว. มหาชนได้เกิดความอัศจรรย์ใจ. ในขณะนั้น

นั้นเอง แผลของท่านก็หายสนิทดี. สามเณรนั้น ถูกพวกภิกษุถามว่า อาวุโส

ได้รับทุกข์ถึงอย่างนั้น เธอยังสามารถเพื่อเจริญวิปัสสนาได้อย่างไร ดังนี้

จึงกล่าวว่า อาวุโส จะกล่าวไปทำไมถึงโทษในสงสารของผมเล่า, ก็สภาวะ

แห่งสังขารทั้งหลาย ผมเห็นได้ชัดเจนแล้ว ผมแม้จะเสวยทุกข์ถึงเช่นนั้น

ก็ยังสามารถเพื่อบรรลุวิปัสสนาได้ และกล่าวอีกว่า ในชาติก่อนเวลาเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 471

เด็กหนุ่ม ผมถือหลาวไม้สะเดาไล่แทงแมลงวัน เพราะอาศัยการเล่นจับสัตว์

เสียบหลาว จึงได้เสวยความทุกข์ถูกเสียบหลาว ตั้งหลายร้อยชาติอย่างนี้ ใน

ชาติสุดท้ายนี้ก็ยังได้รับทุกข์ถึงอย่างนี้แล.

ครั้นในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงบุรพกรรมได้ เกิดความโสมนัสใจ

เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำ

เริ่มต้นว่า สุเมโธ นาม สมฺพุทฺโธ ดังนี้. ในคำนั้นข้าพเจ้าจักทำการอธิบาย

เฉพาะบทที่ยากเท่านั้น.

วิชฺชาโร จทา อาสึ ความว่า เราได้เป็นผู้สามารถไปในอากาศได้

ด้วยวิชาที่สำเร็จมามีมนต์ภายนอกศาสนาเป็นต้น รักษาวิชานั้นไม่ให้เสื่อมไป

ด้วยการประพฤติเสมอ ด้วยอำนาจการบริหารรักษาไว้ จึงได้กำเนิดเกิดเป็น

วิทยาธร. บทว่า อนฺตลิกฺขจโร อห ความว่า ชื่อว่า อันตลิกขะ เพราะ

กระทำการกำหนดเบื้องต้นและที่สุดได้, อีกความหมายหนึ่งชื่อว่า อันตลิกขะ

เพราะเป็นเหตุให้กำหนดแลดูเบื้องต้นและที่สุดได้. อธิบายว่า ในอากาศนั้น

ข้าพเจ้าเที่ยวไปในอากาศเป็นประจำ. บทว่า ติสูล สุกนต คยฺห ความว่า

หลาวอันคมกริบ คือ อาวุธชั้นยอด ได้แก่ หลาวที่ทำเป็นอย่างดี, อธิบาย

ว่า ข้าพเจ้าถือเอาอาวุธคือหลาวที่ทำอย่างดี สามารถที่จะทิ่มแทง ย่ำยี และ

ประหารสัตว์ได้ แล้วไปทางท้องฟ้า. คำที่เหลือทั้งหมดมีเนื้อความพอที่จะ

กำหนดรู้ได้โดยง่าย ด้วยวิธีประกอบตามเนื้อความ เพราะมีความหมายดังที่

ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

จบอรรถกถาอุตตรเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 472

อปรอุตตรเถราปทาน ๗ (๕๕๗)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระอปรอุตตรเถระ/H1

[๑๔๗ ] เมื่อพระพุทธเจ้า พระนามว่า

สิทธัตถะ ผู้เป็นนาถะของโลก ผู้นำโลก นิพพาน

แล้ว ข้าพเจ้าประชุมกันระหว่างพวกญาติของ

ข้าพเจ้าแล้ว ได้ทำการบูชาพระธาตุ.

ในกัปที่ ๙๔ ข้าพเจ้า ได้บูชาพระธาตุ

ใดไว้ เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระธาตุ.

ข้าพเจ้า เผากิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว ฯลฯ

ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้า ได้มาดีแล้วแล ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

ปฏิปทา ๔ ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า

ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระอุตตรเถระ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบอปรอุตตรเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 473

๕๕๗. อรรถกถาอปรอุตตรเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๗ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระอุตตรเถระรูปอื่นอีก มีคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต

โลกนาถมฺหิ ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์

ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้น ๆ

ในกัปที่ ๙ แต่กัปนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สิทธัตถะ

ท่านได้เกิดในเรือนอันมีสกุล เจริญวัยแล้ว บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้เป็นผู้

เลื่อมใสในพระศาสนา ประกาศตนเป็นอุบาสก. เมื่อพระศาสดาปรินิพพาน

แล้ว อุบาสกนั้น เรียกประชุมหมู่ญาติของตนรวบรวมเครื่องบูชาสักการะมาก

มายแล้ว ได้ทำการบูชาพระธาตุ. ด้วยบุญกรรมอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยว

ไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์

เมืองสาเกต มีชื่อว่า อุตตระ เจริญวัยแล้ว ไปเมืองสาวัตถีด้วยการงานบาง

อย่าง มองเห็นยมกปาฏิหาริย์ ที่พระศาสดาทรงกระทำแล้ว ณ โคนต้น

คัณฑามพพฤกษ์แล้วเลื่อมใส มีศรัทธาเจริญยิ่งขึ้นด้วยเทศนากาฬการามสูตร

อีกบรรพชาแล้ว ไปยังกรุงราชคฤห์กับพระศาสดา ได้อุปสมบทแล้ว เที่ยว

จาริกไปอย่างนั้นแล เริ่มเจริญวิปัสสนาไม่นานนักแลก็ได้อภิญญา ๖. ก็ท่าน

เป็นผู้ได้อภิญญา ๖ เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี จึงออกจาก

กรุงราชคฤห์ไปยังกรุงสาวัตถีเพื่ออุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ถูกพวกภิกษุถามว่า

อาวุโส กิจแห่งการบวช ท่านทำให้ถึงที่สุดได้แล้วหรือ จึงได้พยากรณ์ความ

เป็นพระอรหันต์แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 474

ก็ท่านได้บรรลุพระอรหัตแล้ว เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศ

ถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า

นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ ดังนี้. คำนั้นทั้งหมด มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น เพราะ

ข้าพเจ้าได้กล่าวความหมายไว้แล้วในหนหลังแล.

จบอรรถกถาอปรอุตตรเถราปทาน

ภัททชิเถราปทานที่ ๘ (๕๕๘)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระภัททชิเถระ

[๑๔๘] ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ลงสู่สระ

บัว ได้ถอนเหง้าบัว อันเป็นอาหารที่ช้างชอบ

เสพในสระนั้นขึ้นมาเพราะเหตุที่มีความหิว.

ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า

พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงไว้ซึ่งความสูงสุด

ผู้กำลังเสด็จมาทางอากาศ.

ผ้าบังสุกุลจีวร ปลิวสะบัดอยู่ ในครั้งนั้น

ข้าพเจ้าได้ยินเสียง ข้าพเจ้าจึงแหงนหน้าขึ้นมอง

ดูเบื้องบน ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้นายกของโลก.

ข้าพเจ้ายืนสงบอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ ได้

ทูลอาราธนาพระโลกนายกให้ทรงรับน้ำผึ้ง พร้อม

กับเหง้าบัว น้ำนม เนยใส และเหง้าบัว.

พระพุทธเจ้า ผู้มีพระจักษุ ทรงรับภิกษา

แล้ว เพื่อทรงอนุเคราะห์ข้าพเจ้า แต่นั้นพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 475

ศาสดาผู้มีพระกรุณา ผู้มีพระยศใหญ่ เสด็จลงมา

จากอากาศแล้ว.

พระพุทธเจ้า ผู้มีพระจักษุ จึงทรงรับ

ภิกษาของข้าพเจ้า เพื่อทรงอนุเคราะห์ข้าพเจ้า

ครั้นทรงรับแล้ว ได้ทรงกระทำอนุโมทนาแก่

ข้าพเจ้าว่า

ท่านผู้มีบุญใหญ่ ท่านจงมีความสุข คติ

จงสำเร็จแก่ท่าน ด้วยอานิสงส์แห่งการถวายเหง้า-

บัวนี้ ท่านจงได้สุขอันไพบูลย์เถิด.

พระสัมพุทธเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ

ครั้นตรัสพระดำรัสนี้แล้ว พระสัมพุทธเจ้า ได้

นำภิกษาไปทางอากาศ พระพุทธชินเจ้า ได้เสด็จ

ไปทางอากาศแล้ว.

แต่นั้น ข้าพเจ้า ถือเอาเหง้าบัวกลับไป

ยังอาศรมของข้าพเจ้า ได้แขวนพวงเหง้าบัวไว้ที่

ต้นไม้แล้ว ระลึกถึงทานของข้าพเจ้า.

ครั้งนั้น ลมพายุใหญ่ ก็เกิดขึ้น ไฟป่า

ก็ไหม้ป่า อากาศ ก็กำเริบคะนองยิ่ง และใน

ขณะนั้น ฟ้าก็ผ่าลงมา.

ครั้งนั้น อสุนีบาตตกบนศีรษะข้าพเจ้า

จนล้มลง ในขณะนั้น ข้าพเจ้านั่งสงบอยู่ ข้าพเจ้า

ได้ทำกาละแล้วในที่นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 476

ข้าพเจ้าระลึกถึงบุญกรรมแล้ว ไปอุปบัติ

ยังดุสิต ข้าพเจ้าละทิ้งซากร่างกายไว้ แต่ข้าพเจ้า

ไปร่าเริงยินดีอยู่ในเทวโลก.

สตรี ๘๖,๐๐๐ นาง ประดับตกแต่งร่างกาย

งาม คอยบำรุงรับใช้ทั้งเวลาเช้าและเวลาเย็น อัน

นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว.

ครั้นกลับมาสู่กำเนิดมนุษย์ แต่ละครั้ง

ข้าพเจ้ามีแต่ความสุข โภคะทั้งหลายของข้าพเจ้า

ไม่บกพร่องเลย นี้เป็นผลของการถวายเหง้าบัว.

ข้าพเจ้าผู้อันกรรมนั้นและเทพแห่งเทพ

ผู้คงที่อนุเคราะห์แล้ว เพราะเป็นผู้สิ้นอาสวะทั้ง

ปวงแล้ว บัดนี้ภพใหม่นี้ได้มีแล้ว.

ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ ในครั้งนั้น

ข้าพเจ้าได้ถวายเหง้าบัวใด ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้า

ไม่รู้จักทุคติเลย อันนี้เป็นผลแห่งการถวาย

เหง้าบัว.

ข้าพเจ้าได้เผากิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว ฯลฯ

ข้าพเจ้า เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้า ได้มาดีแล้วแล ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 477

ปฏิสัมภิทา ๔ ฯลฯ คำสอนของพระ-

พุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระภัททชิเถระ ได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบภัททชิเถราปทาน

๕๕๘. อรรถกถาภัททชิเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระภัททชิเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า โอคยฺหาห

โปกฺขรณี ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์

ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้น ๆ

ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิดใน

ตระกูลพราหมณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว จบการศึกษาในศิลปะวิชาการของหมู่

พราหมณ์ ละกามบวชเป็นพระดาบส สร้างอาศรมอยู่ในป่า วันหนึ่งเห็น

พระศาสดาเสด็จมาทางอากาศ มีใจเลื่อมใส ได้ยืนประคองอัญชลี. พระศาสดา

ทรงเห็นอัธยาศัยของเขา จึงเสด็จลงจากอากาศ. ก็เขาได้น้อมน้ำผึ้ง เหง้าบัว

เนยใสและนมสดเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสด็จลงแล้ว พระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงอนุเคราะห์เขาจึงทรงรับสิ่งของนั้นแล้ว ทรงกระทำอนุโมทนา

เสด็จหลีกไป. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาจึงได้บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ดำรงอยู่

ในสวรรค์ชั้นนั้นจนตลอดอายุแล้ว จุติจากอัพภาพนั้น ท่องเที่ยวไปมาใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 478

เฉพาะแต่สุคติภพอย่างเดียวเท่านั้น ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

วิปัสสี เขาเป็นเศรษฐีผู้มีทรัพย์มากมาย ได้นิมนต์ให้ภิกษุ ๑ ล้าน ๘ แสน

รูป ใช้สอยนุ่งห่มผ้าไตรจีวรแล้ว.

เขาได้ทำกุศลไว้เป็นอันมากอย่างนั้นแล้ว ก็ได้บังเกิดในเทวโลก.

เขาดำรงอยู่ในเทวโลกนั้นจนตลอดอายุแล้ว ก็เคลื่อนจากเทวโลกนั้น ได้

บังเกิดในมนุษยโลก ในโลกที่ว่างเปล่าจากพระพุทธเจ้า ได้บำรุงพระปัจเจก-

พุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ด้วยปัจจัย ๔ แล้ว จุติจากอัตภาพนั้น ได้บังเกิดใน

ราชตระกูล เมื่อจะพร่ำสอนความเป็นพระราชา ได้บำรุงบุตรของตนผู้บรรลุ

พระปัจเจกโพธิญาณอยู่แล้ว ถือเอาพระธาตุของท่านผู้ปรินิพพานแล้ว สร้าง

เป็นเจดีย์บูชาแล้ว. เขาได้บำเพ็ญบุญเหล่านั้นไว้ในภพนั้นอย่างนั้นแล้ว ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดเป็นลูกชายคนเดียวของภัททิยเศรษฐี ผู้มีทรัพย์-

สมบัติมากถึง ๘๐ โกฏิ ในภัตทิยนคร. เขาได้มีชื่อว่า ภัททชิ. ทราบว่า

อิสริยสมบัติ โภคสมบัติ และบริวารสมบัติของเรา ได้มีในภพสุดท้าย คล้าย

กับของพระโพธิสัตว์ฉะนั้น .

ในคราวนั้น พระศาลดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี เพื่อจะทรงทำการ

สงเคราะห์ภัททชิกุมาร จึงพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จไปยังภัททิยนคร

ประทับอยู่ในชาติวัน ทรงคอยเวลาให้ญาณของเขาแก่กล้าเสียก่อน. แม้

ภัททชิกุมารนั้น ก็นั่งอยู่บนปราสาทเปิดสีหบัญชรมองดู เห็นมหาชนกำลัง

เดินไปฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ถามว่า มหาชนนี้ กำลัง

ไปไหนกัน ดังนี้. ครั้นทราบเหตุอันนั้นแล้ว แม้ตนเอง พร้อมด้วยบริวาร

หมู่ใหญ่ก็ไปสำนักของพระศาสดา ฟังธรรม ทั้งที่ประดับประดาไปด้วยอาภรณ์

พร้อมสรรพ ทำกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว ได้บรรลุพระอรหัต, ก็เมื่อท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 479

ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว พระศาสดาตักเตือนท่านภัททิยเศรษฐีว่า ลูกชาย

ของท่าน ประดับประดาด้วยเครื่องอลังการ ฟังธรรม ได้ดำรงอยู่ในพระ-

อรหัตแล้ว. บุตรของท่านสมควรเพื่อจะได้บวชเสียเดี๋ยวนี้แหละ, ถ้าจักไม่

บวช, ก็จักปรินิพพานแน่. เศรษฐีกราบทูลว่า บุตรของข้าพระองค์ยังเป็น

คนหนุ่มแน่นอยู่ กิจด้วยการปรินิพพานจะมีไม่ได้ ขอพระองค์จงให้เขา

บวชเถิด. พระศาสดาทรงให้เขาได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว ประทับอยู่ในที่

นั้นได้ ๗ วันแล้ว ก็เสด็จไปถึงโกฏิคาม. ก็หมู่บ้านนั้น ได้ตั้งอยู่ใกล้ฝั่ง

แม่น้ำคงคา. ก็ชาวบ้านโกฏิคาม ได้ยังมหาทานให้เป็นไปแก่หมู่ภิกษุมีพระ-

พุทธเจ้าเป็นประมุข. พระภัททชิเถระ ไปยังนอกหมู่บ้าน เพื่อปรารภจะ

ให้พระศาสดาทรงอนุโมทนาเสียก่อน ด้วยคิดว่า ในเวลาที่พระศาสดาเสด็จ

มาใกล้หนทางฝั่งแม่น้ำคงคา จึงจักออกไปดังนี้ ทำการกำหนดเวลาแล้ว ก็

นั่งเข้าสมาบัติ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง. แม้เมื่อพระมหาเถระทั้งหลาย จะมาก็

ไม่ยอมลุกขึ้น ต่อเมื่อถึงเวลาที่พระศาสดาเสด็จมาแล้วเท่านั้น จึงลุกขึ้น.

พวกภิกษุผู้เป็นปุถุชน ก็พากันเพ่งโทษว่า ภิกษุรูปนี้บวชมายังไม่ทันไรเลย,

ก็กลายเป็นผู้แข็งกระด้าง ไม่ยอมลุกขึ้นในเวลาที่พระมหาเถระทั้งหลายมาถึง.

ชาวบ้านโกฏิคาม ได้พากันผูกเรือแพเป็นอันมากเพื่อพระศาสดาและ

ภิกษุสงฆ์. พระศาสดา ทรงพระดำริว่า เราจะประกาศถึงอานุภาพของ

พระภัททชิ แล้วจึงประทับยืนบนเรือ ตรัสถามว่า ภัททชิ ไปไหน

พระภัททชิเถระกราบทูลว่า พระเจ้าข้า แล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว

ได้ยืนประคองอัญชลี. พระศาสดาตรัสว่า ภัททชิ มานี่ซิ, เธอจงขึ้นเรือ

ลำเดียวกันกับเราเถอะ. พระภัททชินั้น จึงเหาะขึ้นแล้ว ได้ยืนในเรือลำที่

พระศาสดาประทับอยู่แล้ว. ในเวลาที่เรือแล่นไปในท่ามกลางแม่น้ำคงคา

พระศาสดาตรัสว่า ภัททชิ ในเวลาที่เธอเป็นพระเจ้ามหาปนาทะ รัตนปราสาท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 480

จมลงในที่ไหนเล่า ? พระเถระกราบทูลว่า จมลงในที่ตรงนี้ พระเจ้าข้า

พระศาสดาตรัสว่า ภัททชิ ถ้าเช่นนั้น เธอจงตัดความสงสัยของเพื่อนสพรหม-

จารีทั้งหลายเสียเถอะ. ในขณะนั้น พระเถระ จึงถวายบังคมพระศาสดาแล้ว

ไปด้วยกำลังแห่งฤทธิ์แล้ว เอาระหว่างนิ้วเท้าคีบยอดปราสาท ถือปราสาทอัน

ใหญ่ประมาณ ๒๕ โยชน์ไว้ เหาะไปในอากาศ, ก็เมื่อเหาะไป ได้ยกขึ้นสูง

ถึง ๕๐ โยชน์. ลำดับนั้น พวกญาติของท่านในภพก่อน ซึ่งได้เกิดเป็นปลา

เต่าและกบ ด้วยความโลภในปราสาท เมื่อปราสาทนั้น ถูกยกลอยไป ก็พา

กันล้มตกลงไปมา. พระศาสดา ทรงเห็นสัตว์เหล่านั้นล้มกลิ้งเช่นนั้นแล้ว จึง

ตรัสว่า ภัททชิ พวกญาติของเธอกำลังลำบากนะ. พระเถระเชื่อพระดำรัส

ของพระศาสดา จึงปล่อยปราสาทแล้ว. ปราสาทก็คงตั้งสถิตอยู่ตามเดิมนั้นแล.

พระศาสดา เสด็จถึงฝั่งแล้ว ถูกพวกภิกษุทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ปราสาทหลังนี้ อันพระภัททชิเถระ ให้จมลงเมื่อไร แล้วจึงตรัสมหาปนาท-

ชาดก ทำชนหมู่มากให้ได้ดื่มน้ำอมตะ. คือธรรมะ.

ส่วนพระเถระ บรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงบุญสมภารในกาล

ก่อนแล้ว เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยประพฤติ

มาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า โอคยฺหาห โปกฺขรณี ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอคยฺหาห โปกฺขรณี ความว่า ข้าพเจ้าหยั่งลง

ดำลง เข้าไปหยั่งลงไปสู่ชลาลัยอันได้นามว่า โบกขรณี เพราะเขาขุดห้วงน้ำ

ใหญ่และกว้างมากมาย คือ เมื่อข้าพเจ้าเข้าไปยังสระโบกขรณีนั้นเพื่อของกิน

และของเคี้ยวแล้วเก็บเอาเหง้าบัวและรากบุณฑริกขึ้นมา. คำที่เหลือมีเนื้อความ

พอที่จะกำหนดได้โดยง่าย ตามลำดับแห่งเนื้อความ เพราะข้าพเจ้าได้กล่าว

เนื้อความไว้แล้วในหนหลัง และเพราะมีเนื้อความง่ายทั้งหมดแล.

จบอรรถกถาภัททชิเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 481

สิวกเถราปทานที่ ๙ (๕๕๙)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระสิวกเถระ

[๑๔๙ ] ข้าพเจ้า ได้เห็นบาตรของพระ-

วิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ผู้กำลังเสด็จ

ไป เพื่อแสวงหาบิณฑะ ว่างเปล่า จึงถวายขนม

กุมมาสจนเต็ม.

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ ในครั้งนั้น ข้าพเจ้า

ได้ถวายภิกษาใด ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลของการถวายขนมกุมมาส.

ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว ฯลฯ

ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้าเป็นผู้มาดีแล้วแล ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระสิวกเถระ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบสิวกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 482

๕๕๙. อรรถกถาสิวกเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระสิวกเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า เอสนาย จรนฺตสฺส

ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์

ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้น ๆ

ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี ท่านได้เกิดในเรือนอัน

มีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่งเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวไป

บิณฑบาต มีจิตเลื่อมใส รับบาตรมาบรรจุขนมกุมมาสจนเต็มแล้วจึงได้ถวาย.

ด้วยบุญกรรมอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุลของพราหมณ์ในกรุงราชคฤห์

เขาได้มีชื่อว่า สิวกะ เขาเจริญวัยแล้ว จบการศึกษาในวิชาและศิลปะทั้งหลาย

แล้ว เพราะค่าที่ตนมีอัธยาศัยใคร่จะออกบวช จึงละกามบวชเป็นพระดาบส

ท่องเที่ยวจาริกไป ได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรมแล้ว ได้มีศรัทธาบวช

แล้ว บำเพ็ญวิปัสสนา ไม่นานเท่าไรนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัต.

ท่านครั้นได้บรรลุพระอรหัตแล้ว เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะ

ประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้น

ว่า เอสนาย จรนฺตสฺส ดังนี้. คำนั้นทั้งหมด บัณฑิตพอที่จะกำหนดรู้ได้

โดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถาสิวกเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 483

อุปวานเถราปทานที่ ๑๐ (๕๖๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระอุปวานเถระ

[๑๕๐] พระชินเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ

ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ผู้รุ่งโรจน์แล้ว

เสมือนกองเพลิงที่ลุกโพลงฉะนั้น พระสัมพุทธ-

เจ้าปรินิพพานแล้ว.

มหาชน มาประชุมกันแล้ว บูชา

พระตถาคต กระทำจิตกาธารให้ดีแล้ว ยก

พระสรีระขึ้นสู่จิตกาธารแล้ว.

กระทำสรีรกิจแล้ว รวบรวมพระธาตุไว้

ในที่นั้น มนุษย์และเทวดาทั้งสิ้นเหล่านั้น ได้

กระทำพระสถูปพระพุทธเจ้าแล้ว.

พระสถูปนั้นชั้นหนึ่ง สำเร็จด้วยทอง

ชั้นที่สอง สำเร็จด้วยแก้วมณี ชั้นที่สาม สำเร็จ

ด้วยเงิน ชั้นที่สี่ สำเร็จด้วยแก้วผลึก.

ที่พระสถูปชั้นที่ห้านั่นแล สำเร็จด้วย

แก้วทับทิมล้วน ชั้นที่หก สำเร็จด้วยแก้วลาย

ทั่วทั้งองค์ตลอดถึงยอด สำเร็จด้วยรัตนะ

ทางเท้า สำเร็จด้วยแก้วมณี แท่นบูชา

สำเร็จด้วยรัตนะ พระสถูปทั้งองค์ สำเร็จด้วยทอง

สูงหนึ่งโยชน์.

๑. ในบาลีทีฆนิกายเล่มที่ ๑๐ ข้อ ๑๓๐ ว่า อปวาณเถระ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 484

เทวดาทั้งหลายมาประชุมกัน ณ ที่นั้น

ร่วมปรึกษากันในครั้งนั้นว่า แม้พวกเราจักพากัน

เสริมแต่งพระสถูปของพระโลกนาถเจ้า ผู้คงที่

บ้าง.

พระธาตุมิได้กระจัดกระจาย พระสรีระ

ธาตุเป็นก้อนเดียว พวกเราจะเสริมแต่งหุ้ม

พระพุทธสถูปนี้.

เทวดาทั้งหลาย ได้เสริมแต่งพระสถูป

ให้สูงขึ้นอีกหนึ่งโยชน์ ประกอบด้วยรัตนะ ๗

ประการ เพราะฉะนั้น พระสถูปจึงสูงเป็นสอง

โยชน์ พระสถูปนั้น สูงขึ้นไปในหมอก.

พวกนาคทั้งหลายมาประชุมกัน ณ ที่นั้น

ร่วมปรึกษากันในครั้งนั้นว่า มนุษย์และเทวดา

ทั้งหลายเหล่านั้นได้สร้างพระพุทธสถูปกันแล้ว

พวกเราอย่าได้เป็นผู้ประมาทเลย เพราะ

พวกมนุษย์และเทวดา เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

แม้พวกเราจักเสริมแต่งพระสถูปของพระโลก-

นาถเจ้า ผู้คงที่บ้าง.

พวกนาคได้ประชุมกันแล้ว ได้หุ้มห่อ

พระสถูป ด้วยแก้วอินทนิล แก้วมหาอินทนิล

และแก้วโชติรส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 485

องค์พระพุทธเจดีย์ ได้สำเร็จด้วยแก้ว

มณีตลอดทั้งองค์ เพิ่มความสูงขึ้นเป็นสามโยชน์

ในครั้งนั้นได้กระทำที่นั้นให้สว่างแล้ว.

พวกครุฑ มาประชุมกันแล้ว ร่วม

ปรึกษากันในครั้งนั้นว่า มนุษย์ เทวดา และนาค

เหล่านั้นได้พากันกระทำพุทธบูชาแล้ว.

พวกเรา อย่าได้ประมาทเลย พวก

มนุษย์ เทวดา และนาค เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

แม้พวกเรา ก็จักเสริมแต่งพระสถูปของพระ-

โลกนาถเจ้า ผู้คงที่บ้าง.

พวกครุฑเหล่านั้น ได้กระทำการหุ้มห่อ

พระสถูป ให้สำเร็จด้วยแก้วมณีทั้งองค์ แม้พวก

ครุฑเหล่านั้น ได้เสริมแต่งพระพุทธเจดีย์ให้สูง

ขึ้นอีกหนึ่งโยชน์.

พระพุทธสถูปจึงสูงขึ้นเป็นสี่โยชน์

รุ่งโรจน์ยิ่ง สว่างแจ้งไปทุกทิศ แสงสว่างพวย-

พุ่งขึ้นสูง สว่างเหมือนดวงอาทิตย์ฉะนั้น.

พวกกุมภัณฑ์ มาประชุมกันแล้ว ร่วม

ปรึกษากันในครั้งนั้นเหมือนอย่างที่มนุษย์ เทวดา

นาค และครุฑปรึกษากันฉะนั้น

พวกเขาเหล่านั้น ต่างพากันกระทำ

พระสถูปอันอุดม ของพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 486

แล้ว พวกเราอย่าเป็นผู้ประมาทเลย พวกมนุษย์

และเทวดาเป็นต้น เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว.

แม้พวกเรา ก็จักเสริมแต่งพระสถูปของ

พระโลกนาถเจ้า ผู้คงที่บ้าง พวกเราจักเสริมแต่ง

พระพุทธเจดีย์ให้สูงขึ้นไปด้วยรัตนะ.

แม้พวกเขาเหล่านั้น ก็ได้เสริมแต่ง

พระพุทธเจดีย์ให้สูงขึ้นไปหนึ่งโยชน์ ครั้งนั้น

พระสถูปจึงสูงห้าโยชน์ ส่องแสงสว่างอยู่

พวกยักษ์ ได้มาในที่นั้นแล้ว ต่างประชุม

ปรึกษากันในครั้งนั้นว่า พวกมนุษย์ เทวดา นาค

ครุฑ และกุมภัณฑ์ ได้เสริมแต่งพระสถูปแล้ว.

พวกเขาเหล่านั้น ต่างได้กระทำพระ-

สถูปอันอุดมของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐแล้ว

พวกเรา อย่าได้เป็นผู้ประมาทเลย พวกมนุษย์

และเทวดาเป็นต้นเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว.

แม้พวกเรา ก็จักเสริมแต่งพระสถูปของ

พระโลกนาถเจ้า ผู้คงที่บ้าง พวกเราจักเสริม

แต่งพระพุทธเจดีย์ ด้วยแก้วผลึก.

แม้พวกเขา (ยักษ์) เหล่านั้น ได้

เสริมแต่งพระพุทธเจดีย์ให้สูงขึ้นหนึ่งโยชน์ ใน

ครั้งนั้น พระสงฆ์จึงสูงเป็นหกโยชน์ ส่องสว่าง

อยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 487

พวกคนธรรพ์ได้มาประชุมกันแล้ว ได้

ประชุมปรึกษากันในครั้งนั้นว่า พวกมนุษย์

เทวดา นาค กุมภัณฑ์ และครุฑ ได้กระทำกัน

แล้วอย่างนั้น

พวกเขาทั้งหมดได้กระทำพระพุทธสถูป

แล้ว พวกเราในที่นี้ยังมิได้กระทำ แม้พวกเรา

ก็จักกระทำพระสถูปของพระโลกนาถเจ้า ผู้คงที่

บ้าง.

ในครั้งนั้น พวกคนธรรพ์ ได้กระทำที่

บูชา ๗ ที่ กระทำธง และฉัตรแต่งเสริมพระสถูป

ให้สำเร็จด้วยทองคำทั้งองค์.

ในครั้งนั้น พระสถูปสูงได้เจ็ดโยชน์

ส่องแสงสว่างอยู่ จนไม่ปรากฏว่า เป็นกลางคืน

หรือกลางวัน โลกคงมีแต่แสงสว่างตลอดกาล.

แสงสว่างของดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และ

ดวงดาวทั้งหลาย ไม่ครอบงำแสงสว่างพระ-

สถูปนั้นได้ แสงสว่างนั้น สว่างแผ่ไปถึงระยะ

หนึ่งร้อยโยชน์โดยรอบ จนแม้ประทีป ก็ไม่สว่าง

ในกาลนั้น มนุษย์บางพวกบูชาพระสถูป

อยู่ ทั้งที่นั้นมนุษย์เหล่านั้น ก็มิได้ขึ้นสู่พระสถูป

มนุษย์เหล่านั้น ก็เสมือนขึ้นไปอยู่สูงในท้องฟ้า

ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 488

ยักษ์ มีนามว่า อภิสมมต ยืนอยู่กับ

พวกเทวดา ได้ยกธงและพวงดอกไม้ขึ้นสูงยิ่ง.

ชนเหล่านั้น มิได้เห็นยักษ์นั้น เมื่อเดิน

ไป ก็เห็นพวงดอกไม้ เมื่อเห็นพวงดอกไม้ ก็

เดินไปอยู่อย่างนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมไป

สู่สุคติ.

มนุษย์เหล่าใด ประพฤติชอบในปาพจน์

และเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มนุษย์เหล่านั้น

ใคร่จะเห็นปาฏิหาริย์ จึงบูชาพระสถูป.

ครั้นเมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นคนรับจ้าง อา-

ศัยอยู่ในพระนครหังสวดี เห็นชนรื่นเริงยินดี

แล้วจึงคิดอย่างนี้ว่า

ก็ชนเหล่านี้ ยินดีแล้ว ย่อมไม่อิ่มต่อ

การบุญที่ควรกระทำ อันปรากฏในพระสถูป บรรจุ

พระธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สูงสุดพระองค์

นั้น.

แม้ข้าพเจ้าจักกระทำบุญ ข้าพเจ้าจัก

เป็นทายาทในธรรมของพระโลกนาถเจ้า ผู้คงที่

พระองค์นั้น ในอนาคตกาลบ้าง.

ข้าพเจ้าจักทำความสะอาด ด้วยการเช็ด

ล้างพระสถูป ยกธงแผ่นผ้าของข้าพเจ้าขึ้นให้สูง

ผูกธงที่ปลายไม้ไผ่แล้วยกขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 489

ข้าพเจ้ายืนประคองอยู่ธงอยู่ ธงของข้าพเจ้า

ถูกยกสูงขึ้นไปในอัมพร ข้าพเจ้า เห็นธงถูกลม

ปลิวสะบัดแล้ว ข้าพเจ้ามีความยินดีเกิดขึ้นแล้ว

ข้าพเจ้ากระทำจิตให้เลื่อมใสในพระสถูป

นั้น จึงเข้าไปหาพระสมณะ ถวายอภิวาทพระภิกษุ

นั้น ถามถึงวิบากในการถวายธง

พระภิกษุนั้น มีความยินดี กล่าวกับ

ข้าพเจ้า คือกล่าวถึงวิบากของการถวายธงนั้น ยัง

ความปีติให้เกิดแก่ข้าพเจ้า ตลอดกาลทั้งปวง.

กองทหารช้าง กองทหารม้า กองทหาร

รถ กองทหารเดินเท้า และจตุรงคเสนาแวดล้อม

เขาอยู่เป็นประจำ นี้เป็นผลแห่งการถวายธง.

นักดนตรีหกหมื่นคน กับกลองที่ประดับ

แล้ว แวดล้อมเขาอยู่เป็นประจำ นี้เป็นผลแห่ง

การถวายธง.

สตรีผู้ประดับตกแต่งแล้ว ๘๖,๐๐๐ นาง

ประดับตกแต่งด้วยเครื่องผ้าอาภรณ์อันวิจิตร

ประดับประดาด้วยแก้วมณีและตุ้มหู.

มีปากงาม เจรจาด้วยความยิ้มแย้ม อก

ผึ่งตะโพกผาย ทรวดทรงองค์เอวกลมกลึง แวด-

ล้อมเขาอยู่เป็นประจำ นี้เป็นผลของการถวายธง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 490

ท่านจักยินดีในเทวโลก ตลอดเวลาสาม-

หมื่นกัป จักเป็นจอมเทวดา ๘๐ ครั้ง จักเสวย

เทวรัชสมบัติ.

จักเป็นพระราชา ๑,๐๐๐ ครั้ง และจักเป็น

พระเจ้าจักพรรดิ ๑,๐๐๐ ครั้ง จักเป็นพระเจ้า

ประเทศราช ผู้ไพบูลย์โดยประมาณนับมิได้.

ในกัปที่หนึ่งแสน พระมหาบุรุษจักทรง

สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช มีพระนามตาม

พระโคตรว่า โคตมะ จักทรงเป็นพระศาสดาใน

โลก.

ครั้นจุติจากเทวโลกแล้ว อันกุศลตัก-

เตือนแล้ว อันบุญกรรมให้ระลึกได้แล้ว จักเกิด

เป็นพราหมณ์.

ท่านจักทอดทิ้งโภคสมบัติจำนวน ๘๐

โกฏิ ทาสและกรรมกรเป็นจำนวนมาก จักบวช

ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนาม

ว่า โคตมะ.

ท่านจักกราบทูลพระสัมพุทธเจ้า พระ-

นามว่า โคตมะ ผู้ประเสริฐในสักวงศ์ให้ทรง

ยินดี ด้วยชื่อว่า อุปวานะ จักเป็นสาวกของ

พระศาสดา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 491

กรรมที่ข้าพเจ้ากระทำไว้ในแสนกัป จัก

ให้ผลแก่ข้าพเจ้าในกัปนี้ ข้าพเจ้าได้หลุดพ้นแล้ว

จากแรงเสียบแทงของกิเลสเพียงดังลูกศร ข้าพ-

เจ้าเผากิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว.

ธงทั้งหลาย ได้ชักขึ้นเพื่อข้าพเจ้า ได้

เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้สงบ ผู้ปกครองทวีป

ทั้ง ๔ โดยรอบสามโยชน์ ในกาลทุกเมื่อ.

แต่ในกัปที่แสนในกาลนั้น ข้าพเจ้า ได้

กระทำกรรมใดไว้ ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้าไม่รู้

จักทุคติเลย อันนี้เป็นผลแห่งการถวายธง.

กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้า ได้เผาทิ้งไปสิ้นแล้ว

ฯลฯ ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้าเป็นผู้มาดีแล ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

ปฏิสัมภิทา ๔ ฯลฯ คำสอนของพระ-

พุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระอุปวานเถระ ได้กล่าว

คาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอุปวานเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 492

๕๖๐. อรรถกถาอุปวานเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

เรื่องราวของท่านพระอุปวาณเถระ อันคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร

นาม ชิโน ดังนี้.

ได้ทราบว่า พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระ-

พุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็น

อันมากในภพนั้น ๆ เพราะถูกกรรมบางอย่างมาตัดรอน ในกาลแห่งพระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ เขาจึงได้มาบังเกิดในตระกูลคนยากจน

บรรลุนิติภาวะแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ได้เก็บเอาพระธาตุ

ของพระองค์ไว้แล้ว เมื่อพวกมนุษย์ เทวดา นาคราช ครุฑ ยักษ์ กุมภัณฑ์

และคนธรรพ์ พากันสร้างสถูปประมาณ ๗ โยชน์ อันสำเร็จล้วนด้วยรัตนะ

๗ ประการ ได้เอาผ้าอุตตราสงค์อันขาวสะอาดของคนทำเป็นธงผูกติดปลาย

ไม้ไผ่แล้ว ได้ทำการบูชา ณ ที่สถูปนั้น เสนาบดียักษ์ ชื่อว่า อภิสัมมตกะ

ถือเอาธงนั้น ได้ตั้งพวกเทวดาไว้เพื่อรักษาเครื่องบูชาที่พระเจดีย์แล้ว เป็นผู้

ไม่ปรากฏกาย ทรงตัวอยู่ในอากาศ ได้ทำประทักษิณพระเจดีย์ ๓ รอบ. ด้วย

บุญกรรมอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุป-

บาทกาลนี้ ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกรุงสาวัตถี ได้มีชื่อว่า อุปวาณะ

เจริญวัยแล้ว ได้มองเห็นพุทธานุภาพในการรับพระเชตวัน ได้มีศรัทธา บวช

แล้ว บำเพ็ญวิปัสสนา ได้อภิญญา ๖ แล้ว. ก็โดยสมัยนั้น อาพาธเกี่ยวด้วย

โรคลมได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พราหมณ์ ชื่อว่า เทวหิตะ

ผู้เป็นสหายคฤหัสถ์ของพระเถระ อยู่ประจำในกรุงสาวัตถี. เขาได้ปวารณา

๑. บาลีเป็นอุปวานเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 493

พระเถระไว้ด้วยปัจจัย ๔. ลำดับนั้น ท่านพระอุปวาณะนุ่งห่มแล้ว ถือบาตร

และจีวร เข้าไปยังนิเวศน์ของพราหมณ์นั้นแล้ว. พราหมณ์ทราบว่า พระเถระ

เห็นจักมาด้วยประโยชน์อะไรสักอย่างเป็นแน่ จึงพูดว่า พระคุณเจ้า ต้องการ

อะไร ก็พูดมาเถอะขอรับ. พระเถระเมื่อจะบอกถึงความประสงค์แก่พราหมณ์

นั้น จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

พราหมณ์เอ๋ย ! พระสุคตมุนีเจ้า ผู้เป็น

อรหันต์ในโลก ถูกโรคลมเข้าเบียดเบียน ถ้า

ท่านมีน้ำอุ่นจงถวายแด่พระมุนีเจ้าเถิด การบูชา

แล้วแก่ผู้ควรบูชา การสักการะแล้วแก่ผู้ควร

สักการะ การนอบน้อมแล้วแก่ผู้ควรนอบน้อม

พระองค์นั้น.

เนื้อความแห่งบาทคาถานั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด อัน

พวกเทวดามีท้าวสักกะเป็นต้น และอันพวกพรหมมีท้าวมหาพรหมเป็นต้น

ได้บูชาแล้วแก่ผู้ควรบูชาในโลกนี้, ผู้อันพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าโกศล

เป็นต้น ทรงกระทำสักการะแล้ว แก่ผู้ควรสักการะ, ผู้อันพระขีณาสพผู้

แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่นอบน้อมแล้ว แก่ผู้ควรนอบน้อม, ทรงเป็นพระอรหันต์

เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลายเป็นต้น, ทรงเป็นผู้เสด็จไปดี เพราะเสด็จไปได้

อย่างงดงามเป็นต้น ทรงเป็นพระสัพพัญญู เป็นพระมุนี คือพระศาสดาของ

พวกเรา ซึ่งทรงเป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดา ทรงเป็นท้าวสักกะยิ่งกว่าท้าวสักกะ

ทรงเป็นท้าวมหาพรหมยิ่งกว่าพวกพรหม, บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้น ถูกโรคลม มีลมเป็นเหตุ เกิดการกระสับกระส่ายเพราะลมเป็นเหตุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 494

ทรงกลายเป็นผู้อาพาธ. ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าท่านมีน้ำอุ่น, เราปรารถนาจะ

นำน้ำอุ่นนั้นไปเพื่อระงับอาพาธเนื่องด้วยโรคลมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ

องค์นั้น ดังนี้.

พราหมณ์ ได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงได้น้อมเภสัชระงับโรคลม อันพอ

เหมาะกับน้ำอุ่นนั้นเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. ก็โรคของพระ-

ศาสดา ได้ระงับแล้วด้วยเภสัชนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำ

อนุโมทนาแล้ว แก่พราหมณ์นั้น.

ลำดับนั้น ท่านพระอุปวาณะ ได้ระลึกถึงบุรพกรรมของตน ในกาล

ต่อมา เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมา

แล้วในกาลก่อน จึงได้กล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทฺมุตฺตโร เป็นต้น มีเนื้อความตามที่ได้กล่าว

มาแล้วในตอนต้นนั่นแล. บทว่า มหาชนา สมาคมฺม ความว่า ชาวชมพู-

ทวีปทั้งสิ้น ได้รวมกันเป็นกลุ่ม. บทว่า จิตก กตฺวา เธอมีความว่า ชน

ทั้งหลายได้ทำจิตกาธาน ด้วยหมู่ไม้จันทน์สูงตั้งโยชน์ แล้วยกพระสรีระของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าขึ้นวางบนจิตกาธานนั้น. บทว่า สรีรกิจฺจ กตฺวาน

ความว่า การทำกิจคือการเผาด้วยไฟ คือ การจุดไฟ. บทว่า ชงฺฆา มณิมยา

อาสิ ความว่า ทางเท้า ไปที่สถูปอันพวกมนุษย์สร้างขึ้นไว้ คือ สร้าง

ทำด้วยแก้วมณี ได้แก่ ทำสถานที่นั้นด้วยแก้วอินทนิล เพื่อนำดอกไม้ไป.

บทว่า มยมฺปิ ความว่า พวกเทวดาทั้งหมดจักสร้างสถูปไว้แน่. บทว่า

ธาตุ อาเวณิการ นตฺถิ ความว่า พระธาตุไม่มีเป็นแผนก ๆ เพื่อที่พวกเทวดา

และมนุษย์จะสร้างเจดีย์ไว้เป็นแห่ง ๆ เมื่อจะแสดงถึงพระธาตุนั้น ท่านจึง

กล่าวไว้ว่า สรีร เอกปิณฺฑิต เป็นต้น, อธิบายว่า ด้วยกำลังแห่งการอธิษฐาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 495

พระสรีรธาตุทั้งสิ้น จึงได้เป็นเพียงก้อนเดียวเท่านั้น เปรียบดุจพระปฏิมาที่

สำเร็จด้วยศิลาก้อนเดียว ฉะนั้น. บทว่า อิมมฺหิ พุทธถูปมฺหิ ความว่า พวก

เราทั้งหมด จักมาพร้อมกันแล้ว ช่วยกันสร้างเครื่องปกคลุมสถูปไว้ ณ สถูป

ทองคำนี้ ที่พวกชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นได้พากันสร้างไว้แล้ว. บทว่า อินฺทนีล

มหานีล ความว่า แก้วมณีที่มีสีและแสงดุจดอกบัวสีน้ำเงิน เรียกว่า แก้ว

อินทนิล. เชื่อมความว่า ชื่อว่า แก้วมณีก้อนใหญ่ เพราะมีสียิ่งด้วยแก้ว

อินทนิลนั้น, เราได้นำเอา แก้วมณีอินทนิล แก้วมณีสีเขียวชนิดก้อนใหญ่

แก้วมณีโชติรส และแก้วมณีสีแดงโดยชาติ มารวมเป็นก้อนเดียวกัน แล้ว

ทำเป็นเครื่องคลุมที่สถูปทองคำ ปกคลุมไว้แล้ว. บทว่า ปจิเจก พุทฺธเสฏฺสฺส

ความว่า พวกประชาชนได้ทำสถูปด้วยเครื่องปกคลุมไว้ข้างบนเป็นแผนกหนึ่ง

เพื่อให้เป็นอิสระแด่พระพุทธเจ้าผู้สูงสุด. บทว่า กุมฺภณฺฑา คุยฺหกา ตถา

ความว่า เทวดาพวกที่มีอัณฑะประมาณเท่าหม้อ ชื่อว่า กุมภัณฑ์, จึงกลาย

มาเป็นชื่อกำเนิดเทวดาพวกครุฑ เพราะปกปิดทำให้มิดชิด, พวกกุมภัณฑ์

เหล่านั้น ตัวเองมีเครื่องปกปิด จึงได้สร้างสถูปมีเครื่องปกปิดบ้าง. บทว่า

อติโภนฺติ น ตสฺสาภา ความว่า แสงสว่างแห่งพระจันทร์พระอาทิตย์และ

หมู่ดาว จึงไม่สาดส่อง ไม่เล็ดลอดท่วมทับรัศมีแห่งพระเจดีย์นั้นได้. บทว่า

อหมฺปิ การ กสฺสามิ ความว่า แม้เราก็จักทำสักการะบุญกิริยา คือกุศลกรรม

ได้แก่ การบูชาด้วยธงชัยและธงปฏาก ณ พระสถูปของพระโลกนาถเจ้าผู้คงที่

บ้าง.

จบอรรถกถาอุปวาณเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 496

รัฐปาลเถราปทานที่ ๑๑ (๕๖๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระรัฐปาลเถระ

[๑๕๑] ข้าพเจ้า ได้ถวายพญาช้างเชือก

ประเสริฐ มีงาใหญ่งอนงามเสมือนงอนไถ แด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้

เจริญที่สุดของโลก ผู้คงที่.

ข้าพเจ้า เป็นนายควาญช้าง นั่งอยู่บน

คอช้าง อันตกแต่งให้งามด้วยเศวตฉัตร ได้จ่าย

ทรัพย์แล้วให้สร้างสังฆารามทั้งหลังนั้น.

ข้าพเจ้าได้สละทรัพย์ ๕๔,๐๐๐ กหาปณะ

ให้สร้างปราสาททั้งหลาย กระทำการถวายทาน

ด้วยเครื่องไทยมีราคามาก แด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าผู้มีพระคุณใหญ่.

พระมหาวีรเจ้า ผู้สัพพัญญู ผู้เป็นบุคคล

ผู้เลิศ ทรงยังมหาชนทั้งหมดให้ร่าเริงอยู่ ทรง

แสดงอมตบทแล้ว.

พระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ

ทรงกระทำธรรมนั้น ให้แจ้งแก่ข้าพเจ้า ประทับ

นั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้ว ได้ตรัสพระคาถา

เหล่านี้ ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 497

ผู้นี้ ได้สละทรัพย์ ๕๔,๐๐๐ กหาปณะ

กระทำปราสาทแล้ว เราจะกล่าวถึงวิบาก ท่าน

ทั้งหลายจงฟัง เราจะกล่าววิบากนั้น

ผู้นี้สละทรัพย์ ๑๘,๐๐๐ กหาปณะ ให้

สร้างเรือนยอด เขาจักเกิดในวิมาน และวิมาน

เหล่านั้น จักสำเร็จด้วยทองทั้งหลัง.

เขา จักเป็นจอมเทวดา ๕๐ ครั้ง จัก

เสวยรัชสมบัติและเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๘ ครั้ง

ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ พระมหาบุรุษ จักทรง

สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช ทรงมีพระนาม

โดยพระโคตรว่า โคตมะ จักทรงเป็นพระศาสดา

ในโลก.

ครั้นเขาจุติจากเทวโลก อันกุศลมูล

ตักเตือนแล้ว ในกาลนั้น เขาจักเกิดในตระกูลที่

มั่งคั่ง มีโภคะมาก.

ภายหลัง เขาบวชแล้ว อันกุศลมูล

ตักเตือนแล้ว จึงได้นามว่า รัฐปาละ จักได้เป็น

สาวกของพระศาสดา.

เขา มีความเพียรอันตั้งไว้แล้ว เข้าไป

สงบ ปราศจากอุปธิแล้ว ในเมื่อบริษัทยังมีอาสวะ

อยู่ แต่เขาจักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ นิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 498

ข้าพเจ้าพยายามแล้วออกบวช ละทิ้ง

โภคะและสมบัติทั้งหลาย ข้าพเจ้า ไม่มีความ

รักใคร่ในโภคะสมบัติ อันเป็นเสมือนก้อนเขฬะ

ฉะนั้น.

ข้าพเจ้าทรงไว้ซึ่งการนำธุระคือความเพียร

ไป ซึ่งการนำไปซึ่งธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก

โยคะและซึ่งกายในภพสุดท้าย ในพระศาสนาของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้เผาสิ้นแล้ว

ฯลฯ ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ข้าพเจ้าเป็นผู้มาดีแล้วแล ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

ปฏิสัมภิทา ๔ ฯลฯ คำสอนของพระ-

พุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระรัฐปาละเถระ ได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบรัฐปาลเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 499

๕๖๑. อรรถกถารัฐปาลเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระรัฐปาลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺส

ภควโต ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระ-

องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ

นั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิด

ในตระกูลคฤหบดีมหาศาล ในพระนครหังสาวดี ก่อนหน้าที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าพระองค์นั้น ทรงอุบัตินั่นแล พอเจริญวัยแล้ว บิดาล่วงลับดับชีวิตไป

เองก็ดำรงเพศเป็นฆราวาสครองเรือน ได้เห็นทรัพย์สมบัติ ที่มีอยู่ในตระกูล

วงศ์อันหาปริมาณมิได้ ตามที่คนผู้รักษาเรือนคลังรัตนะแสดงให้ทราบแล้ว

จึงคิดว่า ปู่ย่า ตายาย เป็นต้นของเรา ไม่อาจเพื่อจะถือเอากองทรัพย์สมบัติ

มีประมาณเท่านี้ ไปกับตนได้เลย แต่เราควรที่จะถือเอาแล้วจึงไป จึงได้ให้

มหาทานแก่หมู่คนทั้งหลายมีคนกำพร้าเป็นต้น. เขาได้บำรุงพระดาบสผู้ได้

อภิญญารูปหนึ่ง บุญนั้นจึงส่งเขาให้เป็นใหญ่ในเทวโลก เขาบำเพ็ญบุญ

ทั้งหลายจนตลอดชีวิตแล้ว จุติจากอัตภาพนั้น ได้ไปเกิดเป็นเทวดา. เทวดา

นั้น ได้ครอบครองเทวราชสมบัติในเทวโลกนั้น ดำรงอยู่จนตลอดอายุ จุติ

จากอัตภาพนั้นแล้ว ได้เกิดเป็นลูกชายคนเดียวแห่งตระกูล ซึ่งสามารถเพื่อจะ

ทำรัฐที่แตกกันแล้วในโลกมนุษย์ให้ทรงอยู่ได้ ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ได้ทรงประกาศ

พระธรรมจักรอันบวชให้เป็นไปแล้ว ทรงยังเวไนยสัตว์ ให้ได้บรรลุถึงภูมิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 500

อันเกษม กล่าวคือมหานครได้แก่พระนิพพาน. ลำดับนั้น กุลบุตรผู้นั้น

ได้บรรลุนิติภาวะแล้วโดยลำดับ วันหนึ่ง ได้ไปยังพระวิหารพร้อมกับ พวก

อุบาสกอุบาสิกา ได้เห็นพระศาสดากำลังทรงแสดงธรรม มีจิตเลื่อมใส นั่ง

อยู่ที่ท้ายบริษัทแล้ว.

ก็โดยสมัยนั้น พระศาสดาได้ทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง

ที่เลิศกว่าพวกบรรพชิตผู้มีศรัทธาทั้งหลาย. เขาได้เห็นการสถาปนานั้นแล้ว

มีใจเลื่อมใส จึงปรารถนาเพื่อจะได้ตำแหน่งนั้นบ้าง ได้ทำมหาทานให้เป็นไป

แล้วตลอด ๗ วัน ได้ทำปณิธานด้วยเครื่องสักการะใหญ่แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พร้อมด้วยภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร. พระศาสดา ทรงเห็นว่าปณิธานนั้นจะ

สำเร็จได้โดยหาอันตรายมิได้ จึงทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล ในพระศาสนา

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โคคม เขาจักเป็นผู้เลิศกว่าพวกบรรพ-

ชิต ผู้มีศรัทธา. เขาถวายบังคมพระศาสดาและไหว้ภิกษุสงฆ์แล้ว จึงลุกขึ้นจาก

อาสนะหลีกไป. เขาอยู่ในโลกมนุษย์นั้น ได้บำเพ็ญบุญไว้มากมายจนตลอด

อายุแล้ว จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

กัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ไป ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ผุสสะ

เมื่อพระราชโอรส ๓ พระองค์ ซึ่งเป็นพระภาดาต่างพระมารดากับพระศาสดา

กำลังบำรุงปฏิบัติพระศาสดาอยู่ ตนเองได้ทำกิจเนื่องด้วยสหายกับพระราช-

โอรสเหล่านั้น เพื่อจะได้บำเพ็ญบุญ. เขาได้สั่งสมบุญกุศลนั้นไว้เป็นอันมาก

ในภพนั้นอย่างนั้นแล้ว จึงได้ท่องเที่ยวไปในเฉพาะแต่สุคติภพเท่านั้น ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือนของรัฐปาลเศรษฐี ในถุลลโกฏฐิตนิคม

แคว้นกุรุ. เพราะเขาเกิดในตระกูลที่สามารถเพื่อจะทำรัฐที่แตกแล้วให้ดำรงอยู่

ได้ จึงได้มีชื่อตามลำดับวงศ์นั้นแลว่า รัฐปาล. เขามีบริวารมากมาย เติบโต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 501

ถึงความเป็นหนุ่มตามลำดับ มารดาบิดาได้ให้แต่งงานกับหญิงสาวรูปงาม และ

ได้ให้ดำรงอยู่ในยศอันยิ่งใหญ่ ได้เสวยสมบัติเช่นกับทิพยสมบัติ. ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปในชนบท. ในแคว้นกุรุ ได้เสด็จไปถึงบ้าน

ถุลลโกฏฐิตะตามลำดับ. กุลบุตรชื่อว่า รัฐปาลได้สดับเหตุการณ์นั้นแล้วจึง

เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ได้ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้ศรัทธา แต่

มารดาบิดาขออนุญาตให้ก็แสนยากลำบาก ต้องทำการอดอาหารถึง ๗ วัน จึงได้

เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลขอบวชแล้ว ได้บวชในสำนักของพระเถระรูปหนึ่ง

ตามรับสั่งของพระศาสดา ท่านได้บำเพ็ญกัมมัฏฐานโดยโยนิโสมนสิการ

เจริญวิปัสสนาแล้ว ได้บรรลุพระอรหัต.

ครั้นกาลต่อมา ท่านระลึกถึงบุรพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัส

ใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนได้เคยประพฤติมาในกาลก่อน จึงกล่าวคำ

เริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุนาโค

โส มยา ทินฺโน ความว่า ในคราวที่เป็นมหาธนเศรษฐี ในสมัยที่สละเสบียง

ทั้งหมดไปในทาน นาคที่ดี คือพญาช้าง ได้เป็นผู้อันเราถวายแล้ว. เมื่อจะ

แสดงถึงพญาช้างนั้น ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อีสาทนฺโต ดังนี้. งาเท่า

งอนรถ คือมีงาประมาณเท่างอนแห่งรถ, พญาช้างนั้นอันเราถวายแล้ว.

บทว่า อุรุฬฺหวา ได้แก่ สามารถใช้เป็นพาหนะของพระราชา, หรือเหมาะ

สมแก่พระราชา. บทว่า เสตจฺฉตฺโต ความว่า ประกอบด้วยฉัตรสีขาวตั้งไว้

เพื่อประดับประดา. บทว่า ปโสภิโต ความว่า สมบูรณ์ด้วยรูปโฉม อัน

งดงามด้วยมีสายคาดอันห้อยย้อย. บทว่า สกปฺปโน สหตฺถิโป ความว่า

ประกอบด้วยเครื่องอลังการสำหรับช้าง ประกอบด้วยนายควาญผู้รักษาช้าง.

อธิบายว่า พญาช้างผู้เป็นเช่นนี้ เราได้ถวายแล้วแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 502

พระนามว่า ปทุมุตตระ. บทว่า มยา ภตฺต กาเรตฺวาน เธอมีความว่า

เมื่อเราได้ช่วยกันสร้างพระวิหารแล้ว ได้ช่วยกันบำรุงนิตยภัตรแด่พวกภิกษุ

ประมาณโกฏิรูปผู้จำพรรษาอยู่แล้ว ได้มอบถวายแด่พระมเหสีเจ้า. บทว่า

ชลชุตฺตมนามโก ความว่า ชื่อว่า ชลชะ เพราะเกิดจากน้ำ, อันนั้นคืออะไร,

คือดอกปทุม, อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระนามว่า ปทุมุตตระ

เพราะมีนามเสมอกับดอกปทุมและเพราะเป็นผู้สูงสุด. คำที่เหลือในที่

ทั้งปวงมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถารัฐปาลเถราปทาน

จบอรรถกถายสวรรคที่ ๕๖

อรรถกถาอปทาน ชื่อว่า วิสุทธชนวิลาสินี เป็นอรรถกถาอปทาน

ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวก และพระเถระ

จบบริบูรณ์เพียงเท่านี้แล.

นิคมนกถา

ขอมนุษยโลกทั้งหมดพร้อมทั้งเทวโลก จงทราบถึงอรรถกถาแห่ง

อปทานนี้ ซึ่งบัณฑิตผู้ได้มีความฉลาดทำการอาราธนาโดยเฉพาะตั้ง ๗ เดือน

ผู้แสวงหาโพธิสมภาร ผู้ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎก ได้นำมาแล้ว เพื่อตัดข่ม

ด้วยคุณมากรอบด้าน ผู้ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎก ได้นำมาแล้ว เพื่อตัดข่ม

และติชม ตัณหา มานะ และทิฏฐิเป็นต้น ของสัตว์ทั้งปวง มีพระอานันท-

เถระเป็นอาทิ ผู้เป็นประทีปในหมู่เถรวงศ์ ผู้มีคุณเช่นความมักน้อยเป็นต้น

อยู่ในเกาะสิงหลแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 503

ด้วยกุศลกรรมนี้ ขอมลทินมีความโลภ

เป็นต้น โรคมีโรคตาเป็นต้น ความทุกข์ต่าง ๆ

ชนิด ภัยมีการทะเลาะเป็นต้น จนกลายเป็นได้

รับความทุกข์ ผู้ก่อการอันไม่เป็นประโยชน์มีโจร

เป็นต้น ของปวงประชาในโลกนี้ จงพินาศไป.

ขอเวรและบาปธรรม ๕ ประการของ

ข้าพเจ้า จงพินาศไปดุจฝนและลมกำจัดความร้อน

ให้พินาศไปฉะนั้น ขอให้ข้าพเจ้าจงได้กำจัดความร้อน

ให้พินาศไปฉะนั้น ขอให้ข้าพเจ้าจงได้ดำเนินถึง

พระนิพพาน ด้วยหนทางอันประเสริฐคือมรรคมี

องค์ ๘ ประการเถิด.

ขอให้ข้าพเจ้า จงย่ำยีทิฏฐิทั้งปวงและ

ปาปธรรมมีราคะโทสะเป็นต้นได้ จงตัดสังสาร-

วัฏ เข้าถึงสวรรค์และนิพพานเถิด. ในอาณาเขต

ทั้งหมด คือตั้งแต่ภวัคคพรหมจนถึงในอเวจีนรก

ขอสัตว์ทั้งปวง จงได้พากันประพฤติตามธรรม

เถิด โลกทั้ง ๓ ก็จักได้มีความอบอุ่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 504

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 505

๔. เถรีอุปทาน

สุเมธาวรรคที่ ๑

สุเมธาเถรีอปทานที่ ๑ (๑)

ผลของการถวายวิหาร

ลำดับนี้จงสดับอปทานของพระเถรีต่อไป

[๑๔๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่า โกนาคมนะ ประทับอยู่ที่สังฆาราม เราซึ่ง

เป็นหญิงสหายกัน ๓ คน ได้ถวายวิหารทาน

เราทั้ง ๓ คนเกิดในเทวโลก ๑๐ ครั้ง

๑๐๐ ครั้ง ๑,๐๐๐ ครั้ง ในมนุษยโลกไม่จำต้อง

พูดถึง

ในเทวโลกเราเป็นคนมีฤทธิ์มาก ใน

มนุษย์ก็ไม่จำต้องพูดถึง ดิฉันเป็นนางแก้ว พระ-

มเหสี ของพระเจ้าจักรพรรดิ

ดิฉันสร้างสมกุศลไว้ในชาตินั้น ชน ๓

คนคือ นางธนัญชานี นางเขมาและดิฉันมีสกุล

และบุตรอันสำเร็จดีแล้ว ได้สร้างพระอารามอย่าง

เสร็จแล้ว มอบถวายแด่สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุขเป็นผู้เบิกบานใจเพราะกรรมนั้นส่งผล ใน

บาลี ๓๓ ในเสรีอปทานไม่มีอรรถกถาอธิบาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 506

กำเนิดที่ดิฉันเกิดคือสวรรค์ ดิฉันก็ถึงความเป็น

หญิงเลิศ และในมนุษย์เช่นเดียวกัน

พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็น

พงศ์พันธุ์พรหม มีพระยศใหญ่ ประเสริฐกว่า

ปราชญ์ทั้งหลาย ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัป

นี้เอง พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี บรมกษัตริย์

ในพระนครพาราณสีอันเป็นบุรีอุดม เป็นอุปัฏฐาก

ของพระพุทธเจ้า ประพฤติพรหมจรรย์

ดิฉันเป็นพระสหายของพระราชธิดา

เหล่านั้น เป็นหญิงมั่นคงในศีล ได้ถวายทาน

โดยเคารพ ประพฤติพรหมจรรย์ในเรือนนั่นเอง

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้นและเพราะการ

ตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จุติจากดาวดึงส์แล้วไปสวรรค์

ชั้นยามา จุติจากสวรรค์ชั้นยามานั้นแล้ว ไป

ชั้นดุสิต และจุติจากดุสิต ไปชั้นนิมมานรดีแล้ว

ก็ไปชั้นวสวัตดี

ดิฉันผู้ประกอบด้วยบุญกรรม เกิดใน

ภพใดชาติใด ในภพนั้นชาตินั้น ก็ได้เป็นพระ-

มเหสีของพระมหากษัตริย์

ดิฉันจุติจากสวรรค์ชั้นวสวัตดีนั้นแล้ว

เกิดในมนุษย์ ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักร-

พรรดิ และพระเจ้าแผ่นดินประเทศเอกราช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 507

เสวยสมบัติทั้งในสวรรค์และมนุษย์ มี

ความสุขทุกชาติ ท่องเที่ยวไปในชาติเป็นอันมาก

เหตุปัจจัยและมูลนั้น ๆ เหมาะสมในพระศาสนา

นั่นคือสโมธานข้อต้น สโมธานของดิฉันผู้ยินดี

ในธรรมนั้นดับสนิท

ดิฉันเผากิเลสเสียแล้ว ถอนภพขึ้นได้

หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกพันเหมือนช้างพัง

ตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

การที่ดิฉันได้มาในสำนักของพระพุทธ-

เจ้าผู้ประเสริฐสุดนี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา

๓ ดิฉันบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระ-

พุทธเจ้าได้ทำเสร็จแล้ว

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔

วิโมกข์ ๘ อภิญญา ๖ ดิฉันได้ทำให้แจ้งแล้ว

คำสอนของพระพุทธเจ้า ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสุเมธาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบสุเมธาเถรีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 508

เมขลทายิกาเถรีอปทานที่ ๒ (๒)

ว่าผลแห่งการถวายสายสะอิ้งสร้างพระสถูป

[๑๔๒] ดิฉันสร้างพระสถูปของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ดิฉันได้

ถวายสายสะอิ้งเพื่อนวกรรมของพระศาสดา และ

เมื่อพระมหาสถูปสำเร็จแล้ว ดิฉันเลื่อมใสต่อ

พระมุนีผู้เป็นนาถะของโลก ได้ถวายสายสะอิ้งอีก

ด้วยมือทั้งสองของตน

ในกัปที่ ๔๙ แต่กัปนี้ ดิฉันได้ถวายสาย

สะอิ้งในครั้งนั้น ด้วยกรรมนั้น ดิฉันไม่รู้จักทุคติ

เลย นี้เป็นผลแห่งการสร้างพระสถูป

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลาย ถอนภพขึ้น

ได้ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างพังตัด

เชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

การที่ดิฉันได้มายังสำนักของพระพุทธ-

เจ้าผู้ประเสริฐสุดนี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา

๓ ดิฉันบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระ-

พุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔

วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ ดิฉันได้ทำให้แจ้งชัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 509

แล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำเสร็จ

แล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเมขลทายิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ไว้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบเมขลาทายิกาเถรีอปทาน

มัณฑปทายิการเถรีอปทานที่ ๓ (๓)

ผลของการสร้างมณฑปถวาย

[๑๔๓] ดิฉันได้ให้นายช่างสร้างมณฑป

ถวายพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ และได้

สร้างพระสถูปอันบวรของพระพุทธเจ้า ผู้เป็น

พงศ์พันธุ์ของโลก

ดิฉันไปยังชนบท นิคมหรือราชธานีใด ๆ

ย่อมได้รับการบูชาในที่นั้น ๆ ทุกแห่งนี้เป็นผล

ของบุญกรรม

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระมัณฑปทายิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบมัณฑปทายิกาเถรีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 510

สังกมนทาเถรีอปทานที่ ๔ (๔)

ผลแห่งการอุทิศร่างกายเป็นสะพาน

[๑๔๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่า โกณฑัญญะ ผู้ประเสริฐกว่า ผู้คงที่

ทรงช่วยสัตว์ให้ข้ามวัฏสงสาร เสด็จพระดำเนิน

ไปที่ถนน

ดิฉันออกจากเรือนแล้วนอนคว่ำหน้า

ครั้งนั้น สมเด็จพระโลกเชษฐ์ผู้ทรงพระกรุณา ได้

เสด็จเหยียบไปบนศีรษะดิฉัน

ครั้นแล้ว พระองค์ก็ได้เสด็จเลยไป ดิฉัน

ได้ไปสวรรค์ชั้นดุสิต ก็เพราะจิตเลื่อมใสนั้น

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว

ทราบว่า ท่านพระสักมนทาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประ-

การฉะนี้แล.

จบสังกมนทาเถรีอปทาน

นฬาลิกาเถรีอปทานที่ ๕ (๕)

ผลของการถวายดอกอ้อ

[๑๔๕] ดิฉันได้เกิดเป็นนางกินรีอยู่ที่ฝั่ง

แม่น้ำจันทภาคา ครั้งนั้นดิฉันได้พบพระสยัมภู

พุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้อะไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 511

ดิฉันมีจิตเลื่อมใสโสมนัส เกิดปีติ ประ-

นมอัญชลีแล้ว เก็บเอาดอกอ้อมาบูชาพระสยัมภู

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการ

ตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างนางกินรีแล้ว ได้

ไปสู่คณะไตรทศ

ได้เป็นพระอัครมเหสีของท้าวสักกเทว-

ราช ๓๖ พระองค์ ได้เป็นพระอัครมเหสีของ

พระเจ้าจักรพรรดิ ๑๐ พระองค์

ดิฉันสลดใจแล้วก็ได้ออกบวชเป็นบรรพ

ชิต ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้

หมดแล้ว อาสวะของดิฉันสิ้นไปหมดแล้ว บัดนี้

ภพใหม่ไม่มีอีก

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ ดิฉันได้บูชาด้วย

ดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น ดิฉันไม่รู้จักทุคติ

เลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว คำสอน

ของพระพุทธเจ้าได้ฉันได้ทำเสร็จแล้ว

ทราบว่า พระนฬมาลิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบฬมาลิการเถรีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 512

เอกปิณฑปาตทายิกาเถรีอปทานที่ ๖ (๖)

ผลของการถวายข้าวผสมน้ำนม

[๑๔๖] ในพระนครพันธุมดี มีพระบรม

กษัตริย์พระองค์หนึ่งพระนามว่า พันธุมา ดิฉัน

เป็นพระอัครมเหสีของท้าวเธอ ดิฉันย่อมพูดกะ

คนบางคน ครั้งนั้น ดิฉันอยู่ในที่ลับ นั่งคิด

อย่างนี้ว่า ก็กุศลที่บุคคลจะพึงถือเอาไปด้วย ที่

เราทำแล้วไม่มีเลย

เราจะต้องไปนรกที่มีความเร่าร้อนใหญ่

ยิ่ง เผ็ดร้อนร้ายกาจ ทารุณโดยแน่นอน ใน

ข้อนี้เราไม่มีความสงสัยเลย ดังนี้

ดิฉันเข้าเฝ้าพระราชา แล้วกราบทูลว่า

ขอเดชะ ขอพระองค์จงพระราชทานสมณะให้

หม่อมฉันสักองค์หนึ่งเถิด หม่อมฉันจักนิมนต์

ให้ท่านฉัน พระมหาราชาได้พระราชทานสมณะ

ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้วให้ดิฉัน ดิฉันรับบาตร

ของท่านแล้วนิมนต์ท่านให้ฉันจนอิ่มหนำ ด้วย

ข้าวที่ระคนด้วยน้ำนมและทธิแล้ว ดิฉันบูชาด้วยข้าว

ที่ระคนด้วยน้ำนมและทธิแล้ว ทำของหอมและ

เครื่องไท้ทา เอาร่างแหปิดแล้วเอาผ้าเหลืองคลุม

ไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 513

ดิฉันนึกถึงอารมณ์ของดิฉันทราบเท่าสิ้น

ชีวิต ยังจิตให้เลื่อมใสในกรรมนั้นแล้ว ได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ดิฉันได้เป็นพระอัครมเหสีของท้าว

สักกเทวราช ๓๐ พระองค์ สิ่งที่ดิฉันปรารถนา

ด้วยใจ ย่อมเกิดสมดังประสงค์

ฉันได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้า

จักรพรรดิ ๒๐ พระองค์ดิฉันเป็นหญิงสร้างตัวเอง

ท่องเที่ยวไปในภพน้อยใหญ่

ดิฉันพ้นจากเครื่องผูกพันทุกอย่างแล้ว

มีการอุบัติไปปราศแล้ว มีอาสวะสิ้นไปหมดแล้ว

บัดนี้ ภพไปไม่มีอีก

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ ดิฉันได้ให้ทานใด

ในกาลนั้น ด้วยทานนั้นดิฉันจึงไม่รู้จักทุคติเลย

นี้เป็นผลแห่งบิณฑบาต

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระเอกปิณฑปาตทายิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้

ด้วยประการฉะนี้แล.

จบเอกปิณฑปาตทายิกาเถรีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 514

กฏัจฉุภิกขาทายิกาเถรีอปทานที่ ๗ (๗)

ผลของการถวายภิกษา ๑ ทัพพี

[๑๔๗] ดิฉันได้ตักเอาภิกษาหนึ่งพันทัพพี

ถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระนามว่า

ติสสะ บรมศาสดา ซึ่งกำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาต

อยู่

พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ บรม-

ศาสดา ผู้นำชั้นของโลก ทรงรับแล้วประทับ

ยืนทำอนุโมทนาแก่ดิฉันกลางถนนว่า

ท่านถวายภิกษาหนึ่งทัพพีแล้ว จักไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จักได้เป็นพระอัครมเหสีของ

ท้าวสักรินเทวราช ถึง ๓๖ พระองค์ จักได้เป็น

พระอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐ พระองค์

ท่านจักได้สิ่งที่ใจปรารถนาในกาลทั้งปวง

ท่านเสวยสมบัติแล้ว จักเป็นผู้ไม่มีความ

ห่วงใยออกบวช กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วจัก

เป็นผู้ไม่มีอาสวะนิพพาน

พระติสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้นำชั้น

เลิศของโลก เป็นนักปราชญ์ ครั้นตรัสดังนี้แล้ว

ก็เหาะขึ้นสู่นภากาศ เหมือนพระยาหงส์บินอยู่ใน

อัมพรฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 515

ทานดิฉันได้ให้ดีแล้วทีเดียว ยัญสมบัติ

ดิฉันได้บูชาดีแล้ว ดิฉันบรรลุบทอันไม่หวั่นไหว

ได้ ก็เพราะถวายภิกษาหนึ่งทัพพี ในกัปที่ ๙๒

แต่กัปนี้ ดิฉันได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วย

ทานนั้น ดิฉันไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ

ถวายภิกษา

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระกฏัจฉุภิกขาทายิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบกฏัจฉุภิกขาทายิกาเถราอปทาน

สัตตอุปลมาลิกาเถรีอปทานที่ ๘ (๘)

ผลของการถวายดอกอุบล ๗ ดอก

[๑๕๘] ในพระนครอรุณวดี มีพระ-

มหากษัตริย์พระองค์หนึ่งพระนามว่า อรุณ ดิฉัน

เป็นพระอัครมเหสีของท้าวเธอ

ดิฉันร้อยพวงมาลัยอยู่ ได้หยิบเอาดอก

อุบลมีกลิ่นหอมเหมือนทิพย์มา ๗ ดอก แล้วนั่ง

ลงในปราสาทอันประเสริฐ คิดขึ้นในขณะนั้น

เองว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 516

ประโยชน์อะไร ด้วยพวงมาลัยเหล่านี้

ซึ่งเราเอาประดับศีรษะเรา เราเอาบูชาในพระ-

ญาณของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด จะประเสริฐ

กว่า

ชนทั้งหลายเขาพากันนับถือบูชาพระ-

สัมพุทธเจ้า เราจะนั่งที่ใกล้ประตูจักบูชา

พระสัมพุทธเจ้าผู้มหามุนีในเวลาที่พระองค์เสด็จ

มา

พระพิชิตมารผู้งดงามดังต้นรกฟ้าขาว

หรือมิฉะนั้น ก็เปรียบเหมือนไกรสรมฤคราช

พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เสด็จมาตามถนน

ฉันเห็นพระรัศมีของพระพุทธเจ้าแล้ว

ก็ร่าเริงสลดใจ ยังไม่ทันถึงประตูก็บูชาพระพุทธ-

เจ้าผู้ประเสริฐสุด.

ดิฉันทำดอกอุบลอันบานเต็มที่ ๗ ดอก

ให้เป็นของกั้นแดดในอัมพร ดอกอุบลเหล่านั้น

กั้นแดดอยู่เหนือพระเศียรพระพุทธเจ้า.

ดิฉันมีจิตประกอบด้วยปีติ ดีใจ เกิด

โสมนัสประนมอัฐชลี ยังจิตให้เลื่อมใสในกาลนั้น

แล้วได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เหนือศีรษะของดิฉัน เขากั้นเศวตฉัตร

ขนาดใหญ่ มีกลิ่นหอมดังกลิ่นทิพย์ฟุ้งไป นี้เป็น

ผลแห่งดอกอุบล ๗ ดอก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 517

บางครั้ง เมื่อดิฉันถูกหมู่ญาตินำเอาไป

ครั้งนั้น เศวตฉัตรคันใหญ่ย่อมกั้นแดดไว้ทั่ว

บริษัทของดิฉัน

ดิฉันได้เป็นพระอัครมเหสีของท้าว

สักรินทเทวราช ๗๐ พระองค์ ดิฉันเป็นอิสระทุก

ภพ เที่ยวไปในภพน้อยใหญ่ ได้เป็นพระอัคร-

มเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๓ พระองค์ ชน

ทั้งหลายประพฤติตามดิฉันทุกคน ดิฉันมีถ้อยคำ

น่าเชื่อถือ.

ผิวพรรณของดิฉันเหมือนดอกอุบล และ

กลิ่นก็ฟุ้งไปเหมือนกลิ่นอุบลหอม ดิฉันไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

ดิฉันเป็นผู้ฉลาดในอิทธิบาท ยินดีในการ

เจริญโพชฌงค์ ถึงความบริบูรณ์ในอภิญญา นี้

เป็นผลแห่งพุทธบูชา

ดิฉันเป็นผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน มีสมาธิ

ฌานเป็นโคจร ขวนขวายในสัมมัปปธาน นี้เป็น

ผลแห่งพุทธบูชา.

ความเพียรของดิฉันนำเอาธุระน้อยใหญ่

ไป นำเอาธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมาให้

ดิฉันมีอาสวะสิ้นไปหมดแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี

อีก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 518

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ ดิฉันได้เอาดอก

ไม้บูชาใด ด้วยการบูชานั้น ดิฉันจึงไม่รู้จักทุคติ

เลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระสัตตอุปลมาลิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบสัตตอุปลมาลิกาเถรีอปทาน

ปัญจทีปิกาเถรีอปทานที่ ๙ (๙)

ผลของการถวายประทีป ๕ ดวง

[๑๔๙] ครั้งนั้น ดิฉันเป็นหญิงท่อง-

เที่ยวอยู่ในพระนครหังสวดี ดิฉันต้องการกุศล

จึงเที่ยวไปสู่อารามหนึ่งจากอารามหนึ่ง ได้พบไม้

โพธิ์อันอุดมในวันกาฬปักษ์ ยังจิตให้เลื่อมใสใน

ไม้โพธิ์นั้นแล้ว นั่งลงที่โคนไม้โพธิ์

ดิฉันตั้งจิตเคารพประนมอัญชลีเหนือ

เศียรเกล้า สำแดงความโสมนัสแล้วคิดอย่างนี้ใน

ขณะนั้นว่า

ถ้าพระพุทธเจ้ามีพระคุณนับไม่ได้ ไม่มี

บุคคลเปรียบเสมอไซร้ ก็ขอให้ทรงแสดงปาฎิ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 519

หาริย์แก่เราเถิด ขอไม้โพธิ์จงเปล่งรัศมี ทันใด

นั้นเอง ไม้โพธิ์ก็ได้โพลงไปทั่วพร้อมกับที่ดิฉัน

นึก รัศมีสำเร็จด้วยสีทองล้วนไพโรจน์ไปทั่วทิศ

ดิฉันนั่งลงอยู่ที่โคนโพธิ์นั้น ๗ คืน ๗ วัน

เมื่อถึงวันเป็นวันคำรบ ๗ ดิฉันได้ทำการบูชาด้วย

ประทีป

ประทีป ๕ ดวงลุกโพลงย่อมล้อมรอบอาสนะ

ครั้งนั้น ประทีปของดิฉันลุกโพลงอยู่ จนถึงเวลา

พระอาทิตย์อุทัย.

เพราะกรรมทีทำไว้ดีนั้น และเพราะการ

ตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

วิมานที่บุญกรรมสร้างให้ดิฉันอย่างสวย-

งามในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น เรียกว่า "ปัญจทีป-

วิมาน" ปัญจทีปวิมานนั้นสูง ๑๐๐ โยชน์ กว้าง

๖๐ โยชน์

ประทีปนับไม่ถ้วนส่องสว่างล้อมดิฉัน อยู่

ทั่วเทพพิภพโชติช่วงด้วยแสงประทีป

คนที่หันหน้าไปทางทิศบูรพา ถ้าดิฉัน

ปรารถนาที่จะดู ดิฉันย่อมเห็นได้ด้วยจักษุทุกคน

ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องขวาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 520

ดิฉันปรารถนาจะเห็นกรรมดีและกรรมชั่ว

ที่คนทำในที่มีประมาณเท่าใด ที่มีประมาณเท่านั้น

ย่อมไม่มีต้นไม้หรือภูเขามากั้นกาง

ดิฉันได้เป็นพระอัครมเหสีของท้าว

สักรินทเทวราช ๘๐ พระองค์ ได้เป็นอัครมเหสี

ของพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๐๐ พระองค์

ดิฉันเข้าถึงกำเนิดนั้น ๆ ประทีปตั้ง

แสน ๆ ส่องแสงล้อมดิฉัน

ดิฉันจุติจากเทวโลกแล้ว เกิดในครรภ์

มารดา เมื่อดิฉันอยู่ในครรภ์มารดา จักษุของ

ดิฉันไม่หลับ

ประทีปทั้งจำนวนแสนดวง ส่องสว่าง

อยู่ในเรือนประสูติของดิฉันผู้พร้อมเพรียงด้วยบุญ

กรรม นี้เป็นผลแห่งประทีป ๕ ดวง

เมื่อถึงภพสุดท้าย ดิฉันกลับฉันทะที่มี

ในใจ เห็นนิพพานอันเป็นสภาวะเยือกเย็น ไม่มี

ชราและมรณะ

พอเกิดได้อายุ ๗ ขวบ ดิฉันได้บรรลุ

อรหัต พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคดม ทรงทราบ

ถึงคุณของดิฉัน จึงให้ดิฉันอุปสมบท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 521

ดิฉันเข้าฌานอยู่ในมณฑป โคนไม้

ปราสาท ถ้ำ หรือเรือนอันว่างเปล่าก็ดี ประทีป

๕ ดวงส่องแสงสว่างให้ดิฉัน

ทิพยจักษุของดิฉันบริสุทธิ์ ดิฉันฉลาด

ในสมาธิ ถึงความบริบูรณ์ในอภิญญา นี้เป็นผล

แห่งประทีป ๕ ดวง

ดิฉันเป็นผู้อยู่จบพรหมจรรย์ทั้งปวง ทำ

กิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ข้าแต่พระมหาวีระผู้มี

พระจักษุ หม่อมฉันชื่อว่าปัญจทีปา ขอถวาย

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ ดิฉันได้ถวาย

ประทีปใด ในครั้งนั้น ด้วยการถวายประทีปนั้น

ดิฉันไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งประทีป ๕

ดวง

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระปัญจทีปิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบปัญจทีปิกาเถรีอปทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 522

อุทกทายิกาเถรีอปทานที่ ๑๐ (๑๐)

ผลของการถวายน้ำ

[๑๕๐] ดิฉันเป็นหญิงหาบน้ำขายอยู่ใน

พระนครพันธุมดี เลี้ยงชีพด้วยการหาบน้ำ เลี้ยง

ดูเด็ก ๆ ก็ด้วยการหาบน้ำนั้น

ก็ดิฉันไม่มีไทยธรรม ดิฉันเข้าไปยังซุ้ม

น้ำแล้ว ตั้งน้ำไว้ถวายในบุญเขตอันยอดเยี่ยม

เพราะกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น ดิฉันจึง

ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ วิมานที่บุญกรรมสร้าง

ให้แก่ดิฉันอยู่สวยงาม ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น

ถูกนิรมิตรขึ้นก็เพราะการหาบน้ำ

ครั้งนั้น ดิฉันประเสริฐกว่าพวกนาง

อัปสรตั้งพัน ดิฉันครอบงำนางอัปสรเหล่านั้น

ทั้งหมดด้วยฐานะ ๑๐ ประการ

ดิฉันได้เป็นพระอัครมเหสีของท้าวสัก-

รินทเทวราช ๕๐ พระองค์ ได้เป็นพระอัครมเหสี

ของพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๐ พระองค์

ดิฉันท่องเที่ยวอยู่แต่ในสองภพ คือ

เทวดาและมนุษย์ ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง

การถวายน้ำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 523

บนยอดเขา ยอดไม้ ในอากาศ หรือ

พื้นดินก็ตาม ดิฉันต้องการน้ำเมื่อใด ดิฉันย่อม

ได้โดยเร็วพลันเมื่อนั้น

ทิศที่ไม่มีฝนอยู่ เพราะดิฉันเร่าร้อน

กระหายน้ำแล้ว มหาเมฆรู้ความดำริของดิฉันย่อม

ยังฝนให้ตก

ในบางครั้งเมื่อดิฉันถูกหมู่ญาตินำเอา

ออกไป มหาเมฆได้ยังฝนให้ฝนตกลง ในคราวที่

ดิฉันปรารถนาฝน

ในสรีระของดิฉัน ไม่มีความเร่าร้อน

หรือความกระวนกระวายเลย และละออง ธุลีก็ไม่

มีในกายของดิฉัน นี้เป็นผลแห่งการให้น้ำเป็น

ทาน

ทุกวันนี้ ดิฉันมีใจบริสุทธิ์ที่ ปราศจากใจ

ที่ชั่วช้า มีอาสวะสิ้นไปหมดแล้ว บัดนี้ภพใหม่

ไม่มีอีก

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ ดิฉันได้ทำกรรม

ใด ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น ดิฉันไม่รู้จักทุคติ

เลย นี้เป็นผลแห่งการให้น้ำเป็นทาน

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายหมดแล้ว . . .

คำสอนของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 524

ทราบว่า ท่านพระอุทกทายิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบอุทกทายิกาเถรีอปทาน

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุเมธาเถรีอปทาน ๒. เมขลทายิกาเถรีอปทาน ๓. มัณฑปทา-

ยิกาเถรีปทาน ๔. สังกมนัตถาเถรีอปทาน ๕. นฬมาลิกาเถรีอปทาน

๖. เอกปิณฑปาตทายิกาเถรีอปทาน ๗. กฏัจฉุภิกขาทายิกาเถรีอปทาน

๘. สัตตอุปลทายิกาเถรีอปทาน ๙. ปัญจทีปิกาเถรีอปทาน ๑๐. อุทกทายิ-

กาเถรีอปทาน

และในวรรคนี้ บัณฑิตคำนวณคาถาได้ ๑๓๐ คาถากึ่ง.

จบสุเมธารวรรคที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 525

เอกกุโปสถวรรค ที่ ๒

เอกุโปสถิกาเถรีอปทานที่ ๑ (๑๑)

ผลของการรักษาอุโบสถศีล

[๑๕๑] ในพระนครพันธุมดี มีพระ-

บรมกษัตริย์ทรงพระนามว่าพันธุมา ในวันเพ็ญ

ท้าวเธอทรงรักษาอุโบสถ ศีล

สมัยนั้น ดิฉันเป็นนางกุมภทาสในพระ-

นครพันธุมดีนั้น เห็นเสนาพร้อมด้วยพระมหา

กษัตริย์ จึงคิดอย่างนี้ในครั้งนั้นว่า

แม้พระมหากษัตริย์ก็ยังทรงละราชกิจมา

รักษาอุโบสถศีล กรรมนั้นต้องมีผลแน่นอน หมู่

มหาชนจึงพากันเบิกบานใจ

ดิฉันพิจารณาเห็นทุคติและความเป็นคน

ยากไร้โดยแยบคาย ทำให้จิตใจร่าเริงแล้ว รักษา

อุโบสถศีล.

ดิฉันรักษาอุโบสถศีลในพระศาสนาของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะกรรมที่ทำไว้ดีแล้ว

นั้น ดิฉันได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

วิมานที่บุญกรรมสร้างให้ดิฉันอย่างสวย

งามในดาวดึงส์นั้น สูงโยชน์หนึ่ง ประกอบด้วย

เรือนยอด มีที่นั่งใหญ่โต ประดับแล้วอย่างดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 526

นางอัปสรแสนนางต่างบำรุงบำเรอดิฉัน

อยู่ทุกเมื่อ ดิฉันงามเกินนางเทพอัปสรอื่น ๆ ใน

กาลทั้งปวง.

ดิฉันได้เป็นพระอัครมเหสีของท้าว

สักรินทเทวราช ๖๔ พระองค์ ได้เป็นพระอัครมเหสี

ของพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๓ พระองค์

ฉันเป็นผู้มีผิวพรรณปานดังทองคำ ท่อง

เที่ยวอยู่ในภพทั้งหลาย ดิฉันเป็นผู้ประเสริฐในที่

ทุกสถาน นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล.

ดิฉันย่อมได้ยานช้าง ยานไม้ และยาน

รถ แม้ทุกอย่างมากมาย นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล

ภาชนะสำเร็จด้วยทองเงินแก้วผลึกและ

แก้วปทุมราช ดิฉันได้ทุกอย่าง ผ้าไหม ผ้าขน-

สัตว์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้ายและผ้าที่มีราคาสูง ๆ

ดิฉันก็ได้ทุกสิ่ง

ข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า เสนาสนะ

ดิฉันได้ทุกอย่าง นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล.

เครื่องหอมชนิดดี ดอกไม้ จุรณสำหรับ

ลูบไล้ ดิฉันก็ได้ทุกประการ นี้เป็นผลแห่ง

อุโบสถศีล

เรือนยอด ปราสาท มณฑป เรือนโล้น

และถ้ำ ดิฉันก็ได้ถ้วนทุกสิ่ง นี้เป็นผลแห่ง

อุโบสถศีล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 527

พอดิฉันอายุได้ ๗ ขวบ ก็ได้ออกบวช

เป็นบรรพชิต ได้บรรลุอรหัตเมื่อยังไม่ทันจะถึง

ครึ่งเดือน ดิฉันมีอาสวะสิ้นไปหมดแล้ว ดังนี้

ภพใหม่ไม่มีอีก.

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ ดิฉันได้ทำกรรม

ใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น ดิฉันไม่รู้จักทุคติ

เลย นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระเอกุโปสถิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบเอกุโปสถิกาเถรีอปทาน.

สลฬปุปผิกาเถรีอปทานที่ ๒ (๑๒)

ผลของการถวายดอกช้างน้าว

[๑๕๒] ครั้งนั้น ดิฉันเกิดเป็นนางกินรี

อยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ดิฉันได้พบพระ-

นราสภผู้เป็นเทพของทวยเทพ กำลังเสด็จจงกรม

อยู่

ดิฉันได้เลือกเก็บดอกไม้ช้างน้าวมาถวาย

แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระมหาวีรเจ้า-

ทรงดมกลิ่นดอกไม้ช้างน้าว ซึ่งมีกลิ่นเหมือนทิพย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 528

พระมหาวีระผู้นำโลกพระนามว่าวิปัสสี

สัมพุทธเจ้าทรงรับแล้ว ได้ทรงดมกลิ่น ในเมื่อ

ดิฉันมองดูอยู่ในครั้งนั้น ดิฉันประนมอัญชลี

ถวายบังคม พระพุทธองค์ผู้อุดมกว่าสัตว์สองเท้า

ทำจิตของตนให้เลื่อมใส ต่อจากนั้น ก็ได้เดินขึ้น

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ ดิฉันได้ถวาย

ดอกไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายดอกไม้นั้น

ดิฉันไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทะบูชา

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. .. คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระสลฬปุปผิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบสลฬปุปผิกาเถรีอปาน.

โมทกทายิกาเถรีอปานที่ ๓ (๑๓)

ผลของการถวายขนมต้ม ๓ ชิ้น

[๑๕๓ ] ดิฉันเป็นนางกุมภทาสีอยู่ใน

พระนครพันธุมดี ดิฉันถือเอาขนมต้มอันเป็นส่วน

ของดิฉันไปท่าน้ำได้พบสมณะผู้มีจิตสงบ มีใจ

เป็นสมาธิ ที่หนทาง ก็มีจิตเลื่อมใสโสมนัส

จึงได้ถวายขนมต้ม ๓ ชิ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 529

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการ

ตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันจึงไม่ได้ไปสู่วินิบาตเลย

ตลอด ๒ กัป

ก็ดิฉันทำสมบัติแล้วเสวยสิ้นทุกอย่าง

ดิฉันได้บรรลุอจลบทเพราะถวายขนมต้ม ๓ ชิ้น

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระโมทกทายิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบโมทกทายิกาเถราอปทาน

เอกาสนทายิกาเถรีอปทานที่ ๔ (๑๔)

ผลของการถวายอาสนะ

[๑๕๔] ครั้งนั้น ดิฉันเป็นหญิงช่าง

กรองดอกไม้ชาวพระนครหังสวดี มารดาบิดา

ของดิฉันท่านไปทำงาน ดิฉันได้พบพระสมณะ

กำลังเดินไปตามถนนในเวลาเที่ยงวัน ดิฉันได้

ปูลาดอาสนะไว้ ครั้นปูลาดอาสนะด้วยผ้าโกเชาว์

อันวิจิตรเป็นต้นแล้ว เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสโสมนัส

กล่าวดังนี้ว่า ภูมิภาคแรงร้อนแดดกล้าเวลาเที่ยง

แดดจัดลมไม่รำเพยพัด และเวลานี้ก็จวนจะเลย

เวลาแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 530

ข้าแต่พระมหามุนี อาสนะนี้ดิฉันปูลาด

ไว้ถวายท่าน ขอท่านได้โปรดอนุเคราะห์นั่งบน

อาสนะของดิฉันเถิด

พระสมณะผู้ฝึกตนดีแล้วมีใจบริสุทธิ์

ได้นั่งลงบนอาสนะนั้น ดิฉันรับบาตรของท่าน

แล้ว ได้ถวายบิณฑบาตตามที่ตนหุงต้มไว้

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น และเพราะ

การตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันสละร่างมนุษย์แล้วได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

วิมานที่บุญกรรมสร้างให้ดิฉันอย่างสวย-

งามในดาวดึงส์นั้น สูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐

โยชน์ ได้ถูกสร้างขึ้นแล้วเพราะอาสนะ

บัลลังก์ของดิฉันมีหลายอย่างต่าง ๆ ชนิด

สำเร็จด้วยทองก็มี ด้วยแก้วมณีก็มี ด้วยแก้ว

ผลึกก็มี ด้วยแก้วปทุมราชก็มี บัลลังก์ของดิฉัน

ปูลาดด้วยนวมก็มี ด้วยผ้าลาดอันวิจิตรด้วยรูป

ราชสีห์และเสือโคร่งเป็นต้นก็มี ด้วยผ้าลาดทอ

ด้วยไหมประดับแก้วอันวิจิตรก็มี ด้วยเครื่องลาด

มีขนยาวชายด้านเดียวก็มี

เมื่อใด ดิฉันต้องการจะเดินทาง เมื่อนั้น

ดิฉันย่อมเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยการรื่นเริงสนุก-

สนาน ไปสู่ที่ที่ดิฉันปรารถนา พร้อมกับบัลลังก์

อันประเสริฐ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 531

ดิฉันได้เป็นพระอัครมเหสีของท้าวสัก-

รินทเทวราช ๘๐ พระองค์ ได้เป็นพระอัครมเหสี

ของพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๐ พระองค์

เมื่อดิฉันยังท่องเที่ยวไปในภพน้อยใหญ่

ย่อมได้โภคทรัพย์มากมาย ดิฉันไม่บกพร่อง

โภคทรัพย์เลย นี้เป็นผลแห่งอาสนะอันเดียว

ฉันท่องเที่ยวไปแต่ในสองภพ คือ ใน

สวรรค์และมนุษย์ ภพอื่น ๆ ดิฉันไม่รู้จัก นี้

เป็นผลแห่งอาสนะอันเดียว

ดิฉันเกิดแต่ในสองสกุล คือ สกุลกษัตริย์

และสกุลพราหมณ์ ดิฉันเกิดในสกุลสูงทุก ๆ ภพ

นี้เป็นผลแห่งอาสนะอันเดียว

ความโทมนัสที่ทำจิตของดิฉันให้เร่าร้อน

ดิฉันไม่รู้จัก ความเป็นผู้มีผิวพรรณแปลกดิฉันก็

ไม่รู้จัก นี้เป็นผลแห่งอาสนะอันเดียว

พี่เลี้ยงนางนมต่างก็บำรุงดิฉัน หญิงค่อม

และเด็กรับใช้มีมาก ดิฉันไปสู่อวัยวะหนึ่งจากอีก

อวัยวะหนึ่ง นี้เป็นผลแห่งอาสนะอันเดียว

พวกพี่เลี้ยงนางนมอื่นให้ดิฉันอาบน้ำ

พวกอื่นให้รับประทานข้าว พวกอื่นประดับประดา

ดิฉัน พวกอื่นเห่กล่อมดิฉันให้รินเริงทุกเมื่อ

พวกอื่นเอาของหอมไล้ทาดิฉัน นี้เป็นผลแห่ง

อาสนะอันเดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 532

บัลลังก์ดังจะรู้ความดำริของดิฉันผู้อยู่ที่

มณฑป ที่โคนไม้ หรือในเรือนว่างเปล่า ย่อม

ปรากฏขึ้น นี้เป็นอัตภาพสุดท้ายของดิฉัน ภพ

หลังกำลังเป็นไป

แม้วันนี้ดิฉันก็ได้สละราชสมบัติออกบวช

เป็นบรรพชิต ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ ดิฉันได้ให้

ทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น ดิฉันไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งอาสนะอันเดียว

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว

ทราบว่า ท่านพระเอกาสนทายิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบเอกาสนทายิกาเถรีอปทาน

ปัญฐจทีปทยิกาเถรีอปทานที่ ๕ (๑๕)

ผลของการถวายประทีป ๕ ดวง

[๑๕๕] ครั้งนั้น ดิฉันเป็นหญิงนักท่อง-

เที่ยวอยู่ในพระนครหังสวดี ดิฉันต้องการกุศล

จึงท่องเที่ยวไปตามวัดและอาราม ดิฉันได้พบไม้-

โพธิ์อันอุดมในวันกาฬปักษ์ ดิฉันยังจิตให้เลื่อม-

ใสในไม้โพธิ์นั้น แล้วนั่งลงที่โคนโพธิ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 533

ดิฉันตั้งจิตอันประกอบด้วยความเคารพ

ไว้ ประนมอัญชลีเหนือเศียรเกล้า สำแดงถึง

ความโสมนัส แล้วคิดอย่างนี้ในทันใดนั้นว่า

ถ้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้มีพระคุณนับไม่ได้

ไม่มีบุคคลอื่นเปรียบเสมอจริงไซร้ ขอให้แสดง

ปาฏิหาริย์แก่เราเถิด ขอให้ไม้โพธิ์นี้จงเปล่งรัศมี

ในทันไดนั้นเอง ไม้โพธิ์ก็ได้โพลงไป

ทั่วพร้อมกับที่ดิฉันนึก รัศมีนั้นสำเร็จด้วย

สีทองล้วน ไพโรจน์ไปทั่วทิศ

ดิฉันนั่งอยู่ที่โคนโพธิ์นั้น ๗ คืน ๗ วัน

เมื่อถึงวันเป็นคำรบ ๗ ดิฉันได้ทำการบูชาด้วย

ประทีป

ประทีป ๕ ดวงลุกโพรงรอบอาสนะ

ครั้งนั้นประทีปของดิฉันลุกโพลงอยู่ จนถึงเวลา

พระอาทิตย์อุทัย

เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการ

ตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างมนุษย์แล้วได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

วิมานที่บุญกรรมสร้างสรรให้ดิฉันอย่าง

สวยงาม ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น เรียกว่า

ปัญจทีปวิมาน สูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์

มีประทีปนับไม่ถ้วนส่องแสงสว่างล้อม

ดิฉัน ทั่วเทพพิภพโชติช่วงด้วยแสงประทีป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 534

ดิฉันนั่งหันหน้าไปทิศบูรพาแล้ว ถ้า

ประสงค์จะดู ย่อมเห็นทุกสิ่งได้ด้วยจักษุทั้ง

เบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง

ดิฉันปรารถนาจะเห็นกรรมดีกรรมชั่วที่

คนทำในที่มีประมาณเท่าใด ที่มีประมาณเท่านั้น

ย่อมไม่มีต้นไม้หรือภูเขามากั้นกาง

ดิฉันได้เป็นพระอัครมเหสีของท้าวสักก-

เทวราช ๘๐ พระองค์ ได้เป็นพระอัครมเหสีของ

พระเจ้าจักรพรรดิ ๑๐๐ พระองค์

ดิฉันเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือ เทวดาหรือ

มนุษย์ ในกำเนิดนั้น ๆ ประทีปจำนวนแสนส่อง

แสงสว่างล้อมดิฉัน

ดิฉันจุติจากเทวโลกแล้ว เกิดในครรภ์

มารดา เมื่อดิฉันอยู่ในครรภ์มารดา นัยน์ตาของ

ดิฉันไม่หลับ ประทีปจำนวนแสนดวงส่องสว่าง

ในเรือนประสูติของดิฉัน ผู้เพียบพร้อมด้วยบุญ-

กรรม นี้เป็นผลแห่งประทีป ๕ ดวง

เมื่อถึงภพสุดท้าย ดิฉันกลับได้ฉันทะที่

มีในใจเห็นนิพพานอันเป็นสภาวะเยือกเย็น ไม่มี

ชราและมรณะ.

พอเกิดอายุได้ ๗ ขวบ ดิฉันก็ได้บรรลุ

อรหัต พระพุทธเจ้าให้ดิฉันอุปสมบท นี้เป็น

ผลแห่งประทีป ๕ ดวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 535

เมื่อดิฉันอยู่ที่มณฑป โคนไม้ หรือใน

เรือนว่างเปล่า ประทีปส่องแสงสว่างให้ทุกเมื่อ

เชื่อวัน นี้เป็นผลแห่งประทีป ๕ ดวง

ทิพยจักษุของดิฉันบริสุทธิ์ ดิฉันฉลาด

ในสมาธิ ถึงความบริบูรณ์ในอภิญญา นี้เป็นผล

แห่งประทีป ๕ ดวง

ดิฉันเป็นผู้อยู่จบพรหมจรรย์ทั้งปวง ทำ

กิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ข้าแต่พระมหาวีระผู้มี

จักษุ หม่อมฉันผู้ชื่อว่าปัญจทีปาขอถวายบังคม

พระยุคลบาทของพระองค์

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ ดิฉันได้ให้ทาน

ใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น ดิฉันไม่รู้จักทุคติ

เลยนี้เป็นผลแห่งประทีป ๕ ดวง

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...คำสอน

ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระปัญจทีปทายิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบปัญจทีปทายิกาเถรีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 536

นฬมาลิกาเถรีอปทาน ๖ (๑๖)

ผลของการบูชาด้วยดอกบัว

[๑๕๖ ] ดิฉันเกิดเป็นนางกินรีอยู่ที่ฝั่ง

แม่น้ำจันทภาคา ครั้งนั้น ดิฉันได้พบพระสยัม-

ภูพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี ไม่ทรงพ่ายแพ้อะไร ๆ

จึงมีจิตเลื่อมใสโสมนัส เกิดปีติ ประนมอัญชลี

แล้ว เก็บเอาดอกอ้อมาบูชาพระสยัมภู เพราะ

กรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการตั้งเจตน์จำนง

ไว้ ดิฉันละร่างนางกินรีแล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้น

ดาวดึงส์

ดิฉันได้เป็นอัครมเหสีของท้าวสักก-

เทวราช ๓๖ พระองค์ สิ่งที่ฉันปรารถนาด้วยใจ

ย่อมเกิดตามปรารถนา ดิฉันได้เป็นพระอัคร-

มเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๐ พระองค์ ดิฉัน

เป็นผู้สร้างตน ท่องเที่ยวไปในภพทั้งปวง

กุศลของดิฉันมี ดิฉันได้ออกบวชเป็น

บรรพชิต วันนี้ดิฉันเป็นปูชารหบุคคลในศาสนา

ของพระศากยบุตร

ในกัปที่ ๘๔ แต่กัปนี้ ดิฉันได้บูชา

พระพุทธเจ้าใด ด้วยพุทธบูชานั้น ดิฉันไม่รู้จัก

ทุคติเลย นี้เห็นผลแห่งดอกอ้อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 537

ทุกวันนี้ดิฉันมีใจบริสุทธิ์ ปราศจากใจ

ที่ชั่วช้า มีอาสวะสิ้นไปทั้งหมด บัดนี้ภพใหม่

ไม่มีอีก

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระนฬมาลิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบนฬมาลิกาเถรีอปทาน

มหาปชาบดีโคตมีเถรีอปทานที่ ๗ (๑๗)

บุพจริยาของพระมหาปาชาบดีโคตมีเถรี

[๑๕๗] ในกาลครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ผู้เป็นประทีปแก้วส่องโลกให้สว่างไสว

เป็นนายสารภีฝึกนรชน ประทับอยู่ ณ กูฏาคาร

ศาลาป่ามหาวันใกล้พระนครเวสาลี

ครั้งนั้น พระมาโคตมีภิกษุณี พระมหา-

ตุจฉาของพระพิชิตมาร อยู่ในสำนักนางภิกษุณี

ในพระนครอันรื่นรมย์นั้น พร้อมด้วยพระภิกษุณี

๕๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่พ้นจากกิเลสแล้ว เมื่อ

พระมหาปชาบดีโคตมีนั้นอยู่ในที่สงัด ตรึกนึกคิด

อย่างนี้ว่า

การปรินิพพานของพระพุทธเจ้าก็ดี ของ

คู่พระอัครสาวกก็ดี ของพระราหุล พระอานนท์

และพระนันทะก็ดี เราไม่ได้เห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 538

เราอันพระโลกนาถผู้แสวงหาคุณอันใหญ่

ทรงอนุญาตแล้ว พึงปลงอายุสังขารแล้วนิพพาน

ก่อนเถิด พระภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ องค์ ก็ได้ตรึก

อย่างนั้นเหมือนกัน แม้พระเขมาภิกษุณีเป็นต้น

ก็ได้ตรึกเช่นนี้เหมือนกัน

ครั้งนั้น เกิดแผ่นดินไหว กลองทิพย์

ดังขึ้นเองทวยเทพที่สิงอยู่ในสำนักของนางภิกษุณี

ถูกความโศกบีบคั้น บ่นเพ้ออยู่อย่างน่าสงสาร

หลั่งน้ำตาแล้วในที่นั้น พระภิกษุณีทุก ๆ องค์

พร้อมด้วยทวยเทพเหล่านั้น เข้าไปหาพระมหา -

โคตมีภิกษุณี ซบศีรษะแทบเท้าแล้วกล่าวว่า

ข้าแต่พระแม่เจ้า เพราะเรามีปกติอยู่ด้วยการ

เทียบเคียงในกรรมเหล่านั้น เราได้อยู่ในที่สงัด

พื้นภูมิภาคหวั่นไหวจลาจล กลองทิพย์

ดังขึ้นเอง และเราได้ยินเสียงคร่ำครวญ ข้าแต่

พระโคตมี จะต้องมีเหตุอะไรเกิดขึ้นแน่

ครั้งนั้น พระมหาโคตมีภิกษุณีได้บอก

ถึงเหตุตามที่ตนได้ตรึกแล้วทุกประการ ลำดับ

นั้น พระภิกษุณีทุก ๆ องค์ ก็ได้บอกถึงเหตุที่

ตนตรึกตรองแล้ว กล่าวว่า

ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าพระแม่เจ้าชอบใจ

การปรินิพพานอันเกษมอย่างยิ่งไซร้ ถึงดิฉัน

ทั้งหลายก็จักนิพพานทั้งหมด ในกาลก่อนที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 539

พระพุทธเจ้าจะทรงพระอนุญาต ดิฉันทั้งหลายได้

ออกจากเรือนพร้อมด้วยพระแม่เจ้า เมื่อดิฉัน

ทั้งหลายออกจากภพนี้ไปสู่บุรีคือนิพพานอันอุดม

ดิฉันทั้งหลาย ก็จักไปพร้อมกับพระแม่เจ้า

เหมือนกัน.

พระมหาปชาบดีโคตมีได้กล่าวว่า

เมื่อท่านทั้งหลายจะไปสู่นครคือนิพพาน

ดิฉันจักว่าอะไรได้เล่า แล้วได้ออกจากสำนักนาง

ภิกษุณีไปพร้อมกับพระภิกษุณีทั้งหมดในครั้งนั้น

พระปชาบดีโคตมีภิกษุได้กล่าวกะทวย-

เทพทั้งหลายที่สิง อยู่ ณ สำนักนางภิกษุณีว่า จง

อดโทษแก่ดิฉันเถิด การเห็นสำนักนางภิกษุณี

ของดิฉันนี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย

ในที่ใดไม่มีความแก่หรือความตาย ไม่มี

การสมาคมด้วยสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก

ไม่มีการพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก

ที่นั้น นักปราชญ์กล่าวว่าเป็นอสังขตสถาน

พระโอรสของพระสุคตเจ้าทั้งหลายที่ยัง

ไม่ปราศจากราคะ ได้สดับคำของพระนางนั้น

เป็นผู้โศกกำศรดปริเทวนาการว่า

น่าสังเวชหนอพวกเราเป็นคนมีบุญน้อย

สำนักพระภิกษุณีนี้จะว่างเปล่า เพราะเว้นพระ-

ภิกษุณีเหล่านั้น พระภิกษุณีผู้ชิโนรส จะไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 540

ปรากฏ เปรียบเหมือนดวงดาวทั้งหลายไม่ปรากฏ

ในเวลาที่สว่างฉะนั้น

พระนางโคตมีภิกษุณีจะไปสู่นิพพาน

พร้อมกับพระภิกษุณีอีก ๕๐๐ องค์ เหมือนกับ

แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สาครพร้อมกับแม่น้ำ ๕๐๐

สาย ฉะนั้น

อุบาสิกาทั้งหลายผู้มีศรัทธา เห็นพระ-

โคตมีภิกษุณีนั้นกำลังเดินไปตามถนน ได้พากัน

ออกจากเรือนไปหมอบลงแทบเท้าแล้วกล่าวว่า

ดิฉันทั้งหลายเลื่อมใสในพระแม่เจ้า

พระแม่เจ้าจะละทิ้งดิฉันทั้งหลาย ไว้ให้เป็นคน

อนาถาเสียแล้ว พระแม่เจ้ายังไม่ควรที่จะปริ-

นิพพานก่อน

ควรที่จะสงสารด้วยอุบาสิกาเหล่านั้นพา

กันปริเทวนาการ เพื่อจะให้อุบาสิกาเหล่านั้นละ

เสียซึ่งความโศก พระนางจึงได้กล่าวอย่างเพราะ

พริ้งว่า อย่าร้องไห้ไปเลยลูกทั้งหลาย วันนี้เป็น

เวลารื่นเริงของท่านทั้งหลาย

ความทุกข์ ดิฉันกำหนดรู้แล้ว ตัณหา

อันเป็นเหตุแห่งควานทุกข์ดิฉันเว้นขาดแล้ว

ความดับทุกข์ ดิฉันได้ทำให้แจ้งแล้ว อนึ่ง

แม้ถึงมรรค ดิฉันก็ได้อบรมดีแล้ว.

จบภาณวารที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 541

พระศาสดาดิฉันได้บำรุงแล้ว คำสอน

ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว ภาระอัน

หนักดิฉันได้ปลงลงแล้ว ตัณหาอันนำไปสู่ภพ

ดิฉันได้ถอนเสียแล้ว

ดิฉันออกบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์

ใด ประโยชน์นั้นดิฉันบรรลุแล้วโดยลำดับ สัง-

โยชน์ทุกอย่างหมดไปแล้ว

พระพุทธเจ้าและพระสัทธรรม ของ

พระองค์ มิได้บกพร่อง ยังดำรงอยู่ตราบใด

ตราบนั้นเป็นกาลที่ดิฉันจะนิพพาน ลูกทั้งหลาย

อย่าได้เศร้าโศกถึงดิฉันเลย

พระโกณฑัญญะ พระอานนท์และ

พระนันทะเป็นต้น กับทั้งพระราหุลพุทธชิโนรส

ยังมีชนมีชีพอยู่ ขอพระสงฆ์จงเป็นผู้มีความ

สุขสำราญ ขอให้เดียรถีย์จงเป็นผู้มีความโง่เขลา

อันกำจัดเสียได้เถิด

ยศ คือ การย่ำยีมารอันวงศ์แห่งพระเจ้า

โอกกากราชยกขึ้นแล้ว ลูกทั้งหลาย บัดนี้ถึง

เวลาที่ดิฉันจะนิพพานมิใช่หรือ ความปรารถนา

ที่ดิฉันได้ตั้งไว้แต่ต้นมานานนักหนา จะสำเร็จ

แก่ดิฉันในวันนี้

เวลานี้เป็นเวลาที่จะบันลือกลองนันทเภรี

ลูกทั้งหลาย น้ำตาจะมีประโยชน์อะไรแก่ท่าน

ทั้งหลายเล่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 542

ถ้าท่านทั้งหลายจะมีความเอ็นดูหรือมี

ความกตัญญูในดิฉัน ขอให้ท่านทุกคนจงทำ

ความเพียรมั่นเพื่อความดำรงอยู่แห่งพระสัทธรรม

เถิด

พระสัมพุทธเจ้าอันดิฉันทูลอ้อนวอน

จึงได้ประทานบรรพชาแก่สตรีทั้งหลาย เพราะ

ฉะนั้น ดิฉันยินดีฉันใด ท่านทั้งหลายก็จง

เจริญรอยตามซึ่งความยินดีนั้น ฉันนั้นเถิด

ครั้น พระนางพร่ำสอนอุบาสิกาเหล่านั้น

อย่างนี้แล้ว ห้อมล้อมด้วยภิกษุณีทั้งหลาย เข้า

ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวายบังคมแล้วได้กราบทูล

ดังนี้ว่า

ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดา

ของพระองค์ ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็น

พระบิดาของหม่อมฉัน ข้าแต่พระโลกนาถ

พระองค์เป็นผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระ-

สัทธรรมให้หม่อมฉัน ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉัน

เป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด

ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์

นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกายอัน

น่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้

เจริญเติบโตแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 543

หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนมอัน

ระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนม คือ

พระสัทธรรมอันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์

ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว.

ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและ

รักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน

หม่อมฉันได้ฟังมาว่าสตรีทั้งหลายผู้ปรารถนาบุตร

บวงสรวงอยู่ก็ย่อมจะได้บุตรเช่นนั้น

สตรีที่เป็นพระมารดาของพระนราธิบดีมี

พระเจ้ามันธาตุเป็นต้น ชื่อว่าเป็นมารดาผู้ยังบุตร

ให้จมอยู่ในห้วงมหรรณพคือภพ

ข้าแต่พระโอรส หม่อมฉันผู้จมดิ่งอยู่

ในห้วงมหรรณพคือภพ อันพระองค์ให้ข้ามไป

จากสาครคือภพแล้ว พระนามว่าพระมเหสีพันปี

หลวง สตรีทั้งหลายได้ง่าย พระนามว่า พระ-

พุทธมารดา นี้ สตรีทั้งหลายได้ยากอย่างยิ่ง.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ก็พระนามว่า

พระพุทธมารดานั้น หม่อมฉันได้แล้ว ความ

ปรารถนาน้อยใหญ่ของหม่อมฉันทั้งปวงนั้น

หม่อมฉันได้บำเพ็ญแล้วกับพระองค์

หม่อมฉันปรารถนาเพื่อจะทิ้งร่างนี้

นิพพาน ข้าแต่พระวีรเจ้าผู้ทำที่สุดทุกข์เป็นผู้นำ

ขอพระองค์จงทรงอนุญาตให้หม่อมฉันเถิด ขอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 544

ได้ทรงโปรดเหยียบออกซึ่งพระยุคลบาทอันเกลื่อน

กล่นไปด้วยลายจักรและธง อันละเอียดอ่อน

เหมือนกับดอกบัว หม่อมฉันจะถวายบังคม

พระยุคลบาทนั้น จะขอทำความรักในบุตร

ข้าแต่พระองค์ผู้นายก หม่อมฉันกระทำ

สรีระซึ่งเปรียบด้วยลองกองให้ปรากฏเป็นข้าวสุก

ได้เห็นพระสรีระของพระองค์แล้ว จึงจะขอไป

นิพพาน พระพิชิตมารได้ทรงแสดงพระกาย

อันประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

ประดับด้วยพระรัศมีอันงาม อันเป็นเหมือนดวง

ตาของคนพาลเพราะมีค่ามาก กะพระมาตุจฉา

ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี

ได้ซบพระเศียรลงแทบพื้นพระบาทอันเป็นลายจักร

คล้ายกับดอกบัวบานมีพระรัศมีปานดังพระอาทิตย์

แรกทอแสง แล้วพระนางได้กราบทูลว่า หม่อม

ฉันขอน้อมมนัสการพระนราธิป ผู้เป็นธงของ

องค์พระอาทิตย์ ขอพระองค์ทรงโปรดเป็นที่พึ่ง

ของหม่อมฉันในกาลสุดท้ายเถิด หม่อมฉันจะ

ไม่ได้เห็นพระองค์อีก

ข้าแต่พระองค์ผู้เลิศของโลก ธรรมดา

สตรีทั้งหลายรู้กันว่ามีแต่จะก่อโทษทุกประการ

ถ้าโทษอย่างใดอย่างหนึ่งของหม่อมฉันมีอยู่ ก็ขอ

พระองค์ได้โปรดกรุณาอดโทษแก่หม่อมฉันเถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 545

อนึ่ง หม่อมฉันได้ทูลขอบ่อย ๆ ให้

สตรีทั้งหลายได้บวช ข้าแต่พระนราสภ ถ้าโทษ

ในข้อนั้นจะมีแก่หม่อมฉัน ขอได้ทรงโปรดอด

โทษนั้นเถิด.

ข้าแต่พระวีรเจ้าทรงไว้ซึ่งการอดโทษ

ภิกษุทั้งหลายอันหม่อมฉันสั่งสอนแล้ว ตามที่

พระองค์ทรงอนุญาต ถ้าในข้อนั้นจะมีการ

แนะนำได้ยาก ขอได้โปรดทรงอดโทษข้อนั้นเถิด

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อน

นางโคตมีผู้ประดับไปด้วยคุณ โทษที่ท่านจะให้

อดโทษพึงมีอะไร เมื่อท่านบอกว่าจะลานิพพาน

ตถาคตจักไปว่ากระไรให้มากไปเล่า.

เมื่อภิกษุสงฆ์ของตถาคตบริสุทธิ์ไม่บก-

พร่อง ท่านจะออกไปเสียจากโลกนี้ได้ก็ควร

เพราะเนื้อหมดแสงดาวในเวลารุ่งแล้ว รอบใน

พระจันทร์ย่อมจะมองไม่เห็น ฉะนั้น

พระภิกษุณีทั้งหลาย นอกจากพระมหา-

ปชาบดีโคตมีเถรีพากันทำประทักษิณพระพิชิตมาร

ผู้เลิศ เหมือนหมู่ดาวที่ติดตามพระจันทร์ ทำ

ประทักษิณภูเขาสิเนรุ ฉะนั้น หมอบลงแทบ

พระบาทแล้ว ยืนจ้องดูพระพักตร์ของพระพุทธ-

เจ้า กราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 546

จักษุของหม่อมฉันทั้งหลาย ไม่เคยอิ่ม

ด้วยการเห็นพระองค์ โสตของหม่อมฉันทั้งหลาย

ไม่เคยอิ่มด้วยพระภาษิตของพระองค์ จิตของ

หม่อมฉันทั้งหลายดวงเดียวแท้ ๆ ก็ไม่อิ่มด้วยรส

แห่งธรรมของพระองค์.

ผู้บันลืออยู่ในบริษัท กำจัดเสียซึ่งทิฏฐิ

และมานะชนเหล่าใดเห็นพระพักตร์ของพระองค์

ชนเหล่าใดประณตน้อมพระยุคลบาทของพระองค์

ข้าแต่พระองค์ผู้ถึงที่สุดสงความ ชน

เหล่าใดประณตน้อมพระยุคลบาทของพระองค์

ซึ่งมีพระองคุลียาว มีพระนขาแดงงดงาม มีส้น

พระบาทยาว ถึงชนเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี

ข้าแต่พระนโรดม ชนเหล่าใดได้สดับ

พระดำรัสของพระองค์อันไพเราะน่าปลื้มใจ เผา

เสียซึ่งโทษ เป็นประโยคเกื้อกูล ชนเหล่านี้

ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันทั้งหลาย

อิ่มไปด้วยการบูชาพระบาทของพระองค์ ข้ามพ้น

ทางกันดารคือสงสารได้ ด้วยพระสุนทรกถาของ

พระองค์ผู้ทรงสิริ ฉะนั้นหม่อมฉันทั้งหลายจึง

ชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี.

ลำดับนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีผู้

มีวัตรอันงาม ประกาศในหมู่พระภิกษุสงฆ์แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 547

ไหว้พระรากล พระอานนท์ และพระนันทะ

แล้วได้ตรัสดังนี้ว่า ดิฉันเบื่อหน่ายในร่างกายซึ่ง

เสมอด้วยที่อยู่ของอสรพิษ เป็นที่พักของโรค

เป็นสถานที่เกิดทุกข์ มีชราและมรณะเป็นโคจร

อาเกียรณ์ไปด้วยมลทิน คือ ซากศพ

ต่าง ๆ ต้องพึ่งพาผู้อื่น ปราศจากเรี่ยวแรง

ฉะนั้น ดิฉันจึงปรารถนาจะนิพพานเสีย ขอลูก

ทั้งหลายจงยอมอนุญาตให้เถิด.

พระนันทเถรเจ้าและพระราหุลผู้เจริญ

เป็นผู้ปราศจากความโศก ไม่มีอาสวะ ตั้งมั่น

ไม่หวั่นไหว มีปัญญา มีความเพียร ได้คิดตาม

ธรรมดาว่า

น่าติโลกที่ปัจจัยปรุงแต่งปราศจากแก่น-

สาร เปรียบด้วยต้นกล้วย เช่นเดียวกับกลลวง

และพยับแดด ต่ำช้า ไม่มั่นคง

พระโคตมีเถรี พระมาตุจฉาของพระ-

พิชิตมาร ซึ่งได้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้าก็ยังต้องถึงแก่

กรรม สังขตธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง

ก็ครั้งนั้น พระอานนท์พุทธอนุชา ซึ่ง

เป็นคนสนิทของพระพิชิตมาร ยังเป็นพระเสข-

บุคคลอยู่ ท่านหลั่งน้ำตาร้องไห้คร่ำครวญอย่าง

น่าสงสาร ณ ที่นั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 548

พระโคตมีเถรีเจ้าตรัสอยู่หลัด ๆ ก็จะ

เสด็จไปนิพพานเลย อีกไม่นานเลยแม้พระพุทธ-

เจ้าก็คงจะเสด็จไปนิพพานแน่นอน เปรียบเหมือน

ไฟที่หมดเชื้อแล้ว ฉะนั้น

พระโคตมีเถรีเจ้าได้ตรัสกะท่านพระ-

อานนท์ผู้ชำนาญพระปริยัติ ปานดังสาครอันลึก

ล้ำ เอาใจใส่ในการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ซึ่ง

พร่ำรำพันอยู่ดังกล่าวมาว่า

ลูกเอ๋ย เมื่อกาลเป็นที่ร่าเริงปรากฏขึ้น

แล้ว พ่อไม่ควรที่จะเศร้าโศกถึงการตายของดิฉัน

ที่สุดแห่งการนิพพานของดิฉันใกล้เข้ามาแล้ว

พ่อเอย พระศาสดา พ่อได้ทูลให้ทรงยิน-

ยอม จึงได้ทรงอนุญาตให้เราบวช ลูกเอ๋ย พ่อ

อย่าเสียใจไปเลย ความพยายามของพ่อมีผล

ก็บทใด ที่ติตถิกาจารย์ทั้งหลายผู้เก่าแก่

ไม่เห็น บทนั้นอันเด็กหญิงซึ่งมีอายุ ๗ ขวบรู้แจ้ง

ประจักษ์แล้ว

พ่อจงรักษาพระพุทธศาสนาไว้ การที่

ดิฉันได้เห็นพ่อครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย บุคคลไป

ในทิศใดแล้วไม่ปรากฏ ดิฉันก็จะขอลาไปในทิศ

นั้นนะลูก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 549

ในกาลบางคราวพระ นายกเจ้าผู้เลิศโลก

กำลังทรงแสดงธรรมอยู่ พระองค์ทรงถามแล้ว

ครั้งนั้น ดิฉันเกิดความสงสารกล่าววาจาถวาย

พระพรว่า

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ขอพระองค์จงมี

พระชนชีพอยู่นาน ๆ ข้าแต่พระมหามุนี ขอ

พระองค์ จงดำรงพระชนม์อยู่ตลอดกัป เพื่อความ

เกื้อกูลและประโยชน์แก่โลกทั้งปวงเถิด ขออย่า

ให้พระองค์ทรงพระชราและปรินิพพานเสียเลย.

พระพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสกะดิฉัน

กราบทูลเช่นนั้นว่า ดูก่อนพระนางโคตมี พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้อันบุคคลชมเชย เหมือน

อย่างที่ท่านชมเชยอยู่มิได้ ดิฉันได้ทูลถามว่าก็แล

ด้วยประการเป็นดังฤา พระตถาคตผู้สัพพัญญูจึง

ชื่อว่าอันบุคคลพึงชมเชยด้วยประการเป็นดังฤา.

พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าอันบุคคลไม่ชมเชย

พระองค์อันหม่อมฉันถามถึงเหตุนั้นแล้ว ขอได้

ตรัสบอกเหตุนั้นแก่หม่อมฉันเถิด.

พระองตรัสตอบว่า ท่านจงดูพระสาวก

ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร ตั้งใจแน่วแน่ มี

ความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ เป็นคนพร้อมเพรียงกัน

นี้เป็นการชมเชยพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 550

ต่อแต่นั้น ดิฉันไปสู่สำนักนางภิกษุ

อยู่ผู้เดียว คิดเห็นแจ้งชัดว่า พระนาถะผู้ถึงที่สุด

แห่งไตรภพ ทรงพอพระทัยบริษัทที่สามัคคีกัน

เมื่อกระนั้น ดิฉันจะนิพพานเสีย ดิฉัน

อย่าได้พบความวิบัตินั้นเลย ครั้นดิฉันคิดดังนี้

แล้ว ได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้อุดมกว่าฤาษีทั้งปวง

แล้วได้กราบทูลกาลเป็นที่ปรินิพพานกะ

ผู้นำชั้นพิเศษ ลำดับนั้น พระองค์ได้ทรงอนุญาต

ให้ดิฉันดั่งนี้ว่า จงรู้กาลเอาเถิดพระนางโคตมี

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อน

พระโคตมี คนพาลเหล่าใด สงสัยในการตรัสรู้

ธรรมของสตรีทั้งหลาย ท่านจงแสดงอิทธิฤทธิ์

เพื่อละเสียซึ่งทิฏฐิของคนพาลเหล่านั้น

ครั้งนั้น พระโคตมีเถรีเจ้า ถวายบังคม

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว เหาะขึ้นสู่อัมพร แสดง

ฤทธิ์เป็นอันมากตามพระพุทธานุญาต

คือองค์เดียวเป็นหลายองค์ก็ได้ ทำให้

ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง

ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุด

ขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบน

น้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 551

เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ใช้

อำนาจทางกายไปตลอดพรหม ก็ได้

ทำถูเขาสิเนรุให้เป็นท่อน ๆ พลิกมหา-

ปฐพีขึ้นพร้อมด้วยราก ทำให้เป็นตัวร่มกั้นต่าง

ร่มเดินจงกรมในอากาศ

ทำโลกให้รุ่งโรจน์ ประหนึ่งว่าเวลา

พระอาทิตย์อุทัยเหนือภูเขายุคันธร และทำโลก

นั้น ให้เป็นเหมือนพวงดอกไม้ตาข่าย

เอาพระหัตถ์ข้างหนึ่งกำภูเขามุจจลินท์

ภูเขาสิเนรุ ภูเขามันทาระ และภูเขาทัททระไว้

ทั้งหมด เหมือนดังกำเมล็ดพันธ์ผักกาด เอา

ปลายนิ้วมือบังพระอาทิตย์พร้อมทั้งพระจันทร์ไว้

ทัดทรงพระจันทร์พระอาทิตย์ไว้ตั้งพันดวง

เหมือนทัดทรงพวงมาลัย ฉะนั้น

ทรงน้ำในสาครทั้ง ๔ ไว้ได้ด้วยฝ่า

พระหัตถ์ข้างหนึ่ง ยังฝนใหญ่ อันมีอาการปาน

ดังเมฆบนภูเขายุคันธรให้ตกลง

พระนางเจ้านั้นได้นิรมิตให้เป็นพระเจ้า-

จักรพรรดิ พร้อมด้วยบริษัทในนภาดลอากาศ

แสดงให้เป็นครุฑ คชสาร ราชสีห์ ต่างบันลือ

สีหนาทนฤโฆษอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 552

องค์เดียวนิรมิตให้เป็นคณะ พระภิกษุณี

นับไม่ถ้วน แล้วก็อันตรธานกลับเป็นองค์เดียว

กราบทูลพระมหามุนีเจ้าว่า

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าผู้มีพระจักษุ หม่อม

ฉันผู้เป็นพระมาตุจฉาของพระองค์ เป็นผู้ทำตาม

คำสอนของพระองค์ บรรลุประโยชน์ของตนโดย

ลำดับแล้ว ขอถวายบังคมพระยุคลบาทของ

พระองค์

พระนางเจ้านั้นครั้นแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ

แล้ว ลงจากนภาดลอากาศ ถวายบังคมพระผู้

ส่องโลกแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระนางเจ้าได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระมหามุนีผู้นายกของโลก หม่อม

ฉันมีอายุได้ ๑๒๐ ปี แต่กำเนิดแล้วเพียงเท่านี้ก็

พอแล้ว หม่อมฉันจักขอทูลลานิพพาน.

ครั้งนั้น บริษัททั้งหมดนั้นถึงความพิศวง

ยิ่งนัก จึงได้พากันประนมอัญชลีถามว่า ข้าแต่

พระแม่เจ้า พระแม่เจ้าได้ทำอะไรไว้ จึงมีฤทธิ์

อำนาจเช่นนี้.

พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีเจ้า ได้กล่าวบุพจริยาของท่านดังต่อไปนี้

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระพิชิตมาร

พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้มีจักษุในธรรมทั้งปวง

เป็นผู้นำได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 553

ครั้งนั้น ดิฉันเกิดในสกุลอำมาตย์ ซึ่ง

สมบูรณ์ด้วยเครื่องอุปการะทุกสิ่ง เจริญ รุ่งเรือง

ร่ำรวย ในพระนครหังสวดี

บางครั้ง ดิฉันพร้อมด้วยบิดา อันหมู่

ทาสห้อมล้อม เข้าไปเฝ้าพระนราสภพระองค์นั้น

พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก ได้เห็นพระพิชิต

มารผู้ปานดังท้าววาสวะ ยังฝนคือธรรมให้ตกอยู่

เป็นผู้ไม่มีอาสวะ เกลื่อนไปด้วยระเบียบแห่งรัศมี

เป็นกับพระอาทิตย์ในสรกาล แล้วยังจิตให้

เลื่อมใส และสดับสุภาษิตของพระองค์ ได้สดับ

พระผู้นำนรชนทรงตั้งพระภิกษุณีผู้เป็นพระมาตุจ-

ฉาไว้ในตำแหน่งอันเลิศ จงถวายมหาทานและ

ปัจจัยเป็นอันมาก แต่พระผู้เลิศกว่านรชน ผู้คง

ที่พระองค์นั้น พร้อมทั้งพระสงฆ์ ๗ วัน แล้ว

ได้หมอบลงแทบพระบาท มุ่งปรารถนาตำแหน่ง

นั้น.

ลำดับนั้น พระพิชิตมารผู้อุดมกว่าฤาษี

ได้ตรัสในบริษัทใหญ่ว่า สตรีใดได้นิมนต์พระผู้

นำโลกพร้อมด้วยสงฆ์ให้ฉันตลอด ๗ วัน เราจัก

พยากรณ์สตรีนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดาพระ-

นามว่าโคดม ซึ่งทรงสมภพในวงศ์พระเจ้า

โอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 554

สตรีผู้มีจิตได้เป็นธรรมทายาทของพระ-

ศาสดา พระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมนิรมิต

จักได้เป็นพระสาวิกาของพระศาสดา มีนามว่า

โคตมี

จักได้เป็นพระมาตุจฉาบำรุงเลี้ยงชีวิต

ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น จักได้ความเป็นผู้

เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายผู้รู้ราตรีนาน.

ครั้งนั้น ดิฉันได้สดับพระพุทธพยากรณ์

นั้นแล้ว มีใจปราโมทย์ บำรุงพระพิชิตมารด้วย

ปัจจัยทั้งหลายตราบเท่าสิ้นชีวิต ต่อจากนั้นดิฉัน

ได้ทำกาลกิริยา

ดิฉันเกิดในพวกเทพเหล่าดาวดึงส์ผู้ซึ่ง

ให้สำเร็จกามอารมณ์ได้ทุกประการ ครอบงำ

ทวยเทพอื่น ๆ เสียด้วยองค์ ๑๐ ประการ

คือ ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ

อายุ วรรณะ สุข ยศ และรุ่งเรื่องครอบงำ

ทวยเทพอื่น ๆ ด้วยความเป็นใหญ่ ดิฉันได้เป็น

พระมเหสีผู้น่ารักของท้าวอมรินทร์ในสวรรค์ชั้น

ดาวดึงส์นั้น.

เมื่อดิฉันยังท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร เป็น

หวั่นไหวเพราะพายุ คือกรรม จึงเกิดในบ้าน

ของทาส ในอาณาเขตของพระเจ้ากาสี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 555

ครั้งนั้น ทาส ๕๐๐ คนอาศัยอยู่ในบ้าน

นั้น ดิฉันได้เป็นภรรยาของหัวหน้าทาสในบ้าน

นั้น

พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ได้เข้าไป

สู่บ้านเพื่อบิณฑบาต ดิฉันกับญาติทุกคน เห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นมีความยินดี เรา

พร้อมด้วยสามีมีจิตเลื่อมใส สร้างกุฎี ๕๐๐ หลัง

อุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นตลอดสี่เดือน

แล้วถวายไตรจีวร

ต่อจากนั้น เราพร้อมกับสามีก็ได้ไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็ในภพสุดท้ายในบัดนี้ดิฉัน

เกิดในพระนครเทวทหะ พระชนกของดิฉัน

พระนามว่าอัญชนศากยะ พระชนนีของดิฉัน

พระนามว่าสุลักขณา ต่อมาดิฉันได้ไปสู่พระราช-

วังของพระเจ้าสุทโธทนะ ในพระนครกบิลพัสดุ์

สตรีทุกคนเกิดในสกุลศากยะแล้ว ไปสู่เรือนของ

พวกเจ้าศากยะ ก็ดิฉันประเสริฐกว่าสตรีทุกคน

ได้เป็นคนบำรุงเลี้ยงพระพิชิตมาร

พระโอรสของดิฉันพระองค์นั้นเสด็จออก

มหาภิเนษกรมณ์แล้ว ได้เป็นพระพุทธเจ้าผู้นำชั้น

พิเศษ ภายหลังดิฉันพร้อมด้วยนางศากิยานี ๕๐๐

จึงได้บวช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 556

แล้วก็ได้ประสพสันติสุข พร้อมด้วยนาง

ศากิยานีผู้มีความเพียร สามีของเราที่ได้ทำบุญ

ร่วมกันมาแต่ชาติก่อนในครั้งนั้นเป็นผู้ทำมหาสมัย

อันพระสุคตเจ้าทรงอนุเคราะห์แล้ว ได้บรรลุ

อรหัต.

พระภิกษุณีทั้งหลาย นอกจากพระมหา-

ปชาบดีเถรีเจ้านั้น ได้พากันเหาะขึ้นสู่นภาดล

อากาศ เป็นผู้ประกอบด้วยมหิทธิฤทธิ์ที่รุ่งโรจน์

เหมือนดวงดาวทั้งหลาย อันโคจรเป็นกลุ่มกันไป

ฉะนั้น

พระภิกษุณีเหล่านั้น เป็นผู้ศึกษาแล้วใน

บุญกรรม จึงได้แสดงฤทธิ์มิใช่น้อยเหมือนนาย

ช่างทองที่ได้รับการศึกษาแล้วแสดงเครื่องประดับ

ที่ทำด้วยทองชนิดต่าง ๆ ฉะนั้น.

ในครั้งนั้น พระภิกษุณีเหล่านั้น แสดง

ปาฏิหาริย์มากมายหลายอย่าง ยังพระมุนีผู้ประ-

เสริฐกว่าพระอาทิตย์พร้อมทั้งบริษัทให้ชอบใจ

แล้วได้พากันลงจากนภาดลอากาศถวายบังคมพระ-

ศาสดาผู้สูงสุดกว่าฤาษี เมื่อพระศาสดาผู้เป็นยอด

ของนรชนทรงอนุญาตแล้ว จึงได้นั่ง ณ สถานที่

อันสมควร แล้วได้กราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 557

ข้าแต่พระวีรเจ้า โอหนอ พระโคตมี-

เถรีเจ้าเป็นผู้อนุเคราะห์หม่อมฉันทุก ๆ คน หม่อม

ฉันทุกคน พระนางได้อบรมด้วยบุญ จึงได้บรรลุ

ธรรมเป็นสิ้นอาสวะ

หม่อนฉันทั้งหลายเผากิเลสสิ้นแล้ว ถอน

ภพทั้งปวงขึ้นได้แล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกเหมือน

ช้างพังตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

การที่หม่อมฉันทั้งหลายมาในสำนักของ

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เป็นการมาดีแล้วหนอ

วิชชา ๓ หม่อมฉันทั้งหลายบรรลุแล้ว

โดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้าหม่อมฉัน

ทั้งหลายได้ทำเสร็จแล้ว.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔

วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ หม่อมฉันทั้งหลาย

ทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าหม่อมฉัน

ทั้งหลายได้ทำเสร็จแล้ว.

ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลายมี

ความชำนิชำนาญในฤทธิ์และทิพโสดธาตุ หม่อม-

ฉันทั้งหลายมีความชำนิชำนาญในเจโตปริยญาณ

รู้ปุพเพนิวาสญาณ ชำระทิพยจักษุได้แล้ว มีอาสวะ

ทั้งหลายสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 558

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อนฉันทั้งหลาย

มีญาณในอรรถ ในธรรม ในนิรุตติ และใน

ปฏิภาณ ญาณนั้นเกิดสำนักของพระองค์

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระนายกมหามุนี

พระองค์เป็นผู้อันหม่อมฉันทั้งหลายได้สั่งสมแล้ว

ได้ทรงโปรดมีจิตเมตตา อนุญาตให้หม่อมฉันทั้ง

ปวงนิพพานเถิดพระเจ้าข้า.

พระพิชิตมารได้ตรัสว่า เมื่อท่านทั้งหลาย

พูดอย่างนี้ว่า จักนิพพาน ฉันจักไปว่าอะไร ก็

บัดนี้ท่านทั้งหลายจงสำคัญกาลเวลาเอาเองเถิด.

ครั้งนั้น พระภิกษุณีเหล่านั้น มีพระ-

โคดมเถรีเจ้าเป็นต้น ถวายบังคมพระพิชิตมาร

แล้วได้พากันลุกจากที่นั่งนั้นไป พระธีรเจ้าผู้นำ

ชั้นเลิศของโลก พร้อมด้วยหมู่ชนเป็นอันมากได้

เสด็จไปส่งพระมาตุจฉาจนถึงซุ้มประตู ครั้งนั้น

พระโคตมีเถรีเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุณีทั้งหลาย

ทุก ๆ องค์ ได้พากันหมอบลงแทบพระยุคลบาท

ของพระศาสนาผู้เป็นพงศ์พันธุ์ของโลก กราบ

ทูลว่า นี้เป็นการถวายบังคมพระยุคลบาทครั้ง

สุดท้ายของหม่อมฉัน การได้เห็นพระองค์ผู้เป็น

นาถะของโลกครั้งนี้ ก็เป็นครั้งสุดท้าย หม่อมฉัน

จักษุได้เห็นพระพักตร์ของพระองค์ซึ่งมีอาการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 559

ปานน้ำอมฤต ข้าแต่พระวีรเจ้าผู้เลิศของโลก

หม่อมฉันจักไม่ได้ถวายบังคมพระยุคลบาทของ

พระองค์ซึ่งอ่อนละเอียดอีก วันนี้หม่อมฉันจะ

เข้านิพพาน.

พระศาสดาตรัสว่า

จะมีประโยชน์อะไรด้วยรูปนี้แก่ท่านใน

ปัจจุบัน รูปนี้ล้วนปัจจัยปรุงแต่ง ไม่น่ายินดี

เป็นของเลวทราม.

พระมหาปชาบดีเถรีเจ้า พร้อมด้วยพระ-

ภิกษุณีเหล่านั้น ไปสู่สำนักนางภิกษุณีของตน

แล้ว นั่งพับเพียบบนอาสนะอันประเสริฐ.

ครั้งนั้น อุบาสิกาทั้งหลายในพระนคร

นั้น เป็นความเคารพรักในพระพุทธศาสนา ได้

สดับประพฤติเหตุของพระนางเจ้า ต่างก็เข้าไปหา

นมัสการแทบบาทมูล เอากรค่อนอุระประเทศ

ร้องไห้พิไรร่ำคร่ำครวญควรจะกรุณา เต็มไปด้วย

ความโศกเศร้า ล้มลงที่พื้นพสุธา ดุจเถาวัลย์

รากขาดแล้วตกลง ฉะนั้น

พากันร้องไห้รำพันด้วยวาจาว่า ข้าแต่

พระแม่เจ้าผู้เป็นนาถะให้ที่พึ่งของดิฉันทั้งหลาย

พระแม่เจ้า อย่าได้ล่ะทิ้งดิฉันทั้งหลายไปเข้า

นิพพานเสียเลย ดิฉันทุกคนขอซบเศียรอ้อนวอน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 560

พระมหาปชาบดีเถรีเจ้า ลูบศีรษะของ

อุบาสิกาผู้มีศรัทธา มีปัญญาซึ่งเป็นหัวหน้าของ

อุบาสิกาเหล่านั้นอยู่ ได้กล่าวว่า

ลูกทั้งหลายเอ๋ย การพร่ำเพ้อซึ่งเป็นไป

ในบ่วงแห่งมารไม่ควรเลย สังเขตธรรมทั้งปวง

ล้วนไม่เที่ยง มีแต่จะพลัดพรากจากกัน หวั่นไหว

ต่อแต่นั้นพระนางก็สละอุบาสิกาเหล่า

นั้นเสีย เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน

และจตุตถฌาน แล้วเข้าอากาสานัญจายตนฌาน

วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญายตนฌาน

และเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ตามลำดับ

แล้วพระโคดมเถรีเจ้าก็เข้าฌานทั้งหลายโดยปฏิ-

โลม แล้วก็เข้าปฐมฌานไปตราบเท่าถึงจตุตถฌาน

ครั้นออกจากจตุตถฌานนั้นแล้วก็ดับไป เหมือน

เปลวประทีปที่หมดเชื้อดับไป ฉะนั้น.

ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ สายฟ้าก็ตกลง

จากนภากาศ กลองทิพยก็บันลือลั่นขึ้นเอง ทวย-

เทพพากันคร่ำครวญ และฝนดอกไม้ก็ตกจาก

อากาศลงยังพื้นแผ่นดิน

แม้ขุนเขาสุเมรุราชก็กัมปนาทหวั่นไหว

เหมือนคนเต้นรำในท่ามกลางที่เต้นรำ ฉะนั้น

สาครก็ปั่นป่วนตีฟองคะนองระลอกฉะฉาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 561

ทวยเทพ นาค อสูร และพรหมต่างก็

พากันสลดใจ กล่าวขึ้นในทันใดนั้นเองว่า สังขาร

ทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ เหมือนอย่างพระมหาปชา-

บดีเถรีเจ้านี้ถึงความย่อยยับไปแล้วฉะนั้น

และพระเถรีทั้งหลายผู้ทำตามคำสอนของ

พระศาสดา ซึ่งแวดล้อมพระมหาปชาบดีเถรีเจ้านี้

พากันดับไปแล้ว เหมือนเปลวประทีปหมดเชื้อ

ดับไป ฉะนั้น โอ้ ความประจวบกันมีความ

พลัดพรากเป็นที่สุด โอ้ สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งล้วน

แต่ไม่เที่ยง โอ้ ชีวิตมีความหายสูญเป็นที่สุด

ความปริเทวนา ได้มีแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ในลำดับนั้น เทวดาและพรหมต่างก็ทำ

ความประพฤติตามโลกธรรม ตามสมควรแก่กาล

แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สูงสุดกว่า

ฤาษี

ครั้งนั้น พระศาสดาได้ตรัสเรียกท่าน

พระอานนท์ผู้พหูสูตมาสั่งว่า อานนท์ ท่านจง

ไปประกาศให้ภิกษุทั้งหลายทราบถึงการนิพพาน

ของพระมารดา

เวลานั้น ท่านพระอานนท์เป็นผู้หมด

ความแช่มชื่น มีตานองไปด้วยน้ำตา ได้กล่าว

ด้วยเสียงอันน่าสงสารว่า ขอพระภิกษุทั้งหลาย

ผู้เป็นโอรสของพระสุคตเจ้าซึ่งอยู่ในทิศตะวันออก

ทิศใต้ ทิศตะวันตกและทิศเหนือจงมาประชุมกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 562

พระภิกษุณีผู้ยังพระสรีระสุดท้ายของ

พระมุนีให้เจริญด้วยน้ำนม พระมารดาของกระผม

พระโคตมีภิกษุณีนั้นถึงความสงบ เหมือนดวงดาว

ในเมื่อพระอาทิตย์อุทัย ฉะนั้น พระนางผู้เป็นที่

รู้ทั่วกันว่า เป็นพระพุทธมารดา ครั้นดำรงอยู่แล้ว

ไปสู่ความเสมอกันแล้ว คือในทีใด ถึงคนมี ๕ ตา

เห็นให้ได้ ในที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งเป็น

ผู้นำทรงเห็นได้

ขอพระโอรสของพระสุคตเจ้าผู้มีความ

เชื่อในพระสุคต หรือเป็นศิษย์ของพระมหามุนี

จงทำสักการะแด่พระพุทธมารดาเถิด.

ภิกษุทั้งหลายถึงอยู่ไกล ได้ฟังคำประ-

กาศนั้นแล้ว ก็มาได้เร็ว บางพวกมาด้วยพุทธ-

นุภาพ บางพวกที่ฉลาดในฤทธิ์ก็มาด้วยฤทธิ์ ต่าง

ช่วยกันยกเอาเตียงนอนที่พระโคตมีเถรีเจ้าหลับ

ขึ้นไว้ในเรือนยอดอันประเสริฐ น่ายินดี สำเร็จ

ด้วยทองคำล้วน ๆ งดงาม

ท้าวโลกบาลทั้งสี่เอาบ่าเข้ารองรับเรือน

ยอด ทวยเทพที่เหลือมีท้าวสักกะเป็นต้น เข้า

ช่วยรับเรือนยอด

เรือนยอดทั้งหมดมี ๕๐๐ หลัง แท้จริง

เรือนยอดเหล่านั้น วิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิต มี

สีเหมือนพระอาทิตย์ในสรทกาล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 563

ทวยเทพทั้งหลายได้แบกพระภิกษุ ทุก ๆ

องค์ที่นอนอยู่บนเตียงแล้ว นำเอาออกไปตาม

ลำดับ พื้นนภากาศถูกเอาเพดานบังไว้ทั่ว ดวง-

จันทร์ ดวงอาทิตย์ พร้อมทั้งดวงดาวซึ่งสำเร็จ

ด้วยทองได้ถูกติดเป็นตราไว้ที่เพดานนั้น

ธงปฏากได้ถูกยกขึ้นไว้เป็นอันมาก จิต-

กาธารทั้งหลายมีดอกไม้เป็นเครื่องปกคลุม ดอก

ไม้ที่เกิดในอากาศเอาปลายลง ดอกไม้ผุดขึ้นจาก

แผ่นดิน พระจันทร์และพระอาทิตย์ คนมองดู

เห็นได้ และดาวทั้งหลายส่องแสงระยับระยิบ.

อนึ่ง พระอาทิตย์ถึงจะโคจรไปในเวลา

เที่ยงก็เป็นเหมือนพระจันทร์ ไม่ทำใคร ๆ ให้

เร่าร่อน ทวยเทพทั้งหลายพากันบูชาด้วยของหอม

และดอกไม้ทิพย์อันน่ายินดี และด้วยการขับร้อง

ฟ้อนรำดีดสีตีเป่าอันเป็นทิพย์

พวกนาค อสูรและพรหม ต่างก็พากัน

บูชาพระพุทธมารดาผู้นิพพานแล้ว กำลังถูกเขา

นำเอาออกไป ตามสติกำลัง

พระภิกษุผู้เป็นโอรสของพระสุคตเจ้า

ซึ่งนิพพานแล้วทั้งหมดเชิญไปข้างหน้า พระ-

โคตมีเถรีพุทธมารดาผู้อันเทวดาและมนุษย์สักการะ

เชิญไปข้างหลัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 564

เทวดา มนุษย์ พร้อมด้วยนาค อสูรและ

พรหม ไปข้างหน้า ข้างหลังพระพุทธเจ้าพร้อม

ด้วยพระสาวกเสด็จไปเพื่อจะบูชาพระมารดา.

การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า หาได้

เป็นเช่นนี้ไม่ การปรินิพพานของพระโคตมีเถรี

เจ้า อัศจรรย์ยิ่งนัก

ในเวลาพระพุทธเจ้าเสด็จนิพพาน ไม่มี

พระพุทธเจ้าและภิกษุทั้งหลาย มีพระสารีบุตร

เป็นต้น เหมือนในเวลาพระโคตมีเถรีเจ้านิพพาน

ซึ่งมีพระพุทธเจ้าและภิกษุทั้งหลายมีพระสารีบุตร

เป็นต้น

ชนทั้งหลายช่วยกันทำจิตกาธารซึ่งสำเร็จ

ด้วยของหอมล้วน และเกลื่อนไปด้วยจุรณแห่ง

เครื่องหอม แล้วเผาพระภิกษุเหล่านั้นบนจิต-

กาธารนั้น ส่วนที่เหลือนอกจากอัฐิถูกไฟไหม้สิ้น.

ก็ในเวลานั้นท่านพระอานนท์ได้กล่าว

วาจาอันให้เกิดความสังเวชว่า พระโคตมีเถรีเจ้า

เข้านิพพานแล้ว พระสรีระของพระนางก็ถูกเผา

แล้ว การนิพพานของพระพุทธเจ้าน่าสังเกต อีก

ไม่นานก็คงจักมี

ต่อจากนั้น ในพระอานนท์อันพระ-

พุทธเจ้าทรงตักเตือน ท่านได้น้อมพระธาตุของ

พระโคดมเถรีเจ้า ซึ่งอยู่ในบาตรของพระนางเข้า

มาถวายแด่พระโลกนาถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 565

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สูงสุดกว่าฤาษี ได้

ทรงประคองพระธาตุเหล่านั้นด้วยฝ่าพระหัตถ์แล้ว

ตรัสว่า เพราะสังขารเป็นสภาพไม่เที่ยง พระ-

โคตมีผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่พระภิกษุณีจึงต้องนิพพาน

เช่นเดียวกับลำต้นของต้นไม้ใหญ่ ที่มีแก่นตั้งอยู่

ถึงจะใหญ่ก็ต้องพินาศ ฉะนั้น.

ดูเถอะอานนท์ เมื่อพระพุทธมารดาแม้

นิพพานแล้ว เพียงแต่สรีระก็ยังไม่เหลือ ไม่น่า

เศร้าโศกปริเทวนาการไปเลย

คนอื่น ๆ ไม่ควรเศร้าโศกถึงพระนางผู้

ข้ามสาครคือสังขารไปแล้ว ละเว้นเหตุอันทำให้

เดือดร้อนเสียได้ เป็นผู้เยือกเย็นดับสนิทดีแล้ว

พระนางเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก และ

มีปัญญากว้างขวาง ทั้งเป็นผู้รู้ราตรีนานกว่า

ภิกษุณีทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงรู้ไว้อย่างนี้เถิด

พระโคตมรเถรีเจ้า เป็นผู้ชำนาญในทิพโสต-

ธาตุ และมีความชำนาญในเจโตปริยญาณ รู้ทั่ว

ถึงปุพเพนิวาสญาณ ชำระทิพยจักษุให้หมดจด

อาสวะทั้งสิ้นของพระนางหมดสิ้นไปแล้ว บัดนี้

ภพใหม่ไม่มีอีก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 566

พระนางมีญาณอันบริสุทธิ์ ในอรรถะ

ในธรรมะ ในนิรุติและในปฏิภาณ เพราะฉะนั้น

จึงไม่ควรจะเศร้าโศกถึงพระนาง

คติของไฟที่ลุกโพลง ถูกแผ่นเหล็กทับ

แล้วดับไปโดยลำดับ ใคร ๆ ก็รู้ไม่ได้ ฉันใด

บุคคลผู้ที่หลุดพ้นจากกิเลสด้วยดีแล้ว ข้ามพ้น

โอฆะคือกามพันธุ์ บรรลุอจลบทแล้ว ก็ฉันนั้น

ย่อมไม่มีคติที่ใคร ๆ จะรู้ได้

เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงมีตนเป็น

ที่พึ่ง มีสติปัฏฐานเป็นโคจรเถิด ท่านทั้งหลาย

อบรมโพชฌงค์ ๗ ประการแล้ว จักทำที่สุดแห่ง

ทุกข์ได้.

ทราบว่า ท่านพระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้ตรัสคาถาเหล่านั้น ด้วย

การฉะนี้แล.

จบมหาปชาบดีโคตมีเถรีอปทาน

เขมาเถรีอปทานที่ ๘ (๑๘)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระเขมาเถรี

[๑๕๘] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุต-

ตระมีพระญาณจักษุในสรรพธรรม เป็นพระโลก

นายกเสด็จอุบัติในที่แสนแต่กัปนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 567

ครั้งนั้น ดิฉันเกิดในสกุลเศรษฐีมีความ

รุ่งเรืองด้วยรัตนะต่าง ๆ ในเมืองหังสวดี เป็นผู้

เพียบพร้อมไปด้วยความสุขมาก

ดิฉันเข้าไปเฝ้าพระพุทธมหาวีระพระองค์

นั้นแล้ว ได้ฟังธรรมเทศนา เกิดความเลื่อมใส

ในพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ได้ถึงพระองค์เป็น

สรณะ

ฉันขออนุญาตมารดาบิดาได้แล้ว นิมนต์

พระพุทธเจ้าผู้นำชั้นพิเศษให้เสวย พร้อมด้วย

พระสงฆ์สาวก ตลอดสัปดาห์หนึ่ง เมื่อสัปดาห์

หนึ่งล่วงไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสารถี

ฝึกนระ ทรงตั้งภิกษุณีองค์หนึ่ง ซึ่งอุดมกว่าพวก

ภิกษุณีฝ่ายที่มีปัญญามาก ในตำแหน่งเอตทัคคะ

ดิฉันได้ฟังเรื่องนั้นแล้ว ความยินดีทำ

สักการะแด่พระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณใหญ่พระ-

องค์นั้นอีก แล้วหมอบลงปรารถนาตำแหน่งนั้น.

ในทันใดนั้น พระพิชิตมารพระองค์นั้น

ตรัสกะดิฉันว่า ความปรารถนาของเธอจักสำเร็จ

สักการะที่เธอทำแล้วแก่เรา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์

มีผลมาก

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดาพระ

นามว่าโคดม ทรงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกาก-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 568

ราชจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก หญิงนี้จักได้เป็น

ภิกษุณีชื่อเขมา ผู้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดา

พระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักถึง

ตำแหน่งเอตทัคคะ.

ด้วยกรรมที่ทำดีแล้วนั้น และด้วยการตั้ง

เจตน์จานงไว้ ดิฉันละร่างกายมนุษย์แล้ว ได้

เป็นผู้เข้าถึงสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์

จุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้ว ไปชั้น

ยามา จุติจากชั้นยามาแล้วไปชั้นดุสิต จุติจากชั้น

ดุสิตแล้ว ไปชั้นนิมมานรดี จุติจากชั้นนิมมานร-

ดีแล้ว ไปชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

เพราะอำนาจบุญกรรมนั้น ดิฉันเกิดใน

ภพใด ๆ ได้เป็นพระอัครมเหสีของพระราชาใน

ภพนั้น ๆ

ดิฉันจุติจากภพนั้นแล้วมาเกิดเป็นมนุษย์

ได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ และ

เป็นมเหสีของพระเจ้าเอกราช

เสวยทิพยสมบัติและมนุษย์สมบัติ มีความ

สุขทุกภพ ท่องเที่ยวไปในกัปเป็นอเนก.

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ พระพุทธเจ้าพระ-

นามว่าวิปัสสี เป็นนายกของโลก งดงามน่าดู

ยิ่งนัก ทรงเห็นแจ่มแจ้งในสรรพธรรม เสด็จ

อุบัติขึ้นแล้วในโลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 569

ดิฉันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ซึ่ง

เป็นนายกของโลก เพราะได้ฟังธรรมอันประณีต

ได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในพระศาสนาของพระ-

วีรเจ้าพระองค์นั้นอยู่หมื่นปี ประพฤติพรมจรรย์

ประกอบความเพียร เป็นพหูสูต

ฉลาดในปัจจัย มีความคล่องแคล่วใน

จตุราริยสัจ มีปัญญาละเอียด แสดงธรรมไพเราะ

ปฏิบัติตามสัตถุศาสน์อยู่หมื่นปี

ด้วยผลแห่งพรหมจรรย์ ดิฉันจุติจากภพ

นั้นแล้วเข้าถึงสวรรค์ชั้นดุสิต เป็นผู้มียศ เสวย

สมบัติในภพนั้นและภพอื่น

ดิฉันเกิดในภพใด ๆ ก็เป็นผู้มีสมบัติมาก

มีทรัพย์มาก มีปัญญา มีรูปงาม มีบริวารชนก็ว่า

ง่าย

ด้วยบุญกรรมและความเพียรในศาสนา

ของพระพิชิตมารนั้น สมบัติทุกอย่างดิฉันหาได้

ง่าย เป็นที่รักแห่งใจ

ด้วยผลแห่งความปฏิบัติของดิฉัน เมื่อ

ดิฉันเดินไป ณ ที่ใด ๆ ภัสดาของดิฉันและใคร ๆ

ย่อมไม่ดูหมิ่นดิฉัน.

ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่า

โกนาคมนะ ผู้เป็นพงศ์พันธุ์แห่งพรหม มียศมาก

ประเสริฐกว่าพวกบัณฑิต เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 570

ในครั้งนั้นแหละกุลธิดาที่มั่งคั่งดีในเมือง

พาราณสี ชื่อธนัญชานี ๑ สุเมธา ๑ สุเมธา ๑ ดิฉัน ๑

รวม ๓ คนด้วยกัน ได้ถวายสังฆารามแก่พระมุนี

หลายพัน และได้สร้างวิหารอุทิศแด่พระ-

พุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสาวกสงฆ์

เราทั้งหมดด้วยกันจุติจากภพนั้นแล้วไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศกว่า

เทพธิดาและกุลธิดาในมนุษย์.

ในกัทรกัปนี้แหละ พระพุทธเจ้าพระนาม

ว่ากัสสปะ ผู้เป็นพงศ์พันธุ์แห่งพรหม มียศมาก

ประเสริฐกว่าพวกบัณฑิต เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

ในครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี

ในพระนครพาราณสีอันอุดม เป็นอิสระแห่ง

ประชาชน เป็นอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าผู้แสวง

หาคุณอันยิ่งใหญ่

ดิฉันเป็นพระธิดาคนใหญ่ของท้าวเธอ มี

นามปรากฏว่าสมณี ได้ฟังธรรมของพระพิชิตมาร

ผู้เลิศแล้ว พอใจบรรพชา

แต่พระชนกนาถไม่ทรงอนุญาตแก่เราทั้ง

หลาย เมื่ออยู่ในอาคารสถานในครั้งนั้น เรา

ทั้งหลายผู้เป็นราบกัญญามิได้เกียจคร้าน ประพฤติ

พรหมจรรย์ตั้งแต่เป็นกุมารี ดำรงอยู่ในสุขสมบัติ

สองหมื่นปี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 571

พระราชธิดาทั้ง ๗ องค์ล้วนพอใจยินดีใน

การบำรุงพระพุทธเจ้า พระราชธิดาทั้ง ๗ นั้น คือ

นางสมณี ๑ นางสมณคุตตา ๑ นางภิกษุณี ๑

นางภิกขุทาสิกา ๑ นางธรรมา ๑ นาสุธรรมา ๑

และนางสังฆทาสิกาเป็นที่ ๗

พระราชธิดาทั้ง ๗ นั้น ได้มาเป็นดิฉัน

เป็นพระอุบลวรรณาเถรี เป็นพระปฏาจาราเถรี

เป็นพระกุณฑลเกสีเถรี เป็นพระกิสาโคตมีเถรี

เป็นพระธรรมทินาเสถรี เป็นนางวิสาขา อาสิกา

เป็นที่ ๗

บางครั้ง พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้เป็น

ดังว่าดวงอาทิตย์ของนรชน ทรงแสดงธรรมเป็น

อัศจรรย์ ดิฉันได้ฟังมหานิทานสูตรแล้วเล่าเรียน

อยู่

เพราะกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และ

เพราะการตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างกายมนุษย์

แล้ว ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

ในภพหลังครั้งนี้ ดิฉันเป็นพระธิดาที่พอ

พระทัยกรุณาโปรดปรานของพระเจ้ามัททราช ใน

สากลนครอันอุดม

พร้อมกับเมื่อดิฉันเกิด พระนครนั้นได้มี

ความเกษมสุข โดยคุณนิรมิตนั้น ชื่อดิฉันปรากฏ

ว่า เขมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 572

เมื่อใด ดิฉันเจริญวัยโตเป็นสาว มีรูป

และผิวพรรณงาม เมื่อนั้น พระราชบิดาก็โปรด

ปรานประทานดิฉันแก่พระเจ้าพิมพิสาร

ดิฉันเป็นที่โปรดปรานของพระราชสวามี

ยินดีแต่ในการบำรุงรูป ไม่พอใจคนที่กล่าวโทษ

รูปเป็นอันมาก.

ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้นัก

ขับร้อง ขับเพลงพรรณาพระมหาวิหารเวฬุวัน

ด้วยพระประสงค์จะทรงอนุเคราะห์ดิฉัน

ดิฉันสำคัญว่าพระมหาวิหารเวฬุวันอัน

เป็นที่ประทับแห่งพระสุคตเจ้าเป็นที่รื่นรมย์ ผู้

ใดยังมิได้เห็นก็จัดว่าผู้นั้นยังไม่เห็นนันทวัน

พระมหาวิหารเวฬุวันเป็นดังว่านันทวัน

อันเป็นที่เพลิดเพลินของนรชน ผู้ใดได้เห็นแล้ว

นับว่าผู้นั้นเห็นซึ่งนันทวันดีแล้ว อันเป็นที่เพลิด

เพลินของท้าวอมรินทร์

สักกเทาวราชทวยเทพละนันทวันแล้วลงมา

ที่พื้นดิน เห็นพระมหาวิหารเวฬุวันอันน่ารื่นรมย์

เข้าแล้ว ก็อัศจรรย์ใจเพลินชมมิได้เบื่อ

พระมหาวิหารเวฬุวันเกิดขึ้นเพราะบุญ

ของพระราชา อันบุญญานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า

ประดับแล้ว ใครเล่าจะกล่าวถึงความเจริญด้วย

คุณแห่งพระมหาวิหารเวฬุวันให้จบได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 573

ครั้งนั้น ดิฉันได้ฟังความสำเร็จแห่ง

พระมหาวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่ชอบโสตและชอบ

ใจแล้ว ประสงค์จะเห็น ดิฉันจึงได้กราบทูล

พระราชา.

ครั้งนั้น ท้าวมหิบดีจึงโปรดสั่งดิฉันผู้มุ่ง

จะชมพระมหาวิหารเวฬุวัน พร้อมด้วยบริวารเป็น

อันมาก ด้วยพระดำรัสว่า พระนางผู้มีสมบัติมาก

เชิญเสด็จไปชม พระมหาวิหารเวฬุวัน อันเป็น

ที่เย็นตา เปล่งปลั่งด้วยพระรัศมีแห่งพระสุคตเจ้า

งามด้วยสิริทุกสมัย

ดิฉันทูลว่า เมื่อใด พระพุทธมุนีเสด็จ

เข้ามาทรงบาตรในพระนครราชคฤห์อันอุดม เมื่อ

นั้น หม่อมฉันจะเข้าไปชมพระมหาวิหารเวฬุวัน

เวลานั้น พระมหาวิหารเวฬุวันมีสวน

ดอกไม้กำลังแย้มบาน หึ่ง ๆ ไปด้วยเสียงบิน

ของภมรต่างชนิด และมีเสียงนกดุเหว่าร่ำร้องดัง

เพลงขับ ทั้งมีเหล่านกยูงฟ้อนรำ

มีเสียงเบาไม่พลุกพล่านประดับไปด้วยที่

จงกรมต่าง ๆ สะพรั่งไปด้วยกุฎีและมณฑปที่

พระโยคีชอบปรารภบำเพ็ญเพียร

เมื่อดิฉันเที่ยวไปได้รู้สึกว่านัยน์ตาของ

เรามีผล ครั้งนั้น ดิฉันได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งประกอบ

กิจอยู่ แล้วคิดไปว่า ภิกษุนี้ตั้งอยู่ในปฐมวัย มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 574

รูปน่าปรารถนา ปฏิบัติอยู่ในป่าที่น่ารื่นรมย์เช่น

นี้ เหมือนคนอยู่ในที่มืด ภิกษุนี้ศีรษะโล้น คลุม

สังฆาฏิ นั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ ละความยินดีที่เกิดแต่

อารมณ์เจริญฌานอยู่ ธรรมดาคฤหัสถ์ควรจะบริ-

โภคกามตามความสุข แก่แล้วจึงควรจะประพฤติ

ธรรมอันเจริญงามนี้ในภายหลัง

ดิฉันสำคัญว่า พระคันธกุฏีที่ประทับแห่ง

พระพิชิตมารว่างเปล่าจึงเข้าไป ได้เห็นพระพิชิต-

มารดังดวงอาทิตย์แรกอุทัย ประทับสำราญ

พระองค์เดียว มีหญิงสาวสวยถวายการพัดอยู่

ครั้นแล้วดิฉันดำริผิดว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้องอาจกว่า

นรชนพระองค์นี้มิได้เศร้าหมอง

หญิงสาวคนนั้น มีรัศมีเปล่งปลั่งดัง

ทองคำ มีดวงตางามเช่นดอกบัว ริมฝีปากแดง

ดังผลมะพลับสุก ชำเลืองแต่น้อยเป็นที่ยินดีแห่ง

ใจและนัยน์ตา

มีลำแขนเหมือนทองคำ วงหน้าสวย ถัน

ทั้งคู่เต่งตั้งดังดอกบัวตูม มีเอวกลมกล่อม ตะโพก

ผึ่งผาย ลำขาน่ายินดี มีเครื่องตกแต่งงาม

เครื่องประดับสีแดงแวววาว นุ่งผ้าเนื้อ

เกลี้ยงสีเขียว มีรูปสมบัติชมไม่เบื่อ ประดับด้วย

สรรพาภรณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 575

ดิฉันเห็นหญิงสาวนั้นเข้าแล้วคิดว่า โอ

หญิงสาวคนนี้รูปงามเหลือเกิน เราไม่เคยเห็นด้วย

นัยน์ตาในครั้งไหน ๆ เลย

ขณะนั้น หญิงสาวคนนั้นถูกชราย่ำยี มี

ผิวพรรณแปลกไป หน้าเหี่ยว ฟันหัก ผมหงอก

น้ำลายไหล หน้าไม่สะอาด ใบหูแข็งกระด้าง

นัยน์ตาขาว นมยานไม่งาม ตัวตกกระทั่วไป

ร่างกายสั่นตลอดศีรษะ

หลังขด มีไม้เท้าเป็นคู่เดิน ร่างกาย

ซูบผอมลีบไป ตัวสั่นงก ล้มลงแล้วหายใจถี่ ๆ

ลำดับนั้น ความสังเวชอันไม่เคยเป็น

ทำให้ขนลุกชูชัน ได้มีแก่ดิฉันว่า น่าตำหนิรูป

อันไม่สะอาดที่พวกคนพาลยินดีกัน.

ขณะนั้น พระพุทธเจ้าผู้ทรงพระกรุณา

มาก มีพระทัยปีติโสมนัส ทอดพระเนตรเห็น

ดิฉันผู้มีใจสังเวชแล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

ดูก่อนพระนางเขมา เชิญดูร่างกายอัน

กระสับกระส่าย ไม่สะอาด โสโครก ไหลเข้า

ถ่ายออก ที่พวกพาลชนยินดีกัน

ท่านจงอบรมจิตให้เป็นสมาธิมีอารมณ์

เดียวด้วยอสุภารมณ์เถิด ท่านจงมีกายคตาสติมาก

ไปด้วยความเบื่อหน่ายเถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 576

รูปหญิงนี้ ฉันใด รูปของท่านนั้นก็ฉัน

นั้น รูปของท่านฉันใด รูปหญิงนี้ก็เป็นฉันนั้น

ท่านจงคลายความพอใจในกายทั้งภายในภายนอก

เสียเถิด.

จงอบรมอนิมิตตวิโมกข์ จงละมานานุสัย

เสีย ท่านจักเป็นผู้สงบประพฤติไปเพราะละมานา-

นุสัยนั้นได้.

ชนเหล่าใด กำหนัดด้วยราคะเกาะกระแส

อยู่ เหมือนแมลงมุมเกาะใยตรงกลางที่ทำไว้เอง

ชนเหล่านั้นตัดราคะนั้นเสีย ไม่มีความอาลัย

ละกามสุขไป ย่อมละเว้นได้.

ขณะนั้น พระบรมศาสดาผู้เป็นสารถี

ฝึกนรชน ทรงทราบดิฉันว่ามีจิตควรแล้ว จึงทรง

แสดงมหานิทานสูตรเพื่อจะทรงแนะนำดิฉัน

ดิฉันได้ฟังพระสูตรอันประเสริฐนั้นแล้ว

จึงระลึกถึงสัญญาในกาลก่อนได้ ดำรงอยู่ใน

สัญญานั้นแล้ว ชำระธรรมจักษุให้หมดจด ทันใด

นั้น ดิฉันหมอบลงแทบพระบาทยุคลแห่งพระ-

พุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพื่อประสงค์จะ

แสดงโทษ จึงได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเห็นแจ้งธรรมทั้งปวง

หม่อมฉันขอถวายนมัสการแด่พระองค์ ข้าแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 577

พระองค์ผู้มีพระกรุณาเป็นที่อยู่ หม่อมฉันขอ

ถวายนมัสการแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เสด็จ

ข้ามสงสารแล้ว หม่อมฉันขอถวายนมัสการแด่

พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ประทานอมตธรรม

หม่อมฉันขอถวายนมัสการแด่พระองค์

หม่อมฉันแล่นไปแล้วสู่ทิฏฐิอันรกชัฏ

หลงใหลเพราะกามราคะ พระองค์ทรงแนะนำด้วย

อุบายที่ชอบ เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมที่ทรงแนะนำ

สัตว์ทั้งหลายเหินห่างจากการเห็นท่านผู้

แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่เช่นพระองค์ ย่อมประสบ

มหันตทุกข์ในสังสารสาคร

เมื่อใดหม่อมฉันยังมิได้มาเฝ้าพระองค์ผู้

เป็นสรณะแห่งสัตว์โลก ไม่เป็นศัตรูแก่สัตว์โลก

เสด็จถึงที่สุดแห่งมรณะ มีธรรมเป็นประโยชน์

อย่างดี หม่อมฉันขอแสดงโทษนั้น

หม่อมฉันมัวยินดีในรูป ระแวงว่าพระ-

องค์ไม่เกื้อกูล จึงมิได้มาเฝ้าพระองค์ผู้ทรง

เกื้อกูลมาก ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ หม่อม

ฉันขอแสดงโทษนั้น.

ครั้งนั้น พระองค์ผู้ทรงพระมหากรุณา

มีพระกระแสเสียงอันไพเราะ เมื่อทรงเอาน้ำอมฤต

รดดิฉัน ได้ตรัสว่า ดูก่อนพระนางเขมา หยุด

อยู่เถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 578

ครั้งนั้น ดิฉันประนมนมัสการด้วยเศียร

เกล้า ทำประทักษิณพระองค์แล้ว กลับไปเฝ้า

พระราชสวามีผู้เป็นนรบดี แล้วกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงทรมานข้าศึก น่า

ชมอุบายอย่างดีนั้น ที่พระองค์ทรงดำริแล้ว พระ-

มุนีเจ้าผู้ไม่มีกิเลสให้อยากได้ หม่อมฉันผู้ปรารถนา

จะชมพระมหาวิหารเวฬุวันได้เฝ้าแล้ว

ถ้าพระมหาราชจะทรงพระกรุณาโปรด

หม่อมฉันผู้เบื่อหน่ายในรูปตามที่พระพุทธมุนีตรัส

สอน จักบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้คงที่

พระองค์นั้น.

จบทุติยภาณวาร

ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าแผ่น-

ดินพระองค์นั้น ทรงประนมกรอัญชลีตรัสว่า

ดูก่อนพระน้องนาง พี่อนุญาตแก่พระน้อง บรรพ-

ชาจงสำเร็จแก่พระน้องเถิด

ครั้งนั้น ดิฉันบวชมาแล้วได้เจ็ดเดือน

เห็นประทีปสว่างขึ้นและดับไป มีใจสังเวช

เบื่อหน่ายในสรรพสังขาร ฉลาดใน

ปัจจยาการ ข้ามพ้นโอฆะ ๔ แล้ว ได้บรรลุ

อรหัต เป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ ในทิพโสตธาตุและ

เจโตปริยญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 579

รู้ชัดปุพเพนิวาสญาณชำระทิพยจักษุให้

บริสุทธิ์ มีอาสวะทั้งปวงหมดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพ

ใหม่ไม่มีอีก

ญาณอันบริสุทธิ์ของดิฉัน ในอรรถะ

ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณ เกิดขึ้นแล้วใน

พระพุทธศาสนา

ดิฉันเป็นผู้ฉลาดในวิสุทธิทั้งหลาย คล่อง

แคล่วในกถาวัตถุ รู้จักนัยแห่งอภิธรรม ถึงความ

ชำนาญในศาสนา

ภายหลัง พระราชสวามีผู้ฉลาด ตรัส

ถามปัญหาละเอียดในโตรณวัตถุ ดิฉันได้วิสัชนา

โดยควรแก่กถา

ครั้งนั้น พระราชาเสด็จเข้าเฝ้าพระสุคต-

เจ้าแล้ว ทูลสอบถามปัญหาเหล่านั้น พระพุทธเจ้า

ทรงพยากรณ์เป็นอย่างเดียวกันกับที่ดิฉันวิสัชนา

แล้ว

พระพิชิตมารผู้อุดมกว่านรชน ทรงพอ

พระทัยในคุณสมบัตินั้น จึงทรงตั้งดิฉันไว้ใน

ตำแหน่งเอตทัคคะว่า เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุณี

ผู้มีปัญญามาก

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอน

ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 580

ทราบว่า ท่านพระเขมาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบเขมาเถรีอปทาน

อุบลวรรณาเถรีอปทานที่ ๙ (๑๙)

บุพจริยาของพระอุบลวรรณาเถรี

[๑๕๙] พระอุบลวรรณาภิกษุณีถึงความ

สำเร็จแห่งฤทธิ์ ถวายบังคมพระยุคลบาทของ

พระศาสดาแล้วทูลว่า

ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันขอกราบ

ทูลว่า หม่อมฉันข้ามาพ้นชาติสงสารได้แล้ว บรรลุ

ถึงอจลบท หมดสิ้นสรรพทุกข์แล้ว

ขอประชุมชนผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

และพวกชนที่หม่อมฉันได้ทำความผิดให้ จงอด

โทษให้หม่อมฉันเฉพาะพระพักตร์พระพิชิตมาร

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันขอกราบ

ทูลว่า เมื่อหม่อมฉันท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร ถ้ามี

ความผิดพลาด ขอพระองค์ได้ทรงโปรดประทาน

โทษแก่หม่อมฉันเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 581

ดูก่อนอุบลวรรณา ผู้ทำตามคำสอนของ

เรา ท่านจงแสดงฤทธิ์ ตัดความสงสัยแห่งบริษัท

สี่ในวันนี้เถิด.

พระอุบลวรรณาเถรีกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก มีปัญญา

ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง หม่อมฉันเป็นธิดาแห่ง

พระองค์ มีกรรมที่ทำยากมาก มีกรรมที่ทำ

แสนยากทำไว้แล้ว ข้าแต่พระมหาวีระผู้มีจักษุ

หม่อมฉันมีนามว่าอุบลวรรณา เพราะมีสีกาย

เหมือนสีดอกอุบล เป็นธิดาแห่งพระองค์ ขอถวาย

บังคมพระบาทยุคล

พระราหุลเถระและหม่อมฉัน เกิดใน

ภพเดียวกันมากหลายร้อยชาติ เป็นผู้มีฉันทจิต

เสมอกัน

มีความเกิดร่วมภพร่วมชาติกัน ในภพนี้

ซึ่งเป็นภพหลัง ก็มีนามเหมือนกันทั้งคู่ พระ-

ราหุลเถระเป็นโอรส หม่อมฉันมีนามว่าอุบล-

วรรณาเป็นธิดา ข้าแต่พระวีรเจ้า ขอเชิญทอด

พระเนตรฤทธิ์ของหม่อมฉันเถิด หม่อมฉันจะ

แสดงกำลังถวายพระศาสดา.

พระอุบลวรรณาเถรีเหยียดมือไปวักเอาน้ำ

ในมหาสมุทรทั้ง ๔ มาใส่ไว้ในฝ่ามือเหมือนเด็ก

เป็นน้ำมันที่อยู่ในฝ่ามือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 582

เหยียดฝ่ามือไปพลิกแผ่นดินแล้ว เอามา

ใส่ไว้บนฝ่ามือเหมือนเด็กหนุ่มฉุดปลาเค้า ฉะนั้น

เอาฝ่ามือบีบครอบจักรวาลแล้ว ยังเม็ด

ฝนสีต่าง ๆ ให้ตกลง ณ เบื้องบนบ่อย ๆ

เอาแผ่นดินทำเป็นครก เอาเม็ดกรวดทำ

เป็นข้าวเปลือก เอาภูเขาสิเนรุทำเป็นสาก แล้ว

ซ้อมอยู่ เหมือนเด็กหญิงซ้อมข้าว ฉะนั้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ หม่อนฉันมี

นามว่าอุบลวรรณ เป็นธิดาแห่งพระพุทธเจ้าผู้

ประเสริฐ มีความชำนาญในอภิญญาทั้งหลาย

เป็นผู้ทำตามคำสอนของพระองค์

จักแผลงฤทธิ์ต่าง ๆ ถวายแด่พระองค์ผู้

เป็นนายกของโลก ประกาศนามและโคตรแล้ว

ขอถวายบังคมพระยุคลบาท

ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้

ความชำนาญในที่ ในทิพโสตธาตุ และใน

เจโตปริยญาณ รู้ปุพเพนิวาสญาณ ชำระทิพยจักษุ

บริสุทธิ์ อาสวะทั้งปวงหมดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่

ไม่มีอีก

หม่อมฉันมีญาณในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ

และปฏิภาณ กว้างขวาง หมดจดตามสภาพแห่ง

พระองค์ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 583

ข้าแต่พระมหามุนี อธิการเป็นอันมาก

ที่หม่อมฉันแสดงแล้วในพระพิชิตมารผู้ประเสริฐ

แล้วทั้งหลายในปางก่อน โดยความพินาศไปแห่ง

มัจฉริยะที่สู้รบกันเพื่อประโยชน์แก่พระองค์.

ข้าแต่พระมหามุนีผู้มีความเพียรมาก ขอ

พระองค์จงทรงระลึกถึงกุศลกรรมเก่าของหม่อม-

ฉัน และบุญที่หม่อมฉันสั่งสมไว้เพื่อประโยชน์

แก่พระองค์.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า เมื่อพระองค์ทรง

ละเว้นอนาจารในสถานที่ไม่ควรอบรมพระญาณ

ให้แก่กล้าอยู่ ชีวิตอันสูงสุดหม่อมฉันสละแล้ว

เพื่อประโยชน์แก่พระองค์

ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ได้ประทาน

ชีวิตแก่หม่อมฉันหลายหมื่นโกฏิกัป แม้หม่อมฉัน

ก็บริจาคชีวิตของหม่อมฉัน เพื่อประโยชน์แก่

พระองค์.

ข้าแต่พระองค์ผู้มีฤทธิ์มิได้มีสิ่งอะไร

เปรียบปาน มีพระวิริยะก้าวหน้า ในกาลนั้น

หม่อมฉันอัศจรรย์ใจทุกอย่าง ประนมกรอัญชลี

ด้วยเศียรเกล้า ได้ทูลว่า กรณียกิจนี้หม่อมฉัน

ได้ทำแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 584

ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ ครั้งนั้น

หม่อมฉันเกิดเป็นนางนาคกัญญา มีนามว่าวิมลา

คณะนาคสมมุติว่า เป็นผู้ดีกว่าพวกนาคกัญญา

มหานาคราชนามว่ามโหรคะ เลื่อมใส

ในพระพุทธศาสนา นิมนต์พระพุทธเจ้าพระนาม

ว่าปทุมุตตระผู้มีเดชมาก พร้อมด้วยพระสาวก

ตกแต่งมณฑปสำเร็จด้วยรัตนะ บัลลังก์

สำเร็จด้วยรัตนะ โปรยทรายรัตนะ เครื่องอุปโภค

สำเร็จด้วยรัตนะ และมรรคาก็ประดับด้วยธงรัตนะ

ต้อนรับพระสัมพุทธเจ้า ประโคมด้วยดนตรีหลาย

ชนิด.

พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ทรง

แผ่ไปด้วยบริษัท ๔ ประทับนั่งบนอาสนะอันประ-

เสริฐในภพนาคราชมโหรคะ นาคราชได้ถวาย

ข้าวน้ำและขาทนียโภชนียาหารอย่างดี ๆ มีค่ามาก

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีบริวารมาก พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ครั้นเสวยเสร็จ ทรงล้าง

บาตรด้วยดีแล้ว ได้ทรงทำกิจคือการอนุโมทนา.

นางนาคกัญญาผู้มีฤทธิ์มาก เห็นพระ-

สัพพัญญูมีรัศมีเปล่งปลั่ง มียศมาก มีจิตเลื่อมใส

มีใจเคารพในพระศาสนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 585

ในขณะนั้น พระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร

มาก พระนามว่าปทุมุตตระทรงทราบวาระจิตของ

หม่อมฉันแล้ว ทรงแสดงภิกษุณีรูปหนึ่งด้วยฤทธิ์

ภิกษุณีนั้นคล่องแคล่ว แสดงฤทธิ์เป็นอเนก

หม่อมฉันเกิดปีติปราโมทย์ได้ทูลถาม

พระศาสดาว่า หม่อมฉันได้เห็นฤทธิ์ทั้งหลายที่

ภิกษุณีรูปนี้แสดงแล้ว ข้าแต่พระธีรเจ้า ภิกษุณี

นั้นเป็นผู้คล่องแคล่วดีด้วยฤทธิ์เพราะเหตุไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตรัสตอบว่า

ภิกษุณีนั้น เป็นโอรสธิดาเกิดแต่ปากเรา มี

ฤทธิ์มาก ทำตามอนุศาสนีของเรา เป็นผู้คล่อง-

แคล้วดีด้วยฤทธิ์.

หม่อมฉันได้สดับพระพุทธพจน์แล้ว มี

ความยินดีได้ทูลว่า แม้หม่อมฉันก็ขอเป็นผู้คล่อง

แคล่วดีด้วยฤทธิ์ เหมือนภิกษุณีองค์นั้น ข้าแต่

พระองค์ผู้เป็นนายก หม่อมฉันเบิกบานโสมนัส

มีใจอุดมถึงที่แล้ว ขอให้ได้เป็นเช่นภิกษุณีนี้ใน

อนาคตกาล

หม่อมฉันตกแต่งบัลลังก์อันงามด้วยแก้ว

มณีและมณฑปอันผุดผ่องแล้ว ทูลอัญเชิญพระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นนายก พร้อมด้วยพระสงฆ์

ให้เสวยและฉัน อิ่มหนำสำราญ ด้วยข้าวและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 586

น้ำ แล้วได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกอุบลอันเป็น

ดอกไม้อย่างดี ที่พวกนาคเรียกกันในสมัยนั้นว่า

ดอกอรุณ โดยตั้งความปรารถนาว่า ขอให้สีตัว

ของเราจงเป็นเช่นกับสีดอกอุบลนี้

ด้วยบุญกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้นและด้วย

การตั้งเจตน์จำนงไว้ หม่อมฉันละร่างกายมนุษย์

แล้วได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

จุติจากนั้นแล้วมาเกิดในมนุษย์ ได้ถวาย

บิณฑบาต พร้อมด้วยดอกอุบลเป็นอันมากแก่

พระสยัมภู

ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้า

พระนามว่าวิปัสสี มีพระเนตรงาม มีพระญาณ

จักษุในธรรม เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นธิดาของเศรษฐี

ในเมืองพาราณสีอันอุดม ได้นิมนต์พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก พร้อมด้วย

พระสงฆ์

ถวายมหาทานและบูชาพระพุทธเจ้านั้น

ด้วยดอกอุบลเป็นอันมากแล้ว ได้ปรารถนาให้มี

ผิวพรรณงามเหมือนดอกอุบล

ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้ามีพระนามว่า

กัสสปะ ผู้เป็นพงศ์พันธุ์แห่งพรหม มีบริวารยศ

มาก ประเสริฐกว่าพวกบัณฑิต เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 587

ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี ใน

เมืองพาราณสีอันอุดม เป็นอิสระกว่าชนทั้งหลาย

เป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง

ใหญ่

หม่อมฉันเป็นธิดาคนที่สองของท้าวเธอ

มีนามปรากฏว่าสมณคุตตา ได้ฟังพระธรรมของ

พระพิชิตมารผู้เลิศแล้ว พอใจบรรพชา แต่พระ-

ชนกนาถมิได้ทรงอนุญาตให้พวกหม่อมฉัน

เมื่อต้องอยู่ในอาคารสถาน ในครั้งนั้น

พวกหม่อมฉันผู้เป็นราชกัญญา ตั้งอยู่ในความสุข

มิได้เกียจคร้าน ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่เป็น

กุมารอยู่สองหมื่นปี

ราชธิดาทั้ง ๗ พระองค์ คือ นางสมณี ๑

นางสมณคุตตา ๑ นางภิกขุณี ๑ นางภิกขุทาสิกา

๑ นางธรรมา ๑ นางสุธรรมา ๑ และนางสังฆ-

ทาสีเป็นที่ ๗ เป็นผู้ยินดีพอใจในการบำรุงพระ-

พุทธเจ้า ได้มาเป็นหม่อนฉัน เป็นพระเขมาเถรี

ผู้มีปัญญา เป็นพระปฏาจาราเถรี เป็นพระกุณฑล

เกสีเถรี เป็นพระกิสาโคตมี เป็นพระธรรมทินนา

เถรีและเป็นวิสาขาอุบาสิกาคนที่ ๗.

ด้วยบุญกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และด้วยการ

ตั้งเจตน์จำนงไว้ หม่อมฉันละร่างกายมนุษย์แล้ว

ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 588

จุติจากนั้นแล้วมาเกิดในสกุลใหญ่ในพวก

มนุษย์ ได้ถวายผ้าอย่างดีมีสีเหลือง เนื้อเกลี้ยง

แก่พระอรหันต์องค์หนึ่ง เคลื่อนจากอัตภาพนั้น

แล้ว ไปเกิดในสกุลพราหมณ์ในเมืองอริฏฐะ เป็น

ธิดาของพราหมณ์ชื่อติริฏิวัจฉะ มีชื่อว่าอุมมาทันตี

มีรูปงามเป็นที่จูงใจให้ยินดี.

เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วไปเกิดในสกุล

หนึ่งซึ่งไม่มีความเจริญในชนบท เป็นผู้ขวนขวาย

เฝ้าไร่ข้าวสาลี ในครั้งนั้น หม่อมฉันได้เห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ได้ถวายข้าวตอก

ห้าร้อยดอกกับดอกปทุม ปรารถนาให้มีบุตร ๕๐๐

คน เมื่อมีบุตรเท่านั้นแล้ว ได้ถวายน้ำผึ้งแก่

พระปัจเจกพุทธเจ้า เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว

ได้เกิดในดอกปทุมในป่าที่มีสระบัว

ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้ากาสีเป็นที่

ทรงสักการะโปรดปราน มีพระราชโอรสครบ

๕๐๐ องค์.

เมื่อพระราชบุตรเหล่านั้นทรงเจริญวัย

แล้ว ไปทรงเล่นน้ำ ทรงเห็นดอกบัวเข้าแล้ว

ต่างก็นำมาเฉพาะองค์ละดอก หม่อมฉันนั้นไม่มี

ดอกบัว เพราะพระราชบุตรเหล่านั้นเก็บเสีย ก็

มีความโศก เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วไปเกิดใน

หมู่บ้านข้างภูเขาอิสิคิลิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 589

เมื่อพวกบุตรของหม่อมฉันรู้ธรรมของ

พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว นำยาคูไปถวาย บุตร

๘ คน ได้บวชเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ไปสู่บ้าน

เพื่อภิกษา ในขณะนั้น หม่อมฉันเห็นเข้าแล้ว

ระลึกได้ มีขีรธาราพล่านออกเพราะความรักบุตร

หม่อมฉันมีความเลื่อมใส ได้ถวายยาคู

ด้วยมือของตนแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น

หม่อมฉันจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปเกิดในนันท-

วัน ในภพดาวดึงส์

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าหม่อมฉันท่องเที่ยว

ไปในภพน้อยภพใหญ่ ได้เสวยสุขและทุกข์และ

บริจาคชีวิตเพื่อประโยชน์แก่พระองค์

หม่อมฉันมีทุกข์ก็มาก มีสมบัติก็มาก

ดังที่กราบทูลมานี้ ในภพหลังสุดที่ถึงแล้วนี้

หม่อมฉันเกิดในสกุลเศรษฐีมีทรัพย์มาก ประกอบ

ด้วยสุขสมบัติ มีความรุ่งเรืองด้วยรัตนะต่าง ๆ

มั่งคั่งด้วยกามสุขทั้งปวงในพระนครสาวัตถี

เป็นที่ประชุมชนสักการะบูชานับถือยำ-

เกรง ประกอบด้วยรูปสมบัติ อันพหุชนในสกุล

ทั้งหลายสักการะและปรารถนาอย่างยิ่ง เพราะรูป

สิริและโภคสมบัติ พวกเศรษฐีบุตรหลายร้อยต่าง

มุ่งหมายกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 590

หม่อมฉันละเรือนออกบวช ยังไม่ถึงกึ่ง

เดือนก็ได้บรรลุจตุสัจธรรม หม่อมฉันนิรมิตรถ

เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสด้วยฤทธิ์แล้ว ขอถวายบังคม

พระยุคลบาทของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระโลกนาถ

ผู้มีพระสิริ.

มารกล่าวกะหม่อมฉันว่า

ท่านเข้ามาสู่กอไม้ที่มีดอกแย้มบานดี ยืน

อยู่โคนต้นรังผู้เดียว มิได้มีใครเป็นเพื่อน ท่าน

ผู้โง่เขลา ท่านไม่กลัวพวกนักเลงหรือ.

หม่อมฉันกล่าวว่า

พวกนักเลงตั้งแสนคนมาในที่นี้เหมือน

กับท่าน ก็ไม่ทำให้ขนของเราหวั่นไหว ดูก่อน

มาร ท่านผู้เดียวจักทำอะไรเราได้.

เรานี้จักหายไปเสีย หรือว่าเข้าไปในท้อง

ท่าน ท่านจักไม่เห็นเราแม้ยืนอยู่ที่ระหว่างคิ้วท่าน

เรามีความชำนาญในจิต เจริญอิทธิบาท

ดีแล้ว พ้นจากกิเลสเครื่องผูกทั้งปวงแล้ว

ดูก่อนมารผู้มีอายุ เรามิได้กลัวท่าน

กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอกและหลาว

แม้ขันธ์ทั้งหลายก็คล้ายกองไฟ ท่านกล่าวถึงความ

ยินดีในกาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 591

บัดนี้เราไม่มีความยินดีในกาม ความ

เพลินในอารมณ์ทั้งปวง เรากำจัดแล้ว กองมืดเรา

ทำลายแล้ว.

ดูก่อนมารผู้ลามก ท่านจงรู้อย่างนี้ ท่าน

จงหายไปเถิด

พระพิชิตมารผู้เป็นนายกชั้นพิเศษ ทรง

พอพระทัยในคุณสมบัตินั้น จึงทรงตั้งดิฉันไว้ใน

ตำแหน่งเอตทัคคะ ในหมู่บริษัทว่า อุบลวรรณา-

ภิกษุณีเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุณีที่มีฤทธิ์

ดิฉันบำรุงพระบรมศาสดาแล้ว ทำตาม

คำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอัน

หนักลงแล้ว ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพหมดแล้ว

ดิฉันบรรลุถึงประโยชน์ คือ ธรรมเป็น

ที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวง ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวช

เป็นบรรพชิตต้องการนั้นแล้ว พวกทายกน้อมเข้า

มาซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและเภสัชปัจจัย

โดยขณะหนึ่งมากหลายพัน.

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระอุบลวรรณาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบอุบลวรรณาเถรีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 592

ปฏาจาราเถรีอปทานที่ ๑๐ (๒๐)

บุพจริยาของพระปฏาจาราเถรี

[๑๖๐] ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้

พระพิชิตมารผู้นายกของโลกพระนามว่าปทุมุตตระ

ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

ครั้งนั้น ดิฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี อัน

มีความรุ่งเรืองถ้วยรัตนะต่าง ๆ ในเมืองหังสวดี

เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความสุขเป็นอันมาก

ดิฉันเข้าไปเฝ้าพระมหาวีรเจ้าพระองค์

นั้นแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนา มีความเลื่อมใส

อันเกิดในพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ได้ถึงพระองค์

เป็นสรณะ.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญ

ภิกษุณีองค์หนึ่ง ผู้มีความละอาย คงที่คล่องแคล่ว

ในกิจที่ควรและกิจที่ไม่ควร ว่าเป็นผู้เลิศกว่า

ภิกษุณีทั้งหลาย ฝ่ายทรงวินัย

ดิฉันมีจิตยินดีปรารถนาตำแหน่งนั้น จึง

นิมนต์พระทศพลผู้เป็นนายกพร้อมด้วยพระสงฆ์

ให้เสวยและฉันตลอดสัปดาห์หนึ่ง ถวายบาตร

และจีวรแล้ว ซบศีรษะลงแทบพระบาท แล้ว

ได้กราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 593

ข้าแต่พระธีรมุนีผู้นายกของโลก ภิกษุณี

องค์ใด พระองค์ทรงสรรเสริญในตำแหน่งอัน

ประเสริฐกว่าภิกษุสงฆ์นี้ ถ้าตำแหน่งนั้นจะ

สำเร็จแก่หม่อมฉัน หม่อมฉันจักเป็นเช่นภิกษุณี

องค์นั้น

ครั้งนั้น พระศาสดาได้ตรัสกะดิฉันว่า

นางผู้เจริญ อย่ากลัวเลยจงเบาใจเถิด ท่านจัก

ได้ตำแหน่งนั้นตามใจปรารถนา ในอนาคตกาล

ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ พระศาสดา

พระนามว่าโคดม มีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอก-

กากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

ท่านผู้เจริญนี้ จักได้เป็นภิกษุณี ธรรม

ทายาท พระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอัน

ธรรมนิรมิต เป็นสาวิกาของพระศาสดา มีนาม

ว่าปฏาจารา ครั้งนั้น ดิฉันยินดีมีจิตประกอบด้วย

เมตตา บำรุงพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกกับ

พระสงฆ์จนตลอดชีวิต ด้วยกุศลธรรมที่ได้ทำไว้

แล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละ

ร่างกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่า

กัสสปะ ผู้เป็นพงศ์พันธ์แห่งพรหม มีบริวารยศ

มาก ประเสริฐกว่าพวกบัณฑิต เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 594

ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี ผู้

เป็นใหญ่กว่านรชน ในพระนครพาราณสีอันอุดม

ทรงเป็นอุปัฏฐากของพระศาสดาผู้แสวงหาคุณอัน

ยิ่งใหญ่ ดิฉันเป็นธิดาองค์ที่สามของท้าวเธอ

มีนามปรากฏว่าภิกษุณี ได้ฟังธรรมของพระ-

พิชิตมารผู้เลิศแล้ว พอใจบรรพชา...

ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำไว้แล้วนั้น และ

ด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างกายมนุษย์

แล้ว ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ในภพหลัง บัดนี้ ดิฉันเกิดในสกุล

เศรษฐีที่มั่งคั่งเจริญ มีทรัพย์มากในพระนคร

สาวัตถี

เมื่อใด ดิฉันเจริญวัยเป็นสาวตกอยู่ใน

อำนาจวิตก พบบุรุษชาวชนบทผู้หนึ่งแล้วได้ไป

กับเขา ดิฉันคลอดบุตรคนหนึ่ง มีท้องบุตรคน

ที่สอง เมื่อนั้นดิฉันปรารถนาว่า จะไปเยี่ยม

มารดาบิดา

ครั้นนั้น ดิฉันได้บอกสามี เมื่อสามี

ของดิฉันเข้าไปป่า ดิฉันคนเดียวออกจากเรือน

จะไปยังพระนครสาวัตถีอันอุดม

ภายหลังสามีของดิฉันมาตามทันที่หน

ทาง เวลานั้น ลมกรรมัชวาตอันทำให้เจ็บปวด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 595

เหลือทนเกิดแก่ดิฉัน ทั้งมหาเมฆก็เกิดขึ้นใน

เวลาที่ดิฉันจะคลอด สามีไปหาที่กำบัง ก็ถูกงูกัด

ตาย

เวลานั้นดิฉันมีทุกข์เพราะการคลอด หมด

ที่พึ่งเป็นคนกำพร้า เดินไปเห็นแม่น้ำน้อยแห่ง

หนึ่งซึ่งมีน้ำเต็มเป็นที่อยู่แห่งสัตว์

อุ้มบุตรน้อยข้ามไปที่ฝั่งข้างโน้นคนเดียว

ให้บุตรน้อยดื่มนมแล้ว ประสงค์จะให้บุตรคน

ใหญ่ข้าม จึงกลับมา

เหยี่ยวตัวหนึ่ง เฉี่ยวบุตรน้อยที่ร้องจ้าไป

เสียแล้ว บุตรคนใหญ่ก็ถูกกระแสน้ำพัดไป ดิฉัน

มากไปด้วยความโศก

เดินไปยังพระนครสาวัตถี ได้ยินข่าวว่า

มารดาบิดาและพี่ชายของตนตายเสียแล้ว เวลา

นั้น ดิฉันแน่นไปด้วยความโศก เปี่ยมไปด้วย

ความโศกมาก

ได้กล่าวว่าบุตรสองคนตายเสียแล้ว เวลา

ของเราก็ตายเสียในป่า มารดาบิดาและพี่ชายของ

เรา ก็ถูกเผาที่เชิงตะกอนเดียวกัน

ครั้งนั้น ดิฉันทั้งซูบผอม ทั้งผิวเหลือง

ไม่มีที่พึ่ง ตรอมใจทุกวัน เมื่อเดินไปข้างนี้ข้าง

นั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นสารถีฝึก

นรชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 596

ขณะนั้น พระศาสดาได้ตรัสกะดิฉันว่า

ท่านอย่าโศกเศร้าถึงบุตรเลย จงเบาใจเถิด จง

แสวงหาตนของท่านเถิด เดือดร้อนไปไม่มีประ-

โยชน์อะไรเลย

บุตรธิดา ญาติและพวกพ้องไม่ป้องกัน

คนผู้ถึงที่ตายเลย ความป้องกันไม่มีในญาติ

ทั้งหลาย

ดิฉันได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้ว ได้

บรรลุถึงปฐมผล บวชแล้วไม่นานก็ได้บรรลุ

อรหัตผล

เป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์และทิพโสต

ธาตุ รู้ปรจิตตวิชา เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสอนของ

พระพุทธเจ้า

รู้ปุพเพนิวานญาณ ชำระทิพยจักษุให้

บริสุทธิ์ ทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว เป็นผู้

บริสุทธิ์หมดมลทินด้วยดี

ในกาลนั้น ดิฉันศึกษาพระวินัยทั้งปวง

ในสำนักพระบรมศาสดา ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวง

และกล่าวพระวินัยทั้งมวลกว้างขวางได้ตามจริง

พระพิชิตมารทรงพอพระทัยในคุณสมบัติ

นั้น จึงทรงตั้งดิฉันไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า

ปฏาจาราภิกษุณีผู้เดียวเลิศกว่าพวกภิกษุฝ่ายที่

ทรงพระวินัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 597

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระปฏาจาราภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบปฏาจาราเถรีอปทาน

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑ เอกุโปสถิกาเถรีอปทาน ๒. สลฬปุปผิกาเถรีอปทาน ๓. โมทก-

ทายิกาเถรีอปทาน ๔. เอกาสนทายิกาเถรีอปทาน ๕. ปัญจทีปทายิกา-

เถรีอปทาน ๖. นฬมาลิกาเถรีอปทาน ๗. มหาปชาบดีโคตมีเถรีอปทาน

๘. เขมาเถรีอปทาน ๙. อุบลวรรณาเถรีอปทาน ๑๐. ปฏาจาราเถรีอปทาน

ในวรรคนี้บัณฑิตคำนวณคาถาไว้ ๕๐๙ คาถา.

จบเอกุโปสถวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 598

กุณฑลเกสวรรคที่ ๓

กุณฑลเกสีเถรีอปทานที่ ๑ (๒๑)

[๑๘๑] ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้

พระพิชิตมาร พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้

จบธรรมทั้งปวง เป็นนายกของโลก เสด็จอุบัติขึ้น

แล้ว

ครั้งนั้น ดิฉันเกิดในสกุลเศรษฐีอันมี

ความรุ่งเรืองด้วยรัตนะต่าง ๆ ในเมืองหังสวดี

เป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยความสุขมาก

ดิฉันเข้าไปเฝ้าพระมหาวีรเจ้าพระองค์

นั้นแล้ว ได้ฟังธรรมอันอุดม มีความเลื่อมใส

เกิดในพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ได้ถึงพระองค์

เป็นสรณะ

ครั้งนั้น พระพิชิตมารผู้เป็นนายกพระ-

นามว่าปทุมุตตระ ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา

ทรงตั้งภิกษุณีองค์หนึ่ง ผู้มีปัญญาดีว่า เป็นผู้เลิศ

กว่าภิกษุณีทั้งหลาย ฝ่ายขิปปาภิญญา

ดิฉันได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้วมีความ

พอใจ ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอัน

ยิ่งใหญ่แล้ว ซบเศียรลงแทบพระบาท ปรารถนา

ตำแหน่งนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 599

พระมหาวีรเจ้าทรงอนุโมทนาตรัสว่า

นางผู้เจริญ ตำแหน่งใดท่านปรารถนาแล้ว ตำ-

แหน่งนั้นทั้งหมดจักสำเร็จแก่ท่าน ท่านจงเป็น

ผู้มีสุขเย็นใจเถิด

ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ พระศาสดา

พระนามว่า โคดม มีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกาก-

ราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ท่านผู้เจริญนี้จัก

ได้เป็นภิกษุณีธรรมทายาทของพระศาสดาพระ-

องค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต จักเป็นสาวิกา

ของพระศาสดาชื่อว่าภัททากุณฑลเกสา

ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำไว้แล้วนั้น และ

ด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างกายมนุษย์

แล้ว ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จุติจากภพนั้น

แล้วไปสู่ชั้นมายา จุติจากที่นั้นได้ไปสู่ชั้นดุสิต

จุติจากที่นั้นแล้วไปสู่ชั้นนิมมานรดี จุติจากที่นั้น

แล้วไปสู่ชั้นปรนิมมิตวสวัสดี

ด้วยอำนาจกุศลกรรมนั้น ดิฉันเกิดใน

ภพใด ๆ ก็ได้ครองตำแหน่งอัครมเหสีของพระ-

ราชาในภพนั้น ๆ จุติจากภพนั้นแล้ว ได้ครอง

ตำแหน่งพระมเหสีแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ และ

พระราชาที่เป็นเอกราชในหมู่มนุษย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 600

ดิฉันได้เสวยราชสมบัติในเทวดาและ

มนุษย์ เจริญด้วยความสุขทุก ๆ ภพ ท่องเที่ยว

ไปในกัปเป็นอเนก

ในภัทรกัปนี้พระพุทธเจ้าพระนามว่า

กัสสปะ ผู้เป็นพงศ์พันธุ์แห่งพรหมมียศมาก ประ-

เสริฐกว่าพวกบัณฑิต เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่า กิกี

เป็นใหญ่กว่านรชนในพระนครพาราณสีอันอุดม

เป็นอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

ดิฉันเป็นพระธิดาองค์ที่ ๕ ของท้าวเธอ

มีนามปรากฏว่าภิกขุทาสี ได้ฟังธรรมของพระ-

พิชิตมารผู้เลิศแล้ว พอใจบรรพชา. . .ด้วยกุศล

กรรมที่ทำไว้แล้วนั้นและด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้

ดิฉันละร่างกายมนุษย์แล้วได้ไปสู่สวรรค์ชั้น

ดาวดึงส์

ในภพหลัง บัดนี้ ดิฉันเกิดในสกุลเศรษฐี

ที่มีความเจริญ ในพระนครราชคฤห์อันอุดมเมื่อ

ดำรงอยู่ในความเป็นสาว ได้เห็นราชบุรุษนำโจร

ไปเพื่อจะฆ่า มีความรักในโจรคนนั้น บิดาของ

ดิฉันปลดเปลื้องโจรนั้น ให้หลุดพ้นจากการฆ่า

ด้วยทรัพย์พันหนึ่ง รู้จักใจดิฉันแล้ว ยกดิฉัน

ให้กับโจรนั้น ดิฉันรักใคร่เอ็นดูเกื้อกูลแก่โจร

นั้นมาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 601

แต่โจรนั้นพาดิฉันผู้ช่วยขนเครื่องบวง-

สรวงไปที่ภูเขามีเหวเป็นที่ทิ้งโจร คิดจะฆ่าดิฉัน

ด้วยความโลภในเครื่องประดับของดิฉัน เวลา

นั้น ดิฉันจะรักษาชีวิตของตัวไว้จึงประนมมือไหว้

โจรผู้เป็นศัตรูเป็นอย่างดีแล้วกล่าวว่า

นายผู้เจริญ สร้อยทองคำ แก้วมุกดา

และแล้วไพฑูรย์ เป็นอันมากทั้งหมดนี้ นายเอา

ไปเถิด และจงประกาศว่าฉันเป็นทาสีเถิด

แน่ะนางงาม จงตายเสียเถิด อย่ามัว

รำพันนักเลย เรามุ่งจะฆ่านางผู้มาถึงป่าแล้ว

ตั้งแต่ฉันระลึกถึงตัวได้ถึงความเป็นผู้รู้

ชัดแล้ว ฉันไม่รู้จักบุรุษอื่นว่าเป็นที่รักยิ่งกว่านาย

มาเถิด ฉันจักขอกอดนาย ทำประทักษิณแล้วจะ

ไหว้นาย เพราะนายกับดิฉันจะไม่ได้ร่วมกัน

ต่อไป

ในที่ทุกแห่ง ใช่ว่าบุรุษเท่านั้น จะเป็น

บัณฑิต ถึงสตรีเป็นบัณฑิตเฉลียวฉลาดในที่

นั้น ๆ และในที่ทุกแห่ง ใช่ว่าบุรุษเท่านั้นจะ

เป็นบัณฑิตคิดความได้ว่องไว ใช่ว่าบุรุษจะคิด

เหมาะสมในเรื่องเดียวเร็วพลัน ดิฉันฆ่าศัตรูได้

ในครั้งนั้น ก็เพราะเนื่องด้วยปัญญาเต็มอยู่ในจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 602

ผู้ใดไม่รู้จักเรื่องที่เกิดขึ้นเร็วไว ผู้นั้นมี

ปัญญาเขลา ย่อมถูกเขาฆ่า เหมือนโจรที่ถูกฆ่า

ที่เหวฉะนั้น

ผู้ใด รู้จักเรื่องที่เกิดขึ้นได้ว่องไว

ผู้นั้นก็พ้นจากพวกศัตรู เหมือนดิฉันพ้นจากโจร

ที่เป็นศัตรูในครั้งนั้น ฉะนั้น

เมื่อดิฉันผลักศัตรูให้ตกไปในเหวแล้ว

เข้าไปบวชในสำนักปริพาชกที่ครองผ้าขาว

ครั้งนั้น พวกปริพาชกเอาแหนบถอนผม

ดิฉันหมดแล้ว ให้บวชแล้วบอกลัทธิให้เนือง ๆ

ดิฉันเรียนลัทธินั้นแล้ว นั่งคิดลัทธินั้นอยู่ผู้เดียว

ว่า คณะปริพาชกเป็นดังว่าสุนัข ทำกะเราซึ่งเป็น

มนุษย์ ถือเอากิ่งหว้าที่หักแล้วปักไว้ ณ ที่ใกล้เรา

แล้วก็หลีกไป ดิฉันเห็นแล้วได้นิมิต ที่ตั้งอยู่

เหมือนเป็นหมู่หนอน

ดิฉันลุกจากที่นั้นแล้ว มีความสลดใจ

มาถามพวกปริพาชกที่มีลัทธิร่วมกัน พวกนั้นบอก

ว่า พวกภิกษุศากยบุตรย่อมรู้เรื่องนั้น

ดิฉันเข้าไปหาพุทธสาวกแล้วถามเรื่องนั้น

พุทธสาวกเหล่านั้น พาดิฉันไปในสำนักพระ

พุทธเจ้าผู้ประเสริฐ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 603

พระองค์ผู้เป็นนายกของโลก ทรงแสดง

ธรรมแก่ดิฉันว่า ขันธ์อายตนะและธาตุทั้งหลาย

ไม่งาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

ดิฉันได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว ยัง

ธรรมจักษุให้หมดจดวิเศษ รู้สัทธรรมแล้ว ได้

ทูลขอบรรพชาอุปสมบท

ครั้งนั้น พระพุทธเจ้า อันดิฉันทูลขอ

แล้ว ได้ตรัสว่า มาเถิด นางผู้เจริญ ดิฉัน

อุปสมบทแล้ว ได้เห็นน้ำน้อยหนึ่ง

รู้จักสังขาร อันมีความเกิดและความดับ

ด้วยน้ำล้างเท้า คิดเห็นว่า สังขารทั้งปวงย่อม

เป็นอย่างนั้น

ลำดับนั้น จิตของดิฉันพ้นแล้วเพราะไม่

ถือมั่นโดยประการทั้งปวง ครั้งนั้น พระพิชิตมาร

ทรงตั้งดิฉันว่าเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุณีทั้งหลาย

ฝ่ายขิปปาภิญญา

ดิฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์และทิพ-

โสตธาตุ รู้วาระจิตผู้อื่น เป็นผู้ทำตามสัตถุศาสน์

รู้ปุพเพนิวาสญาณ ชำระทิพยจักษุบริ-

สุทธิ์ ยังอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป เป็นผู้บริสุทธิ์

หมดมลทินด้วยดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 604

ดิฉันบำรุงพระศาสดาแล้ว ปฏิบัติพระ-

พุทธศาสนาเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว

ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพแล้ว

ดิฉันบรรลุถึงประโยชน์ คือธรรมเป็นที่

สิ้นสังโยชน์ ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกบวชเป็น

บรรพชิตต้องการนั้นแล้ว ญาณของดิฉัน ใน

อรรถะ ธรรมะ นิรุตติและปฏิภาณไพบูลย์หมดจด

เพราะอำนาจพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระภัททากุณฑลเกสีภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบกุณฑลเกสีเถรีอปทาน

กิสาโคตมีเถรีอปทานที่ ๒ (๒๒)

[๑๖๒] ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้

พระพิชิตมารพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้จบ

ธรรมทั้งปวง เป็นนายกของโลกเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

ครั้งนั้น ดิฉันเกิดในสกุลหนึ่งในพระนคร

หังสวดี เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่า

นรชนพระองค์นั้นแล้ว ถึงพระองค์เป็นสรณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 605

ได้ฟังธรรมของพระองค์ซึ่งประกอบด้วย

สัจจะ ๔ ไพเราะจับใจอย่างยิ่ง นำมาซึ่งสันติสุข

แห่งจิต

ครั้งนั้น พระธีรเจ้าผู้อุดมกว่าบุรุษ เมื่อ

ทรงตั้งภิกษุณีองค์หนึ่งผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง ทรง

สรรเสริญในตำแหน่งเอตทัคคะ ดิฉันได้ฟังคุณ

ของภิกษุณีแล้ว เกิดปีติมาก ทำสักการะแด่

พระพุทธเจ้าตามความสามารถ ตามกำลังหมอบลง

ใกล้พระธีรมุนีแล้ว ปรารถนาตำแหน่งนั้น.

ครั้งนั้น พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนายของ

โลก ทรงอนุโมทนาเพื่อการได้ตำแหน่งว่า

ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ พระศาสดา

พระนามว่าโคดม ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้า-

โอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

ท่านผู้เจริญจักเป็นธรรมทายาทของพระ-

ศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมนิรมิต

เป็นสาวิกาของพระศาสดา มีนามชื่อว่า กิสาโคตมี

ครั้งนั้นดิฉันได้ฟังพระพุทธพจน์นั้น แล้ว

มีความยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุง

พระพิชิตมารผู้นำชั้นพิเศษ ด้วยปัจจัยทั้งหลาย

จนตลอดชีวิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 606

ด้วยกุศลกรรมที่ทำไว้แล้วนั้น และด้วย

การตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างกายมนุษย์แล้ว

ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่า

กัสสปะ ผู้เป็นพงศ์พันธุ์แห่งพรหม มียศมาก

ประเสริฐกว่าพวกบัณฑิต เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว.

ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี

เป็นใหญ่กว่านรชนในพระนครพาราณสีอันอุดม

เป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง

ใหญ่

ดิฉันเป็นพระศาสดาองค์ที่ ของท้าวเธอ

มีนามปรากฏว่าธรรมา ได้ฟังธรรมของพระพิชิต-

มารผู้เลิศแล้ว พอใจบรรพชา แต่พระชนกนาถ

มิได้ทรงอนุญาตให้พวกเรา เมื่อต้องอยู่ในอาคาร-

สถาน

ครั้งนั้น พวกเราผู้เป็นราชกัญญาตั้งอยู่

ในความสุข มิได้เกียจคร้าน ประพฤติพรหมจรรย์

ตั้งแต่เป็นกุมารีอยู่สองหมื่นปี

พระราชธิดาทั้ง ๗ พระองค์ คือนาง

สมณี ๑ นาสมณคุตตา ๑ นางภิกขุณี ๑ นาง

ภิกขุทาสิกา ๑ นางธรรมา ๑ นางสุธรรมา ๑

และนางสังฆทาสีเป็นที่ ๗ เป็นผู้ยินดีพอใจใน

การบำรุงพระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 607

ได้มาเป็นพระเขมาเถรี พระอุบลวรรณา

เถรี พระปฏาจาราเถรี พระกุณฑลเกสีเถรี ดิฉัน

พระธรรมทินนาเถรี และวิสาขาอุบาสิกาเป็นที่ ๗.

ด้วยกุศลกรรมที่ทำไว้แล้วนั้น และด้วย

การตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างกายมนุษย์แล้ว

ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

ในภพหลังครั้งนี้ ดิฉันเกิดในสกุลเศรษฐี

ที่ตกยาก จนทรัพย์ เป็นวงศ์ต่ำ ไปสู่สกุลที่มี

ทรัพย์ พวกเสสชนก็รับรองแสดงว่าดิฉันจนทรัพย์

เมื่อดิฉันคลอดบุตรแล้ว ก็เป็นที่เอ็นดูแห่งชน

ทั้งปวง

กุมารซึ่งเป็นบุตรอ่อนนั้นดำรงอยู่ในความ

สุข เป็นที่รักใคร่ของดิฉันดุจชีวิตของตน ได้ถึง

อำนาจของยมราชเสียแล้ว

ดิฉันอัดอั้นด้วยความโศกเศร้า มีหน้า

เศร้าตลอดวัน มีตาชุ่มด้วยน้ำตา เป็นคนมีหน้า

ร้องไห้ อุ้มศพลูกที่ตายพูดเพ้อไป.

ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่งเห็นเข้าแล้ว พาเข้า

ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้เป็นหมอดีเลิศอุดม ดิฉัน

ได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ได้

โปรดประทานยาที่แก้บุตรตายให้กลับเป็นเถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 608

พระพิชิตมาร ผู้ฉลาดในอุบายแนะนำ

รับสั่งว่า ในเรือนใดไม่มีคนตาย ท่านจงไปหา

เมล็ดพันธุ์ผักกาดจากเรือนนั้นมา ครั้งนั้น ดิฉัน

เที่ยวไปหาจนทั่วเมืองสาวัตถี ไม่ได้เมล็ดพันธุ์

ผักกาดในเรือนใดที่ไม่มีคนตายเพราะฉะนั้น ดิฉัน

จึงกลับได้สติทิ้งศพเสีย แล้วเข้าไปเฝ้าพระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก พระบรมศาสดาผู้มี

พระกระแสเสียงอันไพเราะ ทอดพระเนตรเห็น

ดิฉันแต่ที่ไกล แล้วตรัสว่า

ก็ความเป็นอยู่เพียงวันเดียว ของบุคคล

ผู้พิจารณาเห็นความเกิดและความเสื่อมไป ประ-

เสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของบุคคลผู้มิได้

พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป.

อนิจจตาธรรมนี้ ไม่ใช่ธรรมเฉพาะบ้าน

ไม่ใช่ธรรมเฉพาะนิคม ไม่ใช่ธรรมเฉพาะสกุล

เดียว เป็นธรรมของโลกทั้งปวงพร้อมทั้งเทวโลก.

ดิฉันนั้น ได้สดับคาถาเหล่านี้แล้ว ยัง

ธรรมจักษุให้หมดจดวิเศษ เมื่อรู้สัทธรรมแล้วได้

ออกบวช

แม้เมื่อบวชแล้วอย่างนั้น ประกอบความ

เพียรในพุทธศาสนา ไม่นานช้าก็ได้บรรลุอรหัต-

ผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 609

ดิฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์ และ

ทิพโสตธาตุ รู้วาระจิตของผู้อื่น เป็นผู้กระทำ

ตามคำสอนของพระศาสดา

ดิฉันรู้ปุพเพนิวาสญาณ และทิพยจักษุ

อันหมดจดวิเศษ ยังอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว

เป็นผู้บริสุทธิ์ หมดมลทินด้วยดี

ดิฉันบำรุงพระศาสดาแล้ว ปฏิบัติตาม

คำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอัน

หนักลงแล้ว ถอนตัณหาอันนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว

ดิฉันบรรลุประโยชน์ คือ ธรรมเป็นที่สิ้น

สังโยชน์ทั้งปวง ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็น

บรรพชิต ต้องการนั้นแล้ว

ญาณของดิฉันในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ

และปฏิภาณ ญาณของดิฉันไพบูลย์ หมดจด

เพราะอำนาจของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.

ดิฉันนำผ้ามาจากกองหยากเยื่อ ป่าช้า

และถนนเอามาทำเป็นผ้าสังฆาฏิ ทรงจีวรอัน

เศร้าหมอง พระพิชิตมารผู้เป็นนายกชั้นพิเศษ

ทรงพอพระทัยในคุณสมบัติ คือ การทรงจีวรอัน

เศร้าหมองนั้น จึงทรงตั้งดิฉันไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะ ในบริษัททั้งหลาย

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าดิฉันทำเสร็จแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 610

ทราบว่า ท่านพระกิสาโคตมีภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่า ด้วยประ-

การฉะนี้แล.

จบกิสาโคตมีเถรีอปทาน

ธรรมทินนาเถรีอปทานที่ ๓ (๒๓)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระธรรมทินนาเถรี

[๑๖๓] ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้

พระพิชิตมารผู้เป็นนายกของโลก พระนามว่า

ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติ

ขึ้นแล้ว

ครั้งนั้น ดิฉันเกิดในสกุลหนึ่งในเมือง

หังสวดี รับจ้างทำการงานของคนอื่น เป็นผู้มี

ปัญญาสำรวมอยู่ในศีล พระเถระนามว่าสุชาตะ

อัครสาวกของพระพุทธเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ

ออกจากวิหารไปเพื่อบิณฑบาต

เวลานั้น ดิฉันเอาหม้อไปตักน้ำ เห็น

ท่านแล้วเลื่อมใส ได้ถวายขนมด้วยมือของตน

ท่านรับแล้วนั่งฉัน ณ ที่นั้นแหละ ดิฉัน

นิมนต์ท่านไปสู่เรือน ได้ถวายโภชนะแก่ท่าน

ต่อมา นายของดิฉันทราบเข้าแล้วมีความ

ยินดี ได้แต่งดิฉันให้เป็นลูกสะใภ้ของท่าน ดิฉัน

ไปกับแม่ผัว ได้ถวายอภิวาทพระสัมพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 611

ครั้งนั้น พระบรมศาสดาทรงประกาศตั้ง

ภิกษุณีองค์หนึ่งผู้เป็นธรรมกถึก ในตำแหน่ง

เอตทัคคะ ดิฉันได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้ว มี

ความยินดี

นิมนต์พระสุคตเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์

ถวายมหาทานแล้ว ปรารถนาตำแหน่งนั้น.

ในทันใดนั้น พระสุคตเจ้าผู้มีพระกระแส

เสียงไพเราะ ได้ตรัสกะดิฉันว่า ท่านยินดีบำรุงเรา

อังคาสเรากับสาวกสงฆ์ ขวนขวายในการฟังสัท-

ธรรม มีใจเจริญด้วยคุณ ท่านผู้เจริญ ท่านยินดี

เถิด ท่านจะได้ตำแหน่งนั้นอันเป็นผลแห่งความ

ปรารถนา

ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ พระพุทธเจ้า

พระนามว่าโคดม ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้า

โอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ท่านผู้เจริญ

จักได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น

เป็นโอรสอันธรรมนิรมิตเป็นสาวิกาของพระราชา

มีชื่อว่า ธรรมทินนา

ดิฉันได้ฟังพุทธพจน์นั้นแล้วมีความยินดี

มีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุงพระมหามุนีผู้เป็น

นายกชั้นพิเศษ ด้วยปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 612

ด้วยกุศลกรรมที่ทำไว้แล้วนั้น และด้วย

การตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างกายมนุษย์แล้ว

ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่า

กัสสปะ ผู้เป็นพงศ์พันธุ์แห่งพรหม มียศมาก

ประเสริฐกว่าบัณฑิตทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี ผู้เป็นใหญ่

กว่านรชนในพระนครพาราณสีอันอุดม ทรงเป็น

อุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

ดิฉันเป็นพระธิดาคนที่หกของท้าวเธอ มี

นามปรากฏว่าสุธรรมา ได้ฟังธรรมของพระพิชิต-

มารผู้เลิศแล้ว พอใจบรรพชา

แต่พระชนกนาถมิได้ทรงอนุญาตให้พวก

เรา เมื่ออยู่ในอาคารสถาน ครั้งนั้นพวกเราผู้เป็น

ราชกัญญาตั้งอยู่ในความสุข มิได้เกียจคร้าน

ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่เป็นกุมารีอยู่สองหมื่นปี

จบภาณวารที่ ๓

ราชธิดาทั้ง ๗ พระองค์ คือนางสมณี ๑

นางสมณคุตตา ๑ นางภิกขุณี ๑ นางภิกขุทาสิกา

๑ นางธรรมา ๑ นางสุธรรมา ๑ และนางสังฆ-

ทาสีเป็นที่ ๗ เป็นผู้ยินดีพอใจบำรุงพระพุทธเจ้า

ได้มาเป็นพระเขมาเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 613

ปฏาจาราเถรี พระกุณฑลเกสีเถรี พระกิสาโคต-

มีเถรี ดิฉันและวิสาขาอุบาสิกาคนที่ ๗.

ด้วยกุศลธรรมที่ได้ทำไว้แล้วนั้น และ

ด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างกายมนุษย์

แล้วได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ในภพหลังครั้งนี้ ดิฉันได้เกิดในสกุลเศรษฐี

มีความเจริญมั่งคั่งด้วยกามสุขทั้งปวง ในพระนคร

ราชคฤห์อันอุดม

เมื่อดิฉันประกอบด้วยรูปสมบัติ ตั้งอยู่

ในปฐมวัย ไปสู่สกุลอื่น เพียบพร้อมด้วยความ

สุข

สามีของดิฉัน เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้

เป็นสรณะแห่งสัตว์โลก ฟังพระธรรมเทศนา แล้ว

ได้บรรลุอนาคามิผล เป็นผู้มีปัญญาดี.

ครั้งนั้น ดิฉันได้รับอนุญาตจากสามีนั้น

แล้วออกบวช ไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตผล

อุบาสกนั้นเข้าไปหาดิฉัน แล้วถามปัญหา

ที่ลึกซึ้งสุขุมมาก ดิฉันแก้ปัญหาทั้งหมดนั้นได้

พระพิชิตมารทรงพอพระทัยในคุณสม-

บัตินั้น จึงทรงตั้งดิฉันไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

ด้วยพระดำรัสว่า เรามิได้เห็นภิกษุณีรูปอื่น อื่น

เป็นธรรมกถึกเหมือนธรรมทินนาภิกษุณีนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 614

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายท่านทั้งหลายจงทรง

จำภิกษุณีธรรมทินนาผู้มีปัญญาไว้อย่างนี้เถิด.

ดิฉันอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุ-

เคราะห์แล้ว ชื่อว่าเป็นบัณฑิตอย่างนี้ ดิฉันบำรุง

พระศาสดาแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าดิฉัน

ได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอน

ตัณหาอันนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว บรรลุถึงประ-

โยชน์ คือ ธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวง ที่

กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการนั้น

แล้ว

ดิฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์ และ

ในทิพโสตธาตุ รู้วาระจิตของผู้อื่น เป็นผู้ทำตาม

สัตถุศาสน์ ดิฉันรู้ปุพเพนิวาสญาณและทิพยจักษุ

อันหมดจดวิเศษ ยังอาสวะทั้งปวงได้สิ้นไปแล้ว

เป็นผู้บริสุทธิ์หมดมลทนด้วยดี ดิฉันเผากิเลส

ทั้งหลายแล้ว...คำสอนของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้

ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระธรรมทินนาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบธรรมทินนาเถรีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 615

สกุลาเถรีอปทานที่ ๔ (๒๔)

ผลของการถวายน้ำมันตามประทีปบูชาพระพุทธเจดีย์

[๑๖๔] ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้

พระพิชิตมารผู้เป็นนายกของโลก พระนามว่า

ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้จบธรรมทั้งปวงเสด็จอุบัติขึ้น

แล้ว

พระองค์เป็นบุรุษอาชาไนย ประเสริฐ

กว่าบัณฑิตทั้งหลาย ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล เพื่อ

ความสุข เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง ในโลก

กับทั้งเทวโลก

เป็นผู้ถึงซึ่งยศอันเลิศ ทรงสิริ ทรงมี

เกียรติคุณฟุ้งเฟื่อง อันชาวโลกทั้งปวงบูชาแล้ว

กว่านรชน ทรงข้ามพ้นจากความสงสัยแล้ว ทรง

ล่วงความเคลือบแคลงไปแล้ว ทรงมีความดำริ

ในพระหฤทัยบริบูรณ์เต็มที่ ทรงบรรลุพระสัม-

โพธิญาณอันอุดม ทรงยังมรรคาที่ยังไม่เกิดให้

เกิดขึ้น ตรัสบอกมรรคาที่ยังไม่มีใครบอก ทรง

ยังธรรมที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม

พระองค์เป็นบุคคลผู้องอาจ ทรงรู้จัก

มรรคา ทรงทราบมรรคา ตรัสบอกมรรคา เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 616

พระศาสดาผู้ฉลาดในมรรคา ประเสริฐสุดกว่า

นายสารถี

เป็นพระโลกนาถผู้ทรงประกอบด้วยพระ-

มหากรุณา เป็นนายกโลก ทรงแสดงธรรม

ถอนเหล่าสัตว์ผู้จมอยู่ในเปือกตมคือกาม.

ครั้งนั้น ดิฉันเกิดในเมืองหังสวดีมีนาม

ว่าขัตติยนันทนา มีรูปสวย รวยทรัพย์ เป็นที่

พึงใจ มีสิริ

เป็นพระธิดาของพระราชาผู้ใหญ่ พระ-

นามว่าอานนทะ งดงามอย่างยิ่ง เป็นพระภคินี

ต่างพระมารดาแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุต-

ตระ

ห้อมล้อมด้วยราชกัญญาทั้งหลาย ประ-

ดับด้วยสรรพาภรณ์ เข้าไปเฝ้าพระมหาวีรเจ้า

แล้วได้ฟังธรรมเทศนา

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้แจ้ง

โลกพระองค์นั้น ทรงตั้งภิกษุณีองค์หนึ่งผู้มีทิพย-

จักษุในตำแหน่งอันเลิศ ในท่ามกลางบริษัทสี่

ฉันได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้ว มีความ

ร่าเริง ถวายทานและบูชาพระสัมพุทธเจ้าแล้ว

ได้ปรารถนาทิพยจักษุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 617

ทันใดนั้น พระบรมศาสดาได้ตรัสกะ

ดิฉันว่า ดูก่อนขัตติยนันทนา เธอจักได้ตำแหน่ง

ที่ตนปรารถนา ตำแหน่งที่เธอปรารถนานี้เป็นผล

แห่งการถวายประทีปธรรม

ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ พระศาสดา

พระนามว่าโคดม จัดทรงสมภพในวงศ์พระเจ้า

โอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

เธอจักได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดา

พระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักเป็น

พระสาวิกาของพระศาสดา มีนามว่าสกุลา

ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำไว้แล้วนั้นและด้วย

การตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างกายมนุษย์แล้ว

ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่า

กัสสปะ ผู้เป็นพงศ์พันธุ์แห่งพรหม มียศมาก

ประเสริฐกว่าบัณฑิตทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

ครั้งนั้น ดิฉันเป็นปริพาชิกา ประพฤติ

อยู่ผู้เดียว เที่ยวไปเพื่อภิกษา ได้น้ำมันมาน้อย

หนึ่ง

มีใจผ่องใส เอาน้ำมันนั้นตามประทีป

บูชาพระเจดีย์ชื่อสัพพสังวร แห่งพระพุทธเจ้าผู้

ประเสริฐกว่าสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 618

ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำไว้แล้วนั้นและ

ด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างกายมนุษย์

นั้นแล้ว ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ด้วยอำนาจบุญกรรมนั้น ดิฉันไปเกิดใน

ที่ใด ๆ ประทีปเป็นอันมากก็สว่างไสวแก่ดิฉันใน

ที่นั้น ๆ

ดิฉันปรารถนาจะเห็นสิ่งที่อยู่นอกฝาหรือ

สิ่งที่อยู่นอกภูเขาศิลา ก็เห็นได้ทะลุปรุโปร่ง นี้

เป็นผลแห่งการถวายประทีป ดิฉันมีนัยน์ตาแจ่ม

ใส รุ่งเรืองด้วยยศ มีศรัทธา มีปัญญา นี้ก็เป็น

ผลแห่งการถวายประทีป

ในภพหลังครั้งนี้ ดิฉันเกิดในสกุล

พราหมณ์ อันมีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย

มหาชนยินดี พระราชาทรงบูชา

ดิฉันสมบูรณ์ไปด้วยอวัยวะทั้งปวง ประ-

ดับด้วยสรรพาภรณ์ ยืนอยู่ที่หน้าต่าง

ได้เห็นพระสุคตเจ้าเสด็จเข้าไปในเมือง

ทรงรุ่งเรืองด้วยยศ อันเทวดาและมนุษย์สักการะ

บูชา ทรงสมบูรณ์ด้วยพระอนุพยัญชนะ ประดับ

ด้วยพระลักษณะทั้งหลาย

มีจิตเลื่อมใสโสมนัส พอใจบรรพชา

ครั้นได้บรรพชาแล้วไม่นานนัก ก็ได้บรรลุอรหัต-

ผล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 619

ดิฉันมีความชำนาญในฤทธิ์และทิพโสต-

ธาตุ รู้วาระจิตของผู้อื่นเป็นผู้ปฏิบัติตามสัตถุ-

ศาสน์

รู้ปุพเพนิวาสญาณ และทิพยจักษุอัน

หมดจดวิเศษ ยังอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว

เป็นผู้บริสุทธิ์ หมดมลทินด้วยดี

ดิฉันบำรุงพระศาสดาแล้ว ปฏิบัติตามคำ

สอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนัก

ลงได้แล้ว ถอนตัณหาอันนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว

บรรลุถึงประโยชน์ คือ ธรรมเป็นที่สิ้น

สังโยชน์ทั้งปวง ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็น

บรรพชิตต้องการนั้นแล้ว

แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระ-

มหากรุณา ผู้อุดมกว่านรชน ทรงตั้งดิฉันไว้ใน

ตำแหน่งเอตทัคคะว่า สกุลาภิกษุณี เป็นผู้เลิศ

กว่าภิกษุณีทั้งหลาย ฝ่ายที่มีทิพยจักษุ

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระสกุลาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบสกุลาเถรีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 620

นันทาเถรีอปทานที่ ๕ (๒๕)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระนันทาเถรี

[๑๖๕] ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้

พระพิชิตมารผู้เป็นนายกของโลก พระนามว่า

ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้น

แล้ว พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าผู้ฉลาดในวิธี-

เทศนา ตรัสสอนเหล่าสัตว์ให้รู้แจ้ง ทรงช่วย

สรรพสัตว์ให้ข้ามแล้ว ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้น

ได้เป็นอันมาก

ทรงพระกรุณาอนุเคราะห์ แสวงหา

ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง ทรงตั้งพวกเดียรถีย์ที่

มาถึงแล้วทั้งหมดไว้ในเบญจศีล

พระศาสนาของพระองค์ไม่อากูล ว่าง-

เปล่าจากพวกเดียรถีย์ งดงามไปด้วยพระอรหันต์

ทั้งหลายที่มีความชำนาญ เป็นผู้คงที่

พระองค์เป็นพระมหามุนีมีพระกายสูง

๕๘ ศอก มีพระรัศมีงามปานทองคำที่มีค่า มี

พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ

มีพระชนมายุแสนปี พระองค์ดำรงอยู่

โดยกาลเท่านั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นได้เป็น

อันมาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 621

ครั้งนั้น ดิฉันเกิดในสกุลเศรษฐีมีความ

รุ่งเรืองด้วยรัตนะต่าง ๆ ในเมืองหังสวดี เป็นผู้

เพียบพร้อมไปด้วยความสุขมาก

ดิฉัน เข้าไปเฝ้าพระมหาวีรเจ้าพระองค์

นั้น ได้ฟังพระธรรมเทศนา อันประกาศปรมัตถ-

ธรรมอย่างจับใจยิ่ง ซึ่งเป็นอมตธรรม ครั้งนั้น

ดิฉันมีความเลื่อมใส ได้นิมนต์พระพุทธเจ้าผู้เป็น

นายกของโลกพร้อมด้วยพระสงฆ์ ได้ถวายมหา-

ทานแด่พระองค์ด้วยมือของตน

ได้ซบเศียรลงใกล้พระมหาวีรเจ้าพร้อม

ด้วยพระสงฆ์ปรารถนาตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุณี

ทั้งหลายฝ่ายที่มีฌาน.

ครั้งนั้น พระสุคตเจ้าผู้ฝึกนรชนที่ยังไม่

ได้ฝึก เป็นสรณะของโลกสาม ผู้เป็นใหญ่ ทรง

นรชนไว้ให้ดี ทรงพยากรณ์ว่า

ท่านจักได้ตำแหน่งที่ปรารถนาดีแล้วนั้น

ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ พระศาสดาพระนามว่า

โคดม มีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จัก

เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ท่านผู้เจริญจักได้เป็นธรรม

ทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอัน

ธรรมนิรมิต จักเป็นสาวิกาของพระองค์ มีนาม

ชื่อว่านันทา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 622

ครั้งนั้น ดิฉันได้ฟังพระพุทธพจน์นั้น

แล้วมีใจยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุง

พระพิชิตมารผู้เป็นนายกชั้นพิเศษ ด้วยปัจจัย

ทั้งหลายตลอดชีวิตด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำไว้ดีนั้น

และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างกาย

มนุษย์แล้ว ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

จุติจากสวรรค์ชั้นนั้นแล้ว ดิฉันไปสู่

สวรรค์ชั้นยามา จุติจากนั้นแล้วไปสวรรค์ชั้นดุสิต

จุติจากนั้นแล้วไปสวรรค์ชั้นนิมมานรดี จุติจาก

นั้น แล้วไปสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

ด้วยอำนาจบุญกรรมนั้น ดิฉันเกิดใน

ภพใด ๆ ก็ได้ครองตำแหน่งราชเมหสีในภพนั้น ๆ

จุติจากสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว

มาเกิดเป็นมนุษย์ ได้ครองตำแหน่งอัครมเหสี

ของพระเจ้าจักรพรรดิ และพระเจ้าเอกราช

เสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้มี

ความสุขในที่ทุกสถาน ท่องเที่ยวไปในกัปเป็น

อเนก.

ในภพหลังที่มาถึงบัดนี้ ดิฉันเป็นพระ-

ธิดาแห่งพระเจ้าสุทโธทนะในกรุงกบิลพัสดุ์ เป็น

ผู้มีรูปสมบัติอันประชาชนสรรเสริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 623

ราชสกุลนั้น เห็นดิฉันมีรูปงามเป็นสิริ

จึงพากันชื่นชม เพราะฉะนั้นดิฉันจึงมีนามว่า

นันทา เป็นผู้มีรูปลักษณะสวยงาม

ในพระนครกบิลพัสดุ์ซึ่งเป็นเป็นธานีที่รื่น-

รมย์นั้น นอกจากพระนางยโสธรา ปรากฏว่า

ดิฉันงามกว่ายุวนารีทั้งปวง

พระภาดาพระองค์ใหญ่เป็นพระพุทธเจ้า

ผู้เลิศในไตรโลก พระภาดาองค์รองก็เป็นพระ-

อรหันต์ ดิฉันยังเป็นคฤหัสถ์อยู่ผู้เดียว พระ-

มารดาทรงตักเตือนว่า

ดูก่อนพระราชสุดา ลูกรักเกิดในศากย-

สกุล เป็นพระอนุชาแห่งพระพุทธเจ้า เมื่อเว้น

จากนันทกุมารแล้วจักได้ประโยชน์อะไรในวังเล่า

รูปถึงมีความเจริญ ก็มีความแก่เป็น

อวสาน บัณฑิตรู้กันว่าไม่สะอาด เมื่อยังเจริญ

มิได้มีโรค แต่มีโรคในตอนปลาย ชีวิตมีมรณะ

เป็นที่สุด

รูปของเธอนี้ แม้ว่าจะงามจูงใจให้นิยม

ดุจดวงจันทร์ที่ใคร่กัน เมื่อตกแต่งด้วยเครื่อง

ประดับมากอย่าง ก็ยิ่งมีความงามเปล่งปลั่งเป็นที่

กำหนัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 624

เป็นที่ยินดีแห่งนัยน์ตาทั้งหลายคล้ายกะ

ว่าทรัพย์ของโลกที่บูชากัน เป็นรูปที่ให้เกิดความ

สรรเสริญ เพราะบุญมากที่บำเพ็ญไว้ เป็นที่

ชื่นชมแห่งวงศ์โอกกากราช

ไม่ช้านานเท่าไร ชราก็จักมาย่ำยี ลูกรัก

จงละพระราชฐานและรูปที่บัณฑิตตำหนิ ประ-

พฤติพรหมจรรย์เถิด.

ดิฉันผู้ยังหลงใหลด้วยความเจริญแห่งรูป

ได้ฟังพระดำรัสของพระมารดาแล้ว ก็ออกบวช

แต่ร่างกาย แต่มิได้ออกบวชด้วยความเต็มใจ

ดิฉันระลึกถึงตัวเองอยู่ด้วยความเพ่งฌานเป็นอัน-

มาก พระมารดาตรัสตักเตือนเพื่อให้ประพฤติ

ธรรม แต่ดิฉันมิได้ขวนขวายในธรรมจริยานั้น.

ครั้งนั้น พระพิชิตมารผู้ทรงพระมหา-

กรุณา ทอดพระเนตรเห็นดิฉันผู้มีผิวหน้าดังดอก

บัว ทรงนิรมิตหญิงคนหนึ่งงามน่าชม น่าชอบใจ

ยิ่งนัก มีรูปงามกว่าดิฉัน ในคลองจักษุของดิฉัน

ด้วยอานุภาพของพระองค์ เพื่อให้ดิฉันเบื่อหน่าย

ในรูป

ดิฉันเป็นคนสวย เห็นหญิงมีร่างกายสวย

ยิ่งกว่า คิดเพ้อไปว่า เราเห็นหญิงมนุษย์ดังนี้มี

ผล เป็นลาภนัยน์ตาของเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 625

เชิญเถิดแม่คนงาม แม่จงบอกสิ่งที่ต้อง

ประสงค์แก่ฉัน ฉันจะให้ แม่จงบอกสกุล นาม

และโคตรของแม่ ซึ่งเป็นที่รักแห่งแม่แก่ฉันเถิด.

แม่คนงาม เวลานี้ยังไม่ใช่กาลแห่ง

ปัญหา แม่จงให้ฉันอยู่บนตัก อวัยวะทั้งหลาย

ของฉันจะทับอยู่ แม่ให้ฉันหลับสักครู่เถิด

แต่นั้นแม่คนสวยพึงพิงศีรษะตักฉัน

นอนหลับไป ของแข็งหยาบตกลงที่หน้าผาก

ของแม่คนสวย

ต่อมาฝีก็ปรากฏขึ้นพร้อมกับที่ของแข็งตก

ลงถูกนางนั้น หัวฝีก็แตกออกแล้วมีเครื่องโสโครก

คือหนองและเลือดไหลออก

หน้าที่แตกแล้วมีกลิ่นเน่าปฏิกูล ตัวทั่ว

ไปก็บวมเขียว แม่คนสวยมีสรรพางค์สั่น หายใจ

ถี่เสวยทุกข์ของตนอยู่ รำพันอย่างน่าสมเพช.

เพราะแม่คนสวยประสบทุกข์ ฉันก็มี

ทุกข์ ต้องทุกข์เวทนา จมอยู่ในมหาสมุทร ขอ

แม่คนสวยจงเป็นที่พึ่งของฉัน

หน้าที่งามของแม่หายไปไหน จมูกที่

โด่งงามของแม่หายไปไหน ริมฝีปากที่สวยเหมือน

สีลูกมะพลับสุกของแม่หายไปไหน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 626

วงหน้างามคล้ายดวงจันทร์และ ลำคอ

ละม้ายต่อมทองคำของแม่หายไปไหน ใบหูของ

แม่เป็นดังพวงดอกไม้ มีสีเสียไปแล้ว

ถันทั้งคู่ของแม่ เหมือนดอกบัวตูม

แตกแล้ว มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไปคล้ายกะว่าศพเน่า

แม่มีเอวกลมกล่อม มีตะโพกผึ่งผาย

แม่เต็มไปด้วยสิ่งชั่วถ่อย โอ รูปไม่เที่ยง

อวัยวะที่เนื่องในสรีระทั้งหมดมีกลิ่นปฏิ-

กูล น่ากลัว น่าเกลียด เหมือนซากศพที่เขาทิ้ง

ไว้ในป่าช้า เป็นที่ยินดีของพวกพาลชน

ครั้งนั้น พระภาดาของดิฉันผู้เป็นนายก

ของโลก ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา ทอด

พระเนตรเห็นดิฉันมีจิตสลด ได้ตรัสพระคาถา

เหล่านี้ว่า

ดูก่อนนันทา เธอจงดูรูปที่ที่กระสับกระส่าย

เปื่อยเน่าดังซากศพ จงอบรมจิตให้ตั้งมั่น มี

อารมณ์เดียว ด้วยอสุภารมณ์

รูปนี้ เป็นฉันใด รูปเธอ ก็เป็นฉันนั้น

รูปเธอ เป็นฉันใด รูปนี้ ก็เป็นฉันนั้น รูปนี้

มีกลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งไป พวกคนพาลยินดียิ่งนัก

พวกบัณฑิตผู้มิได้เกียจคร้าน ย่อม

พิจารณาเห็นรูปเป็นอย่างนั้นทั้งกลางคืนกลางวัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 627

เธอจงเบื่อหน่าย พิจารณาดูรูปนั้นด้วยปัญญาของ

คน.

ลำดับนั้น ดิฉันได้ฟังคาถาเป็นสุภาษิต

แล้วมีความสลดใจ ตั้งอยู่ในธรรมนั้น ได้บรรลุ

ซึ่งอรหัตผล

ในกาลนั้น ดิฉันนั่งอยู่ในที่ไหน ๆ ก็มี

ฌานเป็นเบื้องหน้า พระพิชิตมารทรงพอพระทัย

ในคุณสมบัตินั้น จึงทรงตั้งดิฉันไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะ

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว.. . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระนันทาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบนันทาเถรีอปทาน

โสณาเถรีอปทานที่ ๖ [๒๖]

ว่าด้วยบุพจริยาของพระโสณาเถรี

[๑๖๖] ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้

พระพิชิตมาผู้เป็นนายกของโลกพระนามว่า

ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้น

แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 628

ครั้งนั้น ดิฉันเถิดในสกุลเศรษฐี เป็น

ผู้มีสุขชอบตกแต่ง เป็นที่รักของบิดา เข้าไป

เฝ้าพระมุนีผู้ประเสริฐพระองค์นั้น ได้ฟังพระ-

ดำรัสอันไพเราะ.

พระพิชิตมารทรงสรรเสริญภิกษุองค์-

หนึ่งว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ฝ่ายผู้

ปรารภความเพียรครั้งนั้น ดิฉันได้ฟังพระพุทธ-

พจน์นั้นแล้วมีความยินดี ได้ทำสักการะแด่พระ-

ศาสดา

ถวายบังคมพระพุทธเจ้าแล้วได้ปรารถนา

ตำแหน่งนั้น พระมหาวีรเจ้าทรงอนุโมทนาว่า

ความปรารถนาของท่านจะสำเร็จ

ในกัปที่แสนหนึ่งแต่กัปนี้ พระศาสดา

พระนามว่าโคดม มีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอก-

กากราชจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ท่านนี้จักได้เป็น

ธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็น

โอรสอันธรรมนิรมิต จักได้เป็นพระสาวิกาของ

พระศาสดามีชื่อว่าโสณา.

ครั้งนั้น ดิฉันได้ฟังพุทธานุโมทนานั้น

แล้วมีความยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุง

พระพิชิตมารผู้เป็นนายกชั้น พิเศษด้วยปัจจัยทั้ง

หลายจนตลอดชีวิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 629

ด้วยกุศลกรรมที่ทำไว้แล้วนั้น และด้วย

การตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างกายมนุษย์แล้ว

ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ในภพหลังครั้งนี้ดิฉันเกิดในสกุลเศรษฐี

ที่มั่งคั่งเจริญ มีทรัพย์มากในพระนครสาวัตถี

เมื่อดิฉันเติบโตเป็นสาว ได้ไปสู่สกุลสามี

คลอดบุตรชาย ๑๐ คนล้วนแต่มีรูปงามยิ่งนัก บุตร

ทุกคนนั้นตั้งอยู่ในความสุข เจริญตาและใจของ

ชนให้นิยม แม้แต่พวกศัตรูก็ชอบใจ เป็นที่รัก

ของดิฉันมาก.

ในกาลนั้น โดยที่ดิฉันไม่ปรารถนา สามี

ของดิฉันพร้อมด้วยบุตรทั้ง ๑๐ คนพากันไปบวช

ในพระพุทธศาสนา

ดิฉันอยู่ผู้เดียวคิดว่า เราพลัดพรากจาก

สามีและบุตรเป็นกำพร้าอยู่ ไม่ควรจะเป็นอยู่

แม้เราก็จักไปในอารามที่ภิกษุผู้เคยเป็นสามีอยู่

ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว จึงออกบวช.

ครั้งนั้น พวกภิกษุณีละดิฉันไว้ในสำนัก

ที่อยู่อาศัยแต่ผู้เดียว สั่งดิฉันว่า ท่านจงต้มน้ำ

ไว้แล้วพากันไป

เวลานั้น ดิฉันตักน้ำมาใส่ในหม้อเล็ก

ตั้งทิ้งไว้แล้วนั่งอยู่ แต่นั้นดิฉันก็เริ่มเพียรทางจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 630

ได้พิจารณาเห็นขันธุ์ทั้งหลายโดยความเป็นของไม่

เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ยังอาสวะ

ทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว ได้บรรลุอรหัตผล เมื่อพวก

ภิกษุณีกลับมาแล้วถามถึงน้ำร้อน ดิฉันอธิษฐาน

เตโชธาตุให้น้ำร้อนเร็วพลัน

ภิกษุณีเหล่านั้นพากันพิศวง ไปกราบทูล

พระพิชิตมารผู้ประเสริฐ ให้ทรงทราบเรื่องนั้น

พระโลกนาถทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ทรง

ชื่นชม ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า แท้จริง บุคคลผู้

ปรารภความเพียรนั่น มีชีวิตเป็นอยู่เพียงวันเดียว

ก็ประเสริฐ กว่าคนเกียจคร้านละความเพียรเป็นอยู่

ตั้ง ๑๐๐ ปี

พระมหามุนีมหาวีรเจ้าอันดิฉันให้โปรด

แล้วเพราะความปฏิบัติดีตรัสว่า ดิฉันเป็นผู้เลิศ

กว่าภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายปรารภความเพียร

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอน

ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระโสณาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบโสณาเถรีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 631

ภัททกาปิลานีเถรีอปทานที่ ๗ [๒๗]

ว่าด้วยบุพจริยาของพระภัททกาปิลานีเถรี

[๑๖๗] ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้

พระพิชิตมารผู้เป็นนายกของโลก พระนามว่า

ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติ

ขึ้นแล้ว ครั้งนั้น ดิฉันเป็นภรรยาของเศรษฐีมี

ชื่อว่าวิเทหะ มีรัตนะมาก ในเมืองหังสวดี

บางครั้ง เศรษฐีนั้นพร้อมกับนรชนที่เป็น

บริวาร เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นดังดวง

อาทิตย์แห่งนรชน ได้ฟังธรรมของพระองค์อัน

เป็นเหตุนำมาซึ่งความสิ้นทุกข์ทั้งปวง

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นายก ทรงประกาศ

พระสาวกองค์หนึ่งว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย

ฝ่ายกล่าวคุณแห่งธุดงค์

เศรษฐีผู้เป็นสามีแห่งดิฉันได้ฟังแล้ว

ได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าผู้คงที่ตลอด ๗ วัน

แล้วซบเศียรลงแทบพระบาท ปรารถนาตำแหน่ง

นั้น ก็ในกาลนั้นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่านรชน

เมื่อจะทรงให้บริษัทรื่นเริง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 632

ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้เพื่อทรงอนุ-

เคราะห์เศรษฐีว่า ดูก่อนบุตร ท่านจะได้ตำแหน่ง

ที่ตนปรารถนา จงเป็นผู้เย็นใจเถิด

ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ พระศาสดา

พระนามว่าโคดม จักมีสมภพในวงศ์พระเจ้า

โอกกากราช เสด็จอุบัติขึ้นในโลก

ท่านนี้จักได้เป็นธรรมทายาท ของพระ

ศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอสอันธรรมนิรมิต

จักเป็นสาวกของพระศาสดา มีนามว่ากัสสปะ

เศรษฐีได้ฟังพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว

มีความเบิกบานใจ มิจิตประกอบด้วยเมตตา

บำรุงพระพิชิตมารผู้เป็นนายกชั้นพิเศษ ด้วย

ปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงยัง

พระศาสนาให้รุ่งเรืองแล้ว ทรงกำจัดเดียรถีย์ที่ชั่ว

และทรงแนะนำประชาชนที่ควรแนะนำแล้ว พระ

องค์กับทั้งพระสาวกก็ปรินิพพาน

เมื่อพระสุคตเจ้าซึ่งเป็นผู้เลิศในโลก พระ

องค์นั้นปรินิพพานแล้ว เศรษฐีนั้นเชิญญาติและ

มิตรมาประชุมแล้ว พร้อมกับญาติและมิตรเหล่า

นั้น ได้สร้างพระสถูปสำเร็จด้วยรัตนะ สูง ๗ โยชน์

งามเหมือนดวงอาทิตย์ และต้นพระยารังที่มี

ดอกบาน เพื่อสักการะบูชาพระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 633

ดิฉันได้ให้ช่าง ๗ คนเอารัตนะ ๗ อย่าง

ทำตะเกียง ๗ แสนดวงแก้ว เอาน้ำมันหอมใส่

เต็มทุกถ้วย ตามประทีปไว้ ณ ที่นั้น ลุกโพลง

ดังไฟไหม้ป่าอ้อ เพื่อบูชาพระศาสดาผู้แสวงหา

คุณอันยิ่งใหญ่ ผู้ทรงอนุเคราะห์สรรพสัตว์

ดิฉันให้ช่างทำหม้อ ๗ แสนหม้อ เต็ม

ด้วยรัตนะต่าง ๆ มีพวงทองตั้งไว้ในระหว่างหม้อ

๘ ใบ รุ่งเรืองด้วยสีเหมือนดวงอาทิตย์ในสารท-

สมัย เพื่อบูชาพระศาสดาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

ที่ประตูทั้ง ๔ มีเสาระเนียดสำเร็จด้วย

รัตนะ มีแท่นมากสำเร็จด้วยรัตนะ ตั้งไว้งดงาม

น่ายินดี ทั้งมีคูปลูกพรรณดอกไม้น้ำเป็นระเบียบ

ดี และมีธงรัตนะยกขึ้นไว้ ล้วนแต่งงามไพโรจน์

พระเจดีย์ที่สำเร็จด้วยรัตนะนั้น ๆ สร้างไว้มีสีสุก

งามดี รุ่งโรจน์ด้วยสีเหมือนดวงอาทิตย์ที่มีรัศมี

งาม.

พระสถูปของดิฉันมี ๓ ด้าน ด้านหนึ่ง

ดิฉันบรรจุเต็มไปด้วยหรดาล ด้านหนึ่งดิฉันบรรจุ

เต็มไปด้วยมโนศิลา ด้านหนึ่งดิฉันบรรจุเต็มไป

ด้วยแร่พลวง

ดิฉันให้ช่างสร้างเครื่องบูชาที่น่ายินดี

เช่นนี้แล้ว ได้ถวายทานแก่พระสงฆ์ผู้กล่าวธรรม

อันประเสริฐตามกำลัง ตลอดชั่วชีวิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 634

ดิฉันกับเศรษฐีนั้นทำยัญเหล่านั้นโดย

ประการทั้งปวงจนตลอดชีวิต แล้วได้ไปสู่สุคติภพ

พร้อมกัน

เสวยสมบัติทั้งหลายในเทวดาและมนุษย์

ท่องเที่ยวไปกับเศรษฐีนั้น ปานประหนึ่งว่าเงา

ติดตามไปกับตัวฉะนั้น

ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้พระพุทธเจ้า

พระนามว่าวิปัสสี ผู้เป็นนายกของโลก มีพระ-

เนตรงาม ทรงเห็นแจ่มแจ้งในธรรมทั้งปวง เสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว

ครั้งนั้น พราหมณ์ที่ประชุมชนสมมติว่า

เป็นผู้ดี สมบูรณ์ด้วยความดี มั่งมีทรัพย์ อยู่

ในพระนครพันธุมดี

แม้ครั้งนั้น ดิฉันเป็นพราหมณ์ของ

พราหมณ์นั้น มีจิตเสมอกัน บางครั้ง พราหมณ์นั้น

เข้าไปเฝ้าพระมหามุนี ซึ่งประทับในหมู่ชนทรง

แสดงธรรมส่วนอมตบทอยู่ ได้ฟังธรรมแล้วเบิก-

บานใจ ได้ถวายผ้าห่มผืนหนึ่ง

มีผ้านุ่งผืนเดียวกลับไปถึงเรือน แล้วได้

บอกดิฉันว่า ดูก่อนน้องหญิงผู้มีบุญมาก เชิญ

อนุโมทนาเถิด ผ้าห่มฉันถวายพระพุทธเจ้าแล้ว

ขณะนั้นดิฉันประนมอัญชลีกล่าวอนุโม-

ทนาว่า นายขา ผ้าห่มท่านถวายดีแล้วแด่พระ

พุทธเจ้าผู้ประเสริฐ คงที่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 635

พราหมณ์กับดิฉันเป็นผู้เจริญด้วยสุขสม-

บัติ ท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ พราหมณ์

ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินในพระนครพาราณสี

ครั้งนั้น ดิฉันได้เป็นพระมเหสีสูงกว่า

พวกพระสนม เป็นที่สองของท้าวเธอ ท้าวเธอ

โปรดปรานดิฉัน เพราะสิเนหาเนื่องมาแต่ภพ

ก่อน ๆ

พระเจ้าแผ่นดินนั้นทอดพระเนตรเห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ พระองค์ ผู้กำลังเที่ยวไป

เพื่อบิณฑบาต ทรงพอพระทัย ได้ถวายบิณฑบาต

ที่ควรแก่ค่ามาก

ครั้นแล้วทรงนิมนต์ไว้ ทรงสร้างมณฑป

แก้วประดับด้วยทอง มีความเปล่งปลั่ง อันพวก

ช่างทองคำไว้ มีส่วน ๑๐๐ ศอก

ท้าวเธอทรงเลื่อมใส รับสั่งให้อาราธนา

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหมด แล้วได้ทรงถวายทาน

แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ซึ่งเข้ามาในพระ

ราชนิเวศน์ ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง

แม้ครั้งนั้น ดิฉันก็ได้ถวายทานนั้นร่วม

กันกับพระเจ้ากาสี ดิฉันมาเกิดในกาสิกคาม ใน

พระนครพาราณสีอีก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 636

พระเจ้ากาสีกับพระภาดามาเกิดในสกุล

กุฏุมพี มีความเจริญ เพียบพร้อมด้วยความสุข

ดิฉันเป็นภรรยาของพราหมณ์คนพี่ มีวัตรในสามี

เป็นอย่างดี

น้องชายของสามีดิฉัน เห็นพระปัจเจก-

พุทธเจ้าแล้ว เอาอาหารของพี่ชายถวายแก่พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อพี่ชายซึ่งเป็นสามีดิฉันมาแล้ว

ดิฉันก็บอกเรื่องนั้น

เขามิได้ยินดีทาน ขณะนั้น ดิฉันก็ถวาย

ทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น โดยดิฉันนำข้าว

มาให้สามีของดิฉัน ถวายอาหารแก่พระปัจเจก-

พุทธเจ้า

เวลานั้น ดิฉันโกรธเททานของพระปัจ-

เจกพุทธเจ้านั้นเสียแล้ว ได้ให้บาตรอันเต็มด้วย

เปือกตมแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้คงที่นั้น

ครั้งนั้น ดิฉันเห็นสามีมีสีหน้าแสดงว่า

มีจิตสงบในการให้ การรับ การไม่เคารพ และ

การประทุษร้าย จึงสลดใจมาก

ดิฉันรับบาตรมาแล้ว เอาน้ำหอมอย่างดี

ล้างให้สะอาด ดิฉันมีจิตเลื่อมใส เอาน้ำตาลกรวด

กับเปรียงใส่บาตรจนเต็มแล้ว ถวายพระปัจเจก-

พุทธเจ้าองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 637

ดิฉันเกิดในภพไหน ๆ ก็มีรูปสวย

เพราะถวายทาน แต่มีกลิ่นตัวเหม็น เพราะทำ

ความไม่ดี หยาบคายต่อพระปัจเจกพุทธเจ้า.

เมื่อพระเจดีย์แห่งพระกัสสปธีรเจ้าซึ่ง

สามีให้สำเร็จแล้ว ดิฉันมีความยินดีได้ถวายแผ่น

อิฐทองคำอย่างดี เอาแผ่นอิฐนั้นชุบจนเปียก

ด้วยน้ำหอมที่เกิดแต่เครื่องหอมสี่ชนิด จึงพ้นจาก

โทษที่มีกลิ่นตัวเหม็น งดงามดีทั่วสรรพางค์

และให้ช่างเอารัตนะ ๗ ประการทำ

ตะเกียง ๗ แสนดวง ใส่เปรียงเต็มแล้ว ให้ใส่

ไส้พันไส้ ตามประทีปตั้งไว้ ๗ แถว เพื่อบูชา

พระพุทธจ้า ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ด้วยจิต

อันเลื่อมใส แม้ในครั้งนั้น ดิฉันมีส่วนในบุญนั้น

โดยพิเศษ

สามีของดิฉันไปเกิดในแคว้นกาสี มีนาม

ปรากฏว่าสุมิตตะ ดิฉันเป็นภรรยานายสุมิตตะนั้น

เป็นผู้เจริญด้วยสุขสมบัติ เป็นที่รักของสามี

ครั้งนั้น สามีของดิฉันได้ถวายผ้าโพก

ศีรษะเนื้อดีแก่พระปัจเจกมุนี แม้ดิฉันก็มีส่วน

แห่งทานนั้น อนุโมทนาทานอันอุดม สามีไปเกิด

ในกำเนิดแห่งชาวโลกิยะในแคว้นกาสี

ครั้งนั้น สามีของดิฉัน พร้อมกับบุตร

ของชาวโกลิยะ ๕๐๐ คน ได้บำรุงพระปัจเจก-

พุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ อาราธนาพระปัจเจกพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 638

เหล่านั้นให้อยู่จำพรรษาตลอดไตรมาสแล้ว ได้

ถวายไตรจีวร ครั้งนั้น ดิฉันเป็นภรรยาแห่ง

โกลิยบุตรคนนั้น ด้วยกุศลกรรมบถที่บำเพ็ญมา

โกลิยบุตรนั้นเคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว

เกิดเป็นพระราชาพระนามว่านันทะ มีอิสริยยศ

มา แม้ดิฉันก็เกิดเป็นมเหสีของท้าวเธอ เป็น

ผู้มั่งคั่งด้วยกามสุขทั้งปวง

พระเจ้านันทะนั้น เคลื่อนจากอัตภาพนั้น

แล้วเกิดเป็นพระเจ้าพรหมทัต เป็นใหญ่ในปฐพี

ครั้งนั้น ดิฉันกับพระเจ้าพรหมทัต ได้อาราธนา

พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐. องค์ ผู้เป็นพระโอรส

แต่งพระนางปทุมวดี ให้มาอยู่ในพระราชอุทยาน

แล้วบำรุงอยู่จนตลอดชีวิต และบูชาพระปัจเจก-

พุทธเจ้าเหล่านั้นผู้นิพพานแล้ว

เราทั้งสองให้สร้างเจดีย์หลายองค์ แล้ว

พากันบวช เจริญอัปปมัญญาแล้วได้ไปสู่พรหม

โลก

จุติจากพรหมโลกแล้ว สามีของดิฉัน

เกิดเป็นพราหมณ์ชื่อปิปผลายนะ ที่ประเทศมหา-

ติตถะ มารดาชื่อสุมนเทวี บิดาเป็นพราหมณ์

โกสิโคตร

ดิฉันเกิดเป็นธิดาของพราหมณ์นามว่า

กปิละ มารดาชื่อสุจิมดี ในมัททชนบท เมือง

สากลบุรีที่อุดม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 639

บิดาของดิฉันหล่อรูปดิฉันด้วยแท่งทอง-

คำแล้ว ถวายรูปหล่อแก่พระพุทธกัสสปผู้เว้นจาก

กามคุณ

พราหมณ์ปิปผลายนะนั้นเป็นหนุ่ม ไป

ตรวจดูการงานในกาลบางครั้ง เห็นสัตว์ทั้งหลาย

ที่ถูกกาเป็นต้นกันกินแล้วสลดใจ

ครั้งนั้น ดิฉันเห็นเมล็ดงาที่มีในเรือน

เอาออกผึ่งแดด มีเหล่าหนอนอาศัยกินแล้ว ได้

ความสลดใจ.

ครั้งนั้น ปิปผลายนพราหมณ์ผู้มีปัญญา

ออกบวชแล้ว ดิฉันก็บวชตาม อยู่ในสำนัก

ปริพาชก ๕ ปี

เมื่อพระนางโคตมี ผู้เป็นพระมาตุจฉา

บำรุงพระพิชิตมารทรงผนวชแล้ว ดิฉันเข้าไป

หาท่าน ต่อมา พระพุทธเจ้าโปรดสั่งสอนแล้ว

ไม่นานเท่าไร ก็ได้บรรลุอรหัตผล ได้อุทานว่า

น่าชม เรามีพระกัสสปเถระผู้มีสิริเป็นกัลยาณมิตร

พระกัสสปเถระเป็นบุตรผู้ทายาทแห่งพระพุทธเจ้า

มีจิต ตั้งมั่นดี รู้ปุพเพนิวาสญาณ เห็นสวรรค์และ

อบาย

ลุถึงแล้วซึ่งความสิ้นชาติ เป็นมุนีอยู่จบ

อภิญญา เป็นพราหมณ์มีไตรวิชชาด้วยวิชชา ๓ นี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 640

ดิฉันชื่อภัททาปิลานีก็เหมือนกัน ได้

ไตรวิชชา ละมัจจุราช ทรงร่างกายในภพที่สุดนี้

ชนะมารพร้อมทั้งพลมารแล้ว

เราทั้งสองเห็นโทษในโลกแล้วพากัน

ออกบวช เป็นผู้หมดอาสวะ ฝึกตนแล้ว มีความ

เย็น ดับสนิทแล้ว

ฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระภัททกาปิลานีภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบภัททกกปิลานีเถรีอปทาน

ยโสธราเถรีอปทานที่ ๘ [๒๘]

ว่าด้วยบุพจริยาของพระยโสธราเถรี

[๑๖๘] ดิฉันมีฤทธิ์มาก มีปัญญามาก

มีภิกษุณี ๑,๑๐๐ องค์เป็นบริวาร เข้าไปเฝ้าพระ

สัมพุทธเจ้า ถวายอภิวาทแล้วเห็นลายลักษณ์กง

จักรของพระศาสดา แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง

ได้กราบทูลว่า

หม่อมฉันมีอายุ ๗๖ ปีล่วงเข้าปัจฉิมวัย

แล้ว ถึงความเป็นผู้มีกายเงื้อมลงแล้ว ขอกราบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 641

ทูลลาพระมหามุนี หม่อมฉันมีวัยแก่ มีชีวิตน้อย

จักละพระองค์ไป มีที่พึ่งของตนได้ทำแล้ว มี

มรณะใกล้เข้ามาในวัยหลัง ข้าพระมหาวีรเจ้า

หม่อมฉันจักถึงความดับในคืนวันนี้

ชาติ ชรา พยาธิและมรณะ มิได้มี จัก

ไปสู่นิพพานที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นบุรีอันไม่มี

ความแก่ ความตายและความไม่มีภัย

ตั้งแต่ข้าพระองค์เป็นบริษัทาเข้าเฝ้าพระ

องค์อยู่ รู้จักความผิด ขอประทานโทษ ณ ที่เฉพาะ

พระพักตร์พระองค์

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันขอกราบ

ทูลว่า เมื่อหม่อมฉันท่องเที่ยวไปในสงสาร หาก

มีความพลั้งพลาดในพระองค์ ขอพระองค์ทรง

โปรดประทานโทษแก่หม่อมฉันเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนผู้ปฏิบัติตามคำสอนของเรา

ท่านจงแสดงฤทธิ์ และตัดความสงสัยของบริษัท

ทั้งปวงในศาสนาเถิด.

พระยโสธราเถรีกราบทูลว่า

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันชื่อยโส-

ธราเป็นปชาบดีของพระองค์ เมื่อยังทรงครอง

อาคารวิสัย เกิดในศากยสกุลตั้งอยู่ในองคสมบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 642

ของหญิง ประเสริฐกว่าหญิง ๑๖๙,๐๐๐ นาง

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันเมื่ออยู่ในพระราช

วังของพระองค์ เป็นประธาน เป็นใหญ่กว่าหญิง

ทั้งปวง

สมบูรณ์ด้วยรูปสมบัติ และอาจารสมบัติ

ดำรงอยู่ในความเจริญทุกสมัย นารีทั้งมวลย่อม

เคารพหม่อมฉัน เหมือนพวกมนุษย์เคารพเทวดา

ฉะนั้น

หม่อมฉันเป็นประมุขแห่งนางกัญญาหนึ่ง

พัน ในพระนิเวศน์ของพระศากยบุตร นางกัญญา

เหล่านั้นร่วมสุขร่วมทุกข์กัน ปานประหนึ่งว่าพวก

เทวดาในนันทวันฉะนั้น

หม่อมฉันเป็นบัณฑิต ล่วงกามธาตุด้วย

รูปธาตุ มิได้มีใคร ๆ มีรูปเหมือนรูปของหม่อมฉัน

เว้นแต่พระองค์ผู้เป็นนายกของโลก

หม่อมฉันขออภิวาทพระสัมพุทธเจ้าแล้ว

จักแสดงฤทธิ์ถวาย พระยโสธราเถรีแสดงฤทธิ์

ชนิดต่าง ๆ มากมาย

แสดงเป็นนกมีกายเท่าภูเขาจักรวาล

แสดงศีรษะเท่าอุตตรกุรุทวีป แสดงปีกสองข้าง

เท่าทวีปทั้งสอง แสดงสรีระเท่าชมพูทวีป

เปล่งเสียงดังกังวานไพเราะ มีขนหาง

เป็นพวง มีกลีบสีต่าง ๆ กัน มีนัยน์ตาเท่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 643

ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ มีหงอนเท่าภูเขาเมรุ

มีหน้าเท่าภูเขาจักรวาล ถอนเอาต้นหว้า

พร้อมทั้งรากทำเป็นพัดเดินเข้าไปเฝ้า ถวายบังคม

พระศาสดาผู้เป็นนายกของโลก

แสดงเป็นเพศช้าง เพศม้า ภูเขา และ

ทะเล ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ เขาเมรุ และ

เพศท้าวสักกเทวราช กราบทูลว่า ข้าแต่พระ-

มหาวีรเจ้าผู้มีพระจักษุ หม่อมฉันผู้ชื่อว่า ยโสธรา

ขอถวายบังคมพระยุคลบาท

พระเถรีเอาดอกไม้ปกปิดพันโลกธาตุไว้

และนิรมิตเป็นเพศพรหมแสดงสุญญตธรรมอยู่

กราบทูลว่า ข้าแต่พระวีรเจ้าผู้มีพระจักษุ หม่อม

ฉันผู้ชื่อว่ายโสธรา ขอถวายบังคมพระยุคลบาท

หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์ มี

ความชำนาญในทิพโสตธาตุ มีความชำนาญใน

เจโตปริยญาณ

ย่อมรู้ปุพเพนิวาสญาณ และทิพยจักษุ

อันหมดจดวิเศษ มีอาสวะทั้งปวงหมดสิ้นแล้ว

บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันมีญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 644

ในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณเกิดขึ้น

ในสำนักของพระองค์

ความพร้อมเพรียงแห่งพระพุทธเจ้าทั้ง

หลาย ผู้เป็นนาถะของโลก พระองค์ทรงแสดง

ดีแล้ว ข้าแต่พระมหามุนี อธิการเป็นอันมาก

ของหม่อมฉัน ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่

พระองค์

ข้าแต่พระมุนีมหาวีรเจ้า ขอพระองค์พึง

ทรงระลึกถึงกุศลกรรมเก่าของหม่อมฉันเถิด ข้า

แต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันสั่งสมบุญไว้เพื่อ

ประโยชน์แก่พระองค์

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันงดเว้น

อนาจารในสถานที่ไม่ควร แม้ชีวิตก็ยอมสละเพื่อ

ประโยชน์แก่พระองค์ได้

ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทาน

หม่อมฉันเพื่อให้เป็นภรรยาผู้อื่นหลายพันโกฏิกัป

ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ หม่อมฉันมิได้เสียใจ

ในเรื่องนั้นเลย

ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทาน

หม่อมฉันเพื่ออุปการะหลายพันโกฏิกัป เพื่อประ-

โยชน์แก่พระองค์ หม่อมฉันมิได้เสียใจในเรื่อง

นั้นเลย

๑. ม. ว่า ปุพพาน แปลว่า พระองค์ทรงแสดงความพร้อมเพรียงแห่งพระโลกนาถเจ้า ผู้มี

ในกาลก่อนดีแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 645

ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทาน

หม่อมฉันเพื่อประโยชน์ เป็นอาหารพันโกฏิ

กัป หม่อมฉันมิได้เสียใจในเรื่องนั้นเลย หม่อม

ฉันบริจาคชีวิตหลายพันโกฏิกัป

ประชุมชนจักทำการให้พ้นจากภัย ก็ย่อม

สละชีวิตของหม่อมฉันให้ ข้าแต่พระมหามุนี

หม่อมฉันย่อมไม่เคยหวงเครื่องประดับและผ้า

นานาชนิดซึ่งอยู่ที่ตัว และภัณฑะคือตัวหญิง เพื่อ

ประโยชน์แก่พระองค์

ข้าแต่พระมหามุนีมหาวีรเจ้า ทรัพย์

ข้าวเปลือก ปัจจัย เครื่องบริจาค บ้าน นิคม

ไร่นา บุตร ธิดา ช้าง ม้า โค ทาสี ภรรยา

มากมายนับไม่ถ้วน พระองค์ทรงบริจาคแล้วเพื่อ

ประโยชน์แก่พระองค์

(พระองค์ตรัสบอกหม่อมฉันว่า) เราย่อม

ให้ทานกะพวกยาจก เมื่อเราให้ทานอันอุดม เรา

ย่อมไม่เห็นหม่อมฉันเสียใจ

ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันยอมรับ

ทุกข์มากมายหลายอย่างจนนับไม่ถ้วน ในสงสาร

เป็นอเนก เพื่อประโยชน์แก่พระองค์

ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันได้รับสุข

ย่อมอนุโมทนา และในคราวที่ได้รับทุกข์ก็ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 646

เสียใจ เป็นผู้ยินดีแล้วในที่ทุกแห่งเพื่อประโยชน์

แก่พระองค์

ข้าแต่พระมหามุนี พระสัมพุทธเจ้าทรง

แสดงธรรมโดยบรรดาอันสมควร เสวยสุขและ

ทุกข์แล้ว ได้บรรลุซึ่งพระโพธิญาณ

หม่อมฉันได้ร่วมมาเป็นมาก กับพระ

สัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ผู้เป็นนายกของโลก

เป็นเทพผู้ประเสริฐ พระองค์ก็ได้ร่วมมาเป็นอัน

มาก กับพระสัมพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ผู้เป็น

นาถะของโลก

ข้าแต่พระมหามุนี อธิการของหม่อมฉัน

มีมากเพื่อประโยชน์แก่พระองค์ หม่อนฉันเมื่อ

แสวงหาพุทธธรรมอยู่ก็ได้เป็นบริจาริกาผู้รับใช้

ของพระองค์

ในสี่อสงไขยแสนกัป พระมหาวีรเจ้า

พระนามว่าทีปังกร ผู้เป็นนายกของโลก เสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว ประชาชนในปัจจันตประเทศ มีใจ

ยินดีนิมนต์พระตถาคตเจ้าแล้ว ช่วยกันแผ้วถาง

หนทางสำหรับเป็นที่เสด็จพระพุทธดำเนิน

ณ กาลครั้งนั้น พระองค์เป็นพราหมณ์

นามว่าสุเมธ ตกแต่งหนทางยาว เพื่อพระสุคต

เจ้าผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 647

หม่อมฉันมีสมภพในสกุลพราหมณ์ เป็น

หญิงสาวมีนามว่าสุมิตตา เข้าไปสู่สมาคม ถือ

ดอกบัวไป ๘ กำ เพื่อบูชาพระศาสดา แต่ได้

ถวายพระองค์ผู้เป็นฤาษีอุดม ในท่ามกลางประ-

ชุมชน

ครั้งนั้น หม่อมฉันได้เห็นพระองค์ประ-

กอบสุภกิจอยู่นาน มีความกรุณา เมื่อฤาษีนั้น

เดินเลยไปแล้ว ยังดึงใจหม่อมฉันให้นิยม จึงได้

สำคัญว่า ชีวิตของเรามีผล

ครั้งนั้น หม่อนฉันเห็นความพยายามของ

พระองค์นั้นมีผล จึงได้ถวายดอกบัวแก่พระองค์

ผู้เป็นฤาษี ด้วยบุญที่ทำมาก่อน แม้จิตของ

หม่อมฉันเลื่อมใสในพระสัมพุทธเจ้า

หม่อมฉันยังมีจิตเลื่อมใสในพระองค์ผู้

เป็นฤาษีมีมนัสสูง มิได้เห็นสิ่งอื่นที่ควรถวาย

จึงได้ถวายดอกบัวแก่พระองค์ผู้เป็นฤาษีพร้อมด้วย

กล่าวว่า

ข้าแต่พระฤาษี ดอกบัว ๕ กำ จงมีแก่

ท่าน ดอกบัว ๓ กำจงมีแก่ดิฉัน ข้าแต่ท่าน

พระฤาษี ดอกบัวเหล่านั้น จงมีเสมอกับด้วยท่าน

นั้น เพื่อประโยชน์แก่โพธิญาณของท่าน.

จบภาณวารที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 648

สุเมธฤาษีรับดอกบัว แล้วบูชาพระพุทธ-

ทีปังกร ผู้แสวงหาคุณธรรมใหญ่ มีบริวารยศมาก

เสด็จดำเนินมาในท่ามกลางประชุมชน เพื่อประ-

โยชน์แก่โพธิญาณ

พระมหามุนี มหาวีรเจ้าทีปังกรทอดพระ-

เนตรเห็นสุเมธฤาษีผู้มีมนัสสูงแล้ว ทรงพยากรณ์

ในท่ามกลางประชุมชน ข้าแต่พระมหามุนี ในกัป

อันประมาณมิได้แต่กัปนี้ พระมหามุนีทีปังกรทรง

พยากรณ์กรรมของหม่อมฉันอันเป็นธรรมตรงว่า

ดูก่อนฤาษีผู้ใหญ่ อุบาสิกาผู้นี้ จักเป็น

ผู้มีจิตเสมอกัน มีกุศลกรรมเสมอกัน ทำกุศล

ร่วมกัน เป็นที่รักเพราะบุญกรรม เพื่อประโยชน์

แก่ท่าน น่าดูน่าชม น่ารักยิ่ง น่าชอบใจ มีวาจา

อ่อนหวาน จักเป็นธรรมทายาทผู้มีฤทธิ์ของท่าน

อุบาสิกานี้จักรักษากุศลธรรมทั้งหลาย

เหมือนพวกเจ้าของทรัพย์ รักษาทรัพย์ที่เก็บไว้เอง

ในคลัง ฉะนั้น ประชาชนจะอนุเคราะห์อุบาสิกา

ผู้ที่เป็นที่รักของท่านนั้น อุบาสิกานี้จักมีบารมี

เต็ม จักละกิเลสได้ดังราชสีห์ละกรง แล้วจักบรรลุ

โพธิญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 649

ในกัปอันประมาณมิได้แต่กัปนี้ พระ

พุทธเจ้าทรงพยากรณ์หม่อมฉันด้วยพระวาจาใด

หม่อมฉันเมื่ออนุโมทนาพระวาจานั้น เป็นผู้ทำ

กรณียกิจอย่างนี้

หม่อมฉันยังจิตให้เลื่อมใสในกุศลกรรม

ที่ได้ทำไว้แล้วนั้น ได้เสวยผลในกำเนิดเทวดา

และมนุษย์มากมาย ได้เสวยสุขและทุกข์ในเทวดา

และมนุษย์ทั้งหลาย

ในภพนี้ซึ่งเป็นภพหลัง หม่อมฉันเกิดใน

ศากยสกุล มีรูปสมบัติ มีโภคสมบัติ มียศ มีศีล

สมบูรณ์ด้วยองคสมบัติทั้งปวง ได้รับสักการะ

อย่างยิ่งในสกุลทั้งหลาย มีลาภ สรรเสริญและ

สักการะ พรั่งพร้อมไปด้วยโลกธรรม มีจิตไม่

ประกอบด้วยทุกข์ ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ

สมจริงตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่า ในกาลนั้นยโสธรานารีผู้มีเพียง แสดง

อุปการะทั้งภายในพระราชฐานและแก่พวกเจ้าใน

พระนคร มีอุปการะทั้งในยามสุขและยามทุกข์

เป็นผู้บอกประโยชน์ให้และทำความอนุเคราะห์

หม่อมฉันยังมหาทานให้เป็นไปแล้วแก่

พระพุทธเจ้าห้าร้อยโกฏิ และพระพุทธเจ้าเก้าร้อย

โกฏิ ข้าแต่พระมหาราช ขอพระองค์ทรงสดับ

อธิการเป็นอันมากของหม่อมฉัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 650

หม่อมฉันยังมหาทานให้เป็นรูป แก่พระ

พุทธเจ้าร้อยสิบเอ็ดโกฏิ ซึ่งเป็นนายกผู้เลิศของ

โลก

ข้าแต่พระมหาราช...หม่อมฉันยังมหา-

ทานให้เป็นรูปแก่พระพุทธเจ้าร้อยยี่สิบโกฏิ และ

แก่พระพุทธเจ้าร้อยสี่สิบโกฏิ...

หม่อมฉันยังมหาทานให้เป็นไปแก่พระ-

พุทธเจ้าร้อยหกสิบโกฏิและแก่พระพุทธเจ้าร้อยห้า

สิบโกฏิ...

หม่อมฉันยังมหาทานให้เป็นไป แก่พระ

พุทธเจ้าร้อยหกสิบโกฏิ และแก่พระพุทธเจ้าร้อย

เจ็ดสิบโกฏิ ...

หม่อมฉันยังมหาทานให้เป็นไปแก่พระ

พุทธเจ้าร้อยแปดสิบโกฏิ และแก่พระพุทธเจ้า

ร้อยเก้าสิบโกฏิ...

หม่อมฉันยังมหาทานให้เป็นรูปแก่พระ

พุทธเจ้าแสนโกฏิ ซึ่งเป็นนายกผู้ประเสริฐของ

โลก...

หม่อมฉันยังมหาทานให้เป็นไปแก่พระ

พุทธเจ้าเก้าพันโกฏิ และแก่พระพุทธเจ้าอื่นอีก

ซึ่งเป็นนายกของโลก...

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 651

หม่อมฉันยังมหาทานให้เป็นไปแก่พระ-

พุทธเจ้าแสนโกฎิ และแก่พระพุทธเจ้าแปดสิบห้า

โกฏิ แก่พระพุทธเจ้าร้อยแปดสิบห้าโกฏิ แก่

พระพุทธเจ้ายี่สิบเจ็ดโกฏิ...

หม่อมฉันยังมหาทานให้เป็นไปแก่พระ-

ปัจเจกพุทะเจ้าผู้ปราศจากราคะ มีแปดโกฏิเป็น

ที่สุด...

ข้าแต่พระมหาราช....หม่อมฉันยังมหา-

ทานให้เป็นไปแก่พระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน

เป็นพระพุทธสาวกมาก นับไม่ถ้วน

ข้าแต่พระมหาราช ขอพระองค์จงทรง

ฟังอธิการเป็นอันมากของหม่อมฉัน หม่อมฉันยัง

มหาทานให้เป็นไปแล้วแต่พระพุทธเจ้าผู้ทรงประ-

พฤติธรรมทั้งหลาย และพระอริยสงฆ์ผู้ประพฤติ

ในสัทธรรม ในกาลทั้งปวง ด้วยประการอย่าง

นี้

บุคคลผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข

ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ควรประพฤติธรรมให้

เป็นสุจริต ไม่ควรประพฤติธรรมให้เป็นทุจริต

เพราะบุคคลผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งใน

โลกนี้และโลกหน้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 652

หม่อมฉันเป็นหน่ายในสงสาร จึงออกบวช

พร้อมด้วยบริวารชนพันหนึ่ง ครั้นบวชแล้วก็หมด

กังวล

ละอาคารสถานแล้วออกบวช ยังไม่ทันถึง

ครึ่งเดือนก็ได้บรรลุจตุราริยสัจ คนเป็นอันมากนำ

จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและเภสัชปัจจัยเข้ามา

ถวาย เหมือนลูกคลื่นในทะเล

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว .. . คำสอน

พระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว

หม่อมฉันได้รับทุกขวิบัติมากอย่าง และ

สุขสมบัติมากอย่างเช่นนี้ ถึงพร้อมแล้วซึ่งความ

เป็นผู้บริสุทธิ์ สมบูรณ์ด้วยคุณทั้งปวง

บุคคลผู้ถวายตนของตนแก่พระพุทธเจ้า

ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่บุญ

ก็ย่อมพรั่งพร้อมไปด้วยสหาย ลุถึงนิพพานบทอัน

เป็นอสังขตะ

กรรมทั้งปวงส่วนอดีต ปัจจุบัน และ

อนาคต ของหม่อมฉันหมดสิ้นไปแล้ว ข้าแต่

พระองค์ผู้มีพระจักษุ หม่อมฉันขอถวายบังคม

พระยุคลบาท.

ทราบว่า ท่านพระยโสธราภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านั้นเฉพาะพระ-

พักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.

จบยโสธราเถรีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 653

ทสสหัสสเถรีอปทานที่ ๙ (๒๙)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระเถรี ๑๐,๐๐๐ รูป

[๑๖๙] ในสี่อสงไขยแสนกัป พระ-

พิชิตมารผู้เป็นนายกของโลกพระนามว่าทีปังกร

เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระพุทธทีปังกรมหาวีรเจ้าผู้

เป็นนายกชั้นพิเศษ ทรงพยากรณ์ว่า สุเมธบัณฑิต

กับนางสุมิตตามีสุขและทุกข์ร่วมกัน

เมื่อเสด็จเที่ยวทรงดูโลกกับทั้งเทวโลก

เสด็จเข้ามาสู่สมาคมแห่งหม่อมฉันทั้งหลาย ใน

การทรงพยากรณ์สุเมธบัณฑิตและนางสุมิตตานั้น

สุเมธบัณฑิตย่อมเป็นใหญ่กว่าชนทั้งปวง

ในสมาคมอนาคตแห่งหม่อมฉันทั้งหลาย ภรรยา

ทั้งหมด กล่าววาจาเป็นที่รักเป็นที่พอใจแห่งท่าน

ข้าแต่พระมหามุนี ทาน ศีลทั้งปวงและ

ภาวนาที่บำเพ็ญดีแล้ว ทานทั้งปวงนี้ คือ ของ

หอม ดอกไม้ เครื่องลูบไล้ ประทีป และทาน

วัตถุอันสำเร็จด้วยรัตนะ หม่อมฉันทั้งหลายบริจาค

แล้วตลอดกาลนาน.

ข้าแต่พระมหามุนีฐานะอย่างใดอย่างหนึ่ง

หม่อมฉันทั้งหลายปรารภไว้แล้ว ทานทั้งปวง

พวกหม่อมฉันบริจาคแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 654

ข้าแต่พระมหามุนี กุศลกรรมอย่างอื่น

และวัตถุเครื่องบริโภคเป็นของมนุษย์ หม่อมฉัน

ทั้งหลายทำไว้แล้ว หม่อมฉันทั้งหลายบริจาคทาน

ทั้งปวงในพระมหามุนีตลอดกาลนาน

บุญเป็นมากหม่อมทั้งหลายทำแล้ว

ในสงสารมีชาติเป็นอเนก หม่อมฉันทั้งหลายได้

เสวยความเป็นอิสระ ท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพ

ใหญ่.

ในภพนี้จึงเป็นภพหลัง หม่อมฉันเกิด

แล้วในนิเวศน์แห่งพระศากยบุตร พวกสตรีเกิด

แล้วในสกุลต่าง ๆ งดงามดังนางฟ้า มีวรรณะ

เป็นที่ชอบใจ หม่อมฉันทั้งหลายมีลาภเป็นอย่าง

เลิศ ถึงยศแล้วได้รับบูชาสักการะแต่ชนทั้งปวง

หม่อมฉันทั้งหลายได้ข้าวน้ำและอาหาร ประชุมชน

นับถือเสมอไป

ละอาคารสถานแล้วออกบวชยังไม่ทันถึง

ครึ่งเดือนก็ได้ถึงแล้วซึ่งความดับทุกข์ทั้งหมดด้วย

กัน หม่อมฉันทั้งหลายได้ข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ

และสรรพปัจจัยที่พวกทายกทายิกานำเข้ามา

สักการะบูชาเสมอไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 655

หม่อมฉันทั้งหลายเผากิเลสทั้งหลายแล้ว

.... คำสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลาย

ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ภิกษุณีหนึ่งหมื่นมีพระยโสธราเถรีเป็นประธาน ได้กล่าว

คาถาเหล่านี้ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.

จบทสสหัสสเถรีอปทาน

อัฏฐารสหัสสเถรีอปทานที่ ๑๐ (๓๐)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระเถรี ๑๘,๐๐๐ รูป

[๑๗๐] ภิกษุณีที่มีสมภพในศากิยสกุล

๑๘,๐๐๐ มีพระยโสธราเถรีเป็นประธาน เข้าเฝ้า

พระสัมพุทธเจ้า ภิกษุณีทั้ง ๑๘,๐๐๐ ล้วนแต่ผู้มี

ฤทธิ์ ถวายบังคมพระยุคลบาทแห่งพระมุนี ได้

กราบทูลตามกำลังว่า

ข้าแต่พระมหามุนีผู้นายก หม่อมฉัน

ทั้งหลายมีชาติ ชรา พยาธิและมรณะสิ้นแล้ว

ย่อมถึงอมตบทอันสงบ ไม่มีอาสวะ ข้าแต่พระ

มหามุนีผู้เป็นนายกชั้นพิเศษ ประชาชนย่อมรู้

ความผิด คือ ความพลั้งพลาดที่มีในก่อนของ

หม่อมฉันทั้งปวง ขอพระองค์โปรดประทานอภัย

โทษแก่หม่อมฉันทั้งหลายเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 656

พระบรมศาสดาตรัสว่า

ท่านทั้งหลายเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอน

ของเรา จงแสดงฤทธิ์และตัดความสงสัยของ

บริษัททั้งมวลเถิด.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระยโสธราเถรี

ผู้เป็นปชาบดีแห่งพระองค์ เมื่อยังดำรงอยู่ใน

อาคารวิสัย เป็นที่พอพระทัย น่ารัก น่าชมทุกอย่าง

เป็นหัวหน้าแห่งสตรี ๑๖๙,๐๐๐ ข้าแต่พระองค์ผู้มี

ความเพียร หม่อมฉันทั้งหลายนั้นเป็นใหญ่กว่า

ทั้งสิ้น สมบูรณ์ด้วยรูปสมบัติและอาจาร-

สมบัติ ดำรงอยู่ในความเจริญ มีวาจาเป็นที่รัก

สตรีทั้งปวงย่อมเคารพเหมือนพวกมนุษย์เคารพ

เทวดาฉะนั้น

สตรีที่มีสมภพในศากิยวงศ์ ๑๘,๐๐๐ มี

พระยโสธราเถรีเป็นประมุขเป็นใหญ่.

ข้าแต่พระมหามุนี พระยโสธราเถรีมีรูป

ล่วงรูปในกามธาตุ ดำรงอยู่ในรูปธาตุ สตรีหนึ่ง

พันมิได้มีคนไหนมีรูปเหมือนพระเถรีนั้น

ท่านพระยโสธราเถรีจงถวายอภิวาทพระ-

สัมพุทธเจ้าแสดงฤทธิ์ถวายเถิด ภิกษุณีมีพระยโส

ธราเถรีเป็นต้นนั้นแสดงฤทธิ์ชนิดต่าง ๆ เป็นอัน

มาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 657

แสดงเป็นนกมีกายเท่าภูเขาจักรวาล

แสดงศีรษะเท่าอุตตรกุรุทวีป แสดงปีกสองข้าง

เท่าทวีปทั้งสอง แสดงสรีระเท่ากับชมพูทวีป

เปล่งเสียงดังกังวานไพเราะ มีขนหาง

เป็นพวง มีกลีบสีต่าง ๆ มีนัยน์ตาเท่าดวงจันทร์

ดวงอาทิตย์ มีหงอนเท่าภูเขาเมรุ

มีหน้าเท่าภูเขาจักรวาล ถอนเอาต้นหว้า

พร้อมทั้งราก ทำเป็นพัดเดินเข้ามาถวายบังคม

พระโลกมายา แสดงเป็นเพศช้างเพศม้า ภูเขา

ทะเล ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์เขาเมรุและเพศ

ท้าวสักกเทวราช.

ข้าแต่พระวีรเจ้าผู้มีพระจักษุ เป็นนายก

ของนรชน พระยโสธาเถรีและหม่อมฉันทั้งหลาย

ขอถวายบังคมพระยุคลบาท เป็นผู้สำเร็จแล้วด้วย

กุศลกรรมที่อบรมมานานเพื่อพระองค์

ข้าแต่พระมหามุนีหม่อมฉันทั้งหลายเป็น

ผู้มีความชำนาญในฤทธิ์ มีความชำนาญในทิพโสต

ธาตุ มีความชำนาญในเจโตปริยญาณ รู้ปุพเพ-

นิวาสญาณและทิพยจักษุอันหมดจดวิเศษ มีอาสวะ

ทั้งปวงหมดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันทั้งหลาย

มีญาณในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติและปฏิภาณเกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 658

แล้วในสำนักของพระองค์ หม่อมฉันทั้งหลาย

แสดงความพร้อมเพรียงแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ผู้เป็นนายกของโลก.

ข้าแต่พระมหามุนี อธิการเป็นอันมาก

ของหม่อมฉันทั้งหลาย ย่อมเป็นประโยชน์แก่

พระองค์

ขอพระองค์ทรงระลึกถึงกุศลกรรมเก่า

ของหม่อมฉันทั้งหลายเถิด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า

หม่อมฉันทั้งหลายสั่งสมบุญ ก็เพื่อประโยชน์แก่

พระองค์

หม่อมฉันทั้งหลายงดเว้นอนาจารในสถาน

ที่ไม่ควร แม้ชีวิตก็ยอมสละเพื่อประโยชน์แก่

พระองค์

ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทาน

หม่อมฉันทั้งหลาย เพื่อต้องการให้เป็นภรรยาของ

ผู้อื่นหลายพันโกฏิกัป เพื่อประโยชน์แก่พระองค์

หม่อมฉันทั้งหลายมิได้เสียใจ.

ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทาน

หม่อมฉันทั้งหลายเพื่ออุปการะผู้อื่นหลายพันโกฏิ

กัป เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ หม่อมฉันทั้งหลาย

มิได้เสียใจในเรื่องนี้เลย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 659

ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทาน

หม่อมฉันทั้งหลาย เพื่อประโยชน์เป็นอาหารหลาย

พันโกฏิกัป เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ หม่อมฉัน

ทั้งหลาย มิได้เสียใจในเรื่องนี้เลย

หม่อมฉันทั้งหลายยอมสละชีวิตทำความ

พ้นภัยแก่พระองค์หลายพันโกฏิกัป.

ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลาย

ไม่เคยหวงเครื่องประดับ และผ้ามาชนิดซึ่งอยู่

ที่ตัว และภัณฑะคือตัวหญิงเพื่อประโยชน์แก่

พระองค์

ข้าแต่พระมหามุนีมหาวีรเจ้า ทรัพย์

ข้าวเปลือก ปัจจัยเครื่องบริจาค บ้าน นิคม

ที่นา บุตร ธิดา ช้าง ม้า โค ทาสี ภรรยา

มานับไม่ถ้วน พระองค์ทรงบริจาคแล้ว เพื่อ

ประโยชน์แก่พระองค์

พระองค์ตรัสบอกหม่อมฉันทั้งหลายว่า

เราทั้งหลายจักให้ทานกะพวกยาจก เมื่อเราให้ทาน

อันอุดม เราทั้งหลายก็ไม่เห็นความเสียใจกัน.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันทั้งหลาย

ยอมรับทุกข์มากมายหลายอย่างนับไม่ถ้วน ใน

สงสารเป็นอเนก เพื่อประโยชน์แต่พระองค์

หม่อมฉันทั้งหลายได้รับความสุข ย่อม

อนุโมทนา และในคราวได้รับทุกข์ก็ไม่เสียใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 660

เป็นผู้ยินดีแล้วในที่ทุกแห่ง เพื่อประโยชน์แก่

พระองค์

ข้าแต่พระมหามุนี พระสัมพุทธเจ้าทรง

แสดงธรรมโดยบรรดาอันสมควรเสวยสุขทุกข์แล้ว

ได้บรรลุซึ่งโพธิญาณ

หม่อมฉันทั้งหลายได้ร่วมกับพระสัมพุทธ

เจ้าพระนามว่าโคดม ผู้เป็นนายกของโลก เป็น

เทพผู้ประเสริฐ มาเป็นอันมาก พระองค์ก็ได้

ร่วมกับพระสัมพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ผู้เป็นนาถะ

ของโลกมาเป็นอันมาก

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า อธิการของหม่อม

ฉันทั้งหลายมีมากเพื่อประโยชน์แกพระองค์ เมื่อ

พระองค์ทรงแสวงหาพุทธรรมอยู่ หม่อนฉันทั้ง-

หลายก็ยอมเป็นบริจาริการับใช้พระองค์

ในสี่อสงไขยแสนกัป พระพุทธเจ้าพระ

นามว่าทีปังกร เป็นพระมหาวีระ เป็นนายกของ

โลก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

ประชาชนในปัจจันตประเทศมีใจยินดี

นิมนต์พระตถาคตเจ้าแล้ว ช่วยกันแผ้วถางหนทาง

เป็นที่เสด็จพระพุทธดำเนิน

กาลครั้งนั้น พระองค์เป็นพราหมณ์

นามว่าสุเมธ ตกแต่งหนทางยาว เพื่อพระสุคตเจ้า

ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 661

คราวนั้น หม่อมฉันทุกคนมีสมภพใหญ่

สกุลพราหมณ์ ถือดอกบัวเป็นอันมากนำไปสู่

สมาคม

สมัยนั้น พระพุทธเจ้าทีปังกรผู้มีบริวาร

ยศมาก เป็นพระมหาวีระ ทรงพยากรณ์สุเมธฤาษี

ผู้มีมนัสสูง เมื่อพระพุทธทีปังกรกำลังทรงประกาศ

กรรมาของสุเมธฤาษีผู้มีมนัสสูง แผ่นดินหวั่นไหว

สะเทื้อนสะท้านไปในโลกพร้อมทั้งเทวโลก

พวกเทพกัญญา มนุษย์ และหม่อมฉัน

ทั้งหลายกับเทวดา พากันบูชาพระองค์ผู้เป็น

สุเมธาฤาษีด้วยสิ่งของสิ่งของที่ควรบูชาต่าง ๆ แล้วก็

ปรารถนา

พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร ทรง

พยากรณ์แก่เขาเหล่านั้นว่า ในวันนี้ ชนเหล่าใด

มีความปรารถนา ชนเหล่านั้นจักมีในที่เฉพาะหน้า

ในกัปอันประมาณมิได้แต่กัปนี้

พระพุทธองค์เจ้าทรงพยากรณ์หม่อมฉัน

ทั้งหลาย ด้วยพระวาจาใด หม่อมฉันทั้งหลาย

เมื่ออนุโมทนาวาจานั้น เป็นผู้ทำกรณียกิจ

อย่างนี้.

หม่อมฉันทั้งหลายยังจิตใจให้เลื่อมใสใน

กุศลกรรมที่ได้ทำไว้แล้วนั้น จึงได้เสวยสมบัติใน

กำเนิดเทวดาและมนุษย์นับไม่ถ้วน ครั้นได้เสวย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 662

สุขและทุกข์ในเทวดาและมนุษย์ ในภพนี้

ซึ่งเป็นภพหลัง จึงมาเกิดในศากิยสกุล

มีรูปสมบัติ โภคสมบัติ ยศและศีล

สมบูรณ์ด้วยองคสมบัติทั้งปวง ได้รับสักการะ

อย่างยิ่งในสกุลทั้งหลาย

มีลาภ สรรเสริญ และสักการะ พรั่ง

พร้อมไปด้วยโลกธรรม มีจิตไม่ประกอบด้วยทุกข์

ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ สมจริงตามดำรัสที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ในกาลนั้น ยโสธรานารี แสดงอุปการะ

ทั้งในภายในราชฐานและแก่พวกเจ้าในพระนคร

มีอุปการะทั้งในยามสุขและในยามทุกข์

เป็นผู้บอกประโยชน์ให้ และทำความอนุเคราะห์

แก่เหล่านารี ควรประพฤติธรรมให้เป็นสุจริต

ไม่ควรประพฤติธรรมให้เป็นทุจริต เพราะว่า

บุคคลผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้

และโลกหน้า.

หม่อมฉันทั้งหลายละอาคารสถานออกบวช

ยังไม่ทันถึงครึ่งเดือนก็บรรลุจตุราริยสัจ คนเป็น

อันมากนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช

ปัจจัยมาถวาย เหมือนลูกคลื่นในทะเล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 663

หม่อมฉันทั้งหลายเผากิเลสทั้งหลายแล้ว

. . . คำสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลาย

ได้ทำเสร็จแล้ว หม่อมฉันทั้งหลายได้ทุกขวิบัติ

มากอย่าง และสุขสมบัติก็มากอย่างเช่นนี้ ถึง

พร้อมแล้วซึ่งความเป็นผู้บริสุทธิ์ สมบูรณ์ด้วย

คุณทั้งปวง

บุคคลผู้ถวายตนของตนแก่พระพุทธเจ้า

ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่บุญ

ก็ย่อมพรั่งพร้อมไปด้วยสหาย ลุถึงนิพพานบทอัน

เป็นอสังขตะ

ธรรมทั้งปวงส่วนอดีตปัจจุบันและอนาคต

ของหม่อมฉันทั้งหลายหมดสิ้นไปแล้ว ข้าแต่พระ-

องค์ผู้มีพระจักษุ หม่อมฉันทั้งหลายขอถวายบังคม

พระยุคลบาท

พระพุทธเจ้าตรัสว่า

เมื่อเธอทั้งหลายบอกลาเพื่อจะนิพพาน

เราจะกล่าวอะไรให้ยิ่งกะเธอทั้งหลายเล่า บุคคล

ผู้มีโทษอันปัจจัยปรุงแต่งสงบแล้ว ก็ลุถึงอมตบท

แล้ว.

ทราบว่า ภิกษุณีหนึ่งหมื่นแปดพันมีพระยโสธราเถรีเป็นหัวหน้า ได้

กล่าวคาถาเหล่านั้นในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้

แล.

จบอัฏฐารสสหัสสเถรีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 664

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุณฑลเกสีเถรีอปทาน ๒. กิสาโคตมีเถรีอปทาน ๓. ธรรม-

ทินนาเถรีอปทาน ๔. สกุลาเถรีอปทาน ๕. นันทาเถรีอปทาน ๖. โสณา-

เถรีอปทาน ๗. ภัททกาปิลานีเถรีอปทาน ๘. ยโสธราเถรีอปทาน ๙. ทส-

สหัสสเถรีอปทาน ๑๐. อัฏฐารสสหัสสเถรีอปทาน

บัณฑิตคำนวณคาถาได้ ๔๗๘ คาถา.

จบกุณฑลเกสวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 665

ขัตติยกัญญาวรรคที่ ๔

อัฏฐารสสหัสสขัตติยกัญญาเถรีอปทานที่ ๑ (๓๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระขัตติยกัญญาเถรี ๑๘,๐๐๐ รูป

[๑๗๑] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉัน

ทั้งหลายมีภพทั้งปวงสิ้นไปแล้ว ปลดเปลื้องที่ต่อ

แห่งภพแล้ว มิได้มีอาสวะทั้งปวงเลย

ขอกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหามุนี

หม่อมฉันทั้งหลาย มีกุศลกรรมเก่าทุกอย่าง

บำเพ็ญไว้ดีแล้ว วัตถุเครื่องบริโภคก็ให้แล้วเพื่อ

ประโยชน์แก่พระองค์

ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลาย

บำเพ็ญกุศลกรรม ถวายเครื่องบริโภคแก่พระ-

พุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้ง

หลายเพื่อประโยชน์แก่พระองค์

ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลายมี

กรรมอย่างสูงและอย่างต่ำบำเพ็ญดีแล้ว แก่ภิกษุ

ทั้งหลาย มีกรรมเก่าทั้งส่วนสูงทั้งส่วนต่ำทำไว้

แล้ว

หม่อมฉันทั้งหลาย อันกรรมเดิมที่เป็น

กุศลนั้นนั่นแหละเตือนแล้ว เป็นผู้พรั่งพร้อมไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 666

ด้วยกุศลกรรม ล่วงวิบัติของมนุษย์แล้ว มาเกิด

ในสกุลกษัตริย์

เพราะหม่อมฉันทั้งหลายร่วมก่อสร้าง

กรรมโดยชาติร่วมกัน จึงได้มาเกิดมีสมภพใน

ตระกูลกษัตริย์ร่วมกัน ในภพหลัง

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันทั้งหลาย

เป็นผู้มีรูปสมบัติ มีโภคสมบัติ มีลาภสักการะ

อันมหาชนบูชาแล้ว ณ ภายในบุรี เหมือนนันทวัน

ของทวยเทพ หม่อมฉันทั้งหลายเบื่อหน่ายร่วมกัน

ออกบวชเป็นภิกษุณี มีอุปทานอยู่สองสามวัน

บรรลุถึงความดับทุกข์ทั้งหมดด้วยกัน

หม่อมฉันทั้งหลาย อันชนเป็นอันมาก

นำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัชปัจจัยเข้ามา

สักการะบูชาแล้ว

หม่อมฉันทั้งหลายเผากิเลสทั้งหลายแล้ว

คำสอนของพระพุทธเจ้าหม่อมฉันทั้งหลายได้

ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ภิกษุณีผู้เคยเป็นขัตติยกัญญา ๑๘,๐๐๐ มีพระยสวดีเถรีเป็น

หัวหน้าได้กล่าวคาถาเหล่านั้นเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบอัฏฐารสสหัสสขัตติยกัญญาเถรีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 667

จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถรีอปทานที่ ๒ (๓๒)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระพราหมณกัญญาเถรี ๑๘,๐๐๐ รูป

[๑๗๒] ข้าแต่พระมุนี หม่อมฉันทั้ง-

หลายมีสมภพในสกุลพราหมณ์จำนวน ๘๔,๐๐๐

มีมือและเท้าละเอียดอ่อน เกิดในบุรีของ

พระองค์

ข้าแต่พระมหามุนี หญิงที่เกิดในสกุล

พ่อค้า และสกุลศูทร เป็นเทวดา นาค กินนร

และที่อยู่ในทวีปทั้งสี่มีมาก เกิดในบุรีของ

พระองค์

หญิงบางพวกบวชแล้ว มีความเห็นธรรม

ทั้งปวงก็มีมาก พวกเทวดา กินนร นาค จัก

ตรัสรู้ในอนาคต

ชนทั้งหลายได้เสวยเกียรติยศทั้งปวง มั่ง

คั่งด้วยสรรพสมบัติได้ความเลื่อมใสในพระองค์

จักตรัสรู้ในอนาคต

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าผู้มีพระจักษุ ส่วน

หม่อมฉันทั้งหลายเกิดในสกุลพราหมณ์ เป็นธิดา

ของพราหมณ์ เป็นผู้มีโชคดี ขอถวายบังคม

พระยุคลบาท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 668

หม่อมฉันทั้งหลายกำจักภพทั้งหมดแล้ว

ถอนตัณหาอันเป็นรากเหง้าขึ้นแล้ว ตัดอนุสัยขาด

แล้ว ทำลายสังขารคือบุญหมดแล้ว

หม่อมฉันทั้งปวงมีสมาธิเป็นโคจรชำนาญ

ในสมาบัติ จักอยู่ฌานและความยินดีในธรรม

ทุกเมื่อ

ข้าแต่พระองค์ผู้นายก หม่อมฉันทั้ง

หลาย ยังตัณหาที่นำไปสู่ภพ อวิชชา และแม้

สังขารให้สิ้นไปแล้ว บรรลุถึงบทที่แสนยากจะ

ได้เห็นแล้ว ทราบอยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ท่านทั้งปวงมีอุปการะแก่เราผู้เดินทางไกล

ตลอดกาลนานมา จงตัดความสงสัยของบริษัทสี่

แล้วจึงนิพพานเถิด.

พระเถรีเหล่านั้นถวายบังคมพระยุคลบาท

ของพระมุนีแล้ว แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ บางพวกแสดง

แสงสว่าง บวงพวกแสดงความมืด

บางพวกแสดงเป็นดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์

บางพวกแสดงทะเล พร้อมด้วยปลา บางพวก

แสดงเขาสิเนรุ บางพวกแสดงเขาสัตตบริภัณฑ์

บางพวกแสดงต้นปาริฉัตตกะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 669

บางพวกแสดงภพดาวดึงส์ บางพวก

แสดงภพยามาด้วยฤทธิ์ บางพวกแสดงเป็นเทวดา

ชั้นดุสิต บางพวกแสดงเป็นเทวดาชั้นนิมมานรดี

บางพวกแสดงเป็นเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีมี

อิสระมาก

บางพวกแสดงเป็นพรหม บางพวกแสดง

ที่จงกรมอันควรแก่ค่ามาก บางพวกนิรมิตเพศเป็น

พรหมแสดงสุญญตธรรม.

พระเถรีทั้งปวงครั้นแสดงฤทธิ์มีชนิด

ต่าง ๆ แล้วกันแสดงกำลังถวายพระศาสดา ครั้น

แล้ว ก็ถวายบังคมพระยุคลบาท

กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉัน

ทั้งหลายเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์ มีความ

ชำนาญในทิพโสตธาตุ มีความชำนาญในเจโต-

ปริญาณ

รู้ปุพเพนิวาสญาณและทิพยจักษุอันหมด

จดวิเศษ มีอาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพ

ใหม่มิได้มีอีก

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันทั้งหลาย

มีญาณในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณ

เกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 670

ความสมาคมกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้

เป็นนายกของโลก พระองค์ทรงแสดงแล้ว ข้า

แต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลายมีอธิการเป็น

อันมาก เพื่อประโยชน์แก่พระองค์

ข้าแต่พระมุนีมหาวีรเจ้า ขอพระองค์จง

ทรงระลึกถึงกุศลกรรมก่อนของหม่อมฉันทั้งหลาย

หม่อมฉันทั้งหลายก่อสร้างบุญ เพื่อประโยชน์

แก่พระองค์.

ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้ พระมหา-

มุนีพระนามว่าปทุมุตตระ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระ

นครหังสวดีเป็นที่อยู่อาศัยแห่งสกุลของพระสัม-

พุทธเจ้า

มีแม่น้ำคงคาไหลผ่านทางประตูพระนคร

หังสวดี ในกาลทั้งปวง ภิกษุทั้งหลายเดือดร้อน

เพราะแม่น้ำ ไปไหนไม่ได้.

น้ำเต็มเปี่ยมวันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง

สามวันบ้าง สัปดาห์หนึ่งบ้าง เดือนหนึ่งบ้าง

สี่เดือนบ้าง ภิกษุเหล่านั้นจึงไปไม่ได้

ครั้งนั้น รัฐบุรุษผุ้หนึ่งมีนามว่าชัชชิยะ

มีทรัพย์เป็นแก่นสารสำหรับมนุษย์ เห็นภิกษุ

ทั้งหลายประสงค์จะข้ามฝั่ง ได้ให้นายช่างจัดสร้าง

สะพานที่ฝั่งนี้แห่งแม่น้ำคงคา

๑. ม.ย. ชฏิละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 671

ครั้งนั้น ประชาชนให้นายช่างสร้าง

สะพานที่แม่น้ำคงคาด้วยทรัพย์หลายแสน และ

รัฐบุรุษนั้น ได้ให้นายช่างสร้างวิหารที่ฝั่งโน้น

ถวายแก่สงฆ์

สตรี บุรุษ สกุลสูงและต่ำเหล่านั้น

ได้สร้างสะพานและวิหารให้มีส่วนเท่ากันกับของ

รัฐบุรุษนั้น

หม่อมฉันทั้งหลายและมนุษย์เหล่าอื่น

ในพระนครและในชนบท จิตเลื่อมใส ย่อม

เป็นธรรมทายาทแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สตรี บุรุษ กุมารและกุมารีมากด้วยกัน

ต่างก็ขนเอาทรายมาเกลี่ยลงที่สะพานและวิหาร

กวาดถนนแล้วยกต้นกล้วย หม้อมีน้ำ

เต็ม และธงขึ้น จัดธูป จุรณและดอกไม้เป็น

สักการะแด่พระศาสดา

ครั้นสร้างสะพานและวิหารแล้ว นิมนต์

พระพุทธเจ้าถวายมหาทานแล้วปรารถนาความ

ตรัสรู้

พระมหามุนีปทุมุตตระมหาวีรเจ้า ผู้เป็น

ที่เคารพแห่งสรรพสัตว์ ทรงทำอนุโมทนาแล้ว

ตรัสพยากรณ์ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 672

เมื่อแสนกัปล่วงไปแล้ว จักถึงภัทรกัป

บุรุษนี้ได้ความสุขในภพน้อยภพใหญ่แล้ว จัก

บรรลุโพธิญาณ

บุรุษและสตรีที่ทำหัตถกรรมทั้งหมด จัก

เกิดร่วมกันในอนาคตกาล

ด้วยวิบางแห่งกรรมนั้นและด้วยการตั้ง

เจตน์จำนงไว้ ประชาชนเหล่านั้นเกิดในเทวโลก

แล้ว เป็นบริจาริกาแห่งพระองค์

เสวยทิพยสุขและมนุษยสุขมากมาย

ท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ตลอดกาลนาน ใน

กัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้ หม่อมฉันทั้งหลาย

มีกุศลกรรมทำอันดีแล้ว เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อม

เกิดในความเป็นมนุษย์สุขุมาลชาติ เมื่อเกิดเป็น

เทาวดาย่อมเกิดในความเป็นเทวดาผู้ประเสริฐ

ย่อมได้รูปสมบัติ โภคสมบัติ ยศ ความ

สรรเสริญและความสุข ความเป็นที่รัก ซึ่งเป็น

ผลที่ปรารถนาทั้งปวงเนือง ๆ อันถึงพร้อมเพราะ

กรรมที่ตนกระทำมาดีแล้ว.

ในภพนี้ซึ่งเป็นภพหลัง หม่อมฉันทั้ง

หลายเกิดในสกุลพราหมณ์ มีมือและเท้าละเอียด

อ่อน และได้มาในพระนิเวศน์แห่งพระศากย-

บุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 673

ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลาย

ย่อมไม่เห็นแผ่นดินที่เขาไม่ตกแต่ง แต่ไม่เห็น

ภาคพื้นที่เป็นทางเดินลื่น แม้ตลอดกาลทั้งปวง

เมื่อหม่อมฉันทั้งหลายอยู่ในอาคารสถาน

ประชุมชนก็นำสักการะทุกอย่างมาให้ตลอดกาลก่อน

ทั้งปวง เพราะผลแห่งกุศลกรรมในกาลก่อน

หม่อมฉันทั้งหลายละอาคารสถานแล้ว

บวชเป็นภิกษุณี ข้ามพ้นทางสงสารได้แล้ว บัดนี้

ภพใหม่มิได้มีอีก

พวกทายกทายิกาหลายพันแต่ที่นั้น ๆ

นำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและเภสัชปัจจัยมา

ให้เสมอไป

หม่อมฉันทั้งหลายเผากิเลสทั้งหลายแล้ว

. . .คำสอนของพระพุทธเจ้าหม่อมฉันทั้งหลายได้

ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระภิกษุณีบุตรีพราหมณ์ ๘๔,๐๐๐ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้

เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.

จบจตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถรีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 674

อุปปลทายิกาเถรีอปทานที่ ๓ (๓๓)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระอปปลทายิการเถรี

[๑๗๓] พระเถรีกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

มีกษัตริย์องค์หนึ่งพระนามว่าอรุณ ครอง

ราชสมบัติในพระนครอรุณวดี หม่อมฉันเป็น

มเหสีของท้าวเธอ บอกบุคคลบางคนว่า หม่อม

ฉันนั่งอยู่ในที่ลับคิดอย่างนี้ว่า กุศลที่เราจะเอาไป

ที่เราทำไว้ไม่มีเลย

เราจะต้องไปสู่นรกอันมีความเร่าร้อนมาก

ทั้งเผ็ดร้อนร้ายแรงแสนทารุณเป็นแน่ ในเรื่องนี้

เราไม่มีความสงสัยเลย

ครั้นหม่อมฉันคิดอย่างนี้แล้ว ยังใจให้

ร่าเริงเข้าไปเฝ้าพระราชสวามีแล้ว กราบทูลว่า

ข้าแต่พระขัตติยาธิยาบดีผู้ประเสริฐ หม่อม

ฉันเป็นสตรี ไม่เคยเป็นบุรุษ ขอพระองค์ได้

โปรดประทานสมณะองค์หนึ่งแก่หม่อมฉันเถิด

หม่อมฉันจักนิมนต์ท่านให้ฉัน

ครั้งนั้นพระราชาได้ประทานสมณะองค์

หนึ่งผู้อบราอินทรีย์แล้วแก่หม่อมฉัน หม่อมฉัน

มีใจยินดีรับบาตรของท่านมาแล้ว เอาภัตตาหาร

อย่างประณีตใส่จนเต็ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 675

ครั้นแล้วได้ถวายผ้าผืนใหญ่ให้ท่านครอง

แล้วได้ถวายบาตรนั้นพร้อมด้วยดอกไม้มีกลิ่นหอม

และน้ำมันเครื่องไล้ทาอย่างดี.

ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำไว้แล้วนั้น และ

ด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้ หม่อมฉันละร่างกาย

มนุษย์แล้ว ได้ไปภพดาวดึงส์

ได้ครองตำแหน่งพระมเหสีแห่งเทวราช

หนึ่งพันชาติ ได้ครองตำแหน่งพระมเหสีแห่ง

พระเจ้าจักรพรรดิหนึ่งพันชาติ

และครองตำแหน่งพระมเหสีแห่งพระ-

เจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยจะคณานับชาติมิได้

ทั้งได้ศุภผลอื่นมีอย่างต่าง ๆ มากมายซึ่งเป็นผล

กรรมแห่งบิณฑบาตในคราวนั้น

หม่อมฉันมีสีกายเหมือนดอกบัว เป็น

หญิงมีรูปงาม น่าดู น่าชม ถึงพร้อมด้วยองค-

สมบัติทั้งปวงเป็นอภิชาติสตรี ทรงไว้ซึ่งความ

เปล่งปลั่ง

ในภพนี้ซึ่งเป็นภพหลัง หม่อมฉันเกิด

ในศากิยสกุล เป็นธิดาแห่งพระเจ้าสุทโธทนมหา-

ราช เป็นหัวหน้าแห่งนารีหนึ่งพัน

เบื่อหน่ายในอาคารสถาน จึงออกบวช

เป็นภิกษุณีถึงราตรีที่ ๗ ก็ได้บรรลุจตุราริยสัจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 676

หม่อมฉันไม่สามารถจะประมาณจีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชปัจจัย ที่ทายก

ทายิกานำมาถวายไว้ นี้เป็นผลแห่งบิณฑบาต.

ข้าแต่พระมุนีมหาวีรเจ้า ขอพระองค์

พึงทรงระลึกถึงกุศลกรรมครั้งก่อนของหม่อมฉัน

หม่อมฉันสละวัตถุทานเป็นอันมากเพื่อประโยชน์

แก่พระองค์

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ หม่อมฉันได้ถวาย

ทานใดในครั้งนั้น ด้วยผลแห่งทานนั้น หม่อมฉัน

ไม่รู้สึกทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งบิณฑบาตทาน

หม่อมฉันรู้จักคติสอง คือ เทาวดาหรือ

มนุษย์ มิได้รู้จักคติอื่นเลย นี้เป็นผลแห่งบิณฑ-

บาตทาน

รู้จักแต่สกุลสูงซึ่งเป็นสกุลมหาศาลมี

ทรัพย์มาก มิได้รู้จักสกุลอื่นเลย นี้เป็นผลแห่ง

บิณฑบาตทาน.

หม่อมฉันท่องเที่ยวไปในภพน้อยใหญ่

อันกุศลมูลตักเตือนแล้วย่อมไม่เห็นสิ่งที่ไม่พอใจ

เลย นี้เป็นผลแห่งโสมนัส

ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มี

ความชำนาญในฤทธิ์ มีความชำนาญในทิพโสต-

ธาตุ มีความชำนาญในเจโตปริยญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 677

ย่อมรู้ปุพเพนิวาสญาณและทิพยจักษุอัน

หมดจดวิเศษ มีอาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว บัดนี้

ภพใหม่มิได้มีอีก

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันมีญาณ

ในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณเกิดขึ้น

แล้วในสำนักของพระองค์

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว. . .คำสอน

ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระอุปปลทายิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้เฉพาะ

พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอุปปลทายิกาเถรีอปทาน

สิงคาลมาตาเถรีอปทานที่ ๔ (๓๕)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระสิงคาลมาตาเถรี

[๑๗๔] ในกัปที่หนึ่งแสนแต่ภัทรกัปนี้

พระพิชิตมารผู้เป็นนายกของโลก พระนามว่า

ปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวงเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

ครั้งนั้นดิฉันเกิดในสกุลอำมาตย์ที่รุ่งเรือง

ด้วยรัตนะต่าง ๆ เป็นตระกูลมั่งคั่ง เจริญ มีทรัพย์

มาก ในพระนครหังสวดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 678

ดิฉันมีมหาชนเป็นบริวารไปกับบิดา ได้

ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วออกบวชเป็นภิกษุณี

ครั้นบวชแล้ว เว้นบาปกรรมทั้งหลาย

ละวจีทุจริต ชำระอาชีวะบริสุทธิ์ มีความเลื่อมใส

เพราะเคารพมากในพระพุทธเจ้า พระธรรม และ

พระสงฆ์ ขวนขวายในการฟังธรรม มีความ

ปรารถนาเห็นพระพุทธเจ้า

ในครั้งนั้น ดิฉันได้ฟังภิกษุณีองค์หนึ่ง

ซึ่งเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ฝ่ายสัทธาธิมุตติ

จงปรารถนาตำแหน่งนั้น แล้วได้บำเพ็ญไตรสิกขา.

ครั้งนั้น พระสุคตเจ้าผู้มีพระอัธยาศัย

ประกอบด้วยกรุณา ตรัสกะดิฉันว่าบุคคลผู้มี

ศรัทธาไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นดีในพระตถาคต มีศีล

งามที่พระอริยะรักใคร่สรรเสริญ มีความเลื่อมใส

ในพระสงฆ์ มีความเห็นตรง

นักปราชญ์เรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ขัดสน

ชีวิตของผู้นั้นไม่เป็นหมัน เพราะฉะนั้น บุคคล

ผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย พึงหมั่นประกอบศรัทธา ศีล ความ

เลื่อมใสและความเห็นธรรม

ดิฉันได้ฟังพระพุทธดำรัสนั้นแล้ว มี

ความเบิกบานใจ ได้ทูลถามถึงความปรารถนาของ

ดิฉัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 679

ครั้งนั้น พระสุคตเจ้าผู้นำชั้นพิเศษ ผู้มี

ปัญญาไม่ทราบ มีพระคุณนับไม่ถ้วนทรงพยากรณ์

ว่า ท่านเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า มีธรรมงาม จัก

ได้ตำแหน่งนั้นที่ท่านปรารถนาดีแล้ว

ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ พระศาสดา

พระนามว่าโคดม มีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกาก-

ราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

ท่านจักได้เป็นธรรมทายาทแห่งพระ-

ศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมนิรมิต

เป็นมารดาแห่งสิงคาลมาณพ จักได้เป็นสาวิกา

ของพระศาสดา.

ครั้งนั้น ดิฉันได้ฟังพระพุทธพยากรณ์

นั้นแล้ว มีความยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตา

บำรุงพระพิชิตมารผู้เป็นนายกของโลก ด้วยความ

ปฏิบัติทั้งหลาย จนสิ้นชีวิต

ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำไว้แล้วนั้นและด้วย

การตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างกายมนุษย์แล้ว

ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ในภพหลังครั้งนี้ดิฉันเกิดในสกุลเศรษฐี

มีความเจริญ สั่งสมรัตนะไว้มาก ในพระนคร

ราชคฤห์อันอุดม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 680

บุตรของดิฉันชื่อสิงคาลมาณพ ยินดีใน

ทางผิด แล่นไปสู่ทิฐิอันรกชัฏ มีการบูชาทิศเป็น

เบื้องหน้า ย่อมไหว้ทิศต่าง ๆ

พระพุทธเจ้าผู้นำชั้นพิเศษ เสด็จเข้าไปสู่

พระนครราชคฤห์ เพื่อทรงรับบิณฑบาต ทอด

พระเนตรเห็นบุตรของดิฉันแล้ว ประทับยืนอยู่ที่

หนทางตรัสแสดงธรรมแก่บุตรของดิฉัน แต่เขา

ยังมีความเห็นผิดอยู่อย่างเต็ม ธรรมาภิสมัยได้มี

แก่บุรุษและสตรี ๒ โกฏิ

ครั้งนั้นดิฉันไปในที่ประชุมนั้นได้ฟังสุคต

ภาษิตแล้ว ได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วออกบวช

เป็นภิกษุณี

ดิฉันผู้ปรารถนาเห็นพระพุทธเจ้า เจริญ

พุทธานุสสติอยู่ไม่นาน ก็ได้บรรลุอรหัตผล

ดิฉันได้เห็นพระพุทธเจ้าอยู่ร่ำไป มิได้เบื่อ

ชมพูพระรูปเป็นที่เพลินตา เป็นพระรูปที่เกิดแต่

พระบารมีทั้งปวง เป็นดังว่าเรือนหลวงที่ประกอบ

ด้วยสิริ มีพระลักษณะงานทั่วไป

พระพิชิตมารโปรดในคุณสมบัตินั้น จึง

ทรงตั้งดิฉันไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า

ภิกษุณีมารดาของสิงคาลมาณพเป็นผู้เลิศ

กว่าภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายสัทธาธิมุตติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 681

ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มี

ความชำนาญในฤทธิ์ มีความชำนาญในทิพโสต-

ธาตุ มีความชำนาญในเจโตปริยญาณ

ย่อมรู้ปุพเพนิวาสญาณและทิพยจักษุอัน

หมดจดวิเศษ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว บัดนี้

ภพใหม่มิได้มีอีก

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันมีญาณ

ในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณ เกิดขึ้น

ในสำนักของพระองค์

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอน

พระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระภิกษุณีมารดาสิงคาลมาณพได้กล่าวคาถาเหล่านั้น

ด้วยประการฉะนี้แล.

จบสิงคาลมาตาเถริยาปทาน

สุกกาเถรีอปทานที่ ๕ (๓๕)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระสุกกาเถรี

[๑๗๕] ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ พระ

พุทธเจ้าผู้นายกของโลกพระนามวิปัสสี มีพระ

เนตรงาม ทรงเห็นแจ้งซึ่งธรรมทั้งปวงเสด็จอุบัติ

ขึ้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 682

ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในสกุลหนึ่ง ใน

พระนครพันธุมดี ได้ฟังธรรมของพระมุนีแล้ว

ออกบวชเป็นภิกษุณี เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงธรรม

ปฏิภาณ กล่าวธรรมกถาไพเราะ ปฏิบัติตาม

พระพุทธศาสนา

ครั้งนั้น หม่อมฉันแสดงธรรมกถาเพื่อ

ประโยชน์แก่ประชุมชนทุกสมัย หม่อมฉันเคลื่อน

จากอัตภาพนั้นแล้วไปเกิดในภพดุสิต เป็นเทพ

ธิดามียศ

ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมาร

พระนามว่าสิขี มีพระรัศมีดังไฟ สง่าอยู่ในใจ

ด้วยยศประเสริฐกว่าพวกบัณฑิต เสด็จอุบัติขึ้น

แล้ว

แม้ในครั้งนั้นหม่อมฉันบวชแล้ว เป็นผู้

ฉลาดในพุทธศาสนา ยังพระพุทธพจน์ให้กระจ่าง

แล้วไปสู่ภพดาวดึงส์

ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้า

ผู้เป็นนายกของโลก พระนามว่าเวสสภู มีธรรม

ดังว่ายานใหญ่ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว แม้หม่อมฉัน

ก็เกิดในกาล

บวชแล้วเป็นผู้ทรงธรรม ยังพุทธศาสนา

เดียวกันนั้น ให้กระจ่างแล้ว ไปสู่เทวบุรีที่น่ายินดี

ได้เสวยความสุขมาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 683

ในภัทรกัปนี้ พระพิชิตมารผู้อุดมพระ-

นามว่ากกุสันธะ ประเสริฐกว่านรชน เสด็จอุบัติ

ขึ้นแล้ว แม้ในครั้งนั้น หม่อมฉันก็เกิดในกาล

เดียวกันนั้น

บวชแล้ว ก็ยังพุทธศาสนาให้กระจ่างจน

ตลอดชีวิต เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้ไปสู่

ภพดาวดึงส์ เหมือนดังไปสู่ที่อยู่ของตน

ในภัทรกัปนี้แล พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายก

ของโลก พระนามว่าโกนาคมนะ ผู้ประเสริฐ

กว่าพวกบัณฑิต อุดมกว่าสรรพสัตว์ เสด็จอุบัติ

ขึ้นแล้ว

แม้ในครั้งนั้น หม่อมฉันบวชในศาสนา

ของพระองค์ผู้คงที่ เป็นพหูสูตทรงธรรม ยังพุทธ

ศาสนาให้กระจ่าง

ในภัทรกัปนี้เหมือนกัน พระมุนีพระนาม

ว่ากัสสปะ มีพระคุณประเสริฐ เป็นสรณะแห่ง

สัตวโลก ไม่มีข้าศึก ถึงที่สุดแห่งมรณะ เสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว

หม่อมฉันบวชในศาสนาของพระพุทธ

เจ้าผู้ทรงพระปรีชากว่าประชากร พระองค์นั้น

ศึกษาพระสัทธรรมแล้วคล่องแคล่วในปริปุจฉา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 684

ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันมีศีลงาม

ความละอาย ฉลาดในไตรสิกขา แสดงธรรม

กถามากจนตลอดชีวิต

ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น และด้วยการตั้ง

เจตน์จำนงไว้ หม่อมฉันละร่างกายมนุษย์แล้ว

ไปสู่ภพดาวดึงส์

ในภพหลังครั้งนี้ หม่อมฉันเกิดในสกุล

เศรษฐีที่เจริญ สั่งสมรัตนะไว้มาก ในพระนคร

ราชคฤห์อันอุดม

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นนายกของ

โลกอันภิกษุขีณาสพหนึ่งพันเป็นบริวารสรรเสริญ

แล้ว เสด็จเข้าไปสู่เมืองราชคฤห์

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกอินทรีย์แล้ว

พ้นขาดจากสรรพกิเลส มีวรรณะเปล่งปลั่งดังแท่ง

ทองสิงคาล พร้อมด้วยพระขีณาสพซึ่งเคยเป็นชฎิล

ผู้ฝึกอินทรีย์แล้ว พ้นขาดจากสรรพกิเลสเสด็จเข้า

ไปสู่เมืองราชคฤห์

หม่อมฉันได้เห็นพระพุทธานุภาพ และ

ได้ฟังธรรมมีคุณเป็นที่ประชุมแล้ว ยังจิตให้เลื่อม

ใสในพระพุทธเจ้า บูชาพระองค์ผู้พลธรรมมาก

เวลาต่อมา หม่อมฉันออกบวชเป็นภิกษุณี

ในสำนักพระธรรมทินนาเถรี หม่อมฉันเผากิเลส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 685

ทั้งหลายในเมื่อกำลังปลงผม บวชแล้วไม่นาน

ศึกษาศาสนธรรมทั่วแล้ว

แต่นั้น ได้แสดงธรรมในสมาคมแห่งมหา-

ชน เมือหม่อมฉันกำลังแสดงธรรมอยู่ ธรรมา-

ภิสมัยได้มีแก่ประชุมชนหลายพัน

มียักษ์ตนหนึ่งได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิด

อัศจรรย์ใจ เลื่อมใสต่อหม่อมฉัน ได้ไปยังพระ-

นครราชคฤห์

พวกมนุษย์ในพระนครราคฤห์อันหม่อม

ฉันทำแล้วอย่างไร ได้ดื่มธรรมดังว่าดื่มน้ำผึ้งอยู่

ฉะนั้น มนุษย์เหล่าใดไม่นั่งใกล้ภิกษุณีชื่อสุกกา

ผู้แสดงอมตบท อันเป็นเหตุไม่ให้ถอยกลับ ให้

เกิดความชื่นใจ มีรสโอชา มนุษย์เหล่านั้นเห็น

จะเป็นเหมือนพวกคนมีปัญญาเดินทางไกล หาน้ำ

ฝนดื่มฉะนั้น

ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มี

ความชำนาญในฤทธิ์ มีความชำนาญในทิพโสต-

ธาตุ มีความชำนาญในเจโตปริยญาณ

รู้ปุพเพนิวาสญาณและทิพยจักษุอันหมด

จดวิเศษ มีอาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่

มิได้มีอีก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 686

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันมีญาณ

ในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติและปฏิภาณ เกิดขึ้น

แล้วในสำนักของพระองค์

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...คำสอน

ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระสุกกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบสุกกาเถรีอปทาน

จบภาณวารที่ ๕

อภิรูปนันทาเถรีอปทานที่ ๖ (๓๖)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระอภิรูปนันทาเถรี

[๑๗๖] ในกัปที่ ๙๑ แตกภัทรกัปนี้ พระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก พระนานว่าวิปัสสี

มีพระเนตรงาม มีพระจักษุในธรรมทั้งปวงเสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว

ครั้งนั้น ดิฉันเกิดในสกุลใหญ่ที่นั่งดัง

เจริญ ในพระนครพันธุมดี เป็นหญิงมีรูปงาม

น่าพึงใจและเป็นที่บูชาของประชุมชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 687

ได้เข้าเฝ้าพระพุทธวิปัสสีผู้มีความเพียร

มาก เป็นนายกของโลก ได้ฟังธรรมแล้วถึงพระ

องค์เป็นสรณะ

สำรวมอยู่ในศีล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ผู้มีพระคุณสูงสุดกว่านรชน ปรินิพ-

พานแล้ว ดิฉันได้เอาฉัตรทองบูชาไว้ ณ เบื้องบน

แห่งพระสถูปที่บรรจุพระธาตุ

ดิฉันเป็นผู้มีจาคะอันสละแล้ว มีศีลจน

ตลอดชีวิต เคลื่อนจากอัตภาพนั้น ละร่างกาย

มนุษย์แล้ว ได้ไปสู่ภพดาวดึงส์

ครั้งนั้น ดิฉันครอบงำเทพธิดาทั้งหมด

ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยรูป เสียง กลิ่น

รส โผฏฐัพพะ อายุ วรรณะ สุข ยศ และ

ความเป็นอธิบดี รุ่งโรจน์ปรากฏอยู่ ในภพหลัง

ครั้งนี้ ดิฉันเกิดในพระนครกบิลพัสดุ์ เป็นธิดา

ของศากยราช พระนามว่าเขมกะ มีนามปรากฏว่า

นันทา

ประชุมชนกล่าวว่า ดิฉันเป็นผู้หนึ่งซึ่งมี

ความถึงพร้อมด้วยรูปงาม น่าชม เมื่อดิฉันเติบโต

เป็นสาว (รู้จัก) ตกแต่งรูปและผิวพรรณ

พวกศากยราชมีความวิวาทกันมากเพราะ

ตัวดิฉัน ครั้งนั้น พระธิดาของดิฉัน กล่าวว่า

พวกศากยราชอย่าฉิบหายเสียเลย ถึงให้ดิฉันบวช

เสีย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 688

ครั้นดิฉันบวชแล้วได้ฟังว่า พระตถาคต-

เจ้าผู้มีพระคุณสูงสุดกว่านรชน ทรงติรูป จึงไม่

เข้าไปเฝ้าเพราะดิฉันชอบรูป กลัวจะพบพระ-

พุทธเจ้า จึงไม่ไปรับโอวาท

ครั้งนั้น พระพิชิตมารทรงให้ดิฉันเข้าไป

สู่สำนักของพระองค์ด้วยอุบาย พระองค์ทรงฉลาด

ในทางอุบาย ทรงแสดงหญิง ๓ ชนิด ด้วยฤทธิ์

คือ หญิงสาวสวยเหมือนรูปเทพอัปสร หญิงแก่

หญิงตายแล้ว

ดิฉันเห็นหญิงทั้ง ๓ แล้ว มีความสลดใจ

ไม่ยินดีในซากศพหญิงที่ตายแล้ว มีความเบื่อ-

หน่ายในภพเฉยอยู่.

ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นายกของ

โลก ตรัสกะดิฉันว่า

ดูก่อนนันทา ท่านจงดูร่างกายที่ทุรน-

ทุราย ไม่สะอาด สิ่งโสโครก ไหลเข้า ถ่ายออก

อยู่ ที่พวกพาลชนปรารถนากัน

ท่านจงอบรมจิตให้เป็นสมาธิ มีอารมณ์

เดียวด้วยอสุภะเถิด รูปนี้เป็นฉันใด รูปท่าน

นั้น ก็เป็นฉันนั้น รูปท่านนั้น เป็นฉันใด รูปนี้

เป็นฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 689

เมื่อท่านพิจารณาเห็นรูปนั้น อย่างนี้

มิได้เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน แต่นั้นก็จะ

เบื่อหน่ายอยู่ด้วยปัญญาของตน

ดิฉันผู้ไม่ประมาท พิจารณาในร่างกายนี้

อยู่โดยแยบคาย ก็เห็นภายนี้ทั้งภายในภายนอก

ตามความเป็นจริง

เมื่อเป็นเช่นนั้น ดิฉันจึงเบื่อหน่ายใน

กาย และไม่ยินดีเป็นภายใน ไม่ประมาท ไม่

เกาะเกี่ยว เป็นผู้สงบเย็นแล้ว.

ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มี

ความชำนาญในฤทธิ์ ในทิพโสตธาตุ และใน

เจโตปริยญาณ รู้ปุพเพนิวาสญาณและทิพยจักษุ

อันหมดจดวิเศษ หม่อมฉันสิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว

บัดนี้ภพใหม่ไม่มี

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันมีญาณ

ในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณ เกิดขึ้น

แล้วในสำนักของพระองค์

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระอภิรูปนันทาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบอภิรูปนันทาเถรีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 690

อัฑฒกาสีเถรีอปทานที่ ๗ (๓๗)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระอัฑฒกาสีเถรี

[๑๗๗] ในภัตรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็น

พงศ์พันธุ์แห่งพราหมณ์ ทรงพระยศมาก พระ

นามว่ากัสสปะ ประเสริฐ กว่าพวกบัณฑิต เสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว

ครั้งนั้น ดิฉันบวชในศาสนาของพระ-

องค์ สำรวมในปาติโมกข์และอินทรีย์ รู้จัก

ประมาณในอาสนะต่ำ ประกอบความเพียรในความ

เป็นผู้ตื่นอยู่ บำเพ็ญเพียร

มีจิตชั่ว ได้ด่าภิกษุณีองค์หนึ่งผู้ปราศจาก

อาสวะครั้งเดียวว่านางแพศยา ด้วยบาปกรรมนั้น

นั่นแหละ ดิฉันต้องหมกไหม้อยู่ในนรก

ด้วยกรรมที่ยังเหลืออยู่นั้น ดิฉันเกิดใน

สกุลหญิงแพศยา ถูกขายให้บุรุษอื่นอยู่โดยมาก

ในชาติหลัง

ดิฉันเกิดในสกุลเศรษฐีในแคว้นกาสี มี

ความถึงพร้อมด้วยรูป ดุจดังนางเทพอัปสรในหมู่

เทวดา ด้วยผลแห่งพรหมจรรย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 691

ประชุมชนเห็นดิฉันมีรูปน่าชม จึงตั้ง

ดิฉันไว้ในความเป็นหญิงแพศยา ในพระนคร

ราชคฤห์ที่อุดม ด้วยผลที่ด่าภิกษุณีนั้น

ดิฉันได้ฟังพระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าผู้

ประเสริฐตรัสแล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยบุพวาสนา

ได้บวชเป็นภิกษุณี

แต่เมื่อไปสู่สำนักพระพิชิตมารเพื่อจะ

อปสมบท พบพวกนักเลงดักอยู่ที่หนทาง ได้แล้ว

ซึ่งทูตอุปสมบท

ดิฉันมีธรรมทุกอย่างทั้งบุญและบาปหมด

สิ้นไปแล้ว ข้ามพ้นสงสารทั้งปวงแล้ว และความ

เป็นหญิงแพศยาก็สิ้นไปแล้ว

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันมีญาณ

ในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณ เกิดขึ้น

แล้วในสำนักของพระองค์

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว... คำสอน

ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระอัฑฒกาสีภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบอัฑฒกาสีเถรีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 692

ปุณณิกาเถรีอปทานที่ ๘ (๓๘)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระปุณณิกาเถรี

[๑๗๘] ดิฉันบวชเป็นภิกษุณีในศาสนา

ของพระพุทธเจ้า ๖ พระองค์คือ พระวิปัสสี

พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ

ผู้คงที่ และพระกัสสปะ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยยศ

มีปัญญา สำรวมอินทรีย์

เป็นพหสูต ทรงธรรม สอบถามอรรถ

แห่งธรรม ศึกษาธรรมแล้ว มีพระแสธรรม เป็น

ผู้นั่งใกล้ แสงพุทธศาสนาในท่ามกลางประชุม-

ชน ดิฉันมีศีลเป็นที่รัก แต่ถือตัวจัดเพราะความ

เป็นพหูสูตนั้น.

ในภพครั้งหลังนี้ ดิฉันเกิดในเรือนแห่ง

นางกุมภทาสี ของอนาถบิณฑิกเศรษฐีในพระนคร

สาวัตถีอันอุดม

ดิฉันไปตักน้ำ ได้เห็นโสตถิยพราหมณ์

หนาวสั่นอยู่ในกลางน้ำ ครั้นเห็นแล้วได้กล่าวว่า

ดิฉันมาตักน้ำในคราวหนาว กลัวภัยแต่

อาชญา และระแวงภัยคือการด่าด้วยวาจาของเจ้า

นาย จึงต้องลงน้ำร่ำไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 693

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านกลัวอะไร จึงลง

น้ำเสมอ มีตัวสั่น รู้สึกหนาวมาก

ดูก่อนนางปุณณิกาผู้เจริญ ท่านรู้จักสอบ

ถามข้าพเจ้าผู้ทำกุศลกรรม กำจัดบาปกรรม

(ดิฉันกล่าวว่า) บุคคลใดเป็นผู้ใหญ่ก็ตาม เป็น

เด็กก็ตาม ทำบาปกรรม บุคคลนั้น จะพ้นจาก

บาปกรรม เพราะความอาบน้ำได้หรือ.

เมื่อพราหมณ์นั้นกลับขึ้นมา ดิฉันได้

บอกซึ่งบทอันประกอบด้วยธรรมและอรรถ

พราหมณ์ได้ฟังธรรมบทนั้นแล้ว มีความสลดใจ

บวชแล้วได้เป็นพระอรหันต์

เพราะดิฉันเกิดในสกุลทาสี ยังทาสทาสี

๙๙ คนให้ครบ ๑๐๐ คน เจ้านายนั้นจึงตั้งชื่อให้

ดิฉันว่าปุณณา และปลดดิฉันให้เป็นไท

ดิฉันให้เศรษฐีอนุโมทนาบุญนั้นแล้ว

ออกบวชเป็นภิกษุณี โดยกาลไม่นานนักก็ได้บรรลุ

พระอรหัต.

ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มี

ความชำนาญในฤทธิ์ ในทิพโสตธาตุ และใน

เจโตปริยญาณ รู้ปุพเพนิวาสญาณและทิพยจักษุ

อันหมดจดวิเศษ มีอาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว บัดนี้

ภพใหม่มิได้มีอีก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 694

หม่อนฉันมีญาณอันปราศจากมลทิน บริ-

สุทธิ์ในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณ

เพราะอำนาจพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

หม่อมฉันมีปัญญามากเพราะภาวนา มี

สุตะเพราะพาหุสัจจะ เกิดในสกุลต่ำเพราะมานะ

แต่มิได้มีกุศลกรรมวิบัติไปเลย

ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน

ของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.

ทราบว่า ท่านพระปุณณิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบปุณณิกาเถรีอปทาน

อัมพปาลีเถรีอปทานที่ ๙ (๓๙)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระอัมพปาลีเถรี

[๑๗๙ ] ดิฉันเกิดในสกุลกษัตริย์ เป็น

ภคินีแห่งพระมหามุนีพระนามว่า ปุสสะ ผู้มี

พระรัศมีงามรุ่งเรือง มีธรรมดังว่าเทริดดอกไม้

บนศีรษะ

ดิฉันได้ฟังธรรมของพระองค์แล้วมีจิต

เลื่อมใสถวายมหาทานแล้ว ปรารถนาซึ่งรูปสมบัติ

ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ พระพิชิตมาร

พระนามว่าสิขี ผู้เป็นนายกชั้นเลิศของโลก ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 695

ยังโลกให้รุ่งเรือง เป็นสรณะในไตรโลกเสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว

ครั้งนั้น ดิฉันเกิดในสกุลพราหมณ์ใน

เมืองอรุณอันน่ารื่นรมย์ โกรธแล้ว ด่าภิกษุณี

องค์หนึ่ง ผู้มีจิตพ้นแล้วจากกิเลสว่า ท่านเป็น

หญิงแพศยา ประพฤติอนาจาร ประทุษร้าย

พุทธศาสนา ครั้นด่าอย่างนี้แล้ว ดิฉันต้องไป

สู่นรกอันร้ายกาจ เพียบพร้อมไปด้วยมหันต์ทุกข์

เพราะกรรมอันลามกนั้น

เคลื่อนจากนรกนั้นแล้วมาเกิดในหมู่

มนุษย์เป็นผู้มีธรรมลามก เป็นเหตุให้เดือดร้อน

ครองความเป็นหญิงแพศยาอยู่หมื่นชาติยังมิได้พ้น

จากบาปกรรมนั้น เปรียบเหมือนคนที่กินยาพิษ

อันร้ายแรงฉะนั้น

ดิฉันได้บวชเป็นภิกษุณีมีเพศประเสริฐ

ในศาสนาพระพุทธกัสสปได้ไปเกิดในภพดาวดึงส์

เพราะผลแห่งบรรพชากรรมนั้น.

ในภพนั้นซึ่งเป็นภพหลัง ดิฉันเป็นอุปปา-

ติกสัตว์ เกิดในระหว่างกิ่งต้นมะม่วง จึงมีชื่อว่า

อัมพปาลีตามนิมิตนั้น ดิฉันมีประชาชนหลาย

โกฏิแห่ห้อมมาบวชในพุทธศาสนา เป็นโอรสธิดา

แห่งพระพุทธเจ้า บรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 696

ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มี

ความชำนาญในฤทธิ์ ในทิพโสตธาตุ และในเจโต-

ปริยญาณ รู้ปุพเพนิวาสญาณและทิพยจักษุอัน

หมดจดวิเศษ มีอาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว บัดนี้

ภพใหม่มิได้มีอีก

หม่อมฉันมีญาณอันปราศจากมลทินบริ-

สุทธิ์ ในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณ

เพราะอำนาจพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

หม่อมฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพ

ขึ้นได้หมดสิ้นแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างพัง

ตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

การที่หม่อนฉันได้มาในสำนักพระพุทธ-

เจ้าผู้ประเสริฐสุด เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา

๓ หม่อมฉันบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ

พระพุทธเจ้าหม่อมฉันได้ทำเสร็จแล้ว

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔

วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ หม่อมฉันทำให้แจ้ง

ชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าหม่อมฉันได้ทำ

เสร็จแล้วดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอัมพปาลีภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบอัมพปาเถรีอปทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 697

เสลาเถรีอปทานที่ ๑๐ (๔๐)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระเสลาเถรี

[๑๘๐] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระ-

นามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพงศ์พันธุ์แห่งพราหมณ์ มี

ยศมากประเสริฐกว่าพวกบัณฑิต เสด็จอุบัติขึ้น

แล้ว

ครั้งนั้น ดิฉันเกิดในสกุลอุบาสก ใน

พระนครสาวัตถีอันประเสริฐ เห็นพระพิชิตมาร

ผู้ประเสริฐพระองค์นั้น และฟังธรรมเทศนาแล้ว

ถึงพระองค์ผู้มีเพียรเป็นสรณะ แล้ว

สมาทานศีลทั้งหลาย ครั้งหนึ่ง พระมหาวีรเจ้า

พระองค์นั้น ผู้องอาจกว่านรชน ทรงประกาศ

อภิสัมโพธิญาณของพระองค์ในสมาคมแห่งมหา-

ชนว่า

เรามีจักษุ ญาณ ปัญญา วิชชาและ

แสงสว่าง ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาในกาล

ก่อน และในอริยสัจมีทุกขอริยสัจเป็นต้น ดิฉัน

ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เล่าเรียนแล้วสอบถามภิกษุ

ทั้งหลาย

ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำแล้วนั้น และด้วย

การตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างกายมนุษย์แล้ว

๑. ม. เปสลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 698

ได้ไปสู่ภพดาวดึงส์ ในภพหลังครั้งนี้ เกิดใน

สกุลแห่งเศรษฐีใหญ่ ดิฉันได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

ได้ฟังสัทธรรมอันประกอบด้วยสัจจะ

บวชแล้ว ค้นคว้าอรรถธรรมทั้งปวง ยัง

อาสวะทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว ได้บรรลุพระอรหัต

โดยกาลไม่นานเลย

ข้าแต่พระมุนี หม่อนฉันเป็นผู้มีความ

ชำนาญในที่ ในทิพโสตธาตุ และในเจโต-

ปริยญาณ รู้ปุพเพนิวาสญาณและทิพยจักษุอันหมด

จดพิเศษ มีอาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพ

ใหม่มิได้มีอีก

หม่อมฉันมีญาณอันปราศจากมลทิน

บริสุทธิ์ ในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณ

เพราะอำนาจพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด

หม่อมฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอน

ภพขึ้นได้ทั้งหมดสิ้นแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดัง

ช้างพังตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่

การที่หม่อมฉันได้มาในสำนักของพระ-

พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เป็นการมาดีแล้วหนอ

วิชชา ๓ หม่อมฉันบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน

ของพระพุทธเจ้าหม่อมฉันได้ทำเสร็จแล้ว

๑. สจฺจูปสหิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 699

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔

วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ หม่อมฉันทำให้แจ้งชัด

แล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันได้ทำ

เสร็จแล้ว ดังนี้

ทราบว่า ท่านพระเสลาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบเถลาเถรีอปทาน

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัฏฐารสสหัสสขัตติกัญญาเถรีอปทาน ๒. จตุราสีติสหัสส-

พราหมณกัญญาเถรีอปทาน ๓. อุปปลทายิกาเถรีอปทาน ๔. สิงคาลมาตา

เถรีอปทาน ๕. สุกกาเถรีอปทาน ๖. อภิรูปนันทาเถรีอปทาน ๗. อัฑฒ-

กาสีเถรีอปทาน ๘. ปุณณิกาเถรีอปทาน ๙. อัมพปาลีเถรีอปทาน ๑๐. เสลา

เถรีอปทาน.

จบขัตติยกัญญาวรรคที่ ๔

จบเถรีอปทาน

จบอปทาน