ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

เล่มที่ ๗ ภาคที่ ๒

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มหาวรรค ทิฏฐิกถา

ว่าด้วยทิฏฐิ

[๒๙๔] ที่ตั้งแห่งทิฏฐิเท่าไร ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิ-

เท่าไร ความถือผิดแห่งทิฏฐิเท่าไร ความถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิเป็นไฉน ทิฏฐิ

คือความลูบคลำด้วยความถือผิดเท่าไร ?

ถามว่า ที่ตั้งแห่งทิฏฐิเท่าไร ตอบว่า ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ๘ ถามว่า

ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิเท่าไร ตอบว่า ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ๑๘ ถามว่า

ทิฏฐิเท่าไร ตอบว่า ทิฏฐิ ๑๖ ถามว่า ความถือผิดแห่งทิฏฐิเท่าไร ตอบว่า

ความถือผิดแห่งทิฏฐิ ๑๓๐ ถามว่า ความถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิเป็นไฉน ตอบว่า

โสดาปัตติมรรคเป็นเครื่องถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิ.

[๒๙๕] คำว่า ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดเท่าไร ?

ตอบว่า ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปว่า นั่นของเรา เราเป็น

นั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งเวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 2

ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า

นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วย

ความถือผิดซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ว่า นั่นของเรา

เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

[๒๙๖] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ซึ่งจักขุวิญญาณ

โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณว่า

นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลบคลำด้วย

ความถือผิดซึ่งจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส

มโนสัมผัส ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ

ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา

ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโน-

สัมผัสสชาเวทนา ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

[๒๙๗] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปสัญญา

สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา ว่า นั่น

ของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วย

ความถือผิดซึ่งรูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา

โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น

ตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปตัณหา สัททตัณหา

คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ว่า นั่นของเรา เรา

เป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่ง

รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก ว่า นั่นของเรา

เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 3

รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร ว่า

นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

[๒๙๘] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งปฐวีธาตุ อาโปธาตุ

เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น

นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งปฐวีกสิณ

อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ

อากาสกสิณ วิญญาณกสิณ ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

[๒๙๙] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งผม ขน เล็บ

ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังพืด

ไต ฯลฯ น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร สมองศีรษะ ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น

นั่นเป็นตัวตนของเรา.

[๓๐๐] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักขายตนะ

รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ

รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธรรมายตนะ จักขุธาตุ

รูปธาตุ จักขุวิญญาธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ

คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ

โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ว่า

นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

[๓๐๑] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักขุนทรีย์

โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น

ตัวตนของเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 4

[๓๐๒] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งกามธาตุ รูปธาตุ

อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ

เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน

จตุตถฌาน เมตตาเจโตวิมุตติ กรุณาเจโตวิมุตติ มุทิตาเจโตวิมุตติ อุเปกขา-

เจโตวิมุตติ อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญาย-

ตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น

นั่นเป็นตัวตนของเรา.

[๓๐๓] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งอวิชชา สังขาร

วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ

ชราและมรณะ ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือ

ความลูบคลำด้วยความถือผิดอย่างนี้.

[๓๐๔] ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ๘ เป็นไฉน ? แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นที่ตั้ง

แห่งทิฏฐิ แม้อวิชชา ผัสสะ สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ มิตรชั่ว

เสียงแต่ที่อื่น ทุกอย่างเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ.

ขันธ์ทั้งหลายเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ เพราะ

อรรถว่าเป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิอย่างนี้ ...

อวิชชา... ผัสสะ... สัญญา... วิตก... อโยนิโสมนสิการ... มิตรชั่ว... เสียง

แต่ที่อื่น ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัย

ตั้งขึ้น แม้เสียงแต่ที่อื่นก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิอย่างนี้ ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ๘ เหล่านี้.

[๓๐๕] ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ๑๘ เป็นไฉน ? ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิคตะ

ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิวิบัติ ทิฏฐิเป็นสังโยชน์

ทิฏฐิเป็นลูกศร ทิฏฐิเป็นความคับแคบ ทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล ทิฏฐิเป็นเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 5

ผูกพัน ทิฏฐิเป็นเหว ทิฏฐิเป็นอนุสัย ทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน ทิฏฐิเป็น

เหตุให้เร่าร้อน ทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยรัด ทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น ทิฏฐิเป็นเหตุ

ให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ๑๘ เหล่านี้.

[๓๐๖] ทิฏฐิ ๑๖ เป็นไฉน ? คือ อัสสาททิฏฐิ ๑ อัตตานุทิฏฐิ ๑

มิจฉาทิฏฐิ ๑ สักกายทิฏฐิ ๑ สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ ๑ อุจเฉท-

ทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ ๑ อันตคาทิกทิฏฐิ ๑ ปุพพันตานุทิฏฐิ ๑ อปรัน-

ตานุทิฏฐิ ๑ สังโยชนิกาทิฏฐิ ๑ ทิฏฐิอันผูกพันด้วยมานะว่าเป็นเรา ๑ ทิฏฐิ

อันผูกพันด้วยมานะว่าของเรา ๑ ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยอัตตวาทะ ๑ ทิฏฐิอัน

สัมปยุตด้วยโลกวาทะ ๑ ภวทิฏฐิ ๑ วิภวทิฏฐิ ๑ ทิฏฐิ ๑๖ เหล่านี้.

[๓๐๗] อัสสาททิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการเท่าไร อัตตานุทิฏฐิ...

มิจฉาทิฏฐิ... สักกายทิฏฐิ... สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ... อุจเฉททิฏฐิ

อันมีสักกายะเป็นวัตถุ... อันตคาหิกทิฏฐิ... ปุพพันตานุทิฏฐิ... อปรันตานุ

ทิฏฐิ... สังโยชนิกาทิฏฐิ... ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเรา... ทิฏฐิอันกางกั้น

ด้วยมานะว่าของเรา... ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ... ภวทิฏฐิ... วิภวทิฏฐิ

มีความถือผิดด้วยอาการเท่าไร ?

[๓๐๘] อัสสาททิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ อัตตานุทิฏฐิ...

๒๐ มิจฉาทิฏฐิ... ๑๐ สักกายทิฏฐิ... ๒๐ สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ...

๑๕ อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ... ๕ อันตคาหิกทิฏฐิ... ๕๐ ปุพพัน-

ตานุทิฏฐิ... ๑๘ อปรันตานุทิฏฐิ... ๔๔ สังโยชนิกาทิฏฐิ... ๑๘ ทิฏฐิอัน

กางกั้นด้วยมานะว่าเรา... ๑๘ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา... ๑๘ ทิฏฐิ

อันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะ... ๒๐ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยโลกวาทะ... ๘ ภวทิฏฐิ

... ๑๙ วิภวทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 6

[๓๐๙] อัสสาททิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นไฉน ? ทิฏฐิ

คือ ความลูบคลำด้วยถือความผิดว่า สุขโสมนัสอาศัยรูปใดเกิดขึ้น นี้เป็น

อัสสาทะ (ความยินดี) แห่งรูป ทิฏฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะมิใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิ

เป็นอย่างหนึ่ง อัสสาทะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและอัสสาทะ นี้ท่านกล่าวว่า

อัสสาททิฏฐิ อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วย

ทิฏฐิวิบัตินั้น เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ

ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก ทิฏฐิใด

ราคะใด ราคะไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็น

อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะ นี้ท่านกล่าวว่า ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วย

ทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ ทานที่ให้ในบุคคลผู้ยินดีใน

ทิฏฐิราคะ เป็นทานไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ บุรุษบุคคลผู้ประกอบ

ด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น ๒ คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อนึ่ง บุรุษ

บุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ สมาทาน กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม

ให้บริบูรณ์ตามที่ทิฏฐิ ธรรมทั้งปวง คือ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ

และสังขารเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า

พอใจ เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ

บุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก เปรียบเหมือนพืชสะเดา พืชบวบขม หรือพืชน้ำเต้าขม

ทีเขาฝั่งลงในแผ่นดินเปียก อาศัยรสแผ่นดินและรสน้ำ พืชทั้งปวงนั้นย่อม

เป็นไปเพื่อความเป็นของมีรสขม รสปร่า ไม่เป็นสาระ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะสะเดาเป็นต้นนั้นมีพืชเลว ฉันใด บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมาทานกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ให้บริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 7

ตามทิฏฐิ ธรรมทั้งปวงคือเจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขาร

เหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เพื่อ

มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้น

มีทิฏฐิลามก อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิคตะ ทิฏฐิรกชัฏ ฯลฯ

ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิดและลูบคลำ.

[๓๑๐] ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า สุขโสมนัส

อาศัยเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ

ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ จักษุสัมผัส ฆาน-

สัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส จักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัส-

สชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชา-

เวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนาใดเกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะแห่งมโนสัมผัสสชาเวทนา

ทิฏฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิดและลูบคลำ

ความเกี่ยวข้องแห่งจิตอันทิฏฐิกลุ้มรุม เป็นมิจฉาทิฏฐิซึ่งจัดเป็นอัสสาททิฏฐิ

ด้วยอาการ ๑๘ นี้.

[๓๑๑] สังโยชน์และทิฏฐิมีอยู่ สังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิมีอยู่ สังโยชน์

และทิฏฐิเป็นไฉน ? ความลูบคลำด้วยสักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐิและสีลัพพต

ปรามาส เหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ สังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฏฐิเป็นไฉน

กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์

อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์ อนุสัยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ เหล่านี้เป็น

สังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิ อัสสาททิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เหล่านี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 8

[๓๑๒] อัตตานุทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของ

พระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ

ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็น

รูปโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนใน

รูปบ้าง ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตนเอง

เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง.

[๓๑๓] ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อม

เห็นปฐวีกสิณและตนไม่เป็นสองว่า ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด

ปฐวีกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีป น้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคล

เห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น

แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นปฐวีกสิณและ

ตนไม่เป็นสองว่า ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น

ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ

ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูป

เป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุรุษบุคคลผู้ประกอบ

ด้วยอัตตานุทิฏฐิ ย่อมมีคติเป็นสอง ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นอาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ

นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็น

โอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคล

เห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น

แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ฯลฯ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสอง ทิฏฐิ คือ ความ

ลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง

วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุ-

ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านั้นเป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ

บุคคลย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้.

[๓๑๔] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตน

ของเรานี้นั้นมีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนว่ามีรูป เปรียบเหมือน

ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี่ต้นไม้ นี่เงา ต้นไม้เป็น

อย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่า

ย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็น

อย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นมีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้

ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีรูป ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่

วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ

นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีรูปเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้

เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างนี้.

[๓๑๕] ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 10

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลใน

ตัวตนนี้ มีรูปเช่นนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นรูปในตน เปรียบเหมือนดอกไม้

มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้

อย่างหนึ่ง กลิ่นหอมอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้นั้นแลมีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้

ชื่อว่า ย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุรุษบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน

เขาย่อมมีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีรูป

เช่นนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นรูปในตน ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด

ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๓

อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชน

ย่อมเห็นรูปในตนอย่างนี้.

[๓๑๖] ปุถุชนย่อมเห็นตนในรูปอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตน

ของเรานี้นั้นมีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในรูป เปรียบเหมือนแก้วมณี

ที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณี

เป็นอย่างหนึ่ง ขวดเป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้นั้นแลมีอยู่ในขวดนี้ ดังนี้

ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็น

อย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้

ชื่อว่าย่อมเห็นในรูป ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 11

วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ

นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีรูปเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้

เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างนี้.

[๓๑๗] ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตนอย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเวทนา... มโนสัมผัส-

สชาเวทนา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและตนไม่

เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชา-

เวทนาก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็น

เปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่าง

อันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชา

เวทนาและตนไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใดเราก็อันนั้น เราอันใด

มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิ

ไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ

วัตถุ นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ

เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นเวทนา โดยความเป็นตน

อย่างนี้.

[๓๑๘] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีเวทนาอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป

โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตน

ของเรานี้นั้นแลมีเวทนาด้วยเวทนานี้ ดังนี้ชื่อว่าเห็นตนว่ามีเวทนา เปรียบ

เหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 12

เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้

ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็น

อย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีเวทนาด้วยเวทนานี้

ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีเวทนา ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด

ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง

ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉา-

ทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีเวทนา

อย่างนี้.

[๓๑๙] ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาในตนอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป

โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็และใน

ตัวตนนี้มีเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นเวทนาในตน เปรียบเหมือนดอกไม้

มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้

เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมเป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมมีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้

ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามี

ความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็เเลในตัวตนนี้มีเวทนา ดังนี้

ชื่อว่าย่อมเห็นเวทนาในตน ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่

วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิ

เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็น

เวทนาในตนอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 13

[๓๒๐] ปุถุชนย่อมเห็นตนในเวทนาอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป

โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตน

ของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในเวทนา เปรียบ

เหมือน ฯลฯ ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน...ชื่อว่า ย่อมเห็นตนในเวทนา ทิฏฐิ คือความลูบคลำ

ด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุ

เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุ-

ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็น

ตนในเวทนาอย่างนี้.

[๓๒๑] ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตนอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาสัญญา. . .มโนสัมผัส-

สชาสัญญา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและตนไม่

เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัส-

สชาสัญญาก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อม

เห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง . . . ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและตนไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชา-

สัญญาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น ทิฏฐิ คือ

ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่าง

หนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ มีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิ

เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็น

สัญญาโดยความเป็นตนอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

[๓๒๒] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดย

ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตน

ของเรานี้นั้นแลมีสัญญาด้วยสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาเปรียบ

เหมือนต้นไม้มีเงา...ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนใน

โลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความ

เป็นตน...นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ

ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างนี้.

[๓๒๓] ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดย

ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้

มีสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสัญญาในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม...

ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน...

นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ

เหล่านั้นเป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างนี้.

[๓๒๔] บุคคลย่อมเห็นตนในสัญญาอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดย

ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้เป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตน

ของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสัญญา เปรียบ

เหมือนแก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด... ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 15

โดยความเป็นตน... นี้เป็นอัตตานี้ทิฏฐิมีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็น

มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนใน

สัญญาอย่างนี้.

[๓๒๕] ปุถุชนย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเจตนา...มโนสัมผัส-

สชาเจตนา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาและตนไม่

เป็นสอง มโนสัมผัสสชาเจตนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชา-

เจตนาก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อม

เห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง. . . ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาโดยความเป็นตน...นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ

มีสังขารเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่

ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนอย่างนี้.

[๓๒๖] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสังขารอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา

โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตน

ของเรานี้นั้นแลมีสังขารด้วยสังขารนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนมีสังขาร เปรียบ

เหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้อย่างนี้. . . ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นว่า

ต้นไม้มีเงาฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ

รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน. . . ต้นเป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุ

ที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ

ปุถุชน ย่อมเห็นคนว่ามีสังขารอย่างนี้.

[๓๒๗] ปุถุชนย่อมเห็นสังขารในตนอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 16

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดย

ความเป็นคน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้

มีสังขารเหล่านี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสังขารในตนเปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่น-

หอม...ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ

รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน. . .นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุ

ที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ

ปุถุชนย่อมเห็นสังขารในตนอย่างนี้.

[๓๒๘] ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา

โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตน

ของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในสังขารนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสังขาร เปรียบเหมือน

แก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด...ชื่อว่าเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคน

ในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความ

เป็นตน... นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ

ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารเหล่านี้.

[๓๒๙] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุวิญญาณ... มโนวิญญาณ โดย

ความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนวิญญาณและตนไม่เป็นสองว่า มโนวิญญาณ

อันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนวิญญาณก็อันนั้น เปรียบเหมือนประทีป

น้ำมันอันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง . . .

ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนวิญญาณโดย

ความเป็นตน... นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 17

มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านั้นเป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณ

โดยความเป็นตนอย่างนี้.

[๓๓๐] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความ

เป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรา

นี้นั้นแลมีวิญญาณด้วยวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ เปรียบ

เหมือนต้นไม้มีเงา... ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนใน

โลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความ

เป็นตน นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ

ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ

อย่างนี้.

[๓๓๑] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดย

ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้

มีวิญญาณ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นวิญญาณในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม

...ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา

สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน... นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๓

อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชน

ย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างนี้.

[๓๓๒] ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดย

ความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 18

ของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในวิญญาณ เปรียบ

เหมือนแก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด... ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด

บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร

โดยความเป็นตน นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๔ ฯลฯ เหล่านี้เป็น

สังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างนี้ อัตตานุทิฏฐิ

มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๓๓๓] มิจฉาทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึง

วัตถุอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิ

เป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิด

ที่ ๑ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิ

คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า ยัญ

ที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคล

ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุด

เกิดขึ้นก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้

แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สั่งสอนประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ทิฏฐิ

ไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ

วัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ บุรุษบุคคล

ผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ย่อมมีคติเป็น ๒ ฯลฯ เหล่านั้นเป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่

ทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้.

[๓๓๔] สักกายทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 19

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดใน

ธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็น

สัปบุรุษไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ

ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็น

ตนในรูปบ้าง ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน

บ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง.

ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิน ฯลฯ โอทาตกสิณโดยความ

เป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด

เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน

ลุกโพลงอยู่ ฯลฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมเห็น

โอทาตกสิณโดยความเป็นตน ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ฯลฯ

นี้เป็นสักกายทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ สักกายทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้

เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯลฯ

สักกายทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๓๓๕] สัสสตทิฏฐิมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ

๑๕ เป็นไฉน ?

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า...ไม่ได้รับ

แนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็น

ตนในรูปบ้าง เห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง เห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง เห็นตนว่ามี

สังขารบ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนใน

วิญญาณบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 20

ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

โดยความเป็นคน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่า

ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีรูป เปรียบ

เหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้

เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแล มีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้

ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมเห็นเวทนา...โดยความเป็นตน นี้เป็นสัลสตทิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็น

วัตถุที่ ๑ สัสสตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ

ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างนี้ ฯลฯ สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ

มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้.

[๓๓๖] อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วย

อาการ ๑๕ เป็นไฉน ?

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า...ไม่ได้รับ

แนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นเวทนาโดย

ความเป็นตน เห็นสัญญาโดยความเป็นตน เห็นสังขารโดยความเป็นตน เห็น

วิญญาณโดยความเป็นตน.

ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณโดยความ

เป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด

เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมัน

ลุกโพลงอยู่ ฯลฯ นี้เป็นอุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุที่ ๑ อุจเฉททิฏฐิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 21

เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูป

โดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯลฯ อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความ

ถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้.

[๓๓๗] อันตคาหิกทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๕๐ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มี

ที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก สัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย

แล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการเท่าไร.

ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ ฯลฯ ทิฏฐิ

อันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็น

อีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕.

[๓๓๘] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕

เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นโลกและเป็นของเที่ยง

ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่

วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิและวัตถุ นี้เป็นทิฏฐิที่ถือเอาที่สุดว่าโลกเที่ยงที่ ๑

อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิ

คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ

สัญญาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ สังขารเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ

วิญญาณเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุด เช่นนั้น เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ... นี้เป็นทิฏฐิที่ถือเอาที่สุด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 22

ว่าโลกเที่ยงที่ ๕ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านั้นเป็นสังโยชน์

แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยงย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.

[๓๓๙] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ

๕ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นโลกและเป็นของ

ไม่เที่ยง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ

นี้เป็นทิฏฐิที่ถือเอาที่สุดว่าโลกไม่เที่ยงที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ

เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความ

ถือผิดว่า เวทนาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาเป็นโลกและเป็น

ของไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง วิญญาณเป็นโลกและ

เป็นของไม่เที่ยง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคา-

หิกทิฏฐิ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านั้นเป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่

ทิฏฐิ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.

[๓๔๐] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕

เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความ

เห็นอย่างนี้ว่าโลกนี้มีที่สุดกลม ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่าโลกมีที่สุด ทิฏฐิ

คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่อง

ที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง

วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่าโลกมีที่สุดที่ ๑

อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ บุคคล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 23

บางคนในโลกนี้ ทำสีเหลืองแผ่ไป ทำสีแดงแผ่ไป ทำสีขาวแผ่ไป ทำแสง-

สว่างแผ่ไป สู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความคิดอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุดกลม

ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่าโลกมีที่สุด ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือ

ผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็น

โลก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ

ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.

[๓๔๑] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ

๕ เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความ

เห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้ ดังนี้ จึงมีความสำคัญว่าโลก

ไม่มีที่สุด ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุ

และเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ...

นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่าโลกไม่มีที่สุดที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ

ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเหลือง ทำสีแดง ทำสีขาว ทำแสงสว่าง

แผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้

ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่า โลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความ

ถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและ

เป็นโลกทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ

ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 24

[๓๔๒] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ย่อมถือผิด

ด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นชีพและสรีระ

ชีพอันใด สรีระก็อันนั้น ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ...นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า

ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้

สังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนา

เป็นชีพและเป็นสรีระ สัญญาเป็นชีพและเป็นสรีระ สังขารเป็นชีพและเป็น

สรีระ วิญญาณเป็นชีพและเป็นสรีระ ชีพอันใด สรีระก็อันนั้น ทิฏฐินั้นถือ

เอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอา

ที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.

[๓๔๓] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ย่อม

ถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ

รูปนั้นเป็นสรีระ ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุด

เช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่

ทิฏฐิ...นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นที่ ๑ อันตคา-

หิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.

ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ

สัญญาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ สังขารเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ วิญญาณเป็นสรีระ

ไม่ใช่ชีพ วิญญาณนั้นเป็นสรีระ ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระก็เป็นอย่างหนึ่ง

ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิ

อันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระเป็นอื่น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 25

[๓๔๔] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก

ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดา

ในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง

เกิดบ้าง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ

ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ...นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็น

สังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.

ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็น

ธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้อง

ตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ

สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง เกิดบ้าง ทิฏฐิ

นั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอัน

ถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ

๕ เหล่านี้.

[๓๔๕] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่

เป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดา

ในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายเเตกแล้วย่อมขาดสูญ. ย่อมพินาศไป สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ. . .นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 26

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ

ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.

ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็น

ธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขาร

ต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ

สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมไม่เป็นอีก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย

แล้วย่อมไม่เป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ?

[๓๔๖] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็น

อีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดา

ในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ทิฏฐิ

นั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ

วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ. . .นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม

เป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้

เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.

ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็น

ธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขาร

ต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ

สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ทิฏฐินี้ถือเอาที่สุด

เช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ย่อมถือผิดด้วย

อาการ ๕ เหล่านี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 27

[๓๔๗] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็น

อีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดา

ในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หา

มิได้ ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ

ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ...นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิ

เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.

ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็น

ธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขาร

ต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้

แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้

ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่

วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ...ทิฏฐิและวัตถุ นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ที่ ๑

อันคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิ

อันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็น

อีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ อันตคาหิกทิฏฐิ ย่อมถือผิด

ด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้.

[๓๔๘] ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต) ย่อมถือผิด

ด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 28

สัสสตทิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนและโลกเที่ยง) ๔ เอกัจจสัสสติกาทิฏฐิ (ทิฏฐิ

ว่าตนและโลกเที่ยงเป็นบางอย่าง) ๔ อันตานันติกาทิฏฐิ (ทิฏฐิว่าโลกมีที่สุด

และหาที่สุดมิได้) ๔ อมราวิกเขปิกาทิฏฐิ (ทิฏฐิซัดส่ายไม่ตายตัว) ๔ อธิจจ-

สมุปปันนิกาทิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ) ๒ ปุพพันตานุทิฏฐิ

ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้ ?

[๓๔๙] อปรันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต) ย่อมถือ

ผิดด้วยอาการ ๔๔ เป็นไฉน ?

สัญญีวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญา) ๑๗ อสัญญีวาททิฏฐิ

(ทิฏฐิว่าตนเมื่อตายแล้วไม่มีสัญญา) ๘ เนวสัญญีนาสัญญีวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตน

เมื่อตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ๘ อุจเฉทวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่า

สัตว์ตายแล้วขาดสูญ) ๗ ทิฏฐิธรรมนิพพานวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่านิพพานเป็น

ปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์) ๔ อปรันตานุทิฏฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ

๔๔ เหล่านี้.

[๓๕๐] สังโยนิกาทิฏฐิ (ทิฏฐิเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ย่อม

ถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ คือ ทิฏฐิคตะ ทิฏฐิที่รกชัฏ ฯลฯ ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิ

เป็นเหตุให้ลูบคลำ สังโยชนิกาทิฏฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้.

[๓๕๑] ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ

๑๘ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ตาเป็นเรา ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่

ทิฏฐิ...นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะวาเป็นเราที่ ๑ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็น

มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 29

หูเป็นเรา ฯลฯ จมูกเป็นเรา ฯลฯ ลิ้นเป็นเรา ฯลฯ กายเป็นเรา ฯลฯ ใจ

เป็นเรา ฯลฯ ธรรมารมณ์เป็นเรา ฯลฯ จักขุวิญญาณเป็นเรา ฯลฯ มโน-

วิญญาณเป็นเรา ฯลฯ ความลูบคลำความถือผิดว่าเป็นเรา ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ

วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ...นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเราที่ ๘ มานวินิพันธา-

ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ เเต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันกางกั้น

ด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้ .

[๓๕๒] ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ

๑๘ เป็นไฉน ?

ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ตาของเรา ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่

ทิฏฐิ...นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเราที่ ๑ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็น

มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะ

ว่า หูของเรา ฯลฯ จมูกของเรา ฯลฯ ลิ้นของเรา ฯลฯ กายของเรา ฯลฯ

ใจของเรา ฯลฯ ธรรมารมณ์ของเรา ฯลฯ จักขุวิญญาณของเรา ฯลฯ มโน-

วิญญาณของเรา ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ของเรา ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ

วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ... นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ที่ ๘ มานวินิ-

พันธาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอัน

กางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้.

[๓๕๓] ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน ย่อมถือผิดด้วยอาการ

๒๐ เป็นไฉน ?

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า...ไม่ได้รับแนะนำ

ในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็น

รูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง ฯลฯ เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 30

โดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตน

ในวิญญาณบ้าง ฯลฯ

ปุถุชนมองเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้

ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็น

โอทาตกสิณและตนไม่เป็นสอง เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่

บุคคลเห็นเปลวไฟ และแสงสว่างไม่เป็นสองฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็นตน ฯลฯ นี้เป็นทิฏฐิ

อันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ ทิฏฐิอันปฏิสังยุคด้วยอัตตวาทะ

เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านั้นเป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันปฏิสังยุต

ด้วยวาทะปรารภตน ย่อมถือผิด ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๓๕๔] ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ย่อมถือผิดด้วยอาการ

๘ เป็นไฉน ?

ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตนและโลกเที่ยง เป็นทิฏฐิอันปฏิ-

สังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ. . . นี้เป็นทิฏฐิอัน

ปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกที่ ๑ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกเป็น

มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.

ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตนและโลกไม่เที่ยง ฯลฯ ตนและโลก

เที่ยงก็มี ไม่เที่ยงก็มี ตนและโลกเที่ยงก็หามิได้ ไม่เที่ยงก็หามิได้ ตนและโลก

มีที่สุด ตนและโลกไม่มีที่สุด ตนและโลกมีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี ตนและ

โลกมีที่สุดก็หามิได้ ไม่มีที่สุดก็หามิได้ เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภ-

โลก ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ. . . นี้เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะ

ปรารภโลกที่ ๘ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 31

เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก

ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๘ เหล่านี้.

[๓๕๕] ความถือผิดด้วยความติดอยู่ เป็นภวทิฏฐิ ความถือผิดด้วย

ความแล่นเลยไป เป็นวิภวทิฏฐิ อัสสาททิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็น

ภวทิฏฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร อัตตานุทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐

เป็นภวทิฏฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร ฯลฯ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภ-

โลก มีความถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็นภวทิฏฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร.

อัสสาททิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภว-

ทิฏฐิก็มี อัตตานุทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภว-

ทิฏฐิ ๕ มิจฉาทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด สักกาย

ทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ ๕ สัสสตทิฏฐิ

อันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด

อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฏฐิ

ทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยงมีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็น

ภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง มีความถือผิดด้วยอาการ ๕

เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด มีความถือผิดด้วย

อาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มี

ที่สุด มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิอัน

ถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระอันนั้น มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็น

วิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น มีความ

ถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 32

ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก มีความถือผิด

ด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี มีความถือผิดด้วยอาการ ๕

เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี อปรันตานุทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๔๔

เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี สังโยชนิกาทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘

เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา

มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า

ของเรา มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันปฏิสังยุต

ด้วยวาทะปรารภตน มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ

๕ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก มีความถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็น

ภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิทั้งหมดเป็นอัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ

เป็นสักกายทิฏฐิ เป็นอันตคาหิกทิฏฐิ เป็นสังโยชนิกาทิฏฐิ ทิฏฐิอันปฏิสังยุต

ด้วยวาทะปรารภตนเป็นภวทิฏฐิ เป็นวิภวทิฏฐิ ชนเหล่าใดยึดถือทิฏฐิ ๒ อย่างนี้

ญาณในนิโรธย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น สัตวโลกนี้ยึดถือในทิฏฐิใด ก็เป็นผู้มี

สัญญาวิปริตเพราะทิฏฐินั้น.

[๓๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ถูกทิฏฐิ ๒ อย่าง

กลุ้มรุมแล้ว พวกหนึ่งย่อมติดอยู่ พวกหนึ่งย่อมแล่นเลยไป ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมติดอยู่อย่างไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ชอบภพ ยินดีในภพ บันเทิงอยู่ในภพ

จิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อม

ไปในธรรมที่เราแสดงเพื่อความดับภพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์

พวกหนึ่งย่อมติดอยู่อย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 33

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมแล่นเลยไปอย่างไร

ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมอึดอัด ระอา เกลียดชังภพ ย่อมยินดีความ

ปราศจากภพว่า ชาวเราเอ๋ย ได้ยินว่าเมื่อใด คนแต่กายแตกไปแล้วย่อมขาดสูญ

ย่อมพินาศ เมื่อนั้น ตนเบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก เพราะฉะนั้น

ความไม่เกิดนี้ละเอียด ประณีต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง

ย่อมแล่นเลยไปอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง ครั้นแล้วย่อม

ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับความเป็นสัตว์ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่ อย่างนี้แล.

ถ้าภิกษุใด เห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง

และก้าวล่วงความเป็นสัตว์แล้วย่อมน้อมใจไปในธรรม

ตามที่เป็นจริง เพื่อความหมดสิ้นแห่งภวตัณหา ภิกษุ

นั้น กำหนดรู้ ความเป็นสัตว์แล้ว ผู้ปราศจากตัณหา

ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความ

ไม่มีแห่งความเป็นสัตว์ ดังนี้.

[๓๕๗] บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิวิบัติ บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิสมบัติ.

บุคคล ๓ จำพวกเหล่าไหนมีทิฏฐิวิบัติ เดียรถีย์ ๑ สาวกเดียรถีย์ ๑

บุคคลผู้มีทิฏฐิผิด ๑ บุคคล ๓ จำพวกเหล่านั้นมีทิฏฐิวิบัติ.

บุคคล ๓ จำพวกเหล่าไหนมีทิฏฐิสมบัติ พระตถาคต ๑ สาวกพระ-

ตถาคต ๑ บุคคลผู้มีทิฏฐิชอบ ๑ บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้มีทิฏฐิสมบัติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 34

นรชนใด เป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธ มีความ

ลบหลู่ลามก มีทิฏฐิวิบัติ เจ้าเล่ห์ พึงรู้จักนรชนนั้น

ว่าเป็นคนเลว นรชนใด เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูก-

โกรธ ไม่ลบหลู่คุณท่าน ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ มีทิฏฐิ-

สมบัติ มีปัญญา พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นผู้ประเสริฐ

ดังนี้.

[๓๕๘] ทิฏฐิวิบัติ ๓ ทิฏฐิสมบัติ ๓.

ทิฏฐิวิบัติ ๓ เป็นไฉน ความเห็นวิบัติว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น

นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิวิบัติ ๓ เหล่านี้.

ทิฏฐิสมบัติ ๓ เป็นไฉน ความเห็นอันถูกต้องว่า นั่นไม่ใช่ของเรา

เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ทิฏฐิสมบัติ ๓ เหล่านี้.

[๓๕๙] ทิฏฐิอะไรว่า นั่นของเรา เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้น

ตามถือส่วนสุดอะไร ทิฏฐิอะไรว่า เราเป็นนั่น เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้น

ตามถือส่วนสุดอะไร ทิฏฐิอะไรว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นทิฏฐิเท่าไร

ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือส่วนสุดอะไร.

ความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีตว่า นั่นของเรา เป็นทิฏฐิ ๑๘ ทิฏฐิเหล่านั้น

ตามถือขันธ์ส่วนอดีต ความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคตว่า เราเป็นนั่น เป็น

ทิฏฐิ ๔๔ ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือขันธ์ส่วนอนาคต อัตตานุทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ว่า

นั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นสักกายทิฏฐิ มีวัตถุ ๒๐ ทิฏฐิ ๖๒ โดยมีสักกาย-

ทิฏฐิเป็นประธานทิฏฐิเหล่านั้น ตามถือขันธ์ทั้งส่วนอดีตและส่วนอนาคต.

[๓๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงความเชื่อแน่ใน

เรา ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ใน

ธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพสุทธาวาส ในธรรมนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้

คือ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๑ โกลังโกลโสดาบัน ๑ เอกพิชีโสดาบัน ๑

พระสกทาคามี ๑ พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑ เชื่อในธรรมนี้.

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ บุคคล

๕ จำพวกนี้ คือ อันตรายปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามี

บุคคล ๑ อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ สสังขารปรินิพพายีอนาคามี-

บุคคล ๑ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีบุคคล ๑ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาส ในธรรมนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงความเชื่อแน่ในเรา

บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคล ๕ จำพวกนี้เชื่อแน่ในธรรม

นี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้.

[๓๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเรา

อย่างแน่นแฟ้น บุคคลเหล่านั้น ทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้น

รวม ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพชั้น

สุทธาวาสในธรรมนี้.

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้

คือ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๑... พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑ เชื่อแน่ใน

ธรรมนี้.

บุคคล ๕ จำพวกนี้ คือ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ ...

อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีบุคคล ๑ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเราอย่าง

แน่นแฟ้น บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้น

รวมเป็น ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในภพ

สุทธาวาสในธรรมนี้ ฉะนี้แล.

จบทิฏฐิกถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 36

อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค

ชื่อว่าสัทธัมมปกาสินี ในขุททกนิกาย

ภาคที่ ๒

ทิฏฐิกถาในมหาวรรค

๑. อรรถกถาอัสสาทสทิฏฐินิเทศ

บัดนี้ ถึงคราวที่จะพรรณนาความตามลำดับแห่งทิฏฐิกถา อันท่าน

กล่าวแล้วในลำดับแห่งญาณกถา. จริงอยู่ ทิฏฐิกถานี้ชำระมลทินคือมิจฉาทิฏฐิ

ของผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ ซึ่งสะสมญาณที่ทำไว้แล้ว ด้วยญาณกถาเป็นอันทำไว้

ด้วยดี. อนึ่ง สัมมาทิฏฐิท่านกล่าวไว้ในลำดับแห่งญาณกถาว่า เป็นความ

บริสุทธิ์ด้วยดี. ในทิฏฐิกถานั้นมีอยู่ ๔ ปริเฉท คือ คำถามมีอาทิว่า ทิฏฐิ

คืออะไร ๑. การตอบคำถามที่ถามมีอาทิว่า คำว่า ทิฏฐิ คืออะไร คือการ

ลูบคลำด้วยความถือผิด ๑ แสดงถึงความพิสดารของการตอบ ที่ตอบมีอาทิว่า

ทิฏฐิ คือการลูบคลำด้วยความถือผิด เป็นอย่างไร ๑ การเปรียบเทียบกับ

ทิฏฐิสูตรมีอาทิว่า ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดเป็นอัสสาททิฏฐิ (ความเห็นด้วยความ

พอใจ) ๑. ใน ๔ ปริเฉทนั้น พึงทราบวินิจฉัยในปุจฉาปริเฉทก่อน. ถามว่า

ทิฏฐิเป็นอย่างไร เป็นธรรมปุจฉา (ถามธรรมดา) เป็นสภาวปุจฉา (ถาม

ตามสภาพ).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 37

ถามว่า ที่ตั้งแห่งทิฏฐิเท่าไร เป็นเหตุปุจฉา (ถามตามเหตุ) เป็น

ปัจจยปุจฉา (ถามตามปัจจัย). อธิบายว่า เหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลายมีเท่าไร.

ถามว่า ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิเท่าไร เป็นสมุทาจารปุจฉา (ถามตาม

ความปรากฏ) เป็นวิการปุจฉา (ถามทำให้แปลกไป). จริงอยู่ ทิฏฐิทั้งหลาย

นั่นแล ชื่อว่า ทิฏฐิปริยุฏฐานะ (ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ) เพราะตั้งขึ้น

หุ้มห่อจิตด้วยอำนาจแห่งความปรากฏ.

ถามว่า ทิฏฐิเท่าไร เป็นสังขยาปุจฉา (ถามตามจำนวน) เป็น

คณนาปุจฉา (ถามตามคำนวณ) แห่งทิฏฐิทั้งหลาย.

ถามว่า ความถือผิดแห่งทิฏฐิเท่าไร เป็นทิฏฐิปเภทปุจฉา (ถาม

ตามประเภทของทิฏฐิ) ด้วยประเภทแห่งวัตถุ ด้วยความต่างกันแห่งอารมณ์.

เพราะว่า ทิฏฐิทั้งหลายนั่นแล ย่อมยึดถือ ย่อมลูบคลำวัตถุนั้น ๆ อารมณ์นั้นๆ

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทิฏฐิปรามาส (ลูบคลำทิฏฐิ).

ถามว่า ความถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิเป็นไฉน เป็นปฏิปักขปุจฉา

(คำถามเป็นปฏิปักษ์กัน ) เป็นปหานูปายปุจฉา (คำถามหาอุบายที่จะละ) แห่ง

ทิฏฐิทั้งหลาย จริงอยู่เหตุแห่งทิฏฐิเหล่านั้นมีขันธ์เป็นต้น เป็นเหตุแห่งทิฏฐิ จึง

เป็นไปไม่ได้ด้วยการถอนทิฏฐิ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าเป็นอันต้องถอนเหตุ

เหล่านั้น ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทิฏฐิฐานสมุคฆาตะ (ถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิ)

เพราะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเป็นเหตุเบียดเบียนอย่างร้ายกาจ.

บัดนี้พึงทราบคำตอบ ๖ ข้อ มีอาทิว่า ทิฏฐิเป็นอย่างไร ของคำถาม

ทั้ง ๖ ข้อเหล่านั้น. ในคำถามเหล่านั้น พึงทราบคำถามที่ควรตอบว่า ทิฏฐิ

เป็นอย่างไร ดังต่อไปนี้.

คำตอบว่า ทิฏฐิ คือการลูบคลำด้วยความเห็นผิด. ก็ทิฏฐินั้นชื่อว่า

อภินิเวสะ เพราะยึดถือ ตั้งมั่น ถือมั่น ด้วยอำนาจแห่งความเที่ยงเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 38

ในวัตถุอันไม่เที่ยงเป็นต้น ชื่อว่า ปรามาสะ เพราะก้าวล่วงอาการไม่เที่ยง

เป็นต้น แล้วลูบคลำยึดถือต่อไป เป็นไปด้วยอำนาจแห่งความเป็นของเที่ยง

เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปรามาสะ เพราะลูบคลำยึดถือสิ่งอื่น มีอาทิ

ว่าเป็นของเที่ยง ว่าเป็นของจริงอย่างสูงสุด. ความยึดถือและการลบคลำนั้น

ชื่อว่า อภินิเวสปรามาสะ. พระสารีบุตรเถระย่อมตอบสภาวะของทิฏฐิโดย

กิจว่า ทิฏฐิมีประการอย่างนี้ ดังนี้.

บทว่า ตีณิ สต คือ ๓๐๐* เป็นความคลาดเคลื่อนของวจนะ. ถามว่า

การถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิเป็นไฉน เป็นการยกคำถามขึ้นแล้ว ตอบว่า โสดา-

ปัตติมรรคเป็นเครื่องถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิ.

บัดนี้ พึงทราบการแสดงโดยพิสดารของบทมีอาทิว่า กถ อภินิเวส-

ปรามาโส การลูบคลำด้วยการถือผิดเป็นอย่างไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า รูป เป็นทุติยาวิภัตติ. เชื่อมความว่า การ

ลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูป. อนึ่ง ในบทว่า รูป นี้ ได้แก่ รูปูปาทานขันธ์

และกสิณรูป. ทิฏฐิคือการลูบคลำด้วยความถือผิดว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น

นั่นเป็นตัวตนของเรา พึงประกอบเฉพาะอย่าง.

บทว่า เอต เป็นสามัญวจนะ. ด้วยบทนั้นท่านทำให้เป็นนปุงสกวจนะ

และเอกวจนะว่า นั่นเวทนาของเรา นั่นสังขารของเรา. แต่บทว่า เอโส

ท่านเพ่งถึงสิ่งที่ควรกล่าวถึง จึงทำให้เป็นปุลลิงควจนะ.

พระสูตรเป็น ตึสสต (๑๓๐) แต่อรรถกถาใช้คำว่า ตีณิสต (๓๐๐) เป็นวจนะวิปลาส นับ

จำนวนดังนี้คือ ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, วิญญาณ ๖, จักขุสัมผัสสชาเวทนา ๖, สัญญา ๖

สัญเจตนา ๖, ตัณหา ๖, วิตก ๖, วิจาร ๖, ธาตุ ๖, กสิณ ๑๐, โกฏฐาส ๓๒, อายตนะ ๑๒,

ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๑๕, ธาตุ ๒๓, ปฏิจจะ ๑๒, รวม ๑๙๓ นับที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ๘ ความกลุ้มรุม

ทิฏฐิ ๑๘ ทิฏฐิ ๑๖, ทิฏฐิอีก ๓ (คือนั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา) และทิฏฐิ

๖๒ รวมทั้งหมด ๓๐๐ พอดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 39

บทว่า เอต มม (นั่นของเรา) เป็นทิฏฐิมีความสำคัญ เพราะตัณหา

เป็นมูล.

บทว่า เอโสหมสฺมิ (เราเป็นนั่น) เป็นทิฏฐิมีความสำคัญ เพราะ

มานะเป็นมูล.

บทว่า เอโส เม อตฺตา (นั่นเป็นตัวตนของเรา) มีความสำคัญ

เพราะทิฏฐินั่นเอง.

ส่วนอาจารย์บางพวกพรรณนาความแห่งคำทั้ง ๓ เหล่านี้ว่า ความดำริ

ด้วยมมังการ (ความถือว่าเป็นของเรา) ว่านั่นเป็นของเรา ความดำริด้วย

อหังการ (ความถือว่าเป็นเรา) ว่าเราเป็นนั่น และการถือมั่นตัวตนอันดำริ

ด้วยอหังการ มมังการว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา. อนึ่ง การยกย่องด้วยมานะ

อาศัยตัณหาเป็นมูลตามลำดับ อันมานะยกย่องแล้วอาศัยตัณหาเป็นมูล และ

การยึดถือตัวตน. การไม่เห็นลักษณะที่เป็นทุกข์แห่งสังขารทั้งหลาย การไม่

เห็นลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลาย และการยึดถือตัวตนอันเป็น

เหตุไม่เห็นพระไตรลักษณ์แห่งสังขารทั้งหลาย การยึดถือตัวตนของผู้ที่ถึงความ

วิปลาสในความทุกข์ว่าเป็นความสุข ในความไม่งามว่าเป็นความงาม ในความ

เป็นของไม่เที่ยงว่าเป็นของเที่ยง และผู้ถึงความวิปลาส ๔ อย่าง. ความดำริ

ด้วยอาการแห่งปุพเพนิวาสญาณ ความดำริ เพื่อจะได้ในอนาคตแห่งทิพยจักษุ

ญาณ และการยึดถือตัวตนของผู้อาศัยความดำริในธรรมทั้งหลายอันเป็น

อิทัปปัจจยตา (สิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้) และปฏิจจสมุปบาททั้งส่วนเบื้องต้น

และส่วนเบื้องปลาย คำนึงถึงอดีตด้วยความพอใจ หวังอนาคตด้วยความพอใจ

หมกมุ่นอยู่ในปัจจุบัน ชื่อว่ายึดถือตัวตน. ทิฏฐิมีความไม่รู้เป็นเหตุในส่วน

เบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย และการยึดถือตัวตนมีความไม่รู้เป็นเหตุ ในธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 40

ทั้งหลายอันเป็นอิทัปปัจจยตา และปฏิจจสมุปบาทในส่วนเบื้องต้นและส่วน

เบื้องปลาย.

อนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายในทิฏฐิกถานี้ มีขันธ์ ๕ เป็นวัตถุ เป็นที่หนึ่ง.

แต่นั้นท่านกล่าวถึงทิฏฐิทั้งหลาย มีอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ วิญญาณ

กายสัมผัส กายเวทนา กายสัญญา กายเจตนา กายตัณหา กายวิตกวิจารธาตุ

กสิณ ๑๐ อาการ ๓๒ เป็นวัตถุ.

อนึ่ง ในอาการ ๓๒ พึงทราบว่า ไม่ควรยึดถือไว้แผนกหนึ่ง ทำการ

ยึดถือดุจยึดถือไว้แผนกหนึ่ง โดยยึดถือสรีระทั้งสิ้น แต่นั้นก็ประกอบด้วย

อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๑๙ ประกอบอินทรีย์อันเป็นโลกุตระโดย

ส่วนเดียว ๓ เพราะทิฏฐิทั้งหลายย่อมไม่มีโลกุตระเป็นวัตถุ. อนึ่ง ในธรรม

ทั้งหลายที่เจือด้วยโลกิยะและโลกุตระแม้ทั้งปวง พึงถือเอาโลกิยะอย่างเดียว

ยกเว้นโลกุตระ และไม่ควรถือรูปอันเนื่องด้วยอนินทรีย์เท่านั้น แต่นั้นก็

ประกอบด้วยธาตุ ๓ ภพ ๙ อย่าง ฌาน พรหมวิหารสมาบัติ และองค์แห่ง

ปฏิจจสมุปบาท. การบริหารในการถือเอาชาติ ชรา และมรณะไว้ต่างหาก

มีนัยดังได้กล่าวแล้ว. บททั้งหลายมีรูปเป็นต้นเท่านี้ทั้งหมด อันมีชราและ

มรณะเป็นที่สุด มีอยู่ ๑๙๘ บท.

พึงทราบวินิจฉัยในที่ตั้งแห่งทิฏฐิทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ บทว่า ขนฺธาปิ

ทิฏฺิฏฺาน แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ความว่า อุปาทานขันธ์ ๕

ชื่อว่าเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะสักกายทิฏฐิแม้มีวัตถุ ๒๐ อย่าง ก็เป็น

วัตถุแห่งขันธ์ ๕ และเพราะเหตุพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง เมื่อพิจารณาอยู่เสมอ ๆ ย่อมพิจารณา

เห็นตนเสมอ ๆ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าทั้งหมด ย่อมพิจารณาเห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 41

เสมอ ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแล หรือขันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งแห่งขันธ์ ๕

เท่านั้น.

บทว่า อวิชฺชาปิ ทิฏฺิฏฺาน (แม้อวิชชาก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ)

ความว่า อวิชชาเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นความเกิดขึ้น

แห่งทิฏฐิของคนบอดทั้งหลาย และเพราะบาลีว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมปรากฏในท่านผู้ที่มิได้ตรัสรู้เองโดยชอบ

ดังนี้ ทิฏฐินี้ย่อมปรากฏ เพราะอาศัยอะไร พระเจ้าข้า. ดูก่อนกัจจานะ ธาตุ

นี้ใหญ่นักแล คือ อวิชชาธาตุ ดูก่อนกัจจานะ สัญญาเลว ทิฏฐิเลว ย่อม

เกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุเลว.

บทว่า ผสฺโสปิ ทิฏฺิฏฺาน (แม้ผัสสะก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ความว่า

ผัสสะเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะความกระทบด้วยผัสสะนั้นเป็นความ

เกิดขึ้นแห่งทิฏฐิ และเพราะบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์

เหล่าใด ดำริส่วนเบื้องต้น มีความเห็นตามส่วนเบื้องต้น ย่อมกล่าวถึงบทที่

พอใจหลาย ๆ อย่าง ปรารภส่วนเบื้องต้น แม้ข้อนั้นก็เป็นปัจจัยแห่งผัสสะ.

บทว่า สญฺาปิ ทิฏฺิฏฺาน (แม้สัญญาก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ความว่า

สัญญาเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะความที่สัญญาเป็นเหตุถือเอาตามสภาพ

ที่ไม่เป็นจริง โดยถือเอาเพียงอาการ เพราะคำอันสภิยปริพาชกทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระปัญญาเสมอ

ด้วยแผ่นดิน พระองค์ทรงกำจัดทิฏฐิ ๓ และ ๖๐ ที่

อาศัยคัมภีร์อันเป็นวาทะเป็นประธานของสมณะผู้ถือ

ลัทธิอื่นที่อาศัยอักขระคือความหมายรู้กัน [ว่าหญิงว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 42

ชาย) และสัญญาอันวิปริต ทรงก้าวล่วงความมืดคือ

โอฆะได้แล้ว.

และเพราะบาลีว่า ธรรมเป็นส่วนแห่งความเนิ่นช้ามีสัญญาเป็นเหตุ ดังนี้.

บทว่า วิตกฺโกปิ ทิฏฺิฏฺาน (แม้วิตกก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ความว่า

วิตกเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะความเกิดแห่งทิฏฐิด้วยวิตกถึงอาการและ

เพราะบาลีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

สัจจะมากหลายต่าง ๆ กัน เว้นจากสัญญาว่า

เที่ยงเสียหาใช่มีในโลกไม่. ก็สมณพราหมณ์ทั้งหลายมา

กำหนดความคาดคะเนทิฏฐิทั้งหลายแล้ว จึงกล่าว

ทิฏฐิอันเป็นคู่กันว่า จริงๆ เท็จๆ.

บทว่า อโยนิโสมนสิกาโรปิ ทิฏฺิฏฺาน (แม้อโยนิโสมนสิการ

ก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ความว่า อโยนิโสมนสิการเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย

เพราะอโยนิโสมนสิการเป็นเหตุทั่วไปแห่งอกุศลทั้งหลาย และเพราะบาลีว่า

เมื่อพระโยคาวจรนั้นกระทำไว้ในใจ โดยอุบายไม่แยบคาย ทิฏฐิ ๖ อย่าง

อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้น.

บทว่า ปาปมิตฺโตปิ ทิฏฺิฏฺาน (แม้มิตรชั่วก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ)

ความว่า มิตรชั่วเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะมิตรชั่ว เป็นความเกิดแห่ง

ทิฏฐิ ด้วยการคล้อยตามไปกับความเห็น และเพราะบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราไม่พิจารณาเห็นองค์อื่นในภายนอกแม้องค์เดียวที่จะเป็นไปเพื่อความฉิบหาย

อันใหญ่อย่างนั้นเหมือนความมีมิตรชั่วนี้เลย.

บทว่า ปรโต โฆโสปิ ทิฏิฏฺาน (แม้เสียงแต่ที่อื่นก็เป็นที่ตั้ง

แห่งทิฏฐิ) ความว่า เสียงทำให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ที่อื่นกถาประกอบด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 43

มิจฉาทิฏฐิ เป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะความเกิดแห่งทิฏฐิด้วยการฟัง

ธรรมที่กล่าวไม่ดีและเพราะบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๒ อย่าง ปัจจัย

๒ อย่าง เหล่านี้คือเสียงแต่ที่อื่น และอโยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อให้เกิด

มิจฉาทิฏฐิ.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะไขความแห่งบทว่า ทิฏฺฐิฏฺาน ที่

ตั้งแห่งทิฏฐิ จึงกล่าวคำมีอาทิว่าขันธ์ทั้งหลายเป็นเหตุ เป็นปัจจัยดังนี้. อธิบายว่า

ขันธ์ทั้งหลายเท่านั้นเป็นเหตุเกิดและเป็นปัจจัยอุปถัมภ์เพราะอาศัยทิฏฐิทั้งหลาย.

บทว่า สมุฏฺานตฺเถน (เพราะอรรถว่าตั้งขึ้น) ความว่า ชื่อว่า

สมุฏฐาน เพราะเป็นเหตุตั้งขึ้น คือ เกิดขึ้น. อธิบายว่า เป็นเหตุ เพราะ

อรรถว่าตั้งขึ้นนั้น คือเพราะความเป็นเหตุแห่งทิฏฐิ.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะแสดงถึงประเภทของทิฏฐิโดย

ประเภทแห่งกิจ จึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า กตมานิ อฏฺารส ทิฏฺิปริยุฏฺ-

านานิ ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ๑๘ เป็นไฉน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยา ทิฏฺิ เป็นบทต้นเหตุอันทั่วไปแก่บท

ทั้งหลาย ๑๘ บทซึ่งจะกล่าวในบัดนี้. พึงทำการเชื่อมด้วยบททั้งปวงว่า ทิฏฐิ

คือ ทิฏฐิคตะ ทิฏฐิรกชัฏ เป็นต้น. ชื่อว่าทิฏฐิ เพราะอรรถว่าไม่เห็นตามความ

เป็นจริง. การเห็นไปในทิฏฐิทั้งหลายนั้นนั่นแล ชื่อว่าทิฏฐิคตะ เพราะหยั่งลง

ภายในทิฏฐิ ๖๒. ท่านกล่าวความแห่งทิฏฐิคตะนั่นแล้วแม้ในหนหลัง แม้เพราะ

ที่สุดสองอย่างไปโดยส่วนเดียวก็เป็นทิฏฐิคตะ.

ทิฏฐินั้นชื่อว่า ทิฏฐิรกชัฏ เพราะอรรถว่าก้าวไปได้ยาก ดุจรกด้วย

หญ้า ป่าและภูเขา. ชื่อว่าทิฏฐิกันดาร เพราะอรรถว่า มีความรังเกียจ และ

มีภัยเฉพาะหน้า ดุจกันดารเพราะโจร เพราะสัตว์ร้าย เพราะไม่มีน้ำ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 44

หาภิกษาได้ยาก. ในธรรมสังคณีมาแล้วโดยลิงค์ว่า ทิฏิกนฺตาโร (กันดาร

ด้วยทิฏฐิ) ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม เพราะอรรถว่าเสียดแทงและตรงข้าม

กับสัมมาทิฏฐิ.

จริงอยู่ การเห็นผิดย่อมเจาะทะลุและตรงข้ามกับการเห็นชอบซึ่ง

เกิดขึ้น. ในธรรมสังคิณีมาแล้วว่า เป็นข้าศึกของทิฏฐิ. ชื่อว่า ทิฏฐิวิบัติ

เพราะเป็นทิฏฐิปรวนแปรผิดรูปโดยที่บางครั้งถือเอาสัสสตทิฏฐิ บางครั้งถือเอา

อุจเฉททิฏฐิ.

จริงอยู่ เจ้าทิฏฐิไม่สามารถตั้งอยู่ในทิฏฐิเดียวได้ บางครั้งระลึกถึง

สัสสตทิฏฐิ บางครั้งระลึกถึงอุจเฉททิฏฐิ. ชื่อว่าทิฏฐิเป็นสังโยชน์ เพราะทิฏฐิ

นั่นแลประกอบในสิ่งไม่เป็นประโยชน์.

ชื่อว่าทิฏฐิเป็นลูกศร เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าเป็นลูกศร เพราะ

อรรถว่า เจาะเข้าไปในภายใน และเพราะอรรถว่า นำออกได้ยาก.

ชื่อว่าทิฏฐิเป็นความคับแคบ เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าคับแคบ เพราะ

ทำการบีบคั้น.

ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าเป็นเครื่องกังวล

เพราะปิดกั้นความพ้น.

ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าเป็นเครื่องผูกพัน

เพราะแก้ได้ยาก.

ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเหว เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าเป็นเหว เพราะขึ้น

ได้ยาก.

ชื่อว่าทิฏฐิเป็นอนุสัย เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าเป็นอนุสัย เพราะไป

ด้วยเรี่ยวแรง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 45

ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน เพราะทิฏฐินั่นแล ทำตนให้เดือด-

ร้อน.

ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน เพราะทิฏฐินั่นแล ตามเผาผลาญตน.

ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะทิฏฐินั่นแล ร้อยรัดกายด้วย

กิเลส.

ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น เพราะทิฏฐินั่นแล ยึดถือไว้อย่างมั่น.

ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด เพราะถือผิดด้วยการยึดว่า เป็นจริง

เป็นต้น.

ชื่อว่าทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ เพราะทิฏฐินั่นแล ย่อมลูบคลำว่านี้

เป็นอื่น หรือลูบคลำจากอื่น.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะชี้ถึงทิฏฐิ ๑๖ ด้วยอำนาจแห่งหมู่

จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ทิฏฐิ ๑๖ เป็นไฉน.

พึงทราบวินิจฉัยในทิฏฐิ ๑๖ นั้นดังต่อไปนี้. ทิฏฐิในความพอใจ คือ

สุขและโสมนัส ชื่อว่า อัสสาททิฏฐิ ทิฏฐิอันไปตามตนชื่อว่า อัตตานุทิฏฐิ-

ทิฏฐิอันวิปริต เพราะเป็นไปว่าไม่มี ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ. ทิฏฐิในกายอันมีอยู่

หรือทิฏฐิอันมีอยู่ในกาย ชื่อว่าสักกายทิฏฐิ. อนึ่ง ในบทว่า กาโย นี้ คือ

ขันธปัญจก. ทิฏฐิชื่อว่า สกฺกายวตฺถุกา เพราะมีสักกายะคือขันธบัญจก

เป็นวัตถุคือเป็นที่ตั้ง. ทิฏฐิอันเป็นไปแล้วว่าเที่ยง ชื่อว่าสัสสตทิฏฐิ. ทิฏฐิ

อันเป็นไปแล้วว่าสูญ ชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ. ชื่อว่าอันตคาหิกทิฏฐิ เพราะถือ

เอาที่สุดมีสัสสตทิฏฐิเป็นต้น หรือเพราะมีการถือเอาที่สุด. ทิฏฐิอันไปตามที่สุด

เบื้องต้นคืออดีต ชื่อว่าปุพพันตานุทิฏฐิ. ทิฏฐิอันไปตามที่สุดเบื้องปลายคือ

อนาคต ชื่อว่าอปรันตานุทิฏฐิ. ชื่อว่าสังโยชนิกาทิฏฐิ เพราะประกอบในสิ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 46

ไม่มีประโยชน์. ทิฏฐิอันผูกพัน สืบต่อให้เกิดขึ้นด้วยมานะอันเกิดขึ้นว่าเป็นเรา

ด้วยการถือตัว อันเป็นมูลแห่งทิฏฐิ ชื่อว่าทิฏฐิผูกพันด้วยมานะว่าเป็นเรา.

อนึ่ง ทิฏฐิอันผูกพันด้วยมานะอันเกิดขึ้นว่า ของเราด้วยการถือว่าเป็นของเรา

ชื่อว่าทิฏฐิผูกพันด้วยมานะว่า ของเรา. การพูด การกล่าวของตน ชื่อว่า

อัตตวาทะ. ทิฏฐิอันสัมปยุตเกี่ยวข้องด้วยอัตตวาทะนั้นชื่อว่าทิกฐิอันสัมปยุตด้วย

อัตตวาทะ. การพูดการกล่าวว่าโลกของตน ชื่อว่า โลกวาทะ. ทิฏฐิอันสัมปยุต

ด้วยโลกวาทะนั้น ชื่อว่าทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ ความเที่ยงท่านกล่าวว่า

ภพ. ทิฏฐิอันเกิดขึ้นด้วยความเที่ยง ชื่อว่าภวทิฏฐิ. ความสูญท่านกล่าวว่า

วิภวะ. ทิฏฐิอันเกิดขึ้นด้วยความสูญ ชื่อว่าวิภวทิฏฐิ.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงความถือผิดด้วยทิฏฐิ

๓๐๐ จึงถามว่า การถือผิดด้วยทิฏฐิ ๓๐๐ เป็นไฉน. ไม่แก้ความถือผิด

เหล่านั้น ประสงค์จะแก้โดยแก้ความถือผิดไว้แผนกหนึ่ง จึงถามถึงอาการ

ถือผิดแห่งทิฏฐิ ๑๖ อย่างโดยนัยมีอาทิว่า อัสสาททิฏฐิมีความถือผิดด้วย

อาการเท่าไร แล้วแก้การนับอาการถือผิดแห่งทิฏฐิ ๑๖ อย่างเท่านั้นมีอาทิ

ว่า อัสสาททิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ ต่อไป เมื่อจะแก้การนับเหล่านั้น

อีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อัสสาททิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นไฉน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า รูป ปฏิจฺจ คืออาศัยรูปขันธ์. บทว่า

อุปฺปชฺชติ สุข โสมนสฺส (สุข โสมนัสเกิดขึ้น) ความว่า สุข โสมนัส

สัมปยุตด้วยราคะ อาศัยเรือน ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสมบัติว่า กายของ

เรานี้ เป็นเช่นนี้ดังนี้. สุขและโสมนัสโดยอรรถได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.

บทว่า รูปสฺส อสฺสาโท (อัสสาทะแห่งรูป) คือ ความยินดีอาศัยรูป.

ชื่อว่า อัสสาทะ เพราะยินดีเสวยสุขนั้นด้วยอำนาจแห่งตัณหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 47

บทว่า อภินิเวสปรามาโส ทิฏฺิ (ทิฏฐิคือการลูบคลำด้วยความ

ถือผิด) ความว่า ความยินดีนั้นเป็นการลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เที่ยงก็ดี

จักสูญก็ดี ย่อมทำคนเที่ยงหรือสูญให้มีความสุขก็ดี. เพราะฉะนั้น บทว่า

ยา จ ทิฏฺิ โย จ อสฺสาโท (ทิฏฐิและอัสสาทะ) คือทิฏฐินั้นเว้นอัสสาทะ

จะมีไม่ได้ แม้อัสสาทะจะมีและไม่มีทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น ทั้งสองอย่างจึงทำ

รวมกัน.

บทว่า อสฺสาททิฏฺิ ท่านอธิบายว่า ได้แก่ ทิฏฐิที่เป็นไปในความ

ยินดี.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระครั้นเทียบเคียงด้วยสูตรต่าง ๆ แล้วประสงค์

ติเตียนมิจฉาทิฏฐิและผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อัสสาททิฏฐิเป็น

มิจฉาทิฏฐิ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺิวิปตฺติ ได้แก่ วิบัติด้วยทิฏฐิ คือ

มิจฉาทิฏฐิอันยังสัมมาทิฏฐิให้พินาศ. บทว่า ทิฏฺิวิปนฺโน บุคคลผู้มีทิฏฐิ-

วิบัติ อธิบายว่า ชื่อว่า ทิฏฺิวิปนฺโน เพราะมีสัมมาทิฏฐิวิบัติคือพินาศ

หรือวิบัติพินาศด้วยทิฏฐิ. บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัตินั้นไม่ควรเสพด้วยการเข้าไปหา

ไม่ควรคบด้วยจิต ไม่ควรนั่งใกล้ด้วยการเข้าไปหาแล้วนั่งลง.

บทว่า ต กิสฺส เหตุ (ข้อนั้น เพราะเหตุไร) เป็นการณปุจฉา (ถาม

ถึงเหตุ) ของบุคคลนั้นว่า เพราะเหตุไร จึงไม่ควรทำการเสพเป็นต้นนั้น.

ตอบถึงเหตุว่า เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก ฉะนั้นจึงไม่ควรทำการเสพ

เป็นต้นนั้น.

บทว่า ทิฏฺิ โย ราโค (ทิฏฐิราคะใด) ความว่า ราคะเกิดขึ้นด้วย

ทิฏฐิปรารภทิฏฐิว่า ทิฏฐิของเราดี ดังนี้. บทว่า ทิฏฺิราครโต (เป็นผู้ยินดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 48

ในทิฏฐิราคะ) ความว่า เป็นผู้ยินดีด้วยทิฏฐิราคะนั้นดุจผ้าย้อมด้วยสี. บทว่า

น มหปฺผล (เป็นทานไม่มีผลมาก) คือ ด้วยผลอันเป็นวิบาก. บทว่า

มหานสส (เป็นทานไม่มีอานิสงส์มาก) คือ ด้วยผลอันหลั่งไหลหรือผลลัพธ์.

บทว่า ปุริสปุคฺคลสฺส คือแห่งบุรุษบุคคล. เพราะโดยโวหารของชาวโลก

สรีระท่านเรียกว่า ปุ. ชื่อ ปุริส เพราะนอนคือเป็นไปในสรีระนั้น. นรก

ท่านเรียกว่า ปุ. ชื่อ ปุคฺคล เพราะไปสู่นรกนั้น. จริงอยู่ โดยมากสัตว์ทั้งหลาย

จุติจากสุคติแล้ว ย่อมเกิดในทุคติทั้งนั้น.

บทว่า ต กิสฺส เหตุ คือความที่ไม่มีผลมากนั้น เป็นเพราะเหตุไร.

บทว่า ทิฏฺิ หิสฺส ปาปิกา ความว่า เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก ฉะนั้น

จึงไม่มีผลมาก. บทว่า เทฺวว คติโย มีคติเป็น ๒ คือ มีคติเป็น ๒ ในคติ ๕

เป็นนรกเพราะทิฏฐิวิบัติ เป็นกำเนิดดิรัจฉานเพราะทิฏฐิสมบัติ.

บทว่า ยญฺเจว กายกมฺม คือ กายกรรมมีดำรงเพศของตนประกอบ

ข้อปฏิบัติ อภิวาท บำรุง และทำอัญชลีเป็นต้น.

บทว่า ยญฺจ วจีกมฺม คือ วจีกรรมมีการเล่าเรียน ท่อง แสดง

ชักชวนในลัทธิของตนเป็นต้น.

บทว่า ยญฺจ มโนกมฺม คือ มโนกรรมประกอบด้วยความคิด คำนึง

ถึงโลกนี้โลกหน้า และสิ่งที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำ. กายกรรม วจีกรรม

มโนกรรม ในหญ้า ขอนไม้ ข้าวเปลือก พืชทั้งหลาย และในการมอบให้รับ

บริโภคทานของสัตว์ผู้มีทิฏฐิ. บทว่า ยถาทิฏฺิ (ตามทิฏฐิ) คือ สมควรแก่ทิฏฐิ

นั้น. บทว่า สมตฺต คือ ให้บริบูรณ์. บทว่า สมาทินฺน (สมาทาน) คือ

ถือเอา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 49

แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า กายกรรมนั้นมี ๓ อย่าง คือ กายกรรม

ตั้งไว้ตามทิฏฐิ ๑ กายกรรมเกิดร่วมกับทิฏฐิ ๑ กายกรรมอนุโลมตามทิฏฐิ ๑.

ในกายกรรม ๓ อย่างนั้น กายกรรมกล่าวคือ ปาณาติบาต อทินนาทาน และ

มิจฉาจารของผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามไม่มี

บาป อันมีกายกรรมนั้นเป็นเหตุ บาปไม่มาถึง นี้ชื่อว่า กายกรรมตั้งอยู่ตาม

ทิฏฐิ. กายกรรมเกิดร่วมกันด้วยความเห็นตามทิฏฐินี้ว่า ผู้ฆ่าสัตว์ ผู้ลักทรัพย์

ผู้ประพฤติผิดในกามไม่มีบาป อันมีกายกรรมนั้นเป็นเหตุ บาปไม่มาถึง นี้ชื่อว่า

กายกรรมเกิดร่วมกันกับทิฏฐิ. กายกรรมนั้นนั่นแลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ

สมาทานแล้ว ถือเอาแล้ว ลูบคลำแล้วให้บริบูรณ์ ชื่อว่า กายกรรมอนุโลม

ตามทิฏฐิ. แม้ในวจีกรรม มโนกรรม ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง ในวจีกรรม

มโนกรรมนี้พึงประกอบว่า ผู้พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ

มีความโลภ มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิดไม่มีบาป อันมีวจีกรรม มโนกรรม

นั้นเป็นเหตุ บาปไม่มาถึง ดังนี้. อนึ่ง นัยที่กล่าวด้วยการดำรงเพศ การ

เล่าเรียน และความคิดของชาวโลกเป็นต้น เป็นนัยที่ดีในข้อนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในเจตนาเป็นต้นดังต่อไปนี้. ความคิดอันเกิดร่วมกับ

ทิฏฐิ ชื่อว่า เจตนา. ความต้องการอันเกิดร่วมกับทิฏฐิ ชื่อว่า ความปรารถนา.

การตั้งจิตด้วยอำนาจแห่งความปรารถนาด้วยความตั้งใจ ชื่อว่า ความตั้งใจ.

ธรรมทั้งหลาย อันเนื่องด้วยสังขารขันธ์มีผัสสะเป็นต้น สัมปยุตด้วยเจตนา

เป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า สังขาร.

ด้วยบทมีอาทิว่า อนิฏฺาย (เพื่อผลไม่น่าปรารถนา) ท่านกล่าวถึง

ทุกข์ทั้งนั้น. เพราะทุกข์อันสัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ความสุข ชื่อว่า ไม่ปรารถนาเพราะ

ไม่แสวงหา ชื่อว่า ไม่น่าใคร่ เพราะไม่เป็นที่รัก ชื่อว่า ไม่น่าพอใจ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 50

ไม่ทำให้เจริญใจ และเพราะไม่สบอารมณ์ ชื่อว่า ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล

เพราะไม่เจริญต่อไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะบีบคั้น.

บทว่า ต กิสฺส เหตุ ความว่า การเป็นไปอย่างนั้นเพราะเหตุไร.

แสดงถึงเหตุนั้นว่า เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก. อธิบายว่า เพราะทิฏฐิของ

บุคคลนั้นเลวทราม ลามก ฉะนั้นจึงเป็นไปอย่างนั้น.

บทว่า อลฺลาย ปวิยา นิกฺขิตฺต (ฝังลงในแผ่นดินเปียก) คือ

ปลุกลงไปในแผ่นดินที่ชุ่มด้วยน้ำ. บทว่า ปวีรส อาโปรส (รสแผ่นดิน

รสน้ำ) ความว่า ในที่นั้นๆ สมบูรณ์ด้วยแผ่นดินและน้ำ. เพราะในที่ที่ฝังพืช

แผ่นดินทั้งหมดและน้ำทั้งหมด ไม่ยังพืชและผลให้ผลิตได้. ส่วนพื้นที่ของ

แผ่นดินและน้ำเหล่านั้นเท่านั้นที่สัมผัสพืช ย่อมให้พืชผลผลิตได้. เพราะฉะนั้น

พื้นที่นั้นจึงเป็นปัจจัยเพื่อเลี้ยงพืช พึงทราบว่าเป็นรสแผ่นดิน เป็นรสน้ำ.

เพราะรสศัพท์มีความสมบูรณ์ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า ชื่อว่ารส ท่านกล่าว

ด้วยความสมบูรณ์ด้วยกิจ อนึ่ง เมื่อชาวโลกกล่าวว่า คนธรรพ์มีเสียงดี ย่อม

รู้ความว่า คนธรรพ์สมบูรณ์ดีแล้ว.

บทว่า อุปาทิยติ คือ ถือเอา. เพราะพืชได้พื้นที่ที่เป็นปัจจัย ย่อม

ผลิตได้. บทว่า สพฺพนฺต คือรสทั้งปวงนั้น. บทว่า ติตฺตกตฺตาย (เพื่อ

ความเป็นของมีรสขม) ความว่า รสแผ่นดิน และรสน้ำนั้น แม้ไม่มีรสขม

อาศัยพืชที่ขม ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของขมแห่งต้นสะเดาเป็นต้น และผล

เท่านั้น. บทว่า กฏุกตฺตาย (มีรสปร่า) นี้เป็นไวพจน์ของบทก่อนนั่นเอง.

พึงทราบว่ารสขมในที่นี้ชื่อว่า รสปร่า เพราะไม่เป็นที่ชอบใจดุจในอาคตสถานว่า

มะม่วงนี้เมื่อก่อนได้รับความนิยมมีสีกลิ่นและ

รส เพราะเหตุไร มะม่วงจึงมีรสปร่าไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 51

บทว่า อสารตาย เพื่อความไม่เป็นสาระ คือ ไม่มีรสหวาน. ปาฐะว่า

อสาทุตฺตาย บ้าง ความว่า มีรสไม่อร่อย. เพราะบทว่า สาทุ แปลว่า

อร่อย. บทว่า พีช หิสฺส ได้แก่พืชของสะเดาเป็นต้นนั้น. บทว่า เอวเมว

ตัดบทเป็น เอว เอว. เพราะสุขเวทนาเป็นความยินดีอย่างยิ่ง. ฉะนั้นท่าน

จึงแสดงถึงโทษแห่งมิจฉาทิฏฐิ ด้วยอำนาจแห่งทุกขเวทนา. พระสารีบุตรเถระ

เพื่อแสดงถึงโทษแห่งทิฏฐิโดยประเภท ๑๘ อย่าง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อัสสาท-

ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ. บทนั้นมีความดังได้กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า อิเมหิ อฏฺารสหิ อากาเรหิ ปริยฏิตจิตฺตสฺส สโย-

โค (ความเกี่ยวข้องแห่งจิตอันทิฏฐิกลุ้มรุมด้วยอาการ ๑๘ อย่างเหล่านี้) ท่าน

แสดงถึงความผูกพันในสงสารด้วยทิฏฐินั่นเอง.

ก็เพราะสังโยชน์แม้เป็นทิฏฐิก็มี แม้ไม่เป็นทิฏฐิก็มี ฉะนั้น พระสารี-

บุตรเถระเมื่อจะแสดงประเภทนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อตฺถิ สโชนานิ

เจว สังโยชน์มีอยู่ดังนี้.

ในบทนั้น เพราะกามราคสังโยชน์มีที่มาว่า อนุนยสฺโชน คือ

สังโยชน์ที่มีนัยตามกัน. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อนุนยสฺโชน พึงทราบว่า

อนุนยสังโยชน์นี้ ท่านกล่าวหมายถึงความโลภที่เป็นไป ยังไม่ถึงความเป็น

กามราคสังโยชน์. ในวาระแม้เป็นมูลเหตุ มีขันธ์และอายตนะที่เหลือเป็นต้น

ก็พึงทราบความโดยนัยนี้เหมือนกัน.

อนึ่ง เพราะอัสสาทะมีเวทนาเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงทำเทศนา มีเวทนา

เป็นที่สุด ไม่ถือเอาสัญญาเป็นต้น.

บทว่า อิเมหิ ปฺจตฺตึสาย อากาเรหิ (ด้วยอาการ ๓๕ เหล่านี้)

คือ ด้วยอาการ ๓๕ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ คือ อัสสาทะอันเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยวัตถุ ๓๕ เหล่านี้ คือ เบญจขันธ์ ๕ และอายตนะภายในเป็นต้น ๖ หมวด.

จบอรรถกถาอัสสาททิฏฐินิเทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 52

อรรถกถาอัตตานุทิฏฐินิเทศ

(แสดงถึงอัตตานุทิฏฐิ)

พึงทราบวินิจฉัยในอัตตานุทิฏฐิ ดังต่อไปนี้. บทว่า อสฺสุตวา

ปุถุชฺชโน. (ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ) คือ ผู้ควรรู้ไม่ได้สดับ เพราะไม่มีการศึกษา

เล่าเรียนและการบรรลุ. ผู้ที่ชื่อว่าไม่มีการศึกษา ทำการปฏิเสธอัตตานุทิฏฐิ

เพราะปราศจากการเล่าเรียน การสอบถามและการวินิจฉัย ในขันธ์ ธาตุ

อายตนะ สัจจะ ปัจจยาการและสติปัฏฐานเป็นต้น. และผู้ที่ชื่อว่าไม่บรรลุ เพราะ

ไม่บรรลุข้อปฏิบัติที่ควรบรรลุ. ชื่อว่าเป็นไญยบุคคลผู้ไม่ได้สดับ เพราะไม่มี

การศึกษาและการบรรลุ.

จริงอยู่ บทว่า สุต (สดับแล้ว) คือ มีการศึกษาพุทธวจนะ และบรรลุ

ด้วยการกล่าวถึงเหตุ เพราะมีสุตะเป็นผล ชื่อว่า สุตวา ผู้สดับเพราะมีสุตะ

นั้น ผู้ไม่มีสุตะ ชื่อว่าผู้ไม่ได้สดับ. บุคคลผู้ไม่ได้สดับนี้นั้น

เป็นปุถุชนด้วยเหตุยังกิเลสหนาให้เกิดเป็นต้น

ชนนี้เป็นผู้ชื่อว่า มีกิเลสหนาเพราะเป็นผู้ยังกิเลสหนา

ให้เกิดขึ้นหยั่งลงถึงภายใน.

จริงอยู่ ชนนั้นเป็นปุถุชนด้วยเหตุยังกิเลสเป็นต้น อันหนามีประการ

ต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่าปุถุชน เพราะยังกิเลสหนา

ให้เกิดขึ้น, เพราะกำจัดสักกายทิฏฐิอันหนาไม่ได้, เพราะเห็นแก่หน้าของศาสดา

ทั้งหลายเป็นอันมาก, เพราะร้อยรัดไว้ด้วยคติต่าง ๆ เป็นอันมาก เพราะปรุง

แต่งอภิสังขารต่าง ๆ มาก, เพราะถูกห้วงคือกิเลสต่าง ๆ มากพัดพาไป เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 53

เดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนต่าง ๆ เป็นอันมาก, เพราะถูกความเร่าร้อนต่าง ๆ

เป็นอันมากเผาผลาญ, เพราะกำหนัดอยากยินดี สยบ ซบ ติด คล้อง พัวพัน

ในกามคุณ ๕ เป็นอันมาก, เพราะกั้น ล้อม ขัดขวาง ปิด ปกปิด ครอบ

ด้วยนิวรณ์ ๕ เป็นอันมาก.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเป็นชนมีความประพฤติธรรมต่ำหยั่ง

ลงในภายใน มีการเบือนหน้าจากอริยธรรม จะเลยการนับครั้งที่หนึ่งเป็นอันมาก

หรือเพราะชนนี้มากแยกพวกออกไปไม่สมาคมกับพระอริยะผู้ประกอบด้วยคุณ

มีศีลและสุตะเป็นต้น.

ด้วยบท ๒ บทเหล่านั้นว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน ท่านกล่าวปุถุชน

๒ จำพวกว่า

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ตรัสถึง

ปุถุชนไว้ ๒ จำพวก คือ อันธปุถุชน ๑ กัลยาณปุถุชน ๑.

ในปุถุชน ๒ จำพวกนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงอันธปุถุชน. บทว่า

อริยา ในบทมีอาทิว่า อริยาน อทสฺสาวี ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า พระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายและพระพุทธสาวกทั้งหลายท่านกล่าวว่า

เป็นอริยะ ในที่นี้พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้นเป็นอริยะ เพราะเป็นผู้ไกลจาก

กิเลส เพราะไม่ทรงนำไปในทางเสื่อม เพราะทรงนำไปในทางเจริญ เพราะ

ยังโลกพร้อมด้วยเทวโลกให้พ้นทุกข์. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกพร้อมด้วยเทวโลก ฯลฯ เรากล่าวว่า ตถาคตเป็น

อริยะ.

อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกของพระตถาคต พึงทราบว่า

เป็นสัตบุรุษ ในบทว่า สปฺปุริสา นี้. จริงอยู่ท่านเหล่านั้นชื่อว่า เป็นสัตบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 54

เพราะเป็นบุรุษผู้งามด้วยการประกอบโลกุตรคุณ. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเหล่านั้น

ทั้งหมด ท่านก็กล่าวไว้ทั้งสองอย่าง แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจก-

พุทธเจ้าทั้งหลาย แม้พระพุทธสาวกทั้งหลาย เป็นทั้งพระอริยะและเป็นทั้ง

สัตบุรุษ. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ผู้ใดแลเป็นคนกตัญญูกตเวที เป็นนักปราชญ์

เป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้มีความภักดีมั่นคง ย่อมทำ

กิจของผู้ได้รับทุกข์โดยเคารพ นักปราชญ์ทั้งหลาย

ย่อมกล่าวถึงผู้เป็นอย่างนั้นว่า เป็นสัตบุรุษ

ในบทนี้ ท่านกล่าวพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าว่า เป็นผู้กตัญญูกตเวทีเป็น

นักปราชญ์ ท่านกล่าวพระพุทธสาวกว่าเป็น กัลยาณมิตรและเป็นผู้มีความ

ภักดีมั่นคง กล่าวพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ย่อมทำกิจของผู้ได้รับทุกข์โดยความ

เคารพ.

บัดนี้ พึงทราบว่า ผู้ที่ปกติไม่เห็นพระอริยะเหล่านั้น และไม่ทำความดี

ในการเห็นว่า เป็นผู้ไม่เห็นพระอริยะทั้งหลาย. อนึ่ง ผู้นั้นมี ๒ อย่างคือ

ไม่เห็นด้วยจักษุ ไม่เห็นด้วยญาณ ๑ ใน ๒ อย่างนั้น ในที่นี้ท่านประสงค์

เอาไม่เห็นด้วยญาณ. จริงอยู่ พระอริยะทั้งหลาย แม้เห็นด้วยมังสจักษุ หรือ

ด้วยทิพยจักษุก็ไม่เป็นอันเห็น เพราะจักษุเหล่านั้นถือเอาเพียงสี เพราะไม่เป็น

อารมณ์แห่งความเป็นอริยะ. เพราะว่า แม้สุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น

ก็เห็นพระอริยะด้วยจักษุ. ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่า ไม่เห็นพระอริยะ. เพราะฉะนั้น

การเห็นด้วยจักษุ จึงไม่เป็นการเห็น การเห็นด้วยญาณเท่านั้น จึงเป็นการเห็น.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิ ประโยชน์อะไรด้วยการที่เธอ

เห็นกายอันเปื่อยเน่านี้ ดูก่อนวักกลิ ผู้ใด เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 55

เพราะฉะนั้น แม้เห็นด้วยจักษุ ก็มิได้เห็นด้วยลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น

ที่พระอริยะเห็นแล้วด้วยญาณ และไม่บรรลุธรรมที่พระอริยะบรรลุแล้ว พึง

ทราบว่า ชื่อว่า ไม่เห็นพระอริยะทั้งหลาย เพราะไม่เห็นความเป็นอริยะของ

ธรรมอันทำให้เป็นอริยะ.

บทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ได้แก่ ไม่ฉลาดในธรรมของอริยะ

คือไม่ฉลาดในอริยธรรม อันมีสติปัฏฐานเป็นต้น. อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยใน

บทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะนี้

ดังต่อไปนี้

ชื่อว่าวินัยนี้ ๒ อย่าง ในวินัย ๒ อย่างนี้ วินัย

ข้อหนึ่ง ๆ มี ๕ อย่าง เพราะไม่มีวินัยนั้น ท่านจึง

กล่าวว่าผู้นี้ไม่ได้รับแนะนำ.

จริงอยู่ วินัยนี้มี ๒ อย่าง คือ สังวรวินัย ๑ ปหานวินัย ๑. ในวินัยแม้

๒ อย่างนี้วินัยข้อหนึ่ง ๆ แบ่งเป็น ๕ อย่าง.

แม้สังวรวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ ศีลสังวร ๑ สติสังวร ๑ ญาณสังวร ๑

ขันติสังวร ๑ วีริยสังวร ๑.

แม้ปหานวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ ตทังคปหาน ๑ วิกขัมภนปหาน ๑

สมุจเฉทปหาน ๑ ปฏิปัสสัทธิปหาน ๑ นิสสรณปหาน ๑.

ในสังวรวินัยนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ภิกษุเข้าถึง เข้าถึง

พร้อมด้วยปาฏิโมกขสังวร นี้ ชื่อว่า ศีลสังวร. ภิกษุ รักษาจักขุนทรีย์ถึงความ

สำรวมในจักขุนทรีย์ นี้ ชื่อว่า สติสังวร.

สติเป็นเครื่องกั้นกระแสในโลก เรากล่าวสติ

ว่าเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นย่อม

ปิดได้ด้วยปัญญา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 56

นี้ชื่อว่า ญาณสังวร. เป็นผู้อดทนต่อหนาวและร้อน นี้ ชื่อว่า ขันติสังวร

ไม่ให้กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วทับถมได้ นี้ชื่อว่า วีริยสังวร.

สังวรแม้ทั้งหมดนี้ ท่านกล่าวว่า สวร เพราะสำรวมกายทุจริตเป็นต้น

ที่ควรสำรวม และที่ควรกำจัดออกไปตามหน้าที่ของตน. ท่านกล่าวว่า วินัย

เพราะกำจัดออกไป. พึงทราบสังวรวินัยแบ่งออกเป็น ๕ ส่วนด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง การละสิ่งไม่เป็นประโยชน์นั้น ๆ ด้วยวิปัสสนาญาณนั้น ๆ เพราะ

เป็นปฏิปักษ์ในวิปัสสนาญาณมีกำหนดนามรูปเป็นต้น ดุจละความมืดด้วยแสง

ประทีปฉะนั้น เช่นการละสักกายทิฏฐิด้วยกำหนดนามรูป ละความเห็นว่า

ไม่มีเหตุและเป็นเหตุลุ่ม ๆ ดอน ๆ ด้วยกำหนดปัจจัย ละความสงสัยด้วย

ข้ามพ้นความสงสัย ละการถือว่า เป็นเรา เป็นของเราด้วยพิจารณาเป็นกอง ๆ

ละความสำคัญในสิ่งไม่ใช่มรรคว่าเป็นมรรค ด้วยกำหนดมรรคและมิใช่มรรค

ละอุจเฉททิฏฐิด้วยเห็นความเกิด ละสัสสตทิฏฐิด้วยเห็นความเสื่อม ละความ

สำคัญในสิ่งมีภัยว่า ไม่มีภัย ด้วยการเห็นภัย ละความสำคัญในสิ่งที่น่าพอใจ

ด้วยการเห็นโทษ ละความสำคัญในสิ่งที่น่ายินดีด้วยการพิจารณาเห็นความ

เบื่อหน่าย ละความใคร่ในอันที่จะไม่พ้นไป ด้วยญาณคือความใคร่ในอันที่จะ

พ้นไป ละความไม่วางเฉยด้วยอุเบกขาญาณ ละความโต้แย้งต่อสิ่งที่ตั้งอยู่

โดยธรรมและโต้แย้งนิพพาน ด้วยอนุโลมญาน (กำหนดรู้ด้วยการคล้อยตาม)

ละความยึดถือในนิมิตสังขาร ด้วยโคตรภูญาณ (ญาณข้ามพ้นโคตรปุถุชน)

นี้ชื่อว่า ตทังคปหาน.

การละธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นเหล่านั้น ๆ เพราะป้องกันความเป็นไป

ด้วยสมาธิอันเป็นอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ ดุจทำลายสาหร่ายบนหลังน้ำ

ด้วยการเกลี่ยให้กระจายไป นี้ชื่อว่า วิกขัมภนปหาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 57

การละความยึดถือกิเลสอันเป็นฝ่ายแห่งสมุทัยที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมี

อาทิว่า เพื่อละทิฏฐิทั้งหลายในสันดานของตน ๆ โดยมรรคนั้น ๆ เพราะเจริญ

อริยมรรค ๔ แล้วโดยความไม่ให้เป็นไปอีกต่อไป นี้ชื่อว่า สมุจเฉทปหาน.

ความที่กิเลสทั้งหลายสงบ ในขณะแห่งผล นี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิปหาน.

การดับอันเป็นการละเครื่องปรุงแต่งทั้งหมด เพราะสลัดเครื่องปรุง-

แต่งทั้งหมดได้แล้ว นี้ชื่อว่า นิสสรณปหาน.

ก็ปหานทั้งหมดนี้ชื่อว่าปหาน เพราะอรรถว่า สละ ชื่อว่า วินัย

เพราะอรรถว่า แนะนำให้วิเศษ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปหานวินัย. อีก

อย่างหนึ่ง ปหานนี้เรียกว่า ปหานวินัย เพราะละอกุสลนั้น ๆ เพราะมีวินัยนั้น ๆ.

แม้ปหานวินัยพึงทราบว่าแบ่งออกเป็น ๕ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.

วินัยนี้โดยสังเขปมี ๒ อย่าง อย่างนี้ และโดยประเภทมี ๑๐ อย่าง

ไม่มีแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ เพราะขาดสังวรแสะเพราะไม่ละสิ่งที่ควรละฉะนั้น

ปุถุชนนี้ท่านจึงกล่าวว่าไม่ได้รับแนะนำ เพราะไม่มีวินัยนั้น. แม้ในบทว่า

สปฺปุริสาน อทสฺสาวี สปฺปุริสธมฺมสฺส อโกวิโท สปฺปุริสธมฺเม

อวินีโต ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ

ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัตบุรุษนี้ก็มีนัยนี้. โดยความบทนี้ ไม่มีเหตุ

ต่างกันเลย.

สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ใดเป็นอริยะ ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ. ผู้ใดเป็น

สัตบุรุษผู้นั้นเป็นอริยะ. ธรรมใดของพระอริยะ ธรรมนั้นของสัตบุรุษ. ธรรม

ใดของสัตบุรุษ ธรรมนั้นของพระอริยะ. วินัยใดเป็นวินัยของพระอริยะ วินัย

นั้นเป็นวินัยของสัตบุรุษ. วินัยใดเป็นวินัยของสัตบุรุษ วินัยนั้นเป็นวินัยของ

พระอริยะ. รวมความว่า อริยะก็ดี สัตบุรุษก็ดี ธรรมของอริยะก็ดี ธรรมของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 58

สัตบุรุษก็ดี วินัยของอริยะก็ดี วินัยของสัตบุรุษก็ดีเหล่านั้น เป็นอันเดียวกัน

ตั้งอยู่ในที่เดียวกันเสมอกันเสมอภาคกัน เกิดในที่นั้นเหมือนกันด้วยประการ

ฉะนี้.

ก็เพราะเหตุไร พระเถระจึงถามว่า อัตตานุทิฏฐิมีความเห็นผิดด้วย

อาการ ๒๐ เป็นไฉน แล้วไม่เเก้คำถามนั้นกลับอ้างถึงปุถุชนอย่างนี้ว่า ปุถุชน

ในโลกนี้ไม่ได้สดับดังนี้. พึงทราบว่า พระเถระเพื่อจะทำความนั้นให้แจ่มแจ้ง

ด้วยเทศนาอันเป็นบุคลาธิษฐาน จึงอ้างถึงปุถุชนก่อน.

พระเถระครั้นอ้างถึงปุถุชนอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะแสดงถึงอุเทศ

แห่งการถือผิด จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รูป อตฺตโต สมนุปสฺสติ ปุถุชนย่อม

เห็นรูปโดยความเป็นตนดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในบทนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า รูป อตฺตโต

สมนุปสฺสติ ความว่า ย่อมเห็นรูปขันธ์และกสิณรูปโดยเห็นด้วยทิฏฐิว่าเป็น

ตัวตน. แต่ในนิเทศพึงทราบว่า ท่านมิได้กล่าวถึงรูปนั้นว่า การถือผิดใน

รูปขันธ์ของปุถุชนนั้นปรากฏเพราะอธิการแห่งเบญจขันธ์ แล้วกล่าวถึงกสิณรูป

โดยเป็นสามัญว่า รูป.

บทว่า รูปวนฺต วา อตฺตาน (เห็นตนว่ามีรูป) คือถือสิ่งไม่มีรูปว่า

ตัวตน แล้วเห็นตนนั้นว่ามีรูป.

บทว่า อตฺตนิ วา รูป (เห็นรูปในตน) คือถือสิ่งไม่มีรูปนั่นแลว่า

ตัวตน แล้วเห็นรูปในตนนั้น.

บทว่า รูปสฺมึ วา อตฺตาน (เห็นตนในรูป ) คือถือสิ่งไม่มีรูป

นั่นแลว่า ตัวตน แล้วเห็นตนนั้นในรูป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 59

ในบทเหล่านั้น บทว่า รูป อตฺตโต สมนุปสฺสติ เป็นรูปอย่างเดียว

ท่านกล่าวว่าเป็นตัวตน. สิ่งไม่ใช่รูปในฐานะ ๗ เหล่านี้ คือ เห็นตนว่ามีรูป ๑

เห็นรูปในตน ๑ เห็นตนในรูป ๑ เห็นเวทนา ๑ สัญญา สังขาร ๑ วิญญาณ ๑

โดยความเป็นตน ท่านกล่าวว่า เป็นตัวตน.

ท่านกล่าวถึงตัวตนปนด้วยรูปและอรูปในฐานะ ๑๒ อย่างด้วยอำนาจ

แห่งเวทนา ๓ ในขันธ์ ๔ อย่างนี้ว่า เห็นตนว่ามีเวทนา เห็นเวทนาในตน

เห็นตนในเวทนา อนึ่ง ทิฏฐิแม้ ๒๐ เหล่านั้น ห้ามมรรค ไม่ห้ามสวรรค์

ทำลายเสียด้วยโสดาปัตติมรรค.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะชี้แจงถึงรูปนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กถ รูป

เห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปวีกสิณ ได้แก่ ปฐวีกสิณอันเป็นปฏิภาค

นิมิตให้เกิดขึ้นเพราะอาศัยปฐวีมณฑล โดยการแผ่ไปทั่ว. บทว่า อห ท่าน

หมายถึงตนนั่นเอง. บทว่า อตฺต คือตน. บทว่า อทฺวย ไม่เป็นสอง คือ

หนึ่งนั่นเอง. บทว่า เตลปฺปทีปสฺส คือประทีปมีน้ำมัน. บทว่า ฌายโต

คือ ลุกโพลงอยู่. บทมีอาทิว่า ยา อจฺฉิ โส วณฺโณ เปลวไฟอันใด

แสงสว่างก็อันนั้น ท่านกล่าวเพราะปราศจากเปลวไฟเสียเเล้วก็ไม่มีแสงสว่าง.

บทว่า ยา จ ทิฏฺิ ยญฺจ วตฺถุ ทิฏฐิและวัตถุ อธิบายว่า

ท่านทำทั้งสองอย่างนั้นรวมกันแล้วกล่าวว่า อัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ.

อาโปกสิณเป็นต้น เป็นกสิณนิมิตเกิดขึ้นเพราะอาศัยน้ำเป็นต้น. อนึ่ง

อากาศกสิณที่กำหนดไว้ แม้เป็นอารมณ์แห่งรูปฌาน เมื่อท่านกล่าวว่าเป็น

อากาศกสิณ เป็นอันระคนแล้วด้วยอารมณ์แห่งอรูปฌาน อันเป็นกสิณุคฆาฏิมากาศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 60

เพราะเหตุนั้นพึงทราบว่า ท่านจึงไม่ถือเอา. เพราะอธิการแห่งรูปจึงไม่ควร

ถือเอาวิญญาณกสิณโดยแท้ฉะนี้แล.

บทว่า อิเธกฺจโจ เวทน สญฺ สงฺขาเร วิญฺาณ อตฺตโต

สมนุปสฺสติ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ โดยความเป็นตน ท่านไม่แยกขันธ์ แล้วกล่าวด้วยสามารถการถือ

รวมกัน. จริงอยู่ เพราะไม่สามารถแยกจิตและเจตสิกไว้ต่างหากกันได้ จึงทำ

ขันธ์ทั้งหมดรวมกันแล้วถือเอาว่าเป็นตัวตน.

ในบทว่า อิมินา รูเปน รูปวา มีรูปด้วยรูปนี้ ย่อมได้สรีรรูปบ้าง

กสิณรูปบ้าง. บทว่า ฉายาสมฺปนฺโน (ต้นไม้มีเงา) คือต้นไม้ไม่งอกงาม

ถึงพร้อมด้วยเงา. ศัพท์ว่า เอน ในบทนี้ว่า ตเมน เป็นเพียงนิบาต เป็น

ตเมต บ้าง. บทว่า ฉายาว คือมีเงา. ท่านกล่าวว่า อัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็น

วัตถุ เพราะแม้เมื่อไม่ถือว่ารูปเป็นตัวตนก็ไม่ปล่อยรูป จึงเกิดขึ้นด้วยทิฏฐิ.

บทว่า อตฺตนิ รูป สมนุปสฺสติ คือเห็นรูปนั้นในตนอันเป็นกอง

แห่งอรูปนั้น เพราะสรีรรูปและกสิณรูปอาศัยจิต. บทว่า อย คนฺโธ นี้

กลิ่นหอม กล่าวถึงกลิ่นที่สูดเข้าไป. บทว่า อิมสฺมึ ปุปเผ ในดอกไม้นี้

กล่าวอย่างนี้เพราะกลิ่นหอมอาศัยดอกไม้.

บทว่า รูปสฺมึ อตฺตาน สมนุปสฺสติ เห็นตนในรูป คือรูปไป

ณ ที่ใด จิตย่อมไป ณ ที่นั้น. เพราะฉะนั้นยึดจิตอาศัยรูปแล้ว เห็นตนอัน

เป็นกองอรูปนั้น ในรูปนั้น. ท่านกล่าวถึงหีบรองรับของหยาบ เพราะรูปเป็น

ของหยาบ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อิเธกฺจโจ จกฺขุสมฺผสฺสช เวทน

(บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเวทนา) ความว่า แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 61

เมื่อไม่มีการยึดถือทิฏฐิในเวทนาต่างหากกัน ก็ยึดถือโดยถือเป็นอันเดียวกันว่า

เวทนา เพราะเวทนาทั้งปวงหยั่งลงในภายใน จึงเป็นอันถือเอาต่างหากกัน

เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ท่านประกอบไว้ต่างหากกัน. เพราะปุถุชนนั้น

ย่อมถือเวทนานั่นแลว่าเป็นตัวตน เพราะเวทนาเป็นของหยาบด้วยอำนาจการ

เสวย.

บทว่า สญฺ สงฺขาเร วิญฺาณ รูป อตฺตโต สมนุปสฺสติ

ปุถุชนย่อมเห็น สัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน ความว่า

ทำอรูปธรรม มีสัญญาเป็นต้น และรูปรวมกันแล้วเห็นว่าเป็นตัวตน เพราะ

ปุถุชนย่อมถือตามที่ปรากฏ ดุจคนบ้าฉะนั้น.

ในบทมีอาทิว่า จกฺขุสมฺผสฺสช สญฺ มีอธิบายว่า ปุถุชนย่อม

ถือสัญญาว่าเป็นตัวตน เพราะสัญญาปรากฏ ด้วยอำนาจแห่งการรู้พร้อม. บท

ที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในเวทนา.

ในบทมีอาทิว่า จกฺขุสมฺผสฺสช เจตน มีอธิบายว่า ท่านแสดงถึง

เจตนาเท่านั้น เพราะเจตนาเป็นประธานและปรากฏในธรรมทั้งหลาย อันเนื่อง

ด้วยสังขารขันธ์. แม้ขันธ์นอกนี้ก็เป็นอันว่าท่านแสดงด้วยเจตนานั้น. ส่วนปุถุชน

นั้นย่อมถือเจตนาว่าเป็นตัวตน เพราะปรากฏด้วยความเป็นเจตสิก. บทที่เหลือ

มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ในบทมีอาทิว่า จกฺขุวิญฺาณ มีอธิบายว่า ปุถุชนย่อมถือจิตว่าเป็น

ตัวตน เพราะจิตปรากฏด้วยอำนาจแห่งการรู้แจ้ง. บทที่เหลือแม้ในที่นี้ก็มีนัยดัง

กล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาอัตตานุทิฏฐินิเทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 62

อรรถกถามิจฉาทิฏฐินิเทศ

มิจฉาทิฏฐิมีเนื้อความดังได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง แต่พึงทราบนัยอื่น

ดังต่อไปนี้.

บทว่า นตฺถิ ทินฺน ทานที่ให้แล้วไม่มีผล คือปฏิเสธผลของทาน

เพราะเป็นอุจเฉททิฏฐิ. บทว่า ยิฏฺ การบูชายัญในบทว่า นตฺถิ ยิฏฺ

ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผลนี้เป็นยัญเล็กน้อย. บทว่า หุต เซ่นสรวงเป็นมหายัญ.

ปฏิเสธผลของยัญทั้งสอง.

บทว่า นตฺถิ สุกฏทุกฺกฏาน กมฺมาน ผล วิปาโก ผลวิบาก

แห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี คือปฏิเสธผลแห่งบุญกรรม มีศีลเป็นต้น

เพราะปฏิเสธผลแห่งทาน ปฏิเสธผลแห่งบาปกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น. บทว่า

นตฺถิ อย โลโก โลกนี้ไม่มี คือ ด้วยกรรมที่ทำไว้ในก่อน. บทว่า นตฺถิ

ปโร โลโก โลกหน้าไม่มี คือ ด้วยกรรมที่ทำไว้ในโลกนี้. บทว่า นตฺถิ มาตา

นตฺถิ ปิตา มารดาไม่มี บิดาไม่มี คือปฏิเสธผลของกรรมที่ทำไว้ในมารดา

บิดาเหล่านั้น. บทว่า นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา สัตว์ผู้ผุดขึ้นก็ไม่มี คือ

ปฏิเสธการผุดขึ้นอันมีกรรมเป็นเหตุ. บทว่า นตฺถิ โลเก สมณพฺราหฺมณา

ฯลฯ ปเวเทนฺติ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้า

ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้วสั่งสอนประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก คือ

ปฏิเสธปฏิปทาในการได้อภิญญา เพื่อเห็นในโลกนี้และโลกหน้า.

แต่ในบาลีนี้ บทว่า นตฺถิ ทินฺน ได้แก่ วัตถุ คือ ทานที่ท่าน

กล่าวว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล. อธิบายว่า วัตถุแห่งทิฏฐินั้น.

บทว่า เอววาโท มิจฺฉา วาทะอย่างนี้ผิด คือ วาทะคำพูดว่าทาน

ที่ให้แล้วไม่มีผลอย่างนี้ผิด คือ วิปริต.

จบอรรถกถามิจฉาทิฏฐินิเทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 63

อรรถกถาสักกายทิฏฐินิเทศ

บทว่า สกฺกายทิฏฺิ คืออัตตานุทิฏฐินั่นเอง พึงทราบว่า ท่าน

กล่าวไว้เพื่อแสดงคำโดยปริยายอันมาแล้วในที่อื่น.

จบอรรถกถาสักกายทิฏฐินิเทศ

อรรถกถาสัสสตทิฏฐินิเทศ

บทว่า สกฺกายวตฺถุกาย สสฺสตทิฏฺิยา สัสสตทิฏฐิมีสักกายะเป็น

วัตถุ เป็นกัมมธารยสมาส.

พึงเชื่อมบทว่า สมนุปสฺสติ ย่อมเห็นไว้ในท้ายคำ ๑๕ คำ

มีอาทิว่า รูปวนฺต วา อตฺตาน. เพราะจะได้ไม่ลืมตัวด้วยอย่างอื่น ทิฏฐิ

ที่เหลือ ๑๔ อย่าง แสดงย่อไว้เป็นอย่างเดียวกันว่า รูปวนฺต วา อตฺตาน

สมนุปสฺสติ เห็นตนว่ามีรูปด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสัสสตทิฏฐินิเทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 64

อรรถกถาอุจเฉททิฏฐินิเทศ

บทว่า สกฺกายวตฺถุกาย อุจเฉททิฏฺิยา อุจเฉททิฏฐิมิสักกายะ

เป็นวัตถุ คือทิฏฐิที่เหลือ ๔ อย่าง แสดงย่อไว้เป็นอย่างเดียวกันว่า เห็นรูป

โดยความเป็นตน ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาอุจเฉททิฏฐินิเทศ

อรรถกถาอันตคาหิกทิฏฐิ

บทว่า อนฺตคาหิกาย ทิฏฺิยา ทิฏฐิอันถือเอาที่สุด เป็นการถาม

ตามอาการในวาระที่หนึ่ง ถือเอาตามอาการในวาระที่สอง กล่าวแก้อาการ

ในวาระที่สาม.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โลโก คือ ตัวตน. บทว่า โส อนฺโต

โลกนั้น มีที่สุด คือ ในที่สุดของความเที่ยงและความสูญอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน

ที่สุดของความเที่ยง ในการถือว่าเที่ยงที่สุดของความสูญในการถือว่าไม่เที่ยง.

บทว่า ปริตฺต โอกาส สู่โอกาสนิดหน่อย คือ สู่ที่เล็กน้อยเพียงกระด้งหรือ

ชาม. บทว่า นีลกโต ผรติ ทำสีเขียวแผ่ไป คือ เป็นอารมณ์ว่า สีเขียว.

บทว่า อย โลโก โลกนี้ ท่านกล่าวหมายถึงตน. บทว่า ปริวฏุโม

โลกกลม คือ มีกำหนดไว้โดยรอบ. บทว่า อนฺตสญฺี คือ มีความสำคัญ

ว่ามีที่สุด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 65

บทว่า ย ผรติ คือ กสิณรูปแผ่ไป. บทว่า ตวตฺถุ เจว โลโก จ

วัตถุและโลก คือกสิณรูปนั้นเป็นอารมณ์และโลกด้วยอรรถว่าพึงแลดู. บทว่า

เยน ผรติ คือแผ่ไปด้วยจิต. บทว่า โส อตฺตา เจว โลโก จ ได้แก่

ตนและโลกทำให้เป็นปุงลิงค์เพราะเพ่งตน. ท่านอธิบายว่า ตนนั่นแล คือ

จิตและชื่อว่าโลก เพราะอรรถว่า พึงมองดู.

บทว่า อนฺตวา คือ มีที่สุด. บทว่า โอภาสกโต ผรติ ทำ

แสงสว่างแผ่ไป คือ แสงสว่างด้วยอาโลกกสิณ เตโชกสิณ หรือโอทาตกสิณ

แผ่ไป. เพราะยึดกสิณมีแสงสว่าง ๕ ชนิด มีนีลกสิณเป็นต้น จึงควรถือว่า

ไม่มีการถือผิดตนด้วยอำนาจปฐวีกสิณ อาโปกสิณและวาโยกสิณ. บทว่า วิปุล

โอภาส สู่โอภาสอันกว้าง คือสู่ที่ใหญ่โดยมีประมาณบริเวณลานเป็นต้น.

บทว่า อนนฺตวา ไม่มีที่สุด คือไม่มีที่สุดกว้างขวาง. บทว่า อปริยนฺโต

หาที่สุดมิได้ คือหาที่สุดอันกว้างขวางมิได้. บทว่า อนนฺตสญฺี คือมีความ

สำคัญว่าโลกไม่มีที่สุด.

บทว่า ต ชีว คือชีพอันนั้น. อนึ่ง บทว่า ชีโว คือตัวตนนั้นเอง.

แม้ขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น ก็ชื่อว่าสรีระ เพราะอรรถว่ามีความหมุนไป. บทว่า

ชีว น สรีร ชีพไม่ใช่สรีระ คือ ชีพได้แก่ตน ไม่ใช่สรีระอันได้แก่รูป.

ในเวทนาเป็นต้นก็มีนัยนี้.

บทว่า ตถาคโต คือ สัตว์. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า พระอรหันต์.

บทว่า ปรมฺมรณา เบื้องหน้าแต่ตาย คือในโลกอื่น. บทว่า รูป อิเธว

มรณธมฺม รูปมีความตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ คือการถือเบญจขันธ์

โดยหัวข้อของขันธ์ที่ปรากฏแก่ตน. อธิบายว่า รูปนั้นปกติสูญหายไปใน

โลกนี้แหละ. แม้ในขันธ์ที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า กายสฺส เภทา แต่กายแตก คือเบื้องหน้าแต่กายคือขันธ์ ๕

แตก. ท่านกล่าวความของอุเทศนี้ว่า ปรมฺมรณา เบื้องหน้าแต่ตายด้วยคำนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 66

บทว่า โหติ ในบทมีอาทิว่า โหติปิ เป็นอยู่บ้าง เป็นบทหลัก.

อปิ ศัพท์ แม้ในบททั้ง ๔ เป็นสมุจจยัตถะมีความรวม. บทว่า ติฏฺติ คือ

คงอยู่ เพราะเป็นของเที่ยง อธิบายว่า ไม่จุติ. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า

ท่านกล่าวบทว่า ติฏฺติ เพื่อความต่างแห่งความของบทว่า โหติ. บทว่า

อุปฺปชฺชติ อุบัติขึ้นคือ อุบัติขึ้นด้วยเข้าไปสู่กำเนิดที่เป็นอัณฑชะ (เกิดแต่ไข่)

และชลาพุชะ (เกิดแต่น้ำ). บทว่า นิพฺพตฺติ เกิด คือเกิดด้วยเข้าไปสู่

กำเนิดที่เป็นสังเสทชะ (เกิดแต่เหงื่อไคล) โอปปาติกะ (ผุดเกิดขึ้น). พึง

ทราบการประกอบความดังนี้แล. บทว่า อุจฺฉิชฺชติ ย่อมขาดสูญ คือด้วย

ไม่มีการเกี่ยวเนื่องกัน. บทว่า วินสฺสติ ย่อมพินาศไป คือด้วยการแตก

ทำลายไป. บทว่า น โหติ ปรมฺมรณา เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก

เป็นการขยายความของบทก่อน. อธิบายว่า เบื้องหน้าแต่จุติแล้ว ย่อมไม่

เป็นอีก.

บทว่า โหติ จ น จ โหติ สัตว์เบื้องหน้าแต้ตายแล้ว ย่อมเป็น

อีกก็มี ไม่เป็นอีกก็มี เป็นทิฏฐิของพวกถือว่า เที่ยงบางอย่าง ความย่อมเป็น

โดยปริยายเดียว ไม่เป็นโดยปริยายเดียว. ท่านอธิบายว่า ย่อมเป็นเพราะความ

เป็นชีพ ไม่เป็นเพราะไม่มีชีพมาก่อน.

บทว่า เนว โหติ น น โหติ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อม

เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ เป็นทิฏฐิของพวกอมราวิกเขปิกา

(ทิฏฐิซัดส่ายไม่ตายตัว). อธิบายว่า มีก็หามิได้ ไม่มีก็หามิได้ ย่อมทำเพียง

ปฏิเสธนัยที่ท่านกล่าวไว้ก่อน เพราะกลัวถูกติเตียนและเพราะกลัวพูดเท็จ

เพราะความมีปัญญาอ่อนและเพราะความงมงาย.

บทว่า อิเมหิ ปญฺาสาย อากาเรหิ ด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้

คือด้วยอาการ ๕๐ ด้วยสามารถแห่งหมวด ๕ หมวดละ ๑๐ ตามที่กล่าวแล้ว.

จบอรรถกถาอันตคหาหิกทิฏฐินิเทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 67

อรรถกถาปุพพันตานุทิฏฐินิเทศ

เจ้าทิฏฐิชื่อว่า สัสสตวาทะ เพราะกล่าวถึงความเที่ยงใน ปุพพัน-

ตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ในส่วนอดีต) และอปรันตานุทิฏฐิ (ความตาม

เห็นขันธ์ส่วนอนาคต). อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วาทะ เป็นเหตุกล่าว. บทนี้

เป็นชื่อของเจ้าทิฏฐิ. แม้วาทะว่าเที่ยง ก็ชื่อว่า สสัสตะ เพราะประกอบด้วย

สัสสตทิฏฐิ. ชื่อว่า สัสสตวาทะ เพราะมีวาทะว่าเที่ยง. อนึ่ง วาทะว่า

เที่ยงเป็นบางอย่างชื่อว่า เอกัจจสัสสตะ ชื่อว่า เอกัจจสัสสติกา เพราะ

มีทิฏฐิว่า เที่ยงเป็นบางอย่างนั้น. อนึ่ง วาทะเป็นไปว่า โลกมีที่สุด ไม่มีที่สุด

ทั้งมีที่สุดทั้งไม่มีที่สุด มีที่สุดก็หามิได้ ไม่มีที่สุดก็หามิได้ ชื่อว่า อันตานันตะ

ชื่อว่า อันตานันติกา เพราะมีทิฏฐิว่าโลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด. ชื่อว่า อมรา

เพราะไม่ตาย. อะไรไม่ตาย. ทิฏฐิและวาจาของเจ้าทิฏฐิผู้ปราศจากที่สุดโดยนัย

มีอาทิว่า แม้อย่างนี้ก็ไม่มีแก่เรา. ความซัดส่ายไปมี ๒ อย่าง คือ ซัดส่ายไป

ด้วยทิฏฐิหรือวาจาอันไม่ตายตัว ชื่อว่า อมราวิกเขปะ. ชื่อว่า อมราวิกเข-

ปิกา เพราะมีทิฏฐิซัดส่ายไม่ตายตัว.

บทว่า อธิจฺจสมุปปนฺโน เกิดขึ้นลอย ๆ คือความเห็นว่า ตนและ

โลกเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ ชื่อว่า อธิจจสมุปปันนะ ชื่อว่า อธิจจสมุปปันนิกา

เพราะมีทิฏฐิว่า ตนและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ.

จบอรรถกถาปุพพันตานุทิฏฐินิเทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 68

อรรถกถาอปรันตานุทิฏฐินิเทศ

เจ้าทิฏฐิชื่อว่า สัญญีวาทะ เพราะกล่าวตนเมื่อตายแล้วมีสัญญา.

ชื่อว่า อสัญญีวาทะ เพราะกล่าวว่าตนเมื่อตายแล้วไม่มีสัญญา. ชื่อว่า

เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ เพราะกล่าวว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี

สัญญาก็ไม่ใช่.

อีกอย่างหนึ่ง วาทะอันเป็นไปว่ามีสัญญา ชื่อว่า สัญญีวาทะ เจ้าทิฏฐิ

เท่านั้นชื่อว่า สัญญีวาทะ เพราะมีวาทะว่ามีสัญญา. อสัญญีวาทะและ

เนวสัญญีนาสัญญีวาทะก็เหมือนอย่างนั้น.

เจ้าทิฏฐิชื่อว่า อุจเฉทวาทะ เพราะกล่าวว่าสูญ. บทว่า ทิฏฺธมฺโม

คือ ธรรมที่เห็นประจักษ์หมายถึงธรรมเป็นปัจจุบัน. บทนี้เป็นชื่อของอัตภาพ

ที่ได้ในปัจจุบันนั้น ๆ. นิพพานในปัจจุบันชื่อว่าทิฏฐิธรรมนิพพาน. ความว่า

การเข้าไปสงบทุกข์ในอัตภาพนี้แล. ชื่อว่า ทิฏฐิธรรมนิพพานวาทะ เพราะ

กล่าวถึงนิพพานเป็นปัจจุบันธรรมนั้น.

อนึ่ง เมื่อบทนี้พิสดารในนิเทศนี้ จึงควรกล่าวถึงพรหมชาลสูตร

ทั้งสิ้นพร้อมด้วยอรรถกถา. ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ย่อมช้าเกินไป เพราะฉะนั้นจึง

ไม่ให้พิสดาร. ผู้มีความต้องการสูตรนั้น ควรค้นคว้าหาดูเอาเอง.

จบอรรถกถาอปรันตานุทิฏฐินิเทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 69

เพราะสังโยชนิกทิฏฐิ (ทิฏฐิเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) เป็น

ทิฏฐิทั่วไปแก่ทิฏฐิทั้งหมด. ฉะนั้น ท่านจึงแสดงความทั่วไปแก่ทิฏฐิทั้งหมด

เพราะสังโยชนิกทิฏฐินั้นเป็นเครื่องประกอบทิฏฐิไว้ทั้งหมด. พึงทราบความนั้น

โดยการครอบงำทิฏฐิ ดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

จบอรรถกถาสัญโญชนิกทิฏฐินิเทศ

อรรถกถามานวินิพันธทิฏฐินิเทศ

ในมานวินิพันธทิฏฐิ (ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะ) ทั้งหลายพึงทราบ

วินิจฉัยดั่งต่อไปนี้. การลูบคลำด้วยการถือผิดว่าตาเป็นเรา ชื่อว่า ลูบคลำด้วย

การถือผิด มีมานะเป็นเบื้องต้น. เพราะทิฏฐิไม่ได้สัมปยุตด้วยมานะ. ด้วย

เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า มานวินิพนฺธา ทิฏฐิกางกั้นด้วยมานะ. ความว่า

ทิฏฐิกางกั้นด้วยมานะมีมานะเป็นมูล.

แม้ในบทนี้ว่า จกฺขุ มมนฺติ อภินิเวสปรามาโส การลูบคลำ

ด้วยความถือผิดว่า ตาของเราก็มีนัยนี้. อนึ่ง ในบท จกฺขุ มมนฺต นี้

ควรกล่าวว่า มมาติ พึงทราบว่าลงนิคหิตอาคมเป็น มมนฺติ. พึงทราบ

อายตนะภายในมีรูปเป็นต้น ด้วยทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมไม่

ถืออายตนะภายนอกว่า เป็นเราเว้นกสิณรูป. แม้อายตนะภายนอกก็ย่อมได้

ด้วยทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา เพราะย่อมถือแม้อายตนะภายนอกว่า

ของเรา. ก็เพราะทุกขเวทนาไม่เป็นวัตถุของมานะ เพราะเป็นสิ่งไม่น่าปรารถนา

ฉะนั้น เวทนา ๖ และผัสสะ ๖ จึงไม่ถือเอาเป็นมูลปัจจัยของเวทนาเหล่านั้น.

แต่สัญญาเป็นต้น พึงทราบว่าท่านไม่ถือเอาในที่นี้ เพราะตัดขาดแล้ว.

จบอรรถกถามานวินิพันธทิฏฐินิเทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 70

อรรถกถาอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ

อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ (ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยการปรารภตน) ได้แก่

อัตตานิทิฏฐินั่นเอง. ท่านกล่าวถึงทิฏฐิอย่างนี้อีก เพราะปฏิสังยุตด้วยวาทะว่า

ตัวตน ดังนี้.

จบอรรถกถาอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ

อรรถกถาโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ

(ทิฏฐิปฏิสังยุตด้วยปรารภโลก)

บทว่า อตฺตา จ โลโก จ ตนและโลก ความว่า ตนนั้นนั่นแลและ

ชื่อว่าโลกเพราะอรรถว่าพึงแลดู. บทว่า สสฺสโต คือทิฏฐิของผู้มีวาทะว่าเที่ยง.

บทว่า อสสฺสโต คือทิฏฐิของผู้มีวาทะว่าสูญ. บทว่า สสฺสโต จ อสสฺสโต

คือทิฏฐิของผู้เห็นว่าเที่ยงเป็นบางอย่าง. บทว่า เนว สสฺสโต นาสสฺสโต

ตนและโลกเที่ยงก็หามิได้ ไม่เที่ยงก็หามิได้ คือทิฏฐิของผู้ซัดส่ายไม่ตายตัว.

บทว่า อนฺตวา มีที่สุด คือ ทิฏฐิของผู้หลอกลวงและของนิครนถ์อาชีวกผู้ได้

กสิณนิดหน่อย. อีกอย่างหนึ่ง พวกอุจเฉทิฏฐิย่อมกล่าวว่า สัตว์มีขันธ์ส่วน

อดีตโดยกำเนิด มีขันธ์ส่วนอนาคตโดยความตาย. พวกเห็นว่าตนและโลก

เกิดขึ้นลอย ๆ กล่าวว่า สัตว์มีขันธ์ส่วนอดีตโดยกำเนิด. บทว่า อนนฺตวา

ไม่มีที่สุด คือทิฏฐิของผู้ได้กสิณหาประมาณมิได้. แต่พวกมีวาทะว่าเที่ยงย่อม

กล่าวว่า สัตว์ไม่มีขันธ์ส่วนอดีตและส่วนอนาคต ด้วยเหตุนั้นจึงไม่มีที่สุด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 71

พวกเห็นว่าตนและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ กล่าวว่า ไม่มีที่สุดด้วยขันธ์ส่วนอนาคต.

บทว่า อนฺตวา จ อนนฺตวา จ มีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี คือทิฏฐิของ

ผู้มีกสิณขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่เจริญ เจริญไปอย่างขวาง ๆ. บทว่า เนว อนฺตวา

น อนนฺตวา มีที่สุดก็หามิได้ ไม่มีที่สุดก็หามิได้ ต่อทิฏฐิของผู้มีความซัดส่าย

ไม่ตายตัว.

จบอรรถกถาโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ

อรรถกถาภววิภวทิฏฐินิเทศ

พระสารีบุตรเถระ ไม่ทำการนิเทศภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิไว้ต่างหาก

เพราะไม่มีการถือผิดต่างหากจากทิฏฐิตามที่กล่าวแล้ว และไม่ทำการถามเพื่อ

แสดงอาการอย่างหนึ่ง ๆ คือ ความติดอยู่ ความแล่นเลยไป ด้วยอำนาจแห่ง

ทิฏฐิตามที่กล่าวแล้วนั่นแล แล้วจึงกล่าวว่า ความถือผิดด้วยความติดอยู่เป็น

ภวทิฏฐิ. ความถือผิดด้วยความแล่นเลยไปเป็นวิภวทิฏฐิ ดังนี้.

พึงทราบความในบทนั้นดังต่อไปนี้. การถือผิดด้วยความติดอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เมื่อตถาคตแสดงธรรมเพื่อความดับภพ จิตของ

เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ความว่า การถือผิดด้วยความเบื่อหน่าย

จากนิพพาน ด้วยความสำคัญว่าเที่ยง. การถือผิดด้วยความแล่นเลยไป ดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เทวดาและมนุษย์บางพวกอึดอัด ระอา เกลียดชัง

ด้วยภพนั่นเเล ย่อมเพลิดเพลินความขาดสูญ ความว่า การถือผิดด้วยความ

ละเลยปฏิปทาอันนำไปสู่ความดับทุกข์ ด้วยสำคัญว่าสูญ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 72

บัดนี้ พระสารีบุตรเพื่อแสดงประกอบภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิไว้ในทิฏฐิ

ทั้งปวง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อสฺสาททิฏฺิยา ดังนี้. ในบทนั้น เพราะผู้มี

อัสสาททิฏฐิอาศัยความเที่ยง หรือความสูญ ย่อมถือว่าโทษในกามทั้งหลาย

ย่อมไม่มี ดังนี้. ฉะนั้น แม้อัสสาททิฏฐิมีอาการ ๓๒ ท่านก็กล่าวว่า เป็น

ภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี.

ในบทนั้นทิฏฐิแม้อย่างหนึ่ง ๆ ก็เป็นภวทิฏฐิด้วยการถือว่าเที่ยง. เป็น

วิภวทิฏฐิด้วยการถือว่าสูญ. ด้วยอัตตานุทิฏฐิย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา

สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็นวิภวทิฏฐิ

๕ เพราะถือว่าเมื่อขันธ์ ๕ เหล่านั้นสูญเพราะความที่ตนไม่เป็นอื่นจากรูปเป็นต้น

ตนจึงสูญ. เมื่อฐานะ ๑๕ ที่เหลือสูญเพราะความที่ตนเป็นอย่างอื่นจากรูป

เป็นต้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เพราะถือว่าตนเที่ยง.

ผู้ได้ทิพยจักษุได้ฌานอันเป็นปริตตารมณ์และอัปปมาณารมณ์ ใน

ทิฏฐิมีที่สุดและไม่มีที่สุด เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นไปแล้ว ด้วยอำนาจแห่งความ

สูญว่า ทั้งหมดนั้นเป็นวิภวทิฏฐิ ครั้นจุติจากรูปธาตุ แล้วเห็นสัตว์ทั้งหลาย

เกิดในที่อื่นไม่เห็นภวทิฏฐิ ย่อมถือเอาวิภวทิฏฐิ. เพราะฉะนั้น ในบทนั้น

ท่านจึงกล่าวว่าเป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ดังนี้.

บทว่า โหติ จ ในบทนี้ว่า โหติ จ น จ โหติ มีและไม่มี

เป็นภวทิฏฐิ. บทว่า น จ โหติ ไม่มีเป็นวิภวทิฏฐิ.

บทว่า เนว โหติ ในบทนี้ว่า เนว โหติ น น โหติ มีก็หา

มิได้ ไม่มีก็มิได้ เป็นวิภวทิฏฐิ. บทว่า น น โหติ ไม่มีก็หามิได้ เป็น

ภวทิฏฐิ. เพราะฉะนั้น ในบทนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สิยา พึงเป็น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 73

พวกที่เห็นว่าเที่ยงเป็นบางส่วนแห่งการตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต ย่อม

บัญญัติว่าเที่ยง และบัญญัติว่าไม่เที่ยง. เพราะฉะนั้น ทิฏฐินั้นจึงเป็นทั้ง

ภวทิฏฐิ ทั้งวิภวทิฏฐิ. พวกที่เห็นว่ามีที่สุดและไม่มีที่สุด ๔ จำพวก ย่อม

บัญญัติตนว่ามีที่สุดและไม่มีที่สุด. เพราะฉะนั้น ทิฏฐินั้นจึงเป็นทั้งภวทิฏฐิ

ทั้งวิภวทิฏฐิเช่นเดียวกับอัตตานุทิฏฐิ. พวกที่มีความเห็นซัดส่ายไม่ตายตัว ๔

จำพวก อาศัยภวทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิ ย่อมถึงความฟุ้งซ่านทางวาจา ส่วนที่เหลือ

เป็นภวทิฏฐิ. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า สิยา หมายถึง ทิฏฐินั้น ๆ

พวกที่กล่าวว่าสูญ ๗ จำพวกแห่งความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต เป็นวิภวทิฏฐิ

ที่เหลือเป็นภวทิฏฐิ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สิยา เพราะหมายถึงทิฏฐิ

นั้น ๆ. ท่านกล่าวว่า สิยา แห่งสัญโญชนิกทิฏฐิ ด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิทั้งปวง.

ตัวตนเป็นอันพินาศไปในเพราะความพินาศแห่งทิฏฐิเหล่านั้น เพราะถือจักษุ

เป็นต้นว่า เป็นเรา ด้วยทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา เพราะเหตุนั้นท่าน

จึงกล่าวว่า ทั้งหมดนั้นเป็นวิภวทิฏฐิ.

ตนย่อมไม่พินาศไปแม้ในเพราะความพินาศแห่งทิฏฐิเหล่านั้น เพราะ

ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ดุจอัตตานุทิฏฐิเป็นอื่นจากจักษุเป็นต้น

ของตน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทั้งหมดเป็นทิฏฐิ.

ภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิแห่งทิฏฐิปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกปรากฏแล้ว

เพราะท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า ตนและโลกเที่ยง. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

เป็นอันท่านแสดงถึงความถือผิดทิฏฐิ ๑๖ และ ๓๐ มีอัสสาททิฏฐิเป็นเบื้องต้น

มีวิภวทิฏฐิเป็นที่สุด. อัตตานุทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ และทิฏฐิปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะ

ท่านกล่าวไว้โดยความเป็นอันเดียวกัน โดยปริยายมี ๓ อย่าง. แต่ทิฏฐิแม้ทั้งหมด

โดยมีประเภทไม่แน่นอน เป็นสัญโญชนิกทิฏฐิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 74

บัดนี้ บทมีอาทิว่า สพฺพาว ตา ทิฏฺฐิโย อสฺสาททิฏฺิโย ทิฏฐิทั้งหมด

นั้นเป็นอัสสาททิฏฐิ เป็นการเทียบเคียงทิฏฐิ ตามที่ประกอบไว้โดยปริยายอื่น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพาว ตา ทิฏฺิโย ทิฏฐิทั้งหมดเหล่านั้น

ได้แก่ ทิฏฐิที่ไม่มีเหลือตามที่กล่าวแล้ว. ทิฏฐิอันสงเคราะห์เข้าในทิฏฐิทั้งหมด

๗ เหล่านี้คือ ชื่อว่าอัสสาททิฏฐิ เพราะยินดีด้วยทิฏฐิราคะ และเพราะอาศัย

ความพอใจด้วยตัณหา ชื่อว่าอัตตานุทิฏฐิ เพราะไปตามความเสน่หาในตน

ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะความเห็นวิปริต ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ เพราะ

เป็นที่ตั้งแห่งขันธ์ ชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ เพราะถือเอาที่สุดอย่างหนึ่ง ๆ

ชื่อว่า สังโยชนิกทิฏฐิ เพราะประกอบด้วยสิ่งไม่มีประโยชน์ ชื่อว่าอัตต-

วาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ เพราะประกอบด้วยอัตตวาทะ ส่วนทิฏฐิ ๙ ที่เหลือ

ไม่สงเคราะห์เข้าในทิฏฐิทั้งหมด.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระย่อทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดที่กล่าวไว้โดยพิสดาร

ลงในทิฏฐิ ๒ อย่าง เมื่อจะแสดงถึงธรรมเป็นที่อาศัยของทิฏฐิ ๒ หมวดแก่

สัตว์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า ภวญฺจ ทิฏฺึ. จริงอยู่ ทิฏฐิเหล่านั้น

แม้ทั้งหมดเป็นทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิ.

ศัพท์ในบทนี้ว่า ภวญฺจ ทิฏฺึ วิภวญฺจ ทิฏฺึ รวมทิฏฐิ

เท่านั้น ไม่รวมธรรมที่อาศัย. เพราะธรรมอันหนึ่ง มิได้อาศัยภวทิฏฐิและ

วิภวทิฏฐิ. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้อาศัยภวทิฏฐิก็ดีเป็น

ผู้อาศัยวิภวทิฏฐิก็ดีดังนี้.

บทว่า ตกฺกิกา ชื่อว่า ตกฺกิกา เพราะกล่าวด้วยความตรึกตรอง.

เพราะเจ้าทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมเป็นไปด้วยความตรึกตรองอย่างเดียว เพราะไม่มี

ปัญญาแทงตลอดความเป็นจริง อนึ่ง ชนเหล่าใดได้ฌานก็ดี ได้อภิญญาก็ดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 75

ย่อมถือทิฏฐิ แม้ชนเหล่านั้นก็เป็นตักกิกา เพราะตรึกแล้วถือเอา. บทว่า

นิสฺสิตา เส ความว่า อาศัยแล้ว. บทว่า เส บทเดียวเท่านั้นเป็นเพียง

นิบาต. บทว่า เตส นิโรธมฺหิ น หตฺถิ าณ ญาณในนิโรธย่อม

ไม่มีแก่ชนเหล่านั้น นี้เป็นบทกล่าวถึงเหตุแห่งทิฏฐินิสัย. ความว่า เพราะ

ญาณในการดับสักกายทิฏฐิ คือนิพพานไม่มีแก่ชนเหล่านั้น ฉะนั้นชนทั้งหลาย

จึงยึดถือทิฏฐิ ๒ อย่างนี้. หิ อักษรในบทว่า น หิ อตฺถิ าณ นี้เป็น

นิบาตลงในความแสดงถึงเหตุ.

บทว่า ยตฺถาย โลโก วิปรีตสญฺี สัตว์โลกนี้ยึดถือทิฏฐิใดก็เป็น

ผู้มีสัญญาวิปริตเพราะทิฏฐินั้น ความว่า โลกพร้อมด้วยเทวโลกนี้เป็นผู้มีสัญญา

วิปริตในนิโรธอันเป็นสุขใด ว่าเป็นทุกข์ พึงเชื่อมว่าญาณในนิโรธนั้นย่อม

ไม่มี. เพราะเป็นผู้มีสัญญาวิปริตว่าเป็นทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคาถา

ประพันธ์นี้ว่า

รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และธรรมารมณ์

ล้วนน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีประมาณเท่าใด

โลกกล่าวว่ามีอยู่. อารมณ์ ๖ อย่างเหล่านี้ โลกพร้อม

ทั้งเทวโลก สมมติกันว่าเป็นสุข แต่ว่าธรรมเป็นที่ดับ

อารมณ์ ๖ เหล่านี้ ชนเหล่านั้นสมมติกันว่าเป็นทุกข์.

ความดับแห่งเบญจขันธ์พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นว่าเป็น

ความสุข ความเห็นขัดแย้งกันกับโลกทั้งปวงนี้ ย่อม

มีแก่บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นอยู่. ชนเหล่าอื่นกล่าววัตถุ-

กามใด โดยความเป็นสุข พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าว

วัตถุกามนั้นโดยความเป็นทุกข์ ชนเหล่าอื่นกล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 76

นิพพานใดโดยความเป็นทุกข์ พระอริยเจ้าทั้งหลาย

ผู้รู้แจ้งกล่าวนิพพานนั้นโดยความเป็นสุข. ท่านจง

พิจารณาธรรมที่รู้ได้ยาก ชนพาลทั้งหลายผู้ไม่รู้แจ้ง

พากันลุ่มหลงอยู่ในโลกนี้ ความมืดตื้อย่อมมีแก่ชน

พาลทั้งหลาย ผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้วผู้ไม่เห็นอยู่.

ส่วนนิพพานเป็นธรรมชาติเปิดเผยแก่สัตบุรุษผู้เห็นอยู่

เหมือนอย่างแสงสว่าง ฉะนั้น ชนทั้งหลายเป็นผู้ค้น

คว้า ไม่ฉลาดต่อธรรม ย่อมไม่รู้แจ้งนิพพานที่มีอยู่.

ในที่ใกล้. ชนทั้งหลายผู้ถูกภวราคะครอบงำแล้ว แล่น

ไปตามกระแสภวตัณหา ผู้เข้าถึงวัฏฏะอันเป็นบ่วง

แห่งมารเนือง ๆ ไม่ตรัสรู้ธรรมมิได้โดยง่าย. นอกจาก

พระอริยเจ้าทั้งหลาย ใครหนอย่อมควรจะรู้บท คือ

นิพพานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ดีแล้ว พระอริยเจ้า

ทั้งหลายเป็นผู้ไม่มีอาสวะ เพราะรู้โดยชอบ ย่อม

ปรินิพพาน.

บัดนี้ พระสารีบุตรประสงค์จะแสดงทิฏฐิทั้งหมดเป็น ๒ อย่าง

และการถอนทิฏฐิโดยพระสูตร จึงนำพระสูตรมาว่า ทฺวีหิ ภิกฺขเว ดังนี้

เป็นอาทิ.

ในบทเหล่านั้น แม้พรหมทั้งหลายท่านก็เรียกว่าเทว. บทว่า โอลียนฺติ

ย่อมติด คือ กำไว้. บทว่า อติธาวนฺติ คือล่วงเลยไป. บทว่า จกฺขุมนฺโต

คือมีปัญญา. ศัพท์มีเนื้อความเป็นอติเรก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 77

บทว่า ภวารามา ผู้ชอบภพ คือมีภพเป็นที่อภิรมย์. บทว่า ภวรตา

คือยินดีในภพ. บทว่า ภวสมฺมุทิตา คือพอใจด้วยภพ. บทว่า เทสิยมาเน

คือเมื่อธรรมอันพระตถาคตหรือพระสาวกของพระตถาคตแสดงอยู่. บทว่า

ปกฺขนฺทติ ไม่แล่นไป คือไม่เข้าถึงพระธรรมเทศนา หรือการดับภพ. บทว่า

น ปสีทติ ไม่เลื่อมใส คือไม่ถึงความเลื่อมใสในธรรมนั่น. บทว่า น สนฺติฏฺติ

ไม่ตั้งอยู่ คือ ไม่ตั้งอยู่ในธรรมนั้น. บทว่า นาธิมุจฺจติ ไม่น้อมไป คือ ไม่ถึง

ความแนบแน่นในธรรมนั้น. ท่านกล่าวถึงสัสสตทิฏฐิด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

บทว่า อฏฺฏียมานา อึดอัด คือ ถึงความทุกข์. บทว่า หรายมานา

ระอา คือ ถึงความละอาย. บทว่า ชิคุจฺฉมานา คือ ถึงความเกลียดชัง.

บทว่า วิภว อภินนฺทนฺติ ยินดีความปราศจากภพ คือ ยินดีอาศัยความสูญ

หรือปรารถนาความสูญ. บทว่า กิร ได้ยินว่า เป็นนิบาตลงในอรรถอนุสสวนะ

(การได้ยินมา). บทว่า โภ เป็นคำร้องเรียก. บทว่า สนฺต คือ ดับแล้ว.

บทว่า ปณีต ความว่า ชื่อว่าประณีตเพราะไม่มีทุกข์ หรือเพราะนำไปสู่ความ

เป็นประธาน. บทว่า ยถาภว คือ ตามความเป็นจริง. ท่านแสดงอุจเฉททิฏฐิ

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. บทว่า อิธ คือ ในศาสนานี้. บทว่า ภูต ความจริง คือ

ทุกข์อันได้แก่ขันธ์ ๕ อันเกิดแต่เหตุ. บทว่า ภูตโต ปสฺสติ เห็นโดยความ

เป็นจริง คือ เห็นความจริงนี้ว่าเป็นทุกข์. บทว่า นิพฺพิทาย เพื่อความ

เบื่อหน่าย คือ เพื่อความเห็นแจ้ง. บทว่า วิราคาย เพื่อคลายกำหนัด คือ

เพื่ออริยมรรค. บทว่า นิโรธาย เพื่อดับ คือ เพื่อนิพพาน.

บทว่า ปฏิปนฺโน โหติ คือเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันสมควรแก่นิพพาน

นั้น. บทว่า เอว ปสฺสนฺติ ผู้มีจักษุเห็นอยู่อย่างนี้ คือ เห็นด้วยโลกิยญาณใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 78

ส่วนเบื้องต้น ด้วยโลกุตรญาณในกาลแทงตลอดด้วยประการฉะนี้. ท่านกล่าว

สัมมาทิฏฐิด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระแสดงอานิสงส์แห่งสัมมาทิฏฐินั้น ด้วยคาถา ๒

คาถา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โย ภูต ภูตโต ทิสฺวา เห็นความเป็นสัตว์

โดยความเป็นจริง ความว่า ตรัสรู้ทุกข์โดยตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้. บทว่า

ภูตสฺส จ อติกฺกมน ก้าวล่วงความเป็นสัตว์ ความว่า ตรัสรู้การดับทุกข์

โดยตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง. บทว่า ยถาภูเตธิมุจฺจติ ย่อมน้อมใจไปใน

ธรรมตามที่เป็นจริง คือ น้อมใจไปในความดับทุกข์ตามความเป็นจริงด้วย

อำนาจแห่งการตรัสรู้ด้วยมรรคภาวนาว่า นี้สงบ นี้ประณีต. บทว่า ภวตณฺหา

ปริกฺขยา เพื่อความสิ้นไปแห่งภวตัณหา ความว่า ด้วยการละเหตุให้เกิด

ทุกข์.

อนึ่ง เมื่อไม่มีการตรัสรู้ต่าง ๆ ของสัจจธรรม พึงทราบว่าท่านกล่าว

คำในตอนต้นว่า ทิสฺวา ด้วยโวหารพร้อมกับปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น

เพราะเห็นก่อนแล้วภายหลังไม่น้อมใจไป. การตรัสรู้อริยสัจ ๔ ย่อมมีได้

ตลอดกาลเสมอทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง บททั้งหลายที่กล่าวไว้ในตอนต้น ย่อมมี

ได้แม้ในกาลอันเสมอ เพราะเหตุนั้นจึงไม่เป็นโทษ.

บทว่า ส เว คือ พระอรหันต์นั้นโดยส่วนเดียว. บทว่า ภูตปริญฺาโต

กำหนดรู้ความเป็นสัตว์แล้ว คือ กำหนดรู้ทุกข์. บทว่า วีตตณฺโห คือมี

ตัณหาไปปราศแล้ว. บทว่า ภวาภเว คือ ในภพน้อยภพใหญ่. บทว่า

อภโว คือภพใหญ่ เพราะมี อักษรเป็นไปในอรรถว่าเจริญ. พึงทราบ

ภพน้อยภพใหญ่นั้นเพราะความเปรียบเทียบกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 79

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภเว ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ. บทว่า วิภเว ได้แก่

อุจเฉททิฏฐิ. ชื่อว่าปราศจากตัณหา เพราะไม่มีทิฏฐิราคะแม้ในสองอย่างนั้น.

บทว่า ภูตสฺส วิภวา เพราะความไม่มีแห่งความเป็นสัตว์ คือ เพราะสูญ

วัฏทุกข์. บทว่า นาธิคจฺฉติ ปุนพฺภว ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ ท่านกล่าวถึง

ปรินิพพานแห่งพระอรหันต์.

บทมีอาทิว่า ตโย ปุคฺคลา บุคคล ๓ จำพวก ท่านกล่าวเพื่อติเตียน

ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ และเพื่อสรรเสริญผู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ. ชื่อว่ามีทิฏฐิวิบัติ

เพราะมีทิฏฐิถึงคือไปสู่ความน่าเกลียด. ชื่อว่ามีทิฏฐิสมบัติ เพราะมีทิฏฐิถึง

คือไปสู่ความดี.

บทว่า ติตฺถิโย ทิฏฐิท่านกล่าวลัทธิ เพราะปฏิบัติทิฏฐินั้นเป็น

ความดีในลัทธิ หรือชื่อว่า ติตถิยะ เพราะมีลัทธิ เข้าถึงการบรรพชาภายนอก

ลัทธินั้น. บทว่า ติตฺถิยสาวโก สาวกเดียรถีย์ คือ คฤหัสถ์ผู้ถึงทิฏฐานุคติ

ของสาวกเดียรถีย์เหล่านั้น. บทว่า โย จ มิจฺฉาทิฏฺิโก บุคคลผู้มีทิฏฐิผิด

คือ ผู้เข้าถึงทิฏฐิทั้งสองอย่างนั้น เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า ตถาคโต คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้า

ก็สงเคราะห์เข้าในบทนี้เหมือนกัน. บทว่า ตถาคตสาวโก คือผู้บรรลุมรรค

และผู้บรรลุผล. บทว่า โย จ สมฺมาทิฏฺิโก ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ คือ ผู้พ้น

จากทิฏฐิสองอย่างนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ ด้วยสัมมาทิฏฐิของชาวโลก.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า โกธโน เป็น

คนมักโกรธ คือ คนที่มักโกรธเนือง ๆ. บทว่า อุปนาหี มักผูกโกรธ คือ

มีปกติเพิ่มความโกรธนั้นแล้วผูกไว้. บทว่า ปาปมกฺขี มีความลบหลู่ลามก

คือมีความลบหลู่อันเป็นความลามก. บทว่า วสโล เป็นคนเลว คือมีชาติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

แห่งคนเลว. บทว่า วิสุทฺโธ เป็นผู้ประเสริฐ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยญาณ-

ทัศนวิสุทธิ. บทว่า สุทฺธต คโต ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ คือถึงความเป็น

ผู้บริสุทธิ์อันได้แก่มรรคผล. บทว่า เมธาวี คือ ผู้มีปัญญา. ด้วยคาถานี้

ท่านสรรเสริญผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกุตระ.

บทว่า วิปนฺนทิฏฺิโย สมฺปนฺนทิฏฺิโย ทิฏฐิวิบท ทิฏฐิสมบัติ

พระสารีบุตรละโวหารว่าบุคคล กล่าวติเตียน และสรรเสริญธรรม. บทว่า เอต

มม นั่นของเรา คือทิฏฐิด้วยอำนาจแห่งความสำคัญตัณหา. บทว่า เอโส-

หมสฺมิ เราเป็นนั่นคือทิฏฐิมีความสำคัญด้วยมานะเป็นมูล. บทว่า เอโส เม

อตฺตา นั่นเป็นตัวตนของเรา คือมีความสำคัญด้วยทิฏฐินั่นเอง.

ท่านถามการจำแนก การนับ และการสงเคราะห์กาลแห่งทิฏฐิวิบัติ ๓

ด้วยบทมีอาทิว่า เอต มมนฺติ กา ทิฏฺิ ทิฏฐิอะไรว่านั่นของเราแล้วแก้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กา ทิฏฺิ ความว่า บรรดาทิฏฐิมากมาย ทิฏฐิอะไร.

บทว่า กตมนฺตานุคฺคหิตา ตามถือส่วนสุดอะไร ความว่า ในสองกาล คือ

กาลมีขันธ์เป็นส่วนอดีต และกาลมีขันธ์เป็นส่วนอนาคต ตามถือโดยกาลไหน.

อธิบายว่า ติดตาม.

เพราะเมื่อลูบคลำว่า นั่นของเรา อ้างถึงวัตถุในอดีตว่า นั่นได้เป็น

ของเราแล้ว ได้เป็นของเราแล้วอย่างนี้ ได้เป็นของเราแล้วประมาณเท่านี้

แล้วลูบคลำ ฉะนั้น จึงเป็นปุพพันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต).

และทิฏฐิเหล่านั้นจึงเป็นทิฏฐิตามถือขันธ์ส่วนอดีต.

เพราะเมื่อลูบคลำว่า เราเป็นนั่นย่อมลูบคลำอาศัยผลในอนาคตว่า

เราจักบริสุทธิ์ได้ด้วย ศีล พรต ตบะ พรหมจรรย์นี้. ฉะนั้น จึงเป็น

อปรันตานุทิฏฐิ ตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต. และทิฏฐิเหล่านั้นจึงเป็นทิฏฐิ

ตามถือขันธ์ส่วนอนาคต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 81

เพราะเมื่อลูบคลำว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา อาศัยความสืบต่ออันเกิด

ขึ้นในอดีตและอนาคต ย่อมลูบคลำว่านั่นเป็นตัวตนของเรา และย่อมลูบคลำ

ด้วยสักกายทิฏฐิ ฉะนั้นจึงเป็นสักกายทิฏฐิ. และทิฏฐิเหล่านั้นเป็นปุพพันตา-

ปรันตานุคคหิตา ตามถือขันธ์ทั้งส่วนอดีตและส่วนอนาคต.

อนึ่ง เพราะทิฏฐิ ๖๒ มีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน และทิฏฐิ ๖๒ ย่อม

ถึงการถอนด้วยการถอนสักกายทิฏฐินั่นแล ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทิฏฐิ ๖๒

โดยมีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ ย่อมมีโดยทวารแห่ง

สักกายทิฏฐิ อันมีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน. ปาฐะว่า สกฺกายทิฏฺิปฺปมุขานิ

ดังนี้ดีกว่า. ชื่อว่า สกฺกายทิฏฺิปฺปมุขานิ เพราะมีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน

คือเป็นเบื้องต้น. สักกายทิฏฐิเหล่านั้น คืออะไร คือทิฏฐิ ๖๒.

อัตตานุทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ด้วยคำถามว่า ทิฏฐิอะไร แก้ว่า คือ สักกาย-

ทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐. ด้วยคำถามว่า ทิฏฐิเท่าไร แก้ว่า ทิฏฐิ ๖๒ มีสักกายทิฏฐิ

เป็นประธาน. อนึ่ง สักกายทิฏฐินั้นแล ท่านกล่าวว่าอัตตานุทิฏฐิโดยคำสามัญ

ว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา. เมื่อกล่าวถึงอัตตานุทิฏฐินั้น ก็เป็นอันกล่าวถึงแม้

ทิฏฐิที่ปฏิสังยุตด้วยอัตตวาท.

เพื่อแสดงการจำแนกบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ โดยสัมพันธ์กับบุคคล

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ท่านจึงนำพระสูตรมามีอาทิว่า เย เกจิ ภิกฺขเว ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า นิฏฺ คตา

คือ ถึงความเชื่อ คือเชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง

ด้วยสามารถแห่งมรรคญาณ ความว่า หมดความสงสัย. ปาฐะว่า นิฏฺาคตา

เป็นบทสมาส ความอย่างเดียวกัน. บทว่า ทิฏฺิสมฺปนฺนา คือถึงความงาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 82

ด้วยทิฏฐิ. บทว่า อิธ นิฏฺา เชื่อแน่ในธรรมนี้ คือการดับด้วยกามธาตุนี้.

บทว่า อิธ วิหาย นิฏฺา เชื่อแน่ในภพสุทธาวาส ในธรรมนี้ คือ ละกาม

ภพนี้แล้ว ปรินิพพานพรหมโลกชั้นสุทธาวาส.

บทว่า สตฺตกฺขตฺตุปรมสฺส คือ พึงถืออัตภาพเกิดในภพ ๗ ครั้ง

คือ ๗ คราวเป็นอย่างยิ่ง ชื่อว่า สตฺตกฺขตฺตุปรโม คือไม่ถือเอาภพที่ ๘ อื่น

ไปจากภพที่อุบัติถืออัตภาพนั้น. ได้แก่พระสัตตักขัตตุปรมโสดาบันนั้น. บทว่า

โกลงฺโกลสฺส ชื่อว่า โกลังโกละ เพราะไปสู่ตระกูลจากตระกูล. ความว่า

เพราะไม่เกิดใน ตระกูลต่ำจำเดิมแต่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ย่อมเกิดในตระกูล

โภคสมบัติมากเท่านั้น. ได้แก่พระโกลังโกลโสดาบัน. บทว่า เอกพีชิสฺส ท่าน

กล่าวพืชคือขันธ์. โสดาบันมีพืชคือขันธ์หนึ่งเท่านั้น ถืออัตภาพหนึ่งชื่อว่า

เอกพีชี. ได้แก่พระเอกพีชีโสดาบัน. ชื่อของบุคคลเหล่านั้น เป็นชื่อที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงตั้งไว้. เพราะบุคคลผู้ถึงฐานะประมาณเท่านี้ ชื่อว่า สัตตักขัตตุ-

ปรมะ ประมาณเท่านี้ชื่อโกลังโกละ ประมาณเท่านี้ชื่อว่าเอกพีชี เพราะเหตุนั้น

จึงเป็นชื่อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งให้แก่บุคคลเหล่านี้ . จริงอยู่ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงรู้ว่า บุคคลนี้จักถึงฐานะประมาณเท่านี้ บุคคลนี้จักถึงฐานะประมาณ

เท่านี้แล้วจึงทรงตั้งชื่อนั้น ๆ แก่บุคคลเหล่านั้น.

จริงอยู่ พระโสดาบันมีปัญญาอ่อนเกิด ๗ ภพ จึงชื่อว่าสัตตักขัตตุ-

ปรมะ มีปัญญาปานกลาง เกิดอีกไม่เกินภพที่ ๖ จึงชื่อว่าโกลังโกละ มีปัญญา

กล้าเกิดภพเดียว จึงชื่อว่าเอกพีชี. การที่พระโสดาบันเหล่านั้น มีปัญญาอ่อน

ปานกลางและกล้านี้นั่น ย่อมกำหนดเพราะบุรพเหตุ. พระโสดาบันแม้ ๓ เหล่า

นี้ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งกามภพ แต่ในรูปภพและอรูปภพย่อมถือปฏิสนธิ

แม้มาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 83

บทว่า สกทาคามิสฺส ชื่อว่า สกทาคามี เพราะมาสู่กามภพ

คราวเดียว ด้วยสามารถแห่งปฏิสนธิ. ได้แก่พระสกทาคามีนั้น . บทว่า ทิฏฺเว

ธมฺเม อรหา พระอรหันต์ในปัจจุบัน คือพระอรหันต์ในอัตภาพนี้แล. ปาฐะว่า

อรห ดังนี้บ้าง. บทว่า อิธ นิฏฺา เชื่อในธรรมนี้ ท่านกล่าวหมายถึงผู้

ท่องเที่ยวไปสู่กามภพ. ส่วนพระอริยเจ้าทั้งหลายเกิดในรูปภพและอรูปภพ

ย่อมไม่เกิดในกามภพ ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง.

บทว่า อนฺตราปรินิพฺพายิสฺส ชื่อว่า อนฺตราปรินิพฺพายี เพราะ

จะปรินิพพานด้วยการดับกิเลสในระหว่างกึ่งอายุ. อนึ่ง พระอนาคามีนั้นมี ๓

จำพวก คือ ท่านผู้จะปรินิพพานในระหว่างใกล้เกิด ๑ ท่านผู้จะปรินิพพาน

ในระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง ๑ ท่านผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุถึงกึ่ง ๑. ได้แก่

พระอันตราปรินิพพายีอนาคามีนั้น.

บทว่า อุปหจฺจปรินิพฺพายิสฺส ได้แก่ พระอนาคามีผู้พ้นอายุกึ่ง

หรือใกล้จะถึงกาลกิริยา แล้วนิพพานด้วยการดับกิเลส.

บทว่า อสงฺขารปรินิพฺพายิสฺส ได้แก่ พระอนาคามีผู้ไม่ต้องทำ

ความเพียรมากนัก แล้วปรินิพพานด้วยการดับกิเลส โดยไม่ต้องใช้ความเพียร

นัก.

บทว่า สสงฺขารปรินิพฺพายี ได้แก่ พระอนาคามีผู้ต้องทำความเพียร

มาก แล้วปรินิพพานด้วยการดับกิเลส ต้องใช้ความเพียรยากลำบาก.

บทว่า อิทฺธโสตสฺส อกนิฏฺคามิโน ได้แก่ พระอนาคามีผู้มีกระแส

เบื้องบน ต่อกระแสตัณหา กระแสวัฏฏะในเบื้องบน เพราะนำไปในเบื้องบน

หรือมีกระแสในเบื้องบน คือ กระแสมรรคในเบื้องบน เพราะไปในเบื้องบน

แล้วพึงได้. ชื่อว่า อกนิฏฺคามี เพราะไปสู่อกนิฏฐา. ได้เเก่พระอนาคามี

อุทธังโสตอกนิฏฐคามีนั้น. นี้ คือพระอนาคามี ๔ ประเภท.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 84

ท่านผู้ยังพรหมโลก ๔ ตั้งแต่อวิหา ให้บริสุทธิ์แล้วไปสู่อกนิฏฐาจึง

ปรินิพพาน ชื่อว่า อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี.

ท่านผู้ยังพรหมโลก ๓ เบื้องต่ำให้บริสุทธิ์ แล้วตั้งอยู่ในสุทัสสีพรหม-

โลก จึงปรินิพพาน ชื่อว่า อุทธังโสโต ไม่ชื่อว่า อกนิฏฐคามี.

ท่านผู้ไปสู่อกนิฏฐาจากนี้แล้วปรินิพพาน ไม่ชื่อว่า อุทธังโสโต ชื่อว่า

อกนิฏฐคามี.

ท่านผู้ปรินิพพานในที่นั้น ๆ ในพรหมโลก ๔ เบื้องต่ำ ไม่ชื่อว่า

อุทธังโสโต ไม่ชื่อว่า อกนิฏฐคามี.

พระอนาคามี ๕ เหล่านี้ ท่านกล่าวถือเอาสุทธาวาส. ส่วนพระอนาคามี

ทั้งหลาย. เพราะยังละรูปราคะอรูปราคะไม่ได้ ยังหวังอยู่ย่อมเกิดในรูปภพและ

อรูปภพที่เหลือ แต่พระอนาคามีทั้งหลายเกิดในสุทธาวาสไม่เกิดในที่อื่น.

บทว่า อเวจฺจปฺปสนฺนา เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้น คือ รู้ตรัสรู้ด้วย

อริยมรรคแล้ว เลื่อมใสด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหว. บทว่า โสตาปนฺนา

คือท่านผู้ถึงกระแสอริยมรรค. แม้บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอริยผลทั้งปวง ท่านก็ถือเอา

ด้วยบทนี้.

จบอรรถกถาภววิภวทิฏฐิกถา

แห่งอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ชื่อว่า สัทธัมมปกาสินี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 85

มหาวรรค อานาปานกถา

ว่าด้วยเรื่องอานาปานสติสมาธิ

[๓๖๒] เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติมี

วัตถุ ๑๖ ญาณ ๒๐๐ อันเนื่องมาแต่สมาธิย่อมเกิดขึ้น คือ ญาณในธรรมอัน

เป็นอันตราย ๘ ญาณในธรรมอันเป็นอุปการะ ๘ ญาณในอุปกิเลส ๑๘ ญาณ

ในโวทาน ๑๓ ญาณในความเป็นผู้ทำสติ ๓๒ ญาณด้วยสามารถสมาธิ ๒๔

ญาณด้วยสามารถวิปัสสนา ๗๒ นิพพิทาญาณ ๘ นิพพิทานุโลมญาณ ๘ นิพ-

พิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ ญาณในวิมุตติสุข ๒๑.

[๓๖๓] ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมอันเป็น

อุปการะ ๘ เป็นไฉน ?

กามฉันทะเป็นอันตรายแก่สมาธิ เนกขัมมะเป็นอุปการะแก่สมาธิ

พยาบาทเป็นอันตรายแก่สมาธิความไม่พยาบาทเป็นอุปการะแก่สมาธิ ถิ่น-

มิทธะเป็นอันตรายแก่สมาธิ. อาโลกสัญญาเป็นอุปการะแก่สมาธิ อุทธัจจะเป็น

อันตรายแก่สมาธิ ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นอุปการะแก่สมาธิ. วิจิกิจฉาเป็นอันตราย

แก่สมาธิ ความกำหนดธรรมเป็นอุปการะแก่สมาธิ อวิชชาเป็นอันตรายแก่

สมาธิ ญาณเป็นอุปการะแก่สมาธิ อรติเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความปราโมทย์

เป็นอุปการะแก่สมาธิ อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงเป็นอันตรายแก่สมาธิ กุศลธรรม

ทั้งปวงเป็นอุปการะแก่สมาธิ ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ และญาณใน

ธรรมเป็นอุปการะ ๘ เหล่านั้น จิตอันฟุ้งซ่านและจิตสงบระงับ ย่อมดำรงอยู่

ในความเป็นธรรมอย่างเดียวและย่อมหมดจดจากนิวรณ์ ด้วยอาการ ๑๖ เหล่านี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 86

[๓๖๔] ความเป็น ธรรมอย่างเดียวเหล่านั้นเป็นไฉน?

เนกขัมมะ ความไม่พยาบาท อาโลกสัญญา ความไม่ฟุ้งซ่าน ความ

กำหนดธรรม ญาณ ความปราโมทย์ กุศลธรรมทั้งปวงเป็นธรรมอย่างเดียว

(แต่ละอย่าง).

นิวรณ์นั้นเป็นไฉน กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ

วิจิกิจฉา อวิชชา อรติ อกุศลธรรมทั้งปวง เป็นนิวรณ์ (แต่ละอย่าง).

[๓๖๕] คำว่า นีวรณา ความว่า ชื่อว่านิวรณ์เพราะอรรถว่ากระไร

ชื่อว่านิวรณ์เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก.

ธรรมเครื่องนำออกเป็นไฉน เนกขัมมะเป็นธรรมเครื่องนำออกของ

พระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยเนกขัมมะนั้น

กามฉันทะเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลไม่รู้จักเนกขัมมะอัน

เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกกามฉันทะนั้น

กั้นไว้ เพราะเหตุนั้น กามฉันทะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก

ความไม่พยาบาทเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริย

เจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยความไม่พยาบาทนั้น ความพยาบาทเป็นเครื่องกั้น

ธรรมเครื่องนำออก และบุคคลไม่รู้จักความไม่พยาบาทอันเป็นธรรมเครื่องนำ

ออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกความพยาบาทนั้นกั้นไว้ เพราะ

เหตุนั้น พยาบาทจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก อาโลกสัญญาเป็น

ธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำ

ออกด้วยอาโลกสัญญานั้น ถีนมิทธะเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และ

บุคคลย่อมไม่รู้จักอาโลกสัญญาอันเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้ง

หลาย เพราะเป็นผู้ถูกถีนมิทธะนั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น ถีนมิทธะจึงชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 87

เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมเครื่องนำออกของ

พระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน

นั้น อุทธัจจะเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักความไม่

ฟุ้งซ่านอันเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูก

อุทธัจจะนั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น อุทธัจจะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกันธรรมเครื่อง

นำออก การกำหนดธรรมเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และ

พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยการกำหนดธรรมนั้น วิจิกิจฉาเป็นเครื่อง

กั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักการกำหนดธรรมอันเป็นเครื่อง

นำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกวิจิกิจฉานั้นกั้นไว้ เพราะเหตุ

นั้น วิจิกิจฉาจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก.

ญาณเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริย

เจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยญาณนั้น อวิชชาเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก

และบุคคลย่อมไม่รู้จักญาณอันเป็นเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย

เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชานั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น อวิชชาจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้น

ธรรมเครื่องนำออก ความปราโมทย์เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้า

ทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมนำออกด้วยความปราโมทย์นั้น อรติเป็น

เครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักความปราโมทย์อันเป็น

ธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกอรตินั้นกั้นไว้

เพราะเหตุนั้น อรติจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก กุศลธรรมแม้

ทั้งปวงก็เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และพระอริยเจ้าทั้ง

หลายย่อมนำออกด้วยกุศลกรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงก็เป็นเครื่องกั้น

ธรรมเครื่องนำออก และบุคคลย่อมไม่รู้จักกุศลธรรมอันเป็นธรรมเครื่องนำออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกั้นไว้ เพราะเหตุ

นั้น อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้น ธรรมเครื่องนำออก ก็แลเมื่อ

พระโยคาวจรผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านั้น เจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอา-

นาปานสติมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะย่อมมีได้.

[๓๖๖] อุปกิเลส ๑๘ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้น.

เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลม

หายใจเข้า จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายใน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อบุคคล

ใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจออก จิตถึงความฟุ้ง-

ซ่านในภายนอก ย่อมเป็นอันตรายเเก่สมาธิ ความพอใจคือความปรารถนา

ลมหายใจเข้า การเที่ยวไปด้วยตัณหา เป็นอันตรายแก่สมาธิ ความพอใจคือ

ความปรารถนาลมหายใจออก การเที่ยวไปด้วยตัณหา เป็นอันตรายแก่สมาธิ

ความหลงในการได้ลมหายใจออก แห่งบุคคลผู้ถูกลมหายใจเข้าเข้าครอบงำ

ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความหลงในการได้ลมหายใจเข้า แห่งบุคคลผู้ถูก

ลมหายใจครอบงำ ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ.

สติที่ไปตามลมหายใจเข้า ที่ไปตามลมหายใจ

ออก ที่ฟุ้งซ่านในภายใน ที่ฟุ้งซ่านในภายนอก ความ

ปรารถนาลมหายใจเข้า และความปรารถนาลมหายใจ

ออก อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิ

อันสัมปยุต ด้วยอานาปานสติ อุปกิเลสเหล่านั้น ถ้า

จิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็นเครื่องไม่ให้หลุดพ้น

ไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ ให้ถึงความเชื่อ

ต่อผู้อื่น ฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

[๓๖๗] เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจ

เข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิต

กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต

จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจร

คำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ เมื่อ

พระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็น

อันตรายแก่สมาธิ เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่

ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ.

เมื่อคำนึงถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจ

เข้า เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต

เมื่อคำนึงถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก เมื่อ

คำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดเเกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อ

คำนึงถึงลมหายใจเข้า ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก

เมื่อคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหาย-

ใจเข้า อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตรายแต่สมาธิ

อันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อุปกิเลสเหล่านั้น ถ้า

จิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็นเครื่องไม่ให้หลุดพ้น

ไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ ให้ถึงความเชื่อ

ต่อผู้อื่น ฉะนี้แล.

จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตราย

แก่สมาธิ จิตที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่

สมาธิ จิตที่หดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 90

ถือจัด ตกไปข้าฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่น้อมเกินไป

ตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ จิตที่ไม่น้อม ตกไป

ข้างฝ่ายพยาบาท ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ.

[๓๖๘] จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ที่ปรารถนา

อนาคตารมณ์ จิตที่หดหู่ ที่ถือจัด ที่รู้เกินไป ที่ไม่รู้

ย่อมไม่ตั้งมั่น อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตรายแก่

สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อุปกิเลสเหล่านั้น

ย่อมเป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความดำริเศร้าหมอง ไม่รู้ชัด

ซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล.

[๓๖๙] เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด

แห่งลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะ

จิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายใน เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่าม

กลางและที่สุดแห่งลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและ

ดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายนอก กายและจิตย่อมมีความปรารภ

หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจเข้า

เพราะความเที่ยวไปด้วยตัณหา กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและ

ดิ้นรน เพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจออก เพราะความ

เที่ยวไปด้วยตัณหา กายและจิตย่อมมีความปรารถนา หวั่นไหวและดิ้นรน

เพราะความที่พระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ เป็นผู้หลงไหลในการได้

ลมหายใจออก กายและจิตมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะ

ความที่พระโยคาวจรถูกลมหายใจออกครอบงำ เป็นผู้หลงใหลในการได้ลม-

หายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 91

ที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า กายและ

จิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจร

ผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต กายและจิตย่อมมีความปรารภ

หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิต กวัด

แกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน

เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจออก กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต

กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระ-

โยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก กายและจิต

ย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจร

คำนึงถึงลมหายใจออก กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความ

ปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่าย

ความฟุ้งซ่าน กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิต

หวังถึงอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่ง กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่น

ไหวและดิ้นรน เพราะจิตหดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน กายและจิตย่อมมี

ความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะถือตัว ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ

กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตรู้เกินไป ตกไป

ข้างฝ่ายความกำหนัด กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะ

จิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท.

ผู้ใดไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญอานาปานสติ กายและ

จิตของผู้นั้นย่อมหวั่นไหว ดิ้นรน ผู้ใดบำเพ็ญ เจริญ

อานาปานสติดี กายและจิตของผู้นั้น ย่อมไม่หวั่นไหว

ไม่ดิ้นรน ฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 92

ก็และเมื่อพระโยคาวจร ผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านั้น เจริญ

สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะ

ย่อมมีได้ อุปกิเลส ๑๘ เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้น.

[๓๗๐] ญาณในโวทาน ๑๓ เป็นไฉน ?

จิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน พระโยคาวจรเว้นจิต

นั้นเสีย ย่อมตั้งมั่นจิตนั้นไว้ในฐานะหนึ่ง จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วย

อาการอย่างนี้ จิตจำนงหวังอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่ง พระโยคาวจร

เว้นจิตนั้นเสีย น้อมจิตนั้นไปในฐานะนั้นแล จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้

ด้วยอาการอย่างนี้ จิตหดหู่ ตกไปข้างฝ่ายความเกียจคร้าน พระโยคาวจร

ประคองจิตนั้นไว้แล้ว ละความเกียจคร้าน จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วย

อาการอย่างนี้ จิตถือจัด ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ พระโยคาวจรข่มจิตนั้นเสีย

แล้วละอุทธัจจะ จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตรู้เกินไป

ตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด พระโยคาวจรผู้รู้ทันจิตนั้น ละความกำหนัดเสีย

จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายความ

พยาบาท พระโยคาวจรเป็นผู้รู้ทันจิตนั้น ละความพยาบาทเสีย จิตย่อมไม่ถึง

ความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้ จิตบริสุทธิ์ด้วยฐานะ ๖ ประการนี้ ย่อม

ขาวผ่อง ถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว.

[๓๗๑] ความเป็นธรรมอย่างเดียวเหล่านั้นเป็นไฉน ?

ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน ความ

เป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งสมถนิมิต ความเป็นธรรมอย่างเดียว

ในความปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความ

ปรากฏแห่งนิโรธ ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 93

ของบุคคลผู้น้อมใจไปในจาคะทั้งหลาย ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความ

ปรากฏแห่งสมถนิมิต ของบุคคลผู้หมั่นประกอบในอธิจิตทั้งหลาย ความเป็น

ธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม ของบุคคลผู้เจริญ

วิปัสสนาทั้งหลาย และความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งนิโรธ

ของพระอริยบุคคลทั้งหลาย จิตที่ถึงความเป็นธรรมอย่างเดียวโดยฐานะ ๔

เหล่านี้ ย่อมเป็นจิตที่มีปฏิปทาวิสุทธิผ่องใส เจริญงอกงามด้วยอุเบกขา และ

ถึงความร่าเริงด้วยญาณ.

[๓๗๒] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน

ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลาง

ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน.

[๓๗๓] ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ลักษณะ

แห่งเบื้องต้นเท่าไร.

ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ คือ จิตหมดจดจากอันตรายแห่งเบื้องต้นนั้น

จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด จิตแล่นไป

ในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตที่ดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑

จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตอันหมดจด ๑ จิตแล่น

ไปในสมถนิมิตเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็น

เบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วย

ลักษณะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 94

[๓๗๔] ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ลักษณะ

แห่งท่ามกลางเท่าไร.

ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๓ คือ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไป

สู่สมถะวางเฉยอยู่. จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่

จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ ๑ จิตมีความปรากฏ

ในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ ๑ ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลาง

แห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งปฐมฌาน ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่าน

จึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วย

ลักษณะ.

[๓๗๕] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งที่สุดเท่าไร.

ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิด

ในปฐมฌานนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ

เป็นอันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความ

ที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกันและความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑

ความร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน

ลักษณะแห่งที่สุด ๔ ประการเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌาน

มีความงามในที่สุด และถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ

มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิต

ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ

สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา.

[๓๗๖] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุติยฌาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 95

ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น

ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป

๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้

ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิจาร ปีติ . . . และถึงพร้อมด้วยปัญญา.

[๓๗๗] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งตติยฌาน

ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วย

ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยปีติ สุข. . .และถึงพร้อม

ด้วยปัญญา.

[๓๗๘] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งจตุตถฌาน

ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการ

อย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ

สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา.

[๓๗๙] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอากาสา-

นัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ

เนวสัญญาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มี

ความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึง

พร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ฯลฯ และถึงพร้อมด้วยปัญญา.

[๓๘๐] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอนิจจา-

นุปัสสนา ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง อย่างนี้

ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการ ถึงพร้อมด้วยวิจาร...และถึง

พร้อมด้วยปัญญา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 96

อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุกขานุปัสสนา

อนัตตานุปัสสนา นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา ปฏินิ-

สสัคคานุปัสสนา ขยานุปัสสนา วยานุปัสสนา วิปริณามานุปัสสนา อนิมิตตานุ-

ปัสสนา อัปปณิหิตานุปัสสนา สุญญตานุปัสสนา อธิปัญญา ธรรมวิปัสสนา

ยถาภูตญาณทัสนะ อาทีนวานุปัสสนา ปฎิสังขานุปัสสนา วิวัฏฏนานุปัสสนา

โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค ฯลฯ

[๓๘๑] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค.

ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น

ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุด แห่งอรหัตมรรค.

ความหมดจดแห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่ง

เบื้องต้นเท่าไร.

ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการ คือ จิตหมดจดจากอันตรายแห่ง

เบื้องต้นนั้น จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด

จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้นเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑

จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด ๑ จิตแล่นไป

ในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความหมดจดแห่งปฏิปทา

เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึง

พร้อมด้วยลักษณะ.

[๓๘๒] ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตมรรค

ลักษณะแห่งท่ามกลางเท่าไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 97

ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๓ คือ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ ๑ จิตดำเนินไปสู่

สมถะวางเฉยอยู่ ๑ จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ ๑

เพราะเหตุที่จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ จิตมีความ

ปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่นั้น ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรค

เป็นธรรมมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ.

[๓๘๓] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งที่สุด

เท่าไร ?

ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิด

ในอรหัตมรรคนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลาย

มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่

ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น

อันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ความร่าเริงเป็นที่สุด

แห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งที่สุด ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรม มีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ

จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ

๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การ

อธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และพร้อมด้วยปัญญา.

นิมิต ลมอัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่ง

จิตดวงเดียว เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้

ภาวนา นิมิตลมอัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่ง

จิตดวงเดียว เพราะรู้ธรรม ๓ ประการ จึงจะได้ภาวนา

ฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 98

[๓๘๔] ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตควงเดียว เป็น

ธรรมไม่ปรากฏ ก็หามิได้ จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน จิตปรากฏเป็นประธาน

จิตให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษอย่างไร ?

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้ ณ ภาคพื้นที่เรียบ บุรุษเอาเลื่อยเลื่อย

ต้นไม้นั้น สติของบุรุษย่อมเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งฟันเลื่อยซึ่งถูกที่ต้นไม้

บุรุษนั้นไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปไม่ปรากฏ

ก็หามิได้ จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุผลวิเศษ

ความเนื่องกันเป็นนิมิต เหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้ ณ ภาคพื้นที่เรียบ ลม

อัสสาสปัสสาสะ เหมือนฟันเลื่อย ภิกษุนั่งตั้งสติไว้มั่นที่ปลายจมูกหรือที่ริมฝีปาก

ไม่ได้ใส่ใจถึงลมอัสสาสปัสสาสะเข้าหรือออก ลมอัสสาสปัสสาสะเข้าหรือออกจะ

ไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุ

ถึงผลวิเศษ เหมือนบุรุษตั้งสติไว้ด้วยสามารถฟันเลื่อยอันถูกที่ต้นไม้ เขาไม่ได้

ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้

จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จ และบรรลุถึงผลวิเศษ ฉะนั้น

[๓๘๕] ประธานเป็นไฉน ? แม้กาย แม้จิตของภิกษุผู้ปรารภ

ความเพียร ย่อมควรแก่การงาน นี้เป็นประธาน ประโยคเป็นไฉน ? ภิกษุ

ผู้ปรารภความเพียร ย่อมละอุปกิเลสได้ วิตกย่อมสงบไป นี้เป็นประโยค

ผลวิเศษเป็นไฉน ? ภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อม

ถึงความพินาศไป นี้เป็นผลวิเศษ ก็ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมไม่เป็นอารมณ์

แห่งจิตดวงเดียวอย่างนี้ และธรรม ๓ ประการนี้ไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตไม่ถึง

ความฟุ้งซ่าน ปรากฏเป็นประธาน ยังประโยคให้สำเร็จ และบรรลุถึงผลวิเศษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 99

[๓๘๖] ภิกษุใด เจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์

ดีแล้ว อบรมแล้วตามลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรง

แสดงแล้ว ภิกษุนั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือน

พระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น.

ลมอัสสาสะ ชื่อว่า อานะ ไม่ใช่ลมปัสสาสะ ลมปัสสาสะ ชื่อว่า

อปานะ ไม่ใช่ลมอัสสาสะ สติเข้าไปตั้งอยู่ด้วยสามารถลมอัสสาสปัสสาละ ย่อม

ปรากฏแก่บุคคลผู้หายใจเข้าและผู้หายใจออก.

คำว่า ปริปุณฺณา ความว่า บริบูรณ์ ด้วยอรรถว่า ถือเอารอบ

ด้วยอรรถว่ารวมไว้ ด้วยอรรถว่าเต็มรอบ.

ภาวนา ในคำว่า สุภาวิตา มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรม

ทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลาย

มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่

ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑

ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ อรรถแห่งภาวนา ๗ ประการนี้ เป็นอรรถอัน

ภิกษุนั้นทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง น้อมไป อบรมแล้ว ปรารภเสมอ

ดีแล้ว.

คำว่า ยานีกตา ความว่า ภิกษุนั้นจำนงหวังในธรรมใด ๆ ย่อมเป็น

ผู้ถึงความชำนาญ ถึงกำลัง ถึงความแกล้วกล้า ในธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านั้น

ของภิกษุนั้น เป็นธรรมเนื่องด้วยความคำนึง เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วย

มนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็น

ดังยาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 100

คำว่า วตฺถุกตา ความว่า จิตย่อมมั่นคงดีในวัตถุใด ๆ สติย่อม

ปรากฏดีในวัตถุนั้น ๆ ก็หรือว่าสติย่อมปรากฏดีในวัตถุใด ๆ จิตย่อมมั่นคงดีใน

วัตถุนั้น ๆ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าทำให้เป็นที่ตั้ง.

คำว่า อนฺฏฺิตา ความว่า จิตน้อมไปด้วยอาการใด ๆ สติก็หมุน

ไปตาม (คุมอยู่) ด้วยอาการนั้น ๆ ก็หรือว่าสติหมุนไปด้วยอาการใด ๆ จิต

ก็น้อมไปด้วยอาการนั้น ๆ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า น้อมไป.

คำว่า ปริจิตา ความว่า อบรม ด้วยอรรถว่าถือเอารอบ ด้วยอรรถว่า

รวมไว้ ด้วยอรรถว่าเต็มรอบ ภิกษุกำหนดถือเอาด้วยสติ ย่อมชนะอกุศล-

ธรรมอันลามกได้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อบรม.

คำว่า สุสมารทฺธา ความว่า ธรรม ๔ อย่างภิกษุปรารภดีแล้ว คือ

ปรารภดีด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในอานาปานสตินั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑

ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่ง

ความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์

ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ เพราะเพิกถอนกิเลสทั้งหลายซึ่งเป็นข้าศึกแก่

ธรรมนั้น ๑.

คำว่า สุสม ความว่า ความเสมอก็มี ความเสมอดีก็มี ความเสมอ

เป็นไฉน ? กุศลทั้งหลายอันไม่มีโทษ เกิดในธรรมนั้นเป็นฝักใฝ่แห่งความ

ตรัสรู้ นี้เป็นความเสมอ ความเสมอดีเป็นไฉน ? ความดับอารมณ์แห่งธรรม

เหล่านั้นเป็นนิพพาน นี้เป็นความเสมอดี ก็ความเสมอและความเสมอดีนี้ดังนี้

ภิกษุนั้นรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา

ความเพียร ภิกษุนั้นปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติตั้งมั่น ไม่หลงลืม กายสงบ

ปรารภแล้ว จิตเป็นสมาธิมีอารมณ์เดียว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปรารภ

แล้วเสมอดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 101

คำว่า อนุปุพฺพ ปริจิตา ความว่า ภิกษุนั้นอบรมอานาปานสติ

ข้างต้น ๆ ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว อบรมอานาปานสติข้างหลัง ๆ ตามลำดับ

อบรมอานาปานสติข้างต้น ๆ ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว ก็อบรมอานา-

ปานสติข้างหลัง ๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้างต้น ๆ ด้วยสามารถ

ลมหายใจเข้าสั้น ก็อบรมอานาปานสติข้างหลัง ๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติ

ข้างต้น ๆ ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น ก็อบรมอานาปานสติข้างหลัง ๆ

ตามลำดับ ฯลฯ อบรมอานาปานสติข้างต้น ๆ ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณา

เห็นความสละคืนหายใจเข้า ก็อบรมอานาปานสติข้างหลัง ๆ ตามลำดับ อบรม

อานาปานสติข้างต้น ๆ ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจ

ออก ก็อบรมอานาปานสติข้างหลัง ๆ ตามลำดับ อานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ แม้

ทั้งปวงอาศัยกันภิกษุนั้นอบรมแล้ว และอบรมตามลำดับแล้ว เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่าอบรมแล้วตามลำดับ.

คำว่า ยถา ความว่า อรรถแห่งยถาศัพท์มี ๑๐ คือ ความฝึกตน ๑

ความสงบตน ๑ ความยังตนให้ปรินิพพาน ๑ ความรู้ยิ่ง ๑ ความกำหนดรู้ ๑

ความละ ๑ ความเจริญ ๑ ความทำให้แจ้ง ๑ ความตรัสรู้สัจจะ ๑ ความยังตน

ให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ ๑.

คำว่า พุทฺโธ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดเป็นสยัมภูไม่มี

อาจารย์ ตรัสรู้สัจจะทั้งหลายเองในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้สดับมาแต่กาลก่อน

ทรงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในธรรมนั้นและทรงถึงความเป็นผู้มีความ

ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย.

คำว่า พุทฺโธ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าพุทธะ

เพราะอรรถว่ากระไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 102

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าพุทธะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะ

ทั้งหลาย เพราะอรรถว่า ทรงสอนให้หมู่สัตว์ตรัสรู้ เพราะความเป็นพระ-

สัพพัญญู เพราะความที่พระองค์ทรงเห็นธรรมทั้งปวง เพราะความที่พระองค์

มีเนยยบทไม่เป็นอย่างอื่น เพราะความเป็นผู้มีพระสติไพบูลย์ เพราะนับว่า

พระองค์สิ้นอาสวะ เพราะนับว่าพระองค์ไม่มีอุปกิเลส เพราะอรรถว่า ทรง

ปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า ทรงปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว

เพราะอรรถว่า ทรงปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า พระองค์

ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า พระองค์เสด็จไปแล้วสู่หนทางที่ไปแห่ง

บุคคลผู้เดียว เพราะอรรถว่า ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณพระองค์เดียว

เพราะทรงกำจัดเสียซึ่งความไม่มีปัญญา เพราะทรงได้ซึ่งพระปัญญาเครื่องตรัสรู้.

พระนามว่า พุทฺโธ นี้ พระมารดา พระบิดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิง

น้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติสายโลหิต สมณะ พราหมณ์ เทวดา มิได้

แต่งตั้งให้เลย พระนามว่า พุทฺโธ นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม พระนามที่เกิด

ในที่สุดแห่งอรหัตผล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้ว พระนามว่า พุทฺโธ นี้

เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เกิดขึ้นพร้อมกับการทรงได้สัพพัญญุตญาณ ณ ควงไม้

โพธิพฤกษ์.

คำว่า ทรงแสดงแล้ว ความว่า ความฝึกตน มียถาศัพท์เป็นอรรถ

เหมือนบุคคลเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ฝึกตนแล้ว พระพุทธเจ้า

ทรงแสดงแล้ว ฉะนั้น ความสงบตน . . . ความยังตนให้ปรินิพพาน ฯลฯ

ความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ มียถาศัพท์เป็นอรรถ เหมือนบุคคล

เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธแล้ว

พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงแล้ว ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 103

คำว่า โลโก ได้แก่ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก

วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก โลก ๑ คือ สัตว์ทั้งปวง

ตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร ฯลฯ โลก ๑๘ คือธาตุ ๑๘.

คำว่า ย่อมให้สว่างไสว ความว่า ภิกษุนั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว

แจ่มใส เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งความฝึกตน ความสงบตน ความยังตน

ให้ปรินิพพาน ฯลฯ ความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ ซึ่งมียถาศัพท์

เป็นอรรถทุกประการ.

คำว่า เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ความว่า กิเลส

เหมือนหมอก อริยญาณเหมือนดวงจันทร์ ภิกษุเหมือนจันทเทพบุตร ภิกษุ

พ้นจากกิเลสทั้งปวง แล้วย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสวเปล่งปลั่ง และไพโรจน์

เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก พ้นจากควันและธุลีในแผ่นดิน พ้นจากฝ่ามือ

ราหู ยังโอกาสโลกให้สว่างไสวเปล่งปลั่ง และไพโรจน์ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ญาณในโวทาน ๑๓

ประการนี้.

จบภาณวาร

[๓๘๗] ญาณในความทำสติ ๓๒ เป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี

นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติหายใจเข้า

เป็นผู้มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจเข้าสั้น

ก็รู้ว่า หายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจ

ออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจออกสั้น ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 104

หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า

จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งปีติหายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งสุขหายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตสังขาร

หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับ

จิตสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จัก

รู้แจ้งจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า

จักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตไว้หายใจเข้า ย่อมศึกษา

ว่า จักตั้งจิตไว้หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า

จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จัก

พิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความ

คลายกำหนัดหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็นความดับหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาเห็น

ความสละคืนหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า ก็พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก.

[๓๘๘] คำว่า อิธ ความว่า ในทิฏฐินี้ ในความอดทนนี้ ในความ

ชอบใจนี้ ในเขตนี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้

ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ในธรรมวินัยนี้.

คำว่า ภิกฺขุ ความว่า ภิกษุเป็นกัลยาณปุถุชนก็ตาม เป็นพระเสขะ

ก็ตาม เป็นพระอรหันต์ผู้มีธรรมไม่กำเริมก็ตาม.

คำว่า อรญฺ ความว่า สถานที่ทุกแห่งนอกเสาเขื่อนไป สถานที่

นั้นป่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 105

คำว่า รุกฺขมูล ความว่า อาสนะของภิกษุซึ่งจัดไว้ที่โคนไม้นั้น คือ

เตียง ตั่ง ฟูก เสื่อ ท่อนหนัง เครื่องลาดทำด้วยหญ้า เครื่องลาดทำด้วยใบไม้

หรือเครื่องลาดทำด้วยฟาง ภิกษุ เดิน ยืน นั่ง หรือนอนที่อาสนะนั้น.

คำว่า สุญฺ ความว่า เป็นสถานที่ไม่เกลื่อนกล่นด้วยใคร ๆ เป็น

คฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม.

คำว่า อาคาร คือ วิหาร โรงมีหลังคาครึ่งหนึ่ง ปราสาท เรือนโล้น

ถ้ำ.

คำว่า นิสีทติ ปลฺลงฺก อาภุชิตฺวา ความว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้นั่ง

คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง คือ กายเป็นกายอันภิกษุนั้นตั้งวางไว้ตรง.

ศัพท์ว่า ปริ ในคำว่า ปริมุข สตึ อุปฏฺเปตฺวา มีความกำหนด

ถือเอาเป็นอรรถ ศัพท์ว่า มุข มีความนำออกเป็นอรรถ ศัพท์ว่า สติ มี

ความเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ตั้งสติไว้เฉพาะหน้า.

[๓๘๙] คำว่า เป็นผู้มีสติหายใจเข้า ความว่า ภิกษุอมรมสติโดย

อาการ ๓๒ คือ ภิกษุเป็นผู้ตั้งสติมั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่

ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว ชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติด้วยสตินั้น ด้วย

ญาณนั้น เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่น เพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน

ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว...เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์

เดียว ไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น ...เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่น เพราะรู้

ความที่มีจิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น ชื่อว่า

เป็นผู้อบรมสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความ

ที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ

สละคืนหายใจเข้า ... เป็นผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 106

ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ...เป็น

ผู้ตั้งสติไว้มั่นเพราะรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความ

เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติด้วยสตินั้น

ด้วยญาณนั้น.

[๓๙๐] ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออก

ยาว ก็รู้ว่า หายใจออกยาว อย่างไร ?

ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจออก

ยาว ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจเข้าและหายใจออกยาว ย่อม

หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างในขณะที่นับยาว ฉันทะย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้เมื่อ

หายใจเข้าหายใจออกยาว หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างในขณะนั้นนับยาว

เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่

นับยาว เมื่อหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจออก

ในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจเข้าหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ

ย่อมหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างในขณะที่นับยาว ความปราโมทย์ย่อมเกิด

ขึ้นแก่ภิกษุเมื่อหายใจเข้าหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ

หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่า

นั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจ

ออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะที่

นับยาว เมื่อหายใจเข้าหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์

ย่อมหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างในขณะที่นับยาว จิตของภิกษุผู้เมื่อหายใจ

เข้าหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ หายใจเข้าบ้าง

หายใจออกบ้างในขณะที่นับยาว ย่อมหลีกออกจากการหายใจเข้าใจออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 107

ยาว อุเบกขาย่อมตั้งอยู่ กาย คือ ลมหายใจเข้าลมหายใจเข้ายาวด้วยอาการ

๙ อย่างนี้ ย่อมปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ

ปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น

เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็น

กายในกาย.

[๓๙๑] คำว่า อนุปสฺสติ ความว่า ภิกษุพิจารณากายนั้นอย่างไร ?

พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาโดยความเที่ยง พิจารณาโดย

ความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาโดยความเป็นสุข พิจารณาโดยความเป็นอนัตตา

ไม่พิจารณาโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด

ไม่กำหนัด ย่อมให้ราคะดับไป ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อ

พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็น

ทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตต-

สัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละ

ราคะได้ เมื่อให้ราคะดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้

ภิกษุพิจารณากายนั้น อย่างนี้.

[๓๙๒] ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า

ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลาย

มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไป ซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความ

ที่ธรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกันและความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑

ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย

สามารถลมหายใจเข้าลมหายใจออกยาว เวทนาจึงปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 108

ตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่

ปรากฏถึงความดับไป วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึง

ความดับไป.

[๓๙๓] เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึง

ความดับ อย่างไร ?

ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างไร ? ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา

ย่อมปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยเกิดว่า เพราะอวิชชาเกิดเวทนาจึงเกิด

เพราะตัณหาเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะกรรมเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะเกิด

เวทนาจึงเกิด แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิด ความเกิดแห่งเวทนาก็ย่อม

ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างนี้.

ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างไร ? เมื่อมนสิการโดย

ความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดย

ความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการ

โดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความว่างเปล่าย่อมปรากฏ ความ

เข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างนี้.

ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างไร ? ความดับไปแห่งเวทนา

ย่อมปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับเวทนาจึงดับ

เพราะตัณหาดับเวทนาจึงดับ เพราะกรรมดับเวทนาจึงดับ เพราะผัสสะดับ

เวทนาจึงดับ แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะความแปรปรวน ความดับไปเเห่ง

เวทนาก็ย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาย่อม

ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 109

[๓๙๔] สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึง

ความดับ อย่างไร ?

ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างไร ? ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา

ย่อมปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยเกิดว่า เพราะอวิชชาเกิดสัญญาจึงเกิด

... ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างนี้.

ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างไร ? เมื่อมนสิการโดย

ความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อมปรากฏ. . . ความเข้าไป

ตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างนี้.

ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างไร ? ความดับไปแห่งสัญญา

ย่อมปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับสัญญาจึงดับ. . .

ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้ สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏ

เข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป อย่างนี้.

[๓๙๕] วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ

ดับไป อย่างไร ?

ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างไร ? ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อม

ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยเกิดว่า เพราะอวิชชาเกิดวิตกจึงเกิด เพราะ

ตัณหาเกิดวิตกจึงเกิด เพราะกรรมเกิดวิตกจึงเกิด แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะ

ความเกิด ความเกิดขึ้นแห่งวิตกก็ย่อมปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏ

อย่างนี้.

ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างไร ? เมื่อมนสิการโดยความ

ไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 110

เป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความ

เป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความว่างเปล่าย่อมปรากฏ ความเข้าไปตั้ง

อยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างนี้.

ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างไร ? ความดับไปแห่งวิตกย่อม

ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับวิตกจึงดับ เพราะ

ตัณหาดับวิตกจึงดับ เพราะกรรมดับวิตกจึงดับ เพราะสัญญาดับวิตกจึงดับ

แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะความแปรปรวน ความดับไปแห่งวิตกก็ย่อมปรากฏ

ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้ วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไป

ตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป อย่างนี้.

[๓๙๖] บุคคลรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ

ลมหายใจเข้าลมหายใจออกยาว ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้จักโคจร

และแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯลฯ ย่อมให้ธรรมทั้งหลาย

ประชุมกัน รู้จักโคจรและแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์.

คำว่า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ความว่า บุคคล

ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงอย่างไร ?

บุคคลย่อมยังสัทธินทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความน้อมใจเชื่อ ยังวิริยิน-

ทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความประคองไว้ ยังสตินทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความเข้า

ไปตั้งไว้ ยังสมาธินทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังปัญญินทรีย์ให้

ประชุมลงด้วยความเห็น บุคคลนี้ยังอินทรีย์เหล่านี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้

เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 111

คำว่า รู้จักโคจร ความว่า รู้จักอารมณ์แห่งบุคคลนั้นว่าเป็นโคจร

แห่งบุคคลนั้น รู้จักโคจรแห่งบุคคลนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งบุคคลนั้น บุคคล

ความรู้ ปัญญา.

คำว่า สงบ ความว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่าน

เป็นความสงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ.

คำว่า ประโยชน์ ความว่า ธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรม

อันไม่มีกิเลสเป็นประโยชน์ ธรรมอันมีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ ธรรมอัน

ประเสริฐเป็นประโยชน์.

คำว่า แทงตลอด ความว่า แทงตลอดความที่อารมณ์ปรากฏ แทง

ตลอดความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน แทงตลอดความที่จิตตั้งมั่น แทงตลอดความที่จิต

ผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบ

เป็นประโยชน์.

[๓๙๗] คำว่า ย่อมให้พละทั้งหลายประชุมลง ความว่า ย่อมให้

พละทั้งหลายประชุมลงอย่างไร ?

บุคคลย่อมยังสัทธาพละให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความ

ไม่มีศรัทธา ยังวิริยพละให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท

ยังสมาธิพละให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ยังปัญญาพละให้

ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา บุคคลนี้ย่อมยังพละเหล่านี้ให้

ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังพละทั้งหลาย

ให้ประชุมลง.

คำว่า รู้จักโคจร ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอด

ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 112

[๓๙๘] คำว่า ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุม ความว่า

บุคคลย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลงได้อย่างไร ?

บุคคลย่อมยังสติสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ ยัง

ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความเลือกเฟ้น ยังวิริยสัมโพขฌงค์ให้

ประชุมลงด้วยความประคองไว้ ยังปีติสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความแผ่

ซ่านไป ยังปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความสงบ ยังสมาธิสัมโพชฌงค์

ให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความ

วางเฉย บุคคลนี้ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลงในอารมณ์ เพราะเหตุ

ดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลง.

คำว่า รู้โคจร ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอด

ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.

[๓๙๙] คำว่า ย่อมยังมรรคให้ประชุมลง ความว่า บุคคลย่อม

ยังมรรคให้ประชุมลงอย่างไร ?

บุคคลย่อมยังสัมมาทิฏฐิให้ประชุมลงด้วยความเห็น ยังสัมมาสังกัปปะให้

ประชุมลงด้วยความยกขึ้นสู่อารมณ์ ยังสัมมาวาจาให้ประชุมลงด้วยความกำหนด

ยังสัมมากันมันตะให้ประชุมลงด้วยความที่เกิดขึ้นดี ยังสัมมาอาชีวะให้ประชุม

ลงด้วยความผ่องแผ้ว ยังสัมมาวายามะให้ประชุมลงด้วยความประคองไว้ ยัง

สัมมาสติให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ ยังสัมมาสมาธิให้ประชุมลงด้วย

ความไม่ฟุ้งซ่าน บุคคลนี้ย่อมยังมรรคนี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุ

ดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังมรรคให้ประชุมลง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 113

คำว่า รู้จักโคจร ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอด

ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.

[๔๐๐] คำว่า ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง ความว่า

บุคคลย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง อย่างไร ?

บุคคลย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความเป็นใหญ่ ยังพละ

ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหว ยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลง

ด้วยความเป็นธรรมเครื่องนำออก ยังมรรคให้ประชุมลงด้วยความเป็นเหตุ ยัง

สติปัฏฐานให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ ยังสัมมัปปธานให้ประชุมลงด้วย

ความเริ่มตั้ง ยังอิทธิบาทให้ประชุมลงด้วยความให้สำเร็จ ยังสัจจะให้ประชุมลง

ด้วยความถ่องแท้ ยังสมถะให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังวิปัสสนาให้

ประชุมลงด้วยความพิจารณาเห็น ยังสมถะและวิปัสสนาให้ประชุมลงด้วยความ

มีกิจเป็นอันเดียวกัน ยังธรรมเป็นคู่กันให้ประชุมลงด้วยความไม่ล่วงเกินกัน

ยังสีลวิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความสำรวม ยังจิตวิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความ

ไม่ฟุ้งซ่าน ยังทิฏฐิวิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความเห็น ยังวิโมกข์ให้ประชุมลงด้วย

ควานหลุดพ้น ยังวิชชาให้ประชุมลงด้วยความแทงตลอด ยังวิมุตติให้ประชุม

ลงด้วยความสละรอบ ยังญาณในความสิ้นไปให้ประชุมลงด้วยความตัดขาด ยัง

ญาณในความไม่เกิดขึ้นให้ประชุมลงด้วยความเห็นเฉพาะ ยังฉันทะให้ประชุม

ลงด้วยความเป็นมูลเหตุ ยังมนสิการให้ประชุมลงด้วยความเป็นสมุฏฐาน ยัง

ผัสสะให้ประชุมลงด้วยความประสบ ยังเวทนาให้ประชุมลงด้วยความรู้สึก ยัง

สมาธิให้ประชุมลงด้วยความเป็นประธาน ยังสติให้ประชุมลงด้วยความเป็นใหญ่

ยังสติสัมปชัญญะให้ประชุมลงด้วยความเป็นธรรมที่ยิ่งกว่านั้น ยังวิมุตติให้ประชุม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 114

ลงด้วยความเป็นสาระ ยังนิพพานอันหยั่งลงในอมตะให้ประชุมลงด้วยความ

เป็นที่สุด บุคคลนี้ย่อมยังธรรมเหล่านั้นให้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุ

ดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง.

คำว่า รู้จักโคจร ความว่า รู้จักอารมณ์แห่งธรรมนั้นว่าเป็นโคจร

แห่งธรรมนั้น รู้จักโคจรแห่งธรรมนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้นบุคคล

ความรู้ปัญญา.

คำว่า สงบ ความว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่าน

เป็นความสงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ.

คำว่า ประโยชน์ ความว่า ธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรม

อันไม่มีกิเลสเป็นประโยชน์ ธรรมอันมีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ ธรรมอัน

ประเสริฐเป็นประโยชน์.

คำว่า แทงตลอด ความว่า แทงตลอดความที่อารมณ์ปรากฏ แทงตลอด

ความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน แทงตลอดความที่จิตตั้งมั่น แทงตลอดความที่จิตผ่องแผ้ว

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์.

[๔๐๑] บุคคลเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ว่า หายใจเข้าสิ้น เมื่อหายใจออก

สั้นก็รู้ว่า หายใจออกสั้น อย่างไร.

บุคคลเมื่อหายใจเข้าสั้น ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับได้นิดหน่อย

เมื่อหายใจออกสั้น ย่อมหายใจออกในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจเข้า

หายใจออกสั้น ย่อมหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย

ฉันทะย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้เมื่อหายใจเข้าหายใจออกสั้น หายใจเข้าบ้าง หายใจ

ออกบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถ

ฉันทะ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจออกสั้นละเอียด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 115

กว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจ

เข้าหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจเข้าบ้าง หายใจ

ออกบ้างในขณะนับได้นิดหน่อย ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้หายใจเข้า

หายใจออกละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง

ในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความ

ปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับได้นิดหน่อย เมื่อหายใจออกสั้นละเอียด

กว่านั้น ด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับได้นิดหน่อย

เมื่อหายใจเข้าหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้น ด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อม

หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย จิตของภิกษุผู้เมื่อ

หายใจเข้าหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์หายใจเข้าบ้าง

หายใจออกบ้างในขณะที่นับได้นิดหน่อย ย่อมหลีกไปจากลมอัสสาสปัสสาสะสั้น

อุเบกขาย่อมตั้งอยู่ กาย คือ ลมหายใจเข้าหายใจออกสั้นด้วยอาการ ๙ เหล่านี้

ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ มิใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัว

สติด้วย บุคคลพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น

ท่านจึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณากายในกาย.

[๔๐๒] คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า บุคคลย่อมพิจารณากายนั้น

อย่างไร ฯลฯ พิจารณากายนั้นอย่างนี้.

ภาวนาในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพเมื่อรู้

ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้าและลมหายใจออก

สั้น เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ บุคคลรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน

ด้วยสามารถลมหายใจเข้าลมหายใจออกสั้น ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 116

ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และย่อมแทงตลอดธรรมอันมีความสงบ

เป็นประโยชน์.

[๔๐๓] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออกอย่างไร ?

กาย ในคำว่า กาโย มี ๒ คือ นามกาย ๑ รูปกาย ๑ นามกาย

เป็นไฉน ? เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามด้วย เป็นนาม

กายด้วย และท่านกล่าวจิตสังขารว่า นี้เป็นนามกาย รูปกายเป็นไฉน ?

มหาภูตรูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสปัสสาสะ นิมิต และท่าน

กล่าวว่ากายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย.

[๔๐๔] กายเหล่านั้น ย่อมปรากฏ อย่างไร ?

เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจ

เข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น

เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว สติ

ย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิต

มีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น. . . เมื่อรู้ความที่จิต

มีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น. . . เมื่อคำนึงถึงกาย

เหล่านั้นย่อมปรากฏเมื่อรู้. . . เมื่อเห็น. . . เมื่อพิจารณา. . . เมื่ออธิษฐานจิต. . .

เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา. . . เมื่อประคองความเพียร. . . เมื่อตั้งสติไว้มั่น . . .

เมื่อตั้งจิตมั่น. . . เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง. . . เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้

. . . เมื่อละธรรมที่ควรละ. . . เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ. . . เมื่อทำให้แจ้งธรรม

ที่ควรทำให้แจ้ง กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ กาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

คือ ความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออกปรากฏ สติเป็นอนุ-

ปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วย บุคคล

ย่อมพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง

กล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย.

[๔๐๕] คำว่า ย่อมพิจารณา ฯลฯ สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็น

ผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงระวังลมหายใจเข้าลมหายใจออก จิตวิสุทธิ ด้วยอรรถว่า

ไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าเห็นความระวังในสีลวิสุทธินั้นเป็นอธิสีล-

สิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตวิสุทธินั้นเป็นอธิจิตสิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธิ

นั้นเป็นอธิปัญญาสิกขา บุคคลคำนึงถึงสิกขา ๓ ประการนี้ศึกษาอยู่ รู้ศึกษา

เห็นศึกษา พิจารณาศึกษา อธิษฐานศึกษา น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาศึกษา

ประคองความเพียรศึกษา ดำรงสติไว้มั่นศึกษา ตั้งจิตมั่นศึกษา รู้ชัดด้วย

ปัญญาศึกษา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งศึกษา กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ศึกษา

และธรรมที่ควรละศึกษา เจริญธรรมที่ควรเจริญศึกษา ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควร

ทำให้แจ้งศึกษา เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความ

เป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออก เวทนาย่อมเกิดปรากฏ ฯลฯ

บุคคลเมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้ง

กองลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออก ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯลฯ

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.

[๔๐๖] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมศึกษา

ว่าจักระงับกายสังขารหายใจออก อย่างไร ?

กายสังขารเป็นไฉน ? ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้

เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร ลมหายใจออกยาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 118

เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร บุคคลระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น

ศึกษาอยู่ ลมหายใจเข้าสั้น ลมหายใจออกสั้น ลมที่บุคคลรู้แจ้งกองลมทั้งปวง

หายใจเข้า เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร บุคคล

ระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น ศึกษาอยู่ ความอ่อนไป ความน้อมไป

ความเอนไป ความโอนไป ความหวั่นไหว ความดิ้นรน ความโยก ความโคลง

แห่งกาย มีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกาย

สังขารหายใจเข้า ศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ความไม่อ่อนไป

ความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป ความไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว ความ

ไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลง แห่งกาย มีอยู่เพราะกายสังขารเห็น

ปานใด บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับ กายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจเข้า ศึกษา

อยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจออก ได้ทราบมาดังนี้ว่า บุคคล

ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขาร

หายใจออก เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ไม่ปรากฏ ลมอัสสาสปัสสาสะก็ไม่

ปรากฏ อานาปานสติก็ไม่ปรากฏ อานาปานสติสมาธิก็ไม่ปรากฏ และบัณฑิต

ทั้งหลายแม้จะเข้าแม้จะออกสมาบัตินั้นก็หามิได้ ได้ทราบมาดังนี้ว่า บุคคลศึกษา

อยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก

เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมอัสสาสปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปาน-

สติก็ปรากฏ อานาปานสติสมาธิก็ปรากฏ และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าและย่อม

ออกสมาบัตินั้น ข้อนั้นเหมือนอะไร เหมือนเมื่อบุคคลตีกังสดาลเสียงดังย่อม

เป็นไปก่อนตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงดัง เมื่อเสียงดัง

ค่อยลง ต่อมาเสียงค่อยก็เป็นไปภายหลังตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิต

แห่งเสียงค่อย และเมื่อเสียงค่อยดับลง ต่อมาจิตย่อมเป็นไปในภายหลัง แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 119

เพราะนิมิตแห่งเสียงค่อยเป็นอารมณ์ ข้อนี้ก็เหมือนกันฉะนั้น ลมหายใจเข้า

และลมหายใจออกที่หยาบ ย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย นึกทรงจำด้วยดีซึ่ง

นิมิตแห่งลมหายใจเข้าและลมหายใจออกที่หยาบ เมื่อลมหายใจเข้าและลม

หายใจออกที่หยาบเบาลง ต่อมาลมหายใจเข้าและลมหายใจออกที่ละเอียด ย่อม

เป็นไปในภายหลังตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจเข้าและ

ลมหายใจออกที่ละเอียด และเมื่อลมหายใจเข้าและลมหายใจออกที่ละเอียดเบาลง

อีก ต่อมาจิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านในภายหลัง แม้เพราะความที่นิมิตแห่ง

ลมหายใจเข้าลมหายใจออกที่ละเอียดเป็นอารมณ์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลม

ก็ปรากฏ ลมอัสสาสปัสสาสก็ปรากฏ อานาปานสติก็ปรากฏ อานาปานสติ

สมาธิก็ปรากฏ และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าและออกสมาบัตินั้น ๆ กายคือความ

ที่บุคคลระงับกายสังขารหายใจเข้าหายใจออกปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ

กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณา

กายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐาน-

ภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย.

[๔๐๗] คำว่า พิจารณา ความว่า บุคคลย่อมพิจารณากายนั้น

อย่างไร ? ฯลฯ ย่อมพิจารณากายนั้นอย่างนี้.

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ

สีลวิสุทธิด้วยอรรถว่า ความเป็นผู้ระงับกายสังขารระวังลมหายใจเข้าลมหายใจ

ออก จิตวิสุทธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิด้วยอรรถว่าเห็น ความ

ระวังในศีลวิสุทธินั้น เป็นอธิศีลสิขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตวิสุทธินั้น เป็น

อธิจิตสิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธินั้น เป็นอธิปัญญาสิกขา บุคคลเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 120

คำนึงถึงสิกขา ๓ ประการนี้ศึกษาอยู่ ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง

ศึกษาอยู่ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็น

ผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้าหายใจออก เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้

ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขาร

หายใจเข้าหายใจออก ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ปะชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์อนุปัสสนาญาณ

[ญาณในการพิจารณา] ๘ อุปัฏฐานานุสติ [อนุสติที่ปรากฏ] ๘ และ

สุตันติกวัตถุ [เรื่องอันมีมาในพระสูตร] ในการพิจารณากายในกาย ๔.

จบภาณวาร

[๔๐๘] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า

จักรู้แจ้งปีติหายใจออกอย่างไร ?

ปีติเป็นไฉน ? เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย

สามารถลมหายใจเข้ายาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่

จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว ปีติและ ปราโมทย์

ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ

ลมหายใจเข้าสั้น ด้วยสามารถลมหายใจออกสั้น ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้ง

กายทั้งปวงหายใจเข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ด้วย

สามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับ

กายสังขารหายใจออก ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ปีติและปราโมทย์ คือ

ความเบิกบาน ความบันเทิง ความหรรษา ความรื่นเริงแห่งจิต ความปลื้มจิต

ความดีใจ ปีตินี้ย่อมปรากฏ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 121

สามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วย

ญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจ

ออกยาว สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้

ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้าสั้น ด้วย

สามารถลมหายใจออกสั้น ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า

ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ด้วยสามารถความเป็นผู้

ระงับกายสังขารหายใจเข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก

สติย่อมตั้งมั่น ปีติย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อคำนึงถึง ปีตินั้น

ย่อมปรากฏ เมื่อรู้...เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจ

ไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร เมื่อเข้าไปตั้งสติไว้ เมื่อจิตตั้งมั่น

เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควร

กำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรรู้ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้ง

ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ปีตินั้น ย่อมปรากฏ เวทนาด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้ง

ปีติหายใจเข้าหายใจออกอย่างนี้นั้นปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ เวทนา

ปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาเวทนา

นั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐาน

ภาวนา คือ การพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย.

คำว่า พิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาความนั้นอย่างไร ? ฯลฯ

ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างนี้.

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ

สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความรู้แจ้งปีติระวังลมหายใจออก ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 122

เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งปีติ

หายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้รู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็น

ประโยชน์

[๔๐๙] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า

จักรู้แจ้งสุขหายใจออก อย่างไร ?

สุข ในคำว่า สุข มี ๒ คือ กายิกสุข ๑ เจตสิกสุข ๑.

กายิกสุขเป็นไฉน ? ความสำราญทางกาย ความสุขที่ได้เสวยทางกาย

สุขเวทนาซึ่งเป็นความสำราญเกิดในกายสัมผัสเป็นกายิกสุข.

เจตสิกสุขเป็นไฉน ? ความสุขทางจิต ความสุขที่ได้เสวยเป็นความ

สำราญเกิดแต่เจโตสัมผัส สุขเวทนาซึ่งเป็นความสำราญเกิดแต่เจโตสัมผัสนี้

เป็นเจตสิกสุข.

สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างไร ? เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่

ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น สุขเหล่านั้น ย่อมปรากฏ

ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย

สามารถลมหายใจออกยาว สติย่อมคงมั่น สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น

ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง สุขเหล่านั้นย่อม

ปรากฏ สุขเหล่านั้น ย่อมปรากฏอย่างนั้น.

เวทนา ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจเข้าหายใจออก ปรากฏ

สติเป็นอนุปัสสนาญาณ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติ

ด้วย บุคคลย่อมพิจารณาเวทนานั้น ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 123

นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเวทนาในเวทนา

ทั้งหลาย.

คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาเวทนาอย่างไร ? ย่อม

พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมพิจารณาเวทนานั้น อย่างนี้

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ

สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่ารู้แจ้งสุขระงับ ลมหายใจออกลมหายใจเข้า ฯลฯ เมื่อรู้

ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้ แจ้งสุขหายใจ

เข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นอรรถ.

[๔๑๐] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า ย่อม

ศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก อย่างไร ?

จิตสังขารเป็นไฉน ? สัญญาและเวทนาด้วยสามารถลมหายใจเข้า

ยาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตสังขาร สัญญาและเวทนา

ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิต.

สังขาร ฯลฯ สัญญาและเวทนาด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจเข้า

ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งสุขาหายใจออก เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้ เนื่องด้วย

จิต เป็นจิตสังขาร นี้เป็นจิตสังขาร.

จิตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างไร ?

เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้า

ยาว สติย่อมตั้งมั่น จิตสังขารเหล่านี้ ย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น

เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว สติ

ย่อมตั้งมั่น จิตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 124

ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง จิตสังขารเหล่านั้น ย่อมปรากฏ จิตสังขาร

เหล่านั้น ย่อมปรากฏอย่างนี้.

เวทนา ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้าหายใจออก

ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย

เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะ

เหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ พิจารณาเวทนาในเวทนา

ทั้งหลาย.

คำว่า พิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างไร ? ย่อม

พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ

สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่ารู้แจ้งจิต สังขารระวังลมหายใจเข้าลมหายใจออก ฯลฯ

เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิต-

สังขารหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุม

ลง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็น

ประโยชน์.

[๔๑๑] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า ย่อม

ศึกษาว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก อย่างไร ?

จิตสังขารเป็นไฉน ? สัญญาและเวทนา ด้วยสามารถลมหายใจเข้า

ยาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิตเป็นจิตสังขาร บุคคลระงับ คือ

ดับสงบจิตสังขารเหล่านั้นศึกษาอยู่ สัญญาและเวทนา ด้วยสามารถลมหายใจออก

ยาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตสังขาร บุคคลระงับ

คือ ดับ สงบจิตสังขารเหล่านั้นศึกษาอยู่ สัญญาและเวทนาด้วยสามารถความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 125

เป็นผู้รู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตสังขาร

หายใจออก เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตสังขาร บุคคล

ระงับ คือ ดับ สงบจิตสังขารเหล่านั้น ศึกษาอยู่ เวทนา ด้วยสามารถความ

เป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจเข้าหายใจออก ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ

เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลพิจารณาเวทนา

นั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา

คือ การพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย.

คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างไร ฯลฯ

ย่อมพิจารณาเวทนานั้นอย่างนี้.

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่

เสพสีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้ระงับจิตสังขาร ระวังลมหายใจเข้า

ลมหายใจออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ.

ความเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลรู้อยู่ ย่อมยัง

อินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอด

ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ อนุปัสสนาญาณ (ญาณในการพิจารณา) ๘

อุปัฏฐานานุสติ (อนุสติที่ปรากฏ) ๘ สุตตันติกวัตถุ (เรื่องอันมีมาในพระสูตร)

ในการพิจารณาเวทนาในเวทนา ๔.

จบภาณวาร

[๔๑๒] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักรู้แจ้งจิตหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า

จักรู้แจ้งจิตหายใจออกอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 126

จิตนั้นเป็นไฉน ? วิญญาณจิต ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว จิต

คือ มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์

มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น วิญญาณจิต ด้วยสามารถลมหายใจออก

ยาว ฯลฯ ด้วยสามารถความเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจเข้า จิต คือ มนะ...

มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่จิตนั้น นี้เป็นจิต.

จิตปรากฏอย่างไร ? บุคคลเมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน

ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมัน จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วย

ญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจ

ออกยาว สติย่อมตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ

เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง จิตนั้นย่อมปรากฏ จิตนั้นย่อมปรากฏ

อย่างนี้ วิญญาณจิต ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้ง จิตหายใจเข้าหายใจออก

ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ จิตปรากฏไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นต้น

สติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้

นั้น ท่านจึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาจิตในจิต.

คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ

ย่อมพิจารณาจิตอย่างนี้.

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่

เสพสีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความรู้แจ้งจิตระวังลมหายเข้าลมหายใจออก ฯลฯ

เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิต

หายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.

[๔๑๓] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักให้จิตเบิกบานหายใจเข้า ย่อมศึกษา

ว่า จักให้จิตเบิกบานหายใจออกอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 127

ก็ความเบิกบานแห่งจิตเป็นไฉน ? เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่

ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความ

เบิกบาน ความบันเทิง ความหรรษา ความร่าเริงแห่งจิต ความปลื้มจิต

ความดีใจ ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลม

หายใจออกยาว ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความเบิกบาน ความบันเทิง

ความหรรษา ความร่าเริงแห่งจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ ฯลฯ เมื่อรู้

ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจ

เข้า ด้วยสามารถความเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก ความเบิกบานแห่งจิตย่อม

เกิดขึ้น ความเบิกบาน ความบันเทิง ความหรรษา ความร่าเริงแห่งจิต

ความปลื้มจิต ความดีใจ นี้เป็นความเบิกบานแห่งจิต วิญญาณจิต ด้วย

สามารถความเป็นผู้ยังจิตให้เบิกบานหายใจเขาหายใจออกปรากฏ สติเป็นอนุ-

ปัสสนาญาณ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคล

ย่อมพิจารณาจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าว

ว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาจิตในจิต.

คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร ? ฯลฯ

ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างนี้.

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่

เสพสีลวิสุทธิ ด้วยสามารถความเป็นผู้ยังจิตให้เบิกบาน ระวังลมหายใจเข้า

ลมหายใจออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ

ความเป็นผู้ยังจิตให้เบิกบานหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยัง

อินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอด

ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 128

[๔๑๔ ] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า

จักตั้งจิตมั่นหายใจออกอย่างไร ?

ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน ? ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย

สามารถลมหายใจเข้ายาว เป็นสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน

ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว เป็นสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน

ด้วยสามารถความเป็นผู้ตั้งจิตมั่นหายใจออก เป็นสมาธิ ความตั้งอยู่ ความ

ตั้งอยู่ดี ความตั้งมั่น ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความมีใจ

ไม่กวัดแกว่ง ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ วิญญาณจิต

ด้วยความสามารถความเป็นผู้ตั้งจิตมั่นหายใจเข้าหายใจออกนี้ ปรากฏ สติเป็น

อนุปัสสนาญาณ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคล

ย่อมพิจารณาจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง

กล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาจิตในจิต.

คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร ? ฯลฯ

ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างนี้.

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่

เสพสีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้ตั้งจิตมั่นระวังลมหายใจเข้าลมหายใจ

ออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็น

ผู้ตั้งจิตมั่นหายใจเข้า ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.

[๔๑๕] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า

จักเปลื้องจิตหายใจเข้าอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 129

บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตจากราคะหายใจเข้า จักเปลื้องจิต

จากราคะหายใจออก จักเปลื้องจิตจากโทสะหายใจเข้า จักเปลื้องจิตจากโทสะ

หายใจออก จักเปลื้องจิตจากโมหะหายใจเข้า จักเปลื้องจิตจากโมหะหายใจออก

ฯลฯ จักเปลื้องจิตจากมานะ จักเปลื้องจิตจากทิฏฐิ จักเปลื้องจิตจากวิจิกิจฉา

จักเปลื้องจิตจากถิ่นมิทธะ จักเปลื้องจิตจากอุทธัจจะ จักเปลื้องจิตจากความไม่

ละอายบาป จักเปลื้องจิตจากความไม่สะดุ้งกลัวบาปหายใจเข้า จักเปลื้องจิต

จากความไม่สะดุ้งกลัวบาปหายใจออก วิญญาณจิต ด้วยสามารถความเป็นผู้

เปลื้องจิตหายใจเข้าหายใจออก ปรากฏ ฯลฯ

คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ

ย่อมพิจารณาจิตนั้นอย่างนี้.

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที

เสพสีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้เปลื้องจิตระวังลมหายใจเข้าลมหายใจ

ออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่มีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้

เปลื้องจิตหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้

ประชุมลง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบ

เป็นอรรถ อนุปัสสนาญาณ ๔ อุปัฏฐานานุสติ ๘ สุตตันติกวัตถุในการ

พิจารณาจิตในจิต ๔.

[๔๑๖] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงหายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงหายใจออกอย่างไร ?

คำว่า อนิจฺจ ความว่า อะไรไม่เที่ยง เบญจขันธ์ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง

เพราะอรรถว่ากระไร ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าเกิดขึ้นและเสื่อมไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 130

บุคคลเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร

เมื่อเห็นความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความ

เกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร ?

บุคคลเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ฯลฯ

เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ นี้

บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในรูปหายใจออก ย่อมศึกษาว่า

จักพิจารณาความไม่เที่ยงในรูปหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่

เที่ยงในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชรา

และมรณะ หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในชราและ

มรณะหายใจออก ธรรมทั้งหลายด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความไม่เที่ยง

หายใจเข้าหายใจออกปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ ธรรมปรากฏ ไม่ใช่สติ

สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลพิจารณาธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วย

ญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การ

พิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย.

คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างไร ?

ฯลฯ ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างนี้.

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ

สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้พิจารณาความไม่เที่ยง ระวังลมหายใจเข้า

หายใจออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ

ความเป็นผู้พิจารณาความไม่เที่ยงหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้

ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทง

ตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 131

[๔๑๗] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจออก อย่างไร ?

บุคคลเห็นโทษในรูปแล้ว เป็นผู้เกิดฉันทะในความคลายกำหนัดในรูป

น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคล้าย

กำหนัดในรูปหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัด ในรูป

หายใจออก บุคคลเห็นโทษในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ใน

จักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ เป็นผู้เกิดฉันทะในความคลายกำหนัด ในชรา

และมรณะ และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัดใน

ชราและมรณะหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความคลายกำหนัดในชรา

และมรณะหายใจออกธรรมทั้งหลายด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความคลาย

กำหนัดหายใจเข้าหายใจออก ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ ธรรมปรากฏ

ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้น

ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา

คือ การพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย.

คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างไร ?

ฯลฯ ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้น อย่างนี้.

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ

สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้พิจารณาความคลายกำหนัด ระวังลมหายใจเข้า

ลมหายใจออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ

ความเป็นผู้พิจารณาความคลายกำหนดหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้

ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทง

ตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

[๔๑๘] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับหายใจเข้า ย่อม

ศึกษาว่า จักพิจารณาความดับหายใจออก อย่างไร ?

บุคคลเห็นโทษในรูปแล้ว เป็นผู้เกิดฉันทะในความดับในรูป น้อมใจ

ไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในรูป

หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในรูปหายใจออก เห็นโทษใน

เวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในภิกษุ ฯลฯ โนชรา และมรณะ

แล้ว เป็นผู้เกิดฉันทะในความคับในชราและมรณะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา

และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในชราและมรณะหายใจ

เข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในชราและมรณะหายใจออก.

[๔๑๙] โทษในอวิชชาย่อมมีด้วยอาการเท่าไร อวิชชาย่อมดับด้วย

อาการเท่าไร ? โทษในอวิชชาย่อมมีด้วยอาการ ๕ อวิชชาย่อมดับด้วยอาการ ๘.

โทษในอวิชชาย่อมมีด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ? โทษในอวิชชาย่อมมี

ด้วยอรรถว่าไม่เที่ยง ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นทุกข์ ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นอนัตตา ๑

ด้วยอรรถว่าเป็นเหตุให้เดือดร้อน ๑ ด้วยอรรถว่าแปรปรวน ๑ โทษใน

อวิชชาย่อมมีด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.

อวิชชาย่อมดับไปด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน? อวิชชาย่อมดับด้วยนิทาน

ดับ ๑ ด้วยสมุทัยดับ ๑ ด้วยชาติดับ ๑ ด้วยอาหารดับ ๑ ด้วยเหตุดับ ๑

ด้วยปัจจัยดับ ๑ ด้วยวิญญาณเกิดขึ้น ๑ ด้วยนิโรธปรากฏ ๑ อวิชชาย่อมดับ

ด้วยอาการ ๘ เหล่านี้.

บุคคลเห็นโทษในอวิชชาด้วยอาการ ๕ เหล่านี้แล้ว เป็นผู้เกิดฉันทะ

ในความดับแห่งอวิชชาด้วยอาการ ๘ เหล่านี้ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 133

ตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับแห่งอวิชชาหายใจเข้า ย่อมศึกษา

ว่า จักพิจารณาความดับแห่งอวิชชาหายใจออก.

[๔๒๐] โทษในสังขารย่อมมีด้วยอาการเท่าไร สังขารย่อมดับด้วย

อาการเท่าไร ฯลฯ โทษในวิญญาณย่อมมีด้วยอาการเท่าไร วิญญาณย่อมดับ

ด้วยอาการเท่าไร โทษในนามรูปย่อมมีด้วยอาการเท่าไร นามรูปย่อมดับด้วย

อาการเท่าไร โทษในสฬายตนะย่อมมีด้วยอาการเท่าไร สฬายตนะย่อมดับด้วย

อาการเท่าไร โทษในสัมผัสย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ผัสสะย่อมดับด้วยอาการ

เท่าไร โทษในเวทนาย่อมมีด้วยอาการเท่าไร เวทนาย่อมดับด้วยอาการเท่าไร

โทษในตัณหาย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ตัณหาย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษใน

อุปาทานย่อมมีด้วยอาการเท่าไร อุปาทานย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษใน

ภพย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ภพย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในชาติย่อมมี

ด้วยอาการเท่าไร ชาติย่อมดับด้วยอาการเท่าไร โทษในชราและมรณะย่อมมี

ด้วยอาการเท่าไร ชราและมรณะย่อมดับ ด้วยอาการเท่าไร ? โทษในชราและ

มรณะย่อมมีด้วยอาการ ๕ ชราและมรณะย่อมดับด้วยอาการ ๘.

โทษในชราและมรณะย่อมมีด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ? โทษในชรา

และมรณะย่อมมีด้วยอรรถว่าไม่เที่ยง ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นทุกข์ ๑ ด้วยอรรถว่า

เป็นอนัตตา ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นเหตุให้เดือดร้อน ๑ ด้วยอรรถว่าแปรปรวน ๑

โทษในชราและมรณะย่อมมีด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.

ชราและมรณะย่อมดับด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน ? ชราและมรณะย่อม

ดับด้วยนิทานดับ ๑ ด้วยสมุทัย ๑ ด้วยชาติดับ ๑ ด้วยภพดับ ๑ ด้วยเหตุดับ ๑

ด้วยปัจจัยดับ ๑ ด้วยญาณเกิด ๑ ด้วยนิโรธเกิดขึ้น ๑ ชรามรณะย่อมดับ

ด้วยอาการ ๘ เหล่านี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

บุคคลเห็นโทษด้วยชราและมรณะในอาการ ๕ เหล่านี้แล้ว เป็นผู้เกิด

ฉันทะในความดับแห่งชราและมรณะด้วยอาการ ๘ เหล่านี้ น้อมใจไปด้วย

ศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในชราและมรณะ

หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความดับในชราและมรณะหายใจออก

ธรรมทั้งหลายด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความดับหายใจเข้าหายใจออก

ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏ

ด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้น ด้วยสตินั้น ด้วยญาณ

นั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณา

ธรรมในธรรมทั้งหลาย.

คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างไร ?

ฯลฯ ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างนี้.

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนา ด้วยอรรถว่า เป็นที่เสพ

สีลวิสุทธิ ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความดับ ระวังลมหายใจเข้า

ลมหายใจออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความ

เป็นผู้พิจารณาความดับหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ ย่อมยังอินทรีย์

ทั้งหลายให้ประชุมลง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอัน

มีความสงบเป็นประโยชน์.

[๔๒๑] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนหายใจเข้า

ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนหายใจออก อย่างไร ?

ความสละคืนมี ๒ อย่าง คือ ความสละคืนด้วยการบริจาค ๑ ความ

สละคืนด้วยความแล่นไป ๑ จิต (คิด) สละรูป เพราะฉะนั้นจึงเป็นความสละ

คืนด้วยการบริจาค จิตแล่นไปในนิพพานอันเป็นที่ดับรูป เพราะฉะนั้นจึงเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 135

ความสละคืนด้วยการแล่นไป บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืน

ในรูปหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนในรูปหายใจออก จิต

(คิด) สละเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ

เพราะฉะนั้น จึงเป็นความสละคืนด้วยการบริจาค จิตแล่นไปในนิพพานอันเป็น

ที่ดับชราและมรณะ เพราะฉะนั้นจึงเป็นความสละคืนด้วยการแล่นไป บุคคล

ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนในชราและมรณะ หายใจเข้า ย่อม

ศึกษาว่า จักพิจารณาความสละคืนในชราและมรณะหายใจออกธรรมทั้งหลาย

ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความสละคืนหายใจเข้าหายใจออก ปรากฏ

สติเป็นอนุปัสสนาญาณ ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย

เป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น

เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาธรรม

ในธรรมทั้งหลาย.

คำว่า ย่อมพิจารณา ความว่า ย่อมพิจารณา ธรรมเหล่านั้นอย่างไร ?

ย่อมพิจารณาโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาโดยความเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน

ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อ

สละคืน ย่อมสละความถือมั่นได้ ย่อมพิจารณาธรรมเหล่านั้นอย่างนี้.

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยอรรถว่า ธรรม

ทั้งหลายอันเกิดในภาวนานั้น ไม่ล่วงเกินกันฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ

สีลวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้พิจารณา ความสละคืนระวังลมหายใจเข้าลม

หายใจออก จิตวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่านทิฏฐิวิสุทธิ ด้วยอรรถว่าเห็นความ

สำรวมในสีลวิสุทธินั้น เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตวิสุทธินั้น เป็น

อธิจิตสิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธินั้น เป็นอธิปัญญาสิกขา บุคคลเมื่อคำนึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 136

ถึงสิกขา ๓ประการนี้ศึกษาอยู่ เมื่อรู้ ศึกษาอยู่ ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์

เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความสละคืนหายใจเข้า

หายใจออก เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป ฯลฯ

เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณา

ความสละคืนหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลาย

ให้ประชุมลงย่อมรู้จักโคจร และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์

ย่อมยังพละทั้งหลายให้ประชุมลง ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง ย่อม

ยังมรรคให้ประชุมลง ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง ย่อมรู้จักโคจร และ

แทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.

คำว่า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ความว่า ย่อมยัง

อินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงอย่างไร ?

ย่อมยังสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อให้ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุ

นั้น ท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ อนุปัสสนา

ญาณ ๘ อุปัฏฐานานุสติ ๘ สุตตันติกวัตถุ ในการพิจารณาธรรมในธรรม

ทั้งหลาย ๔ ญาณในความเป็นผู้ทำสติ ๓๒ นี้.

[๔๒๒] ญาณด้วยสามารถแห่งสมาธิ ๒๔ เป็นไฉน ?

ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว

เป็นสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกยาว

เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็น

ผู้เปลื้องจิตหายใจเข้าหายใจออก เป็นสมาธิ ญาณด้วยสามารถของสมาธิ ๒๔

เหล่านี้.

ญาณด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา ๗๒ เป็นไฉน ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 137

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นทุกข์

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นอนัตตา

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจออกยาว โดยความเป็นของไม่เที่ยง

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจออกยาว โดยความเป็นทุกข์ วิปัสสนา

ด้วยอรรถว่าพิจารณาลมหายใจออกยาว โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ วิปัสสนา

ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้เปลื้องจิตพิจารณาลมหายใจเข้าหายใจออก โดยความ

เป็นของไม่เที่ยง วิปัสสนาด้วยอรรถว่าความ เป็นผู้เปลื้องจิตพิจารณาลมหายใจเช้า

หายใจออก โดยความเป็นทุกข์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่า ความเป็นผู้เปลื้องจิต

พิจารณาลมหายใจเข้าหายใจออก โดยความเป็นอนัตตา ญาณด้วยสามารถ

แห่งวิปัสสนา ๗๒ เหล่านี้.

นิพพิทาญาณ ๘ เป็นไฉน ? ญาณชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะอรรถ

ว่าเป็นเครื่องให้บุคคลผู้พิจารณาหายใจเข้า โดยความเป็นของไม่เที่ยง รู้เห็น

ตามความเป็นจริง เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องให้บุคคลผู้พิจารณาลมหายใจออก

โดยความเป็นของไม่เที่ยง รู้เห็นตามความเป็นจริง ฯลฯ ญาณชื่อว่านิพพิทา-

ญาณ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องให้บุคคลพิจารณาความสละคืนลมหายใจเข้า

รู้เห็นตามความเป็นจริง เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องให้บุคคลผู้พิจารณาความ

สละคืนลมหายใจออก รู้เห็นตามความเป็นจริง นิพพิทาญาณ ๘ เหล่านี้.

นิพพิทานุโลมญาณ ๘ เป็นไฉน ? ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาลม

หายใจเข้า โดยความเป็นของไม่เที่ยง ปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เป็น

นิพพิทานุโลมญาณ ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาลมหายใจออก โดยความเป็น

ของไม่เที่ยง ปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เป็นนิพพิทานุโลมญาณ ฯลฯ

ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาสละคืนลมหายใจเข้าปรากฏ โดยความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 138

เป็นของน่ากลัว เป็นนิพพิทานุโลมญาณ ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาความ

สละคืนลมหายใจออกปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เป็นนิพพิทานุโลมญาณ

นิพพิทานุโลมญาณ ๘ เหล่านี้.

นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ เป็นไฉน ? ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณา

ลมหายใจเข้าโดยความเป็นของไม่เที่ยง พิจารณาหาทางวางเฉยอยู่ เป็น

นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ปัญญาในความเป็นผู้พิจารณาลมหายใจออกโดยความ

เป็นของไม่เที่ยง พิจารณาหาทางวางเฉยอยู่ เป็นนิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ฯลฯ

นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ เหล่านี้.

ญาณในวิมุตติสุข ๒๑ เป็นไฉน ? ญาณในวิมุตติสุขย่อมเกิดขึ้นเพราะ

ละเพราะตัดขาดซึ่งสักกายทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค. . . เพราะละ เพราะตัดขาด

ซึ่งวิจิกิจฉาด้วยโสดาปัตติมรรค. . . เพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งสีลัพพตปรามาส

ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัยด้วยโสดาปัตติมรรค. . . เพราะละ เพราะตัดขาดซึ่ง

กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ

ด้วยสกทาคามิมรรค . . . เพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งกามราคสังโยชน์ ปฏิฆ-

สังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ด้วยอนาคามิมรรค

ญาณในวิมุตติสุขย่อมเกิดขึ้นเพราะละ เพราะตัดขาดซึ่งรูปราคะ อรูปราคะ มานะ

อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย และอวิชชานุสัย ด้วยอรหัตมรรค

ญาณในวิมุตติสุข ๒๑ เหล่านี้ เมื่อบุคคลเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ

อันมีวัตถุ ๑๖ ญาณ ๒๐๐ เหล่านี้ อันสัมปยุตด้วยสมาธิ ย่อมเกิดขึ้น.

จบอานาปานกถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 139

อานาปานสติกถา ในมหาวรรค

๑. อรรถกถาคณนวาร

บัดนี้ ถึงลำดับที่จะพรรณนาความที่ยังไม่เคยพรรณนา แห่งอานา-

ปานสติกถาที่ท่านกล่าวไว้ในลำดับแห่งทิฏฐิกถา.

จริงอยู่ อานาปานสติกถานี้ เป็นสมาธิภาวนาอันทำได้ง่ายเพื่อตรัสรู้

ตามความเป็นจริง แห่งโทษของทิฏฐิที่กล่าวไว้ดีแล้ว ในทิฏฐิกถา แห่งจิต

บริสุทธิ์ด้วยดี ด้วยการชำระมลทินแห่งมิจฉาทิฏฐิ. อนึ่ง ในสมาธิภาวนาทั้งปวง

อานาปานสติกถานี้ ท่านกล่าวไว้ในลำดับแห่งทิฏฐิกถาว่าเป็นสมาธิภาวนาและ

เป็นประธาน เพราะตรัสรู้ตามความเป็นจริง แห่งจิตตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธินี้ ณ

โพธิมูล ของพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทั้งปวง.

พึงทราบวินิจฉัยในอานาปานสติกถานั้นดังต่อไปนี้. บทว่า โสฬส-

วตฺถุก อนาปานสฺสติสมาธึ ภาวยโต สมธิกานิ เทฺว าณสตานิ

อุปฺปชฺชนฺติ เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติ มี

วัตถุ ๑๖ ญาณ ๒๐๐ อันเนื่องมาแต่สมาธิย่อมเกิดขึ้น เป็นการยกขึ้นแสดง

จำนวนญาณ. บทมีอาทิว่า อฏฺ ปริปนฺเถ าณานิ ญาณในธรรมอัน

เป็นอันตราย ๘ เป็นการชี้แจงจำนวนญาณ. บทต้นว่า กตมานิ อฏฺ ปริปนฺเถ

าณานิ ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ เป็นไฉน. บทสุดท้ายว่า อิมานิ

เอกวีสติ วิมุตฺติสุเข าณานิ ญาณในวิมุตติสุข ๒๑ เหล่านี้ เป็นการชี้แจง

ความพิสดารของญาณทั้งปวง. พึงทราบการกำหนดบาลีก่อนอย่างนี้ว่า บทมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 140

อาทิว่า โสฬสวตฺถุก อานาปานสฺสติสมาธึ ภาวยโต เมื่อพระโยคาวจร

เจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติ มีวัตถุ ๑๖ เป็นบทสรุปในที่สุด.

พึงทราบวินิจฉัยในการยกแสดงจำนวน ในการนับจำนวนว่า อานา-

ปานสติสมาธิ มีวัตถุ ๑๖ ก่อนดังต่อไปนี้. ชื่อว่า โสฬสวตฺถุโก เพราะมีวัตถุ

เป็นที่ตั้ง คือมีอารมณ์ ๑๖ ด้วยสามารถแห่งจตุกะ ละ ๔ เหล่านี้ คือ ลมหายใจ

ยาว สั้นกำหนดรู้กองลมทั้งปวง สงบกายสังขาร ชื่อว่า กายานุปัสสนาจตุกะ ๑

กำหนดรู้ปีติ สุข จิตสังขาร สงบจิตสังขาร ชื่อว่า เวทนานุปัสสนาจตุกะ ๑

กำหนดรู้จิต จิตยินดียิ่ง จิตตั้งมั่น จิตพ้น ชื่อว่า จิตตนุปัสสนาจตุกะ ๑

พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความคลายกำหนัด การดับทุกข์ การสละ ชื่อว่า

ธัมมานุปัสสนาจตุกะ ๑. อานาปานสติสมาธิ มีวัตถุ ๑๖ นั้น. ก็ในบทนี้

ลบวิภัตติด้วยวิธีของสมาส.

บทว่า อาน ได้แก่ ลมหายใจเข้าในภายใน. บทว่า อปาน ได้แก่

ลมหายใจออกในภายนอก. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวโดยตรงกันข้าม เพราะ

หายใจออกท่านกล่าวว่า อปานะ เพราะปราศจากการหายใจเข้า. แต่ในนิเทศ

ท่านกล่าวว่า อาปาน เพราะเพ่งถึงทีฆะ อักษร. เมื่อมีอานาปาน นั้น

ชื่อว่า อานาปานสติ. อานาปานสตินี้เป็นชื่อของสติกำหนดอัสสาสะ ปัสสาสะ

(ลมหายใจเข้าและหายใจออก) สมาธิประกอบด้วยอานาปานสติ หรือสมาธิ

ในอานาปานสติ ชื่อว่า อานาปานสติสมาธิ.

บทว่า ภาวยโต คือเจริญนิพเพธภาคี (ธรรมเป็นส่วนแห่งการ

แทงตลอด). บทว่า สมาธิกานิ อันเนื่องมาแต่สมาธิ คือ เป็นไปกับด้วย

ความยิ่ง ความว่า มีความยิ่งเกิน. ในบทว่า สมาธิกานิ นี้ อักษรเป็น

บทสนธิ. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ส อธิกานิ. เมื่อเป็นอย่างนั้นก็ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 141

ความว่า ญาณ ๒๐๐ ด้วย ยิ่งด้วย. ข้อนั้นไม่ถูก เพราะญาณ ๒๐๐ เหล่านี้

ก็จะเกินไป ๒๐.

บทว่า ปริปนฺเถ าณานิ ญาณในธรรมเป็นอันตราย คือญาณ

อันเป็นไป เพราะทำอันตรายให้เป็นอารมณ์. อนึ่ง ญาณในธรรมเป็นอุปการะ

ในอุปกิเลส. บทว่า โวทาเน าณานิ ญาณในโวทาน (ความผ่องแผ้ว)

คือ ชื่อว่า โวทาน เพราะจิตผ่องแผ้วบริสุทธิ์ด้วยญาณนั้น. ควรกล่าวว่า

โวทานาณานิ ท่านกล่าวว่า โวทาเน าณานิ ญาณในโวทานดุจใน

บทมีอาทิว่า สุตมเย าณ ญาณในสุตมยปัญญา. ชื่อว่า สโตการี เพราะ

มีสติสัมปชัญญะทำ ญาณของผู้มีสติทำนั้น.

บทว่า นิพฺพิทาาณานิ คือญาณอันเป็นนิพพิทา (เบื่อหน่าย).

บทว่า นิพฺพิทานุโลเม าณานิ คือญาณเกื้อกูลนิพพิทา. ปาฐะว่า

นิพฺพิทานุโลมิาณานิ บ้าง. ความว่า ชื่อว่า นิพพิทานุโลมี เพราะ

มีญาณเกื้อกูลแก่นิพพิทา. บทว่า นิพฺพิทาปฏิปฺปสฺสทฺธิาณานิ คือญาณ

ในความสงบนิพพิทา. บทว่า วิมุตฺติสุเข าณานิ คือญาณสัมปยุตด้วย

วิมุตติสุข.

ด้วยบทมีอาทิว่า กตมานิ อฏฺ(๘)เป็นไฉน ท่านแสดงถึงญาณร่วม

กันในธรรมอันตรายและในธรรมเป็นอุปการะเหล่านั้น เพราะญาณในธรรม

เป็นอันตราย และในธรรมเป็นอุปการะเป็นคู่ ตรงกันข้ามและเป็นข้าศึกกัน.

บทมีอาทิว่า กามจฺฉนฺทเนกฺขมฺมา มีความดังได้กล่าวแล้วในหนหลัง. อนึ่ง

บทว่า อุปการ เป็นนปุงสกลิงค์ โดยเป็นลิงควิปลาส.

บทว่า สพฺเพปิ อกุสลา ธมฺมา อกุศลธรรมแม้ทั้งปวง คืออกุศล

ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหลือดังกล่าวแล้ว. อนึ่ง กุศลธรรมทั้งปวงเป็นฝ่าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 142

แห่งการแทงตลอด. บทว่า ปริปนฺโถ และอุปการ เป็นเอกวจนะ เพราะ

เพ่งถึงบทนั้น ๆ นั่นเอง. พระสารีบุตรเถระ ครั้นถามถึงญาณในธรรมเป็น

อันตราย และญาณในธรรมเป็นอุปการะนี้แล้ว แก้อารมณ์แห่งญาณเหล่านั้น

แล้วแสดงสรุปญาณอันมีญาณนั้นเป็นอารมณ์ว่า เป็นอันแก้ญาณเหล่านั้นด้วย

ธรรมเป็นปริปันถะ และอุปการะเหล่านั้นแล้ว. แม้ในบทมีอาทิว่า ญาณใน

อุปกิเลสก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาคณนวาร

๒. อรรถกถาโสฬสญาณนิเทศ

บทว่า โสฬสหิ อากาเรหิ ด้วยอาการ ๑๖ เหล่านั้น คือด้วยส่วน

แห่งญาณ ๑๖ ดังได้กล่าวแล้วโดยเป็นฝ่ายทั้งสอง. บทว่า อุทุปิตจิตฺต สมุทุ-

ปิตจิตฺต จิตอันฟุ้งซ่านและจิตสงบระงับ ความว่า ในอุปจารภูมิ จิตสะสม

ไว้เบื้องบน สะสมไว้เบื้องบนโดยชอบ ทำการสะสมสูงขึ้น ๆ ทำการสะสม

สูงขึ้น ๆ โดยชอบ. ปาฐะว่า อุทุชิต จิตต สุมุชิต บ้าง. ความว่า จิตชนะ

เพราะความสูง หรือชนะด้วยญาณอันทำความสูง.

บทว่า สุมุทุชิต คือชนะเพราะความสูงเสมอ หรือชนะด้วยญาณ

อันทำความสูง เป็นอันปฏิเสธความไม่เสมอ ในบทนี้ว่า สมา เสมอ. ใน

ปาฐะนี้มีอุปสรรค ๒ตัว คือ อุ. ทุ. ปาฐะว่า อุรูชิต จิตฺต สมฺมารูชิต

บ้าง. แม้ในปาฐะนี้ก็มีความว่าชนะแล้วเหมือนกัน. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า

บทว่า อุรู อรู นี้ เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 143

ในอรรถกถาวีโณปมสูตรท่านกล่าวความว่า ตชฺชิต และ สุตชฺชิต

คือ คุกคามแล้ว คุกคามด้วยดีแล้ว . ความนั้นไม่สมควรในที่นี้. บทว่า เอกตฺเต

สนฺติฏฺติ ย่อมดำรงอยู่ในความเป็นธรรมอย่างเดียว คือ ย่อมตั้งอยู่ในความ

เป็นธรรมอย่างเดียวในอุปจารภูมิ โดยไม่มีความฟุ้งซ่านในอารมณ์ต่าง ๆ.

ในบทนี้ว่า นิยฺยานาวรณฏฺเน นีวรณา ชื่อว่า นิวรณ์เพราะ

อรรถว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก ท่านกล่าวว่า แม้ความไม่ยินดี แม้

อกุศลทั้งปวงก็ชื่อว่า นิวรณ์เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้น. บทว่า นิยฺยานา-

วรณฏฺเน ชื่อว่า นิวรณ์เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องปิดทางมาแห่งธรรมเครื่อง

นำออก. ปาฐะว่า นิยฺยานาวารณฏฺเน บ้าง. ความว่า ชื่อว่า นิวรณ์

เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องห้ามธรรมเครื่องนำออก.

บทว่า เนกฺขมฺม อริยาน นิยฺยาน เนกขัมมะเป็นธรรมเครื่องนำ

ออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย คือที่ตั้งแห่งมรรค ชื่อว่า เป็นธรรมเครื่องนำ

ออกของพระอริยเจ้าทั้งหลายด้วยผลูปจาร เพราะเป็นเหตุแห่งอริยมรรค กล่าว

คือเป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย. พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อม

นำออกคือเข้าถึงในขณะแห่งมรรค ด้วยผลูปจารนั้นเป็นเหตุ. ส่วนอาจารย์

บางพวกกล่าวว่า บทว่า นิยฺยาน คือมรรค ข้อนั้นไม่ถูก เพราะในที่นี้

ท่านประสงค์เอาอุปจาร และเพราะไม่มีอาโลกสัญญาและกุศลธรรมทั้งปวงใน

ขณะแห่งมรรค. บทว่า นิวุตตฺตา เพราะถูกอกุศลธรรมกันไว้คือปกปิดไว้.

บทว่า นปฺปชานาติ ย่อมไม่รู้ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งบุคคล. บทว่า

วิสุทฺธิจิตฺตสฺส ผู้มีจิตบริสุทธิ์ ได้แก่ ในอุปจารภูมินั่นเอง.

บทว่า ขณิกสโมธานา ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะ ความว่า

ชื่อว่า ขณิกา เพราะมีขณะ เพราะเกิดขึ้นในขณะจิต ในขณะจิต ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 144

อุปกิเลส การตั้งมั่น การประชุม การรวบรวมจิตเป็นไปชั่วขณะ ชื่อว่า ขณิก-

สโมธาน เพราะฉะนั้น จึงมีความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะ. ท่านอธิบายไว้

ว่า อุปกิเลสทั้งหลายเมื่อเกิด ย่อมเกิดด้วยการเกี่ยวเนื่องกันชั่วขณะ ด้วยการ

สืบต่อกันมาชั่วขณะ คือ ไม่เกิดด้วยอำนาจแห่งขณะจิตดวงหนึ่ง.

จบอรรถกถาโสฬสญาณนิเทศ

๓. อรรถกถาอุปกิเลสญาณนิเทศ

ปฐมฉักกะ (ฉักกะที่๑)

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมฉักกะดังต่อไปนี้. บทว่า อสฺสาสาทิมชฺฌ-

ปริโยสาน เบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดของลมหายใจเข้า คือ ปลายจมูก หรือ

นิมิตปาก เป็นเบื้องต้นของลมเข้าในภายใน หัวใจเป็นท่ามกลาง มีนาภีเป็น

ที่สุด. เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลม

หายใจเข้านั้น จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายใน โดยไปตามความต่างกันแห่งที่ตั้ง

จิตถึงความฟุ้งซ่านในภายในนั้น เป็นอันตรายแก่สมาธิ เพราะไม่ดำรงอยู่ใน

อารมณ์เดียว.

บทว่า ปสฺสาสาทิมชฺฌปริโยสาน เบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของ

ลมหายใจออก คือ สะดือเป็นเบื้องต้นของลมออกไปในภายนอก หัวใจเป็น

ท่ามกลาง ปลายจมูก นิมิตปาก หรืออากาศภายนอกเป็นที่สุด. ในที่นี้พึง

ทราบการประกอบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 145

บทว่า อสฺสาสปฏิกงฺขณา นิกนฺติ ตณฺหาจริยา ความในใจ คือ

ความปรารถนาลมหายใจเข้า การเที่ยวไปด้วยตัณหา ความว่า การกำหนดว่า

กรรมฐานเนื่องด้วยลมจมูกแล้วพอใจ คือปรารถนาลมหายใจเข้าอันหยาบและ

หยาบ ความเป็นไปด้วยตัณหา. เมื่อมีความเป็นไปแห่งตัณหา ชื่อว่า เป็น

อันตรายแก่สมาธิ เพราะไม่ดำรงอยู่ในอารมณ์เดียว.

บทว่า ปสฺสาสปฏิกงฺขณา นิกนฺติ ความปรารถนาความพอใจ

ลมหายใจออก ความว่า ความพอใจคือความปรารถนาลมหายใจออก ซึ่งเป็น

ไปก่อนลมหายใจเข้า. บทที่เหลือพึงประกอบตามนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า

อสฺสาเสนาภิตุนฺนสฺส แห่งบุคคลผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ ความว่า เมื่อ

ลมหายใจเข้ายาวเกินไป หรือสั้นเกินไป ถูกลมหายใจเข้าทำลายเบียดเบียน

เพราะมีความลำบากแห่งกายและจิตอันมีลมหายใจเข้าเป็นมูล.

บทว่า ปสฺสาสปฏิลาเภ มุจฺฉนา ความหลงในการได้ลมหายใจ

ออก คือเพราะถูกลมหายใจเข้าบีบคั้น ผู้มีความสำคัญในความพอใจในลม

หายใจออก ปรารถนาลมหายใจออก ยินดีในการได้ลมหายใจออกนั้น. แม้ใน

ลมหายใจออกเป็นมูลก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว เพื่อพรรณนาตามความ

ดังที่ได้กล่าวแล้วดังต่อไปนี้.

บทว่า อนุคจฺฉนา คือไปตาม. บทว่า สติ คือสติอันเป็นเหตุ

ฟุ้งซ่านในภายในและภายนอก. ชื่อว่า วิกฺเขโป. เพราะจิตฟุ้งซ่านด้วยลมหาย-

ใจนั้น. ความฟุ้งซ่านในภายใน ชื่อว่า อชฺฌตฺตวิกเขโป. ความปรารถนา

ความฟุ้งซ่านในภายในนั้น ชื่อว่า อชฺฌตฺตวิเขปากงฺขณา ท่านอธิบายว่า

ความปรารถนาลมหายใจเข้าอันฟุ้งซ่านในภายใน ด้วยการไม่มีใจชอบ. พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 146

ทราบความปรารถนาความฟุ้งซ่านในภายนอกโดยนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า เยหิ

คือด้วยอุปกิเลสเหล่าใด. บทว่า วิกมฺปมานสฺส ผู้หวั่นไหว คือผู้ฟุ้งซ่าน

ถึงความฟุ้งซ่าน.

บทว่า โน เจ จิตฺต วิมุจฺจติ ถ้าจิตไม่หลุดพ้น คือจิตไม่น้อมไป

ในอารมณ์อันเป็นอัสสาสปัสสาสะ และไม่หลุดพ้นจากธรรมเป็นข้าศึก. พึง

ทราบการเชื่อมว่า จิตไม่หลุดพ้น และให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น. บทว่า วิโมกฺข

อปฺปชานนฺตา ไม่รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ คือผู้นั้นหรือผู้อื่นไม่รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ อัน

เป็นความพอใจแห่งอารมณ์ และซึ่งวิโมกข์อันเป็นความพ้นจากธรรมเป็นข้าศึก

อย่างนี้. บทว่า ปรปตฺติยา คือมีคนอื่นเป็นปัจจัย เชื่อคนอื่น ไม่มีญาณ

ที่ประจักษ์แก่ตน เมื่อควรกล่าวว่า ปรปจฺจยิกา ท่านกล่าว ปรปตฺติยา.

ความอย่างเดียวกัน.

จบปฐมฉักกะ

ทุติยฉักกะ (ฉักกะที่ ๒)

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยฉักกะดังต่อไปนี้. บทว่า นิมิตฺต ที่สัมผัส

แห่งลมหายใจเข้าและหายใจออก. เพราะอัสสาสปัสสาสะกระทบดั้งจมูกของผู้

มีจมูกยาว กระทบริมฝีปากบนของผู้มีจมูกสั้น. ถ้าพระโยคาวจรนี้คำนึงถึง

นิมิตนั้น จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิตนั้น ย่อมกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหาย-

ใจเข้า คือไม่ตั้งอยู่ได้. เมื่อจิตของพระโยคาวจรนั้นไม่ตั้งอยู่ ความกวัดแกว่ง

นั้นเป็นอันตรายของสมาธิ เพราะไม่มีสมาธิ. หากว่า คำนึงถึงอัสสาสะอย่าง

เดียว จิตของพระโยคาวจรนั้นย่อมนำมาซึ่งความฟุ้งซ่านด้วยการเข้าไปในภาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 147

ใน จิตไม่ตั้งอยู่ในนิมิต. เพราะฉะนั้น จิตย่อมกวัดแกว่งในนิมิต โดยนัย

นี้พึงทำการประกอบแม้ในบทที่เหลือ. บทว่า วิกมฺปติ ในคาถาทั้งหลาย

ได้แก่ ความฟุ้งซ่าน คือถึงความฟุ้งซ่าน.

จบทุติยฉักกะ

ตติยฉักกะ (ฉักกะที่ ๓)

พึงทราบวินิจฉัยในตติยฉักกะดังต่อไปนี้. บทว่า อตีตานุธาวน จิตฺต

จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ คือจิตที่ไปตามอัสสาสะ หรือปัสสาสะอันล่วงเลย

ที่สัมผัสไป.

บทว่า วิกฺเขปานุปติต ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน คือไปตามด้วยความ

ฟุ้งซ่าน หรือตกไป คือไปตามความฟุ้งซ่านเอง. บทว่า อนาคตปฏิกงฺขณ

จิตฺต จิตที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ คือจิตที่ปรารถนา คือหวังอัสสาสะหรือ

ปัสสาสะอันยังไม่ถึงที่สัมผัส. บทว่า วิกมฺปิต หวั่นไหว คือหวั่นไหวด้วย

ความฟุ้งซ่านอันไม่ตั้งอยู่ในอัสสาสะและปัสสาสะนั้น. บทว่า ลีน จิตหดหู่

คือจิตท้อแท้ด้วยความเพียรอันย่อหย่อนเกินไปเป็นต้น. บทว่า โกสชฺชานุ-

ปติต จิตตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน คือไปตามความเกียจคร้าน. บทว่า อติป-

คฺคหต จิตที่ประคองไว้จัด คือจิตที่มีความอุตสาหะจัดด้วยปรารภความเพียร

จัด. บทว่า อุทฺธจฺจานุปติต จิตตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน คือไปตามความ

ฟุ้งซ่าน. บทว่า อภินต จิตที่น้อมเกินไป คือจิตที่น้อมไปยิ่ง คือติดอยู่ใน

วัตถุแห่งอัสสาสะทั้งหลาย. บทว่า อปนต จิตที่ไม่น้อมไป คือจิตกระทบใน

วัตถุแห่งความไม่ยินดี หรือจิตปราศจากวัตถุแห่งความยินดีนั้น หรือยังไม่

ปราศจากไป ความว่า ไม่ปราศจากไปจากวัตถุนั้น. บทว่า ราคานุปตต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 148

จิตตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด คือเมื่อพระโยคาวจรกำหนดไว้ในใจถึงอัสสาส-

ปัสสาสนิมิต ความกำหนัดตกไปในปีติและสุข หรือในวัตถุที่รื่นเริง รำพัน

และการเล่นในก่อน. บทว่า พฺยาปาทานุปติต จิตตกไปข้างฝ่ายพยาบาท

คือเมื่อพระโยคาวจรมีจิตไม่ยินดีในการกำหนดไว้ในใจ ความพยาบาทย่อมตก

ไปตามอำนาจแห่งความโทมนัสที่เกิดขึ้นแล้ว หรือในอาฆาตวัตถุ (วัตถุแห่ง

ความอาฆาต) ที่ประพฤติมาในกาลก่อน.

บทว่า น สมาธิยติ ในคาถาทั้งหลาย ได้แก่ จิตไม่ตั้งมั่น. บทว่า

อธิจิตฺต อธิจิต คือสมาธิอันยิ่ง ท่านแสดงโดยจิตเป็นประธาน.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงอุปกิเลส ๑๘ ด้วย

ฉักกะ ๓ แล้วบัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงโทษแห่งอุปกิเลสเหล่านั้นโดยให้สำเร็จความ

เป็นอันตรายแก่สมาธิ จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า อสฺสาสาทิมชฺฌปริโยสาน

ดังนี้อีก ความว่า เบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กาโยปิ จิตฺตมฺปิ สารทฺธา จ โหนฺติ กาย

และจิตย่อมมีความปรารภ ความว่า แม้รูปกาย ด้วยอำนาจเเห่งรูปอันมีความ

ฟุ้งซ่านเป็นสมุฏฐาน แม้จิตด้วยอำนาจแห่งความฟุ้งซ่านเป็นการสืบต่อ ย่อม

เป็นอันยุ่งยากด้วยความลำบากและมีความกระวนกระวาย โดยความอ่อนกว่า

นั้นก็ตื่นเต้นหวั่นไหว โดยความอ่อนกว่านั้นก็ดิ้นรนวุ่นวาย ย่อมมีความ

ยุ่งยาก มีกำลังบ้าง ปานกลางบ้าง อ่อนบ้าง. ท่านอธิบายว่า ไม่สามารถจะ

ไม่ให้ยุ่งยากได้.

บทว่า จิตฺต วิกมฺปิตตฺตาปิ คือเพราะจิตหวั่นไหว. บทว่า ปริปุณฺณา

อภาวิตา ในคาถาทั้งหลาย คือไม่เจริญเหมือนอย่างที่บำเพ็ญไว้. บทว่า

อิญฺชิโต คือหวั่นไหว. บทว่า ผนฺทิโต ดิ้นรน คือหวั่นไหวอย่างอ่อน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 149

เพราะความที่นิวรณ์ทั้งหลายในเบื้องต่ำไม่มีลำดับ ท่านจึงแสดงด้วยอัจจันตสมี-

ปะ (ใกล้ที่สุด) ด้วยบทมีอาทิว่า ก็และด้วยนิวรณ์ทั้งหลายเหล่านี้. แต่ใน

ที่นี้ เพราะนิวรณ์ทั้งหลายมีลำดับในบทสรุป ท่านจึงแสดงเป็นปรัมมุขา (ลับ

หลัง) ด้วยบทมีอาทิว่า ก็และด้วยนิวรณ์ทั้งหลายเหล่านั้น.

จบอรรถกถาอุปกิเลสญาณนิเทศ

๔. อรรถกถาโวทานญาณนิเทศ

บทว่า โวทาเน าณานิ ญาณในโวทาน คือญาณบริสุทธิ์.

บทว่า ต วิชยิตฺวา เว้นจิตนั้นเสีย พึงเชื่อมความว่า เว้นจิตแล่นไปตาม

อตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ดังกล่าวแล้วในก่อนเสีย. บทว่า เอกฏฺาเน

สมาทหติ ย่อมตั้งมั่นจิตไว้ในฐานะหนึ่ง คือ ตั้งมั่นไว้เสมอในที่สัมผัสแห่ง

อัสสาสะและปัสสาสะ. บทว่า ตตฺเถว อธิโมกฺเขติ น้อมจิตไปในฐานะนั้นแล

เมื่อท่านกล่าวว่า เอกฏฺาเน ในฐานะหนึ่ง พระโยคาวจรย่อมทำความตกลง

ในที่สัมผัสแห่งอัสสาสะและปัสสาสะ.

บทว่า ปคฺคณฺหิตฺวา ประคองจิตไว้แล้ว คือ ประคองจิตไว้ด้วย

เจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์และปีติสัมโพชฌงค์. บทว่า วินิคฺคณฺหิตฺวา

ข่มจิตนั้นเสีย คือ ข่มจิตไว้ด้วยการเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์

และอุเบกขาสัมโพชฌงค์. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ประคองจิตไว้ด้วย

สตินทรีย์และวีริยินทรีย์ ข่มจิตไว้ด้วยสตินทรีย์และสมาธินทรีย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 150

บทว่า สมฺปชาโน หุตฺวา พระโยคาวจรรู้ทันจิตนั้น คือรู้ทันด้วย

อสุภภาวนาเป็นต้น อีกอย่างหนึ่งรู้ทันด้วยเมตตาภาวนาเป็นต้น พึงทราบความ

เชื่อมว่า พระโยคาวจรย่อมละราคะพยาบาทที่จิตตกตามไป. ความว่า เมื่อรู้ทันว่า

จิตนั้นเป็นเช่นนี้ ย่อมละราคะพยาบาทโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อจิตนั้น. บทว่า

ปริสุทฺธ บริสุทธิ์คือไม่มีอุปกิเลส. บทว่า ปริโยทาต ขาวผ่อง คือ ประภัสสร.

บทว่า เอกตฺตคต โหติ จิตถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว คือ เมื่อพระโยคาวจร

ถึงความวิเศษนั้น ๆ จิตนั้น ๆ ก็ย่อมถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว.

บทว่า กตเม เต เอกตฺตา ความเป็นธรรมอย่างเดียวเหล่านั้น

เป็นไฉน. พระสารีบุตรเถระ เมื่อถามความเป็นธรรมอย่างเดียว แม้ประกอบ

และยังไม่ประกอบ ย่อมถามทำรวมกัน. บทว่า ทานโวสฺสคฺคุปฏฺาเนกตฺต

ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน คือ การบริจาค

การสละทานอันเป็นทานวัตถุ ชื่อว่า ทานูปสคฺโค ได้แก่ เจตนาบริจาคทาน

วัตถุ. การเข้าไปตั้งความปรากฏแห่งทานนั้นด้วยทำให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า

ทานูปสคฺคุปฏฺาน ความปรากฏแห่งการบริจาคทาน. อีกอย่างหนึ่งความเป็น

ธรรมอย่างเดียว ในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน ชื่อว่า ทานุปสคฺคุปฏฺ-

าเนกตฺต. ปาฐะว่า ทานโวสฺสคฺคุปฏฺาเนกตฺต ดีกว่า ความอย่างเดียวกัน.

ด้วยบทนี้ท่านกล่าวจาคานุสติสมาธิด้วยการยกบทขึ้น. อนึ่ง แม้ท่าน

กล่าวจาคานุสติสมาธินั้น ด้วยการยกบทก็เป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งความเป็นธรรม

อย่างเดียวกัน แม้ ๓ อย่างนอกนี้ เพราะฉะนั้น อาจารย์พวกหนึ่งจึงกล่าว

ไว้ในที่นี้ว่า ท่านชี้แจงไว้แล้วดังนี้. จริงอยู่ แม้นางวิสาขามหาอุบาสิกาก็ยัง

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่จำพรรษาในทิศทั้งหลาย

ในศาสนานี้จักมาสู่กรุงสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระมีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าเฝ้าพระผู้มี-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 151

พระภาคเจ้าแล้วจักทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อมรณภาพแล้ว

ภิกษุนั้นจักมีคติอย่างไร อภิสัมปรายภพจักเป็นอย่างไรดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า

จักทรงพยากรณ์ถึงคติและสัมปรายภพนั้นในโสดาปัตติผลก็ดี ในสกคาทามิผล

ก็ดี ในอนาคามิผลก็ดี ในอรหัตผลก็ดี. ข้าพเจ้าเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นแล้วจัก

ถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย พระคุณเจ้ารูปนั้นเคยมากรุงสาวัตถีหรือหนอ.

หากภิกษุทั้งหลายจักกล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า ภิกษุรูปนั้นเคยมากรุงสาวัตถี. ข้าพเจ้า

จักตัดสินใจถวายวัสสิกสาฏก อาคันตุกภัตร คมิกภัตร คิลานภัตร คิลานุปัฏ-

ฐากภัตร คิลานเภสัช หรือธุวยาคู (ข้าวยาคูเป็นประจำ) ให้พระคุณเจ้ารูปนั้น

บริโภคโดยไม่ต้องสงสัย เมื่อข้าพเจ้าระลึกถึงดังนั้น จักเกิดความปราโมทย์

เมื่อปราโมทย์แล้วจักเกิดปีติ เมื่อมีใจปีติ กายจักสงบ เมื่อกายสงบจักเสวยสุข

เมื่อมีสุข จิตจักตั้งมั่น อินทรียภาวนา พลภาวนา โพชฌงคภาวนา นั้นจักมี

แก่ข้าพเจ้า. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่าในความเป็นธรรมอย่างเดียวทั้งหลาย

ท่านกล่าวถึงธรรมที่หนึ่งด้วยอุปจารสมาธิ ธรรมที่สองด้วยอัปปนาสมาธิ

ธรรมที่สามด้วยวิปัสสนาสมาธิ ธรรมที่สี่ด้วยมรรคและผล. นิมิตแห่งสมถะ

ชื่อว่าสมถนิมิต. ลักษณะอันเป็นความเสื่อมความทำลาย ชื่อว่า วยลักษณะ.

บทว่า นิโรโธ คือนิพพาน. บทที่เหลือ พึงประกอบตามนัยที่กล่าวแล้วใน

๓ บทเหล่านี้. บทว่า จาคธิมุตฺตาน ของบุคคลผู้น้อมใจไปในจาคะ คือ

คือน้อมไปในทาน. บทว่า อธิจิตฺต ได้แก่ สมาธิอันเป็นบทแห่งวิปัสสนา.

บทว่า วิปสฺสกาน ของบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาทั้งหลาย คือ ของผู้เห็นแจ้ง

สังขารด้วยอนุปัสสนา ๓ ตั้งแต่ภังคานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความดับสังขาร).

บทว่า อริยปุคฺคลาน คือพระอริยบุคคล ๘. ความเป็นธรรมอย่างเดียว

๓ มีธรรมที่ ๒ เป็นต้น ย่อมประกอบด้วยอานาปานสติ และด้วยกรรมฐาน

ที่เหลือ. บทว่า จตูหิ าเนหิ คือด้วยเหตุทั้งหลาย ๔. บทที่ยกขึ้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

จิตถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว เป็นจิตแล่นไปสู่ปฏิปทาวิสุทธิ เป็นจิตเจริญ

งอกงามด้วยอุเบกขา และเป็นจิตร่าเริงด้วยญาณดังนี้ด้วยอำนาจแห่งสมาธิ-

วิปัสสนามรรคและผล. บทขยายความอันเป็นเบื้องต้นแห่งคำถามเพราะใคร่จะ

ทำเพื่อความพิสดารแห่งบทที่ยกขึ้นเหล่านั้นมีอาทิว่า อะไรเป็นเบื้องต้นแห่ง

ปฐมฌาน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิปทาวิสุทฺธิปสนฺนญฺเจว ย่อมเป็นจิต

ที่มีปฏิปทาวิสุทธิผ่องใส คือปฏิปทานั่นเองชื่อว่า วิสุทธิ เพราะชำระมลทิน

คือนิวรณ์ จิตแล่นไป คือ เข้าไปสู่ปฏิปทาวิสุทธินั้น. บทว่า อุเปกฺขานุพฺ-

รูหิตญฺจ คือ เจริญงอกงามด้วยอุเบกขา คือความเป็นกลางนั้น. บทว่า

าเณน จ สมฺปหสิต ร่าเริงด้วยญาณ คือ ร่าเริง ผ่องแผ้ว บริสุทธิ์

ด้วยญาณอันขาวผ่อง. อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า อุปจาระพร้อม

ด้วยการสะสม ชื่อว่า ปฏิปทาวิสุทธิ อัปปนาชื่อว่าการเจริญงอกงามด้วย

อุเบกขา ปัจจเวกขณะชื่อว่า ความร่าเริง.

อนึ่ง เพราะท่านกล่าวบทมีอาทิว่า จิตถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว

เป็นจิตแล่นไปสู่ปฏิปทาวิสุทธิ ฉะนั้นพึงทราบปฏิปทาวิสุทธิด้วยการมาแห่ง

อัปปนาภายใน การเจริญงอกงามด้วยอุเบกขาด้วยกิจแห่งอุเบกขา คือ ความ

เป็นกลางนั้น การร่าเริงด้วยการสำเร็จกิจแห่งญาณอันขาวผ่องด้วยสำเร็จความ

ไม่ล่วงไปแห่งธรรมทั้งหลาย. เป็นอย่างไร เพราะจิตย่อมบริสุทธิ์จากหมู่กิเลส

คือ นิวรณ์อันเป็นอันตรายแก่ฌานนั้นในวาระที่อัปปนาเกิด. เพราะจิตบริสุทธิ์

จิตปราศจากเครื่องกีดกันย่อมดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง สมาธิคือ

อัปปนาไปเสมอชื่อว่าสมถนิมิต อันเป็นท่ามกลาง.

แต่ปุริมจิต (จิตดวงก่อน) ในลำดับแห่งอัปปนาสมาธินั้นเข้าถึงความ

เป็นของแท้โดยนัยแห่งความปรวนแปรสันตติอย่างเดียว ชื่อว่าย่อมดำเนินสู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 153

สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะดำเนินไปอย่างนี้ จิตจึงชื่อว่าแล่นไปใน

สมถนิมิตนั้นโดยเข้าถึงความเป็นของแท้.

พึงทราบปฏิปทาวิสุทธิ อันสำเร็จอาการมีอยู่ในปุริมจิตอย่างนี้ก่อนด้วย

อำนาจแห่งการมาในขณะปฐมฌานเกิดนั่นเอง. อนึ่ง เมื่อจิตบริสุทธิ์แล้ว

ไม่ทำความขวนขวายในการชำระจิต เพราะไม่มีสิ่งที่ควรชำระอีก ชื่อว่า

จิตหมดจดวางเฉยอยู่. เมื่อดำเนินสู่สมถะด้วยการเข้าถึงความเป็นสมถะแล้ว

ไม่ทำความขวนขวายในการสมาทานอีก ชื่อว่า จิตดำเนินสู่สมถะวางเฉยอยู่.

เพราะดำเนินสู่สมถะเมื่อจิตละความเกี่ยวข้องด้วยกิเลสแล้วปรากฏด้วยความเป็น

ธรรมอย่างเดียว ไม่ทำความขวนขวายในการปรากฏแห่งความเป็นธรรมอย่าง

เดียวอีก ชื่อว่า จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่.

พึงทราบความพอกพูนอุเบกขาด้วยอำนาจกิจของความวางเฉยเป็นกลางนั้น.

ธรรมเทียมคู่ คือ สมาธิและปัญญาเหล่าใดเกิดแล้วในจิตนั้น อัน

พอกพูนด้วยอุเบกขาอย่างนี้ เมื่อยังไม่ล่วงเกินซึ่งกันและกัน ได้เป็นไปแล้ว.

อินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้นเหล่าใด มีรสอันเดียวกันด้วยรสคือวิมุตติเพราะพ้น

จากกิเลสต่าง ๆ เป็นไปแล้ว พระโยคาวจรนั้นนำความเพียงใด อันเข้าถึง

วิมุตตินั้น สมควรแก่ความเป็นรสเดียวด้วยความไม่เป็นไป แห่งอินทรีย์เหล่านั้น.

การเสพใดเป็นไปแล้วในขณะของพระโยคาวจรนั้น อาการเหล่านั้นแม้ทั้งหมด

เพราะเห็นโทษและอานิสงส์นั้น ๆ ในความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วด้วย

ญาณแล้วสำเร็จเพราะเป็นจิตร่างเริง เป็นจิตผ่องใส ฉะนั้นพึงทราบว่า ความ

ร่าเริงด้วยอำนาจแห่งความสำเร็จกิจ แห่งญาณอันขาวผ่องด้วยสำเร็จความไม่-

ล่วงเกินกันเป็นต้นแห่งธรรมทั้งหลาย ท่านอธิบายไว้ดังนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 154

ในบทนั้นมีความดังนี้ เพราะญาณปรากฏด้วยสามารถแห่งอุเบกขา

สมดังที่พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ว่า จิตประคองไว้แล้วอย่างนั้น ย่อมวางเฉย

ด้วยดี ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญาด้วยอำนาจแห่งอุเบกขา

จิตย่อมหลุดพ้นจากกิเลสต่างๆ ด้วยสามารถแห่งอุเขกขา ปัญญินทรีมีประมาณ

ยิ่ง ด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจแห่งความหลุดพ้น ธรรมเหล่านั้น

ย่อมมีกิจเป็นอันเดียวกัน เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้ว ปัญญิน-

ทรีย์มีประมาณยิ่ง ด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจแห่งภาวนา เพราะ

อรรถว่าเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ความร่าเริง

อันเป็นกิจของญาณเป็นที่สุด.

บทมีอาทิว่า เอวติวตฺตคต จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ

เป็นคำสรรเสริญจิตนั้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวติวยตฺตคต ได้แก่ จิต

ถึงความเป็นไป ๓ อย่างด้วยสามารถแห่งความแล่นไปสู่ปฏิปทาวิสุทธิ ความ

พอกพูนอุเบกขาและความร่าเริงด้วยญาณ. บทว่า วิตกฺกสมฺปนฺน เป็นจิต

ถึงพร้อมด้วยวิตก คือ ถึงความเป็นจิตงามด้วยวิตก เพราะปราศจากความ

กำเริบแห่งกิเลส.

บทว่า จิตฺตสฺส อธิฏฺานสมฺปนฺน ถึงพร้อมด้วยการอธิษฐาน

แห่งจิต คือ จิตสมบูรณ์ไม่ย่อหย่อนด้วยการอธิษฐาน กล่าวคือเป็นไปตามลำดับ

แห่งจิตในอารมณ์นั้นนั่นเอง ความเป็นไปแห่งฌานชื่อว่าอธิษฐาน ในเพราะ

ความชำนาญแห่งอธิษฐาน ฉันใด แม้ในที่นี้ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ก็

ชื่อว่า อธิษฐานจิตย่อมควร ฉันนั้น ด้วยเหตุนั้น จิตย่อมตั้งอยู่ในอารมณ์เดียว

เท่านั้น แต่เพราะกล่าวว่า สมาธิสมฺปนฺน ถึงพร้อมด้วยสมาธิไว้ต่างหาก

จึงควรถือเอาตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล. อีกอย่างหนึ่ง เพราะสงเคราะห์สมาธิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 155

เข้าไว้ในองค์ฌาน จึงกล่าวว่า จิตฺตสฺส อธิฏฺานสมฺปนฺน ด้วยสามารถ

แห่งหมวด ๕ ขององค์ฌาน. บทว่า สมาธิสมฺปนฺน ท่านกล่าวด้วยสามารถ

แห่งหมวด ๕ ของอินทรีย์ เพราะสงเคราะห์สมาธิเข้าไว้ในอินทรีย์.

แต่ในทุติยฌานเป็นต้น ท่านละบทที่ยังไม่ได้แล้วกล่าวว่า ปีติสมฺ-

ปนฺน ถึงพร้อมด้วยปีติ ด้วยสามารถแห่งการได้.

ในมหาวิปัสสนา ๑๘ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น วิตกเป็นต้นต้น บริบูรณ์

แล้วเพราะมหาวิปัสสนาเหล่านั้นเป็นกามาวจร. อนึ่ง เพราะในมหาวิปัสสนาเหล่า

นั้นไม่มีอัปปนา จึงควรประกอบปฏิปทาวิสุทธิเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งสมาธิ

ชั่วขณะ. ท่านกล่าววิตกเป็นต้นบริบูรณ์ ด้วยสามารถการได้เพราะได้วิตกเป็นต้น

ด้วยปฐมฌานิก (ผู้ได้ปฐมฌาน) ในมรรค ๔ เพราะวิตกเป็นต้นในมรรค

มีผู้ได้ทุติยฌานเป็นต้น ย่อมเสื่อมดุจในฌานทั้งหลาย.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันท่านแสดงโวทานญาณ (ญาณบริสุทธิ์)

๑๓ โดยพิสดาร. แสดงอย่างไร ท่านแสดงญาณ ๑๓ เหล่านี้ก็คือ ญาณทั้งหลาย

๖ สัมปยุตด้วยการตั้งมั่นในที่เดียวกัน ด้วยการน้อมไปในความตั้งมั่นนั้นเอง

ด้วยการละความเกียจคร้าน ด้วยการละความฟุ้งซ่าน ด้วยการละราคะ ด้วย

การละพยาบาท ญาณ ๔ สัมปยุต ด้วยความเป็นธรรมอย่างเดียว ๔ ญาณ ๓

สัมปยุตด้วยปฏิปทาวิสุทธิ การพอกพูนอุเบกขาและความร่าเริง.

แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงความสำเร็จแห่ง

ญาณเหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งการเจริญอานาปานสติสมาธิ ไม่สรุปญาณ

เหล่านั้น แล้วแสดงวิธีเจริญอานาปานสติสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นแห่งการท้วง

โดยนัยมีอาทิว่า นิมิตฺต อสฺสาสปสฺสาสา นิมิตลมอัสสาสปัสสาสะ แล้ว

แสดงสรุปญาณในที่สุด. นิมิตในญาณนั้นท่านกล่าวไว้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 156

บทว่า อนารมฺมณาเมกจิตฺตสฺส คือ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวง

เดียว. ในบทนี้ อักษรเป็นบทสนธิ. ปาฐะว่า อนารมฺมณเมกจิตฺตสฺส

บ้าง ความว่า ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว. บทว่า ตโย ธมฺเม ธรรม

๓ ประการ คือ ธรรม ๓ ประการมีนิมิตเป็นต้น. บทว่า ภาวนา ได้แก่

อานาปานสติสมาธิภาวนา. บทว่า กถ อย่างไร เป็นคำถามใคร่จะกล่าวความ

แห่งคาถาแก้ ดังกล่าวแล้วในลำดับแห่งคาถาท้วงดังกล่าวแล้วครั้งแรก. บทว่า

น จิเม ตัดบทเป็น น จ อิเม ปาฐะว่า น จ เม ดังนี้บ้าง. ปาฐะนั้น

เป็นปาฐะกำหนดบท.

พึงประกอบ กถ ศัพท์ด้วยบทแม้ที่เหลือ ๕ อย่างนี้ว่า กถ น จ

อวิทิตา โหนฺติ กถ น จ จิตฺต วิกฺเขป คจฺฉติ เป็นธรรมไม่ปรากฏ

ก็หามิได้อย่างไร และจิตไม่ถึงความฟุ้งซ่านอย่างไร. บทว่า ปธานญฺจ

ปญฺายติ จิตปรากฏเป็นประธาน คือ ความเพียรปรารภการเจริญอานา-

ปานสติสมาธิปรากฏ เพราะว่าวีริยะท่านกล่าวว่าเป็น ปธาน เพราะเป็นเหตุ

เริ่มตั้ง. บทว่า ปโยคญฺจ สาเธติ จิตให้ประโยชน์สำเร็จ คือ พระโยคาวจร

ยังฌานนั้นนิวรณ์ให้สำเร็จ เพราะว่า ฌานท่านกล่าวว่า ปโยค เพราะประกอบ

ด้วยการข่มนิวรณ์. บทว่า วิเสสมธิคจฺฉติ บรรลุผลวิเศษ คือ ได้มรรค

อันทำการละสังโยชน์ เพราะว่า มรรคท่านกล่าวว่า วิเสส เพราะเป็นอานิสงส์

แห่งสมถะและวิปัสสนา. อนึ่ง เพราะมรรคเป็นประธานแห่งความวิเศษ จึง

ไม่ทำการสะสมด้วยการทำ.

บัดนี้ พระสตรีบุตรเถระยังความที่ถามนั้นให้สำเร็จด้วยอุปมา จึง

กล่าวคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ รุกฺโข เปรียบเหมือนต้นไม้ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 157

บทนั้นมีความดังต่อไปนี้. เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาทำพื้นที่ให้เรียบ

เหมาะที่จะทำงานเพื่อเลื่อยด้วยเลื่อย เพื่อไม่ให้กลิ้งไปมา ในเวลาเอามีดถาก

และผ่า. บทว่า กกเจน คือเลื่อยด้วยมือ. บทว่า อาคเต คือฟันเลื่อยที่

เลื่อยต้นไม้มาใกล้ตน. บทว่า คเต คือฟันเลื่อยที่เลื่อยต้นไม้ไปส่วนอื่น. วา

ศัพท์เป็นสมุจจยัตถะ ลงในอรรถรวบรวม. บทว่า น อวิทิตา โหนฺติ

ไม่ปรากฏก็หามิได้ คือ ฟันเลื่อยแม้ทั้งหมดที่บุรุษเลื่อยต้นไม้ แม้ไม่ถึงที่มองดู

ก็ย่อมปรากฏ เพราะไม่ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป. บทว่า ปธาน เป็น

ประธาน คือความเพียรในการตัดต้นไม้. บทว่า ปโยค ประโยค คือ

กิริยาที่ตัดต้นไม้. บทว่า วเสสมธิคจฺฉติ ถึงความวิเศษไม่มีด้วยอุปมา.

บทว่า อุปนิพนฺธนา นิมิตฺต ความเนื่องกันเป็นนิมิต คือปลาย

จมูกก็ดี ริมฝีปากก็ดี เป็นนิมิต คือ เป็นเหตุแห่งสติอันเนื่องกัน. สติชื่อว่า

อุปนิพนฺธา เพราะเป็นเครื่องผูกจิตไว้ในอารมณ์. บทว่า นาสิกคฺเควา คือ

ผู้มีจมูกยาวตั้งสติไว้ที่ปลายจมูก. บทว่า มุขนิมิตฺเต วา คือผู้มีจมูกสั้นตั้งสติ

ไว้ที่ริมฝีปากบน เพราะริมฝีปากบนเป็นนิมิตแห่งสติที่ปาก เพราะฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า มุขนิมิตฺต ริมฝีปาก. บทว่า อาคเต คือลมอัสสาสะ

ปัสสาสะที่มาในภายในจากที่สัมผัส. มทว่า คเต คือลมอัสสาสปัสสาสะที่ไป

ภายนอกจากที่สัมผัส. บทว่า น อวิทิตา โหนฺติ ลมอัสสาสปัสสาสะไม่

ปรากฏก็หามิได้ คือ ลมอัสสาสปัสสาสะแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ยังไม่ถึงที่สัมผัส

ก็ย่อมปรากฏ. เพราะไม่ใส่ใจถึงการมาการไปของลมอัสสาสปัสสาสะ. บทว่า

กมฺมนีย โหติ ย่อมควรแก่การงาน คือ ทั้งกาย ทั้งจิต ย่อมควรแก่การงาน

เหมาะแก่ภาวนากรรม สมควรแก่ภาวนากรรม. ความเพียรนี้ชื่อว่า ปธาน

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวถึงเหตุด้วยผล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 158

บทว่า อุปกฺกิเลสา ปหียนฺติ ภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อมละ

อุปกิเลสได้ คือละนิวรณ์ได้ด้วยการข่มไว้. บทว่า วิตกฺกา วูปสมนฺติ วิตก

ย่อมสงบไป คือ วิตกไม่ตั้งมั่นแล้ว เที่ยวไปในอารมณ์ต่าง ๆ ย่อมถึงความสงบ

ภิกษุปรารภความเพียรละอุปกิเลสได้ด้วยฌานใด วิตกทั้งหลายย่อมสงบด้วย

ฌานนั้น. บทว่า อย ปโยโค ท่านทำเป็นปุงลิงค์เพราะเพ่งถึงประโยค.

บทว่า สญฺโชนานิ ปหียนฺติ ภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อมละสังโยชน์ได้

คือ ละสังโยชน์อันมรรคนั้น ๆ ทำลายด้วยสมุจเฉทปหาน. บทว่า อนุสยา

พฺยาสนฺติ อนุสัยย่อมถึงความพินาศ คือ เพราะอนุสัยที่ละได้แล้วไม่เกิดขึ้นอีก

จึงชื่อว่า พยนฺตา เพราะมีเกิดหรือเสื่อมปราศจากไปแล้ว. ชื่อว่า พฺยนฺติ

โหนฺติ เพราะไม่เสื่อมมาก่อน ย่อมาเสื่อม ความว่า พินาศ. เพื่อแสดงว่า

การละสังโยชน์ย่อมมีได้ด้วยการละอนุสัย มิใช่ด้วยอย่างอื่น ท่านจึงกล่าวถึง

การละอนุสัย. ความว่า ละสังโยชน์ได้ด้วยมรรคใด อนุสัยย่อมพินาศไปด้วย

มรรคนั้น นี้เป็นความวิเศษ.

ในจตุกะที่ ๔ ท่านกล่าวถึงอริยมรรคไว้ในที่นี้ เพราะแม้อริยมรรค

ท่านก็ได้ชี้แจงไว้แล้ว แม้เมื่อไม่กล่าวถึงความไม่มีอารมณ์เป็นสองแห่งจิต

ดวงเดียว เพราะสำเร็จแล้วท่านจึงไม่แก้จิตดวงนั้นแล้วสรุปว่า ธรรม ๓ อย่าง

เหล่านั้นไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียวอย่างนี้.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะสรรเสริญพระโยคาวจร ผู้สำเร็จภาวนา

นั้นจึงกล่าวคาถาว่า อานาปานสฺสติ ยสฺส แล้วกล่าวนิเทศแห่งคาถานั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในบทนั้นดังต่อไปนี้ ภิกษุใดเจริญอานาปานสติให้

บริบูรณ์ดีแล้ว อบรมแล้วตามลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ภิกษุ

นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนอะไร เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 159

หมอกฉะนั้น. พึงทรามความเชื่อมด้วยคาถาว่า พระโยคาวจรนั้น ยังโลกมี

ขันธโลกเป็นต้นนี้ ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้ว จากหมอกเป็นต้น

ยังโอกาสโลกนี้ให้สว่างไสวฉะนั้น. พึงทราบว่าในบทนี้ ท่านทำการลบอาทิ

ศัพท์เพราะท่านกล่าวถึง แม้น้ำค้างเป็นต้นในนิเทศแห่งบทว่า อพฺภา มุตฺโตว

จนฺทิมา เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้น.

ในคาถานิเทศท่านกล่าวแปลกออกไปโดยปฏิเสธความนั้นว่า โน

ปสฺสาโส โน อสฺสาโส ไม่ใช่ลมปัสสาสะ ไม่ใช่ลมอัสสาสะ. บทว่า

อุปฏฺาน สติ สติเข้าไปตั้งอยู่ ความว่า ชื่อว่าสติเข้าไปตั้งลมอัสสาสะนั้น

เพราะความไม่หลง. ลมปัสสาสะก็เหมือนกัน ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันท่าน

กล่าวความว่า สติในลมหายใจเข้าและหายใจออกชื่อว่า อานาปานสติ. บัดนี้

ประสงค์จะชี้แจงถึงบุคคลที่ท่านกล่าวว่า ยสฺส ด้วยอำนาจแห่งสติเท่านั้น จึง

กล่าวว่า สติย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้หายใจเข้าและผู้หายใจออก. ความว่า ผู้ใด

หายใจเข้า สติของผู้นั้นย่อมกำหนดลมอัสสาสะ. ผู้ใดหายใจออก สติของผู้นั้น

ย่อมกำหนดลมปัสสาสะ.

บทว่า ปริปุณฺณา คือ บริบูรณ์ด้วยบรรลุอรหัตมรรค อันสืบ

มาจากมรรคในฌานและวิปัสสนา พระสารีบุตรเถระกล่าวคำมีอาทิว่า ปริคฺค-

หฏเน ด้วยอรรถว่าถือเอารอบ หมายถึงธรรมคือมรรคฌานและวิปัสสนาฌาน.

เพราะธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ปริคฺคหา เพราะอันพระโยคาวจรนี้ถือเอารอบ.

ชื่อว่า ปุริปุณฺณา ด้วยอรรถว่าถือเอารอบนั้น. ชื่อว่า ปริปุณฺณา ด้วย

อรรถว่าเป็นบริวาร เพราะจิตและเจตสิกทั้งปวงเป็นบริวารของกันและกัน

ชื่อว่า ปริปุณฺณา ด้วยอรรถว่าบริบูรณ์ ด้วยความบริบูรณ์แห่งภาวนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 160

บทมีอาทิว่า จตสฺโส ภาวนา ภาวนา ๔ ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่ง

บทที่กล่าวแล้วว่า สุภาวิตา เจริญแล้ว. ภาวนา ๔ ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง.

บทว่า ยานีกตา ทำให้เป็นดังยาน คือทำเช่นกับยานเทียมแล้ว. บทว่า

วตฺถุกตา ทำให้เป็นที่ตั้ง คือทำเช่นกับวัตถุ ด้วยอรรถว่าเป็นที่ตั้ง. บทว่า

อนุฏฺิตา น้อมไปคือปรากฏแล้ว. บทว่า ปริจิตา อบรม คือ ตั้งสะสมไว้

โดยรอบ. บทว่า สุสมารทฺธา. ปรารภดีแล้ว คือ ปรารภด้วยดี ทำด้วยดี.

บทว่า ยตฺถ ยตฺถ อากงฺขติ ภิกษุจำนงหวังในที่ใด ๆ คือ หาก

ภิกษุปรารถนาในฌานใด ๆ ในวิปัสสนาใด ๆ. บทว่า ตตฺถ ตตฺถ คือ

ในฌานนั้น ๆ ในวิปัสสนานั้น ๆ. บทว่า วสิปฺปตฺโต เป็นผู้ถึงความชำนาญ

ได้แก่ ถึงความเป็นผู้ชำนาญ คือความเป็นผู้มีวสีมาก. บทว่า พลปฺปตฺโต

ถึงกำลัง คือถึงกำลังสมถะและวิปัสสนา. บทว่า เวสารชฺชปฺปตฺโต ถึงความ

แกล้วกล้าคือ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ความเป็นผู้ฉลาด. บทว่า เต ธมฺมา

ได้แก่ ธรรม คือ สมถะและวิปัสสนา. บทว่า อาวชฺชนปฏิพทฺธา เป็นธรรม

เนื่องด้วยความคำนึง คือเพราะเนื่องด้วยความคำนึง ความว่า เพียงภิกษุนั้น

คำนึงเท่านั้น ธรรมทั้งหลายย่อมถึงการประกอบพร้อมด้วยสันดาน หรือด้วย

ญาณ. บทว่า อากงฺขณฺปฏิพทฺธา เนื่องด้วยความหวัง คือเพราะเนื่องด้วย

ความชอบใจ ความว่า เพียงภิกษุชอบใจเท่านั้น ธรรมทั้งหลายย่อมถึงการ

ประกอบพร้อมโดยนัยดังกล่าวแล้ว. อนึ่ง มนสิการในบทว่า มนสิการปฏิพทฺ-

ธา นี้ เป็นจิตตุปบาทแห่งความคำนึง. ท่านกล่าวเพื่อขยายความด้วยสามารถแห่ง

ไวพจน์ของความหวัง. บทว่า เตน วุจฺจติ ยานีกตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่าทำให้เป็นดังยาน อธิบายว่า ธรรมเหล่านั้นทำให้เป็นเช่นกับยาน

เพราะทำแล้วอย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 161

บทว่า ยสฺมึ ยสฺมึ วตฺถุสฺมึ ในวัตถุใด ๆ คือ ในวัตถุหนึ่ง ๆ

ในวัตถุ ๑๖. บทว่า สฺวาธิฏฺิต มั่นคงดีแล้ว คือ ตั้งไว้ดีแล้ว. บทว่า

สุปติฏฺิตา ปรากฏดีแล้ว คือ เข้าไปตั้งไว้ด้วยดี. ท่านแสดงธรรม ๒ อย่าง

เหล่านั้น ประกอบด้วยอนุโลมปฏิโลมเพราะทำกิจของตน ๆ ร่วมกันแห่งสติ

อันมีจิตสัมปยุตเเล้ว. บทว่า เตน วุจฺจติ วตฺถุกตา ด้วยเหตุนั้นท่านจึง

กล่าวว่า ทำให้เป็นที่ตั้ง อธิบายว่า เพราะความเป็นอย่างนี้ ธรรมทั้งหลาย

จึงทำให้เป็นที่ตั้ง.

บทว่า เยน เยน จิตฺต อภินีหรติ จิตน้อมไปด้วยอาการใด ๆ

คือ จิตนำออกจากความเป็นไปในก่อนแล้วน้อมเข้าไปในภาวนาวิเศษใด ๆ.

บทว่า เตน เตน สติ อนุปริวตฺตติ สติก็หมุนไปตามด้วยอาการนั้น ๆ

คือ สติช่วยเหลือในภาวนาวิเศษนั้น ๆ หมุนไปตาม เพราะเป็นไปแต่ก่อน.

ในบทว่า เยน เตน นี้ พึงทราบว่าเป็นสัตตมีวิภัตติ ดุจในประโยคมีอาทิว่า

เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด เข้าไปหา

ณ ที่นั้นดังนี้. บทว่า เตน วุจฺจติ อนุฏฺิตา ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

น้อมไป คือ เพราะทำอย่างนั้นนั่นแล ท่านอธิบายว่า ธรรมทั้งหลายไปตาม

ภาวนานั้น ๆ ตั้งอยู่ เพราะอานาปานสติเป็นประธานของสติ พึงทราบว่า

ท่านทำการประกอบพร้อมกับสติในบทว่า วตฺถุกตา และอนุฏฺิตา.

อนึ่ง เพราะสติอันภิกษุอบรมให้บริบูรณ์แล้ว เป็นอันงอกงามแล้ว

ได้อาเสวนะแล้ว ฉะนั้น อรรถทั้ง ๓ ที่ท่านกล่าวไว้ในบทว่า ปริปุณฺณา

เป็นอันกล่าวแม้ในบทว่า ปริจิตา ด้วย. ท่านกล่าวอรรถที่ ๔ เป็นอรรถ

วิเศษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 162

ในบทเหล่านั้น บทว่า สติยา ปริคฺคณฺหนฺโต ภิกษุกำหนดถือ

เอาด้วยสติ คือ พระโยคาวจรกำหนดถือเอาสิ่งที่ควรถือเอาด้วยสติอันสัมปยุต

แล้ว หรือเป็นบุพภาค. บทว่า ชินาติ ปาปเก อกุสเล ธมฺเม ภิกษุ

ย่อมชนะอกุศลธรรมอันลามกได้ คือ ย่อมชนะ ย่อมครอบงำ กิเลสอันลามก

ด้วยการตัดขาด. ธรรมเทศนานี้เป็นบุคลาธิษฐาน เพราะเมื่อธรรมทั้งหลาย

ชนะ แม้บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรมนั้น ก็ชื่อว่าย่อมชนะด้วย. อนึ่ง

ธรรมเหล่านั้นไม่ละสติปรารภเพื่อจะชนะในขณะที่ยังเป็นไปของตน ท่านกล่าว

ว่าชนะแล้ว เหมือนที่ท่านกล่าวว่า บุคคลปรารภเพื่อจะบริโภค ก็เป็นอัน

บริโภคแล้ว. อนึ่ง พึงทราบลักษณะในบทนี้โดยอรรถแห่งศัพท์.

แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น เมื่อควรจะกล่าวว่า ปริชิตา ท่านแปลง

อักษรเป็น อักษรกล่าวว่า ปริจิตา. ท่านทำโดยลักษณะของภาษา แปลง

เป็น ในอรรถวิกัปว่า สมฺมา คโท อสฺสาติ สุคโต ชื่อว่า สุคต

เพราะมีพระวาจาชอบ ฉันใด แม้ในบทนี้ก็พึงทราบฉันนั้น. บทว่า ปริจิตา

ในอรรถวิกัปนี้เป็นกัตตุสาธนะ ๓ บทก่อนเป็นกัมมสาธนะ.

บทว่า จตฺตาโร สุสมารทฺธา ธรรม ๔ อย่างภิกษุปรารภดีแล้ว

ท่านอธิบายว่า ธรรม ๔ อย่างมีอรรถอันภิกษุปรารภดีแล้ว. พึงเห็นว่าลบ

อตฺถ ศัพท์. แม้อรรถแห่งบทว่า สุสมารทฺธา พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า

สุสมารทฺธา ในที่นี้ หรือ สุสมารทฺธธมฺมา มีธรรมอันภิกษุปรารภดีแล้ว.

พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า จตฺตาโร โดยประเภทแห่งอรรถ มิใช่โดยประเภท

แห่งธรรม. อนึ่ง เพราะธรรมทั้งหลายอันภิกษุเจริญแล้วเป็นอันชื่อว่า ปรารภ

ดีแล้ว มิใช่ธรรมเหล่าอื่น ฉะนั้นท่านกล่าวอรรถแห่งความเจริญ ๓ อย่าง

ไว้แม้ในที่นี้. แม้อรรถแห่งอาเสวนะ (การเสพ) ท่านก็กล่าวในอรรถแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 163

ความเจริญ ๓ อย่างที่กล่าวแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านไม่กล่าวอรรถแห่งธรรมนั้น

เป็นอันกล่าวถึงอรรถแห่งกิเลสอันเป็นข้าศึกแก่ธรรมนั้นที่ถอนแล้ว เพราะที่สุด

แห่งการปรารภย่อมปรากฏโดยการถอนกิเลสอันเป็นข้าศึก ด้วยเหตุนั้นเป็น

อันท่านกล่าวถึงอรรถอันถึงยอดแห่งธรรมที่ปรารภดีแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตปฺปจฺจนีกาน กิเลสอันเป็นข้าศึกแก่

ธรรมนั้น คือ กิเลสเป็นข้าศึกแก่ฌานวิปัสสนาและมรรคเหล่านั้น. บทว่า

กิเลสาน แห่งกิเลสทั้งหลาย คือ แห่งกิเลสทั้งหลายมีกามฉันทะเป็นต้น

และสักกายทิฏฐิ อันสัมปยุตด้วยนิจจสัญญาเป็นต้น. บทว่า สุสมุคฺฆาตตฺตา

เพราะเพิกถอนด้วยดี คือ เพราะถอนด้วยดี เพราะพินาศไปด้วยสามารถแห่ง

วิกขัมภนะ ตทังคะและสมุจเฉทะ. แต่ในคัมภีร์ทั้งหลาย พวกอาจารย์เขียน

ไว้ว่า สุสมคฺฆาตตฺตา บทนั้นไม่ดี.

พระสารีบุตรเถระเมื่อแสดงอรรถวิกัปแม้อื่นแห่งบทนั้นอีก จึงกล่าว

คำมีอาทิว่า สุสม ความเสมอดี. ในบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ชาตา

กุสลธรรมทั้งหลายเกิดในธรรมนั้น คือ เกิดในภาวนาวิเศษอันถึงยอดนั้น.

บทว่า อนวชฺชา ไม่มีโทษ คือ ปราศจากโทษ คือ กิเลสด้วยการไม่เข้าถึง

ความที่กิเลสทั้งหลายเป็นอารมณ์. บทว่า กุสลา ได้แก่ กุศลโดยกำเนิด.

บทว่า โพธิปกฺขิยา เป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ คือ ชื่อว่า โพธิปกฺขิยา

เพราะเป็นฝ่ายแห่งพระอริยเจ้าอันได้ชื่อว่า โพธิ เพราะอรรถว่าตรัสรู้. บทว่า

ปกฺเข ภวตฺตา เพราะเป็นในฝ่าย คือ เพราะตั้งอยู่ในความเป็นอุปการะ

อนึ่ง ธรรม ๓๗ เหล่านั้นคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔

อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘. บทว่า อิท สม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 164

นี้เป็นความเสมอ คือชื่อว่า เสมอ เพราะธรรมชาติในขณะมรรคนี้ย่อมยัง

กิเลสทั้งหลายให้สงบคือ ให้พินาศไปด้วยการตัดขาด. บทว่า นิโรโธ นิพฺพาน

ความดับเป็นนิพพาน คือชื่อว่า นิโรธ เพราะดับทุกข์ ชื่อว่า. นิพพาน

เพราะไม่มีตัณหา กล่าวคือเครื่องร้อยรัด. บทว่า อิท สุสม นี้เป็นความ

เสมอดี คือนิพพานนี้ ชื่อว่า เสมอดี เพราะเสมอด้วยดี เพราะปราศจาก

ความไม่เสมอ คือ สังขตธรรมทั้งปวง. บทว่า าต รู้แล้ว คือ รู้เสมอ

กล่าวคือโพธิปักขิยธรรมด้วยญาณ เพราะไม่หลง รู้เสมอดี กล่าวคือนิพพาน

ด้วยญาณโดยความเป็นอารมณ์ เห็นทั้งสองนั้นดุจเห็นด้วยตานั้นนั่นเอง.

บทว่า วิทิต ทราบแล้ว คือ ได้ทั้งสองอย่างนั้นด้วยเกิดขึ้นสันดานและด้วย

ทำเป็นอารมณ์ ทำให้แจ้งแล้วและถูกต้องแล้วด้วยปัญญาดุจรู้แล้ว ประกาศ

อรรถแห่งบทก่อน ๆ ว่าไม่ย่อหย่อน ไม่หลงลืม ไม่ปั่นป่วน มีอารมณ์เป็นหนึ่ง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อารทฺธ ปรารภแล้ว คือปรารถนาแล้ว.

บทว่า อลฺลีน ไม่ท้อถอย. บทว่า อุปฏฺิตา ตั้งมั่นแล้ว คือ เข้าไปตั้ง

ไว้แล้ว. บทว่า อสมฺมุฏฺา ไม่หลงลืม คือ ไม่หายไป. บทว่า ปสฺสทฺโธ

สงบแล้วคือดับแล้ว. บทว่า อสารทฺโธ ไม่ปั่นป่วน คือ ไม่กระวนกระวาย.

บทว่า สมาหิต ตั้งมั่นแล้ว คือ ตั้งไว้เสมอ. บทว่า เอกคฺค มีอารมณ์เดียว

คือ ไม่ฟุ้งซ่าน.

บทมีอาทิว่า จตฺตาโร สุสมารทฺธา ธรรม ๔ อย่างภิกษุปรารภ

ดีแล้ว มีอรรถเป็นมูลรากของคำ สุสมารทฺธา ทั้งสิ้น. ส่วนบทมีอาทิว่า

อตฺถิ สม ความเสมอก็มี มีอรรถเป็นมูลรากของสุสม. บทมีอาทิว่า าต

มีอรรถเป็นวิกัปของคำ อารทฺธ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 165

ต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบอรรถแห่งบท เมื่อควรจะกล่าวว่า สมา

จ สุสมา จ สมสุสมา เสมอและเสมอดี ชื่อว่า สมสุสมา ท่านทำเป็น

เอกเสสสมาสมีรูปเป็นเอกเทศ แล้วกล่าวว่า สุสมา เหมือนกล่าวว่า นามญฺ

จ รูปญฺจ นามรูปญฺจ นามรูป นาม รูป และนามรูป ชื่อว่า นามรูป.

บทว่า อิท สม อิท สุสม นี้เสมอ นี้เสมอดี ท่านทำเป็นคำนปุงสกลิงค์

เพราะไม่เพ่งเป็นอย่างอื่น. อนึ่ง เพราะแม้ าต รู้แล้วท่านกล่าวว่า ทิฏฺ

เห็นแล้ว. เห็นแล้ว และปรารภแล้วโดยอรรถเป็นอันเดียวกัน. ส่วนบทว่า

วิทิต รู้แล้ว สจฺฉิกต ทำให้แจ้งแล้ว ผสฺสิต ถูกต้องแล้ว เป็นไวพจน์

ของบทว่า าต รู้แล้ว. ฉะนั้นจึงเป็นอันท่านกล่าวอรรถแห่ง อารทฺธ

ปรารภแล้วว่า าต รู้แล้ว. บทว่า อารทฺธ โหติ วีริย อลฺลีน ความ

เพียรภิกษุนั้นปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน มีอรรถตรงกับคำว่า อารทฺธ แต่บท

มีอาทิว่า อุปฏฺิตา สติตั้งมั่น ท่านกล่าวเพื่อแสดงธรรมอันเป็นอุปการะ

แก่ความเพียรอันสัมปยุตแล้ว มิได้กล่าวเพื่อแสดงอรรถแห่งคำว่า อารทฺธ

ชื่อว่า สุสมารทฺธา เพราะปรารภแล้วด้วยดี โดยอรรถก่อน และชื่อว่า

สุสมารทฺธา เพราะเริ่มเสมอดี ด้วยอรรถนี้เมื่อท่านทำเป็นเอกเสสสมาส

จึงกล่าวว่า สุสมารทฺธา. ท่านกำหนดถือเอาอรรถนี้ แล้วกล่าวด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า สุสมารทฺธา ปรารภแล้วเสมอดี.

บทว่า อนุปุพฺพ คือตามลำดับ. อธิบายว่าก่อน ๆ หลัง. บทว่า

ทีฆอสฺสาสวเสน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว คือด้วยสามารถลมหายใจ

เข้าที่ท่านกล่าวว่า ทีฆ ยาว. บทว่า ปุริมา ปุริมา ข้างต้น ๆ คือ สติ

สมาธิ ข้างต้น ๆ. ท่านกล่าวอรรถแห่งบทว่า ปุพฺพ ด้วยบทนั้น. บทว่า

ปจฺฉิมา ปจฺฉิมา ข้างหลัง ๆ คือสตินั่นเอง. ท่านกล่าวอรรถแห่งบทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 166

อนุ ด้วยบทนั้น. ด้วยบททั้งสองนั้น เป็นอันได้ความว่า อบรม อานาปานสติ

ก่อนและหลัง. เพราะกล่าวยังวัตถุ ๑๖ อย่างข้างบนให้พิสดาร ในที่นี้ท่านจึงย่อ

แล้วแสดงบทสุดท้ายว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี พิจารณาเห็นความสละคืน

ดังนี้.

เพราะอานาปานสติ แม้ทั้งปวงภิกษุอบรมตามลำดับ เพราะเป็นไป

ตามความชอบใจ บ่อย ๆ แห่งการเจริญถึงยอด. เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

อญฺมญฺปริจิตา เจว โหนฺติ อนุปริจิตา จ อาศัยกันภิกษุนั้นอบรม

แล้วและอบรมตามลำดับแล้ว ดังนี้.

บทว่า ยถตฺถา อรรถแห่ง ยถาศัพท์ คืออรรถตามสภาวะ. บทว่า

อตฺตทมถฏฺโ ความฝึกตน คือความหมดพยศของตนในขณะอรหัตมรรค.

บทว่า สมถฏฺโ ความสงบตน คือความเป็นผู้เยือกเย็น. บทว่า ปรินิพฺ-

พาปนฏฺโ ความยังตนให้ปรินิพพาน คือด้วยการดับกิเลส. บทว่า อภิญฺ

ฏฺโ ความรู้ยิ่ง คือด้วยอำนาจแห่งธรรมทั้งปวง. บทว่า ปริญฺฏฺโ

ความกำหนดรู้เป็นต้น คือด้วยอำนาจแห่งกิจคือมรรคญาณ. บทว่า สจฺจาภิ-

สมยฏฺโ ความตรัสรู้สัจจะ คือด้วยอำนาจแห่งการเห็นแจ้งแทงตลอด

อริยสัจ ๔. บทว่า นิโรเธ ปติฏฺาปกฏฺโ ความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ใน

นิโรธ คือด้วยอำนาจแห่งการกระทำอารมณ์. ท่านประสงค์จะชี้แจงว่า พุทฺโธ

ในบทว่า พุทฺเธน แม้ไม่มีบทว่า พุทฺธสฺส จึงกล่าวว่า พุทฺโธ. บทว่า

สยมฺภู พระผู้เป็นเอง คือเป็นเองปราศจากการแนะนำ. บทว่า อนาจริยโก

ไม่มีอาจารย์ คือ ขยายอรรถแห่งบทว่า สยมฺภู. เพราะว่าผู้ใดแทงตลอด

อริยสัจปราศจากอาจารย์ ผู้นั้นเป็นพระสยัมภู. แม้บทมีอาทิว่า ปุพฺเพ

อนนุสฺสุเตสุ ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาแต่กาลก่อน เป็นการประกาศอรรถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 167

แห่งความไม่มีอาจารย์. บทว่า อนนุสฺสุเตสุ คือไม่เคยสดับมาแต่อาจารย์.

บทว่า สาม คือ เอง. บทว่า อภิสมฺพุชฺฌิ ตรัสรู้ คือ แทงตลอดโดย

ชอบอย่างยิ่ง. บทว่า ตตฺถ จ สพฺพญฺญุต ปาปุณิ คือ บรรลุความเป็น

พระสัพพัญญูในสัจจะนั้น. ท่านกล่าวอย่างนั้น เพราะแทงตลอดสัจจะโดยที่

พระสัพพัญญูทั้งหลายเป็นผู้แทงตลอดสัจจะ ปาฐะว่า สพฺพญฺญุต ปตฺโต

บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูบ้าง. บทว่า พเลสุ จ วสีภาว เป็นผู้มีความ

ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย คือ บรรลุความเป็นอิสระในกำลังของพระตถาคต

๑๐. ผู้ใดเป็นอย่างนั้น ท่านกล่าวผู้นั้นว่าเป็น พุทธะ ในบทว่า พุทฺโธ

นั้นเป็นบัญญัติ หมายถึง ขันธสันดานที่อบรมบรรลุความหลุดพ้นอันยอดเป็น

นิมิตแห่งญานอันอะไรๆ ไม่กระทบแล้วในธรรมทั้งปวง หรือพุทธเจ้าผู้วิเศษ

กว่าสัตว์เป็นบัญญัติ หมายถึง การตรัสรู้ยิ่งสัจจะ อันเป็นปทัฏฐานแห่งสัพพัญ-

ญุตญาณ. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันท่านกล่าวถึงการชี้แจง บทว่า พุทธะ

โดยอรรถ.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะชี้แจงโดยพยัญชนะ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

พุทฺโธติ เกนฏฺเน พุทฺโธ บทว่า พุทฺโธ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระ

นามว่า พุทธะด้วยอรรถว่ากระไร ในบทนั้นท่านกล่าวว่า อรคโต เพราะ

ตรัสรู้ในโลกตามเป็นจริง ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะตรัสรู้สัจธรรม ชื่อว่า

พุทฺโธ ทรงสอนให้หมู่สัตว์ตรัสรู้ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า ใบไม้แห้ง

เพราะลมกระทบ. บทว่า สพฺพญฺญุตาย พุทฺโธ ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะความ

เป็นพระสัพพัญญู. ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะมีปัญญาสามารถ

ตรัสรู้ธรรมทั้งปวง. บทว่า สพฺพทสฺสาวิตาย พุทฺโธ ชื่อว่า พุทฺโธ ทรง

เห็นธรรมทั้งปวง. ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะทรงเห็นธรรมทั้งปวง

ด้วยญาณจักษุ. บทว่า อนฺเนยฺยตาย พุทฺโธ ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 168

ไม่มีผู้อื่นแนะนำ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ด้วย

พระองค์เองโดยไม่ตรัสรู้ด้วยผู้อื่น. บทว่า วิสวิตาย พุทฺโธ ชื่อว่า พุทฺโธ

เพราะมีพระสูติไพบูลย์ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะอรรถว่าแย้ม

ดุจดอกบัวแย้มโดยที่ทรงแย้มด้วยคุณต่าง ๆ. ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทฺโธ

เพราะเป็นผู้ฉลาดในการสิ้นไปแห่งการนอนหลับด้วยกิเลสทั้งปวงด้วยละธรรม

อันทำจิตให้ท้อแท้โดยปริยาย ๖ มีอาทิว่า ขีณาสวงฺขาเตน พุทฺโธ ชื่อว่า

พุทฺโธ เพราะนับว่าพระองค์สิ้นอาสวะ ดุจบุรุษผู้ฉลาดในการสิ้นไปแห่งการ

นอนหลับ. เพราะบทว่า สงฺขา สงฺขาต โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน

ความว่า โดยส่วนแห่งคำว่า สงฺขาเตน. ชื่อว่า เพราะนับว่าไม่มีเครื่องลูบไล้

เพราะไม่มีเครื่องลูบไล่ต่อตัณหาและเครื่องลูบไล้ต่อทิฏฐิ. ท่านอธิบายบทมีอาทิ

ว่า เอกนฺตวีตราโค ทรงปราศจากราคะโดยส่วนเดียวให้แปลกด้วยคำว่า

โดยส่วนเดียว เพราะละกิเลสทั้งปวงพร้อมด้วยวาสนาได้แล้ว. บทว่า เอกนฺ-

ตนิกฺกิเลโส พระองค์ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว คือ ไม่มีกิเลสด้วยกิเลสทั้งปวง

อันเหลือจาก ราคะ โทสะ และโมหะ. ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะเสด็จไปแล้วสู่

หนทางไปแห่งบุคคลผู้เดียว แม้อรรถแห่งการตรัสรู้ ก็ชื่อว่า เป็นอรรถแห่ง

การไปสู่ธาตุทั้งหลาย เพราะอรรถแห่งการตรัสรู้อันเป็นอรรถแห่งการไปถึง

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะเสด็จไปสู่หนทางที่ไปแห่ง

บุคคลผู้เดียว.

อนึ่ง ในบทว่า เอกายนมคฺโค นี้ ท่านกล่าวชื่อของทางไว้ในชื่อ

เป็นอันมากกว่า

มรรค ปันถะ ปถะ ปัชชะ อัญชสะ วฏุมะ

อายนะ นาวา อุตตรสตุ (สะพานข้าม) กุลล (แพ)

สังกมะ (ทางก้าวไป).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 169

เพราะฉะนั้นทางจึงมีทางเดียว ไม่เป็นทาง ๒ แพร่ง. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า เอกายนมรรค เพราะเป็นทางอันบุคคลเดียวพึงไป. บทว่า เอเกน

ผู้เดียว คือ ด้วยจิตสงัดเพราะละความคลุกคลีด้วยหมู่. บทว่า อยิตพฺโพ พึงไป

คือพึงปฏิบัติ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อยโน เพราะเป็นเหตุไป. ความว่า ไปจาก

สงสารสู่นิพพาน. การไปของผู้ประเสริฐ ชื่อว่า เอกายนะ. บทว่า เอเก

คือผู้ประเสริฐ. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งปวง. เพราะ

ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทางอันเป็นทางไปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย

ชื่อว่า เอกายนมรรค หรือชื่อว่า อยโน เพราะไป ความว่า ย่อมไป

ย่อมเป็นไป. ชื่อว่า เอกายนมรรค เพราะเป็นทางไปในทางเดียว. ท่าน

อธิบายว่า ทางเป็นไปในพระพุทธศาสนาทางเดียวเท่านั้น มิใช่ในทางอื่น.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เอกายโน เพราะไปทางเดียว ท่านอธิบายว่า

ในเบื้องต้นแม้เป็นไป ด้วยความเป็นมุขต่าง ๆ และนัยต่าง ๆ ในภายหลัง ก็ไป

นิพพานอย่างเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น บทว่า เอกายนมคฺโค ความว่า

ทางไปนิพพานทางเดียว. ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ

อย่างเยี่ยมผู้เดียว ไม่เป็น พุทฺโธ เพราะตรัสรู้ด้วยคนอื่น ท่านอธิบายว่า

ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยม ด้วยพระองค์

เองเท่านั้น. บทว่า อพุทฺธิริหตตฺตา พุทฺธิปฏิลาภา พุทฺโธ ชื่อว่า

พุทฺโธ เพราะทรงกำจัดเสียซึ่งความไม่มีปัญญา เพราะทรงได้ซึ่งพระปัญญา

เครื่องตรัสรู้. บทนี้ว่า พุทฺธิ พุทฺธ โพโธ เป็นคำบรรยาย. ในบทนั้น

ท่านกล่าวไว้เพื่อให้รู้ว่า ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะประกอบด้วยพุทธคุณ ดุจกล่าวว่า

ผ้าสีเขียว สีแดง เพราะประกอบด้วยชนิดของสีเขียวสีแดง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 170

ต่อจากนั้นไป บทมีอาทิว่า พุทฺโธติ เนต นาม บทว่า พุทฺโธ นี้

มิใช่ชื่อที่มารดาเป็นต้นตั้งให้ ท่านกล่าวเพื่อให้รู้ว่า นี้เป็นบัญญัติไปตามอรรถ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มิตฺตา คือ สหาย. บทว่า อมจฺจา คือคน

รับราชการ. บทว่า าตี คือญาติฝ่ายบิดา. บทว่า สาโลหิตา คือญาติ

ฝ่ายมารดา. บทว่า สมณา คือผู้เป็นบรรพชิต. บทว่า พฺราหฺมณา คือ

ผู้มีวาทะว่าเป็นผู้เจริญ หรือผู้มีบาปสงบมีบาปลอยแล้ว. บทว่า เทวตา คือ

ท้าวสักกะเป็นต้นและพรหม. บทว่า วิโมกฺขนฺติก พระนามที่เกิดในที่สุด

แห่งพระอรหัตผลคือวิโมกขะ ได้แก่อรหัตมรรค ที่สุดแห่งวิโมกขะ คือ

อรหัตผล ความเกิดในที่สุดแห่งวิโมกขะนั้น ชื่อว่า วิโมกขันติกะ.

จริงอยู่ ความเป็นพระสัพพัญญู ย่อมสำเร็จด้วยอรหัตมรรค เป็นอัน

สำเร็จในการเกิดอรหัตผล. เพราะฉะนั้น ความเป็นพระสัพพัญญูจึงเป็นความ

เกิดในในที่สุดแห่งอรหัตผล แม้เนมิตตกนามนี้ก็ชื่อว่า เป็นการเกิดในที่สุด

แห่งอรหัตผล ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นี้เป็นวิโมกขันติกนาม พระนาม

ที่เกิดในที่สุดแห่งอรหัตผล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว.

บทว่า โพธิยามูเล สห สพฺพญฺญุตาณสฺส ปฏิลาภา เกิด

ขึ้นพร้อมกับการได้พระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ คือ พร้อมกับ

การได้พระสัพพัญญุตญาณในขณะตามที่ได้กล่าวแล้ว ณ ควงไม้มหาโพธิ.

บทว่า สจฺฉิกา ปญฺตฺติ สัจฉิกาบัญญัติ คือ ด้วยทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล

หรือบัญญัติเกิดด้วยการทำให้แจ้งธรรมทั้งปวง. บทว่า ยทิท พุทฺโธ บัญญัติ

ว่า พุทฺโธ นี้ เป็นการประกาศความเป็นพุทธะ โดยพยัญชนะ.

การเทียบเคียงกันนี้ โดยอรรถดังที่กล่าวแล้ว ในบทภาชนีย์นี้แห่ง

บาทคาถาว่า ยถา พุทฺเธน เทสิตา อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 171

โดยประการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงอานาปานสติแล้ว โดยประการที่

พระพุทธเจ้าทรงแสดง ยถา ศัพท์เป็นอรรถ ๑๐ อย่าง สงเคราะห์ด้วย ยถา

ศัพท์ ด้วยเหตุนั้น พึงทราบว่าท่านทำให้เป็นเอกเสสสมาสด้วย ด้วยอำนาจแห่ง

เอกเสสสมาสสรุป ยถาศัพท์ มีปการศัพท์ เป็นอรรถ และยถาศัพท์ มีสภาว

ศัพท์เป็นอรรถ แล้วกล่าวว่า ยถา. แต่ในบทภาชนีย์ท่านทำให้เป็นเอกวจนะ

ว่า เทสิโต ด้วยการประกอบศัพท์หนึ่ง ๆ ใน ยถา ศัพท์นั้น. แม้ในบทต้น

เพราะท่านกล่าวว่า โหติ คหฏฺโ วา โหติ ปพฺพชิโต วา เหมือนบุคคล

เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ท่านกล่าวว่า ยสฺส คหฏฺสฺส วา

ปพฺพชิตสฺส วา แห่งคฤหัสถ์ก็ตาม แห่งบรรพชิตก็ตาม ท่านกล่าวถึง

อรรถแห่งโลก. บทว่า ปภาเสติ ย่อมให้สว่างไสว ความว่า ทำให้ปรากฏ

แก่ญาณของตน. บทว่า อภิสมฺพุทฺธตฺตา เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ คือ

เพราะแทงตลอดด้วยสาวกปารมิญาณ. บทว่า โอภาเสติ ย่อมยังโลกนี้ให้

สว่างไสว คือ โลกอันเป็นกามาวจร. บทว่า ภาเสติ ยังโลกให้สว่างไสว คือ

โลกเป็นรูปาวจร. บทว่า ปภาเสติ ยังโลกนี้ให้สว่างไสว คือ โลกเป็นอรูปาวจร.

บทว่า อริยาณ คืออรหัตมรรคญาณ. บทว่า มหิกมุตฺโต คือพ้นจากน้ำค้าง.

น้ำค้างท่านเรียกว่า มหิก. ปาฐะว่า มหิยา มุตฺโต บ้าง. บทว่า ธูมรชา

มุตฺโต คือพ้นจากควันและธุลี. บทว่า ราหุคหณา วิปฺปมุตฺโต คือพ้น

จากการจับของราหู ท่านกล่าวให้แปลกด้วยอุปสรรค ๒ อย่าง เพราะราหูเป็น

ภาวะทำให้ดวงจันทร์เศร้าหมองเพราะใกล้กัน. บทว่า ภาสติ คือ ให้สว่างไสว

ด้วยมีแสงสว่าง. บทว่า ตปเต ได้แก่ ให้เปล่งปลั่งด้วยมีเดช. บทว่า วิโรจเต

คือให้ไพโรจน์ด้วยมีความรุ่งเรือง. บทว่า เอวเมว ตัดบทเป็น เอว เอว. อนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 172

เพราะแม้ดวงจันทร์เมื่อสว่างไสวไพโรจน์ ย่อมยังโอกาสโลกนี้ให้สว่างไสว

และภิกษุเมื่อสว่างไสว เปล่งปลั่ง ไพโรจน์ด้วยปัญญา ย่อมยังโลกมีขันธโลก

เป็นต้น ให้สว่างไสวด้วยปัญญา ฉะนั้น แม้ในบททั้งสองท่านไม่กล่าวว่า ภาเสติ

แต่กล่าว ภาสเต ดังนี้ เพราะเมื่อกล่าวอย่างนั้นก็เป็นอันกล่าวแม้อรรถแห่ง

เหตุด้วย. หากถามว่า เพราะเหตุไรจึงไม่อุปมาด้วยพระอาทิตย์ซึ่งมีแสงกล้า

ยิ่งนัก กลับไปอุปมาด้วยพระจันทร์. ตอบว่า พึงทราบว่าที่ถืออย่างนั้นเพราะ

การอุปมาด้วยดวงจันทร์ อันประกอบด้วยคุณสมบัติเยือกเย็น เป็นการสมควร

แก่ภิกษุผู้สงบ ด้วยการสงบความเร่าร้อน เพราะกิเลสทั้งปวง.

พระสารีบุตรเถระครั้นสรรเสริญพระโยคาวจร ผู้ยังสิทธิในการเจริญ

อานาปานสติให้สำเร็จ แล้วแสดงสรุปญาณเหล่านั้นว่า อิมานิ เตรส โวทาเน

าณานิ ญาณในโวทาน ๑๓ เหล่านี้แล.

จบอรรถกถาโวทานญาณนิเทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 173

๕. อรรถกถาสโตการิญาณนิเทศ

พึงทราบวินิจฉัยในสโตการิญาณนิเทศ (ญาณในการทำสติ) ดังต่อ

ไปนี้. ในมาติกา บทว่า อิธ ภิกฺขุ คือภิกษุในศาสนานี้. จริงอยู่ อิธ ศัพท์

ในบทนี้ นี้แสดงถึงคำสอนอันเป็นนิสัยของบุคคลผู้ยังอานาปานสติสมาธิ มี

ประการทั้งปวงให้เกิด และปฏิเสธความเป็นอย่างนั้นของศาสนาอื่น. ดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในศาสนานี้เท่านั้น

ฯลฯ ลัทธิของศาสนาอื่นว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง. บทว่า อรญฺคโต วา

รุกฺขมูลคโต วา สุญฺาคารคโต วา อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่

ในเรือนว่างก็ดี นี้แสดงถึงการกำหนดถือเอาเสนาสนะอันสมควรแก่การเจริญ

อานาปานสติสมาธิของภิกษุนั้น. จิตของภิกษุนั้นคุ้นในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูป

เป็นต้นตลอดกาลนาน ไม่ปรารถนาจะพอกพูนอารมณ์ อันเป็นอานาปานสติ

สมาธิ จิตย่อมแล่นไปนอกทางทีเดียว ดุจรถเทียมด้วยโคโกง เพราะฉะนั้น

เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโค ประสงค์จะผูกลูกโคโกงที่ดื่มน้ำมันทั้งหมดของแม่โค

นมโกงให้เจริญ จึงนำออกจากแม่โคนม ฝังเสาใหญ่ไว้ข้างหนึ่ง เอาเชือกผูก

ไว้ที่เสานั้น ทีนั้นลูกโคของเขาไม่อาจดิ้นจากที่นั้น ๆ หนีไปได้ จึงหมอบ

นอนนิ่งอยู่กับเสานั้นเอง ฉันใด แม้ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ประสงค์จะฝึก

จิตที่ประทุษร้ายให้เจริญ ด้วยการดื่มรสมีรูปารมณ์เป็นต้นตลอดกาลนาน จึง

นำออกจากอารมณ์มีรูปเป็นต้น แล้วเข้าไปยังป่าก็ดี โคนไม่ก็ดี เรือนว่างก็ดี

ผูกด้วยเชือกคือสติ ที่เสาคือลมอัสสาสะและปัสสาสะนั้น จิตของภิกษุนั้นแม้ดิ้น

รนไปข้างโน้นข้างนี้ เมื่อไม่ได้อารมณ์ที่สะสมไว้ในกาลก่อน ก็ไม่สามารถจะตัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 174

เชือกคือสติหนีไปได้ จึงนั่งสงบ นอนนิ่งอยู่กับอารมณ์นั้นนั่นเอง ด้วยสามารถ

แห่งอุปจารและอัปปนา. ด้วยเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า

นรชนพึงผูกลูกโคที่ควรฝึกไว้ที่เสานี้ ฉันใด

ภิกษุพึงผูกจิตของตนไว้ในอารมณ์ ด้วยสติให้มั่นคง

ฉันนั้น.

เสนาสนะนั้นของภิกษุนั้นสมควรแก่ภาวนา ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะอานาปานสติกรรมฐาน อันเป็นปทัฏฐานแห่ง

สุขวิหารธรรมในปัจจุบันของการบรรลุคุณวิเศษ ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจก-

พุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เป็นยอดในประเภทของ

กรรมฐานนี้ อันพระโยคาวจรไม่สละท้ายบ้าน อันวุ่นวายไปด้วยเสียงหญิง

บุรุษ ช้างและม้าเป็นต้น ทำได้ไม่ง่ายนักเพื่อเจริญ เพราะฌานมีเสียงเสียบแทง

ส่วนพระโยคาวจรกำหนดถือเอากรรมฐานนี้ในป่ามิใช่หมู่บ้าน ยังอานาปานสติ

จตุตถฌานให้เกิด ทำฌานนั้นให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายเป็นการทำ

ได้ง่ายเพื่อบรรลุพระอรหัตอันสมเป็นผลเลิศ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ

ทรงอ้างถึงเสนาสนะอันสมควรแก่พระโยคาวจรนั้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า

อรญฺคโต วา ดังนี้. พระเถระก็เหมือนอย่างนั้น เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า

ดุจอาจารย์ผู้มีวิชาเกี่ยวกับพื้นที่. จริงอยู่ อาจารย์ผู้มีวิชาเกี่ยวกับพื้นที่นั้นเห็น

พื้นที่สร้างนครแล้วกำหนดไว้ด้วยดี แนะนำว่า พวกท่านจงสร้างนคร ณ พื้นที่

นี้เถิด เมื่อนครสำเร็จลงด้วยดี ย่อมได้สักการะใหญ่ ฉันใด พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงกำหนดเสนาสนะอันสมควรแก่พระโยคาวจร

แล้วทรงแนะนำว่าควรประกอบกรรมฐาน ณ ที่นี้ แต่นั้นเมื่อพระโยคาวจร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 175

ประกอบกรรมฐาน ณ ที่นั้น บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมทรงได้รับสักการะใหญ่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าหนอ ดังนี้.

อนึ่ง ภิกษุนี้ท่านกล่าวว่าเป็นเช่นกับเสือเหลือง. พึงทราบว่าเหมือน

อย่างพญาเสือเหลืองซุ่มอาศัยหญ้ารกชัฏ ป่ารกชัฏ ภูเขารกชัฏ ในป่าจับเนื้อ

มีควายป่า กวาง สุกรเป็นต้น ฉันใด ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ประกอบ

กรรมฐานในป่าเป็นต้น ถือเอาโสดาปัตติมรรคสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค

และอรหัตมรรคและอริยผลทั้งหลายตามลำดับ. ดังที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย

กล่าวไว้ว่า

ธรรมดาเสือเหลืองซุ่มจับเนื้อทั้งหลาย ฉันใด

พระพุทธบุตรนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ประกอบความ

เพียร เจริญวิปัสสนาเข้าไปสู่ป่า ย่อมถือเอาผลอันสูง

สุด.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะในป่าอัน

เป็นพื้นที่ประกอบความเพียรอย่างไวจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อรญฺคโต

วา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺคโต อยู่ป่า คือ อยู่ป่าอันเป็นความสุข

เกิดแต่ความสงัดอย่างใดอย่างหนึ่ง มีลักษณะดังกล่าวแล้วในตอนก่อน. บทว่า

รุกฺขมูลคโต อยู่โคนไม้ คือ อยู่ใกล้ต้นไม้. บทว่า สุญฺาคารคโต

อยู่เรือนว่าง คือ อยู่โอกาสสงัดว่างเปล่า.

อนึ่ง ในบทนี้แม้อยู่เสนาสนะ ๗ อย่างที่เหลือเว้นป่าและโคนไม้ก็ควร

กล่าวว่า สุญฺาคารคโต อยู่เรือนว่างได้. จริงอยู่เสนาสนะมี ๙ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 176

ดังนี้ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุนั้นเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา

ซอกเขา ถ้ำเขา ป่าช้า ราวป่า ที่แจ้ง กองฟาง. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น

ทรงแนะนำ เสนาสนะอันสมควรแก่การเจริญอานาปานสติกรรมฐาน อันเกื้อกูล

ด้วย ๓ ฤดูและเกื้อกูลด้วยธาตุจริยาแก่ภิกษุนั้น แล้วเมื่อจะทรงแนะนำถึง

อิริยาบถอันสงบอันเป็นฝ่ายแห่งความไม่ท้อแท้และไม่ฟุ้งซ่านจึงตรัสว่า นิสีทติ

นั่ง ครั้นแล้วเมื่อจะทรงแสดงความที่ภิกษุนั้นนั่งได้มั่นคง ความที่ลมอัสสาสะ

ปัสสาสะเป็นไปปกติและอุบายกำหนดถือเอาอารมณ์ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า

ปลฺลงฺก อาภุชิตฺวา คู้บัลลังก์ (ขัดสมาธิ).

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปลฺลงฺก คือนั่งพับขาโดยรอบ. บทว่า

อาภุชิตฺวา คู้ คือ พับ. บทว่า อุช กาย ปณิธาย ตั้งกายตรง คือ ตั้ง

สรีระเบื้องบนให้ตรง ให้กระดูกสันหลัง ๑๘ ท่อนจดกัน เพราะเมื่อนั่งอย่างนี้

หนัง เนื้อ เอ็น จะไม่น้อมลง เวทนาที่เกิดขึ้นทุก ๆ ขณะเพราะหนัง เนื้อ

และเอ็นน้อมลงเป็นเหตุจะไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น เมื่อเวทนาไม่เกิดจิตก็มี

อารมณ์เดียว กรรมฐานไม่ตก ย่อมเข้าถึงความเจริญงอกงาม. บทว่า ปริมุข

สตึ อุปฏฺเปตฺวา ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า คือ ดำรงสติเฉพาะกรรมฐาน.

บทว่า โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ภิกษุนั้น เป็นผู้มีสติหายใจเข้า

เป็นผู้มีสติหายใจออก คือ ภิกษุนั้นครั้นนั่งอย่างนี้และดำรงสติไว้อย่างนี้ เมื่อ

ไม่ละสตินั้น ชื่อว่าเป็นต้นมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก. ท่านอธิบายว่า

เป็นผู้ทำสติ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงถึงประการที่ภิกษุทำสติ จึง

ตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ทีฆ วา อสฺสสนฺโต เมื่อหายใจเข้ายาว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 177

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทีฆ วา อสฺสสนฺโต เมื่อหายใจเข้ายาว

คือ ลมหายใจเข้าเป็นไปยาว. หายใจเข้าสั้นก็เหมือนอย่างนั้น. อนึ่ง พึงทราบ

ความที่ลมหายใจเข้าหายใจออกยาวและสั้นโดยกาล.

จริงอยู่ มนุษย์ทั้งหลายบางครั้งหายใจเข้าและหายใจออกยาว เหมือน

ช้างและงูเป็นต้น บางครั้งสั้นเหมือนสุนัขและกระต่ายเป็นต้น. ลมอัสสาสะ

ปัสสาสะที่เหน็ดเหนื่อยยุ่งยากด้วยประการอื่นไม่มียาวและสั้น. เพราะฉะนั้นลม

อัสสาสปัสสาสะเมื่อเข้าและออกตลอดกาลนานพึงทราบว่ายาว เมื่อเข้าและออก

ตลอดกาลสั้นพึงทราบว่าสั้น. ในเรื่องนี้ ภิกษุนี้ เมื่อหายใจเข้า และหายใจ

ออกยาวโดยอาการ ๙ อย่างดังกล่าวแล้วในตอนก่อนย่อมรู้ว่าเราหายใจเข้า

หายใจออกยาว. สั้นก็เหมือนกัน อนึ่ง

วรรณะ ๔ คือ ยาว สั้น ลมอัสสาสะและลมปัสสาสะ

เช่นนั้นย่อมเป็นไป บนปลายจมูกของภิกษุผู้รู้อยู่

อย่างนั้น.

พึงทราบว่า การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานย่อมสมบูรณ์แก่ภิกษุ

นั้นด้วยอาการหนึ่งแห่งอาการ ๙ อย่าง.

บทว่า สพฺพกายปฏิสเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ สพฺพกาย-

ปฏิสเวที ปสฺสสีสฺสามีติ สิกฺขติ ภิกษุย่อมศึกษาว่าจักเป็นผู้รู้แจ้งกองลม

ทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่าจักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจออก คือ

ภิกษุย่อมศึกษาว่า เราจะทำเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดของกองลมอัสสาสะทั้งสิ้น

ให้รู้แจ้ง ทำให้ปรากฏ หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า เราจะทำเบื้องต้นท่ามกลาง

และที่สุดของกองลมปัสสาสะทั้งสิ้นให้รู้แจ้ง ให้ปรากฏหายใจออก. ภิกษุทำให้

รู้แจ้งให้ปรากฏอย่างนี้ หายใจเข้าและหายใจออกด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 178

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อสฺสสิสฺสามิ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ย่อม

ศึกษาว่าเราจักหายใจเข้า เราจักหายใจออก. จริงอยู่เบื้องต้นในกองลมอัสสาสะ

หรือในกองลมปัสสาสะที่เป็นของละเอียด ๆ ไหลไปของภิกษุนั้นย่อมปรากฏ

แต่ท่ามกลางที่สุดไม่ปรากฏ. ภิกษุนั้นย่อมอาจเพื่อกำหนดถือเอาเบื้องต้นเท่านั้น

ย่อมลำบากในท่ามกลางและที่สุด. ภิกษุรูปหนึ่งท่ามกลางปรากฏ เบื้องต้นและ

ที่สุดไม่ปรากฏ. ภิกษุรูปนั้นอาจเพื่อกำหนดถือเอาท่ามกลางเท่านั้น ย่อม

ลำบากในเบื้องต้นและที่สุด. รูปหนึ่งที่สุดปรากฏ เบื้องต้นและท่ามกลาง

ไม่ปรากฏ. รูปนั้นอาจเพื่อกำหนดถือเอาที่สุดเท่านั้น ย่อมลำบากในเบื้องต้น

และท่ามกลาง. รูปหนึ่งปรากฏทั้งหมด รูปนั้นอาจเพื่อกำหนดถือเอาแม้ทั้งหมด

ได้ ไม่ลำบากในที่ไหน ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงว่า ควรเป็น

เช่นนั้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า สพฺพกายปฏิสเวที ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สิกฺขติ ย่อมศึกษา คือ เพียรพยายามอย่างนี้.

พึงทราบความในบทนี้อย่างนี้ว่า ภิกษุย่อมศึกษา ย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อม

ทำให้มากซึ่งสิกขา ๓ เหล่านี้ คือ ความสำรวมของผู้เป็นอย่างนั้น ชื่อว่าอธิศีล-

สิกขา สมาธิของผู้เป็นอย่างนั้น ชื่อว่า อธิจิตสิกขา ปัญญาของผู้เป็น

อย่างนั้นชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา ในอารมณ์นั้น ด้วยสตินั้น ด้วยมนสิการนั้น.

ในบทนั้นควรหายใจเข้าและควรหายใจออกอย่างเดียวโดยนัยก่อน

ไม่ควรทำอะไร ๆ อย่างอื่น แต่จำเดิมแต่นั้นควรทำความเพียรในการให้ญาณ

เกิดขึ้นเป็นต้น เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงอาการอันยังญาณให้เกิดขึ้น ซึ่งท่าน

กล่าวถึงบาลีด้วยอำนาจแห่งปัจจุบันกาลว่า อสฺสสามีติ ปชานาติ ปสฺสสามีติ

ปชานาติ ภิกษุย่อมรู้ว่า เราหายใจเข้า ย่อมรู้ว่า เราหายใจออกแล้วควรทำ

ตั้งแต่นี้ไป พึงทราบว่าท่านยกบาลีขึ้นด้วยอำนาจแห่งอนาคตกาลโดยนัยมีอาทิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 179

ว่า สพฺพกายปฏิสเวที อสฺสสิสฺสามีติ เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง

หายใจเข้า ดังนี้.

บทว่า ปสฺสมฺภย กายสงฺขาร ฯลฯ สิกฺขติ ย่อมศึกษาว่าจัก

ระงับกายสังขาร ฯลฯ คือย่อมศึกษาว่า เราระงับ สงบ ดับ และเข้าไป

สงบกายสังขาร กล่าวคือลมอัสสาสปัสสาสะอย่างหยาบ หายใจเข้าหายใจออก.

ในบทนั้นพึงทราบถึงความหยาบ ความละเอียด และความสงบด้วยประการ

อย่างนี้.

ในกาลที่ภิกษุนี้มิได้กำหนดถือเอาก่อน กายและจิตย่อมกระวนกระวาย

และเป็นของหยาบ เมื่อกายและจิตหยาบไม่สงบ แม้ลมอัสสาสะ ลมปัสสาสะก็

หยาบด้วย ลมอัสสาสะลมปัสสาสะมีกำลังกว่ายังเป็นไป จมูกไม่เพียงพอ ต้อง

หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างทางปาก อนึ่ง เมื่อใดกายบ้าง จิตบ้าง อัน

ภิกษุนั้นกำหนดถือเอา เมื่อนั้นลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านั้นสงบระงับ เมื่อลม

อัสสาสปัสสาสะเหล่านั้นสงบ ลมอัสสาสปัสสาสะละเอียดยังเป็นไป ย่อม

ถึงอาการที่ควรค้นคว้าว่า ลมอัสสาสปัสสาสะมีหรือไม่มี. เหมือนอย่างว่าเมื่อ

บุรุษวิ่งลงจากภูเขาหรือยกภาระหนักลงจากศีรษะยืนอยู่ ลมอัสสาสปัสสาสะ

ก็หยาบ จมูกไม่เพียงพอ ต้องยืนหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างทางปาก.

อนึ่ง เมื่อใดบุรุษนั้นบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยนั้น อาบน้ำ ดื่มน้ำ

เอาผ้าสาฎกเปียกปิดอก นอนใต้ร่มเงาเย็น เมื่อนั้นลมอัสสาสปัสสาสะของ

บุรุษนั้นละเอียด ย่อมถึงอาการที่ควรค้นคว้าดูว่า ลมอัสสาสปัสสาสะมีหรือ

ไม่มี ฉันใด พึงให้พิสดารว่า ในกาลที่ภิกษุที่กำหนดถือเอาอย่างนั้นก็ฉันนั้น.

จริงอย่างนั้น ในกาลที่ภิกษุนั้นไม่กำหนดถือเอาก่อน การผูกใจ การ

รวบรวมและการใส่ใจว่า เราย่อมสงบกายสังขารหยาบ ๆ ดังนี้ย่อมไม่มี. แต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 180

ในกาลที่กำหนดถือเอาย่อมมี. ด้วยเหตุนั้น ในกาลที่ภิกษุนั้นกำหนดถือเอาจาก

กาลที่มิได้กำหนดถือเอา กายสังขารเป็นของละเอียด. ดังที่พระโบราณาจารย์

ทั้งหลายกล่าวว่า

เมื่อกายและจิตปั่นป่วน กายสังขารย่อมเป็นไป

รุนแรง. เมื่อกายไม่ปั่นป่วน กายสังขารย่อมเป็นไป

อย่างสุขุม.

แม้ในกาลกำหนดถือเอา กายสังขารหยาบ ในอุปจารแห่งปฐมฌาน

กายสังขารสุขุม. แม้ในอุปจารแห่งปฐมฌานนั้น กายสังขารก็ยังหยาบ ใน

ปฐมฌานจึงสุขุม. ในปฐมฌานและในอุปจารแห่งทุติยฌาน กายสังขารก็ยัง

หยาบ ในทุติยฌานจึงสุขุม ในทุติยฌานและในอุปจารแห่งตติยฌานก็ยังหยาบ

ในตติยฌานจึงสุขุม. ในตติยฌานและในอุปจารแห่งจตุตถฌานก็ยังหยาบ ใน

จตุตถฌานจึงสุขุมยิ่งนัก ย่อมถึงการไม่เป็นไปอีกเลย. นี้เป็นมติของท่านผู้กล่าว

ทีฆภาณกสังยุต.

ส่วนท่านมัชฌิมภาณกาจารย์ย่อมปรารถนาความสุขุมกว่าแม้ในอุปจาร

แห่งฌานสูง ๆ จากฌานต่ำ ๆ อย่างนี้ว่า ในปฐมฌานยังหยาบ ในอุปจาร

แห่งทุติยฌานจึงสุขุม. ตามมติของท่านภาณกาจารย์ทั้งปวง กายสังขารที่เป็น

ไปแล้วในกาลมิได้กำหนดถือเอา ย่อมสงบในกาลที่กำหนดถือเอา กายสังขาร

ที่เป็นไปแล้วในกาลกำหนดถือเอา ย่อมสงบในอุปจารแห่งปฐมฌาน ฯลฯ

กายสังขารที่เป็นไปแล้วในอุปจารแห่งจตุตถฌาน ย่อมสงบในจตุตถฌาน. นี้

เป็นนัยในสมถะเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 181

ส่วนในวิปัสสนา กายสังขารที่เป็นไปแล้วในกาลที่มิได้กำหนดถือเอา

ยังหยาบ ในกาลกำหนดถือเอามหาภูตรูปจึงสุขุม. แม้กายสังขารนั้นก็ยังหยาบ

ในกาลกำหนดถือเอาอุปาทารูปจึงสุขุม. แม้นั้นก็ยังหยาบ ในกาลกำหนดถือเอา

รูปทั้งสิ้นจึงสุขุม. แม้นั้นก็ยังหยาบ ในกาลกำหนดถือเอารูปจึงสุขุม. แม้นั้น

ก็ยังหยาบ ในกาลกำหนดถือเอารูปและอรูปจึงสุขุม. แม้นนั้นก็ยังหยาบ ใน

กาลกำหนดถือเอาปัจจัยจึงสุขุม. แม้นนั้นก็ยังหยาบ ในการเห็นนามรูปพร้อมกับ

ปัจจัยจึงสุขุม. แม้นั้นก็ยังหยาบ ในวิปัสสนาอันมีลักษณะ. เป็นอารมณ์จึงสุขุม.

แม้นนั้นก็ชื่อว่ายังหยาบ เพราะเป็นวิปัสสนายังอ่อน ในวิปัสสนามีกำลังจึง

สุขุม. พึงทราบความสงบแห่งกายสังขารก่อน ๆ ด้วยกายสังขารหลัง ๆ

โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล. ในบทนี้พึงทราบความที่กายสังขารหยาบ

และสุขุม และความสงบอย่างนี้. นี้เป็นการพรรณนาบทตามลำดับแห่งปฐม

จตุกะที่ท่านกล่าวไว้แล้ว ด้วยอำนาจแห่งกายานุปัสสนาในที่นี้

ก็เพราะในที่นี้ท่านกล่าวจตุกะนี้ ด้วยอำนาจแห่งกรรมฐานแห่งอาทิ-

กรรมิก. ส่วนจตุกะ ๓ นอกนี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งเวทนานุปัสสนา

จิตตานุปัสสนา และธรรมานุปัสสนา. ฉะนั้น กุลบุตรผู้เป็นอาทิกรรมิก

ประสงค์จะเจริญกรรมฐานนี้ แล้วบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา แห่ง

วิปัสสนาอันเป็นปทัฏฐานของจตุกฌาน ทำกิจทั้งปวงมียังศีลให้บริสุทธิ์เป็นต้น

โดยนัยดังกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรค แล้วพึงเรียนกรรมฐานอันมีสันธิ (การ

ติดต่อ) ๕ ในสำนักของอาจารย์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๗.

สันธิ ๕ เหล่านี้ คือ การเรียน ๑ การสอบถาม ๑ ความปรากฏ ๑

ความแนบแน่น ๑ ลักษณะ ๑.

ในสันธิเหล่านั้น การเรียนกรรมฐานชื่อว่า อุคคหะ. การสอบถาม

กรรมฐานชื่อว่า ปริปุจฉา. ความปรากฏแห่งกรรมฐานชื่อว่า อุปัฏฐานะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 182

ความแนบแน่นแห่งกรรมฐานชื่อว่า อัปปนา. ลักษณะแห่งกรรมฐาน ชื่อว่า

ลักษณะ. ท่านอธิบายไว้ว่า กรรมฐานเป็นลักษณะอย่างนี้ ได้แก่การ

ไตร่ตรองสภาพของกรรมฐาน.

กุลบุตรผู้เรียนกรรมฐาน มีสันธิ ๕ อย่างนี้ แม้ตนเองก็ไม่ลำบาก

แม้อาจารย์ก็ไม่ลำบาก. เพราะฉะนั้น ให้อาจารย์ยกขึ้นหน่อยหนึ่งแล้วใช้เวลา

ท่องให้มาก เรียนกรรมฐานมีสันธิ ๕ อย่างนี้ เว้นที่อยู่อันประกอบด้วยโทษ

๑๘ อย่าง ในสำนักของอาจารย์หรือในที่อื่น แล้วอยู่ในเสนาสนะประกอบด้วย

องค์ ๕ ตัดกังวลเล็กน้อย บริโภคเสร็จแล้วบรรเทาความมัวเมาอาหาร นั่งให้

สบาย ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ทำจิตให้ร่าเริง ไม่ให้เสื่อมแม้แต่บทเดียว

จากการเรียนจากอาจารย์ พึงทำอานาปานสติกรรมฐานนี้ไว้ในใจ

ต่อไปนี้เป็นวิธีมนสิการกรรมฐาน คือ

คณนา (การนับ) อนุพัธนา (การติดตาม) ผุสนา

(การสัมผัส) การตั้งไว้ ความเห็นแจ้ง ความเจริญ

ความบริสุทธิ์ การพิจารณากรรมฐานเหล่านั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า คณนา คือการนับนั่นเอง. บทว่า อนุพนฺธนา

คือการไปตาม. บทว่า ผุสนา คือการถูกต้อง. บทว่า ปนา คือการ

แนบแน่น. บทว่า สลฺลฺกขณา คือการเห็นแจ้ง. บทว่า วิวฏฺฏนา คือ

มรรค. บทว่า ปาริสุทฺธิ คือผล. บทว่า เตสญฺจ ปฏิปสฺสนา คือการ

พิจารณากรรมฐานเหล่านั้น.

ในบทนั้น กุลบุตรผู้เป็นอาทิกรรมนี้ พึงใส่ใจกรรมฐานนี้ด้วยการนับ

ก่อน. เมื่อนับไม่ควรให้ต่ำกว่า ๕ ไม่ควรสูงกว่า ๑๐ ไม่ควรแสดงเป็น ตอนๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 183

ในระหว่าง เมื่อนับต่ำกว่า ๕ จิตตุปบาท ย่อมดิ้นรนในโอกาสคับแคบ ดุจ

ฝูงโคที่ถูกขังไว้ในคอกอันคับแคบ เมื่อนับเกิน ๑๐ จิตตุปบาทอาศัยการนับ

เท่านั้น เมื่อแสดงเป็นตอน ๆ ในระหว่าง จิตย่อมหวั่นไหวว่า กรรมฐาน

ของเราถึงยอดแล้วหรือยังหนอ เพราะฉะนั้น ควรนับเว้นโทษเหล่านี้เสีย.

อนึ่ง เมื่อนับควรนับเหมือนการตวงข้าวเปลือกนับช้า ๆ ก่อน เพราะ

ตวงข้าวเปลือกให้เต็มทะนาน แล้วนับหนึ่ง แล้วเกลี่ยลง เมื่อเต็มอีก ครั้นเห็น

หยากเยื่อไร ๆ ก็ทิ้งเสียนับหนึ่ง หนึ่ง. แม้ในการนับสอง สอง ก็มีนัยนี้

เหมือนกัน.

ผู้ใดกำหนดลมอัสสาสปัสสาสะ แม้ด้วยวิธีนี้อย่างนี้ กำหนดนับว่า

หนึ่ง หนึ่ง ไปจนถึง สิบ สิบ เมื่อผู้นั้นนับอย่างนี้ ลมอัสสาสปัสสาสะทั้งเข้า

และออกย่อมปรากฏ. ต่อแต่นั้นกุลบุตรควรละการนับเหมือนตวงข้าวเปลือกที่

นับช้า ๆ นั้นเสีย แล้วนับด้วยการนับของคนเลี้ยงโคคือนับเร็ว เพราะโคบาล

ผู้ฉลาด เอาก้อนกรวดใส่พก ถือเชือกและไม้ไปคอกแต่เช้าตรู่ ตีที่หลังโค

นั่งบนปลายเสาเขื่อนดีดก้อนกรวด นับโคที่ไปถึงประตูว่า หนึ่ง สอง. โคที่

อยู่อย่างลำบากในที่คับแคบมาตลอด ๓ ยาม จึงออกเบียดเสียดกันและกัน

รีบออกเป็นหมู่ ๆ. โคบาลนั้นรีบนับว่า สาม สี ห้า สิบ. เมื่อโคบาลนับ

โดยนัยก่อน ลมอัสสาสปัสสาสะปรากฏสัญจรไปเร็ว ๆ บ่อย ๆ.

แต่นั้น โคบาล ครั้นรู้ว่าลมอัสสาสปัสสาสะสัญจรบ่อย ๆ จึงไม่นับ

ทั้งภายในทั้งภายนอก นับเฉพาะที่ถึงประตูเท่านั้น แล้วรีบนับเร็ว ๆ ว่า ๑

๒ ๓ ๔ ๕, ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖, ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗, ๘ ๙ ๑๐.

จริงอยู่ ในกรรมฐานอันเนื่องด้วยการนับจิต ย่อมอารมณ์เป็นหนึ่ง

ด้วยกำลังการนับ ดุจจอดเรือไว้ที่กระแสเชี่ยว ด้วยความค้ำจุนของถ่อ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 184

เมื่อกุลบุตรนับเร็วๆ อย่างนี้ กรรมฐานย่อมปรากฏดุจเป็นไปติดต่อกัน

เมื่อรู้ว่า กรรมฐานเป็นไปติดต่อกันแล้วไม่กำหนดถือเอาลมภายในและภายนอก

รีบนับโดยนัยก่อนนั่นแล เมื่อจิตเข้าไปพร้อมกับลมเข้าไปภายใน จิตกระทบกับ

ลมภายใน ย่อมเป็นดุจเต็มด้วยมันข้น เมื่อนำจิตออกพร้อมกับลมออกภายนอก

จิตย่อมฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ของความหนาในภายนอก. อนึ่ง เมื่อเจริญเว้นสติ

ในโอกาสสัมผัส ภาวนาย่อมสมบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ไม่พึง

กำหนดถือเอาลมภายในและภายนอก แล้วรีบนับโดยนัยก่อนนั้นแล.

ก็จิตนี้ควรนับนานเพียงไร ตลอดเมื่ออารมณ์แห่งอัสสาสปัสสาสะ

ยังมีอยู่ เว้นการนับจิตย่อมดำรงอยู่ เมื่ออารมณ์แห่งอัสสาสปัสสาสะยังมีอยู่

การนับเพื่อให้จิตดำรงอยู่ ทำการตัดวิตกอันซ่านไปในภายนอกเสีย ควรทำไว้

ในใจ ด้วยการนับอย่างนี้แล้วทำไว้ในใจด้วยการติดตาม. การรวบรวมการนับ

แล้วติดตามลมอัสสาสปัสสาสะในลำดับแห่งสติ ชื่อว่า อนุพนฺธนา (การ

ติดตาม). การนับนั้นมิใช่ด้วยอำนาจแห่งการติดตามในเบื้องต้น ท่ามกลาง

และที่สุด. เบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด และโทษในการติดตามการนับนั้น

ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

เพราะฉะนั้น เมื่อมนสิการด้วยการติดตาม ไม่ควรใส่ใจด้วยอำนาจ

แห่งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด. อีกอย่างหนึ่ง ควรใส่ใจด้วยอำนาจแห่ง

การสัมผัสและด้วยอำนาจแห่งการแนบแน่น เพราะว่าไม่มีการใส่ใจไว้ต่างหาก

ด้วยอำนาจแห่งการสัมผัสและแนบแน่น ดุจด้วยอำนาจแห่งการนับและการ

ติดตาม. อนึ่ง เมื่อนับในที่สัมผัสย่อมใส่ใจด้วยการนับ และด้วยการสัมผัส

รวบรวมการนับในที่สัมผัสนั้นแล้วติดตามการนับและการสัมผัสเหล่านั้นด้วยสติ

และดำรงจิตไว้ด้วยสามารถแห่งอัปปนา ท่านกล่าวว่า ย่อมใส่ใจด้วยการติดตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 185

ด้วยการสัมผัสและด้วยการแนบแน่น. พึงทราบความนี้นั้นด้วยการอุปมา ด้วย

คนพิการและคนเฝ้าประตู ดังที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย และด้วย

อุปมาด้วยเลื่อย ดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วในบาลีนี้แหละ. ต่อไปนี้เป็นอุปมาด้วย

คนพิการ. เปรียบเหมือนคนพิการแกว่งชิงช้าแก่มารดาและบุตรผู้เล่นอยู่ที่ชิงช้า

นั่งอยู่ที่โคนเสาชิงช้านั้นเอง ย่อมเห็นที่สุดทั้งสองและท่ามกลางของกระดาน

ชิงช้าที่แกว่งไปมาตามลำดับ ไม่ขวนขวายเพื่อจะดูที่สุดทั้งสองและท่ามกลาง

ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันอยู่ที่โคนเสา คือการติดตามด้วยอำนาจแห่งสติ

แล้วนั่งแกว่งชิงช้าคือลมอัสสาสและปัสสาสะด้วยสติ ในนิมิตนั้นติดตามเบื้องต้น

ท่ามกลางและที่สุดของลมอัสสาสเเละปัสสาสะในที่สัมผัสทั้งไปและมาด้วยสติ

ดำรงจิตไว้ ณ ที่นั้นนั่นแลย่อมเห็น และไม่ขวนขวายเพื่อจะดูลมอัสสาสะและ

ปัสสาสะเหล่านั้น นี้อุปมาด้วยคนพิการ.

ส่วนอุปมาด้วยคนเฝ้าประตูมีดังนี้ เปรียบเหมือนคนเฝ้าประตู. ย่อม

ไม่ตรวจสอบคนภายในและภายนอกนครว่า ท่านเป็นใคร มาแต่ไหน จะไปไหน

อะไรในมือของท่าน เพราะคนเหล่านั้น ไม่ใช่หน้าที่ของเขา แต่เขาตรวจสอบ

เฉพาะคนที่มาถึงประตูแล้วเท่านั้น ฉันใด ลมเข้าไปภายใน และลมออกไป

ภายนอกไม่ใช่ภาระของภิกษุนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ลมที่ถึงทวารเท่านั้น จึง

เป็นภาระ นี้เป็นอุปมาด้วยคนเฝ้าประตู.

ส่วนอุปมาด้วยเลื่อยได้กล่าวไว้แล้วในอานาปานสติกถาโดยนัยมีอาทิว่า

นิมิตฺต อสฺสาสปสฺสาสา นิมิต ลมอัสสาสะและลมปัสสาสะ. แต่ในที่นี้พึง

ทราบว่า เป็นการประกอบเพียงความไม่ใส่ใจด้วยสามารถแห่งการมาและการ

ไปของเลื่อยเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 186

เมื่อใคร ๆ มนสิการกรรมฐานนี้ไม่ช้านิมิตย่อมเกิด. และการแนบ

แน่นกล่าว คือ อัปปนา ประดับด้วยองค์ฌานที่เหลือย่อมสมบูรณ์. จำเดิมแต่

กาลมนสิการด้วยการนับของใคร ๆ เปรียบเหมือนผู้มีกายปั่นป่วนนั่งบนเตียง

หรือตั่ง เตียงและตั่งย่อมน้อมลงย่อมมีเสียงเอี้ยดอ้าด เครื่องปูลาดย่อมย่นยับ

ส่วนผู้มีกายไม่ปั่นป่วนนั่ง เตียง และตั่งย่อมไม่น้อยลง ไม่ส่งเสียงเอี้ยดอ้าด

เครื่องปูลาดไม่ย่นยับ เตียงและตั่งย่อมเป็นเหมือนเต็มด้วยปุยนุ่น เพราะ

เหตุไร เพราะผู้มีกายไม่ปั่นป่วนเบา ฉันใด จำเดิมแต่กาลมนสิการด้วยการ

นับอย่างนั้นก็ฉันนั้น เมื่อความกระวนกระวายกายสงบด้วยอำนาจแห่งการดับ

ลมอัสสาสะและปัสสาสะอย่างหยาบตามลำดับ กายก็ดี จิตก็ดีเป็นของเบา ร่าง

กายเป็นดุจลอยไปบนอากาศ.

เมื่อลมอัสสาสะและปัสสาสะอย่างหยาบของภิกษุนั้นดับแล้ว จิตมีลมอัส-

สาสปัสสาสะละเอียดเป็นนิมิต เป็นอารมณ์ย่อมเป็นไป. แม้เมื่อจิตนั้นดับ ลม

อัสสาสปัสสาสะอันเป็นนิมิต เป็นอารมณ์ละเอียดกว่า ละเอียดกว่านั้นยังเป็น

ไป ๆ มา ๆ อยู่นั่นเอง. พึงทราบความนี้ด้วยอุปมาด้วยถาดโลหะดังกล่าวแล้ว

ในตอนก่อน.

กรรมฐานนี้ไม่เหมือนกรรมฐานเหล่าอื่น ซึ่งแจ่มแจ้งแล้วยิ่งๆ ขึ้นไป

อนึ่ง กรรมฐานนี้ ย่อมถึงความละเอียดแก่ผู้เจริญยิ่ง ๆ แม้ความปรากฏก็ไม่ถึง

เมื่อกรรมฐานนั้นไม่ปรากฏอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ควรลุกจากอาสนะไป ด้วยคิดว่า

เราจักถามอาจารย์หรือว่า บัดนี้กรรมฐานของเราฉิบหายเสียแล้ว ดังนี้ เพราะ

เมื่อภิกษุยังอิริยาบถให้กำเริบแล้วไป กรรมฐานย่อมมีใหม่ ๆ โดยแท้ เพราะ

ฉะนั้น ควรนำกรรมฐานมาจากที่ตามที่นั่งแล้วนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 187

ต่อไปนี้เป็นอุบายนำกรรมฐานมา ภิกษุนั้นรู้ความที่กรรมฐานไม่

ปรากฏ พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ชื่อว่า ลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านี้มีอยู่ที่ไหน

ไม่มีที่ไหน มีแก่ใคร หรือไม่มีแก่ใคร. ครั้นภิกษุสำเหนียกอย่างนี้รู้ว่า ลมอัส-

สาสะ ปัสสาสะเหล่านี้ไม่มีแก่คนอยู่ในครรภ์มารดา ไม่มีแก่คนดำน้ำ แก่อสัญญี

สัตว์ คนตาย ผู้เข้าจตุตถฌาน ผู้รวมอยู่ในรูปภพ อรูปภพ ผู้เข้านิโรธ

แล้วพึงเตือนคนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อนบัณฑิต ท่านมิได้อยู่ในครรภ์มารดา

มิได้ดำน้ำ มิได้เป็นอสัญญีสัตว์ มิได้ตาย มิได้เข้าจตุตถฌาน มิได้รวม

อยู่ในรูปภพ อรูปภพ มิได้เข้านิโรธมิใช่หรือ. ลมอัสสาสปัสสาสะของท่าน

ยังมีอยู่แน่ ๆ แต่ท่านไม่สามารถกำหนดถือเอาได้ เพราะท่านมีปัญญาน้อย.

ครั้นแล้วภิกษุนั้นควรตั้งจิต ด้วยสัมผัสเป็นปกติแล้วยังมนสิการให้

เป็นไป. เพราะว่าลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านี้กระทบดั้งจมูกของผู้มีจมูกยาว

เป็นไป กระทบริมฝีปากของผู้มีจมูกสั้น เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นควรตั้ง

นิมิตว่า ลมอัสสาสปัสสาสะกระทบที่นี้. จริงอยู่ พระผ้มีพระภาคเจ้าตรัสอาศัย

อำนาจแห่งประโยชน์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวถึงการเจริญอานาปาน-

สติของผู้มีสติหลง ผู้ไม่มีความรู้สึกดังนี้. จริงอยู่ กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง

ย่อมสมบูรณ์แก่ผู้มีสติ ผู้มีสัมปชัญญะโดยแท้ แต่เมื่อมนสิการอื่นจากนี้

กรรมฐานก็ยังปรากฏ.

อนึ่ง อานาปานสติกรรมฐานนี้ เป็นการเจริญอย่างหนัก ๆ เป็นภูมิ

แห่งมนสิการของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระพุทธบุตรผู้เป็น

มหาบุรุษนั่นเอง มิได้เป็นนอกไปจากนี้ ทั้งสัตว์นอกนี้มิได้เสพ. กรรมฐาน

เป็นอันสงบและสุขุม โดยประการที่ทำไว้ในใจ เพราะฉะนั้น ในที่นี้พึง

ปรารถนาสติและปัญญามีกำลัง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 188

เหมือนอย่างว่า ในเวลาเย็บผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง พึงต้องการแม้เข็มที่

ละเอียด แม้ด้ายร้อยเข็มก็ยังต้องการละเอียดกว่านั้น ฉันใด ในเวลาเจริญ

กรรมฐานนี้เช่นกับผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง ฉันนั้นเหมือนกัน แม้สติเปรียบด้วย

เข็ม ปัญญาสัมปยุตด้วยสตินั้นเปรียบด้วยการร้อยเข็ม ก็พึงปรารถนาที่มีกำลัง.

ก็แลภิกษุผู้ประกอบด้วยสติปัญญาเหล่านั้น ไม่พึงแสวงหาลมอัสสาสปัสสาสะ

เหล่านั้น นอกจากโอกาสที่สัมผัสตามปกติ.

เหมือนอย่างว่า ชาวนาไถนาแล้วปล่อยโคผู้ไป แล้วนั่งพักบริโภค

อาหาร. ลำดับนั้น โคผู้เหล่านั้นของเขาวิ่งเข้าดงไป. ชาวนาที่เป็นคนฉลาด

ประสงค์จะจับโคเหล่านั้นเทียมไถ ไปเที่ยวตามรอยเท้าของโคเหล่านั้นไปยังดง.

เขาถือเชือกและปฏักไปยังท่าน้ำที่โคเหล่านั้นลงโดยตรง นั่งบ้าง นอนบ้าง.

ครั้นเขาเห็นโคเหล่านั้นเที่ยวไปตลอดวันแล้ว ลงสู่ท่าที่เคยลงอาบและดื่มแล้ว

ขึ้นยืนอยู่ จึงเอาเชือกล่ามเอาปฏักแทงนำมาเทียมไถทำงานต่อไปฉันใด ภิกษุ

นั้นก็ฉันนั้นเหมือนกันไม่พึงแสวงหาลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านั้น นอกจาก

โอกาสที่สัมผัสตามปกติ พึงถือเชือกคือสติและปฏัก คือ ปัญญาตั้งจิตไว้ใน

โอกาสที่สัมผัสตามปกติ แล้วยังมนสิการให้เป็นไป. ก็เมื่อภิกษุมนสิการ

อย่างนี้ ไม่ช้าลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านั้นก็ปรากฏดุจโค ปรากฏที่ท่าที่เคยลง

แต่นั้น ภิกษุนั้น พึงผูกด้วยเชือกคือสติประกอบไว้ในที่นั้นแล้วแทงด้วยปฏักคือ

ปัญญา พึงประกอบกรรมฐานบ่อย ๆ เมื่อประกอบอย่างนี้ไม่ช้านัก นิมิตย่อม

ปรากฏ ก็นิมิตนี้นั้น มิได้เป็นเช่นเดียวกันแห่งนิมิตทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่ง

นิมิตยังสุขสัมผัสให้เกิดขึ้นแก่ใครๆ ย่อมปรากฏ ดุจปุยนุ่น ปุยป้ายและสายลม

อาจารย์บางพวกกล่าวไว้ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 189

ส่วนในอรรถกถาทั้งหลายมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. จริงอยู่ นิมิตนี้มีรูป

คล้ายดาวปรากฏแก่ใคร ๆ ดุจก้อนแก้วมณี และดุจก้อนแก้วมุกดา เป็นสัมผัส

แข็งปรากฏแก่ใคร ๆ ดุจเมล็ดฝ้าย และดุจเสี้ยนไม้แก่น ปรากฏแก่ใคร ๆ

ดุจสายสังวาลยาว ดุจพวงดอกไม้และดุจเปลวควัน ปรากฏแก่ใคร ๆ ดุจใย

แมลงมุมอันกว้าง ดุจกลุ่มเมฆ ดุจดอกปทุม ดุจล้อรถ ดุจมณฑลดวงจันทร์

และดุจมณฑลดวงอาทิตย์. ก็แลนิมิตนั้น เมื่อภิกษุหลายรูปนั่งท่องพระสูตร

เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า พระสูตรนี้ปรากฏแก่ท่านทั้งหลายเช่นไร ภิกษุรูปหนึ่ง

กล่าวว่า ปรากฏแก่ผมดุจแม่น้ำใหญ่ไหลจากภูเขา. อีกรูปหนึ่งกล่าวว่า ปรากฏ

แก่ผมดุจแนวป่าแห่งหนึ่ง. รูปอื่นกล่าวว่า ปรากฏแก่ผมดุจต้นไม้มีร่มเงาเย็น

สมบูรณ์ด้วยกิ่งเต็มด้วยผล. สูตรเดียวเท่านั้นปรากฏแก่ภิกษุเหล่านั้น โดย

ความต่างกัน เพราะสัญญาต่างกัน. กรรมฐานเดียวเท่านั้นย่อมปรากฏโดยความ

ความต่างกันเพราะสัญญาต่างกันด้วยอาการอย่างนี้ เพราะกรรมฐานนั้นเกิดแต่สัญญา

มีสัญญาเป็นนิทาน มีสัญญาเป็นแดนเกิด ฉะนั้นพึงทราบว่า ย่อมปรากฏโดย

ความต่างกันเพราะสัญญาต่างกัน.

อนึ่ง เมื่อนิมิตปรากฏ ภิกษุนั้นพึงไปหาอาจารย์แล้วบอกให้ทราบว่า

ท่านอาจารย์ขอรับ นิมิตปรากฏเห็นปานนี้ ย่อมปรากฏแก่ผม. ส่วนอาจารย์ควร

กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส นี้เป็นนิมิต ดูก่อนสัตบุรุษ ท่านจงทำกรรมฐานไว้ในใจ

บ่อย ๆ เถิด แต่นั้นพึงตั้งจิตไว้ในนิมิตเท่านั้น.

จำเดิมแต่นี้ไป ภิกษุนั้นย่อมมีภาวนาด้วยความแนบแน่นด้วยประการ

ฉะนั้น. สมดังที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 190

ผู้มีปัญญายังจิตให้แนบแน่นในนิมิต เจริญอาการ

ต่าง ๆ ย่อมผูกจิตของตนในลมอัสสาสะและปัสสาสะ

ดังนี้.

จำเดิมแค่ความปรากฏแห่งนิมิตอย่างนี้ เป็นอันภิกษุนั้นข่มนิวรณ์ทั้ง

หลายได้แล้ว. กิเลสทั้งหลายสงบ. จิตตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ ครั้นแล้วภิกษุนั้น

ไม่ควรใส่ใจถึงนิมิตนั้นโดยความเป็นสี ไม่ควรพิจารณาโดยความเป็นลักษณะ.

แต่แล้วภิกษุควรเว้นอสัปปายะ ๗ มีอาวาสเป็นต้น แล้วเสพสัปปายะ ๗ เหล่านั้น

ควรรักษาไว้ให้ดีดุจขัตติยมเหสีรักษาครรภ์ของพระเจ้าจักรพรรดิ และดุจ

ชาวนารักษาท้องข้าวสาลีและข้าวเหนียวฉะนั้น. ต่อแต่นั้น พึงรักษานิมิตนั้น

ไว้อย่างนี้แล้ว ถึงความเจริญงอกงามด้วยมนสิการบ่อย ๆ ยังความเป็นผู้ฉลาด

ในอัปปนา ๑๐ อย่างให้ถึงพร้อม พึงประกอบภาวนาโดยมีความเพียรสม่ำเสมอ

เมื่อภิกษุพยายามอยู่อย่างนี้ จตุกฌานและปัญจกฌานย่อมเกิดในนิมิตนั้น

ตามลำดับ ดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. อนึ่ง ภิกษุผู้มีจตุกฌานเกิด

แล้วอย่างนี้ ประสงค์จะเจริญกรรมฐานด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาและมรรคแล้ว

บรรลุความบริสุทธิ์จงทำฌานนั้นให้คล่องแคล่วถึงความชำนาญด้วยอาการ ๕

อย่างแล้ว กำหนดนามรูปเริ่มตั้งวิปัสสนา.

อย่างไร เพราะภิกษุนั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรชกายและ

จิตเป็นเหตุเกิดลมอัสสาสปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า ลมย่อมสัญจรเพราะอาศัย

เครื่องสูบของช่างทองและความพยายาม เกิดแต่การสูบเครื่องของบุรุษฉันใด

ลมอัสสาสปัสสาสะย่อมสัญจรเพราะอาศัยกาย และจิตฉันนั้นเหมือนกัน แต่นั้น

ย่อมกำหนดกายว่า เป็นรูปในเพราะอัสสาสปัสสาสะ และกำหนดจิตว่าเป็น

อรูปในเพราะธรรมอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 191

ครั้นภิกษุกำหนดนามรูปอย่างนี้ แล้วแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น

เมื่อแสวงหา ครั้นเห็นปัจจัยนั้นแล้ว ปรารภถึงความเป็นไปแห่งนามรูปในกาล

แม้ ๓ แล้วจึงข้ามความสงสัยได้ ข้ามความสงสัยได้แล้ว จึงยกขึ้นสู่พระไตร-

ลักษณ์ว่า อนิจฺจ ทุกข อนตฺตา ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเป็นกลาปะ

(กอง) เมื่อส่วนเบื้องต้นแห่งอุทยัพพยานุปัสสนาเกิด จึงละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐

มีโอภาสเป็นต้น แล้วกำหนดอุทยัพพยานุปัสสนาญาณอันพ้นจากอุปกิเลสว่า

มรรค ละความเกิด ถึงภังคานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความดับ) เมื่อสังขาร

ทั้งปวงปรากฏโดยความเป็นภัย ด้วยภังคานุปัสสนาเป็นลำดับ จึงเบื่อหน่าย

พ้นบรรลุอริยมรรค ๔ ตามลำดับ ตั้งอยู่ในอรหัตผลถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณา-

ญาณ ๑๙ เป็นทักษิไณยบุคคลผู้เลิศของโลกพร้อมทั้งเทวโลก. ด้วยเหตุ

ประมาณเท่านี้ การเจริญอานาปานสติสมาธิ ตั้งต้นแต่การนับลมอัสสาสะ

ปัสสาสะนั้น มีวิปัสสนาเป็นที่สุด เป็นอันครบบริบูรณ์. นี้เป็นการพรรณนา

ปฐมจตุกะโดยอาการทั้งปวง ดังนี้แล.

อนึ่ง ในจตุกะ ๓ นอกนี้ เพราะไม่มีนัยแห่งกรรมฐานภาวนาไว้

ต่างหาก ฉะนั้น พึงทราบความอย่างนี้แห่งจตุกะเหล่านั้นโดยนัยแห่งการ

พรรณนาอนุบทนั่นเเล.

บทว่า ปีติปฏิสเวที รู้แจ้งปีติ คือ ย่อมศึกษาว่าเราทำปีติให้รู้แจ้ง

ทำให้ปรากฏ หายใจเข้า หายใจออก. ในบทนั้นเป็นอันรู้แจ้งปีติโดยอาการ

๒ คือ โดยอารมณ์ และโดยความไม่หลง.

รู้แจ้งปีติโดยอารมณ์เป็นอย่างไร. ภิกษุย่อมเข้าฌาน ๒ อย่าง

พร้อมด้วยปีติ ภิกษุนั้นชื่อว่ารู้แจ้งปีติโดยอารมณ์ ด้วยการได้ฌานในขณะ

สมาบัติ เพราะรู้แจ้งอารมณ์แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 192

รู้แจ้งโดยความไม่หลงเป็นอย่างไร. ภิกษุเข้าฌาน ๒ อย่าง ครั้น

ออกแท้ย่อมพิจารณาปีติอันสัมปยุตด้วยฌานโดยความเป็นของสิ้นไปโดยความ

เป็นของเสื่อมไป เป็นอันภิกษุนั้นรู้แจ้งปีติโดยความไม่หลง ด้วยการแทงตลอด

ลักษณะในขณะแห่งวิปัสสนา. โดยนัยนี้แลพึงทราบแม้บทที่เหลือโดยอรรถ.

แต่ในบทนี้มีเนื้อความสักว่าต่างกันนี้ พึงทราบว่า เป็นอันภิกษุรู้แจ้งสุขด้วย

สามารถแห่งฌาน ๓ รู้แจ้งจิตสังขารด้วยสามารถแห่งฌานแม้ ๔.

บทว่า จิตฺตสงฺขาโร จิตสังขาร คือ เวทนาขันธ์และสัญญาขันธ์.

บทว่า ปสฺสมฺภย จิตฺตสงฺขร ระงับจิตสังขาร ความว่า ระงับจิต

สังขารหยาบ ๆ คือ ดับ. พึงทราบจิตสังขารนั้นโดยพิสดารตามนัยดังกล่าว

แล้วในกายสังขาร.

อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ปีติ นี้ท่านกล่าวเวทนาโดยหัวข้อแห่งปีติ.

ในบทว่า สุข ท่านกล่าวเวทนาโดยสรุป. ในบทแห่ง จิตสังขาร ทั้งสอง

เวทนาสัมปยุตด้วยสัญญาเพราะบาลีว่า สัญญาและเวทนาเป็นเจตสิก ธรรม

เหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตสังขารด้วย เหตุนั้นพึงทราบว่าท่านกล่าวจตุกะ

นี้โดยนัยแห่งเวทนานุปัสสนาอย่างนี้. แม้ในจตุกะที่ ๓ ก็พึงทราบความเป็นผู้

รู้แจ้งจิตด้วยอำนาจแห่งฌาน ๔.

บทว่า อภิปฺปโมทย จิตฺต ทำจิตให้บันเทิง คือ ภิกษุย่อมศึกษา

ว่าเรายังจิตให้บันเทิง ให้ปราโมทย์ ให้ร่าเริง ให้รื่นเริง จักหายใจเข้า

จักหายใจออก. ในบทนั้น ภิกษุเป็นผู้บันเทิงด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ด้วย

สามารถแห่งสมาธิ และด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 193

ด้วยสามารถแห่งสมาธิเป็นอย่างไร. ภิกษุเข้าถึงฌานสองอย่างพร้อม

ด้วยปีติ ครั้นออกแล้วย่อมพิจารณาปีติสัมปยุตด้วยฌานโดยความสิ้นไปโดยความ

เสื่อมไป. ภิกษุทำปีติสัมปยุตด้วยฌานในขณะแห่งวิปัสสนาอย่างนี้ ให้เป็น

อารมณ์ ยังจิตให้ชื่นชมบันเทิง ปฏิบัติอย่างนี้ท่านกล่าวว่า ภิกษุย่อมศึกษาว่า

เราจักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า หายใจออก.

บทว่า สมาทห จิตต ตั้งจิตไว้ คือ ตั้งดำรงจิตไว้เสมอในอารมณ์

ด้วยอำนาจแห่งปฐมฌานเป็นต้น หรือเข้าฌานเหล่านั้น ครั้นออกแล้ว จิต

สัมปยุตด้วยฌานย่อมเกิดขึ้นโดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป ด้วยการ

แทงตลอดลักษณะในขณะแห่งวิปัสสนา เพราะจิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะ เมื่อจิต

มีอารมณ์เดียวชั่วขณะเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ภิกษุตั้งดำรงจิตไว้เสมอในอารมณ์

แม้ด้วยอำนาจท่านก็กล่าวว่า ภิกษุย่อมศึกษาว่า เราจักตั้งจิตไว้หายใจเข้า

หายใจออก.

บทว่า วิโมจย จิตฺต เปลื้องจิต คือ เปลื้องปล่อยจิตจากนิวรณ์

ทั้งหลายด้วยปฐมฌาน เปลื้องปล่อยจิตจากวิตกวิจารด้วยทุติฌาน จากปีติ

ด้วยตติยฌาน จากสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน หรือเข้าฌานทั้งหลายเหล่านั้น

ครั้นออกแล้วย่อมพิจารณาจิตสัมปยุตด้วยฌานโดยความสิ้นไป โดยความเสื่อม

ไป ภิกษุนั้นเปลื้องปล่อยจิตจากนิจจสัญญา ด้วยอนิจจานุปัสสนาในขณะแห่ง

วิปัสสนา เปลื้องปล่อยจิตจากสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา จากอัตตสัญญา

ด้วยอนัตตานุปัสสนา จากความเพลิดเพลิน ด้วยนิพพิทานุปัสสนา จากราคะ

ด้วยวิราคานุปัสสนา จากสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา จากความถือมั่น ด้วย

ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ย่อมหายใจเข้า และย่อมหายใจออก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วิโมจย จิตฺต อสฺสสิสฺ-

สามิ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ภิกษุย่อมศึกษาว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า

หายใจออก. พึงทราบว่าจตุกะนี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งจิตตานุปัสสนา.

พึงทราบวินิจฉัยในจตุกะที่ ๔ ดังต่อไปนี้. พึงทราบ อนิจฺจ ใน

บทว่า อนิจฺจานุปสฺสี พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงนี้ก่อน. พึงทราบอนิจจตา

พึงทราบอนิจจานุปัสสนา พึงทราบอนิจจานุปัสสี.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจ ความไม่เที่ยง ได้แก่ ขันธ์ ๕.

เพราะเหตุไร. เพราะเบญจขันธ์มีเกิด เสื่อมและเป็นอย่างอื่น.

บทว่า อนิจฺจตา ความเป็นของไม่เที่ยง คือ ความที่เบญจขันธ์

เหล่านั้นเกิดเสื่อมและเป็นอย่างอื่น หรือเป็นแล้วไม่เป็น ความว่า การไม่

ตั้งอยู่โดยอาการนั้นของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วแตกไปโดยการทำลายแห่งขณะ.

บทว่า อนิจฺจานุปสฺสนา พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง คือ พิจารณา

เห็นว่าไม่เที่ยง ในรูปเป็นต้นด้วยสามารถแห่งความไม่เที่ยงนั้น.

บทว่า อนิจฺจานุปสฺสี พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง คือ ประกอบ

ด้วยอนุปัสสนานั้น เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ภิกษุเป็นอย่างนั้นหายใจเข้า

และหายใจออก ย่อมศึกษาในที่นี้ว่า เราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า

และหายใจออก ดังนี้.

ในบทว่า วิราคานุปสฺสี พิจารณาเห็นความคลายกำหนัดนี้ ความ

คลายกำหนัด มี ๒ อย่าง คือ ความคลายกำหนัดเพราะสิ้นไป และความคลาย

กำหนัดเพราะล่วงส่วน. ใน ๒ บทนั้น บทว่า ขยวิราโค ความคลายกำหนัด

เพราะสิ้นไป ได้แก่ ความทำลายขณะแห่งสังขารทั้งหลาย. บทว่า อจฺจนฺตวิ-

ราโค ความคลายกำหนัดเพราะล่วงส่วนได้แก่ นิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

บทว่า วิราคานุปสฺสนา พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด ได้แก่

วิปัสสนาและมรรคอันเป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งการเห็นทั้งสองอย่างนั้น.

พึงทราบว่า ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนาแม้สองอย่างหายใจเข้า และ

หายใจออก ย่อมศึกษาว่าเราจักพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้าหายใจออก

ดังนี้. แม้ในบทว่า นิโรธานุปสฺสี ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ความสละคืนในบทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี พิจารณาเห็นความ

สละคืนนี้ มี ๒ อย่าง คือ สละคืนเพราะบริจาค และสละคืนเพราะการแล่นไป.

ความพิจารณาเห็นความสละคืนชื่อว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสนา. บทนี้เป็น

ชื่อของวิปัสสนามรรค เพราะวิปัสสนาย่อมสละกิเลสทั้งหลายพร้อมด้วยขันธา-

ภิสังขารด้วยสามารถแห่งตทังคะ ย่อมแล่นไปเพราะเห็นโทษแห่งสังขตธรรม

และเพราะน้อมไปในนิพพานอันตรงกันข้ามกับโทษแห่งสังขตธรรมนั้น เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สละคืนเพราะบริจาค และสละคืนเพราะแล่นไป.

มรรคย่อมสละกิเลสทั้งหลายพร้อมขันธาภิสังขาร ด้วยอำนาจแห่งการ

ตัดขาด ย่อมแล่นไปในนิพพานด้วยการทำให้เป็นอารมณ์ เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า สละคืนเพราะบริจาค สละคืนเพราะแล่นไป. แม้ทั้งสองบท

นั้น ท่านก็กล่าวว่าเป็น อนุปัสสนา เพราะความเห็นญาณก่อน ๆ พึงทราบว่า

ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความสละคืน)

แม้สองอย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออกย่อมศึกษาว่า เราจักเป็นผู้พิจารณา

เห็นความสละคืนหายใจเข้า หายใจออก.

อนึ่ง พึงทราบว่า ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี นี้ ท่านกล่าวด้วย

อำนาจแห่งวิปัสสนาอ่อน. บทว่า วิราคานุปสฺสี ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่ง

วิปัสสนาอันสามารถคลายความกำหนัด ในสังขารทั้งหลายได้ เพราะมีกำลังมาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 196

กว่านั้น. บทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา

อันกล้าแข็ง ใกล้มรรคเข้าไปแล้ว.

แม้มรรคก็มิได้ทำลายไปในวิปัสสนาที่ได้ ท่านกล่าวจตุกะนี้ด้วย

อำนาจแห่งวิปัสสนาบริสุทธิ์ แต่ ๓ อย่างข้างต้น ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่ง

สมถะและวิปัสสนา.

จบอรรถกถาอาปานสติมาติกกา

บัดนี้ เพื่อแสดงจำแนกมาติกาตามที่วางไว้โดยลำดับ จึงเริ่มบทมีอา-

ทิว่า อิธาติ อิมิสฺสา ทิฏฺิยา. บทว่า อิธ คือในทิฏฐินี้. ในบทเหล่านั้น

ท่านกล่าวถึงคำสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเท่านั้น อันได้แก่ไตรสิกขาด้วยบท

๑๐ บทมีอาทิว่า อิมิสฺสา ทิฏฺิยา ในทิฏฐินี้ เพราะคำสอนนั้นท่านกล่าวว่า

ทิฏฐิ เพราะพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคทรงเห็นแล้ว ท่านกล่าวว่า ขันติ

ด้วยสามารถความอดทน กล่าวว่า รุจิ ด้วยสามารถความชอบใจ กล่าวว่า

เขต ด้วยสามารถการถือเอา กล่าวว่า ธรรม ด้วยอรรถว่าเป็นสภาวธรรม

กล่าวว่า วินัย ด้วยอรรถว่าควรศึกษา กล่าวว่า ธรรมวินัย แม้ด้วยอรรถ

ทั้งสองนั้น กล่าวว่า ปาพจน์ ด้วยสามารถธรรมที่ตรัส กล่าวว่า

พรหมจรรย์ ด้วยอรรถว่าเป็นความประพฤติอันประเสริฐ กล่าวว่า สัตถุ-

ศาสน์ ด้วยสามารถให้คำสั่งสอน.

เพราะฉะนั้น ในบทว่า อิมิสฺสา ทิฏฺิยา เป็นต้นพึงทราบ

ความว่า ในความเห็นของพระพุทธเจ้านี้ ในความอดทนของพระพุทธเจ้านี้

ในความชอบใจของพระพุทธเจ้านี้ ในเขตของพระพุทธเจ้านี้ ในธรรมของ

พระพุทธเจ้านี้ ในวินัยของพระพุทธเจ้านี้ ในธรรมและวินัยของพระพุทธเจ้านี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 197

ในปาพจน์ของพระพุทธเจ้านี้ ในพรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้านี้ ในสัตถุศาสน์

ของพระพุทธเจ้านี้.

อีกอย่างหนึ่ง ปาพจน์ทั้งสิ้น อันได้แก่ ไตรสิกขานี้ ชื่อว่า ทิฏฐิ

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นแล้ว เพราะเป็นปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ และ

เพราะมีสัมมาทิฏฐิเป็นธรรมถึงก่อน ชื่อว่า ขันติ ด้วยสามารถความอดทนของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า รุจิ ด้วยสามารถความพอใจ ชื่อว่า อาทาย

ด้วยสามารถการถือเอา ชื่อว่า ธรรม เพราะทรงไว้ซึ่งผู้ปฏิบัติของตนมิให้

ตกไปในอบาย ชื่อว่า วินัย เพราะขจัดฝ่ายเศร้าหมองออกไป ธรรมและ

วินัยนั้นชื่อว่าธรรมวินัย หรือชื่อว่าธรรมวินัย เพราะขจัดอกุศลธรรมทั้งหลาย

ด้วยกุศลธรรม ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนโคตมี

ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใด ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด ไม่

เป็นไปเพื่อมีความกำหนัด ฯลฯ ดูก่อนโคตมี ท่านพึงทรงไว้โดยส่วนเดียว

นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ หรือชื่อว่า ธรรมวินัย เพราะ

เป็นข้อบังคับโดยธรรม มิใช่ข้อบังคับโดยอาชญาเป็นต้น. สมดังที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ชนบางพวกฝึกด้วยอาชญา ด้วยขอ และด้วย

หวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาธรรมใหญ่ ไม่ใช่

อาชญา ไม่ใช้ศัสตรา ฝึกผู้ประเสริฐ.

อนึ่ง ชื่อว่าธรรมวินัยเพราะแนะนำโดยธรรม ว่าอะไรเป็นความริษยา

ของผู้รู้ หรือปฏิบัติโดยธรรม. จริงอยู่วินัยนั้นเพื่อธรรมไม่มีโทษ มิใช่เพื่อ

อานิสงส์แห่งโภคสมบัติในภพ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้มิใช่อยู่เพื่อหลอกลวงคน. แม้พระปุณณเถระ

ก็กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส การประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อ

อนุปาทาปรินิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วินัย เพราะนำไปให้บริสุทธิ์ การ

นำไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมวินัย. วินัยนั้นย่อมนำไปจากธรรมคือสงสาร หรือ

จากธรรมมีความโศกเป็นต้น สู่นิพพานอันบริสุทธิ์ หรือการนำไปสู่ธรรม

มิใช่นำไปสู่พวกเจ้าลัทธิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรมวินัย. จริงอยู่ พระผู้มี

พระภาคเจ้าเป็นผู้ทรงธรรม วินัยนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนั่นแล.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะธรรมทั้งหลายนั้นแล ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้ ควรละ

ควรเจริญ และควรทำให้แจ้ง ฉะนั้น วินัยนั้นเป็นการนำไปในธรรมทั้งหลาย

มิใช่นำไปในสัตว์ และในสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรมวินัย.

คาเป็นประธานเพราะคำของคนอื่นโดยพร้อมด้วยอรรถและพร้อมด้วย

พยัญชนะ ชื่อว่าคาเป็นประธาน คำเป็นประธานนั้นแล ชื่อว่า ปาพจน์. ชื่อว่า

พรหมจรรย์ เพราะมีความประพฤติประเสริฐด้วยจริยาทั้งปวง. ชื่อว่าสัตถุศาสน์

เพราะเป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย หรือคำสอนอันเป็นของพระศาสดา ชื่อว่า สัตถุศาสน์. เพราะ

พระธรรมวินัยนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นศาสดาในพระบาลีว่า

ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว ธรรมและวินัย

นั้นจักเป็นศาสดาของพวกเธอโดยล่วงเราไป. พึงทราบความแห่งบททั้งหลาย

เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง เพราะภิกษุผู้ยังอานาปานสติสมาธิให้เกิด

โดยอาการทั้งปวงมีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น มิได้มีในศาสนาอื่น ฉะนั้น ในบทนั้น ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 199

ท่านจึงกำหนดความแน่นอนลงไปว่า อิมสฺส แห่งศาสนานี้ และ อิมสฺมึ

ในศาสนานี้. นี้เป็นอรรถแห่งการชี้แจงของมาติกาว่า อิธ.

อนึ่ง ท่านไม่กล่าวอรรถแห่งคำของ ภิกฺขุ ศัพท์ด้วยคำมีอาทิว่า

ปุถุชฺชนกลฺยาณโก ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน แล้วแสดงถึงภิกษุที่ประสงค์

เอาในที่นี้เท่านั้น. ในบทนั้นชื่อว่าปุถุชน เพราะเป็นผู้ยังตัดกิเลสไม่ได้ และ

ชื่อว่ากัลยาณชน เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยข้อปฏิบัติมีศีลเป็นต้น เพราะเหตุนั้น

จึงชื่อว่า กัลยาณปุถุชน กัลยาณปุถุชนนั่นแล ชื่อว่า ปุถุชฺชนกลฺยาณโก.

ชื่อว่า เสกฺโข เพราะยังศึกษาอธิศีลเป็นต้น ได้แก่ พระโสดาบัน

พระสกทาคามี หรือพระอนาคามี.

ชื่อว่า อกุปฺปธมฺโม เพราะมีธรรมคืออรหัตผล ไม่กำเริบคือไม่

อาจให้หวั่นไหวได้. จริงอยู่ แม้ผู้มีธรรมไม่กำเริบนั้นก็ยังเจริญสมาธินี้.

พึงทราบวินิจฉัยในอรัญญนิเทศดังต่อไปนี้. โดยปริยายแห่งวินัย คำว่า

ป่า มาในบทมีอาทิว่า ป่าที่เหลือนอกจากบ้านและอุปจารแห่งบ้าน. โดยปริยาย

แห่งพระสูตร หมายถึงภิกษุผู้อยู่ป่า มาแล้วในบทมีอาทิว่า เสนาสนะท้ายสุด

ชั่ว ๕๐๐ ธนู ชื่อว่า ป่า. พระวินัยและพระสูตรแม้ทั้งสองเป็นปริยายเทศนา

(เทศนาแบบบรรยาย) เพื่อแสดงป่าโดยปริยายเเห่งอภิธรรมว่า พระอภิธรรมเป็น

นิปริยายเทศนา (เทศนาไม่อ้อมค้อม) จึงกล่าวว่า ป่าคือออกนอกเสาเขื่อนไป.

ปาฐะว่า นิกฺขมิตฺวา พหิ อินฺทขีล ท่านกล่าวว่า เลยเสาเขื่อนออกไป.

อนึ่ง ในบทว่า อินฺทขีโล นี้ คือ ธรณีประตูบ้านหรือนคร.

พึงทราบวินิจฉัยในรุกขมูลนิเทศดังต่อไปนี้. เพราะโคนไม้ปรากฏแล้ว.

ท่านจึงไม่กล่าวถึงโคนไม้นั้น กล่าวคำมีอาทิว่า ยตฺถ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 200

บทว่า ยตฺถ คือที่โคนไม้ใด. ชื่อว่า อาสนะ เพราะเป็นที่นั่ง. บทว่า

ปญฺตฺต คือตั้งไว้แล้ว. บทว่า มญฺโจ วา เป็นอาทิ เป็นคำกล่าวถึงประเภท

ของอาสนะ. จริงอยู่ แม้เตียงท่านก็กล่าวไว้ในอาสนะทั้งหลาย ในบทนี้เพราะ

เป็นโอกาสนั่งก็ได้. อนึ่ง เตียงนั้นเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาเตียงพิเศษ

คือมสารกะ (เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าไปในขา) พุนทิกาพัทธ์ (เตียงติดกันเป็น

แผง) กุฬีรปาทกะ (เตียงมีเท้าดังตีนปู) อาหัจจปาท (เตียงมีขาจดแม่แคร่).

บรรดาตั่งเหล่านั้น ตั่งอย่างใดอย่างหนึ่งเหมือนกัน.

บทว่า ภิสิ ฟูก ได้แก่ฟูกอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาฟูกทำด้วยขนแกะ

ฟูกทำด้วยผ้า ฟูกทำด้วยเปลือกไม้ ฟูกทำด้วยหญ้า ฟูกทาด้วยใบไม้. บทว่า

ตฏฺฏิกา เสื่อ คือเสื่อทอด้วยใบตาลเป็นต้น. บทว่า จมฺมขณฺโฑ ท่อนหนัง

คือท่อนหนังอย่างใดอย่างหนึ่งอันสมควรเป็นที่นั่ง. เครื่องลาดทำด้วยหญ้า

เป็นต้น คือ เอาหญ้าเป็นต้นสุมกันเข้า. บทว่า ตตฺถ คือ ที่โคนไม้นั้น.

ด้วยบทมีอาทิว่า จงฺกมติ วา เดินท่านกล่าวถึงความที่โคนไม้ใช้เป็นที่ยัง

อิริยาบถ ๔ ให้เป็นไปได้. ด้วยบททั้งปวงมี บทว่า ยตฺถ เป็นอาทิ ท่าน

กล่าวถึงความที่โคนไม้มีร่มเงาหนาทึบ และเพราะเป็นที่สงัดจากผู้คน. บทว่า

เกนจิ ด้วยหมู่ชนใด ๆ. ท่านแยกหมู่ชนนั้นให้พิสดารออกไปจึงกล่าวว่า

คหฏฺเน วา ปพฺพชิเตน วา เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม.

บทว่า อนากิณฺณ ไม่เกลื่อนกล่น คือไม่มั่วสุม ไม่คับแคบ. เสนาสนะใด

เป็นที่รกชัฎด้วยภูเขา รกชัฏด้วยป่า รกชัฏด้วยแม่น้ำ คาวุตหนึ่งบ้าง กึ่งโยชน์

บ้างโดยรอบ ใคร ๆ ไม่อาจเข้าไป โดยมิใช่เวลาอันควรได้ เสนาสนะนี้

ชื่อว่าไม่เกลื่อนกล่นแม้ในที่ใกล้. ส่วนเสนาสนะใดอยู่กึ่งโยชน์หรือโยชน์หนึ่ง

เสนาสนะนี้ ชื่อว่าไม่เกลื่อนกล่นเพราะอยู่ไกล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 201

บทว่า วิหาโร วิหาร ได้แก่ที่อยู่อันเหลือพ้นจากโรงมีหลังคาครั้งหนึ่ง

เป็นต้น.

บทว่า อฑฺฉโยโค โรงมีหลังคาครึ่งหนึ่ง ได้แก่เรือนปีกครุฑ.

บทว่า ปาสาโท ปราสาท ได้แก่ ปราสาทยาวมีช่อฟ้าสอง.

บทว่า หมฺมิย เรือนโล้น ได้แก่ ปราสาทมีเรือนยอดตั้งอยู่ ณ พื้น

อากาศเบื้องบน.

บทว่า คุหา ถ้ำ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาขันธกะอย่างนี้ คือ ถ้ำอิฐ

ถ้ำหิน ถ้ำไม้ ถ้ำดิน. ส่วนในอรรถกถาวิภังค์ ท่านกล่าวถึงเสนาสนะที่ทำ

แสดงทางบริหารโดยรอบ และที่พักกลางคืนและกลางวันไว้ในภายในว่าวิหาร.

บทว่า คุหา ได้แก่ ถ้ำพื้นดิน ควรได้พักอาศัยตลอดคืนและวัน.

ท่านกล่าวบททั้งสองนี้ให้ต่างกัน คือ ถ้ำภูเขาหรือถ้ำพื้นดิน ท่านทำให้เป็น

วัตตมานาวิภัตติว่า นิสีทติ ย่อมนั่งด้วยอำนาจแห่งลักษณะทั่วไปแก่กาลทั้งปวง

แห่งมาติกา แต่ท่านทำเป็นรูปสำเร็จว่า นิสินฺโน นั่งแล้ว เพื่อแสดงการ

เริ่มและการสุดท้ายของการนั่ง เพราะมีการเริ่มภาวนาของภิกษุผู้นั่ง ณ ที่นี้.

อนึ่ง เพราะเมื่อภิกษุนั่งตั้งกายตรง กายย่อมตรง ฉะนั้นท่านไม่เอื้อ

ในพยัญชนะ เมื่อจะแสดงถึงความประสงค์อย่างเดียว จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

อุชุโก ตรง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ิโต สุปณิหิโต กายเป็นกายอันภิกษุนั้นตั้ง

ไว้ตรง ความว่า เป็นกายตั้งไว้ตรง เพราะตั้งตรงอยู่แล้ว มิใช่ตั้งไว้ตรงด้วย

ตนเอง. บทว่า ปริคฺคหฏฺโ คือมีความกำหนดถือเอาเป็นอรรถ. กำหนด

ถือเอาอะไร. ถือการนำออก. นำอะไรออก. นำอานาปาสติสมาธิตลอดถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 202

อรหัตมรรคออก ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า นิยฺยานฏฺโ มีความนำออก

เป็นอรรถ. ท่านกล่าวมีการนาออกเป็นอรรถ จากสงสารด้วยสามารถแห่งอรรถ

อันเจริญของมุขศัพท์.

บทว่า อุปฏฺานตโถ มีความเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ คือ มีสภาวธรรม

เป็นอรรถ. ด้วยบทเหล่านี้ทั้งหมดเป็นอันท่านอธิบายว่า ตั้งสติมีความนำออก

กำหนดถือเอา. แต่อาจารย์บางพวกพรรณนาว่า บทว่า ปริคฺคหฏฺโ คือ

มีความกำหนดถือเอาเป็นอรรถด้วยสติ. บทว่า นิยฺยานฏฺโ คือมีทวารเข้า

ออกของลมอัสสาสปัสสาสะ. ท่านอธิบายว่า ตั้งสติมีความนำลมอัสสาสะ

ปัสสาสะที่กำหนดถือเอาออก.

บทว่า พตฺตึสาย อาการหิ ด้วยอาการ ๓๒ ท่านกล่าวด้วยสามารถ

การถือเอาโดยไม่มีส่วนเหลื่อ ของภิกษุทั้งหลายผู้ได้รับตามลำดับ ในสิ่งที่ไม่

แน่นอนนั้น ๆ. บทว่า ทีฆ อสฺสาสวเสน ด้วยสามารถลมหายใจเข้ายาว

คือ ด้วยสามารถลมอัสสาสะที่กล่าวแล้วว่า ยาว ในมาติกา. ในบทที่เหลือ

ก็อย่างนี้. บทว่า เอกคฺคต คือความที่จิตมีอารมณ์เดียว. บทว่า อวิกฺเขปน

ไม่ฟุ้งซ่าน คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวท่านกล่าวว่า ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะจิตไม่

ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ. บทว่า ปชานโต รู้อยู่ คือรู้ รู้ชัดด้วยความ

ไม่หลง หรือรู้ด้วยทำให้เป็นอารมณ์ว่า เราได้ความไม่ฟุ้งซ่านแล้ว. บทว่า

ตาย สติยา คือด้วยสติที่เข้าไปตั้งไว้แล้ว. บทว่า เตน าเณน คือด้วย

ญาณรู้ความไม่ฟุ้งซ่านนั้น. ในบทว่า สโตการี โหติ เป็นผู้ทำสตินี้ เพราะ

สติสัมปยุตด้วยญาณนั่นแล ท่านประสงค์เอาสติ. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า ภิกษุประกอบสติและปัญญาอย่างยิ่ง ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ. ฉะนั้นแม้

ญาณท่านก็ถือเอาด้วยคำว่า สโต มีสติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 203

บทว่า อทฺธานสงฺขาเต คือในกาลที่นับยาว. ทางยาวท่านก็เรียกว่า

อทฺธาโน. แม้กาลนี้ท่านก็กล่าวว่า อทฺธาโน เพราะยาวดุจทางยาว แม้กล่าว

ลมอัสสาสะ และลมปัสสาสะต่างหากกันว่า อสฺสสติ หายใจเข้าบ้าง และ

ปสฺสติ หายใจออกบ้าง เพื่อแสดงความเป็นไปตามลำดับแห่งภาวนา ท่าน

จึงกล่าวย่ออีกว่า อสฺสสติ บ้าง ปสฺสสติ บ้าง. บทว่า ฉนฺโท อุปฺปชฺชติ

ฉันทะย่อมเกิด คือ ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความยิ่ง ๆ ในรูปแห่งความเจริญยิ่งของ

ภาวนา. บทว่า สุขุมตร ละเอียดกว่า ท่านกล่าวเพราะมีความสงบ. บทว่า

ปามุชฺช อุปฺปชฺชติ ความปราโมทย์ย่อมเกิด คือปีติย่อมเกิด เพราะความ

บริบูรณ์แห่งภาวนา.

บทว่า อสฺสาสปสฺสาสาปิ จิตฺต วิวฏฺฏติ จิตย่อมหลีกออกจาก

ลมอัสสาสปัสสาสะ คือ เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิด เพราะอาศัยลมอัสสาสปัสสาสะ

จิตย่อมกลับจากลมอัสสาสปัสสาสะปกติ. บทว่า อุเปกฺขา สณฺาติ อุเบกขา

ย่อมตั้งอยู่ คือในปฏิภาคนิมิตนั้น มัชฌัตตุเบกขาอันเป็นอุปจาระและอัปปนา

ย่อมตั้งอยู่ เพราะไม่มีความขนขวายในการตั้งไว้ซึ่งการบรรลุสมาธิ.

บทว่า นวหากาเรหิ ด้วยอาการ ๙ อย่าง ได้แก่ อาการ ๙ อย่าง

คือ อาการ ๓ ท่านกล่าวว่า อสฺสสติ บ้าง ปสฺสสติ บ้าง ก่อนแต่ฉันทะเกิด

ตั้งแต่เริ่มภาวนา อาการ ๓ ก่อนความปราโมทย์เกิดตั้งแต่ฉันทะเกิด อาการ

๓ ตั้งแต่ความปราโมทย์เกิด. บทว่า กาโย กาย ชื่อว่า กาย เพราะประชุม

ลมอัสสาสะและปัสสาสะที่เป็นของละเอียด ๆ ขึ้นไป. แม้นิมิตที่เกิดเพราะอาศัย

ลมอัสสาสะปกติปัสสาสะปกติ ก็ย่อมได้ชื่อว่า ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ.

บทว่า อุปฏฺาน สติ สติปรากฏ ชื่อว่า สติปรากฏ เพราะสติ

กำหนดอารมณ์นั้นตั้งอยู่. บทว่า อนุปสฺสนาาณ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 204

ความว่า กายานุปัสสนาเป็นนิมิตด้วยสามารถสมถะอนุปัสสนา คือ นามกาย

รูปกาย เป็นญาณด้วยสามารถวิปัสสนา.

บทว่า กาโยอุปฏฺาน กายปรากฏ คือ ชื่อว่า ปรากฏ เพราะกายมี

สติเข้าไปตั้งอยู่. บทว่า โน สติ ไม่ใช่สติ ความว่า กายนั้นไม่ใช่สติ.

บทว่า ตาย สติยา คือ สติที่กล่าวแล้วในบัดนี้. บทว่า เตน าเณน

ด้วยญาณนั้น คือ ด้วยญาณที่กล่าวในบัดนี้เหมือนกัน. บทว่า ต กาย อนุปสฺ-

สติ พิจารณาเห็นกายนั้น คือ ไปตามกายตามที่กล่าวด้วยอำนาจแห่งสมถะและ

วิปัสสนา แล้วเห็นด้วยญาณสัมปยุตด้วยฌาน หรือด้วยวิปัสสนาญาน. แม้ใน

ความไม่มีบทมี กาย เป็นต้น ในมาติกา ก็ควรกล่าวในบัดนี้เพราะจตุกะนี้

ท่านกล่าวด้วยสามารถกายานุปัสสนา ท่านชี้แจงบทแห่ง กาย หมายถึงคำว่า

กาเย กายานุปสฺสนา สติปฏฺานภาวนา สติปัฏฐานภาวนา คือ การ

พิจารณาเห็นภายในกาย.

บทว่า กาเย กายานุปสฺสนา คือ การพิจารณาเห็นกายนั้น ๆ ใน

กายหลายอย่าง. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า การพิจารณาเห็นกายในกาย

มิใช่พิจารณาเห็นธรรมอื่น มิใช่พิจารณาเห็นความเที่ยงความเป็นทุกข์ความงาม

ในกายอันเป็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาและไม่งาม โดยที่แท้การ

พิจารณาเห็นกายเท่านั้น โดยความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาและไม่งาม. อีก

อย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า การพิจารณาเห็นกายสักแต่ว่ากาย เพราะไม่เห็น

ใคร ๆ ที่ควรถือในกายว่า เรา ของเรา หญิง หรือชาย.

แม้ใน ๓ บท มีอาทิว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสนา ข้างต้นก็มี

นัยนี้เหมือนกัน. สตินั่นแลปรากฏชื่อว่า สติปัฏฐาน สติปัฏฐานสัมปยุตด้วย

กายานุปัสสนา ชื่อว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏ-

ฐานนั้น ชื่อว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐานภาวนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

บทว่า ต กาย ท่านกล่าวทำดุจว่าแสดงแล้วเพราะกายนั้น ท่าน

สงเคราะห์ด้วย กาย ศัพท์ ในนามกาย รูปกาย แม้ยังมิได้แสดงไว้ เพราะ

อนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ย่อมได้ในนามกายและรูปกายนั่นเอง ไม่ได้ในกาย

นิมิต อนุปัสสนาและภาวนาย่อมได้เพราะท่านกล่าวไว้แล้ว.

บทมีอาทิว่า ทีฆ อสฺสาสปสฺสาสวเสน ด้วยสามารถลมหายใจ

เข้า ลมหายใจออกยาว ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงอานิสงส์แห่งอานาปานสติภาวนา

เพราะความที่สติไพบูลย์และญาณไพบูลย์เป็นอานิสงส์อานาปานสติภาวนานั้น.

บทว่า จิตฺตสฺส เอกคฺคต อวิกฺเขป ปชานโต เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์

เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ท่านกล่าวหมายถึงความที่จิตมีอารมณ์เดียวในกาลเห็นแจ้งฌาน

ที่ได้แล้ว. บทว่า วิทิตา เวทนา คือเวทนาซึ่งปรากฏด้วยเห็นการเกิดขึ้น

จากความเป็นสามัญ. บทว่า วิทิตา อุปฏฺหนฺติ ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ คือ

ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป โดยความสูญ. บทว่า

วิทิตา อพฺภตฺถ คจฺฉนติ ปรากฏถึงความดับไป คือ ปรากฏถึงความพินาศ

ด้วยเห็นความเสื่อมโดยความเป็นสามัญ อธิบายว่า ทำลาย. แม้ในสัญญาและ

วิตกก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

อนึ่ง เมื่อท่านกล่าว เวทนา สัญญาและวิตก ๓ อย่างเหล่านี้ แม้รูป

ธรรมที่เหลือก็เป็นอันกล่าวไว้ด้วย. เพราะเหตุไรจึงกล่าว ๓ อย่างเท่านั้น.

เพราะกำหนดถือเอาได้ยาก สุขทุกข์ปรากฏในเวทนาก่อน แต่อุเบกขา สุขุม

กำหนดถือเอาได้ยาก ไม่ปรากฏด้วยดี แม้อุเบกขาก็ยังปรากฏแก่ภิกษุนั้น.

สัญญาถือเอาตามสภาวะ. ไม่ปรากฏเพราะถือเอาเพียงอาการ. อนึ่ง สัญญานั้น

สัมปยุตด้วยวิปัสสนาญาณถือเอาลักษณะเป็นสามัญตามสภาวะไม่ปรากฏอย่างยิ่ง

แม้สัญญาจะปรากฏแก่ภิกษุนั้น วิตกทำไว้ต่างหากจากญาณ เพราะเป็นญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

ปฏิรูป จึงกำหนดถือเอายาก เพราะญาณปฏิรูปเป็นวิตก. สมดังที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนอาวุโสวิสาขะ ธรรมคือ สัมมาทิฏฐิและสัมมา-

สังกัปปะสงเคราะห์เข้าในปัญญาขันธ์.

แม้วิตกนั้นก็ปรากฏแก่ภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้น เมื่อกล่าวถึงการกำหนด

ถือเอายากอย่างนี้ รูปธรรมที่เหลือก็เป็นอันกล่าวแล้วด้วย. ในนิเทศแห่งบทเหล่า

นี้ ท่านถามว่า เวทนาปรากฏเกิดขึ้นอย่างไร ไม่แก้บทนั้นแก้เพียงปรากฏแห่ง

เวทนาที่เกิดขึ้น จึงเป็นอันแก้ความที่เวทนาปรากฏ เพราะเหตุนี้ จึงกล่าวคำ

มีอาทิว่า กถ เวทนาย อุปฺปาโท วิทิโต โหติ ความเกิดแห่งเวทนาปรากฏ

อย่างไร. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทมีอาทิว่า อวิชฺชาสมุทยา อวิชฺชานิโรธา เพราะอวิชชาเกิด

เพราะอวิชชาดับ มีความดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. แม้สัญญาและวิตก

ก็พึงทราบโดยนัยนี้แล. ในวิตักกวาระ ท่านมิได้กล่าวว่า เพราะผัสสะดับ

แล้วกล่าวในที่แห่งผัสสะว่า เพราะสัญญาเกิด เพราะสัญญาดับ. หากถามว่า

ที่กล่าวดังนั้นเพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะวิตกมีสัญญาเป็นมูล เพราะท่าน

กล่าวไว้ว่า ความต่างกันแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา.

อนึ่ง ในบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต มนสิกโรโต เมื่อมนสิการโดยความ

ไม่เที่ยง พึงประกอบธรรมนั้น ๆ ในวาระนั้น ๆ โดยนัยมีอาทิว่า เวทน

อนิจฺจโต มนสิกโรโต เมื่อมนสิการเวทนาโดยความไม่เที่ยง ก็เพราะ

เวทนาสัมปยุตด้วยวิปัสสนา จึงไม่เป็นอุปการะแก่วิปัสสนา เพราะไม่สามารถ

ในการทำกิจแห่งวิปัสสนาได้ ฉะนั้นนั่นเอง เวทนาจึงไม่มาในโพธิปักขิยธรรม

กิจแห่งสัญญาสัมปยุตด้วยวิปัสสนา จึงไม่คลาดเคลื่อน เพราะฉะนั้น สัญญานั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

จึงเป็นอุปการะส่วนเดียวของวิปัสสนา แต่กิจแห่งการเห็นแจ้งเว้นวิตกย่อม

ไม่มี เพราะวิปัสสนามีวิตกเป็นสหายย่อมทำกิจของตน. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ปัญญาตามธรรมดาของตนย่อมไม่สามารถจะตัดสินอารมณ์ว่า อนิจฺจ

ทุกฺข อนตฺตาได้ แต่เมื่อวิตกกระทบแล้ว กระทบแล้วให้อารมณ์ จึง

สามารถตัดสินได้ เหมือนเหรัญญิกวางกหาปณะไว้ที่มือ แม้ประสงค์จะตรวจดู

ในส่วนทั้งหมดก็ไม่สามารถจะพลิกกลับด้วยสายตาได้ แต่ครั้นเอานิ้วมือพลิก

กับไปมาข้างโน้นข้างนี้ ก็สามารถตรวจดูได้ฉันใด ปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ตามธรรมดาของตนไม่สามารถวินิจฉัยอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยง

เป็นต้นได้ แต่สามารถวินิจฉัยอารมณ์อันวิตกมีการยกขึ้นเป็นลักษณะ มีการ

กระทบและการจดจ่อเป็นรสอันมาแล้ว ๆ ให้ได้ ดุจกระทบและพลิกกลับไปมา

ฉะนั้น.

เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงเพียงลักษณะเพราะเวทนาและสัญญาทั้งหลาย

เป็นอุปการะแก่วิปัสสนา ท่านจึงชี้แจงด้วยเอกวจนะในบทนั้น ๆ ว่า เวทนาย

สญฺาย ดังนี้.

บทว่า ทีฆ อสฺสาสปสฺสาสวเสน ด้วยสามารถลมหายใจเข้าลม

หายใจออกยาวเป็นอาทิ ท่านกล่าวเพื่อแสดงความถึงพร้อมแห่งอานาปานสติ-

ภาวนา และผลแห่งภาวนา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สโมธาเนติ ให้ประชุมลง ความว่า ตั้งไว้

ซึ่งอารมณ์หรือยังอารมณ์ให้ดังไว้ ชื่อว่า บุคคลย่อมตั้งอารมณ์ เพื่อความ

บริบูรณ์แห่งภาวนา แม้ในความไม่มีความตั้งมั่น และความขวนขวาย. บทว่า

โคจร อารมณ์ คือ สังขารเป็นอารมณ์ในขณะแห่งวิปัสสนาและนิพพานเป็น

อารมณ์ในขณะแห่งมรรคและขณะแห่งผล. บทว่า สมตฺถ คือความสงบเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 208

ประโยชน์ หรือชื่อว่า สมตฺโถ เพราะประโยชน์ของความสงบ ซึ่งธรรมมี

ความสงบเป็นประโยชน์นั้น. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า มคฺค สโมธาเนติ ยังมรรคให้ประชุมลง คือนิพพานนั่นเอง

เป็นโคจรในขณะมรรคและผล. บทว่า อย ปุคฺคโล บุคคลนี้คือพระโยคาวจร

ผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอานาปานสติภาวนา. ในบทว่า อิมสฺมึ อารมฺมเณ

ในอารมณ์นี้ คือในอารมณ์อันเป็นสังขตะ กล่าวคือ นามกาย รูปกาย ที่ท่าน

สงเคราะห์ ด้วยบทว่า กาเย และในนิพพานเป็นอารมณ์อันเป็นมรรคโดยลำดับ

นั้น. ท่านกล่าวศัพท์ว่า อารัมมณะ และ โคจร มีความอันเดียวกันด้วย

บทว่า ยนฺตสฺส เป็นอาทิ. บทว่า ตสฺส คือ แห่งบุคคลนั้น. บทว่า

ปชานาตีติ ปุคฺคโล ปชานนา ปญฺา ท่านอธิบายว่า บุคคลย่อมรู้ด้วย

ปัญญา. บทว่า อารมฺมณสฺส อุปฏฺาน ความปรากฏซึ่งอารมณ์ คือ สติ

เป็นความปรากฏแห่งสังขารเป็นอารมณ์ในขณะแห่งวิปัสสนาและนิพพานเป็น

อารมณ์ในขณะแห่งมรรคผล. ในบทที่ เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในกรรม(ทุติยาวิภัตติ)

เหมือนกล่าวว่าบำรุงซึ่งพระราชา. บทว่า อวิกฺเขโป ความไม่ฟุ้งซ่าน คือสมาธิ.

บทว่า อธิฏฺาน ความตั้งมั่น คือมีสังขารตามที่กล่าวแล้วเป็นอารมณ์และมี

นิพพานเป็นอารมณ์ ชื่อว่า อธิฏฺาน เพราะอารมณ์มีจิตตั้งมั่. บทว่า

โวทาน ความผ่องแผ้ว คือ ญาณ ชื่อว่า โวทาน เพราะอารมณ์เป็น

เหตุให้ผ่องแผ้วบริสุทธิ์.

สมาธิอันเป็นฝ่ายหดหู่ ชื่อว่า สงบ เพราะเป็นความสงบด้วยการถึง

ความไม่หดหู่. ญาณอันเป็นฝ่ายฟุ้งซ่านชื่อว่า สงบ เพราะเป็นความสงบ

ด้วยภาวะความไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยเหตุนั้นเป็นอันกล่าวถึงความที่สมถะและ

วิปัสสนาเป็นธรรมเทียมคู่ในขณะแห่งวิปัสสนามรรคและผล แต่สติ ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 209

สงบ เพราะมีอุปการะแก่ความสงบทั้งสองนั้น เพราะมีประโยชน์ทั้งหมด

อารมณ์ชื่อว่าสงบเพราะตั้งมั่นด้วยสมถะ. บทว่า อนวชฺชฏฺโ ธรรมอันไม่มี

โทษเป็นประโยชน์ คือ สภาวะแห่งวิปัสสนาไม่มีโทษ. บทว่า นิกฺกิเลสฏฺโ

ธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นประโยชน์ คือ สภาวะแห่งมรรคไม่มีกิเลส. บทว่า

โวทานฏโ ธรรมมีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ คือ สภาวะแห่งผลบริสุทธิ์

บทว่า ปรมฏฺโ ธรรมอันประเสริฐเป็นประโยชน์ คือ สภาวะแห่งนิพพาน

เป็นธรรมสูงสุดกว่าธรรมทั้งปวง. บทว่า ปฏิวิชฺฌติ ย่อมแทงตลอด คือ

แทงตลอดสภาวะนั้น ๆ โดยความไม่หลง. ในบทนี้ท่านกล่าวถึงการแทงตลอด

โดยชอบด้วยบทมีอาทิว่า อารมฺณสฺส อุปฏฺาน ปรากฏซึ่งอารมณ์. อนึ่ง

ในบทนี้นั่นแหละ เพราะท่านกล่าวถึงการเเทงตลอดธรรมอันมีความผ่องแผ้ว

เป็นประโยชน์ จึงเป็นอันกล่าวถึงธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรมอัน

ไม่มีกิเลสเป็นประโยชน์ และธรรมอันประเสริฐเป็นประโยชน์ มีลักษณะอย่าง

เดียวกัน. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ธรรมเครื่องนำไปมีลักษณะดังที่ท่านกล่าวว่า

เมื่อกล่าวถึงธรรมอย่างเดียวกัน เป็นอันกล่าวถึงธรรม

บางอย่างทั้งหมดที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน.

อนึ่ง ในบทนี้ว่า ธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรมอันไม่เศร้า-

หมองเป็นประโยชน์ ชื่อว่า เป็นธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ เพราะเป็น

ประโยชน์ของความสงบกล่าวคือความไม่ฟุ้งซ่าน. ธรรมอันผ่องแผ้วเป็น

ประโยชน์ ชื่อว่า เป็นธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ เพราะความสงบ

นั่นเเหละหมายถึงความผ่องแผ้วแห่งมรรควิปัสสนาเป็นประโยชน์. ชื่อว่า เป็น

ธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ เพราะเป็นประโยชน์แห่งความสงบกล่าวคือความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 210

ผ่องแผ้วแห่งมรรค หมายถึงความผ่องแผ้วแห่งผล. ส่วนธรรมอันประเสริฐเป็น

ประโยชน์เป็นธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ เพราะมีความสงบนั่นแลเป็น

ประโยชน์ หรือเพราะเป็นประโยชน์แห่งความสงบทั้งหมด เพราะประกอบ

ด้วยนิพพานความสงบเเละธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์มีประการดังกล่าว

แล้วนั้นท่านทำให้เป็นเอกเสสสมาสสรุปเป็นเอกเทศ แล้วจึงกล่าวว่า สมตฺถญฺจ

ปฏิวิชฺฌติ แทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์. ธรรม คือ อินทรีย์

พละและโพชฌงค์ย่อมได้แม้ในขณะแห่งวิปัสสนามรรคและผล.

มรรคและวิสุทธิ ๓ ย่อมได้ในขณะมรรคผลนั่นเอง. วิโมกข์วิชชา

และความรู้ในความสิ้นไปย่อมได้ในขณะมรรคนั่นเอง. วิมุตติและความรู้ในการ

ไม่เกิด ย่อมได้ในขณะผลนั่นเอง. ทำเหลือย่อมได้แม้ในขณะแห่งวิปัสสนา.

พึงทราบวินิจฉัยในธรรมวารดังต่อไปนี้ บทว่า อิเม ธมฺเม อิมสฺมึ

อารมฺมเณ สโมธาเนติ ยังธรรมเหล่านี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้ พึงทราบ

ธรรมที่เหลือตามความประกอบเว้นนิพพาน. ท่านกล่าวบทนี้ด้วยสามารถเป็น

เยภุยนัย (เป็นส่วนมาก) อนึ่ง ในบทนี้ท่านกล่าวอรรถทียังไม่ได้กล่าวไว้แล้ว

ในหนหลัง. แม้เมื่อท่านแสดงธรรมเป็นเครื่องนำออกด้วยจตุกะหนึ่ง ๆ ก็เป็น

อันแสดงถึงธรรมเป็นเครื่องนำออกโดยส่วนหนึ่งๆ เพราะความที่ส่วนแม้หนึ่งๆ

มีการหยั่งลงไปในที่สุดแห่งจตุกะเป็นอุปนิสัยแห่งธรรมเป็นเครื่องนำออก

เพราะเว้นส่วนหนึ่ง ๆ เสียไม่เป็นการนำออก.

จบอรรถกถาแสดงลมหายใจเข้าและหายใจออกยาว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 211

พึงทราบวินิจฉัยในรัสสนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า วิตฺตรสงฺขาเต

ในขณะที่นับได้นิดหน่อย คือ ในกาลที่นับได้เล็กน้อย. บทที่เหลือพึงทราบ

โดยนัยดังกล่าวแล้วในนิเทศนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในสัพพกายปฏิสังเวทินิเทศ ดังต่อไปนี้. เพื่อถือ

เอาความสุขเพราะเวทนาในอรูปธรรมหยาบ ท่านจึงกล่าวถึงเวทนาเสวย

อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ก่อน แต่นั้นกล่าวถึงสัญญาถือเอาอาการแห่งอารมณ์

ของเวทนาอย่างนี้ว่า บุคคลย่อมรู้พร้อมถึงเวทนาทีเสวย แต่นั้นกล่าวถึงเจตนา

อันเป็นอภิสังขารด้วยอำนาจแห่งสัญญา แต่นั้นกล่าวถึงผัสสะ เพราะบาลีว่า

สัมผัสแล้วย่อมเสวยอารมณ์ สัมผัสแล้วย่อมรู้เวทนา สัมผัสแล้วย่อมคิดถึง

เวทนา แต่นั้นกล่าวถึงมนสิการอันมีลักษณะทั่วไปแห่งเวทนาทั้งปวง กล่าวถึง

สังขารขันธ์ด้วยเจตนาเป็นต้น เมื่อท่านกล่าวถึงขันธ์ ๓ อย่าง อย่างนี้เป็นอัน

กล่าวถึงวิญญาณขันธ์อาศัยขันธ์นั้น. บทว่า นามญฺจ ได้แก่ นามมีประการ

ดังกล่าวแล้ว. บทว่า นามกาโย จ นี้ ท่านกล่าวเพื่อนำนามนั้น ออก เพราะ

ท่านสงเคราะห์นิพพานเข้าโดยนาม และเพราะโลกุตรธรรมไม่เข้าถึงวิปัสสนา

เป็นอันท่านนำเอานิพพานออกด้วยคำว่า กาโย เพราะนิพพานพ้นจากกอง.

บทว่า เย จ วุจฺจนฺติ จิตฺตสงฺขารา ท่านกล่าวจิตสังขารว่าเป็นนามกาย

คือ ท่านกล่าวว่าจิตสังขาร แม้กล่าวอย่างนี้ว่า สัญญาและเวทนาเป็นเจตสิก

ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิตเป็นจิตสังขาร ก็สงเคราะห์เข้าด้วยนามกายในที่นี้.

บทว่า มหาภูตา มหาภูตรูป ชื่อว่า มหาภูตา เพราะเป็นใหญ่

โดยความปรากฏใหญ่ โดยความสามัญเป็นของใหญ่ โดยบริหารใหญ่ โดย

ผิดปกติใหญ่. มหาภูตรูปมี ๔ อย่าง คือ ปวี อาโป เตโช วาโย.

บทว่า จตุนฺนญจ มหาภูตาน อุปาทายรูป รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 212

เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ ความว่า รูปที่ยังไม่ละยังเป็นไป

เพราะอาศัยซึ่งมหาภูตรูป ๔. ก็อุปาทายรูปนั้นมี ๒๔ อย่าง คือ ตา หู จมูก

ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส หญิง ชาย ชีวิต หทัยวัตถุ โอชะ กายวิญญัติ

วจีวิญญัติ อากาศธาตุ รูปเบา อ่อน ควรแก่การงาน การสะสม การสืบต่อ

ความคร่ำคร่า ความไม่เที่ยง.

บทว่า อสฺสาโส จ ปสฺสาโส จ คือ ลมอัสสาสะ ปัสสาสะตาม

ปกตินั่นเอง. แม้ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นเพราะอาศัยลมอัสสาสปัสสาสะก็ได้ชื่อนั้น

ดุจปฐวีกสิณเป็นต้น. อนึ่ง เพราะเห็นคล้ายรูปปฏิภาคนิมิต จึงได้ชื่อว่า รูป

ดุจในประโยคมีอาทิว่า เห็นรูปในภายนอก. บทว่า นิมิตฺตญฺจ อุปนิพนฺธนา

คือ ที่สัมผัสลมอัสสาสปัสสาสะเป็นนิมิตแห่งการเนื่องกันด้วยสติ.

บทว่า เย จ วุจฺจนฺติ กายสงฺขารา ท่านกล่าวกายสังขารว่าเป็น

รูปกาย คือ ท่านกล่าวว่า กายสังขารแม้กล่าวอย่างนี้ว่า ลมอัสสาสปัสสาสะเป็น

ไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกายเป็นกายสังขาร ก็สงเคราะห์เข้าด้วยรูปกาย

ในที่นี้.

บทว่า เต กายา ปฏิวิทิตา โหนฺติ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ

คือ กายมีลมอัสสาสปัสสาสะเป็นนิมิต ในขณะแห่งฌาน กายมีรูปและไม่มีรูป

ที่เหลือในขณะแห่งวิปัสสนาย่อมปรากฏโดยอารมณ์ ในขณะแห่งมรรคย่อม

ปรากฏโดยความไม่หลง. ท่านกล่าวบทมีอาทิว่า ทีฆ อสฺสาสปญฺาสวเสน

ด้วยสามารถแห่งลมอัสสาสปัสสาสะยาวหมายถึง แม้ในวิปัสสนามรรคเกิดขึ้น

แล้วแก่พระโยคาวจร ผู้ได้ฌานด้วยสามารถแห่งลมอัสสาสปัสสาสะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 213

บทมีอาทิว่า อาวชฺชโต ปชานโต เมื่อคำนึงถึง เมื่อรู้มีความดัง

ได้กล่าวแล้วในศีลกถา. ท่านทำกายทั้งหลายมีประการดังกล่าวแล้วเหล่านั้น

ไว้ในภายในแล้วกล่าวว่า สพฺพกายปฏิสเวที เป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง

ในบทมีอาทิว่า สพฺพกายปฏิสเวที อสฺสาสปญฺาน สวรฏฺเน

ด้วยอรรถว่าความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง ระวังลมหายใจเข้าลมหายใจออก

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ความสำรวมในฌานวิปัสสนามรรคอันเกิดขึ้นแล้ว

แต่ลมอัสสาสปัสสาสะดังท่านกล่าวว่า สพฺพกายปฏิสเวที เป็นผู้รู้แจ้งกองลม

ทั้งปวง เป็นศีลวิสุทธิด้วยอรรถว่าระวัง ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นจิตวิสุทธิด้วย

อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญานั่นแลเป็นทิฏฐิวิสุทธิด้วยอรรถว่าเห็น เพียงความ

ไม่มีบาป แม้ในความไม่มีวิรัติในฌานและวิปัสสนาก็พึงทราบว่าชื่อว่าสำรวม.

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งบทมีอาทิว่า ปสฺสมฺภย ระงับ ดังต่อ

ไปนี้. บทว่า กายิกา เป็นไปทางกาย คือ มีในรูปกาย. บทว่า กายปฏิพทฺธา

คือ เนื่องด้วยกาย อาศัยกาย. เมื่อกายมี ลมอัสสาสปัสสาสะก็มี เมื่อกายไม่มี

ลมอัสสาสปัสสาสะก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ลมอัสสาสปัสสาสะจึงชื่อว่ากายสังขาร

เพราะลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านั้นปรุงขึ้นด้วยกาย. บทว่า ปสฺสมฺเภนฺ โต

ระงับ คือ ให้ดับให้สงบ. ความระงับกายสังขารอย่างหยาบ สำเร็จด้วยคำว่า

ปสฺสมฺภน. บทว่า นิโรเธนฺโต ดับ คือ ดับด้วยไม่ให้กายสังขารอย่างหยาบ

เกิดขึ้น บทว่า จูปสเมนฺโต สงบ คือ นำความสงบโดยนัยแห่งการ

แปรปรวนสันตติอย่างหนึ่งในกายสังขารอย่างหยาบนั่นแล. บทว่า สิกฺขติ

ย่อมเชื่อมความว่า ย่อมศึกษาว่า เราจักหายใจเข้าด้วยสามารถแห่งอธิการ

(หน้าที่) หรือย่อมศึกษาไตรสิกขา. บัดนี้เพื่อแสดงถึงความระงับกายสังขาร

อย่างหยาบ ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยถารูเปหิ เพราะกายสังขารเห็นปานใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 214

บทว่า อานมนา ความอ่อนไป คือ อ่อนไปข้างหลัง. บทว่า วินมนา

ความน้อมไป คือ น้อมไปทั้งสองข้าง. บทว่า สนฺนมนา ความเอนไป คือ

เอนไปเป็นอย่างดีของกายสังขารที่เอนไปแม้โดยข้างทั้งปวง. บทว่า ปณมนา

ความโอนไป คือ โอนไปข้างหน้า. บทว่า อิญฺชนา ความหวั่นไหว คือ

สั่นไป. บทว่า ผนฺทนา ความดิ้นรน คือ ส่ายไปนิดหน่อย. บทว่า ปกมฺปนา

ความโยก คือ โคลงไปมามาก. พึงทำการเชื่อมว่า ความอ่อนไป ฯลฯ ความ

โยกกายด้วยกายสังขารเห็นปานใด ระงับกายสังขารเห็นปานนั้น และความ

อ่อนไป ฯลฯ ความโยกใดแห่งกาย ระงับความอ่อนไปเป็นต้นนั้น เพราะความ

กายสังขารระงับ ก็เป็นอันระงับความอ่อนไปเป็นต้นของกาย. พึงทราบโดย

การเชื่อมความว่า กายไม่มีการน้อมไปเป็นต้น ด้วยกายสังขารเห็นปานใด

ระงับกายสังขารแม้ละเอียดสุขุมเห็นปานั้นได้. กายไม่มีการน้อมไปเป็นต้นใด

ระงับกายกายสังขารอันละเอียดสุขุมนั้นได้. บทว่า สนฺต สุขุม ละเอียด

สุขุมนี้เป็นภาวนปุงสกะ (เป็นนปุงสกลิงค์) ในบทว่า อิติ กิร นี้ บทว่า

อิติ มาในความว่า เอว อย่างนี้. บทว่า กิร มาในความว่า ยทิ ผิว่า

คือ ผิว่า เล่าลือกันมาว่า ภิกษุย่อมศึกษาว่า เราจักระงับลมอัสสาสปัสสาสะ.

แม้สุขุมอย่างนี้หายใจเข้าหายใจออก ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กิร ท่านอธิบายว่า เพราะเป็นคำเล่าลือ

จึงควรลงในอรรถว่า ไม่น่าเชื่อ ไม่น่าอดกลั้น และคนอื่นเขาพูดมา เราจึง

ไม่เชื่อ ไม่อดกลั้น ไม่ประจักษ์แก่เราว่า ภิกษุย่อมศึกษาความระงับกายสังขาร

แม้สุขุมด้วยประการฉะนี้ ดังนี้.

บทว่า เอว สนฺเต เมื่อเป็นอย่างนี้ คือ เมื่อระงับกายสังขารอันสุขุม

อย่างนี้มีอยู่. บทว่า จาตูปลทฺธิยา จ ปภาวนา น โหติ ความได้ลม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 215

ก็ไม่ปรากฏ คือ ได้ลมอัสสาสปัสสาสะ. บทว่า อุปลทฺธิ ความได้ คือ

ความรู้สึก ความว่า ความรู้สึกในการภาวนาอันมีลมอัสสาสปัสสาสะนั้นเป็น

อารมณ์ ซึ่งได้รับลมอัสสาสปัสสาสะมาย่อมไม่ปรากฏ คือ ไม่เกิด อารมณ์

นั้นไม่มีภาวนา.

บทว่า อสฺสาสปสฺสาสานญฺจ ปภาวนา น โหติ ลมอัสสาสะ

ปัสสาสะก็ไม่ปรากฏ ความว่า เพราะดับลมอัสสาสปัสสาสะแม้สุขุมด้วยภาวนา

ลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านี้นั้นก็ไม่เกิด ไม่ปรากฏ.

บทว่า อานาปานสติยา จ ปภาวนา น โหติ อานาปานสติ

ก็ไม่ปรากฏ คือสติสัมปยุตด้วยความรู้สึกในภาวนา อันมีอานาปานสตินั้นเป็น

อารมณ์ เพราะไม่มีลมอัสสาสปัสสาสะก็ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น การเจริญ

อานาปานสติสมาธิอันสัมปยุตด้วยความรู้สึกในภาวนานั้นย่อมไม่มี. บทว่า จ น

ในบทนี้ว่า น จ น ต เป็นเพียงนิบาตดุจในบทว่า ภิกฺขุ จ น เป็นอาทิ.

เชื่อมความว่า บัณฑิตทั้งหลายจะเข้าสมาบัติอย่างที่กล่าวแล้วนั้นก็หามิได้ แม้

จะออกจากสมาบัตินั้น ก็หามิได้.

บทว่า อิติ กิร คือด้วยประการอย่างนี้ โดยเป็นถ้อยคำของฝ่าย

เล่าลือ. พึงเห็นว่า กิร ศัพท์ในบทนี้ลงในอรรถว่า ด้วยประการอย่างนี้.

บทว่า เอว สนฺเต คือเมื่อความระงับมีอยู่อย่างนี้. บทว่า ยถา กต วิย

ข้อนั้นเหมือนอะไร คือ ถามความเปรียบเทียบว่า ข้อนั้นเหมือนวิธีที่กล่าวไว้

อย่างไร ท่านแสดงความเปรียบเทียบนั้น ด้วยบทว่า เสยฺยถาปิ เหมือน

อย่างว่า. บทว่า กเส กังสดาล คือ ภาชนะทำด้วยโลหะ. บทว่า นิมิตฺต คือ

อาการแห่งเสียงเหล่านั้น. อนึ่ง บทว่า นิมิตฺต เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถ

แห่งฉัฏฐีวิภัตติ ความว่า แห่งนิมิต นิมิตแห่งเสียงไม่ใช่อื่นจากเสียง. บทว่า

สุคฺคหิตตฺตา คือ เพราะถือเอาด้วยดี. บทว่า สุมนสิกตตฺตา คือเพราะนึก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 216

ด้วยดี. บทว่า สุปธาริตตฺตา เพราะทรงจำไว้ด้วยดี คือตั้งไว้ในจิตด้วยดี.

บทว่า สุขุมสทฺทนิมิตฺตารมฺมณตฺตาปิ แม้นิมิตแห่งเสียงค่อยเป็น

อารมณ์ คือ เพราะเสียงแม้ค่อยในกาลนั้นดับไป จิตแม้มีนิมิตแห่งเสียงเป็น

อารมณ์ค่อยกว่าย่อมเป็นได้ เพราะทำนิมิตแห่งเสียงค่อยกว่า แม้ไม่เป็นอารมณ์

แห่งนิมิตเสียงตามที่หมายไว้. อีกอย่างหนึ่ง แม้ความเป็นนิมิตแห่งเสียง

ค่อยกว่าเป็นอารมณ์. พึงทราบความแม้ในอัปปนาโดยในนี้แล.

ในบทมีอาทิว่า ปสฺสมฺภย พึงทราบการประกอบว่า ลมอัสสาสะ

ปัสสาสะ ท่านกล่าวว่า ระงับกายสังขาร คือ กาย หรือลมอัสสาสปัสสาสะ

ในบทนี้ว่า ระงับกายสังขาร คือกาย. เมื่อพระโยคาวจรมีความคิดคำนึงว่า

เมื่อกายสังขารแม้ระงับไปด้วยภาวนาวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งภาวนา)เราจะ

ระงับกายสังขารอย่างหยาบ ดังนี้ ชื่อว่าระงับอย่างยิ่ง ด้วยความเอาใจใส่นั้น

ความหายใจอย่างสุขุมก็ยังไม่ปรากฏ.

บทว่า อฏอนุปสฺสเน าณานิ ญาณในการพิจารณา ๘ ได้แก่

อนปัสสนาญาณ ๘ คือ เมื่อกล่าววัตถุ ๔ ว่า เป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง ยาว

สั้น ระงับกายสังขาร ด้วยอำนาจลมอัสสาสะ ๔ ด้วยอำนาจลมปัสสาสะ ๔.

บทว่า อฏฺ จ อุปฏฺานานุสสติโย อนุสติที่ปรากฏ ๘ ได้แก่

อุปัฏฐานานุสติ ๘ คือ เมื่อท่านกล่าวถึงวัตถุ ๔ โดยนัยมีอาทิว่า เมื่อรู้ความ

ที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น

ด้วยอำนาจแห่งลมอัสสาสะ ๔ ด้วยอำนาจแห่งลมปัสสาสะ ๔.

บทว่า จตฺตาริ สุตฺตนฺติกวตฺถูนิ เรื่องอันมีมาในพระสูตร ๔ คือ

สุตตันติกวัตถุ ๔ ด้วยสามารถแห่งจตุกะที่ ๑ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้แล้วในอานาปานสติสูตร.

จบอรรถกถาปฐมจตุกนิเทศ

จบภาณวาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 217

พึงทราบวินิจฉัยในปีติปฏิสังเวทินิเทศแห่งจตุกะที่ ๒ ดังต่อไปนี้ ใน

บทว่า อุปฺปฺชชติ ปีติปามุชฺช ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดนี้. บทว่า ปีติ

เป็นมูลบท. บทว่า ปามุชฺช เป็นบทขยายความ คือความปราโมทย์. ใน

บทมีอาทิว่า ยา ปีติ ปามุชฺช ท่านกล่าวว่า ปีติย่อมได้ชื่อมีอาทิอย่างนี้ว่า

ปีติและปราโมทย์. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปีติ เป็นบทแสดงสภาวะ. ความ

เป็นแห่งความปราโมทย์ ชื่อว่า ปามุชฺช. อาการแห่งความเบิกนาน ชื่อว่า

อาโมทนา. อาการแห่งความบันเทิง ชื่อว่า ปโมทนา. อีกอย่างหนึ่งการทำ

เภสัช น้ำมัน หรือน้ำร้อนน้ำเย็นให้รวมเป็นอันเดียวกัน ท่านเรียกว่า โมทนา

ฉันใด แม้ด้วยการทำธรรมทั้งหลายให้รวมเป็นอันเดียวกัน ก็เรียกว่า โมทนา

ฉันนั้น. ท่านกล่าวว่า อาโมทนา ปโมทนา เพราะเพิ่มบทอุปสรรคลงไป.

ชื่อว่า หาโส เพราะอรรถว่า ความหรรษา. ชื่อว่า ปหาโส เพราะอรรถว่า

ความรื่นเริง. บทนี้เป็นชื่อของความหรรษาร่าเริง. ชื่อว่า วิตฺติ เพราะความ

ปลื้มใจ. บทนี้เป็นชื่อของทรัพย์. อนึ่ง ชื่อว่า วิตฺติ เพราะเป็นปัจจัยแห่ง

โสมนัส เพราะทำให้เกิดความสบายใจ. เหมือนอย่างว่า ความโสมนัสย่อมเกิด

แก่คนมีทรัพย์ เพราะอาศัยทรัพย์ ฉันใด ความโสมนัสย่อมเกิดแม้แก่คนมี

ปีติ เพราะอาศัยปีติฉันนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วิตฺติ ความปลื้มใจ

จริงอยู่ บทนี้เป็นชื่อของปีติอันดำรงสภาวะแห่งความยินดีไว้. อนึ่ง บุคคลผู้มี

ปีติท่านเรียกว่า อุทคฺโค ผู้ยินดี เพราะเป็นผู้มีกายและใจสูง สูงยิ่ง. ส่วน

แห่งความเป็นผู้มีใจสูง ชื่อว่า โอทคฺย. ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ชื่อว่า

อตฺตมนตา ความดีใจ. จริงอยู่ ใจของผู้ไม่ยินดี เพราะมีทุกข์เป็นเหตุ ไม่

ชื่อว่า มีใจของตน. ใจของผู้ยินดี เพราะสุขเป็นเหตุ ชื่อว่า มีใจของตน.

ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ชื่อว่า อตฺตมนตา ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 218

เพราะความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ไม่ใช่ของใคร ๆ อื่น ความเป็นแห่งจิต

นั่นแล ชื่อว่า เจตสิกธรรม ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า อตฺตมนตา จิตฺตสส

ความที่จิตเป็นของตน. บทที่เหลือพึงทราบประกอบโดยนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้ว

ในที่นี้ ในตอนก่อนและตอนหลัง.

พึงทราบวินิจฉัยใน สุขปฏิสเวทินิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า เทฺว

สุขานิ สุขมี ๒ อย่าง ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงภูมิของสมถะ และวิปัสสนา.

เพราะกายิกสุข (สุขทางกาย) เป็นภูมิของวิปัสสนา. เจตสิกสุข (สุขทางใจ)

เป็นภูมิของสมถะและวิปัสสนา.

บทว่า กายิก กายิกสุข ชื่อว่า กายิก เพราะประกอบแล้วในกาย

โดยเกิดขึ้นตามลำดับเว้นประสาทกาย. บทว่า เจตสิก เจตสิกสุข ชื่อว่า เจตสิก

เพราะประกอบไว้ในใจโดยไม่พรากไป. ในสองบทนั้นปฏิเสธเจตสิกสุข ด้วย

บทว่า กายิก. ปฏิเสธกายิกทุกข์ ด้วยบทว่า สุข. อนึ่ง ปฏิเสธกายิกสุข

ด้วยบทว่า เจตสิก ปฏิเสธเจตสิกทุกข์ ด้วยบทว่า สุข. บทว่า สาต

ความสำราญ คือความหวาน หวานด้วยดี. บทว่า สุข คือสุขนั่นเอง มิใช่

ทุกข์. บทว่า กายสมฺผสฺสช คือ เกิดในกายสัมผัส. บทว่า สาต สุข เวทยิต

ความสุขที่ได้เสวยเป็นความสำราญ คือ ความสุขที่ได้เสวยเป็นความสำราญ

ที่ไม่ได้เสวยไม่เป็นความสำราญ ความสุขที่ได้เสวย มิใช่ความทุกข์ที่ได้เสวย

๓ บทต่อไป ท่านกล่าวด้วยเป็นอิตถีลิงค์. ความในบทนี้มีว่า สาตา เวทนา

น อสาตา สุข เวทนา น ทุกฺขา สุขเวทนาเป็นความสำราญ มิใช่ความ

ไม่สำราญ เวทนาเป็นสุข มิใช่เป็นทุกข์.

พึงประกอบเจตสิกสุขนิเทศ โดยนัยตรงข้ามกับที่ที่กล่าวแล้ว. บทว่า

เต สุขา สุขเหล่านั้นเป็นลิงควิปลาส. ท่านกล่าวว่า ตานิ สุขานิ. บทที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 219

เหลือในนิเทศนี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในปฐมจตุกะหลังในจตุกะ

พึงทราบสุตตันติกวัตถุ (เรื่องอันมีในพระสูตร) ด้วยอำนาจแห่งทุติยจตุกะ.

จบอรรถกถาทุติยจตุกนิเทศ

จบภาณวาร

พึงทราบวินิจฉัยในตติยจตุกนิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า จิตฺต เป็น

มูลบท. บทว่า วิญฺาณ เป็นบทขยายความ. บทมีอาทิว่า ย จิตฺต จิตใด

พึงประกอบโดยนัยดังกล่าวแล้วในปีติ ในบทอาทิว่า จิตฺต นั้น ชื่อว่า จิตฺต

เพราะวิจิตรด้วยจิต. ชื่อว่า มโน เพราะรู้กำหนดอารมณ์. บทว่า มานส คือ

ใจนั่นเอง. ท่านกล่าวธรรมอันสัมปยุตแล้วว่า มานโส ในบทนี้ว่า บ่วงใด

มีใจเที่ยวไปในอากาศ ดังนี้เป็นต้น พระอรหัตท่านกล่าว มานส ในบทนี้ว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ปรากฏในหมู่ชน

สาวกของพระองค์ยินดีในพระศาสนา ยังไม่ได้บรรลุ

พระอรหัต ยังเป็นพระเสขะอยู่ ไฉนจะพึงทำกาละ

เสียเล่า.

บทว่า หทย คือจิต. อุระท่านกล่าวว่า หทัย ในบทมีอาทิว่า เราจัก

ทำจิตของท่านให้พลุ่งพล่าน หรือจักฉีกอกของท่าน ท่านกล่าวว่า จิตในบท

มีอาทิว่า เห็นจะถากจิตจากจิตด้วยความไม่รู้. ท่านกล่าวหทยวัตถุ ในบทว่า

ม้าม หทัย. แต่ในที่นี้ จิต ท่านกล่าวว่า หทัย เพราะอรรถว่าอยู่ภายใน.

จิตนั้นชื่อว่า ปณฺฑร ขาว เพราะอรรถว่า บริสุทธิ์ ท่านกล่าวหมายถึง

ภวังคจิต. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้

ประภัสสร แต่จิตนั้นถูกอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมาจึงเศร้าหมอง. อนึ่ง แม้จิตอกุศล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

ท่านก็กล่าวว่า ปัณฑระเหมือนกัน เพราะอกุศลออกจากจิตนั้นแล้ว ดุจแม่น้ำ

คงคาไหลออกจากแม่น้ำคงคา และดุจแม่น้ำโคธาวรี ไหลออกจากแม่น้ำโคธาวรี

ฉะนั้น. อนึ่ง เพราะจิตมีลักษณะรู้อารมณ์ จึงไม่เป็นกิเลสด้วยความเศร้าหมอง

โดยสภาวะเป็นจิตบริสุทธิ์ทีเดียว แต่เมื่อประกอบด้วยอุปกิเลสจิตจึงเศร้าหมอง

แม้เพราะเหตุนั้นจึงควรเพื่อกล่าวว่า ปัณฑระ ( ขาวผ่อง). อนึ่ง การถือเอา

มโน ในบทนี้ว่า มโน มนายตน เพื่อแสดงถึงความเป็นอายตนะของใจ.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงถึงบทว่า มนายตนะ นี้ ว่ามิใช่ชื่อว่ามนายตนะ.

เพราะเป็นอายตนะของใจ ดุจเทวายตนะ (ที่อยู่ของเทวดา) ที่แท้ใจนั่นแหละ

เป็นอายตนะ. จึงชื่อว่า มนายตนะ. อรรถแห่งอายตนะท่านกล่าวไว้ในหนหลัง

แล้ว. ชื่อว่า มโน เพราะรู้ ความว่า รู้แจ้ง. ส่วนพระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย

กล่าวว่า ชื่อว่า มโน เพราะรู้แจ้งอารมณ์ ดุจตวงด้วยทะนานและดุจทรงชั่ง

ด้วยเครื่องชั่งใหญ่. ชื่อว่า อินฺทฺริย เพราะทำประโยชน์ให้ในลักษณะรู้.

ใจนั่นแหละเป็นอินทรีย์ จึงชื่อว่า มนินทรีย์. ชื่อว่า วิญฺาณ เพราะอรรถ

ว่ารู้แจ้ง. วิญญาณนั้นเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์ ท่านกล่าวว่า

ขันธ์งอกขึ้น วิญญาณหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณขันธ์ด้วยอรรถว่าเป็นกอง.

เพราะฉะนั้น ท่านกล่าวว่า บุคคลเมื่อตัดส่วนหนึ่งของต้นไม้ชื่อว่า

ตัดต้นไม้ ฉันใด วิญญาณแม้หนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณขันธ์ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ท่านจึงกล่าวว่า วิญญาณขันธ์งอกขึ้น. อนึ่ง เพราะอรรถแห่งกอง

มิใช่เป็นอรรถแห่งขันธ์ อรรถแห่งส่วนจึงเป็นอรรถแห่งขันธ์เท่านั้น ฉะนั้น

จึงมีความว่า วิญฺาณโฏฺาโส ส่วนแห่งวิญญาณดังนี้บ้าง เพราะเป็น

อรรถแห่งส่วน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 221

บทว่า ตชฺชา มโนวิญฺาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่

จิตนั้น คือ มโนวิญญาณธาตุอันสมควรแก่สัมปยุตธรรมมีผัสสะเป็นต้น

เหล่านั้น. จริงอยู่ ในบทนี้จิตดวงเดียวเท่านั้น ท่านกล่าวโดย ๓ ชื่อคือชื่อว่า

มโน เพราะอรรถว่า นับ ชื่อว่า วิญฺาณ เพราะอรรถว่า รู้แจ้ง ชื่อว่า

ธาตุ เพราะอรรถว่า เป็นสภาวะ หรือเพราะอรรถว่า มิใช่สัตว์. บทว่า

อภิปฺปโมโท ความเบิกบาน คือความยินดียิ่ง.

พึงทราบวินิจฉัยในสมาธินิเทศดังต่อไปนี้. ชื่อว่า ีติ ความตั้งอยู่

เพราะตั้งอยู่ในอารมณ์โดยความไม่หวั่นไหว. สองบทต่อไปเพิ่มอุปสรรคเข้า

ชื่อว่า สณฺิติ ความตั้งอยู่ดี เพราะประมวลสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้ด้วยอารมณ์

แล้วตั้งอยู่ ชื่อว่า อวฏฺิติ ความตั้งมั่นเพราะเข้าไปเหนี่ยวอารมณ์ตั้งอยู่.

ธรรม ๔ อย่างในฝ่ายกุศลคือ ศรัทธา สติ สมาธิ ปัญญา ย่อม

เหนี่ยวอารมณ์ไว้. ด้วยเหตุนั้นศรัทธาท่านจึงกล่าวว่า โอกปฺปนา ความ

เชื่อถือ. สติท่านกล่าวว่า อปิลาปนตา ความไม่ใจลอย. สมาธิท่านกล่าวว่า

อวฏฺิติ ความตั้งมั่น. ปัญญาท่านกล่าวว่า ปริโยคาหนา การหยั่งลง.

ส่วนธรรม ๓ อย่างในฝ่ายอกุศล คือ ตัณหา ทิฏฐิ อวิชชา ย่อม

เหนี่ยวอารมณ์ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวธรรมเหล่านั้น ว่า โอฆะ ห้วง. ชื่อว่า

อวิสาหาโร ความไม่กวัดแกว่ง เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความกวัดแกว่งอันเป็น

ไปแล้วด้วยสามารถแห่งอุทธัจจะและวิจิกิจฉา. จิตไปด้วยอำนาจแห่งความ

ฟุ้งซ่านและความสงสัย ชื่อว่า ย่อมฟุ้งซ่าน. สมาธินี้ไม่เป็นอย่างนั้นจึงชื่อว่า

อวิกฺเขโป ความไม่ฟุ้งซ่าน. จิตชื่อว่า กวัดแกว่งด้วยอำนาจแห่งอุทธัจจะ

และวิจิกิจฉา ย่อมส่ายไปข้างโน้นข้างนี้. แต่สมาธินี้มีใจไม่กวัดแกว่ง จึงชื่อว่า

อวิสาหฏมานสตา ความมีใจไม่กวัดแกว่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 222

บทว่า สมโถ ความสงบ ได้แก่ ความสงบ ๓ อย่าง คือ จิตสงบ

๑ อธิกรณ์สงบ ๑ สังขารทั้งปวงสงบ ๑. ในความสงบ ๓ อย่างนั้น ชื่อว่า

จิตสงบ เพราะจิตมีอารมณ์เป็นอย่างเดียวในสมาบัติ ๘ เพราะความหวั่นไหว

แห่งจิต ความดิ้นรนแห่งจิตย่อมสงบ ย่อมเข้าไปสงบเพราะอาศัยจิตสงบนั้น

ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวสมาธินั้นว่า จิตฺตสมโถ จิตสงบ.

ชื่อว่า อธิกรณ์สงบ อธิกรณ์มี ๗ อย่าง มีสัมมุขาวินัยเป็นต้น

เพราะอธิกรณ์เหล่านั้นสงบ เข้าไปสงบเพราะอาศัยอธิกรณสมถะนั้น ฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวสมาธินั้นว่า อธิกรณสมโถ อธิกรณ์สงบ.

อนึ่ง เพราะสังขารทั้งหลายทั้งปวง สงบ เข้าไปสงบ เพราะอาศัย

นิพพาน ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวสมาธินั้นว่า สพฺพสงฺขารสมโถ สังขารทั้งปวง

สงบ. ในอรรถนี้ท่านประสงค์เอาจิตสงบ. ชื่อว่า สมาธินฺทฺริย เพราะทำ

ความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งสมาธิ. ชื่อว่า สมาธิพล เพราะไม่หวั่นด้วย

อุทธัจจะ บทว่า สมฺมาสมาธิ ได้แก่ สมาธิแน่นอน สมาธิทำให้พ้นทุกข์

กุศลสมาธิ ท่านกล่าวถึงการเปลื้องจิตจากวัตถุแห่งกิเลส ๑๐ อย่าง มีอาทิว่า

ราคโต วโมจย จิตฺต เปลื้องจิตจากราคะ. อนึ่ง ในบทนี้ท่านรวมมิทธ

ศัพท์ด้วยถีนศัพท์ และรวม กุกกุจจ ศัพท์ด้วย อุทธัจจ ศัพท์ด้วย เหตุนั้น

ท่านจึงอธิบายถึงการเปลื้องจากนิวรณ์เป็นต้น ด้วยปฐมฌานเป็นต้น ด้วยกล่าว

ถึงการเปลื้องจากวัตถุอันเป็นกิเลส เพราะไปร่วมกันในปาฐะเหล่าอื่น และการ

เปลื้องจากนิจจสัญญาเป็นต้น ด้วยอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น.

อนึ่ง ในไปยาลนี้ว่า กถ ต จิตฺต อนุปสฺสติ ย่อมพิจารณาจิตนั้น

อย่างไร เป็นอันท่านกล่าวถึงการละนิจจสัญญาเป็นต้น ด้วยอนิจจานุปัสสนา.

พึงทราบเรื่องมาในพระสูตร ๔ ด้วยสามารถแห่งตติยจตุกะด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาตติยจตุกนิเทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 223

พึงทราบวินิจฉัยในจตุตถจตุกนิเทศดังต่อไปนี้. ท่านตั้งคำถามด้วย

คำเป็นนปุงสกลิงค์ว่า อนิจฺจนฺติ กึ อนิจฺจ บทว่า อนิจฺจ อะไรไม่เที่ยง.

บทว่า อุปฺปาทวยฏฺเน เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นและเสื่อมไป

ความว่า เพราะสภาวะคือ ความเกิดและความเสื่อม. ในบทนี้ เบญจขันธ์

เป็นสภาวลักษณะความเกิดและความเสื่อมของเบญจขันธ์เป็นวิการลักษณะ

(ลักษณะความเปลี่ยนแปลง) ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ไม่เที่ยง

เพราะเป็นแล้วไม่เป็น ส่วนในอรรถกถาแม้ท่านกล่าวว่า ความไม่เที่ยงด้วย

อำนาจแห่งสังขตลักษณะ. และว่าความที่เบญจขันธ์เหล่านั้นมีเกิดเสื่อมและเป็น

อย่างอื่น ก็ยังกล่าวว่า ความเป็นแล้วไม่เป็นดังนี้. ด้วยบทนี้ อาการคือ เป็น

แล้วไม่เป็น ท่านกล่าวว่าเป็น อนิจจลักษณะ. ท่านกล่าวทำไปยาลว่า เมื่อเห็น

ความเกิดและความเสื่อมแห่งเบญจขันธ์ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ เหล่านี้. บทว่า

ธมฺมา คือธรรมตามที่ท่านกล่าวแล้วมีรูปขันธ์เป็นต้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวิราคานุปัสสีนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า รูเป

อาทีนว ทิสฺวา เห็นโทษในรูป คือเห็นโทษในรูปขันธ์ด้วยการตั้งอยู่ในความ

ไม่เที่ยงเป็นต้น ดังที่ท่านกล่าวแล้วข้างหน้าตั้งแต่ภังคานุปัสสนาญาณ. บทว่า

รูปวิราโค ในความคลายกำหนัดในรูป คือนิพพาน เพราะบุคคลอาศัยนิพพาน

คลายกำหนัดรูป ย่อมดับด้วยการถึงความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา ฉะนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า คลายความกำหนัด ในรูป. บทว่า ฉนฺทชาโต โหติ เป็นผู้เกิด

ฉันทะ คือมีฉันทะในธรรมอันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งการฟัง. บทว่า

สทฺธธิมุตฺโต น้อมใจไปด้วยศรัทธาคือน้อมไป ตัดสินใจไปในนิพพานนั้น.

ด้วยศรัทธา. บทว่า จิตฺตญฺจสฺสสฺยาธิฏฺีต และมีจิตตั้งมั่นดี พึงทราบ

โดยเชื่อมความว่า จิตของพระโยคาวจรนั้นตั่งมั่นด้วยดี ประดิษฐานไว้ด้วยดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 224

ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ในการทำลายรูปอันได้แก่ ความคลายกำหนัดในความ

สิ้นไปด้วยสามารถแห่งการได้ยินได้ฟัง นิพพานอันคลายความกำหนัดในรูป

กล่าวคือ คลายความกำหนัดหมดสิ้น.

บทว่า รูเป วิราคานุปสฺสี พิจารณาความคลายกำหนัดในรูป

ท่านกล่าวความคลายกำหนัดในความสิ้นไปแห่งรูปด้วยสัตตมีวิภัตติว่า รูเป

วิราโค ความคลายกำหนัดในรูป. ท่านกล่าวความคลายกำหนัดหมดสิ้นแห่ง

รูปด้วยสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งนิมิตว่า รูเป วิราโค ความคลายกำหนัด

ในเพราะรูป. ท่านกล่าวความคลายกำหนัดแม้ทั้งสองอย่างนั้น มีการพิจารณา

โดยอารมณ์และโดยอัธยาศัยเป็นปกติว่า รูเป วิราคานุปสฺสี พิจารณาความ

คลายกำหนัดในรูป. ในเวทนาเป็นต้นมีนัยนี้. แม้ในนิเทศแห่งบทว่า

นิโรธานุปสฺสี ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ก็ในบทนี้ว่า กตีหากาเรหิ ด้วยอาการเท่าไร มีความพิเศษดังต่อ

ไปนี้. ท่านแสดงถึงการดับโทษ แม้แห่งรูปเป็นต้นด้วยการเห็นการดับโทษ

แห่งองค์ของปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชาเป็นต้น เพราะอวิชชาเป็นต้นเหล่านั้น

ไม่ล่วงองค์แห่งปฏิจจสมุปบาทไปได้ ด้วยคำพิเศษนี้แหละเป็นอันท่านกล่าวถึง

ความพิเศษแห่งนิโรธานุปัสสนา เพราะพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด. ใน

บทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจฏฺเน ด้วยอรรถว่าไม่เที่ยง คือด้วยอรรถว่าสิ้นไป

หรือด้วยอรรถว่า เป็นแล้วไม่เป็น. บทว่า ทุกฺขฏฺเน ด้วยอรรถว่าเป็นทุกข์

คือด้วยอรรถว่า น่ากลัว หรือด้วยอรรถว่าบีบคั้น. บทว่า อนตฺตฏฺเน

ด้วยอรรถว่าเป็นอนัตตา คือด้วยอรรถว่า หาสาระมิได้ หรือด้วยอรรถว่า

ไม่เป็นไปในอำนาจ. บทว่า สนฺตาปฏฺเน ด้วยอรรถว่าเป็นเหตุให้เดือดร้อน

คือด้วยอรรถว่ากิเลสเป็นเหตุให้เดือดร้อน. บทว่า ปริณามฏฺเน ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 225

อรรถว่า แปรปรวน คือด้วยอรรถว่า แปรปรวนโดย ๒ ส่วน ด้วยอำนาจแห่ง

ชรา และภังคะ (ความดับ). บทว่า นิทานนิโรเธน ด้วยนิทานดับ

คือด้วยไม่มีเหตุปัจจัย. บทว่า นิรุชฺฌติ ย่อมดับคือไม่มี. บทว่า สมุทย-

นิโรเธน ด้วยสมุทัยดับ คือด้วยความไม่มีปัจจัยอันใกล้. เพราะเหตุปัจจัย

ท่านกล่าวว่า นิทาน ดุจโภชนะไม่เป็นที่สบายแก่คนเจ็บป่วย ปัจจัยอันใกล้

ท่านกล่าว สมุทัย ดุจลมน้ำดีและเสมหะของคนเจ็บป่วย. เพราะ นิทาน ย่อม

ให้ผลด้วยการวินิจฉัย สมุทัยเป็นเหตุเกิดผลด้วยดี. บทว่า ชาตินิโรเธน

ด้วยชาติดับ คือด้วยไม่มีการเกิดแห่งปัจจัย. บทว่า ปภวนิโรเธน ด้วยภพ

ดับ คือด้วยไม่มีการเกิดแห่งปัจจัยอันใกล้ (อาสันนปัจจัย) ควรกล่าวว่า ชื่อว่า

ภพ เพราะชาติเป็นเหตุให้เกิดทุกข์. บทว่า เหตุนิโรเธน ด้วยเหตุดับคือ

ด้วยไม่มีปัจจัยให้เกิดชนกปัจจัย. บทว่า ปจฺจยนิโรเธน ด้วยปัจจัยดับ

คือด้วยไม่มีปัจจัยอุปถัมภ์ แม้เหตุปัจจัยก็เป็นทั้งอาสันนปัจจัย ชนกปัจจัย

และอุปถัมภกปัจจัยนั่นเอง. ด้วยปัจจัยเหล่านั้น ที่กล่าวการดับชั่วคราว

ในขณะวิปัสสนากล้าแข็ง. การดับเด็ดขาดในขณะแห่งมรรค. บทว่า าณุ-

ปฺปาเทน ด้วยญาณเกิด คือ ด้วยความเกิดแห่งวิปัสสนาญาณกล้าแข็ง หรือ

แห่งมรรคญาณ. บทว่า นิโรธุปฏฺาเนน ด้วยนิโรธปรากฏ คือด้วยความ

ปรากฏแห่งนิพพาน กล่าวคือนิโรธด้วยอำนาจแห่งการได้ฟังถึงการดับความ

สิ้นไปโดยประจักษ์ในขณะแห่งวิปัสสนา และด้วยความปรากฏแห่งนิพพาน

โดยประจักษ์ในขณะแห่งมรรค. ด้วยบทเหล่านี้เป็นอันท่านทำความแน่นอน

ด้วยอินทรีย์อันเป็นวิสัย และท่านกล่าวถึงความดับชั่วคราวและดับเด็ดขาด.

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งบทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี (พิจารณา

ความสละคืน) ดังต่อไปนี้. บทว่า รูป ปริจฺจชติ สละรูป คือสละรูปขันธ์

เพราะไม่เพ่งถึงด้วยการเห็นโทษ. บทว่า ปริจฺจาคปฏินิสฺสคฺโค สละคืน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 226

ด้วยการบริจาค ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า ปฏินิสฺสคโค เพราะอรรถว่า สละ.

ด้วยบทนี้ เป็นอันท่านกล่าวถึงอรรถแห่งการบริจาคแห่งบทว่า ปฏินิสสัคคะ

เพราะฉะนั้น อธิบายว่า ได้แก่ การละกิเลสทั้งหลาย อนึ่ง ในบทนี้ วิปัสสนา

อัน เป็นวุฏฐานคามินี (ญาณเป็นเครื่องออกไป) ย่อมสละกิเลสทั้งหลายได้โดย

ชั่วคราว มรรคย่อมสละได้โดยเด็ดขาด.

บทว่า รูปนิโรเธ นิพฺพาเน จิตฺต ปกฺขนฺทติ จิตย่อมแล่นไปใน

นิพพานอันเป็นทีดับรูป คือ วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินีย่อมแล่นไปเพราะ

น้อมไปในนิพพานนั้น มรรคย่อมแล่นไปด้วยการทำให้เป็นอารมณ์.

บทว่า ปกฺขนฺทนปฏินิสฺสคโค ความสละคืนด้วยการแล่นไป

ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า ปฏินิสสัคคะ เพราะอรรถแล่นไป. ด้วยบทที่ท่าน

กล่าวถึงอรรถแห่งความแล่นไปของบทว่า ปฏินิสสัคคะ เพราะฉะนั้น จึงมี

ความว่า ได้แก่ การสละจิตลงในนิพพาน. พึงทราบเรื่องอันมาในพระสูตร

๔ เรื่อง ด้วยสามารถแห่งจตุตถจตุกะ. ในจตุกะนี้ พึงทราบถึงบทที่ควร

กล่าวถึงชราและมรณะโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

อนึ่ง ในสติปัฏฐานทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านทำการชี้แจงเป็น

เอกวจนะโดยกล่าวถึงกายและจิตเป็นอย่างเดียวว่า กาเย กายานุปสฺสนา

พิจารณากายในกาย จิตฺเต จิตตานุปสฺสนา พิจารณาจิตในจิต ทำการ

ชี้แจงเป็นพหุวจนะ โดยกล่าวถึงความต่าง ๆ กันของเวทนาและธรรมว่า

เวทนาสุ เวทนานุปสฺสนา พิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ธมฺเมสุ

ธมฺมานุปสฺสนา พิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลายด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาจตุตถจตุกนิเทศ และ

จบอรรถกถาสโตการญาณนิเทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 227

อรรถกถาญาณราสิฉักกนิเทศ

บัดนี้ เป็นสมาธิ ๒๔ ในวัตถุ ๑๒ คือสมาธิละสอง คือ สมาธิหนึ่งด้วย

สามารถลมอัสสาสะ สมาธิหนึ่งด้วยสามารถลมปัสสาสะ ในวัตถุละหนึ่งๆ แห่ง

วัตถุ ๑๒ ด้วยสามารถจตุกะ ๓ มีกายานุปัสสนาเป็นต้น ในสมาธิญาณนิเทศ

๒๔ ในญาณที่ท่านแสดงไว้แล้ว ด้วยกองทั้ง ๖ กอง. ญาณสัมปยุตด้วยสมาธิ

เหล่านั้น ในขณะฌานด้วยอำนาจแห่งสมาธิ ๒๔.

พึงทราบวินิจฉัยในวิปัสสนาญาณนิเทศ ๗๒ ดังต่อไปนี้ บทว่า ทีฆ

อสฺสาสา เพราะลมอัสสาสะที่ท่านกล่าวแล้วว่า ยาว ท่านกล่าวไว้อย่างไร.

ท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่า วิปสฺสนา เพราะอรรถว่า พิจารณาเห็นโดยความไม่

เที่ยงในขณะวิปัสสนาด้วยจิตตั้งมั่น เพราะได้ฌาน เพราะเหตุลมหายใจเข้ายาว.

แม้ในอรรถอื่นก็มีนัยนี้. ในวัตถุ ๑๒ คืออนุปัสสนาอย่างละ ๖ อนุปัสสนา ๓

ด้วยสามารถแห่งลมอัสสาสะ. อนุปัสสนา ๓ ด้วยสามารถแห่งลมปัสสาสะในวัตถุ

ละหนึ่ง ๆ แห่งวัตถุ ๑๒ เหล่านั้น รวมเป็นอนุปัสสนา ๗๒. อนุปัสสนา ๗๒

เหล่านั้นแลเป็นญาณด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา ๗๒.

พึงทราบวินิจฉัยในนิพพิทาญาณนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า อนิจฺจานุ-

ปสฺสี อสฺสาส พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจเข้า คือ

พิจารณาหายใจเข้าโดยความเป็นของไม่เที่ยง ความว่า พิจารณาเป็นไปโดย

ความเป็นของไม่เที่ยง. อนึ่ง คำว่า อสฺสาส นี้ พึงเห็นว่าลงในอรรถแห่ง

เหตุ.

บทว่า ยถาภูต ปชานาติ ปสฺสตีติ นิพฺพิทาาณ ชื่อว่า

นิพพิทาญาณ เพราะรู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตั้งแต่พิจารณาเป็นกอง ๆ ไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 228

จนถึงพิจารณาเห็นความดับ ย่อมรู้ตามความเป็นจริงของสังขารทั้งหลาย ย่อม

เห็นด้วยญาณจักษุนั้นดุจเห็นด้วยจักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นิพพิทาญาณ.

ท่านอธิบายว่าชื่อว่านิพพิทาญาณในสังขารทั้งหลาย. พึงทราบว่าวิปัสสนาญาณ

เป็นนิพพิทาญาณตามที่ได้กล่าวแล้วในนิเทศนี้ เพราะญาณทั้งหลายมีภยตูปัฏ-

ฐานญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ) เป็นต้น และมุญจิตุ-

กัมยตาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยความใคร่จะพ้นไป) เป็นต้นเป็นธรรมต่างกัน.

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งนิพพิทานุโลมญาณดังต่อไปนี้. บทว่า

อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสาส พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า คือ พิจารณา

หายใจเข้าโดยเป็นของไม่เที่ยง. บทว่า ภยตุปฏฺาเน ปญฺา ปัญญาใน

ความปรากฏเป็นของน่ากลัว เป็นอันท่านกล่าวถึง ภยตุปัฏฐานญาณ อาทีน-

วานุปัสสนาญาณ และนิพพิทานุปัสสนาญาณ ด้วยคำนั้นแล เพราะญาณทั้ง ๓

มีลักษณะอย่างเดียวกัน. ญาณ ๓ เหล่านี้ ท่านกล่าวว่า นิพพิทานุโลมญาณ

เพราะอนุโลมโดยความอนุกูลของนิพพิทาญาณดังที่กล่าวแล้วโดยลำดับ.

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งนิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณดังต่อไปนี้.บทว่า

อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสาส เช่นเดียวกับที่กล่าวมาตามลำดับนั่นแหละ. บทว่า

ปฏิสงฺขา สนฺติฏฺนา ปญฺา ปัญญาพิจารณาหาทางวางเฉยอยู่ เป็น

อันท่านกล่าวถึง มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึงถึง

ด้วยพิจารณาหาทาง) สังขารอุเบกขาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยความวางเฉยอยู่)

ด้วยคำนั้นเอง เพราะญาณทั้ง ๓ มีลักษณะอย่างเดียวกัน. แม้อนุโลมญาณ

และมรรคญาณท่านก็รวมไว้ด้วยคำว่า ปฏิสงฺขา สนฺติฏฺนา นั่นแหละ.

แม้สังขารุเบกขาญาณและอนุโลมญาณก็ชื่อว่า นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณด้วยละ

ความขวนขวายในการเกิดนิพพิทา เพราะนิพพิทาถึงยอดแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

ส่วนมรรคญาณ ชื่อว่า นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ เพราะเกิดในที่สุด

นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ เพราะเหตุนั้น จึงควรอย่างยิ่ง. การไม่ถือเอามุญจิตุ-

กัมยตาญาณอันเป็นเบื้องต้นดุจในนิพพิทานุโลม. แล้วถือเอาญานสองหมวด

ในที่สุดว่า ปฏิสงฺขา สนฺติฏฺนา เพื่อสงเคราะห์เข้าในมรรคญาณ. เพราะ

เมื่อท่านกล่าวว่า มุญฺจิตุกมฺยตา ย่อมสงเคราะห์เอาอนุโลมญาณด้วย มิได้

สงเคราะห์เอามรรคญาณ. เพราะมรรคญาณมิได้ชื่อว่า มุญฺจิตุกมฺยตา. อนึ่ง

ปัญญาชื่อว่า สนฺติฏฺนา เพราะวางเฉยอยู่ในความสำเร็จกิจ.

อนึ่ง แม้ในอรรถกถาท่านก็กล่าวว่า บทว่า ผุสนา ความถูกต้อง

คือ อปฺปนา ความแนบแน่น. ปัญญาชื่อว่า สนฺติฏฺนา ความวางเฉย

เพราะทำมรรคญาณนี้เป็นอัปปนาในนิพพาน ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงสงเคราะห์

แม้มรรคญาณ ด้วยคำว่า สนฺติฏฺนา แม้นิพพิทานุโลมญาณ โดยอรรถ

ก็เป็นนิพพิทาญาณนั่นเอง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงสงเคราะห์นิพพิทานุโลมญาณ

เหล่านั้นด้วยนิพพิทาญาณแล้วใช้ศัพท์ นิพพิทา ว่า นิพฺพิทาปฏิปสฺสทฺธิ

าณานิ ดังนี้ ไม่ใช่ศัพท์ว่า นิพฺพิทานุโลม. ในวัตถุ ๔ คือ ญาณละ

๒ คือ ญาณหนึ่งด้วยสามารถแห่งลมอัสสะ ญาณหนึ่ง ด้วยสามารถแห่งลม

ปัสสาสะในวัตถุหนึ่ง แห่งวัตถุ ๔ ที่ท่านกล่าวแล้วด้วยอานาจแห่งธรรมานุปัสส-

นาจตุกะที่ ๔ ในญาณัฏฐกนิเทศ ๓ เหล่านี้ จึงรวมเป็นญาณ ๘.

พึงทราบวินิฉัยในวิมุตติสุขญาณนิเทศดังต่อไปนี้. พระสารีบุตรเถระ

ครั้นแสดงการละด้วยบทว่า ปหีนตฺตา เพราะละแล้วเมื่อจะแสดงการละนั้น

ด้วยสมุจเฉทปหาน จึงกล่าวว่า สมุจฺฉินฺนตฺตา เพราะตัดขาด.

บทว่า วิมุตฺติสุเข าณ ญาณในวิมุติสุข คือ ญาณสัมปยุต

ด้วยวิมุตติสุขอันเป็นผล และญาณคือการพิจารณาวิมุตติสุขอันเป็นผลเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 230

อารมณ์. เพื่อแสดงว่า การละวัตถุทุจริตที่กลุ้มรุมด้วยการละกิเลสอันเป็นวัตถุ

นอนเนื่องในสันดาน ท่านจึงกล่าวถึงการละกิเลสอันเป็นอนุสัยอีก. ท่านทำการ

คำนวณญาณด้วยการคำนวณกิเลสที่ละได้แล้ว หมายถึงผลญาณ ๒๑. และท่าน

คำนวณปัจจเวกขณญาณอันเป็นผลด้วยการคำนวณพิจารณาถึงกิเลสที่ละได้แล้ว

หมายถึงปัจจเวกขณญาณ.

จบอรรถกถาญาณราสิฉักกนิเทศ

จบอรรถกถาอานาปานสติกถาแห่งอรรถกถา

ปฏิสัมภิทามรรคชื่อว่าสัมธัมมปกาสินี

มหาวรรค อินทริยกถา

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

[๔๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕

ประการนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 231

[๔๒๔] อินทรีย์ ๕ ประการนี้ย่อมหมดจดด้วยอาการเท่าไร ?

อินทรีย์ ๕ ประการนี้ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๑๕ เมื่อบุคคลงดเว้น

พวกบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีศรัทธา (และ)

พิจารณาพระสูตรอันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเลื่อมใส สันธินทรีย์ย่อมหมดจด

ด้วยอาการ ๓ เหล่านั้น เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้เกียจคร้าน สมาคม คบหา

นั่งใกล้พวกบุคคลผู้ปรารภความเพียร (และ) พิจารณาสัมมัปธาน วิริยินทรีย์

ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้ เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้มีสติหลงลืม

สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น (และ) พิจารณาสติปัฏฐาน

สตินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านั้น เมื่อบุคคลงดเว้นพวกบุคคลผู้มีใจ

ไม่มั่นคง สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลมีใจมั่นคง (และ) พิจารณาฌาน

และวิโมกข์ สมาธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านั้น เมื่อบุคคลงดเว้น

พวกบุคคลทรามปัญญา สมาคม คบหา นั่งใกล้พวกบุคคลผู้มีปัญญา (และ)

พิจารณาญาณจริยาอันลึกซึ้ง ปัญญินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้

เมื่อบุคคลงดเว้นบุคคล ๕ จำพวก สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคล ๕ จำพวก

(และ) พิจารณาจำนวนพระสูตร ๕ ประการดังกล่าวมานี้ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้

ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้.

[๔๒๕] บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร การเจริญ

อินทรีย์ ๕ ย่อมมีด้วยอาการเท่าไร ?

บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๐ เจริญอินทรีย์ ๕ ย่อม

ด้วยอาการ ๑๐ บุคคลเมื่อละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาชื่อว่าเจริญสันธินทรีย์

เมื่อเจริญสัทธินทรีย์ ชื่อว่าละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อละความเป็นผู้

เกียจคร้าน ชื่อว่าเจริญวิริยินทรีย์ เมื่อเจริญวิริยินทรีย์ ชื่อว่าละความเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 232

เกียจคร้าน เมื่อละความประมาท ชื่อว่าเจริญสตินทรีย์ เมื่อเจริญสตินทรีย์

ชื่อว่าละความประมาท เมื่อละอุทธัจจะ ชื่อว่าเจริญสมาธินทรีย์ เมื่อเจริญ

สมาธินทรีย์ ชื่อว่าละอุทธัจจะ เมื่อละอวิชชา ชื่อว่าเจริญปัญญินทรีย์

เจริญปัญญินทรีย์ ชื่อว่าละอวิชชา บุคคลย่อมเจริญอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๐

เหล่านั้น การเจริญอินทรีย์ ๕ ย่อมมีด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้.

[๔๒๖] อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วย

อาการเท่าไร ?

อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วยอาการ ๑๐

คือ สัทธิทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะเป็นผู้ละแล้ว

ละดีแล้วซึ่งอสัทธินทรีย์ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นโทษชาติอันบุคคลละแล้ว

ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

เป็นคุณชาติอันเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้ว

ซึ่งความประมาท ความประมาทเป็นโทษชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะ

ความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งสตินทรีย์ สมาธินทรีย์เป็นคุณชาติอัน

บุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้วซึ่งอุทธัจจะ

อุทธัจจะเป็นโทษชาติอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว

อบรมแล้วซึ่งสมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์เป็นคุณชาติอันบุคคลเจริญแล้ว อบรม

แล้ว เพราะความเป็นผู้ละแล้ว ละดีแล้วซึ่งอวิชชา อวิชชาเป็นโทษชาติอัน

บุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะความเป็นผู้เจริญแล้ว อบรมแล้วซึ่งปัญญินทรีย์

อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้วด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้.

[๔๒๗] อินทรีย์ บุคคลย่อมเจริญด้วยอาการเท่าไร เป็นอินทรีย์อัน

บุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการเท่าไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 233

อินทรีย์ ๕ บุคคลย่อมเจริญด้วย อาการ ๔ เป็นอินทรีย์อันบุคคล

เจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วด้วยอาการ ๔ อินทรีย์ ๕

บุคคลย่อมเจริญในขณะโสดาปัตติมรรค เป็นอินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว

อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วในขณะโสดาปัตติผล อินทรีย์ ๕

บุคคลย่อมเจริญในขณะสกทาคามิมรรค เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรม

แล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วในขณะสกทาคามิผล อินทรีย์ ๕ บุคคล

ย่อมเจริญในขณะอนาคามิมรรค เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว

ระงับแล้ว และระงับดีแล้วในอนาคามิผล อินทรีย์ ๕ บุคคลย่อมเจริญในขณะ

อรหัตมรรค เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และ

ระงับดีแล้วในขณะอรหัตผล.

มรรควิสุทธิ ๔ ผลวิสุทธิ ๔ สมุจเฉทวิสุทธิ ๔ ปฏิปัสสัทธิวิสุทธิ ๔

ด้วยประการดังนี้ อินทรีย์ ๕ บุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ ๔ เหล่านี้ เป็น

อินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้วด้วยอาการ

๔ เหล่านี้.

[๔๒๘] บุคคลเท่าไรเจริญอินทรีย์ บุคคลเท่าไรเจริญอินทรีย์แล้ว

บุคคล ๘ เจริญอินทรีย์ บุคคล ๓ เจริญอินทรีย์แล้ว.

บุคคล ๘ เหล่าไหนเจริญอินทรีย์ ? พระเสขบุคคล ๗ กัลยาณปุถุชน ๑

บุคคล ๘ เหล่านี้เจริญอินทรีย์.

บุคคล ๓ เหล่าไหนเจริญอินทรีย์แล้ว ? พระขีณาสพสาวกพระตถาคต

ชื่อว่าพุทโธ ด้วยสามารถความเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว

พระปัจเจกพุทธะ ชื่อว่าพุทโธ ด้วยอรรถว่าตรัสรู้เอง ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าพุทโธ ด้วยอรรถว่ามีพระคุณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 234

ประมาณไม่ได้ ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว บุคคล ๓ เหล่านี้เจริญอินทรีย์แล้ว

บุคคล ๘ เหล่านี้เจริญอินทรีย์ บุคคล ๓ เหล่านี้เจริญอินทรีย์แล้ว ด้วย

ประการดังนี้.

สาวัตถีนิทาน

[๔๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน ?

คือสัทธินทรีย์...ปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย

เครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ เหล่านั้นตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์

เหล่านั้นหาได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือได้รับยกย่องว่าเป็น

พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ไม่ และท่านเหล่านั้นหาได้ทำให้แจ้งซึ่งสามัญผล

หรือพรหมัญผลด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ไม่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดซึ่งเหตุ

เกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ เหล่านี้

ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นนั่นแล เป็นผู้ได้รับยกย่องว่า

เป็นสมณะในหมู่สมณะ ได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และ

ท่านเหล่านั้น ย่อมทำให้แจ้งซึ่งสามัญผลและพรหมัญผล ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง

เองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

[๔๓๐] อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมรู้เหตุเกิด

แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ ๕ ย่อมดับไปด้วยอาการเท่าไร

บุคคลย่อมรู้ความดับแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ ๕ มีคุณด้วย

อาการเท่าไร บุคคลย่อมรู้คุณแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ ๕ มี

โทษด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมรู้โทษแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 235

อินทรีย์ ๕ มีอุบายเป็นเครื่องสลัดออกด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมรู้อุบายเป็น

เครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ?

อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการ ๔๐ บุคคลย่อมรู้เหตุเกิดแห่งอินทรีย์

๕ ด้วยอาการ ๔๐ อินทรีย์ ๕ ย่อมดับไปด้วยอาการ ๔๐ บุคคลย่อมรู้ความดับ

แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อินทรีย์ ๕ มีคุณด้วยอาการ ๒๕ บุคคลย่อม

รู้คุณแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ อินทรีย์ ๕ มีโทษด้วยอาการ ๒๕ บุคคล

ย่อมรู้โทษแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ อินทรีย์ ๕ มีอุบายเป็นเครื่องสลัด

ออกไปด้วยอาการ ๑๘๐ บุคคลย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปแห่งอินทรีย์ ๕

ด้วยอาการ ๑๘๐.

[๔๓๑ ] อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน บุคคลย่อม

รู้เหตุเกิดแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ?

เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อเป็นเหตุ

เกิดแห่งสัทธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความน้อมใจ เชื่อเป็นเหตุ

เกิดแห่งสัทธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ เป็น

เหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสัทธิน-

ทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์

แก่ความประคองไว้ เหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถ

ความประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถ

ความประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่าง

เดียวด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ เหตุเกิดแห่ง

ความคานึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ เหตุเกิด

แห่งฉันทะด้วยสามารถความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ เหตุเกิดแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 236

มนสิการด้วยสามารถความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ ความปรากฏ

ธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ เป็นเหตุแห่งสตินทรีย์ เหตุ-

เกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่ง

สมาธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิด

แห่งสมาธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุ

เกิดแห่งสมาธินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสมาธินทรีย์

เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความ

เห็น เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์ เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความเห็น

เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความเห็น เป็น

เหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่ง

ปัญญินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์.

เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็น

เหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความ

ประคองไว้ เป็นเหตุแห่งวิริยินทรีย์ เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อ

ประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึง

เพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ เหตุเกิด

แห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์

เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์

เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์

เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ เหตุ

เกิดแห่งฉันทะความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์

เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยสามารถความเห็น เป็นเหตุเกิด แห่งปัญญินทรีย์

เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 237

สัทธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความประคองไว้ เป็น

เหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน

เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยสามารถความเห็น

เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถ

สัทธินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียว

ด้วยสามารถวิริยินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์ ความปรากฏเป็นธรรม

อย่างเดียวด้วยสามารถสตินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์ ความปรากฏเป็น

ธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสมาธินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์ ความ

ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถปัญญินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญิน-

ทรีย์ อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการ ๔๐ เหล่านี้ บุคคลย่อมรู้เหตุเกิดแห่ง

อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ เหล่านี้.

[๔๓๒] อินทรีย์ ๕ ย่อมดับไปด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน บุคคลย่อม

รู้ความดับแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ?

ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่การน้อมใจเชื่อ เป็นความ

ดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ เป็น

ความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ

เป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถ

แห่งสัทธินทรีย์ เป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อ

ประโยชน์แก่ความประคองไว้ เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่ง

ฉันทะด้วยสามารถความประคองไว้ เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความดับ

แห่งมนสิการด้วยสามารถความประคองไว้ เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความ

ไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ เป็นความดับแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 238

วิริยินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั่งมั่น เป็น

ความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความตั้งมั่น เป็น

ความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความตั้งมั่น

เป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถ

สตินทรีย์เป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์

แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วย

สามารถความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการ

ด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความไม่ปรากฏ

เป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถสมาธินทรีย์ เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์

ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นความดับแห่ง

ปัญญินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความเห็น เป็นความดับ

แห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความเห็น เป็นความ

ดับแห่งปัญญินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่ง

ปัญญินทรีย์ เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์.

ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็น

ความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความ

ประคองไว้ เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อ

ประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งความ

คำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์

ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นความดับแห่ง

ปัญญินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความน้อมใจเชื่อ เป็น

ความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความประคองไว้

เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วย สามารถแห่งความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 239

ตั้งมั่นเป็นความดับแห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วยสามารถแห่งความ

ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความดับแห่งฉันทะด้วย

สามารถแห่งความเห็น เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่ง

มนสิการ ด้วยสามารถแห่งความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์

ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความประคองไว้ เป็นความดับแห่ง

วิริยินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความตั้งมั่น เป็นความดับ

แห่งสตินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน เป็น

ความดับแห่งสมาธินทรีย์ ความดับแห่งมนสิการด้วยสามารถแห่งความเห็น

เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถ

แห่งสัทธินทรีย์ เป็นความดับแห่งสัทธินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่าง

เดียวด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ เป็นความดับแห่งวิริยินทรีย์ ความไม่ปรากฏ

เป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ เป็นความดับแห่งสตินทรีย์

ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นความดับ

แห่งสมาธินทรีย์ ความไม่ปรากฏเป็นธรรมอย่างเดียวด้วยสามารถแห่งปัญญิน-

ทรีย์ เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ย่อมดับไปด้วยอาการ ๔๐.

เหล่านี้ บุคคลย่อมรู้ความดับแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ เหล่านี้.

[๔๓๓] อินทรีย์ ๕ มีคุณด้วยอาการ ๒๕ เป็นไฉน บุคคลย่อมรู้คุณ

แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ เป็นไฉน ?

ความไม่ปรากฏแห่งความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์

ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อน เพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคุณแห่ง

สัทธินทรีย์ ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความน้อมใจเชื่อ เป็นคุณ

แห่งสัทธินทรีย์ ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์

ความสุขความโสมนัสอันอาศัยสัทธินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 240

ความไม่ปรากฏแห่งความเป็นผู้เกียจคร้าน เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์ ความไม่

ปรากฏแห่งความเร่าร้อน เพราะความเป็นผู้เกียจคร้าน เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์

ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความประคองไว้เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์

ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์ ความสุขความ

โสมนัสอันอาศัยวิริยินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์ ความไม่ปรากฏ

แห่งความประมาท เป็นคุณแห่งสตินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อน

เพราะความประมาท เป็นคุณแห่งสตินทรีย์ ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติ

ด้วยการตั้งมั่นเป็นคุณแห่งสตินทรีย์ ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม

เป็นคุณแห่งสตินทรีย์ ความสุขความโสมนัสอันอาศัยสตินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณ

แห่งสตินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งอุทธัจจะ เป็นคุณเเห่งสมาธินทรีย์ ความไม่

ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์ ความ

ไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์ ความ

แกล้ากล้าแห่งความประพฤติด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์

ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์ ความสุข

ความโสมนัสอันอาศัยสมาธินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์ ความไม่

ปรากฏแห่งอวิชชา เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์ ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อน

เพราะอวิชชา เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์ ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติ

ด้วยความเห็น เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์ ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม

เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์ ความสุขความโสมนัสอันอาศัยปัญญินทรีย์เกิดขึ้น

เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ มีคุณด้วยอาการ ๒๕ เหล่านี้ บุคคล

ย่อมรู้คุณแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ เหล่านี้.

[๔๓๔] อินทรีย์ ๕ มีโทษด้วยอาการ ๒๕ เป็นไฉน บุคคลย่อมรู้

โทษแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ เป็นไฉน ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 241

ความปรากฏแห่งอสัทธินทรีย์ เป็นโทษแห่งสัทธินทรีย์ ความปรากฏ

แห่งความเร่าร้อนเพราะอสัทธินทรีย์ เป็นโทษแห่งสัทธินทรีย์ สัทธินทรีย์

มีโทษ เพราะความไม่เที่ยง... เป็นทุกข์... เป็นอนัตตา ความปรากฏแห่ง

ความเป็นผู้เกียจคร้าน เป็นโทษแห่งวิริยินทรีย์ ความปรากฏแห่งความเร่าร้อน

เพราะความเป็นผู้เกียจคร้าน เป็นโทษ แห่งวิริยินทรีย์ วิริยินทรีย์มีโทษเพราะ

ความไม่เที่ยง ... เป็นทุกข์ ... เป็นอนัตตา ความปรากฏแห่งความประมาท

เป็นโทษแห่งสตินทรีย์ ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะควานประมาท

เป็นโทษแห่งสตินทรีย์ สตินทรีย์มีโทษเพราะความไม่เที่ยง... เป็นทุกข์...

เป็นอนัตตา ความปรากฏแห่งอุทธัจจะ เป็นโทษแห่งสมาธินทรีย์ ความปรากฏ

แห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ เป็นโทษแห่งสมาธินทรีย์ สมาธินทรีย์มีโทษ

เพราะความไม่เทียง... เป็นทุกข์... เป็นอนัตตา ความปรากฏแห่งอวิชชา

เป็นโทษแห่งปัญญินทรีย์ ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอวิชชา เป็น

โทษแห่งปัญญินทรีย์ ปัญญินทรีย์มีโทษเพราะความไม่เที่ยง...เป็นทุกข์...

เป็นอนัตตา อินทรีย์ ๕ มีโทษด้วยอาการ ๒๕ เหล่านี้ บุคคลย่อมรู้โทษแห่ง

อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ เหล่านี้.

[๔๓๕] อินทรีย์ ๕ มีอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปด้วยอาการ ๑๘๐

เป็นไฉน บุคคลย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกไป แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ

๑๘๐ เป็นไฉน ?

สัทธิทรีย์ด้วยอรรถว่าความน้อมใจเชื่อ สลัดออกไปจากความเป็นผู้

ไม่มีศรัทธา ๑ จากความเร่าร้อนเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ จากเหล่า

กิเลสทีเป็นไปตามความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ จากขันธ์ ๑ จากสรรพนิมิตภายนอก

๑ จากสัทธินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้สัทธินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น ๑ วิริยิน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 242

ทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ สลัดออกไปจากความเป็นผู้เกียจคร้าน ๑ จากความ

เร่าร้อนเพราะความเป็นผู้เกียจคร้าน ๑ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามความเป็นผู้

เกียจคร้าน ๑ จากขันธ์ ๑ จากสรรพนิมิตภายนอก ๑ จากวิริยินทรีย์ซึ่งมีอยู่

ก่อนแต่การได้วิริยินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น ๑ สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น สลัด

ออกไปจากความประมาท ๑ จากความเร่าร้อนเพราะความประมาท ๑ จากเหล่า

กิเลสที่เป็นไปตามความประมาท ๑ จากขันธ์ ๑ จากสรรพนิมิตภายนอก ๑

จากสตินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้สตินทรีย์ทีประณีตกว่านั้น ๑ สมาธินทรีย์

ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน สลัดออกไปจากอุทธัจจะ ๑ จากความเร่าร้อนเพราะ

อุทธัจจะ ๑ จากขันธ์ ๑ จากสรรพนิมิตภายนอก ๑ จากสมาธินทรีย์ชึ่งมีอยู่ก่อน

แต่การได้สมาธินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น ๑ ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น สลัด

ออกไปจากอวิชชา ๑ จากความเร่าร้อนเพราะอวิชชา ๑ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไป

ตามอวิชชา จากขันธ์ ๑ จากสรรพนิมิตภายนอก ๑ จากปัญญินทรีย์ซึ่งมีอยู่

ก่อนแต่การได้ปัญญินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น ๑.

อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถปฐมฌาน สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ใน

ส่วนเบื้องต้น อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถทุติยฌาน สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕

ในปฐมฌาน อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถตติยฌาน สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕

ในทุติยฌาน อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถจตุตถฌาน สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕

ในตติยฌาน อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ สลัด

ออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในจตุตถฌาน อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งวิญญาณัญ-

จายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอากาสานัญจายตนสมาบัติ

อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ สลัดออกไปจาก

อินทรีย์ ๕ ในวิญญาณญัญจายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่ง

เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอากิญจัญญา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 243

ยตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอนิจานุปัสสนา สลัดออกไปจาก

อินทรีย์ ๕ ในแนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่ง

ทุกขานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอนิจจานุปัสสนา อินทรีย์ ๕

ด้วยสามารถแห่งอนัตตานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในทุกขานุปัสสนา

อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งนิพพิทานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ใน

อนัตตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งวิราคานุปัสสนา สลัดออกไป

จากอินทรีย์ ๕ ในนิพพิทานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งนิโรธา-

นุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในวิราคานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วย

สามารถแห่งปฏินิสสัคคานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในนิโรธานุปัสสนา

อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งขยานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในปฎิ-

นิสสัคคานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งวยานุปัสสนา สลัดออกไปจาก

อินทรีย์ ๕ ในขยานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งวิปริณามานุปัสสนา

สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในวยานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่ง

อนิมิตตานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในวิปริณามานุปัสสนา อินทรีย์

๕ ด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ใน

อนิมิตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งสุญญตานุปัสสนา สลัดออก

ไปจากอินทรีย์ ๕ ในอัปปณิหิตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่ง

อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในสุญญตานุปัสสนา

อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งยถาภูตญาณทัสนะ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ใน

อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอาทีนวานุปัสสนา สลัด

ออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในยถาภูตญาณทัสนะ อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่ง

ปฏิสังขานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอาทีนวานุปัสสนา อินทรีย์ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 244

ด้วยสามารถแห่งวิวัฏฏนานุปัสสนา สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในปฏิสังขา-

นุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งโสดาปัตติมรรค สลัดออกไปจาก

อินทรีย์ ๕ ในวิวัฏฏนานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งโสดาปัตติผล

สมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในโสดาปัตติมรรค อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถ

แห่งสกทาคามิมรรค สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในโสดาปัตติผลสมาบัติ

อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งสกทาคามิผลสมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕

ในสกทาคามิมรรค อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอนาคามิมรรค สลัดออกไป

จากอินทรีย์ ๕ ในสกทาคามิผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถแห่งอนาคามิผล

สมาบัติ สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอนาคามิมรรค อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถ

แห่งอรหัตมรรค สลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอนาคามิผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕

ด้วยสามารถแห่งอรหัตผลสมาบัติสลัดออกไปจากอินทรีย์ ๕ ในอรหัตมรรค.

อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ สลัดออกไปจากกามฉันทะ อินทรีย์ ๕ ใน

อัพยาบาท สลัดออกไปจากพยาบาท อินทรีย์ ๕ ในอาโลกสัญญา สลัดออกไปจาก

ถีนมิทธะ อินทรีย์ ๕ ในความไม่ฟุ้งซ่าน สลัดออกไปจากอุทธัจจะ อินทรีย์ ๕ ใน

ธรรมววัตถาน สลัดออกไปจากวิจิกิจฉา อินทรีย์ ๕ ในญาณ สลัดออกไป

จากอวิชชา อินทรีย์ ๕ ในความปราโมทย์ สลัดออกจากอรติ อินทรีย์ ๕

ในปฐมฌาน สลัดออกไปจากนิวรณ์ อินทรีย์ ๕ ในทุติยฌาน สลัดออกไป

จากวิตกวิจาร อินทรีย์ ๕ ในตติยฌาน สลัดออกไปจากปีติ อินทรีย์ ๕ ใน

จตุตถฌาน สลัดออกไปจากสุขและทุกข์ อินทรีย์ ๕ ในอากาสานัญจายตน-

สมาบัติ สลัดออกไปจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา อินทรีย์ ๕

ในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอากาสานัญจายตนสัญญา อินทรีย์

๕ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากวิญญาณัญจายตนสัญญา

อินทรีย์ ๕ ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ สลัดออกไปจากอากิญจัญญาย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 245

ตนสัญญา อินทรีย์ ๕ ในอนิจจานุปัสสนา สลัดออกไปจากนิจจสัญญา อินทรีย์

๕ ในทุกขานุปัสสนา สลัดออกไปจากสุขสัญญา อินทรีย์ ๕ ในอนัตตานุปัสสนา

สลัดออกไปจากอนัตตสัญญา อินทรีย์ ๕ ในนิพพิทานุปัสสนา สลัดออกไป

จากความเพลิดเพลิน อินทรีย์ ๕ ในวิราคานุปัสสนา สลัดออกไปจากราคะ

อินทรีย์ ๕ ในนิโรธานุปัสสนา สลัดออกไปจากสมุทัย อินทรีย์ ๕ ในปฏิ-

นิสสัคคานุปัสสนา สลัดออกไปจากความยึดมั่น อินทรีย์ ๕ ในขยานุปัสสนา

สลัดออกไปจากฆนสัญญา อินทรีย์ ๕ ในวยานุปัสสนา สลัดออกไปจากการ

ประมวลอายุ อินทรีย์ ๕ ในวิปริณามานุปัสสนา สลัดออกไปจากธุวสัญญา

อินทรีย์ ๕ ในอนิมิตตานุปัสสนา สลัดออกไปจากนิมิต อินทรีย์ ๕ ในอัปป-

ณิหิตานุปัสสนา สลัดออกไปจากปณิธิ อินทรีย์ ๕ ในสุญญตานุปัสสนา

สลัดออกไปจากความถือมั่น อินทรีย์ ๕ ในอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา สลัดออก

ไปจากความยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นแก่นสาร อินทรีย์ ๕ ในยถาภูตญาณทัสนะ

สลัดออกไปจากความถือมั่นเพราะความหลง อินทรีย์ ๕ ในอาทีนวานุปัสสนา

สลัดออกไปจากความถือมั่นด้วยความอาลัย อินทรีย์ ๕ ในปฏิสังขานุปัสสนา

สลัดออกไปจากการไม่พิจารณาหาทาง อินทรีย์ ๕ ในวิวัฏฏนานุปัสสนา

สลัดออกไปจากความถือมั่นเพราะกิเลสเครื่องประกอบ อินทรีย์ ๕ ในโสดา-

ปัตติมรรค สลัดออกไปจากกิเลสซึ่งอยู่ในที่เดียวกันกับทิฏฐิ อินทรีย์ ๕ ใน

สกทาคามิมรรค สลัดออกไปจากกิเลสส่วนหยาบ ๆ อินทรีย์ ๕ ในอนาคามิมรรค

สลัดออกไปจากกิเลสส่วนละเอียด อินทรีย์ ๕ ในอรหัตมรรค สลัดออกไป

จากกิเลสทั้งปวง อินทรีย์ ๕ ในธรรมนั้น ๆ เป็นคุณชาติอันพระขีณาสพ

ทั้งปวงเทียวสลัดออกแล้ว สลัดออกดีแล้ว ระงับแล้วและระงับดีแล้ว อินทรีย์

๕ มีอุบายเป็นเครื่องสลัดออกด้วยอาการ ๑๘๐ เหล่านี้ บุคคลย่อมรู้อุบาย

เครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๘๐ เหล่านี้.

จบภาณวาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 246

สาวัตถีนิทาน

ว่าด้วยประเภทของอินทรีย์ ๕

[๔๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕

เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญิ-

นทรีย์ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ในที่ไหน. พึงเห็นในโส-

ดาปัตติยังคะ (ธรรมอันเป็นองค์แห่งการบรรลุกระแสนิพพาน) ๔.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ในที่ไหน. พึงเห็นใน

สัมมัปปธาน ๔.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ในที่ไหน. พึงเห็นในสติ-

ปัฏฐาน ๔.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ในที่ไหน. พึงเห็นใน

ฌาน ๔.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ในที่ไหน. พึงเห็นใน

อริยสัจ ๔.

[๔๓๗] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็น

อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ ในสัมมัปปธาน ๔

จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน

๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน

๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริย-

สัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 247

ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕

ด้วยอาการ ๒๐ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์

๕ ด้วยอาการ ๒๐ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์

๕ ด้วยอาการ ๒๐ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์

๕ ด้วยอาการ ๒๐.

[๔๓๘] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึง

เห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?

พึงเห็นสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อในโสดา-

ปัตติยังคะ คือ การคบสัตบุรุษ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้

พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน

พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็น

สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อ ในโสดาปัตติยังคะ คือ

การฟังธรรมของท่าน การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย การปฏิบัติธรรม

สมควรแก่ธรรม พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์

ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็น

ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็นด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่ง

สตินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๔๓๙] ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็น

อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน?

พึงเห็นวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคองไว้ ในสัมมัปป-

ธาน ๔ คือ การไม่ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น พึงเห็น

สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 248

พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ

ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการ

ประคองไว้ ในสัมมัปปธาน คือ การละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ

ในสัมมัปปธาน คือ การยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ ในสัมมัปป-

ธาน คือ ความตั้งมั่น ความไม่ฟั่นเฟือน ความเจริญยิ่ง ความไพบูลย์

ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พึงเห็นสตินทรีย์ด้วย

อรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาตินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์

ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่ง

วิริยินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕

ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านั้น.

[๔๔๐] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน จะพึงเห็นอินทรีย์

๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?

พึงเห็นสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน

คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน

พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ

พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ พึงเห็น

สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณา

เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นจิตใน

จิต ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย พึงเห็น

สมาธินทรีย์ด้วยอรรถไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็น

สตินทรีย์ด้วยน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคอง ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 249

สามารถแห่งสตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็น

อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๔๔๑] ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕

ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?

พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ใน

ปฐมฌาน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถ

ว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วย

อรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถ

ว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในทุติยฌาน ฯสฯ ในตติยฌาน ฯลฯ ในจตุต-

ถฌาน พึงเห็นปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า

น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วย

อรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยสมาธินทรีย์ ด้วยสามารถ

แห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๔๔๒] ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์

๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?

พึงเห็นปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็นอริยสัจ คือ

ทุกข์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า

ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถ

ว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่า

เป็นใหญ่ในความเห็นในอริยสัจ คือ ทุกขสมุทัย ฯลฯ ในอริยสัจ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 250

ทุกขนิโรธ ฯลฯ ในอริยสัจ คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พึงเห็นสัทธินทรีย์

ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็น

สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย

สามารถแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็น

อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านั้น.

[๔๔๓] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็น

ความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ฯลฯ ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ

ในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ในฌาน ๔ ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติ

แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ?

ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นความ

ประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ ใน

สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ในฌาน ๔ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะ

พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐.

[๔๔๔] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็น

ความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?

พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ

น้อมใจเชื่อในโสดาปัตติยังคะ คือ การคบหาสัปบุรุษ พึงเห็นความประพฤติ

แห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วย

อรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน

พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่ง

สัทธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ใน

ความน้อมใจเชื่อในโสดาปัตติยังคะ คือ การฟังธรรมของท่าน ฯลฯ ในโสดา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 251

ปัตติยังคะ คือ การทำไว้ในใจ โดยอุบายอันแยบคาย ฯลฯ ในโสดาปัตติยังคะ

คือ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์

ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น

พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความ

ประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ด้วย

สามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่ง

อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๔๔๕ ] ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน. จะพึงเห็น

ความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?

จะพึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ

ประคองไว้ ในสัมมัปปธาน คือ การไม่ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดให้

เกิดขึ้น พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็น

ความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่ง

วิริยินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ

ประคองไว้ในสัมมัปปธาน คือ การละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ใน

สัมมัปปธาน คือ การบำเพ็ญกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ ใน

สัมมัปปธาน คือ ความตั้งมั่น ความไม่ฟั่นเฟือน ความเจริญยิ่ง ความ

ไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พึงเห็น

ความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติ

แห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ ด้วย

สามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์

๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 252

[๔๔๖] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นความ

ประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?

พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ

ตั้งมั่นในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย พึงเห็นความประพฤติ

แห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์

ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ

พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่ง

สตินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ

ตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ

ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ การ

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์

ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า

ประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน

๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๔๔๗] ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นความ

ประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?

พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ

ไม่ฟุ้งซ่าน ในปฐมฌาน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่า

เห็นพึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถที่น้อมใจเชื่อ พึงเห็นความ

ประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่ง

สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นความ

ประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในทุติยฌาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 253

ฯลฯ ในตติยฌาน ฯลฯ ในจตุตถฌาน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่ง

สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยสามารถแห่ง

สมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ

๒๐ เหล่านี้.

[๔๔๘] ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๘ จะพึงเห็นความ

ประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ?

พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการ

เห็นในอริยสัจ คือ ทุกข์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่า

น้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึง

เห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่ง

สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความ

ประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความเห็น ในอริยสัจ คือ

ทุกขสมุทัย ฯลฯ ในอริยสัจ คือ ทุกขนิโรธ ฯลฯ ในอริยสัจ คือ ทุกข-

นิโรธคามินีปฏิปทา พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจ

เชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็น

ความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่ง

สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยสามารถ

แห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วย

อาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๔๔๙] ความประพฤติและวิหารธรรม เป็นอันตรัสรู้แล้ว แทงตลอด

แล้ว เหมือนอย่างสพรหมจารีผู้รู้แจ้ง กำหนดบุคคลไว้ในฐานที่ลึก ตามที่

ประพฤติตามที่อยู่ว่า ท่านผู้นี้บรรลุแล้ว หรือว่าจักบรรลุเป็นแน่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 254

จริยา ในคำว่า ความประพฤติ มี ๘ คือ อิริยาปถจริยา ๑

อายตนจริยา ๑ สติจริยา ๑ สมาธิจริยา ๑ ญาณจริยา ๑ มรรคจริยา ๑

ปัตติจริยา ๑ โลกัตถจริยา ๑.

ความประพฤติในอิริยาบถ ๔ ชื่อว่าอิริยาปถจริยา ความประพฤติใน

อายตนภายในภายนอก ๖ ชื่อว่าอายตนจริยา ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔

ชื่อว่าสติจริยา ความประพฤติในฌาน ๔ ชื่อว่าสมาธิจริยา ความประพฤติใน

อริยสัจ ชื่อว่าญาณจริยา ความประพฤติในอริยมรรค ๔ ชื่อว่ามรรคจริยา

ความประพฤติในสามัญผล ๔ ชื่อว่าปัตติจริยา ความประพฤติกิจซึ่งเป็น

ประโยชน์แก่โลก ในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระปัจเจก-

พุทธเจ้าบางส่วน ในพระสาวกบางส่วน ชื่อว่าโลกัตถจริยา อิริยาปถจริยา

เป็นของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยการตั้งใจไว้ อายตนจริยา เป็นของท่านผู้คุ้มครอง

อินทรีย์ สติจริยา เป็นของท่านผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท สมาธิจริยา

เป็นของท่านผู้ขวนขวายในอธิจิต ญาณจริยา เป็นของท่านผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา

มรรคจริยา เป็นของท่านผู้ปฏิบัติชอบ ปัตติจริยา เป็นของท่านผู้บรรลุผลแล้ว

และโลกัตถจริยาเป็นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ของพระปัจเจก

พุทธเจ้าบางส่วนของพระสาวกบางส่วน จริยา ๘ เหล่านี้.

จริยา ๘ อีกประการหนึ่ง คือ บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ ย่อมประพฤติ

ด้วยศรัทธา ผู้ประคองไว้ ย่อมประพฤติด้วยความเพียร ผู้เข้าไปตั้งไว้มั่น

ย่อมประพฤติด้วยสติ ผู้ทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัด

ย่อมประพฤติด้วย ปัญญา ผู้รู้แจ้ง ย่อมพระพฤติด้วยวิญญาณ ผู้ทราบว่า ท่าน

ปฏิบัติอย่างนี้จึงบรรลุคุณวิเศษ ดังนี้ ย่อมประพฤติด้วยวิเสสจริยา ผู้ที่ทราบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 255

ว่ากุศลธรรมของท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมยังอิฐผลให้ยืดยาวไป ดังนี้ ย่อม

ประพฤติด้วยอายตนจริยา จริยา ๘ เหล่านี้.

จริยา ๘ อีกประการหนึ่ง คือ ทัสสนจริยาแห่งสัมมาทิฏฐิ ๑ อภิโรปน-

จริยาแห่งสัมมาสังกับปะ ๑ ปริคคหจริยาแห่งสัมมาวาจา ๑ สมุฏฐานจริยา

แห่งสัมมากัมมันตะ ๑ โวทานจริยาแห่งสัมมาอาชีวะ. ปัคคหจริยาแห่ง

สัมมาวายามะ ๑ อุปัฏฐานจริยาแห่งสัมมาสติ ๑ อวิกเขปจริยาแห่งสัมมาสมาธิ ๑

จริยา ๘ เหล่านี้.

[๔๕๐] คำว่า วิหาโร ความว่า บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ ย่อมอยู่ด้วย

ศรัทธา ผู้ประคองไว้ ย่อมอยู่ด้วยความเพียร ผู้ตั้งสติมั่น ย่อมอยู่ด้วยสติ

ผู้ทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัด ย่อมอยู่ด้วยปัญญา.

คำว่า รู้ตาม ความว่า ความน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ความ

ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์ ความตั้งมั่นแห่งสตินทรีย์ ความไม่ฟุ้งซ่านแห่ง

สมาธินทรีย์ ความเห็นแห่งปัญญินทรีย์ เป็นอันรู้ตามแล้ว.

คำว่า แทงตลอดแล้ว ความว่า ความน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์...

ความเห็นแห่งปัญญินทรีย์ เป็นอันแทงตลอดแล้ว.

คำว่า ตามที่ประพฤติ ความว่า ประพฤติด้วยศรัทธาอย่างนี้ ด้วย

ความเพียรอย่างนี้ ด้วยสติอย่างนี้ ด้วยสมาธิอย่างนี้ ด้วยปัญญาอย่างนี้.

คำว่า ตามที่อยู่ ความว่า อยู่ด้วยศรัทธาอย่างนี้ ...ด้วยปัญญาอย่างนี้.

คำว่า วิญญู คือ ผู้รู้แจ้ง ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาทำลายกิเลส

ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้.

คำว่า สพฺรหฺมจารี คือ บุคคลผู้มีการงานอย่างเดียวกัน มีอุเทศ

อย่างเดียวกัน มีการศึกษาเสมอกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล อภิญญา และปฏิสัมภิทา

ท่านกล่าวว่า เป็นฐานะอันลึก ในคำว่า คมฺภีเรสฺ าเนสุ.

คำว่า โอกปฺเปยยุ ความว่า พึงเชื่อ คือ พึงน้อมใจเชื่อ.

คำว่า อทฺธา นี้ เป็นเครื่องกล่าวส่วนเดียว เป็นเครื่องกล่าวโดยไม่

สงสัย เป็นเครื่องกล่าวโดยสิ้นความเคลือบแคลง เป็นเครื่องกล่าวไม่เป็นสอง

เป็นเครื่องกล่าวโดยธรรมเครื่องนำออก เป็นเครื่องกล่าวไม่ผิด เป็นเครื่อง

กล่าวโดยหลักฐาน.

คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าว

ด้วยความเคารพ เป็นเครื่องกล่าวมีความเคารพยำเกรง.

คำว่า บรรลุแล้ว ความว่า ถึงทับแล้ว คาว่า หรือว่าจักบรรลุ

ความว่า จักถึงทับ.

จบนิทานบริบูรณ์

[๔๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ ๕ เป็นไฉน คือ

สัทธินทรีย์...ปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล.

อินทรีย์ ๕ เหล่านี้พึงเห็นด้วยอาการเท่าไร พึงเห็นด้วยอาการ ๖

พึงเห็นด้วยอรรถว่ากระไร ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระ

ในเบื้องต้น ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่ง ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยอรรถว่า

ครอบงำ ด้วยอรรถว่าให้ตั้งอยู่.

[๔๕๒] พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่อย่างไร ?

พึงเห็นสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อแห่ง

บุคคลและความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 257

พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน

พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็น

วิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคองไว้ แห่งบุคคลผู้ละความ

เกียจคร้าน พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น. พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถ

ว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วย

อรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถ

ว่าเป็นใหญ่ในความตั้งมั่น แห่งบุคคลผู้ละความประมาท พึงเห็นสมาธินทรีย์

ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น.

พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วย

อรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า

เป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่านแห่งบุคคลผู้ละอุทธัจจะ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วย

อรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วย

อรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธิ

นทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็น แห่งบุคคลผู้ละ

อวิชชา พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถ

ว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถ

ว่าไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็น

ใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ

พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น

พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น

ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ

ประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 258

สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็น

ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วย

สามารถแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความตั้งมั่น

ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็นสมาธินทรีย์

ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์

ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วย

สามารถแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่

ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็น

ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น.

พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วย

อรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่ง

สมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความเห็น ด้วย

สามารถแห่งเนกขัมมะ แห่งบุคคลผู้ละกามฉันทะ พึงเห็นสัทธินทรีย์

ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็น

สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย

สามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อม

ใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งความไม่พยาบาท แห่งบุคคลผู้ละพยาบาท ฯลฯ ด้วย

สามารถแห่งอาโลกสัญญา แห่งบุคคลผู้ละถีนมิทธะ ฯลฯ พึงเห็นสัทธินทรีย์

ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งอรหัตมรรค แห่ง

บุคคลผู้ละกิเลสทั้งปวง พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็น

สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็น

ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ฯลฯ พึงเห็น

ปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็น ด้วยสามารถแห่งอรหัตมรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 259

แห่งบุคคลผู้ละกิเลสทั้งปวง พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึง

เห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น

พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึง

เห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่อย่างนี้.

[๔๕๓] พึงเห็นอินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น

อย่างไร.

สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวัง

ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้น แห่งสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

ด้วยอรรถว่าประคองไว้ เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังความเกียจคร้าน เป็น

เครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งวิริยินทรีย์ สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เป็น

สีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังความประมาท เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่ง

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่า

ระวังอุทธัจจะ เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งสมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ด้วย

อรรถว่าเห็น เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังอวิชชา เป็นเครื่องชำระใน

เบื้องต้นแห่งปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถ

ว่าระวังกามฉันทะ เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ อินทรีย์ ๕

ในความไม่พยาบาท เป็นสีลวิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังพยาบาท เป็นเครื่อง

ชำระในเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ในอรหัตมรรค เป็นสีล-

วิสุทธิเพราะอรรถว่าระวังกิเลสทั้งปวง เป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นแห่งอินทรีย์

๕ พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องชำระในเบื้องต้นอย่างนี้.

[๔๕๔] พึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่งอย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 260

ฉันทะเกิดขึ้นเพื่อความเจริญสัทธินทรีย์ เพื่อละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา

เพื่อละความเร่าร้อนเพราะความไม่มีศรัทธา เพื่อละกิเลสอันตั้งอยู่ร่วมกันกับ

ทิฏฐิ เพื่อละกิเลสส่วนหยาบ ๆ เพื่อละกิเลสส่วนละเอียด ๆ เพื่อละกิเลสทั้งปวง.

สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจฉันทะ

ความปราโมทย์เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งฉันทะ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วย

สามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความปราโมทย์ ปีติเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่ง

ความปราโมทย์ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจ

แห่งปีติ ปัสสัทธิเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งปีติ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วย

สามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจปัสสัทธิ ความสุขเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่ง

ปัสสัทธิ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจแห่ง

ความสุข โอภาสเกิดขึ้นด้วยสามารถความสุข สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วย

สามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจโอภาส สังเวชเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งโอภาส

สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจสังเวช จิตสังเวช

แล้วย่อมตั้งมั่น สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจ

สมาธิ จิตมั่นคงอย่างนั้นแล้วย่อมประคองไว้ดี สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วย

สามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจการประคองไว้ จิตประคองแล้วอย่างนั้นย่อม

วางเฉยดี สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธาด้วยอำนาจอุเบกขา

จิตย่อมหลุดพ้นจากกิเลสต่าง ๆ ด้วยสามารถแห่งอุเบกขา สัทธินทรีย์มีประมาณ

ยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความหลุดพ้น ธรรมเหล่านั้นมีกิจ

เสมอกัน เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้ว สัทธินทรีย์มีประมาณ

ยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจภาวนา เพราะอรรถว่าเป็นธรรมมีกิจ

เสมอกัน ธรรมเหล่านั้นย่อมหลีกจากธรรมนั้นสู่ธรรมที่ประณีตกว่า เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 261

เป็นธรรมที่เจริญแล้ว สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วย

อำนาจความหลีกไป จิตย่อมปล่อยจากธรรมนั้น เพราะเป็นธรรมที่หลีกไปแล้ว

สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความปล่อย ธรรม

ทั้งหลายย่อมดับไปจากนั้น เพราะจิตเป็นธรรมชาติปล่อยไปแล้ว สัทธินทรีย์

มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความดับ ความปล่อยด้วย

สามารถแห่งความดับ มี ๒ ประการ คือ ความปล่อยด้วยความสละ ๑ ความปล่อย

ด้วยความแล่นไป ๑ ชื่อว่าความปล่อยด้วยความสละ เพราะอรรถว่า สละกิเลส

และขันธ์ ชื่อว่าความปล่อยด้วยความแล่นไป เพราะอรรถว่า จิตแล่นไปใน

นิพพานธาตุเป็นที่ดับ ความปล่อยด้วยอำนาจความดับมี ๒ ประการนี้.

[๔๕๕] ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญวิริยินทรีย์ เพื่อละความ

เกียจคร้าน เพื่อละความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน เพื่อละกิเลสอันตั้งอยู่

ร่วมกันกับทิฏฐิ ฯลฯ เพื่อละกิเลสทั้งปวง ฯลฯ ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญ

สตินทรีย์ เพื่อละความประมาท เพื่อละความเร่าร้อนเพราะความประมาท ฯลฯ

เพื่อละกิเลสทั้งปวง ฯลฯ ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญสมาธินทรีย์ เพื่อละ

อุทธัจจะ เพื่อละความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ ฯลฯ เพื่อละกิเลสทั้งปวง ฯลฯ

ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญปัญญินทรีย์ เพื่อละอวิชชา เพื่อละความเร่าร้อน

เพราะอวิชชา เพื่อละกิเลสอันตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ เพื่อละกิเลสส่วนหยาบ ๆ

เพื่อละกิเลสส่วนละเอียด ๆ เพื่อละกิเลสทั้งปวง ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วย

สามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจฉันทะ ความปราโมทย์ย่อมเกิดด้วยสามารถ

ฉันทะ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความ

ปราโมทย์ ปีติย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งความปราโมทย์ ปัญญินทรีย์มีประมาณ

ยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจปีติ ปัสสัทธิย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งปีติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 262

ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจปัสสัทธิ ความสุข

ย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งปัสสัทธิ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่ง

ปัญญา ด้วยอำนาจความสุข โอภาสย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งความสุข ปัญญิน-

ทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจโอภาส ความสังเวชย่อม

เกิดด้วยสามารถแห่งโอภาส ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา

ด้วยอำนาจความสังเวช จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง

ด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจสมาธิจิตตั้งมั่น แล้วอย่างนั้น ย่อมประคอง

ไว้ดี ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความประคอง

ไว้ จิตประคองไว้แล้วอย่างนั้น ย่อมวางเฉยด้วยดี

ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจอุเบกขา

จิตย่อมหลุดพ้น จากกิเลสต่าง ๆ ด้วยสามารถแห่งอุเบกขา ปัญญินทรีย์มีประ-

มาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความหลุดพ้น ธรรมเหล่านั้นย่อมมี

กิจเป็นอันเดียวกัน เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้ว ปัญญินทรีย์มี

ประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจภาวนา เพราะอรรถว่าเป็นธรรม

มีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมเหล่านั้นย่อมหลีกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรมที่ประณีต

กว่า เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา

ด้วยอำนาจความหลีกไป จิตย่อมปล่อยจากธรรมนั้น เพราะเป็นจิตหลีกไปแล้ว

ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความปล่อย ธรรม

ทั้งหลายย่อมดับไปจากนั้น เพราะจิตเป็นธรรมชาติปล่อยแล้ว ปัญญินทรีย์มี

ประมาณยิ่งด้วยสามารถแห่งปัญญา ด้วยอำนาจความดับ ความปล่อยด้วยอำนาจ

แห่งความดับมี ๒ ประการ คือ ความปล่อยด้วยความสละ๑ ความปล่อยด้วยความ

แล่นไป ๑ ชื่อว่าความปล่อยด้วยความสละ เพราะอรรถว่า สละกิเลสและขันธ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 263

ชื่อว่าความปล่อยด้วยความแล่นไป เพราะอรรถว่า จิตแล่นไปในนิพพานธาตุ

อันเป็นที่ดับ ความปล่อยด้วยสามารถแห่งความดับ มี ๒ ประการนี้ พึงเห็น

อินทรีย์ด้วยอรรถว่ามีประมาณยิ่งอย่างนี้.

จบภาณวาร

[๔๕๖] จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่นอย่างไร.

ฉันทะย่อมเกิดเพื่อความเจริญสัทธินทรีย์ สัทธินทรีย์ย่อมตั้งมั่นด้วย

สามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจฉันทะ ความปราโมทย์ย่อมเกิดด้วยสามารถ

แห่งฉันทะ สัทธินทรีย์ย่อมตั้งมั่นด้วยสามารถแห่งศรัทธา ด้วยอำนาจความ

ปราโมทย์ ฯลฯ จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่นอย่างนี้.

[๔๕๗] จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าครอบงำอย่างไร.

สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ย่อมครอบงำความเป็นผู้ไม่มี

ศรัทธา ย่อมครอบงำความเร่าร้อนเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา วิริยินทรีย์

ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อมครอบงำความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมครอบงำ

ความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมครอบงำ

ความประมาท ย่อมครอบงำความเร่าร้อนเพราะความประมาท สมาธินทรีย์

ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมครอบงำอุทธัจจะ ย่อมครอบงำความเร่าร้อน

เพราะอุทธัจจะ ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมครอบงำอวิชชา ย่อม

ครอบงำความเร่าร้อนเพราะอวิชชา อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ ย่อมครอบงำ

กามฉันทะ อินทรีย์ ๕ ในความไม่พยาบาท ย่อมครอบงำพยาบาท อินทรีย์ ๕

ในอาโลกสัญญา ย่อมครอบงำถีนมิทธะ อินทรีย์ ๕ ในความไม่ฟุ้งซ่าน

ย่อมครอบงำอุทธัจจะ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ในอรหัตมรรค ย่อมครอบงำกิเลส

ทั้งปวง จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าครอบงำอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 264

[๔๕๘] จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าให้ตั้งอยู่อย่างไร.

ผู้มีศรัทธา ย่อมให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์

ของผู้มีศรัทธา ย่อมให้ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ ผู้มีความเพียรย่อมให้

วิริยินทรีย์ตั้งอยู่ในความประคองไว้ วิริยินทรีย์ของผู้มีความเพียร ย่อมให้ตั้งอยู่

ในความประคองไว้ ผู้มีสติย่อมให้สตินทรีย์ตั้งอยู่ในความตั้งมั่น สตินทรีย์

ของผู้มีสติ ย่อมให้ตั้งอยู่ในความตั้งมั่น ผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมให้สมาธินทรีย์ตั้งอยู่

ในความไม่ฟุ้งซ่าน สมาธินทรีย์ของผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมให้ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้ง-

ซ่าน ผู้มีปัญญาย่อมให้ปัญญินทรีย์ตั้งอยู่ในความเห็น ปัญญินทรีย์ของผู้มี

ปัญญา ย่อมให้ตั้งอยู่ในความเห็น พระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ใน

เนกขัมมะ อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร ย่อมให้ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ พระ

โยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในความไม่พยาบาท อินทรีย์ ๕ ของพระ-

โยคาวจร ย่อมให้ตั้งอยู่ในความไม่พยาบาท พระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ ๕

ตั้งอยู่ในอาโลกสัญญา อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร ย่อมให้ตั้งอยู่ในอาโลก-

สัญญา พระโยคาวจรย่อมให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่าน อินทรีย์ ๕

ของพระโยคาวจร ย่อมให้ตั้งอยู่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ พระโยคาวจรย่อม

ให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร ย่อมให้

ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค จะพึงเห็นอินทรีย์ด้วยอรรถว่าให้ตั้งอยู่อย่างนี้.

[๔๕๙] ปุถุชนเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ

เท่าไร พระเสขะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร

ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ

เท่าไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 265

ปุถุชนเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๗

พระเสขะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๘ ท่านผู้ปราศ-

จากราคะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐.

[๔๖๐] ปุถุชนเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ

๗ เป็นไฉน ?

ปุถุชนผู้มีตนอันพิจารณาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์

๑ เป็นผู้ฉลาดให้ความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง

ปัคคหนิมิต ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความไม่ฟุ้งซ่าน ๑ เป็นผู้ฉลาด

ในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความร่าเริง ๑ เป็นผู้

ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ๑ ปุถุชนเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความ

ตั้งไว้ด้วยอาการ ๗ เหล่านี้.

พระเสขะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๘

เป็นไฉน ?

พระเสขะมีตนอันพิจารณาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง

อารมณ์ ฯลฯ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้

ซึ่งความเป็นธรรมอย่างเดียว พระเสขะผู้เจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความ

ตั้งไว้ด้วยอาการ ๘ เหล่านี้.

ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย

อาการ ๑๐ เป็นไฉน ?

ท่านผู้ปราศจากราคะมีตนอันพิจารณาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความ

ตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ ฯลฯ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความเป็นธรรมอย่างเดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 266

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต ท่านผู้

ปราศจากราคะเจริญสมาธิ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้.

[๔๖๑] ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย

อาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร พระเสขะเจริญ-

วิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความ

ไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดใน

ความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร.

ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙

เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ พระเสขะเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาด

ในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ ท่านผู้

ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เป็นผู้

ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒.

[๔๖๒] ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย

อาการ ๙ เป็นไฉน เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เป็นไฉน ?

ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ๑ เป็นผู้ฉลาด

ในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็น

สุข ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา ๑ เป็นผู้ฉลาดในความ

ไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป ๑

เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย

ความเสื่อมไป ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา ๑ เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 267

ฉลาดในความตั้งไว้โดยความแปรปรวน ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดย

ความยั่งยืน ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพหานิมิตมิได้ ๑ เป็นผู้

ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีนิมิต ๑ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย

เป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยเป็นสภาพมีที่ตั้ง ๑

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพสูญ ๑ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดย

ความยึดมั่น ๑ ปุถุชนเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ

๙ เหล่านั้น เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ เหล่านี้.

พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐

เป็นไฉน ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน ?

พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็น

ของไม่เที่ยง ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ

เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นสภาพสูญ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้

โดยความยึดมั่น เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ เป็นผู้ฉลาดในความไม่

ตั้งไว้ซึ่งสิ่งมิใช่ญาณ พระเสขะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้

ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้.

ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย

อาการ ๑๒ เป็นไฉน เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เป็นไฉน ?

ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้

โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง

ฯลฯ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่ง

มิใช่ญาณ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ฉลาดในความ

ไม่ตั้งไว้โดยความเกี่ยวข้อง เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความดับ เป็นผู้ฉลาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 268

ในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสังขาร ท่านผู้ปราศจากราคะเจริญวิปัสสนา ย่อมเป็นผู้

ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ เหล่านี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วย

๑๒ เหล่านี้ บุคคลผู้มีตนอันเว้นแล้ว ย่อมให้อินทรีย์ประชุม ด้วยสามารถ

ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ รู้จักโคจร และแทงตลอดธรรม

อันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯลฯ ย่อมให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้จักโคจร

และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์

[๔๖๓] คำว่า ย่อมให้อินทรีย์ประชุมลง ความว่า ย่อมให้

อินทรีย์ประชุมลงอย่างไร ย่อมให้สัทธินทรีย์ประชุมลงด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ

ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความ

ตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต

ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ

ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความร่าเริง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดใน

ความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความ

เป็นธรรมอย่างเดียว ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ด้วย

สามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต ความสามารถความเป็นผู้ฉลาดใน

ความตั้งไว้โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความ

ไม่ตั้งไว้โดยความเป็นของเที่ยง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้

โดยความเป็นทุกข์ ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความ

เป็นสุข ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา ด้วย

สามรถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา ด้วยสามารถ

ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 269

ในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้ง

ไว้โดยความเสื่อมไป ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความ

ประมวลมา ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ โดยความแปรปรวน

ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ โดยความยั่งยืน ด้วยสามารถ

ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ โดยความเป็นสภาพที่หานิมิตมิได้ ด้วยสามารถ

ความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ โดยเป็นสภาพมีนิมิต ด้วยสามารถความเป็น

ผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยเป็นสภาพไม่มีที่ตั้ง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดใน

ความไม่ตั้งไว้โดยสภาพมีที่ตั้ง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย

ความเป็นสภาพสูญ ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยึด

มั่น ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ด้วยสามารถความเป็น

ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งมิใช่ญาณ ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความ

ตั้งไว้ซึ่งความไม่เกี่ยวข้อง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่ง

ความไม่เกี่ยวข้อง ด้วยสามารถความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งความดับ

ย่อมรู้จักโคจร และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์.

[๔๖๔] ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ด้วยอาการ

๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ อินทรีย์ ๓ เป็นไฉน คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์

๑ อัญญินทรีย์ ๑ อัญญาตาวินทรีย์ ๑.

อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ย่อมถึง

ฐานะเท่าไร อัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร.

อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ โสดาปัตติมรรค

อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 270

อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตมรรค อัญญตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๑

คือ อรหัตผล.

[๔๖๕] ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์

มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร วิริยินทรีย์มีความประคองไว้เป็น

บริวาร สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็น

บริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร

โสมนัสสินทรีย์มีความยินดียิ่งเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในการ

สืบต่อแห่งความเป็นไปเป็นบริวารธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติมรรค

เว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนเป็นกุศลทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็น

ธรรมที่นำออก ล้วนเป็นเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ล้วนเป็นโลกุตระ ล้วน

เป็นธรรมมีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามี-

ตินทรีย์มีอินทรีย์ทั้ง ๘ นี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นเป็นบริวาร

มีธรรมที่อาศัยเป็นบริวาร มีสัมปยุตธรรมเป็นบริวาร เป็นสหคตธรรม เป็น

สหชาตธรรม เป็นธรรมเกี่ยวข้องกัน เป็นธรรมประกอบกัน ธรรมเหล่านั้น

แลเป็นอาการและเป็นบริวารแห่งอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ในขณะโสดา-

ปัตติผล ฯลฯ.

ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจ

เชื่อเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในความสืบเนื่องแห่งความ

เป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตผล เว้นรูปอันมีจิต

เป็นสมุฏฐาน ล้วนเป็นอพัพยากฤตทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็นโลกุตระ

ล้วนมีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์มีอินทรีย์

๘ นี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 271

เป็นบริวารแห่งอัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ ๘ หมวดนี้รวมเป็นอินทรีย์ ๖๔

ด้วยประการฉะนี้.

[๔๖๖] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน อาสวะ

เหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.

อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ

ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปเพราะโสดาปัตติ-

มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะโสดาปัตติมรรคนี้ กามาสวะส่วนหยาบ

ภวาสวะ อวิชชาสวะ ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปเพราะ

สกทาคามิมรรค อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไปในขณะสกทาคามิมรรคนี้ กามาสวะ

ทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไป

เพราะอนาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะอนาคามิมรรคนี้ ภวาสวะ

และอวิชชาทั้งสิ้น ย่อมสิ้นไปเพราะอรหัตมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปใน

ขณะอรหัตมรรคนี้.

บทธรรมที่พระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีโนโลกนี้ อนึ่ง บทธรรม

อะไร ๆ ที่พระตถาคตนั้นไม่ทรงทราบแล้ว ไม่พึงทรงทราบมิได้มี พระตถาคต

ทรงทราบธรรมที่ควรนำไปทั้งปวง เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่าเป็น

พระสมันตจักษุ.

คำว่า สมนฺตจกฺขุ ความว่า ชื่อว่าสมันตจักษุ เพราะอรรถว่า

กระไร.

พระพุทธญาณ ๑๔ คือ ญาณในทุกข์ ญาณในทุกขสมุทัย ฯลฯ

สัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ เป็นพระพุทธญาณ พระพุทธญาณ ๑๔ นี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 272

ในพระพุทธญาณ ๑๔ นี้ ญาณ ๘ ข้างต้นทั่วไปกับพระสาวก ญาณ ๖ ข้าง

หลังไม่ทั่วไปกับพระสาวก.

[๔๖๗] พระตถาคตทรงทราบ สภาพแห่งทุกข์เป็นสิ่งที่ทนได้ยาก

ตลอดหมด ที่ไม่ทรงทราบมิได้มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงพระนามว่า

สมันตจักษุ สมันตจักษุเป็นปัญญินทรีย์ สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ

วิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น สมาธินทรีย์

ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ สภาพแห่งทุกข์เป็นสิ่งที่

ทนได้ยาก พระตถาคตทรงเห็นแล้ว ทรงทราบแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรง

ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยพระปัญญา ที่ไม่ทรงถูกต้องแล้วมิได้มี เพราะเหตุนั้น

พระตถาคตจึงทรงพระนามว่า สมันตจักษุ สมันตจักษุเป็นปัญญินทรีย์

สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ฯลฯ สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน

ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯลฯ สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุให้เกิด ฯลฯ

สภาพแห่งนิโรธเป็นเหตุดับโดยไม่เหลือ ฯลฯ สภาพแห่งมรรคเป็นทางให้ถึง

ฯลฯ สภาพแห่งอรรถปฏิสัมภิทาเป็นปัญญาเครื่องแตกฉานดีโดยอรรถ ฯลฯ

สภาพแห่งธรรมปฏิสัมภิทา เป็นปัญญาแตกฉานดีโดยธรรม ฯลฯ สภาพแห่ง

นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นปัญญาแตกฉานดีโดยภาษา สภาพแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา

เป็นปัญญาแตกฉานดีโดยปฏิภาณ ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์

ทั้งหลาย ญาณในฉันทะอันมานอนและกิเลสอันนอนตามของสัตว์ทั้งหลาย

ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ญาณในมหากรุณาสมาบัติ ฯลฯ อารมณ์ที่ได้เห็น

ที่ได้สดับ ที่ได้ทราบ ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่เที่ยวตามหาด้วยใจ

โนโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง

สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแจ้งแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 273

ทรงรู้แล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาที่ไม่ทรงถูกต้องด้วย

ปัญญาไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงพระนามว่าสมันตจักษุ สมันตจักษุ

เป็นปัญญินทรีย์ สัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ...สมาธินทรีย์ด้วยอรรถ

ว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ บุคคลเมื่อเชื่อย่อมประคองไว้ เมื่อ

ประคองไว้ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อม

ตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมเชื่อ เมื่อประคอง

ไว้ย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมตั้งใจมั่น เมื่อ

ตั้งใจมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมประคองไว้ เมื่อ

ประคองไว้ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมประคองไว้ เมื่อตั้งสติมั่นย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้ง

ใจมั่นย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติ

มั่นย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ย่อมประคองไว้ เมื่อประคอง

ไว้ย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น

ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้

ย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่นย่อมตั่งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมตั้งใจมั่น เมื่อรู้ชัด

ย่อมเชื่อ เมื่อเชื่อย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมประคองไว้ เมื่อประคองไว้ย่อมรู้ชัด

เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่นย่อมรู้ชัด เมื่อรู้ชัดย่อมตั้งใจมั่น เมื่อตั้ง

ใจมั่นย่อมรู้ชัด เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคอง

ไว้จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่น จึงเชื่อ

เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ เพราะ

ความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้ประ

คองไว้จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงประคองไว้ เพราะความเป็น

ผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงประคองไว้ เพราะความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 274

เป็นผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัด จึงประคองไว้ เพราะความเป็น

ผู้ประคองไว้จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ตั้ง

สติมั่นจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้ง

สติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่น

จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงประ-

คองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่น

จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ

เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงประคองไว้

เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงตั้งสติมั่น

เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ เพราะ

ความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงประคองไว้ เพราะความเป็น

ผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้ง

สติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่น

จึงรู้ชัด พระพุทธจักษุเป็นพระพุทธญาณ พระพุทธญาณเป็นพระจักษุ อัน

เป็นเครื่องให้ พระตถาคตทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้มีกิเลสธุลีน้อย ในปัญญาจักษุก็มี

มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มี

อาการดีก็มี มีอาการชั่วก็มี ที่จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่ายก็มี ที่จะพึงฝึกให้รู้ได้โดย

ยากก็มี บางพวกเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกไม่เห็นปรโลก

และโทษโดยความเป็นภัย.

[๔๖๘] คำว่า มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมาก

ในปัญญาจักษุ ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ

ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ผู้ปรารภความเพียร...ผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 275

สติตั้งมั่น...ผู้มีจิตตั้งมั่น...ผู้มีปัญญา ชื่อว่าผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ

บุคคลผู้เกียจคร้าน...ผู้มีสติหลงลืม...ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ... ผู้มีปัญญาทราม

ชื่อว่าผู้มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ.

คำว่า ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน ความว่า บุคคลผู้มี

ศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อ่อน ฯลฯ

ผู้มีปัญญา ชื่อว่ามีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีปัญญาทราม ชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อ่อน.

คำว่า ผู้มีอาการดี ผู้มีอาการชั่ว ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา

ชื่อว่าผู้มีอาการดี ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าผู้มีอาการชั่ว ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่า

ผู้มีอาการดี ผู้ไม่มีปัญญา ชื่อว่าผู้มีอาการชั่ว.

คำว่า จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่าย จะพึงให้ฝึกให้รู้ได้โดยยาก

ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่าย ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า

จะพึงฝึกให้รู้ได้โดยยาก ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยง่าย ผู้ไม่มี

ปัญญา ชื่อว่าจะพึงฝึกให้รู้ได้โดยยาก.

คำว่า บางพวกเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บาง

พวกไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา

ชื่อว่าเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าไม่เห็นปรโลก

และโทษโดยความเป็นภัย ฯลฯ ผู้มีปัญญา ชื่อว่าเห็นปรโลกและโทษโดยความ

เป็นภัย ผู้ไม่มีปัญญา ชื่อว่าไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย.

คำว่า โลก คือ ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก

วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก โลก ๑ คือ สัตว์ทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 276

ดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร โลก ๒ คือ นามและรูป โลก ๓ คือ เวทนา ๓

โลก ๔ คือ อาการ ๔ โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖ คือ อายตนะ

ภายใน ๖ โลก ๗ คือ วิญญาณฐิติ ๗ โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘ โลก ๙

คือ สัตตาวาส ๙ โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐ โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒

โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘.

คำว่า โทษ ความว่า กิเลสทั้งปวงเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ

อภิสังขารทั้งปวงเป็นโทษ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงเป็นโทษ ความ

สำคัญในโลกนี้และในโทษนี้ด้วยประการดังนี้ โดยความเป็นภัยอย่างแรงกล้า

ปรากฏเฉพาะหน้า เปรียบเหมือนความสำคัญในเพชฌฆาต ซึ่งกำลังแกว่งดาบ

เข้ามาโดยความเป็นภัย ฉะนั้น พระตถาคตย่อมทรงทราบ ทรงเห็น ทรง

รู้ชัดแทงตลอด ซึ่งอินทรีย์ ๕ ประการ ด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้.

จบตติยภาณวาร

จบอินทริยกถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 277

๔. อินทริยกถา

๑. อรรถกถาปฐมสุตตันตนิเทศ

บัดนี้ ถึงคราวที่จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพรรณนาในอินทริย-

กถา ซึ่งกล่าวในลำดับอานาปานสติกถา.

จริงอยู่ อินทริยกถานี้ท่านกล่าวในลำดับอานาปานสติกถา เพื่อแสดง

วิธีมีการชำระอินทรีย์ อันเป็นอุปการะแก่อานาปานสตินั้น เพราะไม่มี

อานาปานสติภาวนา ในเพราะความไม่มีอินทรีย์ทั้งหลายอันเป็นอุปการะแก่

อานาปานสติภาวนา เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระประสงค์จะทำอินทริยกถา

ที่ควรกล่าวนั้น อันเป็นเทศนาที่มีมาในพระสูตร โดยประสงค์จะให้รู้ซึ่งตน

ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นเบื้องต้นจึงกล่าวคำ

เป็นอาทิว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอว เป็นบทนิบาต. บททั้งหลายมีอาทิว่า เม

เป็นบทนาม. บทว่า วิ ในบทว่า วิหรติ นี้ เป็นบทอุปสรรค. บทว่า หรติ

เป็นบทอาขยาย. พึงทราบการจำแนกบทโดยนัยนี้ด้วยประการฉะนี้.

แต่โดยอรรถ เอว ศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถแห่งนิทัศนะการชี้แจง

และในอรรถแห่งอวธารณะ (การรับรอง) ในการถือเอาคาอันเป็นอุปมาการอ้าง

การติเตียน การสรรเสริญและอาการ. แต่ เอว ศัพท์ในที่นี้วิญญูชนบัญญัติ

ลงในอรรถแห่งอาการและในอรรถแห่งนิทัศนะ และในอรรถแห่งอวธารณะ

ก็เหมือนอย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 278

ในอรรถเหล่านั้น ท่านแสดงความนี้ด้วย เอว ศัพท์ อันมีอาการเป็น

อรรถ แปลว่า ด้วยอาการอย่างนี้. ใคร ๆ สามารถจะรู้พระดำรัสของพระผู้มี

พระภาคเจ้านั้น อันมีนัยต่าง ๆ ละเอียด มีอัธยาศัยไม่น้อยเป็นสมุฏฐาน

สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ มีปาฏิหาริย์หลายอย่างลึกซึ้งด้วยเหตุผลเทศนา

และปฏิเวธอันมาสู่คลองโสตโดยสมควรแก่ภาษาของตน ๆ แห่งสัตว์ทั้งปวงได้

โดยทุกประการ แม้ยังผู้ประสงค์จะพึงให้เกิดด้วยกำลังทั้งปวง จึงกล่าวว่า

เอว เม สุต คือแม้ข้าพเจ้าก็สดับมาแล้วด้วยอาการหนึ่งดังนี้. พระสารีบุตร

เถระ เมื่อจะออกตัวว่า เรามิใช่พระสยัมภู สิ่งนี้เรายังมิได้ทำให้แจ้ง ด้วย เอว

ศัพท์อันมีนิทัศนะเป็นอรรถ จึงแสดงสูตรทั้งสิ้นที่ควรกล่าวในบัดนี้ว่า เอว เม

สุต แม้เราก็สดับมาแล้วอย่างนี้ดังนี้. ด้วยมีอวธารณะเป็นอรรถ พระสารีบุตร

เถระ เมื่อจะแสดงกำลังอันทรงไว้ของตน สมควรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรง

สรรเสริญ โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุทั้งหลายผู้เป็น

สาวกของเรา มีปัญญามาก สารีบุตรเป็นผู้เลิศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายัง

ไม่พิจารณาเห็นบุคคลอื่นแม้สักคนเดียว ซึ่งเป็นผู้ยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่

ตถาคตประกาศไปแล้วอย่างนี้ ให้เป็นไปตามได้อย่างถูกต้องเหมือนสารีบุตร

เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่ตถาคตประกาศ

แล้ว ให้เป็นไปตามได้อย่างถูกต้อง จึงยังความเป็นผู้ใคร่จะฟังให้เกิดแก่สัตว์

ทั้งหลายว่า เราสดับมาแล้วอย่างนี้ พระธรรมจักรนั้นแลไม่บกพร่องไม่เกิน

โดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ พึงเห็นเป็นอย่างนี้เท่านั้น ไม่พึงเห็นเป็น

อย่างอื่น.

เม ศัพท์ย่อมปรากฏในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติและฉัฏฐี-

วิภัตติ. แต่ในที่นี้ย่อมควรในสองอรรถว่า มยา สุต อันเราสดับแล้ว และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

มม สุต สดับแล้วแก่เราดังนี้. ศัพท์ว่า สุต นี้เป็นทั้งอุปสรรคและมิใช่อุปสรรค

ย่อมปรากฏในการฟังชัด การไป การชุ่มชื้น การสะสม การประกอบ การ

รู้แจ้งทางหู และเมื่อจะรู้ ย่อมปรากฏด้วยการแล่นไปตามโสตทวาร. แต่ในที่นี้

สุต ศัพท์นั้นมีความว่า เข้าไปทรงไว้หรือการเข้าไปทรงไว้โดยแล่นไปตาม

โสตทวาร.

เมื่อ เม ศัพท์ มีอรรถว่า มยา ย่อมควรว่า อันเราสดับแล้ว

อย่างนี้ คือ เข้าไปทรงไว้โดยแล่นไปตามโสตทวาร. เมื่อมีอรรถว่า มม ย่อม

ควรว่า การฟังคือการเข้าไปทรงไว้โดยตามแล่นไปทางโสตทวารของเราอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อไม่รู้ความที่การฟังอันตนให้เกิดแล้วว่า เราสดับ

มาแล้วอย่างนี้ เมื่อจะเปิดเผยการฟังอันมีมาก่อน ย่อมยังความไม่เชื่อถือใน

ธรรมนี้ให้พินาศไปว่า คำนี้เรารับมาแล้วเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์ผู้ทรงแกล้วกล้าด้วยเวสารัชธรรม ๔ ผู้ทรงกำลัง ๑๐ ผู้ตั้งอยู่ในฐานะ

อันองอาจ ผู้บันลือสีหนาท ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง ผู้เป็นอิสระในธรรม

ผู้เป็นพระธรรมราชา ผู้เป็นธรรมาธิบดี ผู้เป็นธรรมประทีป ผู้เป็นธรรมสรณะ

ผู้เป็นจักรพรรดิแห่งพระสัทธรรมอันประเสริฐ ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ไม่ควรทำความเคลือบแคลงสงสัย ในอรรถ ในธรรม ในบท ในพยัญชนะ

นี้เลย ยังสัทธาสัมปทาให้เกิด. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

สาวกของพระโคดมกล่าวอยู่อย่างนี้ว่า เราสดับ

มาแล้วอย่างนี้ ย่อมยังผู้ไม่เชื่อให้พินาศไป ยังผู้เชื่อ

ให้เจริญในพระศาสนา ดังนี้.

บทว่า เอก แสดงจำนวน. บทว่า สมย แสดงกำหนด. บทว่า เอก

สมย แสดงความไม่แน่นอน. สมย ศัพท์ในบทนั้นย่อมปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 280

ในการประชุม ขณะ กาล หมู่ เหตุ ทิฏฐิ

การได้ การละ และการแทงตลอด.

แต่ในที่นี้ สมย ศัพท์ เอาความว่า กาล. ด้วยเหตุนั้นท่านแสดงว่า เอก

สมย โนสมัยหนึ่ง บรรดาสมัยทั้งหลาย้อนเป็นประเภทแห่งกาล มีปี ฤดู

เดือน กึ่งเดือน คืน วัน เช้า เที่ยง เย็น ยามต้น ยามกลาง ยามสุด

และครู่ เป็นต้น.

ในกาลทั้งหลายมีปีเป็นต้นเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตร

ใด ๆ ในปี ฤดู เดือน ปักษ์ กลางคืนหรือกลางวันใด ๆ พระสูตรนั้น

ทั้งหมด พระเถระรู้แล้วเป็นอย่างดี กำหนดแล้วเป็นอย่างดีด้วยปัญญาโดยแท้.

แต่เพราะเมื่อกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้ ในปีโน้น ฤดูโน้น

เดือนโน้น ปักษ์โน้น กลางคืนวันโน้น หรือกลางวันวันโน้น ไม่สามารถ

จะทรงจำได้ จะยกขึ้นแสดงได้ หรือให้ยกขึ้นแสดงได้โดยง่าย ควรจะกล่าว

ให้มาก ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระประมวลความนั้นลงด้วยบทเดียวเท่านั้นแล้ว

กล่าวว่า เอก สมย.

ในบรรดาสมัยอันมีประเภทมากมาย ตามประกาศไว้ในเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอาทิอย่างนี้ คือ สมัยลงสู่พระครรภ์

สมัยประสูติ สมัยเกิดสังเวช สมัยเสด็จทรงผนวช สมัยทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา

สมัยชนะมาร สมัยตรัสรู้ สมัยเสวยสุขในทิฏฐิธรรม สมัยเทศนา สมัยปรินิพพาน

แสดงถึงสมัยหนึ่ง คือ สมัยเทศนา. ท่านกล่าวว่า เอก สมย หมายถึง

สมัยใดสมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัยอันเป็นสมัยทรงบำเพ็ญกิจด้วยพระกรุณาใน

สมัยทรงบำเพ็ญพระญาณกรุณา อันเป็นสมัยทรงปฏิบัติประโยชน์ เพื่อผู้อื่น

ในสมัยที่ทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์เพื่อผู้อื่น อันเป็นสมัยแสดง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

ธรรมิกถาในสมัยที่ทรงกระทำกิจแก่ผู้มาประชุมกัน อันเป็นสมัยทรงประกาศ

พระศาสนา.

อนึ่ง เพราะบทว่า เอก สมย เป็นอัจจันตสังโยคะ คือ เป็นทุติยา-

วิภัตติลงในอรรถว่า สิ้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้หรือพระสูตร

อื่นสิ้นสมัยใด ทรงอยู่ด้วยพระกรุณาวิหาร สิ้นสมัยนั้นตลอดกาล ฉะนั้น

เพื่อส่องความนั้น ท่านจึงทำให้เป็นทุติยาวิภัตติ ดังที่ท่านกล่าวว่า

ท่านเพ่งถึงอรรถนั้น ๆ แล้วจึงกล่าว สมย ศัพท์

ในที่อื่นด้วยสัตตมีวิภัตติ และตติยาวิภัตติ ในที่นี้กล่าว

ด้วยทุติยาวิภัตติ.

ส่วนพระโบราณาจารย์ทั้งหลายพรรณนาว่า สมย ศัพท์นี้มีความ

ต่างกันเพียงคำพูดว่า ตสฺมึ สมเย ในสมัยนั้น เตน สมเยน ด้วยสมัย

นั้น หรือ ต สมย สินสมัยนั้น ในที่ทั้งปวงมีความเป็นสัตตมีวิภัตติทั้งนั้น.

เพราะฉะนั้น แม้เมื่อกล่าวว่า เอก สมย ก็พึงทราบความว่า เอกสฺมึ สมเย

ในสมัยหนึ่ง.

บทว่า ภควา คือครู. เพราะชนทั้งหลายในโลกเรียกครูว่า ภควา

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นครูของสรรพสัตว์ เพราะเป็นผู้ประเสริฐด้วย

คุณทั้งปวง เพราะฉะนั้น พึงทราบบทว่า ภควา ต่อไป. แม้พระโบราณาจารย์

ทั้งหลายก็ยังกล่าวไว้ว่า

คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐที่สุด คำว่า ภควา

เป็นคำสูงที่สุด พระตถาคตนั้นทรงเป็นผู้ควรแก่ความ

เคารพ คารวะ ด้วยเหตุนั้นจึงขนานพระนามว่า ภควา.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความโดยพิสดารแห่งบทนั้นด้วยคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 282

เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงมีภาคยธรรม ๑

ทรงมีภัคคธรรม ๑ ทรงประกอบด้วยภคธรรม ๑ ทรง

จำแนกธรรม ๑ ทรงมีผู้ภักดี ๑ ทรงคายการไปในภพ

ทั้งหลาย ๑ ฉะนั้น จึงได้รับการขนานพระนามว่า ภควา.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ท่านกล่าวไว้ในพุทธานุสติ

นิเทศ ในวิสุทธิมรรคแล้ว.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ในนิเทศนี้ท่านแสดงเทศนาสมบัติด้วยคำว่า เอว

แสดงสาวกสมบัติ ด้วยบทว่า เม สุต แสดงกาลสมบัติว่า เอก สมย

แสดงเทศกสมบัติด้วยบทว่า ภควา.

อนึ่ง ในบทว่า สาวตฺถิย นี้ ชื่อว่า สาวตฺถี เป็นนครอันเป็นที่อยู่

ของฤษีชื่อว่า สวัตถะ. นักอักษรศาสตร์กล่าวไว้อย่างนี้ว่า เหมือนนครกากันที

มากันที. แต่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ชื่อว่า สาวตฺถี เพราะมนุษย์

ทั้งหลายมีเครื่องอุปโภคบริโภคอย่างโดอย่างหนึ่งทั้งหมด. อนึ่ง เมื่อพวกกอง-

เกวียนถามว่า มีสินค้าอะไร ชาวกรุงสาวัตถีตอบว่า มีทุกอย่าง.

เครื่องอุปกรณ์ทุกชนิด รวมอยู่ในกรุงสาวัตถี

ตลอดทุกกาล เพราะฉะนั้น อาศัยเครื่องอุปกรณ์

ทั้งหมด จึงเรียกว่า สาวัตถี.

ใกล้กรุงสาวัตถีนั้น. บทว่า สาวตฺถิย เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่า

ใกล้. บทว่า วิหรติ นี้แสดงการพร้อมด้วยการอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดา

การอยู่ด้วยอิริยาบถ และการอยู่อันเป็นของทิพย์ ของพรหม ของพระอริยะ

โดยไม่พิเศษ. แต่ในที่นี้แสดงถึงการประกอบด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งใน

บรรดาอิริยาบถทั้งหลาย อันมีประเภทเช่นยืน เดิน นั่งและนอน. ด้วยเหตุนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 283

พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ประทับยืน แม้ทรงดำเนิน แม้ประทับนั่ง แม้บรรทม

ก็พึงทราบว่า วิหรติ ประทับอยู่นั่นแล.

ในบทว่า เชตวเน นี้ ชื่อ เชตะ เพราะทรงชนะชนผู้เป็นศัตรู

ของพระองค์ หรือชื่อ เชตะ เพราะเกิดเมื่อชนะชนผู้เป็นศัตรูของพระราชา

ของตน หรือชื่อ เชตะ เพราะตั้งชื่ออย่างนี้แก่พระกุมาร เพราะทำให้เป็น

มงคล. ชื่อว่า วน เพราะปรารถนา ความว่า เพราะทำความยินดีแก่สัตว์

ทั้งหลาย เพื่ออัตตสมบัติ เพราะยังความสิเนหาให้เกิดในตน. หรือชื่อว่า

วน เพราะเชิญชวน ความว่า ดุจขอร้องสัตว์ทั้งหลายว่า จงมาใช้สอยกะ

เราเถิด มีทั้งลมไหวอ่อน ๆ ต้นไม้ กิ่งไม้ คบไม้ หน่อไม้ ใบไม้ ซึ่งทำ

ให้เกิดความเพลิดเพลินด้วยความหอมของดอกไม้นานาชนิด และเป็นที่ยินดี

ของวิหคมีนกดุเหว่าเป็นต้น.

สวนของเจ้าเชต ชื่อว่า เชตวัน เพราะสวนนั้น พระราชกุมารพระ-

นามว่า เชตะ ทรงปลูก ทำให้งอกงาม ทรงดูแลรักษาอย่างดี. อนึ่ง เจ้าเชต

นั้นเป็นเจ้าของสวนนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า เชตวน สวนของเจ้าเชต.

ในเชตวันนั้น ชื่อว่า วน มีสองอย่าง คือ สวนปลูกและเกิดเอง. เชตวันนี้

และเวฬุวันเป็นต้นเป็นสวนปลูก. อันธวัน มหาวันเป็นต้นเกิดเอง.

บทว่า อนาถปณฺฑิกสฺส อาราเม อารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี

มารดาบิดาตั้งชื่อว่า สุทัตตคหบดี. อนึ่ง เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความประสงค์

ทุกประการ เพราะปราศจากความตระหนี่และเพราะเพียบพร้อมด้วยคุณมีกรุณา

เป็นต้น ได้บริจาคก้อนข้าวแก่คนอนาถาตลอดกาล ด้วยเหตุนั้นจึงชื่อว่า

อนาถบิณฑิกะ ชื่อว่า อาราม เพราะเป็นที่มายินดีของสัตว์หรือโดยเฉพาะ

บรรพชิต. บรรพชิตทั้งหลายมาจากที่นั้น ๆ ย่อมยินดี ย่อมยินดียิ่ง เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 284

อารามนั้นงามด้วยดอกไม้และผลไม้เป็นต้น และเพราะถึงพร้อมด้วยองค์แห่ง

เสนาสนะ ๕ อย่างมีไม่ไกลเกินไป ไม่ใกล้เกินไปเป็นต้น ความว่า เป็นผู้ไม่

รำคาญอาศัยอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อาราม เพราะแม้เมื่อชนไปในที่นั้น ๆ

มาในระหว่างของตนแล้วให้ยินดีด้วยสมาบัติ มีประการดังกล่าวแล้ว เพราะ

อารามนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี ซื้อด้วยเงิน ๑๘ โกฏิ จากพระหัตถ์ของ

พระราชกุมารเชตะเพื่อเกลี่ยพื้นที่ แล้วให้สร้างเสนาสนะด้วยเงิน ๑๘ โกฏิ

สร้างทางไปสู่วิหารด้วยเงิน ๑๘ โกฏิแล้วมอบถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า

เป็นประมุขด้วยบริจาคเงิน ๕๔ โกฏิด้วยประการฉะนี้ ฉะนั้นจึงเรียกว่าอาราม

ของอนาถปิณฑิกะ. อารามของอนาถปิณฑิกะนั้น.

อนึ่ง คำว่า เชตวเน ประกาศเจ้าของเดิม. คำว่า อนาถปิณฺฑิกสฺส

อาราเม ประกาศเจ้าของหลัง. ประโยชน์อะไรในการประกาศชนเหล่านั้น.

เป็นการนึกถึงทิฏฐานุคติของผู้ประสงค์บุญทั้งหลาย. เจ้าเชตทรงบริจาคเงิน

๑๘ โกฏิ ที่ได้จากการขายพื้นที่ในสร้างซุ้มประตูและปราสาท และต้นไม้

มีค่าหลายโกฏิ อนาถปิณฑิกบริจาค ๕๔ โกฏิ ด้วยประการฉะนี้ ด้วยการ

ประกาศชื่อชนเหล่านั้น ท่านพระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงว่า ผู้ใคร่บุญ

ทั้งหลายย่อมทำบุญอย่างนี้ ย่อมชักชวนผู้ใคร่บุญแม้เหล่าอื่น ในการนึกถึง

ทิฏฐานุคติของท่านเหล่านั้น.

ในข้อนั้นจะพึงมีผู้พูดว่า หากพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุง

สาวัตถี ก็ไม่ควรกล่าวว่า เชตวเน อนาถปิณฺทิกสฺส อาราเม ณ พระวิหาร

เชตวัน อารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ครั้นประทับอยู่ ณ ที่นั้นแล้ว ก็ไม่

ควรกล่าวว่า สาวัตฺถิย ใกล้กรุงสาวัตถี เพราะสมัยเดียวไม่สามารถจะประทับ

อยู่ในที่สองแห่งได้. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น เราได้กล่าวไว้แล้วมิใช่หรือว่า

บทว่า สาวตฺถิย เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้ คือ ใกล้กรุงสาวัตถี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 285

เพราะฉะนั้น เหมือนฝูงโคทั้งหลายเที่ยวไปใกล้แม่น้ำคงคาและยมุนา

เป็นต้น ก็เรียกว่า ฝูงโคเที่ยวไปใกล้แม่น้ำคงคา เที่ยวไปใกล้แม่น้ำยมุนา

ฉันใด แม้ในข้อนี้ก็ฉันนั้น เชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุง

สาวัตถี เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณ ที่นั้นก็กล่าวว่า ประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้กรุงสาวัตถี เพราะคำว่า กรุงสาวัตถี

ของบทนั้นเพื่อแสดงถึงโคจรคาม คำที่เหลือเพื่อแสดงถึงที่อยู่อันสมควรแก่

บรรพชิต.

ในบทเหล่านั้น ท่านพระสารีบุตรแสดงถึงการทำความอนุเคราะห์

คฤหัสถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประกาศชื่อกรุงสาวัตถี แสดงถึงการทำ

ความอนุเคราะห์บรรพชิต ด้วยประการชื่อเชตวัน เป็นต้น อนึ่ง ด้วยบทต้น

แสดงถึงการเว้นการประกอบอัตตกิลมถานุโยค เพราะได้รับปัจจัย ด้วยบท

หลังแสดงถึงอุบายเป็นเครื่องเว้นการประกอบกามสุขัลลิกานุโยค เพราะละ

วัตถุกาม.

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทก่อนแสดงถึงการประกอบธรรมเทศนา ด้วย

บทหลังแสดงถึงการน้อมไปเพื่อวิเวก. ด้วยบทก่อนแสดงถึงการเข้าถึงด้วย

พระกรุณา ด้วยบทหลังแสดงถึงการเข้าถึงด้วยปัญญา. ด้วยบทต้นแสดงถึง

ความเป็นผู้น้อมไปเพื่อยังประโยชน์สุขให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยบทหลัง

แสดงถึงความไม่เข้าไปติดในการทำประโยชน์สุขเพื่อผู้อื่น. ด้วยบทต้นแสดง

ถึงการอยู่ผาสุก มีการไม่สละสุขอันประกอบด้วยธรรมเป็นนิมิต ด้วยบทหลัง

แสดงถึงการอยู่ผาสุก มีการประกอบธรรมอันยอดเยี่ยมของมนุษย์. ด้วยบทต้น

แสดงถึงความเป็นผู้มากด้วยอุปการะแก่มนุษย์ทั้งหลาย ด้วยบทหลังแสดงถึง

ความเป็นผู้มากด้วยอุปการะแก่ทวยเทพ. ด้วยบทต้นแสดงถึงความที่พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 286

อุบัติขึ้นในโลกเป็นผู้เจริญในโลก ด้วยบทหลังแสดงถึงความเป็นผู้ไม่ถูกโลก

ฉาบทา. ด้วยบทต้นแสดงการชี้แจงถึงประโยชน์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าอุบัติ

ขึ้นแล้ว เพราะพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในโลก

ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ชนเกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อ

อนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา

และมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลหนึ่งคือใคร คือพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ด้วยบทหลังแสดงถึงการอยู่อันสมควรในที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติแล้ว.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติในสวนทั้งนั้น ทั้งโลกิยอุบัติ

และโลกุตรอุบัติ คือ ครั้งแรกทรงอุบัติ ณ ลุมพินีวัน ครั้งที่สองทรงอุบัติ

ณ โพธิมณฑล ด้วยเหตุนั้นพึงทราบการประกอบความในบทนี้ โดยนัยมี

อาทิอย่างนี้ว่า พระสารีบุตรเถระย่อมแสดงถึงการประทับอยู่ของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าในสวนทั้งนั้น.

บทว่า ตตฺร ณ ที่นั้น เป็นบทแสดงถึงเทศะและกาละ. ท่านแสดงว่า

ในสมัยที่ประทับอยู่ และในพระวิหารเชตวันที่ประทับอยู่ หรือแสดงถึงเทศะ

และกาละอันควรกล่าว. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่ทรงแสดงธรรม

ในเทศะหรือกาละอันไม่สมควร ดังตัวอย่างในข้อนี้ว่า ดูก่อนพาหิยะ ยังไม่

ถึงเวลาก่อน.

บทว่า โข เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งอวธารณะ เพียงทำบทให้เต็ม

หรือในอรรถแห่งกาลต้น. บทว่า ภควา คือแสดงถึงความเป็นผู้เคารพของ

โลก. บทว่า ภิกฺขุ เป็นคำกล่าวถึงบุคคลที่ควรฟังพระดำรัส. อีกอย่างหนึ่ง

ในบทว่า ภิกฺขุ นี้ พึงทราบอรรถแห่งคำโดยนัยมีอาทิว่า ชื่อว่า ภิกฺขุ เพราะ

เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกฺขุ เพราะเป็นผู้ออกเที่ยวเพื่อขอ. บทว่า อามนฺเตสิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 287

คือตรัสเรียก ได้ตรัสให้รู้ นี้เป็นความในบทว่า อามนฺเตสิ นี้ แต่ในที่อื่น

เป็นไปในความให้รู้บ้าง ในการเรียกบ้าง. บทว่า ภิกฺขโว แสดงอาการเรียก.

ด้วยบทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศถึงความประพฤติที่คบคน

เลวและคนดี ด้วยพระดำรัสอันสำเร็จด้วยการประกอบคุณ มีความเป็นผู้ขอ

เป็นปกติ ความเป็นผู้ขอเป็นธรรมดา และความเป็นผู้ทำความดีในการขอ

เป็นต้นของภิกษุเหล่านั้น จึงทรงกระทำการข่มความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน และความ

หดหู่. อนึ่ง ด้วยบทว่า ภิกฺขโว นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำภิกษุเหล่านั้น

ให้หันหน้าเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ ด้วยพระดำรัสอันเปี่ยมไปด้วยพระ-

กรุณาอย่างกว้างขวาง พระหฤทัยและพระเนตรสุภาพ ทรงยังภิกษุเหล่านั้น ให้

เกิดความสนใจเพื่อจะฟังด้วยพระดำรัส แสดงความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะกล่าว

นั้นนั่นเอง.

อนึ่ง ด้วยบทว่า ภิกฺขโว นั้นทรงชักชวนภิกษุเหล่านั้น แม้

ตั้งใจฟังด้วยดี ด้วยพระดำรัสอันเป็นประโยชน์ในการตรัสรู้. จริงอยู่ ความ

เป็นผู้ตั้งใจฟังด้วยดีเป็นสมบัติของพระศาสนา. หากมีคำถามว่า เมื่อมีเทวดา

และมนุษย์เหล่าอื่นอยู่ด้วย เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียก

เฉพาะภิกษุทั้งหลายเท่านั้นเล่า. ตอบว่า เพราะภิกษุทั้งหลายเป็นผู้เจริญที่สุด

ประเสริฐที่สุด เป็นผู้นั่งใกล้ เป็นผู้เตรียมแล้วทุกเมื่อ และเป็นดุจภาชนะ

อันที่จริง พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั่วไปแก่บริษัททั้งปวง. อนึ่ง

ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้เจริญที่สุดในบริษัทเพราะเข้าไปถึงก่อน ชื่อว่าเป็น

ผู้ประเสริฐที่สุด เพราะเป็นผู้ดำเนินตามพระจริยาของพระศาสดา ตั้งแต่ความ

เป็นผู้ไม่ครองเรือนเป็นต้น และเพราะเป็นผู้รับคำสอนไว้ทั้งสิ้น ชื่อว่าเป็น

ผู้ใกล้ เพราะเมื่อนั่ง ณ ที่นั้น ก็นั่งใกล้พระศาสดา ชื่อว่าเป็นผู้เตรียมไว้

ทุกเมื่อ เพราะเป็นผู้ท่องเที่ยวไปในสำนักของพระศาสดา และชื่อว่าเป็นดุจ

ภาชนะของพระธรรมเทศนา เพราะเป็นผู้พร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสั่งสอน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 288

ในข้อนั้นจะพึงมีผู้พูดว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรม

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายก่อน ไม่ทรงแสดงธรรมไปเลยเพื่ออะไร. เพื่อให้ตั้งสติ

เพราะภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั่งคิดอย่างอื่นบ้าง จิตฟุ้งซ่านบ้าง พิจารณา

ธรรมบ้าง มนสิการกรรมฐานบ้าง ภิกษุเหล่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่

ตรัสเรียก แล้วทรงแสดงธรรมไปเลย ก็ไม่สามารถจะกำหนดได้ว่า เทศนานี้

มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นปัจจัย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยมีเรื่อง

เกิดขึ้นอย่างไรพึงถึงความฟุ้งซ่าน หรือพึงถือเอาผิด ๆ ด้วยเหตุนั้น เพื่อให้

ภิกษุเหล่านั้นตั้งสติ จึงตรัสเรียกก่อนแล้วทรงแสดงธรรมในภายหลัง.

บทว่า ภทนฺเต นี้เป็นคำแสดงความเคารพ หรือเป็นการให้คำรับ

ต่อพระศาสดา. อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ภทนฺเต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ

ตรัสว่า ภิกฺขโว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า

ภทนฺเต ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกฺขโว

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า ภทนฺเต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ภิกษุทั้งหลายให้

คำรับว่า ภิกฺขโว. ภิกษุทั้งหลายทูลให้คำรับว่า ภทนฺเต. บทว่า เต ภิกฺขู

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสเรียก. บทว่า ภควโต ปจฺจสฺโสสุ คือภิกษุ

ทั้งหลายทูลรับการตรัสเรียกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า ภิกษุทั้งหลาย

หันหน้า ฟัง รับ ถือเอา. บทว่า ภควา เอตทโวจ คือพระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสพระสูตรทั้งสิ้นนั้นที่ควรตรัสในบัดนี้.

อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านพระสารีบุตรเถระจึงกล่าวถึงนิทานใด

อันประดับด้วยการอ้างถึงกาละ เทศะ ผู้แสดง และบริษัท เพื่อความสะดวก

แห่งพระสูตรนี้ อันส่องถึงความลึกซึ้งของเทศนาและญาณ ของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย อันสมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ ดุจท่าน้ำอันเป็นภูมิภาคที่สะอาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 289

เกลื่อนกลาดด้วยทรายเช่นกับลาดไว้ด้วยตาข่ายแก้วมุกดา มีบันไดแก้ววิลาส

โสภิตขจิตด้วยพื้นศิลาราบรื่น เพื่อข้ามไปได้สะดวก ณ สระโบกขรณี มีน้ำ

รสอร่อยใสสะอาดดาดาษไปด้วยดอกบัวและกอบัว ดุจบันไดงดงามรุ่งเรื่อง

ผุดขึ้นด้วยแสงสว่างแห่งมวลแก้วมณี อันผูกติดไว้กับแผ่นกระดานอันละ-

เอียดอ่อนทำด้วยงาและลดาทอง เพื่อขึ้นสะดวกยังปราสาทอันประเสริฐ ตกแต่ง

ไว้อย่างรุ่งโรจน์ ล้อมด้วยฝาที่จัดไว้เป็นอย่างดี และเวทีอันวิจิตร ดุจเพราะ

ใคร่จะสัมผัสทางแห่งนักษัตร ดุจมหาทวารอันมีประตูและหน้าต่างไพศาล

รุ่งโรจน์ โชติช่วง บริสุทธิ์ด้วยทอง เงิน แก้วมณี แก้วมุกดา และแก้ว

ประพาฬเป็นต้น เพื่อเข้าไปสะดวกยังเรือนใหญ่ อันงดงามด้วยอิสริยสมบัติ

อันโอฬาร อันเป็นหลักการประพฤติของชน ในเรือนซึ่งมีเสียงไพเราะด้วย

การพูด การหัวเราะเจือไปด้วยเสียงกระทบ มีกำไรมือและกำไรเท้าทองคำ

เป็นต้น การพรรณนาความแห่งนิทานนั้นสมบูรณ์แล้ว.

บทว่า ปญฺจ ในพระสูตรเป็นการกำหนดจำนวน. บทว่า อิมานิ

อินฺทริยานิ อินทรีย์เหล่านี้ เป็นบทชี้แจงธรรมที่กำหนดไว้แล้ว. อรรถแห่ง

อินทรีย์ ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงพระสูตรนี้แล้ว มีพระประสงค์

จะแสดงวิธีเจริญความบริสุทธิ์แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ที่ได้ตรัสไว้ในพระสูตรนี้

และความระงับอินทรีย์ที่เจริญแล้ว จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อิมานิ ปญฺจินฺ-

ทฺริยานิ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วิสุชฺฌนฺติ คือย่อมถึงความหมดจด. บทว่า

อสฺสทฺเธ ผู้ไม่มีศรัทธา คือ ผู้ปราศจากความเชื่อในพระรัตนตรัย. บทว่า

สทฺเธ ผู้มีศรัทธา คือ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาในพระรัตนตรัย. บทว่า เสวโต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 290

สมาคม คือ เสพด้วยจิต. บทว่า ภชโต คบหา คือ เข้าไปนั่งใกล้. บทว่า

ปยิรุปาสโต นั่งใกล้ คือ เข้าไปนั่งด้วยความเคารพ. บทว่า ปาสาทนีเย

สุตตนฺเต พระสูตรอันนำมาซึ่งความเลื่อมใส คือ พระสูตรปฏิสังยุตด้วยพระ

รัตนตรัยอันให้เกิดความเลื่อมใส. บทว่า กุสีเต ผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า กุสีทา

เพราะจมลงด้วยอาการเกียจคร้าน. กุสีทา นั่นแล คือ ผู้เกียจคร้าน. บุคคล

ผู้เกียจคร้านเหล่านั้น. บทว่า สมฺมปฺปธาเน ความเพียรชอบ คือ พระสูตร

ปฏิสังยุคด้วยความเพียรชอบอันให้สำเร็จกิจ ๔ อย่าง. บทว่า มุฏฺสฺสติ

ผู้มีสติหลงลืม คือ ผู้มีสติหายไป. บทว่า สติปฏฺาเน สติปัฏฐาน คือ

พระสูตรอันทำให้ยิ่งด้วยสติปัฏฐาน. บทว่า ฌานวิโมกฺเข ฌานและวิโมกข์

คือ พระสูตรอันทำให้ยิ่งด้วย จตุตถฌาน วิโมกข์ ๘ และวิโมกข์ ๓ อย่าง. บท

ว่า ทุปฺปญฺเ บุคคลปัญญาทราม คือไม่มีปัญญา หรือชื่อว่า ทุปฺปญฺา

เพราะเป็นผู้มีปัญญาทรามเพราะไม่มีปัญญา ซึ่งบุคคลผู้มีปัญญาทรามเหล่านั้น.

บทว่า คมฺภีราณจริย ญาณจริยาอันลึกซึ้ง คือ พระสูตรปฏิสังยุตด้วย

อริยสัจ ๔ และปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น หรือ เช่นกับญาณกถา. บทว่า สุตฺต-

นฺตกฺขนฺเธ จำนวนพระสูตร คือ ส่วนแห่งพระสูตร.

บทว่า อสฺสทฺธิย ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ในบทมีอาทิว่า อสฺส-

ทฺธิย คือ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา บุคคลเห็นโทษในความไม่มีศรัทธา ละ

ความไม่มีศรัทธา ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ บุคคลเห็นอานิสงส์ในสัทธินทรีย์

เจริญสัทธินทรีย์ ย่อมละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา. ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.

บทว่า โกสชฺช คือความเป็นผู้เกียจคร้าน. บทว่า ปมาท คือ

การอยู่ปราศจากสติ. บทว่า อุทฺธจฺจ คือความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ได้แก่ ซัด

จิตไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 291

บทว่า ปหีนตฺตา เพราะเป็นผู้ละแล้ว คือเพราะเป็นผู้ละการบำเพ็ญ

ฌานด้วยสามารถแห่งอัปปนา. บทว่า สุปฺปหีนตฺตา เพราะความเป็นผู้ละ

ดีแล้ว คือเพราะความเป็นผู้ละแล้วด้วยดี ด้วยการบำเพ็ญวิปัสสนา ด้วย

สามารถแห่งวุฏฐานคามินี. บทว่า ภาวิต โหติ สุภาวิต อันบุคคลเจริญแล้ว

อบรมดีแล้ว พึงประกอบตามลำดับดังที่กล่าวแล้วนั่นแล. จริงอยู่ เพราะละ

ด้วยสามารถตรงกันข้ามกับวิปัสสนา จึงควรกล่าวว่า สุปฺปหีนตฺตา เพราะ

ฉะนั้น จึงควรกล่าวว่า สุภาวิต ไม่ใช่ด้วยฌาน. อนึ่ง เพราะการสำเร็จ

ภาวนาด้วยการละสิ่งที่ควรละ เป็นอันสำเร็จการละสิ่งที่ควรละด้วยความสำเร็จ

แห่งภาวนา ฉะนั้นท่านแสดงทำเป็นคู่กัน.

พึงทราบวินิจฉัยในปฏิปัสสัทธิวารดังต่อไปนี้ บทว่า ภาวิตานิเจว

โหนฺติ สุภาวิตานิจ เป็นอินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้ว อบรมแล้ว เพราะ

อินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้วนั่นแล เป็นอินทรีย์ที่อบรมดีแล้ว. บทว่า

ปฏิปฺปสฺสทธานิจ สุปฺปฏิปสฺสทฺธานิจ ระงับแล้วระงับดีแล้ว ท่าน

กล่าวถึงความที่อินทรีย์ระงับแล้วนั่นแล เป็นอินทรีย์ระงับดีแล้ว. พึงทราบ

ความที่อินทรีย์อันบุคคลเจริญแล้วและระงับแล้ว ด้วยสามารถแห่งการเกิดกิจ

ของมรรคในขณะแห่งผล. บทว่า สมุจเฉทวิสุทฺธิโย สมุจเฉทวิสุทธิ ได้แก่

มรรควิสุทธินั่นเอง. บทว่า ปฏิปฺปสฺสทธิวิสุทฺธิโย ปฏิปัสสัทธิวิสุทธิ

ได้แก่ ผลวิสุทธินั่นเอง.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เพื่อแสดงประกอบอินทรีย์มีวิธีดังกล่าวแล้ว

อย่างนั้น ด้วยสามารถแห่งการกบุคคล จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กตีน ปุคฺคลาน

บุคคลเท่าไร. ในบทเหล่านั้น บทว่า ภาวิตินฺทฺริยวเสน พุทฺโธ ชื่อว่า

พุทฺโธ ด้วยสามารถความเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ความว่า ผู้ตรัสรู้ ผู้รู้อริยสัจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 292

๔ ด้วยการฟังธรรมกถาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. นี้เป็นคำพูดถึงเหตุแห่ง

ความเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เพราะว่า ผู้เจริญอินทรีย์แล้วในขณะแห่งผล

เพราะเป็นผู้ตรัสรู้มรรคด้วยสามารถบรรลุภาวนา. พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะ

แสดงถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตผลเท่านั้นให้วิเศษออกไป เพราะพระอริยบุคคล

ทั้งหลายแม้ ๘ ก็เป็นพระสาวกของพระตถาคต จึงกล่าวว่า ขีณาสโว พระ-

ขีณาสพ เพราะพระขีณาสพเท่านั้น ท่านกล่าวว่า ภาวิตินฺทฺริโย ผู้เจริญ

อินทรีย์แล้ว ด้วยการสำเร็จกิจทั้งปวง. ส่วนพระอริยบุคคลแม้นอกนั้นก็เป็น

ผู้เจริญอินทรีย์แล้วเหมือนกัน โดยปริยาย เพราะสำเร็จกิจด้วยมรรคนั้น ๆ

เพราะฉะนั้น ในขณะแห่งผล ๔ ท่านจึงกล่าวว่า อินทรีย์ ๕ เป็นอินทรีย์อัน

บุคคลเจริญแล้วอบรมดีแล้ว. อนึ่ง เพราะอินทรีย์ภาวนายังมีอยู่นั่นเอง

แก่พระอริยบุคคลเหล่านั้น เพื่อประโยชน์แก่อุปริมรรค ฉะนั้น พระอริยบุคคล

เหล่านั้น จึงไม่ชื่อว่า เป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้วโดยตรง. บทว่า สยมภูตฏฺเน

ด้วยอรรถว่าตรัสรู้เอง คือเป็นผู้ไม่มีอาจารย์ เป็น ภควา ด้วยอรรถเป็นแล้ว

เกิดแล้วในชาติอันเป็นอริยะเอง. จริงอยู่ แม้พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ก็เป็นพระ-

สยัมภูในขณะผลด้วยอำนาจแห่งความสำเร็จภาวนา. ชื่อว่า ภาวิตินฺทฺริโย ด้วย

อรรถว่าเป็นผู้รู้เองในขณะแห่งผลด้วยประการฉะนี้. บทว่า อปฺปเมยฺยฏฺเน

ด้วยอรรถว่า มีพระคุณประมาณไม่ได้ คือ ด้วยอรรถว่า ไม่สามารถประมาณได้

เพราะทรงประกอบด้วยอนันตคุณ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า มีพระคุณประมาณ

ไม่ได้ เพราะสำเร็จด้วยภาวนาในขณะผล เพราะฉะนั้นแล จึงเป็นผู้เจริญ

อินทรีย์แล้ว.

จบอรรถกถาปฐมสุตตันตนิเทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 293

๒. อรรถกถาทุติยสุตตันตนิเทศ

พระสารีบุตรเถระประสงค์จะตั้งสูตรอื่นอีกแล้วชี้แจงถึงแบบอย่างแห่ง

อินทรีย์ทั้งหลาย จึงแสดงพระสูตรมีอาทิว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า เย หิ เกจิ สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นบทถือเอาโดยไม่มีเหลือ. หิ อักษรเป็นนิบาต

ลงในอรรถเพียงให้เต็มบท (บทสมบูรณ์). บทว่า สมณา วา พฺราหฺมณา วา

ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งโวหารของโลก. บทว่า สมุทย เหตุเกิดคือปัจจัย.

บทว่า อตฺถงฺคม ความดับคือถึงความไม่มีแห่งอินทรีย์ที่เกิดแล้ว หรือความ

ไม่เกิดแห่งอินทรีย์ที่ยังไม่เกิด. บทว่า อสฺสาท คืออานิสงส์. บทว่า อาทีนว

คือโทษ. บทว่า นิสฺสรณ อุบายเครื่องสลัดออก คือ ออกไป. บทว่า

ยถาภูต คือตามความเป็นจริง. บทว่า สมเณสุ คือผู้สงบบาป. บทว่า

สมณสมฺมตา ได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะ คือ เราไม่ได้รับยกย่องว่าเป็น

สมณะ. เมื่อกล่าวว่า สมฺมตา ด้วยอำนาจแห่งปัจจุบันกาล เป็นอันกล่าว

ฉัฏฐีวิภัตติในบทว่า เม นี้ ด้วยอำนาจแห่งลักษณะของศัพท์.

บทว่า พฺราหฺมเณสุ คือผู้ลอยบาป บทว่า สามญฺตฺถ สามัญ

ผล คือประโยชน์ของความเป็นสมณะ. บทว่า พฺรหฺมญฺตฺถ พรหมัญผล

คือ โยชน์ความเป็นพราหมณ์ แม้ด้วยบททั้งสอง ก็เป็นอันท่านกล่าวถึง

อรหัตผลนั่นเอง.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สามญฺตฺถ ได้แก่ ผล ๓ เบื้องต่ำ. บทว่า

พฺรหฺมญฺตฺถ ได้แก่ อรหัตผล. เพราะทั้งสามัญผลและพรหมัญผลก็คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 294

อริยมรรคนั่นเอง. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม คือ ในอัตภาพที่ประจักษ์อยู่นี่แล.

บทว่า สย อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเอง คือ

ทำไห้ประจักษ์ด้วยญาณอันยิ่งด้วยตนเอง. บทว่า อุปสมฺปชฺช เข้าถึง คือ

ถึงแล้ว หรือให้สำเร็จแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในสุตตันตนิเทศดังต่อไปนี้. พระสารีบุตรเถระถามถึง

จำนวนประเภทของเหตุเกิดแห่งอินทรีย์เป็นต้นก่อนแล้วแก้จำนวนของประเภท

ต่อไป. ในบทเหล่านั้น บทว่า อสีติสต ๑๘๐ คือ ๑๐๐ ยิ่งด้วย ๘๐.

โยชนาแก้ว่าด้วยอาการอันบัณฑิตกล่าวว่า ๑๘๐.

พึงทราบวินิจฉัยในคณนานิเทศ อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งการถาม

จำนวนประเภท อีกดังต่อไปนี้. บทว่า อธิโมกฺขตฺถาย เพื่อประโยชน์แก่

การน้อมใจเชื่อ คือ เพื่อน้อมใจเชื่อ เพื่อประโยชน์แก่การเชื่อ. บทว่า

อาวชฺชนาย สมุทโย เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึง คือ ปัจจัยแห่งสัทธินทรีย์

การคำนึงถึงส่วนเบื้องต้นว่า เราจักยังศรัทธาให้เกิดเป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่ง

สัทธินทรีย์ การคำนึงถึงการแล่นไปแห่งสัทธินทรีย์ เป็นอนันตรปัจจัยแห่ง

ชวนจิตดวงแรก เป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งชวนจิตดวงที่ ๒ เป็นต้น. บทว่า

อธิโมกฺขวเสน ด้วยสามารถความน้อมใจเชื่อ คือ ด้วยสามารถความน้อมใจ

เชื่อสัมปยุตด้วยฉันทะ. บทว่า ฉนฺทสฺส สมุทโย เหตุเกิดแห่งฉันทะ คือ

เหตุเกิดแห่งธรรมฉันทะเป็นเยวาปนกธรรม สัมปยุตด้วยอธิโมกข์อันเกิดขึ้น

เพราะการคำนึงถึงส่วนเบื้องต้นเป็นปัจจัย. อนึ่ง เหตุเกิดนั้นเป็นปัจจัยแห่ง

สัทธินทรีย์ด้วยสามารถแห่งสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัม-

ปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย และเป็นอธิปติปัจจัยในกาลที่มีฉันทะ

เป็นใหญ่ เหตุเกิดนั้นเป็นปัจจัยแห่งอินทรีย์ที่ ๒ ด้วยสามารถแห่งอนันตรปัจจัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 295

สมนันตรปัจจัย อนันตรูปนิสสยปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย.

โดยนัยนี้แลพึงทำการประกอบแม้มนสิการ.

อันที่จริง ในบทว่า มนสิกาโร นี้ก็อย่างเดียวกัน คือ มีมนสิการ

เป็นเช่นเดียวกัน อันมีการแล่นไปเป็นลักษณะ.. มนสิการนั้นไม่เป็นอธิปติ-

ปัจจัยในสัมปยุตธรรมทั้งหลาย พึงทราบว่าการถือเอาเหตุเกิดทั้งสองเหล่านี้ว่า

เพราะเป็นพลวปัจจัย (ปัจจัยที่มีกำลัง). บทว่า สทฺธินฺทฺริยสฺส วเสน

ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ คือ ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์อันถึงความเป็นอินทรีย์

เพราะความเจริญยิ่งแห่งภาวนา. บทว่า เอกตฺตุปฏฺาน ความปรากฏเป็น

ธรรมอย่างเดียว คือ ฐานะอันยิ่งใหญ่ เพราะไม่หวั่นไหวในอารมณ์เดียว

ย่อมเป็นปัจจัยแห่งสัทธินทรีย์สูงขึ้นไป. พึงทราบแม้อินทรีย์ที่เหลือโดยนัย

ดังกล่าวแล้วในสัทธินทรีย์นั่นแล. อินทรีย์หนึ่ง ๆ มีเหตุเกิดอย่างละ ๔ เพราะ

เหตุนั้น อินทรีย์ ๕ จึงมีเหตุเกิด ๒๐ ในเหตุเกิดหนึ่ง ๆ ของเหตุเกิด ๔

ท่านประกอบเข้ากับอินทรีย์ ๕ แล้วกล่าวเหตุเกิด ๒๐.

อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า พึงเห็น ๒๐ ที่ ๑ ด้วยสามารถแห่งมรรคต่างๆ

๒๐ ที่ ๒ ด้วยสามารถแห่งมรรค รวมเป็นอาการ ๔๐ ด้วยประการฉะนี้.

แม้อัตถังคมวาร (ความดับ) ก็พึงทราบโดยนัยนี้แล. อนึ่ง การดับ

นั้น การไม่ได้ของผู้ไม่ขวนขวายการเจริญอินทรีย์ ชื่อว่า ดับการได้. การเสื่อม

จากการได้ของผู้เสื่อมจากการเจริญอินทรีย์ ชื่อว่า ดับ. การระงับของผู้บรรลุ

ผล ชื่อว่า ดับ. บทว่า เอกตฺต อนุปฏฺาน ความไม่ปรากฏเป็นธรรม

อย่างเดียว คือ ความไม่ปรากฏในธรรมอย่างเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 296

อรรถกถาอัสสาทนิเทศ

พึงทราบวินิจฉัยในอัสสาทนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า อสฺสทฺธิยสฺส

อนุปฏฺาน ความไม่ปรากฏแห่งความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา คือ เว้นบุคคลผู้ไม่มี

ศรัทธา คบบุคคลผู้มีศรัทธา พิจารณาปสาทนียสูตรและทำโยนิโสมนสิการใน

สูตรให้มาก ชื่อว่า ความไม่ปรากฏแห่งความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา. ในบทว่า

อสฺสทฺธิยปริฬาหสฺส อนุปฏฺาน ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะ

ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธานี้ เมื่อพูดถึงศรัทธาเป็นไปแก่คนไม่มีศรัทธา ความ

ทุกข์ โทมนัส ย่อมเกิด นี้ชื่อว่าความเร่าร้อน เพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา.

บทว่า อธิโมกฺขจริยาย เวสารชฺช ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วย

ความน้อมใจเชื่อ คือ ความเป็นผู้แกล้วกล้าด้วยความเป็นไปแห่งศรัทธาของ

ผู้ถึงความชำนาญด้วยสามารถแห่งวัตถุอันเป็นศรัทธา หรือด้วยภาวนา. บทว่า

สนฺโต จ วิหาราธิคโม ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม คือ การได้

สมถะหรือวิปัสสนา. คำว่า โสมนัส ในบทว่า สุข โสมนสฺส นี้ เพื่อ

แสดงถึงความสุขทางใจ แม้ความสุขทางกายก็ย่อมได้แก่กายอันสัมผัสด้วยรูป

ประณีต เกิดขึ้นเพราะสัทธินทรีย์ เพราะความสุขโสมนัสเป็นประธานและ

เป็นคุณ ท่านจึงกล่าวให้พิเศษว่า สุขและโสมนัสนี้เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์

โดยนัยนี้พึงทราบประกอบแม้คุณแห่งอินทรีย์ที่เหลือ.

จบอรรถกถาอัสสาทนิเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 297