ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

เล่มที่ ๗ ภาคที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

มาติกา

ว่าด้วย ปัญญาญาณ ๗๓

๑. ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมย-

ญาณ,

๒. ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสังวรไว้ เป็นสีลมยญาณ,

๓. ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็นภาวนามยญาณ,

๔. ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ,

๕. ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งอดีต, อนาคต

และปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ เป็นสัมมสนญาณ,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

๖. ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรม

ส่วนปัจจุบัน เป็นอุทยัพพยญาณ,

๗. ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความ

แตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ,

๘. ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัย เป็นอาทีนว-

ญาณ,

๙. ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณา และ

วางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณ,

๑๐. ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภาย

นอก เป็นโคตรภูญาณ,

๑๑. ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์ และ

สังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ,

๑๒. ปัญญาในการระงับปโยคะ เป็นผลญาณ,

๑๓. ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้น ๆ อันอริย-

มรรคนั้น ๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณ,

๑๔. ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมใน

ขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ,

๑๕. ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน เป็นวัตถุนานัตต-

ญาณ,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

๑๖. ปัญญาในการกำหนดธรรมภายนอก เป็นโคจรนา-

นัตตญาณ,

๑๗. ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ,

๑๘. ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ,

๑๙. ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ เป็นธรรมนานัตตญาณ,

๒๐. ปัญญาที่รู้ยิ่ง เป็นญาตัฏฐญาณ,

๒๑. ปัญญาเครื่องกำหนดรู้ เป็นตีรณัฏฐญาณ,

๒๒. ปัญญาในการละ เป็นปริจจาคัฏฐญาณ,

๒๓. ปัญญาเครื่องเจริญ เป็นเอกรสัฏฐญาณ,

๒๔. ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ,

๒๕. ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทา-

ญาณ,

๒๖. ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทา-

ญาณ,

๒๗. ปัญญาในความต่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัม-

ภิทาญาณ,

๒๘. ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิ-

สัมภิทาญาณ,

๒๙. ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็นวิหารรัฏฐ-

ญาณ,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

๓๐. ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ เป็นสมาปัตตัฏฐ-

ญาณ,

๓๑. ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมา-

ปัตตัฏฐญาณ,

๓๒. ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่ง

สมาธิอันเป็นเหตุให้ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิ-

ญาณ,

๓๓. ทัสนาธีปไตย ทัสนะมีความเป็นอธิบดี วิหาราธิคม

คุณเครื่องบรรลุคือวิหารธรรมอันสงบ และปัญญาใน

ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในสมาบัติอันประ-

ณีต เป็นอรณวิหารญาณ,

๓๔. ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญด้วยความเป็นผู้

ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วย

ญาณจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธ

สมาปัตติญาณ,

๓๕. ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลส

และขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพานญาณ,

๓๖. ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการ

ตัดขาดโดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณ,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

๓๗. ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนาสภาพต่าง ๆ

และเดช เป็นสัลเลขัฏฐญาณ,

๓๘. ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่

ส่งไป เป็นวิริยารัมภญาณ,

๓๙. ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ เป็นอรรถสัน-

ทัสสนญาณ,

๔๐. ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียว

กันในการแทงตลอดธรรมต่างกันและธรรมเป็นอัน

เดียวกัน เป็นทัสสนวิสสุทธิญาณ,

๔๑. ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏโดยความเป็นของไม่

เที่ยงเป็นต้น เป็นขันติญาณ,

๔๒. ปัญญาในความถูกต้องธรรม เป็นปริโยคาหนญาณ,

๔๓. ปัญญาในการรวมธรรม เป็นปเทสวิหารญาณ,

๔๔. ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี เป็นสัญญา-

วิวัฏฏญาณ,

๔๕. ปัญญาในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่าง ๆ เป็นเจโต-

วิวัฏฏญาณ,

๔๖. ปัญญาในการอธิษฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณ,

๔๗. ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ,

๔๘. ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

๔๙. ปัญญาในความว่าธรรมจริง เป็นสัจจวิวัฏฏญาณ,

๕๐. ปัญญาในความสำเร็จด้วยการกำหนดกายและจิตเข้า

ด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุข

สัญญาและลหุสัญญา เป็นอิทธิวิธญาณ,

๕๑. ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรือ

อย่างเดียวด้วยสามารถการแผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุ

วิสุทธิญาณ,

๕๒. ปัญญาในการกำหนดจริยาคือวิญญาณหลายอย่างหรือ

อย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท

อย่างเดียวสามารถแห่งความผ่องในแห่งอินทรีย์ทั้ง-

หลาย เป็นเจโตปริยญาณ,

๕๓. ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตาม

ปัจจัย ด้วยสามารถแห่งความแผ่ไปแห่งกรรมหลาย

อย่างหรืออย่างเดียว เป็นบุพเพนิวาสานุสสติญาณ,

๕๔. ปัญญาในความเห็นรูปนิมิตหลายอย่างหรืออย่าง

เดียว ด้วยสามารถแห่งแสงสว่าง เป็นทิพจักขุญาณ,

๕๕. ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓

ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ,

๕๖. ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ เป็นทุกข-

ญาณ,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

๕๗. ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรละ เป็นสมุทยญาณ,

๕๘. ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำให้แจ้ง เป็น

นิโรธญาณ,

๕๙. ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งที่ควรเจริญ เป็นมรรคญาณ,

๖๐. ทุกขญาณ,

๖๑. ทุกขสมุทยญาณ,

๖๒. ทุกขนิโรธญาณ,

๖๓. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ,

๖๔. อรรถปฏิสัมภิทาญาณ,

๖๕. ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ,

๖๖. นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ,

๖๗. ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ,

๖๘. อินทริยปโรปริยัตตญาณ,

๖๙. อาสยานุสยญาณ,

๗๐. ยมกปาฏิหาริยญาณ,

๗๑. มหากรุณาสมาปัตติญาณ,

๗๒. สัพพัญญุตญาณ,

๗๓. อนาวรณญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

ญาณเหล่านี้รวมเป็น ๗๓. ญาณ, ในญาณ ๗๓ นี้ ญาณ ๖๗

เบื้องต้น ทั่วไปแก่พระสาวก, ญาณ ๖ เบื้องปลาย ไม่ทั่วไปแก่พระ-

สาวก และเป็นญาณเฉพาะพระตถาคตเท่านั้น ฉะนี้แล.

จบ มาติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค

ชื่อสัทธรรมปกาสินี ในขุททกนิกาย

ภาคที่ ๑

คันถารัมภกถา

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงพระ-

คุณครบถ้วนล้วนแล้วด้วยความงามทุกสิ่งล่วงเสีย

ซึ่งความงามของโลกทั้งปวง ทรงพ้นจากกิเลส

มลทินเป็นเครื่องประทุษร้ายพร้อมทั้งวาสนา ทรง

ประทานวิมุตติธรรมอันล้ำเลิศ.

พระองค์ทรงมีพระทัยเยือกเย็นดุจความ

เย็นแห่งไม้จันทน์ กล่าวคือพระกรุณาอยู่เป็นนิจ

ทรงพระปัญญาโชติช่วงดังดวงระวี มีธรรมเป็น

เครื่องแนะนำสัตว์ ข้าพเจ้า*ขอน้อมอภิวาทพระผู้-

มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้เลิศในหมู่สัตว์

ผู้เป็นที่พึ่งในประโยชน์แก่ปวงสัตว์ด้วยเศียรเกล้า

๑. พระมหานามเถระ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

บรรดาพระมหาเถระผู้พุทธชิโนรสมีจำนวน

เป็นอนันต์, พระมหาเถระองค์ใดเป็นประดุจดัง

พระมุนีผู้เลิศในหมู่สัตว์ทั้งปวง ได้เป็นผู้กระทำ

ตามลีลาแห่งพระศาสดา ในการบำเพ็ญประโยชน์

เกื้อกูลแก่ชุมชนด้วยคุณกล่าวคือกรุณาและปัญญา

ญาณ.

ข้าพเจ้าขอนมัสการพระเถระองค์นั้น ผู้มี

นามว่า สารีบุตร ผู้มุนีราชบุตร ผู้ยินดียิ่งใน

เสถียรคุณเป็นอเนก ผู้รุ่งเรืองด้วยแสงสว่างแห่ง

ปัญญามีเกียรติงามฟุ้งขจรไป และมีจริยาวัตสงบ

งาม.

วิศิษฐปาฐะคือพระบาลีอันใดอันพระสาวก

ผู้สัทธรรมเสนาบดีผู้ประกาศพระสัทธรรมจักรผู้เข้า

ถึงความแจ่มแจ้ง ในอรรถะตามความเป็นจริงใน

พระสูตรทั้งหลาย ที่พระตถาคตเจ้าได้ตรัสไว้แล้ว

ผู้นำในการยังธรรมประทีปให้โชติช่วง กล่าว

วิศิษฐปาฐะนั้นไว้ โดยนามอันวิเศษว่า ปฏิสมฺ-

ภิทาน มคฺโค แปลว่า แห่งปฏิสัมภิทาทั้ง-

หลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

ปฏิสัมภิทามรรคนั้น เป็นปกรณ์อัน

ละเมียดละมัยด้วยอรรถะและนยะต่าง ๆ อย่างวิจิตร

อันบัณฑิตผู้มุ่งบำเพ็ญอัตตัตถะประโยชน์ตนและ

โลกัตถะประโยชน์แก่ชาวโลก มีปัญญาลึกซึ้งจะ

พึงหยั่งรู้ได้ในกาลทุกเมื่อ และสาธุชนทั้งหลายจะ

พึงซ่องเสพอยู่เป็นนิจ.

ข้าพเจ้าจะพรรณนาเนื้อความที่ไม่ซ้ำกันไป

ตามลำดับ ไม่ก้าวล่วงสุตตะและยุตติแห่งปฏิสัม-

ภิทามรรคปกรณ์นั้น อันนำมาซึ่งประเภทแห่งญาณ

อันพระโยคาวจรทั้งหลายเป็นอเนกซ่องเสพแล้ว

โดยไม่เหลือ.

อนึ่งนั้นเล่าก็จะไม่ก้าวล่วงลัทธิของตนและ

จะไม่ก้าวก่ายลัทธิของผู้อื่น แต่จะรวบรวมเอา

อุปเทสและนยะแห่งอรรถกถาแต่ปางก่อนมาแสดง

ตามสมควร.

ข้าพเจ้าจะกล่าวอรรถกถาชื่อสัทธรรมปกาสินี

นั้นโดยเคารพ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชุมชน

เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรมตลอดกาลนาน

ขอสาธุชนสัตบุรุษจงตั้งใจสดับทรงจำไว้เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

ความที่ปฏิสัมภิทามรรคเป็นมรรคาแห่งปฏิสัมภิทา ข้าพเจ้าต้อง

กล่าวก่อน เพราะได้กล่าวไว้แล้วในคันถารัมภกถาว่า ปฏิสมฺภิทาน

มคฺโคติ ตนฺนามวิเสสิโต จ แปลว่า ซึ่งวิศิษฐปาฐะนั้น โดยนาม

อันวิเศษว่า ปฏิสัมภิทามรรค.

ก็ปฏิสัมภิทามี ๔ คือ

๑. อรรถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ,

๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม,

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ,

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ.

ทางคืออุบายเป็นเครื่องบรรลุปฏิสัมภิทาเหล่านั้น ฉะนั้นจึงชื่อ

ว่า ปฏิสัมภิทามรรค, มีคำอธิบายท่านกล่าวไว้ว่า เป็นเหตุแห่งการ

ได้เฉพาะซึ่งปฏิสัมภิทา.

หากจะมีปุจฉาว่า ทางนี้เป็นทางแห่งปฏิสัมภิทาได้ เพราะ

เหตุไร ? ก็พึงมีวิสัชนาว่า เพราะเป็นเทสนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงโดยประเภท เป็นเทสนาอันนำมาซึ่งปฏิสัมภิทาญาณ

จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีประเภทต่าง ๆ เทสนาก็มีประเภทต่าง ๆ

ย่อมให้เกิดประเภทแห่งปฏิสัมภิทาญาณ แก่พระอริยบุคคลทั้งหลายผู้

สดับฟัง และเป็นปัจจัยแก่การแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณแก่ปุถุชน

ต่อไปในอนาคต ก็ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า เทสนาโดยประเภทย่อมนำมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

ซึ่งปฏิสัมภิทาญาณเป็นเครื่องทำลายฆนสัญญาเสียได้ ดังนี้. ก็เทสนา

ประเภทต่าง ๆ นี้มีอยู่, เพราะเหตุนั้น เทสนานั้น จึงเป็นเทสนาให้

สำเร็จความเป็นบรรดาแห่งปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตสฺโส เป็นบทกำหนดจำนวน.

บทว่า ปฏิสมฺภิทา ได้แก่ ปัญญาเป็นเครื่องแตกฉาน. เป็น

ปัญญาเครื่องแตกฉานของญาณเท่านั้น หาใช่เป็นความแตกฉานของ

ใคร ๆ อื่นไม่ เพราะท่านได้กล่าวไว้ว่า ความรู้ในอรรถ ชื่อว่าอรรถ

ปฏิสัมภิทา, ความรู้ในธรรมชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา, ความรู้ในโวหาร

แห่งภาษาอันกล่าวถึงอรรถและธรรมะ ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา, ความ

รู้ในญาณทั้งหลาย ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา. เพราะฉะนั้น คำว่า

จตสฺโส ปฏิสมุภิทา จึงมีความว่า ประเภทแห่งญาณ ๔ ประการ.

ญาณอันถึงความแตกฉานในอรรถ สามารถทำการกำหนด

สัลลักขณะและวิภาวนะของประเภทแห่งผล ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา.

ญาณอันถึงความแตกฉานในธรรม สามารถทำการกำหนด

สัลลักขณะและวิภาวนะของประเภทแห่งเหตุ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา.

ญาณอันถึงความแตกฉานในนิรุตติ สามารถทำการกำหนด

สัลลักขณะและวิภาวนะของประเภทแห่งนิรุตติ ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา.

๑. ญาณทั้ง ๓ เบื้องต้น คือ อรรถะ, ธรรมะ และนิรุตติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

ญาณอันถึงความแตกฉานในปฏิภาณ สามารถทำการกำหนด

สัลลักษณะและวิภาวนะของประเภทแห่งปฏิภาณ ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิ-

สัมภิทา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺโถ ว่าโดยสังเขป ได้แก่ผล

อันเกิดแต่เหตุ. จริงอยู่ ผลอันเกิดแต่เหตุนั้น ย่อมเกิด คือบรรลุถึง

ตามครรลองแห่งเหตุ ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่าอรรถะ. แต่เมื่อว่าโดย

ประเภทแล้ว ธรรม ๕ ประการเหล่านี้คือ ธรรมอันเกิดแต่ปัจจัย

( ปจฺจยสมุปฺปนฺน ) อย่างใดอย่างหนึ่ง ๑. นิพพาน ๑. อรรถกถา

แห่งพระบาลีอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ๑. วิปากจิต ๑. กิริยาจิต

๑. บัณฑิตพึงทราบว่า อรรถะ. ญาณอันถึงความแตกฉานในอรรถะนั้น

ของพระอริยบุคคลผู้พิจารณาอรรถะนั้นอยู่ ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภทา.

บทว่า ธมฺโม ว่าโดยสังเขป ได้แก่ ปัจจัย. จริงอยู่ปัจจัยนั้น

ย่อมให้ คือย่อมให้เป็นไปและย่อมให้ถึงซึ่งผลนั้น ๆ จะนั้นท่านจึงเรียก

ว่า ธรรมะ. แต่เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว ธรรม ๕ ประการเหล่านี้คือ

เหตุให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑. อริยมรรค ๑. พระบาลีอันพระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสแล้ว ๑. กุศลจิต ๑. อกุศลจิต ๑. บัณฑิตพึงทราบว่า

ธรรม. ญาณอันถึงความแตกฉานในธรรมนั้นของพระอริยบุคคลผู้

พิจารณาธรรมนั้นอยู่ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

จริงอยู่ เนื้อความดังต่อไปนี้มาในพระอภิธรรมปิฎกท่านแสดง

จำแนกไว้โดยนัยเป็นต้นว่า :-

ความรู้แตกฉานในทุกข์ ชื่อว่า อรรถปฏิ-

สัมภิทา, ความรู้แตกฉานในทุกขสมุทัย ชื่อว่า

ธรรมปฏิสัมภิทา, ความรู้แตกฉานในทุกขนิโรธ

ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา, ความรู้แตกฉานในทุกข-

นิโรขคามินีปฏิปทา ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา, ความ

รู้แตกฉานในเหตุ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา, ความรู้

แตกฉานในผลอันเกิดแต่เหตุ ชื่อว่า อรรถปฏิ-

สัมภิทา.

ธรรมเหล่าใด เกิดแล้ว มาแล้ว เกิดพร้อม

แล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว,

ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อรรถปฏิ-

สัมภิทา, ธรรมเหล่านั้น เกิดแล้ว มีแล้ว เกิด

พร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏ

แล้ว จากธรรมเหล่าใด ความรู้แตกฉานในธรรม

เหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

ความรู้แตกฉานในชรามรณะ ชื่อ อรรถ-

ปฏิสัมภิทา, ความรู้แตกฉานในเหตุเกิดแห่งชรา-

มรณะ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา, ความรู้แตกฉาน

ในความดับแห่งชรามรณะ ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา,

ความรู้แตกฉานในปฏิปทาอันเป็นเหตุให้ถึงความ

ดับแห่งชรามรณะ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา.

ความรู้แตกฉานในชาติ ฯลฯ ความรู้แตก

ฉานในภพ ฯลฯ ความรู้แตกฉานในอุปาทาน ฯลฯ

ความรู้แตกฉานในตัณหา ฯลฯ ความรู้แตกฉาน

ในเวทนา ฯลฯ ความรู้แตกฉานในผัสสะ ฯลฯ

ความรู้แตกฉานในสฬายตนะ ฯลฯ ความรู้แตก

ฉานในนามรูป ฯลฯ ความรู้แตกฉานในวิญญาณ

ฯลฯ ความรู้แตกฉานในสังขารทั้งหลาย ชื่อว่า

อรรถปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในเหตุเกิดแห่ง

สังขาร ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา, ความรู้แตกฉาน

ในความดับแห่งสังขาร ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา,

ความรู้แตกฉานในปฏิปทาอันเป็นเหตุให้ถึงความ

ดับแห่งสังขาร ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้แตกฉานซึ่ง

ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา

อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรมะ เวทัลละ

นี้เรียกว่า ธรรมปฏิสัมภิทา, ภิกษุนั้นย่อมรู้แตก

ฉานในอรรถแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้เป็นอรรถแห่ง

ภาษิตนี้, นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนั้น นี้เรียกว่า

อรรถปฏิสัมภิทา.

สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลเป็นไฉน ?

กามาวจรกุศลจิต เกิดพร้อมด้วยโสมนัส

ประกอบด้วยปัญญา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี

ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น

ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น

ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล.

ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมปฏิ-

สัมภิทา, ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่า

นั้น ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา.

คำว่า ตตฺร ธมฺมนิรุตฺตาภิลาเป าณ ความว่า ความรู้

แตกฉานในคำพูด คำกล่าว คำที่เปล่งถึงสภาวนิรุตติอันเป็นโวหารที่ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

ผิดเพี้ยนทั้งในอรรถและในธรรมนั้น, ในคำพูดอันเป็นสภาวนิรุตติ

ของพระอริยบุคคลผู้ทำสภาวนิรุตติศัพท์ที่เขาพูดแล้ว กล่าวแล้ว เปล่ง

ออกแล้ว ให้เป็นอารมณ์แล้ว พิจารณาอยู่. ในมาคธีมูลภาษาของสัตว์

ทั้งหลายอันเป็นสภาวนิรุตติ เพราะสภาวนิรุตตินั้นบัณฑิตรับรองว่า

เป็นธรรมนิรุตติอย่างนี้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ

ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา.

ด้วยประการฉะนี้ นิรุตติปฏิสัมภิทานี้ ชื่อว่า มีสัททะคือ เสียง

เป็นอารมณ์ มิได้มีบัญญัติเป็นอารมณ์. เพราะเหตุไร ? เพราะพระ-

อริยบุคคลได้ยินเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาว-

นิรุตติ. จริงอยู่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ครั้นเขาพูด

ว่า ผัสโส ก็ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, ครั้นเขาพูดว่า

ผสฺสา หรือ ผสฺส ก็ย่อมรู้ว่า นี้มิใช่สภาวนิรุตติ แม้ใน

สภาวธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ถามว่า ก็พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานี้จะรู้หรือไม่

รู้คำอื่น คือเสียงแหงพยัญชนะอันกล่าวถึงนาม, อาขยาต, อุปสัค,

และนิบาต.

ตอบว่า พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานั้น ครั้นได้

ยินเสียงแล้วก็รู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ ด้วย

เหตุสำคัญอันใด, ก็จักรู้คำนั้นด้วยเหตุสำคัญอันนั้น, แต่ข้อนี้มีผู้กล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

ปฏิเสธว่า นี้มิใช่กิจของปฏิสัมภิทา แล้วกล่าวว่า ธรรมดาภาษา

สัตว์ทั้งหลายย่อมเรียนเอาได้ แล้วยกอุทาหรณ์นี้ขึ้นมาสาธกว่า

จริงอยู่ มารดาและบิดา เอากุมารน้อยในคราวยังเป็นทารกอยู่

ให้นอนบนเตียงหรือ แล้วพูดภาษานั้น ๆ ทำกิจนั้น ๆ อยู่. ทารกกำหนด

ภาษานั้น ๆ ของมารดาและบิดาเหล่านั้นว่า คำนี้ท่านผู้นี้พูด, คำนี้

ท่านผู้นี้พูด ครั้นวันผ่านมาเวลาผ่านไป ก็ย่อมรู้ภาษาทั้งหมดได้.

มารดาเป็นชาวทมิฬ, บิดาเป็นชาวอันธกะ ทารกของมารดาบิดาเหล่า

นั้น ถ้าได้ยินคำพูดของมารดาก่อน, ก็จักพูดภาษาทมิฬ ถ้าได้ยิน

คำพูดของบิดาก่อนก็จักพูดภาษาอันธกะ. แต่ถ้าไม่ได้ยินคำพูดของมารดา

และบิดาทั้ง ๒ นั้น ก็จักพูดภาษามาคธี

แม้ทารกใดเกิดในป่าใหญ่ไม่มีบ้าน คนอื่นที่ชื่อว่าจะพูดด้วย

ก็ไม่มีในที่นั้น, ทารกนั้นเมื่อจะเริ่มพูดตามธรรมดาของตน ก็จักพูด

ภาษามาคธีนั้นแล. ภาษามาคธีมีมากในที่ทั้งปวง คือ ในนรก, ใน

กำเนิดดิรัจฉาน, ในเปตติวิสัย, ในมนุษยโลก ในเทวโลก. บรรดา

ภาษาของสัตว์ในภูมินั้น ๆ ภาษาที่เหลือ เช่น โอฏฏภาษา, กิราตภาษา,

อันธกภาษา, โยนกภาษาและทมิฬภาษาเป็นต้น ย่อมดิ้นได้, มาคธี-

ภาษานี้เพียงภาษาเดียวเท่านั้น นับว่าเป็นพรหมโวหารและอริยโวหาร

ตามเป็นจริง ย่อมไม่ดิ้น.

๑. มาคธิกภาส = ภาษาของชนชาวมคธ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงยกพระพุทธพจน์คือพระ-

ไตรปิฎกขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นไว้ในภาษามาคธีเท่านั้น. เพราะ

เหตุไร ? ก็เพราะเพื่อจะนำอรรถะมาให้รู้ได้โดยง่าย. จริงอยู่ พระ-

พุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยมาคธีภาษา ยังไม่บรรลุถึงคลองแห่ง

โสตประสาทของพระอริยบุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เป็นการเนิ่นช้า.

แต่เมื่อโสตประสาทพอพระพุทธพจน์กระทบแล้วเท่านั้น เนื้อความก็

ปรากฏตั้งร้อยนัย พันนัย. ก็พระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผ่นด้วย

ภาษาอื่น ก็ย่อมต้องเรียนเอาแบบตีความแล้วตีความเล่า. อันธรรมดาว่า

การเรียนพระพุทธพจน์แม้มากมายแล้วบรรลุปฏิสัมภิทา ย่อมไม่มีแก่

ปุถุชน, แต่พระอริยสาวกที่จะชื่อว่าไม่บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมไม่มีเลย.

บทว่า าเณสุ าน ความว่า ความรู้แตกฉานในญาณทั้ง ๓

เหล่านั้น ของพระอริยบุคคลผู้กระทำญาณอันมีในที่ทั้งปวงให้เป็น

อารมณ์แล้วพิจารณาอยู่, หรือว่า ญาณอันถึงความกว้างขวางในญาณ

ทั้ง ๓ เหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งอารมณ์และกิจเป็นต้น ชื่อว่าปฏิภาณ

ปฏิสัมภิทา.

ก็บัณฑิตพึงทราบ ปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านี้ว่า ย่อมถึงซึ่งประเภท

ในฐานะ ๒. ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕. ย่อมถึงซึ่งประเภทในฐานะ ๒

เป็นไฉน ? คือ ในเสกขภูมิ ๑ อเสกขภูมิ ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

ใน ๒ ภูมินั้น ปฏิสัมภิทาของพระมหาเถระ ๘๐ องค์ มีพระ-

เถระผู้มีนามอย่างนี้ คือ พระสารีบุตรแถระ. พระมหาโมคคัลลานเถระ,

พระมหากัสสปเถระ, พระมหากัจจายนเถระ, พระมหาโกฏฐิตเถระ

เป็นต้น ถึงซึ่งประเภทใน อเสกขภูมิ, ปฏิสัมภิทาของพระอริยบุคคล

ทั้งหลายมีพระอริยบุคคลผู้มีนามอย่างนี้ คือพระอานนทเถระ, ท่าน

จิตตคฤหบดี ท่านธรรมมิกอุบาสก, ท่านอุบาลีคฤหบดี, ขุชชุตตรา-

อุบาสิกา เป็นต้น ถึงซึ่งประเภทใน เสกขภูมิ, ปฏิสัมภิทาย่อมถึงซึ่ง

ประเภทในภูมิ ๒ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

ปฏิสัมภิทา ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕ ประการ เป็นไฉน ? ย่อม

ผ่องใสด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ ด้วยอธิคม, ด้วยปริยัติ, ด้วย

สวนะ, ด้วยปริปุจฉา, ด้วยบุปพพโยคะ.

ในเหตุ ๕ ประการเหล่านั้น การบรรลุพระอรหัต ชื่อว่า อธิคม.

ก็ปฏิสัมภิทาของผู้บรรลุพระอรหัต ย่อมผ่องใส.

พระพุทธพจน์ ชื่อว่า ปริยัติ. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้เรียนพระ-

พุทธพจน์นั้น ย่อมผ่องใส.

การฟังพระสัทธรรม ชื่อว่า สวนะ. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้สนใจ

เรียนธรรมโดยเคารพ ย่อมผ่องใส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

กถาเป็นเครื่องวินิจฉัย คัณฐีบทและอรรถบท ในพระบาลีและ

อรรถกถาเป็นต้น ชื่อว่า ปริปุจฉา. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้ที่สอบสวน

อรรถในพระพุทธพจน์ทั้งหลายมีพระบาลีเป็นต้นที่ตนเรียนแล้ว ย่อม

ผ่องใส.

การบำเพ็ญเพียรในวิปัสสนากรรมฐานอยู่เนือง ๆ จนกระทั่งถึง

สังขารุเปกขาญาณอันเป็นที่ใกล้อนุโลมญาณและโคตรภูญาณ เพราะ

ความที่การบำเพ็ญวิปัสสนานั้น อันพระโยคาวจรเคยปฏิบัติแล้วปฏิบัติ

เล่ามาในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ชื่อว่า ปุพพโยคะ. ก็

ปฏิสัมภิทาของผู้บำเพ็ญเพียรมาแล้วในปางก่อน ย่อมผ่องใส ปฏิสัมภิทา

ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕ ประการเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

ก็ในบรรดาเหตุทั้ง ๕ เหล่านี้ เหตุ ๓ เหล่านี้ คือ ปริยัติ,

สวนะ, ปริปุจฉา เป็นเหตุมีกำลังเพื่อความแตกฉานแล. ปุพพโยคะ

เป็นปัจจัยมีกำลังเพื่อ. การบรรลุพระอรหัต.

ถามว่า หมวด ๓ แห่งเหตุมีปริยัติเป็นต้น ย่อมมีเพื่อความ

แตกฉาน ไม่มีเพื่อความบรรลุหรือ ?

ตอบว่า มี, แต่ไม่ใช่อย่างนั้น. เพราะปริยัติ, สวนะ และ

ปริปุจฉา จะมีในปางก่อนหรือไม่ก็ตาม แต่เว้นการพิจารณาสังขาร

ธรรมด้วยการบำเพ็ญเพียรในปางก่อน และการพิจารณาสังขารในปัจจุ-

บันเสียแล้ว ชื่อว่า ปฏิสัมภิทา ก็มีไม่ได้. เหตุและปัจจัยทั้ง ๒ นี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

รวมกันช่วยอุปถัมภ์ปฏิสัมภิทากระทำให้ผ่องใสได้ ด้วยประการฉะนี้.

ยังมีอาจารย์พวกอื่นอีก ได้กล่าวไว้ว่า

ปุพพโยคะ ๑, พาหุสัจจะ ๑, เทศภาษา ๑,

อาคม ๑, ปริปุจฉา ๑, อธิคม ๑, ครุสันนิสสัย ๑,

และมิตตสมาบัติ ๑. รวม ๘ ประการนี้ ล้วนเป็น

ปัจจัยแก่ปฏิสัมภิทา ดังนี้.

บรรดาธรรมทั้ง ๘ ประการนั้น นัยดังที่กล่าวแล้วแล ชื่อว่า

ปุพพโยคะ.

ความฉลาดในศาสตร์นั้น ๆ และศิลปายตนะทั้งหลาย ชื่อว่า

พาหุสัจจะ.

ความฉลาดในภาษา ๑๐๑ ภาษา ความฉลาดในภาษามาคธีโดย

วิเศษ ชื่อว่า เทศภาษา.

การเรียนพระพุทธพจน์โดยที่สุดแม้เพียงโอปัมมวรรค ชื่อว่า

อาคม.

การวินิจฉัยไต่สวนอรรถะแม้ในคาถา ๑ ชื่อว่า ปริปุจฉา.

การเป็นพระโสดาบันก็ดี การเป็นพระสกทาคามีก็ดี การเป็น

พระอนาคามีก็ดี การเป็นพระอรหันต์ก็ดี ชื่อว่า อธิคม.

การอยู่ในสำนักครูผู้มากด้วยสุตะและปฏิภาณ ชื่อว่า ครุสัน-

นิสสัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

การได้มิตรเห็นปานนั้นนั่นแล ชื่อว่า มิตตสมบัติ

บรรดาธรรมทั้ง ๘ ประการนั้น พระพุทธเจ้าหลาย และ

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย อาศัย ปุพพโยคะและอธิคม แล้วบรรลุ

ปฏิสัมภิทา ส่วนพระสาวกทั้งหลายอาศัยเหตุเหล่านี้แม้ทั้งหมดแล้ว

จึงบรรลุปฏิสัมภิทา.

ก็ในการบรรลุปฏิสัมภิทา ไม่มีการบำเพ็ญเพียรในกรรมฐาน

ภาวนาโดยเฉพาะอีก, ส่วนพระเสกขบุคคลมีผละและวิโมกขะของ

พระเสกขะเป็นที่สุด การบรรลุปฏิสัมภิทา ก็ย่อมมีได้.

อธิบายว่า ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมสำเร็จแก่บรรดาพระอริยะ

บุคคลด้วยอริยผลทั้งหลายนั่นแล ดุจทสพลญาณสำเร็จแก่พระตถาคต

ทั้งหลายฉะนั้น. ทางแห่งปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านี้ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ปฏิ-

สัมภิทามรรค, ปกรณ์ คือปฏิสัมภิทามรรค ชื่อว่า ปฏิสัมภิทามรรค.

ปกรณ์, ชื่อว่า ปกรณ์ เพราะอรรถว่า อรรถอันลึกซึ้ง แยกโดย

ประเภทต่าง ๆ ในปฏิสัมภิทานี้ ท่านกล่าวกระทำโดยประการต่าง ๆ.

ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้น สมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ,

ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา, ให้

สำเร็จผลวิเศษในการปฏิบัติ, ห้ามอกุศลอันเป็นปฏิปักษ์, เป็นรตนากร

บ่อเกิดแห่งญาณอันประเสริฐของพระโยคาวจร, เป็นเหตุอันวิเศษใน

การเยื้องกรายธรรมกถาของพระธรรมกถึกทั้งหลาย, เป็นเครื่องนำออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

จากทุกข์ของผู้กลัวภัยในสังสารวัฏ, มีประโยชน์ในการยังความชุ่มชื่น

ให้เกิดเพราะเห็นอุบายในการออกจากทุกข์นั้น, และมีประโยชน์ในการ

ทำลายอกุศลธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อนิสสรณธรรมนั้น และมีประโยชน์

ให้เกิดความยินดีในหทัยแก่กัลยาณชน โดยการเปิดเผยอรรถแห่งบท

พระสูตรมีเนื้อความอันลึกซึ้งมิใช่น้อย อันท่านพระสารีบุตรผู้ธรรม

เสนาบดี ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ธรรมราชาภาษิตแล้ว เมื่อประทีป

ดวงใหญ่กล่าวคือพระสัทธรรม รุ่งเรืองแล้วด้วยแสงประทีปดวงใหญ่

คือพระสัพพัญญุตญาณที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว

โดยไม่ขัดข้อง ส่องสว่างกระจ่างไปทั่วทุกสถาน มีพระทัยสนิทเสน่หา

ประกอบไปด้วยพระมหากรุณาแผ่กว้างไปในปวงชน เพื่อกำจัดความ

มืดมนอนธการ กล่าวคือกิเลส ด้วยพระมหากรุณาในเวไนยชน ด้วย

การยกพระสัทธรรมนั้นขึ้นอธิบายให้กระจ่างแจ้งแก่ปวงชน ด้วยความ

เสน่หา ปรารถนาความรุ่งเรืองแห่งพระสัทธรรมไปตราบเท่า ๕,๐๐๐

พระพรรษา ผู้มีเจตจำนงค้ำจุนโลก ตามเยี่ยงอย่างพระศาสดา อัน

ท่านพระอานันทเถระสดับภาษิตนั้นแล้วยกขึ้นรวบรวมไว้ในคราวทำ

ปฐมมหาสังคีติ ตามที่ได้สดับมาแล้วนั่นแล.

ในปิฎกทั้ง ๓ คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และ

พระอภิธรรมปิฎก, ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้น นับเนื่องในพระ-

สุตตันตปิฎก.

๑. ธรรมเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ (ทุกฺขนิสฺสรณ)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

ในนิกายใหญ่ทั้ง ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย

อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย, ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้น นับเนื่อง

ในขุททกนิกาย.

ในองค์แห่งสัตถุศาสน์ทั้ง ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ

คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรมะ เวทัลละ, ปฏิสัม-

ภิทามรรคปกรณ์นี้นั้น นับสงเคราะห์เข้าใน ๒ องค์ คือ เคยยะ และ

เวยยากรณะ ตามที่เป็นได้.

ก็บรรดาพระธรรมขันธ์ทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อันพระ-

อานันทเถระผู้ธรรมภัณฑาคาริก อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นสู่

เอตทัคคะใน ๕ ตำแหน่ง ปฏิญญาไว้อย่างนี้ว่า

ธรรมเหล่าใดอันเป็นไปแก่ข้าพเจ้า ธรรม

เหล่านั้น ข้าพเจ้าเรียนจากพระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐

พระธรรมขันธ์, จากภิกษุอื่น ๒,๐๐๐ พระธรรม

ขันธ์ จึงรวมเป็น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ดังนี้

ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้นนับเข้าในพระธรรมขันธ์ มากกว่า

ร้อย ในธรรมขันธ์ ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เรียนจากภิกษุ.

ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์ มี ๓ วรรค คือ มหาวรรค, มัชฌิม-

วรรค, และจูฬวรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

ในวรรคหนึ่ง ๆ มีวรรคละ ๑๐ กถา รวมเป็น ๓๐ กถา มี

ญาณกถาเป็นต้น มีมาติกากถาเป็นปริโยสาน. ข้าพเจ้าจะพรรณนา

เนื้อความแห่งบทที่ไม่ซ้ำกันตามลำดับแห่งปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้ที่

กำหนดโดยส่วนเดียว ด้วยประการฉะนี้.

ก็ปกรณ์นี้ อันกุลบุตรทั้งผู้สวดทั้งผู้แสดงโดยปาฐะโดยอรรถ

ก็พึงสวดพึงแสดงโดยเคารพเถิด, ถึงแม้จะเรียนก็พึงเรียนพึงทรงจำไว้

โดยเคารพเถิด. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะปกรณ์นี้เป็นปกรณ์มี

อรรถลึกซึ้ง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก เพื่อความดำรงมั่นอยู่ในโลก.

หากจะมีคำถามว่า ในกลา ๓๐ กถาถ้วนนั้น เพราะเหตุไรท่าน

จงกล่าวญาณกถาไว้แต่ต้น ? ก็ตอบว่า เพราะญาณเป็นเบื้องต้นแห่ง

การปฏิบัติ เพราะเป็นธรรมเครื่องชำระมลทินแห่งการปฏิบัติ.

สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุเพราะเหตุนั้นแหละ เธอจง

ยังเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายให้บริสุทธิ์ก่อน,

เบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายคืออะไร ? คือศีล

อันบริสุทธิ์ดี และความเห็นตรง ดังนี้.

ก็ญาณกล่าวคือสัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวแล้วด้วยบทว่า อุชุกา ทิฏฺิ

แม้เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวญาณกถาไว้แต่ต้น. แม้คำอื่นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้อีกว่า

๑. ส.มหา. ๑๙/๖๘๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๘ นั้น

สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธาน, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็สัมมาทิฏฐิ ย่อมเป็นประธานอย่างไร ? คือ ภิกษุ

รู้จักสัมมาทิฏฐิว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ รู้จักมิจฉาทิฏฐิ

ว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมา-

ทิฏฐิ.

ภิกษุรู้จักสัมมาสังกัปปะว่าเป็นสัมมาสัง-

กัปปะ, รู้จักมิจฉาสังกัปปะว่าเป็นมิจฉาสังกัปปะ.

ภิกษุรู้จักสัมมาวาจาว่าเป็นสัมมาวาจา,

รู้จักมิจฉาวาจาว่าเป็นมิจฉาวาจา.

ภิกษุรู้จักสัมมากัมมันตะว่าเป็นสัมมากัม-

มันตะ, รู้จักมิจฉากัมมันตะว่าเป็นมิจฉากัมมันตะ.

ภิกษุรู้จักสัมมาอาชีวะว่าเป็นสัมมาอาชีวะ,

ภิกษุรู้จักมิจฉาอาชีวะว่าเป็นมิจฉาอาชีวะ.

ภิกษุรู้จักสัมมาวายามะว่าเป็นสัมมาวายา-

มะ, ภิกษุรู้จักมิจฉาวายามะว่าเป็นมิจฉาวายามะ.

ภิกษุรู้จักสัมมาสติว่าเป็นสัมมาสติ, ภิกษุ

รู้จักมิจฉาสติว่าเป็นมิจฉาสติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

ภิกษุรู้จักสัมมาสมาธิว่าเป็นสัมมาสมาธิ,

ภิกษุรู้จักมิจฉาสมาว่าเป็นมิจฉาสมาธิ. ความรู้

ของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ.

ท่านกล่าวญาณกถาไว้แต่ต้นก็เพื่อจะให้ญาณ กล่าวคือ ความเห็น

ชอบว่า เมื่อสัมมาทิฏฐิเป็นประธานสำเร็จ แล้วก็จักรู้ความที่มิจฉาทิฏฐิ

ทั้งหลายเป็นมิจฉาทิฏฐิดังนี้ ให้สำเร็จก่อน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนอุทายี เธอจงงดขันธ์ส่วนอดีตและ

อนาคตไว้ก่อน เราจักแสดงธรรมแต่เธอว่า เมื่อ

เหตุนี้มี ผลนี้ก็ย่อม เพราะเหตุนี้เกิด ผลนี้จึงเกิด,

เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้ก็ย่อมไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ

ผลนี้ก็ย่อมดับ ดังนี้.

และ เพราะเว้นปุพพันตทิฏฐิและอปรันตทิฏฐิแล้วกล่าวญาณเท่านั้น

ท่านจึงกล่าวญาณกถาไว้แต่ต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

อย่าเลย สุภัททะ ข้อที่ถามว่า สมณ-

พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ได้ตรัสรู้ตามปฏิญญา

ของตน ๆ หรือ หรือว่าทั้งหมดไม่ได้ตรัสรู้ หรือ

๑. ม.อุ. ๑๔/๒๕๔. ๒. ม.ม. ๑๓/๓๗๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

ว่าบางพวกไม่ได้ตรัสรู้ดังนี้นั้นจงงดไว้ก่อน. ดูก่อน

สุภัททะ เราจักแสดงธรรมแก่เธอ เธอจงตั้งใจ

ฟังธรรมนั้น จงมนสิการให้ดี, เราจักแสดง

ณ บัดนี้" ดังนี้.

และ เพราะเว้นวาทะของพวกสมณพราหมณ์ปุถุชนฝ่ายปรัปปวาท

ทั้งหลายเสีย แล้วแสดงอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ และ เพราะ

ญาณ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิในอัฏฐังคิกมรรคเป็นประธาน ท่านจึง

กล่าวญาณกถาไว้แต่ต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์แห่งการบรรลุ

โสดาบัน ๔ อย่างเหล่านี้ คือ

๑. สปฺปุริสสเสโว การคบหากับสัตบุรุษ

๒. สทฺธมฺมสฺสวน การฟังพระสัทธรรม

๓. โยนิโสมนสิกาโร การทำไว้ในใจโดยแยบคาย

๔. ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

และตรัสว่า

๑. ที.มหา. ๑๐/๑๓๘. ๒. ที.ปา. ๑๑/๒๔๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

กุลบุตรเกิดสัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปใกล้

เมื่อเข้าไปใกล้ ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ ย่อม

เงี่ยหูลง เมื่อเงี่ยหูลงแล้ว ย่อมฟังธรรม ครั้น

ฟังธรรมแล้ว ย่อมทรงธรรมไว้ ย่อมพิจารณา

เนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว เมื่อพิจารณาเนื้อ

ความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนซึ่งความพินิจ เมื่อ

ธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะ ย่อมเกิด เมื่อ

เกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว

ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความ

เพียร เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมกระทำให้แจ้งชัด

ซึ่งปรมัตถสัจจะนั้นด้วยกาย และเห็นแจ้งแทง

ตลอดซึ่งปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา ดังนี้

และตรัสว่า

พระตถาคต อุบัติขึ้นในโลกนี้ ฯลฯ

พระตถาคตนั้นทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น

ดังนี้.

ท่านกล่าวญาณกถาไว้แต่ต้นทำ สุตมยญาณ ไว้เป็นญาณต้น

โดยอนุโลมสุตตันตบทมิใช่น้อยตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้เป็นอาทิ.

๑. ม.ม. ๑๓/๒๓๘. ๒. ที.มหา. ๙/๑๐๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

ก็ญาณกถานี้นั้น แบ่งออกเป็น ๒ คือ อุทเทส ๑ นิทเทส ๑.

ในอุทเทส ท่านแสดงญาณ ๗๓ ด้วยสามารถแห่งมาติกาโดยนัยเป็นต้น

ว่า โสตาวธาเน ปญฺา สุตมเย าณ ซึ่งแปลว่า ปัญญาในการ

ทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ ดังนี้.

ในนิทเทส ท่านแสดงญาณ ๗๓ เหล่านั้นนั่นแหละ อย่าง

พิสดารโดยนัยเป็นต้นว่า กถ โสตาวธาเน ปญฺา สุตมเย

าณ. อิเม ธมฺมา อภิญฺเยฺยาติ โสตาวธาน, ตปชานนา

ปญฺา สุตมเย าณ ซึ่งแปลว่า ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้

ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณอย่างไร ? ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรม

ที่ได้ฟังมาแล้ว คือเป็นเครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า

ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่งดังนี้ เป็นสุตมยญาณดังนี้.

จบ คันถารัมภกถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

มหาวรรค

อรรถกถาญาณกถามาติกา

๑. อรรถกถาสุตมยญาณุทเทส

ว่าด้วย สุตมยญาณ

ในอุทเทสนั้นเบื้องแรก พึงทราบ โสต ศัพท์ ในคำนี้ว่า

โสตาวธาเน ปญฺา สุตมเย าณ มีประเภทแห่งอรรถเป็นอเนก.

จริงอย่างนั้น โสต ศัพท์นั้นย่อมปรากฏ

ในอรรถว่า มังสโสตะ, โสตวิญญาณ,

ญาณโสตะ, กระแสแห่งตัณหาเป็นต้น, สายธาร

แห่งกระแสน้ำ, อริยมรรค, และแม้ในความสืบ

ต่อแห่งจิต.

ก็ โสต ศัพท์ นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่า มังสโสตะ ได้ในคำ

เป็นต้นว่า โสตายตนะ, โสตธาตุ และโสตินทรีย์.

ปรากฏในอรรถว่า โสตวิญญาณ ได้ในคำเป็นต้นว่า ได้ยิน

เสียงด้วยโสตะ.

๑. อภิ. วิ. ๓๕/ ๑๐๑. ๒. ม.มู. ๑๒/ ๑๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

ปรากฏในอรรถ ญาณโสตะ ได้ในคำเป็นต้นว่า ได้ยินเสียง

ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์

ปรากฏในธรรมทั้ง ๕ มีตัณหาเป็นต้น ได้ในคำเป็นต้นว่า

คำว่า กระแสเหล่าใดในโลก ความว่า กระแสเหล่านี้ใด เรา

บอกแล้ว กล่าวแล้ว แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แต่งตั้งแล้ว

เปิดเผยแล้ว จำแนกแล้ว ทำให้ตื้นขึ้นแล้ว ประกาศแล้ว,

นี้อย่างไร ? คือ กระแสตัณหา, กระแสทิฏฐิ, กระแสกิเลส,

กระแสทุจริต, กระแสอวิชชา.

ปรากฏในอรรถว่า สายธารแห่งกระแสน้ำ ได้ในคำเป็นต้นว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วแล ซึ่งท่อนไม้

ท่อนใหญ่ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำคงคา.

ปรากฏในอรรถว่า อริยมรรค ได้ในคำเป็นต้นว่า ดูก่อน

อาวุโส คำนี้ เป็นชื่อของอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ คือ โสตะ.

ปรากฏในอรรถว่า ความสืบต่อแห่งจิต ได้ในคำเป็นต้นว่า และ

ย่อมรู้กระแสวิญญาณของบุรุษ ซึ่งขาดแล้วโดยส่วน ๒ คือ

ทั้งที่ไม่ตั้งอยู่ในโลกนี้ ทั้งที่ไม่ตั้งอยู่ในปรโลก.

๑. ที.ปา. ๑๑/๔๓๑. ๒. ขุ.จูฬ. ๓๐/๗๖. ๓. ส.สฬา. ๑๘/๓๒๕.

๔. ที.ปา. ๑๑/๗๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

ก็โสตศัพท์ในที่นี้ พึงหมายเอา มังสโสตะ.

ชื่อว่า โสตาวธาน เพราะอรรถว่า ทรงไว้ กำหนดไว้ ตั้งไว้

ด้วยโสตะนั้น เป็นเหตุ หรือเป็นเหตุให้สำเร็จ. ชื่อว่า โสตาวธาน

นั้นอย่างไร ? คือ สุตะ. ก็ธรรมชาติที่รู้แจ้ง กำหนดได้โดยครรลอง

แห่งโสตทวาร ชื่อว่า สุตะ ดุจในคำเป็นต้นว่า เป็นผู้สดับมาก

เป็นผู้ทรงสุตะ เป็นผู้สั่งสมสุตะ, สุตะนั้น ในที่นี้ท่านกล่าวว่า

โสตาวธาน. ปัญญาที่เป็นไปในสุตะกล่าวคือโสตาวธานนั้น ชื่อว่า

โสตาวธาเน ปญฺา.

ก็ บทว่า ปญฺา ได้แก่ปัญญาโดยอรรถว่าเป็นเครื่องทำให้

รู้ชัด กล่าวคือ เป็นเครื่องทำอรรถะนั้น ๆ ให้ปรากฏ. อีกอย่างหนึ่ง

ธรรมชาติใด ย่อมรู้ธรรมทั้งหลายโดยประการนั้น ๆ คือ โดยอนิจ-

ลักษณะเป็นต้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า ปัญญา.

พึงทราบ สุต ศัพท์ ทั้งทีมีอุปสรรคและไม่มีอุปสรรคในคำนี้ว่า

สุตมเย าณ ดังนี้ ก่อน

สุตศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ไป.

ปรากฏ, กำหนัด, ประกอบเนือง ๆ, สั่งสม,

สัททารมณ์, รู้ได้ ตามครรลองแห่งโสตทวาร.

๑. ม.มุ. ๑๒/๓๗๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

จริงอย่างนั้น สุตศัพท์ มีอรรถว่า ไป ได้ในคำเป็นต้นว่า

เสนาย ปสุโต เสนาเคลื่อนไป.

สุตศัพท์ มีอรรถว่า มีธรรมอันปรากฏแล้ว ได้ในคำเป็นต้นว่า

สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต มีธรรมอันสดับแล้วเห็นอยู่.

สุตศัพท์ มีอรรถว่า กำหนัดและไม่กำหนัด ได้ในคำเป็นต้นว่า

อวสฺสุตา อวสฺสุตสฺส ปุริสปุคฺคลสฺส ภิกษุณีกำหนัดยินดีแล้วต่อ

บุรุษบุคคลผู้ไม่กำหนัดยินดีแล้ว.

สุตศัพท์ มีอรรถว่า ประกอบเนือง ๆ ได้ในคำเป็นต้นว่า เย

ฌานปสุตา ธีรา กุลบุตรเหล่าใดประกอบเนืองๆ ในฌาน กุลบุตร

เหล่านั้น ชื่อว่า นักปราชญ์.

สุตศัพท์ มีอรรถว่า สั่งสมได้ในคำเป็นต้นว่า ตุมฺเหหิ ปุญฺ

ปสุต อนปฺปก บุญมิใช่น้อยอันท่านทั้งหลายสั่งสมไว้แล้ว.

สุตศัพท์ มีอรรถว่า สัททารมณ์ ได้ในคำเป็นต้นว่า ทิฏฺ สุตฺ

มุต วิญฺาต รูปอันเราเห็นแล้ว เสียงอันเราได้ยินแล้ว หมวด ๓ แห่ง

อารมณ์อันเราทราบแล้วอารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว.

๑. ขุ.อุ. ๒๕/๕๑. ๒. วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๑. ๓. ขุ.ธ. ๒๕/๒๔.

๔. ขุ.ขุ. ๒๕/๘. ๕. ม.ม. ๑๒/๒๘๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

สุตศัพท์ มีอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งสัททารมณ์อันตนรู้แล้วโดยครรลอง

แห่งโสตทวาร ได้ในคำเป็นต้นว่า พหุสฺสุโต โหติ สุตธโร

สุตสนฺนิจโย เป็นผู้สดับมาก เป็นผู้ทรงสุตะ เป็นผู้สั่งสมสุตะ. แต่

ในที่นี้ สุตะศัพท์มีอรรถว่า อันตนรู้แล้ว. เข้าไปทรงไว้แล้วโดย

ครรลองแห่งโสตทวาร.

บทว่า สุตมเย าณ ความว่า ปัญญานี้ได้ ปรารภพระ-

สัทธรรม คือ สุตะนี้ ที่รู้แล้ว ทรงจำไว้ได้แล้ว กระทำให้เป็น

อารมณ์ เป็นไปแล้วในครั้งแรกและครั้งต่อ ๆ มา, ปัญญาญาณนั้น

ย่อมเป็นอันท่านกล่าวแล้วว่า สุตมเย าณ ญาณอันสำเร็จแล้วด้วย

การฟัง, อธิบายว่า สุตมย าณ นั่นเอง. ก็คำว่า สุตมเย นี้

เป็นปัจจัตตวัจนะ, ปัจจัตตวัจนะ ในคำเป็นต้นว่า น เหว วตฺตพฺเพ

ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น, วนปฺปคุมฺเพ ยถา ผุสฺสิตคฺเค พุ่มไม้ในไพร

มรยอดคือดอกบานสะพรั่ง, นตฺถิ อตฺตกาเร การกระทำของตน ไม่มี,

นตฺถิ ปรกาเร การกระทำของคนอื่น ไม่มี, นตฺถิ ปุริสกาเร การกระทำ

ของบุรุษ ไม่มี ดังนี้ ฉันใด แม้ในที่นี้ บทว่า สุตมเย ก็พึงเข้าใจ

ฉันนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า สุตมย าณนฺติ อตฺโถ

อธิบายว่า ญาณอันสำเร็จแล้วด้วยการฟัง ดังนี้.

๑. ม.มู. ๑๒/๓๗๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

อีกอย่างหนึ่ง หมวดธรรมมีผัสสะเป็นต้น อันสำเร็จแล้วด้วย

การฟัง จึงชื่อว่า สุตมยะ, ญาณเป็นไปในหมวดแห่งธรรมที่ชื่อว่า

สุตมยะนั้น คือสัมปยุต กับด้วยสุตมยะนั้น ชื่อว่า สุตมเย าณ.

ญาณนั้นนั่นแล ท่านกล่าวว่า ปัญญา เพราะไม่กำหนดก็เพื่อจะอธิบาย

โดยปริยาย ภายหลังจึงกล่าวกำหนดว่า ญาณ ท่านสาธุชนพึงทราบ

ตามที่กล่าวมานี้.

ก็ชื่อว่า ญาณ มีการแทงตลอดสภาวะเป็นลักษณะ หรือมี

การแทงตลอดอย่างไม่ผิดพลาดเป็นลักษณะ เหมือนการยิงลูกศรอัน-

นายขมังธนูผู้ชาญฉลาดยิงไปแล้วฉะนั่น.

มีการส่องซึ่งอารมณ์เป็นรส เหมือนดวงประทีปส่องสว่างฉะนั้น.

มีความไม่หลงเป็นปัจจุปัฏฐาน เหมือนพรานป่าบอกทางแก่

คนหลงทางฉะนั้น.

มีสมาธิเป็นปทัฏฐาน ตามพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุมีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง.

ก็ในลักษณะเป็นต้น พึงทราบว่า สภาวะก็ดี สามัญญะก็ดี

ชื่อว่า ลักษณะ, กิจก็ดี สมบัติก็ดี ชื่อว่า รส, อาการที่ปรากฏก็ดี

ผลก็ดี ชื่อว่า ปัจจุปัฏฐาน, เหตุใกล้ ชื่อว่า ปทัฏฐาน ดังนี้.

๑. ส. สฬา. ๑๘/๑๔๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

๒. อรรถกถาสีลมยญาณุทเทส

ว่าด้วย สีลมยญาณ

คำว่า สุตฺวาน สวเร ปญฺา ความว่า :-

ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ คือ ปาฏิโมกข์ ๑

สติ ๑ ญาณ ๑ ขันติ ๑ และ วิริยะ ๑ ท่าน

แสดงว่าสังวร.

สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า

เป็นผู้เข้าถึง, เข้าถึงพร้อม, เข้ามา, เข้า

มาพร้อม, ถึงแล้ว, ถึงพร้อมแล้ว, ประกอบ

พร้อมแล้ว ด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้ ชื่อว่า ปาฏิ-

โมกขสังวร.

สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า

ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต

ไม่ถืออนุพยัญชนะ, เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวม

จักขุนทรีย์ เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้

อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส

๑. อภิ.วิ.๓๕/๖๐๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

ครอบงำนั้น ชื่อว่า รักษาจักขุนทรีย์, ชื่อว่า

ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ชื่อว่า สติสังวร.

สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า

กระแสทั้งหลายเหล่าใดในโลก มีอยู่,

สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น เรากล่าวสติว่า

เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย, กระแสเหล่านั้น

อันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยปัญญา ดังนี้

ชื่อว่า ญาณสังวร.

สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย

นี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวร ดังนี้

ชื่อว่า ปัจจยปฏิเสวนาสังวร, ปัจจยปฏิเสวนาสังวรแม้นั้น ท่าน

สงเคราะห์ด้วยญาณสังวรนั้นแล.

สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า

เป็นผู้อดกลั้นต่อ หนาว ร้อน หิว

ระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ

สัตว์เลื้อยคลานเป็นผู้มีชาติแห่งผู้อดกลั้นต่อถ้อย

คำที่ผู้อื่นกล่าวชั่วร้ายแรง ต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว

๑. ที.สี. ๙/๑๒๒. ๒. ขุ.ส. ๒๕/๔๒๕. ๓. ม.มู. ๑๒/๑๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

ซึ่งบังเกิดขึ้นเป็นทุกข์ กล้า แข็ง เผ็ดร้อน ไม่

เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อันจะคร่าชีวิตเสีย

ได้ ดังนี้

ชื่อว่า ขันติสังวร.

สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า

ภิกษุ ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา

กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว. ย่อมกระทำให้สิ้นสูญไป

ให้ถึงความไม่มี ดังนี้

ชื่อว่า วิริยสังวร.

สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า

พระอริยสาวกในพระศาสนานี้ ละ

มิจฉาอาชีวะเสียแล้ว สำเร็จชีวิตอยู่ด้วยสัมมา-

อาชีวะ ดังนี้

ชื่อว่า อาชีวปาริสุทธิสังวร, อาชีวปาริสุทธิสังวร แม้นั้น ท่าน

สงเคราะห์ด้วยวิริยสังวรนั่นแล.

ในสังวร ๗ เหล่านั้น สังวร ๔ คือ ปาฏิโมกขสังวร, อิน-

ทริยสังวร, อาชีวปาริสุทธิสังวร, และปัจจัยปฏิเสวนาสังวร ท่าน

ประสงค์เอาในที่นี้, และในสังวร ๔ เหล่านั้น ปาฏิโมกขสังวร ท่าน

๑. ม.มู. ๑๒/๓๕. ๒. ม.ม. ๑๒/๑๗. ๓. ส.มหา ๑๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

ประสงค์เอาเป็นพิเศษ. ก็สังวรนี้แม้ทั้งหมดท่านเรียกว่า สังวร เพราะ

กั้นทุจริตทั้งหลายมีกายทุจริตเป็นต้น ที่จำต้องสังวรตามธรรมดาของ

ตน.

ปัญญาของกุลบุตรผู้ฟังธรรมตามที่กล่าวแล้วในสุตมยญาณแล้ว

สังวรอยู่ ทำการสังวร เป็นไปแล้วในการสังวรนั้น สัมปยุตกับสังวร

นั้น ท่านกล่าวแล้วว่า สุตฺวาน สวเร ปญฺา. อีกอย่างหนึ่งมีความ

ว่า ปัญญาในการสังวรเพราะมีการฟังเป็นเหตุบ้าง เพราะมีคำว่า

เหตุอตฺเถ สุตฺวา ฟังเหตุและผลปรากฏอยู่ด้วย.

บทว่า สีล ในคำนี้ว่า สีลมเย าณ ความว่า ชื่อว่า

ศีลเพราะอรรถว่าสำรวม, ชื่อว่า การสำรวมนี้ อย่างไร ? คือการ

ตั้งมั่น, อธิบายว่า ความเป็นกายกรรมเป็นต้นไม่เกลื่อนกล่นด้วย

สามารถแห่งความเป็นผู้สำรวมด้วยดี. หรือความเข้าไปตั้งมั่น, อธิบายว่า

ความที่แห่งกุศลธรรมทั้งหลายเป็นที่รองรับด้วยสามารถเป็นที่ตั้ง.

ก็ในศีลนี้ นักปราชญ์ผู้รู้ลักษณศัพท์ รับรู้ตาม ๆ กันมาซึ่ง

อรรถะทั้ง ๒ นี้เท่านั้น. แต่อาจารย์พวกอื่นพรรณนาว่า ชื่อว่า ศีล

เพราะอรรถว่าเสพยิ่ง เพราะอรรถว่าเป็นที่รองรับ เพราะอรรถว่าเป็น

ปกติ เพราะอรรถว่าเป็นศีรษะ เพราะอรรถว่าเย็น เพราะอรรถว่า

เกษม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

ศีลนั้น แม้จะมีประเภทต่าง ๆ หลายอย่าง

ก็มีการสำรวมเป็นลักษณะ เหมือนรูปมีประเภท

ต่าง ๆ เป็นอันมาก ก็มีการเห็นได้ด้วยตาเป็น

ลักษณะ ฉะนั้น.

เหมือนอย่างว่า ความที่รูปายตนะแม้มีประเภทต่าง ๆ เป็น

อันมาก โดยประเภทแห่งสีมีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้น. ก็มีการเห็น

ได้ด้วยตาเป็นลักษณะ เพราะไม่ก้าวล่วงความที่แห่งรูปายตนะมีประเภท

ต่าง ๆ โดยประเภทแห่งสีมีสีเขียวเป็นต้น ก็เป็นรูปายตนะที่เห็นได้

ด้วยตาฉันใด, ความสำรวมแห่งศีลแม้มีประเภทต่าง ๆ หลายอย่าง

โดยประเภทแห่งวิรัติมีเจตนาวิรัติเป็นต้น ท่านกล่าวแล้วว่าเป็นที่รองรับ

กายกรรมเป็นต้น และเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมนี้ได้, การสำรวมนั้น

นั่นแหละเป็นลักษณะของศีลแม้มีประเภทต่าง ๆ หลายอย่างโดยประเภท

แห่งวิรัติมีเจตนาวิรัติเป็นต้น เพราะไม่ก้าวล่วงความเป็นที่รองรับและ

เป็นที่ตั้ง.

ก็ การกำจัดความเป็นผู้ทุศีล และคุณ

คือความไม่มีโทษ ท่านเรียกว่า เป็นรส เพราะ

อรรถว่าเป็นกิจและสมบัติ ของศีลนั้นมีลักษณะ

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วอย่างนี้.

๑. หมายเอารูปารมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

เพราะฉะนั้น ธรรมดาว่าศีลนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า มีการ

กำจัดความเป็นผู้ทุศีลเป็นรส เพราะรสมีอรรถว่ากิจ, มีความไม่มีโทษ

เป็นรส เพราะรสมีอรรถว่าสมบัติ.

ศีลนี้นั้น วิญญูชนทั้งหลายพรรณนาไว้ว่า

มีความสะอาดเป็นปัจจุปัฏฐาน มีโอตตัปปะและ

หิริเป็นปทัฏฐานของศีลนั้น.

ศีลนี้นั้น มีความสะอาดเป็นปัจจุปัฏฐานตามที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า

ความสะอาดกาย, ความสะอาดวาจา, ความสะอาดใจ๑

ย่อมถึงซึ่งความนับว่า ปรากฏโดยความเป็นของสะอาด. ส่วน หิริ

และโอตตัปปะ วิญญูชนทั้งหลายพรรณนาไว้ว่าเป็นปทัฏฐานของศีล

นั้น, อธิบายว่า เป็นเหตุใกล้. เพราะเมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่ ศีล

ก็ย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่, เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี ศีลก็ย่อมไม่เกิดขึ้น

และไม่ตั้งอยู่ฉะนั้น ญาณที่สหรคตด้วยศีล สัมปยุตด้วยศีลนั้น โดย

วิธีที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า สีลมเย าณ. อีกอย่างหนึ่ง ศีล

นั่นแหละสำเร็จแล้ว ชื่อว่า สีลมัย, ญาณในสีลมัยนั้น คือสัมปยุต

ด้วยศีลมัยนั้น.

๑. ที.ปา. ๑๑/๒๒๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

การพิจารณาโทษในการไม่สำรวม ๑, การพิจารณาอานิสงส์

ในการสำรวม ๑, การพิจารณาความบริสุทธิ์ในการสำรวม ๑, การ

พิจารณาความขาวสะอาดจากสังกิเลสในเพราะการสำรวม ๑ ท่าน

สงเคราะห์ด้วยสีลมยญาณนั่นแล.

๓. อรรถกถาสมาธิภาวนามยญาณุทเทส

ว่าด้วย สมาธิภาวนามยญาณ

คำว่า สวริตฺว สมาทหเน ปญฺา ความว่า ปัญญาของ

กุลบุตรผู้สำรวมด้วยสีลสังวรตามที่กล่าวไว้ในสีลมยญาณ แล้วทำการ

สำรวมตั้งอยู่ในศีลมีจิตตั้งไว้ด้วยดี กระทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ด้วย

สามารถแห่งอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ เป็นไปแล้วในสมาธิจิตนั้น

คือสัมปยุตกับด้วยสมาธิจิตนั้น. การวางไว้ ตั้งไว้ ด้วยดีโดยชอบ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า สมาทหน - การตั้งไว้ด้วยดี, คำนี้ เป็นคำเรียก

สมาธิโดยปริยาย.

กุศลจิตเอกัคคตา ชื่อว่า สมาธิ ในคำนี้ว่า สมาธิภาวนา-

มเย าณ ชื่อว่า สมาธิ เพราะอรรถว่ากระไร ? ชื่อว่า สมาธิ

เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ( สมาธาน ). ชื่อว่า สมาธาน นี้อย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

มีคำอธิบายว่า การวาง การตั้ง ซึ่งจิตและเจตสิกไว้ในอารมณ์เดียว

โดยชอบด้วยดี เพราะฉะนั้น จิตและเจตสิก ไม่ฟุ้งไป ไม่เกลื่อน

กล่น ตั้งอยู่โดยชอบด้วยดีในอารมณ์เดียว ด้วยอานุภาพแห่งธรรมใด,

คำที่กล่าวมาแล้วนี้พึงทราบว่าเป็น สมาธาน.

ก็ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ การกำจัด

ความฟุ้งซ่านเป็นรส การไม่หวั่นไหวเป็น

ปัจจุปัฏฐาน และมีความสุขเป็นปทัฏฐานของ

สมาธินั้นแล.

ธรรมชาติใด อันพระโยคีบุคคลอบรมอยู่ เจริญอยู่ ฉะนั้น

ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า ภาวนา, ภาวนาคือสมาธิ ชื่อว่า สมาธิภาวนา,

อีกอย่างหนึ่ง การอบรมการเจริญซึ่งสมาธิ ชื่อว่า สมาธิภาวนา. ห้าม

ภาวนาอื่นด้วยคำว่า สมาธิภาวนา. ญาณอันสำเร็จด้วยสมาธิภาวนา

ด้วยสามารถแห่งอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิดุจในก่อน.

๔. อรรถกถาธัมมัฏฐิติญาณุทเทส

ว่าด้วย ธรรมฐิติญาณ

ชื่อว่าปัจจัย ในคำนี้ว่า ปจฺจยปริคฺคเห ปญฺา มีวจนัตถะ

ว่า ผลย่อมอาศัยธรรมนั้นเกิด ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า ปัจจัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

คำว่า ปฏิจฺจ ได้แก่ ไม่เว้นจากธรรมที่เป็นปัจจัยนั้น อธิบาย

ว่า ไม่บอกคืน. บทว่า เอติ ความว่า ย่อมเกิดขึ้นด้วย ย่อมเป็นไป

ด้วย. อีกอย่างหนึ่ง มีความว่าอุปการะ มีอรรถว่าเป็นแดนเกิด, ปัญญา

ในการกำหนดคือกำหนดได้ซึ่งปัจจัยทั้งหลาย เพราะปัจจัยนั้นมีมาก

อย่าง ชื่อว่า ปจฺจยปริคฺคเห ปญฺา แปลว่า ปัญญาเป็นเครื่อง

กำหนดปัจจัย.

ธมฺมศัพท์ ในบทว่า ธมฺมฏฺิติาณ นี้ ย่อมปรากฏใน

อรรถว่า สภาวะ, ปัญญา, บุญ, บัญญัติ, อาบัติ, ปริยัติ, นิสสัตตตา,

วิการ, คุณ, ปัจจัย, ปัจจยุปบันเป็นต้น.

ก็ ธมฺมศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่าสภาวะ ได้ในติกะว่า

กุสลา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล, อกุสลา ธมฺมา

สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล, อพฺยากตา ธมฺมา สภาวธรรม

ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตะ.

ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปัญญา ได้ในคำเป็นต้นว่า

บุคคลใดผู้อยู่ครองเรือนประกอบด้วย

สัทธา มีธรรม ๔ ประการเหล่านี้ คือ สัจจะ,

๑. อภิ.ส. ๓๔/๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

ธรรมะ, ธิติ, และจาคะ บุคคลนั้นแล ละโลกนี้

ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ดังนี้.

ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า บุญ ได้ในคำเป็นต้นว่า

ธรรมและอธรรมทั้ง ๒ นี้ มีผลเสมอกัน

หามิได้เลย อธรรมย่อมนำไปนรก ธรรมย่อมให้ถึง

สุคติ ดังนี้.

ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า บัญญัติ ได้ในคำเป็นต้นว่า

บัญญัติธรรม, นิรุตติธรรม, อธิวจนธรรม ดังนี้.

ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า อาบัติ ได้ในคำเป็นต้นว่า

ธรรมคือปราชิก, ธรรมคือสังฆาทิเสส ดังนี้.

ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปริยัติ ได้ในคำเป็นต้นว่า

ภิกษุในธรรมวินัย ย่อมเรียนธรรมคือสุตตะ, เคยยะ เวยยา-

กรณะดังนี้.

ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า นิสสัตตตา-ความไม่มีสัตว์ ได้ใน

คำเป็นต้นว่า

ก็สมัยนั้นแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมมี,และในคำเป็นต้นว่า

พระโยคีบุคคล ตามพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่ ดังนี้.

๑. ส.ส. ๑๕/๘๔๕. ๒. ขุ.เถร. ๒๖/๓๓๒. ๓. อภิ.ส. ๓๔/๑๕.

๔. วิ.มหาวิภงฺค. ๑/๓๐๐. ๕. องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๗๓. ๖. อภิ.ส. ๓๔/๑๕.

๗. ที.มหา. ๑๐/๒๗๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า วิการ - ธรรมชาติที่ผันแปร ได้ใน

คำเป็นต้นว่า

ชาติธรรม ชราธรรม มรณธรรม ดังนี้.

ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า คุณ ได้ในคำเป็นต้นว่า

พุทธธรรม ๖ ... ดังนี้.

ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า ปัจจัย ได้ในคำเป็นต้นว่า

ความรู้แตกฉานในเหตุ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ดังนี้.

ธมฺมศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า ปัจจยุปบัน ได้ในคำเป็นต้นว่า

ธาตุนั้น ตั้งอยู่แล ชื่อว่า ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม ดังนี้.

ธมฺมศัพท์นี้นั้น พึงเห็นว่าลงในอรรถว่า ปัจจยุปบัน แปลว่า ธรรม

ที่เกิดแต่ปัจจัย. โดยอรรถท่านเรียกว่าธรรมะ เพราะทรงไว้ซึ่งสภาวะ

ของตน, หรือ อันปัจจัยทรงไว้, หรือ ย่อมทรงไว้ซึ่งผลของตน.

หรือ ผู้ใดบำเพ็ญธรรมให้บริบูรณ์ก็ทรงผู้นั้นไว้ ไม่ให้ตกไปในอบาย

ทั้งหลาย, หรือทรงไว้ในลักษณะของตน ๆ. หรือว่าย่อมตั้งลงไว้ได้

ด้วยจิต, ตามสมควร. แต่ในที่นี้ ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า อัน

ปัจจัยทั้งหลายของตน ทรงไว้, ธรรมทั้งหลายอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ย่อม

ตั้งขึ้น คือ ย่อมเกิดขึ้นด้วย ย่อมเป็นไปด้วยธรรมชาติใด ฉะนั้น

๑. องฺ.ทสก. ๒๔/๑๐๗. ๒. ขุ.มหา. ๒๙/๒๓๑. ๓. อภิ.วิ. ๓๕๑๗๗๙.

๔. ส.นิ. ๑๖/๖๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า ธรรมฐิติ. คำนี้เป็นชื่อของปัจจัยธรรมทั้งหลาย,

ญาณในธรรมฐิตินั้น ชื่อว่า ธัมมัฏฐิติญาณ.

ก็ ธัมมัฏฐิติญาณนี้ มีปริยายแห่งการกำหนดปัจจัยแห่งนามรูป

ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคีบุคคลผู้ปรารภความเพียร

เพื่อยถาภูตญาณทัสสนะ ด้วยจิตอันตั้งมั่นด้วยสมาธิตามที่กล่าวไว้ใน

สมาธิภาวนามยญาณแล้วกำหนดนามรูป.

หากจะมีปุจฉาว่า ญาณนี้ ทำไมท่านไม่กล่าวว่า นามรูป

ววัตถามญาณ อย่างเดียว แต่กลับกล่าวว่า ธัมมัฏฐิติญาณ

เล่า ? ก็มีวิสัชนาว่า เพราะการกำหนดธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ล้วน

สำเร็จด้วยการกำหนดปัจจัยอย่างเดียว. เพราะว่าธรรมที่อาศัยปัจจัย

เกิดขึ้น อันพระโยคีบุคคลไม่ได้กำหนดแล้ว ก็ไม่สามารถจะทำการ

กำหนดปัจจัยได้. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า นามรูปววัตถานญาณ

อันเป็นเหตุแห่งปัจจยปริคคหญาณนั้น สำเร็จแล้วในก่อน ก็ยอมเป็น

ญาณอันท่านกล่าวแล้วด้วย ศัพท์ว่า ธัมมัฏฐิติญาณ นั่นแล.

หากจะมีคำถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจะไม่กล่าว สมาทหิตฺวา

ปจฺจยปริคฺคเห ปญฺา แปลว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เพราะมี

จิตตั้งมั่น เหมือนญาณที่ ๑ และญาณที่ ๒ เล่า ? ตอบว่า เพราะ

สมถะและวิปัสสนาเป็นธรรมคู่กัน.

สมจริงดังคาถาประพันธ์อันโบราณาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

หากว่าพระโยคีบุคคลมีจิตตั้งมั่นย่อมเห็น

แจ้งได้โดยประการใดไซร้, และหากพระโยคี

บุคคลเมื่อเห็นแจ้งอยู่ ย่อมมีจิตตั้งมั่นได้โดย

ประการนั้น, ในกาลนั้น วิปัสสนา และสมถะ

เป็นธรรมมีส่วนเสมอกัน เป็นธรรมคู่กันเป็นไป.

เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า ปจฺจยปริคฺคเห

ปญฺา ธมฺมฏฺิติาณ แปลว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย

เป็นธัมมัฏฐิติญาณดังนี้ไว้ ก็เพื่อจะให้รู้ว่า ตราบใดที่อริยมรรคยังไม่

ละสมาธิทำสมาธิกับปัญญาให้เป็นธรรมคู่กัน, พระโยคีบุคคลก็จำต้อง

ขวนขวายอยู่ตราบนั้น.

๕. อรรถกถาสัมมสนญาณุทเทส

ว่าด้วย สัมมสนญาณ

ชื่อว่า อดีต เพราะอรรถว่า ถึงแล้ว ถึงยิ่งแล้ว ก้าวล่วงแล้ว

ซึ่งสภาวะของตนหรือ ขณะมีอุปปาทขณะเป็นต้น, ชื่อว่า อนาคต

เพราะอรรถว่า ไม่ถึงแล้ว ไม่ถึงพร้อมแล้ว แม้ซึ่งสภาวะของตนและ

ขณะมีอุปาทขณะเป็นต้นทั้ง ๒ นั้น, ชื่อว่า ปัจจุบัน เพราะอรรถว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

บรรลุแล้ว ถึงแล้ว เป็นไปแล้วเพราะอาศัยเหตุนั้น ๆ จนล่วงขณะมี

อุปาทขณะเป็นต้น ในคำนี้ว่า อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนาน ธมฺมาน

สงฺขิปิตฺวา ววตฺถาเน ปญฺา. ในกาล ในขณะสืบต่อและในปัจจุบัน

ในที่นี้ประสงค์เอาปัจจุบันสันตติ คือปัจจุบันที่กำลังสืบต่อ. ปัญญา

ในการรวบรวมเอาธรรม คือขันธ์ ๕ ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน

เหล่านั้นเข้าไว้ในขันธ์หนึ่ง ๆ แล้วทำให้เป็นกองด้วยสามารถกลาปะ

คือหมวดหมู่แล้ว กำหนด วินิจฉัย ตัดสินได้.

ญาณคือปัญญาในการถูกต้อง เลือกเฟ้น เพ่งพินิจด้วยดี อธิบาย

ว่า ญาณในการพิจารณาในเบญจขันธ์โดยความเป็นหมวดหมู่ (กลาปะ)

ชื่อว่า สมฺมสเน าณ แปลว่า ญาณในการพิจารณาเบญจขันธ์.

จริงอยู่ กลาปสัมมสนญาณนี้ ย่อมเกิดแก่พระโยคีบุคคลผู้ได้

ธัมมัฏฐิติญาณเป็นเครื่องกำหนดปัจจัยของนามรูป ในลำดับแห่งนาม-

รูปววัตถานญาณ ยกแต่ละขันธ์ ๆ ที่กำหนดไว้แล้วในก่อนขึ้นสู่พระ-

ไตรลักษณ์แล้วเห็นแจ้งอยู่ โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาตามที่กล่าวแล้ว โดยนัยแห่งพระบาลี

เป็นต้นว่า

พระโยคีบุคคลกำหนดรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต

อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม

ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

ก็ตาม โดยความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณประการ

หนึ่ง, กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้. เป็นสัมมสนญาณ

ประการหนึ่ง, กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้ก็เป็นสัมม-

สนญาณประการหนึ่ง.

๖. อรรถกถาอุทยัพพยานุปัสสนาญาณุทเทส

ว่าด้วย อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ

คำว่า ปจฺจุปฺปนฺนาน ธมฺมาน วิปริณามานุปสฺสเน ปญฺา

ความว่า ปัญญาในการเห็นความแปรไป คือความดับไปแห่งธรรมคือ

เบญจขันธ์ ในภายในที่เป็นปัจจุบันด้วยอำนาจสันตติ. จิตแม้กำหนด

ความเกิดขึ้นว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ครั้นเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมดับไป

ดังนี้ ก็ชื่อว่าตั้งอยู่ในความแตกดับไปเหมือนกัน, เพราะฉะนั้น พึง

ทราบว่า การเกิดขึ้นแม้ไม่ได้กล่าวไว้แล้วก็เป็นอันกล่าวไว้เหมือนกัน.

อีกอย่างหนึ่ง การเกิดขึ้นแห่งปัจจุบันธรรมทั้งหลาย ย่อมเป็นอันกล่าว

แล้วด้วยทัสนะ เพราะสำเร็จการเห็นความเกิดขึ้น.

๑. ขุ.ป. ๓๑/๙๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

จริงอยู่ เว้นอุทยะคือการเกิดขึ้นเสีย ความเกิดขึ้นแห่งธรรม

ทั้งหลาย ก็ย่อมไม่สำเร็จ, เพราะฉะนั้น แม้เมื่อไม่กล่าวว่า ปัญญา

ในการตามเห็นความเกิดขึ้นและความแปรไปแห่งปัจจุบันธรรมทั้งหลาย

ก็พึงทราบว่า เป็นอันกล่าวแล้วเหมือนกัน.

อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ย่อมเกิดแก่พระโยคีบุคคลผู้บรรลุ

สัมมสนญาณ ตามที่กล่าวแล้วในลำดับว่า ก็การเห็นความเกิดขึ้น

ย่อมสำเร็จเพราะคำนั้นกำหนดตามพระบาลีว่า อุทยพฺพยานุปสฺสเน

าณ แปลว่า ปัญญาในการตามเห็นการเกิดและความดับไป ดังนี้

แล้ว ก็กำหนดการเกิดขึ้นและความดับไปในสังขารธรรมที่กำลังปรากฏ

ในสัมมสนญาณนั่นเอง แล้วปรารภอุทยัพพยานุปัสสนาเพื่อทำการ

กำหนดสังขารธรรมทั้งหลาย. เพราะว่าญาณนั้น ท่านเรียกว่า อุทยัพ-

พยานุปัสสนา เพราะตามเห็นความเกิดและความดับ.

๗. อรรถกถาวิปัสสนาญาณุทเทส

ว่าด้วย วิปัสสนาญาณ

คำว่า อารมฺมณ ปฏิสงฺขา ความว่า รู้ เห็น อารมณ์มี

รูปขันธ์เป็นต้น เพราะพิจารณาโดยความเป็นภังคะ คือแตกดับไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

คำว่า ภงฺคานุปสฺสเน ปญฺา วิปสฺสเน าณ ความว่า

ปัญญาใดรู้ในการตามเห็น ความดับ แห่งญาณที่เกิดขึ้นแล้วเพราะ

พิจารณาอารมณ์ของญาณนั้นโดยความเป็นภังคะ คือแตกดับไป, ญาณ

นั้น ท่านกล่าวว่า วิปสฺสเน าณ แปลว่า ญาณในวิปัสสนา.

บทว่า วิปสฺสนา ได้แก่ เห็น เห็นแจ้ง โดยประการต่าง ๆ.

ปาฐะว่า อารมฺมณปฏิสงฺขา ดังนี้ก็มี.

เนื้อความแห่งวิปัสสนาญาณนั้นดังต่อไปนี้

คำว่า ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความ

แตกดับไป เป็นวิปัสสนาญาณ ท่านกล่าวไว้แล้วเพราะพิจารณา

อารมณ์โดยนัยตามที่กล่าวแล้วว่า การพิจารณา การรู้ การเห็นซึ่ง

อารมณ์. ก็วิปัสสนาย่อมถึงยอดแห่งภังคานุปัสนานั่นแหละ เพราะ

ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้เป็นพิเศษว่า วิปสฺสเน าณ แปลว่า

ญาณในวิปัสสนา.

มัคคามัคคญาณทัสนะ ย่อมเกิดแก่พระโยคีบุคคลผู้ได้อุทยัพ-

พยานุปัสสนาญาณ, เพราะฉะนั้น เมื่ออุทยัพพยานุปัสสนาสำเร็จแล้ว

มัคคามัคคญาณทัสนะนั้น ก็ย่อมสำเร็จด้วย คำนั้นท่านมิได้กล่าวไว้เลย

พึงทราบว่า ญาณมีวิปัสสนาเป็นยอด ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยภังคานุ-

ปัสสนาญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

เมื่อสังขารทั้งหลายอันพระโยคีบุคคลผู้กำหนดซึ่งอุทยัพพยะ

อันตนเห็นแจ้งแล้วด้วยอุทยัพพยานุปัสสนาแล้ว ก็ปรากฏขึ้นโดยพลัน

ทีเดียว เมื่อญาณแก่กล้าอยู่ สติก็ละอุทยะความเกิด แล้วตั้งอยู่ในภังคะ

ความดับอย่างเดียว, ภังคานุปัสสนาญาณ ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะนี้

แก่พระโยคีบุคคลนั้น ผู้เห็นอยู่ว่า ธรรมดาสังขารธรรมทั้งหลาย

เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ก็ย่อมดับไปอย่างนี้

๘. อรรถกถาอาทีนวญาณุทเทส

ว่าด้วย อาทีนวญาณ

คำว่า ภยตูปฏฺเน ปญฺา มีความว่า ปัญญาในการปรากฏ

ขึ้นแห่งอุปปาทะความเกิด ปวัตตะความเป็นไป นิมิตเครื่องหมาย อายู-

หนาการประมวลมา และปฏิสนธิการเกิดในภพใหม่ โดยความเป็นภัย

คือในการเข้าไปยึดถือว่ามีภัยปรากฏอยู่เฉพาะหน้า โดยการประกอบ

ด้วยความเบียดเบียนอยู่เนือง ๆ. ย่อมปรากฏโดยความเป็นภัย ฉะนั้น

จึงชื่อว่า ภยตูปัฏฐาน คืออารมณ์. ปัญญา ในภยตูปัฏฐานนั้น. อีก

อย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภยตูปัฏฐาน คือปัญญา เพราะอรรถว่า ปรากฏ

โดยความเป็นภัย คำนั้นย่อมเป็นคำอธิบาย อันท่านกล่าวแล้วว่า ภยตู-

ปัฏฐาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

คำว่า อาทีนเว าณ เป็นภุมมวจนะ คือสัตตมีวิภัตติ.

เพราะพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้กล่าวไว้ว่า

ธรรมเหล่านั้น คือ ปัญญาในความปรากฏ

โดยความเป็นภัย ๑, อาทีนวญาณ ๑, นิพพิทา-

ญาณ ๑, มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญ-

ชนะเท่านั้น.

แม้จะกล่าวเพียงคำเดียว ( ญาณเดียว ) ก็ย่อมเป็นอันกล่าว

ทั้ง ๓ โดยประเภทแห่งการกำหนด ดุจมุญจิตุกัมยตาญาณเป็นต้น

ฉะนั้น แม้ไม่กล่าวว่า เมื่อภยตูปัฏฐานและอาทีนวานุปัสสนา สำเร็จ

แล้ว นิพพิทานุปัสสนา ก็ย่อมสำเร็จ ดังนี้ ก็พึงทราบว่า เป็น

อันกล่าวแล้วทีเดียว.

สังขารทั้งหลาย อันจำแนกไว้ในภพ ๓, กำเนิด ๔, คติ ๕,

วิญญาณฐิติ ๗, และสัตตาวาส ๙ ย่อมปรากฏเป็นมหาภัยแก่พระโยคี

บุคคลผู้เสพอยู่ เจริญอยู่ กระทำให้มากอยู่ซึ่งภังคานุปัสสนามีความ

ดับไปแห่งสังขารทั้งปวงเป็นอารมณ์ เหมือนอย่างสีหะ, เสือโคร่ง,

เสือเหลือง, หมี, เสือดาว, ยักษ์, รากษส, โคดุ, สุนัขดุ, ช้าง

ซับมันดุ, งูดุ, ฟ้าผ่า, ป่าช้า, สมรภูมิ, หลุมถ่านเพลิงที่คุกรุ่นเป็นต้น

๑. ขุ.ป. ๓๑/๕๐๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

ย่อมปรากฏเป็นภัยใหญ่แก่บุรุษผู้กลัวภัยใคร่มีชีวิตอยู่เป็นสุข, ภยตู-

ปัฏฐานญาณ ย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะนี้ แก่พระโยคีบุคคลผู้เห็นอยู่ว่า

สังขารทั้งหลายในอดีตก็ดับไปแล้ว, ในปัจจุบันก็กำลังดับ, ถึงแม้ใน

อนาคตก็จักดับไปอย่างนี้เหมือนกัน

ในภพ, กำเนิด, คติ, ฐิติ, และสัตตาวาสทั่วทุกแห่งหน ที่

ต้านทาน ที่ซ่อนเร้น ที่ไป ที่พึ่ง ย่อมไม่ปรากฏเลยแก่พระโยคีบุคคล

ผู้เสพอยู่เจริญอยู่กระทำให้มากอยู่ ซึ่งภยตูปัฏฐานญาณนั้น, ความ

ปรารถนาก็ดี ความถือมั่นก็ดี ย่อมไม่มีในสังขารทั้งหลายอันมีใน ภพ,

กำเนิด, คติ, ฐิติ, นิวาสะ แม้สักสังขารเดียว, ภพทั้ง ๓ ปรากฏ

ดุจหลุมถ่านเพลิงที่เต็มด้วยถ่านเพลิงไม่มีเปลว, มหาภูตรูป ๔ ปรากฏ

ดุจอสรพิษที่มีพิษร้าย, ขันธ์ ๕ ปรากฏดุจเพชฌฆาตที่กำลังเงื้อดาบ,

อัชฌัตติกายตนะ ๖ ปรากฏดุจเรือนว่างเปล่า, พาหิรายตนะ ๖ ปรากฏ

ดุจโจรปล้นชาวบ้าน, วิญญาณฐิติ ๗ และสัตตาวาส ๙ ปรากฏดุจถูก

ไฟ ๑๑ กองลุกเผาอยู่โชติช่วง, สังขารทั้งหลายทั้งปวงปรากฏแก่ผู้นั้น

เหมือนเป็นฝี, เป็นโรค, เป็นลูกศร, เป็นไข้, เป็นอาพาธ, ปราศจาก

ความแช่มชื่น, หมดรส, เป็นกองแห่งโทษใหญ่ เป็นเหมือนป่าชัฏที่มี

สัตว์ร้าย แม้จะตั้งขึ้นโดยอาการที่น่ารื่นรมย์แก่บุรุษผู้กลัวภัยใคร่จะมี

ชีวิตอยู่เป็นสุข เป็นเหมือนถ้ำที่มีภูเขาไฟพ่นอยู่, เป็นเหมือนสระน้ำ

ที่มีรากษสสิงสถิตอยู่ เป็นเหมือนข้าศึกที่กำลังเงื้อดาบขึ้น. เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

เหมือนโภชนะที่เจือด้วยยาพิษ, เป็นเหมือนหนทางที่เต็มไปด้วยโจร,

เป็นเหมือนเรือนที่ไฟติดทั่วแล้ว, เป็นเหมือนสนามรบที่เหล่าทหาร

กำลังต่อยุทธกัน.

เหมือนอย่างว่า บุรุษนั้น อาศัยภัยมีป่าชัฏที่เต็มไปด้วยสัตว์

ร้ายเป็นต้นเหล่านี้ กลัวแล้ว ตกใจแล้ว ขนลุกชูชัน ย่อมเห็นโทษ

อย่างเดียวรอบด้าน ฉันใด, พระโยคาวจรนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ครั้นเมื่อสังขารทั้งปวงปรากฏแล้วโดยความเป็นภัยด้วยอำนาจภังคานุ-

ปัสสนา ก็ย่อมเห็นแต่โทษอย่างเดียวปราศจากรสหมดความแช่มชื่น

อยู่รอบด้าน. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคีบุคคลนั้น

ผู้เห็นอยู่อย่างนี้.

พระโยคีบุคคลนั้น เมื่อเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นโทษ

อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย กระวนกระวาย ไม่ยินดี ในสังขารทั้งหลาย

อันมีประเภทในภพ, กำเนิด, คติ, วิญญาณฐิติ, และสัตตาวาสทั้งปวง.

เหมือนอย่างว่าพญาหงส์ทองผู้ยินดีเฉพาะเชิงเขาจิตรกูฏ ย่อมไม่ยินดี

บ่อน้ำแถบประตูบ้านคนจัณฑาลซึ่งไม่สะอาด, ย่อมยินดีเฉพาะสระใหญ่

ทั้ง ๗ เท่านั้น ฉันใด, พญาหงส์คือพระโยคีนี้ ย่อมไม่ยินดีสังขาร

อันมีประเภทต่าง ๆ ล้วนแล้วด้วยโทษอันตนเห็นแจ่มแจ้งแล้ว, แต่

ย่อมยินดียิ่งในอนุปัสสนา ๗ เท่านั้น เพราะยินดีในภาวนา คือเพราะ

ประกอบด้วยความยินดีในภาวนาก็ฉันนั้นเหมือนกัน. แสะเหมือนสีหะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

มิคราชา ถูกจับขังไว้ แม้ในกรงทองก็ไม่ยินดี, แต่ย่อมยินดีใน

หิมวันตประเทศอันกว้างใหญ่ถึง ๓,๐๐๐ โยชน์ ฉันใด, สีหะคือพระ-

โยคีบุคคลแม้นี้ ย่อมไม่ยินดีแม้ในสุคติภพทั้ง ๓ แต่ย่อมยินดีในอนุ-

ปัสสนา ๓ เท่านั้น

อนึ่ง เหมือนพญาช้างฉัททันต์ เผือกผ่องทั้งตัวมีที่ตั้งดี ๗ สถาน

มีฤทธิ เหาะไปในเวหาส ย่อมไม่ยินดีในใจกลางพระนคร, แต่ย่อม

ยินดีในสระใหญ่ชื่อฉัททันต์เท่านั้น ฉันใด, พระโยคีบุคคลเพียงดัง

ช้างตัวประเสริฐนี้ ย่อมไม่ยินดีในสังขารธรรมแม้ทั้งปวง, แต่ย่อมยินดี

ในสันติบทคือพระนิพพานเท่านั้น อันเท่าแสดงแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า

การไม่เกิดขึ้น เป็นการปลอดภัย, มีใจน้อยไปโน้มไปเงื้อมไปใน

สันติบทคือพระนิพพานนั้น. นิพพิทานุปัสสนาญาณย่อมเป็นอันเกิดขึ้น

แล้วแก่พระโยคีนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

๙. อรรถกถาสังขารุเปกขาญาณุทเทส

ว่าด้วย สังขารุเปกขาณาณ

คำว่า มุญฺจิตุกมฺยตาปฏิสงฺขาสนฺติฏฺนา ปญฺา สงฺขารุ-

เปกฺขาสุ าณ ความว่า พระโยคีบุคคลใด มีความประสงค์คือ

๑. ขุ.ป. ๓๑/๑๑๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

ปรารถนาเพื่อจะพ้นเพื่อจะสละ ฉะนั้น พระโยคีบุคคลนั้น จึงชื่อว่า

มุญฺจิตุกมฺโย แปลว่า ผู้ใคร่จะพ้น, ความเป็นผู้ใคร่จะพ้น ชื่อว่า

มุญฺจิตุกมฺยตา,

ปัญญาใด ย่อมพิจารณา ย่อมใคร่ครวญ ฉะนั้น ปัญญานั้น

จึงชื่อว่า ปฏิสงฺขา, อีกอย่างหนึ่ง การไตร่ตรอง ชื่อว่า ปฏิสงฺขา,

ปัญญาใด ย่อมตกลง ย่อมวางเฉยเสียได้ ฉะนั้น ปัญญานั้น

ชื่อว่า สนฺติฏฺนา แปลว่า วางเฉย, อีกอย่างหนึ่ง ๆ การวางเฉย

ชื่อว่า สนฺติฏฺนา,

ปัญญาชื่อว่า มุญฺจิตุกมฺยตานั้นด้วย ปฏิสงฺขาด้วย สนฺติฏฺ-

นาด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า มุญิจิตุกมฺยตาปฏิสงฺขาสนฺติฏฺนา

แปลว่า ความใคร่จะพ้น, การพิจารณา, และการวางเฉย.

ความเป็นผู้ใคร่จะสลัดเสียซึ่งความเกิดเป็นต้น ของพระโยคี

บุคคลผู้เบื่อหน่ายด้วยนิพพิทาญาณ ในเบื้องต้น ชื่อมุญจิตุกัมยตา,

การใคร่ครวญสังขารทั้งหลายที่พิจารณาแล้ว เพื่อทำอุบายแห่ง

การละในท่ามกลาง ชื่อปฏิสังขา,

การปล่อยวาง แล้ววางเฉยได้ในที่สุด ชื่อสันติฏฐนา.

ปัญญา ๓ ประการโดยประเภทแห่งการกำหนดอย่างนี้ ชื่อว่า

ความรู้ในการพิจารณาสังขารทั้งหลาย. ก็พระโยคีบุคคลผู้ปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

ความเข้าไปวางเฉยในสังขาร ด้วยปัญญาแม้ทั้ง ๓ ต่างด้วยประเภท

การกำหนดกล่าวคือ

๑. มุญจิตุกัมยตา ปรารถนาจะพ้นการเกิดเป็นต้น

๒. ปฏิสังขา พิจารณาสังขารทั้งหลาย

๓. สันติฏฐนา วางเฉยในสังขารทั้งหลาย

คำว่า ปญฺา และคำว่า สงฺขารุเปกฺขาสุ ท่านทำเป็น

พหุวจนะไว้, คำว่า าณ พึงทราบว่า ท่านทำไว้เป็นเอกวจนะ

เพราะแม้จะต่างกันโดยประเภทแห่งการกำหนดก็เป็นอย่างเดียวกัน.

สมจริงดังคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ธรรม

เหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตา, ปฏิสังขานุปัสสนา และปฏิสังขารุเปกขา

มีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น. แต่อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า คำว่า สงฺขารุเปกฺขาสุ นี้ เป็นพหุวจนะ เพราะ

สังขารุเปกขาเป็นของมากด้วยสามารถแห่งสมถะและวิปัสสนา ดังนี้

ก็มี. ก็คำว่า สงฺขารุเปกฺขาสุ ในการเพ่งสังขารทั้งหลาย พึงทราบ

ว่า เพ่งการกระทำ.

แต่จิตของพระโยคีบุคคลผู้เบื่อหน่ายอยู่ ระย่ออยู่ด้วยนิพพิทา-

ญาณนั้นด้วยประเภทแห่งการกำหนด ย่อมไม่ติด ย่อมไม่ข้อง ย่อม

๑. ขุ.ป. ๓๑/๕๐๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

ไม่เกี่ยวอยู่ในสังขารทั้งหลายทุกประเภท อันอยู่ในภพ, กำเนิด, คติ,

วิญญาณฐิติ, และสัตตาวาสทั้งปวง, จิตนั้นก็ใคร่ที่จะพ้น ใคร่ที่จะ

สลัดทิ้งสัพพสังขารทั้งหมด.

อีกอย่างหนึ่ง เสมือนปลาที่ติดอยู่ในข่าย, กบที่อยู่ในปากงู,

ไก่ป่าที่ถูกขังอยู่ในกรง, มฤคที่ติดบ่วงแน่น, งูที่อยู่ในกำมือของหมองู,

ช่างที่แล่นไปตกหล่มใหญ่. นาคราชอยู่ในปากของครุฑ, พระจันทร์

ที่เข้าไปอยู่ในปากของราหู, บุรุษถูกศัตรูล้อมไว้ เหล่านี้เป็นต้น ล้วน

เป็นผู้ใคร่เพื่อจะพ้นเพื่อจะหลุดรอดไปจากพันธนาการนั้น ๆ ด้วยกันทั้ง

สิ้น ฉันใด, จิตของพระโยคีบุคคลนั้น. ย่อมใคร่ที่จะพ้น ใคร่ที่จะ

หลุดรอดจากสังขารทั้งปวง ก็ฉันนั้น. ก็เมื่อกล่าวอยู่อย่างนี้ พระปาฐะ

ว่า มุญฺจิตุกามสฺส มุญฺจิตุกมฺยตา แปลว่า ความใคร่ที่จะพ้น

ของพระโยคีบุคคลผู้ใคร่จะพ้น ก็ย่อมถูกต้อง. เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็

พึงกล่าวได้ว่า ในบทว่า อุปฺปาท มุญฺจิตุกมฺยตา เป็นต้น ก็

ควรเป็น อุปฺปาทา มุญฺจิตุกมฺยตา เป็นต้น, เพราะฉะนั้น

เนื้อความก่อนนั่นแหละดีกว่า.

ก็แล มุญจิตุกัมยตาญาณ ย่อมเกิดแก่พระโยคีบุคคลนั้นผู้ทอด

อาลัยในสังขารทั้งปวง ผู้ใคร่จะพ้นจากสังขารทั้งปวง. พระโยคีบุคคล

เป็นผู้ใคร่จะพ้นสังขารทุกประเภทบรรดามี ในภพกำเนิดคติวิญญาณฐิติ

และสัตตาวาสทั้งปวง จึงยกสังขารเหล่านั้นขึ้นสู่พระไตรลักษณ์อีก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

เพื่อจะทำอุบายแห่งการพ้นให้สำเร็จ แล้วจึงเห็นแจ้งด้วยปฏิสังขานุ-

ปัสสนาญาณ.

ก็เมื่อพระโยคีบุคคลนั้นเห็นแจ้งอยู่อย่างนี้แล ปฏิสังขาญาณ

เป็นนิมิตด้วยอนิจลักษณะ ย่อมเกิดขึ้น, ปฏิสังขาญาณอันเป็นไป

ด้วยทุกขลักษณะ ย่อมเกิดขึ้น, และปฏิสังขาญาณเป็นนิมิตและเป็น

ไปแล้วด้วยอนัตตลักษณะ ก็ย่อมเกิด.

พระโยคีบุคคลนั้นเห็นว่า สพฺเพ สงฺขารา สุญฺา แปลว่า

สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของว่าง ดังนี้แล้วจึงยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์

พิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ จึงละความกลัวและความยินดีเสียได้ก็ย่อม

วางเฉย มีตนเป็นกลางในสังขารทั้งหลาย ดุจบุรุษเห็นโทษของภริยา

แล้วทิ้งภริยาเสีย แล้ววางเฉย มีตนเป็นกลางในร่างกายของภริยานั้น,

พระโยคีบุคคลนั้น ย่อมไม่ถืออหังการว่า เรา หรือ มมังการว่า

ของเรา.

จิตของพระโยคีบุคคลนั้น เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้ ก็ย่อม

หลีกออก ถอยกลับ หมุนกลับ ไม่ยินดีในภพทั้ง ๓. เหมือนใบบัว

โอนไปหน่อยหนึ่ง หยาดน้ำทั้งหลายย่อมไหลไป ถอยกลับ หมุนกลับ

ไม่ไหลลื่นไป, หรือเหมือนขนไก่หรือเอ็นและหนัง ที่เขาใส่ในไฟ

ย่อมหลีกออก งอกลับ ม้วนกลับ ไม่คลี่ออกแม้ฉันใด; จิตของพระ-

โยคีบุคคลนั้น ย่อมหลบหลีก ถอยกลับ หมุนกลับ ไม่ยินดีในภพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

ทั้ง ๓ ฉันนั้น, อุเบกขา ความวางเฉย ก็ย่อมตั้งขึ้น. สังขารุเปกขา-

ญาณ ย่อมเป็นอันเกิดขึ้นแล้วแก่พระโยคีบุคคลนั้นด้วยประการฉะนี้.

อนุโลมญาณกับสังขารุเปกขาญาณนี้ เป็นเหตุให้สำเร็จโคตร-

ภูญาณในเบื้องบน แม้จะมิได้กล่าวไว้ด้วยญาณต้นและญาณหลัง ก็พึง

ทราบว่า ย่อมเป็นอันกล่าวไว้แล้วทีเดียว. สมจริงดังพระดำรัสที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา

เห็นสังขารไร ๆ โดยความเป็นของเที่ยง จักเป็นผู้

ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมไม่เป็น

ฐานะที่จะมีได้, ไม่ประกอบด้วยขันติที่สมควร

จักก้าวลงสู่ความเป็นแห่งความเห็นชอบและความ

แน่นอน ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้, เมื่อ

ไม่ก้าวลงสู่ความเป็นแห่งความเห็นชอบและความ

แน่นอน จักกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล, สก-

ทาคามิผล, อนาคามิผล หรือ อรหัตผล ข้อนั้น

ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดังนี้เป็นต้น.

๑. องฺ.ฉกก. ๒๒/๓๖๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

และพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้กล่าวคำเป็นต้นว่า

ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร, ย่อมก้าวลงสู่สัม-

มัตตนิยามด้วยอาการเท่าไร.

ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐, ย่อมก้าวลงสู่สัมมัตต-

นิยามด้วยอาการ ๔๐ ดังนี้.

และในปัฏฐานปกรณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดำเป็นต้นว่า

อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย อนุ-

โลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

จริงอยู่ เมื่อพระโยคีบุคคลนั้น เสพอยู่ เจริญอยู่ กระทำให้

มากอยู่ ซึ่งสังขารุเปกขาญาณนั้น อธิโมกขสัทธาก็ย่อมมีกำลังยิ่ง,

วิริยะก็ประคองไว้ได้ด้วยดี, สติก็ตั้งมั่น, จิตก็เป็นสมาธิ, สังขารุเปกขา-

ญาณ ก็ย่อมเป็นไปอย่างแก่กล้า.

จิตนั้น พิจารณาสังขารทั้งหลายว่า อนิจฺจา ไม่เที่ยง,

ทุกฺขา เป็นทุกข์, หรือ อนตฺตา ไม่ใช่ตัวตนด้วยสังขารุ-

เปกขาโดยหวังว่า "มรรคจักเกิดขึ้นในบัดนี้ดังนี้ แล้วก็ลงสู่ภวังค์.

๑. ขุ.ป. ๓๑/๗๓๕. ๒. อภิ.ป. ๔๐/๕๐๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

ต่อจากภวังค์ มโนทวาราวัชชนะก็เกิดขึ้นทำสังขารทั้งหลาย

โดยนัยที่สังขารุเปกขาทำแล้วนั้นแหละให้เป็นอารมณ์ว่า อนิจจา

ไม่เที่ยง, ทุกขา เป็นทุกข์ หรือ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน.

ต่อจากมโนทวาราวัชชนะนั้น ชวนจิตก็เกิดขึ้น ๒ ขณะ, ๓

ขณะ หรือ ๔ ขณะ รับเอาสังขารทั้งหลายทำให้เป็นอารมณ์ เหมือน

อย่างนั้นนั่นแล.

ญาณอันสัมปยุตกับชวนจิตนั้น ชื่อว่าอนุโลมญาณ.

จริงอยู่ อนุโลมญาณนั้น ย่อมอนุโลมตามวิปัสสนาญาณ ๘

ในเบื้องต้น เพราะเป็นกิจแห่งสัจญาณ, และอนุโลมตามโพธิปักขิย-

ธรรม ๓๗ อันเป็นธรรมที่จะพึงบรรลุในเบื้องหน้า.

เหมือนอย่างว่า ธรรมิกราชา ประทับนั่งบนบัลลังก์เป็นที่วินิจฉัย

ทรงสดับการวินิจฉัยของอำมาตย์ผู้ฉลาดในโวหาร ๘ คน แล้วทรงละ

อคติวางพระองค์เป็นกลาง อนุโมทนาว่า เป็นอย่างนั้นเถิด ย่อม

อนุโลมตามข้อวินิจฉัยของอำมาตย์ทั้ง ๘ คนเหล่านั้น, และอนุโลมตาม

โบราณราชธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

ในข้ออุปมานั้น อนุโลมญาณ เปรียบเหมือนพระราชา,

วิปัสสนาญาณ ๘ เปรียบเหมือนมหาอำมาตย์ผู้ฉลาดในโวหาร, โพธิ-

ปักขิยธรรม ๓๗ เปรียบเหมือนโบราณราชธรรม, พระราชาทรงอนุ-

โมทนาว่า เป็นอย่างนั้นเถิด ชื่อว่า ย่อมอนุโลมตามข้อวินิจฉัยของ

เหล่าอำมาตย์ผู้ฉลาดในโวหารด้วยตามราชธรรมด้วยฉันใด, อนุโลม-

ญาณนี้ก็ฉันเป็น ย่อมอนุโลมตามวิปัสสนาญาณ ๘ ที่เกิดขึ้นปรารภ

สังขารทั้งหลายด้วยสามารถแห่งพระไตรลักษณ์ มีอนิจลักษณะเป็นต้น

เพราะเป็นกิจแห่งสัจจะ และอนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

อันเป็นธรรมที่จะพึงบรรลุในเบื้องหน้า. เพราะฉะนั้นญาณนี้ท่านจึง

เรียกว่า อนุโลมญาณ ฉะนี้แล.

๑๐. อรรถกถาโคตรภูญาณุทเทส

ว่าด้วย โคตรภูญาณ

ในคำว่า พหิทฺธา วุฏฺานวิวฏฺฏเน ปญฺา โคตฺรภูาณ

แปลว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอกเป็น

โคตรภูญาณ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า พหิทฺธา ได้แก่สังขารนิมิต. เพราะว่า สังขารนิมิตนั้น

ท่านกล่าวว่า พหิทฺธา - ภายนอก เพราะอาศัยอกุศลขันธ์ในจิตสันดาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

ในภายใน. เพราะฉะนั้นโคตรภูญาณนั้นย่อมออก คือตั้งอยู่ในเบื้องบน

ปราศจากสังขารนิมิตภายนอก ฉะนั้นโคตรภูญาณนั้นจึงชื่อว่าวุฏฐานะ,

โคตรภูญาณนั้นย่อมหลีกออก ย่อมหมุนกลับ คือหันหลังให้ ฉะนั้น

โคตรภูญาณนั้นจึงชื่อว่าวิวัฏฏนะ วุฏฐานะนั้นด้วย วิวัฏฏนะนั้นด้วย

ฉะนั้นจึงชื่อว่าวุฏฐานวิวัฏฏนะ. เพราะเหตุนั้นท่านพุทธโฆสาจารย์

จึงกล่าวว่า

โคตรภูญาณ ยังไม่ออกจากปวัตตขันธ์

เพราะตัดสมุทัยยังไม่ขาด แต่ออกจากนิมิตได้

เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ฉะนั้นจึงชื่อว่า

เอกโตวุฏฐานะ คือออกจากสังขารนิมิตโดยส่วน

เดียว ดังนี้.

ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงำเสียได้ซึ่งโคตรปุถุชน และ

เพราะก้าวขึ้นสู่โคตรอริยะ. เพราะโคตรภูญาณนี้กระทำพระนิพพาน

ชื่อว่า อนิมิตตะ ไม่มีนิมิตให้เป็นอารมณ์ในที่สุดแห่งอาเสวนะแห่งอนุ-

โลมญาณขอจิตที่เหนื่อยหน่ายจากสังขารทั้งปวงดุจน้ำตกจากใบบัว, ก้าว

ล่วงเสียซึ่งโคตรปุถุชน ซึ่งอันนับว่าปุถุชน, ซึ่งภูมิแห่งปุถุชน, หยั่ง

ลงสู่โคตรแห่งอริยะ อันนับว่าอริยะ เป็นภูมิแห่งอริยะ, ยังความ

๑. ปัญญานิทเทส แห่งวิสุทธิมรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

เป็นปัจจัยให้สำเร็จแก่มรรคด้วยอำนาจปัจจัย ๖ คือ อนันตระ, สม-

นันตระ, อาเสวนะ, อุปนิสสยะ, นัตถิ, วิคตะ อันเป็นไปในครั้งแรก

ความเสพในครั้งแรก, อันประชุมพร้อมกันในครั้งแรกในอารมณ์คือ

นิพพาน, ถึงยอดเป็นศีรษะวิปัสสนา ย่อมเกิดขึ้นกระทำให้เป็นภาพ

ที่ให้หมุนกลับอีกไม่ได้.

๑๑. อรรถกถามัคคญาณุทเทส

ว่าด้วย มรรคญาณ

ในคำว่า ทุภโต วุฏฺานวิวฏฺฏเน ปญฺา มคฺเค าณ

แปลว่า ปัญญาในการออกและหลีกจากขันธ์และนิมิตทั้ง ๒ เป็น

มรรคญาณ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

คำว่า ทุภโต แปลว่าทั้ง ๒, อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าวอธิบายว่า

ทั้งคู่. มรรคญาณย่อมออกคือย่อมหมุนกลับจากกิเลสทั้งหลาย และ

ขันธ์อันเป็นไปตามกิเลสเหล่านั้น กับทั้งจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภาย

นอกจากการการทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ เพราะตัดกิเลสทั้งหลาย

ได้ขาดแล้ว ฉะนั้นจึงชื่อว่า ปัญญาในการออกและหลีกจากขันธ์และ

นิมิตทั้ง ๒.

เพราะเหตุนั้น พระพุทธโฆสาจารย์จึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

มรรคญาณแม้ทั้ง ๔ ออกจากนิมิต เพราะ

มีพระนิพพานอันไม่มีนิมิตเป็นอารมณ์, และย่อม

ออกจากปวัตตขันธ์ เพราะตัดสมุทัยได้ขาด ฉะนั้น

จึงชื่อว่า ทุภโตวุฏฐานะ คือออกโดยส่วนทั้งสอง

ดังนี้.

ธรรมชาติใดย่อมขวนขวาย ย่อมเพ่งเล็งพระนิพพาน, หรือ

พระโยคีบุคคลผู้ต้องการพระนิพพาน ย่อมขวนขวาย คือย่อมแสวงหา,

หรือว่าธรรมชาติใดยังกิเลสทั้งหลายให้ตายไป เป็นไปอยู่ ฉะนั้น

ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า มรรค, ญาณในมรรคนั้น ชื่อว่า มคฺเค าณ-

มรรคญาณ.

มรรคญาณท่านทำเป็นเอกวจนะโดยชาติศัพท์. ก็มรรคญาณนั้น

เกิดขึ้น ทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ต่อจากโคตรภูญาณ, ตัดกิเลส

อันจะพึงฆ่าได้เองโดยไม่มีส่วนเหลือ, เผาผลาญห้วงสมุทรคือทุกข์ใน

สังสารวัฏอันมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้วให้เหือด-

แห้งไป, ปิดประตูอบายทั้งปวงเสีย, การทำอริยทรัพย์ ๗ ให้ปรากฏอยู่

ต่อหน้า, ละมิจฉามรรคประกอบด้วยองค์ ๘, ทำเวรภัยทั้งปวงให้สงบ,

นำตนเข้าสู่ความเป็นบุตรผู้เกิดแต่พระอุระ แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

และได้อานิสงส์อื่น ๆ อีกหลายร้อยเท่า เหมือนคำที่กล่าวว่า

๑. ปัญญานิทเทส แห่งวิสุทธิมรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

บุรุษปรารถนาจะโดดข้ามแม้น้ำน้อยขึ้นไป

ยืนอยู่บนฝั่งโน้น จึงจับเชือกหรือท่อนไม้ ที่ติดอยู่

กับต้นไม้บนฝั่งนี้ แล้วโดดข้ามไปโดยเร็ว จนตัว

ไปตกอยู่บนฝั่งโน้น เมื่อตัวตกที่ฝั่งโน้นแล้วก็ละ

ความหวาดหวั่นนั้น ขึ้นอยู่บนฝั่งได้ฉันใด, พระ-

โยคีบุคคลผู้ปรารถนาจะข้ามพ้นกิเลสทั้งหลายเห็น

ภัยฝั่งนี้ล้วนแล้วด้วยสักกายทิฏฐิ แล้วยืนอยู่ที่ฝั่ง

คือพระนิพพานอันไม่มีภัย จึงจับเชือกคือรูปขันธ์

เป็นที่ยึดโดดมาโดยเร็วด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา

เป็นเบื้องแรก หรือจับไม้กล่าวคือนามขันธ์นั้นไว้

ด้วยดี กระโดดมาด้วยอาวัชชนจิตโดยนัยตามที่

กล่าวแล้วในก่อน โดดขึ้นด้วยอนุโลมญาณ แล้ว

โน้มไปในพระนิพพาน เข้าไปสู่ที่ใกล้แห่งพระ-

นิพพานนั้น ก็ปล่อยอารมณ์คือสังขารธรรมนั้นเสีย

ได้ด้วยโคตรภูญาณ แล้วตกลงที่ฝั่งอื่นคือพระนิพ-

พานอันเป็นอสังขตธรรม แต่นั้นก็ตั้งอยู่ด้วยมรรค-

ญาณ ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

นระผู้ใคร่จะดูพระจันทร์ ในเวลาที่พระ-

จันทร์ถูกเมฆหมอกบดบังไว้ ครั้นเมื่อเมฆหมอก

ถูกพายุพัดไปตามลำดับ จากหนาทึบเป็นบางและ

บางเข้าก็เห็นพระจันทร์ได้ฉันใด, โคตรภูญาณที่

กำลังเพ่งอมตนิพพานอยู่ เมื่อโมหะที่ปกปิดสัจจะ

ไว้ถูกทำลายให้พินาศไปด้วยอนุโลมญาณตามลำดับ

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อนุโลมญาณก็มิได้เห็นอมต-

นิพพาน เหมือนลมเหล่านั้นก็มิได้เห็นพระจันทร์

โคตรภูญาณก็บรรเทาความมืดไม่ได้ เหมือนบุรุษ

ก็บรรเทาเมฆหมอกไม่ได้ฉะนั้น. แต่มรรคญาณนี้

เป็นไปในพระนิพพาน มิได้ละสัญญาอันโคตรภู-

ญาณให้แล้ว จึงทำลายกองกิเลสมีกองโลภะเป็น

ต้นได้ เหมือนจักรยนต์ที่ใช้เป็นเป้ากำลังหมุนอยู่

นายขมังธนูยืนจ้องจะยิงอยู่แล้ว พอสัญญาอันคน

อื่นให้แล้ว ก็ยิ่งลูกศรไปทะลุแผ่นเป้าได้ตั้ง ๑๐๐

ฉะนั้น. มรรคญาณนั้นนั่นแลทำทะเลหลวงคือสัง-

สารทุกข์ให้เหือดแห้งไป ปิดประตูทุคติเสียได้

ทำคนที่มีหนี้คือกิเลสให้เป็นเสฏฐบุคคลผู้สมบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

ด้วยอริยทรัพย์ ละมิจฉามรรคเสียได้. ทำเวรและ

ภัยทั้งหลายให้สงบ, ทำตนให้เป็นลูกผู้เกิดแต่อก

แห่งพระพุทะเจ้าผู้เป็นนาถะของโลก, ญาณนี้ย่อม

ให้ซึ่งอานิสงส์อื่น อีกหลายร้อยอย่าง.

๑๒. อรรถกถาผลญาณุทเทส

ว่าด้วย ผลญาณ

ในคำว่า ปโยคปฺปฏิปฺปสฺสทฺธิปญฺา ผเล าณ แปลว่า

ปัญญาในการระงับปโยคะเป็นผลญาณ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า ปโยโค แปลว่า การประกอบอย่างแรงกล้า, คือความ

พยายามที่ออกจากและขันธ์ทั้ง ๒ ได้ด้วยมรรคภาวนาโดยทำให้แจ้ง

ซึ่งผล. ความสงบปโยคะคือความพยามนั้น คือการถึงที่สุดแห่งโยคะ

ชื่อว่า ปโยคปฏิปัสสัทธิ. ปโยคปฏิปัสสัทธินั้นอย่างไร ? คือการสิ้นสุด

แห่งกิจในมรรคทั้ง ๔.

ปัญญาในผลเป็นไปแล้ว เพราะปโยคปฏิปัสสัทธินั้นเป็นเหตุ

ชื่อว่า ปโยคปฏิปัสสัทธิปัญญา. ปัญญานี้เป็นผลเพราะอรรถว่า ย่อม

ผลิตผล คือย่อมให้เกิดวิบาก, ในผลนั้น ญาณอันสัมปยุตกับด้วยผล-

จิตนั้น (ชื่อว่า ผเล าณ) ก็ต่อจากมรรคญาณหนึ่ง ๆ ผลจิตอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

เป็นวิบากแห่งมรรคจิตนั้น ๆ นั่นแหละมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เกิด

ขึ้น ๓ ขณะก็มี ๒ ขณะก็มี ๑ ขณะก็มี. และเพราะผลจิตนั้นเป็น

วิบากเกิดขึ้นในลำดับแห่งโลกุตรกุศลทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า สมาธิมานนฺตริกญฺมาหุ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวสมาธิอันประกอบ

ด้วยผลญาณ ซึ่งเกิดต่อจากมรรคญาณว่าเป็นธรรมอันบัณฑิตพึงรู้ทั่วถึง,

และตรัสคำเป็นต้นว่า ทนฺธ อานนฺตริก ปาปุณาติ อาสวาน

ขยาย-พระโยคีบุคคลบรรลุธรรมวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า.

อนุโลมจิต ของพระโยคีบุคคลใด มี ๒ ขณะ, ที่ ๓ เป็น

โคตรภู ที่ ๔ เป็นมรรคจิต ผลจิตอีก ๓ ขณะ ย่อมมีแก่พระอริยบุคคล

นั้น. (รวมเป็น ๗ ตามชวนนิยาม)

อนุโลมจิต ของพระโยคีบุคคลใด มี ๓ ขณะ, ที่ ๔ เป็น

โคตรภู ที่ ๕ เป็นมรรคจิต ผลจิตอีก ๒ ขณะ ย่อมมีแก่พระอริยบุคคล

นั้น. (รวมเป็น ๗ ตามชวนนิยาม)

อนุโลมจิต ของพระโยคีบุคคลใด มี ๔ ขณะ, ที่ ๕ เป็น

โคตรภู ที่ ๖ เป็นมรรคจิต ผลจิตอีก ๑ ขณะ ย่อมมีแก่พระอริยบุคคล

นั้น. (รวมเป็น ๗ ตามชวนนิยาม)

๑. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๑๖๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

นี้ เป็นผลในมรรควิถี. ส่วนผลในระหว่างกาล เกิดขึ้นด้วย

อำนาจสมาบัติ และเกิดขึ้นแก่ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติก็สงเคราะห์ด้วย

ผลญาณนี้เหมือนกัน.

๑๓. อรรถกถาวิมุตติญาณุทเทส

ว่าด้วย วิมุตติญาณ

คำว่า ฉินฺนวฏุมานุปสฺสเน ปญฺา แปลว่า ปัญญาใน

การพิจารณาเห็นอุปกิเลสอันอริยมรรคตัดขาดแล้ว ความว่า ปัญญา

ในการเห็นภายหลังซึ่งอุปกิเลสนั้น ๆ อันอริยมรรคนั้น ๆ ตัดขาดแล้ว.

คำว่า วิมุตฺติาณ เป็นวิมุตติญาณ ความว่า ญาณในวิมุตติ.

คำว่า วิมุตฺติ ได้แก่จิตบริสุทธิหลุดพันจากอุปกิเลสทั้งหลาย,

หรือความที่จิตนั้นหลุดพ้นแล้ว, ญาณคือความรู้ในวิมุตตินั้น ชื่อว่า

วิมุตติญาณ.

ท่านกล่าวอธิบายการพิจารณากิเลสที่ละแล้วด้วยญาณนี้ว่า พระ-

อริยบุคคลเมื่อพิจารณาความสืบต่อแห่งจิตที่หลุดพ้นจากกิเลสแล้วก็ดี ซึ่ง

ความหลุดพ้นจากกิเลสก็ดี เว้นกิเลสเสียก็พิจารณาไม่ได้ดังนี้. ก็คำว่า

วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ าณ โหติ แปลว่า เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

ก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้วดังนี้ ท่านกล่าวหมายเอาวิมุตติญาณนี้นั่นแล. ส่วน

การพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ แม้ไม่ได้กล่าวไว้แล้ว ก็พึงถือเอาว่า

เป็นอันกล่าวแล้วด้วยวิมุตติญาณนี้แล. และท่านกล่าวไว้ว่า

แม้กล่าวในเอกธรรม ก็เป็นอันกล่าวทั้ง-

หมด เพราะสภาวธรรมนั้นมีลักษณะเป็นอันเดียว

กัน, นี้เป็นลักษณะ เป็นหาระ ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า เป็นอันกล่าวถึงการพิจารณากิเลสที่

ละแล้วซึ่งพระอริยบุคคล ๔ จะพึงได้ เพราะพระอรหันต์ไม่มีการ

พิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่.

๑๔. อรรถกถาปัจจเวกขณญาณุทเทส

ว่าด้วย ปัจจเวกขณญาณ

คำว่า ตทา สมุทาคเต ธมฺเม ปสฺสเน ปญฺา แปลว่า

ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น ความ

ว่า ปัญญาเป็นเครื่องเห็นเพ่งรู้ในธรรมคือมรรคและผลกับทั้งในธรรม

คือสัจจะ ๔ ที่เกิดขึ้นในมรรคขณะและผลขณะ คือมาพร้อมแล้ว ถึง

พร้อมแล้ว ประชุมกันในกาลนั้น ด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะและ

ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

คำว่า ปจฺจเวกฺขเณ าณ -ปัจจเวกขณญาณ ความว่า

ญาณเป็นเครื่องหมุนกลับมาเห็นรู้แจ่มแจ้ง. ก็ปัจจเวกขณญาณท่าน

กล่าวไว้ด้วยญาณทั้ง ๒ นี้.

ก็ในที่สุดแห่งโสดาปัตติผลในมรรควิถี จิตของพระโสดาบันก็

ลงภวังค์. ต่อแต่นั้นก็ตัดภวังค์ขาด มโนทวาราวัชชนะก็เกิดขึ้นเพื่อ

พิจารณามรรค, ครั้นมโนทวาราวัชชนะนั้นดับลงแล้ว ชวนจิตพิจารณา

มรรคก็เกิดขึ้น ๗ ขณะโดยลำดับฉะนี้แล. ครั้นแล้วก็ลงสู่ภวังค์อีก

อาวัชชนจิตเป็นต้น ก็เกิดขึ้นเพื่อพิจารณาธรรมทั้งหลายมีผลเป็นต้น

โดยนัยนั้นเอง. เพราะความเกิดแห่งธรรมเหล่าใดมีผลเป็นต้น พระ-

โสดาบันนั้น ก็พิจารณามรรค, ผล, กิเลสที่ละแล้ว, กิเลสที่ยังเหลือ,

และพระนิพพาน.

ก็พระโสดาบันนั้นพิจารณามรรคว่า เรามาแล้วด้วยมรรคนี้

หนอ, ต่อแต่นั้นก็พิจารณาผลว่า อานิสงส์นี้เราได้แล้ว, ต่อ

แต่นั้นก็พิจารณากิเลสที่ละแล้วว่า ขึ้นชื่อว่ากิเลสเหล่านี้ เราละ

ได้แล้ว, ต่อแต่นั้นก็พิจารณากิเลสที่มรรคเบื้องบนจะพึงประหาณว่า

กิเลสเหล่านี้เรายังเหลืออยู่, ในที่สุดก็พิจารณาอมตนิพพานว่า

ธรรมนี้เราได้แล้วโดยความเป็นอารมณ์

พระอริยสาวกชั้นโสดาบัน มีปัจจเวกขณะ ๕ อย่าง ด้วยประ-

การนี้. ปัจจเวกขณะของพระสทาคามีและพระอนาคามี ก็มีเหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

พระโสดบัน. แต่ของพระอรหันต์ มีปัจจเวกขณะ ๔ อย่างคือ ไม่มี

การพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่. รวมปัจจเวกขณญาณทั้งหมดมี ๑๙

ด้วยประการฉะนี้. นี้เป็นการกำหนดอย่างอุกฤษฏ์.

ถามว่า การพิจารณากิเลสที่ละได้แล้วและที่ยังเหลืออยู่ ยังมี

แก่พระเสกขะทั้งหลายหรือไม่ ?

ตอบว่า เพราะความที่การพิจารณาการละกิเลสนั้นไม่มี ท้าว

มหานามสากยราชจึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ธรรมชื่อ

อะไรเล่า ที่ข้าพระองค์ยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้

โลกธรรมยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้เป็นครั้งคราว ดังนี้

เป็นต้น.

ในที่นี้ เพื่อจะให้ญาณ ๑๑ มีธรรมฐิติญาณแจ่มแจ้ง พึงทราบ

อุปมาดังต่อไปนี้

เปรียบเหมือนบุรุษคิดว่า เราจะจับปลา จึงถือเอาสุ่มไปสุ่ม

ลงในน้ำที่คิดว่าควรจะมีปลา แล้วจึงหย่อนมือลงไปทางปากสุ่ม แล้วก็

คว้าเอาคองูเห่าที่อยู่ภายในน้ำด้วยสำคัญว่าเป็นปลาไว้แน่น ดีใจคิดว่า

เราได้ปลาใหญ่แล้ว ก็ยกขึ้นจึงเห็นก็รู้ว่า งู เพราะเห็นดอกจัน

๓ แฉก เกิดกลัว เห็นโทษ เบื่อหน่ายในการจับ ใคร่ที่จะพ้นจึงทำอุบาย

เพื่อจะหลุดพ้น จึงจับงูให้คลายมือตั้งแต่ปลายหางแล้วชูแขนขึ้นแกว่ง

ไปรอบศีรษะ ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ทำงูให้ทุรพลแล้วเหวี่ยงไปพร้อมกับพูด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

ว่า เฮ้ย ! ไปเจ้างูร้าย แล้วโดดขึ้นไปยืนบนบกโดยเร็วทีเดียว เกิด

ร่าเริงใจว่า ท่านผู้เจริญ เราพ้นแล้วจากปากงูใหญ่ แล้วแลดูทาง

ที่ตนมา.

ในข้ออุปมา - การเปรียบเทียบนั้นมีดังต่อไปนี้

การยึดมั่นซึ่งขันธ์ ๕ อันน่ากลัว ด้วยสามารถแห่งลักษณะมี

ความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น แล้วยินดีด้วยสำคัญว่าเที่ยงด้วยตัณหา

อันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ (คือโลภทิฏฐิคตสัมปยุต) ว่า เรา, ของเรา

ของพาลปุถุชนตั้งต้นแต่พระโยคีบุคคลนี้ ดุจการจับงูเห่าไว้มั่นด้วย

สำคัญว่าเป็นปลา ของบุรุษนั้นฉะนั้น,

การทำลายฆนสัญญาด้วยการกำหนดนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย แล้ว

เห็นพระไตรลักษณ์มีอนิจจตาเป็นต้นของขันธ์ ๕ ด้วยญาณ มีการ

พิจารณาโดยความเป็นกลาปแล้วกำหนดขันธ์ ๕ นั้นว่า ไม่เที่ยง,

เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา ดุจดังการนำงูออกจากปากสุ่ม แล้วเห็น

ดอกจัน ๓ แฉก จึงรู้ว่างู ของบุรุษนั้นฉะนั้น,

ภยตูปัฏฐานญาณของพระโยคีบุคคลนี้ เหมือนกับความกลัวของ

บุรุษนั้นฉะนั้น,

อาทีนวานุปัสสนาญาณ ดุจดังการเห็นโทษในงูฉะนั้น,

นิพพิทานุปัสสนาญาณ ดุจดังการระอาในการจับงูฉะนั้น.

มุญจิตุกัมยตาญาณ ดุจดังการใคร่ที่จะสลัดงูไปเสียให้พ้นฉะนั้น,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ดุจดังการทำอุบายเพื่อจะสลัดงูไปเสีย

ให้พ้นฉะนั้น.

การพิจารณาอย่างรอบคอบซึ่งสังขารทั้งหลายด้วยสังขารุเปกขา-

ญาณ โดยการยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์แล้วกระทำให้ทุรพลจนไม่สามารถ

จะปรากฏโดยอาการว่าเที่ยง, เป็นสุข, และเป็นอัตตาได้อีก ดุจดังการ

จับงูขึ้นหมุนไปรอบ ๆ ในเบื้องบนแห่งศีรษะ กระทำให้ทุรพลจนไม่

สามารถจะหวนกลับมากัดได้อีก.

โคตรภูญาณ ดุจดังการสลัดงูทิ้งไปฉะนั้น,

มรรคญาณผลญาณก้าวขึ้นยืนอยู่บนบก คือพระนิพพานดุจดัง

การที่บุรุษนั้นสลัดงูทิ้งไปแล้วขึ้นไปยืนอยู่บนบกฉะนั้น,

ปัจจเวกขณญาณในธรรมมีมรรคเป็นต้น ดุจดังการแลดูทางที่

มาแล้วของบุคคลผู้ร่าเริงฉะนั้น.

ในบรรดาปัจจเวกขณญาณทั้งหลาย พึงทราบว่า กิเลสปัจจเวก-

ขณะ การพิจารณากิเลส เป็นครั้งแรก ต่อแต่นั้นจึงเป็นการพิจารณา

มรรคผลและนิพพาน เพราะลำดับแห่งเทศนาอันพระโยคีบุคคลกระทำ

แล้วตามลำดับแห่งการเกิดขึ้นแห่งญาณ ๑๔ เหล่านี้มีสุตมยญาณเป็นต้น

และตามลำดับแห่งการปฏิบัติ.

ความที่แห่งกิเลสปัจจเวกขณะ การพิจารณากิเลสตามสมควร

แก่การปฏิบัตินั่นแล เป็นเบื้องต้นย่อมควร เพราะท่านกล่าวการปฏิบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

มรรคไว้ เพราะทำการประหาณกิเลสนั่นแหละ ให้เป็นข้อสำคัญว่า

พระโยคีบุคคลเจริญโลกุตรฌาน อันเป็นนิยานิกธรรมนำออกจากทุกข์

เป็นอปจยคามีเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน ก็เพื่อประหาณมิจฉาทิฏฐิ,

เพื่อบรรเทากามราคะและพยาบาทให้เบาบางลง, เพื่อละกามราคะและ

พยาบาทไม่ให้มีส่วนเหลือ เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ

และอวิชชาไม่ให้มีส่วนเหลือ, แต่ลำดับแห่งการกล่าว่า ท่านแสดงไว้แล้ว

ในอรรถกถา.

ก็ลำดับนั้นมี ๕ อย่างคือ ลำดับแห่งการเกิดขึ้น ลำดับแห่งการ

ประหาณ, ลำดับแห่งการปฏิบัติ, ลำดับแห่งภูมิ, ลำดับแห่งเทศนา.

คำมีอาทิอย่างนี้ว่า

ปม กลล โหติ กลลา โหติ อพฺพุท

อพฺพุทา ชายเต เปสิ เปสิ นิพฺพตฺตตี ฆโนติ.

ในสัปดาห์ที่ ๑ เกิดเป็น กลละ

ในสัปดาห์ที่ ๒ จากกลละก็เกิดเป็นอัพพุทะ

ในสัปดาห์ที่ ๓ จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ

ในสัปดาห์ที่ ๔ จากเปสิเกิดเป็นฆนะ ดังนี้

๑. คือลำดับแห่งการแสดง ที่ปรากฏในวรรคแรกว่า เทสนกฺกมสฺส กตตฺตา.

๒. ส. ส. ๑๕/๘๐๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

ชื่อว่า ลำดับแห่งการเกิด.

ปหาตัพพติกมาติกามีอาทิอย่างนี้ว่า

ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายอันโสดา

ปัตติมรรคพึงประหาณ,

ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายอันมรรค

ในเบื้องบน ๓ พึ่งประหาณ ดังนี้ ชื่อว่า ลำดับแห่งการละ.

คำมีอาทิอย่างนี้ว่า

สีลวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล,

จิตฺตวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งจิต (สมาธิ),

ทิฏฺิวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งทิฏฐิ (ปัญญา),

กงฺขาวิตรณวสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งกังขาวิตรณะ ( การข้าม

พ้นความสงสัย),

มคฺคามคฺคาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งมัคคามัคค-

ญาณทัสนะ (การเห็นด้วยปัญญาว่าใช่ทางและมิใช่ทาง),

ปฏิปทาาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งญาณทัสนะ

ในปฏิปทา (การเห็นด้วยปัญญาในข้อปฏิบัติ),

๑. ทสฺสเนน หมายเอาโสดาปัตติมรรค. อภิ. ส. ๓๔/๙๗๐.

๒. ภาวนาย หมายเอาสกทาคามิมรรค, อนาคามิมรรค, และอรหัตมรรค.

อภิ. ส. ๓๔/๙๗๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

าณทสฺสนวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งญาณทัสนะ (เห็นแจ่ม-

แจ้งด้วยปัญญา), ดังนี้ ชื่อว่า ลำดับแห่งการปฏิบัติ.

คำมีอาทิอย่างนี้ว่า

สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกามาวจระ, สภาว-

ธรรมทั้งหลายที่เป็นรูปาวจระ, สภาธรรมทั้งหลาย

ที่เป็นอรูปาวจระ ดังนี้ ชื่อว่า ลำดับแห่งภูมิ.

คำมีอาทิอย่างนี้ว่า

สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปธาน ๔, อิทธิบาท

๔, อินทรีย์ ๕, โพชฌงค์ ๗, โพชฌงค์ ๗, อริย-

มรรคมีองค์.

หรือคำมีอาทิว่า

แสดงอนุปุพพิกถา คือ ทานกถา, สีลกถา,

สัคคกถา, ประกาศโทษ ความต่ำทราม ความ

เศร้าหมองแห่งกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในการ

ออกจากกาม ดังนี้ ชื่อว่า ลำดับแห่งการเทศนา.

๑. อภิ.ส. ๓๔/๑๔. ๒. ม.อุ. ๑๔/๕๔. ๓. วิ.มหา. ๔/๓๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

แต่ในที่นี้ พึงทราบว่าหมายเอาลำดับ ๓ ประการ คือลำดับแห่ง

การเกิดขึ้นแห่งญาณ ๑๔, ลำดับแห่งการปฏิบัติ, และลำดับแห่งเทศนา

เพราะแสดงตามลำดับด้วยสามารถแห่งลำดับทั้ง ๒ นั้น.

๑๕. อรรถกถาวัตถุนานัตตญาณุทเทส

ว่าด้วย วัตถุนานัตตญาณ

นามรูปววัตถานญาณ ท่านยังมิได้กล่าวไว้ ฉะนั้นเพื่อที่จะแสดง

ประเภทแห่งนามรูป ๕ อย่างในบัดนี้ ท่านจึงยกเอาญาณ ๕ มีคำว่า

อชฺฌตฺตววตฺถาเน ปญฺา วตฺถุนานตฺเต าณ ปัญญาในการ

กำหนดธรรมภายใน เป็นวัตถุนานัตตญาณ ขึ้นแสดง ณ บัดนี้.

จริงอยู่ในนามรูปทั้งสิ้นที่ท่านกล่าวแล้ว นามรูปใดอาจที่จะ

กำหนดได้, และนามรูปใดควรกำหนด, ก็จักกำหนดนามรูปนั้น. ส่วน

นามที่เป็นโลกุตระ ไม่อาจที่จะกำหนดได้ เพราะยังไม่บรรลุ และไม่

ควรกำหนด เพราะนามที่เป็นโลกุตระไม่ใช่อารมณ์ของวิปัสสนา.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อชฺฌตฺตววตฺถาเน-ในการกำหนด

ธรรมภายใน ความว่า ชื่อว่า อัชฌัตตะ เพราะอรรถว่า ทำตนให้

เป็นอธิการเป็นไปโดยประสงค์นี้ว่า เราเมื่อเป็นไปอยู่อย่างนี้ ก็จักถึง

การยึดมั่นว่าเป็นอัตตาตัวตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

ก็ศัพท์ว่า อชฺฌตฺต นี้ ปรากฏในอรรถ ๔ อย่างคือ โคจรัช-

ฌัตตะ, นิยกัชฌัตตะ, อัชฌัตตัชฌัตตะ, วิสยัชฌัตตะ.

อันอรรถะในโคจรัชฌัตตะนี้ ย่อมปรากฏในบาลีอาคตสถานว่า

ดูก่อนอานนท์ ภิกษุนั้นตั้งจิตภายในให้มั่นในสมาธินิมิตข้างต้นนั้นแล...

และ เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมภายใน เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ดังนี้

เป็นต้น.

อรรถะในนิยกัชฌัตตะ ย่อมปรากฏในบาลีอาคตสถานว่า มี

ความผ่องใสแห่งจิตในภายใน, หรือ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม

ภายในอยู่ ดังนี้เป็นต้น.

อรรถะในอัชฌัตตัชฌัตตะ ย่อมปรากฏในบาลีอาคตสถานว่า

อายตนะภายใน ๖, และ สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นภายในดังนี้

เป็นต้น.

อรรถะในวิสยัชฌัตตะ ย่อมปรากฏในบาลีอาคตสถานว่า ดูก่อน

อานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้แล้วนี้แล คือตถาคตเข้าสุญญตะ

ภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ดังนี้เป็นต้น. อธิบายว่า

วิสัยชฌัตตะนี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่า อิสริยฐานะ. จริงอยู่ ผลสมาบัติ

๑. ม.อุ. ๑๔/๓๕๗. ๒. ขุ.อ. ๒๕/๓๕. ๓. ที.สี. ๙/๑๒๘.

๔. ที. มหา. ๑๐/๒๙๐. ๕. ม.อุ. ๑๔/๘๑๑. ๖. อภิ.ส ๓๔/๑.

๗. ม.อุ. ๑๔/๓๔๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

ชื่อว่าเป็นอิสริยฐานะของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. แต่ในที่นี้ พึงเห็นว่า

หมายเอาในอรรถว่า อัชฌัตตัชฌัตตะ. ในการกำหนดอัชฌัตตะเหล่า

นั้น ชื่อว่า อชฺฌตฺววตฺถาเน - ในการกำหนดอัชฌัตตะ.

คำว่า วตฺถุนานตฺเต ได้แก่ ในความเป็นต่างๆ แห่งวัตถุทั้งหลาย,

อธิบายว่า ในวัตถุต่าง ๆ.

ในที่นี้ ถึงแม้ภวังคจิตอันเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ คือชวนะ

ท่านก็เรียกว่า วัตถุ เพราะเป็นฐานที่เกิดขึ้นดุจหมวด ๕ แห่งปสาทะ

มีจักขุปสาทะเป็นต้นฉะนั้น. แม้อาวัชชนจิต ก็พึงทำให้เป็นที่อาศัย

ของวัตถุนั้นได้เหมือนกัน.

๑๖. อรรถกถาโคจรนานัตตญาณุทเทส

ว่าด้วย โคจรนานัตตญาณ

คำว่า พหิทฺธา - ภายนอก ความว่า ในอารมณ์แห่งญาณ

เหล่านั้นอันมีในภายนอก จากธรรมอันเป็นอัชฌัตตัชฌัตตะ ๖

คำว่า โคจรนานตฺเต - ในความต่าง ๆ แห่งโคจร ได้แก่

ในความต่าง ๆ แห่งวิสยะคืออารมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

๑๗. อรรถกถาจริยานานัตตญาณุทเทส

ว่าด้วย จริยานานัตตญาณ

คำว่า จริยาววตฺถาเน ในการกำหนดจริยา ความว่า ในการ

กำหนดจริยาทั้งหลาย คือวิญญาณจริยา อัญญาณจริยา และญาณจริยา.

อาจารย์บางพวกทำรัสสะเสียบ้าง แล้วสวดว่า จริยววตฺถาเน.

๑๘. อรรถกถาภูมินานัตตญาณุทเทส

ว่าด้วย ภูมินานัตตญาณ

คำว่า จตุธมฺมววตฺถาเน - ในการกำหนดธรรม ๔ ความว่า

ในการกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างละ ๔ ด้วยสามารถแห่งธรรมทั้งหลาย

๑๔ มีธรรมในกามาวจรภูมิเป็นต้นหมวดละ ๔.

ก็คำว่า ภูมิ - ภาคพื้น ย่อมเป็นไปในอรรถว่าปฐวีแผ่นดิน

ดุจในประโยคว่า เงินทองทั้งที่มีอยู่ในพื้นดิน ทั้งที่อยู่ในอากาศ

เป็นต้น. เป็นไปในอรรถว่าวิสัย - สถานที่ ดุจในประโยคว่า ลูกเอ๋ย

เจ้าอย่าซ่องเสพภูมิสถานอันไม่สมควร เป็นต้น. เป็นไปในอรรถว่า

๑. ส.ส. ๑๔/๔๑๓. ๒. ขุ.ชา. ๒๗/๘๖๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

อุปปัชชนัฏฐาน - ที่เป็นที่เกิด ดุจในประโยคว่า กามาวจรจิต อันเป็น

ที่เกิดแห่งสุขเวทนา เป็นต้น. แต่ในที่นี้ย่อมเป็นไปในโกฏฐาสะคือ

ส่วน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ย่อมเป็นไปในอรรถว่า ปริจเฉทะ

แปลว่ากำหนด ก็มี.

๑๙. อรรถกถาธัมมนานัตตญาณุทเทส

ว่าด้วย ธัมมนานัตตญาณ

คำว่า นวธมฺมววตฺถาเน - ในการกำหนดธรรม ๙ ความว่า

ในการกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างละ ๙ ด้วยสามารถแห่งกามาวจรกุศล-

จิต, ด้วยสามารถแห่งจิตมีความปราโมทย์เป็นมูล, และด้วยสามารถ

แห่งจิตมีมนสิการเป็นมูล.

ก็บรรดาญาณทั้ง ๕ เหล่านี้ อัชฌัตตธรรม เป็นธรรมอันพระ-

โยคีบุคคลพึงกำหนดูก่อน. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าววัตถุนานัตตญาณ

ญาณในความต่าง ๆ แห่งวัตถุไว้เป็นที่ ๑, จากนั้นก็พึงกำหนดอารมณ์

แห่งนานัตตธรรมเหล่านั้น ฉะนั้นในลำดับ ต่อจากนั้นวัตถุนานัตต-

ญาณนั้น ท่านจึงกล่าวโคจรนานัตตญาณ คือญาณในความต่างกันแห่ง

อารมณ์, ญาณอีก ๓ อื่นจากนั้น ท่านกล่าวโดยอนุโลมการนับด้วย

สามารถแห่งธรรม ๓,๔ และ ๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

๒๐. อรรถกถาญาตัฏฐญาณุทเทส

ว่าด้วย ญาตัฏฐญาณ

บัดนี้ ปริญญา ๓ คือ การกำหนดรู้นามรูปโดยประเภทนั้นแล

เป็นญาตปริญญา, ต่อจากนั้นก็เป็นตีรณปริญญา, ในลำดับต่อไปก็เป็น

ปหานปริญญา, และภาวนาการเจริญและสัจฉิกิริยาการทำให้แจ้ง ก็

ย่อมมีเพราะเนื่องด้วยปริญญา ๓ นั้น, เพราะฉะนั้นท่านจึงยกเอาญาณ

ทั้ง ๕ มีญาตัฏฐญาณเป็นต้น ขึ้นแสดงต่อจากธัมมนานัตตญาณ.

ก็ปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา, ตีรณปริญญาและปหานปริญญา.

ในปริญญาทั้ง ๓ นั้น ดังนี้

ปัญญาอันเป็นไปในการกำหนดลักษณะโดยเฉพาะ ๆ แห่งสภาว-

ธรรมเหล่านั้น ๆ อย่างนี้ว่า รูปมีการแตกดับไปเป็นลักษณะ, เวทนามี

การเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ ชื่อว่า ญาตปริญญา.

วิปัสสนาปัญญาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ ยกสามัญลักษณะ

แห่งสภาวธรรมเหล่านั้น ๆ ขึ้นเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า รูป อนิจฺจ

ทุกฺข อนตฺตา รูปไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, เวทนา อนิจฺจา

ทุกฺขา อนตฺตา เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาดังนี้ ชื่อว่า

ตีรณปริญญา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

ก็วิปัสสนาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ เป็นไปด้วยสามารถแห่ง

การละวิปลาสทั้งหลาย มีนิจสัญญาวิปลาสเป็นต้น ในธรรมทั้งหลาย

เหล่านั้นเสียได้นั่นแล ชื่อว่า ปหานปริญญา.

บรรดาปริญญาทั้ง ๓ นั้น ตั้งต้นแต่สังขารปริจเฉทญาณ ญาณ

ในการกำหนดสังขารธรรม จนถึงปัจจยปริคคหญาณ ญาณในการ

กำหนดสังขารธรรมโดยความเป็นปัจจัย เป็นภูมิของญาตปริญญา.

เพราะในระหว่างนี้ ความเป็นอธิบดีย่อมมีแก่พระโยคีบุคคลผู้แทงตลอด

ลักษณะโดยเฉพาะ ๆ ของสภาวธรรมทั้งหลายได้.

ตั้งแต่กลาปสัมมสนญาณ ญาณในการพิจารณาสังขารธรรมโดย

กลาป จนถึงอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณในการเห็นอยู่เนือง ๆ ซึ่ง

การเกิดขึ้นและดับไปของสังขารธรรม เพราะในระหว่างนี้ ความเป็น

อธิบดีย่อมมีแก่พระโยคีบุคคลผู้แทงตลอดสามัญลักษณะได้.

ตั้งต้นแต่ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณในการเห็นอยู่เนือง ๆ ซึ่ง

ความดับไปแห่งสังขารธรรมขึ้นไป เป็นภูมิแห่งปหานปริญญา. เพราะ

จำเดิมแต่นั้นไปความเป็นอธิบดีย่อมมีแก่อนุปัสสนา ๗ อันจะให้สำเร็จ

การละวิปลาสมีนิจสัญญาวิปลาสเป็นต้น ได้อย่างนี้คือ เมื่อพิจารณา

เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ก็ย่อมละนิจสัญญาวิปลาสได้, เมื่อ

พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ก็ละสุขสัญญาวิปลาสได้, เมื่อพิจารณา

เห็นโดยความเป็นอนัตตา ก็ละอัตตสัญญาวิปลาสได้, เมื่อเบื่อหน่าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

ก็ละความเพลิดเพลินได้, เมื่อคลายกำหนัด ก็ละราคะได้, เมื่อให้ดับ

ก็ละสมุทัยได้, เมื่อสละคืนก็ละความถือมั่นเสียได้ ดังนี้.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อภิญฺาปญฺา ได้แก่ ปัญญาเป็น

เครื่องรู้ตามสภาวะมีรุปปนลักษณะ คือ รูปมีอันแตกดับไปเป็นลักษณะ

เป็นต้น แห่งสภาวธรรมทั้งหลาย. จริงอยู่ ปัญญานั้นท่านเรียกว่า

อภิญญา เพราะอธิบายด้วยอภิศัพท์มีอรรถว่างามดังนี้ คือ การรู้งาม

ด้วยสามารถแห่งการรู้สภาวะของธรรมเหล่านั้น ๆ.

คำว่า าตฏฺเ าณ - ญาณในอรรถว่ารู้ ได้แก่ญาณ อัน

มีความรู้เป็นสภาวะ.

๒๑. อรรถกถาตีรณัฏฐญาณุทเทส

ว่าด้วย ตีรณัฏฐญาณ

คำว่า ปริญฺาปญฺา - ได้แก่ ปัญญาเป็นเครื่องรู้. จริงอยู่

ปัญญานั้น ท่านเรียกว่า ปริญญา เพราะอธิบายด้วย ปริ ศัพท์ มี

อรรถว่า ซึมซาบไปรอบ ดังนี้คือ ความรู้ที่ซึมซาบไปด้วยสามารถแห่ง

สามัญลักษณะมีอนิจลักษณะเป็นต้น หรือด้วยสามารถแห่งการเข้าถึง

กิจของตน.

๑. ขุ.ป. ๓๑/๑๑๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

คำว่า ตีรณฏฺเ าณ ญาณในอรรถว่าใคร่ครวญ ได้แก่ ญาณ

มีการเข้าไปใคร่ครวญเป็นสภาวะ หรือมีการพิจารณาเป็นสภาวะ.

๒๒. อรรถกถาปริจจาคัฏฐญาณุทเทส

ว่าด้วย ปริจจาคัฏฐญาณ

คำว่า ปหเน ปญฺา - ปัญญาในการละ ความว่า ปัญญา

เป็นเครื่องละวิปลาสทั้งหลายมีนิจสัญญาวิปลาสเป็นต้น, หรือธรรม-

ชาติใดย่อมละนิจสัญญาวิปลาสเป็นต้นได้ ฉะนั้นธรรมชาตินั้น ชื่อว่า

ปชหนาปัญญา, อีกอย่างหนึ่ง พระโยคีบุคคลย่อมละนิจสัญญาวิปลาส

ได้ด้วยญาณนั้น ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่า ปหาน าณ - ญาณเป็น

เครื่องละนิจสัญญาวิปลาส,

คำว่า ปริจฺจาคฏฺเ าณ - ญาณในอรรถว่าสละ ได้แก่

ญาณมีการสละนิจสัญญาวิปลาสเป็นต้น เป็นสภาวะ.

๒๓. อรรถกถาเอกรสัฏฐญาณุทเทส

ว่าด้วย เอกรสัฏฐญาณ

คำว่า ภาวนาปญฺา - ปัญญาเป็นเครื่องอบรม ได้แก่ปัญญา

เป็นเครื่องเจริญ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

คำว่า เอกรสฏฺเ าณ - ญาณในอรรถว่ามีรสเดียว ได้แก่

ญาณมีกิจอันเดียวเป็นสภาวะ, หรือญาณมีรสอันเป็นสภาวะ คือวิมุตติ.

๒๔. อรรถกถาผัสสนัฏฐญาณุทเทส

ว่าด้วย ผัสสนัฏฐญาณ

คำว่า สจฺฉิกิริยาปญฺา - ปัญญาเป็นเครื่องกระทำพระ-

นิพพานให้แจ้ง ได้แก่ ปัญญาเป็นเครื่องกระทำพระนิพพานให้ประจักษ์

ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด หรือด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะ.

คำว่า ผสฺสนฏฺเ าณ ได้แก่ ญาณมีการได้ซึ่งพระนิพพาน

เป็นสภาวะ ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดและการได้เฉพาะทั้ง ๒ นั้น

นั่นแล.

๒๕-๒๘. อรรถกถาอรรถปฏิสัมภิทาธรรมปฏิสัมภิทา

นิรุตติปฏิสัมภิทาปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณุทเทส

ว่าด้วย ปฏิสัมภิทาญาณ ๔

บัดนี้ ญาณในการละ ในการเจริญ และในการกระทำพระ-

นิพพานให้แจ้งย่อมประกอบด้วยอริยมรรคอริยผล ฉะนั้น ท่านจึงยกเอา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อันพระอริยบุคคลนั่นแหละ จะต้องได้ขึ้นแสดงต่อ

จากผัสสนญาณนั้น.

แม้ในปฏิสัมภิทา ๔ นั้น อรรถะคือผลธรรมอันเกิดแต่ปัจจัย

ย่อมปรากฏดุจทุกขสัจจะ และเป็นธรรมอันใคร ๆ จะพึงรู้ได้โดยง่าย

เพราะฉะนั้นท่านจึงยก อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ขึ้นแสดงก่อน, ต่อแต่

นั้นก็ยก ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ขึ้นแสดง เพราะอรรถะนั้นเป็นวิสัย

แห่งธรรมอันเป็นเหตุ, ต่อแต่นั้นจึงยกเอานิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ

เพราะอรรถะและธรรมทั้ง ๒ นั้นเป็นวิสัยแห่งนิรุตติ, และต่อจากนิรุตติ-

ปฏิสัมภิทาญาณนั้น ท่านก็ยกเอา ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ขึ้นแสดง

เพราะเป็นไปในญาณแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น. แต่อาจารย์บางพวกทำทีฆะป-

อักษะแล้วสวดก็มี.

๒๙ - ๓๑. อรรถกถาวิหารัฏฐสมาปัตตัฏฐญาณุทเทส

ว่าด้วย วิหารัฏฐญาณและสมาปัตตัฏฐญาณ

ญาณทั้งหลายอื่นจากนี้ ๓ ญาณมีวิหารัฏฐญาณเป็นต้น ท่านยก

ขึ้นแสดงต่อจากปฏิสัมภิทาญาณ เพราะเกิดแก่พระอริยบุคคลเท่านั้น

และเพราะเป็นประเภทแห่งปฏิสัมภิทา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

จริงอยู่ วิหารัฏฐญาณ เป็นธรรมปฏิสัมภิทา, สมาปัตตัฏฐญาณ

เป็นอรรถปฏิสัมภิทา. แท้จริง ญาณในสภาวธรรม ท่านกล่าวไว้ใน

ปฏิสัมภิทากถาว่า ธรรมปฏิสัมภิทา. ส่วนญาณในนิพพานเป็น

อรรถปฏิสัมภิทานั่นแหละ.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า วิหารนานตฺเต - ในความต่างแห่ง

ธรรมเป็นเครื่องอยู่ ความว่า ในธรรมเป็นเครื่องอยู่ คือวิปัสสนา

ต่าง ๆ ด้วยสามารถแห่งอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น.

คำว่า วิหารฏฺเ - ในอรรถว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่ ได้แก่

ในธรรมเป็นเครื่องอยู่คือมีวิปัสสนาเป็นสภาวะ.

คำว่า วิหาโร ได้แก่ วิปัสสนาพร้อมด้วยสัมปยุตธรรมนั่นเอง.

คำว่า สมาปตฺตินานตฺเต - ในความต่างแห่งสมาบัติ ความว่า

ในผลสมาบัติ ด้วยสามารถแห่งอนิมิตตนิพพานเป็นต้น.

คำว่า สมาปตฺติ - สมาบัติ ได้แก่ จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย

อันเป็นโลกุตรผล.

คำว่า วิหารสมาปตฺตินานตฺเต ในวิหารธรรมและความ

ต่างแห่งสมาบัติ ท่านกล่าวแล้วด้วยสามารถแห่งญาณทั้ง ๒.

๑. ขุ.ปุ. ๓๑/๖๐๓. ๒. สัมปยุตธรรม ได้แก่ มหากุสลญาณสัมปยุตจิต ๔

เจตสิก ๓๕ (เว้นอัปปมัญญา ๒ เพราะในขณะวิปัสสนาเกิดไม่มีสัตวบัญญัติ

เป็นอารมณ์, และปัญญาเจตสิกอีก ๑ เพราะปัญญาเป็นตัววิปัสสนา)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

๓๒. อรรถกถาอานันตริกสมาธิญาณุทเทส

ว่าด้วย อานันตริกสมาธิญาณ

ญาณทั้ง ๒ นั้นแล อันพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้ประสงค์จะ

กล่าวโดยประการอื่นอีกให้พิเศษด้วยเหตุอันแสดงถึงความที่มรรคญาณ

แม้ที่กล่าวแล้วในก่อนว่า ทุภโต วุฏฺานวิวฏฺฏเน ปญฺา - ปัญญา

ในการออกและหลีกจากกิเลสขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้ง ๒

อันให้สำเร็จวิหารญาณและสมาปัตติญาณต่อจากญาณทั้ง ๒ นั้น เป็น

ญาณอันสามารถตัดอาสวะได้เด็ดขาด และเป็นญาณอันให้ผลในลำดับ

ที่ยกขึ้นแสดงว่า อานนฺตริกสมาธิมฺหิ าณ - ญาณในสมาธิอันมี

ในลำดับ ต่อจากญาณทั้ง ๒ นั้น.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อวิกฺเขปปริสุทฺธตฺตา - ความ

บริสุทธิแห่งสมาธิอันไม่ฟุ้งซ่าน ความว่า จิตย่อมฟุ้งซ่านไปด้วย

ธรรมชาตินั้น ฉะนั้นธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า วิกเขปะ - ความฟุ้งซ่าน,

คำนี้เป็นชื่อของอุทธัจจะ, ธรรมชาตินี้มิใช่วิกเขปะ - ความฟุ้งซ่าน ชื่อว่า

อวิกเขปะ ไม่ฟุ้งซ่าน, คำนี้เป็นชื่อของสมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่ออุทธัจจะ.

ความเป็นแห่งความบริสุทธิ์ ชื่อว่า ปริสุทธัตตะ - ความบริสุทธิ์,

ความบริสุทธิ์แห่งสมาธิ ชื่อว่า อวิกเขปปริสุทธัตตะ - ความบริสุทธิ์แห่ง

๑. สมาปัตตัฏฐญาณ, วิหารสมาปัตตัฏฐญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

สมาธิอันไม่ฟุ้งซ่าน, ฉะนั้น อวิกเขปปริสุทธัตตา จึงมีอธิบายว่า

เพราะความเป็นแห่งความบริสุทธิ์ของสมาธิ. จริงอยู่คำนี้ เป็นตติยา-

วิภัตติบอกเหตุแห่งการตัดอาสวะได้ขาด และแห่งการให้ผลในลำดับ

แห่งตน. ในคำว่า อาสวสมุจฺเฉเท - ในการตัดอาสวะได้ขาด มี

วินิจฉัยดังต่อไปนี้

ธรรมชาติใดย่อมไหลไป ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อาสวะ,

ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า อาสวะทั้งหลายย่อมไหลไป คือย่อมเป็นไปทาง

ตาบ้าง ฯลฯ ทางใจบ้าง. อาสวะทั้งหลาย เมื่อว่าโดยธรรมย่อมไหลไป

จนกระทั่งถึงโคตรภู, หรือเมื่อว่าโดยโอกาสคือฐานภูมิอันเป็นที่อยู่ของ

สัตว์ ย่อมไหลไปจนกระทั่งถึงภวัคคภพ ฉะนั้นจึงชื่อว่า อาสวะ,

อธิบายว่า อาสวะทั้งหลายย่อมครอบงำทั้งธรรมนั้นด้วยทั้งโอกาสนั้น

ด้วยเป็นไป. จริงอยู่ อาอักษรนี้ มีอรรถว่ากระทำในภายใน.

เมรัยที่ชื่อว่า มทิระเป็นต้น ชื่อว่า อาสวะ เพราะเป็นเหมือน

ของดอง เพราะอรรถว่าดองอยู่นาน. จริงอยู่ เมรัยที่ชื่อว่า มทิระ

เป็นต้น เพราะดองอยู่นาน ในทางโลก ท่านย่อมเรียกว่า อาสวะ.

ก็ถ้าว่า ชื่อว่า อาสวะเพราะอรรถว่าดองอยู่นานไซร้ อาสวะเหล่านั้น

ก็ย่อมจะมีได้ สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชา

ย่อมไม่ปรากฏ, ในกาลก่อนแต่นี้ อวิชชาไม่ได้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

แล้ว แต่ภายหลังจึงมี ดังนี้เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติใดย่อมไปคือย่อมไหลไปสู่สังสารทุกข์

ต่อไป แม้เพราะเหตุนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า อาสวะ, อาสวะ

ทั้งหลายย่อมขาดสูญไปด้วยมรรคนั้น ฉะนั้น มรรคนั้นจึงชื่อว่า สมุจ-

เฉทะ - เป็นเครื่องตัดอาสวะขาด.

คำว่า ปญฺา ได้แก่ ปัญญาในการตัดอาสวะ ๔ มีกามาสวะ

เป็นต้นได้ขาด.

คำว่า อานนฺตริกสมาธิมฺหิ าณ - ญาณในสมาธิอันให้ผล

ในลำดับ ความว่า สมาธิในมรรคได้ชื่อว่า อานันตริกะ เพราะ

ให้ผลโดยแน่นอนทีเดียวในลำดับแห่งความเป็นไปของตน. เพราะเมื่อ

มรรคสมาธิเกิดขึ้นแล้ว อันตรายอะไร ๆ ที่จะขัดขวางการเกิดขึ้นแห่ง

ผลของมรรคสมาธินั้น ย่อมไม่มี. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำมีอาทิ

ว่า

บุคคลนี้พึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง

โสดาปัตติผล และเวลาที่กัปไหม้จะพึงมี กัปก็

ไม่พึงไหม้ตราบเท่าที่บุคคลนี้ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่ง

โสดาปัตติผล บุคคลนี้เรียกว่า ฐิตกัปปี. บุคคล

๑. องฺ. ทสก. ๒๔/๖๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

ผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรคแม้ทั้งหมด ชื่อว่า เป็นผู้

มีกัปตั้งอยู่แล้ว ดังนี้.

นี้เป็นญาณอันสัมปยุตด้วยอานันตริกสมาธินั้น.

๓๓. อรรถกถาอรณวิหารญาณุทเทส

ว่าด้วย อรณวิหารญาณ

ญาณทั้ง ๔ มี อรณวิหารญาณเป็นต้น ท่านยกขึ้นแสดงใน

ลำดับแห่งญาณนี้ เพราะเกิดแก่พระอริยะทั้งหลายผู้บรรลุอริยผลด้วย

มรรคญาณนี้เท่านั้น. ก็ในญาณทั้ง ๔ แม้นั้น ท่านยกอรณวิหารญาณ

ขึ้นแสดงก่อน เพราะเกิดติดต่อกันไปแก่พระอรหันต์นั่นแล, และต่อ

แต่นั้น ท่านก็ยกนิโรธสมาปัตติญาณขึ้นแสดง เพราะนิโรธสมาบัติ

นั้นเป็นธรรมมีสัมภาระมาก แม้ในเมื่อเกิดแก่พระอนาคามีและพระ-

อรหันต์ และเพราะนิโรธสมาบัติเป็นธรรมอันท่านสมมุติว่าเป็นนิพพาน

โดยพิเศษ ต่อจากนั้น ท่านก็ยกปรินิพพานญาณขึ้นแสดงว่า ทีฆ-

กาลิกะ - มีกาลนาน เพราะตั้งอยู่จดกาลเป็นที่ปรินิพพานในระหว่าง

กาลปรินิพพาน, ในลำดับต่อจากนั้นท่านก็ยกสมสีสัฏฐฌาณ ขึ้นแสดง

ว่า รัสสกาลิกะ - มีกาลสั้น เพราะตั้งอยู่จดกาลเป็นที่ปรินิพพาน

ในลำดับแห่งการสิ้นกิเลสทั้งปวงของพระอรหันต์ผู้สมสีสะ.

๑. อภิ. ปุ. ๓๖/๓๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

บรรดาคำเหล่านั้น อักษรในคำว่า สนฺโต จ พึงแปล

ควบเข้ากับบทแม้ทั้ง ๓ ดังนี้คือ ทสฺสนาธิปเตยฺย จ, สนฺโต

วิหาราคโม จ, ปณีตาธิมุตฺตตา จ. (พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้)

คำว่า ทสฺสน - การเห็น ได้แก่ วิปัสสนาญาณ, ความเป็น

ใหญ่นั่นแหละ ชื่อว่า อาธิปเตยยะความเป็นแห่งความเป็นใหญ่, อีก

อย่างหนึ่ง เพราะบรรลุถึงโดยอธิปติ จึงชื่อว่า อาธิปเตยฺย - ความ

เป็นแห่งความเป็นใหญ่, ทัสนะคือวิปัสสนาญาณนั้นด้วย เป็น

อาธิปเตยยะด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทัสนาธิปเตยยะ - วิปัสสนาญาณ

เป็นอธิปติ.

ธรรมใดย่อมอยู่ ฉะนั้นธรรมนั้น ชื่อว่า วิหาระ, หรือว่า

พระโยคีบุคคลย่อมอยู่ด้วยธรรมนั้น ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่าวิหาระ เป็น

เครื่องอยู่ของพระโยคีบุคคล, ธรรมใดอันพระโยคีบุคคลย่อมถึงทับ คือ

ย่อมบรรลุ ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า อธิคมะ - ธรรมอันพระโยคีบุคคล

บรรลุ, วิหารธรรมนั่นแหละเป็นองค์คุณที่บรรลุ ฉะนั้น จึงชื่อว่า

วิหาราธิคมะ - วิหารธรรมที่บรรลุ.

ก็วิหาราธิคมนั้น เป็นนิพพุตะดับสนิทเพราะเว้นจากการเบียด

เบียนของกิเลส ฉะนั้น จึงชื่อว่า สันตะ - สงบ. ก็สันตะนั้นคือ

อรหัตผลสมาปัตติปัญญา.

๑. วิมังสาธิปติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

เพราะอรรถว่าสูงสุดและเพราะอรรถว่าไม่ทำให้เร่าร้อน จึงชื่อ

ว่า ปณีตะ, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปณีตะ - เพราะนำไปสู่ความเป็น

ประธาน, การมีใจน้อมไป คือมีจิตส่งไปแล้วในปณีตะมีผลสมาบัตินั้น

เป็นอย่างยิ่ง ชื่อว่า ปณีตาธิมุตตะ - น้อมใจไปในผลสมาบัติ, ความ

เป็นแห่งการน้อมใจไปในผลสมาบัตินั้น ชื่อว่า ปณีตาธิมุตตตา - ความ

น้อมใจไปในผลสมาบัติอันประณีต. ก็ปณีตาธิมุตตตานั้น เป็นบุรพภาค

ปัญญามีอันน้อมใจไปในผลสมาบัติแล.

คำว่า อรณวิหาเร - ในวิหารธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นข้าศึก

ได้แก่ วิหารธรรมมีกิเลสไปปราศแล้ว. จริงอยู่กิเลสทั้งหลายมีราคะ

เป็นต้น ย่อมรุกราน บดขยี้ เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น ราคาทิ-

กิเลสนั้น จึงชื่อว่า รณา ผู้เบียดเบียน, อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลาย

ย่อมร้องไห้คร่ำครวญร่ำไรด้วยราคาที่กิเลสเหล่านั้น ฉะนั้น ราคาทิ-

กิเลสเหล่านั้น จึงชื่อว่า รณา - กิเลสเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้คร่ำครวญ,

วิหารธรรมแม้ทั้ง ๓ อย่าง ท่านได้กล่าวไว้แล้ว, รณะคือกิเลสเป็นเหตุให้

สัตว์ร้องไห้คร่ำครวญไม่มีแก่ธรรมนี้ ฉะนั้น ธรรมนี้ จึงชื่อว่า อรณะ,

พระอริยบุคคลย่อมนำธรรมอันเป็นข้าศึกออกได้ด้วยธรรมนั้น ฉะนั้น

ธรรมนั้น จึงชื่อว่า วิหาระ นำธรรมที่เป็นข้าศึกออก. อรณธรรม

นั้น ก็ชื่อว่าวิหารธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

ในนิทเทสวาระ ปฐมฌานเป็นต้น ท่านสงเคราะห์ไว้ในปณีตา-

ธิมุตตตาเหมือนกัน. ก็เพราะประสงค์จะเข้าผลสมาบัติ จึงเข้าฌานมี

ปฐมฌานเป็นต้นออกแล้ว เห็นแจ้งธรรมที่สัมปยุตกับฌาน, ก็อรณ-

ปฏิปทาอันใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วในอรณวิภังคสูตร,

อรณปฏิปทาแม้นั้น ก็พึงทราบว่าท่านสงเคราะห์ด้วยข้อนี้แล.

จริงอย่างนั้น ในอรณวิภังคสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงธรรม

ชื่ออรณวิภังค์แต่เธอทั้งหลายว่า...ไม่พึงประกอบ

เนือง ๆ ซึ่งสุขอาศัยกาม อันเลว เป็นของชาว

บ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่

ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนือง ๆ

ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็น

ทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย

ประโยชน์ ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่

สุด ๒ อย่างนี้นั้น อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญา

ยิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ

เป็นไป เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ

๑. ขุ.ป. ๓๑/๒๑๖. ๒. ม.อุ. ๑๔/๖๕๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

ตรัสรู้ เพื่อนิพพานพึงรู้จักการยกย่องและการ

ตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่ฟังตำหนิ

พึงแสดงธรรมเท่านั้น, พึงรู้การตัดสินความสุข

ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขภายใน,

ไม่กล่าววาทะที่ลับหลัง ไม่ฟังกล่าวคำล่วงเกินต่อ

หน้า พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบด่วน ไม่

ฟังปรับปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วงเลยคำพูดสามัญ

เสีย นี้เป็นอุทเทสแห่งอรณวิภังค์...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น

การไม่ตามประกอบความเพียรเนือง ๆ ซึ่ง

โสมนัสของผู้มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว

เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระ-

อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มี

ทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มี

ความเร่าร้อน เป็นสัมมาปฏิปทา. เพราะฉะนั้น

ธรรมนี้ชื่อว่า อรณธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น

การไม่ตามประกอบความเพียรเครื่องประกอบตน

๑. ม.อุ. ๑๔/๖๖๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

ให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่

ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ฯลฯ

เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า อรณธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น

มัชฌิมาปฏิปทานี้ อันพระตถาคตรู้พร้อมยิ่งแล้ว

ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า อรณธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นี้ การ

ไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ การแสดงธรรมเท่านั้น,

นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้

ชื่อว่า อรณธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น

สุขอาศัยเนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิด

แต่ความสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้, นี้เป็นธรรม

ไม่มีทุกข์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า

อรรณธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น

วาทะหลับหลัง ที่จริง ที่แท้ ประกอบด้วย

๑. ม.อุ. ๑๔/๖๖๔. ๒. ม.อุ. ๑๔/๖๖๔. ๓. ม.อุ. ๑๔/๖๖๖.

๔. ม.อุ. ๑๔/๖๖๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

ประโยชน์, นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ฯลฯ เพราะ

ฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า อรณธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น

คำกล่าวล่วงเกินต่อหน้า ที่จริง ที่แท้ ประกอบ

ด้วยประโยชน์, นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ฯลฯ

เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า อรณธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น

คำที่ไม่รีบด่วนพูด นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ฯลฯ

เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า อรณธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น

การไม่ปรับปรำภาษาชนบท และการไม่ล่วงเลย

สามัญภาษา นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ฯลฯ เพราะ

ฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า อรณธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พวก

เธอพึงศึกษาอย่างนี้แลว่า เราทั้งหลายจักรู้ธรรม

๑. ม.อุ. ๑๔/๖๖๘. ๒. ม.อุ. ๑๔/๖๖๙. ๓. ม.อุ. ๑๔/๖๗๐.

๔. ม.อุ. ๑๔/๖๗๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

ชื่อว่าสรณะ และรู้ธรรมชื่อว่าอรณะ๒ ครั้นรู้แล้ว

จักปฏิบัติ อรณปฏิปทา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็แล กุลบุตรชื่อ สุภูติ เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว ซึ่ง

อรณปฏิปทา ดังนี้.

ในอรณวิภังคสูตรนั้น มัชฌิมาปฏิปทาท่านสงเคราะห์ด้วย

ทัสนาธิปเตยยะ พระนิพพาน และวิหารธิคมะ.

การไม่ประกอบกามสุขัลลิกานุโยคและอัตกิลมถามุโยค เป็น

มัชฌิมาปฏิปทาแท้เทียว. จริงอยู่ สำหรับพระอรหันต์ บุรพภาคแห่ง

วิปัสสนาเป็นมัชฌิมาปฏิปทา และอรหัตผลสมาบัติก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทา

ด้วยสามารถแห่งมรรคมีองค์ ๘. ส่วนปฏิปทาที่เหลือ พึงทราบว่า

สงเคราะห์ด้วย ปณีตาธิมุตตตานั่นแล.

พระอรหันต์ทั้งปวงเป็นผู้อยู่ด้วยอรณธรรมก็จริง, ถึงอย่างนั้น

พระอรหันต์เหล่าอื่นเมื่อจะแสดงธรรม ก็ย่อมแสดงธรรมยกย่องและ

ข่มด้วยสามารถแห่งบุคคลว่า กุลบุตรเหล่านี้ ปฏิบัติชอบในสัมมา

ปฏิบัติ และ กุลบุตรเหล่านี้ ปฏิบัติผิดในมิจฉาปฏิบัติ, แต่พระสุภูติ-

เถระแสดงธรรมด้วยสามารถแห่งธรรมเท่านั้นว่า นี้ เป็นมิจฉาปฏิบัติ,

นี้เป็นสัมมาปฏิบัติ. เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรง

๑. สรณะ ธรรมมีกิเลสเป็นเหตุยังสัตว์ให้ร้องไห้

๒. อรณะ ธรรมไม่มีกิเลสเป็นเหตุยังสัตว์ให้ร้องไห้. ๓. ม.อุ. ๑๔/๖๗๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

สรรเสริญว่า พระสุภูติเถระเป็นผู้ปฏิบัติอรณปฏิปทานั้นนั่นแล, ทรง

ตั้งไว้ในฐานะอันเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้อรณวิหารีว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พระสุภูติ เลิศกว่าภิกษุสาวกของเราผู้มีปกติอยู่ด้วย

อรณธรรม ฉะนี้แล.

๓๔. อรรถกถานิโรธสมาปัตติญาณุทเทส

ว่าด้วย นิโรธสมาปัตติญาณ

คำว่า ทฺวีหิ พเลหิ - ด้วยพละ ๒ ความว่า ด้วยสมถพละ

และวิปัสสนาพละ.

คำว่า สมนฺนาคตตฺตา - เพราะประกอบแล้ว ความว่า เพราะ

ประกอบแล้ว หรือเพราะบริบูรณ์แล้ว.

คำว่า ตโย จ - สังขาร ๓ เป็นวิภัตติวิปลาส ท่านกล่าวแก้

ไว้ว่า ติณฺณญฺจ แปลว่า ๓.

คำว่า สงฺขาราน - สังขารทั้งหลาย ได้แก่ วจีสังขารกายสังขาร

และจิตสังขาร.

คำว่า ปฏิปฺปสฺสทฺธิยา - เพื่อระงับ ความว่า เพื่อความสงบ

คือ เพื่อดับ, อธิบายว่า เพื่อไม่เป็นไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

คำว่า โสฬสหิ - ญาณจริยา ๑๖ ได้แก่ อนุปัสนา ๘ มี

อนิจจานุปัสนาเป็นต้น, โลกุตระ ๘ คือ มรรค ๔ ผล ๔ จึงรวม

เป็น ๑๖.

คำว่า าณจริยาหิ - ญาณจริยาทั้งหลาย ได้แก่ ความเป็น

ไปแห่งญาณ.

คำว่า นวหิ - ด้วยสมาธิจริยา ๙ ได้แก่ รูปาวจรสมาธิ ๔

อรูปาวจรสมาธิ ๔ กับทั้งอุปจาระอีก ๑ จึงรวมเป็น ๙.

คำว่า วสิภาวตา ปญฺา - ปัญญาในความเป็นผู้มีความ

ชำนาญ ความว่า อิสริยะความเป็นใหญ่เป็นไปตามสบายโดยพลัน

ชื่อว่า วสะ - อำนาจ, วสะคืออำนาจนั้นมีอยู่แก่บุคคลนั้น ฉะนั้น

ผู้นั้นชื่อว่า วสี - ผู้มีอำนาจ, ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีวสี ชื่อว่า วสีภาวะ,

วสีภาวะนั่นแหละ ชื่อว่า วสิภาวตา ดุจ ปาฏิกุลฺยเมว ความเป็น

ของปฏิกูลนั่นแหละ ชื่อว่า ปาฏิกุลฺยตา ฉะนั้น. ปัญญามีตัวอย่างดังนี้

มีอธิบายว่า ปัญญาในวสิภาวตา คือปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ

แต่อาจารย์บางพวกทำทีฆะ สิ อักษรแล้วสวด.

ศัพท์ ต้องสัมพันธ์ควบกับ สมนฺนาคตตฺตา จ - เพราะ

ประกอบแล้วด้วย, ปฏิปฺปสฺสทฺธิยา จ - เพื่อระงับสังขารทั้ง ๓ ด้วย,

าณจริยาหิ จ - ด้วยจริยาทั้งหลายด้วย, สมาธิจริยาหิ จ - ด้วยสมาธิ

จริยาด้วย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

คำว่า นิโรธสมาปตฺติยา าณ - ญาณในนิโรธสมาบัติ

ความว่า ญาณอันเป็นนิมิตแห่งนิโรธสมาบัติ อุปมาเหมือนเสือเหลือง

จะลูกฆ่าก็เพราะลายเสือ.

คำว่า นิโรธสมาปตฺติ - นิโรธสมาบัติ ความว่า สักว่าไม่มี

เนวสัญญานาสัญญายตนะ, จะว่าเป็นธรรมใดธรรมหนึ่งมิใช่, เป็น

เพียงบัญญัติ. และชื่อว่า นิโรธ เพราะเหตุสักว่าไม่มี, อนึ่ง อัน

พระอริยบุคคลผู้เข้าอยู่ ชื่อว่า ย่อมเข้า ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า

สมาบัติ.

๓๕. อรรถกถาปรินิพพานญาณุทเทส

ว่าด้วย ปรินิพพานญาณ

คำว่า สมฺปชานสฺส - ผู้มีสัมปชัญญะ ความว่า พระโยคี

บุคคลใด ย่อมรู้โดยประการทั้งหลายด้วยดี ฉะนั้น พระโยคีบุคคลนั้น

ชื่อว่า สัมปชาโน ผู้รู้ด้วยดี, แห่งพระโยคีบุคคลนั้นผู้รู้ด้วยดี.

คำว่า ปวตฺตปริยาทาเน - ในการครอบงำปวัตตขันธ์ ความว่า

ความเป็นไปแห่งขันธ์ ชื่อว่า ปวัตตะ, อธิบายว่า การเกิดขึ้น. ความ

เป็นไปแห่งกิเลสด้วย ความเป็นไปแห่งขันธ์ด้วย. การครอบงำ ความ

สิ้นไป ความไม่เป็นไปแห่งปวัตตขันธ์นั้น ชื่อว่า ปวตฺตปริยาทาน -

การครอบงำปวัตตขันธ์. ในการครอบงำปวัตตขันธ์นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

คำว่า ปรินิพฺพาเน าณ - ญาณในปรินิพพาน ความว่า

ญาณอันเป็นไปแล้ว ในกิเลสปรินิพพานและขันธปรินิพพานนั้น ของ

พระอรหันต์ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งความดับไป คือความไม่เป็นไปแห่งกิเลส

ทั้งหลายมีกามฉันทะเป็นต้น และอนุปาทิเสสปรินิพพานดับกิเลสและ

ขันธ์โดยไม่เหลือ.

๓๖. อรรถกถาสมสีสัฏฐญาณุทเทส

ว่าด้วย สมสีสัฏฐญาณ

คำว่า สพฺพธมฺมาน - แห่งธรรมทั้งปวง ความว่า แห่งธรรม

อันเป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งปวง.

คำว่า สมฺมาสมุจฺเฉเท - ในการตัดขาดโดยชอบ ความว่า

ในความดับด้วยดี ด้วยการตัดขาดสันตติด้วย.

คำว่า นิโรเธ จ อนุปฏฺานตา - ในความดับด้วยในความ

ไม่ปรากฏด้วย ความว่า ดำเนินไปในนิโรธ ในความไม่ปรากฏอีก,

อธิบายว่า ไม่เกิดขึ้นอีก.

อักษรต้องสัมพันธ์ควบกับ สมฺมาสมุจฺเฉเท จ - ในการ

ตัดขาดด้วยด้วย, นิโรเธ จ - ในความดับด้วย, อนุปฏฺนาตา จ -

ในความไม่ปรากฏด้วย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

คำว่า สมสีสฏฺเ าณ - ญาณในอรรถแห่งธรรมอันสงบ

และเป็นประธาน ความว่า ธรรม ๓๗ ประการมีเนกขัมมะเป็นต้น

ชื่อ สมะ - ธรรมอันสงบ, ธรรม ๑๓ ประการมีตัณหาเป็นต้น ชื่อ

สีสะ - ธรรมอันเป็นประธาน. ชื่อว่า สมะ เพราะปัจนิกธรรมทั้งหลาย

สงบ, ชื่อว่า สีสะ เพราะเป็นประธานตามสมควรแก่การประกอบ

และเพราะเป็นยอด.

ธรรมอันสงบมีเนกขัมมะเป็นต้น และธรรมอันเป็นประธาน

มีสัทธาเป็นต้น ในอิริยาบถหนึ่งก็ดี ในโรคหนึ่งก็ดี ในชีวิตินทรีย์

หนึ่งด้วยการสืบต่อกันโดยเสมอภาคก็ดี มีอยู่แก่ผู้นั้น ฉะนั้น ผู้นั้น

จึงชื่อว่า สมสีสี ผู้มีธรรมอันสงบและธรรมอันเป็นประธาน, อรรถะ

คือเนื้อความแห่งสมสีสี ชื่อว่า สมสีสัฏฐะ ในอรรถะแห่งสมสีสะนั้น,

อธิบายว่า ในความเป็นสมสีสี.

ความเป็นแห่งสมสีสีย่อมมีแก่พระอรหันต์เท่านั้นผู้ปรารภวิปัส-

สนาในอิริยาบถหนึ่ง หรือในโรคหนึ่ง หรือในชีวิต ด้วยการสืบต่อ

กันโดยเสมอภาค แล้วบรรลุมรรค ๔ ผล ๔ ในอิริยาบถนั้นนั่นเอง

หรือในโรค ในชีวิต ด้วยการสืบต่อกันโดยเสมอภาค ปรินิพพานอยู่

ในขณะนั้นนั่นเอง ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ญาณในความเป็นแห่ง

สมสีสีดังนี้. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ในปุคคลบัญญัติปกรณ์และอรรถ-

กถาแห่งปกรณ์ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

ก็บุคคลชื่อว่าสมสีสี เป็นไฉน ? การสิ้น

ไปแห่งอาสวะและการสิ้นไปแห่งชีวิตของบุคคล

ใด มีไม่ก่อนไม่หลังกัน บุคคลนี้เรียกว่า สมสีสี.

ฟังทราบวินิจฉัยในสมสีสีนิทเทสดังต่อไป

นี้ คำว่า อปุพฺพ อจริม - ไม่ก่อน ไม่หลัง ความว่า

ไม่ใช้ในภายหน้า ไม่ใช่ในภายหลัง คือ ในคราว

เดียวกันด้วยสามารถแห่งปัจจุบันสันตติ, อธิบาย

ว่า ในคราวเดียวกันนั่นเอง.

คำว่า ปริยาทาน - การประหาณ ได้แก่

การสิ้นไปรอบ.

คำว่า อย - บุคคลนี้ ความว่า บุคคลนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกชื่อว่าสมสีสี. ก็สมสีสี

บุคคลนี้นั้นมีอยู่ ๓ จำพวก คืออิริยาปถสมสีสี ๑,

โรคสมสีสี ๑, ชีวิตสมสีสี ๑.

บรรดาสมสีสีบุคคลทั้ง ๓ จำพวกนั้น บุคคลใด กำลังจงกรมอยู่

เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต ยังจงกรมอยู่นั่นเองก็ปรินิพพาน,

บุคคลใด กำลังยืนอยู่เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต ยังยืนอยู่

๑. อภิ.ปุ. ๓๖/๓๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

นั่นเองก็ปรินิพพาน, บุคคลใด กำลังนั่งอยู่เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุ

พระอรหัต ยังนั่งอยู่นั่นเองก็ปรินิพพาน บุคคลนี้ชื่อว่า อิริยาปถ-

สมสีสี.

ส่วนบุคคลใด เกิดโรคอย่างหนึ่งแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนาในภายใน

โรคนั่นเองแล้วบรรลุพระอรหัต แล้วปรินิพพานไปด้วยโรคนั้นนั่น

แหละ, บุคคลนี้ชื่อว่า โรคสมสีสี.

บุคคล ชื่อว่า ชีวิตสมสีสี เป็นไฉน ? ศีรษะมี ๑๓. บรรดา

ศีรษะเหล่านั้น อรหัตมรรคย่อมครอบงำอวิชชาอันเป็นกิเลสสีสะ, จุติ

จิตย่อมครอบงำชีวิตินทรีย์อันเป็นปวัตตสีสะ, จิตที่ครอบงำอวิชชา

ครอบงำชีวิตินทรีย์ไม่ได้. จิตที่ครอบงำชีวิตินทรีย์ก็ครอบงำอวิชชา

ไม่ได้. จิตที่ครอบงำอวิชชาเป็นอย่างหนึ่ง, และจิตที่ครอบงำชีวิตินทรีย์

ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง. ก็ทั้ง ๒ ศีรษะนี้ ของบุคคลใดย่อมถึงซึ่งการ

ครอบงำพร้อมกัน. บุคคลนั้นชื่อว่า ชีวิตสมสีสี.

ศีรษะทั้ง ๒ นี้ จะมีพร้อมกันได้อย่างไร ? มีได้เพราะพร้อมกัน

โดยวาระ. อธิบายว่า การออกจากมรรคมีในวาระใด พระอริยบุคคล

ตั้งอยู่ในปัจจเวกขณญาณ ๑๙ คือ

๑. ตัณหา, มานะ, ทิฏฐิ, อุทธัจจะ, อวิชชา, สัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ,

ปัญญา, ชีวิตินทรีย์, วิโมกข์, นิโรธะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

ในโสดาปัตติมรรค มีปัจจเวกขณญาณ ๕,

ในสกทาคามิมรรค มีปัจจเวกขณญาณ ๕,

ในอนาคามิมรรค มีปัจจเวกขณญาณ ๕,

ในอรหัตมรรค มีปัจจเวกขณญาณ ๔,

แล้วหยั่งลงสู่ภวังค์ จึงปรินิพพาน.

การครอบงำศีรษะทั้ง ๒ ชื่อว่าย่อมมีพร้อมกันได้ เพราะ

พร้อมกันโดยวาระนี้นั่นเอง เพราะเหตุนั้น บุคคลนี้ ท่านจึงเรียกว่า

ชีวิตสมสีสี. ก็ชีวิตสมสีสีบุคคลนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์

เอาแล้วในที่นี้.

๓๗. อรรถกถาสัลเลขัฏฐญาณุทเทส

ว่าด้วย สัลเลขัฏฐญาณ

สุตมยญาณ, สีลมยญาณ, และภาวนามยญาณ ที่เป็นบาทแห่ง

วัฏสงสาร ย่อมไม่ชื่อว่า สัลเลขะ - ธรรมเป็นเครื่องขัดเกลา, ญาณ

เหล่านี้ก็ดี ญาณเหล่าอื่นก็ดี เฉพาะที่เป็นบาทแห่งโลกุตระ ท่าน

เรียกว่า สัลเลขะ - ธรรมเป็นเครื่องขัดเกลา ฉะนั้น เพื่อที่จะแสดง

ญาณทั้งหลายที่เป็นไปโดยอาการขัดเกลาปัจนิกธรรม พระธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

เสนาบดีสารีบุตรจึงยกเอาสัลเลขัฏฐญาณขึ้นแสดงต่อจาก สมสีสัฏฐญาณ

ณ บัดนี้.

ในสัลเลขัฎฐญาณนั้น คำว่า ปุถุนานตฺตเตชปริยาทาเน

ปญฺา - ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา มีสภาพต่าง ๆ

และเดช ความว่า ปัญญาในความสิ้นไปหมดไปแห่งกิเลสหนาทั้งหลาย

มีราคะเป็นต้น และนานัตตกิเลสอันเป็นสภาวะต่าง ๆ มีกามฉันทะเป็นต้น

กับทั้งกิเลสมีความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้นอันได้ชื่อว่า เดช เพราะอรรถว่า

เร่าร้อนเพราะอรรถว่าไม่เจือด้วยโลกุตระ, มีคำกล่าวอธิบายไว้ว่าปัญญา

ในธรรม ๓๗ ประเภทมีเนกขัมมะเป็นต้น.

หรือ อธิบายว่า ปัญญาอันหนา, ปัญญาอันมีสภาพ (ประเภท)

ต่าง ๆ, และปัญญาอันเป็นเดช เป็นปัญญาในการสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา

อันมีสภาพต่าง ๆ และเดช ๕ มีความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้น เหล่านั้นดังนี้.

จะแสดงการสงเคราะห์ปุถุธรรม และนานัตตธรรม๑ด้วยเดชทั้งหลาย

ในนิทเทสวาระ.

คำว่า สลฺเลขฏฺเ าณ - ญาณในอรรถว่าขัดเกลา มี

วิเคราะห์ว่า ธรรมใด ย่อมขัดเกลา ย่อมตัดขาดปัจนิกธรรมทั้งหลาย

ฉะนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า สัลเลขะ - ขัดเกลา, ญาณในธรรม ๓๗

ประเภทมีเนกขัมมะนั้นมีการขัดเกลาเป็นสภาวะ.

๑. ปุถุธรรม และนานัตตธรรมมีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

ถึงแม้สัลเลขธรรม ๔๔ ประเภทอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

ในสัลเลขสุตตันตะโดยนัยเป็นต้นว่า ชนทั้งหลายเหล่าอื่นจักเป็นผู้

เบียดเบียน, ในข้อนี้ เราจักไม่เป็นผู้เบียดเบียนดังนี้ ก็พึงทราบว่า

ท่านสงเคราะห์ด้วยสัลเลขญาณนี้เหมือนกัน.

๓๘. อรรถกถาวีริยารัมภญาณุทเทส

ว่าด้วย วีริยารัมภญาณ

บัดนี้ เพื่อจะแสดงวิริยะคือสัมมัปธานอันพระโยคีบุคคลผู้ตั้ง

อยู่ในสัลเลขญาณพึงกระทำ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงยกวีริยา-

รัมภญาณขึ้นแสดงต่อจากสัลเลขญาณนั้น.

ในวีริยารัมภญาณนั้น คำว่า อสลฺลีนตฺตปหิตตฺตปคฺคหฏฺเ-

ในอรรถว่าประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และตนอันส่งไปแล้ว ความ

ว่า ชื่อว่า อสัลลีนัตตะ - มีจิตไม่หดหู่ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า จิตไม่

หดหู่ ไม่ย่อท้อด้วยสามารถแห่งความเกียจคร้าน ของบุคคลนั้นมีอยู่

ดังนี้.

คำว่า อตฺตา ได้แก่จิต. ดุจคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็น

อาทิไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

ก็พวกคนไขน้ำย่อมไขน้ำไป, พวกช่างศร

ย่อมดัดศรให้ตรง, ช่างถากก็ถากไม้, บัณฑิต

ทั้งหลายก็ย่อมฝึกตน ดังนี้.

ชื่อว่า ปหิตัตตะ - มีตนส่งไปแล้ว เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า

อัตภาพอันตั้งไว้แน่วแน่ส่งไปปล่อยไป โดยไม่คำนึงถึงร่างกายและชีวิต

ด้วยธรรมนั้นดังนี้. คำว่า อตฺตา ได้แก่ อัตภาพ. ดุจคำที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเป็นอาทิไว้ว่า

อนึ่ง ภิกษุณีใด พร่ำตีตนแล้วร้องไห้ (เป็น

ปาจิตตีย์).

อสัลลีนัตตะนั้นด้วย ปหิตัตตะนั้นด้วย ชื่อ อสัลลีนัตตปหิ-

ตัตตะ - มีจิตไม่หดหู่และมีตนส่งไปแล้ว. ธรรมใดย่อมประคองคือย่อม

อุปถัมภ์สหชาตธรรม ฉะนั้นจึงชื่อว่า ปัคคหะ - ธรรมอันประคองสห

ชาตธรรม, ปัคคหะ ธรรมอันประคองสหชาตธรรมนั่นแหละเป็นอรรถ

ชื่อว่า ปัคคหัฏฐะ, อธิบายว่า มีการประกอบเป็นสภาวะ.

การประคองซึ่งจิตไม่หดหู่และมีตนอันส่งไปแล้ว ชื่อว่า อสัลลี-

นัตตปหิตัตตปัคคหัฏฐะ. ในอรรถว่าประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และ

มีตนอันส่งไปแล้วนั้น.

๑. ขุ. ธ. ๒๕/๑๖. ๒. วิ. ภิกฺขุนี. ๓/๒๑๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

การไม่ย่อท้อ การไม่หมุนกลับในปธานความเพียร อันพระ-

ธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวแล้วด้วย คำว่า อสัลลีนัตตะ ปหิตัตตะ

เพราะเป็นคำอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลาย พึงศึกษา

อย่างนี้ว่า จักเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า

จะเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อ

และเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด, ยังไม่บรรลุ

ผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วย

ความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ

แล้วไซร้ ก็จักไม่หยุดความเพียรเลยดังนี้เป็นต้น.

ก็วิริยะ - ความเพียรอันเป็นไปแล้วด้วยดี พ้นแล้วจากโกสัชชะ

- ความเกียจคร้าน และอุทธัจจะ - ความฟุ้งซ่าน พระธรรมเสนาบดี

สารีบุตรกล่าวแล้วด้วยคำว่าปัคคหัฏฐะ.

คำว่า วีริยารมฺเภ าณ - ญาณในการปรารภความเพียร

ความว่า ความเป็นแห่งความแกล้วกล้า ชื่อว่า วีริยะ, หรือ วีรกรรม

ของผู้แกล้วกล้าทั้งหลาย ชื่อว่า วีริยะ, หรือ ชื่อว่า วีริยะ เพราะเป็น

๑. องฺ. ทุก. ๒๐/๒๕๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

กิจอันบุคคลพึงให้ดำเนินไปพึงให้เป็นไปได้ด้วยวิธี, ด้วยนัย, ด้วยอุบาย.

วีริยะนี้นั้น มีความอุตสาหะเป็นลักษณะ, มีการอุปถัมภ์ สห-

ชาตธรรมเป็นกิจ, มีการไม่ย่อท้อเป็นอาการปรากฏเฉพาะหน้า, มีความ

สังเวชเป็นเหตุใกล้ โดยพระบาลีว่า เป็นผู้สลดแล้ว เริ่มตั้งความเพียร

ไว้โดยแยบคาย ดังนี้เป็นต้น, หรือมีเหตุเป็นเครื่องเริ่มความเพียรเป็น

เหตุใกล้.

การปรารภความเพียรโดยชอบ พึงทราบว่าเป็นมูลแห่งสมบัติ

ทั้งปวง. ความริเริ่มกล่าวคือวิริยะ ชื่อว่า วีริยารัมภะ - เริ่มความเพียร.

ท่านห้ามความริเริ่มที่เหลือด้วยวีริยารัมภศัพท์นี้. จริงอยู่ อารัมภ ศัพท์

นี้มาแล้วในอรรถเป็นอเนกมีอรรถว่า กรรม, อาบัติ, กิริยา, วีริยะ,

หิงสา, วิโกปนะ.

ก็คำว่า อารมฺโภ แปลว่า กรรม มาในคาถานี้ว่า

ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่ ทุกข์ทั้งหมด

ย่อมเกิดเพราะ กรรม เป็นปัจจัย, ความเกิดขึ้นแห่ง

ทุกข์ย่อมไม่มีเพราะการดับแห่ง กรรม ทั้งหลาย๑.

๑. ขุ.สุ. ๒๕/๔๐๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

คำว่า อารมฺโภ แปลว่า อาบัติ มาในคำนี้ว่า ปรารภจะล่วง

อาบัติ ด้วย ย่อมเดือดร้อนด้วย.

อารมฺโภ แปลว่า กิริยา เป็นเครื่องยกเสาสำหรับผูกสัตว์บูชายัญ

มาในคำนี้ว่า มหายัญทั้งหลาย ที่มีการจะต้อง ริเริ่ม มาก, มหายัญ

เหล่านั้น หามีผลมากไม่.

อารมฺโภ แปลว่า วีริยะ มาในคำนี้ว่า ท่านทั้งหลายจง ริเริ่ม,

จงก้าวไป, จงประกอบความเพียรในพระพุทธศาสนา.

อารมฺโภ แปลว่า หิงสา - ฆ่า, เบียดเบียน มาในคำนี้ว่า

ชนทั้งหลาย ย่อมฆ่า สัตว์เจาะจงเฉพาะพระสมณโคดม.

อารมฺโภ แปลว่า วิโกปนะ - การพรากมีการตัดการหัก เป็นต้น

มาในคำนี้ว่า เป็นผู้เว้นขาด จากการพราก พืชคามและภูตคาม.

แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอา วีริยะ เท่านั้น. เพราะฉะนั้น ท่าน

จึงกล่าวไว้ว่า ความริเริ่ม กล่าวคือวีริยะ - ความเพียร ชื่อว่า วีริยา-

รัมภาปรารภความเพียร วีริยะนี้แลท่านเรียกว่า อารัมภะ ด้วย

๑. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๑๔๒. ๒. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๓๙. ๓. ส. ส. ๑๕/๖๑๗.

๔. ม. ม. ๑๓/๕๖. ๕. ม. มู. ๑๒/๓๓๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

สามารถแห่งความพยายาม. ญาณในวีริยารัมภะนั้น. อาจารย์บางพวก

กล่าวว่า อสลฺลีนตฺตา ปหิตตฺตา ดังนี้บ้าง, ความว่า เพราะไม่หดหู่,

เพราะไม่คำนึงถึงร่างกายและชีวิต. ปาฐะแรกนั่นแล ถูก. แต่อาจารย์

บางพวก พรรณนาไว้ว่า ความพร้อมเพรียงแห่งสัมโพชฌงค์ คือ สติ,

ธรรมวิจยะ, วีริยะ, ปีติ ชื่อว่า อสัลลีนัตตา, ความพร้อมเพรียงแห่ง

โพชฌงค์ คือ สติ, สมาธิ, ปัสสัทธิ, อุเบกขา ชื่อว่า ปหิตัตตา,

ความพร้อมเพรียงแห่งสัมโพชฌงค์ทั้ง ๗ ชื่อว่า ปัคคหัฏฐะ ดังนี้.

๓๙. อรรถกถาอัตถสันทัสนญาณุทเทส

ว่าด้วย อัตถสันทัสนญาณ

บัดนี้ เพื่อแสดงว่า ธรรมเทศนาอันท่านผู้บรรลุมรรคผล อัน

สำเร็จด้วยสัมมาวายามะ พึงกระทำเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกดังนี้

พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร จึงยกอัตถสันทัสนญาณขึ้นแสดงต่อจาก

วีริยารัมภญาณนั้น.

ในอัตถสันทัสนญาณนั้น คำว่า นานาธมฺมปฺปกาสนตา -

การประกาศธรรมต่าง ๆ ความว่า การแสดง การเทศนา โดยการ

ประกาศธรรมต่าง ๆ คือ สังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งปวง. ก็การ

ประกาศนั่นแหละ ชื่อว่า ปกาสนตา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

คำว่า อตฺถสนฺทสฺสเน - ในการแสดงให้เห็นชัดซึ่งอรรถ-

ธรรม ความว่า ในการแสดงให้เห็นชัดซึ่งอรรถธรรมต่าง ๆ แก่ชน

ทั้งหลายเหล่าอื่น. ธรรมทั้งหลายและอรรถทั้งหลาย ชื่อว่า อรรถธรรม

ทั้งหลายเหล่านั้นนั่นเอง.

๔๐. อรรถกถา ทัสนวิสุทธิญาณุทเทส

ว่าด้วย ทัสนวิสุทธิญาณ

บัดนี้ เพื่อจะแสดงทัสนวิสุทธิอันเป็นเหตุแห่งการแสดงตาม

สภาวธรรม ของพระอริยบุคคลนั้นผู้กำลังแสดงให้เห็นชัดอยู่แก่ชน

ทั้งหลายเหล่าอื่นด้วยธรรมิกถา พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงยกเอา

ทัสนวิสุทธิญาณขึ้นแสดงต่อจากอัตถสันทัสนญาณนั้น.

ในทัสนวิสุทธิญาณนั้น คำว่า สพฺพธมฺมาน เอกสงฺคหตา

นานตฺเตกตฺตปฏิเวเธ - ในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวด

เดียวกันในการแทงตลอด ธรรมต่างกันและธรรมเป็นอันเดียวกัน

ความว่า การแทงตลอดสังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งปวงสงเคราะห์

โดยความเป็นอันเดียวกัน, และความต่างกันแห่งนีวรณธรรมมีกาม-

ฉันทะเป็นต้น, กับทั้งความเป็นอันเดียวกันทั้งธรรมทั้งหลายมีเนก-

ขัมมะเป็นต้น, อธิบายว่า อภิสมัย คือ ตรัสรู้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

ก็ปฏิเวธนั้น ได้แก่ มรรคปัญญา ๑ ผลปัญญา ๑. มรรคปัญญา

เป็นปฏิเวธเพราะกำลังแทงตลอดด้วยการตรัสรู้สัจจะในขณะตรัสรู้สัจจะ,

ผลปัญญา เป็นปฏิเวธ เพราะแทงตลอดแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยใน คำว่า เอกสงฺคหตา ดังต่อไปนี้ :-

สังคหะ- การสงเคราะห์ มี ๔ อย่างคือ ชาติสังคหะ - สงเคราะห์

โดยชาติ, สัญชาติสังคหะ - สงเคราะห์โดยสัญชาติ, กิริยาสังคหะ-

สงเคราะห์โดยการกระทำ, คณนสังคหะ - สงเคราะห์โดยการนับ.

บรรดาสังคหะ ๔ อย่างนั้น สังคหะนี้ว่า กษัตริย์ทั้งปวงจงมา,

พราหมณ์ทั้งปวงจงมา, แพศย์ทั้งปวงจงมา, ศูทรทั้งปวงจงมา, หรือ

ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, และสัมมาอาชีวะ,

ธรรมเหล่านี้ ท่านสงเคราะห์ในสีลขันธ์ ดังนี้ ชื่อว่า ชาติสังคหะ.

เพราะว่าในที่นี้ กษัตริย์เป็นต้น ดังที่กล่าวแล้วทั้งหมด ท่านสงเคราะห์

เป็นอันเดียวกันโดยชาติ ดุจในฐานะแห่งคำที่กล่าวว่า คนชาติเดียวกัน

จงมา ดังนี้.

สังคหะนี้ว่า ชนชาวโกศลทั้งปวงจงมา, ชนชาวมคธทั้งปวง

จงมา, ชนชาวภารุกัจฉกะจงมา, หรือ ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ สัมมา-

วายามะ, สัมมาสติ, และสัมมาสมาธิ, ธรรมเหล่านี้ ท่านสงเคราะห์

ลงในสมาธิขันธ์ ดังนี้ ชื่อว่า สัญชาติสังคหะ. เพราะว่าในที่นี้

๑. ม. มู. ๑๒/๕๐๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

ชนชาวโกศลเป็นต้น ดังที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เป็นอัน

เดียวกันโดยที่เป็นที่เกิด โดยที่เป็นที่อยู่อาศัย ดุจในฐานะแห่งคำที่

กล่าวว่า คนสัมพันธ์กันโดยชาติ ในที่เดียวกันจงมา ดังนี้.

สังคหะนี้ว่า นายควาญช้างทั้งปวงจงมา, นายสารถีฝึกม้าทั้งปวง

จงมา, หรือ ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ สัมมาทิฏฐิ, และสัมมาสังกัปปะ,

ธรรมเหล่านี้ท่านสงเคราะห์ลงในปัญญา ดังนี้ ชื่อว่า กิริยาสังคหะ.

เพราะว่านายควาญช้างเป็นต้นเหล่านั้นทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เป็นอัน

เดียวกันด้วยการกระทำคือกิริยาของตน.

สังคหะนี้ว่า จักขายตนะ ย่อมถึงการนับโดยขันธ์เป็นไฉน ?

จักขายตนะย่อมถึงการนับได้ด้วยรูปขันธ์. หากว่า จักขายตนะย่อมถึง

การนับได้ด้วยรูปขันธ์, ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า จักขายตนะ

ท่านนับสงเคราะห์ด้วยรูปขันธ์ ดังนี้ ชื่อว่า คณนสังคหะ. ในที่นี้

ท่านประสงค์เอาคณนสังคหะนี้.

การกำหนดนับสงเคราะห์ธรรมเป็นแผนก ๆ โดยความเป็นอัน

เดียวกัน ในอาการ ๑๒ มีตถัฏฐะ - สภาพตามความเป็นจริงเป็นต้น มี

แก่สังคหะเหล่านั้น ฉะนั้น สังคหะเหล่านั้น จึงชื่อว่า เอกสังคหา,

ความเป็นแห่งเอกสังคหะ ชื่อว่า เอกสังคหตา - การสงเคราะห์ธรรม

ต่าง ๆ โดยความเป็นอันเดียวกัน.

๑. ม. มู. ๑๒/๕๐๘. ๒. อภิ. ก. ๓๗/๑๑๒๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

คำว่า ทสฺสนวิสุทฺธิาณ - ญาณในความบริสุทธิ์แห่ง

มรรคญาณและผลญาณ ความว่า มรรคญาณและผลญาณ ชื่อว่า

ทัสนะ, ทัสนะนั่นแหละบริสุทธิ์ ชื่อว่า ทัสนวิสุทธิ, ญาณคือทัสน-

วิสุทธิ ชื่อว่า ทัสนวิสุทธิญาณ. มรรคญาณย่อมบริสุทธิ์ ฉะนั้นจึง

ชื่อว่า ทัสนวิสุทธิ, ผลญาณก็ชื่อว่า ทัสนวิสุทธิ เพราะบริสุทธิ์แล้ว.

๔๑. อรรถกถา ขันติญาณุทเทส

ว่าด้วย ขันติญาณ

บัดนี้ เพื่อจะแสดงวิปัสสนาญาณ ๒ ประการอันให้สำเร็จทัสน-

วิสุทธิ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงยกขันติญาณและปริโยคาหณญาณ

ขึ้นแสดงต่อจากทัสนวิสุทธิญาณนั้น.

ในขันติญาณนั้น คำว่า วิทิตตฺตา ปญฺา - ปัญญาในความ

ที่ธรรมปรากฏ ความว่า ปัญญาอันเป็นไปแล้ว เพราะรู้แจ้งซึ่งธรรม

มีรูปขันธ์เป็นต้น โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น.

คำว่า ขนฺติ าณ - ขันติญาณ ความว่า ธรรมชาติใด

ย่อมรู้ธรรมโดยความเป็นของไม่เที่ยงนั่งเอง ฉะนั้น จึงชื่อว่า ขันติ,

ญาณคือขันติ ชื่อว่า ขันติญาณ. ด้วยขันติญาณนี้ ย่อมห้ามอธิวาสน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

ขันติ. ขันติญาณนี้เป็นตรุณวิปัสสนาญาณอันเป็นไปแล้วด้วยสามารถ

แห่งสัมมสนญาณ มีการพิจารณาสังขารธรรมโดยความเป็นกลาปเป็นต้น.

๔๒. อรรถกถาปริโยคาหณญาณุทเทส

ว่าด้วย ปริโยคาหณญาณ

คำว่า ผุฏฺตฺตา ปญฺา - ปัญญาอันถูกต้องซึ่งธรรม ความ

ว่า ปัญญาอันเป็นไปแล้วเพราะความที่แห่งธรรมทั้งหลายมีรูปขันธ์เป็น

ต้น เป็นธรรมอันญาณผัสสะถูกต้องแล้วด้วยสามารถแห่งการพิจารณา

โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น.

คำว่า ปริโยคาหเณ าณ - ญาณในการหยั่งลง ความว่า

ญาณใด ย่อมหยั่งลง ย่อมเข้าไปสู่ธรรมอันญาณผัสสะถูกต้องแล้วนั่นเอง

ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่า ปริโยคาหณญาณ. อาจารย์บางพวก ทำ

รัสสะ คา อักษรเสียบ้างแล้วสวด. ปริโยคาหณญาณนี้เป็นติกขวิปัสสนา-

ญาณเป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่งภังคานุปัสนา. แต่อาจารย์บางพวก

กล่าวว่า วิปัสสนาญาณนั่นแหละ เป็นขันติญาณสำหรับผู้มีสัทธาเป็น

พาหะ, เป็นปริโยคาหณญาณสำหรับผู้มีปัญญาเป็นพาหะ. เมื่อเป็น

๑. คือยังทำลายฆนสัญญาไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

เช่นนี้ ญาณทั้ง ๒ นี้ ย่อมไม่เกิดพร้อมกันแก่คนๆ หนึ่ง, ญาณที่

สาธารณะแก่พระสาวก ๖๗ ย่อมไม่เกิดขึ้นพร้อมกันแก่พระสาวกรูปหนึ่ง

ในการเกิดขึ้นพร้อมกันแห่งญาณนั้น, เพราะฉะนั้น คำของอาจารย์

บางพวกนั้น จึงไม่ถูก.

๔๓. อรรถกถาปเทสวิหารญาณุทเทส

ว่าด้วย ปเทสวิหารญาณ

ประเทสวิหารญาณอันให้สำเร็จทัสนวิสุทธิญาณของพระอรหันต์

อันพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวญาณอันเป็นเหตุให้สำเร็จทัสน-

วิสุทธิญาณว่า ปุถุชนและพระเสกขบุคคลทั้งหลายพิจารณาอยู่ซึ่งธรรม

ทั้งสิ้นมีขันธ์เป็นต้น อันเข้าถึงวิปัสสนา, ไม่พิจารณาเอกเทสแห่งธรรม

เหล่านั้น, เพราะฉะนั้น ปเทสวิหารญาณย่อมไม่ได้แก่ปุถุชนและพระ-

เสกขบุคคลเหล่านั้น, แต่ย่อมได้ตามชอบใจแก่พระอรหันต์เท่านั้น ดังนี้

แล้วจึงยกขึ้นแสดงต่อจากปริโยคาหณญาณ.

ในปเทสวิหารญาณ คำว่า สโมทหเน ปญฺา - ปัญญาใน

การประมวลมา ความว่า ปัญญาในการประมวลมา คือปัญญาในการ

รวบรวมมา ได้แก่ ปัญญาในการกระทำซึ่งธรรมคือเวทนาอันเป็นธรรม

พวกเดียวกันให้เป็นกอง บรรดาธรรมมีขันธ์เป็นต้น. ปาฐะว่า สโม-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

ธาเน ปญฺา - ปัญญาในการประชุมดังนี้ก็มี, ใจความก็อันนั้นนั่น

แหละ.

คำว่า ปเทสวิหาเร าณ - ญาณในวิหารธรรมส่วนหนึ่ง

ความว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ด้วยอังคาพยพส่วนหนึ่ง โดยส่วนแห่ง

ธรรมมีขันธ์เป็นต้น ชื่อว่า ปเทสวิหาระ - ธรรมเป็นเครื่องอยู่ส่วน

หนึ่ง, ญาณในปเทสวิหารธรรมนั้น.

ในคำว่า ปเทสวิหาระนั้น ปเทสะมีอย่างต่าง ๆ คือ ขันธปเทสะ,

อายตนปเทสะ, ธาตุปเทสะ, สัจจปเทสะ, อินทริยปเทสะ, ปัจจยา-

การปเทสะ, สติปัฏฐานปเทสะ, ฌานปเทสะ, นามรูปปเทสะ, ธัมม-

ปเทสะ ชื่อว่า ปเทสะ. ก็ปเทสะมีอย่างต่าง ๆ อย่างนี้ ก็คือเวทนา

นั่นเอง. อย่างไร ? เวทนานั่นเองเป็นปเทสะแห่งธรรมมีขันธ์เป็นต้น

อย่างนี้ คือ

ขันธ์ ๕ เอกเทสแห่งขันธ์ คือเวทนาขันธ์,

อายตนะ ๑๒ เอกเทสแห่งธรรมายตนะ คือ

เวทนา, ธาตุ ๑๘ เอกเทสแห่งธรรมธาตุ คือ

เวทนา, สัจจะ ๔ เอกเทสแห่งทุกขสัจ คือ

เวทนา, อินทรีย์ ๒๒ เอกเทสแห่งอินทรีย์ คือ

เวทนินทรีย์ ๕, ปฏิจจสมุปปาทังคะ ๑๒ เอก-

เทสแห่งปัจจยาการ คือเวทนามีผัสสะเป็นปัจจัย,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

สติปัฏฐาน ๔ เอา เทสแห่งสติปัฏฐาน คือเวทนา-

นุปัสนา, ฌาน ๔ เอกเทสแห่งฌาน คือสุข-

เวทนาและอุเบกขาเวทนา, นามรูป เอกเทสแห่ง

นามรูป คือเวทนาเจตสิก.

ธรรมทั้งปวงมีกุศลธรรมเป็นต้น, เอกเทสแห่งธรรม คือเวทนา

ชื่อว่า ปเทสวิหาระ ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเวทนานั้นนั่นแล.

๔๔. อรรถกถาสัญญาวิวัฏญาณุทเทส

ว่าด้วย สัญญาวิวัฏญาณ

เพราะเหตุที่ปุถุชนและพระเสกขบุคคลทั้งหลาย เมื่อเจริญญาณ

อันสำเร็จแล้วด้วยสมาธิภาวนา กระทำภาวนาธรรมที่ควรเจริญนั้น ๆ

ให้เป็นอธิบดี ให้เป็นใหญ่ พิจารณาธรรมทั้งหลายที่ตรงกันข้ามกับ

ภาวนาธรรมนั้น มีสภาวะต่าง ๆ มีโทษเป็นเอนก โดยความเป็นธรรม

มีโทษ แล้วตั้งจิตไว้ด้วยสามารถแห่งภาวนาธรรมนั้น ๆ ก็ย่อมละปัจ-

นิกธรรมเหล่านั้น ๆ เสียได้, และเมื่อละก็เห็นสังขารธรรมทั้งปวงโดย

ความเป็นของว่างในกาลแห่งวิปัสสนาภายหลัง ย่อมละได้ด้วยสมุจเฉท-

ปหาน, ก็แลเมื่อละอยู่อย่างนั้น ย่อมแทงตลอดสัจจะทั้งหลายละได้

ด้วยการตรัสรู้ในขณะเดียว, พระอริยะทั้งหลายแม้ทั้งปวง ย่อมปฏิบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

ตามควรด้วยอาการทั้งหลายตามที่กล่าวแล้วนั่นแล, ฉะนั้นพระธรรม-

เสนาบดีสารีบุตรจึงยกญาณทั้ง ๖ มีสัญญาวิวัฏญาณเป็นต้น ขึ้นแสดง

ต่อจากปเทสวิหารญาณตามลำดับ ณ บัดนี้.

ในสัญญาวิวัฏญาณนั้น คำว่า อธิปตตฺตา ปญฺา - ปัญญา

มีกุศลเป็นอธิบดี ความว่า ปัญญาที่กระทำกุศลธรรมมีเนกขัมมะ

เป็นต้น ให้เป็นธรรมอันยิ่งโดยความเป็นแห่งอธิบดีแห่งกุศลธรรมทั้ง-

หลายมีเนกขัมมะเป็นต้น แล้วเป็นไปโดยความเป็นธรรมอันยิ่งในกุศล-

ธรรมมีเนกขัมมะเป็นต้นนั้น.

คำว่า สญฺาวิวฏฺเฏ าณ - ญาณในความหลีกออกจาก

นิวรณ์ด้วยสัญญา ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า การหลีกออก การหมุนออก

ความเป็นผู้หันหลังให้นิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้น ได้ด้วยสัญญา ฉะนั้น

จึงชื่อว่า สัญญาวิวัฏฏะ, ญาณในการหลีกออกจากนิวรณ์มีกามฉันทะ

เป็นต้นนั้น ๆ ด้วยสัญญาที่กระทำภาวนาธรรมนั้น ๆ ให้เป็นอธิบดี เป็น

เหตุ เป็นกรณะ.

สัญญา แม้จะมิได้กล่าวไว้ว่า เอตฺโต วิวฏฺโฏ - หมุนกลับ

จากภาวนาธรรมนี้ แต่ก็เป็นเหตุให้สัญญาหมุนกลับ เหมือนอย่าง

วิวัฏนานุปัสสนา.

ก็สัญญานั้น มีความจำอารมณ์ เป็น ลักษณะ,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

มีการจำอารมณ์ได้และทำนิมิตไว้ เป็น กิจ เหมือนช่างไม้ ทำ

เครื่องหมายไว้ที่ไม้เป็นต้น,

มีความจำได้ในสิ่งที่หมายไว้ เป็น ปัจจุปัฏฐาน เหมือนคนตา

บอดคลำช้าง, อีกอย่างหนึ่ง มีการตั้งอยู่ไม่นานเพราะหยั่งลงในอารมณ์

เป็น ปัจจุปัฏฐาน เหมือนสายฟ้าแลบ,

มีอารมณ์ที่กำหนดไว้ เป็น ปทัฏฐาน เหมือนสัญญาในหุ่นที่

ทำด้วยหญ้าเกิดแก่ลูกเนื้อว่า เป็นบุรุษ.

๔๕. อรรถกถาเจโตวิวัฏญาณุทเทส

ว่าด้วย จโตวิวัฏญาณ

คำว่า นานตฺเต ปญฺา - ปัญญาในนานัตตธรรม ความว่า

ปัญญาที่เป็นไปแล้วในสภาวธรรมต่าง ๆ โดยความเป็นภาเวตัพพธรรม-

ธรรมที่ควรเจริญ และในสภาวธรรมอื่น มีกามฉันทะเป็นต้น โดย

เห็นว่าเป็นธรรมมีโทษ.

และคำว่า นานตฺเต เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งนิมิตต-

สัตตมี, อีกอย่างหนึ่ง ละความเป็นต่าง ๆ ชื่อว่า นานัตตะ, อธิบายว่า

เหตุแห่งการละนานัตตธรรม เป็นนิมิตแห่งการละนานัตตธรรม เป็น

ปัญญาในกุศลธรรมมีเนกขัมมะเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

คำว่า เจโตวิวฏฺเฏ าณ - ญาณในการหลีกออกจากนิวรณ์

ด้วยใจ ความว่า การออกจากนิวรณ์ มีกามฉันทะเป็นต้น ได้ด้วยใจ

เป็นญาณในกุศลธรรมมีเนกขัมมะเป็นต้น.

ก็ในคำว่า เจโต นี้ ท่านประสงค์เอาเจตนา. เจตนานั้น

มีการชักชวนเป็น ลักษณะ, อีกอย่างหนึ่ง

มีการไหลออกแห่งผล เป็น ลักษณะ,

มีการรวบรวมมา เป็น กิจ,

มีการจัดแจง เห็น ปัจจุปัฏฐาน เหมือนนายช่างใหญ่ผู้

เป็นหัวหน้าศิษย์ ทำกิจของตนและกิจของคนอื่นให้สำเร็จฉะนั้น. ก็

และเจตนานี้ ย่อมปรากฏโดยความยกสัมปยุตธรรมทั้งหลายในกิจมีการ

ระลึกถึงการงานอันเร่งรีบ.

๔๖. อรรถกถาจิตวิวัฏญาณุทเทส

ว่าด้วย จิตวิวัฏญาณ

คำว่า อธิฏฺาเน ปญฺา - ปัญญาในการอธิฏฐาน ความว่า

ปัญญาในการตั้งมั่นแห่งจิตด้วยสามารถแห่งคุณมีเนกขัมมะเป็นต้น.

คำว่า จิตฺตวิวฏฺเฏ าณ - ญาณในการออกไปแห่งจิต

ความว่า ญาณในการหลีกออกแห่งจิตด้วยสามารถแห่งการละนิวรณ์ มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

กามฉันทะเป็นต้น. ก็ในที่นี้ จิต

มีการรู้นิวรณ์ เป็น ลักษณะ,

มีการเกิดก่อนและเป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็น กิจ,

มีการเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็น ปัจจุปัฏฐาน,

มีนามรูป เป็น ปทัฏฐาน.

๔๗. อรรถกถา ญาณวิวัฏญาณุทเทส

ว่าด้วย ญาณวิวัฏญาณ

คำว่า สุญฺเต ปญฺา - ปัญาในความว่าง ความว่า

ปัญญาเป็นเครื่องตามความเห็นโดยความเป็นอนัตตา อันเป็นไปแล้ว

ในอนัตตธรรมและธรรมอันเนื่องด้วยอนัตตะ เพราะอัตตะและธรรมะ

อันเนื่องด้วยอัตตะเป็นของว่าง.

บทว่า าณวิวฏฺเฏ าณ - ญาณในความหลีกออกด้วย

ญาณ ความว่า ญาณนั่นแหละย่อมหลีกออกจากความยึดมั่นถือมั่น

ฉะนั้นจึงชื่อว่า วิวัฏฏะ - ญาณอันเป็นเหตุแห่งการหลีกออกด้วยญาณ

นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

๔๘. อรรถกถาวิโมกขวิวัฏญาณุทเทส

ว่าด้วย วิโมกขวิวัฏญาณ

ในคำนี้ว่า โวสฺสคฺเค ปญฺา - ปัญญาในการสละ พึงทราบ

วินิจฉัยดังต่อไปนี้ ธรรมใดย่อมสลัดออก ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า

โวสสัคคะ - การสลัดออก, การสละเสียได้ซึ่งกามฉันทะเป็นต้น เป็น

ปัญญาในคุณมีเนกขัมมะเป็นต้น.

คำว่า วิโมกฺขวิวฏเฏ าณ - ญาณในการหลีกออกแห่ง

จิตด้วยวิโมกข์ ความว่า ธรรมใดย่อมพ้นจากนิวรณ์ทั้งหลายมีกาม-

ฉันทะเป็นต้น ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า วิโมกข์, การหลีกออก คือ

วิโมกข์ ชื่อว่า วิโมกขวิวัฏฏะ, วิโมกขวิวัฏฏะนั้นนั่นแหละเป็นญาณ.

๔๙. อรรถกถาสัจวิวัฏญาณุทเทส

ว่าด้วย สัจวิวัฏญาณ

คำว่า ตถฏฺเ ปญฺา - ปัญญาในสภาวะที่เป็นจริง ความว่า

ปัญญาที่เป็นไปโดยไม่หลงด้วยสามารถแห่งกิจในสภาวธรรมอันไม่วิปริต

ในสัจจะหนึ่ง ๆ สัจจะละ ๔ ๆ.

คำว่า สจฺวิวฏฺเฏ าณ - ญาณในการหลีกออกด้วยสัจจะ

ความว่า ธรรมใดย่อมหลีกออกด้วยสามารถแห่งการออกจากส่วนสุดทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

๒ ในสัจจะทั้ง ๔ ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า สัจวิวัฏฏะ, สัจวิวัฏฏะ

นั่นแหละเป็นญาณ.

ญาณเดียวเท่านั้น ท่านกล่าวไว้ถึง ๔ ประการอย่างนี้ คือ

๑. สัญญาวิวัฏฏะ ด้วยสามารถแห่งกุศลธรรมเป็นอธิบดี,

๒. เจโตวิวัฏฏะ ด้วยสามารถแห่งธรรมที่ควรประหาณ,

๓. จิตวิวัฏฏะ ด้วยสามารถแห่งการตั้งมั่นแห่งจิต,

๔. วิโมกขวิวัฏฏะ ด้วยสามารถแห่งการละปัจนิกธรรม.

อนัตตานุปัสนาแล ท่านกล่าวว่า าณวิวฏฺเฏ าณ - ญาณ

ในการหลีกออกด้วยญาณ ด้วยสามารถแห่งอาการอันว่างจากอัตตา,

ภายหลังท่านก็กล่าวมรรคญาณไว้ ๒ อย่างคือ มคฺเค าณ - ญาณใน

มรรค และ อานนฺตริกสมาธิมฺหิ าณ - ญาณในอนันตริกสมาธิ,

ท่านกล่าวคำว่า สจฺจวิวฏฺ าณ - ญาณในการหลีกออกด้วยสัจจะ.

๕๐. อรรถกถาอิทธิวิธญาณุทเทส

ว่าด้วย อิทธิวิธญาณ

บัดนี้ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ยกอภิญญา ๖ ที่เป็นไปด้วย

สามารถแห่งญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นไปด้วยอำนาจ

สัจวิวัฏญาณนั้น ขึ้นแสดงโดยลำดับ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

ในอภิญญา ๖ แม้นั้น ท่านยกอิทธิวิธญาณแสดงก่อน คือ

ความแปลกประหลาด เพราะเป็นอานุภาพอันปรากฏแก่โลก, ยกทิพ-

โสตญาณขึ้นแสดงเป็นอันดับที่ ๒ คือ ทิพโสตญาณอันเป็นโอฬาริกวิสัย

เพราะเป็นอารมณ์ของเจโตปริยญาณ, ยกเจโตปริยญาณขึ้นแสดงเป็น

อันดับที่ ๓ เพราะเป็นสุขุมวิสัย.

บรรดาวิชชา ๓ ท่านยกบุพเพนิวาสานุสติญาณ ขึ้นแสดงเป็น

อันดับที่ ๑ เพราะบรรเทาความมืดในอดีตที่ปกปิดบุพเพนิวาสคือการ

เกิดในชาติก่อน, ยกทิพจักขุญาณขึ้นแสดงเป็นอันดับที่ ๒ เพราะ

บรรเทาความมืดทั้งในปัจจุบันและอนาคต, ยกอาสวักขยญาณขึ้นแสดง

เป็นอันดับที่ ๓ เพราะตัดความมืดทั้งหมดเสียได้เด็ดขาด.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า กายมฺปิ-แม้ซึ่งกาย ได้แก่ แม้

ซึ่งรูปกาย.

คำว่า จิตฺตมฺปิ - แม้ซึ่งจิต ได้แก่ แม้ซึ่งจิตอันมีฌานเป็นบาท.

คำว่า เอกววตฺถานตา - เพราะการกำหนดเข้าเป็นอันเดียว

กัน มีคำอธิบายว่า ด้วยทิสมานกายหรืออทิสมานกาย เพราะตั้งไว้

โดยความเป็นอันเดียวกันกับบริกรรมจิต และเพราะกระทำกายและจิต

ให้ระคนกันตามที่จะประกอบได้ ในคราวที่ประสงค์จะไป.

ก็คำว่า กาโย - กาย ในที่นี้ ได้แก่ สรีระ. จริงอยู่ สรีระ

ท่านเรียกว่า กาย เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งอวัยวะทั้งหลายมีเกสา - ผม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

เป็นต้นอันน่าเกลียดเพราะสั่งสมไว้ซึ่งอสุจิ และเป็นบ่อเกิดแห่งโรค

หลายร้อย มีโรคทางจักษุเป็นต้น.

ศัพท์ ท่านประกอบไว้ในคำนี้ว่า สุขสญฺญฺจ ลหุ-

สญฺญฺจ - ซึ่งสุขสัญญาด้วย ซึ่งลหุสัญญาด้วย เป็นสมุจจยัตถะ

ควบสัญญาศัพท์เดียวเท่านั้น อันสัมปยุตกับจตุตถฌานให้เป็น ๒ บท

เพราะต่างกันโดยอาการ. จริงอยู่ อุเบกขาในจตุตถฌาน ท่านกล่าวว่า

สนฺต - สงบ สุข - เป็นสุข, สัญญาที่สัมปยุตกับอุเบกขานั้น ชื่อว่า

สุขสัญญา. สุขสัญญานั่นแหละ ชื่อว่า ลหุสัญญา เพราะพ้นนิวรณ์

ทั้งหลายและปัจนิกธรรมมีวิตกเป็นต้น.

คำว่า อธิฏฺานวเสน - ด้วยสามารถแห่งการตั้งไว้ ความว่า

ด้วยสามารถแห่งการตั้งไว้อย่างยิ่ง, อธิบายว่า ด้วยสามารถแห่งการเข้า

ไป. ศัพท์ ในคำว่า อธิฏฺานวเสน จ ท่านนำมาเชื่อมเข้าไว้.

เหตุตามที่ประกอบได้ของอิทธิวิธมีประการทั้งปวง ท่านกล่าวไว้แล้ว

เพียงเท่านี้.

คำว่า อิชฺฌนฏฺเ ปญฺา - ปัญญาในการสำเร็จ ความว่า

ปัญญาในสภาวะคือการสำเร็จ.

คำว่า อิทฺธิวิเธ าณ - ญาณในการแสดงฤทธิได้ต่าง ๆ

มีคำอธิบายท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่า อิทฺธิ - ฤทธิ ในอรรถว่าสำเร็จ,

และในอรรถว่าได้เฉพาะ เพราะอรรถว่าสำเร็จ. จริงอยู่ สิ่งใดจะเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

ขึ้น และจะได้เฉพาะ สิ่งนั้นท่านเรียกว่า อิชฺฌติ - ย่อมสำเร็จ.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ถ้าว่า เมื่อบุคคลปรารถนากามอยู่ และ

กามก็ย่อมสำเร็จแก่ผู้นั้น ดังนี้.

อนึ่งดุจดังที่ท่านกล่าวไว้ ว่า

เนกขัมมะ ย่อมสำเร็จ ฉะนั้นจึงชื่อว่า

อิทฺธิ - ฤทธิ เนกขัมมะย่อมกำจัดกามฉันทะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า ปาฏิหาริย์, อรหัตมรรค ย่อม

สำเร็จ ฉะนั้นจึงชื่อว่า อิทฺธิ - ฤทธิ, อรหัตมรรค

นั้น ย่อมทำลายกิเลสทั้งหมดได้ ฉะนั้นจึงชื่อว่า

ปาฏิหาริย์ ดังนี้.

นัยอื่น อีก

ชื่อว่า อิทธิ - ฤทธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ, คำนี้เป็นชื่อของ

อุบายสัมปทา, จริงอยู่ อุบายสัมปทา ย่อมสำเร็จ เพราะประสบผล

ที่ตนประสงค์. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

จิตตคฤหบดีนี้แล เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณ-

ธรรม, ถ้าเธอจักปรารถนาว่า ขอให้เราได้เป็น

พระเจ้าจักรพรรดิราชในอนาคตกาลไซร้ ความ

๑. ขุ. สุ. ๒๕/๔๐๗. ๒. ขุ. ป. ๓๑/๗๒๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

ปรารถนาด้วยใจของเธอผู้มีศีล จักสำเร็จ เพราะ

ความปรารถนานั้นบริสุทธิ์๑ ดังนี้.

นัยอื่น อีก

สัตว์ทั้งหลายย่อมสำเร็จได้ด้วยธรรมชาตินั้น เหตุนั้น ธรรมชาติ

นั้น จึงชื่อว่า อิทฺธิ - ฤทธิ คือธรรมชาติเป็นเหตุให้สำเร็จ.

คำว่า อิชฺฌนฺติ - ย่อมสำเร็จ มีคำอธิบายว่า สำเร็จ คือ

เจริญ คือ ย่อมถึงความโด่งดัง. วิธะ คือ อิทฺธิ - ฤทธิ์ นั่นแหละชื่อว่า

อิทธิวิธะ - แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ, อธิบายว่า อิทธิโกฏฐาสะ - ส่วนแห่งฤทธิ์

อิทธิวิกัปปะ - ฤทธิ์สำเร็จได้ต่าง ๆ. มีคำอธิบายท่านกล่าวไว้ว่า อิทธิ-

วิธญาณ - ญาณในการแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ.

๕๑. อรรถกถาโสตธาตุวิสุทธิญาณุทเทส

ว่าด้วย โสตธาตุวิสุทธิญาณ

คำว่า วิตกฺกวิปฺผารวเสน - ด้วยสามารถแห่งการแผ่วิตกไป

ความว่า ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปคือด้วยกำลังแห่งวิตกของตน ใน

สัททนิมิตในเวลาทำบริกรรมเพื่อให้แก่ทิพโสตธาตุ

๑. ส. สฬา. ๑๘/๕๘๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

ก็ในคำว่า วิตกฺโก นี้ มีวิเคราะห์ว่า ธรรมชาติใด ย่อม

ตรึก ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า วิตก อีกอย่างหนึ่งความตรึก

ชื่อว่า วิตก, มีคำอธิบายท่านกล่าวไว้ว่า การพิจารณา. วิตกนี้นั้น-

มีการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เป็นลักษณะ,

มีการประคองจิตไว้ในอารมณ์ เป็นกิจ.

จริงอย่างนั้น ท่านกล่าวว่า พระโยคีบุคคลย่อมกระทำอารมณ์

ให้ถูกกระทบด้วยวิตก.

มีจิตที่ทรงอยู่ในอารมณ์ เป็นปัจจุปัฏฐาน,

และท่านกล่าวว่า มีอารมณ์อันมีถึงซึ่งคลอง เป็น ปทัฏฐาน

เพราะเกิดขึ้นโดยอินทรีย์ที่มาประชุมพร้อมซึ่งอารมณ์นั้น และโดยไม่มี

อันตรายในอารมณ์อันแวดล้อมแล้ว.

คำว่า นานตฺเตกตฺตสทฺทนิมิตฺตาน - ซึ่งเสียงเป็นนิมิต

หลายอย่างหรืออย่างเดียว ความว่า ซึ่งเสียงเป็นนิมิตมีสภาวะต่าง ๆ

และมีสภาวะเดียว. ก็ในคำว่าสัททนิมิตนี้ สัททะคือเสียงนั่นแหละเป็น

นิมิต เพราะเป็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นแห่งวิตก และเพราะเป็นนิมิตแห่ง

สังขาร. เสียงที่กลมกล่อมเป็นอันเดียวกัน เช่นเสียงกลอง หรือหลาย

เสียงมากมาย, เสียงในทิศต่าง ๆ หรือเสียงสัตว์ต่าง ๆ ชื่อว่า นานัตต-

สัททา - เสียงต่าง ๆ, เสียงในทิศเดียว, หรือเสียงสัตว์ตัวเดียว, หรือเสียง

แต่ละเสียงเช่นเสียงกลองเป็นต้น ชื่อว่า เอกัตตสัททา - เสียงเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

ก็ในคำว่า สทฺโท นี้ มีวิเคราะห์ว่า ธรรมชาติใดย่อมแผ่ไป

ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า สัททะ - เสียง, อธิบายว่า เสียงที่เปล่งว่า

ออก

คำว่า ปริโยคาหเณ ปญฺา - ปัญญาในการกำหนด ความว่า

ปัญญาเป็นเครื่องเข้าถึง อธิบายว่า ปัญญาเป็นเครื่องรู้.

คำว่า โสตธาตุวิสุทฺธาณ - ญาณในโสตธาตุอันบริสุทธิ์

ความว่า ชื่อว่า โสตธาตุ เพราะอรรถว่าได้ยิน และเพราะอรรถว่า

มิใช่ชีวะ, และชื่อว่าโสตธาตุเพราะปัญญาทำกิจดุจโสตธาตุด้วยสามารถ

แห่งการทำกิจของโสตธาตุ, ชื่อว่า วิสุทธิ เพราะโสตธาตุนั้นหมดจด

แล้ว เพราะปราศจากอุปกิเลส, โสตธาตุนั่นแหละบริสุทธิ์ ชื่อว่า

โสตธาตุวิสุทธิ, ญาณคือความรู้ในโสตธาตุวิสุทธินั่นแหละ ชื่อว่า

โสตธาตุวิสุทธิญาณ.

๕๒. อรรถกถาเจโตปริยญาณุทเทส

ว่าด้วย เจโตปริยญาณ

คำว่า ติณฺณ จิตฺตาน - แห่งจิต ๓ ดวง ความว่า แห่งจิต

๓ ดวง คือ โสมนัสสสหคตจิต ๑, โทมนัสสสหคตจิต ๑, อุเปกขา

สหคตจิต ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

คำว่า วิปฺผารตฺตา - ด้วยความแผ่ไป ความว่า ด้วยความ

เป็นแห่งความแผ่ไป อธิบายว่า ด้วยความเร็ว. คำว่า วิปฺผารตฺตานี้

เป็นปัญจมีวิภัตติลงในอรรถแห่งเหตุ, ความว่า เพราะเหตุแห่งความ

แผ่ไปแห่งจิต ๓ ดวงของบุคคลเหล่าอื่น ในกาลเป็นที่กระทำบริกรรม

เพื่อให้เจโตปริยญาณเกิดขึ้น.

คำว่า อินฺทฺริยาน ปสาทวเสน - ด้วยสามารถแห่งความ

ผ่องใสของอินทรีย์ทั้งหลาย ความว่า ด้วยสามารถความผ่องใสของ

อินทรีย์ ๖ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น, ก็ในที่นี้โอกาสเป็นที่ตั้งแห่งอินทรีย์

ทั้งหลาย ท่านกล่าวด้วยคำว่า อินฺทฺริยาน โดยผลูปจารนัย ดุจคำว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวพรรณของท่าน

บริสุทธิ์ผุดผ่องดังนี้. หทัยวัตถุนั่นแหละท่านประสงค์แล้วในที่นี้ แม้

ในโอกาสแห่งอินทรีย์ประดิษฐานแล้ว.

คำว่า ปสาทวเสน - ด้วยสามารถแห่งความผ่องใส ความว่า

ด้วยสามารถแห่งความไม่ขุ่นมัว. เมื่อกล่าวว่า ปสาทปฺปสาทวเสน-

ด้วยสามารถแห่งความเลื่อมใสและเลื่อมใสยิ่ง คำนี้พึงทราบว่า

ท่านทำการลบ อปฺปสาท ศัพท์เสีย. อีกอย่างหนึ่ง คำนี้พึงทราบว่า

แม้ความไม่เลื่อมใส เป็นอันท่านกล่าวแล้ว ด้วยคำว่า ปสาทวเสน-

๑. ผลูปจารนัย - พูดเหตุแต่หมายถึงผล. ๒. วิ. มหา. ๔/๑๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

ด้วยสามารถแห่งความเลื่อมใส นั่นเอง เพราะศัพท์ว่า อปฺปสนฺน-

ไม่ผ่องใสแล้ว เป็นศัพท์ที่ไม่เพ่งถึงความเลื่อมใส.

คำว่า นานตฺเตกตฺตวิญฺาณจริยาปริโยคาหเณ ปญฺา-

ปัญญาในการกำหนดจริยา คือวิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว

ความว่า ปัญญาในการรู้ความเป็นไปของจิต ๘๙ อันมีสภาวะต่าง ๆ กัน

และที่มีสภาวะเดียวกัน ตามสมควรแก่การเกิดขึ้น. ในวิญญาณจริยา

ทั้ง ๒ นี้ วิญญาณจริยาของไม่ได้สมาธิ เป็นนานัตตวิญญาณจริยา,

วิญญาณจริยาของผู้ได้สมาธิ เป็นเอกัตตวิญญาณจริยา. อีกอย่างหนึ่ง

จิตมีราคะเป็นต้น เป็นนานัตตวิญญาณจริยา. จิตปราศจากราคะเป็นต้น

เป็นเอกัตตวิญญาณจริยา.

ชื่อว่า ปริยะ ในคำนี้ว่า เจโตปริยาณ นี้ เพราะอรรถว่า

กำหนด อธิบายว่า กำหนดรอบ. การกำหนดด้วยใจ ชื่อว่า เจโตปริยะ-

กำหนดด้วยใจ เจโตปริยะ นั้นด้วย ญาณด้วย ฉะนั้น ชื่อว่า

เจโตปริยาณ - ญาณในการกำหนดด้วยใจ. ปาฐะว่า วิปฺผารตา

ดังนี้ก็มี. มีความว่าด้วยการแผ่ไป.

๑. เลื่อมใส กินความถึง ไม่เลื่อมใสด้วย, แต่ ไม่ผ่องใส ไม่กินความถึงความ

เลื่อมใส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

๕๓. อรรถกถาบุพเพนิวาสานุสติญาณุทเทส

ว่าด้วย บุพเพนิวาสานุสติญาณ

คำว่า ปจฺจยปฺปวตฺตาน ธมฺมาน-ซึ่งธรรมทั้งหลายอันเป็น

ไปตามปัจจัย ความว่า ซึ่งปัจจยุปบันธรรมอันเป็นไปแล้วจากปัจจัย

ด้วยสามารถแห่งการอาศัยกันเกิดขึ้น.

อกุศลกรรม ชื่อว่า นานัตตะ - หลายอย่าง, กุศลกรรม ชื่อว่า

เอกัตตะ - อย่างเดียว ในคำว่า นานตฺเตกฺตฺตกมฺมวิปฺผารวเสน นี้.

อีกอย่างหนึ่ง กามาวจรกรรม ชื่อว่า นานัตตะ - หลายอย่าง, รูปาวจร

และอรูปาวจรกรรม ชื่อว่า เอกัตตะ - อย่างเดียว. สัมพันธ์ความว่า

ปัญญาในการกำหนดธรรมอันเป็นไปแต่ปัจจัยด้วยสามารถการแผ่ไปแห่ง

กรรมหลายอย่างหรืออย่างเดียว.

คำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติาณ - ญาณเป็นเครื่องระลึก

ถึงชาติก่อน ๆ ได้. ความว่า ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในก่อนคือในอดีตชาติ

ชื่อว่า บุพเพนิวาสะ-ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในชาติก่อน.

คำว่า นิวุตฺถา - ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ ความว่า ขันธ์ที่เคย

อยู่ คือที่มีแล้ว เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปในสันดานของตน. หรือธรรม

ที่เคยอยู่แล้วในก่อนคือในอดีตชาติ ชื่อว่า บุพเพนิวาสะ - ธรรมที่เคย

อาศัยอยู่ในก่อน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

บทว่า นิวุตฺถา - ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ ความว่า อยู่แล้วด้วย

การอยู่เพราะอาศัยธรรมดังกล่าวแล้วเป็นอารมณ์ คือ รู้แจ้งได้ด้วยจิต

ของตน ชื่อว่า การกำหนด ถึงแม้ว่ารู้แจ้งซึ่งจิตของคนอื่น ก็ชื่อว่า

การกำหนด แต่ผู้ที่ทรงคุณอย่างหลังนี้ ย่อมมีแก่พระพุทธเจ้าเท่านั้น

ในบรรดาการระลึกถึงการเวียนว่ายตายเถิดซึ่งขาดเป็นตอน ๆ เป็นต้น.

คำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติ - ตามระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้

ความว่า ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในครั้งก่อนได้ด้วยสติใด, สติ

นั้น ชื่อว่า บุพเพนิวาสานุสติ.

คำว่า าณ - ญาณ ได้แก่ ญาณอันสัมปยุตด้วยสตินั้น.

๕๔. อรรถกถาทิพจักขุญาณุทเทส

ว่าด้วย ทิพจักขุญาณ

คำว่า โอภาสวเสน - ด้วยสามารถแสงสว่าง ความว่า ด้วย

อำนาจแสงสว่างแห่งกสิณ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือเตโชกสิณ โอทาต-

กสิณ อาโลกกสิณ อันเป็นอารมณ์แห่งจตุตถฌานอันแผ่ไปเพื่อเห็นรูป

ด้วยทิพยจักษุ.

คำว่า นานตฺเตกตฺตรูปนิมิตฺตาน - นิมิตคือรูปต่างกันแล

อย่างเดียวกัน ความว่า รูปแห่งสัตว์ต่าง ๆ, หรือ รูปสัตว์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

ที่เกิดขึ้น ในจำพวกที่มีกายต่างกัน, หรือรูปทั้งหลายในทิศต่าง ๆ, หรือ

รูปทั้งหลายที่ไม่ระคนกัน ชื่อว่า นานตฺตรูป - รูปต่างกัน, รูปแห่ง

สัตว์ผู้เดียว, หรือรูปแห่งสัตว์ผู้เกิดในจำพวกที่มีกายอย่างเดียวกัน, หรือ

รูปทั้งหลายในทิศเดียว, หรือรูปทั้งหลายเข้ากันได้แห่งทิศต่าง ๆ เป็นต้น

ชื่อเอกตฺตรูป - รูปอย่างเดียวกัน.

ก็ ในคำว่า รูป นี้ ได้แก่ วัณณายตนะ (สี) เท่านั้น. เพราะ

วัณณายตนะนั้น ย่อมแตกดับไป ฉะนั้นจึงชื่อว่า รูป, อธิบายว่า

วัณณายตนะนั้น เมื่อถึงซึ่งวรรณวิการ - ความเปลี่ยนไปแห่งวรรณะ

ก็ย่อมประกาศความถึงซึ่งหทัย. รูปนั่นแหละ ชื่อว่า นิมิตคือรูป. แห่ง

นิมิตคือรูปต่างกันและอย่างเดียวกันเหล่านั้น.

คำว่า ทสฺสนฏฺเ ปญฺา - ปัญญาในอรรถว่าเห็น ได้แก่

ปัญญาในการเห็นเป็นสภาวะ.

คำว่า ทิพฺพจกฺขุาณ - ญาณในทิพจักขุ ชื่อว่า ทิพย์

เพราะเป็นเช่นกับด้วยของทิพย์. ปสาทจักขุอันเป็นทิพย์ของทวยเทพ

อันเกิดขึ้นด้วยสุจริตกรรม อันไม่แปดเปื้อนด้วยมลทินทั้งหลาย มี น้ำดี

เสมหะและโลหิตเป็นต้น สามารถรับอารมณ์แม้ในที่ไกลได้เพราะพ้น

จากมลทินเครื่องเศร้าหมอง. ญาณจักขุแม้นี้ อันเกิดเพราะกำลังแห่ง

วีริยภาวนา ก็เป็นเช่นนั้นนั่นเอง ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิพย์ เพราะเป็น

เช่นกับของทิพย์. ชื่อว่า ทิพย์ แม้เพราะเป็นธรรมอันตนอาศัย

ทิพวิหารธรรม เพราะได้เฉพาะด้วยอำนาจทิพวิหารธรรม, ชื่อว่า ทิพย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

เพราะเป็นของรุ่งเรืองมากด้วยการกำหนดอาโลกะ - แสงสว่าง, ชื่อว่า

ทิพย์ แม้เพราะมีทางไปมาก ด้วยการเห็นรูปภายในฝาเรือนเป็นต้นได้.

คำทั้งหมดนั้น พึงทราบตามครรลองแห่งคัมภีร์ศัพทศาสตร์.

เพราะอรรถว่าเห็น จึงชื่อว่า จักขุ, ญาณนั้นเหมือนกับจักขุ แม้

เหตุนั้น จึงชื่อว่า จักขุ, จักขุนั้นด้วยเป็นเพียงดังทิพย์ด้วย ฉะนั้น

จึงชื่อว่า ทิพจักขุ, ทิพจักขุนั้นด้วย ญาณด้วย รวมกันเป็น ทิพ-

จักขุญาณ - ญาณในทิพจักขุ.

๕๕. อรรถกถา อาสวักขยญาณุทเทส

ว่าด้วย อาสวักขยญาณ

คำว่า จตุสฏฺิยา อากาเรหิ - ด้วยอาการ ๖๔ ความว่า

ด้วยอาการแห่งอินทรีย์อย่างละ ๘ ในมรรคผลหนึ่ง ๆ ทั้ง ๘ ในมรรคผล

ละ ๘ ละ ๘ จึงรวมเป็น ๖๔.

คำว่า ติณฺณนฺน อินฺทฺริยาน - อินทรีย์ ๓ ความว่า ใน

อินทรีย์ ๓ เหล่านี้คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์, อัญญินทรีย์,

อัญญาตาวินทรีย์.

คำว่า วสิภาวตา ปญฺา - ปัญญาคือความเป็นผู้มีความ

ชำนาญ ความว่า ปัญญาอันเป็นไปแล้วโดยความเป็นผู้มีความชำนาญ,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

ปัญญาอันเป็นไปแล้วโดยความเป็นผู้มีความชำนาญ แห่งอัญญาตาวิน-

ทรีย์นั่นแหละด้วยอาการ ๘ ด้วยสามารถแห่งอินทรีย์ ๘ ในอรหัตผล

คำนี้พึงทราบว่าท่านกล่าวแล้ว เพราะความสำเร็จผลนั้นด้วยสามารถแห่ง

การสำเร็จเหตุ แม้เพราะความไม่มีในขณะแห่งอรหัตมรรค.

บทว่า อาสวาน ขเย าณ - ญาณในความสิ้นไปแห่ง

อาสวะทั้งหลาย ความว่า อรหัตมรรคญาณอันกระทำความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลายอันตนฆ่าเสียแล้ว.

๕๖-๕๙. อรรถกถาทุกขสมุทยนิโรธมรรคญาณุทเทส

ว่าด้วย ญาณในอริยสัจ

บัดนี้ เพื่อแสดงความตรัสรู้ด้วยญาณอันเดียวกัน แห่งมรรค

ญาณหนึ่ง ๆ บรรดามรรคญาณทั้ง ๔ ด้วยการเกี่ยวเนื่องกับด้วยอรหัต-

มรรคญาณกล่าวคืออาสวักขยญาณ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงได้

ยกญาณทั้ง ๔ มีคำว่า ปริญฺฏฺเ ปญฺา - ปัญญาในอรรถว่ารู้รอบ

เป็นต้นขึ้นแสดง.

บรรดาสัจจะทั้ง ๔ นั้น ทุกขสัจจะ ท่านกล่าวก่อน เพราะ

ทุกขสัจจะ เป็นของหยาบ, เพราะมีอยู่ทั่วไปแก่สัตว์ทั้งปวง. และเป็น

ของที่รู้ได้โดยง่าย, แล้วแสดงสมุทยสัจจะต่อจากทุกขสัจจะนั้น เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

แสดงเหตุแห่งทุกขสัจจะนั้น, ต่อจากนั้นก็แสดงนิโรธสัจจะ เพื่อจะให้

รู้ว่า ผลดับ ก็เพราะเหตุดับ แล้วแสดงมรรคสัจจะในที่สุด เพื่อจะ

แสดงอุบายเป็นเครื่องบรรลุถึงซึ่งนิโรธสัจจะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวทุกข์ก่อน ก็เพื่อจะให้เกิดความสังเวช

แก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้ติดอยู่ด้วยความยินดีสุขในภพ, ทุกข์นั้นมิใช่มีมา

โดยไม่มีเหตุ มิใช่มีเพราะพระอิศวรนิรมิตเป็นต้น, แต่มีมาจากสมุทัย

นี้ ฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าวสมุทยสัจจะไว้ในลำดับแห่งทุกข์นั้น เพื่อ

จะให้รู้เนื้อความนี้, แล้วกล่าวนิโรธไว้ เพื่อให้เกิดความยินดีแก่สัตว์

ทั้งหลายผู้มีใจสลดแล้ว ผู้แสวงหาธรรมเป็นเครื่องพ้นทุกข์ เพราะถูก

ทุกข์ อันเป็นไปกับด้วยเหตุ คือสมุทัยครอบงำ, แล้วกล่าวมรรคอัน

ให้ถึงนิโรธเพื่อให้บรรลุนิโรธ. ท่านได้ยกญาณทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่ง

สัจจะทั้ง ๔ นั้นขึ้นแสดงตามลำดับ ณ บัดนี้.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ปริญฺฏฺเ - ในอรรถว่ารู้รอบ

ความว่า ในสภาวะที่ควรรู้รอบ ๔ อย่างมีการเบียดเบียนเป็นต้นแห่ง

ทุกข์.

คำว่า ปหานฏฺเ - ในอรรถว่าละ ความว่า ในสภาวะที่ควร

ละ ๔ อย่างมีการประมวลมีเป็นต้นแห่งสมุทัย.

คำว่า สจฺฉิกิริยฏฺเ - ในอรรถว่ากระทำให้แจ้ง ความว่า

ในสภาวะที่ควรทำให้แจ้ง ๔ อย่าง มีการออกจากทุกข์เป็นต้นแห่งนิโรธ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

คำว่า ภาวนฏฺเ - ในอรรถว่าเจริญ ความว่า ในสภาวะที่ควร

เจริญ ๔ อย่าง มีการนำออกเป็นต้นแห่งมรรค.

๖๐ - ๖๓. อรรถกถาทุกขทุกขสมุทัยทุกขนิโรธ

ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาญาณุทเทส

ว่าด้วย ทุกขทุกขสมุทัยทุกขนิโรธทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ

บัดนี้ เพื่อจะแสดงสัจญาณเป็นแผนก ๆ ไปด้วยสามารถแห่ง

การพิจารณาถึงมรรคที่ได้เจริญแล้วก็ดี ด้วยอำนาจการได้ยินได้ฟังของ

ผู้ไม่ได้อบรมมรรคก็ดี พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงยกเอาญาณ ๔

มีทุกขญาณเป็นต้นขึ้นแสดง.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ทุกฺเข - ในทุกข์ ทุ ศัพท์ ในคำนี้

ย่อมปรากฏในอรรถว่า น่าเกลียด. ชนทั้งหลายย่อมเรียกบุตรน่าเกลียด

ว่า ทุปุตตะ - บุตรชั่ว. ศัพท์นั้นย่อมปรากฏในอรรถว่าว่างเปล่า.

จริงอยู่ท่านเรียกอาการที่ว่างว่า ข. ก็สัจจะที่ ๑ นี้ ชื่อว่า น่าเกลียด

เพราะเป็นที่ตั้งแห่งอุปัทวะเป็นอเนก, ชื่อว่า ว่างเปล่า เพราะเว้นจาก

ความยั่งยืน, ความงาม, ความสุข, และอัตตาอันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา

ของพาลชน. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ทุกข์ เพราะความเป็น

ของน่าเกลียด และเพราะเป็นความว่างเปล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

ในคำว่า ทุกฺขสมุทเย - ในทุกขสมุทัยนี้ ส ศัพท์นี้

แสดงถึงสังโยคะ - การประกอบพร้อมกัน ดุจในคำเป็นต้นว่า สมาค-

โม - มาประชุมพร้อมกัน สเมต - มาถึงพร้อมกัน, อุ ศัพท์นี้ แสดง

ถึงการอุบัติ ดุจในคำเป็นต้นว่า อุปฺปนฺน - เกิดขึ้นแล้ว อุทิต - ตั้งขึ้น

แล้ว. อย ศัพท์ ก็ย่อมแสดงถึงการณะ - เหตุ. ก็สัจจะที่ ๒ นี้ เมื่อการ

ประชุมพร้อมแห่งปัจจัยที่เหลือมีอยู่ก็เป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะ

ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า ทุกขสมุทัย เพราะเหตุที่สัจจะที่ ๒ เป็นเหตุ

เกิดแห่งทุกข์ในเมื่อมีการประกอบ.

ในคำว่า ทุกฺขนิโรธ - ในความดับแห่งทุกข์นี้ นิ ศัพท์

แสดงถึง อภาวะ - ความไม่มี, และ โรธ ศัพท์ แสดงถึงการเที่ยวไป

ในวัฏสงสาร. เพราะฉะนั้น ความไม่มีแห่งการเที่ยวไปแห่งทุกข์

กล่าวคือการเที่ยวไปในสังสารทุกข์ เพราะว่างจากคติทั้งปวง, อีกอย่าง

หนึ่ง เมื่อบรรลุนิโรธนั้นแล้ว ทุกขนิโรธอันท่องเที่ยวไปในสงสาร

ย่อมไม่มี เพราะความที่ทุกขนิโรธเป็นปฏิปักษ์ต่อการท่องเที่ยวไปใน

สังสาร แม้เพราะเหตุนี้ ก็เรียกว่า ทุกขนิโรธ อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า

ทุกขนิโรธ เพราะเป็นปัจจัยแก่การดับไม่เกิดแห่งทุกข์.

ในคำว่า ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย - ในปฏิปทาเป็น

เหตุถึงซึ่งทุกขนิโรธนี้ มรรคมีองค์ ๘ นี้ ย่อมถึงซึ่งทุกขนิโรธ

เพราะมุ่งหน้าต่อทุกขนิโรธนั้น โดยการกระทำให้เป็นอารมณ์ และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

เป็นปฏิปทาแห่งการบรรลุทุกขนิโรธ ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า ทุกขนิโรธ-

คามินีปฏิปทา.

มรรคญาณ ๙ เท่านั้น ในเบื้องต้นท่านกล่าวว่า มรรคญาณ

ด้วยสามารถแห่งการแสดงอาการคือการออก, ท่านกล่าวว่า อานัน-

ตริกสมาธิญาณ ด้วยสามารถแห่งการแสดงเหตุแห่งการให้ผลในลำดับ,

ท่านกล่าว สัจวิวัฏญาณ ด้วยอำนาจการแสดงซึ่งการหลีกออกจาก

วัฏฏะด้วยสัจจะ, ท่านกล่าว อาสวักขยญาณ เพื่อแสดงความเกิดขึ้น

แห่งอรหัตมรรคญาณตามลำดับแห่งมรรค และเพื่อแสดงความรู้ยิ่งแห่ง

ญาณนั้น, ท่านแสดงญาณ ๔ เป็นต้นว่า ปัญญาในปริญเญยยธรรม

ชื่อว่าทุกขญาณ เพื่อแสดงความที่มรรคญาณทั้ง ๔ เป็นญาณที่ตรัสรู้

โดยความเป็นอันเดียวกันซ้ำอีก ท่านยกญาณทั้ง ๔ มีทุกขญาณเป็นต้น

ด้วยสามารถแห่งการแสดงการเกิดขึ้นแยกกันในสัจจะหนึ่ง ๆ อีก ฉะนั้น

พึงทราบความต่างกันทั้งในเบื้องต้นและเบื้องปลาย ดังแสดงมาด้วย

ประการฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

๖๕ - ๖๗. อรรถกถาอัตถปฏิสัมภิทาธัมมปฏิสัมภิทา

นิรุตติปฏิสัมภิทาปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณุทเทส

ว่าด้วย ปฏิสัมภิทาญาณ๔

บัดนี้ เพื่อจะแสดงว่า ปฏิสัมภิทาญาณสำเร็จแก่พระอริยบุคคล

ทั้งปวงได้ด้วยอานุภาพแห่งอริยมรรคเท่านั้น ท่านจึงยกปฏิสัมภิทา-

ญาณ ๔ มีอรรถปฏิสัมภิทาญาณ เป็นต้น ขึ้นแสดงอีก. ก็ปฏิสัมภิทา-

ญาณเหล่านี้ เป็นสุทธิกปฏิสัมภิทาญาณทั่วไปแก่พระอริยบุคคลทั้งปวง

แม้ในเมื่อไม่มีการแตกฉานในปฏิสัมภิทาด้วยกัน, แต่ที่ท่านยกขึ้นแสดง

ในภายหลัง พึงทราบว่า เป็นปฏิสัมภิทาญาณอันถึงความแตกฉาน

ของผู้มีปฏิสัมภิทาแตกฉานแล้ว นี้เป็นความต่างกัน ของอรรถวจนะ

ทั้ง ๒ แห่งคำเหล่านั้น. หรือญาณที่ท่านแสดงในลำดับมีทุกข์เป็นอารมณ์

และมีนิโรธเป็นอารมณ์ เป็นอรรถปฏิสัมภิทา, ญาณมีสมุทัยเป็น

อารมณ์ และมีมรรคเป็นอารมณ์ เป็นธรรมปฏิสัมภิทา, ญาณในโวหาร

อันแสดงอรรถและธรรมนั้น เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทา, ญาณในญาณ

ทั้ง ๓ เหล่านั้น เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา, เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า

ท่านยกสุทธิกปฏิสัมภิทาญาณขึ้นแสดง เพื่อจะชี้แจงความแปลกกันแห่ง

เนื้อความแม้นั้น. ก็เพราะเหตุนั้นนั่นแลท่านจึงกล่าวให้แปลกกันด้วย

นานัตตศัพท์ในภายหลัง, ในที่นี้จึงไม่กล่าวให้แปลกกันเหมือนอย่างนั้น

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

๖๘. อรรถกถาอินทริยปโรปริยัตตญาณุทเทส

ว่าด้วย อินทริยปโรปริยัตตญาณ

พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ครั้นยกญาณอันทั่วไปแก่พระสาวก

๖๗ ญาณขึ้นแสดงตามลำดับอย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงญาณอันมีเฉพาะ

พระตถาคตเจ้าเท่านั้นไม่ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย จึงได้ยกอสาธารณ

ญาณ ๖ มีอินทริยปโรปริยัตตญาณขึ้นแสดง ณ บัดนี้.

แม้บรรดาอสาธารณญาณทั้ง ๖ นั้น พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย

เมื่อจะทรงตรวจดูความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีภาชนะเป็นเครื่องรองรับ

พระธรรมเทศนา ก็ย่อมตรวจดูด้วยพุทธจักษุ. อินทริยปโรปริยัตตญาณ

และอาสยานุสยญาณทั้ง ๒ นี้เท่านั้น ชื่อว่า พุทธจักษุ. สมจริงดังที่

ท่านกล่าวไว้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรวจดูสัตว์โลกด้วย

พุทธจักษุได้ทรงเห็นแล้วแล ซึ่งสัตว์ทั้งหลาย

บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลี

คือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า

บางพวกมีอินทรีย์อ่อน๑ ดังนี้เป็นต้น.

๑. วิ.มหา. ๔/๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

และเมื่อตรวจดูสัตว์โลกทั้งหลาย ก็ทรงตรวจดูความแก่กล้าแห่ง

อินทรีย์ในสันดานของสัตว์ก่อน. ครั้นทรงทราบความแก่กล้าแห่ง-

อินทรีย์แล้ว ต่อแต่นั้นก็ทรงตรวจดูอาสยานุสัยและจริต เพื่อแสดง

ธรรมตามสมควรแก่อาสยะเป็นต้น, แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงยก

อินทริยปโรปริยัตตญาณขึ้นแสดงก่อน, ในลำดับต่อจากนั้นก็ยกอา-

สยานุสยญาณขึ้นแสดง.

ก็เมื่อจะทรงแสดงธรรม ย่อมทรงกระทำปาฏิหาริย์แก่ผู้ควร

แนะนำด้วยปาฏิหาริย์, เพราะเหตุนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงยก

ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ขึ้นแสดงในลำดับต่อจากอาสยานุสยญาณ,

เพื่อจะแสดงเหตุแห่งญาณทั้ง ๓ เหล่านี้ จึงยก มหากรุณาญาณ ขึ้น

แสดง แล้วยก สัพพัญญุตญาณ ขึ้นแสดงเป็นลำดับต่อไป เพื่อ

แสดงความบริสุทธิ์แห่งมหากรุณาญาณ.

พึงทราบว่า พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ได้ยก อนาวรณญาณ

ขึ้นแสดงในลำดับแห่งสัพพัญญุตญาณนั้น เพื่อแสดงความที่พระสัพพัญ-

ญุตญาณเป็นญาณที่เนื่องด้วยการระลึกถึงธรรมทั้งปวง และเพื่อแสดง

ความที่พระสัพพัญญุตญาณเป็น อนาวริยภาพ คือไม่มีอะไรขัดข้อง.

ในคำว่า อินฺทฺริยปโรปริยตฺตาณ - ญาณในความยิ่งและ

หย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายนี้ บทว่า สตฺตาน - แห่ง

สัตว์ทั้งหลาย ข้างหน้า พึงนำมาประกอบในที่นี้ด้วยเป็น สตฺตาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

อินฺทฺริยปุโรปริยตฺตาณ. เมื่อควรจะกล่าวว่า ปรานิ จ อปรานิ จ

ปราปรานิ ท่านก็เรียกเสียว่า ปโรปรานิ เพราะทำให้เป็น โร อักษร

ด้วยสนธิวิธี. ภาวะแห่งปโรประ ชื่อว่า ปโรปริยะ, ปโรปริยะนั่น-

แหละ ชื่อว่า ปโรปริยัตตะ, ความอ่อนและความแก่กล้าแห่งอินทรีย์

๕ มีสัทธาเป็นต้น ของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า อินทริยปโรปริ-

ยัตตะ, ญาณในอินทริยปโรปริยัตตะ ชื่อว่า อินทริยปโรปริยัตต-

ญาณ, อธิบายว่า ญาณในความที่อินทรีย์ทั้งหลายเป็นคุณสูงและต่ำ

ปาฐะว่า อินฺทฺริยวโรวริยตฺตาณ - ญาณในความที่อินทรีย์เป็นคุณ

ประเสริฐและไม่ประเสริฐ ดังนี้ก็มี. พึงประกอบคำว่า วรานิ จ

อวริยานิ จ วโรวริยานิ - ประเสริฐด้วย ไม่ประเสริฐด้วย ชื่อว่า

ประเสริฐและไม่ประเสริฐ, ภาวะแห่งวโรวริยะ ชื่อว่า วโรวริยัตตะ.

คำว่า อวริยานิ - ไม่ประเสริฐ ความว่า ไม่สูงสุด. อีกอย่าง

หนึ่ง ปร- อินทรีย์ที่ใช้ได้ด้วย, โอปร - อินทรีย์ที่ใช้ไม่ได้ด้วย ชื่อว่า

ปโรประ, พึงประกอบความว่า ภาวะแห่งปโรประ ชื่อว่า ปโรปริยัตตะ

- ความเป็นแห่งอินทรีย์ที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้ดังนี้.

คำว่า โอปรานิ - อินทรีย์ที่ใช้ไม่ได้ มีคำอธิบายว่า ต่ำทราม,

ความว่า ลามก ดุจในคำเป็นต้นว่า พิจารณาธรรมอันลามกของผู้ใด

อยู่*ดังนี้. ท่านตั้งปาฐะไว้เป็นสัตตมีวิภัตติว่า อินฺทฺริยปโรปริยตฺเต

าณ ดังนี้ก็มี.

๑. ขุ. สุ. ๒๕/๓๕๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

๖๙. อรรถกถาอาสยานุสยณาณุทเทส

ว่าด้วย อาสยานุสยญาณ

สัตว์ทั้งหลาย ข้องอยู่ด้วยฉันทราคะในขันธ์ทั้งหลายมีรูปขันธ์

เป็นต้น เรียกว่า สตฺตา - สัตว์ทั้งหลาย ในคำนี้ว่า สตฺตาน อา-

สยานุสเย าณ - ญาณในอาสยานุสัยของสัตว์ทั้งหลาย. สมจริง

ดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนราธะ เพราะเหตุที่ความพอใจ ความ

กำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากใน

รูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น

ฉะนั้นจึงเรียกว่า สัตว์ เพราะเหตุที่ความพอใจ

ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยาน

อยากในเวทนา... ในสัญญา... ในสังขาร ...

ในวิญญาณ เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้อง

ในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์ ดังนี้

เป็นต้น

ส่วนอาจารย์ผู้เพ่งเฉพาะตัวอักษร ไม่ใคร่ครวญถึงอรรถะ ก็ลง

ความเห็นว่า คำนี้เป็นเพียงคำนามเท่านั้น. ฝ่ายอาจารย์เหล่าใดใคร่

ครวญถึงอรรถะ, อาจารย์เหล่านั้น ก็ย่อมประสงค์ ความว่า ชื่อว่า

๑. ส. ขนฺธ. ๑๗/๓๖๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

สัตว์ เพราะประกอบกับสิ่งทั้งปวง. สิ่งใดอาศัยอยู่ เป็นที่อาศัยอยู่แห่ง

สัตว์เหล่านั้น ฉะนั้นสิ่งนั้นจึงชื่อว่า อาสยะ, คำนี้เป็นชื่อของสันดาน

อันมิจฉาทิฏฐิ หรือสัมมาทิฏฐิอบรมแล้ว, หรือว่าอันโทษทั้งหลาย มี

กามเป็นต้น หรือคุณทั้งหลายมีเนกขัมมะเป็นต้น อบรมแล้ว. กิเลส

ใด ๆ ที่นอนเนื่องเป็นไปตาม อยู่ในสันดานของสัตว์ ฉะนั้น กิเลสนั้น ๆ

จึงชื่อว่า อนุสยา. คำนี้เป็นชื่อของกิเลสทั้งหลาย มีกามราคะเป็นต้น

อันมีกำลัง.

อาสยะ ด้วย อนุสยะ ด้วย ชื่อว่า อาสยานุสยะ. พึงทราบ

ว่าเป็นเอกวจนะ โดยชาติศัพท์และด้วยสามารถแห่งทวันทวสมาส. อธิ-

มุติกล่าวคือจริต สงเคราะห์เข้าในอาสยานุสยะ, เพราะเหตุนั้น ใน

อุทเทสท่านจึงสงเคราะห์ญาณในจริตาธิมุติ เข้าด้วยอาสยานุสยญาณ

แล้วจึงกล่าวว่า อาสยานุสเย าณ - ญาณในอาสยานุสยะ. ก็

ท่านทำอุทเทสไว้ด้วยประสงค์ใด, นิทเทสท่านก็ทำไว้ด้วยประสงค์นั้น

นั่นแล.

๗๐. อรรถกถายมกปาฏิหีรญาณุทเทส

ว่าด้วย ยมกปาฏิหีรญาณ

พึงทราบคำวินิจฉัยในคำว่า ยมกปาฏิหีเร าณ - ญาณใน

ยมกปาฏิหีระนี้ ดังต่อไปนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

ชื่อว่า ยมกะ เพราะทำกองไฟและท่อธารแห่งน้ำเป็นต้น ให้

เป็นไปในคราวเดียวกันไม่ก่อนไม่หลังทีเดียว, ชื่อว่า ปาฏิหีระ เพราะ

กำจัดเสียซึ่งปฏิปักขธรรมทั้งหลาย มีความไม่เชื้อเป็นต้น, ยมกะนั้น

ด้วยปาฏิหีระด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า ยมกปาฏิหีระ.

๗๑. อรรถกถามหากรุณาสมาปัตติญาณุทเทส

ว่าด้วย มหากรุณาสมาปัตติญาณ

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า มหากรุณาสมาปตฺติยา าณ - ญาณ

ในมหากรุณาสมาบัติ นี้ ดังต่อไปนี้

ธรรมชาติใด ครั้นเมื่อทุกข์ของผู้อื่นมีอยู่ ย่อมทำความหวั่น

ใจ แก่สาธุชนทั้งหลาย หรือว่าย่อมซื้อ คือย่อมเบียดเบียนทำลาย

ทุกข์ของผู้อื่น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กรุณา, อีกอย่างหนึ่ง

ธรรมชาติใดย่อมเรี่ยไร คือย่อมแผ่ไปด้วยอำนาจการแผ่ไปในเหล่าทุก-

ขิตสัตว์ - สัตว์ผู้มีทุกข์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กรุณา, กรุณา

ใหญ่ ชื่อว่า มหากรุณา ด้วยอำนาจกรรมคือการแผ่ไปและด้วยอำนาจ

กรรมอันเป็นคุณ, พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระมหากรุณา ย่อมเข้าสู่

สมาบัตินี้ได้ ฉะนั้นจึงชื่อว่า สมาปัตติ - สมาบัติ, พระมหากรุณานั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

ด้วยเป็นสมาบัติด้วย ฉะนั้นจึงชื่อว่า มหากรุณาสมาบัติ. ในมหากรุณา

สมาบัตินั้น, ญาณอันสัมปยุตกับด้วยมหากรุณาสมาบัตินั้น.

๗๒ - ๗๓. อรรถกถาสัพพัญญุตญาณอนาวรณญาณุทเทส

ว่าด้วย สัพพัญญุตญาณอนาวรณญาณ

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สพฺพญฺญุตาณ อนาวรณาณ-

ญาณเป็นเครื่องรู้ธรรมทั้งปวง ญาณอันไม่มีอะไรติดขัด นี้ ดังต่อ

ไปนี้

พระพุทธะพระองค์ใด ทรงรู้ธรรมทั้งปวงมีประเภทแห่งคลอง

อันจะพึงแนะนำ ๕ ประการ ฉะนั้น พระพุทธะพระองค์นั้น ชื่อว่า

สัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวง, ความเป็นแห่งพระสัพพัญญู ชื่อว่า

สัพพัญญุตา, ญาณคือพระสัพพัญญุตาญาณนั้น ควรกล่าวว่า สัพพัญญุ-

ตาญาณ ท่านก็กล่าวเสียว่า สัพพัญญุตญาณ. จริงอยู่ ธรรมทั้งปวง

ต่างโดยเป็นสังขตธรรมเป็นต้น เป็นครรลองธรรมที่จะพึงแนะนำมี

๕ อย่างเท่านั้น คือ สังขาร ๑, วิการ ๑, ลักขณะ ๑. นิพพาน ๑

และ บัญญัติ ๑.

๑. ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา เรียกธรรม ๕ มีสังขารเป็นต้น นี้ว่า ไญยธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

คำว่า สพฺพญฺญู - รู้ธรรมทั้งปวง ความว่า สัพพัญญูมี ๕

อย่างคือ

๑. กมสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงตามลำดับ,

๒. สกิงสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงในคราวเดียวกัน,

๓. สตตสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงติดต่อกันไป,

๔. สัตติสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงด้วยความสามารถ.

๕. ญาตสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงที่รู้แล้ว.

กมสัพพัญญุตา ย่อมมีไม่ได้ เพราะกาลเป็นที่รู้ธรรมทั้งปวงไม่

เกิดขึ้น ตามลำดับ,

สกิงสัพพัญญุตา ก็มีไม่ได้ เพราะไม่มีการรับอารมณ์ทั้งปวงได้

ในคราวเดียวกัน,

สัตตสัพพัญญุตา ก็มีไม่ได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งจิตในอารมณ์

ตามสมควรแก่จิต มีจักขุวิญญาณจิตเป็นต้น และเพราะไม่มีการประ-

กอบในภวังคจิต,

สัตติสัพพัญญุตา พึงมีได้ เพราะสามารถรู้ธรรมทั้งปวงโดยการ

แสวงหา,

ญาตสัพพัญญุตา ก็พึงมีได้ เพราะธรรมทั้งปวงรู้แจ่มแจ้งแล้ว.

ข้อว่า ความรู้ธรรมทั้งปวงไม่มีในสัตติสัพพัญญุตาแม้นั้นย่อมไม่

ถูกต้อง. เพราะท่านกล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

อะไร ๆ อันพระตถาคตเจ้านั้นไม่เห็นแล้วไม่

มีในโลกนี้ อนึ่ง อะไร ๆ ที่ไม่รู้แจ้งและไม่ควรรู้

ก็ไม่มี, สิ่งใดที่ควรแนะนำมีอยู่ พระตถาคตเจ้า

ได้รู้ธรรมทั้งหมดนั้นแล้ว เพราะเหตุนั้น พระตถา-

คตเจ้าจึงชื่อว่า สมันตจักขุ.

ฉะนั้น ญาตสัพพัญญุตาเท่านั้น ย่อมถูกต้อง. ก็เมื่อเป็นเช่นนี้

สัพพัญญุตญาณนั่นแล ย่อมมีได้โดยกิจ โดยอสัมโมหะ โดยการสำเร็จ

แห่งเหตุ โดยเนื่องกับอาวัชชนะ ด้วยประการฉะนี้. อารมณ์เป็น

เครื่องกั้นญาณนั้นไม่มี เป็นญาณที่เนื่องด้วยอาวัชชนะนั่นเอง ฉะนั้น

ญาณนั้นจึงชื่อว่า อนาวรณะ - ไม่มีการติดขัด, อนาวรณะ นั้นนั่น

แหละ ท่านเรียกว่า อนาวรณญาณ ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า อิมานิ เตสตฺตติ าณานิ - ญาณ ๗๓ เหล่านี้ ความ

ว่า ญาณทั้ง ๗๓ เหล่านี้ ท่านยกขึ้นแสดงด้วยสามารถแห่งญาณอันทั่ว

ไปและไม่ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย.

คำว่า อิเมส เตสตฺตติยา าณาน - แห่งญาณ ๗๓ เหล่านี้

ความว่า แห่งญาณทั้งหลาย ๗๓ ญาณเหล่านี้อันท่านกล่าวแล้ว ตั้งแต่

๑. ขุ. มหา. ๒๔/๗๒๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

ต้น. ก็คำนี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถว่าเป็นกลุ่ม. ปาฐะว่า เตสตฺ-

ตตีน ดังนี้ก็มี. เมื่อกล่าวว่า เตสตฺตติยา พึงทราบว่าเป็นพหุวจนะ

ในรูปเอกวจนะ

คำว่า สตฺตสฏฺิ าณานิ - ญาณ ๖๗ ได้แก่ ญาณ ๖๗

นับตั้งแต่ต้นมา.

คำว่า สาวกสาธารณานิ - ทั่วไปแก่พระสาวก ความว่า

ชื่อว่า สาวก เพราะเกิดโดยชาติแห่งอริยะในที่สุดแห่งการฟัง, ชื่อว่า

สาธารณะ เพราะการทรงไว้มีอยู่แก่ญาณเหล่านั้น, ญาณ ๖๗ นั้น

เป็นญาณที่ทั่วไปแก่พระสาวกของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า สาวก-

สาธารณะ - ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย.

คำว่า ฉ าณานิ - ญาณ ๖ ได้แก่ ๖ ญาณที่ท่านยกขึ้น

แสดงในที่สุด.

คำว่า อสาธารณานิ สาวเกหิ - ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก

ความว่า ญาณทั้งหลาย ๖ ญาณ เฉพาะของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย

ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย ฉะนี้แล.

อรรถกถาญาณกถามาติกุทเทส

ในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ชื่อสัทธัมมปกาสินี จบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

มหาวรรค ญาณกถา

ว่าด้วย ความหมายของปัญญาญาณ

[๑] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ

อย่างไร ?

ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือเครื่องรู้ชัด

ธรรมที่สดับมาแล้วนั้นว่า อิเม ธมฺมา อภิญฺเยฺยา ธรรมเหล่านี้ควร

รู้ยิ่งเป็นสุตมยญาณ, ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว

คือเครื่องรู้ชัดธรรมที่สดับมาแล้วนั้นว่า อิเม ธมฺมา ปริญฺเยฺยา

ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้... อิเม ธมฺมา ปหาตพฺพา ธรรมเหล่านี้

ควรละ... อิเม ธมฺมา ภาเวตพฺพา ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ...

ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง... ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความ

เสื่อม ... ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ... ธรรมเหล่านี้

เป็นไปในส่วนแห่งคุณวิเศษ ... ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งการ

ชำแรกกิเลส... สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง . . . สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ...

ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ... นี้ทุกขอริยสัจ ... นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ...

นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (แต่ละอย่าง)

เป็นสุตมยญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

๑. สุตมยญาณกถา

อรรถกถาวิสัชนุทเทส

๑] บัดนี้ ท่านปรารภนิทเทสวารมีอาทิว่า กถ โสตาวธา-

เน ปญฺา สุตมเย าณ - ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมา

แล้ว ชื่อว่า สุตมยญาณ คืออย่างไร ? ดังนี้ ก็เพื่อจะแสดงธรรม

ทั้งหลายที่รวบรวมไว้ด้วยอุทเทสตามที่ได้ยกขึ้นแสดงแล้วเป็นประเภท ๆ

ไป.

ในนิทเทสวารนั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ว่า โสตาวธาเน

ปญฺา, สุตมเย าณ - ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว

ชื่อว่า สุตมยญาณ ดังนี้ คำนี้เป็นคำถามเพื่อจะกล่าวแก้ด้วยตนเองว่า

สุตมยญาณนั้นเป็นอย่างไร ? จริงอยู่ ปุจฉา - คำถามมี ๕ อย่าง คือ

๑. อทิฏฺโชตนาปุจฺฉา - ถามเพื่อจะส่องความที่ยังไม่เห็น

๒. ทิฏฺสสนฺทนาปุจฺฉา - ถามเพื่อจะเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้ว

๓. วิมติจฺเฉทนาปุจฺฉา - ถามเพื่อจะตัดความสงสัย

๔. อนุมติปุจฺฉา - ถามเพื่อจะสอบสวนความรู้

๕. กเถตุกมฺยตาปุจฺฉา - ถามเพื่อจะตอบเอง.

ความต่างกันแห่งปุจฉา ๕ อย่างนั้นมีดังต่อไปนี้

อทิฏฐโชตนาปุจฉา เป็นไฉน* ? คือ บุคคลย่อมถามปัญหา

เพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อจะเปรียบเทียบ เพื่อจะใคร่ครวญ เพื่อจะ

๑. ขุ. มหา. ๒๙/๗๐๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

แจ่มแจ้ง เพื่อจะเปิดเผย ซึ่งลักษณะตามปกติอันเป็นนัยไม่เคยรู้ ยังไม่

เคยเห็น ยังไม่เคยเปรียบเทียบ ยังไม่เคยใคร่ครวญ ยังไม่เคยแจ่มแจ้ง

ยังไม่เคยเปิดเผย, ปุจฉานี้ ชื่อว่า อทิฏฐโชตนาปุจฉา.

ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา เป็นไฉน? คือ บุคคลนั้นย่อมถาม

ปัญหาถึงลักษณะตามปกติที่ตนเคยรู้แล้ว เคยเห็นแล้ว เคยเปรียบ-

เทียบแล้ว เคยใคร่ครวญแล้ว เคยแจ่มแจ้งแล้ว เคยเปิดเผยแล้ว

เพื่อเทียบเคียงกับบัณฑิตเหล่าอื่น ปุจฉานี้ ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนา

ปุจฉา.

วิมติจเฉทนาปุจฉา เป็นไฉน? คือ บุคคลนั้นตามปกติเป็น

ผู้แล่นไปสู่ความสงสัย เป็นผู้แล่นไปสู่ความเคลือบแคลง เป็นผู้แล่นไป

สู่ความเห็นอันเป็นเหมือนทาง ๒ แพร่ง ย่อมถามปัญหาเพื่อตัดความ

สงสัยว่า อย่างนั้นหรือหนอ ? หรือมิใช่อย่างนั้น ? อะไรหนอ ?

อย่างไรหนอแลดังนี้ นี้ชื่อว่า วิมติจเฉทนาปุจฉา.

อนุมติปุจฉา คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหาตามความ

รู้ของภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญรูปนั้นว่า

เที่ยงหรือไม่เที่ยง ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า,

ก็ตรัสถามต่อไปว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ? เมื่อ

๑.-๒. ขุ. มหา. ๒๙/๗๐๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นทุกข์พระเจ้าข้า, ก็ตรัสถามต่อไปอีกว่า

สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา, ควรละ

หรือที่จะยึดถือคือเห็นตามว่า นั่นเป็นของเรา, นั่นเป็นเรา, นั่นเป็น

อัตตา ตัวตนของเรา ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นไม่สมควร

เลยพระเจ้าข้า ดังนี้ ชื่อว่า อนุมติปุจฉา.

กเถตุกัมยาปุจฉา เป็นไฉน ? คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ถามแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยมีพระประสงค์จะแก้เองว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลายสติปัฎฐานเหล่านี้มี ๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ดังนี้ ชื่อว่า

กเถตุกัมยตาปุจฉา. ในบรรดาปุจฉาทั้ง ๕ เหล่านั้น ปุจฉานี้ บัณฑิตพึง

ทราบว่า เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉาของพระสารีบุตรเถระ.

บัดนี้ ท่านได้กล่าววิสัชนุทเทส - อุทเทสที่ตั้งไว้เพื่อจะแก้ ๑๖

ประการมีอาทิว่า ปัญญาเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือ

เครื่องรู้ชัดธรรมที่สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง

ดังนี้ ชื่อว่า สุตมยญาณ ตามกเถตุกัมยตาปุจฉาที่ยกขึ้นตั้งไว้ในเบื้องต้น.

บรรดาคำเหล่านี้ ปาฐเสสะ คือ พระบาลีว่า เทสยนฺตสฺส-

ของผู้แสดงอยู่ ของคำว่า อิเม ธมฺมา อภิญฺเยฺยา - ธรรมทั้งหลาย

เหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง ดังนี้หายไป. อธิบายว่า สุตะความรู้ที่ทรงจำธรรม

๑. วิ. มหา ๔/๒๑. ๒. ส. มหา. ๑๙/๗๗๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

ที่ได้ฟังแล้ว ชื่อว่า โสตาวธาน ตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในก่อนของ

พระศาสดาหรือของเพื่อนพรหมจรรย์ผู้ควรเคารพ แสดงอยู่ซึ่งธรรมว่า

ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ อันพระโยคีบุคคลควรรู้ยิ่ง ดังนี้, ปัญญาเป็น

เครื่องรู้โสตาวธานนั้น คือปัญญาเป็นเครื่องรู้สุตะนั้น ได้แก่ ปัญญา

อันทำการกำหนดรู้ซึ่งปริยาย ชื่อว่า สุตมยญาณ.

คำว่า ตปชานนา - เป็นเครื่องรู้ซึ่งสุตะนั้น เป็นฉัฏฐีตัป-

ปุริสสมาส วิเคราะห์ว่า ตสฺส ปชานนา - เป็นเครื่องรู้ซึ่งสุตะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง เป็นทุติยาวิภัตติด้วยสามารถแห่งวิภัตติวิปลาสว่า ต ปชา-

นนา ดังนี้.

ก็คำว่า อภิญฺเยฺยา - ควรรู้ยิ่ง ความว่า ควรรู้ด้วยสามารถ

แห่งการรู้ซึ่งสภาวลักษณะ คือด้วยอาการแห่งปัญญาในมหากุศลญาณ

สัมปยุตจิต.

คำว่า ปริญฺเยฺยา - ควรกำหนดรู้ ความว่า ควรรอบรู้ด้วย

สามารถแห่งการรู้ซึ่งสามัญลักษณะ และด้วยสามารถแห่งการยังกิจให้

สำเร็จ.

คำว่า ภาเวตพฺพา - ควรอบรม ความว่า ควรเจริญ.

คำว่า สจฺฉิกาตพฺพา - ควรทำให้แจ้ง ความว่า ควรทำให้

ประจักษ์. ก็การทำให้แจ้งมี ๒ อย่างคือ การทำให้แจ้งด้วยการได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

เฉพาะ ๑ การทำให้แจ้งด้วยการทำให้เป็นอารมณ์ ๑.

ธรรมทั้งหลายเหล่าใด จัดจำแนกเข้าฝ่ายเสื่อม กล่าวคือเป็นไป

ในฝ่ายแห่งความเสื่อมด้วยสามารถแห่งการกำเริบขึ้นแห่งธรรมอันเป็น

ข้าศึก ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น จึงชื่อว่า หานภาคิยา - อัน

เป็นส่วนแห่งความเสื่อม.

ธรรมทั้งหลายเหล่าใด จัดจำแนกเข้าในฝ่ายดำรงอยู่ กล่าวคือตั้ง

อยู่ ด้วยสามารถแห่งการตั้งมั่นแห่งสติตามสมควรแก่ธรรมนั้น ฉะนั้น

ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น จึงชื่อว่า ิติภาคิยา - อันเป็นส่วนแห่งการ

ดำรงอยู่.

ธรรมทั้งหลายเหล่าใด จัดจำแนกเข้าในฝ่ายคุณวิเศษด้วยสามารถ

แห่งการบรรลุคุณพิเศษในเบื้องบน ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น

จึงชื่อว่า วิเสสภาคิยา - อันเป็นส่วนแห่งคุณพิเศษ.

ธรรมใด ย่อมชำแรก ย่อมทำลาย กองโลภะ โทสะ โมหะ

ซึ่งยังไม่เคยจำแรก ไม่เคยทำลาย ฉะนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า นิพ-

เพธะ - ผู้ทำลาย คือ อริยมรรค, ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ย่อมจัด

จำแนกเข้าในฝ่ายทำลายนั้น ด้วยสามารถแห่งการตั้งขึ้นแห่งสัญญามน-

สิการอันสหรคตด้วยนิพพิทา - ความเบื่อหน่าย ฉะนั้น ธรรมทั้งหลาย

เหล่านั้น จึงชื่อว่า นิพเพธภาคิยา - อันเป็นส่วนแห่งความเบื่อ

หน่าย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

คำว่า สพฺเพ สงฺขารา - สังขารทั้งปวง ได้แก่ ธรรมอัน

เป็นไปกับด้วยปัจจัยทั้งปวง. ก็ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สังขตธรรม-

ธรรมอันมีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว. ธรรมเหล่าใดอันปัจจัยทั้งหลาย

ปรุงแต่งขึ้น ฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า สังขาร, สังขารเหล่านั้น

นั่นแหละ ท่านกล่าวให้แปลกออกไปว่า สังขตา เพราะถูกปัจจัยทั้งหลาย

กระทำขึ้น. รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ในอรรถกถาท่าน

กล่าวว่า อภิสังขตสังขาร เพราะเกิดแต่กรรม. แม้อภิสังขตสังขาร

เหล่านั้น ก็ย่อมสงเคราะห์เข้าใน สังขตสังขาร ดุจในคำเป็นต้นว่า

อนิจฺจา วต สงฺขารา - สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ดังนี้.

สังขารทั้งหลาย องค์ธรรมได้แก่กุศลอกุศลเจตนาในภูมิ ๓ มี

อวิชชาเป็นปัจจัย มาแล้วในคำเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษ

บุคคลนี้ ตกอยู่ในอำนาจอวิชชา ย่อมตกแต่งสังขารอันเป็นบุญ

แต่บาป ดังนี้ ชื่อว่า อภิสังขรณกสังขาร.

ความเพียรอันเป็นไปทางกายและทางใจ มาในคำเป็นต้นว่า

คติแห่งอภิสังขารมีอยู่เท่าใด, ก็ไปเท่านั้น เหมือนกับถูกตรึงตั้งอยู่ ดังนี้

ชื่อว่า ปโยคาภิสังขาร.

๑. ที. มหา. ๑๐/๑๔๗. ๒. ส. นิ. ๑๖/๑๙๑. ๓. อง. ติก. ๒๐/๔๕๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

วิตกวิจาร ปรุงแต่งวาจา มาแล้วในคำเป็นต้นว่า ดูก่อนวิสาขะ-

อุบาสกผู้มีอายุ เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารดับก่อนแต่

นั้น กายสังขารดับ ต่อไปจิตสังขารจึงดับ ฉะนั้น จึงชื่อว่า วจีสัง-

ขาร.

อัสสาสะปัสสาสะ - ลมหายใจเข้าออก ย่อมตกแต่งกาย ฉะนั้น

จึงชื่อว่า กายสังขาร.

สัญญาด้วย เวทนาด้วย ย่อมตกแต่งจิต ฉะนั้น จึงชื่อว่า

จิตตสังขาร. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอา สังขตสังขาร.

ชื่อว่า อนิจจา - ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า มีแล้วกลับไม่มี.

ชื่อว่า ทุกขา - เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า เบียดเบียน.

คำว่า สพฺเพ ธมฺมา - ธรรมทั้งปวง ท่านกล่าวรวมเอาพระ-

นิพพานเข้าไว้ด้วย. ชื่อว่า อนัตตา เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ.

ในเมื่อควรจะกล่าวว่า ทุกฺขสมุทโย ทุกฺขนิโรโธ ดังนี้ ท่าน

ก็ทำให้เป็นลิงควิปลาสเสียว่า ทุกฺขสมุทย ทุกฺขนิโรธ ดังนี้ ดุจใน

คำเป็นต้นว่า อิท ทุกฺข อริยสจฺจ ดังนี้ แต่พระอริยะเจ้าทั้งหลายมี

พระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมแทงตลอด ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อริย-

สจฺจานิ อริยสัจทั้งหลาย ดังนี้.

ชื่อว่า อริยสัจ เพราะเป็นสัจจะของพระอริยเจ้าดุจดังที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

๑. ม. มู. ๑๒/๕๑๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล พระ-

อริยเจ้าทั้งหลายย่อมแทงตลอด, เพราะฉะนั้น

จึงเรียกกว่า อริยสัจ.

ชื่อว่า อริยสัจ เพราะสำเร็จความเป็นอริยะ เพราะตรัสรู้พร้อม

เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งหลายเหล่านั้น ดุจดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

พระตถาคตเป็นพระอริยะในโลก พร้อมทั้ง

เทวโลก ฯลฯ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์, เพราะ

ฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ.

และชื่อว่า อริยสัจ เพราะเป็นสัจจะอันประเสริฐ ดุจดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะ

ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอริยสัจ ๔ เหล่านี้แล ตาม

ความเป็นจริง เพราะฉะนั้นบัณฑิตจึงเรียกว่า

อริยะ.

คำว่า อริยานิ - อันประเสริฐ คือ ไม่ผิดเพี้ยน, อธิบายว่า

ไม่หลอกลวง. ดุจดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

๑. ส. มหา. ๑๙/๑๗๐๘. ๒. ส. มหา. ๑๙/๑๗๐๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล

เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น,

เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ.

คำว่า สจฺจานิ - สัจจะทั้งหลาย ความว่า หากจะถามว่า

อะไรเป็นอรรถของสัจจะเล่า ? ก็มีคำตอบว่า ธรรมใดไม่วิปริตดุจดังมายา

เป็นธรรมที่ทำให้เข้าใจผิดพลาด ดุจพยับแดดเป็นดุจตัวตนด้วยการ

คาดคะเนเอาของพวกเดียรถีย์หาสภาวะมิได้ ย่อมปรากฏแก่ผู้พิจารณา

ด้วยปัญญาจักษุ, ธรรมเป็นแล เป็นโคจรของอริยญาณ โดยประการ

แห่ง สันติ - ความสงบ และ นิยยาน - การนำออก จากแดนเกิด

แห่งความลำบาก และโดยความเป็นจริงอันไม่วิปริต. ความเป็นจริงคือ

ความแท้ความไม่วิปริตนี้ พึงทราบว่าเป็นอรรถะของสัจจะ ดุจลักษณะ

แห่งไฟ และดุจปกติของโลก. ความพิสดาร ดุจดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ

เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ตามเป็นจริงว่า นี้

ทุกข์ เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น.

๑. ส. มหา. ๑๙/๑๗๐๗. ๒. ส. มหา. ๑๙/๑๖๙๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

อีกอย่างหนึ่ง

ทุกข์เป็นของทำให้ลำบาก นอกจากทุกข์ไม่

มีสิ่งใดทำให้ลำบาก สิ่งนี้จึงเรียกว่าสัจจะ เพราะ

นิยามว่าทำให้ลำบาก, เว้นจากสิ่งนั้นเสียแล้ว

ทุกข์ไม่มีมาจากสิ่งอื่น ด้วยเหตุที่สิ่งนั้นเป็นเหตุ

แห่งทุกข์โดยแน่นอน จึงเรียกสิ่งนั้นว่าวิสัตติกา-

คือตัณหาว่าเป็นสัจจะ, ความสงบอื่นจากพระนิพ-

พานไม่มี เพราะฉะนั้น ความดับทุกข์จึงเป็นความ

จริง ด้วยเหตุที่พระนิพพานนั้นเป็นความดับทุกข์

อย่างแน่นอน. ทางนำออกนอกจากอริยมรรคไม่มี

เพราะฉะนั้น อริยมรรคจึงเป็นความจริง เพราะ

เป็นความนำออกอย่างแท้จริง, เพราะเหตุนั้น

บัณฑิตทั้งหลายจึงได้กล่าวว่า ความเป็นจริงอันไม่

วิปลาสจากความจริง ในธรรมแม้ทั้ง ๔ มีทุกข์

เป็นต้น ว่าเป็นอรรถะแห่งสัจจะเป็นพิเศษ ดังนี้.

ก็ สัจจะ ศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในอรรถเป็นอเนก คือ

ย่อมปรากฏในอรรถว่า วาจาสัจจะ ได้ในคำเป็นต้นว่า บุคคล

พึงกล่าวความจริง ไม่พึงโกรธดังนี้.

๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

ย่อมปรากฏในอรรถว่า วิรติสัจจะ ได้ในคำเป็นต้นว่า และ

สมณพราหมณ์ทั้งหลายตั้งอยู่แล้วในสัจจะ ดังนี้.

ย่อมปรากฏในอรรถว่า ทิฏฐิสัจจะ ได้ในคำเป็นต้นว่า พวก

มีทิฏฐิต่างกัน ย่อมกล่าวสัจจะว่าสิ่งนี้แหละของจริง พวกนั้นจะเรียกว่า

เป็นผู้ฉลาดเหมือนกันหมดหรืออย่างไร ? ดังนี้.

ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปรมัตถสัจจะ คือนิพพาน และมรรค

ในคำเป็นต้นว่า สัจจะมีเพียงอย่างเดียว สัจจะที่ ๒ ไม่มี ซึ่งเป็นเหตุ

ให้ผู้รู้โต้เถียงกัน.

ย่อมปรากฏใน อริยสัจ ในคำเป็นต้นว่า สัจจะ ๔ เป็นกุศล

เท่าไร ? เป็นอกุศลเท่าไร ? ดังนี้. แม้ในที่นี้ สัจจ ศัพท์นี้นั้น ย่อมเป็น

ไปในอรรถว่า อริยสัจ ฉะนี้แล.

อรรถกถาพรรณนาแห่งวิสัชนุทเทส

อันท่านสงเคราะห์แล้วในนิทเทสวาระ จบ

๑. ขุ. ชา. ๒๘/๓๕๘. ๒.-๓. ขุ. สุ. ๒๕/๔๑๙. ๔. ขุ. ป. ๓๑/๕๕๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

อภิญเญยยนิทเทส

[๒] ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือ เป็น

เครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง เป็น

สุตมยญาณอย่างไร ?

ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร

ธรรม ๒ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๒

ธรรม ๓ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๓

ธรรม ๔ ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ ๔

ธรรม ๕ ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายนะ ๕

ธรรม ๖ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุตตริยะ ๖

ธรรม ๗ ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ - เหตุที่พระขีณาสพนิพ-

พานแล้วไม่ปฏิสนธิอีกต่อไป ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 177ก

ธรรม ๘ ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ-อารมณ์แห่งญาณอันฌายี

บุคคลครอบงำไว้ ๘

ธรรม ๙ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙

ธรรม ๑๐ ควรรู้ยิ่ง คือ นิชชรวัตถุ - เหตุกำจัดมิจฉาทิฏฐิ

เป็นต้น ๑๐.

[๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติทั้งปวงควรรู้ยิ่ง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมชาติทั้งปวงควรรู้ยิ่ง คืออะไร ? คือ ตา รูป

จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุข-

เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย (แต่ละอย่าง ๆ) ควรรู้ยิ่ง

หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ

ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา

หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควร

รู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๔] รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ โทตะ

ฆานะ ชิวหา กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 177ข

รมณ์ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ

กายวิญญาณ มโนวิญญาณ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส

ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสต

สัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กาย-

สัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา รูปสัญญา สัททสัญญา

คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสูญญา ธรรมสัญญา รูปสัญเจตนา

สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา

ธรรมสัญเจตนา รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา

โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก

โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร

โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๕] ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ

วิญญาณธาตุ ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ

ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ วิญญาณกสิณ

ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๖] ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อ

ในกระดูก. ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 177ค

อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น

น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร สมองศีรษะ ควรรู้

ยิ่งทุกอย่าง.

[๗] จักขวายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ

ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ

โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธรรมยตนะ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุ-

วิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ

ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ

โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ

จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์

ชีวิตินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัส-

สินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วีริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์

(อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติด้วยมนสิการว่า เราจักรู้ธรรมที่ยังไม่รู้ อินทรีย์

น็เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคญาณ) อัญญินทรีย์ ( อินทรีย์ของผู้รู้

จตุสัจธรรมด้วยมรรคนั้น อินทรีย์นี้เป็นชื่อของญาณในฐานะ ๖ คือ

โสดาปัตติผลถึงอรหัตมรรคญาณ) อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ของพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 177ง

ขีณาสพผู้รู้จบแล้ว อินทรีย์นี้เป็นชื่อของอรหัตผลญาณ) ควรรู้ยิ่ง

ทุกอย่าง.

[๘] กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ

สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ

จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน

ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๙] เมตตาเจโตวิมุตติ กรุณาเจโตวิมุตติ มุทิตาเจโตวิมุตติ

อุเบกขาเจโตวิมุตติ อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ

อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อวิชชา

สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา

อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

๒. อรรถกถาอภิญเญยยนิทเทส

ว่าด้วย อภิญเญยยธรรม

๒] บัดนี้ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้แสดงนิทเทสวารมี

อาทิว่า กถ อิเม ธมฺมา อภิญฺเยฺย - ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ควร

รู้ยิ่ง อย่างไร ? ดังนี้ ก็เพื่อจะแสดงธรรมอันท่านรวบรวมไว้ใน

วิสัชนุทเทส เป็นประเภท ๆ ไป.

ในคำเหล่านั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้ยกวิสัชนาข้อละ

๑๐ ๆ ตั้งแต่ด้นด้วยสามารถแห่งเอกนิทเทสเป็นต้นไป ในคำทั้ง ๕ มี

คำแสดงธรรมที่ควรรู้ยิ่งเป็นต้น ขึ้นแสดงเทียบเคียง โดยปริยายแห่ง

ทสุตตรสูตร.

อรรถกถาเอกนิทเทส

ว่าด้วย อาหาร

บรรดาคำทั้ง ๕ นั้น ในเบื้องแรก คำว่า สพฺเพ สตฺตา-

สัตว์ทั้งปวง ในอภิญเญยยนิทเทส ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ใน

ภพทั้งปวง คือในกามภพเป็นต้น ในสัญญาภพเป็นต้น และในเอกโว-

การภพเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

คำว่า อาหารฏฺิติกา - มีอาหารเป็นที่ตั้ง ความว่า การดำรง

อยู่ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เพราะอาหาร ฉะนั้น จึงชื่อว่า อาหา-

รฏฺิติกา - มีอาหารเป็นที่ตั้ง.

ก็ในคำว่า ิติ - การดำรงอยู่นี้ ท่านประสงค์เอา ความมีอยู่

ในขณะของตน.

ชื่อว่า อาหาร เพราะเป็นเหตุแห่งการดำรงอยู่แห่งสัตว์ทั้งปวง

เป็นธรรมอันหนึ่ง เป็นธรรมควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง. ครั้นรู้ปัจจัย

แล้ว ก็เป็นอันรู้ปัจจยุปบัน - ธรรมเกิดแต่ปัจจัย เพราะปัจจัยและ

ปัจจยุปบันทั้ง ๒ นั้นเพ่งความอาศัยกันและกัน. ญาตปริญญา เป็น

อันท่านกล่าวแล้วด้วยคำนั้น.

ถามว่า ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ว่า อสัญญ-

สัตตาเทวา - อสัญญสัตตาพรหม ไม่มีเหตุ ไม่มีอาหาร ไม่มีผัสสะ๑

ดังนี้เป็นต้น คำนั้นจะมิผิดไปหรือ ?

ตอบว่า คำที่ท่านกล่าวนั้นไม่ผิด เพราะฌานเป็นอาหารของ

อสัญญสัตตาเทวาเหล่านั้น.

ถามว่า ถึงแม้เป็นอย่างนั้น คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อาหารทั้งหลาย ๔ เหล่านี้ เพื่อความตั้งอยู่แห่งสัตว์ผู้เกิดแล้ว เพื่อ

อนุเคราะห์แก่เหล่าสัมภเวสี.

๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๙๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

อาหาร ๔ เป็นไฉน ? คือ กพฬีการาหาร - อาหารคือคำข้าว

เป็นอาหารหยาบหรือละเอียด, ผัสสะ - อาหารคือผัสสะ เป็นที่ ๒,

มโนสัญเจตนา - อาหารคือเจตนา เป็นที่ ๓, วิญญาณ - อาหารคือ

วิญญาณ เป็นที่ ๔ ดังนี้ ก็ย่อมผิด.

ตอบว่า ถึงแม้คำนั้นก็ไม่ผิด. เพราะในพระสูตร ตรัสไว้โดย

นิปริยายว่า ธรรมทั้งหลายมีอาหารเป็นลักษณะแล ชื่อว่า อาหาร

แต่ในที่นี้ตรัสโดยปริยายว่า ปัจจัยชื่อว่า อาหาร. เพราะสังขตธรรม

ทั้งปวง ได้ปัจจัย ย่อมควร ก็ปัจจัยนั้นย่อมยังผลใด ๆ ให้เกิดขึ้น

ชื่อว่าย่อมนำมาซึ่งผลนั้น ๆ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า อาหาร.

ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อวิชชา เราก็

กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา,

ควรกล่าวว่านิวรณ์ ๕ เป็นอาหารของอวิชชา. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร

มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็

อะไรเล่าเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕. ฯลฯ ควรกล่าวว่า

อโยนิโสมนสิการเป็นอาหารของนิวรณ์ดังนี้เป็นต้น.

อาหารดังกล่าวแล้วนี้ ประสงค์แล้วในที่นี้.

๑. ส. นิ. ๑๖/๒๘. ๒. องฺ ทสก. ๒๔/๖๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

ครั้นถือเอาอาหารคือปัจจัยแม้นี้ อาหารทั้งโดยปริยาย และ

อาหารทั้งโดยนิปริยาย ก็เป็นอันถือเอาทั้งหมด.

ในคำนั้น ปัจจยาหาร ย่อมได้ในอสัญญีภพ. จริงอยู่เมื่อ

พระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พวกที่บวชเป็นเดียรถีย์ทำบริกรรม

ในวาโยกสิณ ยังจตุตถฌานให้เกิดขึ้นออกจากฌานนั้นแล้ว ก็เห็นว่า

จิตนี้ เป็นของน่าติเตียนมาก ความไม่มีจิตเสียเลย เป็นการดี. เพราะ

ทุกข์มีการฆ่าและจองจำเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจิต, เมื่อไม่มี

จิตทุกข์นั้นก็ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้นจึงเกิดความยินดีพอใจ ฌานไม่เสื่อม

ทำกาละแล้วเกิดในอสัญญีภพ. ผู้ใดตั้งอยู่ในอิริยาบถใดในมนุษย์ ผู้นั้น

ก็ย่อมเกิดด้วยอิริยาบถนั้นสถิตอยู่ตลอด ๕๐๐ กัป. เป็นเหมือนนอน นั่ง

หรือยืนตลอดกาลยาวนานมีประมาณเพียงนั้น. ก็ปัจจยาหารย่อมได้แก่

สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น. เพราะสัตว์เหล่านั้นเจริญฌานใดแล้วเกิด ฌาน

นั้นก็เป็นปัจจัยแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เหมือนลูกศรที่ยิงไปด้วยกำลัง

แห่งสายธนู กำลังสายธนูมีกำลังเพียงใด ก็ไปได้เพียงนั้น ฉันใด

กำลังฌานปัจจัยมีประมาณเพียงใด ก็สถิตอยู่ได้เพียงนั้น ฉันนั้น.

เมื่อกำลังฌานปัจจัยสิ้นแล้ว สัตว์เหล่านั้นก็จุติ ดุจลูกศรที่มีกำลังสิ้น

แล้วฉะนั้น.

ส่วนสัตว์เหล่าใดเป็นผู้เกิดในนรก สัตว์เหล่านั้นท่านกล่าวว่า

ไม่เป็นผู้มีชีวิตอยู่ด้วยความเพียร ไม่เป็นผู้มีชีวิตอยู่ด้วยผลแห่งบุญเลย,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

อะไรเป็นอาหารของสัตว์เหล่านั้นเล่า ? กรรมนั่นแลเป็นอาหารของ

สัตว์เหล่านั้นดังนี้.

ถามว่า อาหารมี ๕ อย่างหรือ ? ตอบว่า คำนี้ไม่พึงกล่าวว่า

มี ๕ หรือมิใช่ ๕ ดังนี้. วาทะว่า ปัจจัยเป็นอาหาร ท่านกล่าวไว้

แล้วมิใช่หรือ เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้นเกิดในนรกด้วยกรรมใด,

กรรมนั้นนั่นแหละเป็นอาหารของสัตว์เหล่านั้น เพราะเป็นปัจจัยแห่ง

การดำรงอยู่. คำนี้ท่านกล่าวหมายเอาคำใด คำนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้แล้วว่า ก็สัตว์นรกยังไม่ทำกาละตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่

สิ้น.

เพราะฉะนั้น คำว่า อาหารฏฺิติกา - มีอาหารเป็นที่ตั้ง จึง

มีความว่า มีปัจจัยเป็นที่ตั้ง. ก็ในคำนี้ว่า เพราะปรารภกพฬีการาหาร

ไม่พึงทำการกล่าวให้แตกต่างกันไป เพราะว่า ถึงแม้น้ำลายที่เกิดใน

ปากก็สำเร็จกิจเป็นอาหารแก่สัตว์เหล่านั้นใด. จริงอยู่ น้ำลายก็เป็น

ปัจจัยแก่พวกเกิดในนรกซึ่งเสวยทุกขเวทนา และแก่พวกเกิดในสวรรค์

ซึ่งเสวยสุขเวทนา.

ในกามภพมีอาหาร ๔ โดยตรง, ในรูปภพและอรูปภพ เว้น

อสัญญีภพเสีย นอกนั้นมีอาหาร ๓. อสัญญีภพและภพนอกนี้เป็น มี

ปัจจยาหาร ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง

เป็นผู้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ด้วยอาหารดังกล่าวมาแล้วนี้.

๑. องฺ.ติก. ๒๐/๔๒๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

คำว่า สพฺเพ สตฺตา - สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง เป็น บุคลา-

ธิฏฐานธรรมเทสนา, อธิบายว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวง จริงอยู่

เทสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามี ๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่งธรรมะ และ

บุคคล คือ

ธรรมาธิฏฐานธรรมเทสนา ๑

ธรรมธิฏฐานบุคคลเทสนา ๑

บุคลาธิฏฐานบุคคลเทสนา ๑

บุคลาธิฏฐานธรรมเทสนา ๑.

ธรรมาธิฏฐานธรรมเทสนา เช่นเทสนาว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้ว

ย่อมควรแก่การงาน เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรม

แล้ว ย่อมควรแก่การงาน.

ธรรมธิฏฐานบุคลเทสนา เช่นแสดงว่า ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงยึดถือสังขารไร ๆ

โดยความเป็นของเที่ยงนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้.

๑. องฺ.เอกก. ๒๐/๒๓. ๒. องฺ.เอกก. ๒๐/๑๕๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

บุคลาธิฏฐานบุคลเทสนา เช่นแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลคนเดียวเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์

เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อควานสุขแต่ชนเป็นอันมาก เพื่อ

อนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข

แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

บุคลาธิฏฐานธรรมเทสนา เช่นแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความปรากฏขึ้นแห่งจักษุใหญ่ย่อมมี เพราะความปรากฏขึ้นแห่ง

บุคคลคนเดียว.

ในเทสนา ๔ เหล่านั้น ในที่นี้ ท่านประสงค์เอา บุคลา-

ธิฏฐานธรรมเทสนา. ควรทราบว่า ท่านแสดงศัพท์คือ ธรรมะ ด้วย

สัตตะศัพท์ เพราะมุ่งธรรมเท่านั้น ตั้งแต่ต้นจนถึงหมวด ๑๐, อีก

อย่างหนึ่งพึงทราบว่า ท่านแสดงศัพท์คือ สัตตะ โดยวิเศษ เพราะพึงเข้า

ไปใคร่ครวญ ธรรม อันนับเนื่องในสันดานของสัตว์ได้ตามสภาวะด้วย

ญาณอันยิ่ง หรือควรทราบว่า สังขารทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า สัตว์ โดย

ผโลปจารนัย เพราะเป็นเพียงบัญญัติว่าสัตว์ดังนี้ ก็เพราะอาศัยสังขาร

ทั้งหลาย. สัตว์ไร ๆ ชื่อว่า ตั้งอยู่ด้วยปัจจัยนั้นไม่มีเลย ในที่ไหน ๆ

๑. องฺ. เอกก. ๒๐/๑๙๒. ๒. องฺ.เอกก. ๒๐/๑๔๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

ก็มีแต่สังขารทั้งนั้น, แต่ท่านเรียกอย่างนี้ ด้วยสามารถแห่งโวหาร.

ญาตปริญญา เป็นอันท่านกล่าวไว้ด้วยคำนี้ ด้วยประการฉะนี้.

อรรถกถาทุกนิทเทส

ว่าด้วย ธาตุ ๒

คำว่า เทฺว ธาตุโย - ธาตุ ๒ ได้แก่ สังขตธาตุ ๑ อสังขต-

ธาตุ ๑.

บรรดาธาตุทั้ง ๒ นั้น ขันธ์ ๕ อันปัจจัยเป็นอเนกปรุงแต่ง

แล้ว ชื่อว่า สังขตธาตุ, พระนิพพานอันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้

แล้ว ชื่อว่า อสังขตธาตุ.

อรรถกถาติกนิทเทส

ว่าด้วย ธาตุ ๓

คำว่า ติสฺโส ธาตุโย - ธาตุ ๓ ได้แก่ กามธาตุ ๑. รูปธาตุ ๑,

อรูปธาตุ ๑.

บรรดาธาตุทั้ง ๓ นั้น กามธาตุเป็นไฉน ?

ในเบื้องต่ำมีอเวจีนรกเป็นที่สุด, ในเบื้องบนมีปรนิมมิตวสวัตดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

เทวโลกเป็นที่สุด ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

และวิญญาณ ที่ท่องเที่ยวไปในระหว่างนี้ ที่นับเนื่องในระหว่างนี้,

นี้เรียกว่ากามธาตุ.

บรรดาธาตุทั้ง ๓ นั้น รูปธาตุเป็นไฉน ? ในเบื้องต่ำมีพรหม-

โลกเป็นที่สุด ในเบื้องบนมีอกนิฏฐพรหมโลกเป็นที่สุด สภาวธรรม

ทั้งหลายคือจิตและเจตสิก ของบุคคลผู้เข้าสมาบัติก็ดี ของผู้เกิดแล้วก็ดี

ของผู้อยู่ด้วยสุขวิหารธรรมในปัจจุบันก็ดี ที่ท่องเที่ยวไปในระหว่างนี้

นับเนื่องในระหว่างนี้, นี้เรียกว่ารูปธาตุ.

บรรดาธาตุทั้ง ๓ นั้น อรูปธาตุเป็นไฉน ? ในเบื้องต่ำมีอากา-

สานัญจายตนะพรหมโลกเป็นที่สุด ในเบื้องบนมีเนวสัญญานาสัญญา-

ยตนะพรหมโลกเป็นที่สุด สภาวธรรมทั้งหลายคือจิตและเจตสิกของ

ผู้เข้าสมาบัติก็ดี ของผู้เกิดแล้วก็ดี ของผู้อยู่ด้วยสุขวิหารธรรมในปัจจุบัน

ก็ดี ที่ท่องเที่ยวไปในระหว่างนี้ นับเนื่องในระหว่างนี้, นี้เรียกว่า

อรูปธาตุ.

แต่ในอรรถกถา ท่านกล่าวว่า กามภพ ชื่อว่า กามธาตุได้

ขันธ์ ๕, รูปภพ ชื่อว่า รูปธาตุ ได้ขันธ์ ๕, อรูปภพ ชื่อว่า อรูปธาตุ

ได้ขันธ์ ๔. นี้ ประกอบโดยปริยายแห่งทสุตตรสูตร.

๑. อภิ.วิ. ๓๕/๑๒๒. ๒. อภิ.วิ. ๓๕/๑๒๔. ๓. อภิ.ส. ๓๔/๘๓๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

ส่วนในปริยายแห่งสังคีติสูตรว่า ถึงแม้ธาตุทั้งหลายที่ท่านกล่าวไว้

ว่า กุสลธาตุมี ๓ คือ เนกขัมธาตุ ๑, อัพยาปาทธาตุ ๑, อวิหิงสา-

ธาตุ ๑. ธาตุ ๓ อื่นอีก คือ รูปธาตุ ๑ อรูปธาตุ ๑ นิโรธธาตุ ๑.

ธาตุ ๓ อื่นอีก คือ หีนาธาตุ ๑ มัชฌิมาธาตุ ๑ ปณีตาธาตุ ๑.

ก็ย่อมประกอบในที่นี้.

ความตรึก ความตรึกตรอง อันประกอบด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ

สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า เนกขัมธาตุ, กุสลธรรมแม้ทั้งหมด ก็

เรียกว่า เนกขัมธาตุ.

ความตรึก ความตรึกตรอง อันประกอบด้วยอัพยาปาทะ ฯลฯ

สัมมาสังกัปปะ เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ, ความมีไมตรี อาการที่มี

ไมตรี สภาพที่มีไมตรี ในสัตว์ทั้งหลายเมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า

อัพยาปาทธาตุ.

ความตรึก ความตรึกตรอง อันประกอบด้วยอวิหิงสา ฯลฯ

สัมมาสังกัปปะ เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ, ความกรุณา อาการที่กรุณา

สภาพที่กรุณา ในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อวิหิงสา-

ธาตุ.

รูปธาตุและอรูปธาตุได้กล่าวไว้แล้วแล. นิพพาน เรียกว่า

นิโรธธาตุ. อกุสลจิตตุปบาท ๑๒ เรียกว่า หีนาธาตุ, ธรรมที่เป็นไป

๑. ที.ปา. ๑๑/๒๒๘. ๒. อภิ.วิ. ๓๕/๑๒๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

ในภูมิ ๓ ที่เหลือ เรียกว่า มัชฌิมาธาตุ, โลกุตรธรรม ๙ เรียกว่า

ปณีตาธาตุ. ก็ธรรมแม้ทั้งหมด เรียกว่า ธาตุ เพราะอรรถว่า

ไม่ใช่ชีวะ.

อรรถกถาจตุกนิทเทส

ว่าด้วย อริยสัจ ๔

คำว่า จตฺตาริ อริยสจฺจานิ - อริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกขอริย-

สัจ ๑, ทุกขสมุทยอริยสัจ ๑, ทุกขนิโรธอริยสัจ ๑, ทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทาอริยสัจ ๑. วรรณนาแห่งอริยสัจ ๔ เหล่านี้ จักมีแจ้งใน

วิสัชนาแห่งสัจจะแล.

อรรถกถาปัญจกนิทเทส

ว่าด้วย วิมุตตายตนะ ๕

คำว่า ปญฺจ วิมุตฺตายตนานิ - วิมุตตายตนะ ๕ ความว่า

เหตุแห่งการพ้น ๕ ประการเหล่านี้ คือ การสดับธรรมเทสนาที่ผู้อื่น

แสดงเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ๑, การแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับ

มาแล้วเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเหล่าอื่น ๑, การสาธยายธรรมที่ตน

ได้สดับมาแล้ว ๑, การตรึกถึงธรรมตามที่ได้สดับมาแล้วด้วยใจ ๑,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

อารมณ์อันสมควรแก่สมถกรรมฐาน ๔๐ มี กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐

เป็นต้น ๑.

ดุจดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อน

สพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควรแก่ การเคารพ

แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ภิกษุนั้นย่อม

เข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้นตามที่พระศาสดา

หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควรแก่การ

เคารพ แสดงธรรมแก่ภิกษุ, เมื่อภิกษุนั้น เข้าใจ

อรรถ เข้าใจธรรม ก็ย่อมเกิดความปราโมทย์, เมื่อ

เกิดความปราโมทย์แล้ว ปีติก็ย่อมเกิด, เมื่อใจ

สหรคตด้วยปีติ กายย่อมสงบ, ผู้มีกายสงบก็ย่อม

เสวยสุข, เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น, นี้เป็นวิมุต-

ตายตนะข้อที่ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระ-

ศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควร

แก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมไม่ได้แสดงธรรม

แก่ภิกษุเลย แต่ว่า ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดย

พิสดาร ภิกษุย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรม

นั้นที่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้

เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อภิกษุ

เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ

เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. นี้เป็นวิมุตตายตนะ

ข้อที่ ๒.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระ-

ศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควร

แก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่

ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงตามที่ได้สดับมา ตามที่

ที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แก่

ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายตามที่ได้สดับมา ตามที่

ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร ภิกษุย่อมเข้าใจอรรถ

เข้าใจธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ได้

สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อ

ภิกษุเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์

ฯลฯ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตา-

ยตนะข้อที่ ๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระ-

ศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควร

แก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไม่ได้แสดงธรรม

แก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ได้สดับมา

ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้

ภิกษุก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมตามที่ได้สดับมา

ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อม

ตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่

ได้เล่าเรียนมาด้วยใจ ภิกษุย่อมเข้าใจอรรถ เข้า

ใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมีสุข จิต

ย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ ๔.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระ-

ศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควร

แก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่

ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ได้สดับมา

ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร

ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่

ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึก-

ตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

เล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่าสมาธินิมิตอย่างใดอย่าง

หนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี

ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา ภิกษุ

ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมนั้น ตามที่ได้เล่าเรียน

สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจ

ด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา

เมื่อภิกษุเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดความ

ปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ

เมื่อมีใจสหรคตด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกาย

สงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อม

ตั้งมั่น. นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ ๕ ดังนี้แล.

อรรถกถาฉักกนิทเทส

ว่าด้วย อนุตริยะ

ในคำนี้ว่า ฉ อนุตฺตริยานิ - อนุตริยะ ๖ มีความว่า คุณ

อันยิ่งกว่าธรรมชาติเหล่านั้น ไม่มี ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า

อนุตระ อนุตระนั่นแหละ ชื่อว่า อนุตริยะ, อธิบายว่า เป็นธรรมชาติ

อันประเสริฐ. สมจริงดังพระดำรัสอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

๑. องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๒๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ ๖ ประการนี้.

๖ ประการเป็นไฉน ? คือ -

๑. ทัสนานุตรียะ - การเห็นอันประเสริฐ,

๒. สวนานุตริยะ - การฟังอันประเสริฐ,

๓. ลาภานุตริยะ - การได้อันประเสริฐ,

๔. สิกขานุตริยะ - การศึกษาอันประเสริฐ,

๕. ปาริจริยานุตริยะ - การบำรุงอันประเสริฐ,

๖. อนุสตานุตริยะ - อนุสติอันประเสริฐ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ ทัสนานุตริยะ เป็น

ไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลก

นี้ ย่อมไปเพื่อจะดูช้างแก้วบ้าง, ม้าแก้วบ้าง,

แก้วมณีบ้าง, ของใหญ่ของเล็ก, หรือสมณพรหมณ์

ผู้เห็นผิด, ผู้ปฏิบัติผิด, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ทัสนะมีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า ไม่มี ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็แต่ว่า ทัสนะนี้นั้นแล เป็นทัสนะอัน

เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน มิใช่

ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

เป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ

ความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้

เพื่อพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคล

ใดมีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีสัทธาไม่

หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปเพื่อใจเห็น

ตถาคต หรือสาวกของตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าว

ล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่ง

ทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้

แจ้งซึ่งพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่

บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีสัทธา

ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเห็นพระ-

ตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า

ทัสนานุตริยะ. ทัสนานุตริยะ เป็นดังนี้.

ก็ สวนานุตริยะ เป็นอย่างไร ? ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อ

ฟังเสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง เสียงเพลงบ้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

หรือเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ย่อมไปเพื่อฟังธรรมของ

สมณพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า ไม่มี ก็

แต่ว่าการฟังนี้ เป็นการฟังอันเลว ฯลฯ ไม่เป็น

ไปเพื่อพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วน

บุคคลใดแลมีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มี

สัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไป

เพื่อฟังธรรมของตถาคต หรือของสาวกของตถาคต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้ประเสริฐกว่าการฟัง

ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์

ทั้งหลาย ฯลฯ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น

มีความรักตั้งมั่น มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความ

เลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังธรรมของตถาคตหรือของ

สาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า สานานุตริยะ.

ทัสนานุตริยะ สวนานุตริยะ เป็นดังนี้.

ก็ ลาภานุตริยะ เป็นอย่างไร ? ดูก่อน

ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมได้บุตรบ้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง น้อยบ้าง

หรือได้สัทธาในสมณพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติ

ผิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภคือการได้นี้มีอยู่

เรามิได้กล่าวว่า ไม่มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็

แต่ว่า ลาภคือการได้นี้เป็นลาภเลว ฯลฯ ไม่เป็น

ไปเพื่อพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วน

บุคคลใดแล เป็นผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น

มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้

สัทธาในพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภคือการได้นี้เป็นลาภอัน

ประเสริฐกว่าลาภทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความ

บริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพื่อกระทำให้

แจ้งซึ่งพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่

บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีสัทธา

ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้สัทธาใน

พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า

ลาภานุตริยะ. ทัสนานุตริยะ สวนานุตริยะ

ลาภานุตริยะ เป็นดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

ก็ สิกขานุตตริยะ เป็นอย่างไร ? ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมศึกษา

ศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง

ดาบบ้าง หรือศึกษาศิลปะชั้นสูงชั้นต่ำ ย่อมศึกษา

ต่อสมณพราหมณ์ผู้มีความเห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้มีอยู่, เรามิได้

กล่าวว่า การศึกษานี้ไม่มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็แต่ว่าการศึกษานั้น เป็นการศึกษาที่เลว ฯลฯ

ย่อมไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ส่วนบุคคลใดมีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มี

สัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษา

อธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรม

วินัยอันตถาคตประกาศแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

การศึกษานี้ประเสริฐกว่าการศึกษาทั้งหลาย ย่อม

เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข้อที่บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มี

สัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษา

อธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

อันตถาคตประกาศแล้วนี้ เราเรียกว่า สิกขานุต-

ริยะ. ทัสนานุตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุต-

ริยะ สิกขานุตริยะ เป็นดังนี้.

ก็ ปาริจริยานุตริยะ เป็นอย่างไร ? ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมบำรุง

กษัตริย์บ้าง, พราหมณ์บ้าง, คฤหบดีบ้าง, ก็หรือ

ว่า ย่อมบำรุงบุคคลชั้นสูงและต่ำ, หรือย่อมบำรุง

สมณพราหมณ์ผู้มีความเห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบำรุงนี้มีอยู่ เรามิได้

กล่าวว่า การบำรุงไม่มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่

การบำรุงนี้แล เป็นการบำรุงอันเลว ฯลฯ ไม่เป็น

ไปเพื่อพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่า

บุคคลใดแล ผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น

มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุง

พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย การบำรุงนี้ประเสริฐกว่าการบำรุงทั้งหลาย

ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิแห่งสัตว์ทั้งหลาย

ฯลฯ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน, ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

รักตั้งมั่น มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง

ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต. นี้

เราเรียกว่า ปาริจริยานุตริยะ. ทัสนานุตริยะ

สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ สิกขานุตริยะ

ปาริจริยานุตริยะ เป็นดังนี้.

ก็ อนุสตานุตริยะ เป็นอย่างไร ?, ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมระลึก

ถึงการได้บุตรบ้าง การได้ภรรยาบ้าง การได้ทรัพย์

บ้าง ก็หรือว่า ย่อมระลึกถึงการได้มากบ้าง น้อย

บ้าง, หรือระลึกถึงสมณพรหมณ์ผู้มีความเห็นผิด

ผู้ปฏิบัติผิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การระลึกถึงนี้

มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า การระลึกถึงนี้ไม่มี. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย แต่ว่า การระลึกถึงนี้นั้นแล เป็น

การระลึกถึงอันเลว ฯลฯ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อ

พระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าบุคคล

ใดแล ผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีสัทธา

ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึง

พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต. ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

ทั้งหลาย การระลึกถึงนี้ประเสริฐกว่าการระลึกถึง

ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์

ทั้งหลาย ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น

มีความรักตั้งมั่น มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความ

เลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของ

พระตถาคต. นี้ เราเรียกว่า อนุสตานุตริยะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้คือ อนุตริยะ ๖

ฉะนี้แล.

อรรถกถาสัตตกนิทเทส

ว่าด้วย นิททสะ

ในคำว่า สตฺต นิทฺทสวตฺถูนิ นี้ มีความว่า ทสะ แปลว่า

๑๐ ไม่มีแก่ผู้นั้น ฉะนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า นิททสะ, วัตถุคือเหตุแห่ง

นิททสะคือความเป็นแห่งนิททสะ ชื่อว่า นิททสวัตถุ.

จริงอยู่ พระขีณาสพ ปรินิพพานในกาลที่มีพรรษา ๑๐ ก็ไม่

ชื่อว่า มีพรรษา ๑๐ อีก เพราะไม่มีปฏิสนธิอีกต่อไป ฉะนั้น ท่านจึง

๑. องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๐๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

เรียกว่า นิททสะ ไม่มีพรรษา ๑๐. และไม่มีพรรษา ๑๐. อย่างเดียวเท่า

นั้นก็หาไม่ แม้พรรษา ๙ ก็ไม่มี ฯลฯ แม้กาลสักว่าครู่เดียวก็ยังไม่มี.

พระขีณาสพปรินิพพานในกาลที่มีพรรษา ๑๐ เท่านั้นก็หาไม่ แม้ปริ-

นิพพานในกาลที่มีพรรษา ๗ ก็ไม่ชื่อว่ามีพรรษา ๗ ไม่มีพรรษา ๑๐ ไม่

มีกาลแม้สักครู่เดียว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อยกเอาโวหารอันเกิดใน

ลัทธิเดียรถีย์มาไว้ในพระศาสนา แล้วทรงแสดงความไม่มีแห่งพระขีณา-

สพผู้เช่นนั้นในลัทธิเดียรถีย์นั้น, และความมีอยู่แห่งพระขีณาสพผู้เช่น

นั้นในศาสนานี้ จึงตรัสเหตุแห่งความมีอยู่แห่งพระขีณาสพผู้เช่นนั้นว่า

สตฺต นิทฺทสวตฺถูนิ - วัตถุแห่งนิททสะ ๗. ดุจดังพระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ ๗ ประการ

นี้. ๗ ประการเป็นไฉน ? คือ

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย

นี้ เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทาน

สิกขาและเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการ

สมาทานสิกขา.

๒. เป็นผู้ได้ความยินดีอย่างแรงกล้าในการ

ใคร่ครวญธรรมและเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

ไปในการใคร่ครวญธรรมต่อไป.

๓. เป็นผู้ยินดีอย่างแรงกล้าในการกำจัด

ความอยาก และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจาก

ไปในการกำจัดความอยากต่อไป.

๔. เป็นผู้มีความยินดีอย่างแรงกล้าในการ

หลีกเร้น และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไป

ในการหลีกเร้นต่อไป.

๕. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการเริ่ม

ความเพียร และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจาก

ไปในการเริ่มความเพียรต่อไป.

๖. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในความ

เป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตัว และเป็นผู้มี

ความรักอันไม่ปราศจากไปในความเป็นผู้มีสติปัญ-

ญาเป็นเครื่องรักษาตัวต่อไป.

๗. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการ

แทงตลอดด้วยทิฏฐิ และเป็นผู้มีความรักอันไม่

ปราศจากไปในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ ต่อไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล*.

แม้พระเถระครั้นยกเทศนาอย่างนั้นขึ้นกล่าวว่า สตฺต นิทฺทสวตฺถูนิ

- นิททสวัตถุ ๗ ดังนี้.

อรรถกถาอัฏฐกนิทเทส

ว่าด้วย อภิภายตนะ ๘

ในคำว่า อฏฺ อภิภายตนานิ - อภิภายตนะ ๘ นี้ มีความ

ว่า อายตนะทั้งหลายครอบงำฌานเหล่านั้น ฉะนั้น ฌานเหล่านั้นจึง

ชื่อว่า อภิภายตนะ. คำว่า อายตนานิ ความว่า ฌานมีกสิณเป็น

อารมณ์กล่าวคืออายตนะเพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งอันยิ่ง.

อธิบายว่า ก็บุคคลผู้มีญาณอันยิ่ง ผู้มีญาณแกล้วกล้าคิดว่า อัน

เราพึงเข้าในอารมณ์นี้ เพราะเหตุไร ? ภาระในการทำจิตให้เป็นเอกัคค-

ตา ไม่มีแก่เราดังนี้ แล้วครอบงำอารมณ์เหล่านั้นเสียเข้าสมาบัติ, ยัง

อัปปนาให้เกิดขึ้นในอารมณ์นี้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งนิมิต. ฌานที่

ให้เกิดขึ้นโดยประการอย่างนี้ ท่านเรียกว่า อภิภายตนะ. อภิภายตนะ

๘ เป็นไฉน ?

๑. องฺ. สตฺตก. ๒๓/๑๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

๑. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในรูปภายใน เห็น

รูปภายนอกเล็กน้อย มีวรรณะดีและทราม

ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า

เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ ๑.

๒. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในรูปภายใน เห็น

รูปภายนอกไม่มีประมาณ มีวรรณะดีและทราม

ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า

เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ ๒.

๓. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็น

รูปภายนอกเล็กน้อย มีวรรณะดีและทราม ครอบงำ

รูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เรา

เห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ ๓.

๔. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็น

รูปภายนอกไม่มีประมาณ มีวรรณะดีและทราม

ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า

เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ ๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

๕. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็น

รูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน

มีรังสีเขียว, ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณะเขียว

เขียวล้วน มีรังสีเขียว, หรือว่าผู้ที่กำเนิดในเมือง

พาราณสี มีส่วนทั้งสอง เกลี้ยงเขียว มีวรรณะเขียว

เขียวล้วน มีรังสีเขียว แม้ฉันใด, ผู้หนึ่ง มีความ

สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มี

วรรณะเขียว เขียวล้วน มีรังสีเขียว ฉันนั้น

เหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความ

สำคัญอย่างนี้ เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะ

ที่ ๕.

๖. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็น

รูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลือง

ล้วน มีรังสีเหลือง, ดอกกรรณิกาอันเหลือง มี

วรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง, หรือว่า

ผู้ที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยง-

เหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง

แม้ฉันใด, ผู้ใดมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็น

รูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลือง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

ล้วน มีรังสีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูป

เหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เรา

เห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ ๖.

๗. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็น

รูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มี

รังสีแดง, ดอกหงอนไก่อันแดง มีวรรณะแดง

แดงล้วน มีรังสีแดง, หรือว่า ผ้าที่กำเนิดในเมือง

พาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงแดง มีวรรณะแดง

แดงล้วน มีรังสีแดง แม้ฉันใด, ผู้หนึ่ง มีความ

สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มี

วรรณะแดง แดงล้วน มีรังสีแดง ฉันนั้นเหมือน

กัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้

ว่า เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ ๗.

๘. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็น

รูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มี

รังสีขาว, ดาวประกายพรึกอันขาว มีวรรณะขาว

ขาวล้วน มีรังสีขาว, หรือว่า ผ้าที่กำเนิดในเมือง

พาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงขาว มีวรรณะขาว

ขาวล้วน มีรังสีขาว แม้ฉันใด, ผู้หนึ่ง มีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มี

วรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว ฉันนั้นเหมือนกัน

ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า

เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ ๘.

อรรถกถานวกนิทเทส

ว่าด้วย อนุปุพพวิหารธรรม ๙

คำว่า นว อนุปุพฺพวิหารา - อนุปุพพวิหาร ๙ มีความว่า ภาย

หลังแห่งธรรมมีในก่อน ๆ ชื่อว่า อนุปุพพะ - ตามลำดับ, วิหาระ -

ธรรมเป็นเครื่องอยู่ตามลำดับ ชื่อว่า อนุปุพพวิหาระ เพราะเป็นธรรม

อันพระโยคีบุคคลพึงอยู่ คือพึงเข้าอยู่ตามลำดับ, อธิบายว่า ธรรมเป็น

เครื่องอยู่อันพระโยคีบุคคลพึงเข้าอยู่ตามลำดับ. อนุปุพพวิหารธรรม ๙

เป็นไฉน ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย

นี้เข้าปฐมฌาน สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย มี

วิตกวิจาร มีปีติสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

๑. ที. ปา. ๑๑/๓๔๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

๒. ภิกษุ เพราะระงับวิตกวิจารเสียได้ ก็

เข้าทุติยฌาน อันเป็นความผ่องใสแห่งใจในภายใน

มีอารมณ์เป็นเอโกทิภาพ - ความที่จิตมีอารมณ์เดียว

ไม่มีวิตกวิจาร มีปีติสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่.

๓. ภิกษุ เข้าตติยฌานอันปราศจากปีติอยู่

ด้วยอุเบกขา, สติ, สัมปชัญญะเสวยสุขทางกาย

ซึ่งพระอริยะทั้งหลายเรียกว่า เป็นผู้มีอุเบกขา, มี

สติ, มีธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขดังนี้.

๔. ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์ดับโสมนัส

โทมนัสในก่อนเสียได้ จึงเข้าจตุตถฌานอันไม่มี

ทุกข์และสุข บริสุทธิด้วยอุเบกขาและสติอยู่.

๕. ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆ-

สัญญา ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาได้โดยประการทั้ง

ปวง จึงเข้าอากาสานัญจายตนะด้วยบริกรรมว่า

อนนฺโต อากาโส - อากาสไม่มีที่สุดอยู่.

๖. ภิกษุ ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะเสียได้

โดยประการทั้งปวง จึงเข้าวิญญาณัญจายตนะด้วย

บริกรรมว่า อนนฺต วิญฺาณ - วิญญาณไม่มีที่สุด

อยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

๗. ภิกษุ ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียได้

โดยประการทั้งปวง จึงเข้าอากิญจัญญายตนะด้วย

บริกรรมว่า นตฺถิ กิญฺจิ -นิดหนึ่งหน่อยหนึ่งไม่มี

อยู่.

๘. ภิกษุ ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะเสียได้

โดยประการทั้งปวง จึงเข้าเนวสัญญานาสัญญา

ยตนะอยู่

๙. ภิกษุ ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ

เสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าสัญญาเวทยิตนิ-

โรธอยู่ ดังนี้.

อรรถกถาทสกนิทเทส

ว่าด้วย นิชชรวัตถุ ๑๐

คำว่า ทส นิชฺชรวตฺถูนิ - นิชชรวัตถุ ๑๐ ความว่า มิจฉา-

ทิฏฐิเป็นต้น ย่อมเสื่อมลง ย่อมสลายไป ฉะนั้นจึงชื่อว่า นิชชระ.

คำว่า วตฺถูนิ - วัตถุทั้งหลาย ได้แก่เหตุ. วัตถุ คือเหตุนั้นด้วย

เสื่อมลงด้วย ฉะนั้นจึงชื่อว่า นิชชรวัตถุ. นิชชรวัตถุนี้ เป็นชื่อของ

กุศลธรรมมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น. นิชชรวัตถุ ๑ เป็นไฉน ? นิชชรวัตถุ

๑๐ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า

๑. นวก. ๒๓/๒๓๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาทิฏฐิของผู้มี

สัมมาทิฏฐิ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามก

เป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อม

เกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ของผู้มี

สัมมาทิฏฐินั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย. และกุศล-

ธรรมเป็นอเนกมีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึง

ซึ่งความเจริญเต็มที่.

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาสังกัปปะ

ของผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรม

อันลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาสังกัปปะเป็น

ปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้น

ของผู้มีสัมมาสังกัปปะนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย,

และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย

ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.

๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาวาจา ของ

ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามก

เป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาวาจาเป็นปัจจัย ย่อม

เกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัม-

มาวาจานั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

อันเป็นอเนกมีสัมมาวาจาเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่ง

ความเจริญเต็มที่.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉากัมมันตะ

ของผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรม

อันลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉากัมมันตะเป็น

ปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้น

ของผู้มีสัมมากัมมันตะนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย,

และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมากัมมันตะเป็นปัจ-

จัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.

๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาอาชีวะของ

ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอัน

ลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาอาชีวะเป็นปัจจัย

ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มี

สัมมาอาชีวะนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศล-

ธรรมเป็นอเนกมีสัมมาอาชีวะเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึง

ซึ่งความเจริญเต็มที่.

๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาวายามะของ

ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

ลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาวายามะเป็นปัจจัย

ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มี

สัมมาวายามะนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศล-

ธรรมเป็นอเนกมีสัมมาวายามะเป็นปัจจัย ก็ย่อม

ถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.

๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาสติของผู้มี

สัมมาสติ ย่อมเสื่อมลง อกุศลธรรมอันลามกเป็น

อเนกมีมิจฉาสติเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น อกุศล-

ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ของผู้มีสัมมาสตินั้น ก็

ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัม-

มาสติเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.

๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาสมาธิของผู้

มีสัมมาสมาธิ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามก

เป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัย ย่อม

เกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัม-

มาสมาธินั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรม

เป็นอเนกมีสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่ง

ความเจริญเต็มที่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาญาณของผู้มี

สัมมาญาณ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามก

เป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาญาณเป็นปัจจัย ย่อม

เกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมา-

ญาณนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมเป็น

อเนกมีสัมมาญาณเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความ

เจริญเต็มที่.

๑๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาวิมุตติของผู้

มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามก

เป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย ย่อม

เกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ของผู้มี

สัมมาวิมุตตินั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศล-

ธรรมเป็นอเนกมีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึง

ซึ่งความเจริญเต็มที่*.

อรรถกถาจักขาทินิทเทส

ว่าด้วย จักษุเป็นต้น

๓] คำมีอาทิว่า สพฺพ ภิกฺขเว อภิญฺเยฺย - ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่งดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พึง

๑. องฺ.ทสก. ๒๔/๑๐๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

ทราบว่า พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรนำมาแสดงแล้วในที่นี้. อักษร

ในคำว่า กิญฺจ เป็นนิบาตสักว่าทำบทให้เต็ม. วิสัชนา ๓๐ มี จกฺขุ

เป็นต้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร แสดงแยกเป็นอย่างละ ๕ ๆ ใน

ทวารหนึ่ง ๆ ในทั้ง ๖ ตามลำดับแห่งความเป็นไปแห่งทวารและอารมณ์

ในคำนั้น จักษุ มี ๒ อย่าง คือ มังสจักษุ ๑ ปัญญาจักษุ ๑.

ในจักษุทั้ง ๒ นั้น ปัญญาจักษุมี ๕ อย่าง คือ พุทธจักษุ ๑, สมันต-

จักษุ ๑, ญาณจักษุ ๑, ทิพยจักษุ ๑, ธรรมจักษุ ๑.

คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อตรวจดูสัตวโลก ได้เห็น

แล้วแลด้วยพุทธจักษุ ดังนี้ ชื่อว่า พุทธจักษุ.

คำนี้ว่า สัพพัญญุตญาณ เรียกว่า สมันตจักษุ ดังนี้ ชื่อว่า

สมันตจักษุ.

คำนี้ว่า ดวงตาเห็นธรรม เกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ดังนี้

ชื่อว่า ญาณจักษุ.

คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ เราได้เห็นแล้วแล ด้วยทิพยจักษุอัน

บริสุทธิ์ ดังนี้ ชื่อว่า ทิพยจักษุ.

มรรคญาณเบื้องต่ำ ๓ นี้มาในคำว่า ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี

ไม่มีมลทิน เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า ธรรมจักษุ.

๑. ม. มู. ๑๒/๓๒๓. ๒. ขุ. จูฬ ๓๐/๒๑๖, ๒๔๕.

๓. ส. มหา. ๑๙/๑๖๖๖. ๔. ม. มู. ๑๒/๓๒๔. ๕. ม.มู. ๑๓/๕๙๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

ฝ่ายมังสจักษุ มี ๒ อย่าง คือ สสัมภารจักษุ ๑, ปสาทจักษุ ๑.

ก้อนเนื้ออันใดตั้งอยู่ที่เบ้าตา พร้อมด้วยหนังหุ้มลูกตาภายนอก

ทั้ง ๒ ข้างเบื้องต่ำกำหนดด้วยกระดูกเบ้าตา เบื้องบนกำหนดด้วยกระดูก

คิ้ว ผูกด้วยเส้นเอ็นอันออกจากท่ามกลางเบ้าตาโยงติดไปถึงสมองศีรษะ

สสัมภารจักษุ.

ส่วนความใสอันใดเกี่ยวในสสัมภารจักษุนี้ เนื่องในสสัมภาร-

จักษุนี้ อาศัยมหาภูตรูป ๔ มีอยู่, ความใสนี้ ชื่อว่า ปสาทจักษุ. ใน

ที่นี้ ท่านประสงค์เอา ปสาทจักษุ นี้.

ปสาทจักษุนี้นั้น โดยประมาณก็สักเท่าศีรษะเล็นอาศัยธาตุทั้ง ๔

อาบเยื่อตาทั้ง ๗ ชั้น ดุจน้ำมันที่ราดลงที่ปุยนุ่น ๗ ชั้น อาบปุยนุ่น

ทุกชั้นอยู่ฉะนั้น ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิตใน

วิถีมีจักขุวิญญาณจิตเป็นต้น ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง เป็นที่เกิดขึ้นแห่ง

สรีรสัณฐาน ที่อยู่ตรงหน้าในท่ามกลางแววตาดำที่แวดล้อมด้วยมณฑล

ตาขาว แห่งสสัมภารจักษุนั้น.

ธรรมชาติใดย่อมเห็น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จักษุ,

อธิบายว่า จักษุนั้น ย่อมยินดีรูป และทำให้รูปปรากฏแจ่มแจ้งได้.

ธรรมชาติใด ย่อมแตกสลายไป ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า

รูป, อธิบายว่า รูปนั้น เมื่อถึงความแปรไปแห่ง วรรณะ ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

ประกาศความถึงหทัย.

วิญญาณเป็นไปทางจักษุ หรือ การรู้รูปารมณ์ของจักษุ ชื่อว่า

จักขุวิญญาณ.

ชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่า ถูกต้อง. ท่านกล่าวว่า สัม-

ผัสสะ เพราะประดับบทด้วยอุปสรรค. สัมผัสที่เป็นไปทางจักษุ ชื่อว่า

จักขุสัมผัส.

คำว่า จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยา ได้แก่ ผัสสเจตสิกที่ประกอบกับ

จักขุวิญญาณเป็นปัจจัย.

คำว่า เวทยิต ได้แก่ รับรู้อารมณ์. อธิบายว่า การเสวย

อารมณ์.

ธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์นั้นนั่นแหละ ย่อมเป็นสุข ฉะนั้น จึง

ชื่อว่า สุขะ, อธิบายว่า สุขะนั้นเกิดแก่ผู้ใด ก็ย่อมทำผู้นั้นให้ถึงซึ่ง

ความสุข. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติใดย่อมเคี้ยวกินและขุดเสียได้ด้วยดี

ซึ่งอาพาธทางกายและจิต ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า สุขะ.

ธรรมชาติใดย่อมเสวยอารมณ์เป็นทุกข์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น

จึงชื่อว่า ทุกขะ, อธิบายว่า ทุกข์นั้นเกิดแก่ผู้ใด ก็ย่อมทำผู้นั้นให้

ถึงซึ่งความทุกข์.

ทุกข์ก็ไม่ใช่, สุขก็ไม่ใช่ ฉะนั้น จึงชื่อว่า อทุกขมสุข. ม

อักษรท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งปทสนธิ - ต่อบท.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

ก็จักขุสัมผัสนั้น เป็นปัจจัยแก่เวทนาอันสัมปยุตกับด้วยตน

ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย, อัญญมัญญะ-, นิสสยะ-, วิปากะ-,

อาหาระ-, สัมปยุตตะ-, อัตถิ-, อวิคตปัจจัย รวม ๘ ปัจจัย,

เป็นปัจจัยแก่เวทนาอันสัมปยุตกับด้วยสัมปฏิจฉนจิต ด้วยอำนาจ

อนันตรปัจจัย, สมนันตระ อนันตรูปนิสสยะ, นัตถิ, วิคตะ

รวม ๕ ปัจจัย, เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย อันสัมปยุตกับด้วยสันติ-

รณจิตเป็นต้น ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัยเพียงปัจจัยเดียว.

ธรรมชาติใดย่อมได้ยิน ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า โสตะ.

โสตะนั้นยังความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิตในวิถี มีโสต-

วิญญาณจิตเป็นต้นให้สำเร็จ ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง ที่มีสัณฐานดังวงแหวน

มีขนอ่อนสีน้ำตาลพอกพูนภายในช่องแห่งสัมภารโสตะ.

ธรรมชาติใด ย่อมเปล่งออก ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า

สัททะ - เสียง, อธิบายว่า ย่อมเปล่งเสียง.

ธรรมชาติใด ย่อมสูดดม ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า

ฆานะ - จมูก. ฆานะนั้นยงความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิต

ในวิถี มีฆานวิญญาณเป็นต้นให้สำเร็จ ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง ที่มีสัณฐาน

ดังกีบแพะในภายในแห่งช่องสสัมภารฆานะ.

ธรรมชาติใด ย่อมฟุ้งไป ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า

คันธะ - กลิ่น, อธิบายว่า ย่อมประกาศซึ่งที่อยู่ของตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

ธรรมชาติใดย่อมนำมาซึ่งชีวิต ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า

ชิวหา - ลิ้น, หรือ ชื่อว่า ชิวหา เพราะอรรถว่า ลิ้มรส. ชิวหานั้น

ยังความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิตในวิถี มีชิวหาวิญญาณจิต

เป็นต้นให้สำเร็จ ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง มีสัณฐานดังปลายกลีบดอกอุบล

แตก ในท่ามกลางแผ่นลิ้นเบื้องบนเว้นปลายสุด, โคนและข้าง ๆ แห่ง

สสัมภารชิวหา.

สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีซึ่งธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น

ชื่อว่า รสะ - รส, อธิบายว่า ย่อมชอบใจ.

ธรรมชาติใด เป็นบ่อเกิดแห่งสาสวธรรมทั้งหลาย อันบัณฑิต

เกลียด ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กายะ - กาย. คำว่า อาโย

แปลว่า ประเทศเป็นที่เกิดขึ้น. ความเป็นไปแห่งอุปาทินนรูปในกายนี้

อยู่ตราบใด ตราบนั้นกายประสาทนั้นยังความเป็นวัตถุและทวารตาม

สมควรแก่จิตในวิถี มีกายวิญญาณจิตเป็นต้นให้สำเร็จตั้งอยู่ที่กายนั้น

โดยมาก.

ธรรมชาติใด ย่อมถูกต้อง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า

โผฏฐัพพะ - กระทบ.

ธรรมชาติใด ย่อมรู้ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า มโน-

ใจ, อธิบายว่า ย่อมรู้อารมณ์ต่าง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

ธรรมชาติใด ย่อมทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน ฉะนั้น ธรรม-

ชาตินั้น ชื่อว่า ธัมมะ - ธรรมารมณ์.

คำว่า มโน - ใจ ได้แก่ ภวังคจิตที่เป็นไปกับด้วยการรับอารมณ์.

คำว่า ธมฺมา ได้แก่ ธรรมคือธรรมารมณ์มี ๑๒ ประเภท.

คำว่า มโนวิาณ - มโนวิญญาณจิต ได้แก่ มโนวิญญาณ

ที่ทำชวนกิจ. คำว่า มโนสมฺผสฺโส - มโนสัมผัสสะ ได้แก่ ผัสสเจตสิก

ที่ประกอบกับมโนวิญญาณนั้น. มโนสัมผัสสะนั้น เป็นปัจจัยแก่เวทนา

๑. จิตและเจตสิกรับอารมณ์โดยแน่นอน

มีอารมณ์ ๑๒ ประเภท คือ :-

๑. กามอารมณ์ = กามจิต ๕๔ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘

๒. มหัคคตอารมณ์ = มหัคคตจิต ๒๗ เจตสิก ๓๕

๓. นิพพานอารมณ์ = นิพพาน

๔. นามอารมณ์ = จิต เจตสิก นิพพาน

๕. รูปอารมณ์ = รูป ๒๘

๖. ปัจจุบันอารมณ์ = จิต เจตสิก รูป

๗. อดีตอารมณ์ = จิต เจตสิก รูป

๘. กาลวิมุตติอารมณ์ = นิพพาน บัญญัติ

๙. บัญญัติอารมณ์ = อัตถบัญญัติ สัททบัญญัติ

๑๐. ปรมัตถอารมณ์ = จิต เจตสิก รูป นิพพาน

๑๑. อัชฌัตตอารมณ์ = จิต เจตสิก รูป

๑๒. พหิทธอารมณ์ = จิต เจตสิก รูป นิพพาน บัญญัติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

ที่ประกอบ ด้วยอำนาจปัจจัย ๗ ปัจจัยที่เหลือเว้นวิปากปัจจัย, เป็น

ปัจจัยแก่เวทนาที่ประกอบกับชวนะเป็นลำดับไป คือชวนะดวงที่ ๒ ด้วย

อำนาจปัจจัย ๕ ปัจจัยเหล่านั้นเหมือนกัน, เป็นปัจจัยแก่ชวนะที่เหลือ

คือชวนะดวงที่ ๓-๗ ด้วยอำนาจอุปนิสัยปัจจัยเท่านั้น.

ขันธ์ ๕

๔] วิสัชนา ๕ มีวิสัชนาในรูปเป็นต้น พระธรรมเสนาบดี-

สารีบุตรแสดงด้วยสามารถแห่งขันธ์.

ธรรมชาติใด ย่อมเสื่อมสลาย ย่อมถูกเบียดเบียนด้วยวิโรธิปัจจัย

มีความเย็นเป็นต้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า รูป.

ธรรมชาติใด ย่อมเสวยอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า

เวทนา.

ธรรมชาติใด ย่อมจำอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า

สัญญา.

ธรรมชาติใด ย่อมปรุงแต่ง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า

สังขาร.

๑. สหชาตะ, อัญญมัญญะ, นิสสยะ, อาหาระ, สัมปยุตตะ, อัตถิ, อวิคตะ.

๒. อนันตระ, สมนันตระ, อนันตรูปนิสสยะ, นัตถิ, วิคตะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

ธรรมชาติใด ย่อมรู้อารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า

วิญญาณ.

ธรรมหมวด ๖

วิสัชนา ๖๐ มีวิสัชนาในจักขุเป็นต้น มีธรรมวิจารเป็นที่สุด

ด้วยสามารถแห่งหมวด ๖ หมวดละ ๑๐ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร

แสดงโดยความเป็นปิยรูปสาตรูป.

เวทนา มีเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นต้นกับทั้งธรรมที่สัมป-

ยุตด้วย.

ความสำคัญในรูป ชื่อว่า รูปสัญญา.

ธรรมชาติใด ย่อมตั้งใจในอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น

ชื่อว่า สัญเจตนา. อธิบายว่า ย่อมมุ่งสู่อารมณ์.

ธรรมชาติใด ย่อมกระหาย ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า

ตัณหา. อธิบายว่า ย่อมอยาก.

ธรรมชาติใด ย่อมตรึกซึ่งอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น

ชื่อว่า วิตักกะ อีกอย่างหนึ่ง ความตรึก ชื่อว่า วิตักกะ, ท่าน

อธิบายไว้ว่า การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

ธรรมชาติใด ย่อมประคองจิตไว้ในอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาติ

นั้น ชื่อว่า วิจาระ, อีกอย่างหนึ่ง การพิจารณา ชื่อว่า วิจาร,

ท่านอธิบายไว้ว่า การพิจารณาเนือง ๆ.

ธาตุ ๖

๕] วิสัชนา ๖ มีวิสัชนาในปฐวีธาตุเป็นต้น พระธรรม-

เสนาบดีสารีบุตร แสดงด้วยสามารถการกำหนดนามรูป โดยสังเขป.

ชื่อว่า ปฐวี-ดิน เพราะเป็นธรรมชาติแผ่ไป.

ธรรมชาติใด ย่อมเอิบอาบ หรือว่า ย่อมไหลไปและเกาะกุม

ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อาโป-น้ำ.

ธรรมชาติใด ย่อมทำให้ร้อน ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า

เตโช - ไฟ.

ธรรมชาติใด ย่อมพัดไป ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า

วาโย - ลม.

ธรรมชาติใด อันใคร ๆ ย่อมขีดไม่ได้ เขียนไม่ได้ คือ อัน

ใคร ๆ ไม่อาจที่จะไถ, ตัด, หรือทำลายได้ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น

ชื่อว่า อากาโส - อากาส.

ชื่อว่า ธาตุ เพราะอรรถว่า มิใช่สัตว์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

กสิณ ๑๐

วิสัชนา ๑๐ มีวิสัชนาในปฐวีกสิณเป็นต้น พระธรรมเสนาบดี

สารีบุตร ได้แสดงด้วยสามารถแห่งกสิณภาวนา.

ดวงกสิณด้วยสามารถการแผ่ไปในอารมณ์ทั้งสิ้นก็ดี, นิมิตที่

ปรากฏที่ดวงกสิณนั้นก็ดี, ฌานมีดวงกสิณนั้นเป็นอารมณ์ก็ดี ท่าน

เรียกว่า กสิณ. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาฌาน. คือ ฌาน ๔ มี

มหาภูตเป็นกสิณเป็นอารมณ์ ในเบื้องต้น, จากนั้น ฌาน ๔ มีวัณณ-

กสิณเป็นอารมณ์ ในเบื้องปลาย.

ปริจเฉทากาส ๑, ฌานมีปริจเฉทากาสนั้นเป็นอารมณ์ ๑,

กสิณุคฆาฏิมากา ๑, และอากาสานัญจายตนฌาน มีกสิณุคฆาฏิมากาส

นั้นเป็นอารมณ์ ท่านเรียกว่า อากาสกสิณ.

จิตที่รู้อากาสานัญจายตนฌาน ๑, วิญญาณัญจายตนฌานมีอากา-

สานัญจายตนฌานนั้นเป็นอารมณ์ ๑ ท่านเรียกว่า วิญญาณกสิณ.

อาการ ๓๒

๖] วิสัชนา ๓๒ มีวิสัชนาเกสาเป็นตัน พระธรรมเสนาบดี

สารีบุตร ได้แสดงด้วยสามารถกรรมฐานมีอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์. ก็

เมื่ออาการ ๓๒ มีเกสาเป็นต้นเหล่านั้นปรากฏโดยความเป็นของปฏิกูล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

ก็เป็นอสุภกรรมฐานด้วยสามารถแห่งกายคตาสติ, เมื่อปรากฏโดยความ

เป็นสี ก็เป็นวัณณกรรมฐาน, เมื่อปรากฏโดยความเป็นธาตุ ก็เป็น

จตุธาตุววัตถามกรรมฐาน. อนึ่ง อาการ ๓๒ มีเกสาเป็นต้นปรากฏ

โดยความเป็นปฏิกูล หรือโดยสี ฌานก็มีสิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นอารมณ์

เมื่อธาตุปรากฏแล้ว ก็พึงทราบว่า เป็นโกฏฐาสเหล่านั้น และเป็นการ

เจริญธาตุที่มีโกฏฐาสนั้นเป็นอารมณ์.

เกสา - ผมทั้งหลาย เกิดอยู่ที่หนังหุ้มกระโหลกศีรษะในด้าน

ข้างทั้ง ๒ แห่งศีรษะ กำหนดด้วยกกหูทั้ง ๒ ข้างหน้ากำหนดด้วย

หน้าผากเป็นที่สุด, และข้างหลังกำหนดด้วยท้ายทอย นับได้ตั้งแสน

เป็นอเนก.

โลมา - ขนทั้งหลาย ตั้งอยู่ที่หนังหุ้มสรีระโดยมาก เว้น

ที่เป็นที่ตั้งแห่งอวัยวะมีผมเป็นต้น และฝ่ามือฝ่าเท้าทั้ง ๒ เสีย ท่าน

กำหนดขุมขนไว้ถึง ๙ หมื่น ๙ พันขุม ตั้งอยู่ในหนังหุ้มสรีระ มี

ประมาณลิกขาหนึ่งเป็นประมาณ.

นขา - เล็บทั้งหลาย ตั้งอยู่บนหลังแห่งปลายนิ้วทั้งหลาย

นับได้ ๒๐.

ทนฺตา - ฟันทั้งหลาย ตั้งอยู่ที่กระดูกคางทั้ง ๒ โดยมาก

นับได้ ๓๒ ซี่.

๑. ฉ. กสิณกรรมฐาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

ตโจ - หนังหุ้มสรีระทั้งสิ้น ตั้งอยู่ใต้ผิวหนัง บนพังผืดชั้น

นอก.

มส - เนื้อนับได้ ๙๐๐ ชิ้น ตั้งฉาบกระดูก ๓๐๐ กว่าท่อน.

นหารุ - เอ็น ๙๐๐ ผูกพันกระดูกทั้งหลาย ตั้งอยู่ทั่วสกล

สรีระ.

อฏฺี - กระดูก ๓๐๐ กว่าท่อน ตั้งอยู่ทั้งเบื้องล่างเบื้องบน

ทั่วสกลสรีระ.

อฏฺิมิญฺชา- เยื่อในกระดูก ตั้งอยู่ภายในกระดูกเหล่านั้น ๆ.

๑๐ วกฺก- ไต ได้แก่ ก้อนเนื้อ ๒ ก้อนอยู่ล้อมเนื้อหัวใจ

มีขั้วอันเดียวกันแตกออกจากหลุมคอ ถ้าไปหน่อยหนึ่ง แล้วแยกออก

เป็น ๒ รึงรัดไว้ด้วยเอ็นหยาบ ๆ.

๑๑ หทย - หัวใจ ได้แก่ ก้อนเนื้อหทัย ตั้งอยู่ท่ามกลางถัน

ทั้ง ๒ ข้างในภายในสรีระ เต็มไปด้วยโลหิตประมาณกึ่งฟายมือเป็นที่

อาศัยแห่งจิต มีหลุมภายในมีประมาณเท่าที่ตั้งแห่งเมล็ดบุนนาค

๑๒ ยกน - ตับ ได้แก่ แผ่นเนื้อเป็นคู่ อาศัยตั้งอยู่ข้างขวา

ภายในร่างกายระหว่างถันทั้ง ๒ ข้าง.

๑๓. กิโลมก - พังผืด ได้แก่ เนื้อหุ้ม ๒ อย่าง คือ เนื้อพังผืด

ที่ปิด หุ้มหัวใจและม้ามตั้งอยู่ ๑, และเนื้อพังผืดที่ไม่ปิด หุ้มเนื้อใต้

๑. ในที่ทั่วไปเป็น อฏฺิมิญฺช. ๒. โบราณแปลว่า ม้าม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

ผิวหนังตั้งอยู่ทั่วสกลสรีระ ๑.

๑๔. ปิหก - ม้าม ได้แก่ เนื้อมีสัณฐานดุจลิ้นลูกโคดำตั้งอยู่

ข้างซ้ายหัวใจ อาศัยข้างบนเยื้อหุ้มท้อง.

๑๕. ปปฺผาส - ปอด ได้แก่ ก้อนเนื้อที่เรียกว่าปอดโดยประเภท

นับได้ ๓๒ ก้อน ห้อยปิดเนื้อบนหัวใจและตับตั้งอยู่ราวนมทั้ง ๒ ข้าง

ในภายในสรีระ.

๑๖. อนฺต - ไส้ใหญ่ ได้แก่ เกลียวไส้ที่เป็นขนด ขดอยู่ในที่

ทั้งหลาย คือ เบื้องบนใต้หลุมคอลงมา เบื้องล่างถึงกรีมรรค** ตั้งอยู่

ภายในสรีระ มีหลุมคอเป็นต้นและมีกรีสมรรคเป็นที่สุดเกี่ยวพันถึงกัน

ของบุรุษยาว ๓๒ ศอก ของสตรียาว ๒๘ ศอก รวม ๒๑ ขนดด้วยกัน.

๑๗. อนฺตคุณ - ไส้น้อย ได้แก่ ลำไส้น้อยพันปลายปากขนด

รวมกันที่ขนดลำไส้ใหญ่ ตั้งอยู่ระหว่างขนดลำไส้ใหญ่ ๒ ขนด.

๑๘. อุทริย - อาหารใหม่ ได้แก่ อาหารที่ถูกบดจนเป็นจุรณ

ด้วยสากคือฟัน หมุนไปรอบ ๆ ด้วยมือคือลิ้น เกลือกที่กลั้วด้วยน้ำลาย

ในขณะนั้นก็ปราศจากสมบัติแห่งสีกลิ่นและรสเป็นต้น เช่นกับข้าวย้อม

ด้ายของช่างหูกและรากสุนัข ตกไปคลุกเคล้ากับดีเสมหะและลม เดือด

ด้วยกำลังความร้อนของไฟในท้อง เกลื่อนกล่นด้วยกิมิชาติตระกูลใหญ่

น้อย ปล่อยฟองฟอดขึ้นเบื้องบน จนถึงความเป็นขี้ขยะมีกลิ่นเหม็น

๑. โบราณแปลว่า ไต. ๒. กรีสมรรค = ทวารหนัก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

น่าเกลียดยิ่งนัก อยู่ที่พื้นลำไส้ใหญ่บนนาภี กล่าวคือที่ท้องอันเป็น

ที่อาศัยของอาหารใหม่ต่าง ๆ ที่กลืนดื่มเคี้ยวกินและลิ้มเข้าไป.

๑๙ กรีส - อาหารเก่า ได้แก่ อุจจาระตั้งอยู่ในที่สุดแห่งลำไส้

ใหญ่ สูงประมาณ ๘ องคุลี ในระหว่างแห่งนาภีและที่สุดแห่งกระดูก

สันหลัง ในภายใต้ กล่าวคือที่อยู่ขอบอาหารที่ย่อยแล้ว.

๒๐ ปิตฺต - น้ำดี ได้แก่ ดี ๒ อย่าง คือ ที่อาศัยตับใน

ระหว่างเนื้อหทัยและปอดตั้งอยู่ กล่าวคือน้ำดีที่อยู่ประจำในถุงน้ำดี มี

สัณฐานเช่นกับรังบวบขมใหญ่ ๑, และที่มิได้อยู่ประจำ เว้นที่ของผม,

ขน, เล็บ, และฟันที่ไม่มีเนื้อ และหนังที่ด้านและแห้งซึมซาบอยู่ทั่ว

สรีระส่วนที่เหลือ.

๒๑ เสมิห - เสลด ได้แก่ เสมหะประมาณเต็มฟายมือหนึ่ง

ตั้งอยู่ที่พื้นท้อง.

๒๒ ปุพฺโพ - หนอง ได้แก่ ความแปรไปแห่งโลหิตเสีย

เกิดที่อวัยวะที่ถูกเสี้ยนหนามและเปลวไฟเป็นต้น กระทบแล้วหรือที่

อวัยวะที่มีฝีและต่อมพุพองเป็นต้น เกิดขึ้นแล้วด้วยการกำเริบแห่งธาตุ

ในภายในสรีระประเทศ.

๑. ... ปิฏฺิกณฺฏกมูลาน. ๒. ปริปกฺกโลหิต...โลหิตแก่รอบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

๒๓ โลหิต - โลหิต ได้แก่ เลือด ๒ อย่าง คือ เลือดที่สั่งสม

อยู่มีประมาณเพียงเต็มฟายมือหนึ่งชุ่มอยู่ที่ไตเนื้อหัวใจตับและปอด ไหล

ออกทีละน้อย ๆ เบื้องบนเนื้อหัวใจไตและปอดเต็มส่วนล่างของตับ ๑,

และเลือดที่วิ่งแผ่ไปทั่วสรีระที่มีใจครองทั้งปวง โดยทำนองแห่งเปลวไฟ

ที่พุ่งไป เว้นเสียแต่ที่ของผมขนเล็บและฟันที่ไม่มีเนื้อ และหนังที่ด้าน

และแห้ง ๑.

๒๔ เสโท - เหงื่อ ได้แก่ อาโปธาตุที่ไหลออกจากช่องขุมผม

และขนทั้งปวงในสรีระที่ร้อนเพราะความร้อนจากไฟและความร้อนจาก

ดวงอาทิตย์และความวิการแห่งฤดูเป็นต้น.

๒๕ เมโท - มันข้น ได้แก่ ยางเหนียวข้น ของคนอ้วนอาศัย

ตั้งอยู่ระหว่างหนังและเนื้อ, ของคนผอมอาศัยตั้งอยู่ที่อวัยวะทั้งหลายมี

เนื้อแข้งเป็นต้น.

๒๖ อสฺสุ - น้ำตา ได้แก่ อาโปธาตุที่ตั้งอยู่เต็มเบ้าตาก็ดี ที่

ไหลออกก็ดี เพราะเกิดจากดีใจเสียใจ อาหารที่เป็นวิสภาคคือที่เผ็ดร้อน

และอุตุ.

๒๗ วสา - มันเหลว ได้แก่ มันเหลวใส ตั้งอยู่ที่ฝ่ามือที่หลัง

มือฝ่าเท้าหลังเท้าดั้งจมูกหน้าผากและจะงอยบ่า โดยมากเกิดแต่อุสมา-

เตโชคือไออุ่นจากความร้อนของไฟความร้อนของดวงอาทิตย์และผิดฤดู.

๒๘ เขโฬ - น้ำลาย ได้แก่ อาโปธาตุที่ระคนกันเป็นฟอง

ตั้งอยู่ที่ลิ้นข้างกระพุ้งแก้มทั้ง ๒ ข้าง เพราะโดยมากเกิดแก่ผู้เห็นหรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

นึกถึงหรือหยิบวางอาหารเช่นนั้นไว้ในปากก็ดี เกิดแก่ผู้เหน็ดเหนื่อย

อยู่ก็ดี หรือเกิดความรังเกียจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี.

๒๙ สิงฺฆาณิกา - น้ำมูก ได้แก่ ของเน่าไม่สะอาดลื่นเป็นมัน

เกิดแก่ผู้มีธาตุกำเริบ เกิดด้วยอาหารวิสภาค และผิดฤดู, หรือแก่คนร้อง

ไห้อยู่ ไหลออกจากเยื่อในสมองภายในศีรษะ ไหลออกมาทางช่อง

เพดานไปเต็มอยู่ในโพรงจมูกเกรอะกรังขังอยู่ก็มี ไหลออกอยู่ก็มี.

๓๐ ลสิกา - ไขข้อ ได้แก่ น้ำมันที่ให้สำเร็จกิจในการหยอด

น้ำมันที่ข้อต่อแห่งกระดูก ตั้งอยู่ระหว่างข้อต่อแห่งกระดูก ๑๘๐ ข้อต่อ.

๓๑ มุตฺต - น้ำมูตร ได้แก่ อาโปธาตุตั้งอยู่ภายในกะเพาะ

ปัสสาวะ ด้วยอำนาจอาหารและอุตุ.

๓๒ มตฺถลุงฺค - มันสมอง ได้แก่ กองแห่งเยื่อรวมกันแล้ว

มีจำนวน ๔ ก้อน ตั้งอยู่ที่รอยเย็บ ๔ แห่งภายในกระโหลกศีรษะ.

อายตนะ ๑๒

๗] วิสัชนา ๑๒ มีวิสัชนาในจักขายตนะเป็นต้น พระธรรม

เสนาบดีสารีบุตร แสดงด้วยสามารถแห่งอายตนะ ๑๒. ชื่อว่า อายตนะ

เพราะสืบต่อ, ชื่อว่า อายตนะ เพราะสืบต่อแห่งการมา, และชื่อว่า

เพราะนำไปซึ่งการสืบต่อ. มีคำอธิบาย ท่านกล่าวไว้ว่า จริงอยู่ ธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

คือจิตและเจตสิก ในบรรดาจักขุและรูปเป็นต้นเป็นทวารและอารมณ์

นั้น ๆ ย่อมมา ย่อมตั้งขึ้น ย่อมสืบต่อ คือย่อมพยายามโดยกิจของ

ตนๆ มีการเสวยอารมณ์เป็นต้น. และมีคำอธิบาย ท่านกล่าวไว้อีกว่า

ก็ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้น ย่อมแผ่ไปสู่ธรรมเหล่านั้น ในธรรม

อันเป็นทางมา. และยังมีคำอธิบาย ท่านกล่าวไว้อีกว่า สังสารทุกข์

สืบต่อกันไปอย่างมากมายเป็นไปในสงสารอันยืดยาวนานหาที่สุดมิได้นี้

ยังไม่หมุนกลับตราบใด ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้น ก็ย่อมนำไป

คือย่อมให้เป็นไปอยู่ตราบนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่, เพราะ

อรรถว่าเป็นบ่อเกิด, เพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุมลง, เพราะอรรถว่า

เป็นถิ่นที่เกิด, และเพราะอรรถว่าเป็นการณะ.

จริงอย่างนั้น ในทางโลก ที่เป็นที่อยู่ ท่านเรียกว่า อายตนะ

ได้ในคำเป็นต้นว่า อิสฺสรายตน - ที่อยู่ของพระอิศวร, วาสุเทวา-

ยตน - ที่อยู่ของวาสุเทพ.

บ่อเกิดท่านเรียกว่า อายตนะ ได้ในคำเป็นต้นว่า สุวณฺณายตน

-บ่อทอง, รชตายตน - บ่อเงิน.

แต่ในทางศาสนา ที่เป็นที่ประชุมลง ท่านเรียกว่า อายตนะ

ได้ในคำเป็นต้นว่า มโนรเม อายตเน เสวนฺติ น วิหงฺคมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

เหล่าวิหค ย่อมอาศัยต้นไม้นั้น ประชุมกันในที่เป็นที่รื่นรมย์ใจ.

ถิ่นเป็นที่เกิด ท่านเรียกว่า อายตนะ ได้ในคำเป็นต้นว่า

ทกฺขิณาปโถ คุนฺน อายตน - ทักษิณาบถ ถิ่นเป็นที่เกิดแห่งโค

ทั้งหลาย.

การณะท่านเรียกว่า อายตนะ ได้ในคำเป็นต้นว่า ตตฺร

ตเตรฺว สกฺขิภพฺพต ปาปุณาติ สติ อายตเน เมื่ออายตนะ คือเหตุ

เป็นเครื่องระลึกมีอยู่ เธอก็จะบรรลุผลในธรรมคืออภิญญานั้น ๆ แน่

นอน.

ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่านั้น อาศัยอยู่ที่จักขุวัตถุ-

เป็นต้น เพราะเนื่องด้วยการอาศัยจักขุวัตถุเป็นต้นนั้นอยู่ ฉะนั้น

จักขุเป็นต้นนั้น จึงชื่อว่าเป็นที่อาศัยอยู่แห่งจิตและเจตสิกเหล่านั้น.

ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่านั้น เกิดที่จักขุวัตถุเป็นต้น

เพราะมีจักขุวัตถุเป็นต้นนั้นเป็นที่อาศัย และเพราะมีจักขุวัตถุเป็นต้น

นั้นเป็นอารมณ์ ฉะนั้น จักขุวัตถุเป็นต้น จึงชื่อว่าเป็นบ่อเกิดแห่งจิต

และเจตสิกเหล่านั้น.

จักขุเป็นต้น เป็นที่ประชุมแห่งธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้น

เพราะประชุมลงด้วยสามารถแห่งวัตถุทวารและอารมณ์ ในทวารนั้น ๆ.

๑. องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๓๘. องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๒๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

จักขุเป็นต้น เป็นประเทศเป็นที่แห่งธรรมคือจิตะเละเจตสิก

เหล่านั้น เพราะเกิดขึ้นในจักขุวัตถุเป็นต้นนั้นนั่นแหละ โดยความ

อาศัยจักขุวัตถุเป็นต้นนั้นเป็นอารมณ์.

จักขุเป็นต้น เป็นเหตุแห่งธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้น ก็

เพราะความที่จักขุเป็นต้นยังไม่พินาศไป.

จักขุนั้นด้วยเป็นอายตนะด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า จักขายตนะ

ตามใจความที่ได้กล่าวมาแล้วนี้แล. ถึงแม้อายตนะที่เหลือก็อย่างนั้น

เหมือนกัน.

ธาตุ ๑๘

วิสัชนา ๑๘ มีวิสัชนาในจักขุธาตุเป็นต้น พระธรรมเสนาบดี

สารีบุตรแสดงด้วยสามารถแห่งธาตุ ๑๘.

ธรรมหนึ่ง ๆ ย่อมจัดแจงตามสมควรแก่อารมณ์ทั้งหลายใน ทวาร

ทั้งหลายมีจักขุทวารเป็นต้น ฉะนั้นธรรมนั้น ชื่อว่า ธาตุ. ธรรมใด

ย่อมทรงไว้ ฉะนั้นธรรมนั้น ชื่อว่า ธาตุ. ความทรงไว้ ชื่อว่า ธาตุ

สภาพที่เป็นเหตุตั้งไว้ ชื่อว่า ธาตุ หรือสภาพที่เป็นเหตุย่อมทรงไว้

ในทวารนั้น ฉะนั้น ทวารนั้น ชื่อว่า ธาตุ.

อธิบายว่า โลกิยธาตุทั้งหลายกำหนดตั้งไว้โดยความเป็นเหตุ

ย่อมจัดแจงสังสารทุกข์เป็นอเนกประการ ดุจธาตุมีธาตุทองและธาตุเงิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

เป็นต้น กำหนดตั้งไว้โดยความเป็นเหตุ จัดแจงอยู่ซึ่งทองและเงิน

เป็นต้น.

ธรรมชาติใด อันสัตว์ทรงไว้ ความว่า ย่อมธำรงไว้ ดุจภาระ

อันบุคคลผู้แบกภาระ แบบไปอยู่ฉะนั้น. อนึ่งธาตุนี้ ก็เพียงแค่ทรงไว้

ซึ่งทุกข์เท่านั้น เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ.

อธิบายว่า สังสารทุกข์อันสัตว์ทั้งหลายทรงไว้เสมอด้วยธาตุ

ทั้งหลายอันเป็นเหตุประการหนึ่ง, สังสารทุกข์นั้นอันสัตว์ทรงไว้แล้ว

อย่างนั้น ย่อมตั้งอยู่ สถิตอยู่ในธาตุทั้งหลายเหล่านั้น ประการหนึ่ง

อนึ่ง สำหรับอัตตาของเดียรถีย์ทั้งหลายไม่มีอยู่โดยสภาวะ ฉัน

ใด, ก็แลธาตุทั้งหลายเหล่านี้ จะมีสภาวะฉันนั้นก็หาไม่. แต่ที่เรียกว่า

ธาตุ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน. เหมือน

อย่างว่าส่วนต่าง ๆ ของหินมีหรดาลและมโนศิลาเป็นต้นอันวิจิตรตระ-

การในโลก ก็เรียกว่าธาตุ ฉันใด ธาตุทั้งหลายอันวิจิตรแม้เหล่านี้

ก็เรียกว่าเป็นส่วนที่จะพึงรู้ได้ด้วยญาณ ฉันนั้นแล.

อีกอย่างหนึ่ง ในส่วนทั้งหลายมีรสและโลหิตเป็นต้น กำหนด

ตามลักษณะอันเป็นวิสภาคแก่กันและกัน อันเป็นส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

กล่าวคือสรีระ ย่อมมีชื่อว่า ธาตุ ฉันใด ในส่วนต่างๆ แห่งอัตภาพ

กล่าวคือเบญจขันธ์แม้เหล่านี้ ก็พึงทราบว่า ชื่อว่า ธาตุ ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

เพราะธาตุเหล่านั้นมีจักขุธาตุเป็นต้น ก็กำหนดด้วยลักษณะอันเป็น

วิสภาคแก่กันและกัน.

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ธาตุ นี้ เป็นเพียงชื่อแห่งนิชชีวธรรม.

จริงอย่างนั้น ในพระบาลีมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเรานี้มี

ธาตุ ๖ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทำเทสนาในเรื่อง ธาตุ ไว้ ก็เพื่อจะ

ถอนความหมายมั่นว่าเป็นชีวะคือบุคคล.

จักขุนั้นด้วย เป็นธาตุด้วย ฉะนั้น ชื่อว่า จักขุธาตุ ตาม

ใจความที่ได้กล่าวแล้วแล. ถึงแม้ธาตุที่เหลือก็อย่างนั้นเหมือนกัน.

คำว่า มโนธาตุ ได้แก่ มโนธาตุ ๓.

คำว่า ธัมมธาตุ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขาร.

ขันธ์, สุขุมรูป ๑๖, และนิพพาน.

คำว่า มโนวิญญาณธาตุ ได้แก่ มโนวิญญาณธาตุ ๗๖.

อินทรีย์ ๒๒

วิสัชนา ๒๒ มีวิสัชนาใน จักขุนทรีย์ เป็นต้น พระธรรม-

เสนาบดีสารีบุตรแสดงด้วยสามารถแห่งอินทรีย์ ๒๒.

ชื่อว่า จักขุนทรีย์ เพราะทำจักขุวัตถุนั่นแหละให้เป็นใหญ่

ในลักษณะแห่งการเห็น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

ชื่อว่า โสตินทรีย์ เพราะทำโสตวัตถุนั่นแหละ ให้เป็นใหญ่

ในลักษณะแห่งการได้ยิน.

ชื่อว่า ฆานินทรีย์ เพราะทำฆานวัตถุนั่นแหละ ให้เป็นใหญ่

ในลักษณะแห่การสูดกลิ่น.

ชื่อว่า ชิวหินทรีย์ เพราะทำชิวหาวัตถุนั่นแหละให้เป็นใหญ่

ในลักษณะแห่งการลิ้มรส.

ชื่อว่า กายินทรีย์ เพราะทำกายวัตถุนั่นแหละให้เป็นใหญ่

ในลักษณะแห่งการถูกต้อง.

ชื่อว่า มโน เพราะรู้อารมณ์, อธิบายว่า ย่อมรู้อารมณ์ต่างๆ

ได้. แต่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ชื่อว่า มโน เพราะนึก

เพราะรู้อารมณ์ ดุจคนกำหนดนับอยู่ด้วยทะนาน และดุจทรงไว้ด้วย

ตาชั่งใหญ่ฉะนั้น, ชื่อว่า มนินทรีย์ เพราะทำมโนนั้นนั่นแหละให้

เป็นใหญ่ ในลักษณะแห่งการรู้อารมณ์.

สหชาตธรรมดำรงอยู่ได้ด้วยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติ

นั้นชื่อว่า ชีวิต, ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ เพราะทำชีวิตินทรีย์นั้นให้เป็น

ใหญ่ ในลักษณะแห่งการอนุบาลรักษาสหชาตธรรม.

ชีวิตินทรีย์นั้นมี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ ๑. อรูปชีวิติน-

ทรีย์ ๑. ธรรมชาติที่เกิดร่วมกับกัมมชรูปทั้งหมด อนุบาลรักษาสหชาต-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

รูปไว้ ชื่อว่า รูปชีวิตินทรีย์, เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทั้งหมด อนุบาล

รักษาสหชาตนามธรรมไว้ ชื่อว่า อรูปชีวิตินทรีย์.

ผู้ใดย่อมปรารถนา คือย่อมถึงซึ่งความสมสู่ ผู้นั้นชื่อว่า อิตถี-

หญิง เพราะตั้งครรภ์ได้, ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ใน

อวัยวะทั้งหลายมีเพศแห่งหญิงเป็นต้น, ความเป็นใหญ่แห่งหญิงนั่นแล

ชื่อว่า อิตถินทรีย์ โดยกำหนด.

นิรยะ - นรก ท่านเรียกว่า ปุ, ผู้ใดถูกบีบคั้นเบียดเบียนอยู่

ในนรก กล่าวคือปุ ฉะนั้นผู้นั้น ชื่อว่า ปุริส - ชาย, ชื่อว่า อินทรีย์

เพราะทำความเป็นใหญ่ในอวัยวะทั้งหลาย เพศแห่งบุรุษเป็นต้น, ความ

เป็นใหญ่แห่งบุรุษนั้นแล ชื่อว่า ปุริสินทรีย์ โดยกำหนด. ในอินทรีย์

แม้ทั้ง ๒ นั้น อินทรีย์แต่ละอย่างที่เกิดร่วมกับกัมมชรูป ย่อมมีแต่ละ

อินทรีย์ตามสภาวะ.

สุขเวทนา ที่ประกอบกับกุศลวิปากกายวิญญาณจิต, ชื่อว่า

อินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการรู้สึกสบายทางกาย,

สุขเวทนานั่นแหละ เป็นใหญ่ ชื่อว่า สุขินทรีย์.

ทุกขเวทนา ที่ประกอบกับอกุศลวิปากกายวิญญาณจิต, ชื่อว่า

อินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการรู้สึกไม่สบายทาง

กาย, ทุกขเวทนานั่นแหละเป็นใหญ่ ชื่อว่า ทุกขินทรีย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

มนะ - ใจ ดีคืองาม เพราะประกอบด้วยปีติและโสมนัส ของ

บุคคลนั้นมีอยู่ ฉะนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า สุมโน - มีใจดี, ความเป็น

แห่งสุมนะ ชื่อว่า โสมนัสสะ, เป็นอินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่

ในลักษณะแห่งความยินดีของเจตสิก, โสมนัสสะนั่นแหละเป็นอินทรีย์

ชื่อว่า โสนนัสสินทรีย์.

มนะ -ใจ ชั่ว เพราะประกอบด้วยโทมนัสเวทนา ของบุคคล

นั่นมีอยู่ ฉะนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า ทุมมโน - มีใจดี, ความเป็นแห่ง

ทุมมนะ ชื่อว่า โทมนัสสะ, เป็นอินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ใน

ลักษณะแห่งความไม่ยินดีของเจตสิก, โทมนัสสะนั่นแหละเป็นอินทรีย์

ชื่อว่า โทมนัสสินทรีย์.

ธรรมชาติใด ย่อมเพ่งความเป็นไปแห่งอาการของสุขเวทนาและ

ทุกขเวทนา ย่อมเป็นไปโดยอาการนั้น เพราะตั้งอยู่ด้วยอาการแห่งความ

เป็นกลาง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อุเปกขา, เป็นอินทรีย์ เพราะ

ทำความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งความเป็นกลาง, อุเปกขานั่นแหละ

เป็นอินทรีย์ ชื่อว่า อุเปกขินทรีย์.

บุคคลย่อมเชื่อด้วยธรรมชาตินั้น หรือเชื่อเอง ฉะนั้น ธรรม-

ชาตินั้น ชื่อว่า สัทธา, อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติสักว่าความเชื่อนั่นแหละ

ชื่อว่า สัทธา, เป็นอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นอธิบดีครอบงำความไม่

เชื่อ, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะการทำความเป็นใหญ่ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

ลักษณะแห่งการน้อมใจ, สัทธานั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า สัทธิน-

ทรีย์.

ความเป็นแห่งความแกล้วกล้า ชื่อว่า วีริยะ, หรือการงานแห่ง

บุคคลผู้แกล้วกล้าทั้งหลาย, หรือพึงขวนขวาย คือพึงเป็นไปด้วยวิธีอัน

เป็นอุบายเครื่องนำไป, เป็นอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นอธิบดีครอบงำ

ความเกียจคร้าน, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะทำความเป็น

ใหญ่ในลักษณะแห่งความเพียร, วีริยะนั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า

วีริยินทรีย์.์

บุคคลย่อมระลึกได้ด้วยธรรมชาตินั้น, หรือระลึกเอง ฉะนั้น

ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า สติ, อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติสักว่าความระลึกได้

นั่นแหละ ชื่อว่า สติ, เป็นอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นอธิบดีครอบงำ

ความเผลอสติ, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่

ในลักษณะแห่งการตั้งมั่น, สตินั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า สตินทรีย์.

ธรรมชาติใด ย่อมทรงไว้ ย่อมตั้งไว้ด้วยดีซึ่งจิตในอารมณ์

ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า สมาธิ, เป็นอินทรีย์ เพราะอรรถว่า

เป็นอธิบดีครอบงำความซัดส่ายไปในอารมณ์ต่าง ๆ, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

อินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งความไม่ซัดส่ายไปใน

อารมณ์ต่าง ๆ, สมาธินั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า สมาธินทรีย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

ธรรมชาติใด ย่อมรู้อริยสัจโดยนัยเป็นต้นว่า นี้ ทุกข์ ฉะนั้น

ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า ปัญญา. แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ชื่อว่า

ปัญญา เพราะประกาศพระไตรลักษณ์ คือ อนิจฺจ - ไม่เที่ยง, ทุกฺข-

เป็นทุกข์, อนตฺตา - มิใช่อัตตา. เป็นอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็น

อธิบดีครอบงำอวิชชา, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะทำความ

เป็นใหญ่ในลักษณะแห่งทัสนญาณ, ปัญญานั่นแหละเป็นอินทรีย์

ชื่อว่า ปัญญินทรีย์.

ชื่อว่า อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เพราะเกิดแก่พระโยคิบุคคล

ปฏิบัติด้วยคิดว่า เราจักรู้พระนิพพานอันเป็นอมตบทอันยังไม่เคยรู้ใน

สังสารวัฏอันยาวนาน. หรือจักรู้จักธรรม ๔ เท่านั้นดังนี้ และเพราะ

อรรถว่าอินทรีย์. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นี้ เป็นชื่อของโสดา-

ปัตติมรรคญาณ.

ชื่อว่า อัญญินทรีย์ เพราะเป็นอินทรีย์ที่รู้ทั่วถึง เพราะรู้สัจ-

ธรรม ๔ อันมรรคนั้นรู้แล้ว ไม่ก้าวล่วงขอบเขตอันปฐมมรรครู้แล้ว

และเพราะมีอรรถว่าอินทรีย์. อัญญินทรีย์นี้ เป็นชื่อแห่งญาณในฐานะ

ทั้ง ๖ มีโสดาปัตติผลญาณเป็นต้น.

ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์ เพราะเกิดแก่พระขีณาสพผู้รู้ทั่วถึง

แล้วคือมีกิจในจตุสัจญาณเสร็จสิ้นแล้ว และเพราะมีอรรถว่าอินทรีย์

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์ เพราะสำเร็จความเป็นใหญ่ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

ระหว่างแห่งธรรมทั้งหลายอันพระขีณาสพผู้รู้ทั่วถึงแล้วคือผู้มีจิตในสัจจะ

๔ เสร็จสิ้นแล้วแทงตลอดสัจจะ ๔. อัญญาตาวินทรีย์นี้ เป็นชื่อแห่ง

อรหัตผลญาณ.

อินทรีย์แม้ทั้งหมดเหล่านี้ ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่า

ประกาศกรรมที่เป็นจอม เพราะอรรถว่าท่านผู้เป็นจอมแสดงแล้ว, เพราะ

ท่านผู้เป็นจอมเห็นแล้ว, เพราะอรรถว่าท่านผู้เป็นจอมจัดแจงแล้ว. และ

เพราะอรรถว่าท่านผู้เป็นจอมเสพแล้ว บัณฑิตพึงนำไปประกอบตาม

สมควร.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า เป็นจอม

เพราะความเป็นผู้มีความใหญ่ยิ่ง, และกรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ก็

ชื่อว่า เป็นจอม เพราะไม่มีใครจะมีความใหญ่ยิ่งเหนือกรรม. เพราะ

เหตุนั้นแล ในอินทรีย์เหล่านี้ อินทรีย์ที่กรรมให้เกิด ย่อมประกาศให้

รู้กุศลกรรมและอกุศลกรรม. และอินทรีย์เหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาค-

เจ้าผู้เป็นจอมนั้น ทรงจัดแจงแล้ว ฉะนั้น จึงชื่อว่า อินทรีย์ เพราะ

อรรถว่าประกาศกรรมที่เป็นจอม และเพราะอรรถว่าท่านผู้เป็นจอมจัด-

แจงแล้ว อนึ่งอินทรีย์แม้ทั้งหมดเหล่านั้นนั่นแล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้เป็นจอมทรงประกาศแล้ว และตรัสรู้ยิ่งแล้ว ตามความเป็นจริง ฉะนั้น

จึงชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่าท่านผู้เป็นจอมแสดงแล้ว และเพราะ

อรรถว่าท่านผู้เป็นจอมทรงเห็นแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นนั่นแหละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

ผู้เป็นจอมมุนี เสพอินทรีย์บางอย่าง ด้วยการเสพโดยความเป็นอารมณ์

เสพอินทรีย์บางอย่างด้วยการเสพโดยภาวนา ฉะนั้น ชื่อว่า อินทรีย์

เพราะอรรถว่าผู้เป็นจอมเสพแล้วก็มี. อีกอย่างหนึ่ง อินทรีย์เหล่านี้

ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่กล่าวคือเป็นอธิบดีก็มี. ด้วยว่า

ความเป็นอธิบดีแห่งจักขุเป็นต้น สำเร็จได้ในปวัตติกาลแห่งจักขุวิญ-

ญาณเป็นต้น เพราะเมื่ออินทรีย์แก่กล้า จักขุวิญญาณเป็นต้น ก็แก่กล้า

เมื่ออินทรีย์อ่อนจักขุวิญญาณเป็นต้น ก็อ่อน ดังนี้แล.

_____________________________

ธาตุ ๓ โดยภพ ๓ โวการ ๓

๘] วิสัชนา ๑๒ มีวิสัชนาในกามธาตุเป็นต้น พระธรรมเสนา-

บดีสารีบุตร แสดงแล้วโดยประเภทแห่งภพ.

ธาตุอันประกอบด้วยกาม กล่าวคือกามราคะ ชื่อว่า กามธาตุ

หรือ ธาตุกล่าวคือกาม ชื่อว่า กามธาตุ.

ธาตุอันประกอบแล้วด้วยรูปฌาน ชื่อว่า รูปธาตุ เพราะละกาม

เสียได้ หรือธาตุกล่าวคือรูปฌาน. ชื่อว่า รูปธาตุ.

ธาตุอันประกอบแล้วด้วยอรูปฌาน ชื่อว่า อรูปธาตุ เพราะ

ละกามและรูปฌานเสียได้, หรือธาตุกล่าวคืออรูปฌาน ชื่อว่า อรูปธาตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

ธาตุเหล่านั้นนั่นแหละ ท่านกล่าวโดยปริยายแห่งภพอีก. จริง

อยู่ ท่านเรียกว่า ภพ เพราะย่อมเกิด.

ภพอันประกอบแล้วด้วยสัญญา ชื่อว่า สัญญาภพ หรือภพ

อันสหรคตด้วยสัญญา ชื่อว่า สัญญาภพ, หรือสัญญามีอยู่ในภพนี้

ฉะนั้น ภพนี้จึงชื่อว่า สัญญาภพ.

กามภพนั้น ๑, รูปภพที่พ้นจากอสัญญาภพ ๑, อรูปภพที่พ้น

จากเนวสัญญานาสัญญาภพ ๑, มิใช่สัญญาภพ ชื่อว่า อสัญญาภพ,

อสัญญาภพนั้นเป็นเอกเทสแห่งรูปภพ.

เพราะความไม่มีสัญญาหยาบ ชื่อว่า เนวสัญญา - มีสัญญาก็

ไม่ใช่, เพราะมีสัญญาละเอียด ชื่อว่า นาสัญญา - ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

ฉะนั้น จึงชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา, ภพที่ประกอบด้วยเนวสัญญา-

นาสัญญานั้น ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญาภพ, อีกอย่างหนึ่ง เพราะ

ความไม่มีสัญญาหยาบ และเพราะความมีสัญญาละเอียด ชื่อว่า เนว-

สัญญานาสัญญา มีอยู่ในภพนี้ ฉะนั้น ภพนี้จึงชื่อว่า เนวสัญญานา-

สัญญาภพ, เนวสัญญานาสัญญาภพนั้นเป็นเอกเทสแห่งอรูปภพ.

ภพที่ระคนด้วยรูปขันธ์ ๆ เดียว คือล้วนไปด้วยรูปขันธ์ ๆ เดียว

แห่งภพนั้นมีอยู่ ฉะนั้น ภพนั้น จึงชื่อว่า เอกโวการภพ, เอกโว-

การภพนั้น เป็นอสัญญาภพแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

ภพที่ระคนด้วยนามขันธ์ ๔ คือล้วนไปด้วยนามขันธ์ ๔ แห่งภพ

นั้นมีอยู่ ฉะนั้น ภพนั้นจึงชื่อว่า จตุโวการภพ, จตุโวการภพนั้น

เป็นอรูปภพ.

ภพที่ระคนด้วยขันธ์ ๕ คือล้วนไปด้วยขันธ์ ๕ แห่งภพนั้นมีอยู่

ฉะนั้น ภพนั้นจึงชื่อว่า ปัญจโวการภพ, ปัญจโวการภพนั้น เป็น

กามภพด้วยเป็นเอกเทสแห่งรูปภพด้วย.

______________________

ฌาน

๙] วิสัชนา ๑๒ มีวิสัชนาในปฐมฌานเป็นต้น พระธรรม

เสนาบดีสารีบุตรแสดงด้วยอำนาจฌานสมาบัติ.

คำว่า ฌาน ในที่นี้ ประสงค์เอาเพียงแต่พรหมวิหารธรรม

เท่านั้น.

ปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจารปีติสุขและเอกกัคตา.

ทุติยฌาน ประกอบด้วยปีติสุขและเอกัคตา.

ตติยฌาน ประกอบด้วยสุขและเอกัคตา.

จตุตถฌาน ประกอบด้วยอุเบกขาและเอกัคตา.

๑๐] ธรรมชาติใด ย่อมสนิทสนม รักใคร่ ฉะนั้น ธรรม-

ชาตินั้น ชื่อว่า เมตตา อธิบายว่า ย่อมเสน่หา. อีกอย่างหนึ่ง ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

เจริญในมิตร หรือความเป็นไปอันนั้นแห่งมิตรมีอยู่ ฉะนั้น จึงชื่อว่า

เมตตา ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นจากปัจนิกธรรมทั้งหลาย และ

เพราะน้อมไปในอารมณ์, ความพ้นแห่งใจ ชื่อว่า เจโตวิมุตติ,

เมตตา คือ เจโตวิมุตติ ชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุตติ.

กรุณา ก็มีอรรถตามที่กล่าวแล้วนั่นแล.

บุคคลประกอบด้วยธรรมชาตินั้นแล้ว ย่อมบันเทิง, หรือธรรม-

ชาติใด ย่อมบันเทิงเอง, หรือว่า สักว่าความบันเทิงนั้น ฉะนั้น ชื่อว่า

มุทิตา.

ธรรมชาติใด ย่อมเพ่งด้วยการประหาณความพิบัติโดยนัยเป็น-

ต้นว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง เป็นผู้มีเวรหามิได้เถิด และด้วยการเข้าถึง

ความเป็นกลาง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อุเบกขา.

พรหมวิหาร ๓ มีเมตตาเป็นต้น ประกอบด้วยฌาน ๓ มีปฐม-

ฌานเป็นต้น, ส่วนอุเบกขาพรหมวิหารประกอบด้วยจตุตถฌาน.

ที่สุดแห่งอากาศนั้นไม่มีด้วยสามารถแห่งการแผ่ไป ฉะนั้น

อากาศนั้น ชื่อว่า อนนฺโต - ไม่มีที่สุด, อากาศไม่มีที่สุด ชื่อว่า อา-

กาสานันตะ ได้แก่ กสิณุคฆาฏิมากาส - อากาศที่เพิกกสิณออก. อา-

กาสานันตะนั่นแหละ ชื่อว่า อากาสานัญจะ, อากาสานัญจะนั้น ชื่อว่า

เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งฌานพร้อมด้วยสัมปยุตธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

นั้น เช่นเดียวกับที่อยู่ของเทพทั้งหลาย ชื่อว่า เทวายตนะ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า อากาสานัญจายตนะ, สมาบัติคืออากาสานัญจายตนะนั่นแหละ

ชื่อว่า อากาสานัญจายตนสมาบัติ.

และที่สุดแห่งวิญญาณนั้นไม่มีด้วยสามารถแห่งการแผ่ไป ฉะนั้น

ชื่อว่า อนนฺต - ไม่มีที่สุด, วิญญาณไม่มีที่สุดมีอากาศเป็นอารมณ์นั้น.

อนันตะนั้นแหละ ชื่อว่า อานัญจะ, วิญญาณไม่มีที่สุด ท่านไม่กล่าว

ว่า วิญฺาณานญฺจ แต่กล่าวว่า วิญฺญาณญฺจ. ก็ศัพท์นี้ในที่นี้เป็น

รุฬหีศัพท์ คือเป็นศัพท์ที่นิยมใช้กัน. วิญญาณัญจะนั้นเป็นอายตนะ

เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งฌานพร้อมด้วยสัมปยุตธรรมนั้น เช่นเดียว

กับที่อยู่ของเทพทั้งหลาย เรียกว่าเทวายตนะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

วิญญาณัญจายตนะ.

ฌานชื่อว่า อากิญจนะ เพราะไม่มีอะไรแม้สักน้อยหนึ่ง มีคำ

อธิบายว่า แม้โดยที่สุด เพียงภังคขณะก็ไม่มีเหลืออยู่. ภาวะแห่งอา-

กิญจนะ ชื่อว่า อากิญจัญญะ. คำนี้ เป็นชื่อของฌานที่ไม่มีอากาสา-

นัญจายตนะเป็นอารมณ์. อากิญจัญญะนั้น เป็นอายตนะ เพราะเป็น

ที่ตั้งแห่งฌานพร้อมด้วยสัมปยุตธรรมนั้น. เช่นเดียวกับที่อยู่ของเทพ

ทั้งหลาย เรียกว่า เทวายตนะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อกิญจัญญา-

ยตนะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

สัญญาแห่งฌานพร้อมด้วยสัมปยุตธรรมนั้นไม่มี ไม่มีสัญญา

ก็หามิได้ เพราะไม่มีสัญญาหยาบ มีแต่สัญญาละเอียด ฉะนั้น ชื่อว่า

เนวสัญญานาสัญญา, เนวสัญญานาสัญญานั้นด้วย เป็นอายตนะด้วย

เพราะนับเนื่องด้วยมนายตนะและธรรมมายตนะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เนว-

สัญญานาสัญญายตนะ.

อีกนัยหนึ่ง สัญญาในฌานนี้ ชื่อว่า เป็นสัญญาไม่ได้ เพราะ

ไม่สามารถทำกิจสัญญาให้ชัดเจนได้, และชื่อว่า ไม่มีสัญญาเลยก็ไม่ได้

เพราะยังมีอยู่โดยสังขารธรรมที่ยังเหลืออยู่เป็นสุขุมภาพ ฉะนั้น จึง

ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา, เนวสัญญานาสัญญานั้นด้วย เป็นอายตนะ

ด้วย เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งธรรมที่เหลือ๑ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เนว-

สัญญานาสัญญายตนะ. คำนี้เป็นชื่อของสมาบัติอันมีอากิญจัญญายตนะ

เป็นอารมณ์.

อนึ่ง ในฌานนี้ มิใช่สัญญาจะเป็นอย่างนี้อย่างเดียว แม้เวทนา

ชื่อว่า เนวเวทนา นาเวทนา - มีเวทนาก็ไม่ใช่ ไม่มีเวทนาก็ไม่ใช่.

แม้จิต ก็ชื่อว่า เนวจิตตะนาจิตตะ - มีจิตก็ไม่ใช่ไม่มีจิตก็ไม่ใช่. ถึง

ผัสสะ ก็ชื่อว่า เนวผัสสะนาผัสสะ - มีผัสสะก็ไม่ใช่ไม่มีผัสสะก็ไม่ใช่

๑. เสสธมฺมาน = แห่งธรรมที่เหลือ : ได้แก่ เจตสิก ๒๙ และจิต ๑ มีสัญญา

เป็นประธาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

ในสัมปุยุตธรรมที่เหลือ ก็นัยนี้. แต่เทศนานี้ท่านทำด้วยหัวข้อว่า

สัญญา.

________________________

ปัจจยาการ ๑๒

วิสัชนา ๑๒ มีวิสัชนาใน อวิชชา เป็นต้น พระธรรมเวนาบดี.

สารีบุตรแสดงด้วยองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท.

กายทุจริตเป็นต้นชื่อว่า อวินทิยะ ความว่า ไม่ควรได้ เพราะ

อรรถว่าไปควรบำเพ็ญ. ธรรมชาติใด ย่อมได้ซึ่งอวินทิยะนั้น ฉะนั้น

ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อวิชชา.

กายสุจริตเป็นต้น ชื่อว่า วินทิยะ - ควรได้ เพราะตรงกันข้าม

กับอวินทิยะนั้น. ธรรมชาติใด ย่อมไม่ได้ซึ่งวินทิยะนั้น ฉะนั้น

ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อวิชชา.

ธรรมชาติใด ทำอรรถคือกองแห่งขันธ์ทั้งหลายมิให้ปรากฏ. ทำ

อรรถคือความต่อแห่งอายตนะทั้งหลายมิให้ปรากฏ. ทำอรรถคือความ

ว่างแห่งธาตุทั้งหลายมิให้ปรากฏ ทำอรรถคือความเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์

ทั้งหลายมิให้ปรากฏ. ทำอรรถคือความจริงแห่งสัจจะทั้งหลายมิให้ปรา-

กฏ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อวิชชา, ทำอรรถ ๔ อย่างที่กล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

แล้วด้วยสามารถแห่งการบีบคั้นเป็นต้น แห่งสัจจะทั้งหลายมีทุกขสัจจะ

เป็นต้น ฉะนั้น จึงชื่อว่า อวิชชา.

ธรรมชาติใด ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้แล่นไปในกำเนิด, คติ,

ภพ, วิญญาณฐิติ, และสัตตาวาสทั้งปวง ในสังสารวัฏอันไม่มีที่สุด ฉะนั้น

ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า อวิชชา.

ธรรมชาติใด ย่อมแล่นไปในบัญญัติทั้งหลายมีหญิงและบุรุษ

เป็นต้น อันไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์, ไม่แล่นไปแม้ในวิชชมานบัญญัติมี

ขันธ์เป็นต้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า อวิชชา.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อวิชชาเพราะปกปิดเสียซึ่งวัตถุและอารมณ์

แห่งวิญญาณมีจักขุวิญญาณเป็นต้น และธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นปฏิจจ-

สมุปบาทและที่เป็นปฏิจจสมุปปันนะ.

ธรรมชาติใด ย่อมปรุงแต่งซึ่งสังขตธรรม ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น

จึงชื่อว่า สังขาร.

ธรรมชาติใด ย่อมรู้อารมณ์ต่าง ๆ ได้ ฉะนั้น ธรรมชาดิน น

จึงชื่อว่า วิญญาณ.

ธรรมชาติใด ย่อมรู้อารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า

นาม, อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติใด ย่อมน้อมไปสู่อารมณ์ ฉะนั้น

๑. สังขตธรรม : จิต ๘๙, รูป ๒๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า นาม, ธรรมชาติใด ย่อมแตกดับไป ฉะนั้น

ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า รูป.

ธรรมชาติใด ย่อมแผ่ไปในจิตและเจตสิกอันเป็นที่เกิด และ

นำไปสู่สังสารทุกข์อันยืดเยื้อต่อไป ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า

อายตนะ.

ธรรมชาติใด ย่อมถูกต้อง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า

ผัสสะ.

ธรรมชาติใด ย่อมเสวยอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึง

ชื่อว่า เวทนา.

ธรรมชาติใด ย่อมอยากได้ในอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น

จึงชื่อว่า ตัณหา.

ธรรมชาติใด ย่อมเข้าไปยึดในอารมณ์ คือย่อมถือไว้อย่างมั่นคง

ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า อุปาทาน.

ธรรมชาติใด ย่อมเป็น คือย่อมเกิด ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น

จึงชื่อว่า ภพ.

การเกิด ชื่อว่า ชาติ .

การแก่ ชื่อว่า ชรา.

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมตายด้วยธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาติ

นั้น จึงชื่อว่า มรณะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

สัจนิทเทส

[๑๐] ทุกข์ ควรรู้ยิ่ง ทุกขสมุทัย ....ทุกขนิโรธ ... ทุกข-

นิโรธคามีนีปฏิปทา... รูป... รูปสมุทัย...รูปนิโรธ ...รูปนิโรธคามิ-

นีปฏิปทา ... เวทนา ... สัญญา... สังขาร ... วิญญาณ ...จักขุ ฯลฯ

ชรามรณะ ... ชรามรณสมุทัย ... ชรามรณนิโรธ... ชรามรณนิโรธ-

คามินีปฏิปทา ( ทุกอย่าง ) ควรรู้ยิ่ง.

[๑๑] สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งทุกข์ ภาพที่ควรละแห่ง

ทุกขสมุทัย สภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่งทุกขนิโรธ สภาพที่ควรเจริญ

แห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งรูป ภาพที่ควร

ละแห่งรูปสมุทัย ภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่งรูปนิโรธ สภาพที่ควรเจริญ

แห่งรูปนิโรธคามินีปฏิปทา ภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งเวทนา ฯลฯ

สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ แห่งจักขุ ฯลฯ

สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งชรามรณะ สภาพที่ควรละแห่งชรามรณสมุทัย

สภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่งชรามรณนิโรธ ภาพที่ควรเจริญแห่งชรา-

มรณนิโรธคามินีปฏิปทา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

๑๒] ภาพที่แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ทุกข์ สภาพที่แทง

ตลอดด้วยการลุทุกขสมุทัย สภาพที่แทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งทุกข์

นิโรธ สภาพที่แทงตลอดด้วยการเจริญทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาพ

ที่แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้รูป ภาพที่แทงตลอดด้วยการละรูปสมุทัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

สภาพที่แทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งรูปนิโรธ สภาพที่แทงตลอดด้วย

การเจริญรูปนิโรธคามินีปฏิปทา สภาพที่แทงตลอดด้วยการเจริญเวทนา

ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ

สภาพที่แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ชรามรณะ สภาพที่แทงตลอดด้วย

การละชรามรณสมุทัย สภาพที่แทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งชรามรณ-

นิโรธ สภาพที่แทงตลอดด้วยการเจริญชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา

ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๑๓] ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ความดับเหตุ

ให้เกิดทุกข์ ความดับฉันทราคะในทุกข์ ความยินดีในทุกข์ โทษแห่ง

ทุกข์ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งทุกข์ รูป เหตุให้เกิดรูป ความดับเหตุ

ให้เกิดรูป ความยินดีในรูป โทษแห่งรูป อุบายเครื่องสลัดออกแห่ง

รูป แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่ง

วิญญาณ ฯลฯ แห่งจักขุ ฯลฯ ชราและมรณะ เหตุให้เกิดชราและ

มรณะ ความดับชราและมรณะ ความดับเหตุให้เกิดชราและมรณะ

ความดับฉันทราคะในชราและมรณะ คุณแห่งชราและมรณะ โทษแห่ง

ชราและมรณะ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งชราและมรณะ ควรรู้ยิ่งทุก

อย่าง.

[๑๔] ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโร ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ความยินดีในทุกข์ โทษแห่งทุกข์ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งทุกข์ รูป

เหตุให้เกิดรูป ความดับรูป ปฏิปทาอันให้ถึงความดับรูป ความยินดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

ในรูป โทษแห่งรูป อุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป เวทนา ฯลฯ

สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชรา

และมรณะ เหตุให้เกิดชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ ปฏิปทา

อันให้ถึงความดับชราและมรณะ ความยินดีในชราและมรณะ โทษแห่ง

ชราและมรณะ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งชราและมรณะ ควรรู้ยิ่งทุก

อย่าง.

[๑๕] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง การพิจารณาเห็นทุกข์

การพิจารณาเห็นอนัตตา การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย การ

พิจารณาเห็นด้วยความคลายกำหนัด การพิจารณาเห็นด้วยความดับ

การพิจารณาเห็นด้วยความสละคืน การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป

การพิจารณาเห็นความทุกข์ในรูป การพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป การ

พิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่ายในรูป การพิจารณาเห็นด้วยความ

คลายกำหนัดในรูป การพิจารณาเห็นด้วยความดับในรูป การพิจารณา

เห็นด้วยความสละคืนในรูป การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา

ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ใน

จักขุ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะ การ

พิจารณาเห็นทุกข์ในชราและมรณะ การพิจารณาเห็นอนัตตาในชรา

และมรณะ การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่ายในชราและมรณะ การ

พิจารณาเห็นด้วยความคลายกำหนัดในชราและมรณะ การพิจารณา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

เห็นความดับในชราและมรณะ การพิจารณาเห็นด้วยความสละคืนใน

ชราและมรณะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๑๖] ความเกิดขึ้น ความเป็นไป เครื่องหมาย ความประมวล

มา ( กรรมอันปรุงแต่งปฏิสนธิ ) ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ

ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาส ความไม่เกิดขึ้น

ความไม่เป็นไป ความไม่มีเครื่องหมาย ความไม่มีประมวลมา ความ

ไม่สืบต่อ ความไม่ไป ความไม่บังเกิด ความไม่อุบัติ ความไม่เกิด

ความไม่แก่ ความไม่ป่วยไข้ ความไม่ตาย ความไม่เศร้าโศก ความ

ไม่รำพัน, ความไม่คับแค้นใจ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๑๗] ความเกิดขึ้น ความไม่เกิดขึ้น ความเป็นไป ความ

ไม่เป็นไป เครื่องหมาย ความไม่มีเครื่องหมาย ความประมวลมา

ความไม่ประมวลมา ความสืบต่อ ความไม่สืบต่อ ความไป ความไม่ไป

ความบังเกิด ความไม่บังเกิด ความอุบัติ ความไม่อุบัติ ความเกิด

ความไม่เกิด ความแก่ ความไม่แก่ ความป่วยไข้ ความไม่ป่วยไข้

ความตาย ความไม่ตาย ความเศร้าโศก ความไม่เศร้าโศก ความรำพัน

ความไม่รำพัน ความคับแค้นใจ ความไม่คับแค้นใจ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๑๘] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความเป็นไปเป็น

ทุกข์ เครื่องหมายเป็นทุกข์ ความประมวลมาเป็นทุกข์ ปฏิสนธิเป็น

ทุกข์ คติเป็นทุกข์ ความบังเกิดเป็นทุกข์ อุบัติเป็นทุกข์ ชาติเป็นทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

พยาธิเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะเป็นทุกข์ ปริเทวะเป็นทุกข์

อุปายาสเป็นทุกข์.

[๑๙] ควรรู้ยิ่งว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข ความไม่เป็นไป

เป็นสุข ความไม่มีเครื่องหมายเป็นสุข ความไม่ประมวลมาเป็นสุข

ความไม่สืบต่อเป็นสุข ความไม่ไปเป็นสุข ความไม่บังเกิดเป็นสุข ความ

ไม่อุบัติเป็นสุข ความไม่เกิดเป็นสุข ความไม่แก่เป็นสุข ความไม่ป่วย

ไข้เป็นสุข ความไม่ตายเป็นสุข ความไม่เศร้าโศกเป็นสุข ความไม่

รำพันเป็นสุข ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข.

[๒๐] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความไม่เกิดขึ้น

เป็นสุข ความเป็นไปเป็นทุกข์ ความไม่เป็นไปเป็นสุข เครื่องหมาย

เป็นทุกข์ ความไม่มีเครื่องหมายเป็นสุข ความประมวลมาเป็นทุกข์

ความไม่ประมวลมาเป็นสุข ความสืบต่อเป็นทุกข์ ความไม่สืบต่อเป็น

สุข ความไปเป็นทุกข์ ความไม่ไปเป็นสุข ความบังเกิดเป็นทุกข์ ความ

ไม่บังเกิดเป็นสุข ความอุบัติเป็นทุกข์ ความไม่อุบัติเป็นสุข ความเกิด

เป็นทุกข์ ความไม่เกิดเป็นสุข ความแก่เป็นทุกข์ ความไม่แก่เป็นสุข

ความป่วยไข้เป็นทุกข์ ความไม่ป่วยไข้เป็นสุข ความตายเป็นทุกข์

ความไม่ตายเป็นสุข ความเศร้าโศกเป็นทุกข์ ความไม่เศร้าโศกเป็นสุข

ความรำพันเป็นทุกข์ ความไม่รำพันเป็นสุข ความคับแค้นใจเป็นทุกข์

ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

[๒๑] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความเป็นไปเป็นภัย

เครื่องหมายเป็นภัย ความประมวลมาเป็นภัย ความสืบต่อเป็นภัย

ความไปเป็นภัย ความบังเกิดเป็นภัย ความอุบัติเป็นภัย ความเกิดเป็น

ภัน ความแก่เป็นภัย ความป่วยไข้เป็นภัย ความตายเป็นภัย ความ

เศร้าโศกเป็นภัย ความรำพันเป็นภัย ความคับแค้นใจเป็นภัย.

[๒๒] ควรรู้ยิ่งว่า ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย ความไม่

เป็นไปปลอดภัย ความไม่มีเครื่องหมาย ปลอดภัย ความไม่ประมวลมา

ปลอดภัย ความไม่สืบต่อปลอดภัย ความไม่ไปปลอดภัย ความไม่บังเกิด

ปลอดภัย ความไม่อุบัติปลอดภัย ความไม่เกิดปลอดภัย ความไม่แก่

ปลอดภัย ความไม่ป่วยไข้ปลอดภัย ความไม่ตายปลอดภัย ความไม่

เศร้าโศกปลอดภัย ความไม่รำพันปลอดภัย ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย.

[๒๓] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความไม่เกิดขึ้น

ปลอดภัย ความเป็นไปเป็นภัย ความไม่เป็นไปปลอดภัย เครื่องหมาย

เป็นภัย ความไม่มีเครื่องหมายปลอดภัย ความประมวลมาเป็นภัย ความ

ไม่ประมวลมาปลอดภัย ความสืบต่อเป็นภัย ความไม่สืบต่อปลอดภัย

ความไปเป็นภัย ความไม่ไปปลอดภัย ความบังเกิดเป็นภัย ความไม่

บังเกิดปลอดภัย ความอุบัติเป็นภัย ความไม่อุบัติปลอดภัย ความเกิด

เป็นภัย ความไม่เกิดปลอดภัย ความป่วยไข้เป็นภัย ความไม่ป่วยไข้

ปลอดภัย ความตายเป็นภัย. ความไม่ตายปลอดภัย ความเศร้าโศก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

เป็นภัย ความไม่เศร้าโศกปลอดภัย ความรำพันเป็นภัย ความไม่รำพัน

ปลอดภัย ความคับแค้นใจเป็นภัย ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย.

[๒๔] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นมีอามิส ( เครื่องล่อ ) ความ

เป็นไปมีอามิส ความสืบต่อมีอามิส ความประมวลมามีอามิส ความ

บังเกิดมีอามิส ความอุบัติมีอามิส ความเกิดมีอามิส ความป่วยไข้มีอามิส

ความตายมีอามิส ความเศร้าโศกมีอามิส ความรำพันมีอามิส ความ

คับแค้นใจมีอามิส.

[๒๕] ควรรู้ยิ่งว่า ความไม่เกิดขึ้นไม่มีอามิส (หมดเครื่องล่อ)

ความไม่เป็นไปไม่มีอามิส ความไม่มีเครื่องหมายไม่มีอามิส ความไม่

ประมวลมาไม่มีอามิส ความไม่สืบต่อไม่มีอามิส ความไม่ไปไม่มีอามิส

ความไม่บังเกิดไม่มีอามิส ความไม่มีอุบัติไม่มีอามิส ความไม่เกิดไม่มี

อามิส ความไม่แก่ไม่มีอามิส ความไม่ป่วยไข้ไม่มีอามิส ความไม่ตาย

ไม่มีอามิส ความไม่เศร้าโศกไม่มีอามิส ความไม่รำพันไม่มีอามิส ความ

ไม่คับแค้นใจไม่มีอามิส.

[๒๖] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นมีอามิส ความไม่เกิดขึ้นไม่มี

อามิส ความเป็นไปมีอามิส ความไม่เป็นไปไม่มีอามิา เครื่องหมาย

มีอามิส ความไม่มีเครื่องหมายไม่มีอามิส ความประมวลมามีอามิส

ความไม่ประมวลมาไม่มีอามิส ความสืบต่อมีอามิส ความไม่สืบต่อไม่มี

อามิส ความไปมีอามิส ความไม่ไปไม่มีอามิส ความบังเกิดมีอามิส

ความไม่บังเกิดไม่มีอามิส ความอุบัติไม่มีอามิส ความไม่อุบัติไม่มีอามิส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

ความเกิดมีอามิส ความไม่เกิดไม่มีอามิส ความแก่มีอามิส ความไม่แก่

ไม่มีอามิส ความป่วยไข้มีอามิส ความไม่ป่วยไข้ไม่มีอามิส ความตาย

มีอามิส ความไม่ตายไม่มีอามิส ความเศร้าโศกมีอามิส ความไม่เศร้า-

โศกไม่มีอามิส ความรำพันมีอามิส ความไม่รำพันไม่มีอามิส ความ

คับแค้นใจมีอามิส ความไม่คับแค้นใจไม่มีอามิส.

[๒๗] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความเป็นไปเป็น

สังขาร เครื่องหมายเป็นสังขาร ความประมวลมาเป็นสังขาร ความ

อุบัติเป็นสังขาร ความไปเป็นสังขาร ความบังเกิดเป็นสังขาร ความ

อุบัติเป็นสังขาร ความเกิดเป็นสังขาร ความแก่เป็นสังขาร ความป่วยไข้

เป็นสังขาร ความตายเป็นสังขาร ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ความ

รำพันเป็นสังขาร ความคับแค้นใจเป็นสังขาร.

[๒๘๐] ควรรู้ยิ่งว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ความไม่

เป็นไปเป็นนิพพาน ความไม่มีเครื่องหมายเป็นนิพพาน ความไม่

ประมวลมาเป็นนิพพาน ความไม่สืบต่อเป็นนิพพาน ความไม่ไปเป็น

นิพพาน ความไม่บังเกิดเป็นนิพพาน ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน ความ

ไม่เกิดเป็นนิพพาน. ความไม่แก่เป็นนิพพาน ความไม่ป่วยไข้เป็น

นิพพาน ความไม่ตายเป็นนิพพาน ความไม่เศร้าโศกเป็นนิพพาน

ความไม่รำพันเป็นนิพพาน ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

[๒๙] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความไม่เกิดขึ้น

เป็นนิพพาน ความเป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน

เครื่องหมายเป็นสังขาร ความไม่มีเครื่องหมายเป็นนิพพาน ความ

ประมวลมาเป็นสังขาร ความไม่ประมวลมาเป็นนิพพาน ความสืบต่อ

เป็นสังขาร ความไม่สืบต่อเป็นนิพพาน ความไปเป็นสังขาร ความไม่

ไปเป็นนิพพาน ความบังเกิดเป็นสังขาร ความไม่บังเกิดเป็นนิพพาน

ความอุบัติเป็นสังขาร ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน ความเกิดเป็นสังขาร

ความไม่เกิดเป็นนิพพาน ความแก่เป็นสังขาร ความไม่แก่เป็นนิพพาน

ความป่วยไข้เป็นสังขาร ความไม่ป่วยไข้เป็นนิพพาน ความตายเป็น

สังขาร ความไม่ตายเป็นนิพพาน ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ความ

ไม่เศร้าโศกเป็นนิพพาน ความรำพันเป็นสังขาร ความไม่รำพันเป็น

นิพพาน ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน.

จบ ปฐมภาณวาร

________________________

อรรถกถาทุกขสัจเป็นต้น

๑๐ ] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๘๐๘ ข้อ มีทุกข์

เป็นต้นโดยประกอบเข้ากับอริยสัจ ๔. พระสารีบุตรกล่าวประมวล การ

วิสัชนา ๒๔ อย่าง ด้วยจตุกกะ ๖ ไว้ในบทมี อาทิว่า ทุกฺข อภิญฺเยฺย

ทุกข์ ควรรู้ยิ่ง ด้วยการวิสัชนา ๑๙๕ มีอาทิว่า จกฺขุ อภิญฺเยฺย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

โสต อภิญฺเยฺย จักขุ... โสตะ ควรรู้ยิ่ง ในไปยาล (ละคำ) ว่า

จกฺขุ ฯเปฯ ชรามรณ - จักขุ ฯลฯ ชรามรณะ เป็นอันได้ ๑๙๕

จตุกกะ ด้วยอำนาจของจสุกกะเหล่านั้น จึงเป็นการวิสัชนา ๗๘๐,

ในจตุกกะมีอาทิว่า ชรามรณ อภิญฺเยฺย - ชรามรณะควรรู้ยิ่งทั้งหมด

จึงเป็นการวิสัชนา ๘๐๘ ข้อ โดยประการฉะนี้ว่า จตฺตาริ วิสชฺชนานิ

การวิสัชนา ๔ ข้อ.

อนึ่ง ในการวิสัชนานี้ พึงทราบว่า ปัจจัยอันเป็นประธานของ

ธรรมนั้นๆ เป็นสมุทัย, นิพพานว่างจากสังขารทั้งปวงเป็นนิโรธ.

ในอธิการนี้ บทมีอาทิว่า อนญฺาตญฺสฺสามีตินฺทฺริยนิโรโธ การ

ดับอินทรีย์ คืออัธยาศัยที่มุ่งบรรลุมรรคผลของผู้ปฏิบัติ หมายถึงความ

ไม่มีอินทรีย์อันเป็นโลกุตระ ๓ ประการ มี อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์

เป็นต้น ถูกต้อง. บทว่า นิโรธคามินีปฏิปทา ในทุกแห่งเป็นอริยมรรค

ทั้งนั้น. แม้เมื่อท่านกล่าวถึงผลอย่างนี้ไว้ แม้ อัญญินทรีย์ ( อินทรีย์

คือการตรัสรู้สัจธรรมด้วยมรรค) อัญญาตาวินทรีย์ ( อินทรีย์ของ

พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้สัจธรรมแล้ว) ย่อมถูกต้อง เพราะมีชื่อเรียกว่า มรรค.

พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๘๐๘ ข้อ ด้วยสภาพที่ควร

กำหนดรู้ทุกข์เป็นต้นต่อไป. ท่านได้ชี้แจงการวิสัชนา ๘๐๘ ข้อ ด้วย

สภาพที่แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ทุกข์เป็นต้นอีก. การกำหนดรู้และ

การแทงตลอดด้วยสภาพที่ควรแทงตลอด ชื่อว่า ปริญญาปฏิเวธะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

อรรถคือปริญญาปฏิเวธะนั้นแล ชื่อว่า ปริญฺาปฏิเวธฏฺโ - สภาพที่

แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้.

๑๑ - ๑๔] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๑,๖๑๖ ข้อ

มีทุกข์เป็นต้น มีชรามรณะเป็นที่สุด ต่อไปด้วย ๒๐๒ อัฏฐกะ ประกอบ

ด้วยบท อย่างละ ๗ บท มีสมุทัยเป็นต้น.

ในอธิการนั้น ปัจจัยอันเป็นประธาน คือ สมุทัย, การดับ

สมุทัยนั้น คือ สมุทยนิโรธ. ความกำหนัดคือความพอใจ คือ

ฉันทราคะ, ความกำหนัดคือความพอใจทุกข์ ด้วยสำคัญในทุกข์ว่า

เป็นสุข, ความดับฉันทราคะนั้น คือ ฉันทราคนิโรธ. สุขโสมนัส

เกิดขึ้นเพราะอาศัยทุกข์ คือความยินดีในทุกข์. ความไม่เที่ยงแห่งทุกข์

ความแปรปรวนเป็นธรรมดาแห่งทุกข์ คือโทษแห่งทุกข์. การนำออก

ซึ่งฉันทราคะ การละฉันทราคะในทุกข์ คืออุบายเครื่องสลัดออกแห่ง

ทุกข์. นิพพานนั่นแล คืออุบายเครื่องสลัดออกแห่งทุกข์ เพราะบาลี

ว่า ย โข ปน กิญฺจิ ภูต สงฺขต ปฏิจฺจสมุปฺปนฺน นิโรโธ ตสฺส

นิสฺสรณ - นิโรธเป็นเครื่องสลัดออกแห่งสังขตธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอย่าง

ใดอย่างหนึ่งซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น. พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึง

นิพพาน ในฐานะ ๔ อย่าง ด้วยคำอันมีปริยายต่าง ๆ โดยตรงกันข้าม

กับสังขตธรรมต่าง ๆ ว่า การดับทุกข์. การดับสมุทัย. การดับฉันทราคะ,

อุบายเครื่องสลัดออกแห่งทุกข์ ๑. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

อาหารเป็นต้นเหตุ ทุกข์จึงเกิด เพราะดับอาหารทุกข์จึงดับ การดับ

สมุทัยด้วยอำนาจความเป็นไปกับด้วยกิจ - กิจรส. อีกอย่างหนึ่ง การ

ดับสมุทัย ด้วยการเห็นความเกิดและความดับ มรรคพร้อมด้วยวิปัสสนา

เป็นการดับฉันทราคะ. เมื่อท่านกล่าวไว้อย่างนี้พึงถือเอานัยที่กล่าวไว้

ตอนแรกว่า ยังไม่เป็นสรรพสาธารณะเพราะอินทรีย์อันเป็นโลกุตระ

ยังไม่เข้าถึงวิปัสสนา. นัยที่ท่านกล่าวว่า การดับฉันทราคะเพราะไม่มี

ฉันทราคะในอินทรีย์อันเป็นโลกุตระนั่นแลจึงถูกต้อง. เป็นอันกระทำ

ฉันทราคะแม้ในผมเป็นต้น อันเป็นส่วนหนึ่งของสรีระ ด้วยความ

กำหนัดคือความพอใจในสรีระนั่นแล. เป็นอันกระทำฉันทราคะแม้ใน

ชราและมรณะ ด้วยความกำหนัดคือความพอใจ ในการมีชราและมรณะ

โดยแท้ พึงประกอบแม้ความพอใจและโทษไว้อย่างนี้ด้วย. พระสารี-

บุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๑,๔๑๔ นัย มี ๒๐๒ บท มีทุกข์เป็นต้น

มีชรามรณะเป็นที่สุดต่อไป ด้วย ๒๐๒ สัตตกะประกอบด้วยบทอย่าง

ละ ๖ มีสมุทัยเป็นต้น.

๑๕] บัดนี้ เพื่อแสดงประกอบบท ๒๐๑ บท มีรูปเป็นต้น

ชรามรณะเป็นที่สุด ด้วยอนุปัสนา ๗ พระสารีบุตรจึงชี้แจงอนุ-

ปัสนา ๗ มีอนิจจานุปัสนาเป็นต้นก่อน. ทั้งหมดเหล่านั้นเป็นการ

วิสัชนา ๑,๔๑๔ นัย พร้อมด้วยการวิสัชนาอนุปัสนาล้วน ๗

ประการ. การพิจารนาเห็นว่าไม่เที่ยง คือ อนิจจานุปัสนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

อนิจจานุปัสนานั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อ นิจสัญญา ความสำคัญว่าเที่ยง.

การพิจารณาเห็นว่า เป็นทุกข์ คือ ทุกขานุปัสนา. ทุกขานุปัสนา

นั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อ สุขสัญญา - ความสำคัญว่าเป็นสุข. การพิจารณา

เห็นว่า เป็นอนัตตา คือ อนัตตานุปัสนา. อนัตตานุปัสนานั้น

เป็นปฏิปักษ์ต่อ อัตสัญญา - ความสำคัญว่าเป็นอัตตา. พระโยคาวจร

ย่อมเบื่อหน่าย เพราะอนุปัสนา ๓ บริบูรณ์ ฉะนั้น จึงชื่อว่า

นิพพิทา, นิพพิทานั้นด้วย อนุปัสนาด้วย ชื่อว่า นิพพิทานุปัสนา.

นิพพิทานุปัสนานั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อความเพลิดเพลิน. พระโยคาวจร

ย่อมคลายกำหนัด เพราะอนุปัสนา ๔ บริบูรณ์ จึงชื่อว่า วิราโค,

วิราคะนั้นด้วย อนุปัสนาด้วย ชื่อว่า วิราคานุปัสนา. วิราคานุ-

ปัสนานั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อราคะ. พระโยคาวจรย่อมดับราคะเสียได้

เพราะอนุปัสนา ๕ บริบูรณ์ จึงชื่อว่า นิโรโธ. นิโรธนั้นด้วย

อนุปัสนาด้วย ชื่อว่า นิโรธานุปัสนา. นิโรธานุปัสนานั้นเป็น

ปฏิปักษ์ต่อสมุทัย. พระโยคาวจรย่อมสละคืนเสียได้ เพราะอนุปัสนา

๖ บริบูรณ์ จึงชื่อว่า ปฏินิสฺสคฺโค. ปฏินิสสัคคะนั้นด้วย อนุปัสนา

ด้วย ชื่อว่า ปฏินิสสัคคานุปัสนา. ปฏินิสสัคคานุปัสนานั้นเป็น

ปฏิปักษ์ต่อการยึดมั่น. เมื่ออินทรีย์อันเป็นโลกุตระเข้าถึงวิปัสนายัง

ไม่มี พึงทราบว่า ท่านประกอบอนุปัสนา ๗ ไว้ด้วยธรรมะแม้เหล่านั้น

โดยพิจารณาเห็นว่า ชื่อว่า มีนิโรธ เพราะไม่มีความเพลิดเพลินและ

ความกำหนัดในสิ่งที่สำคัญว่า เที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน เพราะสิ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

เหล่านั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ดังบาลีว่า สพฺเพ

สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา

สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์. ธรรมทั้งหลาย

ทั้งปวงเป็นอนัตตา และเพราะมีการสละด้วยการบริจาค การสละด้วยการ

แล่นไป. เมื่อผู้มีชรามรณะที่ตนเห็นแล้ว โดยเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น

เป็นอันชื่อว่า เห็นแม้ชรามรณะ โดยเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น, เมื่อ

เบื่อหน่าย คลายกำหนัดในชรามรณะที่มีอยู่ เป็นอันเบื่อหน่ายและ

คลายกำหนัดในชรามรณะ, เมื่อมีชรามรณะที่เห็นแล้วโดยนิโรธ เป็น

อันชื่อว่า เห็นแม้ชรามรณะโดยนิโรธ เมื่อสละในชรามรณะที่มีอยู่

ย่อมเป็นอันสละชรามรณะโดยแท้ พึงทราบว่า ท่านประกอบอนุปัส-

นา ๗ ด้วยชรามรณะ ด้วยประการฉะนี้.

๑๖-๒๙] บัดนี้ พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๑๕ ข้อ

อันเป็นไวพจน์ของธรรมเหล่านั้น มี อุปฺปโท - ความเกิดขึ้นเป็นต้น

และด้วยอารมณ์ ๕ มี อุปฺปาโท เป็นต้น อันเป็นวัตถุแห่ง อาทีนว-

ญาณ - ความรู้ว่าเป็นโทษ, ชี้แจงการวิสัชนา ๑๕ ข้อ มี อนุปิปาโท

เป็นต้น ด้วยอารมณ์อันเป็นปฏิปักษ์แห่งธรรมนั้น แห่ง สนฺติปท-

ญาณ - ความรู้ทางแห่งสันติ, ชี้แจงการวิสัชนา ๓๐ ประกอบบท มี

อุปปาทะและอนุปปาทะเป็นต้นเหล่านั้นต่อไปด้วยเป็นคู่กัน ด้วย

ประการฉะนี้ จึงเป็นการวิสัชนา ๖๐ ในนัยนี้นั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปาโท - การเกิดขึ้น ได้แก่ การ

เกิดในภพนี้ เพราะกรรมก่อนเป็นปัจจัย.

บทว่า ปวตฺต - ความเป็นไป ได้แก่ ความเป็นไปแห่งการ

เกิดอย่างนั้น.

บทว่า นิมิตฺต - เครื่องหมาย ได้แก่ เครื่องหมายสังขารทั้งหมด.

เพราะสังขารของพระโยคาวจรย่อมปรากฏดุจมีซวดทรง ฉะนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า นิมิตฺต.

บทว่า อายูหนา - ความประมวลมา ได้แก่ กรรมอันเป็นเหตุ

แห่งปฏิสนธิต่อไป เพราะว่า กรรมนั้นท่านเรียกว่า อายูหนา เพราะ

อรรถว่าปรุงแต่งปฏิสนธิ.

บทว่า ปฎิสนฺธิ ได้แก่ เกิดต่อไป. การเกิดนั้นท่านเรียกว่า

ปฏิสนธิ เพราะสืบต่อกันในระหว่างภพ

บทว่า คติ - การไป ได้แก่ ปฏิสนธิ ที่ท่านเรียกว่า คติ เพราะ

สัตว์ต้องไป.

บทว่า นิพฺพตฺติ- ความบังเกิด ได้แก่ ความเกิดแห่งขันธ์

ทั้งหลาย.

บทว่า อุปฺปตฺติ - อุบัติ ได้แก่ ความเป็นไปแห่งวิบากที่ท่าน

กล่าวไว้อย่างนี้ว่า สมาปนฺนสฺส วา อุปปนฺนสฺส วา-ธรรมคือจิต

และเจตสิกของผู้เข้าถึงแล้วหรือผู้อุบัติแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

บทว่า ชาติ - การเกิด ได้แก่ ความปรากฏครั้งแรกแห่งขันธ์

ของสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดในภพนั้น ๆ.

บทว่า ชรา - ความเสื่อมโทรม อธิบายว่า ชรานั้นมี ๒ อย่าง

คือสังขตลักษณะอันได้แก่ลักษณะที่ตั้งอยู่และเป็นอย่างอื่น ๑ ภพเก่า

แห่งขันธ์อันเนื่องในภพหนึ่งในสันตติ เป็นที่รู้กันว่ามีฟันหักเป็นต้น ๑.

ในที่นี้ท่านประสงค์เอาชรานั้น.

บทว่า พฺยาธิ - ความเจ็บป่วย ได้แก่ อาพาธ ๘ อย่าง อัน

ตั้งขึ้นเพราะธาตุกำเริบเป็นปัจจัย คือ น้ำดี ๑ เสมหะ ๑ ลม ๑

ไข้สันนิบาต ๑ การเปลี่ยนฤดู ๑ การบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ ๑

เพียรเกินไป ๑ วิบากของกรรม ๑. ชื่อว่า พฺยาธิ เพราะทุกข์

หลายอย่าง แผดเผา กลุ้มรุม หรือ เพราะทุกข์เบียดเบียนให้เดือดร้อน

หวั่นไหว.

บทว่า มรณ คือพยาธิเป็นเหตุให้ตาย มรณะนั้น มี ๒ อย่าง

คือ สังขตลักษณะอันมีความเสื่อมเป็นลักษณะ ๑ การตัดขาดการ

เกี่ยวเนื่องกันแห่งชีวิตินทรีย์อันนับเนื่องในภพหนึ่ง ๑. ในที่นี้ท่าน

ประสงค์เอามรณะนั้น.

บทว่า โสโก คือ ความเหี่ยวแห้งใจ ได้แก่ ความเดือดร้อนใจ

ของผู้ที่ถูกความเสื่อมจากญาติ สมบัติ โรค ศีล และทิฏฐิ กระทบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

บทว่า ปริเทโว คือ ร้องไห้คร่ำครวญ ได้แก่ การพร่ำเพ้อ

ของผู้ที่ถูกความเสื่อมจากญาติเป็นต้น กระทบ.

บทว่า อุปายาโส - แค้นใจมาก. ได้แก่ โทสะอันเกิดจากทุกข์

ใจหนัก ของผู้ที่ถูกความเสื่อมจากญาติเป็นต้น กระทบ.

ในนิทเทสนี้ท่านกล่าวอภิญไญยธรรม ๕ มี อุปฺปาโท เป็นต้น

ด้วยสามารถเป็นวัตถุแห่งอาทีนวญาณ, ที่เหลือท่านกล่าวด้วยสามารถ

เป็นไวพจน์ของอภิญไญยธรรมเหล่านั้น, บทว่า นิพฺพตฺติ เป็นไวพจน์

ของ อุปฺปาโท. บทว่า ชาติ เป็นไวพจน์ของ ปฏิสนธิ, สองบทว่า

คติ อุปปตฺติ เป็นไวพจน์ของ ปวตฺต, ชรา เป็นต้นเป็นไวพจน์

ของ นิมิตฺต. ท่านกล่าวนิพพานเท่านั้นด้วยคำ มี อนุปฺปสโท - ความ

ไม่เกิดขึ้นเป็นต้น.

พระสารีบุตรชี้แจงบท ๖๑ มี อุปปาทะ และ อนุปปาทะ

เป็นต้น การวิสัชนา ๖๐ ประกอบด้วยบทว่าด้วยทุกข์และสุข, การ

วิสัชนา ๖๐ ประกอบด้วยบทว่าด้วยภัยและความปลอดภัย, การวิสัชนา

๖๐ ประกอบด้วยบทว่าด้วยสามิส ( มีเครื่องล่อ ) และนิรามิส ( ไม่มี

เครื่องล่อ ), การวิสัชนา ๖๐ ประกอบด้วยบทแห่งสังขารและนิพพาน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุกข - เป็นทุกข์ อธิบายว่า ชื่อว่า

ทุกข์ เพราะเป็นของไม่เที่ยง. ชื่อว่า สุขเพราะตรงกันข้ามกับทุกข์.

สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นภัย. ชื่อว่า เขมะ - ความปลอดภัย เพราะ

ตรงกันข้ามกับภัย. สิ่งใดเป็นภัยสิ่งนั้นชื่อว่าเป็น สามิส ( มีเครื่องล่อ)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

เพราะไม่พ้นไปจากวัฏฏามิสและโลกุามิส ชื่อว่า นิรามิส (ไม่มีเครื่อง

ล่อ) เพราะตรงกันข้ามกับ สามิส. สิ่งใดเป็นสามิส สิ่งนั้นเป็น

เพียงสังขารเท่านั้น. ชื่อว่า นิพพาน เพราะสงบจากสิ่งตรงกันข้าม

กับสังขาร. เพราะสังขารเป็นของร้อน นิพพานเป็นของสงบ. พึง

ทราบว่าท่านกล่าวไว้อย่างนั้นหมายถึงความเป็นไปโดยอาการนั้น ๆ อย่าง

นี้ว่า โดยอาการที่เป็นทุกข์ โดยอาการที่เป็นภัย โดยอาการที่เป็นสามิส

โดยอาการที่เป็นสังขาร ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาปฐมภาณวาร

ทุติยภาณวาร

[๓๐] สภาพแห่งธรรมที่ควรกำหนดถือเอา สภาพแห่งธรรม

ที่เป็นบริวาร ภาพแห่งธรรมที่เต็มรอบ สภาพแห่งสมาธิที่มีอารมณ์

อย่างเดียว ภาพแห่งสมาธิไม่มีความฟุ้งซ่าน ภาพแห่งธรรมที่ประ-

คองไว้ ภาพแห่งธรรมที่ไม่กระจายไป สภาพแห่งจิตไม่ขุ่นมัว สภาพ

แห่งจิตไม่หวั่นไหว ภาพแห่งจิตตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความปรากฏ

แห่งจิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพแห่งธรรมเป็นอารมณ์ สภาพแห่ง

ธรรมเป็นโคจร สภาพแห่งธรรมที่ละ สภาพแห่งธรรมที่สละ สภาพ

แห่งธรรมที่ออก สภาพแห่งธรรมที่หลีกไป สภาพแห่งธรรมที่ละเอียด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

สภาพแห่งธรรมที่ประณีต สภาพแห่งธรรมที่หลุดพ้น สภาพแห่งธรรม

ที่ไม่มีอาสวะ สภาพแห่งธรรมเครื่องข้าม สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีเครื่อง

หมาย สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีที่ตั้ง สภาพแห่งธรรมที่ว่างเปล่า สภาพ

แห่งธรรมที่มีกิจเสมอกัน สภาพแห่งธรรมที่ไม่ล่วงเลยกัน สภาพแห่ง

ธรรมที่เป็นคู่ สภาพแห่งธรรมที่นำออก ภาพแห่งธรรมที่เป็นเหตุ

สภาพแห่งธรรมที่เห็น สภาพแห่งธรรมที่เป็นอธิบดี ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๓๑] สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะ สภาพที่พิจารณาเห็นแห่ง

วิปัสสนา สภาพที่มีกิจเสมอกันแห่งสมถะและวิปัสสนา สภาพมิได้ล่วง

กันแห่งธรรมที่เป็นคู่ สภาพที่สมาทานแห่งสิกขาบท สภาพที่โคจร

แห่งอารมณ์ สภาพที่ประคองจิตที่ย่อท้อ สภาพที่ปราบจิตที่ฟุ้งซ่าน

สภาพที่คุมจิตอันบริสุทธิ์จากความย่อท้อและฟุ้งซ่านทั้ง ๒ ประการ

สภาพที่จิตบรรลุคุณวิเศษ สภาพที่แทงตลอดอริยมรรคอันประเสริฐ

สภาพที่ตรัสรู้สัจจะ สภาพที่ให้จิตตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ ควรรู้ยิ่งทุก

อย่าง.

[๓๒] สภาพที่น้อมไปแห่งสัทธินทรีย์ สภาพที่ประคองไว้

แห่งวีริยินทรีย์ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสตินทรีย์ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่ง

สมาธินทรีย์ สภาพที่เห็นแห่งปัญญินทรีย์ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๓๓] สภาพที่สัทธาพละมิได้หวั่นไหวในเพราะความไม่มีสัทธา

สภาพที่วีริยพละมิได้หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน สภาพที่สติ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

พละมิได้หวั่นไหวเพราะความประมาท สภาพที่สมาธิพละมิได้หวั่นไหว

เพราะอุทธัจจะ สภาพที่ปัญญาพละมิได้หวั่นไหวเพราะอวิชชา ควรรู้ยิ่ง

ทุกอย่าง.

[๓๔] สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ สภาพที่เลือกเฟ้น

แห่งธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ สภาพที่ประคองแห่งวีริยสัมโพชฌงค์

สภาพที่แผ่ไปแห่งปีติสัมโพชฌงค์ สภาพที่สงบแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ สภาพที่พิจารณาหาทางแห่ง

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๓๕] สภาพที่เห็นแห่งสัมมาทิฏฐิ สภาพที่ตรึกแห่งสัมมาสัง-

กัปปะ สภาพที่กำหนดแห่งสัมมาวาจา สภาพที่ตั้งขึ้นแห่งสัมมากัมมันตะ

สภาพที่ผ่องแผ้วแห่งสัมมาอาชีวะ สภาพที่ประคองไว้แห่งสัมมาวายามะ

สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสัมมาสติ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ ควรรู้

ยิ่งทุกอย่าง.

[๓๖] สภาพที่เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ สภาพที่ไม่หวั่นไหวแห่ง

พละ สภาพที่นำออกแห่งโพชฌงค์ สภาพที่เป็นเหตุแห่งมรรค สภาพ

ที่ตั้งมั่นแห่งสติปัฏฐาน สภาพที่เริ่มตั้งแห่งสัมมัปธาน สภาพที่สำเร็จ

แห่งอิทธิบาท สภาพที่เที่ยงแท้แห่งสัจจะ สภาพที่ระงับแห่งประโยชน์

สภาพที่ทำให้แจ้งแห่งผล สภาพที่ตรึกแห่งวิตก สภาพที่ตรวจตราแห่ง

วิจาร สภาพที่แผ่ไปแห่งปีติ สภาพที่ไหลมาแห่งสุข สภาพที่มีอารมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

เดียวแห่งจิต สภาพที่คำนึง สภาพที่รู้แจ้ง สภาพที่รู้ชัด สภาพที่จำได้

สภาพที่สมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๓๗] สภาพที่รู้แห่งปัญญาที่รู้ยิ่ง สภาพที่พิจารณาแห่ง

ปริญญา สภาพที่สละแห่งปหานะ สภาพแห่งภาวนามีกิจเป็นอย่างเดียว

สภาพที่ถูกต้องแห่งสัจฉิกิริยา สภาพที่เป็นกองแห่งทุกข์ ภาพที่ทรงไว้

แห่งธาตุ สภาพที่ต่อแห่งอายตนะ สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขต-

ธรรม สภาพที่ปัจจัยไม่ได้ปรุงแต่แห่งอสังขตธรรม ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง

ที่เป็นปัจจัย.

[๓๘] สภาพที่คิด สภาพที่ไม่มีระหว่างแห่งจิต สภาพที่ออก

แห่งจิต สภาพที่หลีกไปแห่งจิต สภาพที่เป็นเหตุแห่งจิต สภาพที่เป็นปัจ-

จัยแห่งจิต สภาพที่เป็นที่ตั้งแห่งจิต สภาพที่เป็นภูมิแห่งจิต สภาพที่เป็น

อารมณ์แห่งจิต สภาพที่เป็นโคจรแห่งจิต สภาพที่เที่ยวไปแห่งจิต สภาพ

ที่ไปแห่งจิต สภาพที่นำไปยิ่งแห่งจิต สภาพที่นำออกแห่งจิต สภาพ

ที่สลัดออกแห่งจิต ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๓๙] สภาพที่นึกในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่รู้

แจ้ง... สภาพที่รู้ชัด... สภาพที่จำได้... สภาพที่จิตมั่นคง ...

สภาพที่เนื่อง... สภาพที่แล่นไป... สภาพที่ผ่องใส ... สภาพที่

ตั้งมั่น... สภาพที่หลุดพ้น... สภาพที่เห็นว่านี่ละเอียด... ภาพที่

ทำให้เป็นเช่นดังยาน... สภาพที่ทำให้เป็นที่ตั้ง ... สภาพที่ตั้งขึ้น

เนืองๆ ... สภาพที่อบรม ... สภาพที่ปรารภชอบด้วยดี... สภาพที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

กำหนดถือไว้... สภาพที่เป็นบริวาร ... สภาพที่เต็มรอบ... สภาพ

ที่ประชุม ... สภาพที่อธิษฐาน... สภาพที่เสพ... สภาพที่เจริญ... สภาพ

ที่ทำให้มาก... สภาพที่รวมดี... สภาพที่หลุดพ้นด้วยดี... สภาพที่ตรัสรู้...

สภาพที่ตรัสรู้ตาม... สภาพที่ตรัสรู้เฉพาะ ... สภาพที่ตรัสรู้พร้อม...

สภาพที่ตื่น... สภาพที่ตื่นตาม... สภาพที่ตื่นเฉพาะ... สภาพที่

ตื่นพร้อม.. . สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้... สภาพที่เป็นไป

ในฝักฝ่ายความตรัสรู้ตาม ... สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้

เฉพาะ.... สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้พร้อม ... สภาพที่

สว่าง... สภาพที่สว่างขึ้น ... สภาพที่สว่างเนือง ๆ ... สภาพที่สว่าง

เฉพาะ... สภาพที่สว่างพร้อมในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว ควรรู้

ยิ่งทุกอย่าง.

[๔๐] ภาพที่อริยมรรคให้สว่าง สภาพที่อริยมรรคให้รุ่งเรือง

สภาพที่อริยมรรคให้กิเลสทั้งหลายเร่าร้อน สภาพที่อริยมรรคไม่มีมลทิน

สภาพที่อริยมรรคปราศจากมลทิน สภาพที่อริยมรรคหมดมลทิน สภาพ

ที่อริยมรรคสงบ สภาพที่อริยมรรคให้กิเลสระงับ สภาพแห่งวิเวก

สภาพแห่งความประพฤติในวิเวก สภาพที่คลายกำหนัด สภาพแห่ง

ความประพฤติในความคลายกำหนัด สภาพแห่งความประพฤติในความ

๑. พระบาลีว่า ปตาปนฏฺโ. ยุ. ปฺกาสนฏฺโ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

ดับ สภาพที่ปล่อย สภาพแห่งความประพฤติในความปล่อย สภาพที่

พ้น สภาพแห่งความประพฤติในความพ้น ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๔๑] สภาพแห่งฉันทะ สภาพที่เป็นมูลแห่งฉันทะ สภาพที่

เป็นบาทแห่งฉันทะ สภาพที่เป็นประธานแห่งฉันทะ สภาพที่สำเร็จ

แห่งฉันทะ สภาพที่น้อมไปแห่งฉันทะ สภาพที่ประคองไว้แห่งฉันทะ

สภาพที่ตั้งมั่นแห่งฉันทะ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งฉันทะ สภาพที่เห็น

แห่งฉันทะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๔๒] สภาพแห่งวีริยะ สภาพที่เป็นมูลแห่งวีริยะ สภาพที่

เป็นบาทแห่งวีริยะ สภาพที่เป็นประธานแห่งวีริยะ สภาพที่สำเร็จแห่ง

วิริยะ สภาพที่น้อมไปแห่งวีริยะ สภาพที่ประคองไว้แห่งวีริยะ สภาพ

ที่ตั้งมั่นแห่งวีริยะ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวีริยะ สภาพที่เห็นแห่งวิริยะ

ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๔๓] สภาพแห่งจิต สภาพที่เป็นมูลแห่งจิต สภาพที่เป็นบาท

แห่งจิต สภาพที่เป็นประธานแห่งจิต สภาพที่สำเร็จแห่งจิต สภาพที่

น้อมไปแห่งจิต สภาพที่ประคองไว้แห่งจิต สภาพที่ตั้งมั่นแห่งจิต สภาพ

ที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต สภาพที่เห็นแห่งจิต ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๔๔] สภาพแห่งวีมังสา สภาพที่เป็นมูลแห่งวีมังสา สภาพ

ที่เป็นบาทแห่งวีมังสา สภาพที่เป็นประธานแห่งวีมังสา สภาพที่สำเร็จ

แห่งวีมังสา สภาพที่น้อมไปแห่งวีมังสา สภาพที่ประคองไว้แห่งวีมังสา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

สภาพที่ตั้งมั่นแห่งวีมังสา สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวีมังสา สภาพที่เห็น

แห่งวีมังสา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๔๕] สภาพแห่งทุกข์ ภาพที่ทุกข์บีบคั้น สภาพที่ทุกข์อัน

ปัจจัยปรุงแต่ง สภาพที่ทุกข์ให้เดือดร้อน สภาพที่ทุกข์แปรปรวน

สภาพแห่งสมุทัย สภาพที่สมุทัยประมวลมา สภาพที่สมุทัยเป็นเหตุ

สภาพที่สมุทัยเกี่ยวข้อง สภาพที่สมุทัยพัวพัน สภาพแห่งนิโรธ สภาพแห่ง

นิโรธสลัดออก สภาพที่นิโรธเป็นวิเวก สภาพที่นิโรธเป็นอสังขตะ

สภาพที่นิโรธเป็นอมตะ สภาพแห่งมรรค สภาพที่มรรดนำออก สภาพที่

มรรคเป็นเหตุ สภาพที่มรรคเห็น สภาพที่มรรคเป็นอธิบดี ควรรู้ยิ่ง

ทุกอย่าง.

[๔๖] สภาพที่ถ่องแท้ สภาพที่เป็นอนัตตา สภาพที่เป็นสัจจะ

สภาพที่ควรแทงตลอด สภาพที่ควรรู้ยิ่ง สภาพที่ควรกำหนดรู้ สภาพ

ที่ทรงรู้ สภาพที่เป็นธาตุ สภาพที่อาจรู้ได้ สภาพที่รู้ควรทำให้แจ้ง

สภาพที่ควรถูกต้อง สภาพที่ควรตรัสรู้ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๔๗] เนกขัมมะ อัพยาบาท อาโลกสัญญา ความไม่ฟุ้งซ่าน

ความกำหนดธรรม ญาณ ความปราโมทย์ ปฐมฌาน ทุติยฌาน

ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตน-

สมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ

ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

[๔๘] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง การพิจารณาเห็นความ

ทุกข์ การพิจารณาเห็นอนัตตา การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย

การพิจารณาเห็นด้วยความคลายกำหนัด การพิจารณาเห็นด้วยความดับ

การพิจารณาเห็นด้วยความสละคืน การพิจารณาเห็นความสิ้นไป การ

พิจารณาเห็นความเสื่อมไป การพิจารณาเห็นความแปรปรวน การ

พิจารณาเห็นความไม่มีเครื่องหมาย การพิจารณาเห็นธรรมไม่มีที่ตั้ง

การพิจารณาเห็นความว่างเปล่า การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง

ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง การพิจารณาเห็นโทษ การพิจารณา

หาทาง การพิจารณาเห็นอุบายที่จะหลีกไป ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๔๙] โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสมาบัติ สกทาคามิมรรค

สกทาคามิผลสมาบัติ อนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติ อรหัตมรรค

อรหัตผลสมาบัติ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๕๐] สัทธินทรีย์ด้วยความว่าน้อมใจเชื่อ วีริยินทรีย์ด้วย

ความว่าประคองไว้ สตินทรีย์ด้วยความว่าตั้งมั่น สมาธินทรีย์ด้วยความ

ว่าไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์ด้วยความว่าเห็น สัทธาพละด้วยความว่า

ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีสัทธา วีริยพละด้วยความไม่หวั่นไหว

เพราะความเกียจคร้าน สติพละด้วยความไม่หวั่นไหวเพราะความประ-

มาท สมาธิพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละ

ด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

[๕๑] สติสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ธรรมวิจยสัมโพช-

ฌงค์ด้วยอรรถว่าเลือกเฟ้น วีริยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ปีติ

สัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าแผ่ไป ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าสงบ

สมาธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถ

ว่าพิจารณาหาทาง ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๕๒] สัมมาทิฏฐิด้วยความว่าเห็น สัมมาสังกัปปะด้วยความ

ว่าตรึก สัมมาวาจาด้วยความว่ากำหนดเอา สัมมากัมมันตะด้วยความว่า

ให้กุศลธรรมเกิด สัมมาอาชีวะด้วยความว่าขาวผ่อง สัมมาวายามะด้วย

ความว่าประคองไว้ สัมมาสติด้วยความว่าตั้งมั่น สัมมาสมาธิด้วยความ

ว่าไม่ฟุ้งซ่าน ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๕๓] อินทรีย์ด้วยความว่าเป็นใหญ่ พละด้วยความว่าไม่หวั่น

ไหว โพชฌงค์ด้วยความว่านำออก มรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ สติ-

ปัฏฐานด้วยความว่าตั้งมั่น สัมมัปธานด้วยความว่าตั้งไว้ อิทธิบาทด้วย

ความว่าสำเร็จ สัจจะด้วยความว่าเที่ยงแท้ สมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน

วิปัสสนาด้วยความว่าพิจารณา สมถะและวิปัสสนาด้วยความว่ามีกิจเสมอ

กัน ธรรมชาติที่เป็นคู่ด้วยความว่าไม่ล่วงเกินกัน ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๕๔] สีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม จิตตวิสุทธิด้วยความว่า

ไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็น วิโมกข์ด้วยความว่าหลุดพ้น

วิชชาด้วยความว่าแทงตลอด วิมุตติด้วยความว่าสละ ญาณในความสิ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

ไปด้วยความว่าตัดขาด ญาณในความไม่เกิดขึ้นด้วยความว่าระงับ ฉันทะ

ด้วยควานว่าเป็นมูลฐาน มนสิการด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะด้วย

ความว่าประมวลมา เวทนาด้วยความว่าประชุม สมาธิด้วยความว่าเป็น

ประธาน สติด้วยความว่าเป็นใหญ่ ปัญญาด้วยความว่าประเสริฐกว่า

กุศลธรรมนั้น ๆ วิมุตติด้วยความว่าเป็นแก่นสาร นิพพานอันหยั่งลง

ในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

[๕๕] ธรรมใด ๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้น ๆ เป็นคุณที่รู้แล้ว

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ทั่ว

เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมา คือ

เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง เป็น

สุตมยญาณ.

จบ ทุติยภาณวาร ฯ

อรรถกถาทุติยภาณวาร

๓๐] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๓๑ ข้อ มี ปริคฺค-

หฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่ควรกำหนดถือเอา เป็นต้น ด้วยขณะแห่ง

อริยมรรค. จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายอันสัมปยุตด้วยอริยมรรค ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

กำหนดถือเอาเพื่อเกิดขึ้นตั้งแต่ต้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ปริคฺคหา

- กำหนดถือเอา.

สภาพแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ปริคฺคหฏโ - สภาพแห่ง

ธรรมที่ควรกำหนดถือเอา.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ปริวารฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่เป็น

บริวาร เพราะธรรมเหล่านั้นเป็นบริวารของกันและกัน.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ปริปูรฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่เต็ม

รอบ โดยบริบูรณ์ด้วยภาวนา.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า เอกคฺคฏฺโ - สภาพแห่งสมาธิที่มี

อารมณ์อย่างเดียว เพราะเพ่งกำหนดถือเอาอารมณ์เดียว.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อวิกเขปฏฺโ - สภาพแห่งสมาธิ

ไม่มีความฟุ้งซ่าน เพราะเพ่งถึงความไม่ฟุ้งซ่านในอารมณ์ต่าง ๆ

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ปคฺคหฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่

ประคองไว้ คือประคองไว้ด้วยความเพียร.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อวิสารฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่ไม่

กระจายไป เพราะไม่กระจายไปด้วยอำนาจสมาธิ ดุจแป้งใช้ทาในการ

อาบน้ำ ไม่กระจายไปด้วยน้ำฉะนั้น.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อนาวิลฏฺโ - สภาพแห่งจิตไม่ขุ่นมัว

เพราะไม่ขุ่นมัวด้วยการประกอบความเพียร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อนิญฺชนฏฺโ - สภาพแห่งจิตไม่

หวั่นไหว เพราะไม่กำเริบ.

บทว่า เอกตฺตุปฏฺฐานวเสน - ด้วยสามารถแห่งความปรากฏ

แห่งจิตมีอารมณ์เดียว ได้แก่ ด้วยการประกอบสมาธิ และด้วยสามารถ

แห่งการตั้งอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างมั่นคง.

บทว่า ิตฏฺโ - สภาพแห่งจิตตั้งอยู่ ได้แก่ ตั้งอยู่โดยไม่

หวั่นในอารมณ์.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อารมฺมณฏฺโ - สภาพแห่งธรรมเป็น

อารมณ์ เพราะยึดนิพพานเป็นอารมณ์.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า โคจรฏฺโ - สภาพแห่งธรรมเป็น

โคจร เพราะเที่ยวไปในความอยาก.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ปหานฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่ละ

เพราะความที่นิพพานเป็นสรณะประหาณ.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ปริจฺจาคฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่

สละ ด้วยสามารถสละกิเลสด้วยอริยมรรค.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า วุฏฺานฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่ออก

ด้วยสามารถการออกจากความชั่วร้าย.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า วิวตฺตนฏฺโ - สภาพธรรมที่หลีกไป

ด้วยสามารถหลีกไปจากนิมิตและความเป็นไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า สนฺตฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่ละ-

เอียด เพราะดับสนิท.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ปณีตฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่

ประณีต เพราะความเป็นธรรมไม่เดือดร้อน และเพราะความเป็นธรรม

สูงสุด.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า วิมุตฺตกฺโ - สภาพแห่งธรรมที่หลุด

พ้น เพราะหลุดพ้นจากกิเลส และน้อมไปในอารมณ์.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อนาสวฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่ไม่

มีอาสวะ เพราะความที่บริสุทธิ์โดยไม่เป็นวิสัยแห่งอาสวะทั้งหลาย.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ตรณฏฺโ - สภาพแห่งธรรมเป็น

เครื่องข้าม เพราะก้าวล่วงจากกิเลสกันดาร และสังสารกันดาร.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อนิมิตฺตฏฺโ - สภาพแห่งธรรม

ที่ไม่มีเครื่องหมาย เพราะไม่มีสังขารนิมิต.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อปฺปณิหิตฏฺโ - สภาพแห่งธรรม

ที่ไม่มีที่ตั้ง เพราะไม่มีที่ตั้ง คือตัณหา.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า สุญฺตฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่

ว่างเปล่า เพราะไม่มีสาระในตน.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า เอกรสฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่มี

กิจอย่างเดียวกัน เพราะมีรสอย่างเดียวกันด้วยวิมุตติรส หรือ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

ความที่สมถะและวิปัสสนามีรสอย่างเดียวกัน.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อนติวตฺตนฏฺโ - สภาพแห่งธรรม

ที่ไม่ล่วงเลยกัน เพราะสมถะและวิปัสสนาอาศัยซึ่งกันและกัน.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ยุคนทฺธฏฺโ - สภาพแห่งธรรม

ที่เป็นคู่ เพราะสมถะและวิปัสสนานั่นแลเป็นคู่.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า นิยฺยานฏฺโ - สภาพแห่งธรรม

ที่นำออก เพราะออกไปจากสังขารด้วยอริยมรรค.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า เหตฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่เป็น

เหตุ เพราะเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ทสฺสนฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่เห็น

เพราะทำนิพพานให้ประจักษ์.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อาธิปเตยฺยฏฺโ - สภาพแห่งธรรม

ที่เป็นอธิบดี เพราะความเป็นใหญ่ยิ่ง.

๓๑ ] พระสารีบุตรได้แจ้งถึงการวิสัชนา ๔ ข้อ มีสมถะเป็นต้น

ด้วยสามารถแห่งสมถะและวิปัสสนา. สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อนุปสฺส-

นฏฺโ - สภาพที่พิจารณาเห็น เพราะพิจารณาเห็นด้วยอนิจลักษณะ

เป็นต้น.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อนติวตฺตนฏฺโ - สภาพที่มิได้ล่วง

กัน เพราะความที่สมถะและวิปัสสนาทั้งสองเป็นธรรมคู่กันโดยมีกิจ

อย่างเดียวกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๙ ข้อ มีสิกขาเป็นต้น ด้วย

สามารถแห่งอริยมรรค เบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด. ชื่อว่า สิกฺขา

เพราะต้องศึกษา.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า สมาทานฏฺโ - สภาพที่สมาทาน

เพราะต้องสมาทานสิกขานั้น.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า โคจรฏฺโ - สภาพที่โคจร เพราะ

เป็นที่ตั้งแห่งภาวนาและความเป็นไปของอารมณ์ที่ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ถือ

เอาด้วยกรรมฐานและเพราะเป็นที่ตั้งแห่งโคจร.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ปคฺคหฏฺโ - สภาพที่ประคองจิต

คือสภาพที่พยายามทำจิตที่หดหู่ด้วยความเกียจคร้าน ด้วยเจริญธรรม

วิจยสัมโพชฌงค์ วีริยสัมโพชฌงค์และปีติสัมโพชฌงค์.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า วินิคฺคหฏฺโ - สภาพที่ปราบจิต คือ

สภาพทำจิตที่ฟุ้งซ่านด้วยอุทจจะให้สงบ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์.

บทว่า อุโภ วิสุทธาน - จิตบริสุทธิ์จากทั้งสอง อธิบายว่า

คุมจิตอันบริสุทธิ์จากความหดสู่และฟุ้งซ่าน. พึงทราบว่า ท่านทำเป็น

พหุวจนะ ด้วยความสามารถแห่งจิตตั้งอยู่ในความเป็นกลาง เป็นไปด้วยอำนาจ

ของสันตติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อชฺฌุเปกฺขณฏฺโ - สภาพที่คุมจิต

คือไม่มีความขวนขวายในความพยายามและในการทำให้สงบ.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า วิเสสาธิคมนฏฺโ - สภาพที่จิต

บรรลุคุณวิเศษ คือการอบรมจิตให้เป็นไปสม่ำเสมอ.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อุตฺตริปฏิเวธฏฺโ - สภาพที่แทง

ตลอดอริยมรรคอันประเสริฐ คือด้วยสามารถทำอริยมรรคให้ปรากฏ.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า สจฺจาภิสมยฏฺโ - สภาพที่ตรัสรู้

สัจจะ คือด้วยสามารถแทงตลอดอริยสัจ ๔ สำเร็จด้วยอริยมรรค.

สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ปติฏาปกฏฺโ - สภาพที่ทำจิตให้

ตั้งอยู่ คือให้ตั้งอยู่ในนิโรธด้วยอำนาจผลสมาบัติ. เพราะผลสมาบัติ

นั้น ยังบุคคลผู้มีความพร้อมให้ตั้งอยู่ในนิพพานอันได้แก่นิโรธ.

๓๒ ] พระสารีบุตรกล่าวถึงการวิสัชนา ๕ ข้อ มี สัทธินทรีย์

เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งสภาพธรรม คืออินทรีย์. บทว่า อธิโมกฺ-

ขฏฺโ - สภาพที่น้อมไป. บทว่า อุปฏฺานฏฺโ - สภาพที่ตั้งมั่น

คือ สภาพที่เข้าไปตั้งมั่นซึ่งอารมณ์. บทว่า ทสฺสนฏฺโ - สภาพที่เห็น

คือ สภาพที่เพ่งถึงความเป็นจริง.

๓๓] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๕ ข้อ มี สัทธาพละ

เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งสภาพธรรม คือ พละ ชื่อว่า สทฺธาพล

เพราะสัทธานั่นแลเป็นกำลัง ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหว. บทว่า อสฺ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

สทฺธิเย เพราะความไม่มีสัทธา. อนึ่งบทว่า อสฺสทฺธิย ได้แก่ จิต-

ตุปบาทอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสัทธา. บทว่า อกมฺปิยฏฺโ ได้แก่ ภาพที่ไม่

ควรหวั่นไหว อธิบายว่า ไม่สามารถให้หวั่นไหวได้. บทว่า โกสชฺเช-

เพราะความเกียจคร้าน ได้แก่ เพราะถีนมิทธะอันเป็นความเกียจคร้าน.

บทว่า ปมาเท - เพราะความประมาท ได้แก่ เพราะจิตตุปบาทอันเป็น

ปฏิปักษ์ต่อสติ. บทว่า อุทฺธจฺเจ คือ เพราะความฟุ้งซ่าน กล่าวคือ

ความไม่สงบ. บทว่า อวิชฺชาย เพราะอวิชชา ได้แก่ เพราะโมหะ.

๓๔] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๗ ข้อ มีสติสัมโพช-

ฌงค์เป็นต้น ด้วยสามารถแห้งสภาพธรรมคือโพชฌงค์. องค์แห่งธรรม

เครื่องตรัสรู้ ชื่อว่า โพชฌงค์. โพชฌงค์เป็นธรรมประเสริฐ และ

เป็นธรรมดี ชื่อว่า สัมโพชฌงค์. สตินั่นแลเป็นสัมโพชฌงค์ จึง

ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์. ชื่อว่า ธรรมวิจยะ เพราะเลือกเฟ้นธรรม.

บทนี้เป็นชื่อของปัญญา. บทว่า ปวิจยฏฺโ - สภาพที่เลือกเฟ้น ได้แก่

สภาพที่ไตร่ตรอง. ชื่อว่า ปีติ เพราะเอิบอิ่มใจ. บทว่า ผรณฏฺโ-

สภาพที่แผ่ไป ได้แก่ สภาพที่ซ่านไป. ความสงบ ชื่อว่า ปสฺสทฺธิ.

บทว่า อุปสมฏฺโ - สภาพที่สงบ ได้แก่ ภาพที่ไม่มีความกระวนกระ-

วาย. ชื่อว่า อุเปกฺขา เพราะเห็นโดยอุบัติ. อธิบายว่า เพ่งสม่ำเสมอ

คือ เพ่งไม่ตกไปในฝ่ายใด. อุเบกขานั้นในที่นี้ ได้แก่ ตตฺรมชฺฌตฺตุ-

เปกฺขา คือ วางเฉยด้วยความเป็นกลางในอารมณ์นั้น ๆ. เรียกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

โพชฺฌงฺคุเปกฺขา บ้าง. บทนี้เป็นชื่อของอุเบกขานั้น. ชื่อว่า ปฏีสงฺขา-

นฏฺโ - สภาพที่พิจารณาหาทาง เพราะมีลักษณะนำไปเสมอ.

๓๕] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๘ ข้อ มีสัมมาทิฏฐิ

เป็นต้น ด้วยมรรค. ชื่อว่า สมฺมาทิฏฺิ เพราะเห็นชอบ หรือเห็น

ชอบด้วยทิฏฐินั้น หรือการเห็นประเสริฐดี. แห่งสัมมาทิฏฐินั้น

ชื่อว่า สมฺมาสงฺกปฺโป เพราะดำริชอบ, หรือดำริชอบด้วย

ความดำรินั้น, หรือความดำริประเสริฐดี.

บทว่า อภิโรปนฏฺโ - สภาพที่ตรึก ได้แก่ สภาพที่ตรึกอารมณ์

ของจิต. ปาฐะว่า อารมฺมณาภินิโรปนฏฺโ - สภาพที่ตรึกอารมณ์บ้าง.

บทว่า สมฺมาวาจา เพราะพูดชอบ, หรือพูดด้วยวาจานั้นชอบ,

หรือวาจาประเสริฐดี บทนี้เป็นชื่อของการเว้นจากมิจฉาวาจา.

บทว่า ปริคฺคหฏฺโ สภาพที่กำหนด ได้แก่ กำหนดสำรวม

วาจา ๔ อย่าง.

ชื่อว่า สมฺมากมฺม เพราะทำชอบ, หรือทำชอบด้วยการงาน

นั้น หรือการงานประเสริฐดี, การงานชอบนั่นแล ชื่อว่า สมฺมากมฺ-

มนฺโต. บทนี้เป็นชื่อการเว้นจากมิจฉากัมมันตะ.

บทว่า สมุฏฺานฏฺโ สภาพที่ตั้งขึ้น ได้แก่ สภาพที่ตั้งขึ้น

ด้วยการสำรวมกาย ๓ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

ชื่อว่า สมฺมาอาชีโว เพราะเป็นอยู่ชอบ หรือเป็นอยู่ด้วยอาชีพ

นั้นชอบ, หรืออาชีพประเสริฐดี. บทนี้เป็นชื่อของการเว้นจากมิจฉาชีพ

บทว่า โวทานฏฺโ สภาพที่ผ่องแผ้ว ได้แก่ สภาพที่บริสุทธิ์.

ชื่อว่า สมฺมาวายาโม เพราะพยายามชอบ หรือพยายาม,

หรือพยายามชอบด้วยความพยายามนั้น, หรือพยายามประเสริฐดี.

ชื่อว่า สมฺมาสติ เพราะระลึกชอบ, หรือระลึกด้วยสตินั้น

ชอบ, หรือระลึกประเสริฐดี.

ชื่อว่า สมฺมาสมาธิ เพราะตั้งใจชอบ, หรือตั้งใจชอบด้วยสมาธิ

นั้น, หรือตั้งใจประเสริฐดี.

๓๖] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๑๐ ข้อ มี อินทรีย์

เป็นต้น ทำให้เป็นหมวดหมู่ตามลำดับ.

บทว่า อาธิปเตยฺยฏฺโ - สภาพที่เป็นใหญ่ ได้แก่ สภาพที่เป็น

อธิบดี ด้วยสามารถทำความเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน.

บทว่า อกมฺปิยฏฺโ - สภาพที่ไม่หวั่นไหว ได้แก่ ปฏิปักษ์

ไม่สามารถทำให้หวั่นไหวได้.

บทว่า นิยฺยานฏฺโ - สภาพที่นำออก ได้แก่ การออกไปจาก

ปฏิปักษ์ด้วยโลกิยะและโลกุตระ.

บทว่า เหตฏฺโ สภาพที่เป็นเหตุ. ชื่อว่า เหตฏฺโ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

สัมมาทิฏฐิเป็นต้น เป็นเหตุเพื่อละมิจฉาทิฏฐิเป็นต้น หรือเพราะสัมมา-

ทิฏฐิทั้งหมดเป็นเหตุให้เข้าถึงนิพพาน.

ชื่อว่า อุปัฏฐาน เพราะโลดแล่นไปในอารมณ์อันเป็นสติปัฏฐาน

แล้วตั้งมั่น, สตินั่นแลตั้งมั่น จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน.

สตินั้นในกายเวทนาจิตธรรม ย่อมมีประเภท ๔ อย่าง ที่เป็น

ไปด้วยการยึดถืออาการ คือความไม่งาม ความทุกข์ ความไม่เที่ยง

และความไม่เป็นตัวตน และด้วยสำเร็จกิจคือการละ ความสำคัญว่า

เป็นของงาม เป็นความสุข เป็นของเที่ยง เป็นตัวตน.

จิตเหล่านี้ย่อมได้ในจิตต่าง ๆ ในส่วนเบื้องต้น, ส่วนสติอย่าง

เดียวเท่านั้น ย่อมได้ชื่อ ๔ อย่างในขณะของมรรค.

ชื่อว่า ปธาน เพราะเป็นเหตุเริ่มตั้งในสัมมัปธาน, การเริ่มตั้ง

ชอบ ชื่อว่า สัมมัปธาน, หรือเป็นเหตุเริ่มตั้งชอบ, อนึ่งการเริ่มตั้ง

นั้นชอบ ชื่อว่า ปธาน เพราะเว้นจากการผิดปกติของกิเลส, ชื่อว่า

สัมมัปธาน เพราะนำมาซึ่งความเป็นสิ่งประเสริฐที่สุดด้วยให้สำเร็จ

ประโยชน์และความสุข หรือ เพราะทำความเริ่มตั้ง. บทนี้เป็นชื่อของ

วีริยะ. วีริยะนั้นมี ๔ ประเภทโดยให้สำเร็จ คือละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น

แล้ว ๑ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ๑ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด

ให้เกิดขึ้น ๑ กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งอยู่ ๑. ปธาน เหล่านี้ ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

ได้ในจิตต่าง ๆ ในส่วนเบื้องต้น, ส่วน วีริยะ อย่างเดียวเท่านั้น ย่อม

ได้ ๔ ชื่อ ในขณะแห่งมรรค.

บทว่า ปทหนฏฺโ สภาพที่เริ่มตั้ง ได้แก่ สภาพที่อุตสาหะ.

ปาฐะว่า ปธานฏฺโ ดังนี้ก็มี, ความอย่างเดียวกัน. ในบทว่า อิทฺธิ-

ปาทาน นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า อิทฺธิ เพราะบรรดา ฉันทะ

วีริยะ จิตตะ วีมังสา อย่างหนึ่ง ๆ ย่อมสำเร็จ, อธิบายว่า ย่อมสำเร็จ

เสมอ คือ ย่อมปรากฏชัด. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อิทฺธิ เพราะสัตว์

ทั้งหลายย่อมสำเร็จด้วยอิทธินั้น คือว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้สำเร็จ เจริญ

ดียิ่ง. โดยอรรถที่ ๑ ปาท - ธรรมเครื่องให้ถึง คือ อิทฺธิ - ความ

สำเร็จ ชื่อว่า อิทธิบาท, ความว่า ส่วนแห่งความสำเร็จ. โดย

อรรถที่สอง ชื่อว่า อิทธิบาท เพราะเป็นธรรมเครื่องให้ถึงความสำเร็จ.

บทว่า ปาโท - คือเป็นที่ตั้ง อธิบายว่า เป็นอุบายให้บรรลุ.

เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อมถึง คือย่อมบรรลุความสำเร็จยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วย

อิทธิบาทนั้น, ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ปาโท. อิทธิบาทมี ฉันทะ

เป็นต้นเหล่านั้น ย่อมได้ในจิตต่าง ๆ ด้วยความเป็นใหญ่ในส่วนเบื้อง

ต้น, แต่ในขณะแห่งมรรค ย่อมได้ร่วมกันโดยแท้.

บทว่า อิชฺฌนฏฺโ - สภาพที่สำเร็จ คือ สภาพที่ปรากฏ หรือ

สภาพเป็นที่ตั้ง.

บทว่า สจฺจาน ได้แก่ อริยสัจ ๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

บทว่า ตถฏฺโ - สภาพที่เที่ยงแท้ ได้แก่ สภาพตามที่เป็นจริง.

การวิสัชนา ๘ เหล่านี้เจือด้วยโลกิยะและโลกุตระ.

บทว่า ปโยคาน - ปโยคะทั้งหลาย ได้แก่ ปโยคะของอริย-

มรรค ๔.

บทว่า ปฏิปสฺสทฺธฏฺโ - สภาพที่ระงับ ได้แก่ ระงับด้วย

อริยผล ๔. จริงอยู่มรรคปโยคะเป็นอันระงับในขณะแห่งผล เพราะ

หมดกิจแล้ว. หรือภาวะแห่งมรรคปโยคะระงับด้วยผลเกิดขึ้น.

บทว่า ผลาน สจฺฉิกิริยฏฺโ - สภาพที่ทำให้แจ้งแห่งผล ได้แก่

สภาพที่ทำให้ประจักษ์ด้วยพิจารณาอริยผล. เป็นอันท่านกล่าวถึงการทำ

ให้แจ้งซึ่งอารมณ์. หรือการทำให้แจ้งซึ่งการได้ในขณะแห่งผล.

พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๕ ข้อ มีวิตกเป็นต้น ด้วย

องค์ฌาน. การตรึก ชื่อว่า วิตักกะ ท่านกล่าวว่า ได้แก่ การยกขึ้น

การตรอง ชื่อว่า วิจาร ท่านกล่าวว่า ได้แก่ การตามตรวจตรา. บทว่า

อุปวิจารฏฺโ - สภาพที่ตรวจตรา ได้แก่ สภาพที่ตามขัดสีชำระล้าง.

บทว่า อภิสนฺทนฏฺโ - สภาพที่ไหลมา ได้แก่ สภาพที่ชุ่มชื่น คือ

สภาพที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ด้วยอำนาจสมาธิ.

พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงกางวิสัชนา ๕ ข้อ มี อาวัชชนะ - การ

คำนึงเป็นต้น โดยเป็นข้อเบ็ดเตล็ด. สภาพที่คำนึงของจิต ๒ ดวง

น้อมไปสู่จิตสันดานในอารมณ์อื่นจากอารมณ์แห่งภวังคะ ในปัญจทวาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

และมโนทวาร, สภาพที่รู้แจ้งด้วยวิญญาณ สภาพที่รู้ชัดด้วยปัญญา

สภาพที่จำได้แห่งสัญญา. สภาพที่สมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น. เพราะ

สมาธิในทุติยฌานเป็นเอกผุดขึ้น ท่านจึงกล่าวว่า เอโกทิ อธิบายว่า

เป็นสมาธิเลิศประเสริฐ เกิดขึ้นเพราะวิตกวิจาร สงบเงียบ. เพราะ

สมาธิประเสริฐ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นธรรมเอกในโลก. อีกอย่างหนึ่ง.

ท่านกล่าวว่า เป็นธรรมเอกไม่มีคู่ เว้นวิตกวิจารผุดขึ้นดังนี้บ้าง ย่อม

ควร. อีกอย่างหนึ่ง กุศลสมาธิแม้ทั้งหมดเป็นธรรมสงบเงียบจากวิตก

วิจารเหล่านั้น เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์เป็นต้น หรือต่ออุทธัจจะ

เท่านั้น ฉะนั้นจึงเป็นธรรมอันเลิศผุดขึ้น หรือเว้นจากวิตกวิจารเหล่านั้น

จึงเป็นธรรมไม่มีคู่ผุดขึ้น จึงชื่อว่า เอโกทิ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ย่อม

ถูกต้อง.

๓๗] บทว่า อภิาย าตฏฺโ - สภาพที่รู้แห่งปัญญา

ได้แก่ สภาพที่รู้สภาวธรรมด้วย ญาตปริญญา - กำหนดรู้ด้วยการรู้.

บทว่า ปริฺาย ตีรณฏฺโ - สภาพทั้งหมดพิจารณาด้วย

ปริญญา ได้แก่ สภาพที่กำหนดพิจารณาโดยเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น

ด้วย ตีรณปริญญา - กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา.

บทว่า ปหานสฺส ปริจฺจาคฏฺโ ภาพที่สละแห่ง ปหาน

ได้แก่ สภาพที่สละธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อ ปหานปริญญา - กำหนด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

รู้ด้วยการละเสีย. สภาพที่ภาวนาเป็นไปเสมอ มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน

- ชื่อว่า ภาวนาย เอกรสฏฺโ.

บทว่า ผสฺสนฏฺโ - สภาพที่ถูกต้อง ได้แก่ สภาพที่ประสบ

ชื่อว่าสภาพที่เป็นขันธ์ - ขนฺธฏฺโ ด้วยการแบกภาระที่หนักต่อเป็น

ในรูป. ชื่อว่าสภาพที่ทรงไว้ - ธาตฏฺโ เพราะความว่างเปล่าเป็นต้น.

ชื่อว่าสภาพที่ต่อ - อายตนฏฺโ เพราะการต่อเขตแดนอันเป็นส่วน

ของตน ๆ. ชื่อว่าสภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง - อสงฺขตฏฺใ เพราะทำร่วมกับ

ปัจจัยทั้งหลาย. ชื่อว่าสภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง - อสงฺขตฏฺโ เพราะ

ตรงกันข้ามกับปัจจัยปรุงแต่งนั้น.

๓๘ ] พระสารีบุตรได้แจ้งถึงการวิสัชนา ๑๕ ข้อ มีบทว่า จิตฺ-

ตฏฺโ สภาพที่คิดเป็นต้น. พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จิตฺตฏฺโ ดัง

ต่อไปนี้. ชื่อว่า จิตฺต เพราะคิดถึงอารมณ์, ความว่า ย่อมรู้แจ้ง.

ชวนจิต มีอยู่ในอารมณ์นี้ ย่อมสะสมสันดานของตน ด้วย ชวนวิถี

จิตฺต แม้ดังนี้ ก็ชื่อว่า จิตฺต. แม้วิบากอันกรรมกิเลส สะสมไว้ดังนี้

ก็ชื่อว่า จิตฺต. ทั้งหมด ชื่อว่า จิตฺต. เพราะสะสมไว้ตามสมควร, ชื่อว่า

จิตฺต เพราะทำให้วิจิตร, จิตอันเป็นปัจจัยแก่วัฏฏะ ย่อมสะสมสังสาร

ทุกข์แม้ดังนี้ ก็ชื่อว่า จิตฺต. สภาพที่คิดโดยมีการสะสมอารมณ์เป็นต้น

ด้วยประการฉะนี้. ชื่อว่า อนนฺตร เพราะจิตนั้นไม่มีระหว่างในการเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

ของจิต ในการเกิดของผล. ความเป็น อนันตระ ชื่อว่า อนันตริยะ

- ความไม่มีระหว่าง, ความที่จิตไม่มีระหว่าง ชื่อว่า จิตตานันตริยะ.

จิตตานันตริยะ นั้น คือสภาพแห่งจิตไม่มีระหว่าง. อธิบายว่า สมรรถ-

ภาพในจิตตุปบาท ในระหว่างของจิตดวงใดดวงหนึ่งดับในระหว่างเสมอ

เว้นจุติจิตของพระอรหันต์. มรรถภาพในการเกิดผลในระหว่างของ

มรรคจิต.

บทว่า จิตฺตสฺส วุฏฺานฏฺโ - สภาพที่ออกแห่งจิต ได้แก่

สภาพที่ออกโดยเป็นนิมิตแห่งโคตรภูจิต โดยความเป็นไปแห่งนิมิตของ

มรรคจิต.

บทว่า จิตฺตสฺส วิวฏฺฏนฏฺโ - สภาพที่หลีกไปแห่งจิต คือสภาพ

ที่หลีกไปในนิพพานของจิตสองดวงนั้นซึ่งตั้งขึ้นโดยที่กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า จิตฺตสฺส เหตฏฺโ - สภาพที่เป็นเหตุแห่งจิต ได้แก่

สภาพที่เป็นเหตุของเหตุ ๙ อย่างที่เป็นปัจจัยของจิต.

บทว่า จิตฺตสฺส ปจฺจยฏฺโ - สภาพที่เป็นปัจจัยแห่งจิต ได้แก่

สภาพที่เป็นปัจจัย แห่งปัจจัยมากมายของจิต มี วัตถารัมมณะ เป็นต้น.

บทว่า จิตฺตสฺส วตฺถฏฺโ - สภาพเป็นที่ตั้งแห่งจิต ได้แก่

สภาพเป็นที่ตั้งแห่ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (หทัย) อันเป็น

ที่ตั้งของจิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

บทว่า จิตฺตสฺส ภูมฏฺโ - สภาพที่เป็นภูมิแห่งจิต ได้แก่

สภาพที่เป็นภูมิมีกามาวจรภูมิเป็นต้น ด้วยเป็นถิ่นที่เกิดของจิต.

บทว่า จิตฺตสฺส อารมฺมณฏฺโ - สภาพเป็นอารมณ์ของจิต ได้

แก่ อารมณ์มีรูปเป็นต้น.

ชื่อว่า โคจรฏฺโ - สภาพที่เป็นโคจร เพราะอรรถว่าเป็นที่สัญ-

จรของอารมณ์ที่สะสมไว้.

ชื่อว่า จริยฏโ - สภาพที่เที่ยวไป เพราะเที่ยวไปในวิญญาณ

ที่กล่าวไว้ในตอนต้น. อีกอย่างหนึ่ง สภาพที่ปรากฏแห่ง ปโยคะ

ชื่อว่า จริยัฏฐะ.

ชื่อว่า คตฏฺโ - สภาพที่ไปด้วยการยึดถืออารมณ์ใกล้และใกล้

แม้ในความที่จิตไม่ไป.

บทว่า อภินีหารฏฺโ - สภาพที่นำไปยิ่ง ได้แก่ สภาพที่นำไป

ยิ่งแห่งจิต เพื่อมนสิการถึงอารมณ์อื่นจากอารมณ์ที่ยึดถือไว้.

บทว่า จิตฺตสฺส นิสฺสยานฏฺโ - สภาพที่นำออกแห่งจิต ได้แก่

สภาพที่นำออกจากวัฏฏะแห่งมรรคจิต.

ชื่อว่า จิตฺตสฺส นิสฺสรณฏฺโ - สภาพที่สลัดออกแห่งจิต เพราะ

นัยมีอาทิว่า จิตของผู้ไม่เนกขัมมะเป็นอันสลัดออกจากกามฉันทะ.

๑ . ขุ. ป. ๓๑/๖๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

๓๙] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๔๒ ข้อ มี เอกตฺเต

เป็นต้น. โดยเชื่อม เอกตฺต ศัพท์ทุกแห่ง.

บทว่า เอกตฺเต คือในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว, อธิบาย

ว่า ได้แก่ เอการัมมณะ.

ชื่อว่า ปกฺขนฺทนฏฺโ - สภาพที่แล่นไป เพราะอำนาจปฐม-

ฌาน.

ชื่อว่า ปสีทนฏฺโ - สภาพที่ผ่องใส เพราะอำนาจทุติยฌาน.

ชื่อว่า สนิติฏฺฐนฏฺโ - สภาพที่ตั้งมั่น เพราะอำนาจตติย-

ฌาน.

ชื่อว่า มุจฺจนฏฺโ - สภาพที่หลุดพ้น เพราะอำนาจจตุตถ-

ฌาน.

ชื่อว่า ปสฺสนฏฺโ - สภาพที่เห็นนี้ ละเอียดด้วยอำนาจการ

พิจารณา.

การวิสัชนา ๕ มี ยานีกตฏฺโ - สภาพที่ทำให้เป็นเช่นดังยาน

เป็นต้น เป็นความชำนาญอันวิเศษของสมาธิ.

บทว่า ยานีกตฏฺโ ได้แก่ สภาพที่ทำให้เป็นเช่นดังยานที่

เทียมแล้ว.

บทว่า วตฺถุกตฏฺโ - สภาพที่ทำให้เป็นที่ตั้ง ได้แก่ ภาพที่

ทำให้ตั้งไว้ดุจวัตถุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

บทว่า อนุฏฺิตฏฺโ - สภาพที่ตั้งขึ้นเนือง ๆ ได้แก่ สภาพที่

เข้าไปตั้งไว้เฉพาะ.

บทว่า ปริจิตฏฺโ - สภาพที่อบรม ได้แก่ สภาพที่สะสมไว้โดย

รอบ.

บทว่า สุสมารทฺธฏฺโ - สภาพที่ปรารภพร้อมด้วยดีได้แก่ สภาพ

ที่เริ่มด้วยดี อธิบาย สภาพที่ทำไว้ดี. อีกอย่างหนึ่งควรประกอบบท ๕

บท ตามลำดับด้วยความเป็นผู้ชำนาญในอาวัชชนะ สมาปัชนะ อธิฏ-

ฐานะ วุฏฐานะ ปัจจเวกขณะ.

สภาพที่กำหนดถือเอา - สภาพที่เป็นบริวาร สภาพที่บริบูรณ์

แห่งจิตเจตสิกในเวลาที่ถึงยอดแห่งการภาวนาอารมณ์ มีกสิณเป็นต้น.

ชื่อว่า สโมธานฏฺโ - สภาพที่ประชุม เพราะเจตสิกเหล่านั้น

ตั้งไว้แล้วชอบ ด้วยการประชุมในอารมณ์เดียว.

ชื่อว่า อธิฏฺานฏฺโ - สภาพที่อธิษฐาน เพราะจิตเจตสิก

เหล่านั้น ครอบงำอารมณ์ด้วยการปลูกกำลัง แล้วตั้งมั่น.

ชื่อว่า อาเสวนฏฺโ - สภาพที่เสพ เพราะเสพอย่างเอาใจใส่

แห่งสมถะหรือวิปัสสนาตั้งแต่ต้น.

ชื่อว่า ภาวนฏฺโ - สภาพที่เจริญ เพราะสามารถทำให้เจริญ.

ชื่อว่า พหุลีกมฺมฏฺโ - สภาพที่ทำให้มาก เพราะการทำบ่อย ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

ชื่อว่า สุสมุคฺคตฏฺโ - สภาพที่รวมด้วยดี เพราะสามารถการ

รวมสิ่งที่ทำไว้มากแล้วด้วยดี.

ชื่อว่า สุวิมุตฺตฏฺโ - สภาพที่หลุดพันด้วยดี เพราะสามารถ

การหลุดพ้นด้วยดี จากธรรมเป็นข้าศึกของสภาพที่รวมไว้ดีแล้ว และ

สามารถในการน้อมไปด้วยดีในอารมณ์.

พระสารีบุตรกล่าวถึงบท ๔ บท มีบทว่า พุชฺฌนฏฺโ - สภาพ

ที่ตรัสรู้ด้วยโพชฌงค์เป็นต้น.

ชื่อว่า พุชฺฌนฏฺโ - สภาพที่ตรัสรู้โพชฌงค์ เพราะองค์แห่ง

โพชฌงค์ของโสดาปัตติมรรค.

ชื่อว่า อนุพุชฺฌนฏฺโ - สภาพที่ตรัสรู้ตามโพชฌงค์ เพราะ

องค์แห่งโพชฌงค์ของอนาคามิมรรค.

ชื่อว่า ปฏิพุชฺฌนฏฺโ - สภาพที่ตรัสรู้เฉพาะโพชฌงค์ เพราะ

องค์แห่งโพชฌงค์ของอนาคามิมรรค.

ชื่อว่า สมฺพุชฺฌนฏฺโ - สภาพที่ตรัสรู้พร้อมโพชฌงค์ เพราะ

องค์แห่งโพชฌงค์ของอรหัตมรรค. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า พุชฺฌนฏฺโ-

สภาพที่ตรัสรู้โพชฌงค์ด้วยวิปัสสนา. ชื่อว่า อนุพุชฺฌนฏฺโ - สภาพที่

ตรัสรู้ตามโพชฌงค์ด้วยทัสนมรรค. ชื่อว่า ปฏิพุชฺฌนฏฺโ - สภาพที่

ตรัสรู้เฉพาะโพชฌงค์ด้วยภาวนามรรค. ชื่อว่า สมฺพุชฺฌนฏฺโ - สภาพ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

ที่ตรัสรู้พร้อมโพชฌงค์ด้วยผล. พึงทราบอรรถ ๔ อย่าง มี โพธนัฏฐะ-

สภาพที่ตื่นเป็นต้น แห่งโพชฌงค์ทั้งหลายด้วยกระทำการตื่นเป็นต้น

ของบุคคลนั้น ๆ. ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า โพธิปักขิยะ เพราะมีใน

ฝักฝ่ายของบุคคลผู้ใด ชื่อว่า โพธะ เพราะอรรถว่าตรัสรู้โพชฌงค์

ตามที่กล่าวแล้วนั่นแล. พึงทราบอรรถ ๔ อย่าง มี โพธิปักขิยัฏฐะ-

สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้เป็นต้น แห่งโพชฌงค์ตามที่

กล่าวแล้ว.

ชื่อว่า โชตนฏฺโ - สภาพที่สว่าง เพราะวิปัสสนาปัญญา.

ชื่อว่า อุชฺโชตนานุโชตนปฏิโชตนสญฺโชตนฏฺโ - สภาพที่

สว่างขึ้น สภาพที่สว่างเนือง ๆ สภาพที่สว่าง เฉพาะสภาพที่สว่างพร้อม

ด้วยมรรคปัญญา ๔ ตามลำดับ. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบ โชตนฏฺโ-

สภาพที่สว่างเป็นต้น ด้วยมรรคปัญญา ๔, สญฺโชตนฏฺโ - สภาพที่

สว่างพร้อมด้วยผลปัญญาตามลำดับ.

๔๐] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๑๘ ข้อ มี ปตา-

ปนัฏฐะ - สภาพที่อริยมรรคให้สว่างเป็นต้น ด้วยอริยมรรค. จริงอยู่

อริยมรรคที่เกิดขึ้นแก่จิตใด ย่อมยังจิตนั้นให้สว่าง คือให้รุ่งเรือง ฉะนั้น

จึงชื่อว่า ปตาปนะ - อริยมรรคให้สว่าง. ชื่อว่า ปตาปนัฏฐะ - สภาพที่

อริยมรรคนั้นให้สว่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

ชื่อว่า วิโรจนฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคให้รุ่งเรือง เพราะความที่

อริยมรรคนั้นเองประภัสสรยิ่งนัก. ชื่อว่า สนฺตาปนฏฺโ - สภาพที่อริย-

มรรคให้กิเลสเร่าร้อน ด้วยให้กิเลสทั้งหลายเหือดแห่งไป ชื่อว่า อม-

ลฏฺโ สภาพที่อริยมรรคไม่มีมลทิน เพราะอริยมรรคมีนิพพานอันไม่

มีมลทินเป็นอารมณ์.

ชื่อว่า วิมลฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคปราศจากมลทิน เพราะไม่

มีมลทินเกลือกกลั้ว.

ชื่อว่า นิมฺมลฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคหมดมลทิน เพราะไม่มี

มลทินทำให้เป็นอารมณ์.

อีกอย่างหนึ่ง อมลฏฺโ - สภาพไม่มีมลทิน ด้วยโสดาปัตติมรรค.

วิมลฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคปราศจากมลทิน ด้วยสกทาคามิมรรคและ

อนาคามิมรรค. นิมฺมลฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคหมดมลทิน ด้วย

อรหัตมรรค.

อีกอย่างหนึ่ง อมลฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคไม่มีมลทิน ด้วย

มรรคของพระสาวก. วิมลฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคปราศจากมลทิน ด้วย

มรรคของพระปัจเจกพุทธะ. นิมมลฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคหมด

มลทิน ด้วยมรรคของพระสัมมาสัมพุทธะ.

ชื่อว่า สมฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคสงบ เพราะไม่มีความไม่สงบ

คือ กิเลส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

ชื่อว่า สมยฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคให้กิเลสระงับ ในสภาพที่

อริยมรรคประหาณกิเลส ดุจในบาลีมีอาทิว่า สมฺมา นานาภิสมยา

เพราะอริยมรรคให้กิเลสระงับต่าง ๆ โดยชอบ.

ชื่อว่า วิเวกฏฺโ - สภาพแห่งวิเวก เพราะสมุจเฉทวิเวก ใน

วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ๑ ตทังควิเวก ๑ สมุจเฉทวิเวก ๒ ปฏิ-

ปัสสัทธิวิเวก ๑ นิสสรณวิเวก ๑. ชื่อว่า วินาภาวฏฺโ - สภาพแห่ง

ความพราก.

ชื่อว่า วิเวกจริยฏฺโ - สภาพแห่งความประพฤติในวิเวก เพราะ

ประพฤติในนิพพานอันเป็นนิสสรณวิเวก.

ชื่อว่า วิราคฏฺโ - สภาพที่คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด

เป็นสมุจเฉทในวิราคะ ๕.

ชื่อว่า วิราคจริยฏฺโ - สภาพแห่งความประพฤติในความคลาย

กำหนัด เพราะเที่ยวไปในนิพพานอันเป็นนิสสรณวิเวก.

ชื่อว่า นิโรธฏฺโ - สภาพที่ดับ เพราะดับเป็นสมุจเฉทใน

นิโรธ ๕.

ชื่อว่า นิโรธจริยฏฺโ - สภาพแห่งความประพฤติเพื่อความดับ

เพราะเที่ยวไปในนิพพานอันเป็นความดับทุกข์.

๑. ม. มู. ๑๒/๑๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

ชื่อว่า โวสฺสคฺคฏฺโ - สภาพที่ปล่อย เพราะปล่อยด้วยการ

บริจาค และการแล่นไป. อริยมรรค ชื่อว่า ปล่อยด้วยการบริจาค

เพราะกิเลสด้วยอำนาจสมุจเฉทปหาน และ

ชื่อว่า ปล่อยด้วยการแล่นไป เพราะแล่นไปสู่นิพพานด้วย

กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ อนึ่งวิปัสสนา ชื่อว่าปล่อยด้วยการ

บริจาค เพราะละกิเลสด้วยตทังคปหาน. ชื่อว่าปล่อยด้วยการแล่นไป

เพราะแล่นไปสู่นิพพาน ด้วยการเอียงไปสู่นิพพานนั้น. ในนิทเทส

ท่านหมายถึงอริยมรรคนั้น.

ชื่อว่า โวสฺสคฺคจริยฏฺโ - สภาพแห่งความประพฤติในความ

ปล่อย เพราะละกิเลสด้วยสมุจเฉทปหาน.

ชื่อว่า วิมุตฺตฏฺโ - สภาพที่พ้น เพราะพันด้วยสมุจเฉทปหาน

ในวิมุตติ ๕.

ชื่อว่ วิมุตฺติจริยฏฺโ สภาพแห่งความประพฤติในความพ้น

เพราะประพฤติในนิสสรณวิมุตติ.

๔๑] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๔๐ ข้อ มี ฉนฺทฏฺ-

โฐ สภาพแห่งฉันทะ เป็นต้น ด้วยสามารถอิทธิบาท ๔ อย่างละ ๑๐

ด้วยอิทธิบาทหนึ่ง ๆ ในอิทธิบาท ๔ คือ ฉันทะ วีริยะ จิตตะ วิมังสา.

ชื่อว่า ฉนฺทฏฺโ - สภาพแห่งฉันทะ คือสภาพที่ใคร่จะทำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

ชื่อว่า มูลฏฺโ - สภาพที่เป็นมูลแห่งฉันทะในเวลาเริ่มภาวนา

ตั้งฉันทะไว้เป็นหลัก.

ชื่อว่า ปาทฏฺโ - สภาพที่เป็นบาทแห่งฉันทะ เพราะความเป็น

หลักแห่งสหชาตธรรม. ปาฐะว่า ปทฏฺโ ก็มี.

ชื่อว่า ปธานฏฺโ สภาพที่เป็นประธานแห่งฉันทะ เพราะ

ความเป็นใหญ่ยิ่ง ให้ถึงความสำเร็จ.

ชื่อว่า อิชฺฌนฏฺโ - สภาพที่สำเร็จแห่งฉันทะ ในเวลาประกอบ

ความเพียร.

ชื่อว่า อธิโมกฺขฏฺโ - สภาพที่น้อมไปแห่งฉันทะ. เพราะ

ประกอบด้วยสัทธา. ชื่อว่า ปคฺคหฏฺโ - สภาพที่ประคองไว้แห่งฉันทะ

เพราะประกอบความเพียร.

ชื่อว่า อุปฏฺฐานฏฺโ - สภาพที่ตั้งมั่นแห่งฉันทะ เพราะ

ประกอบด้วยสติ.

ชื่อว่า อวิกฺเขปฏฺโ - สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งฉันทะ เพราะ

ประกอบด้วยสมาธิ.

ชื่อว่า ทสฺสนฏฺโ - สภาพที่เห็นแห่งฉันทะ เพราะประกอบ

ด้วยปัญญา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

๔๒ ] ชื่อว่า วีริยฏฺโ สภาพแห่งวีริยะ คือสภาพที่ประคอง

ไว้.

ชื่อว่า มูลฏฺโ - สภาพที่เป็นมูลแห่งวีริยะ ในเวลาเริ่มภาวนา

ตั้งวีริยะไว้เป็นหลัก.

ชื่อว่า ปคฺคหฏฺโ - สภาพที่ประคองไว้แห่งวีริยะ เพราะมีความ

เพียรด้วยตนเอง.

๔๓] ชื่อว่า จิตฺตฏฺโ - สภาพแห่งจิต คือมากด้วยความคิด.

ชื่อว่า มูลฏฺโ สภาพที่เป็นมูลแห่งจิต ในเวลาเริ่มภาวนาตั้ง

จิตไว้เป็นหลัก.

๔๔] ชื่อว่า วีมสฏฺโ - สภาพแห่งวิมังสา คือสภาพที่เข้าไป

สอบสวน.

ชื่อว่า มูลฏฺโ - สภาพที่เป็นมูลแห่งวิมังสา ในเวลาเริ่มภาวนา

ตั้งวิมังสาไว้เป็นหลัก.

ชื่อว่า ทสฺสนฏฺโ - มีสภาพที่เห็นแห่งวีมังสา เพราะพิจารณา

ด้วยตนเอง.

ชื่อว่า พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๑๖ ข้อ มีบทว่า

ทุกฺขสฺส ปิฬนฏฺโ - สภาพที่ทุกข์บีบคั้นเป็นต้น ด้วยลักษณะอันถ่อง-

แท้แห่งสัจจะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

ชื่อว่า ปิฬนฏฺโ - สภาพที่ทุกข์บีบคั้น เพราะการเห็นทุกข์

นั่นเอง.

ชื่อว่า สงฺขตฏฺโ - สภาพที่ทุกข์ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เพราะการ

เห็นสมุทัยอันประมวลมาซึ่งทุกข์.

ชื่อว่า สนฺตาปฏฺโ - สภาพที่ทุกข์ทำให้เดือดร้อน เพราะการ

เห็นมรรคอันเป็นความเย็น - เพราะนำสภาพที่ทุกข์ทำให้เดือดร้อนออก

ไปเสีย.

ชื่อว่า วิปริณามฏฺโ - สภาพที่ทุกข์แปรปรวน เพราะการเห็น

ความดับสิ่งที่ไม่แปรปรวน.

ชื่อว่า อายุหนฏฺโ - สภาพที่สมุทัยประมวลมา เพราะเห็น

สมุทัยนั่นเอง.

ชื่อว่า นิทานฏฺโ - สภาพที่สมุทัยเป็นเหตุ เพราะการเห็น

ทุกข์ที่ประมวลมาด้วยสมุทัย.

ชื่อว่า สญฺโคฏฺโ - สภาพที่สมุทัยเกี่ยวข้อง เพราะการเห็น

นิโรธอันเป็น วิสัญโญคะ - สมุทัยไม่เกี่ยวข้อง.

ชื่อว่า ปลิโพธฏฺโ - สภาพที่สมุทัยพัวพัน เพราะการเห็น

มรรคอันเป็น นิยยานะ - การนำออกไป.

ชื่อว่า นิสฺสรณฏฺโ - สภาพที่สลัดออก เพราะเห็นพระ-

นิพพานนั่นเทียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

ชื่อว่า วิเวกฏฺโ - สภาพที่นิโรธเป็นวิเวก เพราะการเห็น

สมุทัยอันไม่เป็นวิเวก.

ชื่อว่า อสงฺขตฏฺโ - สภาพที่นิโรธเป็นอสังขตะ เพราะการ

เห็นมรรคอันเป็นสังขตะ.

ชื่อว่า อมตฏฺโ - สภาพที่นิโรธเป็นอมตะ เพราะการเห็น

ทุกข์อันเป็นพิษ.

ชื่อว่า นิยฺยานฏฺโ - สภาพที่มรรคนำออก เพราะการเห็น

มรรคนั่นเอง.

ชื่อว่า เหตฏฺโ - สภาพที่มรรคเป็นเหตุ เพราะการเห็นสมุทัย

อันมิใช่เหตุแห่งการบรรลุนิพพาน.

ชื่อว่า ทสฺสนฏฺโ - สภาพที่มรรคเห็น เพราะการเห็นนิโรธ

ที่เห็นได้แสนยาก.

ชื่อว่า อาธิปเตยฺยฏฺโ - สภาพที่มรรคเป็นอธิบดีเช่นกับตระกูล

ที่ใหญ่โต เพราะการเห็นทุกข์เช่นกับคนยากไร้. อธิบายว่า ย่อมปรากฏ.

พระสารีบุตรกล่าวถึงสัจจะหนึ่ง ๆ มีลักษณะอย่างละ ๔ ด้วย

การเห็นสัจจะนั้น ๆ และด้วยการเห็นสัจจะอื่นนอกจากสัจจะนั้น ด้วย

ประการฉะนี้.

๔๖] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๑๒ ข้อ มี ตถฏฺโ-

สภาพที่ถ่องแท้เป็นต้น ด้วย ๑๒ บทอันสงเคราะห์ในธรรมทั้งหมด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

บทว่า ตถฏฺโ - สภาพที่ถ่องแท้ ได้แก่ สภาพตามความเป็น

จริง.

บทว่า อนตฺตฏฺโ - สภาพที่เป็นอนัตตา ได้แก่ สภาพที่เว้น

จากอัตตา.

บทว่า สจฺจฏฺโ - สภาพที่เป็นสัจจะ ได้แก่ การที่ไม่พูดหลอก

ลวง.

บทว่า ปฏิเวธฏฺโ - สภาพที่เป็นปฏิเวธะคือการแทงตลอด ได้

แก่ สภาพที่ควรแทงตลอด.

บทว่า อภิชานนฏฺโ ได้แก่ สภาพที่ควรรู้ยิ่ง.

บทว่า ปริชานนฏฺโ ได้แก่ สภาพที่ควรกำหนดรู้ เพราะ

กำหนดรู้ด้วยความรู้.

บทว่า ธมฺมฏฺโ - สภาพที่เป็นธรรม คือ มีอรรถว่าทรงสภาพ

ไว้เป็นต้น.

บทว่า ธาตฏฺโ - สภาพที่เป็นธาตุ มีอรรถว่าเป็นของสูญ

เป็นต้น.

บทว่า าตฏฺโ ได้แก่ สภาพที่รู้ คือ อาจรู้ได้.

บทว่า สจฺฉิกิริยฏฺโ คือ สภาพที่ควรทำให้แจ้ง.

บทว่า ผสฺสนฏฺโ คือ สภาพที่ควรสัมผัสด้วยญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

บทว่า อภิสมยฏฺโ - สภาพที่ควรตรัสรู้ ได้แก่ ภาพที่ควร

ถึงโดยชอบอย่างยิ่ง ด้วยการพิจารณาหรือควรได้เฉพาะด้วยญาณ.

แม้การได้เฉพาะท่านก็กล่าวว่า การตรัสรู้ ดุจในบทมีอาทิว่า

อตฺถาภิสมยา ธีโร คนมีปัญญาเพราะตรัสรู้ยิ่งซึ่งอรรถ.

๔๗] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๗ ข้อ มี เนกขัมมะ

เป็นต้น ด้วย อุปจารฌาน.

บทว่า เนกฺขมฺม ได้แก่ ความไม่โลภอันเป็นปฏิปักษ์ต่อ กาม-

ฉันทะ.

บทว่า อาโลกสญฺา ได้แก่ สัญญาในอาโลกนิมิตอันเป็นปฏิ-

ปักษ์ต่อ ถีนมิทธะ.

บทว่า อวิกฺเขโป ได้แก่ ความไม่ฟุ้งซ่านอันเป็นปฏิปักษ์ต่อ

อุทธัจจะ.

บทว่า ธมฺมววตฺถาน - ความกำหนดธรรม ได้แก่ ญาณอัน

เป็นปฏิปักษ์ต่อ วิจิกิจฉา.

บทว่า าณ ได้แก่ ญาณอันเป็นปฏิปักษ์ต่อ อวิชชา.

บทว่า ปามุชฺช ได้แก่ ปีติอันเป็นปฏิปักษ์ต่อ อรติ.

พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๘ ข้อ มีปฐมฌานเป็นต้น

ด้วยรูปสมาบัติและอรูปสมาบัติ.

๑. ส. ส. ๑๕/๓๘๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

อนึ่ง พระสารีบุตรได้ชี้แจงพรหมวิหาร ๔ โดยเชื่อมรูปฌานไว้

ในลำดับรูปสมาบัติ.

๔๘] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงบทมี อนิจฺจานุปสฺสนา การ

พิจารนาเห็นความไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วยมหาวิปัสสนา ๑๘ ในส่วนเบื้อง

ต้นของโลกุตรมรรค. พระสารีบุตรได้กล่าวถึงอนุปัสนา ๗ เข้าไป

ประกอบด้วยรูปเป็นต้น ในหนหลัง, แต่ในนิทเทสนี้ท่านกล่าวไว้

ทั้งหมด. หากถามว่า เพราะเหตุไรจึงไม่กล่าวถึงอุทยัพพยานุปัสนา - การ

พิจารณาเห็นความเกิดและความดับ ด้วยการพิจารณาเป็น กลาปะ

- กอง. ตอบว่า เมื่อท่านกล่าวถือนุปัสนาเหล่านี้ เป็นอันท่าน

กล่าวถึงอนุปัสนา แม้ทั้งสองเหล่านี้ด้วย เพราะอนิจจานุปัสนาเป็นต้น

สำเร็จด้วยอำนาจวิปัสสนา ๒ เหล่านั้น, หรือ เมื่อกล่าวถึงวิปัสสนา

เหล่านี้เป็นอันกล่าวถึงวิปัสสนาเหล่านั้นด้วย เพราะวิปัสสนา ๒ เหล่า

นั้นเว้นอนิจจานุปัสนาเหล่านั้นด้วย เสียแล้วก็จะเป็นไปไม่ได้.

บทว่า ขยานุปสฺสนา - การพิจารณาเห็นความสิ้นไป ได้แก่

การเห็นและการรู้ ความดับแห่งรูปขันธ์เป็นต้น ที่เป็นปัจจุบัน และ

การเห็นและการรู้ ความดับแห่งจิตและเจตสิกอันมีขันธ์เป็นอารมณ์ใน

ลำดับ ความดับแห่งขันธ์นั้นๆ.

บทว่า วยานุปสฺสนา - การเห็นความเสื่อมไป ได้แก่ การเห็น

การรู้ความดับแห่งขันธ์ในอดีตอนาคตอันสืบเนื่องกันไปกับขันธ์นั้น ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

ลำดับแห่งการเห็นและการรู้ความดับแห่งขันธ์ในปัจจุบัน.

บทว่า วิปริณามานุปสฺสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นความ

แปรปรวน แห่งขันธ์ทั้งปวงว่า ขันธ์ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน

แม้ทั้งหมดมีความแปรปรวน เพราะน้อมไปในนิโรธอันได้แก่ความดับ

นั้น.

บทว่า อนิมิตฺตานุปสฺสนา - การพิจารณาเห็นความไม่มีเครื่อง

หมาย ได้แก่ อนิจจานุปัสนา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงของพระ-

โยคาวจรผู้เห็นความแปรปรวนของสังขารทั้งปวงอย่างนี้แล้ว พิจารณา

เห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ชื่อว่า อนิมิตฺตานุปสฺสนา เพราะไม่

มีเครื่องหมายอันเป็นความเที่ยง ด้วยการละเครื่องหมายอันเป็นความ

เที่ยงเสียได้.

บทว่า อปฺปณิหิตานุปสฺสนา - การเห็นธรรมไม่มีที่ตั้ง ได้แก่

การพิจารณาเห็นทุกข์อันเป็นไปในลำดับแห่งอนิจจานุปัสสนา. ชื่อว่า

อปฺปณิหิตานุปสฺสนา เพราะไม่มีที่ตั้ง ด้วยการละความปรารถนาสุข.

บทว่า สุญฺตานุปสฺสนา - การพิจารณาเป็นความว่างเปล่า

ได้แก่การพิจารณาเป็นอนัตตาอันเป็นไปในลำดับทุกขานุปัสนา. ชื่อว่า

สุญฺญตานุปสฺสนา เพราะเห็นความเป็นของว่างเปล่าจากตน ด้วยการ

ละความยึดมั่นตัวตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

บทว่า อธิปญฺาธมฺมวีปสฺสนา - การพิจารณาเห็นธรรมด้วย

ปัญญาอันยิ่ง ได้แก่ วิปัสสนาเป็นไปเพราะถือความว่างเปล่าด้วยการดับ

ว่า สังขารของพระโยคาวจรผู้เห็นแล้ว ๆ เล่า ๆ ซึ่งความดับของสังขาร

อย่างนี้ แล้วพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมดับไป,

นอกจากความดับของสังขาร ย่อมไม่มีอะไรอื่น.

วิปัสสนานั้นท่านกล่าวว่า อธิปญฺาธมฺมวิปสฺสนา เพราะ

ทำเป็นรูปวิเคราะห์ว่า อธิปญฺา จ ธมฺเมสุ จ วิปสฺสน - อธิปัญญา

และความเห็นแจ้งในธรรมทั้งหลาย.

บทว่า ยถาภูตาณทสฺสน - ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง

ได้แก่ ภยตูปัฏฐานญาณ - ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่า

กลัว อันเป็นไปแล้วว่า สภยา สงฺขารา - สังขารทั้งหลายน่ากลัว

เพราะเห็นความดับแล้ว ๆ เล่า ๆ.

บทว่า อาทีนวานุปสฺสนา - การพิจารณาเห็นโทษ ได้แก่ การ

เห็นการรู้โทษ ด้วย ภยตูปัฏฐานญาณ อันเกิดขึ้นแล้วในภพทั้งปวง

เป็นต้น.

เมื่อท่านกล่าวถึง อาทีนวานุปสฺสนา - การพิจารณาเห็นโทษ

ด้วย ภยตูปัฏฐานญาณ เป็นอันท่านกล่าวถึง นิพพิทานุปัสนา

การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย ไว้ในนิทเทสนี้ด้วย เพราะบาลี

ว่าธรรมเหล่านี้ คือ ภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวญาณ และ นิพ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

พิทาญาณ มีอรรถอย่างเดียวกัน, พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน.* ใน

นิทเทสนี้ท่านไม่กล่าวไว้ เพราะท่านกล่าวทำบทที่ ๔ ไว้แต่ต้นแล้ว.

บทว่า ปฏิสงฺขานุปสฺสนา - การพิจารณาหาทาง ได้แก่ อนิจ-

จานุปัสนาญาณ ทุกขานุปัสนาญาณ อนัตตานุปัสนาญาณ เกิด

ขึ้นด้วย มุญฺจิตุกัมยตาญาณ - ปรีชาคำนึงถึงด้วยความใคร่จะพ้นไป

เสีย กระทำอุบายเพื่อพ้น กำหนดรู้ด้วย ปฏิสังขานุปัสนา. เมื่อ

ท่านกล่าวถึง ปฏิสังขานุปัสนา เป็นอันท่านกล่าวถึง มุญจิตุกัมย-

ตาญาณ และ สังขารุเบกขาญาณ - ปรีชาคำนึงด้วยความวางเฉยใน

สังขาร ด้วย เพราะบาลีว่า ธรรมเหล่านี้ คือมุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิ-

สังขานุปัสนาญาน และสังขารุเบกขาญาณ มีอรรถอย่างเดียวกัน,

พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน.

บทว่า วิวฏฺฏนานุปสฺสนา - การพิจารณาการเห็นอุบายที่จะ

หลีกไป ได้แก่ โคตรภูญาณ - ญาณซึ่งเป็นลำดับแห่งอริยมรรค เกิด

ขึ้นด้วย อนุโลมญาณ - ญาณอันสมควรแก่การกำหนดรู้ เมื่อท่าน

กล่าวถึงโคตรภูญาณเป็นอันกล่าวอนุโลมญาณด้วย เพราะโคตรภูญาณ

สำเร็จด้วยอนุโลมญาณ, ท่านกล่าวถึงลำดับแห่งมหาวิปัสสนา ๑๘ อย่าง

นี้ ย่อมรวมในบาลี ดังที่ท่านกล่าวไว้ในอินทริยกถาว่า

อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถปฐมฌานสลัดไป

จากอินทรีย์ ๕ ในส่วนเบื้องต้น, อินทรีย์ ๕

๑. ขุ. ป. ๓๑/๕๐๗ ๒. ขุ. ป. ๓๑/๕๐๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

ด้วยสามารถทุติยฌานสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ใน

ปฐมฌาน.

ท่านกล่าวถึงอินทรีย์ตามลำดับยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยนัยต้นตลอดถึง

อรหัตผล. เพราะฉะนั้นมหาวิปัสนา ๑๘ ย่อมสมควรในบาลีโดยลำดับ

ดังที่กล่าวแล้ว.

ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า

บทว่า ขยานุปสฺสนา ได้แก่ ญาณของ

พระโยคาวจรผู้แยกฆนสัญญา - ก้อน ออกแล้วเห็น

ความสิ้นไปว่า ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะอรรถว่าสิ้นไป.

บทว่า วิปริณามานุปสฺสนา ได้แก่ การก้าวล่วง

ขั้นตอนนั้น ๆ ด้วยรูปสัตตกะ และอรูปสัตตกะ

เป็นต้น แล้วเห็นความเป็นไปโดยประการอื่น.

อีกอย่างหนึ่ง การเห็นความปรวนแปรด้วยอาการ

๒ คือ ด้วยชราและมรณะของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว.

บทว่า ยถาภูตญาณทสฺสน - การรู้และการเห็นตาม

ความเป็นจริง ได้แก่ การกำหนดนามรูปพร้อม

ด้วยปัจจัย.

๑. ขุ. ป. ๓๑/๔๓๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

บทนั้นในบาลีปรากฏเป็นเหมือนบทผิด บทว่า วิวฏฺฎนานุ-

ปสฺสนา - การพิจารณาเห็นอุบายที่จะออกไป ท่านกล่าวว่า ได้แก่

สังขารุเบกขาญาณ และอนุโลมญาณ. อนึ่ง บทนั้นในบาลีดูเหมือน

จะผิด. เพราะท่านกล่าวไว้ในจริยากถาว่า

อัพยากตธรรมอันเป็นกิริยาของอาวัชนะ เพื่อ

ประโยชน์ในการพิจารณาเห็นความเป็นของไม่

เที่ยง ชื่อว่า วิญญาณจริยา. การพิจารณาเห็น

ความเป็นของไม่เที่ยง ชื่อว่า ญาณจริยา ฯลฯ

อัพยากตธรรมอันเป็นกิริยาของอาวัชนะ เพื่อ

ประโยชน์ในการพิจารณาหาทาง ชื่อว่า วิญญาณ-

จริยา. ปฏิสังขานุปัสนาญาณ เป็น ญาณจริยา.

ท่านกล่าวถึงอาวัชนะต่างหากกันของญาณที่ได้อาวัชนะต่าง ๆ กัน

แต่ท่านไม่กล่าวถึงอาวัชนะเพื่อพิจารณาเห็นอุบายที่จะออกไปแล้วกล่าว

ว่า วิวัฏฏานุปัสนา เป็น ญาณจริยา. ผิว่า สังขารุเบกขาญาณ

และอนุโลมญาณ จะพึงเป็นวิวัฏฏานุปัสนาญาณได้, ก็ควรกล่าวถึง

อาวัชนะเพื่อประโยชน์แก่ญาณนั้น เพราะอาวัชนะของญาณนั้นมีพร้อม,

แต่ท่านไม่กล่าวถึงอาวัชนะเพื่อประโยชน์แก่ญาณนั้น. โครตญาณ

๑. ขุ.ป. ๓๑/๑๖๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

ไม่มีอาวัชนะต่าง ๆ กัน เพราะเกิดขึ้นในอาวัชนวิถีแห่งอนุโลมญาณ

นั่นเอง. เพราะฉะนั้นโคตรภูญาณนั่นแล เป็น วิวัฏฏนานุปัสนา

ถูกต้องเพราะท่านไม่กล่าวถึงอาวัชนะ เพื่อประโยชน์แก่วิวัฏฏนานุปัสนา.

๔๙] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๘ ข้อ มี โสดา-

ปัตติมรรค เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งมรรคและผลอันเป็นโลกุตระ.

การถึงกระแสแห่งมรรค ชื่อว่า โสตาปตฺติ, โสดาปตฺติ นั่นแล

เป็น มรรค ชื่อว่า โสตาปัตติมรรค.

ผลแห่งการถึงกระแส ชื่อว่า โสดาปัตติผล, ชื่อว่า สมาปัตติ

เพราะอรรถว่า เข้าถึง. โสดาปัตติผลนั่นและเป็นสมาบัติ ชื่อว่า โสดา-

ปัตติผลสมาบัติ.

ชื่อว่า สกทาคามี เพราะอรรถว่า มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น

ด้วยอำนาจปฏิสนธิ, มรรคแห่งสกทาคามีนั้น ชื่อว่า สกทาคามิมรรค.

ชื่อว่า อนาคามี เพราะอรรถว่า ไม่มาสู่กามภพด้วยอำนาจ

ปฏิสนธินั่นแล, มรรคแห่งอนาคามีนั้น ชื่อว่า อนาคามิมรรค. ผล

แห่งอนาคามี ชื่อว่า อนาคามิผล.

ชื่อว่า อรห เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลาย, เพราะกำจัดข้าศึก

คือกิเลส เพราะหักซี่ล้อของสังสารจักรเสียได้, เพราะไม่มีความลับใน

การทำบาป, เพราะควรแก่ปัจจัยเป็นต้น. ความเป็นอรหันต์ ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

อรหตฺต นั้นคืออะไร ? คืออรหัตผล. มรรคแห่งอรหัต ชื่อว่า

อรหัตมรรค. ผลแห่งอรหัตนั่นแล ชื่อว่า อรหัตผล.

๕๐ - ๕๓] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๓๓ ข้อ มี

บทว่า อธิโมกฺขฏฺเน สทฺธินฺทฺริย ได้แก่ สัทธินทรีย์ด้วยความว่า

น้อมใจเชื่อเป็นต้น, บทว่า ตถฏฺเน สจฺจา ได้แก่ สัจจะด้วยความ

ว่าเที่ยงเป็นที่สุด ได้ชี้แจงการวิสัชนาเสมอกันด้วยการวิสัชนา ๓๓ ข้อ

มีบทว่า อินฺทฺริยสฺส อธิโมกฺขฏฺโ - สภาพที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์

เป็นตันในภายหลัง. ได้ชี้แจงอรรถด้วยธรรมทั้งหลาย ในบทนั้นสิ้นเชิง.

ในบทนี้ได้ชี้แจงธรรมทั้งหลายด้วยอรรถ นี้เป็นความต่างกัน. พึงทราบ

ความต่างกันแห่งการวิสัชนา ๔ ข้อ มีบทว่า อวิกฺเขปฏฺเน สมโถ-

สมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่านเป็นต้น และการวิสัชนา ๔ ข้อ มีบทว่า

สมถสฺส อวิกฺเขปฏฺโ - สภาพไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะเป็นต้น โดยนัย

ดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

๕๔] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๘ ข้อ มีบทว่า สว-

รฏฺเน - ด้วยความว่าสำรวมเป็นต้น ด้วยอำนาจธรรมมี ศีล เป็นต้น

มี พละ เป็นที่สุด.

บทว่า สีลวิสุทฺธิ - ความหมดจดแห่งศีล ได้แก่ ศีล ๔ อย่าง

มีปาติโมกขสังวรศีล อันบริสุทธิ์ด้วยดีเป็นต้น ชื่อว่า สีลวิสุทฺธิ

เพราะชำระมลทิน คือความเป็นผู้ทุศีล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

บทว่า จิตฺตวิสุทฺธิ - ความหมดจดแห่งจิต ได้แก่ สมาบัติ ๘

พร้อมด้วย อุปจาร. ในบทนี้ท่านกล่าวสมาธิด้วยหัวข้อว่า จิตตะ สมาธิ

นั้น ชื่อว่า จิตตวิสุทธิ เพราะชำระมลทินของจิต.

ชื่อว่า ทิฏฺิวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์ แห่งทิฏฐิ ได้แก่ การเห็น

นามรูปตามที่เป็นจริง ชื่อว่า ทิฏิวิสุทธิ เพราะชำระมลทินของทิฏฐิ ๗.

บทว่า มุตฺตฏฺเน - ด้วยความว่าหลุดพ้น ได้แก่ หลุดพ้นจาก

อุปกิเลสด้วยอำนาจ ตทังควิมุตติ และน้อมไปในอารมณ์.

บทว่า วิโมกฺโข ได้แก่ ความหลุดพ้นด้วยตทังควิมุตติ.

บทว่า ปฏิเวธฏฺเน วิชฺช - วิชชา ด้วยความว่าแทงตลอด

ได้แก่ บุพเพนิวาสานุสติญาณ ชื่อว่า วิชชา ด้วยความว่าแทงตลอด

ในภพก่อน.

บทว่า ปฏิเวธฏฺเน ได้แก่ ด้วยความว่ารู้แจ้ง.

บทว่า ปริจฺจาคฏฺเน วิมุตฺติ - ความหลุดพ้นด้วยการสละ

ได้แก่ ชื่อว่า ผลวิมุตติ เพราะพ้นจากการสละ.

บทว่า สมุจฺเฉทฏฺเน ขเย าณ - ญาณในความสิ้นไปด้วย

ความตัดขาด ได้แก่ ญาณในอริยมรรคกระทำความสิ้นกิเลสด้วยความ

ตัดกิเลสได้ขาด.

บทว่า ปฏิปฺปสฺสทฺธฏฺเน อนุปฺปาทา าณ - ญาณในความ

ไม่เกิดขึ้นด้วยความว่าระงับ ได้แก่ ญาณในอริยผลอันเกิดขึ้นในที่สุด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

แห่งความไม่เกิดขึ้นแห่งกิเลสอันฆ่าด้วยมรรคนั้น ๆ อันเป็นความไม่เกิด

ด้วยปฏิสนธิ เพราะระงับปโยคะคือมรรคกิจเสียได้.

พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๙ ข้อ มีบทว่า ฉนฺโท

มูลฏฺเน - ฉันทะด้วยความว่าเป็นมูลฐานเป็นต้น ด้วยอำนาจอริย-

มรรคอันเป็นเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด.

บทว่า ฉนฺโท มูลฏฺเน ได้แก่ ฉันทะคือความเป็นผู้ใคร่

เพื่อจะทำกุศลธรรมทั้งหลาย ด้วยความว่าเป็นมูลฐาน เพราะเป็นมูล

แห่งการปฏิบัติและแห่งความสำเร็จ

บทว่า มนสิกาโร สมุฏฺานฏฺเน - มนสิการด้วยความว่าเป็น

สมุฏฐาน ได้แก่ โยนิโสมนสิการด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน เพราะยัง

กุศลธรรมทั้งหมดให้ตั้งขึ้น.

บทว่า ผสฺโส สโมธานฏฺเน - ผัสสะด้วยความว่าประมวลมา

ได้แก่ เพราะเวทนาเป็นปธานเหตุแห่งตัณหาโดยเฉพาะ, อนึ่ง เมื่อ

จะละตัณหา ย่อมละด้วยเวทนาที่กำหนดรู้โดยเฉพาะ, และผัสสะเป็น

ปธานเหตุแห่งเวทนานั้น, เมื่อกำหนดรู้ผัสสะแล้วเป็นอันกำหนดรู้

เวทนาด้วย, ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวผัสสะในวัตถุที่ควรรู้ยิ่ง ๗ ก่อน. ก็

ผัสสะนั้น ชื่อว่า ควรรู้ยิ่งด้วยความว่าประมวลมา เพราะท่านกล่าวว่า

ติกสนฺนิปาตปจฺจุปฏฺาโน - มีการประมวลมา รวมกันระหว่างวัตถุ

อารมณ์และวิญญาณ ๓ อย่างเป็นอาการปรากฏ เพราะประกาศด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

อำนาจเหตุของตน กล่าวคือการประมวลมาแห่งธรรมทั้ง ๓ แต่อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า ผัสสะ คือ ญาณผัสสะ.

ก็เพราะเวทนายังจิตและเจตสิกให้เป็นไปในอำนาจของตน ย่อม

ประชุม คือ ย่อมเข้าไปในจิตเจตสิกนั้น, หรือเข้าไปสู่จิตสันดานนั่นเอง,

ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า สโมสรณฏฺเน อภิญฺเยฺยา - เวทนาควรรู้ยิ่ง

ด้วยความว่าประชุม.

ส่วนอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า การกำหนดรู้แม้ทั้งหมด ย่อม

ประชุมลงในเวทนาทั้งหลาย, เมื่อกำหนดรู้เวทนาแล้วเป็นอันกำหนดรู้

ที่ตั้งของตัณหาทั้งหมดได้. นั่นเพราะเหตุไร ? เพราะตัณหาทั้งหมดมี

เวทนาเป็นปัจจัย. ฉะนั้น เวทนาจึงควรรู้ยิ่งด้วยความว่าประชุม เพราะ

สมาธิชื่อว่าเป็นประมุข เป็นใหญ่ของกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะประมวล

ไว้ซึ่งจิตและเจตสิกทั้งหลาย ดุจช่อฟ้ากูฏาคารเป็นประมุข เพราะยึดไว้

ด้วยไม้จันทัน, ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สมาธิ ปมุขฏฺเน สมาธิ

ด้วยความว่าเป็นประธาน. ปาฐะว่า ปามุกฺขฏฺเน บ้าง.

เพราะสติเป็นใหญ่ในการกำหนดอารมณ์ของผู้เจริญสมถวิปัสสนา,

เมื่ออารมณ์กำหนดไว้ได้ด้วยสติกุศลธรรมแม้ทั้งหมด ย่อมยังกิจของ

ตน ๆ ให้สำเร็จ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า สติ อาธิปเตยฺยฏฺเน -

สติด้วยความว่าเป็นใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

บทว่า ปา ฉเน ปัญญาด้วยความว่าประเสริฐ

กว่ากุศลนั้น ๆ ได้แก่ อริยมรรคปัญญา ชื่อว่าควรรู้ยิ่ง ด้วยความว่า

ยิ่งคือประเสริฐกว่ากุศลธรรมนั้น ๆ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ตทุตฺตรา

เพราะอรรถว่า ก้าวล่วงยิ่งจากกิเลสทั้งหลาย หรือจากสังสารวัฏ, อรรถ

แห่ง ตทุตฺตรา นั้น ชื่อว่า ตทุตฺตรฏฺโ ความว่าประเสริฐกว่ากุศล-

ธรรมนั้น ๆ. ด้วย ตทุตฺตรฏฺโ นั้น. ปาฐะว่า ตตุตฺตรฏฺเน บ้าง

ความว่าด้วยความยิ่งกว่าธรรมนั้น.

บทว่า วิมุตฺติ สารฏฺเน - วิมุตติด้วยความว่าเป็นแก่นสาร

ได้แก่ ผลวิมุตติ ชื่อว่าเป็นแก่นสาร เพราะความมั่นคงโดยไม่เสื่อม,

แม้เพราะก้าวล่วงสิ่งนั้นแล้วไม่มีสิ่งอื่นที่พึงแสวงหา ก็ชื่อว่าเป็นแก่น-

สาร. วิมุตตินั้นควรรู้ยิ่ง ด้วยความว่าเป็นแก่นสารนั้น.

บทว่า อมโตคธ นิพฺพาน - นิพพานอันหยั่งลงในอมตะ ชื่อว่า

อมตะ เพราะนิพพานไม่มี มตะ คือความตาย, ชื่อว่า อมตะ เพราะ

เป็นยาแก้พิษคือกิเลสบ้าง, ชื่อว่า โอคธ เพราะเป็นหลักของสัตว์

ทั้งหลายด้วยการทำให้แจ้ง. ชื่อว่า นิพพาน คือดับเพราะสงบจากทุกข์

ในสงสาร, ชื่อว่า นิพฺพาน เพราะในนิพพานนี้ไม่มีเครื่องร้อยรัดคือ

ตัณหา.

นิพพานนั้นควรรู้ยิ่งด้วยความว่าเป็นที่สุด เพราะคำสอนเสร็จ-

สิ้นแล้ว. ในอภิญเญยยนิทเทสนี้รวมการวิสัชนา ได้ ๗,๗๔๐ บท ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

ประการฉะนี้.

๕๕] บัดนี้ สรุปธรรมเหล่านั้นที่พระสารีบุตรได้ชี้แจงไว้แล้ว

อย่างนี้ว่า ธรรมใด ๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว, ธรรมนั้น ๆ เป็นคุณที่รู้แล้ว, อธิบายว่า

เป็นคุณที่รู้แล้ว เพราะทำบทนั้นให้เป็นประธาน.

บทว่า ตาตฏฺเน าณ - ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้

ธรรมนั้น ความว่า ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมมีประการดังกล่าว

แล้วนั้น.

บทว่า ปชานนฏฺเน ปญฺา - ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า

รู้ทั่ว คือรู้โดยอาการ.

คำถามที่ท่านถามไว้แต่ต้นว่า เตน วุจฺจติ ท่านแสดงสรุปไว้.

ด้วยเหตุนั้นจึงมีความว่า ปัญญาเครื่องทรงจำที่ได้สดับมา คือเครื่องรู้

ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง เป็นสุตมยปัญญา

ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาทุติยภาณวาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

ตติยภาณวาร

[๕๖] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมา คือ เครื่องรู้ชัด

ธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ เป็นสุตมยญาณ

อย่างไร.

ธรรมอย่างหนึ่งควรกำหนดรู้ คือ ผัสสะอันมีอาสวะ เป็นที่

แห่งอุปาทาน ธรรม ๒ ควรกำหนดรู้ คือ นาม ๑ รูป ๑, ธรรม ๓

ควรกำหนดรู้ คือ เวทนา ๓, ธรรม ๔ ควรกำหนดรู้ คืออาหาร ๔,

ธรรม ๕ ควรกำหนดรู้ คือ อุปาทานขันธ์ ๕, ธรรม ๖ ควรกำหนดรู้

คือ อายตนะภายใน ๖, ธรรม ๗ ควรกำหนดรู้ คือ วิญญาณฐิติ ๗,

ธรรม ๘ ควรกำหนดรู้ คือ โลกธรรม ๘, ธรรม ๙ ควรกำหนดรู้

คือ สัตตาวาส ๙, ธรรม ๑๐ ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะ ๑๐.

[๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่ควรกำหนดรู้คืออะไร คือ ตา รูป จักขุวิญญาณ

จักขุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด

ขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง.

หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย

โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุข-

เวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน-

สัมผัสเป็นปัจจัย ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

[๕๘] รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ ฯลฯ

ชราและมรณะ ฯลฯ นิพพานที่หยั่งลงในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด

ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง บุคคลผู้พยายามเพื่อจะได้ธรรมใด ๆ เป็นอันได้

ธรรมนั้น ๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว

และพิจารณาแล้วอย่างนี้.

[๕๙] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้เนกขัมมะ เป็นอันได้

เนกขัมมะแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและ

พิจารณาแล้วอย่างนี้.

บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความไม่พยาบาท เป็นอันได้

ความไม่พยาบาทแล้ว . . . บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อาโลกสัญญา

เป็นอันได้อาโลกสัญญาแล้ว . . . บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความ

ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอันได้ความไม่ฟุ้งซ่านแล้ว . . .บุคคลผู้พยายามเพื่อต้อง

การจะได้การกำหนดธรรม เป็นอันได้การกำหนดธรรมแล้ว . . .บุคคล

ผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ญาณ เป็นอันได้ญาณแล้ว . . . บุคคลผู้

พยายามเพื่อต้องการจะได้ความปราโมทย์ เป็นอันได้ความปราโมทย์

แล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้ว

อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

อรรถกถาปริญเญยยนิทเทส

๕๖] พึงทราบวินิจฉัย ในปริญเญยยนิทเทสดังต่อไปนี้ ท่าน

สงเคราะห์ปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา ๑ ตีรณปริญญา ๑ ปหาน

ปริญญา ๑ ด้วยปริญญาติศัพท์ไว้ก็จริง แต่ในนิทเทสนี้ ท่านประสงค์เอา

ตีรณปริญญา เท่านั้น เพราะท่านกล่าวถึง ญาตปริญญา ว่า อภิญฺ-

เยฺยา ควรรู้ยิ่งไว้แล้วในตอนหลัง เพราะท่านกล่าวถึง ปหานปริญญา

ว่า ปหาตพฺพา ควรละไว้ตอนต่อไป.

บทว่า ผสฺโส สาสโว อุปาทานโย ผัสสะอันมีอาสวะเป็นที่ตั้ง

แห่งอุปาทาน ได้แก่ ผัสสะอันเป็นไปในภูมิ ๓ เป็นปัจจัย แห่งอาสวะ

และอุปาทาน. จริงอยู่ ผัสสะนั้นชื่อว่า สาสวะ เพราะทำตนให้เป็น

อารมณ์พร้อมกับอาสวะที่เป็นไปอยู่ ชื่อว่า อุปาทานิยะ เพราะเข้าถึง

ความเป็นอารมณ์ แล้วหน่วงอุปาทานไว้ด้วยการผูกพันไว้กับอุปาทาน.

เพราะเมื่อผัสสะกำหนดรู้ได้ด้วยตีรณปริญญา อรูปธรรมแม้ที่เหลือ

ย่อมกำหนดรู้ได้ด้วยผัสสะเป็นประธานและรูปธรรม ย่อมกำหนดรู้ได้

ด้วยเป็นไปตามผัสสะนั้น, ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวผัสสะอย่างเดียวเท่านั้น.

แม้ในธรรมที่เหลือก็พึงประกอบตามควร. บทว่า นาม ได้แก่ ขันธ์ ๔

และนิพพานอันไม่มีรูป. บทว่า รูป ได้แก่ มหาภูตรูป ๘ และ

อุปาทายรูป ๒๔ อาศัยมหาภูตรูป ๔. ขันธ์ ๔ ชื่อว่า นาม เพราะ

อรรถว่าน้อมไป. จริงอยู่ขันธ์เหล่านั้นมีอารมณ์เป็นตัวนำ ย่อมน้อมไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

นามแม้ทั้งหมดก็ชื่อว่า นาม ในอรรถว่าให้น้อมไป. จริงอยู่ ขันธ์ ๔.

ยังกันและกันให้น้อมไปในอารมณ์, นิพพานยังธรรมที่ไม่มีโทษให้

น้อมไปในตน เพราะเป็นปัจจัยแห่งความเป็นใหญ่ในอารมณ์. ชื่อว่า

รูป เพราะอรรถว่าเปลี่ยนแปลงไปด้วยความเย็นเป็นต้น โดยอำนาจ

สันตติ - ความสืบต่อ.

บทว่า รูปนฏฺเน ได้แก่ ความกำเริบ. ธรรมชาติที่ถูกความ

หนาวเป็นต้น กระทบด้วยการปรวนแปรของสันตติ ท่านกล่าวว่า รูป.

แต่ในที่นี้ บทว่า นาม ท่านประสงค์เอานามที่เป็นโลกิยะเท่านั้น,

ส่วนรูปเป็นโลกิยะโดยส่วนเดียว.

บทว่า ติสฺโส เวทนา เวทนา ๓ ได้แก่ สุขเวทนา ทุกข-

เวทนา อทุกขมสุขเวทนา. เวทนาเหล่านั้นเป็นไปในโลกเท่านั้น.

บทว่า อาหารา ได้แก่ ปัจจัย. ปัจจัย ชื่อว่า อาหารา เพราะ

นำมาซึ่งผลแก่ตน. อาหาร ๔ อย่าง คือ กพฬีการาหาร ( อาหาร คือ

คำข้าว ) ๑ ผัสสาหาร ( อาหาร คือ ผัสสะ ) ๑ มโนสัญเจตนาหาร

(อาหาร คือ มโนสัญเจตนา) ๑ วิญญาณาหาร (อาหาร คือ วิญญาณ) ๑.

ชื่อว่า กฬฬีการะ เพราะควรทำให้เป็นคำด้วยวัตถุ. ชื่อว่า อาหาร

เพราะควรกลืนกิน. บทนี้เป็นชื่อของโอชะอันเป็นวัตถุมีข้าวสุกและ

ขนมทำด้วยถั่วเขียวเป็นต้น. โอชะนั้น ชื่อว่า อาหาร เพราะนำมา

ซึ่งรูปมีโอชะเป็นที่ ๘. ผัสสะ ๖ อย่าง มีจักขุสัมผัสเป็นต้น ชื่อว่า

อาหาร เพราะนำมาซึ่งเวทนา ๓. ชื่อว่า มโนสัญเจตนา เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

มีความตั้งใจของใจ มิใช่ของสัตว์ เหมือนความที่จิตมีอารมณ์เดียว.

อีกอย่างหนึ่ง สัญเจตนาสัมปยุตด้วยใจ ชื่อว่า มโนสัญเจตนา

เหมือนรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย. ได้แก่ กุศลเจตนาและอกุศลเจตนา

เป็นไปในภูมิ ๓. มโนสัญเจตนานั้น ชื่อว่า อาหาร เพราะนำมาซึ่ง

ภพ ๓.

บทว่า วิญฺาณ ได้แก่ ปฏิสนธิวิญญาณ ๑๙ อย่าง. ปฏิสนธิ

วิญญาณนั้นชื่อว่าอาหาร เพราะนำมาซึ่งนามรูปอันเป็นปฏิสนธิ.

บทว่า อุปทานกฺขนฺธา ได้แก่ ขันธ์ อันเป็นโคจรของ

อุปาทาน พึงเห็นลบบทท่ามกลาง - มชฺฌปทโลโป. อีกอย่างหนึ่ง

ขันธ์ที่เกิดเพราะอุปาทาน ชื่อ อุปาทานขึ้น เหมือนไฟไหม้หญ้า

ไฟไหม้แกลบ. อีกอย่างหนึ่ง ขันธ์ที่เชื่อฟังอุปาทาน ชื่อ อุปาทาน-

ขันธ์ เหมือนราชบุรุษ. อีกอย่างหนึ่ง ขันธ์ที่มีอุปาทานเป็นแดนเกิด

ชื่อว่า อุปาทานขันธ์ เหมือนต้นไม้มีดอก ต้นไม้มีผล อุปาทานมี

๔ อย่าง คือ กามุปาทาน - คือมั่นกาม ๑ ทิฏฐุปาทาน - คือ

มั่นทิฏฐิ ๑ สีลัพพตุปาทาน - คือมั่นศีลพรต ๑ อัตตวาทุปาทาน

- คือมั่นวาทะว่าตน ๑. แต่โดยอรรถ ชื่อว่า อุปาทาน เพราะยึดถือ

จัด. อุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูปูปาทานขันธ์ ๑ เวทนูปาทานขันธ์ ๑

สัญญูปาทานขันธ์ ๑ สังขารูปาทานขันธ์ ๒ วิญญาณูปาทานขันธ์ ๑.

บทว่า ฉ อชฺฌตฺติกานิ อายตนานิ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖

คือ จักขายตนะ ๑ โสตายตนะ ๑ ฆานายตนะ ๑ ชิวหายตนะ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

กายายตนะ ๑ มนายตนะ ๑.

บทว่า สตฺต วิญฺาณฏฺิติโย ได้แก่ วิญญาณฐิติ ภูมิ

เป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ ๗.

วิญญาณฐิติ มีอะไรบ้าง ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญา

ต่างกัน เช่นมนุษย์ทั้งหลาย เทพบางพวก วินิปาติกะ เปรต

บางหมู่ นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญา

อย่างเดียวกัน เช่น เทพผู้อยู่ในพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน

นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ ๒.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน

มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสรา นี้เป็นวิญญาณฐิติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน

มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหา นี้เป็นวิญญาณ-

ฐิติ ที่ ๔.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงรูปสัญญาโดย

ประการทั้งปวง ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการถึงสัญญาต่างกัน เป็น

ผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อนนฺโต อากาโส - อากาศไม่มี

ที่สุด นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ ๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งก้าวล้วงอาสานัญ-

จายตนะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า

อนนฺต วิญฺาณ วิญญาณไม่มีที่สุด นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ ๖.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจา-

ยตนะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่า นตฺถิ

กิญฺจิ ไม่มีอะไร ๆ. นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ ๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

วิญญาณฐิติ ๗ เหล่านี้แล.

บทว่า วิญฺาณฏฺิติโย - ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ ได้แก่

ขันธ์พร้อมกับวิญญาณอันเป็นฐานแห่งปฏิสนธิวิญญาณ

ในบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺยถาปิ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า

การชี้แจง.

บทว่า มนุสฺสา คือ มนุษย์ แม้สองคนจะเป็นเช่นคนเดียวกัน

ก็ไม่มีด้วยวรรณะและสัณฐานเป็นต้นของมนุษย์ ไม่มีประมาณ ใน

จักรวาลอันหาประมาณมิได้. แม้มนุษย์จะเหมือนกันด้วยวรรณะหรือ

สัณฐาน ก็ไม่เหมือนกันด้วยการแลและการเหลียวเป็นต้น เพราะ

ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นานตฺตกายา - มีกายต่างกัน.

ปฏิสนธิสัญญาของมนุษย์เหล่านั้น เป็นติเหตุกะบ้าง ทวิเหตุกะ

บ้าง อเหตุกะบ้าง, เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นานตฺตสญฺิโน-

มีสัญญาต่างกัน.

บทว่า เอกจฺเจ จ เทวา - เทพบางพวก ได้แก่ กามาวจรเทพ

๑. องฺ. สตฺตก. ๒๓/๔๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

๖ ชั้น. บรรดาเทพเหล่านั้น เทพบางพวกมีกายสีเขียว, บางพวกมี

ผิวพรรณสีเหลืองเป็นต้น, แต่สัญญาของเทพเหล่านั้นเป็นไปกับติเหตุกะ

บ้าง ทวิเหตุกะบ้าง, ไม่เป็นอเหตุกะ.

บทว่า เอกจฺเจ จ วินิปาติกา - วินิปาติกะบางพวก ได้แก่

เวมานิกเปรตเหล่าอื่นอาทิอย่างนี้ คือ ยักษิณี ชื่อ ปุนัพพสุมาตา

ปิยังกรมาตา ผุสสมิตตา ธรรมคุตตา พ้นจากอบาย ๔. เปรต

เหล่านั้นมีกายต่างกัน โดยมีผิวขาว ดำ เหลือง และสีนิลเป็นต้น

และโดยมีลักษณะผอม อ้วน เตี้ย สูง. แม้สัญญาก็ต่างกันด้วยอำนาจ

ติเหตุกะ ทวิเหตุกะและอเหตุกะเหมือนสัญญาของมนุษย์ทั้งหลาย. แต่

เวมานิกเปรตเหล่านั้นไม่มีศักดิ์ใหญ่เหมือนเทพทั้งหลาย. มีศักดิ์น้อย

อาหารและเสื่อผ้าหาได้ยาก ถูกทุกข์บีบคั้นเหมือนมนุษย์ยากไร้.

วินิปาติกะบางพวก ในวันข้างแรมได้รับทุกข์ ในวันข้างขึ้นได้

รับสุข, เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วินิปาติกา เพราะตกไปจาก

การสะสมสุข.

อนึ่ง ในบทนี้ แม้การรู้ธรรมของวินิปาติกะที่เป็นติเหตุกะก็มี

ได้ ดุจการรู้ธรรมของยักษิณี ชื่อว่า ปิยังกรมาตาเป็นต้น.

บทว่า พฺรหฺมกายิกา - พวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหม ได้แก่

พรหมปาริสัชชะ พรหมปุโรหิตะ และมหาพรหม.

บทว่า ปมาภินิพฺพตฺตา - ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน ได้แก่ พวก

เทพทั้งหมดนั้น เกิดแล้ว ด้วยปฐมฌาน. ส่วนพรหมปาริสัชชะ เกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

ด้วยฌานเล็กน้อย, พรหมปุโรหิตะ เกิดด้วยฌานอย่างกลาง. อนึ่ง

กายของพวกเทพเหล่านั้น แผ่ซ่านยิ่ง. มหาพรหมเกิดด้วยฌานอัน

ประณีต, กายของมหาพรหมเหล่านั้น แผ่ซ่านยิ่งนัก. พรหมกายิกา

เหล่านั้น ท่านกล่าวว่า มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เพราะ

กายต่างกัน เพราะสัญญาอย่างเดียวกันด้วยอำนาจปฐมฌาน.

สัตว์ที่เกิดในอบาย ๔ ก็เหมือนกัน. ในนรกบางพวกร่างกาย

คาวุตหนึ่ง, บางพวกกึ่งโยชน์, บางพวก ๓ คาวุต ส่วนเทวทัตมี

ร่างกายร้อยโยชน์. แม้ในเดียรัจฉาน บางพวกก็เล็ก, บางพวกก็ใหญ่.

แม้ในเปตติวิสัย บางพวกก็ ๖๐ ศอก บางพวกก็ ๘๐ ศอก บางพวก

ผิวงาม บางพวกผิวทราม. เหมือนกาลกัญชิกาสูร. อนึ่ง บรรดาเปรต

เหล่านี้ พวกทีฆปิฏฐิกาเปรตก็มีกายสูง ๖๐ โยชน์. สัญญาของเปรต

ทั้งหมดนั้น เป็นไปกับอเหตุกะมีอกุศลเป็นวิบาก. แม้สัตว์ในอบาย

ทั้งหลายก็ถือได้ว่าเป็นผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน.

บทว่า อาภสฺสรา - พวกเทพอาภัสสระ รัศมีจากร่างกายของ

อาภัสสรเทพเหล่านั้น รุ่งเรืองสว่างไสวดุจขาดแล้ว ๆ ตกลงมาเหมือน

คบเพลิงมีด้าม จึงชื่อว่า อาภัสสรา. บรรดาเทพเหล่านั้น รัศมีเกิดขึ้น

เพราะเจริญทุติยฌานและตติยฌานทั้งสองในปัญจกนัยนิดหน่อย จึงชื่อ

ว่า ปริตตาภา. รัศมีเกิดขึ้นเพราะเจริญฌานปานกลาง จึงชื่อว่า

อัปปมาณาภา. รัศมีเกิดขึ้นเพราะเจริญฌานประณีต จึงชื่อว่า อาภัส-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

สรา. แต่ในที่นี้ท่านกำหนดเอาเทพทั้งหมดเหล่านั้น ด้วยการกำหนด

ชั้นยอด. กายของเทพเหล่านั้นทั้งหมด แผ่ซ่านเป็นอันเดียวกัน, แต่

สัญญาต่างกัน เพราะไม่มีวิตกมีแต่วิจาร และเพราะไม่มีทั้งวิตกและ

วิจาร.

บทว่า สุภกิณฺหา - พวกเทพสุภกิณหะ ได้แก่ พวกเทพผู้เปี่ยม

กระจายไปด้วยความงาม. อธิบายว่า มีรัศมีเป็นก้อนเดียวกันด้วยดี

รัศมีจากร่างกาย. รัศมีของพวกสุภกิณหเทพเหล่านั้นไม่ขาดเป็นตอน ๆ

เหมือนรัศมีของพวกอาภัสสรเทพ. พวกเทพปริตตสุภะ อัปปมาณสุภะ

สุภกิณหะเกิดขึ้นด้วยอำนาจตติยฌานในจตุกกนัย จตุตถฌานในปัญจก-

นัย อันเป็นฌานนิดหน่อย ปานกลาง และประณีต. พวกเทพทั้งหมด

เหล่านั้น พึงทราบว่า มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน

ด้วยสัญญาในจตุตถฌาน. เวหัปผละ ย่อมรวมเข้ากับ วิญญาณฐิติ

ข้อที่ ๔. อสัญญสัตว์ - สัตว์ไม่มีสัญญา ไม่สงเคราะห์เข้าในวิญญาณฐิติ

นี้ เพราะไม่มีวิญญาณ, สงเคราะห์เข้าใน สัตตาวาส - ภพเป็นที่อยู่

ของสัตว์.

สุทธาวาส - ภพเป็นที่อยู่ของผู้บริสุทธิ์ ดำรงอยู่ในฝ่ายแห่ง

วิวัฏฏะ (นิพพาน) มิใช่ดำรงอยู่ตลอดทุกกาล.ภพเทพสุทธาวาสย่อมไม่

เกิดในโลกที่ว่างจากพระพุทธเจ้าตลอดแสนกัปบ้าง, ตลอดอสงไขยกัปบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติในระหว่างหนึ่งหมื่นหกพันกัป ภพเทพสุทธาวาส

จึงเกิด. พวกเทพเหล่านั้นเป็นเหมือนกองทัพของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ประกาศพระธรรมจักร, เพราะฉะนั้นจึงไม่เป็นวิญญาณฐิติ. ทั้งไม่

รวมเข้ากับสัตตาวาส. พระมหาสีวเถระกล่าวโดยพระสูตรนี้ว่า ดูก่อน

สารีบุตร สัตตาวาสที่เราไม่เคยอาศัยอยู่ นอกจากเทพสุทธาวาสโดยกาล

ยาวนานนี้หาได้ไม่ง่ายนักแล ดังนี้แม้สุทธาวาสก็รวมเข้ากับวิญ-

ญาณฐิติที่ ๔ และสัตตาวาสที่ ๔, สูตรนั้นท่านเห็นตามด้วย เพราะ

เป็นสูตรที่ไม่ได้ห้ามไว้.

ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะวิญญาณละเอียดจะ

มีวิญญาณก็ไม่ใช่ ไม่มีวิญญาณก็ไม่ใช่ เหมือนสัญญาละเอียด, เพราะ

ฉะนั้นท่านจึงไม่กล่าวไว้ในวิญญาณฐิติ.

บทว่า อฏฺ โลกธมฺมา - โลกธรรม ๘ เหล่านี้ คือ ลาภ ๑

เสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ เสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑

ทุกข์ ๑ เมื่อความเป็นไปของโลกมีอยู่ ธรรมของโลก จึงเรียกว่า

โลกธรรม เพราะมีความเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา. ชื่อว่า สัตว์จะพ้น

จากโลกธรรมเหล่านี้ ย่อมไม่มี. จะมีก็แต่พระพุทธเจ้าเท่านั้น. ดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘

เหล่านี้ ย่อมหมุนไปตามโลก, และโลกก็ย่อมหมุนไปตามโลก

ธรรม ๘. โลกธรรม ๘ คืออะไรบ้าง. โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ๑

๑. ม.มู. ๑๒/๑๘๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

เสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ เสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑

สุข ๑ ทุกข์ ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ เหล่านี้

ย่อมหมุนไปตามโลก. และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘

เหล่านี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนุปริวตฺตนฺติ - ย่อมหมุนไปตาม

ได้แก่ ติดตามไป คือไม่ละ. อธิบายว่า ไม่กลับไปจากโลก.

บทว่า ลาโภ - ลาภ คือลาภของบรรพชิต มีจีวรเป็นต้น,

ของคฤหัสถ์ มีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้น. เมื่อไม่ได้ลาภนั้น ชื่อว่า

เสื่อมลาภ. เมื่อกล่าวว่า น ลาโภ อลาโภ ไม่ใช่ลาภ - ชื่อว่า ไม่มี

ลาภ ไม่ควรเข้าใจโดยความไม่มีประโยชน์.

บทว่า ยโส - ยศ ได้แก่ บริวารยศ. เมื่อไม่ได้ยศนั้น ชื่อว่า

เสื่อมยศ.

บทว่า นินฺทา คือ พูดกล่าวโทษ. บทว่า ปสสา คือ พูด

กล่าวถึงคุณ.

บทว่า สุข ได้แก่ สุขทางกายและสุขทางใจของกามาวจร.

บทว่า ทุกฺข ได้แก่ ทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจของปุถุชน

พระโสดาบัน พระสกทาคามี, พระอนาคามีและพระอรหันต์มีแต่ทุกข์

ทางกายเท่านั้น.

๑. อง อฏฺฐก. ๒๓/๙๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

บทว่า นว สตฺตาวาสา ได้แก่ ที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย, อธิบาย

ว่า สถานที่เป็นที่อยู่.

สถานที่อยู่เหล่านั้น ได้แก่ ขันธ์ อันเป็นที่ปรากฏรู้กันแล้ว.

สัตตาวาส ๙ คืออะไรบ้าง. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส ๙ เหล่านี้, สัตตาวาส ๙

คืออะไรบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน

มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ พวกเทพบางหมู่ พวกวินิ

ปาติกะ (เปรต) นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มี

สัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหม ผู้เกิด

ในปฐมฌาน นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ ๒.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน

มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสระ. นี้เป็นสัตตาวาส

ข้อที่ ๓.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน

มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ นี้เป็นสัตตาวาส

ข้อที่ ๔.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง ไม่มีสัญญา ไม่เสวย

เวทนา เช่น พวกเทพผู้เป็นอสัญญีสัตว์ นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ ๕.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงรูปสัญญา

โดยประการทั้งปวง ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจถึง สัญญาต่างกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

เข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อนนฺโต อากาโส - อากาศไม่มี

ที่สุด. นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ ๖.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงอากาสา-

นัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า

อนนฺต วิญญาณ - วิญญาณไม่มีที่สุด นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ ๗.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงวิญญาณัญจา-

ยตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่า นตฺถิ

กิญฺจิ - ไม่มีอะไร ๆ นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ ๘.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงอากิญจัญ-

ญายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ

นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ ๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส ๙

เหล่านี้แล.

บทว่า ทสายตนานิ ได้แก่ อายตนะ ๑๐ อย่างนี้ คือ จักขา-

ยตนะ ๑ รูปายตนะ ๑ โสตายตนะ ๑ สัททายตนะ ๑ ฆานายตนะ ๑

คันธายตนะ ๑ ชิวหายตนะ ๑ รสายตนะ ๑ กายายตนะ ๑ โผฏ-

ฐัพพายตนะ ๑. ส่วนมนายตนะ ธัมมายตนะ ท่านไม่จัดไว้ เพราะ

เจือด้วยโลกุตระ.

๕๗] ในการวิสัชนา ๑๐ เหล่านี้ ท่านกล่าวถึง ตีรณปริญญา

ด้วยอำนาจวิปัสสนา.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมี อาทิว่า สพฺพ ภิกฺขเว ปริญฺเยฺย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้ดังต่อไปนี้. ท่านกล่าวถึง

๑. อง. นวก. ๒๓/๒๒๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

ตีรณปริญญา ด้วยการได้เฉพาะธรรมเหล่านี้ คือธรรม ๓ มี อนัญญา-

ตัญญัสสามีตินทรีย์ ( อินทรีย์ คืออัธยาศัยที่มุ่งบรรลุมรรคผล ของ

ผู้ปฏิบัติ) เป็นต้น, ธรรม ๑๕ มี อนุปปาทธรรม เป็นต้น ของการ

ออกไปแห่งทุกข์เป็นต้น อันเป็นปฏิปทาของการดับทุกข์ เป็นการเจริญ

เพื่อทำให้แจ้ง เป็นการแทงตลอดธรรมเหล่านั้น, ธรรม ๓๑ มี

ปริคฺคหฏฺโ - สภาพที่กำหนดไว้, ธรรม ๓ มี อุตตริปฏิเวธัฏะ-

สภาพที่แทงตลอดยิ่งขึ้นไปเป็นต้น, ธรรม ๘ อันเป็นองค์มรรค,

ธรรม ๒ มีสภาพสงบแห่งปโยคะเป็นต้น, ธรรม ๒ มีสภาพออกไป

แห่งสภาพที่เป็นอสังขตะ, ธรรม ๓ มีสภาพตรัสรู้ตามสภาพที่นำสัตว์

ออกไปเป็นต้น, ธรรม ๓ มีอนุโพธนัฏฐะ - สภาพที่รู้ตาม เป็นต้น,

ธรรม ๓ มีอนุโพธปักขิยะ - ธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ตาม

เป็นต้น, ธรรม ๔ มีอุชโชตนัฏฐะ - สภาพที่รุ่งเรือง เป็นต้น,

ธรรม ๑๘ มีปตาปนัฏฐะ - สภาพที่ทำให้เร่าร้อน เป็นต้น, ธรรม ๙

มีวิวัฏฏนานุปัสสนา - การ - พิจารณาเห็นนิพพาน เป็นต้น. ญาณใน

ความสิ้นไป และญาณในความไม่เกิด นิพพานอันเป็นปัญญาวิมุตติ,

พึงทราบว่า ตีรณปริญญา ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาตามสมควร

แก่หมู่ธรรม และด้วยอำนาจการได้เฉพาะ.

๕๘ ] ท่านกล่าวถึงตีรณปริญญาด้วยอรรถว่า เข้าถึงกิจ ด้วย

บทว่า เยส เยส ธมฺมาน ฯเปฯ ติริตา จ ความว่า บุคคลผู้พยายาม

เพื่อจะได้ธรรมใด ๆ เป็นอันได้ธรรมนั้น ๆ แล้ว. ธรรมเหล่านั้นเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

ธรรมอันบุคคลกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้. เมื่อเข้าถึงกิจ

แล้ว เป็นอันได้ธรรมนั้น ๆ แล้ว. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ญาต-

ปริญญา ของผู้ยังไม่เข้าถึงวิปัสสนา นั่นไม่ดีเลย เพราะ ญาตปริญญา

ท่านกล่าวด้วยธรรมควรรู้ยิ่ง.

บทว่า ปริญฺตา เจว โหนฺติ ตีริตา จ ธรรมอันบุคคลกำหนด

รู้แล้ว และพิจารณาแล้ว ความว่า ธรรมอันบุคคลได้แล้ว ชื่อว่า

เป็นอันกำหนดรู้แล้ว และชื่อว่าพิจารณาแล้ว. เป็นอันท่านกล่าวความ

ที่กำหนดรู้ ด้วยการเข้าถึงสมาบัติอย่างนี้.

๕๙] บัดนี้ เพื่อประกอบอรรถนั้น ด้วยการได้ธรรมอย่าง

หนึ่ง ๆ แล้วแสดงสรุปในที่สุด พระสารีบุตร จึงกล่าวว่า เนกฺขมฺม

เป็นต้น. พึงทราบบททั้งหมดนั้น โดยทำนองตามดังที่ท่านกล่าวไว้แล้ว

ในตอนก่อนแล.

จบ อรรถกถาปริญเญยยนิทเทส

---------------------------------

ปหาตัพพนิทเทส

[๖๐] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ปฐมฌาน เป็นอัน

ได้ปฐมฌานแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำลังรู้แล้ว และ

พิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุติยฌาน ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน เป็นอันได้จตุตถฌานแล้ว . . . บุคคลผู้

พยายามเพื่อต้องการจะได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ. . . วิญญาณัญ-

จายตนสมาบัติ . . . อากิญจัญญายตนสมาบัติ. . . เนวสัญญานา-

สัญญายตนสมาบัติ เป็นอันได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว

ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้ว

อย่างนี้.

๖๑] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อนิจจานุปัสนา เป็น

อันได้อนิจจานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้

แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุกขา-

นุปัสนา ... อนัตตานุปัสนา . . . นิพพิทานุปัสนา . . . วิราคานุปัสนา. . .

นิโรธานุปัสนา . . . ปฏินิสสัคคานุปัสนา . . . ขยานุปัสนา . . . วยา-

นุปัสนา. . . วิปริณามานุปัสนา. . . อนิมิตตานุปัสนา... อัปปณิหิตา-

นุปัสนา. . . สุญญตานุปัสนา . . . เป็นอันได้สุญญตานุปัสนาแล้ว ธรรม

นั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้.

[๖๒] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา

การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอันได้อธิปัญญาธรรม

จะปัสสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและ

พิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ยถาภูตญาณ-

ทัสนะ. . . อาทีนวานุปัสนา. . . ปฏิสังขานุปัสนา. . . วิวัฏฏนานุปัสนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

. . . เป็นอันได้วิวัฏฏนานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้น

กำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้.

[๖๓] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้โสดาปัตติมรรค เป็น

อันได้โสดาปัตติมรรคแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนด

รู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้สกทา-

คามิมรรค . . . อนาคามิมรรค . . . อรหัตมรรค เป็นอันได้อรหัตมรรค

แล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้ว

อย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ธรรมใด ๆ เป็นอันได้ธรรม

นั้น ๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและ

พิจารณาแล้วอย่างนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่า

ปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา

เครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมา

แล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าสุตมยญาณ.

[๖๔] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่อง

รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ ชื่อว่าสุตมยญาณ

อย่างไร ?

ธรรมอย่างหนึ่งควรละ คือ อัสมิมานะ, ธรรม ๒ ควรละ คือ

อวิชชา ๑ ตัณหา ๑, ธรรม ๓ ควรละ คือ ตัณหา ๓, ธรรม ๔ ควรละ

คือ โอฆะ ๔, ธรรม ๕ ควรละ คือ นิวรณ์ ๕, ธรรม ๖ ควรละ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

หมวดตัณหา ๖, ธรรม ๗ ควรละ คือ อนุสัย ๗, ธรรม ๘ ควรละ คือ

มิจฉัตตะ - ความเป็นผิด ๘, ธรรม ๙ ควรละ คือ ธรรมมีตัณหาเป็น

มูลเหตุ ๙. ธรรม ๑๐ ควรละ คือ มิจฉัตตะ ๑๐.

[๖๕] ปหานะ ๒ คือ สมุจเฉทปหานะ ๑ ปฏิปัสสัทธิ-

ปหานะ ๑ สมุทเฉทปหานะ อันเป็นโลกุตรมรรค และปฏิปัสสัทธิ-

ปหานะอันเป็นโลกุตรผล ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรค

เครื่องให้ถึงความสิ้นไป.

ปหานะ ๓ คือ เนกขัมมะ เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกาม ๑

อรูปฌาน เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ๑ นิโรธ เป็นอุบายเครื่อง

สลัดออกแห่งสังขตธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาศัยกัน

และกันเกิดขึ้น ๑ บุคคลผู้ได้เนกขัมมะเป็นอันละและสละกามได้แล้ว

บุคคลผู้ได้อรูปฌานเป็นอันละและสละรูปได้แล้ว บุคคลผู้ได้นิโรธเป็น

อันละและสละสังขารได้แล้ว.

ปหานะ ๔ คือ บุคคลผู้แทงตลอดทุกขสัจ อันเป็นการแทง

ตลอดด้วยการกำหนดรู้ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑ บุคคลผู้แทงตลอด

สมุทัยสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยการละ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑

บุคคลผู้แทงตลอดนิโรธสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้ง

ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑ บุคคลผู้แทงตลอดมรรคสัจ อันเป็นการ

แทงตลอดด้วยการเจริญ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

ปหานะ ๕ คือ วิกขัมภนปหานะ ๑ ตทังคปหานะ ๑ สมุจ-

เฉทปหานะ ๑ ปฏิปัสสัทธิปหานะ ๑ นิสสรณปหานะ ๑ การละนิวรณ์

ด้วยการข่มไว้ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญปฐมฌาน การละทิฏฐิด้วยองค์

นั้น ๆ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญสมาธิอันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรก

กิเลส สมุจเฉทปหานะอันเป็นโลกุตรมรรค และปฏิปัสสัทธิปหานะ

อันเป็นโลกุตรผล ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรคเครื่อง

ให้ถึงความสิ้นไป และนิสสรณปหานะเป็นนิโรธ คือ นิพพาน.

[๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงควรละคืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ

จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด

ขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยควรละทุกอย่าง.

หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย

โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโน-

สัมผัส ฯลฯ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิด

ขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยควรละทุกอย่าง.

เมื่อพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมละ

กิเลสที่ควรละได้ เมื่อพิจารณาเห็นเวทนา . . . สัญญา. . . สังขาร . . .

วิญญาณ... จักษุ ... ชราและมรณะ โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น

ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ เมื่อพิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

ด้วยความเป็นอนัตตา ด้วยความว่าเป็นที่สุด ย่อมละกิเลสที่ควรละได้

ธรรมใด ๆ เป็นธรรมที่ละได้แล้วธรรมนั้น ๆ เป็นอันสละได้แล้ว ชื่อว่า

ญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ไดสดับมาแล้ว

คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ ชื่อว่า

สุตมยญาณ.

จบ ตติยภาณวาร

-----------------------------

อรรถกถาปหาตัพพนิทเทส

๖๐-๖๔] พึงทราบวินิจฉัยในปหาตัพพนิทเทส ดังต่อไปนี้.

บทว่า อสฺมิมาโน - มานะว่าเป็นเรา ได้แก่ ชื่อว่า มานะ เพราะ

เป็นเราในอุปาทานขันธ์ ๕ มีรูปเป็นต้น. จริงอยู่เมื่อละมานะนั้นได้

เป็นอันได้บรรลุพระอรหัต พึงทราบว่า แม้เมื่อรูปราคะเป็นต้น ยังมี

อยู่ก็ไม่กล่าวถึงสังโยชน์ที่เหลือกกล่าวถึงอัสมิมานะเท่านั้น เพราะอัสมิ-

มานะนั้นหยาบเทียบได้กับทิฏฐิ.

บทว่า อวิชฺชา คือความไม่รู้ในฐานะ ๔ มีทุกข์เป็นต้น โดย

สุตตันตปริยาย, การไม่รู้ในฐานะ ๘ กับที่สุดของเบื้องต้นเป็นต้น

โดยอภิธรรมปริยาย. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

ในธรรมเหล่านั้นอวิชชาเป็นไฉน ? อวิชชา

คือความไม่รู้ทุกข์ ๑ ไม่รู้ทุกขสมุทัย - ไม่รู้ทุกข-

นิโรธ ๑ ไม่รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ๑ ไม่รู้ส่วน

เบื้องต้น ๑ ไม่รู้ส่วนเบื้องปลาย ๑ ไม่รู้ทั้งส่วน

เบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ๑ ไม่รู้ปฏิจจสมุป-

ปาทธรรมอันเป็นอิทัปปัจจยตา - สิ่งนี้เป็นปัจจัย

ของสิ่งนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี.

บทว่า ภวตณฺหา ได้แก่ ปรารถนาในภพมีกามภพเป็นต้น. ดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ในตัณหา ๓ นั้น ภวตัณหาเป็นไฉน ? ภว-

ตัณหา คือ ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ

ความเพลิดเพลินในภพ ความอยากในภพ ความ

เสน่หาในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความสยบใน

ภพ ความพะวงหลงใหลในภพ.

บทว่า ติสฺโส ตณฺหา - ตัณหา ๓ ได้แก่ กามตัณหา ๑ ภว-

ตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑. ในอภิธรรมท่านชี้แจงตัณหาเหล่านั้นไว้

อย่างนี้ว่า ในตัณหา ๓ นั้น ภวตัณหาเป็นไฉน ? ราคะสหรคตด้วย

ภวทิฏฐิ ฯลฯ จิตมีราคะ นี้เรียกว่าภวตัณหา.

๑. อภิ. ส. ๓๔/๖๙๑. ๒. อภิ. วิ. ๓๕/๙๑๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

วิภวตัณหาเป็นไฉน ? ราคะสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ฯลฯ จิต

มีราคะ นี้เรียกว่าวิภวตัณหา. ตัณหานอกนั้นเป็นกามตัณหา

กามตัณหาเป็นไฉน ? ราคะประกอบด้วยกามธาตุ ฯลฯ จิตมี

ราตะ นี้เรียกว่ากามตัณหา.

ภวตัณหาเป็นไฉน ? ราคะประกอบด้วยรูปธาตุและอรูปธาตุ ฯลฯ

วิภวตัณหาเป็นไฉน ? ราคะสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ฯลฯ

แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ราคะเป็นไปในกามคุณ ๕ ชื่อว่า

กามตัณหา, ราคะในรูปภพและอรูปภพ ราคะสหรคตด้วยความใคร่

ในฌาน และสัสสตทิฏฐิ ความปรารถนาด้วยอำนาจภพ ชื่อว่า ภว-

ตัณหา, ราคะสหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่า วิภวตัณหา. นี้แก้ไว้

โดยปริยายแห่งทสุตตรสูตร. แม้ตัณหาท่านกล่าวไว้โดยปริยายแห่งสัง-

คีติ และโดยปริยายแห่งอภิธรรมว่า ตัณหา ๓ อย่างอื่นอีก คือ กาม-

ตัณหา รูปตัณหา อรูปตัณหา. อย่างอีกอีก ๓ คือ รูปตัณหา อรูป-

ตัณหา นิโรธตัณหา** ถูกต้องในนิทเทสนี้. ในตัณหาเหล่านั้น ตัณหา

๕ ประกอบด้วยกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ, ตัณหาสุดท้ายสหรคตด้วย

อุจเฉททิฏฐิ.

บทว่า จตฺตาโร โอฆา - โอฆะ ๔ คือ กาโมฆะ ๑ ภโวฆะ ๑

ทิฏโฐฆะ ๑ อวิชโชฆะ ๑. ชื่อว่า โอฆะ เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัตว์

๑. อภิ. วิ. ๓๕/๙๓๓. ๒. ที. ปา. ๑๑/๒๒๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

นั้นให้จมลงในวัฏฏะ. โอฆะทั้งหลายเหล่านี้เป็นกิเลสมีกำลัง. โอฆะใน

กาม ได้แก่ กามคุณ ชื่อว่า กาโมฆะ. คำว่า กาโมฆะ นี้เป็นชื่อ

ของ กามตัณหา. โอฆะในภพ ๒ อย่าง คือ รูปภพและอรูปภพ จาก

กรรม และจากอุปบัติ ชื่อว่า ภโวฆะ. คำว่า ภโวฆะ นี้ เป็นชื่อของ

ภวตัณหา. โอฆะ คือ ทิฏฐินั่นแล ชื่อว่า ทิฏโฐฆะ คำว่า ทิฏฺโฐ-

ฆะ นี้ เป็นชื่อของทิฏฐิมีอาทิว่า สสฺสโต โลโก - โลกเที่ยง. โอฆะ

คือ อวิชชานั่นแล ชื่อว่า อวิชโชฆะ. คำวำ อวิชโชฆะ นี้ เป็น

ชื่อของความไม่รู้ในทุกข์เป็นต้น.

บทว่า ปญฺจ นีวรณานิ - นิวรณ์ ๕ คือ กามฉันทะ ๑ พยา-

บาท ๑ ถีนมิทธะ ๑ อุทธัจจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑. ชื่อว่า นีวรณานิ

-เพราะห้าม คือ รัดรึงจิตไว้. ชื่อว่า กามา - เพราะเป็นเหตุใคร่.

ได้แก่ กามคุณ ๕. ความพอใจในกาม ชื่อว่า กามฉันทะ. อีกอย่าง

หนึ่ง ชื่อว่า กาโม เพราะย่อมใคร่. ความพอใจ คือ กาม, มิใช่ความ

พอใจใคร่จะทำ มิใช่ความพอใจในธรรม เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า กาม-

ฉันทะ. บทนี้เป็นชื่อของ กามตัณหา.

ชื่อว่า พฺยาปาโท เพราะจิตย่อมปองร้าย คือ ถึงความเสีย

ด้วยความปองร้ายนั้น, อีกอย่างหนึ่ง จิตยังวินัยอาจาระ รูปสมบัติ

ประโยชน์ สุข ให้ถึงความพินาศ. บทนี้เป็นชื่อของ โทสะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

ชื่อว่า ถีน เพราะความหดหู่, ชื่อว่า มิทฺธ เพราะความท้อแท้,

อธิบายว่า ความไม่เพิ่มพูน ความอุตสาหะและกำจัด ความไม่สามารถ.

จิตไม่ขะมักเขม้น ชื่อว่า ถีนะ, ความที่เจตสิกไม่ควรแก่การงาน ชื่อว่า

มิทธะ, ความหดหู่และท้อแท้ ชื่อว่า ถีนมิทธะ.

ความที่จิตฟุ้งซ่าน ชื่อว่า อุทฺธจฺจ ได้แก่ ความไม่สงบ. บทนี้

เป็นชื่อของความฟุ้งซ่าน. จิตทำความน้ำเกลียด ชื่อว่า กุกฺกต, ความ

ที่จิตทำความน่าเกลียด ชื่อว่า กุกฺกุจฺจ, อธิบายว่า ความเป็นผู้มี

กิริยาน่าติเตียน. บทนี้เป็นชื่อของความเดือดร้อนในภายหลัง.

ชื่อวา วิจิกิจฺฉา เพราะปราศจากความคิด, อธิบายว่า หมด

ปัญญา. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิจิกิจฉา เพราะเป็นเหตุค้นหาความ

จริง ยาก ลำบาก. บทนี้เป็นชื่อของความสงสัย. นิวรณ์ คือ กาม-

ฉันทะนั่นแล ชื่อว่า กามฉันทนิวรณ์. แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนี้.

บทว่า ฉ ธมฺมา ปาฐะว่า ฉทฺธมฺมา บ้าง. บทว่า ฉ

ตณฺหากายา - หมวดตัณหา ๖ คือ. รูปตัณหา ๑ สัททตัณหา ๑ คันธ-

ตัณหา ๑ รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ๒ ธรรมตัณหา ๑. ตัณหา

ในรูป ชื่อว่า รูปตัณหา. ตัณหานั้นนั่นแลท่านกล่าวว่า เป็นหมวด

ด้วยอรรถว่าเป็นกอง เพราะมีหลายประเภท โดยแยกกันมีกามตัณหา

เป็นต้น แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

บทว่า สตฺตานุสยา - อนุสัย ๗ คือ กามราคานุสัย ๑ ปฏิ-

ฆานุสัย ๒ มานานุสัย ๑ ทิฏฐานุสัย ๑ วิจิกิจฉานุสัย ๑ ภวราคา-

นุสัย ๑ อวิชชานุสัย ๑.

ชื่อว่า อนุสัย เพราะนอนเนื่องโดยอรรถว่าละไม่ได้. ความ

กำหนัดในกาม ชื่อว่า กามราคะ, อีกอย่างหนึ่ง ราคะ คือ กาม

ชื่อว่า กามราคะ. ชื่อว่า ปฏิฆะ เพราะกระทบกระทั่งในอารมณ์.

ชื่อว่า ทิฏฺิ เพราะอรรถว่า ไม่เห็นความเป็นจริง. ชื่อว่า มานะ

เพราะสำคัญว่าดีกว่าเขาเป็นต้น. ความกำหนัดในภพ ชื่อว่า ภวราคะ.

กามราคะมีกำลัง ชื่อว่า กามราคานุสัย. แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนี้.

บทว่า อฏฺ มิจฺฉตฺตา - ความเป็นผิด ๘ คือ มิจฉาทิฏฐิ ๑

มิจฉาสังกัปปะ ๑ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ ๑ มิจฉาอาชีวะ ๑

มิจฉาวายามะ ๑ มิจฉาสติ ๑ มิจฉาสมาธิ ๑. ชื่อว่า มิจฉัตตา - ความ

เป็นผิด เพราะมีสภาพผิดโดยที่แม้หวังอย่างนี้ว่า เขาจักนำประโยชน์

และความสุขมาให้แก่เราก็ไม่เป็นอย่างนั้น และโดยที่เป็นไปวิปริตใน

สิ่งไม่งามว่างามเป็นต้น. ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะเห็นผิด, หรือ

ทิฏฐิเป็นเหตุเห็นผิด, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะความ

เห็นวิปริต, หรือเพราะความเห็นไม่จริง, หรือเพราะความเห็นเหลวไหล,

หรือเพราะความเห็นอันบัณฑิตเกลียด เพราะนำความเสื่อมมาให้. แม้

ในคำว่า มิจฉาสังกัปปะ เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

บทว่า มิจฺฉาทิฏิ - เห็นผิด ได้แก่ ยึดมั่นสัสสตทิฏ และ

อุจเฉททิฏฐิ.

บทว่า มิจฺฉาสงฺกปฺโป - ดำริผิด ได้แก่ วิตก ๓ อย่างมีกาม-

วิตกเป็นต้น.

บทว่า มิจฺฉาวาจา - เจรจาผิด ได้แก่ เจตนา ๔ อย่างมีมุสา-

วาทเป็นต้น.

บทว่า มิจฺฉากมฺมนฺโต - การงานผิด ได้แก่ เจตนา ๓ อย่าง

มีปาณาติบาตเป็นต้น.

บทว่า มิจฺฉาอาชีโว - อาชีพผิด ได้แก่ เจตนาตั้งขึ้นโดยประ-

กอบมิจฉาอาชีวะ.

บทว่า มิจฺฉาวายาโม - เพียรผิด ได้แก่ ความเพียรประกอบ

ด้วยอกุศลจิต.

บทว่า มิจฺฉาสติ - ระลึกผิด ได้แก่ อกุศลจิตเกิดเป็นปฏิปักษ์

ต่อสติ.

บทว่า มิจฺฉาสมาธิ - ตั้งใจผิด ได้แก่ อกุศลสมาธิ.

บทว่า นว ตณฺหามูลกา - ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ ได้แก่

เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา เพราะอาศัยการแสวงหาจึงเกิด

๑. ที. มหา. ๑๐/๕๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

ลาภ ๑ เพราะอาศัยลาภจึงเกิดการตกลงใจ ๑ เพราะอาศัยการตกลงใจจึง

เกิดการรักใคร่พึงใจ เพราะอาศัยการรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง ๑

เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดการยึดถือ ๑ เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิด

ความตระหนี่ ๑ เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน ๑ เพราะ

อาศัยการป้องกัน อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย คือ การถือไม้ ถือมีด

การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูด

คำส่อเสียด การพูดปด ย่อมเกิดขึ้น ๑. ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙

เหล่านี้ ชื่อว่า ตัณหามูลกา เพราะธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ. การ

แสวงหาเป็นต้น เป็นอกุศลทั้งนั้น.

บทว่า ตณฺห ปฏิจฺจ คือ อาศัยตัณหา. บทว่า ปริเยสนา

คือ การแสวงหาอารมณ์มีรูปเป็นต้น. เพราะเมื่อตัณหามีอยู่ การแสวง

หานั้นก็มี.

บทว่า ลาโภ ได้แก่ การได้อารมณ์มีรูปเป็นต้น, เพราะเมื่อ

การแสวงหามีอยู่ ลาภนั้นก็มี. การตกลงใจมี ๔ อย่าง คือ ญาณ ๑

ตัณหา ๑ ทิฏฐิ ๑ วิตก ๑.

ในวินิจฉัย คือ การตกลงใจเหล่านั้น ชื่อว่า ญาณวินิจฺฉโย - การ

ตกลงใจด้วยความรู้ เพราะพึงรู้สุขวินิจฉัย ครั้นรู้สุขวินิจฉัยแล้วพึง

ขวนขวายหาความสุขในภายใน.

๑. ม.อุ. ๑๔/๖๕๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

ตัณหาวิจริต ๑๑๘ ที่ปรากฏอย่างนี้ว่า บทว่า วินิจฺฉโย ได้แก่

วินิจฉัย ๒ อย่าง คือ ตัณหาวินิจฉัย ๑ ทิฏฐิวินิจฉัย ๑. ชื่อว่า ตณฺหา-

วินจฺฉโย - การตกลงใจด้วยตัณหา.

ทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า ทิฏฺิวินิจฺฉโย - การตกลงใจด้วยทิฏฐิ. ใน

ที่นี้ท่านกล่าววิตกว่า วินิจฉยะ มาแล้วในสูตรนี้ว่า ฉนฺโท โข เท-

วานมินฺท วิตกฺกนิทาโน - ข้าแต่จอมเทพ ฉันทะแลมีวิตกเป็นเหตุ.

ครั้นได้ลาภแล้ว ย่อมตัดสินถึงสิ่งที่ชอบ ไม่ชอบ และดี ไม่ดี ด้วยวิตก

ว่า สิ่งมีประมาณเท่านี้จักมีแก่เราเพื่อประโยชน์แก่รูปารมณ์, มีประมาณ

เท่านี้จักมีแก่เราเพื่อประโยชน์แก่สัททารมณ์เป็นต้น, มีประมาณเท่านี้

จักเป็นของเรา, มีประมาณเท่านี้จักเป็นของผู้อื่น, มีประมาณเท่านี้เรา

จักใช้สอย, มีประมาณเท่านี้เราจักเก็บไว้. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ลาภ ปฏิจฺจ วินิจฺฉโย - อาศัยลาภจึงเกิดการ

ตกลงใจ.

บทว่า ฉนฺทราโค - การรักใคร่พึงใจ ได้แก่ เมื่อวิตกถึงวัตถุ

ด้วยอกุศลวิตกอย่างนี้แล้ว ย่อมเกิดราคะอย่างอ่อนและอย่างแรง. บทว่า

ฉนฺโท เป็นชื่อของราคะอย่างอ่อน, บทว่า ราโค เป็นชื่อของราคะ

อย่างแรง.

๑. ขุ. มหา. ๒๙/๔๗๐. ๒. ที. มหา. ๑๐/๒๕๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

บทว่า อชฺโฌสาน - ความพะวง ได้แก่ การตกลงอย่างแรงว่า

เรา ของเรา.

บทว่า ปริคฺคโห - ความยึดถือ ได้แก่ ทำความยึดถือด้วย

ตัณหาทิฏฐิ.

บทว่า มจฺฉริย - ตระหนี่ ได้แก่ ไม่ยอมให้เป็นสิ่งสาธารณะ

แก่คนอื่น, ด้วยเหตุนั้นโบราณาจารย์จึงกล่าวความหมายของ บทว่า

มัจฉริยะ ไว้อย่างนี้ว่า ท่านกล่าวว่า มัจฉริยะ เพราะเป็นไปใน

ความว่า ของอัศจรรย์นี้จงมีแก่เราเท่านั้น จงอย่ามีแก่ผู้อื่นเลย

บทว่า อารกฺโข - การป้องกัน ได้แก่ การรักษาด้วยดี ด้วย

ปิดประตู เก็บไว้ในหีบเป็นต้น.

ชื่อว่า อธิกรณ เพราะทำให้ยิ่ง. บทนี้เป็นชื่อของเหตุ.

บทว่า อารกฺขาธิกรณ - เป็นภาวนปุงสกลิงค์ ได้แก่ เหตุแห่ง

การป้องกัน.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีการถือไม้เป็นต้น ดังต่อไปนี้ การถือ

ไม้เพื่อป้องกันผู้อื่น ชื่อว่า พณฺฑาทาน. การถือศัสตรามีคมข้างเดียว

เป็นต้น ชื่อว่า สตฺถาทาน. การทะเลาะทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ชื่อว่า

กลโห. โกรธกันมาครั้งก่อน ๆ ชื่อว่า วิคฺคโห. โกรธกันครั้งหลัง ๆ

ชื่อว่า วิวาโท. บทว่า ตุวตุว ได้แก่ พูด มึง มึง ด้วยความไม่

เคารพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

บทว่า ทส มิจฺฉตฺตา - ความเป็นผิด ๑๐ คือ มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ

มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณะ มิจฉาวิมุตติ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มิจฺฉาาณ - รู้ผิด ได้แก่ โมหะเกิด

ขึ้น ด้วยคิดถึงอุบายในการทำชั่ว และด้วยอาการพิจารณาว่า เราทำชั่ว

ก็เป็นการทำของตนเอง.

บทว่า มิจฺฉาวมุตฺติ - พ้นผิด ได้แก่ เมื่อยังไม่พ้นสำคัญว่าพ้น.

๖๕] บัดนี้ เพื่อแสดงธรรมที่ควรละด้วยปหานะ มีประเภท

หลายอย่าง พระสารีบุตรจึงเริ่มบทมีอาทิว่า เทฺว ปหานานิ - ปหานะ

๒ ก็เมื่อรู้แจ้งปหานะแล้วควรรู้ธรรมที่ควรละด้วยปหานะนั้น ๆ. ใน

ปหานะ ๕ ท่านกล่าวถึงโลุกุตรปหานะ ๒ พร้อมกับ ปโยคะ ก่อนเว้น

ปหานะ ๒ ทางโลก และ นิสสรณปหานะ การละด้วยอุบายเครื่องสลัด

ออก อันไม่เป็น ปโยคะ.

ชื่อว่า สมุจเฉทะ เพราะปหานะเป็นเหตุทำให้กิเลสขาดไป

โดยชอบ, ชื่อว่า ปหานะ เพราะปหานะเป็นเหตุละกิเลส.

ชื่อว่า สมุจเฉทปหานะ เพราะละกิเลสอันเป็นสมุจเฉท ไม่ใช่

ละกิเลสที่ยังมีเหลือ.

ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิ เพราะกิเลสสงบ, ชื่อว่า ปหานะ เพราะ

ละกิเลส, การละอันเป็นความสงบ ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิปหานะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

ชื่อว่า โลกุตระ เพราะข้ามโลก. ชื่อว่า ขยคามี เพราะถึงความ

สิ้นไป ได้แก่ นิพพาน. ขยคามีและมรรค ชื่อว่า ขยคามิมรรค,

อธิบายว่า มรรคของผู้เจริญขยคามิมรรค ชื่อว่า สมุจเฉทปหานะ.

โลกุตรผล ในขณะแห่งผล ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิปหานะ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า กามานเมต นิสฺสรณ - เนก-

ขัมมะเป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามเป็นต้น. ชื่อว่า นิสสรณะ เพราะ

เนกขัมมะเป็นเหตุสลัดออกจากกาม จากรูป จากสังขตะ. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า นิสสรณะ เพราะออกไปจากกามเหล่านั้น. นิสสรณะ คือ

อสุภฌาน.

ชื่อว่า เนกขัมมะ เพราะออกจากกาม. หรือ ได้แก่ อนาคามิมรรค.

จริงอยู่อสุภฌาน ชื่อว่า นิสสรณะ เพราะข่มกามไว้ได้. ส่วน อุป-

ปาทิตอนาคามิมรรค - อนาคามิมรรคยังฌานให้เกิด ทำฌานนั้นให้

เป็นบาท ชื่อว่า อจฺจนฺตนิสฺสรณ - เป็นอุบายสลัดออกโดยส่วนเดียว

เพราะขาดจากกามโดยประการทั้งปวง. ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่า

สลายไป, อธิบายว่า อรูปมิใช่รูปเป็นปฏิปักษ์ต่อรูป ดุจอมิตรเป็นปฏิ-

ปักษ์ย่อมิตร, และดุจอโลภะเป็นต้น เป็นปฏิปักษ์ต่อโลภะเป็นต้น. อีก

อย่างหนึ่ง ชื่อว่า อรูป เพราะอรรถว่า ในฌานนี้ไม่มีรูปด้วยอำนาจ

แห่งผล, อรูปนั่นแล ชื่อว่า อารุปฺป - อรูปฌาน. อารุปปะ คือ

อรูปฌาน. อรูปฌานเหล่านั้นเป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป. อรหัต-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

มรรค ชื่อว่า อุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูปโดยประการทั้งปวง เพราะ

ห้ามการเกิดใหม่ด้วยอรูปฌาน. บทว่า ภูต คือ เกิดแล้ว. บทว่า

สงฺขต คือ อาศัยปัจจัยปรุงแต่ง.

บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺน - ธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น ได้แก่

ปัจจัยนั้น ๆ เกิดขึ้นโดยชอบและร่วมกัน. เป็นอันท่านแสดงความไม่

เที่ยง ด้วยแสดงถึงความเกิดครั้งแรก, เมื่อมีความไม่เที่ยงครั้งที่ ๒ ท่าน

ก็แสดงถึงความเป็นไปในเบื้องหน้าด้วยการแสดงถึงอานุภาพของปัจจัย,

เมื่อมีความเป็นไปในเบื้องหน้าครั้งที่ ๓ ท่านก็แสดงถึงความเป็นธรรมดา

อย่างนี้ ด้วยการแสดงถึงความเป็นผู้ขวนขวายปัจจัย.

บทว่า นิโรโธ คือ นิพพาน. ท่านกล่าวว่า นิโรโธ เพราะ

อรรถว่า อาศัยนิพพานดับทุกข์. นิโรธ นั้น ชื่อว่า เป็นอุบายสลัดออก

แห่งสังขตะนั้น เพราะสลัดออกจากสังขตะทั้งหมด. ส่วนในอรรถกถา

ท่านกล่าวไว้ว่า

ในบทนี้ว่า นิโรโธ ตสฺส นิสฺสรณ - นิโรธ

เป็นอุบายสลัดออกแห่งสังขตะนั้น ท่านประสงค์

อรหัตผลว่า นิโรธ. จริงอยู่เมื่อเห็นนิพพานด้วย

อรหัตผล สังขารทั้งปวงก็จะไม่มีต่อไปอีก เพราะ

เหตุนั้นท่านจึงกล่าว นิโรโธ เพราะเป็นปัจจัย

แห่งนิโรธอันได้แก่พระอรหัต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

พึงทราบวินิจฉัยโดยบทมีอาทิว่า เนกฺขมฺม ปฏิลทฺธสฺส - เมื่อ

บุคคลผู้ได้เนกขัมมะแล้วมีดังต่อไปนี้ เมื่อบุคคลผู้ได้เนกขัมมะเป็นอัน

ละและสละกามได้แล้ว ด้วย วิกขัมภนปหานะในเพราะอุบายสลัดออก

แห่งอสุภฌาน. ด้วย สมุจเฉทปหานะ ในเพราะอบายสลัดออกแห่ง

อนาคามิมรรค. พึงประกอบรูปทั้งหลายอย่างนี้ในเพราะอุบายสลัดออก

แห่งอรูปฌานและในเพราะอุบายสลัดออกแห่งอรหัตมรรค. การตัดขาด

รูปย่อมมีด้วยการละฉันทราคะในรูปทั้งหลาย, อนึ่งในบทว่า รูปา นี้

เป็นลิงควิปาลาส. เมื่อบุคคลผู้ได้นิโรธเป็นอันละและสละสังขารได้แล้ว

ด้วย นิสสรณปหานะ ในเพราะพระนิพพานเป็นเครื่องสลัดออก, ด้วย

ปฏิปัสสัทธิปหานะในเพราะอรหัตผลเป็นเครื่องสลัดออก. พึงทราบว่า

การได้เฉพาะด้วยสามารถทำให้เป็นอารมณ์ ในเพราะความที่พระ

นิพพานเป็นเครื่องสลัดออก

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ทุกฺขสจฺจ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ปริญฺาปฏิเวธ - การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้เป็น

ต้น เป็นภาวนปุงสกะ. การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ ชื่อว่า ปริญฺ-

าปฏิเวธ. ทุกขสัจนั้นเป็นการแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้. แม้ใน

บทที่เหลือก็มีนัยนี้.

บทว่า ปชหาติ - ย่อมละ พึงถือเอาความว่า บุคคลผู้แทงตลอด

ได้อย่างนั้น ๆ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้. อธิบายว่า ย่อมละกิเลสเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

ด้วยละฉันทราคะแม้ในโลกิยะและโลกุตระ. ปาฐะว่า ปชหติ บ้าง.

มรรคญาณย่อมตรัสรู้อริยสัจ ๔ ในขณะเดียวกันไม่ก่อนไม่หลัง. ย่อม

ตรัสรู้ทุกข์ ด้วยปริญญาภิสมัย - การตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้, ย่อม

ตรัสรู้สมุทัย ด้วยปหานาภิสมัย - การตรัสรู้ด้วยการละ, ย่อมตรัสรู้

มรรค ด้วยภาวนาภิสมัย - การตรัสรู้ด้วยการทำให้เกิด, ย่อมตรัสรู้

นิโรธ ด้วยสัจฉิกิริยาสมัย - การตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง. เหมือนเรือ

ย่อมทำกิจ ๔ อย่างในขณะเดียวกัน, ย่อมละฝั่งใน, ตัดกระแส, นำ

สินค้าไป, ย่อมถึงฝั่งโน้น ฉะนั้น. ท่านอธิบายไว้อย่างไร ? พึงทราบ

ว่า ท่านกล่าวถึง ปหานะ แม้ในขณะเดียวกันก็ดุจแยกกัน เพราะ

ท่านกล่าวว่า พระโยคาวจรท่านิโรธให้เป็นอารมณ์ ย่อมบรรลุ ย่อม

เห็น ย่อมแทงตลอดอริยสัจ ๔.

พึงทราบวินิจฉัยในปหานะ ๕ ดังต่อไปนี้ การข่ม การทำให้ กล

ซึ่งปัจนิกธรรมมีนิวรณ์เป็นต้น ด้วยโลกิยสมาธินั้น ๆ ดุจเอาหม้อ

เหวี่ยงลงไปในน้ำที่มีแหน ทำให้แหนกระจายไปใกล้ ฉะนั้น นี้ชื่อว่า

วิกขัมภนปหานะ.

บทว่า วิกฺขมฺภนปหานญฺจ นีวรณาน ปมชฺณาน ภาว-

ยโต - การละนิวรณ์ด้วยการข่มไว้ ย่อมมีแก่ผู้เจริญปฐมฌาน พึง

ทราบว่า ท่านกล่าวถึงการละนิวรณ์ เพราะนิวรณ์ปรากฏ. อันที่จริง

นิวรณ์ยังไม่ครอบงำจิตเร็วนักทั้งในส่วนเบื้องต้น ทั้งในส่วนเบื้องหลัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

แห่งฌาน. เมื่อจิตถูกนิวรณ์ครอบงำ ฌานย่อมเสื่อม, แต่วิตกเป็นต้น

ยังเป็นไปได้ไม่เป็นปฏิปักษ์ทั้งก่อนหลังตั้งแต่ทุติยฌานเป็นต้น. เพราะ

ฉะนั้น การข่มนิวรณ์จึงปรากฏ. การละธรรมที่ควรละนั้น ๆ โดยเป็น

ปฏิปักษ์กันด้วยองค์ฌานอันเป็นส่วนของวิปัสสนานั้น ๆ ดุจตามประทีป

ไว้ในตอนกลางคืนละความมืดเสียได้ นี้ชื่อว่า ตทังคปหานะ.

บทว่า ตทงฺคปฺปหานญฺจ ทิฏฺิคตาน นิพฺเพธภาคิย สมาธึ

ภาวยโต - การละทิฏฐิด้วยองค์นั้น ๆ ย่อมมีแก่ผู้เจริญสมาธิอันเป็นไป

ในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงการละทิฏฐิโดย

เป็นของหยาบ. เพราะทิฏฐิเป็นของหยาบ, นิจสัญญาเป็นต้นละเอียด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺิคตาน คือ ทิฏฐินั่นแล ชื่อว่า

ทิฏฐิคตะ ดุจบทมีอาทิว่า คูถคต มุตฺตคต - คูถมูตร. ทิฏฐิคตะ

นี้เที่ยวไปด้วยทิฏฐิ เพราะความเป็นของที่ควรไปบ้าง ชื่อว่า ทิฏิ-

คตะ. ไปในทิฏฐิ เพราะหยั่งลงภายในทิฏฐิ ๖๒ บ้าง ชื่อว่า ทิฏิ-

คตะ. ทิฏฐิคตะเหล่านั้น ท่านกล่าวเป็นพหุวจนะ.

บทว่า นิพฺเพธภาคิย สมาธึ - สมาธิอันเป็นไปในส่วนแห่ง

การชำแรกกิเลส ได้แก่ สมาธิสัมปยุตด้วยวิปัสสนา. การละโดยอาการ

ที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไปแห่งธรรมอันเป็นสังโยชน์ ด้วยอริยมรรคญาณ

ดุจต้นไม้ที่ถูกสายฟ้าฟาด นี้ชื่อว่า สมุจเฉทปหานะ.

๑. องฺ. นวก. ๒๓/๒๑๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

บทว่า นิโรโธ นิพฺพาน - นิโรธ คือ นิพพาน ได้แก่

นิพพาน กล่าวคือ นิโรธ.

๖๖] เพื่อแสดงธรรมที่ควรละด้วย ปหานะ อย่างนี้แล้วแสดง

ธรรมที่ควรละอีกโดยสรุป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพุทธพจน์มีอาทิว่า

สพฺพ ภิกฺขเว ปหาตพฺพ - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ.

ในธรรมเหล่านั้น ควรละธรรมมีจักษุเป็นต้น ด้วยการละฉันท-

ราคะ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า รูป ปสฺสนฺโต ปชหาติ - เมื่อ

เห็นรูปย่อมละ ได้แก่ เมื่อพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยง

เป็นต้น ย่อมละกิเลสที่ควรละได้. เมื่อพิจารณาเห็น สำรวจ เพ่ง

ปรารถนา อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ในสองไปยาลว่า จกฺขุ ฯเปฯ

ชรามรณ ฯเปฯ อมโตคธ นิพฺพาน, อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์

ในโลกุตรธรรมเหล่านั้น มีอาทิว่า ปสฺสนฺโต ปชหาติ - เมื่อพิจารณา

เห็น ย่อมละได้ ย่อมละกิเลสที่ควรละ ในขณะแห่งวิปัสสนา เพราะ

เหตุนั้นควรประกอบโดยอนุรูปแก่ธรรมนั้น ๆ.

จบ อรรถกถาปหาตัพพนิทเทส

จบ อรรถกถาตติยภาณวาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

จตุตถภาณวาร - ภาเวตัพพนิเทส

[๖๗]ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่อง

รู้ชัดธรรมทั้งได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ชื่อว่าสุตมย-

ญาณอย่างไร ?

ธรรมอย่างหนึ่งควรเจริญ คือ กายคตาสติอันสหรคตด้วยความ

สำราญ. ธรรม ๒ ควรเจริญ คือ สมถะ ๑. วิปัสสนา ๑. ธรรม ๓

ควรเจริญ คือ สมาธิ ๓. ธรรม ๔ ควรเจริญ คือ สติปัฏฐาน ๔.

ธรรม ๕ ควรเจริญ คือ สัมมาสมาธิมีองค์ ๕. ธรรม ๖ ควรเจริญ

คือ อนุสติ ๖. ธรรม ๗ ควรเจริญ คือ โพชฌงค์ ๗. ธรรม ๘

ควรเจริญ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘. ธรรม ๙ ควรเจริญ คือ องค์

อันเป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์ - ปาริสุทธิ ๙. ธรรม ๑๐ ควร

เจริญ คือ กสิณ ๑๐.

[ ๖๘ ]ภาวนา ๒ คือโลกิยภาวนา ๑ โลกุตรภาวนา ๑.

ภาวนา ๓ คือ การเจริญธรรมอันเป็นรูปาวจรกุศล ๑ การเจริญธรรม

อันเป็นอรูปาวจรกุศล ๑ การเจริญกุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก

คือโลกุตรกุศล ๑. การเจริญธรรมอันเป็นรูปาวจรกุศล เป็นส่วนเลว

ก็มี เป็นส่วนปานกลางก็มี เป็นส่วนประณีตก็มี, การเจริญธรรมอัน

เป็นอรูปาวจรกุศล เป็นส่วนเลวก็มี เป็นส่วนปานกลางก็มี เป็นส่วน

ประณีตก็มี, การเจริญกุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก เป็นส่วนประณีต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

อย่างเดียว. ภาวนา ๔ คือ เมื่อแทงตลอดทุกขสัจ อันเป็นการแทง

ตลอดด้วยปริญญา ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑ เมื่อแทงตลอดสมุทยสัจอันเป็น

การแทงตลอดด้วยปหานะ ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑ เมื่อแทงตลอดนิโรธสัจ

อันเป็นการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑ เมื่อแทงตลอด

มรรคสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยภาวนา ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑ ภาวนา ๔ นี้.

[๖๙]ภาวนา ๔ อีกประการหนึ่ง คือ เอสนาภาวนา ๑

ปฏิลาภภาวนา ๑ เอกรสาภาวนา ๑ อาเสวนาภาวนา ๑.

เอสนาภาวนาเป็นไฉน ? เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิอยู่

ธรรมทั้งหลายที่เกิดในธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้นนั้น มีกิจเป็นอย่าง

เดียวกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้ จึงชื่อว่าเอสนาภาวนา .

ปฏิลาภภาวนาเป็นไฉน ? เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิแล้ว

ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอัปปนานั้น ไม่เป็นไปล่วงกันและกัน เพราะ

ฉะนั้น ภาวนานี้ จึงชื่อว่าปฏิลาภภาวนา.

[๗๐]เอกรสาภาวนาเป็นไฉน ? เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัท-

ธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจอย่างเดียว

กันด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วย

อรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญ

วีริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ . . . เมื่อเจริญสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

มั่น ... เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน . . . เมื่อเจริญปัญ-

ญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจอย่างเดียวกันด้วย

สามารถปัญญินทรีย์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์

ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน.

เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธาพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหว

เพราะอสัทธิยะ พละอีก ๔ อย่าง มีกิจอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัทธา-

พละ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่าพละทั้งหลายมีกิจ

เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญวีริยพละ ด้วยอรรถว่าไม่

หวั่นไหวเพราะโกสัชชะ. . . เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติพละ. ด้วยอรรถ

ว่าไม่หวั่นไหวเพราะปมาทะ . . .เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิพละ ด้วย

อรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ...เมื่อพระโยคาวจรเจริญปัญญาพละ

ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา พละอีก ๔ อย่าง มีกิจเป็น

อย่างเดียวกันด้วยสามารถปัญญาพละ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา

ด้วยอรรถว่าพละทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน.

เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติสัมโพชฌงค์ ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น

โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสติสัมโพช-

ฌงค์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีกิจ

เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ด้วย

อรรถว่าเลือกเฟ้น ... เมื่อเจริญวีริยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าประคองไว้...

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

เมื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่า ซาบซ่านไป. ..เมื่อเจริญปัสสัทธิ

สัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าสงบ...เมื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่า

ไม่ฟุ้งซ่าน...เมื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าพิจารณาหาทาง

โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถอุเบกขาสัม-

โพชฌงค์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าโพชฌงค์ทั้งหลาย

มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน.

เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็นชอบ องค์

มรรคอีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาทิฏฐิ เพราะ

ฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าองค์มรรคทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียว

กัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าตรึก . . .เมื่อ

เจริญสัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนดเอา...เมื่อเจริญสัมมากัมมันตะด้วย

อรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ... เมื่อเจริญสัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว .. .

เมื่อเจริญสัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ...เมื่อเจริญสัมมาสติด้วย

อรรถว่าตั้งมั่น ... เมื่อเจริญสัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน องค์มรรค

อีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาสมาธิ เพราะ

ฉะนั้น ชื่อว่าภาวนาด้วยอรรถว่าองค์มรรคทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียว

กัน ภาวนานี้ ชื่อว่าเอกรสาภาวนา.

[๗๑] อาเสวนาภาวนาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เสพเป็นอันมากซึ่งสมาธิที่ถึงความชำนาญ ตลอดเวลาเช้าก็ดี ตลอด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

เวลาเที่ยงก็ดี ตลอดเวลาเย็นก็ดี ตลอดเวลาก่อนภัตก็ดี ตลอดเวลา

หลังภัตก็ดี ตลอดยามต้นก็ดี ตลอดยามหลังก็ดี ตลอดคืนก็ดี ตลอด

วันก็ดี ตลอดคืนและวันก็ดี ตลอดกาฬปักษ์ก็ดี ตลอดชุณหปักษ์ก็ดี

ตลอดฤดูฝนก็ดี ตลอดฤดูหนาวก็ดี ตลอดฤดูร้อนก็ดี ตลอดส่วนวัยต้น

ก็ดี ตลอดส่วนวัยกลางก็ดี ตลอดส่วนวัยหลังก็ดี ภาวนานี้ชื่อว่า

อาเสวนาภาวนา ภาวนา ๔ ประการนี้.

[๗๒] ภาวนา ๔ อีกประการหนึ่ง คือ ภาวนา ด้วยอรรถว่า

ไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น ๑ ภาวนาด้วย

อรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ๑ ภาวนาด้วยอรรถว่า

นำไปซึ่งความเพียรอันเข้าถึงธรรมนั้น ๆ ๑ ภาวนาด้วยอรรถว่าเสพเป็น

อันมาก ๑

[๗๓] ภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรม

ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น อย่างไร.

เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ

เนกขัมมะย่อมไม่ล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วย

อรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น เมื่อ

พระโยคาวจรละพยาบาท ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถความไม่

พยาบาท ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...เมื่อละถีนมิทธะ ธรรมทั้งหลายที่เกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

ด้วยสามารถอาโลกสัญญา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน . . . เมื่อละอุทธัจจะ

ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมไม่ล่วงกันและ

กัน ...เมื่อละวิจิกิจฉา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถการกำหนด

ธรรม ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...เมื่อละอวิชชา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วย

สามารถแห่งญาณ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน . . . เมื่อละอวิชชา ธรรมทั้งหลาย

ที่เกิดด้วยสามาร ความปราโมทย์ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน . . . เมื่อละ

นิวรณ์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถปฐมฌาน ย่อมไม่

ล่วงกันและกัน ... เมื่อละวิตกและวิจารธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ

ทุติยฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน. . .เมื่อละปีติ ธรรมทั้งหลายที่เกิด

ด้วยสามารถตติยฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน . . . เมื่อละสุขและทุกข์

ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถจตุตถฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน . . .

เมื่อละรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วย

สามารถอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน . . . เมื่อละ

อากาสานัญจายตนสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิญญาณัญ-

จายตนสมาบัติย่อมไม่ล่วงกันและกัน. . . เมื่อละวิญญาณัญจายตนสัญญา

ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกัน

และกัน ... เมื่อละอากิญจัญญายตนสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วย

สามารถเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...เมื่อ

ละนิจสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนิจจานุปัสนา ย่อม

ไม่ล่วงกันและกัน ...เมื่อละสุขสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 362

ทุกขานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...เมื่อละอัตตสัญญา ธรรม

ทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนัตตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละความเพลิดเพลิน ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถนิพพิทานุ-

ปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...เมื่อละราคะ ธรรมทั้งหลายที่เกิด

ด้วยสามารถวิราคานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...เมื่อละมนสัญญา

ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถขยานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...

เมื่อละสมุทัย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถนิโรธานุปัสนา ย่อมไม่

ล่วงกันและกัน ...เมื่อละความถือมั่น ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ

ปฏินิสสัคคานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอายูหนะ - การ

ทำความเพียรเพื่อประโยชน์แก่สังขาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ

วยานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน... เมื่อละธุวสัญญา - ความสำคัญ

ว่ายั่งยืน ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิปริณามานุปัสนา ย่อมไม่

ล่วงกันและกัน ...เมื่อละนิมิต ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนิมิต-

ตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...เมื่อละปณิธิ ธรรมทั้งหลายที่เกิด

ด้วยสามารถอัปปณิหิตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอภิ-

นิเวส - ความยึดมั่นว่ามีตัวตน ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ

สุญญตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...เมื่อละสาราทานาภินิเวส

- ความยึดมั่นด้วยการถือว่าเป็นแก่นสาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วย

สามารถอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา - ความเห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วยปัญญาอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 363

ยิ่ง ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละสัมโมหาภินิเวส - ความยึดมั่น

ด้วยความหลงใหล ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถยถาภูตญาณทัสนะ

ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...เมื่อละอาลยาภินิเวส - ความยึดมั่นด้วยความ

อาลัย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอาทีนวานุปัสนา ย่อมไม่ล่วง

กันและกัน ...เมื่อละอัปปฏิสังขา - ความไม่พิจารณา ธรรมทั้งหลาย

ที่เกิดด้วยสามารถปฏิสังขานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน...เมื่อละ

สัญโญคาภินิเวส - ความยึดมั่นด้วยกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ ธรรมทั้ง

หลายที่เกิดด้วยสามารถวิวัฏฏนานุปัสนา - ความตามเห็นกามเป็นเครื่อง

ควรหลีกไป ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละกิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับ

ทิฏฐิ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถโสดาปัตติมรรค ย่อมไม่ล่วงกัน

และกัน ... เมื่อละกิเลสอย่างหยาบ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ

สกทาคามิมรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน . . . เมื่อละกิเลสอย่างละเอียด

ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยความสามารถอนาคามิมรรค ย่อมไม่ล่วงกัน

และกัน . . .เมื่อละกิเลสทั้งปวง ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอรหัต-

มรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถ

ว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยความไม่ล่วงกันและกัน ชื่อว่าภาวนา

ด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงกันและกัน อย่าง

นี้.

[๗๔] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น

อย่างเดียวกันอย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 364

เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่าง

เดียวกันด้วยสามารถเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถ

ว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อละพยาบาท อินทรีย์ ๕

มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลส

ทั้งหมด อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถอรหัตมรรค

เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่าง

เดียวกัน ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่าง

เดียวกัน อย่างนี้.

[๗๕] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอัน

สมควรแก่ธรรมนั้น ๆ อย่างไร ?

พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วย

สามารถเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่ง

ความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้น ๆ เมื่อละพยาบาท ย่อมนำไปซึ่ง

ความเพียรด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง

ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่า

ภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้น ๆ ชื่อว่า

ภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้น ๆ

อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 365

[๗๖]ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก อย่างไร ?

เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งเนก-

ขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก เมื่อ

ละพยาบาทย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลส

ทั้งปวง ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา

ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก

อย่างนี้ ภาวนา ๙ ประการนี้.

พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูป ชื่อว่าเจริญภาวนา พิจารณา

เห็นเวทนา . . . พิจารณาเห็นสัญญา. . . พิจารณาเห็นสังขาร . . .พิจารณา

เห็นวิญญาณ . . .พิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ พิจารณาเห็นชราและมรณะ

. . . พิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงในอมตะด้วยอรรถว่าเป็นที่ ชื่อว่า

เจริญภาวนา ธรรมใด ๆ เป็นธรรมอันเจริญแล้ว ธรรมนั้น ๆ ย่อมมี

กิจเป็นอย่าเดียวกัน ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ๆ ชื่อว่า

ปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาความ

ทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้ว

ว่า ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ชื่อว่าสุตมยญาณ.

จบ จตุตถภาณวาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 366

อรรถกถาภาเวตัพพนิทเทส

[๖๗]พึงทราบวินิจฉัยในภาเวตัพพนิทเทส ดังต่อไปนี้ บทว่า

กายคตาสติ ได้แก่ สติสัมปยุตด้วยการมนสิการถึงอานาปานสติ อิริ-

ยาบถ ๔ อิริยาบถเล็กน้อย อาการ ๓๒ ธาตุ ๔ ป่าช้า ๙ และการ

กำหนดสิ่งเป็นปฏิกูล ท่านกล่าวไว้แล้วในสูตรอันว่าด้วยกายคตาสติและ

สัมปยุตด้วยรูปฌานตามสมควร. สตินั้นท่านกล่าวว่า กายคตา เพราะ

ไป คือ เป็นไปในกายเหล่านั้น.

บทว่า สาตสหคตา - สติสหรคตด้วยความสำราญ ได้แก่ ถึง

ภาวะมีเกิดขึ้นครั้งเดียวเป็นต้นกับด้วยความสำราญ กล่าวคือ การเสวย

สุขอันหวานชื่น. สหคตะศัพท์ปรากฏในชินวจนะลงในอรรถ ๕ ประการ

คือ ในตัพภาวะ - ความกำหนัดด้วยความพอใจ ๒ ในโวกิณณะ-

ความเจือ ๑ ในอารัมมณะ - อารมณ์ ๑ ในนิสสยะ - นิสัย ๑

ในสังสัฏฐะ - ความเกี่ยวข้อง ๑.

ปรากฏในอรรถร่า ตัพพภาวะ ดังในบทนี้ว่า ยาย ตณฺหา

โปโนพฺภวิกา นนฺทิราคสหคตา - ตัณหาทำให้เกิดภพใหม่สหรคตด้วย

นันทิราคะ, อธิบายว่า เป็นความกำหนัดด้วยความพอใจ. ปรากฏใน

อรรถว่า โวกิณณะ ดังในบทนี้ว่า ยา ภิกฺขเว วีมสา โกสชฺช-

สหคตา โกสชฺชสมิปยุตฺตา - วิมังสา สหรคตด้วยโกสัชชะ สัมป-

ยุตด้วยโกสัชชะ, อธิบายว่า วีมังสาเจือด้วยโกสัชชะเกิดขึ้นในระหว่าง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

ปรากฏในบทว่า อารัมมณะ ดังในบทนี้ว่า ลาภี โหติ รูปสหคตาน

วา สมาปตฺตีน อรูปสหคตาน วา สมาปตฺตีน - ผู้ได้สมาบัติสหรคต

ด้วยรูป หรือสหรคตด้วยอรูป, อธิบายว่า สมาบัติอันมีรูปเป็นอารมณ์

และมีอรูปเป็นอารมณ์. ปรากฏในอรรถว่า นิสสยะ ดังในบทนี้ว่า

อฏฺิกสญฺญาสหคต สติสมฺโพชฺฌงฺค ภาเวติ - ภิกษุเจริญสติสัมโพช-

ฌงค์ หรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา, อธิบายว่า เจริญอัฏฐิกสัญญา อันมี

อัฏฐิกสัญญานอนเนื่องอยู่ในสันดานเป็นอันได้เฉพาะแล้ว. ปรากฏใน

อรรถว่า สังสัฏฐะ ดังในบทนี้ว่า อิท สุข อิมาย ปีติยา สหคต

โหติ สหชาต สมิปยุตฺต - สุขนี้สหรคต คือเกิดร่วม คือสัมปยุตด้วย

ปีตินี้, อธิบายเกี่ยวข้องกัน. แม้ในบทนี้ ท่านก็ประสงค์เอาความ

เกี่ยวข้องกัน. เพราะสติเกี่ยวข้องด้วยความสำราญ ท่านกล่าวว่า สาต-

สหคตา - สหรคตด้วยความสำราญ.

จริงอยู่ สติเกี่ยวข้องด้วยความสำราญนั้น เว้นจตุตถฌานใน

ฌานที่เหลือย่อมเป็น สาตสหคตา - สหรคตด้วยความรำราญ, แม้เมื่อ

สติสหรคตด้วยอุเบกขามีอยู่ โดยมากท่านก็กล่าวว่า สาตสหคตา, อีก

อย่างหนึ่ง เพราะจตุตถฌานเป็นมูลของปุริมฌานเป็นอันท่านกล่าวถึง

สติหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง เพราะสหรคตด้วยความสำราญ, ก็เมื่อ

ความสุขมีอยู่ด้วยอุเบกขา สติจึงเป็น สาตสหคตา เพราะพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ด้วยเหตุนั้นจึงเป็นอันท่านกล่าวถึงสติสัมปยุต

ด้วยจตุตถฌานด้วย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 368

บทว่า สมโถ จ วิปสฺสนา จ - สมถะและวิปัสสนา. ชื่อว่า

สมถะ เพราะยังธรรมที่เป็นข้าศึก มีกามฉันทะเป็นต้นให้สงบ คือให้

หมดไป สมถะนี้เป็นชื่อของสมาธิ. ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะเห็น

ธรรมโดยอาการหลายอย่าง โดยมีความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น วิปัส-

สนานี้เป็นชื่อของปัญญา. ในสองบทนี้ ในทสุตตรปริยายสูตร ท่าน

กล่าวว่า เป็นบุพภาค, และในสังคีติปริยายสูตร ท่านกล่าวว่า เจือ

ด้วยโลกิยะและโลกุตระ.

บทว่า ตโย สมาธี - สมาธิ ๓ ได้แก่ สมาธิมีวิตกไม่มีวิจาร ๑

สมาธิไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ๑ สมาธิไม่มีทั้งวิตกไม่มีทั้งวิจาร ๑. สมาธิ

พร้อมด้วยวิตกเป็นไปด้วยอำนาจสัมปยุตธรรม ชื่อว่า สวิตกฺโก,

สมาธิพร้อมด้วยวิจาร ชื่อว่า สวิจาโร. สมาธินั้น เป็นขณิกสมาธิ-

สมาธิชั่วขณะ เป็นวิปัสสนาสมาธิ - สมาธิเห็นแจ้ง เป็นอุปจารสมาธิ-

- สมาธิเฉียด ๆ ปฐมัชฌานสมาธิ - สมาธิในปฐมฌาน. ชื่อว่า อวิตกฺโก

เพราะสมาธิไม่มีวิตก ชื่อว่า วิจารมตฺโต เพราะในวิตกวิจาร สมาธิ

มีเพียงวิจารมีประมาณยิ่ง, อธิบายว่า สมาธิไม่ถึงการประกอบร่วมกัน

กับวิตกยิ่งกว่าวิจาร. ในปัญจกนัย สมาธินั้นเป็นสมาธิในทุติยฌาน,

สมาธิเว้นทั้งสองอย่างนั้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร. สมาธินั้น ในจตุกนัย

เป็นรูปาวจรสมาธิ มีทุติยฌานเป็นต้น, ในปัญจกนัยเป็นรูปาวจรสมาธิ

มีตติยฌานเป็นต้น. สมาธิแม้ทั้ง ๓ เหล่านี้ ก็ยังเป็นโลกิยะอยู่นั่นเอง.

ในสังคีติปริยายสูตร ท่านกล่าวถึงสมาธิ ๓ แม้อย่างอื่นอีก คือ สุญฺต-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 369

สมาธิ - สมาธิว่างจากราคะ โทสะ โมหะ อนิมิตฺตสมาธิ - สมาธิ

ไม่มีราคะ โทสะ โมหะเป็นนิมิต อปฺปณิหิตสมาธิ- สมาธิหาราคะ

โทสะ โมหะเป็นที่ตั้งมิได้ ด้วยเหตุนั้นในที่นี้ ท่านไม่ประสงค์เอา

สมาธิเหล่านั้น.

บทว่า จตฺตาโร สติปฏฺานา - สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ กายานุ-

ปัสสนาสติปัฏฐาน ๑ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑ จิตตานุปัสสนา

สติปัฏฐาน ๒ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑. พระโยคาวจรผู้กำหนด

กาย โดยวิธี ๑๔ อย่าง ในส่วนเบื้องต้น พึงทราบว่า เป็นกายานุ-

ปัสสนาสติปัฏฐาน.

พระโยคาวจรผู้กำหนดเวทนา โดยวิธี ๙ อย่าง พึงทราบว่า

เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน.

พระโยคาวจรผู้กำหนดจิต โดยวิธี ๑๖ อย่าง พึงทราบว่า เป็น

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน.

พระโยคาวจรผู้กำหนดธรรม โดยวิธี ๕ อย่าง พึงทราบว่า

เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน.

ในที่นี้ท่านไม่ประสงค์เอาโลกุตรธรรม.

บทว่า ปญฺจงฺคิโก สมาธิ - สมาธิมีองค์ ๕ ได้แก่ สมาธิ

ในจตุตถฌาน. องค์ ๕ คือ ปีติผรณตา - ปีติซาบซ่าน ๑ สุขผรณตา

- ความสุขซาบซ่าน ๑ เจโตผรณตา - จิตซาบซ่าน ๑ อาโลกผรณตา

- แสงสว่างแผ่ซ่าน ๑ ปัจจเวกขณนิมิต - การพิจารณาเป็นนิมิต ๑.

๑. ที. ปา. ๑๑/๒๒๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 370

ปัญญาในฌาน ๒ ชื่อว่า ปีติผรณตา เพราะแผ่ปีติเกิดขึ้น.

ปัญญาในฌาน ๓ ชื่อว่า สุขผรณตา เพราะแผ่สุขเกิดขึ้น.

เจโตปริยปัญญา - ปัญญากำหนดรู้จิต ชื่อว่า เจโตผรณตา

เพราะแผ่จิตแก่คนอื่นเกิดขึ้น.

ทิพจักขุปัญญา - ปัญญาเกิดจากตาทิพย์ ชื่อว่า อาโลกผรณตา

เพราะแผ่แสงสว่างเกิดขึ้น.

ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่า ปัจจเวกขณนิมิต. แม้ข้อนี้ท่าน

ก็กล่าวไว้ว่า ปัญญาในฌาน ๒ ชื่อว่า ปีติผรณตา, ปัญญาในฌาน ๓

ชื่อว่า สุขผรณตา, ปรจิตตปัญญา ชื่อว่า เจโตผรณตา, ทิพจักขุ

ปัญญา ชื่อ อาโลกผรณตา, ปัจจเวกขณญาณของผู้ออกจากสมาธินั้น

ชื่อว่า ปัจจเวกขณนิมิต.

ปัจจเวกขณญาณนั้น ท่านกล่าวว่า เป็นนิมิต เพราะถือเอา

อาการที่เป็นไปของผู้ออกจากสมาธิแล้ว.

อนึ่ง ในสมาธิมีองค์ ๕ นั้น ปีติผรณตา สุขผรณตา ดุจเท้า

ทั้งสอง, เจโตผรณตา อาโลกผรณตา ดุจมือทั้งสอง, จตุตถฌาน

มีอภิญญาเป็นบาท ดุจมัชฌิมกาย - กายในท่ามกลาง ปัจจเวกขณนิมิต

ดุจศีรษะ. ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระแสดงสัมมาสมาธิมี

องค์ ๕ เปรียบบุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหม่.

บทว่า ฉ อนุสฺสติฏฺานานิ - อนุสติ . สตินั่นแล เพราะ

เกิดขึ้นบ่อย ๆ จึงเรียกว่า อนุสติ, สติสมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 371

ศรัทธา เพราะเป็นไปในฐานะที่ควรเป็นไป ชื่อว่า อนุสติก็มี,

อนุสตินั่นแล ชื่อว่า อนุสติฏฐานะ เพราะเป็นฐานแห่งปีติเป็นต้น.

อนุสติ ๖ เป็นไฉน ? อนุสติ ๖ คือ พุทธานุสติ ๑

ธัมมานุสติ ๑ สังฆานุสติ ๑ สีลานุสติ ๑ จาคานุสติ ๑ เทวตานุสติ ๑.

บทว่า โพชฌงฺคา คือ เพื่อการตรัสรู้, หรือองค์แห่งการ

ตรัสรู้. ท่านอธิบายไว้ว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี

ได้แก่ สติ ธรรมวิจยะ วีริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา อันเป็น

ปฏิปักษ์ต่ออันตรายไม่น้อย มีความหดหู่ ฟุ้งซ่าน ติดแน่น สะสม

กามสุขัลลิกานุโยค อัตกิลมถานุโยค อุจเฉททิฏฐิ สัสสติทิฏฐิ การ

ยึดมั่นเป็นต้น อันเกิดขึ้นในขณะแห่งโลกุตรมรรค ด้วยเหตุนั้นท่าน

จึงกล่าวว่า โพธิ, บทว่า พุชฺฌติ ย่อมตื่น ได้แก่ ลุกจากหลับ

อันเป็นสันดานกิเลส, หรือแทงตลอดอริยสัจ ๔. หรือทำนิพพานให้

แจ้ง, องค์แห่งการตรัสรู้ กล่าวคือ ธรรมสามัคคีนั้น ชื่อว่า โพช-

ฌังคา บ้าง ดุจองค์ฌานและองค์มรรคเป็นต้น. อริยสาวกตรัสรู้ด้วย

ธรรมสามัคคีมีประการดังกล่าวแล้ว ท่านเรียกว่า โพธิ, องค์แห่ง โพธิ

นั้น ชื่อว่า โพชฌังคา ดุจองค์แห่งเสนาและองค์แห่งรถเป็นต้น. ด้วย

เหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า องค์แห่งบุคคลผู้ตรัสรู้ ชื่อว่า

โพชฌังคา. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอรรถแห่งโพชฌงค์ โดยนัยมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

อาทิว่า บทว่า โพชฺฌงฺคา ชื่อว่า โพชฌงค์ด้วยอรรถว่ากระไร ? ชื่อว่า

โพชฺฌงฺคา เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปเพื่อการตรัสรู้

บทว่า อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค - อริยมรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่า

อริยะ เพราะไกลจากกิเลสที่ถูกฆ่าด้วยมรรคนั้น ๆ เพราะทำความเป็น

อริยะ และเพราะทำให้ได้อริยผล. มรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่า อัฏฐังคิกะ.

มรรคมีองค์ ๘ นั้นดุจเสนามีองค์ ๔, เพียงองค์เท่านั้นดุจดนตรีมีองค์ ๕,

พ้นไปจากองค์แล้วย่อมไม่มี. องค์มรรคคือโพชฌงค์เป็นโลกุตระ, แม้

ส่วนเบื้องต้นก็ย่อมได้โดยปริยายแห่งทสุตตรสูตร.

บทว่า นว ปาริสุทฺธิปธานิยงฺคานิ - องค์เป็นประธานแห่งความ

บริสุทธิ์ ๙ ได้แก่ สีลวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์แห่งศีล เป็นองค์ เป็น

ประธานแห่งความบริสุทธิ์ ๑ จิตตวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์แห่งจิต เป็น

องค์เป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์ ๑ ทิฏฐิวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์แห่ง

ทิฏฐิ เป็นองค์เป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์ ๑ กังขาวิตรณวิสุทธิ-

ความบริสุทธิ์แห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย เป็นองค์เป็น

ประธานแห่งความบริสุทธิ์ ๑ มัคคามัคคญาณทัสนวิสุธิ - ความ

บริสุทธิ์แห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง เป็นองค์เป็นประ-

ธานแห่งความบริสุทธิ์ ๑ ปฏิปทาญาณทัสนวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์แห่ง

๑. ขุ. ป. ๓๑/๕๕๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

ญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติเป็นองค์เป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์ ๑

ญาณทัสนวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์แห่งญาณทัสนะ เป็นองค์เป็น

ประธานแห่งความบริสุทธิ์ ๑ ปัญญาวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์แห่งปัญญา

เป็นองค์เป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์ ๑ วิมุตติวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์

แห่งวิมุตติ เป็นองค์เป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์ ๑.

บทว่า สีลวิสุทฺธิ ได้แก่ จตุปาริสุทธิศีล อันสามารถให้ถึง

ความหมดจด. สีลวิสุทธินั้น ชำระมลทิน คือ ความเป็นผู้ทุศีล.

บทว่า ปาริสุทธิปธานิยงฺค คือองค์ เป็นประธานสูงสุดแห่ง

ความเป็นผู้บริสุทธิ์.

บทว่า จิตฺตวิสุทฺธิ ได้แก่ สมาบัติ ๘ อันคล่องแคล่ว เป็น

ปทัฏฐานแห่งวิปัสสนา.

บทว่า ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ คือ การเห็นนามรูปพร้อมด้วยปัจจัย.

ทิฏฐิวิสุทธินั้น ชำระมลทิน คือ สัตวทิฏฐิ - ความเห็นว่าเป็นสัตว์ให้หมดจด.

บทว่า กงฺขาวิตรณวสุทฺธิ คือ ความรู้ปัจจยาการ. พระ-

โยคาวจรเมื่อเห็นว่าธรรมทั้งหลาย ย่อมเป็นไปด้วยสามารถปัจจัยใน

อัทธา - กาลอันยืดยาว ๓ ด้วยกังขาวิตรณวิสุทธินั้น ข้ามมลทิน คือ

ความสงสัย ๗ ในอัทธาแม้ ๓ ย่อมบริสุทธิ์.

๑. ที. ปา. ๑๑/๔๕๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 374

บทว่า มคฺคามคฺคณาณทสฺสนวิสุทฺธิ ได้แก่ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐

คือ :-

โอภาส - แสงสว่าง ๑

ญาณ - ความรู้ ๑

ปีติ - ความอิ่มใจ ๑

ปัสสัทธิ - ความสงบ ๑

สุข - ความสุข ๑

อธิโมกข์ - ความน้อมใจเชื่อ ๑

ปัคคหะ - ความเพียร ๑

อุปัฏฐาน - ความตั้งมั่น ๑

อุเบกขา - ความวางเฉย ๑

นิกันติ - ความใคร่ ๑

เกิดขึ้นในขณะ อุทยัพพยานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความเกิด

และความดับ, มิใช่ทาง, อุทยัพพยญาณปฏิบัติไปตามวิถี เป็นทาง

ด้วยเหตุนั้นชื่อว่า มัคคามัคคญาณ - ญาณในทางและมิใช่ทาง ด้วย

ประการฉะนี้จึงยังมลทินอันมิใช่ทางให้หมดจดด้วยญาณนั้น.

บทว่า ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ

๙ เหล่านี้ คือ :-

อุทยัพพยานุปัสนาญาณ - ปรีชาคำนึงเห็นทั้งความเกิดทั้ง

ความดับ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

ภังคานุปัสนาญาณ - ปรีชาคำนึงเห็นความดับ ๑

ภยตูปัฏฐานานุปัสนาญาณ - ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏ

เป็นของน่ากลัว ๑

อาทีนวานุปัสนาญาณ - ปรีชาคำนึงเห็นโทษ ๑

นิพพิทานุปัสนาญาณ - ปรีชาคำนึงถึงด้วยความเบื่อหน่าย ๑

มุญจิตุกัมยตาญาณ - ปรีชาคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย ๑

ปฏิสังขานุปัสนาญาณ - ปรีชาคำนึงด้วยพิจารณาหาทาง ๑

สังขารุเปกขาญาณ - ปรีชาคำนึงด้วยความวางเฉยในสังขาร ๑

สัจจานุโลมิกญาณ - ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่กำหนดรู้อริย-

สัจ ๑.

วิปัสสนาญาณเหล่านั้น ย่อมชำระมลทินมีความสำคัญว่าเที่ยงเป็นต้น.

บทว่า าณทสฺสนวิสุทฺธิ ได้แก่ ปัญญาในอริยมรรค ๔.

อริยมรรคปัญญานั้น ย่อมชำระมลทินคือกิเลสที่ถูกฆ่าด้วยมรรคของ

ตน ๆ โดยเด็ดขาด.

บทว่า ปุญฺาวิสุทฺธิ ได้แก่ ปัญญาในอรหัตผล.

บทว่า วิมุตฺตีวิสุทฺธิ ได้แก่ วิมุตติในอรหัตผล.

บทว่า ทส กสิณายตนานิ - กสิณ ๑๐ ท่านกล่าวถึงกสิณ ๑๐

ไว้อย่างนี้ คือ ท่านหนึ่งรู้พร้อมปฐวีกสิณ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

ขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ, ท่านหนึ่งรู้พร้อมอาโปกสิณ ฯลฯ

ท่านหนึ่งรู้พร้อมเตโชกสิณ. ท่านหนึ่งรู้พร้อมวาโยกสิณ. ท่านหนึ่ง

รู้พร้อมนีลกสิณ. ท่านหนึ่งรู้พร้อมปีตกสิณ. ท่านหนึ่งรู้พร้อมโลหิต

กสิณ. ท่านหนึ่งรู้พร้อมโอทาตกสิณ. ท่านหนึ่งรู้พร้อมอากาสกสิณ.

ท่านหนึ่งรู้พร้อมวิญญาณกสิณ เบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มี

สอง ไม่มีประมาณ. ชื่อว่า กสิณ เพราะอรรถว่าแผ่ไปทั่ว, อีก

อย่างหนึ่งชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นเขต หรือเป็นที่ตั้งของ

ธรรมอันมีกสิณนั้นเป็นอารมณ์.

บทว่า อุทฺธ คือ มุ่งเฉพาะท้องฟ้าเบื้องบน. บทว่า อโธ

คือ มุ่งเฉพาะภาคพื้นเบื้องล่าง.

บทว่า ติริย คือ กำหนดไว้โดยรอบดุจบริเวณของพื้นที่. เพราะ

บางท่านเจริญกสิณเบื้องบน, บางท่านเบื้องต่ำ, บางท่านโดยรอบ

หรือว่าแม้ท่านหนึ่งประสงค์จะเห็นรูป ดุจประสงค์จะเห็นแสงสว่าง ย่อม

ขยายออกไปอย่างนี้ด้วยเหตุนั้น ๆ. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ท่านหนึ่งรู้

พร้อมปฐวีกสิณ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง.

บทว่า อทฺวย นี้ ท่านกล่าวเพื่อไม่ให้กสิณอย่างหนึ่งถึงความ

เป็นอย่างอื่น. ปฐวีกสิณย่อมเป็นปฐวีกสิณเท่านั้น ปฐวีกสิณนั้นไม่มี

๑. อ. ทสก. ๒๔/๒๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 377

กสิณอื่นปะปนเหมือนเมื่อคนลงไปสู่น้ำ น่าเท่านั้นย่อมมีในทิศทั้งปวง

มิใช่อื่น. ในบททั้งปวงมีนัยอย่างนี้.

บทว่า อปฺปมาณ นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจการแผ่ไปของกสิณ

นั้นๆ ไม่มีกำหนด. จริงอยู่ กสิณนั้น เมื่อแผ่ไปทางใจ ชื่อว่า แผ่

ไปทั่ว, มิได้กำหนดว่า นี้เป็นเบื้องต้น นี้เป็นท่ามกลาง ของกสิณ

นั้น.

บทว่า อากาสกสิณ ได้แก่ อากาศที่เพิกกสิณ และอากาศ

กสิณที่กำหนดไว้.

บทว่า วิญฺาณกสิณ ได้แก่ วิญญาณอันเป็นไปในอากาศ

ที่เพิกกสิณ. ในวิญญาณกสิณนั้น พึงทราบความเป็นเบื้องบน เบื้อง

ล่าง เบื้องขวาง ในอากาศที่เพิกกสิณ ด้วยอำนาจกสิณ ในวิญญาณ

อันเป็นไปแล้ว ในวิญญาณกสิณนั้น ด้วยอำนาจอากาศที่เพิกกสิณ,

พึงทราบด้วยสามารถกสิณนั้น เพราะแม้อากาสกสิณที่กำหนดไว้ก็ควร

เจริญดังนี้บ้าง.

๖๘] บัดนี้ ท่านพระสารีบุตร เมื่อจะแสดงประเภทของภาวนา

จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เทฺว ภาวนา - ภาวนา ๒.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า เทฺว ภาวนา ดังต่อไปนี้ วัฏฏะ

ท่านกล่าวว่า โลก เพราะอรรถว่าแตกสลายไป. ชื่อว่า โลกิยา

เพราะอรรถว่าประกอบแล้วในโลก ด้วยความเกี่ยวเนื่องกันในวัฏฏะนั้น,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 378

การเจริญธรรมอันเป็นโลกิยะ ชื่อว่า โลกิยา. แม้ท่านจะกล่าวว่า

การเจริญธรรมโดยโวหารก็จริง, ถึงดังนั้น ก็ไม่มีการเจริญแยกออก

จากธรรมเหล่านั้น. เพราะท่านเจริญธรรมเหล่านั้นนั่นเอ จึงเรียกว่า

ภาวนา. บทว่า อุติติณฺณา แปลว่า ข้าม. ชื่อว่า โลกุตฺตรา

เพราะอรรถว่า ข้ามไปจากโลกด้วยความไม่เกี่ยวข้องโลก.

ชื่อว่า รูปาวจรา เพราะอรรถว่า ท่องเที่ยวไปในรูปอันได้แก่

รูปภพ.

กุสล ศัพท์ ในบทว่า รูปาวจรกุสลาน นี้ ย่อมปรากฏใน

ความไม่มีโรค ไม่มีโทษ ฉลาดและสุขวิบาก. ปรากฏในความไม่มีโรค

ในบทมีอาทิว่า กจฺจิ นุ โภโต กุสล, กจฺจิ โภโต อนามย - พระ-

คุณเจ้าสบายดีหรือ, มีอนามัยดีหรือ. ปรากฏในความไม่มีโทษ ในบท

มีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารเป็นกุศล เป็นไฉน ?

มหาบพิตรกายสมาจารไม่มีโทษแลเป็นกุศล และในบทมีอาทิว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมใน

กุศลธรรม นั่นเป็น อนุตริยะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ปรากฏใน

ความฉลาด ในบทมีอาทิว่า ข้าแต่ราชกุมาร พระองค์เป็นผู้ฉลาด

ทรงสำคัญส่วนน้อยใหญ่ของรถเป็นอย่างไร, และในบทมีอาทิว่า หญิง

มีความสามารถ มีความสำเหนียก เป็นหญิงฉลาด การฟ้อนและการ

๑. ขุ.ชา. ๒๗/๒๑๓๓. ๒. ม.ม. ๑๓/๕๕๔. ๓. ที.ปา. ๑๑/๗๕.

๔. ม.ม. ๑๓/๙๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 379

ขับร้อง. ปรากฏในสุขวิบาก ในบทมีอาทิว่า บุญนี้ย่อมเจริญอย่างนี้

เพราะเหตุการสมาทานกุศลธรรม และในบทอาทิว่า เพราะทำ คือ

สะสมกุศลธรรม. กุสล ศัพท์ ในที่นี้ ย่อมสมควรแม้ในความไม่มี

โรค แม้ในความไม่มีโทษ แม้ในสุขวิบาก. ก็ในบทนี้ มีอธิบายคำ

ดังต่อไปนี้ กุจฺฉิเต ปาปเก ธมฺเม สลยนฺติ จลยนฺติ กมฺเปนฺติ

วิทฺธ เสนฺตีติ กุสลา - ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุสล เพราะอรรถว่า

ป้องกัน ย่อมทำให้หวั่นไหว ย่อมทำให้สะเทือน ย่อมกำจัดธรรมอัน

ลามก น่าเกลียด. อีกอย่างหนึ่ง บาปธรรม ชื่อว่า กุส เพราะอรรถ

ว่า ย่อมนอน คือ ย่อมเป็นไปโดยอาการอันน่าเกลียด. ชื่อว่า กุสล

เพราะอรรถว่า ตัด ทำลายกุสธรรมอันน่าเกลียด อันได้แก่อกุศล

เหล่านั้น, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กุสล เพราะทำสิ่งน่าเกลียดให้น้อย

ให้สิ้นสุด ได้แก่ ญาณ. ชื่อว่า กุสล เพราะอรรถว่า พึงตัด พึงยึด

คือ พึงให้เป็นไปด้วย กุส - ญาณนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กุสล

เพราะอรรถว่า กุศลแม้เหล่านี้ ย่อมตัดฝ่ายที่เป็นสังกิเลสที่ถึงส่วนทั้ง

สอง ทั้งที่เกิดและยังไม่เกิด, เหมือนหญ้าบาดมือ อันถึงส่วนทั้งสอง.

เพราะฉะนั้น จึงเหมือนหญ้าคาอันบุคคลตัด ได้แก่ การเจริญรูปาวจร

กุศลเหล่านั้น. ที่ชื่อว่า อรูปาวจร เพราะท่องเที่ยวไปในอรูป อัน

ได้แก่ อรูปภพ. ชื่อว่า ปริยาปนฺนา - การนับเนื่อง เพราะอรรถว่า

๑. ขุ.ชา. ๒๘/๔๓๖. ๒. ที.ปา. ๑๑/๓๓ ๓. อภิ.ส. ๓๔/๓๓๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 380

นับเนื่อง คือ หยั่งลงภายใน ในวัฏฏะเป็นไปในภูมิ ๓, ที่ชื่อว่า

อปริยาปนฺนา - การไม่นับเนื่อง เพราะอรรถว่า ไม่นับเนื่องในวัฏฏะ

เป็นไปในภูมิ ๓ นั้น จึงเป็น โลกุตระ.

หากถามว่า เพราะเหตุไรท่านจึงไม่กล่าวถึงการเจริญธรรมที่เป็น

กามาวจรกุศลเล่า ? ตอบว่า เพราะเมื่อการเจริญยังไม่ถึงขั้นอัปปนา

ท่านประสงค์เอาการเจริญในอภิธรรม ดังที่ท่านกล่าวไว้ในอภิธรรม

นั้นว่า

พระโยคาวจรไม่ได้สดับจากผู้อื่น ย่อม

ได้เฉพาะซึ่งขันติ ทิฏฐิ รุจิ มุติ - ความรู้ เปกขะ-

ความเพ่ง ธัมมนิชฌานักขันติ - ขันติคือความเพ่ง

ธรรม อันเป็นอนุโลมเห็นปานนี้ คือ รูป เวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นกัมมสกตาญาณ

หรือสัจจานุโลมิกญาณ ในกัมมายตนะ สิปปายตนะ

วิทยฐานะ อันจัดไว้ด้วยโยคะ เป็นของไม่เที่ยง

นี้ท่านกล่าวว่า จินตามยปัญญา. อีกอย่างหนึ่ง

พระโยคาวจรได้สดับจากผู้อื่น ย่อมได้ซึ่งขันติ

ทิฏฐิ รุจิ มุติ เปกขะ ธัมมนิชฌานักขันติ ใน

กัมมายตนะอันจัดไว้ด้วยโยคะ ฯลฯ นี้ท่านกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 381

สุตมยปัญญา. ปัญญาของผู้เข้าถึงแล้วแม้ทั้งหมด

เป็นภาวนามยปัญญา.

ส่วนกามาวจรภาวนานั้น พึงทราบว่า ท่านไม่เรียกว่า ภาวนา

เพราะความที่แห่งกามาวจรภาวนานั้น มีอยู่ในระหว่างอาวัชชนะและ

ภวังค์.

ความที่อุปจารสมาธิและวิปัสสนาสมาธิ เป็นบุญสำเร็จด้วย

ภาวนา เป็นอันสำเร็จแล้วเพราะบุญทั้งหมดหยั่งลงภายในบุญกิริยาวัตถุ

๓ อย่าง. แต่ในที่นี้ท่านสงเคราะห์ภาวนาเข้าในโลกิยภาวนานั่นเอง

พึงทราบในความที่รูปาวจรและอรูปาวจร มี ๓ อย่าง ดังต่อ

ไปนี้ บทว่า หีนา คือ ลามก. ภาวนาในท่ามกลางแห่งธรรมเลว

และธรรมสูงสุด ชื่อว่า มชฺฌา ปาฐะว่า มชฺฌิมา บ้าง. ชื่อว่า

ปณีตา เพราะอรรถว่า นำไปสู่ความเป็นประธาน ได้แก่ สูงสุด

พึงทราบความที่ภาวนาเป็นส่วนเลว เป็นส่วนปานกลาง และ

เป็นส่วนประณีต ด้วยการรวบรวมมา. เพราะว่าในขณะรวบรวมมา

ภาวนาที่เป็นฉันทะ วีริยะ จิตตะ วิมังสา เลว ชื่อว่า หีนา. ภาวนา

ที่เป็นธรรมปานกลาง ชื่อว่า มชฺฌิมา. ภาวนาที่เป็นประณีต ชื่อว่า

ปณีตา. อีกอย่างหนึ่ง ภาวนาที่สัมปยุตด้วยอินทรีย์อ่อน ชื่อว่า หีนา.

๑. อภิ.วิ. ๓๕/๘๐๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

ภาวนาที่สัมปยุตด้วยอินทรีย์ปานกลาง ชื่อว่า มชฺฌิมา. ภาวนาที่

สัมปยุตด้วยอินทรีย์มีประมาณยิ่ง ชื่อว่า ปณีตา. ท่านกล่าวถึงความ

ประณีตเท่านั้น เพราะภาวนาอันไม่นับเนื่อง ไม่มีส่วนเลวและส่วน

ปานกลาง. ภาวนานั้น ชื่อว่า ปณีตา เพราะอรรถว่าสูงสุดและ

เพราะอรรถว่าไม่เดือดร้อน.

๖๙]ในปฐมภาวนาจตุกะ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภาเวติิ ได้แก่ พระโยคาวจรเมื่อแทงตลอดอย่างนั้น ๆ

ในขณะเดียวเท่านั้น ชื่อว่า ย่อมเจริญอริยมรรค.

ในทุติยภาวนาจตุกะ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เอสนาภาวนา ได้แก่ ภาวนาในส่วนเบื้องต้นของ

อัปปนา. เอสนาภาวนานั้น ท่านกล่าวว่า เอสนา เพราะเป็นเหตุ

แสวงหา อัปปนา.

บทว่า ปฏิลาภภาวนา ได้แก่ อัปปนาภาวนา. ปฏิลาภ

ภาวนานั้น ท่านกล่าวว่า ปฏิลาภ เพราะได้ด้วยการแสวงหานั้น.

บทว่า เอกรสาภาวนา ได้แก่ ภาวนาในเวลาประกอบความ

เพียรของผู้ใคร่จะบรรลุ ความเป็นผู้ชำนาญในการได้เฉพาะ. เอกรสา

ภาวนานั้นมีรสเป็นอันเดียวกันด้วยวิมุตติรส เพราะพ้นจากกิเลสนั้น ๆ

ด้วย ปหานะ นั้น ๆ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เอกรสา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

บทว่า อาเสวนาภาวนา ได้แก่ ภาวนาในเวลาบริโภคตาม

ความชอบใจของผู้บรรลุความชำนาญในการได้เฉพาะ. อาเสวนาภาวนา

นั้น ท่านกล่าวว่า อาเสวนา เพราะอรรถว่า เสพหนัก. แต่อาจารย์

บางพวกพรรณนาไว้ว่า อาเสวนาภาวนาเป็น วสีกรรม. เอกรสา

ภาวนา มีประโยชน์ทั้งหมด. พึงทราบความในจตุกวิภาคดังต่อไปนี้

บทว่า สมาธึ สมาปชฺชนฺตาน - เมื่อพระโยคาวจรเข้าสมาธิอยู่ เป็น

คำกล่าวถึงปัจจุบันใกล้ปัจจุบัน.

บทว่า ตตฺถ ชาตา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในธรรมอัน

เป็นส่วนเบื้องต้นนั้น. บทว่า เอกรสา โหนฺติ ได้แก่ เป็นธรรม

มีกิจเสมอกันในการเข้าถึงอัปปนา. บทว่า สมาธึ สมาปนฺนาน - เมื่อ

พระโยคาวจรเข้าสมาธิแล้ว ได้แก่ มีอัปปนาแน่นแฟ้นแล้ว.

บทว่า ตตฺถ ชาตา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอัปปนานั้น.

บทว่า อญฺมญฺ นาติวตฺตนฺติ - ไม่เป็นไปล่วงกันและกัน ได้แก่

ไม่ก้าวล่วงกันและกัน โดยเป็นไปเสมอกัน.

๗๐] พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อธิโมกฺขฏฺเน สทฺธินฺ-

ทฺริย ภาวยโต - เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่า

น้อมใจเธอ ดังต่อไปนี้ อินทรีย์แม้ที่เหลือมีกิจของตน ๆ เป็นเหตุ

ด้วยอาศัยอินทรีย์นั้น ๆ ในการทำกิจของตน ๆ แห่งอินทรีย์หนึ่ง ๆ

แม้ในขณะเดียวกัน จึงมีรสอย่างเดียวกันด้วยวิมุตติรส เพราะเหตุนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 384

จึงชื่อว่า ภาวนา เพราะอรรถว่า มีรสอย่างเดียวกันด้วยวิมุตติรส

นั่นแล. แม้ในพละ โพชฌงค์ และองค์มรรคก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง

บทว่า เอกรสา เป็นลิงควิปลาส.

๗๑] บทว่า อิธ ภิกฺขุ คือ ภิกษุในศาสนานี้. ชื่อว่า ภิกฺขุ

เพราะอรรถว่า เห็นภัยในสงสาร.

ในบทมีอาทิว่า ปุพฺพณฺหสมย เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่ง

อัจจันตสังโยค - สิ้น, ตลอด, แต่โดยอรรถเป็นสัตตมีวิภัตติ มีความว่า

ในกาลก่อนแห่งวัน คือเวลาเช้า.

บทว่า อาเสวติ ได้แก่ เสพเป็นอันมาก ซึ่งสมาธิที่ถึงความ

ชำนาญ.

บทว่า มชฺฌนฺติกสมย ได้แก่ ในเวลากลางวัน คือเวลา

เที่ยง.

บทว่า สายณฺหสมย ได้แก่ ในเวลาเย็น.

บทว่า ปฺเรภตฺต ได้แก่ ในเวลาก่อนภัตในตอนกลางวัน.

บทว่า ปจฺฉาภตฺต ได้แก่ในเวลาหลังภัตตอนกลางวัน.

บทว่า ปุริเมปิ ยาเม ได้แก่ ในยามต้นของราตรี.

บทว่า กาเฬ ได้แก่ ในกาฬปักษ์ - ข้างแรม.

บทว่า ชุณฺเห ได้แก่ ในศุกลปักษ์ - ข้างขึ้น.

บทว่า ปุริเมปิ วโยชนฺเธ ได้แก่ ในส่วนวัยต้น คือปฐม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 385

วัย. อนึ่งใน ๓ วัย คนมีอายุ ๑๐๐ ปี ในวัยหนึ่ง ๆ มีอายุ ๓๓ ปี

๔ เดือน.

๗๒ - ๗๖] พึงทราบวินิจฉัยในตติยภาวนาจตุกะ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตตฺถ ชาตาน ธมฺมาน อนติวตฺตนฏฺเน-ภาวนาด้วย

อรรถว่าไม่ก้าวล่วงกันและกัน แห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นในภาวนานั้น

คือ ด้วยความไม่ก้าวล่วงกันและกัน แห่งธรรมคู่กัน ได้แก่ สมาธิ

และปัญญาที่เกิดขึ้นในภาวนาวิเศษ มีเนกขัมมะเป็นต้นนั้น.

บทว่า อินฺทฺริยาน เอกรสฏฺเน - ภาวนาด้วยอรรถว่าอินทรีย์

ทั้งหลายมีรสอย่างเดียวกัน คือ ด้วยความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธา

เป็นต้นมีรสอย่างเดียวกัน ด้วยวิมุตติรสเพราะพ้นจากกิเลสต่าง ๆ.

บทว่า ตทุปควีริยวาหนฏฺเน - ภาวนาด้วยอรรถว่า นำไปซึ่ง

ความเพียรอันเข้าถึงธรรมนั้น ๆ คือ ด้วยการนำไปซึ่งความเพียรอัน

สมควรแก่ความที่ธรรมนั้น มีรสเป็นอันเดียวกันไม่ก้าวล่วงกัน.

บทว่า อาเสวนฏฺเน - ภาวนาด้วยอรรถว่า เสพเป็นอันมาก

คือ ด้วยการเสพเป็นอันมากของการเสพที่เป็นไปในสมัยนั้น ๆ.

บทว่า รูปสญฺ ได้แก่ รูปสัญญา กล่าวคือ รูปาวจรฌาน

๑๕ อย่าง ด้วยอำนาจกุศลวิบากกิริยา. แม้รูปาวจรฌานท่านก็กล่าวว่า

รูป ในบทมีอาทิว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ - ผู้มีรูปย่อมเห็นรูป, แม้

๑. ที. มหา. ๑๐/๑๐๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 386

อารมณ์แห่งฌานนั้น ท่านก็กล่าวว่า รูป ในบทมีอาทิว่า เห็นรูป

ภายนอกมีผิวงามและผิวทราม. รูปาวจรฌานเป็นสัญญาในรูปด้วยหัวข้อ

ว่า สัญญา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า รูปสัญญา.

บทว่า ปฏิฆสญฺ ได้แก่ ปฏิฆสัญญา ๑๐ อย่าง คือกุศล

วิบาก ๕, อกุศลวิบาก ๕. สัญญาสัมปยุตด้วยทวิปัญจวิญญาณ ท่าน

เรียกว่า ปฏิฆสญฺา เพราะวัตถุมีจักขุเป็นต้นและอารมณ์มีรูป

เป็นต้นเกิดขึ้นด้วยการกระทบ. ชื่อของสัญญานี้ คือ รูปสัญญา สัทท-

สัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญาบ้าง.

บทว่า นานตฺตสญฺ ได้แก่ นานัตตสัญญา ๔๔ อย่าง คือ

กามาวจรกุศลสัญญา ๘, อกุศลสัญญา ๑๒, กามาวจรกุศลวิบากสัญญา ๑๑,

อกุศลวิบากสัญญา ๒ กามาวจรกิริยาสัญญา ๑๑. นานัตตสัญญานั้น

เป็นสัญญาเป็นไปในโคจร อันมีประเภท มีรูปและเสียงเป็นต้น มี

ความต่างกัน คือ มีสภาพต่างกันเพราะเหตุนั้นจึงเป็น นานัตตสัญญา.

อีกอย่างหนึ่ง สัญญาไม่เหมือนกัน มีความต่างกัน มีสภาพต่างกัน

โดยประเภท ๔๔ อย่าง ท่านกล่าวว่า เป็น นานตฺตสญฺา แม้สัญญา

มีมากท่านก็ทำให้เป็นเอกวจนะด้วย ชาติ ศัพท์.

บทว่า นิจฺจสญฺ ได้แก่ สัญญาว่า เป็นของเที่ยง ชื่อ

นิจฺจสญฺา. สุขสญฺา อตฺตสญฺา ก็อย่างนั้น. บทว่า นนฺทึ-

ความเพลิดเพลิน ได้แก่ ตัณหาอันมีความอิ่มใจ. บทว่า ราค ได้แก่

๑. ที. มหา. ๑๐/๑๐๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 387

ตัณหาไม่มีความอิ่ม. บทว่า สมุทย ได้แก่ เหตุเกิดราคะ. อีกอย่าง

หนึ่ง อุทย - ความเกิดแห่งสังขารทั้งหลาย เพราะเห็นความดับด้วย

ภังคานุปัสนาญาณ.

บทว่า อาทาน - ความถือมั่น คือ ถือมั่นกิเลสด้วยอำนาจ

ความเกิด หรือถือมั่นอารมณ์อันเป็นสังขตะ เพราะยังไม่เห็นโทษ.

บทว่า ฆนสญฺ ได้แก่ สัญญาว่า เป็นก้อนด้วยสันตติ-

ความสืบต่อ.

บทว่า อายูหน ได้แก่ การทำความเพียรเพื่อประโยชน์แก่

สังขาร.

บทว่า ธุวสญฺ ได้แก่ สัญญาว่ามั่นคง.

บทว่า นิมิตฺต ได้แก่ เครื่องหมายว่าเที่ยง.

บทว่า ปณิธึ ได้แก่ ปรารถนาความสุข.

บทว่า อภินิเวส ได้แก่ การยึดมั่นว่า ตนมีอยู่.

บทว่า สาราทานาภินิเวส - ความยึดมั่นด้วยถือว่าเป็นแก่นสาร

ได้แก่ ความยึดมั่นด้วยถือว่าตนมีแก่นสารเป็นนิจ.

บทว่า สมฺโมหาภินิเวส - ความยึดมั่นด้วยความหลงใหล ได้แก่

ความยึดมั่นด้วยความหลงใหลด้วยบทมีอาทิว่า เราได้เป็นแล้วตลอด

กาลในอดีต และด้วยบทมีอาทิว่า สัตวโลกเกิดจากพระผู้เป็นใหญ่.

บทว่า อาลยาภิหนิเวส - ความยึดมั่นด้วยความอาลัย ได้แก่

ยึดมั่นว่า นี้ควรยึดให้แน่นเพราะยังไม่เห็นโทษ.

๑. ส.นิ. ๑๖/๖๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 388

บทว่า อปฺปฏิสงฺข - ความไม่พิจารณา ได้แก่ การไม่ถืออุบาย.

บทว่า สญฺโคาภินิเวส - การยึดมั่นด้วยกิเลสเครื่องประกอบ

สัตว์ ได้แก่ ความเป็นไปแห่งกิเลสมีกามโยคะเป็นต้น.

บทว่า ทิฏฺเกฏเ - กิเลสที่ตั้งรวมกับทิฏฐิ ได้แก่ ชื่อว่า

ทิฏเกฏฺา เพราะอรรถว่า ตั้งในที่เดียวกันกับทิฏฐิ. ซึ่งกิเลสที่ตั้ง

รวมกันกับทิฏฐินั้น.

ชื่อว่า กิเลสา เพราะกิเลสทำให้เศร้าหมอง ให้เดือดร้อน

ให้ลำบาก. กิเลสตั้งอยู่ในที่เดียวกัน ๒ อย่าง คือ ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน

ด้วยการละ ๑ อยู่ในที่เดียวกันด้วยเกิดร่วมกัน ๑. ชื่อว่า ตั้งอยู่ใน

ที่เดียวกันด้วยการละเพราะละทิฏฐิ ๖๓ มีสักกายทิฏฐิเป็นประธานด้วย

โสดาปัตติมรรค. อธิบายว่า กิเลสทั้งหลายตั้งอยู่ในบุคคลคนเดียว.

บทนี้ท่านประสงค์เอาในที่นี้. ในกิเลส ๑๐ อย่าง ในที่นี้ หมายถึง

กิเลสคือทิฏฐิเท่านั้น. ก็ในกิเลสที่เหลือ กิเลส. อย่าง คือ โลภะ ๑

โทสะ ๑ โมหะ ๑ มานะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ ถีนะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อหิริกะ ๑

อโนตตัปะ ๑ เป็นกิเลสทำสัตว์ให้ไปสู่อบาย ตั้งอยู่ในที่เดียวกันกับ

ทิฏฐิ ละได้ด้วยโสตาปัตติมรรค, กิเลสทั้งหมดนำสัตว์ไปสู่อบาย. อีก

อย่างหนึ่ง บรรดากิเลส ๑,๕๐๐ มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นประธาน

เมื่อละทิฏฐิได้ด้วยโสดาปัตติมรรค กิเลสทั้งหมดนำสัตว์ไปสู่อบาย

พร้อมกับทิฏฐิ ย่อมละได้ด้วยการตั้งอยู่ในที่เดียวกัน ด้วย ปหานะ,

ในกิเลสตั้งอยู่ในทีเดียวกันโดยการเกิดร่วมกัน มีอธิบายว่า กิเลส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

ทั้งหลายตั้งอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับด้วยทิฏฐิ. เมื่อละจิตอันเป็นอสังขา-

ริกะ สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๒ อย่าง ด้วยโสดาปัตติมรรคได้ กิเลสเหล่านี้

คือ โลภะ โมหะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ เกิดร่วมกันกับ

จิตเหล่านั้น ย่อมละได้ด้วยอำนาจกิจเลสตั้งอยู่ในที่เดียวกันโดยการเกิด

ร่วมกัน. เมื่อละจิตอันเป็นสสังขาริกที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๒ อย่างได้

กิเลสเหล่านี้ คือ โลภะ โมหะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ

เกิดร่วมกับจิตเหล่านั้น ย่อมละได้ด้วยอำนาจกิเลสตั้งอยู่ในที่เดียวกัน

โดยการเกิดร่วมกัน.

บทว่า โอฬาริเก กิเลเส - กิเลสอย่างหยาบ ได้แก่ ถามราคะ

พยาบาทอันเป็นกิเลสอย่างหยาบ.

บทว่า อณุสหคเต กิเลเส - กิเลสอย่างละเอียด ได้แก่

กามราคะพยาบาทอันเป็นกิเลสอย่างละเอียด.

บทว่า สพฺพกิเลเส ได้แก่ กิเลสที่เหลือละได้ด้วยมรรคที่ ๓.

บทว่า วีริย วาเหติ - ย่อมนำไปซึ่งความเพียร ความว่า

พระโยคาวจรยังความเพียรให้เป็นไป. ท่านกล่าวถึงเอสนาภาวนา ปฏิ-

ลาภเทสนา เอกรสาภาวนา อาเสวนาภาวนา ในหนหลังเพื่อแสดง

ถึงความต่างกันแห่งภาวนาทั้งหลายว่า ภาวนาเป็นอย่างนี้ เพื่อแสดง

เหตุแห่งภาวนา ท่านจึงกล่าวคำทั้งหลายว่า ชื่อว่า ภาวนาด้วยอรรถว่า

ไม่ก้าวล่วงธรรมที่เกิดในภาวนานั้น ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรส

อย่างเดียวกัน ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันเข้าถึงธรรมนั้น ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 390

ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก. ท่านกล่าวว่า ภาวนา ด้วยเหตุนี้ และ

ด้วยเหตุนี้ แล้วกล่าวด้วยสามารถขณะต่าง ๆ กันว่า อาเสวนาภาวนา

ในภายหลัง, ในที่นี้ ชื่อว่า ภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก

เพราะเหตุนั้นจึงมีความต่างกัน ด้วยบทว่า เอกกฺขณวเสน - ด้วย

สามารถขณะหนึ่ง.

ในบทมีอาทิว่า รูป ปสฺสนฺโต ภาเวติ พระโยคาวจรเมื่อ

พิจารณาเห็นรูป ชื่อว่าเจริญภาวนา มีอธิบายว่า พระโยคาวจรเมื่อ

พิจารณาเห็นรูปเป็นต้นโดยอาการที่ควรเห็น ชื่อว่า ย่อมเจริญภาวนา

ที่ควรภาวนา.

บทว่า เอกรสา โหนฺติิ - ภาวนามีรสเป็นอันเดียวกัน คือ

มีรสเป็นอันเดียวกัน ด้วยวิมุตติรส หรือด้วยรสอันเป็นกิจ. บทว่า

วิมุตฺติรโส ได้แก่ สัมปัตติรส - รสคือการถึงพร้อม ชื่อว่า รส ท่าน

กล่าวด้วยอรรถว่าถึงพร้อมด้วยกิจ ด้วยเหตุนั้น เป็นอันท่านกล่าวไว้

แล้วแล.

จบ อรรถกถาภาเวตัพพนิทเทส

จบ อรรถกถาจตุตถภาณวาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 391

สัจฉิกาตัพพนิทเทส

[๗๗] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่อง

รู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่า

สุตมยญาณอย่างไร ?

ธรรมอย่างหนึ่งควรทำให้แจ้ง คือ เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ, ธรรม

๒ ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา ๑. วิมุตติ ๑, ธรรม ๓ ควรทำให้แจ้ง คือ

วิชชา ๓, ธรรม ๔ ควรทำให้แจ้ง คือ สามัญญผล ๔, ธรรม ๕ ควร

ทำให้แจ้ง คือ ธรรมขันธ์ ๕, ธรรม ๖ ควรทำให้แจ้ง คือ อภิญญา ๖,

ธรรม ๗ ควรทำให้แจ้ง คือ กำลังของพระขีณาสพ ๗, ธรรม ๘ ควร

ทำให้แจ้ง คือ วิโมกข์ ๘, ธรรม ๙ ควรทำให้แจ้ง คือ อนุปุพพนิโรธ ๙,

ธรรม ๑๐ ควรทำให้แจ้ง คือ อเสกขธรรม ๑๐.

[๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลายก็สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง คือ อะไร ? คือ จักษุ รูป จักษุ-

วิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ควรทำให้แจ้งทุกอย่าง หู เสียง

ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ

ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

แม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควรทำให้แจ้ง

ทุกอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 392

พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นรูป ย่อมทำให้แจ้งโดยทำให้เป็น

อารมณ์ เมื่อพิจารณาเห็นเวทนา . . . เมื่อพิจารณาเห็นสัญญา . . . เมื่อ

พิจารณาเห็นสังขาร . . . เมื่อพิจารณาเห็นวิญญาณ . . . เมื่อพิจารณา

เห็นจักษุ . . . เมื่อพิจารณาเห็นชราและมรณะ . . . เมื่อพิจารณาเห็น

นิพพานอันหยั่งลงในอมตะด้วยอรรถว่าเป็นที่สุด ย่อมทำให้แจ้งโดยทำ

ให้เป็นอารมณ์ ธรรมใด ๆ เป็นธรรมอันทำให้แจ้งแล้ว ธรรมนั้น ๆ

ย่อมเป็นธรรมอันถูกต้องแล้ว.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรม

ที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้

ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าสุตมยญาณ.

ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรม

ที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม

ธรรมเหล่านี้ไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วน

แห่งความวิเศษ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนชำแรกกิเลส ชื่อว่าสุตมย-

ญาณ.

สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยกาม ของพระโยคาวจรผู้ได้

ปฐมฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความ

พอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่ปฐมฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 393

ในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันไม่ประกอบด้วยวิตกเป็น

ไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการ

อันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็น

ธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอัน

ประกอบด้วยวิตก ของพระโยคาวจร ผู้ได้ทุติยฌานเป็นไปอยู่ นี้

เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสม-

ควรแก่ทุติยฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่

สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยอุเบกขาและสุขเป็นไปอยู่ นี้เป็น

ธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคต

ด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไป

ในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยปีติ

และสุข ของพระโยคาวจร ผู้ได้ตติยฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรม

เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่ตติย-

ฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญา

และมนสิการอันประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรม

เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความ

เบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วน

แห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยอุเบกขาและ

สุขของพระโยคาวจรผู้ได้จตุตถฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 394

ส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่จตุตถฌานนั้น

ยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมน-

สิการอันประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรม

เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความ

เบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วน

แห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยรูป ของ

พระโยคาวจรผู้ได้อากาสานัญจายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็น

ไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่อากาสา-

นัญจายตนฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่

สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเป็นไปอยู่

นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอัน

สหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็น

ธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอัน

ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌาน ของพระโยคาวจรผู้ได้วิญญาณัญ-

จายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม

ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่วิญญญาณัญจายตนฌานนั้นยังตั้งอยู่

นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประ-

กอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วน

แห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 395

ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความ

ชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน

ของพระโยคาวจรผู้ได้อากิญจัญญายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรม

เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่อา-

กิญจัญญายตนฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้ง

อยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

เป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมน-

การอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้

เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถ

ว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึง

กล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัด

ธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม

ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วน

แห่งความวิเศษ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส

ชื่อว่าสุตมยญาณ.

อรรถกถาสัจฉิกาตัพพนิทเทส

๗๗] พึงทราบวินิจฉัยในสัจฉิกาตัพพนิทเทสดังต่อไปนี้ พระ-

สารีบุตรกล่าววิสัชนา เอกุตตรธรรม ๑๐ ข้อ ด้วยการทำให้แจ้งถึงการ

ได้เฉพาะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 396

ในบทเหล่านั้นบทว่า อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ - เจโตวิมุตติอันไม่

กำเริบ ได้แก่ อรหัตผลวิมุตติ. เจโตวิมุตตินั้น ชื่อว่า อกุปฺปา

เพราะอรรถว่า ไม่กำเริบ ไม่หวั่นไหว ไม่เสื่อม, ท่านกล่าวว่า เจโต-

วิมุตฺติ เพราะจิตพ้นจากกิเลสทั้งปวง.

บทว่า วิชฺชา ได้แก่ วิชชา ๓. บทว่า วิมุตฺติ ท่านกล่าว

ถึงอรหัตผล โดยปริยายในทสุตตรสูตร, แต่ท่านกล่าวด้วยปริยายในสังคีติ-

สูตรว่า บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ วิมุตติ ๒ คือ การน้อมจิตไป - จิตฺ-

ตสฺส จ อธิมุตฺติ และนิพพาน.

อนึ่ง ในนิทเทสนี้ สมาบัติ ๘ ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นด้วยดี

จากนิวรณ์เป็นต้น, นิพพาน ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นจากสังขตธรรม

ทั้งปวง.

บทว่า ติสฺโส วิชฺชา - วิชชา ๓ คือ ญาณกำหนดระลึกชาติ

หนหลังได้ ๑ ญาณกำหนดรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย ๑ ญาณ

รู้จักทำอาสวะให้สิ้น ๑. ชื่อว่า วิชชา ด้วยอรรถว่า ทำลายความมืด

ได้, ชื่อว่า วิชชา ด้วยอรรถว่า ทำความรู้ให้แจ้งบ้าง, บุพเพนิวา-

สานุสติญาณ ชื่อว่า วิชชา เพราะทำลายความมืดอันปกปิดความ

ระลึกชาติที่เกิดขึ้นเสียได้, และทำความรู้แจ้งถึงการระลึกชาติได้. จุ-

ตูปปาตญาณ ชื่อว่า วิชชา เพราะทำลายความมืดอันปกปิดจุติและ

ปฏิสนธิเสียได้, และทำให้รู้แจ้งถึงจุติและอุปบัติได้. อาสวักขยญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 397

ชื่อว่า วิชฺชา เพราะทำลายความมืดอันปกปิดอริยสัจ ๔, และทำให้รู้

แจ้งถึงสัจธรรม ๔.

บทว่า จตฺตาริ สามญฺผลานิ - สามัญญผล ๔ คือ โสดา-

ปัตติผล ๑ สกทาคามิผล ๑ อนาคามิผล ๑ อรหัตผล ๑. ชื่อว่า

สมณะ เพราะอรรถว่า ยังธรรมลามกให้สงบ คือ ให้พินาศ. ความ

เป็นสมณะ ชื่อว่า สามัญญะ. สามัญญะ นี้ เป็นชื่อของอริยมรรค ๔.

ผลแห่งสามัญญะ ชื่อว่า สามัญญผล.

บทว่า ปญฺจ ธมฺมกฺขนฺธา ธรรมขันธ์ ๕ คือ สีลขันธ์ ๑

สมาธิขันธ์ ๑ ปัญญาขันธ์ ๑ วิมุตติขันธ์ ๑ วิมุตติญาณทัสนขันธ์ ๑.

บทว่า ธมฺมกฺขนฺธา คือ การจำแนกธรรม ส่วนของธรรม.

แม้ในสีลขันธ์เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งที่

เป็นโลกิยะทั้งที่เป็นโลกุตระนั่นแล ชื่อว่า ศีลสมาธิปัญญาขันธ์.

สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติและนิสสรณวิมุตตินั่นแล ชื่อว่า

วิมุตติขันธ์. การพิจารณาวิมุตติ ๓ อย่างนั่นแล ชื่อว่า วิมุตติญาณ-

ทัสนขันธ์ ขันธ์เป็นโลกิยะ ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้, ชื่อว่า

ทัสนะ เพราะอรรถว่า เห็น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ญาณทัสนะ,

ญาณทัสนะแห่งวิมุตติทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า วิมุตติญาณทัสนะ. ส่วน

วิกขัมภนวิมุตติและตทังควิมุตติ ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยสมาธิขันธ์และ

ปัญญาขันธ์. ธรรมขันธ์ ๕ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า เป็นเสกขธรรมของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 398

ผู้ยังต้องศึกษา เป็นอเสกขธรรมของผู้ไม่ต้องศึกษา. ในธรรมขันธ์

เหล่านี้ ธรรมขันธ์ที่เป็นโลกิยะและเป็นนิสสรณวิมุตติ เป็นเนวเสกขา-

นาเสกขธรรม - ธรรมของผู้ยังต้องศึกษาก็ไม่ใช่ ไม่ต้องศึกษาก็ไม่ใช่.

แม้เสกขธรรมมีอยู่ ท่านก็กล่าวเสกขธรรมว่า เหล่านี้ของผู้ยังต้องศึกษา,

กล่าวอเสกขธรรมว่า เหล่านี้ของผู้ไม่ต้องศึกษา. ในบทนี้ว่า พระ-

โยคาวจรเป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นเสกขธรรม แต่ก็พึงทราบ

ว่า พระโยคาวจรเป็นผู้ประกอบด้วยการทำนิสสรณวิมุตติให้เป็นอารมณ์

บทว่า ฉ อภิญฺา ได้แก่ ญาณอันยิ่ง ๖. ญาณอันยิ่ง ๖

เป็นไฉน ? ญาณ ๖ เหล่านี้ คือ อิทธิวิธญาณ ๑ ทิพโสดธาตุญาณ ๑

บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๑ เจโตปริยญาณ ๑ ทิพจักขุญาณ ๑ อาสวัก-

ขยญาณ ๑.

บทว่า สตฺต ขีณาสวพลานิ - กำลังของพระขีณาสพ ๗ ชื่อว่า

ขีณาสวะ เพราะมีอาสวะสิ้นแล้ว กำลังของพระขีณาสพ ชื่อว่า ขีณา-

สวพละ ขีณาสวะ ๗ เป็นไฉน ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพในธรรม-

วินัยนี้เห็นดีแล้วซึ่งสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง,

ข้อที่ภิกษุขีณาสพเห็นดีแล้วซึ่งสังขารทั้งปวง โดย

ความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบตามความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 399

เป็นจริง นี้เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ, กำลังที่

ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะ

ทั้งหลาย ว่าอาสวะของเราสิ้นแล้ว นี้เป็นข้อที่ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ-

ขีณาสพเห็นดีแล้วซึ่งกามทั้งหลาย เปรียบด้วยหลุม

ถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง,

ข้อที่ภิกษุขีณาสพเห็นดีแล้วซึ่งกามทั้งหลายเปรียบ

ด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตามความ

เป็นจริง นี้เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ, กำลังที่

ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะ

ทั้งหลายว่า อาสาวะของเราสิ้นแล้ว นี้เป็นข้อที่ ๒.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีกจิต

ของภิกษุขีณาสพน้อมไปในวิเวก โอนไปในวิเวก

เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ

สิ้นสุดจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ โดยประการ

ทั้งปวง ฯลฯ แม้นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ

ฯลฯ. นี้เป็นข้อที่ ๓.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก สติ-

ปัฏฐาน ๔ อันภิกษุขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 400

แล้ว ฯลฯ นี้เป็นข้อที่ ๔. อินทรีย์ ๕ อันภิกษุ-

ขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ฯลฯ นี้เป็นข้อ

ที่ ๕. โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุขีณาสพอบรมแล้ว

อบรมดีแล้ว ฯลฯ นี้เป็นข้อที่ ๖. อริยมรรคมี

องค์ ๘ อันภิกษุขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้ว

ฯลฯ นี้เป็นข้อที่ ๗.

ในกำลังเหล่านั้น ท่านประกาศการแทงตลอดทุกขสัจด้วยกำลัง

ที่ ๑, การแทงตลอดสมุทยสัจด้วยกำลังที่ ๒. การแทงตลอดนิโรชสัจ

ด้วยกำลังที่ ๓, การแทงตลอดมรรคสัจด้วยกำลังที่ ๔.

บทว่า อฏฺ วิโมกฺขา - วิโมกข์ ๘ ชื่อว่า วิโมกข์ ด้วย

อรรถว่า น้อมไปในอารมณ์ และด้วยอรรถว่า พ้นด้วยดีจากกรรมเป็น

ข้าศึก. วิโมกข์ ๘ เป็นไฉน ? วิโมกข์ ๘ คือ ภิกษุมีรูปย่อมเห็นรูป นี้เป็น

วิโมกข์ข้อที่ ๑ ภิกษุมีความสำคัญในอรูปภายใน ย่อมเห็นรูปภายนอก

นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๒. ภิกษุน้อมใจไปว่า นี้งาม เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓.

ภิกษุเข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อนนฺโต อากาโส - อากาศไม่มีที่สุด

อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจถึง

นานัตตสัญญา นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๔. ภิกษุเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า

อนนฺต วิญฺาณ - วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่ เพราะล่วงอากาสานัญจายตะ

โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๕. ภิกษุเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ

๑. ที. ปา. ๑๑/๔๔๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 401

ว่า นตฺถิ กิญฺจิ - อะไร ๆ ไม่มีอยู่ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดย

ประการทั้งปวง เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖. ภิกษุเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญา-

ยตนะอยู่ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็น

วิโมกข์ข้อที่ ๗. ภิกษุเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะล่วงเนวสัญ-

ญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘.

บทว่า นว อนุปุพฺพนิโรธา - อนุปุพพนิโรธ ๙ คือ การดับ

ตามลำดับ ๙ อย่าง. นิโรธ ๙ อย่าง เป็นไฉน ? กามสัญญาของผู้เข้า

ปฐมฌาน ย่อมดับไป วิตกวิจารของผู้เข้าถึงทุติยฌาน ย่อมดับไป ๑

ปีติของผู้เข้าถึงตติยฌาน ย่อมดับไป ๑ ลมอัสสาสะปัสสาสะของผู้เข้าถึง

จตุตถฌาน ย่อมดับไป ๑ รูปสัญญาของผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ

ย่อมดับไป ๑ อากาสานัญจายตนสัญญาของผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ

ย่อมดับไป ๑ วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ

ย่อมดับไป ๑ อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญา-

ยตนะ ย่อมดับไป ๑ สัญญาและเวทนาของผู้เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ

ย่อมดับไป ๑.

บทว่า ทส อเสกฺขา ธมิมา - อเสกขธรรม ๑๐ ชื่อว่า อเสกฺขา

เพราะไม่มีสิ่งที่ควรศึกษาต่อไป. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เสกฺขา เพราะ

ยังต้องศึกษาในไตรสิกขา, ชื่อว่า อเสกฺขา เพราะเสกขธรรมหมดสิ้น

แล้ว, ได้แก่ พระอรหันต์. ชื่อว่า อเสกฺขา เพราะธรรมเหล่านี้

๑. ที. มหา.๑๐/๑๐๑. ๒. ที. ปา. ๑๑/๓๕๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 402

ของพระอเสกขะ. อเสกขธรรม ๑๐ เป็นไฉน ? อเสกขธรรม ๑๐ คือ

สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑

สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑ สัมมา-

ญาณะ ๑ สัมมาวิมุตติ ๑ ที่เป็นของพระอเสกขะ.

บทว่า อเสกฺข สมฺมาาณ - สัมมาญาณที่เป็นของพระอเสกขะ

ได้แก่ โลกิยปัญญาที่เหลือเว้นอรหัตผลปัญญา. บทว่า สมฺมาวิมุตฺติ

ได้แก่ อรหัตผลวิมุตติ. ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า

ธรรมสัมปยุตด้วยผลแม้ทั้งหมดมีสัมมาทิฏฐิ

เป็นต้นนั่นแล เป็นอเสกขธรรม. อนึ่งในบทนี้

ท่านกล่าวปัญญาไว้ในฐานะ ๒ อย่าง คือ สัมมา-

ทิฏฐิ สัมมาญาณะ สงเคราะห์ธรรมอันเป็นผล-

สมาบัติเหลือจากที่ท่านกล่าวไว้ด้วยบทนี้ว่า สัมมา-

วิมุตติ.

๗๘] ในบทมีอาทิว่า สพฺพ ภิกฺขเว สจฺฉิกาตพฺพ - ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง พึงทราบว่า ได้แก่ การท่าให้แจ้ง

ด้วยอารมณ์. ในบทมีอาทิว่า รูป ปสฺสนฺโต สจิฉิกโรติ - เมื่อเห็น

๑. ที.ปา. ๑๑/๓๖๒.

๒. สุมังคลวิลาสินี ๓/๓๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 403

รูปย่อมทำให้แจ้ง ความว่า พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูปเป็นต้น อันเป็น

โลกิยะโดยอาการอันควรเห็น ย่อมทำให้แจ้งซึ่งรูปเป็นต้นเหล่านั้นด้วย

ทำให้แจ้งด้วยอารมณ์, หรือเมื่อเห็นรูปเป็นต้น โดยอาการอันควรเห็น

ย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิพพานอันควรทำให้แจ้งด้วยเหตุนั้น. นักคิดอักขระ

ทั้งหลายต้องการ บทว่า ปสฺสนฺโต ลงในอรรถแห่งเหตุ พระโยคาวจร

เมื่อเห็นโลกุตรธรรม มีอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์เป็นต้น ด้วยการ

พิจารณา ย่อมทำให้แจ้งซึ่งโลกุตรธรรมนั้นด้วยอารมณ์. บทนี้ว่า

พระโยคาวจรย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะ ด้วยอรรถว่า

หยั่งลงคือทำให้ตรงทีเดียว เพราะทำให้แจ้งใน ปริญเญยยะ - ทุกข์

ควรกำหนดรู้ ปหาตัพพะ - สมุทัยควรละ สัจฉิกาตัพพะ - นิโรธควร

ทำให้แจ้ง ภาเวตัพพะ - มรรคควรเจริญ.

บทว่า เย เย ธมฺมา สจฺฉิกตา โหนฺติ, เต เต ธมฺมา

ผุสิตา โหนฺติ - ธรรมใด ๆ เป็นธรรมอันทำให้แจ้งแล้ว, ธรรมนั้น ๆ

ย่อมเป็นธรรมอันถูกต้องแล้ว ได้แก่ ธรรมอันทำให้แจ้งแล้ว ด้วยการ

ทำให้แจ้งด้วยอารมณ์ ย่อมเป็นธรรมอันถูกต้องแล้วด้วยความถูกต้อง

อารมณ์, ธรรมอันทำให้แจ้งแล้วด้วยการทำให้แจ้งซึ่งการได้เฉพาะ ย่อม

เป็นธรรมอันถูกต้องแล้วด้วยความถูกต้องการได้เฉพาะ ด้วยประการ-

ฉะนี้.

จบ อรรถกถาสัจฉิกาตัพพนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 404

อรรถกถาหานภาคิยจตุกนิทเทส

บัดนี้ เพราะความที่ธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ย่าม

มีโดยประเภทที่ว่างจากสมาธิอย่างหนึ่ง ๆ, ฉะนั้น พระสารีบุตรจึงได้

ชี้แจงหานภาคิยจตุกะโดยเป็นอันเดียวกัน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปมสฺส ฌานสฺส ลาภึ คือ ของ

พระโยคาวจรผู้ได้ปฐมฌาน. บทว่า ลาภึ เป็นทุติยาวิภัตติลงใน

อรรถฉัฏฐีวิภัตติ. ลาโภ ท่านกล่าวเป็น ลาภี เพราะอรรถว่า มีการ

ทำให้แจ้ง.

ศัพท์ว่า สหคต ในบทว่า กามสหคตา นี้ท่านประสงค์เอา

ความว่า อารมณ์, อธิบายว่า มีวัตถุกามและกิเลสกามเป็นอารมณ์.

บทว่า สญฺามนสิการา - สัญญาและมนสิการ ได้แก่ ชวน-

สัญญา และมนสิการด้วยความคำนึงถึงสัญญานั้น. มนสิการสัมปยุตด้วย

ญาณก็ควร. บทว่า สมุทาจรนฺติ ย่อมปรากฏ คือ ย่อมเป็นไป.

บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรม คือ ปฐมฌาน. พระโยคาวจร

เมื่อเสื่อมจากฌาน ชื่อว่า เสื่อมด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ ด้วยกิเลส

กำเริบ ๑ ด้วยอสัปปายกิริยา ๑ ด้วยการไม่ประกอบความเพียร ๑.

เมื่อเสื่อมด้วยกิเลสกำเริบ ชื่อว่า เสื่อมเร็ว. เมื่อเสื่อมด้วยอสัปปายกิริยา

๑. อยู่ในข้อ ๗๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 405

ด้วยอำนาจการประกอบความเป็นผู้ยินดีในการงาน ความเป็นผู้ยินดีใน

การพูดเหลวไหล ความเป็นผู้ยินดีในการนอน ความเป็นผู้ยินดีในการ

คลุกคลี ชื่อว่า เสื่อมช้า, เมื่อไม่เข้าถึงเนือง ๆ ด้วย ปลิโพธ - ความ

กังวล มีความเจ็บไข้และความวิบัติด้วยปัจจัยเป็นต้น แม้เมื่อเสื่อมด้วย

การไม่ประกอบความเพียร ก็ชื่อว่า เสื่อมช้า. แต่ในนิทเทสนี้ พระ-

สารีบุตรเมื่อจะแสดงเหตุอันมีกำลังเท่านั้น จึงกล่าวถึงกิเลสกำเริบอย่าง

เดียว.

ก็เมื่อพระโยคาวจรเสื่อมจากทุติยฌานเป็นต้น ชื่อว่า เสื่อม

แม้ด้วยความพอใจในฌานชั้นต่ำ ๆ กำเริบ. ถามว่า เป็นอันเสื่อมด้วย

เหตุประมาณเท่าไร ? ตอบว่า เป็นอันเสื่อมด้วยเหตุเท่าที่ไม่สามารถจะ

เข้าถึงได้.

บทว่า ตทนุธมฺมตา - ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่ปฐม-

ฌานนั้น คือ ธรรมอันเป็นไปสมควร ชื่อว่า อนุธมฺโม. บทนี้เป็น

ชื่อของธรรม คือ ความพอใจอันเป็นไปเพราะทำฌานให้ยิ่ง. ธรรมอัน

สมควรนั่นแล ชื่อว่า อนุธมฺมตา. ความเป็นธรรมสมควรแก่ฌานนั้น

ชื่อว่า ตทนุธมฺมุตา.

บทว่า สติ คือ พอใจ. บทว่า สนฺติฏฺติ คือ ตั้งอยู่. ท่าน

อธิบายว่า ความพอใจอันเป็นไปตามปฐมฌานนั้น ยังเป็นไปอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 406

บทว่า อวิตกฺกสหคตา - ไม่สหรคตด้วยวิตก ได้แก่ มีทุติย-

ฌานเป็นอารมณ์. บทนั้นท่านกล่าวว่า อวิตกฺก เพราะในทุติยฌานนี้

ไม่มีวิตก.

บทว่า นิพฺพิทาสหคตา - สหรคตด้วยนิพพิทา ได้แก่ มีวิปัสสนา

เป็นอารมณ์. วิปัสสนานั้นท่านกล่าวว่า นิพฺพิทา เพราะเบื่อหน่ายใน

สังขารทั้งหลาย, สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า นิพฺพินฺท

วิรชฺชติ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด.

บทว่า วิราคูปสญฺหิตา ประกอบด้วย วิราคะ ได้แก่ วิปัสสนา

ประกอบด้วยอริยมรรค. วิปัสสนานั้นถึงยอดแล้ว ให้บรรลุความตั้งขึ้น

ของมรรค. เพราะฉะนั้น สัญญาและมนสิการมีวิปัสสนาเป็นอารมณ์

ท่านจึงกล่าวว่า วิราคูปสญฺหิตา - ประกอบด้วยวิราคะ, สมดังที่พระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า วิราคา วิมุจฺจติ เพราะคลายความกำหนัด

จิตย่อมหลุดพ้น.

บทว่า วิตกฺกสหคตา - สหรคตด้วยวิตก ได้แก่ มีปฐมฌาน

เป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจวิตก.

บทว่า อุเปกฺขาสุขสหคตา - สหรคตด้วยอุเบกขาและสุข ได้

แก่ มีตติยฌานเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจอุเบกขา คือ เป็นกลางในฌาน

๑. วิ. มหา. ๔/๒๓. ๒. ส. ขนฺธ. ๑๗/๑๐๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 407

นั้นและด้วยสุขเวทนา.

บทว่า ปีติสุขสหคตา - สหรคตด้วยปีติและสุข ได้แก่ มีทุติย-

ฌานเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจปีติและสุขเวทนา.

บทว่า อทุกฺขมสุขสหคตา - สหรคตด้วยอทุกขมสุข ได้แก่

มีจตุตถฌานเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจอุเบกขาเวทนา. เวทนานั้นไม่มี

ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อทุกฺขมสุขเวทนา. ม

อักษรในบทนี้ท่านกล่าวด้วยบทสนธิ.

บทว่า รูปสหคตา - สหรคตด้วยรูป ได้แก่ แม้เมื่อมีธรรม

เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่

และธรรมเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลสของพระโยคาวจรผู้ตั้งอยู่

ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะมีรูปฌานเป็นอารมณ์ ท่านก็มิได้

ชี้แจงถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะไม่มีธรรมเป็นไปในส่วนแห่ง

ความวิเศษ. ท่านกล่าวว่า สมาธิอันเป็นโลกิยะนี้แม้ทั้งหมดเป็นไปใน

ส่วนแห่งความเสื่อมแก่พระโยคีผู้มีอินทรีย์อย่างอ่อน มีปกติอยู่ด้วยความ

ประมาท, เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่แก่พระโยคีผู้มีอินทรีย์อย่าง

อ่อน มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท. เป็นไปในส่วนแห่งความพิเศษ

แก่พระโยคีผู้มีอินทรีย์แก่กล้าอันมีตัณหาเป็นจริต, เป็นไปในส่วนแห่ง

การชำแรกกิเลสแก่พระโยคีผู้มีอินทรีย์แก่กล้ามีทิฏฐิเป็นจริต.

จบ อรรถกถาหานภาคิยจตุกนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 408

ลักขณัตติกนิทเทส

[๗๙] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่อง

รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวง

เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร ?

ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรม

ที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า รูปไม่เที่ยงเพราะความว่าในรูป เป็นทุกข์

เพราะความว่าน่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะความว่าหาแก่นสารมิได้ ชื่อว่า

สุตมยญาณ ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัด

ธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ

ฯลฯ ชราและมรณะ ไม่เที่ยง เพราะความว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะ

ความว่าน่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะความว่าหาแก่นสารมิได้ ชื่อว่า

สุตมยญาณ ชื่อว่าญาณด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญาด้วยอรรถ

ว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้

สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า สังขารทั้งปวง

ไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ชื่อว่า

สุตมยญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 409

อรรถกถาลักขณัตติกนิทเทส

๗๙] บัดนี้ เพราะโลกิยธรรมแม้อย่างหนึ่ง ๆ ถูกกำจัดด้วย

ไตรลักษณ์, ฉะนั้นท่านจึงชี้แจงไตรลักษณ์เป็นอันเดียวกัน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจ ขยฏฺเน - รูปไม่เที่ยงเพราะ

อรรถว่า สิ้นไป คือ รูป ชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะความสิ้นไปในลักษณะ

นั้น ๆ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะมีความสิ้นไป

เสื่อมไป หมดความยินดี ดับไปเป็นธรรมดา.

บทว่า ทุกฺข ภยฏฺเน เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า น่ากลัว

คือ ชื่อว่า ทุกข์ เพราะความมีภัยเฉพาะหน้า. เพราะสิ่งใดเป็นทุกข์

สิ่งนั้นไม่เที่ยงย่อมนำมาซึ่งความน่ากลัว ดุจความทุกข์ของทวยเทพใน

สีโหปมสูตรฉะนั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชื่อว่า ทุกฺข ด้วยอรรถว่า

ชาติ ชรา พยาธิ และมรณะ เป็นสิ่งน่ากลัว.

บทว่า อนตฺตา อสารกฏฺเน เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า

หาแก่นสารมิได้ คือ ชื่อว่า อนัตตา เพราะไม่มีแก่นสารในตนที่

กำหนดไว้อย่างนี้ว่า ตัวตน ผู้อยู่อาศัย ผู้กระทำ ผู้รู้ ผู้มีอำนาจเอง

เพราะว่าสิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ สิ่งนั้น ไม่สามารถจะดำรงความไม่

เที่ยงแม้ของตนหรือความเกิด ความเสื่อมและความบีบคั้นไว้ได้, จะหา

๑. ส. ขนฺธ. ๑๗/๑๕๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 410

ความเป็นผู้กระทำเป็นต้นของต้นนั้นได้แต่ไหน. สมดังที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากรูปนี้เป็นตัวตนแล้วไซร้,

รูปนี้จะไม่พึงเป็นไปเพื่อความอาพาธเลย. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชื่อว่า

อนัตตา เพราะไม่มีแก่นสารในตน ไม่มีแก่นสารเป็นนิจ.

จบ อรรถกถาลักขณัตติกนิทเทส

ทุกขสัจนิทเทส

[๘๐] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่อง

รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วว่า นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ นี้

ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ชื่อว่าสุตมยญาณ

อย่างไร ?

ในอริยสัจ ๔ ประการนั้น ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ชาติเป็นทุกข์

ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ

อุปายาสเป็นทุกข์ ความประจวบกับสังขารหรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็น

ทุกข์ ความพลัดพรากจากสังขารหรือสัตว์อันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความ

ไม่ได้สมปรารถนา ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์.

๑. วิ. มหา. ๔/๒๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

ชาติในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม

ความก้าวลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์

ทั้งหลาย ความกลับได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้ท่านกล่าวว่า ชาติ.

ชราในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความแก่ ความชำรุด ความ

เป็นผู้มีฟันหัก ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว ความ

เสื่อมอายุ ความแก่แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้น ๆ แห่งสัตว์

นั้นๆ นี้ท่านกล่าวว่า ชรา.

มรณะในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความจุติ ความเคลื่อน

ความแตก ความหายไป ความถึงตาย ความตาย ความทำกาละ

ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์

จากหมู่สัตว์นั้น ๆ แห่งสัตว์นั้น ๆ นี้ท่านกล่าวว่า มรณะ.

[๘๑] โสกะในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความโศก กิริยาที่

โศก ความเป็นผู้โศก ความโศก ณ ภายใน ความตรอมตรม ณ ภายใน

ความเผาจิต ความเสียใจ ลูกศร คือ ความโศก แห่งบุคคลผู้ถูกความ

ฉิบหายแห่งญาติกระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหายแห่งสมบัติกระทบเข้า

ก็ดี ผู้ถูกความฉิบหาย คือ โรคกระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหายแห่ง

ศีลกระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหายแห่งทิฏฐิกระทบเข้าก็ดี ผู้ประจวบ

กับความฉิบหายอื่น ๆ ก็ดี ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่น ๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่าน

กล่าวว่า โสกะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 412

ปริเทวะในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความครวญ ความคร่ำ-

ครวญ ความร่ำไร ความเป็นผู้ร่ำไร ความเป็นผู้รำพัน ความบ่นด้วย

วาจา ความเพ้อด้วยวาจา ความพูดพร่ำเพรื่อ กิริยาที่พูดพร่ำ ความ

เป็นผู้พูดพร่ำเพรื่อ แห่งบุคคลผู้ถูกความฉิบหายแห่งญาติกระทบเข้าก็ดี

. . . ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่น ๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่านกล่าวว่า ปริเทวะ.

ทุกข์ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความไม่สำราญ ความลำบาก

อันมีทางกาย ความไม่สำราญ ความลำบากที่สัตว์เสวยแล้วซึ่งเกิดแต่

กายสัมผัส กิริยาอันไม่สำราญ ทุกขเวทนาซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส นี้ท่าน

กล่าวว่า ทุกข์.

โทมนัสสะในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความไม่สำราญ ความ

ลำบากอันมีทางใจ ความไม่สำราญ ความลำบากที่สัตว์เสวยแล้วเกิดแต่

สัมผัสทางใจ กิริยาอันไม่สำราญ ทุกขเวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางใจ นี้

ท่านกล่าวว่า โทมนัสสะ.

อุปายาสะในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความแค้น ความเคือง

ความเป็นผู้แค้น ความเป็นผู้เคือง แห่งบุคคลผู้ถูกความฉิบหายแห่งญาติ

กระทบเข้าก็ดี. . . ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่น ๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่านกล่าวว่า

อุปายาสะ.

[๘๒] ความประจวบกับสังขารหรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็น

ทุกข์ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน สังขารเหล่าใด คือ รูป เสียง กลิ่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 413

รส โผฏฐัพพะอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจในโลกนี้

ย่อมมีแก่บุคคลนั้น หรือ สัตว์เหล่าใดเป็นผู้ไม่หวังประโยชน์ ไม่หวัง

ความเกื้อกูล ไม่หวังความสบาย ไม่หวังความปลอดโปร่งจากโยคกิเลส

แก่บุคคลนั้น การไปร่วมกัน การมาร่วมกัน การอยู่ร่วมกัน การ

ทำกิจร่วมกัน กับสังขารหรือสัตว์เหล่านั้น นี้ท่านกล่าวว่า ความ

ประจวบกับสังขารหรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์.

ความพลัดพรากจากสังขารหรือสัตว์อันเป็นที่รัก เป็นทุกข์ใน

ทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน สังขารเหล่าใด คือ รูป เสียง กลิ่น รส

โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ในโลกนี้ ย่อมมีแก่

บุคคลนั้น หรือสัตว์เหล่าใด คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย

พี่หญิง น้องหญิง มิตร พวกพ้อง ญาติ หรือสาโลหิตเป็นผู้หวัง

ประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความสบาย หวังความปลอดโปร่ง

จากโยคกิเลสแก่บุคคลนั้น การไม่ได้ไปร่วมกัน การไม่ได้มาร่วมกัน

การไม่ได้อยู่ร่วมกัน การไม่ได้ทำกิจร่วมกันกับสังขารหรือสัตว์เหล่านั้น

นี้ท่านกล่าวว่า ความพลัดพรากจากสังขารหรือสัตว์อันเป็นที่รัก เป็น

ทุกข์.

ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์ในทุกขอริยสัจเป็นไฉน สัตว์

ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา มีความปรารถนาเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า

ขอเราทั้งหลายอย่ามีชาติเป็นธรรมดา และชาติอย่างมาถึงแก่เราทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 414

เลย ข้อนี้อันสัตว์ทั้งหลายไม่พึงได้ตามความปรารถนา แม้ความปรารถนา

สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นี้ก็เป็นทุกข์ สัตว์ทั้งหลายมีชราเป็นธรรมดา ฯลฯ

สัตว์ทั้งหลายมีพยาธิเป็นธรรมดา ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายมีมรณะเป็น

ธรรมดา ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายมีโสกะปริเทวะ ทุกข์โทมนัสสะและอุปายาสะ

เป็นธรรมดา มีความปรารถนาเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ขอเราทั้งหลายอย่าพึง

มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้น

ใจเป็นธรรมดาเลยและขอความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความ

ทุกข์ใจและความคับแค้นใจ ไม่พึงมาถึงแก่เราทั้งหลายเลย ข้อนี้อัน

สัตว์ทั้งหลายไม่พึงได้ตามความปรารถนา ความไม่ได้สมปรารถนาแม้

นี้ก็เป็นทุกข์.

โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน

อุปาทานขันธ์ คือ รูป อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา อุปาทานขันธ์ คือ

สัญญา อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ

อุปาทานขันธ์เหล่านี้ ท่านกล่าวว่า โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

นิท่านกล่าวว่า ทุกขอริยสัจ.

อรรถกถาทุกขสัจนิทเทส

๘๐]พระสารีบุตรได้ชี้แจงแม้จตุกอริยสัจ โดยเป็นอันเดียวกัน

เพราะสัจจะทั้งหลายเกี่ยวเนื่องเป็นอันเดียวกันด้วยอรรถว่า เป็นของ

จริงแท้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 415

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ได้แก่ ในอริยสัจ ๔

เหล่านั้น. บทว่า กตม ได้แก่ กเถตุกัมยตาปุจฉา - ถามเพื่อประสงค์

จะตอบเอง.

บทว่า ทุกฺข อริยสจฺจ - ทุกขอริยสัจ ได้แก่ เป็นการแสดง

ธรรมที่ถามแล้ว.

ในบทมีอาทิว่า ชาติปิ ทุกฺขา นั้นท่านประกาศอรรถแห่ง ชาติ

ศัพท์ไว้ไม่น้อย. ดังที่กล่าวไว้ว่า

ภพ ตระกูล พวก ศีล บัญญัติ ลักษณะ

ปสูติ ปฏิสนธิ ท่านประกาศอรรถแห่ง ชาติ ไว้

ด้วยประการฉะนี้.

จริงดังนั้น ชาติ ศัพท์มีอรรถว่า ภพ ในบทมีอาทิว่า เอกมฺปิ

ชาตึ เทฺวปิ ชาติโย - ภพแม้หนึ่ง แม้สองภพ. มีอรรถว่า ตระกูล

ในบทนี้ว่า อกฺขิตฺโต อนุปกฺกุฏฺโ ชาติวาเทน - ไม่ซัดทอด ไม่

คำว่า ถึงตระกูล. มีอรรถว่า พวก ในบทมีอาทิว่า อตฺถิ วิสาเข

นิคณฺา นาม สมณชาต ดูก่อนวิสาขา พวกสมณะนิครนถ์ยังมีอยู่.

มีอรรถว่า อริยศีล ในบทมีอาทิว่า ยโตห ภคินิ อริยาย ชาติยา

๑. วิ. มหาวิภงฺค ๑/๓ ๒. ที. สี. ๙/๒๐๒ ๓. องฺ. ติก. ๒๐/๕๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 416

ชาโต นาภิชานามิ- ดูก่อนน้องหญิงตั้งแต่เราเกิดในอริยชาติแล้วจะได้

รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตหามิได้. มีอรรถว่า บัญญัติ ในบทมีอาทิ

ว่า ติริยา นาม ติณชาติ นาภิย อุคฺคนฺตฺวา นภ อาหจฺจ ิตา

อโหสิหญ้าคาผุดขึ้นจากนาภีพุ่งขึ้นไปจดท้องฟ้า. มีอรรถว่า สังขต-

ลักษณะ ในบทนี้ว่า ชาติ ทฺวีหิ ขนฺเขหิ สงฺคหิตา - ชาติ

ท่านสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๒. มีอรรถว่า ปสูติ ในบทนี้ว่า สมฺปติ-

ชาโต อานนฺท โพธิสตฺโต- ดูก่อนอานนท์ โพธิสัตว์เกิดทันทีทันใด.

มีอรรถว่า ปฏิสนธิ โดยปริยายในบทนี้ว่า ภวปจฺจยา ชาติ เพราะ

ภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ. และบทว่า ชาติปิ ทุกฺขา- แม้ชาติก็เป็นทุกข์.

แต่โดยนิปริยาย - โดยตรง ได้แก่ ความปรากฏครั้งแรกของขันธ์

ทั้งหลายที่ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในภพนั้น ๆ.

หากถามว่า เพราะเหตุไร ชาตินี้จึงเป็นทุกข์ ตอบว่า เพราะ

ชาติเป็นที่ตั้งของทุกข์ไม่น้อย. ทุกข์ไม่น้อย คือ ทุกขทุกข์ วิปริณาม

ทุกข์ สังขารทุกข์ ปฏิจฉันนทุกข์ อัปปฏิจฉันนทุกข์ ปริยายทุกข์

นิปริยายทุกข์ เพราะทุกข์เหล่านี้ทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ ท่านกล่าว

ว่า ทุกขทุกข์ เพราะเป็นทุกข์โดยสภาพของเวทนาและโดยชื่อ.

๑. ม.ม. ๑๓/๕๓๑ ๒. องุ. ปญฺจก. ๒๒/๑๙๖. ๓. อภิ.ธา ๓๖/๖๗.

๔. ม.อุ. ๑๔/๓๗๗. ๕. อภิ. วิ. ๓๕/๒๕๕. ๖. ขุ.ป. ๓๑/๘๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 417

สุขเวทนา ช่อว่า วิปริณามทุกข์ เพราะเป็นเหตุเกิดทุกข์ด้วย

ความปรวนแปร.

อุเบกขาเวทนา และสังขารเป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งเหลือ ชื่อว่า

สังขารทุกข์ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดและความดับ.

อาพาธทางกาย ทางใจ มีปวดหู ปวดฟัน ความร้อนใจเกิด

เพราะราคะ เกิดเพราะโทสะเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิจฉันนทุกข์ - ทุกข์

ปกปิด เพราะถามจึงรู้ และเพราะความเจ็บปวดไม่ปรากฏ.

อาพาธที่มีสมุฏฐานจากโทษ ๓๒ เป็นต้น ชื่อว่า อัปปฏิจฉันน-

ทุกข์ - ทุกข์ไม่ปกปิด เพราะไม่ต้องถามรู้ได้ และเพราะความเจ็บปวด

ปรากฏ.

แม้ทุกข์ทั้งหมดมีชาติเป็นต้น มาในสัจวิภังค์ เว้น ทุกขทุกข์

ที่เหลือ ชื่อว่า ปริยายทุกข์ - ทุกข์โดยอ้อม เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์

นั้น ๆ. ส่วนทุกขทุกข์ท่านกล่าวว่า เป็น นิปริยายทุกข์-ทุกข์โดย

ตรง.

ในบทนั้นชาติเป็นอาปายิกทุกข์ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรง

ประกาศด้วยอุปมาในพาลบัณฑิตสูตร๒เป็นต้น. อนึ่ง ชาติเป็นทุกข์

เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์อันเป็นประเภทมีทุกข์ มีมูลมาจากการหยั่งลงสู่

๑. อภิ.วิ. ๓๕/๑๔๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 418

ครรภ์เป็นต้น ซึ่งเกิดในมนุษยโลก แม้ในสุคติ. ในบทนี้ ชาตินี้เป็น

ทุกข์อันเป็นประเภทมีทุกข์ มีมูลจากการหยั่งลงสู่ครรภ์เป็นต้น. จริงอยู่

สัตว์นี้เกิดในครรภ์มารดา มิได้เกิดในดอกอุบล ดอกบัวหลวง และ

ดอกบัวขาวเป็นต้น. โดยที่แท้สัตว์ย่อมเกิดในท้องน้ำเกลียดอย่างยิ่ง

คล้ายเที่ยวไปในป่าใหญ่ที่มีกลิ่นเหม็นมากอบอวลด้วยกลิ่นซากศพนานา

ชนิด ทั้งมืดตื้อทั้งคับแคบอย่างยิ่งในท่ามกลางพื้นท้องกระดูกสันหลัง

ข้างล่าง กระเพาะอาหารข้างบนท้อง ดุจหนอนเกิดในปลาเน่ามนเปรี้ยว

บูด และหลุมขยะเป็นต้น. สัตว์นั้นเกิดในท้องมารดา อบอุ่นอยู่กับ

ท้องมารดาตลอด ๑๐ เดือน เว้นจากการงอ การเหยียดเป็นต้น หมก

อยู่เหมือนอาหารใส่ไว้ในถุง เหมือนก้อนแป้งถูกหนึ่ง ย่อมเสวยความ

ทุกข์อย่างยิ่ง. นี้ชื่อว่าทุกข์มีมูลมาจากการหยั่งลงสู่ครรภ์. สัตว์นั้นในขณะ

ที่มารดาหกล้ม เดิน นั่ง ลุก เปลี่ยนอิริยาบถเป็นต้น อย่างรีบร้อน

ย่อมเสวยทุกข์หนัก เพราะความเจ็บปวดดีการคร่า ฉุด ทิ้ง ขยับไป

ขยับมาเป็นต้น ดุจลูกแกะตกอยู่ในมือของนักเลงสุรา และดุจลูกงูตก

อยู่ในมือของหมองู. สัตว์ย่อมเสวยทุกข์หนักในเวลามารดาดื่มน้ำเย็น

ปรากฏ ดุจเกิดในนรกเย็น ในเวลามารดากลืนข้าวต้มอาหารร้อนปรากฏ

ดุจฝนถ่านเพลิงโปรยลงมา ในเวลามารดากลืนของเค็มของเปรี้ยวเป็น

ต้น ปรากฏดุจได้รับโทษการแทงด้วยหอกอันคมเป็นต้น, นี้เป็นทุกข์

มีมูลมาจากการบริหารครรภ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 419

อนึ่ง สัตว์ย่อมเสวยทุกข์ด้วยการผ่าตัดเป็นต้น ของมารดาผู้มี

ครรภ์หลงในที่เกิดของทุกข์ไม่ควรที่ แม้มิตร อำมาตย์ และเพื่อนสนิท

เป็นต้น ไม่ควรดู, นี้ชื่อว่าทุกข์มีมูลมาจากความวิบัติของครรภ์.

ทุกข์ย่อมเกิดแก่สัตว์ผู้ถูกลมเป็นของมารดาซึ่งจะคลอด พัดหมุน

กลับไปทางช่องคลอดน่ากลัวนัก ดุจตกเหว ดุจช้างถูกฉุดออกจากช่อง

ดาล เพราะปากช่องคลอดแคบอย่างยิ่ง และดุจสัตว์นรกถูกภูเขาใน

สังฆาตนรกบดละเอียด, นี้ทุกข์มีมูลจากการคลอด,

ทุกข์เช่นกับแทงด้วยปลายเข็มและเฉือนด้วยมีดโกน ย่อมเกิด

แต่สัตว์ผู้เกิดแล้วมีร่างกายแบบบาง เช่นกับแผลอ่อน ๆ ในเวลาจับมือ

อาบน้ำ ล้างหน้า เช็ดด้วยผ้าผืนเล็กเป็นต้น, นี้ทุกข์มีมูลออกไปภาย-

นอกจากท้องแม่.

ในความเป็นไปนอกจากนี้ ทุกข์ย่อมมีแก่ผู้ทำลายตนด้วยตนเอง

ผู้ประกอบความเพียรด้วยการทรมานตน ทำตนให้เดือดร้อนด้วยอเจลก-

วัตรเป็นต้น ผู้ไม่บริโภคและบีบคอยด้วยความโกรธ, นี้เป็นทุกข์มีมูล

จากความพยายามของตน, ที่นอกจากนี้ไปทุกข์ย่อมเกิดแก่ผู้เสวยกรรม

มีการฆ่าและการจองจำเป็นต้น, นี้ทุกข์มีมูลจากความพยายามของผู้อื่น.

ชาติ นี้เป็นที่ตั้งของทุกข์แม้ทั้งหมดด้วยประการฉะนี้. ด้วย

เหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 420

หากสัตว์ไม่พึงเกิดในนรกทั้งหลายไซร้ เขา

ก็จะไม่ต้องได้รับกรรม มีถูกไฟเผาเป็นต้นในชาติ

นั้น, สัตว์พึงได้ทุกข์เป็นที่พึ่งในที่ไหนเล่า พระ-

มุนีในธรรมวินัยนี้กล่าว ชาติ ว่าเป็นทุกข์ ด้วย

ประการฉะนี้.

ทุกข์ในจำพวกเดียรัจฉานมีไม่น้อย มีการ

กระหน่ำด้วยแส้ ปฏัก ท่อนไม้เป็นต้น, เว้นชาติ

เสีย ทุกข์จะพึงมีในสัตว์นั้นได้อย่างไร แม้เพราะ

เหตุนั้น ชาติ จึงชื่อว่าเป็นทุกข์ในพวกสัตว์นั้น.

ทุกข์ในเปรตทั้งหลาย เกิดเพราะวิหาร

และมีทุกข์ชนิดต่าง ๆ มีเกิดแต่ลมและแดดเป็น

ต้น, เพราะทุกข์ในที่นั้นย่อมมีแก่สัตว์ที่ยังไม่เกิด

ก็หาไม่ ฉะนั้นพระมุนีจึงตรัส ชาติ ว่าเป็นทุกข์.

ทุกข์ในหมู่อสูรในโลกันตรนรกมืดตื้อ เย็น

จัด, เพราะความเกิดในนรกนั้นไม่มีทุกข์ ก็มีไม่

ได้ เพราะฉะนั้นพระมุนีจึงตรัสว่า ทุกข์ทั้งหลายมี

เพราะชาติิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 421

สัตว์เมื่ออยู่ในครรภ์มารดาก็เหมือนอยู่ในคูถ-

นรก เมื่ออยู่นานก็ดี ออกไปภายนอกก็ดี, สัตว์

ย่อมถึงทุกข์ เว้นขาดเสียแล้ว แม้ทุกข์อันร้ายแรง

ยิงนักก็ไม่มี เพราะชาตินี้มีจึงเป็นทุกข์ ด้วยประ-

การฉะนี้.

อันที่จริงทุกข์นี้มีอยู่ในโลกนี้ตลอดกาล

ประโยชน์ อะไรที่จะต้องพูดมากไปในกาลไหน ๆ

มิใช่หรือ, ทุกข์เว้นชาติเสียแล้วก็มีไม่ได้ เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ตรัสถึง

ชาติ นี้ว่าเป็นทุกข์ก่อนทุกข์อื่นทั้งหมด ดังนี้.

ในบทว่า ชราปิ ทุกฺขา - แม้ชราก็เป็นทุกข์นี้ มีอธิบายดังต่อ

ไปนี้ ชรามี ๒ อย่าง คือ ลักษณะของสังขตะและความเป็นขันธ์เก่าอัน

เนื่องในภพเดียวในสันตติที่รู้กันว่ามีฟันหักเป็นต้น. ในที่นี้ ท่านประสงค์

เอาชรานั้น. ชรานั้นชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะความเป็นสังขารทุกข์ และ

เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์. ทุกข์ทางกายทางใจเกิดขึ้น มีหลายปัจจัยอาทิ

ว่าความเป็นหนุ่มสาวเสื่อมไปกำลังถดถอยสติปัญญาเสื่อมโทรม ถูกคน

อื่นดูแคลน เพราะอวัยวะน้อยใหญ่ย่อหย่อนและอินทรีย์วิกลวิการ, ชรา

จึงเป็นที่ตั้งของทุกข์นั้น, ดังที่ท่านไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 422

เพราะอวัยวะหย่อน อินทรีย์วิการ ความเป็น

หนุ่มสาวเสื่อมกำลังถดถอย. สติเป็นต้นเสื่อม-

โทรม ขาดความเลื่อมใสจากลูกเมียของตน ถึง

ความอ่อนแอมากขึ้น. สัตว์ได้รับทุกข์ทั้งกายทาง

ใจทั้งหมดนั้น เพราะชราเป็นเหตุ ฉะนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่าชราเป็นทุกข์.

แม้เมื่อท่านควรกล่าว พยาธิทุกข์ในลำดับชราทุกข์ก็พึงทราบว่า

ท่านไม่กล่าว เพราะพยาธิทุกข์ท่านถือเอาด้วยกายิกทุกข์นั่นเอง.

ในบทว่า มรณมฺปิ ทุกฺข - แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ความตาย

มี ๒ อย่าง คือ ความตายที่ท่านกล่าวหมายถึงลักษณะของสังขตะว่า

ชรามรณะท่านสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๒, และที่ท่านกล่าวหมายถึงการ

ขาดชีวิตินทรีย์อันเนื่องกันในภพหนึ่งว่า ความกลัวแต่ความตายเป็นนิจ

ในที่นี้ท่านประสงค์เอาความตายนั้น. ชื่อของความตายนั้น คือ ชาติ-

ปัจจยมรณะ - ความตายเพราะชาติเป็นปัจจัย, อุปักกมมรณะ - ความ

ตายเพราะความพยายาม, สรสมรณะ - ตายเพราะสิ้นอายุและกรรม,

อายุกขยมรณะ - ความตายเพราะสิ้นอายุ, บุญญักขยมรณะ - ความตาย

เพราะสิ้นบุญ. พึงทราบประเภทของความตายในที่นี้อีก คือ ขณิก-

๑. อภิ.ธา. ๓๖/๖๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 423

มรณะ - ความตายชั่วขณะ, สมมติมรณะ - ความตายโดยสมมติ,

สมุจเฉทมรณะ - ความตายเด็ดขาด. ประเภทของรูปธรรมและอรูป-

ธรรมในความเปลี่ยนแปลง ชื่อว่า ขณิกมรณะ.

บทนี้ว่า ติสฺโส มโต, ปุสฺโส มโต - นายติสสะตายแล้ว นาย

ปุสสะตายแล้ว ชื่อว่า สมมติมรณะ เพราะไม่มีสัตว์โดยประมัตถ์.

บทนี้ว่า สสฺส มต, รุกฺโข มโต - ข้าวกล้าตายแล้ว, ต้นไม้

ตายแล้ว ชื่อว่า สมมติมรณะ. เพราะไม่มีสัตว์โดยปรอินทรีย์

กาลกิริยาอันไม่มีปฏิสนธิของพระขีณาสพ ชื่อว่า สมุจเฉท-

มรณะ. สมมติมรณะและสมุจเฉทมรณะนอกนี้ เว้นสมมติมรณะภาย-

นอกท่านสงเคราะห์ด้วยการตัดขาดการติดต่อ ตามที่กล่าวแล้ว, มรณะ

ชื่อว่าทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

วัตถุเป็นที่รักของคนชั่วผู้เห็นนิมิตมีบาปกรรม

เป็นต้น ผู้ประสบสิ่งเจริญของพลัดพรากไป, ทุกข์

ทางใจของตนใกล้ตายโดยไม่แตกต่างกัน ทุกข์ใน

สรีระมีโรคลมอันตัดข้อต่อและเส้นเอ็นขาดเป็นต้น

ย่อมมีแก่สัตว์ทั้งปวงผู้ถูกทิ่มแทงส่วนสำคัญของ

ร่างกาย ย่อมเป็นทุกข์เกิดแต่สรีระ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 424

ความตายนี้เป็นสิ่งที่ทนไม่ได้ ไม่มีการตอบ.

แทน เป็นที่ตั้งของทุกข์, เพราะเหตุนั้นท่านจึง

กล่าวว่า ความตายนี้เป็นทุกข์แน่นอน.

๘๑] จิตเร่าร้อนมีการเพ่งภายในเป็นลักษณะของผู้ที่ถูกความ

เสื่อมแห่งญาติเป็นต้นมากระทบ ชื่อว่าความโศกในบทว่า โสกะ เป็นต้น.

ความโศกชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ จากทุกขทุกข์. ด้วย

เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ความโศกย่อมทิ่มแทงหัวใจของสัตว์ทั้งหลาย

ดุจถูกลูกศรอาบยาพิษเจาะ และย่อมแผดเผาอย่าง

แรงกล้าดุจหลาวเหล็กถูกไฟเผาสังหารอยู่

ความโศกย่อมนำมาซึ่งพยาธิ ชรา มรณะ

และการทำลาย แม้ทุกข์หลายอย่าง เพราะฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ความโศกเป็นทุกข์.

ความพร่ำเพ้อของผู้ถูกความเสื่อมจากญาติเป็นต้น มาถูกต้อง

ชื่อว่าปริเทวะ. ปริเทวะชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะความเป็นสังขารทุกข์

และเพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

สัตว์ถูกลูกศร คือ ความโศกกำลังร้องไห้คร่ำ.

ครวญ คือ ริมฝีปาก เพดานแห้งผากเป็นโรคผอม-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 425

แห้ง, ย่อมได้รับทุกข์อย่างแสนสาหัส ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ปริเทวะ ว่าเป็นทุกข์.

ทุกข์ชื่อว่าเป็นทุกข์ ได้แก่ ทุกข์ทางกายมีลักษณะบีบคั้นทางใจ,

อนึ่งชื่อว่าทุกข์เป็นทุกข์ เพราะเป็นทุกข์ในทุกข์ และเพราะนำมาซึ่ง

ทุกข์มีในใจ. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า

ทุกข์นี้ย่อมบีบคั้นกาย และให้เกิดทุกข์ใจ

ยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวโดยวิเศษว่า ทุกฺข.

โทมนัสสะเป็นทุกข์ ได้แก่ ทุกข์ทางใจมีลักษณะบีบคั้นทางใจ.

อนึ่ง โทมนัสสะชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นทุกขในทุกข์ และเพราะนำมาซึ่ง

ทุกข์ทางกาย. จริงอยู่สัตว์ทั้งหลายที่ได้รับทุกข์ทางใจมาก ย่อมเสวยทุกข์

มากมายเช่นสยายผมร้องไห้คร่ำครวญ. ขยี้อก, หมุนมาหมุนไป หก

ขะเมน, คว้าศัสตรา, ดื่มยาพิษ, แขวนคอ, เข้ากองไฟ ดังที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า

เพราะจิตได้รับการบีบคั้น และนำความบีบ-

คั้นแก่กายอีกด้วย, ฉะนั้นท่านจึงกล่าวโทมนัสสะ

ว่าเป็นทุกข์เพราะความเสียใจ.

อุปายาสะเป็นทุกข์ ได้แก่ โทสะทำให้เกิดทุกข์ทางใจอย่างยิ่งของ

ผู้ถูกความเสื่อมจากญาติเป็นต้นมาถูกต้อง. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

ธรรมข้อหนึ่งอันนับเนื่องด้วยสังขารขันธ์. อุปายาสะ ชื่อว่า เป็นทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 426

เพราะเป็นสังขารทุกข์ เพราะเผาผลาญจิต เพราะความอึดอัดทางกาย.

ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

อุปายาสะเป็นทุกข์ เพราะความเผาผลาญจิต

และเพราะความอึดอัดทางกายเป็นอย่างมาก ย่อม

ยังทุกข์ให้เกิด เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า อุปา-

ยาสะเป็นทุกข์.

อนึ่ง ในบทว่า โสกะ ปริเทวะ และอุปายาสะนี้พึงเห็นว่า โสกะ

เหมือนน้ำหุงข้าวด้วยไฟอ่อนน้ำข้าวเดือดอยู่ภายในภาชนะ, พึงเห็น

ปริเทวะ เหมือนน้ำหุงข้าวด้วยไฟแรงน้ำข้าวก็เดือดล้นออกนอกภาชนะ,

พึงเห็นอุปายาสะ เหมือนน้ำข้าวส่วนที่เหลือจากการล้นออกไม่เพียงพอที่

จะออกได้ น้ำข้าวที่หุงก็จะหมดสิ้นไปภายในภาชนะนั่นเอง.

๘๒ ] การอยู่ร่วมกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก ชื่อว่า อัป-

ปิยสัมปโยคทุกข์. อัปปิยสัมปโยคทุกข์์ ชื่อว่า เป็นทุกข์เพราะเป็นที่

ตั้งแห่งทุกข์. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ทุกข์ครั้งแรกย่อมเกิดในจิต เพราะเห็นสัตว์

และสังขารอันไม่เป็นที่รัก หรือทุกข์ที่เกิดเพราะ

การทรมาน ย่อมมีในกายนี้.

แม้ทุกข์ทั้งสองนี้โดยวัตถุ ก็เป็นการอยู่ร่วม

กับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก เป็นที่รู้กันว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 427

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ตรัสว่า การ

อยู่ร่วมกับสัตว์และสังขารว่าเป็นทุกข์.

การพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ชื่อว่า ปิยวิปป-

โยคทุกข์. ปิยวิปปโยคทุกข์ ชื่อว่า เป็นทุกข์เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์.

สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

คนพาลทั้งหลายเพียบพร้อมด้วยลูกศร คือ

ความโศก เพราะการพลัดพรากจากญาติและสมบัติ

ย่อมเสียดแทงหัวใจ วิปปโยคทุกข์ นี้ รู้กันแล้วว่า

เป็นทุกข์.

ในการไม่ได้สมความปรารถนาพึงทราบความต่อไปนี้ ความ

ปรารถนาในวัตถุที่ไม่ควรได้ท่านกล่าวว่า ยมฺปิจฺฉ น ลภติ, ตมฺปิ-

ทุกฺข - ความไม่ได้สมความปรารถนาก็เป็นทุกข์. อธิบายว่า เมื่อ

ปรารถนาในวัตถุที่ไม่ควรได้โดยธรรมก็ไม่ได้. ความปรารถนานั้นก็เป็น

ทุกข์. ความไม่ได้สมความปรารถนา ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้ง

แห่งทุกข์. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ทุกข์เกิดจากการพิฆาต ย่อมเกิดแก่สัตว์ทั้ง-

หลายในโลกนี้โดยที่ไม่ได้สิ่งนั้น ๆ ตามปรารถนา.

เพราะความปรารถนาวัตถุที่ไม่ควรได้ อันเป็นเหต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 428

แห่งทุกข์นั้น, ฉะนั้นพระชินเจ้าจึงได้ตรัสถึงความ

ไม่ได้สมปรารถนาว่าเป็นทุกข์.

ในบทว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา - โดยย่ออุปาทาน-

ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ มีอธิบายดังต่อไปนี้ บทว่า สงฺขิตฺเตน ท่านกล่าว

หมายถึงเทศนา. เพราะไม่สามารถจะย่อทุกข์ได้ว่า ทุกข์ร้อยมีประมาณ

เท่านี้ ทุกข์พันมีประมาณเท่านี้, แต่เทศนาสามารถจะย่อได้. ฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงย่อเทศนาจึงตรัสอย่างนี้ว่า ชื่อว่า ทุกข์

ไม่มีอะไรอื่น, โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์.

บทว่า ปญฺจ เป็นการกำหนดจำนวน. บทว่า อุปทานกฺ-

ขนฺธา ได้แก่ ขันธ์อันเป็นอารมณ์ของอุปาทาน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้คงที่ตรัสถึงทุกข์ที่มีชาติ

เป็นแดนเกิด ไม่ตรัสถึงทุกข์ทั้งหมด ทุกข์นอก

จากนี้ก็ยังมีอยู่.

เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณ

อันยิ่งใหญ่ ทรงแสดงที่สุดของทุกข์ ว่า โดย

ย่ออุปาทานขันธ์เหล่านี้เป็นทุกข์.

เป็นความจริงดังนั้นชาติเป็นต้น เบียดเบียนอุปาทานขันธ์

ด้วยประการต่าง ๆ ดุจไฟกำจัดเชื้อไฟ, ดุจเครื่องประหารกำจัดเป้า,

ดุจเหลือบและยุงเป็นต้นกัดโค, ดุจคนตัดหญ้าทำลายดิน, ดุจโจรปล้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 429

ชาวบ้าน, ทำลายชาวบ้าน ฉะนั้น ย่อมเกิดในอุปาทานขันธ์นั่นเอง

ดุจหญ้าและเถาวัลย์เกิดบนแผ่นดิน, ดุจดอกไม้ ผลไม้และใบไม้อ่อน

เกิดโน้นต้นไม้.

ชาติ เป็นทุกข์ในเบื้องต้นของอุปาทานขันธ์.

ชรา เป็นทุกข์ในท่ามกลาง.

มรณะ เป็นทุกข์ในที่สุด,

โสกะ เป็นทุกข์ถูกเผาผลาญ ด้วยถูกทุกข์ใกล้จะตายเบียด-

เบียน,

ปริเทวะ เป็นทุกข์ด้วยการพร่ำเพ้อ เพราะทนทุกข์นั้นไม่ได้,

ทุกขะ เป็นทุกข์ด้วยความเจ็บป่วยของกาย เพราะประสบกับ

สัมผัสอันไม่น่าปรารถนา กล่าวคือ ธาตุกำเริบ,

โทมนัสสะ เป็นทุกข์ด้วยการรบกวนทางใจ เพราะเกิด

ปฏิฆะ - ความขึ้งเคียด ในโทมนัสของปุถุชนผู้ถูกโทมนัสนั้นเบียด-

เบียน,

อุปายาสะ เป็นทุกข์ด้วยความทอดถอนใจของผู้เกิดความตก-

ต่ำ เพราะความโศกเป็นต้นท่วมท้น.

การไม่ได้สมความปรารถนาเป็นทุกข์ เพราะทำลายความ

ปรารถนาของผู้ที่ถึงความหมดหวัง, อุปทานขันธ์ที่ถูกกำหนดโดย

ประการต่าง ๆ ด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่า ทุกข์ เพราะฉะนั้น เพื่อจะแสดง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 430

ทุกข์นั้นอย่างหนึ่ง ๆ นำมากล่าว แต่ก็ไม่สามารถจะกล่าวให้หมดสิ้นได้

ตั้งหลายกัป, เพื่อแสดงย่อทุกข์ทั้งหมดไว้ในอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นบาง

ส่วน ดุจรสน้ำในมหาสมุทรก็ย่อลงในหยาดน้ำเดียวกัน พระเถระจึง

ได้กล่าวพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า โดยย่ออุปาทาน-

ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ด้วยประการฉะนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในบทภาชนีย์ มีอาทิว่า ตตฺถ กตมา ชาติ.

บทว่า ตตฺถ คือ เมื่อชาติเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้แล้วในทุกขสัจนิทเทส.

บทว่า ยา เตส เตส สตฺตาน คือ แสดงถึงสัตว์ไม่น้อย

ทั่วไปโดยสังเขป. เมื่อกล่าวอยู่อย่างนี้ตลอดวันว่า ชาติของเทวทัต,

ชาติของโสมทัต สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่กำหนดถือเอา, การแสดงความอื่น

อีกทั้งหมดก็ย่อมไม่สำเร็จ, แต่ด้วยบทสองบทนี้ สัตว์ไร ๆ ก็ไม่กำหนด

ถือเอา การแสดงความอื่นอีกอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมไม่สำเร็จก็หามิได้.

บทว่า ตมฺหิ ตมฺหิ คือ การแสดงถึงหมู่สัตว์ไม่น้อยทั่วไป

ด้วยคติและชาติ.

บทว่า สตฺตนิกาเย - ในหมู่สัตว์ทั้งหลาย คือ ในชุมนุมสัตว์

ในที่ประชุมสัตว์.

บทว่า ชาติ คือ ความเกิด. บทนี้ในที่นี้เป็นปฐมาวิภัตติลง

ในอรรถสภาวะ แปลว่า ความเกิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 431

บทว่า สญฺชาติ คือ ความเกิดพร้อม. บทนี้เพิ่มอุปสัคลงไป

แปลว่า ความเกิดพร้อม.

บทว่า โอกฺกนฺติ คือ ความก้าวลง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

ชาติ ด้วยอรรถว่า ความเกิด, ท่านกล่าวว่า ชาติ นั้น โดยที่อายตนะ

ยังไม่บริบูรณ์. ชื่อว่า สัญชาติ ด้วยอรรถว่า เกิดพร้อม, ท่านกล่าว

สัพชาติ นั้น โดยที่อายตนะบริบูรณ์แล้ว. ชื่อว่า โอกกันติ ด้วย

อรรถว่า ก้าวลง ท่านกล่าว โอกกันติ นั้น ด้วยอำนาจของ อัณฑชะ

- เกิดในไข่ และ ชลาพุชะ - เกิดในครรภ์. เพราะว่าสัตว์เหล่านั้น

ก้าวลงสู่รังไข่และถุงกระเพาะ. สัตว์ก้าวลงย่อมถือปฏิสนธิ ดุจเข้าไป,

ชื่อว่า อภินิพพัตติ ด้วยอรรถว่า ความบังเกิด, ท่านกล่าว อภินิพ-

พัตติ นั้น ด้วยอำนาจแห่ง สังเสทชะ - เกิดจากเถ้าไคล และ โอป-

ปาติกะ - เกิดผุดขึ้น เพราะสัตว์เหล่านั้นเป็นผู้ปรากฏเกิดขึ้น, นี้เป็น

สมมุติกถา - กล่าวโดยสมมติเท่านั้น.

บัดนี้จะกล่าวโดยปรมัตถ์ว่า ขนฺธาน ปาตุภาโว อายตนาน

ปฏิลาโภ - ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย ความกลับได้อายตนะ เพราะ

โดยปรมัตถขันธ์นั่นแล ปรากฏมิใช่สัตว์ปรากฏ. อนึ่ง ในบทว่า

ขนฺธาน นี้ พึงทราบการถือเอาแม้ขันธ์ ๕ ในภพแห่งขันธ์ ๕ ขันธ์

หนึ่งในภพแห่งขันธ์หนึ่ง, ขันธ์ ๔ ในภพแห่งขันธ์ ๔. บทว่า ปาตุ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 432

ภาโว-ความปรากฏ ได้แก่ การเกิดขึ้น. บทว่า อายตนาน พึง

ทราบว่า ท่านสงเคราะห์ด้วยอำนาจอายตนะซึ่งเกิดขึ้นในภพนั้น ๆ.

บทว่า ปฏิลาโภ - การได้เฉพาะ ได้แก่ ความปรากฏในเพราะ

สันตตินั่นเอง. เพราะว่า อายตนะเหล่านั้นปรากฏ เป็นอันชื่อว่า ได้

เฉพาะแล้ว.

บทว่า อย วุจฺจติ ชาติ คือ นี้ท่านกล่าวว่า ชาติ.

พึงทราบวินิจฉัยในชรานิทเทสดังต่อไปนี้ บทว่า ชรา เป็น

ปฐมาวิภัตติลงในอรรถสภาวะ แปลว่า ความแก่ บทว่า ชีรณตา

เป็นอาการนิทเทส แปลว่า ความชำรุด

สามบทมีบทว่า ขณฺฑิจฺจ - ความเป็นผู้มีฟันหักเป็นต้น เป็น

กิจนิทเทส - แสดงกิจที่ปรากฏ ในขณะล่วงกาลผ่านวัย, สองบทหลัง

เป็นปกตินิทเทส - แสดงความเป็นปกติ

จริงอยู่ ความนี้ท่านแสดงโดยสภาวะด้วยบทว่า ชรา. เพราะ

เหตุนั้น บทว่า ขณฺฑิจฺจ นี้ จึงเป็นปฐมาวิภัตติลงในอรรถแห่งสภาวะ

ของชรานั้น.

ด้วยบทว่า ชีรณตา - ความชำรุดนี้ท่านแสดงโดยอาการ, เพราะ

เหตุนั้น บทนี้จึงเป็นอาการนิทเทสของชรานั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

ด้วยบทว่า ขณฺฑิจฺจ นี้ ท่านแสดงโดยกิจ คือ ความที่ฟัน

และเล็บหักในเมื่อล่วงกาลผ่านวัยไป.

ด้วยบทว่า ปาลิจฺจ - ความเป็นผู้มีผมหงอก นี้ท่านแสดงโดย

กิจ คือ ความที่ผมและขนทั้งหลายหงอก.

ด้วยบทว่า วลิตฺตจตา - ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว นี้ท่านแสดง

โดยอาการ คือ ความที่เพื่อแห้งเหี่ยว และหนังย่น. เพราะเหตุนั้น

๓ บทของชรานั้นจึงเป็นกิจนิทเทส ในขณะกาลเวลาผ่านไป. ด้วยบท

ทั้ง ๓ นั้นท่านแสดงถึงชราปรากฏ เห็นได้ชัดด้วยแสดงความผิดปกติ

เหล่านี้. ทางไปของชราปรากฏในฟันเป็นต้น ด้วยความเป็นผู้มีฟันหัก

เป็นต้น แม้ลืมตาก็รู้ได้. อนึ่ง ชรามีความเป็นผู้มีฟันหักเป็นต้น รู้

ไม่ได้. เพราะชราจะพึงรู้ด้วยตาไม่ได้. เหมือนทางไปของน้ำ ลม

หรือไฟ ย่อมปรากฏ เพราะหญ้าและต้นไม้เป็นต้น โค่นหัก หรือถูก

ไฟไหม้ อนึ่ง ทางไปนั้นไม่ปรากฏ น้ำเป็นต้นเท่านั้นปรากฏ.

ด้วยบทเหล่านี้ว่า อายุโน สหานิ อินฺทฺริยาน ปริปาโก-

ความเสื่อมอายุ ความแก่แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย คือท่านแสดงตามปกติ

กล่าวคือ ความสิ้นไปแห่งอายุ เพราะอายุเสื่อมยิ่งในขณะกาลเวลาผ่าน

ไปและความแก่แห่งอินทรีย์ มีชาติเป็นต้น, เพราะเหตุนั้นพึงทราบว่า

บททั้งสองนี้เป็นปกตินิทเทส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 434

ในบททั้งสองนั้น เพราะอายุของผู้มีชราย่อมเสื่อม ฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวชรา โดยผลูปจารนัย - โดยมุ่งผลว่า อายุใน สหานิ-

ความเสื่อมแห่งอายุ ดังนี้. อนึ่ง ในเวลาเป็นหนุ่มอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น

แจ่มใสดี สามารถจะรับวิสัยของตนแม้สุขุมได้โดยง่ายทีเดียว ครั้นถึง

ชราก็แก่หง่อม ขุ่นมัว หดหู่ ไม่สามารถจะรับวินัยของตนได้, ฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวโดยมุ่งผลว่า อินฺทฺริยาน ปริปาโก - ความแก่แห่งอินทรีย์

ทั้งหลาย. ท่านชี้แจงชราไว้อย่างนี้ แม้ชราทั้งหมดก็มี ๒ อย่าง คือ

ปรากฏ ๑ ปกปิด ๑.

ในชราเหล่านั้น ชราในรูปธรรมมีฟันเป็นต้น เป็นชราปรากฏ

เพราะแสดงความเป็นผู้มีฟันหักเป็นต้น, ส่วนชราในอรูปธรรม ชื่อว่า

ชราปกปิด เพราะไม่แสดงความผิดปรกติเช่นนั้น.

ในชราปรากฏนั้น ความที่ฟันหักเป็นต้น ย่อมปรากฏเป็นชนิด

ของฟันเป็นต้นเช่นนั้นเอง. บุคคลเห็นความที่ฟันหักเป็นต้นนั้นด้วยตา

แล้วคิดด้วยมโนทวารว่า ฟันเหล่านี้ถูกชราทำลายเสียแล้ว จึงรู้ชรา

เหมือนแลดูเขาโคเป็นต้น ที่เขาผูกไว้ในที่มีน้ำแล้วรู้ว่า ข้างล่างมีน้ำ

ยังมี ชรา อีก ๒ อย่าง คือ สวีจิชรา - ชรารู้ง่าย ๑ อวีจิชรา-

ชรารู้ยาก ๑.

ในชรา ๒ อย่างนั้น ชรา ชื่อว่า อวีจิชรา เพราะรู้ความ

แตกต่างของชนิดในระหว่าง ๆ มีแก้วมณี ทอง เงิน แก้วประพาฬ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 435

ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์เป็นต้นได้ยาก เหมือนรู้สัตว์มีชีวิในจำพวก

มันททสกะ - วัยอ่อน ๑๐ ขวบเป็นต้นได้ยาก. และเหมือนรู้ยิ่งไม่มี

ชีวิตในจำพวก ดอกไม้ ผลไม้และใบไม้เป็นต้นได้ยากฉะนั้น. อธิบาย

ว่า ได้แก่ นิรันตรชรา - ชราติดต่อกันไป. เมื่อกล่าวโดยประการอื่น

จากนั้น ชรา ชื่อว่า สวีจีชรา เพราะรู้ความแตกต่างของชนิดเป็นต้น

ในระหว่าง ๆ ได้ง่าย.

ในชรา ๒ อย่างนั้น สวีจิชรา พึงทราบอย่างนี้ ด้วยอำนาจ

ของอุปาทินนกะและอนุปาทินนกะ ฟันน้ำมันย่อมขึ้นแก่เด็กเล็กเป็น

ครั้งแรก แต่ฟันน้ำมันเหล่านั้นไม่มั่นคง. เมื่อฟันน้ำมันหลุดไป ฟัน

ก็ขึ้นอีก ฟันเหล่านั้นครั้งแรกเป็นสีขาว, ครั้นถูกลมชรากระทบ ก็

กลายเป็นสีดำ. ผมครั้งแรกเป็นสีแดง, จากนั้นก็เป็นสีดำ, จากนั้น

ก็เป็นสีขาว. ผิวก็มีเลือดฝาด. เมื่อเจริญขึ้น ๆ ส่วนที่สีขาวก็ผ่องใส,

ส่วนที่สีดำก็ปรากฏเป็นสีดำ, เมื่อถูกลมชรากระทะ ก็มีรอยย่น.

ข้าวกล้าในเวลาหว่านก็เป็นสีขาว ภายหลังก็เป็นสีเขียว, เมื่อถูกลม

ชรากระทบก็เป็นสีเหลือง. ควรแสดงถึงพืชต้นมะม่วงบ้าง.

พึงทราบวินิจฉัยในมรณนิทเทสดังต่อไปนี้. บทว่า จุติ ท่าน

กล่าวด้วยอำนาจการเคลื่อน. บทนี้เป็นคำกล่าวถึงความเสมอกันของ

ขันธ์ ๑ ขันธ์ ๔ และขันธ์ ๕.

บทว่า จวนตา - ความเคลื่อน เป็นบทชี้ถึงลักษณะ โดยกล่าว

ถึงภาวะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 436

บทว่า เภโท - ความแตก เป็นบทแสดงถึงการเกิดความแตก

ของ จุติขันธ์.

บทว่า อนฺตรธาน - ความหายไป เป็นบทแสดงถึงความไม่มี

ฐานะ โดยปริยายอย่างใด ๆ ของจุติขันธ์ที่แตกแล้ว ดุจหม้อที่แตก

บทว่า มจฺจุ มรณ ได้แก่ ความตาย กล่าวคือ ถึงความตาย

มิใช่ตายชั่วขณะ มัจจุผู้ทำที่สุด ชื่อว่า กาละ, การทำกาละนั้น ชื่อว่า

กาลกิริยา. ด้วยเหตุเพียงนี้ ท่านแสดงถึงความตายโดยสมมติ.

บัดนี้ เพื่อแสดงโดยปรมัตถ์ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

ขนฺธาน เภโท - ความแตกแห่งขันธ์. จริงอยู่โดยปรมัตถ์ ขันธ์เท่านั้น

แตก สัตว์ไร ๆ ไม่ตาย. เมื่อขันธ์แตกสัตว์ก็ตาย. จึงมีคำกล่าวว่า

เมื่อขันธ์แตก สัตว์ตายแล้ว. อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบความแตกแห่ง

ขันธ์ ด้วยอำนาจของขันธ์ ๔ และขันธ์ ๕. พึงทราบความทอดทิ้ง

ซากศพ ด้วยอำนาจของขันธ์ ๑, พึงทราบความแตกแห่งขันธ์ ด้วย

อำนาจของขันธ์ ๔ พึงทราบการทอดทิ้งซากศพ ด้วยอำนาจสองขันธ์

ที่เหลือ. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะซากศพ คือ รูปกาย

ยังมีอยู่แม้ในสองภพ. อีกอย่างหนึ่ง เพราะขันธ์แม้ในชั้นจาตุมหา-

ราชิกายังแตกได้, ย่อมไม่ทอดทิ้งอะไร ๆ ไว้. ฉะนั้น ความแตกแห่ง

ขันธ์ ด้วยอำนาจขันธ์เหล่านั้นจึงเป็นการทอดทิ้งซากศพไว้ในมนุษย์

เป็นต้น. อนึ่ง ในบทนี้ท่านกล่าวถึงมรณะเพราะทำการทอดทิ้งซากศพ

ว่า กเฬวรสฺส นิกฺเขโป - การทอดทิ้งซากศพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 437

ด้วยบทนี้ว่า ชีวิตินฺทฺริยสฺสุปจฺเฉโท - ความขาดแห่งชีวิตน-

ทรีย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ชื่อว่า มรณะ ย่อมมีแก่ผู้ที่

ยังมีอินทรีย์ผูกพันอยู่เท่านั้น, ย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ไม่มีอินทรีย์ผูกพันอยู่.

ส่วนบทว่า สสฺส มต, รุกฺโข มโต - ข้าวกล้าตาย ต้นไม้ตายเป็น

เพียงโวหารเท่านั้น. แต่โดยอรรถคำเห็นปานนี้ แสดงถึงความสิ้นไป

และความเสื่อมไปของข้าวกล้าเป็นต้นเท่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ชาติ ชรา มรณะเหล่านี้เที่ยวแสวงหาช่องของ

สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ดุจปัจจามิตรผู้มุ่งร้าย ฉะนั้น. เหมือนอย่างว่า

ปัจจามิตร ๓ คน ของบุรุษเที่ยวคอยหาช่อง. ปัจจามิตรคนหนึ่งพึง

กล่าวว่า เราจักกล่าวพรรณนาคุณของป่าโน่น แล้วจักพาบุรุษนั้นไปที่

ป่านั้น, เราจะไม่ทำร้ายในบุรุษนี้เลย. ปัจจามิตรคนที่สองพึงกล่าวว่า

ในเวลาที่ท่านพาบุรุษนี้ไปเราจักโบยทำให้หมดกำลัง. เราจะไม่ทำรุณ

แรงในบุรุษนี้เลย. ปัจจามิตรคนที่สามพึงกล่าวว่า เมื่อท่านโบยบุรุษนี้

ทำให้หมดกำลังแล้ว การเอาดาบตัดศีรษะเป็นภาระของเรา ครั้นปัจจา-

มิตรเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้วก็พึงทำตามนั้น.

การคร่าออกจากแวดวงของเพื่อนและญาติ แล้วให้ไปอยู่ในที่ใด

ที่หนึ่ง ดุจปัจจามิตรคนที่หนึ่งกล่าวพรรณนาคุณของป่า แล้วพาบุรุษ

นั้นไปในป่านั้น พึงทราบว่า เป็น กิจของชาติ, การล้มลงในขันธ์

ที่เกิดแล้วต้องอาศัยผู้อื่นและนอนพักผ่อนบนเตียง ดุจการโบยของ

ปัจจามิตรคนที่สองแล้วทำให้หมดกำลัง พึงทราบว่า เป็น กิจของชรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 438

การทำให้ถึงสิ้นชีวิต ดุจการเอาดาบที่คมตัดศีรษะของปัจจามิตรคนที่สาม

พึงทราบว่า เป็น กิจของมรณะ.

อีกอย่างหนึ่ง ในบทนี้ ชาติทุกข์ พึงเห็นดุจการเข้าไปสู่ที่

มหากันดารอันมีโทษ, ชราทุกข์ พึงเห็นดุจคนที่ไม่มีข้าวและน้ำในที่

นั้นหมดกำลังลง มรณทุกข์ พึงเห็นดุจการถึงความเสื่อมและความ

พินาศด้วยสัตว์ร้ายเป็นต้นของคนที่หมดกำลัง ผู้หมดความพยายามใน

การเปลี่ยนอิริยาบถ.

พึงทราบวินิจฉัยในโสกนิทเทสดังต่อไปนี้ ชื่อว่า พฺยสน

เพราะอรรถว่าถึงความพินาศ, อธิบายว่า ทอดทิ้งประโยชน์และความ

สุขนอนซบเซา. ความพินาศของญาติทั้งหลาย ชื่อว่า าติพฺยสน,

ความสิ้นญาติเพราะภัยแต่โจรและโรคเป็นต้น ชื่อว่า าติวินาโส.

ด้วยความพินาศแห่งญาตินั้น.

บทว่า ผุฏฺสฺส - กระทบแล้ว คือ ท่วมทับ ครอบงำ, ได้แก่

ประกอบพร้อม. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แต่ความต่างกัน

มีดังนี้ ความพินาศแห่งสมบัติ ชื่อว่า โภคพฺยสน. อธิบายว่า ความ

สิ้นสมบัติ ความพินาศแห่งโภคะ ด้วยราชภัยและโจรภัยเป็นต้น.

ความพินาศ คือ โรคนั้นเอง ชื่อว่า โรคพฺยสน. จริงอยู่

โรค ชื่อว่า พยสนะ เพราะอรรถว่า ยังความไม่มีโรคให้พินาศไป.

ความพินาศ แห่งศีล ชื่อว่า สีลพฺยสน บทนี้เป็นชื่อของ

ความเป็นผู้ทุศีล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 439

ความพินาศ คือ ทิฏฐินั้นเองเกิดขึ้นแล้วทำสัมมาทิฏฐิให้พินาศ

ชื่อว่า ทิฏฺพฺยสน-ความพินาศแห่งทิฏฐิ.

อนึ่ง ในบทนี้ สองบทแรกยังไม่สมบูรณ์, ตามบทหลังสมบูรณ์

แล้ว ถูกกำจัดด้วยไตรลักษณ์. อนึ่ง สามบทแรกเป็นกุศลก็ไม่ใช่

เป็นอกุศลก็ไม่ใช่. สองบท คือ สีลพยสนะ และทิฏฐิพยสนะเป็น

อกุศล

บทว่า อญฺตรญฺตคเรน- ความพินาศอื่น ๆ คือ เมื่อถูกความ

พินาศอย่างใดอย่างหนึ่งจับต้องก็ดี เมื่อถูกความพินาศแห่งมิตรและ

อำมาตย์อย่างใดอย่างหนึ่งไม่จับต้องก็ดี.

บทว่า สมนฺนาคตสฺส - ประจวบแล้ว คือ ติดตามอยู่เสมอ

ไม่พ้นไปได้.

บทว่า อญฺตรญฺตเรน ทุกฺขธมฺเมน - อันเหตุแห่งทุกข์

อื่น ๆ คือ เหตุเกิดทุกข์เพราะความโศกอย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า โสโก ได้แก่ ความโศก ด้วยอำนาจแห่งกิริยาที่โศก.

บทนี้เป็นปฐมาวิภัตติลงในอรรถแห่งสภาวะของความโศก อันเกิดขึ้น

ด้วยเหตุเหล่านั้น.

บทว่า โสจนา - กิริยาที่โศก ได้แก่ อาการของความโศก.

๑. สองบทแรก คือ ญาติพยสนะ โภคพยสนะเป็นอนิปผันนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 440

บทว่า โสจิตตฺต ได้แก่ ความเป็นผู้โศก. บทว่า อนฺโตโสโก

ได้แก่ ความโศก ณ ภายใน. บทที่สองเพิ่มอุปสรรคลงไป. จริงอยู่

ความโศกนั้น ท่านกล่าวว่า อนฺโตโสโก อนฺโตปริโสโก - ความ

ตรอมตรม ณ ภายใน เพราะความโศกเกิดขึ้นดุจเหี่ยวแห้งตรอมตรม

ณ ภายใน.

บทว่า เจตโส ปริชฺฌายนา - ความเผาจิต ได้แก่ อาการ

เผาจิต. เพราะความโศกเมื่อเกิดขึ้น. ย่อมเผาจิตดุจไฟเผา. ทำให้พูด

ได้ว่า จิตของเราถูกเผา, แสงสว่างไร ๆ ไม่มีแก่เราเลย.

ใจมีทุกข์ ชื่อว่า ทุมฺมโน - เสียใจ ความเป็นผู้เสียใจ ชื่อว่า

โทมนสฺส. ชื่อว่า โสกสลฺล ได้แก่ ลูกศร คือ ความโศก ด้วย

อรรถว่า เข้าไปข้างใน พึงทราบในปริเทวนิทเทสดังต่อไปนี้ ชื่อว่า

อาเทโว - ครวญหา ด้วยอรรถว่า เป็นเหตุร้องให้ครวญหาอย่างนี้ ว่า

ธิดาของฉัน, บุตรของฉันดังนี้.

ชื่อว่า ปริเทโว - ความคร่ำครวญ ด้วยอรรถว่าเป็นเหตุประการ

คุณความดีแล้วคร่ำครวญ. ท่านกล่าวสองบท สองบทอื่นจากบทนั้น

ด้วยแสดงถึงอาการของสองบทต้นนั่นเอง.

บทว่า วาจา คือ คำพูด.

บทว่า ปลาโป - ความบ่น ได้แก่ คำพูดที่ไร้ประโยชน์ไป

เปล่าๆ ชื่อว่า วิปฺปลาโป - ความเพ้อ ด้วยอรรถว่า บ่นเรื่อยเปื่อย

ไปโดยพูดไปได้หน่อยหนึ่ง แล้วก็พูดอย่างอื่นเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 441

บทว่า ลาลปฺโป ความพูดพร่ำเพรื่อ ได้แก่ พูดแล้วพูดอีก.

อาการพูดพร่ำเพรื่อ ชื่อว่า ลาลปฺปนา - กิริยาที่พูดพร่ำเพรื่อ. ความ

เป็นผู้พูดพร่ำเพรื่อ ชื่อว่า ลาลปฺปิตตฺต.

พึงทราบวินิจฉัยในทุกขนิทเทสดังต่อไปนี้ ชื่อว่า กายิก-

เพราะอาศัยกาย.

ชื่อว่า อสาต - ความไม่สำราญ ด้วยอรรถว่า ไม่มีความชื่นฉ่ำ

ความไม่สำราญทางใจย่อมใช้ด้วยบทว่า กายิกะ, ความสำราญทางกาย

ย่อมใช้ด้วยบทว่า อสาต.

ชื่อว่า ทุกฺข ด้วยอรรถว่า ถึงความยาก อธิบายว่า ทุกข์นั้น

เกิดแก่ผู้ใด. ย่อมทำผู้นั้นให้ลำบาก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทุกฺข

เพราะทนได้ยาก.

บทว่า กายสมฺผสฺสช ได้แก่ เกิดแต่กายสัมผัส.

บทว่า อสาต ทุกฺข เวทยิต - ความไม่สำราญ ความลำบาก

ที่สัตว์เสวยแล้ว ได้แก่ ความไม่สำราญที่สัตว์เสวยแล้ว, ความสำราญ

ที่สัตว์ไม่ได้เสวย, ทุกข์ที่สัตว์เสวยแล้ว, สุขที่สัตว์ไม่ได้เสวย.

สามบทข้างหน้าท่านกล่าวเป็นอิตถีลิงค์. ในบทนี้ มีอธิบาย

อย่างนี้ว่า ความไม่สำราญเป็นเวทนา, ความสำราญไม่ใช่เวทนา. ทุกข์

เป็นเวทนา สุขไม่ใช่เวทนา. พึงทราบโยชนาท่านแก้ไว้อย่างนี้ว่า

ความไม่สำราญ ความลำบากอันมีทางกายที่สัตว์เสวยแล้วอันใด. ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 442

ไม่สำราญ ทุกขเวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส อันใด นี้ท่านกล่าวว่า

ทุกข์.

พึงทราบวินิจฉัยในโทมนัสสนิทเทสดังต่อไปนี้ ชื่อว่า ทุมฺมโน

เพราะอรรถว่า ใจเสีย, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทุมฺมโน เพราะอรรถ

ว่า ใจน่าเกลียด เพราะได้รับแต่ความเลวร้าย. ความมีใจเสีย ชื่อว่า

โทมนสฺส.

ชื่อว่า เจตสิก เพราะอาศัยจิต.

บทว่า เจโตสมฺผสฺสช เกิดแต่สัมผัสทางใจ.

พึงทราบวินิจฉัยในอุปายาสนิทเทสดังต่อไปนี้ ชื่อว่า อายาโส

เพราะอรรถว่าความทุกข์ใจ. บทนี้เป็นชื่อของความลำบาใจ อันเป็น

ไปในอาการใจหายใจคว่ำ. ความทุกข์ใจมีกำลัง ชื่อว่า อุปายาโส - ความ

แค้น. ความเป็นผู้แค้น ชื่อว่า อายาสิตตฺต. ความเป็นผู้เคือง ชื่อว่า

อุปายาสิตตฺต.

พึงทราบวินิจฉัยในอัปปิยสัมปโยคนิทเทสดังต่อไปนี้ บทว่า อิธ

ได้แก่ ในโลกนี้.

บทว่า ยสฺส ตัดบทเป็น เย อสฺส.

บทว่า อนิฏฺา - ไม่น่าปรารถนา คือ ไม่น่าแสวงหา. จะน่า

แสวงหาก็ตาม ไม่น่าแสวงหาก็ตาม ยกไว้, บทนี้เป็นชื่อของอารมณ์

ที่ไม่น่าพอใจ.

ชื่อว่า อกนฺตา - ไม่น่าใคร่ เพราะอรรถว่า ไม่ก้าวเข้าไปในใจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 443

ชื่อว่า อมนาปา-ไม่น่าพอใจ เพราะอรรถว่า ไม่น่ารักในใจ

หรือไม่เจริญใจ.

บทว่า รูปา เป็นต้น แสดงถึงสภาวะของบทเหล่านั้น.

ชื่อว่า อนตฺถกามา เพราะอรรถว่า หวัง คือ ปรารถนา

สิ่งไม่เป็นประโยชน์.

ชื่อว่า อหิตกามา เพราะอรรถว่า หวัง คือ ปรารถนาสิ่ง

ไม่เกื้อกูล.

ชื่อว่า อผาสุกามา เพราะอรรถว่า หวัง คือ ปรารถนาความไม่

ผาสุกอยู่อย่างลำบาก.

ชื่อว่า อโยคกฺเขมกามา เพราะอรรถว่า ไม่หวังความปลอด

โปร่ง ความปลอดภัย ความหลุดพ้นจากโยคะ ๔ คือ หวังปรารถนา

ความมีภัย ความเวียนว่ายตายเกิด ของรูปเป็นต้นเหล่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อนตฺถกามา เพราะไม่หวังสิ่งเป็น

ประโยชน์ คือ ความเจริญแห่งศรัทธาเป็นต้น , และเพราะหวังสิ่งไม่

เป็นประโยชน์ คือ ความเสื่อมแห่งศรัทธาเป็นต้นเหล่านั้น.

ชื่อว่า อหิตกามา เพราะไม่หวังประโยชน์เกื้อกูลอันเป็นอุบาย

เข้าถึงศรัทธาเป็นต้น และเพราะหวังสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล อัน

เป็นอุบายเข้าถึงความเสื่อมศรัทธาเป็นต้น.

ชื่อว่า อผาสุกามา เพราะไม่หวังอยู่สบาย, และเพราะหวัง

อยู่ไม่สบาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 444

ชื่อว่า อโยคกฺเขมกามา เพราะไม่หวังความปลอดภัยใด ๆ.

และเพราะหวังความมีภัย. พึงเห็นความในบทนี้ อย่างนี้ ด้วยประการ

ฉะนี้.

บทว่า สงฺคติ ได้แก่ การไปร่วมกัน.

บทว่า สมาคโม ได้แก่ การมาร่วมกัน.

บทว่า สโมธาน ได้แก่ การอยู่ร่วมทั้งในเวลายืนเวลานั่ง

เป็นต้น.

บทว่า มิสฺสีภาโว ได้แก่ การทำกิจทั้งปวงร่วมกัน. บทนี้

โยชนาแก้ว่า ด้วยอำนาจสัตว์. แต่พึงถือเอากิจที่ได้ด้วยอำนาจของ

สังขาร. การอยู่ร่วมกันกับสัตว์หรือสังขารอันไม่เป็นที่รักนั้น โดยอรรถ

ชื่อว่า ธรรมข้อหนึ่งไม่มี, ท่านกล่าวว่า ทุกข์ เพราะความเป็นที่ตั้ง

แห่งทุกข์ แม้ ๒ อย่าง ของสัตว์ผู้อยู่ร่วมกันกับสัตว์หรือสังขารอันไม่

เป็นที่รัก.

ปิยวิปปโยคนิทเทส พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

ในบทมีอาทิว่า มาตา วา ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงความหวังประโยชน์

โดยสรุป.

ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า มาตา เพราะอรรถว่า ถนอมรัก.

ชื่อว่า ปิตา เพราะอรรถว่า ประพฤติน่ารัก.

ชื่อว่า ภาตา เพราะอรรถว่า ย่อมคบ.

ชื่อว่า ภคินี ก็เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

ชื่อว่า มิตร เพราะอรรถว่า เป็นที่รัก อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

มิตร เพราะอรรถว่า นับไว้ คือ วางใจได้ในความลับทั้งปวง

ชื่อว่า อมัจจา เพราะอรรถว่า เป็นอยู่ด้วยกัน โดยความ

ร่วมกันในกิจที่ควรทำ.

ชื่อว่า ญาติ เพราะอรรถว่า รู้ คือ เข้าใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้

เป็นคนภายในของเรา.

ชื่อว่า สาโลหิตา เพราะอรรถว่า เกี่ยวเนื่องกันทางสายเลือด.

ญาติ คือ คนฝ่ายบิดา, สาโลหิต คือ คนฝ่ายมารดา. อีก

อย่างหนึ่ง ญาติ คือ คนฝ่ายมารดาบิดา, สาโลหิต คือ คนฝ่าย

พ่อผัวแม่ผัว.

การพลัดพรากจากสัตว์หรือสังขารนี้ โดยอรรถ ชื่อธรรมข้อหนึ่ง

ย่อมไม่มี, ท่านกล่าวว่า ทุกข์ เพราะความเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ แม้

๒ อย่าง ของสัตว์ผู้พลัดพรากจากสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักอย่างสิ้น

เชิง. คำนี้ ในบทนี้ เป็นคำในอรรถกถาทั้งหมด. ควรจะกล่าวว่า

วัตถุอันไม่เป็นที่รักและเป็นที่รัก ต่างจากคำว่า สมฺปโยโค - การอยู่ร่วม

และคำว่า วิปฺปโยโค - ความพลัดพราก เพราะสัจธรรมทั้งหลายมี

ลักษณะเป็นของจริงแท้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 446

พึงทราบวินิจฉัยในอิจฉิตาลาภนิทเทสดังต่อไปนี้ บทว่า ชาติ

ธมฺมาน - สัตว์ทั้งหลายมีความเกิดเป็นธรรมดา ได้แก่ มีความเกิดเป็น

สภาพ คือ มีความเกิดเป็นปรกติ

บทว่า อิจฺฉา อุปฺปชฺชติ - ความปรารถนาเกิดขึ้น ได้แก่ ตัณหา

เกิดขึ้น.

บทว่า อโห วต คือ ความปรารถนา.

บทว่า อสฺสาม แปลว่า พึงเป็น.

บทว่า น โข ปเนต อิจฺฉาย ปตฺตพฺพ ข้อนี้ สัตว์ไม่พึงได้

ตามความปรารถนา. ข้อที่สัตว์ทั้งหลายปรารถนาความไม่มาแห่งชาติ

อันมีอยู่ในความดีทั้งหลายเป็นเหตุแห่งความละอย่างนี้ว่า ขอเราอย่ามี

ชาติเป็นธรรมดาและชาติอย่ามาถึงแก่เราเลย และมีอยู่ในความดับความ

ไม่เกิดเป็นธรรมดา นี้เป็นอันสัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนา เพราะ

แม้ผู้ปรารถนาเว้นมรรคภาวนาก็ไม่พึงถึง และเพราะแม้ผู้ไม่ปรารถนา

ก็พึงถึงได้ด้วยภาวนา.

บทว่า อิทมฺปิ คือ เอตมฺปิ แม้ข้อนั้น. อปิศัพท์หมายถึง

บทที่เหลือข้างหน้า.

พึงทราบวินิจฉัยในอุปาทานขันธนิทเทสดังต่อไปนี้ บทว่า

เสยฺยถีท เป็นนิบาต, ความแห่งบทนั้นว่า หากถามว่า อุปาทานขันธ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 447

เหล่านั้นเป็นไฉน ? ตอบว่า อุปาทานขันธ์ คือ รูปนั่นเอง เพราะ

เหตุนั้น จึงชื่อว่า รูปูปาทานกฺขนฺโธ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้

เหมือนกัน.

จบ อรรถกถาทุกขสัจนิทเทส

สมุทยสัจนิทเทส

[๘๓]ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน ตัณหา

นี้ใดอันให้เกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยนันทิราคะ อันเพลิดเพลินใน

อารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็ตัณหานี้นั้นแล

เมื่อเกิดย่อมเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน สิ่งใดเป็นที่รักที่

ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดในสิ่งนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ใน

สิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นที่รักที่ยินดีในโลก จักษุเป็นที่รักที่ยินดีใน

โลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่จักษุนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักษุนั้น

โสตะ...ฆานะ...ชิวหา...กายะ... มานะ เป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น

เมื่อเกิดย่อมเกิดที่ใจนั้น เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ใจนั้น รูปทั้งหลายเป็น

ที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่รูปนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้ง

อยู่ที่รูปนั้น เสียง ฯลฯ ธรรมารมณ์...จักษุวิญญาณ ฯลฯ จักษุ

สัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่จักษุสัมผัส ฯลฯ เวทนา

ที่เกิดแต่มโนสัมผัส รูปสัญญา ฯลฯ ธรรมสัญญา รูปสัญเจตนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 448

ฯลฯ ธรรมสัญเจตนา รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา รูปวิตก ฯลฯ

ธรรมวิตก รูปวิจาร ฯลฯ ธรรมวิจาร เป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก

ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่ธรรมวิจารนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธรรม

วิจารนั้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ.

อรรถกถาสมุทยสัจนิทเทส

๘๓]พึงทราบวินิจฉัยในสมุทยสัจนิทเทสดังต่อไปนี้ บทว่า

ยาย ตณฺหา - ตัณหานี้ใด. บทว่า โปโนพฺภวิกา - ตัณหาอันให้เกิด

ในภพใหม่ การทำภพใหม่ ชื่อว่า ปุนพฺภโว, ชื่อว่า โปโนพฺภวิกา

เพราะอรรถว่า สัตว์มีภพใหม่, อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า โปโนพฺภวิกา

เพราะอรรถว่า ตัณหาให้ภพใหม่, ตัณหาย่อมเป็นไปในภพใหม่, ตัณหา

ให้เกิดภพบ่อย ๆ. ตัณหานั้นให้ภพใหม่ก็มี ไม่ให้ภพใหม่ก็มี. ให้

เป็นไปในภพใหม่ก็มี ไม่ให้เป็นไปในภพใหม่ก็มี, เมื่อให้ปฏิสนธิแล้ว

ตัณหาทำให้ขันธ์แก่กล้าก็มี. ตัณหานั้นแม้ทำความแก้กล้าก็ย่อมได้ชื่อว่า

โปโนพฺภวิกา. ปาฐะว่า โปนพฺภวิกา บ้าง, มีความเหมือนกัน.

ชื่อว่า นนฺทิราคสหคตา - สหรคตด้วยนันทิราคะ เพราะอรรถ

ว่า ตัณหาสหรคตด้วยนันทิราคะ กล่าวคือ ความพอใจยิ่ง, ท่านอธิบาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 449

ว่า ตัณหาถึงความเป็นอันเดียวกันโดยใจความ กับด้วยนันทิราคะ.

บทว่า ตตฺร ตตฺราภินนฺทินี อันเพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ

ความว่า ตัณหายินดียิ่งในอารมณ์ที่อัตภาพเกิด, หรือยินดีในอารมณ์

นั้น ๆ มีรูปเป็นต้น คือยินดียิ่งในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

และธรรมารมณ์. ปาฐะว่า ตตฺร ตตฺราภินนฺที บ้าง ความว่า ให้

ยินดีในอารมณ์นั้น ๆ

บทว่า เสยฺยถีท เป็นนิบาต ความแห่งบทนั้นว่า หากถาม

ว่า ตัณหานั้นเป็นไฉน ?

บทว่า กามตณฺหา ได้แก่ ตัณหาในกาม, บทนี้เป็นชื่อของ

ราคะอันเป็นไปในกามคุณ ๕.

บทว่า ภวตณฺหา ได้แก่ ตัณหาในภพ. บทนี้เป็นชื่อของ

ราคะสหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิอันเกิดขึ้นด้วยความปรารถนาในภพ และ

ราคะในรูปภพ อรูปภพ และความใคร่ในฌาน.

บทว่า วิภวตณฺหาได้แก่ ตัณหาใน วิภวะ คือปราศจากภพ.

บทนี้เป็นชื่อของอุจเฉททิฏฐิ.

บัดนี้ เพื่อแสดงถึงที่เกิดของตัณหานั้นโดยพิสดาร พระเถระ

จึงกล่าวว่า สา โข ปเนสา - ก็ตัณหานั้นแล เป็นอาทิ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปชฺชติ แปลว่า ย่อมเกิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 450

บทว่า นิวีสติ - ย่อมตั้งอยู่ คือ ตั้งอยู่ด้วยความเป็นไปบ่อย ๆ

พึงทราบการเชื่อมความว่า ตัณหาเมื่อเกิด ย่อมเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่

ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน.

บทว่า ย โลเก ปิยรูป สาตรูป - สิ่งใดเป็นที่รักที่ยินดีในโลก

คือ สิ่งใดมีสภาพน่ารักและมีสภาวะหวานฉ่ำในโลก.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า จกฺขุ โลเก ดังต่อไปนี้ สัตว์

ทั้งหลายยึดมั่นโดยความเป็นของเราในจักษุเป็นต้นในโลก ตั้งอยู่ในสิ่ง

ที่ถึงพร้อม ย่อมสำคัญประสาท ๕ คือ จักษุ ของตนผ่องใสโดยการ

ถือเอานิมิตในกระจกเป็นต้น ดุจสีหบัญชรทำด้วยแก้วมณีที่บุคคลยกขึ้น

ในวิมานทอง. ย่อมสำคัญ โสตะ ดุจกล้องเงินและดุจสายสังวาล.

ย่อมสำคัญ ฆานะ ที่เรียกกันว่า จมูกโด่งดุจเกลียวหรดาลที่บุคคลม้วน

ตั้งไว้. ย่อมสำคัญ ชิวหา ให้รสหวานสนิทอ่อนนุ่มดุจผืนผ้ากัมพล

สีแดง. ย่อมสำคัญ กาย ดุจต้นสาละอ่อนและดุจซุ้มประตูทอง. ย่อม

สำคัญ มนะยิ่งใหญ่ไม่เหมือน มนะของคนอื่น. ย่อมสำคัญ รูป

ดุจสีมีสีทองและดอกกรณิการ์เป็นต้น. ย่อมสำคัญ เสียง ดุจเสียงขัน

ของนกการะเวก และดุเหว่าที่กำลังเพลิน และเสียงกังวานของขลุ่ย

แก้วมณีที่เป่าเบาๆ ย่อมสำคัญอารมณ์มีกลิ่นเป็นต้น ที่เกิดแต่มุฏฐาน

๔ ที่ตนได้แล้วว่า ใครเล่าจะมีอารมณ์เห็นปานนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 451

เมื่อสัตว์เหล่านั้นสำคัญอยู่อย่างนี้ จักษุเป็นต้นเหล่านั้น ย่อม

เป็นปิยรูปและสาตรูป. เมื่อเป็นเช่นนั้น ตัณหาที่ยังไม่เกิดในปิยรูป

และลาตรูปนั้น ย่อมเกิดแก่สัตว์เหล่านั้น, และที่เกิดแล้วย่อมตั้งอยู่

ด้วยการเป็นไปบ่อย ๆ. เพราะฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า จักษุเป็น

ปิยรูปสาตรูปในโลก, ตัณหานี้เมื่อเกิดย่อมเกิดในสิ่งนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปชฺชมานา ความว่า เมื่อใดปิยรูป

สาตรูปเกิด, เมื่อนั้นตัณหาย่อมเกิดในสิ่งนี้.

จบ อรรถกถาสมุทยสัจนิทเทส

นิโรธสัจนิทเทส

[๘๔]ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน การ

ดับตัณหานั้นด้วยความคลายกำหนัดโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละ

คืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อละย่อมละ

ได้ที่ไหน เมื่อดับย่อมดับได้ที่ไหน สิ่งใดเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหา

นี้เมื่อละก็ละได้ในสิ่งนั้น เมื่อดับก็ดับได้ในสิ่งนั้น จักษุเป็นที่รักที่ยินดี

ในโลก ตัณหานี้เมื่อละย่อมละได้ที่จักษุนั้น เมื่อดับย่อมดับได้ที่จักษุนั้น

โสตะ ฯลฯ ธรรมวิจารเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อละย่อมละได้

ที่ธรรมวิจารนั้น เมื่อดับก็ดับได้ที่ธรรมวิจารนั้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกข-

นิโรธอริยสัจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 452

อรรถกถานิดรธสัจนิทเทส

[๘๔]พึงทราบวินิจฉัยในนิโรธสัจนิทเทส ดังต่อไปนี้ ใน

บทนี้ว่า โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย - การดับตัณหานั้นด้วยความคลาย

กำหนัดโดยไม่เหลือ ควรกล่าวว่า โย ตสฺเสว ทุกฺขสฺส - การดับทุกข์นั้น

ด้วยความคลายกำหนัดโดยไม่เหลือ เพราะทุกขุ์ดับด้วยความดับสมุทัย.

มิใช่ดับด้วยประการอื่น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ยถาปิ มูเล อนุปทฺทเว ทฬฺเห

ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปุนเรว รูหติ,

เอวมฺปิ ตณฺหานุสเย อนูหเต

นิพฺพตฺตี ทุกฺขมิท ปุนปฺปุน.

เมื่อยังถอนตัณหานุสัยไม่ได้ ทุกข์นี้ย่อม

เกิดบ่อย ๆ เหมือนเมื่อรากไม้ยังแข็งแรง ไม่มี

อันตราย ต้นไม้แม้ตัดแล้ว ก็ยังงอกอีกได้.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงทุกขนิโรธนั้น จึง

ตรัสอย่างนี้เพื่อแสดงสมุทยนิโรธ. จริงอยู่ พระตถาคตทั้งหลายผู้มีความ

ประพฤติเสมอด้วยสีหะ, พระตถาคตเหล่านั้น เมื่อจะทรงดับทุกข์และ

เมื่อจะทรงแสดงการดับทุกข์ จึงทรงดำเนินไปในเหตุ, ไม่ทรงดำเนิน

๑. ขุ. ธ. ๒๕/๓๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 453

ไปในผล. ส่วนพวกอัญญเดียรถีย์มีความประพฤติเยี่ยงสุนัข. พวกนั้น

เมื่อจะดับทุกข์และเมื่อจะแสดงถึงการดับทุกข์ จึงดำเนินไปในผลแห่ง

เทศนาของ ทุกขนิโรข นั้นด้วย อัตกิลมถามุโยค - การประกอบ

ความเพียรโดยทำตนให้ลำบาก ไม่ดำเนินไปในเหตุ เพราะฉะนั้น

พระศาสดาเมื่อจะทรงดำเนินไปในเหตุ จึงตรัสพระพุทธวจนะมีอาทิว่า

โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย ดังนี้. แม้พระธรรมเสนาบดี ก็กล่าวตาม

ลำดับที่พระศาสดาตรัสนั่นแล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺสาเยว ตณฺหาย ความว่า แห่ง

ตัณหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า โปโนพฺภวิกา - ตัณหาทำให้เกิด

ภพใหม่ แล้วทรงจำแนกเป็นกามตัณหาเป็นต้น และทรงประกาศใน

ภายหลังด้วยการเกิดและการตั้งอยู่.

บทว่า อเสสวิราคนิโรโธ - การดับตัณหาด้วยความสำรอกโดย

ไม่เหลือ ความว่า มรรคท่านกล่าวว่า วิราคะ - ความคลายกำหนัด

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า วิราคา - วิมุจฺจติ - เพราะความคลาย

กำหนัด จึงหลุดพ้น. การดับด้วยความคลายกำหนัด ชื่อว่า วิราค-

นิโรธ. การดับด้วยคลายกำหนัดโดยไม่เหลือ โดยถอนอนุสัย ชื่อว่า

อเสสวิราคนิโรธ.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะท่านกล่าวการละว่า วิราคะ ฉะนั้น

พึงเห็นการประกอบในบทนี้อย่างนี้ว่า วิราโค อเสโส นิโรโธ การดับ

๑. วิ. มหา. ๔/๒๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 454

ไม่มีเหลือ ชื่อว่า วิราคะ. แต่โดยอรรถ บททั้งหมดมีอาทิว่า อเสส-

วิราคนิโรโธ นี้เป็นไวพจน์ของนิพพานนั่นแล. เพราะว่า โดยปรมัตถ์

ท่านกล่าว นิพพาน ว่า ทุกขนิโรธ อริยสจฺจ - ทุกขนิโรธเป็น

อริยสัจ.

เพราะตัณหาอาศัยนิพพานนั้น ย่อมคลายกำหนัดคือย่อมดับ

โดยไม่มีเหลือ, ฉะนั้น นิพพานนั้นท่านจึงกล่าว ตสฺสาเยว ตณฺหาย

อเสสฺราคนิโรโธ - การดับตัณหานั้น ด้วยความคลายกำหนัดโดยไม่

เหลือ.

อนึ่ง ตัณหาอาศัยนิพพานย่อมสละ ย่อมสละคืน ย่อมพ้น

ย่อมไม่ติด, ในนิพพานนี้ไม่มีความอาลัยแม้สักอย่างเดียวในความอาลัย

ในกามคุณทั้งหลาย, เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวนิพพานว่า จาโค

ปฏินิสฺสคฺโค มุตฺติ อนาลโย - ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น

ความไม่อาลัย.

เพราะนิพพานเป็นอย่างเดียวเท่านั้น, แต่ชื่อของนิพพานนั้น

มีอยู่ไม่น้อย ด้วยสามารถเป็นปฏิปักษ์ต่อชื่อของสังขตธรรมทั้งปวง.

คือมีอาทิว่า อเสสวิราโค - คลายกำหนัดโดยไม่มีเหลือ.

อเสสนิโรโธ - ดับโดยไม่มีเหลือ.

จาโค - ความสละ.

ปฏินิสฺสคฺโค - ความสละคืน.

มุตฺติ - ความหลุดพ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 455

อนาลโย - ความไม่อาลัย.

ราคกฺขโย - ความสิ้นราคะ.

โทสกฺขโย - ความสิ้นโทสะ.

โมหกฺขโย - ความสิ้นโมหะ.

ตณฺหกฺขโย - ความสิ้นตัณหา.

อนุปฺปาโท - ความไม่เกิด.

อปฺปวตฺต - ความไม่เป็นไป.

อนิมิตฺต - ความไม่เป็นไป.

อปฺปณิหิต - ความไม่มีที่ตั้ง.

อนายูหน - ความไม่มีกรรมเป็นเหตุปฏิสนธิ.

อปฺปฏิสนฺธิ - ความไม่สืบต่อ.

อนุปปตฺติ - ความไม่อุบัติ.

อคติ - ความไม่มีคติ.

อชาต - ความไม่เกิด.

อชร - ความไม่แก่.

อพฺยาธิ - ความไม่เจ็บ.

อมต - ความไม่ตาย.

อโสก - ความไม่โศก.

อปริเทว - ความไม่ร้องไห้คร่ำครวญ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 456

อนุปายาส - ความไม่เหือดแห้งใจ.

อสงฺกิลิฏฺ - ความไม่เศร้าหมอง.

บัดนี้ ท่านแสดงถึงความเกิดแห่งตัณหาแม้ที่ถึงความเป็นไป

ไม่ได้ ถูกตัดด้วยมรรคเพราะอาศัยนิพพานในวัตถุใด เพื่อแสดงความ

ไม่มีในวัตถุนั้น พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า สา ปเนสา เป็นอาทิ.

ในบทนั้น มีความว่า เหมือนบุรุษเห็นเถากระดอมและน้ำเต้า

เกิดในพื้นที่ จึงค้นหารากตั้งแต่ยอดแล้วตัดทิ้ง, เถากระดอมและเถา

น้ำเต้านั้น เหี่ยวแห้งไปโดยลำดับแล้วก็หมดไป, แต่นั้นควรพูดว่า

กระดอมและน้ำเต้าในฟันที่นั้นก็หมดหายไป ฉันใด ตัณหาในจักษุ

เป็นต้นก็ดุจกระดอมและน้ำเต้าในพื้นที่นั้น ฉันนั้น. ตัณหานั้นถูกตัด

ด้วยอริยมรรคเสียแล้วก็ถึงความหมดสิ้นไป เพราะอาศัยนิพพาน. ครั้น

ตัณหาถึงความหมดไปอย่างนี้แล้วก็ไม่ปรากฏในวัตถุเหล่านั้น ดุจกระ-

ดอมและน้ำเต้าในพื้นที่ ฉะนั้น.

อนึ่ง เหมือนอย่างว่า ราชบุรุษนำโจรมาจากดงแล้วฆ่าที่ประตู

ทักษิณของนคร แต่นั้นควรกล่าวได้ว่า โจรตายเสียแล้วหรือถูกฆ่า

ตายเสียแล้วในดง ฉันใด ตัณหาในจักษุเป็นต้น ดุจโจรในดง ฉัน

นั้น, ตัณหานั้นดับไปแล้วในนิพพาน เพราะอาศัยนิพพานจึงได้ดับไป

ดุจโจรที่ประตูทักษิณ. ตัณหาดับไปอย่างนี้ ไม่ปรากฏในวัตถุเหล่านั้น

ดุจโจรในดง, ด้วยเหตุนั้นพระสารีบุตร เมื่อจะแสดงถึงความดับตัณหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 457

นั้นในจักษุเป็นต้นนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จกฺขุ โลเก ปิยรูป สาตรูป

เอตฺเถสา ตณฺหา ปหียมานา ปหียติ - จักษุเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก

ตัณหานี้ เมื่อละย่อมละได้ในจักษุนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า เพราะกำหนดรู้วัตถุที่ตัณหาเกิด

ตัณหาจึงดับไปในวัตถุที่ตัณหาเกิดด้วยดับไปโดยไม่ให้เกิด เพราะไม่เกิด

อีกต่อไปในวัตถุที่กำหนดรู้. อนึ่ง ในบทนี้ ท่านกล่าวว่า ตัณหาย่อม

ละได้ด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อความเกิด ย่อมดับไปด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อความ

ตั้งอยู่ ดังนั้น.

จบ อรรถกถานิโรธสัจนิทเทส

มัคคสัจนิทเทส

[๘๕]ในจตุรอริยสัจนั้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ... สัมมาสมาธิ.

ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์

ความรู้ในทุกขมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคา-

มินีปฏิปทา นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ.

ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ความดำริ

ในความออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในความ

ไม่เบียดเบียน นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 458

ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาวาจาเป็นไฉน เจตนาเป็น

เครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดส่อ-

เสียด เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเครื่อง

งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาวาจา.

ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมากัมมันตะเป็นไฉนเจตนา

เป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลัก-

ทรัพย์ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้ท่าน

กล่าวว่า สัมมากัมมันตะ.

ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาอาชีวะเป็นไฉน อริยสาวก

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมละอาชีพที่ผิด สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยอาชีพที่ชอบ

นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาอาชีวะ.

ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาวายามะเป็นไฉน ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร

ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น

ฯลฯ เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ. เพื่อยังกุศล

ธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม

ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่

ฟั่นเฟือน เพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 459

เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้ท่านกล่าวว่า สัมมา-

วายามะ.

ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสติเป็นไฉน ภิกษุในธรรม-

วินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนาทั้งหลายอยู่ มี

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มี

ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาสติ.

ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสมาธิเป็นไฉน ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลกรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก

วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌานอันเป็นความผ่องใส

แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ

วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขา

มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่

พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่

เป็นสุข เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และ

ดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้

ท่านกล่าวว่า สัมมาสมาธิ นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา-

อริยสัจ ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 460

ว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้

สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า นี้ทุกข์ นี้

ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่อว่าสุตมยญาณ

ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างนี้.

อรรถกถามรรคสัจนิทเทส

๘๕]พึงวินิจฉัยใน มรรคสัจนิทเทส ดังต่อไปนี้ บทว่า

อยเมว คือ กำหนดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อมรรคอื่น. บทว่า อริโย

ชื่อว่า อริยะ เพราะใกล้จากกิเลสอันมาด้วยมรรคนั้น ๆ. เพราะทำ

ความเป็นพระอริยะ และเพราะทำการได้อริยผล. ชื่อว่า อัฏฐังคิกะ

เพราะอรรถว่ามรรคนั้นมีองค์ ๘. มรรคนั้นดุจะเสนามีองค์ ๔, องค์

มรรคดุจดนตรีมีองค์ ๕. พ้นจากองค์แล้วมีไม่ได้.

บัดนี้ พระสารีบุตรเมื่อแสดงว่ามรรคเป็นเพียงองค์เท่านั้น พ้น

จากองค์แล้วมีไม่ได้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สมฺมาทิฏฺิ ฯเปฯ สมฺมา-

สมาธิ.

ในบทเหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ มีการเห็นชอบเป็นลักษณะ.

สัมมาสังกัปปะ มีการยกขึ้นเป็นลักษณะ. สัมมาวาจา มีการกำหนด

เป็นลักษณะ. สัมมากัมมันตะ มีการให้ตั้งขึ้นเป็นลักษณะ. สัมมา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 461

อาชีวะ มีการให้ผ่องแผ้วเป็นลักษณะ. สัมมาวายามะ มีการประคอง

ไว้เป็นลักษณะ. สัมมาสติ มีการเข้าไปตั้งมั่นเป็นลักษณะ. สัมมา-

สมาธิ มีการตั้งไว้เสมอเป็นลักษณะ.

ในมรรคเหล่านั้น มรรคหนึ่ง ๆ ย่อมมีกิจอย่างละ ๓. คือ

สัมมาทิฏฐิ ย่อมละมิจฉาทิฏฐิกับกิเลสที่เป็นข้าศึกของตน แม้เหล่าอื่น

ก่อน, ทำนิโรธให้เป็นอารมณ์, และเห็นสัมปยุตธรรม เพราะไม่หลง

ด้วยสามารถกำจัดโมหะอันปกปิดสัมปยุตธรรมทั้งหลายได้. แม้สัมมาสัง-

กัปปะเป็นต้น ก็ละมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น ได้เช่นเดียวกัน, เละทำ

นิพพานให้เป็นอารมณ์. แต่โดยแปลกกันในบทนี้ สัมมาสังกัปปะ ยก

ขึ้นสู่สหชาตธรรมโดยชอบ สัมมาวาจา กำหนดเอาโดยชอบ. สัมมา-

กัมมันตะ ให้ตั้งขึ้นโดยชอบ, สัมมาอาชีวะ ให้ผ่องแผ้วโดยชอบ,

สัมมาวายามะ ประคองไว้โดยชอบ, สัมมาสติ ให้เข้าไปตั้งไว้โดย

ชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นไว้โดยชอบ.

อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐินี้ในส่วนเบื้องต้น มีขณะต่างกัน มี

อารมณ์ต่างกัน, ในกาลแห่งมรรคมีขณะอย่างเดียวกัน, มีอารมณ์อย่าง

เดียวกัน. แต่โดยกิจย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง มีอาทิว่า ทุกฺเข าณ - ความ

รู้ในทุกข์. แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ในส่วนเบื้องต้นก็มีขณะต่างกัน

มีอารมณ์ต่างกัน, ในกาลแห่งมรรคมีขณะอย่างเดียวกัน มีอารมณ์

อย่างเดียวกัน. ในมรรคเหล่านั้น สัมมาสังกัปปะโดยกิจย่อมได้ชื่อ ๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 462

อย่าง มี เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป เป็นต้น. มรรค ๓ สัมมาวาจา เป็นต้น

ในส่วนเบื้องต้น เป็นวิรัติบ้าง เป็นเจตนาบ้าง, แต่ในขณะแห่งมรรค

เป็นวิรัติอย่างเดียว, สองบทนี้ คือ สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ โดย

กิจย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง ด้วยสามาสัมมัปธานและสติปัฏฐาน. ส่วน

สัมมาสมาธิ แม้ในส่วนเบื้องต้น แม้ในขณะแห่งมรรคก็เป็นสมาธิ

เท่านั้น.

ในธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมา-

ทิฏฐิไว้ก่อน เพราะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่พระโยคีผู้ปฏิบัติเพื่อถึง

นิพพาน. เพราะสัมมาทิฏฐินี้ท่านกล่าวว่า ปญฺา ปชฺโชโต ปญฺา-

สตฺถ ปัญญา เป็นแสงสว่าง เป็นดังศัสตรา. ฉะนั้น พระโยคาวจร

กำจัดความมืด คือ อวิชชาด้วยสัมมาทิฏฐิ กล่าวคือ วิปัสสนาญาณนั้น

ในส่วนเบื้องต้น แล้วฆ่าโจรคือกิเลสเสียได้ ย่อมถึงนิพพานโดยเกษม.

เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงสัมมาทิฏฐิไว้ก่อน.

ส่วนสัมมาสังกัปปะมีอุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐินั้น, เพราะ

ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในลำดับต่อไป. เหมือนอย่างว่า

เหรัญญิกใช้มือพลิกกลับไปกลับมาดูกหาปณะด้วยตาก็ย่อมรู้ว่า นี้ปลอม

นี้ไม่ปลอมฉันใด, แม้พระโยคาวจรก็ฉัน ในส่วนเบื้องต้นตรึกแล้ว

๑. อภิ. ส. ๓๔/๓๕, ๔๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 463

ตรึกเล่าด้วยวิตก มองดูด้วยวิปัสสนาปัญญา ย่อมรู้ว่าธรรมเหล่านี้เป็น

กามาวจร, เหล่านี้เป็นรูปาวจรเป็นต้น. หรือเหมือนอย่างว่าช่างไม้เอา

ขวานถากไม้ใหญ่ที่บุรุษจับไว้ที่ปลาย แล้วพลิกไปพลิกมาให้นำเข้าไป

ใช้ในการงานฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น กำหนดธรรมอันวิตกตรึก

ไปตรึกมาให้แล้วด้วยปัญญาโดยนัยมีอาทิว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกามาวจร

เหล่านี้เป็นรูปาวจรเป็นต้น แล้วนำเข้าไปในการงาน. เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัมมาสังกัปปะไว้ในลำดับสัมมาทิฏฐิ. สัมมา-

สังกัปปะเป็นอุปการะ แม้แก่สัมมาวาจาเหมือนเป็นอุปการะแก่สัมมา-

ทิฏฐิฉะนั้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนคหบดีพระ-

โยคาวจรตรึกตรองในเบื้องต้นแล้วจึงเปล่งวาจาในภายหลังดังนี้ เพราะ

ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสสัมมาวาจาในลำดับจากนั้น.

อนึ่ง เพราะชนทั้งหลายจัดแจงการงานด้วยวาจาก่อนว่า เรา

จักทำสิ่งนี้ ๆ แล้วจึงประกอบการงานในโลก ฉะนั้น พระผู้มีพระภาค-

เจ้าจึงตรัสสัมมากัมมันตะไว้ในลำดับของสัมมาวาจา เพราะวาจาเป็น

อุปการะแก่การทำงานทางกาย.

ก็เพราะอาชีวมัฏฐมกศีล - ศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘ ย่อมบริบูรณ์แก่

ผู้ละวจีทุจริต ๔ อย่าง กายทุจริต ๓ อย่าง แล้วบำเพ็ญสุจริตทั้งสอง

๑. ม. มู. ๑๒/๕๐๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 464

ไม่บริบูรณ์แก่ผู้บำเพ็ญนอกไปจากนี้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

สัมมาอาชีวะไว้ในลำดับต่อจากทั้งสองนั้น.

อันผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ไม่ควรทำความยินดีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า

อาชีวะของเราบริสุทธิ์ แล้วอยู่ด้วยความหลับและความประมาทอย่างนี้,

ที่แท้ควรปรารภความเพียรนี้ในทุกอิริยาบถ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ

ทรงแสดงด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสสัมมาวายามะไว้ในลำดับต่อจากนั้น.

จากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงว่า อันผู้ปรารภความ

เพียรควรทำความตั้งสติมั่นในวัตถุ ๔ อย่างมีกายเป็นต้น จึงตรัสสัมมา-

สติไว้ในลำดับต่อจากนั้น.

เพราะเมื่อสติตั้งมั่นดีอย่างนี้แล้ว จิตแสวงหาคติแห่งธรรมที่

เกื้อกูลและไม่เกื้อกูลแก่สมาธิ ย่อมเพียงพอเพื่อตั้งมั่นในอารมณ์ คือ

ความเป็นอันเดียว ฉะนั้น พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัมมา-

สมาธิในลำดับต่อจากสัมมาสติ.

พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาทิฏฐินิทเทสดังต่อไปนี้ พระสารีบุตร

แสดงจตุสัจกรรมฐานด้วยมีอาทิว่า ทุกฺเข าณ ดังนี้.

บรรดาสัจจะ ๔ เหล่านั้น สัจจะ ๒ ข้างต้นเป็นวัฏฏะ, ๒ ข้าง-

หลังเป็นวิวัฏฏะ. ในสัจจะเหล่านั้น ความยึดมั่นกรรมฐานในวัฏฏะ

ย่อมมีแก่ภิกษุ ความยึดมั่นในวิวัฏฏะย่อมไม่มี. เพราะพระโยคาวจร

เรียนสัจจะ ๒ ข้างต้นในสำนักอาจารย์โดยสังเขปอย่างนี้ว่า ปญฺจกฺ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 465

ขนฺธา ทุกฺข, ตณฺหา สมุทโย - ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ตัณหาเป็นเหตุ

ให้เกิดทุกข์, เละโดยพิสดารว่า กตเม ปญฺจกฺขนฺขฺธา, รูปกฺขนฺโธ

ขันธ์ ๕ เป็นไฉน, คือ รูปขันธ์เป็นต้น แล้วท่องกลับไปมาบ่อย ๆ

ด้วยวาจา ย่อมทำกรรม. ส่วนในสัจจะ ๒ นอกนี้พระโยคาวจรทำกรรม

ด้วยการฟังเท่านั้นอย่างนี้ว่า นิโรธสจฺจ อิฏฺ กนฺต มนาป, มคฺค-

สจฺจ อิฏฺฐ กนฺต มนาป - นิโรธสัจ น่าใคร่ นำปรารถนา น่าชอบ

ใจ มรรคสัจ น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าชอบใจ. พระโยคาวจรนั้น

เมื่อทำกรรมอย่างนี้ ย่อมแทงตลอดสัจจะ ๔ โดยการแทงตลอดครั้งเดียว

ย่อมตรัสรู้โดยการตรัสรู้ครั้งเดียวเหมือนกัน. ย่อมแทงตลอดทุกข์โดย

การแทงตลอดด้วยปริญญา ย่อมแทงตลอดสมุทัยโดยการแทงตลอดด้วย

ปหานะ ย่อมแทงตลอดนิโรธโดยการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา. ย่อม

แทงตลอดมรรคโดยการแทงตลอดด้วยภาวนา. ย่อมตรัสรู้ทุกข์โดยการ

ตรัสรู้ด้วยปริญญา ฯลฯ ย่อมตรัสรู้มรรคโดยการตรัสรู้ด้วยภาวนา.

การแทงตลอดด้วยการเรียน การสอบถาม การฟัง การทรงไว้

และการพิจารณาในสัจจะ ๒ ในส่วนเบื้องต้น ย่อมมีแก่ภิกษุนั้น, ใน

สัจจะ ๒ ย่อมมีการแทงตลอดด้วยการฟังอย่างเดียว. ในส่วนอื่นย่อมมี

การแทงตลอดโดยกิจในสัจจะ ๓ ย่อมมีการแทงตลอดโดยอารมณ์ใน

นิโรธ. ในสัจจะเหล่านั้น ความรู้ด้วยการแทงตลอดแม้ทั้งหมดเป็น

โลกุตระ, ความรู้ด้วยการฟัง การทรงไว้ และการพิจารณาเป็นโลกิย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 466

กามาวจร ส่วนการพิจารณาย่อมมีแก่มรรคสัจจะ นี้เป็นอาทิกัมมิกะ-

กรรมเบื้องต้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวการพิจารณานั้นไว้ในที่

นี้. อนึ่ง การพิจารณาด้วยความผูกใจ ความรวบรวม ความใส่ใจว่า

เรารู้ทุกข์ เราละสมุทัย เราทำให้แจ้งนิโรธ เราเจริญภาวนา ดังนี้.

ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ผู้กำหนดไว้ก่อน. ย่อมมีได้ตั้งแต่ขณะกำหนด. ส่วน

ในภายหลังทุกข์เป็นอันภิกษุกำหนดรู้แล้ว ฯ ล ฯ มรรคเป็นอันภิกษุ

เจริญแล้ว.

ในสัจจะเหล่านั้น สัจจะ ๒ ลึกซึ้งเพราะเห็นได้ยาก. สัจจะ ๒

เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง. จริงอยู่ทุกขสัจจะปรากฏแต่เกิด. ในขณะ

ถูกตอและหนามทิ่มแทงเป็นต้น ก็ร้องว่าโอยเจ็บ ! สมุทยสัจจะปรากฏ

แต่เกิดด้วยอยากจะเคี้ยวอยากจะกินเป็นต้น. สัจจะแม้ทั้งสอง ชื่อว่า

ลึกซึ้ง เพราะแทงตลอดด้วยลักษณะ. สัจจะเหล่านั้น ชื่อว่าลึกซึ้ง

เพราะเห็นได้ยากด้วยประการฉะนี้. การประกอบความเพียรเพื่อเห็น

สัจจะ ๒ อย่าง นอกนี้ก็เหมือนเหยียดมือเพื่อถือเอาภวัคคพรหม

เหมือนเหยียดเท้าเพื่อสัมผัสอเวจี และเหมือนการจรดปลายขนทรายที่

แยกออกร้อยส่วนด้วยปลายขนทราย. สัจจะเหล่านั้น ชื่อว่าเห็นได้ยาก

เพราะลึกซึ้งด้วยประการฉะนี้.

พระสารีบุตรกล่าวบทมีอาทิว่า ทุกเข าณ นี้หมายถึงการ

เกิดแห่งญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้นด้วยการเรียนเป็นต้น ในสัจจะ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 467

ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยาก และชื่อว่าเห็นได้ยากเพราะลึกซึ้ง แต่

ในขณะแทงตลอดญาณนั้นเป็นอย่างเดียวเท่านั้น.

ส่วนอาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า ญาณในสัจจะทั้งหลายมี ๔ อย่าง

คือ สุตมยญาณ - ญาณเกิดจากการฟัง ๑ ววัตถานญาณ - ญาณ

เกิดจากการกำหนด ๑ สัมมสนญาณ - ญาณเกิดจากการพิจารณา ๑

อภิสมยภาณ - ญาณเกิดจากการตรัสรู้ ๑.

ในญาณเหล่านั้น สุตมยญาณ เป็นไฉน ? พระโยคาวจรฟัง

สัจจะ ๔ โดยย่อหรือโดยพิสดารย่อมรู้ว่า นี้ทุกข์, นี้สมุทัย, นี้นิโรธ,

นี้มรรค. นี้ชื่อว่า สุตมยญาณ.

ววัตถานญาณ เป็นไฉน ? พระโยคาวจรนั้นย่อมกำหนดความ

ของการฟัง โดยธรรมดา และโดยลักษณะ ย่อมลงความเห็นว่า ธรรม

เหล่านี้นับเนื่องในสัจจะนี้ นี้เป็นลักษณะของสัจจะนี้ นี้ชื่อว่า

ววัตถานญาณ.

สัมมสนญาณ เป็นไฉน ? พระโยคาวจรนั้น กำหนดสัจจะ ๔

ตามลำดับอย่างนี้แล้วถือเอาทุกข์เท่านั้น ย่อมพิจารณาตลอดไปถึงโคตร-

ภูญาณ โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

นี้ชื่อว่า สัมมสนญาณ.

อภิสมยญาณ เป็นไฉน ? พระโยคาวจรนั้น ตรัสรู้สัจจะ ๔

ด้วยญาณหนึ่ง ในขณะโลกุตรมรรค ไม่ก่อน ไม่หลัง คือย่อมตรัสรู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 468

ทุกข์ โดยการตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้, ย่อมตรัสรู้ สมุทัย โดยการตรัสรู้

ด้วยการละ, ย่อมตรัสรู้ นิโรธ โดยการตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง, ย่อม

ตรัสรู้ มรรค โดยการตรัสรู้ด้วยการเจริญ นี้ชื่อว่า อภิสมยญาณ.

พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาสังกัปปนิทเทสดังต่อไปนี้ ชื่อว่า เนก-

ขัมมสังกัปโป เพราะอรรถว่าออกไปจาก กาม.

ชื่อว่า อัพยาปาทสังกัปโป เพราะอรรถว่าออกไปจาก พยา-

บาท. ชื่อว่า อวิหิงสาสังกัปโป เพราะอรรถว่าออกไปจาก วิหิงสา.

ในวิตกเหล่านั้น เนกขัมมวิตก ทำการทำลายเหตุ ตัดเหตุ

ของ กามวิตก เกิดขึ้น, อัพยาปาทวิตก ทำการทำลายเหตุ ตัดเหตุของ

พยาปาทวิตก เกิดขึ้น, อวิหิงสาวิตก ทำการทำลายเหตุ ตัดเหตุของ

วิหิงสาวิตก เกิดขึ้น อนึ่ง เนกขัมมวิตก อัพยาปาทวิตก อวิหิงสา-

วิตก เป็นข้าศึกของกามวิตก พยาปาทวิตก และวิหิงสาวิตกเกิดขึ้น.

ในวิตกเหล่านั้น พระโยคาวจร ย่อมพิจารณากามวิตกหรือ

สังขารอย่างใดอย่างหนึ่งอื่น เพื่อทำลายเหตุแห่งกามวิตก. อนึ่ง ความ

ดำริสัมปยุตด้วยวิปัสสนา ในขณะแห่งวิปัสสนาของพระโยคาวจรนั้น

ทำการทำลายเหตุ ตัดเหตุของกามวิตกด้วยสามารถตทังคะ - ชั่วขณะ

นั้นเกิดขึ้น, พระโยคาวจรขวนขวายวิปัสสนาแล้วบรรลุมรรค. อนึ่ง

ความดำริสัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคของพระโยคาวจรนั้น ทำ

การทำลายเหตุ ตัดเหตุของกามวิตกด้วยสามารถสมุจเฉท - การตัดขาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 469

เกิดขึ้น. พระโยคาวจรย่อมพิจารณา พยาปาทวิตก หรือสังขารอื่น

เพื่อทำลายเหตุแห่งพยาปาทวิตก, พิจารณาวิหิงสาวิตก, หรือสังขาร

อื่นเพื่อทำลายเหตุแห่งวิหิงสาวิตก. อนึ่ง พึงประกอบบททั้งปวงว่า

อสฺส วิปสฺสนากขเณ - ในขณะแห่งวิปัสสนาของพระโยคาวจรนั้น

โดยนัยก่อนนั่นแล.

ก็เมื่อจำแนกอารมณ์ ๓๘ ไว้ในบาลี แม้กรรมฐานอย่างหนึ่ง

ชื่อว่าไม่เป็นข้าศึก แก่วิตก ๓ มีกามวิตกเป็นต้น ย่อมไม่มี. ปฐมฌาน

ในอสุภะนั่นแล เป็นข้าศึกของกามวิตกโดยส่วนเดียว. ฌานหมวด ๓

หมวด ๔ แห่งเมตตาเป็นข้าศึกของพยาปาทวิตก, ฌานหมวด ๓ หมวด

๔ แห่งกรุณาเป็นข้าศึกของวิหิงสาวิตก. เมื่อพระโยคาวจรนั้นกระทำ

การบริกรรมอสุภะแล้วเข้าฌานวิตกสัมปยุตด้วยฌานในขณะแห่งการเข้า

สมาบัติเป็นข้าศึกของกามวิตกด้วยสามารถวิกขัมภนะ- การข่มไว้ เกิด

ขึ้น. เมื่อพระโยคาวจรทำฌานให้เป็นบาทแล้วเริ่มตั้งวิปัสสนา ความดำริ

สัมปยุตด้วยวิปัสสนาในขณะแห่งวิปัสสนา เป็นข้าศึกของกามวิตกด้วย

สามารถชั่วขณะนั้นเกิดขึ้น. เมื่อพระโยคาวจรขวนขวายวิปัสสนาแล้ว

บรรลุมรรค ความดำริสัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคเป็นข้าศึก

ของกามวิตกด้วยสามารถการตัดได้เด็ดขาดเกิดขึ้น. ความดำริอันเกิดขึ้น

อย่างนี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 470

พึงทราบบททั้งปวงว่า พระโยคาวจรทำบริกรรมด้วยเมตตา, ทำ

บริกรรมด้วยกรุณาแล้วเข้าฌาน โดยนัยก่อนนั่นแล. ความดำริอันเกิด

ขึ้นอย่างนี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า อพฺยาปาทสงฺกปฺ อวิหิงฺสา-

สงฺกปฺโป. เนกขัมมสังกัปปะเป็นต้น เหล่านี้ต่างกันในส่วนเบื้องต้น

เพราะการเกิดขึ้นต่างด้วยอำนาจวิปัสสนาและฌาน, แต่ความดำริที่

เป็นกุศลอย่างเดียวเท่านั้น ยังองค์มรรคให้บริบูรณ์ด้วยทำการไม่เกิดให้

สำเร็จ เพราะตัดเหตุแห่งความดำริที่เป็นอกุศล ซึ่งเกิดขึ้นในฐานะ ๓

เหล่านี้ ในขณะแห่งมรรคเกิดขึ้น นี้ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ.

พึงทราบวินิจฉัยใน สัมมาวาจานิทเทส ดังต่อไปนี้ เพราะ

ภิกษุเว้นจาก มุสาวาทด้วยจิตอื่น เว้นจากปิสุณาวาจาเป็นต้น ด้วยจิต

อื่นๆ ฉะนั้นการเว้นอย่างนี้ จึงต่างกันในส่วนเบื้องต้น, แต่

ในขณะแห่งมรรค การเว้นที่เป็นกุศลกล่าวคือสัมมาวาจาอย่างเดียวเท่า

นั้น ยังองค์มรรค ๘ ให้บริบูรณ์ด้วยสามารทำความไม่เกิดให้สำเร็จได้

เพราะตัดทางแห่งเจตนาอันเป็นอกุศล และความเป็นผู้ทุศีล ๔ อย่าง

กล่าวคือมิจฉาวาจา ย่อมเกิดขึ้น นี้ชื่อว่า สัมมาวาจา.

พึงทราบวินิจฉัยใน สัมมากัมมันตนิทเทส ดังต่อไปนี้ เพราะ

ภิกษุเว้นจากปาณาติบาตด้วยจิตอื่น เว้นจากอทินนาทานด้วยจิตอื่น

เว้นจากมิจฉาจารด้วยจิตอื่น ฉะนั้นการเว้น ๓ อย่างเหล่านี้ จึงต่างกัน

ในส่วนเบื้องต้น แต่ในขณะแห่งมรรค การเว้นที่เป็นกุศล กล่าวคือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 471

สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างเดียว ยังองค์แห่งมรรคให้บริบูรณ์ด้วย

สามารถทำการไม่เกิดให้สำเร็จ เพราะตัดทางแห่งเจตนาอันเป็นอกุศล

และความเป็นผู้ทุศีล ๓ อย่าง ได้แก่ มิจฉากัมมันตะ เกิดขึ้น. นี้

ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ.

พึงทราบวินิจฉัยใน สัมมาอาชีวนิทเทส ดังต่อไปนี้ บทว่า

อิธ ได้แก่ ในศาสนานี้. บทว่า อริยสาวโก ได้แก่ สาวกของ

พระพุทธเจ้าผู้เป็นอริยะ. บทว่า มิจฺฉาอาชีว ปหาย ได้แก่ ละ

อาชีวะที่ลามก. บทว่า สมฺมาอาชีเวน ได้แก่ อาชีพที่ดีที่พระพุทธเจ้า

ทางสรรเสริญ. บทว่า ชีวิต กปฺเปติ-สำเร็จความเป็นอยู่ ได้แก่

ยังความเป็นไปของชีวิตให้เป็นไป.

เพราะภิกษุในศาสนานี้ เว้นจากการก้าวล่วงทางกายทวารด้วย

จิตอื่น เว้นจากการก้าวล่วงทางวจีทวารด้วยจิตอื่น ฉะนั้นอาชีวะย่อม

เกิดขึ้นในขณะต่าง ๆ กันในส่วนเบื้องต้น แต่ในขณะแห่งมรรคการ

เว้นที่เป็นกุศล กล่าวคือ สัมมาอาชีวะเป็นอย่างเดียว ยังองค์แห่งมรรค

ให้บริบูรณ์ด้วยสามารถทำความไม่เกิดให้เสร็จ เพราะตัดทางแห่งเจตนา

อันเป็นมิจฉาอาชีวะ และความเป็นผู้ทุศีลอันเกิดขึ้นด้วยสามารถกรรม-

บถ ๗ ในทวาร ๒ เกิดขึ้น นี้ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ.

พึงทราบวินิจฉัยใน สัมมาวายามนิทเทส ดังต่อไปนี้ บทว่า

อิธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้ปฏิบัติในศาสนานี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 472

บทว่า อนุปฺปนฺนาน ได้แก่ ยังไม่เกิด. บทว่า ปาปกาน

ได้แก่ ลามก. บทว่า อกุสลาน ธมฺมาน ได้แก่ ธรรมที่เป็นอกุศล.

บทว่า อนุปฺปาทาย ได้แก่ เพื่อไม่ให้เกิดขึ้น.

บทว่า ฉนฺท ชเนติ - ย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น ได้แก่ ยัง

ฉันทะในกุศล กล่าวคือความเป็นผู้ใคร่ทำให้เกิด คือ ให้เกิดขึ้น. บทว่า

วายมติ-ย่อมพยายาม ได้แก่ ยังความเพียรให้เกิด คือ ทำความเพียร.

บทว่า วีริย อารภติ- ปรารภความเพียร ได้แก่ ทำความเพียรทาง .

กายและทางจิต. บทว่า จิตฺต ปคฺคณหาติ - ประคองจิต ได้แก่

ยกจิตขึ้นด้วยความเพียรอันรวมกันนั้นนั่นเอง. บทว่า ปทหติ - ตั้ง

จิตไว้ ได้แก่ ทำความเพียรเป็นที่ตั้ง. พึงประกอบบท ๔ บทเหล่านี้

ด้วย อาเสวนา- การเสพ ภาวนา- การเจริญ พหุลีกรรม-การ

ทำให้มาก สาตัจจกิริยา-การทำติดต่อ ตามลำดับไป.

บทว่า อุปฺปนฺนาน-ที่เกิดขึ้นแล้ว ได้แก่ ถึงความไม่ควรจะ

กล่าวว่า อนุปฺปนฺาน - ที่ยังไม่เกิด. บทว่า ปหานาย ได้แก่

เพื่อละ, บทว่า อนุปฺปนฺนาน กุสลาน ธมฺมานได้แก่ กุศลธรรม

ที่ยังไม่เกิด.

บทว่า อุปฺปาทาย ได้แก่ เพื่อให้เกิดขึ้น. บทว่า อุปฺปนฺนาน

ได้แก่ ที่เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า ิติยา ได้แก่ เพื่อความตั้งมั่น. บทว่า

อสมฺโมสาย - เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน ได้แก่ เพื่อความไม่ฉิบหาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 473

บทว่า ภิยฺโยภาวาย - เพื่อความเจริญโดยยิ่ง ได้แก่ เพื่อความเจริญ

บ่อย ๆ. บทว่า เวปุลฺลาย ได้แก่ เพื่อความไพบูลย์. บทว่า ภาวนาย

ได้แก่ เพื่อความเจริญ. บทว่า ปาริปูริยา ได้แก่ เพื่อความบริบูรณ์.

ก็สัมมัปธาน ๔ อัน ได้แก่ สัมมาวายามะ เหล่านี้เป็นโลกิยะ

ในส่วนเบื้องต้น เป็นโลกุตระในขณะแห่งมรรค. แต่ในขณะแห่มรรค

ความเพียรอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง ด้วยสามารถทำกิจ

๔ อย่างให้สำเร็จ.

ในสัมมัปธานเหล่านั้น พึงทราบสัมมัปธานที่เป็นโลกิยะ โดย

นัยที่ท่านกล่าวไว้ในกัสสปสังยุตนั่นแล. ในกัสสปสังยุตนั้นท่านกล่าว

ไว้ว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สัมมัปธาน ๔ เหล่านี้.

สัมมัปธาน ๔ เป็นไฉน ? ดูก่อนอาวุโส ภิกษุใน

ศาสนานี้ทำความเพียรว่า อกุศลธรรมอันลามก

ยังไม่เกิดแก่เรา เมื่อเกิดพึงเป็นไปเพื่อความฉิบ-

หาย, ภิกษุทำความเพียรว่า อกุศลธรรมอันลามก

เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อ

ความฉิบหาย, ภิกษุความเพียรว่า กุศลธรรม

ยังไม่เกิดแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไป

เพื่อความฉิบหาย, ภิกษุทำความเพียรว่า กุศลธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 474

เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับไปพึงเป็นไปเพื่อความ

ฉิบหายดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อนุปฺปนฺนา ได้แก่ กิเลสที่ยังไม่เกิด

ด้วยความไม่ปรากฏ หรือด้วยอารมณ์ที่ยังไม่เกิด. อกุศลธรรมอันลามก

ที่ยังไม่เกิดในสงสารอันไม่รู้เบื้องต้นและที่สุดโดยประการอื่น ย่อมไม่มี,

อกุศลธรรมเหล่านี้นั่นแหละ ที่ยังไม่เกิดและเมื่อเกิดก็ย่อมเกิด, แม้เมื่อ

ละก็ย่อมละได้.

ในบทนั้น กิเลสทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ ด้วยสามารถวัตร

คันถะ ธุดงค์ สมาธิ วิปัสสนา นวกรรม และภพอย่างใดอย่างหนึ่ง

แก่ภิกษุบางรูป. ถามว่า อย่างไร ? ตอบว่า เพราะภิกษุบางรูปเป็นผู้

ถึงพร้อมแล้วด้วยวัตร กิเลสทั้งหลายไม่ได้โอกาสแก่ภิกษุผู้ประพฤติ

ขันธกวัตร ๘๐ มหาวัตร ๑๔ และเจติยังคณวัตร - บูชาลานเจดีย์

โพธิยังคณวัตร - บูชาลานโพธิ์ ปานียมาฬกวัตร - ตั้งน้ำดื่มไว้ที่เรือน

ยอด อุโปสถาคารวัตร - ปฏิบัติในโรงอุโบสถ อาคันตุกวัตร - ต้อนรับ

ภิกษุผู้จรมา คมิกวัตร - ปฏิบัติต่อภิกษุผู้เตรียมจะไป แต่ภายหลังเมื่อ

ภิกษุนั้นสละวัตรทั้งหลาย ทำลายวัตรเที่ยวไป กิเลสทั้งหลายอาศัยความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 475

ไม่ใส่ใจ และความปล่อยสติ ย่อมเกิดขึ้นได้. แม้ด้วยประการฉะนี้

กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ด้วยยังไม่ปรากฏ ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น

ภิกษุบางรูปเป็นผู้ประกอบด้วยคนถะ, ย่อมเรียนนิกาย ๑ บ้าง

๒ นิกายบ้าง ๓ นิกายบ้าง ๔ นิกายบ้าง ๕ นิกายบ้าง. กิเลสทั้งหลาย

ย่อมไม่ได้โอกาสแก่ภิกษุนั้น ผู้เรียน ท่อง คิด บอก แสดง ชี้แจง

พระไตรปิฎกอันเป็นพุทธวจนะ ด้วยบาลี ด้วยการสืบต่อ ด้วยบทต้น

บทหลัง. แต่ภายหลังเมื่อภิกษุนั้นละการคัมภีร์ เกียจคร้านเที่ยว

เตร่ กิเลสทั้งหลายอาศัยความไม่ใส่ใจ ความปล่อยสติ ย่อมเกิดขึ้นได้.

แม้ด้วยประการฉะนี้ กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ด้วยยังไม่ปรากฏ ชื่อว่า

ย่อมเกิดขึ้น.

ภิกษุบางรูปเป็นผู้ทรงธุดงค์ ปฏิบัติธุดงคคุณ ๑๓, กิเลสย่อม

ไม่ได้โอกาสแก่ภิกษุนั้นผู้ปฏิบัติธุดงคคุณ แต่ภายหลังเมื่อภิกษุนั้นสละ

ธุดงค์เสีย เวียนมาเพื่อความมักมากเที่ยวเตร่ กิเลสทั้งหลายอาศัยความ

ไม่ใส่ใจ ความปล่อยสติ ย่อมเกิดขึ้น. แม้ด้วยประการฉะนี้ กิเลส

ทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ด้วยยังไม่ปรากฏ ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น.

ภิกษุบางรูปเป็นผู้เจริญวิปัสสนา, ปฏิบัติอยู่ในอนุปัสนา ๗

หรือมหาวิปัสสนา ๑๘เมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติอยู่อย่างนี้ กิเลสทั้งหลาย

๑. ขุ. ป. ๓๑/๗๒๗ ๒.ขุ. ป. ๓๑/.๖๑-๖๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 476

ย่อมไม่ได้โอกาส. แต่ภายหลังเมื่อภิกษุนั้นเลิกบำเพ็ญวิปัสสนามากไป

ด้วยการยึดมั่นกายกิเลสทั้งหลายอาศัยความไม่ใส่ใจ ความปล่อยสติ

ย่อมเกิดขึ้น. แม้ด้วยประการฉะนี้ กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ด้วยยังไม่

ปรากฏ ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น.

ภิกษุบางรูปเป็นนวกัมมิกะ, ทำการก่อสร้างโรงอุโบสถและหอ-

ฉันเป็นต้น, เมื่อภิกษุนั้นคิดถึงอุปกรณ์การก่อสร้างโรงอุโบสถและหอ-

ฉันเหล่านั้นอยู่ กิเลสทั้งหลายยังไม่ได้โอกาส. แต่ภายหลังเมื่อนวกรรม

ของภิกษุนั้นสำเร็จแล้วหรือทอดทิ้งเสีย กิเลสทั้งหลายอาศัยความไม่

ใส่ใจ ความปล่อยสติ ย่อมเกิดขึ้น. แม้ด้วยประการฉะนี้ กิเลส

ทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ด้วยยังไม่ปรากฏ ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น.

ภิกษุบางรูปมาจากพรหมโลก เป็นสัตว์บริสุทธิ์, กิเลสทั้งหลาย

ย่อมไม่ได้โอกาสด้วยการไม่ซ่องเสพของภิกษุนั้น, แต่ภายหลังเมื่อภิกษุ

นั้นซ่องเสพสิ่งที่ได้มา กิเลสทั้งหลายอาศัยความไม่ใส่ใจ ความปล่อยสติ

ย่อมเกิดขึ้น. แม้ด้วยประการฉะนี้กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ด้วยยังไม่

ปรากฏ ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น. พึงทราบความที่กิเลสยังไม่เกิด ด้วยยังไม่

ปรากฏอย่างนี้.

กิเลสยังไม่เกิดด้วยอารมณ์ที่ไม่เคยเกิดเป็นอย่างไร ? ภิกษุบาง

รูปในศาสนาได้อารมณ์ที่น่าพอใจเป็นต้น ซึ่งไม่เคยเกิดมาก่อน, กิเลส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 477

ทั้งหลายมีราคะเป็นต้น อาศัยความไม่ใส่ใจ ความปล่อยสติของภิกษุนั้น

ย่อมเกิดขึ้น, ด้วยประการฉะนี้ กิเลสที่ยังไม่เกิดด้วยอารมณ์ที่ไม่เคย

เกิด ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น เมื่อมีอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นอย่างนี้ ภิกษุ

เห็นความฉิบหายของตน ย่อมเจริญสัมมัปธานข้อต้นด้วยเจริญสติปัฏ-

ฐาน เพื่อความไม่เกิดแห่งอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเหล่านั้น, เมื่ออกุศล-

ธรรมเหล่านั้นเกิด. ภิกษุเห็นความฉิบหายของตน เพราะไม่ละอกุศล-

ธรรมเหล่านั้น แล้วจึงเจริญสัมมัปธานข้อที่สอง เพื่อละอกุศลธรรม

เหล่านั้น.

บทว่า อนุปฺปนฺนา กุสลา ธมฺมฺา - กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด

ได้แก่ สมถวิปัสสนาและมรรค. ภิกษุเห็นความฉิบหายของตนในเพราะ

กุศลธรรมเหล่านั้นที่ยังไม่เกิด แล้วจึงเจริญสัมมัปธานข้อที่สาม เพื่อให้

กุศลธรรมเหล่านั้นเกิด.

บทว่า อุปฺปนฺนา กุสลา ธมฺมา - กุศลธรรมที่เกิดแล้ว ได้แก่

สมถวิปัสสนานั่นเอง. ส่วนมรรคเกิดครั้งเดียวแล้วดับ จะไม่เป็นไป

เพื่อความฉิบหายเลย. เพราะมรรคนั้นให้ปัจจัยแก่ผลแล้วก็ดับไป. ภิกษุ

ครั้นเห็นความฉิบหายของตน เพราะสมถะและวิปัสสนาเหล่านั้นดับไป

จึงเจริญสัมมัปธานข้อที่สี่ เพื่อความตั้งมั่นแห่งสมถะและวิปัสสนาเหล่า

นั้น. ในขณะแห่งโลกุตรมรรค ย่อมเจริญวิริยะอย่างเดียวเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 478

ภิกษุย่อมยังกิจ คือ ความไม่เกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมเหล่านั้น ที่

ยังไม่เกิดขึ้นและกิจคือการละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้สำเร็จ เหมือน

อย่างที่กุศลธรรมยังไม่เกิดพึงเกิดขึ้น.

อนึ่งในบทว่า อุปฺปนฺนา นี้ อุปปันนะ คือธรรมที่เกิดขึ้นมี

๔ อย่าง คือ

วตฺตมานุปฺปนฺน - เกิดขึ้นกำลังเป็นไป ๑

ภูตาปคตุปฺปนฺน - เกิดขึ้นเสพอารมณ์แล้วดับไป ๑

โอกาสกตุปฺปนฺน - เกิดขึ้นทำโอกาส ๑

ภูมิลทฺธุปฺปนฺน - เกิดขึ้นในภูมิที่ได้ ๑.

ในอุปปันนะเหล่านั้น ธรรมที่เกิดมาพร้อมกับ อุปปาทะ ชรา

ภังคะ - เกิด แก่ ตาย ชื่อว่า วตฺตมานุปฺปนฺน.

กุศลอกุศลเสวยรสอารมณ์แล้วดับไป คือ เสพแล้วก็ปราศไป

และสังขตธรรมที่เหลือ กล่าวคือ เข้าถึงลักษณะ ๓ มีอุปปาทะเป็นต้น

แล้วดับไปคือเสพแล้ว เป็นไปทั่วแล้ว ชื่อว่า ภูตาปคคุปฺปนฺน.

ชื่อว่า โอกาสกตุปฺปนฺน เพราะห้ามกรรมอันเป็นวิบากอื่นที่

มีอยู่ แม้ในอดีตดังที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า กรรมที่ผู้นั้น

ได้ทำไว้แล้วในชาติก่อน แล้วทำโอกาสแห่งวิบากของตนตั้งอยู่ และ

๑. ม. อุ. ๑๔/๔๗๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 479

เพราะวิบากอันเป็นโอกาสที่ตนทำไว้แล้วอย่างนั้น แม้ยังไม่เกิดก็จะเกิด

ขึ้นโดยส่วนเดียวในโอกาสที่ตนทำไว้อย่างนั้น

อกุศลที่ยังไม่ถอนในภูมิ ๓ นั้น ๆ ชื่อว่า ภูมิลทฺธุปฺปนฺน.

อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบความต่างกันของ ภูมิ และ ภูมิลัทธะ

- ภูมิอันได้แล้ว จริงอยู่ขันธ์ ๕ อันเป็นไปในภูมิ ๓ เป็นอารมณ์แห่ง

วิปัสสนา ชื่อว่า ภูมิ กิเลสชาตอันควรเกิดในขันธ์เหล่านั้น ชื่อว่า

ภูมิลัทธะ, เพราะเหตุที่กิเลสนั้นได้ภูมิ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ภูมิ-

ลัทธะ, ภูมินั้นไม่ได้ด้วยอารมณ์. จริงอยู่กิเลสทั้งหลายปรารภขันธ์ แม้

ทั้งหมดทั้งในอดีต อนาคต และแม้ที่พระขีณาสพกำหนดรู้แล้ว ย่อม

เกิดขึ้นด้วยอารมณ์. ผิว่าอารมณ์จะพึงชื่อว่า ภูมิลัทธะ แล้ว ใคร ๆ ก็

จะพึงละมูลรากของภพไม่ได้ เพราะละ ภูมิลัทธะ นั้นยังไม่ได้. อนึ่ง

พึงทราบ ภูมิลัทธะ ด้วยสามารถวัตถุ จริงอยู่ขันธ์ที่กำหนดรู้ไม่ได้

ด้วยวิปัสสนาใน ภูมิลัทธะ ใด ๆ, กิเลสชาตอันเป็นมูลของวัฏฏะจำเดิม

แต่ใน ภูมิลัทธะ นั้น ย่อมนอนเนื่องอยู่ในขันธ์เหล่านั้น. พึงทราบ

ว่า กิเลสชาต นั้น ชื่อว่า ภูมิลัทธะ ด้วยอรรถว่ายังละไม่ได้.

อนึ่ง ในบทนั้นมีความว่า ขันธ์ทั้งหลายของผู้ที่มีกิเลสนอน-

เนื่องอยู่ด้วยอรรถว่ายังละไม่ได้ เป็นที่ตั้งแห่งกิเลสเหล่านั้น. ขันธ์

ทั้งหลายมิใช่ของคนอื่น อนึ่ง ขันธ์ในอดีตเป็นที่ตั้งของกิเลสที่ยังละ

ไม่ได้และนอนเนื่องอยู่ในขันธ์ในอดีต. ขันธ์นอกนี้ไม่เป็นที่ตั้ง ขันธ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 480

ในอนาคตเป็นต้น ก็มีนัยนี้. อนึ่ง กามาวจรขันธ์นั่นแลเป็นที่ตั้งของ

กิเลสที่ยังละไม่ได้และนอนเนื่องอยู่ในกามาวจรขันธ์, ขันธ์นอกนี้ไม่

เป็นที่ตั้ง. ในรูปาวจรขันธ์และอรูปาวจรขันธ์ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง

ในโสดาบันเป็นต้น กิเลสใดอันเป็นมูลของวัฏฏะนั้น ๆ ในขันธ์

พระอริยบุคคลใด ๆ ละได้ด้วยมรรคนั้น ๆ, ขันธ์เหล่านั้นของพระ-

อริยบุคคลนั้น ๆ ไม่นับว่าเป็น ภูมิ เพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งกิเลสอันเป็น

มูลของวัฏฏะเหล่านั้นซึ่งละได้แล้ว. กุศลกรร หรืออกุศลกรรมอย่างใด

อย่างหนึ่งที่บุคคลทำ ย่อมมีแก่ปุถุชนโดยประการทั้งปวง เพราะยังละ

กิเลสอันเป็นมูลแห่งวัฏฏะยังไม่ได้, วัฏฏะอันเป็นปัจจัยของกรรมกิเลส

ย่อมควรแก่ผู้นั้นด้วยประการฉะนี้, ธรรมนั้นของบุคคลนั้น ๆ เป็นมูล

ของวัฏฏะในรูปขันธ์นั่นเอง, ไม่ใช่ในเวทนาขันธ์เป็นต้น. หรือใน

วิญญาณขันธ์เท่านั้น. ไม่ควรกล่าวว่า ไม่ใช่ในรูปขันธ์เป็นต้น.

เพราะเหตุไร ? เพราะกิเลสนอนเนื่องอยู่ในขันธ์แม้ทั้ง ๕ โดยไม่

แปลกกัน. อย่างไร ? เหมือนรสดิน (ปวีรส) เป็นต้น อยู่ในต้นไม้.

เหมือนอย่างว่า เมื่อต้นไม้ใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นดิน อาศัยรสดินและรสน้ำ

(อาโปรส) งอกงามด้วยราก ลำต้น กิ่งน้อยใหญ่ ใบอ่อน ใบแก่ ดอก

และผล เพราะรสดิน รสน้ำนั้น เต็มฟ้า จนสิ้นกัป สืบเชื้อสายของต้น

ไม้ด้วยการผลิตพืชต่อ ๆ กันมาดำรงอยู่, พืชไม้นั้นตั้งอยู่ที่รากมีรากดิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 481

เป็นต้นเท่านั้น, ไม่ใช่ที่ลำต้นเป็นต้น, หรือในผลเท่านั้น, ไม่ควร

กล่าวว่า ไม่ใช่ที่รากเป็นต้น.

เพราะเหตุไร ? เพราะอาศัยอยู่ในรากเป็นต้นทั้งหมด. เหมือน

อย่างว่า บุรุษคนหนึ่ง ไม่พอใจดอกไม้และผลไม้เป็นต้นของต้นไม้นั้น

จึงทิ่มหนามพิษ ชื่อว่ามัณฑูกกัณฏกะ - หนามกระเบน ลงไปใน ๔

ทิศ ครั้นต้นไม้นั้นถูกหนามพิษนั้นเข้าไม่สามารถจะสืบต่อไปได้อีก โดย

ไม่ผลิดอกออกผลได้ตามธรรมดา เพราะรสดินรสน้ำถูกควบคุมเสียแล้ว

ฉันใด, กุลบุตรผู้เบื่อหน่ายในความเป็นไปของขันธ์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

เริ่มเจริญมรรค ๔ ในสันดานของตน ดุจบุรุษนั้นประกอบหนามพิษลง

ในต้นไม้ใน ๔ ทิศ ฉะนั้น.

เมื่อเป็นเช่นนั้นขันธสันดานของกุลบุตรนั้น ถูกสัมผัสด้วยพิษ

คือ มรรค ๔ นั้นกระทบแล้ว เป็นประเภทของกรรมทั้งปวงมีกายกรรม

เป็นต้น เข้าถึงเพียงสภาวะของกิริยา เพราะกิเลสอันเป็นมูลของวัฏฏะ

ถูกครอบงำไว้โดยประการทั้งปวง ไม่สามารถจะสืบสันดานในภพอื่นได้

หมดความยึดถือดับวิญญาณดวงสุดท้ายสิ้นเชิง ดุจไฟไม่มีเชื้อฉะนั้น.

พึงทราบความต่างกันของ ภูมิ และ ภูมิลัทธะ อย่างนี้.

อุปปันนะ คือ ธรรมที่เกิด ๔ อย่าง อีกอย่างหนึ่ง คือ

สมุทาจารุปฺปนิน - สิ่งเกิดขึ้นกำลังเป็นไปอยู่ ๑

อารมฺมณาธิคฺคหิตุปฺปนฺน - เกิดด้วยการ ถืออารมณ์ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 482

อวิกฺขมฺภตุปฺปนฺน - เกิดด้วยการไม่ข่ม ๑

อสมูหตุปฺปนฺน - เกิดด้วยการไม่ถอน ๑.

ในบทอุปปันนะเหล่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นกำลังเป็นไปอยู่ ชื่อว่า

สมุทาจารุปฺปนฺน. กิเลสชาตแม้ยังไม่เกิดในส่วนเบื้องต้นในอารมณ์

อันไปสู่คลองแห่งจักษุเป็นต้น ท่านกล่าวว่า อารมฺมณาธิคฺคหิตุปฺปนฺน

โดยเกิดขึ้น โดยส่วนเดียวในกาลอื่น เพราะถือเอาอารมณ์. กิเลส

ชาตไม่ข่มไว้ด้วยสมถะและวิปัสสนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ไม่เจริญด้วย

การสืบของจิต ก็ชื่อว่า อวิกฺขมฺภิตุปฺปนฺน เพราะไม่มีเหตุที่จะห้าม

การเกิดได้. กิเลสชาต แม้ข่มไว้ด้วยสมถะและจะวิปัสสนา ท่านก็กล่าวว่า

อสมูหตุปฺปนฺน เพราะไม่ถอนด้วยอริยมรรค เพราะไม่ล่วงเลย

ธรรมดาของความเกิด.

พึงทราบว่า อารมฺมณาธิคฺคหิตุปฺปนฺน อวิกฺขมฺภิตุปฺปนฺน

อสฺมูหตุปฺปนฺน ทั้งสามนี้ ย่อมสงเคราะห์ลงด้วย ภูมิลัทธะ นั่นเอง.

เมื่ออุปปันนธรรมมีประเภทดังกล่าวแล้วนี้เกิดขึ้นแล้ว กิเลส-

ชาตใด ได้แก่ วัตตมานะ ภูตาปคตะ โอกาสคติ สมุทาจาระ

เกิดขึ้น กิเลสชาตนั้นเป็นอันมรรคญาณใด ๆ ไม่พึงละ เพราะไม่ถูก

ทำลายด้วยมรรค. อนึ่ง กิเลสชาตใด กล่าวคือ ภูมิลัทธะ อารัมม-

ณาธิคหิตะ อวิกขัมภิตะ อสมูหตะ เกิดขึ้นแล้ว กิเลสชาตนั้น

ยังความเกิดของพระโยคีนั้นให้เสื่อมไป เพราะโลกิยญาณและโลกุตร-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 483

ญาณนั้นเกิดขึ้น, ฉะนั้นกิเลสชาต แม้ทั้งหมดนั้นก็เป็นอันมรรคนั้น ๆ

พึงละได้. ด้วยประการฉะนี้ มรรคย่อมละกิเลสเหล่าใด หมายเอา

กิเลสเหล่านั้น จึงกล่าวว่า อุปฺปนฺนาน.

เมื่อเป็นเช่นนั้น การเจริญเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลที่ยังไม่เกิด

ย่อมมีได้ในขณะแห่งมรรคเป็นอย่างไร ? และเพื่อความตั้งมั่นแห่งกุศล

ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอย่างไร ? เพื่อเข้าถึงมรรคนั่นเอง. เพราะท่านกล่าว

ว่า มรรคที่เป็นไปอยู่ ชื่อว่ายังไม่เคยเกิด เพราะไม่เคยเกิดมาก่อน.

จริงอยู่ มีผู้มาสู่ฐานะที่ไม่เคยมาหรือเสวยอารมณ์ที่ไม่เคยเสวย แล้ว

กล่าวว่า เรามาสู่ฐานะที่ยังไม่ได้มา เราเสวยอารมณ์ที่ไม่เคยเสวยดังนี้.

ความเป็นไปแห่งกุศลธรรมนั้น ชื่อว่า ิติ , ควรกล่าวว่า ิติยา ภาเวติ-

เจริญเพื่อความตั้งมั่น. นี้คือความเพียรของภิกษุนั้นในขณะแห่งโลกุตร-

มรรคย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง มีอาทิว่า อนุปฺปนฺนาน ปาปกาน อกุสลาน

ธมฺมาน อนุปาทาย - เพื่อยังอกุศลอันลามกที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น.

กถานี้เป็นสัมมัปธานกถาในขณะแห่งโลกุตรมรรค. ในบทนี้ท่านชี้แจง

สัมมัปธานเจือด้วยโลกิยะและโลกุตระไว้อย่างนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาสตินิทเทสดังต่อไปนี้ บทว่า กาเย

ได้แก่ รูปกาย รูปกายในที่นี้ท่านประสงค์ว่า กาย - หมู่ ดุจหัตถิ-

กาย - หมู่ช้าง รถกาย - หมู่รถ เป็นต้น ด้วยอรรถว่าเป็นที่รวม

อวัยวะใหญ่น้อยและสิ่งทั้งหลายมีผมเป็นต้น. อนึ่ง ชื่อว่า กาย ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 484

อรรถว่าเป็นที่เกิดแห่งสิ่งน่าเกลียดทั้งหลายเหมือน ที่ชื่อว่า กาย ด้วย

อรรถว่าเป็นที่รวมฉะนั้น. ชื่อว่า กาย เพราะเป็นที่เกิดของสิ่งน่า

เกลียด คือ น่าเกลียดอย่างยิ่ง. บทว่า อาโย ได้แก่ ที่เกิด. ใน

บทนั้นมีอธิบายคำว่า อาโย เพราะอรรถว่า สิ่งทั้งหลายย่อมเกิดจาก

กายนั้น. อะไรเกิด ? สิ่งน่าเกลียดมีผมเป็นต้น. ชื่อว่า กาโย เพราะ

อรรถว่าเป็นที่เกิดของสิ่งน่าเกลียด ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า กายานุปสฺสี - พิจารณาเห็นกาย ได้แก่ พิจารณาเห็น

กายเป็นปกติ, หรือพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งกาย, แม้กล่าวว่า กาเย แล้ว

ยังถือเอากายเป็นครั้งที่ ๒ อีกว่า กายานุปสฺสี พึงทราบว่า ท่านกล่าว

เพื่อแสดงการกำหนดและแยกออกจากเป็นก้อน โดยไม่ปนกัน. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงไม่กล่าวว่า เวทนานุปสฺสี หรือ จิตฺตธมฺมานุปสฺสี

ในกาย, ที่แท้ก็ กายานุปสฺสี นั่นเอง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอันท่าน

แสดงการกำหนดโดยไม่ปนกันด้วยอาการของ กายานุปัสสนา ในวัตถุ

คือ กาย นั่นเอง. อนึ่ง ภิกษุไม่พิจารณาเห็นธรรมอย่างหนึ่งพ้นจาก

อวัยวะใหญ่น้อยในกาย, มิใช่พิจารณาเห็นหญิงและบุรุษพ้นจากผมและ

ขนเป็นต้น. อนึ่ง ในบทนี้ภิกษุไม่พิจารณาเห็นธรรมอย่างหนึ่งพ้นจาก

ภูตรูปและอุปาทายรูป แม้ในกายอันเป็นที่รวมภูตรูปและอุปาทายรูป

มีผมและขนเป็นต้น. ที่แท้พิจารณาเห็นการประชุมอวัยวะใหญ่น้อย

ดุจพิจารณาเห็นเครื่องประกอบรถ, พิจารณาเห็นการประชุมผมและขน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 485

เป็นต้น ดุจพิจารณาเห็นส่วนของนคร, พิจารณาเห็นการประชุมภูต-

รูปและอุปาทายรูป ดุจแยกต้นกล้วยใบกล้วยและเครือกล้วยออกจากกัน

และดุจแบกำมือที่เปล่าออก เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอันท่านแสดงการแยก

ออกจากเป็นก้อน ด้วยการเห็นโดยประการต่างกันของวัตถุ กล่าวคือ

สังขารด้วยการประชุมกันนั่นเอง. จริงอยู่ ในบทนี้ กายก็ดี หญิงก็ดี

ชายก็ดี ธรรมใดๆ อื่นก็ดีพ้นจากการประชุมกันตามที่กล่าวแล้ว ย่อม

ไม่ปรากฏ. แต่ในเหตุเพียงการประชุมธรรมตามที่กล่าวแล้วนั่นแล

สัตว์ทั้งหลายย่อมทำการยึดมั่นผิดอย่างนั้นๆ. ด้วยเหตุนั้นท่านโบราณา-

จารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวไว้ว่า

ย ปสฺสติ น ต ทิฏฺ ย ทิฏฺ ต น ปสฺสติ

อปสฺส พชฺฌเต มูฬฺโห พชฺฌมาโน น มุจฺจติ

บุคคล เห็นสิ่งใด สิ่งนั้น ชื่อว่า อันเขา

เห็นแล้ว ก็หาไม่ สิ่งใดที่เห็นแล้ว ชื่อว่า ย่อม

ไม่เห็นสิ่งนั้น คนหลงเมื่อไม่เห็นย่อมติด เมื่อติด

ย่อมไม่หลุดพ้น ดังนี้.

ท่านกล่าวไว้ดังนี้ เพื่อแสดงการแยกเป็นก้อนออกไปเป็นต้น.

อนึ่ง ด้วยอาทิศัพท์ในบทนี้พึงทราบความดังนี้, เพราะเนื้อความนี้ ได้

แก่ การพิจารณาเห็นกายในการนี้นั่นเอง. มิใช่การพิจารณาเห็นธรรม

อื่น. ท่านอธิบายไว้อย่างไร ? ท่านอธิบายไว้ว่า มิใช่พิจารณาเห็นความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 486

เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน เป็นความงาม ในกายนี้ซึ่งเป็น

สิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน และเป็นของไม่งามเหมือนการ

พิจารณาเห็นน้ำที่พยับแดดซึ่งไม่มีน้ำฉะนั้น, อันที่จริงแล้วพิจารณา

เห็นกาย ก็คือพิจารณาเห็นการประชุมอาการที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่

ใช่ตัวตน และเป็นของไม่งามนั่นเอง.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวถึงกายมีลมอัสสาสะปัสสาสะ เป็นเบื้อง

ต้นและมีกระดูกป่นละเอียดเป็นที่สุด โดยนัยมีอาทิว่า อิธ ภิกฺขเว

ภิกฺขุ อรญฺคโต วา รุกฺขมูลคดต วา ฯเปฯ โส สโตว

อสฺสสติ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในศาสนานี้ ไปสู่ป่าก็ดี

ไปสู่โคนไม้ก็ดี ฯลฯ ภิกษุนั้นมีสติหายใจเข้า ... ในสติปัฏฐานกถา

ข้างหน้า พึงเห็นความอย่างนี้ว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย เพราะ

พิจารณาเห็นในกายนี้เท่านั้นของกายทั้งหมดที่ท่านกล่าวถึงกายว่า ภิกษุ

บางรูปในศาสนานี้ ย่อมพิจารณาเห็นกองปฐวีธาตุ กองอาโปธาตุ

กองเตโชธาตุ กองวาโยธาตุ กองผม กองขน กองผิว กองหนัง

กองเนื้อ กองเลือด กองกระดูก กองเยื่อในกระดูก.

อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความอย่างนี้ว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกาย

กล่าวคือ การประชุมธรรมมีผมเป็นต้นในกาย เพราะพิจารณาเห็น

๑. ที. มหา. ๑๐/๒๗๔. ๒. ขุ. ป. ๓๑/๗๒๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 487

การประชุมธรรมต่างๆ มีผมและขนเป็นต้นนั้นๆ นั่นเอง เพราะไม่

เห็นอะไร ? ที่ควรยึดถืออย่างนี้ว่า เรา หรือ ของเรา ในกาย. อีก

อย่างหนึ่ง พึงเห็นความแม้อย่างนี้ว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย

แม้เพราะพิจารณาเห็นกาย กล่าวคือ การประชุมอาการมีอนิจลักษณะ

เป็นต้น ทั้งหมดอันมีนัยมาแล้วข้างหน้า โดยลำดับมีอาทิว่า ภิกษุย่อม

พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในกายนี้, ไม่พิจารณาเห็นโดย

ความไม่เที่ยงเป็นของเที่ยง ดังนี้ นี้เป็นความทั่วไปในสติปัฏฐาน ๔.

บทว่า กาเย กายานุปสฺสี - ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย

ความว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายอย่างหนึ่งๆ ในกายดังที่กล่าวไว้เป็น

ส่วนมาก มีกองอัสสาสะ และกองปัสสาสะเป็นต้น.

บทว่า วิหรติ นี้แสดงถึงการบำเพ็ญวิหารธรรมอย่างใดอย่าง

หนึ่งในวิหารธรรม คือ อิริยาบถ ๔. อธิบายว่า ภิกษุเปลี่ยนความ

เมื่อยในอิริยาบถหนึ่ง ด้วยอิริยาบถอื่นแล้วนำตนที่ยังซบเซาอยู่ให้คล่อง

แคล่ว.

คำว่า อาตาปี - มีความเพียรนี้ แสดงถึงการบำเพ็ญความเพียร

กำหนดกาย. อธิบายว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยความเพียรที่ท่าน

กล่าวว่า อาตาโป เพราะเผากิเลสในภพ ๓ ในสมัยนั้น, ฉะนั้นท่านจึง

กล่าวว่า อาตาปี - มีความเพียร.

๑. ขุ. ป. ๓๑/๗๒๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 488

บทว่า สมฺปชาโน - มีสัมปชัญญะ คือ เป็นผู้ประกอบด้วยญาณ

อันได้แก่ สัมปชัญญะอันกำหนดกาย.

บทว่า สติมา - มีสติ คือ เป็นผู้ประกอบด้วยสติกำหนดกาย.

ก็เพราะภิกษุนี้กำหนดอารมณ์ด้วยสติแล้วพิจารณาเห็นด้วยปัญญา. จริง

อยู่ ผู้ไม่มีสติจะพิจารณาเห็นไม่ได้เลย. ด้วยเหตุนั้นแหละ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า สติญฺจ ขฺวาห ภิกฺขเว สพฺพตฺถิก วทามิ- ดูก่อน-

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสติแลมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง. - ฉะนั้นใน

บทนี้ท่านจึงกล่าวถึงกรรมฐาน คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วย

ข้อความเพียงเท่านี้ว่า กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ - ภิกษุพิจารณา

เห็นกายในกายอยู่ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะไม่มีความเพียรเป็นผู้หดหู่ในภายใน เป็นผู้

ทำอันตราย, ผู้ไม่มีสัมปชัญญะย่อมหลงในการกำหนดอุบาย และใน

การเว้นสิ่งไม่เป็นอุบาย. ผู้มีสติหลงใหลย่อมไม่สามารถในการไม่สละ

อุบาย และในการไม่กำหนดสิ่งไม่เป็นอุบาย ฉะนั้น, ด้วยเหตุนั้น

กรรมฐานนั้นจึงไม่สำเร็จ แก่ภิกษุนั้น, ฉะนั้นกรรมฐานเป็นย่อมสำเร็จ

ด้วยอานุภาพของธรรมเหล่าใด เพื่อแสดงถึงธรรมเหล่านั้น พึงทราบ

ว่าท่านจึงกล่าวบทนี้ว่า อาตาปี สมฺปชาโน สติมา - ภิกษุมีความ

เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติดังนี้.

๑. ส.มหา. ๑๙/๕๕๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 489

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

และองค์ประกอบแล้วบัดนี้ เพื่อทรงแสดงองค์แห่ง ปหานะ จึงตรัสว่า

วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺส - กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสีย.

ในบทเหล่านั้นบทว่า วิเนยฺย- กำจัดเสีย ได้แก่ กำจัดด้วย

ตทังควินัย - กำจัดชั่วคราวหรือวิกขัมภนวินัย - กำจัดด้วยการข่มไว้.

บทว่า โลเก ความว่า กายใดกำหนดไว้ในคราวก่อน กาย

นั้นนั่นแล ชื่อว่า โลก ในที่นี้ ด้วยอรรถว่าแตกและสะลายไป ละ

อภิชฌาและโทมนัสในโลกนั้นเสีย.

อนึ่ง เพราะภิกษุนั้นย่อมอภิชฌา และโทมนัสในส่วนเพียง

กายเท่านั้นก็หาไม่, ย่อมละแม้ในเวทนาเป็นต้นอีกด้วย, ฉะนั้นท่าน

จึงกล่าวไว้ในวิภังค์ว่า ปญฺจปิ อุปาทานกฺขนฺธา โลโก - แม้อุปา-

ทานขันธ์ ๕ ก็เป็นโลก. พึงทราบว่า ท่านกล่าวบทนี้ด้วยการถอดความ

ซึ่งธรรมเหล่านั้น เพราะธรรมเหล่านั้นนับเข้าในโลก.

พระสารีบุตรกล่าวว่า ในบทว่า โลเก นั้น โลกเป็นไฉน ?

กายนั้นนั่นแลเป็นโลก. นี้เป็นคำอธิบายในบทนี้. ท่านกล่าวย่อไว้ว่า

อภิชฺฌาโทมนสฺส ดังนี้. ก็ในระหว่างปาฐะในสังยุตตนิกายและอัง-

คุตตรนิกาย อาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ต่างหากกัน. ชื่อว่า อภิชฺฌา

เพราะอรรถว่าเป็นเหตุเพ่ง คือ ปรารถนาหรือเพ่งเอง หรือเพียงความ

๑. อภิ. วิ. ๓๕/๔๔๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 490

เพ่งเท่านั้น. อนึ่ง ในบทว่า อภิชฌาโทมนสฺส นี้ เพราะกามฉันทะ

สงเคราะห์เข้ากับอภิชฌา. พยาบาทสงเคราะห์เข้ากับโทมนัส. ฉะนั้น

พึงทราบว่าท่านกล่าวถึงการละนิวรณ์ ด้วยแสดงธรรมทั้งสองอันเป็น

ธรรมมีกำลังนับเนื่องในนิวรณ์.

อนึ่ง ในบทนี้โดยความต่างกันท่านกล่าวถึงการละความยินดีอัน

เป็นมูลเหตุของสมบัติทางกาย ด้วยกำจัดอภิชฌา, ละความยินร้าย

อันเป็นมูลเหตุของความวิบัติทางกาย ช่วยกำจัดโทมนัส. อนึ่ง ละความ

ยินดีในกายด้วยกำจัดอภิชฌา, ละความไม่ยินดีในกายภาวนาด้วยกำจัด

โทมนัส, ละการเพิ่มเติมความงามและความสุขเป็นต้น ที่ไม่เป็นจริง

ในกายด้วยกำจัดอภิชฌา, ละการนำออกความไม่งามความไม่เป็นสุข

เป็นต้น อันเป็นจริงในกายด้วยกำจัดโทมนัส. เป็นอันท่านแสดงถึง

อานุภาพของโยคะ และความสามารถในโยคะของพระโยคาวจรด้วยบท

นั้น. อานุภาพของโยคะ คือ พระโยคาวจรเป็นผู้พ้นจากความยินดี

ยินร้าย เป็นผู้อดกลั้นความไม่ยิน และความยินดี และเป็นผู้เว้นจาก

การเพิ่มเติมในสิ่งที่ไม่เป็นจริง และการนำสิ่งที่เป็นจริงออก.

อนึ่ง พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้พ้นจากความยินดียินร้าย เป็นผู้

อดกลั้นความไม่ยินดี และความยินดี ไม่หมกมุ่นในสิ่งไม่เป็นจริง และ

กำจัดสิ่งเป็นจริง เป็นผู้สามารถในโยคะด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 491

อีกนัยหนึ่งในบทว่า กาเย กายานุปสฺสี นี้ ท่านกล่าวถึง

กรรมฐานแห่ง อนุปสฺสนา ในบทว่า วิหรติ นี้ ท่านกล่าวถึงการ

บริหารกายของภิกษุผู้บำเพ็ญกรรมฐานด้วยวิหารธรรมดังกล่าวแล้ว. พึง

ทราบว่า ในบทมีอาทิว่า อาตาปี ท่านกล่าวถึงสัมมัปธานด้วยความเพียร,

กล่าวธรรมฐานอันมีประโยชน์ทั้งหมด หรืออุบายการบริหารกรรมฐาน

ด้วยสติสัมปชัญญะ, กล่าวสมถะที่ได้ด้วยอำนาจกายานุปัสสนาด้วยสติ,

กล่าววิปัสสนาด้วยสัมปชัญญะ, กล่าวผู้ของภาวนาด้วยกำจัดอภิชฌา

และโทมนัส.

อนึ่ง ในบทมีอาทิว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี - ภิกษุพิจารณา

เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย พึงประกอบความในคำของเวทนาเป็นต้น

ต่อไปแล้วพึงทราบตามควรโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในกายานุปัสสนานั่น

แล. อรรถอันไม่ทั่วไปมีดังต่อไปนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาอย่างหนึ่ง ๆ

โดยมีความไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นอย่าง ๆ ไป ในเวทนาทั้งหลายมีประเภท

ไม่น้อยมีสุขเวทนาเป็นต้น, พิจารณาเป็นจิตดวงหนึ่ง ๆ โดยมีความไม่

เที่ยงเป็นต้น อย่างหนึ่ง ๆ ในจิตมีประเภท ๑๖ ดวง มีจิตมีราคะเป็นต้น,

พิจารณาเห็นธรรมอย่างหนึ่ง ๆ โดยมีความไม่เที่ยงเป็นต้น อย่างหนึ่ง ๆ

ในธรรมเป็นไปในภูมิ ๓ ที่เหลือ เว้นกายเวทนา และจิต, หรือ

พิจารณาเป็นธรรมมีนิวรณ์เป็นต้น โดยนัยดังกล่าวแล้วในสติปัฏฐาน

สูตร.

๑. ที. มหา. ๑๐/๒๗๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 492

อนึ่ง ในบทเหล่านี้ พึงทราบว่า บทว่า กาเย เป็นเอกวจนะ

เพราะสรีระมีหนึ่ง. บทว่า จิตฺเต เป็นเอกวจนะท่านทำโดยถือเอาชาติ

เพราะไม่มีความต่างแห่งสภาวะของจิต. อนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นโดย

ประการที่พึงเห็นเวทนาเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนา

ในเวทนาทั้งหลาย, เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต, เป็นผู้พิจารณาเห็น

ธรรมในธรรมทั้งหลาย. พึงพิจารณาเห็นเวทนาอย่างไร ? พึงพิจารณา

เห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์, พึงพิจารณาเห็นทุกขเวทนาโดยความ

เป็นดังลูกศร, พึงพิจารณาเห็นอทุกขมสุขโดยความเป็นของไม่เที่ยง.

ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

โย สุข ทุกฺขโต อทฺท ทุกฺขมทิทกฺขิ สลฺลโต

อทุกฺขมสุข สนฺต อทฺทกฺขิ น อนิจฺจโต.

ส เว สมฺมทฺทโส ภิกฺขุ ปริชานาติ เวทนา.

ภิกษุใดได้เห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ ได้เห็น

ทุกข์โดยความเป็นดังลูกศร ได้เห็นอทุกขมสุขอัน

สงบระงับแล้วนั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง. ภิกษุ

นั้นแลเป็นผู้เห็นชอบ ย่อมรู้รอบเวทนาทั้งหลาย.

๑. ส. สฬา. ๑๘/๓๖๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 493

อนึ่ง พึงพิจารณาเห็นเวทนาทั้งหมดโดยความเป็นทุกข์ ดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เรากล่าวว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ได้เสวยแล้ว.

สิ่งนั้นทั้งหมดเป็นไปในทุกข์.

อนึ่ง พึงพิจารณาเห็นโดยความเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง. ดังที่

ท่านกล่าวว่า สุขเวทนาเป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะ

ปรวนแปร. ทุกขเวทนาเป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นสุขเพราะ

ปรวนแปร, อทุกขมสุขเวทนาเป็นสุขเพราะรู้ เป็นทุกข์เพราะไม่รู้.

แต่ก็ควรพิจารณาด้วยอำนาจการพิจารณาเห็นสัตว์มีความไม่เที่ยงเป็น

ต้น.

พึงทราบวินิจฉัยในจิตและธรรมดังต่อไปนี้ พึงพิจารณาเห็นจิต

ก่อน ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นสัตว์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น อัน

มีประเภทจิตที่ต่าง ๆ กัน โดยมี อารัมมณะ อธิปติ สหชาตะ ภูมิ กรรม

วิบาก และ กิริยา เป็นต้นและประเภทแห่งจิต ๑๖ อย่าง มี สราคจิต

เป็นต้น. พึงพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งการพิจารณา

เห็นสัตว์ มีความไม่เที่ยงเป็นต้นแห่งสุญญตาธรรม อันมีลักษณะของ

ตนและสามัญลักษณะ ทั้งมีความสงบและไม่สงบเป็นต้น.

อนึ่ง ในบทนี้ อภิชฌาโทมนัสนั้นที่ภิกษุละได้ในโลก อัน

ได้แก่กายจึงเป็นอันละได้แม้ในโลกมีเวทนาเป็นต้นด้วยโดยแท้, แต่ถึง

๑. ส. สฬา. ๑๘/๓๙๑. ๒. ม. มู. ๑๒/๕๑๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 494

กระนั้นท่านก็กล่าวไว้ในที่ทั้งปวง ด้วยสามารถบุคคลต่างกัน และด้วย

สามารถการเจริญสติปัฏฐานอันมีในขณะต่างกัน. อีกอย่างหนึ่ง ครั้น

ละได้ในส่วนหนึ่งแล้ว, แม้ในส่วนที่เหลือก็เป็นอันละได้ด้วย. ด้วย

เหตุนั้นแล พึงทราบว่าท่านกล่าวอย่างนี้ เพื่อแสดงการละอภิชฌาของ

ภิกษุนั้น.

สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ย่อมได้ในจิตต่าง ๆ ในส่วนเบื้องต้น

ด้วยประการฉะนี้. ภิกษุย่อมกำหนดกายด้วยจิตอื่น กำหนดเวทนาด้วย

จิตอื่น กำหนดจิตด้วยจิตอื่น กำหนดธรรมทั้งหลายด้วยจิตอื่น. แต่

ในขณะโลกุตรมรรค สติปัฏฐานย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น.

สติสัมปยุตด้วยวิปัสสนา ของบุคคลผู้มากำหนดกายตั้งแต่ต้น

ชื่อว่า กายานุปัสสนา. บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินั้น ชื่อว่า กายานุ-

ปัสสี. สติสัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคของบุคคลผู้ขวนขวาย

วิปัสสนาแล้วบรรลุอริยมรรค ชื่อว่า กายานุปัสสนา, บุคคลผู้ประกอบ

ด้วยสตินั้น ชื่อว่า กายานุปัสสี. สติสัมปยุตด้วยวิปัสสนาของบุคคล

ผู้มากำหนดเวทนา กำหนดจิต กำหนดธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า ธัม-

มานุปัสสนา, บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินั้น ชื่อว่า ธัมมานุปัสสี.

สติสัมปยุตด้วยมรรค ในขณะแห่งมรรคของบุคคลผู้ขวนขวายวิปัสสนา

แล้วบรรลุอริยมรรค ชื่อว่า ธัมมานุปัสสนา, บุคคลผู้ประกอบด้วย

สตินั้น ชื่อว่า ธัมมานุปัสสี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 495

การแสดงอย่างนี้ ย่อมตั้งอยู่ในบุคคล. แต่สติกำหนดกาย ละ

ความเห็นผิดในกายว่างาม ย่อมสำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น จึง

ชื่อว่า กายานุปัสสนา. สติกำหนดเวทนา ละความเห็นผิดในเวทนา

ว่าเป็นสุข ย่อมสำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เวทนานุ-

ปัสสนา. สติกำหนดจิต ละความเห็นผิดในจิตว่า เป็นของเที่ยง

ย่อมสำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า จิตตานุปัสสนา. สติ

กำหนดธรรม ละความเห็นผิดในธรรมทั้งหลายว่า เป็นตัวตน ย่อม

สำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ธัมมานุปัสสนา. สติ

สัมปยุตด้วยมรรคอย่างเดียว ย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง โดยความที่ยังกิจ

๔ อย่างให้สำเร็จด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏ-

ฐาน ๔ ย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น ในขณะแห่งโลกุตรมรรค.

พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาสมาธินิทเทสดังต่อไปนี้ บทว่า วิวิจฺเจว

กาเมหิ - สงัดจากกาม ได้แก่ สงัด เว้น หลีกจากกามทั้งหลาย. พึง

ทราบว่า เอว ศัพท์ ในบทนี้ มีความว่า แน่นอน. เพราะเอวศัพท์

ความว่า แน่นอน ฉะนั้น พระสารีบุตรแสดงถึงความที่กามแม้ไม่มี

อยู่ในขณะเข้าถึงปฐมฌาน เป็นปฏิปักษ์ของปฐมฌานนั้น และการ

บรรลุปฐมฌานนั้น ด้วยการสละกามนั่นเอง. อย่างไร ? เพราะเมื่อ

ทำความแน่นอนอย่างนี้ว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ปฐมฌานนี้ ย่อมปรากฏ,

กามทั้งหลายเป็นปฏิปักษ์ของฌานนี้แน่นอน, เมื่อยังมีกามอยู่ฌานนี้ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 496

เป็นไปไม่ได้, เหมือนเมื่อความมืดยังมีอยู่และประทีปก็ยังส่องไปไม่ได้.

การบรรลุฌานนั้นด้วยการละกามเหล่านั้น เหมือนการถึงฝั่งนอกด้วย

การสละฝั่งใน, ฉะนั้น จึงทำความแน่นอน.

ในบทนั้นพึงมีคำถามว่า เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวการบรรลุนี้

ไว้ในบทก่อน, ไม่กล่าวไว้ในบทหลังเล่า, ภิกษุแม้ไม่สงัดจากอกุศล-

ธรรม ก็ยังจะเข้าฌานได้หรือ ? ข้อนั้นไม่ควรเห็นอย่างนั้น. เพราะ

ท่านกล่าวการบรรลุนั้นไว้แล้วในบทก่อน เพราะการสลัดออกจากกาม

นั้น. อนึ่ง ฌานนี้เป็นการสลัดออกไปแห่งกามทั้งหลาย เพราะก้าว

ล่วงกามธาตุ และเพราะเป็นปฏิปักษ์ของกามราคะ. ดังที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า กามานเมต นิสฺสรณ ยทิท เนกฺขมฺม - เนกขัมมะ

เป็นการสลัดออกจากกามทั้งหลาย. แม้ในบทหลังก็พึงกล่าวเหมือน

อย่างที่ท่านนำ เอว อักษรมากล่าวไว้ในบทนี้ว่า อิเธว ภิกฺขเว

สมโณ, อิธ ทุติโย สมโณ- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีใน

ศาสนานี้เท่านั้น, สมณะที่สองก็มีในศาสนานี้.

เพราะไม่สงัดจกกอกุศลธรรมอันได้แก่นิวรณ์ แม้อื่นจากนี้ก็ไม่

อาจเข้าฌานได้, ฉะนั้น พึงเห็นความแม้ในสองบทอย่างนี้ว่า วิวิจฺเจว

กาเมหิ วิวิจฺเจว อกุสเลหิ - สงัดจากกามนั่นแล สงัดจากอกุศลนั่นแล

ดังนี้. ตทังควิเวก วิกขัมภนวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก

นิสสรณวิเวก และจิตตวิเวก กายวิเวก อุปธิวิเวก ย่อมสงเคราะห์

๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๕๐. ๒. ม. มู. ๑๒/๑๕๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 497

ด้วยคำทั่วไปนี้ว่า วิวิจฺจ ก็จริง แม้ถึงอย่างนั้นก็พึงเห็นกายวิเวก

จิตตวิเวก วิกขัมภนวิเวก ในส่วนเบื้องต้นด้วย. พึงเห็นกายวิเวก

จิตตวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก และนิสสรณวิเวก ในขณะ

แห่งโลกตรมรรคด้วย.

ก็ด้วยบทว่า กาเมหิ นี้ ท่านกล่าวถึงวัตถุกามไว้ในมหานิทเทส

โดยนัยมีอาทิว่า กตเม วตฺถุกามา มนาปิกา รูปา - วัตถุกามมีรูปที่น่า

พอใจเป็นไฉน และท่านกล่าวถึงกิเลสกามไว้ในวิภังค์นั้น อย่างนี้ว่า

ฉนฺโท กาโม ราโค กาโม ฉนฺทราโค กาโม, สงฺกปฺโป กาโม

ราโค กาโม, สงฺกปฺปราโค กาโม - ฉันทะเป็นกาม ราคะเป็นกาม

ฉันทราคะเป็นกาม สังกัปปะเป็นกาม ราคะเป็นกาม สังกัปปราคะ

เป็นกาม พึงเห็นว่าท่านสงเคราะห์กามเหล่านั้นไว้ทั้งหมด. เมื่อเป็น

อย่างนี้ บทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ความว่า สงัดจากวัตถุกามนั่นแล

สมควร. ด้วยบทนั้น เป็นอันท่านกล่าวถึงกายวิเวก.

บทว่า วิวจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ - สงัดจากอกุศลธรรม ความ

ว่า สงัดจากกิเลสกามหรืออกุศลทั้งหมด ดังนี้ สมควร. ด้วยบทนั้น

เป็นอันท่านกล่าวถึงจิตตวิเวก. อนึ่ง ในสองบทนี้ ด้วยบทต้นเป็นอัน

เจริญการสละกามสุข เพราะคำว่า สงัดจากวัตถุกาม, ด้วยบทที่สอง

เป็นอันเจริญการกำหนดเนกขัมมสุข เพราะคำว่า สงัดจากกิเลสกาม.

๑-๒. ขุ. มหา. ๒๙/๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 498

อนึ่ง เพราะคำว่า สงัดจากวัตถุกามและกิเลสกาม พึงทราบว่า ด้วย

บทต้น เป็นอันเจริญการละวัตถุอันเศร้าหมอง, ด้วยบทที่สอง เป็นอัน

เจริญละความเศร้าหมอง. ด้วยบทที่หนึ่ง เป็นอันเจริญการสละเหตุ

แห่งความโลเล, ด้วยบทที่สอง เป็นอันเจริญการสละเหตุแห่งความเป็น

พาล, และด้วยบทที่หนึ่ง เป็นอันเจริญความบริสุทธิ์ด้วยความเพียร,

ด้วยบทที่สอง เป็นอันเจริญความกล่อมเกลาอัธยาศัย. ในบรรดากาม

ทั้งหลายที่ท่านกล่าวไว้ในบทว่า กาเมหิ นี้ มีนัยเดียวกันในฝ่ายวัตถุ

กาม.

พึงทราบวินิจฉัยในฝ่ายกิเลสกามดังต่อไปนี้ กามฉันทะมีหลาย

ประเภทด้วยบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ฉันทะ และ ราคะ ท่านประสงค์

เอาว่า กาม. กามนั้นแม้นับเนื่องในอกุศล ท่านก็กล่าวไว้ต่างหากใน

วิภังค์ โดยนัยมีอาทิว่า กามเป็นไฉน ? ฉันทะเป็นกาม เพราะ

เป็นปฏิปักษ์ขององค์ฌานเบื้องบน หรือท่านกล่าวไว้ในบทก่อน เพราะ

เป็นกิเลสกาม. ท่านกล่าวไว้ในบทที่สอง เพราะนับเนื่องในอกุศล.

อนึ่ง ท่านไม่กล่าวว่า กามโต - จากกาม เพราะกามนั้นมี

หลายประเภท จึงกล่าวว่า กาเมหิ - จากกามทั้งหลาย. เมื่อธรรมแม้

เหล่าอื่นเป็นอกุศลยังมีอยู่ ท่านกล่าวนิวรณ์ทั้งหลายไว้ในวิภังค์ โดย

นัยมีอาทิว่า อกุศลธรรมเป็นไฉน ? กามฉันทะเป็นอกุศลธรรม

๑. อภิ. วิ. ๓๕/๖๕๑ ๒. อภิ. วิ. ๓๕/๖๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 499

เพราะความเป็นข้าศึกและเป็นปฏิปักษ์ต่อองค์ฌานเบื้องบน. จริงอยู่

นิวรณ์เป็นข้าศึกต่อองค์ฌาน, องค์ฌานเป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์เหล่านั้น

ท่านอธิบายว่า กำจัด ทำให้พินาศ. ท่านกล่าวไว้ในปิฎกว่า สมาธิ

เป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ, ปีติเป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาท, วิตก

เห็นปฏิปักษ์ต่อถีนมิทธะ, สุขเป็นปฏิปักษ์ต่ออุทธัจจกุกกุจจะ,

วิจารเป็นปฏิปักษ์ต่อวิจิกิจฉา ดังนี้.

ในบทนี้ ด้วยบทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ เป็นอันท่านกล่าวถึง

ความสงัดด้วยการข่มกามฉันทะ, ด้วยบทว่า วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ

นี้ เป็นอันท่านกล่าวถึงการข่มนิวรณ์ทั้ง ๕. ก็ด้วยการถือเอาแล้วไม่

ถือเอาอีก เป็นอันท่านกล่าวถึงความสงัด ด้วยการข่มกามฉันทะด้วย

ฌานที่ ๑, เป็นอันท่านกล่าวถึงความสงัด ด้วยการข่มนิวรณ์ที่เหลือ

ด้วยฌานที่ ๒.

อนึ่ง ท่านกล่าวถึงความสงัด ด้วยการข่มโลภะอันเป็นที่ตั้งของ

กามคุณ ๕ ในอกุศลมูล ๓ ด้วยฌานที่ ๑, ท่านกล่าวถึงความสงัด

ด้วยการข่มโทสะ โมหะ อันเป็นที่ตั้งของประเภทแห่งอาฆาตวัตถุเป็นต้น

ด้วยฌานที่ ๒. หรือในธรรมทั้งหลายมีโอฆะเป็นต้น ท่านกล่าวถึง

ความสงัดด้วยการข่มกาโมฆะ กามโยคะ กามาสวะ กามุปาทาน

อภิชฌากายคันถะ และกามราคสังโยชน์ด้วยฌานที่หนึ่ง, ท่านกล่าวถึง

ความสงัด ด้วยการละโอฆะ โยคะ อาสวะ อุปาทาน คันถะ และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 500

สังโยชน์ที่เหลือด้วยฌานที่ ๒. ท่านกล่าวถึงความสงัดด้วยการข่ม

กิเลสอันสัมปยุตด้วยตัณหา ด้วยฌานที่ ๑. ท่านกล่าวความสงัดด้วย

การข่มกิเลส อันสัมปยุตด้วยอวิชชา ด้วยฌานที่ ๒. อีกอย่างหนึ่ง

พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงความสงัดด้วยการข่ม จิตตุปบาท ๘ ดวง อัน

สัมปยุตด้วยโลภะ ด้วยฌานที่ ๑, ท่านกล่าวถึงความสงัดด้วยการข่ม

จิตตุปบาทที่เป็นอกุศล ๔ ดวงที่เหลือด้วยฌานที่ ๒.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระสารีบุตรครั้นแสดงองค์แห่งการละ

ฌานที่ ๑ แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงองค์แห่งการประกอบร่วมกัน จึงกล่าว

บทมีอาทิว่า สวิตกฺก สวิจาร - มีวิตกวิจาร ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น วิตก มีลักษณะยกจิตไว้ในอารมณ์. วิจาร

มีลักษณะคลุกเคล้าอารมณ์. อนึ่ง เมื่ออารมณ์เหล่านั้นยังไม่ออกไป

ในที่ไหน ๆ วิตก คือ อารมณ์ที่เกาะจิตเป็นครั้งแรก ด้วยอรรถว่า

เป็นอารมณ์หยาบ และด้วยอรรถไปถึงก่อนดุจเคาะระฆัง, วิจาร คือ

อารมณ์ที่ผูกพันอยู่กับจิต ด้วยอรรถว่า เป็นอารมณ์ละเอียดและมีสภาพ

คลุกเคล้าด้วยจิต ดุจเสียงครางของระฆัง.

อนึ่ง วิตกมีการกระจายไปในอารมณ์ ในขณะเกิดครั้งแรกทำ

ให้จิตสั่นสะเทือน ดุจนี้ประสงค์จะบินไปบนอากาศกระพือปีก, และ

ดุจภมรตามกลิ่นหอมบินมุ่งไปเกาะที่ดอกบัวฉะนั้น. วิจารมีความเป็นไป

อย่างสงบ ไม่ทำจิตให้สั่นสะเทือนดุจนกที่บินขึ้นไปบนอากาศเหยียดปีก

ออกไป และดุจภมรเกาะที่ดอกบัวเคล้าอยู่บนดอกบัวฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 501

ก็ในอรรถกถาทุกนิบาตท่านกล่าวไว้ว่า วิตกเป็นไปด้วยการยก

จิตไว้ในอารมณ์ ดุจนกใหญ่ไปในอากาศเอาปีกทั้งสองจับลมไว้แล้ว ทำให้

ปีกทั้งสองสงบเงียบบินไป, วิจารเป็นไปด้วยความคลุกเคล้าอารมณ์ ดุจ

นกกระพือปีกเพื่อจับลมแล้วจึงบินไปฉะนั้น. วิจารย่อมสมควรในการ

เป็นไปด้วยความผูกพันอารมณ์นั้น. ส่วนความแตกต่างวิตกวิจารนั้น

ปรากฏในฌานที่ ๑ และฌานที่ ๒. อีกอย่างหนึ่ง วิตกเหมือนมือที่จับ

แน่นของคนผู้จับภาชนะสำริดที่สนิมกัดด้วยมือข้างหนึ่งแน่น. แล้วขัด

ด้วยแปรงทำด้วยหางสัตว์จุ่มน้ำมันผสมผงละเอียดด้วยมืออีกข้างหนึ่ง.

วิจารเหมือนมือที่ขัด.

อนึ่ง วิตกเหมือนมือที่บังคับของช่างหม้อผู้ใช้ไม้หมุนล้อทำ

ภาชนะ, วิจารเหมือนมือที่เลื่อนไปข้างโน้นข้างนี้. อนึ่ง วิตกยกจิตไว้

ในอารมณ์เหมือน กณฺฏโก - หนามที่เสียบไว้ท่ามกลางของผู้ทำวงกลม,

วิจารการคลุกเคล้าอารมณ์เหมือนหนามที่หมุนอยู่ภายนอก. ปฐมฌาน

ย่อมเป็นไปกับด้วยวิตกและวิจาร เหมือนต้นไม้ย่อมเป็นไปกับด้วยดอก

ไม้และผลไม้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวฌานนี้ว่า สวิตกฺก สวิจาร

ดังนี้.

ในบทว่า วิเวกช นี้ ความสงัด คือ วิเวก ความว่า

ปราศจากนิวรณ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิเวก เพราะอรรถว่า สงัด,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 502

ได้แก่ หมวดธรรมสัมปยุตด้วยฌาน สงัดจากวิเวก. เพราะฉะนั้น

ชื่อว่า วิเวกช เพราะอรรถว่า เกิดจากวิเวกหรือเกิดในวิเวกนั้น.

ในบทว่า ปีติสุข นี้ ชื่อว่า ปีติ เพราะอรรถว่า อิ่มใจ,

ปีตินั้นมีลักษณะอิ่มเอิบ. ปีตินั้นมี ๕ อย่าง คือ

ขุททกาปีติ - ปีติอย่างน้อย ๑.

ขณิกาปีติ - ปีติชั่วขณะ ๑.

โอกกันติกาปีติ - ปีติเป็นพัก ๆ ๑.

อุพเพงคาปีติ - ปีติอย่างโลดโผน ๑.

ผรณาปีติ - ปีติซาบซ่าน ๑.

ในปีติเหล่านั้น บทว่า ขุททกาปีติ ได้แก่ เมื่อเกิดขึ้นสามารถ

ทำเพียงให้ขนชันในร่างกายเท่านั้น. บทว่า ขณิกาปีติ ได้แก่ เมื่อ

เกิดขึ้นเช่นกับสายฟ้าแลบเป็นพัก ๆ. บทว่า โอกกันติกาปีติ ได้แก่

เมื่อเกิดขึ้นทำร่างกายให้ซู่ซ่าแล้วหายไปเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง. บทว่า

อุพเพงคาปีติ ได้แก่ ปีติมีกำลังทำให้กายลอยขึ้นไปถึงกับโลดขึ้นไป

บนอากาศชั่วระยะหนึ่ง. บทว่า ผรณาปีติ ได้แก่ ปีติมีกำลังยิ่ง.

จริงอยู่ เมื่อปีตินั้นเกิด สรีระทั้งสิ้นสั่นสะเทือนดุจปัสสาวะเต็มกระเพาะ

และหลืบภูเขาที่ยื่นออกไปทางห้วงน้ำใหญ่. ปีติ ๕ อย่างนั้น ถือเอา

ซึ่ง คพฺภ - ท้องถึงการแก่รอบแล้ว ย่อมยังปัสสัทธิ ๒ อย่าง คือ กาย

ปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิให้บริบูรณ์. ปีตินั้นถือ เอาซึ่งท้องแห่งปัสสัทธิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 503

ถึงการแก่รอบแล้ว ย่อมยังสุขแม้ ๒ อย่าง คือ กายิกสุขและเจตสิกสุข

ให้บริบูรณ์. สุขนั้นถือเอาท้องคือครรภ์ ถึงการแก่รอบแล้ว ย่อม

ยังสมาธิ ๓ อย่าง คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ

ให้บริบูรณ์. ให้ปีติเหล่านั้น ปีติที่ท่านประสงค์เอาในอรรถนี้ ได้แก่

ผรณาปีติซึ่งเป็นเหตุของอัปปนาสมาธิเจริญงอกงามอยู่ ถึงความประกอบ

พร้อมแห่งสมาธิ.

อนึ่ง บทต่อไป ชื่อว่า สุข เพราะอรรถว่า ให้ถึงสุข, อธิบาย

ว่า ปีติเกิดแก่ผู้ใด, ย่อมทำผู้นั้นให้ถึงสุข. อีกอย่างหนึ่ง ความสบาย

ชื่อว่า สุข, ธรรมชาติใด ย่อมเคี้ยวกินดีและการทำลายความเบียด

เป็นทางกายและจิต ชื่อว่า สุข, บทนี้เป็นชื่อของ โสมนัสสเวทนา.

ความสุขนั้นมีลักษณะเป็นความสำราญ. แม้เมื่อปีติและสุขยังไม่พราก

ไปในที่ไหน ๆ ความยินดีในการได้อารมณ์ที่น่าปรารถนาเป็น ปีติ,

การเสวยรสที่ได้แล้วเป็น สุ.

ปีติในที่ใด ความสุขย่อมมีในที่นั้น. ความสุขมีในที่ใด ปีติ

โดยความแน่นอนย่อมไม่มีในที่นั้น, ปีติสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์,

สุขสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์. ปีติเหมือนในการได้เห็นได้ฟังว่ามีน้ำ

อยู่ชายป่าของผู้ที่เหน็ดเหนื่อยในทางกันดาร, สุขเหมือนในการเข้าไป

อาศัยในเงาป่าและการดื่มน้ำ. พึงทราบว่าท่านกล่าวถึงบทนี้ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 504

ความปรากฏในสมัยนั้น ๆ. ปีตินี้และสุขนี้มีอยู่แก่ฌานนั้น หรือมีอยู่

ในฌานนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวฌานนี้ว่า ปีติสุข ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ปีติและสุข ชื่อว่า ปีติสุข เหมือนธรรมและ

วินัยเป็นต้น, ปีติสุขเกิดแต่วิเวก ย่อมมีแก่ฌานนั้น หรือมีในฌานนั้น

เพราะเหตุนั้น ปีติสุขจึงเกิดแต่วิเวกด้วยประการฉะนี้. แม้ปีติสุขในญาณ

นี้ก็เกิดแต่วิเวกเท่านั้น เช่นเดียวกับฌาน. อนึ่ง ปีติสุขมีแก่ฌานนั้น.

เพราะฉะนั้น การทำเป็นอโลปสมาส - สมาสที่ไม่ลบวิภัตติ แล้วกล่าวว่า

วิเวกช ปีติสุข - ปีติสุขเกิดแต่วิเวก ดังนี้ โดยบทเดียวเท่านั้นสมควร.

บทว่า ปฐม ชื่อว่า ปฐม เพราะตามลำดับของการนับ,

ชื่อว่า ปฐม เพราะอรรถว่า เกิดก่อนบ้าง.

บทว่า ฌาน ฌานมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน-

เพ่งอารมณ์ และ ลักขณูปนิชฌาน - เพ่งลักษณะ ในฌาน ๒ อย่าง

นั้น สมาบัติ ๘ เข้าไปเพ่งอารมณ์มีปฐวีกสิณเป็นต้น ชื่อว่า อารัม-

มณูปนิชฌาน. วิปัสสนามรรคและผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน.

ในวิปัสสนามรรคและผลเหล่านั้น วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณู-

ปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่ง ซึ่งลักษณะมีอนิจลักษณะเป็นต้น, มรรค

ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะกิจทำด้วยวิปัสสนาสำเร็จด้วยมรรค,

ส่วนผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งนิโรธสัจ

อันเป็นลักษณะที่จริงแท้. ในฌานทั้งสองนั้น ในส่วนเบื้องต้นนี้ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 505

ประสงค์เอา อารัมมณูปนิชณาน, ในขณะแห่งโลกุตรมรรคท่าน

ประสงค์เอา ลักขณูปนิชฌาน, เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า

ฌาน เพราะเข้าไปเพ่ง อารมณ์, เข้าไปเพ่ง ลักขณะ, และเข้าไป

เพ่ง ธรรมเป็นข้าศึก.

บทว่า อุปสมฺปชฺช คือ เข้าถึง, อธิบายว่า บรรลุแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เข้าไปถึงแล้ว คือ ให้สำเร็จแล้ว.

บทว่า วิหรติ ได้แก่ เป็นผู้มีความพร้อมด้วยฌานมีประการ

ดังกล่าวแล้ว ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ในอิริยาบถอันเหมาะสม ควรแก่

ฌานนั้น ยังความเป็นไปแห่งอัตภาพให้สำเร็จ.

ในบทว่า วิตกฺกวิจาราน วูปสมา - เพราะวิตกวิจารสงบไปนี้

คือ เพราะองค์ฌานสองอย่างนี้ คือ วิตกและวิจาร สงบ คือ ก้าวล่วง

อธิบายว่า เพราะไม่ปรากฏในขณะทุติยฌาน. ในบทนั้น ธรรม คือ

ปฐมฌานแม้ทั้งหมดไม่มีในทุติยฌานก็จริง, แต่ผัสสะเป็นต้นเหล่าอื่น

ในปฐมฌานยังมีอยู่. ในทุติยฌานนี้ไม่มี. พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้

อย่างนี้ว่า วิตกฺกวิจาราน วูปสมา เพื่อแสดงว่า การบรรลุทุติยฌาน

เป็นต้นเหล่าอื่นจากปฐมฌาน ย่อมมีได้เพราะก้าวล่วงองค์หยาบ ๆ.

ในบทว่า อชฺฌตฺต ในภายในนี้ท่านประสงค์เอาภายในของ

ตน, เพราะฉะนั้น จึงเกิดในตน, อธิบายว่า เกิดในสันดานของตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 506

บทว่า สมฺปสาทน อันเป็นความผ่องใส ศรัทธาท่านกล่าวว่า

เป็นความผ่องใส. แม้ฌานก็เป็นความผ่องใส เพราะประกอบด้วยความ

เชื่อ เหมือนผ้าสีเขียวเพราะย้อมด้วยสีเขียว.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะฌานนั้นเป็นความผ่องใสแห่งจิต เพราะ

ประกอบด้วยความเชื่อและเพราะสงบ ความกำเริบของวิตกวิจาร, ฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า สมฺปสาทน. ในอรรถวิกัปนี้ พึงทราบการเชื่อมบท

อย่างนี้ว่า สมฺปสาทน เจตโส - ความผ่องใสแห่งจิต ส่วนในอรรถ

วิกัปก่อน พึงประกอบบทว่า เจตโส นี้ กับด้วย ศัพท์ เอโกทิภาวะ

- ความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น.

พึงทราบการแก้อรรถในบทว่า เอโกทิภาวะ นั้นดังต่อไปนี้

ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็นธรรมเอกเกิดขึ้น อธิบายว่า

ทุติยฌานเป็นธรรมเลิศประเสริฐผุดขึ้น เพราะไม่มีวิตกวิจารเกิดขึ้น

ภายใน. จริงอยู่ แม้บุคคลที่ประเสริฐท่านก็เรียกว่าเป็น เอก ในโลก.

หรือควรจะกล่าวว่าทุติยฌานเป็นธรรมเอก ไม่มีสอง เพราะเว้นจาก

วิตกวิจารดังนี้บ้าง.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุทิ. เพราะเกิดขึ้นในสัมปยุตธรรม. คือ

ยังสัมปยุตธรรมให้เกิดขึ้น. ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็น

ธรรมเอกเกิดขึ้นด้วยอรรถว่า ประเสริฐที่สุด. บทนี้เป็นชื่อของสมาธิ.

ทุติยฌานนี้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะยังทุติยฌานเป็นธรรมเอกผุดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 507

ให้เจริญงอกงาม. อนึ่ง เพราะ เอโกทิ นี้ เป็นธรรมเอกเกิดขึ้น

แก่จิต มิใช่แก่สัตว์ มิใช่แก่ชีวะ. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจตโส

เอโกทิภาว - ความเป็นธรรมเอกเกิดขึ้นแก่จิต.

ศรัทธานี้แม้ในปฐมฌานก็มี, อนึ่ง สมาธินี้มีชื่อว่า เอโกทิ

มิใช่หรือ. เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวว่า สมฺปสาทน

เจตโส เอโกทิภาว - ทุติยฌานอันเป็นการผ่องใสแห่งจิต เป็นธรรม

เอกผุดขึ้น. แก้ว่า เพราะปฐมฌานนั้นยังไม่ผ่องใสดีด้วยวิตกวิจารกำเริบ

เหมือนน้ำ กำเริบด้วยลูกคลื่น, ฉะนั้น แม้เมื่อมีศรัทธาท่านก็ไม่กล่าว

ว่า สมฺปสาทน - เป็นความผ่องใส. อนึ่ง แม้สมาธิในปฐมฌานนี้

ก็ไม่ปรากฏด้วยดีเพราะไม่ผ่องใส, เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวว่า

เอโกทิภาว.

อนึ่ง ในฌานนี้ศรัทธามีกำลังได้โอกา เพราะไม่มีความพัวพัน

ด้วยวิตกและวิจาร. ศรัทธามีกำลังสมาธิก็ปรากฏ เพราะได้เพื่อนนั่น

เอง. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า บทนี้ ท่านจึงกล่าวไว้อย่างนี้.

บทว่า อวิตกก อวิจาร - ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร. ชื่อว่า อวิตกฺก

เพราะอรรถว่า วิตกไม่มีในฌานนี้หรือแก่ฌานนี้ เพราะละได้ด้วย

ภาวนา. ชื่อว่า อวิจาร ก็โดยนัยนี้เหมือนกัน.

ในบทนี้ พระสารีบุตรกล่าวว่า แม้ด้วยบทนี้ว่า วิตกฺกวิจาราน

วูปสมา - เพราะวิตกวิจารสงบ ก็สำเร็จความนี้แล้วมิใช่หรือ, เมื่อเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 508

เช่นนั้น เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวว่า อวิตกฺก อวิจาร อีกเล่า.

แก้ว่า เป็นอย่างนั้นแน่นอน. สำเร็จความนี้แล้ว, แต่บทนี้ยังไม่แสดง

ความข้อนั้น, เราได้กล่าวไว้แล้วมิใช่หรือว่าท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

อวิตกฺกวิจาราน วูปสมา เพื่อแสดงว่าการบรรลุทุติยฌานเป็นต้นอื่น

จากปฐมฌาน เพราะก้าวล่วงองค์หยาบ ๆ.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบ ฌานนี้จึงเป็นความผ่องใส

มิใช่ผ่องใสเพราะการสะสมของกิเลส, อนึ่ง มิใช่เพราะความปรากฏ

แห่งองค์ดุจปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น คำกล่าวนี้จึงแสดงถึงเหตุแห่ง

การเข้าทุติยฌานเป็นความผ่องใสเป็นธรรมเอกผุดขึ้นอย่างนี้.

อนึ่ง เพราะวิตกวิจาราสงบ ฌานนี้จึงไม่มีวิตกวิจาร, มิใช่

เพราะไม่มีดุจตติยฌานและจตุตถฌาน และจักขุวิญญาณเป็นต้น, เพราะ

เหตุนั้น คำกล่าวนี้จึงแสดงเหตุของความไม่มีวิตกวิจารอย่างนี้. มิใช่

แสดงเพียงความไม่มีวิตกวิจาร. แต่คำกล่าวนี้ว่า อวิตกฺก อวิจาร

แสดงเพียงความไม่มีวิตกวิจารเท่านั้น. เพราะฉะนั้น แม้กล่าวไว้ก่อน

แล้วก็ควรกล่าวอีกได้.

บทว่า สมาธิช - เกิดแต่สมาธิ อธิบายว่า ทุติยฌานเกิดแต่

สมาธิในปฐมฌานหรือแต่สมาธิที่ถึงพร้อมแล้ว. ในบทนั้นแม้ปฐมฌาน

เกิดแต่สมาธิที่ถึงพร้อมแล้วก็จริง ถึงดังนั้นสมาธินี้แลควรจะกล่าวว่า

สมาธิ ได้ เพราะไม่หวั่นไหวนัก และเพราะยังไม่ผ่องใสด้วยดีโดยที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 509

วิตกวิจารยังกำเริบ. เพราะฉะนั้น เพื่อพรรณนาถึงคุณของฌานนี้

ท่านจึงกล่าวว่า สมาธิช. บทว่า ปีติสุข นี้ มีนัยดังกล่าวแล้ว.

บทว่า ทุติย คือ ฌานที่สองตามลำดับของการนับ, ชื่อ ทุติย เพราะ

เกิดครั้งที่สองบ้าง.

บทว่า ปีติยา จ วิราคา - อนึง เพราะปีติสิ้นไป ความว่า

การเกลียดหรือการก้าวล่วงปีติมีประการดังกล่าวแล้ว ชื่อว่า วิราคะ,

ศัพท์ในระหว่างสองบทนั้นเป็น สัมปิณฑนัตถะ ลงในอรรถว่า

รวม. ศัพท์นั้นย่อมรวมความสงบ หรือวิตกวิจารสงบเข้าด้วยกัน.

เพราะปีติสิ้นไปในขณะที่รวมความสงบไว้ได้นั่งเอง, อย่างไรก็ดี โดย

เฉพาะอย่างยิ่ง พึงทราบการประกอบอย่างนี้ว่า วูปสมา จ ดังนี้.

อนึ่ง การสิ้นไปแห่งปีติที่ประกอบไว้นี้ มีความว่าน่าเกลียด,

เพราะฉะนั้น พึงเห็นความนี้ว่า เพราะน่าเกลียดและก้าวล่วงปีติ, เพราะ

ปีติสิ้นไปในขณะรวมความสงบแห่งวิตกวิจารไว้, อย่างไรก็ดี โดยเฉพาะ

อย่างยิ่งพึงทราบการประกอบอย่างนี้ว่า เพราะวิตกวิจารสงบดังนี้. การ

สิ้นปีติที่ประกอบไว้นี้ มีความว่าก้าวล่วง, เพราะฉะนั้น พึงเห็นความ

อย่างนี้ว่า เพราะปีติก้าวล่วงไป และเพราะวิตกวิจารสงบ.

วิตกวิจารเหล่านี้สงบแล้วในทุติยฌานก็จริง, แต่ถึงดังนั้น เพื่อ

แสดงมรรคและเพื่อพรรณนาคุณของฌานนี้ ท่านจึงกล่าวบทนี้ไว้.

จริงอยู่ เมื่อท่านกล่าวว่า วิตกฺกวิจาราน วูปสมา ฌานนี้ย่อมปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 510

ว่ามรรคของฌานนี้มีวิตกวิจารสงบโดยแน่นอน. อนึ่ง เหมือนอย่างว่า

ท่านกล่าวถึงการละไว้อย่างนี้ว่า ปญฺจนฺน โอรมฺภาคิยาน สโยชนาน

ปหานา - เพราะละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ดังนี้ เป็นการพรรณนาคุณ

ของกิเลสมีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แต่ไม่ละในอริยมรรคที่ ๓. เพื่อบรรลุ

ถึงฌานนั้น การพรรณนาคุณของฌานนั้น ย่อมให้เกิดอุตสาหะเพื่อ

ความขวนขวายต่อไปฉันใด, ท่านกล่าวถึงความสงบของวิตกวิจารแม้ยัง

ไม่สงบไว้ในบทนี้ ก็เป็นการพรรณนาคุณฉันนั้นเหมือนกัน. ด้วย

เหตุนั้นท่านจึงกล่าวความนี้ไว้ว่า ปีติยา จ สมติกฺกมา วิตกฺกวิกวจาร-

นญฺจ วูปสมา - ก้าวล่วงปีติและสงบวิตกวิจารดังนี้.

ในบทว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขานี้มีความ

ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า อุเปกฺขา เพราะอรรถว่า เห็นโดยบังเกิดขึ้น.

อธิบายว่า เห็นเสมอ คือ เป็นผู้ไม่ตกไปในพรรค เห็นอยู่. เป็นผู้มี

ความพร้อมในตติยฌาน เพราะประกอบด้วยอุเบกขานั้น อันบริสุทธิ์

ไพบูลย์ มีกำลัง ท่านจึงกล่าวว่า อุเปกฺขโก - เป็นผู้มีอุเบกขา.

อุเบกขา มี ๑๐ อย่าง คือ ฉฬังคุเบกขา ๑ พรหมวิหารุ-

เบกขา ๑ โพชฌังคุเบกขา ๑ วีริยุเบกขา ๑ สังขารุเบกขา เวท-

๑. ที. สี. ๙/๒๕๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 511

นุเบกขา ๑ วิปัสสนุเบกขา ๑ ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ๑ ฌานุเบกขา ๑

ปาริสุทธุเบกขา ๑.

ในอุเบกขาเหล่านั้น ฉฬังคุเบกขา คือ อุเบกขา อันเป็น

อาการของความไม่ละความเป็นปรกติอันบริสุทธิ์ ในคลองอารมณ์ ๖

ทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาในทวาร ๖ ของพระขีณาสพที่มา

อย่างนี้ว่า อิธ ภิกฺขเว ขีณาสโว ภิกฺขุ รูป ทิสฺวา เนว สุมโน

โหติ น ทุมฺมโน, อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต สมฺปชาโน-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพในศาสนานี้ เห็นรูปแล้วไม่ดีใจ ไม่

เสียใจ, เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ.

พรหมวิหารุเบกขา คือ อุเบกขาอันเป็นอากาของความเป็น

กลางในสัตว์ทั้งหลายที่มาแล้วอย่างนี้ว่า อุเปกฺขาสหคเตน เจตสา

เอก ทิส ผริตฺวา วิหรติ - ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปยัง

ทิศหนึ่งอยู่.

โพชฌังคุเบกขา คือ อุเบกขาอันเป็นอาการของความเป็น

กลางของธรรมอันเกิดร่วมกันที่มาแล้วอย่างนี้ว่า อุเปกฺขาสมฺโพชฺณงฺค

ภเวติ วิเวกนิสฺสิต - ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อาศัยวิเวก.

วิริยุเบกขา คือ อุเบกขาอันได้แก่ความเพียรไม่ย่อหย่อนด้วย

การปรารภถึงความไม่เที่ยงที่มาแล้วอย่างนี้ว่า กาเลน กาล อุเปกฺ-

๑. องฺ. ฉกฺก ๒๒/๒๗๒. ๒.ที.สี. ๙/๓๘๔. ๓.ม.ม. ๑๓/๓๓๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 512

ขานิมิตฺต มนสิกโรติ- ภิกษุใส่ใจถึงอุเบกขานิมิตตลอดกาล.

สังขารุเบกขา คือ อุเบกขาอันเป็นกลางในความไม่ยึดถือการ

ดำรงอยู่ในความพิจารณานิวรณ์เป็นต้นอันมาแล้วอย่างนี้ว่า กติ สงฺขา-

รุเปกฺขา สมถวเสน อุปฺปชฺชนฺติ, กติ สงฺขารุเปกฺขา วิปสฺ-

สนาวเสน อุปฺปชฺชนฺติ, อฏฺ สงฺขารุเปกฺขา สมถวเสน อุปฺ-

ปชฺชนฺติ, ทส สงฺขารุเปกฺขา วิปสฺสนาวเสน อุปฺปชฺชนฺติ-

สังขารุเบกขา ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมณะเท่าไรล สังขารุเบกขา ย่อม

เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนาเท่าไร, สังขารุเบกขา ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วย

อำนาจสมถะ. สังขารุเบกขา ๑๐ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา.

เวทนุเบกขา คือ อุเบกขาที่ไม่รู้ทุกข์ไม่รู้สุขอันมาแล้วอย่างนี้

ว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจร กุสล จิตฺต อุปฺปนฺน โหติ อุเปกฺขา-

สหคต- สมัยใด จิตเป็นกามาวจรกุศลสหรคตด้วยอุเบกขาเกิดขึ้น.

วิปัสสนุเบกขา คือ อุเบกขาที่เป็นกลางในการค้นคว้าอันมา

แล้วอย่างนี้ว่า ยทตฺถิ ย ภูต, ต ปชหติ, อุเปกฺข ปฏิลภติ- ภิกษุ

ย่อมละสิ่งที่มีที่เป็นย่อมได้อุเบกขา.

ตัตรมัชณัตตุเบกขา คือ อุเบกขาที่นำสหชาตธรรมไปเสมอ

อันมาในเยวาปนกธรรมมีฉันทะเป็นต้น.

๑. องฺ. ติก. ๒๐/๕๔๒. ๒. ขุ. ป. ๓๑/๑๓๓. ๓. อภิ. ส. ๓๔/๑๓๕

๔. ม. อุ. ๑๔/๙๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 513

ฌานุเบกขา คือ อุเบกขาอันยังธรรมที่ไม่ตกไปในฝักฝ่ายให้

เกิดในฌานนั้น แม้เป็นสุขอย่างเลิศอันมาแล้วอย่างนี้ว่า อุเปกฺขโก

จ วิหรติ - ภิกษุผู้มีอุเบกขาอยู่.

ปาริสุทธุเบกขา คือ อุเบกขาอันไม่ขวนขวายแม้ในความสงบ

จากธรรมเป็นข้าศึก บริสุทธิ์จากธรรมเป็นข้าศึกทั้งหมดอันมาแล้วอย่าง

นี้ว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถ ฌาน- ภิกษุเข้าจตุตถฌานมี

อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์.

ในอุเบกขาเหล่านั้น ฉฬังคุเบกขา พรหมวิหารุเบกขา โพช-

ฌังคุเบกขา ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ฌานุเบกขา และปาริสุทธุเบกขา

โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน, คือเป็น ตัตรมัชฌัตตุเบกขา. แต่

อุเบกขานั้นต่างกันโดยความต่างแห่งความไม่คงที่ ดุจความต่างของคน

แม้คนหนึ่งโดยเป็นกุมาร เป็นหนุ่ม เป็นเถระ เป็นเสนาบดี เป็น

พระราชาเป็นต้น, เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าในอุเบกขาเหล่านั้น ฉฬัง-

คุเบกขามีอยู่ในฌานใด, ในฌานนั้นไม่มีฉฬังคุเบกขาเป็นต้น, หรือ

ว่าในฌานใดมีโพชฌังคุเบกขา, ในฌาณนั้นไม่มีฉฬังคุเบกขาเป็นต้น.

ความเป็นอย่างเดียวกัน โดยอรรถของอุเบกขาเหล่านั้นฉันใด,

แม้ของสังขารุเบกขาและวิปัสสนุเบกขาก็ฉันนั้น. จริงอยู่อุเบกขานั้น

๑. ที.สี. ๙/๑๒๘. ๒. อภิ. ส. ๓๔/๑๔๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 514

คือ ปัญญานั่นเอง โดยกิจแยกออกเป็นสองอย่าง. เหมือนอย่างว่า

บุรุษเมื่อจะจับงูที่เลื้อยเข้าไปยังเรือน ในเวลาเย็นแสวงหาไม้ตีนแพะ

เห็นงูนั้นนอนอยู่ที่ห้องเล็ก จึงมองดูว่า งูหรือไม่ใช่งู, ครั้นเห็นเครื่อง

หมาย ๓ แฉกก็หมดสงสัย ความเป็นกลางในสืบเสาะดูว่างู, ไม่ใช่งู,

ย่อมเกิดขึ้นฉันใด, เมื่อภิกษุเจริญวิปัสสนาเห็นไตรลักษณ์ด้วยวิปัสสนา-

ญาณ ความเป็นกลางในการค้นหาไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น

ของสังขารย่อมเกิดขึ้น ฉันนั้น นี้ คือ วิปัสสนุเบกขา. อนึ่ง เมื่อ

บุรุษนั้นเอาไม้ตีนแพะจับงูจนมั่น คิดว่า ทำอย่างไร เราจะไม่ทำร้ายงูนี้

และจะไม่ให้งูนี้กัดตนพึงปล่อยไป แล้วหาวิธีที่จะปล่อยงูไป ในขณะจับ

นั้น ย่อมมีความเป็นกลางฉันใด, ความเป็นกลางในการยึดถือสังขาร

ของภิกษุผู้เห็นภพ ๓ ดุจเห็นไฟติดทั่วแล้ว เพราะเห็นไตรลักษณ์ก็

ฉันนั้น นี้ คือ สังขารุเบกขา. เมื่อวิปัสสนุเบกขาสำเร็จแล้ว แม้

สังขารุเบกขาก็เป็นอันสำเร็จแล้วด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ด้วยบทนี้อุเบกขานี้แบ่งเป็นสองส่วน โดยกิจกล่าวคือ

ความเป็นกลางในการพิจารณาและการจับ. ส่วนวิริยุเบกขาและเวทนุ-

เบกขา โดยอรรถยังต่างกันอยู่ คือ เป็นของต่างซึ่งกันและกัน และ

ยังต่างจากอุเบกขาที่เหลือ.

๑. กินฺตาห อิม สปฺป อวิเหเนฺโต...

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 515

อนึ่ง ในอธิการนี้พระสารีบุตรกล่าวว่า

อุเบกขา ๑๐ โดยพิสดาร คือ มัชฌัตตุเบกขา

พรหมวิหารุเบกขา โพชฌังคุเบกขา ฉฬังคุเบกขา

ฌานุเบกขา ปาริสุทธุเบกขา วิปัสสนุเบกขา

สังขารุเบกขา เวทนุเบกขา และวิริยุเบกขา, จาก

นั้นมีมัชฌัตตุเบกขาเป็นต้น ๖ จากปัญญุเบกขา

อย่างละ ๒ รวมเป็น ๔.

ในอุเบกขาเหล่านั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาฌานุเบกขา. ฌานุ-

เบกขานั้นมีลักษณะเป็นกลาง. ในอธิการนี้พระสารีบุตรกล่าวว่า อุเบก-

ขานี้โดยอรรถย่อมเป็นตัตรมัชฌัตตุเบกขามิใช่หรือ. อนึ่ง อุเบกขานั้น

อยู่แม้ในปฐมฌานและทุติยฌาน. เพราะเหตุนั้นแม้ในฌานนั้นก็ควร

กล่าวถึงอุเบกขาอย่างนี้ว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ, เพราะเหตุไรท่าน

จึงไม่กล่าวถึงอุเบกขานั้นเล่า ? เพราะความไม่เฉียบแหลมเป็นกิจ. กิจ

ในฌานเป็นของภิกษุนั้นชื่อว่า ความไม่เฉียบแหลม เพราะถูกวิตก

เป็นนั้น ครอบงำ, แต่ในอธิการนี้ อุเบกขานี้ มีความเฉียบแหลมเป็น

กิจ เพราะไม่ถูกวิตก วิจาร ปีติครอบงำ ดุจเงยศีรษะขึ้น, เพราะฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 516

บัดนี้พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า สโต จ สมฺปชาโน ดังต่อ

ไปนี้ ชื่อว่า สโต เพราะระลึกได้. ชื่อว่า สมฺปชาโน เพราะรู้พร้อม.

สติและสัมปชัญญะท่านกล่าวโดยบุคคล. ในบทนั้นสติมีความระลึกได้

เป็นลักษณะ. สัมปชัญญะมีความไม่หลงเป็นลักษณะ. สติสัมปชัญญะ

นี้มีอยู่ แม้ในปุริมฌานก็จริง ถึงดังนั้นผู้มีสติลุ่มหลง ไม่มีสัมปชัญญะ

สติสัมปชัญญะแม้เพียงอุปจารก็ยังไม่สมบูรณ์ จะพูดไปทำไมถึง อัปปนา.

เพราะสติสัมปชัญญะหยาบ คติแห่งจิตของบุรุษย่อมเป็นสุข ดุจในภูมิ

แห่งฌานเหล่านั้น, ความไม่เฉียบแหลม มีสติสติมปชัญญะในคตินั้น

เป็นกิจ.

ก็เพราะฌานนี้ละเอียดโดยละองค์อย่างหยาบเสีย พึงปรารถนา

คติแห่งจิตอย่างนี้ กำหนดสติสัมปชัญญะเป็นกิจ ดุจบุรุษปรารถนาคติ

ในคมมีดฉะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในที่นี้. อะไรเล่ายิ่งไป

กว่านั้นเหมือนลูกโคเข้าไปหาแม่โค ถูกนำออกไปจากแม่โค ไม่ได้รับ

การดูแล จึงเข้าไปหาแม่โคอีกฉันใด สุขในตติยฌานนี้ก็ฉันนั้น ถูก

นำออกจากปีติอันสติสัมปชัญญะไม่รักษา พึงเข้าไปหาปีติอีก, สุขใน

ตติยฌานพึงสัมปยุตด้วยปีตินั่นแล. สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีแม้ในความ

สุข, ความสุขนี้มีรสหวานชื่นยิ่งนัก เพราะไม่มีสุขยิ่งไปกว่านั้น. เพื่อ

แสดงความพิเศษของอรรถนี้ว่า ด้วยอานุภาพของสติสัมปชัญญะ ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 517

ไม่ยินดีย่อมมีในความสุขนี้ มิได้มีด้วยประการอื่น พึงทราบว่า ท่าน

จึงกล่าวบทว่า สโต จ สมฺปชาโน นี้ไว้ในที่นี้.

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า สุขญฺจ กาเยน ปฏิสเว-

เทติ - ภิกษุเสวยสุขด้วยนามกายดังต่อไปนี้ ภิกษุผู้มีความพร้อมด้วย

ตติยฌาน ย่อมไม่มีความผูกใจในการเสวยสุขโดยแท้, แม้เมื่อเป็นเช่น

นั้น เพราะสุขสัมปยุตด้วยนามกายของภิกษุนั้น, สุขสัมปยุตด้วยนาม-

กายเป็นของธรรมดา, เพราะรูปกายของภิกษุนั้นถูกรูปที่ประณีตยิ่ง

อันมีความสุขนั้นเป็นสมุฏฐานถูกต้องแล้ว, ภิกษุแม้ออกจากฌาน

เพราะรูปประณีตถูกต้องแล้วก็ยังพึงเสวยความสุขอยู่ได้, ฉะนั้น พระ-

สารีบุตรเมื่อจะแสดงความนี้จึงกล่าวว่า สุขญฺจ กาเยน ปฏิสเวเทติ

ดังนี้.

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า ยนฺต อริยา อาจิกฺขนฺติ

อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารี ดังต่อไปนี้ ภิกษุเข้าตติยฌานที่พระ-

อริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

ดังต่อไปนี้ พระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมบอก ย่อม

แสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมแจกแจง ย่อมทำให้

ง่าย ย่อมประกาศ, อธิบายว่า ย่อมสรรเสริญบุคคลผู้พร้อมด้วยตติย-

ฌานนั้น เพราะฌานเป็นเหตุเป็นปัจจัย. สรรเสริญว่าอย่างไร ? สรร-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 518

เสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข. ในบทนี้พึงทราบ

การประกอบอย่างนี้ว่า ภิกษุเข้าตติยฌานนั้นอยู่เป็นสุข ดังนี้.

ก็เพราะเหตุไรพระอริยเจ้าเหล่านั้น จึงสรรเสริญบุคคลนั้นอย่าง

นี้ ? เพราะเป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญ. ด้วยว่าบุคคลนี้แม้เมื่อความสุข

มีรสสดชื่นยิ่ง บรรลุบารมีอันเป็นความสุขแล้วก็ยังเป็นผู้มีอุเบกขาใน

ตติยฌาน, ไม่ถูกความข้องต่อความสุขในฌานนั้นฉุดคร่าไว้. ภิกษุชื่อว่า

มีสติ เพราะตั้งสติไว้มั่นโดยที่ปีติยังไม่เกิด.

อนึ่ง เพราะภิกษุเสวยสุขไม่เศร้าหมองที่อริยชนใคร่ และอริย-

ชนเสพด้วยนามกาย ฉะนั้น จึงเป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญ. เพราะ

ภิกษุเป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญ พระอริยเจ้าเหล่านั้นจึงประกาศบุคคล

นั้นในคุณอันเป็นเหตุควรแก่การสรรเสริญอย่างนี้ พึงทราบว่า ท่าน

สรรเสริญไว้อย่างนี้ว่า อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารี - เป็นผู้มีอุเบกขา

มีสติอยู่เป็นสุขดังนี้. บทว่า ตติย ชื่อว่า ตติยะ เพราะตามลำดับของ

การนับ. ชื่อว่า ตติยะ เพราะเกิดเป็นครั้งที่ ๓ บ้าง.

บทว่า สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา - เพราะ

ละสุขและละทุกข์ ได้แก่ เพราะละสุขทางกาย และทุกข์ทางกาย.

บทว่า ปุพฺเพว คือ เพราะละสุขและทุกข์นั้นก่อนๆ ได้, มิ

ใช่ละได้ในขณะจตุตถฌาน. บทว่า โสมนสฺสโทมนสฺสาน อตฺถงฺ-

คมา - เพราะดับโสมนัสและโทมนัสได้ คือ เพราะดับโสมนัสและโทม-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 519

นัสทั้งสองนี้ คือ สุขทางใจและทุกข์ทางใจก่อน ๆ ได้, เป็นอันท่าน

กล่าวว่า ปหานา - เพราะละอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ทั้งสองนั้นจะละได้เมื่อไร ? ละได้ในขณะอุปจารแห่งฌาน ๔

จริงอยู่ โสมนัสละได้ในขณะอุปจารแห่งฌานที่ ๔ เท่านั้น, ทุกข์

โทมนัส สุขละได้ในขณะอุปจารแห่งฌานที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓. เมื่อ

ท่านไม่กล่าวฌานเหล่านี้ตามลำดับแห่งการละอย่างนี้ แต่ในอินทริย-

วิภังค์ พึงทราบการละสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัสไว้ในที่นี้ตาม

ลำดับแห่งอุทเทสของอินทรีย์ทั้งหลาย.

ผิว่า สุข ทุกข์ โสมนัสและโทมนัสเหล่านี้ละได้ในขณะอุป-

จารแห่งฌานนั้น ๆ ไซร้, เมื่อเป็นเช่นนั้นเหตุไรท่านจึงกล่าว นิโรธ

นั้นไว้ในฌานอย่างนี้ว่า ก็ทุกขินทรีย์เกิดแล้วย่อมดับไม่มีเหลือใน

ที่ไหน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม

ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌานอยู่. ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป

ไม่มีเหลือในที่นี้. โทมนัสสินทรีย์ สุขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์

เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ เข้าถึง

จตุตถฌานอยู่. โสมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มี

๑. อภิ. วิ. ๓๕/๒๓๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 520

เหลือในที่นี้ เพราะดันวิเศษยิ่ง. จริงอยู่การดับอย่างวิเศษยิ่งของทุก-

ขินทรีย์เป็นต้น เหล่านั้นมีในปฐมฌานเป็นต้น, มิใช่นิโรธในอุปจาร

เท่านั้นดับ. นิโรธดับในขณะแห่งอุปจาร มิใช่ดับอย่างดียิ่ง. เป็น

ความจริงอย่างนั้น ทุกขินทรีย์แม้ดับไปในอุปจารแห่งปฐมฌานในการ

พิจารณาต่าง ๆ ก็พึงเกิดขึ้นได้ด้วยถูกเหลือบและยุงเป็นต้นกัด หรือ

ด้วยความลำบากที่มีอาสนะไม่เรียบ มิใช่ภายในอัปปนาเท่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ทุกขินรีย์เป็นต้นนี้ แม้ดับแล้วในอุปจาร, ก็เป็น

อันว่ายังดับไม่มีนัก เพราะยังกำจัดปฏิปักษ์ไม่ได้, แต่กายทั้งหมดหยั่ง

ลงสู่ความสุขด้วยการซ่านไปแห่งปีติในภายในอัปปนา, อนึ่ง ทุกขิน-

ทรีย์เป็นอันดับไปด้วยดี เพราะกายหยั่งลงสู่ความสุขกำจัดปฏิปักษ์เสีย

ได้.

อนึ่ง ทุกขินทรีย์นี้เมื่อยังมีความลำบากกายและจิตมุ่งร้าย แม้

มีวิตกวิจารเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้นแก่โทมนัสสินทรีย์ แม้ละได้แล้วใน

อุปจารแห่งทุติยฌาน ในการพิจารณาต่าง ๆ, ทุติยฌาน ย่อมเกิดขึ้น

เพราะไม่มีวิตกวิจารนั่นเอง. ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นในความมีวิตกวิจารใน

ฌานที่ทุกขินทรีย์เกิดขึ้น. ทุกขินทรีย์พึงเกิดขึ้นในฌานนั้น เพราะ

วิตกวิจารยังละไม่ได้ในอุปจารแห่งทุติยฌาน, ในทุติยฌานไม่ต้องพูดถึง

กันละเพราะมีปัจจัยอันละได้แล้ว.

๑. ส. มหา. ๑๙/๙๕๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 521

อนึ่ง แม้สุขินทรีย์ละได้แล้วในอุปจารแห่งตติยฌาน กายที่ถูก

รูปประณีตมีปีติเป็นสมุฏฐานก็พึงเกิดขึ้นได้, ในตติยฌานไม่ต้องพูดถึง

กันละ. เพราะในตติยฌานปีติเป็นปัจจัยแห่งความสุขเป็นอันดับไปโดย

ประการทั้งปวง. เพราะโสมนัสสินทรีย์แม้ละได้ในอุปจารแห่วจตุตถ-

ฌานก็ใกล้เข้าไปแล้วเช่นกัน เพราะไม่มีอุเบกขาที่ถึงขั้นอัปปนา และ

เพราะไม่ก้าวล่วงไปโดยชอบ ปีติก็จะพึงเกิดขึ้นได้. ในจตุตถฌานไม่ต้อง

พูดถึงกันละ. เพราะฉะนั้นจึงถือเอาโดยไม่เหลือในบทนั้น ๆ ว่า เอตฺ-

ถุปฺปนฺน ทุกฺขินฺทฺริย อปริเสส นิรุชฺฌติ - ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว

ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ในบทนี้พระเถระกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นเวทนาแม้ละได้แล้ว

ในอุปจารแห่งฌานนั้น ๆ อย่างนี้ เหตุใดจึงนำมารวมไว้ในที่นี้อีก ? เพื่อ

ถือเอาสุขเวทนา. จริงอย่างนั้นอทุกขมสุขเวทนาที่ท่านกล่าวไว้ในบทนี้

ว่า อทุกฺขมสุข เป็นเวทนาที่ละเอียดอ่อนรู้ได้ยาก. คือ ไม่สามารถ

ถือเอาได้ง่ายนัก, เพราะฉะนั้น จึงนำเวทนาทั้งหมดมารวมกันเพื่อถือ

เอาความสุขเหมือนคนเลี้ยงโคนำโคทั้งหมดมารวมกันในคอกเดียว เพื่อ

จะจับโคดุ ซึ่งไม่มีใครสามารถจะเข้าไปจับใกล้ ๆ ได้ เพราะมันเป็นโคดุ,

ครั้นแล้วจึงนำออกทีละตัว สั่งให้จับตัวที่มาถึงตามลำดับว่านี้โคตัวนั้นจับ

มันดังนี้. ครั้นแสดงเวทนาเหล่านี้ที่นำมารวมไว้อย่างนี้แล้วว่า สิ่งใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 522

ไม่ใช่สุข, ไม่ใช่ทุกข์, ไม่ใช่โสมนัส, ไม่ใช่โทมนัส สิ่งนี้เป็นอทุกขม-

สุขเวทนาดังนี้แล้วจึงสามารถกำหนดถือเอาเวทนานี้ได้.

อีกอย่างหนึ่งพึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงเวทนาเหล่านี้ก็เพื่อแสดง

เหตุของเจโตวิมุตติด้วยอทุกขมสุขเวทนา. เพราะว่าการละสุขเวทนาและ

ทุกขเวทนาเป็นต้น เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น. ดังที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส ปัจจัย ๔ แล เพื่อความถึงพร้อมเจโต-

วิมุตติ อันเป็นอทุกขมสุขเวทนา, ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรม-

วินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ ฯลฯ เข้าถึงจตุตถฌานอยู่, ดูก่อน

อาวุโส ปัจจัย ๔ เหล่านี้แล เพื่อความถึงพร้อมแห่งเจโตวิมุตติ

อันเป็นอทุกขมสุขเวทนา.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวถึงสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้ละได้แล้ว

ในที่อื่นก็เป็นอันละได้ในที่นั้น เพื่อพรรณนาคุณของอนาคามิมรรค

ฉันใด, พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงเวทนาเหล่านั้นไว้ในที่นี้ ก็เพื่อ

พรรณนาคุณของฌานนี้ฉันนั้น. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่าในที่นี้ท่าน

กล่าวถึงเวทนาเหล่านั้น เพื่อแสดงถึงความที่ราคะโทสะยังไกลนักด้วย

การทำลายเหตุ. จริงอยู่ในเวทนาเหล่านั้น สุขเวทนาเป็นปัจจัยแห่ง

โสมนัส, โสมนัสเป็นปัจจัยแห่งราคะ, ทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแห่งโทม-

๑. ม.ม. ๑๒/๕๐๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 523

นัส, โทมนัสเป็นปัจจัยแห่งโทสะ. อนึ่ง ราคะโทสะพร้อมด้วยเหตุถูก

ทำลายเสียแล้วด้วยการทำลายสุขเวทนาเป็นต้น เพราะเหตุนั้น เวทนา

เหล่านั้นจึงอยู่ในที่ไกลนัก.

บทว่า อทุกขมสุข ชื่อว่า อทุกฺข เพราะไม่มีทุกข์. ชื่อว่า

อสุข เพราะไม่มีสุข. ด้วยบทนี้ท่านแสดงเวทนาที่ ๓ อันเป็นปฏิปักษ์

ต่อทุกข์และสุขไว้ในที่นี้. ไม่แสดงเพียงความไม่มีทุกข์และสุข. อทุกขม-

สุขเวทนา ชื่อว่าเวทนาที่ ๓, ท่านกล่าวว่าอุเบกขาบ้าง. อุเบกขาเวทนา

นั้นมีลักษณะเสวยอารมณ์ตรงกันข้ามกับอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์.

บทว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทธึ คือ ความบริสุทธิ์ของสติเกิดด้วย

อุเบกขา. เพราะสติบริสุทธิ์ด้วยมีในฌานนี้, ความบริสุทธิ์แห่งสตินั้น

บำเพ็ญด้วยอุเบกขา, มิใช่ด้วยอย่างอื่น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าว

บทนี้ว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ. พึงทราบว่า ความบริสุทธิ์แห่งสติ

ด้วยอุเบกขาในที่นี้โดยอรรถ ได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตา. อนึ่ง ในที่นี้

มิใช่สติบริสุทธิ์ด้วยอุเบกขาอย่างเดียวเท่านั้น, สัมปยุตธรรมแม้ทั้งหมด

ก็บริสุทธิ์ด้วย แต่ท่านกล่าวเทศนาด้วยหัวข้อของสติ.

ในเวทนาเหล่านั้น อุเบกขาเวทนานี้มีอยู่ในฌาน ๓ เบื้องต่ำก็

จริง ก็ดวงจันทร์คือตัตรมัชฌัตตุเบกขาแม้นี้ ครอบงำด้วยเดชแห่งธรรม

อันเป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้น ไม่ได้ราตรี คือ อุเบกขาเวทนาอันเป็นสภาค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 524

กันแม้มีอยู่ ก็เป็นอันไม่บริสุทธิ์ในประเภทมีปฐมฌานเป็นต้น เหมือน

ดวงจันทร์ครอบงำแสงอาทิตย์ในกลางวัน ไม่ได้ราตรีอันเป็นสภาคกัน

โดยความเป็นดวงจันทร์หรือโดยความเป็นอุปการะของตน แม้มีอยู่ใน

กลางวันมีไม่บริสุทธิ์ไม่ผ่องใสฉะนั้น.

อนึ่ง เมื่อดวงจันทร์ คือ ตัตรมัชฌัตตุเบกขานั้นไม่บริสุทธิ์

สติเป็นต้น แม้เป็นสหชาตปัจจัยก็เป็นอันไม่บริสุทธิ์ด้วย ดุจรัศมีของ

ดวงจันทร์ที่ไม่บริสุทธิ์ในกลางวันฉะนั้น. เพราะฉะนั้น ในเวทนา

เหล่านั้นท่านไม่กล่าวถึงเวทนาแม้อย่างหนึ่งว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธิ.

แต่ในที่นี้ดวงจันทร์ คือ ตัตรมัชฌัตตุเบกขานี้ไม่มีการครอบงำด้วย

ธรรมเดชอันเป็นข้าศึกแก่วิตกเป็นต้น และได้ราตรี คือ อุเบกขาเวทนา

อันเป็นสภาคกัน จึงเป็นอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง, เพราะดวงจันทร์ คือ

ตัตรมัชฌัตตุเบกขานั้นบริสุทธิ์ สติเป็นต้น แม้เป็นสหชาตธรรมก็เป็น

อันบริสุทธิ์ผ่องใส ดุจรัศมีของดวงจันทร์บริสุทธิ์ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น

พึงทราบว่า ท่านกล่าวบทนี้ไว้อย่างนี้ว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ ดังนี้.

บทว่า จตุตฺถ ชื่อว่า จตุตถะ เพราะตามลำดับของการนับ, ชื่อว่า

จตุตถะ เพราะเกิดเป็นครั้งที่ ๔ บ้าง.

ฌาน ๔ เหล่านี้ต่างกันในส่วนเบื้องต้นบ้าง, ในขณะแห่งมรรค

บ้าง. ในส่วนเบื้องต้นต่างกันด้วยสมาบัติ, ในขณะแห่งมรรคต่างกัน

ด้วยมรรค. จริงอยู่ ปฐมมรรคแห่งฌานหนึ่งมีอยู่ในปฐมฌาน, แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 525

ทุติยมรรคเป็นต้น ก็มีอยู่ในปฐมฌาน หรือยู่ในฌานอย่างใดอย่าง

หนึ่ง ในทุติยฌานเป็นต้น. ปฐมมรรคแห่งฌานหนึ่งมีอยู่ในฌานอย่าง

ใดอย่างหนึ่ง ในทุติยฌานเป็นต้น, แม้ทุติยมรรคเป็นต้น ก็มีอยู่ใน

ฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในทุติยฌานเป็นต้น หรือมีอยู่ในปฐมฌาน

มรรคแม้ ๔ อย่างเหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้าง เหมือน

กันบางส่วนบ้าง ด้วยอำนาจของฌาน ด้วยประการฉะนี้. ความวิเศษ

แห่งมรรคนั้นย่อมมีโดยกำหนดฌานเป็นบาท.

จริงอยู่ เมื่อผู้ได้ปฐมฌานออกจากปฐมฌานแล้วเห็นแจ้งมรรค

ที่เกิดแล้ว ย่อมมีในปฐมฌาน, อนึ่ง โพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค

เป็นอันบริบูรณ์แล้วในปฐมฌานนี้. เมื่อผู้ได้ทุติยฌานออกจากทุติย-

ฌานแล้วเห็นแจ้งมรรคที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีในทุติยฌาน, องค์แห่ง

มรรคในทุติยฌานนี้มี ๗ อย่าง. ผู้ได้ตติยฌานออกจากตติยฌานแล้ว

เห็นแจ้งมรรคที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีในตติยฌาน. องค์แห่งมรรคใน

ตติยฌานนี้มี ๗ อย่าง โพชฌงค์มี ๖ อย่าง. นัยนี้ย่อมได้ตั้งแต่

จตุตถฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน. จตุกฌานและปัญจกฌาน

ย่อมเกิดในความไม่มีรูป. อนึ่ง จตุกฌานและปัญจกฌานนั้นแล เป็น

โลกุตระ ท่านกล่าวว่าไม่เป็น โลกิยะ. ในฌานนี้ท่านกล่าวไว้อย่างไร ?

ภิกษุใดออกจากฌานมีปฐมฌานเป็นต้นในฌานนี้แล้ว ได้โสดาปัตติ

มรรคแล้วเจริญอรูปสมาบัติเกิดแล้วในความไม่มีรูป, มรรค ๓ ในฌาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 526

นั้น ย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้นผู้ได้ฌานนั้น. เธอย่อมกำหนดฌานเป็นบาท

เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนพระเถระบางรูปกล่าวว่า ขันธ์อันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา

ย่อมกำหนด. บางรูปกล่าวว่า อัธยาศัยของบุคคล ย่อมกำหนด บาง

รูปกล่าวว่า วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี ย่อมกำหนด.

ในบทนั้นมีกถาตามลำดับอย่างนี้ มรรคที่เกิดขึ้นแก่พระสุกข-

วิปัสสกโดยกำหนดวิปัสสนาบ้าง, มรรคที่ไม่ทำฌานให้เป็นบาทเกิดขึ้น

แก่ผู้ได้สมาบัติบ้าง, มรรคที่ภิกษุทำปฐมฌานให้เป็นบาทแล้วพิจารณา

สังขารเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เกิดขึ้นบ้าง, ย่อมมีอยู่ในปฐมฌานทั้งนั้น ใน

มรรคทั้งหมด ได้แก่ โพชฌงค์ ๗ องค์มรรค ๘ องค์ฌาน ๕.

วิปัสสนาอันเป็นส่วนเนื่องต้นของมรรคเหล่านั้น สหรคตด้วยโสมนัส

บ้าง สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง ถึงความเป็นสังขารุเบกขาในเวลาออก

เป็นอันสหรคตด้วยโสมนัสทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในปัญจกนัยดังต่อไปนี้ ฌานมีองค์ ๔ มีองค์ ๓

และมีองค์ ๒ ย่อมมีตามลำดับในมรรคที่ภิกษุทำทุติยฌานตติยฌานและ

จตุตถฌานให้เป็นบาทแล้วให้เกิดขึ้น. ในฌานทั้งหมดองค์มรรคมี ๗

ในฌานที่ ๔ โพชฌงค์มี ๖. ความวิเศษนี้ย่อมมิได้ด้วยการกำหนด

ฌานเป็นบาท และด้วยการกำหนดวิปัสสนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 527

จริงอยู่ วิปัสสนาเป็นส่วนเบื้องต้นของฌานเหล่านั้น เป็นอัน

สหรคตด้วยโสมนัสบ้าง สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง, วุฏฐานคามินี สหร-

คตด้วยโสมนัสเท่านั้น. องค์ฌาน ๒ ด้วยสามารถแห่งอุเบกขาและความ

มีจิตมีอารมณ์เดียว ในมรรคที่ทำปฐมฌานให้เป็นบาทแล้วเกิดขึ้น, องค์

แห่งโพชฌงค์ ๖ และ ๗. ความวิเศษแม้นี้ย่อมมีด้วยสามารถความนิยม

ทั้งสอง.

จริงอยู่ ในนัยนี้วิปัสสนาในส่วนเบื้องต้น สหรคตด้วยโสมนัส

หรือสหรคตด้วยอุเบกขา. วุฏฐานคามินี สหรคตด้วยอุเบกขาเท่านั้น.

นี้ในมรรคที่ภิกษุทำอรูปฌานให้เป็นบาทแล้วให้เกิดขึ้น ก็พึงทราบนัย

นี้เหมือนกัน. ส่วนในจตุกนัยนี้พึงนำวิตกวิจารออกไป แล้วประกอบ

ส่วนที่เหลือ เพราะทุติยฌานไม่มีวิตกวิจาร. สมาบัติที่ภิกษุอยู่ในที่ที่

ใกล้มรรค ซึ่งภิกษุออกจากฌานเป็นบาทอย่างนี้แล้วพิจารณาสังขาร

อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วทำให้เกิดขึ้น ย่อมทำสมาบัติเช่นกับตน เช่นเดียว

กับเหี้ยทำสีให้เหมือนสีพื้นดินฉะนั้น.

ในวาทะของพระเถระรูปที่ ๒ มีอยู่ว่ามรรคย่อมเป็นเช่นกับสมา-

บัติที่ภิกษุออกแล้วพิจารณาถึงธรรมในสมาบัติเกิดขึ้น. แม้ในวาทะของ

พระเถระนั้นพึงทราบวิปัสสนานิยม โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ในวาทะของพระเถระรูปที่ ๓ มีว่ามรรคเป็นเช่นกับฌานที่ทำ

ให้เป็นบาท ตามสมควรแก่อัธยาศัยของตนแล้ว พิจารณาธรรมในฌาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 528

เกิดขึ้น. ฌานนั้นเว้นฌานเป็นบาท หรือฌานที่พิจารณาแล้ว ย่อม

ไม่สำเร็จโดยเพียงอัธยาศัยเท่านั้น. อนึ่ง แม้ในวาทะของพระเถระ

ก็พึงทราบวิปัสสนานิยม โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า อย วุจฺจติ สมฺมาสมาธิ - นี้ท่านกล่าวว่าสัมมาสมาธิ

ความว่า ความที่จิตมีอารมณ์เดียวในฌาน ๔ เหล่านี้ ในส่วนเบื้องต้น

เป็นโลกิยะ, ในส่วนเบื้องปลายเป็นโลกุตระ ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า

สัมมาสมาธิ. พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรแสดงมรรคสัจด้วยโลกิยะ

และโลกุตระด้วยประการฉะนี้.

องค์มรรคทั้งหมดในโลกิยมรรคนั้น เป็นอารมณ์อย่างใดอย่าง

หนึ่ง ในอารมณ์ ๖ ตามสมควร. ส่วนในโลกุตรมรรค สัมมาทิฏฐิ

อันเป็นปัญญาจักษุถอนอวิชชานุสัย มีนิพพานเป็นอารมณ์ของความ

เป็นอริยะ เป็นไปแล้วด้วยการแทงตลอดอริยะสัจ ๔,

อนึ่ง สัมมาสังกัปปะ คือการยกขึ้นสู่บทแห่งนิพพานทางใจ

ถอนมิจฉาสังกัปปะ ๓ อย่าง สัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐินั้น ของผู้มี่ทิฏฐิถึง

พร้อมแล้ว,

สัมมาวาจา เว้นมิจฉาวาจา ถอนวจีทุจริต ๔ อย่าง สัมปยุต

ด้วยสัมมาสังกัปปะนั้นของผู้เห็นและตรึกอย่างนั้น

สัมมากัมมันตะ เว้นมิจฉากัมมันตะตัดมิจฉากัมมันตะ ๓ อย่าง

สัมปยุตด้วยสัมมาวาจานั้นของผู้เว้นอย่างนั้น,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 529

สัมมาอาชีวะคือเว้นจากมิจฉาอาชีวะตัดความหลอกลวงเป็นต้น

สัมปยุตด้วยสัมมากัมมันตะนั้น เป็นความผ่องแผ้วของวาจากัมมันตะ

เหล่านั้นของบุคคลนั้น.

สัมมาวายามะ ปรารภความเพียร ตัดความเกียจคร้าน สัมปยุต

ด้วยสัมมากัมมันตะนั้น สมควรแก่สัมมากัมมันตะนั้น ของบุคคลผู้ตั้งอยู่

ในศีลภูมิ กล่าวคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ

และให้สำเร็จโดยไม่ให้อกุศลเกิดขึ้น ละอกุศลที่เกิดขึ้น ทำกุศลที่ยัง

ไม่เกิดให้เกิดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ในกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว,

สัมมาสติ ความที่จิตไม่ลุ่มหลง กำจัดมิจฉาสติสัมปยุตด้วย

สัมมาวายามะนั้นของผู้พยายามอยู่อย่างนี้ และให้สำเร็จการพิจารณากาย

ในกายเป็นต้น,

สัมมาสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวกำจัดมิจฉาสมาธิสัมปยุต

ด้วยสัมมาสตินั้นของผู้ที่คุ้มครองจิต ตั้งจิตไว้ดีด้วยสติอย่างยอดเยี่ยม.

นี้ คือ อัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ เป็นโลกุตระ.

มรรคที่เป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นั้น พร้อมด้วยโลกิย-

มรรค ได้แก่ วิชชา และ จรณะ เพราะสงเคราะห์สัมมาทิฏฐิและ

สัมมาสังกัปปะด้วย วิชชา สงเคราะห์ธรรมที่เหลือด้วย จรณะ. อนึ่ง.

ได้แก่ สมถะและวิปัสสนา เพราะสงเคราะห์ธรรมทั้งสองอย่างนั้นด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 530

วิปัสสนายาน สงเคราะห์ธรรมนอกนั้นด้วยสมถยาน. ได้แก่ขันธ์ ๓

และสิกขา ๓ เพราะสงเคราะห์ธรรมทั้งสองนั้นด้วยปัญญาขันธ์ สง-

เคราะห์ธรรม ๓ อย่างในลำดับธรรมนั้นด้วยสีลขันธ์ สงเคราะห์ธรรม

๓ อย่างที่เหลือด้วยสมาธิขันธ์ และสงเคราะห์ด้วยอธิปัญญาสิกขา อธิ-

สีลสิกขา และอธิจิตตสิกขา.

พระอริยสาวกประกอบด้วยมรรค เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ

จรณะ ดุจคนเดินทางไกลประกอบด้วยตาสามารถเห็นได้ และด้วย

เท้าสามารถเดินไปได้ เว้นที่สุด ๒ อย่าง คือ เว้น กามสุขัลลิกานุโยค

ด้วยวิปัสสนายาน เว้น อัตกิลมถานุโยค ด้วยสมถยาน ปฏิบัติ

มัชฌิมาปฏิปทา ทำลายกองโมหะด้วยปัญญาขันข์... กองโทสะด้วย

สีลขันธ์...กองโลภะด้วยสมาธิขันธ์ ถึงสมบัติ ๓ คือ ปัญญาสัมปทาด้วย

อธิปัญญาสิกขา, สีลสัมปทาด้วยอธิสีลสิกขา, สมาธิสัมปทาด้วยอธิ-

จิตตสิกขา แล้วบรรลุนิพพานอันเป็นอมตะ. ภิกษุหยั่งลงสู่อริยภูมิ

กล่าวคือ สัมมัตตนิยาม อันวิจิตรด้วยธรรมรัตนะ คือ โพธิ-

ปักขิยธรรม ๓๗ งามในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถามรรคสัจนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 531

อรรถกถาสัจปกิณกะ

ก็ในสัจจะ ๔ เหล่านั้น ทุกขสัจจะ มีลักษณะเบียดเบียน.

สมุทยสัจจะ มีลักษณะเป็นแดนเกิด, นิโรธสัจจะ มีลักษณะสงบ,

มรรคสัจจะ มีลักษณะนำออก, อีกอย่างหนึ่ง อริยสัจมีปวัตติ- การ

เป็นไป มีปวัตตกะ-ผู้ให้เป็นไป มีนิวัตติ-การไม่เป็นไป และมี

นิวัตตกะ-เหตุไม่เป็นไป เป็นลักษณะโดยลำดับ และมีสังขตะคือทุกข์

มีตัณหา คือเหตุให้เกิดทุกข์ มีอสังขตะ คือนิพพาน และมีทัศนะ คือ

มรรคเป็นลักษณะเหมือนกัน

หากมีคำถามว่า ก็เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวอริยสัจ ๔ ไม่หย่อน

ไม่ยิ่ง. เพราะไม่มีอย่างอื่น และเพราะไม่ควรทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

ออกไป. เพราะว่าสิ่งอื่น หรือยิ่งไปกว่านี้ หรืออริยสัจเหล่านั้นจะพึง

นำออกแม้อย่างเดียว ไม่มี.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์

พึงมาในที่นี้ กล่าวว่า ข้อที่พระสมณโคดมแสดง

ไม่ใช่ทุกขอริยสัจ ทุกขอริยสัจเป็นอย่างอื่นนั้น,

เราจักบัญญัติทุกขอริยสัจอย่างอื่น เว้นทุกขอริย-

สัจ ๔ ดังนี้ ข้อนั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 532

ตรัสไว้อีกว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้อที่พระ

สมณโคดมแสดงว่านี้มิใช่ทุกข์ อันเป็นอริยสัจ

ข้อที่ ๑, เราจักบัญญัติทุกข์อื่นอันเป็นอริยสัจ

ข้อที่ ๑ โดยบอกปัดทุกข์นี้อันเป็นอริยสัจข้อที่ ๑.

เสียดังนี้ ข้อนั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ดังนี้เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงบอกปวัตติ-ความ

เป็นไป จึงทรงบอกพร้อมด้วยเหตุ, และบอกนิวัตติ คือพระนิพพาน

พร้อมด้วยอุบาย คือมรรค. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

อริยสัจ ๔ โดยเป็นธรรมอย่างยิ่งไปกว่านั้นแห่งเหตุทั้ง ๒ ประการ คือ

ของปวัตติ- ความเป็นไปและนิวัตติ - การกลับไป.

อนึ่ง ท่านกล่าวถึงอริยสัจ ๔ ด้วยสามารถแห่งตัณหาวัตถุ ตัณหา

ตัณหานิโรธ และอุบายดับตัณหา, และความอาลัย ยินดีในความอาลัย

ถอนความอาลัย และอุบายในการถอนความอาลัย, อันควรกำหนดรู้

ควรละ ควรทำให้แจ้ง และควรทำให้เกิด.

อนึ่ง ในอริยสัจนี้ท่านกล่าว ทุกขสัจ เป็นข้อที่ ๑ เพราะ

ทุกขสัจ รู้ได้ง่าย เพราะเป็นของหยาบ และเพราะเป็นของทั่วไปแก่

๑. ส. มหา. ๑๙/๑๑๙๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 533

สัตว์ทั้งปวง. เพื่อแสวงถึงเหตุแห่งทุกขสัจนั้น ท่านจึงกล่าว สมุทยสัจ

ในลำดับต่อไป, เพื่อไห้รู้ว่าการดับผลได้ เพราะดับเหตุ จึงกล่าว

นิโรธสัจ ต่อจากนั้น, เพื่อแสดงอุบายให้บรรลุ นิโรธสัจ นั้น จึง

กล่าว มรรคสัจ ในที่สุด . อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวถึง ทุกขสัจ ก่อน

เพื่อให้เกิดความสังเวชแก่สัตว์ทั้งหลายผู้ถูกมัดด้วยความพอใจ ความ

สุขในภพ ทุกข์นั้นบุคคลไม่ทำแล้วย่อมไม่มาถึง, ย่อมไม่มีโดยไม่ถือตัว

ว่าเป็นใหญ่เป็นต้น, แต่ย่อมมีได้ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้รู้ดังนี้ท่านจึงกล่าว

สมุทยสัจ ในลำดับจากทุกขสัจนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งใจ.

ด้วยการเห็นอุบายสลัดออกของผู้แสวงหาอุบายสลัดออกจากทุกข์ มี

ความสลดใจ เพราะถูกทุกข์พร้อมด้วยเกตุครอบงำ ท่านจึงกล่าว

นิโรธสัจ ต่อจากนั้น, จากนั้นเพื่อบรรลุนิโรธท่านจึงกล่าว มรรค

อันให้ถึงนิโรธ นี้เป็นลำดับของอริยสัจเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ในอริยสัจเหล่านี้ควรเห็น ทุกขสัจ ดุจเป็นภาระ, ควร

เห็น สมุทยสัจ ดุจแบกภาระ, ควรเห็น นิโรธสัจ ดุจการวางภาระ,

ควรเห็น มรรคสัจ ดุจอุบายวางภาระ.

อีกอย่างหนึ่ง ควรเห็น ทุกขสัจ ดุจโรค, ควรเห็น สมุทย-

สัจ ดุจเหตุของโรค, ควรเห็น นิโรธสัจ ดุจโรคสงบ, ควรเห็น

มรรคสัจ ดุจเภสัช. อีกอย่างหนึ่ง ควรเห็น ทุกขสัจ ดุจข้าวยาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 534

หมากแพง, ควรเห็น สมุทยสัจ ดุจฝนแล้ง, ควรเห็น นิโรธสัจ

ดุจข้าวปลาหาง่าย, ควรเห็น มรรคสัจ ดุจฝนตกต้องตามฤดูกาล.

อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบอริยสัจเหล่านี้แล้ว พึงทราบโดย

เปรียบเทียบด้วยคนมีเวร เหตุของเวร การถอนเวร อุบายการถอนเวร,

ด้วยต้นไม้มีพิษ รากต้นไม้ การทำลายราก และอุบายทำลายรากนั้น,

ด้วยภัย เหตุของภัย ความไม่มีภัยและอุบายบรรลุถึงความไม่มีภัยนั้น,

ด้วยฝั่งใน ห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งนอก และความพยายามให้ถึงฝั่งนอกนั้นด้วย

ประการฉะนี้.

อนึ่ง พึงทราบสัจจะเหล่านี้ทั้งหมดโดยปรมัตถ์ว่า สูญ เพราะ

ไม่มีผู้เสวย ผู้ทำ ผู้ดับ และผู้ไป. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ทุกฺขเมว หิ น โกจิ ทุกฺขิโต

การโก น กิริยาว วิชฺชติ,

อตฺถิ นิพพุติ น นิพพุโต ปุมา

มคฺคมตฺถิ คมโก น วิชฺชติ.

ความจริงทุกข์เท่านั้นมีอยู่ แต่ไม่มีใครๆถึง

ทุกข์ กิริยาคือการทำมีอยู่ แต่ผู้ทำไม่มี, ความดับ

มีอยู่ แต่คนดับไม่มี ทางมีอยู่ แต่ผู้เดินไม่มี.

อึกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 535

ธุวสุภสุขตฺตสุญฺ ปุริมทฺวยมตฺตสุญฺมมต ปท

ธุวสุตฺตวิรหิโต มคฺโค อิติ สุญฺตา เตสุ.

ความว่างในสัจจะ ๔ เหล่านั้น พึงทราบ

อย่างนี้ว่า สัจจะ ๒ บทแรกคือทุกข์สมุทัย ว่าง

จากความเที่ยง ความงาม ความสุข และอัตตา

อมตบท คือพระนิพพาน ว่างจากอัตตา มรรค

ว่างจากความยั่งยืน ความสุข และอัตตา ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง สัจจะ ๓ อย่างสูญจากนิโรธ, และนิโรธก็สูญ

จากสัจจะ ๓ อย่างที่เหลือ. อีกอย่างหนึ่ง ในสัจจะ ๔ เหล่านี้ เหตุสูญ

จากผล เพราะไม่มีทุกข์ในสมุทัย, และไม่มีนิโรธในมรรค, เหตุไม่

ร่วมครรภ์กับผล ดุจปกติของลัทธิทั้งหลาย มีปกติวาทีเป็นต้น อนึ่ง

ผลก็สูญจากเหตุ เพราะทุกข์สมุทัย และนิโรธมรรคไม่ได้เสมอกัน,

ผลนั้นมิได้เป็นอย่างเดียวกับเหตุ แต่เป็นเหตุเป็นผล ดุจสองอณูของ

ลัทธิทั้งหลายมีสมวายวาทีเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ตยมิธ นิโรธสุญฺ ตเยน เตนาปิ นิพฺพุตี สุญฺา

สุญฺโ ผเลน เหตุ ผลมฺปิ ตเหตุนา สุ.

ในที่นี้สัจจะ ๓ อย่าง สูญจากนิโรธ นิโรธ

ก็สูญจากสัจจะ ๓ อย่างแม้นั้น สัจจะที่เป็นเหตุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 536

สูญจากสัจจะที่เป็นผล แม้สัจจะที่เป็นผล ก็สูญ

จากสัจจะที่เป็นเหตุนั้น ดังนี้.

สัจจะทั้งหมดเป็นสภาคะของกันและกัน โดยความจริงแท้ โดย

สูญจากตัวตน และโดยแทงตลอดสิ่งที่ทำได้ยาก ดังที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่า

ดูก่อนอานนท์ เธอย่อมสำคัญความข้อนั้น

เป็นอย่างไร, อย่างไหนจะทำได้ยากกว่ากันหรือ

จะให้เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน คือการที่ยิงลูกศรให้

เข้าไปติดๆ กันทางช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ใกล้ได้

ไม่ผิดพลาด กับการที่บุคคลแทงปลายขนทราย

ด้วยปลายขนทรายที่แบ่งออกแล้วเป็น ๗ ส่วน.

พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

การแทงปลายขนทราย ด้วยปลายขนทรายที่แบ่ง

ออกแล้วเป็น ๗ ส่วน กระทำได้ยากกว่า และ

ให้เกิดได้ยากว่า พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์

ชนเหล่าใด ย่อมแทงตลอดตามความเป็นจริงว่านี้

๑.สี. ม. เป็นสตธา ร้อยส่วน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 537

ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชนเหล่านั้น

ย่อมแทงตลอดได้ยากกว่าโดยแท้ ดังนี้.

สัจจะทั้งหลายเป็นวิสภาคะกันเพราะกำหนดด้วยลักษณะของ

ตน. สัจจะสองข้างต้นเป็นสภาคะกัน ด้วยอรรถว่าเรียนรู้ยากเพราะลึกซึ้ง

เพราะเป็นโลกิยะ และเพราะมีอาสวะ, เป็นวิสภาคะกัน เพราะต่างเป็น

เหตุผลกัน และเพราะควรกำหนดรู้และควรละ. แม้สองข้อหลังก็เป็น

สภาคะกันด้วยความเป็นธรรมลึกซึ้ง เพราะเรียนรู้ได้ยาก เพราะเป็น

โลกุตระ และเพราะไม่มีอาสวะ, เป็นวิสภาคะกัน เพราะต่างก็เป็นใหญ่

ในวิสัย และเพราะควรทำให้แจ้ง ควรทำให้เกิด. แม้ข้อที่ ๑ และ

ข้อที่ ๓ ก็เป็นสภาคะกันโดยอ้างถึงผล, เป็นสภาคะกันโดยเป็นสังขตะ

และอสังขตะ. แม้ข้อที่ ๒ และข้อที่๔ ก็เป็นวิสภาคะกันโดยอ้างถึงเหตุ

เป็นวิสภาคะกันโดยเป็นกุศลและอกุศลส่วนเดียว สัจจะที่ ๑ และที่ ๔

เป็นสภาคะกัน เป็นสังขตธรรมด้วยกัน, เป็นวิสภาคะกันโดยเป็นโลกิยะ

และโลกุตร ธรรมข้อที่ ๒ และข้อที่ ๓ ก็เป็นสภาคะกันโดยความเป็น

เสกขะก็ไม่ใช่ อเสกขะก็ไม่ใช่, เป็นวิสภาคะกันโดยมีอารมณ์ และ

ไม่มีอารมณ์. ท่านกล่าวไว้ว่า

อิติ เอว ปกาเรหิ นเยหิ จ วิจกฺขโณ

วิชญฺา อริยสจฺจาน สภาคติสภาคต

๑. ส มหา. ๑๙/๑๗๓๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 538

บัณฑิตผู้เห็นแจ้งโดยประการ และโดยนัย

อย่างนี้ พึงรู้แจ้งความที่อริยสัจทั้งหลายเป็นสภาคะ

คือมีส่วนเสมอกัน และวิสภาคะ คือมีส่วนไม่เสมอ

กันด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ในอริยสัจนี้ ทุกข์ทั้งหมด เป็นอย่างเดียวกันโดยความ

เป็นไป, เป็น ๒ อย่าง โดยนามและรูป, เป็น ๓ อย่าง โดยประเภท

แห่งภพที่เกิด คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ, เป็น ๔ อย่าง โดย

ประเภทของอาหาร ๔, เป็น ๕ อย่าง โดยประเภทของอุปทานขันธ์ ๕

แม้สมุทัย ก็เป็นอย่างเดียวโดยให้วัฏฏะเป็นไป เป็น ๒ อย่าง

โดยสัมปยุตและไม่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ, เป็น ๓ อย่าง โดยประเภทแห่ง

กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา, เป็น ๔ อย่าง โดยเป็นธรรม

อันมรรค ๔ พึงละ, เป็น ๕ อย่าง โดยประเภทการยินดียิ่งในรูปเป็น

ต้น, เป็น ๖ อย่าง โดยประเภทแห่งหมู่ตัณหา ๖.

แม้นิโรธ ก็เป็นอย่างเดียวกันโดยความเป็นอสังขตธาตุ, แต่

โดยปริยายมี ๒ อย่าง โดยเป็นสอุปาทิเสสะ แลละอนุปาทิเสสะ, เป็น

๓ อย่าง โดยเข้าไปสงบภพทั้ง ๓, เป็น ๔ อย่าง โดยควรบรรลุมรรค

๔, เป็น ๕ อย่าง โดยเข้าไปสงบความยินดียิ่ง ๕, เป็น ๖ อย่าง โดย

ประเภทแห่งความสิ้นหมู่ตัณหา ๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 539

แม้มรรค ก็เป็นอย่างเดียวโดยควรทำให้เกิด, เป็น ๒ อย่าง

โดยประเภทแห่งสมถะและวิปัสสนา, หรือโดยประเภทแห่งทัศนะและ

ภาวนา, เป็น ๓ อย่าง โดยประเภทแห่งขันธ์ ๓. จริงอยู่มรรคนี้

เพราะเป็นสัปปเทสธรรม จึงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ ( สีลขันธ์ สมาธิ-

ขันธ์ ปัญญาขันธ์) ที่เป็นนิปปเทสธรรม ดุจเมืองสงเคราะห์รวมเข้า

ด้วยราชอาณาจักร ฉะนั้น ดังที่ท่านกล่าวว่า

ดูก่อนอาวุโสวิสาขะ ขันธ์ ๓ ไม่สงเคราะห์

เข้าด้วยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นอริยะ. ดูก่อนอาวุโส

วิสาขะ มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นอริยะ สงเคราะห์

เข้าด้วยขันธ์ ๓. ดูก่อนอาวุโสวิสาขา ธรรมเหล่านี้

คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต และสัมมาอาชีโว

สงเคราะห์เข้าในศีลขันธ์. ธรรมเหล่านี้ คือ สัม-

มาวายาโม สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ สงเคราะห์

เข้าในสมาธิขันธ์. ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ

สัมมาสังกัปปะ สงเคราะห์เข้าในปัญญาขันธ์. มรรค

๔ อย่าง สงเคราะห์ด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง สัจจะทั้งหมดเป็นอย่างเดียวกัน เพราะความเป็น

สิ่งจริงแท้, หรือ เพราะความเป็นสิ่งควรรู้ยิ่ง. เป็น ๒ อย่าง โดย

เป็นโลกิยะและโลกุตระ หรือโดยเป็นสังขตะและอสังขตะ. เป็น ๓

๑. ม. มุ ๑๒/๕๐๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 540

อย่าง โดยเป็นสิ่งควรละ โดยเป็นสิ่งไม่ควรละ และโดยเป็นสิ่งควรละ

ก็หามิได้ เป็นสิ่งไม่ควรละก็หามิได้ จาทัศนะและภาวนา. เป็น ๔

อย่าง โดยเป็นสิ่งควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้แจ้ง และควรทำ

ให้เกิด. ท่านกล่าวว่า

เอว อริยสจฺน ทุพฺโพธาน พุโธ วิธึ

อเนกเภทโต ชญฺา หิตาย จ สุขาย จ.

พระพุทธเจ้าทรงรู้วิธีของอริยสัจอย่างนี้ ที่รู้

ได้ยาก โดยประเภทไม่น้อย เพื่อประโยชน์และ

เพื่อความสุข ดังนี้.

จบ อรรถกถาสัจปกิณกะ

บัดนี้ พระธรรมเสนาบดีชี้แจงสัจจตุกนัยในที่สุดตามลำดับที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วนั้นแล แล้วแสดงสรุปสุตมยญาณด้วย

สัจจตุกนัยมีอาทิว่า ต าตฏฺเน าณ-ชื่อว่าญาณว่าด้วยอรรถว่ารู้

ธรรมนั้น, ครั้นแล้วพระธรรมเสนาบดีแสดงสรุปอริยสัจทั้งหมดที่ท่าน

กล่าวไว้ในครั้งก่อนว่า โสตาวทาเน ปญฺา สุตมเยาณ-ปัญญา

ในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว ชื่อว่า สุตมยาณ ด้วยประการ-

ฉะนี้.

จบ อรรถกถาสุตมยญาณนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 541

สีลมยญาณนิทเทส

[๘๖] ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสำรวมไว้ ชื่อว่าสีลมยญาณ

อย่างไร ?

ศีล ๕ ประเภท คือ ปริยันตปาริสุทธิศีล-ศีลคือความบริสุทธิ์

มีส่วนสุด ๑. อปริยันตปาริสุทธิศีล-ศีลคือความบริสุทธิ์ไม่มีส่วนสุด

ปริปุณณปาริสุทธิศีล-ศีลคือความบริสุทธิ์เต็มรอบ ๑. อปรามัฏฐปาริ-

สุทธิศีล-ศีลคือความบริสุทธิ์อันทิฏฐิไม่จับต้อง ๑. ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิ

ศีล-ศีลคือความบริสุทธิ์โดยระงับ ๑.

ในศีล ๕ ประการนี้ ปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นไฉน ปริยันต-

ปาริสุทธิศีลนี้ ของอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทมีที่สุด.

อปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นไฉน อปริยันตปาริสุทธิศีลนี้ ของ

อุปสัมบันผู้มีสิกขาบทไม่มีที่สุด.

ปริปุณณปาริสุทธิศีลเป็นไฉน ปริปุณณปาริสุทธิศีลนี้ ของ

กัลยาณปุถุชนผู้ประกอบในกุศลธรรม ผู้กระทำให้บริบูรณ์ในธรรมอัน

เป็นที่สุดของพระอเสขะ ผู้ไม่อาลัยในร่างกายและชีวิต ผู้สละชีวิต

แล้ว

อปรามัฏฐปาริสุทธิศีลเป็นไฉน อปรามัฏฐปาริสุทธิศีลนี้ ของ

พระเสขะ ๗ จำพวก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 542

ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีลเป็นไฉน ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีลนี้ ของ

พระขีณาสพสาวกพระตถาคตเจ้า ของพระปัจเจกพุทธเจ้า และของ

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

[๗๘] ศีลมีที่สุดก็มี ศีลไม่มีที่สุดก็มี ในศีล ๒ อย่างนั้น

ศีลมีที่สุดนั้นเป็นไฉน ศีลมีที่สุดเพราะลาภก็มี ศีลมีที่สุดเพราะยศก็มี

ศีลมีที่สุดเพราะญาติก็มี ศีลมีที่สุดเพราะอวัยวะก็มี ศีลมีที่สุดเพราะ

ชีวิตก็มี.

ศีลมีที่สุดเพราะลาภนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อม

ล่วงสิกขาบทตามที่ตนสมาทานไว้เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่ง

ลาภ เพราะการณ์แห่งลาภ ศีลนี้เป็นลาภปริยันตศีล.

ศีลมีที่สุดเพราะยศเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ...เพราะ

เหตุแห่งยศ... ศีลนี้เป็นยสปริยันตศีล.

ศีลมีที่สุดเพราะญาตินั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้...

เพราะเหตุแห่งญาติ.. .ศีลนี้เป็นญาติปริยันตศีล.

ศีลมีที่สุดเพราะอวัยวะนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้...

เพราะเหตุแห่งอวัยวะ . ..ศีลนี้เป็นอังคปริยันตศีล.

ศีลมีที่สุดเพราะชีวิตนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม

ล่วงสิกขาบทตามที่ตนสมาทานไว้เพราะเหตุแห่งชีวิต เพราะปัจจัยแห่ง

ชีวิต เพราะการณ์แห่งชีวิต ศีลนี้เป็นชีวิตปริยันตศีล ศีลเห็นปานนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 543

เป็นศีลขาด เป็นศีลทะลุ ด่าง พร้อย ไม่เป็นไทย วิญญูชนไม่

สรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิจับต้องแล้ว ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นที่

ตั้งแห่งความเดือดร้อน ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง

ปีติ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความระงับ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสุข ไม่เป็นที่ตั้ง

แห่งสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัศนะ ไม่เป็นไปเพื่อความ

เบื่อหน่าย เพื่อความคายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ

เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ศีลนี้

เป็นปริยันตศีล.

[๘๘] ศีลไม่มีที่สุดนั้นเป็นไฉน ศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภก็มี

ศีลไม่มีที่สุดเพราะยศก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะญาติก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะ

อวัยวะก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิตก็มี.

ศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้

ความคิดก็ไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อจะล่วงสิกขาบทตามที่ตนสมาทานไว้ เพราะ

เหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณ์แห่งลาภ อย่างไร

เขาจักล่วงสิกขาบทเล่า ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภ.

ศีลไม่มีที่สุดเพราะยศนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้...

เพราะเหตุแห่งยศ . . . ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะยศ.

ศีลไม่มีที่สุดเพราะญาตินั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ...

เพราะเหตุแห่งญาติ. . .ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะญาติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 544

ศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะนั้นเป็นไฉนบุคคลบางคนในโลกนี้ ...

เพราะเหตุแห่งอวัยวะ... ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะ.

ศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิตนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้

ความคิดก็ไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อล่วงสิกขาบท ตามที่ตนสมาทานไว้ เพราะ

เหตุแห่งชีวิต เพราะปัจจัยแห่งชีวิต เพราะการณ์แห่งชีวิต อย่างไร

เขาจักล่วงสิกขาบทเล่า ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิต ศีลเห็นปานนี้

เป็นศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย วิญญูชนสรรเสริญ

อันตัณหาและทิฏฐิไม่จับต้อง เป็นไปเพื่อสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ

เดือดร้อน เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ เป็นที่ตั้งแห่งปีติ เป็นที่ตั้ง

แห่งความระงับ เป็นที่ตั้งแห่งความสุข เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ เป็นที่ตั้ง

แห่งยถาภูตญาณทัศนะ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ

คลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ

ความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ศีลนี้เป็นอปริยันตศีล.

[๘๙]อะไรเป็นศีล ศีลมีเท่าไร ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน

ศีลเป็นที่ประชุมแห่งธรรมอะไร?

อะไรเป็นศีล ? เจตนาเป็นศีล เจตสิกเป็นศีล ความ

สำรวมเป็นศีล ความไม่ล่วงเป็นศีล.

ศีลมีเท่าไร ? ศีลมี ๓ คือ กุศลศีล อกุศลศีล อัพยากตศีล.

ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน ? กุศลศีลมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 545

อกุศลศีลมีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อัพยากตศีลมีอัพยากตจิตเป็นสมุฏ-

ฐาน.

ศีลเป็นที่ประชุมแห่งธรรมอะไร ศีลเป็นที่ประชุมแห่ง

สังวร เป็นที่ประชุมแห่งการไม่ก้าวล่วง เป็นที่ประชุมแห่งเจตนาอันเกิด

ในความเป็นอย่างนั้น ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วง

ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา

ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่าศีล

เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงกามฉันทะ ด้วยเนกขัมมะ . . .

ความพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ... ถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา . ..

อุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ...วิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม... อวิชชา

ด้วยญาณ ... อรติด้วยความปราโมทย์ ... นิวรณ์ด้วยปฐมฌาน .. . วิตก

วิจารด้วยทุติยฌาน ...ปีติด้วยตติยฌาน ... สุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน...

รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ...

อากาสานัญจายตนสสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ...วิญญาณัญ-

จายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ... อากิญจัญญายตนสัญญา

ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ...นิจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนา...

สุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสนา... อัตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสนา... นันทิ

ด้วยนิพพิทานุปัสนา...ราคะด้วยวิราคานุปัสนา...สมุทัยด้วยนิโรธา-

นุปัสนา...อาทานด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา... ฆนสัญญาด้วยขยา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 546

นุปัสนา ... อายุหนะด้วยวยานุปัสนา... ธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสนา

...นิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสนา...ปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสนา...อภินิเวส

ด้วยสุญญตานุปัสนา...สาราทานาภินิเวสด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสนา...

สัมโมหาภินิเวสด้วยถาภูตญาณทัศนะ... อาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัส-

นา...อัปปฏิสังขาด้วยปฏิสังขานุปัสนา... สังโยคาภินิเวศด้วยวิวัฏฏนานุ-

ปัสนา...กิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค...กิเลส

หยาบ ๆ ด้วยสกทาคามิมรรค กิเลสละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ชื่อว่าศีล

เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค.

[ ๙๐ ]ศีล ๕ คือ การละปาณาติบาตเป็นศีล เวรมณี การ

งดเว้นเป็นศีล เจตนาเป็นศีล สังวรเป็นศีล การไม่ล่วงเป็นศีล ศีล

เห็นปานนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อนแห่งจิต เพื่อความปรา-

โมทย์ เพื่อปีติ เพื่อปัสสัทธิ เพื่อโสมนัส เพื่อการเสพโดยเอื้อเฟื้อ

เพื่อความเจริญ เพื่อทำให้มาก เพื่อเป็นเครื่องประดับ เพื่อเป็นบริขาร

เพื่อเป็นบริวาร เพื่อความบริบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย

เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง

เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว.

บรรดาศีลเห็นปานนี้ สังวรปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยความ

สำรวมเป็นอธิศีล จิตตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม ย่อมไม่ถึง

ความฟุ้งซ่าน อวิกเขปปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์คือความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 547

เป็นอธิจิต พระโยคาวจรย่อมเห็นสังวรปาริสุทธิโดยชอบ ย่อมเห็น

อวิกเขปปาริสุทธิโดยชอบ ทัสนปาริสุทธิความบริสุทธิ์แห่งทัสนะ. เป็น

อธิปัญญา.

ในความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและทัสนะนั้น ความสำรวม

เป็นอธิศีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นอธิจิตสิกขา ความเห็นแจ้ง เป็น

อธิปัญญาสิกขา พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าย่อมศึกษา

เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิฏฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วย

ศรัทธา เมื่อประคองความเพียรไว้ เมื่อตั้งสติมั่น เมื่อตั้งจิตไว้ เมื่อ

รู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควร

กำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำ

ให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมศึกษา ทุกอย่าง.

[๙๑]ศีล ๕ คือ การละปาณาติบาต อทินนาทาน กาเม-

สุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา

พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ การละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ การละความ

พยาบาทด้วยความไม่พยาบาท การละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา การ

ละอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน การละวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม

การละอวิชชาด้วยญาณ การละอรติด้วยความปราโมทย์ การละนิวรณ์

ด้วยปฐมฌาน การละวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน การละปีติด้วยตติยฌาน

การละสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน การละรูปสัญญา, ปฏิฆสัญญา, นา-

นัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ การละอากาสานัญยายตน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 548

สัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ การละวิญญาณัญจายตนสัญญา

ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ การละอากิญจัญจญยตนสัญญาด้วยเนว-

สัญญานาสัญญายตนสมาบัติ การละนิจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนา การ

ละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสนา การละอัตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสนา

การละนันทิด้วยนิพพิทานุปัสนา การละราคะด้วยวิราคานุปัสนา การ

ละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสนา การละอาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา

การละฆนสัญญาด้วยขยานุปัสนา การละอายุหนะด้วยวยานุปัสนา การ

ละธุวสัญญาด้วยวิปริณาตานุปัสนา การละนิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสนา

การละปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสนา การละอภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสนา

การละสาราทานาภินิเวสด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา การละสัมโมหา

ภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสนะ การละอาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสนา

การละอัปปฏิสังขาดัวยปฏิสังขานุปัสสนา การละสังโยคาภินิเวสด้วย

วิวัฏฏนานุปัสนา การละกิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค

การละกิเลสที่หยาบ ๆ ด้วยสกทาคามิมรรค การละกิเลสที่ละเอียดด้วย

อนาคามิมรรค การละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค การละนั้น ๆ เป็น

ศีล เวรมณีเป็นศีล . . .เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่า

ย่อมศึกษา.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว

สำรวมไว้เป็นสีลมยญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 549

๒ อรรถกถาสีลมยญาณนิทเทส

๘๖]พึงทราบวินิจฉัยในสีลมยญาณนิทเทสดังต่อไปนี้. บทว่า

ปญฺจ คือการกำหนดจำนวน. บทว่า สีลานิ เป็นการแสดงธรรมที่

กำหนดไว้. บทมีอาทิว่า ปริยนฺตปาริสทฺธิสีล - ศีลคือความบริสุทธิ์มี

ส่วนสุด ได้แก่ แสดงศีล ๕ โดยสรุป.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ปริยนฺตปาริสุทฺธิ ดังต่อไปนี้

ความบริสุทธิ์ชื่อว่า ปริยันตะ เพราะความบริสุทธิ์มีส่วนสุด คือมี

กำหนดด้วยการนับเหมือนผ้า เพราะย้อมด้วยสีเขียว จึงเรียกว่า นีล

เพราะมีสีเขียว, อีกอย่างหนึ่ง เมื่อศีลสมบูรณ์แล้ว ความบริสุทธิ์

ชื่อว่า ปริยันตะ เพราะมีที่สุดคืออวสาน เพราะผู้มีศีลยังไม่สมบูรณ์

ปรากฏอวสานแล้ว.

อีกอย่างหนึ่งควรกล่าวว่า สปริยนฺตา พึงทราบว่าท่านลบ

อักษรเสีย ดุจลบ อุ อักษรในบทนี้ว่า ทก ทกาสยา ปวิสนฺติ๑-

กระแสน้ำย่อมไหลไปสู่แม่น้ำ. ความบริสุทธิ์ชื่อว่า ปาริสุทธิ, ความ

บริสุทธิ์นั้นมีส่วน จึงชื่อว่า ปรยันตปาริสุทธิ, ศีล คือ ปริยันต-

ปาริสุทธิ ชื่อ ปริยันตปาริสุทธิศีล.

๑. ส. ขนฺธ. ๑๗/๑๕๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 550

โดยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว ความบริสุทธิ์ไม่มีส่วนสุด ชื่อว่า

อปริยันตะ, ชื่อว่า อปริยันตะ เพราะส่วนสุดของความบริสุทธิ์นั้น

ไม่มีบ้าง, ส่วนสุดของความบริสุทธิ์นั้นเจริญแล้วบ้าง.

ชื่อว่า ปริปุณฺณา - เต็มรอบ ด้วยอรรถว่าไม่หย่อนเป็นปทัฏฐาน

แห่งอริยมรรค เพราะไม่ขาดจำเดิมแต่สมาทาน เพราะแม้ขาดก็ทำคืนได้

และเพราะเว้นจากมลทินแม้เพียงจิตตุปบาท. และเพราะบริสุทธิ์ดุจแก้ว

มณีอันบริสุทธิ์ และดุจทองคำที่ขัดเป็นอย่างดี ฉะนั้น.

ชื่อว่า อปรามัฏฐะ เพราะไว้ด้วยทิฏฐิ เพราะทิฏฐิไม่จับต้อง,

อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า อปรามัฏฐะ เพราะโจทก์ไม่สามารถจะกล่าวหา

ได้ว่า นี้เป็นโทษในเพราะศีลของท่าน ชื่อว่า ปฏิปปัสสัทธิ เพราะ

สงบความกระวนกระวายทั้งปวง ในขณะอรหัตผล.

บทว่า อนุปฺปสมฺปนฺนาน. ชื่อว่า อุปสัมปันนา เพราะถึง

พร้อมแล้วเป็นอันมากด้วยศีลสัมปทา โดยที่สมาทานไม่มีส่วนเหลือ.

ไม่ใช่อุปสัมบัน จึงชื่อว่า อนุปสัมบัน. ของอนุปสัมบันเหล่านั้น. ใน

บทว่า ปริยนฺตสิกฺขาปทาน - ผู้มีสิกขาบทมีที่สุดนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้

ชื่อว่า สิกฺขา ด้วยอรรถว่าควรศึกษา. ชื่อว่า ปทานิ ด้วยอรรถว่า

ส่วน, อธิบายว่า ส่วนที่ควรศึกษา. อีกอย่างหนึ่ง กุศลธรรมทั้งหมด

ชื่อว่า สิกฺขา เพราะควรปฏิบัติให้ยิ่งด้วยการตั้งอยู่ในศีล, ศีลทั้งหลาย

ชื่อว่า ปทานิ ด้วยอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งสิกขาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 551

จึงชื่อว่า สิกขาบท เพราะเป็นส่วนแห่งสิกขาทั้งหลาย, ชื่อว่า

ปริยันตสิกขาบท เพราะสิกขาบทมีที่สุด. แห่งอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบท

มีที่สุดเหล่านั้น.

อนึ่ง ในบทนี้ ที่สุดมี ๒ อย่า คือ สิกขาบทมีที่สุด ๑ กาล

มีที่สุด ๑.

สิกขาบทมีที่สุดเป็นอย่างไร ? อุบาสกอุบาสิกามีสิกขาบท ๑,

๒, ๓, ๔, ๕, ๘, หรือ ๑๐ ตามที่สมาทาน, สิกขมานา สามเณร

สามเณรี มีสิกขาบท ๑๐ นี้ชื่อว่า สิกฺขาปทปริยนฺโต - มีสิกขาบท

กาลมีที่สุดเป็นอย่างไร ? อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายให้ทาน ย่อม

สมาทานศีลมีการจัดอาหารเลี้ยงดูกันเป็นที่สุด, ไปวิหารแล้ว ย่อม

สมาทานศีล มีวิหารเป็นที่สุด, กำหนดคืนวัน ๑ หรือ ๒ หรือ ๓

หรือยิ่งกว่านั้นแล้วสมาทานศีล นี้ ชื่อว่า มีกาลเป็นที่สุด.

ในที่สุด ๒ อย่างนี้ ศีลที่สมาทานแล้วทำสิกขาบทให้มีที่สุด

ด้วยการก้าวล่วงกาลหรือด้วยความตายย่อมสงบ, ศีลที่สมาทานแล้วทำ

กาลมีที่สุด ด้วยการก้าวล่วงกาลนั้นย่อมสงบ.

บทว่า อปริยนฺตสิกฺขาปทาน - สิกขาบทไม่มีที่สุด ท่านกล่าวว่า

นว โกฏิสหสฺสานิ อสีติ สตโกฏิโย

ปญฺญาส สตสหสฺสานิ ฉตฺตึส จ ปุนาปเร,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 552

เอเต สวรวินยา สมฺพุทฺเธน ปกาสิตา

เปยฺยาลมุเขน นิทฺทิทิฏฺา สิกฺขา วินยสวเร.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศสังวร-

วินัยเหล่านี้ไว้ เก้าพันแปดร้อยโกฏิและห้าล้าน

สามสิบหกโกฏิ กับอื่น ๆ อีก ทรงชี้แจงสิกขา

ในสังวรวินัยด้วยหัวข้อไปยาล.

ชื่อว่า อปริยนฺตานิ - ไม่มีที่สุด เพราะสิกขาบทเหล่านั้นไม่มี

ที่สุด ด้วยการสมาทานสิกขาบทแม้มีที่สุดไม่มีเหลือด้วยการคำนวณ

อย่างนี้ ด้วยความมีที่สุดที่ยังไม่เห็นเพราะเหตุลาภ ยศ ญาติ อวัยวะ

และชีวิต และด้วยความไม่มีกำหนดศีลที่ควรรักษาต่อไปข้างหน้า, ชื่อว่า

อปริยนฺตสิกฺขาปทา - สิกขาบทไม่มีที่สุด เพราะอนุปสัมบันมีสิกขาบท

ไม่มีที่สุด แห่งอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทไม่มีที่สุดเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง

อธิบายว่า วุทฺธปริยนฺตสิกฺขาปทาน - แห่งอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทมี

ที่สุดเจริญแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ปุถุชฺชนกลฺยาณกาน ดังต่อ

ไปนี้ ท่านกล่าวว่า

ปุถน ชนนาทีหิ การเณหิ ปุถุชฺชโน

ปุถุชฺชนนฺโตคธตฺตา ปุถุวาย ชโนอิติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 553

ชื่อว่า ปุถุชน ด้วยเหตุมีกิเลสหนาเกิดขึ้น

เป็นต้น, เพราะกิเลสหนาหยั่งลงภายในของปุถุชน

ฉะนั้น ชนนี้จึงเป็นผู้มีกิเลสหนา.

แม้ในการก้าวลงสู่ฌานอันเป็นลักษณะของปุถุชนดังกล่าวแล้ว ท่านก็

กล่าวว่า

ทุเว ปุถุชฺชน วุตฺตา พทฺเธนฺทิจฺจพนฺธุนา

อนฺโธ ปุถุชฺชโน เอโก กลฺยาเณโก ปุถุชฺชโน.

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์

ตรัสถึงปุถุชนไว้ ๒ ประเภท คือ อันธปุถุชน - ปุถุ-

ชนคนโง่เขลา และกัลยาณปุถุชน - ปุถุชนคนดี.

ในปุถุชนสองประเภทดังกล่าวแล้ว ท่านอธิบายไว้ว่า ศีลของ

กัลยาณปุถุชน ผู้เป็นปุถุขนมีกัลยาณธรรมตั้งอยู่ในความเป็นกัลยาณ

ปุถุชน ล่วงเลยความเป็นอันธปุถุชนด้วยการประพฤติกัลยาณรรรม

อีกอย่างหนึ่ง ผู้มีกัลยาณธรรมในหมู่ปุถุชน ชื่อว่า ปุถุชฺชนกลฺยาณ

กาน.

กุสล ศัพท์ในบทนี้ว่า กุสลธมฺเม ยุตฺตาน ย่อมปรากฏใน

ความไม่มีโรค ความไม่มีโทษ ความฉลาด และผลของความสุข. กุสล

ศัพท์ ปรากฏในความไม่มีโรค ในบทมีอาทิว่า กจฺจิ นุ โภโคภุสล,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 554

กจฺจิ โภโต อนามย - ท่านผู้เจริญสบายดีหรือ, มีอนามัยดีหรือ.

ปรากฏในความไม่มีโทษ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า กตโม ปน ภนฺเต

กายสมาจาโร กุสโล, โย โข มหาราช กายสมาจาโร อนวชฺโช-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญกายสมาจาร เป็นกุศล เป็นไฉน ? มหาราช กายสมาจาร

ที่ไม่มีโทษ เป็นกายสมาจารเป็นกุศล และในบทมีอาทิว่า ปุน จปร

ภนฺเต เอตทานุตฺตริย ยถา ภควา ธมฺม เทเสติ กุสเลสุ

ธมฺเมสุ- ข้าแต่ท่านผู้เจริญยังมีข้ออื่นอีก ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงธรรมในกุศลธรรมทั้งหลาย นั้นเป็นธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

ปรากฏในความฉลาด ในบทมีอาทิว่า กุสโล ตฺว รถสฺส องฺคปจฺจงฺ-

คาน- ท่านเป็นผู้ฉลาดในส่วนใหญ่น้อยของรถ, และหญิงคล่องแคล่ว

มีกุศล คือ ความฉลาดการฟ้อนรำขับร้องที่ศึกษาแล้ว. ปรากฏในวิบาก

ของความสุขในประโยคมีอาทิว่า กุสลาน ภิกฺขเว ธมฺมาน สมาทาน

เหตุ. กุสลสฺส กมฺมสฺส กตตฺตา อุปจิตตฺตา - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะกุศลธรรมที่ท่านทำแล้ว สะสมแล้ว เพราะเหตุสมาทานกุศล

กรรม. กุสล ศัพท์ ในที่นี้สมควร ในความไม่มีโรคบ้าง ในความ

ไม่มีโทษบ้าง ในวิบากของสุขบ้าง.

๑.ขุ. ชา. ๒๗/๒๑๓๓. ๒.ม. ม. ๑๓/๕๕๔. ๓.ที. ปา. ๑๑/๗๕.

๔. ม. ม. ๑๓/๙๕. ๕. ขุ. ชา. ๒๘/๔๓๖. ๖. ที. ปา. ๑๑/๓๓.

๗. อภิ. สงฺ. ๓๔/๓๓๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 555

ส่วนอธิบายคำใน กุสล ศัพท์ มีดังต่อไปนี้ กุจฺฉิเต ปาปเก

ธมฺเม สลยนฺติ จลยนฺติ กมฺเปนฺติ วิทฺธเสนฺตีติ กุสลา - ชื่อว่า

กุศล เพราะอรรถว่าทำลาย ทำให้ไหว ทำให้หวั่นไหว กำจัดธรรม

อันลามกน่าเกลียด.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กุสา เพราะอรรถว่าย่อมอยู่ คือ ย่อม

เป็นไปโดยอาการอันน่าเกลียด, ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่าทำลาย

คือ ตัดอาการน่าเกลียดเหล่านั้น, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กุสะ เพราะ

ทำให้เบาบาง โดยทำให้สิ้นสุดซึ่งอาการน่าเกลียดทั้งหลาย ได้แก่ ญาณ.

ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่าควรทำลาย ควรถือเอา ควรให้เป็นไป

ด้วยกุสญาณนั้น, อีกอย่างหนึ่งเหมือนอย่างว่า หญ้าคาย่อมบาดมือที่ถึง

ส่วนทั้งสอง ฉันใด, แม้กุศลธรรมเหล่านี้ก็ย่อมตัดฝ่ายเศร้าหมองที่ถึง

ส่วนทั้งสอง โดยความที่เกิดแล้วและยังไม่เกิด ฉันนั้น, เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ย่อมตัดดุจหญ้าคา ฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กุศล ด้วยอรรถว่าไม่มีโรค ด้วยอรรถ

ว่าไม่มีโทษ หรือด้วยอรรถว่าเกิดเพราะความเป็นผู้ฉลาด แต่ในที่นี้

เพราะท่านประสงค์เอาวิปัสสนากุศลเท่านั้น, ฉะนั้น เพื่อละธรรมที่

เหลือ แล้วแสดงวิปัสสนากุศลเท่านั้น พึงทราบว่า ท่านจึงทำเป็น

เอกวจนะในบทว่า กุสลธมฺเม-ในกุศลธรรม. อธิบายว่า ประกอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 556

แล้วในกุศลธรรมคือวิปัสสนา เพราะทำติดต่อกัน และเพราะทำด้วย

ความเคารพ.

ในบทนี้ว่า เสกฺขปริยนฺเต ปริปูรการีน - ผู้กระทำให้บริบูรณ์

ในธรรมอันเป็นที่สุดของพระเสกขะ มีความดังต่อไปนี้, ชื่อว่า เสกฺขา

เพราะเกิดในสิกขา ๓ บ้าง, เพราะธรรมเหล่านี้ของพระเสกขะ ๗ จำพวก

บ้าง, เพราะพระเสกขะทั้งหลายย่อมศึกษาด้วยตนเองบ้าง. ได้แก่ ธรรม

คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล

อนาคามิมรรค อนาคามิผล และอรหัตมรรค. ชื่อว่า เสกฺขปริยนฺโต

เพราะอรรถว่ามีเสกขธรรมในที่สุด คือในอวสาน, หรือมีเสกขธรรม

อันเป็นที่สุด คือมีกำหนด. พึงเชื่อมความว่า ในธรรมอันเป็นที่สุด

ของพระเสกขะนั้น.

ชื่อว่า ปริปูรการิโน เพราะอรรถว่ากัลยาณปุถุชน ย่อมทำ

กุศลธรรมให้เต็มรอบ คือให้บริบูรณ์. หรือกัลยาณปุถุชนมีการบริบูรณ์

เต็มรอบ คือทำให้บริบูรณ์, ของกัลยาณปุถุชนเหล่านั้นผู้ทำให้บริบูรณ์

ในปฏิปทาธรรมอันเป็นที่สุดของพระเสกขะ อันเป็นส่วนเบื้องต้นของ

โสดาปัตติมรรค ด้วยความบริบูรณ์แห่งวิปัสสนา.

ในบทนี้ว่า กาเย จ ชีวิเต จ อนเปกฺขน - ผู้ไม่อาลัยใน

ร่างกายและชีวิต มีความดังต่อไปนี้ บทว่า กาเย คือสรีระ จริงอยู่

สรีระ ท่านกล่าวว่า กาย เพราะเป็นที่สะสมความไม่สะอาดของร่างกาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 557

มีผมเป็นต้นอันน่าเกลียด และเพราะเป็นที่มาหลายร้อยโรคมีจักขุโรค

เป็นต้น.

บทว่า ชีวิเต ได้แก่ ชีวิตินทรีย์. เพราะว่า ชีวิตินทรีย์ นั้น

ท่านกล่าวว่า ชีวิต เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้เป็นอยู่. ชื่อว่า อนเปกฺขา

เพราะอรรพว่าไม่มีอาลัยในชีวิต อธิบายว่า หมดความเยื่อใย. กัลยาณ

ปุถุชนเหล่านั้น ผู้ไม่อาลัยในร่างกายและในชีวิตนั้น.

บัดนี้ พระสารีบุตร เมื่อจะแสดงเหตุของความเป็นผู้ไม่อาลัย

ในร่างกายและชีวิตของกัลยาณปุถุชนเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ปริจฺจตฺต-

ชีวิตาน - ผู้สละชีวิตแล้ว. จริงอยู่ กัลยาณปุถุชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่

อาลัยในร่างกาย แม้ลำบากในชีวิต แม้อับเฉา ด้วยการสละชีวิตของ

ตนแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า หรือแต่อาจารย์.

บทว่า สตฺตนฺน เสกฺขาน - พระเสกขะ ๗ จำพวก ได้แก่

พระอริยบุคคล ๗ จำพวก มีท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคเป็นต้นได้

ชื่อว่า เสกขะ เพราะยังต้องศึกษา.

บทว่า ตถาคตสาวกาน ได้แก่ สาวกของพระตถาคต. จริงอยู่

พระอริยบุคคล ๘ จำพวก ชื่อว่า สาวก เพราะอรรถว่าฟังเทศนา

การพร่ำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยความเคารพ ด้วยตั้งปสาทะอัน

ไม่หวั่นไหว เพราะเกิดในชาติอันเป็นอริยะในที่สุดของการฟัง. แม้ใน

พระอริยบุคคลเหล่านั้น พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงให้วิเศษในผู้ตั้งอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 558

ในอรหัตผลเท่านั้น จึงกล่าวว่า ขีณาสวาน ดังนี้, อธิบายว่า พระ-

ขีณาสพผู้สิ้นอาสวะทั้งปวง ด้วยอรหัตมรรคญาณ.

บทว่า ปจฺเจกพุทฺธาน ชื่อว่า ปัจเจกพุทธะ เพราะอรรถว่า

เป็นผู้เดียวเท่านั้น ไม่มีอาจารย์ อาศัยเหตุนั้น ๆ ตรัสรู้อริยสัจ ๔. ของ

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเช่นนั้น.

ในบทนี้ว่า ตถาคตาน มีความดังต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพระนามว่า ตถาคตด้วยเหตุ ๘ ประการ. พระนามว่า ตถาคโต

เพราะอรรถว่าเสด็จมาแล้วเหมือนอย่างนั้น, เสด็จไปแล้วเหมือนอย่าง

นั้น, ตรัสรู้ลักษณะที่เป็นของจริงแท้, ตรัสรู้ธรรมที่จริงแท้โดยความ

เป็นจริง, เพราะทรงแสดงสิ่งที่จริงแท้, เพราะทรงกล่าวแต่ความจริง

แท้, เพราะเป็นผู้กระทำเหมือนอย่างนั้น, เพราะอรรถว่าครอบงำ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า

เสด็จมาแล้วเหมือนอย่างนั้น เป็นอย่างไร ? เหมือนพระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้าทั้งหลาย แต่ก่อน ผู้ถึงความขวนขวายเสด็จมาแล้วเพื่อประโยชน์

เกื้อกูลแก่โลกทั้งมวล. ท่านอธิบายไว้อย่างไร ? อธิบายไว้ว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทั้งหลาย แต่ก่อนเสด็จมาแล้วด้วยอภินิหารใด, แม้พระผู้มี-

พระภาคเจ้าของเราทั้งหลายก็เสด็จมาแล้ว โดยอภินิหารนั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 559

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแต่ก่อนทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐

ถ้วน คือ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ได้แก่ ทาน

ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วีริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐานะ เมตตา

อุเบกขา, ทรงบริจาคมหาบริจาค ๕ เหล่านี้ คือ บริจาค อวัยวะ ๑

นัยน์ตา ๑ ทรัพย์ ๑ ราชสมบัติ ๑ บุตรภรรยา ๑, ทรงบำเพ็ญ

ญาตัตถจริยาด้วยการทรงบอกธรรมอันควรประกอบในเบื้องต้น และ

ควรประพฤติในเบื้องต้น แล้วถึงที่สุดแห่งพุทธจริยาเสด็จมาแล้ว, แม้

พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายก็เสด็จทรงบำเพ็ญมาแล้วเหมือน

อย่างนั้น.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแต่ก่อนทรงเจริญ เพิ่มพูนสติปัฏฐาน ๔

สัมมัปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗

อริยมรรคมีองค์ ๘ ฉันใด, แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายก็

เสด็จมาแล้ว ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคโต.

บัณฑิตกล่าวว่า

ยเถว ทีปงฺกรพุทฺธอาทโย

สพฺพญฺญุภาว มุนโย อิธาคตา.

ตถา อย สกฺยมุนีปิ อาคโต

ตถาคโต วุจฺจติ เตน จกฺขุมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 560

พระมุนีทั้งหลาย มีพระทีปังกรพุทธเจ้า

เป็นต้น ถึงความเป็นพระสัพพัญญูเสด็จมาแล้ว

ในโลกนี้ อย่างใด, แม้พระศากยมุนีผู้มีจักขุนี้ก็

เสด็จมาแล้วเหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น บัณฑิต

จึงขนานพระนามว่า ตถาคต.

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถว่าเสด็จ

ไปแล้วเหมือนอย่างนั้น เป็นอย่างไร ? พระผู้มีพระภาคเจ้าแต่ก่อนที่

ประสูติแล้ว ในบัดนี้ ชื่อว่า เสด็จไปแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า

เหล่านั้น ชื่อว่า เสด็จไปแล้วอย่างไร ? เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

เหล่านั้นประสูติแล้วในบัดนี้ ประดิษฐานพระบาททั้งสองเสมอกันบน

แผ่นดิน หันพระพักตร์ไปทางทิศอุดรเสด็จดำเนินไปด้วยอย่างพระบาท

๗ ก้าว. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์ที่ประสูติ ใน

บัดนี้ ประดิษฐานพระบาททั้งสองเสมอกันบน

แผ่นดิน หันพระพักตร์ไปทางทิศอุดร เสด็จไป

ด้วยย่างพระบาท ๗ ก้าว เมื่อเทพบุตรกั้นเศวตรฉัตร

ตามเสด็จพระโพธิสัตว์จะเหลียวดูทิศทั้งปวง, และ

ทรงเปล่งพระวาจาอย่างผู้องอาจว่า อคฺโคหมสฺมิ

โลกสฺส, เชฏฺโหมสฺมิ โลกสฺส เสฏฺโหมสฺมิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 561

โลกสฺส, อยมนฺติมา ชาติ นตฺถิทานิ ปุนพฺภโวติ.

แปลว่า เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุด

ในโลกเราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก ชาตินี้เป็น

ชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่จะไม่มีอีก.

การดำเนินไปของพระโพธิสัตว์นั้นได้ชื่อว่า เป็นความจริงแท้

แน่นอน โดยเป็นบุพนิมิตแห่งการตรัสรู้ธรรมวิเศษมิใช่น้อย. ข้อที่

พระโพธิสัตว์นั้นประสูติในบัดนี้ ประดิษฐานพระบาทเสมอกัน นี้

เป็นบุพนิมิตแห่งการได้อิทธิบาท ๔ ของพระโพธิสัตว์นั้น, การหัน

พระพักตร์ไปทางทิศอุดร เป็นบุพนิมิตแห่งความเป็นโลกุตรทั้งหมดของ

พระโพธิสัตว์, การย่างพระบาท ๗ ก้าว เป็นบุพนิมิตแห่งการได้

โพชฌังครัตนะ ๗, ส่วนการยกแส้จามรขึ้นดังกล่าวไว้ ในบทนี้ว่า

สุวณฺณทณฺฑา วีติปตนฺติ จามรา- จามรด้ามทองตกอยู่ ดังนี้ เป็น

บุพนิมิตแห่งการย่ำยีเดียรถีย์ทั้งหมด. การกั้นเศวตรฉัตรเป็นบุพนิมิต

แห่งการได้เศวตรฉัตร อันประเสริฐปราศจากมลทินด้วยการหลุดพ้น

ด้วยอรหัตมรรค การเหลียวดูทิศทั้งหมด เป็นบุพนิมิตแห่งการให้

อนาวรณญาณ คือความเป็นพระสัพพัญญู, การเปล่งวาจาอันองอาจ

เป็นบุพนิมิตแห่งการเป็นไปแห่งธรรมจักร อันประเสริฐที่ยังไม่เคยเป็น

ไป. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ก็เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น. อนึ่ง

๑.ม. อุ. ๑๔/๓๗๗. ๒.ขุ. สุ. ๒๕/๓๘๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 562

การเสด็จดำเนินของพระโพธิสัตว์นั้นได้เป็นความจริงแท้แน่นอน ด้วย

ความเป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุธรรมวิเศษเหล่านี้นั่นแล. ด้วยเหตุ

นั่น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า

มุหุตฺตชาโตว ควมฺปตี ยถา

สเมหิ ปาเทหิ ผุสี วสุนฺธร,

โส วิกฺกมิ สตฺต ปาทานิ โคตโม

เสตญฺจ ฉตฺต อนุธารยุ มรู.

คนฺตฺวาน โส สตฺต ปทานิ โคตโม

ทิสา วิโลเกสิ สมา สมนฺตโต,

อฏฺงฺคุเปต คิรมพฺภุทีรยิ

สีโห ยถา ปพฺพตมุทฺธนิฏฺิโต.

พระควัมบดีประสูติได้ครู่เดียวเท่านั้น ทรง

สัมผัสแผ่นดินด้วยพระบาทเสมอกัน, พระโพธิ-

สัตว์เหล่ากอแต่งพระโคดมนั้น ทรงย่างพระบาท

๗ ก้าว และเหล่าเทพเจ้าพากันกั้นเศวตรฉัตร.

พระโคดมนั้นเสด็จดำเนินไป ๗ ก้าว ทรง

เหลียวแลดูทิศอย่างสม่ำเสมอโดยรอบ, ทรงเปล่ง

พระวาจาประกอบด้วยองค์ ๘ ดุจสีหะยืนอยู่บน

ยอดเขาบันลือสีหนาท ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 563

ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วเหมือนอย่างนั้น

ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแต่ก่อนฉันใด, แม้พระผู้มี-

พระภาคเจ้านี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เสด็จไปแล้วเพื่อละกามฉันทะ

ด้วยเนกขัมมะ. ฯลฯ ละนิวรณ์ ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ละนิจสัญญา

ด้วยอนิจจานุปัสสนา ฯลฯ ละกิเลสทั้งหมดด้วยหัตมรรค, พระนาม

ว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้.

พระนามว่า ตถาคโต เพราะตรัสรู้ลักษณะที่จริงแท้ เป็น

อย่างไร ? ลักษณะที่จริงแท้ คือ ความเป็นของแข็ง เป็นลักษณะแห่ง

ปฐวีธาตุ, การไหลไป เป็นลักษณะแห่ง อาโปธาตุ, ความเป็น

ของร้อน เป็นลักษณะแห่ง เตโชธาตุ, การขยายตัวไปมา เป็น

ลักษณะแห่ง วาโยธาตุ การสัมผัสไม่ได้เป็นลักษณะแห่ง อากาศธาตุ,

การรู้แจ้งเป็นลักษณะแห่ง วิญญาณธาตุ.

การสลายไป เป็นลักษณะแห่ง รูป, การเสวยอารมณ์ เป็น

ลักษณะแห่ง เวทนา, การรู้พร้อม เป็นลักษณะแห่ง สัญญา การ

ปรุงแต่ง เป็นลักษณะแห่ง สังขาร, การรู้แจ้ง เป็นลักษณะแห่ง

วิญญาณ.

การยกขึ้น เป็นลักษณะแห่ง วิตก, การเคล้าคลึง เป็น

ลักษณะแห่ง วิจาร, การซ่านไป เป็นลักษณะแห่ง ปีติ, การยินดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 564

เป็นลักษณะแห่ง ความสุข, การไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะแห่ง ความ

ที่จิตมีอารมณ์เดียว, ความถูกต้อง เป็นลักษณะแห่ง ผัสสะ.

การน้อมใจเชื่อ เป็นลักษณะแห่ง สัทธินทรีย์, การ

ประคองไว้ เป็นลักษณะแห่ง วิริยินทรีย์, การตั้งมั่น เป็นลักษณะ

แห่ง สตินทรีย์, การไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะแห่ง สมาธินทรีย์,

การรู้ทั่ว เป็นลักษณะแห่ง ปัญญินทรีย์.

ความไม่หวั่นไหวในความไม่เชื่อ เป็นลักษณะแห่ง สัทธา

พละ, ความไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน เป็นลักษณะแห่ง

วีริยพละ, ความไม่หวั่นไหวในความลุ่มหลง เป็นลักษณะแห่ง

สติพละ, ความไม่หวั่นไหวในความฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะแห่ง สมาธิ

พละ, ความไม่หวั่นไหวในอวิชชา เป็นลักษณะแห่ง ปัญญาพละ.

ความตั้งมั่น เป็นลักษณะแห่ง สติสัมโพชฌงค์, ความ

ค้นคว้า เป็นลักษณะแห่ง ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์, ความประคองไว้

เป็นลักษณะแห่ง วีริยสัมโพชฌงค์, ความซ่านไป เป็นลักษณะ

แห่ง ปีติสัมโพชฌงค์, ความสงบ เป็นลักษณะแห่ง ปัสสัทธิ

สัมโพชฌงค์, ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะแห่ง สมาธิสัมโพช-

ฌงค์, ความพิจารณา เป็นลักษณะแห่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 565

ความเห็น เป็นลักษณะ สัมมาทิฏฐิ, ความยกขึ้น เป็น

ลักษณะของ สัมมาสังกัปปะ, การกำหนด เป็นลักษณะของ สัมมา-

วาจา, การตั้งขึ้น เป็นลักษณะของ สัมมากัมมันตะ, ความบริสุทธิ์

เป็นลักษณะของ สัมมาอาชีวะ, การประคองไว้ เป็นลักษณะของ

สัมมาวายามะ, การเข้าไปตั้งไว้ เป็นลักษณะของ สัมมาสติ, ความ

ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะของ สัมมาสมาธิ.

ความไม่รู้ เป็นลักษณะของ อวิชชา, ความคิด-เจตนา

เป็นลักษณะของ สังขาร, ความรู้แจ้ง เป็นลักษณะของ วิญญาณ,

ความน้อมไป เป็นลักษณะของ นาม, ความสลายไป เป็นลักษณะ

ของ รูป, ความติดต่อกัน เป็นลักษณะแห่ง สฬายตนะ, ความ

ถูกต้อง เป็นลักษณะแห่ง ผัสสะ, ความเสวยอารมณ์ เป็นลักษณะ

แห่ง เวทนา, เหตุ เป็นลักษณะแห่ง ตัณหา, ความยึดถือ เป็น

ลักษณะแห่ง อุปาทาน, การประมวล-อายูหนะ เป็นลักษณะแห่ง

ภพ, ความเกิด เป็นลักษณะแห่ง ชาติ ความทรุดโทรม เป็น

ลักษณะแห่ง ชรา, จุติ - การเคลื่อนไป เป็นลักษณะแห่ง ความ

ตาย.

ความเป็นของสูญ เป็นลักษณะแห่ง ธาตุ, ความติดต่อกัน

เป็นลักษณะแห่ง อายตนะ, การเข้าไปตั้งไว้ เป็นลักษณะแห่ง

สติปัฏฐาน, ความเริ่มตั้ง - การทำความเพียร เป็นลักษณะแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 566

สัมมัปธาน, ความสำเร็จ เป็นลักษณะแห่ง อิทธิบาท, ความ

เป็นใหญ่ เป็นลักษณะแห่ง อินทรีย์, ความไม่หวั่นไหว เป็น

ลักษณะแห่ง พละ, ความนำออก เป็นลักษณะแห่ง โพชฌงค์,

เหตุ เป็นลักษณะแห่ง มรรค.

ความจริงแท้ เป็นลักษณะแห่ง สัจจะ ความไม่ฟุ้งซ่าน

เป็นลักษณะแห่ง สมถะ, ความพิจารณาเห็นตาม เป็นลักษณะแห่ง

วิปัสสนา, เอกรส - ธรรมรสอันเลิศ เป็นลักษณะแห่ง สมถะและ

วิปัสสนา, ความไม่เปลี่ยนแปลง เป็นลักษณะแห่ง ธรรมคู่กัน.

สังวร เป็นลักษณะแห่ง สีลวิสุทธิ.

ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะแห่ง จิตตวิสุทธิ

ความเห็น เป็นลักษณะแห่ง ทิฏฐิวิสุทธิ.

ความตัดขาด เป็นลักษณะแห่ง ญาณในความสิ้นไป,

ความสงบ เป็นลักษณะแห่ง ญาณในความไม่เกิด.

มูละ เป็นลักษณะแห่ง ฉันทะ, สมุฏฐานะ เป็นลักษณะ

แห่ง มนสิการะ, สโมธานะ เป็นลักษณะแห่ง ผัสสะ, สโมสรณะ

เป็นลักษณะแห่ง เวทนา, ปมุขะ เป็นลักษณะแห่ง สมาธิ, อาธิป-

เตยยะ เป็นลักษณะแห่ง สติ, ตทุตตริ - ความรู้ยิ่งกว่านั้น เป็น

ลักษณะแห่ง ปัญญา, สาระ เป็นลักษณะแห่ง วิมุตติ, ปริโยสานะ

เป็นลักษณะแห่ง นิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะ, นี้ คือ ความจริงแท้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 567

พระนามว่า ตถาคโต เพราะตรัสรู้ลักษณะที่จริงแท้นั้นด้วย ญาณคติ

คือทรงบรรลุ บรรลุถึงไม่ผิดพลาด, ตรัสรู้ลักษณะที่จริงแท้ด้วย

ประการฉะนี้ จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.

พระนามว่า ตถาคโต เพราะตรัสรู้ธรรมที่จริงแท้ตามความ

เป็นจริงนั้น เป็นอย่างไร ? อริยสัจ ๔ ชื่อว่า ธรรมที่จริงแท้. ดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ อย่าง

เหล่านี้ เป็นธรรมที่จริงแท้แน่นอน ไม่เป็นอย่าง

อื่น. อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสัจว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับ

ทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ เป็นของจริงแท้

แน่นอน ไม่เป็นอย่างอื่น ดังนี้ พึงให้พิสดาร.

อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้อริยสัจเหล่านั้น บัณฑิต

จึงขนานพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้สิ่งจริงแท้. คต ศัพท์

ในที่นี้มีเนื้อความว่าตรัสรู้.

อนึ่ง ความจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น มีความบ่งถึงความ

เป็นจริงว่า ชาติ เป็นปัจจัยของ ชรา และ มรณะ ฯลฯ มีความ

บ่งถึงความเป็นจริงว่า อวิชชา เป็นปัจจัยของ สังขาร ฯลฯ.

๑. ส. มหา. ๑๙/๑๖๙๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 568

อนึ่ง ความจริงแท่แน่นอน ไม่เป็นอย่างอื่นของ อวิชชา

มีอรรถว่า เป็นปัจจัยแห่ง สังขาร ฯลฯ ความจริงแท้แน่นอน ไม่

เป็นอย่างอื่นของ ชาติ มีอรรถว่า เป็นปัจจัยของ ชรา และ มรณะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้สิ่งปวงนั้น เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนาม

ว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ความจริงแท้.

พระนามว่า ตถาคโต เพราะทรงเห็นความจริงแท้นั้น เป็น

อย่างไร ? ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ทรงเห็นรูปารมณ์อันมาสู่คลอง

จักษุ ในจักขุทวารของสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ในโลกธาตุอันหา

ประมาณมิได้ ในโลกพร้อมด้วยเทวโลก ฯลฯ เป็นไปกับด้วยเทวดา

และมนุษย์มีอยู่โดยอาการทั้งปวง. อนึ่ง รูปารมณ์นั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงรู้ทรงเห็นทรงจำแนกไว้โดยนัย ๕๒ โดยวาระ ๑๓ โดย

ชื่อมากมาย โดยนัยมีอาทิว่า รูปที่เรียกว่า รูปายตนะ เป็นไฉน ?

รูปใดนี้แสงสว่างอาศัย มหาภูตรูป ๔ เป็นไปกับการเห็นได้และ

มีความกระทบได้ มีสีเขียวคราม สีเหลือง เป็นต้น เป็นความ

จริงแท้ ไม่มีความเหลวไหล.

ในเสียงเป็นต้น อันมาสู่คลองในโสตทวารเป็นต้นก็มีนัยนี้.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า

๑. อภิ. สงฺ. ๓๔/๕๒๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 569

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปารมณ์ที่เห็นด้วย

จักษุ สัททารมณ์ที่ฟังด้วยหู คันธารมณ์ รสารมณ์

และโผฏฐัพพารมณ์ที่รู้ได้ด้วยทวารนั้น ๆ ธรรมา-

รมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ของโลกพร้อมทั้งเทวโลก

มารโลก พรหมโลก ของหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง

สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เราได้บรรลุแล้ว

เสาะแสวงหาแล้ว ค้นคว้าแล้วด้วยใจ เราย้อมรู้

รูปารมณ์ที่เห็นได้ด้วยจักษุเป็นต้นนั้น รู้แล้วด้วย

ปัญญาอันยิ่ง ตถาคตรู้รูปารมณ์เป็นต้นนั้นแจ้งชัด

รูปารมณ์เป็นต้นนั้นไม่ปรากฏในตถาคต.

พระหามว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นความจริงแท้ด้วยประการ

ฉะนี้. พึงทราบการเพิ่มบทว่า ตถาคโต ลงในอรรถว่าเห็นความจริง

แท้นั้น.

พระนามว่า คถาคโต เพราะทรงตรัสแต่ความจริงแท้ เป็น

อย่างไรข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนปราชิตบัลลังก์ใต้โพธิ-

มณฑล ในเวลากลางคืนทรงย่ำยียอดมารทั้ง ๔ แล้วตรัสรู้พระสัมมา-

สัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยม, และข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพ-

๑. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 570

พาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างต้นสาละคู่ในเวลา

กลางคืน, และข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส สุตตะ เคยยะ ฯลฯ

เวทัลละในปฐมโพธิกาลบบ้าง ในมัชฌิมโพธิกาลบ้าง ในปัจฉิมโพธิกาล

บ้าง ในเวลาประมาณ ๔๕ ปี ในระหว่างนี้, ทั้งหมดนั้น ทั้งโดยอรรถ

ทั้งโดยพยัญชนะ ไม่มีโทษ ไม่ควรติเตียน ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง บริบูรณ์

ด้วยอาการทั้งปวง ถอนความมัวเมา ราคะ โทสะ โมหะ, ไม่มีความ

ผิดพลาด แม้เพียงปลายขนสัตว์ในคำสอนนั้น, ทั้งหมดนั้นเป็นความ

จริงแท้ ดุจประทับด้วยดวงตราดวงเดียว, ดุจตวงด้วยทะนานเดียว และ

ดุจชั่งด้วยตราชั่งอันเดียว. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนจุนทะ ข้อที่ตถาคตตรัสรู้สัมมาสัม-

โพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในเวลากลางคืน, และ

ข้อที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานใน

เวลากลางคืน, ข้อที่ตถาคตกล่าวชี้แจงแสดงใน

ระหว่างนี้ ทั้งหมดนั้นเป็นความจริงแท้ทีเดียว, ไม่

เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงขนานพระ-

นามว่า ตถาคต.

คต ศัพท์ในบทนี้ มีอรรถว่าคำพูด พระนามว่า ตถาคต

เพราะตรัสอย่างนั้นด้วยประการฉะนี้.

๑. ที. ปา. ๑๑/๑๒๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 571

อีกอย่างหนึ่ง คำพูด ชื่อว่า อาคท, อธิบายว่า การกล่าว.

คำกล่าวของพระตถาคตเป็นความจริงไม่เปลี่ยนแปลง เพราะแผล ท

เป็น จึงเป็น ตถาคโต ฉะนั้น พึงทราบสำเร็จในอรรถนี้

ด้วยประการฉะนี้.

พระนามว่า ตถาคโต เพราะกระทำเหมือนอย่างนั้น เป็น

อย่างไร ? จริงอยู่ กายของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมคล้อยตามวาจา, วาจา

ย่อมคล้อยตามกาย, เพราะฉะนั้น จึงมีว่า พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น,

และทำอย่างใด พูดอย่างนั้น. อธิบายว่า วาจาของพระผู้มีพระภาคนั้น

เป็นอย่างนี้ ฉันใด, แม้กายก็เป็นไปฉันนั้น. อนึ่ง พระนามว่า

ตถาคโต เพราะกายเป็นอย่างใด, แม้วาจาก็เป็นไปอย่างนั้น. ด้วย

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตพูดอย่างใด

ทำอย่างนั้น, ทำอย่างใด พูดอย่างนั้น. ด้วยเหตุ

ที่ตถาคตพูดอย่างใด ทำอย่างนั้น, ทำอย่างใด

พูดอย่างนั้น บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า ตถาคต.

พระนามว่า ตถาคต เพราะทำอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้.

พระนามว่า ตถาคโต ด้วยอรรถว่าครอบงำนั้น เป็นอย่างไร ?

พระตถาคตทรงทำที่สุด เบื้องบนถึงภวัคคพรหม เบื้องล่างถึงอเวจีแล้ว

๑. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 572

ทรงครอบงำสรรพสัตว์ในโลกธาตุอันหาประมาณมิได้ ในเบื้องขวาง

ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ. พระตถาคตนั้น

ไม่มีการชั่งหรือการคาดคะเน, พระตถาคตไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้ควร

เทียบได้ เป็นผู้ยอดเยี่ยม เป็นราชายิ่งกว่าราชา เป็นเทวดายิ่งกว่า

เทวดา เป็นสักกะยิ่งกว่าสักกะ เป็นพรหมยิ่งกว่าพรหม. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่

ฯลฯ ผู้ครอบงำ เป็นผู้เห็นโดยถ่องแท้ เป็นผู้ยัง

สัตว์ให้อยู่ในอำนาจ เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงขนาน

พระนามว่า ตถาคต.

ในบทนั้นพึงทราบบทสำเร็จดังต่อไปนี้, พระตถาคตพระนามว่า

อคโท เป็นดุจหมอยาผู้วิเศษ. ในบาลีว่า นั่นเป็นใคร ? มีความ

งดงามด้วยเทศนาและเป็นผู้สำเร็จแล้วด้วยบุญ. ด้วยเหตุนั้นพระ-

ตถาคตจึงมีอานุภาพมาก ย่อมครอบงำลัทธิของผู้อื่นทั้งหมด และโลก

กับทั้งเทวโลกได้ดุจหมองูย่อมปราบงูได้ด้วยยาวิเศษฉะนั้น. ด้วยเหตุนี้

พระตถาคตเป็น อคโท สำเร็จด้วยความงามแห่งเทศนา และสำเร็จ

ด้วยบุญเป็นความจริงแท้ ไม่เปลี่ยนแปลงในการครอบงำโลกทั้งปวง

๑. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 573

เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า พระนามว่า ตถาโต เพราะแผลง เป็น

. พระนามว่า ตถาคต ด้วยอรรถว่า ครอบงำ ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ดำเนินไป

แล้วด้วยความจริงแท้บ้าง. พระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ดำเนิน

ไปสู่ความจริงแท้บ้าง. บทว่า คโต มีความว่า ก้าวลงแล้ว ล่วงไปแล้ว

บรรลุแล้ว ดำเนินไปแล้ว.

ในบทเหล่านั้น พระตถาคต พระนามว่า ตถาคโต เพราะ

อรรถว่า ก้าวลงสู่โลกทั้งสิ้นด้วยความจริงแท้ คือ ตีรณปริญญา, พระ-

นามว่า ตถาคโต เพราะอรรถว่า ล่วงไปแล้วซึ่งเหตุให้เกิดโลกด้วย

ความจริงแท้ คือ ปหานปริญญา, พระนามว่า ตถาคโต เพราะ

อรรถว่า บรรลุความดับโลกด้วยความจริงแท้ คือ สัจฉิกิริยา, พระ-

นามว่า ตถาคโต เพราะอรรถว่า ดำเนินไปแล้วสู่ความจริงแท้ คือ

โลกนิโรธคามินีปฏิปทา - ปฏิปทาให้ถึงความดับโลก.

ด้วยเหตุนั้นคำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกอันตถาคตตรัสรู้

แล้ว, ตถาคตพรากจากโลกแล้ว. เหตุให้เกิดโลก

ตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตได้ละเหตุให้เกิดโลก

แล้ว. ความดับโลกตถาคตตรัสรู้แล้ว, ตถาคตทำ

ให้แจ้งการดับโลกแล้ว. ปฏิปทาให้ถึงความดับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 574

โลก ตถาคตตรัสรู้แล้ว, ตถาคตทำให้เกิดปฏิปทา

ให้ถึงความดับโลกแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เห็นด้วยจักษุ ฯลฯ

ธรรมที่รู้ด้วยใจ ของโลกพร้อมด้วยเทวโลกทั้งหมด

นั้น ตถาคตตรัสรู้แล้ว. เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึง

ขนานนามว่า ตถาคต.

พึงทราบความของคำนั้นแม้อย่างนี้.

อนึ่ง บทนี้ก็เป็นเพียงมุขในการแสดงความเป็นตถาคตของพระ-

ตถาคตนั่นเอง. อนึ่ง พระตถาคตท่านนั้น พึงพรรณนาความเป็นตถาคต

ของพระตถาคตได้โดยอาการทั้งปวง. ก็เพราะพระพุทธเจ้าทั้งปวงเป็น

ผู้เหมาะสมแม้ด้วยคุณของพระตถาคต, ฉะนั้นพระสารีบุตร จึงกล่าวว่า

ตถาคตาน ด้วยสามารถของพระพุทธเจ้าทั้งหมด.

บทว่า อรหนฺตาน ความว่า พระตถาคตเป็น พระอรหันต์

เพราะทรงไกลจากกิเลสทั้งหลาย, เพราะขจัดข้าศึกและซี่ล้อแห่งจัก

ทั้งหลาย. เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น, เพราะไม่มีความลับใน

การทำบาป. จริงอยู่ พระตถาคตนั้นเป็นผู้ไกล คือตั้งอยู่ไกลแสนไกล

๑. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 575

จากกิเลสทั้งปวง พระนามว่า อรห เพราะทรงละกิเลส พร้อมด้วย

วาสนาด้วยมรรค บัณฑิตกล่าวคำว่า อรห ไว้ ๕ นัย นัยที่ ๑ ว่า

โส ตโต อารกา นาม ยสฺส เยนาสมงฺคิตา

อสมงฺคี จ โทเสหิ นาโถ เตนารห มโต.

พระตถาคตเจ้าผู้เป็นนาถะ ไม่ถูกกิเลส

กลุ้มรุม และไม่ประกอบด้วยโทษ คือ วาสนาทั้ง-

หลาย ชื่อว่าทรงไกลจากกิเลส และโทษเหล่านั้น

เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า อรห เป็นพระ-

อรหันต์.

อนึ่ง พระตถาคตเจ้าทรงกำจัดข้าศึก คือกิเลสเหล่านั้น ด้วย

มรรค เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า อรห เพราะทรง

กำจัดข้าศึก คือกิเลสทั้งหลายบ้าง.

ยสฺม ราคาทิสงฺขาตา สพฺเพปิ อรโย หตา

ปญฺญาสตฺเถน นาเถน ตสฺมาปิ อรห มโต.

เพราะพระนาถะ ทรงกำจัดข้าศึก คือ กิเลส

มรรคเป็นต้น แม้ทั้งหมดด้วยศัสตรา คือ ปัญญา

เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงทราบว่า อรห เป็นพระ-

อรหันต์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 576

อนึ่ง สังสารจักร - ล้อ คือ สงสาร มีดุมสำเร็จด้วยอวิชชา และ

ภวตัณหา มีเครื่องตกแต่ง คือ บุญเป็นต้น เป็นซี่ล้อ มีชราและมรณะ

เป็นกงเจาะสอดไว้ด้วยเพลา คือ เหตุเกิดอาสวะ ประกอบในรถ คือ

ภพ ๓ เป็นไปโดยกาลอันไม่มีเบื้องต้น, พระตถาคตประดิษฐานบน

แผ่นดิน คือ ศีล ด้วยพระบาท คือ วีริยะ ณ โพธิมณฑล ทรงถือขวาน

คือ ญาณ กระทำกรรมให้สิ้นไปด้วยพระหัตถ์ คือ ศรัทธา แล้วทรง

กำจัดซี่ล้อทั้งหมดแห่งสังขารจักรนั้น เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนาม

ว่า อรห เป็น พระอรหันต์ เพราะกำจัดซี่ล้อทั้งหลายนี้เป็นนัยที่ ๒.

บัณฑิตกล่าวนัยที่ ๓ ว่า

อรา สสารจกฺกสฺส หตา าณาสินา ยโต

โลกนาเถน เตเนส อรหนฺติ ปวุจฺจติ.

เพราะพระโลกนาถทรงกำจัดซี่ล้อแห่งสังสาร-

จักรด้วยดาบ คือ ญาณ, เพราะเหตุนั้น พระโลก-

นาถนั้น บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า อรห เป็น

พระอรหันต์.

อนึ่ง พระตถาคต เพราะเป็นผู้ควรของทำบุญอย่างเลิศ จึงควร

รับปัจจัยมีจีวรเป็นต้น และการบูชาวิเศษ. ก็ด้วยเหตุนั้นแล เมื่อพระ-

ตถาคตอุบัติแล้ว เทวดาและมนุษย์ผู้มีมีศักดิ์ใหญ่พวกใดพวกหนึ่ง จะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 577

ไม่ทำการบูชาในที่อื่นเลย. เป็นความจริงดังนั้น สหัมบดีพรหม ย่อม

บูชาพระตถาคตด้วยพวงแก้ว ประมาณเท่าภูเขาสิเนรุ. เทวดาเหล่าอื่น

และมนุษย์ทั้งหลาย มีพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าโกศลเป็นต้น ย่อม

บูชาตามกำลัง.

อนึ่ง พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสละทรัพย์ ๙๖ โกฏิ อุทิศพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จปรินิพพานแล้ว และสร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง

ไว้ในชมพูทวีปทั้งสิ้น. จะพูดไปทำไมถึงการบูชาวิเศษอย่างอื่น. เพราะ

เหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงพระนามว่า อรห เป็นพระอรหันต์ เพราะ

สมควรแก่ปัจจัยเป็นต้น. บัณฑิตกล่าวนัยที่ ๔ ว่า

ปูชาวิเสส สห ปจฺจเยหิ

ยสฺมา อย อรหติ โลกนาโถ,

อตฺถานุรูป อรหนฺติ โลเก

ตสฺมา ชิโน อรหติ นามเมต.

เพราพระโลกนาถนี้ สมควรรับการบูชา

วิเศษพร้อมด้วยปัจจัยทั้งหลาย, ฉะนั้นพระชินะ

จึงสมควรทรงพระนามว่า อรห เป็นพระอรหันต์

อันเหมาะสมแก่อรรถะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 578

อนึ่ง พระตถาคตนั้นไม่ว่าในกาลไหนๆ ไม่ทรงทำเหมือนอย่าง

ที่คนพาลทั้งหลายพวกใดพวกหนึ่ง สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต ทำบาปใน

ที่ลับด้วยเกรงว่าจะไม่ได้รับการสรรเสริญ เพราะเหตุนั้น พระตถาคต

จึงเป็นพระอรหันต์ เพราะไม่มีความลับในการทำบาป. บัณฑิตกล่าว

นัยที่ ๕ ว่า

ยสฺมา นตฺถิ รโห นามปาปกมฺเมสุ ตาทิโน

รหาภาเวน เตเนส อรห อิติ วิสฺสุโต.

ขึ้นชื่อว่าความลับในบาปกรรมมิได้มีแก่พระ-

ตถาคตผู้มั่นคง เพราะเหตุนั้น พระตถาคตนั้น

จึงปรากฏพระนามว่า อรห เป็นพระอรหันต์ เพราะ

ไม่มีความลับ.

ท่านกล่าวสรุปความทั้งหมดไว้อย่างนี้ว่า

อารกตฺตา หตตฺตา จ กิเลสารีน โส มุนิ

หตสสารจกฺกาโร ปจฺจยาทีน จารโห,

น รโห กโรติ ป ปานิ อรห เตน วุจฺจติ.

พระมุนีนั้น เพราะทรงเป็นผู้ไกลจากกิเลส ๑

เพราะกำจัดข้าศึก คือกิเลส ๑ เพราะหักซี่ล้อ คือ

สังสารจักร ๑ ทรงสมควรแก่ปัจจัยเป็นต้น ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 579

เพราะไม่ทรงทำบาปในที่ลับ ๑ เพราะเหตุนั้น

บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า อรห เป็นพระอรหันต์.

ก็เพราะพระพุทธเจ้าทั้งปวง เป็นผู้เหมาะสม แม้ด้วยคุณของ

พระอรหันต์ ฉะนั้น พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า อรหนฺตาน ด้วยสามารถ

แห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง.

บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธาน ความว่า ชื่อว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ

เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง. เป็นความจริง

อย่างนั้น พระสัมมาสัมพุทธะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบด้วยพระองค์

เอง คือที่ทรงพระนามว่า พุทธะ เพราะทรงรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้, เพราะ

ทรงกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้, เพราะทรงละธรรมที่ควรละ, เพราะ

ทรงทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง, เพราะเจริญธรรมที่ควรเจริญ.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

อภิญฺเยฺย อภิญฺาต ภาเวตพฺพญฺจ ภาวิต

ปาหาตพฺพ ปหีน เม ตสฺมา พุทฺโธสฺมิ พฺราหฺมณ.

ดูก่อนพราหมณ์ สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง เราได้รู้ยิ่งแล้ว

สิ่งที่ควรเจริญ เราได้เจริญแล้ว และสิ่งที่ควรละ

เราได้ละแล้ว, เพราะฉะนั้น เราจึงเป็น พุทธะ.

๑. ม. ม. ๑๓/๖๐๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 580

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง

โดยชอบ และด้วยพระองค์เอง แม้ด้วยการยกบทหนึ่ง ๆ ขี้นอย่างนี้ว่า

จักษุ เป็น ทุกขสัจจะ, ปุริมตัณหาอันทำจักษุนั้นให้เกิดขึ้นโดยเป็น

เหตุ เป็น สมุทยสัจจะ, ความที่ทุกขสัจจะและสมุทยสัจจะทั้ง ๒

เป็นไปไม่ได้ เป็น นิโรธสัจจะ, ปฏิปทาอันรู้ทั่วถึงการดับ เป็น

มรรคสัจจะ. ในโสตะ ฆานะ ชิวหา และกาย ก็มีนัยนี้.

โดยนัยนี้แล พึงประกอบอายตนะ ๖ มีรูปเป็นต้น, กองวิญ-

ฌาณ ๖ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น, ผัสสะ ๖ มีจักขุสัมผัสสะเป็นต้น, เวทนา

๖ มีจักขุสัมผัสสขาเวทนาเป็นต้น, สัญญา ๖ มีรูปสัญญาเป็นต้น,

เจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนาเป็นต้น, กองตัณหา ๖ มีรูปตัณหาเป็นต้น,

วิตก ๖ มีรูปวิตกเป็นต้น, วิจาร ๖ มีรูปวิจารเป็นต้น, ขันธ์ ๕ มีรูป-

ขันธ์เป็นต้น. กสิณ ๑๐, อนุสติ ๑๐, สัญญา ๑๐ ด้วยสามารถ

อุทธุมาตกสัญญา - ความสำคัญศพที่ขึ้นอืดเป็นต้น, อาการ ๓๒ มีผม

เป็นต้น, อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘, ภพ ๙ มีกามภพเป็นต้น, ฌาน ๔

มีปฐมฌานเป็นต้น, อัปปมัญญา ๔ มีเมตตาภาวนาเป็นต้น, อรูปสมาบัติ

๔, และองค์ปฏิจจสมุปบาทมีชรามรณะเป็นต้น โดยปฏิโลม, มีอวิชชา

เป็นต้น โดยอนุโลมเข้าด้วยกัน.

พึงทราบการประกอบบท ๆ หนึ่งดังต่อไปนี้ พระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้าตรัสรู้ ตรัสรู้ยิ่ง แทงตลอดธรรมทั้งปวงโดยชอบด้วยพระองค์เอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 581

ด้วยการยกบทหนึ่ง ๆ ขึ้นอย่างนี้ว่า ชรามรณะเป็น ทุกขสัจจะ, ชาติ

เป็น สมุทยสัจจะ, การออกไปทั้งสองอย่างนั้นเป็น นิโรธสัจจะ,

ปฏิปทาอันรู้ทั่วถึงการดับเป็น มรรคสัจจะ.

ยังมีสิ่งที่ควรแนะนำอย่างใดอย่างหนึ่งอีก, พระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้า พระนามว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ เพราะตรัสรู้สิ่งทั้งปวงโดยชอบด้วย

พระองค์เอง ด้วย วิโมกขันติกญาณ - ญาณอันเป็นที่สุดแห่งความ

หลุดพ้น. วิภาคญาณของสัมมาสัมพุทธะนั้นจักมีแจ้งข้างหน้า. ก็เพราะ

พระพุทธเจ้าทั้งปวงเหมาะสม แม้ด้วยคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฉะนั้นพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า สมฺมาสมฺพุทฺธาน ด้วยสามารถแห่ง

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

๘๗ - ๘๘] บัดนี้ เพื่อแยกแสดงศีลอย่างหนึ่ง ๆ ออกเป็น ๕

ส่วนในศีล ๒ หมวด คือ ปริยันตปาริสุทธิศีล - ศีลบริสุทธิ์มีที่สุด ๑

อปริยันตปาริสุทธิศีล - ศีลบริสุทธิ์ไม่มีที่สุด ๑ พระสารีบุตรจึงกล่าว

บทมีอาทิว่า อตฺถิ สีล ปริยนฺต, อตฺถิ สีล อปริยนฺต ศีลมีที่

สุดก็มี, ศีลไม่มีที่สุดก็มี. ก็ในศีล ๒ อย่างนั้น ไม่มีความต่างกันอย่าง

นั้นในศีล ๓ อย่าง.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ลาภปริยนฺต - ศีลมีที่สุดเพราะลาภ คือ

ชื่อว่า ลาภปริยนฺต เพราะศีลมีที่สุด คือขาดเพราะลาภ. แม้บทที่

เหลือก็อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 582

ในบทว่า ยโส นี้ ได้แก่ บริวาร. บทว่า อิธ คือ ในโลกนี้.

บทว่า เอกจฺโจ คือ คนหนึ่ง.

บทว่า ลาภเหตุ - เพราะเหตุแห่งลาภ คือ ลาภนั่นแลเป็นเหตุ,

เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าว ลาภเหตุโต - เพราะเหตุแห่งลาภ. บทนี้เป็น

ปัญจมีวิภัตติลงในอรรถว่า เหตุ. บทว่า ลาภปจฺจยา ลาภการณา

เป็นไวพจน์ของบทว่า ลาภเหตุนั้นนั่นแล. ความจริงผลนั้นย่อมมาถึง

เพราะอาศัยเหตุนั่นแล เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปจฺจโย, และ

เหตุทำให้เกิดผล เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า การณ. บทว่า ยถา-

สมาทินฺน - ตามที่ตนสมาทาน ได้แก่ ล่วง คือประพฤติล่วงสิกขาบท

ที่ตนสมาทาน คือถือไว้แล้ว.

บทว่า เอวรูปานิ คือ มีสภาพอย่างนี้, อธิบายว่า มีประการ

ดังกล่าวแล้ว.

บทว่า สีลานิ คือ จะเป็นศีลของคฤหัสถ์ก็ตาม ศีลของบรรพ-

ชิตก็ตาม, ศีลหนึ่งข้อในข้อต้นหรือข้อสุดท้ายขาด ชื่อว่า ขณฺฑานิ-

ศีลขาด ดุจผ้าสาฎกขาดในที่สุด.

ศีลข้อหนึ่งขาดในท่ามกลาง ชื่อว่า ฉิทฺทานิ - ศีลทะลุ ดุจผ้า

สาฎกลูกเจาะในท่ามกลาง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 583

ศีลข้อสองหรือข้อสามขาดไปตามลำดับ ชื่อว่า สพลานิ - ศีล

ด่าง ดุจแม่โคมีสีที่ตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง มีดำและแดงเป็นต้น โดยมีสี

ไม่เหมือนกันมีสัณฐานยาวและกลมเป็นต้น ตั้งขึ้นที่หลังหรือที่ท้อง.

ศีลข้อหนึ่งๆ ในระหว่าง ๆ ขาด ชื่อว่า กมฺมาสานิ - ศีลพร้อม

ดุจแม้โคมีสีเป็นจุด ๆ ไม่เหมือนกันในระหว่าง ๆ.

ศีลแม้ทั้งหมด ชื่อว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อย เพราะเมถุนสังโยค

- การประกอบพร้อมด้วยเมถุน ๗ อย่าง และเพราะถูกธรรมลามกมี

โกรธและผูกโกรธไว้เป็นต้น ทำลายเสีย.

ศีลเหล่านั้น ชื่อว่า น ภุชิสฺสานานิ - ไม่เป็นไทย โดยไม่ปล่อย

ให้เป็นไทย เพราะเป็นทาสแห่งตัณหา.

ศีลทั้งหลาย ชื่อว่า น วิญฺญุปฺปสฏฺานิ - อันวิญญูชนไม่สรร-

เสริญ เพราะวิญญูชนมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ไม่สรรเสริญ.

ชื่อว่า ปรามฏฺานิ เพราะตัณหาและทิฏฐิจับต้องแล้ว, หรือ

เพราะใคร ๆ สามารถจะจับได้ว่า นี้เป็นโทษในศีลของท่าน.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อสมาธิสวตฺตนิกานิ - ไม่เป็นไปเพื่อ

สมาธิ เพราะไม่พึงทำให้มรรคสมาธิหรือผลสมาธิเป็นไปได้. ปาฐะว่า

น สมาธิสวตฺตนิกานิ ดังนี้บ้าง ความอย่างเดียวกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 584

ส่วนอาจารย์บางพวกพรรณนาความไว้อย่างนี้ว่า ชื่อว่า ขณฺฑานิ

เพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย, แม้ชื่อว่า ฉิทฺทานิ ก็อย่าง

นั้น. ชื่อว่า สพลานิ เพราะมีสีต่าง ๆ กัน, แม้ชื่อว่า กมฺมาสานิ

ก็อย่างนั้น. ชื่อว่า น ภุชิสฺสานิ เพราะถึงความเป็นทาสของตัณหา.

ชื่อว่า น วิญฺญุปฺปสฏฺานิ เพราะถูกผู้ฉลาดติเตียน. ชื่อว่า ปรามฏฺ-

ฐานิ เพราะถูกตัณหาจับต้อง. ชื่อว่า อสมาธิสวตฺตนิกานิ เพราะ

เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน.

บทว่า น อวิปฺปฏิสารวตฺถุกานิ - เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน

ความว่า เป็นที่ตั้งแห่งความไม่เดือดร้อนหามิได้ เพราะนำมาซึ่งความ

เดือดร้อน.

บทว่า น ปามุชฺชวตฺถุกานิ - ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์

ความว่า ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติอย่างอ่อนอันไม่เกิดความเดือดร้อน เพราะ

ไม่นำปีติอย่างอ่อนนั้นมา. แม้ในบทที่เหลือก็พึงประกอบอย่างนี้.

บทว่า น ปีติวตฺถุกานิ - ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติ ความว่า ไม่เป็น

ที่ตั้งแห่งปีติอย่างแรงอันเกิดแต่ปีติอย่างอ่อน.

บทว่า น ปสฺสทฺธิวตฺถุกานิ - ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความระงับ

ความว่าไม่เป็นที่ตั้งแห่งความระงับกายและจิตอันเกิดแต่ปีติอย่างแรง

บทว่า น สุขวตฺถุกานิ - ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสุข ความว่า

ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสุขทางกายและทางใจอันเกิดแต่ความสงบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 585

บทว่า น สมาธิวตฺถุกานิ - ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ ความว่า

ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิอันเกิดแต่ความสุข.

บทว่า น ยถาภูตญาณทสฺสนวตฺถุกานิ - ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง

ยถาภูตญาณทัสนะ ความว่า ไม่เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสนะอัน

เป็นปทัฏฐานแห่งสมาธิ.

ในบทมีอาทิว่า น เอกนฺตนิพฺพิทาย - ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อ

หน่ายโดยส่วนเดียว พึงนำ อักษรมาประกอบแม้ในบทที่เหลือโดย

นัยมีอาทิว่า น วิราคาย - ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด.

อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะมี อักษรในบทมีอาทิว่า น วิราคาย.

ในบทเหล่านั้นบทว่า เอภนฺตนิพฺพิทาย พึงทราบความเชื่อม

ว่า ศีลทั้งหลายย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายในวัฏฏะโดยส่วนเดียว.

แม้ในบทที่เหลือก็พึงประกอบอย่างนี้.

บทว่า วิราคาย คือ เพื่อความคลายกำหนัดในวัฏฏะ.

บทว่า นิโรธาย คือ เพื่อความดับแห่งวัฏฏะ.

บทว่า อุปสมาย คือ เพื่อความสงบแห่งวัฏฏะด้วยความไม่เกิด

อีกแห่งวัฏฏะที่ดับแล้ว.

บทว่า อภิญฺาย คือ เพื่อความรู้ยิ่งแห่งวัฏฏะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 586

บทว่า สมฺโพธาย - เพื่อความตรัสรู้ คือ เพื่อความตื่นจากวัฏฏะ

โดยปราศจากการหลับ คือกิเลส.

บทว่า นิพฺพานาย คือ เพื่อนิพพานอันเป็นอมตะ.

บทว่า ยถาสมาทินฺน สิกฺขาปท วีติกฺกมาย - เพื่อล่วงสิกขา-

บทตามที่ตนสมาทานไว้ ในบทนี้ท่านประกอบเป็นทุติยาวิภัตติด้วย

วิภัตติวิปลาส.

บทว่า จิตฺตมฺปิ น อุปฺปาเทติ แม้ความคิดก็ใช่ให้เกิดขึ้น

ท่านกล่าวเพื่อแสดงความที่ศีลบริสุทธิ์ออย่างยิ่ง ด้วยความบริสุทธิ์แห่ง

จิตตุปบาท. ศีลมิใช่ขาดไปด้วยเพียงจิตตุปบาท.

บทว่า กึ โส วีติกฺกมิสฺสติ เขาจักล่วงสิกขาบทได้อย่างไรเล่า

คือเขาจักทำการล่วงเพื่ออะไร, อธิบายว่า เขาจักไม่ทำการล่วงนั่นเอง.

บทมีอาทิว่า อขณฺฑานิ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามดังที่กล่าว

แล้วในหนหลัง. ปาฐะว่า น ขณฺฑานิ บ้าง. ในบทมีอาทิว่า

เอกนฺตนิพฺพิทาย พึงประกอบโดยนัยมีอาทิว่า เอกนฺเตน วฏฺเฏ

นิพฺพินฺทนตฺถาย เพื่อความเบื่อหน่ายในวัฏฏะโดยส่วนเดียว.

อนึ่ง ในบทเหล่านี้ บทว่า นิพฺพิทาย ได้แก่ วิปัสสนา.

บทว่า วิราคาย ได้แก่ มรรค.

บทว่า นิโรธาย อุปสมาย ได้แก่ นิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 587

บทว่า อภิญฺาย สมฺโพธาย ได้แก่ มรรค.

บทว่า นิพฺพานาย ได้แก่ นิพพาน เท่านั้น. พึงทราบกถา

ที่ยังไม่ชัดอย่างนี้ว่า ท่านกล่าวว่า วิปัสสนาในฐานะ ๑, มรรคใน

ฐานะ ๒, นิพพานในฐานะ ๓. แต่โดยปริยายบททั้งหมดเหล่านี้เป็น

ไวพจน์ของมรรคบ้าง เป็นไวพจน์ของนิพพานบ้าง.

๘๙] บัดนี้ พระสากรีบุตรครั้นแสดงประเภทของศีลที่มีอยู่ด้วย

มีที่สุดและไม่มีที่สุดแล้ว เพื่อแสดงประเภทของศีลโดยสัมปยุตด้วย

ธรรม ด้วยชาติ ด้วยปัจจัยต่อไป จึงกล่าวบทมีอาทิว่า กิ สีล-อะไร

เป็นศีลดังนี้.

ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า สมุฏาน เพราะมีวิเคราะห์ว่าศีลเป็น

เหตุตั้งขึ้น. บทนี้เป็นชื่อของปัจจัย. ชื่อว่า สมุฏาน เพราะมี

วิเคราะห์ว่าศีลมีอะไรเป็นมุฏฐาน. ชื่อว่ากติธมฺมสโมธาน เพราะ

มีวิเคราะห์ว่าศีลเป็นที่ประชุมที่ประมวลแห่งธรรมอะไร.

บทว่า เจตนา สีล-เจตนาเป็นศีล ความว่า เจตนาของผู้

เว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น หรือของผู้บำเพ็ญวัตรปฏิบัติ.

บทว่า เจตสิก สีล-เจตสิกเป็นศีล ความว่า การเว้นของ

ผู้เว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาชื่อว่าเป็นศีล ได้

แก่ เจตนาในกรรมบถ ๗ ของผู้เว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น. เจตสิก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 588

ชื่อว่าเป็นศีล ได้แก่ ธรรม คือ อนภิชฌาอัพยาบาทและสัมมาทิฏฐิที่

ท่านกล่าวไว้ โดยนัยมีอาทิว่า อภิชฺฌ โลเก ปหาย วิคตาภิชฺเฌน

เจตสา วิหรติ - ภิกษุละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่.

ในบทว่า สรโร สีล ความสำรวมเป็นศีลนี้ พึงทราบความ

สำรวมมี ๕ อย่าง คือ ปาติโมกขสังวร - ความสำรวมในปาติโมกข์ ๑

สติสังวร - ความสำรวมในสติ ๑ ญาณสังวร - ความสำรวมในญาณ

ขันติสังวร - ความสำรวมในขันติ ๑ วีริยสังวร - ความสำรวมใน

ความเพียร ๑.

ในความสำรวม ๕ อย่างนั้นภิกษุเข้าถึง เข้าถึงเสมอด้วยความ

สำรวมในปาติโมกข์นี้ นี้ชื่อว่า ปาติโมกขสังวร. ภิกษุรักษาจักขุน-

ทรีย์, ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์นี้ ชื่อว่า สติสังวร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ยานิ โสตานิ โลกสฺมึ สติ เตส นิวารณ

โสตาน สวร พฺรูมิ ปญฺาเยเต ปิถิยฺยเร.

ดูก่อนอชิตะ สติเป็นเครื่องห้ามกระแสใน

โลก เรากล่าวการสำรวมกระแสเหล่านั้น บัณฑิต

พึงปิดกั้นกระแสเหล่านี้ด้วยปัญญา.

๑. ที. สี. ๙/๑๒๕. ๒. อภิ. วิ. ๓๕/๖๐๒. ๓. องฺ. ติก. ๒๐/๔๕๕.

๔. ขุ. สุ. ๒๕/๔๒๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 589

นี้ชื่อว่า ญาณสังวร. แม้การเฉพาะปัจจัย ก็ย่อมเข้าใน

บทนี้ด้วยเหมือนกัน. ความสำรวมมาแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ขโม โหติ

สีตสฺส อุณฺหสฺส - ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อความหนาวความร้อน นี้ชื่อว่า

ขันติสังวร. ความสำรวมมาแล้วโดยนัยมีอาทิว่า อุปปนฺน กามวิตกฺก

นาธิวาเสติ - ภิกษุอดกลั้นกามวิตกที่เกิดขึ้น นี้ชื่อว่า วีริยสังวร.

แม้ว่าอาชีพบริสุทธิ์ก็รวมเข้าในบทนี้ด้วยเหมือนกัน. ความสำรวม ๕ อย่าง

นี้ด้วยประการฉะนี้, อนึ่ง เจตนาเว้นจากวัตถุที่มาถึงของกุลบุตร

แม้อาชีพบริสุทธิ์ก็รวมเข้าในบทนี้ด้วยเหมือนกัน. ความสำรวม ๕ อย่าง

นี้ด้วยประการฉะนี้, อนึ่ง เจตนาเว้นจากวัตถุที่มาถึงของกุลบุตร

ผู้กลัวบาป, พึงทราบว่าทั้งหมดนั้นเป็น สังวรศีล.

บทว่า อวีติกฺกโม สีล-ความไม่ก้าวล่วงเป็นศีล ได้แก่ ความ

ไม่ก้าวล่วงทางกายและทางวาจาของผู้สมาทานศีล. นี้เป็นการแก้ปัญหา

ว่า กึ สีล อะไรเป็นศีลไว้เพียงนี้ก่อน.

ในการแก้ปัญหาว่า กติ สีลานิ - ศีลมีเท่าไร เพราะปกติของ

สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ในโลก ท่านกล่าวว่า สีล ไว้ในบทนี้ว่า

กุสลสีล - กุศลเป็นศีล อกุสลสีล - อกุศลเป็นศีล อพฺยากตสีล -

อัพยากฤตเป็นศีล, อาจารย์ทั้งหลายกล่าวหมายถึงศีลว่า นี้เป็น สุขศีล

- ความสุขเป็นศีล นี้เป็น ทุกขศีล - ความทุกข์เป็นศีล นี้เป็น

กลหศีล - การทะเลาะกันเป็นศีล นี้เป็น มัณฑนศีล - การตบแต่ง

เป็นศีล. ฉะนั้นโดยปริยายนั้น แม้ อกุสลศีล ท่านก็กล่าวว่าเป็นศีล

๑. ม. มู. ๑๒/๑๕. ๒. ม. มู. ๑๒/๑๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 590

ด้วยการยกเอาความขึ้น แต่ศีลที่ท่านประสงค์เอาในที่นี้ไม่มีเพราะบาลี

ว่า สุตฺวาน สวเร ปญฺา - ปัญญาในการฟังแล้วสำรวม ดังนี้.

อนึ่ง เพราะจิตที่สัมปยุต เป็นสมุฏฐานของศีลอันเป็นประเภท

มีเจตนาเป็นต้น, ฉะนั้นพระสารีบุตรจึงกล่าวบทมีอาทิว่า กุสลจิตต-

สมุฏฺาน กุสลสีล - กุศลศีลมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน,

บทว่า สรรสโมธาน สีล - ศีลเป็นที่ประชุมแห่งสังวร ได้แก่

ขันธ์สัมปยุตด้วยความสำรวม. จริงอยู่ ขันธ์เหล่านั้นมาพร้อมกับด้วย

ความสำรวม ท่านจึงกล่าวว่า มิสฺสีภูตา - เป็นสิ่งปนกัน สวรสโมธาน-

เป็นที่ประชุมแห่งสังวร. แม้ศีลเป็นที่ประชุมแห่งการไม่ก้าวล่วง ก็พึง

ทราบอย่างนี้.

บทว่า ตถาภาเว ชาตเจตนา สโมธาน สีล - ศีลเป็นที่

ประชุมแห่งเจตนาอันเกิดในความเป็นอย่างนั้น ได้แก่ ขันธ์อันสัมปยุต

ด้วยเจตนาอันเกิดในความสำรวม ในความไม่ก้าวล่วง. อนึ่ง ท่าน

ประสงค์เอาธรรมสัมปยุตด้วยเจตนานั้น ในเจตนาแม้ทั้ง ๓, ฉะนั้นพึง

ทราบว่า ท่านไม่ชี้แจงศีลเป็นที่ประชุมแห่งเจตสิกไว้ต่างหากกัน เพราะ

แม้เจตสิกท่านก็วิเคราะห์ด้วยการประชุมแห่งเจตนา. ธรรมทั้งหลาย

มีเจตนาเป็นต้น ท่านกล่าวว่า สีล ไว้ในภายหลังแล้ว. พึงทราบว่า

ท่านกล่าวติกะนี้เพื่อแสดงว่า ธรรมเหล่านั้นไม่ใช่ศีลอย่างเดียว, แม้

ธรรมสัมปยุตด้วยศีลนั้นก็เป็นศีลเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 591

บัดนี้ เพราะเจตนาและเจตสิกเป็นอันไม่ก้าวล่วงสังวรด้วยกัน,

ฉะนั้นพระสารีบุตรเมื่อจะประกอบการไม่ก้าวล่วงสังวร โดยลำดับทั่วไป

ตลอดถึงอรหัตมรรค จึงกล่าวบทมีอาทิว่า ปาณาติปาต สวรฏฺเน

สีล, อวีติกฺกมฏฺเน สีล - ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่าสำรวมและไม่

ก้าวล่วงปาณาติบาตดังนี้. เพราะการเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ย่อม

สำรวมสิ่งเป็นข้าศึกของตน ๆ และย่อมไม่ก้าวล่วงเป็นข้าศึกนั้น,

ฉะนั้นชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่าสำรวม เพราะอรรถว่าไม่ก้าวล่วง เพราะ

สำรวมและเพราะไม่ก้าวล่วง.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปาณาติปาต สวรฏฺเน - ได้แก่ ชื่อว่า

ศีล เพราะอรรถว่าปิดปาณาติบาต. ศีลข้อนั้นคืออะไร ? คือ ปาณา-

ติปาตา เวรมณี. อนึ่ง ปาณาติปาตา เวรมณี นั้นสำรวมศีลข้อนั้น

ไม่ก้าวล่วงศีลนั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า สีล เพราะอรรถว่าไม่ก้าวล่วง.

ศีลข้อ อทินฺนาทาน เวรมณี เป็นต้น พึงประกอบอนภิชฌาอัพยา-

บาทและสัมมาทิฏฐิเข้าด้วยกัน.

ในบทมีอาทิว่า ปาณาติปาต พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ การ

ยังสัตว์ให้ตกไปในอกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า ปาณาติบาต, ท่าน

อธิบายว่า การประหารสัตว์ การฆ่าสัตว์.

อนึ่ง ในบทว่า ปาโณ นี้ โดยโวหาร ได้แก่ สัตว์, โดย

ปรมัตถ์ ได้แก่ ชีวิตินทรีย์. สัตว์มีชีวิตก็รู้ว่ามีชีวิต เจตนาที่จะฆ่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 592

เป็นไปในทวารใดทวารหนึ่ง แห่งกายทวารและวจีทวาร ตั้งความ

พยายามในอันที่จะตัดชีวิตินทรีย์ ชื่อว่า ปาณาติบาต. บรรดาสัตว์

ทั้งหลาย มีสัตว์เดียรัจฉานเป็นต้นไม่มีคุณ ปาณาติบาตนั้น ก็มีโทษ

น้อยในสัตว์เล็ก ๆ, มีโทษมากในสัตว์ใหญ่. เพราะเหตุไร ? เพราะ

ใช้ความพยายามมาก. เพราะแม้ในการพยายามก็ต้องใช้เครื่องมือใหญ่,

ในมนุษย์เป็นต้น ผู้มีคุณพึงทราบว่า ปาณาติบาตมีคุณน้อยในมนุษย์ผู้

มีคุณน้อย, มีโทษมากในมนุษย์ผู้มีคุณมาก. เมื่อร่างกายและคุณเสมอ

กัน ปาณาติบาตมีโทษน้อย เพราะกิเลสและความพยายามอ่อน, มี

โทษมาก เพราะกิเลสและความพยายามกล้า.

ปาณาติบาตนั้น มีองค์ ๕ คือ

๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต

๒. ปาณสญฺิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต

๓. วธกจิตฺต จิตคิดจะฆ่า

๔. อุปกฺกโม พยายามที่จะฆ่า

๕. เตน มรณ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น.

การถือเอาของที่เขาไม่ให้เป็น อทินนาทาน, ท่านอธิบายการ

นำของ ๆ คนอื่นไป มีจิตคิดจะลัก เป็นหัวขโมย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 593

ในบทเหล่านั้นบทว่า อทินฺน - ของที่เขาไม่ให้ คือของที่คนอื่น

หวงแหน. คนอื่นได้รับของที่ตนทำตามความประสงค์ เป็นผู้ไม่ควรได้

รับอาชญา และไม่ควรติเตียนในวัตถุใด, เมื่อวัตถุนั้นคนอื่นหวงแหน

ตนก็รู้ว่าคนอื่นหวงแหน เจตนาว่าจะลักเป็นไปในทวารใดทวารหนึ่ง

แห่งกายทวารและวจีทวาร อันตั้งขึ้นด้วยความพยายามที่จะถือเอาของ

นั้น ชื่อว่า อทินนาทาน. อทินนาทานนั้นมีโทษน้อย ในของของ

คนอื่นที่เลว, มีโทษมากในของที่ประณีต. เพราะเหตุไร ? เพราะวัตถุ

ประณีต. เมื่อวัตถุเสมอกันมีโทษมากในวัตถุอันเป็นของ ของผู้ยิ่งด้วย

คุณ, มีโทษน้อยในวัตถุอันเป็นของ ของผู้มีคุณเลวกว่าผู้ยิ่งด้วยคุณ

นั้น ๆ หมายเอาวัตถุนั้น ๆ มีคุณยิ่ง.

อทินนาทานนั้น มีองค์ ๕ คือ

๑. ปรปริคฺคหิต - ของอันคนอื่นหวงแหน

๒. ปรปริคฺคหิตสญฺิตา - รู้ว่าคนอื่นหวงแหน

๓. เถยฺยจิตฺต - จิตคิดจะลัก

๔. อุปกฺกโม - พยายามที่จะลัก

๕. เตน หรณ - นำไปด้วยความพยายามนั้น.

บทว่า กาเมสุ ได้แก่ การประพฤติในเมถุน. บทว่า มิจฺฉา-

จาโร ได้แก่ ประพฤติลามกที่ถูกติเตียนโดยส่วนเดียว. แต่โดยลักษณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 594

เจตนาที่จะก้าวล่วงฐานะหญิงที่ไม่ควร ถึงเป็นไปในกายทวารโดยประ-

สงค์จะประพฤติชั่ว - อสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุ มิจฉาจาร.

ในบทนั้นหญิง ๒๐ จำพวก คือ หญิงอันมารดาคุ้มครองเป็นต้น

๑๐ จำพวก คือ มารดาคุ้มครอง ๑ บิดาคุ้มครอง ๑ มารดาคุ้มครอง

๑ พี่ชายคุ้มครอง ๑ พี่สาวคุ้มครอง ๑ ญาติคุ้มครอง ๑ โคตรคุ้มครอง

๑ ธรรมคุ้มครอง ๑ มีผู้อารักขา ๑ มีโทษทัณฑ์ ๑. หญิง ๑๐ จำพวก

คือ หญิงที่ได้มาด้วยทรัพย์เป็นต้น ๑๐ จำพวก คือ หญิงได้มาด้วยทรัพย์

๑ อยู่ด้วยความพอใจ ๑ อยู่ด้วยโภคะ ๑ อยู่ด้วยใยผ้า ๑ หิ้วถึงน้ำ ๑

เทินภาชนะบนศีรษะ ๑ ภริยาที่เป็นทาสี ๑ ภรรยาที่เป็นกรรมกร ๑

นำมาด้วยธง ๑ อยู่ชั่วคราว ๑ ชื่อว่า อคมนียาน คือ ฐานะหญิงที่

บุรุษไม่ควรถึง ของบุรุษทั้งหลาย. ก็ในบรรดาหญิงทั้งหลายบุรุษอื่น

ชื่อว่าเป็นอคมนียฐานของหญิง ๑๒ จำพวก คือ หญิงที่มีผู้คุ้มครอง และ

หญิงถูกลงโทษทัณฑ์ ๒ และหญิงที่ไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้น ๑๐ จำพวก

นี้.

อนึ่ง มิจฉาจารนั้นมีโทษน้อยในหญิงที่เป็นอคมนียฐานผู้ไม่มี

คุณธรรมมีศีลเป็นต้น, มีโทษมากในหญิงผู้สมบูรณ์ด้วยคุณธรรมมีศีล

เป็นต้น.

มิจฉาจารนั้น มีองค์ ๔ คือ

๑. อคมนียวตฺถุ - วัตถุที่ไม่ควรถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 595

๒. ตสฺมึ เสวนจิตฺต - จิตคิดจะเสพในวัตถุที่ไม่ควรถึงนั้น

๓. เสวนปฺปโยโค - พยายามที่จะเสพ

๔. มคฺเคน มคฺคปฏิปตฺติอธิวาสน - มรรคจดมรรค.

บทว่า มุสา ได้แก่ วจีปโยคะ หรือกายปโยคะ อันหัก

ประโยชน์ของผู้ที่มุ่งจะพูดให้ผิด. เจตนาตั้งขึ้นด้วยกายปโยคะ และวจี-

ปโยคะของผู้พูดให้ผู้อื่นเข้าใจผิด โดยประสงค์ให้เขาเข้าใจผิด ชื่อว่า

มุสาวาท. อีกนัยหนึ่ง บทว่า มุสา ได้แก่ เรื่องไม่จริง ไม่แท้.

บทว่า วาโท ได้แก่ พูดให้เขารู้โดยความจริง โดยความแท้. แต่

โดยลักษณะ เจตนาตั้งขึ้นด้วยความบอกเล่าอย่างนั้น ของผู้ประสงค์จะ

ให้ผู้อื่นรู้เรื่องไม่จริงโดยความเป็นจริง ชื่อว่า มุสาวาท. มุสาวาทนั้น

มีประโยชน์น้อย เพราะประโยชน์ที่หักน้อย, มีโทษมากเพราะประ

โยชน์มาก. อีกอย่างหนึ่ง มีโทษน้อยเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ของ

ของตนไม่มี เพราะประสงค์จะไม่ให้แก่คฤหัสถ์, มีโทษมาก เป็น

พยายามพูดเพื่อหักล้างประโยชน์. มีโทษน้อยเป็นไปโดยนัยที่บรรพชิต

ได้น้ำมันหรือเนยใสน้อย แล้วพูดแดกดันด้วยประสงค์จะหัวเราะเล่นว่า

วันนี้ในบ้านคงจะมีน้ำมันไหลมาดุจแม่น้ำซินะ, มีโทษมากแก่ผู้พูดโดย

นัยมีอาทิว่า ไม่เห็นแล้ว ยังพูดว่าเห็นดังนี้.

มุสาวาท มีองค์ ๔ คือ

๑. อตถ วตฺถุ - เรื่องไม่จริง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 596

๒. วิสวาทนจิตฺต - จิตคิดจะพูดให้ผิด

๓. ตชฺโช วายาโม - พยายามเกิดจากจิตคิดจะพูดให้ผิดนั้น

๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานน - ผู้อื่นรู้ความประสงค์ของคำพูด

นั้น.

วาจาที่พูดทำความน่ารักของตนในหัวใจของผู้นั้น และทำผู้อื่น

ให้เสียหาย ชื่อว่า ปีสุณา วาจา - วาจาส่อเสียด.

วาจาที่ทำตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง ให้หยาบ แม้วาจาเองก็หยาบ

ไม่สบายหูหรือไม่สบายใจ ชื่อว่า ผรุสา วาจา - วาจาหยาบ.

วาจาที่พูดพร่ำเหลาะแหละไม่มีประโยชน์ ชื่อว่า สมฺผปฺปลาโป

- พูดเพ้อเจ้อ.

แม้เจตนาอันเป็นมูลเหตุของมุสาวาทเหล่านั้น ก็ได้ชื่อมีปิสุณา

วาจาเป็นต้น. ปิสุณา วาจา นั่นแล ท่านประสงค์เอาในที่นี้.

ในบทว่า ปิสุณา วาจา นั้น เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมอง

ตั้งขึ้นด้วยกายปโยคะและวจีปโยคะ เพื่อทำลายผู้อื่นหรือเพื่อประสงค์

ให้เป็นที่รักของตน ชื่อว่า ปิสุณา วาจา. ปิสุณา วาจา นั้น ชื่อว่า

มีโทษน้อย เพราะทำความทำลายแก่ผู้ที่มีคุณธรรมน้อย, ชื่อว่ามีโทษ

มาก เพราะทำความทำลายแก่ผู้มีคุณธรรมมาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 597

ปิสุณวาจานั้น มีองค์ ๔ คือ

๑. ผู้อื่นอันตนควรทำลาย,

๒. มุ่งความทำลายว่าคนเหล่านี้จักเป็นไปต่าง ๆ ประสงค์ให้

เป็นที่รักว่า เราจักเป็นที่รัก จักเป็นที่คุ้นเคย,

๓. ความพยายามเกิดจากความประสงค์นั้น,

๔. ให้ผู้นั้นรู้ความประสงค์ของความพยายาม.

ก็เมื่อผู้อื่นยังไม่แตกกัน กรรมบถยังไม่แตก, เมื่อเขาแตกกัน

แล้วกรรมบถจึงแตก.

เจตนาหยาบโดยส่วนเดียวตั้งขึ้นด้วยกายปโยคะและวจีปโยคะ

ตัดความรักของผู้อื่น เป็น ผุรสา วาจา. ปโยคะ แม้ตัดความรัก

ก็ยังไม่เป็น ผุรสา วาจา เพราะจิตยังอ่อน. จริงอยู่ มารดาบิดาบาง

ครั้งย่อมพูดกะบุตรน้อยอย่างนี้ว่า ขอให้โจรจับพวกเจ้าสับให้เป็นชิ้น ๆ

เถิด ดังนี้. อันที่จริงแล้วมารดาบิดาไม่ปรารถนาแม้จะให้ใบบัวตกลง

บนศีรษะของบุตรน้อยเหล่านั้นเลย. อนึ่ง อาจารย์และอุปัชฌาย์บาง

ครั้งยังกล่าวกล่าวกนิสิตอย่างนี้ว่า อะไรพวกนี้ช่างไม่มีหิริโอตตัปปะกัน

เสียบ้างเลย, ไล่ออกไปให้หมด. แต่ที่แท้แล้วอาจารย์และอุปัชฌาย์

ปรารถนาให้นิสิตเหล่านั้นถึงพร้อมด้วยการศึกษาเล่าเรียน และบรรลุ

ด้วยกันทั้งนั้น. วาจาหยาบมีไม่ได้เพราะจิตอ่อนฉันใด, แม้วาจาไม่

หยาบก็มีไม่ได้เพราะคำพูดอ่อนฉันนั้น. ผู้ประสงค์จะให้คนตายพูดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 598

พวกท่านจงให้คนนี้นอนให้สบายเถิดดังนี้เป็นวาจาหยาบ, วาจานี้เป็น

วาจาหยาบเพราะจิตหยาบ, วาจาหยาบนั้นมีโทษน้อย เพราะผู้ที่กล่าว

หมายถึงนั้นเป็นผู้มีคุณน้อย, ชื่อว่ามีโทษมากเพราะผู้ที่กล่าวหมายถึง

นั้นมีคุณมาก.

ผรุสวาจานั้น มีองค์ ๓ คือ

๑. อกฺโกสิตพฺโพ ปโร - คนอื่นที่ควรด่า,

๒. กุปิตจิตฺต - มีจิตโกรธเคือง,

๓. อกฺโกสนา - การด่า.

เจตนาเป็นอกุศลตั้งขึ้นด้วยกาปโยคะและวจีปโยคะ เพื่อให้

รู้ความฉิบหาย ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ. สัมผัปปลาปะนั้น มีโทษน้อย

เพราะอาเสวนะน้อย, มีโทษมากเพราะอาเสวนะมาก.

สัมผัปปลาปะ มีองค์ ๒ คือ

๑. มุ่งพูดเรื่องไม่เป็นเรื่อง มีเรื่องภารตยุทธ์และเรื่องชิงนาง

สีดาเป็นต้น,

๒. การพูดเรื่องอย่างนั้น.

ก็เมื่อคนอื่นไม่เชื่อเรื่องนั้น กรรมบถยังไม่แตก. เมื่อคนอื่นเชื่อ

คำพูดเพ้อเจ้อนั้น กรรมบถจึงแตก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 599

ชื่อว่า อภิชฌา เพราะอรรถว่า เพ่ง, อธิบายว่า เป็นผู้มุ่ง

ภัณฑะของผู้อื่น ย่อมเป็นไปเพราะจิตน้อมไปในภัณฑะนั้น. อภิชฌา

นั้น มีลักษณะเพ่งภัณฑะของคนผู้อื่นอย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอภัณฑะนี้

จึงจะเป็นของเราได้, อภิชฌานั้นมีโทษน้อยและมีโทษมาก ดุจอทิน-

นาทาน.

อภิชฌานั้น มีองค์ ๒ คือ

๑. ปรภณฺฑ - ภัณฑะของผู้อื่น,

๒. อตฺตโน ปริณามญฺจ - น้อมไปเพื่อตน.

เมื่อความโลภในวัตถุอันเป็นของของผู้อื่น แม้เกิดขึ้นแล้ว

กรรมบถก็ยังไม่แตก ตลอดเวลาที่ยังไม่น้อมไปเพื่อตนว่า ทำอย่างไรหนอ

ภัณฑะนี้จึงจะเป็นของเราได้ดังนี้.

ชื่อว่า พยาบาท เพราะอรรถว่า ยังประโยชน์เกื้อกูลและ

ความสุข ให้ถึงความพินาศ. พยาบาทนั้นมีใจมุ่งความพินาศแก่ผู้อื่น

มีลักษณะประทุษร้าย, มีโทษน้อยและมีโทษมาก ดุจผรุสวาจา.

พยาบาทนั้น มีองค์ ๒ คือ

๑. ปรสตฺโต - สัตว์อื่น,

๒. ตสฺส วินาสจินฺตา - คิดความพินาศแก่สัตว์อื่นนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 600

เมื่อความโกรธในสัตว์อื่น แม่เกิดขึ้นแล้ว กรรมบถก็ยังไม่แตก

ก่อนตลอดเวลาที่ยังไม่คิดถึงความพินาศแก่สัตว์นั้นว่า ทำอย่างไรหนอ

ผู้นี้จึงจะล่มจมพินาศไปเสียทีดังนี้.

ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นผิดโดยไม่มีการถือ

ความจริง. มิจฉาทิฏฐินั้นมีลักษณะเห็นวิปริตโดยนัย มีอาทิว่า นตฺถิ

ทินฺน - ทานที่ให้แล้วไม่มีผล, มิจฉาทิฏฐิมีโทษน้อยและมีโทษมาก ดุจ

สัมผัปปลาปะ. อีกอย่างหนึ่ง มีโทษน้อยไม่แน่นอน, มีโทษมาก

แน่นอน.

มิจฉาทิฏฐินั้น มีองค์ ๒ คือ

๑. ความที่วัตถุวิปริตจากอาการที่ถือไว้,

๒. ความปรากฏแห่งวัตถุนั้นโดยความไม่เป็นอย่างที่ถือไว้.

ในมิจฉาทิฏฐินั้น กรรมบถแตก ย่อมมีได้ด้วย นัคถิกทิฏฐิ.

- ความเห็นว่าไม่มี อเหตุกทิฏฐิ - ความเห็นว่าไม่เป็นเหตุ อกิริย-

ทิฏฐิ - ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ, มิใช่ด้วยทิฏฐิอื่น. อกุศลกรรมบถ

๑๐ เหล่านี้พึงทราบวินิจฉัยโดยอาการ ๕ คือ โดยธรรม ๑ โดยโกฏ-

ฐาส คือ ส่วน ๑ โดยอารมณ์ ๑ โดยเวทนา ๑ โดยมูลเหตุ ๑.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ธมฺมโต - โดยธรรม ได้แก่ เจตนาธรรม

๗ อย่าง อกุศลกรรมบถ ๓ อย่าง มีอภิชฌาเป็นต้น สัมปยุตด้วยเจตนา

ย่อมมีตามลำดับในอกุศลกรรมบถเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 601

บทว่า โกฏฺาสโต - โดยส่วน ได้แก่ ธรรม ๘ เหล่านี้ คือ

เจตนาธรรม ๗ ตามลำดับ และ มิจฉาทิฏฐิ เป็นกรรมบถแน่นอน,

มิใช่เป็นมูลเหตุ. อภิชฌา และ พยาบาท เป็นทั้งกรรมบถ เป็นทั้ง

มูลเหตุ. จริงอยู่ อภิชฌา โลภะ เป็นอกุศลมูลเพราะถึงแล้วซึ่งมูล

เหตุ, พยาบาท โทสะ เป็นอกุศลมูล.

บทว่า อารมฺมณโต - โดยอารมณ์ ได้แก่ ปาณาติบาต มี

สังขารเป็นอารมณ์ โดยเป็นอารมณ์ของชีวิตินทรีย์. อทินนาทาน มี

สัตว์เป็นอารมณ์หรือมีสังขารเป็นอารมณ์. มิจฉาจาร มีสังขารเป็น

อารมณ์ด้วยอำนาจโผฏฐัพพะ, อาจารย์พวกหนึ่ง กล่าวว่ามีสัตว์เป็น

อารมณ์ดังนี้บ้าง. มุสาวาท มีสัตว์เป็นอารมณ์หรือมีสังขารเป็นอารมณ์.

ปิสุณา วาจา ก็อย่างนั้น. ผรุสวาจา มีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว.

สัมผัปปลาปะ มีสัตว์เป็นอารมณ์หรือมีสังขารเป็นอารมณ์โดยสามารถ

รูปที่เห็น เสียงที่ฟัง กลิ่นรสสัมผัสที่รู้ และธรรมที่ทราบ, อภิชฌาก็

อย่างนั้น. พยาบาทมีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว. มิจฉาทิฏฐิ มีสังขาร

เป็นอารมณ์อย่างเดียว ด้วยอำนาจธรรมเป็นไปในภูมิ ๓

บทว่า เวทนาโต - โดยเวทนา ได้แก่ ปาณาติบาต เป็น

ทุกขเวทนา. อันที่แท้จริง พระราชาทรงเห็นโจร แม้ทรงพระสรวล

ก็ยังตรัสว่า ดูก่อนพนาย พวกเจ้าจงไปฆ่ามันเสียดังนี้, ถึงดังนั้นเจตนา

ที่ตกลงใจของพระราชาทั้งหลาย ก็สัมปยุตด้วยทุกข์. อทินนาทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 602

เป็นเวทนา ๓. เพราะ อทินนาทาน นั้น เป็น สุขเวทนา แก่ผู้เห็น

ภัณฑะของผู้อื่นแล้วรื่นเริงดีใจฉวยเอาไป, เป็น ทุกขเวทนา แก่ผู้

ฉวยเอาไป มีความหวาดกลัว, อนึ่งเมื่อพิจารณาวิบากและผลที่

หลั่งไหลมาก็เป็น อทุกขมฺสุขเวทนา แก่ผู้ที่ถือเอาตั้งอยู่ในความ

เป็นกลางในเวลาฉวยเอาไป. มิจฉาจารมีเวทนา ๒ ด้วยสามารถแห่ง

สุขเวทนา และความเป็นกลาง, เวทนาในความเป็นกลาง ย่อมไม่มี

ในจิตที่ตกลงทำ.

มุสาวาท มีเวทนา ๓ โดยนัยดังกล่าวแล้ว ในอทินนาทาน

นั่นแล, ปิสุณา วาจา ก็อย่างนั้น. ผรุสา วาจา เป็นทุกขเวทนา.

สัมผัปปลาปะ มีเวทนา ๓. เมื่อผู้อื่นให้สาธุการยกผ้าเป็นต้น

ขึ้นโบกผู้นั้นมีสุขเวทนาในเวลากล่าว มีเรื่องชิงนางสีดาและภารตยุทธ์

เป็นต้น ของผู้รื่นเริงยินดี, เมื่อคนหนึ่งผู้ให้สินจ้างไว้ก่อนแล้ว แต่มา

ภายหลังกล่าวว่า ท่านจงเล่าตั้งแต่ต้นเถิดเขาย่อมมีทุกขเวทนาในเวลา

กล่าวของผู้ที่เกิดโทมนัสว่า เราจักกล่าวเรื่องเบ็ดเตล็ดติดต่อกันไปไม่ให้

มีเหลือหรือจักไม่กล่าวหนอ. ย่อมเป็นอทุกขมสุขเวทนาแก่ผู้กล่าวเป็น

กลาง ๆ.

อภิชฌา มีเวทนา ๒ ด้วยสามารถแห่งสุขเวทนาและความเป็น

กลาง, มิจฉาทิฏฐิ ก็อย่างนั้น, พยาบาท เป็น ทุกขเวทนา. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 603

มูลโต คือ ปาณาติบาต มี ๒ มูลเหตุด้วยสามารถแห่ง โทสะ และ

โมหะ , อทินนาทาน มี ๒ มูลเหตุด้วยสามารถ โทสะ และ โมหะ

หรือด้วยสามารถแห่ง โลภะ และ โมหะ มิจฉาจาร มี ๒ มูลเหตุ

ด้วยสามารถแห่ง โลภะ และ โมหะ, มุสาวาท มี ๒ มูลเหตุด้วย

โทสะและโมหะหรือด้วยสามารถแห่งโลภะและโมหะ, ปิสุณา วาจา

และ สัมผัปปลาปะ ก็อย่างนั้น. ผรุสวาจา มี ๒ มูลเหตุด้วยสามารถ

แห่งโทสะและโมหะ, อภิชฌา มี ๑ มูลเหตุด้วยสามารถแห่งโมหะ,

พยาบาท ก็อย่างนั้น. มิจฉาทิฏฐิ มี ๒ มูลเหตุด้วยสามารถแห่ง

โลภะและโมหะ ด้วยประการฉะนี้.

จบ อกุศลกรรมมถกถา

ชื่อว่า กุศลกรรมบถ มี ๑๐ อย่างเหล่านี้ คือ การเว้นจาก

ปาณาติบาตเป็นต้น และอนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ. ชื่อว่า วิรติ

เพราะอรรถว่า เป็นเหตุเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น, หรือ เว้นเอง,

หรือ เพียงเว้นเท่านั้น. การเว้นสัมปยุตด้วยกุศลจิตของผู้เว้นจาก

ปาณาติบาตเป็นต้น มี ๓ อย่าง คือ สัมปัตตวิรัติ ๑ สมาทานวิรัติ ๑

สมุจเฉทวิรัติ ๑.

ในวิรัติ ๓ อย่างนั้น วิรัติเกิดแก่ผู้ยังไม่สมาทานสิกขาบท ผู้

พิจารณาถึงชาติ วัย พาหุสัจจะเป็นต้น ของตนแล้วไม่ก้าวล่วงสัมปัตต-

วัตถุ ด้วยคิดว่า การทำบาปเห็นปานนี้ไม่สมควรแก่เราดังนี้ ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 604

สัมปัตตวิรัติ. วิรัติเกิดแก่ผู้สมาทานสิกขาบท ผู้สละแม้ชีวิตของตน

ในการสมาทานสิกขาบท และยิ่งกว่านั้นแล้วไม่ก้าวล่วงวัตถุ ชื่อว่า

สมาทานวิรัติ.

วิรัติสัมปยุตด้วยอริยมรรค ชื่อว่า สมุจเฉทวิรัติ. แม้จิตมีอาทิว่า

เราจักฆ่าสัตว์เป็นต้น ก็มิได้เกิดแก่พระอริยบุคคลตั้งแต่เกิดสมุจเฉท-

วิรัติ. บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยกุศลกรรมบถเหล่านี้โดยอาการ ๕ อย่าง

คือ โดยธรรม ๑ โดยโกฏฐาส ๑ โดยอารมณ์ ๑ โดยเวทนา ๑ โดย

มูลเหตุ ๑ ดุจอกุศลกรรมบถ.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ธมฺมโต ได้แก่ แม่เจตนา ๗ อย่าง แม้

วิรัติกุศลกรรมบถ ๓ ในที่สุดสัมปยุตด้วยเจตนา ย่อมสมควรตามลำดับ

ในกุศลกรรมบถเหล่านั้น.

บทว่า โกฏฺาสโต ได้แก่ กรรมบถ ๗ อย่างนั้นแลตามลำดับ,

มิใช่มูลเหตุ. กุศลกรรมบถ ๓ ในที่สุดเป็นทั้งกรรมบถ เป็นทั้งมูลเหตุ.

อนภิชฌา อโลภะ เป็นกุศลมูล เพราะถึงแล้วซึ่งมูลเหตุ. อัพยาบาท

อโทสะ เป็นกุศลมูล, สัมมาทิฏฐิ คือ อโมหะ เป็นกุศลมูล.

บทว่า อารมฺมณโต ได้แก่ อารมณ์ของปาณาติบาตเป็นต้น

นั่นแลเป็นอารมณ์ของกรรมบถเหล่านั้น. ชื่อว่าวรมณี เพราะควรก้าว

ล่วงนั่นเอง. อริยมรรคมีนิพพานเป็นอารมณ์ ย่อมละกิเลสทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 605

ฉันใด, กรรมบถเหล่านั้นมีชีวิตินทรีย์เป็นต้นเป็นอารมณ์ ก็ฉันนั้น

ย่อมละความเป็นผู้ทุศีลมีปาณาติบาตเป็นต้น.

บทว่า เวทนาโต ได้แก่ กุศลกรรมบถ ทั้งหมดเป็น สุข-

เวทนา หรือ มัชฌัตตเวทนา. จริงอยู่ กุศลกรรมบถไม่มีทุกขเวทนา

เพราะถึงกุศลแล้ว.

บทว่า มูลโต ได้แก่ กุศลกรรมบถ ๗ ตามลำดับมีมูลเหตุ ๓

ด้วยสามารถแห่ง อโลภะ อโทสะ อโมหะ ของผู้เว้นด้วยจิตสัม-

ปยุตด้วยญาณ, มีมูลเหตุ ๒ ด้วยสามารถ อโลภะ อโทสะ ของผู้เว้น

ด้วยจิตไม่ประกอบด้วยญาณ, อนภิชฌา มีมูลเหตุ ๒ ด้วยสามารถ

อโทสะ อโมหะ ของผู้เว้นด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ, มีมูลเหตุ ๑ ด้วย

สามารถอโทสะ ของผู้เว้นด้วยจิตไม่ประกอบด้วยญาณ. ส่วน อโลภะ

ไม่เป็นมูลเหตุของตนด้วยตนเอง. แม้ในอัพยาบาทก็มีนัยเหมือนกัน.

สัมมาทิฏฐิมีมูลเหตุ ๒ ด้วยสามารถอโลภะ อโทสะแล.

จบ กุศลกรรมบถกถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 606

พระสารีบุตรครั้นแสดงศีล ด้วยสามารถแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐

อย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะแสดงธรรม ๓๗ มีเนกขัมมะเป็นต้น มีอรหัต-

มรรคเป็นปริโยสาน จึงกล่าวบทมีอาทิวา เนกฺขมฺเมน กามจฺฉนฺท

สวรฏเน สีล, อวีติกฺกมฏเน สีล-ชื่อว่าศีล ด้วยอรรถว่าสำรวม

และไม่ก้าวล่วง กามฉันทะ ด้วย เนกขัมมะ. ในบทนั้นมีอธิบายว่า

เพราะภิกษุสำรวมไม่ก้าวล่วงกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ, ฉะนั้น เนก-

ขัมมะ จึง เป็นศีล. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เนกขัมมะ เป็น

ตติยาวิภัตติลงในอรรถปฐมาวิภัตติ. ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้. แต่ในบาลี

ท่านแสดงเนกขัมมะและอัพยาบาทแล้วอัพยาบาทที่เหลือ เพราะมีนัยดังได้

กล่าวแล้วในหนหลัง แล้วจึงแสดงอรหัตมรรคเท่านั้นไว้ในที่สุด

๙๐] พระสารีบุตรครั้นแสดงศีลด้วยสามารถ การสำรวม และ

การไม่ก้าวล่วง อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงทั้งสองอย่างนั้นจึงกล่าว

บทมีอาทิว่า ปญฺจ สีลานิ ปาณาติปาตสฺส ปหาน สีล - ศีล ๕ คือ

การละปาณาติบาตเป็นศีล. อนึ่ง ในบทนี้พึงประกอบว่า การละปาณา-

ติบาตเป็นศีล, การเว้นจากปาณาติบาตเป็นศีล, เจตนาเป็นปฏิปักษ์ต่อ

ปาณาติบาตเป็นศีล, ความสำรวมปาณาติบาตเป็นศีล การไม่ก้าวล่วง

ปาณาติบาตเป็นศีล.

บทว่า ปหาน - การละ ความว่า ชื่อว่าธรรมไร ๆ เว้นจากเพียง

ไม่ให้เกิดปาณาติบาตเป็นต้น ดังกล่าวแล้วย่อมไม่มี, เพราะการละนั้นๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 607

ชื่อว่าเป็นการรับรอง ด้วยอรรถว่า เป็นที่ตั้งของกุศลธรรมนั้น ๆ, และ

ชื่อว่าเป็นที่รวม เพราะไม่ทำสภาพที่กระจัดกระจาย, ฉะนั้น ท่านจึง

กล่าว สีล เพราะอรรถว่า เป็นการปฏิบัติกล่าวคือ เป็นที่รับรอง

และเป็นที่รวม ดังกล่าวไว้แล้วในตอนต้นนั่นแล. ธรรม อย่างนอก

นี้ ท่านกล่าวหมายถึงสภาพที่เป็นไปของจิต ด้วยสามารถการเว้นจาก

ปาณาติบาตนั้น ด้วยการสำรวมปาณาติบาตนั้น ด้วยเจตนาสัมปยุต

ด้วยการเว้นและการสำรวมทั้งสองนั้น และด้วยการไม่ล่วงของผู้ไม่ล่วง

ปาณาติบาตนั้น ๆ.

อีกอย่างหนึ่ง แม้การละก็ยังมีอยู่โดยธรรมดานั่นเอง. อย่างไร ?

ชื่อว่า ปหาน เพราะย่อมละสิ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อปาณาติบาต

เป็นต้น ด้วยการเว้นและการสำรวมนั้น, หรือย่อมละสิ่งเป็นปฏิปักษ์

นั้น. สิ่งเป็นปฏิปักษ์นั้น คืออะไร ? กุศลธรรมแม้ทั้งหมด. แต่อาจารย์

พวกอื่นกล่าวว่า แม้ในเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่าวิรัติเป็นอันเดียวกันกับ

ความแน่นอนในกุศลทั้งหมด เพราะถือเพียงคำว่า เวรมณี สีล - การ

เว้นเป็นศีล ยังมีอยู่, ในที่นี้ไม่เป็นอย่างนั้น. ท่านกล่าวอปริยันตศีล

เท่านั้น ในศีลสองอย่าง คือ ปริยันตศีล และอปริยันตศีล ทำให้พิเศษ

ด้วยบท ๕ บท มี ปหานะ เป็นต้น. เพราะฉะนั้น พระสารีบุตร

จึงกล่าวว่า เอวรูปานิ สีลานิ จิตฺตสฺส อวิปฺปฏิสาราย สวตฺตนฺติ

ฯเปฯ สจฺฉิกาตพฺพ สจฺฉิกโรนฺโต สิกฺขติ - ศีลทั้งหลายเห็นปาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 608

นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อนแห่งจิต ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งซึ่ง

ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมศึกษาดังนี้.

ในบทเหล่านั้น ทว่า อวิปฺปฏิสาราย สวตฺตนฺติ ความว่า

ย่อมเป็นไปโดยชอบ เพื่อความไม่เดือดร้อน เพราะพระบาลีว่า ความ

สำรวม เพื่อความไม่เดือดร้อน และว่า ดูก่อนอานนท์ ศีลมีความ

ไม่เดือดร้อนเป็นประโยชน์ มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์.

ย่อมเป็นไป เพื่อความปราโมทย์ เพราะบาลีว่า ความไม่

เดือดร้อน ย่อมเป็นไปเพื่อความปราโมทย์ และว่า ความปราโมทย์

ย่อมเกิดแต่ผู้ใส่ใจโดยแยบคาย.

ย่อมเป็นไป เพื่อปีติ เพราะบาลีว่า ความปราโมทย์ ย่อม

เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ปีติ และว่า ปีติย่อมเกิดแก่ผู้ปราโมทย์.

ย่อมเป็นไปเพื่อ ปัสสัทธิ เพราะบาลีว่า ปีติย่อมเป็นไป

เพื่อประโยชน์แก่ปัสสัทธิ และว่า กายย่อมสงบ แต่ผู้มีใจปีติ.

ย่อมเป็นไปเพื่อ โสมนัส เพราะบาลีว่า ปัสสัทธิย่อมเป็น

ไปเพื่อประโยชน์แก่ความสุข และว่า กายที่สงบย่อมเสวยความ

สุข. เพราะ ความสุขทางจิต ท่านกล่าวว่า เป็นโสมนัส.

๑. วิ. ป. ๘/๑๐๘๔. ๒. องฺ. เอกาทสก. ๒๔/๒๐๘. ๓. ขฺ. ป. ๓๑/๑๘๓.

๔. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๒๖. ๕. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๒๖. ๖. วิ. ป. ๘/๑๐๘๔.

๗. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๖๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 609

บทว่า อาเสวนาย - เพื่อการเสพโดยเอื้อเฟื้อ ได้แก่ การเสพ

โดยเอื้อเฟื้ออย่างหนัก.

เสพอะไร ? ความสุขที่แท้ เพราะความสุขท่านกล่าวด้วยคำว่า

โสมนัสเป็นลำดับ.

สมาธิเป็นสุขที่แท้ เพราะบาลีว่า จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น.n

การเสพสมาธิที่แท้ ด้วยประการฉะนี้.

ศีลเป็นปานนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสพโดยเอื้อเฟื้อสมาธิ-

นั้น, อธิบายว่า ศีลทั้งหลายย่อมเป็นไปเพื่อความมีกำลังคล่องแคล่ว.

บทว่า ภาวนาย - เพื่อความเจริญ ได้แก่ เพื่อความเจริญของ

สมาธินั้นนั่นเอง.

บทว่า พหุลีกมฺมาย - เพื่อทำให้มาก ได้แก่ เพื่อทำสมาธินั้น

บ่อย ๆ.

ย่อมเป็นไป เพื่อเป็นเครื่องประดับ โดยให้สำเร็จ เป็นเครื่อง

ประดับมี สัทธินทรีย์ เป็นต้น ของสมาธิอันเป็นมูลเหตุแห่งความ

เป็นไปมีความไม่เดือดร้อนเป็นต้น.

ย่อมเป็นไป เพื่อเป็นบริขาร โดยให้สำเร็จสัมภาระของสมาธิ

มีความไม่เดือดร้อนเป็นต้น.

๑. ที. ปา. ๑๑/๓๐๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 610

ปริกฺขาร ศัพท์ในบทนี้มีความว่า ของใช้ ดุจในประโยคมีอาทิ

ว่า เย จ โข อิเม ปพฺพชิเตน ชีวิตปริกฺขารา สมุทาเนตพฺพา-

ของใช้สำหรับชีวิตเหล่านี้ อันบรรพชิตควรจัดหาไว้. มีความว่า เครื่อง

ประดับ ดุจในประโยคมีอาทิว่า รโถ สีลปริกฺขาโร, ฌานกฺโข

จกฺกวีริโย - รถ คือ กาย มีศีลเป็นเครื่องประดับ, เพลา คือ ฌาน

มีความเพียรเป็นจักร. มีอรรถว่า บริวาร ดุจในบทมีอาทิว่า สตฺตหิ

นครปริกฺขาเรหิ สุปริกฺขต โหติ - นครเป็นอันคุ้มกันด้วยดี ด้วยการ

แวดล้อมนคร ๗ ประการ. แต่ในที่นี้ ท่านกล่าว สมฺภารตฺโถ มี

ความว่า สัมภาระ เพราะอลังการและบริวารมาแยกกัน.

อนึ่ง อรรถแห่งสัมภาระมีความว่าปัจจัย. ศีลย่อมเป็นไปเพื่อ

เป็นบริวารด้วยให้สำเร็จธรรมสมบัติมีผัสสะ สัมปยุตด้วยสมาธิเป็นต้น

โดยความเป็นมูลเหตุนั่นเอง, ย่อมเป็นไปเพื่อความบริบูรณ์ เพราะให้

สำเร็จความบริบูรณ์ ด้วยให้ถึงความเป็นปทัฏฐานแห่งสมาธิและวิปัสส-

นา และด้วยให้ถึงความเป็นผู้ชำนาญ.

พระสารีบุตรครั้นแสดงสมาธิบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง โดย

อุปนิสัยแห่งศีลอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงยถาภูตญาณทัสนะเป็นต้น

อันเป็นปทัฏฐานของสมาธิ มีศีลเป็นมูล เพราะบาลีว่า สมาหิเต

จิตฺเต ยถาภูต ปชานาติ, ยถาภูต ชาน ปสฺส นิพฺพินฺทติ,

๑. ม.มู. ๒/๒๓๗. ๒. ส. มหา. ๑๙/๒๔. ๓. องฺ. สตฺตก. ๒๗/๖๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 611

นิพฺพินฺท วิรชฺชติ, วิราคา วิมุจฺจติ. - เมื่อจิตตั้งมั่นย่อมรู้เห็นความ

ความเป็นจริง, เมื่อรู้เมื่อเห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย, เมื่อ

เบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด, เพราะกายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้นดังนี้.

จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เอกนฺตนิพฺพิทาย - เพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วน

เดียว. เมื่อแสดงความเบื่อหน่ายแล้วก็เป็นอันแสดงยถาภูตญาณทัสนะ

อันเป็นปทัฏฐานแห่งความเบื่อหน่ายนั้นนั่นแล. เมื่อยถาภูตญาณ-

ทัสนะนั้นยังไม่สำเร็จ ความเบื่อหน่ายก็ยังไม่สำเร็จ. ก็บทเหล่านั้น

มีอรรถดังได้กล่าวไว้แล้วนั้นแล. แต่ในที่นี้ยถาภูตญาณทัสนะ กำหนด

เอานามรูปพร้อมด้วยปัจจัย.

พระสารีบุตรครั้นแสดงถึงประโยชน์ของศีล อันมีอมตมหานิพ-

พานเป็นที่สุด อย่างนี้แล้ว บัดนี้ประสงค์จะแสดงความที่ศีลนั้นเป็น

อธิศีลสิกขา และอธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา อันมีอธิศีลสิกขาเป็น

มูล จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เอวรูปาน สีลาน สวรปริสุทฺธิ อธิสีล-

ความบริสุทธิ์แห่งความสำรวมศีลเห็นปานนี้เป็นอธิศีล.

ในบทเหล่านั้น ความบริสุทธิ์ คือ ความสำรวมนั่นเอง ชื่อว่า

สังวรปาริสุทธิ. ความบริสุทธิ์แห่งความสำรวมศีลอาศัยวิวัฏฏะ อันเป็น

ศีลไม่มีที่สุดเห็นปานนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นอธิศีล เพราะเป็นศีลยิ่งกว่า

ศีลที่เหลือ เพราะอาศัยวิวัฏฏะ.

๑. ขุ. ป. ๓๑/๑๘๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 612

บทว่า สวรปาริสุทฺธิยา ิต จิตฺต - จิตตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์

ด้วยความสำรวม ความว่า จิตตั้งอยู่ด้วยความบริสุทธิ์ ด้วยความสำรวม

ศีลเช่นนี้ ย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน เพราะนำความไม่เดือดร้อนเป็นต้น

มาด้วยดี, คือตั้งอยู่ในสมาธิ.

ความบริสุทธิ์ คือ ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอวิกเขปปาริสุทธิ.

สมาธิอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอด เว้นจากมลทินทั้งปวง ท่านกล่าว

ว่า อธิจิตฺต เพราะเป็นสมาธิยิ่งกว่าสมาธิที่เหลือ. ในบทนี้ท่านชี้แจง

ถึงสมาธิ ด้วยหัวข้อว่า จิตฺต.

บทว่า สวรปาริสุทฺธึ สมฺมา ปสฺสติ - พระโยคาวจรย่อมเห็น

ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมโดยชอบ ความว่า ย่อมเห็นความบริสุทธิ์

คือความสำรวมด้วยศีลโดยชอบ ด้วยสามารถแห่ง ญาตปริญญา และ

ตีรณปริญญา, ย่อมเห็นสมาธิอันบริสุทธิ์ กล่าวคือ ความบริสุทธิ์ คือ

ความที่จิตไม่ฟุ้งซ่านอย่างนั้นนั่นแลโดยชอบ. เมื่อพระโยคคาวจรเห็น

อย่างนั้นความบริสุทธิ์ กล่าวคือ ความเห็น ชื่อว่า ทสฺสนปาริสุทฺธิ-

ความบริสุทธิ์แห่งทัสนะ.

ทัสนปาริสุทธินั่นแล ท่านกล่าวว่าเป็น อธิปญฺา เพราะ

ยิ่งกว่าปัญญาที่เหลือ.

บทว่า โย ตตฺถ คือ ในความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและ

ทัสนะนั้น. บทว่า สวรฏฺโ คือ ความสำรวม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 613

พึงทราบความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็น ก็อย่างนั้นเหมือนกัน,

สิกขา คือ อธิศีลนั่นแล ชื่อว่าอธิสีลสิกขา. แม้นอกนั้น ก็พึงทราบ

อย่างนี้.

พระสารีบุตรครั้นแสดงสิกขา ๓ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดง

ถึงลำดับของสิกขาเหล่านั้นให้บริบูรณ์ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า อิมา ติสฺโส

สิกขาโย อาวชฺเชนฺโต สิกฺขติ- พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา ๓

เหล่านี้ ชื่อว่าย่อมศึกษา. บทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ พระโยคาวจร

แม้เมื่อนึกถึงเพื่อยังสิกขาอย่างหนึ่ง ๆ ให้บริบูรณ์ ก็ชื่อว่าย่อมศึกษา, ครั้นรู้

แล้วแม้เห็นอยู่อยู่ว่า สิกขาชื่ออย่างนี้ ก็ช่วยย่อมศึกษา, ครั้นรู้

ตามแม้เห็นอยู่บ่อย ๆ ก็ชื่อว่าย่อมศึกษา, ครั้นเห็นแล้ว แม้พิจารณา

ตามที่เห็น ก็ชื่อว่าย่อมศึกษา ครั้นพิจารณาแล้ว แม้ตั้งมั่นทำจิตไม่

ให้หวั่นไหวในสิกขานั้น ก็ชื่อว่าย่อมศึกษา, แม้ทำกิจของตน ๆ ด้วย

ศรัทธา วีริยะ สติ สมาธิ และปัญญา อันสัมปยุตด้วยสิกขานั้น ๆ ก็

ชื่อว่าย่อมศึกษา, เมื่อทำกิจนั้น ๆ แม้ในกาลมีความรู้ยิ่งในสิ่งที่ควรรู้

ยิ่งเป็นต้น ก็ชื่อว่าย่อมศึกษาสิกขา แม้ ๓ อย่าง. บทว่า ปญฺจ สีลานิ

เป็นต้นอีกครั้ง มีความดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.

๙๑ ] อนึ่ง พึงทราบความในบทมีอาทิว่า อรหตฺตมคฺเคน

สพฺพกิเกสาน ดังต่อไปนี้ บทเหล่านั้นถูกต้องทีเดียว เพราะความไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 614

มีความเดือดร้อนเป็นต้น และเพราะความมีการเสพโดยเอื้อเฟื้อเป็นต้น

ด้วยดีของพระอรหันต์ทั้งหลาย.

พึงประกอบมีอาทิว่า เอกนฺตนิพฺพิทานาย - เพื่อความเบื่อ-

หน่ายโดยส่วนเดียว ในขณะแห่งมรรค ดุจสติปัฏฐานและสัมมัปธาน.

พึงประกอบคำทั้งสองนี้ว่า สวรปาริสุทฺธึ สมฺมา ปสฺสติ,

อริกฺเขปปาริสุทฺธึ สมฺมา ปสฺสติ - พระโยคาวรย่อมเห็นความบริสุทธิ์

ด้วยสังวรโดยชอบเป็นศีล, ย่อมเห็นความบริสุทธิ์ด้วยจิตไม่ฟุ้งซ่าน

โดยชอบเป็นศีล ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาเพื่อประโยชน์แก่ผลสมาบัติ.

คำที่สองย่อมถูกต้อง แม้ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา เพื่อประโยชน์แก่

นิโรธสมาบัติ. ในคำทั้ง ๕ มีอาทิว่า อาวชฺชนฺโต สิกฺขติ พึงทราบ

ว่าท่านกล่าวว่า สิกฺขติ เพราะสภาพมีสีลขันธ์ของพระอเสกขะเป็นต้น

แม้ในความไม่มีสิ่งที่ต้องศึกษาของพระอรหันต์,

บทมีอาทิว่า สทฺธาย อธิมุจฺจนฺโต สิกฺขติ - พระโยคาวจร

น้อมไปด้วยศรัทธา ก็ชื่อว่าย่อมศึกษา ท่านกล่าวหมายถึงขณะแห่ง

มรรคนั่นเอง. พึงประกอบคำแม้อื่นที่ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอุปจาระ

อัปปนา วิปัสสนาและมรรคตามสมควร.

จบ อรรถกถาสีลมยญาณนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 615

สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส

[๙๒]ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ด้วยดี เป็นสมาธิภาวนา-

มยญาณอย่างไร ? สมาธิอย่างหนึ่ง คือ เอกัคตาจิต. สมาธิ ๒ คือ

โลกิยสมาธิ ๑ โลกุตรสมาธิ ๑. สมาธิ ๓ คือ สมาธิมีวิตกและวิจาร ๑

สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ๑. สมาธิ ๔ คือ

สมาธิมีส่วนเสื่อม ๑ สมาธิเป็นส่วนตั้งอยู่ ๑ สมาธิเป็นส่วนวิเศษ ๑

สมาธิเป็นส่วนชำแรกกิเลส ๑. สมาธิ ๕ คือ สมาธิมีปีติแผ่ไป ๑ สมาธิ

มีสุขแผ่ไป ๑ สมาธิมีจิตแผ่ไป ๑ สมาธิมีแสงสว่างแผ่ไป ๑ สมาธิมี

การพิจารณาเป็นนิมิต ๑. สมาธิ ๖ คือ สมาธิมีเอกัคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่าน

ด้วยสามารถพุทธานุสติ ๑ ธรรมานุสติ ๑ สังฆานุสติ ๑ สีลานุสติ ๑

จาคานุสติ ๑ เทวตานุสติ ๑. สมาธิ ๗ คือ ความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑

เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งสมาธิ ๑.

ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในความงาม

แห่งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาด

ในการน้อมไปแห่งสมาธิ ๑. สมาธิ ๘ คือ สมาธิมีเอกัคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่าน

ด้วยสามารถปฐวีกสิณ ๑ อาโปกสิณ ๑ เตโชกสิณ ๑ วาโยกสิณ ๑

นีลกสิณ ๒ ปีตกสิณ ๑ โลหิตกสิณ ๑ โอทาตกสิณ ๑. สมาธิ ๙ คือ

รูปาวจรสมาธิส่วนเลว ๑ ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑ อรูปา-

วจรส่วนเลว ๑ ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑ สุญญตสมาธิ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 616

อนิมิตตสมาธิ ๑ อัปปณิหิตสมาธิ ๑. สมาธิ ๑๐ คือ สมาธิมีเอกัคตา-

จิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถอุทธุมาตกสัญญา ๑ วินีลกสัญญา ๑ วิปุพ-

พกสัญญา ๑ วิฉิททกสัญญา ๑ วิกขายิตกสัญญา ๑ วิกขิตตกสัญญา ๑

หตวิกขายิตกสัญญา ๑ โลหิตกสัญญา ๑ ปุฬุวกสัญญา ๑ อัฏฐิกสัญญา ๑

สมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๕๕.

[๙๓] อีกอย่างหนึ่ง สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิ ๒๕

ประการ คือ สมาธิเพราะอรรถว่าอันสัทธินทรีย์เป็นต้นกำหนดถือเอา ๑

เพราะอรรถว่าอินทรีย์เป็นบริวารแห่งกันและกัน ๑ เพราะอรรถว่า

สัทธินทรีย์เป็นต้นบริบูรณ์ ๑ เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว ๑

เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ๑ เพราะอรรถว่าไม่แส่ไป ๑ เพราะอรรถว่า

ไม่ขุ่นมัว ๑ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ๑ เพราะอรรถว่าหลุดพ้นจาก

กิเลส ๑ เพราะความที่จิตตั้งอยู่ด้วยสามารถความตั้งมั่นในความเป็นจิต

มีอารมณ์เดียว ๑ เพราะอรรถว่าแสวงหาความสงบ ๑ เพราะอรรถว่า

ไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศกแก่ความสงบ ๑ เพราะแสวงหาความสงบ

แล้ว ๑ เพราะไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑ เพราะ

อรรถว่ายึดมั่นความสงบ ๑ เพราะอรรถว่าไม่ยืดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึก

แก่ความสงบ ๑ เพราะยึดมั่นความสงบแล้ว ๑ เพราะไม่ยึดมั่นธรรม

๑. นับแล้วได้ ๒๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 617

อัน เป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑ เพราะอรรถว่าปฏิบัติสงบ ๑ เพราะ

อรรถว่าไม่ปฏิบัติสงบ ๑ เพราะปฏิบัติสงบแล้ว ๑ เพราะไม่ปฏิบัติ

ไม่สงบแล้ว ๑ เพราะอรรถว่าเพ่งความสงบ ๑ เพราะอรรถว่าเผาธรรม

อันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑ เพราะเพ่งความสงบแล้ว ๑ เพราะเผา

ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมสงบ

เป็นสภาพเกื้อกูลและนำสุขมาให้ ๑ สภาพในความเป็นสมาธิ

เหล่านี้รวมเป็น ๒๕.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถรู้ว่าธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการสรวมแล้ว

ตั้งไว้ดี เป็นสมาธิภาวนามยญาณ.

อรรถกถาสมาธิภาวนามยญาณนิทเทส

๙๒] พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิภาวนมยญาณนิทเทส ดังต่อ

ไปนี้ พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงประเภทของสมาธิ ตั้งแต่หมวดหนึ่งๆ แต่

ต้นจนถึงหมวด ๑๐ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เอโก สมาธิ อย่าง

หนึ่ง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตสฺส เอกคฺคตา - ความว่าชื่อว่า

เอกคฺโค เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เลิศ คือ สูงสุดอย่างหนึ่ง เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 618

ไม่มีความฟุ้งซ่านแห่งอารมณ์ต่างๆ, ความแห่งเป็น เอกคฺโคนั้น

ชื่อว่า เอกคฺคตา เพื่อแสดงความที่มีจิตมีอารมณ์หนึ่งนั้น ไม่ใช่สัตว์

ท่านจึงกล่าวว่า จิตฺตสฺส.

ในหมวด ๒ บทว่า โลกิโย วัฏฏะท่านกล่าวว่า โลโก เพราะ

อรรถว่าแตกสลายไป, สมาธิประกอบแล้วในโลก โดยความเป็นสมาธิ

เนื่องอยู่ในวัฏฏะนั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า โลกิยะ.

บทว่า โลกุตฺตโร ชื่อว่า อุตตระ เพราะข้ามไปแล้ว, ชื่อว่า

โลกุตระ เพราะข้ามไปจากโลกโดยความเป็นสมาธิไม่เนื่องอยู่ในโลก

ในหมวด ๓ ชื่อว่า สวิตกฺกสวิจาโร เพราะสมาธิมีวิตกและ

วิจาร. สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจารก็ทำนองนั้น. ในสมาธิที่มีวิตกและวิจาร

ชื่อว่า วิจารมตฺโต เพราะอรรถว่ามีแต่วิจารเท่านั้นเป็นประมาณ

อธิบายว่า สมาธิไม่ถึงการประกอบร่วมกันกับด้วยวิตกยิ่งกว่าวิจาร. ชื่อว่า

อวิตกฺกวิจารมตฺโต เพราะสมาธินั้นไม่มีวิตกมีแต่วิจาร. แม้ใน ๓ อย่าง

อาจารย์บางพวกก็ตัดออกไป. หมวด ๔ หมวดมีอธิบายไว้แล้ว.

ในหมวด ๖ สตินั่นแลเพราะเกิดขึ้นบ่อย ๆ จึงชื่อว่า อนุสติ,

อีกอย่างหนึ่งชื่อว่าอนุสติ เพราะสมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา

เพราะเป็นไปในฐานะที่ควรเป็นไปบ้าง, อนุสติ เกิดขึ้นปรารภถึง

พระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทธานุสติ. บทนี้เป็นชื่อของสติมีคุณของพระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 619

พุทธเจ้ามีพระอรหันต์เป็นต้นเป็นอารมณ์. ชื่อว่า อวิกฺเขโป เพราะ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ด้วยสามารถแห่งพุทธานุสตินั้นนั่นเอง ไม่

ฟุ้งซ่านโดยความเป็นปฏิปักษ์ของความฟุ้งซ่านอันได้แก่ อุทธัจจะ

อนุสติเกิดขึ้นเพราะปรารภ พระธรรม ชื่อว่าธรรมานุสติ. บท

นี้เป็นชื่อของสติมีคุณของพระธรรม มีความที่พระธรรมอันพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.

อนุสติเกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่า สังฆานุสติ, บทนี้เป็น

ชื่อของสติมีคุณของพระสงฆ์มีความที่พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วเป็นต้น

เป็นอารมณ์.

อนุสติเกิดขึ้นปรารภศีล ชื่อว่า สีลานุสติ, บทนี้เป็นชื่อของ

สติ มีคุณของศีลมีความที่ศีลของตนไม่ขาดเป็นต้น.

อนุสติเกิดขึ้นปรารภจาคะ ชื่อว่า จาคานุสติ, บทนี้เป็นชื่อ

ของสติมีคุณของจาคะมีความที่ตนสละออกไปแล้ว.

อนุสติเกิดขึ้นปรารภเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่า เทวตานุสติ. บท

นี้เป็นชื่อของสติมีคุณของศรัทธาเป็นต้น ของตนเป็นอารมณ์ ตั้งเทวดา

ไว้ในฐานะเป็นพยาน.

ในหมวด ๗ บทว่า สมาธิกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ

หลายประเภท โดยประเภทมีสมาธิอย่างเดียวเป็นต้นว่า นี้เป็นสมาธิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 620

อย่างนี้, นี้เป็นสมาธิอย่างนี้. บทนี้เป็นชื่อของปัญญากำหนดสมาธิ.

ความเป็นผู้ฉลาดโดยวิธีทำให้สมาธิเกิด เพราะเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ.

บทว่า สมาธิสฺส สมาปตฺติกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดใน

การเข้าสมาธิ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิที่ทำให้เกิดแล้ว.

ด้วยบทที่เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็นผู้ชำนาญในการเข้าสมาธิ.

บทว่า สมาธิสฺส ฐิติกุสฺลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้ง

สมาธิ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งสมาธิที่เข้าแล้วตามความชอบ

ใจด้วยสามารถความสืบต่อกันไป. ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงความ

เป็นผู้ชำนาญในการตั้งใจ.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพระโยคาวจรนั้น ยังอาการเหล่านั้นให้ถึง

พร้อมด้วยการถือเอานิมิต ย่อมสำเร็จเพียงอัปปนาเท่านั้น, ไม่ยั่งยืน.

ส่วนฐานะที่ยั่งยืนย่อมมีได้ เพราะชำระธรรมอันเป็นอันตรายแก่สมาธิ

ไว้ด้วยดี. จริงอยู่ภิกษุใดข่มกามฉันทะ ด้วยการพิจารณาโทษของกาม

เป็นต้นไว้ด้วยดีไม่ได้ กระทำความยาบช้าทางกายด้วยกายปัสสัทธิ

ให้สงบด้วยดีไม่ได้, บรรเทาถีนมิทธะด้วยความใส่ใจถึง อารัมภธาตุ

คือความเพียรให้ดีไม่ได้. ถอนอุทธัจจะกุกกุจจะด้วยใส่ใจถึงสมถนิมิต

ให้ดีไม่ได้, ชำระธรรมอันเป็นอันตรายของสมาธิให้ดีไม่ได้ แล้วเข้า

ฌาน, ภิกษุนั้นย่อมออกจากฌานโดยเร็วทันที ดุจภมรเข้าไปยังที่อยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 621

อันไม่สะอาด และพระราชาเสด็จเข้าไปสู่อุทยานที่แสนจะสกปรก ย่อม

ออกไปโดยเร็วพลัน.

ส่วนภิกษุใดชำระธรรมอันเป็นอันตรายแก่สมาธิได้ดร แล้วเข้า

ฌาน, ภิกษุนั้นย่อมเข้าฌานภายในสมาบัติได้ตลอดวันทั้งสิ้น ดุจภมร

เข้าไปยังที่อาศัยอันสะอาด, และพระราชาเสด็จเข้าไปยังอุทยานอัน

เรียบร้อย ย่อมอยู่ได้ตลอดวัน. ดังที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า

กาเมสุ ฉนฺท ปฏิฆ วิโนทเย

อุทฺธจฺจถีน วิจิกิจฺฉปญฺจม,

วิเวกปามุชฺชกเรน เจตสา

ราชาว สุทฺธนฺตคโต ตหึ รเม.

พระโยคาวจรผู้มีจิตทำความปราโมทย์ในวิเวก

พึงบรรเทาความพอใจในกามทั้งหลาย ความเคียด-

แค้น ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ และความสงสัย

เป็นที่ ๕, ดุจพระราชาเสด็จไปสู่สถานที่โดยเป็น

ระเบียบเรียบร้อย ทรงพึงพอพระทัย ณ ที่นั้น.

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า อันพระโยคาวจรผู้ประสงค์

จะตั้งอยู่ตลอดกาลนาน พึงชำระธรรมอันเป็นข้าศึก แล้วจึงเข้าฌาน

เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็นผู้ฉลาดในการยังวิธีนั้นให้ถึงพร้อม แล้ว

จึงทำสมาธิให้ตั้งอยู่ได้นาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 622

บทว่า สมาธิสฺส วุฏฺานกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการ

ออกจากสมาธิ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ ด้วยการ

ออกตามเวลาที่กำหนดไว้แห่งสมาธิที่เป็นไปแล้วตามความพอใจด้วยการ

สืบต่อกันไป. พึงทราบว่าท่านทำเป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งปัญจมี

วิภัตติ ดุจในประโยคมีอาทิว่า ยสฺสาปิ ธมฺม ปุริโส วิชญฺา-

บุรุษพึงรู้แจ้งธรรมแม้จากผู้ใด. ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็น

ผู้ชำนาญในการออกจากสมาธิ.

บทว่า สมาธิสฺส กลฺลตากุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในความ

งามแห่งสมาธิ ความว่า ความเป็นผู้ไม่เจ็บไข้ ความเป็นผู้ไม่มีโรค

ชื่อว่า กลฺลตา. ความเจ็บไข้ท่านกล่าวว่า อกลฺลโก แม้ในวินัย

ท่านก็กล่าวไว้ว่า นาห ภนฺเต อกลฺลโก- ท่านขอรับผมไม่เจ็บไข้.

ความเป็นผู้ฉลาดในการทำความไม่เจ็บไข้แห่งสมาธิ ด้วยความไม่มีความ

ปรารถนาอันลามก ซึ่งเป็นข้าศึกของการได้ฌานดังที่ท่านกล่าวไว้ใน

อนังคณสูตร และวัตถุสูตร และด้วยความปราศจากอุปกิเลสของจิตมี

อภิชฌาเป็นต้น, ท่านกล่าวว่า ความเป็นผู้ฉลาดในความงามของ

สมาธิ คือความเป็นผู้ฉลาดในความเป็นผู้ไม่มีความเจ็บไข้ คือกิเลส.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กลฺลตา ได้แก่ ความเป็นผู้ควรแก่การงาน

เพราะความที่คำว่า กลฺล เป็นไวพจน์ของกัมมัญญตา - ความเป็นผู้

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๑๔๗๐. ๒. วิ. มหาวิภังค ๑/๑๕๒. ๓. ม.มู. ๑๒/๕๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 623

ควรแก่การงาน. ดังที่ท่านกล่าวว่า ยา จิตฺตสฺส อกลฺยตา อกมฺ-

มญฺตา - ความที่จิตไม่สมประกอบ ความที่จิตไม่ควรแก่การงาน.

และว่า กลฺลจิตฺต มุทุจิตฺต วินีวรณจิตฺต - จิตควรแก่การงาน จิต

อ่อนโยน จิตปราศจากนิวรณ์. กลฺล ศัพท์ในบทนี้ มีความว่า

ควรแก่การงาน. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า ความเป็นผู้ฉลาดใน

การทำความคล่องแคล่วแห่งสมาธิด้วยการฝึกจิต โดยอาการ ๑๔ อย่าง

เหล่านี้ คือ โดยอนุโลมแห่งกสิณ โดยปฏิโลมแห่งกสิณ ๑ โดย

อนุโลมปฏิโลมแห่งกสิณ ๒ โดยอนุโลมแห่งฌาน ๑ โดยปฏิโลมแห่ง

ฌาน ๑ โดยอนุโลมปฏิโลมแห่งฌาน ๑ โดยการก้าวเข้าไปสู่ฌาน ๑

โดยการก้าวเข้าไปสู่กสิณ ๑ โดยการก้าวเข้าไปสู่ฌานและกสิณ ๑ โดย

การก้าวไปสู่องค์ ๑ โดยการก้าวไปสู่อารมณ์ โดยการก้าวไปสู่องค์

และอารมณ์ ๑๕ โดยการกำหนดองค์ ๑ โดยการกำหนดอารมณ์ ๑ หรือ

โดยอาการ ๑๕ เพิ่มบทว่า โดยกำหนดองค์และอารมณ์ ๑.

บทว่า สมาธิสฺส โคจรกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในโคจร

แห่งสมาธิ ความว่า เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์มีกสิณเป็นต้น อันเป็นโคจร

แห่งสมาธิในอารมณ์เหล่านั้น ด้วยการทำความนึกถึงตามความพอใจ

เพราะประสงค์จะเข้าฌานนั้น ๆ. ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงความเป็น

ผู้ชำนาญในการนี้ถึง ด้วยการนึกถึงกสิณ.

๑. อภิ. ส. ๓๔/๗๕๑. ๒. วิ. มหา ๔/๒๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 624

อีกอย่างหนึ่ง ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิด้วยสามารถ

การแผ่กสิณไปในทิศาภาคนั้น ๆ และด้วยสามารถการตั้งไว้นานแห่ง

กสิณที่ถูกต้องแล้วอย่างนี้.

บทว่า สมาธิสส อภินีหารกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดใน

การน้อมไปแห่งสมาธิ ความว่า ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปในการ

ทำสมาธิต่าง ๆ โดยนัยความเป็นอันเดียวกัน ด้วยการน้อมเข้าไปสู่ความ

เป็นสมาธิสูง ๆ. จริงอยู่ อุปจารฌานถึงความชำนาญ ย่อมน้อมเข้าไป

เพื่อประโยชน์แก่ปฐมฌาน หรือเพื่อประโยชน์แก่วิปัสสนา. ปฐมฌาน

เป็นต้นก็อย่างนั้น ย่อมน้อมเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่ทุติยฌานเป็นต้น

หรือเพื่อประโยชน์แก่วิปัสสนา, จตุตถฌานย่อมน้อมไปเพื่อประโยชน์แก่

อรูปสมาบัติ หรือเพื่อประโยชน์แก่อภิญญา หรือเพื่อประโยชน์แก่

วิปัสสนา, อากาสานัญจายตนะย่อมน้อมเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่วิญญา-

ณัญจายตนะเป็นต้น หรือเพื่อประโยชน์แก่วิปัสสนา ความเป็นผู้ฉลาด

ในการน้อมไปแห่งสมาธิในญาณนั้น ๆ อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้. ก็

เพราะปัญญา ชื่อว่าความเป็นผู้ฉลาด. ปัญญานั้นไม่ใช่สมาธิ. ฉะนั้น

พึงทราบว่า สมาธิ ๗ อย่าง ท่านกล่าวด้วยสามารถปัญญานำไปสู่สมาธิ.

ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า สมาธิกุสลตา - ความเป็น

ผู้ฉลาดในสมาธิ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในความใส่ใจที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 625

บทว่า สมาปตฺติกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ ได้แก่

ความเป็นผู้ฉลาดในความใส่ใจที่องค์ฌานปรากฏแก่ผู้เข้าฌาน.

บทว่า ิติกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้ง ได้แก่ ความ

รู้การออกจากนิวรณ์ในความใส่ใจที่สมาธิแน่นแฟ้นไม่ฟุ้งซ่าน.

บทว่า วุฏานกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการออก ได้แก่

รู้การออกจากนิวรณ์ในปฐมฌาน, รู้การออกจากองค์ในฌาน ๓, รู้การ

ออกจากอารมณ์ในอรูปสมาบัติ, รู้การออกจากความฟุ้งซ่านในลักษณะ

อันมีประมาณยิ่ง, รู้การออกจากความพอใจของตนในกาลมีที่สุดและใน

กาลมีกิจที่ควรทำครั้งสุดท้าย.

บทว่า กฺลลตกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในความงาม ได้แก่

รู้ว่าความเป็นผู้ฉลาดในความงามแห่งสมาธิ เพราะจิตสบาย ร่างกาย

สบาย อาหารสบาย เสนาสนะสบาย และบุคคลสบาย.

บทว่า โคจรกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในโคจร ได้แก่ รู้

เพื่อทำความกำหนดอารมณ์, รู้เพื่อทำความแผ่ไปยังทิศ, รู้เพื่อความ

เจริญ.

บทว่า อภินีหารกุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมเข้าไป

ได้แก่ น้อมนำจิตเข้าไปด้วยการใส่ใจโดยชอบในสมาธินั้น ๆ, เมื่อ

อุปจาระถึงความชำนาญแล้ว ย่อมนำจิตเข้าไปในปฐมฌาน, ย่อมนำจิต

เข้าไปในฌานสูง ๆ ในอภิญญา ในอรูปสมาบัติ และในวิปัสสนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 626

อาจารย์ทั้งหลายย่อมพรรณนา ความแห่งบททั้งหลายเหล่านี้อย่างนี้ว่า

ความเป็นผู้ฉลาด ในการน้อมไปในสมาธินั้น ๆ ด้วยประการฉะนี้.

หมวด ๘ มีอรรถดังกล่าวแล้ว. ในหมวด ๙ บทว่า รูปาวจโร

ธรรมเป็นรูปเป็นไฉน? รูปาวจรเนื่องในรูปาวจรธรรม ดังที่ท่าน

กล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า เหฏฺโต พฺรหฺมโลก ปริยนฺต กริตฺวา

อุปริโต อกนิฏฺเ เทเว อนฺ โตกริตฺวา เบื้องล่าง ทำพรหมโลกใหัมี

ที่สุด เบื้องบนทำเทพชั้นอกนิฏฐ์เป็นที่สุด. ในข้อนี้มีวจนัตถะดังต่อไปนี้

นี้ ชื่อว่า รูปาวจร เพราะอรรถว่ารูป ได้แก่ รูปขันธ์ ย่อมเที่ยวไป

ในรูปภพนี้, ไม่ใช่กามภพ, เพราะว่าแม้รูปขันธ์ท่านก็กล่าวว่ารูป ดุจ

ในบทมีอาทิว่า รูปกฺขนฺโธ รูป - รูปขันธ์เป็นรูป. อนึ่ง รูปพรหมนั้น

มี ๑๖ ชั้น คือ

พรหมปาริสัชชะ ๑

พรหมปุโรหิต ๑

มหาพรหม ๑

ปริตตาภา ๑

อัปปมาณาภา ๑

อาภัสสรา ๑

ปริตตสุภา ๑

๑. อภิ. ส. ๓๔/๘๒๙. ๒. อภิ. ยมก. ๓๘/๒๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 627

อัปปมาณสุภา ๑

สุภกิณหา ๑

อสัญญีสัตว์ ๑

เวหัปผลา ๑

อวิหา ๑

อตัปปา ๑

สุทัสสา ๑

สุทัสสี ๑

อกนิฏฐา ๑.

ที่อยู่กล่าวคือรูปาวจรภพนั้นท่านกล่าวว่า รูป เพราะลบบทหลัง,

ชื่อว่า รูปาวจร เพราะเที่ยวไปในรูปนั้น. อีกอย่างหนึ่ง รูป คือ รูปภพ,

ชื่อว่า รูปาวจร เพราะเที่ยวไปในรูปภพนั้น. จริงอยู่ สมาธินี้เที่ยว

ไปแม้ในกามภพ แม้เมื่อเที่ยวไปในที่อื่น ท่านก็กล่าวว่า รูปาวจรภพ

เหมือนช้างได้ชื่อว่า สงฺคามาวจร เพราะเที่ยวไปในสงความ แม้

เที่ยวไปในเมืองก็เรียกว่าสังคามาวจร, เหมือนสัตว์ทั้งหลายเที่ยวไปบน

บก และเที่ยวไปในน้ำ แม้สัตว์เหล่านั้นจะอยู่ในที่ไม่ใช่บก ไม่ใช่น้ำ

ก็เรียกว่า เที่ยวไปบนบก เที่ยวไปในน้ำ ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า รูปาวจร เพราะยังปฏิสนธิให้เที่ยวไปในรูปคือรูปภพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 628

บทว่า หีโน - เลว ได้แก่ ลามก. ภพในท่ามกลางของสมาธิ

เลวและสมาธิสูง ชื่อว่า มชฺโฌ - มัชฌะ - ปาฐะว่า มชฺฌิโม - มัช-

ฌิมะบ้าง. ความอย่างเดียวกัน, สมาธิถึงความเป็นประธาน ชื่อว่า

ปณีโต - ประณีต ความว่าสูงที่สุด. พึงทราบสมาธิเหล่านั้นด้วยการ

ประกอบไว้. ในขณะประกอบ ฉันทะ วีริยะ จิตตะหรือวิมังสา ของ

สมาธิใดเลว, สมาธินั้นชื่อว่า หีนะ. ธรรมเหล่านั้นของสมาธิใดปาน

กลาง, สมาธินั้นชื่อว่า มัชฌิมะ. ของสมาธิใดประณีต สมาธินั้น

ชื่อว่า ปณีตะ, หรือสมาธิสักว่าให้เกิดขึ้นก็ชื่อว่า หีนะ, เจริญไม่

ค่อยดีนัก ชื่อว่า มัชฌิมะ, เจริญอย่างดียิ่งถึงความชำนาญ ชื่อว่า

ปณีตะ. อรูปาวจรสมาธิพึงทราบทำนองเดียวกับนัยดังกล่าวแล้วใน

รูปาวจรสมาธิ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า สุญฺโต สมาธิ ดังต่อไปนี้

เมื่อการออกจากมรรคเกิดแล้ว ด้วยอนัตตานุปัสนาของพระโยคาวจรผู้

เห็นตามลำดับแห่งวิปัสสนาว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา ทุกฺขา

อนตฺตา - สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพราะ

วิปัสสนานั้นเป็นไปแล้ว โดยความเป็นของสูญในสังขารทั้งหลายที่ไม่มี

ตัวตน, ฉะนั้นจึงชื่อว่า สุญตา. อริยมรรคสมาธิ สำเร็จดัวย

สุญญตานั้น ชื่อว่า สุญญตสมาธิ, อธิบายว่า สมาธิที่เป็นไปแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 629

ด้วยอำนาจแห่ง สุญญตะ. จริงอยู่ สมาธินั้นย่อมเป็นไปโดยอาการ

ที่วิปัสสนาเป็นไปแล้ว.

เมื่อการออกจากมรรคเกิดแล้วด้วย อนิจจานุปัสนา เพราะ

วิปัสสนานั้นเป็นไปแล้วด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อนิมิตว่าเที่ยง, ฉะนั้นจึงชื่อว่า

อนิมิตตวิปัสสนา. อริยมรรคสมาธิ สำเร็จด้วยวิปัสสนานั้น จึงชื่อว่า

อนิมิตตสมาธิ. อธิบายว่า สมาธิที่เว้นจากนิมิตที่เที่ยง. จริงอยู่ สมาธิ

นั้นย่อมเป็นไปด้วยอาการอันเป็นไปแล้วแห่งวิปัสสนา เมื่อการออกจาก

มรรค เกิดแล้วด้วย ทุกขานุปัสนา เพราะ วิปัสสนา นั้นเป็นไป

แล้วด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อความตั้งใจปรารถนา, ฉะนั้นจึงชื่อว่า อัปปณิ-

หิตสมาธิ, อธิบายว่า สมาธิที่เว้นจากความตั้งใจปรารถนา. เพราะ

สมาธินั้นย่อมเป็นไปด้วยอาการเป็นไปแล้วด้วยวิปัสสนา. พึงทราบว่า

แม้ผลสมาธิ ๓ ก็เป็นเช่นนั้น เป็นอันท่านถือเอาด้วยสมาธิ ๓ เหล่านั้น.

แต่ท่านไม่ยกประเภทของสมาธิ มีสมาธิเลวเป็นต้น เพราะโลกุตรสมาธิ

เป็นสมาธิประณีต.

ในหมวด ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อุทฺธุมาตกสญฺ-

าวเสน ด้วยสามารถความสำคัญศพที่อืด ชื่อว่า อุทฺธุมาต

เพราะขึ้นอืดด้วยความพองขึ้นพองขึ้นตามลำดับในเบื้องบน ด้วยลมดุจ

เครื่องสูบลม เพราะหมดชีวิต การขึ้นอืดนั่นแล ชื่อว่า อุทฺธุมาตก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 630

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุทฺธุมาตก เพราะขึ้นอืดน่าเกลียด เพราะเป็น

สิ่งปฏิกูล, บทนี้เป็นชื่อร่างซากศพเห็นปานนั้น

สีที่แตกออกเรียก วินีล - เขียวน่าเกลียด

นั้นแล ชื่อว่า วินีลก. ชื่อว่า วินีลก เพราะสีเขียวน่าเกลียดเพราะ

เป็นสิ่งปฏิกูล. บทนี้เป็นชื่อของร่างซากศพ มีสีแดงในที่ที่มีเนื้อสมบูรณ์,

มีสีขาวในที่ที่อมหนอง, โดยมากมีสีเขียวในที่ที่มีเขียว คล้ายห่มผ้าสี

เขียว.

หนองไหลในที่ที่ผิวแตก ชื่อว่า วิปุพฺพ, หนองไหลนั่นแล

ชื่อว่า วิปุพฺพก. ชื่อว่า วิปุพฺพก เพราะหนองน่าเกลียด เพราะ

เป็นสิ่งปฏิกูล. บทนี้เป็นชื่อของร่างซากศพเห็นปานนั้น

ศพที่คลุมไว้โดยขาดออกเป็น ๒ ท่อน ท่านเรียก วิจฺฉิทฺท,

ศพขาดเป็นท่อนนั่นแล ชื่อว่า วิจฺฉิทฺทก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

วิจฺฉิทฺทก เพราะศพขาดเป็นท่อนน่าเกลียด เพราะเป็นสิ่งปฏิกูล. บท

นี้เป็นชื่อของร่างซากศพที่ขาดกลาง.

ซากศพชื่อว่า วิกฺขยิต เพราะถูกสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอก

เป็นต้นกัด โดยอาการต่าง ๆ ข้างนี้และข้างโน้น, เมื่อควรกล่าวว่า

วิกฺขายิต ท่านกล่าวว่า วิกฺขายิตก - ซากศพที่ถูกสัตว์กัด, อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า วิกฺขายิตก เพราะซากศพถูกสัตว์กัดน่าเกลียดเพราะเป็นสิ่งปฏิกูล.

นี้เป็นชื่อของร่างซากศพเห็นปานนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 631

ซากศพที่กระจายไปในที่ต่าง ๆ ชื่อว่า วิกฺขิตฺต, ซากศพที่

กระจายไปนั่นแล ชื่อว่า วิกฺขิตฺตก, ชื่อว่า วิกฺขิตฺตก เพราะซาก-

ศพกระจายไปน่าเกลียดเพราะเป็นสิ่งปฏิกูล. บทนี้เป็นชื่อของซากศพ

ที่กระจายไปจากที่นั้น ๆ อย่างนี้ คือ มือไปข้างหนึ่ง เท้าไปข้างหนึ่ง

ศีรษะไปข้างหนึ่ง.

ซากศพชื่อว่า หตวิกฺขิตฺตก เพราะซากศพนั้นถูกฟันและ

กระจัดกระจายไปโดยนัยก่อนนั่นแล. บทนี้เป็นชื่อของซากศพที่ถูกฟัน

ด้วยศัสตราที่อวัยวะน้อยใหญ่ โดยอาการเหมือนตีนกาแล้วกระจัดกระ-

จายไปโดยนัยดังกล่าวแล้ว.

ซากศพชื่อว่า โลหิตก เพราะโลหิตไหลเรี่ยราดไปข้างโน้น

ข้างนี้. บทนี้เป็นชื่อของร่างซากศพที่เปรอะเปื้อนโลหิตไหลเรี่ยราดไป.

ซากศพชื่อว่า ปุฬุวก เพราะหนอน ท่านเรียกว่า ปุฬุวา,

โลหิตกระจายไปบนหนอน. บทนี้เป็นชื่อของร่างซากศพที่เต็มไปด้วย

หนอน.

กระดูกนั่นแล ชื่อว่า อฏฺิก, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อฏฺิก

เพราะกระดูกน่าเกลียด เพราะเป็นสิ่งปฏิกูล. บทนี้เป็นชื่อของโครง-

กระดูกบ้าง ของกระดูกชิ้นเดียวบ้าง ชื่อเหล่านี้เป็นชื่อของนิมิตที่เกิด

เพราะอาศัยซากศพที่เป็น อุทธุมตกะ เป็นต้นบ้าง ของฌานที่ได้

แล้วในนิมิตทั้งหลายบ้าง. แต่ในอุทธุมาตกนิมิตนี้ สัญญาที่เกิดด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 632

สามารถอัปปนากำหนดเอาอาการที่น่าเกลียด ชื่อว่า อุทธุมาตกสัญญา,

ด้วยสามารถแห่ง อุทธุมาตกสัญญา นั้น ชื่อว่า อุทธุมาตกสัญญา-

วสะ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. บทว่า ปญฺจปฺาส สมาธี

สมาธิ ๕๕ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งธรรมหมวดหนึ่งเป็นต้น.

๙๓] พระสารีบุตรครั้นแสดงถึงประเภทของสมาธิด้วยสามารถ

หมวดหนึ่งเป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ประสงค์จะแสดงสมาธิโดยปริยาย

แม้อื่นจึงแสดงปรารภปริยายอื่น อปิจ ดังนี้แล้วกล่าวบทมีอาทิว่า

ปญฺจวีสติ - ๒๕. ในบทเหล่านั้นบทว่า สมาธิสฺส สมาธิฏฺา คือ

สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิ, สมาธินั้นย่อมมีได้โดยสภาพใด,

สภาพเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นประโยชน์ในสมาธินั้น.

บทว่า ปริคหฏเน สมาธิ คือ เพราะสมาธิอันอินทรีย์มี

สัทธินทรีย์ เป็นต้น กำหนดถือเอา ฉะนั้น ชื่อว่า สมาธิ โดยสภาพ

อัน สัทธินทรีย์ เป็นต้น กำหนดถือเอา. อนึ่ง อินทรีย์เหล่านั้น

นั่นแล ย่อมเป็นบริวารของกันและกัน, และย่อมเป็นอินทรีย์บริบูรณ์

ด้วยการบำเพ็ญภาวนา. เพราะฉะนั้น ชื่อว่าสมาธิ เพราะอรรถว่า

อินทรีย์เป็นบริวารของกันและกัน เพราะอรรถว่า สัทธินทรีย์เป็นต้น

บริบูรณ์. เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว เพราะเพ่งอารมณ์เดียว

ด้วยอำนาจสมาธิแห่งอินทรีย์เหล่านั้น, เพราะอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน

เพราะเพ่งความไม่มีความฟุ้งซ่านในอารมณ์ต่าง ๆ, พึงทราบว่า ท่านไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 633

ถืออรรถว่ากำหนดถือเอาความเที่ยง และอรรถว่าไม่แส่ไปไว้ในที่นี้ใน

ภายหลัง เพราะควรบรรลุด้วยการกำหนดถือวีริยพละใหญ่แห่งโลกุตระ

นั่นเอง และเพราะไม่มีความแส่ไปด้วยความเสื่อมแห่งโลกุตรมรรค.

ชื่อว่าสมาธิ เพราะอรรถว่า ไม่ขุ่นมัวโดยไม่มีกิเลสเกิดขึ้น. ชื่อว่าสมาธิ

เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว เพราะความไม่หวั่นไหว, ชื่อว่าสมาธิ

เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากกิเลส เพราะพ้นจากกิเลสด้วยการข่มไว้

หรือด้วยการตัดเด็ดขาด และเพราะน้อมไปในอารมณ์.

บทว่า เอกตฺตุปฏฺานวเสน จิตฺตสฺส ิตตฺตา เพราะความ

ที่จิตตั้งอยู่ด้วยสามารถความตั้งมั่นในความเป็นจิตมีอารมณ์เดียว ความ

ว่า เพราะความที่จิตตั้งมั่นโดยไม่หวั่นไหวในอารมณ์แห่งจิต ด้วยสามารถ

การตั้งมั่นอย่างหนักในอารมณ์เดียว ด้วยการประกอบสมาธินั่นเอง.

พึงทราบว่า ในคู่ ๘ ท่านกล่าวถึงคู่ เหล่านี้ คือ ย่อมแสวงหา

ย่อมไม่แสวงหา คู่ที่ ๑, ย่อมถือเอา ย่อมไม่ถือเอา คู่ที่ ๒ ย่อมปฏิบัติ

ย่อมไม่ปฏิบัติคู่ที่ ๓ ด้วยความไม่เหลือแห่งจิตที่น้อมไปในท่ามกลาง

ความอ่อนแห่งอุปจาระในส่วนเบื้องต้นจากวิถีแห่งอัปปนา, พึงทราบ

บทนี้ว่า ฌายติ ฌาเปติ - ย่อมเพ่ง ย่อมเผา ด้วยสามารถอุปจาระ

ในวิถีแห่งอัปปนา. พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงคู่ ๔ เหล่านี้ คือ เพราะ

แสวงหา เพราะไม่แสวงหา คู่ที่ ๑, เพราะยึดมั่น เพราะไม่ยึดมั่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 634

คู่ที่ ๒, เพราะปฏิบัติแล้ว เพราะไม่ปฏิบัติแล้ว คู่ที่ ๓, เพราะเผาแล้ว

เพราะไม่เผาแล้ว คู่ที่ ๔ ด้วยสามารถแห่งอัปปนา.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สม ในบทมีอาทิว่า สม เอสตีติ สมาธิ

ได้แก่ อัปปนา. จริงอยู่ อัปปนานั้น ชื่อว่า สมา เพราะสงบ คือ

ยังธรรมเป็นข้าศึกให้ฉิบหายไป, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สมา เพราะ

เกิดจากความไม่มีความไม่สงบอันเป็นข้าศึก. สมาธิย่อมแสวงหาความ

สงบนั้น คือ ย่อมแสวงหาด้วยอัธยาศัย. อิติ ศัพท์ เป็น การณัตถะ

แปลว่า เพราะเหตุนั้น, อธิบายว่า เพราะแสวงหาความสงบ ฉะนั้น

จึงชื่อว่า สมาธิ. บทว่า วิสม เนสติ ความว่า ไม่แสวงหาความ

ไม่สงบ อันเป็นข้าศึกของฌานนั้นๆ.

จริงอยู่ สมาธิอันเป็นส่วนเบื้องต้นเป็นสมาธิก่อน ชื่อว่าย่อม

แสวงหาความสงบ, ไม่แสวงหาความไม่สงบ เพราะเป็นสมาธิต้น.

สมาธิเป็นกลาง ชื่อว่าย่อมถือเอาความสงบ, ไม่ถือเอาความไม่สงบ

เพราะเป็นสมาธิมั่นคง.

สมาธิมีประมาณยิ่ง ชื่อว่าย่อมปฏิบัติความสงบ, ไม่ปฏิบัติความ

ไม่สงบ เพราะเป็นสมาธิใกล้วิถีแห่งอัปปนา.

บทว่า สม ฌายติ เป็นภาวนปุงสกะ ความว่า เป็นความสงบ

จึงเพ่ง, หรือ เพ่งด้วยอาการสงบ, จริงอยู่ สมาธิในวิถีแห่งอัปปนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 635

ย่อมเป็นไปโดยอาการสงบ เพราะสงบโดยปราศจากธรรมอันเป็นข้าศึก

และเพราะตั้งอยู่ด้วยความเป็นสมาธิเกื้อหนุนอัปปนาอันสงบแล้ว.

บทว่า ฌายติ มีความรุ่งเรือง ดุจในประโยคมีอาทิว่า ประทีป

ในพลับพลาเหล่านี้ ย่อมรุ่งเรืองตลอดคืน, และประทีปน้ำมัน ย่อม

รุ่งเรืองตลอดคืน, ประทีปน้ำมันพึงรุ่งเรืองในพลับพลานี้. ปาฐะว่า

สม ชายติ บ้าง ความว่า สมาธิย่อมเกิดด้วยอาการสงบ, ปาฐะก่อน

ดีกว่า เพราะความเป็นคู่ว่า ฌายติ ฌาเปติ - เพ่งความสงบ เผา

ความไม่สงบ.

อนึ่ง บทว่า ฌาเปติ - เอาความว่าเผา. เพราะว่าสมาธินั้น

ชื่อว่าย่อมเผาธรรมเป็นข้าศึกด้วยทำให้ไกลกว่า. ท่านกล่าวอัปปนาสมาธิ

ด้วยบทมีอาทิว่า เอสิตตฺตา เนสิตตฺตา - เพราะแสวงหา เพราะไม่

แสวงหา เพราะการแสวงหาและการไม่แสวงหาเป็นต้น สำเร็จด้วย

อัปปนา.

บทว่า สม ฌาตตฺตา - เพราะเพ่งความสงบ, คือ เพราะ

รุ่งเรืองเสมอ. ปาฐะว่า สม ชาตตฺตา - เพราะเกิดเสมอบ้าง. ความ

เป็นสมาธิแห่งสมาธิ ๒๕ เหล่านี้ คือ สมาธิ ๖ ด้วยสามารถแห่งคู่ ๘

เหล่านี้, และสมาธิ ๙ มีข้างต้น.

๑. ที. สี. ๙/๙๒ ๒. ส. นิ. ๑๖/๒๐๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 636

ก็บทนี้ว่า สโม จ หิโต จ สุโข จา สมาธิ ชื่อว่าสมาธิ

เพราะเป็นธรรมสงบ เป็นสภาพเกื้อกูล และเป็นความสุข ท่าน

กล่าวเพื่อให้สำเร็จประโยชน์แห่งสมาธิอันสำเร็จแล้วด้วยอาการ ๒๕.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สโม มีความแห่ง สม ศัพท์, หรือ ส

ศัพท์

จริงอยู่ สมาธินั้น ชื่อว่า สโม เพราะเว้นจากความไม่สงบ

อันกำเริบที่เป็นข้าศึก.

บทว่า หิโต มีความแห่ง อธิ ศัพท์. อธิบายว่าตั้งอยู่ในอารมณ์

คือ ให้ตั้งอยู่ด้วยทำความไม่หวั่นไหว. ท่านอธิบายว่า ด้วยบททั้ง ๒

ชื่อว่าสมาธิ เพราะสงบและตั้งมั่น.

บทว่า สุโข ชื่อว่า สุโข เพราะอรรถว่า สงบ. แม้สมาธิ

สหรคตด้วยอุเบกขา ท่านก็ถือเอาด้วย สุข ศัพท์. มีอรรถว่าสงบเพราะ

ท่านกล่าวไว้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญอทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสไว้ในความสงบ คือ ในความสุขอันประณีต และอุเบกขาท่าน

กล่าวว่าเป็นความสุขเพราะสงบ. ท่านกล่าวสมาธิทั้งหมดไว้ในที่นี้โดย

ไม่มีกำหนด. จึงเป็นอันท่านกล่าวเหตุของความตั้งมั่นด้วย สุข ศัพท์

๑. ม. มู. ๑๓/๙๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 637

นั้น. พึงทราบคำอธิบายว่า เพราะสมาธิเป็นความสงบ, ฉะนั้น สมาธิ

จึงตั้งมั่นในอารมณ์เดียว ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสมาธิภาวนามยญาณนิทเทส

ธรรมฐิติญาณนิทเทส

[๙๔] ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณอย่างไร ?

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชาเป็นเหตุเกิด เป็นเหตุให้เป็น

ไป เป็นเหตุเครื่องหมาย เป็นเหตุประมวลมา เป็นเหตุประกอบ

ไว้ เป็นเหตุพัวพัน เป็นเหตุให้เกิด เป็นเหตุเดิม และเป็น

เหตุอาศัยเป็นไปแห่งสังขาร ด้วยอาการ ๙ อย่าง อวิชชาจึงเป็นปัจจัย

สังขารเกิดขึ้นแห่งปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ ต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย ดังนี้

เป็นธรรมฐิติญาณ.

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาล

ก็ดี อวิชชาเป็นเหตุเกิด . . . และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งสังขารด้วย

อาการ ๙ อย่างนี้ อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นแต่ปัจจัย แม้

ธรรมทั้งสองนี้ ต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ.

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า สังขารเป็นเหตุเกิด. . . และเป็น

เหตุอาศัย เป็นไปแห่งวิญญาณ ฯลฯ วิญญาณเป็นเหตุเกิด . . . และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 638

เป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งนามรูป . . . นามรูปเป็นเหตุเกิด . . . และเป็น

เหตุอาศัยเป็นไปแห่งสฬายตนะ . . . สฬายตนะเป็นเหตุเกิด. . . และเป็น

เหตุอาศัยเป็นไปแห่งผัสสะ . . . ผัสสะเป็นเหตุเกิด . . . และเป็นเหตุอาศัย

เป็นไปแห่งเวทนา. . . เวทนาเป็นเหตุเกิด . . . และเป็นเหตุอาศัยเป็นไป

แห่งตัณหา . . . ตัณหาเป็นเหตุเกิด. . .และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งอุปา-

ทาน . . .อุปาทานเป็นเหตุเกิด . . . และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งภพ . . .

ภพเป็นเหตุเกิด. . .และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งชาติ...ชาติเป็นเหตุเกิด. . .

และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งชราและมรณะ . . . ปัญญาในการกำหนด

ปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็นเหตุเกิด เป็น

เหตุให้เป็นไป เป็นเครื่องหมาย เป็นเหตุประมวลมา เป็นเหตุประกอบ

ไว้ เป็นเหตุพัวพัน เป็นเหตุเกิด เป็นเหตุเดิม และเป็นเหตุอาศัย

เป็นไปแห่งชราและมรณะ ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ชาติจึงเป็นปัจจัย

ชราและมรณะเกิดแต่ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้อย่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย

ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ.

[๙๕] ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชาเป็นเหตุ สังขาร

อาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุดังนี้ เป็นธรรม

ฐิติญาณ.

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาล

ก็ดี อวิชชาเป็นเหตุ สังขารอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 639

ก็เกิดขึ้นแต่เหตุดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ.

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า สังขารเป็นเหตุ วิญญาณเกิดขึ้น

แต่เหตุ ... วิญญาณเป็นเหตุ นามรูปเกิดขึ้นแต่เหตุ ...นามรูปเป็นเหตุ

สฬายตนะเกิดขึ้นแต่เหตุ... สฬายตนะเป็นเหตุ ผัสสะเกิดขึ้นแต่เหตุ...

ผัสสะเป็นเหตุ เวทนาเกิดขึ้นแต่เหตุ ... เวทนาเป็นเหตุ ตัณหาเกิดขึ้น

แต่เหตุ... ตัณหาเป็นเหตุ อุปาทานเกิดขึ้นแต่เหตุ ...อุปาทานเป็นเหตุ

ภพเกิดขึ้นแต่เหตุ ... ภพเป็นเหตุ ชาติเกิดขึ้นแต่เหตุ ... ชาติเป็นเหตุ

ชราและมรณะเกิดขึ้นแต่เหตุ แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุ

ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ.

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาล

ก็ดี ชาติเป็นเหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นแต่เหตุ แม้ธรรมทั้งสองนี้

ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุ ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ.

[๙๖] ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็น

ไป สังขารอาศัยอวิชชาเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิด

ขึ้น ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ.

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาล

ก็ดี อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป สังขารอาศัยอวิชชาเกิดขึ้น แม้ธรรม

ทั้งสองนี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 640

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า สังขารอาศัยปัจจัยเป็นไป วิญญาณ

อาศัยสังขารเกิดขึ้น วิญญาณอาศัยปัจจัยเป็นไป นามรูปอาศัยวิญญาณ

เกิดขึ้น นามรูปอาศัยปัจจัยเป็นไป สฬายตนะอาศัยนามรูปเกิดขึ้น

สฬายตนะอาศัยปัจจัยเป็นไป ผัสสะอาศัยสฬายตนะเกิดขึ้น ผัสสะ

อาศัยปัจจัยเป็นไป เวทนาอาศัยผัสสะเกิดขึ้น เวทนาอาศัยปัจจัยเป็น

ไป ตัณหาอาศัยเวทนาเกิดขึ้น ตัณหาอาศัยปัจจัยเป็นไป อุปาทาน

อาศัยตัณหาเกิดขึ้น อุปาทานอาศัยปัจจัยเป็นไป ภพอาศัยอุปาทาน

เกิดขึ้น ภพอาศัยปัจจัยเป็นไป ชาติอาศัยภพเกิดขึ้น ชาติอาศัยปัจจัย

เป็นไป ชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัย

ปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ.

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาล

ก็ดี ชาติอาศัยปัจจัยเป็นไป ชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรม

ทั้งสองนี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ.

[๙๗] ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชาเป็นปัจจัย สังขาร

เกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ดังนี้

เป็นธรรมฐิติญาณ.

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาล

ก็ดี อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้

ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 641

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณเกิด

ขึ้นเพราะปัจจัย วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปเกิดขึ้นเพราะปัจจัย นาม

รูปเป็นปัจจัย สฬายตนะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ

เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดขึ้นเพราะปัจจัย เวทนา

เป็นปัจจัย ตัณหาเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน

เกิดขึ้นเพราะปัจจัย อุปาทานเป็นปัจจัย ภพเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ภพ

เป็นปัจจัย ชาติเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะ

เกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ดังนี้

เป็นธรรมฐิติญาณ.

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาล

ก็ดี ชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้

ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ.

[๙๘] ในกรรมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่

ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน

ความคิดอ่านเป็นภพ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เหล่านี้ เป็น

ปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้ ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความกังวล

เป็นนามรูป ประสาท คือ ภาวะที่ผ่องใส เป็นอายตนะ ส่วนที่ถูก

ต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนาในอุปปัตติภพนี้ ธรรม

๕ ประการในอุปปัตติภพเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 642

ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็น

ตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี)

เพราะอายตนะทั้งหลาย ในภพนี้แก่รอบ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพ

นี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอนาคต ปฏิสนธิในอนาคตเป็น

วิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาทเป็นอายตนะ ส่วนที่ถูก

ต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประการใน

อุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้ พระ-

โยคาวจร ย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่ง

ปฏิจจสมุปบาท มีสังเขป ๔ กาล ๓ ปฏิสนธิ ๓ เหล่านี้ ด้วยอาการ ๒๐

ด้วยประการดังนี้.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย

เป็นธรรมฐิติญาณ.

อรรถกถาธรรมฐิติญาณนิทเทส

๙๔] พึงทราบวินิจฉัยในธรรมฐิติญาณนิทเทสดังต่อไปนี้ ใน

บทมีอาทิว่า อวิชฺชา สงฺขาราน อุปฺปาทฏฺิติ - ต่อวิชชาเป็นเหตุเกิด

แห่งสังขารทั้งหลาย มีอธิบายดังนี้ ชื่อว่า ิติ เพราะอรรถว่าอวิชชา

เป็นเหตุตั้งสังขาร. ิติ นั้น คืออะไร ? คือ อวิชชา. เพราะว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 643

อวิชชานั้นเป็นที่ตั้ง คือเป็นเหตุแห่งการเกิดสังขารทั้งหลาย เพราะเหตุ

นั้นจึงชื่อว่า อุปฺปาทฏฺิติ - เป็นเหตุเกิด.

ชื่อว่า ปวตฺตฏฺิติ - เป็นเหตุให้เป็นไป เพราะอรรถว่าเป็น

เหตุแห่งความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว. อธิบายว่า จริง

อยู่ อานุภาพของกิจย่อมมีในขณะชนกปัจจัยเกิดนั่นเองโดยแท้, แต่

เพราะความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลายอันชนกปัจจัยนั้นให้เกิด จึงชื่อ

ว่าเป็นเหตุ แม้แห่งความเป็นไปในขณะของตน, อีกอย่างหนึ่ง เป็น

เหตุแห่งความเป็นไปด้วยอำนาจสันตติ.

อนึ่ง บทว่า ปวตฺต นี้ เป็นภาววจนะลงในนปุงสกลิงค์,

เพราะฉะนั้น ปวตฺต จึงเป็นอันเดียวกัน โดยอรรถว่า ปวตติ - ความ

เป็นไป. แต่เพราะปวัตติศัพท์ปรากฏแล้ว ท่านจึงอธิบายประกอบด้วย

บทว่า ปวตฺต นั้น. ิติ ศัพท์ ในความเป็นไม่มีในที่นี้ เพราะ ิติ

ศัพท์ แม้ในภาวะก็สำเร็จได้.

เพื่อแสดงว่า ิติ ศัพท์ เป็นไปในความว่า เหตุ ท่านจึง

กล่าวว่า นิมิตฺตฏฺิติ อธิบายว่า ิติ เป็นเครื่องหมายคือเป็นเหตุ. ไม่ใช่

เพียงเป็นเครื่องหมายอย่างเดียว ที่แท้พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงความเป็น

ผู้สามารถในปัจจัยว่า ย่อมประมวลมา ย่อมพยายาม เป็นดุจมีความ

ขวนขวายในการให้เกิดสังขาร จึงกล่าวว่า อายูหนฏฺิติ อธิบายว่า

ิติ เป็นเหตุประมวลมา. เพราะอวิชชาให้สังขารเกิดขึ้น ชื่อว่า ประกอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 644

ในความเกิด, อธิบายว่า พยายาม, อวิชชาให้สังขารเป็นไป ชื่อว่า

พัวพันในความเป็นไป. อธิบายว่า ผูกพัน ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

สญฺโคฏฺิติ - เป็นเหตุประกอบไว้ ปลิโพธฏฺิต - เป็นเหตุพัวพัน

อธิบายว่า เป็นเหตุประกอบ เป็นเหตุกังวล.

เพราะอวิชชาให้สังขารเกิด ชื่อว่า สมุทัย เพราะอรรถว่า

เป็นมูลเหตุแห่งความเกิดและความเป็นไป, ชื่อว่า สมุทยิติ เพราะ

เป็นเหตุให้เกิด อธิบายว่า เป็นมูลเหตุ. อวิชชาแลท่านกล่าวว่า

เหตฏฺิติ - เป็นเหตุเดิม, ปจฺจยฏฺิติ - เป็นเหตุอาศัยเป็นไป เพราะเป็น

เหตุเกิดในความเกิดของสังขาร, เพราะเป็นปัจจัยอุปถัมภ์ในความเป็น

ไป อธิบายว่า ิติ เป็นเหตุเดิม, ิติ เป็นเหตุอาศัยเป็นไป ท่านกล่าว

ชนกปัจจัยเป็นเหตุ, อุปถัมภกปัจจัยเป็นเครื่องอาศัย. แม้ในบทที่เหลือ

ก็พึงประกอบอย่างนี้.

ในบทนี้ว่า ภโว ชาติยา ชาติ ชรามรณสฺส - ภพเป็นปัจจัย

แก่ชาติ. ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ ท่านกล่าวถึงบทที่ประกอบด้วย

สามารถความเกิดว่า อุปฺปาทฏฺิติ สญฺโคฏฺิติ เหตฏฺิติ โดย

ปริยาย ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ทั้งหลายมีชาติชราและมรณะ.. แต่อาจารย์

บางพวกพรรณนาความในบทนี้ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า อุปฺปาทาย ิติ

อุปฺปาทฏฺิติ - เหตุแห่งความเกิด ชื่อว่า อุปปาทัฏิติ - เป็นเหตุเกิด.

บทว่า อวิชฺชา ปจฺจโย - อวิชชาเป็นปัจจัย ท่านกล่าวเพ่งความที่

อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 645

อีกอย่างหนึ่ง เพื่อแสดงการกำหนดอวิชชานั้นเป็นปัจจัย เพราะ

ความที่แม้อวิชชาก็เกิดเพราะปัจจัยท่านจึงกล่าวว่า อุโภเปเต ธมฺมา

ปจฺจยสมุปฺปนฺนาติ ปจฺจยปริคฺคเห ปญฺา - ปัญญาในการกำหนด

ปัจจัยว่า ธรรมแม้ทั้งสองอย่างนี้ก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย. แม้ในบทที่เหลือ

ก็พึงประกอบอย่างนี้. ส่วนบทว่า ชาติ ปจฺจโย, ชรามรณ ปจฺจย-

สมุปฺปนฺน - ชาติเป็นปัจจัย, ชราและมรณะต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย ท่าน

กล่าวไว้โดยปริยาย. บทว่า อตีตมฺปิ อทฺธาน ได้แก่ กาลที่ล่วงไป

แล้ว. บทว่า อนาคตมฺปิ อทฺธาน ได้แก่ กาลที่ยังไม่มาถึง. แม้

ในบททั้งสองก็เป็น ทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งอัจจันตสังโยคะ

คือใช้อายตนิบาตว่า สิ้น.

๙๕ - ๙๗] บัดนี้ พระสารีบุตรละอาการ ๙ เหล่านั้น ใน

ลำดับวาระแห่งอาการ ๙ แล้วประกอบด้วยบทแห่งปัจจัยอาศัยเหตุ แล้ว

ชี้แจงวาระ ๓ มีอาทิว่า อวิชฺชา เหตุ, สงฺขารา เหตุสมุปฺปนฺน-

อวิชชาเป็นเหตุ สังขารทั้งหลายอาศัยเหตุเกิดขึ้น ในวาระแห่งอาการ ๙

ท่านกล่าวปัจจัยด้วยสามารถเป็นชนกอุปถัมภกปัจจัย - ปัจจัยอุดหนุนให้

เกิด, ในที่นี้ บทว่า เหตุ ได้แก่ ความเป็นชนกปัจจัย เพราะเหตุ

วาระและปัจจัยวาระมาต่างหากกัน. บทว่า ปจฺจโย พึงทราบความเป็น

อุปถัมภกปัจจัย เพราะปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นแม้อย่างหนึ่ง ๆ ก็เกิดโดย

ประการทั้งสอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 646

พึงทราบวินิจฉัยในปฏิจจวาระดังต่อไปนี้ บทว่า อวิชชา

ปฏิจฺจฺ - อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป ความว่า อวิชชา ชื่อว่า ปฏิจฺจา

เพราะต้องถึงต้องไปเฉพาะหน้าด้วยสังขารทั้งหลาย เพราะเพ่งอวิชชา

เป็นเหตุของสังขารทั้งหลายในความเกิดของตน. ด้วยบทนี้เป็นอันท่าน

กล่าวถึงความที่ อวิชชาสามารถให้สังขารเกิด.

บทว่า สงฺขารา ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา - สังขารทั้งหลายอาศัย

อวิชชาเกิดขึ้น ความว่า สังขารทั้งหลายมิได้เกิดขึ้นเสมอโดยมิได้อาศัย

อะไร เพราะต้องอาศัยอวิชชาแล้ว จึงเกิดขึ้นเป็นไปอยู่. แม่ในบท

ที่เหลือก็พึงประกอบโดยสมควรแก่ลิงค์อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่งปาฐะว่า

อวิชฺช ปฏิจฺจ - อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป ด้วยสามารถความขวนขวาย

แต่ความในบทนี้ พึงประกอบด้วยปาฐะที่เหลือว่า อวิชชาอาศัยปัจจัย

ของตนเป็นไป. แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนั้น. ในวาระแม้ ๔ อย่าง

เหล่านี้ ท่านชี้แจงธรรมฐิติญาณด้วยสามารถแห่งองค์ ๑๑ มีอวิชชา

เป็นต้น เพราะธรรมฐิติญาณควรชี้แจง ด้วยสามารถปัจจัยแห่งองค์

ปฏิจจสมุปบาท ๑๒. แต่ท่านไม่ชี้แจงด้วยสามารถชรามรณะนั้น เพราะ

ชรามรณะตั้งอยู่ในที่สุด. ธรรมฐิติญาณด้วยสามารถชรามรณะนั้น ทำ

ชรามรณะให้เป็นปัจจัยแห่งองค์ปฏิจจสมุปบาทเหล่านั้น แล้วพิจารณา

ควรทีเดียว เพราะแท้ชราและมรณะก็เป็นปัจจัยแห่งโสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัสและอุปายาส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 647

๙๘] บัดนี้ พระสารีบุตรประสงค์จะจำแนกองค์ปฏิจจสมุปบาท

๑๒ เหล่านั้น จึงแสดงสังเขป ๔ กาล ๓ สนธิ ๓ ด้วยอาการ ๒๐

แล้วจึงชี้แจงธรรมฐิติญาณ กล่าวบทมีอาทิว่า ปุริมกมฺมภวสฺมึ - ใน

กรรมภพก่อน ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุริมกมฺมภวสฺมึ ได้แก่ ในกรรมภพ

ก่อน, อธิบายว่า เมื่อทำกรรมภพในอดีตชาติ.

บทว่า โมโห อวิชฺชา - โมหะเป็นอวิชชา ความว่า หลงด้วย

โมหะในทุกข์เป็นต้นแล้วทำกรรม, นั้นคือ อวิชชา.

บทว่า อายูหนา สงฺขารา - กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร

ความว่า เจตนาก่อนของผู้ทำกรรมนั้น, เจตนาก่อนเกิดขึ้นแก่ผู้คิดว่า

เราจักให้ทานดังนี้ แล้วสละอุปกรณ์การให้เดือนหนึ่งบ้าง ปีหนึ่งบ้าง.

เจตนา ท่านกล่าวว่า ภพ เพราะวางทักษิณาไว้บนมือของ

ปฏิคคาหก. เจตนาในอาวัชชนะ ๑ หรือในชวนะ ๖ ชื่อว่า กรรมที่

ประมวลมาเป็นสังขาร. เจตนาในชวนะที่ ๗ เป็นภพ. อนึ่ง เจตนา

อย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นภพ. ชื่อว่า การประมวลมาเป็นสังขาร เพราะ

สัมปยุตด้วยเจตนานั้น.

บทว่า นีกนฺติ ตณฺหา - ความใคร่เป็นตัณหา ความว่า ความ

ใคร่ ความปรารถนาในอุบัติภพอันเป็นผลของผู้ทำกรรม ชื่อว่า ตัณหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 648

บทว่า อุปคมน อุปาทาน - ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน. ความว่า

การเข้าถึง คือ ความถือมั่นอันเป็นปัจจัยแห่งกรรมภพเป็นไปแล้วว่า

เมื่อทำกรรมนี้จักสำเร็จความประสงค์ ดังนี้ก็ดี เราทำกรรมนี้แล้ว

จักได้เสวยกรรมในฐานะโน้น ดังนี้ก็ดี อัตตาคือตัวตนขาดสูญ ขาดสูญ.-

ด้วยดีแล้วก็ดี มีความสุขปราศจากความเดือดร้อนก็ดี บำเพ็ญศีลพรตได้

โดยสะดวกก็ดี นี้ชื่อว่า อุปาทาน.

บทว่า เจตนา ภโว - เจตนาเป็นภพ ได้แก่ เจตนา ดังกล่าว

แล้ว ในที่สุดแห่งการประมวลมา ชื่อว่า ภพ.

บทว่า ปุริมกมฺมภวสฺมึ - ในกรรมภพก่อน ได้แก่ เมื่อทำ

กรรมภพไว้ในอดีตชาติธรรมเหล่านี้เป็นไปแล้ว. บทว่า อิธ ปฏิสนฺธิยา

ปจฺจยา - ธรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในภพนี้ ได้แก่ เป็น

ปัจจัยแห่งปฏิสนธิในปัจจุบัน.

บทว่า อิธ ปฏิสนฺธิ วิญฺาณ - ปฏิสนธิเป็นวิญญาณในภพนี้

ได้แก่ วิญญาณ ที่ท่านกล่าวว่า เป็น ปฏิสนธิ เพราะภพปัจจุบัน

เกิดด้วยสามารถแห่งการสืบต่อกันในระหว่างภพนั้น ชื่อว่า วิญญาณ.

บทว่า โอกฺกนฺติ นามรูป - ความก้าวลงเป็นนามรูป ได้แก่

ความก้าวลงในครรภ์แห่ง รูปธรรม และ อรูปธรรม ดุจมาแล้วเข้าไป

นี้ชื่อว่า นามรูป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 649

บทว่า ปสาโท อายตน - ประสาทคือความผ่องใส เป็น

อายตนะ ได้แก่ ความที่รูปผ่องใส นี้เป็นอายตนะ. ท่านทำเป็น

เอกวจนะโดยถือเอาชาติ. ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวถึงอายตนะ ๕ มีจักขุ

เป็นต้น. พึงทราบว่า แม้มนายตนะเท่านี้ก็กล่าวด้วยคำว่า ปสาทะ

เพราะมนายตนะเป็นวิบากในที่นี้โดยพระบาลีว่า ปภสฺสรมิท ภิกฺขเว

จิตฺต, ตญฺจ โข อาคนฺคุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฺ - ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลายจิตนี้ประภัสสร, ก็จิตนั้นแลเศร้าหมองด้วยอุปกิเลส

ที่จรมา ดังนี้ ในพระบาลีนี้ ท่านประสงค์เอาภวังคจิต, และเพราะจิตนั้น

ผ่องใสด้วยความไม่มีสิ่งปฏิกูลด้วยกิเลส,

บทว่า ผุฏฺโฐ ผสฺโส - ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ได้แก่ ส่วน

ที่ถูกต้องกระทบ เกิดอารมณ์ นี้ชื่อว่า ผัสสะ.

บทว่า เวทยิต เวทนา - การเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ได้แก่

การเสวยวิบากเกิดร่วมกับผัสสะ ด้วยปฏิสนธิวิญญาณก็ดี ด้วยสฬายตนะ

เป็นปัจจัยก็ดี นี้ชื่อว่า เวทนา.

บทว่า อิธุปปตฺติภวสฺมึ ปุเรกตสฺส กมฺมสฺส ปจฺจยา - ธรรม

๕ ประการในกรรมภพก่อน เป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้

ความว่า ธรรมทั้งหลายย่อมเป็นไปด้วยปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในอดีต

ชาติ อันเป็นวิบากภพในปัจจุบัน.

๑. องฺ. เอกก. ๒๐/๕๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 650

บทว่า อิธ ปริปกฺกตฺตา อายตนาน - เพราะอายตนะทั้งหลาย

ในภพนี้แก่รอบ ท่านแสดงโมหะเป็นต้นในการทำกรรมของผู้มีอายตนะ

แก่รอบ.

บทว่า อายตึ ปฏิสนฺธิยา คือเป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิในอนาคต.

บทมีอาทิว่า อายตึ ปฏิสนฺธิ วิญฺณาณ - ปฏิสนธิในอนาคตเป็น

วิญญาณ มีอรรถดังได้กล่าวแล้ว. ท่านถือเอาอาการ ๒๐ เหล่านี้ ด้วย

องค์แห่งปฏิจจสมุปบาท ๑๒ เป็นอย่างไร ? ท่านกล่าวธรรมทั้ง ๒

เหล่านี้ โดยสรุปว่า อวิชฺชา สงฺขารา ดังนี้ ว่าเป็นเหตุในอดีต.

ก็เพราะไม่รู้แจ้ง จึงสะดุ้ง, สะดุ้งแล้วย่อมถือมั่น, เพราะการถือมั่น

ของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ, ฉะนั้น จึงเป็นอันท่านถือเอาแม่

ตัณหาอุปาทานและภพ ด้วยการถือเอาธรรมทั้งสอง คือ อวิชชาและ

สังขารเหล่านั้นด้วย. ท่านกล่าวถึงวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ

ผัสสะและเวทนา ในปัจจุบันโดยสรุป. ท่านกล่าวตัณหา อุปาทานและ

ภพ ว่าเป็นเหตุในปัจจุบัน โดยสรุป ก็เมื่อถือเอาภพแล้วก็เป็นอัน

ถือเอาสังขารทั้งหลาย อันเป็นส่วนเบื้องต้นของภพนั้นหรือสัมปยุตด้วย

ภพนั้น. อนึ่ง สังขารทั้งหลายสัมปยุตด้วยภพนั้น ด้วยการถือตัณหา

และอุปาทาน. อีกอย่างหนึ่ง ท่านถือเอา ตัณหา ที่คนลุ่มหลงทำ

กรรมว่า เป็น อวิชชา. ท่านกล่าวธรรมทั้ง ๒ ว่า ชาติชรามรณะ

ในอนาคตโดยสรุป, ก็ด้วยการถือเอาชาติชรามรณะนั่นแล จึงเป็นอัน

ท่านถือผลในอนาคต ๕ มีวิญญาณเป็นต้นนั่นเอง. เป็นอันท่านถือเอา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 651

อาการ ๒๐ ด้วยองค์ ๑๒ แห่งปฏิจจสมุปบาทเหล่านั้น ด้วยบทว่า

ชาติชรามรณานิ ด้วยประการฉะนี้

อตีเต เหตุโย ปญฺจ อิทานิ ผลปญฺจก

อิทานิ เหตุโย ปญฺจ อายตึ ผลปญฺจก.

อาการ ๒๐ แห่งปัจจยาการ คือ ธรรม

เป็นอดีตเหตุ ๕ อย่าง ธรรมเป็นปัจจุบันผล ๕ อย่าง

ธรรมเป็นปัจจุบันเหตุ ๕ อย่าง ธรรมเป็นอนาคต

ผล ๕ อย่าง.

ท่านกล่าวความแห่งคาถานั้นไว้แล้ว, บทว่า อิติเม แยกบทเป็น อิติ

เม. ปาฐะว่า อิติ อิเม.

บทว่า จตุสงฺเขเป - มีสังเขป ๔ ได้แก่ มีกอง ๔. ธรรม

เป็นเหตุ ๕ อย่าง ในอดีต เรียกว่า เหตุสังเขป อย่างหนึ่ง. ธรรม

เป็นผล ๕ อย่าง ในปัจจุบันเรียกว่า ผลสังเขป อย่างหนึ่ง. ธรรม

เป็นเหตุ ๕ อย่าง ในปัจจุบัน เรียกว่า เหตุสังเขป อย่างหนึ่ง.

ธรรมเป็นผล ๕ อย่าง ในอนาคต เรียกว่า ผลสังเขป อย่างหนึ่ง.

บทว่า ตโย อทฺเธ ได้แก่ ในกาล ๓. อดีตกาล พึงทราบ

ด้วยสามารถปัญจกะ คือ ธรรมหมวด ๕ ที่ ๑, ปัจจุบันกาลพึงทราบ

ด้วยสามารปัญจกะที่ ๒ ที่ ๓, อนาคตกาลพึงทราบด้วยสามารถปัญจกะ

ที่ ๔,

๑. ธรรมหมวด ๕ นี้ คือวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน กรรมภพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 652

บทว่า ติสนฺธึ - สนธิ ๓ ชื่อว่า ติสันธิ เพราะอรรถว่ามี

ปฏิสนธิ ๓, ซึ่งปฏิสนธิ ๓ นั้น อธิบายว่า เหตุผลสนธิ อย่างหนึ่ง

มีในระหว่างแห่ง เหตุอดีต และ ผลปัจจุบัน, ผลเทตุสนธิ อย่าง

หนึ่งมีในระหว่างแห่ง ผลปัจจุบัน และ เหตุอนาคต, เหตุผลสนธิ

อย่างหนึ่งมีในระหว่างแห่ง เหตุปัจจุบัน และ ผลอนาคต.

แต่ด้วยสามารถมาแล้วโดยสรุปใน ปฏิจฺจสมุปฺปาทปาลิ มีดัง

นี้ อวิชชา สังขารา เป็นสังเขปที่ ๑. วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ

ผัสส และ เวทนา เป็นสังเขปที่ ๒ ตัณหา อุปาทาน ภพ เป็นสังเขป

ที่ ๓, ชาติ ชรามรณะ เป็นสังเขปที่ ๔. องค์ ๒ คือ อวิชชา และ สังขาร

เป็น อดีตกาล, ธรรม ๘ มี วิญญาณ เป็นต้น มีภพเป็นที่สุด เป็น

ปัจจุบันกาล, องค์ ๒ คือ ชาติ และ ชรามรณะ เป็น อนาคตกาล,

เหตุผลสนธิ อย่างหนึ่งมีในระหว่างแห่ง สังขาร และ วิญญาณ, ผล

เหตุสนธิ อย่างหนึ่งมีในระหว่างแห่งเวทนาและตัณหา, เหตุผลสนธิ

อย่างหนึ่งมีในระหว่างแห่งภพและชาติ.

บทว่า วีสติยา อากาเรหิ - อาการ ๒๐ ได้แก่ โดยส่วน ๒๐.

พึงเชื่อมความว่า พระโยคาวจรย่อมรู้ปฏิจจสมุปบาท มีสังเขป ๔ กาล ๓

สนธิ ๓ ด้วยอาการ ๒๐ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 653

บทว่า ชานาติ ได้แก่ ย่อมรู้ด้วยญาณ คือ การเริ่มเวทนาโดย

ทำนองเดียวกับสุตะ - การฟัง.

บทว่า ปสฺสติ ได้แก่ ย่อมเห็นสิ่งที่รู้แล้วด้วยญาณดุจเห็น

ด้วยตา และทำให้ถูกต้องแล้วดุจมะขามป้อมบนฝ่ามือ.

บทว่า อญฺาติ - ย่อมรู้ทั่ว ได้แก่ ทำอาเสวนะโดยอาการที่

เห็นแล้ว ชื่อว่า ย่อมรู้ด้วยญาณ. ความแห่งศัพท์ว่า มริยาทะ ในที่นี้

คือ อาการ.

บทว่า ปฏิวิชฺฌติ - ย่อมแทงตลอด ได้แก่ ให้ถึงความสำเร็จ

ด้วยการบำเพ็ญภาวนา ชื่อว่า ทำการแทงตลอดด้วยญาณ. อีกอย่าง

หนึ่งย่อมรู้ ด้วยสามารถแห่งลักษณะ, ย่อมเห็น ด้วยสามารถเป็นไป

กับด้วยกิจ, ย่อมรู้ทั่ว ด้วยสามารถแห่งอาการปรากฏ, ย่อมแทงตลอด

ด้วยสามารถแห่งปทัฏฐาน

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปาโท พึงทราบว่า ได้แก่ ธรรมเป็นปัจจัย

ธรรมเป็นปัจจัย.

บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา ธมฺมา ได้แก่ ธรรมอันเกิดขึ้น

ด้วยปัจจัยนั้น ๆ. หากถามว่า รู้ได้อย่างไร ? แก้ว่า ด้วยพระพุทธ-

พจน์. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในเทศนาสูตรที่บัณฑิตกำหนด

ด้วยปฏิจจสมุปปาทะและปฏิจจสมุปปันนธรรมว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 654

กตโม จ ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท, ฯปฯ อย

วุจฺจติ ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปปาโท.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิจจสมุปบาท เป็น

ไฉน ? เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ, พระ-

ตถาคตทรงอุบัติก็ตาม ยังไม่ทรงอุบัติก็ตาม ธาตุ

นั้นเป็นธรรมฐิติ - ยังตั้งอยู่โดยธรรมดา เป็นธรรม

นิยาม - ความแน่นอนอยู่โดยธรรมดา เป็นอิทัป-

ปัจจยตา - ความอาศัยกันเกิดขึ้นยังคงมีอยู่, พระ-

ตถาคตตรัสรู้บรรลุธรรมนั้น, ครั้นตรัสรู้แล้ว บรรลุ

แล้ว ทรงบอก ทรงแสดง ทรงบัญญัติ ทรงตั้ง

ทรงเปิดเผย ทรงจำแนก ทรงทำให้ง่าย ตรัสว่า

พวกเธอจงเห็น ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ

ชาติเป็นปัจจัยมีชราและมรณะ, เพราะภพเป็น

ปัจจัยจึงมีชราและมรณะ, เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

จึงมีสังขาร. พระตถาคตอุบัติก็ตาม ยังไม่อุบัติ

ตาม ฯลฯ ย่อมทำให้ง่ายตรัสว่า พวกเธอจง

เห็นดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็น

ปัจจัยจึงมีสังขาร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายด้วยประการ

๑. ส. นิ. ๑๖/๖๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 655

ฉะนี้แล ความจริงแท้แน่นอน ไม่เป็นอย่างอื่น

ชื่อว่า ความที่สิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลายนี้ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปบาท.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทอย่างนี้ จึง

ตรัสว่า ธรรมเป็นปัจจัยนั่นแล ชื่อว่า ปฏิจจสมุปบาท โดยไวพจน์

มีคำว่า ตถาคตความเป็นของจริงแท้เป็นต้น. เพราะฉะนั้น ปฏิจจ-

สมุปบาท จึงมีการเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายมีชราและมรณะเป็นต้น

เป็นลักษณะ, มีการผูกพันอยู่กับทุกข์เป็นรส, มีการเห็นผิดทางเป็นต้น

อาการปรากฏ, มีปัจจัยพิเศษของตนเป็นปทัฏฐาน เพราะแม้ตนเองก็มี

ปัจจัย.

บทว่า อุปฺปาทา วา อนุปฺปาทา วา ได้แก่ เมื่ออุบัติก็ตาม

เมื่อไม่อุบัติก็ตาม อธิบายว่า เมื่อพระตถาคต แม้อุบัติแล้ว แม้ยังไม่

อุบัติแล้ว ดังนี้.

๑. มีลักขณาทิตจุตกะ ดังนี้.

๑. ชรามรณาทีน ปจฺจยลกฺขโณ

๒. ทุกฺขานุพนฺธนรโส

๓. กุมฺมคฺคปจฺจุปฏฺาโน

๔. สยมฺปิ สปจฺจยตฺตา อตฺตโน วิเสสปฺปจฺจยปาฏฺาโน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 656

บทว่า ิตา ว สา ธาตุ ได้แก่ สภาพของปัจจัยนั้นยังตั้งอยู่.

อธิบายว่า ในกาลไหน ๆ จะไม่มีปัจจัยของชาติชราและมรณะหามิได้

เลย.

บทว่า ธมฺมฏฺิตตา ธมฺมนิยามตา อิทปฺปจฺจยตา - มีชาติเป็น

ปัจจัยนั่นเอง. ธรรมเกิดขึ้นเพราะปัจจัย กล่าวคือ ชราและมรณะ

ย่อมตั้งอยู่ได้ เพราะอาศัยธรรมนั้น เพราะชาติเป็นปัจจัย, ชาติเป็น

ปัจจัย ย่อมกำหนดธรรมคือชราและมรณะ, เพราะฉะนั้น ชาติ ท่าน

กล่าวว่า ธมฺมฏฺิตตา ธมฺมนิยามตา ดังนี้. ชาตินั่นแล เป็นปัจจัย

ของชราและมรณะนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อิทปฺปจฺจโย, อิทปฺ-

ปจฺจโย นั่นแล ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา.

บทว่า ต คือ ปัจจัยนั้น. บทว่า อภิสมฺพุชฺฌติ คือ ย่อม

ตรัสรู้ด้วยญาณ. บทว่า อภิสเมติ คือ ย่อมบรรลุด้วยญาณ. บทว่า

อาจิกฺขติ คือ ย่อมกล่าว. บทว่า เทเสติ คือ ย่อมแสดง. บทว่า

ปญฺาเปติ คือ ย่อมให้รู้. บทว่า ปฏิเปติ คือ ย่อมตั้งอยู่ในหัวข้อ

คือญาณ. บทว่า วิวรติ คือ ย่อมทรงเปิดเผยแสดง. บทว่า วิภชติ

คือ ย่อมทรงจำแนก. บทว่า อุตฺตานีกโรติ คือ ย่อมทำให้ปรากฏ.

บทว่า อิติ โข คือ ด้วยประการฉะนี้แล. บทว่า ยา ตตฺรุ ได้แก่

ความเป็นของจริงแท้แน่นอนไม่แปรผัน ในบทมีอาทิว่า ชาติปจฺจยา

ชรามรณ. เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 657

ปฏิจจสมุปบาทนี้นั้น ท่านกล่าวว่า ตถตา - ความจริงแท้ เพราะ

ธรรมนั้น ๆ เกิดโดยไม่หย่อนไม่ยิ่งด้วยปัจจัยนั้น ๆ, ท่านกล่าว อวิต-

ถตา - ความแน่นอน เพราะไม่มี ความไม่เกิดแห่งธรรมที่เกิดจากธรรม

นั้น แม้ครู่เดียวในปัจจัยที่เข้าถึงความพร้อมเพรียง, ท่านกล่าวว่า

อนญฺถตา - ความไม่เป็นอย่างอื่น เพราะไม่มีธรรมอื่นเกิดขึ้นด้วย

ปัจจัยแห่งธรรมอื่น, ท่านกล่าวว่า อิทปฺปจฺจยตา - ความเป็นปัจจัย

แห่งธรรมนี้ เพราะเป็นปัจจัยแก่ชราและมรณะเป็นต้นเหล่านั้น หรือ

เพราะเป็นที่รวมปัจจัย.

ในบทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ ปัจจัยแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า

อิทปฺปจฺจยา, อิทปฺปจฺจยานั้นแล ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา, อีกอย่าง

หนึ่ง การรวม อิทปฺปจฺจยา ทั้งหลายชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา. แต่

ในที่นี้ พึงทราบลักษณะโดยอรรถแห่งศัพท์.

จบ อรรถกถาธรรมฐิติญาณนิทเทส

สัมมสนญาณนิทเทส

[๙๙] ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งอดีต อนาคตและ

ปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ เป็นสัมมสนญาณอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 658

พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต

อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม

ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้

ก็ตาม โดยความเป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่าง

หนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่าง

หนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่าง

หนึ่ง พระโยคาวจรย่อมกำหนดเวทนา... สัญญา...สังขาร...วิญญาณอย่าง

ใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม เป็น

ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม

มีในที่ไกลก็ตาม ในที่ใกล้ก็ตาม โดยความเป็นของไม่เที่ยง การ

กำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การ

กำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การ

กำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรย่อมกำหนดจักษุ

ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน โดยความ

เป็นของไม่เที่ยง การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนด

โดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้เป็นสัมมญาณอย่างหนึ่ง กำหนด

โดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง.

[๑๐๐] ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต

อนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะอรรถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 659

ว่าน่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะอรรถว่าหาแก่นสารมิได้ เป็นสัมมสนญาณ

ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยง

เพราะอรรถว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะอรรถว่าน่ากลัว เป็นอนัตตา

เพราะอรรถว่าหาแก่นสารมิได้ เป็นสัมมสนญาณ.

[๑๐๑] ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต

อนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น

มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็นสัมมสน-

ญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ไม่

เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป

คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เป็นสัมมสนญาณ.

[๑๐๒] ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย

จึงมีชราและมรณะ เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี เป็นสัมมสน-

ญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาล

ก็ดี เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ เมื่อชาติไม่มี ชราและ

มรณะก็ไม่มี เป็นสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า เพราะ

ภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เมื่อภพไม่มี ชาติก็ไม่มี ฯ ล ฯ เพราะอุปาทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 660

เป็นปัจจัย จึงมีภพ เมื่ออุปาทานไม่มี ภพก็ไม่มี เพราะตัณหาเป็น

ปัจจัย จึงมีอุปาทาน เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานก็ไม่มี เพราะเวทนา

เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาก็ไม่มี เพราะผัสสะ

เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาก็ไม่มี เพราะสฬายตนะ

เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะก็ไม่มี เพราะนาม

รูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะก็ไม่มี

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปก็ไม่มี

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณก็ไม่มี

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี

เป็นสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า ในอดีตกาลก็ดี ใน

อนาคตกาลก็ดี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เมื่ออวิชชาไม่มี

สังขารก็ไม่มี เป็นสัมมสนญาณ.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการย่อธรรม

ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบันแล้วกำหนด เป็นสัมมสนญาณ.

อรรถกถาสัมมสนญาณนิทเทส

๙๙] พึงทราบวินิจฉัย ในสัมมสนญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้

บทว่า ยงฺกิญฺจิ คือ กำหนดถือเอาไม่มีเหลือ. บทว่า รูป ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 661

กำหนดโดยความประสงค์ยิ่ง. เป็นอันท่านทำความกำหนดไม่มีเหลือ

แห่งรูป แม้ด้วยบททั้งสองอย่างนี้. เมื่อเป็นเช่นนั้น พระโยคาวจร

ย่อมปรารภการจำแนกด้วยบทมีอาทิว่า อดีต แห่งรูปนั้น. รูปนั้น

บางรูปเป็นอดีต บางรูปมีประเภทเป็นอนาคตเป็นต้น. แม้ในเวทนา

เป็นต้นก็มีนัยนี้. รูป ในบทนั้น ชื่อว่า เป็นอดีต ๔ อย่างด้วยสามารถ

แห่ง กาล การสืบต่อ สมัย และ ขณะ, รูปอนาคตปัจจุบัน

ก็อย่างนั้น.

ในรูปเหล่านั้นพึงทราบด้วยสามารถ กาล ก่อน ได้แก่ รูป

ในอดีตก่อนจากปฏิสนธิ ในภพหนึ่งของรูปหนึ่ง, รูปอนาคต เหนือ

จากจุติ, รูปปัจจุบัน ในระหว่าง รูปอดีต และ อนาคต ทั้งสอง.

พึงทราบรูปด้วยสามารถ สันตติ ได้แก่ รูปปัจจุบันแม้เป็นไปอยู่

ได้ ด้วยการสืบต่อกันมาก่อนมีสมุฏฐานจากอุตุอย่างเดียวกัน เป็นสภาคะ-

กันและมีสมุฏฐานจากอาหารอย่างเดียวกัน. รูปอดีต มีสมุฏฐานจาก

อุตุ และ อาหาร ไม่เป็นสภาคะกันก่อนจากนั้น, รูปอนาคต มีในภาย

หลัง. รูปปัจจุบัน มีสมุฏฐานจากวิถีจิตดวงเดียวกัน ชวนจิตดวงเดียวกัน

และสมาบัติอย่างเดียวกันอันเกิดแต่จิต, รูปอดีต ก่อนจากนั้น, รูป

อนาคต มีในภายหลัง. ประเภทแห่งรูปมีรูปอดีตเป็นต้น ย่อมไม่มี

ด้วยสามารถสันตติ เฉพาะอย่างแห่งกรรมสมุฏฐาน. พึงทราบความที่รูป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 662

นั้น มีรูปอดีตเป็นต้น ด้วยสามารถการอุปถัมภ์แห่งสมุฏฐานจากอุตุอา-

หารและจิต เหล่านั้น.

พึงทราบด้วยสามารถ สมัย ได้แก่ รูป อันมีสมัยนั้น ๆ เป็น

ไปด้วยสามารถการสืบต่อกันในสมัยทั้งหลายมีครู่หนึ่งเวลาเช้าเวลาเย็น

กลางคืนและกลางวันเป็นต้น ชื่อว่า รูปปัจจุบัน. ก่อนจากนั้นเป็น

อดีต, หลังจากนั้นเป็นอนาคต.

พึงทราบด้วยสามารถ ขณะ รูปปัจจุบันเนื่องด้วย ๓ ขณะ

มีอุปาทะเป็นต้น, ต่อจากนั้นเป็นอนาคต, หลังจากนั้นเป็นอดีต.

อีกอย่างหนึ่ง รูปอดีตมีกิจอันเป็นเหตุปัจจัยล่วงไปแล้ว, รูปปัจจุบัน

มีกิจอันเป็นเหตุจบแล้ว และมีกิจอันเป็นปัจจัยจบแล้ว, รูปอนาคตถึง

พร้อมด้วยกิจทั้งสอง. หรือว่า รูปปัจจุบันเกิดในขณะกิจของตน, รูป

อนาคต ต่อจากนั้น, รูปอดีตหลังจากนั้น. อนึ่ง ในบทนี้ กถามีขณะ

เป็นต้น เป็นกถาตรง ที่เหลือเป็นกถาอ้อม.

บทว่า อชฺฌตฺต ได้แก่ ในขันธ์แม้ ๕ อย่าง ในที่นี้ท่าน

ประสงค์รูปภายในของตนเอง, เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า รูปเฉพาะ

บุคคลเป็นไปในสันดานของตน ๆ ชื่อว่า อชฺฌตฺต.

รูปภายนอกจากนั้นอันเนื่องด้วยอินทรีย์ก็ตาม ไม่เนื่องด้วย

อินทรีย์ก็ตาม ชื่อว่า พหิทฺธา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 663

บทว่า โอฬาริก ได้แก่ รูป ๑๒ อย่าง คือ จักขุ โสตะ

ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รสและโผฏฐัพพะ ได้แก่

ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ชื่อว่า โอฬาริก เพราะควรถือเอาด้วย

สามารถการสืบต่อกัน. ส่วนรูปที่เหลือ ๑๖ อย่าง คือ อาโปธาตุ อิตถิน-

ทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หทยวัตถุ โอชา อากาสธาตุ กายวิญญัตติ

วจีวิญญัตติ รูปัสสลหุตา มุทุตา กัมมัญญตา อุปจยะ สันตติ ชรดา

อนิจจตา ชื่อว่า สุขุม เพราะไม่ควรถือเอาด้วยสามารถการสืบต่อ.

พึงทราบความทรามและความประณีต ในบทนี้ว่า หีน วา ปณีต

วา โดยอ้อมหรือโดยตรง. ในบทนั้น รูปของพรหมชั้นสุทัสสี เป็นรูป

ทรามกว่ารูปของพรหมชั้นอกนิษฏฐ์ รูปพรหมชั้นสุทัสสีนั้นนั่น

แหละประณีตกว่ารูปของพรหมชั้นสุทัสสา พึงทราบความทรามและ

ความประณีต โดยปริยายตลอดถึงรูปของสัตว์นรก. รูปที่เป็นอกุศลวิบาก

เกิดขึ้นเป็นรูปทราม, รูปที่เป็นกุศลวิบากเกิดขึ้นเป็นรูปประณีต.

พึงทราบความในบทว่า ย ทูเร สนฺติเก วา นี้ รูปใด สุขุม

รูปนั้นแล ชื่อว่า ทูเร เพราะมีสภาวะที่แทงตลอดได้ยาก. รูปใด

หยาบ รูปนั้นชื่อว่า สนฺติเก เพราะมีสภาวะที่แทงตลอดได้ง่าย.

พึงทราบความในบทนี้ว่า สพฺพ รูป อนิจฺจโต ววตฺเถติ เอก

สมฺมสน, ทุกฺขโต ววตฺเถติ เอก สมฺมสน, อนตฺตโต ววตฺเถติ

เอก สมฺมสน - ภิกษุกำหนดรูปทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยง การ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 664

กำหนดนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง, กำหนดโดยความเป็นทุกข์เป็น.

สัมมสนญาณอย่างหนึ่ง, กำหนดโดยความเป็นอนัตตา เป็นสัมมสน-

ญาณอย่างหนึ่ง ความว่า ภิกษุนี้ กำหนดุรูปแม้ทั้งหมดที่ท่านชี้แจง

ไว้โดยมิได้กำหนดแน่นอนอย่างนี้ว่า ยงฺกิญฺจิ รูป - รูปอย่างใดอย่าง

หนึ่งโดยการปรากฏ ๑๑ อย่าง คือด้วยรูปอตีตติกะ - ติกะในอดีต และ

ด้วยทุกะมีอัชฌัตตะเป็นต้น ๔ แล้วกำหนดรูปทั้งปวงโดยความเป็นของ

ไม่เที่ยงย่อมพิจารณาว่า อนิจฺจ ดังนี้. พิจารณาอย่างไร ? พิจารณาโดยนัย

ดังกล่าวแล้วข้างหน้า.

๑๐๐] ดังที่พระสารีบุตรได้กล่าวไว้ว่า รูป อตีตานาคต-

ปจฺจุปฺปนฺน อนิจฺจ ขยฏฺเน - รูปที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ชื่อว่า

ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่าสิ้นไป. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาว่า

รูปที่เป็นอดีตสิ้นไปในอดีตนั่นแล, รูปนั้นยังไม่มาถึงภพนี้ เพราะเหตุ

นั้น จึงชื่อว่า อนิจฺจ เพราะอรรถว่าสิ้นไป, รูปที่เป็นอนาคตจักเถิด

ในภพเป็นลำดับไป, แม้รูปนั้นก็จักในรูปในภพนั้น จักไม่ไปสู่ภพอื่น

จากภพนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนิจฺจ เพราะอรรถว่าสิ้นไป,

รูปที่เป็นปัจจุบันย่อมสิ้นไปในปัจจุบันนั่นเอง, ย่อมไม่ไปจากนี้ เพราะ

เหตุนั้น จึงชื่อว่า อนิจฺจ เพราะอรรถว่าสิ้นไป, รูปที่เป็นภายในก็

๑. ขุ. ป. ๓๑/๑๐๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 665

สิ้นไปในภายในนั่นเอง, ไม่ไปสู่ภายนอก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า

อนิจฺจ เพราะอรรถว่าสิ้นไป. แม้รูปภายนอกหยาบละเอียด ทราม

ประณีต มีในที่ไกล ที่ในที่ใกล้ ก็สิ้นไปในที่นี้นั่นเอง เพราะเหตุ

นั้น จึงชื่อว่า อนิจฺจ เพราะอรรถว่าสิ้นไป. แม้การพิจารณาทั้งหมด

นี้ก็เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง ด้วยสามารถแห่งนี้ว่า อนิจฺจ

ขยฏฺเฐน, แต่โดยประเภท มี ๑๑ อย่าง.

อนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณารูปนั้นทั้งหมดว่า ทุกข ภยฏฺเน

ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่าน่ากลัว. สิ่งที่ไม่เที่ยงย่อมนำมาซึ่งภัย

ดุจภัยของพวกเทพในสีโหปมสูตร. แม้การพิจารณานี้ก็เป็นสัมมสน-

ญาณอย่างหนึ่ง ด้วยสารถแห่งรูปนี้ว่า ทุกฺขฺ ภยฏฺเน แต่โดย

ประเภท มี ๑๑ อย่าง.

อนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาว่า รูปแม้ทั้งหมดนั้น เป็น อนตฺตา

เพราะอรรถว่าหาแก่นสารมิได้เหมือนทุกข์. บทว่า อสารกฏฺเน

เพราะไม่มีสาระในตนที่กำหนดได้อย่างนี้ว่า อัตตา - ตัวตน นิวาสี-

ผู้อาศัย การโก - ผู้กระทำ เวทโก - ผู้เสวย สยวสี - ผู้มีอำนาจด้วย

ตนเอง. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ไม่สามารถจะห้ามความไม่

เที่ยง หรือ ความเกิด ความเสื่อม และความบีบคั้นของคนได้, บท

๑. ส. ขนฺธ. ๑๗/๑๑๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 666

เป็นผู้กระทำเป็นต้นของผู้นั้นจักมีได้แต่ไหน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า รูปญฺจ หิท ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส, นยิท รูป อาพาธาย

สวตฺเตยฺย เป็นอาทิ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากรูปนี้พึงเป็น

ตัวตนแล้วไซร้, รูปนี้ก็จะไม่พึงเป็นไปเพื่อความเจ็บป่วย. เพราะเหตุ

นั้น การพิจารณานี้ จึงเป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง ด้วยสามารถแห่ง

บทนี้ว่า อนตฺตา อสารกฏฺเน - รูปเป็นอนัตตา เพราะหาแก่นสาร

มิได้, แต่โดยประเภทมี ๑๑ อย่าง. ในเวทนาเป็นต้นก็มีนัยนั้นเหมือน

กัน. ด้วยประการฉะนี้ ในขันธ์หนึ่ง ๆ ทำอย่างละ ๑๑ อย่าง จึงเป็น

สัมมสนญาณ ๕๕ ในขันธ์ ๕ คือโดยความไม่เที่ยง ๕๕ โดยความ

เป็นทุกข์ ๕๕ โดยความเป็นอนัตตา ๕ เพราะเหตุนั้น ทั้งหมดจึง

รวมเป็นสัมมสนญาณ ๑๖๕ อย่าง.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพิ่มแม้บทว่า สพฺพ รูป สพฺพ

เวทน สพฺพ สญฺ สพฺเพ สงฺขาเร สพฺพ วิญฺาณ ลงไป

ในขันธ์หนึ่ง ๆ ทำอย่างละ ๑๒ รวมเป็น ๖๐ ในขันธ์ ๕, โดย

อนุปัสนาเป็นสัมมสนญาณ ๑๘๐ อย่าง.

อนึ่ง ในการจำแนกอดีตเป็นต้น พึงทราบความที่เวทนาเป็น

อดีต อนาคตและปัจจุบัน ด้วยสามารถแห่งสันตติและด้วยสามารถแห่ง

ขณะเป็นต้น. ในบทนั้นพึงทราบเวทนา ด้วยสามารถสันตติดังต่อไปนี้

๑. วิ. มหา. ๔/๒๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 667

เวทนาที่นับเนื่องในวิถีจิต ๑ ชวนจิต ๑ สมาบัติ ๑ และเป็นไปด้วย

การประกอบเสมอ ๆ ในอารมณ์อย่างหนึ่ง เป็นปัจจุบัน, ก่อนจากนั้น

เป็นอดีต, หลังจากนั้นเป็นอนาคต เวทนาด้วยสามารถขณะ คือ

เวทนากระทำกิจของตนอันนับเนื่องในขณะ ๓ คือ ที่ถึงที่สุดเบื้องต้น

ที่สุดเบื้องปลายและท่ามกลาง เป็นปัจจุบัน. ก่อนจากนั้นเป็นอดีต,

หลังจากนั้นเป็นอนาคต. พึงทราบความต่างแห่งเวทนาภายในและภาย

นอก ด้วยสามารถเวทนาภายในของตนนั่นเอง.

พึงทราบความหยาบและความละเอียดของเวทนา ด้วยสามารถ

แห่ง ชาติ สภาวะ บุคคล โลกิยะ และ โลกกุตระ ที่ท่านกล่าว

ไว้ในวิภังค์ โดยนัยมีอาทิว่า เวทน่าเป็นอกุศลหยาบ, เวทนาเป็น

กุศลและอัพยากฤต ละเอียด. พึงทราบเวทนาด้วยสามารถแห่งชาติ

ก่อนดังต่อไปนี้ เวทนาเป็นอกุศล เป็นไปเพื่อความไม่สงบ เพราะเป็น

กิริยเหตุอันมีโทษ และเพราะกิเลสทำให้เดือดร้อน เพราะเหตุนั้น จึง

เป็นเวทนาหยาบกว่า เวทนาที่เป็นกุศล, เป็นเวทนาหยาบกว่า วิบาก

อัพยากฤต เพราะมีความขวนขวาย มีความอุตสาหะ มีวิบาก โดย

กิเลสทำให้เดือดร้อน และโดยมีโทษ, เวทนาเป็นเวทนาหยาบกว่า

กิริยาอัพยากฤต เพราะมีวิบาก โดยกิเลสทำให้เดือดร้อน โดยมีพยาบาท

และโดยมีโทษ. ก็เวทนาเป็นกุศล และอัพยากฤต ละเอียดกว่าเวทนา

๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 668

เป็นอกุศล โดยปริยายดังกล่าวแล้ว. กุศลเวทนาและอกุศลเวทนา แม้

๒ อย่างก็เป็นเวทนาหยาบกว่าเวทนาที่เป็นอัพยากฤต แม้ ๒ อย่าง

ตามควร โดยมีความขวนขวาย มีอุตสาหะและมีวิบาก. แม้เวทนา

เป็นอัพยากฤต ๒ อย่าง ก็ละเอียดกว่าเวทนาเหล่านั้นโดยปริยายดังกล่าว

แล้ว. พึงทราบเวทนาหยาบและละเอียด ด้วยสามารถแห่งชาติด้วย

ประการฉะนี้.

พึงทราบเวทนาด้วยสามารถสภาวะดังต่อไปนี้ ทุกขเวทนาหยาบ

กว่า เวทนา ๒ อย่างนอกนี้ เพราะไม่มีความพอใจ โดยมีความซ่าน

ไป โดยทำความกำเริบ โดยควรแก่ความเดือดร้อน และโดยครอบงำ,

แต่เวทนา ๒ นอกน เป็นเวทนาละเอียดกว่า ทุกขเวทนาตามควร

เพราะความสำราญ ความสงบ ความประณีต ความชอบใจ และโดย

ความเป็นกลาง. สุขทุกข์ ๒ อย่างเป็นเวทนาหยาบว่าอทุกขมสุข โดย

ความซ่านไป โดยความควรแก่ความเดือดร้อน โดยทำความกำเริบ

และโดยปรากฏ. เวทนานั้น ละเอียดกว่าทั้ง ๒ อย่างนั้น โดยปริยาย

ดังกล่าวแล้ว. พึงทราบความที่เวทนาหยาบและละเอียด โดยสภาวะ

ด้วยประการฉะนี้.

พึงทราบเวทนาด้วยสามารถบุคคลดังต่อไปนี้ เวทนาของผู้ไม่

เข้าสมาบัติ เป็นเวทนาหยาบกว่าเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เพราะความที่

จิตฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ. เวทนานอกนี้เป็นเวทนาละเอียด โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 669

ปริยายต่าง ๆ. พึงทราบความที่เวทนา หยาบและละเอียด ด้วยสามารถ

บุคคล ด้วยประการฉะนี้.

พึงทราบเวทนา ด้วยสามารถโลกิยะและโลกุตระ ดังต่อไปนี้

เวทนามีอาสวะเป็นโลกิยะ, โลกิยเวทนานั้น เป็นเวทนาหยาบกว่า

เวทนาที่ไม่มีอาสวะ เพราะเป็นเหตุเกิดอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งโอฆะ

เป็นที่ตั้งแห่งโยคะ โดยเป็นที่ตั้งแห่งคันถะ - กิเลสร้อยรัด. เป็นที่ตั้ง

แห่งนิวรณ์ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน มีความเศร้าหมอง และเป็นของ

ทั่วไปแก่ปุถุชน, อนึ่ง เวทนาไม่มีอาสวะเป็นเวทนาละเอียดกว่า

เวทนามีอาสวะโดยปริยายต่าง ๆ. พึงทราบความที่เวทนาหยาบและละ

เอียด ด้วยโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการฉะนี้.

ในบทเหล่านั้น ควรปรับความแตกต่างกันด้วยชาติเป็นต้น.

เพราะว่า เวทนาสัมปยุตด้วยกายวิญญาณ อกุศลวิบาก แม้ละเอียด

เพราะเป็นอัพยากฤต ด้วยสามารถแห่งชาติ ก็เป็นเวทนาหยาบ ด้วย

ภาวะของตนเป็นต้น. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

อพฺยากตา เวทนา สุขุมา, ทุกฺขา เวทนา โอฬาริกา.

สมาปนฺนสฺส เวทนา สุขุมา, อสมาปนฺนสฺส เวทนา

โอฬาริกา. อสาสวา เวทนา สุขุมา, สาสวา เวทนา

โอฬาริกา.

๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 670

เวทนาเป็นอัพยากฤต ละเอียด, ทุกข-

เวทนาหยาบ. เวทนาของผู้เข้าสมบัติ ละเอียด

เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ หยาบ. เวทนาไม่มี

อาสวะ ละเอียด, เวทนามีอาสวะ หยาบ.

แม้สุขเวทนาเป็นต้น ก็เหมือนทุกขเวทนา. เพราะว่า แม้

เวทนาเหล่านั้น หยาบก็ด้วยชาติ, ละเอียดก็ด้วยภาวะของตนเป็นต้น.

เพราะฉะนั้นพึงทราบความที่เวทนาหยาบและละเอียดเหมือนไม่มีความ

แตกต่างกันด้วยชาติเป็นต้น. เช่นกับอะไร ? เช่นเวทนาเป็นอัพยากฤต

ละเอียดกว่า เวทนาเป็นกุศล อกุศล โดยชาติ. ในเวทนาเหล่านั้น

อัพยากฤตเวทนาเป็นไฉน ? อะไรเป็นทุกขเวทนา ? อะไรเป็นสุขเวทนา ?

อะไรเป็นเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ ? อะไรเป็นเวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ ?

อะไรเป็นสาสวเวทนา ? อะไรเป็นอนาสวเวทนา ? ไม่พึงถือผิดความ

ต่างกันและสภาวะเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะบาลีว่า พึงเห็นเวทนาหยาบละเอียด

เพราะอาศัยเวทนานั้น ๆ อยู่บ่อย ๆ. เวทนาสหรคตด้วยโทสะหยาบ

กว่าเวทนาที่สหรคต ด้วยโลภะในอกุศลเป็นต้น เพราะเผานิสัย ดุจไฟ

เวทนาสหรคตด้วยโลภะละเอียด. เวทนาแม้สหรคตด้วยโทสะ เป็น

นิยตะ - แน่นอนหยาบ, ไม่แน่นอนละเอียด. เวทนาตั้งอยู่กัปหนึ่ง แม้

๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 671

แน่นอนก็หยาบ, นอกนั้นละเอียด. แม้ในการตั้งอยู่กัปหนึ่ง เวทนา

หยาบ, นอกนั้นละเอียด. เวทนาแม้นั้นแน่นอนตั้งอยู่กัปหนึ่ง เป็น

เป็นอสังขาริกะ อสังขาริกะหยาบ นอกนั้นละเอียด. อนึ่ง โดยไม่

แปลกกันเวทนาเป็นอกุศล มีวิบากมากหยาบ, มีวิบากน้อยละเอียด.

ส่วนเวทนาเป็นกุศล มีวิบากน้อยหยาบ, มีวิบากมากละเอียด.

อีกอย่างหนึ่ง เวทนาเป็นกามาวจรกุศลหยาบ, เป็นรูปาวจรกุศล

ละเอียด. แต่นั้นก็อรูปาวจรกุศล, แต่นั้นก็โลกุตรกุศล. อนึ่ง เวทนา

เป็นกามาวจรกุศลสำเร็จด้วยทานหยาบ, สำเร็จด้วยศีลละเอียด. แม้

สำเร็จด้วยศีลก็หยาบ, สำเร็จด้วยภาวนาละเอียด. แม้สำเร็จด้วยภาวนา

เป็นทุเหตุกะก็หยาบ. เป็นติเหตุกะละเอียด. แม้เป็นติเหตุกะ เป็น

สสังขาริกะก็หยาบ, เป็นอสังขาริกะละเอียด. อนึ่ง รูปาวจรเป็นไป

ในปฐมฌานหยาบ ฯลฯ ที่เป็นปัญจมฌานละเอียด อรูปาวจรที่สัมป-

ยุตด้วยอากาสานัญจายตนะหยาบ ฯลฯ ที่สัมปยุตด้วยเนวสัญญานา.

สัญญาละเอียด โลกุตรเวทนา สัมปยุตด้วยโสดาปัตติมรรคหยาบ ฯลฯ

ที่สัมปยุตด้วยอรหัตมรรคละเอียดแท้. ในเวทนาอันเป็นวิบากกิริยาของ

ภูมินั้น ๆ และในเวทนาที่ท่านกล่าวไว้ ด้วยสามารถแห่งทุกขเวทนา

เป็นต้น เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นต้น สาสวเวทนาเป็นต้นก็มี

นัยนี้. หรือแม้ว่า ด้วยสามารถโอกาส ทุกขเวทนาในนรก ก็หยาบ,

ทุกขเวทนาในกำเนิดเดียรฉาน ละเอียด ฯลฯ ทุกข์ในสวรรค์ชั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 672

ปรนิมมิตวสวัตดี ละเอียดแท้. อนึ่ง พึงประกอบแม้สุขในบททั้งปวง

ตามสมควร เหมือนทุกข์, เวทนาไร ๆ มีวัตถุเลว ด้วยสามารถวัตถุ

เป็นเวทนาหยาบ, มีวัตถุประณีต เป็นเวทนาละเอียด, เวทนาใดที่หยาบ

ในประเภทแห่งวัตถุที่เลวและประณีต เวทนานั้นเป็นเวทนาเลว, เวทนา

ที่ละเอียด เป็นเวทนาประณีต พึงเห็นด้วยประการฉะนี้.

ส่วนบทว่า ทูรสนฺติเก ไกลและใกล้ ท่านจำแนกไว้ในวิภังค์

โดยนัยมีอาทิว่า อกุสลา เวทนา กุสลาพฺยากตาหิ เวทนาหิ ทูเร,

อกุสลา เวทนา อกุสลาย เวทนาย สนฺติเก. - อกุศลเวทนามีใน

ที่ไกลจากเวทนาเป็นกุศลและอัพยากฤต. อกุศลเวทนามีในที่ใกล้เวทนา

เป็นอกุศล. เพราะฉะนั้น อกุศลเวทนามีในที่ไกลจากกุศลและอัพยา-

กฤต โดยเป็นสภาคกัน โดยไม่เกี่ยวข้องกัน และโดยไม่คล้ายคลึงกัน.

เวทนาเป็นกุศลและอัพยากฤต ก็มีในที่ไกลจากอกุศลเหมือนกัน. ใน

วาระทั้งปวงก็มีนัยนี้. บทนี้ว่า เวทนาเป็นอกุศล มีในที่ใกล้แห่ง

อกุศล โดยเป็นสภาคกัน โดยเกี่ยวข้องกัน และโดยคล้ายคลึงกัน

เป็นกถามุขโดยพิสดารในการจำแนก มีเวทนาอดีตเป็นต้น. แต่บทนี้

พึงทราบแม้แห่งสัญญาเป็นต้น อันสัมปยุตด้วยเวทนานั้น ๆ อย่างนี้

เหมือนกัน.

๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 673

อนึ่ง ในเวทนาเป็นต้นนี้ โลกุตรธรรมใดมาแล้วในธรรม

ทั้งหลาย. ที่ย่อโดยไปยาลว่า จกฺขุ ฯเปฯ ชรามรณ, ธรรมเหล่านั้น

ไม่พึงถือเอาในที่อธิการนี้ เพราะเข้าไปใกล้อสัมมสนญาณ. ธรรม

เหล่านั้น ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถการแสดงธรรมที่ท่านสงเคราะห์ด้วย

บทนั้น ๆ อย่างเดียว และโดยนัยมาแล้ว ในอภิญเญยยนิทเทส. อนึ่ง

แม้ธรรมเหล่าใดเข้าถึงสัมมสนญาณ, ในธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่าใด

ปรากฏแก่ญาณใด ย่อมถึงการกำหนดถือเอาได้โดยง่าย, ในธรรม

เหล่านั้น พึงปรารภสัมมสนญาณ ด้วยญาณนั้น. พึงทราบว่า ท่าน

กล่าวถึงสัมมสนญาณ ด้วยสามารถญาณเหล่านั้น โดยปริยายว่า เมื่อ

พิจารณาธรรม มีชาติชราและมรณะ ในความไม่มีสัมมสนญาณต่างหาก

ด้วยสามารถชาติชราและมรณะ แม้ญาณเหล่านั้นก็เป็นอันได้พิจารณา

แล้ว.

แม้ไม่แตะต้องความต่างมี อัชฌัตตะ เป็นต้น เพราะท่านกล่าว

สัมมสนญาณไว้ด้วยสามารถแห่งติกะอันเป็นอดีต โดยนัย มีอาทิว่า

อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺน อนิจฺจโต ววตฺเถติ - พระโยคาวจรย่อม

กำหนดอดีต อนาคต ปัจจุบัน โดยความเป็นของไม่เที่ยง แม้กำหนด

ด้วยสามารถแห่งอตีตติกะแล้ว ก็พึงทำสัมมสนญาณ โดยความเป็นของ

ไม่เที่ยงเป็นต้นนั่นแล.

๑๐๑ - ๑๐๒ ] ก็เพราะรู้สิ่งที่ไม่เที่ยง มีประเภทเป็นสังขตะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 674

เป็นต้น โดยความแน่นอน. ฉะนั้น เพื่อแสดงปริยายแห่งรูปนั้น หรือ

เพื่อแสดงความเป็นไปแห่งมนสิการด้วยอาการต่าง ๆ พระสารีบุตร จึง

กล่าวบทมีอาทิว่า รูป อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺน อนิจฺจ สงฺขต - รูปทั้งที่

เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบันไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง. จริงอยู่

รูปนั้น เป็น อนิจฺจ เพราะอรรถว่ามีแล้วไม่มี, ชื่อว่า อนิจฺจ เพราะ

มีที่สุดคือความไม่เที่ยง หรือ เพราะมีเบื้องต้นและที่สุด, ชื่อว่า

สังขตะ เพราะอันปัจจัยปรุงแต่ง. ชื่อว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺน เพราะ

อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นร่วมกัน. พระสารีบุตรแสดงถึงความไม่ขวนขวาย

ปัจจัย แม้เมื่อรูปอันปัจจัยปรุงแต่ง. บทว่า ขยธมฺม มีความสิ้นไป

เป็นธรรมดา ได้แก่ สิ้นไปเป็นธรรมดา สิ้นไปเป็นปรกติ. บทว่า

วยธมฺม มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ได้แก่ มีความพินาศไปเป็น

ธรรมดา. รูปนี้ ไม่สิ้นไปด้วยสามารถความในรูปตั้งความเป็นผู้มี

ความเฉื่อยชา ปราศจากปรกติอย่างเดียว. แม้ความเพียงพอจะทำให้

เฉื่อยชา ท่านก็กล่าวว่า ความสิ้นไปในโลก.

บทว่า วิราคธมฺม - มีความคลายไปเป็นธรรมดา บทนี้มิใช่

เสื่อมไปด้วย ด้วยการไปในที่ไหน ก้าวล่วงสภาวะเป็นปรกติอย่างเดียว.

ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ความเกลียดชังก็ดี ความก้าวล่วงก็ดี ชื่อว่า

วิราคะ.

บทว่า นิโรธธมฺม - มีความดับไปเป็นธรรมดา บทนี้ มิใช่

ไม่เวียนมาอีก ด้วยก้าวล่วงสภาวะ, พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงบทหลัง ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 675

ด้วยสามารถขยายบทก่อน ๆ ว่า มีการดับไป ด้วยการดับความไม่เวียน

มาอีกเป็นธรรมดาอย่างเดียว.

อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบว่า รูปมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา

ด้วยการทำลายไปแห่งรูปอันเนื่องอยู่ในภพหนึ่ง, มีความเสื่อมไปเป็น

ธรรมดา ด้วยความเสื่อมแห่งรูปอันเนื่องด้วยสันตติอย่างเดียว. รูปมี

คลายไปเป็นธรรมดา ด้วยการทำลายขณะแห่งรูป. มีความดับเป็น

ธรรมดา ด้วยข้ามพ้นแล้วไม่เกิดมาอีก.

ในบทมีอาทิว่า ชรามรณ อนิจฺจ - ชราและมรณะไม่เที่ยง

ความว่า ชราและมรณะมิใช่ไม่เที่ยง, แต่ชรามรณะ ชื่อว่า ไม่เที่ยง

เพราะขันธ์ทั้งหลายมีความไม่เที่ยงเป็นสภาวะ จึงมีชรามรณะ. แม้ใน

สังขตะ เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในระหว่างไปยาล เพราะแม้

ชาติก็ไม่เที่ยงเป็นต้น จึงมีนัยนี้เหมือนกัน.

บทมีอาทิว่า ชาติปจฺจยา ชรามรณ - เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมี

ชราและมรณะนี้ ท่านมิได้กล่าวด้วยสามารถวิปัสสนา ท่านกล่าวโดย

ปริยายว่า สัมมสนญาณย่อมมีได้แก่การย่อด้วยสามารถองค์หนึ่ง ๆ แห่ง

ปฏิจจสมุปบาท แล้วกำหนดไว้อย่างเดียว. แต่นั่นไม่ใช่กลาปสัมมสน-

ญาณ, นั่นเป็นธรรมฐิติญาณเท่านั้น.

บทว่า อสติ ชาติยา - เมื่อชาติไม่มี นี้ท่านทำเป็นลิงควิปลาส.

ท่านจึงกล่าวว่า อสนฺติยา ชาติยา. บทว่า อสติ สงฺขาเรสุ - เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 676

สังขารไม่มี ท่านทำเป็นวจนวิปลาส, ท่านกล่าวว่า อสนฺเตสุ สงฺขา -

เรสุ.

บทมีอาทิว่า ภวปจฺจยา ชาติ, อสติ เพราะภพเป็นปัจจัย จึง

มีชาติ, เมื่อภพไม่มี พึงประกอบโดยนัยมีอาทิว่า เพราะภพเป็นปัจจัย

จึงมีชาติ, เมื่อภพไม่มี ชาติก็ไม่มี.

จบ อรรถกถาสัมมสนญาณนิทเทส

------------------------------------

อุทยัพพยญาณนิทเทส

[๑๐๓]ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรม

ทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณอย่างไร ?

รูปที่เกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ชาติแห่งรูปที่เกิดแล้วนั้นมีความเกิด

เป็นลักษณะ ความเสื่อมมีความแปรปรวนเป็นลักษณะ ปัญญาที่

พิจารณาเห็นดังนี้ เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ เวทนาเกิดแล้ว สัญญา

เกิดแล้ว สังขารเกิดแล้ว วิญญาณเกิดแล้ว จักษุเกิดแล้ว ฯ ล ฯ ภพ

เกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ชาติแห่งภพที่เกิดแล้วนั้นมีความเกิดเป็นลักษณะ

ความเสื่อมมีความแปรปรวนเป็นลักษณะ ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้

เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 677

[๑๐๔]พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจ-

ขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไป

แห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็น

ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ

เท่าไร ?

พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์

ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไป

แห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ ประการ เมื่อพิจารณา

เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็น

ลักษณะ ๕๐ ประการ.

[๑๐๕] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูป-

ขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไป

แห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเป็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิด

ขึ้นและความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร

พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ แห่ง

สัญญาขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็น

ลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อม

พิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ

เสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 678

พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อม

พิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูป-

ขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความ

เกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๑๐

ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ แห่งสัญญา-

ขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ

๕ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อม

พิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ

เสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๑๐ ประการ.

[๑๐๖] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูป-

ขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการ เป็นไฉน ?

พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดย

ความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิดรูปจึงเกิด เพราะตัณหาเกิด

รูปจึงเกิด เพราะกรรมเกิดรูปจึงเกิด เพราะอาหารเกิดรูปจึงเกิด แม้

เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความเกิด ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิด

ขึ้นแห่งรูปขันธ์ พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูป-

ขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้.

[๑๐๗] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่ง

รูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการเป็นไฉน ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 679

พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ โดย

ความดับแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาดับรูปจึงดับ เพราะตัณหาดับ

รูปจึงดับ เพราะกรรมดับรูปจึงดับ เพราะอาหารดับรูปจึงดับ แม้เมื่อ

พิจารณาเห็นลักษณะแห่งความแปรปรวน ก็ย่อมพิจารณาเห็นความ

เสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อม

พิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและ

ความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้.

[๑๐๘] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่ง

เวทนาขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการเป็นไฉน ?

พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์

โดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะ

ตัณหาเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะกรรมเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะเกิด

เวทนาจึงเกิด แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งการเกิด ก็ย่อมพิจารณา

เห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนา พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิด

ขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้.

[๑๐๙] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่ง

เวทนาขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ การเป็นไฉน ?

พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์

โดยความดับแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาดับเวทนาจึงดับ เพราะตัณหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 680

ดับเวทนาจึงดับ เพราะกรรมดับเวทนาจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึง

ดับ แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความแปรปรวน ก็ย่อมพิจารณา

เห็นความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็น

ความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้

เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ ย่อม

พิจารณาเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้.

[๑๑๐] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดแห่งสัญญา-

ขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ

๕ ประการเป็นไฉน ?

พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดแห่งวิญญาณขันธ์ โดย

ความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิดวิญญาณจึงเกิด เพราะ

ตัณหาเกิดวิญญาณจึงเกิด เพราะกรรมเกิดวิญญาณจึงเกิด เพราะ

นามรูปเกิดวิญญาณจึงเกิด แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความเกิด

ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ พระโยคาวจร เมื่อ

พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ

๕ ประการนี้.

[๑๑๑] พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่ง

สัญญาขันธ์ แห่งสังขารขันธ์ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็น

ลักษณะ ๕ ประการเป็นไฉน ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 681

พระโยคาวจร ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์

โดยความดับแห่งปัจจัยว่า เพราะอวิชชาดับวิญญาณจึงดับ เพราะตัณ-

หาดับวิญาณจึงดับ เพราะกรรมดับวิญญาณจึงดับ เพราะนามรูปดับ

วิญญาณจึงดับ แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความแปรปรวน ก็ย่อม

พิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ พระโยคาวจร เมื่อพิจารณา

เห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕

ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งวิญ-

ญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็น

ความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ ประการนี้

เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ

๒๕ ประการนี้ เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่ง

เบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕๐ ประการนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะ

อรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรม

ทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ.

รูปขันธ์เกิดเพราะอาหารเกิด ขันธ์ที่เหลือ คือ เวทนา ปัญญา

สังขารเกิดเพราะผัสสะเกิด วิญญาณขันธ์เกิดเพราะนามรูปเกิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 682

อรรถกถาอุทยัพพยญาณนิทเทส

๑๐๓ - ๑๑๑] บัดนี้ เพื่อกำหนดสังขารทั้งหลายอันผู้ไปถึงฝั่ง

ตั้งอยู่แล้วด้วยทำภาวนาให้มั่นคงโดยนัยต่าง ๆ แห่งสัมมสนญาณดังกล่าว

แล้วในลำดับ เห็นแล้วโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วย อุท-

ยัพพยญาณ แล้วพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น พระ-

สารีบุตรจึงแสดงรูปอันเกิดด้วยปัจจัยทั้งหลายตามที่เป็นของตน ด้วย

สันตติในบทมีอาทิว่า ชาต รูป - รูปที่เกิดแล้ว ในนิทเทสแห่ง อุท-

ยัพพยานุปัสนาญาณ ดังกล่าวแล้ว.

บทว่า อุทโย ได้แก่ ชาติ คือ ความเกิดเป็นอาการใหม่แห่ง

รูปที่เกิดแล้วนั้น มีความเกิดเป็นลักษณะ.

บทว่า วโย ได้แก่ ความสิ้นไป ความดับไป มีความแปรปรวน

เป็นลักษณะ, การพิจารณาถึงบ่อย ๆ ชื่อว่า อนุปัสนา, อธิบายว่า

ได้แก่ อุทยัพพยานุปัสนาญาณ. แม้ในเวทนาเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือน

กัน. ไม่แตะต้องชาติชราและมรณะ เพราะความเกิดความเสื่อมอันผู้

มีชาติชราและมรณะควรกำหนดถือเอา ไม่แตะต้องชาติชราและมรณะ

เพราะไม่มีความเกิดและความเสื่อม แล้วท่านทำไปยาลว่า ชาต จกฺขุ

ฯ เป ฯ ชาโต ภโว - จักษุเกิดแล้ว...ภพเกิดแล้ว ดังนี้. พระโยคาวจร

นั้น เมื่อเห็นความเกิดและความเสื่อมของขันธ์ ๕ อย่างนี้ ย่อมรู้อย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 683

ว่า การรวมเป็นกองก็ดี การสะสมก็ดี ย่อมไม่มีแก่ขันธ์ที่ยังไม่เกิด

ก่อนแต่ขันธ์เหล่านี้เกิด, ชื่อว่าการมา โดยรวมเป็นกอง โดยความ

สะสม ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่เกิดขึ้น, ชื่อว่าการไปสู่ทิศน้อยใหญ่ ย่อม

ไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่ดับ, ชื่อว่าการตั้งลงโดยรวมเป็นกอง โดยสะสม โดย

เก็บไว้ในที่แห่งหนึ่ง ย่อมไม่มีแม้แก่ขันธ์ที่ดับแล้ว. เหมือนนักดีดพิณ

เมื่อเขาดีดพิณอยู่ เสียงพิณก็เกิด, มิใช่มีการสะสมไว้ก่อนเกิด, เมื่อ

เกิดก็ไม่มีการสะสม, การไปสู่ทิศน้อยใหญ่ออกเสียงพิณที่ดับไปก็ไม่มี,

ดับแล้วไม่ว่าที่ไหนก็ไม่สะสมตั้งไว้, ที่แท้แล้วพิณก็ดี นักดีดพิณก็ดี

อาศัยความพยายามอันเกิดแต่ความพยายามของลูกผู้ชายไม่มีแล้วยังมีได้,

ครั้นมีแล้วยังเสื่อมได้ฉันใด, ธรรมมีรูปและไม่มีรูปแม้ทั้งหมดก็ฉันนั้น

ไม่มีแล้วยังมีได้ ครั้นมีแล้วยังเสื่อมได้ พระโยคาวจรย่อมเห็นด้วย

ประการฉะนี้แล.

พระสารีบุตรครั้นแสดงการเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยสัง-

เขปอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะแสดงโดยพิสดาร จึงถามถึงจำนวนโดย

รวมเป็นกองด้วยบทมีอาทิว่า ปญฺจนฺน ขนฺธาน อุทย ปสฺสนฺโต

กติ ลกฺขณานิ ปสฺสติ - พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิด

แห่งขันธ์ ๕ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อพิจารณาเห็นความ

เกิดแห่งขันธ์ ๕ จึงแก้ถึงจำนวนโดยรวมเป็นกองด้วยบทมีอาทิว่า ปญฺ-

จวีสติ ลกฺขณานิ ปสฺสติ - ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ แล้วถาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 684

ถึงจำนวนโดยการจำแนกอีกด้วยบทมีอาทิว่า รูปกฺขนฺธสฺส อุทย

ปสฺสนฺโต กติ ลกฺขณานิ ปสฺสติ - พระโยคาวจร เมื่อพิจารณา

เห็นความเกิดแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร แล้วแก้จำนวน

โดยการจำแนกด้วยบทมีอาทิว่า รูปกฺขนฺธสฺส อุทย ปสฺสนฺโต ปญฺจ

ลกฺขณานิ ปสฺสติ - พระโยคาวจร เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดของ

รูปขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ แล้วถามถึงการจำแนกลักษณะ

อีกด้วยบทมีอาทิว่า รูปกฺขนฺธสฺส อุทย ปสฺสนฺโต กตมานิ ปญฺจ

ลกฺขณานิ ปสฺสติ - เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็น

ลักษณะ ๕ เป็นไฉน แล้วจึงได้แก้ต่อไป.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อวิชฺชาสมุทยา รูปสมุทฺทโย - เพราะ

อวิชชาเกิดรูปจึงเกิด ความว่า เมื่อมีอวิชชาดังกล่าวแล้วว่า โมหะใน

กรรมภพก่อนเป็นอวิชชา ย่อมเกิดรูปในภพนี้. บทว่า ปจฺจยสมุท-

ยฏฺเน ความว่า โดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยนี้. อนึ่ง อวิชชา ตัณหา

กรรมเป็นปัจจัยในอดีตเป็นเหตุแห่งปฏิสนธิในภพนี้. และเมื่อยึดถือ

อวิชชา ตัณหา กรรม ๓ อย่างเหล่านี้ เป็นอันยึดถือสังขารุปาทาน

- ความยึดมั่นในสังขารนั่นเอง.

บทว่า อาหารสมุทยา - เพราะอาหารเกิด ได้แก่ เพราะกว-

ฬิงการาหารมีกำลังในปัจจัยอันเป็นไป จึงถือเอาอาหารนั่นแล. ก็เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 685

ถือเอาอาหารนั้นก็เป็นอันถือเอาแม้อุตุและจิตอันเป็นเหตุแห่งความเป็น

ไปด้วยเหมือนกัน.

บทว่า นิพฺพตฺติลกฺขณ - มีการเกิดเป็นลักษณะ ความว่า

ท่านกล่าวถึงความเกิดแห่งรูปด้วยสามารถแห่งอัทธา - กาล สันตติและ

ขณะ, อนึ่ง การเกิดนั่นแล ชื่อว่าลักษณะ เพราะเป็นลักษณะแห่ง

สังขตะ.

บทว่า ปญฺจ ลกฺขณานิ - ลักษณะ ๕ ได้แก่ ลักษณะ ๕

เหล่านี้ คือ อวิชชา ตัณหา กรรม อาหาร และ การเกิด.

จริงอยู่ แม้ธรรม ๔ มีอวิชชาเป็นต้น ก็ชื่อว่า ลักขณะ เพราะเป็น

เครื่องกำหนดความเกิดแห่งรูป. ส่วน นิพฺพตฺติ - การเกิดเป็นลักษณะ

แห่งสังขตะ ชื่อว่า ลักขณะ เพราะเป็นเครื่องกำหนดว่า แม้ความ

เกิดนั้นก็เป็น สังขตะ.

บทว่า อวิชฺชานิโรธา รูปนิโรโธ - เพราะอวิชชาดับรูปจึงดับ

ความว่า เมื่อดับอวิชชาในภพนี้ เพราะเป็นปัจจัยแห่งภพอนาคตด้วย

อรหัตมรรคญาณ รูปอนาคตย่อมไม่เกิด คือ ดับเพราะไม่มีปัจจัย

บทว่า ปจฺจยนิโรธฏฺเน - ด้วยความดับแห่งปัจจัย คือ ด้วย

ความที่ปัจจัยดับ. อนึ่ง ในความดับในบทนี้เป็นความดับ อวิชชา

ตัณหา และกรรม อันเป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอนาคต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 686

บทว่า อาหารนิโรธา รูปนิโรโธ - เพราะอาหารดับรูปจึงดับ

ได้แก่ ความไม่มีรูปอันมีอาหารนั้นเป็นสมุฏฐานย่อมมีได้ ในเพราะ

ความไม่มีกวฬิงการาหาร อันเป็นปัจจัยแห่งความเป็นไป.

บทว่า วิปริณามลกฺขณ - มีความแปรปรวนเป็นลักษณะ ได้

แก่ ความดับแห่งรูปด้วยสามารถ อัทธา - กาล สันตติและขณะ,

ความดับนั่นแล ท่านกล่าวว่า เป็นลักษณะ เพราะเป็นลักษณะแห่ง

สังขตะ.

บทว่า ปญฺจ ลกฺขณานิ - ลักษณะ ๕ ในบทนี้ ได้แก่ ดับ

ความไม่มี อวิชชา ตัณหา กรรม และอาหาร ๔, ความแปรปรวน ๑

รวมเป็น ๕. ในเวทนาขันธ์เป็นต้น ก็มีนัยนี้. แต่ต่างกัน คือ การ

เห็นความเกิดและความเสื่อมแห่งอรูปขันธ์ด้วยสามารถแห่งอัทธา - กาล

และสันตติ มิใช่ด้วยขณะ. ผัสสะเป็นปัจจัยแห่งความเป็นไปของเวทนา-

ขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์, นิโรธเป็นปัจจัยแห่งความเป็นไป

ของเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ เพราะดับผัสสะนั้น.

นามรูปเป็นปัจจัยแห่งความเป็นไปของวิญญาณขันธ์. นิโรธเป็นปัจจัย

แห่งวิญญาณขันธ์ เพราะดับนามรูปนั้น.

แต่อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า นามรูปไม่แตะต้องการจำแนกอดีต

เป็นต้น ในเพราะเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยปัจจัย ๔ แล้วเกิดขึ้น

ด้วยอวิชชาเป็นต้น ด้วยสามารถความเสมอกันทั้งหมด เพราะเหตุนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 687

จึงถือเอาเหตุสักว่าความเกิดขึ้น มิใช่ความเกิด. เพราะอวิชชาเป็นต้น

ดับนามรูปจึงดับ เพราะเหตุนั้น จึงถือเอาเหตุสักว่าความไม่เกิด มิใช่

ถือเอาความดับ. นามรูป ได้แก่ พระโยคาวจร ย่อมถือเอาความเกิด

ความดับแห่งขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน ในเพราะการเห็นความเกิด

และความเสื่อมโดยขณะดังนี้.

ผู้เจริญวิปัสสนา เมื่อเจริญวิปัสสนาใส่ใจถึงความเกิดและความ

เสื่อมโดยความเป็นปัจจัยก่อนแล้วและธรรม ๔ มีอวิชชาเป็นต้น ใน

ขณะเจริญวิปัสสนาถือเอาขันธ์ทั้งหลาย ที่มีความเกิดและความเสื่อมนั่น

แล แล้วจึงเห็นความเกิดและความเสื่อมของขันธ์เหล่านั้น. เมื่อผู้เจริญ

วิปัสสนาอย่างนี้เห็นความเกิดและความเสื่อม โดยพิสดาร โดยปัจจัย

และโดยลักษณะว่า ความเกิดแห่งรูปเป็นต้นอย่างนี้, ความเสื่อมอย่าง

นี้, รูปเป็นต้นเกิดขึ้นอย่างนี้, เสื่อมไปอย่างนี้ ญาณว่า นัยว่าธรรม

เหล่านี้ไม่มี แล้วมี มีแล้วเสื่อมดังนี้ เป็นญาณบริสุทธิ์กว่า. ประเภทของ

สัจจะปฏิจจสมุปปาทนัย และลักษณะย่อมปรากฏ. พระโยคาวจรนั้น

ย่อมเห็นความเกิดขันธ์ทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นต้นเกิด และ

ความดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นต้นดับ, นี้เป็นการเห็น

ความเกิดและความดับโดยปัจจัยของพระโยคาวจรนั้น.

อนึ่ง พระโยคาวจร เมื่อเห็นความเกิดเป็นลักษณะ ความ

แปรปรวนเป็นลักษณะ ชื่อว่าย่อมเห็นความเกิดและความเสื่อมของขันธ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 688

ทั้งหลาย นี้เป็นการเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยขณะของพระ-

โยคาวจรนั้น. จริงอยู่ ความเกิดเป็นลักษณะในขณะเกิดนั่นเอง และ

ความแปรปรวนก็เป็นลักษณะในขณะดับ.

สมุทยสัจ ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรด้วยการเห็นความเกิด

โดยปัจจัยซึ่งเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยส่วนทั้งสอง คือ โดย

ปัจจัยและโดยขณะของพระโยคาวจรผู้เข้าใจถึงตัณหาให้เกิด. ทุกขสัจ

ย่อมปรากฏด้วยการเห็นความเกิด โดยขณะแก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจถึง

ทุกข์ที่เกิด. นิโรธสัจ ย่อมปรากฏด้วยการเห็นความเสื่อมโดยปัจจัย

แก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจความไม่เกิดแห่งความมีปัจจัย โดยที่ปัจจัยไม่

เกิด. ทุกขสัจ นั่นแลย่อมปรากฏด้วยการเห็นความเสื่อมโดยขณะแก่

พระโยคาวจรผู้เข้าใจมรณทุกข์. อนึ่ง การเห็นความเกิดและความเสื่อม

ของพระโยคาวจรนั้น มรรคสัจ ย่อมปรากฏว่า มรรคนี้ยังเป็นโลกิยะ

เพราะกำจัดความหลงในการเห็นความเกิดและความเสื่อมนั้น.

อนึ่ง ปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม ด้วยการเห็นความเกิด โดย

ปัจจัยย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้น ผู้เข้าใจว่า อิมสฺมึ สติ, อิท

โหติ - เมื่อสิ่งนี้มีอยู่, สิ่งไม่ย่อมมี. ปฏิจจสมุปบาทเป็นปฏิโลม ด้วยการ

เห็นความเสื่อม โดยปัจจัยย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจว่า อิมสฺส

๑. ม. มู. ๑๒/๔๔๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 689

นิโรธา อิท นิรุชฺฌติ- เพราะสิ่งนี้ดับ, สิ่งนี้จึงดับดังนี้. อนึ่ง ธรรม

ทั้งหลายที่อาศัยกันเกิดขึ้น ด้วยการเห็นความเกิดและความเสื่อม โดย

ขณะย่อมปรากฏ ด้วยการเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยขณะ แก่

พระโยคาวจรผู้เข้าใจลักษณะแห่งสังขตะ. เพราะสังขตธรรมทั้งหลาย

มีเกิดและเสื่อม, สังขตธรรมเหล่านั้นอาศัยกันเกิดขึ้น.

อนึ่ง นัย ๔ คือ เอกัตตนัย - นัยแห่งความเป็นอันเดียวกัน ด้วย

การเห็นความเกิดโดยปัจจัย ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้นผู้เข้าใจ

ความขาดไปแห่งสันดานด้วยการสัมพันธ์กันด้วยเหตุผล ทีนั้น พระ-

โยคาวจร ย่อมละอุจเฉททิฏฐิได้เป็นอย่างดี. นานัตตนัย - นัยแห่ง

ความต่าง ๆ กัน ด้วยการเห็นความเกิดโดยขณะย่อมปรากฏแก่พระโย-

คาวจรผู้เข้าใจถึงความเกิดแห่งธรรมใหม่ ๆ ทีนั้นพระโยคาวจร ย่อมละ

สัสสตทิฏฐิได้เป็นอย่างดี. อนึ่ง อัพยาปารนัย - นัยแห่งความไม่

ขวนขวาย ด้วยการเห็นความเกิดโดยปัจจัย ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจร

ผู้เข้าใจถึงความที่ธรรมทั้งหลายไม่เป็นไปในอำนาจ ทีนั้นพระโยคาวจร

ย่อมละอัตทิฏฐิได้เป็นอย่างดี. อนึ่ง เอวังธรรมตานัย - นัยอัน

เป็นธรรมดาอย่างนี้ ด้วยการเห็นความเกิดโดยปัจจัย ย่อมปรากฏแก่

พระโยคาวจรผู้เข้าใจความเกิดแห่งผลโดยความสมควรแก่ปัจจัย ทีนั้น

พระโยคาวจรย่อมละอกิริยทิฏฐิได้เป็นอย่างดี.

๑. ม. มู. ๑๒/๔๕๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 690

อนึ่ง อนัตลักษณะ ด้วยการเห็นความเกิดโดยปัจจัย ย่อม

ปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้น ผู้เข้าใจถึงความประพฤติอันเนื่องด้วยปัจจัย

คือไม่มีความเพียรในธรรมทั้งหลาย. อนิจลักษณะ ด้วยการเห็นความ

เกิดและความเสื่อมโดยปัจจัย ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจถึง

ความมีเเล้วไม่มีและผู้เข้าใจถึงความสงัดจากที่สุดเบื้องต้นและเบื้องปลาย.

แม้ทุกขลักษณะ ก็ปรากฏแก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจถึงความบีบคั้น

ด้วยความเกิดและความเสื่อม. แม้สภาวลักษณะ ก็ย่อมปรากฏแก่

พระโยคาวจรผู้เข้าใจถึงการกำหนดความเกิดและความเสื่อม แม้ความ

เป็นไปชั่วคราวของสังขตลักษณะในสภาวลักษณะ ก็ย่อมปรากฏ

แก่พระโยคาวจรผู้เข้าใจถึงความไม่มีความเสื่อม ในลักษณะแห่งการเกิด

และการเกิดในขณะแห่งความเสื่อม.

สังขารทั้งหลายใหม่เป็นนิจ ย่อมปรากฏแก่ประเภทของสัจจะ

ปฏิจจสมุปปาทนัยและลักษณะที่มีความปรากฏแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้

ที่ยังไม่เคยเกิดก็เกิด ที่เกิดแล้วก็ดับไป ดังนี้. สังขารทั้งหลาย

มิใช่ใหม่เป็นนิจอย่างเดียว, สังขารทั้งหลายย่อมปรากฏ ดุจหยาดน้ำ

ค้างในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ดุจฟองน้ำ ดุจรอยไม้ขีดในน้ำ ดุจเมล็ด-

ผักกาดบนปลายเข็ม ดุจฟ้าแลบ ดุจมายา พยับแดด, ความฝัน ลูกไฟ,

ล้อรถ, คนธรรพ์, นคร, ต่อมน้ำและต้นกล้วยเป็นต้น หาแก่นสารมิ

ได้ ไม่มีสาระ. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ วิปัสสนาอย่างอ่อนอันชื่อว่าอุท-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 691

ยัพพยานุปัสนาอันพระโยคาวจรนั้นแทงตลอดลักษณะ ๕๐ ถ้วน โดย

อาการนี้ว่า ความเสื่อมเป็นธรรมดาย่อมเกิดขึ้น, และพระโยคา-

วจรย่อมเข้าถึงความเสื่อมที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้ ตั้งอยู่เป็นอันบรรลุ

ก่อน, เพราะบรรลุญาณใด พระโยคาวจรย่อมชื่อว่า อารทฺธวิปสฺสโก

- ผู้ปรารภวิปัสสนา. วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ มีโอภาสเป็นต้น ย่อม

เกิดแก่พระโยคาวจรผู้ตั้งอยู่ในญาณนี้, พระโยคาวจรผู้ไม่ฉลาดเป็นผู้มี

ความสำคัญในอุปกิเลสที่เกิดขึ้นว่าเป็นมรรคญาณ ย่อมถือเอาสิ่งที่ไม่

เป็นมรรคว่าเป็นมรรค, และเป็นผู้ถูกอุปกิเลสพัวพันให้ยุ่งเหยิง.

ส่วนพระโยคาวจรผู้ฉลาด ยกวิปัสสนาขึ้นในอุปกิเลสเหล่านั้น

สะสาง ความยุ่งเหยิง คือ อุปกิเลสเสีย แล้วกำหนดมรรคคือ ทางและ

มิใช่มรรคว่า ธรรมเหล่านี้มิใช่มรรค. ส่วนวิปัสสนาญาณที่ปฏิบัติไป

ตามวิถี พ้นจากอุปกิเลสเป็นมรรค. ญาณที่รู้ว่าเป็นมรรคและมิใช่มรรค

ของพระโยคาวจรนั้น ตั้งอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มัคคามัคคญาณทัสสน-

วิสุทธิ - ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง.

ก็และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันทำความกำหนดสัจจะ ๔ ด้วย

ญาณนั้น. อย่างไร ? เมื่อมีความเข้าใจนามรูปก็เป็นอันทำความกำหนด

ทุกขสัจด้วยให้กำหนดนามรูป กล่าวคือทิฏฐิวิสุทธิดังกล่าวแล้ว ด้วย

คำว่า ธัมมฐิติญาณ เพราะมีความเข้าใจปัจจัย. การกำหนดสมุทย-

สัจด้วยความเข้าใจปัจจัยอันได้แก่กังขาวิตรณวิสุทธิ, เป็นอันทำความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 692

กำหนดทุกขสัจ ด้วยการเห็นความเกิดและความเสื่อมโดยขณะ ด้วย

อุทยัพพยานุปัสนาญาณ, การกำหนดสมุทยสัจ ด้วยการเห็นความเกิด

โดยปัจจัย, การกำหนดนิโรธสัจ ด้วยการเห็นความเสื่อมโดยปัจจัย,

การเห็นความเกิดและความเสื่อมของพระโยคาวจรผู้เห็นแจ้งใน มัคคา-

มัคคญาณทัสสนวิสุทธิ นี้ โดยกำจัดความหลงในมรรคนั้นว่า นี้คือ

มรรคเป็นโลกิยะเป็นอันนำความกำหนดมรรคสัจ ด้วยการรับรองมรรค

โดยชอบ. ด้วยประการฉะนี้ จึงเป็นอันท่านทำความกำหนดสัจจะ ๔

ด้วยญาณเป็นโลกิยะ.

จบ อรรถกถาอุทยัพพยญาณนิทเทส

ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส

[๑๑๒] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความ

แตกไป เป็นวิปัสสนาญาณอย่างไร ?

จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจร

พิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อม

พิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความ

เป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมพิจารณา

เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 693

เห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อม

เบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ

ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง ย่อมละนิจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อม

ละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตสัญญาได้

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลิดได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละ

ราคะได้ เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่น

ได้.

[๑๑๓] จิตมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ จิตมีสัญญาเป็นอารมณ์

ฯ ล ฯ จิตมีสังขารเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ จิตมีวิญญาณเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ

จิตมีจักษุเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ จิตมีชราและมรณะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น

แล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว พิจารณาเห็น

ความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น

ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เมื่อสละคืน ย่อมละความ

ถือมั่นได้.

[๑๑๔] การก้าวไปสู่วัตถุแต่ปุริมวัตถุ การหลีกไปด้วยปัญญา

อันรู้ชอบ. การคำนึงถึงอันเป็นกำลัง ธรรม ๒ ประการ คือ การ

พิจารณาหาทางและความเห็นแจ้ง บัณฑิตกำหนดเอาด้วยสภาพเดียวกัน

โดยความเป็นไปตามอารมณ์ ความน้อมจิตไปในความดับ ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 694

วิปัสสนาอันมีความเสื่อมไปเป็นลักษณะ การที่พระโยคาวจรพิจารณา

อารมณ์แล้ว พิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตและความปรากฏโดยความ

เป็นของสูญ ชื่อว่าอธิปัญญาวิปัสสนา - ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา

พระโยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสนา ๓ ในวิปัสสนา ๔ ย่อมไม่หวั่นไหว

ในทิฏฐิต่าง ๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในความปรากฏ ๓ ประการ.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณา

อารมณ์ แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ.

อรรถกถาภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส

๑๑๒ - ๑๑๓] พระโยคาวจรนั้นตั้งอยู่ในอุทยัพพยานุปัสนาญาณ

ครั้นรู้อุทยัพพยานุปัสนาญาณที่ปฏิบัติไปตามวิถี พ้นจากอุปกิเลสด้วย

การให้กำหนดมรรค - ทาง และมิใช่มรรค - ทาง ว่าเป็นมรรค - ทาง

ดังนี้ แล้วปรารภอุทยัพพยานุปัสนาญาณอีก เพื่อทำญาณนั้นให้บริสุทธิ์

ด้วยดี ด้วยกำหนดพระไตรลักษณ์ แล้วเห็นแจ้งสังขารทั้งหลายที่กำหนด

ด้วยความเกิดและความเสื่อม โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. ญาณ

นั้นของพระโยคาวจรนั้นเป็นญาณแก่กล้า ย่อมนำไปอย่างนี้, สังขาร

ทั้งหลายย่อมปรากฏเบา, เมื่อญาณแก่กล้านำไป เมื่อสังขารปรากฏเบา

ญาณไม่ก้าวล่วงความเกิด เมื่อความดับมีอยู่ ก็ยังตั้งอยู่พร้อม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 695

อีกอย่างหนึ่ง เพราะน้อมไปสู่นิโรธ ญาณละความเกิดตั้งสติไว้

ในความดับ, ภังคานุปัสนาญาณย่อมเกิดขึ้นในที่นี้. บัดนี้ พึงทราบ

วินิจฉัยในนิทเทสแห่งญาณนั้น บทว่า รูปารมฺมณตา จิตฺต อุปฺ-

ปชฺชิตฺวา ภิชฺชติ ได้แก่ จิตมีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้วดับไป. อีก

อย่างหนึ่ง อธิบายว่า จิตเกิดขึ้นในความมีรูปเป็นอารมณ์แล้วดับไป.

บทว่า ต อารมฺมณ ปฏิสงฺขา - พิจารณาเห็นอารมณ์นั้น

ความว่า รู้อารมณ์นั้นด้วยการพิจารณา. เห็นโดยความสิ้นไป โดย

ความเสื่อมไป.

บทว่า ตสฺส จิตฺตสฺส ภงฺค อนุปสฺสติ - ย่อมพิจารณาเห็น

ความดับแห่งจิตนั้น ความว่า รูปอารมณ์นั้น อันจิตใดเห็นโดยความ

สิ้นไปและโดยความเสื่อมไป, พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นความดับ

แห่งจิตนั้น ด้วยจิตดวงอื่น. ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าว

ไว้ว่า าตญฺจ าณญฺจ อุโภ วิปสฺสติ - พระโยคาวจรย่อมพิจารณา

เห็นทั้งสองอย่าง คือจิตที่รู้แล้ว และญาณ.

อนึ่ง ในบทว่า จิตฺต นี้ ท่านประสงค์เอา สัมปยุตจิต.

บทว่า อนุปสฺสติ - ย่อมพิจารณาเห็น ความว่า ย่อมเห็นตาม ๆ

ไป, คือ เห็นบ่อย ๆ ด้วยอาการไม่น้อย. ด้วยเหตุนั้น พระสารีบุตร

จึงกล่าวว่า อนุปสฺสตีติ กถ อนุปสฺสติ, อนิจฺจโต อนุปสฺสติ เป็น

อาทิ - ย่อมพิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่า พิจารณาเห็น ย่อมพิจารณา

เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 696

ในบทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ เพราะที่สุดโต่ง โดยความเป็น

ของไม่เที่ยง ชื่อว่า ภังคะ, ฉะนั้น พระโยคาวจรผู้เจริญภังคานุปัสนา

ย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมด โดยความเป็นของไม่เที่ยง, มิใช่เห็นโดย

ความเป็นของเที่ยง. แต่นั้นพิจารณาเห็นรูปนั้นนั่นแล โดยความเป็น

ทุกข์ มิใช่โดยความเป็นสุข เพราะสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และสิ่งที่เป็น

ทุกข์ เป็นอนัตตา. ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา, มิใช่โดย

ความเป็นอัตตา.

อนึ่ง เพราะสิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา สิ่งนั้น

ไม่ควรยินดี, สิ่งใดไม่ควรยินดี ไม่ควรกำหนัดในสิ่งนั้น. ฉะนั้น

พระโยคาวจรย่อมเบื่อหน่าย, มิใช่พอใจ, ย่อมคลายกำหนัด, มิใช่

กำหนัดในรูปที่เห็นนั้นว่า อนิจฺจ ทุกฺข อนตฺตา โดยทำนองเดียว

กับภังคานุปัสนาญาณ.

พระโยคาวจรนั้น คลายกำหนัดอย่างนี้ ดับราคะด้วยญาณ

อันเป็นเพียงโลกิยะ, อธิบายว่า ไม่เกิดขึ้น, ไม่ทำให้เกิดขึ้น. อีก

อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรนั้น คลายกำหนัดอย่างนี้แล้ว ย่อมดับแม้

รูปที่ไม่เห็นเหมือนรูปที่เห็นด้วยสามารถ อนฺวยาณ. - ญาณอันสืบ

เนื่องกัน มิใช่ให้เกิดขึ้น.

พระโยคาวจรทำไว้ในใจโดยการดับ, ย่อมเห็นการดับของรูป

นั้น, มิใช่เห็นความเกิด. พระโยคาวจรนั้น ปฏิบัติอย่างนี้แล้วย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 697

สละคืน, มิใช่ถือเอา. ท่านอธิบายไว้อย่างไร ? การพิจารณาเห็นความ

ไม่เที่ยงเป็นต้นนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นการสละคืนด้วยการบริจาค และ

สละคืนด้วยการแล่นไป เพราะสละกิเลสด้วยอภิสังขารถือขันธ์กับด้วย

ตทังคปหานะ และเพราะความแล่นไป เพราะน้อมญาณนั้นไปใน

นิพพานอันตรงกันข้ามกับกิเลสนั้นด้วยการเห็นโทษของสังขตะ.

เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุปัสนานั้น ย่อมบริจาค-

สละกิเลสทั้งหลาย โดยนัยดังกล่าวแล้ว และย่อมแล่นไปในนิพพาน.

ไม่ยึดถือกิเลสด้วยทำให้เกิดขึ้น. ไม่ยึดถือสังขตะเป็นอารมณ์ด้วยการ

ไม่ชี้ถึงโทษ. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปฏินิสฺสชฺชติ, ใน

อาทิยติ - ย่อมสละคืน, ย่อมไม่ยึดถือ.

บัดนี้ เพื่อแสดงการละธรรมด้วยญาณเหล่านั้นของพระโยคาวจร

นั้น พระสารีบุตรจึงกล่าวบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต อนุปสฺสนฺโต

นิจฺจสญฺ ปชหติ - พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง

ย่อมสละนิจสัญญา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นนฺทึ - ความพอใจ ได้แก่ ตัณหา

พร้อมด้วยปีติ.

บทว่า ราค - ความกำหนัด ได้แก่ ตัณหาที่เหลือ.

บทว่า สมุทย - ความเกิดขึ้น ได้แก่ ความเกิดขึ้นแห่งราคะ. อีก

อย่างหนึ่ง ได้แก่ ความเกิดขึ้นแห่งรูป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 698

บทว่า อาทาน - ความยึดถือ ได้แก่ ยึดถือกิเลสด้วยการทำให้

เกิด. พึงทราบบทมีอาทิว่า เวทนารมฺมณตา - ความมีเวทนาเป็นอารมณ์

โดยนัยดังกล่าวแล้วในที่นี้ และในตอนก่อน.

๑๑๔] อนึ่ง พึงทราบความในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า

วตฺถุสงฺกมนา - การก้าวไปสู่วัตถุ ความว่า การก้าวไปสู่วัตถุอื่นแต่

ปุริมวัตถุ ด้วยการเห็นความดับของจิตที่เห็นความดับของขันธ์หนึ่ง ๆ

ในขันธ์ทั้งหลายมีรูปขันธ์เป็นต้น เป็นอันเห็นความดับแล้ว.

บทว่า ปญฺาย จ วิวฏฺฏนา - การหลีกไปด้วยปัญญา ได้แก่

ละความเกิดเสียแล้วตั้งอยู่ในความเสื่อม.

บทว่า อาวชฺชนา พลญฺเจว - การคำนึงถึงอันเป็นกำลัง คือ

ความเป็นผู้สามารถคำนึงถึงในลำดับนั่นเอง เพื่อเห็นความดับของขันธ์

หนึ่ง ๆ ในขันธ์ทั้งหลายมีรูปขันธ์เป็นต้นแล้ว เห็นความดับของจิต

อันมีความดับเป็นอารมณ์.

บทว่า ปฏิสงฺขา วิปสฺสนา - การพิจารณาหาทางและความ

เห็นแจ้ง คือ การพิจารณาอารมณ์นี้ ชื่อว่า ภังคานุปัสนา.

บทว่า อารมฺมณอนฺวเยน อุโภ เอกววตฺถนา ธรรม ๒ อย่าง

บัณฑิตกำหนดเอาด้วยสภาพเดียวกัน โดยความเป็นไปตามอารมณ์

ความว่า การกำหนดธรรม ๒ ประการ โดยสภาพเดียวกันว่า สังขาร

แม้ในอดีตแตกแล้ว, แม้ในอนาคตก็จักแตกเหมือนสังขารนี้ ด้วยความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 699

เป็นไปตามอารมณ์ที่เห็นแล้ว โดยประจักษ์. แม้โบราณาจารย์

ก็กล่าวไว้ว่า

สวิชฺชมานมฺหิ วิสุทฺธทสฺสโน

ตทนฺวย เนติ อตีตนาคเต,

สพฺเพปิ สงฺขารคตา ปโลกิโน

อุสฺสาวพินฺทู สุริเยว อุคฺคเต.

ภิกษุผู้มีความเห็นบริสุทธิ์ในสังขารที่เป็น

ปัจฺจุบัน ย่อมน้อมนำความเห็นบริสุทธิ์นั้นไป

พิจารณาสังขารที่เป็นอดีตและอนาคตว่า สังขาร

ทั้งหลายแม้ทั้งหมดก็มี ปรกติแตกสลายไป เหมือน

หยาดน้ำค้างแห้งไปใน เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ฉะนั้น.

บทว่า นิโรเธ อธีมุตฺตตา - ความน้อมจิตไปในความดับ

ความว่า ความน้อมไป ความเป็นผู้หนักแน่น ความเอียงไป ความ

โอนไป ความลาดไปในความดับ อันได้แก่ภังคะ - ความทำลายนั้น

เพราะทำความกำหนดธรรมทั้งสองอย่างให้เป็นอันเดียวกัน ด้วยอำนาจ

ความดับอย่างนี้.

บทว่า วยลกฺขณวิปสฺสนา - วิปัสสนาอันมีความเสื่อมไปเป็น

ลักษณะ ท่านอธิบายว่า วิปัสสนานี้ชื่อว่า วยลักขณวิปัสสนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 700

บทว่า อารมฺมณญฺจ ปฏิสงฺขา - พิจารณาอารมณ์ คือรู้อารมณ์

มีรูปเป็นต้นก่อน.

บทว่า ภงฺคญฺจ อนุปสฺสติ - พิจารณาเห็นความดับ ความว่า

เห็นความดับของอารมณ์นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความดับของอารมณ์นั้น

และของจิต.

บทว่า สุญฺโต จ อุปฏฺาน - ปรากฏโดยความเป็นของสูญ

ได้แก่ ความปรากฏโดยความเป็นของสูญว่า สังขารทั้งหลายย่อมแตก,

ความแตกแห่งสังขารเหล่านั้น คือความตาย, ไม่มีอะไร ๆ อื่น ดังนี้

ย่อมสำเร็จ. ด้วยเหตุนั้นโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า

ขนฺธา นิรุชฺฌนฺติ น จิตฺถิ อญฺโ

ขนฺธาน เภโท มรณนฺติ วุจฺจติ,

เตส ขย ปสฺสติ อปฺปมตฺโต

มณีว วิชฺฌ วชิเรน โยนิโส.

ขันธ์ทั้งหลายย่อมดับ ไม่มีอะไร ๆ อื่น

คือ ไม่มีสัตว์บุคคล ความแตกแห่งขันธ์ ท่าน

เรียกว่า มรณะ ผู้ไม่ประมาทเห็นความสิ้นไปแห่ง

ขันธ์เหล่านั้นโดยแยบคาย ดุจช่างแก้วมณี ใส่ใจ

อยู่ซึ่งการเจาะด้วยแก้ววิเชียร ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 701

บทว่า อธิปญฺา วิปสฺสนา ท่านอธิบายไว้ว่า การพิจารณา

อารมณ์ การเห็นแจ้งความดับและความปรากฏโดยความเป็นของสูญ

ชื่อว่า อธิปัญญาวิปัสสนา - ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา.

บทว่า กุสโล ตีสุ อนุปสฺสนาสุ ได้แก่ ภิกษุผู้ฉลาด

ในอนุปัสนา ๓ มีอนิจจานุปัสนาเป็นต้น.

บทว่า จตูสุ จ วิปสฺสนาสุ ได้แก่ ในวิปัสสนา ๔ มี

นิพพิทานุปัสนาเป็นต้น.

บทว่า ตโย อุปฏฺาเน กุสลตา ความเป็นผู้ฉลาด ความ

ปรากฏ ๓ ประการ ได้แก่ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในความปรากฏ

๓ ประการนี้ คือ โดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป และโดยความ

สูญไป.

บทว่า นานาทิฏฺีสุ น กมฺปติ - ย่อมไม่หวั่นในทิฏฐิต่าง ๆ

คือ ไม่หวั่นไหวในทิฏฐิมีประการต่างๆ มีสัสสตทิฏฐิเป็นต้น พระ-

โยคาวจรนั้นมิได้หวั่นไหวอยู่อย่างนี้ มีมนสิการเป็นไปแล้วว่า สิ่งไม่

ดับย่อมดับ, สิ่งไม่แตกย่อมแตก ดังนี้ ก็สละนิมิตอันเป็นไปแล้ว

ในอุปาทะฐิติแห่งสังขารทั้งปวง ดุจภาชนะเก่ากำลังแตก, ดุจธุลีละเอียด

กำลังกระจัดกระจาย, ดุจเมล็ดงาถูกคั่วอยู่ ย่อมเห็นความทำลายนั่นเอง.

พระโยคาวจรนั้น ย่อมเห็นว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวง ย่อมทำลายไป

ทำลายไปเหมือนบุรุษผู้มีตาดียืนอยู่บนผมสระโบกขรณี หรือบนฝั่งแม่น้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 702

เมื่อฝนหนาเม็ดตก พึงเห็นฟองน้ำฟองใหญ่ ๆ ผุดขึ้นๆ บนหลังน้ำ

แล้วก็แตกไป ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงพระโยคาวจรเห็นปานนั้นว่า

ยถา ปุพฺพุฬก ปสฺเส ยถา ปสฺเส มรีจิก

เอว โลก อเวกฺขนฺต มจฺจุราชา น ปสฺสติ.

มัจจุราช ย่อมไม่เห็นผู้พิจารณาเห็นโลกอยู่

เหมือนพระโยคาวจรเห็นฟองน้ำ หรือพยับแดด

ฉะนั้น.

เมื่อพระโยคาวจรนั้นเห็นบ่อย ๆ อย่างนี้ว่า สังขารทั้งหลาย

ทั้งปวง ย่อมแตกไป ๆ ดังนี้ ภังคานุปัสนาญาณมีอานิสงส์ ๘ เป็น

บริวารย่อมมีกำลัง.

อานิสงส์ ๘ เหล่านี้ คือ

การละภวทิฏฐิ ๑

การสละความใคร่ในชีวิต ๑

การประกอบความขวนขวายในการบุญทุกเมื่อ ๑

ความมีอาชีพบริสุทธิ์ ๑

การละความขวนขวายในการทำบาป ๑

ความปราศจากภัย ๑

๑. ขุ. ธ. ๒๕/๓๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 703

การได้ขันติและโสรัจจะ ๑

การอดกลั้นความยินดียินร้าย ๑.

ด้วยเหตุนั้น โบราณาจารย์จึงกล่าวว่า

อิมานิ อฏฺคฺคุณมุตฺตมานิ

ทิสฺวา ตหึ สมฺมสตี ปุนปฺปุน,

อาทิตฺตเจลสฺสิรสูปโม มุนิ

ภงฺคานุปสฺสี อมตสฺส ปตฺติยา.

พระมุนี ผู้เห็นสังขารทั้งหลายแตกดับไป

เนือง ๆ ครั้นเห็นอานิสงส์อันมีการละภวทิฏฐิเป็น

ต้น เหล่านี้ว่าเป็นธรรมสูงสุด ด้วยคุณ ๘ ประการ

แล้ว เพื่อบรรลุอมตะคือพระนิพพาน จึงพิจารณา

สังขารด้วยภังคานุปัสนาญาณบ่อย ๆ เหมือนบุคคล

มีผ้าโพกศีรษะอันไฟกำลังลุกไหม้ ฉะนั้น.

จบ อรรถกถาภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 704

อาทีนวญาณนิทเทส

[๑๑๕] ปัญญาในความปรากฏเป็นของน่ากลัว เป็นอาทีนว-

ญาณอย่างไร ?

ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัยว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย

ความเป็นไปเป็นภัย สังขารนิมิตเป็นภัย ฯ ล ฯ กรรมประมวลมาเป็นภัย

ปฏิสนธิเป็นภัย คติเป็นภัย ความบังเกิดเป็นภัย ความอุบัติเป็นภัย

ชาติเป็นภัย ชราเป็นภัย พยาธิเป็นภัย มรณะเป็นภัย ความโศกเป็น

ภัย ความรำพันเป็นภัย ความคับแค้นใจเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณ

แต่ละอย่าง.

ญาณในสันติบทว่า ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย ความไม่เป็นไป

ปลอดภัย ฯ ล ฯ ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย ญาณในสันติบทว่า

ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย ความเป็นไปเป็นภัย

ความไม่เป็นไปปลอดภัย ฯ ล ฯ ความคับแค้นใจเป็นภัย ความไม่

คับแค้นใจปลอดภัย ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัยว่า ความ

เกิดขึ้นเป็นทุกข์ ฯ ล ฯ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เป็นอาทีนวญาณ

แต่ละอย่าง ๆ ญาณในสันติบทว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข ความไม่

เป็นไปเป็นสุข ฯ ล ฯ ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข.

[๑๑๖] ญาณในสันติบทว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความไม่

เกิดขึ้นเป็นสุข ความเป็นไปเป็นทุกข์ ความไม่เป็นไปเป็นสุข ฯ ล ฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 705

ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข.

[๑๑๗] ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัยว่า ความเกิด

ขึ้นมีอามิส ความเป็นไปมีอามิส ฯ ล ฯ ความคับแค้นใจมีอามิส เป็น

อาทีนวญาณแต่ละอย่าง ๆ ญาณในสันติบทว่า ความไม่เกิดขึ้นไม่มี

อามิส ความไม่เป็นไปไม่มีอามิส ฯ ล ฯ ความไม่คับแค้นใจไม่มีอามิส

ความเกิดขึ้นมีอามิส ความไม่เกิดขึ้นไม่มีอามิส ความเป็นไปมีอามิส

ความไม่เป็นไปไม่มีอามิส ฯ ล ฯ ความคับแค้นใจมีอามิส ความไม่

คับแค้นใจไม่มีอามิส.

[๑๑๘] ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นภัยว่า ความเกิดขึ้น

เป็นสังขาร ฯ ล ฯ ความคับแค้นใจเป็นสังขาร เป็นอาทีนวญาณแต่

ละอย่าง ๆ ญาณในสันติบทว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ความไม่

เป็นไปเป็นนิพพาน ฯ ล ฯ ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน ญาณใน

สันติบทว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน

ความเป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน ฯ ล ฯ ความ

คับแค้นใจเป็นสังขาร ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน.

[๑๑๙] ข้อที่พระโยคาวจรพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น

ความเป็นไปแห่งสังขารนิมิต กรรมเครื่องประ-

มวลมาปฏิสนธิว่าเป็นทุกข์นี้เป็นอาทีนวญาณ

ข้อที่พระโยคาวจรพิจารณาเห็นความไม่เกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 706

ความไม่เป็นไป ความไม่มีนิมิต ความไม่มี

ธรรมเครื่องประมวลมาและความไม่ปฏิสนธิ

ว่าเป็นสุขนี้เป็นญาณในสันติบท อาทีนว-

ญาณนี้ย่อมเกิดในฐานะ ๕ ญาณในสันติบท

ย่อมเกิดในฐานะ ๕ พระโยคาวจรย่อมรู้ชัด

ญาณ ๑๐ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ

เพราะเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้ง ๒ ฉะนี้แล.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความปรากฏโดย

ความเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณ.

อรรถกถาทีนวญาณนิทเทส

๑๑๕ - ๑๑๙] พึงทราบวินิจฉัยในอาทีนวญาณนิทเทสดังต่อไปนี้

บทว่า อุปฺปาโท - ความเกิดขึ้น คือ เกิดขึ้นในโลกนี้ เพราะ

กรรมเก่าเป็นปัจจัย.

บทว่า ปวตฺต - ความเป็นไป คือ ความเป็นไปของความเกิด

ขึ้นอย่างนั้น. บทว่า นิมิตฺต คือ สังขารนิมิต แม้ทั้งหมด.

บทว่า อายูหน - กรรมประมวลมาเป็นภัย คือ กรรมอันเป็น

เหตุแห่งปฏิสนธิต่อไป. บทว่า ปฏิสนฺธิ คือ การเกิดต่อไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 707

บทว่า คติ ได้แก่ คติอันเป็นปฏิสนธิ.

บทว่า นิพฺพตฺติ ได้แก่ การเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลาย.

บทว่า อุปปตฺติ ได้แก่ ความเป็นไปแห่งวิบาก ดังที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า สมาปนฺนสฺส วา อุปฺนฺนสฺส วา - แห่งภิกษุผู้เข้าสมาบัติ

แล้วก็ดี ผู้เข้าถึงแล้วก็ดี.

บทว่า ชาติ ได้แก่ ชาติมีภพเป็นปัจจัย อันเป็นปัจจัยของ

ชราเป็นต้น. โดยตรง ชาติ คือ ความปรากฏครั้งแรกแห่งขันธ์ทั้งหลาย

ที่ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในที่ภพนั้น ๆ.

บทว่า ชรา ได้แก่ ความเก่าของขันธ์สันดานที่เนื่องกันใน

ภพหนึ่ง ในสันตติที่รู้กันว่า มีฟันหักเป็นต้น.

บทว่า โสโก ได้แก่ ความเดือดร้อนใจของผู้ที่ถูกความ

เสื่อมจากญาติเป็นต้นกระทบแล้ว.

บทว่า ปริเทโว ได้แก่ ความพร่ำเพ้อของผู้ที่ถูกความเสื่อม

จากญาติเป็นต้นกระทบ.

บทว่า อุปายาโส ได้แก่ ความแค้นใจมาก, คือ โทสะที่เกิด

จากทุกข์ใจมากมายของผู้ที่ถูกความเสื่อมจากญาติเป็นต้นกระทบ.

อนึ่ง ในบทนี้ท่านกล่าวถึงญาณในอาทีนวญาณ ๕ มีอุปาทะ

เป็นต้น ด้วยสามารถเป็นที่ตั้งแห่งอาทีนวญาณ. ที่เหลือท่านกล่าวด้วย

๑. อภิ. ส. ๓๔/๘๓๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 708

ความเป็นไวพจน์ของธรรมเหล่านั้น. สองบทนี้ คือ นิพฺพตฺติ ชาติ

เป็นไวพจน์ของอุปาทะและของปฏิสนธิ. ของบทนี้ คือ คติ อุปปตฺติ

เป็นไวพจน์ของความเป็นไป, ชราเป็นต้นเป็นไวพจน์ของนิมิต. ดังที่

ท่านกล่าวไว้ว่า

อุปฺปาทญฺจ ปวตฺตญฺจ นิมิตฺต ทุกฺขนฺติ ปสฺสติ

อายูหน ปฏิสนฺธ าณ อาทีนเว อิทนฺติจ.

อิท อาทีนเว าณ ปญฺจฏฺาเนสุ ชายตีติจ.

พระโยคาวจรย่อมเห็นอุปาทะ - ความเกิด

ปวัตตะ - ความเป็นไป นิมิต - เครื่องหมาย อายู-

หนะ - กรรมเป็นเหตุให้ถือปฏิสนธิ และปฏิสนธิ-

การเกิดว่าเป็นทุกข์ นี้เป็นอาทีนวญาณ และอาที-

นวญาณนี้ย่อมเกิดขึ้นฐาน ๕.

อนึ่ง คำว่า ภยนฺติ ในทุกบท ตัดบทเป็น ภย อิติ. บทว่า

ภย ชื่อว่า ภัย เพราะมีภัยเฉพาะหน้า โดยประกอบด้วยความบีบ

คั้น. บทว่า อิติ เป็นการแสดงเหตุของภยตูปัฏฐานญาณ.

ส่วนบทมีอาทิว่า อนุปฺปาโท เขมนฺติ สนฺติปเท าณ - ญาณ

ในสันติบทว่า ความไม่เกิดเป็นความปลอดภัย ท่านกล่าวเพื่อแสดงญาณ

อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออาทีนวญาณ. อีกอย่างหนึ่ง บทนี้ท่านกล่าวไว้เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 709

ให้เกิดความปลอดโปร่งใจว่าแม้หทัยที่สะดุ้ง เพราะเห็นโทษด้วยภยตู-

ปัฏฐานฌานไม่มีภัย มีความปลอดภัยคือไม่มีโทษ.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะจิตของผู้ที่มีอุปาทะเป็นต้นตั้งไว้ด้วยดี โดย

ความเป็นภัย น้อมไปเพื่อความเป็นปฏิปักษ์ต่อภัยนั้น, ฉะนั้น พึงทราบ

ว่า บทนี้ ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงอานิสงส์ของอาทีนวญาณ อันสำเร็จ

แล้วด้วยภยตูปัฏฐานญาณ.

บทมีอาทิว่า อนุปฺปาโท อปฺปวตฺต - ความไม่เกิด ความไม่

เป็นไป ได้แก่ นิพพานนั่นเอง.

บทว่า สนฺติปเท - ในสันติบท ได้แก่ ในส่วนแห่งสันติ คือ

ในนิพพาน. จริงอยู่ แม้ญาณเกิดขึ้นเพราะถือเอาความต่างกันว่า

สนฺติปท ด้วยการได้ฟังมา. ท่านก็กล่าวว่า สนฺติปเท าณ - ญาณ

ในสันติบท ดังนี้.

บทมีอาทิว่า อุปฺปาโท ภย, อนุปฺปาโท เขม - ความเกิดเป็น

ภัย, ความไม่เกิดปลอดภัย ท่านย่อบททั้งสอง ด้วยสามารถเป็นฝ่ายตรง

กันข้ามต่อกัน แล้วกล่าวถือญาณที่เกิดขึ้น.

อนึ่ง ในบทนี้ เพราะภัยเป็นทุกข์แน่นอน. และสิ่งใดเป็นทุกข์

สิ่งนั้นชื่อว่ามีอามิส เพราะไม่พ้นไปจากอามิส คือ วัฏฏะ อามิส คือ

โลก และอามิสคือกิเลส. อนึ่ง สิ่งใดมีอามิส สิ่งนั้นเป็นเพียงสังขาร

เท่านั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวบทมีอาทิว่า อุปฺปาโท ทุกฺขนฺติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 710

ภยตูปฏฺาเน ปญฺา อาทีนเว าณ - ปัญญาในความปรากฏเป็น

ของน่ากลัวว่า ความเกิดเป็นทุกข์ เป็นอาทีนวญาณ.

แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พึงทราบความต่างกันในบทนี้ ด้วยสามารถ

ความเป็นไป โดยความต่างกัน โดยอาการอย่างนี้ คือ โดยอาการ

น่ากลัว โดยอาการเป็นทุกข์ โดยอาการมีอามิส โดยอาการเป็น

สังขาร.

ท่านไม่ได้เพ่งถึงลิงค์ มีอุปปาทะเป็นต้นว่า อุปฺปาโท ภย,

ทุกฺข, สามิส, สงฺขารา จ - ความเกิดเป็นภัย, เป็นทุกข์, เป็นอามิส,

และเป็นสังขาร แล้วจึงกล่าวเพ่งถึงลิงค์ของตนดุจในบทมีอาทิว่า เนต

โข สรณ เขม, เนต สรณมุตฺตม - นี้แลไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม, นี้ไม่ใช่

ที่พึ่งอันอุดม.

อนึ่ง บทว่า สงฺขารา ท่านมิได้เพ่งความเป็นอย่างเดียว จึง

ทำเป็นพหุวจนะดุจในประโยคมีอาทิว่า อปฺปจฺจยา ธมฺมา, อสงฺขตา

ธมฺมา - ธรรมทั้งหลายที่ไม่มีปัจจัย, ธรรมทั้งหลายที่เป็นอสังขตะ.

หรือว่าเพราะ อุปฺปาโท เป็นต้นเป็นเอกเทศของสังขาร พึงทราบว่า

ท่านทำเป็นพหุวจนะแม้ในเอกเทศของสังขารเป็นอันมาก ดุจในบทมี

อาทิว่า อุตฺตเร ปญฺจาลา, ทกฺขิเณ ปญฺจาลา - ชาวปัญจาลนคร

ในทิศอุดร, ชาวปัญจาลนครในทิศทักษิณ.

๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๔. ๒. อภิ. ส. ๓๔/๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 711

บทว่า เขม สุข นิรามิส นิพฺพาน - นิพพานเป็นความปลอดภัย

เป็นความสุข ไม่มีอามิส คือ ท่านกล่าวนิพพานนั่นแลเป็น ๔ อย่าง

โดยเป็นปฏิปักษ์ต่ออาการดังกล่าวแล้ว.

บทว่า ทส าเณ ปชานาติ - พระโยคาวจรย่อมรู้ญาณ ๑๐

ได้แก่ พระโยคาวจรเมื่อรู้อาทีนวญาณ ย่อมรู้ ย่อมแทงตลอด ย่อม

ทำให้แจ้งซึ่งญาณ ๑๐ คือ ญาณอันเป็นที่ตั้งของ อุปฺปาท - การเกิด

เป็นต้น ๕, ญาณอันเป็นที่ตั้งของ อนุปฺปาท - การไม่เกิด ๕.

บทว่า ทวินฺน าณาน กุสลตา - เพราะเป็นผู้ฉลาดในญาณ

ทั้ง ๒ ได้แก่ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้ง ๒ อย่างเหล่านี้ คือ

อาทีนวญาณ และ สันติปทญาณ.

บทว่า นานาทิฏฺีสุ น กมฺปติ - ย่อมไม่หวั่นไหวในทิฏฐิต่าง ๆ

คือ ไม่หวั่นไหวในทิฏฐิทั้งหลาย อันเป็นไปแล้วด้วยสามารถนิพพาน

อันเป็นทิฏฐธรรมอย่างยิ่ง.

จบ อรรถกถาอาทีนวญาณนิทเทส

สังขารุเปกขาญาณนิทเทส

[๑๒๐] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณา

หาทางและวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 712

ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความเกิดขึ้น ทั้ง

พิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไป

เสียจากความเป็นไป ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ ปัญญาเครื่อง

ความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากสังขารนิมิต ฯ ล ฯ จากกรรมเครื่อง

ประมวลมา จากปฏิสนธิ จากคติ จากความบังเกิด จากความอุบัติ

จากชาติ จากชรา จากพยาธิ จากมรณะ จากความโศก จากความ

รำพัน ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความคับแค้นใจ

ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละอย่าง ๆ.

[๑๒๑] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณา

หาทางและวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความเป็นไปเป็นทุกข์

สังขารนิมิตเป็นทุกข์ ฯ ล ฯ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เป็นสังขารุ-

เปกขาญาณแต่ละอย่าง ๆ ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้ง

พิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความเป็นไป

เป็นภัย ฯ ล ฯ ความคับแค้นใจเป็นภัย เป็นสังขารุเปกขาญาณแต่ละ

อย่าง ๆ.

[๑๒๒] ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณา

หาทางและวางเฉยอยู่ว่า ความเกิดขึ้นมีอามิส ความเป็นไปมีอามิส

ฯ ล ฯ ความคับแค้นใจมีอามิส ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความเป็นไป

เป็นสังขาร ฯ ล ฯ ความคับแค้นใจเป็นสังขาร เป็นสังขารุเปกขาญาณ

แต่ละอย่าง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 713

[๑๒๓] ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น

เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ แม้ธรรม ๒ ประการนี้ คือ

สังขารและอุเบกขาก็เป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะ

เหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ความเป็นไปเป็นสังขาร ฯ ล ฯ

นิมิตเป็นสังขาร กรรมเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร ปฏิสนธิเป็นสังขาร

คติเป็นสังขาร ความบังเกิดเป็นสังขาร ความอุบัติเป็นสังขาร ชาติ

เป็นสังขาร ชราเป็นสังขาร พยาธิเป็นสังขาร มรณะเป็นสังขาร ความ

โศกเป็นสังขาร ความรำพันเป็นสังขาร ความคับแค้นใจเป็นสังขาร

ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ

แม้ธรรม ๒ ประการ คือ สังขารและอุเบกขา ก็เป็นสังขาร ญาณ

วางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ.

[๑๒๔] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการ

เท่าไร ?

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๘.

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ

เท่าไร การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วย

อาการเท่าไร การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ

ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 714

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วย

อาการ ๓.

[๑๒๕] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้

ด้วยอาการ ๒ เป็นไฉน ?

ปุถุชนย่อมยินดีสังขารุเปกขา ๑ ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒ นี้.

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วย

อาการ ๓ เป็นไฉน ?

พระเสขะย่อมยินดีสังขารุเปกขา ๑ ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑

พิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติ ๑ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระ-

เสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓ นี้.

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมี

ได้ด้วยอาการ ๓ เป็นไฉน ?

ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑ พิจารณา

แล้วเข้าผลสมาบัติ ๑ วางเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญต-

วิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ ๑

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วย

อาการ ๓ นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 715

[๑๒๖]การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของ

พระเสขะ เป็นอย่างเดียวกันอย่างไร ?

ปุถุชนยินดีสังขารุเปกขา มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนา

มีอันตรายแห่งปฏิเวธ มีปัจจัยแห่งปฏิสนธิต่อไป แม้พระเสขะยินดี

สังขารุเปกขาก็มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนา มีอันตรายแห่ง

ปฏิเวธในมรรคชั้นสูง มีปัจจัยแห่งปฏิสนธิต่อไป การน้อมจิตไปใน

สังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ เป็นอย่างเดียวกันโดยสภาพ

แห่งความยินดีอย่างนี้.

[๑๒๗] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระ-

เสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ เป็นอย่างเดียวกันอย่างไร ?

ปุถุชนย่อมพิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยง

เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา แม้พระเสขะก็พิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดย

ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา แม้ท่านผู้ปราศจาก

ราคะ ก็พิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์

และเป็นอนัตตา การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระ-

เสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ เป็นอย่างเดียวกันโดยสภาพแห่งการ

พิจารณาอย่างนี้.

[๑๒๘] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระ-

เสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 716

สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล แม้ของพระเสขะก็เป็นกุศล

แต่ของท่านผู้ปราศจากราคะเป็นอัพยากฤต การน้อมจิตไปในสังขารุ-

เปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความ

ต่างกันโดยสภาพเป็นกุศลและอัพยากฤตอย่างนี้.

[๑๒๙] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระ-

เสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ?

สังขารุเปกขาของปุถุชน ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย คือในเวลา

เจริญวิปัสสนา ไม่ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย แม้สังขารุเปกขาของ

พระเสขะ ก็ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจาก

ราคะ ปรากฏดีโดยส่วนเดียว การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน

ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่

ปรากฏและโดยสภาพที่ไม่ปรากฏอย่างนี้.

[๑๓๐] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระ-

เสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ?

ปุถุชนย่อมพิจารณา เพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา

แม้พระเสขะก็พิจารณาเพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจาสังขารุเปกขา ส่วน

ท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมพิจารณาเพราะเป็นผู้เสร็จกิจจากสังขารุเปก-

ขา การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 717

ท่านผู้ปราศจากราคะ. มีความต่างกันโดยสภาพที่ยังไม่เสร็จกิจและโดย

สภาพที่เสร็จกิจแล้วอย่างนี้.

[๑๓๑]การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระ-

เสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ?

ปุถุชนย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อจะละสังโยชน์ ๓ เพื่อ

ต้องการได้โสดาปัตติมรรค พระเสขะย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อ

ต้องการได้มรรคชั้นสูงขึ้นไป เพราะเป็นผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ท่าน

ผู้ปราศจากราคะย่อมพิจารณาสังขารุเปกขา เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขใน

ปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว การน้อมจิตไปในสังขารุ-

เปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความ

ต่างกันโดยสภาพที่ละกิเลสได้แล้วและโดยสภาพที่ยังละกิเลสไม่ได้อย่าง

นี้.

[๑๓๒] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ของพระเสขะและ

ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันอย่างไร ?

พระเสขะยังยินดีสังขารุเปกขาบ้าง ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา

บ้างพิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้ง

สังขารุเปกขาบ้างพิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง วางเฉยสังขารุเปกขา

นั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรือ

อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 718

และของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยภาพแห่งวิหารสมาบัติ

อย่างนี้.

[๑๓๓] สังขารุเปกขาเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ

สังขารุเปกขาเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ?

สังขารุเปกขา ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา ๑๐

ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา.

สังขารุเปกขา ๘ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ ?

ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยนิวรณ์ เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน

เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิตกวิจาร

เพื่อต้องการได้ทุติยฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณา

หาทางแล้ววางเฉยปีติ เพื่อต้องการได้ตติยฌาน เป็นสังขารุเปกขา

ญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยสุขและทุกข์ เพื่อต้องการ

ได้จตุตถฌาน เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว

วางเฉยรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และ นานัตตสัญญา เพื่อต้องการได้

อากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณา

หาทางแล้ววางเฉยอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้วิญญาณัญ-

จายตนสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว

วางเฉยวิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ

เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยอากิญ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 719

จัญญายตนสัญญา เพื่อต้องการได้เนวสัญญานาสัญญาตนสมาบัติ เป็น

สังขาะรุเปกขาญาณ ๑ สังขารุเปกขา ๘ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจ

สมถะ.

[ ๑๓๔ ] สังขารุเปกขา ๑๐ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจ

วิปัสสนา ?

ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไฉน

นิมิตกรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ

ชรา พยาธิ มรณะ ความโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ เพื่อ

ต้องการได้โสดาปัตติมรรค เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ . . . เพื่อต้องการ

ได้โสดาปัตติสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ . . .เพื่อต้องการได้

สกทาคามิมรรค เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ . . .เพื่อต้องการได้สกทาคา-

มิผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ . . .เพื่อต้องการอนาคามิมรรค

เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ . . . เพื่อต้องการได้อนาคามิผลสมาบัติ เป็น

สังขารุเปกขาญาณ ๑ . . . เพื่อต้องการได้อรหัตมรรค เป็นสังขารุเปกขา-

ญาณ ๑ . . .เพื่อต้องการได้อรหัตผลสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑

. . . เพื่อต้องการสุญญตวิหารสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ ปัญญา

ที่พิจารณาหาทาแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรม

เครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา

พยาธิ มรณะ ความโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ เพื่อต้องการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 720

ได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ เป็นสังขารุเปกขาญาณ ๑ สังขารุเปกขาญาณ

๑๐ เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา.

[๑๓๕] สังขารุเปกขาเป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็น

อัพยากฤตเท่าไร ? สังขารุเปกขาเป็นกุศล ๑๕ เป็นอัพยากฤต ๓ เป็น

อกุศลไม่มี

ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย เป็น

โคจรภูมิของสมาธิจิต ๘ เป็นโคจรภูมิของปุถุชน ๒

เป็นโคจรภูมิของพระเสขะ ๓ เป็นเครื่องให้จิตของ

ท่านผู้ปราศจากราคะหลีกไป ๓ เป็นปัจจัยแห่ง

สมาธิ ๘ เป็นโคจรแห่งภูมิแห่งญาณ ๑๐ สังขารุ-

เปกขา ๘ เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓ อาการ ๑๘ นี้

พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา พระโยคาวจร

ผู้ฉลาดในสังขารุเปกขา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะ

ทิฏฐิต่าง ๆ ฉะนี้แล.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องความเป็นผู้

ใคร่จะพ้นไปทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉย เป็นสังขารุเปกขาญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 721

อรรถกถาสังขารุเปกขาญาณนิทเทส

๑๒๐ - ๑๓๕] พึงทราบวินิจฉัยในสังขารุเปกขาญาณนิทเทส

ดังต่อไปนี้ ทว่า อุปฺปาทา เป็นต้น มีอรรถดังได้กล่าวไว้แล้วนั่นแล.

บททั้งหลายว่า ทุกฺขนฺติ ภยนฺติ สามิสนฺติ สงฺขารา - ความ

เกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความเกิดขึ้นมีอามิส ความ

เกิดขึ้นเป็นสังขาร เป็นคำแสดงเหตุของญาณ คือ ความหลุดพ้นจาก

อุปฺปาทา เป็นต้น.

อนึ่ง พระสารีบุตร ครั้นแสดงถึงสังขารุเปกขาญาณ โดยลักษณะ

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงโดยอรรถ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า อุปฺปาโท

สงฺขารา, เต สงฺขาเร อชฺฌุเปกฺขตีติ สงฺขารุเปกขา - ความเกิดขึ้น

เป็นสังขาร, ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า

สังขารุเปกขาญาณ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขาเร อชฺฌุเปกฺขติ - ญาณวางเฉย

ในสังขาร ความว่า เมื่อพระโยคาวจรนั้นเริ่มเจริญวิปัสสนา ละความ

ขวนขวายในการค้นหาลักษณะ เพราะเห็นพระไตรลักษณ์ด้วยวิปัสสนา

ญาณแล้ว เห็นภพ ๓ ดุจไฟติดทั่วแล้ว มีความเป็นกลางในการถือ

สังขารวิปัสสนาญาณนั้น ย่อมเห็นสังขารเหล่านั้นโดยพิเศษ และเห็น

คือ มองดูญาณที่เว้นแล้วด้วยการถือเอา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า

สังขารุเปกขาญาณ. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า ผู้ชนะโดยพิเศษ ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 722

ย่อมชนะยิ่งในโลก ผู้เว้นอาหาร ขออยู่ด้วย ก็ชื่อว่า เข้าไปอาศัย.

ญาณที่เห็นแจ้งสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นอีก เห็นแจ้ง

แม้สังขารุเปกขา ซึ่งตั้งอยู่ในความเป็นกลาง โดยความเป็นของไม่เที่ยง

เป็นต้นในการยึดถือ ท่านจึงกล่าวบทมีอาทิว่า เย จ สงฺขารา, ยา จ

อุเปกฺขา - ทั้งสังขารและอุเบกขาเป็นสังขาร เพราะเกิดพร้อมกันด้วย

สังขารุเบกขา อันตั้งอยู่โดยอาการเป็นกลาง ในการยึดถือสังขารุเปกขา

แม้นั้น.

บัดนี้ พระสารีบุตรเพื่อจะแสดงประเภทของการน้อมจิตไปใน

สังขารุเปกขา จึงกล่าวบทมีอาทิว่า กตีหากาเรหิ - ด้วยอาการเท่าไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขารุเปกฺขาย เป็นสัตตมีวิภัตติ แปลว่า

ในสังขารุเบกขา. บทว่า จิตฺตสฺส อภินีหาโร - การน้อมไปแห่งจิต

ได้แก่ การทำจิตอื่นจากนั้นให้มุ่งไปสู่ความวางเฉยของสังขาร แล้ว

นำไปอย่างหนักหน่วง. อภิ ศัพท์ ในบทนี้ มีความว่ามุ่งหน้า. นี

ศัพท์ มีความว่าอย่างยิ่ง พระสารีบุตรประสงค์จะแก้คำถามที่ถามว่า

กตีหากาเรหิ - ด้วยอาการเท่าไร ตอบว่า อฏฺหากาเรหิ - ด้วยอาการ

๘ อย่าง แล้วจึงแสดงอาการ ๘ เหล่านั้น ด้วยแก้คำถามข้อที่ ๒

จึงไม่แสดงอาการเหล่านั้น ได้ตั้งคำถามมีอาทิว่า ปุถุชฺชนสฺส กตี-

หากาเรหิ - การน้อมจิตไปในสังขารุเบกขาของปุถุชน ด้วยอาการเท่าไร

ในบทว่า ปุถุชฺชนสฺส นี้มีคาถาดังต่อไปนี้ ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 723

ทุเว ปุถุชฺชนา วุตฺตา พุทฺเธนาทิจฺจพนฺธุนา

อนฺโธ ปุถุชฺชโน เอโก กลฺยาเณโก ปุถุชฺชโน.

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ตรัส

ถึงปุถุชนไว้ ๒ จำพวก พวกหนึ่งเป็นอันธปุถุชน

พวกหนึ่งเป็นกัลยาณปุถุชน.

ในปุถุชน ๒ จำพวกนั้น ปุถุชนที่ไม่มีการเรียน การสอบถาม

การฟัง การจำและการพิจารณาเป็นต้น ในขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นต้น

เป็น อันธปุถุชน ปุถุชนที่มีการเรียนเป็นต้นเหล่านั้น เป็นกัลยาณ-

ปุถุชน. แม้ปุถุชน ๒ จำพวกนี้ก็มีคาถาว่า

ปุถูน ชนนาทีหิ การเณหิ ปุถุชฺชโน

ปุถุชฺชนนฺโตคธตฺตา ปุถุวาย ชโน อิติ.

ชื่อว่า ปุถุชนด้วยเหตุยังกิเลสหนาให้เกิด

ขึ้น เพราะความเป็นผู้มีกิเลสหนาหยั่งลงถึงภายใน

จึงชื่อว่า เป็นปุถุชน.

ชื่อว่า ปุถุชนด้วยเหตุยังกิเลสเป็นต้นมีประการต่าง ๆ อันหนา

ให้เกิด. ดังที่ท่านกล่าวว่า

ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่ายังกิเลสอัน

หนาให้เกิด เพราะอรรถว่าไม่จำกัดสักกายทิฏฐิ

อันหนาออกไป, เพราะอรรถว่าเลือกหน้าศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 724

มาก เพราะอรรถว่าคติทั้งปวงร้อยไว้มาก เพราะ

อรรถว่าย่อมตกแต่งด้วยอภิสังขารต่าง ๆ มาก เพราะ

อรรถว่าย่อมลอยไปด้วยโอฆะต่าง ๆ มาก เพราะ

อรรถว่าย่อมเดือดร้อน เพราะกิเลสเป็นเหตุให้

เดือดร้อนต่าง ๆ มาก, เพราะอรรถว่าถูกเผาด้วย

อันตรายต่าง ๆ มาก, เพราะอรรถว่าเป็นผู้กำหนัด

ยินดี ขอบใจ หลงใหล ซบ ติดใจ เกาะเกี่ยว

พัวพัน ในกามคุณ ๕, เพราะอรรถว่าถูกร้อยรัด

ปกคลุม ปิดบัง หุ้มห่อ ปกปิด คดโกงมาก ด้วย

นิวรณ์ ๕ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน เพราะชนมีกิเลสหนาเหลือที่จะ

นับ หันหลังให้อริยธรรม ประพฤติธรรมต่ำ, อีกอย่างหนึ่ง เพราะ

คนกิเลสหนาจัดอยู่ต่างหาก ไม่สังสรรค์กับพระอริยเจ้าผู้ประกอบด้วย

คุณ มีความเป็นผู้มีศีลและสุตะเป็นต้น. ในปุถุชน ๒ จำพวกนั้น ในที่นี้

ท่านประสงค์เอากัลยาณปุถุชน, เพราะชนนอกนั้นไม่มีการเจริญภาวนา

เลย.

ในบทว่า เสกฺขสฺส นี้ ได้แก่ พระเสกขะ ๗ จำพวก คือ

ผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิ-

๑. ขุ. มหา. ๒๙/๔๓๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 725

ผล อนาคามิมรรค อนาคามิผลและอรหัตมรรค ชื่อว่า เสกขะ

เพราะท่านเหล่านั้นยังสิกขา ๓. ในพระเสกขะเหล่านั้นในที่นี้

ท่านประสงค์เอาพระเสกขะ ๓ จำพวก ผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สก-

ทาคามิผลและอนาคามิผล เพราะท่านผู้ตั้งอยู่ในมรรค ไม่น้อมจิตไป

ในสังขารุเบกขา.

ในบทว่า วีตราคสฺส นี้ ชื่อว่า วีตราโค เพราะมีราคะ

ปราศจากไปแล้ว โดยปราศจากไป ด้วยสมุจเฉทปหาน. บทนี้เป็น

ชื่อของพระอรหัต. แม้ใน ๓ บทนั้น ท่านก็ทำให้เป็นเอกวฺจนะ โดย

ถือเอาชาติ.

บทว่า สงฺขรุเปกฺข อภินนฺทติ - พระเสกขะย่อมยินดีสังขา-

รุเบกขา ความว่า พระเสกขะ ครั้นได้สัญญาในธรรมเป็นเครื่องอยู่

เป็นผาสุก ในธรรมเป็นเครื่องอยู่ คือ อุเบกขานั้นแล้ว เป็นผู้มุ่งไป

สู่สังขารุเบกขาด้วยความปรารถนาในผาสุวิหารธรรม ย่อมยินดี อธิบาย

ว่า ยังตัณหาอันมีปีติให้เกิดขึ้น.

บทว่า วิปสฺสติ - ย่อมเห็นแจ้ง คือ พระเสกขะย่อมเห็นหลาย ๆ

อย่าง ด้วยลักษณะมีความไม่เที่ยงเป็นต้นเพื่อได้โสดาปัตติมรรค, พระ-

เสกขะย่อมเห็นเพื่อได้มรรคชั้นสูง, พระเสกขะผู้ปราศจากราคะย่อมเห็น

เพื่ออยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 726

บทว่า ปฏิสงฺขาย ได้แก่ เข้าไปพิจารณาด้วยสามารถลักษณะ

มีความไม่เที่ยงเป็นต้น, อนึ่ง เพราะพระอริยะทั้งหลายมีพระโสดาบัน

เป็นต้นเข้าผลสมาบัติของตน ๆ ถ้าไม่เห็นแจ้งวิปัสสนาญาณ ๙ มีอุท-

ยัพพยญาณ เป็นต้น ก็ไม่สามารถจะเข้าสมาบัติได้ ฉะนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า ปฏิสงฺขาย วา ผลสมาปตฺตึ สมาปชฺชนติ - พระอริยะ

ทั้งหลายพิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติ ดังนี้.

เพื่อแสดงความเป็นไปแห่งผลสมาบัติ จึงมีปัญหากรรมของ

พระเสกขะเหล่านี้ดังต่อไปนี้

ผลสมาบัติ คือ อะไร, ใครเข้าสมาบัติ

นั้น, ใครไม่เข้าสมาบัติ, เพราะเหตุไรจึงต้องเข้า

สมาบัติ, การเข้าสมาบัตินั้นเป็นอย่างไร, การตั้ง

อยู่เป็นอย่างไร, การออกเป็นอย่างไร, อะไรเป็น

ลำดับของผล และผลเป็นลำดับของอะไร ?

พึงทราบวินิจฉัยในปัญหากรรมนั้นดังต่อไปนี้ว่า อะไรเป็นผล

สมาบัติ ? แก้ว่า อัปปนาในนิโรธของอริยผล. ใครเข้าสมาบัตินั้น

ใครไม่เข้าสมาบัตินั้น, แก้ว่า ปุถุชนแม้ทั้งหมดเข้าสมาบัติไม่ได้.

เพราะเหตุไร ? เพราะยังไม่บรรลุ. ส่วนพระอริยะทั้งหมดเข้าสมาบัติได้.

๑. วิสุทธิมรรคบาลี หน้า ๓๕๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 727

เพราะเหตุไร ? เพราะบรรลุแล้ว. ส่วนพระอริยะชั้นสูง ไม่เข้าสมาบัติ

ชั้นต่ำ เพราะสงบแล้วด้วยความเข้าถึงความเป็นบุคคลอื่น. และพระ-

อริยะชั้นต่ำ ก็ไม่เข้าสมาบัติชั้นสูง เพราะยังไม่บรรลุ. แต่ท่านทั้งหมด

ก็เข้าสมาบัติอันเป็นผลของตน ๆ นั่นเอง เพราะเหตุนั้น คำนี้จึงเป็น

ข้อสันนิษฐานไว้ในที่นี้.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า แม้พระโสดาบันพระสกทาคามีก็

ไม่เข้าสมาบัติ. พระอริยะ ๒ ชั้นสูงย่อมเข้าสมาบัติ. นี้เป็นเหตุของ

พระอริยะเหล่านั้น. เพราะพระอริยะเหล่านั้นเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ใน

สมาธิ. นั้นไม่ใช่เหตุของปุถุชน เพราะเข้าโลกิยสมาธิที่ตนได้แล้ว.

ก็ในที่นี้ เพราะคิดถึงเหตุ และมิใช่เหตุเป็นอย่างไร. ในการแก้ปัญหา

เหล่านี้ว่า สังขารุเบกขา ๑๐ ย่อมเกิดขึ้นด้วยวิปัสสนาเป็นไฉน*.

โคตรภูธรรม ๑๐ ย่อมเกิดด้วยวิปัสสนาเป็นไฉน ท่านกล่าวไว้ต่างหาก

กันในบาลีนี้แล้วมิใช่หรือว่า เพื่อประโยชน์การเข้าโสดาปัตติผล เพื่อ

ประโยชน์การเข้าสกทาคามิผล. เพราะฉะนั้น พระอริยะแม้ทั้งหมดก็ย่อม

เข้าสมาบัติอันเป็นผลของตน ๆ เพราะเหตุนั้น จึงควรตกลงไว้ในที่นี้.

เพราะเหตุไรจึงต้องเข้าสมาบัติ ? แก้ว่า เพื่ออยู่เป็นสุขใน

ทิฏฐธรรม. เหมือนอย่างพระราชาทั้งหลายย่อมเสวยสุขในราชสมบัติ.

ทวยเทพย่อมเสวยทิพยสุข ฉันใด, พระอริยะทั้งหลายก็ฉันนั้น ทำข้อ

๑. ขุ. ป. ๓๑/๑๓๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 728

กำหนดไว้ในกาลใกล้ว่า เราจักเสวยโลกุตรสุข ดังนี้ แล้วเข้าผลสมาบัติ

ในขณะที่ตนปรารถนา ๆ.

การเข้าสมาบัตินั้นเป็นอย่างไร ? ตั้งไว้เป็นอย่างไร. ออก

เป็นอย่างไร ? แก้ว่า การเข้าสมาบัตินั้นย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒ อย่าง

คือ ไม่ใสใจถึงอารมณ์อื่น นอกจากนิพพาน ๑ ใส่ใจนิพพาน ๑.

ดังที่ท่านกล่าวว่า

ดูก่อนอาวุโส ปัจจัย ๒ อย่าง คือ การ

ไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวง ด้วยสมาบัติอันเป็นเจโต-

วิมุตติ หานิมิตมิได้ ๑ การใส่ใจด้วยธาตุอันหา

นิมิตมิได้ ๑.

นี้เป็นลำดับของการเข้าสมาบัติในที่นี้, จริงอยู่พระอริยสาวกผู้มีความ

ต้องการด้วยผลสมาบัติไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ พึงพิจารณาสังขารทั้งหลาย

ด้วยอนุปัสนาญาณ มีอุทยัพพยานุปัสนาญาณเป็นต้น. จิตของพระ-

อริยสาวกนั้นผู้พิจารณาตามลำดับที่เป็นไปแล้ว ย่อมเอิบอิ่มในนิโรธ

ด้วยสามารถผลสมาบัติในลำดับแห่งโคตรภูญาณ อันมีสังขารเป็น

อารมณ์.

อนึ่ง เพราะจิตน้อมไปในผลสมาบัติ ผลนั่นแลย่อมเกิดแม้แก่

พระเสกขะในผลสมาบัตินี้ มิใช่มรรคเกิด.

๑. ม. มู. ๑๒/๕๐๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 729

อนึ่ง ผู้ใดกล่าวว่าพระโสดาบันเริ่มตั้งวิปัสสนา ด้วยคิดว่าเรา

จักเข้าผลสมาบัติ ดังนี้ แล้วจะเป็นพระสกทาคามี, และพระสกทาคามี

ก็จะเป็นพระอนาคามี ดังนี้. ผู้นั้นควรกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ พระ-

อนาคามีก็จักเป็นพระอรหันต์. พระอรหันต์ก็จักเป็นพระปัจเจกพุทธะ

และพระปัจเจกพุทธะก็จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้. เพราะฉะนั้น ข้อนั้น

จึงไม่มีอะไร. และก็ไม่ควรถือเอาโดยบาลีว่า ปฏิกฺขิตฺต - ถูกห้ามเสีย

แล้วบ้าง. แต่ควรถือข้อนี้ไว้. ผลเท่านั้นย่อมเกิดแม้แก่พระเสกขะ มิใช่

มรรคเกิด.

อนึ่ง หากว่า ผลของมรรคนั้นมีอยู่ เป็นอันว่า พระเสกขะ

นั้นได้บรรลุมรรคอันมีในปฐมฌาน ญาณอันมีในปฐมฌานนั่นแล ย่อม

เกิด, หากว่า มรรคมีในฌานอย่างใดอย่างหนึ่งในทุติยฌานเป็นต้น

ญาณก็มีในฌานอย่างใดอย่างหนึ่งในทุติยฌานเป็นต้นเหมือนกัน เพราะ

เหตุนั้น การเข้าสมาบัตินั้น ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้แล.

สมาบัตินั้นตั้งอยู่ด้วยอาการ ๓ เพราะบาลีว่า

ดูก่อนอาวุโส ปัจจัย ๓ อย่าง คือ การ

ไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวง เพื่อความตั้งมั่นแห่งเจโต-

วิมุตติ อันหานิมิตมิได้ ๑, การใส่ใจธาตุอันหา

นิมิตมิได้ ๑ การปรุงแต่งในกาลก่อน ๑.

๑. ม. มู. ๑๒/๕๐๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 730

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ จ อภิสงฺขาโร - การปรุงแต่ง

ในกาลก่อน คือ กำหนดกาลก่อนจากเข้าสมาบัติ การตั้งอยู่ของสมาบัติ

นั้น ย่อมมีได้ ตราบเท่าที่กาลนั้นยังไม่มาถึง เพราะกำหนดไว้ว่า

เราจักออกในเวลาโน้น ดังนี้. ที่ตั้งของสมาบัติ ย่อมมีได้อย่างนี้.

สมาบัตินั้นออกด้วยอาการ ๒ เพราะบาลีว่า

ดูก่อนอาวุโส ปัจจัย ๒ อย่างแล คือ การ

ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวง ด้วยการออกจากเจโตวิมุตติ

อันไม่มีนิมิต ๑ การไม่ใส่ใจธาตุอันหานิมิตมิได้ ๑.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพนิมิตฺตาน ได้แก่ รูปนิมิต

เวทนานิมิต สัญญานิมิต สังขารนิมิต และวิญญาณนิมิต. อนึ่ง แม้

จะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งหมดเหล่านั้น โดยเป็นอันเดียวก็จริง ถึงดังนั้นท่าน

ก็กล่าวบทว่า สพฺพนิมิตฺตาน นี้ ด้วยสามารถสงเคราะห์เข้าด้วยกัน

ทั้งหมด. เพราะฉะนั้น. เมื่อพระโยคาวจรใส่ใจถึงอารมณ์อันมีแก่ภวังค์

ก็เป็นอันออกจากผลสมาบัติ. เพราะเหตุนั้น พึงทราบการออกแห่ง

สมาบัตินั้นอย่างนี้.

อะไรเป็นลำดับของผล, และ ผลเป็นลำดับของอะไร ? แก้ว่า

ผลนั่นแล หรือภวังค์ เป็นลำดับของผล. แต่ผลมีอยู่ในลำดับมรรค,

มรรคมีอยู่ในลำดับผล, ผลมีอยู่ในลำดับโคตรภู คือ อนุโลมญาณ

๑. ม. มู. ๑๒/๕๐๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 731

ผลมีอยู่ในลำดับของเนวสัญญานาสัญญายตนะ. ผลมีอยู่ในลำดับของ

มรรค ในวิถีแห่งมรรคนั้น, ผลหลัง ๆ มีอยู่ในลำดับของผลก่อน ๆ.

ผลก่อนๆ ในผลสมาบัติมีอยู่ในลำดับโคตรภู คือ อนุโลมญาณ.

อนึ่ง ในบทว่า โคตรภู นี้ พึงทราบว่าเป็นอนุโลมญาณ-

ดังที่ท่านกล่าวไว้ในปัฏฐานว่า อนุโลมญาณ ของพระอรหันต์ เป็น

ปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย. อนุโลมญาณ

ของพระเสกขะเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจอนันตร-

ปัจจัย. การออกจากนิโรธย่อมมีด้วยผลใด ผลนั้นย่อมมีในลำดับของ

เนวสัญญานาสัญญายตนะ. ในบทนั้น ผลทั้งหมดที่เหลือเว้นผลอัน

เกิดขึ้นในมรรควิถี ชื่อว่า เป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่งผลสมาบัติ.

ผลนี้เป็นไปแล้วด้วยการเกิดขึ้นในมรรควิถีก็ดี ในผลสมาบัติก็ดี ด้วย

ประการฉะนี้. ท่านกล่าวเป็นคาถาไว้ว่า

ปฏิปฺปสฺสทฺธทรถ อมตารมฺมณ สุภ

วนฺตโลกามิส สนฺต สามญฺผลมุตฺตม.

สามัญผลสูงสุดระงับความกระวนกระวาย

มีอมตะเป็นอารมณ์งาม คายโลกามิสสงบ ดังนี้.

นี้ เป็นผลสมาปัตติกถาในนิทเทสนี้.

๑. อภิ. ปฏฺาน. ๔๐/๕๐๙.

๒. อภิ. ปฏฺาน. ๔๐/๕๑๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 732

บทว่า ตทชฺฌุเปฺขิตฺวา - วางเฉยสังขารุเบกขานั้น ได้แก่

วางเฉยสังขารุเบกขานั้น ด้วยวิปัสสนาญาณเช่นนั้นอย่างหนึ่ง. ในบท

มีอาทิว่า สุญฺตวิหาเรน วา - ด้วยสุญญฺตวิหารสมาบัติ มีความดังต่อ

ไปนี้ การอยู่ด้วยวิปัสสนา ๓ ของพระอรหันต์ผู้ประสงค์จะอยู่ด้วย

วิปัสสนาวิหารเว้นผลสมาบัติ เห็นความยึดมั่นตนโดยความน่ากลัว จึง

น้อมไปใน สุญญตวิหาร เห็นความเสื่อมในสังขารุเบกขา ชื่อว่า

สุญญตวิหาร.

การอยู่ด้วยวิปัสสนา ๓ ของท่านผู้เห็นสังขารนิมิต โดยความ

น่ากลัวแล้วน้อมไปใน อนิมิตตวิหาร เห็นความเสื่อมในสังขารุเบกขา

ชื่อว่า อนิมิตตวิหาร. การอยู่ด้วยวิปัสสนา ๓ ของท่านผู้เห็นความ

ตั้งมั่นในตัณหา โดยความน่ากลัวแล้วน้อมไปใน อัปปณิหิตวิหาร เห็น

ความเสื่อมในสังขารุเบกขา ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร. ดังที่ท่านกล่าวไว้

ข้างหน้าว่า

พระโยคาวจร เมื่อเห็นความยึดมั่นสังขาร

นิมิต โดยความน่ากลัวถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็น

ความเสื่อม เพราะมีจิตน้อมไปในสุญญตนิพพาน

ชื่อว่า สุญญตวิหาร. เมื่อเห็นนิมิต โดยความ

น่ากลัวถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะ

มีจิตน้อมไปในอนิมิตตนิพพาน ชื่อว่า อนิมิตต-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 733

วิหาร. เมื่อเห็นปณิธิ โดยความน่ากลัว ย่อม

เห็นความเสื่อมถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม

เพราะมีจิตน้อมไปในอัปปณิหิตนิพพาน ชื่อว่า

อัปปณิหิตวิหาร.

จิตของพระอรหันต์นั่นแล ย่อมเป็นไปในอำนาจโดยอาการทั้งปวง โดย

ความมีฉฬังคุเบกขา และโดยมีวิหารธรรมมีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่า

ไม่เป็นปฏิกูลเป็นต้น, จากนั้นท่านอธิบายว่า วิปัสสนาวิหารย่อมสำเร็จ

แก่พระอรหันต์เท่านั้น.ในบทนี้ว่า วีตราโค สงฺขารุเปกฺข วิปสฺสติ -

ผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเบกขา มีความว่า วิปัสสนายังไม่

ถึงภัย ๓ อย่าง และอธิมุตติ ๓ อย่าง พึงทราบว่า เป็นวิปัสสนาสิ้น

เชิง. เมื่อเป็นอย่างนั้นย่อมมีความวิเศษทั้งก่อนและหลัง.

บัดนี้ พระสารีบุตรประสงค์จะแสดงประเภทของความเป็นอัน

เดียวกันและความต่างกันแห่งสังขารุเบกขา ด้วยสามารถบุคคล ๒ - ๓

ประเภท จึงกล่าวบทมีอาทิว่า กถ ปุถุชฺชนสฺส จ เสกฺขสฺส.

ในบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตสฺส อภินีหาโร เอกตฺต โหติ -

ความน้อมไปแห่งจิตเป็นอย่างเดียวกัน คือ เป็นอันเดียวกัน. พึงทราบ

ว่า เป็น ภาววจนะ ลงใน สกัตถะ. ท่านกล่าวว่า อิทปฺปจฺจยตา

ก็เหมือน อิทปฺปจฺจยา. เอกตฺต ก็คือ เอโก นั่นเอง.

๑. ขุ. ปะ. ๓๑/๒๐๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 734

บทว่า อภินิหาโร เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งฉัฏฐิ

วิภัตติ. คือ อภินิหารสฺส - แห่งความน้อมไป. พึงทราบว่า ท่านทำ

เป็นวิภัตติวิปลาส ดุจในบทว่า โส เทโส สมฺมชฺชิตฺวา - กวาดที่

พื้นที่นั้น.

บทว่า จิตฺต กิลิสฺสติ - จิตเศร้าหมอง ได้แก่ จิตเศร้าหมอง

ด้วยกิเลส คือ โลภะได้ในบทว่า วิปสฺสนานิก เป็นข้าศึกแห่งวิปัสสนา

อธิบายว่า ทำให้เดือดร้อนทำให้ลำบาก.

บทว่า ภาวนาย ปริปนฺโถ โหติ - มีอันตรายแห่งภาวนา ได้แก่

กำจัดวิปัสสนาภาวนาที่ได้แล้ว.

บทว่า ปฏิเวธสฺส อนฺตราโย โหติ - มีอันตรายแห่งปฏิเวธ

ได้แก่ เป็นอันตรายแก่การได้สัจปฏิเวธที่ควรได้ด้วยวิปัสสนาภาวนา.

บทว่า อายตึ ปฏิสนฺธิยา ปจฺจโย โหติ - มีปัจจัยแห่งปฏิสนธิ

ต่อไป ความว่า เมื่อกรรมนั้นให้สุคติปฏิสนธิ เพราะกรรมสัมปยุต

ด้วยสังขารุเบกขามีกำลัง กิเลส คือโลภะ กล่าวคือ ความยินดีมีปัจจัย

แห่งสุคติปฏิสนธิ เป็นกามาวจรในอนาคต เพราะกรรมมีกิเลสเป็น

สหาย ย่อมยังวิบากให้เกิด. ฉะนั้น กรรมจึงเป็นชนกปัจจัย. กิเลส

เป็นอุปถัมภกปัจจัย.

อนึ่ง บทว่า อุตฺตริปฏิเวธสฺส - แห่งปฏิเวธในมรรคชั้นสูง

ได้แก่ สัจปฏิเวธด้วยอำนาจสกทาคามิมรรคเป็นต้นของพระเสกขะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 735

บทว่า อายตึ ปฏิสนฺธิยา ปจฺจโย โหติ พึงทราบว่า กิเลส

คือ ความพอใจเป็นปัจจัยแห่งทุคติปฏิสนธิเป็นกามาวจร อันกรรม คือ

สังขารุเบกขาให้แก่ฌานในพระเสกขะทั้งหลาย ที่เป็นพระโสดาบันและ

พระสกทาคามียังไม่บรรลุ. ไม่เป็นปัจจัยแก่ผู้ได้ฌานและแก่พระอนา-

คามี ตั้งแต่ปฏิสนธิในพรหมโลก, กิเลสนี้แหละเป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิ

อันโคตรภูที่เป็นอนุโลมให้.

บทว่า อนิจฺจโต ชื่อว่าโดยความไม่เที่ยง เพราะอรรถว่ามีแล้ว

ไม่มี เพราะมีความไม่เที่ยงเป็นที่สุด เพราะความมีเบื้องต้นและความมี

ที่สุด.

บทว่า ทุกฺขโต ชื่อว่าโดยความเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า

บีบคั้นบ่อย ๆ เพราะบีบคั้นด้วยความเกิดและความเสื่อม และเพราะ

เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์.

บทว่า อนตฺตโต ชื่อว่าโดยความเป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า

ไม่เป็นไปในอำนาจ เพราะอาศัยปัจจัยเป็นไป และเพราะไม่มีสามี-

เจ้าของไม่มีนิวาสี - ผู้อาศัยอยู่เป็นนิตย์ ไม่มีการก - ผู้ทำและเวทกะ

- ผู้เสวย.

บทว่า อนุปสฺสนฏฺเน - โดยสภาพแห่งการพิจารณา ได้แก่

โดยสภาพแห่งการ โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นตาม ๆ กัน.

บทว่า อภินีหาโร นานตฺต โหติ พึงทราบว่า การน้อมจิต

ไปต่างกัน หรือ ความต่างกันแห่งการน้อมจิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 736

บทว่า กุสลา ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่าไม่มีโรค เพราะ

อรรถว่าไม่มีโทษ และเพราะอรรถว่าเป็นความฉลาด.

บทว่า อพฺยากตา คือ พยากรณ์ไม่ได้ว่าเป็นกุศล หรือ

อกุศล.

บทว่า กิญฺจิกาเล สุวิทิตา - ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย ได้แก่

ปรากฏด้วยดีในกาลแห่งวิปัสสนา.

บทว่า กิญฺจิกาเล น สุวิทิตา - ไม่ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย

คือ ไม่ปรากฏด้วยดีในกาลแห่งความพอใจ.

บทว่า อจฺจนฺต สุวิทิตา - ปรากฏดีโดยส่วนเดียว ได้แก่

ปรากฏดีโดยส่วนเดียว เพราะละความพอใจได้แล้ว.

ในบทนี้ว่า วิทิตฏฺเน จ อวิทิตฏฺเน จ - โดยสภาพที่ปรากฏ

และโดยสภาพที่ไม่ปรากฏ มีความว่า พระเสกขะที่เป็นปุถุชนมีสภาพ

ปรากฏดีแล้วก็ดี พระเสกขะปราศจากราคะ มีสภาพปรากฏดีโดยส่วน

เดียวก็ดี ชื่อว่า เป็นผู้ปรากฏแล้ว, แม้ทั้งสองมีสภาพปรากฏไม่ดี ก็

ชื่อว่า มีสภาพปรากฏไม่ดีนั่นแล.

บทว่า อติตฺตตฺตา - เพราะยังไม่เสร็จกิจ ได้แก่ เพราะยังไม่

เสร็จกิจที่ควรทำแห่งวิปัสสนา คือยังไม่ประณีต. ชื่อว่า ติตฺตตฺตา

เพราะตรงข้ามกับ บทว่า อติตฺตตฺตา นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 737

บทว่า ติณฺณ สญฺโชนาน ปหานาย - เพื่อละสังโยชน์ ๓

ได้แก่ เพื่อละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส. พระโพธิสัตว์

แม้มีภพสุดท้ายก็ยังสงเคราะห์เข้าในบทนี้เหมือนกัน. แต่สัตว์ผู้ยังไม่มี

ภพสุดท้ายยังวิปัสสนาให้ถึงสังขารุเบกขาตั้งอยู่.

บทว่า โสตาปตฺติมคฺค ปฏิลาภตฺถาย - เพื่อต้องการได้โสดา-

ปัตติมรรค อาจารย์ทั้งหลายไม่กล่าวย่อไว้. กล่าวย่อไว้ดีกว่า.

บทว่า เสกฺโข ติณฺณ สญฺโชนาน ปหีนตฺตา ท่านกล่าว

โดยความเสมอกันแห่งพระโสดาบัน พระสกทาคามีและพระอนาคามี

จริงอยู่ สังโยชน์เหล่านั้น มีพระสกทาคามีและพระอนาคามี ก็ละ

ได้แล้ว.

บทว่า อุตฺตริปฏิลาภตฺถาย - คือ เพื่อต้องการได้มรรคชั้นสูง ๆ.

บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหารตฺถาย - เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขใน

ปัจจุบัน ได้แก่ เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน คือ ในอัตภาพที่

ประจักษ์.

บทว่า วิหารสมาปตฺตฏฺเน - โดยสภาพแห่งวิหารสมาบัติ

ได้แก่ โดยสภาพแห่งผลสมาบัติของพระเสกขะ. โดยสภาพแห่งผล

สมาบัติ อันเป็นวิปัสสนาวิหารของท่านผู้ปราศจากราคะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 738

บัดนี้ พระสารีบุตรเพื่อแสดงการกำหนดด้วยการคำนวณของ

สังขารุเบกขา จึงกล่าวบทมีอาทิว่า กติ สงฺขารุเปกฺขา - สังขารุเบกขา

เท่าไร ?

ในบทเหล่านั้น บทว่า สมถวเสน คือ ด้วยสามารถสมาธิ

อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะนี้เหมือนกัน.

บทว่า นีวรเณ ปฏิสงฺขา - ปัญญาพิจารณานิวรณ์ ได้แก่

กำหนดโดยความที่ควรละนิวรณ์ ๕.

บทว่า สนฺติฏนา - การดำรงไว้ ได้แก่ การดำรงไว้เพราะ

ความเป็นกลาง ด้วยการเข้าถึงความไม่ขวนขวายในการละนิวรณ์เหล่า-

นั้น เพราะมุ่งแต่จะละนิวรณ์เหล่านั้น.

บทว่า สงฺขารุเปกฺขาสุ คือ ในการวางเฉยสังขาร อันกล่าวคือ

นิวรณ์ ด้วยการไม่ทำความขวนขวายในการละนิวรณ์ทั้งหลาย ในวิตก

วิจารเป็นต้น และในอุปาทะเป็นต้นก็มีนัยนี้. ญาณสำเร็จด้วยภาวนา

อันมีกำลังในส่วนเบื้องต้นอันใกล้ด้วยอัปปนาวิถี ในสมถะ ชื่อว่า

สังขารุเบกขา.

ในบทมีอาทิว่า โสตาปตฺติมคฺค ปฏิลาภตฺถาย - เพื่อได้โสดา-

ปัตติมรรค คือ เป็นอันได้มรรคอย่างใดอย่างหนึ่งในสุญญตมรรค

อนิมิตตมรรคและอัปปณิหิตมรรค ในมรรควาร ๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 739

ในบทมีอาทิว่า โสตาปตฺติผลสมาปตฺตตฺถาย - เพื่อต้องการได้

โสดาปัตติผลสมาบัติ พึงทราบผลสมาบัติอันเป็นอัปปณิหิตะในผลวาร ๔.

เพราะเหตุไร ? เพราะท่านกล่าวถึงผลสมาบัติ ๒ เหล่านี้ คือ สุญฺ-

ตวิหารสมาปตฺตถาย - เพื่อต้องการสุญญตวิหารสมาบัติ ๑ อนิมิตฺต-

วิหารสมาปตฺตตฺถาย - เพื่อต้องการอนิมิตตวิหารสมาบัติ ๑ ไว้ต่างหาก

กัน.

พึงทราบอนิมิตตมรรคด้วยการออกจากอนิจจานุปัสนา, พึง

ทราบอนิมิตตผลสมาบัติในกาลแห่งผลสมาบัติ, พึงทราบอัปปณิหิตมรรค

และผลสมาบัติ ด้วยการออกจากทุกขานุปัสสนา, พึงทราบสุญญตมรรค

และผลสมาบัติ ด้วยการออกจากอนัตตานุปัสสนา โดยนัยแห่งพระสูตร

นั่นแล.

อนึ่ง ในมรรควาร ๔ เหล่านี้ ท่านกล่าวถึงบทอันเป็นมูลเหตุ ๕

มีอาทิว่า อุปฺปาท - เกิดขึ้น, บทแห่งไวพจน์ ๑๐ มีอาทิว่า คตึ รวม

เป็น ๑๕ บท. ในผลสมาบัติวาร ๖ ท่านกล่าวบทอันเป็นมูลเหตุ ๕

ไว้.

หากถามว่าเพราะเหตุไร จึงกล่าวไว้อย่างนั้น. แก้ว่า เมื่อ

สังขารุเบกขามีความแก่กล้า เพื่อแสดงถึงความแก่กล้าของสังขารุเบกขา

นั้น เพราะมีมรรคสามารถในการละกิเลส ท่านจึงกล่าวบทอันเป็นมูล

เหตุทำให้มั่นกับบทอันเป็นไวพจน์. เพื่อแสดงว่าสังขารุเบกขา แม้อ่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 740

ก็เป็นปัจจัยแก่ผล เพราะความที่ผลมีสภาพสงบโดยความที่หมดความ

อุตสาหะ และเพราะเป็นที่อาศัยของมรรค พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึง

บทอันเป็นมูลเหตุเท่านั้น.

บัดนี้ พระสารีบุตร ครั้นถามด้วยชาติแล้ว เพื่อจะแก้ด้วยการ

ได้ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า กติ สงฺขารุเปกฺขา กุสลา - สังขารุเบกขา

เป็นกุศลเท่าไร ?

ในบทนั้น บทว่า ปณฺณฺรส สงฺขารุเปกฺขา - สังขารุเบกขา

เป็นกุศล มี ๑๕ ได้แก่ ด้วยสมถะ ๘ และด้วยมรรค ๔ ผล ๓

เป็น ๗ รวมเป็น ๑๕. สังขารุเบกขา ๘ ด้วยสามารถสมถะไม่สมควร

แก่ธรรมชื่อว่า สังขารุเบกขา เพราะพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณานิวรณ์

และเพราะเว้นความขวนขวายในการละวิตกวิจารเป็นต้น เป็นการละได้

โดยง่าย เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่าท่านไม่กล่าวความที่สังขารุเบกขา

เหล่านั้น เป็นอัพยากฤต. อนึ่ง พระอรหันต์ผู้เข้าผลสมาบัติ ไม่สามารถ

เข้าสมาบัติ เว้นสังขารุเบกขาได้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวสังขา-

รุเบกขา ๓ ว่าเป็นอัพยากฤต. จริงอยู่ ชื่อว่า สังขารุเบกขา ๓ ของ

พระอรหันต์ย่อมมีด้วยสามารถอัปปณิหิตะ สุญญตะ และอนิมิตตะ.

บัดนี้ พึงทราบความในคาถาทั้งหลาย ๓ ที่ท่านกล่าวแล้วด้วย

การพรรณนาถึงสังขารุเบกขา ดังต่อไปนี้.

บทว่า ปฏิสงฺขา สนฺติฏฺนา ปญฺา - ปัญญาที่พิจารณา

หาทางแล้ววางเฉย ได้แก่ สังขารุเบกขา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 741

บทว่า อฏฺ จิตฺตสฺส โคจรา - เป็นโคจรของสมาธิ ๘ ความ

ว่า ท่านกล่าวถึงสังขารุเบกขา ๘ เป็นวิสยะคือภูมิของสมาธิ ด้วย

สามารถสมถะ. ท่านอธิบายถึง สมาธิ ด้วยหัวข้อว่า จิต ดุจใน

ประโยคมีอาทิว่า จิตฺต ปญฺญฺจ ภาวย - เจริญสมาธิและปัญญา,

ท่านอธิบาย วิสยะ ด้วย โคจร ศัพท์ ดุจในประโยคมีอาทิว่า โคจเร

ภิกฺขเว จรถ สเก เปตฺติกา วิสเย - เจริญสมาธิและปัญญา,

จงเที่ยวไปในโคจร อันเป็นถิ่นที่อยู่บิดาตน. ท่านกล่าวว่า นี้เป็นโคจร

ของผู้อาศัย. บทว่า ปุถุชฺชนสฺส เทวฺ - โคจรภูมิของปุถุชน ๒ คือด้วย

สามารถแห่งสมถะและวิปัสสนา. บทว่า ตโย เสกฺขสฺส - โคจรของ

พระเสกขะ ๓ ได้แก่ ด้วยสามารถแห่งสมถะ วิปัสสนาและสมาบัติ.

บทว่า ตโย จ วีตราคสฺส - โคจรของผู้ปราศจากราคะ ๓ ได้แก่

ด้วยสามารถแห่งผลสมาบัติอันเป็นอัปปณิหิตะ สุญญตะ และอนิมิตตะ.

ควรกล่าวว่า ติสฺโส ท่านทำเป็นลิงควิปลาสว่า ตโย. หรือพึง

ประกอบว่า ตโย สงฺขารุเปกฺขา ธมฺมา - ธรรม คือ สังขารุเบกขา

๓ อย่าง.

บทว่า เยหิ จิตฺต วิวฏฺฏติ - จิตปราศจากราคะหลีกไป ความว่า

จิตหลีกไปจากวิตกวิจารเป็นต้นด้วยธรรม คือ สังขารุเบกขา, หรือจาก

๑. ส. ส. ๑๕/๑๖. ๒. ส. มหา. ๑๙/๗๐๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 742

อุปทะเป็นต้น. ท่านอธิบายว่า เพราะแม้ผู้ปราศจากราคะก็ยังมีสังขา-

รุเบกขาจิตหลีกจากสังขารแล่นไปสู่นิพพาน

บทว่า อฏฺ สมาธิสฺส ปุจฺจยา - เป็นปัจจัยแห่งสมาธิ ๘ คือ

ปัจจัย ๘ ท่านกล่าวด้วยสามารถสมถะเป็นปัจจัยแก่อัปปนาสมาธิ เพราะ

ให้ถึงอัปปนา.

บทว่า ทส าณสฺส โคจรา - เป็นโคจรแห่งญาณ ๑๐ คือ

เป็นภูมิ ๑๐ แห่งมรรคญาณ และผลญาณ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่ง

วิปัสสนา.

บทว่า ติณฺณ วิโมกฺขาย ปจฺจยา - เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓

คือ เป็นปัจจัยแห่งสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ และอัปปณิหิตวิโมกข์

ด้วยอุปนิสสยปัจจัย.

บทว่า นานาทิฏฺีสุ น กมฺปติ - ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิ

ต่าง ๆ ได้แก่ ไม่สละความดับแล้วพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลาย โดย

ความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมไม่หวั่นไหวในทิฏฐิมีประการต่างๆ

มีสัสสตทิฏฐิเป็นต้น.

จบ อรรถกถาสังขารุเบกขาญาณนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 743

โคตรภูญาณนิทเทส

[๑๓๖] ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก

เป็นโคตรภูญาณอย่างไร ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่าครอบงำความเกิด

ขึ้น ครอบงำความเป็นไป ครอบงำนิมิต ครอบงำกรรมเครื่องประมวล

มา ครอบงำปฏิสนธิ ครอบงำคติ ครอบงำความบังเกิด ครอบงำอุบัติ

ครอบงำชาติ ครอบงำชรา ครอบงำพยาธิ ครอบงำมรณะ ครอบงำ

ความเศร้าโศก ครอบงำความรำพัน ครอบงำความคับแค้นใจ ครอบงำ

สังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า แล่นไปสู่นิพพาน

อันไม่มีความเกิดขึ้น ฯลฯ แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภู

เพราะอรรถว่า ครอบงำความเกิดขึ้นแล้ว แล่นไป ู่นิพพานอันไม่มี

ความเกิดขึ้น ครอบงำความเป็นไปแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มี

ความเป็นไป ฯลฯ ครอบงำสังขารนิมิตภายนอกแล้ว แล่นไปสู่นิพ-

พานอันเป็นที่ดับ.

[๑๓๗] ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ออกจากความเกิดขึ้น

ออกจากความเป็นไป... ออกจากสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภู

เพราะอรรถว่าแล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น แล่นไปสู่นิพพาน

อันไม่มีความเป็นไป ฯลฯ แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภู

เพราะอรรถว่า ออกจากความเกิดขึ้นแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 744

ความเกิดขึ้น ออกจากความเป็นไปแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความ

เป็นไป ออกจากสังขารนิมิตภายนอกแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่

ดับ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า หลีกออกจากความเกิดขึ้น หลีก

ออกจากความเป็นไป ฯลฯ หลีกออกจากสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่า

โคตรภู เพราะอรรถว่า แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น แล่น

ไปสู่นิพพานอันไม่มีความเป็นไป ฯลฯ แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ

ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า หลีกออกจากความเกิดขึ้นแล้ว แล่นไป

สู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น ออกจากความเป็นไปแล้ว แล่นไปสู่

นิพพานอันไม่มีความเป็นไป ฯลฯ หลีกออกจากสังขารนิมิตภายนอก

แล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ.

[๑๓๘] โคตรภูธรรมเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะ

โคตรภูธรรมเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งจะวิปัสสนา ? โคตรภู

ธรรม ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะ โคตรภูธรรม ๑๐ ย่อมเกิด

ขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา.

[๑๓๙] โคตรภูธรรม ๘ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจ

แห่งสมถะ ?

ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ครอบงำนิวรณ์เพื่อได้ปฐมฌาน ๑

ครอบงำวิตกและวิจารเพื่อได้ทุติยฌาน ๑ ครอบงำปีติเพื่อได้ตติยฌาน ๑

ครอบงำสุขและทุกข์เพื่อได้จตุตถฌาน ๑ ครอบงำรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 745

นานัตตสัญญาเพื่อได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ๑ ครอบงำอากาสานัญ-

จายตนสัญญาเพื่อได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ครอบงำวิญญานัญ-

จายตนสัญญาเพื่อได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ ๑ ครอบงำอากิญจัญญา-

ยตนสัญญาเพื่อได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ โคตรภูตธรรม ๘ นี้

ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะ.

[๑๔๐] โคตรภูตธรรม ๑๐ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจ

แห่งวิปัสสนา ?

ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็น

ไป นิมิตกรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ

ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความเศร้าโศก ความร่ำไร ความคับแค้นใจ

สังขารนิมิตภายนอกเพื่อได้โสดาปัตติมรรค ๑ ครอบงำความเกิดขึ้น

ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ เพื่อโสดาปัตติ-

ผลสมาบัติ ๑ ฯลฯ เพื่อได้สกทาคามรรค ๑ เพื่อสกทาคามิผลสมาบัติ

๑ เพื่อได้อนาคามิมรรค ๑ เพื่ออนาคามิผลสมาบัติ ๑ ครอบงำความ

เกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ

ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความเศร้าโศก ความ

ร่ำไร ความคับแค้นใจ สังขารนิมิตภายนอก เพื่อได้อรหัตมรรค ๑

ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 746

ปฏิสนธิ เพื่ออรหัตผลสมาบัติ ๑ เพื่อสุญญตวิหารสมาบัติ ๑ และเพื่อ

สมาบัติ ๑ โคตรภูธรรม ๑๐ นี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา.

[๑๔๑] โคตรภูธรรมเป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็น

อัพยากฤตเท่าไร ? โคตรภูธรรมเป็นกุศล ๑๕ เป็นอัพยากฤต ๓ เป็น

อกุศลไม่มี.

[๑๔๒] โคตรภูญาณ ๘ คือ โคตรภูญาณที่มีอามิส

๑ ไม่มีอามิส ๑ มีที่ตั้ง ๑ ไม่มีที่ตั้ง ๑ เป็น

สุญญตะ ๑ เป็นวิสุญญตะ ๑ เป็นวุฏฐิตะ ๑ เป็น

อวุฏฐิตะ ๑ เป็นปัจจัยแห่งสมาธิ โคตรภูญาณ ๑๐

เป็นโคตรแห่งวิปัสสนาญาณ โคตรภูธรรม ๑๘

เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓ โคตรภูธรรมมีอาการ ๑๘

นี้ พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา พระโยคา-

วจรเป็นผู้ฉลาดในโคตรภูญาณ อันเป็นเครื่องหลีก

ไปและในโคตรภูญาณ อันเห็นเครื่องออกไป ย่อม

ไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ ฉะนี้แล.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไป และ

หลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก เป็นโคตรภูญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 747

อรรถกถาโคตรภูญาณนิทเทส

[๑๓๖-๑๔๐] พึงทราบวินิจฉัยในโคตรภูญาณนิทเทสดังต่อไป

นี้.

บทว่า อภิภุยฺย - ครอบงำ คือ ย่อมครอบงำ ย่อมก้าวล่วง.

บทว่า พหิทฺธา สงฺขารนิมิตฺต - สังขารนิมิตภายนอก ได้แก่

สังขารนิมิต อันเป็นภายนอกจากกุศลขันธ์อันเป็นไปแล้วในสันดานของ

ตน. จริงอยู่ สังขารอันเป็นโลกิยะท่านกล่าวว่า เป็นนิมิต เพราะเป็น

เครื่องหมายแห่งกิเลสทั้งหลาย, หรือ เพราะตั้งขึ้นด้วยอาการของนิมิต.

บทว่า อภิภุยฺยตีติ โคตรภู - ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ

ท่านกล่าวถึงความเป็นโคตรภู เพราะครอบงำโคตรของปุถุชน.

บทว่า ปกฺขนฺทตีติ โคฺตรภู - ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่าแล่น

ไป คือ ท่านกล่าวถึงความเป็นโคตรภู เพราะความเกิดขึ้นแห่งโคตร

พระอริยะ.

บทว่า อภิภุยฺยิตฺวา ปกฺขนฺทตีติ โคตรภู - ชื่อว่าโคตรภู

เพราะครอบงำแล้วแล่นไป คือ ท่านกล่าวย่อความทั้งสอง.

บทว่า วุฏฺาตีติ โคตรภูติ จ วิวฏฺฏตีติ โคตรภู จ -

ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่าออกไป และเพราะอรรถว่าหลีกไป คือ

ท่านกล่าวถึงอรรถ คือ ความครอบงำโคตรปุถุชนโดยสมควรแก่บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 748

วุฏฐานะ - การออก วิวัฏฏนะ - การหลีกไปแห่งมาติกา. พึงทราบ

อรรถว่า ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำโคตรมีนิวรณ์เป็นต้น แห่งโคตรภู

ดังกล่าวแล้วด้วยสมถะ, ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำโคตรมีความเกิด

เป็นต้น ในสมาบัติวาร ๖ มีอาทิว่า โสตาปตฺติผลสมาปตฺตตฺถาย-

เพื่อต้องการโสดาปัตติผลสมาบัติ, ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำโคตร

มีโสดาบันเป็นต้น.

ในมรรควาร ๓ มีอาทิว่า สกทาคานิมคฺคปฏิลาภตฺถาย -

เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค.

อนึ่ง ในบทว่า โคตฺรภู นี้ มีอรรถว่าโคตร และมีอรรถว่า

พืช. นัยว่าในอัตตนิปกรณ์ ท่านกล่าว นิพพาน ว่า โคตฺต - โคตร

เพราะคุ้มครองจากอันตรายทั้งปวง ชื่อว่าโคตรภู เพราะดำเนินไปสู่

นิพพานนั้น, แม้สมาบัติ ๘ ก็ชื่อว่า โคตฺต - โคตร เพราะคุ้มครอง

จากอันตรายของโคตรภู, โคตรนั้นท่านกล่าวว่า โคตรภู เพราะดำเนิน

ไปสู่โคตร.

อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า โคตรภูแห่งมรรค ๔ มีนิพพานเป็น

อารมณ์, โคตรภูแห่งผลสมาบัติ มีสังขารเป็นอารมณ์ เพราะน้อมไป

ในผลสมาบัติ. ดังที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า จิต ของพระโย-

คาวจร ผู้เห็นแจ้งตามลำดับอันเป็นไปแล้วนั้น ย่อมเอิบอิ่มในนิโรธด้วย

สามารถแห่งผลสมาบัติในระหว่างโคตรภูญาณมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 749

เหตุนั้นแลในมรรควารนี้ พึงทราบว่า ท่านทำจิตที่ ๑๖ แล้วถือเอาจิต

ที่ ๖ ในสมาบัติวารแห่งบทสังขารนิมิตภายนอกที่ถือเอาแล้ว จึงไม่ถือ

เอา. โดยประการนอกนี้ พึงถือเอาการถือบทอันเป็นมูลเหตุ.

[๑๔๑] ก็อาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า การผูกใจครั้งแรกในนิพพาน

เป็นการรวบรวมครั้งแรก นี้ท่านกล่าวว่าโคตรภู. โคตรภูหมายถึงผลนั้น

ไม่ถูก.

ในบทนี้ว่า ปณฺณรส โคตรภูขธมฺม กุสลา -โคตรภูธรรม

เป็นกุศล ๑๕ พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ ชื่อว่าโคตรภูย่อมไม่สมควร

แก่พระอรหันต์ เพราะไม่มีนิวรณ์อันควรครอบงำ เพราะวิตกวิจาร

เป็นต้น พึงละได้ง่าย และเพราะอรรถว่าครอบงำ เพราะเหตุนั้นพึง

ทราบว่าท่านทำไว้แล้วไม่กล่าวถึง เพราะโคตรภูเป็นอัพยากฤต. อนึ่ง

พระอรหันต์ผู้เข้าผลสมาบัติ ไม่สามารถครอบงำสังขารเข้าสมาบัติได้

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า โคตรภูธรรมเป็นอัพยากฤตมี ๓. แต่

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สมาบัติ ๘ เป็นไปในส่วนแห่งการแทงตลอด

ด้วยสามารถ อริยมรรคที่ท่านชี้แจงไว้แล้วในที่นี้, เพราะฉะนั้นโคตรภู

แห่ง สมาบัติ ๘ จึงเป็นกุศล. อนึ่ง พึงทราบแม้ในสังขารุเปกขาญาณ

อย่างนั้น.

[๑๔๒ ] พึงทราบอธิบายความในคาถามีอาทิว่า สามิสญฺจ ดัง

ต่อไปนี้. บรรดาวัฏฏามิส โลกามิส กิเลสามิสทั้งหลาย โคตรภูญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 750

อามิสด้วยโลกามิส เพราะยังมีความอยาก. นั่นคืออะไร ? คือ สมถ-

โคตรภูญาณ ๘ อย่าง. บทว่า วฏฺฏามิส ในที่นี้ ได้แก่ วัฏฏะเป็นไป

ในภูมิ ๓ นั่นเอง. บทว่า โลกามิส ได้แก่ กามคุณ ๕. บทว่า

กิเลสามิส ได้แก่ กิเลสทั้งหลายนั่นเอง. บทว่า นิรามส ได้แก่

วิปัสสนาโคตรภูญาณ ๑๐ อย่าง เพราะไม่มีความอยาก. จริงอยู่ พระ-

อริยะทั้งหลายไม่ทำความอยากในโคตรภู. ในคัมภีร์อาจารย์ทั้งหลาย

เขียนไว้ว่า สามิสญฺเจ นั่นไม่ดีเลย.

พึงทราบ ปณิหิตะ อัปปณิหิตะ, สัญญุตตะ วิสัญญุตตะ,

วุฏฐิตะ อวุฏฺฐิตะ ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า ปณิหิตะ คือ ความปรารถนา

เพราะตั้งอยู่ในความใคร่. ชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะไม่มีที่ตั้ง. ชื่อว่า

สัญญุตตะ เพราะประกอบด้วยความอยาก. ชื่อว่า วิสัญญุตตะ

เพราะไม่ประกอบด้วยความอยาก.

บทว่า วุฏฺิต ได้แก่ โคตรภูญาณอันเป็นวิปัสสนานั่นเอง.

จริงอยู่ โคตรภูญาณนั้น ชื่อว่า วุฏิตะ เพราะตัดความอยาก. นอก

นั้นเป็น อวุฏิตะ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วุฎิตะ เพราะออกไป

ภายนอก. พึงทราบว่า แม้ผลโคตรภูอันเป็นสังขารนิมิตภายนอกก็ชื่อว่า

วุฏิตะ เพราะมุ่งหน้าสู่นิพพานด้วยอัธยาศัยในนิพพาน. พึงทราบว่า

แม้ในวาระแห่งการครอบงำ การออก การหลีกไปในภายหลัง ก็พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 751

ทราบว่า ผลโคตรภู ชื่อว่าย่อมครอบงำ ย่อมออกไป ย่อมหลีกไป

เพราะมุ่งสู่นิพพาน ด้วยอัธยาศัย.

บทว่า ติณฺณ วิโมกฺขานปจฺจยา - เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓

ได้แก่ สมถโคตรภูเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่โลกุตรวิโมกข์ ๓, วิปัส-

สนาโคตรภูเป็นอนันตระปัจจัย สมนันตรปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย.

บทว่า ปญฺา ยสฺส ปริจฺจิตา - พระโยคาวจรอบรมแล้ว

ด้วยปัญญา คือ ปัญญาอันเป็นส่วนเบื้องต้นอันพระโยคาวจรอบรมแล้ว

คือ สะสมแล้ว.

บทว่า กุสโล วิวฏฺเฏ วุฏฺาเน - พระโยคาวจรเป็นผู้ฉลาด

ในการออกไป ในการหลีกไป คือ เป็นผู้ฉลาด เป็นผู้เฉียบแหลมใน

โคตรภูญาณ อันได้แก่ วิวัฏฎะด้วยความไม่ลุ่มหลงนั่นแล หรือเป็นผู้

ฉลาด ด้วยญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้น.

บทว่า นานาทิฏฺิสุ น กมฺปติ- ย่อมไม่หวั่น เพราะทิฏฐิ

ต่าง ๆ คือ ไม่หวั่นไหวในทิฏฐิมีประการ ๆ ที่ละได้แล้ว ด้วยสุจเฉท.

จบ อรรถกถาโคตรภูญาณนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 752

มรรคญาณนิทเทส

[๑๔๓] ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และ

สังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณอย่างไร ?

ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะ

อรรถว่าเห็น ย่อมออกจากมิจฉาทิฏฐิ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-

ทิฏฐินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย คืออรูปขันธ์ ๔ อันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น

เบญจขันธ์พร้อมด้วยรูปอันมีทิฏฐินั้นเป็นสมุฏฐาน และวิบากขันธ์อันจะ

พึงเกิดขึ้นในอนาคต และจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลสขันธ์ และสังขาร

นิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ

เพราะอรรถว่าดำริออก ย่อมออกจากมิจฉาสังกัปปะ . . . เป็นมรรคญาณ

ญาณชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะอรรถว่ากำหนดเอา ย่อมออกจากมิจฉา-

วาจา...เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะอรรถว่า

เป็นสมุฏฐานย่อมออกจากมิจฉากัมมันตะ . . . เป็นมรรคญาณ ญาณ

ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะอรรถว่าขาวผ่อง ย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ....

เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าประคองไว้

ย่อมออกจากมิจฉาวายามะ...เป็นมรรคญาณ ญาณชื่อว่าสัมมาสติ

เพราะอรรถว่าตั้งมั่นย่อมออกจากมิจฉาสติ. . . เป็นมรรคญาณ ญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 753

ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากมิจฉาสมาธิ

จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจาก

สรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไป

และหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็น

มรรคญาณ.

[๑๔๔] ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ

เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน

ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย

ส่วนหยาบๆ จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์

ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภาย

นอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ.

[๑๔๕] ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ

เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน

ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆา-

นุสัย ส่วนละเอียด ๆ ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธิ

นั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และ

สังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 754

[๑๔๖]ในขณะแห่งอรหัตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะ

อรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ไม่ซ่าน ย่อม

ออกจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย

ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-

สมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และ

สังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ.

[๑๔๗] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลส

ที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตรฌานที่เกิดแล้ว เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวโลกุตรฌานว่าเป็นฌาน

บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหว เพราะทิฏฐิต่าง ๆ

เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์ ถ้า

พระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้ว ย่อมเห็นแจ้ง

ฉันใด ถ้าเมื่อเห็นแจ้งก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดี

ฉันนั้น สมถะแลวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะ

นั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่

ความเห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธ

เป็นสุข ชื่อว่าปัญญาที่ออกจากธรรมทั้งสอง

ย่อมถูกต้องอมตบท พระโยคาวจรผู้ฉลาดใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 755

ความเป็นต่างกัน และความเป็นอันเดียวกัน

แห่งวิโมกข์เหล่านั้น ย่อมรู้วิโมกขจริยา ย่อม

ไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ เพราะความเป็น

ผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง ฉะนี้แล.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและ

หลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ.

อรรถกถามรรคญาณนิทเทส

๑๔๓] พึงทราบวินิจฉัยในมรรคญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้

บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิยา วุฏฺาติ - ออกจากมิจฉาทิฏฐิ คือ ออกจาก

มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ ด้วยสมุจเฉทโดยการละทิฏฐานุสัย คือ ทิฏฐิที่นอนเนื่อง

อยู่ในสันดาน.

บทว่า ตทนุวตฺตกกิเลเสหิ - จากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-

ทิฏฐินั้น ได้แก่ จากกิเลสหลาย ๆ อย่างที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐิอันเกิด

ขึ้น ด้วยสามารถการประกอบกับมิจฉาทิฏฐิ และด้วยอุปนิสัยคือการ

นอนเนื่องในมิจฉาทิฏฐิ. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวถึงการละกิเลสอันตั้ง

อยู่ในที่เดียวกันกับมิจฉาทิฏฐินั้น. จริงอยู่ การตั้งอยู่ในที่เดียวกันมี ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 756

อย่าง. คือ ตั้งอยู่ในที่เดียวกันด้วยเกิดร่วมกัน และตั้งอยู่ที่เดียวกัน

ด้วยการละ, ชื่อว่า ตเทกฏฺา เพราะอรรถว่า ตั้งอยู่ในจิตดวงเดียว

พร้อมกับทิฏฐินั้น, หรือบุคคลคนเดียวตลอดจนละได้. เพราะว่าเมื่อ

ละทิฏฐิได้กิเลสเหล่านี้ คือ โลภะ โมหะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนต-

ตัปปะ อันเกิดร่วมกันกับทิฏฐินั้น ในจิตอันเป็นอสังขาริกะ ๒ ดวง

สัมปยุตด้วยทิฏฐิ, กิเลสเหล่านี้ คือ โลภะ โมหะ ถีนะ อุทธัจจะ

อหิริกะ อโนตตัปปะ อันเกิดร่วมกันกับทิฏฐินั้น ในจิตที่เป็นสสังขา-

ริกะ ๒ ดวง ย่อมละได้ด้วยการตั้งอยู่ในที่เดียวกันด้วยเกิดร่วมกัน.

เมื่อละกิเลสคือทิฏฐิได้ เมื่อบุคคลคนหนึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ

นั้น กิเลสเหล่านี้ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ วิจิกิจฉา ถีนะ

อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อันจะเป็นเหตุไปสู่อบาย ย่อมละได้

ด้วยสามารถการตั้งอยู่ในที่เดียวกันด้วยเกิดร่วมกัน.

บทว่า ขนฺเธหิ ได้แก่ ด้วยขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามทิฏฐิ

นั้น, ด้วยอรูปขันธ์ ๔ อันตั้งอยู่ในที่เดียวกันด้วยเกิดร่วมกัน และด้วย

การ อยู่ในที่เดียวกันด้วยการละอันเป็นไปตามทิฏฐินั้น, หรือด้วย

ขันธ์ ๕ พร้อมกับรูปอันมีทิฏฐินั้นเป็นสมุฏฐาน, ด้วยวิบากขันธ์ อัน

เกิดขึ้นในอนาคต เพราะกิเลสมีมิจฉาทิฏฐิเป็นต้นเป็นปัจจัย.

บทว่า พหิทฺธา จ สพพนิมิตฺเตหิ - จากสรรพนิมิตภายนอก

ได้แก่ จากสังขารนิมิตทั้งปวง อันเป็นภายนอกจากกองกิเลสตามที่กล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 757

แล้ว.

บทว่า มิจฺฉาสงฺกปฺปา วุฏฺาติ - ออกจากมิจฉาสังกัปปะ คือ

ออกจากมิจฉาสังกัปปะในจิต ๕ ดวง คือ ในจิต ๔ ดวง อันสัมปยุต

ด้วยทิฏฐิ และในจิตสหรคตด้วยวิจิกิจฉาอันจะพึงละได้ด้วยโสดาปัตติ-

มรรค และในอกุศลจิตที่เหลืออันเป็นเหตุไปสู่อบาย.

บทว่า มิจฺฉาวาจาย วุฏฺาติ - ออกจากมิจฉาวาจา ได้แก่

ออกจากมุสาวาทและจากปิสุณวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อันเป็น

เหตุไปสู่อบาย.

บทว่า มิจฺฉากกมฺมนฺตา วุฏฺาติ - ออกจากมิจฉากัมมันตะ ได้

แก่ ออกจากปาณาติบาต อทินนาทาน และมิจฉาจาร.

บทว่า มิจฺฉาอาชีวา วุฏฺาติ - ออกจากมิจฉาอาชีวะ ได้แก่

โกหก หลอกลวง ทายลักษณะ เล่นกล ปรารถนาลาภโดยลาภ, อีก

อย่างหนึ่ง ออกจากกายกรรม วจีกรรม แม้ ๗ อย่าง มีอาชีวะเป็นเหตุ.

พึงทราบการออกจากมิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ โดยนัย

กล่าวแล้วในการออกจากมิจฉาสังกัปปะ.

อนึ่ง บทว่า มิจฺฉาสติ ได้แก่ เพียงอกุศลจิตตุปบาทเท่านั้น

อันเกิดด้วยอาการตรงกันข้ามกับสติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 758

พึงทราบวินิจฉัยในหมวด ๓ แห่งมรรคเบื้องสูง ดังต่อไปนี้. องค์

ของมรรค ๘ มีอาทิว่า ทสิสนฏฺเน สมฺมาทิฏฺิ ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ

เพราะอรรถว่าเห็น ย่อมได้เหมือนอย่างได้ในปฐมมรรคอันเกิดในปฐม-

ฌาน.

ในบทเหล่านั้นมีอธิบายดังนี้ สัมมาทิฏฐิในปฐมมรรค ย่อมละ

มิจฉาทิฏฐิ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ. แม้สัมมาสังกัปปะ

เป็นต้น ก็พึงทราบโดยอรรถ คือ การละมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น. เมื่อ

เป็นอย่างนั้นเพราะละทิฏฐิ ๖๒ ได้ในปฐมมรรคนั่นเอง จึงไม่มีทิฏฐิที่

ควรละด้วยมรรค ๓ เบื้องสูง

ในทิฏฐิเหล่านั้นชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร ? เหมือน

ยาพิษมีอยู่ หรือ จงอย่ามี ยาวิเศษท่านก็คงเรียกว่า อคโท อยู่นั่นเอง

ฉันใด, มิจฉาทิฏฐิมิอยู่ หรือ จงอย่ามี นี้ก็ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิฉันนั้นนั่น

แล. นี้เป็นเพียงชื่อต่างกันเท่านั้น, แต่ความไม่มีกิจแห่งสัมมาทิฏฐิ

ย่อมถึงได้ใน ๓ มรรคเบื้องสูง, องค์มรรคก็ไม่บริบูรณ์.

เพราะฉะนั้น พึงทำสัมมาทิฏฐิพร้อมด้วยกิจ. องค์มรรคจึงจะ

บริบูรณ์. พึงแสดงสัมมาทิฏฐิในที่นี้พร้อมด้วยกิจ โดยกำหนดตามมี

ตามได้. มานะอย่างหนึ่ง อันฆ่าด้วยมรรคที่ ๓ เบื้องสูงยังมีอยู่, มานะ

นั้นตั้งอยู่ในฐานะของทิฏฐิ, ทิฏฐินี้ย่อมละมานะนั้นได้ เพราะเหตุ

นั้นจึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 759

จริงอยู่ สัมมาทิฏฐิย่อมละมิจฉาทิฏฐิได้ในโสดาปัตติมรรค. แต่

มานะฆ่าด้วยสกทาคามิมรรคมีอยู่แก่พระโสดาบัน. ทิฏฐินั้นย่อมละ

มานะนั้นได้ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ. ความดำริเกิดพร้อม

กับอกุศลจิต ๗ ดวง มีอยู่แก่จิตดวงนั้น. ความวุ่นวายทางองค์ของวาจา

ย่อมมีอยู่ด้วยจิตเหล่านั้น, ความวุ่นวายทางองค์ของกายมีอยู่. การ

บริโภคปัจจัยมีอยู่, ความพยายามเกิดร่วมกันมีอยู่, ความเป็นผู้ไม่มีสติ

มีอยู่. ความที่จิตมีอารมณ์เดียวเกิดร่วมกันมีอยู่, เหล่านี้ชื่อว่า มิจฉา-

สังกัปปะ เป็นต้น.

พึงทราบว่า สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น ในสกทามิมรรค ชื่อว่า

สัมมาสังกัปปะ เพราะละ มิจฉาสังกัปปะ เหล่านั้นเสียได้. องค์ ๘

พร้อมด้วยกิจย่อมมีได้ในสกทาคามิมรรคด้วยอาการอย่างนี้. มานะที่ฆ่า

ได้ด้วยอนาคามิมรรคย่อมมีแก่พระสกทาคามี, มานะนั้นย่อมตั้งอยู่ใน

ฐานะแห่งทิฏฐิ. สังกัปปะเป็นต้นเกิดร่วมกันกับจิต ๗ ดวง มีอยู่แก่

พระสกทาคามีนั้น.

พึงทราบความที่องค์ ๘ พร้อมด้วยกิจมีอยู่ ในอนาคามิมรรค

ด้วยการละจิตเหล่านั้น. มานะที่ฆ่าด้วยอรหัตมรรค ย่อมมีอยู่แก่พระ-

อนาคามี, มานะนั้นตั้งอยู่ในฐานะแห่งทิฏฐิ. สังกัปปะเป็นต้น เกิด

ร่วมกันกับอกุศลจิต ๕ ดวงเหล่านั้นย่อมมีแก่มานะนั้น. พึงทราบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 760

ความที่องค์ ๘ พร้อมด้วยกิจในอรหัตมรรค ด้วยการละอกุศลจิตเหล่า

นั้น.

[๑๔๔] บทว่า โอฬาริกา คือ เป็นส่วนหยาบ เพราะความ

เป็นปัจจัยแห่งการก้าวล่วง กายทวาร และวจีทวาร.

บทว่า กามราคสญฺโชนา คือ สังโยชน์กล่าวคือความยินดี

ในเมถุน. เพราะกามราคะนั้นย่อมประกอบสัตว์ไว้ในกามภพ เพราะ

เหตุนั้นท่านจึงกล่าว สัญโญชนะ.

บทว่า ปฏิฆสญฺโชนา ได้แก่ สังโยชน์ คือ พยาบาท เพราะ

พยาบาทนั้น ย่อมเบียดเบียนอารมณ์ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ปฏิฆะ. สังโยชน์เหล่านั้นย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดาน ด้วยอรรถว่า

รุนแรง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อนุสยา.

[๑๔๕] บทว่า อณุสหคตา ได้แก่ ส่วนละเอียดๆ. สหคต

ศัพท์ ในบทนี้ลงในความเป็นอย่างนั้น. จริงอยู่ กามราคะและพยาบาท

ของพระสกทาคามี มีเป็นด้วนน้อยด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ เพราะ

เกิดน้อย และเพราะครอบงำไว้ในที่นี้น้อย. กิเลสทั้งหลายย่อมไม่เกิด

ขึ้นบ่อยๆ เหมือนกิเลสของพาลปุถุชน, ย่อมเกิดเป็นบางครั้งบางคราว.

เมื่อเกิดย่อมไม่เกิดย่ำยี ซ่านไปปกปิดทำให้มืดมิดเหมือนของคนพาล.

แต่เกิดขึ้นอ่อน ๆ มีอาการเบาบางเพราะละได้ด้วยมรรค ๒, ไม่สามารถ

ให้ถึงการก้าวล่วงไปได้. ละกิเลสเบาบาง ได้ด้วยอนาคามิมรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 761

[๑๔๖]บทว่า รูปราคา ได้แก่ ความพอใจยินดีในรูปภพ,

บทว่า อรูปราคา ความพอใจยินดีใจในอรูปภพ. บทว่า มานา ได้แก่

มีลักษณะยกตน. บทว่า อุทฺธจฺจา - มีลักษณะไม่สงบ.

บทว่า อวิชฺชาย - มีลักษณะบอด. บทว่า ภวราคานุสยา ได้

แก่ นอนเนื่องอยู่ในภวราคะอันเป็นไปด้วยรูปราคะและอรูปราคะ.

[๑๔๗]บัดนี้ พระสารีบุตรเมื่อจะพรรณนาถึงมรรคญาณ จึง

กล่าวบทมีอาทิว่า อชาต ฌาเปติ ดังนี้.

ในบทนั้น หลายบทว่า อชาต ฌาเปติ ชาเตน, ฌาน เตน

ปวุจฺจติ - ย่อมเผากิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตรฌานที่เกิดแล้ว เพราะ

เหตุนั้นท่านจงกล่าวว่าเป็นฌาน ความว่า สมังคีบุคคลย่อมเผา คือ

ทำลาย ตัดกิเลสนั้น ๆ ที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตระนั้น ๆ อันปรากฏ

ในสันดานของตน, ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวโลกุตระนั้นว่าเป็นฌาน.

บทว่า ฌานวิโมกเข กุสลตา - เพราะความเป็นผู้ฉลาดใน

ฌานและวิโมกข์ ความว่า สมังคีบุคคลย่อมไม่หวั่นไหวในทิฏฐิต่าง ๆ

ที่ละได้แล้วด้วยปฐมมรรค เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานมีวิตกเป็น

ต้น อันสัมปยุตด้วยอริยมรรคนั้น และในอริยมรรคอันได้แก่วิโมกข์

ด้วยความไม่ลุ่มหลง. ชื่อว่าฌานมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน ๑

ลักขณูปนิชฌาน ๑. ฌานมีโลกิยปฐมฌานเป็นต้น ชื่อว่า ฌาน เพราะ

อรรถว่าเข้าไปเพ่งอารมณ์มีกสิณเป็นต้น. วิปัสสนาสังขาร ชื่อว่า ฌาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 762

เพราะอรรถว่าเข้าไปเพ่งลักษณะอันเป็นสภาวสามัญ. โลกุตระ ชื่อว่า

ฌาน เพราะอรรถว่าเข้าไปเพ่งลักษณะที่จริงแท้ในนิพพาน. แต่ในที่

นี้ท่านกล่าวถึงฌานทั่วไป แม้ด้วยโคตรภูว่า ฌาน เพราะอรรถว่าไม่

แตะต้องสภาพอันเป็นลักขณูปนิชฌาน แล้วเผากิเลสโดยไม่ทั่วไป. อนึ่ง

ในที่นี้สภาพแห่งวิโมกข์ เป็นสภาพน้อมไปด้วยดี ในอารมณ์ คือ นิพ-

พาน และสภาพอันพ้นด้วยดีจากกิเลสทั้งหลาย.

บทว่า สมาหิตฺวา ยถา เจ ปสฺสติ - ถ้าพระโยคาวจรตั้ง

ใจมั่นดีแล้ว ย่อมเห็นแจ้งฉันใด ความว่า พระโยคาวจรทำความตั้งจิต

มั่นก่อนด้วยสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอัปปนาสมาธิ อุปจารสมาธิ

และขณิกสมาธิ แล้วเห็นแจ้งในภายหลัง. เจ ศัพท์ เป็นสมุจจยัตถะ

- มีอรรถว่ารวบรวม ย่อมรวบรวมวิปัสสนา.

บทว่า วิปสฺสมาโน ตถา เจ สมาทเย - ถ้าเมื่อเห็นแจ้ง

ก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงฉันนั้น ความว่า ชื่อว่าวิปัสสนานี้ เป็นวิปัสสนา

เศร้าหมอง ไม่มีความพอใจ, อนึ่ง ชื่อว่าสมถะเป็นสมถะที่ละเอียด

ความพอใจ, เพราะฉะนั้นพระโยคาวจรเมื่อเห็นแจ้ง พึงตั้งจิตอัน

เศร้าหมองด้วยวิปัสสนานั้น เพื่อความเยื่อใย. อธิบายว่า พระโยคา

เมื่อเห็นแจ้งเข้าสมาธิอีก แล้วพึงทำการตั้งใจเหมือนอย่างกระทำวิปัสส-

นา. เจ ศัพท์ในที่นี้ย่อมรวบรวมการตั้งมั่นไว้. เจ อักษรท่านทำด้วย

การเป็นไปตามคาถาประพันธ์, แต่ความก็คือ อักษรนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 763

บทว่า วิปสฺสนาจ สมโถ ตทา อหุ - สมถะและวิปัสสนา

ได้มีแล้วในขณะนั้น ความว่า เพราะเมื่อสมถะและวิปัสสนาเป็นธรรม

คู่กัน ความปรากฏแห่งอริยมรรคย่อมมี, ฉะนั้น การประกอบธรรม

ทั้ง ๒ นั้น ในกาลใดย่อมมีเพราะสามารถยังอริยมรรคให้เกิดขึ้น, ใน

กาลนั้นจะวิปัสสนาและสมถะได้มีแล้ว, สมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าเกิดแล้ว.

อนึ่ง สมถะและวิปัสสนานั้นย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่ ชื่อว่า

สมานภาคา เพราะอรรถว่าสมถะและวิปัสสนามีส่วนเสมอกัน ชื่อว่า

ยุคนัทธา เพราะดุจเทียมคู่กัน, อธิบายว่า มีธุระเสมอกัน มีกำลัง

เสมอกัน ด้วยอรรถว่าไม่ก้าวล่วงกันและกัน. ส่วนความพิสดารของ

บทนั้นจักมีแจ้งใน ยุคนัทธกถา.

หลายบทว่า ทุกฺขา สงฺขารา, สุโข นิโรโธติ ทสฺสน,

ทุภโต วุฏฺิตา ปญฺา ผสฺเสติ อมต ปท - ความเห็นว่าสังขาร

ทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข ชื่อว่าปัญญาที่ออกจากธรรมทั้งสอง

ย่อมถูกต้องอมตบท ความว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธ คือ

นิพพานเป็นสุข เพราะเหตุนั้นการเห็นนิพพาน อริยมรรคญาณของผู้

ปฏิบัติ ชื่อว่าปัญญาออกจากธรรมทั้ง ๒ นั้น. ปัญญานั้นนั่นแล ย่อม

ถูกต้อง คือ ย่อมได้อมตบท คือ นิพพาน ด้วยถูกต้องอารมณ์. นิพพาน

ชื่อว่า อมต เพราะเป็นเช่นกับอมตะด้วยอรรถว่าไม่เดือดร้อน. ชื่อว่า

อมต เพราะนิพพานนั้นไม่มีความตาย ความเสื่อม, ท่านกล่าวว่า ปท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 764

เพราะอรรถว่าย่อมปฏิบัติด้วยปฏิปทาใหญ่ ด้วยความอุตสาหะใหญ่ตั้ง

แต่ส่วนเบื้องต้น.

บทว่า วิโมกฺขจริย ชานาติ - ย่อมรู้วิโมกขจริยา คือรู้ความ

เป็นไปแห่งวิโมกข์ ด้วยความไม่ลุ่มหลง, ย่อมรู้ด้วยการพิจารณา. พึง

ทราบวิโมกขจริยาอันมาแล้วในวิโมกขกถาข้างหน้าว่า อริยมรรค ๔

เป็นทุภโตวุฏฐานวิโมกข์, วิโมกข์ ๔ ออกแต่ทุภโต คือธรรม ๔

วิโมกข์ ๔ อนุโลม แต่ทุภโตวิโมกข์, วิโมกข์ ๔ สงบจากทุภโต-

วุฏฐานวิโมกข์ ความพิสดารของวิโมกข์เหล่านั้นมาแล้วในวิโมกขกถา

นั่นเอง.

บทว่า นานตฺเตกตฺถ โกวิโท - พระโยคาวจรผู้ฉลาดในความ

เป็นต่างกันและความเป็นอันเดียวกัน คือ เป็นผู้ฉลาดในความต่างและ

ความเป็นอันเดียวกันของวิโมกข์เหล่านั้น. พึงทราบความเป็นอันเดียว

กันแห่งวิโมกข์เหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งวิโมกข์ คือ การออกจาก

ธรรมทั้ง ๒ อย่าง, ความต่างกัน ด้วยสามารถอริยมรรค ๔, หรือ

ความต่างกันด้วยปรารถนาแห่งอนุปัสนาของอริยมรรค แม้อย่างหนึ่ง ๆ,

ความเป็นอันเดียวกัน ด้วยความเป็นอริยมรรค.

๑. ขุ. ปุ. ๓๑/๔๗๐ - ๔๘๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 765

บทว่า ทวินฺน าณาน กุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในญาณ

ทั้ง ๒ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้ง ๒ เหล่านี้ คือ ทัสนะและ

ภาวนา.

บทว่า ทสฺสน ได้แก่ โสดาปัตติมรรค. เพราะว่า โสดาปัตติ-

มรรคนั้นท่านกล่าวว่า ทสฺสน - ทัสนะ เพราะเห็นนิพพานก่อน.

ส่วนโคตรภูญาณ ย่อมเห็นนิพพานก่อนกว่าก็จริง, ถึงดังนั้นท่านไม่

เรียกว่าทัสนะ - เห็น เพราะไม่มีการละกิเลสที่ควรทำ เหมือนอย่างว่า

บุรุษผู้มาสู่สำนักของพระราชาด้วยกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้เห็นพระ-

ราชาผู้ประทับบนคอช้างเสด็จมาตามถนนแต่ที่ไกลเทียว ถูกเขาถามว่า

ท่านเฝ้าพระราชาแล้วหรือ แม้เห็นแล้วก็กล่าวว่า ข้าพเจ้ายังมิได้เฝ้า

เพราะความที่กิจอันบุคคลพึงกระทำตนยังมิได้กระทำฉะนั้น. จริงอยู่

โคตรภูญาณนั้นตั้งอยู่ในที่อาวัชชนะ คือการนึกถึงมรรค.

บทว่า ภาวนา ได้แก่ มรรค ๓ ที่เหลือ. เพราะมรรค ๓ ที่

เหลือนั้นย่อมเกิดขึ้น ด้วยสามารถภาวนในธรรมที่เห็นแล้วด้วยปฐม-

มรรคนั่นเอง, ไม่เห็นอะไร ๆ ที่ไม่เคยเห็น, ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ทสฺสน. แต่ภายหลังท่านไม่กล่าวว่า ทวินฺน าณฺน - แห่งญาณ

๒ อย่าง เพราะภาวนามรรคยังไม่เสร็จ แล้วกล่าวว่า ฌานวิโมกฺเข

กุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์ หมายถึงผู้ได้โสดา-

ปัตติมรรค สกทาคามิมรรคและอนาคามิมรรค, แต่พึงทราบว่า ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 766

กล่าวว่า ทวินฺน าณาน กุสลตา - ความเป็นผู้ฉลาดในญาณ ๒

อย่าง เพราะภาวนามรรคของผู้ได้อรหัตมรรคเสร็จแล้ว.

จบ อรรถกถามรรคญาณนิทเทส

ผลญาณนิทเทส

[๑๔๘] ปัญญาในการระงับปโยคะ เป็นผลญาณอย่างไร ?

ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อสัมมาทิฏฐ เพราะอรรถ

ว่าเห็น ย่อมออกจากมิจฉาทิฏฐิ ย่อมออกจากเหล่ากิเลสอันเป็นไปตาม

มิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมา-

ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับ

ปโยคะนั้นเป็นผลของมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถ

ว่าดำริออก ย่อมออกจากมิจฉาสังกัปปะ . . . ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะ

อรรถว่ากำหนดเอา ย่อมออกจากมิจฉาวาจา ...ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ

เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ย่อมออกจากมิจฉากัมมันตะ . . .ชื่อว่าสัม-

มาอาชีวะ เพราะอรรถว่าขาวผ่อง ย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ . . .ชื่อว่า

สัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ย่อมออกจากมิจฉาวายามะ. . .

ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมออกจากมิจฉาสติ . . . ชื่อว่า

สัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากมิจฉาสมาธิ ออกจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 767

เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และจาก

สรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับ

ปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้นเป็นผลของมรรค.

[๑๔๗] ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ

เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน

ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆา-

นุสัย ส่วนหยาบ ๆ ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น

จากขันธ์ทั้งหลายและจากาสรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น

เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะนั้นเป็นผล

ของมรรค.

[๑๕๐] ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ

เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน

ย่อมออกจากกามราคะสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ส่วน

ละเอียด ๆ ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จาก

ขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น

เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น การระงับปโยคะที่ออกนั้น

เป็นผลของมรรค.

[๑๕๐] ในขณะแห่งอรหัตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะ

อรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 768

ออกจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ ถีนมิทธะ อวิชชา

ภวราคานุสัย มานานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมออกจากเหล่ากิเลสที่เป็น

ไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก

สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกไปนั้น

การระงับปโยคะที่ออกนั้นเป็นผลของมรรค.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถรู้ว่าชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการระงับปโยคะ

ที่ออกนั้น เป็นผลญาณ.

๑๒. อรรถกถาผลญาณนิทเทส

๑๔๘ - ๑๕๑] พึงทราบวินิจฉัยในผลญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.

บทว่า ตปโยคปฺปฏิปฺปสฺสทธตฺตา - เป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออก

นั้น ความว่า เพราะความที่ปโยคะที่ออกทั้งภายในและภายนอกนั้น

เป็นคุณชาติระงับแล้ว. จริงอยู่ มรรค ชื่อว่า ย่อมทำปโยคะที่ออก

จากทั้งสอง ทั้งภายในและภายนอก ด้วยการละกิเลสในขณะของตน.

การระงับอันเป็นปโยคะที่ออกจากทั้งสอง ทั้งภายในและภายนอก แห่ง

มรรคเป็นอันชื่อว่าสงบแล้ว เพราะละกิเลสได้ในขณะแห่งผล.

บทว่า อุปฺปชฺชติ - ย่อมเกิดขึ้น ความว่าญาณย่อมเกิดขึ้น

ครั้งเดียว หรือ ๒ ครั้ง ในลำดับแห่งมรรค. แต่เกิดขึ้นหลายครั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 769

ในกาลแห่งผลสมาบัติ, ย่อมเกิดแก่ผู้ออกจากนิโรธ ๒ ครั้ง, ญาณแม้

ทั้งหมดย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นคุณชาติระงับปโยคะที่ออกนั้น.

บทว่า มคฺคสฺเสต - ผล - การระงับปโยคะนั้นเป็นผลของมรรค

คือ ท่านเพ่งถึงผล จึงทำให้เป็นนปุงสกลิงค์ แม้ในขณะแห่งสกทาคา-

มรรคเป็นต้น ก็พึงทราบการประกอบการออกด้วยอำนาจองค์แห่ง

มรรคองค์หนึ่ง ๆ นั่นแหละ.

จบ อรรถกถาผลญาณนิทเทส

วิมุตติญาณนิทเทส

[๑๕๒] ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้น ๆ อันอริยมรรค

นั้น ๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณอย่างไร ?

อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-

ปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย เป็นกิเลสอันโสดาปัตติมรรคตัด

ขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส ๕ ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐาน

กิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี. ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น

ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา

ในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้น ๆ อันอริยมรรคนั้น ๆ ตัดเสียแล้ว

เป็นวิมุตติญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 770

๑๓. อรรพกถาวิมุตติญาณนิทเทส

[๑๕๒] พึงทราบวินิจฉัยในวิมุตติญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.

บทว่า สกฺกายทิฏฺิ - ความเห็นว่าเป็นตัวตน มีวิเคราะห์ว่า

ชื่อว่า สกฺกายทิฏฺิ เพราะอรรถว่าความเห็นในกาย กล่าวคือ ขันธ-

ปัญจกอันมีอยู่ หรือในกายนั้นอันมีอยู่เอง.

บทว่า วิจิกิจฺฉา - ความไม่แน่ใจ มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า วิจิกิจฺฉา

เพราะอรรถว่าปราศจากความแน่ใจ หรือ เมื่อค้นหาสภาวธรรมเป็น

เหตุยากลำบาก.

บทว่า สีลพฺพตปรามาโส - ความลูบคลำศีลและพรต มี

วิเคราะห์ว่า เป็นผู้ถือมั่นยึดมั่นว่า ความหมดมีด้วยศีลด้วยพรต.

ชื่อว่า สีลพฺพตปรามาโส เพราะอรรถว่าผู้ถือมั่นยึดมั่นนั้น ละเลย

สภาวธรรมลูบคลำแต่สิ่งอื่น. เมื่อทิฏฐิแม้มีอยู่ทั้งสองอย่าง ท่านก็ยัง

กล่าวถึงสักกายทิฏฐิ เพื่อแสดงถึงการละทิฏฐิทั้งหมด ด้วยการละสักกาย-

ทิฏฐิ มีวัตถุ ๒๐ อย่างอันเป็นปรกติ โดยยืดถือสักกายทิฏฐิตามปรกติ

เว้นการคาดคะเน และการอ้างผู้อื่น. ส่วนสีลัพพตปรามาส พึงทราบ

ว่า ท่านกล่าวไว้ต่างหากเพื่อแสดงถึงมิจฉาปฏิปทาของคนทั้งหลายผู้

ปฏิบัติด้วยคิดว่า เราปฏิบัติปฏิปทาบริสุทธิ์. ท่านกล่าวถึงทิฏฐานุสัย.

ความเห็นผิดอันนอนอยู่ในสันดาน วิจิกิจฉานุสัย - ความลังเลใจอัน

นอนอยู่ในสันดาน เพื่อแสดงถึงการละด้วยละอนุสัย แม้ ๓ อย่างนั่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 771

แหละ. มิใช่เพราะกิเลสต่างกัน. บทว่า อุปกฺกิเลสา - อุปกิเลส

ทั้งหลาย มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า กิเลสา เพราะอรรถว่าท่าให้เศร้าหมอง

ทำให้เดือดร้อน ทำให้ลำบาก. ชื่อว่า อุปกฺกิเลสา เพราะอรรถว่า

เป็นกิเลสร้ายมีกำลังแรง.

บทว่า สมฺมา สมุจฺฉินฺนา โหนฺติ - เป็นกิเลสอันพระโสดา

ปัตติมรรคตัดขาดดีแล้ว คือ ตัดขาด้วยดี เพราะ ดับไม่เกิดขึ้นอีก

ด้วยสมุจเฉทประหาณ.

บทว่า สปริยุฏาเนหิ - พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส ได้แก่

กิเลสครอบงำ มีวิเคราะห์ว่า กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่า ปริยุฎาน

เพราะอรรถว่าหุ้มห่อจิตเกิดขึ้น. บทนี้เป็นชื่อของกิเลสทั้งหลาย อัน

เนื่องด้วยความประพฤติ. ชื่อว่า สปริยุฏาน เพราะอรรถว่าพร้อม

ด้วยปริยุฏฐานกิเลส คือ อุปกิเลสอันนอนอยู่ในสันดาน.

บทว่า จิตฺต วิมุตฺต โหติ - จิตเป็นอันพ้นแล้ว ความว่า

จิตเป็นไปด้วยอำนาจแห่งสันตติ เพราะกิเลสเหล่านั้นทำให้เกิดในที่ไม่

สมควร ชื่อว่า เป็นอันพ้นแล้วจากกิเลสนั้น. จิตนั้นนั่นแล ชื่อว่า

สุวิมุตฺต เพราะพ้นแล้วด้วยดี.

บทว่า ตวิมุตฺติญาตฏฺเน คือ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น

จบ อรรถกถาวิมุตติญาณนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 772

ปัจจเวกขณญาณนิทเทส

[๕๓] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ การมราคสังโยชน์ ปฏิฆ-

สังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ เป็นกิเลสอันสก.

ทาคามิมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส ๔ ประการนี้

พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี ชื่อว่าญาณ เพราะ

อรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้น ๆ อันอริยมรรค

นั้น ๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณ.

[ ๑๕๔ ] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆ-

สังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ เป็นกิเลสอัน

อนาคามิมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส ๔ประการนี้

พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี. ชื่อว่าญาณ เพราะ

อรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรค

นั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณ.

[๑๕๕ ] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ รูปราคะ อรูปราคะ

มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัยเป็น

กิเลสอันอรหัตมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส ๘ ประการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 773

นี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วย ชื่อว่าญาณ เพราะ

อรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้น ๆ อันอริยมรรค

นั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณ.

[๑๕๖] ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมใน

ขณะนั้น เป็นปัจเวกขณญาณอย่างไร ?

ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะ

อรรถว่าเห็น ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่าดำริออก ชื่อว่า

สัมมาวาจา เพราะอรรถว่ากำหนดเอา ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะ

อรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะอรรถว่าขาวผ่อง

ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะ

อรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า

สติสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าธรรมวิจยสัมโพชฌงค์

เพราะอรรถว่าเลือกเฟ้น ชื่อว่าวีริยสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าประ-

คองไว้ ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าแผ่ซ่านไป ชื่อว่า

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าสงบระงับ ชื่อว่าสมาธิสัม-

โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอุเบขาสัมโพชฌงค์

เพราะอรรถว่าพิจารณาหาทาง ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหว เพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าวีริยพละ เพราะอรรถว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 774

ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าสติพละ. เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะอรรถว่าน้อมใจเชื่อ

ชื่อว่าวีริยินทรีย์ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะ

อรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสมาธินทรีย์ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า

ปัญญินทรีย์ เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่

ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ชื่อว่าสัมโพชฌงค์ เพราะ

อรรถว่านำออก ชื่อว่ามรรค เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ ชื่อว่าสติปัฏฐาน

เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมัปธาน เพราะอรรถว่าตั้งไว้ ชื่อว่า

อิทธิบาท เพราะอรรถว่าสำเร็จ ชื่อว่าสัจจะ เพราะอรรถว่าจริงแต่

ชื่อว่าสมถะ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะอรรถว่า

พิจารณาเห็น ชื่อว่าสมถวิปัสสนา เพราะอรรถว่ามีกิจอย่างเดียวกัน

ชื่อว่าเป็นคู่ เพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะ

อรรถว่าสำรวม ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิ-

วิสุทธิ เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่าหลุดพ้น

ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่าแทงตลอด ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่าปล่อย

ชื่อขยญาณ เพราะอรรถว่าตัดขาด ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็น

มูล ชื่อว่ามนสิภาร เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าผัสสะ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 775

อรรถว่าเป็นที่รวม ชื่อว่าเวทนา เพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม ชื่อว่า

สมาธิ เพราะอรรถว่าเป็นประธาน ชื่อว่าสติ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่

ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ายิ่งกว่าธรรมนั้นๆ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถ

ว่าเป็นแก่นสาร ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่า

เป็นแก่นสาร ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่า

เป็นที่สุด ธรรมเหล่านี้ เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจร

ออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกัน

ในขณะนั้น.

[ ๑๕๗] ในขณะแห่งโสดาปัตติผล ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ

เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่าดาริออก ฯล ฯ

ชื่อว่าอนุปปาทญาณ คือญาณในความไม่เกิดขึ้น เพราะอรรถว่าระงับ

ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ชื่อว่ามนสิการ เพราะอรรถว่า

เป็นสมุฏฐาน . . . ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่าเป็นแก่นสาร ชื่อว่านิพ-

พานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ธรรมเหล่านี้เข้ามา

ประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณา

เห็นว่า ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น.

[๑๕๘] ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่ง

สกทาคามิผล ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่ง

อนาคามิผล ฯลฯ ในขณะแห่งอรหัตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 776

เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าขยญาณ เพราะอรรถว่าตัดขาด ชื่อว่า

ฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ

เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น

พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า ธรรมเหล่านี้

เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น.

[๑๕๙] ในขณะแห่งอรหัตผล ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะ

อรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะอรรถว่าระงับ ชื่อว่า

ฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ

เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น

พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า ธรรมเหล่านี้

เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็น

ธรรมที่ประชุมกันในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ.

๑๔. อรรถกถาปัจจเวกขณญาณนิทเทส

๑๕๓ - ๑๕๙] พึงทราบวินิจฉัยในปัจจเวกขณญาณนิทเทส

ดังต่อไปนี้ พระสารีบุตรเถระครั้นกล่าวองค์แห่งมรรคไว้แผนกหนึ่ง ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 777

ก่อน เพราะอรรถว่าเป็นเหตุในขณะแห่งมรรคนั่นเอง แล้วจึงแสดง

ถึงโพชฌงค์ไว้แผนกหนึ่งโดยความเป็นองค์แห่งอริยะ อันได้ชื่อว่า โพธิ

เพราะอรรถว่าตรัสรู้ธรรมอันเป็นองค์แห่งมรรค และมิใช่องค์แห่งมรรค

อีก. จริงอยู่ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วีริยสัมโพชฌงค์

สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นองค์แห่งมรรคอย่างเดียว, ปีติสัมโพชฌงค์

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มิใช่องค์แห่งมรรค.

บรรดาธรรมทั้งหลายที่แสดงไว้ต่างหาก โดยเป็นพละและอิน-

ทรีย์ ศรัทธาเท่านั้นมิใช่เป็นองค์แห่งมรรค. พระสารีบุตรเถระเมื่อจะ

แสดงธรรมที่เกิดในขณะแห่งมรรคอีก ด้วยสามารถเป็นหมวดหมู่ จึง

กล่าวคำมีอาทิว่า อาธิปเตยฺยฏฺเน - ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะอรรถว่า

เป็นใหญ่.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อุปฏฺานฏฺเน สติปฏฺานา - ชื่อว่า

สติปัฏฐาน เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ความว่า สติเป็นไปในกาย เวทนา

จิตธรรมมีนิพพานเป็นอารมณ์อย่างเดียวเท่านั้น ทั้ง ๔ อย่างนั้น ชื่อว่า

สติปัฏฐาน ด้วยสามารถให้สำเร็จกิจในการละความสำคัญว่า งาม เป็น

สุข เที่ยง เป็นตัวตน, วีริยะอย่างเดียวเท่านั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์

ชื่อว่าสัมมัปธาน ๔ ด้วยให้สำเร็จกิจ คือ ละอกุศลที่เกิดแล้วและอกุศล

ที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ให้สำเร็จกิจ คือ ความเกิดขึ้นแห่งกุศลที่ยัง

ไม่เกิด และความตั้งอยู่แห่งกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 778

บทว่า ตถฏฺเน สจฺจา - ชื่อว่าสัจจะ เพราะอรรถว่าจริงแท้

ความว่า ชื่อว่าอริยสัจ ๔ เพราะอรรถว่าไม่ผิด ในความเป็นสัจจะมี

ทุกข์เป็นต้น. อนึ่ง ในบทนี้ อริยสัจ ๔ นั่นแหละ ชื่อว่าประชุมกัน

ในครั้งนั้น เพราะอรรถว่าเป็นการรู้แจ้งแทงตลอด. และท่านกล่าวถึง

นิพพานไว้ต่างหากว่า อมโตคธ นิพฺพาน - หยั่งลงสู่อมตะ คือ พระ-

นิพพาน. ส่วนธรรมที่เหลือชื่อว่าประชุมกันในครั้งนั้น เพราะอรรถว่า

ได้รับเฉพาะ. ในบทนี้ควรตัดสินว่า พระโยคาวจรย่อมพิจารณาสัจจะ ๔

อย่างแน่นอนในที่สุดแห่งมรรคผล เพราะคำว่า ตถฏฺเน สจฺจา

ตทา สมุทณคตา - ชื่อว่าสัจจะประชุมกันในครั้งนั้น เพราะอรรถว่า

เป็นสภาวะจริงแท้. และเพราะคำว่า กต กรณีย นาปร อิตฺถตฺ

ตายาติ ปชานาติ - ย่อมรู้ว่ากิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นที่

ควรทำเพื่ออย่างนี้อีก จึงเป็นอันกล่าวถึงการพิจารณาว่า ทุกข์อันเรา

กำหนดรู้แล้ว สมุทัยอันเราละแล้ว นิโรธอันเราทำให้แจ้งแล้ว

มรรคอันเราเจริญแล้ว. การพิจารณาอย่างนั้นสมควร.

อนึ่ง ในบทว่า สมุทโย นี้ พึงทราบถึงกิเลสที่ทำลายด้วยมรรค

นั้นๆ นั่นแล. ด้วยการพิจารณาสมุทัยที่ท่านกล่าวไว้ในบทนี้ ในอรรถ-

กถา ท่านจึงกล่าวว่า การพิจารณากิเลส ๒ อย่าง การพิจารณามรรค

๑. วิ. มหา. ๔/๒๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 779

ผล นิพพานมาแล้วโดยสรุปในที่นี้. ท่านมิได้กล่าวถึงการพิจารณาทุกข์

อย่างเดียวเท่านั้น. ถึงท่านไม่กล่าวไว้ก็จริง ที่แท้แล้วควรถือเอาตามที่

ปรากฏในบาลีและตามความเหมาะสม. จริงอยู่เมื่อการรู้แจ้งแทงตลอด

สัจจะ สำเร็จแก่ผู้ปฏิบัติเพื่อรู้แจ้งแทงตลอดสัจจะ การพิจารณาถึงกิจที่

ทำเสร็จแล้วด้วยตนเอง เป็นความสมควรทีเดียว.

บทมีอาทิว่า อวิกฺเขปฏฺเน สมโถ - ชื่อว่าสมถะ เพราะ

อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ความว่า พระสารีบุตรเถระกล่าวธรรม คือ สมถะ

และวิปัสสนาอันสัมปยุตด้วยมรรค เพื่อแสดงโดยอรรถมีรสอย่างเดียว

กัน และโดยอรรถอันไม่ล่วงล้ำกัน.

บทว่า สวรฏฺเน สีลวิสุทฺธิ - ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถ

ว่าสำรวม ได้แก่ มีวาจาชอบ มีการงานชอบ มีการเลี้ยงชีพชอบ.

บทว่า อวิกฺเขปฏฺเน จิตฺตวิสุทฺธิ - ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะ

อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ได้แก่ มีความตั้งใจชอบนั่นเอง.

บทว่า ทสฺสนฏฺเน ทิฏฺิวิสุทฺธิ - ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะ

อรรถว่าเห็น ได้แก่ เห็นชอบนั่นเอง.

บทว่า วิมุตฺตฏฺเน เพราะอรรถว่าหลุดพ้น คือ หลุดพ้นจาก

กิเลส ทำลายด้วยมรรค ด้วยความเด็ดขาด หรือน้อมไปในอารมณ์ คือ

นิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 780

บทว่า วิโมกฺโข - ความหลุดพ้น ได้แก่ ความหลุดพ้นโดย

เด็ดขาด คือ อริยมรรคนั่นเอง.

บทว่า ปฏิเวธนฏฺเน วิชฺชา - ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่า

แทงตลอด คือ แทงตลอดสัจจะ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ - เห็นชอบนั่นเอง.

บทว่า ปริจฺจาคฏฺเน วิมุตฺติ - ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า

ปล่อย มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่าวิมุตติ เพราะพ้นจากกิเลสนั้นด้วยการละ

กิเลสอันมรรคฆ่าแล้ว. ได้แก่ อริยมรรคนั่นเอง.

บทว่า สมุจฺเฉทฏฺเน ขเย าณ - ชื่อว่าขยญาณ เพราะ

อรรถว่าตัดขาด ความว่า ชื่อว่าอริยมรรคญาณทำความสิ้นไปแห่งกิเลส

ด้วยการตัดกิเลสได้เด็ดขาด. ได้แก่ เห็นชอบนั่นเอง.

พึงทราบฉันทะเป็นต้น โดยนัยดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

จริงอยู่ ในบทนี้พระสารีบุตรเถระแสดงโดยอาการเป็นเบื้องต้น ท่าม

กลางและที่สุดแห่งมรรคในขณะมรรคนั่นแหละ.

อนึ่ง ในบทว่า วิมุตฺติ นี้ ได้แก่ มรรควิมุตตินั่นเอง.

อนึ่ง นิพพานแม้ท่านถือเอาในบทว่า ตถฏฺเน สจฺจา -

ชื่อว่าสัจจะ เพราะอรรถว่าจริงแท้ ก็พึงทราบว่าท่านกล่าวอีก เพื่อ

แสดงถึงความเป็นที่สุดในบทนี้. แม้ในขณะแห่งผลก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

แต่ในบทนี้ว่า เหตฏฺเน มคฺโค ชื่อว่ามรรค เพราะอรรถว่าเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 781

เหตุ พึงทราบในความเป็นเหตุแห่งผลนั่นเอง.

บทว่า สมฺมปฺปธานา ความเพียรชอบ พึงทราบว่าท่านกล่าว

เพราะความที่ผลอันเป็นกิจของความเพียรยังกิจ ๔ อย่างให้สำเร็จ-

แล้วในขณะเกิด. เพราะสัมมัปธาน ย่อมไม่ได้ในขณะผลโดยประการ

อื่น. พระเถระผู้ยกโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ขึ้นในขณะแห่งมรรคกล่าวไว้

ว่า ธรรม ๓๗ ประการที่เหลือ เว้นสัมมัปธาน ๔ ย่อมได้ในขณะแห่ง

ผล. พึงทราบแม้สัจจะเป็นต้น ตามที่ประกอบด้วยสามารเาสำเร็จกิจมีกิจ

คือ การแทงตลอดเป็นต้น อย่างนั้นเหมือนกัน.

อนึ่ง บทว่า วิโมกฺโข ได้แก่ ผลวิโมกข์.

บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ ผลวิมุตติ.

ชื่อ อนุปฺปาทญาณ - ญาณในความไม่เกิด เพราะอรรถว่า

ระงับ มีความดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า วุฏฺหิตฺวา - ออกแล้ว ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ด้วยอำนาจ

แห่งผล เพราะไม่มีการออกในระหว่าง.

บทว่า อิเม ธมฺนา ตทา สมุทาคตา - ธรรมเหล่านี้เริ่มเกิด

ในครั้งนั้น พึงทราบการเชื่อมใส่ อิติ ศัพท์ อันเป็นบาลีที่เหลือว่า

พระโยคาวจรย่อมพิจารณาว่า ธรรมมีประการดังกล่าวแล้วเหล่านี้ เริ่ม

เกิดในขณะแห่งมรรค และในขณะแห่งผล ดังนี้.

จบ อรรถกถาปัจจเวกขณญาณนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 782

วัตถุนานัตตญาณนิทเทส

[๑๖๐] ปัญญาในการกำหนดธรรมเป็นภายใน เป็นวัตถุนา-

นัตตญาณอย่างไร ?

พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมทั้งหลายเป็นภายในอย่างไร ?

ย่อมกำหนด ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นภายใน.

[๑๖๑] พระโยคาวจรย่อมกำหนดจักษุเป็นภายในอย่างไร ?

ย่อมกำหนดว่า จักษุเกิดเพราะอวิชชา เกิดเพราะตัณหา เกิด

เพราะกรรม เกิดเพราะอาหาร อาศัยมหาภูตรูป ๔ เกิดแล้ว เข้ามา

ประชุมแล้ว ว่า จักษุไม่มีแล้วมี มีแล้วจักไม่มี ย่อมกำหนดจักษุ

โดยความเป็นของมีที่สุด กำหนดว่าจักษุไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความ

แปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักษุไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย

ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลาย

๑. วิสุทธิมรรคบาลี หน้า ๒๒๐ - ๒๒๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๐๓) แสดงการเกิด

ของรูปธรรมไว้ว่า

อวิชฺชา ตณฺหา อุปาทาน กมฺมนฺติ อิเม จตฺตาโร ฯเปฯ ปจฺจยปริคฺคห

กโรติ = รูปธรรมนี้ มีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น ๕ อย่าง คือ อวิชชา ตัณหา

อุปาทาน เป็นเหมือนมารดาผู้เป็นเหตุให้บุตรเกิด กรรม เป็นเหมือนบิดาผู้ทำให้

เกิด ส่วนอาหาร เป็นปัจจัยอุปการะรูปนั้นให้ดำรงอยู่เป็นเหมือนพี่เลี้ยงคอยอุ้มชู

ตามที่กล่าวมานี้แสดงถึงการเกิดของรูปธรรม เพราะธรรม ๕ คือ อวิชชา ตัณหา

อุปาทาน กรรม และอาหาร. ส่วนในปฏิสัมภิทานี้ ท่านแสดงนัยอีกแบบหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 783

ไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา กำหนดจักษุโดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเป็นของเที่ยง กำหนดโดยความเป็นทุกข์

ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนด

โดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่

กำหนัด ย่อมให้ราคะดับไป ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ

เมื่อกำหนดโดยความเป็นของไม่เทียง ย่อมละความสำคัญว่าเป็นของ

เที่ยงได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละความสำคัญว่าเป็นสุขได้

เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละความสำคัญว่าเป็นตัวตนได้

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะ

ได้ เมื่อให้ราคะดับ ย่อมละเหตุให้เกิดได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความ

ยึดถือได้ พระโยคาวจรย่อมกำหนดจักษุเป็นภายในอย่างนี้.

[๑๖๒] พระโยคาวจรย่อมกำหนดหูเป็นภายในอย่างไร ?

ย่อมกำหนดว่า หูเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อม

กำหนดหูเป็นภายในอย่างนี้.

พระโยคาวจรย่อมกำหนดจมูกเป็นภายในอย่างไร ?

ย่อมกำหนดว่า จมูกเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจร

ย่อมกำหนดจมูกเป็นภายในอย่างนี้.

พระโยคาวจรย่อมกำหนดลิ้นเป็นภายในอย่างไร ?

ย่อมกำหนดว่า ลิ้นเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 784

ย่อมกำหนดลิ้นเป็นภายในอย่างนี้.

พระโยคาวจรย่อมกำหนดกายเป็นภายในอย่างไร ?

ย่อมกำหนดว่า กายเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจร

ย่อมกำหนดกายเป็นภายในอย่างนี้.

พระโยคาวจรย่อมกำหนดใจเป็นภายในอย่างไร ?

ย่อมกำหนดว่า ใจเกิดเพราะอวิชชา เกิดเพราะตัณหา เกิด

เพราะกรรม เกิดเพราะอาหาร อาศัยมหาภูตรูป ๔ เกิดแล้ว เข้า

ประชุมกันแล้วว่า ใจไม่มีแล้วมี มีแล้วจักไม่มี ย่อมกำหนดใจโดยความ

เป็นของมีที่สุด กำหนดว่า ใจไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน

ไปเป็นธรรมดา ใจไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น

มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา

ดับไปเป็นธรรมดา กำหนดใจโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่กำหนด

โดยความเป็นของเที่ยง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความ

เป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความเป็นอัตตา

ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมยังราคะให้ดับ

ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อกำหนดโดยความเป็นของไม่เที่ยง

ย่อมละความสำคัญว่าเป็นของเที่ยงได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นทุกข์

ย่อมละความสำคัญว่าเป็นสุขได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตาย่อม

ละความสำคัญว่าเป็นตัวตนได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 785

คลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อยังราคะให้ดับ ย่อมละเหตุให้เกิดได้

เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ พระโยคาวจรย่อมกำหนดใจเป็นภาย

ในอย่างนี้ ย่อมกำหนดธรรมเป็นภายในอย่างนี้.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนด

ธรรมเป็นภายใน เป็นวัตถุนานัตตญาณ.

๑๕. อรรถกถาวัตถุนานัตตญาณนิทเทส

[๑๖๐ - ๑๖๒] พึงทราบวินิจฉัยในวัตถุนานัตตญาณนิทเทส

ดังต่อไปนี้. บทว่า จกฺขุ อชฺฌตฺต ววตฺเถต - พระโยคาวจรย่อม

กำหนดจักษุเป็นภายใน ความว่า พระสารีบุตรเถระประสงค์จะกล่าว

โดยอาการที่พระโยคาวจรนั้นกำหนดจักษุ จึงถามว่า กำหนดจักษุเป็น

ภายในอย่างไร แล้วแสดงอาการกำหนดโดยคำมีอาทิว่า จกฺขุ อวิชฺชา-

สมฺภูตนฺติ ววตฺเถติ - ย่อมกำหนดว่า จักษุเกิดเพราะอวิชชา ดังนี้.

พึงทราบความในบทเหล่านั้นดังต่อไปนี้ อวิชชา ตัณหาที่เป็น

อดีต เป็นเหตุอปถัมภ์ กรรมที่เป็นอดีตเป็นเหตุให้เกิด อาหาร

เป็นเหตุอุปถัมภ์ในบัดนี้. ด้วยบทนั้น เป็นอันท่านถือเอา อุตุและ

จิต อุปถัมภ์จักษุด้วย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 786

บทว่า จตุนฺน มหาภูตาน อุปาทาย - จักษุอาศัยมหาภูตรูป ๔.

บทนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ อธิบายว่า จักษุอาศัย

มหาภูตรูป ๔ แล้วเป็นไป. ด้วยบทนั้น เป็นอันท่านแสดงถึงความเป็น

ปสาทจักษุ ปฏิเสธความเป็นสสัมภารจักษุ - เครื่องปรุงแต่งจักษุ.

บทว่า อุปฺปนฺน - เกิดขึ้นแล้ว คือ เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ด้วย

อำนาจแห่งอัทธา - กาลอันยาวนาน หรือด้วยอำนาจแห่งขณะอันเป็น

สันตติ - การสืบต่อ.

บทว่า สมุทาคต - เข้ามาประชุมแล้ว คือ ตั้งขึ้นแล้วจากเหตุ.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านแสดงถึงการกำหนดจักษุในส่วนเบื้องต้นแห่ง

วิปัสสนา.

ท่านแสดงถึงอนิจจานุปัสนา ด้วยบทมีอาทิว่า อหุตฺวา สมฺภูต-

ไม่มี แล้วมี ความว่า ชื่อว่า ไม่มี แล้วมี เพราะไม่มีอยู่จากความ

เกิดในกาลก่อน. ชื่อว่า มีแล้ว จักไม่มี เพราะความไม่มีจากความ

เสื่อมต่อไป.

บทว่า อนฺตวนฺตโต - โดยความเป็นของมีที่สุด ความว่า ชื่อว่า

อนฺตวา เพราะมีที่สุด. มีที่สุดนั่นแหละ ชื่อว่า อนฺตวนฺโต เหมือน

บทว่า สติมนฺโต คติมนฺโต ธิติมนฺโต จ โย อิส - ผู้แสวงหาคุณ

เป็นผู้มีสติ มีคติ และมีธิติ. โดยความเป็นของมีที่สุดนั้น. อธิบายว่า

โดยความมีการดับไป.

๑. ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 787

บทว่า อทุธุว - ไม่ยั่งยืน คือ ไม่มั่นคง เพราะตกไปในความ

ตั้งอยู่ไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง และเพราะไม่มีความเป็นของมั่นคง.

บทว่า อสสฺสต - ความไม่เที่ยง คือ ไม่แน่นอน.

บทว่า วิปริณามธมฺม มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา คือ

มีความแปรปรวนไปเป็นปรกติด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ด้วยความชรา

และด้วยความมรณะ.

บทมีอาทิว่า จกฺขุ อนีจฺจ - จักษุไม่เที่ยง และบทมีอาทิว่า

จกฺขุ อนิจฺจโต - ย่อมกำหนดจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยง มีเนื้อ

ความดังได้กล่าวไว้แล้ว.

บทมีอาทิว่า อวิชฺชาสมฺภูโต - เกิดเพราะอวิชชา ย่อมสมควร

ทีเดียว เพราะในบทว่า มโน นี้ ท่านประสงค์เอาใจอันเป็นภวังค์.

ในบทนี้ว่า อาหารสมฺภูโต - เกิดเพราะอาหาร พึงทราบ

ด้วยสามารถผัสสาหารและมโนสัญเจตนาหารประกอบกัน.

บทว่า อุปฺปนฺโน - เกิดขึ้นแล้ว พึงทราบด้วยสามารถแห่ง

อัทธา - กาลอันยาวนานและสันตติ - การสืบต่อ.

จบ อรรถกถาวัตถุนานัตตญาณนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 788

โคจรนานัตตญาณนิทเทส

[๑๖๓] ปัญญาในการกำหนดธรรมเป็นภายนอก เป็นโคจร-

นานัตตญาณอย่างไร พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมทั้งหลายเป็นภาย

นอกอย่างไร ?

พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

ธรรมารมณ์เป็นภายนอก.

พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปเป็นภายนอกอย่างไร ?

ย่อมกำหนดว่า รูปเกิดเพราะอวิชชา เกิดเพราะตัณหา เกิด

เพราะกรรม เกิดเพราะอาหาร อาศัยมหาภูตรูป ๔ เกิดแล้ว เข้ามา

ประชุมแล้ว รูปไม่มีแล้วมี มีแล้วจักไม่มี ย่อมกำหนดรูป โดยความ

เป็นของมีที่สุด กำหนดว่ารูปไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไป

เป็นธรรมดา รูปไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มี

ความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา

ดับไปเป็นธรรมดาย่อมกำหนดรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่กำหนด

โดยความเป็นของเที่ยง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความ

เป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความเป็นอนัตตา

ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมยังราคะ

ให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อกำหนดโดยความเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 789

ของไม่เที่ยง ย่อมละความสำคัญว่าเป็นของเที่ยงได้ เมื่อกำหนดโดย

ความเป็นอนัตตา ย่อมละความสำคัญว่าเป็นตัวตนได้ เมื่อเบือหน่าย

ย่อมละความยินดีได้ เมือคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อยังราคะ

ให้ดับ ย่อมละเหตุให้เกิดได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้

พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปเป็นภายนอกอย่างนี้.

[๑๖๔] พระโยคาวจรย่อมกำหนดเสียงเป็นภายนอกอย่างไร ?

ย่อมกำหนดว่า เสียงเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจร

ย่อมกำหนดเนียงเป็นภายนอกอย่างนี้,

พระโยคาวจรย่อมกำหนดเป็นภายนอกอย่างไร ?

ย่อมกำหนดว่า รสเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจร

ย่อมกำหนดรสเป็นภายนอกอย่างนี้.

พระโยคาวจรย่อมกำหนดโผฏฐัพพะเป็นภายนอกอย่างไร ?

ย่อมกำหนดว่า โผฏฐัพพะเกิดเพราะอวิชชา เกิดเพราะตัณหา

ย่อมกำหนดโผฏฐัพพะเป็นภายนอกอย่างนี้.

พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมารมณ์เป็นภายนอกอย่างไร ?

ย่อมกำหนด ธรรมมารมณ์เกิดเพราะตัณหา

เกิดเพราะกรรม เกิดเพราะอาหาร เกิดแล้ว เข้าประชุมพร้อมแล้วว่า

ธรรมารมณ์ไม่มีแล้วมี มีแล้วจักไม่มี ย่อมกำหนดธรรมารมณ์โดยความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 790

เป็นของมีที่สุด กำหนดว่า ธรรมารมณ์ไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความ

แปรปรวนเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย

ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลาย

ไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา ย่อมกำหนดธรรมารมณ์โดยความ

เป็นของไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเป็นของเที่ยง กำหนดโดยความ

เป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา

ไม่กำหนดโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลาย

กำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมยังราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่

ยึดถือ เมื่อกำหนดโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละความสำคัญว่า

เป็นของเที่ยงได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละความสำคัญว่า

เป็นสุขได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละความสำคัญว่าเป็น

ตัวตนได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อม

ละราคะได้ เมื่อยังราคะให้ดับ ย่อมละเหตุให้เกิดได้ เมื่อสละคืน

ย่อมละความยึดถือได้ พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมารมณ์เป็นภาย

นอกอย่างนี้.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนด

ธรรมเป็นภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 791

อรรถกถา โคจรนานัตตญาณนิทเทส

[๖๓ - ๑๖๔] พึงทราบวินิจฉัยในโคจรนานัตตญาณนิทเทส

ดังต่อไปนี้. บทว่า รูเป พหิทฺธา ววตฺเถติ พระโยคาวจรย่อม

กำหนดรูปเป็นภายนอก ความว่า ย่อมกำหนดรูปายตนธรรมอันเป็น

ภายนอกจากภายใน.

บทมีอาทิว่า อวิชฺชาสมฺภูตา - เกิดเพราะอวิชชา ท่านกล่าว

ไว้แล้ว เพราะกัมมชรูปนับเนื่องด้วยอัตภาพ. จริงอยู่ แม้อาหารก็เป็น

ปัจจัยอุปถัมภ์กัมมชรูป. แต่เพราะเสียงเป็นสมุฏฐานแห่งอุตุและจิต

ท่านจึงไม่กล่าวถึงธรรมหมวด ๔ มีเกิดเพราะอวิชชาเป็นต้น. เพราะ

โผฏฐัพพะเป็นมหาภูตรูปเอง ท่านจึงไม่กล่าวว่าอาศัยมหาภูตรูป ๔.

อนึ่ง ในบทว่า ธมฺมา นี้ ได้แก่ ขันธ์ไม่มีรูป ๓ อันประกอบ

ด้วยใจอันเป็นภวังค์. สุขุมรูปอื่นนับเนื่องในธรรมายตนะ แม้มีกรรม

เป็นสมุฏฐานและรูปเป็นต้น แม้ทั้งหมด. อีกอย่างหนึ่ง รูปใด ๆ ย่อม

เกิดขึ้นด้วยกรรมใด ๆ. พึงทราบรูปนั้นๆ ด้วยกรรมนั้น.

จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น แม้นับเนื่องในสันดาน

ของตนก็ไม่พึงสงเคราะห์เข้าไปทั้งหมด. เพราะแม้รูปอันเนื่องด้วย

อนินทรีย์เป็นต้น ก็เข้าถึงวิปัสสนาได้. ฉะนั้นพึงทราบการสงเคราะห์

ธรรมเหล่านั้นด้วยบทว่า กมฺมสมฺภูต - เกิดเพราะกรรม. เพราะแม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 792

ธรรมเหล่านั้นก็มีอุตุตั้งขึ้นเพราะกรรม เป็นปัจจัยทั่วไปแก่สรรพสัตว์.

ก็อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า รูปเป็นต้นอันเนื่องด้วยอนินทรีย์ไม่เข้า

ถึงวิปัสสนาได้.

แต่คำนั้นผิด เพราะในบาลีมีคำอาทิว่า

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺาย ปสฺสติ

อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

เมื่อใดบุคคลย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขาร

ทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง, เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายใน

ทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งวิสุทธิ - ความหมดจด.

อนึ่ง ในวิสุทธิมรรคท่านกล่าวว่า บุคคลบางคนในโลกนี้

พิจารณาเห็นแจ้งสังขารภายในแต่ต้น. แต่เพราะการออกไปจากมรรค

ย่อมมีไม่ได้ด้วยเพียงเห็นภายในบริสุทธิ์เท่านั้น แม้ภายนอกก็พึงเห็น

ด้วย. เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรย่อมเห็นแจ้ง แม้ขันธ์ของผู้อื่น

แม้สังขารอันเป็นอนุปาทินนกะว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

ดังนั้นจึงควรปรารถนาแม้การกำหนดจักษุเป็นต้น ของผู้อื่น แม้การ

๑. ขุ. ธ. ๒๕/๓๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 793

กำหนดรูปอันเนื่องด้วยอนินทรีย์เป็นต้น. ฉะนั้น สังขารอันเป็นไปใน

ภูมิ ๓ ชื่อว่าไม่เข้าถึงวิปัสสนาย่อมไม่มี.

จบ อรรถกถาโคจรนานัตตญาณนิทเทส

จริยานานัตตญาณนิทเทส

[๑๖๕] ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ

อย่างไร ?

จริยาในบทว่า จริยา มี ๓ คือ วิญญาณจริยา อัญญาณจริยา

ญาณจริยา.

วิญญาณจริยาเป็นไฉน ?

กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการดูรูปทั้งหลายเป็นอัพยากฤต เป็น

วิญญาณจริยา จักขุวิญญาณอันเป็นแต่เพียงเห็นรูป เป็นวิญญาณจริยา

เพราะได้เห็นรูปแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณ

จริยา เพราะขึ้นสู่รูปแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณ

จริยา กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการฟังเสียงเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณ

จริยา โสตวิญญาณอันเป็นแต่เพียงฟังเสียง เป็นวิญญาณจริยา เพราะ

ได้ฟังเสียงแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา

เพราะขึ้นสู่เสียงแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 794

กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการดมกลิ่นเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา

ฆานวิญญาณอันเป็นแต่เพียงดมกลิ่น เป็นวิญญาณจริยา เพราะได้ดม

กลิ่นแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา

เพราะขึ้นสู่กลิ่นแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา

กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการลิ้มรสเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา

ชิวหาวิญญาณอันเป็นแต่เพียงลิ้มรส เป็นวิญญาณจริยา เพราะได้ลิ้ม

รสแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะ

ขึ้นสู่รสแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา กิริยา

คือความนึกเพื่อต้องการถูกต้อง โผฏฐัพพะเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณ

จริยา กายวิญญาณอันเป็นแต่เพียงถูกต้องโผฏฐัพพะ เป็นวิญญาณจริยา

เพราะได้ถูกต้องโผฏฐัพพะแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์

เป็นวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่โผฏฐัพพะแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็น

วิบาก เป็นวิญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการรู้แจ้งธรรมารมณ์

เป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา มโนวิญญาณอันเป็นแต่เพียงรู้แจ้ง

ธรรมารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์แล้ว มโนธาตุ.

อันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่ธรรมารมณ์

แล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา.

[๑๖๖] คำว่า วิญญาณจริยา ความว่า ชื่อว่าวิญญาณจริยา

เพราะอรรถว่ากระไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 795

ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะอรรถว่า ประพฤติไม่มีราคะประพฤติ

ไม่มีโทสะ ประพฤติไม่มีโมหะ ประพฤติไม่มีมานะ ประพฤติไม่มีทิฏฐิ

ประพฤติไม่มีอุทธัจจะ ประพฤติไม่มีวิจิกิจฉา ประพฤติไม่มีอนุสัย

ประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยโทสะ ประพฤติ

ไม่ประกอบด้วยโมหะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ประพฤติไม่

ประกอบด้วยทิฏฐิ ประพฤติไม่ประกอบด้วยอุทธัจจะ ประพฤติไม่

ประกอบด้วยวิจิกิจฉา ประพฤติไม่ประกอบด้วยอนุสัย ประพฤติไม่

ประกอบด้วยกุศลกรรม ประพฤติไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ประพฤติ

ไม่ประกอบด้วยการไม่มีโทษ ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมไม่มีโทษ

ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมดำ ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมขาว

ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นกำไร ประพฤติไม่ประกอบ

ด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็น

วิบาก ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก ประพฤติใน

อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว วิญญาณมีความประพฤติเห็นปานนี้ เหตุนั้นชื่อว่า

วิญญาณจริยา จิตนี้บริสุทธิ์โดยปกติ เพราะอรรถว่าไม่มีกิเลส เหตุนั้น

จึงชื่อว่า วิญญาณจริยา นี้ชื่อว่าวิญญาณจริยา.

[๑๖๗] อัญญาณจริยาเป็นไฉน ?

กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งราคะในรูปอันเป็นที่รัก

อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งราคะ เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 796

อัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งโทสะ ในรูปอัน

ไม่เป็นที่รัก อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่ง

โทสะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งโมหะ

ในวัตถุที่มิได้เพ่งเล็งด้วยราคะและโทสะทั้งสองนั้น อันเป็นอัพยากฤต

เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโมหะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยา

คือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งมานะที่ผูกพัน อันเป็นอัพยากฤต เป็น

วิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งมานะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือ

ความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งทิฏฐิที่ยึดถือ อันเป็นอัพยากฤต เป็น

วิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งทิฏฐิ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือ

ความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน อันเป็นอัพยา-

กฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอุทธัจจะ เป็นอัญญาณจริยา-

กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉาที่ไม่ถึงความตกลงอัน

เป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉา เป็น

อัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งอนุสัยที่ถึงความ

เป็นธรรมมีเรี่ยวแรง อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความ

แล่นไปแห่งอนุสัย เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่น

ไปแห่งราคะในเสียง ฯลฯ ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมา-

รมณ์ เป็นที่รัก อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไป

แห่งราคะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่ง

โทสะในธรรมารมณ์ไม่เป็นที่รัก อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 797

ความแล่นไปแห่งโทสะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความ

แล่นไปแห่งโมหะ ในวัตถุที่มิได้เพ่งเล็งด้วยราคะและโทสะทั้งสองนั้น

อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโมหะ เป็น

อัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งทิฏฐิที่ยึดถือ อัน

เป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งทิฏฐิ เป็นอัญญาณ

จริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน

อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอุทธัจจะ เป็น

อัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉาที่ไม่ถึง

ความตกลงอันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่ง

วิจิกิจฉา เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่ง

อนุสัยที่ถึงความเป็นธรรมมีเรี่ยวแรง อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณ

จริยา ความแล่นไปแห่งอนุสัย เป็นอัญญาณจริยา.

[๑๖๘] คำว่า อัญญาณจริยา ความว่า ชื่อว่าอัญญาณจริยา

เพราะอรรถว่ากระไร ?

ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะอรรถว่า ประพฤติมีราคะ ประพฤติ

มีโทสะ ประพฤติมีโมหะ ประพฤติมีมานะ ประพฤติมีทิฏฐิ ประพฤติ

มีอุทธัจจะ ประพฤติมีวิจิกิจฉา ประพฤติมีอนุสัย ประพฤติประกอบ

ด้วยราคะ ประพฤติประกอบด้วยโทสะ ประพฤติประกอบด้วยโมหะ

ประพฤติประกอบด้วยมานะ ประพฤติประกอบด้วยทิฏฐิ ประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 798

ประกอบด้วยอุทธัจจะ ประพฤติประกอบด้วยวิจิกิจฉา ประพฤติประกอบ

ด้วยอนุสัย ประพฤติไม่ประกอบด้วยกุศลกรรม ประพฤติประกอบด้วย

อกุศลกรรม ประพฤติประกอบด้วยกรรมมีโทษ ประพฤติไม่ประกอบ

ด้วยกรรมไม่มีโทษ ประพฤติประกอบด้วยกรรมดำ ประพฤติไม่ประกอบ

ด้วยกรรมขาว ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นกำไร ประพฤติ

ประกอบด้วยกรรมมีทุกข์เป็นกำไร ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมมีสุข

เป็นวิบาก ประพฤติประกอบด้วยกรรมมีทุกข์เป็นวิบาก ประพฤติใน

อารมณ์ที่ไม่รู้ ความไม่รู้มีจริยาเห็นปานนี้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

อัญญาณจริยา นี้ชื่อว่าอัญญาณจริยา.

[๑๖๙] ญาณจริยาเป็นไฉน ?

กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง อัน

เป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็น

ญาณจริยา กิริยาคือความนึก เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความทุกข์

อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา การพิจารณาเห็นทุกข์ เป็น

ญาณจริยา กิริยาคือความนึก เพื่อต้องการพิจารณาเห็นอนัตตา อัน

เป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา การพิจารณาเป็นอนัตตา เป็นญาณ

จริยา กิริยาคือความนึก เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย ฯลฯ

เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด เพื่อต้องการพิจารณาเห็น

ความดับ เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความสละคืน เพื่อต้องการพิจารณา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 799

เห็นความสิ้นไป เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความเสื่อมไป เพื่อต้องการ

พิจารณาเห็นความแปรปรวน เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิต

เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้ง เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความ

สูญ เพื่อต้องการพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เพื่อต้องการ

พิจารณารู้เห็นตามความเป็นจริง เพื่อต้องการพิจารณาเห็นโทษ เพื่อ

ต้องการพิจารณาหาทาง อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา การ

พิจารณาหาทาง เป็นญาณจริยา การพิจารณาเห็นความคลายออก คือ

นิพพาน เป็นญาณจริยา โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลาสมาบัติ

สกทาคามิมรรค สกทาคามิผลสมาบัติ อนาคามิมรรค อนาคามิผล

สมาบัติ อรหัตมรรค อรหัตผลสมาบัติ เป็นญาณจริยา.

[๑๗๐] คำว่า ญาณจริยา ความว่า ชื่อว่าญาณจริยา เพราะ

อรรถว่ากระไร ?

ชื่อว่าญาณจริยา เพราะอรรถว่าประพฤติไม่มีราคะ ประพฤติ

ไม่มีโทสะ ฯลฯ ประพฤติไม่มีอนุสัย ประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ

ประพฤติไม่ประกอบด้วยโทสะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยโมหะ ประ-

พฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ ไม่ประกอบ

ด้วยอุทธัจจะ ไม่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา ไม่ประกอบด้วยอนุสัย ประกอบ

ด้วยกุศลกรรม ไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ไม่ประกอบด้วยกรรมมีโทษ

ประกอบด้วยกรรมไม่มีโทษ ไม่ประกอบด้วยกรรมดำ ประกอบด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 800

กรรมขาว ประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นกำไร ไม่ประกอบด้วยกรรมมี

ทุกข์เป็นกำไร ประพฤติประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นวิบาก ประพฤติ

ไม่ประกอบด้วยธรรมมีทุกข์เป็นวิบาก ประพฤติในญาณ ญาณมีจริยา

เห็นปานนี้ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ญาณจริยา นี้ชื่อว่าญาณจริยา

วิญญาณจริยา อัญญาณจริยา ญาณจริยา ชื่อว่า เพราะอรรถว่า

รู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึง

กล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ.

๑๗. อรรถกถาจริยานานัตตญาณนิทเทส

๑๖๕] พึงทราบวินิจฉัยในจริยานานัตตญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.

ในบทมีอาทิว่า วิญฺาณจริยา มีความดังต่อไปนี้ ชื่อว่า จริยา

เพราะอรรถว่าประพฤติในอารมณ์. จริยาคือวิญญาณ ชื่อว่า วิญญาณ

จริยา.

ชื่อว่า อัญญาณจริยา เพราะอรรถว่าประพฤติด้วยความไม่รู้,

หรือประพฤติเพราะความไม่รู้, หรือประพฤติในอารมณ์ที่ไม่รู้, หรือ

ประพฤติซึ่งความไม่รู้.

๑. อารมฺมเณ จรตีติ จริยา. ชื่อว่า จริยา เพราะอรรถว่าท่องเที่ยวไปในอารมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 801

ชื่อว่า ญาณจริยา เพราะอรรถว่าจริยาคือญาณ, หรือการ

ประพฤติด้วยญาณ, หรือประพฤติเพราะญาณ, หรือประพฤติในอารมณ์

ที่รู้แล้ว, หรือประพฤติซึ่งความรู้.

บทว่า ทสฺสนตฺถาย - เพื่อต้องการเห็น คือ เป็นไปเพื่อ

ต้องการเห็นรูป. บทว่า อาวชฺชนกิริยาพฺยากตา - กิริยาคือความนึก

เป็นอัพยากฤต คือ ชื่อว่า อาวัชชนะ เพราะอรรถว่านำออกไปจาก

สันดานอันเป็นภวังค์ แล้วนึก คือ น้อมไปสู่จิตสันดานในรูปารมณ์.

ชื่อว่า กิริยา เพราะอรรถว่าเป็นเพียงการกระทำโดยความไม่มีวิบาก.

ชื่อว่า อัพยกฤต เพราะอรรถว่าพยากรณ์ไม่ได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล.

บทว่า ทสฺสนฏฺโ - เป็นแต่เพียงเห็น. ชื่อว่า ทสฺสน-

เพราะอรรถว่าเป็นเหตุเห็น หรือเห็นเอง หรือเป็นแต่เพียงเห็นรูป

นั้น. อรรถะ คือ การเห็น ชื่อว่า ทสฺสนฏฺโ.

บทว่า จกฺขุวิญฺาณ - จักขุวิญญาณ ได้แก่ กุศลวิบาก หรือ

อกุศลวิบาก.

บทว่า ทิฏตฺตา - เพราะได้เห็นแล้ว คือ เพราะได้เห็น

รูปารมณ์ด้วยจักขุวิญญาณ เพราะไม่มีการรับอารมณ์ที่ไม่เห็น.

บทว่า อภินิโรปนา วิปากมโนธาตุ - มโนธาตุอันเป็นวิบาก

ที่ขึ้นสู่อารมณ์. ชื่อว่า อภินิโรปนา เพราะอรรถว่ายกขึ้นสู่อารมณ์

ที่เห็นแล้ว. สัมปฏิจฉนมโนธาตุเป็นวิบากทั้งสอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 802

บทว่า อภินิโรปิตตฺตา - เพราะขึ้นแล้ว คือ เพราะขึ้นสู่

รูปารมณ์.

บทว่า วิปากมโนวิญฺาณธาตุ - มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก

คือ สันตีรณมโนวิญญาณธาตุ พิจารณาอารมณ์เป็นวิบากทั้งสอง. แม้

ในโสตทวารเป็นต้นก็มีนัยนี้ แม้เมื่อท่านไม่กล่าวถึงโวฏฐัพพนะ - การ

กำหนดอารมณ์ ในลำดับสันตีรณะ - การพิจารณาอารมณ์ก็พึงถือเอาว่า

ย่อมได้ เพราะพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า วิชานนตฺถาย - เพื่อต้องการรู้แจ้ง คือ เพื่อต้องการ

รู้แจ้งธรรมารมณ์ และอารมณ์มีรูปเป็นต้น.

บทว่า อาวชฺชนกิริยาพยากตา - กิริยาคือความนึกเป็นอัพยา-

กฤต ได้แก่ จิตอันเป็นมโนทวาราวัชชนะ.

บทว่า วิชานนฏฺโ เป็นแต่เพียงรู้แจ้ง ความว่า การรู้แจ้ง

อารมณ์ด้วยสามารถจิตแล่นไป ในลำดับอารมณ์นั้นเป็นอรรถ มิใช่อื่น.

เพราะท่านกล่าวถึงชวนจิตเป็นอกุศล และชวนจิตอันเป็นมรรคผลแห่ง

วิปัสสนาไว้ต่างหากแล้วในเบื้องหน้า ในที่นี้ควรถือเอาชวนจิตที่เหลือ.

แต่ควรถือเอาชวนจิตที่ให้เกิดความร่าเริง จากคำมีอาทิว่า ชื่อว่า

วิญญาณจริยา เพราะอรรถว่าไม่ประพฤติประกอบด้วยกุศลกรรม. เพราะ

๑. ขุ. ป. ๓๑/๑๖๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 803

ท่านกล่าวอเหตุกจิตไว้แล้ว ในทวาร ๖ พึงทราบว่า อเหตุกจิต ๑๘

คือ อาวัชชจิต ๒ ทวิปัญจวิญญาณจิต คือวิญญาณ ๕ อย่างละ ๒

สัมปฏิจฉนจิต ๒ สันตีรณจิต ๓ หสิตุปปาทจิต - จิตให้เกิดความร่าเริง ๑

ว่าเป็นวิญญาณจริยา.

๑๖๖]บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเพื่อจะแสดงว่า ที่ชื่อว่า

วิญญาณจริยา เพราะอรรถว่าเพียงรู้แจ้งอารมณ์ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า

นีราคา จรติ - ประพฤติไม่มีราคะ ความว่า วิญญาณย่อมถึงระหว่าง

การตั้งลงในการประกอบด้วยราคะเป็นต้น และการประกอบด้วยศรัทธา

เป็นต้น. เมื่อไม่มีการประกอบเหล่านั้น วิญญาณย่อมตั้งอยู่ในที่ตั้งของ

ตน. เพราะฉะนั้น พระสารีบุตรเถระย่อมแสดงเพียงกิจของวิญญาณ

แห่งวิญญาณที่ท่านกล่าวแล้วนั้น ด้วยคำมี นีราคา เป็นต้น. ชื่อว่า

นีราคา เพราะอรรถว่าประพฤติไม่มีราคะ. อาจารย์บางพวกกล่าวทำ

เป็นรัสสะว่า นิราคา.

อนึ่ง คนมีราคะด้วยความกำหนัด. มีโทสะด้วยการประทุษร้าย.

มีโมหะด้วยการหลง. มีมานะด้วยการถือตัว. มีทิฏฐิด้วยความเห็น

วิปริต. ความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน หรือความเป็นผู้ไม่สงบ ชื่อว่า อุทธัจจะ.

วิจิกิจฉา มีอรรถดังได้กล่าวแล้ว.

ชื่อว่า อนุสัย เพราะอรรถว่านอนเนื่องในสันดาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 804

กล่าวว่า นิรนุสยา ท่านกล่าวว่า นานุสยา. มีความอย่างเดียวกันว่า

ไม่มีอนุสัย. ในบทนี้ พึงทราบว่า ไม่มีกิเลสอย่างกลางที่ถึงความครอบงำ.

จริงอยู่ วิญญาณจริยาท่านมิได้กล่าวถึงอนุสัยที่ละได้แล้ว. พระ-

สารีบุตรเถระเพื่อแสดงถึงทัสนะในระหว่างโดยปริยายว่า วิญญาณจริยา

ใดมีชื่อว่า นีราคา เป็นต้น. วิญญาณจริยานั้นเป็นอันชื่อว่าพ้นแล้ว

จากราคะเป็นต้น จึงกล่าวบทมีอาทิว่า ราควิปฺปยุตฺตา - พ้นแล้วจาก

อนึ่ง เพื่อเห็นความที่จิตพ้นจากกิเลสเหล่าอื่นอีก จึงกล่าวว่า

กุสเลหิ กมฺเมหิ เป็นอาทิ. กุศลนั่นแหละเป็นกรรมไม่มีโทษ เพราะ

ไม่มีโทษมีราคะเป็นต้น.

ชื่อว่า สุกฺกานิ - กรรมขาว เพราะประกอบด้วยหิริโอตตัปปะ

อันทำความเป็นผู้บริสุทธิ์.

ชื่อว่า สุขุทฺรยานิ เพราะอรรถว่ามีสุขเกิดขึ้น เพราะมีสุข

เป็นไป.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สุขุทฺรยานิ เพราะอรรถว่ามีสุขเกิดขึ้น

เป็นกำไร เพราะมีสุขเป็นวิบาก. พึงประกอบอกุศลโดยตรงกันข้ามกับ

ที่กล่าวแล้ว.

บทว่า วิญฺาเต จรติ ประพฤติในอารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ความว่า

อารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยความรู้ชัด ชื่อว่า วิญญาตะ ในอารมณ์ที่รู้แจ้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 805

แล้วนั้น. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ว่า ชื่อว่า วิญญาณ

จริยา เพราะประพฤติในความรู้แจ้งอารมณ์ที่รู้แจ้ง เพราะประกอบ

ด้วยความรู้ชัดดุจผ้าสีเขียว เพราะประกอบด้วยสีเขียว.

บทว่า วิญฺาณสฺส เอวรูปา จริยา โหติ - วิญญาณมีความ

ประพฤติเห็นปานนี้ ความว่า วิญญาณมีประการดังกล่าวแล้ว เป็น

วิญญาณมีความประพฤติดังได้กล่าวแล้ว. อนึ่ง ท่านกล่าวโดยโวหารว่า

ความประพฤติของวิญญาณ. แต่ไม่มีความประพฤติต่างหากจากวิญญาณ.

บทว่า ปกติปริสุทฺธมิท จิตฺต นิกฺกิเลสฏฺเน - จิตนี้บริสุทธิ์

โดยปรกติ เพราะอรรถว่าไม่มีกิเลส ความว่า จิตมีประการดังกล่าว

แล้วนี้ บริสุทธิ์โดยปรกติ เพราะไม่มีกิเลสมีราคะเป็นต้น. เพราะฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ชื่อว่า วิญญาณจริยา เพราะอรรถว่าประพฤติเพียง

รู้เท่านั้น. ปาฐะว่า นิเกฺลสฏฺเน ก็มี.

[๑๖๗ ] พึงทราบวินิจฉัยใน อญฺาณจริยา ดังต่อไปนี้. บทว่า

มนาปิเกสุ - ในรูปอันเป็นที่รัก ความว่า ชื่อว่า มนาปานิ เพราะ

อรรถว่าเอิบอิ่ม เลื่อมใสในใจ. หรือว่า ยังใจให้เอิบอิ่มให้เจริญ. การ

ยิ่งใจให้เอิบอิ่มนั่นแหละ ชื่อว่า มนาปิกานิ. ในรูปอันเป็นที่เอิบอิ่ม

นั้น. รูปเหล่านั้นจะเป็นรูปที่น่าปรารถนา หรือไม่น่าปรารถนาก็ตาม.

ด้วยอำนาจของศัพท์ คือรูปที่น่ารัก. เพราะราคะย่อมไม่เกิดในรูปที่น่า

ปรารถนาเท่านั้น โทสะก็ย่อมไม่เกิดในรูปที่ไม่น่าปรารถนาเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 806

บทว่า ราคสฺส ชวนตฺถาย - เพื่อความแล่นไปแห่งราคะ คือ

เป็นไปเพื่อความแล่นไปแห่งราคะด้วยอำนาจแห่งสันตติ.

บทว่า อาวชฺชนกิริยาพฺยากตา - กิริยาคือความนึกเป็นอัพยา-

กฤต ความว่า มโนธาตุเป็นกิริยา คือความนึกเป็นอัพยากฤตเป็นการ

กระทำในใจโดยไม่แยบคาย ในจักขุทวาร.

บทว่า ราคสฺส ชวนา - ความแล่นไปแห่งราคะ คือ ราคะ

เป็นไป ๗ ครั้ง. ราคะนั่นแหละเป็นไปบ่อย ๆ.

บทว่า อญฺาณจริยา - ประพฤติในอารมณ์ที่ไม่รู้ ท่านอธิบาย

ว่า ประพฤติราคะโดยไม่รู้ เพราะราคะเกิดโดยไม่รู้. แม้ในบทที่เหลือ

ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า ตทุภเยน อสมเปกฺขนสฺมึ วตฺถุสฺมึ - ในวัตถุที่มิได้

เพ่งเล็งด้วยราคะและโทสะทั้งสองนั้น ได้แก่ ในวัตถุ กล่าวคือ รูปารมณ์

เว้นจากความเพ่งเล็ง ด้วยอำนาจแห่งราคะและโทสะ.

บทว่า โมหสฺส ชวนตถาย - เพื่อเล่นไปแห่งโมหะ คือ เพื่อ

แล่นไปแห่งโมหะ ด้วยอำนาจแห่งวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ

บทว่า อญฺาณจริยา คือ ประพฤติเพื่อความไม่รู้ มิใช่เพื่อ

อย่างอื่น.

บทมีอาทิว่า วินิพนฺธสฺส - แห่งมานะทราบผูกพันเป็นบทกล่าวถึง

สภาพแห่งมานะเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 807

ในบทเหล่านั้น บทว่า วินิพนฺธสฺส ได้แก่ มานะที่ผูกพัน

แล้วตั้งอยู่ด้วยความเย่อหยิ่ง.

บทว่า ปรามฏฺาย แห่งทิฏฐิที่ยึดถือ ได้แก่ ทิฏฐิที่ก้าวล่วง

ความที่รูปเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น แล้วยึดถือความเป็นของเที่ยงเป็นต้น

จากฝ่ายอื่น.

บทว่า วิกฺเขปคตสฺส - แห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน คือ

อุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่านไปในรูปารมณ์.

บทว่า อนิฏฺาคตาย - แห้งวิจิกิจฉาที่ไมถึงความตกลง คือ ถึง

ความไม่ตัดสินใจ.

บทว่า ถามคตฺสฺส - แห่งอนุสัยถึงความเป็นธรรมมีเรี่ยวแรง

คือ ถึงความมีกำลัง.

บทว่า ธมฺเมสุ คือ ในธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น หรือเป็น

ธรรมารมณ์.

๑๖๘ - ๑๗๐] เพราะราคะเป็นต้นย่อมปรากฏด้วยความไม่รู้.

ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระเมื่อจะยังความไม่รู้ให้แปลกออกไป ด้วยการ

ประกอบกิเลสมีราคะเป็นต้น จึงกล่าวบทมีอาทิว่า สราคา จรติ-

ประพฤติมีราคะ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สราคา จรติ พึงทราบถึงความประพฤติ

ด้วยการแล่นไปแห่งโมหะ มานะ ทิฏฐิ มานานุสัย ทิฏฐานุสัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 808

อวิชชานุสัย.

บทว่า สโทสา จรติ ประพฤติมีโทสะ ได้แก่ ประพฤติด้วย

การแล่นไปแห่งอวิชชาอนุสัย คือ โมหะ.

บทว่า สโมหา จรติ - ประพฤติมีโมหะ ได้แก่ ประพฤติด้วย

การแล่นไปแห่งราคะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ และวิจิกิจฉานุสัย.

บทว่า สมานา จรติ - ประพฤติมีมานะ ได้แก่ ประพฤติ

ด้วยการแล่นไปแห่งราคะ โมหะ กามราคะ ภวราคะ. อวิชชานุสัย.

บทว่า สทิฏฺิ จรติ - ประพฤติมีทิฏฐิ ได้แก่ ประพฤติด้วย

การแล่นไปแห่งราคะ โมหะ กามราคะและอวิชชานุสัย.

บทว่า สอุทฺธจฺจา จรติ สวิจิกิจฺฉา จรติ - ประพฤติมี

อุทธัจจะ ประพฤติมีวิจิกิจฉา ได้แก่ ประพฤติด้วยการแล่นไปแห่งโมหะ

คืออวิชชานุสัย.

บทว่า สานุสยา จรติ - ประพฤติมีอนุสัย แม้ในบทนี้ก็ควรทำ

อนุสัยหนึ่ง ๆ ให้เป็นมูลตามันที่กล่าวแล้วนั่นแหล่ะ แล้วประกอบ

ความประพฤติมีอนุสัย ด้วยอำนาจอนุสัยที่เหลือซึ่งได้ในจิตนั้น.

บทมีอาทิว่า ราคสมฺปยุตฺตา - ประพฤติประกอบด้วยราคะ

เป็นคำไวพจน์ของความประพฤติมีราคะเป็นต้นนั่นเอง.

จริงอยู่ ความประพฤตินั้นเอง ย่อมเป็นไปกับด้วยราคะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 809

เป็นต้นด้วยสามารถการประกอบกัน เพราะเหตุนั้นจึงได้ ชื่อทั้งหลาย

มีอาทิว่า สราคา-มีราคะ. ความประพฤติ ประกอบด้วยประการทั้งหลาย

การเกิดร่วมกัน ดับร่วมกัน มีวัตถุร่วมกัน และอารมณ์ร่วมกัน

เสมอด้วยราคะเป็นต้น เพราะเหตุนั้นจึงได้ ชื่อทั้งหลาย มีอาทิว่า

ราคสมฺปยุตฺตา.

อนึ่ง เพราะความประพฤตินั้นไม่ประกอบด้วยกรรมเป็นกุสล

เป็นต้น ประกอบด้วยกรรมเป็นเสกสลเป็นต้น. ฉะนั้น พระสารีบุตร

เถระ. เพื่อแสดง อญฺาณเจริยา จึงกล่าวบทมีอาทิว่า กุสเลหิ

กมฺเมหิ - ด้วยกรรมเป็นกุสล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อณฺาเต - ในอารมณ์ที่ไม่รู้ คือ ใน

อารมณ์ที่ไม่รู้แห่งสภาวะที่เป็นจริง เพราะโมหะมีความไม่รู้เป็นลักษณะ.

บทที่เหลือมีความได้กล่าวไว้แล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในญาณจริยาดังต่อไปนี้. เพราะกิริยาคืออาวัช-

ชนะ - การนึกเป็นอัพยากฤต เป็นปัจจัยในลำดับแห่งวิวัฏฏนานุปัส-

สนา - การพิจารณาเห็นความคลายออกเป็นต้นไม่มี ฉะนั้น เพื่อ

ประโยชน์แก่วิวัฏฏนานุปัสนาเป็นต้นเหล่านั้น ท่านจึงไม่กล่าวถึง

กิริยาคือการนี้เป็นอัพยาฤต กล่าววิวัฏฏนานุปัสนาเป็นต้นเท่านั้น.

จริงอยู่ การนึกย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่อนุโลมญาณเท่านั้น จากนั้น

ท่านกล่าวถึงวิวัฏฏนานุปัสนามรรคและผล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 810

อนึ่ง ในบทว่า ผลสมาปตฺติ นี้ ญาณจริยาจะเกิดในลำดับ

มรรคก็ตาม เกิดในลำดับผลก็ตาม. ท่านประสงค์เอาแม้ทั้งสองอย่าง.

ในบทมีอาทิว่า นีราคา จรติ - ประพฤติไม่มีราคะ พึงทราบ

ความไม่มีราคะเป็นต้น ด้วยการกำจัดราคะเป็นต้น. โดยอรรถเพียง

ความไม่มีราคะเป็นต้นในวิญญาณจริยา.

บทว่า าเต - ในอารมณ์ที่รู้ คือ ในอารมณ์ที่รู้ตามความ

เป็นจริง. พระสารีบุตรเถระแสดงถึงความผสมกันและกันของจริยา ๓

ด้วยบทมีอาทิว่า อญฺา วิญฺณาณจริยา. เพราะวิญญาณจริยามี

อเหตุกจิตเกิดขึ้นด้วยสามารถเพียงทำหน้าที่รู้. อัญญาณจริยาด้วย

สามารถอกุศลจิตเกิดขึ้น ๑๒ ดวง มีหน้าที่ไม่รู้. ญาณจริยาด้วยสามารถ

แห่งวิปัสสนา มรรค ผล ทำหน้าที่รู้โดยพิเศษ.

พึงทราบว่า จริยาเหล่านี้ ผสมกันและกัน. มีสเหตุกกามาวจร

เป็นกิริยากุศล เว้นวิปัสสนา มีสเหตุกกามาวจรเป็นวิบาก และมี

รูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล เป็นอัพยากฤต พ้นจากจริยา ๓.

พึงทราบว่า ปัจจเวกขณญาณของพระเสกขะ อเสกขะ เป็น

การพิจารณานิพพาน มรรค ผล เพราะท่านแสดงญาณจริยา อัน

เป็นวิวัฏฏนานุปัสนา มีนิพพานเป็นอารมณ์ ท่านสงเคราะห์เข้าใน

ญาณจริยา. เพราะจริยาแม้เหล่านั้นทำหน้าที่ของญาณโดยพิเศษด้วย

ประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาจริยานานัตตญาณนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 811

ภูมินานัตตญาณนิทเทส

[๑๗๑]ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ

อย่างไร ?

ภูมิ ๔ คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาจรภูมิ โลกุตรภูมิ.

[๑๗๒]กามาวจรภูมิเป็นไฉน ? ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันท่องเที่ยว คือ นับเนื่องใน

โอกาสนี้ ข้างล่างตลอดไปถึงอเวจีนรกเป็นที่สุด ข้างบนขึ้นไปจนถึง

เทวดาชาวปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด นี้เป็นกามาวจรภูมิ.

[๑๗๓] รูปาวจรภูมิเป็นไฉน ? ธรรม คือ จิตและเจตสิกของ

บุคคลผู้เข้าสมาบัติ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก หรือของท่าน ผู้มี

พรหมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันท่องเที่ยว คือ นับเนื่องใน

โอกาสนี้ ข้างล่างตั้งแต่พรหมโลกขึ้นไปจนถึงเทวดาชั้นอกนิฏฐะ ข้างบน

เป็นที่สุด นี้ชื่อว่ารูปาจรภูมิ.

[๑๗๔] อรูปาวจรภูมิเป็นไฉน ? ธรรม คือ จิตละเจตสิก

ของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก หรือของท่าน

ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันนับเนื่องในโอกาสนี้ ข้าง

ล่างตั้งแต่เทวดาผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ ตลอดขึ้นไปจนถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 812

เทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้างบนเป็นที่สุด นี้ชื่อว่า

อรูปาวจรภูมิ.

[๑๗๕] โลกุตรภูมิเป็นไฉน ? มรรค ผล และนิพพานธาตุ

อันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง อันเป็นโลกุตระ นี้ชื่อว่าโลกุตรภูมิ ภูมิ ๔

เหล่านี้.

[๑๗๖] ภูมิ ๔ อีกประการหนึ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมสัป-

ธาน ๔ อิทธิบาท ๔ ฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปาวจรสมาบัติ ๔

ปฏิสัมภิทา ๔ ปฏิปทา ๔ อารมณ์ ๔ อริยวงศ์ ๔ สังคหวัตถุ ๔

จักร ๔ ธรรมบท ๔ ภูมิ เหล่านี้ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรม

นั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด.

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔

เป็นภูมินานัตตญาณ.

๑๘. อรรถกถาภูมินานัตตญาณนิทเทส

[๑๗๑ - ๑๗๒] พึงทราบวินิจฉัยในภูมินานัตตญาณนิทเทส ดัง

ต่อไปนี้. บทว่า ภูมิโย - ภูมิทั้งหลาย ได้แก่ ภาคหรือปริจเฉท. ใน

บทว่า กามาวจรา นี้ ได้แก่ กาม ๒ อย่าง คือ กิเลสกาม ๑ วัตถุ-

กาม ๑. ฉันทราคะเป็นกิเลสกาม. วัฏฏะเป็นไปในภูมิ ๓ เป็นวัตถุกาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 813

กิเลสกาม ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่าให้ใคร่. วัตถุกาม ชื่อว่า กาม

เพราะอรรถว่าอันบุคคลใคร่. กาม ๒ อย่างนั้น เคลื่อนไปในประเทศใด

ด้วยความเป็นไป. ประเทศนั้นชื่อว่า กามาวจร เพราะอรรถว่าเป็น

ที่เคลื่อนไปแห่งกาม.

อนึ่ง ประเทศนั้นเป็นกามาวจร ๑๑ คือ อบาย ๔ มนุษยโลก ๑

และเทวโลก ๖. เหมือนอย่างว่า บุรุษพร้อมด้วยพ่อค้าเกวียนท่องเที่ยว

ไปในประเทศใด ประเทศนั้น แม้เมื่อมีสัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้า เหล่าอื่น

ท่องเที่ยวไป ท่านก็เรียกว่า สสัตถาวจร - เป็นที่เที่ยวไปของพ่อค้า

เกวียน เพราะกำหนดพ่อค้าเกวียนเหล่านั้นไว้ฉันใด แม้เมื่อมีรูปา-

วจรเป็นต้นเหล่าอื่นเคลื่อนไปในประเทศนั้น ประเทศนั้นท่านก็เรียกว่า

กามาวจรอยู่นั่นแหละ เพราะกำหนดรูปาวจรเป็นต้นเหล่านั้นไว้ฉันนั้น.

ท่านกล่าวว่า กาม เพราะลบบทหลังเหมือนรูปภพท่านกล่าว

ว่า รูป ฉะนั้น. ธรรมอย่างหนึ่ง ๆ อันเนื่องด้วยกามนั้น ชื่อว่า

กามาวจร เพราะเคลื่อนไปในกามอันได้แก่ประเทศ ๑ อย่างนี้. แม่ว่า

ธรรมบางอย่างในกามาวจรนี้เคลื่อนไปในรูปภพและอรูปภพก็จริง ถึง

ดังนั้น แม้ธรรมเหล่านั้นเคลื่อนไปในที่อื่น ก็พึงทราบว่าเป็นกามาวจร

โดยแท้ เหมือนอย่างว่า ช้างได้ชื่อว่า สังคามาวจร เพราะท้องเที่ยวไป

ในสงคราม แม้เที่ยวไปในนครท่านก็กล่าวว่าสังคามาวจร - ท่องเที่ยว

ไปในสงครามเหมือนกัน. สัตว์ทั้งหลายเที่ยวไปบนบกในน้ำ แม้อยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 814

ในที่มิใช่บกและมิใช่น้ำ ท่านกล่าวว่า สัตว์บก สัตว์น้ำ เหมือนกัน

ฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กามาวจร เพราะอรรถว่ากามเคลื่อนไป

ในธรรมทั้งหลายมีประการดังกล่าวแล้วเหล่านี้ ด้วยการทำเป็นอารมณ์.

อนึ่ง กามนั้นแม้เคลื่อนไปในรูปาวจรธรรม และอรูปาวจรธรรม

ก็จริง ถึงดังนั้น พึงทราบข้อเปรียบเทียบดังนี้เหมือนอย่างว่า เมื่อ

กล่าวว่า ชื่อว่าลูกวัว เพราะร้อง ชื่อว่าควาย เพราะนอนบนแผ่นดิน.

สัตว์จำพวกไม่ร้อง หรือจำพวกนอนบนแผ่นดิน ชื่อนั้นย่อมมีแก่สัตว์

ทั้งปวง ฉะนั้น.

[๑๗๓] ในบทนี้ท่านเพ่งถึงภูมิศัพท์ กล่าวทำธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมดให้เป็นหมวดเดียวกันแล้ว จึงทำให้เป็นอิตถีลิงค์ว่า กามาวจรา.

รูปภพเป็นรูปในบทมีอาทิว่า รูปาวจรา. ชื่อว่ารูปาวจร เพราะท่อง-

เที่ยวไปในรูปนั้น.

[๑๗๔] อรูปภพเป็นอรูป. ชื่อว่า อรูปาวจร เพราะท่องเที่ยว

ไปในอรูปภูมินั้น.

[๑๗๕] ชื่อว่า ปริยาปนฺนา เพราะอรรถว่านับเนื่อง คือ หยั่ง

ลงภายใน ในเตภูมิกวัฏ. ชื่อว่า อปริยาปนฺนา เพราะอรรถว่าไม่

นับเนื่องในเตภูมิกวัฏนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 815

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งภูมิ มีกามาวจรภูมิเป็นต้นดังต่อ

ไปนี้.

บทว่า เหฏฺโต - ข้างล่าง คือ โดยส่วนล่าง.

บทว่า อวีจินิรย - อเวจีนรก ชื่ออวีจิ เพราะอรรถว่าคลื่น

แห่งเปลวไฟ แห่งสัตว์ แห่งเวทนา คือ ช่องว่า ในระหว่างไม่มีใน

อเวจีนี้. ชื่อว่า นิรยะ เพราะอรรถว่าความเจริญ คือ ความสุข ไม่มี

ในนรกนี้. อนึ่ง ชื่อว่า นิรยะ เพราะอรรถว่าไม่มีความยินดี.

บทว่า ปริยนฺต กริตฺวา - กระทำเป็นที่สุด คือ กระทำนรก

กล่าวคืออเวจีนั้นให้เป็นที่สุด. บทว่า อุปริโต - ข้างบน คือ โดยส่วน

บท. บทว่า ปรนิมฺมิตวสวตฺตี เทเว - เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

คือ เทวดาที่ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะยังอำนาจให้เป็นไปในกามที่ผู้อื่น

เนรมิตให้. บทว่า อนฺโต กริติวา -กระทำในภายใน คือ ใส่ไว้ใน

ภายใน. บทว่า ย เอตสฺมึ อนฺตเร - ในระหว่างนี้ คือ ในโอกาสนี้.

อนึ่ง บทว่า ย เป็นลิงควิปลาส.

บทว่า เอตฺถาวจรา - ท่องเที่ยวไปในโอกาสนี้ ความว่า ด้วย

บทนี้ เพราะแม้ขันธ์เป็นต้นเหล่าอื่นเที่ยวไปในโอกาสนี้บางครั้ง โดย

เกิดขึ้นในที่บางแห่ง ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า อวจรา เพื่อไม่สงเคราะห์

ขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้นขันธ์เป็นต้นเหล่าใด หยั่งลงใน

โอกาสนี้ เที่ยวไปโดยเกิดในที่ทุกหนทุกแห่ง และในกาลทุกเมื่อ. อนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 816

เที่ยวไปในส่วนเบื้องล่าง โดยความเป็นไปหมายถึงเกิดภายใต้อเวจีรก.

ย่อมเป็นอันทำการสงเคราะห์ขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น. เพราะขันธ์เป็นต้น

เหล่านั้น ชื่อว่า อวจรา เพราะหยั่งลงเที่ยวไป. และเที่ยวไปในส่วน

เบื้องล่าง.

บทว่า เอตฺถ ปริยาปนฺนา - อันนับเนื่องในโลกนี้ ก็ด้วย

บทนี้ เพราะขันธ์เป็นต้นเหล่านี้ ท่องเที่ยวไปในโอกาสนี้ ชื่อว่าย่อม

ท่องเที่ยวไปแม้ในโอกาสอื่น. แต่ไม่นับเนื่องในโอกาสนี้. ฉะนั้น

เมื่อขันธ์เป็นต้นเหล่านั้นท่องเที่ยวไปแม้ในที่อื่น ย่อมเป็นอันท่าน

กำหนดเอา

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงธรรมอันนับเนื่องในโอกาส

นี้ โดยความเป็นปัจจัยแห่งความว่าจากกอง และโดยความเป็นจริง

จึงกล่าวว่า ขนฺธธาตุอายตนา เป็นอาทิ.

บทว่า พฺรหฺมโลก - พรหมโลก คือ ฐานของพรหมอันได้

ภูมิของปฐมฌาน. บทว่า อกนิฏฺเ - เทพชั้นอกนิฏฐะ คือ มิใช่

กนิฏฐะ เพราะอรรถว่าสูงสุด.

บทว่า สมาปนฺนสฺส คือ เข้าสมาบัติ. ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึง

กุศลฌาน.

บทว่า อุปฺปนฺนสฺส คือ เกิดในพรหมโลกด้วยอำนาจวิบาก.

ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึง วิปากฌาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 817

บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหาริสฺส - ของท่านผู้มีธรรมเป็นเครื่อง

อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ได้แก่ ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน คือ

ในอัตภาพที่ประจักษ์ ชื่อว่า ทิฏธมฺมสุขวิหาโร. ชื่อว่า ทิฏฺฐ-

ธมฺมสุขวิหารี เพราะอรรถว่ามีทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรมนั้น. ได้แก่

พระอรหันต์. ของท่านผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันนั้น.

ด้วยบทนั้นท่านกล่าวถึง กิริยาญาณ.

บทว่า เจตสิกา ได้แก่ ธรรมที่เกิดในจิต. อธิบายว่าธรรม

สัมปยุตด้วยจิต. บทว่า อากาสานญฺจายตนูปเค ได้แก่ เทวดาผู้เข้า

ถึงอากาสานัญจายตนภพ. แม้ในบทที่สองก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า มคฺคา ได้แก่ อริยมรรค ๔. บทว่า มคฺคผลานิ

ได้แก่ ผลของอริยมรรค ๔.

บทว่า อสงฺขตา จ ธาตุ - อสังขตธาตุ คือ นิพพานธาตุที่

ปัจจัยมิได้ตกแต่ง.

[๑๗๖] บทว่า อปราปิ จตสฺโส ภูมิโย - ภูมิ ๔ อีกประการ

หนึ่ง พึงทราบด้วยสามารถจตุกะหนึ่ง ๆ.

บทว่า จตฺตาโร สติปฏฺานา - สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ กายา-

นุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติ-

ปัฏฐาน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 818

มีอธิบายดังนี้ ชื่อว่า ปฏฺาน เพราะอรรถว่าตั้งไว้ ความว่า

เข้าไปตั้งไว้ คือ หลั่งไหลแล่นเป็นไป. สตินั่นแหละตั้งไว้ ชื่อว่าสติ-

สติปัฏฐาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สติ เพราะอรรถว่าความระลึก. ชื่อว่า

ปฏฺาน เพราะอรรถว่าเข้าไปตั้งไว้. สตินั้นด้วยเป็นปัฏฐาน คือ การ

เข้าไปตั้งไว้ด้วย ชื่อว่า สติปัฏฐาน. ชื่อว่า สติปัฏฐาน ทั้งหลาย

เพราะสติเหล่านั้นมากด้วยอารมณ์.

บทว่า จตฺตาโร สมฺมดปฺปธานา - สัมมัปธาน ๔ คือ ทำความ

เพียรเพื่อไม่ให้อกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น ๑ ทำความเพียรเพื่อ

ละอกุศลที่เกิดขึ้น ๑ ทำความเพียรเพื่อให้กุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

ทำความเพียรเพื่อความตั้งอยู่แห่งกุศลที่เกิดขึ้น ๑. ชื่อว่า ปธาน เพราะ

อรรถว่าเป็นเหตุตั้งไว้ คือ พยายาม. บทนี้เป็นชื่อของความเพียร.

บทว่า สมฺมปฺปาน คือ เพียรไม่วิปริต เพียรตามเหตุ เพียร

ด้วยอุบาย เพียรโดยแยบคาย, ความเพียรอย่างเดียวเท่านั้นท่านทำ

เป็น ๔ ส่วน ด้วยสามารถแห่งกิจจึงกล่าวว่า สมฺมปฺปธานา.

บทว่า จตฺตาโร อิทฺธิปาทา - อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ฉันทะ

วีริตะ จิตตะ วิมังสา. ความของบทนั้นได้กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า จตฺตาริ ฌานานิ - ฌาน ๔ ได้แก่ ปฐมฌานมีองค์ ๕

คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา. ทุติยฌานมีองค์ คือ ปีติ

สุข เอกัคคตา. ตติยฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา. จตุตถฌาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 819

มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา. องค์เหล่านี้ท่านกล่าวว่า ฌาน

เพราะอรรถว่าเข้าเพ่งอารมณ์

บทว่า จตสฺโส อปฺปมญฺาโย - อัปปมัญญา ได้แก่

เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ชื่อว่าอัปปมัญญา ด้วยการแผ่ไปไม่

มีประมาณ จริงอยู่ อัปปมัญญาเหล่านั้น ย่อมแผ่ไปยังสัตว์ทั้งหลาย

หาประมาณมิได้ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์. หรือว่าแผ่ไปด้วยอำนาจการ

แผ่ไปโดยไม่มีเหลือแม้สัตว์ผู้เดียว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อปฺป-

มญฺาโย ด้วยอำนาจการแผ่ไปไม่มีประมาณ.

บทว่า จคสฺโส อรูปสมาปตฺโย - อรูปสมาบัติ ได้แก่

อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตน-

สมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ.

บทว่า จคสฺโส ปฎสมฺภิทา - ปฏิสัมภิทา ๔ มีความดังได้

กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า จคสฺโส ปฏิปทา - ปฏิปทา ๔ ได้แก่ ปฏิปทา ๔ ที่

พระผุ้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา-ปฏิบัติลำบาก รู้ช้า.

ทุกฺขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา-ปฏิบัติลำบาก รู้เร็ว.

สุขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา-ปฏิบัติสบาย รู้ช้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 820

สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา - ปฏิบัติสบาย รู้เร็ว.

บทว่า จตฺตาริ อารมฺมณานิ - อารมณ์ ๔ ได้แก่ อารมณ์ ๔

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ปริตฺต ปริตฺตารมฺมณ - มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ๑

ปริตฺต อปฺปมาณารมฺมณ - มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ๑

อปฺปมาณ ปริตฺตารมฺมณ - มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ๑

อปฺปมาณ อปฺปมาณารมฺมณ - มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ๑

พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงฌานมีอารมณ์ ด้วยอารมณ์ทั้งหลาย

โดยไม่ตั้งใจแน่วแน่ กำหนดอารมณ์มีกสิณเป็นต้น.

บทว่า จตฺตาโร อริยวสา - อริยวงศ์ ๔ ความว่า พระพุทธ-

เจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้า ท่านกล่าวว่า

เป็นพระอริยะ. วงศ์เชื้อสาย ประเพณีของพระอริยะเหล่านั้น ชื่อว่า

วงศ์ของพระอริยะ. วงศ์ของพระอริยะเหล่านั้นเป็นอย่างไร ? ธรรม ๔

๑. ที. ปา ๑๑/๘๒.

๒. มีกำลังน้อย ได้แก่ฌานที่ไม่คล่องแคล่ว ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดฌานที่สูงขึ้นไป

มีกำลังมาก ได้แก่ฌานที่คล่องแคล่ว เป็นปัจจัยให้เกิดฌานสูงขึ้นไป

อารมณ์เล็กน้อย ได้แก่ฌานที่มีอารมณ์ที่ขยายไม่ได้

อารมณ์ไพบูลย์ ได้แก่ฌานที่มีอารมณ์ที่ขยายได้

ใน อภิ. ส. ๓๔/๑๖๙ - ๑๗๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 821

เหล่านี้ คือ สันโดษด้วยจีวร ๑. สันโดษด้วยบิณฑบาต ๑. สันโดษ

ด้วยเสนาสนะ ๑. ความยินดีในภาวนา ๑. เมื่อกล่าวถึงสันโดษด้วย

บิณฑบาต ท่านกล่าวถึงสันโดษด้วยคิลานปัจจัย เพราะภิกษุใดสันโดษ

ในบิณฑบาต ภิกษุนั้นจักไม่สันโดษในคิลานปัจจัยได้อย่างไร.

บทว่า จตฺตาริ สงฺคหวตฺถูนิ - สังคหวัตถุ ๔ ได้แก่ สังคห-

วัตถุ ๔ เหล่านี้ คือ ทาน ๑. เปยยวัชชะ ๑. อัตถจริยะ ๑. สมา-

นัตตตา ๑. เป็นเหตุสงเคราะห์ชน ๔ เหล่านี้.

บทว่า ทาน ได้แก่ การให้ตามสมควร.

บทว่า เปยฺยวชฺช ได้แก่ พูดนำรักตามสมควร.

บทว่า อตฺถจริยา ได้แก่ การทำความเจริญ ด้วยทำกิจที่ควร

ทำในที่นั้น ๆ และด้วยการสั่งสอนสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ.

บทว่า สมฺนตฺตตา - ความเป็นผู้มีตนเสมอ คือ มีความเสมอ

ไม่ถือตัว. อธิบายว่า มีประมาณตน คิดประมาณตน. ชื่อว่า สมา-

นตฺโต เพราะอรรถว่ามีตนเสมอคนอื่น. ความเป็นผู้มีตนเสมอ ชื่อว่า

สมนัตตตา. อธิบายว่า การคิดประมาณตนว่า ผู้นี้เลวกว่าเรา ผู้นี้

เสมอเรา. ผู้นี้ดีกว่าเราแล้วประพฤติ คือ ทำตามสมควรแก่บุคคลนั้น.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความเป็นผู้ร่วมสุขร่วมทุกข์ ชื่อว่า สมา-

นัตตตา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 822

ในบทว่า จตฺตาริ จกฺกานิ - จักร ๔ นี้ ได้แก่ ชื่อว่าจักร

มี ๕ อย่าง คือ จักรทำด้วยไม้ ๑ จักรทำด้วยแก้ว ๑ จักรคือธรรม ๑

จักรคืออิริยาบถ ๑ จักรคือสมบัติ ๑.

จักรทำด้วยไม้ในบทว่า ข้าแต่เทวะ จักรนั้นสำเร็จแล้ว ๖

เดือน หย่อน ๖ คืน. จักรทำด้วยแก้วในบทว่า กำหนดเอาโดย

ยังจักรให้หมุนไป. จักรคือธรรมในบทว่า จักรอันเราให้เป็นไป

แล้ว. จักรคืออิริยาบถในบทว่า สรีรยนต์มีจักร ๔ มีทวาร ๙.

คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจักร ๔ อย่างเหล่านี้, จักร ๔

ย่อมเป็นไปแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้มาประชุมพร้อมกัน

แล้ว, จักร ๔ อย่างคืออะไร ? คือ ปฏิรูปเทสวาสะ ๑ สัปปุริสา-

ปัสสยะ ๑ อัตตสัมมาปณิธิ ๑ บุพเพกตปุญญตา ๑ นี้ ชื่อว่า

จักรคือสมบัติ. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาจักรคือสมบัตินั่นเอง.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปฏิรูปเทสวาโส - อยู่ในประเทศอัน

สมควร ได้แก่ บริษัท ๔ ปรากฏในประเทศใด. อยู่ในประเทศอัน

สมควรเห็นปานนั้น.

บทว่า สปฺปุริสาปสฺสโย - อาศัยสัตบุรุษ ได้แก่ พึง เสพ

คบ สัตบุรุษมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น.

๑. องฺ. จตุกฺก ๒๑/๓๒. ๒. องฺ. ติก. ๒๐/๔๕๔. ๓. ขุ. ชา. ๒๗/๑๗๙๑.

๔. ขุ. สุ. ๒๕/๓๗๗. ๕. ส. ส. ๑๕/๗๔. ๖. องฺ. จตฺตก. ๒๑/๓๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 823

บทว่า อตฺตสมฺมาปณิธิ - ตั้งตนไว้ชอบ การตั้งตนไว้ชอบ

หากว่าครั้งก่อนเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น ละความไม่มีศรัทธาเป็นต้น

นั้น แล้วตั้งอยู่ในศรัทธาเป็นต้น.

บทว่า ปุพฺเพ จ กตปุญฺตา - ความเป็นผู้ทำบุญไว้ในกาล-

ก่อน ได้แก่ ความเป็นผู้สะสมกุศลไว้ในกาลก่อน. นี้เป็นข้อกำหนด

ในบทนี้. กุศลกรรมที่ทำด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ กุศลนั้นนั่นแหละ

ย่อมนำบุรุษนั้นเข้าไปในประเทศอันสมควร ให้คบสัตบุรุษ บุคคล

นั้นนั่นแหละ. ย่อมตั้งตนไว้ชอบ.

บทว่า จตฺตาริ ธมฺมปทานิ - ธรรมบท ๔ ได้แก่ ส่วนแห่ง

ธรรม ๔. ธรรมบท ๔ คืออะไร ? คือ อนภิชฌา ๑ อัพยาปาทะ ๑

สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑

ความไม่โลภก็ดี การบรรลุฌาน วิปัสสนา มรรค ผล นิพพาน

ด้วยอำนาจแห่งอนภิชฌาก็ดี ชื่อว่าธรรมบท คือ อนภิชฌา.

ความไม่โกรธก็ดี การบรรลุฌานเป็นเป็นต้น ด้วยเมตตาเป็นหลัก

ก็ดี ชื่อว่าธรรมบท คือ อัพยาปาทะ.

การตั้งสติไว้ชอบก็ดี การบรรลุฌานเป็นต้น ด้วยสติเป็นหลัก

ก็ดี ชื่อว่าธรรมบท คือ สัมมาสติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 824

สมาบัติ ๘ ก็ดี การบรรลุฌานเป็นต้น ด้วยสมาบัติ ๘ เป็นหลัก

ก็ดี ชื่อว่าธรรมบท คือ สัมมาสมาธิ.

อีกอย่างหนึ่ง การบรรลุเป็นต้น ด้วยอำนาจอสุภะ ๑๐ ชื่อว่า

ธรรมบท คือ อนภิชฌา. บรรลุฌานด้วยอำนาจพรหมวิหาร ๑๐ ชื่อว่า

อัพยาปาทะ. บรรลุฌานด้วยอำนาจอนุสติ ๑๐ และอาหาเรปฏิกูลสัญญา

ชื่อว่าธรรมบท คือ สัมมาสติ. บรรลุฌานด้วยอำนาจกสิณ ๑๐ และ

อานาปานาสติ ชื่อว่าธรรมบท คือ สัมมาสมาธิ. ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อิมา จตสฺโส ภูมิโย - ภูมิ ๔ เหล่านี้พึงประกอบบท

หนึ่ง ๆ ด้วยสามารถจตุกะนั่นแล.

จบ อรรถกถาภูมินานัตตญาณนิทเทส

ธรรมนานัตตญาณนิทเทส

[๑๗๗] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ เป็นธรรมนานัตตญาณ

อย่างไร พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างไร ย่อมกำหนด

กามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต ย่อม

กำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต ย่อมกำหนด

อรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต ย่อมกำหนดโลกุตร-

ธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 825

[๑๗๘] พระโยคาวจรย่อมกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล

เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดกุศลกรรมบถ ๑๐

เป็นฝ่ายกุศล ย่อมกำหนดอกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นฝ่ายอกุศล ย่อม

กำหนดรูป วิบากและกิริยาเป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรย่อมกำหนด

กามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล. เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้.

[๑๗๙] พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปาวจรธรรมฝ่ายกุศล เป็น

ฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดฌาน ๔ ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลก

นี้ เป็นฝ่ายกุศล ย่อมกำหนดฌาน ๔ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก

เป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล

เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้.

[๑๘๐] พระโยคาวจรย่อมกำหนดอรูปาวจรธรรม เป็นฝ่าย

กุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดอรูปาวจรสมาบัติ ๔

ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้ เป็นฝ่ายกุศล ย่อมกำหนดอรูปาวจรสมาบัติ

๔ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลกนี้ เป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจร

ย่อมกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้.

[๑๘๑] พระโยคาวจรย่อมกำหนดโลกุตรธรรม เป็นฝ่ายกุศล

เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร ย่อมกำหนดอริยมรรค ๔ เป็นฝ่ายกุศล

ย่อมกำหนดสามัญญผล ๔ และนิพพาน เป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคา-

วจรย่อมกำหนดโลกุตรธรรม เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 826

[๑๘๒] ธรรมมีความปราโมทย์เป็นเบื้องต้น ๙ ประการ เมื่อ

พระโยคาวจรมนสิการโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึง

ความปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ

ย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ย่อม

เห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อ

เบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด เพราะคลายความกำหนัด จิตย่อม

หลุดพ้น เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยความทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์

ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อ

มนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดย

ความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ เมื่อ

มนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ

โดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดย

ความเป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดย

ความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิด

ปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มี

ความสุข จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ย่อมเห็นตามความเป็นจริง

เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลาย

ความกำหนัด เพราะคลายความกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น ธรรมมี

ความปราโมทย์เป็นเบื้องต้น ๙ ประการนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 827

[๑๘๓] ธรรมมีโยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้น ๙ ประการ เมื่อ

พระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิด

ปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อม

สงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยความสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น

ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย

นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อพระโยคาวจรมนสิการ

โดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์... เมื่อ

มนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์

ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง

ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความ

เป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบาย้อนแยบคาย

โดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เสื่อมนสิการเวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยอุบาย

อันแยบคายโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการ

ชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิด

ปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย โดยความ

เป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ

เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข

จิตย่อมตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 828

นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมอันมี

โยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้น ๙ ประการนี้.

[๑๘๔] ความต่าง ๙ ประการ ความต่างแห่งผัสสะอาศัยความ

ต่างแห่งธาตุเกิดขึ้น ความต่างแห่งเวทนาอาศัยความต่างแห่งผัสสะเกิด

ขึ้น ความต่างแห่งสัญญาอาศัยความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้น ความต่าง

แห่งความดำริอาศัยความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้น ความต่างแห่งฉันทะ

อาศัยความต่างแห่งความดำริเกิดขึ้น ความต่างแห่งความเร่าร้อน อาศัย

ความต่างแห่งฉันทะเกิดขึ้น ความต่างแห่งการแสวงหาอาศัยความต่าง

แห่งความเร่าร้อนเกิดขึ้น ความต่างแห่งการได้รูปเป็นต้น อาศัยความ

ต่างแห่งการแสวงหาเกิดขึ้น ความต่าง ๙ ประการนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะ

อรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ประการ เป็นธรรม-

นานัตตญาณ.

อรรถกถา ธรรมนานัตตญาณนิทเทส

[๑๗๗ - ๑๗๘] พึงทราบวินิจฉัยในธรรมนานัตตญาณนิทเทส

ดังต่อไปนี้. บทว่า กมฺมปเถ ชื่อว่า กรรมบถ เพราะอรรถว่ากรรม

เหล่านั้นเป็นทางเพื่อไปสู่อบาย. ซึ่งกรรมบถเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 829

กุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่ กายสุจริต ๓ คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ ๑

เว้นจากลักทรัพย์ ๑ เว้นจากประพฤติผิดในกาม ๑ วจีสุจริต ๔ คือ

เว้นจากพูดปด ๑ เว้นจากพูดส่อเสียด ๑ เว้นจากพูดคำหยาบ ๑ เว้น

จากพูดเพ้อเจ้อ ๑, มโนสุจริต ๓ คือ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ ๑ไม่พยาบาท ๑

เห็นชอบ ๑.

อกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้ ได้แก่ กายทุจริต ๓ คือ ฆ่าสัตว์ ๑

ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑. วจีทุจริต ๔ คือ พูดปด ๑ พูด

ส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑. มโนทุจริต ๓ คือ เพ่ง

เล็งอยากได้ ๑ พยาบาท ๑ เห็นผิด ๑.

อนึ่ง แม้ทั้งกุศลและอกุศลท่านก็กล่าวว่ากรรมบถ เพราะให้

เกิดปฏิสนธิ. เหลือจากที่กล่าวแล้วท่านไม่กล่าวว่ากรรมบถ เพราะไม่

มีส่วนในการให้เกิดปฏิสนธิ. พึงทราบว่า แม้กุศลและอกุศลที่เหลือ

ท่านก็ถือเอาด้วยความมุ่งหมายถึงกุศลและอกุศลอย่างหยาบ.

บทว่า รูป ได้แก่ รูป ๒๘ โดยประเภทเป็นภูตรูปและอุปา-

ทายรูป.

บทว่า วิปาก ได้แก่ วิบาก ๒๓ ด้วยอำนาจแห่งกามาวจรกุศล-

วิบาก ๑๖. อกุศลวิบาก ๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 830

บทว่า กิริย ได้แก่ กามาวจรกิริยา ๑ ด้วยสามารถแห่งปริตต-

กิริยา ๓. มหากิริยา ๘. ชื่อว่ากิริยาเพราะเป็นเพียงกิริยาโดยไม่มีวิวิบาก.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านกล่าวกามาวจรด้วยอำนาจแห่งรูปเป็นอัพยา-

กฤต วิบากเป็นอัพยกฤต กิริยาเป็นอัพยากฤต.

[๑๗๙ - ๑๘๐] บทว่า อิธฏฺสฺส ได้แก่ ของบุคคลผู้ยังอยู่

ในโลกนี้. โดยมากท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งมนุษยโลก เพราะมี

ฌานภาวนาในมนุษยโลก. อนึ่ง แม้ในเทวโลกบางแห่งบางครั้งก็ได้

ฌาน. แม้ในพรหมโลกรูปพรหมทั้งหลายก็ยังได้ ด้วยสามารถของผู้

เกิดในพรหมโลกนั้น ผู้เกิดในเบื้องล่าง และผู้เกิดในเบื้องบน. แต่ใน

ชั้นสุทธาวาสและในอรูปาวจร ไม่มีผู้เกิดในเบื้องล่าง. ในรูปาวจร

อรูปาวจรผู้ไม่เจริญฌาน เกิดในเบื้องล่าง ย่อมเกิดในกามาวจรสุคติ

เท่านั้น ไม่เกิดในทุคติ.

บทว่า ตตฺรูปปนฺนสฺส - ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลกนั้น ได้

แก่ วิบากฌาน ๔ เป็นไปด้วยอำนาจปฏิสนธิภวังค์และจุติ ของบุคคล

ผู้เกิดในพรหมโลกด้วยอำนาจของวิบาก. ท่านมิได้กล่าวถึงกิริยาอันเป็น

อัพยาถฤต ในฌานสมาบัติอันเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร. ถึงแม้ท่าน.

มิได้กล่าวก็จริง พึงทราบว่า เมื่อท่านกล่าวถึงกุศล ก็เป็นอันกล่าว

ถึงกิริยาเป็นอัพยากฤตไว้ด้วย เพราะเป็นไปเสมอกันด้วยกุศลโดยแท้.

พึงทราบในข้อนี้เหมือนอย่างในปัฏฐาน ท่านสงเคราะห์กิริยาชวนะด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 831

ศัพท์กุศลชวนะว่า เมื่อกุศลอกุศลดับ วิบากย่อมเกิดขึ้นเพราะกุศล

อกุศลนั้นเป็นอารมณ์.

[๑๘๑] บทว่า สามญฺญฺผานิ ได้แก่ สามัญผล ๔. ด้วยบทนี้

ท่านกล่าวถึงโลกุตรวิบากเป็นอัพยากฤต. บทว่า นิพฺพาน ได้แก่

นิพพานเป็นอัพยากฤต.

[๑๘๒] บทว่า ปามุชฺชมูลกา คือ มีความปราโมทย์เป็น

เบื้องต้น. เพราะประกอบด้วยความปราโมทย์.

ในบทว่า อนิจฺจโต มนสิกโรโต ปามุชฺช ชายติ นี้ มี

ความว่า เมื่อทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเกิดปราโมทย์. เมื่อทำไว้

ในใจโดยไม่แยบคาย ย่อมไม่เกิดปราโมทย์. จริงอยู่ เมื่อทำไว้ในใจ

โดยไม่แยบคาย กุศลจะไม่เกิด. ไม่ต้องพูดถึงวิปัสสนาละ. หากถามว่า

เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวไว้โดยสรุป. ตอบว่า เพื่อแสดงความที่ปรา-

โมทย์มีกำลังมาก. เพราะเมื่อไม่มีปราโมทย์ ความไม่ยินดีความกระสัน

ก็จะเกิดขึ้นในเสนาสนะอันสงัด และในธรรมอันเป็นอธิกุศล. เมื่อมี

อย่างนี้ย่อมก้าวถึงภาวนาทีเดียว.

อนึ่ง เมื่อมีปราโมทย์ ภาวนาย่อมถึงความเต็มเปี่ยมเพราะไม่มี

ความไม่ยินดี. เพื่อแสดงถึงความที่ภาวนามีอุปการะโดยความเป็นเบื้อง

๑. อภิ. ป. ๔๐/๔๘๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 832

ต้นของการทำไว้ในใจโดยแยบคาย จักกล่าวถึงหมวด ๙ ข้างหน้า.

ความปราโมทย์เพราะเป็นปัจจัยแห่งวิปัสสนาย่อมเกิดแก่ผู้เจริญ

วิปัสสนาโดยบาลีว่า

ยโต ยโต สมฺมสติ ขนฺธาน อุทยพุพย

ลภตี ปีติปาโมชฺช อมต ต วิชานต.

เมื่อใดย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความ

เสื่อมของขันธ์ทั้งหลาย เมื่อนั้นย่อมได้ปีติและ

ปราโมทย์นั่นเป็นอมตะของผู้รู้แจ้งทั้งหลาย.

แต่ในที่นี้พึงถือเอาความปราโมทย์ เพราะการพิจารณากลาปะ

เป็นปัจจัย. ความเป็นผู้ถึงความปราโมทย์ ชื่อว่า ปามุชฺช คือ ปีติ

มีกำลังอ่อน. พึงเห็นว่า อักษร ลงในอรรถแห่งอาทิกรรม.

บทว่า ปมุทิตสฺส - ถึงความปราโมทย์ ได้แก่ ถึงความปรา-

โมทย์ คือ ยินดีด้วยความปราโมทย์นั้น. ปาฐะว่า ปโมทิตสฺส บ้าง.

ความอย่างเดียวกัน .

บทว่า ปีติ ได้แก่ ปีติมีกำลัง. บทว่า ปีติมนสฺส ใจมีปีติ

คือ ใจประกอบด้วยปีติ. พึงเห็นว่า ลบ ยุตฺต ศัพท์เสีย เหมือนบทว่า

อสฺสรโถ รถเทียมด้วยม้า. บทว่า กาโย ได้แก่ นามกาย หรือ

๑. ขุ.ธ.๒๕/๓๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 833

รูปกาย. บทว่า ปสฺสมภติ ย่อมสงบ คือ เป็นผู้สงบความ

กระวนกระวาย. บทว่า ปสฺสทฺธกาโย - กายสงบ คือ กายสบายเพราะ

ประกอบด้วยความสงบทั้งสอง.

บทว่า สุข เวเทติ - ย่อมได้เสวยสุข คือ ย่อมได้เสวยเจต-

สิกสุข. หรือกับด้วยกายิกสุข. บทว่า สุขิโน - ของผู้มีความสุข คือ

พร้อมพรั่งด้วยความสุข. บทว่า จิตฺต สมาธิยติ - จิตย่อมตั้งมั่น คือ

จิตย่อมตั้งมั่นเสมอ. จิตมีอารมณ์เดียว.

บทว่า สมาหิเต จิตฺเต - เมื่อจิตตั้งมั่น เป็นสัตตมีวิภัตติลง

ในภาวลักษณะโดยเป็นภาวะ . ย่อมกำหนดรู้ตามความเป็นจริงโดยความ

ตั้งมั่นแห่งจิต.

บทว่า ยถาภูต ปชานาติ - ย่อมรู้ตามความเป็นจริง คือ รู้

สังขารตามความเป็นจริงด้วยสามารถแห่งอุทยัพพยญาณเป็นต้น.

บทว่า ปสฺสติ - ย่อมเห็น คือ เห็นด้วยปัญญาจักษุการทำสิ่ง

ที่ถูกต้องนั้นดุจเห็นด้วยตา. บทว่า นิพฺพินฺทติ - ย่อมเบื่อหน่าย คือ

เบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ ๙ อย่าง

บทว่า นิพฺพินฺท วิรชฺชติ - เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความ

กำหนัด คือ เมื่อยังวิปัสสนาให้ถึงชั้นยอด เป็นอันคลายกำหนัดจาก

สังขารโดยประกอบด้วยมรรคญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 834

บทว่า วิราคา วิมุจฺจติ - เพราะคลายความกำหนัด จิตย่อม

หลุดพ้น คือ จิตย่อมหลุดพ้น ด้วยน้อมไปในนิพพานด้วยผลวิมุตติ

เพราะมรรคเป็นเหตุอันได้แก่วิราคะ. แต่ในบางคัมภีร์ในวาระนี้ท่าน

เขียนนัยแห่งสัจจะไว้มีอาทิว่า รู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ด้วยจิตตั้ง

มั่น. อนึ่ง ในบางคัมภีร์ท่านเขียนนัยแห่งสัจจะนั้นโดยนัยมีอาทิว่า ย่อม

ทำไว้ในใจโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์. แม้ใน ๒ วาระนั้นก็ต่างกันโดย

พยัญชนะเท่านั้น โดยอรรถไม่ต่างกัน. เพราะบทว่า นิพฺพินฺท

วิรชฺชติ - เมื่อมรรคญาณสำเร็จ เพราะกล่าวถึงมรรคญาณ เป็นอัน

สำเร็จกิจเพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔ ด้วย. เพราะฉะนั้น แม้วาระที่ท่าน

กล่าวโดยนัยแห่ง สัจจะ ๔ ก็มิได้ต่างกันโดยอรรถด้วยวาระนี้.

[๑๘๓] บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะให้อารมณ์ต่างกัน เพราะ

กล่าวถึงอารมณ์ไม่ต่างกันด้วยบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต จึงกล่าวบทมีอาทิ

ว่า รูป อนิจฺจโต มนสิกโรติ ย่อมมนสิการรูปโดยความเป็นของไม่

เที่ยง.

บทว่า โยนิโสมนสิการมูลกาคือ ธรรมมีโยนิโสมนสิการ

เป็นเบื้องต้นเป็นหลัก. เพราะปราโมทย์เป็นต้น ละโยนิโสมนสิการ

เสียแล้วก็ไม่ครบ ๙.

บทว่า สมาหิเตน จิตฺเตน - ด้วยจิตตั้งมั่น คือ ด้วยจิตเป็นเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 835

บทว่า ยถาภูต ปชานาติ - ย่อมรู้ตามความเป็นจริว คือ รู้ด้วย

ปัญญา. ท่านสงเคราะห์แม้การรู้ตามสัจจะอันเป็นส่วนเบื้องต้นด้วยการ

ฟังตาม ในเมื่อกล่าวว่า ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์.

บทว่า โยนิโสมนสิกาโร ได้แก่ มนสิการโดยอุบาย.

๑๘๔] ธาตุนานตฺต ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ ผสฺสนานตฺต

ความต่างแห่งผัสสะอาศัยความต่างแห่งธาตุเกิดขึ้น ความว่า ความต่าง

แห่งจักขุสัมผัสเป็นต้น อาศัยความต่างจักขุธารตุเป็นต้นเกิดขึ้น.

บทว่า ผสฺสนานตฺต ปฏิจฺจ - อาศัยความต่างแห่งผัสสะ คือ

อาศัยความต่างแห่งจักขุสัมผัสเป็นต้น.

บทว่า เวทนานานตฺต - ความต่างแห่งเวทนา คือ ความต่างแห่ง

จักขุสัมผัสสชาเวทนาเป็นต้น.

บทว่า สญฺานานตฺต - ความต่างแห่งสัญญา คือ ความต่าง

แห่งกามสัญญาเป็นต้น.

บทว่า สงฺกปฺปนานตฺต - ความต่างแห่งความดำริ คือ ความ

ต่างแห่งความดำริถึงกามเป็นต้น.

บทว่า ฉนฺทนานตฺต - ความต่างแห่งฉันทะ คือ ความต่าง

แห่งฉันทะย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ฉันทะในรูป ฉันทะในเสีย เพราะ

ความต่างแห่งความดำริ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 836

บทว่า ปริฬาหนานตฺต - ความต่างแห่งความเร่าร้อน คือ ความ

ต่างแห่งความเร่าร้อน ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ความเร่าร้อนในรูป ความ

เร่าร้อนในเสียง เพราะความต่างแห่งฉันทะ.

บทว่า ปริเยสนานตฺต - ความต่างแห่งการแสวงหา คือ ความ

ต่างแห่งการแสวงหารูปเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะความต่างแห่งความ

เร่าร้อน.

บทว่า ลาภนานตฺต - ความต่างแห่งการได้ คือ ความต่างแห่ง

การได้รูปเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะความต่างแห่งการแสวงหา.

จบ อรรถกถาธรรมนานัตตญาณนิทเทส

ญาณปัญจกนิทเทส

[๑๘๕] ปัญญาอันรู้ยิ่งเป็นญาตัฏฐญาณอย่างไร ปัญญาเครื่อง

กำหนดรู้เป็นติรณัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องละเป็นปริจจาคัฏฐญาณ ปัญญา

เครื่องเจริญเป็นเอกรสัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องกระทำให้แจ้ง เป็นผัสส-

นัฏฐญาณ.

พระโยคาวจรรู้ยิ่งธรรมใด ๆ แล้ว เป็นอันรู้ธรรมนั้น ๆ แล้ว

กำหนดรู้ธรรมใด ๆ แล้ว เป็นอันพิจารณาธรรมนั้น ๆ แล้ว ละธรรม

ใด ๆ ได้แล้ว เป็นอันสละธรรมนั้น ๆ แล้ว เจริญธรรมใด ๆ แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 837

ธรรมนั้น ๆ ย่อมมีกิจเป็นอันเดียวกัน กระทำให้แจ้งธรรมใด ๆ แล้ว เป็น

อันถูกต้องตามธรรมนั้นๆ แล้ว.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาอันรู้ยิ่งเป็นญาตัฏฐ-

ญาณ ปัญญาเครื่องกำหนดรู้เป็นติรณัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องละเป็น

ปริจจาคัฎฐญาณ ปัญญาเครื่องเจริญเป็นเอกรสัฏฐญาณ ปัญญาเครื่อง

กระทำให้แจ้งเป็นผัสสนัฏฐญาณ.

๒๐ - ๒๔. อรรถกถาญาณปัญจกนิทเทส

[๑๘๕] พึงทราบวินิจฉัยในญาณปัญจกนิทเทสดังต่อไปนี้. ท่าน

ทำปุจฉาวิสัชนารวมเป็นอันเดียว เพราะมีความสัมพันธ์กันเป็นลำดับ

แห่งญาณ ๕ เหล่านั้น.

บทว่า อภิญฺาตา โหนฺติ - เป็นผู้รู้แจ้งธรรมแล้ว คือ เป็น

ผู้รู้ด้วยดี ด้วยสามารถรู้ลักษณะแห่งสภาวธรรม.

บทว่า าตา โหนฺติ - เป็นอันรู้ธรรมแล้ว คือ ชื่อว่า เป็น

อันรู้แล้ว เพราะรู้ตามสภาพ ด้วยสามารถแห่งญาตปริญญา. เป็นอันรู้

ธรรมเหล่านั้นแล้วด้วยญาณใด. ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้ญาณ

นั้น. พึงทราบการเชื่อมว่า ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด. โดย

นัยแม้นี้พึงประกอบแม้ญาณที่เหลือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 838

บทว่า ปริญฺาตา โหนฺติ - เป็นอันกำหนดรู้แล้ว คือ เป็น

อันรู้โดยรอบด้วยสามารถแห่งสามัญลักษณะ.

บทว่า ตีริตา โหนฺติ - เป็นอันพิจารณาแล้ว คือ เข้าไปกำหนด

ให้ถึงพร้อมด้วยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งตีรณ

ปริญญา.

บทว่า ปหีนา โหนิติ - เป็นอันละได้แล้ว คือ เป็นอันละ

นิจสัญญาเป็นต้น ด้วยอนิจจานุปัสนาญาณเป็นต้น ตั้งแต่ภังคานุปัสนา-

ญาณ.

บทว่า ปริจฺจตฺตา โหนฺติ - เป็นอันสละแล้ว คือ เป็นอัน

ทอดทิ้ง ด้วยสามารถแห่งการละนั่นเอง.

บทว่า ภาวิตา โหนฺติ - เป็นอันเจริญแล้ว คือ เป็นอันเจริญ

แล้ว และอบรมแล้ว.

บทว่า เอกรสา โหนฺติ - มีรสเป็นอันเดียวกัน คือ มีกิจ

อย่างเดียวกัน ด้วยการให้สำเร็จกิจของตน และด้วยการละฝ่ายตรง

กันข้าม. หรือมีรสเป็นอันเดียวกัน ด้วยวิมุตติรส ด้วยการพ้นจาก

ธรรมเป็นฝ่ายข้าศึก.

บทว่า สจฺฉิกตา โหนฺติ - เป็นอันทำให้แจ้งแล้ว คือ เป็น

อันทำให้ประจักษ์ว่า ผลธรรม ด้วยสามารถการได้ นิพพานธรรม

ด้วยสามารถการแทงตลอด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 839

บทว่า ผสฺสิตา โหนฺติ - เป็นอันถูกต้องแล้ว คือ เป็นอัน

ถูกต้อง คือ ได้รับผลด้วยการถูกต้อง ด้วยการได้ และด้วยการถูกต้อง

ด้วยการแทงตลอด ท่านกล่าวญาณ ๕ เหล่านี้ ด้วยสามารถสุตมยญาณ

แล้วในหนหลัง. ในที่นี้ท่านกล่าวด้วยสามารถยังกิจของตนให้สำเร็จ.

จบ อรรถกถาญาณปัญจกนิทเทส

ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส

[๑๘๖] ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทา-

ญาณ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา

ในความต่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ

ต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณอย่างไร ?

สัทธินทรีย์เป็นธรรม วีริยินทรีย์เป็นธรรม สตินทรีย์เป็น

ธรรม สมาธินทรีย์เป็นธรรม ปัญญินทรีย์เป็นธรรม สัทธินทรีย์เป็น

ธรรมอย่างหนึ่ง วีริยินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สตินทรีย์เป็นธรรม

อย่างหนึ่ง สมาธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ปัญญินทรีย์เป็นธรรม

อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้

เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 840

[๑๘๗] สภาพว่าน้อมใจเธอเป็นอรรถ สภาพว่าประคองไว้

เป็นอรรถ สภาพว่าเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ สภาพว่าไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถ

สภาพว่าเห็นเป็นอรรถ สภาพว่าน้อมใจเชื่อเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพ

ว่าประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพว่าเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถอย่าง

หนึ่ง สภาพว่าฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพว่าเห็นเป็นอรรถอย่าง

หนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ

อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าว

ว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรูปฏิสัมภิทาญาณ.

[๑๘๘] การระบุพยัญชนะและนิรุตติ เพื่อแสดงธรรม ๕

ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ

ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้

นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณ เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย

ญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความ

ต่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ.

[๑๘๙] ญาณในธรรม ๕ ในอรรถ ๕ ญาณในนิรุตติ ๑๐

ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณใน

นิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใดเป็น

อันรู้เฉพาะญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 841

ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา-

ญาณ.

[๑๙๐] สัทธาพละเป็นธรรม วีริยพละเป็นธรรม สติพละ

เป็นธรรม สมาธิพละเป็นธรรม ปัญญาพละเป็นธรรม สัทธาพละ

เป็นธรรมอย่างหนึ่ง วีริยพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สติพละเป็นธรรม

อย่างหนึ่ง สมาธิพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ปัญญาพละเป็นธรรมอย่าง

หนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้ธรรม

ต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ

[๑๙๑] สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็น

อรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็นอรรถ สภาพ

อันไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหว

เพราะความฟุ้งซ่านเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาเป็น

อรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นอรรถ

อย่างหนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็นอรรถอย่าง

หนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทเป็นอรรถอย่างหนึ่ง

สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพอัน

ไม่หวั่นไหว เพราะอวิชชาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 842

ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณ

นั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง

อรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ.

[๑๙๒] การระบุพยัญชนะและนิรุตติ เพื่อแสดงธรรม ๕

ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ

ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้

นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้

ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าว่า ปัญญาในความ

ต่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ.

[๑๙๓] ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ

ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถ

เป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ

เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้น-

นั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง

ปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.

[๑๙๔] สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วีริยสัมโพช-

ฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขา-

สัมโพชฌงค์ เป็นธรรมแต่ละอย่าง ๆ สติสัมโพชฌงค์ ... อุเบกขา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 843

สัมโพชฌงค์ เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ๆ พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้

ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล

เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็น

ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ.

[๑๙๕] สภาพที่ตั้งมั่น สภาพที่เลือกเฟ้น สภาพที่ประคอง

ไว้ สภาพที่ผ่านซ่านไป สภาพที่สงบ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน สภาพที่

พิจารณาหาทาง สภาพที่เข้าไปตั้งอยู่ เป็นอรรถ ( แต่ละอย่าง) สภาพ

ที่ตั้งมั่น . . . สภาพที่พิจารณาหาทางเป็นอรรถอย่างหนึ่ง ๆ พระโยคาวจร

รู้อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้

ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความ

ต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ.

[๑๙๖] การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๗ ประ-

การ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๗ ประการ ธรรม

นิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติ

ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณ

นั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง

นิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ.

[๑๙๗] ญาณ. ในธรรม ๗ ประการ ญาณในอรรถ ๗ ประการ

ญาณในนิรุตติ ๑๔ ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 844

อรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณ

ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณ

นั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง

ปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.

[๑๙๘] สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัม-

มันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นธรรม

แต่ละอย่าง ๆ สัมมาทิฏฐิ. . . สัมมาสมาธิ เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ๆ พระ-

โยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ

เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา

ในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ.

[๑๙๙] สภาพที่เห็น สภาพที่ดำริ สภาพที่กำหนดเอา สภาพ

ที่เป็นสมุฏฐาน สภาพที่ขาวผ่อง สภาพที่ประคองไว้ สภาพที่ตั้งมั่น

สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอรรถแต่ละอย่าง ๆ ภาพที่เห็น... สภาพที่

ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอรรถอย่างหนึ่ง ๆ พระโยคาวจรรู้อรรถว่า ๆ เหล่านี้

ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล

เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็น

อรรถปฏิสัมภิทาญาณ.

[๒๐๐] การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๘ ประ -

การ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๘ ประการ ธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 845

นิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติ

ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณ

นั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง

นิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ.

[๒๐๑] ญาณในธรรม ๘ ประการ ญาณในอรรถ ๘ ประการ

ญาณในนิรุตติ ๑๖ ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณใน

อรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณ

ต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณ

นั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง

ปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง

อรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็น

ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิ-

สัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา-

ญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 846

๒๕ - ๒๘. อรรถกถาปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส

๑๘๖ - ๒๐๑] พึงทราบวินิจฉัยในปฏิสัมภิทาญาณนิทเทสดังต่อ

ไปนี้. เพราะเมื่อท่านไม่กล่าวธรรมไว้ก็ไม่สามารถจะกล่าวถึงกิจของ

ธรรมนั้นได้. ฉะนั้น จึงไม่สนใจลำดับที่ท่านยกขึ้นชี้แจงธรรม

ทั้งหลายก่อน. อรรถแห่งธรรมเป็นต้นท่านได้กล่าวไว้แล้ว.

พระสารีบุตรเถระกล่าวธรรมอันนับเนื่องด้วย ธมฺม ศัพท์

ด้วยบทมีอาทิว่า สทฺธินฺทฺริย ธมฺโม - สัทธินทรีย์เป็นธรรม เมื่อจะ

แสดงอรรถแห่ง นานตฺต ศัพท์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อญฺโ สทฺธินฺทฺริย

ธมฺโม - สัทธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง. จริงอยู่ เมื่อท่านกล่าวว่า

อญฺโญ ธมฺโม เป็นธรรมอย่างหนึ่ง เป็นอันท่านแสดงถึงความต่าง

กันแห่งธรรมทั้งหลาย.

บทว่า ปฏิวิทิตา - รู้เฉพาะแล้ว คือ รู้โดยความเป็นธรรม

เฉพาะหน้า ชื่อว่า ปรากฏแล้ว. ด้วยบทนั้น ท่านกล่าวอรรถแห่ง

บทปฏิสัมภิทา.

พระสารีบุตรเถระแสดงถึงกิจมีการน้อมใจเชื่อเป็นต้น เป็น

อรรถแห่งศรัทธาเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยบทมีอาทิว่า อธิโมกฺขฏฺโ

อตฺโถ - สภาพว่าน้อมใจเชื่อเป็นอรรถ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 847

บทว่า สนฺทสฺเสตุ คือ เพื่อแสดงอย่างอื่นแก่ผู้ใคร่จะรู้ แต่เมื่อ

ผู้อื่นฟังถ้อยคำก็ย่อมได้เหมือนกัน.

บทว่า พยญฺชนนิรุตฺตาภิลาปา - การระบุพยัญชนะและนิรุตติ

คือ นามพยัญชนะ นามนิรุตติ นามาภิลาปะ. ชื่อที่ยังอรรถให้ปรากฏ

ชื่อว่า พยัญชนะ. ชื่อว่า นิรุตติ เพราะเจาะจงอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย สิ่งทั้งหลายย่อมปรุงแต่งสิ่งที่เป็นสังขตะ เพราะฉะนั้น จึง

เรียกว่า สังขาร แล้วกล่าวทำให้มีเหตุ, ท่านกล่าวว่า อภิลาปะ

เพราะเป็นเหตุระบุความ.

อนึ่ง ชื่อว่า นาม นี้ มี ๔ อย่าง คือ สามัญนาม ๑ คุณ

นาม ๑ กิตติมนาม ๑ โอปปาติกนาม ๑. ในนาม ๔ อย่างนั้น ใน

ปฐมกัปพระนามของพระราชาว่า มหาสมมติราช เพราะมหาชนสมมติ

ตั้งขึ้น ชื่อว่า สามัญนาม - นามโดยสามัญ.

ท่านกล่าวหมายถึง บทว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ และภารทวาชะ

เพราะเหตุที่ผู้เป็นหัวหน้า อันมหาชน สมมติดังนี้แล อักขระว่า

มหาชนสมมติ จึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก.

ชื่อที่ได้มาโดยคุณความดีอย่างนี้ว่า พระธรรมกถึก ปังสุกูลิก-

ภิกษุ วินัยธรภิกษุ ติปิฎกธรภิกษุ ผู้มีศรัทธา ผู้มีสติ ดังนี้ ชื่อว่า

๑. ส. ขนฺธ. ๑๗/๑๕๙. ๒. ที. ปา. ๑๑/๖๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 848

คุณนาม - โดยคุณความดี. ชื่อโดยคุณความดีของพระตถาคต ตั้งหลาย

ร้อยชื่อ มีอาทิว่า ภควา อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ. ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า

อสงฺเขยฺยานิ นามานิ สคุเณน มหาสิโน

คุเณหิ นาม อุทฺเธยฺย อปินาม สหสฺสโต.

พระนามของพระตถาคตผู้แสวงหาคุณอัน

ยิ่งใหญ่ พร้อมด้วยคุณความดีมีนับไม่ถ้วน. บัณฑิต

ควรยกพระนาม ด้วยพระคุณขึ้นแสดง แม้ตั้งพัน

พระนาม.

ในวันตั้งชื่อเด็กที่เกิด พวกญาติพากันทำสักการะ แก่ทักขิไณย

บุคคล แล้วอยู่ใกล้ ๆ กำหนดตั้งชื่อว่า ทารกนี้ชื่อโน้น ดังนี้ นี้ชื่อว่า

กิตติมนาม - นามโดยมีเกียรติ.

อนึ่ง การบัญญัติแต่ก่อนก็ยังตกทอดถึงการบัญญัติต่อมา. โวหาร

แต่ก่อนก็ยังตกทอดถึงโวหารภายหลัง. เหมือนอย่างว่า แม้ในปุริมกัป

ดวงจันทร์ก็ชื่อว่าจันทร์. แม้เดี๋ยวนี้ก็ยังชื่อว่าดวงจันทร์นั่นเอง. ในอดีต

ดวงอาทิตย์ สมุทร ปฐพี ก็ยังชื่อเหมือนเดิม ภูเขาก็ชื่อว่า ภูเขา.

แม้เดี๋ยวนี้ก็ยังชื่อว่าภูเขานั่นเอง. ชื่อว่า โอปปาติกนาม คือ เป็น

นามที่ผุดเกิด. ชื่อแม้ ๔ อย่างนี้ ก็เป็นชื่อเดียวนั่นเอง. ชื่อนั้นใช้เพียง

เป็นที่สังเกตของชาวโลก ว่าโดยปรมัตถ์ไม่มีอยู่. ส่วนอาจารย์พวกอื่น

กล่าวว่า ชื่อว่า นาม เป็นเสียงส่องถึงเนื้อความ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 849

พึงทราบอรรถแห่งองค์มรรค คือ พละและโพชฌงค์ โดย

ทำนองเดียวกับนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบ อรรถกถาปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส

ญาณัตตยานิทเทส

[๒๐๒]ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็นวิหารัฐญาณ

ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ เป็นสมาปัตตัฏฐญาณ ปัญญาในความ

ต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณอย่างไร ?

พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิต

น้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต ถูกต้องแล้วซึ่งสังขารนิมิตด้วย

ญาณ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนั้นชื่อว่า อนิมิต-

วิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเห็นอันโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไป

ในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้งถูกต้องแล้วตัณหาด้วยญาณ ย่อม

พิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรม นั้นชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร

พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพาน

อันว่างจากตน ถูกต้องแล้วซึ่งความถือมั่นว่าตนด้วยญาณ ย่อมพิจารณา

เห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนั้นชื่อว่า สุญญตวิหาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 850

[๒๐๓] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิตโดยความเป็น

ภัย มิจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต เพิกเฉยความเป็นไป

แล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัติ

นี้ชื่อว่า อนิมิตสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็น

ภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็น

ไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อม

เข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตน

โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างจาก เพิกเฉยความ

เป็นไปตัว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างจากตน แล้วย่อมเข้า

สมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ.

[๒๐๔] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิต โดยความ

เป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต ถูกต้องแล้ว ๆ

ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอัน

เป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตวิหาร-

สมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไป

ในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม

ไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มี

ตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ

พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 851

อันว่างจากตน ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็น

ไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างจากตน แล้วย่อมเข้าสมาบัติ

นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ.

[๒๐๕] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย

มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีรูปนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความ

เสื่อมไป วิหารธรรม นี้ชื่อว่า อนิมิตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอัน

เป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง

ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรม นี้ชื่อว่า อัปปณิหิต-

วิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไป

ในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหาร-

ธรรมนี้ ชื่อว่า สุญญตวิหาร.

[๒๐๖] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย

มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึง

ถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิ-

มิตสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย

มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึง

ถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่ที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปป-

ณิหิตสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิต

น้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 852

นิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่าแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญต-

สมาบัติ.

[๒๐๗] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย

มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อม

ไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต

แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็น

ตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอัน

ไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว

คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า

อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็น

ภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความ

เสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับว่าง

เปล่าแล้วย่อมเข้าสมาบัติ. นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ.

[๒๐๘] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นเวทนานิมิต ฯลฯ สัญญา-

นิมิต สังขารนิมิต วิญญาณนิมิต จักษุ ฯลฯ

พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณะนิมิตโดยความเป็นภัย

มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อม

ไป วิหารธรรมนี้ ชื่อว่า อนิมิตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็น

ที่ตั้งแห่งชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 853

มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรม นี้ชื่อว่า

อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นชราและมรณะโดยความเป็น

ภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความ

เสื่อมไป วิหารธรรมนี้ ชื่อว่า สุญญตวิหาร.

[๒๐๙] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณะนิมิตโดย

ความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต เพิกเฉยความเป็น

ไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ

นี้ชื่อว่า อนิมิตสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและ

มรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง เพิกเฉย

ความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อม

เข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาบัติ พิจารณาความถือมั่นชราและ

มรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า เพิกเฉย

ความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่า แล้วย่อมเข้า

สมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ.

[๒๑๐] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณะนิมิตโดย

ความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อม

เห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็น

ที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตวิหารสมาบัติ

พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะโดยความเป็นภัย มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 854

จิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป

เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้ว

ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นความ

ยึดมั่นชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่าง

เปล่า ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว

คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่า แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า

สุญญตวิหารสมบัติ อนิมิตตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารเป็น

อย่างหนึ่ง สุญญตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง อนิมิตสมาบัติเป็นอย่างนี้

อัปปณิหิตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง

วิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง

สุญญตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่ง

วิหารธรรม เป็นวิหารรัฏฐญาณ ปัญญาในความแตกต่างแห่งสมาบัติเป็น

สมาปัตตัฏฐญาณ ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติเป็นวิหารสมา-

ปัตตัฏฐญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 855

อรรถกถาญาณัตตยานิทเทส

[๒๐๒ - ๒๑๐]พึงทราบวินิจฉัยในญาณัตตยานิทเทส ดังต่อ

ไปนี้.

บทว่า นิมิตฺต ได้แก่ สังขารนิมิต.

บทว่า อนิมิตฺเต ได้แก่ นิพพานอันเป็นปฏิปักษ์กับสังขาร

นิมิต.

บทว่า อธิมุตฺตตฺตา .เพราะจิตน้อมไป คือ เพราะปล่อยจิต

ไปด้วยความน้อมไปในนิพพานนั้น.

บทว่า ผุสฺส ผุสฺส วย ปสฺสติ - ถูกต้องแล้ว ถูกต้องแล้ว

ย่อมเห็นความเสื่อม คือ ถูกต้องแล้ว ถูกต้องแล้ว ซึ่งสังขารนิมิตด้วย

ญาณ ย่อมเห็นความเสื่อมไฝแห่งสังขารนิมิตนั้น ด้วยวิปัสสนาญาณ.

ด้วยบทนี้เป็นอันสำเร็จถึงภังคานุปัสนาญาณ. ภังคานุปัสนานั้น ยัง

อนิจจานุปัสนาให้สำเร็จ. อนิจจานุปัสนา ยังทุกขานุปัสนาให้สำเร็จ

เพราะสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์. ทุกขานุปัสนานั้น ยังอนัตตานุปัสนา

ให้สำเร็จ เพราะสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นอนัตตา. เพราะเหตุนั้นเป็นอันท่าน

กล่าวถึงอนุปัสนา ๓ ในบทนี้ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อนิมิตฺโต วิหาโร - วิหารธรรมชื่อว่าอนิมิตวิหาร คือ

วิหารธรรมอันเป็นหมวด ๓ แห่งวิปัสสนานั้น ชื่อว่าอนิมิตวิหาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 856

เพราะเหตุนิมิตโดยความเป็นภัย.

บทว่า ปณิธึ ได้แก่ ตัณหา.

บทว่า อปฺปณิหิเต - ในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง คือ

ในนิพพานอันเป็นปฏิปักษ์ของตัณหา.

บทว่า อภินิเรส ได้แก่ การถือมั่นตัวตน.

บทว่า สุญฺเต ได้แก่ นิพพานอันว่างจากตัวตน.

บทว่า สุญฺโต คือ ความสูญนั่นแหละ ชื่อว่า สุญญต-

วิหาร.

บทว่า ปวตฺต อชฺฌุเปกฺขิตฺวา - เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คือ

เพิกเฉยความเป็นไปอันเป็นวิบากด้วยความวางเฉยในสังขาร. จริงอยู่

สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้พอใจความเป็นไปอันเป็นวิบากกล่าวคือ สุคติ. แต่

พระโยคาวจรนี้ประสงค์จะเข้าผลสมาบัติ เห็นความเป็นไปแม้นั้นและ

สังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเพิกเฉยเสีย. เพราะว่าครั้น

เห็นอย่างนี้แล้วย่อมสามารถเข้าผลสมาบัติได้. ไม่สามารถเข้าได้โดย

ประการอื่น.

บทว่า อาวชฺชิตฺวา - พิจารณาแล้ว คือ พิจารณาด้วยอาวัชชนะ.

บทว่า สมาปชฺชติ - คือ ย่อมเข้าถึงผลสมาบัติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 857

บทว่า อนิมิตฺตา สมาปตฺติ - สมาบัติอันหานิมิตมิได้ คือ

ชื่อว่าสมาบัติอันไม่มีนิมิต เพราะเห็นนิมิตโดยความเป็นภัยแล้วเข้าถึง.

บทว่า อนิมิตฺตวิหารสมาปตติ - วิหารสมาบัติอันหานิมิตมิได้

คือ มีเป็นสองอย่างด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาวิหาร และด้วยอำนาจแห่ง

ผลมาบัติ.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะจำแนกสังขารนิมิตแล้วแสดงจึง

กล่าวบทมีอาทิว่า รูปนิมิตฺต. ควรจะกล่าวในการถือเอาชราและมรณะ

ท่านกล่าวไว้ก่อนแล้ว. เมื่อกล่าวด้วยบทมีอาทิว่า อญฺโ อนิมิตฺต-

วิหาโร อนิมิตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง พระสารีบุตรเถระแสดง

สรุปไว้แล้ว. ญาณในความต่างวิปัสสนาวิหารของผู้ตั้งอยู่ในสังขารุเบก-

ขาญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งผลสมาบัติ ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ ญาณ

ในความต่างกันแห่งผลมาบัติ ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ. ญาณในความ

ต่างกันทั้งสองอย่างนั้น ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ

พระโยคาวจรผู้ประสงค์จะน้อมไปด้วยวิปัสสนาวิหาร ย่อมยัง

วิปัสสนาวิหารให้เป็นไป. ประสงค์ยังจะน้อมไปด้วยผลสมาบัติวิหารขวน-

ขวายไปตามลำดับของวิปัสสนา ย่อมยังผลสมาบัติให้เป็นไป. ประสงค์

จะน้อมไปด้วยทั้งสองอย่างนั้น ย่อมยังทั้งสองอย่างนั้นให้เป็นไป. มี ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 858

อย่างด้วยประสงค์ถึงบุคคล ด้วยประการฉะนี้. บทที่เหลืออันควรกล่าว

ไว้ในที่นี้ท่านกล่าวไว้แล้วในการพรรณนาถึงสังขารุเบกขาญาณแล.

จบ อรรถกถาญาณัตตยนิทเทส

อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส

[๒๑๑] ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่ง

สมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณอย่างไร ?

เอกัคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ

ญาณเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้น อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วย

ญาณนั้น สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ ความสิ้น

ไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึง

กล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิ

อันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ.

[๒๑๒] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน

อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.

อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ

ภวาสวะ อวิชชาสวะ แต่ละอย่าง อันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ย่อม

สิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 859

ปัตติมรรคนี้ กามาสวะส่วนหยาบ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่

ร่วมกันกับกามาสวะนั้นย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้

ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้ กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ

อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคา-

มิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้ ภวาสวะ

อวิชชาทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปใน

ขณะแห่งอรหัตมรรคนี้.

[๒๑๓] เอกัคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งความไม่

พยาบาท ฯ ล ฯ ด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา ด้วยสามารถแห่งความ

ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งการกำหนดธรรม ด้วยสามารถแห่งญาณ

ด้วยสามารถแห่งความปราโมทย์

ด้วยสามารถแห่งปฐมฌาน ด้วยสามารถแห่งทุติยฌาน ด้วย

สามารถแห่งตติยฌาน ด้วยสามารถแห่งจตุตถฌาน ด้วยสามารถแห่ง

อากาสานัญจายตนสมาบัติ ด้วยสามารถแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ

ด้วยสามารถแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ ด้วยสามารถแห่งเนวสัญญา-

นาสัญญายตนสมาบัติ.

ด้วยสามารถแห่งปฐวีกสิณ ด้วยสามารถแห่งอาโปกสิณ ด้วย

สามารถแห่งเตโชกสิณ ด้วยสามารถแห่งวาโยกสิณ ด้วยสามารถแห่ง

นีลกสิณ ด้วยสามารถแห่งปีตกสิณ ด้วยสามารถแห่งโลหิตกสิณ ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 860

สามารถแห่งโอทาตกสิณ ด้วยสามารถแห่งอากาสกสิณ ด้วยสามารถ

แห่งวิญญาณกสิณ

ด้วยสามารถแห่งพุทธานสติ ด้วยสามารถแห่งธรรมานุสติ ด้วย

สามารถแห่งสังฆานุสติ ด้วยสามารถแห่งสีลานุสติ ด้วยสามารถแห่ง

จาคานุสติ ด้วยสามารถแห่งเทวตานุสติ ด้วยสามารถแห่งอานาปานสติ

ด้วยสามารถแห่งมรณสติ ด้วยสามารถแห่งกายคตาสติ ด้วยสามารถ

แห่งอุปสมานุสติ

ด้วยสามารถแห่งอุทธุมาตกสัญญา ด้วยสามารถแห่งวินีลกสัญญา

ด้วยสามารถแห่งวิปุพพกสัญญา ด้วยสามารถแห่งวิฉิททกสัญญา ด้วย

สามารถแห่งวิกขายิตกสัญญา ด้วยสามารถแห่งวิกขิตตกสัญญา ด้วย

ด้วยสามารถแห่งหตวิกขิตตกสัญญา ด้วยสามารถแห่งโลหิตกสัญญา

ด้วยสามารถแห่งปุฬุวกสัญญา ด้วยสามารถแห่วอัฏฐิกสัญญา

ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้ายาว

ด้วยสามารถแห่งการหายใจออกยาว

ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้าสั้น

ด้วยสามารถแห่งการหายใจออกสั้น

ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความระงับกายสังขารหายใจเข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 861

ด้วยสามารถแห่งความระงับกายสังขารหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งสุขหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งสุขหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความระงับจิตสังขารหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความระงับจิตตสังขารหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความทำจิตให้บันเทิงหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความตั้งจิตไว้หายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความตั้งจิตไว้หายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความเปลื้องจิตหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความเปลื้องจิตหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 862

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความดับหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก

เป็นสมาธิแต่ละอย่าง ๆ ญาณย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้น

อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง

ด้วยประการดังนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความ

บริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ.

[๒๑๔] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน

อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.

อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ

ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดา-

ปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคนี้.

กามาสวะส่วนหยาบ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับ

กามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป

ในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 863

กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับ

กามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป

ในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้.

ภวาสวะ อวิชชาสวะ ย่อมในรูปไม่มีส่วนเหลือด้วยอรหัตมรรค

อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตมรรคนี้.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะ

ขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานัน-

ตริกสมาธิญาณ.

อรรถกถาอานันตริกสมาธิญาณนิทเทส

[๒๑๑ - ๒๑๔] พึงทราบวินิจฉัยในอานันตริกสมาธิญาณนิทเทส

ดังต่อไปนี้. ในบทมีอาทิว่า เนกฺขมฺมวเสน - ด้วยสามารถแห่งเนก-

ขัมมะมีอธิบายดังต่อไปนี้ ธรรมทั้งหลาย คือ เนกขัมมะ อัพยาบาท

อาโลกสัญญา การกำหนดธรรมที่ไม่ฟุ้งซ่าน ญาณและปราโมทย์

ประกอบด้วยอุปจารฌาน ของพระสุกขวิปัสสก เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส

นั้น ๆ สัมปยุตด้วยจิตดวงเดียวเท่านั้น.

บทว่า จิตฺตสฺส เอกคฺคตา อวิกฺเขโป - เอกัคตาจิตอันไม่

ฟุ้งซ่าน คือ ความเป็นจิตเลิศดวงเดียว ชื่อว่า เอกัคตา. ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 864

อวิกเขปะ เพราะจิตไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ด้วยเอกัคตานั้น.

อธิบายว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน กล่าวคือ ความที่จิตเป็นเอกัคตา.

บทว่า สมาธิ ความว่า ชื่อว่าสมาธิ เพราะจิตตั้งอยู่เสมอใน

อารมณ์เดียว.

บทว่า ตสฺส สมาธิสฺส วเสน - ด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้น

คือ ด้วยอำนาจแห่งสมาธิมีประการดังกล่าวแล้ว เพราะรู้ตามความเป็น

จริงแห่งจิตตั้งมั่นแล้ว ด้วยอุปจารสมาธิ.

บทว่า อุปฺปชฺชติ าณ - ญาณย่อมเกิดขึ้น คือ มรรคญาณ

ย่อมเกิดขึ้นตามลำดับ.

บทว่า ขียนฺติ - ย่อมสิ้นไป ด้วยสามารถการตัดขาด.

บทว่า อิติ เป็นบทสรุปอรรถมีประการดังกล่าวแล้ว.

บทว่า ปม สมโถ - สมถะมีก่อน คือ สมาธิย่อมมีในส่วน

เบื้องต้น.

บทว่า ปจฺฉา ฌาณ - ญาณมีภายหลัง คือ ญาณย่อมมีใน

ขณะมรรค ในส่วนหลัง.

บทว่า กามาสโว - กามาสวะ คือ ราคะประกอบด้วยกามคุณ.

บทว่า ภวาสโว - ภวาสวะ คือ ฉันทราคะในรูปภพ อรูปภพ

ความใคร่ในฌาน ราคะเกิดร่วมกับสัสสตทิฏฐิ ความปรารถนาด้วย

สามารถแห่งภพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 865

บทว่า ทิฏฺาสโว - ทิฏฐาสวะ คือ ทิฏฐิ ๖๒.

บทว่า อวิชฺชาสโว อวิชฺชาสโว - คือ ความไม่รู้ในฐานะ ๘

มีทุกข์เป็นต้น. ท่านทำคำถามตามโอกาสด้วยสัตตมีวิภัตติ แล้วแสดง

ความสิ้นอาสวะด้วยมรรค ทำความสิ้นอาสวะด้วยบทมีอาทิว่า โสตา-

ปตฺติมคฺเตน - ด้วยโสดาปัตติมรรค แล้วจึงทำคำตอบตามโอกาสด้วย

บทว่า เอตฺถ. ท่านอธิบายว่า ในขณะแห่งมรรค.

บทว่า อนวเสโส - ไม่มีส่วนเหลือ คือ อาสวะไม่มีส่วนเหลือ

ชื่อว่า อนวเสสะ.

บทว่า อปายคมนีโย - อันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ได้แก่

นรก กำเนิดเดียรัจฉาน เปรตวิสัยและอสุรกายทั้ง ๔ นี้ ชื่อว่า อบาย

เพราะปราศจากความเจริญ คือความสุข.

ชื่อว่า อปายคมนีโย เพราะอรรถว่ายังบุคคลที่มีอาสวะให้ไป

สู่อบาย. ท่านกล่าวอาสวักขยกถาไว้แล้วในทุภโตวุฏฐานกถา.

บทว่า อวิกฺเขปวเสน - ด้วยสามารถแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน คือ

ด้วยสามารถแห่งสมาธิเป็นอุปนิสัยแห่งสมาธิอันเป็นไปอยู่.

ในบทว่า ปฐวีกสิณวเสน - ด้วยสามารถแห่งปฐวีกสิณ เป็น

อาทิมีความดังต่อไปนี้ ท่านกล่าวถึงกสิณ ๑๐ ด้วยสามารถแห่งอัปปนา

สมาธิอันมีกสิณเป็นอารมณ์. ท่านกล่าวพุทธานุสติเป็นต้น มรณสติ

และอุปสมานุสติ ด้วยสามารถแห่งอุปจารฌาน. ท่านกล่าวอานาปาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 866

สติ และกายคตาสติ ด้วยสามารถแห่งอัปปนาสมาธิ. ท่านกล่าว

อสุภะ ๑๐ ด้วยสามารถแห่งปฐมฌาน.

การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภพระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทธานุสติ.

พุทธานุสตินี้ เป็นชื่อของสติมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์มีอาทิว่า อิติปิ

โส ภควา อรห. ด้วยสามารถแห่งพุทธานุสตินั้น.

อนึ่ง การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภพระธรรม ชื่อว่า ธรรมานุสติ.

ธรรมนานุสตินี้ เป็นชื่อของสติมีพระธรรมคุณเป็นอารมณ์มีอาทิว่า

สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม.

การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่า สังฆานุสติ. สังฆา-

นุสตินี้ เป็นชื่อของสติมีพระสังฆคุณเป็นอารมณ์มีอาทิว่า สุปฏิปนฺโน

ภควโต สาวกสงฺโฆ.

การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภศีล ชื่อว่า สีลานุสติ. สีลานุสตินี้

เป็นชื่อของสติมีคุณของศีล คือ ความที่ศีลไม่ขาดเป็นต้นเป็นอารมณ์.

การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภจาคะ ชื่อว่า จาคานุสติ. จาคานุสตินี้

เป็นชื่อของสติมีคุณของการบริจาค คือ ความเป็นผู้เสียสละเป็นต้น

เป็นอารมณ์.

การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่า เทวตานุสติ.

เทวตานุสตินี้ เป็นชื่อของสติมีคุณคือศรัทธาเป็นต้นของตนเป็นอารมณ์

๑. ม. มู. ๑๒/๙๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 867

ตั้งเทวดาไว้ในที่เผชิญหน้า.

สติเกิดขึ้นปรารภอานาปานะ - หายใจเข้าหายใจออก ชื่อว่า

อานาปานสติ. อานาปานสตินี้ เป็นชื่อของสติมีอานาปานนิมิตเป็น

อารมณ์.

สติเกิดขึ้นปรารภความตาย ชื่อว่า มรณสติ. มรณสตินี้ เป็น

ชื่อของสติมีมรณะ กล่าวคือ การตัดชีวิตินทรีย์อันนับเนื่องในภพหนึ่ง

เป็นอารมณ์.

สติเป็นไปในสรีระที่เรียกว่า กาย เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งสิ่ง

ปฏิกูลทั้งหลายมีผมเป็นต้นอันน่าเกลียด. หรือไปสู่กายเช่นนั้น ชื่อว่า

กายคตาสติ. เมื่อควรจะกล่าวว่า กายคตสติ ท่านไม่ทำเป็นรัสสะ

กล่าวว่า กายคตาสติ. แม้ในที่นี้ก็เหมือนกัน ท่านกล่าวว่า กาย-

คตาสติวเสน กายคตาสตินี้ เป็นชื่อของสติมีปฏิกูลนิมิต ในส่วน

ของกายมีผมเป็นต้น เป็นอารมณ์.

การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภอุปสมะ - ความสงบ ชื่อว่า อุปสมา-

นุสติ. อุปสมานุสตินี้ เป็นชื่อของสติมีการสงบทุกข์ทั้งปวง เป็นอารมณ์.

อสุภะ ๑๐ มีอรรถได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.

เพื่อแสดงถึงประเภทของอัปปนาสมาธิและอุปจารสมาธิ ท่าน

จึงกล่าว ทีฆ อสฺสาสวเสน ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้ายาว

คือ ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้า ที่ท่านกล่าวแล้วว่า ทีฆ - ยาว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 868

ดังที่ท่านกล่าวว่า ทีฆ วา อสฺสสนฺโต ทีฆ อสฺสสามีติ ปชานาติ-

เมื่อหายใจเข้ายาวย่อมรู้ว่า เราหายใจเข้ายาว. แม้ในบทที่เหลือก็มี

นัยนี้.

บทว่า ปสฺสมฺภย กายสงฺขาร - การระงับกายสังขาร คือ

ระงับ คือ สงบกายสังขาร อันได้แก่การหายใจเข้าและการหายใจออก

อย่างหยาบ. ท่านกล่าวอัปปนาสมาธิ ด้วยหมวด ๔ นี้ คือ ทีฆ - ยาว ๑

รสฺส - สั้น ๑ รู้แจ้งกายทั้งปวง ๑ ระงับกายสังขาร ๑.

บทว่า ปีติปฏิสเวที - รู้แจ้งปีติ คือ ทำปีติให้ปรากฏ.

บทว่า จิตฺตสงฺขารปฏิสเวที - รู้เจ้าจิตตสังขาร คือ ทำ

จิตตสังขาร อันได้แก่ สัญญา เวทนา ให้ปรากฏ.

บทว่า อภิปฺปโมทย จิตฺต - ทำจิตให้บันเทิง.

บทว่า สมาทห จิตฺต - ความตั้งจิตไว้ คือ ตั้งจิตไว้เสมอใน

อารมณ์.

บทว่า วิโมจย จิตฺต - ความเปลื้องจิต คือ เปลื้องจิตจาก

นิวรณ์เป็นต้น.

ท่านกล่าวหมวด ๔ คือ ปีติปฏิสเวที - รู้แจ้งปีติ ๑ สุขปฏิ-

สเวที - รู้แจ้งสุข ๑ จิตฺตสงฺขารปฏิสเวที - รู้แจ้งจิตตสังขาร ๑

ปสฺสมฺภย จิตฺตสงฺขาร ระงับจิตสังขาร ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 869

และหมวด ๔ คือ จิตฺตปฏิสเวที - รู้แจ้งจิต ๑ อภิปฺปุโมทย

จิตฺต - ทำจิตให้บันเทิง ๑ สมาทห จิตฺต - ความตั้งจิตไว้ ๑ วิโมจย

จิตฺต - ความเปลื้องจิต ๑ ด้วยอัปปนาสมาธิ และด้วยสมาธิสัมปยุตด้วย

วิปัสสนา.

บทว่า อนิจฺจานุปสฺสี - การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง คือ

ท่านกล่าวด้วยสามารถการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง.

บทว่า วิราคานุปสฺสี - การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด คือ

ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย.

บทว่า นิโรธานุปสิสี - การพิจารณาเห็นความดับ คือ ท่าน

กล่าวด้วยสามารถแห่งการทำลาย.

บทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี - การพิจารณาเห็นความสละคืน

ท่านกล่าวด้วยสามารถวุฏฐานคามินีวิปัสสนาเห็นแจ้งการออกไป.

จริงอยู่ การพิจารณาเห็นความสละคืนนั้น ย่อมสละกิเลสกับ

ด้วยขันธาภิสังขาร ด้วยสามารถทังคะ อนึ่ง ย่อมแล่นไปเพราะ

น้อมจิตไปในนิพพาน อันตรงกันข้ามกับกิเลสนั้น ด้วยเห็นโทษใน

สังขตธรรม. ท่านกล่าวหมวด ๔ นี้ ด้วยสามารถแห่งสมาธิอันสัมปยุต

ด้วยวิปัสสนา.

อนึ่ง ในบทนี้ว่า อสฺสาสวเสน ปสฺสาสวเสน - ด้วยสามารถ

แห่งการหายใจเข้า ด้วยสามารถแห่งการหายใจออก ท่านกล่าวถือเอา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 870

เพียงความเป็นไปแห่งการหายใจเข้าและการหายใจออก มิใช่กล่าวถึง

ด้วยสามารถการทำหายใจเข้าหายใจออกเป็นอารมณ์. ส่วนความพิสดาร

ในบทนี้จักมีแจ้งในอานาปานกถา.

จบ อรรถกถาอานันตริกสมาธิญาณนิทเทส

อรณวิหารญาณนิทเทส

[๒๑๕] ทัสนาธิปไตย วิหาราธิคมอันสงบ และปัญญาใน

ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณ-

วิหารญาณอย่างไร ?

คำว่า ทสฺสนาธิปเตยฺย ความว่า อนิจจานุปัสนา ทุกขา-

นุปัสนา อนัตตานุปัสนา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง การพิจารณา

เห็นความทุกข์ การพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา ในรูป ในเวทนา

ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ

เป็นทัสนาธิปไตยแต่ละอย่าง ๆ.

[๒๑๖]คำว่า สนฺโต จ วิหาราธิคโม ความว่า สุญญต-

วิหาร อนิมิตวิหาร อัปปณิหิตวิหาร เป็นวิหาราธิคมอันสงบแต่ละ

อย่าง ๆ .

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 871

คำว่า ปณีตาธิมุตฺตตา ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปใน

ธรรมอันว่างเปล่า ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในธรรมอันไม่มีนิมิต

ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในธรรมอันไม่มีที่ตั้ง และความที่จิต

เป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีตและอย่าง ๆ

คำว่า อรณวิหาโร ความว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน

จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญาตน-

สมาบัติ เป็นอรณวิหารแต่ละอย่าง ๆ.

คำว่า อรณวิหาโร ความว่า ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะอรรถว่า

กระไร ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะอรรถว่า นำเสียงซึ่งนิวรณด้วยปฐม-

ฌาน นำเสียซึ่งวิตกวิจารด้วยททุติยฌาน นำเสียซึ่งปีติด้วยตติยฌาน

นำเสียซึ่งสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน นำเสียซึ่งรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา-

นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ นำเสียซึ่งอากาสานัญ-

จายตนสัญญา ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ นำเสียซึ่งวิญญาณัญจา-

ยตนสัญญา ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ นำเสียซึ่งอากิญจัญญายตน-

สัญญา ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าอรณวิหาร.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทัสนาธิปไตย วิหาราธิคม

อันสงบ และปัญญาในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอัน

ประณีต เป็นอรณวิหารญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 872

๓๓. อรรถกถาอรณวิหารญาณนิทเทส

[๒๑๕ - ๒๑๖] พึงทราบวินิจฉัยในอรณวิหารญาณนิทเทส ดัง

ต่อไปนี้. อนิจจานุปัสนาเป็นต้น มีเนื้อความได้กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า สุฺโต วิหาโร - สุญญตวิหาร ได้แก่ อรหัตผล-

สมาบัติอันเป็นไปแล้วโดยอาการแห่งสุญญตะคือความว่างเปล่า ของผู้ตั้ง

อยู่ในอนัตตานุปัสนา.

บทว่า อนิมิตฺโต วิหาโร - อนิมิตวิหาร ได้แก่ อรหัตผล-

สมาบัติอันเป็นไปแล้วโดยอาการแห่งอนิมิตตะ คือไม่มีนิมิต ของผู้ตั้งอยู่

ในอนิจจานุปัสนา.

บทว่า อปฺปณิหิโต วิหาโร - อัปปณิหิตวิหาร ได้แก่ อรหัต-

ผลสมาบัติโดยอาการแห่งอัปปณิหิตะ คือ ไม่ตั้งอยู่ ของผู้ตั้งอยู่ในทุกขา-

นุปัสนา.

บทว่า สุญฺเต อธิมุตฺตตา ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อม

ไปในธรรมอันว่างเปล่า ได้แก่ ความที่จิตน้อมไปในธรรมชาติอันว่าง-

เปล่า ด้วยสามารถแห่งปัญญาอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งผลสมาบัติ. แม้

ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ด้วยบทมีอาทิว่า ปม ฌาน - ปฐมฌาน ท่านกล่าวถึงฌาน

สมาบัติอันเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาของผู้ใคร่ เพื่อจะเข้าถึงอรหัตผล-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 873

สมาบัติ. จริงอยู่ วิปัสสนาผลสมาบัติ และฌานสมาบัติอันน้อมไปเพื่อ

ความประณีตของพระอรหันต์เท่านั้น ย่อมควรเพื่อกล่าวว่า อรณวิหาร

คือความสงบ ความหมดทุกข์ เพราะละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว.

บทว่า ปเมน ฌาเนน นีวรเณ หรตีติ อรณวิหาโร-

ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำออกเสียซึ่งนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน. อธิบายว่า

ปฐมฌานนั้นชื่อว่าอรณวิหาร เพราะองค์ประกอบแห่งปฐมฌาน ย่อม

นำออกเสียซึ่งนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือน

กัน. พึงทราบว่าท่านกล่าวถึงปฐมฌานนำออกเสียซึ่งนิวรณ์ เพราะ

ปฐมฌานเป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์ แม้พระอรหันต์จะไม่มีนิวรณ์.

หากถามว่า เพราะเหตุไรท่านจึงยกอรณวิหารญาณขึ้นแสดง ๓

อย่างด้วยสามารถแห่งการน้อมไป เพื่อความประณีตแห่งวิปัสสนา ผล

และสมาบัติแล้วชี้แจงว่าฌานสมาบัตินั่นแหละเป็นอรณวิหาร. ตอบว่า ๓

อย่างนั้นสำเร็จแล้ว เพราะอรณวิหาร ด้วยสามารถอุทเทส. ความที่ฌาน

สมาบัติอันเป็นภูมิของผลสมาบัติและวิปัสสนา เมื่อท่านไม่กล่าวไว้ ก็

ย่อมไม่สำเร็จ. เพราะฉะนั้น เพื่อยังอรณวิหารที่ไม่สำเร็จนั่นแหละ

ให้สำเร็จ พึงทราบว่า ท่านกล่าวบทมีอาทิว่า ปฐมฌานเป็นอรณวิหาร.

จริงอยู่ ความที่ฌานสมาบัติเหล่านั้นเป็นอรณวิหาร แม้ไม่

สำเร็จด้วยสามารถแห่งอุทเทส ก็เป็นอันสำเร็จได้ เพราะท่านกล่าวไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 874

แล้วในนิทเทส. อีกอย่างหนึ่ง โดยนัยที่ท่านประกอบอรณวิหารไว้แล้ว

พึงประกอบแล้วถือเอาดังนี้ อนิจจานุปัสนา ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำ

ออกเสียซึ่งนิจสัญญา. ทุกขานุปัสนา ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำออก

เสียซึ่งสุขสัญญา. อนัตตานุปัสนา ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำออกเสีย

ซึ่งอัตสัญญา. สุญญตวิหาร ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำออกเสียซึ่ง

ความไม่ว่างเปล่า อนิมิตวิหาร ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำออกเสีย

ซึ่งนิมิต. อัปปณิหิตวิหาร ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำออกเสียซึ่งความ

ตั้งไว้. สุญฺาธิมุตฺตตา - ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในธรรม

อันว่างเปล่า ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำออกเสียซึ่งความน้อมไปใน

ธรรมอันไม่ว่างเปล่า. อนิมิตฺตาธิมุตฺตตา - ความที่จิตเป็นธรรมชาติ

น้อมไปในธรรมอันไม่มีนิมิต. ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำออกเสียซึ่ง

ความน้อมไปในธรรมอันมีนิมิต. อปฺปณิหิตาธิมุตฺตตา - ความที่จิต

เป็นธรรมชาติน้อมไปในธรรมอันไม่มีที่ตั้ง ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะ

นำออกเสียซึ่งความน้อมไปในธรรมอันมีที่ตั้ง.

จบ อรรถกถาอรณวิหารญาณนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 875

นิโรธสมาปัตติญาณนิเทส

[ ๒๑๗ ] ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ด้วยความเป็นผู้

ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖ และ

ด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณอย่างไร ?

คำว่า ด้วยพละ ๒ ความว่า พละ ๒ คือสมถพละ ๑ วิปัสสนา-

พละ ๑.

[๒๑๘] สมถพละเป็นไฉน ? ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว

ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ ด้วยสามารถแห่งความไม่พยา-

บาท ด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา ด้วยสามารถแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน

ฯลฯ ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ด้วย

สามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมถพละแด่

ละอย่าง ๆ.

[๒๑๙] คำว่า สมถพล ความว่า ชื่อว่าสมถพละ เพราะ

อรรถว่ากระไร ?

ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวเพราะนิวรณ์ ด้วย

ปฐมฌาน ไม่หวั่นไหวเพราะวิตกวิจาร ด้วยทุติยฌาน ไม่หวั่นไหว

เพราะปีติ ด้วยตติยฌาน ไม่หวั่นไหวเพราะสุขและทุกข์ ด้วยจตุตถฌาน

ไม่หวั่นไหวเพราะรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 876

นัญจายตนสมาบัติ ไม่หวั่นไหวเพราะอากาสานัญจายตนสัญญา ด้วย

วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ไม่หวั่นไหวเพราะอากิญจัญญายตนสัญญา

ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่งไม่

คลอนแคลน เพราะอุทธัจจะ เพราะกิเลสอันสหรคตด้วยอุทธัจจะ และ

เพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าสมถพละ.

[๒๒๐] วิปัสสนาพละเป็นไฉน ? อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัส-

นา อนัตตานุปัสนา นิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา

ปินิสสัคคานุปัสนา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ฯลฯ การ

พิจารณาเห็นความสละคืนในรูป ฯลฯ ในเวทนา ในสัญญา ใน

สังขาร ในวิญญาณ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในจักษุ ฯลฯ ใน

ชราและมรณะ ฯล ฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ

เป็นวิปัสสนาพละแต่ละอย่าง ๆ.

[๒๒๑] คำว่า วิปสฺสนาพล ความว่า ชื่อว่าวิปัสสนาพละ

เพราะอรรถว่ากระไร ?

ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวเพราะนิจ-

สัญญา ด้วยอนิจจานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะสุขสัญญา ด้วยทุกขา-

นุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะอัตสัญญา ด้วยอนัตตานุปัสนา ไม่หวั่น-

ไหวเพระความเพลิดเพลิน ด้วยนิพพิทานุปัสนา ไม่หวั่นไหว เพราะ

ความกำหนัด ด้วยวิราคานุปัสนา ไม่หวั่นไหว เพราะสมุทัย ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 877

นิโรธานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะความถือมั่น ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา

ไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่คลอนแคลน เพราะอวิชชา เพราะ

กิเลสอันสหรคตด้วยอวิชชา และเพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าวิปัสสนาพละ.

[๒๒๒] คำว่า ด้วยการระงับสังขาร ๓ ความว่า ด้วยการ

ระงับสังขาร ๓ เป็นไฉน ? วิตกวิจารเป็นวจีสังขารของท่านผู้เข้าทุติย-

ฌานระงับไป ลมอัสสาสปัสสาสะเป็นกายสังขารของท่านผู้เข้าจตุตถ-

ฌานระงับไป สัญญาและเวทนาเป็นจิตตสังขารของท่านผู้เข้าสัญญา-

เวทยิตนิโรธ ระงับไปด้วยการระงับสังขาร ๓ เหล่านี้.

[๒๒๓] คำว่า ด้วยญาณจริยา ๑๖ ความว่า ด้วยญาณ-

จริยา ๑๖ เป็นไฉน ? อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา อนัตตานุปัสนา

นิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนา

วิวัฏฏนานุปัสนา โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสมาบัติ สกทาคามิ-

มรรค สกทาคามิผลสมาบัติ อนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติ

อรหัตมรรค อรหัตผลสมาบัติ เป็นญาณจริยาแต่ละอย่าง ๆ ด้วยญาณ-

จริยา ๑๖ นี้.

[๒๒๔] คำว่า ด้วยสมาธิจริยา ๙ ความว่า ด้วยสมาธิจริยา

๙ เป็นไฉน ? ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสา-

นัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ

เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นสมาธิจริยาแต่ละอย่าง ๆ วิตกวิจาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 878

ปีติ สุข และเอกัคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้ปฐมฌาน ฯลฯ

วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกกัคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้เนว-

สัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ด้วยสมาธิจริยา ๙ นี้.

[๒๒๕] คำว่า วสี ความว่า วสี ๕ ประการ คือ อาวัชช-

นาวสี ๑ สมาปัชชนาวสี ๑ อธิฏฐานวสี ๑ วุฏฐานวสี ๑ ปัจจเวก-

ขณวสี ๑.

สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงถึงปฐมฌานได้ ถามที่และขณะ

ตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้นจึง

ชื่อว่าอาวัชชนาวสี สมาปัตติลาภีบุคคลเข้าปฐมฌานได้ ณ สถานที่และ

ขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการเข้า เพราะเหตุนั้นจึง

ชื่อว่าสมาปัชชนาวสี สมาปัตติลาภีบุคคล อธิฏฐานปฐมฌานได้ ณ

สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการอธิฏฐาน

เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอธิฏฐานวสี สมาปัตติลาภีบุคคลออกปฐมฌานได้

ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นข้าในการออก็เพราะ

เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าวุฏฐานวสี สมาปัตติลาภีบุคคลพิจารณาปฐมฌานได้

ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา

เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าปัจจเวกขณวสี สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึ่งถึงทุติย-

ฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติได้ ณ สถานที่และขณะ

ตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้นจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 879

ชื่อว่าอาวัชชนาวสี สมาปัตติลาภีบุคคลเข้า ฯลฯ อธิฏฐาน ออก

พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติได้ ณ สถานที่และขณะตามที่

ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า

ปัจจเวกขณวสี วสี ๕ ประการนี้.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความเป็นผู้มี

ความชำนาญ ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับ

สังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๖ และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมา-

ปัตติญาณ.

๓๔. อรรถกถานิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส

[๒๑๗ - ๒๒๕] พึงทราบวินิจฉัยในนิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส

ดังต่อไปนี้.

บทว่า สมถพล - สมถพละ ความว่า ชื่อว่า สมถะ เพราะ

อรรถว่า สงบธรรมเป็นข้าศึกมีกามฉันทะเป็นต้น. สมถะนั่นแหละ

ชื่อว่าเป็นพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. เพราะพระอนาคามีและ

พระอรหันต์นั่นแหละเป็นผู้ถึงความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ด้วย

การละกามฉันทะอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิ ท่านจึงทำสมาธิของพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 880

อนาคามีและพระอรหันต์เหล่านั้นว่า พลปฺปตฺโต - ผู้ถึงซึ่งกำลังแล้ว

จึงกล่าวว่า สมถพล มิใช่ของคนอื่น. ปาฐะว่า สมาธิพล บ้าง.

บทว่า วิปสฺสนาพล - วิปัสสนาพละ ความว่า ชื่อว่า วิปัสสนา

เพราะอรรถว่าเห็นธรรม ด้วยอาการหลายอย่างโดยความเป็นของไม่

เที่ยงเป็นต้น. วิปัสสนานั่นแหละ ชื่อว่าเป็นพละ เพราะอรรถว่าไม่

หวั่นไหว. วิปัสสนาญาณถึงซึ่งกำลังของพระอริยเจ้าทั้งสองเหล่านั้น.

สมถพละ เพื่อสงบจิตตสันดานโดยลำดับ และเพื่อดำเนินไปใน

นิโรธ. ส่วนวิปัสสนาพละ เพื่อแสดงโทษในวัฏฏะ และเพื่อแสดง

อานิสงส์ในนิโรธ.

บทว่า นีวรเณ - เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งนิมิตตสัตตมี

แปลว่า ในเพราะนิวรณ์. อธิบายว่า มีนิวรณ์เป็นนิมิต มีนิวรณ์เป็น

ปัจจัย. หรือเป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ แปลว่า เพราะ

นิวรณ์.

บทว่า น กมฺปติ - -ไม่หวั่นไหว ได้แก่ บุคคลผู้มีความพร้อม

ในฌาน. อีกอย่างหนึ่ง สมาธิสัมปยุตด้วยฌานนั้น ไม่หวั่นไหว ใน

เพราะนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน เพราะท่านประสงค์องค์แห่งฌานในบทว่า

ฌาน. พึงถือการประกอบนี้แหละ ในนิทเทสนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 881

บทว่า อุทฺธจฺเจ จ - ในเพราะอุทธัจจะ คือ ในเพราะอุท-

ธัจจะอันเป็นจิตตุปบาทสหรคตด้วยอุทธัจจะ. อนึ่งบทว่า อุทฺธจฺจ ได้แก่

ความฟุ้งซ่าน. อุทธัจจะนั้นมีความไม่สงบเป็นลักษณะ.

บทว่า อุทฺธจฺจสหคตกิเลเส จ - ในเพราะกิเลสสหรคต ด้วย

อุทธัจจะ ได้แก่ ในเพราะกิเลส คือ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ

อันสัมปยุตด้วยอุทธัจจะ ถึงความเป็นกิเลสเกิดขึ้นร่วมกัน สหรคตด้วย

อุทธัจจะ. บทว่า ขนฺเธ จ ในเพราะขันธ์ คือ ในเพราะขันธ์ ๔

อันสัมปยุตด้วยอุทธัจจะ.

บทว่า น กมฺปติ น จลติ น เวธติ - ไม่หวั่นไหว ไม่

กวัดแกว่ง ไม่คลอนแคลน เป็นไวพจน์ของกันและกัน. พึงประกอบ

ว่า ไม่หวั่นไหว ในเพราะอุทธัจจะ. ไม่กวัดแกว่ง ในเพราะกิเลส

สหรคตด้วยอุทธัจจะ. ไม่คลอนแคลน ในเพราะขันธ์หรคตด้วยอุท-

ธัจจะ. พึงทราบวิปัสสนาพละว่า เพราะท่านกล่าวอนุปัสนา ๗ วิปัสส-

นาพละจึงเป็นอันบริบูรณ์ด้วยอำนาจแห่งอนุปัสนานั้นนั่นเอง.

บทว่า อวิชฺชาย จ - ในเพราะอวิชชา ได้แก่ ในเพราะ

อวิชชาในจิตตุปบาทอันเป็นอกุศล ๑๒ อย่าง. บทว่า อวิชฺชาสหคต-

กิเลเส จ - ในเพราะกิเลสสหรคตด้วยอวิชชา ได้แก่ กิเลส คือ

โลภะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ

อันสัมปยุตด้วยอวิชชาตามที่ประกอบไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 882

บทว่า วจีสงฺขารา - วจีสังขาร ได้แก่ วิตก วิจาร. ชื่อว่า

วจีสงฺขารา เพราะอรรถว่าปรุงแต่ง ให้เกิดวาจา เพราะบาลีว่า ดูก่อน

อาวุโสวิสาขะ บุคคลตรึกตรองก่อนแล้วจึงเปล่งวาจาในภายหลัง.

เพราะฉะนั้นวิตกวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร.

บทว่า กายสงฺขารา - กายสังขาร ได้แก่ ลมอัสสาสะปัสสาสะ.

ชื่อว่า กายสงฺขารา เพราะอรรถว่า อันกายปรุงแต่ง เพราะบาลีว่า

ดูก่อนอาวุโสวิสาขะ ธรรมเหล่านี้ คือ ลมอัสสาสะ ลมปัสสาสะอยู่

ในกาย เนื่องด้วยกาย. เพราะฉะนั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ จึงเป็น

กายสังขาร.

บทว่า สญฺาเวทยิตนิโรธ - สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ ดับ

สัญญาและเวทนา. บทว่า จิตฺตสงฺขารา - จิตตสังขาร ได้แก่ สัญญา

และเวทนา. ชื่อว่า จิตฺตสงฺขารา เพราะอรรถว่า อันจิตปรุงแต่ง

เพราะบาลีว่า เจตสิกธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต. เพราะฉะนั้น สัญญา

และเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร.

ในญาณจริยาทั้งหลาย พึงทราบว่า จริยากถาอันเป็นเบื้องต้น

แห่งอนุปัสนานั้น ท่านกล่าวว่าญาณจริยา ด้วยสามารถแห่งอนุปัสนา

หรือด้วยวิวัฏฏนานุปัสนา แม้อนุปัสนาที่เหลือก็เป็นอันถือเอาไว้.

๑. บาลีว่า กาเยน สขริยนฺตีติ กายสขารา (โดยมาก แปลว่า ปรุงแต่งกาย)

๒. จิตฺเตน สขริยนฺตีติ จิตฺตสขารา (โดยมาก แปลว่า ปรุงแต่งจิต)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 883

บทว่า โสฬสหิ ญาณจริยาหิ - ด้วยญาณจริยา ๑๖ เป็น

กำหนดอย่างอุกกฤษฏ์ เพราะพระอนาคามีเป็นผู้มีกำลังบริบูรณ์ด้วยจริยา

แม้ ๑๔ จะได้บรรลุอรหัตมรรคและอรหัตผลต่อไป.

ในบทว่า นวหิ สมาธิจริยาหิ - ด้วยสมาธิจริยา ๙ นี้ พึง

ทราบความดังต่อไปนี้ จริยา ๘ ด้วยปฐมฌานเป็นต้น. จริยา ๑ ด้วย

สามารถแห่งอุปจารฌานในธรรมทั้งปวงเพื่อได้ปฐมฌานเป็นต้น รวม

เป็นสมาธิจริยา ๙. ถามว่า เพื่อความต่างกันแห่งพลจริยาเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า แม้ในสมถพละท่านกล่าวถึงอุปจารสมาธิไว้โดยปริยาย ๗ มี

อาทิว่า เนกฺขมฺมวเสน. - ด้วยอำนาจแหงเนกขัมมะ โยความพิสดาร

แห่งไปยาล คือ ละความไว้ ท่านกล่าวถึงอัปปนาสมาธิและอุปจารสมาธิ

ตามควรด้วยวาระ ๗๐ บริบูรณ์ มีอาทิว่า ปมชฺฌานวเสน ด้วย

สามารถแห่งปฐมฌาน. แม้ในสมาธิจริยาท่านก็กล่าวถึงอัปปนาสมาธิ

ไว้โดยปริยาย ๘ มีอาทิว่า ปม ฌาน.

ท่านกล่าวอุปจารสมาธิไว้โดยปริยาย ๘ มีอาทิว่า ปม ฌาน

ปฏิลาภตฺถาย - เพื่อประโยชน์แก่การ ได้ปฐมฌาน เพราะเหตุนั้นท่าน

จึงกล่าวอัปปนาสมาธิและอุปจารสมาธิไว้ในที่ทั้งสอง. แม้เมื่อเป็นอย่าง

นั้นก็พึงทราบว่า ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ชื่อว่าจริยา

เพราะอรรถว่ามีความชำนาญ. อนึ่ง ในวิปัสสนาพละ ท่านกล่าวอนุ-

ปัสนา ๗ ว่าวิปัสสนาพละ. และกล่าวอนุปัสนา ๗ ไว้ในญาณจริยา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 884

ทั้งท่านยังกล่าวอนุปัสนา ๙ มีวิวัฏฏนานุปัสนาเป็นต้น ให้แปลกออกไป.

นี้เป็นความต่างกันแห่งอนุปัสนาเหล่านั้น. ส่วนอนุปัสนา ๗ พึงทราบ

ว่า ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ชื่อว่าจริยา เพราะอรรถว่า

มีความชำนาญ. เพื่อแก้วสีที่ท่านกล่าวไว้ในบทนี้ว่า วสีภาวตา ปฺา-

ปัญญาในคุวามเป็นผู้มีความชำนาญ ท่านจึงกล่าวเป็นอิตถีลิงค์ วสีติ

ปญฺจ วสิโย คำว่า - วสี ๕. ท่านอธิบายว่า ความชำนาญ

นั่นแหละ ชื่อว่า วสี.

พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแก้ซึ่งวสีเหล่านั้น ด้วยแสดงเป็นบุคลา-

ธิฏฐานอีก จึงกล่าวบทมีอาทิว่า อาวชฺชนาวสี - ชำนาญในการนึก

ชื่อว่า อาวชฺชนาวสี เพราะมีความชำนาญในการนึก. ในบทที่

เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า ปม ฌาน ยตฺถิจฺฉก - คำนึงถึงปฐมฌานได้ในที่

ที่ปรารถนา ความว่า สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงในประเทศที่ตนปรารถนา

เป็นบ้านก็ตาม ป่าก็ตาม. บทว่า ยทิจฺฉก - ปรารถนาในกาลใด ความ

ว่า คำนึงในเวลาหนาวก็ตาม ร้อนก็ตาม. อีกอย่างหนึ่ง คำนึงถึง

ปฐมฌานที่ปรารถนามีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ก็ตาม มีกสิณที่เหลือเป็น

๑. ขุ. ป. ๓๑/มาติกาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 885

อารมณ์ก็ตาม. แก้อย่างก่อนดึกว่า เพราะท่านกล่าวถึงความเป็นผู้ชำ-

นาญฌาน แม้มีกสิณอย่าหนึ่งเป็นอารมณ์ไว้แล้ว.

บทว่า ยาวติจฺฉก - ปรารถนาเพียงใด คือ คำนึงถึงกาลที่

ปรารถนาเพียงลัดนิ้วมือเดียวหรือ ๗ วัน. บทว่า อาวชฺชนาย - ใน

การคำนึง ได้แก่ มโนทวาราวัชชนะ.

บทว่า ทนฺธายิตตฺต - ความเนิ่นช้า คือ ความไม่เป็นไปใน

อำนาจ. หรือความเกียจคร้าน.

บทว่า สมาปชฺชติ - ย่อมเข่า คือ ย่อมปฏิบัติ. อธิบายว่า

ย่อมแนบแน่น.

บทว่า อธิฏฺาติ - ย่อมอธิฏฐาน คือ ตั้งใจทำให้ยิ่งในภายใน

สมาบัติ. บทว่า ปม ฌาน ในวุฏฐานวสี เป็นทุติยาวิภัตติลงใน

อรรถแห่งปัญจมีวัตติ แปลว่า จากปฐมฌาน.

บทว่า ปจฺจเวกขติ - ย่อมพิจารณา คือ เห็นทันทีด้วยการ

ในรูปแห่งการพิจารณา. นี้เป็นการพรรณนาบาลีในบทนี้.

ต่อไปนี้เป็นการชี้แจงความ เมื่อพระโยคาวจรออกจากปฐมฌาน

แล้วคำนึงถึงวิตกชวนจิต ๔ หรือ ๕ ดวง มีวิตกเป็นอารมณ์ ย่อมแล่น

ไปในลำดับแห่งอาวัชชนจิตอันตัดภวังค์เป็นไป. แต่นั้นภวังคจิต ๒ ดวง

แล่นไป. แต่นั้นอาวัชชนจิตมีวิจารเป็นอารมณ์แล่นไปโดยนัยดังกล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 886

แล้วอีก. พระโยคาวจรสามารถตั้งจิตไปในลำดับในองค์ฌาน ๕ ด้วย

ประการฉะนี้. คราวนี้อาวัชชนวสีของพระโยคาวจรนั้น เป็นอันสำเร็จ.

ส่วนวสีอันถึงที่สุดนี้ ย่อมได้ในยมกปาฏิหาริย์ของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเท่านั้น. นอกจากนี้ไม่มีอาวัชชนวสีที่เร็วกว่า. การคำนวณใน

ภวังควาระในลำดับ ๆ ไม่มีแก่ผู้อื่น. ความเป็นผู้สามารถในการเข้า

สมาบัติได้เร็ว ดุจในการทรมานนันโทปนันทนาคของพระมหาโมคคัล-

ลานเถระ ชื่อว่าสมาปัชชนวสี. ความเป็นผู้สามารถเพื่อดำรงสมาบัติ

ตลอดขณะเพียงนิ้วมือเดียว หรือเพียง ๑๐ นิ้วมือ ชื่อว่าอธิฏฐานวสี.

อนึ่ง ความเป็นผู้สามารถออกได้เร็วกว่านั้น ชื่อว่า วุฏฺานวสี.

ส่วนปัจจเวกขณวสี ท่านกล่าวไว้แล้วในอาวัชชนวสีนั่นแหละ. เพราะ

ว่า ปัจจเวกขณชวนะเป็นลำดับของอาวัชชนะในอาวัชชนวสีนั้น. เป็น

อันว่าปัจจเวกขณวสีสำเร็จ ด้วยความสำเร็จแห่งอาวัชชนวสี ด้วย

ประการฉะนี้. และวุฏฐานวสีเป็นอันสำเร็จ ด้วยความสำเร็จแห่ง

อธิฏฐานวสี.

แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ความเป็นผู้สามารถในการยังอาวัชชนะให้

เป็นไปโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในกสิณนั้นเร็วตามชอบใจของผู้ประสงค์

เพื่อจะเข้าฌานมีกสิณนั้น ๆ เป็นอารมณ์ เพราะความสำเร็จด้วยสามารถ

กสิณต่าง ๆ ของผู้นิรมิตมีเพศหลายอย่างเป็นต้น เพราะไม่มีปัจจเวก-

ขณะอันเป็นองค์ฌานในเวลาแสดงปาฏิหาริย์ เพราะท่านกล่าวไว้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 887

ว่า วสีอันถึงที่สุดนี้ย่อมได้ในยมกปาฏิหาริย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เท่านั้น ชื่อว่าอาวัชชนวสี.

ความเป็นผู้สามารถในอัปปนา และความเป็นผู้สามารถเข้าฌาน

นั้น ๆ ในวิถีแห่งอาวัชชนะในกาลนั้น ชื่อว่าสมาปัชชนวสี. ก็เมื่อ

กล่าวอย่างนี้เป็นอันยุติและไม่ผิด. อนึ่งลำดับแห่งวสีย่อมควรตามลำดับ

นั่นเอง. อนึ่ง ในการพิจารณาองค์แห่งฌาน เพราะท่านกล่าวไว้ว่า

ชวนจิต ๕ ดวง ถึงที่สุดแล้ว แม้เมื่อชวนจิต ๗ ดวง แล่นไปโดยนัย

ดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมเป็นปัจจเวกขณวสีเหมือนกัน.

เมื่อเป็นอย่างนั้นหากกล่าว่า คำว่า คำนึงถึงปฐมฌาน ย่อม

ไม่ถูก. ท่านกล่าวฌานเป็นไปในกสิณ ว่าเป็นกสิณโดยเป็นอุปจารของ

เหตุ ฉันใด. ท่านกล่าวกสิณมีฌานเป็นปัจจัย ก็ฉันนั้น ว่าเป็นฌาน

โดยเป็นอุปจานแห่งผล ดุจในคำมีอาทิว่า สุโข พุทธานมุปฺปาโท-

การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นความสุข. แม้เมื่อมีการก้าวลง

สู่ฌานอีก ดุจในการที่บุคคลตื่นจากหลับตามกาลที่กำหนดไว้แล้วก้าวลง

สู่ความหลับอีก ชื่อว่าอธิฏฐานวสี. แม้เมื่อมีการอธิฏฐานในการลุกขึ้น

ของผู้ที่ลุกขึ้นตามกาลที่กำหนด ก็ชื่อว่าวุฏฐานวาสี. นี้เป็นความต่างกัน

ของวสีเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

เพื่อชี้แจงนิโรธสมาบัติจึงมีปัญหาดังต่อไปนี้ นิโรธสมาบัติเป็นอย่าง

อย่างไร. ใครเข้านิโรธสมาบัตินั้น. ใครไม่เข้า. เข้าในที่ไหน

๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 888

เพราะเหตุไรจึงเข้า. อย่างไรจึงเป็นอันเข้านิโรธสมาบัตินั้น. ตั้งอยู่

อย่างไร. ออกอย่างไร. ผู้ออกมีจิตน้อมไปสู่อะไร. คนตายและคนเข้า

ต่างกันอย่างไร. นิโรธสมาบัติ เป็นสังขตะ หรืออสังขตะ เป็นโลกิยะ

หรือโลกุตระ เป็นนิปผันนะ - สำเร็จ หรืออนิปผันนะ - ไม่สำเร็จ.

ในปัญหากรรมเหล่านั้น บทว่า กา นิโรธสมาปตฺติ - นิโรธ-

สมาบัติเป็นอย่างไร คือ จิตเจตสิกธรรมทั้งหลายไม่เป็นไปด้วยสามารถ

แห่งอนุปุพพนิโรธ คือ นิโรธตามลำดับ. ชื่อว่านิโรธสมาบัติ.

บทว่า เก ต สมฺปชฺชนฺติ, เก น สมาปชฺชนฺติ - ใคร

เข้านิโรธสมาบัตินั้น ใครไม่เข้า คือ ปุถุชนแม้ทั้งหมด พระโสดาบัน

พระสกทาคามี และพระอนาคามี พระอรหันต์ผู้เป็นสุกขวิปปัสสก ไม่

เข้า. ส่วนพระอนาคามีผู้ได้สมาบัติ ๘ และพระขีณาสพ เข้า.

บทว่า กตฺถ สปชฺชนฺติ - เข้าในที่ไหน ? คือ ในภพที่มี

ขันธ์ ๕. เพราะเหตุไร ? เพราะมีสมาบัติตามลำดับ. ส่วนในภพ คือ

ขันธ์ ๔ ปฐมฌานเป็นต้น ไม่มีการเกิดเลย. เพราะฉะนั้น จึงไม่

สามารถเข้าในภพนั้นได้.

บทว่า กสฺม สมาปชฺชนฺติ - เพราะเหตุไรจึงเข้า ? คือ เป็น

ผู้เบื่อหน่ายในความเป็นไปของสังขารไม่คิดจะอยู่ในทิฏฐธรรม จึงเข้า

ด้วยคิดว่า เราถึงนิพพานอันเป็นความดับแล้ว จักอยู่เป็นสุข.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 889

บทว่า กถญฺจสฺสา สมาปชฺชน โหติ - อย่างไรจึงเป็นอัน

เข้านิโรธสมาบัตินั้น ? คือ เมื่อขวนขวายด้วยสามารถแห่งสมถวิปัสสนา

แล้วทำกิจเบื้องต้น ยังเนวสัญญานาสัญญายตนะให้ดับ เป็นอันเข้า

นิโรธสมาบัติด้วยอาการอย่างนี้. เพราะผู้ใดขวนขวายด้วยสามารถแห่ง

สมถะเท่านั้น ผู้นั้นบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้วตั้งอยู่.

ส่วนผู้ใดขวนขวายด้วยสามารถแห่งวิปัสสนาเท่านั้น. ผู้นั้นบรรลุผล-

สมาบัติแล้วตั้งอยู่. อนึ่ง ผู้ใดขวนขวายด้วยสามารถทั้งสองอย่าง ย่อม

ยังเนวสัญญานาสัญญายตนะให้ดับ. ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเข้าถึงนิโรธสมาบัติ

นี้เป็นความสังเขปในบทนี้.

ส่วนความพิสดารพึงทราบดังต่อไปนี้ ภิกษุในศาสนานี้ประสงค์

จะเข้านิโรธ ฉันอาหารเสร็จแล้ว ล้างมือและเท้า นั่งขัดสมาธิบน

อาสนะที่ปูไว้อย่างดีในโอกาสอันสงัด ตั้งกายตรงดำรงสติไว้เฉพาะหน้า.

ภิกษุนั้นเข้าปฐมฌาน ครั้นออกแล้วพิจารณาเห็นแจ้ง สังขารทั้งหลาย

โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ณ ที่นั้น.

ก็วิปัสสนานั้นมี ๓ อย่าง คือ สังขารปริคคัณหนกวิปัสสนา-

วิปัสสนากำหนดสังขาร ๑ ผลสมาปัตติวิปัสสนา - วิปัสสนาอันเป็นผล-

สมาบัติ ๑ นิโรธสมาปัตติวิปัสสนา - วิปัสนาอันเป็นนิโรธสมาบัติ ๑.

ในวิปัสสนา ๓ อย่างนั้น สังขารปริคคัณหนกวิปัสสนา จะอ่อน

หรือกล้าแข็งก็ตาม ย่อมเป็นปทัฏฐานแห่งมรรคนั่นแหละ. ผลสมาปัตติ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 890

วิปัสสนากล้าแข็งเช่นกับมรรคภาวนาจึงควร. ส่วนนิโรธสมาปัตติ-

วิปัสสนา ได้อ่อนเกินไป ไม่กล้าแข็งเกินไปนั่นแหละจึงควร. เพราะ

ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงพิจารณาเห็นแจ้งสังขารเหล่านั้น ด้วยวิปัสสนาอัน

ไม่อ่อนเกินไป ไม่กล้าแข็งเกินไป. แต่นั้นจึงเข้าตติยฌาน ฯลฯ

วิญญาณัญจายตนะครั้นออกแล้วกระทำกิจเบื้องต้น ๔ อย่าง คือ.

นานาพัทธอวิโกปนะ ๑

สังฆปฏิมานนะ ๑

สัตถุปักโกสนะ ๑

อัทธานปริจเฉทะ ๑.

ในกิจ ๔ อย่างนั้น บทว่า นานาพทฺธอวิโกปน - ไม่ให้ของ

ใช้ต่างๆ เสียหาย. ความว่า สิ่งใด ที่ไม่เป็นของใช้เนื่องเป็นอันเดียว

กันกับภิกษุนี้ เป็นของใช้ต่าง ๆ ที่ตั้งไว้ เช่น บาตร จีวร เตียง ตั่ง

ที่อยู่อาศัย หรือแม้บริขารไร ๆ อย่างอื่น, ไม่ให้ทำลายสิ่งนั้น. ไม่ให้

เสียหายไปด้วย ไฟ น้ำ ลม โจร และหนูเป็นต้น โดยประการใด

พึงอธิฏฐานโดยประการนี้. วิธีอธิฏฐานมีว่าดังนี้ ในภายใน ๗ วันนี้

ขอสิ่งนี้ ๆ จงอย่าถูกไฟไหม้, อย่าถูกน้ำพัดไป. อย่าถูกลมกำจัด, อย่า

ถูกโจรลัก, อย่าถูกหนูกัดเป็นต้น. เมื่ออธิฏฐานอย่างนี้ตลอด ๗ วัน

นั้นจะไม่มีอันตรายใด ๆ แก่สิ่งเหล่านั้น. แต่เมื่อไม่อธิฏฐาน จะเสียหาย

ด้วยไฟเป็นต้น. นี้ชื่อว่านานาพัทธอวิโกปนะ. แต่สิ่งใดที่ใช้เนื่องเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 891

อันเดียวกัน เช่น ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นั่ง ในสิ่งนั้นไม่มีกิจที่จะอธิฏฐาน

ต่างหาก. สมาบัตินั่นแลย่อมคุ้มครองสิ่งนั้นนั่นแล.

บทว่า สงฺฆปฏิมานน - การรอท่าสงฆ์ ได้แก่ การรอท่า คือ

การเห็นภิกษุสงฆ์. อธิบายว่า ไม่ทำสังฆกรรม จนกว่าภิกษุรูปนั้นจะ

มา. อนึ่ง ในบทนี้การรอท่ามิใช่เป็นบุพกิจของภิกษุนี้. แต่การนึกถึง

การรอท่าเป็นบุพกิจ เพราะฉะนั้นวรนึกถึงอย่างนี้ว่า หากตลอด ๗ วัน

เมื่อนั่งเข้านิโรธสงฆ์ประสงค์จะทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ในอปโลกน-

กรรมเป็นต้น. เราจักออกโดยภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่มาเรียกเรา. ก็ภิกษุ

ทำอย่างนี้แล้วเข้าสมาบัติ ย่อมออกได้ในสมัยนั้นนั่นเอง. แต่ภิกษุใด

ไม่ทำอย่างนี้. ทั้งสงฆ์ก็ประชุมกันแล้ว เมื่อไม่เห็นภิกษุนั้น จึงถามว่า

ภิกษุรูปโน้นไปไหน เมื่อตอบว่า กำลังเข้าสมาบัติ จึงส่งภิกษุรูปหนึ่ง

ไปว่า ท่านจงไปเรียกภิกษุนั้นตามคำของสงฆ์. ลำดับนั้น เพียงคำ

อันภิกษุนั้นยินอยู่ในที่ใกล้พอจะได้ยินกล่าวว่า อาวุโส สงฆ์รอท่าน

เท่านั้น ดังนี้ ภิกษุนั้นเป็นอันออกจากนิโรธ. เพราะว่า ชื่อว่า อาณา

คืออำนาจของสงฆ์หนักถึงอย่างนี้. ฉะนั้นพึงเข้านิโรธโดยอาการที่ภิกษุ

นั่นนึกถึงแล้วออกจากนิโรธก่อน.

บทว่า สตฺถุ ปกิโกสน - พระศาสดาตรัสเรียกหา แม้ในบทนี้

การนึกถึงการเรียกหาของพระศาสดาก็เป็นบุพกิจของภิกษุนี้. เพราะ

ฉะนั้นควรนึกถึงบุพกิจนั้นอย่างนี้ว่า หากว่า เมื่อเรานั่งเข้านิโรธตลอด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 892

๗ วัน. พระศาสดาทรงบัญญัติสิกขาบท ในเพราะเรื่องที่ละเมิด. หรือ

ทรงแสดงธรรมในเพราะเหตุเกิดเรื่องเห็นปานนั้น. เราจักออก โดยที่

ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังไม่มาเรียกเรา. ภิกษุนั่งทำอย่างนี้ย่อมออกในสมัย

นั้นนั่นแหละ. อนึ่ง ภิกษุใดไม่ทำอย่างนั้น. ทั้งพระศาสดา เมื่อสงฆ์

ประชุมกัน ไม่ทรงเห็นภิกษุนั้นตรัสถามว่า ภิกษุรูปนั้นไปไหน เมื่อ

กราบทูลว่า เข้านิโรธ จึงทรงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปว่าเธอจงไปเรียกภิกษุ

นั้นตามคำของเรา. ครั้นเพียงภิกษุนั้นยืนอยู่ในที่ใกล้พอได้ยินกล่าวว่า

พระศาสดาตรัสเรียกหาท่านดังนี้เท่านั้น ภิกษุนั้นก็เป็นอันออกจาก

นิโรธ. เพราะว่าการตรัสเรียกหาของพระศาสดาถือเป็นเรื่องหนักอย่าง

นี้. ฉะนั้นพึงเข้านิโรธโดยอาการที่ภิกษุนั้นนึกถึง แล้วออกก่อนนั่น

เทียว.

บทว่า อทฺธานปริจฺเฉโท - กำหนดกาล คือ กำหนดกาลของ

ชีวิต. จริงอยู่ ภิกษุนี้ควรเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดกาล. ควรนึกว่า

อายุสังขารของตนจักเป็นไปได้ตลอด ๗ วัน. หรือจักเป็นไปไม่ได้แล้ว

เข้านิโรธ. เพราะว่าเมื่ออายุสังขารดับเสียในระหว่าง ๗ วัน. ภิกษุไม่

ได้นึกถึงเข้านิโรธ. นิโรธสมาบัติของภิกษุนั้นไม่สามารถห้ามความตาย

ได้. ภิกษุย่อมออกจากสมาบัติในระหว่างได้ เพราะในภายในนิโรธยัง

ไม่มีความตาย. ฉะนั้นควรนึกถึงกาลนั้นแล้วจึงเข้านิโรธ. แม้ไม่นึกถึง

กาลที่เหลือก็ควร. แต่ควรนึกถึงกาลนี้ทีเดียว. ท่านอธิบายไว้ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 893

ภิกษุนั้นเข้าอากิญจัญญายตนะอย่างนี้แล้ว ครั้นออกแล้วทำบุพกิจนี้

ย่อมเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้ ครั้นล่วงเลยวารจิตหนึ่ง หรือ

สองแล้วเป็นอจิตตกะ ย่อมถูกต้องนิโรธได้. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร

จิตเหนือ คือเกินจิตสองดวงจึงเป็นไปไม่ได้เล่า. ตอบว่า เพราะเป็น

ปโยคะแห่งนิโรธ. จริงอยู่ การทำสมถะและวิปัสสนาทั้งสองของภิกษุ

นั้นให้เป็นยุคนัทธะคือธรรมที่เทียมคู่นี้ แล้วขึ้นสู่สมาบัติ ๘ เป็นความ

ขวนขวายของนิโรธตามลำดับ. มิใช่เพราะเนวสัญญานาสัญญายตน-

สมาบัติ เพราะเหตุนั้นจิตทั้งหลาย จึงไม่เป็นไปเหนือจิตสองดวงเพราะ

เป็นปโยคะแห่งนิโรธ.

บทว่า กถ - าน - ตั้งอยู่อย่างไร คือ ตั้งอยู่ด้วยสามารถกำหนด

กาลแห่งสมาบัตินั้นที่เข้าถึงพร้อมแล้วอย่างนี้ และด้วยไม่มีอายุขัย การ

รอท่าของสงฆ์และการตรัสเรียกหาของพระศาสดาในระหว่าง.

บทว่า กถ วุฏฺาน - ออกอย่างไร ได้แก่ ออก ๒ อย่างนี้

คือ ด้วยอนาคามิผลสมาบัติ ๑ ด้วยอรหัตผลสมาบัติของพระอรหันต์ ๑.

บทว่า วุฏฺิตสฺส กินฺนินฺน จิตฺต โหติ - จิตของผู้ออกแล้ว

น้อมไปสู่อะไร ความว่า น้อมไปสู่นิพพาน. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า

๑. หมายความว่า ในขณะที่จะเข้านิโรธสมาบัติ จตุตถอรูปสมาบัติเกิดขึ้น ๒ ครั้ง

แล้วก็ถึงนิโรธ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 894

ดูก่อน อาวุโสวิสาขะ จิตของภิกษุผู้ออกจาก

สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ น้อมไปสู่วิเวก โอน

ไปสู่วิเวก โน้นไปสู่วิเวก.

บทว่า มตสฺส จ สมาปนฺนสฺส จ โก วิเสโส - ผู้ตาย

แล้วและผู้เข้านิโรธต่างกันอย่างไร ท่านกล่าวความนี้ไว้แล้วในพระสูตร.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนอาวุโส กายสังขารของผู้ตายแล้ว ถึง

แต่กรรมแล้ว ดับ สงบ. วจีสังขาร จิตตสังขาร

ดับ สงบ. อายุสิ้นไป. ไออุ่นสงบไป. อินทรีย์

ทำลายไป. แม้กายสังขารของภิกษุผู้เข้าสัญญา-

เวทยิตนิโรธ ก็ดับ สงบ. วจีสังขาร จิตตสังขาร

ก็ดับ สงบ. อายุยังไม่สิ้นไป. ไออุ่นยังไม่สงบ.

อินทรีย์ยังไม่ทำลาย.-

ในคำถามมีอาทิว่า นิโรธสมาปตฺติ กึ สงฺขตา อสงฺขตา-

นิโรธสมาบัติเป็นสังขตะหรืออสังขตะ ? มีอธิบายดังต่อไปนี้ ไม่ควร

กล่าวว่า เป็นสังขตะบ้าง อสังขตะบ้าง โลกิยะบ้าง โลกุตระบ้าง.

เพราะเหตุไร ? เพราะไม่มีโดยสภาพ. เพราะภิกษุ ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึง

๑. ม. ม. ๑๒/๕๑๐. ๒. ม. มู. ๑๒/๕๐๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 895

พร้อมแล้วด้วยอำนาจแห่งการเข้านิโรธ. ฉะนั้นควรกล่าวว่า เป็นนิป-

ผันนะ คือ สำเร็จแล้ว ไม่ควรกล่าวว่า เป็นอนิปผันนะ คือ ยังไม่

สำเร็จ.

สมาบัติอันสงบแล้ว อันพระอริยะเสพแล้ว

มิได้ชื่อว่านิพพาน ในทิฏฐธรรมด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถานิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส

ปรินิพพานญาณนิทเทส

[๒๒๖] ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลส และ

ขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพานญาณอย่างไร ?

สัมปชานบุคคลในศาสนานี้ ย่อมยังความเป็นไปแห่งกามฉันทะ

ให้สิ้นไป ด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ แห่งความพยาบาท ให้สิ้นไป ด้วย

ความไม่พยาบาท ฯลฯ แห่งถีนมิทธะให้สิ้นไป ด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ

แห่งอุทธัจจะให้สิ้นไป ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ แห่งวิจิกิจฉาให้สิ้นไป

ด้วยการกำหนดธรรม ฯลฯ แห่งอวิชชาให้สิ้นไป ด้วยญาณ ฯลฯ

แห่งความไม่ยินดี ด้วยความปราโมทย์ ยังความเป็นไปแห่งนิวรณ์ให้สิ้น

ไป ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ยังความเป็นไปแห่งกิเลสทั้งปวงให้ในรูป ด้วย

อรหัตมรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 896

อีกประการหนึ่ง ความเป็นไปแห่งตานี้แล ของสัมปชาน

บุคคลผู้นิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความ

เป็นไปแห่งตาอื่นย่อมไม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งหู ฯลฯ ความเป็นไป

แห่งจมูก ฯล ฯ ความเป็นไปแห่งลิ้น ฯลฯ ความเป็นไปแห่งกาย ฯลฯ ความ

เป็นไปแห่งใจนี้แล ของสัมปชานบุคคลผู้นิพพาน ด้วยอนุปาทิเสส

นิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งใจอื่นย่อมไม่เกิดขึ้น

ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ ของสัมปชาน

บุคคลนี้เป็นปรินิพพานญาณ.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสิ้นไปแห่ง

ความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพาน.

๓๕. อรรถกถาปรินิพพานญาณนิทเทส

[๒๒๖]พึงทราบวินิจฉัยในปรินิพพานญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.

บทว่า อิธ คือในศาสนานี้. บทว่า สมฺปชาโน - ผู้รู้สึกตัว ความว่า

ผู้รู้สึกตัวด้วย สัมปชัญญะ ๔ เหล่านี้ คือ

สาตถกสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในกิจที่ประโยชน์แก่ตัว ๑

สัปปายสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในปัจจัยที่สบาย ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 897

โคจรสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในธรรมอันเป็นโคจร ๑

อสัมโมหสัมปชัญญะ - ความรู้ตัวในความไม่หลงงมงาย ๑.

บทว่า ปวตฺต - ยังความเป็นไป คือ ความเป็นไปแห่งปริยุฏ-

ฐานกิเลส และความเป็นไปแห่งอนุสัยกิเลส ตามสมควรในที่ทั้งปวง

บทว่า ปริยาทิยติ - ให้สิ้นไป คือ ทำให้เป็นไปไม่ได้ ด้วย

สามารถแห่งวิกขัมภนปหานในธรรมทั้งหลายที่ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่ง

อุปจารและวิปัสสนา. ด้วยสามารถแห่งตทังคปหานในธรรมทั้งหลาย

ที่ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา. ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทปหาน

ในธรรมทั้งหลายที่ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งมรรค. จริงอยู่ ท่านย่อ

ฌานสมาบัติมีทุติยฌานเป็นต้น มหาวิปัสสนา และมรรค ไว้ด้วย

หัวข้อไปยาล. เพราะญาณอันเป็นไปแล้วแก่ผู้พิจารณาญาณนั้น ชื่อว่า

ปรินิพพานญาณ. ฉะนั้น จึงเป็นอันท่านกล่าวไว้ว่า วิกฺขมฺภน-

ปรินิพฺพาน - ปรินิพพานด้วยการข่มไว้, ตทงฺคปรินิพฺพาน - ปริ-

นิพพานด้วยองค์แห่งธรรมนั้น, สมุจฺเฉทปรินิพฺพาน - ปรินิพพาน

ด้วยตัดเด็ดขาด. ด้วยบทเหล่านี้ ท่านจึงกล่าวถึงปัจจเวกขณญาณใน

การดับกิเลส.

ด้วยบทมีอาทิว่า อถวา ปน - อีกประการหนึ่ง พระสารีบุตรเถระ

แสดงถึงปัจจเวกขณญาณในการดับขันธ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 898

บทว่า อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา - ด้วยอนุปาทิเสส

นิพพานธาตุ ได้แก่ เพราะนิพพานธาตุ มี ๒ อย่าง คือ สอุปาทิเสส

นิพพานธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑. ในนิพพานธาตุ ๒ อย่าง

นั้น ชื่อว่า อุปาทิ เพราะอรรถว่าอันบุคคลถือมั่น คือ ยึดถืออย่าง

แรงกล้าว่า เรา ของเรา. บทว่าอุปาทินี้เป็นชื่อของขันธปัญจกะ.

ชื่อว่า อุปาทิเสสะ เพราะอรรถว่าอุปาทินั่นแหละยังเหลืออยู่.

ชื่อว่า สอุปาทิเสสะ เพราะอรรถว่าเป็นไปกับด้วยอุปาทิเสสะ

คือขันธ์ ๕ เหลืออยู่.

ชื่อว่า อนุปาทิเสสะ เพราะอรรถว่าไม่มีอุปาทิเสสะในนิพพาน

ธาตุนี้.

ท่านกล่าวถึงสอุปาทิเสสะก่อน ส่วนนิพพานธาตุนี้เป็นอนุปาทิ-

เสสะ. ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุนั้น.

บทว่า จกฺขุปวตฺต - ความเป็นไปแห่งตา คือ ความปรากฏเกิด

ขึ้นทางตา.

บทว่า ปริยาทิยติ ได้แก่ ย่อมสิ้นไป คือ ถูกย่ำยี. ใน

บทที่เหลือมีนัยนี้.

จบ อรรถกถาปรินิพพานญาณนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 899

สมสีสัฏฐญาณนิทเทส

[๒๒๗] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการ

ตัดขาดโดยชอบและนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณอย่างไร ?

คำว่า ธรรมทั้งปวง คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘

กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม

อรูปาวจรธรรม โลกุตรธรรม.

[๒๒๘] คำว่า สมฺมาสมุจฺเฉเท - ในการตัดขาดโดยชอบ

ความว่า พระโยคาวจรย่อมตัดกามฉันทะขาดโดยชอบ ด้วยเนกขัมมะ

ย่อมตัดพยาบาทขาดโดยชอบ ด้วยความไม่พยาบาท ย่อมตัดถีนมิทธะ

ขาดโดยชอบ ด้วยอาโลกสัญญา ย่อมตัดอุทธัจจะขาดโดยชอบ ด้วย

ความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมตัดวิจิกิจฉาขาดโดยชอบ ด้วยการกำหนดธรรม

ย่อมตัดอวิชชาขาดโดยชอบ ด้วยญาณ ย่อมตัดอรติขาดโดยชอบ ด้วย

ความปราโมทย์ ย่อมตัดนิวรณ์ขาดโดยชอบ ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ

ย่อมตัดกิเลสทั้งปวงขาดโดยชอบ ด้วยอรหัตมรรค.

[๒๒๙] คำว่า นิโรเธ - ในนิโรธ ความว่า พระโยคาวจรย่อมทำ

กามฉันทะให้ดับ ด้วยเนกขัมมะ ย่อมทำพยาบาทให้ดับ ด้วยความไม่

พยาบาท ย่อมทำถีนมิทธะให้ดับ ด้วยอาโลกสัญญา ย่อมทำอุทธัจจะ

ให้ดับ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมทำวิจิกิจฉาให้ดับ ด้วยการกำหนด

ธรรม ย่อมทำอวิชชาให้ดับด้วยญาณ ย่อมทำอรติให้ดับ ด้วยความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 900

ปราโมทย์ ย่อมทำนิวรณ์ให้ดับ ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ย่อมทำกิเลส

ทั้งปวงให้ดับ ด้วยอรหัตมรรค.

[๒๓๐] คำว่า อนุปฏฺานตา - ความไม่ปรากฏ ความว่า

บุคคลผู้ได้เนกขัมมะ กามฉันทะย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ความไม่พยาบาท

ความพยาบาทย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้อาโลกสัญญา ถีนมิทธะย่อมไม่ปรากฏ

ผู้ได้ความไม่ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้การกำหนดธรรม

วิจิกิจฉาย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ญาณ อวิชชาย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ความ

ปราโมทย์ อรติย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ปฐมฌาน นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏ

ฯลฯ ผู้ได้อรหัตมรรค กิเลสทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ.

[๒๓๑] คำว่า สม - สงบ ความว่า เนกขัมมะเป็นธรรมสงบ

เพราะท่านละกามฉันทะเสียแล้ว ความไม่พยาบาทเป็นธรรมสงบ เพราะ

ท่านละความพยาบาทเสียแล้ว อาโลกสัญญาเป็นธรรมสงบ เพราะท่าน

ละถีนมิทธะเสียแล้ว ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละ

อุทธัจจะเสียแล้ว การกำหนดธรรมเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละ

วิจิกิจฉาเสียแล้ว ญาณเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละอวิชชาเสียแล้ว

ความปราโมทย์เป็นธรรมสงบ เพราะท่านละอรติเสียแล้ว ปฐมฌาน

เป็นธรรมสงบ เพราะท่านละนิวรณ์เสีย ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นธรรม

สงบ เพราะท่านละกิเลสทั้งปวงเสียแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 901

[๒๓๒] คำว่า สีส - เป็นประธาน ความว่า ธรรมเป็น

ประธาน ๑๓ ประการ คือ ตัณหามีความกังวลเป็นประธาน ๑ มานะ

มีความผูกพันเป็นประธาน ๑ ทิฏฐิมีความยึดมั่นเป็นประธาน ๑

อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน ๑ อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน ๑

ศรัทธามีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน ๑ วิริยะมีความประคองไว้เป็น

ประธาน ๑ สติมีการเข้าไปตั้งไว้เป็นประธาน ๑ สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่าน

เป็นประธาน ๑ ปัญญามีความเห็นเป็นประธาน ๑ ชีวิตินทรีย์มีความ

เป็นไปเป็นประธาน ๑ วิโมกข์มีอารมณ์เป็นประธาน ๑ นิโรธมีสังขาร

เป็นประธาน ๑.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความไม่ปรากฏ

แห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาดโดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐ-

ญาณ.

๓๖. อรรถกถาสมสีสัฏฐญาณนิทเทส

[๒๒๗ - ๒๓๒]พึงทราบวินิจฉัยในสมสีสัฏฐญาณนิทเทสดังต่อ

ไปนี้ พึงทราบการสงเคราะห์ทั้งหมด ด้วยหมวด ๑๐ มีอาทิว่า ปญฺ-

จกฺขนฺธา - ขันธ์ทั้งหลาย ๕. จริงอยู่ ท่านมิได้จัดธรรมทั้งหมดไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 902

แผนกหนึ่ง ๆ ด้วยหมวด ๘ ที่เหลือเว้นหมวดอายตนะ ธาตุ ด้วย

สามารถธรรมหมวดหนึ่ง ๆ. ก็เพราะโลกุตรธรรมมิใช่เป็นธรรมที่ควร

ตัด ด้วยการตัดขาดเหตุ. ฉะนั้น โลกุตรธรรมแม้ท่านสงเคราะห์เข้า

ด้วยศัพท์ว่า สพฺพธมฺมา ก็ไม่พึงถือเอาในที่นี้ เพราะมีคำว่า สมุจเฉทะ

ควรถือเอาเตภูมิธรรมอันควรตัดด้วยการตัดเหตุ.

บทว่า สมฺมา สมุจฺฉินฺทติ - ตัดขาดโดยชอบ ความว่า เมื่อ

ดับปริยุฏฐานกิเลสและอนุสัยกิเลส ด้วยอำนาจแห่งวิกขัมภนปหานะ

ตทังคปหานะ และสมุจเฉทปหานะตามควร ชื่อว่า ตัดขาดโดยชอบ.

ท่านแสดงการตัดขาดโดยชอบ ด้วยเทศนาเป็นบุคลาธิฏฐานอย่างนี้.

บทว่า นิโรเธติ - ให้ดับ คือ ให้ดับด้วยอนุปาทนิโรธ - ดับ

โดยไม่มีเกิดขึ้น. ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงอรรถแห่งสมุจเฉท.

บทว่า น อุปฏฺาติ - ย่อมไม่ปรากฏ ความว่า เมื่อดับอย่างนี้

แล้ว ธรรมนั้น ๆ ก็ไม่ปรากฏขึ้นอีก คือ ไม่เกิดขึ้น. ด้วยบทนี้

ท่านกล่าวถึงอรรถแห่งนิโรธ. ท่านแสดงถึงความไม่ปรากฏ ด้วยสามารถ

แห่งธรรมอันไม่ปรากฏ. บทว่า สม - ความสงบ คือ ชื่อว่า สงบ

เพราะกามฉันทะเป็นต้นสงบ. ธรรม ๓๗ คือ ธรรม ๗ มีเนกขัมมะ

เป็นต้นเหล่านั้น รูปฌานอรูปฌาน ๘, มหาวิปัสสนา ๑๘, อริยมรรค ๔

ท่านกล่าวธรรมเป็นประธาน คือ สีสะ ๑๓ ประการ ด้วย

สามารถแห่งการสงเคราะห์ธรรมทั้งหมดที่เป็นสีสะ แต่ในที่นี้ธรรมเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 903

ประธาน ๘ มีศรัทธาเป็นต้นย่อมควร. เพราะธรรมเป็นประธาน ๕

มีตัณหาเป็นต้นมิได้มีแก่พระอรหันต์.

บทว่า ปลิโพธสีส - มีความกังวลเป็นประธาน คือ มีความ

ห่วงใยปลิโพธ. อธิบายว่า เป็นเครื่องกั้นทางไปนิพพาน. บทว่า สีส-

เป็นประธาน คือธรรมอันยิ่ง. ปลิโพธนั่นแหละเป็นประธาน หรือเป็น

ประธานในปลิโพธทั้งปวง มีการประกอบด้วยธรรมนั้นเป็นต้น เพราะ

เหตุนั้น จึงชื่อว่า ปลิโพธสีส. ในบทที่เหลือมีนัยนี้แล. แต่โดย

ความต่างกันในบทว่า พนฺธน - ความผูกพัน คือ ผูกพันในสงสาร

ด้วยสามารถการเย่อหยิ่ง.

บทว่า ปรามาโส คือ ความยึดมั่น.

บทว่า วิกฺเขโป คือ ความฟุ้งซ่าน.

บทว่า กิเลโส คือ ความเศร้าหมอง.

บทว่า อธิโมกฺโข คือ น้อมใจเชื่อ.

บทว่า ปคฺคโห ความประคอง คือ ความอุตสาหะ.

บทว่า อุปฏฺาน - เข้าไปตั้งไว้ คือ การทำซ้ำ ๆ.

บทว่า อวิกฺเขโป คือ ความไม่ฟุ้งซ่าน.

บทว่า ทสฺสน - ความเห็น คือ แทงตลอดตามความเป็นจริง.

บทว่า ปวตฺต - ความเป็นไป คือ ความเป็นไปด้วยอุปาทิน-

นกขันธ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 904

บทว่า โคจโร คือ อารมณ์.

ธรรมมีอรรถเป็นประธาน เป็นหัวหน้า ในวาระ แม้ ๑๒ เหล่านี้.

บทว่า วิโมกฺโข คือ นิพพานอันเป็นนิสสรณวิมุตติ ใน

วิมุตติ ๕ คือ วิกขัมภนวิมุตติ ๑ ตทังตวิมุตติ ๑ สมุจเฉทวิมุตติ ๑

ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ๑ นิสสรณวิมุตติ ๑.

บทว่า สงฺขารสีส - มีสังขารเป็นประธาน คือ เป็นประธาน

แห่งสังขารอันเป็นสังขตะทั้งปวง. อธิบายว่า เป็นยอดสุด ด้วยบทนี้

ท่านกล่าวถึงอนุปาทิเสสปรินิพพาน. หรือท่านกล่าวถึงขันธปรินิพพาน

ด้วยเพียงไม่มีสังขาร.

ชื่อว่า สมสีสี เพราะอรรถว่ามีความสงบ มีเนกขัมมะเป็นต้น

และธรรมเป็นประธานมีศรัทธาเป็นต้น หรือมีความสงบและธรรม

เป็นประธานเสมอกัน.

อีกอย่างหนึ่ง การตรัสรู้และอนุปาทิเสสปรินิพพานในเพราะ

โรคอย่างหนึ่งก็ดี, ในเพราะอิริยาบถอย่างหนึ่งก็ดี, ในเพราะชีวิตินทรีย์

อันเสมอกันก็ดี แห่งอริยสัจ ๔ เหล่านี้ คือ

ธรรมเป็นประธาน ๕ มีตัณหาเป็นต้น แห่ง

ธรรมเป็นประธาน ๑๓ เป็นสมุทยสัจจะ. ธรรม

เป็นประธาน ๑๓ มีศรัทธาเป็นต้น เป็นมรรคสัจจะ.

ชีวิตินทรีย์ มีความเป็นไปเป็นประธาน เป็นทุกข-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 905

สัจจะ. วิโมกข์มีอารมณ์เป็นประธาน และมี

สังขารเป็นประธาน เป็นนิโรธสัจจะ.

ย่อมมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นท่านกล่าวว่า เป็น สมสีสี เพราะมีความสงบ

ดังได้กล่าวไว้แล้วในก่อนและมีธรรมเหล่านี้เป็นประธาน.

จบ อรรถกถาสมสีสัฏฐญาณนิทเทส

สัลเลขัฏฐญาณนิทเทส

[๒๓๓] ปัญญาในความในรูปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่าง ๆ

และเดช เป็นสัลเลขัฏฐญาญอย่างไร ?

คำว่า ปุถุ - หนา คือ ราคะหนา โทสะหนา โมหะหนา

ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา

ความตระหนี่ ความเจ้าเล่ห์ ความโอ้อวด หัวดื้อ ความแข่งดี ความ

ถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความมัวเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง

ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง

เป็นกิเลสหนา.

[๒๓๔] คำว่า สภาพต่าง ๆ และสภาพเดียว ความว่า

กามฉันทะเป็นสภาพต่าง ๆ เนกขัมมะเป็นสภาพเดียว พยาบาทเป็นสภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 906

ต่าง ๆ ความไม่พยาบาทเป็นสภาพเดียว ถีนมิทธะเป็นสภาพต่าง ๆ อาโลก-

สัญญาเป็นสภาพเดียว อุทธัจจะเป็นสภาพต่าง ๆ ความไม่ฟุ้งซ่านเป็น

สภาพเดียว วิจิกิจฉาเป็นสภาพต่าง ๆ การกำหนดธรรมเป็นสภาพเดียว

อวิชชาเป็นสภาพต่าง ๆ ญาณเป็นสภาพเดียว อรติเป็นสภาพต่าง ๆ ความ

ปราโมทย์เป็นสภาพเดียว นิวรณ์เป็นสภาพต่าง ๆ ปฐมฌานเป็นสภาพ

เดียว ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นสภาพต่าง ๆ อรหัตมรรคเป็นสภาพเดียว.

[๒๓๕] คำว่า เตโช - เดช ความว่า เดชมี ๕ คือ

จรณเดช คุณเดช ปัญญาเดช บุญญเดช ธรรมเดช บุคคลผู้มีจิต

อันกล้าแข็ง ย่อมยังเดชคือความเป็นผู้ทุศีลให้สิ้นรูปด้วยเดชคือศีล

เครื่องดำเนินไป ย่อมยังเดชมิใช่คุณให้สิ้นไปด้วยเดชคือคุณ ย่อมยัง

เดชคือความเป็นผู้มีปัญญาทรามให้สิ้นไปด้วยเดชคือปัญญา ย่อมยังเดช

มิใช่บุญให้สิ้นไปด้วยเดชคือบุญ ย่อมยังเดชมิใช่ธรรมให้สิ้นไปด้วยเดช

อันเป็นธรรม.

[๒๓๖] คำว่า สลฺเลโข - ธรรมเครื่องขัดเกลา ความว่า

กามฉันทะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา เนกขัมมะเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา

พยาบาทมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ความไม่พยาบาทเป็นธรรมเครื่อง

ขัดเกลา ถีนมิทธะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา อาโลกสัญญาเป็นธรรม

เครื่องขัดเกลา อุทธัจจะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ความไม่ฟุ้งซ่านเป็น

ธรรมเครื่องขัดเกลา วิจิกิจฉามิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา การกำหนด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 907

ธรรมเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อวิชชามิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ญาณ

เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อรตีมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ความปราโมทย์

เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา นิวรณ์มิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ปฐมฌาน

เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ฯลฯ กิเลสทั้งปวงมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา

อรหัตมรรคเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรม ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า

รู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความในรูปแห่งกิเลส

อันหนา สภาพต่าง ๆ และเดช เป็นสัลเลขัฏฐญาณ.

๓๗. อรรถกถาสัลเลขัฏฐญาณนิทเทส

[๒๓๓ - ๒๓๖] พึงทราบวินิจฉัยในสัลเลขัฏฐญาณนิทเทสดังต่อ

ไปนี้. บทว่า ราโค ปุถุ ราคะหนา คือ ราคะต่างหาก ไม่ปนด้วย

โลกุตระ ในบทที่เหลือมีนัยนี้.

ชื่อว่า ราคะ เพราะอรรถว่ากำหนัด.

ชื่อว่า โทสะ เพราะอรรถว่าประทุษร้าย.

ชื่อว่า โมหะ เพราะอรรถว่าลุ่มหลง.

พระสารีบุตรกล่าวกิเลสอันเป็นประธาน ๓ เหล่านี้ คือ ราคะ

มีลักษณะกำหนัด. โทสะมีลักษณะประทุษร้าย. โมหะมีลักษณะลุ่มหลง

แล้วบัดนี้ เมื่อจะแสดงโดยประเภท จึงกล่าวบทมีอาทิว่า โกโธ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 908

ในบทเหล่านั้น ในบทว่า โกโธ มีลักษณะโกรธนี้ ท่าน

ประสงค์เอาวัตถุ ๗ อย่าง.

อุปนาหะ มีลักษณะผูกโกรธ คือความโกรธนั่นเอง ที่ถึงความ

มั่นคง.

มักขะ มีลักษณะลบหลู่คุณผู้อื่น คือลบล้างคุณของผู้อื่น.

ปลาสะ มีลักษณะตีเสมอ คือ เห็นคุณผู้อื่นด้วยการตีเสมอ.

อิสสา มีลักษณะทำสมบัติของผู้อื่นให้สิ้นรูป คือริษยา.

มัจฉริยะ มีลักษณะซ่อนสมบัติของตน คือ สมบัติของเรา

จงอย่าเป็นของผู้อื่น.

มายา มีลักษณะปกปิดความชั่วที่ตนทำ คือ ทำเป็นมายาด้วย

ความปกปิด.

สาเถยยะ มีลักษณะประกาศคุณที่ไม่มีในตน คือ ความเป็น

ผู้โอ้อวด.

ถัมภะ มีลักษณะพองจิต คือ ความเป็นผู้กระด้าง.

สารัมภะ มีลักษณะให้ยิ่งด้วยการทำ.

มานะ มีลักษณะถือตัว.

อติมานะ มีลักษณะดูหมิ่น.

มทะ มีลักษณะความเป็นผู้มัวเมา. ปมาทะ มีลักษณะปล่อย

จิตไปในกามคุณ ๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 909

พระสารีบุตรเถระ ครั้นแสดงความหมาย ด้วยอำนาจกิเลสไว้

แผนกหนึ่ง ๆ แล้ว เพื่อจะแสดงถึงกิเลสที่กล่าวไว้แล้ว และกิเลสอื่น

ที่ยังมิได้กล่าวไว้ ด้วยสงเคราะห์เข้ากันทั้งหมด จึงกล่าวบทมีอาทิว่า

สพฺเพ กิเลสา - กิเลสทั้งปวง.

ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า กิเลส เพราะอรรถว่ายังสัตว์ให้

เศร้าหมอง ให้เดือดร้อน ให้ลำบาก ในภพนี้และภพหน้า. ทั้งที่

สงเคราะห์เข้าในอกุศลกรรมบถ ทั้งที่มิได้สงเคราะห์เข้า. ชื่อว่า ทุจริต

เพราะอรรถว่าประพฤติด้วยความชั่ว หรือประพฤติชั่ว.

ทุจริตนั้น มี ๓ ประการ คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑

มโนทุจริต ๑. ชื่อว่า อภิสงฺขารา เพราะอรรถว่าปรุงแต่งวิบาก.

อภิสังขารก็มี ๓ ประการ คือ

ปุญญาภิสังขาร - อภิสังขาร คือ บุญ ๑

อปุญญาภิสังขาร - อภิสังขาร คือ บาป ๑.

อาเนญชาภิสังขาร - อภิสังขาร คือ ความไม่หวั่นไหว ๑.

ชื่อว่า ภวคามิโน เพราะอรรถว่าสัตว์ไปสู่ภพ ด้วยอำนาจ

วิบาก. กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพ ชื่อว่า ภวคามิกมฺมา. ด้วย

บทนี้ แม้เมื่อความเป็นอภิสังขารมีอยู่ ก็เป็นอันห้ามกรรมที่ยังมิได้เสวย.

นี้ เป็นความต่างกันด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ทุจฺจริตา และ กมฺมา เป็นลิงควิปลาศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 910

บทว่า นานตฺเตกตฺต - สภาพต่าง ๆ และสภาพเดียว ในอุทเทส

หัวข้อนี้ คือ แม้ไม่มีศัพท์ว่า เอกตฺต ผู้ประสงค์จะชี้แจงแม้สภาพเดียว

เพราะความที่เพ่งถึงกันและกันแห่งสภาพต่าง ๆ และสภาพเดียว จึงทำ

อุทเทสว่า นานตฺเตกตฺต. เมื่อแสดงสภาพเดียวในการขัดเกลาสภาพ

ต่าง ๆ ท่านก็แสดงถึงญาณในการขัดเกลาได้โดยง่าย.

บทว่า นานตฺต คือ สภาพต่าง ๆ เพราะความไม่มั่นคง และ

เพราะมีความดิ้นรน.

บทว่า เอกตฺต คือ สภาพเดียว เพราะความมั่นคง และ

เพราะไม่ดิ้นรน.

บทว่า จรณเตโช - จรณเดช ชื่อว่า จรณะ เพราะอรรถว่า

เที่ยวไปสู่ทิศที่ยังมิได้ไป คือ นิพพาน ด้วยจรณเดชนั้น. จรณะนั้น

คือ อะไร ? คือ ศีล. จรณะนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นเดช เพราะ

อรรถว่าเผาสิ่งเป็นข้าศึก.

บทว่า คุณเตโช - คุณเดช คือ สมาธิเดช อันเป็นที่ตั้งได้

ด้วยศีล.

บทว่า ปญฺาเตโช - ปัญญาเดช คือ วิปัสสนาเดช อันเป็น

ที่ตั้งได้ด้วยสมาธิ.

บทว่า ปุญฺเตโช - ปุญญเดช คือ อริยมรรคกุสลเดช อัน

เป็นที่ตั้งได้ด้วยวิปัสสนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 911

บทว่า ธมฺนเตโช - ธรรมเดช คือ พุทธวจนเดช อันเป็น

หลักแห่งเดช ๔.

บทว่า จรณเตเชน เตชิตตฺตา ได้แก่ ผู้มีจิตกล้าแข็ง ย่อม

ยังเดชคือความเป็นผู้ทุศีลให้สิ้นไป ด้วยจรณเดช คือ ศีลเดช.

บทว่า ทุสฺสีลฺยเตช ได้แก่ เดช คือ ความเป็นผู้ทุศีล.

ชื่อว่า เตโช เพราะเผาสันดานแม้นั้น.

บทว่า ปริยาทิยติ คือ ให้สิ้นไป.

บทว่า อคุณเตช - ยังเดชมิใช่คุณ ได้แก่ เดช คือ ความ

ฟุ้งซ่าน อันเป็นปฏิปักษ์ของสมาธิ.

บทว่า ทุปฺปญฺเตช - เดช คือ ความเป็นผู้มีปัญญาทราม

ได้แก่ เดช คือ โมหะ อันเป็นปฏิปักษ์ ต่อวิปัสสนาญาณ.

บทว่า อุปญฺเตช - เดชมิใช่บุญ ได้แก่ เดช คือ อกุศลกรรม

อันเป็นสหายของกิเลส ด้วยการไม่ละกิเลส อันทำลายมรรคนั้น ๆ

มิใช่ให้เดช มิใช่ให้บุญสิ้นไปอย่างเดียวเท่านั้น ยังกุศลธรรมให้สิ้นไป

ด้วย เพราะพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมไม่ดำ ไม่ขาว

มีอยู่ กรรมอันเป็นวิบากของกรรมไม่ดำ ไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความสิ้นไปแห่งกรรมดังนี้ ท่านกล่าวเดชอันมิใช่บุญเท่านั้น ด้วย

สามารถเป็นปฏิปักษ์ต่อเดชอันเป็นบุญ.

๑. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๓๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 912

บทว่า อธมฺมเตช - เดชมิใช่ธรรม ได้แก่ เดช อันเป็นถ้อยคำ

แสดงลัทธิของพวกเดียรถีย์ต่าง ๆ. เมื่อท่านกล่าวอรรถวิกัปที่สอง ใน

การพรรณนาอุทเทสแห่งญาณนี้ เดช คือ ความเป็นผู้ทุศีลมาก มี

๑๙ อย่าง มีราคะเป็นต้น. ในบทนี้ว่า อภิสงฺขารา ภวคามิกมฺมา

ได้แก่ อปุญญาภิสังขารและอกุศลกรรม เป็นเดชมิใช่บุญ. อาเนญชา-

ภิสังขารเป็นกุศลกรรมฝ่ายโลกิยะ ชื่อว่า ย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อเดชมิใช่

บุญ เพราะยังบุญเดชให้สิ้นไป. สภาพต่าง ๆ ๑๕ มีกามฉันทะ

เป็นต้น ย่อมเป็นเดชมิใช่คุณ. สภาพต่าง ๆ ๑๘ มีนิจสัญญาเป็นต้น

ย่อมเป็นเดชแห่งความเป็นผู้มีปัญญาทราม. สภาพต่าง ๆ ๔ อันทำลาย

มรรค ๔ ย่อมเป็นเดชมิใช่บุญ. พึงสงเคราะห์เดชมิใช่ธรรม ด้วย

สภาพต่าง ๆ อันทำลายโสดาปัตติมรรค.

พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงธรรมเครื่องขัดเกลา ด้วย

ธรรมมิใช่เครื่องขัดเกลา อันเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมเครื่องขัดเกลาไว้ใน

นิทเทส จึงแสดงธรรมเครื่องขัดเกลาไว้ก่อนธรรมมิใช่เครื่องขัดเกลา.

ธรรมสภาพเดียว ๓๗ มีเนกขัมมะเป็นต้น ท่านกล่าวว่า เป็นธรรม

เครื่องขัดเกลา เพราะขัดเกลาธรรมเป็นข้าศึก. ญาณในธรรมเครื่อง

ขัดเกลา ๓๗ ประเภท มีเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่า สัลเลขัฏฐญาณ.

จบ อรรถกถาสัลเลขัฏฐญาณนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 913

วีริยารัมภญาณนิทเทส

[๒๓๗] ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่

ส่งไป เป็นวีริยารัมภญาณอย่างไร ?

ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไปเพื่อจะ

ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอัน

ลามกที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น เพื่อ

ความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลอะเลือน เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความ

ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น

แล้ว เป็นวีริยารัมภญาณแต่ละอย่าง ๆ.

[๒๓๘] ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่

ส่งไป เพื่อยังกามฉันทะที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อละกามฉันทะที่เกิด

ขึ้นแล้ว เพื่อยังเนกขัมมะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งมั่น เพื่อ

ความไม่เลอะเลือน ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งเนกขัมมะที่เกิดขึ้น

แล้ว ฯลฯ เพื่อยังกิเลสทั้งปวงที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อละกิเลส

ทั้งปวงที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อยังอรหัตมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลอะเลือน เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความ

ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งอรหัตมรรคที่เกิดขึ้น

แล้ว เป็นวีริยารัมภญาณแต่ละอย่าง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 914

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความประคองไว้

ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตส่งไป เป็นวีริยารัมภญาณ.

๓๘. อรรถกถาวีริยารัมภญาณนิทเทส

[๒๓๗ - ๒๓๘] พึงทราบวินิจฉัยในวีริยารัมภญาณนิทเทสดังต่อ

ไปนี้. บทว่า อนุปฺปนฺนาน - ที่ยังไม่เกิด คือ ยังไม่เกิดในอัตภาพ

หนึ่ง หรือในอารมณ์หนึ่ง. เพราะชื่อว่าอกุศล อันไม่เกิดในสงสาร

อันไม่รู้เบื้องต้นและที่สุด ย่อมไม่มี แต่กุศลมี.

บทว่า ปาปกาน คือ ลามก.

บทว่า อกุสลาน ธมฺมาน คือ ธรรม อันเป็นความไม่ดี.

บทว่า อนุปฺปาทาย - เพื่อมิให้เกิดขึ้น คือ เพื่อความที่จะ

ไม่ให้เกิดขึ้น.

บทว่า อุปฺปนฺนาน คือ ที่เกิดแล้วในอัตภาพนี้.

บทว่า ปหานาย คือ เพื่อต้องการละ.

บทว่า อนุปฺปนฺนาน กุสลาน ธมฺมาน - กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด

คือ ธรรมอันเป็นความดีที่ยังไม่เคยเกิดในอัตภาพนี้.

บทว่า อุปฺปาทาย คือ เพื่อต้องการให้เกิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 915

บทว่า อุปฺปนฺนาน - ที่เกิดขึ้นแล้ว คือ ที่เกิดแล้วในอัตภาพนี้.

บทว่า ฐิติยา คือ เพื่อความตั้งมั่น.

บทว่า อสมฺโมสาย - เพื่อความไม่เลอะเลือน คือ เพื่อความ

ไม่สูญหาย.

บทว่า ภิยฺโยภาวาย - เพื่อความเจริญยิ่ง คือ เพื่อเกิดบ่อย ๆ.

บทว่า เวปุลฺลาย คือ เพื่อความไพบูลย์.

บทว่า ภาวนาย คือ เพื่อความเจริญ.

บทว่า ปาริปูริยา คือ เพื่อความบริบูรณ์.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เพื่อแสดงถึงกามฉันทะในอกุศลและ

เนกขัมมะในกุศลให้แปลกออกไป จึงกล่าวบทมีอาทิว่า อนุปฺปนฺนสฺส

กามจฺฉนฺทสฺส - กามฉันทะที่ยังไม่เกิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กามจฺฉนฺโท ได้แก่ กามราคะ อัน

เป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิ.

บทว่า เนกฺขมฺม ได้แก่ ปฐมฌานสมาธิ หรือปฐมฌาน

หรือกุศลธรรมทั้งหมดนั่นและ เป็นเนกขัมมะ.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเพื่อแสดงประกอบ ด้วยสามารถแห่ง

กิเลสทั้งปวง และอรหัตมรรคอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสทั้งปวง จึงกล่าว

บทมีอาทิว่า อนุปฺปนฺนาน สพฺพกิเลสาน - ยังกิเลสทั้งปวงที่ยังไม่

เกิดขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 916

ในบทเหล่านั้น บทมีอาทิว่า อุปฺปนฺนสฺส อรหตฺตมคฺคสฺส

ฐิติยา - เพื่อความตั้งมั่นแห่งอรหัตมรรคที่เกิดขึ้นแล้ว พึงทราบการ

ประกอบบทมีอาทิว่า ิติยา ด้วยสามารถแห่งฐิติขณะและภังคขณะ

ของอรหัตมรรคที่เกิดขึ้นแล้วในอุปาทขณะ. แม้ในอรรถกถาแห่งวิภังค์

ท่านก็กล่าวว่า ความเป็นไปแห่งอรหัตมรรคชื่อว่า ิติ คือ ความตั้งมั่น.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พึงเห็นมรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่ง

อรหัตมรรค.

จบ อรรถกถาวีริยารัมภญาณนิทเทส

อัตถสันทัสนญาณนิทเทส

[๒๓๙] ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ เป็นอัตถสันทัสน-

ญาณอย่างไร ?

ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ กุศลธรรม อกุศลธรรม

อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม

โลกุตรธรรม ชื่อว่าธรรมต่าง ๆ.

[๒๔๐] คำว่า ปกาสนตา - การประกาศ ความว่า ปัญญา

ย่อมประกาศรูป โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 917

ประกาศเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ . . . ชราและ

มรณะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

[๒๔๑] คำว่า อตฺถสนฺทสฺสเน - ในการเห็นชัดซึ่งอรรถธรรม

ความว่า พระโยคาวจร เมื่อละกามฉันทะ ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่ง

เนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งความไม่พยาบาท

เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งอาโลกสัญญา เมื่อละอุทธัจจะ

ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน เมื่อละวิจิกิจฉา ย่อมเห็นชัด

ซึ่งอรรถแห่งการกำหนดธรรม เมื่อละอวิชชา ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่ง

ญาณ เมื่อละอรติ ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งความปราโมทย์ เมื่อละ

นิวรณ์ ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งปฐมฌาน ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง

ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งอรหัตมรรค.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการประกาศธรรม

ต่างๆ เป็นอัตถสันทัสนญาณ.

๓๙. อรรถกถาอัตถสันทัสนญาณนิทเทส

[๒๓๙ - ๒๔๑] พึงทราบวินิจฉัยในอัตถสันทัสนญาณนิทเทส

ดังต่อไปนี้. บทมีอาทิว่า ปญฺจกฺขนฺธา มีอรรถดังได้กล่าวแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 918

บทว่า ปกาเสติ - ย่อมประกาศ คือ ทำให้ปรากฏ. อธิบายว่า

ยังการเห็นด้วยญาณจักษุ ให้สมบูรณ์แก่ผู้ฟัง.

บทว่า นานาธมฺมา - ธรรมต่าง ๆ ท่านกล่าวถึงธรรมทั้งปวง

ที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. หากถามว่า เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวธรรม

เป็นโลกิยะเท่านั้น ในนิทเทสแห่งการประกาศ. ตอบว่า ท่านไม่กล่าว

ถึงธรรมเป็นโลกุตระ เพราะปรารภการประกาศด้วยความเป็นของไม่

เที่ยงเป็นต้น และเพราะธรรมเป็นโลกุตระยังไม่เข้าถึงการพิจารณา.

แต่ท่านกล่าวถึงการประกาศ ด้วยการประกาศเท่านั้น โดยอาการที่ควร

ประกาศธรรมเหล่านั้น เพราะท่านสงเคราะห์ธรรมเหล่านั้น ด้วยการ

ชี้แจงธรรมต่าง ๆ และด้วยการชี้แจงการเห็นชัดอรรถ.

บทว่า ปชหนฺโต - เมื่อละ คือ ให้ผู้ฟังละ.

บทว่า สนฺทสฺเสติ - ย่อมเห็นชัด คือ แสดงแก่ผู้ฟังโดยชอบ.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวโดยนัยมีอาทิว่า พระโยคาวจรย่อมเห็นชัดซึ่ง

อรรถแห่งเนกขัมมะ เพราะละกามฉันทะได้แล้ว. พึงทราบว่า ท่าน

กล่าวนัยนี้ เพื่อแสดงว่า เมื่อผู้ฟังธรรมอันตรงเหล่านั้นนั่นเทียว ทำ

การละโทสะ และได้เฉพาะแล้วซึ่งคุณ เทศนาญาณย่อมถึงชั้นยอด.

จบ อรรถกถาอัตถสันทัสนญาณนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 919

ทัสนวิสุทธิญาณนิทเทส

[๒๐๒] ปัญญาในความสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียว

กัน และการแทงตลอดธรรมต่างกัน และธรรมหมวดเดียวกันเป็น

ทัสนวิสุทธิญาณอย่างไร ?

คำว่า ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ ฯลฯ โลกุตรธรรม

คำว่า ความสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน ความว่า ธรรม

ทั้งปวงท่าน เคราะห์เป็นหมวดเดียวกันโดยอาการ ๑๒ คือ โดยสภาพ

ถ่องแท้ ๑ โดยสภาพมิใช่ตัวตน ๑ โดยสภาพจริง ๑ โดยสภาพควร

แทงตลอด ๑ โดยสภาพที่ควรรู้ยิ่ง ๑ โดยสภาพที่ควรกำหนดรู้ ๑ โดย

สภาพที่เป็นธรรม ๑ โดยสภาพที่เป็นธาตุ ๑ โดยสภาพที่อาจรู้ ๑ โดย

สภาพที่ควรทำให้แจ้ง ๑ โดยสภาพที่ควรถูกต้อง ๑ โดยสภาพที่ควร

ตรัสรู้ ๑ ธรรมทั้งปวงท่านสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน โดยอาการ

๑๒ นี้.

คำว่า ความต่างและความเป็นอันเดียวกัน ความว่า กาม

ฉันทะเป็นความต่างๆ เนกขัมมะเป็นอันเดียวกัน ฯลฯ กิเลสทั้งปวง

เป็นความต่าง ๆ อรหัตมรรคเป็นอันเดียวกัน .

คำว่า ในการแทงตลอด ความว่า พระโยคาวจรย่อมแทง

ตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยกำหนดรู้ แทงตลอดสมุทย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 920

สัจ เป็นการแทงตลอดด้วยการละ แทงตลอดนิโรธสัจ เป็นการแทง

ตลอดด้วยการทำให้แจ้ง แทงตลอดมรรคสัจ เป็นการแทงตลอดด้วย

การเจริญ.

คำว่า ทัสนวิสุทธิ ความว่า ในขณะโสดาปัตติมรรค ทัสนะ

ย่อมหมดจด ในขณะโสดาปัตติผล หมดจดแล้ว ในขณะสกทาคามิมรรค

ย่อมหมดจด ในขณะสกทาคามิผล หมดจดแล้ว ในขณะอนาคามิมรรค

ย่อมหมดจด ในขณะอนาคามิผล หมดจดแล้ว ในขณะอรหัตมรรค

ย่อมหมดจด ในขณะอรหัตผล หมดจดแล้ว.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการสงเคราะห์

ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกัน และการแทงตลอดธรรมต่างกัน และ

ธรรมหมวดเดียวกัน เป็นทัสนวิสุทธิญาณ.

๔๐. อรรถกถาทัสนวิสุทธิญาณนิทเทส

[๒๔๒] พึงทราบวินิจฉัยในทัสนวิสุทธิญาณนิทเทส ดังต่อ

ไปนี้ บทว่า สพฺเพ ธมฺมา เอกสงฺคหิตา - ธรรมทั้งปวงท่าน

สงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน ได้แก่ ธรรมที่เป็นสังขตะและอสังขตะ

ทั้งหมดท่านสงเคราะห์ คือ กำหนดด้วยหมวดเดียวกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 921

บทว่า ตถฏฺเน - โดนสภาพถ่องแท้ คือ โดยสภาพเป็นจริง.

อธิบายว่า โดยมีอยู่ตามสภาพของตน ๆ.

บทว่า อนตฺตฏฺเน - โดยสภาพมิใช่ตัวตน คือ โดยสภาพ

เว้นจากตัวตนอันได้แก่ ผู้กระทำและผู้เสวย.

บทว่า สจฺจฏฺเน - โดยสภาพจริง คือ โดยสภาพที่ไม่ผิดจาก

ความจริง. อธิบายว่า โดยความเป็นสภาพของตนไม่เป็นอย่างอื่น.

บทว่า ปฏิเวธฏฺเน - โดยสภาพควรแทงตลอด คือ ควรแทง

ตลอดด้วยญาณ. ในบทนี้พึงทราบการแทงตลอด โดยความไม่ลุ่มหลง

และโดยอารมณ์ด้วยญาณอันเป็นโลกุตระ.

บทว่า อภิชานนฏฺเน - โดยสภาพที่ควรรู้ยิ่ง คือ โดยสภาพ

ที่ควรรู้ยิ่งธรรมนั้น ๆ โดยอารมณ์ด้วยญาณอันเป็นโลกิยะ โดยความ

ไม่หลง และโดยอารมณ์ด้วยญาณอันเป็นโลกุตระ. ดังที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สพฺพ ภิกฺขเุว อภิญฺเญยฺย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง. บทว่า ปริชานนฏฺเน - โดยสภาพที่ควรกำหนด

รู้ คือ โดยสภาพที่ควรกำหนดรู้ธรรมทั้งหลายที่รู้ยิ่งแล้วโดยสภาวะด้วย

ญาณอันเป็นโลกิยะ และโลกุตระโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ โดยความ

ไม่เที่ยงเป็นต้น และโดยการออกไปเป็นต้น เหมือนที่ตรัสไว้ว่า สพฺพ

ภิกฺขเว ปริญฺเยฺย ดูก่อนภิกษุทั้งปวง สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้.

๑. ส. สฬา. ๑๘/๔๙. ๒. ส. สฬา. ๑๘/๕๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 922

บทว่า ธมฺมฏฺเน - โดยสภาพที่เป็นธรรม คือ โดยสภาพที่

เป็นธรรมมีการทรงไว้ซึ่งสภาพเป็นต้น.

บทว่า ธาตฏฺเน - โดยสภาพที่เป็นธาตุ คือ โดยสภาพที่เป็น

ธาตุมีความไม่มีชีวะเป็นต้น.

บทว่า าตฏฺเน - โดยสภาพที่อาจรู้ คือ โดยสภาพที่อาจรู้

ด้วยญาณอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ. พึงทราบว่ามีสภาพอาจรู้แม้ใน

บทนี้เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ทิฏฺ - รูปที่เห็น สุต - เสียงที่

ได้ยิน มุต - อารมณ์ ๓ ที่รู้ วิญฺาต - ธรรมที่รู้แล้วเป็นรูป โดย

อรรถมีสภาพที่อาจเห็นได้เป็นต้น ฉะนั้น.

บทว่า สจฺฉิกิริยฏฺเน - โดยสภาพที่ควรทำให้แจ้ง คือ โดย

สภาพที่ควรทำให้ประจักษ์โดยอารมณ์.

บทว่า ผุสนฏฺเน - โดยสภาพที่ควรถูกต้อง ถือ โดยสภาพ

ที่ควรถูกต้องบ่อย ๆ โดยอารมณ์ของสภาพที่ทำให้ประจักษ์แล้ว.

บทว่า อภิสมยฏฺเน - โดยสภาพที่ควรตรัสรู้ คือ โดยสภาพ

ที่ควรตรัสรู้ด้วยญาณอันเป็นโลกิยะ. ถึงแม้ท่านกล่าวญาณหนึ่ง ๆ ว่า

ปัญญาในสภาพถ่องแท้เป็นญาณในวิวัฏฏะ คือ นิพพาน จริง. ปัญญาที่

ควรรู้ยิ่งเป็นญาณในสภาพที่ควรรู้. ปัญญาที่ควรทำให้แจ้งเป็นญาณใน

สภาพที่ควรถูกต้อง. อนึ่ง ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 923

สมวาเย ขเณ กาเล สมูเห เหตุทิฏฺิสุ

ปฏิลาเภ ปหาเน จ ปฏิเวเธ จ ทิสฺสติ.

พระโยคาวจรย่อมปรากฏในหมู่ ขณะ กาล

ที่ประชุม เหตุ ทิฏฐิ การได้ การละ และในการ

แทงตลอด.

ในการพรรณนาคาถา ท่านกล่าวอรรถแห่งปฏิเวธ แห่งอภิสมย-

ศัพท์. แต่ถึงดังนั้นในที่นี้พึงทราบสภาพต่าง ๆ แห่งธรรมเหล่านั้นด้วย

อรรถตามที่กล่าวแล้ว. เพราะในอรรถกานั่นแหละท่านกล่าวถึงการ

ตรัสรู้ธรรมด้วยสามารถแห่งญาณอันเป็นโลกิยะ.

บทว่า กามจฺฉนฺโท นานตฺต - กามฉันทะเป็นความต่าง ๆ ความ

ว่า กามฉันทะเป็นสภาพต่าง ๆ เพราะมีอารมณ์ต่าง ๆ โดยมีความ

ฟุ้งซ่าน. พึงทราบกิเลสทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า เนกฺขมฺม เอกตฺต - เนกขัมมะเป็นอันเดียวกัน ความว่า

เนกขัมมะมีสภาพเป็นอันเดียวกันโดยมีจิตเป็นเอกกัคตา และโดยไม่มี

ความฟุ้งซ่านของอารมณ์ต่าง ๆ. พึงทราบกุศลทั้งปวงด้วยประการฉะนี้.

ในที่นี้พึงทราบความต่างแห่งอกุศลทั้งหลายมีพยาบาทเป็นต้น ที่ท่านย่อ

ไว้โดยไปยาลด้วยอรรถตามที่กล่าวแล้ว. อนึ่ง พึงทราบความต่างของ

ธรรมเบื้องต่ำ ๆ มีวิตกวิจารเป็นต้น โดยเป็นสภาพหยาบกว่าธรรม

เบื้องสูง ๆ. เพราะการแทงตลอดความต่าง ๆ และความเป็นอันเดียวกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 924

ท่านสงเคราะห์เป็นอันเดียวกัน ย่อมสำเร็จด้วยการแทงตลอดสัจจะใน

ขณะแห่งมรรค. ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระจึงยกบทว่า ปฏิเวโธ ขึ้น

แล้วแสดงถึงการตรัสรู้สัจจะ.

บทว่า ปริญฺา ปฏิเวธ ปฏิวิชฺฌติ - พระโยคาวจรย่อมแทง

ตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ คือ ตรัสรู้ด้วย

ปริญญาภิสมยะ. ในบทที่เหลือมีนัยนี้. จริงอยู่ ในกาลตรัสรู้สัจจะ ใน

ขณะมรรคเป็นอันเดียวกันแห่งมรรคญาณ ย่อมมีกิจ ๔ อย่าง คือ

ปริญญา ๑ ปหานะ ๑ สัจฉิกิริยา ๑ ภาวนา ๑. เหมือนอย่างเรือ

ทำกิจ ๔ อย่างในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง คือ ละฝั่งใน ๑ ตัต

กระแสน้ำ ๑ นำสินค้าไป ๑ ถึงฝั่งนอก ๑ ฉันใด. พระโยคาวจร

ย่อมตรัสรู้สัจจะ ๔ ในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง คือ ตรัสรู้ทุกข์

ด้วยการกำหนดรู้ ๑ ตรัสรู้สมุทัยด้วยการละ ๑ ตรัสรู้มรรคด้วยการ

เจริญ ๑ ตรัสรู้นิโรธด้วยการทำให้แจ้ง ๑ ฉันนั้น. ท่านอธิบายไว้

อย่างไร. อธิบายไว้ว่า พระโยคาวจรกระทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ ย่อม

บรรลุ ย่อมเห็น ย่อมแทงตลอดสัจจะ ๔ ด้วยสามารถกิจ. เหมือน

อย่างว่า เรือละฝั่งใน ฉันใด. พระโยคาวจรกำหนดรู้ทุกข์อันเป็น

มรรคญาณฉันนั้น. เรือตัดกระแสน้ำ ฉันใด. พระโยคาวจรละสมุทัย

ฉันนั้น. เรือนำสินค้าไป ฉันใด. พระโยคาวจรเจริญมรรค เพราะ

เป็นปัจจัยมีเกิดร่วมกันเป็นต้น ฉันนั้น. เรือถึงฝั่งนอก ฉันใด. พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 925

โยคาวจรทำให้แจ้งนิโรธอันเป็นฝั่งนอก ฉันนั้น. พึงทราบข้ออุปมา

อุปมัย ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ทสฺสน วิสุชฺฌติ - ทัสนะย่อมหมดจด คือ ญาณ-

ทัสนะย่อมถึงความหมดจดด้วยการละกิเลสอันทำลายมรรคนั้น ๆ.

บทว่า ทสฺสน วิสุทฺธ - ทัสสนะหมดจดแล้ว คือ ญาณ-

ทัสนะถึงความหมดจดแล้ว โดยถึงความหมดจดแห่งกิจของมรรคญาณ

นั้นในขณะเกิดผลนั้น ๆ. ท่านกล่าวมรรคผลญาณในที่สุด โดยสำเร็จ

ด้วยมรรคผลญาณแห่งปัญญา แทงตลอดความต่าง และความเป็นอัน

เดียวกัน ซึ่งท่านสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นอันเดียวกัน.

จบ อรรถกถาทัสนวิสุทธิญาณนิทเทส

ขันติญาณปริโยคาหณญาณนิทเทส

[๒๔๓] ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏ เป็นขันติญาณอย่างไร ?

รูปปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

รูปใด ๆ ปรากฏ รูปนั้น ๆ ย่อมคงที่ ฉะนั้น ปัญญาในความที่ธรรม

ปรากฏจึงเป็นขันติญาณ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ

ชราะและมรณะ ปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 926

อนัตตา ชราและมรณะใด ๆ ปรากฏ ชราและมรณะนั้น ๆ ย่อมคงที่

ฉะนั้น ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏจึงเป็นขันติญาณ.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความที่ธรรม

ปรากฏเป็นขันติญาณ.

[๒๔๔] ปัญญาในความถูกต้องธรรม เป็นปริโยคาหนญาณ

อย่างไร ?

ปัญญาย่อมถูกต้องรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น

อนัตตา ย่อมถูกต้องรูปใด ๆ ก็เข้าไปสู่รูปนั้น ๆ ฉะนั้น ปัญญาในความ

ถูกต้องธรรม จึงเป็นปริโยคาหนญาณ ปัญญาย่อมถูกต้องเวทนา สัญญา

สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยความเป็นของไม่

เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมถูกต้องชราและมรณะใด ๆ ก็เข้าสู่

ชราและมรณะนั้น ๆ ฉะนั้น ปัญญาในความถูกต้องธรรมจึงเป็นปริโย-

คาหนญาณ.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความถูกต้องธรรม

เป็นปริโยคาหนญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 927

๔๑ - ๔๒. อรรถกถาขันติญาณปริโยคาหณญาณนิทเทส

[๒๔๓ - ๒๔๔] พึงทราบวินิจฉัยในขันติญาณปริโยคาหณญาณ

นิทเทส ดังต่อไปนี้. บทว่า รูป อนิจฺจโต วิทิต - รูปปรากฏโดย

ความเป็นของไม่เที่ยง คือ ปรากฏด้วยอนิจจานุปัสนาญาณว่า เป็นของ

ไม่เที่ยง.

บทว่า รูป ทุกฺขโต วิทิต - รูปปรากฏโดยความเป็นทุกข์ คือ

ปรากฏด้วยทุกขานุปัสนาว่า เป็นทุกข์.

บทว่า รูป อนตฺตโต - วิทิต - รูปปรากฏโดยความเป็นอนัตตา.

คือ ปรากฏด้วยอนัตตานุปัสนาญาณว่า เป็นอนัตตา.

บทว่า ย ย วิทิต ต ต ขมติ - รูปใดๆ ที่ปรากฏ รูป

นั้น ๆ ย่อมคงที่ คือ รูปใด ๆ ที่ปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น.

รูปนั้น ๆ ย่อมคงที่ คือ ชอบใจโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. ท่าน

ทำไว้เป็นแผนก ๆ แล้วเขียนไว้ในคัมภีร์บางคัมภีร์ว่า รูปปรากฏโดย

ความเป็นของไม่เที่ยง. รูปใด ๆ ปรากฏแล้ว. รูปนั้น ๆ ย่อมคงที่. พึง

เปลี่ยนลิงค์แล้วประกอบด้วยบทมีอาทิว่า เวทนา สญฺา สงฺขารา

อนิจฺจโต วิทิตา - เวทนวา สัญญา สังขาร ปรากฏแล้วโดยความเป็น

ของไม่เที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 928

บทว่า ผุสติ ย่อมถูกต้อง คือ ย่อมถูกต้อง ย่อมแผ่ไปด้วย

การถูกต้องวิปัสสนาญาณ.

บทว่า ปริโยคหติ - ย่อมเข้าไป คือ เข้าไปด้วยวิปัสสนาญาณ.

ปาฐะว่า ปริโยคาหติ บ้าง.

จบ อรรถกถาขันติญาณปริโยคาหณญาณนิทเทส

ปเทสวิหารญาณนิทเทส

[๒๔๕] ปัญญาในการรวมธรรม เป็นปเทสวิหารญาณอย่างไร ?

เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่ง

มิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย

ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมี

อกุศลเวทนา เพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา

เพราะความสงบแห่งมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะ

สัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่ง

สัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา ฯลฯ เพราะมิจฉา -

วิมุตติเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งมิจฉาวิมุตติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 929

เป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็ย่อมมี

กุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งสัมมาวิมุตติ เป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศล.

เวทนา เพราะฉันทะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบ

แห่งฉันทะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะวิตกเป็นปัจจัย ก็ย่อม

มีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งวิตกเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา

เพราะสัญญาเป็นปัจจัย ก็ย่อมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่ง

สัญญาเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะฉันทะ วิตก และสัญญา

เป็นธรรมไม่สงบนั้นเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะฉันทะเป็น

ธรรมสงบ แต่เพราะวิตกและสัญญาเป็นธรรมไม่สงบนั้นเป็นปัจจัย ก็

ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะฉันทะและวิตกเป็นธรรมไม่สงบนั้นเพราะสัญญา

เป็นธรรมไม่สงบนั้นเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะฉันทะ วิตก

และสัญญา เป็นธรรมสงบนั้นเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา ความเพียร

เพื่อจะบรรลุอรหัตผลที่ยังไม่บรรลุมีอยู่ แม้เพราะเมื่อยังไม่ได้บรรลุ

อริยมรรคอันเป็นเหตุแห่งอรหัตผลนั้นเป็นปัจจัยก็ย่อมมีกุศลเวทนา.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการรวมธรรม

เป็นปเทสวิหารญาณ.

๑ - ๕. บาลีประกอบบทไว้ด้วยคำว่า ตปฺปจฺจยาปิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 930

๔๓. อรรถกถาปเทสวิหารญาณนิทเทส

[๒๔๕ ] พึงทราบวินิจฉัยในปเทสวิหารญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.

พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะแสดงถึงอาการที่ควรพิจารณาญาณบางส่วนที่

ยกขึ้นไว้ในมาติกา จึงกล่าวบทมีอาทิว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิปจฺจยาปิ เวทยิต -

เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย จึงมีอกุศลเวทนา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิปจฺจยา - เพราะมิจฉาทิฏฐิ

เป็นปัจจัย ความว่า เวทนาสัมปยุตด้วยทิฏฐิบ้าง เวทนาเป็นกุศล

อกุศลบ้าง เวทนาเป็นวิบากบ้าง เกิดขึ้นทำทิฏฐิให้เป็นอุปนิสัย ย่อม

ควร. ในเวทนาเหล่านั้น เวทนาที่สัมปยุตด้วยมิจฉาทิฏฐิ เป็นอกุศล

เท่านั้น. แต่เวทนาเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ทิฏฐิ. จริงอยู่ พวกมิจฉาทิฏฐิให้ข้าวยาคูและภัตเป็นต้นในวันปักษ์

เพราะอาศัยทิฏฐิ ย่อมปฏิบัติคนบอดและคนโรคเรื้อนเป็นต้น ย่อม

สร้างศาลา ขุดสระโบกขรณีในทาง ๔ แพร่ง ปลูกสวนดอกไม้ สวน

ผลไม้ พาดสะพานในที่ลำบากเพราะน้ำ ปรับที่ไม่เสมอให้เสมอ เวทนา

ที่เป็นกุศล ย่อมเกิดแก่พวกมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้. แต่

เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิ ย่อมด่า บริภาษ ฆ่าและจองจำพวกสัมมาทิฏฐิ.

ฆ่าสัตว์บวงสรวงเทวดา. เวทนาเป็นอกุศล ย่อมเกิดแก่พวกมิจฉาทิฏฐิ

เหล่านั้นด้วยประการฉะนี้. ส่วนเวทนาเป็นวิบาก ย่อมมีแก่ผู้ไปใน

ภพอื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 931

อนึ่ง มิจฉาทิฏฐินั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนาอันเกิดร่วมกัน

ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตปัจจัย

อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.

มิจฉาทิฏฐิดับไปทันทีนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนาอันสัมปยุต

ด้วยมิจฉาทิฏฐิในปัจจุบัน ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย

อุปนิสสยปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย.

มิจฉาทิฏฐิ ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนาสหรคตด้วยโลภะของ

ผู้ยินดีทำมิจฉาทิฏฐิให้หนัก ด้วยอำนาจอารัมมณาธิปติปัจจัย และ

อารัมมณูปนิสสยปัจจัย.

มิจฉาทิฏฐิ ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนาเป็นกุศลและอัพยากฤตของ

ผู้ทำมิจฉาทิฏฐิให้เป็นเพียงอารมณ์ ด้วยอกุศลทั้งปวงผู้พิจารณาเห็น

แจ้งมิจฉาทิฏฐิ ด้วยเวทนาเป็นอกุศลทั้งปวง ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย

เท่านั้น.

มิจฉาทิฏฐิ ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนาเป็นกุศลและอกุศล อัน

เกิดขึ้นด้วยมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย และแก่เวทนาเป็นวิบากในภพอื่น ด้วย

อำนาจอุปนิสัยปัจจัย.

บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิวูปสมปจฺจยา - เพราะความสงบแห่งมิจฉา-

ทิฏฐิเป็นปัจจัย ความว่า สัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า เป็นความสงบแห่งมิจฉา-

ทิฏฐิ เพราะฉะนั้น พึงทราบบทที่ท่านกล่าวว่า เพราะสัมมาทิฏฐิเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 932

ปัจจัย ย่อมมีกุศลเวทนาว่า มิจฺฉาทิฏฺิวูปสมปจฺจยา. ส่วนอาจารย์

บางพวกกล่าวว่า ชื่อว่า ความสงบแห่งมิจฉาทิฏฐิ ย่อมมีในขณะแห่ง

วิปัสสนา และในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค.

แม้ในบทนี้ว่า สมฺมาทิฏฺปจฺจยาปิ เวทยิต - เพราะมีสัมมา-

ทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา มีอธิบายดังต่อไปนี้ เวทนาสัมปยุต

ด้วยสัมมาทิฏฐิบ้าง เวทนาเป็นกุศล อกุศลบ้าง เวทนาเป็นวิบากบ้าง

เกิดขึ้นทำสัมมาทิฏฐิให้เป็นอุปนิสัย ย่อมควร. ในเวทนาเหล่านั้น

เวทนาสัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นกุศลเท่านั้น.

อนึ่ง พวกสัมมาทิฏฐิอาศัยสัมมาทิฏฐิทำบุญ มีอาทิอย่างนี้ คือ

พุทธบูชาจัดประทีปและดอกไม้ ฟังมหาธรรม ก่อพระเจดีย์ในทิศที่ยัง

ไม่ได้ก่อ ด้วยประการฉะนี้ กุศลเวทนาย่อมเกิดแก่สัมมาทิฏฐิชน

เหล่านั้น. สัมมาทิฏฐิชนเหล่านั้นอาศัยสัมมาทิฏฐิด่าบริภาษ พวก

มิจฉาทิฏฐิ, ยกตนข่มผู้อื่น ด้วยประการฉะนี้ อกุศลเวทนา ย่อมเกิด

แก่สัมมาทิฏฐิชนเหล่านั้น. ส่วนวิบากเวทนา ย่อมมีแก่ผู้ไปในภพอื่น.

อนึ่ง สัมมาทิฏฐินั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิ อันเป็น

ปัจจุบันเวทนาที่ดับไปใกล้ที่สุด ซึ่งเกิดร่วมกันด้วยอำนาจแห่งปัจจัย

ดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. โลกิยสัมมาทิฏฐิ ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนา

อันสัมปยุตด้วยการพิจารณา อันสัมปยุตด้วยวิปัสสนา และอันสัมปยุต

ด้วยความใคร่ ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย. โลกิยสัมมาทิฏฐิ ย่อมเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 933

ปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิด้วยอุปนิสสยปัจจัย โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ

สัมมาทิฏฐิอันเป็นมรรคผล ย่อมเป็นปัจจัยแก่เวทนาอันสัมปยุตด้วยการ

พิจารณา ด้วยสามารถแห่งอารัมมณาธิปติปัจจัย และอารัมมณูปนิสสย-

ปัจจัย.

บทว่า สมฺมาทิฏฺิวูปสมปจฺจยาปิ เวทยิต - เพราะความสงบ

แห่งสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา ความว่า มิจฉาทิฏฐิ

ชื่อว่า ความสงบแห่งสัมมาทิฏฐิ. เพราะฉะนั้น พึงทราบบทที่ท่าน

กล่าวว่า เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนานั่นแหละว่า

สมฺมาทิฏิวูสสมปจฺจยา - เพราะความสงบแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย.

แม้ในบทมีอาทิว่า มิจฺฉาสงฺกปฺปปจฺจยา มิจฺฉาสงฺกปฺปวูปสมปจฺ-

จยา - เพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย เพราะความสงบแห่งมิจฉาสัง-

กัปปะเป็นปัจจัย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ ท่านกล่าวว่า วูปสม-

ปจฺจยา - เพราะความสงบเป็นปัจจัยแห่งธรรมใด ๆ ท่านประสงค์เอา

เวทนานั้น ๆ เพราะมีธรรมเป็นปฏิปักษ์แห่งธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัย.

อนึ่ง พึงทราบความในมิจฉาญาณเป็นต้นดังต่อไปนี้ ความคิด

เพื่อหาอุบายในการทำบาป ชื่อว่า มิจฉาญาณ. อีกอย่างหนึ่ง มิจฉา-

ญาณ คือ ญาณในการพิจารณาผิด. ญาณอันเป็นกุศลและอัพยากฤต

ที่เหลือเว้นวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ และโลกุตรสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า สัมมา-

ญาณ. ความพ้นจากบาป ชื่อว่า มิจฉาวิมุตติ. อีกอย่างหนึ่ง ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 934

พ้นที่ไม่เป็นจริง ความพ้นที่ไม่นำออกไป ผู้ไม่พ้น สำคัญว่าพ้น.

ความน้อมไปในกัลยาณธรรม และผลวิมุตติ ชื่อว่า สัมมาวิมุตติ.

สัมมาทิฏฐิเป็นต้น มีอรรถดังได้กล่าวแล้วในหนหลัง.

ส่วนในบทมีอาทิว่า ฉนฺทปจฺจยาปิ - เพราะฉันทะเป็นปัจจัย

พึงทราบดังต่อไปนี้ ความโลภ ชื่อว่า ฉันทะ. พึงทราบว่า เวทนา

สัมปยุตด้วยจิตที่สหรคต ด้วยโลภะ ๘ เพราะมีฉันทะเป็นปัจจัย. เวทนา

ในปฐมฌาน ชื่อว่า มีความสงบแห่งฉันทะเป็นปัจจัย. เวทนาใน

ปฐมฌาน ชื่อว่า มีวิตกเป็นปัจจัย. เวทนาในทุติยฌาน ชื่อว่า มี

ความสงบแห่งวิตกเป็นปัจจัย. เวทนาในสัญญาสมาบัติ ๖ ที่เหลือเว้น

ปฐมฌาน ชื่อว่า มีสัญญาเป็นปัจจัย. เวทนาในเนวสัญญานาสัญญา-

ยตนะ ชื่อว่า มีความสงบแห่งสัญญาเป็นปัจจัย.

ในบทมีอาทิว่า ฉนฺโท จ อวูปสโม โหติ - ฉันทะเป็นธรรม

ไม่สงบ มีความว่า ถ้าฉันทะ วิตกและสัญญา เป็นธรรมไม่สงบ.

บทว่า ตปฺปจฺจยา คือ ความไม่สงบแห่งฉันทะ วิตกและสัญญา

เป็นปัจจัย ชื่อว่า ตปฺปจฺจยา - มีธรรมนั้นเป็นปัจจัย. เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ตปฺปจฺจยา - เพราะฉันทะ วิตกและสัญญานั้น ฟ้อนรำ

ไม่สงบเป็นปัจจัย. อธิบายว่า เพราะความไม่สงบฉันทะ วิตกและสัญญา

เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา. เวทนานั้น เป็นเวทนาสัมปยุตด้วยจิตสหรคต

ด้วยโลภะ ๘. หากว่า ฉันทะสงบ วิตกและสัญญาไม่สงบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 935

บทว่า ตปฺปจฺจยา คือ ความสงบแห่งฉันทะนั้น มีวิตกสัญญา

ไม่สงบเป็นปัจจัย ชื่อว่า ตปฺปจฺจโย. เพราะฉะนั้น ชื่อว่า ตปฺปจฺจยา

เพราะวิตกและสัญญานั้น เป็นธรรมไม่สงบเป็นปัจจัย. เวทนานั้น เป็น

เวทนา ในปฐมฌาน. หากว่า ฉันทะและวิตกเป็นธรรมสงบ สัญญา

เป็นธรรมไม่สงบ.

บทว่า ตปฺปจฺจยา คือ ความสงบแห่งฉันทะและวิตกนั้น

มีสัญญาไม่สงบเป็นปัจจัย ชื่อว่า ตปฺปจฺจโย. เพราะฉะนั้น ชื่อว่า

ตปฺปจฺจยา เพราะสัญญาเป็นธรรมไม่สงบเป็นปัจจัย. เวทนานั้น เป็น

เวทนาในทุติยฌาน. หากว่า ฉันทะ วิตกและสัญญาเป็นธรรมสงบ.

บทว่า ตปฺปจฺจยา คือ ฉันทะ วิตก สัญญา เป็นธรรมสงบ

เป็นปัจจัย ชื่อว่า ตปฺปจฺจโย. เพราะฉะนั้น ชื่อว่า ตปฺปจฺจยา

เพราะฉันทะ วิตกและสัญญานั้น เป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย เวทนา

นั้น เป็นเวทนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะแท้. แต่อาจารย์บางพวก

พรรณนาไว้อย่างนี้ว่า " ความพอใจธรรมในส่วนเบื้องต้นด้วยคิดว่า เรา

จักบรรลุถึงอัปปนา ดังนี้ ชื่อว่า ฉันทะ ความพอใจของผู้บรรลุอัปปนา

เป็นความสงบ. วิตกย่อมมีในปฐมฌาน วิตกของผู้บรรลุทุติยฌานเป็น

อันสงบ. สัญญาย่อมมีในสมาบัติ ๗. สัญญาของผู้เข้าถึงเนวสัญญานา-

สัญญายตนะ และเข้าถึงนิโรธเป็นอันสงบไป " ดังนี้ แต่ในที่นี้ นิโรธ-

สมาบัติย่อมไม่ประกอบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 936

บทว่า อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา - เพื่อบรรลุอรหัตผลที่ยังไม่บรรลุ

คือ เพื่อต้องการบรรลุอรหัตผล.

บทว่า อตฺถิ อายว ได้แก่ ความเพียรมีอยู่. ปาฐะว่า อายาว

บ้าง

บทว่า ตสฺมิมฺปิ าเน อนุปฺปตฺ - แต่เมื่อยังไม่บรรลุฐานะนั้น

คือ เมื่อยังไม่บรรลุอริยมรรคอันเป็นเหตุแห่งอรหัตผลนั้น ด้วยสามารถ

แห่งการปรารภความเพียรนั้น.

บทว่า ตปฺปจฺจยาปิ เวทยิต คือ เพราะฐานะแห่งพระอรหัต

เป็นปัจจัย ย่อมมีกุศลเวทนา ด้วยบทนี้ ท่านถือเอาโลกุตรเวทนา

ที่เกิดแล้ว เกิดพร้อมกับมรรค ๔. แต่อาจารย์บางพวกพรรณนาไว้ว่า

บทว่า อายว คือ การปฏิบัติ. บทว่า ตสฺมิมฺปิ าเน อนุปฺปตฺเต-

เมื่อยังไม่บรรลุฐานะแม้นั้น คือ บรรลุภูมินั้น ดังนี้.

จบ อรรถกถาปเทสวิหารญาณนิทเทส

วิวัฏฏญาณฉักกนิทเทส

[๒๔๖] ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี เป็นสัญญา-

วิวัฏฏญาณอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 937

ปัญญาในความมีเนกขัมมะเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากกาม-

ฉันทะด้วยปัญญาเครื่องรู้ดี เพราะฉะนั้น ปัญญาในความมีกุศลธรรม

เป็นอธิบดี จึงเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาในความมีความไม่พยาบาท

เป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากพยาบาทด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี เพราะ

ฉะนั้น ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี จึงเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ

ปัญญาในความมีอาโลกสัญญาเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะ

ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี. . . ปัญญาในความมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นอธิบดี

ย่อมหลีกออกจากอุทธัจจะด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี. . . ปัญญาในความ

มีการกำหนดธรรมเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากวิจิกิจฉาด้วยปัญญาเป็น

เครื่องรู้ดี. . .ปัญญาในความมีญาณเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากอวิชชา

ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี . . .ปัญญาในความมีปราโมทย์เป็นอธิบดี ย่อม

หลีกออกจากอรติด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี ...ปัญญาในความมีปฐมฌาน

เป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากนิวรณ์ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี ฯลฯ

ปัญญาในความมีอรหัตมรรคเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวง

ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี เพราะฉะนั้น ปัญญาในความมีกุศลธรรม

เป็นอธิบดี จึงเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความมีกุศลธรรม

เป็นอธิบดี เป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 938

[๒๔๗] ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความเป็นต่าง ๆ

เป็นเจโตวิวัฏฏญาณอย่างไร ?

กามฉันทะเป็นความเป็นต่าง ๆ เนกขัมมะเป็นอย่างเดียว เมื่อ

พระโยคาวจรคิดถึงความที่เนกขัมมะเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีก

ออกจากกามฉันทะ เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจาก

ความเป็นต่าง ๆ จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณ พยาบาทเป็นความเป็นต่าง ๆ

ความไม่พยาบาทเป็นอย่างเดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความที่ความไม่

พยาบาทฟ้อนรำอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจากพยาบาท เพราะ

ฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความเป็นต่าง ๆ จึงเป็น

เจโตวิวัฏฏญาน ถีนมิทธะเป็นความเป็นต่าง ๆ อาโลกสัญญาเป็นอย่าง

เดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความที่อาโลกสัญญาเป็นธรรมอย่างเดียว

จิตย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะ เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีก

ออกจากความเป็นต่าง ๆ จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณ ฯลฯ กิเลสทั้งปวง

เป็นความเป็นต่างๆ อรหัตมรรคเป็นอย่างเดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึง

ความที่อรหัตมรรคฟ้อนรำอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกิเลส

ทั้งปวง เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความเป็น

ต่างๆ จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณ.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมเป็นเหตุ

หลีกออกจากความเป็นต่างๆ เป็นเจโตวิวัฏฏญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 939

[๒๔๘] ปัญญาในการอธิฏฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณอย่างไร ?

พระโยคาวจรละกามฉันทะ ย่อมอธิฏฐานด้วยสามารถแห่ง

เนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อมอธิฏฐานจิตด้วยสามารถแห่งความไม่

พยาบาท เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมอธิฏฐานจิตด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา

ฯล ฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมอธิฏฐานจิตด้วยสามารถแห่งอรหัตมรรค

เพราะฉะนั้น ปัญญาในการอธิฏฐานแต่ละอย่าง จึงเป็นจิตตวิวัฏฏญาณ

แต่ละอย่าง.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการอธิษฐานเป็น

จิตตวิวัฏฏญาณ.

[๒๔๙] ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ

อย่างไร ?

เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า ตา

ว่างเปล่าจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง จากความยั่งยืน

จากความคงที่ หรือจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ญาณย่อมหลีก

ออกจากความยึดในกาม เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า

จึงเป็นญาณวิวัฏฏญาณ เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความ

เป็นจริงว่า หูว่างเปล่า ฯลฯ จมูกว่างเปล่า ลิ้นว่างเปล่า กายว่าง

เปล่า ใจว่างเปล่า จากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 940

จากความยั่งยืน จากความคงที่ หรือจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา

ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในกาม เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรม

อันว่างเปล่า จึงเป็นญาณวิวัฏฎญาณ.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า

เป็นญาณวิวัฏฏญาณ.

[๒๕๐] ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ

อย่างไร ?

พระโยคาวจรย่อมสลัดกามฉันทะออกด้วยเนกขัมมะ สลัดพยา-

บาทออกด้วยความไม่พยาบาท สลัดถีนมิทธะออกด้วยอาโลกสัญญา

สลัดอุทธัจจะออกด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน สลัดวิจิกิจฉาออกด้วยการกำหนด

ธรรม ฯลฯ สลัดกิเลสทั้งปวงออกด้วยอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น

ปัญญาในความสลัดออกแต่ละอย่าง จึงเป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณแต่ละอย่าง.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสลัดออก

เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ.

[๒๕๑] ปัญญาในความว่าธรรมจริง เป็นสัจวิวัฏฏญาณ

อย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 941

เมื่อพระโยคาวจรกำหนดรู้ความบีบคั้น ความปรุงแต่ง ความ

ให้เดือดร้อน ความแปรปรวน แห่งทุกข์ ย่อมหลีกไป เมื่อละความ

ประมวลมา ความเป็นเหตุ ความเกี่ยวข้อง ความกังวล แห่งสมุทัย

ย่อมหลีกไป เมื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความสลัดออก ความสงัด ความไม่

มีเครื่องปรุงแต่ง ความไม่ตาย แห่งนิโรธ ย่อมหลีกไป เมื่อเจริญ

ความนำออก ความเป็นเหตุ ความเห็น ความเป็นอธิบดี แห่งมรรค

ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในความว่าธรรมจริงแต่ละอย่าง จึง

เป็นสัจวิวัฏฏญาณแต่ละอย่าง ญาณเป็นสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ

จิตตวิวัฏฏะ ญาณวิวัฏฏะ วิโมกขวิวัฏฏะ สัจวิวัฏฏะ พระโยคาวจร

เมื่อรู้พร้อมย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงเป็นสัญญาวิวัฏฏะ เมื่อคิด

ถึงย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงเป็นเจโตวิวัฏฏะ เมื่อรู้แจ้งย่อมหลีกไป

เพราะฉะนั้น จึงเป็นจิตตวิวัฏฏะ เมื่อกระทำญาณย่อมหลีกไป เพราะ

ฉะนั้น จึงเป็นญาณวิวัฏฏะ เมื่อสลัดออกย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น

จึงเป็นวิโมกขวิวัฏฏะ ย่อมหลีกไปในความว่าธรรมจริง เพราะฉะนั้น

จึงเป็นสัจวิวัฏฏะ.

[๒๕๒] ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏะ ในขณะแห่ง

มรรคนั้น ย่อมมีเจโตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมีเจโตวิวัฏฏะ ในขณะ

แห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏะ

เจโตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีจิตตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 942

ใดมีจิตตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ

ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตตวิวัฏฏะ ในขณะ

แห่งมรรคนั้นย่อมมีญาณวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมีญาณวิวัฏฏะ ใน

ขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตวิวัฏฏะ ใน

ขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตตวิวัฏฏะ ญาณวิวัฏฏะ

ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีวิโมกขวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมี

วิโมกขวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ

จิตตวิวัฏฏะ ญาณวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโต-

วิวัฏฏะ จิตตวิวัฏฏะ ญาณวิวัฏฏะ วิโมกขวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้น

ย่อมมีสัจวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัจวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรค

นั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตตวิวัฏฏะ ญาณวิวัฏฏะ วิโมกข-

วิวัฏฏะ.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความว่าธรรมจริง

เป็นสัจวิวัฏฏญาณ.

๔๔ - ๔๙. อรรถกถาวิวัฏฏญาณฉักกนิทเทส

[๒๔๖ - ๒๕๒] พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาวิวัฏฏญาณฉักก-

นิทเทส ดังต่อไปนี้. บทว่า เนกฺขมฺมาธิปตตฺตตา ปญฺา - ปัญญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 943

ในความมีเนกขัมมะเป็นอธิบดี คือ ปัญญาที่เป็นไปด้วยความยิ่งในเนก-

ขัมมะทำเนกขัมมะให้ยวดยิ่ง.

บทว่า กามจฺฉนฺทโต สญฺญาย วิวฏฺฏติ - ย่อมหลีกออกจาก

กามฉันทะด้วยปัญญาเครื่องรู้ดี คือ ย่อมหลีก หมุนกลับจากกามฉันทะ

อันเป็นเหตุเป็นการณะแห่งสัญญาสัมปยุตด้วยปัญญา ท่าเนกขัมมะให้ยิ่ง

ใหญ่. อธิบายว่า หันหลังให้กามฉันทะ ในบทที่เหลือมีนัยนี้.

บทว่า กามจฺฉนฺโท นานตฺต - กามฉันทะเป็นความเป็นต่าง ๆ

คือกามฉันทะมิได้มีสภาพเป็นอันเดียวกัน เพราะไม่มีความประพฤติสงบ.

บทว่า เนกฺขมฺม เอกตฺต - เนกขัมมะเป็นธรรมอย่างเดียว คือ

เนกขัมมะมีสภาพอย่างเดียวกัน เพราะมีความประพฤติสงบ.

บทว่า เนกฺขมฺเมกตฺต เจตยโต - เมื่อพระโยคาโจรคิดถึง

ความที่เนกขัมมะเป็นธรรมอย่างเดียวกัน คือ ยังเนกขัมมะให้เป็นไป

ด้วยการเห็นโทษในกามฉันทะ.

บทว่า กามจฺฉนฺทโต จิตฺต วิวฏฺฏติ - จิตย่อมหลีกจากกาม-

ฉันทะ คือ จิตย่อมหลีกจากกามฉันทะ โดยความเป็นโทษที่เห็นแล้ว

ในขณะแห่งเนกขัมมะ. ในบทที่เหลือมีนัยนี้.

บทว่า กามจฺฉนฺท ปชหนฺโต - พระโยคาวจรละกามฉันทะ คือ

ละกามฉันทะในขณะปฏิบัติเนกขัมมะด้วยวิกขัมภนปหานะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 944

บทว่า เนกฺขมฺมวเสน จิตฺต อธิฏฺาติ - พระโยคาวจรย่อม

อธิฏฐานจิตด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ ได้แก่ ตั้งจิตสัมปยุตด้วยเนก-

ขัมมะนั้นด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะที่ได้แล้ว คือ ทำให้ยวดยิ่งดำรงอยู่.

อธิบายว่า ให้เป็นไป. ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.

บทว่า จกฺขุ สุญฺ อตฺเตน วา - จักษุว่างเปล่าจากตน คือ

จักษุว่างเปล่าจากตน เพราะไม่มีตน กล่าวคือ ผู้ทำผู้เสวยที่คนพาล

กำหนดไว้. เพราะจักษุ ชื่อว่าสูญ โดยที่จักษุไม่มีในตน.

บทว่า อตฺตนิเยน วา - จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน คือ สูญจาก

ของของตน เพราะไม่มีแม้ของของตนโดยไม่มีตน. ท่านกล่าวความไม่

มีตน และความไม่มีสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพื่อปฏิเสธการถือทั้งสองอย่าง

เพราะมีการยึดถือโดยอาการทั้งสองของชาวโลกว่า ตัวตนและสิ่งที่เนื่อง

ด้วยตน.

บทว่า นิจฺเจน วา - จากความเที่ยง คือ ชื่อว่าสูญจากความ

เที่ยง เพราะไม่มีใคร ๆ ที่จะล่วงเลยการทำลายแล้วตั้งอยู่ได้.

บทว่า ธุเวน วา - จากความยั่งยืน คือ ชื่อว่าจากความยั่งยืน

เพราะไม่มีใคร ๆ ที่จะมั่นคงอยู่ได้ แม้ในขณะที่เป็นไปอยู่.

บทว่า สสฺสเตน วา - จากความคงที่ คือ ชื่อว่าสูญจากความ

คงที่ เพราะไม่มีใครๆ ที่จะอยู่ได้ตลอดไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 945

บทว่า อวิปริณามธมฺเมน วา - จากความไม่แปรปรวนเป็น

ธรรมดา คือ ชื่อว่าสูญจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่

มีใคร ๆ ที่จะเป็นปกติไม่เปลี่ยนแปลงด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ชรา-

ความแก่ และภังคะ - ความสลายไป.

อีกอย่างหนึ่ง มีอธิบายว่าสูญจากความเที่ยว จากความยั่งยืน

จากความมั่นคง และจากความไม่เปรปรวนเป็นธรรมดา.

บทว่า ยถาภูต ชานโต ปสฺสโต - พระโยคาวจรรู้เห็นตาม

ความเป็นจริง คือ รู้ตามสภาวะด้วยอนัตตานุปัสนาญาณอย่างนี้ และ

เห็นดุจเห็นด้วยจักษุ.

บทว่า จกฺขาภินิเวสโต าณ วิวฏฺฏฺติ - ญาณย่อมหลีกออก

จากความยึดถือในจักษุ คือ ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือที่เห็นแล้ว

อันเป็นไปว่า จักษุเป็นตัวตน หรือเป็นสิ่งที่เนื่องด้วยตน. ในบทที่

เหลือมีนัยนี้.

บทว่า เนกฺขมฺเมน กามจฺฉนฺท โวสฺสชฺชติ - พระโยคาวจร

สละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ คือ บุคคลผู้ได้เนกขัมมะย่อมสละกาม-

ฉันทะอันเป็นปฏิปักษ์ต่อเนกขัมมะนั้นด้วยเนกขัมมะ.

บทว่า โวสฺสคฺเค ปญฺา - ปัญญาในความสลัดออก คือ

ปัญญาสัมปยุตด้วยเนกขัมมะนั้น ในเนกขัมมะอันเป็นความสลัดออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 946

แห่งกามฉันทะ.

บทว่า ปีฬนฺฏฺา - ความบีบคั้นเป็นต้น มีอรรถดังได้กล่าว

แล้วในหนหลัง.

บทว่า ปริชานนฺโต วิวฏฺฏติ เมื่อกำหนดรู้ย่อมหลีกไป เป็น

เทศนาบุคลาธิฏฐาน ท่านกล่าวว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคกำหนด

รู้อรรถ ๔ อย่างแห่งทุกข์ด้วยสามารถแห่งกิจ ย่อมหลีกไปด้วยการออก

จากทุกข์. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยญาณ ย่อมหลีกไปแม้ในญาณวิวัฏฏะ.

บทว่า ตถฏฺเ ปญฺา - ปัญญาในความว่าธรรมจริง คือ

วิวัฏฏนาปัญญา - ปัญญา คือ การหลีกไปในความว่าธรรมจริงของบุคคล

นั้น. ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงวิวัฏฏญาณ ๖ โดยต่างกัน

แห่งอาการด้วยสามารถกิจ ในขณะแห่งมรรคนั่นเองตั้งมาติกา มีอาทิว่า

สญฺา วิวฏฺโฏ แล้วเมื่อจะจำแนกมาติกานั้นโดยอรรถ จึงกล่าวบท

มีอาทิว่า สญฺชานนฺโต วิวฏฺฏติ - พระโยคาวจร เมื่อรู้พร้อมย่อม

หลีกไป.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สญฺชานนฺโต วิวฏฺฏตีติ สญฺาวิวฏฺโฏ

- พระโยคาวจรเมื่อรู้พร้อม ย่อมหลีกไป เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสัญญา-

วิวัฏฏะ ความว่า เพราะพระโยคาวจรเมื่อรู้พร้อมเนกขัมมะเป็นต้น ใน

ส่วนเบื้องต้นโดยความเป็นอธิบดี ภายหลังย่อมหลีกไปจากกามฉันทะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 947

เป็นต้น ด้วยญาณสัมปยุตด้วยเนกขัมมะ. ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่า

สัญญาวิวัฏฏะ.

บทว่า เจตยนฺโต วิวฏฺฏตีติ เจโตวิวฏฺโฏ - พระโยคาวจร

เมื่อคิดย่อมหลีกไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เจโตวิวัฏฏะ ความว่า

เพราะพระโยคาวจรเมื่อคิดธรรมอย่างเดียวกันมีเนกขัมมะเป็นต้น ย่อม

หลีกไปจากกามฉันทะเป็นต้น ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยเนกขัมมะนั้น.

ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏะ.

บทว่า วิชานนฺโต วิวฏฺฏตีติ จิตฺตวิวฏฺโฏ - พระโยคาวจร

เมื่อรู้แจ้งย่อมหลีก เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏะ ความว่า เพราะ

พระโยคาวจรเมื่อรู้แจ้งด้วยจิตอธิฏฐาน ด้วยสามารถเนกขัมมะเป็นต้น

ย่อมหลีกไปจากกามฉันทะเป็นต้น ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยเนกขัมมะ

นั้น. ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏะ.

บทว่า าณ กโรนฺโต วิวฏฺฏตีติ าณวิฏฺโฏฺ - เมื่อทำ

ญาณหลีกไป เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิวัฏฏะ ความว่า เพราะพระ-

โยคาวจรเมื่อทำอายตนะภายใน ๖ อย่างให้รู้แจ้ง โดยความเป็นของสูญ

ด้วยอนัตตานุปัสนาญาณ ย่อมหลีกไปจากความยึดมั่นด้วยความเห็น

ด้วยญาณนั่นเอง. ฉะนั้นญาณนั้นจึงชื่อว่าญาณวิวัฏฏะ

บทว่า โวสฺสชฺชนฺโต วิวฏฺฏตีติ วิโมกฺขวิวฏฺโฏ - เมื่อ

สลัดออกย่อมหลีกไป เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏะ ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 948

เพราะพระโยคาวจรเมื่อสลัดกามฉันทะเป็นต้น ด้วยเนกขัมมะเป็นต้น

ย่อมหลักไปจากกามฉันทะเป็นต้น ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยเนกขัมมะ

นั้น. ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฎฏะ.

บทว่า ตถฏฺเ วิวฏฺฏตีติ สจฺจวิวฏฺโฏ - ย่อมหลีกไปใน

ความว่า ธรรมจริง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสัจวิวัฏฏะ ความว่า เพราะ

พระโยคาวจรย่อมหลีกไปจากทุกข์ในความว่า ธรรมจริง ๔ อย่าง ด้วย

สามารถการออก. ฉะนั้น มรรคญาณจึงชื่อว่าสัจวิวัฏฏะ. หรือว่า

มรรคญาณนั่นแหละ ย่อมหลีกไปจากทุกข์ในความว่า ธรรมจริง ด้วย

ความออกไป เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสัจวิวัฏฏะ.

บทมีอาทิว่า ยตฺถ สญฺาวิวฏฺโฏ - ในขณะแห่งมรรคใด

มีสัญญาวิวัฏฏะ ท่านกล่าวหมายถึงขณะแห่งสัจวิวัฏฏะ เพราะ

ท่านกล่าวไว้แล้วในสัจวิวัฏฏญาณนิทเทส. เพราะญาณทั้งหมดย่อม

ประกอบอยู่ในมรรคญาณนั่นเอง. ถามว่า อย่างไร ? ตอบว่า เพราะ

อริยมรรคมาแล้วโดยสรุปในญาณที่เหลือ เว้นญาณในวิวัฏฏะ. แม้

ญาณในญาณวิวัฏฏะย่อมประกอบในขณะแห่งมรรค ด้วยสามารถสำเร็จ

กิจแห่งวิปัสสา เพราะวิปัสสนากิจสำเร็จด้วยมรรคนั่นเอง. หรือว่า

การกล่าวถึงญาณนั้นในมรรคญาณว่า บทมีอาทิว่า จกฺขุ สุญฺ - จักษุ

ว่างเปล่า เป็นอันแทงตลอดด้วยสามารถแห่งดังนี้ ย่อมควรในขณะ

มรรคนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 949

อนึ่ง ในบทนี้มีการประกอบความดังต่อไปนี้ ควรทำการประ-

กอบในการเทียบเคียงทั้งหมด โดยนัยมีอาทิว่าในขณะแห่งมรรคใด มี

สัญญาวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้น ย่อมมีเจโตวิวัฏฏะ. ในขณะ

แห่งมรรคา มีเจโตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้น มีสัญญาวิวัฏฏะ.

อีกอย่างหนึ่ง สัจวิวัฏฏะมาแล้ว เพราะอริยมรรค ๔ มาถึงแล้ว ใน

สัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตตวิวัฏฏะ และวิโมกขวิวัฏฏะ.

อนึ่ง ญาณวิวัฏฏะเป็นอันสำเร็จ ด้วยสามารถแห่งกิจ ด้วย

สัจวิวัฏฏะนั่นเอง. เมื่อกล่าวไปยาลให้พิสดารในสัญญาวิวัฏฏะ เจโต-

วิวัฎฏะ จิตตวิวัฏฏะ และวิโมกขวิวัฏฏะ แม้ญาณในญาณวิวัฏฏะก็มา

แล้วในญาณเหล่านั้น เพราะมีปาฐะว่า ปัญญามีอนัตตานุปัสนาเป็น

อธิบดี ย่อมหลีกไปจากความถือมั่นด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้นปัญญา

เป็นอธิบดีจึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ. ความยึดมั่นเป็นความเป็นต่าง ๆ

อนัตตานุปัสนาเป็นธรรมอย่างเดียว. เมื่อคิดถึงความเป็นอย่างเดียวของ

อนัตตานุปัสนา จิตย่อมหลีกไปจากความยึดมั่น เพราะเหตุนั้นปัญญา

ในความเป็นต่าง ๆ จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณ เมื่อละความยึดมั่นจิต ย่อม

ตั้งมั่นด้วยสามารถแห่งอนัตตานุปัสนา เพราะเหตุนั้นปัญญาในการอธิฏ-

ฐานจึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ. และสลัดความยึดมั่นด้วยอนัตตานุปัสนา

เพราะเหตุนั้น ปัญญาในความสลัดออกจึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฎญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 950

อนึ่ง ในญาณวิวัฏฏะ ย่อมได้สัจวิวัฏฏะด้วย เพราะประกอบ

บทมีอาทิว่า จักษุว่างเปล่าจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ด้วยสามารถ

กิจของผู้ออกจากอนัตตานุปัสนาแล้วได้อริยมรรค. เพราะฉะนั้น ใน

วิวัฏฏะหนึ่ง ๆ ย่อมได้วิวัฏฏะ อย่างละ ๕ ที่เหลือ. เพราะฉะนั้น พึง

ทราบว่าท่านกล่าวเทียบเคียงไว้มีอาทิว่า ในขณะแห่งมรรคใด มีสัญญา-

วิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้น ย่อมมีเจโตวิวัฏฏะด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาวิวัฏฏญาณฉักกนิทเทส

อิทธิวิธญาณนิทเทส

[๒๕๓] ปัญญาในความสำเร็จด้วยการกำหนดรูปกาย (ของตน)

และจิต (มีฌานเป็นบาท) เข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งการตั้งไว้ซึ่ง

สุขสัญญาและลหุสัญญา เป็นอิทธิวิธญาณอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยสมาธิ

ยิ่งด้วยฉันทะและสังขารเป็นประธาน ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบ

ด้วยสมาธิยิ่งด้วยวีริยะและสังขารเป็นประธาน ย่อมเจริญอิทธิบาท อัน

ประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วยจิตและสังขารเป็นประธาน ย่อมเจริญอิทธิ-

บาท อันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วยวิมังสาและสังขารเป็นประธาน ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 951

นั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำให้เป็นจิตอ่อนควรแก่การงาน ในอิทธิบาท

๔ ประการนี้ ครั้นแล้วย่อมตั้งกายไว้ในจิตบ้าง ตั้งจิตไว้ในกายบ้าง

น้อมจิตไปด้วยสามารถแห่งกายบ้าง น้อมกายไปด้วยสามารถแห่งจิตบ้าง

อธิฏฐานจิตด้วยสามารถแห่งกายบ้าง อธิฏฐานกายด้วยสามารถแห่ง

จิตบ้าง ครั้นน้อมจิตไปด้วยสามารถแห่งกาย น้อมกายไปด้วยสามารถ

แห่งจิต อธิฏฐานจิตด้วยสามารถแห่งกาย อธิฏฐานกายด้วยสามารถ

แห่งจิตแล้ว ย่อมหน่วงสุขสัญญาและลหุสัญญาลงในกายอยู่ เธอมีจิต

อันอบรมแล้วอย่างนั้นบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิ-

วิธญาณ เธอย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ คนเดียวเป็นหลายคน

ก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้

ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น

ดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินไปบนน้ำไม่แยกเหมือนเดินไป

บนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์

พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกาย

ไปตลอดพรหมโลกก็ได้.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสำเร็จด้วย

การกำหนดรูปกาย (ของตน) และจิต (อันมีฌานเป็นบาท) เข้าด้วยกัน

และด้วยสามารถแห่งการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา เป็นอิทธิวิธ-

ญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 952

๕๐. อรรถกถาอิทธิวิธญาณนิทเทส

๒๕๓] พึงทราบวินิจฉัยในอิทธิวิธญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.

บทว่า อิธ ภิกขุ คือ ภิกษุในศาสนานี้.

ในบทนี้ว่า ฉนฺทสมาธิปธานสงฺขารสมนฺนาคต - อันประกอบ

ด้วยสมาธิยิ่งด้วยฉันทะและสังขารเป็นประธาน มีอธิบายดังต่อไปนี้.

สมาธิมีฉันทะเป็นเหตุ หรือสมาธิยิ่งด้วยฉันทะ ชื่อว่า ฉันทสมาธิ.

บทนี้ เป็นชื่อของสมาธิที่ได้เพราะทำกัตตุกัมยตาฉันทะ - ความพอใจ

เพราะใคร่จะทำการงาน ให้เป็นอธิบดี. สังขารเป็นประธาน ชื่อว่า

ปธานสังขารทั้งหลาย บทนี้ เป็นชื่อของความเพียร คือ สัมมัปธาน

อันให้สำเร็จกิจ ๔ อย่าง. ท่านทำเป็นพหุวจนะ ด้วยสามารถทำกิจ ๔

อย่างให้สำเร็จ.

บทว่า สมนฺนาคต - ประกอบแล้ว คือ เข้าถึงแล้วด้วยสมาธิ

ยิ่งด้วยฉันทะและสังขารเป็นประฐาน. บทว่า อิทฺธิปาท - อิทธิบาท

ความว่า หมวดจิตและเจตสิกที่เหลืออันเป็นบาท ด้วยความอธิฏฐาน

แห่งสมาธิยิ่งด้วยฉันทะและสังขารเป็นประธาน อันสัมปยุตด้วยจิตเป็น

กุศล มีอุปจารฌานเป็นต้นอันได้ชื่อว่า อิทธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ

โดยปริยายแห่งความสำเร็จ หรือโดยปริยายนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้

สำเร็จแล้ว เจริญแล้ว ถึงความดีเลิศแล้ว ย่อมสำเร็จด้วยอิทธินั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 953

สมดังที่ท่านอธิบายไว้ในสุตตันตภาชนีย์ในอิทธิปาทวิภังค์ว่า บทว่า

อิทฺธิปาโท คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ของผู้เป็นอย่างนั้น.

อนึ่ง ท่านกล่าวไว้ในอภิธรรมภาชนีย์ว่า บทว่า อิทฺธิปาโท คือ

ผัสสะ เวทนา ฯลฯ ปัคคาหะ - การประคองไว้ อวิกเขปะ - ความ

ไม่ฟุ้งซ่านของผู้เป็นอย่างนั้น. เพราะฉะนั้น ในบทนี้ว่า เสสจิตฺต-

เจตสิกราสี - หมวดแห่งจิตเจตสิกที่เหลือ พึงทราบว่า ท่านทำอิทธิ

อย่างหนึ่ง ๆ ในสมาธิยิ่งด้วยฉันทะและสังขารเป็นประธาน แล้วทำ

คำที่เหลือกับด้วยบทละสอง ๆ.

จริงอยู่ ท่านสงเคราะห์ขันธ์ ๔ และธรรมมีผัสสะเป็นต้น

ทั้งหมดเข้าด้วยกันอย่างนี้. โดยนัยนี้ แม้ในบทที่เหลือ พึงทราบความ

ดังต่อไปนี้. สมาธิที่ได้เพราะทำวีริยะ จิตตะ วีมังสาให้เป็นอธิบดี

ท่านกล่าวว่า วีมังสาสมาธิ เหมือนอย่างสมาธิที่ได้เพราะทำฉันทะให้เป็น

อธิบดี ท่านกล่าวว่า ฉันทสมาธิ ฉะนั้น.

ในอิทธิบาทหนึ่ง ๆ ธรรมอย่างละ ๓ๆ คือ มีฉันทะเป็นต้น มี

วีริยะเป็นต้น มีจิตตะเป็นต้น มีวีมังสาเป็นต้น ท่านกล่าวว่า อิทธิบ้าง

อิทธิบาทบ้างด้วยประการฉะนี้. ส่วนขันธ์ ๔ อย่างสัมปยุตกัน ที่เหลือ

เป็นอิทธิบาทอย่างเดียว.

๑. อภิ. วิ. ๓๕/๕๐๘. ๒. อภิ. วิ. ๓๕/๕๒๑.

๓. มีฉันทะเป็นต้น ได้แก่ธรรม ๓ คือ วีริยะ จิตตะ วีมังสา เกิดร่วมกับฉันทะ

ที่เป็นประธาน เรียกว่า ฉันทสมาธิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 954

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า เพราะธรรมอย่างละ ๓ ๆ เหล่านี้

ย่อมสำเร็จพร้อมกับขันธ์ ๔ อันสัมปยุตกัน. เว้นขันธ์ ๔ เหล่านั้น

เสีย ย่อมไม่สำเร็จ. ฉะนั้น โดยปริยายนั้น แม้ขันธ์ ๔ ทั้งหมด ก็

ชื่อว่า อิทธิ เพราะอรรถว่าให้สำเร็จ. ชื่อว่ ปาทะ เพราะอรรถว่าเป็น

ที่ตั้ง.

ส่วนในบทนี้ว่า วีริยสมาธิปธานสงฺขารสมนฺนาคต - ประกอบ

ด้วยสมาธิยิ่งด้วยวีริยะและสังขารเป็นประธาน มีความดังต่อไปนี้. วีริยะ

และสังขารเป็นประธาน เป็นอันเดียวกัน. หากถามว่า เพราะเหตุไร

ท่านจึงกล่าวไว้เป็นสองอย่าง. ตอบว่า ในที่นี้ท่านมุ่งเอาวีริยะก่อน ด้วย

การแสดงความที่วีริยะเป็นอธิบดี เพื่อแสดงความที่วิริยะนั้นแหละให้

สำเร็จกิจ ๔ อย่าง ท่านจึงกล่าวสังขารเป็นประธาน.

อนึ่ง ในบทนี้ เพราะท่านกล่าวไว้สองอย่างนั่นแหละ เป็นอัน

ท่านกล่าวธรรมอย่างละ ๓ ๆ. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชื่อว่า

อิทธิ ยังไม่สำเร็จ. ชื่อว่า อิทธิบาท สำเร็จแล้ว เพราะท่านกล่าว

ไว้ในวิภังค์ว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี ความปรารถนา ความ

ปรารถนาด้วยดีซึ่งธรรมนั้น ๆ ชื่อว่า อิทธิ. แต่ในที่นี้ ท่านตัดสินว่า

อิทธิก็ดี อิทธิบาทก็ดี สำเร็จแล้วกำจัดเครื่องกำหนดได้แล้ว ด้วยบท

๑. อภิ. วิผ. ๓๕/๕๒๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 955

มีอาทิว่า อิทฺธิ สมิทฺธิ พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงธรรมโดยอาการ

คือ ความสำเร็จ.

บทว่า ภาเวติ - ย่อมเจริญ คือ ย่อมเสพ. แม้ในบทนี้ การ

เจริญอิทธิบาทเป็นโลกิยะ ดุจในสุตตันตภาชนีย์ เพราะฉะนั้น

พระโยคาวจรผู้ประสงค์จะยังอิทธิบาทให้สมบูรณ์ก่อนเจริญอิทธิบาท อัน

เป็นโลกิยะ เป็นผู้เข้าสมาบัติ ๘ ถึงความชำนาญบรรลุแล้วในกสิณ ๘

มีปฐวีกสิณเป็นต้น ฝึกจิตโดยอาการ ๑ เหล่านี้ คือ โดยอนุโลม

กสิณ ๑ โดยปฏิโลมกสิณ ๑ โดยอนุโลมและปฏิโลมกสิณ ๑, โดย

อนุโลมฌาน ๑ โดยปฏิโลมฌาน ๑ โดยอนุโลมปฏิโลมฌาน ๑, โดย

ก้าวไปสู่ฌาน ๑ โดยก้าวไปสู่กสิณ ๑ โดยก้าวไปสู่ฌานและกสิณ ๑,

โดยเคลื่อนไปสู่องค์ ๑ โดยเคลื่อนไปสู่อารมณ์ โดยเคลื่อนไปสู่

องค์และอารมณ์ ๑, โดยกำหนดองค์ ๑ โดยกำหนดอารมณ์ ๑

แล้วจึงเข้าฌานบ่อย ๆ ด้วยสามารถฉันทะ วีริยะ จิตตะ วีมังสาเป็น

ประธาน. อาจารย์บางพวกปรารถนา แม้การกำหนดองค์และอารมณ์.

ผู้ถึงพร้อมด้วยเหตุเบื้องต้น สะสมความชำนาญในเหตุเพียงฌาน ๔

หมวด ในกสิณทั้งหลายกระทำ ย่อมสมควร เพราะเหตุนั้น พระ-

โยคาวจรเจริญอิทธิบาทสมาธินั้น ๆ ย่อมอธิฏฐานวีริยะ ๔ ประการ

มีอาทิว่า เพื่อมิให้เกิดอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ครั้น

๑. อภิ. วิ. ๓๕/๕๑๘. ๒. ภิ. วิ. ๓๕/๕๐๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 956

รู้ความเสื่อมและความเจริญของสมาธินั้นแล้วย่อมอธิฏฐานวีริยะไว้

เสมอ. พระโยคาวจรนั้นอบรมจิตในอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล้วย่อมยัง

อิทธิวิธให้สำเร็จได้.

บทว่า โส ในบทมีอาทิว่า โส อิเมสุ จตูสุ อิทฺธิปาเทสุ คือ

ภิกษุผู้เจริญอิทธิบาท ๔ นั้น.

บทว่า จตูสุ อิทฺธิปาเทสุ จิตฺต ปริภาเวติ - ภิกษุย่อมอบรม

จิตในอิทธิบาท ๔ คือ ภิกษุทำอิทธิบาทอย่างหนึ่งๆ ในฉันทะทั้งหลาย

บ่อย ๆ แล้ว ชื่อว่าอบรมจิต ในอิทธิบาทเหล่านั้นด้วยการเข้าฌาน.

อธิบายว่า ให้ถือเอาการอบรมฉันทะเป็นต้น.

บทว่า ปริทเมติ - ย่อมข่มจิต คือ ทำจิตให้หมดพยศ. บท

ก่อนกล่าวถึงเหตุของบทหลัง. เพราะจิตที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นจิตที่ข่ม

ได้แล้ว.

บทว่า มุทุ กโรติ - ทำให้เป็นจิตอ่อน คือ ทำจิตที่ข่มไว้ได้

แล้วอย่างนั้นให้ถึงความชำนาญ. เพราะจิตเป็นไปในอำนาจ กล่าวว่า

มุทุ - อ่อน.

บทว่า กมฺมนิย - ควรแก่การงาน คือ ทำให้เหมาะแก่การงาน

ให้สมควรแก่การงาน. เพราะจิตอ่อนย่อมควรแก่การงาน ดุจทองคำ

ที่ขัดดีแล้ว. แต่ในที่นี้ ได้แก่ จิตควรแก่การงาน คือ แสดงฤทธิ์ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 957

บทว่า โส คือ ภิกษุผู้มีจิตอบรมแล้วนั้น. ท่านกล่าวบทมี

อาทิว่า กายมฺปิ จิตฺเต สโมทหติ - ย่อมตั้งกายไว้ในจิตบ้าง เพื่อ

แสดงวิธีโยคะ เพื่อความสำเร็จแห่งการท่องเที่ยวไปของจิตตามสบายใน

เวลาท่าอิทธิ.

ในบทเหล่านั้นบทว่า กายมฺปิ จิตฺเต สโมทหติ - ย่อมตั้ง

กายไว้ในจิตบ้าง ความว่า ย่อมตั้ง คือ ให้เข้าไปยกกรชกายไว้ในจิต

มีฌานเป็นบาทบ้าง. อธิบายว่า ทำกายให้เป็นไปตามจิต. กระทำอย่างนี้

ย่อมมีเพื่ออุปการะแก่การไปด้วยกายอันไม่ปรากฏ.

บทว่า จิตฺตมฺปิ กาเย สโมทหติ - ย่อมตั้งจิตไว้ในกายบ้าง

ความว่า ย่อม คือ ยกจิตมีฌานเป็นบาทในกรชกายของตน อธิบาย

ว่า ทำจิตให้เป็นไปตามกายบ้าง. การทำอย่างนี้ย่อมมีเพื่ออุปการะแก่

การไปด้วยกายอันปรากฏ. ปาฐะว่า สมาทหติ บ้าง. ความว่า ให้

ตั้งไว้.

บทว่า กายวเสน จิตฺต ปริณาเมติ - ย่อมน้อมจิตไปด้วย

สามารถแห่งกายบ้าง ความว่า ถือจิตมีฌานเป็นบาทยกขึ้นในกรชกาย.

ทำให้เป็นไปตามกาย. บทนี้เป็นไวพจน์ของการตั้งจิตไว้ในกาย.

บทว่า จิตฺตวเสน กาย ปริณาเมติ - ย่อมน้อมกายไปด้วย

อำนาจของจิตบ้าง ความว่า ยึดกรชกายแล้วยกไว้ในจิตที่มีฌานเป็น

บาท ทำให้เป็นไปตามจิต. บทนี้เป็นไวพจน์ของการตั้งกายไว้ในจิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 958

บทว่า อธิฏฺาติ - ย่อมอธิฏฐาน คือ อธิฏฐานว่า ขอจงเป็น

อย่างนี้เถิด. ท่านกล่าวถึงการน้อมไปเพื่อไขอรรถแห่งความตั้งไว้. ท่าน

กล่าวถึงอธิฏฐานเพื่อไขอรรถแห่งความน้อมไป. เพราะบทว่า สโมท-

หติ เป็นบทตั้ง. บทว่า ปริณาเมติ อธิฏฺาติ - เป็นบทขยายอรรถ

ของบทว่า สโมทหติ นั้น. ฉะนั้น ด้วยสามารถแห่งบททั้งสองนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ปริณาเมตฺวา - น้อมไปแล้ว อธิฏฺหิตฺวา อธิฏฐาน

แล้ว. ไม่กล่าวว่า สโมทหิตฺวา - ตั้งไว้แล้ว.

บทว่า สุขสญฺจ ลหุสสฺญฺจ กาเย โอกฺกมิตฺวา

วิหรติ - ย่อมหน่วงสุขสัญญา และลหุสัญญาลงในกายอยู่ ความว่า

ย่อมหน่วงสุขสัญญาอันเกิดร่วมกับจตุตถฌาน และลหุสัญญาให้เข้าไป

ในกรชกายอยู่ แม้กรชกายของภิกษุนั้นผู้มีกายหน่วงลงในสัญญานั้น

ก็เป็นกรชกายเบาดุจปุยนุ่น.

บทว่า โส คือ ภิกษุผู้ทำโยควิธีนั้น.

บทว่า ตถา ภาวิเตน จิตฺเตน - มีจิตอันอบรมแล้ว เป็นตติยา-

วิภัตติลงในลักษณะแห่งอิตถัมภูต - มี หรือลงในอรรถแห่งเหตุ - เพราะ.

ความว่า มีจิตอันอบรมแล้ว คือ เป็นเหตุ. บทว่า ปริสุทฺเธน -

บริสุทธิ์ คือ ชื่อว่าความบริสุทธิ์แห่งสติในอุเบกขา. ชื่อว่าผ่องแผ้ว

เพราะบริสุทธิ์นั่นเอง. อธิบายว่าจิตประภัสสร - ผ่องใส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 959

บทว่า อิทฺธิวิธาณาย - เพื่ออิทธิวิธญาณ คือ ในส่วนแห่ง

อิทธิ. หรือ เพื่อต้องการญาณในการกำหนดอิทธิ.

บทว่า จิตฺต อภินีหรติ - ย่อมโน้นจิตไป คือ ภิกษุนั้นเมื่อ

จิตนั้นมีอภิญญาเป็นบาทเกิดแล้วด้วยสามารถประการดังกล่าวแล้ว ย่อม

โน้มบริกรรมจิตไปเพื่อบรรลุอิทธิวิธญาณ. นำออกจากอารมณ์กสิณ

แล้วส่งไปมุ่งอิทธิวิธ.

บทว่า อภินินฺนาเมติ - ย่อมน้อมไป คือ ทำการโน้มไปสู่อิทธิ

ที่ควรบรรลุให้โอนไปสู่อิทธิ.

บทว่า โส คือ ภิกษุผู้ทำจิตให้มีอภินิหารอย่างนี้.

บทว่า อเนกวิหิต - หลายอย่าง คือ หลายอย่างมีประการต่าง ๆ.

บทว่า อิทฺธิวิธ - แสดงฤทธิ์ได้ คือ ส่วนแห่งฤทธิ์ หรือ

กำหนดฤทธิ์.

บทว่า ปจฺจนุโภติ คือ ย่อมเสวยผล. อธิบายว่า ย่อมสัมผัส

ทำให้แจ้ง คือ บรรลุ. บัดนี้พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงความที่ภิกษุ

นั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เอโกปิ หุตฺวา.

ในบทเหล่านั้นบทว่า เอโกปิ หุตฺวา - คือ แม้เป็นคนเดียว

ความว่า ตามปกติก่อนแสดงฤทธิ์เป็นคนเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 960

บทว่า พหุธา โหติ - เป็นหลายคน คือ ประสงค์จะเดิน

จงกรมในสำนักของภิกษุมากก็ดี ประสงค์จะสาธยายก็ดี ประสงค์จะ

ถามปัญหาก็ดี เป็นร้อยก็ได้ เป็นพันก็ได้. ถามว่า เป็นอย่างนั้นได้

อย่างไร ? ตอบว่า หากภิกษุนั้นยังธรรมอันเป็นบทมูลของบาทแห่งภูมิ

ของฤทธิ์ให้สมบูรณ์ แล้วเข้าฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา ครั้นออก

แล้วปรารถนาเป็นร้อยก็ทำบริกรรมว่า. ขอเราจงเป็นร้อย ขอเราจง

เป็นร้อยแล้วเข้าฌานอันเป็นบาท ครั้นออกแล้วอธิฏฐาน พร้อมกับ

อธิฏฐานนั่นแหละจะเป็นร้อยได้. แม้ในพันเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือน

กัน. หากว่าไม่ปรารถนาอย่างนั้นควรทำบริกรรม อีกแล้วเข้าครั้งที่สอง

ครั้นออกแล้วจึงอธิฏฐาน.

ในอรรถกถาสังยุตท่านกล่าวว่า ควรเข้า ๑ ครั้ง ๒ ครั้ง ใน

การเข้านั้นจิตมีฌานเป็นบาท มีนิมิตเป็นอารมณ์. จิตบริกรรม มีร้อย

หรือมีพันเป็นอารมณ์. จิตเหล่านั้นแหละด้วยสามารถแห่งวรรณะ มิ

ใช่ด้วยสามารถแห่งบัญญัติ. แม้จิตอธิฏฐาน มีร้อยหรือมีพันเป็นอารมณ์

ก็อย่างนั้นเหมือนกัน. จิตนั้นมีอารมณ์เดียวเท่านั้นเป็นรูปาวจรจตุตถ-

ฌาน ย่อมเกิดขึ้นในลำดับโคตรภู ดุจอัปปนาจิตครั้งแรก.

ในบทว่า พหุธา โหติ นั้น ผู้มีนิรมิตได้มากย่อมเป็นเช่นเดียว

กันกับผู้มีฤทธิ์ เพราะนิรมิตไม่กำหนดไว้. ย่อมทำสิ่งที่ผู้มีฤทธิ์ทำได้ใน

การยืน การนั่งเป็นต้น หรือในการพูด การนิ่งเป็นต้น. หากประสงค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 961

จะทำรูปนิรมิตชนิดต่าง ๆ ทำบางพวกในปฐมวัย. บางพวกในมัชฌิมวัย.

บางพวกในปัจฉิมวัย. ทำบางพวกให้มีผมยาว โกนผมได้ครึ่งหนึ่ง

มีผมดอกเลา มีจีวรสีแดงครึ่งหนึ่ง สีขาวครึ่งหนึ่ง สวดบทภาณ

แสดงธรรมกถา สวดสรภัญญะ ถามปัญหา แก้ปัญหา ย้อมจีวร ต้มจีวร

เย็บและซักจีวร เป็นต้น ก็เหมือนกัน หรือประสงค์จะทำนานัปการ

อย่างอื่น. ครั้นออกจากฌานอันเป็นบาท ด้วยเหตุนั้นแล้วทำบริกรรม

โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุประมาณเท่านี้จงเป็นปฐมวัย แล้วเข้าสมาบัติอีก

ครั้นออกแล้วพึงอธิฏฐานพร้อมกับจิตอธิฏฐาน ภิกษุย่อมเป็นไปตาม

ที่ตนอธิฏฐานด้วยประการฉะนี้.

ในบทมีอาทิว่า พหุธาปิ หุตฺวา เอโก โหติ - หลายคนเป็น

คนเดียวก็ได้ ก็มีนัยนี้. แต่มีความต่างกันดังต่อไปนี้ จริงอยู่ ภิกษุนี้

ครั้นนิรมิตรูปเป็นอันมากอย่างนี้แล้วคิดต่อไปว่า เราจักเดินจงกรมแต่ผู้

เดียวเท่านั้น. เราจักทำการสาธยาย. เราจักถามปัญหาดังนี้ก็ดี คิดว่า

วิหารนี้มีภิกษุน้อย. หากภิกษุบางพวกจักมา. ภิกษุประมาณเท่านี้เหล่านี้

จักอยู่ที่ไหน. จักรู้จักเราว่านี้อานุภาพของพระเถระแน่นอนก็ดี จึง

ปรารถนาว่า ขอเราจงเป็นผู้เดียวในระหว่าง เพราะเป็นผู้ปรารถนาน้อย

เข้าฌานเป็นบาท ครั้นออกแล้วจึงทำบริกรรมว่า ขอเราจงเป็นผู้เดียว

แล้วเข้าฌานอีก ครั้นออกแล้วพึงอธิฏฐานว่า ขอเราจงเป็นผู้เดียวเถิด.

ภิกษุนั้นก็จะเป็นรูปเดียวพร้อมกับจิตอธิฏฐานนั่นเอง. เมื่อไม่ทำอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 962

ย่อมเป็นรูปเดียวด้วยตนเองเท่านั้นด้วยสามารถกาลตามที่กำหนดไว้.

บทว่า อาวิภาว คือ ทำให้ปรากฏ.

บทว่า ติโรภาว - ทำให้ปกปิดก็ได้. พึงเชื่อมด้วยบทก่อนว่า

อาวิภาว ปจฺจนุโภติ. ติโรภาว ปจฺจนุโภติ - แสดงให้ปรากฏก็ได้.

แสดงให้หายไปก็ดี. ในบทนี้ผู้มีฤทธิ์ประสงค์จะทำให้ปรากฏ. ย่อมทำ

ความมืดให้สว่างได้. หรือทำที่ปกปิดให้เปิดเผยได้. หรือทำที่ไม่ใช่คลอง

สายตา ให้เป็นคลองสายตา. ถามว่า อย่างไร ? ตอบว่า เหมือนอย่าง

ว่า ภิกษุนี้แม้อยู่ในที่กำบัง หรือแม้อยู่ในที่ใกล้ ก็ปรากฏได้ฉันใด.

ประสงค์จะแสดงตน หรือผู้อื่นให้ปรากฏก็ฉันนั้น ครั้นออกจากฌาน

เป็นบาทแล้วคำนึงว่า ขอที่กำบัดนี้จงเปิดเผย. หรือขอที่มิใช่คลองจักษุ

นี้จงเป็นคลองจักษุเถิดดังนี้ แล้วทำบริกรรมอธิฏฐานโดยนัยดังกล่าว

แล้วนั่นแหละ. พร้อมกับอธิฏฐานย่อมเป็นไปตามที่อธิฏฐาน. ผู้อื่นแม้

ยินอยู่ในที่ไกลก็เป็นได้. ประสงค์เห็นแม้ตนเองก็เห็นได้. ประสงค์

จะทำให้หายไป ? ย่อมทำแสงสว่างให้มืดได้ หรือทำที่ไม่ปกปิดให้ปกปิด

ได้. หรือทำที่เป็นคลองจักษุ มิให้เป็นคลองจักษุได้. ถามว่าอย่างไร ?

ตอบว่าเหมือนอย่างว่า. แม้อยู่ในที่ปกปิด หรือแม้ยืนอยู่ในที่ใกล้ก็ไม่

ปรากฏฉันใด. ภิกษุประสงค์จะแสดงตน หรือผู้อื่นก็ฉันนั้น ครั้น

ออกจากฌานเป็นบาทแล้ว คำนึงว่า ขอที่ไม่ปกปิดนี้จงปกปิด. หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 963

ขอที่เป็นคลองจักษุนี้ จงมิใช่คลอดจักษุ แล้วทำบริกรรมอธิฏฐานโดย

นัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. พร้อมกับอธิฏฐาน ย่อมเป็นไปตามอธิฏฐาน

ทีเดียว. ผู้อื่นแม้ยืนอยู่ใกล้ก็ไม่ปรากฏ. แม้ประสงค์จะไม่เห็นตนเอง

ก็ไม่เห็น. อีกอย่างหนึ่ง ปาฏิหาริย์ที่ปรากฏแม้ทั้งหมด ชื่อว่าทำให้

ปรากฏ. ปาฏิหาริย์ที่ไม่ปรากฏ ชื่อว่าทำให้หายไป.

ในปาฏิหาริย์ทำให้ปรากฏนั้น ฤทธิ์ก็ดี ผู้มีฤทธิ์ก็ดี ย่อมปรากฏ.

พึงแสดงปาฏิหาริย์ที่ปรากฏนั้นด้วยยมกปาฏิหาริย์. ในปาฏิหาริย์ที่ไม่

ปรากฏ ฤทธิ์เท่านั้นย่อมปรากฏ ผู้มีฤทธิ์ไม่ปรากฏ. พึงแสดงปาฏิหาริย์

ที่ไม่ปรากฏนั้น ด้วยยมกสูตร และด้วยพรหมนิมันตนิกสูตร.

บทว่า ติโรกุฑฺฑ - ภายนอกฝา. คือ ฝาอื่น. อธิบายว่า ส่วน

อื่น. ในภายนอกกำแพงภายนอกภูเขาก็มีนัยนี้. บทว่า ภุฑฺโฑ คือ

ฝาเรือน. บทว่า ปากาโร คือ กำแพงล้อมเรือนวิหารและบ้านเป็นต้น.

บทว่า ปพฺพโต คือ ภูเขาดินหรือภูเขาหิน. อสชฺชมาโน คือ ไม่

ติดขัด. บทว่า เสขฺยถาปิ อากาเส คือ เหมือนไปในที่ว่าง.

อนึ่ง ผู้ประสงค์จะไปอย่างนี้ พึงเข้าอากาสกสิณ ครั้นออกแล้ว

คำนึงถึงฝาก็ดี กำแพงก็ดี ภูเขาก็ดี แล้วทำบริกรรมอธิฏฐานว่า ของ

จงเป็นที่ว่างเถิด ย่อมเป็นที่ว่างได้ทีเดียว. ผู้ประสงค์จะลงไปเบื้องต่ำ

๑. ม. มู. ๑๒/๕๕๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 964

ก็ดี. ประสงค์ขึ้นไปเบื้องบนก็ดี ย่อมเป็นโพรง. ผู้ประสงค์จะทะลุไป

ย่อมเป็นช่อง

ภิกษุนั้นไปได้ไม่ติดขัดในที่นั้น. อนึ่ง หากว่าภูเขาก็ดี ต้นไม้

ก็ดี ขึ้นในระหว่างภิกษุนั้นอธิฏฐานแล้วไป. การเข้าฌานแล้วอธิฏฐาน

อีกไม่ผิดหรือ ไม่ผิด. เพราะการเข้าฌานแล้วอธิฏฐานอีกย่อมเป็นเช่น

กับการถือนิสัยในสำนักของพระอุปัชฌาย์. เพราะภิกษุนี้อธิฏฐานว่า

ขอจงเป็นที่ว่างเถิดดังนี้ย่อมเป็นที่ว่างทันที. ข้อที่ภูเขาก็ดี ต้นไม้ก็ดี

จักขึ้นตามฤดูกาลในระหว่างภิกษุนั้นด้วยกำลังอธิฏฐานมีมาก่อน มิใช่

ฐานะ. แต่การนิรมิตครั้งแรกย่อมเป็นกำลัง ในการที่ผู้มีฤทธิ์อื่นนิรมิต

แล้ว. ผู้มีฤทธิ์นอกนี้ควรไปเบื้องบนหรือเบื้องต่ำของภิกษุนั้น.

ในบทนี้ว่า ปวิยาปิ อุมฺมุชฺชนิมฺมุชฺช - ผุดขึ้นดำลงใน

แผ่นดินก็ได้มีความดังต่อไปนี้.

บทว่า อุมฺมุชฺช - ผุดขึ้น ได้แก่ โผล่ขึ้น.

บทว่า นิมฺมุชฺช - ดำลง ได้แก่ จมลง.

การผุดขึ้นและดำลง ชื่อว่า อุมฺมุชฺชนิมฺมุชฺช.

อนึ่ง ภิกษุประสงค์จะทำอย่างนี้เข้าอาโปกสิณ ครั้นออกแล้ว

กำหนดว่า ขอแผ่นดินในที่ประมาณเท่านี้ จงเป็นน้ำเถิดแล้วทำบริกรรม

พึงอธิฏฐานโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. แผ่นดินย่อมเป็นน้ำในที่

ตามที่กำหนดไว้พร้อมด้วยการอธิฏฐาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 965

ภิกษุนั้นย่อมทำการผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินนั้นเหมือนในน้ำ. มิ

ใช่เพียงการผุดขึ้นดำลงอย่างเดียวเท่านั้น ยังทำสิ่งปรารถนาจะทำก็ได้

เป็นต้น การอาบ การดื่ม การล้างหน้า และการล้างของใช้. อนึ่ง

มิใช่ทำแต่น้ำอย่างเดียวเท่านั้น ยังนึกถึงสิ่งที่ปรารถนาเป็นต้นว่า เนย

ใส น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยว่า ขอสิ่งนี้ ๆ จงเป็นสิ่งประมาณเท่านี้

เถิดดังนี้แล้วทำบริกรรมอธิฏฐาน ย่อมเป็นไปตามอธิฏฐานได้. เมื่อ

ยกขึ้นใส่ภาชนะ เนยใสก็เป็นเนยใสนั่นเอง. น้ำมันเป็นต้นก็เป็นน้ำ-

มัน น้ำก็เป็นน้ำ. ภิกษุนั้นประสงค์จะให้เปียกในน้ำนั้น ก็เปียก.

ประสงค์จะไม่ให้เปียก ก็ไม่เปียก.

อนึ่ง แผ่นดินนั้นเป็นน้ำแก่ภิกษุนั้น. เป็นแผ่นดินแก่ชนที่

เหลือ. บนแผ่นดินนั้นมนุษย์ยังเดินไปได้. ขับยานเป็นต้นได้. แม้

กสิกรรมเป็นต้น ก็ยังทำกันได้เช่นเดิม. หากภิกษุนี้ปรารถนาว่า

แผ่นดินจงเป็นน่าแก่ชนเหล่านั้นเถิด. ก็ย่อมเป็นทีเดียว. ครั้นล่วง

เลยกาลที่กำหนดไว้ ที่ที่กำหนดไว้ที่เหลือเว้นน้ำในหม้อและในพระ

เป็นต้น ตามปกติก็ย่อมเป็นแผ่นดินได้.

ในบทนี้ว่า อุทเกปิ อภิชฺชมาเน คจฺฉติ - เดินไปบนน้ำไม่

แยกก็ได้ มีอธิบายดังต่อไปนี้. ท่านกล่าวน้ำที่เหยียบแล้วจมว่า ภิชฺ-

ชมาน คือ น้ำแยก. น้ำตรงกันข้ามไม่แยก. ภิกษุประสงค์จะไปอย่างนี้

เข้าปฐวีกสิณ ครั้นออกแล้วกำหนดว่า ขอน้ำจงเป็นแผ่นดินในที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 966

ประมาณเท่านี้เถิดแล้วทำบริกรรม พึงอธิฏฐานโดยนัยดังกล่าวแล้ว

นั้นแหละ. น้ำย่อมเป็นแผ่นดินในที่ตามที่กำหนดพร้อมด้วยอธิฏฐาน.

ภิกษุนั้นเดินไปบนน้ำนั้นดุจเดินไปบนแผ่นดิน. มิใช่เดินไป

อย่างเดียว. ยังให้สำเร็จอิริยาบถที่ปรารถนาได้. มิใช่ทำให้เป็น

แผ่นดินได้อย่างเดียวเท่านั้น. ยังนึกอธิฏฐานสิ่งที่ปรารถนาเป็นต้นว่า

แก้วมณี ทองคำ ภูเขาและต้นไม้ โดยนัยดังกล่าวแล้วได้อีกด้วย. ย่อม

เป็นไปตามที่อธิฏฐานนั่นแหละ. น้ำนั้นย่อมเป็นแผ่นดินแก่ภิกษุนั้น

เท่านั้น. ย่อมเป็นน้ำแก่ชนที่เหลือ. ปลาและเต่า และกาน้ำเป็นต้น

ย่อมเที่ยวไปได้ตามความพอใจ. หากว่าภิกษุนี้ปรารถนาจะทำแผ่นดิน

นั้นแก่มนุษย์ทั้งหลายอื่น ก็ย่อมทำได้. แต่ย่อมเป็นน้ำโดยล่วงเลยกาล

ตามที่กำหนดไว้.

บทว่า อากาเสปิ ปลฺลงฺเกน จงฺกมติ - เหาะไปในอากาศก็ได้

คือ ไปโดยนั่งขัดสมาธิโดยรอบบนอากาศก็ได้.

บทว่า ปกฺขี สกุโณ คือ นกมีปีก มิใช่นกที่มีปีกไม่สมบูรณ์

หรือนกปีกหัก. เพราะว่านกเช่นนั้นไม่สามารถบินไปบนอากาศได้.

ภิกษุผู้ประสงค์จะไป่ในอากาศอย่างนี้เข้าปฐวีกสิณ ครั้นออกแล้ว จาก

ปรารถนาจะนั่งไป. ควรกำหนดที่ขนาดบัลลังก์ทำบริกรรมแล้วอธิฏฐาน

โดยนัยดังกล่าวแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 967

หากประสงค์จะนอนไป. ควรกำเนิดขนนาดเตียง. หากประสงค์

จะเดินไป. ควรกำหนดระยะทาง. ครั้นกำหนดที่ตามสมควรอย่างนี้

ด้วยประการฉะนี้ แล้วควรอธิฏฐานว่า ขออากาศจงเป็นแผ่นดินโดย

นัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. อากาศก็จะเป็นแผ่นดินพร้อมกับอธิฏฐาน

นั่นเอง.

อนึ่ง ภิกษุประสงค์จะไปในอากาศควรไจทิพจักษุด้วย. เพราะ

เหตุไร ? เพราะในระหว่างย่อมมีภูเขาและต้นไม่เป็นต้น อันเกิดตาม

ฤดูกาล. หรือนาคและครุฑเป็นต้น หวงห้าม ทรายไว้. เพื่อจะได้เห็น

พึงเหล่านั้น. ก็ครั้นเห็นสิ่งเหล่านั้นแล้วควรทำอย่างไร ? ควรเข้าฌาน

เป็นบาท ครั้นออกแล้วทำบริกรรมว่า ขอจงเป็นอากาศเถิดแล้วอธิฏ-

ฐาน.

อีกอย่างหนึ่ง แม้เพื่อจะลงในที่ว่างก็ควรได้ทิพจักษุนี้. เพราะ

หากว่าภิกษุนี้ลงที่ท่าอาบน้ำ หรือที่ประตูบ้านอันมิใช่ที่ว่าง. จะปรากฏ

แก่มหาชน. เพราะฉะนั้น มองดูด้วยทิพจักษุแล้วเว้นที่ไม่ว่าง ลงใน

ที่ว่างด้วยประการฉะนี้.

ในบทนี้ว่า อิเมปิ จนฺทิมสุริเย เอวมหิทฺธิเก เอว มหา-

นุภาเว - ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์แม้เหล่านี้ ซึ่งมีฤทธิ์มาก มี

อานุภาพมาก พึงทราบความดังต่อไปนี้. พึงทราบความมีฤทธิ์มากของ

พระจันทร์พระอาทิตย์ ด้วยการโคจรตลอดหมื่นสองพันโยชน์ ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 968

มีอานุภาพมากด้วยการทำแสงสว่างในขณะเดียวกัน ๓ ทวีป. หรือมี

ฤทธิ์มากด้วยการโคจรไปเบื้องบนและแผ่แสงสว่างไป ด้วยอาการอย่างนี้.

มีอานุภาพมากด้วยความมีฤทธิ์มากนั้นนั่นเอง.

บทว่า ปรามสติ คือ ลูบหรือสัมผัสในส่วนหนึ่ง,

บทว่า ปริมชฺชติ คือ คลำดุจคลำพื้นกระจกโดยรอบ.

อนึ่ง ฤทธิ์ของภิกษุนั้น นี้ย่อมสำเร็จด้วยสามารถแห่งฌานมี

อภิญญาเป็นบาท. ในฤทธิ์นี้ไม่นิยมกสิณสมาบัติ. ผิว่า ภิกษุนี้ปรารถนา

จะไปลูบ. ก็ไปลูบได้. หากปรารถนาเพื่อจะนั่งหรือนอนลูบที่พระจันทร์

พระอาทิตย์นี้. ก็อธิฏฐานว่า ขอพระจันทร์พระอาทิตย์จงมีที่บ่วงมือ

เถิด. ด้วยกำลังอธิฏฐานภิกษุจะลูบพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมาปรากฏ

ที่บ่วงมือ ดุจผลตาลหลุดจากขั้วฉะนั้น. หรือเอื้อมมือไปลูบได้.

อนึ่ง เมื่อภิกษุเอื้อมมือไปอุปาทินนกะ หรือว่า อนุปาทินนกะ

เอื้อมไป. อนุปาทินนกะเอื้อมไป เพราะอาศัยอุปาทินนกะ. ภิกษุทำ

อย่างนี้มิใช่ลูบพระจันทร์พระอาทิตย์ได้อย่างเดียว. หากปรารถนาทำให้

เป็นที่เช็ดเท้าก็ตั้งไว้ที่เท้า. ทำตั่งนั่งก็ได้. ทำเตียงนอนก็ได้. ทำหมอน

หนุนก็ได้. แม้จะมีอย่างอื่นอีกก็เหมือนมีอย่างเดียว. เพราะเมื่อภิกษุ

แสนรูปทำอย่างนี้ ฤทธิ์ของภิกษุเหล่านั้นย่อมสำเร็จอย่างนั้น แก่รูป

หนึ่ง ๆ เท่านั้น. การโคจรการทำแสงสว่างของพระจันทร์พระอาทิตย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 969

ย่อมมีเป็นปกติ. เหมือนอย่างว่ามณฑลพระจันทร์ย่อมปรากฏที่ถาด

ทั้งหมดอันเต็มด้วยน้ำตั้งพันถาด. การโคจรและการทำแสงสว่างของ

พระจันทร์ก็มีเป็นปกติฉันใด. ปาฏิหาริย์นี้ก็อุปมาฉันนั้น.

บทว่า ยาว พฺรหฺมโลกาปิ กาเยน วส วตฺเตตฺ - ใช้อำนาจ

ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ความว่า ทำพรหมโลกให้เป็นที่กำหนด

แล้วทำอภิญญาหลายอย่างในระหว่างนี้ใช้อำนาจ คือ ความเป็นอิสระ

ทางกายของตน. ส่วนความพิสดารในนิทเทสนี้ จักมีแจ้งในอิทธิกถา

ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาอิทธิวิธญาณนิทเทส

โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส

[๒๕๔] ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่าง หรือ

อย่างเดียว ด้วยสามารถการแผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วย

ฉันทะและสังขารอันเป็นประธาน. . .ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำจิต

ให้อ่อน ควรแก่การงาน ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้ ครั้นแล้วย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 970

มนสิการถึงเสียงเป็นนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย แม้ในที่ไกล แม้ในที่ใกล้

แม้เป็นเสียงหยาบ แม้เป็นเสียงละเอียด แม้เป็นเสียงละเอียดยิ่งนัก

ย่อมมนสิการถึงเสียงเป็นนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายในทิศตะวันออก ใน

ทิศตะวันตก ในที่เหนือ ในทิศใต้ แม้ในทิศอาคเนย์ แม้ในทิศ-

พายัพ แม้ในทิศอีสาน แม้ในทิศหรดี แม้ในทิศเบื้องต่ำ แม้ในทิศ

เบื้องบน ภิกษุนั้นมีจิตอันอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อม

โน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณอันหมดจดแห่งโสตธาตุ เธอย่อมฟังเสียงได้ทั้ง

๒ อย่าง คือ ทั้งเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งในที่ไกลและในที่ใกล้

ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดเสียง

เป็นนิมิตหลายอย่าง หรืออย่างเดียว ด้วยสามารถการแผ่วิตกไป เป็น

โสตธาตุวิสุทธิญาณ.

๕๑. อรรถกถาโสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส

[๒๕๔] พึงทราบวินิจฉัยในโสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้

นี้. ท่านกล่าวบทมีอาทิว่า ทูเรปิ สทฺทาน - แห่งเสียงทั้งหลาย แม้ในที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 971

ไกล เพื่อชี้แจงถึงอุบายของภิกษุผู้เป็นอาทิกรรมิก - ผู้ทำกรรมครั้งแรก

ประสงค์จะยังทิพโสตให้เกิด.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ทูเรปี สทฺทาน สทฺทนิมิตฺต - เสียง

เป็นนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย แม้ในที่ไกล คือ เสียงในระหว่างแห่งเสียง

ทั้งหลายในที่ไกล. จริงอยู่ เสียงนั่นแหละ เป็นสัททนิมิตด้วยสามารถ

ทำเป็นนิมิต. แม้เมื่อท่านกล่าวว่า ทูเร ก็ได้แก่ในที่เป็นคลองแห่งเสียง

ตามปกตินั่นเอง.

บทว่า โอฬาริกาน คือ เสียงหยาบ. บทว่า สุขุมาน คือ

เสียงละเอียด.

บทว่า สณฺหสณฺหาน คือ เสียงละเอียดยิ่ง. ด้วยบทนี้เป็น

อันท่านกล่าวถึงเสียงละเอียดยิ่ง. ภิกษุผู้เพ่งเป็นอาทิกรรมิกประสงค์

จะยังญาณนี้ให้เกิด เข้าฌานอันมีอภิญญาเป็นบาท ครั้นออกแล้วมีจิต

เป็นบริกรรมสมาธิ ก่อนอื่นควรคำนึงถึงเสียงหยาบของสีหะเป็นต้น

ในที่ไกลเป็นคลองแห่งหูตามปกติ. ควรคำนึงถึงเสียงละเอียดยิ่งโดยตาม

ลำดับ ตั้งแต่เสียงหยาบทั้งปวงอย่างนี้ คือ เสียงระฆังในวัด เสียงกลอง

เสียงสังข์ เสียงสาธยายของสามเณร และภิกษุหนุ่มผู้สาธยาย ด้วย

กำลังทั้งหมด เสียงมีอาทิว่า... อะไรพระคุณเจ้า. อะไรอาวุโส. ของ

ภิกษุผู้กล่าวกถาตามปกติ เสียงนก เสียงลม เสียงเท้า เสียงน้ำเดือด

ดังจิจิ เสียงใบตาลแห้งเพราะแดด เสียงมดดำมดแดงเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 972

อนึ่ง ภิกษุกระทำอยู่อย่างนี้ควรมนสิการถึงสัททนิมิตในทิศ ๑๐

มีทิศตะวันออกเป็นต้น ทิศหนึ่ง ๆ โดยลำดับ. ตามนัยดังได้กล่าวแล้ว.

อันภิกษุผู้มนสิการ ควรมนสิการด้วยจิตเป็นไปในมโนทวาร ด้วยการ

เงี่ยหูตามปกติ ในเสียงที่หูได้ยินตามปกติ. เสียงเหล่านั้นย่อมปรากฏ

แก่ภิกษุผู้มีจิตปกติ. แต่ปรากฏอย่างยิ่งแก่ภิกษุผู้มีจิตบริกรรมสมาธิ.

เมื่อภิกษุมนสิการสัททนิมิตอยู่อย่างนี้ มโนทวาราวัชชนะย่อมเกิดเพราะ

ทำอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในเสียงเหล่านั้นว่า บัดนี้ทิพโสตธาตุจักเกิด.

เมื่อมโนทวาราวัชชนะนั้นดับแล้วชวนจิต ๔ หรือ ๕ ดวง ย่อมแล่นไป.

กามาวจรจิตอันมีชื่อว่า บริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู ๓ หรือ ๔

ดวง ย่อมแล่นไป. อัปปนาจิตที่ ๔ ที่ ๕ อันเป็นไปในจตุตถฌานอัน

เป็นรูปาวจร ย่อมแล่นไป.

ญาณอันเกิดขึ้นด้วยอัปปนาจิตนั้น ชื่อว่าทิพโสตธาตุญาณ.

ภิกษุทำญาณนั้นให้มีกำลังกำหนดเพียงองคุลีหนึ่งว่า ในระหว่างนี้เรา

จะฟังเสียง แล้วพึงเจริญ. แต่นั้นพึงเจริญตราบเท่าถึงจักรวาลด้วย

สามารถมีอาทิ ๒ องคุลี ๔ องคุลี ๘ องคุลี คืบ ศอก ภายในห้อง น้ำ

มุข บริเวณปราสาท สังฆาราม โคจรคามและชนบท หรือกำหนดแล้ว ๆ

พึงเจริญให้ยิ่งไปกว่านั้น. ภิกษุนั้นบรรลุอภิญญาอย่างนี้ แม้ไม่เข้าฌาน

อันเป็นบาทอีก ย่อมได้ยินเสียงที่ไปในภายในของโอกาสที่ถูกต้องด้วย

อารมณ์แห่งฌานเป็นบาท ด้วยอภิญญาญาณ. เมื่อได้ยินอย่างนี้หากว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 973

ได้มีโกลาหลเป็นอันเดียวกันด้วยเสียงสังข์ กลองและบัณเฑาะว์เป็นต้น

ตลอดถึงพรหมโลก. เพราะความเป็นผู้ใคร่เพื่อให้กำหนดเฉพาะอย่าง

เดียว ย่อมสามารถให้กำหนดว่า นี้เสียงสังข์. นี้เสียงกลอง. เมื่อได้

ยินเสียงมีประโยชน์ด้วยอภิญญาญาณ ภิกษุย่อมรู้อรรถด้วยกามาวจรจิต

ในภายหลัง. ทิพโสตย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้มีหูเป็นปกติ. มิได้เกิดแก่ภิกษุ

หูหนวก. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ในภายหลังเมื่อหูปกติ แม้เสื่อมไป

ทิพโสตก็ไม่เสื่อมไปด้วยดังนี้.

ในบทนี้ว่า โส ทิพฺพาย โสตธาตุยา - โสตธาตุอันเป็นทิพย์

มีความดังต่อไปนี้ . ชื่อว่า ทิพย์ เพราะเช่นกับทิพย์. ปสาทโสตธาตุ

เป็นทิพย์สามารถรับอารมณ์แม้ในที่ใกล้ เพราะพ้นจากอุปกิเลส ไม่

พัวพันด้วยดี เสมหะและเลือดเป็นต้น เพราะเทวดาทั้งหลายเกิดด้วย

กรรมอันสุจริต. ญาณโสตธาตุก็เช่นกัน. เกิดด้วยกำลังแห่งการเจริญ

ความเพียรของภิกษุนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิพย์ เพราะเป็นเช่น

กับทิพย์.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าทิพย์ เพราะได้ด้วยสามารถแห่งทิพวิหาร-

ธรรม. และเพราะอาศัยทิพวิหารธรรมด้วยตน. ชื่อว่าโสตธาตุ เพราะ

อรรถว่าฟัง และเพราะอรรถว่าไม่มีชีวะ. อนึ่ง เป็นดุจโสตธาตุด้วยทำ

กิจของโสตธาตุ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าโสตธาตุ. ด้วยโสตธาตุอัน

เป็นทิพย์นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 974

บทว่า วิสุทฺธาย คือ บริสุทธิ์ไม่มีอุปกิเลส.

บทว่า อติกฺกนฺตมานุสิกาย - ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วง

โสตของมนุษย์ คือ ด้วยทิพโสตอันล่วงอุปจารของมนุษย์ก้าวล่วง มังส-

โสตธาตุของมนุษย์ด้วยการฟังเสียง.

บทว่า อุโภ สทฺเท สุณาติ คือ ฟังเสียงสองอย่าง. เสียง

สองอย่าง คือ อะไร ? คือ ทั้งเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์. ท่านอธิบาย

ว่า เสียงของเทวดา และของมนุษย์. ด้วยบทนี้พึงทราบการถือเอาที่อยู่.

บทว่า เย ทูเร สนฺติเก จ - ทั้งในที่ไกลและในที่ใกล้ ท่าน

อธิบายว่า ย่อมได้ยินเสียงในที่ใกล้ แม้ในจักรวาลอื่น และในที่

ใกล้โดยที่สุด แม้เสียงสัตว์ที่อยู่ในกายของตน. ด้วยบทนี้พึงทราบการ

ถือเอาไม่มีที่อยู่ ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาโสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส

เจโตปริยญาณนิทเทส

[๒๕๕] ปัญญาในการกำหนดจริยา คือ วิญญาณหลายอย่าง

หรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท และด้วยสามารถ

ความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นเจโตปริยญาณอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 975

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วย

ฉันทะ และสังขารอันเป็นประธาน . . . ครั้นแล้วย่อมรู้อย่างนี้ว่า รูปนี้

เกิดขึ้นด้วยโสมนัสสินทรีย์ รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโทมนัสสินทรีย์ รูปนี้เกิด

ขึ้นด้วยอุเบกขินทรีย์ ภิกษุนั้นมีจิตอื่นอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์

ผ่องแผ้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจ

ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า จิตมีราคะ

หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่า จิตมี

โทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้

ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า จิตปราศจากโมหะ จิต

หดหู่ก็รู้ว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต

ก็รู้ว่า จิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต

จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้

ว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า จิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่

เป็นสมาธิก็รู้ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น หรือ

จิตไม่หลุดพ่นก็รู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น จิตน้อมไปก็รู้ว่า จิตน้อมไป หรือ

จิตไม่น้อมไปก็รู้ว่า จิตไม่น้อมไป.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดจริยา

วิญญาณหลายอย่าง หรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 976

และด้วยสามารถความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นเจโตปริยญาณ.

๕๒. อรรถกถาเจโตปริยญาณนิทเทส

[๒๕๕] พึงทราบวินิจฉัยในเจโตปริยญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้

บทว่า โส เอว ปชานาติ - ภิกษุนั้นย่อมรู้อย่างนี้ ความว่า

บัดนี้พระสารีบุตรเถระจะยกวิธีที่ควรกล่าวขึ้นแสดง.

บทมีอาทิว่า อิท รูป โสมนสฺสินฺทฺริยสมุฏฺิต - รูปนี้เกิด

ขึ้นด้วยโสมนัสสินทรีย์เป็นวิธีอันภิกษุผู้เพ่ง เป็นอาที่กรรมิกควรปฏิ-

บัติอย่างไร ? อันภิกษุผู้เพ่งประสงค์จะยังญาณนั้นให้เกิดขึ้น ควรให้

ทิพจักษุญาณเกิดก่อน. เพราะเจโตปริยญาณนั้นย่อมสำเร็จด้วยสามารถ

แห่งทิพจักษุ. ญาณนั้นเป็นบริกรรมของทิพจักษุนั้น. เพราะฉะนั้น

ภิกษุนั้นเจริญอาโลกกสิณเห็นสีของโลหิตอันเป็นไปอยู่ เพราะอาศัย

หทัยรูปของตนอื่นด้วยทิพจักษุจึงควรแสวงหาจิต. เพราะโลหิตนั้น

เมื่อกุศลโสนมนัสยังเป็นไปอยู่ ย่อมมีสีแดงคล้ายสีของลูกไทรสุก. เมื่อ

อกุศลโสมนัสยังเป็นไปอยู่ โลหิตนั้นย่อมมีสีขุ่นมัว. เมื่อโทมนัสยังเป็น

อยู่ ย่อมมีสีดำขุ่นมัวเหมือนสีลูกหว้าสุก. เมื่อกุศลอุเบกขายังเป็นไปอยู่

ย่อมมีสีใสเหมือนน้ำมันงา. เมื่ออกุศลอุเบกขายังเป็นไปอยู่ โลหิตนั้น

ย่อมขุ่นมัว. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเห็นสีโลหิตหทัยของคนอื่นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 977

รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโสมนัสสินทรีย์. รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโทมนัสสินทรีย์ รูปนี้

เกิดขึ้นด้วยอุเบกขินทรีย์ดังนี้ แล้วแสวงหาจิตควรทำเจโตปริยญาณให้มี

กำลัง. เพราะเมื่อเจโตปริยญาณนั้นมีกำลังอย่างนี้ ภิกษุย่อมรู้จิตอันมี

ประเภทเป็นกามาวจรเป็นต้น แม้ทั้งหมดโดยลำดับ ก้าวไปจากจิตสู่จิต

เว้นการเห็นรูป (สี) ของหทัย. แม้ในอรรถกถาท่านก็กล่าวไว้ว่า

ถามว่า ผู้ประสงค์จะรู้จิตของผู้อื่นในอรูปภพ

ย่อมเห็นหทัยรูปของใคร ? ย่อมแลดูความวิการ

แห่งอันทรีย์ของใคร ? ตอบว่าไม่แลดูของใคร ๆ

นี้เป็นวิสัยของผู้มีฤทธิ์ คือ ภิกษุคำนึงถึงจิตในที่

ไหน ๆ ย่อมรู้จิต ๑๖ ประเภท. ก็นี้เป็นกถาด้วย

อำนาจแห่งการไม่ทำความยึดมั่น .

บทว่า ปรสตฺตาน - แห่งสัตว์อื่น คือ แห่งสัตว์ที่เหลือเว้นตน.

บทว่า ปรปุคฺคลาน แห่งบุคคลอื่น แม้บทนี้ก็มีความอย่าง

เดียวกับบทว่า ปรสตฺตาน นี้ แต่ท่านกล่าวความต่างกันด้วยความ

ไพเราะแห่งเทศนา และด้วยพยัญชนะ ด้วยสามารถเวไนยสัตว์.

บทว่า เจตสา เจโต ปริจฺจ ปชานาติ - กำหนดรู้ใจด้วย

ใจ คือ กำหนดรู้ใจของสัตว์เหล่านั้น ด้วยใจของตนโดยประการต่าง ๆ

๑. วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ หน้า ๒๔๗ - ๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 978

ด้วยอำนาจจิตมีราคะเป็นต้น. วา ศัพท์ ในบทมีอาทิว่า สราค วา เป็น

สมุจจยัตถะ คือ อรรถว่ารวบรวม.

ในบทนั้น จิตสหรคตด้วยโลภะ ๘ อย่าง ชื่อว่าจิตมีราคะ.

กุศลจิตและอัพยากตจิตเป็นไปในภูมิ ที่เหลือชื่อว่าจิตปราศจากราคะ.

ส่วนจิต ๔ ดวงเหล่านี้ คือ จิตที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง

จิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ๒ ดวง ไม่สงเคราะห์เข้าในทุกะ

นี้. แต่พระเถระบางพวกสงเคราะห์จิตแม้เหล่านี้ ด้วยบทว่า วีตราค

- ปราศจากราคะ.

ส่วนจิตสหรคตด้วยโทมนัส ๒ อย่าง ชื่อว่าจิตมีโทสะ. กุศลจิต

และอัพยากตจิต เป็นไปในภูมิ ๔ แม้ทั้งหมด ชื่อว่าจิตปราศจากโทสะ.

อกุศลจิต ๑๐ ที่เหลือไม่สงเคราะห์เข้าในทุกะนี้. แต่พระเถระบางพวก

สงเคราะห์อกุศลจิตแม้เหล่านั้นด้วยบทว่า วีตโทส - ปราศจากโทสะ.

แต่ในบทนี้ว่า สโมห วีตโมห - จิตมีโมหะ จิตปราศจาก

โมหะ สองบทนี้สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ด้วยสามารถเป็น

เอกเหตุกะของโมหะ ชื่อว่าจิตมีโมหะ. อกุศลจิตแม้ ๑๒ อย่าง พึงทราบ

ว่า ชื่อว่าจิตมีโมหะ เพราะโมหะเกิดในอกุศลทั้งหมด. กุศลและอัพยากฤต

ที่เหลือเป็นจิตปราศจากโมหะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 979

ส่วนจิตที่เนื้อด้วยถีนมิทธะเป็นจิตหดหู่ จิตที่เนื่องด้วยอุท-

ธัจจะเป็นจิตฟุ้งซ่าน.

รูปาวจรจิตและอรูปาวจรจิต เป็นจิตมหรคต. จิตเป็นไปในภูมิ

๓ แม้ทั้งหมดเป็นจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า. โลกุตรจิตเป็นจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า

จิตที่ถึงอุปจาระและจิตถึงอัปปนา เป็นจิตมีสมาธิ. จิตที่ไม่ถึง

ทั้งสองอย่างนั้นเป็นจิตไม่มิสมาธิ.

จิตที่ถึงตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัส-

สัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ เป็นจิตพ้นแล้ว. จิตที่ไม่ถึงวิมุตติ ๕ นี้

พึงทราบว่า เป็นจิตยังไม่พ้นแล้ว.

ภิกษุผู้ได้เจโตปริยญาณ ย่อมรู้จิตแม้มีประเภท ๑๖ อย่าง

ปุถุชนทั้งหลายย่อมไม่รู้มรรคจิต และผลจิต ของพระอริยะ

ทั้งหลาย. แม้พระอริยะชั้นต่ำ ก็ไม่รู้มรรคจิต และผลจิต ของพระ-

อริยะชั้นสูง ๆ แต่พระอริยะชั้นสูง ๆ ย่อมรู้จิตของพระอริยะชั้นต่ำ ๆ ด้วย

ประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาเจโตปริยญาณนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 980

บุพเพนิวาสานุสติญาณนิทเทส

[๒๕๖] ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลาย อันเป็นไปตาม

ปัจจัยด้วยสามารถความแผ่ไปแห่งกรรมหลายอย่างหรืออย่างเดียว เป็น

บุพเพนิวาสานุสติญาณอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยสมาธิยิ่ง

ด้วยฉันทะและสังขารอันเป็นประธาน ฯลฯ ครั้นแล้วย่อมรู้ชัดอย่างนี้

ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็ย่อมมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น คือ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬา-

ยตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึง

มีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้ ภิกษุนั้นมีจิตอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว

ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสติญาณ เธอย่อมระลึกถึงชาติ

ก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติ

บ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 981

บ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสน

ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมาก

บ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในชาติโน้นเราได้มีชื่อ

อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น

ได้เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจาก

ชาตินั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนี้

มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ ได้เสวยสุขเสวย

ทุกข์อย่างนี้ ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านี้ ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มา

เกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ

พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยประการฉะนี้.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม

อันเป็นไปตามปัจจัย ด้วยสามารถการแผ่ไปแห่งกรรมหลายอย่างหรือ

อย่างเดียว เป็นบุพเพนิวาสานุสติญาณ.

๕๓. อรรถกถาบุพเพนิวาสานุสติญาณนิทเทส

[๒๕๖] พึงทราบวินิจฉัยในบุพเพนิวาสานุสติญาณนิทเทส ดัง

ต่อไปนี้. บทมีอาทิว่า เอว ปชานาติ - ภิกษุรู้ชัดอย่างนี้ พระสารี-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 982

บุตรเถระกล่าวเพื่อแสดงวิธีให้เกิดอิทธิบาทนั้น แก่ผู้ใคร่เพื่อยังบุพเพ-

นิวาสานุสติญาณให้เกิดแก่จิตที่อบรมแล้วในอิทธิบาท ๔.

จริงอยู่ ภิกษุครั้นเห็นปฏิจจสมุปบาทโดยลำดับแล้ว ย่อมเห็น

ความสังเขปแห่งผลอันเกิดขึ้นแล้ว กล่าวคือ วิญญาณ นามรูป สฬา-

ยตนะ ผัสสะ และเวทนา.

ย่อมเห็นความสังเขปแห่งเหตุ กล่าวคือ กรรม กิเลสในภพก่อน

อันเป็นปัจจัยแห่งความสังเขปของผลนั้น.

ย่อมเห็นความสังเขปแห่งผลในภพก่อนอันเป็นปัจจัยแห่งความ

สังเขปแห่งเหตุนั้น.

ย่อมเห็นความสังเขปแห่งเหตุในภพที่ ๓ อันเป็นปัจจัยแห่งความ

สังเขปแห่งผลนั้น.

ย่อมเห็นเบื้องหน้าของชาติ ด้วยการเห็นปฏิจจสมุปบาทอย่างนี้.

การมนสิการปฏิจจสมุปบาท มีอุปการะมากแก่บุพเพนิวาสานุสติญาณ

ด้วยประการฉะนี้.

ในบทเหล่านั้นบทนี้ว่า อิมสฺมึ สติ อท โหติ, อิมสฺสุปฺ-

ปาทา อิท อุปฺปชฺชติ - เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น

สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เป็นคำยกขึ้นขยายความของปฏิจจสมุปบาท. หากถามว่า

เมื่อสำเร็จความด้วยคำอย่างใดอย่างหนึ่งแห่งบทเหล่านั้น. เพราะเหตุไร

จึงกล่าวเป็น ๒ อย่าง. ตอบว่า เพราะมีความต่างกันโดยอรรถ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 983

บทว่า อิมสฺมึ สติ - เมื่อสิ่งนี้มี คือ เมื่อปัจจัยนี้มีอยู่. บทนี้

กล่าวทั่วไปของปัจจัยทั้งหมด.

บทนี้ว่า อิท โหติ - สิ่งนี้ย่อมมี คือ สิ่งนี้ย่อมเกิดขึ้นเพราะ

ปัจจัย. บทนี้กล่าวทั่วไปของสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยทั้งหมด. ด้วยคำ

ทั้งสิ้นนี้ อเหตุกวาทะเป็นอันท่านปฏิเสธแล้ว เพราะธรรมเหล่าใดเกิด

เพราะปัจจัย ไม่เกิดเพราะไม่มีปัจจัย ธรรมเหล่านั้นไม่ชื่อว่าอเหตุกะ-

บทว่า อิมสฺสุปฺปาท - เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น คือ เพราะเหตุ

ปัจจัยเกิดขึ้น. บทนี้เป็นคำกล่าวแสดงความต่างแห่งความเกิดขึ้นของ

ปัจจัยทั้งหมด.

บทนี้ว่า อท อุปฺปชฺชติ - สิ่งนี้ย่อมเกิดขึ้น คือ สิ่งนี้มีปัจจัย

เกิดขึ้นจึงเกิด. บทนี้กล่าวแสดงถึงความที่ปัจจัยทั้งหมดเกิดขึ้น จึงเกิด

ขึ้นต่อแต่นั้นไป. ด้วยคำทั้งสิ้นนี้ สัสสตวาทะและอเหตุกวาทะเป็นอัน

ท่านปฏิเสธแล้ว เพราะธรรมเหล่าใดมีเกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นไม่เที่ยง

เพราะฉะนั้น ท่านจึงอธิบายไว้ว่า เมื่อความที่ธรรมทั้งหลายมีเหตุมีอยู่

ธรรมเหล่านั้นมีความไม่เที่ยงเป็นเหตุ มิใช่มีบุรุษเป็นปกติเป็นต้นซึ่ง

สมมติว่าเที่ยงในโลกเป็นเหตุ.

บทว่า ยทิท เป็นคำชี้แจงอรรถที่ควรชี้แจง.

ในบทนี้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา - เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 984

จึงมีสังขาร มีอธิบายดังต่อไปนี้ ผลเกิดขึ้นเพราะอาศัยสิ่งใด สิ่งนั้น

ก็เป็นปัจจัย.

บทว่า ปฏิจฺจ - อาศัย คือ ไม่พราก. อธิบายว่า ไม่บอกคืน.

บทว่า เอติ คือ ย่อมเกิดขึ้นและย่อมเป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง

มีอรรถว่า เป็นอุปการะ เป็นปัจจัย. อวิชชานั้นด้วยเป็นปัจจัยด้วย เพราะ

เหตุนั้น ชื่อว่าอวิชชาเป็นปัจจัย. เพราะฉะนั้น ควรประกอบว่า

อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สมฺภวนฺติ - เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมี

สังขาร. พึงทำการประกอบ สมฺภวนฺติ ศัพท์ แม้ด้วยบทที่เหลือ.

อนึ่ง ในบทว่าโสกะเป็นต้น มีความดังต่อไปนี้. ความแห้งใจ

ชื่อว่า โสกะ. ความคร่ำครวญ ชื่อว่า ปริเทวะ. สิ่งที่สิ้นไปได้ยาก

ชื่อว่า ทุกขะ หรือสิ่งน่ากลัว ๒ อย่าง คือ ด้วยสามารถแห่งความ

เกิด และความตั้งอยู่ ชื่อว่า ทุกข์. ความเสียใจ ชื่อว่า โทมนัส.

ความแค้นใจยิ่ง ชื่อว่า อุปายาส.

ในบทนี้ว่า สมฺภวนฺติ - ย่อมมี คือ ย่อมเกิด.

บทว่า เอว เป็นบทแสดงนัยที่แสดงแล้ว. ด้วยบทนั้น พระ-

สารีบุตรเถระแสดงว่า ด้วยเหตุมีอวิชชาเป็นต้น. มิใช่ด้วยลัทธิทั้งหลาย

มีพระเจ้าสร้างขึ้นเป็นต้น.

บทว่า เอตสฺส คือ ตามที่กล่าวแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 985

บทว่า เกวลสฺส - ทั้งสิ้น คือ ไม่มีปน หรือสิ้นเชิง.

บทว่า ทุกฺขกฺขนฺธสฺส คือ กองทุกข์. มิใช่แห่งสัตว์ มิใช่

แห่งสุข และความงามเป็นต้น.

บทว่า สมุทโย คือ เกิด. บทว่า โหติ คือมี

ในบทเหล่านั้น อวิชชาเป็นอย่างไร ? คือ ความไม่รู้ทุกข์ ไม่

รู้ทุกขสมุทัย ไม่รู้ทุกขนิโวธ ไม่รู้ทุกุขนิโรธคามินีปฏิปทา ไม่รู้ที่

สุดเบื้องต้น ไม่รู้ที่สุดเบื้องปลาย ไม่รู้ทั้งที่สุดเบื้องต้นทั้งที่สุดเบื้อง

ปลาย ไม่รู้ในธรรมอันอาศัยกันเกิดขึ้น คือ อิทัปปัจจยตา - สิ่งนี้

เป็นปัจจัยของสิ่งนี้.

สังขารเป็นอย่างไร ? คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร

อาเนญชาภิสังขาร, กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร, กามาวจร-

กุศลเจตนา ๘ รูปาวจรกุศลเจตนา ๕ ชื่อว่าปุญญาภิสังขาร, อกุศล-

เจตนา ๑๒ ชื่อว่าอปุญญาภิสังขาร, อรูปาวจรกุศลเจตนา ๕ ชื่อว่า

อาเนญชาภิสังขาร. กายสัญเจตนา ชื่อว่ากายสังขาร. วจีสัญเจตนา

ชื่อว่าวจีสังขาร. มโนสัญเจตนา ชื่อว่าจิตตสังขาร.

ในข้อนั้นพึงมีคำถามว่า จะพึงรู้ข้อนั้นได้อย่างไรว่าสังขารเหล่านั้น

ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย. รู้ได้เพราะความมีอวิชชา. จริงอยู่

ความไม่รู้ กล่าวคือ อวิชชาในทุกข์เป็นต้น อันภิกษุใดละไม่ได้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 986

ภิกษุนั้นยึดถือสังขารทุกข์ด้วยสำคัญว่าเป็นสุขด้วยไม่รู้ในทุกข์ และในที่

สุดเบื้องต้นเป็นต้นมาก่อน แล้วปรารภสังขาร ๓ อย่างอันเป็นเขตุแห่ง

ทุกข์นั้น. ภิกษุสำคัญโดยเป็นเหตุแห่งสุขปรารภสังขารทั้งหลาย อัน

เป็นบริขารของตัณหา แม้เป็นเหตุแห่งทุกข์ด้วยไม่รู้ในสมุทัย.

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีความสำคัญในการดับทุกข์ อันเป็นคติวิเศษ

แม้มิใช่เป็นความดับทุกข์ด้วยไม่รู้ในนิโรธและมรรค และเป็นผู้มีความ

สำคัญในนิโรธและมรรคในยัญและตบะเพื่อความไม่ตายเป็นต้น แม้

มิใช่เป็นมรรคแห่งนิโรธ ปรารถนาความดับทุกข์ ย่อมปรารภสังขาร

ทั้งหลาย แม้ ๓ อย่าง โดยมียัญและตบะเพื่อความไม่ตายเป็นต้นเป็น

ประธาน.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้นไม่รู้ทุกข์ กล่าวคือ ผลบุญแม้เกลือกกลั้ว

ด้วยโทษไม่น้อยมีชาติ ชรา โรค มรณะเป็นต้น โดยวิเศษเพราะไม่รู้การ

ไม่ละในสัจจะ ๔ ด้วยอวิชชานั้น โดยความเป็นทุกข์ย่อมปรารภปุญญา-

ภิสังขารอันมีประเภทเป็นกายสังขาร วจีสังขารและจิตสังขาร เพื่อ

บรรลุทุกข์นั้น ดุจผู้ใคร่นางเทพอัปสรปรารภการเกิดเป็นเทวดา ฉะนั้น.

แม้ไม่เห็นความเป็นทุกข์ คือ ความแปรปรวนและความเป็นสิ่งมีความ

ชื่นชมน้อย อันเกิดจากความเร่าร้อนใหญ่หลวงในที่สุดแห่งผลบุญนั้น

แม้สมมติว่าเป็นความสุข ย่อมปรารภปุญญาภิสังขารมีประการดังกล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 987

แล้วอันมีทุกข์นั้นเป็นปัจจัย ดุจตั๊กแตนปรารภถึงการตกไปในเปลวไฟ

ฉะนั้น. และดุจบุคคลอยากหยาดน้ำผึ้ง ปรารภการเลียคมศัสตราอัน

ฉาบไว้ด้วยน้ำผึ้ง ฉะนั้น. ไม่เห็นโทษในทุกข์พร้อมวิบาก มีการเสพ

กามเป็นต้น ปรารภอปุญญาภิสังขารแม้เป็นไปในทวาร ๓ ด้วยความ

สำคัญว่าเป็นสุข และเพราะถูกกิเลสครอบงำ ดุจเด็กอ่อนปรารภการ

เล่นคูถ ฉะนั้น. และดุจคนอยากตายปรารภการกินยาพิษ ฉะนั้น.

ไม่รู้ความที่สังขารเป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวนในวิบากอันไม่มีรูป

ปรารภอาเนญชาภิสังขาร อันเป็นจิตตสังขารด้วยความเห็นผิดว่าเที่ยง

เป็นต้น ดุจคนหลงทิศปรารภการเดินทางมุ่งหน้าไปเมืองปีศาจฉะนั้น

เพราะความเป็นสังขารโดยมีอวิชชา มิใช่เพราะความไม่มี. ฉะนั้น

ควรรู้บทนี้ว่า อิเม สงฺขาร อวิชฺชาปจฺจยา โหนติ - สังขารเหล่านี้

มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

ในบทนี้พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ว่า เราจะถือเอาบทนี้ก่อนว่า

อวิชฺชา สงฺขาราน ปจฺจโย - อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารทั้งหลาย.

ก็อวิชชานี้อย่างเดียวเท่านั้นหรือเป็นปัจจัยแห่งสังขาร หรือว่า แม้

อย่างอื่นเป็นปัจจัยก็มี. อนึ่ง ผิว่า ในบทนี้ อวิชชาอย่างเดียวเท่านั้น

เป็นปัจจัย วาทะอันเป็นเหตุอย่างเดียว ย่อมมีหรือ. เมื่อเป็นเช่นนั้น

แม้อย่างอื่นก็ย่อมมี. การชี้แจงเหตุเดียวว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

จึงมีสังขารดังนี้จะไม่เกิดขึ้นได้. ไม่เกิด เพราะเหตุไร ? เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 988

เอก น เอกโต อิธ นาเนกมเนกโตปิ โน เอก

ผลมตฺถิ อตฺถิ ปน เอกเหตุผลทีปเน อตฺโถ.

ในโลกนี้ ผลอย่างเดียว ย่อมมีเพราะเหตุ

อย่างเดียวก็หาไม่ ผลหลายอย่าง ย่อมมีเพราะเหตุ

อย่างเดียวก็หาไม่ ผลอย่างเดียว ย่อมมีเหตุหลาย

อย่างก็หาไม่ แต่ประโยชน์ในการแสดงเหตุและผล

แต่ละอย่างมีอยู่.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเหตุและผลอย่างเดียวเท่า

นั้น โดยความสมควรแก่ความเหมาะสมแห่งเทศนา และแก่เวไนยสัตว์

เพราะเป็นประธานในที่ทุกแห่ง เพราะปรากฏในที่ทุกแห่ง. เพราะ

ทั่วไปในที่ทุกแห่ง. ฉะนั้น พึงทราบว่า อวิชชาในที่นี้ แม้เมื่อเป็น

เหตุแห่งสังขารอันมีวัตถุเป็นอารมณ์ และธรรมเกิดร่วมกันเป็นต้นเหล่า

อื่น ท่านก็แสดงโดยความเป็นเหตุแห่งสังขารทั้งหลาย เพราะความเป็น

ประธานในบทว่า อวิชชาเป็นเหตุแห่งเหตุของสังขารมีตัณหาเป็นต้น

แม้เหล่าอื่นเพราะบาลีว่า อสฺสาทานุปสฺสิโน ตณฺหา ปวฑฺฒติ

ตัณหาย่อมเจริญแก่ผู้เห็นความชื่นชม และว่า อวิชฺชา สมุทยา

อาสวสมุทโย- เพราะอวิชชาเป็นสมุทัย อาสวะจึงเกิด. เพราะ

๑. ส. นิ. ๑๖/๑๙๗. ๒. ม. มู. ๑๒/๑๓๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 989

ปรากฏในพระบาลีว่า อวิทฺวา ภิกฺขเว อวิชฺชาคโต ปุญฺาภิสงฺ-

ขารมฺปิ อภิสงฺขโรติ - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่รู้ไปสู่อวิชชา

ย่อมปรุงแต่ง แม้ปุญญาภิสังขาร และเพราะความไม่ทั่วไป. อนึ่ง

พึงทราบประโยชน์ ในการแสดงเหตุผลอย่างหนึ่ง ๆ ในที่ทั้งปวง ด้วย

การปกป้องการแสดงเหตุผลอย่างหนึ่ง ๆ นั้นนั่นแหละ.

ในบทนี้พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ความ

ที่อวิชชามีโทษเป็นผลไม่น่าปรารถณาโดยส่วนเดียวเป็นปัจจัยแห่งปุญญา.

ภิสังขารและอาเนญชาภิสังขารจะถูกต้องได้อย่างไร. เพราะอ้อยย่อมไม่

เกิดขึ้นจากพืชสะเดาได้. จักไม่ถูกต้องได้อย่างไร. เพราะในโลก

วิรุทฺโธ จาวิรุทฺโธ จ สทิสาสทิโส ตถา

ธมฺมาน ปจฺจโย สิทฺโธ วิปากา เอว เต จ น.

ธรรมทั้งหลายที่สำเร็จเป็นปัจจัยแล้ว ผิดฐานะ

กันก็มี เหมือนกันก็มี อนึ่ง เป็นเช่นเดียวกันและ

ไม่เป็นเช่นเดียวกันก็มี ธรรมเหล่านั้นหาใช่วิบาก

อย่างเดียวไม่.

ด้วยประการฉะนี้พึงทราบว่า อวิชชานี้จึงเป็นผลไม่น่าปรารถนา

โดยส่วนเดียวด้วยสามารถวิบาก. อวิชชาแม้มีโทษด้วยสามารถสภาวะ

ก็ยังเป็นปัจจัยด้วยสามารถเป็นปัจจัยแห่งความผิดและไม่ผิดโดยฐานะกิจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 990

และสภาวะตามสมควรแก่ปุญญาภิสังขารเป็นต้นเหล่านั้นทั้งหมด และ

ด้วยสามารถเป็นปัจจัยเหมือนกันและไม่เหมือนกัน.

อีกอย่างหนึ่ง

บุคคลใดหลงไปในสงสารอันมีจุติ และอุปบัติ

ในลักษณะแห่งสังขารทั้งหลาย และในธรรมอัน

อาศัยกันเกิดขึ้น.

บุคคลนั้นย่อมตกแต่งสังขาร ๓ อย่างเหล่านั้น

เพราะอวิชชานี้เป็นปัจจัยแห่งสังขาร ๓ เหล่านั้น.

เหมือนคนตาบอดแต่กำเนิดไม่มีผู้นำไป บาง

ครั้งก็ไปถูกทาง บางครั้งก็ไปนอกทางฉันใด.

คนพาล เมื่อท่องเที่ยวไปในสงสารไม่มีผู้แนะ-

นำ ก็ฉันนั้น. บางครั้งก็ทำบุญ บางครั้งก็ทำบาป.

เมื่อใดคนนั้นรู้ธรรมแล้วตรัสรู้อริยสัจ เมื่อนั้น

จัดเที่ยวไปอย่างผู้สงบ เพราะอวิชชาสงบ.

บทว่า สงฺขารปจฺจยา วิญฺาณ - เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึง

มีวิญญาณ ความว่า กองวิญญาณมี ๖ คือ จักขุวิญญาณ ๑ โสต-

วิญญาณ ๑ ฆานวิญญาณ ๖ ชิวหาวิญญาณ ๑ กายวิญญาณ ๑ มโน-

วิญญาณ ๑ ในวิญญาณเหล่านั้น จักขุวิญญาณมี ๒ อย่าง คือ กุศล-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 991

วิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑. โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ

กายวิญญาณก็เหมือนกัน. มโนวิญญาณมี ๒๒ คือ วิบากมโนธาตุ ๒.

อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๓. สเหตุกวิบากจิต ๘. รูปาวจรวิบากจิต ๕.

อรูปาวจรวิบากจิต ๔. วิญญาณทั้งหมดเป็นโลกิยวิบากวิญญาณ ๓๒ ด้วย

ประการฉะนี้.

ในข้อนั้นพึงมีคำถามว่า จะพึงรู้ได้อย่างไรว่าวิญญาณมีประการ

ดังกล่าวนี้ มีเพราะสังขารเป็นปัจจัย. เพราะไม่มีวิบากในความที่ไม่ได้

สะสมกรรมไว้. จริงอยู่ วิบากนี้ย่อมไม่เกิดในเพราะความไม่มีกรรมที่

สะสมไว้. ผิว่า พึงเกิด. วิบากทั้งหมดของกรรมทั้งปวงพึงเกิด. แต่วิบาก

ทั้งปวงไม่เกิด เพราะฉะนั้น พึงรู้ข้อนี้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย

วิญญาณจึงมี.

จริงอยู่ วิญญาณนี้ทั้งหมดย่อมเป็นไป ๒ ส่วน ด้วยสามารถ

ปฏิสนธิที่เป็นไป. ในวิญญาณนั้น วิญญาณ ๑๓ เหล่านี้ คือ วิญญาณ

๕ อย่างละ ๒ มโนธาตุ ๒ เหตุกมโนวิญญาณธาตุ สหรคตด้วยโสม-

นัส ๑. ย่อมเป็นไปในความเป็นไปในปัญจโวการภพ. วิญญาณ ๑๙ ที่

เหลือย่อมเป็นไปในปวัตติกาลบ้าง ในปฏิสนธิบ้างตามสมควรในภพ ๓.

ลทฺธปฺปจฺจยมิติ ธมฺม - มตฺตเมต ภวนฺตรมุเปติ

นาสฺส ตโต สงฺกนฺติ น ตโต เหตุ วินา โหติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 992

วิญาณนี้เป็นเพียงธรรมได้ปัจจัยแล้ว ย่อม

เข้าถึงภพอื่นด้วยประการฉะนี้ ความเคลื่อนไปจาก

ภพ ย่อมไม่มีแก่วิญญาณนั้น วิญญาณเว้นเหตุจาก

ภพนั้นก็มีไม่ได้.

ท่านอธิบายว่า วิญญาณนี้เกิดขึ้นเพียงอาศัยรูปธรรมและอรูป-

ธรรมเป็นปัจจัยอันได้แล้ว ย่อมเข้าถึงภพอื่น มิใช่สัตว์ มิใช่ชีวะด้วย

ประการฉะนี้ อนึ่ง ความเคลื่อนจากภพในอดีตมาในภพนี้ของวิญญาณ

นั้นก็ไม่มี ความปรากฏของวิญญาณในโลกนี้ เว้นเหตุจากภพอดีตก็มี

ไม่ได้. อนึ่ง ในบทนี้ท่านกล่าวว่า การจุติโดยการเคลื่อนไปมีก่อน.

การปฏิสนธิโดยการสืบต่อระหว่างภพเป็นต้น มีภายหลัง.

ในบทนี้พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ว่า เมื่อมีความไม่เคลื่อนไป

ปรากฏอย่างนี้ จะพึงมีผลของสิ่งอื่นโดยความเป็นอื่น เพราะขันธ์ใน

อัตภาพมนุษย์นี้ดับไป เพราะกรรมอันเป็นปัจจัยของผลไม่ไปในวิญ-

ญาณนั้น มิใช่หรือ. อนึ่ง เมื่อไม่มีผู้เสพ ผลจะพึงมีแก่ใครเล่า.

เพราะฉะนั้น วิธีนี้จึงไม่งาม.

ท่านกล่าวไว้ในบทนี้ว่า

สนฺตาเน ย ผล เอต นาญฺสฺส น จ อญฺโต

พีชาน อภิสงฺขาโร เอตสฺสตฺถสฺส สาธโก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 993

ผลใดในสันดาน ผลนี้มิใช่ของกรรมอื่น

และไม่มีแต่กรรมอัน การปรุงแต่งพืชทั้งหลายเป็น

ข้อพิสูจน์เนื้อความนี้.

ผลสฺสุปฺปติยา เอว สิทฺธา ภุญฺชกสมฺมติ

ผลุปฺปาเทน รุกฺขสฺส ยถา ผลติสมฺมติ.

สมมติว่า บุคคลผู้เสวยสำเร็จ เพราะความ

เกิดขึ้นแห่งผล ก็เหมือนกับสมมติว่า ต้นไม้ย่อม

ผลิผล เพราะความเกิดขึ้นแห่งผล.

แม้ผู้ใดพึงกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ สังขารเหล่านี้มีอยู่ก็ตาม

ไม่มีอยู่ก็ตาม พึงเป็นปัจจัยแก่ผล. อนึ่ง ผิว่า มีอยู่ในขณะเป็นไป

นั่นแหละ ก็พึงเป็นวิบากแห่งสังขารเหล่านั้น. ครั้นไม่มีอยู่ สังขาร

ทั้งหลาย พึงนำมาซึ่งผลเป็นนิจทั้งก่อนและหลังจากความเป็นไป. ปัญหา

กรรมนั้นพึงตอบกะผู้นั้นอย่างนี้ว่า

กฏตฺตา ปจฺจยา เอเต น จ นิจฺจผลาวหา

ปาฏิโภคาทิก ตตฺถ เวทิตพฺพ นิทสฺสน.

สังขารเหล่านี้เป็นปัจจัยเพราะกระทำ มิใช่

นำมาซึ่งผลเป็นนิจเลย ในเรื่องนั้น พึงทราบเรื่อง

นายประกันเป็นต้น เป็นตัวอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 994

บทว่า วิญฺาณปจฺจยา นามรูป - เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

จึงมีนามรูป ความว่า เวทนา สัญญา สังขาร เป็นนาม. มหาภูต

รูป ๔ และรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูป. ธรรม ๒๓ เหล่านี้ได้

รูป ๒๐ คือ วัตถุทสกะ กายทสกะ ในขณะแห่งปฏิสนธิของสัตว์

ผู้เกิดในครรภ์ ผู้ไม่มีภาวะ กับสัตว์ผู้เกิดในไข่ และอรูปขันธ์ ๓

พึงทราบว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป. เพิ่มภาวทสกะ

แห่งสัตว์ผู้มีภาวรูป จึงเป็นธรรม ๓๓.

ธรรม ๔๒ เหล่านี้ คือ รูป ๓๙ คือ จักขุทสกะ โสตทสกะ

วัตถุทสกะ และชีวิตินทริยนวกะ ในขณะแห่งปฏิสนธิของพรหมกายิกา

คือเทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหมเป็นต้น ในบรรดาสัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะ

ทั้งหลาย และอรูปขันธ์ ๓. พึงทราบว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมี

นามรูป.

อนึ่ง ในกามภพธรรม ๗๓ เหลานี้ คือ รูป ๗๐ ได้แก่ จักขุ-

ทสกะ โสตทสกะ ฆานทสกะ ชิวหาทสกะ กายทสกะ วัตถุทสกะ

ภาวทสกะ ในขณะปฏิสนธิของโอปปาติกะก็ดี สังเสทชะก็ดี ซึ่งมี

อายตนะบริบูรณ์ตามสภาพ. และอรูปขันธ์ ๓. ชื่อว่า เพราะวิญญาณ

เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป. นี้เป็นความยอดเยี่ยม. แต่โดยความย่อหย่อน

๑. อรูปขันธ์ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 995

พึงทราบกำหนดนามรูป เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยในปฏิสนธิเพราะ

ลดลง ๆ ด้วยสามารถแห่งความไม่ปกติของทสกะนั้น ๆ แห่งนามรูป

นั้น ๆ. อรูปขันธ์ ๓ ของธรรมไม่มีรูป. ชีวิตนทริยนวกะนั่นแหละ

โดยเป็นรูปของธรรมไม่มีสัญญา. ในปฏิสนธิก็มีนัยนี้.

ในบทนั้น พึงมีคำถามว่า ข้อนั้นจะพึงรู้ได้อย่างไร ? ปฏิสนธิ

นามรูป มีวิญาณเป็นปัจจัยหรือ. ตอบว่า รู้ได้โดยสูตรและโดยยุกติ-

ความชอบด้วยเหตุผล. เพราะในสูตร ความที่เวทนาเป็นต้น มีวิญญาณ

เป็นปัจจัย เป็นที่รับรองกันโดยส่วนมากตามนัยมีอาทิว่า ธรรมทั้งหลาย

หมุนเวียนไปตามจิต แต่โดยยุกติว่า

จิตฺตเชน หิ รูเปน อิธ ทิฏฺเน สิชฺฌติ

อทิฏฺสฺสาปิ รูปสิส วิญฺาณ ปจฺจโย อิติ.

ความจริง วิญญาณย่อมสำเร็จด้วยรูป อัน

เกิดแต่จิตเห็นแล้ว ในที่นี้ วิญญาณเป็นปัจจัยแก่

รูปแม้ที่ไม่เห็น.

บทว่า นามรูปปจฺจยา สฬายตน - เพราะนามรูปเป็นปัจจัย

จึงมีสฬายตนะ นามได้กล่าวแล้ว. แต่รูปในที่นี้ โดยนิยมมี ๑๑ อย่าง

คือ มหาภูตรูป ๔ วัตถุ ๖ ชีวิตินทรีย์ ๑. อายตนะ ๖ คือ จักขา-

๑. อภิ. ส. ๓๔/๙๕๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 996

ยตนะ ๑ โสตายตนะ ๑ ฆานายตนะ ๑ ชิวหายตนะ ๑ กายายตนะ ๑

มนายตนะ ๑.

ในบทนั้น พึงมีคำถามว่า ข้อนั้นจะพึงรู้ได้อย่างไรว่า นามรูป

เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ. ตอบว่า รู้ได้เพราะมีในความเป็นนามรูป.

จริงอยู่ อายตนะนั้น ๆ ย่อมมีในความเป็นแห่งนามและรูปนั้น ๆ. มิใช่

มีในที่อื่น.

บทว่า สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส - เพราะมีสฬายตนะเป็น

ปัจจัย จึงมีผัสสะ ความว่า

ผัสสะอย่างสังเขปมี ๖ อย่าง มีจักขุสัมผัส

เป็นต้น. โดยพิสดารมี ๓๒ อย่าง ดุจวิญญาณ.

บทว่า ผสฺสปจฺจยา เวทนา - เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี

เวทนา ความว่า

ท่านกล่าวเวทนา มีจักขุสัมผัสสชาเวทนา

เป็นต้นโดยทวาร เวทนาเหล่านั้นโดยประเภทมี ๖

แต่ในที่นี้เวทนา มี ๓๒.

บทว่า เวทนาปจฺจยา ตณฺหา - เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึง

มีตัณหา ความว่า

ในที่นี้ ท่านแสดงตัณหา ๖ อย่าง โดย

พระเภท มีรูปตัณหาเป็นต้น ตัณหาอย่างหนึ่ง ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 997

รู้กันว่ามี ๓ อย่าง โดยอาการที่เป็นไปในเวทนา

นั้น.

ผู้มีทุกข์ย่อมปรารถนาสุข ผู้มีสุขย่อม

ปรารถนาให้ยิ่ง ๆ ไป แต่อุเบกขาเป็นสุขอย่างเดียว

เพราะสงบ.

เพราะฉะนั้น ห เวทนา ๓ อย่าง เป็นปัจจัย

แก่ตัณหา พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงคุณใหญ่

จึงตรัสว่า เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา.

บทว่า ตณฺหาปจฺจยา อุปาทาน เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย

จึงมีอุปาทาน ความว่า อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ๑ ทิฏฐุปาทาน ๑

สีลัพพตุปาทาน ๑ อัตตวาทุปาทาน ๑.

บทว่า อุปาทานปจฺจยา ภโว - เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึง

มีภพ. ในที่นี้ท่านประสงค์เอากรรมภพ. แต่ท่านกล่าวอุปปัตติภพ

ด้วยการมุ่งถึงศัพท์.

บทว่า ภวปจฺจย ชาติ - เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ คือ

ความปรากฏแห่งปฏิสนธิขันธ์ เพราะมีกรรมภพเป็นปัจจัย.

ในบทนั้น หากจะพึงมีคำถามว่า ข้อนั้นจะพึงรู้ได้อย่างไรเล่า

ว่า ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ. ตอบว่า รู้ได้ เพราะแสดงถึงความต่างกัน

มีเลวและประณีตเป็นต้น แม้ในความเสมอกันโดยปัจจัยภายนอก ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 998

ก็แสดงความต่างกันมีเลวและประณีตเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลายตั้ง ๑๐๐ คู่

แม้ในความเสมอกันแห่งปัจจัยภายนอก มีบิดามารดา เลือดขาว และ

อาหารเป็นต้น. ความต่างกันนั้นมิใช่เป็นอเหตุกะ เพราะไม่มีในกาล

ทั้งปวงและแก่สัตว์ทั้งปวง. มิใช่เหตุอื่นจากกรรมภพ เพราะไม่มีเหตุ

อื่นในสันดานภายในของสัตว์ผู้เกิดในกรรมภพนั้น เพราะเหตุนั้น จึง

ชื่อว่า มีกรรมภพเป็นเหตุ. จริงอยู่ กรรมเป็นเหตุแห่งความแปลกกัน

มีความเลวและประณีตเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลาย.

ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า กมฺม สตฺเต

วิภชติ ยทิท หีนปฺปณีตตาย - กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลาย

คือ เพราะความเลวและประณีต.

ในบทมีอาทิว่า ชาติปจฺจยา ชรามรณ - เพราะมีชาติเป็นปัจจัย

จึงมีชราและมรณะ มีอธิบายดังต่อไปนี้ พึงทราบว่า เพราะเมื่อไม่มี

ชาติ ชรามรณะ หรือว่าธรรมมีโสกะเป็นต้น ก็ไม่มี. แต่เมื่อมีชาติ

ชรามรณะและธรรมทั้งหลายมีโสกะเป็นต้น อันเกี่ยวเนื่องกับชรามรณะ

ของคนพาลผู้ถูกทุกขธรรม กล่าวคือ ชรามรณะถูกต้องแล้ว หรือไม่

เกี่ยวเนื่องของตนพาลผู้ถูกทุกขธรรมนั้น ๆ ถูกต้องแล้ว ก็มี. ฉะนั้น ชาติ

นี้จึงเป็นปัจจัยแห่งชรามรณะแห่งโสกะเป็นต้น.

๑. ม. อุ. ๑๔/๕๙๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 999

ในบทมีอาทิว่า โส ตถา ภาวิเตน จิตฺเตน - ภิกษุนั้นมีจิต

อบรมแล้วอย่างนั้น พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ บทว่า ปุพฺเพนิวา-

สานุสฺสติาณาย ท่านอธิบายว่า เพื่อบรรลุญาณนั้น คือ ถึง.

บทว่า อเนกวิหิต คือ หลายอย่าง. หลายประการ. หรือเป็นไปแล้ว

พรรณนาแล้ว โดยประการไม่น้อย.

บทว่า ปุพฺพนิวาส - ชาติก่อน คือ สันดานที่อยู่ในชาตินั้น ๆ

ทำภพในอดีตที่ใกล้ที่สุดให้เป็นเบื้องต้น. บทว่า อนุสฺสรติ - ย่อมระลึก

ตามไป ๆ ด้วยสามารถลำดับขันธ์ หรือด้วยสามารถจุติปฏิสนธิ. จริง

อยู่ ชนทั้ง ๖ คือ เดียรถีย์ ๑. สาวกธรรมดา ๑. มหาสาวก ๑.

อัตรสาวก ๑. พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑. พระพุทธเจ้า ๑ ย่อมระลึก

ถึงชาติก่อนนี้ได้.

ในชนเหล่านั้น เดียรถีย์ทั้งหลาย ย่อมระลึกได้ ๔๐ กัป.

ไม่ยิ่งไปกว่านั้น. เพราะเหตุไร เพราะเดียรถีย์มีปัญญาอ่อน. จริงอยู่

ปัญญาของเดียรถีย์เหล่านั้น อ่อนเพราะไม่มีการกำหนดนามรูป.

สาวกธรรมดา ย่อมระลึกได้ ๑๐๐ กัปบ้าง ๑,๐๐๐ กัปบ้าง

เพราะมีปัญญาแก่กล้า. มหาสาวก ๘๐ รูป ระลึกได้ แสนกัป.

อัครสาวก ทั้งสองระลึกได้ อสงไขยหนึ่ง กับแสนกัป. พระปัจเจก-

พุทธเจ้า ระลึกได้ สองอสงไขย กับแสนกัป. เพราะอภินิหารของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1000

พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น มีประมาณเพียงนี้. แต่ พระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ระลึกได้ ไม่มีกำหนด.

อนึ่ง เดียรถีย์ทั้งหลาย ระลึกได้ลำดับขันธ์เท่านั้น พ้นลำดับ

ไปแล้วไม่สามารถระลึกถึงจุติและปฏิสนธิได้. เดียรถีย์เหล่านั้นระลึกได้

ไม่พ้นลำดับขันธ์ เหมือนคนตาบอดไม่ปล่อยไม้เท้าเดินไปฉะนั้น.

สาวกธรรมดา ระลึกได้แม้ตามลำดับขันธ์ ย่อมก้าวไปถึงจุติ

ปฏิสนธิ. มหาสาวก ๘๐ รูป ก็อย่างนั้น. ส่วน อัครสาวกทั้งสอง

ไม่มีกิจต้องระลึกตามลำดับขันธ์ คือ เห็นจุติของอัตภาพหนึ่งแล้ว

แล้วย่อมเห็นปฏิสนธิด้วย ย่อมก้าวเลยไปถึงจุติและปฏิสนธิอย่างนี้ คือ

ครั้นเห็นจุติของคนอื่นอีก ก็ย่อมเห็นปฏิสนธิด้วย. พระปัจเจกพุทธ-

เจ้า ก็เหมือนกัน. ส่วน พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีกิจต้องระลึก

ตามลำดับขันธ์ ไม่มีกิจต้องระลึกก้าวไปถึงจุติปฏิสนธิ เพราะว่า พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายทรงปรารถนาฐานะใด ๆ ข้างล่าง คือ ล่วงแล้วก็ดี

ข้างบน คือ อนาคตก็ดี ในโกฏิกัปไม่น้อยฐานะนั้นๆ ย่อมปรากฏ

ได้ทีเดียว. เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงย่อโกฏิกัปแม้ไม่

น้อย แล้วปรารถนาฐานะใด ๆ ทรงก้าวเข้าไปในฐานะนั้น ๆ ด้วย

สามารถแห่งการก้าวไปของพระพุทธเจ้าผู้สีหะ. ญาณของพระพุทธเจ้า

เหล่านั้นไปอยู่อย่างนี้ ไม่ติดขัดในชาติในระหว่าง ๆ ย่อมถือเอาฐานะ

ที่ปรารถนาแล้ว ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1001

ก็บรรดาชนทั้ง ๖ เหล่านี้ระลึกถึงชาติก่อนอยู่ การเห็นชาติ

ก่อนของพวกเดียรถีย์ ย่อมปรากฏเช่นกับแสงหิงห้อย. ของสาวก

ธรรมดาเช่นกับแสงประทีป. ของมหาสาวกเช่นกับแสงคบเพลิง. ของ

พระอัครสาวกเช่นกับรัศมีดาวประกายพรึก. ของพระปัจเจกพุทธเจ้า

เช่นกับรัศมีพระจันทร์. ของพระพุทธเจ้า ย่อมปรากฏเช่นกับมณฑล

พระอาทิตย์ในสรทกาลประดับด้วยรัศมีพันดวง.

การระลึกถึงชาติก่อนของเดียรถีย์ ดุจคนตาบอดเดินไปด้วย

ปลายไม้เท้า. ของสาวกธรรมดา ดุจเดินไปตามสะพานด้วยไม้เท้า. ของ

พระมหาสาวก ดุจเดินไปตามสะพานด้วยลำแข้ง. ของพระอัครสาวก

ดุจเดินไปตามสะพานเกวียน. ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ดุจเดินไปตาม

ทางด้วยกำลังแข้ง. ของพระพุทธเจ้า ดุจเดินไปตามทางเกวียนใหญ่.

ก็ในอธิการนี้ ท่านประสงค์เอาการระลึกถึงชาติก่อนของพระสาวก

ทั้งหลาย.

เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้เป็นอาทิกรรมิกะประสงค์ระลึกถึงอย่างนี้

กลับจากบิณฑบาตฉันอาหารแล้ว ไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ เข้าฌาน ๔

ตามลำดับ ครั้นออกจากจตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา พิจารณา

ปฏิจจสมุปบาทโดยนัยดังกล่าวแล้ว ควรนั่งพิจารณาข้างหลังภิกษุทั้ง

หมด. จากนั้นควรคำนึงถึงกิจที่ทำตลอดคืนวันทั้งสิ้นตามลำดับ โดย

๑. ฤดูใบไม้ร่วง หรือฤดูสารท คือเทศกาลทำบุญเดือนสิบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1002

ทบทวนอย่างนี้ คือ ปูอาสนะเข้าไปยังเสนาสนะ เก็บบาตรจีวร เวลา

ฉัน เวลานาจากบ้าน เวลาเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้าน เวลาเข้าไปสู่บ้าน

เพื่อบิณฑบาต เวลาออกจากวัด เวลาไหว้พระเจดีย์และต้นโพธิ เวลา

ล้างบาตร เวลารับบาตร กระทำกิจตั้งแต่รับบาตรจนถึงล้างบาตร ทำกิจ

ในเวลาใกล้รุ่ง ทำกิจในมัชฌิมยาม ในปฐมยามะ กิจประมาณเท่านี้

ย่อมปรากฏแม้แก่จิตปกติ.

ส่วนจิตในบริกรรมสมาธิ ย่อมปรากฏยิ่งขึ้นไป หากไม่มีอะไร ๆ

ปรากฏในจิตนี้ ควรเข้าฌานเป็นบาทอีก ครั้นออกแล้วจึงควรคำนึงถึง

ด้วยเหตุนี้ จิตจะปรากฏดุจในประทีปที่สว่างไสว. ควรคำนึงถึงกิจที่ทำ

ในวันทีสองบ้าง ในวันที่สาม ที่สี่ ที่ห้าบ้าง ในสิบวันบ้าง ในกึ่งเดือน

บ้าง ในเดือนหนึ่งบ้าง ในปีหนึ่งบ้าง ตามลำดับ การทบทวนอย่างนี้

นั่นแหละ. โดยอุบายนี้ คำนึงถึงตลอดปฏิสนธิของตนในภพนี้ คือ

สิบปี ยี่สิบปี พึงคำนึงถึงนามรูปอันเป็นไปในขณะจุติในภพก่อน

จริงอยู่ ภิกษุผู้ฉลาด ครั้นเพิกถอนปฏิสนธิในวาระที่หนึ่งได้แล้ว

ย่อมพอที่จะทำนามรูปให้เป็นอารมณ์. เพราะนามรูปในภพก่อนดับไม่

เหลือ. ในภพนี้นามรูปอื่นเกิด. ฉะนั้น ฐานะนั้นจึงเป็นดุจทางปิด

มืดสนิท ที่คนปัญญาทรามเห็นได้ยาก. แม้ด้วยเหตุนั้นก็ไม่ควรทอด

ธุระว่า เราไม่อาจจะเพิกถอนปฏิสนธิ แล้วท่านามรูปให้เป็นอารมณ์ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1003

ขณะจุติได้. ควรเข้าฌานอันเป็นบาทนั้นแหละบ่อย ๆ ครั้นออกจาก

ฌานแล้ว ควรคำนึงถึงฐานะนั้น ๆ.

เพราะเมื่อภิกษุทำอยู่อย่างนี้ ครั้นออกจากฌานอันเป็นบาทแล้ว

ไม่คำนึงถึงฐานะที่คำนึงถึงในกาลก่อน คำนึงถึงปฏิสนธิเท่านั้น เพิก

ถอนปฏิสนธิโดยไม่ชักช้าเพื่อทำนามรูป ในขณะจุติได้เป็นอารมณ์.

เหมือนอย่างบุรุษผู้มีกำลังตัดต้นไม้ใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่ชื่อฟ้าเรือน

ยอด แม้ไม่สามารถจะตัดต้นไม้ใหญ่ด้วยคมขวานอันทื่อ โดยเพียง

ตัดกิ่งและใบเท่านั้น อย่าทอดธุระควรไปโรงช่างเหล็กให้ลับขวานให้คม

แล้วกลับมาตัดใหม่. เมื่อขวานไม่คมอีก ก็ควรให้ช่างเหล็กลับอีกแล้ว

พึงตัด. บุรุษนั้นเมื่อตัดอยู่อย่างนี้ ในไม่ช้าก็จะโคนต้นไม้ใหญ่ลงได้

เพราะเมื่อตัดได้แล้ว ๆ ก็ไม่มีต้นไม้ควรตัดอีก และเพราะต้นไม้ที่จะ

ตัดไม่มีแล้ว ฉะนั้น. ญาณที่เป็นไปเพราะทำนามรูปให้เป็นอารมณ์ตั้งแต่

การนั่งลงครั้งสุดท้ายจนถึงปฏิสนธิ ไม่ชื่อว่าบุพเพนิวาสญาณ แต่ญาณ

นั้นชื่อว่า บริกรรมสมาธิญาณ. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ญาณนี้เป็น

อตีตังสญาณบ้าง. คำนั้นหมายถึงรูปาวจร เพราะอตีตังสญาณเป็นนรูปา-

วจร จึงไม่ถูก. ก็ในกาลใดมโนทวาราวัชชนะก้าวล่วงปฏิสนธิของภิกษุ

นั้นแล้ว ทำนามรูปอันเป็นไปแล้วในขณะจุติให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว

อัปปนาจิตย่อมเกิดขึ้นโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในตอนก่อน. ในกาลนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1004

ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้นของภิกษุนั้น ชื่อว่า บุพเพนิวาสานุสติญาณ.

ภิกษุย่อมระลึกถึงชาติก่อน ด้วยสติอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺยถีท เป็นนิบาตลงในอรรถแสดง

ถึงชนิดที่ปรารภแล้ว. พระสารีบุตรเถระ. เมื่อจะแสดงประเภทแห่ง

ชนิดของบุพเพนิวาสนั้น จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เอกมฺปิ ชาตึ - ชาติ

หนึ่งบ้าง คือ ขันธสันดานอันเนื่องในภพหนึ่ง มีปฏิสนธิเป็นมูล มี

จุติเป็นปริโยสาน. ในบทมีอาทิว่า เทฺวปิ ชาติโย - สองชาติบ้าง มี

นัยนี้.

ในบทมีอาทิว่า อเนเกปิ สวฏฏฺกปฺเป - ตลอดสังวัฏฏกัปเป็น

อันมาก มีอธิบายดังต่อไปนี้. กัปเสื่อม ชื่อว่า สังวัฏฏกัป เพราะ

ในครั้งนั้นสัตว์ทั้งปวงประชุมกันในพรหมโลก. กัปเจริญ ชื่อว่า

วิวัฏฏกัป เพราะในครั้งนั้นสัตว์ทั้งหลายออกจากพรหมโลก เป็นอัน

ท่านถือเอาการตั้งอยู่ในสังวัฏฏะ ด้วยสังวัฏฏะ และการตั้งอยู่ใน

วิวัฏฏะ ด้วยวิวัฏฏะ ในพรหมโลกนั้น เพราะมีพรหมโลกนั้นเป็นมูล.

จริงอยู่. เมื่อเป็นอย่างนี้ ย่อมเป็นอันท่านกำหนดอสงไขย ๔ ดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งมี ๔ อสงไขย

๔ อสงไขย เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน

กาลใด กัปเสื่อม. ตลอดกาลนั้นไม่ง่ายเพื่อจะนับ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1005

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด สังวัฏฏกัปตั้งอยู่

ฯลฯ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด กัปเจริญ

ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด วิวัฏฏกัป

ตั้งอยู่. ตลอดกาลนั้น ไม่ง่ายนักที่จะนับ.

ในกัปเหล่านั้น สังวัฎฏกัป มี ๓ คือ เตโชสังวัฏฏะ ๑

อาโปสังวัฏฏะ ๑ วาโยสังวัฏฏะ ๑. สังวัฏฏสีมา - เขตของสังวัฏฏะ

มี ๓ คือ อาภัสสรา ๑ สุภกิณหา ๑ เวหัปผลา ๑. เมื่อใดกัปเสื่อม

เพราะไฟ ถูกไฟไหม้ถึงในเบื้องล่างแห่งอาภัสสรา. เมื่อใดกัปเสื่อม

เพราะน้ำ ถูกน้ำท่วมละลายไปถึงเบื้องล่างแห่งสุภกิณหา. เมื่อใดกัป

เสื่อม เพราะลม ถูกลมพัดกระหน่ำถึงในเบื้องล่างแห่งเวหัปผลา. ก็

โดยส่วนกว้างในกาลนั้น พุทธเขตหนึ่งก็ย่อมพินาศไปด้วย.

พุทธเขตม ๓ คือ

ชาติเขต ๑.

อาณาเขต ๑.

วิสัยเขต ๑.

ในเขต ๓ เหล่านั้น เขตที่หวั่นไหวในการถือปฏิสนธิเป็นต้น

ของพระตถาคตมีหมื่นจักรวาฬเป็นที่สุด ชื่อว่า ชาติเขต.

๑. องฺ. จตุกกฺ ๒๑/๑๕๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1006

อานุภาพของพระปริตรเหล่านี้ คือ รตนปริตร ขันธปริตร

ธชัคคปริตร อาฏานาฏิยปริตร โมรปริตร ย่อมเป็นไปในเขตที่มี

แสนโกฏิจักรวาลเป็นที่สุด ชื่อว่า อาณาเขต.

เขตที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ยาวตา วา ปน อากงฺเขยฺย

หรือว่าพระตถาคตพึงหวังโดยประมาณเพียงใดอันหาประมาณที่สุด

มิได้ ชื่อว่า วิสัยเขต. พระตถาคตย่อมทรงทราบเขตที่ทรงหวัง.

ในพุทธเขต ๓ อย่างเหล่านี้ อาณาเขตหนึ่งย่อมพินาศไป. เมื่ออาณาเขต

นั้นพินาศไป ชาติเขตก็พินาศไปด้วย. เมื่อเขตนั้นพินาศ ย่อมพินาศไป

ด้วยกัน. เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ด้วยกัน.

ความพินาศและการตั้งอยู่ของเขตนั้น พึงทราบอย่างนี้ สมัยใด

กัปพินาศเพราะไฟ. มหาเมฆที่ยังกัปให้พินาศแต่ต้นตั้งขึ้น ยังฝนหาใหญ่

อย่างหนึ่งให้ตกในแสนโกฏิจักรวาล. มนุษย์ทั้งหลายพากันยินดี นำ

พืชทั้งปวงออกหว่าน. ก็เมื่อข้าวกล้าเกิดพอโคเคี้ยวกินได้ มหาเมฆ

ร้องเหมือนลาร้อง. ฝนแม้หยาดหนึ่งก็ไม่ตก. เมื่อนั้นเป็นอันว่า ฝน

ขาดเม็ดเลยทีเดียว. สัตว์ผู้อาศัยฝนเลี้ยงชีพย่อมเกิดในพรหมโลกตาม

ลำดับ. และเทวดาผู้อาศัยผลบุญเลี้ยงชีพก็ไปเกิดในพรหมโลกด้วย.

เมื่อกาลผ่านไปนานอย่างนี้ น้ำในแม่น้ำนั้น ๆ ก็แห้งไป. แม้ปลาและ

๑. องฺ. ติก. ๒๐/๕๒๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1007

เต่าก็ตายไปตามลำดับ แล้วเกิดในพรหมโลก. แม้สัตว์นรกก็ไปเกิด

ด้วย.

ในข้อนี้ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า สัตว์นรกย่อมพินาศไปใน

ความปรากฏแห่งพระอาทิตย์ดวงที่ ๗. บุคคลไม่เว้นจากฌานย่อมเกิด

ในพรหมโลก. บางพวกถูกทุพภิกขภัยบีบคั้น. บางพวกไม่ควรเพื่อบรรลุ

ฌาน. สัตว์เหล่านั้นเกิดขึ้นพรหมโลกได้อย่างไร ?

ตอบว่า ด้วยอำนาจฌานที่ได้ในเทโลก.

จริงอยู่ ในกาลนั้น โดยล่วงไปแสนปีจักสิ้นกัป. ฉะนั้น

กามาวจรเทพทั้งหลาย ชื่อว่า โลกพยูหะ เป็นชาวโลก ปล่อยศีรษะ

ผมเผ้ารุงรัง ร้องไห้ เอามือเช็ดน้ำตา นุ่งผ้าแดง มีเพศผิดรูปยิ่งนัก

เที่ยวไปในทางของมนุษย์ พากันบอกกล่าวอย่างนี้ว่า

ผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปแสนปีจากนี้จัก

สิ้นกัป. โลกนี้จักพินาศ. แม้มหาสมุทรก็จัก

เหือดแห้ง. และมหาปฐพีพระยาภูเขาสิเนรุจักถล่ม

ทลายพังพินาศไป. โลกจักพินาศตลอดถึงพรหม

โลก. ผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พวกท่านจงเจริญ เมตตา

กรุณา มุทิตา อุเบกขากันเถิด. จงบำรุงมารดา

บิดา จงเป็นผู้อ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1008

พวกมนุษย์และภุมมเทวดาโดยมาก ครั้นสดับคำของกามาวจร

เทพเหล่านั้น แล้วพากันเกิดสังเวช มีจิตอ่อนต่อกันและกัน ทำบุญ

มีเมตตาเป็นต้น แล้วไปบังเกิดในเทวโลก. ณ เทวโลกนั้น ทวยเทพ

บริโภคอาหารทิพย์ ทำบริกรรมในวาโยกสิณแล้วได้ฌาน. ส่วนมนุษย์

พวกอื่นบังเกิดในเทวโลก ด้วยอปราปริยเวทนียกรรม - กรรมให้ผลใน

ภพต่อ ๆ ไป. สัตว์ ชื่อว่า ท่องเที่ยวไปในสงสาร เว้นอปราปริยเวท-

นียกรรมไม่มี. แม้สัตว์เหล่านั้นก็ย่อมได้ฌานอย่างนั้นในภพนั้น. สัตว์

ทั้งปวงย่อมบังเกิดในพรหมโลก ด้วยอำนาจฌานที่ได้แล้วในเทวโลก

อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

โดยกาลยาวนานขึ้นไปโดยการกำหนดปี พระอาทิตย์ดวงที่สอง

ย่อมปรากฏ. เมื่อพระอาทิตย์นั้นปรากฏการกำหนดคืนวันไม่ปรากฏ.

พระอาทิตย์ดวงหนึ่งขึ้น. ดวงหนึ่งตก. โลกไม่ขาดความร้อนจากดวง

อาทิตย์. ในพระอาทิตย์ที่ยังกัปให้พินาศไม่มีสุริยเทพบุตร. เหมือนใน

พระอาทิตย์ปกติ เมื่อพระอาทิตย์ปกติยังเป็นไปอยู่วลาหกบ้าง เปลวไฟ

บ้าง ย่อมไปในอากาศ. เมื่อพระอาทิตย์ยังกัปให้พินาศกำลังเป็นไป

ท้องฟ้าปราศจากควันและวลาหก ดุจบานกระจกไม่มีฝ้า ฉะนั้น. น้ำ

ในลำธารเป็นต้นแห้ง เว้นมหานทีทั้ง ๕ จากนั้นโดยล่วงกาลยาวนาน

พระอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ. เพราะอาทิตย์ดวงที่ ๓ นั้น ปรากฏ

แม้มหานทีก็แห้ง. จากนั้นโดยล่วงกาลยาวนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1009

ปรากฏ. เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ มหาสระ ๗ เหล่านี้ คือ

สีหปาตนะ ๑ หังสปาตนะ กัณณมุณฑกะ ๑ รถการทหะ ๑ อโน-

ตัตตทหะ ๑ ฉัททันตทหะ ๑ กุณาลวาหะ ๑ แห้ง เพราะเป็นแหล่ง

เกิดมหานทีในป่าหิมพานต์. จากนั้นโดยล่วงกาลยาวนาน พระอาทิตย์

ดวงที่ ๕ ปรากฏ. เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ นั้นปรากฏ น้ำแม้เพียง

เปียกข้อนิ้วมือ ก็ไม่เหลืออยู่ในมหาสมุทรโดยลำดับ. จากนั้นโดยล่วง

กาลยาวนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ. เพราะพระอาทิตย์ดวง

ที่ ๖ นั้นปรากฏ จักรวาลทั้งสิ้นมีควันพวยพุ่งเป็นอันเดียวกัน ติดแน่น

ไปด้วยควัน. แม้แสนโกฏิจักรวาลก็เหมือนอย่างจักรวาลนั้น. จากนั้น

โดยล่วงกาลยาวนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ. เพราะพระอาทิตย์

ดวงที่ ๗ นั้นปรากฏ จักรวาลทั้งสิ้นพร้อมด้วยแสนโกฏิจักรวาล ก็มี

เปลวไฟโชติช่วงเป็นอันเดียวกัน. แม้ยอดภูเขาสิเนรุสูงประมาณ ๑๐๐

โยชน์ ก็ทำลายหายไปในอากาศนั่นเอง. เปลวไฟนั้นลุกโพงลงจดสวรรค์

ชั้นจาตุมมหาราชิกา. เปลวไฟเผากนกวิมาน รัตนวิมาน และมณีวิมาน

จดดาวดึงสพิภพ. โดยอุบายนี้แหละ เปลวไฟจดจนถึงปฐมฌานภูมิ.

ไหม้พรหมโลกทั้ง ๓ จดอาภัสสรพรหมตั้งอยู่. เปลวไฟนั้นยังไม่ดับ

ตราบเท่าสังขารแม้เพียงอณูหนึ่งยังมีอยู่. แต่เพราะสิ้นสังขารทั้งปวง

แม้เถ้าก็ไม่ให้เหลือเปลวไฟจึงดับ ดุจเปลวไฟเผาเนยใสและน้ำมัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1010

ฉะนั้น. อากาศเบื้องบนพร้อมด้วยอากาศเบื้องล่าง มืดตื้อเป็นอันเดียว

กัน.

ครั้นแล้ว โดยกาลล่วงยาวนาน มหาเมฆตั้งขึ้นยังฝนละเอียด ๆ

ให้ตกเป็นครั้งแรก. มหาเมฆยังสายฝนประมาณเท่าก้านบัว ไม้เท้า

สาก และต้นตาลเป็นต้นให้ตกโดยลำดับ ทำที่ที่ถูกไหม้ทั้งหมดให้เต็ม

แล้วหายไป. ตั้งขึ้นทำน้ำนั้นทั้งเบื้องล่างและเบื้องขวางให้เป็นก้อน

เป็นทางโดยรอบเช่นกับหยาดน้ำในใบบัว.

หากถามว่า ทำห้วงน้ำใหญ่ถึงเพียงนั้นให้เป็นก้อนได้อย่างไร ?

ตอบว่า เพราะเปิดเป็นช่องไว้. ให้ช่องในที่นั้น ๆ แก่ห้วงน้ำ

นั้น. น้ำนั้นถูกลมพัดรวมทำให้เป็นก้อนสิ้นไป ย่อมไหลลงเบื้องล่าง

ตามลำดับ. เมื่อน้ำไหลลง ๆ พรหมโลกย่อมปรากฏในที่ของพรหมโลก.

อนึ่ง เทวโลกย่อมปรากฏในที่แห่งกามาวจรเทวโลกในเบื้องบน. เมื่อ

น้ำไหลลงสู่พื้นดินดังก่อน ลมแรงย่อมเกิดขึ้น. ลมแรงเหล่านั้นปิดกั้น

ทำให้น้ำไม่ไหลออก ดุจน้ำที่ขังอยู่ในธมกรกที่ปิดปากไว้. เมื่อน้ำหวาน

หมดไปยังง้วนดิน (รสปวึ) ให้ตั้งขึ้นเบื้องบน. ง้วนดินนั้น มีสี มี

กลิ่นและรสดุจลาดไว้เบื้องบนข้าวปายาสที่ไม่มีน้ำ. ในกาลนั้น สัตว์ทั้ง-

หลายที่เกิดก่อนในอาภัสสรพรหมโลก เคลื่อนจากนั้น เพราะสิ้นอายุก็ดี

เพราะหมดบุญก็ดี ย่อมเกิด ณ ที่นี้. สัตว์เหล่านั้นมีรัศมีที่ตัว เหาะไปใน

อากาศได้. สัตว์เหล่านั้น ครั้นลิ้มแผ่นดินมีรสนั้น ตามนัยดังกล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1011

แล้ว ในอัคคัญญสูตร ถูกตัณหาครอบงำ พยายามจะบริโภคสิ่งที่ทำ

ให้เกิดความโลภ.

ครั้งนั้น รัศมีที่ตัวของสัตว์เหล่านั้นก็หายไป. มีความมืด.

สัตว์เหล่านั้นเห็นความมืดก็กลัว. แต่นั้นสุริยมณฑลเต็ม ๕๐ โยชน์

ปรากฏขึ้นยังความกลัวของสัตว์เหล่านั้นให้หายไป ให้เกิดความกล้า.

สัตว์เหล่านั้น ครั้นเห็นสุริยมณฑลนั้น ต่างร่าเริงยินดีว่า เราได้แสง

สว่างแล้ว จึงตั้งชื่อสุริยมณฑลนั้นว่า สุริยะ เพราะตั้งขึ้นทำให้พวก

เราหายกลัวเกิดความกล้าขึ้น เพราะฉะนั้น ขอจงเป็นสุริยะเถิด.

ครั้นเมื่อพระสุริยะทำแสงสว่างตลอดวันแล้วดับไป สัตว์ทั้งหลาย

มีความกลัวอีกว่า แสงสว่างที่เราได้ หายไปเสียแล้ว. สัตว์เหล่านั้นจึงคิด

อย่างนี้ว่า จะเป็นการดีหากพวกเราได้แสงสว่างอื่น. จันทมณฑล

ประมาณ ๔๙ โยชน์ ปรากฏขึ้นเหมือนรู้จิตของสัตว์เหล่านั้น. สัตว์

เหล่านั้นครั้นเห็นจันทมณฑลนั้น พากันร่าเริงยินดีอย่างยิ่ง จึงตั้งชื่อ

จันทมณฑลนั้นว่า จันทะ เพราะตั้งขึ้นคล้ายรู้ความพอใจของพวกเรา

เพราะฉะนั้น ขอจงเป็นจันทะเถิด.

เมื่อพระจันทร์ พระอาทิตย์ปรากฏอย่างนี้ นักษัตรทั้งหลาย

ก็ปรากฏเป็นรูปดาว. จำเดิมแต่นั้น กลางคืน กลางวัน และกึ่งเดือน

๑. ที. ปา. ๑๑/๕๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1012

เดือนหนึ่ง ฤดู ปี ก็ปรากฏ ตามลำดับ. ในวันปรากฏพระจันทร์

พระอาทิตย์นั่นเอง ภูเขาสิเนรุ จักรวาล ป่าหิมพานต์ และภูเขา

ก็ปรากฏ. ทั้งหมดนั้นปรากฏในวันเพ็ญเดือน ๔ ไม่ก่อน ไม่หลัง.

ปรากฏอย่างไร ? เหมือนอย่างว่า เมื่อข้าวฟ่างเดือดเกิดฟอง ด้วยการ

คนครั้งเดียวเท่านั้น. บางฟองก็เป็นเนิน ๆ คล้ายสถูป. บางฟองก็เป็น

ลุ่ม ๆ. บางฟองก็เสมอ ๆ ฉันใด. ในที่เป็นเนิน ๆ คล้ายสถูปก็เป็น

ภูเขา. ในที่ลุ่ม ๆ ก็เป็นมหาสมุทร. ในที่เสมอ ๆ ก็เป็นเกาะ.

ครั้นเมื่อสัตว์เหล่านั้นบริโภคง้วนดิน บางพวกก็มีผิวงาม

บางพวกก็มีผิวไม่งาม ตามลำดับ. ในสองพวกนั้น พวกที่มีผิวงามก็ดี

หมิ่นพวกมีผิวไม่งาม เพราะการดูหมิ่นของสัตว์เหล่านั้นเป็นปัจจัย

ง้วนดิน ก็หายไป. ปรากฏเป็นกะปิดิน.

ครั้นแล้ว กะปิดินของสัตว์ทั้งหลายนั้นหายไป โดยนัยนั้นก็

ปรากฏเป็นเครือดิน. แม้เครือดินนั้นก็หายไป โดยนัยนั้น. ก็ปรากฏ

เป็นข้าวสาลี ไม่ใช้ฟืนหุง ไม่มีรำ ไม่มีแกลบ บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม

มีผลเป็นข้าวสาร. แต่นั้น ภาชนะย่อมเกิดแก่สัตว์เหล่านั้น. สัตว์เหล่า

นั้นวางข้าวสาลีบนภาชนะ แล้วตั้งไว้บนแผ่นหิน. เปลวไฟเกิดขึ้นเอง

หุงข้าวสาลีนั้น. ข้าวสุกนั้นเหมือนดอกมะลิตูม. ไม่ต้องทำแกงหรือผัก

แห่งข้าวสาลีนั้น. ปรารถนาจะบริโภครสใด ๆ ก็มีรสนั้น ๆ ให้บริโภค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1013

เมื่อสัตว์เหล่านั้นนบริโภคอาหารหยาบ ตั้งแต่นั้นมูตรและกรีสก็เกิด

ครั้นสัตว์เหล่านั้นต้องการให้มูตรและกรีสออก ก็แยกเป็นปาก

แผล. ความเป็นชายก็ปรากฏแก่ชาย. ความเป็นหญิงก็ปรากฏแก่หญิง

เล่ากันว่าในครั้งนั้น หญิงเพ่งชาย และชายเพ่งหญิงเกินเวลา. เพราะ

สัตว์เหล่านั้นเพ่งกันเกินเวลาเป็นปัจจัย จึงเกิดความเร่าร้อนทางกาม.

แต่นั้นก็เสพเมถุนกัน. สัตว์เหล่านั้นถูกวิญญูชนติเตียนทำให้ลำบาก

เพราะการเสพอสัทธรรม จึงสร้างเรือนเพื่อปกปิดอสัทธรรมนั้น. สัตว์

เหล่านั้น เมื่อครองเรือน ก็ดำเนินตามทิฏฐานุคติของสัตว์ผู้ไม่เกียจ

คร้านคนใดคนหนึ่งตามลำดับ ทำการสะสม.

จำเดิมแต่นั้น รำบ้าง แกลบบ้าง ก็หุ้มห่อข้าวสาร. แม้ที่เกี่ยวแล้ว

ก็ไม่งอก. สัตว์เหล่านั้นประชุมกัน ทอดถอนใจว่า ผู้เจริญทั้งหลาย ธรรม

ลามกปรากฏแล้วในสัตว์ทั้งหลาย เพราะพวกเราเมื่อก่อนได้เป็นผู้

สำเร็จแล้วแต่ใจ ดังนี้ พึงให้พิสดารโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในอัคคัญญ-

สูตร. แต่นั้นสัตว์ทั้งหลาย จึงได้ตั้งระเบียบปฏิบัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้.

หากสัตว์ผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาส่วนของคนอื่นที่เขาไม่ให้. ว่ากล่าว

สองครั้ง ในครั้งที่สามประหารด้วยฝ่ามือ ก้อนดิน และท่อนไม้. สัตว์

เหล่านั้น เมื่อเกิดมีการลักทรัพย์ พูดติเตียน พูดเท็จ ทำร้ายร่างกาย

ขึ้น จึงประชุมกันคิดว่า ถ้ากระไรพวกเราควรยกย่องสัตว์ผู้หนึ่ง. เรา

๑. ที. ปา. ๑๑/๖๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1014

จักเพิ่มส่วนแห่งข้าวสาลีให้แก่ผู้ที่พึงข่มผู้ที่ควรข่ม พึงติเตียนผู้ที่ควร

ติเตียน พึงขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ โดยชอบของพวกเรา.

ก็เมื่อสัตว์ทั้งหลายทำความตกลงกันอย่างนี้แล้ว ในกัปนี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้านี้แหละยังเป็นพระโพธิสัตว์ มีรูปงามกว่า น่าดูกว่า มี

ศักดิ์ใหญ่กว่า สัตว์เหล่านั้นในสมัยนั้น สมบูรณ์ด้วยปัญญา มีกำลัง

สามารถเพื่อจะทำการข่มและยกย่องได้. สัตว์เหล่านั้น จึงพากันเข้า

ไปหาพระโพธิสัตว์นั้น วิงวอนยกย่อง. พระโพธิสัตว์นั้น ปรากฏด้วย

นาม ๓ คือ ชื่อว่ามหาสมมต เพราะมหาชนสมมต ๑. ชื่อว่าขัตติยะ

เพราะเป็นอธิบดีแห่งเขตทั้งหลาย ๑. ชื่อว่าราชา เพราะให้สัตว์ทั้งหลาย

เหล่าอื่นยินดี โดยธรรมเสมอ ๑. พระโพธิสัตว์เป็นบุรุษคนแรก

ในฐานะเป็นอัจฉริยบุรุษในโลก. เมื่อทำพระโพธิสัตว์ให้เป็นอาทิบุรุษ

ดำรงในขัตติยมณฑล แล้ววรรณะทั้งหลายมีพราหมณ์เป็นต้น ก็ตั้งขึ้น

ตามลำดับ.

การทำลายด้วยเปลวไฟ ตั้งแต่มหาเมฆยังกัปให้พินาศ อสงไขย

หนึ่งนี้ ท่านเรียกว่า สังวัฏฏะ.

มหาเมฆสมบูรณ์ยังแสนโกฏิจักรวาลให้เต็มเปี่ยม ตั้งแต่การทำ

ลายด้วยเปลวไฟอันยังกัปให้พินาศ อสงไขยที่สองนี้ ท่านเรียกว่า

สังวัฏฏัฏฐายี.

ความปรากฏแห่งพระจันทร์ พระอาทิตย์ ตั้งแต่มหาเมฆสมบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1015

อสงไขยที่ ๓ นี้ ท่านเรียกว่า วิวัฏฏะ.

มหาเมฆยังกัปให้พินาศอีก ตั้งแต่ความปรากฏแห่งพระจันทร์

พระอาทิตย์ อสงไขยที่ ๔ นี้ ท่านเรียกว่า วิวัฏฏัฏฐายี.

อสงไขย ๔ เหล่านี้ เป็นมหากัปหนึ่ง. พึงทราบความพินาศ

ด้วยไฟและความตั้งอยู่ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง สมัยใดกัปพินาศไปด้วยน้ำ มหาเมฆยังกัปให้พินาศแต่ต้น

ตั้งขึ้น พึงให้พิสดารโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในตอนก่อนนั่นแหละ. แต่

ความแปลกกกันมีดังต่อไปนี้. มหาเมฆมีน้ำกรดยังกัปให้พินาศ ตั้งขึ้น

ในที่นี้. เหมือนพระอาทิตย์ดวงที่สองตั้งขึ้นในอากาศนั้น ฉะนั้น.

มหาเมฆนั้น เมื่อยังฝนละเอียดได้ตกแต่ต้น ย่อมให้ตกเต็มแสนโกฏิ

จักรวาล ด้วยสายฝนใหญ่ตามลำดับ แผ่นดินและภูเขาเป็นต้น ถูก

น้ำกรด ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมละลาย น้ำถูกลมพัดไปโดยรอบ น้ำท่วม

ตั้งแต่แผ่นดินถึงทุติยฌานภูมิ น้ำนั้น ยังพรหมโลกแม้ ๓ ให้ย่อยยับ

ไปในที่นั้น แล้วจดถึงสุภกิณหาตั้งอยู่. น้ำนั้นยังไม่สงบตราบเท่าสังขาร

ประมาณอณูยังมีอยู่.

อนึ่ง น้ำนั้น ครอบงำสังขารทั้งปวงที่ไปตามน้ำแล้ว สงบทันที

หายไป อากาศเบื้องบนมืดมิดเป็นอันเดียว พร้อมกับอากาศเบื้องล่าง.

บททั้งปวงคล้ายกับที่กล่าวแล้ว แต่ในที่นี้ โลกทำ (สร้าง) อาภัสสร

พรหมโลกทั้งสิ้น ให้ปรากฏเป็นเบื้องต้น. สัตว์ทั้งหลายเคลื่อนจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1016

สุภกิณหาแล้ว ย่อมเกิดในอาภัสสรพรหมเป็นต้น. การทำลายด้วยน้ำกรด

อันยังกัปให้พินาศ ตั้งแต่มหาเมฆยังกัปให้พินาศ นี้เป็นอสงไขยหนึ่ง

มหาเมฆสมบูรณ์ ตั้งแต่การทำลายด้วยน้ำ นี้เป็นอสงไขยที่สอง

... ๔ อสงไขยเหล่านี้ ตั้งแต่มหาเมฆสมบูรณ์ ฯลฯ เป็นมหากัปหนึ่ง

พึงทราบความพินาศด้วยน้ำและการตั้งอยู่ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง สมัยใด กัปพินาศไปด้วยลมนั้น. มหาเมฆยังกัปให้พินาศ

ไปแต่ต้นตั้งขึ้นแล้ว พึงให้พิสดารตามนัยดังกล่าวแล้ว ในตอนก่อน

นั่นแหละ. แต่ความต่างกันมีดังต่อไปนี้. ลมตั้งขึ้นเพื่อยังกัปให้พินาศ

ในโลกนี้ เหมือนพระอาทิตย์ดวงที่สองในอากาศนั้น ฉะนั้น. ลมนั้น

ยังธุลีหยาบให้ตั้งขึ้นก่อน. แต่นั้นยังธุลีละเอียด ทรายละเอียด ทราย

หยาบ ก้อนกรวดและหินเป็นต้น ให้ตั้งขึ้นที่แผ่นหินประมาณเรือนยอด

และที่ต้นไม้ใหญ่ที่ตั้งขึ้นในที่ไม่เสมอ. ธุลีเหล่านั้นไม่ตกจากแผ่นดิน

อีก เพราะจมอยู่ในท้องฟ้า. ธุลีเหล่านั้นแหลกละเอียดไปในที่นั้น. ถึง

ความไม่มี.

ครั้นแล้ว ลมตั้งขึ้นที่ภายใต้แผ่นดินใหญ่ ตามลำดับ แล้ว

พลิกแผ่นดินทำรากดินไว้เบื้องบน แล้วซัดไปในอากาศ. ผินแผ่นดิน

มี ๑๐๐ โยชน์เป็นประมาณ แตกไปประมาณสองโยชน์ สามโยชน์

สี่โยชน์ ห้าโยชน์ ถูกกำลังลมซัดไป แหลกละเอียดบนอากาศนั่นเอง

ถึงความไม่มี. ลมยกภูเขาจักรวาลบ้าง ภูเขาสิเนรุบ้าง ขึ้นแล้วซัดไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1017

ในอากาศ. ผินแผ่นดินเหล่านั้นกระทบกันและกัน แล้วแหลกละเอียด

พินาศไป. ด้วยอุบายนี้แหละ ลมยังภุมมัฏฐกวิมานและอากาสัฏฐกวิมาน

ให้พินาศ ยังกามาวจรเทวโลก ๖ ให้พินาศ แล้วยังจักรวาลแสนโกฏิ

ให้พินาศ.

จักรวาลกระทบกับจักรวาล. หิมวันตะกระทบกับหิมวันตะ.

สิเนรุกระทบกับสิเนรุ แล้วแหลกละเอียดพินาศไป. ลมพัดตั้งแต่แผ่นดิน

จนถึงตติยฌานภูมิ. ลมยังพรหมโลก ๓ ให้พินาศ จดถึงเวหัปผลา

ตั้งอยู่. ครั้นยังสังขารทั้งปวงให้พินาศไปอย่างนี้ แม้ตนเองก็พินาศไป

ด้วย. อากาศเบื้องบนกับอากาศเบื้องล่างมืดมิดเป็นอันเดียวกัน ทั้งหมด

คล้ายกับที่กล่าวแล้ว. แต่ในที่นี้ โลกทำคือสร้างสุภกิณหพรหมโลก

ในเบื้องต้นให้ปรากฏ.

อนึ่ง สัตว์ทั้งหลายเคลื่อนจากเวหัปผลาแล้ว ย่อมเกิดในสุภ-

กิณหพรหมโลกเป็นต้น. การทำลายด้วยลมยังกัปให้พินาศตั้งแต่มหาเมฆ

ยังกัปให้พินาศ นี้เป็นอสงไขยหนึ่ง. มหาเมฆสมบูรณ์ ตั้งแต่การ

ทำลายด้วยลม นี้เป็นอสงไขยที่สอง ฯลฯ อสงไขย ๔ เหล่านั้น เป็น

มหากัปหนึ่ง. พึงทราบความพินาศด้วยลมและการตั้งอยู่ ด้วยประการ

ฉะนี้.

เพราะเหตุไร โลกจึงพินาศไปอย่างนี้. เพราะอกุศลมูลเป็นเหตุ.

เพราะเมื่ออกุศลมูลหนาขึ้นแล้ว โลกจึงพินาศไปอย่างนี้. อนึ่ง โลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1018

นั้นแล เมื่อราคะหนาขึ้นในลำดับ ย่อมพินาศไปด้วยไฟ. เมื่อ

โทสะหนา ย่อมพินาศไปด้วยน้ำ.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เมื่อโทสะหนา โลกพินาศไปด้วย

ไฟ. เมื่อราคะหนาพินาศไปด้วยน้ำ. เมื่อโมหะหนาพินาศไปด้วยลม.

แม้เมื่อพินาศไปอย่างนี้ ย่อมพินาศไปด้วยไฟ ๗ ครั้ง เป็นลำดับ. ใน

ครั้งที่ ๘ พินาศไปด้วยน้ำ. พินาศไปด้วยไฟ ๗ ครั้งอีก. ในครั้งที่ ๘

พินาศไปด้วยน้ำ. เพราะเหตุนั้น เมื่อพินาศไป ๘ ครั้ง ๆ อย่างนี้ พินาศ

ไปด้วยน้ำ ๗ ครั้ง แล้วพินาศไปด้วยไฟอีก ๗ ครั้ง ๆ ด้วยเหตุประมาณ

เท่านี้ ๖๓ กัป เป็นอันล่วงไปแล้ว. ในระหว่างนี้ ลมได้โอกาสห้ามวาระ

อันพินาศไปด้วยน้ำ แม้ถึงพร้อมแล้ว กำจัดสุภกิณหพรหมโลกซึ่งมี

อายุ ๖๔ กัป บริบูรณ์ ยังโลกให้พินาศ.

ภิกษุผู้ระลึกถึงกัป แม้ระลึกถึงชาติก่อน ย่อมระลึกถึง สังวัฏฏ-

กัป วิวัฏฏกัป สังวัฏฏวิวัฏฏกัป ไม่น้อยในกัปเหล่านั้น.

บทว่า สวฏฺฏกปฺเป วิวฏฺฏกปฺเป ท่านกล่าวกำหนดครึ่งหนึ่ง

ของกัป.

บทว่า สวฏฺฏวิวฏฺฏกปฺเป ท่านกล่าวกำหนดเอากัปทั้งสิ้น.

หากถามว่า ระลึกถึงอย่างไร. ตอบว่า ระลึกถึงโดยนัยมีอาทิว่า อนุตฺราสึ

- ในชาติโน้นเราได้เป็นแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1019

ในบทเหล่านั้น บทว่า อมุตฺราสึ คือ เราได้เป็นแล้วใน

สังวัฏฏกัปโน้น ความว่า เราได้เป็นแล้ว ในภพ ในกำเนิด ในคติ

ในวิญญาณฐิติ ในสัตตาวาส หรือในสัตตนิกาย.

บทว่า เอวนาโม มีชื่ออย่างนี้ คือ ชื่อติสสะ หรือปุสสะ.

บทว่า เอวโคตฺโต มีโคตรอย่างนี้ คือ กัจจานโคตร หรือ

กัสสปโคตร. บทนี้ ท่านกล่าวด้วยสามารถการระลึกถึงชื่อและโคตร

ของตน ในอดีตภพของภิกษุนั้น. ก็หากว่า ในกาลนั้น ภิกษุนั้น

ประสงค์จะระลึกถึงวรรณสมบัติ ความเป็นอยู่ประณีตและเศร้าหมอง

ความเป็นผู้มากด้วยสุขและทุกข์ หรือความมีอายุน้อย อายุยืนของตน.

ระลึกถึงได้. ด้วยเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระ จึงกล่าวว่า เอววณฺโณ

ฯลฯ เอวมายุปริยนฺโต.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอววณฺโณ มีผิวพรรณอย่างนี้ คือ

ผิวขาว หรือผิวดำ.

บทว่า เอวมาหาโร - มีอาหารอย่างนี้ คือ มีข้าวสาลี เนื้อ

ข้าวสุก เป็นอาหาร หรือมีผลไม้สดเป็นอาหาร.

บทว่า เอวสุขทุกฺขปฏิสเวที - ได้เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้

คือ เสวยสุขและทุกข์ อันเป็นไปทางกาย ทางใจ หรือมีประเภท

เป็นต้นว่า มีอามิส หรือไม่มีอามิส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1020

บทว่า เอวมายุปริยนฺโต - มีกำหนดอายุเพียงเท่านี้ คือ มี

กำหนดอายุ ๑๐๐ ปี หรือ ๘ โกฏิ ๔ แสนกัป.

บทว่า โส ตโต จุโตฺ อมุตฺร อุทปาทึ - ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว

ได้มาเกิดในภพนี้ คือ เราครั้นจุติจากภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ

สัตตาวาส หรือสัตตนิกายนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพ กำเนิด คติ

วิญญาณฐิติ สัตตาวา หรือสัตตนิกายโน้น.

บทว่า ตตฺราปาสึ - ได้มีแล้วในภพนั้น ได้มีแล้วอีกในภพ

กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส หรือสัตตนิกาย แม้นั้น. บท

มีอาทิว่า เอวนาโม มีนัยดังได้กล่าวแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะบทว่า อมุตฺราสึ นี้ เป็นการระลึกถึง

ของผู้ปรารถนาขึ้นไป ตามลำดับ.

บทว่า โส ตโต จุโต เป็นการพิจารณาของผู้กลับ. ฉะนั้น

บทว่า อิธูปปนฺโน พึงทราบว่า ท่านกล่าวบทนี้ว่า อมุตฺรอุทปาทึ

หมายถึงที่เกิดของภิกษุนั้น ในลำดับแห่งการเกิดในโลกนี้.

บทมีอาทิอย่านี้ว่า ตตฺราปาสึ ท่านกล่าวเพื่อแสดงการระลึก

ถึงชื่อและโคตรเป็นต้น ในที่เกิด ในลำดับแห่งการเกิดนี้ ในภพนั้น

ของภิกษุนั้น.

บทว่า โส ตโต จุโต อิธูปปนฺโน ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว

มาเกิดในภพนี้ ความว่า เราครั้นจุติจากที่เกิดในลำดับนั้นแล้ว มาเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1021

ในตระกูลกษัตริย์ หรือในตระกูลพราหมณ์โน้น ในภพนี้.

บทว่า อิติ คือ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า สาการ สอุทเทส - พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส

คือ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยชื่อและโคตร. พร้อมทั้งอาการด้วยผิวเป็น

ต้น. เพราะท่านแสดงถึงสัตว์ โดยชื่อและโคตรว่า ติสสะ ผุสสะ

กัสสปโคตร. ปรากฏโดยความต่างด้วยผิวพรรณเป็นต้นว่า ขาว ดำ.

เพราะฉะนั้น ชื่อและโคตรเป็นอุทเทส. นอกนั้นเป็นอาการ ด้วยประการ

ฉะนี้.

จบ อรรถกถาบุพเพนิวารสานุสติญาณนิทเทส

ทิพจักขุญาณนิทเทส

[ ๒๕๗] ปัญญาในความเห็นรูปเป็นนิมิตหลายอย่าง หรือ

อย่างเดียวด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพจักษุญาณอย่างไร ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วย

ฉันทะและสังขารอันเป็นประธาน ฯลฯ ครั้นแล้วย่อมมนสิการถึง

อาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นกลางวัน มีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ

เจริญจิตให้มีแสงสว่างว่ากลางวันฉันใด กลางคืนฉันนั้น กลางคืนฉัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1022

ใด กลางวันฉันนั้น ภิกษุนั้นมีจิตอันอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์

ผ่องแผ้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณในจุติ และอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย

เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี

มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ

มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามธรรมว่า สัตว์เหล่านี้หนอ

ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า

เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือเอาการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป

ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วย

กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ

ยึดถือการการทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลก

สวรรค์ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิว

พรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์

ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วย

ประการฉะนี้.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความเห็นรูป

เป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพ-

จักขุญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1023

๕๔. อรรถกถาทิพจักขุญาณนิทเทส

[๒๕๗] พึงทราบวินิจฉัยในทิพจักขุญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้.

บทว่า อาโลกสญฺ มนสิ กโรติ - มนสิการอาโลกสัญญา

คือ มนสิการแสงพระอาทิตย์ พระจันทร์และแก้วมณี ทั้งกลางวัน

กลางคืนว่า อาโลโก - แสงสว่าง. อนึ่ง เมื่อมนสิการอย่างนี้ ท่าน

กล่าวว่า มนสิการอาโลกสัญญา เพราะยังสัญญาให้เป็นไปในใจว่า

อาโลโก.

บทว่า ทิวาสญฺ อธิฏฺาติ - ตั้งสัญญาว่าเป็นกลางวัน คือ

มนสิการอาโลกสัญญาอย่างนี้แล้ว ตั้งสัญญาว่ากลางวัน.

บทว่า ยถา ทิวา ตถา รตฺตึ - กลางวันฉันใด กลางคืน

ฉันนั้น คือ มนสิการแม้กลางคืนเหมือนเห็นแสงสว่างในกลางวัน

ฉะนั้น.

บทว่า ยถา รตฺตึ ตถา ทิวา - กลางคืนฉันใด กลางวัน

ฉันนั้น คือ มนสิการแม้กลางวันเหมือนเห็นแสงสว่างในกลางคืน

ฉะนั้น.

บทว่า อิติ วิวฏฺเฏน เจตสา - มีใจเปิดเผยแล้ว คือ มีใจ

มิได้ปกปิดอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1024

บทว่า อปริโยนทฺเธน - ไม่มีอะไรหุ้มห่อ คือ ไม่หุ้มโดยรอบ.

บทว่า สปฺปภาส จิตฺต ภาเวติ คือ เจริญจิตให้มีแสงสว่าง

ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวถึงจิตมีแสงสว่างด้วยการบริกรรมเป็นอารมณ์ของ

ทิพจักษุ. หรือท่านกล่าวหมายถึงจตุตถฌานมีอาโลกกสิณเป็นอารมณ์.

เมื่อภิกษุนั้นเจริญอย่างนี้ จิตมีแสงสว่างปราศจากความมืดปิดกั้น. กุล-

บุตรผู้เป็นอาทิกรรมิกะใคร่เพื่อยังทิพจักษุให้เกิด ทำอภิญญามีฌานเป็น

บาท มีกสิณเป็นอารมณ์โดยทำนองเดียวกันกับบาลีนี้นั่นแหละ ให้

เป็นการควรแก่อภินิหารโดยอาการทั้งปวง. แล้วพึงทำกสิณอย่างใด

อย่างหนึ่งในกสิณ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ เตโชกสิณ ๑ โอทาตกสิณ ๑

อาโลกกสิณ ๑ ให้ใกล้ไว้. พึงทำอุปจารฌานให้เป็นอารมณ์แล้วกำหนด

ให้เจริญไว้. อธิบายว่า ไม่ควรให้อัปปนาเกิดในอุปจารฌานนั้น.

เพราะหากว่าให้อัปปนาเกิด ย่อมเป็นนิสัยแห่งฌานเป็นบาทมิใช่นิสัย

แห่งบริกรรม.

ในกสิณ ๓ อย่างเหล่านี้ อาโลกกสิณนั่นแหละประเสริฐกว่า.

ท่านกล่าวกสิณ ๒ อย่างนอกนั้นด้วยอนุโลมอาโลกกสิณนั่นเอง. เพราะ

ฉะนั้น ควรทำอาโลกกสิณให้เป็นอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งของกสิณ

นอกนั้นแล้วยังฌาน ๔ ให้เกิด ตั้งอยู่ในอุปจารภูมิอีกแล้วพึงเจริญกสิณ.

พึงเห็นรูปภายในของที่ที่เจริญแล้ว ๆ. เมื่อภิกษุนั้นเห็นรูปไม่ทำการ

แผ่ไปแห่งแสงสว่างด้วยจิตบริกรรม ด้วยความขวนขวายนั้น วาระแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1025

บริกรรมย่อมพ้นไป. แต่นั้นแสงสว่างก็หายไป. เมื่อแสงสว่างหายไป

แม้รูปก็ไม่ปรากฏ.

เมื่อเป็นเช่นนั้นภิกษุนั้นควรเข้าฌานเป็นบาทบ่อย ๆ ครั้นออก

จากฌานนั้นควรแผ่แสงสว่างไป ตามลำดับอย่างนี้แสงสว่างย่อมมีกำลัง

มาก ด้วยประการฉะนี้. แสงสว่างจะตกอยู่ในฐานะที่กำหนดไว้ว่า

แสงสว่างจะมีในที่นี้ดังนี้. การเห็นรูปย่อมมีแก่ภิกษุผู้นั่งดูแม้ตลอดวัน.

เมื่อใดรูปนี้ คือ รูปที่ไม่ไปสู่คลองแห่งจักษุ รูปอยู่ภายในท้อง รูป

อาศัยหทยวัตถุ รูปอาศัยภายใต้พื้นดิน รูปที่อยู่นอกฝา ภูเขา และ

กำแพง รูปที่อยู่ในจักรวาลอื่น ย่อมมาสู่คลองแห่งญาณจักษุของภิกษุ

นั้น ดุจเห็นด้วยมังสจักษุ. เมื่อนั้นทิพจักษุย่อมเกิด. ทิพจักษุนั้น

สามารถเห็นรูปในที่นี้ได้. มิใช่จิตส่วนเบื้องต้น.

ในบทมีอธิบายดังต่อไปนี้ ลำดับการเกิดของทิพจักษุทำรูปมี

ประการดังกล่าวแล้วให้เป็นอารมณ์เกิดในมโนทวาราวัชชนะ เมื่อมโน-

ทวาราวัชชนะดับ ทำรูปนั้นนั่นแหละให้เป็นอารมณ์ พึงทราบตามนัย

ดังกล่าวแล้วว่า ชวนจิต ๔ หรือ ๕ ครั้ง ย่อมเกิด.

อนึ่ง ญาณนี้ท่านกล่าวว่า จุตูปปาตญาณของสัตว์ทั้งหลายบ้าง

ทิพจักขุญาณบ้าง. ญานนั้นเป็นอันตรายแก่ปุถุชน. เพราะปุถุชนนั้น

อธิฏฐานว่าแสงสว่างจงมีในทุกที่. ญาณนั้น ๆ ก็จะทะลุไปในแผ่นดิน

สมุทรและภูเขา เกิดเป็นแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน. เมื่อเป็นดังนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1026

ภิกษุนั้นเห็นรูปมียักษ์รากษสเป็นต้น ที่น่ากลัวในที่นั้นก็จะเกิดความ

กลัวขึ้น. ด้วยเหตุนั้นภิกษุจะถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต เป็นผู้พลาดไป

จากญาณ. เพราะฉะนั้น ไม่ควรประมาทในการเห็นรูป.

บทว่า สตฺตาน จุตูปปาตาณาย คือ เพื่อญาณในจุติและ

อุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ความว่า เพื่อญาณที่รู้จุติและอุบัติของสัตว์

ทั้งหลาย. อธิบายว่า เพื่อทิพจักขุญาณ.

บทว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา นี้มีความดังได้กล่าวแล้ว.

บทว่า วิสุทฺเธน - บริสุทธิ์ ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะเหตุที่

ความเห็นบริสุทธิ์ด้วยการเห็นจุติและอุปบัติ. จริงอยู่ ผู้ใดเห็นเพียงจุติ

เท่านั้น ไม่เห็นอุบัติ ผู้นั้นย่อมยึดถืออุจเฉททิฏฐิ ผู้ใดเห็นอุบัติเท่านั้น

ได้เห็นจุติ ผู้นั้นย่อมยึดถือทิฏฐิ คือ ความปรากฏแห่งสัตว์ใหม่.

ส่วนผู้ใดเห็นทั้งสองอย่างนั้น. ผู้นั้นย่อมละเลยทิฏฐิแม้สองนั้น

ได้. เพราะฉะนั้น การเห็นของผู้นั้น ชื่อว่าเป็นเหตุแห่งความเห็น

บริสุทธิ์. พุทธบุตรทั้งหลายย่อมเห็นทั้งสองอย่างนั้น. ด้วยเหตุนี้ท่าน

จึงกล่าวว่า ชื่อว่า วิสุทฺธ เพราะเหตุแห่งความเห็นบริสุทธิ์ด้วยการ

เห็นจุติและอุปบัติ. ชื่อว่า อติกฺกนฺตมานุสก เพราะเห็นรูปล่วงอุปจาระ

ของมนุษย์. ชื่อว่า อติกฺกนฺตมานุสก เพราะล่วงมังสจักษุของมนุษย์

ด้วยจักษุอันเป็นทิพย์ บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1027

บทว่า สตฺเต ปสฺสติ - เห็นสัตว์ทั้งหลาย คือ แลดูสัตว์

ทั้งหลาย ดุจด้วยมังสจักษุของมนุษย์.

ในบทนี้ว่า จวมาเน อุปปชฺชมาเน มีอธิบายว่า ไม่สามารถ

เห็นด้วยทิพจักษุในขณะจุติหรือในขณะอุปบัติ. อนึ่ง สัตว์เหล่าใดใกล้

จุติจักเคลื่อนในบัดนี้ ฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ากำลังจุติ. ส่วนสัตว์

เหล่าใดถือปฏิสนธิแล้วหรือเกิดแล้วเดี๋ยวนี้ สัตว์เหล่านั้นท่านประสงค์

ว่ากำลังอุปบัติ. ท่านแสดงว่า ย่อมเห็นสัตว์เหล่านั้นเห็นปานนี้กำลังจุติ.

และกำลังอุปบัติ.

บทว่า หีเน - เลว คือ น่าเกลียด น่าเกลียดหยาม น่าดูหมิ่น

น่าดูแคลนด้วยสามารถแห่งชาติตระกูลและโภคะเป็นต้นอันเลว เพราะ

ประกอบด้วยผลของโมหะ.

บทว่า ปณีเต - ประณีต คือ ตรงกันข้ามกับเลว เพราะ

ประกอบด้วยผลของอโมหะ.

บทว่า สุวณฺเณ - มีผิวพรรณดี คือ มีผิวพรรณน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ เพราะประกอบด้วยผลของอโทสะ.

บทว่า ทุพฺพณฺเณ - มีผิวพรรณทราม คือ มีผิวพรรณไม่น่า

ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เพราะประกอด้วยผลของ โทสะ.

อธิบายว่า ไม่สวย มีรูปผิดปกติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1028

บทว่า สุคเต - ได้ดี คือ ไปดีหรือมั่งคั่งมีทรัพย์มาก เพราะ

ประกอบด้วยผล ของอโลภะ.

บทว่า ทุคฺคเต - ตกยาก คือ ถึงความลำบาก หรือยากจนมีข้าว

น้ำน้อย เพราะประกอบด้วยผลของโลภะ.

บทว่า ยถากมฺมูปเค - เป็นไปตามกรรม คือ เป็นไปตามกรรม

ที่สะสมไว้. ท่านกล่าวถึงกิจของทิพจักษุด้วยมีอาทิว่า จวมาเน บทก่อน.

แต่ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงหน้าที่ของยถากัมมูปคญาณ - ญาณกำหนดรู้ว่า

สัตว์เป็นไปตามกรรม.

อนึ่ง ลำดับแห่งการเกิดของฌานนั้นมีดังนี้ ภิกษุในศาสนานี้

เจริญอาโลกกสิณมุ่งไปสู่นรกเบื้องต่ำ ย่อมเห็นสัตว์นรกทั้งหลายเสวย

ทุกข์ยิ่งใหญ่. การเห็นนั้นนั่นแหละ เป็นกิจของทิพจักษุ. ภิกษุนั้น

มนสิการอย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านี้ทำกรรมอะไรไว้หนอ จึงต้องเสวยทุกข์

นั้น. ครั้นแล้วญาณมีกรรมนั้น ๆ เป็นอารมณ์เกิดแก่ภิกษุนั้นว่า เพราะ

ทำกรรมนี้.

อนึ่ง ภิกษุเจริญอาโลกกสิณมุ่งไปสู่เทวโลกเบื้องบน เห็นสัตว์

ทั้งหลายเสวยมหาสมบัติในสวนนันทนวัน มิสสกวัน และปารุสกวัน

เป็นต้น. การเห็นแม้นั้นก็เป็นกิจของทิพจักษุนั้นเอง. ภิกษุนั้นมนสิการ

อย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านี้ทำกรรมอะไรไว้หนอ จึงต้องเสวยสมบัตินี้ ครั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1029

แล้วญาณมีกรรมนั้นเป็นอารมณ์เกิดแก่ภิกษุนั้นว่า เพราะทำกรรมนี

นี้ชื่อว่ายถากัมมูปคญาณ. การบริกรรมต่างออกไปจากนี้ไม่มีแก่ภิกษุนี้.

แม้อนาคตังสญาณก็เหมือนญาณนี้. จริงอยู่ ญาณเหล่านี้มีทิพจักขุญาณ

เป็นบาท ย่อมสำเร็จพร้อมด้วยทิพจักษุนั่นเอง.

บทว่า อิเม ในบทมีอาทิว่า อิเม วต โภนฺโต เป็นบท

ขยายความของผู้เห็นด้วยทิพจักษุ.

บทว่า วต เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งความรำพึงถึง

บทว่า โภนฺโต คือ ผู้เจริญทั้งหลาย. ชื่อว่าทุจริต เพราะ

ประพฤติด้วยความชั่ว. หรือประพฤติความชั่ว เพราะเน่าด้วยกิเลส.

ชื่อว่ากายทุจริต เพราะประพฤติชั่วทางกาย. หรือความประพฤติชั่วเกิด

ขึ้นทางกาย. แม้ในบทนอกนั้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า สมนฺนาคตา - ประกอบแล้ว คือ มีความพร้อมแล้ว.

บทว่า อริยาน อุปวาทกา - ติเตียนพระอริยเจ้า คือ เป็นผู้

ใคร่ความพินาศแก่พระอริยเจ้า ผู้เป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า

และพระสาวกโดยที่สุด แม้แกคฤหัสถ์ผู้เป็นโสดาบัน ติเตียนด้วยอัน-

ติมวัตถุ หรือด้วยการกำจัดคุณ. อธิบายว่า ด่า ติเตียน. กล่าวว่า

สมณธรรมไม่มีแก่ท่านเหล่านี้ ท่านเหล่านี้มิใช่สมณะ. พึงทราบว่า

ชื่อว่าติเตียนด้วยอันติมวัตถุ. กล่าวคำมีอาทิว่า ฌาน วิโมกข์ มรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1030

หรือผล ไม่มีแก่ท่านเหล่านี้ พึงทราบว่า ชื่อว่าติเตียนด้วยการกำจัด

คุณ. แต่ผู้นั้นรู้หรือไม่รู้พึงติเตียน. แม้ทั้งสองอย่าง ชื่อว่าเป็นอัน

ติเตียนพระอริยเจ้า. กรรมหนักห้ามสวรรค์และห้ามมรรคเช่นเดียวกับ

อนันตริยกรรม แต่เป็นสเตกิจฉา คือ พอเยียวยาได้. เพราะฉะนั้น

ผู้ใดติเตียนพระอริยเจ้า. หากพระอริยเจ้าเป็นผู้ใหญ่กว่าตน ควรไปหา

พระอริยเจ้านั้นนั่งกระโหย่งขอขมาว่า กระผมได้กล่าวคำนี้ ๆ กะท่าน

ขอท่านได้โปรดอดโทษให้แก่กระผมเถิด.

หากพระอริยเจ้าอ่อนกว่า ควรนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี ขอ

ให้ยกโทษว่า ท่านขอรับกระผมได้กล่าวคำนี้ ๆ กะท่าน ขอท่านได้โปรด

อดโทษให้แก่ผมเถิด.

หากพระอริยเจ้าหลีกไปในทิศ. ควรไปเองหรือส่งสัทธิวิหาริก

เป็นต้น ไปขอให้ท่านอดโทษ.

หากไม่สามารถไปได้หรือไม่สามารถส่งไปได้ ควรไปหาภิกษุ

ทั้งหลายที่อยู่ในวิหารนั้น.

หากภิกษุทั้งหลายอ่อนกว่า ควรนั่งกระโหย่ง. หากแก่กว่า ควร

ปฏิบัติโดยนัยดังกล่าวแล้วในพระอริยเจ้าผู้ใหญ่นั่นแหละ. แล้วกล่าวว่า

ท่านขอรับกระผมได้กล่าวคำนี้ ๆ กะพระคุณเจ้าชื่อโน้น. ขอพระคุณเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1031

โน้นจงอดโทษให้แก่กระผมเถิด. แม้เมื่อไม่ขอขมาต่อหน้าก็ควรทำเช่น

นี้แหละ.

หากภิกษุเที่ยวไปรูปเดียว ที่นั้นมิใช่ที่อยู่ของภิกษุนั้น. ที่ไปก็

ไม่ปรากฏ. ควรไปหาภิกษุผู้ฉลาดรูปหนึ่งแล้วกล่าวว่า ท่านขอรับ

กระผมได้กล่าวคำนี้ ๆ กะพระคุณเจ้าชื่อโน้น. เมื่อกระผมนึกถึงคำนั้น

จึงมีความร้อนใจ กระผมจะทำอย่างไรดี. ภิกษุรูปนั้นจักกล่าวว่า อย่า

คิดมากไปเลยคุณ. พระเถระอดโทษให้คุณแล้ว จงสงบใจเสียเถิด.

แม้ด้วยเหตุนั้น ก็ควรประคองอัญชลีไปทางทิศที่พระอริยเจ้าไป

แล้วกล่าวว่า ขอได้โปรดอดโทษเถิด. ผิว่า พระอริยเจ้านั้นปรินิพพาน

เสียแล้ว. ควรไปยังเตียงที่ปรินิพพาน แล้วไปยังป่าช้าขอให้อดโทษให้.

เมื่อทำอย่างนี้ไม่ห้ามสวรรค์. ไม่ห้ามมรรค. เป็นไปตามปกติ.

บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิกา ได้แก่ มีความเห็นวิปริต.

บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิกมฺมสมาทานา - ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ

มิจฉาทิฏฐิ คือ ผู้ที่ชักชวนแม้ผู้อื่นในกายกรรมเป็นต้น มีมิจฉาทิฏฐิ

เป็นมูล ชื่อว่าเป็นอันยึดถือกรรมมีอย่างต่าง ๆ ด้วยอำนาจแห่งมิจฉา-

ทิฏฐิ.

อนึ่ง การกล่าวบททั้งสองนี้ ในการติเตียนพระอริยเจ้าด้วยศัพท์

ว่า วจีทุจริต และในมิจฉาทิฏฐิ แม้ที่ท่านสงเคราะห์ด้วยศัพท์ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1032

มโนทุจริต พึงทราบว่า เพื่อแสดงถึงความมีโทษมาก. จริงอยู่ การ

ติเตียนพระอริยเจ้ามีโทษมาก เพราะเช่นกับอนันตริยกรรม. แม้พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุถึงพร้อม

ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา พึงยังอรหัตผลให้สำเร็จ

ในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด. ดูก่อนสารีบุตร เรา

กล่าวข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น. ผู้นั้นไม่ละวาจาเสีย

ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย

ก็เที่ยงแท้ที่จะไปสู่นรก.

อนึ่ง โทษอื่นมีโทษมากกว่ามิจฉาทิฏฐิไม่มี. สมดังที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้

สักอย่างเดียวที่มีโทษมากเหมือนมัจฉาทิฏฐินี้เลย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษทั้งหลายมีมิจาฉาทิฏฐิ

เป็นอย่างยิ่ง.

บทว่า กายสฺส เภทา - เพราะกายแตก คือ เพราะสละ

ขันธ์มีใจครอง.

๑. ม. มู. ๑๒/๑๖๗. ๒. องฺ. เอกก. ๒๐/๑๙๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1033

บทว่า ปรมฺมรณา - เมื่อตายไป คือ ในการถือเอาขันธ์ที่เกิด

ในลำดับนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กายสฺส เภทา คือ เพราะตัดชีวิตินทรีย์.

บทว่า ปรมฺมรณา คือ ก่อนจุติจิต.

บททั้งปวงมีอาทิอย่างนี้ว่า อปาย เป็นไวพจน์ของนรก. ชื่อว่า

นิริยะ เพราะปราศจากความเจริญอันสมมติว่าเป็นบุญอันเป็นเหตุแห่ง

สวรรค์และนิพพาน. ชื่อว่า อบาย เพราะไม่มีความสุขหรือความเจริญ.

ชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็นทาง เป็นที่อาศัยของทุกข์.

อีกอย่างหนึ่ง คติเกิดด้วยกรรมชั่ว เพราะมีโทษมาก ชื่อว่า

ทุคติ. ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นที่ตกไปแห่งความหมดอำนาจของ

คนทำชั่ว.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นที่ตกไปแห่งความ

พินาศ คือ อวัยวะน้อยใหญ่ทำลายพินาศไป. ชื่อว่า นิรยะ เพราะ

ไม่มีความเจริญ ที่รู้กันว่าเป็นความชื่นใจ.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านแสดงถึงกำเนิดเดียรัจฉานด้วย อปาย ศัพท์.

กำเนิดเดียรัจฉาน ชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากสุคติ. ทุคติมิใช่

อบาย เพราะนาคราชเป็นต้น ผู้มีศักดิ์ใหญ่ก็เกิด. ท่านแสดงปิตติวิสัย

คือที่อยู่ของเปรต ด้วย ทุคฺคติ ศัพท์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1034

จริงอยู่ปิตติวิสัยเป็นทั้งอบายและทุคติ เพราะปราศจากสุคติ

และเพราะเป็นทางไปแห่งทุกข์. ส่วนวินิบาตไม่ใช่ปีตติวิสัย เพราะไม่

ตกไปเช่นอสูร. ท่านแสดงอสุรกาย ด้วย วินิปาต ศัพท์. เพราะอสุร-

กายนั้นเป็นทั้งอบาย และทุคติด้วยอรรถดังกล่าวแล้ว. ท่านเรียกว่า

วินิบาต เพราะร่างกายทั้งหมดตกไป. ท่านแสดงนรกเท่านั้นมีประการ

ไม่น้อย มีอเวจีเป็นต้น ด้วย นิรย ศัพท์.

บทว่า อุปปนฺนา คือ เข้าถึงแล้ว ได้แก่ เกิดแล้ว. พึง

ทราบธรรมฝ่ายขาวโดยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

ต่อไปนี้เป็นความพิเศษ. ท่านสงเคราะห์คติของมนุษย์ด้วย

สุคติ ศัพท์. สงเคราะห์คติของเทวดา ด้วย สัคค ศัพท์.

ในบทว่า สุคตึ สคฺค โลก นั้นมีความดังนี้ ชื่อว่า สุคติ

เพราะไปดี. ชื่อว่า สัคคะ เพราะเลิศดีด้วยวิสัยมีรูปเป็นต้น. แม้

ทั้งหมดนั้นชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่าทำลาย. นี้เป็นการอธิบายคำ.

บททั้งหมดมีอาทิว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา - ด้วยทิพจักษุ เป็นคำสรุป ด้วย

ประการฉะนี้. ความสังเขปในบทนี้มีอย่างนี้ว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา

ปสฺสติ - ย่อมเห็นด้วยทิพจักษุ.

จบ อรรถกถาทิพจักขุญาณนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1035

ในญาณ ๕ เหล่านี้ อิทธิวิธญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๗

ด้วยสามารถแห่งปริตตารมณ์ ๑ มหัคคตารมณ์ ๑ อตีตารมณ์ ๑

อนาคตารมณ์ ๑ ปัจจุปันนารมณ์ ๑ อัชฌัตตารมณ์ ๑ พหิทธา-

รมณ์ ๑.

โสตธาตุวิสุทธิญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๔ ด้วยสามารถ

แห่งปริตตารมณ์ ๑ ปัจจุปันนารมณ์ อัชฌัตตารมณ์ ๑ พหิทธา-

รมณ์ ๑.

เจโตปริยญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๘ ด้วยสามารถแห่ง

ปริตตารมณ์ ๑ มหัคคตารมณ์ ๑ อัปปมาณารมณ์ ๑ มัคคารมณ์ ๑

อตีตารมณ์ ๑ อนาคตารมณ์ ๑ ปัจจุปันนารมณ์ ๑ พหิทธารมณ์ ๑

บุพเพนิวาสานุสติญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๘ ด้วย

สามารถแห่งปริตตารมณ์ ๑ มหัคคตารมณ์ ๑ อัปปมาณารมณ์ ๑

มัคคารมณ์ ๑ อตีตารมณ์ ๑ อัชฌัตตารมณ์ ๑ พหิทธารมณ์ ๑

นวัตตัพพารมณ์ ๑.

ทิพจักขุญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๔. ด้วยสามารถแห่ง

ปริตตารมณ์ ๑ ปัจจุปันนารมณ์ ๑ อัชฌัตตารมณ์ ๑ พหิทรารมณ์ ๑.

ยถากัมมูปคญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๕ ด้วยสามารถ

แห่งปริตตารมณ์ มหัคคตารมณ์ ๑ อตีตารมณ์ ๑ อัชฌัตตารมณ์ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1036

พหิทธารมณ์ ๑.

อนาคตังสญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๘ ด้วยสามารถแห่ง

ปริตตารมณ์ ๑ มหัคคตารมณ์ ๑ อัปปมาณารมณ์ ๑ มัคคารมณ์ ๑

อนาคตารมณ์ ๑ อัชฌัตตารมณ์ ๑ พหิทธารมณ์ ๑ นวัตตัพพารมณ์ ๑.

จบ ปัญจญาณปกิณกะ

อาสวักขยญาณนิทเทส

[๒๕๘]ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓

ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณอย่างไร ?

อินทรีย์ ๓ ประการเป็นไฉน คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ๑

อัญญินทรีย์ ๑ อัญญาตาวินทรีย์ ๑.

อันญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ย่อม

ถึงฐานะเท่าไร อัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร ?

อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ โสดาปัตติมรรค

อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สก-

ทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตมรรค อัญญาตาวินทรีย์

ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ อรหัตผล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1037

[๒๕๙] ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์

มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร วีริยินทรีย์มีการประคอง

ไว้เป็นบริวาร สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความ

ไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์

มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร โสมนัสสินทรีย์มีความยินดีเป็นบริวาร ชีวิ-

ตินทรีย์ มีความเป็นอธิบดี ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไป เป็นบริวาร

ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติมรรค นอกจากรูปซึ่งมีจิตเป็น

สมุฏฐาน เป็นกุศลทั้งหมดนั่นแล ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นธรรมเครื่อง

นำออก เป็นธรรมเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม เป็นโลกุตระ มีนิพพาน

เป็นอารมณ์ ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ มี

อินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่น ๆ

เป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็น

บริวาร เป็นสหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยกัน

ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและเป็นบริวารของอนัญญาตัญญัสสามีติน-

ทรีย์นั้น.

[๒๖๐] ในขณะโสดาปัตติผล อัญญินทริย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมี

ความน้อมใจเธอเป็นบริวาร ... ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติผล

ทั้งหมดนั่นแลเป็นอัพยากฤต นอกจากรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ล้วน

ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ในขณะโสดาปัตติผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1038

อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร...ธรรม

เหล่านั้นแลเป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญินทรีย์นั้น.

[๒๖๑] ในขณะสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะสกทาคามิผล

ฯลฯ ในขณะอนาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะอนาคามิผล ฯลฯ

ในขณะอรหัตมรรค อัญญินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจ

เชื่อเป็นบริวาร ฯลฯ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นอธิบดีในความสืบต่อที่

กำลังเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตมรรค นอก

จากรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ทั้งหมดนั่นแลเป็นกุศลแล้ว ไม่มีอาสวะ เป็น

ธรรมเครื่องนำออก เป็นธรรมเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม เป็นโลกุตระ

มีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะอรหัตมรรค อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ ๘

ประการนี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร . . . ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการ

และเป็นบริวารของอัญญินทรีย์นั้น.

[๒๖๒] ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์มีสัทธินทรีย์

ซึ่งมีความน้อมใจเธอเป็นบริวาร วีริยินทรีย์มีการประคองไว้เป็นบริวาร

สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็น

บริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้ง

เป็นบริวาร โสมนัสสินทรีย์มีความยินดีเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความ

เป็นอธิบดีในการสืบต่อ ที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิด

ในขณะอรหัตผล ทั้งหมดนั่นแลเป็นอัพยากฤตนอกจากรูปที่มีจิตเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1039

สมุฏฐาน ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ใน

ขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมีสหชาตธรรม

เป็นบริวาร มีธรรมอื่น ๆ เป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร

มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร เป็นสหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้อง

กัน ประกอบด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและเป็นบริวารของ

อัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ ๘ หมวดเหล่านี้ รวมเป็นอาการ ๖๔

ด้วยประการฉะนี้.

[๒๖๓] คำว่า อาสวะ ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน ?

อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.

อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามา-

สวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไป

เพราะโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะโสดาปัตติมรรค

นี้ กามาสวะส่วนหยาบ ๆ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับ

กามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปเพราะสกทาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้น

ไปในขณะสกทาคามิมรรคนี้ กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ

ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมในรูปเพราะอนาคามิมรรค อาสวะ

เหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะอนาคามิมรรคนี้ ภวาสวะ อวิชชาสวะทั้งสิ้น

ย่อมสิ้นไปเพราะอรหัตมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะอรหัต-

มรรคนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1040

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความเป็นผู้มีความ

ชำนาญ ในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ.

๕๕. อรรถกถาอาสวักขยญาณนิทเทส

[๒๕๘ - ๒๖๓] พึงทราบวินิจฉัยในอาสวักขยญาณนิทเทสดังต่อ

ไปนี้. บทมีอาทิว่า อนญฺาตญฺสฺสามีตินฺทฺริย มีอรรถดังได้กล่าว

แล้ว.

บทว่า กติ านานิ คจฺฉติ - ย่อมถึงฐานะเท่าไร เป็นคำถาม

เพื่อกำหนดฐานะที่เกิดของอินทรีย์หนึ่ง ๆ.

บทว่า เอก าน คจิฉติ - ย่อมถึงฐานะ ๑ ท่านอธิบายว่า

ย่อมเกิดในฐานะ ๑. ฐานะโอกาสที่เกิด ท่านกล่าวว่า ฐานะ เพราะ

มีที่ตั้ง

บทว่า ฉ านานิ - ฐานะ ๖ คือ ในขณะมรรคและผล ๖.

ในอินทรีย์ ๓ มีอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์เป็นต้นแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย

เพื่อแสดงว่า อินทรีย์หนึ่ง ๆ เป็นอินทรีย์ยิ่ง. ท่านจึงกล่าวบทมีอาทิ

ว่า สทฺธินฺทฺริย อธิโมกฺขปริวาร โหติ - มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจ

เชื่อเป็นบริวาร. ท่านกล่าวอธิโมกข์เป็นต้น ด้วยสามารถกิจแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1041

สัทธินทรีย์เป็นต้น ในบทมีอาทิว่า สทฺธินฺทฺริยสฺส อธิโมกฺขฏฺโ-

มีอรรถว่าน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ฉันใด. แม้ในที่นี้ก็ฉันนั้น ท่าน

กล่าวว่า บทว่า อธิโมกฺขปริวาร โหติ - เป็นบริวารของการน้อมใจ

เชื่อ คือ สัทธินทรีย์เป็นบริวารด้วยกิจแห่งการน้อมใจเชื่อ. แม้ในบท

ที่เหลือ ก็มีนัยนี้.

บทว่า ปริวาร เป็นลิงควิปลาศ.

บทว่า ปญฺินฺทิริย - ปัญญินทรีย์ ท่านกล่าว อนัญญาตัญ-

ญัสสามีตินทรีย์นั่นแหละทำไว้ต่างหากเพื่อแสดงสภาพรู้. แม้ในอภิ-

ธรรม ท่านก็จำแนกปัญญาหนึ่งไว้ ๘ ส่วน ในขณะมรรคและในขณะ

ผล เพื่อแสดงความพิเศษของกิจด้วยปัญญา.

บทว่า อภิสนฺทนปริวาร - มีความยินดีเป็นบริวาร คือ โสมนัส-

สินทรีย์เป็นบริวารแห่งจิตและเจตสิก ด้วยกิจคือความเนหาดุจน้ำเป็น

บริวารแห่งจุณเครื่องฟอกตัวในเวลาอาบน้ำ. บทนี้ ท่านกล่าวด้วย

สามารถมรรคอันสัมปยุตด้วยโสมนัส. พึงเห็นอุเบกขินทรีย์ในฐานะ

แห่งโสมนัสสินทรีย์ ในมรรคอันสัมปยุตด้วยอุเบกขา.

อนึ่ง พึงถือเอาอุเบกขินทรีย์นั้นว่า มีความไม่เพิ่มขึ้นเป็นบริวาร

ของสัมปยุตธรรมทั้งหลาย.

๑. ขุ. ป. ๓๑/๓๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1042

บทว่า ปวตฺตสนฺตตาธิปเตยฺยปริวาร - ชีวิตินทรีย์มีความเป็น

อธิบดี ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร คือความสืบต่อที่กำลัง

เป็นไป ชื่อว่า ปวัตตสันตตี. อธิบายว่า สันดานที่กำลังเป็นไปอยู่.

ความเป็นแห่งอธิบดี ชื่อว่า อธิปเตยยะ ความเป็นอธิบดีแห่งความ

สืบต่อที่กำลังเป็นไป ชื่อว่า ปวัตตสันตตาธิปเตยยะ.

ชีวิตินทรีย์เป็นบริวารแห่งอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เพราะ

เป็นปัจจัยแห่งความเป็นไป เบื้องบนของชีวิตนทรีย์ที่กำลังเป็นไปอยู่

และเพราะความเป็นอธิบดีของความสืบต่อที่เป็นไป ด้วยสามารถแห่ง

เบื้องต้นและเบื้องปลาย.

บทมีอาทิว่า โสตาปตฺติมคฺคกฺขเณ ชาตา ธมฺมา - ธรรม

ทั้งหลายเกิดในขณะแห่งโสดาปัตติผล ท่านกล่าว เพื่อแสดงถึงคุณแห่ง

ธรรมสัมปยุตด้วยมรรคทั้งปวง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มคฺคกฺขเณ ชาตา - ธรรมทั้งหลาย

เกิดในขณะแห่งมรรค คือ ธรรมที่ตั้งอยู่ในมรรคอย่างนั้น. มิใช่ธรรม.

อื่น. เพราะรูปแม้ตั้งอยู่ในมรรค ก็ไม่ได้ชื่อว่ากุศลเป็นต้น. ฉะนั้น

เมื่อนำรูปนั้นออกไป จึงกล่าวว่า เปตฺวา จิตฺตสมุฏฺาน รูป -

นอกจากรูปมิจิตเป็นสมุฏฐาน. เพราะว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น

เป็นกุศล ด้วยอรรถว่ามีการทำลายสิ่งน่าเกลียดเป็นต้น. ธรรมเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1043

ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว เป็นไปอยู่. ชื่อว่า อนาสวา - เพราะ

ไม่มีอาสวะ.

ธรรมทั้งหลายตัดมูลแห่งวัฏฏะ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า

นิยฺยานิกา เพราะนำออกจากวัฏฏะ.

ธรรมที่กล่าวคือ กุศล อกุศล ชื่อว่า อปจยคามิโน เพราะ

ทำนิพพาน กล่าวคือ ความไม่สะสม เพราะความปราศจากไปให้เป็น

อารมณ์แล้วเป็นไป ย่อมถึงความไม่สะสม.

ชื่อว่า อปจยคามิโน เพราะไม่สะสม คือ กำจัดสิ่งที่เป็นไป

อยู่บ้าง.

ชื่อว่า โลกุตฺตรา เพราะข้ามออกไปจากโลก โดยความไม่

เกี่ยวเนื่องในโลก.

ชื่อว่า นิพฺพานารมฺมณา เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์.

บทมีอาทิว่า อิมานิ อฏฺินฺทฺริยานิ มีอินทรีย์ ๘ ท่านกล่าว

เพื่อแสดงความเป็นบริวารดังกล่าวแล้วในตอนก่อน ความเป็นธรรม

มีอาทิ สหรคตด้วยอินทรีย์นั้น และอาการดังได้กล่าวแล้วในเบื้องต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺินฺทฺริยานิ คือ อินทรีย์ ๘

พร้อมด้วยปัญญินทรีย์ มีนัยดังกล่าวแล้วในตอนก่อน.

บทว่า สหชาตปริวารา - มีสหชาตเป็นบริวาร คือ อินทรีย์ ๗

นอกนั้น พร้อมด้วยอินทรีย์หนึ่ง ๆ ในอินทรีย์ ๘ เป็นสหชาต จึงชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1044

มีสหชาตของอินทรีย์นั้นเป็นบริวาร. อนึ่ง ธรรมอื่น ๆ เป็น อญฺ-

มญฺปริวารา คือ มีธรรมอื่น ๆ เป็นบริวาร ด้วยประการฉะนี้. ธรรม

ทั้งหลาย มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร

ของกันและกันก็อย่างนั้นเหมือนกัน.

บทว่า สทคตา คือ ถึงภาวะมีเกิดร่วมกันกับอนัญญาตัญญัส-

สามีตินทรีย์นั้น.

บทว่า สหชาตา คือ เกิดพร้อมกันกับอนัญญาตัญญัสสามี-

ตินทรีย์นั้น.

บทว่า สสฏฺา คือ เกี่ยวข้องกันกับอนัญญาตัญญัสสามีติน-

ทรีย์นั้น.

บทว่า สมฺปยุตฺตา คือ ประกอบด้วยประการมีเกิดร่วมกัน

เสมอกับด้วยอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น.

บทว่า เตว ได้แก่ ธรรม คือ อินทรีย์ ๘ เหล่านั้นนั่นเอง.

บทว่า ตสฺส ได้แก่ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์.

บทว่า อาการา คือ ส่วนที่เป็นบริวาร.

บทว่า ผลกฺขเณ ชาตา ธมฺมา สพฺเพว อพฺยากตา โหนฺติ-

ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะผล ทั้งหมดเป็นอัพยากฤต คือ ท่านกล่าว

พร้อมกับรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เพราะแม้รูปก็เป็นอัพยากฤต. ท่าน

ไม่กล่าวว่า เป็นกุศล เป็นนิยยานิกะ และเป็นอปจยคามี ในขณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1045

ผล เพราะมรรคเป็นกุศล เป็นนิยยานิกะ และเป็นอปจยคามี. บท

มีอาทิว่า อิติ เป็นบทสรูป มีประการดังกล่าวแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฏฺกานิ - อินทรีย์ ๘ หมวด คือ

หมวด ๘ แห่งอินทรีย์ อย่างละ ๘ ด้วยสามารถหมวด ๘ หมวด

หนึ่ง ๆ ในมรรคและผล ๘.

บทว่า จตุสฏฺี โหนฺติ คือ รวมเป็นอาการ ๖๔.

บทมีอาทิว่า อาสวา มีความดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

ในที่นี้ พึงทราบว่า ท่านมิได้กล่าวถึงอาสวะอันทำลายด้วย

อรหัตมรรคเท่านั้น กล่าวถึงการทำลายด้วยมรรค ๓ หมวดที่เหลือ โดย

เพียงเป็นคำกล่าวธรรมดาถึงความสิ้นอาสวะ. เพราะท่านกล่าวถึงอรหัต-

มรรคญาณว่า ขเย าณ - ญาณในความสิ้นไป เพราะสิ้นอาสวะไม่

มีอาสวะไร ๆ เหลือเลย. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระอรหันต์ขีณาสพ

ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาอาสวักขยญาณนิทเทส

สัจญาณจตุกทวยนิทเทส

[๒๖๔] ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งควรกำหนดรู้ เป็นทุกขญาณ

ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งควรละ เป็นสมุทยญาณ ปัญญาในอรรถว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1046

เป็นสิ่งควรทำให้แจ้ง เป็นนิโรธญาณ ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งควร

เจริญ เป็นมรรคญาณ อย่างไร ?

สภาพบีบคั้น สภาพเดือดร้อน สภาพปัจจัยปรุงแต่ง สภาพ

แปรปรวน สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งทุกข์ สภาพที่ประมวลมา สภาพ

เป็นเหตุ สภาพที่เกี่ยวข้อง ภาพพัวพัน สภาพที่ควรละแห่งสมุทัย

สภาพที่สลัดออก สภาพที่สงัด ภาพอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาพเป็น

อมตะ สภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่งนิโรธ สภาพที่นำออก สภาพที่เป็น

เหตุ สภาพที่เห็น สภาพที่เป็นอธิบดี ภาพที่ควรเจริญแห่งมรรค.

ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่า ปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความกำหนด

เป็นทุกขญาณ ปัญญาในความละ เป็นสมุทยญาณ ปัญญาในความ

ทำให้แจ้ง เป็นนิโรธญาณ ปัญญาในความเจริญเป็นมรรคญาณ.

[๒๖๕] ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกข-

นิโรธคามินีปฏิปทาญาณ อย่างไร ? ญาณของท่านผู้มีความพร้อม

เพรียงด้วยมรรคนี้ เป็นทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ.

[๒๖๖] ในญาณเหล่านั้น ทุกขญาณเป็นไฉน ?

ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ความเลือกเฟ้น ความค้นคว้า ความ

สอดส่องธรรม ความกำหนดดี ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1047

เฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความเป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้ละเอียด ความ

แจ่มแจ้ง ความคิด ความพิจารณา ปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน ปัญญา

อันทำลายกิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ความเห็นแจ้ง ความรู้ทั่วพร้อม

ปัญญาดังปฏัก ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาดังศาสตรา

ปัญญาดังปราสาท ปัญญาเป็นแสงสว่าง ปัญญาเป็นรัศมี ปัญญารุ่งเรือง

ปัญญาดังรัตนะ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ

ที่ปรารภทุกข์เกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขญาณ.

[๒๖๗] ฯลฯ ปรารภทุกขสมุทัย ฯลฯ ปรารภทุกขนโรธ

ฯลฯ ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้น

ธรรม สัมมาทิฏฐิที่ปรารภทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้ท่าน

กล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ

ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ.

๕๖ - ๖๓. อรรถกถาสัจญาณจตุกทวยนิทเทส

๒๖๔ - ๒๖๗] พึงทราบวินิจฉัยในสัจญาณจตุกทวยนิทเทสดัง

ต่อไปนี้. บทมีอาทิว่า ทุกฺขสฺส ปิฬนฏฺโ - สภาพบีบคั้นแห่งทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1048

มีอรรถดังได้กล่าวไว้แล้ว. บทมีอาทิว่า มคฺคสมงฺคิสฺส าณ ทุกฺเข-

เปต าณ - ญานของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรคนี้ เป็น

ทุกขญาณ ท่านกล่าวด้วยสามารถการตรัสรู้อย่างเดียว ดุจในหมวด ๔

ตามลำดับ. จริงอยู่ สัจญาณมี ๒ อย่าง คือ โลกิยะ ๑ โลกุตระ ๑.

โลกิยะมี ๒ คือ อนุโพธญาณ ๑ ปัจจเวกขณญาณ ๑.

อนุโพธญาณ ย่อมเป็นไปในนิโรธและมรรค ด้วยสามารถ

การได้ฟังมาเป็นต้นของอาทิกรรมิกภิกษุ. ย่อมเป็นไปในทุกข์และ

สมุทัย ด้วยสามารถทำให้เป็นอารมณ์.

ปัจจเวกขณญาณ ย่อมเป็นไปในสัจจะแม้ ๔ ของภิกษุผู้แทง

ตลอดสัจจะแล้ว ด้วยสามารถทำให้เป็นอารมณ์. ปฏิเวธญาณอันเป็น

โลกุตระทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ ย่อมแทงตลอดสัจจะ ๔ โดยกิจ.

เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเห็นทุกข์. ผู้นั้น

ย่อมเห็นแม้ทุกขสมุทัย. ย่อมเห็นแม้ทุกขนิโรธ.

ย่อมเห็นแม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้.

พึงกล่าวถึงทุกข์ทั้งหมด. แม้ในนิทเทสนี้ ท่านก็กล่าวถึงทุกข์นี้แหละ

โดยวาระนี้. อนึ่ง แม้โลกุตระนั้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่า โลกุตระ

ย่อมได้ซึ่งชื่อทั้งหลาย มีอาทิว่า ทุกฺเข าณ - การรู้ทุกข์. แต่ในที่นี้

๑. ส. มหา. ๑๙/๑๗๑๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1049

ท่านประสงค์เอาโลกิยญาณเท่านั้น. เพราะฉะนั้น พระสารีบุตรเถระ

จึงกล่าวว่า ตตฺถ ตม ทุกฺเข าณ - ในญาณเหล่านั้น ทุกขญาณ

เป็นไฉน ?

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺข อารพฺภ - ปรารภทุกข์ คือ

หน่วงเหนี่ยวทุกขสัจ. คือทำให้เป็นอารมณ์.

ในบทมีอาทิว่า ปญฺา พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้. ชื่อว่า

ปัญญา เพราะอรรถว่าให้รู้ กล่าวคือ ทำอรรถนั้น ๆ ให้ปรากฏ. อีก

อย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปัญญา เพราะรู้ธรรมทั้งหลาย โดยประการนั้น ๆ

มีความไม่เที่ยงเป็นต้น. บทนี้ เป็นสภาวบทของปัญญานั้น. อาการ

รู้ชัด ชื่อ ปชานนา. ชื่อว่า วิจยะ เพราะเลือกเฟ้นถึงความไม่เที่ยง

เป็นต้น. บทว่า ปวิจยะ - ความค้นคว้า เพิ่มบทอุปสรรคลงไป ได้แก่ห

ความเลือกเฟ้นโดยทั่วไป. ชื่อว่า ธรรมวิจยะ เพราะความสอดส่อง

จตุสัจธรรม.. ชื่อว่า สัลลักขณะ - ความกำหนดดี ด้วยสามารถการ

กำหนดความไม่เที่ยงเป็นต้นโดยชอบ. ท่านกล่าวว่า สัลลักขณานั้น

แหละ คือ อุปลักขณา - ความเข้าไปกำหนด ปัจจุปลักขณา - ความ

เข้าไปกำหนดเฉพาะ โดยต่างกันที่อุปสรรค. อธิบายว่า การกำหนด

อย่างสูง ชื่อว่า ความเข้าไปกำหนดอาศัยธรรมมีความไม่เที่ยงเป็นต้น

เหล่านั้นๆ. ความเป็นบัณฑิต ชื่อว่า ปณฺฑิจฺจ. ความเป็นผู้ฉลาด

ชื่อว่า โกสลฺล. ความเป็นผู้ละเอียด ชื่อว่า เนปุญฺ. ชื่อว่า เวภพฺยา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1050

คือความแจ่มแจ้ง ด้วยสามารถยังความไม่เที่ยงเป็นต้นให้แจ่มแจ้ง. ชื่อว่า

จินฺตา - ความคิด ด้วยสามารถคิดถึงความไม่เที่ยงเป็นต้น. อนึ่ง ชื่อว่า

จินฺตา - เพราะยังบุคคลที่เกิดความคิดให้คิดถึงความไม่เที่ยงเป็นต้น. ชื่อ

ว่า อุปปริกฺขา เพราะพิจารณาถึงความไม่เที่ยงเป็นต้น.

บทว่า ภูริ คือ แผ่นดิน. ชื่อว่า ภูริ เพราะมีปัญญาดุจ

แผ่นดิน ด้วยอรรถว่าละเอียด และด้วยอรรถว่ากว้างขวาง. อีกอย่าง

หนึ่ง ปัญญานั้นแหละ ท่านกล่าวว่า ภูริ เพราะอรรถว่ายินดีใน

อรรถที่เป็นจริง.

ชื่อว่า เมธา เพราะอรรถว่าฆ่า คือ ทำลายกิเลสดุจสายฟ้า

ทำลาย สิ่งที่ก่อด้วยหิน ฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เมธา เพราะอรรถว่าถือเอาและทรงไว้

ได้เร็ว.

ชื่อว่า ปริณายิกา เพราะอรรถว่า ย่อมนำผู้ที่ญาณเกิดไปใน

สัมปยุตธรรมและปฏิเวธธรรม อันกำหนดตามความเป็นจริงในการ

ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ตน.

ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะอรรถว่าเห็นธรรมหลายอย่าง ด้วย

สามารถความไม่เที่ยงเป็นต้น.

ชื่อว่า สัมปชานะ เพราะรู้ความไม่เที่ยงเป็นต้นโดยชอบ.

ความเป็นแห่งความรู้พร้อมนั้น ชื่อว่า สัมปชัญญะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1051

ชื่อว่า ปโตโท - ปัญญาดังปฏัก เพราะทิ่มแทงจิตโกงอันแล่น

ไปนอกทางเพื่อให้เข้าทาง ดุจปฏักทิ่มแทงม้าที่วิ่งไปนอกทางเพื่อให้ขึ้น

ถนน ฉะนั้น.

ชื่อว่า อินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ เพราะอรรถว่าทำความ

เป็นใหญ่ ในลักษณะเห็น. ความเป็นใหญ่ คือ ปัญญา ชื่อว่า

ปัญญินทรีย์. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านไม่กล่าวบทนี้ว่า อินทรีย์

แห่งปัญญา ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ ดุจบทมีอาทิว่า ปุริสสฺส อินฺทฺริย

ปุริสินฺทฺริย - อินทรีย์ของบุรุษ ชื่อว่า ปุริสินทรีย์. เมื่อเป็นเช่นนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า อินทรีย์ คือ ปัญญานั่นแหละ ชื่อว่า ปัญญินทรีย์

คือปัญญาเป็นใหญ่.

ชื่อว่า ปัญญาพละ คือ ปัญญาเป็นกำลัง เพราะไม่หวั่นไหว

ไปด้วยอวิชชา.

ปัญญาเป็นดังศัสตรา เพราะอรรถว่าตัดกิเลส จึงชื่อว่า ปัญญา

ดังศาสตรา.

ปัญญาเป็นดังปราสาท เพราะอรรถว่าขึ้นไปสูง จึงชื่อว่า ปัญญา

ดังปราสาท.

ปัญญาเป็นดังแสงสว่าง เพราะอรรถว่าทำให้สว่าง จึงชื่อว่า

ปัญญาเป็นแสงสว่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1052

ปัญญาเป็นรัศมี เพราะอรรถว่าทำให้สว่าง จึงชื่อว่า ปัญญา

เป็นรัศมี.

ปัญญารุ่งเรือง เพราะอรรถว่าทำให้สว่างไสว จึงชื่อว่า ปัญญา

รุ่งเรือง.

จริงอยู่ โลกธาตุหนึ่งหมื่น มีแสงเป็นอันเดียว มีความสว่าง

เป็นอันเดียว มีความรุ่งเรืองเป็นอันเดียว ย่อมปรากฏแก่ผู้มีปัญญา

ผู้นั่งโดยบัลลังก์เดียว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวบท ปญฺา ปชฺโชโต

นั้น.

อนึ่ง ใน ๓ บทนี้ แม้ด้วยบทหนึ่งก็สำเร็จความอย่างเดียวกัน

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตร ด้วยอัธยาศัยของสัตว์

ทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างมี ๔ อย่าง

คือ แสงสว่างของดวงจันทร์ ๑ แสงสว่างของดวง

อาทิตย์ ๑ แสงสว่างของไฟ ๑ แสงสว่างของ

ปัญญา ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่าง ๔ อย่าง

เหล่านี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่าง ๔

เหล่านี้ แสงสว่างแห่งปัญญาเป็นเลิศกว่าแสงสว่าง

เหล่าอื่น.

๑. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๑๔๔,๑๔๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1053

แม้ในนิทเทสนี้ พระเถระก็แสดงโดยอนุรูปแก่พระสูตรนั้น. เพราะ

ท่านจำแนกความอันมีอยู่โดยอาการไม่น้อย. ทั้งผู้อื่นย่อมรู้โดยประการ

อื่น.

ปัญญาดังรัตนะ เพราะอรรถว่าทำความยินดี ให้ความยินดี ยัง

ความยินดีให้เกิด ทำให้วิจิตรหาได้ยาก ชั่งไม่ได้ เป็นของใช้ของสัตว์

อย่างงาม จึงชื่อว่า ปญฺารตน - ปัญญาดังรัตนะ.

ชื่อว่า อโมโห คือ ความไม่ลง เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่ลุ่ม

หลงไป ด้วยเหตุนั้น. หรือไม่ลุ่มหลงไปในอารมณ์ด้วยตนเอง. บทว่า

ธรรมวิจยะ มีอรรถดังได้กล่าวแล้ว, ก็เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวไว้อีก.

เพื่อแสดงความที่อโมหะเป็นปฏิปักษ์ต่อโมหะ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดง

บทนี้ไว้ว่า อโมหะนั้นมิใช่ธรรมนอกจากโมหะอย่างเดียว แต่ยังเป็น

ปฏิปักษ์ต่อโมหะ ในนิทเทสนี้ ท่านประสงค์เอาอโมหะ กล่าวคือ การ

เลือกเฟ้นธรรม.

บทว่า สมฺมาทิฏฺิ ได้แก่ กุศลทิฏฐิอันนำสัตว์ออกไปได้อย่าง

แท้จริง. ท่านกล่าวคำถามไว้โดยสังเขปว่า ในญาณเหล่านั้น ทุกข-

สมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ เป็นไฉน

ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสัจญาณจตุกทวยนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1054

สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส

[๒๖๘] อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติ-

ปฏิสัมภิทาญาณ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ อย่างไร ?

ญาณในอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทา ญาณในธรรม เป็นธรรม

ปฏิสัมภิทา ญาณในนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทา ญาณในปฏิภาณ

เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

ปัญญาในความต่างกันแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความต่างกันแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาใน

ความต่างกันแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่าง

กันแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความกำหนดอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา

ในความกำหนดธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ

กำหนดนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความกำหนด

ปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความหมายอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา

ในความหมายธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความหมาย

นิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความหมายปฏิภาณ เป็น

ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1055

ปัญญาในความเข้าไปหมายอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความเข้าไปหมายธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา

ในความเข้าไปหมายนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ

เข้าไปหมายปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในประเภทแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา

ในประเภทแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภท

แห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภทแห่งปฏิภาณ

เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความปรากฏแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความปรากฏแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา

ในความปรากฏแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ

ปรากฏแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความกระจ่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความกระจ่าวแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา

ในความกระจ่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ

กระจ่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1056

ในความรุ่งเรืองแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ

รุ่งเรืองแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความประกาศอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา

ในความประกาศธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ

ประกาศนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความประกาศ

ปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ว่าธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ

อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรรถปฏิสัมภิทาญาณ

ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.

๖๔ - ๖๗. อรรถกถาสุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส

[๒๖๘] พึงทราบวินิจฉัยในสุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส ดัง

ต่อไปนี้. พระสารีบุตรเถระมิได้แสดงถึงประเภทของญาณเหล่านี้ ดุจ

หนหลังเพราะญาณเหล่านี้ไม่มีความต่างกันจึงกล่าวบทมีอาทิว่า อตฺเถสุ

าณ อตฺถปฏิสมฺภิทา - ญาณในอรรถ ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา แม้

ในความไม่มีความต่างกันแห่งปัญญา ท่านจึงกล่าวว่า อตฺถนานตฺเต

ปญฺา อตฺถปฏิสมฺภิเท าณ - ปัญญาในความต่างกันแห่งอรรถ เป็น

อรรถปฏิสัมภิทาญาณ เพราะมีความต่างกันด้วยสามารถเพียงแทงตลอด

จตุสัจธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1057

ในบทเหล่านั้น บทว่า นานตฺเต - ในความต่างกัน คือในภาวะ

ไม่น้อยแห่งอรรถเป็นต้น.

บทว่า ววตฺถาเน - ในความกำหนด คือในการตัดสินอรรถ

เป็นต้น.

บทว่า สลฺลกฺขเณ - ในความหมาย คือในการเห็นอรรถ

เป็นต้นโดยชอบ.

บทว่า อุปลกฺขเณ - ในความเข้าไปหมาย คือในการเห็นอรรถ

เป็นต้นมากขึ้นไป.

บทว่า ปเภเท - ในประเภท คือในความต่างกันแห่งอรรถ

เป็นต้น.

บทว่า ปภาวเน - ในความปรากฏ คือในความเกิดแห่งอรรถ

เป็นต้นด้วยทำให้ปรากฏ.

บทว่า โชตเน - ในความกระจ่าง คือในการแสดงอรรถเป็นต้น.

บทว่า วิโรจเน - ในความรุ่งเรือง คือในการแสดงอรรถเป็นต้น

หลายอย่าง.

บทว่า ปกาสเน - ในความประกาศ คือในความประกาศอรรถ

เป็นต้น.

ในกล่าวทำ บทว่า นานตฺเต ให้เป็นมูลบทด้วยสามารถทั่วไป

แห่งบททั้งหมด. กล่าวบทว่า ววตฺถาเน ด้วยสามารถแห่งพระโสดาบัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1058

กล่าวบทว่า สลฺลกฺขเณ อุปลกฺขเณ ด้วยสามารถแห่งพระสกทาคามี.

กล่าวบทว่า ปเภเท ปภาวเน ด้วยสามารถแห่งพระอนาคามี. กล่าว

บทว่า โชตเน วิโรจเน ปกาสเน ด้วยสามารถแห่งพระอรหันต์

พึงทำการประกอบในบทเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส

อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส

[๒๖๙] อินทริยปโรปริยัตตญาณของพระตถาคตเป็นไฉน ?

ในอินทริยปโรปริยัตตญาณนี้ พระตถาคตย่อมทรงเห็นสัตว์

ทั้งหลาย ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ

มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน, มีอาการดี มีอาการชั่ว, พึงให้รู้แจ้ง

ได้โดยง่าย พึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก, บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษ

โดยความเป็นภัย บางพวกมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย.

[๒๗๐] คำว่า มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลส

ธุลีมากในปัญญาจักษุ ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนมีกิเลส

ธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนมีกิเลสธุลีมากใน

ปัญญาจักษุ, บุคคลผู้ปรารภความเพียร เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญา

จักษุ บุคคลผู้เกียจคร้าน เป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ, บุคคล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1059

ผู้มีสติตั้งมั่น เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีสติหลงลืม

เป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ, บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น เป็นคนมีกิเลส

ธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นคนมากิเลสธุลีมากใน

ปัญญาจักษุ, บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ

บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ

[๒๗๑] คำว่า มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน ความว่า

บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นคนมีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นคนมี

อินทรีย์อ่อน... บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนมีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มี

ปัญญาทราม เป็นคนมีอินทรีย์อ่อน.

[๒๗๒] คำว่า มีอาการดี มีอาการชั่ว ความว่า บุคคล

ผู้มีศรัทธาเป็นคนมีอาการดี บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนมีอาการชั่ว...

บุคคลผู้มีปัญญาเป็นคนมีอาการดี บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นคนมีอาการ

ชั่ว.

[๒๗๓] คำว่า พึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย พึงให้รู้แจงได้โดย

ยาก ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนพึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย บุคคล

ผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนพึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก,...บุคคลผู้มีปัญญา เป็น

คนพึงให้รู้จักได้โดยง่าย บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นคนพึงให้รู้แจ้งได้

โดยยาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1060

[๒๗๔] คำว่า บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดย

ความเป็นภัย บางพวกมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย

ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความ

เป็นภัย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความ

เป็นภัย,...บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความ

เป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นคนมิได้เห็นปรโลกและโทษโดย

ความเป็นภัย.

[๒๗๕] คำว่า โลก ชื่อว่าโลก คือ ขันธโลก ธาตุโลก อายตน-

โลก, โลกคือภพวิบัติ โลกคือสมภพวิบัติ, โลกคือภพสมบัติ โลกคือสมภพ

สมบัติ, โลก ๑ คือสัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร, โลก ๒ คือ

นามและรูป, โลก ๓ คือเวทนา ๓, โลก ๔ คืออาหาร ๔, โลก ๕

คือ อุปาทานขันธ์ ๕, โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖, โลก ๗ คือ

ภูมิเป็นที่ตั้งวิญญาณ ๗, โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘, โลก ๙ คือ ภพ

เป็นที่อาศัยอยู่ของสัตว์ ๙, โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐, โลก ๑๒ คือ

อายตนะ ๑๒. โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘.

[๒๗๖] คำว่า โทษ ชื่อว่าโทษ คือ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง

อภิสังขารทั้งปวง กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวง เป็นโทษ

ความสำคัญในโลกนี้และโทษนี้เป็นภัยอันแรงกล้า ปรากฏแล้วด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1061

ประการดังนี้ เหมือนความสำคัญในศัตรูผู้เงื้อดาบเข้ามาจะฆ่าฉะนั้น

พระตถาคตย่อมทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบชัด ทรงแทงตลอดซึ่งอินทรีย์

๕ ประการนี้ ด้วยอาการ ๕๐ นี้ นี้เป็น อินทริยปโรปริยัตตญาณของ

พระตถาคต.

๖๘. อรรถกถาอินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส

[๒๖๙] พึงทราบวินิจฉัยในอินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส

ดังต่อไปนี้. เมื่อคำว่า ตถคตสฺส แม้ไม่มีโดยสรูปในอุทเทส ท่าน

กล่าวว่า ตถาคตสฺส เพราะท่านกล่าวไว้ว่า ญาณ ๖ ไม่ทั่วไป

ด้วยสาวกทั้งหลาย. เพราะฉะนั้น จึงถือเอาในนิทเทสแห่งคำว่า ตถาคต

อันสำเร็จแล้วโดยอรรถในอุทเทส.

บทว่า สตฺเต ปสฺสติ - เห็นสัตว์ทั้งหลาย คือ ชื่อว่า สัตว์

เพราะข้อง คือ เพราะถูกคล้องด้วยฉันทราคะในรูปเป็นต้น. พระ-

ตถาคตทรงเห็นทรงตรวจดูสัตว์เหล่านั้น ด้วยจักษุอันเป็น อินทริย-

ปโรปริยัตตญาณ - ญาณกำหนดรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของ

สัตว์ทั้งหลาย.

บทว่า อปฺปรชฺกเข - ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ นี้ มี

วิเคราะห์ว่า ชื่อว่า อปฺปรชกฺขา - เพราะอรรถว่าสัตว์มีธุลีมีราคะ

เป็นต้นน้อยในจักษุคือปัญญา. หรือว่า เพราะอรรถว่าสัตว์มีธุลี คือ

ราคะเป็นต้นน้อย. ซึ่งสัตว์เหล่านั้นผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1062

บทว่า มเหสกฺเข - ผู้มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีวิเคราะห์

ว่า ชื่อว่า มเหสกฺขา เพราะอรรถว่าสัตว์มีธุลีมีราคะเป็นต้นมากใน

จักษุ คือปัญญา. หรือว่า สัตว์มีธุลีมีราคะเป็นต้นมาก.

บทว่า ติกฺขินฺทฺริเย มุทินฺทฺริเย - มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์

อ่อน. มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า ติกฺขินฺทฺริยา คือ มีอินทรีย์แก่กล้า เพราะ

อรรถว่า สัตว์มีอินทรีย์ มีศรัทธาเป็นต้นแก่กล้า. ชื่อว่า มุทินฺทฺริยา

มีอินทรีย์อ่อน เพราะอรรถว่าสัตว์มีอินทรีย์ มีศรัทธาเป็นต้นอ่อน.

บทว่า สฺวากาเร ทฺวาการา - มีอาการดี มีอาการชั่ว ความว่า

ชื่อว่า สฺวาการา คือ มีอาการดี เพราะอรรถว่า สัตว์มีอาการ คือ

มีส่วน มีศรัทธาเป็นต้นดี. ชื่อว่า ทฺวาการา คือ มีอาการชั่ว เพราะ

อรรถว่าสัตว์มีอาการ คือ มีส่วน มีศรัทธาเป็นต้น น่าเกลียด น่า

ติเตียน.

บทว่า สุวิญฺาปเย ทุวิญฺาปเย - พึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย

พึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก คือ สัตว์เหล่าใดกำหนดเหตุที่กล่าว เป็นผู้

สามารถรู้แจ้งได้โดยง่าย สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า สุวิญฺญาปยา. ตรง

กันข้ามกับรู้แจ้งชัดโดยง่ายนั้น ชื่อว่า ทุวิญฺาปยา.

บทว่า อปฺเปกจฺเจ ปรโลกฺวชฺชภยทสฺสาวิโน - บางพวกมี

ปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย คือ ชื่อว่า ปรโลกวชฺช-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1063

ภยทสฺสาวิโน คือ มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย เพราะ

อรรถว่ามีปกติเห็นภัยอื่นหนัก ในโลกมีขันธโลกเป็นต้น และโทษมี

ราคะเป็นต้น เพราะเมื่อบางพวกเห็นปรโลกและโทษมีราคะเป็นต้น

โดยเป็นภัยในนิทเทสแห่งบทนี้ ท่านจึงไม่กล่าวถึงปรโลกเท่านั้น. พึง

ถือเอาความอย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านั้นมีปกติเห็นภัยในปรโลก และใน

โทษมีราคะเป็นต้น.

บทว่า อปฺเปกจิเจ น ปรโลกวชฺชภยทสฺสาวิโน - บางพวก

มิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยนี้ มีความตรงกันข้ามกับบทที่

กล่าวแล้วนั้น. อนึ่ง บทว่า โลโก เพราะอรรถว่าสลายไป. บทว่า

วชฺช คือโทษ เพราะอรรถว่าควรติเตียน. ด้วยบทประมาณเท่านี้

เป็นอันท่านชี้แจงบทอุทเทสแล้ว.

[๒๗๐] พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะทำปฏินิทเทส คือ การ

ชี้แจงทวนนิทเทสอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อปฺปรชกฺเข มหารชกฺเข-

สัตว์มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ สัตว์มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ

ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สทฺโธ - บุคคลผู้มีศรัทธา เพราะบุคคล

มีศรัทธา กล่าวคือ ความก้าวลงในพระรัตนตรัย. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย

ศรัทธานั้น ชื่อว่า อปฺปรชกฺโข คือ มีธุลีน้อยในปัญญาจักษุ เพราะ

ธุลี คือ ความไม่มีศรัทธาและธุลี คือ อกุศลที่เหลืออันเป็นมูลรากของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1064

ความไม่ศรัทธาน้อย. ชื่อว่า อสฺสทฺโธ คือ ผู้ไม่มีศรัทธา เพราะ

ไม่มีศรัทธา บุคคลนั้น ชื่อว่า มหารชกฺโข คือ มีธุลีมากในปัญญา

จักษุ เพราะธุลีมีประการดังกล่าวแล้วมาก.

ชื่อว่า อารทฺธวีริโย - ผู้ปรารภความเพียร เพราะมีใจปรารภ

ความเพียร. บุคคลผู้ปรารภความเพียรนั้น ชื่อว่า อปฺปรชกฺโข เพราะ

ธุลี คือ ความเกียจคร้านและธุลี คือ อกุศลที่เหลืออันเป็นมูลราก

ของความเกียจคร้านน้อย.

ชื่อว่า กุสีโท - ผู้เกียจคร้าน เพราะอรรถว่าจมอยู่โดยอาการ

น่าเกลียด เพราะมีความเพียรเลว. กุสีโท นั่นแหละ คือ กุสีโต.

บุคคลผู้เกียจคร้านนั้น ชื่อว่า มหารชกฺโข เพราะธุลีที่จมมีประการ

ดังกล่าวแล้วมา.

ชื่อ อุปฏฺิตฺสสติ - ผู้มีสติตั้งมั่น เพราะมีสติเข้าไปตั้งอารมณ์

ไว้มั่น. บุคคลนั้น ชื่อว่า อปฺปรชกฺโข เพราะธุลี คือ ความลุ่มหลง

และธุลี คือ อกุศลที่เหลืออันเป็นมูลรากของความลุ่มหลงน้อย.

ชื่อว่า มุฏฺสฺสติ คือ ผู้มีสติหลงลืม เพราะมีสติหลงลืม.

บุคคลนั้น ชื่อว่า มหารชกฺโข เพราะธุลีมีประการดังกล่าวแล้วมาก.

ชื่อว่า สมาหิโต คือ บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น เพราะตั้งไว้เสมอ

หรือว่า โดยชอบในอารมณ์ ด้วยอัปปนาสมาธิ หรือด้วยอุปจารสมาธิ.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สมาหิโต เพราะอรรถว่ามีจิตตั้งมั่น. บุคคลนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1065

ชื่อว่า อปฺปรชกฺโข เพราะธุลี คือ ความฟุ้งซ่านและธุลี คือ อกุศล

ที่เหลืออันเป็นมูลรากของความฟุ้งซ่านน้อย.

บุคคลมีจิตไม่ตั้งมั่น ชื่อว่า อสมาหิโต. บุคคลนั้น ชื่อว่า

มหารชกฺโข เพราะธุลีมีประการดังกล่าวแล้วมาก.

ชื่อว่า ปญฺวา คือ บุคคลผู้มีปัญญา เพราะมีปัญญาเห็น

ความเกิดและความดับ. บุคคลผู้มีปัญญานั้น ชื่อว่า อปฺปรชกฺโข

เพราะธุลี คือ โมหะและธุลี คือ อกุศลที่เหลืออันเป็นมูลรากของ

โมหะน้อย.

ชื่อว่า ทุปฺปญฺโ คือ บุคคลผู้มีปัญญาทราม เพราะมีปัญญา

ทราม เพราะลุ่มหลงด้วยโมหะ. บุคคลนั้น ชื่อว่า มหารชกฺโข

เพราะมีธุลี มีประการดังกล่าวแล้วมาก.

[๒๗๑] บทว่า สทฺโธ ปุคฺคโล ติกฺขินฺทฺริโย - บุคคลผู้มีศรัทธา

เป็นคนมีอินทรีย์แก่กล้า คือ มีศรัทธา ด้วยศรัทธามีกำลังอันเกิดขึ้น

มาก. มีอินทรีย์แก่กล้าด้วยสัทธินทรีย์นั้นนั่นเอง.

บทว่า อสฺสทฺโธ ปุคฺคโล มุทินฺทฺริโย - บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา

เป็นคนมีอินทรีย์อ่อน คือ ไม่มีศรัทธาด้วยความไม่เชื่อเกิดขึ้นมาก.

เป็นผู้มีอินทรีย์อ่อนด้วยสัทธินทรีย์ มีกำลังน้อยอันเกิดขึ้นในระหว่าง ๆ.

แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.

[๒๗๒] บทว่า สทฺโธ ปุคฺคโล สฺวากาโร - บุคคลผู้มีศรัทธา

เป็นผู้มีอาการดี คือ มีอาการงดงามด้วยศรัทธานั้นนั่นเอง. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1066

อสฺสทฺโธ ปุคฺคโล ทฺวากาโร - บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้มีอาการชั่ว

คือ มีอาการผิดรูปด้วยความเป็นผู้ไม่เชื่อนั้นนั่นเอง. แม้ในคำที่เหลือ

ก็มีนัยนี้.

[๒๗๓] บทว่า สุวิยฺาปโย คือ พึงสามารถให้รู้โดยง่าย.

บทว่า ทุวิญฺญาปโย คือ พึงสามารถให้รู้โดยยาก.

[๒๗๔] ในบทว่า ปรโลกวชฺชภยทสฺสาวี นี้ พึงทราบ

ความดังต่อไปนี้. เพราะศรัทธาเป็นต้นของผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็น

ความบริสุทธิ์ด้วยดี. ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาอันบริสุทธิ์ด้วยดี

เป็นต้น เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธานั้น จึงเป็นผู้มีปกติเห็นปรโลก

และโทษโดยความเป็นภัย. หรือแม้ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาอันบริสุทธิ์

ด้วยดีเป็นต้น ก็เป็นผู้มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยด้วย

ปัญญาอันมีศรัทธานั้นเป็นปัจจัย. เพราะฉะนั้นแหละ ท่านจึงกล่าว

ธรรม ๔ อย่าง มีศรัทธาเป็นต้นว่า ปรโลกวชฺชยทสฺสาวี - เป็น

ผู้มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย.

[๒๗๕] บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เพื่อจะแสดงโลกสละโทษ

ดังกล่าวแล้ว ในบทนี้ว่า ปรโลกวชฺชภยทสฺสาวี จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

โลโก ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น ขันธ์ทั้งหลายนั่นเอง ชื่อว่า ขันธโลก เพราะ

อรรถว่า มีอันต้องสลายไป. แม้ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1067

บทว่า วิปตฺติภวโลโก - โลกคือภพวิบัติ ได้แก่ อบายโลก.

เพราะอบายโลกนั้น เป็นโลกเลว เพราะมีผลไม่น่าปรารถนา จึงชื่อว่า

วิบัติ. ชื่อว่า ภพ เพราะเกิด. ภพคือความวิบัตินั่นเอง ชื่อว่า ภพวิบัติ.

โลกคือภพวิบัตินั่นเอง ชื่อว่า โลกคือภพวิบัติ.

บทว่า วิปตฺติสมฺภวโลโก - โลกคือสมภพวิบัติ ได้แก่ กรรม

อันเข้าถึงอบาย ชื่อว่า สมภพ เพราะเป็นแดนเกิดแห่งผลกรรม.

แดนเกิดแห่งวิบัติ ชื่อว่า สมภพวิบัติ. โลกมีแดนเกิดวิบัตินั่นแหละ

ชื่อว่า โลกคือสมภพวิบัติ.

บทว่า สมฺปตฺติสมฺภวโลโก - โลกคือภพสมบัติ ได้แก่ สุคติโลก.

เพราะสุคติโลกนั้นเป็นโลกดี เพราะมีผลน่าปรารถนา จึงชื่อว่า สมบัติ .

ชื่อว่า ภพ เพราะเกิด. ภพอันเป็นสมบัตินั่นแหละ ชื่อว่า ภพสมบัติ.

โลกคือแดนเกิดแห่งสมบัตินั้นแหละ ชื่อว่า โลกคือภพสมบัติ

บทว่า สมฺปตฺติสมฺภวโลโก - โลกคือสมภพสมบัติ ได้แก่

กรรม อันเข้าถึงสุคติ. ชื่อว่า สมภพ เพราะเป็นแดนเกิดแห่งผล

กรรม. แดนเกิดแห่งสมบัติ ชื่อว่า สมภพสมบัติ. โลกคือแดนเกิด

แห่งสมบัตินั่นแล ชื่อว่า โลกคือสมภพสมบัติ.

บทมีอาทิว่า เอโก โลโก โลก ๑ มีอรรถดังได้กล่าวแล้ว

ในหนหลังนั่นแหละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1068

[๒๗๖] บทว่า วชฺช - โทษ ท่านทำเป็นนปุงสกลิงค์ เพราะ

ไม่ได้แสดงด้วย บทว่า อสุโภ.

บทว่า กิเลสุ คือ กิเลสมีราคะเป็นต้น.

บทว่า ทุจฺจริตา คือ ทุจริตมีปาณาติบาตเป็นต้น.

บทว่า อภิสงฺขารา คือ สังขารมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น.

บทว่า ภวคามิกมฺมา - กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพ ชื่อว่า

ภวคามิโน เพราะสัตว์ทั้งหลายไปสู่ภพด้วยอำนาจการให้วิบากของตน.

ท่านกล่าวกรรมอันให้เกิดวิบากแม้ในอภิสังขารทั้งหลาย.

บทว่า อิติ เป็นบทแสดงประการดังกล่าวแล้ว.

บทว่า อิมสฺมิญฺจ โลเก อิมสฺมิญฺจ วชฺเช - ในโลกนี้และใน

โทษนี้ คือ ในโลกและในโทษดังกล่าวแล้ว.

บทว่า ติพฺพา ภยสญฺา - ความสำคัญว่าเป็นภัยอันแรงกล้า

คือ ความสำคัญว่าเป็นภัยมีกำลัง แต่ท่านกล่าวอรรถแห่ง พล ศัพท์ว่า

ติพฺพา. ท่านกล่าวอรรถแห่ง ภย ศัพท์ว่า ภยสญฺา. เพราะว่า

โลกและโทษทั้งสอง ชื่อว่า ภัย เพราะเป็นวัตถุแห่งภัย และเพราะ

เป็นภัยเอง. ความสำคัญว่า ภัย ก็ชื่อว่า ภยสญฺญา.

บทว่า ปจฺจุปฏฺิตา โหติ - ปรากฏแล้ว คือ ปรากฏเพราะ

อาศัยภัยนั้น ๆ. บทว่า เสยฺยถาปิ อุกฺขิตฺตาสิเต วธเก - เหมือน

ความสำคัญในศัตรูผู้เงื้อดาบ คือ ความสำคัญว่าเป็นภัยกล้าแข็งปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1069

ในโลกและในโทษ เหมือนความสำคัญว่าเป็นภัยปรากฏในศัตรูผู้เงื้อดาบ

เพื่อประหารฉะนั้น.

บทว่า อิเมหิ ปฺาสาย อากาเรหิ - ด้วยอาการ ๕๐ นี้

คือ ด้วยอาการ ๕๐ ด้วยสามารถแห่งอาการอย่างละ ๕ ในปัญจกะ ๑๐

มีอัปปรชักขปัญจกะเป็นต้นอย่างหนึ่งๆ.

บทว่า อิมานิ ปญฺจินฺทฺริยานิ ได้แก่ อินทรีย์ ๕ มีสัทธินทรีย์

เป็นต้น.

บทว่า ชานาติ คือ พระตถาคตย่อมทรงรู้ด้วยพระปัญญา.

บทว่า ปสฺสติ คือ ทรงกระทำดุจเห็นด้วยทิพจักษุ. บทว่า อญฺาติ

ทรงทราบชัด คือ ทรงทราบด้วยมารยาทแห่งอาการทั้งปวง. บทว่า

ปฏิวิชฺฌติ - ทรงแทงตลอด คือ ทรงทำลายด้วยพระปัญญา ด้วย

สามารถการเห็นหมดสิ้นมิได้เหลือเป็นเอกเทศ.

จบ อรรถกถาอินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส

อาสยานุสยญาณนิทเทส

[๒๗๗] ญาณในฉันทะเป็นที่มานอน และกิเลสอันนอนเนื่อง

แห่งสัตว์ทั้งหลาย ของพระตถาคต เป็นไฉน ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1070

ในญาณนี้ พระตถาคตย่อมทรงทราบฉันทะเป็นที่มานอน กิเลส

อัพนอนเนื่อง จริต อธิมุตติ ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมทรงทราบชัด

ภัพพสัตว์และอภัพพสัตว์.

[๒๗๘] ก็ฉันทะเป็นที่มานอนของสัตว์ทั้งหลายเป็นไฉน ?

สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้อาศัยทิฏฐิในภพก็มี อาศัยทิฏฐิในความ

ปราศจากภพก็มี ดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง, โลกมีที่สุด

บ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง, ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง, ชีพเป็นอื่น

สรีระก็เป็นอื่นบ้าง, สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง สัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกบ้าง, สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม

เป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีบ้าง, สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็น

อีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง, บุคคลไม่ข้องแวะส่วนที่สุด

ทั้งสองนี้เสียแล้ว เป็นอันได้อนุโลมิกขันติ ในธรรมทั้งหลายอันมีสิ่งนี้

เป็นปัจจัยและอาศัยกันเกิดขึ้น.

อนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบบุคคลผู้เสพกาม ด้วยถาภูต-

ญาณ คือ ทรงทราบบุคคลผู้เสพกามว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนักในกาม มี

กามเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในกาม, ทรงทราบบุคคลผู้เสพเนกขัมมะว่า

บุคคลนี้เป็นผู้หนักในเนกขัมมะ มีเนกขัมมะเป็นที่อาศัย น้อมใจไปใน

เนกขัมมะ, ทรงทราบบุคคลผู้เสพพยาบาทว่า บุคคลผู้นี้เป็นผู้หนักใน

พยาบาท มีพยาบาทเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในพยาบาท, ทรงทราบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1071

บุคคลผู้เสพความไม่พยาบาทว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนักในความไม่พยาบาท

มีความไม่พยาบาทเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในความไม่พยาบาท, ทรง

ทราบบุคคลผู้เสพถีนมิทธะว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนักในถีนมิทธะ มีถีน-

มิทธะเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในถีนมิทธะ, ทรงทราบบุคคลผู้เสพอา-

โลกสัญญาว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนักในอาโลกสัญญา มีอาโลกสัญญาเป็น

ที่อาศัย น้อมใจไปในอาโลกสัญญา นี้เป็นฉันทะเป็นที่มานอนของ

สัตว์ทั้งหลาย.

[๒๗๙] ก็กิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลายเป็นไฉน.

กิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย คือ กามราคานุสัย ปฏิ-

ฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชา-

นุสัย, กามราคานุสัย ของหมู่สัตว์ ย่อมนอนเนื่องในอารมณ์อันเป็น

ที่รักที่ยินดีในโลก ปฏิฆานุสัย ของหมู่สัตว์ ย่อมนอนเนื่องในอารมณ์

อันไม่เป็นที่รักที่ยินดีในโลก, อวิชชาตกไปตามในธรรมสองประการนี้

ดังนี้ มานะ ทิฏฐิ และวิจิกิจฉา ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับอวิชชานั้น ก็

พึงเห็นดังนั้น นี้เป็นกิเลสอันนอนเนื่องขอสัตว์ทั้งหลาย.

[๒๘๐] ก็จริตของสัตว์ทั้งหลายเป็นไฉน ?

ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร, เป็นภูมิ

น้อยก็ตาม เป็นภูมิมากก็ตาม นี้เป็นจริตของสัตว์ทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1072

[๒๘๑] ก็อธิมุตติของสัตว์ทั้งหลายเป็นไฉน ?

สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุตติเลวก็มี มีอธิมุตติประณีตก็มี สัตว์ทั้งหลาย

ผู้มีอธิมุตติเลว ย่อมสมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์ผู้มีอธิมุตติเลวเหมือน

กัน, สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ย่อมสมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะ

สัตว์ผู้มีอธิมุตติประณีตเหมือนกัน, แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายผู้มี

อธิมุตติเลว ก็สมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์ผู้มีอธิมุตติเลวเหมือนกัน,

สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ก็สมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์ผู้มี

อธิมุตติประณีตเหมือนกัน, แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติ

เลว ก็จักสมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์ผู้มีอธิมุตติเลวเหมือนกัน, สัตว์

ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ก็สมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์ผู้มี

อธิมุตติประเหมือนกัน, นี้เป็นอธิมุตติของสัตว์ทั้งหลาย.

[๒๘๒] อภัพพสัตว์เป็นไฉน ?

สัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม

กิเลส วิบาก เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม ไม่อาจ

ย่างเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย เหล่านี้เป็นอภัพพสัตว์.

[ ๒๘๓ ] ภัพพสัตว์เป็นไฉน ?

สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม

กิเลส วิบาก เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญาอาจย่างเข้าสู่สัมมัตต-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1073

นิยามในกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นภัพพสัตว์ นี้เป็นญาณในฉันทะ

เป็นที่มานอน และกิเลสอันนอนเนื่องแห่งสัตว์ทั้งหลาย ของพระ-

ตถาคต.

๖๙. อรรถกถาอาสยานุสยญาณนิทเทส

[๒๗๗ - ๒๘๓] พึงทราบวินิจฉัยในอาสยานุสยญาณนิทเทสดัง

ต่อไปนี้. บทมีอาทิว่า อิธ ตถาคโต เป็นนิทเทสที่ท่านตั้งไว้ ๕ ส่วน.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อาสยานุสยา - ฉันทะเป็นที่มานอน

และกิเลสอันนอนเนื่อง มีอรรถดังได้กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า จริต - จริต คือ กุศลกรรมและอกุศลกรรมที่ทำไว้แล้ว

ในชาติก่อน.

บทว่า อธิมุตฺตึ ได้แก่ การปล่อยจิตไปในกุศล หรืออกุศล

ในชาตินี้.

บทว่า ภพฺพาภพฺเพ ได้แก่ ภัพพสัตว์และอภัพพสัตว์. ชื่อว่า

ภัพพะ เพราะอรรถว่าย่อมสมภพ คือ ย่อมเกิดในอริยชาติ เป็นคำ

กล่าวถึงปัจจุบันกาล. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภัพพะ เพราะจักเป็น คือ

จักเกิด กล่าวถึงอนาคตกาล. อธิบายว่า เป็นภาชนะรองรับ. ภัพพ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1074

บุคคลเหล่านั้น ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยสมควรแก่การแทงตลอดอริยมรรค.

อภัพพบุคคลตรงกันข้ามกับภัพพบุคคลดังกล่าวแล้ว.

บทมีอาทิว่า กตโม จ สตฺตาน อาสโย - ก็ฉันทะเป็นที่มา

นอนของสัตว์ทั้งหลายเป็นไฉน ? เป็นปฏินิทเทส คือ เป็นการแสดง

ทวนบทนิทเทส.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สสฺสโต คือ เที่ยง.

บทว่า โลโก คือ อัตตา. สัตว์ทั้งหลายย่อมสำคัญว่า สรีระ

เท่านั้นสูญหายไปในโลกนี้ ส่วนอัตตานั่นแหละมีอยู่ในโลกนี้และโลก

อื่น. สัตว์ทั้งหลายกระทำความสำคัญว่า ตนนั่นแหละย่อมมองดูตน จึง

สำคัญว่าตนเป็นโลก คือ อัตตา. บทว่า อสสฺสโต คือ ไม่เที่ยง.

สัตว์ทั้งหลายสำคัญว่า อัตตาย่อมสูญหายไปพร้อมกับสรีระนั่นเอง. บทว่า

อนฺตวา - โลกมีที่สุด คือ สัตว์ทั้งหลายยังฌานให้เกิดในกสิณเล็กน้อย

แล้วสำคัญว่า จิตมีกสิณเล็กน้อยนั้นเป็นอารมณ์เป็นอัตตามีที่สุด. บทว่า

อนนฺตวา - โลกไม่มีที่สุด คือ สัตว์ทั้งหลายยังฌานในกสิณไม่มีประ-

มาณ ให้เกิดแล้วสำคัญว่า จิตมีกสิณไม่มีประมาณนั้นเป็นอัตตาไม่มีที่

สุด. บทว่า ต ชีว ต สรีร คือ ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น

ได้แก่ ชีพและสรีระก่อนนั้นนั่นเอง. บทว่า ชีโว คือ อัตตา เป็น

นปุงสกลิงค์ เพราะลิงควิปลาส. บทว่า สรีร ได้แก่ ขันธบัญจก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1075

เพราะมีสภาพเป็นกอง. บทว่า อญฺ ชีว อญฺ สรีร ชีพเป็น

อื่น สรีระก็เป็นอื่น คือ ชีพเป็นอย่างหนึ่ง ขันธบัญจกก็เป็นอย่างหนึ่ง.

บทว่า โหติ ตถาคโต ปรมฺมรณา - สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย

แล้วย่อมเป็นอีก คือ ขันธ์สูญไปในโลกนี้เท่านั้น สัตว์เบื้องหน้าแต่

ตายแล้วยังมีอยู่ไม่สูญไป. ในบทว่า ตถาคโต นี้ อาจารย์บางพวก

กล่าวว่าเป็นชื่อของสัตว์. แต่บางพวกกล่าวว่าบทว่า ตถาคโต คือ

พระอรหันต์. สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้เห็นโทษในฝ่ายว่าไม่มี จึงถือเอา

อย่างนี้.

บทว่า น โหติ ตถาคตโต ปรมฺมรณา - สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หาไม่ คือ แม้ขันธ์สูญไปในโลกนี้เท่านั้น, สัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายแล้วก็หาไม่ ไม่พินาศไป ไม่ขาดสูญไป สัตว์ทั้งหลาย

เหล่านี้ เห็นโทษในฝ่ายที่มีอยู่ จึงถือเอาอย่างนี้.

บทว่า โหติ จ น จ โหติ - สัตว์ตายไปแล้วเป็นอีกก็มี ไม่

เป็นอีกก็มี คือ สัตว์เหล่านี้เห็นโทษในการกำหนดเอาแต่ฝ่ายหนึ่ง -

แล้วถือเอาทั้งสองฝ่ายเลย.

บทว่า เนว โหติ น น โหติ - สัตว์ตายไปแล้ว เป็นอีก

ก็ไม่มี ไม่เป็นอีกก็ไม่มี คือ สัตว์เหล่านี้เห็นการถึงโทษทั้งสองในการ

กำหนดสองฝ่าย จึงถือเอาฝ่ายปฏิเสธสิ้นเชิงว่า เป็นอีกก็ไม่มี ไม่เป็น

อีกก็ไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1076

ต่อไปนี้เป็นนัยแห่งอรรถกถาในนิทเทสนี้ ท่านกล่าวถึงประเภท

แห่งทิฏฐิด้วยอาการ ๑๐ มีอาทิว่า สสฺสโต โลโกติ วา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สสฺสโต โลโก - โลกเที่ยง คือ เป็น

ทิฏฐิที่เป็นไปด้วยอาการยึดถือของผู้ที่ถือว่า ขันธบัญจกเป็นโลกแล้ว

ยึดถือว่าโลกนี้เที่ยง ยั่งยืนเป็นไปตลอดกาล.

บทว่า อสสฺสโต - โลกไม่เที่ยง คือ เป็นทิฏฐิที่เป็นไปโดย

อาการถือว่าสูญของผู้ยึดถือโลกว่าทำลายสูญ.

บทว่า อนฺตวา - โลกมีที่สุด คือ ทิฏฐิเป็นไปโดยอาการของ

การถือเอาว่าโลกมีที่สุดของผู้ถือรูปธรรมและอรูปธรรมในภายในสมาบัติ

ของผู้เข้ากสิณได้เล็กน้อยประมาณเท่ากระด้ง หรือประมาณเท่าถ้วยว่า

โลกนั่นแหละมีที่สุดด้วยการกำหนดกสิณ. ทิฏฐินั้น เป็นสัสสตทิฏฐิบ้าง

อุจเฉททิฏฐิบ้าง. ทิฏฐิอันเป็นไปโดยอาการถือเอาว่า โลกไม่มีที่สุด

ของผู้ถือรูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้วในภายในสมาบัติ ของผู้

เข้ากสิณนั้น ผู้ได้กสิณไพบูลย์ว่า โลกแลไม่ที่สุดด้วยกำหนดกสิณ.

ทิฏฐินั้นเป็นสัสสตทิฏฐิบ้าง เป็นอุจเฉททิฏฐิบ้าง.

บทว่า ต ชีว ต สรีร - ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น คือ

ทิฏฐิอันเป็นโดยอาการยึดถือความสูญว่า เมือสรีระสูญแม้ชีพก็สูญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1077

เพราะถือว่าชีพของสรีระนั่นแหละ มีการแตกไปเป็นธรรมดา. ในบท

ที่สองทิฏฐิเป็นไปโดยอาการคือความเที่ยงว่า แม้เมื่อสรีระสูญชีพก็ไม่

สูญ เพราะถือว่าชีพอื่นจากสรีระ.

ในบทนี้มีอาทิว่า โหติ ตถาคโต มีความดังต่อไปนี้.

ผู้ถือว่า สัตว์ตายไปแล้วย่อมเป็นอีก เป็นสัสสตทิฏฐิที่ ๑

ผู้ถือวา ไม่เป็นอรก เป็นอุจเฉททิฏฐิที่ ๒.

ผู้ถือว่า เป็นอีกก็มี ไม่เป็นอีกก็มี เป็นเอกัจจสัสสตทิฏฐิที่ ๓.

ผู้ถือว่า เป็นอีกก็หามิได้ ไม่เป็นอีกก็หามิได้ เป็นอมราวิกเขป-

ทิฏฐิที่ ๔.

ศัพท์ว่า อิติ เป็นศัพท์แสดงทิฏฐินิสัยดังกล่าวแล้ว.

บทว่า ภวทิฏฺิสนฺนิสฺสิตา วา สตฺตา โหนฺติ วิภวทิฏฺิ-

สนฺนิสฺสิตา วา - สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้อาศัยทิฏฐิในภพก็มี อาศัยทิฏฐิ

ในความปราศจากภพก็มี ความว่า ความเที่ยงท่านกล่าวว่า ภพ ทิฏฐิ

เกิดด้วยสามารถความเที่ยง ชื่อว่า ภวทิฏฐิ. อธิบายว่า บทว่า ภโว

คือ ทิฏฐิ. ความสูญท่านกล่าวว่า วิภวะ. ทิฏฐิ เกิดด้วยสามารถความ

สูญ ชื่อว่า วิภวทิฏฐิ. อธิบายว่า บทว่า วิภโว คือ ทิฏฐิ ๑๐

ดังกล่าวแล้วย่อมมีเป็น ๒ อย่าง คือ ภวทิฏฐิ ๑ วิภวทิฏฐิ ๑. ใน

ทิฏฐิ ๒ เหล่านั้นสัตว์ทั้งหลายอาศัยทิฏฐิหนึ่ง ๆ ไม่เห็นแล้วจึงติดอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1078

วา ศัพท์ในบทนี้ว่า เอเต วา ปน อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม

- บุคคลไม่ข้องแวะที่สุดทั้งสองนี้ เป็นสมุจจยัตถะ คือ มีอรรถว่าประ-

มวลมา ดุจในบทมีอาทิว่า อคฺคิโต วา อุทกโต วา มิถุเภทา วา-

จากไฟก็ดี จากน้ำก็ดี จากการทำลายไม่ตรีก็ดี. อธิบายว่า ไม่ข้อง-

แวะ คือ ไม่ติดทั้งสองฝ่ายด้วยสามารถสัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ

ดังกล่าวแล้วนั้นแล้วละเสีย. วา ศัพท์ใน บทว่า อนุโลิกา วา ขนฺติ

เป็นวิกัปปัตถะ - มีอรรถกำหนด.

บทว่า อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ - ในธรรมทั้งหลาย

อันมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยและอาศัยกันเกิดขึ้น ความว่า ปัจจัยแห่งชราและ

มรณะเป็นต้น ชื่อว่า อิทัปปัจจัย. อิทัปปัจจัยนั่นแหละ ชื่อว่า

อิทัปปัจจยตา. หรือการประชุมอิทัปปัจจัยทั้งหลาย ชื่อว่า อิทัป-

ปัจจยตา. อนึ่ง พึงแสวงหาลักษณะในบทนี้โดยศัพทศาสตร์. ธรรม

ทั้งหลายเกิดร่วมกันและโดยชอบ เพราะอาศัยปัจจัยนั้น ๆ ชื่อว่า

ปฏิจจสมุปปันนะ. ในธรรมทั้งหลาย เพราะความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย

นั้นและอาศัยกันเกิดขึ้นเหล่านั้น.

บทว่า อนุโลมิกา คือ ชื่อว่า อนุโลม เพราะเป็นธรรม

สมควรแก่โลกุตรธรรมทั้งหลาย.

บทว่า ขนฺติ คือ ญาณ. ญาณชื่อว่า ขันติ เพราะความอดทน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1079

บทว่า ปฏิลทฺธา โหติ - เป็นอันได้ คือ เป็นอันสัตว์ทั้งหลาย

ได้บรรลุแล้ว. การเข้าไปอาศัยความที่ขันติเป็นอิทัปปัจจัยเป็นของสูญ

ย่อมมีได้โดยความเห็นอย่างยิ่งของผล ด้วยความเห็นอย่างยิ่งของปัจจัย

เพราะปัจจุปบันธรรมทั้งหลายเป็นไปสืบเนื่อง ในเพราะความพร้อม.

เพรียงแห่งปัจจัย ความเข้าไปอาศัย ความที่ขันติเป็นของเที่ยงในธรรม

อันอาศัยกันเกิดขึ้น ย่อมมิโดยการเห็นความเกิดขึ้นแห่งปัจจยุปบัน-

ธรรมทั้งหลายใหม่ ๆ ในเพราะความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัย การเห็น

ชอบอันเป็นไปแล้วว่า ไม่สูญ ไม่เที่ยง โดยการเห็นธรรมอันอาศัยกัน

เกิดขึ้น คือ ปฏิจจสมุปบาท ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างเหล่านี้ พึง

ทราบว่า อนุโลมิกขันติ คือ ขันติอันสมควร ด้วยประการฉะนี้เป็น

อันท่านกล่าวถึงสัมมาทิฏฐิอันเป็นปฏิปักษ์ต่อทิฏฐิทั้งสองนั้น.

บทว่า ยถาภูต วา าณ - ยถาภูตญาณ คือ ญาณที่นำไป

ตามความเป็นจริง คือ ตามสภาพที่เป็นจริง. แม้ญาณที่เป็นไปในบท

นั้นท่านก็กล่าวว่า ยถาภูตญาณ โดยโวหาร อันเป็นวิสัย. ในนิทเทสนี้

ท่านประสงค์เอาวิปัสสนาญาณ อันมีสังขารุเบกขาญาณเป็นที่สุด. แต่

ภายหลังท่านกล่าวภยตูปัฏฐานญาณว่า ยถาภูตญาณทัสนะ. หรือควร

สัมพันธ์ว่า ยถาภูตญาณ เป็นอันสัตว์ทั้งหลายได้แล้ว.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ ครั้นแสดงสันดานสัตว์อันมิจฉาทิฏฐิ

อบรมด้วยบทมีอาทิว่า สสฺสโต โลโก อันสัมมาทิฏฐิอบรม ด้วยบท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1080

มีอาทิว่า เอเต วา ปน ที่สุดสองอย่างเหล่านี้แล้วแสดงสันดานสัตว์

อันอกุศลที่เหลือและกุศลที่เหลืออบรมแล้วด้วยบทมีอาทิว่า กาม เส-

วนฺตญฺเว - บุคคลผู้เสพกาม - ในบทนั้นพึงประกอบว่า พระตถาคต

ทรงทราบบุคคลผู้เสพกาม.

บทว่า เสวนฺตญฺเว คือ ผู้เสพด้วยการประพฤติเนือง ๆ.

ชื่อว่า กามครุโก เพราะมีกิเลสกามหนักด้วยเสพมาในปางก่อน.

ชื่อว่า กามาสุโย เพราะน้อมกามในสันดานเป็นที่อาศัย.

ชื่อว่า กามาธิมุตฺโต เพราะน้อม คือ ติดในกามด้วยอำนาจ

สันดานนั้นแหละ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

คำว่า เนกขัมมะ เป็นต้น มีอรรถดังได้กล่าวแล้ว. พึงทราบ

ว่า อกุศลที่เหลือ ท่านถือเอาด้วยกิเลส ๓ อย่างมีกามเป็นต้น. กุศลที่

เหลือท่านถือเอาด้วยคุณธรรม ๓ อย่างมีเนกขัมมะเป็นต้น. พระสารี-

บุตรเถระแสดงสันดานที่ท่านกล่าว ๓ อย่าง ว่านี้เป็นกิเลสอันนอนเนื่อง

ของสัตว์ทั้งหลาย.

ส่วนในนิทเทสนี้มีนัยแห่งอรรถกถาดังต่อไปนี้. บทว่า อิติ

ภวทิฏฺสนฺนิสฺสิตา วา - สัตว์ทั้งหลายอาศัยทิฏฐิในภพด้วยอาการอย่าง

นี้ คือ อาศัยสัสสตทิฏฐิอย่างนี้. จริงอยู่ ในที่นี้ท่านกล่าวสัสสตทิฏฐิ

ว่าเป็น ภวทิฏิ. และกล่าวอุจเฉททิฏฐิว่าเป็น วิภวทิฏฺิ. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1081

สัตว์ผู้มีทิฏฐิทั้งหลายเหล่านี้ทั้งหมดอาศัยทิฏฐิ ๒ อย่างเหล่านี้แหละ

เพราะท่านสงเคราะห์ทิฏฐิทั้งหมดเข้าด้วย สัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ.

แม้ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนกัจจานะโดยมากสัตวโลกอาศัยทิฏฐิ

๒ อย่างนี้ คือ ความมีอยู่ ๑ ความไม่มีอยู่ ๑.

ในสองบทนี้ บทว่า อตฺถิตา - ความมีอยู่ ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ.

บทว่า นตฺถิตา - ความไม่มีอยู่ ได้แก่ อุจเฉททิฏฐิ. นี้เป็นฉันทะ

เป็นที่มานอน ของสัตว์ทั้งหลายผู้เป็นปุถุชนอาศัยวัฏฏะ.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เมื่อแสดงกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์

ผู้บริสุทธิ์ ผู้อาศัยวัฏฏะ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เอเต วา ปน อุโภ

อนฺเต อนุปคมฺม - ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างเหล่านี้. ในบทเหล่า

นั้น บทว่า เอเต วา ปน ก็คือ เอเต นั่นเอง. บทว่า อุโภ อนฺเต

คือ ที่สุดสองอย่าง ได้แก่ สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ. บทว่า อนุป-

คมฺม คือ ไม่เกี่ยวข้อง. บทว่า อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ

ธมฺเมสุ คือ เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัยและในธรรมทั้งหลายอันอาศัยกัน

เกิดขึ้น. บทว่า อนุโลมิกา ขนฺติ - อนุโลมิกขันติ คือ วิปัสสนา-

ญาณ. บทว่า ยถาภูต. าณ คือ มรรคญาณ. นี้ท่านอธิบายไว้ว่า

๑. ส. นิ. ๑๖/๔๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1082

วิปัสสนาใดเป็นอันได้แล้ว เพราะไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสอง คือ สัสสต-

ทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิในปฏิจจสมุปบาทและในธรรมอันอาศัยกันเกิดขึ้น,

และมรรคญาณใดอันได้แล้ว ยิ่งไปกว่าวิปัสสนานั้น. นี้เป็นฉันทะเป็น

ที่มานอนของสัตว์ทั้งหลาย. นี้เป็นที่มานอน คือ มรรคญาณ นี้เป็นที่

อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย แม้ทั้งหมดที่อาศัยวัฏฏะและอาศัยวิวัฏฏะ. นี้เป็น

อรรถกถาที่พวกอาจารย์เห็นพ้องด้วย.

ส่วนอาจารย์วิตัณฑวาทีแสดงว่า ชื่อว่ามรรคทำลายที่อยู่ไป.

ท่านยังพูดว่า มรรคเป็นที่อยู่. ควรถามอาจารย์ผู้นั้นว่า ท่านเป็นผู้

กล่าวว่ามรรคเป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้า หรือมิใช่. หากอาจารย์นั้น

ตอบว่า เราไม่ได้เป็นผู้กล่าว. ควรบอกว่า ท่านไม่รู้ เพราะท่านไม่

ได้กล่าว. หากตอบว่า เราเป็นผู้กล่าว. ควรบวกว่า นำพระสูตรมาซิ.

หากนำมาได้ ก็เป็นการดี. หากนำมาไม่ได้ ควรนำมาเองว่า ทสยิเม

ภิกฺขเว อริยวาสา, เย อริยา อาวสึสุ วา อาวสนฺติ วา อาว-

สิสฺสนฺติ วา - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยเจ้าทั้งหลายเหล่า

อยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือจักอยู่. อริยวาสะเหล่านี้มี ๑๐ อย่าง ดังนี้.

ความจริง พระสารีบุตรเถระแสดงสูตรมีว่าเป็นที่อยู่ของมรรค. เพราะ

ฉะนั้น นั่นเป็นการกล่าวถูกต้องแล้ว. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้

๑. องฺ. ทสก. ๒๔/๑๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1083

อาสยะนี้ของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งทรงรู้แม้ในขณะเป็นไปไม่ได้ของทิฏฐิ

เหล่านี้และวิปัสสนาญาณ มรรคญาณอีกด้วย. เพราะฉะนั้นแหละท่าน

จึงกล่าวบทมีอาทิว่า กาม เสวนฺต เยว ชานาติ - พระตถาคตย่อม

ทรงทราบบุคคลผู้เสพกาม.

พึงทราบอธิบายในอนุสยนิทเทสดังต่อไปนี้. บทว่า อนุสยา

ชื่อว่าอนุสัย เพราะอรรถว่ากระไร ? เพราะอรรถว่าการนอนเนื่อง

อะไรเล่าชื่อว่านอนเนื่อง ? กิเลสที่ยังละไม่ได้. จริงอยู่ กิเลสเหล่านี้

ย่อมนอนเนื่องในสันดานของสัตว์นั้น ๆ เพราะอรรถว่ายังละไม่ได้

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อนุสัย.

บทว่า อนุเสนฺติ - ย่อมนอนเนื่อง คือ ได้เหตุอันสมควรแล้ว

จึงเกิด. เมื่อเป็นเช่นนี้พึงมีคำพูดว่า การกล่าวว่า อาการที่ยังละไม่ได้

ชื่อว่าเป็นสภาพแห่งอนุสัย และอนุสัยนั้นย่อมเกิดขึ้น ดังนี้ไม่ถูก.

เพราะอนุสัยเกิดขึ้นไม่ได้. คำตอบมีดังนี้ อนุสัยมิใช่อาการที่ยังละ

ไม่ได้ แต่ท่านกล่าวถึงกิเลสที่มีกำลัง เพราะอรรถว่ายังละไม่ได้

ว่าเป็นอนุสัย.

อนุสัยนั้น สัมปยุตด้วยจิต มีอารมณ์ มีเหตุ เพราะอรรถว่า

เป็นไปกับปัจจัย เป็นอกุศลโดยส่วนเดียว เป็นอดีตบ้าง อนาคตบ้าง

ปัจจุบันบ้าง เพราะฉะนั้น การกล่าวว่าอนุสัยเกิดขึ้นจึงถูก. ข้อกำหนด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1084

อันนี้ท่านกล่าวไว้ในอภิสมยกถา โดยตั้งคำถามก่อนว่า ปจฺจุปฺปนฺเน

กิเลเส ปชหติ บุคคลย่อมละกิเลสทั้งหลายที่เป็นปัจจุบันได้ หรือ

กล่าววิสัชนาว่า ถามคโต อนุสย ปชหติ. ผู้มีกิเลสมีกำลัง

ก็ละอนุสัยได้ซิ เพราะความที่อนุสัยเป็นกิเลสมีอยู่ในปัจจุบัน.

ในบทภาชนีย์แห่งโมหะในอภิธรรมสังคณี ท่านกล่าวความที่

โมหะเกิดกับอกุศลจิตว่า อนุสัย คือ อวิชชา ปริยุฏฐาน คือ อวิชชา

ลิ่ม คือ อวิชชา อกุศลมูล คือ อวิชชา ในสมัยนั้นอันใดนี้ชื่อว่าโมหะ

มีในสมัยนั้น. ในกถาวัตถ ท่านกล่าวไว้ว่า อนุสัยเป็นอัพยากฤต

เป็นอเหตุกะ ไม่ประกอบด้วยจิต วาทะทั้งหมดถูกปฏิเสธ. ในอุป-

ปัชชนวาระ วาระใดวาระหนึ่งแห่ง ๗ วาระ ในอนุสยยมก ท่านกล่าว

บทมีอาทิว่า กามราคานุสัยเกิดแก่ผู้ใด. ปฏิฆานุสัยย่อมเกิดแก่ผู้

นั้น. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า บทว่า อนุเสนฺติ ที่ท่านกล่าวว่า

อนุสัยได้เหตุอันสมควรแล้วย่อมเกิดได้ดังนี้จึงถูกต้อง ด้วยกำหนดแบบ-

แผนนี้. แม้คำที่ท่านกล่าวว่า จิตฺตสมฺปยุตฺโต สารมฺมโณ - อนุสัย

นั้นสัมปยุด้วยจิต มีอารมณ์ดังนี้จึงเป็นอันกล่าวดีแล้ว. เพราะอนุสัย

นี้ เป็นอกุศลธรรม สัมปยุตด้วยจิตสำเร็จแล้ว ฉะนั้น ในที่นี้ควร

ตกลงกันได้.

๑. ขุ. ป. ๓๑/๖๙๘. ๒. ขุ. ป. ๓๑/๖๙๙. ๓.อภิ. ส. ๓๔/๓๐๐.

๔. อภิ. กถา. ๓๗/๑๔๓๒. ๕. อภิ. ยมก. ๓๘/๑๕๖๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1085

ในบทมีอาทิว่า กามราคานุสโย มีความดังต่อไปนี้ ชื่อว่า

กามราคานุสัย เพราะกามราคะนั้นเป็นอนุสัยโดยสภาพที่ละไม่ได้.

แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง กามราคานุสัย ในที่นี้

เป็นโลภะเกิดขึ้นด้วยสามารถอารมณ์ในกามาวจรธรรมที่เหลือ น่าพอ

ใจด้วยเกิดร่วมกันในจิตสหรคตด้วยโลภะและด้วยอารมณ์.

อนึ่ง ปฏิฆานุสัย เป็นโทสะเกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งธรรมที่

เกิดร่วมกันในจิตที่สหรคต ด้วยโทมนัส ด้วยอำนาจอารมณ์ และด้วย

สามารถแห่งอารมณ์ในธรรมเป็นกามาวจรที่เหลืออันไม่น่าพอใจ.

มานานุสัย เป็นมานะเกิดขึ้น ด้วยสามารถเกิดร่วมกันในจิต

สหรคต ด้วยโลภะอันปราศจากทิฏฐิ ด้วยอำนาจอารมณ์ และอำนาจ

อารมณ์ในธรรมเป็นกามาวจรที่เหลือ และในธรรมเป็นรูปาวจรอรูปา-

วจรอันเว้นทุกขเวทนา.

ทิฎฐานุสัย เกิดในจิตสัมปยุต ด้วยทิฏฐิ ๔.

วิจิกิจฉานุสัย เกิดในจิตสหรคต ด้วยวิจิกิจฉา.

อวิชชานุสัย เกิดด้วยสามารถแห่งสหชาตธรรมในอกุศลจิต ๑๒

ด้วยอำนาจอารมณ์ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา โมหะ แม้ ๓ อย่างเกิดขึ้น ด้วย

สามารถอารมณ์ในเตภูมิกธรรมที่เหลือนั่นแหละ.

ภวราคานุสัย แม้เกิดในจิตปราศจากทิฏฐิ ๔ ท่านก็ไม่กล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1086

ด้วยอำนาจสหชาตะ คือ การเกิดร่วมกัน. แต่ท่านกล่าวถึงโลภะเกิด

ในรูปาวจรธรรม และอรูปาวจรธรรม ด้วยอารมณ์เท่านั้น.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงฐานะกิเลสอันนอนเนื่อง

ของอนุสัยตามที่กล่าวมาแล้ว จึงกล่าวบทมีอาทิว่า ย โลเก ดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ย โลเก ปิยรูป - อารมณ์ที่น่ารักใน

โลก คือ อารมณ์ที่มีสภาพน่ารักแต่กำเนิด ที่น่ารักในโลกนี้.

บทว่า สาตรูป - อารมณ์ที่น่ายินดี คือ อารมณ์ที่น่ายินดีแต่

กำเนิด อันมีความชื่นชมเป็นปทัฏฐาน.

บทว่า เอตฺถ สตฺตาน กามราคานุสโย อนุเสติ - กามราคา-

นุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมนอนเนื่องในอารมณ์นี้ คือ กามราคานุสัย

มีสภาพยังละไม่ได้ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมนอนเนื่องในอารมณ์ที่น่า

ปรารถนานี้. อนึ่ง ธรรม คือ กามาวจร ท่านประสงค์เอาในบทนี้ว่า

ปิยรูป สาตรูป.

เหมือนอย่างว่า คนดำน้ำ ทั้งข้างล่างข้างบนและโดยรอบก็เป็น

น้ำทั้งนั้น ฉันใด. ชื่อว่าราคะเกิดในอิฏฐารมณ์ ก็ฉันนั้น เป็นความ

ประพฤติเป็นอาจิณของสัตว์ทั้งหลาย. การเกิดปฏิฆะในอนิฏฐารมณ์ก็

เหมือนอย่างนั้น.

บทว่า อิติ อิเมสุ ทฺวีสุ ธมฺเมสุ - ในธรรมสองอย่างเหล่านี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1087

ก็อย่างนี้ คือ ในธรรมเป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์สองอย่าง ก็อย่าง

นั้น.

บทว่า อวิชฺชา อนุปติตา - อวิชชาตกไปตาม คือ อวิชชา-

สัมปยุตด้วยกามราคะและปฏิฆะตกไปตาม คือ ไปตามด้วยสามารถทำให้

เป็นอารมณ์. ปาฐะ ท่านตัดบทเป็น อวิชฺชา อนุปติตา อนุคตา

ก็มี.

บทว่า ตเทกฏฺโ - ตั้งอยู่ร่วมกันกับอวิชชานั้น คือ ตั้งอยู่

โดยความเป็นอันเดียวกับอวิชชานั้น ด้วยตั้งอยู่เป็นอันเดียวกัน เพราะ

เกิดร่วมกัน.

บทว่า มาโน จ ทิฏฺิ จ วิจิกิจฺฉา จ ได้แก่ นานะ ๙

ทิฏฐิ ๖๒ วิจิกิจฉา ๘. โยชนาแก้ว่า มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉาตั้งอยู่ร่วม

กันกับอวิชชานั้น.

บทว่า ทฏฺพฺพา - พึงเห็น คือ พึงดู พึงตามลงไป. ทำทั้ง

๓ ร่วมกันให้เป็นพหุวจนะ. อนึ่ง ภวราคานุสัยในนิทเทสนี้ พึงทราบ

ว่า ท่านสงเคราะห์ด้วยกามราคานุสัย.

[๒๘๐] พึงทราบวินิจฉัยในจริตนิทเทส ดังต่อไปนี้. เจตนา

๑๓ เป็นปุญญาภิสังขาร. เจตนา ๑๒ เป็นอปุญญาภิสังขาร. เจตนา ๔

เป็นอาเนญชาภิสังขาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1088

ในบทเหล่านั้น กามาวจรเป็นปริตตภูมิ. นอกนั้นเป็นมหาภูมิ.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า ในอภิสังขาร ๓ เหล่านี้ อภิสังขาร

อย่างใด มีวิบากน้อย เป็นปริตตภูมิ. มีวิบากมากเป็นมหาภูมิ.

[๒๘๑] พึงทราบวินิจฉัยในอธิมุตตินิทเทส ดังต่อไปนี้.

บทว่า สนฺติ ได้แก่ มีอยู่.

บทว่า หีนาธิมุตฺติกา - มีอธิมุตติเลว คือ มีอัธยาศัยลามก.

บทว่า ปณีตาธิมุตฺติกา - มีอธิมุตติประณีต คือ มีอัธยาศัยงาม.

บทว่า เสวนฺติ - ย่อมเสพ คือ อาศัย เกี่ยวข้อง.

บทว่า ภชนฺติ - ย่อมคบ คือ ห เข้าไปนั่งใกล้.

บทว่า ปยิรุปาสนฺติ - เข้าไปหา คือ ไปหาบ่อย ๆ.

หากว่า อาจารย์และอุปัชฌาย์ เป็นผู้ไม่มีศีล. อันเตวาสิกและ

สัทธิวิหาริก เป็นผู้มีศีล. เขาจะไม่เข้าไปหาแม้อาจารย์และอุปัชฌาย์

ของตน. จะเข้าไปหาภิกษุผู้สมควรเช่นกับตนเท่านั้น.

หากว่า อาจารย์และอุปัชฌาย์ เป็นภิกษุสมควรคือมีศีล ภิกษุ

นอกนั้นไม่สมควร. ภิกษุเหล่านั้นก็จะไม่เข้าไปหาอาจารย์และอุปัชฌาย์

จะเข้าไปหาภิกษุผู้มีอธิมุตติเลว เช่นกับตน.

อนึ่ง การเข้าไปหาอย่างนี้มิได้มีแต่ในบัดนี้เท่านั้น. พระสารี-

บุตรเถระเพื่อแสดงว่า แม้ในอดีตและอนาคตก็มี จึงกล่าวบทมีอาทิว่า

อตีตมฺปิ อทฺธาน - กาลอันยาวนาน แม้ล่วงแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1089

ในบทเหล่านั้น บทว่า อตีตมฺปิ อทฺธาน คือ ในอดีตกาล.

บทที่เหลือ มีอรรถง่ายทั้งนั้น. ถามว่า ผู้ทุศีลเสพผู้ทุศีล. ผู้มีศีลเสพ

ผู้มีศีล. ผู้มีปัญญาทรามเสพผู้มีปัญญาทราม ผู้มีปัญญาเสพผู้มีปัญญา

ใครกำหนดไว้ ตอบว่า ธาตุแห่งอัธยาศัยกำหนดไว้.

พึงทราบวินิจฉัยในภัพพาภัพพนิทเทส ดังต่อไปนี้. พระสารี-

บุตรเถระเพื่อแสดงสิ่งที่ควรทั้งก่อนแล้วแสดงสิ่งที่ควรถือเอาในภายหลัง

จึงแสดงอภัพพสัตว์ก่อน นอกลำดับแห่งอุทเทส. แต่ในอุทเทส ท่าน

ประกอบ ภัพพ ศัพท์ ก่อน ด้วยสามารถลักษณะนิบาตเบื้องต้นแห่งบท

ที่น่านับถือและบทมีอักขระอ่อนในทวันทวสมาส.

[๒๘๒ - ๒๘๓ ] บทว่า กมฺมาวรเณน ด้วยธรรมเป็นเครื่อง

กั้น คือ กรรม ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ อย่าง.

ชื่อว่า สุมนฺนาคตา - ประกอบแล้ว คือ มีความพร้อมแล้ว.

บทว่า กิเลสาวรเณน - ด้วยธรรมอันเป็นเครื่องกั้น คือ กิเลส

ได้แก่ นิยตมิจฉาทิฏฐิ. ทั้งสองบทนี้ ชื่อว่า อาวรณะ เพราะกั้นสวรรค์

และมรรค. แม้กรรมมีการประทุษร้ายภิกษุณีเป็นต้น ท่านก็สงเคราะห์

ด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรมนั่นแหละ.

บทว่า วิปากาวรเณน - ด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ วิบาก

ได้แก่ อเหตุกปฏิสนธิ. เพราะการแทงตลอดอริยมรรค ย่อมไม่มีแม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1090

แก่ทุเหตุกะ. ฉะนั้น พึงทราบว่า แม้ปฏิสนธิเป็นทุเหตุกะ ก็เป็นธรรม

เครื่องกั้น คือ วิบากนั่นแหละ.

บทว่า อสฺสทฺธา - เป็นผู้ไม่มีศรัทธา คือ ไม่มีศรัทธาใน

พระพุทธเจ้าเป็นต้น.

บทว่า อจฺฉนฺทิกา - ไม่มีฉันทะ คือ ไม่มีฉันทะในกุศล คือ

ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ. พวกมนุษย์แคว้นอุตตรกุรุเข้าไปสู่ฐานะไม่มี

ความพอใจ.

บทว่า ทุปฺปญฺญา - มีปัญญาทราม คือ เสื่อมจากภวังคปัญญา.

อนึ่ง แม้เมื่อภวังคปัญญาบริบูรณ์ ภวังค์ของผู้ใด ยังไม่เป็นบาทของ

โลกุตระ แม้ผู้นั้นก็ยังชื่อว่าเป็นผู้ปัญญาอ่อนอยู่นั่นแหละ.

บทว่า อภพฺพา นิยาม โอกฺกมิตุ กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตฺต-

ไม่อาจย่างเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย คือ ไม่ย่างเข้าสู่

อริยมรรค กล่าวคือ สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย. เพราะอริย-

มรรคเป็นสภาวะโดยชอบ จึงชื่อว่า สัมมัตตะ. อริยมรรคนั้นแหละ

เป็นสัมมัตตะในการให้ผลในลำดับ. หรือว่า ผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ

มีปัญญาทราม ไม่อาจย่าง คือ เข้าไปสู่สัมมัตตนิยามนั้น เพราะตนเอง

เป็นผู้ไม่หวั่นเอง.

บทมีอาทิว่า น กมฺมาวรเณน พึงทราบโดยตรงกันข้ามกับบท

ดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.

จบ อรรถกถาอาสยานุสยญาณนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1091

ยมกปาฏิหาริยญาณนิทเทส

[๒๘๔] ยมกปาฏิหาริยญาณของพระตถาคตเป็นไฉน ?

ในญาณนี้ พระตถาคตย่อมทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ไม่สาธารณะ

ด้วยหมู่พระสาวก คือ ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน สายน้ำพุ่ง

ออกจากพระกายเบื้องล่าง ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง สายน้ำ

พุ่งออกจากพระกายเบื้องบน, ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า สาย-

น้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง

สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า, ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรเบื้อง

ขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตร

เบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องขวา, ท่อไฟพุ่งออกจาก

ช่องพระกรรณเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย

ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระ-

กรรณเบื้องขวา, ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา สายน้ำพุ่ง

ออกจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้อง

ซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา, ท่อไฟพุ่งออกจาก

จะงอยพระอังสาเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย

ท่อไฟพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากจะงอย

พระอังสาเบื้องขวา, ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา สายน้ำพุ่ง

ออกจากพระหัตถ์เบื้องซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องซ้าย สายน้ำ

พุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา, ท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1092

สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้อง

ซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา. ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาท

เบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทเบื้องซ้าย, ท่อไฟพุ่งออกจาก

พระบาทเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทเบื้องขวา. ท่อไฟพุ่งออก

จากพระองคุลี สายน้ำพุ่งออกจากระหว่างพระองคุลี ท่อไฟพุ่งออกจาก

ระหว่างพระองคุลี สายน้ำพุ่งออกจากพระองคุลี, ท่อไฟพุ่งออกจาก

พระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ, ท่อไฟ

พุ่งออกจากขุมพระโลมา สายน้ำพุ่งออกจากขุมพระโลมา ( พระรัศมี

แผ่ซ่านออกจากพระสรีรกายด้วยสามารถ) แห่งวรรณะ ๖ คือ สีเขียว

สีเหลือง แดง สีขาว สีแสด สีเลื่อมประภัสสร พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จจงกรม พระพุทธนิมิตประทับยืน ประทับนั่ง หรือทรงไสยาสน์,

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืน พระพุทธนิมิตเสด็จจงกรม, ประทับนั่ง

หรือทรงไสยาสน์, พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง พระพุทธนิมิตเสด็จ

จงกรม ประทับยืน หรือทรงไสยาสน์, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงไสยาสน์

พระพุทธนิมิตเสด็จจงกรม ประทับยืน หรือประทับนั่ง, พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเสด็จจงกรม ประทับนั่ง หรือทรงไสยาสน์ พระพุทธนิมิต

ประทับยืน, พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรม ประทับยืน หรือทรง

ไสยาสน์, พระพุทธนิมิตประทับนั่ง, พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืน

ประทับนั่ง หรือเสด็จจงกรม พระพุทธนิมิตทรงไสยาสน์ นี้เป็น

ยมกปาฏิหาริยญาณของพระตถาคต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1093

๗๐. อรรถกถายมกปาฏิหีรญาณนิทเทส

[๒๘๔] พึงทราบวินิจฉัยในยมกปาฏิหีรญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.

บทว่า อสาธารณ สาวเกหิ - ยมกปาฏิหาริย์ไม่ทั่วไป ด้วยสาวก

ทั้งหลาย ความว่า ในสาธารณญาณนิทเทสที่เหลือท่านไม่กล่าวไว้

เพราะไม่มีโอกาสด้วยคำอื่น แต่ในนิทเทสนี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้

เพราะไม่มีคำอื่น.

บทว่า อุปริมกายโต - จากพระกายเบื้องบน คือ จากพระสรีระ

เบื้องบนแห่งพระนาภี.

บทว่า อคฺคิกฺขนฺโธ ปวตฺตติ - ท่อไฟพุ่งออก คือ เมื่อเข้า

ฌานเป็นบาทมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ครั้นออกแล้วคำนึงว่า ขอเปลว

ไฟจงพุ่งออกจากกายเบื้องบน แล้วทำบริกรรม อฐิฏฐานว่า ขอเปลวไฟ

จงพุ่งจากกายเบื้องบน ด้วยอภิญญาญาณ เปลวไฟจะพุ่งขึ้นจากกาย

เบื้องบนพร้อมกับอฐิฏฐาน. ในนิทเทสนี้ เปลวไฟนั้น ท่านกล่าวว่า

ขันธ์ เพราะอรรถว่าเป็นกอง.

บทว่า เหฏฺิมกายโต - จากพระกายเบื้องล่าง คือ จากพระ-

สรีระเบื้องล่างจากพระนาภี.

บทว่า อุทกธารา ปวตฺตติ - สายน้ำพุ่งออก คือ เมื่อเข้าฌาน

เป็นบาทมีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ครั้นออกแล้วคำนึงว่า ขอสายน้ำจง

พุ่งออกจากกายเบื้องล่างแล้วทำบริกรรม อธิฏฐานว่า ขอสายน้ำจงพุ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1094

ออกจากกายเบื้องล่าง ด้วยอภิญญาญาณ สายน้ำจะพุ่งออกจากกายเบื้อง

ล่างพร้อมกับอธิฏฐาน. แม้ในบททั้งสอง ท่านกล่าวว่า พุ่งออกโดย

ไม่ขาดสาย. ภวังคจิต ๒ ดวง ย่อมเป็นไปในระหว่างอธิฏฐานและการ

คำนึง เพราะฉะนั้นแหละ กองไฟและสายน้ำ จึงพุ่งออกเป็นคู่ ไม่

ปรากฏระหว่าง . ก็การกำหนดภวังคจิตไม่มีแก่สาวกเหล่าอื่น.

บทว่า ปุรตฺถิมกายโต - จากพระกายเบื้องหน้า คือ จากข้าง

หน้า. ปจฺฉิมกายโต - จากพระกายเบื้องหลัง คือ จากข้างหลัง.

บทมีอาทิว่า ทกฺขิณอกฺขิโต วามอกฺขิโต - จากพระเนตรเบื้อง

ขวา จากพระเนตรเบื้องซ้าย เป็นปาฐะสมาส มิใช่ปาฐะอื่น. ปาฐะว่า

ทกฺขิณนาสิกาโสตโต วามนาสิกาโสตโต - จากพระนาสิกเบื้องขวา

จากพระนาสิกเบื้องซ้ายดังนี้ เป็นปาฐะดี. พระอาจารย์ทั้งหลายกล่าว

ทำเป็นรัสสะบ้าง.

ในบทว่า อสกูฏโต - จากจะงอยพระอังสานี้ มีความดังนี้ . ชื่อว่า

กูฏะ - จะงอย เพราะอรรถว่าสูงขึ้น ดุจยอด. จะงอย คือ อังสานั่น

เอง ชื่อว่า อังกูฏะ.

บทว่า องฺคุลงฺคุเลหิ คือ จากพระองคุลี ๆ

บทว่า องฺคุลนฺตริกาหิ คือ จากระหว่างองคุลี.

บทว่า เอเกกโลมโต อคฺคิกฺขนฺโธ ปวตฺตติ, เอเกกโลมโต

อุทกธารา ปวตฺตติ - ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่งๆ . สายน้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1095

พุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ. ท่านอธิบายว่า ท่อไฟสายน้ำพุ่งออก

เป็นคู่ ๆ จากพระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ เพราะถือเอาพระโลมาทั้งหมดด้วย

คำพูดซ้ำ ๆ. ในบทแม้ทั้งสอง.

แม้ในบทว่า โลมกูปโต โลมภูปโต อคฺคิกฺขนฺโธ ปวตฺตติ,

โลมกูปโต โลมกูปโต อุทกธารา ปวตฺตติ - ท่อไฟพุ่งออกจากขุม

พระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ. สายน้ำพุ่งออกจากขุมพระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ ก็มี

นัยนี้เหมือนกัน. ในหลาย ๆ คัมภีร์ ท่านเขียนไว้ว่า ท่อไฟพุ่งออกจาก

พระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ. สายน้ำพุ่งออกจากขุมพระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ. ท่อ

ไฟพุ่งออกจากขุมพระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ. สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมา

เส้นหนึ่ง ๆ. บทแม้นั้นก็ถูกต้อง. แต่ปาฐะก่อนดีกว่า เพราะแสดง

ความสุขยิ่งนักของปาฏิหาริย์.

บทว่า ฉนฺน วณฺณาน - พระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกาย

ด้วยสามารถแห่งวรรณะ ๖. สัมพันธ์กันอย่าไร ?ห

ท่านกล่าวถึงสรีราพยพ ด้วยบทไม่น้อยมีอาทิว่า อุปริมกาโต.

ด้วยเหตุนั้น การสัมพันธ์ด้วยสรีราพยพ ย่อมเป็นไปได้. ฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า รัศมีทั้งหลายแห่งวรรณะ ๖ อันเป็นสรีราพยพ ย่อม

พุ่งออกเป็นคู่ ๆ ด้วยความสัมพันธ์ถ้อยคำ และด้วยอธิการแห่งยมกปาฏิ-

หาริย์. อนึ่ง ด้วยความสัมพันธ์แห่งฉัฏฐีวีภัตติ พึงปรารถนาปาฐะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1096

ที่เหลือว่า รสฺมิโย เป็นแน่แท้. ( คือให้เพิ่มบทว่า ฉนฺน วณฺณาน

รสฺมิโย).

บทว่า นีลาน - สีเขียว คือ มีสีเหมือนดอกผักตบ.

บทว่า ปิตกาน - สีเหลือง คือ มีสีเหมือนดอกกรรณิการ์.

บทว่า โลหิตกาน - สีแดง คือ มีสีเหมือนแมลงค่อมทอง.

บทว่า โอทาตาน - สีขาว คือ มีสีเหมือนดาวประกายพรึก.

บทว่า มญฺชิฏฺาน - สีแสด คือ มีสีแดงอ่อน.

บทว่า ปภสฺสราน - สีเลื่อมประภัสสร คือ มีสีเลื่อมประภัสสร

ตามปกติ. สีเลื่อมประภัสสรแม้ไม่มีต่างกัน. เมื่อกล่าวถึงวรรณะ ๕

รัศมีใดๆ รุ่งเรือง รัศมีนั้น ๆ เป็นประภัสสร.

จริงอย่างนั้น เมื่อพระตถาคตทรงทำยมกปาฏิหาริย์ รัศมีสีเขียว

ย่อมซ่านออกจากที่สีเขียวแห่งพระเกสา พระมัสสุ และพระเนตร

ด้วยกำลังแห่งยมกปาฏิหีรญาณนั่นแหละ, ด้วยอำนาจรัศมีสีเขียวท้องฟ้า

ย่อมเป็นดุจกระจายไปด้วยผงดอกอัญชัญ ดุจดาดาษไปด้วยกลีบดอก

ผักตบ และดอกอุบลเขียว ดุจก้านตาลแก้วมณีล่วงลงมา และดุจแผ่น

ผ้าสีครามที่เขาขึงไว้.

รัศมีสีเหลือง ย่อมซ่านออกจากพระฉวี และจากที่สีเหลือง

แห่งพระเนตร, ด้วยอำนาจแห่งรัศมีสีเหลือง ทิศาภาค ย่อมรุ่งโรจน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1097

ดุจหรั่งออกซึ่งน้ำสีทองคำ ดุจคลี่ออกซึ่งแผ่นผ้าทองคำ และดุจเกลื่อน

กล่นไปด้วยผงหญ้าฝรั่น และดอกกรรณิการ์.

รัศมีสีแดง ย่อมซ่านออกจากพระมังสะแลพระโลหิต และ

จากที่สีแดงแห่งพระเนตร, ด้วยอำนาจแห่งรัศมีสีแดว ทิศาภาค ย่อม

รุ่งโรจน์ดุจย่อมด้วยผงขาด ดุจหรั่งออกซึ่งน้ำสีครั่งที่สุกปลั่ง ดุจวงด้วย

ผ้ากัมพลสีแดง และเกลื่อนกลาดไปด้วยดอกไม้สีแดง คือ อกชัยพฤกษ์

ดอกทองหลาง และดอกชะบา.

รัศมีสีขาว ย่อมซ่านออกจากพระอัฐิ พระทนต์ และจากที่

สีแดงของพระเนตร, ด้วยอำนาจแห่งรัศมีสีขาว ทิศาภาค ย่อมรุ่งโรจน์

ดุจกระจัดกระจายด้วยสายน้ำมันอันหลออกจากหม้อเงิน ดุจลาด

เพดานด้วยแผ่นเงินไว้ ดุจก้านตาลเงินหล่นลงมา และดุจดาดาษ

ด้วยดอกไม้ ดอกมะลิวัลย์ ดอกโกมุท ดอกไม้ยางทราย ดอกมะลิ

และดอกมะลิซ้อน.

รัศมีสีแสด ย่อมซ่านออกจากที่สีแดงอ่อน มีฝ่าพระหัตถ์และ

ฝ่าพระบาทเป็นต้น, ด้วยอำนาจแห่งรัศมีสีแสด ทิศาภาค ย่อมรุ่งโรจน์

ดุจวงไว้ด้วยตาข่ายแก้วประพาฬ และดุจเกลื่อนกลาดด้วยจุณสำหรับ

อาบสีแดง และดอกคำ.

รัศมีสีเลื่อมประภัสสร ย่อมซ่านออกจากที่สีเลื่อมประภัสสร

มีพระอุณาโลม พระทาฐะและพระนขาเป็นต้น, ด้วยอำนาจแห่งรัศมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1098

สีเลื่อมประภัสสร ทิศาภาค ย่อมรุ่งโรจน์ดุจเต็มด้วยกลุ่มดาวประกายพรึก

และเต็มด้วยเครื่องครอบด้วยสายฟ้าเป็นต้น.

ด้วยบทมีอาทิว่า ภควา จงฺกมติ - พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

จงกรม ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่า พระอิริยาบถต่าง ๆ ของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า และพระพุทธนิรมิตทั้งหลายย่อมมีด้วยยมกปาฏิหิรญาณเท่านั้น.

เพราะพระอิริยาบถของพระพุทธนิรมิตเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเป็นคู่.

ผิถามว่า พระพุทธนิรมิตมีมาก เพราะเหตุไร จึงทำเป็นเอกวจนะว่า

นิมฺมิโต เป็นต้นเล่า. ตอบว่า เพื่อแสดงอิริยาบถต่าง ๆ ของพระพุทธ-

นิรมิตองค์หนึ่ง ๆ ในบรรดาพระพุทธนิรมิตทั้งหลาย.

เมื่อกล่าวเป็นพหุวจนะ พระพุทธนิรมิต แม้ทั้งหมดก็เป็น

เหมือนมีพระอิริยาบถต่าง ๆ กันในคราวเดียว. แต่เมื่อกล่าวเป็นเอก-

วจนะ ในบรรดาพระพุทธนิรมิตองค์หนึ่ง ๆ ย่อมปรากฏว่า มีพระ-

อิริยาบถต่าง ๆ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงเป็นเอกวจนะ. แม้พระ-

จูลบันถกเถระ ก็นิรมิตภิกษุมีอิริยาบถต่าง ๆ . ตั้งพันรูป, การเว้น

พระจูลบันถกเถระเสียแล้ว นิมิตรูปต่าง ๆ ของพระสาวกเหล่าอื่นมีอิริ-

ยาบถต่าง ๆ ด้วยการคำนึงครั้งเดียว ย่อมไม่สำเร็จ. เพราะพระพุทธ-

นิรมิตทั้งหลาย ย่อมมีฤทธิ์เช่นเดียวกัน เพราะมิได้กำหนดไว้. พระ-

พุทธนิรมิตทั้งหลาย ย่อมทำสิ่งที่ผู้มีฤทธิ์ทำได้ในการยืน การนั่งเป็นต้น

ก็ดี ในการพูด การนิ่งเป็นต้นก็ดี. การทำไม่เหมือนกัน และทำกิริยา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1099

ต่าง ๆ กัน ย่อมสำเร็จด้วยการคำนึงต่าง ๆ กัน แล้วอธิฏฐานว่า พระ-

พุทธนิรมิตประมาณเท่านี้ จงเป็นเช่นนี้. พระพุทธนิรมิตประมาณ

เท่านี้ จงทำสิ่งนี้. ส่วนการนิรมิตหลาย ๆ อย่าง ย่อมสำเร็จแก่พระ-

ตถาคต ด้วยการคำนึงอธิฏฐานครั้งเดียวเท่านั้น. พึงทราบในการนิรมิต

ท่อไฟและสายน้ำ และในการนิรมิตวรรณะต่าง ๆ ด้วยประการฉะนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ภควา จงฺกมติ คือ พระผู้มีพระภาค-

เจ้าเสด็จจงกรมในอากาศหรือบนแผ่นดิน. บทว่า นิมฺมิโต ได้แก่

รูปพระพุทธเจ้าที่นิรมิตด้วยฤทธิ์. แม้บทว่า ติฏฺติ วา- พระพุทธ-

นิรมิตประทับยืน เป็นอาทิ ได้แก่ ประทับยินในอากาศหรือบนแผ่น

ดิน. บทว่า กปฺเปติ - ย่อมสำเร็จ คือ กระทำ. แม้ในบทมีอาทิว่า

ภควา ติฏฺติ - พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืน ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

จบ อรรถกถายกปาฏิหีรญาณนิทเทส

มหากรุณาสมาปัตติญาณนิทเทส

[ ๒๘๕] มหากรุณาสมาปัตติญาณของพระตถาคตเป็นไฉน ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นอยู่

ด้วยอาการเป็นอันมาก จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์ คือพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1100

ผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงเห็นอยู่ว่า โลกสันนิวาสอันไฟ

ติดโชนแล้ว จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงเห็นอยู่ว่า โลกสันนิวาสยกพลแล้ว . . .โลกสันนิวาส

เคลื่อนพลแล้ว . . . โลกสันนิวาสเดินผิดแล้ว . . . โลกอันชรานำเข้าไป

มิได้ยั่งยืน ...โลกไม่มีที่ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่ . . .โลกไม่มีอะไรเป็น

ของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป . . .โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม

เป็นทาสแห่งตัณหา . . . โลกสันนิวาสไม่มีทีต้านทาน ... โลกสันนิวาส

ไม่มีที่เร้น ... โลกสันนิวาสไม่มีที่พึ่ง ... โลกสันนิวาสไม่เป็นที่พึ่งของใคร

...โลกสันนิวาสฟุ้งซ่าน ไม่สงบ...โลกสันนิวาสมีลูกศร ถูกลูกศรเป็น

จำนวนมากเสียบแทงแล้ว ใครอื่นนอกจากเราผู้จะถอนลูกศรทั้งหลาย

ของโลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี...โลกสันนิวาสมีความมืดตื้อคืออวิชชา

ปิดกั้นไว้ ถูกใส่เข้าไปยังกรงกิเลส ใครอื่นอกจากเราซึ่งจะแสดงธรรม

เป็นแสงสว่างแก่โลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี. . .โลกสันนิวาสตกอยู่ใน

อำนาจอวิชชา เป็นผู้มืด อันอวิชชาหุ้มห่อไว้ ยุ่งดังเส้นด้าย พันกัน

เป็นกลุ่มก้อน นุงนังดังหญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย ไม่ล่วงพ้นสงสาร

คือ อบายทุคติและวินิบาต ...โลกสันนิวาสถูกอวิชชามีโทษเป็นพิษแทง

ติดอยู่แล้ว มีกิเลสเป็นโทษ .. . โลกสันนิวาสรกชัฏด้วยราคะโทสะและ

โมหะ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยสางรกชัฏให้แก่โลกสันนิวาสนั้น เป็น

ไม่มี... โลกสันนิวาสถูกกองตัณหาสวมไว้...โลกสันนิวาสถูกข่ายตัณหา

ครอบไว้ ... โลกสันนิวาสถูกกระแสตัณหาพัดไป...โลกสันนิวาสถูกตัณหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1101

เป็นเครื่องคล้อง คล้องไว้ ... โลกสันนิวาสซ่านไปเพราะตัณหานุสัย...

โลกสันนิวาสเดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนเพราะตัณหา .. โลกสันนิวาส

เร่าร้อนด้วยความเร่าร้อนเพราะตัณหา ... โลกสันนิวาสถูกกองทิฏฐิสวม

ไว้ ... โลกสันนิวาสถูกข่ายทิฏฐิครอบไว้ . . . โลกสันนิวาสถูกกระแสทิฏฐิ

พัดไป...โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิเป็นเครื่องคล้อง คล้องไว้ .. โลกสันนิวาส

ซ่านไปเพราะทิฏฐานุสัย . . . โลกสันนิวาสเดือดร้อนด้วยความเดือดร้อน

เพราะทิฏฐิ ... โลกสันนิวาสเร่าร้อนด้วยความเร่าร้อนเพราะทิฏฐิ ... โลก

สันนิวาสไปตามชาติ... โลกสันนิวาสซมซานไปเพราะชรา ... โลกสันนิ-

วาสถูกพยาธิครอบงำ ... โลกสันนิวาสถูกมรณะห้ำหั่น ... โลกสันนิวาส

ตกอยู่ในกองทุกข์ . . . โลกสันนิวาสถูกตัณหาซัดไป โลกสันนิวาสถูก

กำแพงคือชราแวดล้อมไว้ . . . โลกสันนิวาสถูกบ่วงมัจจุคล้องไว้ . . . โลก

สันนิวาสถูกผูกไว้ด้วยเครื่องผูกเป็นอันมาก คือเครื่องผูกคือราคะ โทสะ

โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยแก้

เครื่องผูกให้แก่โลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี . . . .โลกสันนิวาสเดินไปตาม

ทางแคบมาก ใครอื่นนอกจากเขาผู้จะช่วยชี้ทางสว่างให้แก่โลกสันนิวาส

นั้น เป็นไม่มี . . . โลกสันนิวาสถูกความกังวลเป็นอันมากพันไว้ ใคร

อื่นนอกจากเราผู้จะช่วยตัดความกังวลให้แก่โลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี...

โลกสันนิวาสตกลงไปในเหวใหญ่ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยฉุดโลก

สันนิวาสนั้นให้ขึ้นพ้นจากเหวเป็นไม่มี ... โลกสันนิวาสเดินทางกันดาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1102

มาก ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยให้โลกสันนิวาสนั้นข้ามพ้นทางกันดาร

ได้ เป็นไม่มี. . .โลกสันนิวาสเดินทางไปในขางสารวัฏใหญ่ ใครอื่น

นอกจากเราผู้จะช่วยให้โลกสันนิวาสนั้นพ้นจากสังขารวัฏได้ เป็นไม่มี...

โลกสันนิวาสกลิ้งเกลือกอยูในหล่มใหญ่ ใครอื่นนอกจากเราผู้ช่วย

ฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้พ้นจากหล่มได้ เป็นไม่มี...โลกสันนิวาสร้อนอยู่

บนเครื่องร้อนเป็นอันมาก ถูกไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ ชาติ

ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปยาสครอบงำไว้

ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยดับไฟเหล่านั้นให้แก่โลกสันนิวาสนั้นได้

เป็นไม่มี. . .โลกสันนิวาสทุรนทุราย เดือดร้อนเป็นนิตย์ ไม่มีอะไร

ต้านทาน ต้องรับอาชญา ต้องทำตามอาชญา . . . โลกสันนิวาสถูกผูก

ด้วยเครื่องผูกในวัฏฏะปรากฏอยู่ที่ตะแลงแกง ใครอื่นนอกจากเราผู้จะ

ช่วยโลกสันนิวาสนั่นให้หลุดพ้นได้ เป็นไม่มี...โลกสันนิวาสมีที่พึ่ง

ควรได้รับความกรุณาอย่างยิ่ง ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยต้านทานให้

แก่โลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี... โลกสันนิวาสถูกทุกข์เสียบแทงบีบคั้น

มานาน ...โลกสันนิวาสติดใจกระหายอยู่เป็นนิตย์ . . . โลกสันนิวาสเป็น

โลกบอด ไม่มีจักษุ . . .โลกสันนิวาสมีนัยน์ตาเสื่อมไปไม่มีผู้นำ . . . โลก

สันนิวาสแล่นไปสู่ทางผิด หลงทางแล้ว ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยพา

โลกสันนิวาสนั้นมาสู่ทางอริยะ เป็นไม่มี. . .โลกสันนิวาสแล่นไปสู่ห้วง

โมหะ. ใครอื่นนอกจากเราผู้ฉะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้ขึ้นจากห้วง

โมหะ เป็นไม่มี . . . โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๒ อย่างกลุ้มรุม. . . . โลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1103

สันนิวาสปฏิบัติผิดด้วยทุจริต ๓ อย่าง. . .โลกสันนิวาสเต็มไปด้วยกิเลส

เครื่องประกอบ ถูกกิเลสเครื่องประกอบ ๔ อย่างประกอบไว้ . . .โลก

สันนิวาสถูกกิเลสผูกไว้ด้วยเครื่องผูก ๔ อย่าง . . .โลกสันนิวาสถือมั่นด้วย

อุปาทาน ๔ .. .โลกสันนิวาสขึ้นสู่คติ ๕ . . . โลกสันนิวาสกำหนัดอยู่ด้วย

กามคุณ ๕ . . . โลกสันนิวาสถูกนิวรณ์ ๕ ทับไว้ ... โลกสันนิวาสวิวาท

กันอยู่ด้วยมูลเหตุวิวาท ๖ อย่าง . . . โลกสันนิวาสกำหนัดอยู่ด้วยกอง

ตัณหา ๖ . . . โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๖ กลุ้มรุมแล้ว . . . โลกสันนิวาสซ่าน

ไปเพราะอนุสัย ๗... โลกสันนิวาสถูกสังโยชน์ ๗ เกี่ยวคล้องไว้ . . .

โลกสันนิวาสฟูขึ้นเพราะมานะ ๗ . . โลกสันนิวาสเวียนอยู่เพราะโลก

ธรรม ๘ โลกสันนิวาสเป็นผู้ดิ่งลงเพราะมิจฉัตตะ... ๘ . . . โลกสันนิวาส

ประทุษร้ายกันเพราะบุรุษโทษ ๘ . . . โลกสัน นิวาสมุ่งร้ายกันเพราะ

อาฆาตวัตถุ ๙ . . . โลกสันนิวาสพองขึ้นเพราะมานะ ๙ อย่าง . . .โลก

สันนิวาสกำหนัดอยู่เพราะธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล ๙ . . .โลกสันนิวาส

ย่อมเศร้าหมองเพราะกิเลสวัตถุ ๑๐ . . . โลกสันนิวาสมุ่งร้ายกันเพราะ

อาฆาตวัตถุ ๑๐ ... โลกสันนิวาสประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ ... โลก

สันนิวาสถูกสังโยชน์ ๑๐ เกี่ยวคล้องไว้ . . . โลกสันนิวาสเป็นผู้ดิ่งลง

เพราะมิจฉัตตะ ๑๐ ... โลกสันนิวาสประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ...

โลกสันนิวาสประกอบด้วยสักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ . . . โลกสันนิวาสต้อง

เนิ่นช้าเพราะตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้า ๑๐๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1104

ผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่า โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๖๒ กลุ้มรุม

จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปให้หมู่สัตว์ว่า ก็เราแลเป็นผู้ข้ามได้แล้ว แต่

สัตว์โลกยังข้ามไม่ได้ เราเป็นผู้พ้นไปแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่พ้น

ไป เราทรมานได้แล้ว แต่สัตว์โลกยังทรมานไม่ได้ เราสงบ

แล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่สงบ เราเป็นผู้เบาใจแล้ว แต่สัตว์โลกยัง

ไม่เบาใจ เราเป็นผู้ดับรอบแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่ดับรอบ ก็เรา

เป็นผู้ข้ามได้แล้ว จะช่วยให้สัตว์โลกข้ามได้ด้วย เราเป็นผู้พ้นไปแล้ว

จะช่วยให้สัตว์โลกพ้นไปด้วย เราทรมานได้แล้ว จะช่วยให้สัตว์โลก

ทรมานได้ด้วย เราเป็นผู้สงบแล้ว จะช่วยให้สัตว์โลกสงบด้วย เรา

เป็นผู้เบาใจแล้ว จะช่วยให้สัตว์โลกเบาใจด้วย เราเป็นผู้ดับรอบแล้ว จะ

ช่วยให้สัตว์โลกดับรอบด้วย พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ผู้ตรัสรู้แล้ว

ทรงพิจารณาเห็นดังนี้ จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์ นี้เป็น

มหากรุณาสมาปัตติญาณของพระตถาคต.

๗๑. อรรถกถามหากรุณาญาณนิทเทส

[๒๘๕] พึงทราบวินิจฉัยในมหากรุณาญาณนิทเทสดังต่อไปนี้

บทว่า พหุเกหิ อากาเรหิ - ด้วยอาการเป็นอันมาก คือ ด้วยประการ

๘๙ อย่างซึ่งจะกล่าวในบัดนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1105

บทว่า ปสฺสนฺตาน - ทรงพิจารณาเห็นอยู่ คือ ทรงตรวจตรา

อยู่ ด้วยญาณจักษุและด้วยพุทธจักษุ.

บทว่า โอกฺกมติ - ทรงแผ่ คือ ทรงหยั่งลง ทรงเข้าไป.

บทว่า อาทิตฺโต คือ อันไฟติดโชนแล้ว ด้วยสภาพความ

เร่าร้อนจากการถูกเบียดเบียนด้วยทุกขลักษณะ. พึงทราบว่า ท่าน

กล่าวว่า อาทิตฺโต ด้วยสามารถทุกขลักษณะแห่งสังขธรรมทั้งปวง

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ยทนิจฺจ ต ทุกข- สิ่งใดไม่

เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ และด้วยสามารถทุกขลักษณะครั้งแรก เพราะ

ถูกทุกข์บีบคั้น และเพราะพระกรุณาเป็นรากฐาน. จักกล่าวความเป็น

ของร้อนด้วยราคะเป็นต้นข้างหน้า.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อาทิตฺโต คือ ร้อนด้วยราคะเป็นต้น

นั่นแหละ, ส่วนข้างหน้า พึงทราบว่า ท่านกล่าวอีกด้วยสามารถการ

เพ่งเล็งถึงอรรถว่าไม่มีอะไร ๆ อื่นดับความร้อนคือราคะนั้นได้.

บทว่า โลกสนฺนิวาโส - โลกสันนิวาส ได้แก่ เบญจขันธ์

ชื่อว่า โลก ด้วยอรรถว่าสลายไป. ชื่อว่า สันนิวาส เพราะเป็นที่

อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ. ที่อาศัยคือโลกนั่น

แหละ. ชื่อว่า โลกสันนิวาส. แม้หมู่สัตว์ก็ชื่อว่า โลกสันนิวาส เพราะ

๑. ส. ขนฺธ. ๑๗/๔๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1106

เป็นที่อาศัยของสัตว์โลก ที่เรียกกันว่า สัตว์ เพราะอาศัยขันธสันดาน

อันเป็นทุกข์. แม้โลกสันนิวาสนั้นก็เป็นไปกับด้วยขันธ์เหมือนกัน.

บทว่า อุยฺยุตฺโต-โลกสันนิวาสยกพลแล้ว คือ ทำความ

พยายาม ทำความอุตสาหะ เพราะขวนขวายเป็นนิจในกิจหลายอย่าง.

อธิบายว่า มีความขวนขวายในสรรพกิจทั้งหลาย. หรือประกอบด้วย

ความพยายาม คือ ขวนขวาย.

บทว่า ปยาโต - โลกสันนิวาสเคลื่อนพลแล้ว คือ เริ่มจะไป

ตายด้วยถึงความไม่มั่นคงดุจแม่น้ำซึ่งเกิดจากภูเขา.

บทว่า กุมฺมคฺค ปฏิปนฺโน โลกสันนิวาสเดินผิดแล้ว คือ

เดินทางผิดอย่างเลวร้าย. ส่วนข้างหน้าท่านกล่าวต่างกันด้วยบทต่าง ๆ

ว่า วปถปกฺขนฺโต - แล่นไปผิดทาง

บทว่า อุปนียติ - โลกอันชรานำเข้าไป คือ อันชรานำเข้าไป

หามรณะ. เพราะท่านกล่าวชราว่า อายุโน สหาน-ความเสื่อมแห่ง

อายุ.

บทว่า อทฺธุโว - มิได้ยั่งยืน คือไม่มั่นคง ไม่เป็นอย่างนั้น

ตลอดกาลเพราะไม่ยั่งยืน ฉะนั้น บทว่า อทฺธุโว นี้ กล่าวถึงเหตุ

ของบทก่อนว่า อุปนียติ - อันชรานำเข้าไป. ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวถึง

๑. ส. นิ. ๑๖/๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1107

ชราทุกข์พร้อมด้วยเหตุ. วิญญูชนทั้งหลาย ครั้นเห็นชราทุกข์นั้นแล้ว

แม้จะไม่มีความเสื่อมเพราะชราก็ออกบวช.

บทว่า อตาโณ - โลกไม่มีที่ต้านทาน คือ ไม่มีความสามารถ

ที่จะต้านทาน คือรักษาไว้ได้ อธิบายว่า ไม่มีเครื่องป้องกัน.

บทว่า อนภิสฺสโร - ไม่เป็นใหญ่ คือ ไม่มีความสามารถที่จะ

ปลอบใจ เพราะขาดผู้ช่วยเหลือ อธิบายว่า ไม่มีเพื่อน เพราะไม่

เป็นใหญ่ ฉะนั้น บทว่า อนภิสฺสโร นี้ เป็นคำกล่าวถึงเหตุของ

บทก่อนว่า อตาโณ. ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวถึงทุกข์เกิดจากความพลัด

พรากจากของที่รัก พร้อมด้วยเหตุ. วิญญูชนทั้งหลาย ครั้นเห็นทุกข์

เกิดจากความพลัดพรากจากของที่รักนั้น แม้จะยังไม่มีการเสื่อมจากญาติ

ก็ออกบวช.

บทว่า อสฺสโก - ไม่มีอะไรเป็นของตน คือ ไม่มีสิ่งของเป็น

ของตน.

บทว่า สพฺพ ปหาย คมนีย - จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป คือ

สัตวโลกจำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงที่กำหนดว่าเป็นสิ่งของของตนไป. เพราะ

จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป, ฉะนั้น บทนี้เป็นบทกล่าวถึงเหตุของบทก่อน

ว่า อสฺสโก. ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวถึงมรณทุกข์พร้อมด้วยเหตุ.

วิญญูชนทั้งหลาย ครั้นเห็นมรณทุกข์นั้นแล้ว แม้จะยังไม่มีความเสื่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1108

จากโภคะก็ออกบวช. ในที่อื่นท่านกล่าวว่า กมฺมสฺสกา มาณว สตฺตา-

ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน. ส่วนในที่นี้ และใน

รัฏฐปาลสูตร ท่านกล่าวว่า อสฺสโก โลโก - โลกไม่เป็นของตน

หากถามว่า บทนั้นถูกอย่างไร ? ตอบว่า ท่านกล่าวว่า อสฺสโก - ไม่

เป็นของตน หมายถึงละไป. ส่วนกรรมไม่ละไป. เพราะฉะนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า กมฺมสฺสกา - สัตว์มีกรรมเป็นของตน. อนึ่ง ในรัฏฐปาล-

สูตรนั่นแหละ ท่านกล่าวบทนี้ไว้อย่างนี้ว่า ตฺว ปน ยถากมฺม

คมิสฺสสิ - ท่านจักไปตามกรรม.

บทว่า อูโน - โลกพร่อง คือ ไม่มีเต็ม.

บทว่า อติตฺโต - โลกไม่รู้จักอิ่ม คือ ไม่พอใจด้วยปรารถนา

ยิ่ง ๆ ขึ้น. บทนี้เป็นบทกล่าวถึงเหตุแห่งความพร่อง.

บทว่า ตณฺหาทาโส - เป็นทาสแห่งตัณหา คือ เป็นทาสแห่ง

ตัณหา เพราะเป็นไปในอำนาจของตัณหา. บทนี้เป็นคำกล่าวถึงเหตุ

แห่งความไม่อิ่ม. ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวถึงพยาธิทุกข์ พร้อมด้วยเหตุ

ด้วยอ้างถึงโรค คือความอยาก. วิญญูชนทั้งหลาย ครั้นเห็นพยาธิทุกข์

นั้นแล้ว แม้จะยังไม่มีความเสื่อมจากพยาธิก็ออกบวช.

บทว่า อตายโน - โลกสันนิวาสไม่มีที่ต้านทาน คือ ไม่มีการ

ป้องกัน เพราะไม่มีที่ต้านทานแม้จากมูลเป็นต้น หรือไม่พึงได้ความ

ปลอดภัย.

๑. ม. อุ. ๑๔/๕๘๑. ๒. ม. ม. ๑๓/๔๔๖. ๓. ม.ม. ๑๓/๔๔๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1109

บทว่า อเลโณ - โลกสันนิวาสไม่มีที่เร้น คือ ไม่มีที่ลับเพื่อ

จะเกี่ยวข้อง คืออาศัยอยู่ได้ และไม่ทำกิจคือความเร้น แม้ของผู้ที่ติด

แน่น.

บทว่า อสรโณ - โลกสันนิวาสไม่มีที่พึ่ง คือ ไม่นำภัยของ

ผู้อาศัยออกไป ไม่ทำให้หมดภัย.

บทว่า อสรณีภูโต - โลกสันนิวาสไม่เป็นที่พึ่งของใคร อธิบาย

ว่า ชื่อว่า อสรโณ เพราะไม่มีการเกิดในเมืองของตน. ชื่อว่า อสรณี-

ภูโต เพราะไม่เป็นที่พึ่งได้ตลอดกาลที่เกิดนั่นเอง.

บทว่า อุทฺธโต - โลกฟุ้งซ่าน คือ โลกมีความพร้อมด้วยอกุศล

เพราะเกิดความฟุ้งซ่านในอกุศลทั้งปวง และเพราะมากไปด้วยอกุศลเกิด

ในสันดานสัตว์ ชื่อว่า ฟุ้งซ่าน ด้วยอุทธัจจะนั้น.

บทว่า อวูปสนฺโต - โลกไม่สงบ คือ ไม่สงบ เพราะประกอบ

ด้วยอุทธัจจะอันมีลักษณะไม่สงบ เปรียบเหมือนมฤคหมุนเคว้ง. บทว่า

โลโก มาแล้ว ในฐานะ ๔ มีอาทิว่า อุปนียติ โลโก และในฐานะ ๕

ว่า อุทธโต โลโก, มาแล้ว ในบทที่เหลือว่า โลกสนฺนิวาโส.

แม้ในบททั้งสองนั้น ก็เป็นโลกอย่างเดียวกัน.

บทว่า สสลฺโล - โลกสันนิวาสมีลูกศร คือ เป็นไปกับด้วย

ลูกศรมีราคะเป็นต้น ที่ชื่อว่า ลูกศร เพราะให้เกิดความบีบคั้น เพราะ

เจาะเข้าไปในภายใน และเพราะนำออกยาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1110

บทว่า วิทฺโธ - ถูกลูกศรเสียบแทงแล้ว คือ มฤตเป็นต้น

บางครั้งถูกผู้อื่นแทง, แต่โลกคือหมู่สัตว์นี้ ตนเองเท่านั้นถูกแทงตลอด

เวลา.

บทว่า ปุถุสลฺเลหิ - ลูกศรจำนวนมาก คือ ถูกลูกศร ๗ ลูก

ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ลูกศร ๗ ลูก คือ ลูกศรคือราคะ ๑ ลูกศรคือโทสะ ๑

ลูกศรคือโมหะ ๑ ลูกศรคือมานะ ๑ ลูกศรคือทิฏฐิ ๑ ลูกศรคือกิเลส ๑

ลูกศรคือทุจริต ๑.

บทว่า ตสฺส คือ ของโลกสันนิวาสนั้น.

บทว่า สลฺลาน อุทฺธตา - ผู้จะถอนลูกศรทั้งหลาย คือ บุคคล

ผู้จะถอนลูกศรเหล่านั้นจากสันดานสัตว์.

บทว่า อญฺตฺร มยา คือ เว้นเรา. สาวกเหล่าใด ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าถอนลูกศรได้, เพราะสาวกเหล่านั้น ถอนได้ตาม

คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเอง จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

เท่านั้นถอนได้.

บทว่า อวิชฺชนฺธาการาวรโณ - โลกสันนิวาสมีความมืดตื้อ คือ

อวิชชาปิดกั้นไว้ ชื่อว่า ความมืดตื้อคืออวิชชา เพราะอวิชชานั่นแหละ

ทำ ดุจความมืดด้วยปกปิดความเห็นสภาวธรรม, อวิชชานั้นนั่นแหละ

ชื่อว่า ความมืดตื้อคืออวิชชา ปิดกั้นไว้ เพราะมีเครื่องปกปิดด้วย

ห้ามการหยั่งลงสู่ภาวธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1111

บทว่า กิเลสปญฺชรปกฺขิตฺโต - ถูกใส่เข้าไปยังกรงกิเลส คือ

ชื่อว่า กรงกิเลส เพราะกิเลสสนั่นแหละเป็นกรง ด้วยปิดการเข้า

ถึงกุศล, ถูกใส่ คือ ให้ตกไปในกรงกิเลส อันมีอวิชชาเป็นแดนเกิด.

บทว่า อาโลก ทสฺเสตา - จะแสดงเป็นแสงสว่าง คือ มีปกติ

เห็นแสงสว่าง คือปัญญา ชื่อว่า จะแสดงการเห็นแสงสว่าง ด้วยปัญญา

บทว่า อวิชฺชาคโต - โลกสันนิวาสตกอยู่ในอำนาจอวิชชา คือ

เข้าไปสู่อวิชชา, มิใช่เพียงปิดกั้นด้วยอวิชชาอย่างเดียว, ที่แท้เข้าไป

ภายในฝักของอวิชชา ดุจไปในที่รกชัฏ. เพราะเหตุนั้น จึงแปลกจาก

บทก่อน.

บทว่า อณฺฑภูโต คือ เกิดในฟองเหมือนอย่างว่า สัตว์

บางพวกเกิดในฟอง ท่านเรียกว่า อณฺฑภูตา ฉันใด. โลกนี้ ท่าน

เรียกว่า อณฺฑภูโต เพราะเกิดในฟองและฝัก ของอวิชชา

บทว่า ปริโยนทฺโธ - อันอวิชชาหุ้มห่อไว้ คือ ถูกหุ้มห่อ

ผูกพันไว้ด้วยฟองและฝัก คือ อวิชชาโดยรอบ.

บทว่า ตนฺตากุลชาโต คือ ยุ่งดุจเส้นด้าย เหมือนอย่างว่า

เส้นด้ายของช่างหูกเก็บไว้ไม่ดีถูกหนูกัด ย่อมยุ่งเหยิงในที่นั้น ๆ เป็น

การยากที่จะตีราคาให้สมค่า หรือสมราคาว่า นี้ มีราคาเท่านี้ มีค่า

เท่านี้ ฉันใด. สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นผู้พลาดพลั้ง ยุ่งยากวุ่นวาย

ในปัจจยาการ ย่อมไม่อาจทำปัจจยาการให้ตรงได้. ช่างหูกผู้ตั้งอยู่ใน

ความชำนาญเฉพาะตน ก็สามารถทำเส้นด้ายให้ตรงได้. แต่สัตว์อื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1112

เว้นพระโพธิสัตว์ ชื่อว่า สามารถจะทำปัจจยาการให้ตรงได้ โดย

ธรรมดาของตนย่อมไม่มี. อนึ่ง เหมือนอย่างว่า เส้นด้ายที่ยุ่งช่างหูก

เอาไปคลุกน้ำข้าวแล้วขยำก็จะเกิดติดเนื่องกัน และพันกันเป็นปม ฉัน

ใด. โลกนี้ ก็ฉันนั้น ครั้นพลาดในปัจจัยทั้งหลาย ไม่อาจทำปัจจัย

ทูลหลายให้ตรงได้ ย่อมเกิดดำพันเป็นปมด้วยอำนาจทิฏฐิ ๖๒. สัตว์

บาลจำพวกเหล่าใดอาศัยทิฏฐิทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นไม่อาจทำปัจจัยให้

ตรงได้.

บทว่า คุลาคุณฺิกชาโต - พันกันเป็นกลุ่มก้อน คือ เป็นดุจ

กลุ่มก้อน. ด้ายคลุกน้ำข้าวของช่างหูก ท่านกล่าวว่า เป็นกลุ่มก้อน.

อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า รังนก ชื่อว่า คุลา ความยุ่งยากแม้ทั้งสองนั้น

ยากที่จะทำค่าหรือราคาให้เท่ากันได้.

บทว่า มุญฺชปพฺพชภูโต - นุงนังดังหญ้าปล้องและหญ้ามุง

กระต่าย คือ เป็นดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย เกิดเป็นเช่นกับ

หญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย. ทุบหญ้าเหล่านั้นทำเชือก ในเวลา

เชือกขาดถือเอาเชือกที่ตกไปในที่ใดที่หนึ่งแล้ว ยากที่จะตีราคาหญ้า

เหล่านั้นให้มีค่าหรือมีราคาเหมาะสมว่า นี้ มีคำเท่านี้ มีราคาเท่านี้.

ช่างตั้งอยู่ในความเป็นผู้ชำนาญเฉพาะตน ก็พึงสามารถทำให้หญ้านั้น

ตรงได้. แต่สัตว์อื่นเว้นพระโพธิสัตว์ ชื่อว่า สามารถจะทำปัจจยาการ

ให้ตรงได้ตามธรรมดาของตนย่อมไม่มี ฉันใด. โลกนี้ ก็ฉันนั้น ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1113

สามารถจะทำปัจจยาการให้ตรงได้ เกิดเป็นเครื่องร้อยรัดด้วยอำนาจ

ทิฏฐิ ๖๒ ย่อมไม่พ้นอบาย ทุคติ วินิบาต สงสารไปได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อปาโย ได้แก่ นรก กำเนิดเดียรฉาน

เปตติวิสัย อสุรกาย. ทั้งหมดนั้น ท่านเรียกว่า อบาย เพราะไม่มี

ความเจริญ คือ ความรู้.

อนึ่ง ชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็นทางไปของทุกข์.

ชื่อว่า วินิบาต เพราะความสุขตกไปจากกาย. ส่วนสงสาร

นอกนี้ ท่านกล่าวว่า

ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนาน จ

อพฺโพจฺฉินฺน วตฺตมาน สสาโร ปวุจฺจติ.

ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ ยังไม่

ขาดสาย ยังเป็นไม่อยู่ ท่านเรียก สงสาร ดังนี้.

ไม่ล่วงเลยสงสารนั้นแม้ทั้งหมดไปได้. ที่แท้เมื่อยังถือจุติและปฏิสนธิ

บ่อย ๆ อย่างนี้ คือ จากจุติถือเอาปฏิสนธิ จากปฏิสนธิถือเอาจุติ ย่อม

หมุนเวียนในภพ ๓ ในกำเนิด ๔ ในคติ ๕ ในวิญญาณฐิติ ๗ ใน.

สัตตาวาส ๙ ดุจเรือที่ถูกลมพัดไปในมหาสมุทร และดุจโคที่ถูกเทียม

ด้วยยนต์ ฉะนั้น.

บทว่า อวิชฺชาวิสโทสสลฺลิตฺโต - โลกสันนิวาสถูกอวิชชา

มีโทษเป็นพิษแทงติดอยู่ ชื่อว่าอวิชชามิโทษ เพราะอวิชชานั่นแหละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1114

เป็นโทษ เพราะยังชีวิตที่เป็นกุศลให้พินาศไปด้วยความเกิดแห่งอกุศล.

พิษคืออวิชชานั่นแหละ. ชื่อว่า อวิชชามีโทษเป็นพิษ เพราะประทุษ

ร้ายสันดาน. ชื่อว่า อวิชชามีโทษเป็นพิษแทงติดอยู่ เพราะติดทา

ไว้ด้วยอนุสัยกิเลส ปริยุฏฐานกิเลสและทุจริตนั้นอย่างแรง.

บทว่า กิเลสกลลีภูโต - มีกิเลสเป็นโทษ ชื่อว่า กิเลสกลล

เพราะกิเลสมีอวิชชาเป็นต้น เป็นมูล เป็นกลละ คือเปือกตม เพราะ

อรรถว่าจม. ชื่อว่า กิเลสฺกลลี เพราะมีกิเลสนั้นเป็นดังเปือกตม.

เป็นอย่างนั้น.

บทว่า ราคโทสโมหชฏาชฏิโต - โลกสันนิวาสรกชัฏ ด้วย

ราคะ โทสะ โมหะ คือ ราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นโลภะ ปฏิฆะ

และอวิชชา ชื่อ ชฏา เพราะเกิดบ่อย ๆ ทั้งเบื้องล่างเบื้องบนใน

อารมณ์มีรูปเป็นต้น ดุจรกชัฏ กล่าวคือ ข่ายกิ่งพุ่มไม้ไผ่เป็นต้น โดย

สภาพที่เกี่ยวพันกัน. รกชัฏด้วยความรก คือ ราคะ โทสะ และ

โมหะนั้น. อธิบายว่า โลกนี้ รกชัฏ คือ ผูก ร้อยรัด ด้วยความ

รกนั้นเหมือนไม้ไผ่เป็นต้น รกด้วยความรกของไม้ไผ่เป็นต้น.

บทว่า ชฎ วิชฏตา - สะสางรกชัฏ คือ สะสาง ตัด ทำลาย

รกชัฏนี้ สะสางโลกอันเป็นไตรธาตุ แล้วตั้งอยู่อย่างนี้ได้.

บทว่า ตณฺหาสงฺฆาฏปฺปฏิมุกฺโก - โลกสันนิวาถูกกองตัณหา

สวมไว้ ชื่อว่า กองตัณหา เพราะตัณหานั่นและยังไม่ขาดสาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1115

ยังเป็นไปแล้ว ชื่อว่า กอง เพราะยังสืบต่ออยู่. ชื่อว่า กองตัณหา

สวมไว้ เพราะสวมเข้าไปภายใน ในกองตัณหานั้น.

บทว่า ตณฺหาชาเลน โอตฺถโฏ - โลกสันนิวาสถูกข่ายตัณหา

ครอบไว้ ชื่อว่า ข่ายตัณหา เพราะตัณหานั่นแหละเป็นข่าย โดย

ร้อยรัดไว้ตามนัยดังกล่าวแล้ว ในก่อน. โลกสันนิวาสถูกข่าย คือ ตัณหา

ครอบปิดพันไว้โดยรอบ.

บทว่า ตณฺหาโสเตน วุยฺหติ - โลกสันนิวาสถูกกระแสตัณหา

พัดไป ชื่อว่า กระแสตัณหา เพราะตัณหานั่นแหละเป็นกระแส โดย

คร่าไปในสงสาร, โลกสันนิวาสถูกกระแสตัณหานั้นพัดไป คือ คร่าไป.

บทว่า ตณฺหาสญฺโชเนน สญฺญุตฺโต - โลกสันนิวาสถูก

ตัณหาเป็นเครื่องคล้อง คล้องไว้ ชื่อว่า ตัณหาเป็นเครื่องคล้อง เพราะ

ตัณหานั่นแหละเป็นเครื่องคล้อง เพราะคล้อง คือ ผูกสัตวโลกไว้ใน

วัฏฏะ. โลกสันนิวาสถูกตัณหาเป็นเครื่องคล้องนั้น คล้องไว้ คือ ผูกไว้.

บทว่า ตณฺหานุสเยน อนุสโฏ - โลกสันนิวาสซ่านไปเพราะ

ตัณหานุสัย ชื่อว่า ตัณหานุสัย เพราะตัณหานั่นแหละเป็นอนุสัย

โดยนอนเนื่องในสันดาน. โลกสันนิวาสซ่านไป ตามไป ไปอย่าง

แรง ด้วยตัณหานุสัยนั้น.

บทว่า ตณฺหาสนฺตาเปน สนฺตปปติ - โลกสันนิวาสเดือดร้อน

ด้วยความเดือดร้อนเพราะตัณหา ชื่อว่า เดือดร้อน เพราะตัณหานั่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1116

แหละ ยังโลกให้เดือดร้อน ในกาลเป็นไป และในกาลแห่งผล. โลก

สันนิวาสเดือดร้อน ด้วยความเดือดร้อน เพราะตัณหานั้น.

บทว่า ตณฺหาปริฬาเหน ปริฑยฺหติ - โลกสันนิวาสเร่าร้อน

ด้วยความเร่าร้อนเพราะตัณหา ชื่อว่า เร่าร้อนเพราะตัณหา เพราะ

ตัณหานั่นแหละ มีกำลังเร่าร้อนมาก ด้วยความเร่าร้อนในกาลเป็นไป

และในกาลแห่งผลโดยรอบ. โลกสันนิวาสเร่าร้อน ด้วยความเร่าร้อน

เพราะตัณหานั้นโดยรอบ.

พึงประกอบบทมี ทิฏฺิสงฺฆาฎาทโย - กองทิฏฐิเป็น ไว้ด้วย

บทตัณหานี้แหละ.

บทว่า อนุคโต - โลกสันนิวาสไปตามชาติ คือ เข้าไป

บทว่า อนุสุโฏ - โลกสันนิวาสซมซานไปเพราะชรา คือ แล่นไป

บทว่า อภิภูโต - โลกสันนิวาสถูกพยาธิครอบงำ คือ ถูกบีบคั้น.

บทว่า อภิหโต - โลกสันนิวาสถูกมรณะห้ำหั่น คือ ถูกกำจัด

ถูกทำลายอย่างหนักเฉพาะหน้า.

บทว่า ทุกฺเข ปติฏฺิโต - โลกสันนิวาสตั้งอยู่ในกองทุกข์ คือ

ตั้งอยู่อาศัยขันธปัญจกอันเป็นทุกุข์ ด้วยเข้าใจผิดว่าเป็นสุข.

บทว่า ตณฺหาย อุฑฺฑิโต - โลกสันนิวาสถูกตัณหามัดไว้ คือ

ถูกตัณหาบุกรุก. ด้วยว่าจักษุถูกร้อยไว้ด้วยเชือกคือตัณหา แล้วมัดไว้

ที่หลัก คือ รูป. หูเป็นต้นถูกร้อยไว้ด้วยเชือกคือตัณหา แล้วมัดไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1117

ที่หลัก คือเสียงเป็นต้น. แม้โลกมีความพร้อมด้วยตัณหานั้น ก็ชื่อว่า

ถูกมัดไว้นั่นแหละ.

บทว่า ชราปาการปริกฺขิตฺโต - โลกสันนิวาสถูกกำแพง คือ

ชราล้อมไว้ คือ ถูกชราอันเป็นกำแพงล้อมไว้หลีกไปไม่ได้.

บทว่า มจฺจุปาเสน ปริกฺขิตฺโต - โลกสันนิวาสถูกบ่วงมัจจุ

คล้องไว้ ชื่อว่า ถูกมรณะอันเป็นบ่วงเพราะแก้ได้ยาก คล้องไว้.

บทว่า มทาพนฺธนพทฺโธ - โลกสันนิวาสถูกผูกไว้ด้วยเครื่องผูก

เป็นอันมาก คือ ถูกผูกด้วยเครื่องผูกใหญ่เพราะแน่น และเพราะตัด

ยาก.

บทว่า ราคพนฺธเนน - ด้วยเครื่องผูกคือราคะ ชื่อว่า ราค-

พนฺธน เพราะราคะนั่นแหละ ผูกไว้ไม่ให้เคลื่อนไหวไปจากสงสารได้.

ด้วยเครื่องผูกคือราคะนั้น. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า กิเลสพนฺธเนน คือ ด้วยเครื่องผูกคือกิเลสที่เหลือ

ดังที่ได้กล่าวแล้ว.

บทว่า ทุจฺจริตพนฺธเนน คือ ด้วยเครื่องผูกคือทุจริต ๓ อย่าง

ส่วนสุจริตเป็นเหตุแห่งการพันเครื่องผูก และเป็นเครื่องพ้นจากเครื่อง

ผูก มีอยู่. เพราะฉะนั้น ไม่ควรถือเอาสุจริตนั้น.

บทว่า พนฺธน โมเจตา-แก้เครื่องผูกให้ คือ แก้เครื่องผูก

ให้แก่โลกสันนิวาสนั้น. ปาฐะว่า พนฺธนา โมเจตา บ้าง. ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1118

แก้โลกสันนิวาสนั้นจากเครื่องผูก.

บทว่า มหาสมฺพาธปฺปฏิปนฺโน - โลกสันนิวาสเดินทางไปแคบ

มาก คือ เดินไปสู่ที่รก คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส

และทุจริต อันได้แก่ที่แคบมาก ด้วยการเบียดเบียนการเดินทางของ

กุศล.

บทว่า โอภาส ทสฺเสตา - ชี้ทางสว่างให้ คือ ให้แสงสว่าง

คือ สมาธิและปัญญาอันเป็นโลกิยะ โลกุตตระ.

บทว่า มหาปลิโพเธน ปลิพุทฺโธ - โลกสันนิวาสถูกความ

กังวลเป็นอันมากพัวพันไว้ คือ ถูกเครื่องกั้นใหญ่ปกปิดไว้. หรือ

ฉาบไว้ด้วยเครื่องฉาบใหญ่.

อนึ่ง บทว่า ปลิโพโธ คือ ความกังวล ๗ อย่าง มีราคะ

เป็นต้น. อาจารย์บางท่านกล่าวว่า ความกังวล คือ ตัณหาและทิฏฐิ.

บทว่า ปลิโพธ เฉเทตา คือ ตัดความกังวลนั้น. บทว่า มหาปปาเต-

ในเหวใหญ่ ได้แก่ ในเหวคือคติ ๕. หรือในเหว คือ ชาติ ชรา

และมรณะ. ทั้งหมดนั้นชื่อว่า ปปาตะเพราะขึ้นได้ยาก. บทว่า ปปตา

อุทฺธตา คือ ขึ้นพ้นจากเหวนั้น.

บทว่า มหากนฺตารปฺปฏิปนฺโน - โลกสันนิวาสเดินทางกันดาร

มาก คือ เดินทางกันดาร เพราะชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส. ทั้งหมดนั้น ชื่อว่า กันดาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1119

เพราะก้าวให้พ้นไปได้ยาก. ช่วยให้ข้ามพ้นทางกันดารนั้น. ปาฐะว่า

กนฺตารา ตเรตา บ้าง.

บทว่า มหาสสารปิปฏิปนฺโน - โลกสันนิวาสเดินทางไปสู่

สังสารวัฏใหญ่ คือ เดินทางไปสู่ขันธสันดานที่ยังไม่ขาด. บทว่า สสารา

โมเจตา คือ ช่วยให้พ้นจากสังสารวัฏ. ปาฐะว่า สสาร โมเจตา

บ้าง. บทว่า มหาวิทุคฺเค - ในหล่มใหญ่ ได้แก่ ในหล่ม คือ สังสาร

วัฏ. สังสารวัฏนั่นแหละ ชื่อว่า หล่ม เพราะออกไปได้ยาก. บทว่า

สมฺปริวตฺตติ - กลิ้งเกลือก คือ กลับไปมาหนักขึ้น. บทว่า มหา-

ปลฺเลเป - ในเปือกตม คือ กามใหญ่. กามชื่อว่า เปือกตมเพราะทำ

ให้จม. บทว่า ปลิปนฺโน คือ ติด. ปาฐะว่า มหาปลฺเลปปลิปนิโน

บ้าง คือ ติดในเปือกตมใหญ่ บทว่า อพฺภาหโต - ครอบงำ คือ

ถูกอันตรายทั้งปวงครอบงำ. บทว่า ราคคฺคินา คือ ราคะเป็นต้น

ชื่อว่า อคฺคิ เพราะอรรถว่าเผาผลาญ. ด้วยไฟคือราคะเป็นตันนั้น. แม้ใน

บทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อุนฺนีตโก - โลกสันนิวาสทุรนทุราย คือ ถูกจับนำไป.

อธิบายว่า ถูกชาติจับแล้วนำไปเพื่ออันตราย มีชราเป็นต้น. พึงเห็นว่า

อักษรในบทนี้ เพื่อเสริมความ. บทว่า หญฺติ นิจฺจมตาโณ-

เดือดร้อนเป็นนิจ ไม่มีอะไรต้านทาน คือ ไม่มีผู้ต้านทาน ถูกบีบคั้น

เป็นนิจ. บทว่า ปตฺตทณฺโฑ - ต้องรับอาชญา คือ ได้รับอาชญาจาก

พระราชาเป็นต้น. บทว่า ตกฺกาโร - ต้องทำตามอาชญา คือ โจร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1120

บทว่า วชฺชพนฺธนพนฺโธ คือโลกสันนิวาสถูกผูกด้วยเครื่องผูก

คือ โทษมีราคะเป็นต้น. บทว่า อาฆาตนปจฺจุปฏฺิโต - ปรากฏอยู่ที่

ตะแลงแกง คือ เข้าไปปรากฏยังที่ผูก คือมรณะ. บทว่า โกจิ พนฺธน

โมเจตา - ใครจะช่วยให้หลุดพ้นได้. ปาฐะว่า ใครจะช่วยให้พ้นจาก

เครื่องผูกได้ก็มี. บทว่า อนาโถ - โลกสันนิวาสไม่มีที่พึ่ง ชื่อว่า อนาโถ

เพราะไม่มีที่พึ่ง คืออิสระ. หรือที่พึ่งอันเป็นอิสระด้วยตนเองไม่มี. บทว่า

ปรมการุญฺปฺปตฺโต - ควรได้รับความกรุณาอย่างยิ่ง คือ ถึงความควร

สงสารอย่างยิ่ง เพราะไม่เพียงพอในการห้ามชราเป็นต้น. บทว่า

ตาเยตา - จะเป็นผู้ช่วยต้านทาน คือ คุ้มกัน. ปาฐะว่า ตายิตา ดีกว่า.

บทว่า ทุกฺขาภิตุนฺโน - โลกสันนิวาสถูกทุกข์เสียบแทง คือ

ถูกทุกข์ไม่น้อย มีชาติทุกข์เป็นต้นเสียบแทง เบียดเบียน หวั่นไหว

ยิ่ง. บทว่า จิรรตฺตฺปีฬิโต - ถูกทุกข์บีบคั้นมานาน คือ ถูกทุกข์

เบียดเบียนเสียดสีมาตลอดกาลนาน.

บทว่า คธิโต - โลกสันนิวาลติดใจ คือ อยากด้วยความติดใจ

หรือผูกด้วยเครื่องผูก คืออภิชฌากายคันถะ. บทว่า นิจฺจ ปิปาสิโต-

กระหายอยู่เป็นนิจ คือ อยาก กระหาย เพื่อจะดื่ม เพื่อจะบริโภค

ความกระหายนั่นแหละ คือตัณหา. ความกระหายไม่มีระหว่าง ชื่อว่า

ความกระหาย คือตัณหา.

บทว่า อนฺโธ - โลกสันนิวาสเป็นโลกบอด ชื่อว่า บอด เพราะ

ไม่มีปัญญาที่ชื่อว่าเป็นจักษุเพราะอรรถว่าเห็น. ปัญญานั่นแหละ ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1121

เห็นสภาวธรรม. บทว่า อจกฺขุโก - ไม่มีจักษุ ความเป็นผู้บอดนั้น ไม่มี

ในภายหลัง. ความเป็นผู้บอดนั้นนั่นเอง คือ เป็นผู้มีตาเหมือนไม่มีตา

ย่อมมีตามปกตินั่นแหละ.

บทว่า หตเนตฺโต - โลกสันนิวาสมีตาเสื่อม ชื่อว่า มีตาเสื่อม

เพราะไม่มีปัญญา ที่เรียกว่า เนตร เพราะมีสภาพนำไป. ท่านเรียกว่า

เนตร เพราะนำอัตตภาพให้เห็นที่เสมอและไม่เสมอ. นำไปสู่ทางดี

และไม่มีด้วยปัญญา. พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะแสดงถึงความไม่มีเนตร

ของผู้นั้น เพราะตาเสื่อม จึงกล่าว อปริณายโก ไม่มีผู้นำ. อธิบาย

ว่า มีตาเหมือนไม่มี. ท่านอธิบายว่า ไม่มีผู้อื่นจะนำเขาไปได้.

บทว่า วิปถปกฺขนฺโต - โลกสันนิวาสแล่นไปสู่ทางผิด ชื่อว่า

ทางผิด เพราะทางผิดหรือทางไม่เรียบ. ชื่อว่า แล่นไปสู่ทางผิด เพราะ

แล่นไป คือ เข้าไป เดินไปผิดทาง. อธิบายว่า เดินไปสู่มิจฉาทิฏฐิ คือ

ทางผิด.

บทว่า อญฺชสาปรทฺโธ - หลงทางแล้ว คือ หลง พลาดในทาง

คือ ทางตรง อันได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา.

บทว่า อริยปถ อาเนตา - มาสู่ทางอริยะ คือ นำเข้าไป

ให้ถึงอัฏฐังคิกมรรค อันเป็นอริยะ.

บทว่า มโหฆปกฺขนฺโต - โลกสันนิวาสแล่นไปสู่ห้วงโมหะ

ชื่อว่า โอฆา เพราะยังสัตว์ผู้มีกิเลสให้จมลงในวัฏฏะ. ชื่อว่า มโหฆา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1122

เพราะโอฆะใหญ่กว่าโอฆะปกติ. โอฆะเหล่านั้น มี ๔ อย่าง คือ กา-

โมฆะ ๑ ภโวฆะ ๑ ทิฏโฐฆะ ๑ อวิชโชฆะ ๑. ชื่อว่า มโหฆปัก-

ขันโต เพราะและเข้าไปสู่โอฆะใหญ่เหล่านั้น. หรือว่า แล่นไปสู่โอฆะ

ใหญ่ คือ สังสารวัฏ.

บัดนี้ พึงทราบนัยที่แปลกจากนัยหนึ่ง. ในบทเหล่านั้น บทว่า

ทฺวีหิ ทิฏฺิคเคหิ - ถูกทิฏฐิ ๒ คือ ถูกสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ

กลุ้มรุม.

ทิฏฐิคตะ ในบทนั้น คือทิฏฐินั่นเอง ดุจบทมีอาทิว่า คูถคต

มุตฺตคต - คูถมูตร. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทิฏฺิคต เพราะเพียงไป

ด้วยทิฏฐิ เพราะไม่มีสิ่งที่ควรไป. ความเห็นนี้เป็นไปในทิฏฐิทั้งหลาย

ชื่อว่า ทิฏฺิคต เพราะทิฏฐิ ๖๒ หยั่งลงในภายในบ้าง. จริงอยู่ ทิฏฐิ ๖๒

และทิฏฐิ ๖๓ ก็เป็นทิฏฐิ ๒ นั่นเอง คือ สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ.

เพราะฉะนั้น เมื่อจะทำทิฏฐิทั้งหมดโดยย่อไว้ภายใน ท่านจึงกล่าว

ทฺวีหิ ทิฏฺิคเตหิ. บทว่า ปริยุฏฺิโต - ถูกทิฏฐิ ๒ กลุ้มรุม คือ

ถึงความกลุ้มรุม ถึงความปรากฏ. อธิบายว่า ถึงความยึดอาจาระอัน

เป็นกุศล โดยไม่ให้เกิดขึ้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้มีอาทิว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์

บางพวก ถูกทิฏฐิ ๒ กลุ้มรุม ย่อมติดอยู่ บาง

พวกย่อมแล่นไป ผู้มีจักษุย่อมเห็น.

๑. อง. นวก. ๒๓/๒๑๕. ๒. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๒๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1123

บทว่า ตีหิ ทุจฺจริเตหิ คือ ด้วยกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔

และมโนทุจริต ๓.

บทว่า วิปฺปฏปนฺโน - โลกสันนิวาสปฏิบัติผิด ได้แก่ ปฏิบัติผิด

คือ ปฏิบัติน่าเกลียด ชื่อว่า มิจฉาปฏิบัติ. บทว่า โยเคหิ ยุตฺโต-

โลกสันนิวาสประกอบด้วยกิเลสเครื่องประกอบ ชื่อว่า โยคะ เพราะ

อรรถว่าประกอบไว้ในวัฏฏะ. หรือ ชื่อว่า โยคะ ด้วยอรรถดังนี้คือ ประ-

กอบเปี่ยมด้วยโยคะเหล่านั้น.

บทว่า จตุโยคโยชิโต - โลกสันนิวาสถูกกิเลสเครื่องประกอบ

๔ อย่างประกอบไว้ คือ ประกอบไว้ในวัฏฏะ ด้วยโยคะ ๔ เหล่านี้

คือ กามโยคะ ๑ ภวโยคะ ๑ ทิฏฐิโยคะ ๑ อวิชชาโยคะ ๑. ดุจโค

ถูกผูกไว้ที่เกวียน. ราคะประกอบด้วยกามคุณ ๕ ชื่อว่า กามราคะ

ฉันทราคะในรูปภพและอรูปภพ ความใคร่ในฌาน, ราคะสหรคตด้วย

สัสสตทิฏฐิ ความปรารถนาด้วยอำนาจภพ ชื่อว่า ภวราคะ. ทิฏฐิ ๖๒

ชื่อว่า ทิฏฐิโยคะ. ความไม่รู้ในฐานะ ๘ ชื่อว่า อวิชชาโยคะ. โอฆะ ๔

เหล่านั้นมีกำลังกล้า, โยคะ ๔ มีกำลังอ่อน.

บทว่า จตูหิ คนฺเถหิ - กิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง ชื่อว่า

คันถะ เพราะร้อย คือผูกผู้มีกิเลสไว้ในวัฏฏะด้วยจุติและปฏิสนธิ.

คันถะมี ๔ อย่าง คือ อภิชฌากายคันถะ ๑ พยาปาทกายคันถะ ๑

สีลัพพตปรามาสกายคันถะ ๑ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ คือการ

ยึดถือสิ่งนี้ว่าเป็นสัจจะ ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1124

ชื่อว่า อภิชฺฌา เพราะอรราว่าเป็นเหตุเพ่งเล็ง. หรือเพ่งเล็ง

ด้วยตนเอ . หรือเป็นเพียงความเพ่งเล็งเท่านั้น. ได้แก่ โลภะนั่นเอง

ชื่อว่า กายคันถะ เพราะอรรถว่าร้อยนามกาย คือ ผูกไว้ในวัฏฏะ

ด้วยจุติและปฏิสนธิ. ชื่อว่า พยาปาทะ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุเบียดเบียน

ปองร้ายให้ถึงความพินาศ. หรือยังความสุขอันเป็นประโยชน์แก่ความ

ประพฤติวินัย และรูปสมบัติเป็นต้นให้ถึงความพินาศ.

การยึดมั่นเชื่อถือว่า ความบริสุทธิ์มีด้วยศีล พรต หรือศีล

และพรตของสมณพราหมณ์ภายนอก มีด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่า

สีลัพพตปรามาส.

ชื่อว่า อิทังสัจจาภินิเวสะ เพราะอรรถว่าปฏิเสธแม้ภาษิตของ

พระสัพพัญญู แล้วยึดถือโดยอาการมีอาทิว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง

อย่างอื่นเป็นโมฆะ. อธิบายว่า ร้อย คือ ผูกไว้ด้วยคันถะ ๔ เหล่านั้น.

บทว่า จตูหิ อุปาทาเนหิ - ด้วยอุปาทาน ๔ ชื่อว่า อุปาทาน

เพราะยึดถืออย่างแรง คือ จับมั่น. อุปาทานเหล่านั้น มี ๔ อย่าง

คือ กามุปาทาน ๑ ทิฏฐุปาทาน ๑ สีรลัพพตุปาทาน ๑ อัตตวาทุ

ปาทาน ๑. ชื่อว่า กามุปาทาน เพราะถือมั่นกาม คือวัตถุ. อนึ่ง

ชื่อว่า กามุปาทาน เพราะกามนั้นเป็นอุปาทาน. ชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน

เพราะทิฏฐินั้นเป็นอุปาทาน. ชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน เพราะยึดมั่นทิฏฐิ

อุตตรทิฏฐิ - ทิฏฐิอันหลัง ยึดมั่นปุริมทิฏฐิ - ทิฏฐิมีในก่อน ในบทมีอาทิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1125

ว่า สสฺสโต อตฺตา จ โลโก จ - อัตตาและโลกเที่ยง. ชื่อว่า สีลัพ-

พตุปาทาน เพราะยึดถือศีลและพรต. อนึ่ง ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน

เพราะศีลและพรตนั้น เป็นอุปาทาน. ศีลของโคและพรตของโคเป็นต้น

เป็นอุปาทาน เพราะยึดถือว่าความบริสุทธิ์ย่อมมีได้อย่างนี้. ชื่อว่า วาทะ

เพราะเป็นเหตุกล่าว. ชื่อว่า อุปาทาน เพราะเป็นเหตุถือมั่น. กล่าว

อะไร ? ถือมั่นอะไร ? กล่าวอัตตา. การถือมั่นวาทะของตน. ชื่อว่า อัตต-

วาทุปาทาน. หรือชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน เพราะเป็นเหตุถือมั่นว่า

ตนเป็นเพียงวาทะว่าตนเท่านั้น. ทิฏฐิแม้ทั้งหมดเว้นทิฏฐิ ๒ อย่าง

เหล่านี้ ชื่อว่า ทิฎฐุปาทาน. ด้วยอุปาทาน ๔ เหล่านั้น.

บทว่า อุปาทียติ - ถือมั่น คือ ถือจัด. ปาฐะว่า อุปาทิยติ

ก็มี. ความว่า สัตวโลกย่อมถือจัด อารมณ์นั้น ๆ ด้วยอุปาทาน.

บทว่า ปญฺจคติสมารุฬฺโห - โลกสันนิวาสขึ้นสู่คติ ๕ ชื่อว่า

คติ เพราะไป คือ เข้ไปใกล้ด้วยเหตุทำดีและทำชั่ว คือ ขันธ์ทั้งหลาย

พร้อมด้วยการปรากฏ. โลกสันนิวาสขึ้นสู่คติ ๕ เหล่านี้ คือ นรก ๑

กำเนิดเดียรัจฉาน ๑ เปตวิสัย ๑ มนุษย์ ๑ เทวดา ๑ อย่างแรง

ด้วยความก้าวลง.

บทว่า ปญฺจหิกามคุเณหิ - ด้วยกามคุณ ๕ ด้วยส่วนแห่งวัตถุ

กาม ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ.

๑. ขุ. ป. ๓๑/๓๕๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1126

บทว่า รชฺชติ - ย่อมกำหนัด คือ อาศัยอโยนิโสมนสิการ

ย่อมกำหนัดด้วยกามคุณเหล่านั้น เพราะทำให้ราคะเกิด. อธิบายว่า

ทำความกำหนัดยินดี.

บทว่า ปญฺจหิ นีวรเณหิ - ถูกนิวรณ์ ๕ ทับไว้ ชื่อว่า นิวรณ์

เพราะย่อมกั้น คือ ครอบงำจิต. ถูกนิวรณ์ ๕ คือ กามฉันทะ ๑

พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑ อุทธัจจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ ทับไว้.

บทว่า โอตฺถโต คือ ทับปิดไว้ข้างบน.

บทว่า ฉหิ วิวาทมูเลหิ คือ ด้วยมูลเหตุวิวาท ๖ อย่าง.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งวิวาท

เหล่านี้ มี ๖ อย่าง. ๖ อย่าง เป็นไฉน ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้

เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธไว้. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุใด เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้.

ภิกษุนั้น ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดา.

ไม่ทำให้บริบูรณ์ แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์

แม้ในสิกขา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดไม่เคารพ ไม่

ยำเกรงในพระศาสดา ไม่ทำให้บริบูรณ์ในพระธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1127

ในพระสงฆ์ ในการศึกษา. ภิกษุนั้นย่อมยังวิวาท

ให้เกิดในสงฆ์. วิวาทย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็น

ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความไม่เป็นสุข

แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความพินาศแก่ชนเป็นอัน

มาก เพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์

แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากพวกเธอพิจารณา

เห็นวิวาท เห็นปานนั้น เป็นมูลเหตุแห่งวิวาท

ในภายในก็ดี ในภายนอกก็ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ในข้อนั้น พวกเธอพึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่ง

วิวาทอันลามกนั้นเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หาก

พวกเธอไม่พิจารณาเห็นวิวาท เห็นปานนี้ เป็นมูล

เหตุแห่งวิวาท ในภายในก็ดี ในภายนอกก็ดี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นพวกเธอพึงปฏิบัติ

เพื่อความไม่เกิดผลแห่งมูลเหตุแห่งวิวาทอันลามก

นั้นต่อไปได้. การละมูลเหตุแห่งวิวาท อันลามก

ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้. ความไม่เกิดผลแห่ง

มูลเหตุแห่งวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีด้วยประการ

ฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1128

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ

เป็นผู้มีความลบหลู่ มักตีเสมอ. เป็นผู้มีความริษยา

มักตระหนี่. เป็นผู้โอ้อวด มักเจ้าเล่ห์. เป็นผู้มี

ความปรารถนาลามก มักเป็นมิจฉาทิฏฐิ. เป็นผู้มี

ทิฏฐิเป็นของตน มักมีความยึดมั่น มีความถือมั่น

มีการสละได้ยาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดมีความยึด

มั่นทิฏฐิของตน เป็นผู้มีความถือมั่น มีการสละ

ได้ยาก. ภิกษุนั้นไม่เคารพแม้ในพระศาสดา ฯลฯ

ไม่เกิดผลต่อไป.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โกธโน - มักโกรธ คือ ประกอบด้วย

ความขัดเคือง อันมีอาการขุ่นเคืองเป็นลักษณะ.

บทว่า อุปนาหี - ผูกโกรธไว้ คือ ประกอบด้วยอุปนาหะ

อันมีลักษณะไม่ปล่อยเวร.

บทว่า อหิตาย ทุกฺขาย เทวมนุสฺสาน - เพื่อความไม่เป็น

ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. วิวาทของภิกษุ

๒ รูป ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลายอย่างไร. เมื่อภิกษุ ๒ รูปวิวาทกัน ดุจในโกสัมพก-

๑. องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๐๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1129

ขันธกะ อันเตวาสิกของภิกษุ ๒ รูปเหล่านั้น ในวัดนั้นก็วิวาทกัน.

ภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ผู้รับโอวาทของภิกษุ ๒ รูปนั้นก็วิวาทกัน. แต่นั้น

อุปฐากของภิกษุ ๒ รูปเหล่านั้นก็วิวาทกัน. ครั้นแล้วเทวดาผู้อารักขา

มนุษย์ทั้งหลายก็แบ่งเป็น ๒ ส่วน. เทวดาผู้อารักขาธรรมวาทีก็เป็น

พวกธรรมวาที. ที่อารักขาอธรรมวาทีก็เป็นพวกอธรรมวาที. แต่นั้น

ภุมมัฏฐเทวดาผู้เป็นมิตรของอารักขเทวดาก็แตกกัน. เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย เว้นพระอริยสาวก แบ่งเป็น ๒ ฝ่าย โดยสืบ ๆ กันอย่างนี้

จนถึงพรหมโลก. อธรรมวาทีมากว่าธรรมวาที. แต่นั้นสิ่งที่พวกมาก

ถือจึงเป็นสัจจะ เพราะเหตุนั้น พวกมากกว่าจึงพากันสละธรรม ถือ

เอาอธรรม. พวกอธรรมเหล่านั้น ยึดอธรรมเป็นหลัก ย่อมเกิดใน

อบาย. การวิวาทของภิกษุ ๒ รูปอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็น

ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

บทว่า อชฺฌตฺต วา - ในภายในก็ดี คือ ในบริษัทภายในของ

พวกท่าน. บทว่า พหิทฺธา วา - ในภายนอกก็ดี คือ บริษัทของพวกอื่น.

บทว่า มกฺขี คือ ประกอบด้วยความลบหลู่ อันมีลักษณะลบหลู่คุณ

ท่าน. บทว่า ปลาสี คือ ประกอบด้วยตีเสมอ อันมีลักษณะแข่งดี.

บทว่า อิสฺสุกี คือ ประกอบด้วยริษยา อันมีลักษณะ คือ ความริษยา

มีสักการะเป็นต้นของผู้อื่น. บทว่า มจฺฉรี คือ ประกอบด้วยมัจฉริยะ ๕

๑. วิ. มหา. ๕/๒๓๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1130

มีอาวาสมัจฉริยะเป็นต้น. บทว่า สโ - โอ้อวด คือ เต็มไปด้วยความ

หลอกลวง. บทว่า มายาวี - เจ้าเล่ห์ คือ ปกปิดความชั่วที่ตนทำ.

บทว่า ปาปิจฺโฉ - มีความปรารถนาลามก คือ เป็นผู้ทุศีลปรารถนา

ความยกย่องที่ไม่มี. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิ ได้แก่ นัตถิกวาที - มิวาทะ

ว่าไม่มี อเหตุกวาที - ทีวาทะว่าไม่มีเหตุ อกิริยวาที - มีวาทะว่าไม่เป็นอัน

ทำ. บทว่า สนฺทิฏฺิปรามาสี คือ ลูบคลำทิฏฐิของตนเองเท่านั้น.

บทว่า อาธานคฺคาหิ. คือ ถือมั่น.

บทว่า ทุปฺปฏินิสฺสคฺคี คือ ไม่สามารถสละสิ่งที่ตนถือได้.

ส่วนในขุททกวิภังค์ ท่านกล่าวถึงธรรมอย่างหนึ่ง ๆ ด้วยสามารถเป็น

ประธานว่า มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ เป็นไฉน ? คือ โกธะ ๑ มักขะ ๑

อิสสา ๑ สาเถยยะ ๑ ปาปิจฉา ๑ สันทิฏฐิปรามาสี - การยึดถือทิฏฐิ

ของตน ๑. นี้ คือ มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ อย่าง.

บทว่า ฉหิ ตณฺหากาเยหิ - ด้วยกองตัณหา ๖ คือ ด้วย

ตัณหา ๖ ดังที่กล่าวแล้ว คือ รูปตัณหา ๑ สัททตัณหา ๑ คันธ

ตัณหา ๑ รสตัณหา ๑ โผฏฐัพพตัณหา ๑ ธรรมตัณหา ๑ ในตัณหา

เหล่านั้น เพราะตัณหาอย่างหนึ่ง ๆ ย่อมมีไม่น้อย เพราะเกิดบ่อย ๆ

ในอารมณ์แม้อย่างหนึ่ง ๆ เพราะมีอารมณ์มาก. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าว

๑. อภิ. วิ. ๓๕/ ๙๙๑. ๒. อภิ. วิ . ๓๕/๙๙๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1131

ว่า ตรฺหากายา - กองตัณหา เพราะประกอบ กาย ศัพท์ ด้วยอรรถ

ว่าหมู่. แม้เมื่อกล่าวว่า ตัณหากายา ก็คือตัณหานั่นเอง.

บทว่า รชฺชติ - ย่อมกำหนัด คือ กำหนัดยินดีในอารมณ์ด้วย

ตนเอง.

บทว่า ฉหิ ทิฏฺิคเตหิ - ด้วยทิฏฐิ ๖ ท่านกล่าวไว้แล้วใน

สัพพาสวสูตร. ในสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

เมื่อภิกษุมนสิการ โดยไม่แยบคายอย่างนี้

ทิฏฐิ ๖ อย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น. คือทิฏฐิ

โดยความจริง โดยความมั่นคง ย่อมเกิดแก่ภิกษุ

นั้นว่า อตฺถิ เม อตฺตา - อัตตาของเรามีอยู่. ทิฏฐิ

โดยความจริง โดยความเชื่อถือได้ ย่อมเกดแก่

ภิกษุนั้นว่า นตฺถิ เม อตฺตา - อัตตาของเราไม่มี.

ทิฏฐิ ฯลฯ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นว่า อตฺตนาว

อตฺตาน สญฺชานามิ - เรารู้จักอัตตาด้วยตนเอง.

ทิฏฐิ ฯลฯ ย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้นว่า อตฺตนาว

อตฺตาน สญฺชานามิ - เรารู้จักอัตตาด้วยอนัตตา.

หรือทิกฏฐิ ฯลฯ ย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้นว่า อนตฺตนาว

อตฺตาน สญฺชานามิ - เรารู้จักอัตตาด้วยอนัตตา.

ก็อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิย่อมมีแก่ภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1132

อัตตาของเรานี้ใด เป็นอัตตาที่ผู้กล่าว ผู้รู้ ย่อมเสวย

วิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งดีและชั่วในอารมณ์

นั้น ๆ ก็และอัตตาของเรานี้นั้น แน่นอน ยั่งยืน

เที่ยง มีอันไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่

เป็นความเที่ยงเสมออย่างนั้นนั่นแหละ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ เม อตฺตา คือ สัสสตทิฏฐิ

ย่อมถือเอาความที่ตนมีอยู่ในกาลทั้งปวง.

บทว่า สจฺจโต เถตโต คือ โดยความจริง และโดยความ

มั่นคง. ท่านอธิบายว่า ด้วยความมั่นคงเป็นอย่างดีว่า อิท สจฺจ-

นี้เที่ยง.

บทว่า นตฺติ เม อตฺตา คือ ชื่อว่าอุจเฉททิฏฐิ เพราะถือความ

ไม่มีไม่เป็นในอัตตานั้น ๆ ของสัตว์ที่มีอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัสสตะ-

ทิฏฐิ เพราะถือว่า แม้ทิฏฐิก่อน ๆ ก็มีในกาล ๓, อุจเฉททิฏฐิ เพราะ

ถือว่า ปัจจุบันเท่านั้นมี, อุจเฉททิฏฐิ เพราะถือว่า แม้ทิฏฐิหลังใน

อดีตและในอนาคตก็ไม่มี ดุจทิฏฐิของเจ้าทิฏฐิที่ถือว่า " เถ้าถ่านเป็น

มีความเห็นเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผล.

๑. ม. มู. ๑๒/๑๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1133

บทว่า อตฺตนาว อตฺตาน สญฺชานาติ คือ มีทิฏฐิว่า เรา

ย่อมรู้จักอัตตานี้ ด้วยตนนี้ เพราะถือว่า อัตตาในขันธ์โดยปกติ คือ

สัญญาขันธ์ แล้วรู้จักขันธ์ที่เหลือด้วยสัญญาขันธ์.

บทว่า อตฺตนาว อนฺตตาน - มีทิฏฐิอย่างนี้ เพราะถือสัญญา-

ขันธ์นั่นแหละ ว่าเป็นอัตตา. ถือขันธ์ที่เหลือ ๔ อย่างว่าเป็นอนัตตา

แล้วรู้จักขันธ์เหล่านั้นด้วยสัญญาขันธ์.

บทว่า อนตฺตาว อตฺตาน คือ มีทิฐิอย่างนี้ เพราะถือ

สัญญาขันธ์ ว่าเป็นอนัตตา. ถือขันธ์ ๔ พวกนี้ ว่าเป็นอัตตา แล้ว

รู้จักขันธ์เหล่านั้น ด้วยสัญญาขันธ์. ทิฏฐิแม้ทั้งหมดก็เป็นสัสสตทิฏฐิ

และอุจเฉททิฏฐินั่นเอง.

ส่วนบทมีอาทิว่า วโท เวเทยฺโย - เป็นอาการของการยึดมั่น

ในสัสสตทิฏฐินั่นเอง ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า วโท เพราะอรรถว่า

กล่าว, ท่านอธิบายว่า ผู้ทำวจีกรรม ชื่อว่า เวเทยฺโย เพราะอรรถ

ว่ารู้ ท่านอธิบายว่า รู้และเสวย รู้อะไร ? รู้วิบากของกรรมดีและ

กรรมชั่ว ในอารมณ์นั้น ๆ.

บทว่า ตตฺร ตตฺร คือ ในโยนิ คติ ฐิติ นิวาสและนิกาย

นั้น ๆ หรือในอารมณ์. บทว่า นิจฺโจ คือ ไม่มีเกิดดับ. บทว่า ธุโว

คือ มั่นคงเป็นสาระ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1134

บทว่า สสฺสโต คือ เป็นไปตลอดกาลทั้งปวง. บทว่า อวิ-

ปริณามธมฺโม คือ ไม่ละภาวะเดิมของตน ไม่ถึงความมีประการ-

ต่าง ๆ ดุจกิ้งก่า.

บท สสฺสติสม ท่านกล่าว สสฺสติโย โดยโวหารว่า พระ-

จันทร์ พระอาทิตย์ สมุทร แผ่นดินใหญ่ ภูเขา แสงสว่าง. เสมอ

ด้วยความเที่ยง ชื่อว่า สสฺสติสม. ทิฏฐิมีอย่างนี้ เพราะถือว่า จัก

ตั้งอยู่ตราบเท่าที่ความเที่ยงยังปรากฏอยู่.

แต่ในขุททกวัตถุวิภังค์ ท่านกล่าว ทิฏฐิ ๖ แปลกออกไป

อย่างนี้ว่า อัตตาเสวยวิบากของกรรมดีและชั่วตลอดกาลนาน ในอารมณ์

นั้น ๆ. อัตตานั้นไม่เกิด มิได้มี. อัตตานั้นไม่เกิดแล้ว จักไม่มี. อัตตา

เป็นของแน่นอน ยั่งยืน เที่ยง มีอันไม่แปรปรวนไปเป็นธรรมดา.

หรือว่า ทิฏฐิย่อมเกิดโดยความจริง โดยความมั่นคงแก่ภิกษุนั้น* ด้วย

ประการฉะนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า น โส ชาโต นาโหสิ คือ อัตตานั้น

ชื่อว่าไม่เกิด เพราะไม่เกิดเป็นธรรมดา. อธิบายว่า มีอยู่ทุกเมื่อ. ด้วย

เหตุนั้น อัตตาไม่มีในอดีต. จักไม่มีในอนาคต. เพราะอัตตาใดเกิดแล้ว.

อัตตานั้นได้มีแล้ว. และอัตตาใดจักเกิดอัตตานั้นก็จักมี ท่านกล่าวไว้

ดังนี้.

๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑,๐๐๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1135

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า น โส ชาโต นาโหสิ คือ อัตตานั้น

ไม่เกิด มิได้มีแล้วแม้ในอดีต เพราะเกิดทุกเมื่อ. แม้ในอนาคตไม่เกิด

จักไม่มี. อนุสัยทั้งหลายมีอรรถดังได้กล่าวแล้ว.

บทว่า สตฺตหิ สญฺโชเนหิ - ถูกสังโยชน์ ๗ คล้องไว้ ท่าน

กล่าวไว้แล้วในสัตตกนิบาต. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ เหล่านี้.

สังโยชน์ ๗ เป็นไฉน ? อนุนยสังโยขน์ ๑ ปฏิฆ-

สังโยชน์ ๑ ทิฏฐิสังโยชน์ ๑ วิจิกิจฉาสังโยชน์

มานสังโยชน์ ๑ ภวราคสังโยชน์ ๑ อวิชชาสัง-

โยชน์ ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗

เหล่านี้แล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนุนยสญฺโชน ได้แก่ กามราค-

สังโยชน์. สังโยชน์เหล่านี้ทั้งหมดเรียกว่า สัญโญชน์ เพราะเป็นกิเลส

เครื่องผูก.

บทว่า สตฺตหิ มาเนหิ โลกสันนิวาสฟูขึ้นเพราะมานะ ๗

ท่านกล่าวไว้แล้วในขุททกวัตถุวิภังค์. จริงอยู่ ในวิภังค์นั้นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

๑. องฺ. สตฺตก. ๒๓/๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1136

มานะ อติมานะ มานาติมานะ โอมานะ

อธิมานะ อัสมิมานะ มิจฉามานะ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มาโน - ความถือตัว คือ ลูบคลำบุคคล

ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ดีกว่าเป็นต้น แล้วเย่อหยิ่งด้วยวัตถุในชาติเป็น

ต้น.

บทว่า อติมาโน - ดูหมิ่นท่าน คือ ผยองเลยไปถึงว่า ไม่มีใคร

เช่นกับเราโดยชาติเป็นต้น.

บทว่า นานาติมาโน - ดูหมิ่นด้วยความทะนงตัว คือ เกิด

ถือตัวว่า คนนี้เมื่อก่อนเช่นกับเรา เดี๋ยวนี้เราดีกว่า คนนี้เลวกว่าเรา.

บทว่า โอมาโน - ถือตัวว่าเลวกว่าเขา คือ ถือตนว่าต่ำโดย

ชาติเป็นต้น คือ ถือตัวว่า เราเป็นคนเลวนั่นแหละ.

บทว่า อธิมาโน - ถือตัวยิ่ง คือ มานะว่า เราบรรลุสัจธรรม ๔

ซึ่งไม่มีผู้บรรลุเลย. อธิมานะนี้เกิดแก่ปุถุชนผู้มีศีลบริสุทธิ์ไม่ประมาท

ในกรรมฐาน กำหนดนามรูปข้ามสงสัยโดยกำหนดปัจจัย ยกขึ้นสู่

พระไตรลักษณ์พิจารณาสังขาร ปรารภวิปัสสนา, ไม่เกิดแก่ผู้อื่น.

บทว่า อสฺมิมาโน - ถือเรา คือ มานะว่าเรามีอยู่ในขันธ์มีรูป

เป็นต้น. ท่านอธิบายว่า มีมานะเกิดขึ้นด้วยบทมีอาทิว่า อห รูป -

รูปเป็นเรา เราคือรูป.

๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๑๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1137

บทว่า มิจฺฉามาโน - มานะผิ คือ มานะเกิดขึ้นด้วยบทมีอาทิ

ว่า ปาปเกน กมฺมายตนา - กัมมายตนะเกิดด้วยความลามก.

บทว่า โลกธมฺมา มีอรรถได้กล่าวแล้ว. บทว่า สมฺปริวตฺตติ

- เวียนอยู่ คือ หมุนเวียนไปด้วยโลกธรรมอันเป็นเหตุ ด้วยความยินดี

ในโลกธรรม ๔. มีลาภเป็นต้น ด้วยความไม่ยินดี ในโลกธรรม ๔ มี

เสื่อมลาภเป็นต้น. อธิบายว่า ละภาวะปกติ. แม้ มิจฺฉตฺตา ก็มีอรรถ

ดังกล่าวแล้ว. บทว่า นิยฺยาโต - ดิ่งลงแล้ว คือ แล่นไป อธิบายว่า

ครอบงำแล้ว.

บทว่า อฏฺหิ ปุริสโทเสหิ - เพราะบุรุษโทษ ๘ ในอัฏฐก-

นิบาต ท่านกล่าวพร้อมด้วยอุปมา. ในขุททกวัตถุวิภังค์ ท่านกล่าวเว้น

อุปมา. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

บุรุษโทษ ๘ เป็นไฉน ? ภิกษุทั้งหลายใน

ศาสนานี้โจทภิกษุด้วยอาบัติ, ภิกษุนั่นถูกภิกษุ

ทั้งหลายโจทด้วยอาบัติย่อมแก้ตัว ด้วยความไม่มี

สติว่า ผมนึกไม่ได้ ผมนึกไม่ได้. นี้เป็นบุรุษ

โทษข้อที่ ๑.

ข้อต่อไป ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ

ภิกษุนั้นถูกภิกษุทั้งหลายโจทด้วยอาบัติ ย่อมซัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1138

โจทก์ว่า ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะพูดกับท่านผู้โง่

ไม่ฉลาด, แม้ท่านก็สมควรที่จะพูดกับผมหรือ ? นี้

เป็นบุรุษโทษข้อที่ ๒.

ข้อต่อไป ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ.

ภิกษุนั้นถูกภิกษุทั้งหลายโจทด้วยอาบัติ ก็ปรับ

อาบัติโจทก์ว่า แม้ท่านก็ต้องอาบัติข้อนี้ ท่านจงทำ

คืนก่อน. นี้เป็นบุรุษโทษข้อที่ ๓.

ข้อต่อไป ภิกษุ ฯลฯ พูดกลบเกลื่อน พูด

นอกเรื่อง ทำความโกรธโทละและความไม่พอใจ

ให้ปรากฏ. นี้เป็นบุรุษโทษข้อที่ ๔.

ข้อต่อไป ภิกษุ ฯลฯ พูดแกว่งแขนใน

ท่ามกลางสงฆ์. นี้เป็นบุรุษโทษข้อที่ ๕.

ข้อต่อไป ภิกษุ ฯลฯ ไม่เชื่อสงฆ์ไม่เชื่อ

โจทก์เดินหลีกออกไปเสีย. นี้เป็นบุรุษโทษ

ข้อต่อไป ภิกษุ ฯลฯ คิดว่า เราไม่ได้ต้อง

อาบัติ, เราไม่ได้ต้องอาบัติก็หามิได้ แล้วนิ่งเสีย

ทำให้สงฆ์ลำบาก. นี้เป็นบุรุษโทษข้อที่ ๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1139

ข้อต่อไป ภิกษุ ฯลฯ กล่าวอย่างนี้ว่า โธ่เอ๋ย

พวกท่านจะมาวุ่นวายหนักหนาอะไรกะผม. บัดนี้

ผมจะบอกคืนสิกขาลาสึกอยู่แล้ว. ภิกษุนั้นก็สึก

แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้พวกท่านจงดีใจเถิด. นี้

เป็นบุรุษโทษข้อที่ ๘.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปุริสโทสา คือ โทษของบุรุษ. ชื่อว่า

โทษ เพราะประทุษร้ายสันดานบุรุษ. บทว่า น สรามิ คือ ภิกษุนั้น

แก้ตัวปลดเปลื้อง ด้วยไม่มีสติว่า ผมจำไม่ได้ ไม่สนใจถึงกรรมที่ผม

ทำไป.

บทว่า โจทกเยว ปฏิปฺผรติ คือ ซัดโต้โจทก์. ตั้งอยู่โดย

ความเป็นลิ่มตอบ. บทว่า กินฺนุ โข ตุยฺห คือ ท่านแสดงว่าประโยชน์

อะไรที่จะพูดกับท่านผู้โง่ไม่ฉลาด, ท่านไม่รู้วัตถุ ไม่รู้อาบัติ ไม่รู้การ

โจท. ทับถมว่า แม้ท่านก็ไม่รู้อะไร ๆ ยังอยากจะพูด.

บทว่า ปจฺจาโรเปติ - ยกโทษขึ้น คือ กล่าวบทมีอาทิว่า แม้

ท่านแหละชื่อว่ายกโทษขึ้น คือ ปรับอาบัติ. บทว่า ปฎิกโรหิ - ทำคืน

ท่านแสดงไว้ว่า ท่านจงแสดงเทศนาคามินี คือ การแสดงอาบัติ ท่านจง

๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๑๗.

๒. ในสัมโมหะว่า ตั้งอยู่โดยความกล่าวอย่างฉับไว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1140

ออกจากวุฏฐานคามินี คือ ออกจากอาบัติ. แต่นั้นท่านตั้งอยู่ในความ

บริสุทธิ์แล้วจึงโจทผู้อื่น.

บทว่า อญฺเนญฺ ปฏิจรติ - พูดจากลบเกลื่อน คือ ปกปิด

เหตุอื่นด้วยเหตุอื่น หรือปกปิดคำพูดด้วยคำอื่น. โจทก์กล่าวว่า ท่าน

ต้องอาบัติแล้ว. ภิกษุนั้นกล่าวว่า ใครต้องอาบัติ ต้องอาบัติอะไร ๆ ต้อง

อาบัติในข้อไหน ต้องอาบัติอย่างไร. ท่านกล่าวอะไร ๆ เมื่อโจทก์กล่าว

ว่า อาบัติอะไร ท่านก็เห็นอยู่แล้ว. ภิกษุนั้นกล่าวว่า เราไม่ได้ยิน

แล้วเอียงหูเข้าไป.

บทว่า พหิทฺธา กถ อปนาเมติ - พูดนอกเรื่อง คือ เมื่อ

โจทก์ถามว่า ท่านต้องอาบัติข้อนี้หรือ. ภิกษุกล่าวว่า ผมจะไปเมือง

ปาตลิบุตร. เมื่อโจทก์พูดซ้ำว่า ผมไม่ได้ถามถึงการไปเมืองปาตลิบุตร

ของคุณ. ผมถามอาบัติ. ภิกษุนั้นกล่าวว่า ต่อแต่นั้นผมจะไปพระราช-

มนเทียร. เมื่อโจทก์กล่าวว่า คุณจะไปพระราชมนเทียร หรือจะไป

เรือนพราหมณ์ก็ตาม. คุณต้องอาบัติแล้ว. ภิกษุนั้นกล่าวคำเป็นอาทิว่า

ผมจะได้เนื้อสุกรในที่นั้น พูดนอกเรื่องไป .

บทว่า โกป คือ ความโกรธ บทว่า โทส คือ ความประ-

ทุษร้าย. บทที่สองนี้เป็นชื่อของความโกรธนั่นแหละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1141

บทว่า อปฺปจจยB> คือ อาการไม่พอใจ. บทนี้เป็นชื่อของ

โทมนัส.

บทว่า ปาตุกโรติ คือ แสดงประกาศ. บทว่า พาหาวิกฺเขปก

ภณติ คือ แกว่งแขนไปมาแล้วพูดคำไม่มียางอาย. บทว่า อนาทิยิตฺวา

ความว่า ไม่เชื่อถือด้วยความเคารพ ดูหมิ่น ไม่สนใจ.

บทว่า วิเหเสติ คือ ให้ลำบาก รำคาญ. บทว่า อติพาฬฺห

คือ หนักมาก เกินขนาด.

บทว่า มยิ พฺยาวฏา คือ ถึงความขวนขวายในเรา. บทว่า

หีนายาวตฺติตฺวา คือ เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว คือ เป็นคฤหัสถ์.

บทว่า อตฺตมนา โหถ คือ พวกท่านจงดีใจเถิด ภิกษุนั้น

กล่าวโดยความประสงค์ว่า ท่านจงได้สิ่งที่ผมควรได้เถิด. ท่านจงอยู่ใน

ที่ที่ผมควรอยู่เถิด . ผมทำความผาสุกให้แก่พวกท่านแล้ว. บทว่า ทุสฺ-

สติ คือ ประทุษร้าย.

บทว่า นวหิ อาฆาตวตฺถูหิ ด้วยอาฆาตวัตถุ ๙ ท่านกล่าว

ด้วยสามารถการเกิดในสัตว์ทั้งหลาย. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ - วัตถุเป็น

เหตุอาฆาตกัน ๙ อย่างเหล่านี้. อาฆาตวัตถุ ๙ อย่าง

เป็นไฉน ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1142

ภิกษุผูกอาฆาตว่า เขาได้ประพฤติความ

พินาศแก่เรา ๑

เขาย่อมประพฤติความพินาศแก่เรา ๑

เขกจักประพฤติความพินาศแก่เรา ๑.

เขาได้ประพฤติความพินาศแก่ผู้เป็นที่รัก

เป็นที่ชอบใจของเรา ๑

เขาย่อมประพฤติความพินาศแก่ผู้เป็นที่รัก

เป็นที่ชอบใจของเรา ๑

เขาจักประพฤติความพินาศแก่ผู้เป็นที่รัก

เป็นที่ชอบใจของเรา ๑

เขาได้ประพฤติประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รัก

ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ๑

เขาย่อมประพฤติประโยชน์แก้ผู้ไม่เป็นที่รัก

ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ๑

เขาจักประพฤติประโยชน์แก้ผู้ไม่เป็นที่รัก

เป็นที่ชอบใจของเรา ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ ๙ อย่าง

เหล่านี้แล.

๑. อง. นว. ๒๓/๒๓๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1143

ในบทเหล่านั้นบทว่า อาฆาตวตถูนิ คือ เหตุแห่งความอาฆาต.

อนึ่ง ในบทว่า อาฆาต นี้ ได้แก่ ความโกรธ. ความโกรธ

นั่นแหละท่านเรียกว่า อาฆาตวัตถุ เพราะเป็นวัตถุแห่งความโกรธยิ่ง ๆ

ขึ้น. บทว่า อาฆาต พนฺธติ คือ ผูก กระทำ ให้ความโกรธเกิด

อาฆาตวัตถุ ๙ แม้เหล่าอื่นที่ท่านกล่าวไว้ในนิทเทสว่า

เขามิได้ประพฤติประโยชน์แก่เรา ๑ เขาย่อมไม่ประพฤติ ๑ เขา

จักไม่ประพฤติ ๑. เขามิได้ประพฤติประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบ

ใจของเรา ๑ เขาย่อมไม่ประพฤติ ๑ เขาจักไม่ประพฤติ ๑. เขามิได้

ประพฤติความพินาศแก่ผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ๑ เขา

ย่อมไม่ประพฤติ ๑ เขาจักไม่ประพฤติ ๑ ดังนี้ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย

อาฆาตวัตถุ ๙ อย่างนี้เหมือนกัน.

บทว่า อาฆาติโต - มุ่งร้าย คือ เสียดสีกัน.

บทว่า นววิธมาเนหิ - เพราะมานะ ๙ อย่าง. มานะ ๙ อย่าง

เป็นไฉน ? มานะ ๙ อย่าง คือ มานะว่าเป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่า

เลิศกว่าเขา ๑ เสมอเขา ๑ เลวกว่าเขา ๑ เป็นผู้เสมอเขาสำคัญตนว่า

เลิศกว่าเขา ๑ เสมอเขา ๑ เลวกว่าเขา ๑ เป็นผู้เลวกว่าเขาสำคัญตน

ว่า เลิศกว่าเขา ๑ เสมอเขา ๑ เลวกว่าเขา ๑. มานะ ๙ อย่างเขล่านี้.

๑. ขุ. มหา. ๒๙/๓๘๔. ๒. อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๒๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1144

พึงทราบความในบทนี้ดังต่อไปนี้. บทว่า เสยฺยสฺส เสยฺโย-

หมสฺมีติ มาโน - มานะว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญว่าเลิศกว่าเขา

ย่อมเกิดแก่พระราชาและบรรพชิตทั้งหลาย. เพราะพระราชาย่อมทรง

ทำมานะนี้ว่า ใครเช่นกับเราด้วยแว่นแคว้น ทรัพย์หรือพาหนะมีอยู่.

แม้บรรพชิตก็ทำมานะว่า ใครเช่นกับเราด้วยศีลและธุดงค์มีอยู่.

บทว่า เสยฺยสฺส สทิโสหมสฺมีติ มาโนปิ - แม้มานะว่า

เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญว่าเสมอเขา ก็ย่อมเกิดแก่พระราชาและบรรพ-

ชิตเหล่านั้นเหมือนกัน เพราะพระราชาย่อมทรงทำมานะนี้ว่า อะไร

ของเราทำให้ต่างกันกับพระราชาอื่นด้วยแว่นแคว้น ทรัพย์หรือพาหนะ.

แม้บรรพชิตก็ทำมานะนี้ว่า อะไรของเราทำให้ต่างกันกับภิกษุอื่นด้วย

ศีลและธุดงค์เป็นต้น.

บทว่า เสยฺยสฺส หีโนหมสฺมีติ มาโนปิ - แม้มานะว่า เป็น

ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญว่าเลวกว่าเขา ก็ย่อมเกิดแก่พระราชาและบรรพชิต

ทั้งหลายเหล่านั้นเหมือนกัน. เพราะแว่นแคว้น ทรัพย์หรือพาหนะ

เป็นต้นของพระราชาใดยังไม่สมบูรณ์. พระราชานั้นยอมทรงทำมานะ

นี้ว่า เพียงเป็นความสุขของคำพูดว่า พระราชาของเราเท่านั้น. เราจะ

เป็นพระราชาได้อย่างไร. แม้พระบรรพชิตมีลาภสักการะน้อย ย่อมทำมานะ

นี้ว่า เพียงพูดกันเท่านั้นว่า เราเป็นธรรมกถึก เป็นพหูสต เป็นมหา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1145

เถระ. เราเป็นธรรมกถึกได้อย่างไร เป็นพหูสูต เป็นมหาเถระได้อย่าง

ไร. ลาภสักการะมิได้มีแก่เรา.

บทมีอาทิว่า สทิสสฺส เสยฺโยหมสฺมีติ มาโน - มานะว่าเป็นผู้

เสมอเขา สำคัญว่าเลิศกว่าเขา ย่อมเกิดแก่พวกอำมาตย์เป็นต้น. เพราะ

อำมาตย์ก็ดี ข้าราชการก็ดี ย่อมทำมานะนี้ว่า ใครเป็นราชบุรุษอื่น

เช่นกับเราด้วยโภคะ ยานและพาหนะเป็นต้นมีอยู่. อะไรของเราทำให้

ต่างกันกับคนอื่น. หรือว่า ชื่อว่า อำมาตย์เท่านั้นของเรา. แม้เพียง

ของกินและเครื่องนุ่งห่มของเราก็ไม่มี. เราเป็นอำมาตย์ได้อย่างไรกัน.

บทมีอาทิว่า หีนสฺส เสยฺโยหมสฺมีติ มาโน - มานะว่า

เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญว่าเลิศกว่าเขา ย่อมเกิดแก่พวกทาสเป็นต้น.

เพราะทาสย่อมทำมานะนี้ว่า ใครเป็นทาสอื่นเช่นกับเรา โดยฝ่ายมารดา

หรือบิดามีอยู่. คนอื่นไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เกิดเป็นทาสเพราะเหตุ

ท้อง. แต่เราเป็นผู้เลิศกว่าเพราะมาโดยเชื้อสาย. อะไรของเราทำให้

ต่างกันกับทาสโน้น ด้วยความเป็นทาสแท้ทั้งสองฝ่าย เพราะมาโดย

เชื้อสาย หรือเราถึงความเป็นทาสเพราะท้อง. แต่ฐานะเป็นทาสของ

เราในที่สุดมารดาบิดาไม่มี. เราจะเป็นทำได้อย่างไร. แม้คนขนหยาก

เยื่อและคนจัณฑาลเป็นต้น ก็ทำมานะนั้นเหมือนทา ฉะนั้น.

อนึ่ง ในบทนี้ มานะที่เกิดขึ้นว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญว่า

เลิศกว่าเขา เป็นมานะแน่นอน. อึกสองพวกนอกนี้ เป็นมานะไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1146

แน่นอน. อนึ่ง มานะที่เกิดขึ้นว่าเป็นผู้เสมอเขา สำคัญว่าเสมอเขา

เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญว่าเลวกว่าเขา เป็นมานะแน่นอน. อีกสอง

พวกนี้ เป็นมานะไม่แน่นอน. การทำลายกิเลสด้วยอรหัตมรรค เป็น

มานะแน่นอน. การทำลายกิเลสด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นมานะไม่

แน่นอน.

บทว่า ตณฺหามูลกา - มีตัณหาเป็นมูลได้กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า รชฺชติ - กำหนัดอยู่ อธิบายว่า มิใช่กำหนดด้วยราคะ

อย่างเดียวเท่านั้น. ที่แท้กำหนัดประกอบผูกพันด้วยอกุศลธรรมทั้งหมด

มีตัณหาเป็นมูล เพราะเกิดแม้การแสวงหาเป็นต้น มีตัณหาเป็นมูล.

บทว่า ทสหิ กิเลสวตฺถูหิ - โลกสันนิวาสเศร้าหมอง เพราะ-

กิเลสวัตถุ ๑๐ ประการ กิเลสวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน ? กิเลสวัตถุ ๑.

เหล่านี้ คือ โลภะ ๑ โทสะ. ๑ โมหะ ๑ มานะ ๑ ทิฏฐิ ๑ วิจิ-

กิจฉา ๑ ถีนะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อหิริกะ ๑ อโนตัปปะ ๑.

พึงทราบในบทเหล่านั้นดังต่อไปนี้ กิเลสวัตถุ คือ กิเลสนั่น

เอง ที่ชื่อว่า วัตถุ เพราะกิเลสเป็นที่อยู่ของสัตว์ผู้ไม่ใช่ขีณาสพ

เพราะตั้งอยู่ในโลภะเป็นต้น. ชื่อว่า กิเลสวัตถุ เพราะกิเลสเหล่านั้น

เป็นที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย. อนึ่ง เพราะเลนงหลาย แม้เกิดโดย

๑.อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๒๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1147

ความเป็นอนันตรปัจจัยเป็นต้น ก็ชื่อว่า ย่อมอยู่เหมือนกัน. ฉะนั้น

จึงชื่อว่า กิเลสวัตถุ เพราะเป็นที่อยู่ของกิเลสทั้งหลาย.

ชื่อว่า โลภะ เพราะเป็นเหตุได้. หรือ ย่อมได้ด้วยตนเอง.

หรือเพียงได้เท่านั้น. ชื่อว่า โทสะ. เพราะเป็นเหตุประทุษร้าย. หรือ

ประทุษร้ายด้วยตนเอง. หรือเพียงประทุษร้ายเท่านั้น. ชื่อว่า โมหะ

เพราะเป็นเหตุหลง. หรือหลงด้วยตนเอง. หรือเพียงความหลงเท่านั้น.

ชื่อว่า มานะ เพราะสำคัญ. บทมี ทิฏฐิ เป็นต้น มีอรรถดังกล่าว

แล้ว. ชื่อว่า อหิริกะ เพราะไม่ละอาย. ความเป็นผู้ไม่ละอายนั้น.

ชื่อว่า อหิริกะ. ชื่อว่า อโนตตัปปะ เพราะไม่เกรงกลัว. ความเป็น.

ผู้ไม่เกรงกลัวนั้น ชื่อว่า อโนตตัปปะ. ในสองบทนั้น อหิริกะมี

ลักษณะไม่รังเกียจด้วยกายทุจริตเป็นต้น. อโนตตัปปะมีลักษณะไม่ยินดี

ด้วยกายทุจริตเป็นต้น. บทว่า กิลิสฺสติ ย่อมเศร้าหมอง คือ เผาผลาญ

เบียดเบียน

บทว่า ทสหิ อาฆาตวตฺถูหิ - โลกสันนิวาสมุ่งร้าย กัน เพราะ

อาฆาตวัตถุ ๑๐. อาฆาตวัตถุ ๙ กล่าวไว้แล้วในตอนก่อน ด้วยอาฆาต

วัตถุ ๑๐ ท่านกล่าวเพิ่มว่า อาฆาตย่อมเกิดในฐานะไม่สมควร. เพราะ

ความอาฆาตย่อมเกิดในฐานะอันไม่สมควร มีตอและหนามเป็นต้น ไม่

จัดเข้ากับบทมีอาทิว่า อนตฺถ เม อจริ เขาได้ประพฤติความพินาศ

แก่เราแล้ว.

๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๒๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1148

บทว่า ทสหิ อกุสลกมฺมปเถหิ - โลกสันนิวาสประกอบด้วย

อกุศลกรรมบถ ๑๐ อกุสลกรรมบถ ๑๐ เป็นไฉน ? อกุศลกรรมบถ ๑๐

เหล่านี้ คือ ปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ๑

มุสาวาท ๑ ปิสุณาวาจา ๑ ผรุสวาจา ๑ สัมผัปปลาปะ ๑ อภิชฌา ๑

พยาบาท ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑.

ในบทนั้นมีความดังนี้ ชื่อว่า อกุสลกัมมบถ เพราะอกุศล

กรรมเหล่านั้นเป็นทางแห่งทุคติ.

บทว่า สมนฺนาคโต คือ มีความพรั่งพร้อม.

บทว่า ทสหิ สญฺโชเนหิ - โลกสันนิวาสถูกสังโยชน์ ๑.

คล้องไว้. สังโยชน์ ๑๐ เป็นไฉน ? สังโยชน์ ๑๐ เหล่านี้ คือ กาม-

ราคะ ๑ ปฏิฆะ ๑ มานะ ๑ ทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑

ภววาคะ ๑ อิสสา ๑ มัจฉริยะ ๑ อวิชชา ๑.

บทว่า มิจฺฉตฺตา - โลกสันนิวาสดิ่งลง เพราะมิจฉัตตะได้กล่าว

ไว้แล้ว.

บทว่า ทสวตฺถุกาย มจฺฉาทิฏิยา - โลกสันนิวาสประกอบ

ด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีวัตถุ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ มีวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน ?

มิจฉาทิฏฐิ มีวัตถุ ๑๐ คือ ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ๑ การบวงสรวง

ไม่มีผล ๑ การบูชาไม่มีผล ๑ วิบากอันเป็นผลของกรรมที่ทำดีทำชั่ว

๑. ที. ปา. ๑๑/๔๗๐. ๒. อภิ. วิ.๓๕/๑๐๒๙. ๓. อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๓๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1149

ไม่มี ๑ โลกนี้ไม่มี ๑ โลกหน้าไม่มี ๑ มารดาไม่มี ๑ บิดาไม่มี ๑

โอปปาติกสัตว์ไม่มี ๑ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ทำให้

แจ้ง โลกนี้ โลกหน้า ด้วยอภิญญา แล้วรู้ด้วยตนเอง ไม่มีในโลก ๑.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทสวตฺถุกา ชื่อว่า วัตถุ ๑๐ เพราะ

มีวัตถุ ๑๐.

บทว่า นตฺถิ ทินฺน คือ รู้ว่า ชื่อว่า ทานที่ให้แล้ว ย่อม

มีผล, สามารถให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ ได้. แต่คนมิจฉาทิฏฐิ ถือว่า วิบาก

อันเป็นผลของทานที่ให้แล้วไม่มี.

บทว่า นตฺถิ ยิฏฺ คือ มหายาโค - การบวงสรวงอย่างใหญ่

ท่านเรียกว่า ยิฏฺ, รู้ว่าการบวงสรวงนั้นสามารถให้ผลได้. แต่คน

มิจฉาทิฏฐิ ถือว่า วิบากอันเป็นผลของการบวงสรวงนั้นไม่มี.

บทว่า หุต คือการทำมงคลด้วยการบูชาต้อนรับ, รู้ว่าการทำนั้น

ให้ผล. แต่คนมิจฉาทิฏฐิถือว่า ผลอันเป็นของการบูชานั้นไม่มี.

ในบทว่า สุกฏทุกฺกฏาน นี้ ได้แก่ กุศลกรรม ๑๐ ชื่อว่า

กรรมดี, อกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่ากรรมชั่ว. รู้ความที่กรรมเหล่านั้น

มีผล. แต่คนมิจฉาทิฏฐิถือว่า วิบากอันเป็นผลไม่มี.

บทว่า นตฺถิ อย โลโก คือ คนมิจฉาทิฏฐิถือว่า ผู้ตั้งอยู่

ในโลกอื่นไม่มีในโลกนี้.

๑. มหายาโค ๕ คือ อสฺสเมโธ ปุริสเมโธ นิรคฺโค สมฺมาปาโส วาขเปยฺโย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1150

บทว่า นตฺถิ ปโร โลโก ถือว่า ผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้ไม่มีใน

โลกอื่น.

บทว่า นตฺถิ มาตา นตฺถิ ปิตา คือรู้ว่ามารดาบิดามีอยู่ แต่

คนมิจฉาทิฏฐิ ถือว่า วิบากไร ๆ อันเป็นผลด้วยปัจจัยที่ทำให้มารดาบิดา

เหล่านั้นไม่มี.

บทว่า นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา คือ ถือว่าสัตว์ (โอปปาติกะ)

จุติและเกิดไม่มี.

บทว่า สมฺมคฺคตา สมฺมาปฏิปนฺนา คือ ถือว่าสมณพราหมณ์

ผู้ตั้งอยู่ในธรรมปฏิบัติปฏิปทาอันสมควรไม่มีในโลก.

บทว่า เย อิมญฺจ โลก ปรญฺจ โลก สย อภิญฺาย

สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺติ คือ ถือว่าพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระสัพพัญญู

สามารถรู้โลกนี้และโลกหน้าด้วยพระญาณอันประเสริฐด้วยพระองค์เอง

แล้วทรงประกาศไม่มี.

บทว่า อนฺตคฺคาหิกาย ทิฏฺฐฺยส - โลกสันนิวาสประกอบด้วย

อันตคาหิกทิฏฐิคือทิฏฐิถือเอาที่สุด. ชื่อว่า อันตคาหิกะ เพราะถือเอา

ส่วนสุดอย่างหนึ่ง ๆ มีอาทิว่าโลกเที่ยง. อีกอย่างหนึ่ง การถือเอาที่สุด

ชื่อว่า อันตคาหะ. ชื่อว่า อันตคาหิกะ เพราะทิฏฐิมีการถือเอา

ที่สุด. ด้วยการถือเอาที่สุดนั้น. อันตคาหิกทิฏฐินั้นท่านกล่าวไว้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1151

บทว่า อฏฺสตตณฺหาปปญฺจสเตหิ - โลกสันนิวาสต้องเนิ่น

ช้าเพราะตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้า ๑๐๘ . ชื่อว่า อฏฺสต. ชื่อว่า

ปปญฺโจ เพราะให้เนิ่นช้าในสังสารวัฏ คือ ให้อยู่นาน. ตัณหานั่นแหละ

เครื่องให้เนิ่นช้า จึงชื่อว่า ตณฺหาปปญฺโจ. ตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้า

หนึ่งร้อยท่านทำให้เป็นพหุวจนะ เพราะตัณหามีมากโดยประเภทแห่ง

อารมณ์และด้วยการเกิดบ่อยๆ จึงชื่อว่า ตณฺหาปปญฺจสต. ด้วยเหตุนั้น

เมื่อควรจะกล่าวว่า ตณฺหาปปญฺจสเตน ด้วยความคลาดเคลื่อนของวจนะ

ท่านจึงทำนิทเทสเป็นพหุวจนว่า ตณฺหาปปญฺจสเตหิ. พึงเห็นอรรถ

แห่งบทว่า ตณฺหาปปญฺจสเตน ด้วยตัณหาเครื่องทำให้เนิ่นช้าร้อยหนึ่ง

คือ อฏฺสต - ๑๐๘. พึงทราบว่า ท่านถือเอา ๑๐๐ เท่านั้น เพราะ

ทำ ๘ เป็นอัพโพหาริก คือ มีเหมือนไม่มี. บทว่า ตณฺหาวิจริตานิ มา

ในขุททกวัตถุวิภังค์. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ตัณหาวิจริต ภายใน ๑๘ ภายนอก ๑๘ รวม

เป็นตัณหาวิจริต ๓๖ อดีต ๓๖ อนาคต ๓๖ ปัจจุ

๓๖ รวมเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘.

อนึ่ง ในขุททกวัตถุวิภังค์นี้ท่านกล่าวตัณหาเป็นเครื่องให้เนิ่นช้า

ว่า ตัณหาวิจริต. อธิบายว่า ความเป็นไปแห่งตัณหา เพราะประพฤติ

อยู่ในตัณหา.

๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๗๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1152

บทว่า อชฺฌตฺติกสฺส อุปาทาย คือ หมายถึงขันธปัญญจกภาย

ใน. บทนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. ส่วนความพิสดาร

ของบทนั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในนิทเทสแห่งขุททกวัตถุวิภังค์

นั้น. แต่ในนิทเทสนี้ พึงทราบนัยอย่างอื่น. ตัณหา ๓ คือ กามตัณ-

หา ๑ ภวตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑ มีรูปเป็นอารมณ์อย่างเดียว. อนึ่ง

ตัณหา ๑๘ ในอารมณ์ ๖ มีเสียงเป็นต้นเป็นอารมณ์. ตัณหามีอารมณ์

ภายใน ๑๘ ภายนอก ๑๘ รวมเป็นตัณหา ๓๖. ตัณหาเหล่านั้นมี

อารมณ์ในอดีต ๓๖ อารมณ์ในอนาคต ๓๖ อารมณ์ในปัจจุบัน ๓๖

รวมเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘.

บทว่า ปปญฺจิโต คือ ต้องเนิ่นช้า อยู่นานในอารมณ์หรือใน

สังสารวัฏ.

บทว่า ทฺวาสฏฺิยา ทิฏฺิคเตหิ - โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๖๒

กลุ้มรุม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทิฏฐิ ๖๒ ไว้ในเวยยากรณภาษิตใน

พรหมชาลสูตร เป็นไฉน ? ทิฏฐิ ๖๒ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน

เวยยากรณภาษิต ในพรหมชาลสูตรมีดังนี้ คือ สัสสตวาทะ - วาทะว่า

เที่ยง ๔, เอกัจจสัสสตวาทะ - วาทะว่าเที่ยง ๔, อนัตานันติกวาทะ-

วาทะว่ามีที่สุดและไม่มีที่สุด ๔, อมราวิกเขปิกวาทะ - วาทะปฏิเสธสิ้น

เชิง ๔, อธิจจสมุปปันนิกวาทะ - วาทะที่เชื่อถือไม่ได้ ๒, สัญญีวาทะ

๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๗๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1153

- วาทะมีสัญญา ๑๖, อสัญญีวาทะ - วาทะไม่มีสัญญา ๘, เนวสัญญี-

นาสัญญีวาทะ - วาทะว่ามีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ ๘. อุจ-

เฉทวาทะ - วาทะว่าสูญ ๗, ทิฏฐธรรมนิพพานวาทะ - วาทะว่านิพ

พานมีในปัจจุบัน ๕. ส่วนความพิสดารในนิทเทสนี้พึงทราบนัยดังกล่าว

แล้วในพรหมชาลสูตรนั่นแหละ.

บทว่า อหญฺจมฺหิ ติณฺโณ - เราเป็นผู้ข้ามได้แล้ว. คือ เรา

เป็นผู้ข้ามโอฆะ ๔ หรือสมุทร คือ สังสารวัฏได้แล้ว. บทว่า มุตฺโต

- เราเป็นผู้พ้นแล้ว คือ พ้นจากเครื่องผูกมีราคะเป็นต้น. บทว่า ทนฺโต

- เราทรมานได้แล้ว คือ หมดพยศไม่ดิ้นรนแล้ว. บทว่า สนฺโต -

เราเป็นผู้สงบแล้ว คือ มีความเยือกเย็น. บทว่า อสฺสตฺโถ - เราเป็น

ผู้เบาใจ คือ ได้ความปลอดโปร่งด้วยเห็นนิพพาน.

บทว่า ปรินิพฺพุโต - เราเป็นผู้ดับรอบแล้ว คือ ดับรอบด้วย

การดับกิเลส. บทว่า ปโหมิ คือ เราเป็นผู้สามารถ. บทว่า โข เป็น

นิบาตลงในอรรถแห่งเอกังสะ คือ ส่วนเดียว.

ปเร จ ศัพท์ในบทนี้ว่า ปเร จ ปรินิพฺพาเปตุ เพื่อให้ผู้อื่น

ดับรอบด้วย พึงประกอบแม้ด้วยบทมีอาทิว่า ปเร จ ตาเรตุ เพื่อให้

ผู้อื่นข้ามพ้นไปด้วย.

จบ อรรถกถามหากรุณาญาณนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1154

สัพพัญญุตญาณนิทเทส

[๒๘๖] สัพพัญญุตญาณของพระตถาคตเป็นไฉน ?

ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้สังขตธรรมและ

อสังขตธรรมทั้งปวง มิได้มีส่วนเหลือ ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะ

อรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะ

อรรถว่า รู้ธรรมส่วนอนาคตทั้งหมด . . . รู้ธรรมส่วนอดีตทั้งหมด. . .

รู้ธรรมส่วนปัจจุบันทั้งหมด...รู้จักษุและรูปทั้งหมดว่าอย่างนี้...รู้หูและ

เสียง ฯลฯ จมูกและกลิ่น ลิ้นและรส กายและโผฏฐัพพะ ใจและธรร-

มารมณ์ทั้งหมดว่าอย่างนี้ ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณ

นั้นไม่มีเครื่องกั้น.

[๒๘๗] ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้สภาพ

ไม่เที่ยง สภาพเป็นทุกข์ สภาพเป็นอนัตตา ตลอดทั้งหมด ชื่อว่า อนา-

วรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น. . .รู้สภาพไม่เที่ยง

สภาพเป็นทุกข์ สภาพเป็นอนัตตาแห่งรูป ตลอดทั้งหมด. . .รู้สภาพไม่

เที่ยง สภาพเป็นทุกข์ สภาพเป็นอนัตตาแห่งเวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณตลอดทั้งหมด...รู้สภาพไม่เที่ยง สภาพเป็นทุกข์ สภาพเป็น

อนัตตาแห่งจักษุ ฯลฯ แห่งชราและมรณะ ตลอดทั้งหมด ชื่อว่า อนา-

วรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1155

[๒๘๘] ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้สภาพ

ธรรมที่ควรรู้ยิ่งด้วยอภิญญาทั้งหมด ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะ

อรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น... รู้สภาพที่ควรกำหนดรู้ด้วย

ปริญญา... รู้สภาพที่ควรละด้วยปหานะ ... รู้สภาพที่ควรเจริญด้วย

ภาวนา . .. รู้สภาพที่ควรทำให้แจ้งด้วยสัจฉิกิริยาตลอดทั้งหมด... รู้

สภาพที่เป็นกองแห่งขันธ์ตลอดทั้งหมด...รู้สภาพที่ทรงไว้แห่งธาตุตลอด

ทั้งหมด ... รู้สภาพเป็นที่ต่อแห่งอายตนะตลอดทั้งหมด. . . รู้สภาพที่

ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรมตลอดทั้งหมด . . . รู้สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุง-

แต่งแห่งอสังขตธรรมตลอดทั้งหมด ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะ

อรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น.

[๒๘๙] ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้กุศล

ธรรมตลอดทั้งหมด ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้น

ไม่มีเครื่องกั้น. . . รู้อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม

รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม โลกุตรธรรมตลอดทั้งหมด . ..รู้สภาพ

ที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ สภาพเป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย สภาพที่ดับแห่ง

นิโรธ สภาพเป็นทางแห่งมรรค ตลอดทั้งหมด ชื่อว่า อนาวรณญาณ

เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่เครื่องกั้น.

[๒๙๐] ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้สภาพ

ปัญญาอันแตกฉานดีในอรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา ตลอดทั้งหมด ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1156

รู้สภาพปัญญาอันแตกฉานดีในธรรมแห่งธรรมปฏิสัมภิทา สภาพปัญญา

อันแตกฉานดีในนิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา สภาพปัญญาอันแตกฉาน

ดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา ตลอดทั้งหมด ...รู้อินทริยปโรปริ-

ยัตตญาณ รู้ญาณในฉันทะอันมานอน และกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์

ทั้งหลาย รู้ยมกปาฏิหาริยญาณ รู้มหากรุณาสมาปัตติญาณ ตลอด

ทั้งหมด ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มี

เครื่องกั้น.

[๒๙๑] ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้อารมณ์

ที่ได้เห็น ที่ได้ฟัง ที่ได้ทราบ ที่ได้รู้แจ้ง ที่ได้ถึง ที่แสวงหา ที่

เที่ยวตามหาด้วยใจ แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แห่ง

หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ตลอดทั้งหมด

ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น.

บทธรรมที่พระตถาคตไม่ทรงเห็นแล้ว ไม่มี

ในโลกนี้ อนึ่ง บทธรรมน้อยหนึ่งที่ควรรู้ พระ-

ตถาคตไม่ทรงรู้แล้ว ไม่มี พระตถาคตทรงทราบยิ่ง

ซึ่งธรรมเป็นเครื่องนำไปทั้งปวง เพราะเหตุนั้น

พระตถาคตจึงเป็นพระสมันตจักษุ - ผู้ทรงเห็นทั่ว.

[๒๙๒] คำว่า สมนฺตจกฺขุ ความว่า ชื่อว่าสมันตจักษุ

เพราะอรรถว่ากระไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1157

พระพุทธญาณ ๑๔ คือ ญาณในทุกข์ ๑ ญาณในทุกขสมุทัย ๑

ญาณในทุกขนิโรธ ๑ ญาณในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ๑ ญาณใน

อรรถปฏิสัมภิทา ๑ ญาณในธรรมปฏิสัมภิทา ๑ ญาณในนิรุตติปฏิ-

สัมภิทา ๑ ญาณในปฏิภาณปฏิสัมภิทา ๑ ญาณในความยิ่งและหย่อน

แห่งอินทรีย์ ๑ ญาณในฉันทะเป็นที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของ

สัตว์ทั้งหลาย ๑ ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ๑ ญาณในมหากรุณาสมาบัติ ๑

สัพพัญญุตญาณ ๑ อนาวรณญาณ ๑ บรรดาพระพุทธญาณ ๑๔ ประ-

การนี้ พระญาณ ๘ ข้างต้น เป็นญาณทั่วไปด้วยพระสาวก พระญาณ

๖ ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวก.

[๒๙๓] ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า สภาพที่

ทนได้ยากแห่งทุกข์ พระตถาคตทรงทราบแล้วตลอดทั้งหมด ที่มิได้

ทรงทราบไม่มี ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้น

ไม่มีเครื่องกั้น สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ พระตถาคตทรงเห็นแล้ว

ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วตลอดทั้งหมดด้วย

พระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาไม่มี. . . สภาพเป็น

เหตุเกิดแห่งสมุทัย สภาพเป็นที่ดับแห่งนิโรธ สภาพเป็นทางแห่งมรรค

สภาพปัญญาอันแตกฉานดีในอรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา สภาพปัญญา

อันแตกฉานดีในธรรมแห่งธรรมปฏิสัมภิทา สภาพปัญญาอันแตกฉานดี

ในนิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา สภาพปัญญาอันแตกฉานดีในปฏิภาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1158

แห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรง

รู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วตลอดทั้งหมดด้วยพระ-

ปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาไม่มี... ญาณในความยิ่ง

และหย่อนแห่งอินทรีย์ ญาณในฉันทะอันมานอนและกิเลสอันนอน-

เนื่องของสัตว์ทั้งหลาย ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ญาณในมหากรุณา.

สมาบัติ พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว

ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิ

ได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี... ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะ

อรรถว่า อารมณ์ที่ได้เห็น ที่ได้ฟัง ที่ได้ทราบ ที่ได้รู้แจ้ง ที่ได้ถึง

ที่แสวงหา ที่เที่ยวตามหาด้วยใจ แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก

พรหมโลก แห่งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ. พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้

แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูก

ต้องแล้วด้วยพระปัญญาไม่มี.

ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ไม่มีเครื่องกั้นในญาณ

นั้น.

บทธรรมที่พระตถาคตไม่ทรงเห็นแล้วไม่มีใน

โลกนี้ อนึ่ง บทธรรมน้อยหนึ่งที่ควรรู้ พระตถาคต

ไม่ทรงรู้แล้วไม่มี พระตถาคตทรงทราบยิ่ง ซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1159

ธรรมเป็นเครื่องนำไปทั้งปวง เพราะเหตุนั้น พระ-

ตถาคตจึงเป็นพระสมันตจักษุ.

จบ ญาณกถา

๗๒ - ๗๓. อรรถกถาสัพพัญญุตณาณนิทเทส

[๒๘๖ - ๒๙๓] พึงทราบวินิจฉัยในสัพพัญญุตญาณนิทเทส ดัง

ต่อไปนี้

พระสารีบุตรเถระถามว่า พระสัพพัญญุตญาณของพระตถาคต

เป็นไฉน ? แล้วแสดงอนาวรณญาณ - ญาณไม่มีสิ่งปิดกั้น กับด้วย

พระสัพพัญญุตญาณนั้นนั่นแหละ เพราะมีคติเสมอกันด้วยอนาวรณ-

ญาณนั้น.

จริงอยู่ อนาวรณญาณมิได้มีต่างหากจากธรรมดา. เพราะญาณ

นี้ญาณเดียวเท่านั้น ท่านกล่าวเป็น ๒ อย่าง ดุจประเภทแห่งอาการ

สัทธินทรีย์และสัทธาพละเป็นต้น. พระสัพพัญญุตญาณนั่นแหละ

ท่านกล่าวว่า อนาวรณะ เพราะไม่มีเครื่องปิดกั้น เพราะอันธรรมไร ๆ

หรือบุคคลไม่สามารถจะทำการปิดกั้นได้ เพราะธรรมทั้งปวงเนื่องด้วย

การคำนึง. แต่ผู้อื่นแม้คำนึงก็รู้ไม่ได้. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า

ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะเป็นไปในอารมณ์ทั้งปวง ดุจมโน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1160

วิญญาณ. สัพพัญญุตญาณนั้นนั่นแหละ เป็นอนาวรณญาณ เพราะไม่

มีอะไรขัดขวางในอารมณ์ทั้งหลาย ดุจวชิราวุธของพระอินทร์. พระ-

สัพพัญญุตญาณปฏิเสธความเป็นสัพพัญญูตามลำดับ. อนาวรณญาณ

ปฏิเสธความเป็นสัพพัญญูคราวเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าอันบัณฑิต

กล่าวว่า พระสัพพัญญู เพราะการได้พระสัพพัญญุตญาณ มิใช่การได้

สัพพัญญูตามลำดับ. บัณฑิตกล่าวว่า พระสัพพัญญู เพราะการได้อนา-

วรณญาณ มิใช่การได้สัพพัญญูคราวเดียว.

บทว่า สพฺพ ในบทนี้ว่า สพฺพ สงฺขตมสงฺขต อนวเสส

ชานาติ - พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้สังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งปวง

ไม่มีส่วนเหลือ เป็นบทถือเอาความไม่มีส่วนเหลือของธรรมทั้งปวงโดย

ชาติ.

บทว่า อนวเสส - ไม่มีส่วนเหลือ เป็นบทถือเอาความไม่มี

ส่วนเหลือแห่งธรรมอย่างหนึ่ง ๆ ด้วยสามารถอาการทั้งปวง.

บทว่า สงฺขตมสงฺขต เป็นบทแสดงประเภท ๒ อย่าง. เพราะ

สังขตะเป็นประเภทหนึ่ง. อสังขตะเป็นประเภทหนึ่ง. ขันธบัญจกเป็น

สังขตะ เพราะอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง. นิพพานเป็นอสังขตะ เพราะไม่

ปรุงแต่งอย่างนั้น. ย่อมรู้สังขตะไม่มีส่วนเหลือโดยอาการมีความไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเป็นต้น. ย่อมรู้อสังขตะไม่มีส่วนเหลือโดยอาการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1161

มีสุญญตนิมิตและอัปปณิหิตนิมิตเป็นต้น. ชื่อว่า อนวเสส เพราะไม่

มีสังขตะและอสังขตะเหลือ. บัญญัติแม้หลายประเภทย่อมเข้ากับฝ่าย

อสังขตะ เพราะปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง. จริงอยู่ พระสัพพัญญุตญาณย่อม

รู้บัญญัติแม้ทั้งปวงโดยประการไม่น้อย.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สพฺพ เป็นบทถือเอาธรรมทั้งหมด. บทว่า

อนวเสส เป็นบทถือเอาไม่มีอาศัย.

บทว่า ตตฺถ อาวรณ นตฺถิ - ไม่มีเครื่องปิดกั้นในญาณนั้น

ความว่า เครื่องปิดกั้นพระสัพพัญญุตญาณไม่มี เพราะไม่มีเครื่องปิดกั้น

ของในสังขตะและอสังขตะอันไม่มีส่วนเหลือนั้น. เพราะฉะนั้น พระ-

สัพพัญญุตญาณนั้นนั่นแหละ จึงชื่อว่า อนาวรณญาณ.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เพื่อจะแสดงโดยประเภทแห่งอารมณ์

หลายอย่างจึงกล่าวบทมีอาทิว่า อตีต - ธรรมส่วนอดีต.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อตีต อนาคต ปจฺจุปฺปนฺน - ท่าน

แสดงโดยประเภทของกาล.

บทมีอาทิว่า จกฺขุญฺเจว รูปาจ - ท่านแสดงโดยประเภทแห่ง

อารมณ์และวัตถุ.

บทว่า เอว ต สพฺพ - รู้ธรรมทั้งหมดนั้นอย่างนี้ เป็นบท

ถือเอาโดยไม่มีส่วนเหลือของจักษุและรูปเหล่านั้น. ในบทที่เหลือก็อย่าง

นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1162

บทว่า ยาวตา ตลอดทั้งหมด เป็นบทถือเอาโดยไม่มีส่วนเหลือ

บทมีอาทิว่า อนิจจฏฺ - มีสภาพไม่เที่ยง ท่านแสดงโดยประ-

เภทแห่งสามัญลักษณะ.

บทว่า อนิจฺจฏฺ คือ มีอาการไม่เที่ยง. ในบทเช่นนี้ก็มีนัยนี้.

บทมีอาทิว่า รูปสฺส ท่านแสดงโดยประเภทแห่งขันธ์.

บทว่า จกฺขุสฺส ฯลฯ ชรามรณสฺส พึงประกอบโดยนัย

แห่งไปยาลที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.

ในบทมีอาทิว่า อภิญฺาย - ด้วยอภิญญา ได้แก่ ญาณดังได้

กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

บทว่า อภิญฺฏฺ คือ สภาพที่ควรรู้ยิ่ง. ในบทเช่นนี้ก็มีนัยนี้.

บทมีอาทิว่า ขนฺธาน ขนฺธฏฺ รู้สภาพที่เป็นเองแห่งขันธ์

พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ

บทมีอาทิว่า กุสเล ธมฺเม - กุศลธรรมทั้งหลาย คือ เป็น

ประเภทด้วยสามารถแห่ง กุสลัตติกะ - หมวด ๓ แห่งกุศล.

บทมีอาทิว่า กามวจเร ธมฺเม - กามาวจรธรรมเป็นประเภท

ด้วยสามารถแห่งธรรมเป็นไปในภูมิ ๔. แม้ในปาฐะเป็นพหุวจนะว่า

สพฺเพ ชานาติ ย่อมรู้ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นปาฐะดี. แต่เพราะตก

ไปในกระแสแห่งเอกวจนะในคัมภีร์ ท่านจึงเขียนด้วยเอกวจนะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1163

บทมีอาทิว่า ทุกฺขสฺส เป็นประเภทแห่งอารมณ์แห่งพุทธญาณ

๑๔ อย่าง.

บทมีอาทิว่า อินฺทฺริยปโรปริยตฺเต าณ - อินทริยปโรปริ-

ยัตตญาณ หากถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวฌาน ๔ ไม่กล่าว

พระสัพพัญญุตญาณ. ตอบว่า เพราะฌาน ๔ ที่ท่านกล่าวเป็นสัพพัญ-

ญุตญาณ. เมื่อกล่าวสัพพัญญุตญาณโดยประเภทแห่งอารมณ์ ก็ไม่ควร

กล่าวถึงญาณนั้น. อนึ่ง พระสัพพัญญุตญาณ ย่อมเป็นวิสัยแห่งพระ-

สัพพัญญุตญาณนั่นแหละ.

พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงภูมิแห่งพระสัพพัญญุตญาณ โดย

นัยดังกล่าวแล้วในกาจการามสูตรเป็นต้น จึงกล่าวบทมีอาทิว่า ยาวตา

สเทวกสฺส โลกสฺส - แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลกตลอดทั้งหมด.

ในบทเหล่านั้น พึงทราบความดังต่อไปนี้ โลกพร้อมทั้งเทวดา

ชื่อว่า สเทวกสฺส. พร้อมทั้งมาร ชื่อว่า สมารกสฺส. พร้อมทั้ง

พรหม ชื่อว่า สพฺรหฺมกสฺส. พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ ชื่อว่า

สสฺสมณพฺราหฺมณิยา. หมู่สัตว์พร้อมด้วยเทวดาและมนุษย์ ชื่อว่า

สเทวมนุสฺสาย.

บทว่า ปชา นี้เป็นคำกล่าวโดยปริยายของสัตวโลก เพราะเป็น

ผู้เกิดแล้ว.

๑. องฺ จตุกฺก. ๒๑/๒๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1164

ในบทนั้นพึงทราบ การถือเอาถามวจรเทพ ๕ ด้วยคำว่า พร้อม

ทั้งเทวโลก. ถือเอากามาวจรเทพที่ ๖ ด้วยคำว่า พร้อมทั้งมารโลก. ถือ

เอา พวกพรหมมีพรหมกายิกาเป็นต้น ด้วยคำว่า พร้อมทั้งพรหมโลก.

ถือเอาสมณพราหมณ์ผู้เป็นข้าศึกศัตรูของศาสนา และถือเอาสมณ-

พราหมณ์ ผู้สงบ ผู้ลอยบาปแล้ว ด้วยคำว่า พร้อมทั้งสมณพราหมณ์.

ถือเอาสัตวโลก ด้วยคำว่า ปชา. ถือเอาสมมติเทพและมนุษย์ที่เหลือ

ด้วยคำว่า พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์.

ในนิทเทสนี้ พึงทราบว่า ท่านถือเอาโอกาสโลกด้วย ๓ บท.

สัตวโลกด้วยสามารถหมู่สัตว์ด้วย ๒ บท. พึงทราบนัยอื่นต่อไป. ถือเอา

อรูปาวจรโลก ด้วย สเทวก ศัพท์. ถือเอาฉกามาวจรเทวโลก ด้วย

สมารก ศัพท์. ถือเอารูปาวจรพรหมโลก ด้วย สพฺรหฺมก ศัพท์.

ถือเอามนุษยโลก หรือสัตวโลกที่เหลือพร้อมด้วยบริษัท ๔ หรือสมมติ-

เทพ ด้วย สสฺสมณพฺราหฺมณ ศัพท์เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง ในนิทเทสนี้ ท่านยังความเป็น คือ ความรู้ มี

อารมณ์ที่ได้เห็นแห่งสัตวโลกทั้งหมดให้สำเร็จ โดยกำหนดอย่างอุกฤษฏ์

ด้วยคำว่า สเทวกะ. แต่นั้นพระสารีบุตรเถระ เมื่อจะกำจัดความสงสัย

ของชนทั้งหลายที่จะพึงมีปัญหาว่า มารมีอานุภาพมาก เป็นใหญ่

ในฉกามาวจรเทพ เป็นผู้มีอำนาจ. ย่อมรู้อารมณ์ที่เห็นแล้วเป็นต้น

ขอมารนั้นหรือ จึงกล่าวว่า สมารกสฺส - พร้อมทั้งมารโลก. พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1165

สารีบุตรเถระ เมื่อจะกำจัดความสงสัยของชนทั้งหลายที่จะพึงมีความ

สงสัยว่า พรหมมีอานุภาพมาก ย่อมแผ่แสงสว่างในหนึ่งพันจักรวาล

ด้วย ๑ องคุลี. ย่อมแผ่แสงว่างในหมื่นจักรวาล ด้วย ๒ องคุลี ฯลฯ

๑๐ องคุลี และย่อมเสวยสุขในฌานสมาบัติอย่างเยี่ยม. ย่อมรู้อารมณ์ที่

ได้เห็นเป็นต้น ของพรหมนั้นหรือ จึงกล่าวว่า สพฺรหฺมกสฺส - พร้อม

ทั้งพรหมโลก.

แต่นั้นพระสารีบุตรเถระ เมื่อจะกำจัดความสงสัยของชนทั้งหลาย

ที่จะพึงมีปัญหาว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมากเป็นศัตรูของศาสนา จะ

รู้อารมณ์ที่เห็นเป็นต้น ของสมณพราหมณ์เหล่านั้นหรือ จึงกล่าวว่า

สสฺสมณพฺราหฺมณิยา ปชาย หมู่สัตว์พร้อมด้วยสมณพราหมณ์.

พระสารีบุตรเถระครั้นประกาศความเป็น คือ การรู้อารมณ์ที่เห็นแล้ว

เป็นต้น อย่างอุกฤษฏ์อย่างนี้ แล้วจึงประกาศความเป็น คือ การรู้

อารมณ์ที่เห็นแล้วเป็นต้น ของสัตวโลกที่เหลือด้วยกำหนดอย่างอุกฤษฏ์

อาศัยสมมติเทพและมนุษย์ที่เหลือ. นี้เป็นลำดับอนุสนธิในนิทเทสนี้.

ส่วนพระโบราณาจารย์กล่าวว่า บทว่า สเทวกสฺส คือ โลก

ที่เหลือพร้อมด้วยเทวโลก. บทว่า สมารกสฺส คือ โลกที่เหลือพร้อม

ด้วยมารโลก. บทว่า สพฺรหฺมกสฺส คือ โลกที่เหลือพร้อมด้วยพรหม-

โลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1166

เพื่อเพิ่มสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดในภพ ๓ แม้ทั้งหมดอย่างนี้เข้าใน ๓

บทด้วยอาการ ๓ แล้วถือเอาโดยอาการ ๒ อีก พระสารีบุตรเถระจึง

กล่าวว่า สสฺสมณพฺราหฺมณิยา ปชาย สเทวมนุสฺสาย แห่งหมู่

สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์. เป็นอันท่านถือเอาไตร-

ธาตุนั่นแหละโดยอาการนั้น ๆ ด้วยบท ๕ บท ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ทิฏฺ - อารมณ์ที่เห็นแล้ว ได้แก่ รูปายตนะ.

บทว่า สุต - อารมณ์ที่ได้ฟังแล้ว ได้แก่ สัททายตนะ.

บทว่า มุต - อารมณ์ที่ทราบแล้ว ได้แก่ คันธายตนะ รสายตนะ

โผฏฐัพพายตนะ เพราะถึงแล้วจึงถือเอาได้.

บทว่า วิญฺาต - อารมณ์ที่ได้รู้แล้ว ได้แก่ ธรรมารมณ์มี

สุขทุกข์เป็นต้น.

บทว่า ปตฺต - อารมณ์ที่ได้ถึงแล้ว ได้แก่ อารมณ์ที่ถึงแล้ว

เพราะแสวงหาก็ตาม ไม่แสวงหาก็ตาม.

บทว่า ปริเยสิต - อารมณ์ที่แสวงหาแล้ว ได้แก่ อารมณ์ที่

แสวงหาแล้ว ถึงก็ตาม ไม่ถึงก็ตาม.

บทว่า อนุวิจริต มนสา คือ อารมณ์ที่เที่ยวตามหาด้วยใจ.

พระสารีบุตรเถระแสดงบทนี้ด้วยบทนี้ว่า สพฺพ ชานาติ - รู้อารมณ์

ทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1167

รูปารมณ์ใดมีอาทิว่า นีล ปีต - เขียวเหลือง มาสู่คลองใน

จักษุทวารของโลกพร้อมทั้งเทวโลกนี้ในโลกธาตุ อันหาประมาณมิได้

พระสัพพุตญาณของพระตถาคตย่อมรู้รูปารมณ์ทั้งปวงนั้นว่า สัตว์นี้เห็น

รูปารมณ์ชื่อนี้ในขณะนี้แล้วเป็นผู้ดีใจ เสียใจ หรือเป็นกลาง เกิดแล้ว

ดังนี้.

สัททารมณ์มีอาทิว่า เภริสทฺโท มุทิงฺคสทฺโท - เสียงกลอง

เสียงตะโพน มาสู่คลองในโสตทวาร, คันธารมณ์มีอาทิว่า มูลคนฺโธ

ตจคนฺโธ- กลิ่นที่ราก กลิ่นที่เปลือก มาสู่คลองในฆานทวาร, รสา-

รมณ์มีอาทิว่า มูลรโส ขนฺธรโส- รสที่ราก รสที่ลำต้น มาสู่คลอง

ในชิวหาทวาร, โผฏฐัพพารมณ์มี ๓ ประเภท คือ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ

วาโยธาตุ มีอาทิว่า กกฺขฬ มุทุก- แข็งอ่อน มาสู่คลองในกายทวาร

ของโลกพร้อมทั้งเทวโลกนี้โนโลกธาตุ หาประมาณมิได้. พระสัพ-

พัญญุตญาณของพระตถาคตก็ย่อมรู้อารมณ์นั้นทั้งหมดว่า สัตว์นี้ถูกต้อง

โผฏฐัพพารมณ์ชื่อนี้ในขณะนี้แล้วดีใจ เสียใจ หรือเป็นกลาง ดังนี้

เหมือนกัน.

อนึ่ง ธรรมารมณ์ใดมีประเภทเป็นสุขและทุกข์เป็นต้น มาสู่

คลองในมโนทวารของโลกพร้อมทั้งเทวโลกนี้ ในโลกธาตุ หาประมาณ

๑. อภิ. ส. ๓๔/๕๒๑. ๒. อภิ. ส. ๓๔/๕๒๒. ๓. อภิ. ส. ๓๔/๕๒๓.

๔. อภิ. ส. ๓๔/๕๒๔. ๕. อภิ. ส. ๓๔/๕๔๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1168

มิได้. พระสัพพัญญุตญาณของพระตถาคตย่อมรู้ธรรมารมณ์นั้นทั้งหมด

ว่าสัตว์นี้รู้ธรรมารมณ์ ชื่อนี้ในขณะนี้แล้วดีใจ เสียใจ หรือเป็นกลาง

ดังนี้.

อนึ่ง มหาชนนี้แม้แสวงหาแล้วมิได้บรรลุก็มี. แม้แสวงหาแล้ว

บรรลุก็มี. แม้ไม่แสวงหาแล้วไม่บรรลุก็มี. แม้ไม่แสวงหาแล้วบรรลุ

ก็มี ชื่อว่าการไม่บรรลุทั้งหมดมิได้มีด้วยสัพพัญญุตญาณแก่พระตถาคต.

พระสารีบุตรเถระกล่าวคาถามีอาทิว่า น ตสฺส เพื่อให้ความ

เป็นพระสัพพัญญุตญาณสำเร็จโดยปริยายอื่นอีก.

ในบทเหล่านั้นบทว่า น ตสฺส อทฺทิฏฺมิธตฺถิ กิญฺจิ-

บทธรรมไร ๆ ที่พระตถาคตไม่ทรงเห็นแล้วไม่มีในโลกนี้ ความว่า บท

ธรรมไร ๆ แม้เพียงเล็กน้อย ที่พระตถาคตนั้นมิได้ทรงเห็นแล้วด้วย

ปัญญาจักษุมิได้มีในโลกอันเป็นไตรธาตุนี้ หรือในปัจจุบันกาลนี้.

บทว่า อตฺถิ นี้เป็นบทอาขยาต เป็นไปในปัจจุบันกาล. ด้วย

บทนี้ พระสารีบุตรเถระแสดงความที่พระตถาคตทรงรู้ธรรมทั้งปวงใน

ปัจจุบันกาล อนึ่ง ในบทนี้ ท่านใช้ อักษร เพื่อสะดวกในการประ-

พันธ์คาถา.

บทว่า อโถ ในบทนี้ว่า อโถ อวิญฺาต เป็นนิบาต บอก

เนื้อความต่าง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1169

บทว่า อวิญฺาต คือ ธรรมไร ๆ ที่พระตถาคตไม่ทรงรู้แล้ว

ในอดีตกาล. ตกปาฐะว่า นาโหสิ ไป. ในการถือเอา อตฺถิ ศัพท์

เป็นอัพยยศัพท์ แม้ตกปาฐะไปก็ใช้ได้. ด้วยบทนี้ พระสารีบุตรเถระ

แสดงความที่พระตถาคตทรงรู้ธรรมทั้งปวง อันเป็นอดีตกาล.

บทว่า อชานิตพฺพ - ธรรมที่ไม่ควรรู้ คือ ธรรมที่ไม่ควรรู้

อันเป็นอนาคตกาล จักไม่มี หรือไม่มี. ด้วยบทนี้ พระสารีบุตรเถระ

แสดงความที่พระตถาคตทรงรู้ธรรมทั้งปวงอันเป็นอนาคตกาล. อ อักษร

ในบทนี้เป็นเพียงกิริยาวิเสสนะ ของ ชานนะ คือ ความรู้.

พึงทราบความในบทนี้ว่า สพฺพ อภิญฺาสิ ยทตฺถิ เนยฺย

- พระตถาคตทรงทราบยิ่ง ธรรมเป็นเครื่องนำไปทั้งปวง ดังต่อไปนี้.

พระตถาคตทรงทราบยิ่ง คือ ทรงรู้ ทรงแทงตลอดธรรมทั้งปวงเป็น

เครื่องนำไป คือ ความรู้ใน ๓ กาล หรือพ้นจากกาล ด้วยพระสัพ-

พุตญาณอันยิ่ง.

การถือ ๓ กาลและพ้นจากกาล ด้วย อตฺถิ ศัพท์ ในบทนี้.

พึงทราบว่า อตฺถิ เป็นอัพยยศัพท์.

บทว่า ตถาคโต เตน สมนฺตจกฺขุ - ด้วยเหตุนั้นพระตถาคต

จึงเป็นพระสมันจักษุ ความว่า ชื่อว่า สมันตจักษุ เพราะมีญาณ

จักษุเป็นไปแล้วโดยรอบ คือ โดยประการทั้งปวง เพราะไม่มีที่ติดขัด

โดยกาลและโดยโอกาส. ด้วยเหตุตามที่กล่าวแล้วนั้น พระตถาคตจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1170

เป็นพระสมันตจักษุ. ท่านอธิบายว่า เป็นพระสัพพัญญู. ด้วยบุคลา-

ธิฏฐานเทศนาแห่งคาถานี้ จึงสำเร็จเป็นพระสัพพัญญุตญาณ.

พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงพระสัพพัญญุตญาณ โดย

วิสัยแห่งพระพุทธญาณ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า สนนฺตจกฺขูติ เกนฏฺเน

สมนฺตจกฺขุ บทว่า สมนฺตจกฺขุ ความว่า ชื่อว่า สมันตจักษุ

เพราะอรรถว่ากระไร ? ความแห่งคาถา ในบทนั้นว่า ชื่อว่า สมันต-

จักษุ ในบทที่ท่านกล่าวว่า สมนฺตจกฺขุ เพราะอรรถว่ากระไร ?

พระสารีบุตรเถระกล่าวอรรถแห่งบทนั้นด้วยบทมีอาทิว่า ยาวตา ทุกฺ-

ขสฺส ทุกฺขฏฺโ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า มีสภาพทน

ได้ยากแห่งทุกข์. จริงอยู่ สมันตจักษุ คือ พระสัพพัญญุตญาณ. สมดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสไว้ว่า พระสัพพัญญุตญาณ เรียกว่าสมันจักษุ.

เมื่อกล่าวถึงอรรถแห่งพระสัพพญัญุตญาณนั้น เป็นอันกล่าวถึงอรรถ

แห่งสมันตจักษุนั้นเอง. ญาณของพระพุทธเจ้านั่นแหละ ชื่อว่า พุทธ-

ญาณ.

แม้บทมีอาทิว่า ทุกฺเข าณ - ญาณในทุกข์ ก็ย่อมเป็นไป

แด่พระมีพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยอาการทั้งปวง, เป็นไปแก่สาวกนอกนี้

เพียงเอกเทสเท่านั้น. อนึ่ง บทว่า สาวกสาธารณานิ - ทั่วไปแก่

พระสาวก ท่านกล่าวหมายถึงความมีอยู่แม้โดยเอกเทสคือบางส่วน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1171

บทว่า สพฺโพ าโต คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบทั้งหมด

ด้วยพระญาณ. พระสารีบุตรเถระทำให้แจ้งโดยปฏิเสธอรรถที่ท่านกล่าว

ว่า อฺฺาโต ทุกฺขฏฺโ นตฺถิ - สภาพแห่งทุกข์ที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้ามิได้ทรงทราบไม่มี.

บทว่า สพฺโพ ทิฏฺโ - ทรงเห็นแล้วทั้งหมด คือ มิใช่เพรียง

ทรงรู้อย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้ทรงทำดุจรู้ด้วยจักษุอีกด้วย.

บทว่า สพฺโพ วิทิโต - ทรงรู้แจ้งทั้งหมด คือ มิใช่เพียงทรง

เห็นอย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้ทรงทำให้ปรากฏอีกด้วย.

บทว่า สพฺโพ สจฺฉิกโต - ทรงทำให้แจ้งแล้วทั้งหมด คือ มิ

ใช่เพียงทรงรู้แจ้งอย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้ทรงทำให้ประจักษ์ด้วยการ

ได้พระญาณในญาณนั้นอีกด้วย.

บทว่า สพฺโพ ผสฺสิโต - ทรงถูกต้องแล้วทั้งหมด คือ มิได้

ทรงทำให้แจ้งอย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้ทรงถูกต้องด้วยอำนาจทรงประพฤติ

ตามชอบใจบ่อย ๆ.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า าโต คือ ทรงรู้ด้วยลักษณะของสภาว-

ธรรม.

บทว่า ทิฏฺโ - ทรงเห็นด้วยสามัญลักษณะ. บทว่า วิทิโต

- ทรงรู้แจ้งด้วยรส. บทว่า สจฺฉิกโต - ทรงทำให้แจ้งด้วยอาการ

ปรากฏ. บทว่า ผสฺสิโต - ทรงถูกต้องด้วยเหตุใกล้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1172

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า าโต - ทรงรู้ด้วยความเกิดขึ้นแห่งญาณ.

บทว่า ทิฏฺโ - ทรงเห็นด้วยความเกิดขึ้นแห่งจักษุ.

บทว่า วิทิโต - ทรงรู้แจ้งด้วยความเกิดขึ้นแห่งปัญญา.

บทว่า สจฺฉิกโต - ทรงทำให้แจ้งด้วยความเกิดขึ้นแห่งวิชชา.

บทว่า ผสฺสิโต - ทรงถูกต้องด้วยความเกิดขึ้นแห่งแสงสว่าง.

พึงทราบความพิสดารโดยนัยมีอาทิว่า สภาพที่ทนได้ยากแห่ง

ทุกข์. ทรงเห็นทั้งหมด. สภาพที่ทนได้ยากมิได้ทรงเห็นไม่มี และโดย

นัยมีอาทิว่า ที่เที่ยวตามหาด้วยใจแห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ ทรง

ทราบแล้วทั้งหมดที่ไม่ทรงทราบไม่มี. ท่านกล่าวคาถาอีกด้วยสรุปคาถา

ที่กล่าวไว้ครั้งแรก เมื่อสรุปคาถานั้นแล้วเป็นอันสรุปญาณด้วย.

จม อรรถกาสัพพัญญุตญาณนิทเทส

อรรถกถาญาณกถา

อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ชื่อว่า สัทธัมมปกาสินี จบ