ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย มหานิทเทส

เล่มที่ ๕ ภารที่ ๒

ขอนอบน้อมแด่พระผู้พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อัฏฐกวัคคิกะ

ปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐

[๓๗๔] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) บุคคลมีความเห็นอย่างไร

มีศีลอย่างไร อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว

ข้าแต่พระโคดม พระองค์ถูกถามแล้ว ขอจงตรัสบอก

บุคคลนั้น ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม แก่ข้าพระองค์.

ว่าด้วยคำถามของพระพุทธนิมิต

[๓๗๕] คำว่า มีความเห็นอย่างไร ในคำว่า บุคคลมีความเห็น

อย่างไร มีศีลอย่างไร อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว

ความว่า บุคคลประกอบด้วยความเห็นเช่นไร คือ ด้วยความดำรงอยู่

อย่างไร ด้วยประการอย่างไร ด้วยส่วนเปรียบอย่างไร เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า มีความเห็นอย่างไร. คำว่า มีศีลอย่างไร ความว่า บุคคลประกอบ

๑. บาลีเล่มที่ ๒๙. คำนี้พม่าเป็นอัฏฐกวัคคะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 2

ด้วยศีลเช่นไร คือ ด้วยความดำรงอยู่อย่างไร ด้วยประการอย่างไร ด้วย

ส่วนเปรียบอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีความเห็นอย่างไร มีศีล

อย่างไร. คำว่า อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว ความว่า อัน

บัณฑิตกล่าว เรียก บอก พูด แสดง แถลงว่า เป็นผู้สงบเข้าไปสงบ

ดับ ระงับแล้ว. พระพุทธนิมิตตรัสถามถึงอธิปัญญาว่า มีความเห็นอย่างไร

ตรัสถามถึงอธิศีลว่า มีศีลอย่างไร ตรัสถามถึงอธิจิตว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ

แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลมีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร

อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว.

[๓๗๖] คำว่า ซึ่งบุคคลนั้น ในคำว่า ข้าแต่พระโคดม . . . ขอ

จงตรัสบอกบุคคลนั้น. . .แก่ข้าพระองค์ ความว่า บุคคลที่ถาม ที่ขอ

ให้บอก ขอจงตรัสบอก ขอให้ประสาท พระพุทธนิมิตนั้น ย่อมตรัส

เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พุทธเจ้า โดยพระโคตรว่า ข้าแต่พระโคดม.

คำว่า ขอจงตรัสบอก คือ ตรัสเล่า บอก แสดง แถลง แต่งตั้ง เปิด

เผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระ-

โคดม... ขอจงตรัสบอกบุคคลนั้น... แก่ข้าพระองค์.

[๓๗๗] คำว่า ถูกถามแล้ว ในคำว่า ถูกถามแล้ว ... ซึ่งเป็น

นรชนผู้อุดม ความว่า ถูกถาม ถูกสอบถาม ขอให้บอก ขอเชิญให้

ทรงแสดง ขอให้ประสาท. คำว่า ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม ความว่า ซึ่งเป็น

นรชนผู้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน สูงสุด บวร เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตจึงตรัสว่า

บุคคลมีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร อันบัณฑิต

กล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว ข้าแต่พระโคดม พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 3

ถูกถามแล้ว ขอจงตรัสบอกบุคคลนั้น ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม

แก่ข้าพระองค์

[๓๗๘] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ก่อนแต่กายแตก

พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากตัณหา ผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น

อันใคร ๆ ไม่นับได้ในส่วนท่ามกลาง ความทำไว้ใน

เบื้องหน้ามิได้มี แก่พระอรหันต์นั้น.

อธิบายคำว่า ภควา

[๓๗๙] คำว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า) ก่อนแต่กายแตก

พระอรหันต์ เป็นผู้ปราศจากตัณหา ความว่า ก่อนแต่กายแตก คือ

ก่อนแต่อัตภาพแตก ก่อนแต่ทอดทิ้งซากศพ ก่อนแต่ขาดชีวิตินทรีย์

พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากตัณหา คือ เป็นผู้มีตัณหาหายไป สละไป

สำรอกออก ปล่อย ละ สละคืน เป็นผู้ปราศจากราคะ คือ เป็นผู้มี

ราคะหายไป สละไป สำรอกออก ปล่อย ละ สละคืนแล้ว เป็นผู้หาย

หิว ดับแล้ว เย็นแล้ว เป็นผู้เสวยสุขมีตนดังพรหมอยู่. บทว่า ภควา

เป็นคำกล่าวเรียกด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภควา เพราะ

อรรถว่า ผู้ทำลายราคะ ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลาย

ทิฏฐิ ทำลายเสี้ยนหนาม ทำลายกิเลส และเพราะอรรถว่า ทรงจำแนก

แจกแจง ซึ่งธรรมรัตนะ เพราะอรรถว่า ทรงทำที่สุดแห่งภพทั้งหลาย

เพราะอรรถว่า มีพระกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรม

แล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงซ่องเสพเสนา-

สนะอันเป็นป่าละเมาะ ป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 4

ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่

หลีกออกเร้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งอธิศีล

อธิจิต อธิปัญญา อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔

อรูปสมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘ (ฌานเป็นที่ตั้งแห่งความครอบงำ

อารมณ์) อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ (รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ สัญญา-

เวทยิตนิโรธ ๑) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณสมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ

อสุภฌานสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕

พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งตถาคตพละ ๑๐ เวสารัชญาณ ๔

ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาคา พระภคินี มิตร

อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิมให้

พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันตินาม (พระนามมีในอรหัตผลในลำดับ

แห่งอรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ (บัญญัติที่เกิดเพราะทำให้แจ้งซึ่ง

พระอรหัตผลและธรรมทั้งปวง) พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญญุต-

ญาณ ณ ดวงแห่งโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 5

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ก่อนแต่กายแตก พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากตัณหา.

[๓๘๐] อดีตกาล ท่านเรียกว่า ส่วนเบื้องต้น ในคำว่า ผู้ไม่

อาศัยส่วนเบื้องต้น พระอรหันต์ปรารภถึงอดีตกาล ละตัณหา สละคืน

ทิฏฐิเสียแล้ว เพราะละตัณหา ละคืนทิฏฐิเสียแล้ว จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาลัย

ส่วนเบื้องต้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ไม่เป็นไปตามความเพลินในรูปว่า ใน

อดีตกาลเราได้มีรูปอย่างนี้ ไม่เป็นไปตามความเพลินในนามว่า ในอดีต-

กาล เราได้มีเวทนาอย่างนี้ ... มีสัญญาอย่างนี้ ... มีสังขารอย่างนี้ ... มี

วิญญาณอย่างนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์มิได้มีวิญญาณเนื่องด้วยฉันทราคะใน

จักษุและรูปว่า ในอดีตกาล เราได้มีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะเป็น

ผู้ไม่มีวิญญาณเนื่องด้วยฉันทราคะ. จึงไม่เพลินซึ่งจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่

เพลินซึ่งจักษุและรูปนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น แม้ด้วยเหตุ

อย่างนี้ มิได้มีวิญญาณเนื่องด้วยฉันทราคะในหูและเสียงว่า ในอดีตกาล

เราได้มีหูดังนี้ มีเสียงดังนี้ ในอดีตกาล เราได้มีจมูกดังนี้ มีกลิ่นดังนี้...

ในอดีตกาล เราได้มีลิ้นดังนี้ มีรสดังนี้ ในอดีตกาล เราได้มีกายดังนี้

มีโผฏฐัพพะดังนี้ ในอดีตกาล เราได้มีใจดังนี้ มีธรรมารมณ์ดังนี้ เพราะ

เป็นผู้ไม่มีวิญญาณเนื่องด้วยใจและธรรมารมณ์นั้น จึงไม่เพลินซึ่งใจและ

ซึ่งธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลินซึ่งใจและซึ่งธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่า

เป็นผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 6

อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่พอใจ ไม่ชอบใจซึ่งความหัวเราะ

การเจรจา การปราศรัยและการเล่นหัวกับมาตุคามในกาลก่อน และไม่ถึง

ความปลื้มใจด้วยความหัวเราะ การเจรจา การปราศรัยและการเล่นหัว

กับมาคุคามที่มีในคราวก่อนนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้น แม้

ด้วยเหตุอย่างนี้.

[๓๘๑] ปัจจุบันกาล ท่านเรียกว่า ส่วนท่ามกลาง ในคำว่า

ผู้อันใคร ๆ ไม่นับได้ในส่วนท่ามกลาง พระอรหันต์ปรารภถึงปัจจุบัน-

กาล ละตัณหา สละคืนทิฏฐิแล้ว เพราะละตัณหา สละคืนทิฏฐิแล้ว อัน

ใคร ๆ ไม่นับได้ว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดข้อง หลงใหล ผูกพัน ยึดถือ

ถึงความกวัดแกว่ง ถึงความไม่ตกลง ถึงโดยเรี่ยวแรง พระอรหันต์ละ

อภิสังขารเหล่านั้นได้แล้ว เพราะละอภิสังขารได้แล้ว อันใคร ๆ ไม่นับ

ได้โดยคิดว่า เป็นผู้เกิดในนรก เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย

เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มี

สัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่

พระอรหันต์นั้น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ อันเป็นเครื่องถึง

การนับ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้อันใคร ๆ ไม่นับได้ในส่วนท่ามกลาง.

ว่าด้วยความทำไว้ในเบื้องหน้า ๒ อย่าง

[๓๘๒] คำว่า นั้น ในคำว่า ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่

พระอรหันต์นั้น คือ พระอรหันตขีณาสพ ชื่อว่า ความทำไว้เบื้องหน้า

ได้แก่ความทำไว้ในเนื่องหน้า ๒ อย่าง คือ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วย

ตัณหา ๑ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความทำไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 7

ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ

พระอรหันต์นั้น ละความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา สละคืนความทำ

ไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะละความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา

สละคืนความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ จึงไม่กระทำตัณหา หรือทิฏฐิ

ไว้ในเบื้องหน้าเที่ยวไป คือ ไม่มีตัณหาเป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นธงยอด

ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นธงยอด ไม่มีทิฏฐิ

เป็นใหญ่ ไม่เป็นผู้อันตัณหาหรือทิฏฐิแวดล้อมทั่วไป แม้ด้วยเหตุอย่างนี้

ดังนี้ จึงชื่อว่า ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น .

อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ไม่เป็นไปตามความเพลินในรูปว่า ใน

อนาคตกาล เราพึงมีรูปอย่างนี้ ไม่เป็นไปตามความเพลินในนามว่า ใน

อนาคตกาล เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ... มีสัญญาอย่างนี้ ... มีสังขารอย่าง

นี้ ... มีวิญญาณอย่างนี้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความทำไว้ในเบื้อง

หน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ตั้งจิตเพื่อได้จักษุและรูปที่ยังไม่

ได้ว่า ในอนาคตกาลเราพึงมีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะเหตุไม่ตั้งจิตไว้

จึงไม่เพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลินจักษุและรูปนั้น ความทำไว้ใน

เบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ไม่ทั้งจิตเพื่อได้หู

และเสียงที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตกาลเราพึงมีหูดังนี้ ... ในอนาคตกาล

เราพึงมีจมูกดังนี้ มีกลิ่นดังนี้... ในอนาคตกาล เราพึงมีลิ้นดังนี้ มีรส

ดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีกายดังนี้ มีโผฏฐัพพะดังนี้ ... ในอนาคต-

กาล เราพึงมีใจดังนี้ มีธรรมารมณ์ดังนี้ เพราะเหตุไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 8

เพลินซึ่งใจและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลินซึ่งใจ และธรรมารมณ์นั้น

ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ตั้งจิตเพื่อได้ภพที่ยังไม่ได้ว่า เรา

จักเป็นเทพเจ้าหรือเป็นเทวดาตนใดตนหนึ่ง ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ

หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เพราะเหตุไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่เพลินภพนั้น เมื่อ

ไม่เพลินภพนั้น ความทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น แม้

ด้วยเหตุอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า) ก่อนแต่กายแตก พระ-

อรหันต์เป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้นอัน

ใคร ๆ ไม่นับได้ในส่วนท่ามกลาง ความทำไว้ในเบื้อง

หน้ามิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น.

[๓๘๓] บุคคลนั้นแล ผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่

มีความคะนอง พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน สำรวมวาจา

เป็นมุนี.

ว่าด้วยเหตุให้เกิดความโกรธ ๑๐ อย่าง

[๓๘๔] ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้ไม่โกร ในคำว่า ผู้ไม่

โกรธไม่สะดุ้ง ก็แต่ว่าความโกรธควรกล่าวก่อน ความโกรธ ย่อมเกิด

ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขาได้ประพฤติ

สิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว ๑ เขากำลังประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์

แก่เรา ๑ เขาจักประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๑ เขาได้ประพฤติสิ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักชอบใจของเราแล้ว ๑ เขากำลังประ -

พฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักชอบใจของเรา ๑ เขาจัก

ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ เขา

ได้ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา๑ เขา

กำลังประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑

เขาจักประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑

ความโกรธย่อมเกิดในที่มิใช่เหตุ ๑.

ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความขุ่นเคือง ความ

เคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความชังทั่ว ความชัง

เสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความโกรธ กิริยา

ที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง ความ

พยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ ความ

พิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่แช่มชื่นแห่ง

จิต นี้เรียกว่า ความโกรธ.

อีกอย่างหนึ่ง ควรรู้ความโกรธมากโกรธน้อย บางครั้งความโกรธ

เป็นแต่เพียงทำจิตให้ขุ่นมัว แต่ยังไม่ถึงให้หน้าเง้าหน้างอก็มี บางครั้ง

ความโกรธเป็นเพียงทำให้หน้าเง้าหน้างอแต่ยังไม่ทำให้คางสั่นก็มี บางครั้ง

ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้คางสั่น แต่ยังไม่ให้เปล่งผรุสวาจาก็มี บาง

ครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้เปล่งผรุสวาจา แต่ยังไม่ให้เหลียวดูทิศ

ต่าง ๆ ก็มี บางครั้งความโกรธเป็นแต่เพียงให้เหลียวดูทิศต่าง ๆ แต่ยัง

ไม่ให้จับท่อนไม้และศาสตราก็มี บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้จับ

ท่อนไม้และศาสตรา แต่ยังไม่ให้เงื้อท่อนไม้และศาสตราก็มี บางครั้งความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 10

โกรธเป็นแต่เพียงให้เงื้อท่อนไม้และศาสตรา แต่ยังไม่ให้ท่อนไม้และ

ศาสตราถูกต้องก็มี บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้ท่อนไม้และศาสตรา

ถูกต้อง แต่ยังไม่ทำให้เป็นแผลเล็กแผลใหญ่ก็มี บางครั้ง ความโกรธเป็น

แต่เพียงทำให้เป็นแผลเล็กแผลใหญ่ แต่ยังไม่ให้กระดูกหักก็มี บางครั้ง

ความโกรธเป็นแต่เพียงให้กระดูกหักแต่ยังไม่ให้อวัยวะน้อยใหญ่หลุดไปก็มี

บางครั้งความโกรธเป็นแต่เพียงให้อวัยวะน้อยใหญ่หลุดไป แต่ยังไม่ให้

ชีวิตดับก็มี บางครั้งความโกรธเป็นแต่เพียงให้ชีวิตดับ แต่ยังไม่เสียสละ

ชีวิตของตนให้หมดไปก็มี เมื่อใด ความโกรธให้ฆ่าบุคคลอื่นแล้ว จึงให้

ฆ่าคน เมื่อนั้น ความโกรธเป็นไปรุนแรงอย่างหนัก ถึงความเป็นของ

มากอย่างยิ่ง ความโกรธนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว

ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้

ไม่โกรธ บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ไม่โกรธ เพราะละความโกรธได้แล้ว เพราะ

กำหนดรู้วัตถุแห่งความโกรธ เพราะตัดเหตุแห่งความโกรธเสีย เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โกรธ.

ว่าด้วยผู้ไม่สะดุ้ง

[๓๘๕] คำว่า ผู้ไม่สะดุ้ง ความว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้สะดุ้ง หวาดเสียว สยดสยอง ภิกษุนั้น ย่อมสะดุ้ง หวาดเสียว

สยดสยองกลัว ถึงความสะดุ้งว่า เราไม่ได้สกุล ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้

อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่

ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้

บุคคลผู้พยาบาลในคราวเป็นไข้ เราจะไม่เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏ ภิกษุใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 11

ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่สยดสยอง ภิกษุนั้น ย่อม

ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่สยดสยอง ไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งว่า เรา

ไม่ได้สกุล ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้

สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้บุคคลผู้พยาบาลในคราวเป็นไข้ เราไม่เป็น

ผู้มีชื่อเสียงปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โกรธ ผู้ไม่สะดุ้ง.

ว่าด้วยไม่โอ้อวด

[๓๘๖] คำว่า ผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีความรำคาญ ความว่า ภิกษุ

บางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อวด โอ้อวด ภิกษุนั้น ย่อมอวด ย่อม

โอ้อวดว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตรบ้าง ถึงพร้อม

ศีลและวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยชาติบ้าง ถึงพร้อมด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อม

ด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง ถึง

พร้อมด้วยทรัพย์บ้าง ถึงพร้อมด้วยการปกครองบ้าง ถึงพร้อมด้วยหน้าที่

การงานบ้าง ถึงพร้อมด้วย หลักแหล่งแห่งศิลปศาสตร์บ้าง ถึงพร้อมด้วย

วิทยฐานะบ้าง ถึงพร้อมด้วยการศึกษาบ้าง ถึงพร้อมด้วยปฏิภาณบ้าง ถึง

พร้อมด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ออกบวชจากสกุลสูงบ้าง ออกบวช

จากสกุลใหญ่บ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมากบ้าง ออกบวชจากสกุล

มีโภคสมบัติยิ่งใหญ่บ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏมียศกว่าพวกคฤหัสถ์และ

บรรพชิตบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช

บริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นธรรมกถึก

บ้าง เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 12

เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง

เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือไม่ฉันภัต

ในภายหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือไม่นอนเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ใน

เสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้

ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้

ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง

เป็นผู้ได้อากิญจัญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน-

สมาบัติบ้าง บุคคลไม่อวด ไม่โอ้อวดอย่างนี้ บุคคลงด เว้น เว้นขาด

ออก สลัด พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วยความอวด เป็นผู้มีจิตปราศจากแดน

กิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โอ้อวด.

ว่าด้วยผู้ไม่มีความรำคาญ

[๓๘๗] ชื่อว่า ความรำคาญ ในคำว่า ผู้ไม่มีความรำคาญ ได้แก่

ความรำคาญมือบ้าง ความรำคาญเท้าบ้าง ความรำคาญทั้งมือและเท้าบ้าง

ความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งควรว่าไม่ควร ความ

สำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ

ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความเป็นผู้รำคาญ ความเดือนร้อนจิต

ความกลุ้มใจเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความรำคาญ อีกอย่างหนึ่ง ความ

รำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุ ๒ ประการ

คือ เพราะกระทำและเพราะไม่กระทำ.

ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะ

กระทำและเพราะไม่กระทำอย่างไร ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต

ความกลุ้มใจย่อมเกิดขึ้นว่า เราทำแต่กายทุจริต เราไม่ได้ทำกายสุจริต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 13

เราทำแต่วจีทุจริต เราไม่ได้ทำวจีสุจริต เราทำแต่มโนทุจริต เราไม่ได้

ทำมโนสุจริต เราทำแต่ปาณาติบาต เราไม่ได้ทำเจตนางดเว้นจากปาณาติ-

บาต เราทำแต่อทินนาทาน เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจาก

อทินนาทาน เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้น

จากกาเมสุมิจฉาจาร เราทำแต่มุสาวาท เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้น

จากมุสาวาท เราทำแต่ปิสุณาวาจา เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจาก

ปิสุณาวาจา เราทำแต่ผรุสวาจา เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากผรุส-

วาจา เราทำแต่สัมผัปปลาปะ เราไม่ได้ทำเครื่องงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ

เราทำแต่อภิชฌา เราไม่ได้ทำอนภิชฌา เราทำแต่พยาบาท เราไม่ได้ทำ

อัพยาบาท เราทำแต่มิจฉาทิฏฐิ เราไม่ได้ทำสัมมาทิฏฐิ ความรำคาญ

ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะกระทำและเพราะไม่

กระทำอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ

ย่อมเกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้ไม่กระทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เราเป็น

ผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ

เราเป็นผู้ไม่หมั่นประกอบในความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราเป็นผู้ไม่

ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เราไม่ได้เจริญ

สัมมัปปธาน ๔ เราไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕

เราไม่ได้เจริญพละ ๕ เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เราไม่ได้เจริญอริย-

มรรคมีองค์ ๘ เราไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ได้ละสมุทัย เราไม่ได้เจริญ

มรรค เราไม่ได้ทำให้แจ้งนิโรธ ความรำคาญนี้ อันบุคคลใดละตัดขาด

สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

บุคคลนั้นเรียกว่าไม่มีความรำคาญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โอ้อวด

ไม่มีความรำคาญ.

ว่าด้วยปัญญาเรียกว่ามันตา

[๓๘๘] คำว่า ผู้พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ความว่า ปัญญา

เรียกว่ามันตา ได้แก่ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือก

เฟ้นธรรม ความเห็นชอบ บุคคลกำหนดกล่าววาจาด้วยปัญญา แม้กล่าว

มาก พูดมาก แสดงมาก แถลงมาก ก็ไม่กล่าววาจาที่กล่าวชั่ว พูดชั่ว

เจรจาชั่ว ปราศรัยชั่ว บอกเล่าชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้พูดด้วย

ปัญญา. ความฟุ้งซ่าน ในคำว่า ผู้ไม่ฟุ้งซ่านเป็นไฉน ความฟุ้งซ่าน

ความไม่สงบจิต ความที่จิตกวัดแกว่ง ความที่จิตหมุนไป นี้เรียกว่า

ความฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับ

แล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นชื่อว่า

ผู้ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน.

ว่าด้วยการสำรวมวาจา

[๓๘๙] คำว่า บุคคลนั้นแล สำรวมวาจา เป็นมุนี ความว่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดจริง ดำรง

คำสัตย์ มีถ้อยคำมั่นคงเชื่อถือได้ ไม่พูดให้เคลื่อนคลาดแก่โลก ละปิสุณา-

วาจา เว้นขาดจากปิสุณาวาจา ฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอกข้างโน้น

เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว ไม่มาบอกคนหมู่นี้ เพื่อ

ทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกกันบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 15

กันบ้าง มีความพร้อมเพรียงเป็นที่มายินดี ยินดีในบุคคลที่พร้อมเพรียง

กัน มีความเพลิดเพลินในบุคคลที่พร้อมเพรียงกัน กล่าววาจาที่ทำให้เขา

พร้อมเพรียงกัน ด้วยประการฉะนี้ ละผรุสวาจา เว้นขาดจากผรุสวาจา

กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ อันไพเราะโสต เป็นที่ตั้งแห่งความรัก หยั่งลงถึง

หทัย เป็นคำของชาวเมือง ที่ชนหมู่มากพอใจชอบใจ ละสัมผัปปลาปะ

เว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ พูดโดยกาลควร พูดจริง พูดอิงอรรถ พูด

อิงธรรม พูดอิงวินัย กล่าววาจาเป็นหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีส่วนสุด

ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร เป็นผู้ประกอบด้วยวจีสุจริต ๔

กล่าววาจาปราศจากโทษ ๔ งดเว้น เว้นขาด ออก สลัด พ้นขาด

ไม่ประกอบด้วยดิรัจฉานกถา ๓๒ ประการ เป็นผู้มีจิตปราศจากเขตแดน

อยู่ ย่อมกล่าวกถาวัตถุ ๑๐ อย่าง คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวก-

กถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา

วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา สติปัฏฐานกถา สัมมัปปธานกถา

อิทธิบาทกถา อินทริยกถา พลกถา โพชฌังคกถา มรรคกถา ผลกถา

นิพพานกถา.

คำว่า ผู้สำรวมวาจา คือ ผู้สำรวม สำรวมเฉพาะ คุ้มครอง

ปกครอง รักษา ระวัง สงบแล้ว. คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่า

โมนะ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเครื่องข้อง และตัณหาเพียงดังว่าข่าย บุคคล

นั้นชื่อว่า มุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นแล สำรวมวาจา เป็น

มุนี เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 16

บุคคลผู้นั้นแลผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่

มีความรำคาญ พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน สำรวมวาจา

เป็นมุนี.

[๓๙๐] บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต ไม่

เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย

และไม่ถูกนำไปในเพราะทิฏฐิทั้งหลาย.

ว่าด้วยผู้ไม่มีตัณหา

[๓๙๑] คำว่า บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต

ความว่า ตัณหา เรียกว่า ตัณหา เครื่องเกี่ยวข้อง ได้แก่ความกำหนัด

ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตัณหาเครื่องเกี่ยวข้อง

นั้น อันบุคคลใดละ. ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผา

เสียแล้วด้วยไฟคือญาณ แม้เพราะเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีตัณหา

เครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ไม่เป็นไปตามความเพลินในรูปว่า ใน

อนาคตกาล เราพึงมีรูปอย่างนี้ ไม่เป็นไปตามความเพลินในนามว่า ใน

อนาคตกาล เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญาอย่างนี้ มีสังขารอย่างนี้ มี

วิญญาณอย่างนี้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีตัณหาเครื่อง

เกี่ยวข้องในอนาคต.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อได้จักษุและรูปที่ยังไม่ได้ว่า ใน

อนาคตกาล เราพึงมีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะเหตุที่ไม่ตั้งจิตไว้ จึง

ไม่เพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลินจักษุและรูปนั้น ก็เป็นผู้ไม่มีตัณหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 17

เครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ไม่ตั้งจิตเพื่อได้หูและ

เสียงที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีหูดังนี้ มีเสียงดังนี้ ... ใน

อนาคตกาล เราพึงมีจมูกดังนี้ มีกลิ่นดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึง

มีลิ้นดังนี้ มีรสดังนี้... ในอนาคตกาล เราพึงมีกายดังนี้ มีโผฏฐัพพะ

ดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีใจดังนี้ มีธรรมารมณ์ดังนี้ เพราะเหตุ

ที่ไม่ดังจิตไว้ จึงไม่เพลินซึ่งใจและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลินซึ่งใจ

และธรรมารมณ์นั้น ก็เป็นผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต แม้ด้วย

เหตุอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้ภพที่ยังไม่ได้ว่า เราจักเป็น

เทพหรือเทวดาตนใดตนหนึ่ง ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วย

พรหมจรรย์นี้ เพราะเหตุที่ไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่เพลินภพนั้น เมื่อไม่เพลิน

ภพนั้น ก็เป็นผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต แม้ด้วยเหตุอย่างนี้.

ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก

[๓๙๒] คำว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ความว่า ไม่

เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวน หรือเมื่อวัตถุแปรปรวนไปแล้ว ก็ไม่เศร้า

โศกถึง คือ ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่รำพันถึง ไม่ทุบอกคดร่ำครวญ

ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ของเรา แปร-

ปรวนไปแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ของเรา แปรปรวนไปแล้ว

สกุล หมู่ คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ของเรา แปรปรวน

ไปแล้ว จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของเรา

แปรปรวนไปแล้ว มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 18

บุตร ธิดา มิตร พวกพ้อง ญาติสาโลหิต ของเรา แปรปรวนไปแล้ว

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว.

ว่าด้วยผัสสะ

[๓๙๓] ชื่อว่า ผัสสะ ในคำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย

ได้เเก่จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส

มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส ปฏิฆสัมผัส สัมผัสอันเกื้อกูลแก่สุขเวทนา

สัมผัสอันเกื้อกูลแก่ทุกขเวทนา สัมผัสอันเกื้อกูลแก่อทุกขมสุขเวทนา ผัสสะ

อันเป็นกุศล ผัสสะอันเป็นอกุศล ผัสสะอันเป็นอัพยากตะ ผัสสะอันเป็น

กามาวจร ผัสสะอันเป็นรูปาวจร ผัสสะอันเป็นอรูปาวจร ผัสสะอันเป็น

สุญญตะ ผัสสะอันเป็นอนิมิตตะ ผัสสะอันเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะอันเป็น

โลกิยะ ผัสสะอันเป็นโลกุตระ ผัสสะอันเป็นอดีต ผัสสะอันเป็นอนาคต

ผัสสะอันเป็นปัจจุบัน ผัสสะความถูกต้อง กิริยาที่ถูกต้อง ความเป็นแห่ง

ความถูกต้องเห็นปานนี้ นี้ชื่อว่าผัสสะ. คำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย

ความว่า บุคคลเห็นจักษุสัมผัสว่า เป็นของว่างจากความเป็นคนบ้าง จาก

ธรรมที่เนื่องในตนบ้าง จากความเที่ยงบ้าง จากความยั่งยืนบ้าง จาก

ความเป็นของเที่ยงบ้าง จากธรรมที่ไม่แปรปรวนบ้าง เห็นโสตสัมผัส

เห็นฆานสัมผัส เห็นชิวหาสัมผัส เห็นกายสัมผัส เห็นมโนสัมผัส เห็น

อธิวจนสัมผัส เห็นปฏิฆสัมผัส เห็นสัมผัสอันเกื้อกูลแก่สุขเวทนา เห็น

สัมผัสอันเกื้อกูลแก่ทุกขเวทนา เห็นสัมผัสอันเกื้อกูลแก่อทุกขมสุขเวทนา

เห็นผัสสะอันเป็นกุศล เห็นผัสสะอันเป็นอกุศล เห็นผัสสะอันเป็นอัพยา-

กตะ เห็นผัสสะอันเป็นกามาวจร เห็นผัสสะอันเป็นรูปาวจร เห็นผัสสะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 19

อันเป็นอรูปาวจร เห็นผัสสะอันเป็นสุญญตะ เห็นผัสสะอันเป็นอนิมิตตะ

เห็นผัสสะอันเป็นอัปปณิหิตะ เห็นผัสสะอันเป็นโลกิยะ เห็นผัสสะอันเป็น

โลกุตระว่า เป็นของว่างจากความเป็นคนบ้าง จากธรรมที่เนื่องในตนบ้าง

จากความเที่ยงบ้าง จากความยั่งยืนบ้าง จากความเป็นของเที่ยงบ้าง จาก

ธรรมที่ไม่แปรปรวนบ้าง.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมเห็นผัสสะอันเป็นอดีตว่า เป็นของว่าง

จากผัสสะอันเป็นอนาคตและผัสสะอันเป็นปัจจุบัน เห็นผัสสะอันเป็น

อนาคตว่า เป็นของว่างจากผัสสะอันเป็นอดีตและผัสสะอันเป็นปัจจุบัน

เห็นผัสสะอันเป็นปัจจุบันว่า เป็นของว่างจากผัสสะอันเป็นอดีตและผัสสะ

อันเป็นอนาคต.

อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะเหล่าใด เป็นอริยะ ไม่มีอาสนะเป็นโลกุตระ

อันปฏิสังยุตด้วยสุญญตผัสสะ บุคคลย่อมเห็นผัสสะเหล่านั้นว่า เป็นของ

ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่

ความดีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความ

กระด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความ

ประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความ

เร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย.

[๓๙๔] คำว่า และไม่ถูกนำไปในเพราะทิฏฐิทั้งหลาย ความว่า

ทิฏฐิ ๖๒ อันบุคคลนั้นละ ตักขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิด

ขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลอันทิฏฐิย่อมไม่นำไป ไม่นำออกไป

ไม่ลอยไป ไม่เลื่อนไป และบุคคลนั้นไม่กลับถึง ไม่กลับมาสู่ทิฏฐินั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 20

โดยความเป็นแก่นสาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ถูกนำไปในเพราะ

ทิฏฐิทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต ไม่

เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย

และไม่ถูกนำไปเพราะทิฏฐิทั้งหลาย.

[๓๙๕] บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน

ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจและไม่ประกอบ

ในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด.

ว่าด้วยผู้หลีกเร้น

[๓๙๖] คำว่า เป็นผู้หลีกเร้น ในคำว่า บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น

ไม่หลอกลวง ความว่า เพราะละเสียแล้วซึ่งราคะ โทสะ โมหะ ความ

โกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง จึงชื่อว่า ผู้หลีกเร้น

สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็น

ผู้หลีกเร้นอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละ

ความถือตัวว่า เป็นเราแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาล

ยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้นอย่างนี้แล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เป็นผู้หลีกเร้น.

ว่าด้วยความหลอกลวง ๓ อย่าง

[๓๙๗] เรื่องความหลอกลวง ในคำว่า ไม่หลอกลวง มี ๓ อย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 21

คือเรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย ๑ เรื่องความ

หลอกลวงอาศัยอิริยาบถ ๑ เรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยการพูดเลียบ

เคียง ๑.

เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัยเป็นไฉน พวก

คฤหบดีในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขารภิกษุนั้นมีความปรารถนาลามกอันความปรารถนา

ครอบงำ มีความต้องการด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย

เภสัชบริขาร อาศัย ความเป็นผู้อยากได้มาก ย่อมบอกคืนจีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอย่อมพูดอย่างนี้ว่า ประโยชน์

อะไรแก่สมณะด้วยจีวรมีค่ามาก สมณะควรเที่ยวเลือกเก็บผ้าเก่าจากป่าช้า

กองหยากเยื่อ หรือร้านตลาด แล้วทำสังฆาฏิใช้ ข้อนั้นเป็นการสมควร

ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยบิณฑบาตอันมีค่ามาก สมณะควรสำเร็จความ

เป็นอยู่ด้วยก้อนข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง โดยความประพฤติแสวงหา ข้อนั้น

เป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยเสนาสนะมีค่ามาก สมณะ

ควรอยู่ที่โคนต้นไม้ อยู่ที่ป่าช้า หรืออยู่ในที่แจ้ง ข้อนั้นเป็นการสมควร

ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีค่ามาก สมณะพึง

ทำยาด้วยมูตรเน่าหรือชิ้นลูกสมอ ข้อนั้นเป็นการสมควร เธออาศัยความ

เป็นผู้อยากได้มากนั้น จึงทรงจีวรที่เศร้าหมอง ซ่องเสพเสนาสนะที่

เศร้าหมอง และฉันคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่เศร้าหมอง พวกคฤหบดี

เห็นภิกษุนั้นแล้ว ย่อมทราบอย่างนี้ว่า สมณะนี้มีความปรารถนาน้อย

เป็นผู้สันโดษสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความเพียร มีวาทะ

กำจัดกิเลส ก็ยิ่งนิมนต์เธอด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 22

เภสัชบริขาร เธอก็กล่าวอย่างนี้ว่า เพราะประจวบด้วยเหตุ ๓ ประการ

กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมประสบบุญมาก คือเพราะประจวบด้วยศรัทธา

กุลบุตรผู้มีศรัทธาก็ประสบบุญมาก เพราะประจวบด้วยไทยธรรม กุลบุตร

ผู้มีศรัทธาย่อมประสบบุญมาก เพราะประจวบด้วยพระทักขิไณยบุคคล

กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมประสบบุญมาก พวกท่านมีศรัทธานี้อยู่ มีไทยธรรม

นี้อยู่ ทั้งอาตมาก็เป็นปฏิคาหก ถ้าอาตมาจักไม่รับ พวกท่านก็จักเสื่อมจาก

บุญไป อาตมาไม่มีความต้องการด้วยปัจจัยนี้ แต่อาตมาจะรับด้วยความ

อนุเคราะห์พวกท่าน จำเดิมแต่นั้น เธอก็รับจีวรมาก รับบิณฑบาตมาก

รับเสนาสนะมาก รับคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมาก ความกำหน้าสยิ้ว

ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้

หลอกลวง เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยการ

ซ่องเสพปัจจัย.

เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถเป็นไฉน ภิกษุบางรูปใน

ธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ มีความ

ประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้

จึงสำรวมการเดิน สำรวมการนั่ง สำรวมการนอน ย่อมตั้งสติเดิน ตั้งสติ

ยืน ตั้งสตินั่ง ตั้งสตินอน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิยืน ทำเหมือนภิกษุมี

สมาธินั่ง ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินอน และทำเหมือนภิกษุที่เจริญอาปาถก-

ฌาน (เจริญฌานต่อหน้าพวกมนุษย์) การตั้งใจ ตั้งการดำรงอิริยาบถ

ความทำหน้าสยิ้ว ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ความหลอกลวง กิริยาที่

หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความ

หลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 23

เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยการพูดเลียบเคียงเป็นไฉน ภิกษุ

บางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ

มีความประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเราด้วยอุบาย

อย่างนี้ จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือพูดว่า สมณะใดทรงจีวรอย่างนี้

สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดทรงบาตรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก

สมณะใดทรงภาชนะโลหะ ทรงธมกรก ทรงผ้าสำหรับกรองน้ำ ถือลูก

กุญแจ สวมรองเท้า ใช้ประคดเอว ใช้สายโยกบาตรอย่างนี้ สมณะนั้น

มีศักดิ์มาก พูดว่า สมณะใดมีอุปัชฌากะอย่างนี้ มีอาจารย์อย่างนี้ มีพวก

ร่วมอุปัชฌายะอย่างนี้ มีพวกร่วมอาจารย์อย่างนี้ มีมิตรอย่างนี้ มีพวก

อย่างนี้ มีพวกที่คบกันมาอย่างนี้ มีสหายอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก

พูดว่า สมณะใดอยู่ในวิหารเช่นนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดอยู่ใน

เรือนมีหลังคาแถบเดียวอย่างนี้ อยู่ในปราสาทอย่างนี้ อยู่ในเรือนมีหลังคา

โล้นอย่างนี้ อยู่ในถ้ำอย่างนี้ อยู่ในที่หลีกเร้นอย่างนี้ อยู่ในกุฎีอย่างนี้

อยู่ในเรือนยอดอย่างนี้ อยู่ในป้อมอย่างนี้ อยู่ในโรงกลมอย่างนี้ อยู่ใน

เรือนที่พักอย่างนี้ อยู่ในศาลาที่ประชุมอย่างนี้ อยู่ในมณฑปอย่างนี้ อยู่ที่

โคนต้นไม้อย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีหน้า

บูดเบี้ยว ทำหน้าย่นยู่ยี่ หลอกลวง ปลิ้นปล้อน ตลบตะแลง อันผู้อื่น

สรรเสริญด้วยความที่คนวางหน้าว่า สมณะนี้ได้วิหารสมาบัติ อันมีอยู่เห็น

ปานนี้ ภิกษุนั้นย่อมกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น อันปฏิสังยุตด้วยโลกุตรธรรมและ

นิพพานอันลึกลับ สุขุม ละเอียด ปิดบัง ความทำหน้าสยิ้ว ความเป็นผู้มี

หน้าสยิ้ว ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็น

ปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยการพูดเลียบเคียง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 24

เรื่องความหลอกลวง ๓ อย่างนี้ อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับ

แล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า

ผู้ไม่หลอกลวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้หลีกเร้นไม่หลอกลวง.

[๓๙๘] ตัณหา เรียกว่า ความทะเยอทะยาน ในคำว่า ผู้ไม่

ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่ ได้แก่ ความกำหนัด ฯลฯ อภิชฌา โลภะ

อกุศลมูล ความทะเยอทะยานนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับ

แล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า

ผู้ไม่ทะเยอทะยาน ไม่อยากได้ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่ชอบใจรูป

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล หมู่คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ

สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ

อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญา-

นาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต

ปัจจุบัน รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบและธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง

เพราฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน.

ว่าด้วยความคะนอง ๓ อย่าง

คำว่า ผู้ไม่ตระหนี่ ความว่า ความตระหนี่ ๕ อย่าง คือความ

ตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่

วรรณะ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑ ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ความ

เป็นผู้ตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่าง ๆ ความเหนียวแน่น ความเป็น

ผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใคร ๆ ไม่เชื่อถือได้ในการให้

เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 25

อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความ

ตระหนี่อายตนะก็ดี นี่เรียกว่าความตระหนี่ ความมุ่งจะเอาก็เรียกว่าความ

ตระหนี่ ความตระหนี่นั้นอันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำ

ไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่

ตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่.

ว่าด้วยความคะนอง ๓ อย่าง

[๓๙๙] ชื่อว่า ความคะนอง ในคำว่า ผู้ไม่คะนอง ไม่เป็นที่

รังเกียจ ได้แก่ ความคะนอง ๓ อย่าง คือความคะนองทางกาย ๑ ความ

คะนองทางวาจา ๑ ความคะนองทางจิต ๑.

ความคะนองทางกายเป็นไฉน ? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้อยู่ใน

สงฆ์ก็ดี อยู่ในคณะก็ดี อยู่ในโรงฉันก็ดี อยู่ในเรือนไฟก็ดี อยู่ที่ท่าน้ำ

ก็ดี กำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้านก็ดี เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วก็ดี ก็แสดง

ความคะนองทางกาย.

ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางกายอย่างไร ? ภิกษุบางรูป

ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในสงฆ์ ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียดพวกภิกษุที่เป็น

เถระบ้าง นั่งเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้า

บ้าง นั่งบนอาสนะที่สูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง ยืนตัวแข็ง (ไม่ก้ม)

พูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางกาย

อย่างนี้.

ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางกายอย่างไร ? ภิกษุบางรูป

ในธรรมวินัย อยู่ในคณะ ไม่ทำความยำเกรง เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 26

ไม่สวมรองเท้าเดินอยู่ ก็สวมรองเท้าเดินไป เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระเดิน

อยู่ในที่จงกรมต่ำ ก็เดินในที่จงกรมสูง เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระเดินอยู่

บนแผ่นดิน ก็เดินในที่จงกรม ยืนเบียดบ้าง นั่งเบียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง

นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะที่สูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง ยืนตัวแข็ง

พูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางกาย

อย่างนี้.

ภิกษุอยู่ในโรงฉันแสดงความคะนองทางกายอย่างไร ? ภิกษุบางรูป

ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในโรงฉัน ไม่ทำความยำเกรง นั่งแทรกแซงพวก

ภิกษุบางรูปที่เป็นเถระบ้าง นั่งกีดกันอาสนะพวกภิกษุที่เป็นนวกะบ้าง

ยืนเบียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะที่สูงบ้าง

นั่งคลุมศีรษะคนบ้าง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ใน

โรงฉันแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้.

ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกายอย่างไร ? ภิกษุบาง

รูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในเรือนไฟ ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียดพวกภิกษุ

ที่เป็นเถระบ้าง นั่งเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบัง

หน้าบ้าง นั่งบนอาสนะที่สูงบ้าง ไม่บอกก่อนแล้วใส่ฟืนบ้าง ไม่บอก

ก่อนแล้วปิดประตูบ้าง ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกาย

อย่างนี้.

ภิกษุอยู่ที่ท่าน้ำแสดงความคะนองทางกายอย่างไร ? ภิกษุบางรูป

ในธรรมวินัยนี้ อยู่ที่ท่าน้ำ ไม่ทำความยำเกรง ลงเบียดพวกภิกษุที่เป็น

เถระบ้าง ลงข้างหน้าบ้าง อาบเบียดบ้าง อาบข้างหน้าบ้าง อาบเหนือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 27

น้ำบ้าง ขึ้นเบียดบ้าง ขึ้นข้างหน้าบ้าง ขึ้นข้างเหนือหน้าบ้าง ภิกษุอยู่ที่ท่า

น้ำ แสดงความคะนองทางกายอย่างนี้.

ภิกษุกำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้านแสดงความคะนองทางกายอย่างไร ?

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ กำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน ไม่ทำความยำเกรง

เดินเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง เดินข้างหน้าบ้าง เดินขึ้นหน้าพวกภิกษุ

ที่เป็นเถระบ้าง ภิกษุกำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้านแสดงความคะนองทางกาย

อย่างนี้.

ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว แสดงความคะนองทางกายอย่างไร ?

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว เมื่อเขาไม่บอกว่าเข้า

ไปเถิดพระคุณเจ้า ก็เข้าไป เมื่อเขาไม่บอกว่า ยืนเถิดพระเจ้าข้า ก็ยืน

เมื่อเขาไม่บอกว่า นั่งเถิดพระคุณเจ้า ก็นั่ง เข้าไปสู่ที่เป็นโอกาสไม่ควร

บ้าง ยืนในที่เป็นโอกาสไม่ควรบ้าง นั่งในที่เป็นโอกาสไม่ควรบ้าง

ผลุนผลันเข้าไปในห้องเล็กลับปิดบังของสกุล อันเป็นที่นั่งอยู่แห่งหญิง

ของสกุล ธิดาของสกุล สะใภ้ของสกุล กุมารีของสกุลบ้าง จับศีรษะ

เด็กบ้าง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้

นี้ชื่อว่าความคะนองทางกาย.

ความคะนองทางวาจาเป็นไฉน ? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่

ในสงฆ์ก็ดี อยู่ในคณะก็ดี เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วก็ดี ย่อมแสดงความ

คะนองทางวาจา.

ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร ? ภิกษุบางรูป

ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในสงฆ์ ไม่ทำความยำเกรง ไม่บอกพวกภิกษุที่เป็น

เถระก่อน หรืออันพวกภิกษุที่เป็นเถระไม่เชื้อเชิญ ก็แสดงธรรมแก่ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 28

ทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แก้ปัญหาเอง สวดปาติโมกข์เอง ยืนตัวแข็งพูด

บ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางวาจา

อย่างนี้.

ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร ? ภิกษุบางรูป

ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในคณะไม่ทำความยำเกรง ไม่บอกแก่พวกภิกษุที่เป็น

เถระก่อน หรืออันพวกภิกษุที่เป็นเถระไม่เชื้อเชิญ ก็แสดงธรรมแก่ภิกษุ

ทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แก้ปัญหาเอง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง แกว่งแขนพูด

บ้าง แสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แสดงธรรมแก่อุบาสก

ทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายที่อยู่ในอาราม

แก้ปัญหาเอง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในคณะ

แสดงความคะนองทางวาจาอย่างนี้.

ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร ?

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วพูดกะสตรีบ้าง กุมารี

บ้าง พูดฟุ้งไปว่า ดูก่อนหญิงมีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ สิ่งอะไรมีอยู่

ยาคูมีไหม ภัตมีไหม ของควรเคี้ยวมีไหม พวกเราจะดื่มอะไร จะฉันอะไร

จะเคี้ยวอะไร สิ่งอะไรมีหรือ หรือท่านทั้งหลายจะให้อะไรแก่เรา ภิกษุ

เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางวาจาอย่างนี้ นี้ชื่อว่าความ

คะนองทางวาจา.

ความคะนองทางจิตเป็นไฉน ? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มิใช่

เป็นผู้ออกบวชจากสกุลสูง ก็มีจิตวางคนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 29

สกุลสูง มิใช่เป็นผู้ออกบวชจากสกุลใหญ่ ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุ

ที่ออกบวชจากสกุลใหญ่ มิใช่เป็นผู้ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมาก

ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมาก มิใช่เป็น

ผู้ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่ ก็มีจิตวางคนเหมือนกับภิกษุที่ออก

บวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่ มิใช่เป็นผู้ทรงจำพระสูตร ก็มีจิต

วางตนเหมือนกับภิกษุผู้ทรงจำพระสูตร มิใช่เป็นผู้ทรงจำพระวินัย...มิใช่

เป็นพระธรรมกถึก . . . มิใช่เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร . . . มิใช่เป็นผู้ถือเที่ยว

บิณฑบาตเป็นวัตร . . . มิใช่เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร. . .มิใช่เป็นผู้

ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร . . . มิใช่เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอก

เป็นวัตร . . . มิใช่เป็นผู้ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตร . . . มิใช่เป็นผู้ถือไม่

นอนเป็นวัตร . . . มิใช่เป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร

...มิใช่เป็นผู้ได้ปฐมฌาน ฯลฯ มิใช่เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน-

สมาบัติ ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ

นี้ชื่อว่าความคะนองทางจิต.

ความคะนอง ๓ ประการนี้ บุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว

ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่

คะนอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่คะนอง.

ว่าด้วยผู้น่ารังเกียจและไม่น่ารังเกียจ

[๔๐๐] คำว่า ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ ความว่า บุคคลผู้เป็นที่

รังเกียจก็มี ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจก็มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 30

ก็บุคคลผู้เป็นที่รังเกียจเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น

คนทุศีล มีบาปธรรม มีความประพฤติอันไม่สะอาดที่พึงระลึกด้วยความ

ระแวง มีการงานอันปกปิด ไม่ใช่สมณะ ก็ปฏิญาณว่าคนเป็นสมณะ

มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ก็ปฏิญาณว่าเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็น

ผู้มีความเน่าอยู่ ณ ภายใน มีจิตชุ่มอยู่ด้วยราคะ เป็นดังว่าหยากเยื่อ บุคคล

นี้เรียกว่า เป็นที่รังเกียจ.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้มักโกรธ มีความแค้นเคืองมาก ถูกใครว่า

เข้าแต่น้อย ก็ขัดใจ โกรธเคือง มุ่งร้าย ปองร้าย ทำความโกรธ ความ

เคือง ความไม่ยินดีให้ปรากฏ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นที่รังเกียจ.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่ ตีเสมอ ริษยา

ตระหนี่ โอ้อวด มีมารยา เป็นผู้กระด้าง ถือตัวจัด มีความปรารถนา

ลามก มีความเห็นผิด มีความถือทิฏฐิของตน มีความถือรั้น มีความสละ

คืนยาก บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นที่รังเกียจ.

ก็บุคคลผู้ไม่เป็นที่รังเกียจเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้

มีศีลสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรเห็นภัยใน

โทษทั้งหลาย มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาทั้งหลาย บุคคล

นี้เรียกว่า ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่มีความแค้นเคืองมาก

แม้อันใคร ๆ ว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่มุ่งร้าย ไม่ปองร้าย

ไม่ทำความโกรธ ความเคือง ความไม่ยินดีให้ปรากฏ บุคคลนี้เรียกว่า

ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 31

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเป็นผู้ไม่ถือโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่

ไม่ตีเสมอ ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่กระด้าง

ไม่ถือตัวจัด ไม่มีความปรารถนาลามก ไม่มีความเห็นผิด ไม่ถือทิฏฐิ

ของตน ไม่มีความถือรั้น มีความสละคืนง่าย บุคคลนี้เรียกว่าผู้ไม่เป็นที่

รังเกียจ อริยบุคคลทั้งหมดรวมทั้งกัลยาณปุถุชน เรียกว่าผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจ.

ว่าด้วยผู้ส่อเสียด

[๔๐๑] ชื่อว่า ความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด ในคำว่า และไม่

ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้

บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากข้างนี้แล้วไปบอก

ข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อ

ทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่

แตกกันแล้วบ้าง ชอบผู้ที่เป็นก๊กกัน ยินดีผู้ที่เป็นก๊กกัน เพลินผู้ที่เป็น

ก๊กกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำให้เป็นก๊กกัน นี้เรียกว่าความเป็นผู้มีคำ

ส่อเสียด อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ

คือด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รัก ๑ มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน ๑.

บุคคลนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร ? บุคคล

นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า เราจักเป็นที่รัก

เป็นที่ชอบใจ เป็นผู้สนิท เป็นภายใน เป็นที่ดีใจ ของบุคคลนี้ บุคคล

นำคำส่อเสียดเข้าไป ด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 32

บุคคลเป็นผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้พึง

เป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกันเป็นสองเหล่า สองพวก สองฝ่า อย่างไร

คนเหล่านั้นพึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก บุคคลมี

ความประสงค์ให้เขาแตกกัน นำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างนี้.

คำส่อเสียดนี้ บุคคลใด ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้

ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นไม่ประกอบ ไม่ประกอบ

ทั่ว ไม่มาประกอบ ไม่มาประกอบพร้อม ในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน

ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจ และไม่ประกอบ

ในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด.

[๔๐๒] บุคคลผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี ไม่ประกอบ

ในความถือตัวจัด ผู้ละเอียด มีปฏิภาณไม่เชื่อใคร ๆ

และไม่คลายกำหนัด.

ว่าด้วยกามคุณ

[๔๐๓] กามคุณ ๕ เรียกว่าวัตถุเป็นที่ยินดี ในคำว่า บุคคลผู้ไม่

มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี เพราะเหตุว่า เทวดาและมนุษย์ย่อมอยาก

ได้ ยินดี ปรารถนา รักใคร่ พอใจกามคุณ ๕ โดยส่วนมาก เพราะ-

เหตุนั้น กามคุณ ๕ จึงเรียกว่าวัตถุเป็นที่ยินดี. ความยินดี คือความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 33

ปรารถนานั้น อันชนเหล่าใดยังละไม่ได้แล้ว ชนเหล่านั้นก็มีรูปตัณหา

ไหลหลั่ง เลื่อนไหล เป็นไปในทางจักษุ มีสัททตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล

เป็นไปทางหู มีคันธตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางจมูก มีรส-

ตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางลิ้น มีโผฏฐัพพตัณหาหลั่งไหล

เลื่อนไหล เป็นไปทางกาย มีธรรมตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไป

ทางใจ ความยินดี คือความปรารถนานั้น อันชนเหล่าใดละ ตัดขาด

สงบระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ชน

เหล่านั้นก็ไม่มีรูปตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางจักษุ ไม่มีสัทท-

ตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางหู ไม่มีคันธตัณหาหลั่งไหล เลื่อน-

ไหล เป็นไปทางจมูก ไม่มีรสตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางลิ้น

ไม่มีโผฏฐัพพตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางกาย ไม่มีธรรม-

ตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่มี

ความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี.

ว่าด้วยความดูหมิ่น

[๔๐๔] คำว่า ไม่ประกอบในความดูหมิ่น ความว่า ความดูหมิ่น

เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่นโดยชาติบ้าง โดย

โคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ความถือตัว กิริยาที่ถือ

ตัว ความกำเริบขึ้น ความฟูขึ้น ความถือตัวดังว่าธงชัย ความยกย่องตน

ความที่จิตใคร่เป็นดังว่าธงยอดเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความดูหมิ่นนั้น อัน

บุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว

ด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นไม่ประกอบ ไม่ประกอบทั่ว ไม่มาประกอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 34

ไม่มาประกอบพร้อม ในความดูหมิ่น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่ประกอบ

ในความดูหมิ่น.

[๔๐๕] คำว่า ผู้ละเอียด มีปฏิภาณ ความว่า ชื่อว่าผู้ละเอียด

เพราะประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม สติปัฏฐาน สัมมัปป-

ธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ ๘ อันละเอียด

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ละเอียด.

ผู้มีปฏิภาณ ๓ จำพวก

[๔๐๖] คำว่า มีปฏิภาณ ความว่า บุคคลมีปฏิภาณ ๓ จำพวก

คือ บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริยัติ ๑ บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา ๑

บุคคลมีปฏิภาณเพราะอธิคม ๑.

บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริยัติเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในพระ-

ศาสนานี้ เล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา

อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ญาณของบุคคลนั้น

ย่อมแจ่มแจ้งเพราะอาศัยปริยัติ บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ.

บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริปุจฉาเป็นไฉน ? บุคคลบางตนในพระ-

ศาสนานี้ เป็นผู้ไต่ถามในประโยชน์ของตน ในประโยชน์ที่ควรรู้ ใน

ลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ ญาณของบุคคลนั้นย่อมแจ่มแจ้ง

เพราะอาศัยการไต่ถามนั้น บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา.

บุคคลมีปฏิภาณเพราะอธิคมเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในพระ-

ศาสนานี้เป็นผู้ได้บรรลุธรรมทั้งหลาย คือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔

อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ บุคคลนั้นรู้อรรถ รู้ธรรม

รู้นิรุตติ เมื่อรู้อรรถ อรรถก็แจ่มแจ้ง เมื่อรู้ธรรม ธรรมก็แจ่มแจ้ง เมื่อ

รู้นิรุตติ นิรุตติก็แจ่มแจ้ง ญาณในอรรถ ธรรมและนิรุตติ ทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่า

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา บุคคลใดเข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม

เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบแล้ว ด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทาน บุคคล

ใดไม่มีประยัติ ไม่มีปริปุจฉา ไม่มีอธิคม ญาณอะไรเล่าจะแจ่มแจ้งแก่

บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ละเอียดมีปฏิภาณ.

ว่าด้วยรู้ธรรมแล้วไม่ต้องเชื่อใครอีก

[๔๐๗] คำว่า ไม่เชื่อใคร ๆ ในคำว่า ไม่เชื่อใคร ๆ ไม่คลาย

กำหนัด ความว่า ภิกษุนั้นย่อมไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์

แก่ตนเองต่อใคร ๆ อื่น ซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือ

พรหม คือไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์แก่ตนเองว่า สังขาร

ทั้งปวงไม่เที่ยง . . .สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ . . .ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา...

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมี

ชรามรณะ.. . . เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ฯลฯ เพราะชาติดับ ชรา

มรณะจึงดับ . . .นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหล่านั้น

อาสวะ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ . . .ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง

ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ต่อใคร ๆ อื่นซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์

เทวดา มาร หรือพรหม และไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์

แก่ตนเอง คือความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบายเครื่องสลัดออกไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 36

แห่งผัสสายตนะ ๖ และความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบายเครื่อง

สลัดออกไป แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ และความเกิด ความดับ คุณ โทษ

อุบายเครื่องสลัดออกไป แห่งมหาภูตรูป ๔ ต่อใคร ๆ อื่นซึ่งเป็นสมณะ

พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม และไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง

อันประจักษ์แก่ตนเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้น

ทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา ต่อใคร ๆ อื่นซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์

เทวดา มาร หรือพรหม.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร เธอย่อมเชื่อ

หรือว่า สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมชาติ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ

เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ ข้าพระองค์ไม่ถึงความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคล

เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมชาติ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น

เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น

ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้ว ด้วย

ปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนอื่นในข้อนั้นโดยแน่นอนว่า

สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญเล้ว ทำให้มากแล้ว เป็น

คุณชาติ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ส่วนว่า สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ชนเหล่าใดรู้เห็น ทราบ

ทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น ไม่มีความเคลือบแคลง

สงสัยในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์...ปัญญินทรีย์...ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 37

มากแล้ว เป็นคุณชาติ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ

เป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ข้าพระองค์รู้

เห็น ทราบ ทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ข้าพระองค์ไม่มีความ

เคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์. . .ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญ

แล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า

มีอมตะเป็นที่สุด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ถูกละ ๆ

ดูก่อนสารีบุตร ความจริง สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ชนเหล่าใด ยังไม่รู้

ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น

พึงถึงความเชื่อต่อชนอื่นในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์

ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นคุณชาติ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ

เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง

แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

นรชนใด เป็นผู้ไม่เชื่อใคร ๆ รู้ว่านิพพาน อันปัจจัย

อะไร ๆ ทำไม่ได้ ตัดที่ต่อ กำจัดโอกาส คลายความหวัง

เสียแล้ว นรชนนั้นแล ชื่อว่าเป็นอุดมบุรุษ ดังนี้.

ว่าด้วยผู้ไม่คลายกำหนัด

คำว่า ไม่คลายกำหนัด ความว่า พาลปุถุชนทั้งหมดย่อมกำหนัด

พระเสขะ ๗ จำพวก รวมทั้งกัลยาณปุถุชน ย่อมคลายกำหนัด พระอรหันต์

ย่อมไม่กำหนัด ทั้งไม่คลายกำหนัด พระอรหันต์นั้น ชื่อว่าเป็นผู้เว้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 38

เพราะสิ้นราคะ ปราศจากราคะ สิ้นโทสะ ปราศจากโทสะ สิ้นโมหะ

ปราศจากโมหะ พระอรหันต์นั้น อยู่จบพรหมจรรย์ มีจรณะอันประพฤติ

แล้ว ฯลฯ ไม่มีภพใหม่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เธอใคร ๆ ไม่คลาย

กำหนัด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี ไม่ประกอบ

ในความดูหมิ่น ผู้ละเอียด มีปฏิภาณ ไม่เชื่อใคร ๆ

และไม่คลายกำหนัด.

[๔๐๘] บุคคลไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธ เพราะ

ไม่ได้ลาภ เป็นผู้ไม่พิโรธ และไม่ติดใจในรส เพราะ

ตัณหา.

ว่าด้วยศึกษาเพราะอยากได้ลาภ

[๔๐๙] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ไม่พึงศึกษาเพราะอยากได้ลาภ

ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ ดังต่อไปนี้ บุคคลย่อมศึกษาเพราะอยากได้

ลาภอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นภิกษุผู้ได้

จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอมีความดำริ

อย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไร

หนอ ท่านผู้นี้เป็นผู้ทรงจำพระสูตร ด้วยเหตุนั้น ท่านผู้นี้จึงได้จีวร

บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอหวังได้ลาภก็เล่าเรียน

พระสูตร เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยเเห่งลาภ เพราะการณะแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 39

ลาภ เพราะความเกิดขึ้นแห่งลาภ ภิกษุย่อมศึกษาเพราะอยากได้ลาภ แม้

อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นภิกษุผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ

ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอ

มีความดำริอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ทรงจำพระวินัย ฯลฯ ท่านผู้นี้เป็นผู้

ทรงจำพระอภิธรรม ด้วยเหตุนั้น ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอหวังได้ลาภ ก็เล่าเรียนพระอภิธรรม

เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณะแห่งลาภ และ

เพราะความเกิดขึ้นแห่งลาภ ภิกษุย่อมศึกษาเพราะอยากได้ลาภ แม้

อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นภิกษุผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ

ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอ

มีความดำริอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยว

บิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร ถือ

การเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตร

ถือการนั่งเป็นวัตร ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร

ด้วยเหตุนั้น ท่านผู้นี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย

เภสัชบริขาร เธอหวังได้ลาภ ก็เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ฯลฯ เป็น

ผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร เพราะเหตุแห่งลาภ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 40

เพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณะแห่งลาภ และเพราะความเกิดขึ้นแห่ง

ลาภ ภิกษุย่อมศึกษาเพราะความอยากได้ลาภ แม้อย่างนี้.

ภิกษุไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภอย่างไร ? ภิกษุย่อมไม่ศึกษา

เพราะเหตุแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะปัจจัยแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะการณะ

แห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะความเกิดขึ้นแห่งลาภ ไม่หวังได้ลาภ ย่อม

เล่าเรียนพระสูตร ย่อมเล่าเรียนพระวินัย ย่อมเล่าเรียนพระอภิธรรม

เพื่อประโยชน์ฝึกตน เพื่อสงบตน เพื่อให้ตนปรินิพพาน อย่างเดียว

เท่านั้น ภิกษุไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ แม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุไม่ศึกษาเพราะเหตุแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะ

ปัจจัยแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะการณะแห่งลาภ ไม่ศึกษาเพราะความเกิด

ขึ้นแห่งลาภ ไม่หวังได้ลาภ ย่อมเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยว

บิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้าบังสกุลเป็นวัตร ถือทรงผ้าไตรจีวรเป็นวัตร

ถือการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็น

วัตร ถือการนั่งเป็นวัตร ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็น

วัตร เพราะอาศัยความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลากิเลส

ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยกุศลนี้แต่อย่างเดียวเท่านั้น

ภิกษุไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ แม้อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่

ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ.

ว่าด้วยโกรธเพราะไม่ได้ลาภ

[๘๑๐] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ ดัง

ต่อไปนี้ บุคคลย่อมโกรธเพราะไม่ได้ลาภอย่างไร ? ภิกษุบางรูปในธรรม-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 41

วินัยนี้ ยังโกรธ ขัดเคือง แค้นใจ ทำความโกรธ ความขัดเคืองและ

ความไม่ยินดีให้ปรากฏว่า เราย่อมไม่ได้สกุล ไม่ได้คณะ ไม่ได้ลาภ ไม่ได้

ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ

ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้บุคคลเป็นคิลานุปัฏฐาก เราเป็นผู้มี

ชื่อเสียงไม่ปรากฏ บุคคลย่อมโกรธ เพราะไม่ได้ลาภอย่างนี้.

บุคคลย่อมไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภอย่างไร ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมไม่โกรธ ไม่ขัดเคือง ไม่แค้นใจ ไม่ทำความโกรธ ความขัดเคือง

และความไม่ยินดีให้ปรากฏว่า เราย่อมไม่ได้สกุล ไม่ได้คณะ ไม่ได้อาวาส

ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้จีวร ไม่ได้บิณฑบาตไม่ได้

เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้บุคคลเป็นคิลานุปัฏฐาก

เราเป็นผู้ไม่มีชื่อเสียงปรากฏ บุคคลย่อมไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภอย่างนี้

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธเพราะ

ไม่ได้ลาภ.

ว่าด้วยความพิโรธ

[๔๑๑] คำว่า ความพิโรธ ในคำว่า เป็นผู้ไม่พิโรธ และไม่

ติดใจในรสเพราะตัณหา ดังนี้ ได้แก่ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความ

ขุ่นเคือง ความเคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความชัง

ทั่ว ความชังเสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ ความ

โกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็น

ผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 42

ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ประทุษร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่

แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ความพิโรธ ความพิโรธนั้น อันบุคคลใด

ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว

ด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่พิโรธ. ชื่อว่าตัณหา ได้แก่

รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรม-

ตัณหา. ชื่อว่ารส ได้แก่ รสที่ราก รสที่ลำต้น รสที่เปลือก รสที่ใบ

รสที่ดอก รสที่ผล รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ดร้อน รสเค็ม

รสปร่า รสเฝื่อน รสฝาด รสอร่อย รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน.

มีสมณพราหมณ์บางพวกติดใจในรส สมณพราหมณ์พวกนั้น เที่ยวแสวง

หารสอันเลิศ ด้วยปลายลิ้น ได้รสเปรี้ยวก็แสวงหารสไม่เปรี้ยว ได้รส

ไม่เปรี้ยวก็แสวงหารสเปรี้ยว ได้รสหวานก็แสวงหารสไม่หวาน ได้รส

ไม่หวานก็แสวงหารสหวาน ได้รสขมก็แสวงหารสไม่ขม ได้รสไม่ขมก็

แสวงหารสขม ได้รสเผ็ดร้อนก็แสวงหารสไม่เผ็ดร้อน ได้รสไม่เผ็ดร้อน

ก็แสวงหารสเผ็ดร้อน ได้รสเค็มก็แสวงหารสไม่เค็ม ได้รสไม่เค็มก็

แสวงหารสเค็ม ได้รสปร่าก็แสวงหารสไม่ปร่า ได้รสไม่ปร่าก็แสวงหา

รสปร่า ได้รสเฝื่อนก็แสวงหารสฝาด ได้รสฝาดก็แสวงหารสเฝื่อน ได้

รสอร่อยก็แสวงหารสไม่อร่อย ได้รสไม่อร่อยก็แสวงหารสอร่อย ได้

รสเย็นก็แสวงหารสร้อน ได้รสร้อนก็แสวงหารสเย็น สมณพราหมณ์

พวกนั้นได้รสใด ๆ แล้ว ย่อมไม่ยินดีด้วยรสนั้น ๆ ย่อมแสวงหารสอื่นๆ

อีก เป็นผู้กำหนัด ปรารถนา ยินดี ติดใจ ลุ่มหลง ข้องเกี่ยว

พัวพัน ในรสที่ชอบใจ. ตัณหาในรส อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 43

ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น

พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ย่อมฉันอาหาร ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อ

เมา ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ไม่ฉันเพื่อประดับ ฉันเพื่อความดำรงร่างกาย

นี้ เพื่อให้ร่างกายนี้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่

พรหมจรรย์อย่างเดียวเท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจะบำบัดเวทนาเก่า

เสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไป ความเป็นผู้ไม่มีโทษ

ความอยู่สบายของเรา จักมีด้วยอุบายดังนี้ คนทาแผลเพื่อจะบ่มผิว

คนหยอดน้ำมันเพลาเกวียนเพื่อจะขนภาระ คนกินเนื้อบุตรเป็นอาหาร

เพื่อจะออกจากทางกันดารอย่างเดียวเท่านั้นฉันใด ภิกษุพิจารณาด้วย

ปัญญาแล้วพึงฉันอาหารก็ฉันนั้น ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อเมา ไม่

ฉันเพื่อตกแต่ง ไม่ฉันเพื่อประดับ ฉันเพื่อความดำรงกายนี้ เพื่อให้

ร่างกายนี้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์

อย่างเดียวเท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้

เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไป ความเป็นผู้ไม่มีโทษ ความอยู่

สบายของเรา จักมีด้วยอุบายดังนี้ ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นซึ่งรส

ตัณหา ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง เป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก

สลัด พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วยรสตัณหา เป็นผู้มีจิตปราศจากเขต

แดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่พิโรธและไม่ติดใจ ในรส

เพราะตัณหา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธ เพราะ

ไม่ได้ลาภ เป็นผู้ไม่พิโรธ และไม่ติดใจในรส เพราะ

ตัณหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 44

[๔๑๒] บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญ

ว่าเสมอเขา ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่า

เขาในโลก กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อมไม่มีแก่บุคคล

นั้น.

ว่าด้วยอุเบกขามีองค์ ๖

[๔๑๓] คำว่า มีอุเบกขา ในคำว่า บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มี

สติทุกเมื่อ ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ กล่าวคือ

เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่

ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้อง

โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ

วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ เห็นรูปที่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่

ติดใจ ไม่ยินดี ไม่ให้ราคะเกิด กายของบุคคลนั้นตั้งอยู่ (ไม่หวั่นไหว)

จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว. อนึ่ง เห็นรูปที่ไม่

ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท

กายของบุคคลนั้น ตั้งอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษ

แล้ว ได้ยินเสียงที่ชอบใจด้วยหู สูดดมกลิ่นที่ชอบใจด้วยจมูก ลิ้มรส

ที่ชอบใจด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะที่ชอบใจด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์

ที่ชอบใจด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ติดใจ ไม่ยินดี ไม่ให้ราคะเกิด กายของ

บุคคลนั้น ตั้งอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว

รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่ชอบใจด้วยใจแล้ว ก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่

ไม่พยาบาท กายของบุคคลนั้นตั้งอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน

พ้นวิเศษดีแล้ว เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว กายของบุคคลนั้นตั้งเฉยอยู่ในรูปที่

ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งเฉยดำรงดีอยู่แล้ว ณ ภายใน พ้นวิเศษดีแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 45

ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ

ด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว กายของบุคคลนั้นตั้งเฉยอยู่ใน

ธรรมารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งเฉย ดำรงดีอยู่ ณ ภายใน

พ้นวิเศษดีแล้ว เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในอารมณ์เป็น

ที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง

ไม่หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่โกรธในอารมณ์เป็นที่ตั้ง

แห่งความโกรธ ไม่เศร้าหมองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง

ไม่มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดม

กลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้ง

ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความ

กำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่หลงใน

อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่โกรธในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ

ไม่เศร้าหมองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง ไม่มัวเมาใน

อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา บุคคลนั้นเป็นแต่เพียงเห็นในรูปที่เห็น

เป็นแต่เพียงได้ยินในเสียงที่ได้ยิน เป็นแต่เพียงทราบในกลิ่นรสโผฎ-

ฐัพพะที่ทราบ เป็นแต่เพียงรู้แจ้งในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ไม่คิดในรูป

ที่เห็น ไม่ติดในเสียงที่ได้ยิน ไม่ติดในกลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ทราบ

ไม่ติดในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ไม่มีตัณหา อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ไม่

พัวพัน พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องในรูปที่เห็น ย่อมมีจิตปราศจากแดนกิเลส

อยู่ ไม่มีตัณหา อันตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นขาด ไม่

เกี่ยวข้อง ในเสียงที่ได้ยิน ในกลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ทราบ ใน

ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ย่อมมีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ พระอรหันต์มีจักษุ

ปรากฏ ย่อมเห็นรูปด้วยจักษุ แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 46

ดีแล้ว มีหูปรากฏ ย่อมได้ยินเสียงด้วยหู แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิต

พ้นวิเศษดีแล้ว มีจมูกปรากฏ ย่อมสูดดมกลิ่นด้วยจมูก แต่มิได้มี

ฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว มีลิ้นปรากฏ ย่อมลิ้มรสด้วยลิ้น แต่

มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว มีกายปรากฏ ย่อมถูกต้อง

โผฏฐัพพะด้วยกาย แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว มีใจปรากฏ

ย่อมรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ แต่มิได้มีฉันทราคะ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว

จักษุเป็นธรรมชาติชอบรูป ยินดีในรูป ชื่นชมในรูป พระอรหันต์ฝึก

คุ้มครอง รักษา สำรวมจักษุ และย่อมแสดงธรรมเพื่อความสำรวม

จักษุนั้น หูเป็นธรรมชาติชอบเสียง จมูกเป็นธรรมชาติชอบกลีน ลิ้น

เป็นธรรมชาติชอบรส กายเป็นธรรมชาติชอบโผฏฐัพพะ ใจเป็น

ธรรมชาติชอบธรรมารมณ์ ยินดีในธรรมารมณ์ ชื่นชมในธรรมารมณ์

พระอรหันต์ฝึกคุ้มครอง รักษา สำรวมใจ และแสดงธรรมเพื่อความ

สำรวมใจนั้น

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ชนทั้งหลาย ย่อมนำพาหนะที่เขาฝึกแล้วไปสู่ที่

ประชุม พระราชาทรงขึ้นพาหนะที่เขาฝึกแล้ว บุคคล

ผู้ฝึกฝนแล้วอดกลั้นถ้อยคำที่ล่วงเกินได้ เป็นผู้ประเสริฐ

สุดในหมู่มนุษย์ ม้าอัสดร ม้าสินธพผู้อาชาไนย ช้าง

ใหญ่กุญชร ที่เขาฝึกแล้ว เป็นสัตว์ประเสริฐ บุคคล

ผู้ฝึกตนแล้ว ประเสริฐกว่าสัตว์เหล่านั้น ใคร ๆ ไม่พึง

ไปถึงนิพพาน อันเป็นทิศที่ไม่เคยไป ด้วยยานเหล่านั้น

เหมือนบุคคลผู้ฝึกแล้ว มีตนอันฝึกแล้ว ฝึกดีแล้ว ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 47

ไปถึงได้ พระอรหันต์ไม่หวั่นไหวในมานะทั้งหลาย เป็น

ผู้พ้นขาดแล้วจากภพใหม่ เป็นผู้บรรลุถึงแล้วซึ่งภูมิที่ฝึก

แล้ว พระอรหันต์เหล่านั้นเป็นผู้ชนะแล้วในโลก ผู้ใด

อบรมอินทรีย์ทั้งหลาย ในโลกทั้งปวง ทั้งในภายใน

ทั้งในภายนอก ผู้นั้นฝึกดีแล้ว ทราบโลกนี้และปรโลก

แล้ว รอคอยอยู่ซึ่งกาลมรณะ.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอุเบกขา.

คำว่า ทุกเมื่อ คือ ในกาลทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง ตลอด

นิตยกาล ตลอดกาลยั่งยืน ฯลฯ ในตอนวัยหลัง. คำว่า ผู้มีสติ คือ

เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ กล่าวคือ เมื่อเจริญกายานุปัสสนาสติ-

ปัฏฐานในกายก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในเวทนา

ทั้งหลายก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิตก็ชื่อว่ามีสติ

เมื่อเจริญธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานในธรรมทั้งหลายก็ชื่อว่ามีสติ ฯลฯ

บุคคลนั้นเรียกว่า มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ

ทุกเมื่อ.

ว่าด้วยมานะ

[๔๑๔] คำว่า ไม่สำคัญว่าเสมอเขา...ในโลก ความว่า ไม่ยัง

มานะให้เกิดโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่าง

หนึ่งบ้าง ว่าเราเสมอเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่สำคัญว่าเสมอเขา....

ในโลก.

๑. อรหัตผล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 48

[๔๑๕] คำว่า ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา

ความว่า ไม่ยังความดูหมิ่นให้เกิดขึ้นโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ

โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ว่า เราดีกว่าเขา ไม่ยังความถือตัวให้

เกิดขึ้นโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง

บ้าง ว่า เราเลวกว่าเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา

ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา.

ว่าด้วยกิเลสหนา ๗ ประการ

[๔๑๖] คำว่า นั้น ในคำว่า กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อมไม่มี

แก่บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. ชื่อว่ากิเลสอันหนาทั้งหลาย

คือกิเลสอันหนา ๗ ประการ กล่าวคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ

ทิฏฐิ กิเลส และกรรม กิเลสอันหนาเหล่านี้มิได้มี คือย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ

ไม่เข้าไปได้แก่บุคคลนั้น เป็นบาปธรรมอันบุคคลนั้นละ ตัดขาด สงบ

ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ ย่อมไม่สำคัญว่า

เสมอเขา ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่าเขา

ในโลก กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น.

[๔๑๗] ผู้ใดไม่มีความอาศัย รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ไม่มี

ตัณหาในภพหรือในความปราศจากภพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 49

ว่าด้วยความอาศัย

[๔๑๘] คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดไม่มีความอาศัย คือพระ-

อรหันตขีณาสพ. ชื่อว่า ความอาศัย ได้แก่ นิสัย ๒ ประการ คือ

ตัณหานิสัย ๑ ทิฏฐินิสัย ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าตัณหานิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่า

ทิฏฐินิสัย ฯลฯ ผู้นั้น ละตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัย เพราะละตัณหานิสัย

สละคืนทิฏฐินิสัย ความอาศัยมิได้มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่ผู้ใด คือ

ความอาศัยนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้

ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใด

ไม่มีความอาศัย.

[๔๑๙] คำว่า รู้แล้ว ในคำว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ความว่า

รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า สังขาร

ทั้งปวงไม่เที่ยง...สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์....ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ

รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า สิ่งใด

สิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา.

คำว่า ไม่อาศัย ได้แก่ นิสัย ๒ ประการ คือตัณหานิสัย ๑

ทิฏฐินิสัย ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าตัณหานิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่าทิฏฐินิสัย ผู้ใดละ

ตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัย เป็นผู้ไม่อาศัย ไม่พัวพัน ไม่เข้าถึง

ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจไป ออก สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งจักษุ

หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล

คณะ อาวาส ฯลฯ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ

ที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เป็นผู้มีจิตทำให้ปราศจากแดงกิเลสอยู่

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 50

ว่าด้วยตัณหา

[๔๒๐] ชื่อว่า ตัณหา ในคำว่า ไม่มีตัณหาในภพและในความ

ปราศจากภพ คือรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา

โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา. คำว่า ใด คือ พระอรหันตขีณาสพ.

คำว่า ในภพ คือ ในภวทิฏฐิ. คำว่า ในความปราศจากภพ คือ ใน

วิภวทิฏฐิ. คำว่า ในภพ คือ ในสัสสตทิฏฐิ. คำว่า ในความปราศจาก

ภพ คือ ในอุจเฉททิฏฐิ. คำว่า ในภพ คือ ในความเกิดบ่อย ๆ ใน

ความไปบ่อย ๆ ในอุปบัติบ่อย ๆ ในปฏิสนธิบ่อย ๆ ในอันให้อัตภาพ

เกิดบ่อยๆ ตัณหาย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่ผู้ใด คือตัณหา

นั้นอันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว

ด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดไม่มีตัณหาในภพและในความ

ปราศจากภพ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ผู้ใดไม่มีความอาศัย รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ไม่มี

ตัณหาในภพ และในความปราศจากภพ.

[๔๓๑] เรากล่าวบุคคลนั้นผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลายว่า เป็น

ผู้เข้าไปสงบ กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ย่อม

ไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหา อันชื่อว่า

วิสัตติกาแล้ว.

[๔๒๒] คำว่า เรากล่าวบุคคลนั้น...ว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ ความ

ว่า เรากล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งบุคคลนั้นว่าเป็นผู้สงบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 51

เข้าไปสงบ เงียบ ดับ ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เรากล่าว

บุคคลนั้น....ว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ.

ว่าด้วยกาม ๒

[๔๒๓] โดยอุทานว่า กาม ในคำว่า ผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลาย

กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่า

วัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านั้นเรียกว่ากิเลสกาม บุคคลนั้นกำหนดรู้วัตถุ

กามแล้ว ละ สละ บรรเทา ทำให้สิ้นให้ถึงความไม่มีในภายหลังแล้ว

ซึ่งกิเลสกาม ชื่อว่าเป็นผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลาย คือเป็นผู้ปราศจาก สละ

สำรอก ปล่อย ละ สละคืนกามเสียแล้ว เป็นผู้ปราศจาก สละ สำรอก

ปล่อย ละ สละคืนราคะเสียแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับแล้ว เย็นแล้ว

เสวยสุข มีตนเป็นดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่เพ่งในกาม

ทั้งหลาย.

ว่าด้วยเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง

[๔๒๔] ชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด ในคำว่า กิเลสเครื่อง

ร้อยรัดทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น คือกิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง

ได้แก่ กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คืออภิชฌา พยาบาท สีลัพพัตต-

ปรามาส อิทังสัจจาภินิเวส (ความถือมั่นว่าสิ่งนี้จริง) ความกำหนัดใน

ทิฏฐิของตน. ชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คืออภิชฌา ความ

อาฆาต ความไม่ยินดี ในวาทะของชนเหล่าอื่น. ชื่อว่า กิเลสเครื่อง

ร้อยรัดทางกาย คือพยาบาท. ความยึดถือศีลหรือพรต หรือศีลและพรต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 52

ของตน. ชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คือสีลัพพัตตปรามาส

ทิฏฐิของตน. ชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คืออิทังสัจจาภินิเวส.

คำว่า นั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด

ทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น ความว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย

ย่อมไม่มี คือมิได้มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือเป็นกิเลสอันบุคคล

นั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว

ด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย

ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น.

ว่าด้วยตัณหามีชื่อต่าง ๆ

[๔๒๕] คำว่า บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว

ความว่า ตัณหาเรียกว่าวิสัตติกา ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ

อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า วิสัตติกา ความว่า เพราะอรรถว่า

อะไร ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา. เพราะอรรถว่า ซ่านไป เพราะอรรถว่า แผ่

ไป เพราะอรรถว่า แล่นไป เพราะอรรถว่า ไม่สม่ำเสมอ เพราะอรรถว่า

ครอบงำ เพราะอรรถว่า สะท้อนไป เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้พูดผิด

เพราะอรรถว่า มีมูลรากเป็นพิษ เพราะอรรถว่า มีผลเป็นพิษ เพราะ

อรรถว่า มีเครื่องบริโภคเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา.

อีกอย่างหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

สกุล คณะ อาวาส ฯลฯ แล่นไป ซ่านไปในรูปที่เห็นเสียงที่ได้ยิน

กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เพราะฉะนั้น ตัณหา

จึงชื่อว่า วิสัตติกา. คำว่า บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหาอันชื่อว่าสัตติกาแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 53

ความว่า บุคคลนั้น ได้ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ล่วงเลย เป็นไป

ล่วงตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกานี้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นได้

ข้ามตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า

เรากล่าวบุคคลนั้นผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลายว่า เป็นผู้

เข้าไปสงบ กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่

บุคคลนั้น บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว.

[๔๒๖] บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่

บุคคลนั้น อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้

ในบุคคลนั้น.

ว่าด้วยบุตรเป็นต้น

[๔๒๗] ศัพท์ว่า ในคำว่า บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน

ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น เป็นปฏิเสธ, คำว่า นั้น คือ พระอรหันตขีณาสพ.

ชื่อว่าบุตร ได้แก่บุตร ๔ จำพวก คือ บุตรเกิดแต่ตน ๑ บุตรเกิดในเขต ๑

บุตรที่เขาให้ ๑ บุตรที่เกิดในสำนัก ๑. คำว่า ปศุสัตว์ คือ แพะ แกะ

ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา. คำว่า ไร่นา คือ ไร่ข้าวสาลี ไร่ข้าวเจ้า

ไร่ถั่วราชมาษ ไร่ข้าวเหนียว ไร่ข้าวละมาน ไร่งา. คำว่า ที่ดิน คือ

ที่เรือน ที่ฉาง ที่หน้าเรือน ที่หลังเรียน ที่สวน ที่อยู่. คำว่า บุตร

ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น คือ ความยึดถือบุตร

ความยึดถือปศุสัตว์ ความยึดถือไร่นา ความยึดถือที่ดิน ย่อมไม่มี มิได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 54

มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่บุคคลนั้น คือ เป็นสภาพอันบุคคลนั้นละ

ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่

บุคคลนั้น.

ว่าด้วยทิฏฐิ

[๘๒๘] สัสสตทิฏฐิชื่อว่าอัตตา ในคำว่า อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตต-

ทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้ในบุคคลนั้น ดังนี้ ย่อมไม่มี. อุจเฉททิฏฐิ

ชื่อว่านิรัตตา ย่อมไม่มี สิ่งที่ยึดถือชื่อว่า อัตตา ย่อมไม่มี สิ่งที่พึง

ปล่อยวางชื่อว่า นิรัตตา ย่อมไม่มี. สิ่งที่ยึดถือย่อมไม่มีแก่บุคคลใด สิ่ง

ที่พึงปล่อยวางก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น สิ่งที่พึงปล่อยวางย่อมไม่มีแก่บุคคลใด

สิ่งที่พึงยึดถือก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นผู้เป็นพระอรหันต์ ก้าวล่วง

ความถือและปล่อยวางแล้ว ล่วงเลยความเจริญและความเสื่อมแล้ว บุคคล

นั้นอยู่จบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ ภพใหม่ ย่อมไม่มีแก่

บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่

เข้าไปได้ในบุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่บุคคล

นั้น อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้ใน

บุคคลนั้น.

[๔๒๙] พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึงกล่าว

โดยโทษใด โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น

บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 55

[๔๓๐] คำว่า ปุถุชน ในคำว่า พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและ

พราหมณ์ พึงกล่าวโดยโทษใด ความว่า เพราะอรรถว่า กระไร จึงชื่อว่า

ปุถุชน เพราะอรรถว่า ให้กิเลสหนาเกิด เพราะอรรถว่า เป็นผู้มีสักกาย-

ทิฏฐิอันยังไม่กำจัดมาก เพราะอรรถว่า เป็นผู้เลือกหน้าศาสดามาก

เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันคติทั้งปวง ร้อยไว้มาก เพราะอรรถว่า ย่อม

ปรุงแต่งด้วยอภิสังขารต่าง ๆ มาก เพราะอรรถว่า ย่อมลอยไปเพราะ

ห้วงกิเลสต่าง ๆ มาก เพราะอรรถว่า ย่อมเดือดร้อนเพราะกิเลส เป็น

เหตุให้เร่าร้อนต่าง ๆ มาก เพราะอรรถว่า เป็นผู้กำหนัดยินดี ชอบใจ

หลงใหล ติดใจ เกาะเกี่ยว พัวพันมากในกามคุณ ๕ เพราะอรรถว่า

เป็นผู้อันนิวรณ์ ๕ ร้อยรัด ปกคลุม ปิดบัง หุ้มห่อไว้มาก จึงชื่อว่า

ปุถุชน. คนพวกใดพวกหนึ่งผู้เข้าถึง ถึงพร้อมด้วยการบวชภายนอก

ศาสนานี้ ชื่อว่า สมณะ. คนพวกใดพวกหนึ่ง ผู้อ้างตนว่าเป็นผู้เจริญ

ชื่อว่า พราหมณ์. คำว่า พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึง

กล่าวโดยโทษใด ความว่า พวกปุถุชนพึงกล่าวโดยราคะ โทสะ โมหะ

มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉาใด และพึงกล่าวโดยอนุสัยใดว่า เป็น

ผู้กำหนัด ขัดเคือง หลงใหล ผูกพัน ถือมั่น ถึงความฟุ้งซ่าน ถึง

ความไม่แน่นอน หรือถึงโดยเรี่ยวแรง กิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่านั้น อัน

บุคคลนั้นละแล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงแต่งได้แล้ว พวกปุถุชน

พึงกล่าวถึงคติโดยเหตุใดว่า บุคคลนั้นเกิดในนรก เกิดในกำเนิด

เดียรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป

เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัญญีสัตว์ เป็นอสัญญีสัตว์ เป็นเนวสัญญีนาสัญญี-

สัตว์ บุคคลนั้นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะที่เป็นเครื่องกล่าว คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 56

บอก พูด แสดง แถลง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกปุถุชนทั้งพวก

สมณะและพราหมณ์พึงกล่าวโดยโทษใด.

ว่าด้วยพระอรหันต์ไม่มีโทษห้อมล้อม

[๔๓๑] คำว่า นั้น ในคำว่า โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น

ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. ชื่อว่าความห้อมล้อม ได้แก่ความห้อมล้อม ๒

อย่าง คือ ความห้อมล้อมแห่งตัณหา ๑ ความห้อมล้อมแห่งทิฏฐิ ๑ ฯลฯ

นี้ข้อว่าความห้อมล้อมแห่งตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความห้อมล้อมแห่งทิฏฐิ.

บุคคลนั้นละความห้อมล้อมแห่งตัณหา สละคืนความห้อมล้อมแห่งทิฏฐิ

เสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละความห้อมล้อมแห่งตัณหา สละคืนความห้อมล้อม

แห่งทิฏฐิเสียแล้ว จึงไม่ทำตัณหาและทิฏฐิออกหน้า คือ เป็นผู้ไม่มีตัณหา

เป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นธงยอด ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็น

ธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นธงยอด ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ ไม่เป็นผู้อันตัณหาหรือ

ทิฏฐิห้อมล้อมเที่ยวไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น.

[๔๓๒] คำว่า ตสฺมา ในคำว่า เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่

หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย ความว่า เพราะเหตุนั้น เพราะการณะ

นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น บุคคลนั้นย่อม

ไม่หวั่นไหว คือ ไม่โยกโคลง ไม่เอน ไม่เอียง ไม่สะท้าน ไม่สะเทือน

ในเพราะวาทะ ในเพราะอุปวาทะทั้งหลาย คือ เพราะความนินทา

ติเตียน ความไม่สรรเสริญ ไม่ยกย่องคุณความดี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะว่าวาทะทั้งหลาย เพราะ-

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 57

พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึงกล่าวโดย

โทษใด โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น

บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย.

[๔๓๓] บุคคลนั้นเป็นมุนี ปราศจากความกำหนัด ไม่ตระหนี่

ย่อมไม่กล่าวในความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความ

เป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา เป็น

ผู้ไม่มีความกำหนัด ย่อมไม่ถึงความกำหนัด.

[๔๓๔] ตัณหาเรียกว่า ความกำหนัด ในคำว่า ปราศจากความ

กำหนัด ไม่ตระหนี่ ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ

อกุศลมูล ความกำหนัดนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว

ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว ด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่าผู้ปราศ-

จากความกำหนัด. บุคคลนั้นไม่กำหนัด ไม่ยินดี ไม่หลง ไม่ติดใจ เป็น

ผู้ที่มีความกำหนัดปราศไป กำจัด คลายออก ปล่อย สละคืนแล้ว ในรูป

ฯลฯ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบ

ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เป็นผู้หายหิว ดับแล้ว เย็นแล้ว เป็นผู้มีตนเป็นดัง

พรหมเสวยสุขอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปราศจากความกำหนัด.

ชื่อว่า ความตระหนี่ ในคำว่า ไม่ตระหนี่ ได้แก่ความตระหนี่ ๕

ประการ คือ ความตระหนี่อาวาส ความตระหนี่สกุล ความตระหนี่ลาภ

ความตระหนี่วรรณะ ความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่ ฯลฯ ความ

หวงไว้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่. ความตระหนี่นั้น อันบุคคลใดละ

ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 58

บุคคลนั้น เรียกว่า ไม่ตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปราศจากความ

กำหนัด ไม่ตระหนี่.

[๔๓๕] คำว่า มุนี ในคำว่า บุคคลนั้นเป็นมุนี ย่อมไม่กล่าว

ในความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวใน

ความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา ความว่า ญาณเรียกว่าโมนะ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรม

เป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี บุคคลผู้เป็น

มุนี ย่อมไม่กล่าว คือ ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลงว่า เราเป็น

ผู้ดีกว่าเขาบ้าง เราเป็นผู้เสมอเขาบ้าง เราเป็นผู้เลวกว่าเขาบ้าง เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นเป็นมุนี ย่อมไม่กล่าวในความเป็นผู้สูงกว่าเขา

ไม่กล่าวในความเป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา.

ว่าด้วยความกำหนด ๒ อย่าง

[๔๓๖] ชื่อว่า ความกำหนด ในคำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด

ย่อมไม่ถึงความกำหนด ได้แก่ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนด

ด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วย

ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. บุคคลนั้นละความกำหนด

ด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิเสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละความ

กำหนดด้วยตัณหา สละความกำหนดด้วยทิฏฐิ จึงย่อมไม่ถึง คือ ย่อมไม่

เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ซึ่งความกำหนดด้วย

ทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่ถึงความกำหนด.

ชื่อว่า ความกำหนด ในคำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 59

ความกำหนด ๒ อย่าง คือความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วย

ทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนด

ด้วยทิฏฐิ บุคคลนั้นละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืน ความกำหนด

ด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความ

กำหนดด้วยทิฏฐิ จึงย่อมไม่กำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนดด้วย

ทิฏฐิ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลนั้นเป็นมุนี ปราศจากความกำหนัด ไม่ตระหนี่

ย่อมไม่กล่าวในความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความ

เป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา เป็นผู้

ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด.

[๔๓๓] ผู้ใดไม่มีความถือว่าของในในโลก เมื่อสิ่งที่ถือว่า

ของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศก และไม่ถึงความลำเอียง

ในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นแลเรียกว่า ผู้สงบ.

ว่าด้วยผู้ไม่ความยึดถือ

[๔๓๘] คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดไม่มีความถือว่าของตนใน

โลก คือ พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า ไม่มีความถือว่าของตน คือ ผู้ใด

ไม่ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 60

ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อะไร ๆ ว่า นี้ของเรา หรือว่า

นี้ของตนเหล่าอื่น ฯลฯ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อ

ว่า ผู้ใดไม่มีความถือว่าของคนในโลก.

ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก

[๔๓๙] คำว่า เมื่อสิ่งที่ถือว่าของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศก

ความว่า ไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวนไปแล้ว หรือเมื่อวัตถุแปรปรวน

ไปแล้วไม่เศร้าโศกถึง คือไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ

ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย

ใจของเรา แปรปรวนไปแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของเรา

แปรปรวนไปแล้ว สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเรา แปรปรวนไปแล้ว

มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง บุตร ธิดา มิตร

พวกพ้อง ญาติสาโลหิตของเรา แปรปรวนไปแล้ว แม้เพราะเหตุอย่างนี้

ดังนี้ จึงชื่อว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มี.

อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเป็นผู้อันความไม่ยินดี คือ ทุกขเวทนาถูกต้อง

ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่

คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหล คือ เป็นผู้อันโรคจักษุ

โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่หู โรคปาก

โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม

โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 61

โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู. โรคหิดเปื่อย โรคหิตด้าน

โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราด โรคอาเจียนโลหิต โรคน้ำดีเดือด

โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน

อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต

อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธ

เกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว

ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความ

สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานถูกต้อง

ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบเข้า ย่อมไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่

คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหล แม้เพราะเหตุอย่างนี้

ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มี.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวัตถุไม่มีอยู่ คือไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ ย่อม

ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความ

หลงใหลว่า โอ สิ่งนั้นของเราหนอ สิ่งนั้นไม่มีแก่เราหนอ สิ่งนั้นควรมี

แก่เราหนอ เราไม่ได้สิ่งนั้นหนอ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เมื่อ

สิ่งที่ถือว่าของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศกถึง.

ว่าด้วยผู้ไม่ลำเอียง

[๔๔๐] คำว่า และย่อมไม่มีความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย

ความว่า ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ

ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธจัจะ วิจิกิจฉา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 62

อนุสัยไม่ดำเนินออก เลื่อน เคลื่อนไปด้วยธรรมทั้งหลาย อันทำให้

เป็นพวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย.

ว่าด้วยผู้สงบ

[๔๔๑] คำว่า บุคคลนั้นแลเรียกว่า ผู้สงบ ความว่า ผู้นั้น

เราเรียก คือ บอก พูด แสดง แถลงว่า ผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบ

พิเศษ ดับ ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ผู้ใดไม่มีความถือว่าของตนในโลก เมื่อสิ่งที่ถือว่า

ของตนไม่มีอยู่ ย่อมไม่เศร้าโศกถึง และไม่ถึงความ

ลำเอียงในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นแลเรียกว่า ผู้สงบ.

จบปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 63

สัทธัมมปัชโชติกา

อรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเทส

ภาคที่ ๒

อรรถกถาปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในปุราเภทสุตตนิเทสที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.

พึงทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้นโดยเหมือนกันแห่งสัตว์นี้ว่า กถทสฺสี

บุคคลมีความเห็นอย่างไร ดังนี้เป็นต้น และสูตรอื่นจากสูตรนี้อีก ๕ สูตร

คือ กลหวิวาทสูตร ๑ จูฬวิยูหสูตร ๑ มหาวิยูหสูตร ๑ ตุวฏกสูตร ๑

อัตตทัณฑสูตร ๑ แต่โดยต่างกันพึงทราบดังต่อไปนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงธรรมให้เป็นที่สบายของ

เทวดาที่เป็นราคจริตในมหาสมัยนั้น ทรงให้พระพุทธนิมิตตรัสถามปัญหา

กะพระองค์แล้วจึงได้ตรัส สัมมาปริพพชานียสูตร ขึ้นด้วยประการใด

ในมหาสมัยนี้ก็ด้วยประการนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ

จิตของทวยเทพผู้มีจิตเกิดขึ้นว่า ก่อนกายแตกควรจะทำอะไรหนอ เพื่อ

ทรงอนุเคราะห์ทวยเทพเหล่านั้น จึงทรงพาพระพุทธนิมิตพร้อมด้วยภิกษุ

บริวาร ๒,๕๐๐ รูปม้าทางอากาศ แล้วทรงให้พระพุทธนิมิตทูลถามพระ-

องค์ จึงได้ตรัสพระสูตรนี้. ตรัสไว้อย่างไร. ตรัสไว้ดังต่อไปนี้ ธรรมดา

พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ใหญ่ยิ่ง เป็นสัตว์ผู้วิเศษ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้

ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้ถึง ได้แสวงหา ได้เที่ยวตามไปด้วยใจ

ของโลกพร้อมด้วยเทวโลกด้วยตนเอง บรรดารูปารมณ์ที่จำแนกออกไป

โดยมีสีเขียวเป็นต้น รูปารมณ์ไร ๆ หรือบรรดาสัททารมณ์ที่จำแนกออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 64

ไปโดยมีเสียงกลองเป็นต้น อารมณ์มีสัททารมณ์เป็นต้นไร ๆ มิได้มีในที่

ไหน ๆ คือไม่มาสู่คลองในห้วงพระญาณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นเลย.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เทวดา

และมนุษย์ได้เห็น ได้ฟัง ได้รู้ ได้รู้แจ้ง ได้ถึง ได้เที่ยวตามไปด้วยใจของ

โลกพร้อมด้วยเทวโลก เราย่อมรู้สิ่งนั้น เราได้รู้ทั่วถึงสิ่งนั้นดังนี้. พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงกระทำทวยเทพเหล่านั้นทั้งหมดให้เป็น ๒ ส่วน

โดยเป็นภัพพะ (ควร) และอภัพพะ (ไม่ควร). สัตว์ทั้งหลายที่กล่าวไว้

โดยนัยมีอาทิว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยเครื่องกั้นคือกรรม ชื่อว่า

อภัพพะ. พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิได้ทรงเหลียวแลสัตว์เหล่านั้น แม้อยู่ใน

ที่เดียวกัน. ส่วนสัตว์ตรงกันข้าม ชื่อว่า ภัพพะ. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เสด็จไปสงเคราะห์สัตว์เหล่านั้นแม้อยู่ไกล. ในที่ประชุมเทวดานั้น เทวดา

เหล่าใดเป็นอภัพพะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเทวดาเหล่านั้น ทรงสำรวจ

เทวดาพวกที่เป็นภัพพะ ครั้นทรงสำรวจแล้วได้ทรงทำให้เป็น ๖ ส่วน

ตามจริต คือพวกที่เป็นราคจริตประมาณเท่านี้ พวกที่เป็นโทสจริตเป็นต้น

ประมาณเท่านี้. ต่อแต่นั้น พระองค์ทรงใคร่ครวญถึงพระธรรมเทศนา

เป็นที่สบายของเทวดาเหล่านั้น จึงทรงกำหนดเทศนาไว้ว่า เราจักแสดง

สัมมาปริพพาชนียสูตรแก่เทวดาจำพวกราคจริต จักแสดงกลหวิวาทสูตร

แก่เทวดาจำพวกโทสจริต จักแสดงมหาวิยูหสูตรแก่เทวดาจำพวกโมหจริต

จักแสดงจูฬวิยูหสูตรแก่เทวดาจำพวกวิตกจริต จักแสดงตุวฏกสูตรแก่

เทวดาจำพวกศรัทธาจริต จักแสดงปุราเภทสูตรแก่เทวดาจำพวกพุทธิจริต

แล้วทรงคำนึงถึงบริษัทนั้นต่อไปว่า บริษัทจะพึงรู้โดยอัตตัชฌาสัย

(อัธยาศัยของตน) โดยปรัชฌาสัย (อัธยาศัยของผู้อื่น) โดยอัตถุปัตติกะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 65

(เรื่องราวที่เกิดขึ้น) หรือโดยปุจฉาวสะ (อำนาจของคำถาม) หนอ. ครั้น

พระองค์ทรงทราบว่า บริษัทจะพึงรู้ได้ด้วยอำนาจคำถาม จึงทรงดำริว่าจะมี

ใครบ้างไหมหนอที่สามารถจะกำหนดอัธยาศัยของเทวดาทั้งหลาย แล้วถาม

ปัญหาตามจริต ทรงเห็นว่า บรรดาภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปเหล่านั้นแม้แต่รูป

เดียวก็ไม่สามารถ. แล้วจึงทรงหวนระลึกถึงพระอสีติมหาสาวก และ

พระอัครสาวกทั้งสอง ทรงเห็นว่า แม้ท่านเหล่านั้นก็ไม่สามารถ จึงทรงดำริ

ต่อไปว่า หากเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเล่าจะสามารถหรือไม่หนอ ทรงทราบ

ว่า แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ไม่สามารถ จึงหวนระลึกถึงท้าวสักกะและท้าว

สุยามะเป็นต้น องค์ใดองค์หนึ่งจะพึงสามารถบ้าง หากท้าวสักกะและ

ท้าวสุยามะองค์ใดองค์หนึ่งสามารถก็จะให้ถาม พระองค์จะแก้ด้วยพระองค์

เอง. แต่ท่านเหล่านั้นก็ไม่มีใครสามารถ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า พระพุทธเจ้าเช่นเรา

เท่านั้นพึงสามารถ แต่ยังมีพระพุทธเจ้าองค์อื่นในที่ไหนอีกบ้างไหม.

พระองค์จึงแผ่พระญาณอันหาที่สุดมิได้ไปในโลกธาตุอันไม่มีที่สุด ตรวจดู

โลก มิได้ทรงเห็นพระพุทธเจ้าองค์อื่นเลย ข้อที่พระองค์มิได้ทรงเห็นผู้

เสมอด้วยพระองค์ในบัดนี้ไม่น่าอัศจรรย์เลย แม้ในที่พระองค์ประสูติก็

มิได้ทรงเห็นผู้เสมอด้วยพระองค์ ตามนัยดังกล่าวแล้วในอรรถกถาพรหม-

ชาลสูตร จึงได้ทรงบันลือสีหนาทแม้ในธรรมที่ใคร ๆ ให้เป็นไปไม่ได้ว่า

อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส เราเป็นผู้เลิศแห่งโลกดังนี้. ครั้นพระองค์มิได้ทรง

เห็นผู้อื่นเสมอด้วยพระองค์อย่างนี้จึงทรงดำริว่า หากเราถามแล้วตอบด้วย

ตนเอง เทวดาเหล่านั้นก็ไม่สามารถจะรู้แจ้งแทงตลอดได้ ก็เมื่อพระ-

พุทธเจ้าองค์อื่นถาม และเมื่อเราตอบจักน่าอัศจรรย์กว่า และเทวดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 66

ทั้งหลายก็จักสามารถรู้แจ้งแทงตลอดได้ เพราะฉะนั้น เราจักเนรมิตพระ-

พุทธนิมิต แล้วทรงเข้าฌานมีอภิญญาเป็นบาท ทรงกระทำบริกรรมด้วย

กามาวจรจิตว่า การถือบาตรและจีวร การดู การเหลียว การคู้ การเหยียด

จงเหมือนเราเถิด. แล้วทรงอธิษฐานด้วยรูปาวจรจิตว่า ขอพระพุทธนิมิต

จงมา ดุจแหวกมณฑลพระจันทร์ซึ่งโผล่ขึ้นจากการล้อมของภูเขายุคนธร

ด้านทิศปราจีนเถิด. หมู่เทพเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า คะโน่นท่านทั้งหลาย

พระจันทร์โผล่ขึ้นอีกดวงแล้ว. พอใกล้เข้ามา หมู่เทพละพระจันทร์กล่าวว่า

ไม่ใช่พระจันทร์ พระอาทิตย์ขึ้น พอใกล้เข้ามาอีก ไม่ใช่พระอาทิตย์ เป็น

เทพวิมานองค์หนึ่ง พอใกล้เข้ามา ไม่ใช่เทพวิมาน เป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง

พอใกล้เข้ามาอีก ไม่ใช่เทพบุตร เป็นมหาพรหมองค์หนึ่ง พอใกล้เข้ามา

อีก ไม่ใช่มหาพรหม เป็นพระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่งเสด็จมา ดังนี้. บรรดา

ทวยเทพเหล่านั้น เทพที่เป็นปุถุชนคิดกันว่า การประชุมเทวดานี้จักมี

พระพุทธเจ้าองค์เดียวหรือมีถึงสององค์. พวกเทพที่เป็นอริยะคิดกันว่า

โลกธาตุหนึ่งมิได้มีพระพุทธเจ้าถึงสองพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าคงจะ

ทรงเนรมิตพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นให้คล้ายพระองค์เป็นแน่.

ลำดับนั้น เมื่อหมู่เทพกำลังดูอยู่นั้นเอง พระพุทธนิมิตเสด็จมาถึง

มิได้ไหว้พระทศพล ทำเสมอ ๆ กันในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วประทับนั่ง ณ

อาสนะที่เนรมิตไว้. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระมหาปุริสุลักษณะ ๓๒ แม้

พระพุทธนิมิตก็มี ๓๒ เหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระฉัพพรรณ-

รังสีซ่านออกจากพระวรกาย แม้พระพุทธนิมิตก็เหมือนกัน. พระรัศมีใน

พระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมกระทบในพระวรกายของพระ-

พุทธนิมิต. พระรัศมีของพระพุทธนิมิตก็ย่อมกระทบในพระวรกายของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 67

พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระรัศมีเหล่านั้นพุ่งออกจากพระวรกายของพระ-

พุทธเจ้าทั้งสองพระองค์จรดถึงภวัคคพรหม กลับจากภวัคคพรหมจรดลง

บนที่สุดขม่อมของทวยเทพแล้วประดิษฐาน ณ ขอบปากจักรวาล. ห้อง

จักรวาลทั้งสิ้นไพโรจน์ดุจเรือนเจดีย์ที่ผูกด้วยไม้จันทันโค้งทำด้วยทองคำ.

ทวยเทพในหมื่นจักรวาลรวมกันในจักรวาลเดียวเข้าไปยืนอยู่ระหว่างห้อง

พระรัศมีของพระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์.

พระพุทธนิมิต พอประทับนั่งเท่านั้น เมื่อจะทูลถามถึงอธิปัญญา

เป็นต้น จึงตรัสคาถาโดยนัยมีอาทิว่า กถทสฺสี กถสีโล อุปสนฺโตติ วุจฺจติ

ความว่า บุคคลมีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร อันบัณฑิตกล่าวว่าเป็นผู้

เข้าไปสงบแล้ว ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้นก่อน. พระพุทธนิมิตนั้นถามถึงอธิ-

ปัญญาว่า บุคคลมีความเห็นอย่างไร ถามถึงอธิศีลว่า มีศีลอย่างไร ถาม

ถึงอธิจิตว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว. บทที่เหลือชัดเจนดีแล้ว. เพื่อความ

แจ่มแจ้งในปัญหาที่พระพุทธนิมิตถามเป็นต้น ท่านกล่าวได้ในปิฎกว่าดังนี้.

บุคคลสอบถามอยู่ ย่อมเข้าถึงธรรมอันเป็นกุศล-

ประกอบด้วยประโยชน์ ย่อมไม่จุติ ย่อมไม่เกิด พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงกล่าวถึงบุคคลนั้นเป็นไฉน.

บุคคลมีสงสารสิ้นไปแล้ว ยังไม่คลายความกำหนัด

ยังไม่เป็นพระเสกขะ ยังไม่เห็นธรรม ยังไม่เป็นพระ-

ขีณาสพ ยังทรงร่างกายไว้ในที่สุด พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ย่อมทรงกล่าวถึงบุคคลนั้นเป็นไฉน.

๑. อรรถกถาว่า ไม่มีในพระไตรปิฎก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 68

บุคคลเป็นผู้ไม่พร้อมด้วยทุกขสัจจะ ไม่พร้อมด้วย

มรรคสัจจะ จะดับจากสมุทยสัจจะทั้งใกล้ไกลได้แต่ไหน

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงกล่าวถึงบุคคลนั้นเป็นไฉน.

จิตนั้นไม่มีเหตุ มีอาศัยรูป มีปัจจัย ไม่ใช่อสังขตะ

มีอสังขตะเป็นอารมณ์ ไม่ใช่รูป พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรง

กล่าวถึงบุคคลนั้นเป็นไฉน.

ในคาถาเหล่านั้น คาถาที่หนึ่งพึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายถึง พระ-

พุทธนิมิต. คาถาที่สองกล่าวหมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้มีภพสุดท้าย. คาถาที่

สามกล่าวหมายถึงท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตผล. คาถาที่สี่พึงทราบว่า ท่านกล่าว

หมายถึงจิตตฺสมังคีอันเป็นปุเรจาริก (เที่ยวไปในก่อน) ในมโนทวารแห่ง

การพิจารณาถึงนิพพานในอรูปภพ.

บทว่า กีทิเสน ทสฺสเนน คือ ด้วยการเห็นเช่นไร. บทว่า

กึสณฺิเตน ด้วยความดำรงอยู่อย่างไร คือด้วยการเห็นคล้ายกันอย่างไร.

บทว่า กึปกาเรน ด้วยประการอย่างไร คือด้วยวิธีอย่างไร. บทว่า

กึปฏิภาเคน ด้วยส่วนเปรียบอย่างไร คือด้วยอาการอย่างไร. บทว่า ย

ปุจฺฉามิ ได้แก่ ข้าพระองค์ถามถึงบุคคลใด ขอจงตรัสพยากรณ์ถึงบุคคล

นั้นแก่ข้าพระองค์. บทว่า ยาจามิ คือ ขอให้บอก. บทว่า อชฺเฌสามิ

คือ ขอให้ตรัสบอก. บทว่า ปสาเทมิ ขอให้ประสาท คือขอยังความ

โสมนัสให้เกิดในพระสันดานของพระองค์. บทว่า พฺรูหิ ตรัสเล่าเป็น

บทยกหัวข้อของบทไขความ. บทว่า อาจิกฺข บอก คือกล่าวด้วยอำนาจ

แห่งธรรมที่ควรแสดง. บทว่า เหเสหิ แสดง คือชี้ให้เห็น. บทว่า

ปญฺาเปหิ แถลง คือให้รู้ ท่านกล่าวว่าตั้งอัปปนา (ความแนบแน่น)

๑. ได้แก่ มโนทวารวัชชนะจิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 69

ไว้ด้วยหัวข้อคือญาณจึงแถลงให้รู้. บทว่า ปฏฺเปหิ แต่งตั้ง คือบัญญัติ

อธิบายว่า ให้เป็นไป. หรือขอจงตั้งไว้ด้วยหัวข้อคือญาณ. บทว่า วิวร

เปิดเผย คือขอจงทำให้เปิดเผย อธิบายว่า เปิดเผยแล้วจึงแสดง. บทว่า

วิภช จำแนก ความว่า ชี้แจงด้วยการจำแนกแสดง. บทว่า อุตฺตานีกโรหิ

ทำให้ตื้น คือขอจงทำให้ปรากฏ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อาจิกฺข เป็น

รากเหง้าของบททั้งหลาย ๖ บทมีเทศนาเป็นต้น. ท่านกล่าวบท ๖ บทมี

เทศนาเป็นต้น เพื่อเปิดเผยความนั้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า เทเสหิ

ความว่า ขอพระองค์จงแสดงโดยยกหัวข้อก่อนโดยสังเขปเพื่ออุคฆติตัญญู

(เพียงยกหัวขึ้นก็รู้ทันที). จริงอยู่บุคคลผู้เป็นอุคฆติตัญญู ย่อมรู้แจ้งแทง

ตลอดธรรมที่ท่านกล่าวโดยย่อและรู้ครั้งแรก. บทว่า ปญฺาเปหิ ความว่า

ขอพระองค์จงทรงแถลงด้วยการขยายความแห่งบทที่ย่อไว้ก่อนโดยพิสดาร

เมื่อ วิปจิตัญญู (รู้ต่อเมื่อขยายความในหัวข้อออกไป) ผู้มีปัญญาด้วยใจ

ยินดีต่อธรรมเหล่านั้น. บทว่า ปฏฺเปหิ ความว่า ขอพระองค์จงทรงแต่ง

ตั้งด้วยการขยายความจำแนกข้อความที่ขยายให้กว้างขวางออกไปอีก. บทว่า

วิวร ความว่า ขอพระองค์จงทรงเปิดเผยถ้อยคำแห่งบทที่ขยายนั้นบ่อย ๆ.

บทว่า วิภช ความว่า ขอพระองค์จงทรงจำแนกด้วยการอธิบายจำแนก

ข้อความที่ตรัสไว้แล้วบ่อย ๆ. บทว่า อุตฺตานีกโรหิ ความว่า ขอพระ-

องค์จงทรงทำให้ตื้นด้วยตรัสข้อที่เปิดเผยแล้วให้พิสดาร และด้วยตรัสข้อที่

พิสดารด้วยการชี้แจง. เทศนานี้เพื่อรู้แจ้งแทงตลอดของเนยยบุคคล

(บุคคลผู้ควรแนะนำสั่งสอนได้). ก็ในการตอบปัญหาพระผู้มีพระภาคเจ้า

มิได้ทรงแก้อธิปัญญาเป็นต้น โดยสรุปเมื่อจะทรงแสดงถึงการสงบกิเลสที่

ท่านกล่าวว่าเป็นผู้เข้าไปสงบ โดยสภาวะมีอธิปัญญาเป็นต้น โดยอนุโลม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 70

แก่อัธยาศัยของเทวดาต่าง ๆ จึงได้ตรัสคาถามีคาถาอาทิว่า วีตตณฺโห ผู้

ปราศจากตัณหา ดังนี้.

ในคาถาเหล่านั้น พึงทราบการเชื่อมคาถานี้ว่า ต พฺรูมิ อุปสนฺโต

เรากล่าวผู้นั้นว่า เป็นผู้เข้าถึงความสงบแล้วดังนี้ แห่ง ๘ คาถาตอนต้น.

แต่นั้นพึงทราบนัยการพิจารณาบทตามลำดับ ด้วยบทหลังทั้งหมดนี้ว่า

สเว สนฺโตติ วุจฺจติ ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นผู้สงบ ดังนี้ แห่งคาถา

ทั้งหลายอื่น.

บทว่า วีตตณฺโห ปุรา เภทา ก่อนแต่กายแตกพระอรหันต์เป็นผู้

ปราศจากตัณหา คือพระอรหันต์ละตัณหาได้ก่อนแต่กายแตกแล้ว. บทว่า

ปุพฺพมนฺตมนิสฺสิโต คือ ผู้ไม่อาศัยส่วนเบื้องต้นมีกาลในอดีตเป็นต้น.

บทว่า เวมชฺเฌ นูปสงฺเขยฺโย อันใคร ๆ นับไม่ได้ในส่วนกลาง คือ

อันใคร ๆ นับไม่ได้โดยนัยมีอาทิว่า พระอรหันต์ยินดีแล้วในกาลอันเป็น

ปัจจุบัน. บทว่า ตสฺส นตฺถิ ปุเรกฺขต การทำไว้ในเบื้องหน้ามิได้มี

แก่พระอรหันต์นั้น คือพระอรหันต์นั้นมิได้มีแม้การทำไว้ในเบื้องหน้าใน

กาลอันเป็นอนาคต เพราะไม่มีการทำไว้เบื้องหน้าทั้งสอง พึงทราบการ

ประกอบความอย่างนี้ว่า เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว ดังนี้.

บทว่า ปุรา กายสฺส เภทา ก่อนแต่กายแตก คือก่อนแต่กรช-

กาย (ร่างกาย) แตกนั่นเอง. บทว่า อตฺตภาวสฺส ได้แก่ อัตภาพ

ทั้งสิ้น. บทว่า กเฬวรสฺส นิกฺเขปา ก่อนแต่ทิ้งซากศพ คือตั้งสรีระไว้.

บทว่า ชีวิตินฺทฺริยสฺส อุปจฺเฉทา ก่อนแต่ขาดชีวิตินทรีย์ คือ

ก่อนแต่ขาดชีวิตินทรีย์สองอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 71

บทว่า ปุพฺพนฺโต วุจฺจติ อตีโต อทฺธา อดีตกาลท่านเรียกว่าส่วน

เบื้องต้น คืออดีตกาลอันเป็นส่วนเบื้องต้นท่านกล่าวว่า กาลล่วงไปแล้ว.

บทว่า อตีต อทฺธาน อารพฺภ พระอรหันต์ปรารภถึงอดีตกาล คือ

ละตัณหาได้เพราะอาศัยอดีตกาล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึง ภัทเทกรัตตปริยาย (ปริยาย

ว่าด้วยราตรีเดียวเจริญ) แม้อื่นอีกจึงตรัสคำมีอาทิว่า อถวา อีกอย่างหนึ่ง

ดังนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า เอวรูโป อโหสึ เราได้มีรูปอย่างนั้น คือ

เราได้มีรูปอย่างนั้นโดยเป็นรูปที่น่าพอใจอย่างนี้ว่า แม้จะดำก็ได้มีสีเหมือน

แก้วมณีสีคราม. ในอดีตกาลเราได้มีเวทนาอย่างนี้ ด้วยอำนาจสุขเวทนา

โสมนัสเวทนาอันเป็นกุศล เราได้มีสัญญาอย่างนี้ ได้มีสังขารอย่างนี้ ได้มี

วิญญาณอย่างนี้ ด้วยอำนาจสัญญาเป็นต้นอันสัมปยุตด้วยเวทนานั้นนั่นเอง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นนฺทึ สมนฺนาเนติ ไม่เป็นไปตามความเพลิด-

เพลิน คือพระอรหันต์ทั้งหลายไม่เป็นไปตามความอยากในรูปเป็นต้น

เหล่านั้น หรือทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยความอยากนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงมหากัจจานภัทเทกรัตตปริ-

ยายโดยปริยายอื่นอีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า อถวา อิติ เม จกฺขุ อโหสิ

อีกอย่างหนึ่ง เราได้มีจักษุดังนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า จกฺขุ ได้แก่ จักษุ-

ประสาท. บทว่า รูปา ได้แก่ รูปอันมีสมุฏฐาน ๔. โดยนัย

นี้พึงทราบแม้อายตนะที่เหลือ. บทว่า วิญฺาณ ได้แก่ วิญญาณอัน

เป็นที่อาศัย. บทว่า น ตหภินนฺทติ ไม่เพลินจักษุและรูปนั้น คือไม่

เพลินจักษุและรูปนั้นด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า มโน ในบทนี้

ว่า อิติ เม มโน อโหสิ อิติ ธมฺมา เราได้มีใจดังนี้ มีธรรมารมณ์ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 72

เป็นภวังคจิต. บทว่า ธมฺมา ได้แก่ ธรรมารมณ์อันเป็นไปในภูมิ ๓.

บทว่า หสิตลปิตกีฬิตานิ ได้แก่ หัวเราะเจรจาเล่น คือหัวเราะจน

เห็นฟัน เจรจาพร่ำเพรื่อและเล่นกายกรรมเป็นต้น. บทว่า น ตทสฺสาเทติ

คือ พระอรหันต์ย่อมไม่พอใจการหัวเราะเป็นต้น เหล่านั้น. บทว่า น ต

นิกาเมติ ไม่ชอบใจการหัวเราะเป็นต้นนั้น คือไม่ทำความใคร่. บทว่า

น เตน จ วิตฺตึ อาปชฺชติ คือ พระอรหันต์ไม่ถึงความปลื้มใจ คือความ

ยินดีด้วยการหัวเราะเป็นต้นนั้น.

บทว่า ต ต ปจฺจย ปฏิจฺจ อุปฺปนฺโน เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย

นั้น ๆ คือปัจจุบัน. บทว่า รตฺโตติ นูปสงฺเขยฺโย คือ อันใคร ๆ นับ

ไม่ได้ว่าเป็นผู้กำหนัดด้วยความยินดี. แม้ในตอนต่อ ๆ ไปก็มีนัยนี้เหมือน

กัน. พึงทราบความเป็นไปตามความเพลิน อันได้แก่ความเป็นไปด้วย

ตัณหาและทิฏฐิ ด้วยอำนาจรูปที่ประณีตและน่าพึงพอใจเป็นต้น แม้ใน

บทมีอาทิว่า เอวรูโป สิยา พึงเป็นผู้มีอย่างนี้เป็นรูปดังนี้. บทว่า

ปณิทหติ คือ ไม่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจความปรารถนา. บทว่า อปฺปณิธาน-

ปจฺจยา เพราะเหตุไม่ตั้งใจไว้ คือเพราะเหตุไม่ตั้งความปรารถนาไว้.

บทว่า อสนฺตาสี ผู้ไม่สะดุ้ง คือไม่สะดุ้งเพราะไม่ได้นั้น ๆ. บท

ว่า อวิกตฺถี ผู้ไม่โอ้อวด คือมีปกติไม่โอ้อวดด้วยศีลเป็นต้น. บทว่า

อกุกฺกุจฺโจ ไม่มีความคะนอง คือเว้นจากความคะนองมือเป็นต้น. บทว่า

มนฺตภาณี พูดด้วยปัญญา คือกำหนดด้วยปัญญาก่อนแล้วจึงกล่าว. บทว่า

อนุทฺธโต ไม่ฟุ้งซ่าน คือเว้น จากการฟุ้งซ่าน. บทว่า สเว วาจายโต

สำรวมวาจา คือสำรวมระวังการพูด เป็นผู้กล่าววาจาเว้น จากโทษ ๔

ประการ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 73

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้ไม่โกรธในคำว่าผู้ไม่โกรธ คือเว้น

จากความโกรธ ก็แต่ว่าความโกรธควรกล่าวก่อนที่จะกล่าวคำใด. บทว่า

โกโธ ตาว วตฺตพฺโพ ได้แก่ ควรกล่าวความโกรธก่อน. บทว่า

ทสหากาเรหิ โกโธ ชายติ ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการ ๑๐ อย่าง.

บทว่า อนตฺถ เม อจริ เขาได้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เรา คือ

ได้กระทำความไม่เจริญให้แก่เรา. พึงทราบความในทุกบทโดยทำนองนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ความโกรธย่อมเกิดในที่ไม่ใช่ฐานะ คือไม่ใช่เหตุที่ควร

โกรธ เพราะบางคน ฝนตกมากก็โกรธ ฝนไม่ตกเลยก็โกรธ พระอาทิตย์

ร้อนไปก็โกรธ ไม่ร้อนก็โกรธ เมื่อลมพัดก็โกรธ ไม่พัดก็โกรธ ไม่

สามารถจะกวาดใบไม้ที่ต้นโพธิ์ได้ก็โกรธ ไม่สามารถจะห่มจีวรได้ก็โกรธ

ลม สะดุดหกล้มก็โกรธตอ ท่านกล่าวว่า ความอาฆาตย่อมเกิดในที่อัน

ไม่ใช่ฐานะหมายถึงข้อนี้. ความต่างแห่งกรรมบถย่อมมีได้เพราะเกิดขึ้น

ปรารภสัตว์ทั้งหลายในฐานะ ๙ อย่างในหนหลังนั้น. แต่ความอาฆาตในที่

ไม่ใช่ฐานะเกิดในสังขารทั้งหลายย่อมไม่กระทำความต่างแห่งกรรมบถ. จิต

ปองร้ายเพราะจิตเกิดอาฆาต. ความมุ่งร้ายมีกำลังกว่า. ความขัดเคืองด้วย

อำนาจความเบียดเบียน. ความขุ่นเคืองเพราะโกรธตอบ. ความเคืองด้วย

อำนาจความโกรธ. บทว่า ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ เพิ่มด้วยอำนาจ

ของอุปสัค. ความชังด้วยอำนาจการประทุษร้าย. บทว่า ความชังทั่ว ความ

ชังเสมอ เพิ่มด้วยอำนาจของอุปสัค. ความที่จิตเห็นผิด อาการเห็นผิด

อาการเปลี่ยนแปลง ชื่อว่าความพยาบาทแห่งจิต. ชื่อว่าความประทุษร้าย

ทางใจเพราะใจเกิดประทุษร้าย. ความโกรธด้วยอำนาจความเคือง. กิริยาที่

โกรธมีอาการเคือง. ความเป็นผู้โกรธคือความเป็นผู้เคือง. ความชังเพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 74

ความประทุษร้าย. อาการชังคือกิริยาที่ชัง. ความเป็นผู้ชังคือความเป็นผู้

ประทุษร้าย. ความพยาบาทคือความปองร้ายเพราะละภาวะเดิม. อาการ

ปองร้ายคือกิริยาที่พยาบาท. ความพิโรธเพราะความมุ่งร้าย. ความพิโรธ

ตอบเพราะความมุ่งร้ายบ่อย ๆ. บทนี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจของอาการพิโรธ

และอาการพิโรธตอบ. คนกระด้างดุร้ายท่านกล่าวว่า ความเป็นผู้ดุร้าย

ความเป็นผู้ดุร้ายชื่อว่าจัณฑิกกะ. ชื่อว่าเป็นผู้เพาะวาจาชั่ว เพราะไม่เป็นผู้

เพาะวาจาดี การพูดชั่วยังไม่บริบูรณ์ทีเดียว. จริงอยู่ ในเวลาโกรธย่อมไม่มี

คำพูดที่บริบูรณ์. แม้บทว่าวาจาบริบูรณ์จะมีแก่ใคร ๆ ก็ไม่เป็นประมาณ.

อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ชื่อว่า อัสสุโรปะ เพราะเพาะน้ำตา ด้วยอรรถ

ว่าให้เกิดน้ำตา. นั่นไม่ใช่เหตุเพราะแม้ดีใจก็เกิดน้ำตาได้. ความไม่แช่มชื่น

แห่งจิตเพราะไม่มีใจแช่มชื่น โดยตรงกันข้ามกับมีใจแช่มชื่นดังได้กล่าวไว้

ในหนหลัง. ก็เพราะความไม่แช่มชื่นแห่งจิตนั้นย่อมมีแก่จิตเท่านั้นไม่มี

แก่สัตว์ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า จิตฺตสฺส แห่งจิต. บทว่า อธิมตฺตปริตฺตตา

เวทิตพฺพา ควรรู้ความโกรธมากโกรธน้อย คือความมากและความน้อย

อธิบายว่า ความโกรธมีกำลังมากและมีกำลังอ่อน. บทว่า กิญฺจิ กาเล

คือ บางครั้ง. ปาฐะว่า กิญฺจิ กาล บางเวลาบ้าง. บทว่า จิตฺตาวิล-

กรณมตฺโต โหติ คือ ความโกรธเป็นเพียงทำจิตให้ขุ่นมัว. อธิบายว่า

เป็นเพียงทำจิตให้เศร้าหมอง. ปาฐะว่า จิตฺตปิฬากรณมตฺโต เป็น

เพียงกระทำการบีบคั้นจิตบ้าง. นั้นไม่ดี. อธิบายว่า เป็นเพียงทำจิตนั้น

ให้ลำบาก. บทว่า น จ ตาว มุขกุลานวิกุลาโน โหติ แต่ยังไม่

ถึงให้หน้าเง้าหน้างอก็มี คือไม่ถึงทำหน้าเบี้ยวหน้าบูดก็มี. บทว่า น จ

ตาว หนุสญฺโจปโน โหติ ความโกรธไม่ถึงทำให้คางสั่นก็มี คือไม่ถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 75

ทำให้คางสั่นไปมาก็มี. บทว่า น จ ตาว ผรุสวาจ นิจฺฉารโณ โหติ

ความโกรธยังไม่ให้เปล่งผรุสวาจาก็มี คือความโกรธยังไม่ถึงออกภายนอก

ด้วยการเปล่งผรุสวาจาตัดจุดสำคัญของร่างกายของตนอื่น. บทว่า น จ

ตาว ทิสาวิทิส อนุวิโลกโน โหติ ความโกรธไม่ถึงให้เหลียวดูทิศต่าง ๆ

ก็มี คือไม่ถึงให้เหลียวดูทิศน้อยบ่อย ๆ เพื่อหาท่อนไม้เป็นต้น เพื่อเงื้อตี

คนอื่น. บทว่า น จ ตาว ทณฺฑสตฺถปรามสโน โหติ ความโกรธ

ยังไม่ถึงจับท่อนไม้และศัสตราก็มี คือไม่ถึงจับท่อนไม้และศัสตรามีคมข้าง

เดียวเป็นต้น เพื่อความอาฆาต. บทว่า น จ ตาว ทณฺฑสตฺถ อพฺภุกฺ-

กิรโณ โหติ ความโกรธยังไม่ถึงเงื้อท่อนไม้และศัสตราก็มี คือไม่ถึง-

เงื้อท่อนไม้และศัสตราประหารดังที่กล่าวไว้แล้วก็มี. บทว่า น จ ตาว

ทณฺฑสตฺถ อภินิปาตโน โหติ ความโกรธยังไม่ถึงให้ท่อนไม้และศัสตรา

ถูกต้องก็มี คือยังไม่ถึงขว้างท่อนไม้และศัสตราสองอย่างเพื่อประหารคน

อื่น. บทว่า น จ ตาว ฉิทฺทวิฉิทฺหกรโณ โหติ ความโกรธยังไม่ถึงทำ

ให้เป็นแผลใหญ่ก็มี คือไม่ทำให้ร่างกายคนอื่นแยกออกเป็นเสี่ยง ๆ ด้วย

การขว้างท่อนไม้และศัสตราเป็นต้น และไม่ทำให้เป็นแผลโดยอาการหลาย

อย่าง. ปาฐะว่า ฉินฺหวิฉินฺทกรโณ ก็มีบ้าง. บทว่า น จ ตาว

สมฺภญฺชนปลิภญฺชโน โหติ ความโกรธยังไม่ถึงทำให้กระดูกหักก็มี คือ

ยังไม่ถึงทำให้ร่างกายขาดเป็นจุณวิจุณไป. บทว่า น จ ตาว องฺคมงฺคา-

ปกฑฺฒโน โหติ ความโกรธยังไม่ถึงทำให้อวัยวะน้อยใหญ่หลุดไปก็มี คือ

ยังไม่ถึงทำให้อวัยวะน้อยใหญ่แหลกละเอียดไป. บทว่า น จ ตาว ชีวิตา

ปนาสโน โหติ ความโกรธยังไม่ถึงให้ชีวิตดับก็มี คือยังไม่ถึงให้ชีวิตินทรีย์

ดับ. บทว่า น จ ตาว สพฺพงฺคปริจฺจาคาย สณฺิโต โ หติ ความโกรธ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 76

ไม่ถึงเสียสละชีวิตของตนให้หมดไปก็มี คือยังไม่ถึงเพื่อให้ชีวิตทั้งหมดของ

ผู้อื่นพินาศ หรือชีวิตของตนพินาศ. ข้อนี้ท่านอธิบายว่า เมื่อใดดำรงอยู่

เพื่อฆ่าผู้อื่นแล้วจึงฆ่าคน เมื่อนั้นชื่อว่าสละอวัยวะให้หมด. สมดังที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

บุคคลฆ่าความโกรธเสียได้ย่อมอยู่เป็นสุข ฆ่าความ

โกรธได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ดูก่อนพราหมณ์ พระอริย-

เจ้าทั้งหลาย ทรงสรรเสริญการฆ่าความโกรธ อันมีราก

เป็นพิษ มียอดหวาน เพราะว่าบุคคลฆ่าความโกรธได้

แล้วย่อมไม่เศร้าโศก.

บทว่า ยโต แปลว่า เมื่อใด. บทว่า ปรปุคฺคล ฆาเตตฺวา

ความโกรธให้ฆ่าบุคคลอื่น คือทำบุคคลอื่นให้พินาศ. บทว่า อตฺตาน

ฆาเตติ ความโกรธให้ฆ่าตน คือยังตนให้ตาย. บทว่า ปรมุสฺสาหคโต

ความโกรธเป็นไปรุนแรงอย่างหนัก คือถึงความมีกำลังอย่างยิ่ง. บทว่า

ปรมเวปุลฺลปฺปตฺโต คือ ถึงความเป็นของมากอย่างยิ่ง. บทว่า โกธสฺส

ปหีนตฺตา เพราะละความโกรธได้เเล้ว คือเพราะความโกรธมีประการดังกล่าว

แล้วได้ด้วยอนาคามิมรรค. บทว่า โกชวตฺถุสฺส ปริญฺาตตฺตา เพราะ

กำหนดรู้วัตถุแห่งความโกรธ คือเพราะกำหนดรู้วัตถุอันได้แก่สิ่งน่ารัก

ไม่น่ารัก และสิ่งอันไม่ใช่ฐานะอันเป็นที่ตั้งเป็นเหตุแห่งความโกรธ ด้วย

ญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการรู้) ติรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการ

พิจารณา). บทว่า โกธเหตุสฺส อุปจฺฉินฺนตฺตา เพราะตัดเหตุแห่งความ

โกรธเสีย คือเพราะตัดจิตตุปบาทอันสหรคตด้วยโทมนัสอันเป็นเหตุให้

ความโกรธเกิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 77

บทว่า ตาสี เป็นผู้สะดุ้ง คือมีความกลัวเป็นปกติ. บทว่า อุตฺตาสี

เป็นผู้หวาดเสียว คือมีความกลัวอย่างยิ่งเป็นปกติ. บทว่า ปริตฺตาสี

เป็นผู้สยดสยอง คือมีความกลัวเป็นปกติโดยรอบ. บทว่า ภายติ ย่อมกลัว

คือย่อมถึงความกลัว. บทว่า สนฺตาส อาปชฺตติ ย่อมถึงความสะดุ้ง

คือย่อมถึงความผิดรูป. บทว่า กตฺถี โหติ เป็นผู้อวด คือมีปกติกล่าว

คุณของคน. บทว่า วิกตฺถี เป็นผู้โอ้อวด คือเป็นผู้มีปกติกล่าวคุณโดย

ประการต่าง ๆ หลายอย่าง. บทว่า ชาติยา วา ถึงพร้อมด้วยชาติบ้าง

คือถึงพร้อมด้วยชาติมีความเป็นกษัตริย์เป็นต้น. บทว่า โคตฺเตน วา ด้วย

โคตรบ้าง คือโคตรชั้นอุกฤษฏ์ มีโคตมโคตรเป็นต้น. บทว่า โกลปุตฺ-

ติเกน วา ด้วยเป็นบุตรแห่งตระกูลบ้าง คือด้วยความเป็นผู้มีตระกูล

ใหญ่. บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย วา ด้วยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง คือ

ด้วยความเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ด้วยผิวพรรณ. สรีระท่านเรียกว่า โปกขระ

อธิบายว่า เพราะมีรูปงามสมบูรณ์ด้วยผิวพรรณแห่งสรีระนั้น. บทว่า

ธเนน วา เป็นอาทิ มีความง่ายทั้งนั้น .

บทว่า กุกฺกุจฺจ ความรำคาญ เป็นบทแสดงหัวข้อของบทขยาย.

ในบทนั้น การทำที่น่าเกลียดชื่อว่า กุกฺกต. ความเป็นแห่งการกระทำอัน

น่าเกลียดนั้น ชื่อว่า กุกกุจจะ. ความน่าเกลียดนั้นพึงเห็นว่า มีความเดือด

ร้อนในภายหลังเป็นลักษณะ มีการเศร้าโศกถึงสิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ

เป็นรส มีความเดือดร้อนเป็นปัจจุปัฏฐานะ (ความปรากฏ) มีการกระทำ

และไม่กระทำเป็นปทัฏฐานดุจความเป็นทาส. บทว่า หตฺถกุกฺกุจฺจมฺปิ

ความรำคาญมือบ้าง คือท่าความน่าเกลียดด้วยมือ ชื่อว่า กุกฺกต. ความเป็น

แห่งความน่าเกลียดด้วยมือนั้นชื่อว่า หัตถกุกกุจจะ แม้ในความทำความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 78

รำคาญด้วยเท้าเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อกปฺปิเย กปฺปิยสญฺ-

ิตา ความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร คือเคี้ยวกินเนื้อหมีว่าเป็นเนื้อสุกร

บริโภคโภชนะอันเป็นอกัปปิยะว่าเป็นโภชนะอันเป็นกัปปิยะ บริโภคใน

เวลาวิกาลด้วยสำคัญว่าเป็นกาล ดื่มน้ำที่เป็นอกัปปิยะ ว่าเป็นน้ำกัปปิยะ นี้

ชื่อว่าความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร. บทว่า กปฺปิเย อกปฺปิยสญฺิตา

ความสำคัญในสิ่งควรว่าไม่ควร คือเคี้ยวกินเนื้อสุกรว่าเป็นเนื้อหมี เคี้ยว

กินเนื้อมฤคว่าเป็นเนื้อเสือเหลือง บริโภคโภชนะที่เป็นกัปปิยะว่าเป็น

โภชนะที่เป็นอกัปปิยะ บริโภคในกาลสำคัญว่าเป็นในเวลาวิกาล ดื่มน้ำ

ที่เป็นกัปปิยะว่าเป็นอกัปปิยะ นี้ชื่อว่าสำคัญในสิ่งควรว่าไม่ควร. บทว่า

อวชฺเช วชฺชสญฺิตา คือ ความสำคัญในสิ่งไม่มีโทษว่ามีโทษ. บทว่า

วชฺเช วชฺชสญฺิตา คือ ความสำคัญในสิ่งมีโทษว่าไม่มีโทษ. บทว่า

กุกฺกุจฺจายนา ความรำคาญ คืออาการแห่งความรำคาญ. บทว่า กุกฺกุจฺ-

จายิตฺตฺต กิริยาที่รำคาญ คือความเป็นสิ่งที่น่ารำคาญ. บทว่า เจตโส

วิปฺปฏิสาโร ความเดือดร้อนจิต คือจิตผิดรูปจิตพล่าน. บทว่า มโน-

วิเลโข คือ ความกลุ้มใจ. บทว่า กตตฺตา จ อกตตฺตา จ เพราะทำและ

เพราะไม่ทำ คือเพราะทำกายทุจริตเป็นต้น และเพราะไม่ทำกายสุจริตเป็น

ต้น. บทว่า กต เม กายทุจฺจริต เราทำกายทุจริต คือเราทำความ

ประพฤติทุจริตทางกาย เพราะความเน่าของกิเลสทางกาย. บทว่า อกต

เม กายสุจริต เราไม่ทำกายสุจริต คือเราไม่ทำความประพฤติสุจริตทางกาย.

แม้ในวจีทุจริต และวจีสุจริตเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า จิตฺตสฺส แห่งจิต คือไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล. บทว่า

อุทฺธจฺจ ฟุ้งซ่าน. บทว่า อวูปสโม คือ ไม่สงบ. บทว่า เจตโส วิกฺเขโป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 79

ได้แก่ จิตกวัดแกว่ง. บทว่า ภนฺตตฺต จิตฺตสฺส ความที่จิตหมุนไป

คือความที่จิตหมุนไป ดุจยานหมุนไปและโคหมุนไปเป็นต้น. ด้วยบทนี้

ท่านกล่าวความดิ้นรนในอารมณ์เดียวนั่นแล. จริงอยู่ ความฟุ้งซ่านย่อม

ดิ้นรนไปในอารมณ์เดียว ความสงสัยย่อมดิ้นรนไปในอารมณ์ต่าง ๆ

บทว่า อิท วุจฺจติ อุทฺธจฺจ คือ นี้ท่านเรียกว่าความฟุ้งซ่าน.

บทว่า มุสา ในบทว่ามุสวาท ปหาย ละมุสาวาท นี้เป็นวจีประโยค

หรือกายประโยค อันหักเสียซึ่งประโยชน์ของผู้มุ่งจะกล่าวให้ผิด เจตนาอัน

มีกายประโยคหรือวจีประโยคเป็นที่ตั้งของผู้พูดเพื่อให้คนอื่นเข้าใจผิด โดย

ความประสงค์จะพูดให้ผิด ชื่อว่ามุสาวาท. อีกนัยหนึ่ง. บทว่า มุสา คือเป็น

วัตถุที่ไม่จริง ไม่แท้. บทว่า วาโท คือ การให้เขารู้วัตถุนั้นโดยความเป็น

จริงโดยความแท้. อนึ่งโดยลักษณะเจตนาอันจะให้เขารู้อย่างนั้นตั้งขึ้นแก่ผู้

ประสงค์จะให้ผู้อื่นรู้วัตถุอันไม่เป็นจริงโดยความเป็นจริง ก็ชื่อว่ามุสาวาท.

ซึ่งมุสาวาทนั้น. บทว่า ปหาย ละมุสาวาทนั้น คือละความเป็นผู้ทุศีลอันได้

แก่ เจตนาจะพูดเท็จนี้เสีย. บทว่า ปฏิวิรโต เว้นขาด คืองดเว้นจาก

ความเป็นผู้ทุศีลนั้นตั้งแต่เวลาละได้แล้ว. พึงทราบความในบททั้งหลายเห็น

ปานนี้แม้อื่นโดยนัยนี้ว่า แม้ความคิดว่าจักล่วงก็ยังไม่มี จะกล่าวไปทำไมถึง

ธรรมอันควรรู้ด้วยจักษุโสตะและกายเล่า. ชื่อว่า สจฺจวาที เพราะพูดจริง.

ชื่อว่า สจฺจสนฺโธ ดำรงคำสัตย์ เพราะสืบทอดคำสัตย์ไว้ด้วยความจริง

อธิบายว่า ไม่พูดเท็จในระหว่าง ๆ. เพราะคนใดบางครั้งพูดเท็จ บาง

ครั้งพูดจริง คำสัตย์ของบุคคลนั้นไม่สืบต่อด้วยความสัตย์ เพราะเขาพูด

เท็จในระหว่าง เพราะฉะนั้น คนนั้นได้ชื่อว่าไม่ดำรงคำสัตย์. บุคคลนี้ไม่พูด

เท็จ แม้เพราะเหตุความเป็นอยู่ ย่อมดำรงความสัตย์ไว้ด้วยความสัตย์เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

กัน ก็ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ดำรงคำสัตย์, บทว่า เถโต คือมั่นคง. อธิบายว่า

มีถ้อยคำมั่นคง, บุคคลคนหนึ่งเป็นผู้มีถ้อยคำไม่มั่นคง ดุจสีย้อมผ้า ดุจหลัก

ปักที่กองแกลบ และดุจฟักวางบนหลังม้าฉะนั้น คนหนึ่งมีถ้อยคำมั่นคง

ดุจรอยจารึกบนแผ่นหิน และดุจเสาเขื่อนฉะนั้น. แม้จะเอาดาบตัดศีรษะก็

ไม่ยอมพูดเป็นคำสอง. บุคคลนี้ท่านเรียกว่าผู้มีวาจามั่นคง. บทว่า ปจฺจยิโก

คือเชื่อถือได้ อธิบายว่า มั่นอยู่ในคำสัตย์. จริงอยู่ คนบางคนเชื่อถือไม่ได้

เมื่อเขากล่าวว่า คนโน้นพูดเรื่องอะไร ก็พูดว่า พวกท่านอย่าเชื่อคำของ

เขาเลย. คนหนึ่งเชื่อถือได้ เมื่อเขากล่าวว่า คนโน้นพูดเรื่องอะไรก็พูดว่า

ผิว่า คนนั้นพูดถือเป็นประมาณได้ ไม่ต้องสอบสวน นี้ต้องเป็นอย่างนั้น

ดังนี้ บุคคลนี้ท่านกล่าวว่า เป็นบุคคลเชื่อถือได้. บทว่า อวิสวาทโก

โลกสฺส ไม่พูดให้เคลื่อนคลาดแก่โลก อธิบายว่า ไม่พูดให้ชาวโลก

เข้าใจผิด เพราะเป็นผู้กล่าวคำสัตย์นั้น. พึงทราบความในบทมีอาทิว่า

ปิสุณาวาจ ปหาย ละปิสุณาวาจา ดังต่อไปนี้ วาจาที่บุคคลพูดทำให้

เขารักตน ทำความส่อเสียดแก่ผู้อื่น ชื่อว่าปิสุณาวาจา. วาจาที่ทำความหยาบ

ให้คนบ้าง ให้ผู้อื่นบ้าง แม้วาจาเองก็หยาบไม่เพราะหู ไม่สุขใจ ชื่อว่า

ผรุสวาจา. บุคคลผู้กล่าวคำเพ้อเจ้อไม่มีประโยชน์ ชื่อว่าสัมผัปปลาปะ. แม้

เจตนาใดอันเป็นเหตุแห่งคำพูดเหล่านั้น ย่อมได้ชื่อว่าปิสุณาวาจาเป็นต้น

เหมือนกัน เจตนานั้นท่านประสงค์เอาในที่นี้. บทว่า อิเมส เภทาย เพื่อ

ทำลายคนหมู่นี้ คือเพื่อทำลายผู้ที่ฟังในสำนักของผู้ที่กล่าววาจาแต่สำนักนี้.

บทว่า ภินฺนาน วา สนฺธาตา สมานคนที่แตกกัน คือเมื่อมิตร

สองคนหรือผู้ที่ร่วมอุปัชฌาย์กันเป็นต้น แตกกันด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง

เข้าไปหาคน ๆ หนึ่ง แล้วกล่าวคำมีอาทิว่า การแตกกันนี้ไม่สมควรแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 81

ท่านทั้งหลายผู้เกิดในตระกูลเช่นผู้เป็นพหูสูตอย่างนี้ ชื่อว่าทำความสมาน.

บทว่า อนุปฺปทาตา ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกัน คือส่งเสริมคนที่

สมานกัน. อธิบายว่า เห็นคนสองคนพร้อมเพรียงกัน แล้วกล่าวคำ

มีอาทิว่า นี้สมควรแก่พวกท่านผู้เกิดในตระกูลเห็นปานนี้ ประกอบด้วย

คุณเห็นปานนี้แล้วทำให้หนักแน่นยิ่งขึ้น. ชื่อว่า สมคฺคาราโม เพราะ

มีความพร้อมเพรียงเป็นที่มายินดี. อธิบายว่า ความพร้อมเพรียงไม่มีในที่ใด

ไม่ควรแม้จะอยู่ในที่นั้น. บาลีว่า สมคฺคราโม ดังนี้บ้าง. ความอย่างเดียว

กัน. บทว่า สมคฺครโต คือ ยินดีในบุคคลผู้พร้อมเพรียงกัน อธิบายว่า

ละบุคคลเหล่านั้นแล้วไม่ปรารถนาจะไปในที่อื่น. ชื่อว่า สมคฺคนนฺที เพราะ

เห็นก็ดี ฟังก็ดี ซึ่งบุคคลผู้พร้อมเพรียงกันย่อมยินดี. บทว่า สมคฺคกรณึ

วาจ ภาสิตา กล่าววาจาทำให้เขาพร้อมเพรียงกัน คือกล่าววาจาที่ทำให้

สัตว์ทั้งหลายพร้อมเพรียงกันอันแสดงถึงคุณของความสามัคคี มิใช่นอก

เหนือไป. เจตนาหยาบโดยส่วนเดียวยังกายประโยคและวจีประโยคให้ตั้งขึ้น

ตัดความรักของบุคคลอื่น ชื่อว่า ผรุสวาจา. บทว่า เนลา กล่าววาจา

ที่ไม่มีโทษ โทษท่านเรียกว่าเอลา. ชื่อว่า เนลา เพราะวาจาไม่มีโทษ.

ดุจ เนลา ที่ท่านกล่าวไว้ในคาถานี้ว่า เนลงฺโค เสตปจฺฉาโท ไม่มีโทษ

(บริสุทธิ์ ) คลุมด้วยผ้าขาว. บทว่า กณฺณสุขา ไพเราะโสต คือวาจาสบายหู

เพราะไพเราะด้วยพยัญชนะไม่เกิดแสลงหูดุจเข็มแทงหู. ชื่อว่า เปมนิยา

เพราะไม่เกิดความโกรธ ให้เกิดความรักไปทั่วกาย เพราะไพเราะ

ด้วยอรรถบทว่า หทยงฺคมา วาจาหยั่งลงถึงหทัย. ชื่อว่า หทยงฺคมา

เพราะไม่มีอะไรกระทบไปถึงหทัยเข้าไปสู่จิตโดยสะดวก. ชื่อว่า โปรี เพราะ

เป็นคำของชาวเมือง บริบูรณ์ด้วยคุณ. อนึ่ง ชื่อว่า โปรี เพราะเป็นเด็กดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 82

ดุจนารีผู้เจริญในบุรี. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า โปรี เพราะเป็นวาจาของชาวเมือง.

อธิบายว่า เป็นคำพูดของชาวเมือง. จริงอยู่ ชาวเมืองเป็นผู้พูดเหมาะสม

ย่อมเรียกคนปูนบิดาว่าบิดา คนปูนพี่ว่าพี่. ชื่อว่า พหุชนกนฺตา เพราะ

คำพูดเห็นปานนี้ ย่อมเป็นที่พอใจของชนหมู่มาก. ชื่อว่า พหุชนมนาปา

เพราะเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก ทำความงดงามให้แก่ใจ ด้วยเป็นวาจา

ที่พอใจ. อกุศลเจตนาอันยังกายประโยค และวจีประโยคให้ตั้งขึ้นด้วย

ให้รู้ความไม่มีประโยชน์ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ. ชื่อว่า กาลวาที เพราะพูด

ถูกกาลอันควร. อธิบายว่า พูดตามกำหนดกาลที่ควรพูด. ชื่อว่า ภูตวาที

เพราะพูดจริงแท้ตามความจริง. ชื่อว่า อตฺถวาที เพราะพูดอิงประโยชน์

ปัจจุบันและประโยชน์ในภายหน้า. ชื่อว่า ธมฺมวาที เพราะพูดอิงโลกุตร-

ธรรม ๙. ชื่อว่า วินยวาที เพราะพูดอิงสังวรวินัย (การสำรวม) และ

ปหานวินัย (การละ). ชื่อว่า นิธานวตี เพราะมีวาจาเป็นหลักฐาน ที่ท่าน

เรียกว่านิธาน. อธิบายว่า กล่าวคำพูดอันควรจำไว้ในหทัย. บทว่า กาเลน

โดยกาลอันควร คือแม้เมื่อจะกล่าววาจาเห็นปานนี้ก็ไม่กล่าวในกาลอันไม่

ควรว่า เราจักกล่าววาจาอันมีหลักฐาน. แต่กล่าวในกาลอันควร. บทว่า

สาปเทส มีที่อ้างอิง อธิบายว่า พร้อมด้วยอุปมา พร้อมด้วยเหตุ.

บทว่า ปริยนฺตวตึ มีส่วนสุด อธิบายว่า แสดงหัวข้อแล้วกล่าวไปตามที่

หัวข้อของวาจานั้นปรากฏ. บทว่า อตฺถสญฺหิต ประกอบด้วยประโยชน์

คือกล่าววาจาประกอบด้วยประโยชน์ เพราะมีประกอบด้วยอรรถที่ผู้นั้น

กล่าว สมบูรณ์ด้วยอรรถอันผู้กล่าวจำแนกไว้หลายนัย สามารถถือเอาได้.

อธิบายว่า มิใช่ยกบทอื่นแล้วกล่าวบทอื่น. บทว่า จตุทฺโทสาปคต วาจ

ภาสติ กล่าววาจาปราศจากโทษ ๔ คือกล่าววาจาปราศจากโทษ ๔

มีมุสาวาทเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 83

บทว่า ทฺวตฺตึสาย ติรจฺฉานกถาย คือ ไม่ประกอบด้วยดิรัจฉาน-

กถา ๓๒ ประการของสัตว์ผู้พ้นจากสวรรค์. บทว่า ทส กถาวตฺถูนิ

กถาวัตถุ ๑๐ ประการ คือเหตุอันเป็นวัตถุแห่งกถาอาศัยวิวัฏฏะ (นิพพาน)

๑๐ ประการมีความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยเป็นต้น. บทว่า อปฺปิจฺโฉ

มีความปรารถนาน้อย ในบทว่า อปฺปิจฺฉกถ นี้ ได้แก่ เว้นความปรารถนา

ไม่มีความปรารถนา ไม่มีความอยาก. อันที่จริงพยัญชนะ ในบทว่า อปฺ-

ปิจฺโฉ นี้ ดูเหมือนจะยังมีพยัญชนะเหลืออยู่. แต่อรรถไม่มีอะไรเหลืออยู่

เลย. เพราะพระขีณาสพไม่มีความปรารถนาแม้แต่น้อย. อีกอย่างหนึ่ง

ในความปรารถนานี้พึงทราบประเภทดังนี้ คือความปรารถนาลาภคนอื่น

เพื่อตน ความปรารถนาลามก ความปรารถนาใหญ่ ความปรารถนาน้อย.

ในประเภทความปรารถนาเหล่านั้นพึงทราบดังนี้ ความปรารถนาลาภ

ของผู้อื่นเพราะไม่อิ่มในลาภของตน ชื่อว่าปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตน.

ผู้ประกอบด้วยความปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตนนั้น แม้ขนมสุกในภาชนะ

หนึ่งที่เขาใส่บาตรของตน ก็ปรากฏเหมือนยังไม่สุกดีและเหมือนเล็กน้อย.

วันรุ่งขึ้นเขาใส่บาตรของผู้อื่น ก็ปรากฏเหมือนสุกดีแล้วและเหมือนมาก.

ความสรรเสริญในคุณอันไม่มี และความไม่รู้จักประมาณในการรับ ชื่อว่ามี

ความปรารถนาลามก. ความปรารถนาลามกนั้นมาแล้วโดยนัยมีอาทิว่า คน

บางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธาปรารถนาว่า ขอให้ชนรู้จักเราว่าเป็นผู้มี

ศรัทธา. บุคคลผู้ประกอบด้วยความปรารถนาลาภนั้น ย่อมตั้งอยู่ในความ

หลอกลวง. ความสรรเสริญคุณอันมีอยู่ และความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณใน

การรับ ชื่อว่ามีความปรารถนาใหญ่. แม้ความปรารถนาใหญ่นั้น ก็มา

แล้วโดยนัยนี้ว่า คนบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า ชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 84

จงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า ชนจงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศีล

ดังนี้ บุคคลผู้ประกอบด้วยความปรารถนาใหญ่นั้นเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยท่อนผ้า,

แม้มารดาผู้ให้กำเนิดก็ไม่สามารถเหนี่ยวรั้งความคิดของเขาได้. สมดังที่

ท่านกล่าวไว้ว่า

กองไฟ มหาสมุทร และบุคคลผู้มีความปรารถนา

ใหญ่ ชนทั้งหลายให้ปัจจัยจนเต็มเกวียน แม้ทั้งสาม

ประเภทนั้นก็หาอิ่มไม่.

ส่วนความเป็นผู้ปิดบังคุณอันมีอยู่ และรู้จักประมาณในการรับ ชื่อ

ว่า มีความปรารถนาน้อย. บุคคลผู้ประกอบด้วยความปรารถนาน้อยนั้น

เพราะประสงค์จะปกปิดคุณแม้ที่มีอยู่ในตน ถึงมีศรัทธา ก็ไม่ปรารถนาว่า

ขอชนจงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศรัทธา ถึงมีศีล เป็นผู้สงัด เป็นพหูสูต เป็นผู้

ปรารภความเพียร เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ เป็นผู้มีปัญญาเป็นพระขีณาสพ

ก็ไม่ปรารถนาว่าชนจงรู้จักเราว่า เป็นพระขีณาสพ เหมือนพระมัชฌัน-

ติกเถระฉะนั้น. ก็แลภิกษุผู้มีความปรารถนาน้อยอย่างนี้ ย่อมยังลาภ

ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทำลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้ถาวร ยังจิตของทายกให้ยินดี.

มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสแล้วในวัตรของภิกษุนั้นย่อมถวายมาก โดยอาการ

ที่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย จึงรับแต่น้อย.

ยังมีความปรารถนาน้อยอื่นอีก ๔ อย่าง คือ ปรารถนาน้อยใน

ปัจจัย ปรารถนาน้อยในธุดงค์ ปรารถนาน้อยในปริยัติ ปรารถนาน้อยใน

อธิคม (ความสำเร็จ, การบรรลุ). ใน ๔ อย่างนั้น ความปรารถนาน้อย

ในปัจจัย ๔ ชื่อว่า ปรารถนาน้อยในปัจจัย. ภิกษุใดรู้กำลังของทายก

รู้กำลังของไทยธรรม รู้กำลังของตน ผิว่า ไทยธรรมมีมาก ทายกประสงค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 85

จะให้น้อยย่อมรับแต่น้อยด้วยกำลังของทายก. ไทยธรรมมีน้อย ทายก

ประสงค์จะให้มาก ย่อมรับแต่น้อยด้วยกำลังของไทยธรรม. แม้ไทยธรรม

ก็มีมาก แม้ทายกก็ประสงค์จะให้มาก รู้กำลังของตนย่อมรับพอประมาณ

เท่านั้น. ไม่ประสงค์จะให้รู้ว่าการสมาทานธุดงค์มีอยู่ในตน ภิกษุนั้น

ชื่อว่า เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยในธุดงค์. ส่วนภิกษุใดไม่ประสงค์จะ

ให้รู้ว่าตนเป็นพหูสุต ภิกษุนี้ชื่อว่า เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยในปริยัติ.

ส่วนภิกษุใดได้เป็นพระโสดาบันเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ปรารถนา

จะให้รู้ว่าตนเป็นพระโสดาบันเป็นต้น ภิกษุนี้ชื่อว่า เป็นผู้มีความปรารถนา

น้อยในอธิคม. ส่วนพระขีณาสพละความปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตน

ความปรารถนาลามก ความปรารถนาใหญ่ได้แล้ว ชื่อว่า เป็นผู้มีความ

ปรารถนาน้อย เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยความปรารถนาน้อยด้วยความ

บริสุทธิ์ คือไม่โลภอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความปรารถนาโดยประการทั้งปวง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงโทษในธรรมเหล่านั้นว่า ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือความปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตน ความ

ปรารถนาลามก ความปรารถนาใหญ่ควรละเสีย ทรงแสดงว่า ควรประ-

พฤติสมาทานความเป็นผู้ปรารถนาน้อยเห็นปานนี้ ชื่อว่าตรัส อปฺปิจฺฉกถา

ความปรารถนาน้อย.

เราจักแสดงอรรถที่ต่างกันในบทเป็นต้นว่า สนฺตุฏฺิกถ กล่าวถึง

สันโดษ. แต่พึงทราบการประกอบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า สนฺ-

ตุฏฺิกถ คือกถาอิงความยินดีปัจจัยตามมีตามได้. ก็สันโดษนั้นมี ๑๒ อย่าง.

๑๒ อย่างนั้นอย่างไร. คือสันโดษในจีวรมี ๓ อย่าง คือ ยถาลาภสันโดษ ๑

ยถาพลสันโดษ ๑ ยถาสารุปปสันโดษ ๑. แม้ในบิณฑบาตเป็นต้นก็เหมือน

กัน. จะพรรณนาถึงประเภทของสันโดษนั้นต่อไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 86

ภิกษุในศาสนานี้ได้จีวรดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม ภิกษุนั้นใช้สอยจีวรนั้น

เท่านั้น ไม่ปรารถนาอย่างอื่น แม้ได้ก็ไม่รับ นี้ชื่อว่า ยินดีตามได้ในจีวร

ของภิกษุนั้น (ยถาลาภสันโดษ). อนึ่ง ภิกษุใดปกติมีกำลังน้อย หรือถูก

อาพาธและชราครอบงำ ห่มจีวรหนักย่อมลำบาก ภิกษุนั้นแลกเปลี่ยน

จีวรนั้นกับภิกษุที่ชอบกัน แล้วใช้สอยจีวรผืนที่เบาเป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อ

ว่า ยินดีตามกำลังในจีวรของภิกษุนั้น (ยถาพลสันโดษ). ภิกษุรูปอื่นได้

ปัจจัยประณีต ภิกษุนั้นได้จีวรมีค่ามาก มีจีวรผ้าไหมเป็นต้นผืนใดผืนหนึ่ง

หรือจีวรหลายผืนแล้วถวายว่า ผืนนี้สมควรแก่พระเถระผู้บวชนาน ผืนนี้

สมควรแก่ท่านผู้เป็นพหูสูต ผืนนี้สมควรแก่ภิกษุอาพาธ ผืนนี้สมควร

แก่ภิกษุผู้มีลาภน้อย ดังนี้ แล้วเลือกจีวรเก่า ๆ ของภิกษุเหล่านั้น หรือ

จีวรที่เปื้อนจากกองหยากเยื่อเป็นต้น เอาจีวรเหล่านั้นใช้เป็นสังฆาฏิ ย่อม

เป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยินดีตามความสมควรในจีวรของภิกษุนั้น (ยถา-

สารุปปสันโดษ).

ส่วนภิกษุในศาสนานี้ได้บิณฑบาตเศร้าหมองก็ตาม ประณีตก็ตาม

ภิกษุนั้นยังชีวิตให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตนั้นเท่านั้น ไม่ปรารถนาอย่างอื่น

แม้ได้ก็ไม่รับ นี้ชื่อว่า ยินดีตามได้ในบิณฑบาตของภิกษุนั้น. อนึ่ง

ภิกษุใดได้บิณฑบาตอันแสลงหรือผิดสำแดงของตน ฉันบิณฑบาตนั้นแล้ว

ไม่สบาย ภิกษุนั้นถวายบิณฑบาตนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกันแล้วฉันโภชนะ

เป็นที่สบายจากมือของภิกษุนั้น แล้วบำเพ็ญสมณธรรม ย่อมเป็นผู้สันโดษ.

นี้ชื่อว่า ยินดีตามกำลังในบิณฑบาตของภิกษุนั้น. ภิกษุรูปอื่นได้บิณฑบาต

อันประณีตมาก ภิกษุนั้นถวายแก่ภิกษุผู้บวชนาน ผู้เป็นพหูสูต ผู้มีลาภน้อย

ผู้อาพาธ เหมือนถวายจีวรนั้น หรือเที่ยวบิณฑบาต แล้วฉันอาหารสำรวม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 87

ที่เหลือของภิกษุเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยินดีตามสมควร

ในบิณฑบาตของภิกษุนั้น.

อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ได้เสนาสนะที่ชอบใจก็ตาม ไม่ชอบใจก็ตาม

ภิกษุนั้นไม่เกิดโสมนัส ไม่เกิดขุ่นข้องด้วยเสนาสนะนั้น ย่อมยินดีตาม

ได้ แม้โดยที่สุดเครื่องลาดทำด้วยหญ้า. นี้ชื่อว่า ยินดีตามได้ในเสนาสนะ

ของภิกษุนั้น. อนึ่งภิกษุใดได้เสนาสนะอันทำลายสุขภาพก็ตาม ทำให้

เจ็บป่วยก็ตาม เมื่ออยู่ในเสนาสนะใดไม่สบาย ภิกษุนั้นให้เสนาสนะนั้น

แก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน แม้อยู่ในเสนาสนะอันเป็นที่สบายในสำนักของภิกษุ

นั้น ก็เป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยินดีตามกำลังในเสนาสนะของภิกษุนั้น

ภิกษุรูปอื่นมีบุญมาก ได้เสนาสนะอันประณีตมาก มีถ้ำ มณฑป และ

เรือนยอดเป็นต้น ภิกษุนั้นถวายแก่ภิกษุผู้บวชนาน เป็นพหูสูต มีลาภน้อย

ผู้อาพาธ เหมือนถวายจีวรเหล่านั้นแล้ว แม้จะอยู่ในที่ไหน ๆ ก็ย่อมเป็น

ผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยินดีตามสมควรในเสนาสนะของภิกษุนั้น. แม้ภิกษุใด

สำเหนียกอยู่ว่า ชื่อว่าเสนาสนะดีเกินไป เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

เมื่อภิกษุนั่ง ณ เสนาสนะนั้นย่อมถูกความหลับครอบงำ ย่อมก้าวลงสู่ความ

ง่วงเหงาหาวนอน ความวิตกลามกย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ตื่นอยู่อีกแล้วไม่

รับเสนาสนะเช่นนั้นแม้มาถึงแล้ว ภิกษุนั้นปฏิเสธเสนาสนะนั้นแล้ว แม้

อยู่ในกลางแจ้งและโคนต้นไม้เป็นต้น ก็เป็นผู้สันโดษ. แม้นี้ก็ชื่อว่า ยินดี

ตามสมควรในเสนาสนะของภิกษุนั้น.

อนึ่ง ภิกษุได้เภสัชเศร้าหมองก็ตาม ภิกษุนั้นได้เภสัชใดยินดีด้วย

เภสัชนั้นเท่านั้น ไม่ปรารถนาอย่างอื่น แม้ได้ก็ไม่รับ. นี้ชื่อว่า ยินดีตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

ได้ในคิลานปัจจัยของภิกษุนั้น. อนึ่ง ภิกษุใดต้องการน้ำมันแต่ได้น้ำอ้อย

ภิกษุนั้นถวายน้ำอ้อยนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกันแล้วรับน้ำมันจากมือของภิกษุ

นั้น หรือแสวงหาอย่างอื่น แม้เอาน้ำมันและน้ำอ้อยเหล่านั้นทำเภสัช ก็

เป็นผู้สันโดษเหมือนกัน. นี้ชื่อว่า ยินดีตามกำลังในคิลานปัจจัยของภิกษุ

นั้น. ภิกษุรูปอื่นมีบุญมากได้เภสัชอันประณีต มีน้ำมันและน้ำอ้อยเป็นต้น

ภิกษุนั้นถวายแก่ภิกษุผู้บวชนาน ผู้เป็นพหูสูต ผู้มีลาภน้อย ผู้อาพาธ

เหมือนถวายจีวรนั้นแล้ว แม้ยังชีวิตของภิกษุเหล่านั้นรูปใด ๆ ที่มาแล้ว ๆ

ให้เป็นไป ก็เป็นผู้สันโดษเหมือนกัน. อนึ่งภิกษุใดอันภิกษุตั้งของหวาน ๔

อย่างไว้ในภาชนะเดียวกันแล้วกล่าวว่า พระคุณเจ้าจงรับสมอดองด้วย

น้ำมูตรในภายในภาชนะหนึ่งที่พระคุณเจ้าปรารถนาเถิด หากโรคของ

ภิกษุนั้นสงบด้วยขนานใดขนานหนึ่งในยาเหล่านั้น ห้ามของหวาน ๔ ว่า

ชื่อว่า สมอดองด้วยน้ำมูตร อันพระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงสรรเสริญ แล้ว

เอาสมอดองด้วยน้ำมูตรทำเภสัช ย่อมเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่งทีเดียว. นี้ชื่อว่า

ยินดีตามสมควรในคิลานปัจจัยของภิกษุนั้น. บรรดาสันโดษแต่ละ ๓ อย่าง

ในปัจจัยทั้งหลาย เฉพาะอย่างเหล่านั้น ท่านกล่าวว่า ยถาสารุปปสันโดษ

(ยินดีตามสมควร) เป็นเลิศ. พระอรหันต์เป็นผู้สันโดษด้วยสันโดษแม้

๓ อย่างเหล่านั้นในปัจจัยอย่างหนึ่ง ๆ.

บทว่า ปวิเวกกถ ได้แก่ กถาเกี่ยวกับความสงัด. จริงอยู่ ความ

สงัดมี ๓ อย่าง คือ สงัดกาย ๑ สงัดจิต ๑ สงัดจากอุปธิ (กิเลส) ๑. ใน

ความสงัด ๓ อย่างนั้น รูปหนึ่งเดิน รูปหนึ่งยืน รูปหนึ่งนั่ง รูปหนึ่งนอน

รูปหนึ่งเข้าไปบิณฑบาต รูปหนึ่งก้าวไป รูปหนึ่งเดินจงกรม รูปหนึ่ง

เที่ยวไป รูปหนึ่งอยู่ นี้ชื่อว่า กายปวิเวก (สงัดกาย). สมาบัติ ๘ ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

จิตตปวิเวก (สงัดจิต). นิพพานชื่อว่า อุปธิปวิเวก (สงัดจากกิเลส). สมดัง

ที่ท่านกล่าวไว้ว่า กายปวิเวกของผู้มีกายตั้งอยู่ในความสงัด จิตตปวิเวกของ

ผู้ยินดีในเนกขัมมะแล้ว อุปธิปวิเวกของบุคคลผู้ไม่มีอุปธิ ผู้มีจิตบริสุทธิ์

ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง ถึงนิพพานแล้วดังนี้.

สังสัคคะ (ความเกี่ยวข้อง) ในบทว่า อสสคฺคกถ (กถาเรื่องการ

ไม่เกี่ยวข้องกัน) นี้มีอยู่ ๕ อย่าง คือ สวนสังสัคคะ (เกี่ยวข้องด้วยการฟัง) ๑

ทัสสนสังสัคคะ (เกี่ยวข้องด้วยการเห็น) ๑ สมุลลปนสังสัคคะ (เกี่ยวข้อง

ด้วยการสนทนา) ๑ สัมโภคสังสัคคะ (เกี่ยวข้องด้วยการบริโภคร่วมกัน) ๑

กายสังสัคคะ (เกี่ยวข้องทางกาย) ๑.

ในสังสัคคะ ๕ อย่างนั้น ภิกษุในศาสนานี้ได้ฟังมาว่า ที่บ้านหรือ

นิคมโน้นมีหญิงหรือหญิงวัยรุ่น มีรูปสวย น่าดู น่ารัก ประกอบด้วยผิว

พรรณงามยิ่งนัก ดังนี้ ภิกษุนั้นได้ฟังดังนั้นแล้วตกหลุมรัก ไม่สามารถ

จะประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ หมดกำลังที่จะเล่าเรียน เวียนมาเพื่อความ

เป็นคนเลว เพราะเหตุนั้น ราคะจึงเกิดด้วยวิถีแห่งโสตวิญญาณของภิกษุนั้น

ผู้ฟังซึ่งสมบัติมีรูปเป็นต้นที่คนอื่นบอกอย่างนี้ หรือฟังเสียงแม้หัวเราะ

และรำพันด้วยตนเอง ชื่อว่า สวนสังสัคคะ.

ภิกษุในศาสนานี้ไม่ได้ฟัง แต่เห็นเองซึ่งหญิงหรือหญิงวัยรุ่นรูปสวย

น่าดู น่ารัก ประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก ภิกษุนั้นเห็นเข้าแล้ว

ตกหลุมรัก ไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ หมดกำลังที่จะเล่าเรียน

เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว เพราะเหตุนั้น ราคะจึงเกิดด้วยวิถีแห่งจักขุ-

วิญญาณของภิกษุผู้แลดูรูปอันเป็นข้าศึกอย่างนี้ ชื่อว่า ทัสสนสังสัคคะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 90

อนึ่ง ราคะเกิดด้วยการสนทนาปราศรัยกันและกัน ชื่อว่า สมุล-

ลปนสังสัคคะ.

ราคะเกิดด้วยภิกษุรับของของภิกษุณี หรือภิกษุณีรับของของภิกษุ

แล้วบริโภคร่วมกัน ชื่อว่า สัมโภคสังสัคคะ.

อนึ่ง ราคะเกิดด้วยการจับมือเป็นต้น ชื่อว่า กายสังสัคคะ.

พระอรหันต์ ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท ๔ ด้วยสังสัคคะ ๕ เหล่านี้

พ้นจากการยึดถือ และพ้นจากการเกี่ยวข้อง กล่าวสรรเสริญคุณของการ

ไม่เกี่ยวข้อง ชื่อว่ากล่าว อสังสัคคกถา.

ในบทว่า วีริยารมฺภกถา กถาปรารภความเพียรนี้ มีความว่า ภิกษุ

ใดเป็นผู้ประคองความเพียรไว้ เป็นผู้มีความเพียรทางกายและทางจิต

บริบูรณ์ ในเวลาเดิน ก็ไม่ให้กิเลสเกิด ในเวลายืน นั่ง นอน ก็ไม่ให้

กิเลสเกิด ประพฤติดุจจับบีบงูเห่าด้วยมนต์ และดุจเหยียบศัตรูที่คอ กล่าว

สรรเสริญคุณของผู้ปรารภความเพียรเช่นนั้น ชื่อว่ากล่าว วีริยารัมภกถา.

บทว่า สีล ในบทว่า สีลกถ กถาว่าด้วยศีลนี้ ได้แก่ จตุปาริ-

สุทธศีล. บทว่า สมาธิ ได้แก่ สมาบัติ ๘ อันมีวิปัสสนาเป็นบาท.

บทว่า ปญฺา ได้แก่ ญาณอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า วิมุตฺติ

ได้แก่ วิมุตติอัน เป็นอรหัตผล. บทว่า วิมุตฺติาณทสฺสน ได้แก่ ปัจจเวก-

ขณญาณ ๑๙ อย่าง. เมื่อจะประกาศคุณของศีลเป็นต้น ชื่อว่า กล่าวกถา

เรื่องศีลเป็นต้น. บทมีอาทิว่า สติปฏฺานกถ อันเป็นบทสุดท้ายของบทว่า

สงฺคชาลมติจฺจ โส มุนิ ก้าวล่วงธรรมเครื่องข้อง และตัณหาเพียง

ดังว่าตาข่าย บุคคลนั้นชื่อว่า เป็นมุนี พึงทราบโดยทำนองดังกล่าว

แล้วในบทก่อน ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 91

บทว่า นิราสตฺตี บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้อง คือไม่มี

ตัณหา. บทว่า วิเวกทสฺสี ผสฺเสสุ ผู้มีปกติเห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย

ได้แก่เห็นวิเวก ในความเป็นตนเป็นต้น ในจักษุสัมผัสเป็นต้น อันเป็น

ปัจจุบัน. บทว่า ทิฏฺีสุ จ น นิยฺยติ และไม่ถูกนำไปในเพราะทิฏฐิ

ทั้งหลาย ได้แก่ไม่ถูกนำไปในเพราะทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในทิฏฐิ ๖๒.

บทว่า วิปริณต วา วติถุ น โสจติ ไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวน

คือละภาวะเดิมแล้วย่อมไม่ถึงความเศร้าโศกในวัตถุไร ๆ ที่เสื่อมไป. บทว่า

วิปริณตสฺมึ วา คือ เมื่อวัตถุแปรปรวนไปแล้ว . บทว่า จกฺขุสมฺผสฺโส

ได้แก่ ผัสสะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ ทำจักษุให้เป็นวัตถุ ชื่อว่า จักขุ-

สัมผัส. แม้ในผัสสะที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน . อนึ่ง ในบทนี้ผัสสะที่มีใน

ก่อน ก็มีจักขุประสาทเป็นต้นเป็นวัตถุทั้งนั้น. มโนสัมผัส มีหทยะเป็นวัตถุ

ก็มี ไม่มีวัตถุก็มี ทั้งหมดเป็นผัสสะเป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า อธิวจน-

สมฺผสฺโส คือ เป็นชื่อของสัมผัสนั้นโดยปริยาย. เพราะอรูปขันธ์ ๓ อย่าง

หมุนไปตามข้างหลังเอง ย่อมทำชื่อของสัมผัสที่เกิดพร้อมกับตนว่าอธิวจน-

สัมผัส. บทว่า ปฏิฆสมฺผสฺโส ปฏิฆสัมผัสโดยนิปริยาย สัมผัสเป็นไปใน

ปัญจทวาร ชื่อปฏิฆสัมผัส สัมผัสเป็นไปในมโนทวาร ชื่อว่าอธิวจนสัมผัส.

บทว่า สุขเวทนีโย ผสฺโส ได้แก่ ผัสสะอันเกิดขึ้นเกื้อกูลแก่สุขเวทนา.

แม้ในสัมผัสทั้งสองนอกจากนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า กุสโล ผสฺโส

ผัสสะอันเป็นกุศล ได้แก่ผัสสะอันเกิดพร้อมกับกุศลจิต ๒๑. บทว่า อกุสโล

ผัสสะเป็นอกุศล ได้แก่ผัสสะอันเกิดพร้อมกับอกุสลจิต ๑๒. บทว่า

อุพฺยากโต ผัสสะอันเป็นอัพยากฤต ได้แก่ผัสสะอันเกิดพร้อมกับอัพยากต-

จิต ๕๖. บทว่า กามารจโร ผัสสะอันเป็นกามาวจร ได้แก่ผัสสะอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 92

เกิดพร้อมกับกามาวจรจิต ๕๔. บทว่า รูปาวจโร ผัสสะอันเป็นรูปาวจร

ได้แก่ ผัสสะอันเกิดพร้อมกับรูปาวจรจิต ๑๕ มีกุศลจิตเป็นต้น. บทว่า

อรูปาวจโร ผัสสะอันเป็นอรูปาวจร ได้แก่ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต

๑๒ ด้วยอำนาจแห่งกุศลจิตและอัพยากตจิต. บทว่า สุญฺโต ผัสสะอัน

เป็นสุญญตะ ได้แก่มรรคอันเกิดขึ้นแก่ผู้เห็นแจ้งด้วยอำนาจแห่งอนัตตานุ-

ปัสสนา ชื่อว่า สุญญตะ ความเป็นของสูญ. ผัสสะอันเกิดพร้อมกับมรรค

นั้นชื่อว่า สุญญตผัสสะ. แม้ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ใน

บทว่า อนิมิตฺโต ผัสสะอันเป็นอนิมิตตะนี้ ได้แก่มรรคอันเกิดขึ้นแก่ผู้

เห็นแจ้งด้วยอำนาจแห่งอนิจจานุปัสสนา ชื่อว่า อนิมิตตะ (หานิมิตมิได้).

บทว่า อปฺปณิหิโต ผัสสะอันเป็นอัปปณิหิตะ (ไม่มีที่ตั้ง) ได้แก่มรรค

อันเกิดขึ้นแก่ผู้เห็นแจ้งด้วยอำนาจทุกขานุปัสสนาชื่อว่า อัปปณิหิตะ. บทว่า

โลกิโย ผัสสะอันเป็นโลกิยะ คือวัฏฏะท่านเรียกว่าโลก เพราะอรรถว่า

เสื่อมโทรมแตกสลายไป ธรรมเป็นไปในภูมิ ๓ เป็นโลกิยะเพราะประกอบ

อยู่ในโลกด้วยความนับเนื่องกันในวัฏฏะนั้น. บทว่า โลกุตฺตโร ผัสสะ

อันเป็นโลกุตระ ได้แก่ผัสสะ ชื่อว่าโลกุตระเพราะข้ามพ้นไปจากโลก.

ผัสสะอันเป็นโลกุตระ เพราะไม่นับเนื่องในโลก. บทว่า อตฺเตน วา

คือ จากความเป็นคนบ้าง. บทว่า อตฺตนิเยน วา คือ จากธรรมที่เนื่อง

ในตนบ้าง.

บทว่า ปฏิลีโน บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น คือปราศจากอกุศลธรรม

นั้น เพราะละราคะเป็นต้นได้. บทว่า อกุหโก ไม่หลอกลวง คือไม่ทำ

ให้พิศวงด้วยวัตถุเป็นเครื่องหลอกลวง ๓ อย่าง. บทว่า อปิหาลุ คือ มี

ปกติไม่ทะเยอทะยาน. ท่านอธิบายว่า เว้นจากความปรารถนาและความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 93

อยาก. บทว่า อมจฺฉรี ไม่ตระหนี่ คือเว้นจากความตระหนี่ ๕ อย่าง.

บทว่า อปฺปคพฺโภ ผู้ไม่คะนอง คือเว้นจากความเป็นผู้คะนองกายเป็นต้น.

บทว่า อเชคุจฺโฉ ไม่เป็นที่รังเกียจ คือไม่น่ารังเกียจ ชื่นตา ชื่นใจ

เพราะสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นต้น.

บทว่า เปสุเณยฺเย จ โน ยุโต ไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจา

ส่อเสียด คือไม่ประกอบในความส่อเสียดอันควรนำเข้าไปด้วยอาการสอง

อย่าง.

บทว่า ราคสฺส ปหีนตฺตา เพราะละเสียซึ่งราคะ คือเพราะละราค-

กิเลสได้ด้วยอรหัตมรรค. บทว่า อสฺมิมาโน ปหีโน โหติ เป็นผู้ละความ

ถือตัวว่าเป็นเรา คือละความหยิ่งและความถือตัวว่าเป็นเราได้โดยเด็ดขาด.

บทว่า ตีณิ กุหนวตฺถูนิ วัตถุแห่งความหลอกลวง ๓ อย่าง คือเหตุให้เกิด

ความพิศวง ๓ อย่าง. ในบทมีอาทิว่า ปจฺจยปฏิเสวนสงฺขาต กุหนวตฺถุ

เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยการเสพปัจจัย มีความว่า เมื่อภิกษุได้รับ

นิมนต์ด้วยจีวรเป็นต้น ทั้งมีความต้องการจีวรนั้นเหมือนกัน อาศัยความ

ปรารถนาลามก และรู้ว่าคหบดีเหล่านั้นมีศรัทธาตั้งมั่นด้วยดีในตนเพราะ

การปฏิเสธ เมื่อคหบดีเหล่านั้นคิดว่า น่าอัศจรรย์ใจ พระคุณเจ้ามีความ

ปรารถนาน้อย ไม่ปรารถนาจะรับอะไร ๆ อีก พึงเป็นสิ่งที่เราได้ดีแล้วหนอ

หากพระคุณเจ้าจะพึงรับอะไร ๆ แม้มีประมาณน้อยดังนี้ แสดงความประ-

สงค์จะอนุเคราะห์เขาแล้ว ตั้งแต่นั้นมาก็ทำให้พิศวงด้วยการรับ อันเป็น

เหตุให้เขานำของเข้าไปถวายเป็นเกวียน ๆ. พึงทราบว่า นี้คือเรื่อง

หลอกลวงกล่าวด้วยการเสพปัจจัย. อนึ่ง เมื่อภิกษุมีความปรารถนาลามกทำ

ให้พิศวงด้วยอิริยาบถอันแสดงความประสงค์จะยกย่อง พึงทราบว่า นี้คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 94

เรื่องการหลอกลวงอาศัยอิริยาบถ. อนึ่ง เมื่อภิกษุมีความปรารถนาลามก ทำ

ให้พิศวงด้วยอาการนั้น ๆ โดยการกล่าวแสดงถึงการบรรลุอุตริมนุสธรรม

พึงทราบว่า นี้คือเรื่องหลอกลวงกล่าวด้วยการพูดเลียบเคียง.

ในบทว่า เรื่องการหลอกลวงกล่าวด้วยการเสพปัจจัยเป็นไฉนนี้ พึง

ทราบว่า ได้แก่การหลอกลวงกล่าวด้วยการเสพปัจจัย คือกล่าวอย่างนี้ว่า

การซ่องเสพปัจจัย. บทว่า อิธ คหปติกา ภิกฺขุ นิมนฺเตนติ คือ คหบดี

ในโลกนี้ย่อมนิมนต์ภิกษุ. ปาฐะอย่างนี้เหมือนกัน . อาจารย์บางพวกกล่าว

ว่า นิมนฺเตนฺติ บ้าง วทนฺติ บ้าง. บทว่า จีวร ปจฺจกฺขาติ บอกคืน

จีวร คือปฏิเสธจีวร. บทว่า เอต สารุปฺป ย สมโณ ข้อนั้นเป็นการ

สมควรแก่สมณะ คือข้อนี้สมณะทำการทรงจีวรไว้เป็นการสมควร คือ

เหมาะสม. บทว่า ปาปณิกา วา นนฺตกานิ ผ้าเก่าจากตลาด คือผ้าขี้ริ้ว

เว้นผ้าใหม่อันตกอยู่ที่ประตูตลาด. บทว่า อุจฺจินิตฺวา คือ เก็บเอามา. บทว่า

อุญฺฉาจริยาย คือ ด้วยการเที่ยวไปเพื่อภิกษา. บทว่า ปิณฺฑิยาโลเปน ได้

แก่ ข้าวทำเป็นก้อนได้มา. บทว่า ปูติมุตฺเตน วา ด้วยน้ำมูตรเน่า คือ

น้ำมูตรโค. บทว่า โอสธ กเรยฺย คือ พึงทำเป็นยา. บทว่า ตทุปาทาย

คือ ตั้งแต่นั้นมา. บทว่า ธุตวาโท มีวาทะกำจัดกิเลสคือกล่าวคุณแห่งธุดงค์.

บทว่า ภิยฺโย ภิยฺโย นิมนฺเตนฺติ ยิ่งนิมนต์ คือนิมนต์บ่อย ๆ. บทว่า

สมฺมุขีภาวา คือ เพราะประจวบกัน. อธิบายว่า เพราะความมีอยู่. บทว่า

ปสวติ คือ ย่อมได้. สามารถจะทำโดยประจวบด้วยศรัทธา เพราะฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า สทฺธาย สมฺมุขีภาวา เพราะประจวบด้วยศรัทธาเป็นอาทิ.

ไทยธรรมหาได้ง่ายแต่ทักขิไณยบุคคลและศรัทธาหาได้ยาก. เพราะศรัทธา

ของปุถุชนไม่มั่นคงเปลี่ยนไปทุก ๆ ย่างก้าว. ด้วยเหตุนั้นแลแม้พระอัคร-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 95

สาวกเช่นกับพระมหาโมคคัลลานะ ยังไม่สามารถเป็นผู้รับรองปุถุชนนั้น

ได้ จึงกล่าวว่า ดูก่อนผู้อาวุโส พระมหาโมคคัลลานะไม่สามารถรับรอง

ธรรมสองอย่าง คือโภคะและชีวิตของท่านได้ แต่จะรับรองท่าน

ได้ด้วยศรัทธา. บทว่า ปุญฺเน ในบทว่า เอว ตุมฺเห ปุญฺเน

ปริหีนา ภวิสฺสถ ท่านทั้งหลายจักเป็นผู้เสื่อมจากบุญด้วยอาการอย่างนี้

เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งปัญจมีวิภัตติ. คือท่านจักเป็นผู้เสื่อมจาก

บุญคือหันหลังให้บุญ. บทว่า ภากุฏิกา หน้าสยิ้ว คือทำหน้าสยิ้วด้วยการ

เห็นหน้ายู่ยี่. อธิบายว่า มีหน้าเบี้ยวบูด. ชื่อว่า ภากุฏิกะ เพราะมีหน้าสยิ้ว.

ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ชื่อว่าภากุฏิกะ บทว่า กุหนา ความหลอกลวง คือ

ความพิศวง. กิริยาที่หลอกลวง ชื่อว่า กุหายนา. ความเป็นผู้หลอกลวง

ชื่อว่า กุหิตัตตะ.

บทว่า ปาปิจฺโฉ มีความปรารถนาลามก คือใคร่จะแสดงคุณที่

ไม่มีอยู่. บทว่า อิจฺฉาปกโต คือ ถูกความปรารถนาครอบงำ. บทว่า

สมฺภาวนาธิปฺปาโย มีความประสงค์ในการยกย่อง คือมีอัธยาศัยถือตัวจัด.

บทว่า คมน สณฺเปติ สำรวมการเดิน คือระมัดระวังการเดินมีการก้าว

ไปเป็นต้น. อธิบายว่า ทำความน่าเลื่อมใส. แม้ในบทนอกนี้ก็มีนัยนี้

เหมือนกัน . บทว่า ปณิธาย คจฺฉติ ตั้งสติเดิน คือตั้งใจเดิน. แม้ใน

บทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สนาหิโต วิย คจฺฉติ ทำเหมือน

ภิกษุมีสมาธิเดิน คือทำเหมือนภิกษุได้อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ.

แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน .

บทว่า อาปาถกชฺฌายีว โหติ ทำเหมือนภิกษุที่เจริญอาปาถกฌาน

(เจริญฌานต่อหน้าพวกมนุษย์) คือแสดงความเป็นผู้สงบ ทำเป็นเหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 96

เข้าฌานต่อหน้าพวกมนุษย์ที่เดินมา. บทว่า อิริยาปถสฺส ได้แก่ อิริยา-

บถ ๔. บทว่า อาปนา การตั้งใจ คือ จงใจไว้แต่ต้นหรือตั้งใจไว้โดย

เอื้อเฟื้อ บทว่า ปนา คือ การตั้งใจ. บทว่า สณฺปนา ทำเป็น

ตั้งใจ อธิบายว่า ทำความน่าเลื่อมใส. บทว่า อริยธมฺมสนฺนิสิต

กล่าววาจาอิงอริยธรรม คือเนื่องด้วยโลกุตรธรรม. บทว่า กุญฺจิก คือ ลูก

กุญแจสำหรับเปิด. บทว่า มิตฺตา คือ มีความเยื่อใย. บทว่า สนฺทิฏฺา

คือ เพียงเห็นกัน . บทว่า สนฺภตฺตา คือ เป็นมิตรสนิทกันมาก. บทว่า

อุทฺทณฺโฑ ได้แก่ เรือนที่พักหลังหนึ่ง. บทว่า โกรชิกโกรชิโก คือ

ทำหน้าบูดเบี้ยว. อธิบายว่า หน้านิ่วยิ่งนัก. ปาฐะว่า โกรชโก ก็มี.

บทว่า ภากุฏิกภากุฏิโก ทำหน้าสยิ้วบูดเบี้ยว คือทำหน้าสยิ้วเป็นปกติ

เหลือเกิน บทว่า กุหกกุหโก หลอกลวง คือทำให้พิศวงยิ่งนัก. บทว่า

ลปกลปโก ปลิ้นปล้อนตลบตะแลง คือช่างพูดเกินไป. บทว่า มุขสมฺ-

ภาวิโต อันผู้อื่นสรรเสริญ คือผู้อื่นสรรเสริญด้วยปากของตน. อาจารย์

บางท่านกล่าวว่า อปฺปิตจิตฺโต คือ ไม่หนำใจ. บทว่า สนฺตาน มีอยู่

คือมีอยู่เพราะสืบเนื่องด้วยกิเลส. บทว่า สมาปตฺตีน สมาบัติ คือธรรม

ที่ควรบรรลุ บทว่า คมฺภีร ลึกซึ้ง คือที่พึ่งขาดหายไป. บทว่า คุฬฺห ลับ

คือยากที่จะให้เห็นได้. บทว่า นิปุณ คือ สุขุม. บทว่า ปฏิจฺฉนฺน ปิดบัง

คืออธิบายให้รู้แจ้งแทงตลอดได้ยากด้วยอรรถแห่งบท. บทว่า โลกุตฺตร

คือ แสดงถึงโลกุตรธรรม. บทว่า สุญฺตาปฏิสญฺญุต คือ ปฏิสังยุต

ด้วยนิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โลกุตฺตรสุญฺตาปฏิสญฺญุต ได้แก่

ปฏิสังยุตด้วยนิพพานอันเป็นโลกุตรธรรม.

บทว่า กายิก ปคพฺภิย ความคะนองทางกาย คือเป็นไปทางกาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 97

ชื่อว่ากายิกะ. แม้ความคะนองเป็นไปทางวาจาและเป็นไปทางจิต ก็มีนัยนี้

เหมือนกัน . บทว่า อจิตฺติการกโต ไม่ทำความเคารพ คือเว้นจากความ

นับถือมาก. บทว่า อนุปาหนาน จงฺกมนฺตาน เมื่อภิกษุผู้เป็นเถระเดิน

ไม่สวมรองเท้า คืออยู่ในที่ใกล้ภิกษุผู้เป็นเถระผู้เดินไม่สวมรองเท้า หรือ

บทนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอนาทระ คือแปลว่า เมื่อ. บทว่า สอุปาหโน

คือ เดินสวมรองเท้า. บทว่า นีเจ จงฺกเม จงฺกมนฺตาน เมื่อภิกษุผู้เป็น

เถระเดินในที่จงกรมต่ำ คือเมื่อภิกษุผู้เป็นเถระเดินจงกรมในพื้นที่ที่มิได้ทำ

การกำหนดไว้ เดินจงกรมในที่จงกรมซึ่งกำหนดไว้ เกลี่ยทรายทำที่เกาะ

แม้ต่ำ. บทว่า อุจฺเจ จงฺกเม จงฺกมติ เดินในที่จงกรมสูง คือในที่

จงกรมสูงล้อมด้วยเวทีก่ออิฐ. หากล้อมด้วยกำแพงประกอบด้วยซุ้มประตู

ก็ย่อมควรเพื่อเดินในที่จงกรมเช่นนั้น ซึ่งปกปิดไว้ด้วยดี ในระหว่างภูเขา

ระหว่างป่าและระหว่างพุ่มไม้. แม้ในที่ไม่ปกปิดละอุปจารเสียก็ควร. บท

ว่า ฆฏยนฺโตปิ ติฏฺติ ยืนเบียดบ้าง คือยืนใกล้เกินไป. บพว่า ปุรโตปิ-

ติฏฺติ คือ ยืนบังหน้าบ้าง. บทว่า ิตโกปิ ภณติ ยืนทื่อพูดบ้าง คือ

พูดไม่ก้มเหมือนตอไม้. บทว่า พาหาวิกฺเขปโก แกว่งแขน คือแกว่งแขน

ไปข้างโน้นข้างนี้พูด. บทว่า อนุปขชฺช นั่งแทรกแซง คือเข้าไปยังที่ที่

พระเถระทั้งหลายนั่ง. บทว่า นเวปิ ภิกฺขู อาสเนน ปฏิพาหติ นั่งกีด

กันอาสนะพวกภิกษุนวกะบ้าง คือไม่นั่งบนอาสนะที่ถึงตนแล้ว เข้าไป

แทรกข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้าง ชื่อว่ากีดกันอาสนะ. บทว่า อนาปุจฺฉาปิ

กฏฺ ปกฺขิปติ ไม่บอกก่อนแล้วใส่ฟืนบ้าง คือไม่บอกไม่ขอความยินยอม

แล้วใส่ฟืนในไฟบ้าง. บทว่า ทฺวาร ปิทหติ ปิดประตู คือปิดเรือนไฟ.

บทว่า โอตรติ หยั่งลง คือเข้าไปยังท่าน้ำ บทว่า นหายติ อาบน้ำ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 98

ชำระร่างกาย. บทว่า อุตฺตรติ ขึ้น คือขึ้นฝั่งจากท่าน้ำ. บทว่า โวกฺ-

กมฺมาปิ คือเดินเลยหน้าบ้าง. บทว่า โอวรกานิ ห้องเล็ก คือห้องนอน

ที่เขาตกแต่งเป็นห้อง. บทว่า คุฬฺหานิ คือ ปิดบัง. บทว่า ปฏิจฺฉนฺนานิ

ปกปิด คือมีอย่างอื่นบังไว้. บทว่า อนชฺฌิฏฺโ วา ไม่ได้เชื้อเชิญ คือ

พระเถระมิได้ขอร้องและเธอเชิญว่า ท่านจงฟังธรรมเถิดดังนี้.

บทว่า ปาปธมฺโม มีบาปธรรม คือมีธรรมลามก. บทว่า อสุจิ-

สงฺกสฺสรสมาจาโร มีความประพฤติไม่สะอาดที่พึงระลึกด้วยความระแวง

คือชื่อว่ามีความประพฤติไม่สะอาดที่พึงระลึกด้วยความระแวง เพราะมี

ความประพฤติ คือมีการประกอบที่ผู้อื่นพึงระลึกด้วยความระแวง ผู้เป็น

คนทุศีลดังนี้. บทว่า ปฏิจฺฉนฺนกมฺมนฺโต มีการงานอันปกปิด คือมี

การงานทางกายและวาจาอันปกปิด. บทว่า อสฺสมโณ คือ มิใช่สมณะ.

บทว่า สมณปฏิญฺโ คือ ปฏิญาณณว่าเราเป็นสมณะ. บทว่า อพฺรหฺมจารี

คือ เว้นจากถารประพฤติอันประเสริฐ. บทว่า พฺรหฺมจารีปฏิญฺโ ปฏิ-

ญาณว่าเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ คือตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว. บทว่า

อนฺโตปูติ เน่าใน คือถึงความเป็นผู้เน่าใน เพราะเว้นจากกุศลธรรมใน

ภายใน. บทว่า อวสฺสุโต คือ ชุ่มอยู่ด้วยราคะ. บทว่า กสมฺพุชาโต

คือ มีสภาพเป็นหยากเยื่อ.

ในบทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร

นี้พึงทราบความต่อไปนี้ ภิกษุมีความเคารพ มีความยำเกรง ถึงพร้อม

ด้วยหิริและโอตตัปปะ นุ่งเรียบร้อย ห่มเรียบร้อย ก้าว ถอย มอง เหลียว

คู้ เหยียด น่าเลื่อมใส ทอดตา ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ คุ้มครองทวารใน

อินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเนือง ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 99

ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ มักน้อยสันโดษ ปรารภความเพียร ทำความ

เคารพในอภิสมาจาริกวัตร มากไปด้วยความยำเกรงครู นี้ท่านเรียกว่า

อาจาระ. พึงทราบอาจาระเพียงเท่านี้ก่อน. ส่วนโคจรมี ๓ อย่าง คือ

อุปนิสสยโคจร (โคจรอันเป็นอุปนิสัย) ๑ อารักขโคจร (โคจรอันควร

รักษาไว้) ๑ อุปนิพันธโคจร (โคจรอันเข้าไปผูกพัน) ๑.

ในโคจร ๓ อย่างนั้น อุปนิสสยโคจรเป็นอย่างไร. ภิกษุประกอบ

ด้วยคุณคือกถาวัตถุ ๑๐ มีมิตรดี เข้าไปอาศัยมิตรดีย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังมิได้

เคยฟัง ย่อมทำสิ่งที่ฟังแล้วให้เเจ่มแจ้ง ข้ามความสงสัย ทำความเห็นให้

ตรง ทำจิตให้ผ่องใส เมื่อศึกษาตามย่อมเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ

ปัญญา นี้ชื่อว่า อุปนิสสยโคจร. อารักขโคจรเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนา

นี้ เข้าไปในระหว่างเรือนแล้ว เดินไปตามถนน ทอดตา มองดูเพียงชั่ว

แอก สำรวมเป็นอย่างดีเดินไป ไม่มองดูช้าง ม้า รถ คนเดินทาง สตรี

บุรุษ ไม่แหงนดู ไม่ก้มดู ไม่จ้องทิศน้อยใหญ่เดินไป นี้ชื่อว่าอารักขโคจร.

อุปนิพันธโคจรเป็นอย่างไร. สติปัฏฐาน ๔ จิตเข้าไปผูกพันไว้ในสติ-

ปัฏฐานข้อใด. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็โดยจรเป็นของตน เป็นของบิดา เป็นวิสัยคืออะไร คือสติปัฏฐาน ๔ นี้

ชื่อว่า อุปนิพันธโคจร. ภิกษุเข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบแล้วด้วยอาจาระ

นี้ และด้วยโคจรนี้ด้วยประการฉะนี้แหละ ด้วยเหตุนั้นท่านจึงเรียก อาจาร-

โคจรสมฺปนฺโน เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระและโคจร. บทว่า อณุ-

มตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย คือ

มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประเภทเป็นต้นว่า การต้องอาบัติโดย

ไม่เจตนา เสขิยะวัตรและจิตตุปบาทอันเป็นอกุศล มีประมาณน้อย. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 100

สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย คือ

ถือเอาโดยชอบศึกษาสิกขาบทที่ควรศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่งในสิกขาบททั้ง-

หลาย. อนึ่ง ในบทว่า ปาฏิโมกฺขสวรสวุ โต สำรวมระวังในพระปาติโมกข์

นี้ ท่านแสดงถึงศีล คือการสำรวมในพระปาติโมกข์ด้วยเทศนาอันเป็น

บุคลาธิษฐาน ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. พึงทราบบททั้งปวงมีอาทิว่า อาจาร-

โคจรสมฺปนฺโน ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงการปฏิบัติ ของผู้ปฏิบัติที่มีศีล

สมบูรณ์แล้ว.

บทว่า สาติเยสุ อนสิสาวี บุคคลผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุเป็นที่

น่ายินดี คือเว้นจากความชมเชยด้วยตัณหาในกามคุณทั้งหลาย อันเป็น

วัตถุที่น่ายินดี. บทว่า สณฺโห ผู้ละเอียด คือประกอบด้วยกายกรรม

เป็นต้นอันละเอียด. บทว่า ปฏิภาณวา มีปฏิภาณ คือประกอบด้วยปริยัติ

ปริปุจฉา (การสอบกาม) อธิคม (การบรรลุ) และปฏิภาณ. บทว่า

สทฺโธ ไม่มีศรัทธา คือไม่เชื่อถึงธรรมที่บรรลุเองของใคร ๆ. บทว่า

น วิรชฺชติ ไม่คลายกำหนัด คือไม่คลายกำหนัดในบัดนี้ เพราะความ

กำหนัดคลายไปแล้วเพราะความสิ้นไป.

บทว่า เยส เอสา สาติยา ความยินดีนั้นของบุคคลเหล่าใด

ได้แก่ความปรารถนาในกามคุณ มีวัตถุน่ายินดีของบุคคลเหล่าใด. บทว่า

ตณฺหา อปฺปหีนา ตัณหาอันสัมปยุตด้วยความชมเชย อันบุคคลยังละไม่ได้

ด้วยอรหัตมรรค. บทว่า เตส จกฺขุโต รูปตณฺหา สวติ ชนเหล่านั้น

ก็มีรูปตัณหาไหลหลั่งไปทางจักษุ คือตัณหามีรูปเป็นอารมณ์สัมปยุตด้วย

ชวนวิถีจิตอันเป็นไปแล้ว ย่อมเกิดจากจักขุทวารของชนเหล่านั้น. บทว่า

ปสวติ ไหลไป คือ โดยภูมิตัณหาย่อมไหลไปถึงภวัคคพรหม โดยธรรม

ย่อมไหลไปถึงโคตรภู. บทว่า สนฺทติ หลั่งไหล คือไหลไปสู่ปากเบื้องต่ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 101

ดุจกระแสน้ำ. บทว่า ปวตฺตติ ย่อมเป็นไป คือเป็นไปด้วยเกิดขึ้นบ่อย ๆ.

แม้ในทวารที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ตัณหาเป็นอันละแล้วด้วยดีด้วย

อรหัตมรรคโดยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้วในธรรมฝ่ายขาว รูปตัณหาย่อม

ไม่ไหลไปทางจักษุของชนเหล่านั้น.

บทว่า สณฺเหน กายกมฺเมน สมนฺนาคโต เป็นผู้ประกอบด้วย

กายกรรมอันละเอียด คือเป็นผู้พร้อมเพรียงเป็นอันเดียวกันด้วยกายกรรม

อันอ่อนโยนไม่หยาบ. แม้ในวจีกรรมเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน . ในบท

ทั้งหลายมีอาทิว่า สณฺเหหิ สติปฏฺาเนหิ ความว่า สติปัฏฐานเป็นต้น

เป็นธรรมเจือด้วยโลกิยะและโลกุตระ ปัญญาอันได้แก่ปฏิภาณ ๓ สอบ

สวนถึงอรรถอันได้เล่าเรียนมาเป็นต้น สามารถทำการสังเกตการทำให้แจ้ง

การกำหนด ด้วยการบรรลุโลกิยธรรมและโลกุตรธรรมมีอยู่แก่ผู้ใด ผู้นั้น

ชื่อว่ามีปฏิภาณ. บทว่า ตสฺส ปริยตฺตึ นิสฺสาย ปฏิภายติ ญาณของ

บุคคลนั้นย่อมแจ่มแจ้งเพราะอาศัยปริยัติ คือญาณของบุคคลนั้นที่ได้เรียน

มาแน่นแฟ้นแจ่มแจ้ง เป็นญาณปรากฏอยู่เฉพาะหน้า. บทว่า จตฺตาโร

สติปฏฺานา สติปัฏฐาน ๔ คือท่านกล่าวโพธิปักขิยธรรม ๓๗ โดยเจือ

ปนกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ. พึงทราบว่า ท่านกล่าวปฏิสัมภิทา ๔ ด้วย

โลกุตระอันเกิดจากมรรคผล และอภิญญา ๖ ด้วยสามารถอันมีในที่สุด

แห่งวิโมกข์. ในบทเหล่านั้น บทว่า จตสฺโส ปฏิสมฺภิทาโย ได้แก่

ประเภทของญาณ ๔. บทว่า ฉ อภิญฺา ได้แก่ อภิญญา ๖ อันยิ่ง

มีอิทธิวิธี (แสดงฤทธิ์ได้) เป็นต้น มีอาสวักขยะ (การสิ้นอาสวะ) เป็น

ที่สุด. บทว่า ตสฺส คือ ของบุคคล. พึงเชื่อมว่า อตฺโถ ปฏิภายติ

อรรถก็แจ่มแจ้ง. บทว่า อตฺโถ เป็นผลอันเกิดแต่เหตุโดยสังเขป. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 102

บุคคลย่อมถึง ย่อมบรรลุอรรถนั้นด้วยแล่นไปตามเหตุ ฉะนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า อตฺโถ ผล. แต่โดยประเภทธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ คือปัจจยุปบัน

(ผล) อย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ นิพพาน ๑ อรรถแห่งภาษิต ๑ วิบาก ๑

กิริยา ๑ พึงทราบว่า อรรถะ. เมื่อพิจารณาถึงอรรถะนั้น เป็นอันรู้ชัด

อรรถะนั้นโดยประเภท. บทว่า ธมฺโม เป็นปัจจัย (เหตุ) โดยสังเขป.

เพราะปัจจัยนั้นย่อมจัดการสืบทอดให้เป็นไปและให้ถึงอรรถนั้น ๆ ฉะนั้น

ท่านจึงเรียกว่า ธรรมะ. แต่โดยประเภทธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ คือธรรม

ที่ให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ เหตุ ๑ อริยมรรค ๑ ภาษิตที่เป็นกุศล ๑

ที่เป็นอกุศล ๑ พึงทราบว่า ธรรมะ. เมื่อพิจารณาธรรมนั้น เป็นอันรู้ชัด

ธรรมนั้นโดยประเภท, การใช้ภาษาตามสภาวะ การออกเสียง การพูด

อันใดในอรรถและในธรรมนั้น เมื่อบุคคลนั้น การทำเสียงในการใช้ภาษา

ตามสภาวะ ให้เป็นการพูดการกล่าวการเปล่งเสียง ในการพูด ในการกล่าว

ในการเปล่งเสียงให้เป็นอารมณ์แล้วพิจารณา ก็เป็นอันรู้ชัดการใช้ภาษา

นั้น. พึงทราบความในบทต่อไปนี้ บทว่า อตฺเถ าเต อตฺโถ

ปฏิภายติ เมื่อรู้อรรถ อรรถก็แจ่มแจ้ง คือเมื่ออรรถอันมีประเภทดังที่

นำเสียงของบุคคลนั้นมากล่าวแล้วปรากฏ อรรถมีประเภทดังกล่าวแล้วก็

แจ่มแจ้งแก่บุคคลนั้น ชื่อว่า เป็นผู้มุ่งต่อญาณ. บทว่า ธมฺเม าเต

ธมฺโม ปฏิภายติ เมื่อรู้ธรรม ธรรมก็แจ่มแจ้ง คือเมื่อธรรมมีประเภท

ดังกล่าวแล้วปรากฏ ธรรมมีประเภทดังกล่าวแล้วก็แจ่มแจ้ง. บทว่า

นิรุตฺติยา าตาย นิรุตฺติ ปฏิภายติ เมื่อรู้นิรุตติ นิรุตติก็แจ่มแจ้ง

คือเมื่อนิรุตติมีประเภทดังกล่าวแล้วปรากฏ นิรุตติมีประเภทดังกล่าวแล้ว

ก็แจ่มแจ้ง. บทว่า อิเมสุ ตีสุ าเณสุ า ญาณในญาณ ๓ เหล่านี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 103

คือเมื่อบุคคลทำญาณทั้งหมดในญาณ ๓ เหล่านั้น คืออรรถธรรมและนิรุตติ

ให้เป็นอารมณ์แล้วพิจารณา ญาณอัน มีประเภทในญาณ ๓ เหล่านั้น หรือ

ญาณอันมีความพิสดารด้วยโคจรกิจเป็นต้น ในญาณ ๓ เหล่านั้นดังที่กล่าว

แล้ว ชื่อว่า ปฏิสัมภิทาญาณ. บทว่า อิมาย ปฏิภาณปฏิสมฺภิทาย

ด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้ ท่านกล่าวสรุปว่า บุคคลเข้าไปถึงปัญญากว้าง-

ขวางดังกล่าวแล้วนี้ บุคคลนั้นท่านเรียกว่าผู้มีปฏิภาณ. พระพุทธพจน์

ชื่อว่าประยัติ ในบทว่า ยสฺส ปริยตฺติ นตฺถิ ผู้ใดไม่มีปริยัติ ดังนี้.

จริงอยู่ ความแตกฉาน ความฉลาด ย่อมมีแก่บุคคลผู้เรียนปริยัตินั้น

ประยัติเห็นปานนั้นไม่มีแก่บุคคลใด. บทแห่งคัณฐี (ประมวลคำศัพท์) บท

แห่งอรรถ คำวินิจฉัยในบาลีและอรรถกถาเป็นต้น ชื่อว่า ปริปุจฉา ในบท

ว่า ปริปุจฺฉา นตฺถิ ไม่มีปริปุจฉา (การตรวจสอบ). ความแตกฉาน

ความฉลาดย่อมมีแก่บุคคลผู้กล่าวอรรถในบาลีที่ได้เรียนมาเป็นต้น. การ

บรรลุพระอรหัต ชื่อว่า อธิคมะ ในบทว่า อธิคมะ นตฺถิ ไม่มีอธิคม.

จริงอยู่ ความแตกฉาน ความฉลาดย่อมมีแก่ผู้บรรลุพระอรหัต. สมบัติ

๓ อย่างดังกล่าวแล้วไม่มีแก่บุคคลใด ญาณอะไรเล่าจักปรากฏแก่บุคคลนั้น

คือญาณอันถึงความเป็นประเภทจักปรากฏแก่บุคคลนั้นด้วยเหตุอะไร.

บทว่า สาน คือ ตนเอง. บทว่า สยมภิญฺาต ธรรมที่รู้ยิ่งด้วย

ตนเอง คือรู้ด้วยญาณนั้นด้วยตนเอง. บทว่า อตฺตปจฺจกฺข ธมฺม ธรรม

อันประจักษ์ด้วยตนเอง คือตนเห็นเอง. บทว่า น กสฺสจิ สทฺหหติ ไม่

เชื่อใคร ๆ คือไม่เชื่อผู้อื่น คือไม่ไปด้วยศรัทธา เพราะประจักษ์ด้วยตน

เอง. ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สังขารทั้งหลาย

มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ด้วยเห็นปัจจยาการ ๑๒. ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 104

อวิชฺขานิโรธา เพราะดับอวิชชาหมายถึงการกลับไปแห่งสังสารวัฏ. ท่าน

กล่าวว่า อิท ทุกฺข นี้เป็นทุกข์เป็นต้น ด้วยเห็นอริยสัจ . ท่านกล่าวว่า

อิเม อาสวา อาสวะเหล่านี้เป็นต้น โดยปริยายอย่างอื่นด้วยอำนาจกิเลส

ด้วยอำนาจการเห็นสัจธรรม. ท่านกล่าวว่า อิเม ธมฺมา อภิญฺเยฺยา

ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่งเป็นต้น ด้วยอำนาจการเห็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ที่ควร

กำหนดรู้ ที่ควรละและที่ควรทำให้แจ้ง. ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า ฉนฺน

ผสฺสายตนาน ผัสสายตนะ ๖ ด้วยอำนาจการเห็น การเกิด การดับคุณโทษ

และอุบายเครื่องสลัดออกไปแห่งสฬายตนะ ๖ ขันธ์ทั้งหลายท่านกล่าวด้วย

อำนาจการเห็นมีอาทิอย่างนี้ ความเกิดและความเสื่อมแห่งอุปาทานขันธ์ ๕

โดยอาการ ๒๕ อย่าง ความพอใจด้วยอำนาจฉันทราคะในขันธ์เหล่านั้น

ความปรวนแปรและโทษของขันธ์เหล่านั้น นิพพานอันได้แก่การสลัดออก

ไป ความเกิดมีอวิชชาเป็นต้น แห่งมหาภูตรูป ๔ และความดับในนิโรธ

มีอวิชชาเป็นต้น. พึงทราบธรรมเหล่านี้โดยนัยที่กล่าวแล้วในที่นั้น ๆ.

บทว่า อมฺโคตธ หยั่งลงสู่อมตะ ชื่อว่า อมตะ เพราะไม่มีความตายอัน

ได้แก่มรณะ. ชื่อว่า อมตะ คือเป็นยาบ้าง เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส.

ชื่อว่า อมโตคธ เพราะน้อมไปในอมตะนั้น. บทว่า อมตปรายน มี

อมตะเป็นเบื้องหน้า คือมีอมตะดังกล่าวแล้วเป็นเบื้องหน้า เป็นที่ไป เป็น

ทางไปเป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อมตปรายน. บทว่า อมตปริโย-

สาน มีอมตะเป็นที่สุด คือมีอมตะนั้นเป็นที่สุด เพราะสิ้นสุดสังสารวัฏแล้ว

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อมตปริโยสาน.

บทว่า ลาภกมฺยา น สิกฺขติ บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ

คือไม่ศึกษาในพระสูตรเป็นต้น เพราะปรารถนาลาภ. บทว่า อวิรุทฺโธ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 105

จ ตณฺหาย รเสสุ นานุคิชฺฌติ ไม่มีการทำร้ายและไม่ติดในรสแห่ง

ตัณหา คือเป็นผู้ไม่มีวิโรธ เพราะไม่มีความโกรธและไม่ถึงความอยาก

ในรสอันเป็นรากเหง้าแห่งตัณหาเป็นต้น.

บทว่า เกน นุ โข เพราะอะไรหนอ คือความเป็นผู้ตกไปในความ

คิดถึงเหตุเพื่อจะได้ลาภ คือในการแสวงหาความริษยา. บทว่า ลาภาภิ-

นิพฺพตฺติยา เพราะความเกิดขึ้นแห่งลาภ คือเพราะความเกิดขึ้นแห่ง

ปัจจัย ๔ ด้วยความวิเศษ. บทว่า ลาภ ปริปาเจนฺโต คือ เจริญงอกงาม

ในปัจจัย. บทว่า อตฺตทมตฺถาย เพื่อฝึกตน คือเพื่อฝึกตนด้วยปัญญา

อันสัมปยุตด้วยวิปัสสนา. บทว่า อตฺตสมตฺถาย เพื่อสงบตน คือเพื่อความ

ตั้งมั่นแห่งตนด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยสมาธิ. บทว่า อตฺตปรินิพฺพา-

ปนตฺถาย เพื่อให้ตนปรินิพพาน คือเพื่อให้ตนปรินิพพานด้วยอนุปาทาปริ-

นิพพานของตนด้วยญาณแม้สองอย่าง. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า อยู่ประพฤติ

พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อนิพพานด้วยอนุปาทาปรินิพพาน.

บทว่า อปฺปิจฺฉญฺเว นิสฺสาย เพราะอาศัยความปรารถนาน้อย. ความ

ปรารถนาน้อย ในบทนี้มี ๔ อย่าง คือ ความปรารถนาน้อยในปัจจัย ๑

ความปรารถนาน้อยในอธิคม ๑ ความปรารถนาน้อยในปริยัติ ๑ ความ

ปรารถนาน้อยในธุดงค์ ๑. ความต่างกันแห่งความปรารถนาน้อยเหล่านั้น

มีพิสดารแล้วในหนหลัง. ติดแน่นอยู่กับความปรารถนาน้อยนั้น. บทว่า

สนฺตุฏฺิเยว ความสันโดษ คือติดแน่นอยู่กับความสันโดษ ๓ อย่างใน

ปัจจัย ๔. ความแจ่มแจ้งแห่งสันโดษเหล่านั้นมีพิสดารแล้วในหนหลัง.

บทว่า สลฺเลขญฺเว ได้แก่ ความขัดเกลากิเลส. บทว่า อิทมตฺถิตญฺเว

ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยกุศลนี้ คือความที่บุคคลนั้นมีความต้องการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 106

ด้วยกุศลธรรมเหล่านี้ จึงชื่อว่า อิทมตฺถิตา อาศัยติดแน่นอยู่กับความ

เป็นผู้มีความต้องการด้วยกุศลนี้นั่นแล.

บทว่า รโส รส เป็นบทยกขึ้นแสดงถึงบทไขความ. บทว่า มูลรโส

มีรสที่ราก คือมีรสเกิดขึ้นเพราะอาศัยรากอย่างใดอย่างหนึ่ง. แม้ในรส

เกิดที่ลำต้น ก็มีนัยนี้แล. บทว่า อมฺพิล รสเปรี้ยว มีรสเปรี้ยวของ

เปรียงเป็นต้น . บทว่า มธุร มีรสหวาน คือมีนมโคและเนยใสเป็นต้น

มีรสหวานโดยส่วนเดียว. แต่น้ำผึ้งผสมกับรสฝาดเก็บไว้นานก็เฝื่อนได้.

น้ำอ้อยผสมกับรสเค็มเก็บไว้นานก็มีรสปร่าได้. ส่วนเนยใส เก็บไว้นาน

แม้ละสีและกลิ่นก็ไม่เสียรส เพราะฉะนั้นเนยใสนั้นจึงมีรสหวานส่วนเดียว.

บทว่า ติตฺตก รสขม ได้แก่ ใบสะเดาเป็นต้น. บทว่า กฏุก รสเผ็ด

ได้แก่ ขิง และพริกไทยเป็นต้น. บทว่า โลณิก รสเค็ม ได้แก่ เกลือ

สินเธาว์เป็นต้น. บทว่า ขาริก รสปร่า ได้แก่มะอึกและหน่อไม้เป็นต้น .

บทว่า ลมฺพิล รสเฝื่อน ได้แก่ พุทรา มะขวิดและใบโลทเป็นต้น.

บทว่า กสาว รสฝาด ได้แก่สมอไทยเป็นต้น . รสแม้ทั้งหมดเหล่านั้นท่าน

ก็กล่าวไว้โดยเป็นวัตถุ. แต่ในที่นี้พึงทราบว่าท่านกล่าวถึงรสอันมีรสนั้น ๆ

เป็นวัตถุ โดยชื่อมีรสเปรี้ยวเป็นต้น. บทว่า สาทุ รสอร่อย คือรสที่ชอบ.

บทว่า อสาทุ รสไม่อร่อย คือรสที่ไม่ชอบ. แม้ด้วยสองบทนี้ก็เป็นอัน

มุ่งหมายถึงรสแม้ทั้งหมด. บทว่า สีต คือ มีรสเย็น. บทว่า อุณฺห คือ

มีรสร้อน. รสนี้แม้จะต่างกันโดยประเภทมีรสที่รากเป็นต้น อย่างนี้ก็ไม่

ต่างกันโดยลักษณะเป็นต้น. รสทั้งหมดนี้มีการกระทบที่ลิ้นเป็นลักษณะ

ความรู้สึกที่ลิ้นเป็นรส มีรสนั้นนั่นแลเป็นอาหาร เป็นเครื่องปรากฏ.

บทว่า เต ชิวฺหคฺเคน รสคฺคานิ คือ สมณพราหมณ์เหล่านั้น เที่ยว

๑. ม. ลมฺพิก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 107

แสวงหารสอันเลิศด้วยปลายชิวหาประสาท. บทว่า ปริเยสนฺตา คือ เที่ยว

แสวงหา. บทว่า อาหิณฺฑนฺติ คือ เที่ยวไปในที่นั้นๆ. บทว่า เต อมฺพิล

ลภิตฺวา อนนฺพิล ปริเยสนฺติ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ได้รสเปรี้ยว

ก็แสวงหารสไม่เปรี้ยว คือได้รสเปรี้ยวมีเปรียงเป็นต้น ก็แสวงหารสไม่

เปรี้ยว. เปลี่ยนไปแล้ว ๆ เล่า ๆ อยู่ทั้งหมดอย่างนี้. บทว่า ปฏิสงฺขา

โยนิโส อาหาร อาหาเรติ ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉันอาหาร

คือรู้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาแล้วจึงฉันโดยอุบายแยบคาย.

บัดนี้เพื่อทรงแสดงอุบายอันแยบคาย จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า เนว

ทวาย ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เน หวาย คือ ไม่ฉันเพื่อเล่น. ในบทนั้น

นักฟ้อน นักกระโดด เป็นต้น ชื่อว่า บริโภค เพื่อประโยชน์ในการละเล่น.

จริงอยู่ การละเล่นอันได้แก่การฟ้อน การขับร้อง นักกลอน นักโศลก

ของผู้บริโภคอาหารใด ย่อมประสบความสำเร็จยิ่ง ๆ ขึ้น ชนเหล่านั้น

แสวงหาอาหารนั้นบริโภคโดยไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม. แต่ภิกษุนี้มิได้ฉัน

อย่างนั้น. บทว่า น มทาย ไม่ฉันเพื่อเมา คือไม่ฉันเพื่อความเจริญแห่ง

ความเมาด้วยความถือตัวและความเมาแห่งบุรุษ. ในบทนั้น พระราชา

มหาอำมาตย์ของพระราชา ชื่อว่าบริโภคเพื่อความเมา. เพราะพระราชา

และมหาอำมาตย์เหล่านั้นบริโภคอาหารประณีต มีอาหารที่มีรสกลมกล่อม

เป็นต้น เพื่อต้องการความเจริญแห่งความเมาด้วยความถือตัว และความ

เมาแห่งบุรุษ. แต่ภิกษุนี้ไม่ฉันอย่างนั้น . บทว่า น มณฺฑนาย คือ ไม่

ฉันเพื่อตกแต่งร่างกาย. ในบทนั้น สตรีที่อาศัยรูปเลี้ยงชีพและชาววังจึงดื่ม

เนยใสและน้ำอ้อยเป็นต้น บริโภคอาหารละเอียดอ่อนและนุ่ม ด้วยหวังว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 108

ข้อนิ้วมือของเราจักเรียบ ผิวพรรณในร่างกายจักผ่องใสด้วยอาหารอย่างนี้.

แต่ภิกษุนี้ไม่ฉันอย่างนั้น . บทว่า น วิภูสนาย ไม่ฉันเพื่อประดับ คือไม่

ฉันเพื่อประดับเนื้อในร่างกาย. ในบทนั้น นักมวยอาชีพ นักมวยปล้ำและ

คนใช้กำลังเป็นต้น ย่อมให้ร่างกายอิ่มเอิบด้วยเนื้อและปลาเป็นต้น อัน

ละเอียดอ่อนด้วยหวังว่า เนื้อของเราจะบริบูรณ์ เพื่อทนต่อการชกต่อยดังนี้.

แต่ภิกษุนี้ไม่ฉันเพื่อประดับแต่งเนื้อในร่างกายอย่างนั้น. บทว่า ยาวเทว

เป็นการแสดงข้อกำหนดนิยมถึงประโยชน์ของการฉันอาหาร. บทว่า อิมสฺส

กายสฺส ิติยา ฉันเพื่อดำรงกายนี้ คือฉันเพื่อดำรงกรชกายอันมีมหาภูต-

รูป ๔ นี้. อธิบายว่า นี้เป็นประโยชน์ในการฉันของภิกษุนั้น . บทว่า ยาปนาย

เพื่อให้ร่างกายเป็นไป คือฉันเพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป. บทว่า วิหึสุปรติยา

เพื่อกำจัดความลำบาก คือความหิวเกิดขึ้นเพราะเหตุที่ไม่บริโภค ชื่อว่า

ความลำบาก ฉันเพื่อสงบความลำบากนั้น. พฺรหฺมจริยานุคฺคหาย เพื่อ

อนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ คือสิกขา ๓. คำสอนทั้งสิ้น ชื่อว่าพรหมจรรย์

ฉันเพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์นั้น. บทว่า อิติ เป็นคำไขของอุบาย

แยบคาย ได้แก่ด้วยอุบายนี้. บทว่า ปุราณญฺจ เจทน ปฏิหงฺขามิ

เราจักบำบัดเวทนาเก่าเสีย เวทนาเกิดเพราะเหตุไม่ฉัน ชื่อว่าเวทนาเก่า

ฉันด้วยตั้งใจว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่านั้นเสีย ดังนี้. บทว่า นวญฺจ

เวทน น อุปฺปาเทสฺสามิ เราจักไม่ยังเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น เวทนาเกิด

ขึ้น เพราะเหตุฉันมากเกินไป ชื่อว่าเวทนาใหม่ ฉันด้วยตั้งใจว่า เรา

จักไม่ยังเวทนาใหม่นั้นให้เกิดขึ้นดังนี้. เวทนาเกิดขึ้นเพราะเหตุฉันแล้ว

ชื่อว่าเวทนาใหม่ ฉันเพื่อเวทนาใหม่ที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น. บทว่า

ยาตฺรา จ เม ภวิสฺสติ การดำเนินไปจักมีแก่เรา คือชีวิตของเราจัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 109

ดำเนินต่อไปได้. ในบทว่า อนวชฺชตา จ ความไม่มีโทษนี้ ได้แก่ มีโทษ

และไม่มีโทษ. ในบทนั้น การแสวงหาไม่เป็นธรรม การรับไม่เป็นธรรม

การบริโภคไม่เป็นธรรม นี้ชื่อว่ามีโทษ. การแสวงหาโดยธรรม รับโดย

ธรรม พิจารณาแล้วบริโภค ชื่อว่าไม่มีโทษ. ภิกษุบางรูปทำสิ่งไม่มีโทษ

ให้เป็นสิ่งมีโทษฉันเสียเกินพอดี เพราะนึกว่าไหน ๆ เราก็ได้มาแล้ว

ไม่สามารถจะให้อาหารนั้นย่อยได้ ย่อมลำบากด้วยต้องขึ้น และท้องเดิน

เป็นต้น. ภิกษุทั้งหลายในวิหารทั้งสิ้น ขวนขวายในการเยียวยารักษา

และแสวงหายาให้แก่ภิกษุนั้น เมื่อถูกถามว่า เป็นอะไรเล่า ก็บอกว่า

ภิกษุรูปโน้นท้องขึ้น ย่อมนินทาติเตียนว่า ภิกษุรูปนี้ปกติก็เป็นอย่างนี้

ตลอดเวลา ช่างไม่รู้จักประมาณท้องของตนเสียบ้างเลย. ภิกษุนี้ชื่อว่า

กระทำสิ่งไม่มีโทษ ให้เป็นสิ่งมีโทษ. ภิกษุไม่ทำอย่างนั้น ฉันด้วยคิดว่า

ความไม่มีโทษจักมีแก่เรา. แม้ในบทว่า ผาสุวิหาโร จ ความอยู่สบายนี้

ก็มีทั้งอยู่สบาย และมีทั้งอยู่ไม่สบาย. ในบทนั้น การบริโภคของพราหมณ์

๕ คนเหล่านี้คือ อาหรหัตถกะ ๑ อลังสาฏกะ ๑ ตัดรวัฏฏกะ ๑ กากมาสกะ ๑

ภุตตวมิตกะ ๑ ชื่อว่าอยู่ไม่สบาย. ในพราหมณ์ ๕ คนเหล่านั้น พราหมณ์

ชื่อว่าอาหรหัตถกะ บริโภคมากไม่สามารถจะลุกขึ้นตามธรรมดาของตนได้

พูดว่า ช่วยฉุดมือที. พราหมณ์ชื่อว่าอลังสาฏกะ เพราะค่าที่ตนมีท้องพลุ้ย

เกินไป แม้ลุกขึ้นได้ก็ไม่อาจนุ่งผ้าสาฏกได้. พราหมณ์ชื่อว่าตัตรวัฏฏกะ

ไม่สามารถจะลุกขึ้นได้กลิ้งไปในที่นั้น ๆ นั่นเอง. พราหมณ์ชื่อว่ากากมาสกะ

บริโภคจนล้นปากโดยที่กาสามารถจิกกินได้. พราหมณ์ชื่อว่าภุตตวมิตกะ

ไม่อาจให้อาหารอยู่ในปากได้คายเสียในที่นั้น ๆ เอง. ภิกษุไม่กระทำอย่าง

นี้ ฉันด้วยคิดว่า ความอยู่สบายจักมีแก่เรา. ความเป็นผู้มีท้องเหลือจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 110

อาหารสี่ห้าคำ ชื่อว่าอยู่สบาย. อิริยาบถ ๔ ของผู้บริโภคพอดี ๆ แล้ว

ดื่มน้ำย่อมเป็นไปด้วยความสุข. เพราะฉะนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร

จึงกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

บริโภคเหลือไว้สี่ห้าคำแล้วพึงดื่มน้ำ เป็นความเพียง

พอสำหรับอยู่สบาย ของภิกษุผู้ทำความเพียร.

อนึ่ง พึงประมวลองค์ทั้งหลายไว้ในที่นี้ . ไม่ฉันเพื่อเล่นเป็นองค์หนึ่ง

ไม่ฉันเพื่อเมาเป็นองค์หนึ่ง ไม่ฉันเพื่อตกแต่งเป็นองค์หนึ่ง ไม่ฉันเพื่อ

ประดับเป็นองค์หนึ่ง ฉันเพื่อดำรงกายนี้ เพื่อให้ร่างกายนี้เป็นไปเป็น

องค์หนึ่ง ฉันเพื่อกำจัดความลำบากเป็นองค์หนึ่ง ฉันเพื่ออนุเคราะห์

แก่พรหมจรรย์อย่างเดียวเท่านั้นเป็นองค์หนึ่ง ด้วยมนสิการว่า เราจัก

บำบัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นเป็นองค์หนึ่ง ความ

ดำเนินไปจักมีแก่เราเป็นองค์หนึ่ง. ในบทว่า อนวชฺชตา จ ผาสุวิหาโร จ

ความไม่มีโทษ ความอยู่สบายนี้เป็นอานิสงส์ของการฉัน. พระมหาสิวเถระ

กล่าวไว้ว่า องค์สี่ที่ห้ามควรอยู่ข้างล่าง ควรประมวลองค์แปดไว้ข้างบน.

ในองค์แปดนั้น ฉันเพื่อดำรงกายนี้เป็นองค์หนึ่ง ฉันเพื่อให้ร่างกาย

เป็นไปเป็นองค์หนึ่ง ฉันเพื่อกำจัดความลำบากเป็นองค์หนึ่ง ฉัน

เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์เป็นองค์หนึ่ง ด้วยมนสิการว่า เราจัก

บำบัดเวทนาเก่าเป็นองค์หนึ่ง เราจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นเป็นองค์

หนึ่ง ความดำเนินไปจักมีแก่เราเป็นองค์หนึ่ง ความไม่มีโทษเป็นองค์

หนึ่ง. ความอยู่สบายเป็นอานิสงส์ของการฉัน. ภิกษุฉันอาหารประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 111

บทว่า อุเปกฺขโก มีอุเบกขา คือเป็นผู้ประกอบด้วยฉฬังคุเบกขา.

บทว่า สโต มีสติ ได้แก่ประกอบด้วยสติในกายานุปัสสนาเป็นต้น.

อะไรชื่อว่าธรรม คืออุเบกขามีองค์ ๖ ในบทว่า อุเปกฺขโกติ

ฉฬงฺคุเปกฺขา สมนฺนาคโต นี้ คือญาณเป็นต้น. เมื่อกล่าวว่า ญาณ

ก็ได้แก่กิริยาญาณสัมปยุต ๔. เมื่อกล่าวว่ามีธรรมเป็นเครื่องอยู่เนือง ๆ

ก็ได้แก่มหาจิต ๘ ดวง. เมื่อกล่าวว่า ไม่มีกำหนัดและขัดเคือง ก็ได้แก่

จิต ๑๐ ดวง. โสมนัส ได้แก่อาเสวนะ. บทว่า จกฺขุนา รูป ทิสฺวา

เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว คือเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ สามารถเห็นรูปที่ได้

ด้วยสิ่งที่ชื่อว่าจักษุโดยเหตุ. แต่โบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า จักษุย่อม

ไม่เห็นรูปเพราะไม่มี แม้จิตก็ย่อมไม่เห็นรูป เพราะไม่มีจักษุ แต่ย่อม

เห็นได้ด้วยจิตอัน มีประสาทเป็นวัตถุกระทบอารมณ์ทางทวาร ก็ในฐานะ

เช่นนี้ ชื่อว่าเป็นการกล่าวรวมกัน ดุจในประโยคมีอาทิว่า บุรุษยิงด้วยธนู

ดังนี้ เพราะฉะนั้น ความในบทนี้จึงมีว่า เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณดังนี้

บทว่า เนว สุมโน โหติ ไม่ดีใจ คือไม่มีโสมนัสด้วยเกิดโลภะ ด้วยเกิด

ฉันทราคะ. บทว่า น ทุมฺมโน ไม่เสียใจ คือไม่มีจิตประทุษร้าย ด้วยเกิด

ปฏิฆะ. บทว่า อุเปกฺขโก โหติ วางเฉย คือเห็นเพียงเกิด. เป็นผู้ไม่ตกไป

ในฝักฝ่ายทำอิริยาบถให้ปกติ. บทว่า สโต สมฺปชาโน คือ มีสติสมบูรณ์

ด้วยญาณ. บทว่า มนาป นาภิคิชฺฌติ ไม่ติดใจ คือไม่อยากไม่ปรารถนา

อารมณ์ที่น่าปรารถนาอันเจริญใจ. บทว่า นาภิหสติ คือ ไม่ยินดี. บทว่า

น ราค ชเนติ ไม่ให้ราคะเกิด คือไม่เกิดความกำหนัดในอารมณ์ที่น่า

ปรารถนานั้น. บทว่า ตสฺส ิโตว กาโย โหติ กายของบุคคลนั้นก็ตั้งอยู่

คือกายมีจักษุเป็นต้นของพระขีณาสพนั้นก็ตั้งอยู่ คือไม่หวั่นไหว เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 112

เว้นจากความหวั่นไหวได้. บทว่า อมนาป ไม่ชอบใจ ได้แก่ อารมณ์ที่

ไม่น่าปรารถนา. บทว่า น มงกุ โหต ไม่เป็นผู้เก้อ คือไม่เสียใจ. บทว่า

อปฺปติฏฺิตจิตฺโต ไม่โกรธ คือไม่มีใจตั้งอยู่ด้วยความโกรธ. บทว่า

อาลีนนนโส คือ ไม่หดหู่. บทว่า อพฺยาปนฺนเจตโส ไม่พยาบาท คือมี

จิตเว้นจากพยาบาท. บทว่า รชนีเย น รชฺชติ ไม่กำหนัดในอารมณ์เป็น

ที่ตั้งแห่งความกำหนัด คือไม่เกิดราคะในวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.

บทว่า โทสนีเย น ทุสฺสติ ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง

คือไม่เกิดโทสะในวัตถุอันทำให้เกิดโทสะ. บทว่า โมหนีเย น มุยฺหติ

ไม่หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง คือไม่ให้โมหะเกิดในวัตถุเป็นที่

ตั้งแห่งโมหะ. บทว่า โกปนีเย น กุปฺปติ ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้ง

แห่งความขัดเคือง คือไม่หวั่นไหวในวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ. บทว่า

มทนีเย น มชฺชติ ไม่มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา คือไม่

จมลงในวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา. บทว่า กิเลสนีเย น กิลิสฺสติ

ไม่เศร้าหมอง คือไม่เข้าไปเดือดร้อนในวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเข้าไป

เดือดร้อน. บทว่า ทิฏฺเ ทิฏฺมตฺโต เป็นเพียงแต่เห็นในรูปที่เห็น คือ

เป็นเพียงแต่เห็นในรูปารมณ์ด้วยจักขุวิญญาณ. บทว่า สุเต สุตมตฺโต

เป็นแต่เพียงได้ยินในเสียงที่ได้ยินในสัททายตนะด้วยโสตวิญญาณ. บทว่า

มุเต มุตมตฺโต เป็นเพียงแต่ทราบในสิ่งที่ทราบ คือเป็นเพียงแต่ยึดถือใน

สิ่งที่ถึงแล้วยึดถือไว้ด้วยฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณ.

บทว่า วิญฺาเต วิญฺาตมตฺโต เป็นแต่เพียงรู้แจ้งในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง

คือเป็นแต่เพียงรู้ในธรรมารมณ์ที่รู้ด้วยมโนวิญญาณ. บทว่า ทิฏฺเ น

ลิมฺปติ ไม่ติดในรูปที่เห็น คือไม่ติดในรูปารมณ์ ที่เห็นแล้วด้วยจักขุ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 113

วิญญาณ ด้วยการติดด้วยตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า ทิฏฺเ อนุปโย ไม่มี

ตัณหาในรูปที่เห็น คือไม่มีตัณหาในรูปารมณ์นั้นเอง. บทว่า อนปาโย

ได้แก่ ไม่มีจิตประทุษร้าย. บทว่า สริชฺชติ ย่อมปรากฏ คือย่อมเข้าไป

ได้. บทว่า ปสฺสติ คือ แลดู. บทว่า ฉนฺทราโค ความกำหนัดด้วย

ความพอใจ คือความเยื่อใย. บทว่า รูปาราม ชอบรูปารมณ์ ชื่อว่า

รูปารามะ เพราะมีรูปเป็นที่ชอบ. บทว่า รูปรต คือ ยินดีในรูป. บทว่า

รูปสมฺมุทิต คือ ชื่นชมในรูป.

บทว่า ทนฺต นยนฺติ สมิตึ ชนทั้งหลายย่อมนำพาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่

ที่ประชุม คือชนทั้งหลายเมื่อไปท่ามกลางมหาชนในสวน สนามกีฬาเป็นต้น

ย่อมเทียมโคหรือม้าที่ฝึกดีแล้วที่ยาน แล้วนำไป. บทว่า ราชา ความว่า

แม้พระราชาเมื่อจะเสด็จไปสู่ที่เช่นนั้น ก็ทรงขึ้นพาหนะที่ฝึกดีแล้วนั่นแล.

บทว่า มนนุสฺเสสุ ความว่า บุคคลผู้ฝึกฝนแล้วด้วยอริยมรรค ๔

หมดพยศเป็นผู้ประเสริฐสุดแม้ในหมู่มนุษย์. บทว่า โยติวากฺย อดกลั้น

ด้วยคำที่ล่วงเกิน ความว่า บุคคลใดอดกลั้น ไม่โต้ตอบ ไม่เดือดร้อน

ต่อคำพูดล่วงเกินเห็นปานนั้น แม้เขาพูดอยู่บ่อย ๆ บุคคลเห็นปานนี้

ฝึกฝนดีแล้วชื่อว่าผู้ประเสริฐที่สุด. บทว่า อสฺสตรา ม้าอัสดร คือม้าที่เกิด

จากแม่ม้า พ่อลา. บทว่า อาชานียา ม้าอาชาไนย คือม้าสามารถรู้

เหตุการณ์ที่สารถีฝึกม้าให้ทำได้เร็วพลัน. บทว่า สินฺธวา ได้แก่ ม้าที่

เกิดในแคว้นสินธพ. บทว่า มหานาคา ช้างใหญ่ คือช้างชาติกุญชร.

บทว่า อตฺตทนฺโต บุคคลผู้ฝึกตนแล้ว อธิบายว่า ม้าอัสดรก็ดี ม้าสินธพก็ดี

ช้างชาติกุชรก็ดี ที่เขาฝึกแล้วเป็นสัตว์ประเสริฐ ที่เขาไม่ฝึกก็เป็นสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 114

ไม่ประเสริฐ แต่บุคคลใดฝึกตนดีแล้ว เพราะฝึกตนด้วยธรรมคือมรรค ๔

หมดพยศ บุคคลนี้เป็นผู้ประเสริฐกว่านั้น คือยิ่งกว่าสัตว์ทั้งหมดเหล่านั้น.

บทว่า น หิ เอเตหิ ยาเนหิ อันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยยานเหล่านั้น

ความว่า บุคคลใด ๆ ไม่พึงไปสู่ทิศ คือนิพพานที่เรียกว่า อคตะ เพราะ

เป็นทิศไม่เคยไปแม้แต่ฝันด้วยยานมียานช้างเป็นต้น เหมือนบุคคลผู้ฝึกตน

แล้วมีตนฝึกด้วยการฝึกอินทรีย์ในเบื้องต้น มีตนฝึกดีแล้วด้วยอริยมรรค-

ภาวนาในเบื้องปลาย หมดพยศ มีปัญญา ย่อมไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป คือถึง

ภูมิที่ฝึกตนแล้ว (พระอรหันต์) เพราะฉะนั้นการฝึกตนนั้นแลจึงประเสริฐ.

บทว่า วิธาสุ น วิกมฺปนฺติ ไม่หวั่นไหวในมานะทั้งหลาย คือไม่หวั่น

ไหวในมานะมีอาทิว่า เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าผู้ที่ประเสริฐ. บทว่า

วิปฺปมุตฺตา ปุนพฺภวา เป็นผู้พ้นขาดแล้วจากภพใหม่ คือเป็นผู้พ้น

ด้วยดีแล้วจากการเกิดบ่อย ๆ โดยการถือปฏิสนธิในภพใหม่. บทว่า

ทนฺตภูมิ อนุปฺปตฺตา เป็นผู้บรรลุถึงภูมิที่ฝึกแล้ว คือบรรลุถึงภูมิคือ

อรหัตผล อันเป็นที่ฝึกโดยส่วนเดียว. บทว่า เต โลเก วิชิตาวิโน

พระอรหันต์เหล่านั้นเป็นผู้ชนะแล้วในโลก คือพระอรหันต์เหล่านั้นเป็นผู้

ชื่อว่ามีชัยชนะอย่างวิเศษในสัตวโลก.

ก็เพราะผู้มีอินทรีย์อบรมแล้ว ไม่มีภัย ไม่ผิดปกติ ชื่อว่าเป็นผู้ฝึกตน

แล้ว ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความนั้น จึงตรัสคาถาว่า

ยสฺสินฺทฺริยานิ ดังนี้เป็นต้น. บทนั้นมีความดังต่อไปนี้ ผู้ใดยกอินทรีย์

หกมีจักขุนทรีย์เป็นต้นขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ มีลักษณะที่ไม่เที่ยงเป็นต้น

ด้วยโคจรภาวนา (การเจริญอารมณ์) แล้วให้ยึดถือสติและสัมปชัญญะ

ด้วยวาสนาภาวนา (บุญหรือบาปที่อบรมมา) แล้วจึงอบรมอินทรีย์เหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 115

ทั้งภายนอกอย่างนี้ ด้วยโคจรภาวนาในภายใน. บทว่า สพฺพโลเก ใน

โลกทั้งปวง อธิบายว่า บุคคลรู้แจ้งแทงตลอดโลกนี้ และโลกอื่น คือ

ขันธโลกอันสืบต่อจากโลกของตนและคนอื่น อย่างนี้ว่า ความบกพร่อง

หรือมีความบกพร่องของอินทรีย์ทั้งหลายในที่ใด ๆ อบรมอินทรีย์ในที่นั้น ๆ

ด้วยการไม่เพ่งเล็งเป็นต้น แล้วประสงค์จะตาย ตายอย่างผู้ฝึกตนแล้วหวัง

จะตาย รอคอยเวลาสิ้นชีวิต ไม่กลัวต่อความตาย. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เราไม่กลัวความตาย เราไม่มีความใคร่ในชีวิต เรา

ไม่หวังมรณะ ไม่หวังชีวิต เรารอคอยความตาย เหมือน

ลูกจ้างรอรับของไม่มีพิษฉะนั้น.

บทว่า ภาวิโต ส ทนฺโต คือ ผู้นั้นมีอินทรีย์อบรมแล้วฝึกตนแล้ว.

บทว่า นิสฺสยา นิสัย คือตัณหานิสัยและทิฏฐินิสัย. บทว่า ตฺวา ธมฺม

รู้ธรรม คือรู้ธรรมโดยอาการทั้งหลาย มีความไม่เที่ยงเป็นต้น . บทว่า

อนิสฺสิโต คือ อันนิสัยสองอย่างนั้นไม่อาศัยแล้วอย่างนี้. ท่านแสดงไว้ว่า

ไม่มีนิสัย คือตัณหาและทิฏฐินอกจากรู้ธรรม. บทว่า ภวาย วิภวาย วา

ในภพ หรือในความปราศจากภพ คือ สัสสตทิฏฐิ หรืออุจเฉททิฏฐิ.

การขยายความแห่งคาถานี้ง่าย.

บทว่า ต พฺรูมิ อุปสนฺโต เรากล่าวบุคคลนั้นว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ

คือเรากล่าวบุคคลนั้นดังที่กล่าวไว้แล้วในคาถาหนึ่ง ๆ ว่า เป็นผู้สงบ.

บทว่า อตริ โส วิสตฺติก บุคคลนั้นข้ามตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกา คือ

ได้ข้ามตัณหาใหญ่อันชื่อว่า วิสัตติกา เพราะมีความอยากเป็นต้นนี้ได้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 116

บทว่า อตฺตโน ทิฏฺิยา ราโค อภิชฺฌากายคนฺโถ ความกำหนัด

ในทิฏฐิของตน ชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกายคืออภิชฌา ความว่า

ความกำหนัด กล่าวคือความยินดีในทิฏฐิที่คนยึดถือ ชื่อว่า กายคันถะ

(กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย) คืออภิชฌา. บทว่า ปรวาเทสุ อาฆาโต

อปฺปจฺจโย ความอาฆาต ความไม่ยินดีในวาทะของคนอื่น คือความโกรธ

และอาการแสดงความไม่ยินดีในวาทะและการโต้วาทะของคนเหล่าอื่น ชื่อ

ว่า กายคันถะ คือพยาบาท. บทว่า อตฺตโน สีล วา วต วา ศีลหรือ

พรตของตน คือ ศีลอันได้แก่การเว้นจากเมถุนที่ตนยึดถือไว้ หรือพรต

มีการประพฤติพรตเยี่ยงโคเป็นต้น. บทว่า สีลพฺพต วา หรือศีลและ

พรตทั้งสองนั้น. บทว่า ปรามาโส การยึดถือ คือยึดถือจากอื่นด้วยคำ

มีอาทิว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยสิ่งนี้. บทว่า อตฺตโน ทิฏฺิ อิท-

สจฺจาภินิเวโส กายคนฺโถ ทิฏฐิของตน คือความถือมั่นว่าสิ่งนี้จริง

ถือทิฏฐิที่คนยึดถือ ชื่อว่า กายคันถะ คือความยึดถือโดยไม่แยบยลว่า

สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ ชื่อว่ากายคันถะ คือถือมั่นว่าสิ่งนี้จริง.

บทว่า คนฺถา ตสฺส น วิชฺชนฺติ กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ย่อมไม่

มีแก่บุคคลนั้น ได้แก่ทิฏฐิคันถะทั้งสองย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพนั้นด้วย

โสดาปัตติมรรค. พยาปาทกายคันถะ ย่อมไม่มีด้วยอนาคามิมรรค.

อภิชฌากายคันถะ ย่อมไม่มีด้วยอรหัตมรรค.

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงสรรเสริญผู้เข้าไปสงบนั้น จึง

ตรัสคำมีอาทิว่า น ตสฺส ปุตฺตา บุตรทั้งหลายย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺตา ได้แก่ บุตร ๔ จำพวก มีบุตรเกิดแต่ตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

เป็นต้น. อนึ่ง ในบทนี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงกำหนดบุตรโดยชื่อว่า

บุตรเป็นต้น. ก็บุตรเหล่านั้นย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น อธิบายว่า เพราะไม่มี

บุตรเหล่านั้น บุตรเป็นต้นจึงไม่มี.

บทว่า อตฺตา ความว่า สัสสตทิฏฐิที่ถือว่า อัตตามีอยู่ย่อมไม่มี. บทว่า

นิรตฺตา ความว่า อุจเฉททิฏฐิที่ถือว่าขาดสูญ. บทว่า คหิต นตฺถิ ความว่า

สิ่งที่ควรยึดถือย่อมไม่มี. บทว่า มุญฺจิตพฺพ นตฺถิ ความว่า สิ่งที่ควร

ปล่อยวางย่อมไม่มี. บทว่า ยสฺส นตฺถิ คหิต ได้แก่ สิ่งที่ยึดถือด้วย

อำนาจตัณหา และทิฏฐิ ย่อมไม่มีแก่บุคคลใด. บทว่า ตสฺส นตฺถิ

มุญฺจิตพฺพ สิ่งที่ควรปล่อยวางก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น. บทว่า คาหมุญฺจน

สมติกฺกนฺโต ความว่า พระอรหันต์ก้าวล่วงความถือและปล่อยวางแล้ว.

บทว่า วุฑฺฒิปริหานิวีติวตฺโต ความว่า พระอรหันต์ล่วงเลยความเจริญและ

ความเสื่อมแล้ว.

บทว่า เยน น วชฺชุ ปุถุชฺชนา อโถ สมณพฺราหฺมณา พวก

ปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึงกล่าวโดยโทษใด คือพวกปุถุชน

แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหมดรวมทั้งสมณพราหมณ์ พึงกล่าวกะเขาว่า เขา

เป็นผู้กำหนัดแล้วก็ดีเป็นผู้ประทุษร้ายแล้วก็ดี ด้วยโทษมีราคะเป็นต้นใด.

บทว่า ต ตสฺส อปุรกฺขต โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น คือโทษมี

ราคะเป็นต้นนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลผู้เป็นพระอรหันต์นั้น. บทว่า ตสฺมา

วาเทสุ เนญฺชติ เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหว ในเพราะ

วาทะทั้งหลาย คือไม่หวั่นไหวในเพราะคำพูดนินทา. บทว่า เนญฺชติ

เป็นบทยกขึ้นแสดงบทขยายความ. บทว่า น อิญฺชติ คือ ไม่ทำความ

หวั่นไหว. บทว่า น จลติ คือ ไม่น้อมไปในเพราะวาทะนั้น. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 118

น เวธติ ได้แก่ ไม่ดิ้นรน เพราะไม่สามารถจะให้หวั่นไหวได้. บทว่า

น ปเวธติ คือ ไม่สะท้าน. บทว่า น สมฺปเวธติ คือ ไม่สะเทือน.

บทว่า น อุสฺเสสุ วทเต ไม่กล่าวในความเป็นผู้สูงกว่าเขา คือ

ทำตนในความวิเศษไว้ภายใน แล้วไม่กล่าวดูหมิ่นว่า เราเป็นผู้วิเศษกว่า

เขา. ในสองบทนอกนั้นก็มีนัยนี้.

บทว่า กปฺปนฺเนติ อกปฺปิโย คือ เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึง

ความกำหนดสองอย่าง. เพราะเหตุไร. เพราะท่านกล่าวไว้ว่า เป็นผู้ไม่มี

ความกำหนด คือละความกำหนดได้แล้ว. การขยายความคาถานี้ง่าย.

บทว่า สก ของตน คือยึดถือว่า ของเรา. บทว่า อสตา จ

น โสจติ เมื่อสิ่งที่ถือว่า ของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศก คืออวิชชาและ

มานะเป็นต้น ไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศก. บทว่า ธมฺเมสุ จ น คจฺฉติ

ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย คือไม่ถึงความลำเอียงด้วยอำนาจ

ฉันทาคติเป็นต้นในธรรมทั้งปวง. บทว่า สเว สนฺโตติ วุจฺจติ คือ บุคคล

นั้นแลเป็นผู้สูงสุดกว่าคน เรียกว่า เป็นผู้สงบ. การขยายความคาถาแม้นี้

ก็ง่าย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต.

เมื่อจบเทศนา เทวดาเสนโกฏิได้บรรลุพระอรหัต. การนับจำนวนพระ-

โสดาบันเป็นต้นไม่มี.

จบอรรถกถาปุราเภทสุตตนิเทสที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 119

กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑

[๔๔๒] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ความทะเลาะ ความ

วิวาท ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความถือ

ตัว ความดูหมิ่น และคำพูดส่อเสียด มีมาแต่อะไร

ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาแต่อะไร ?

ว่าด้วยความทะเลาะวิวาท

[๔๔๓] ชื่อว่า ความทะเลาะ ในคำว่า ความทะเลาะ ความ

วิวาท มีมาแต่อะไร ? ความว่า ความทะเลาะและความวิวาททั้งสอง

นั้นเป็นอย่างเดียวกัน โดยอาการเดียวกัน คือ ความทะเลาะใด ความ

ทะเลาะนั้นเป็นความวิวาท ความวิวาทใด ความวิวาทนั้นเป็นความ

ทะเลาะ อีกอย่างหนึ่ง โดยอาการอื่น ความวิวาทที่เป็นเบื้องต้นแห่ง

ความทะเลาะ เรียกว่า ความวิวาท กล่าวคือแม้พระราชาก็วิวาทกับพวก

พระราชา แม้พวกกษัตริย์ก็วิวาทกับพวกกษัตริย์ แม้พวกพราหมณ์ก็

วิวาทกับพวกพราหมณ์ แม้พวกคฤหบดีก็วิวาทกับพวกคฤหบดี แม้มารดา

ก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับมารดา แม้บิดาก็วิวาทกับบุตร แม้

บุตรก็วิวาทกับบิดา แม้พี่น้องชายก็วิวาทกับพี่น้องหญิง แม้พี่น้องหญิงก็

วิวาทกับพี่น้องชาย แม้สหายก็วิวาทกับสหาย นี้ชื่อว่า ความวิวาท.

ความทะเลาะเป็นไฉน ? พวกบุคคลผู้ครองเรือนขวนขวายหาโทษ

กัน ก็ทำความทะเลาะกันด้วยกาย ด้วยวาจา พวกบรรพชิตต้องอาบัติอยู่

ก็ทำความทะเลาะกันด้วยกาย ด้วยวาจา นี่ชื่อว่า ความทะเลาะ.

๑. เลขข้อในบาลีเล่ม ๒๙ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๔๔๑ ซึ่งซ้ำกับเลขข้อสุดท้าย

ของสูตรที่ ๑๐ แต่ในที่นี้เรียงตามเป็นจริง แก้เป็น ๔๔๒ ในจนจบข้อ ๙๘๗ ในบาลี ซึ่งใน

ที่นี้จะเป็นข้อ ๙๘๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 120

คำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท มีมาแต่อะไร ? ความว่า

พระพุทธนิมิตสอบถาม ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้

ประสาท ซึ่งมูล เหตุ นิทาน เหตุเกิด แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร

อารมณ์ ปัจจัย สมุทัยแห่งความทะเลาะและ.ความวิวาทว่า ความทะเลาะ

และความวิวาทมีมาคือเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ

มาแต่อะไร คือ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ

มีอะไรเป็นแดงเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความทะเลาะ ความวิวาท

มีมาแต่อะไร.

ว่าด้วยความรำพัน

[๔๔๔] ชื่อว่า ความรำพัน ในคำว่า ความรำพัน ความโศก

ความตระหนี่ ความว่า ความเพ้อถึง ความรำพัน กิริยาที่เพ้อถึง กิริยา

ที่รำพันถึงความเป็นผู้เพ้อถึง ความเป็นผู้รำพันถึง ความพูดเพ้อ ความ

บ่นเพ้อ ความพร่ำเพ้อ อาการพร่ำเพ้อ ความเป็นผู้พร่าเพ้อ ของตน

ผู้ถูกความเสื่อมแห่งญาติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมเพราะโรคกระทบ

เข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง ที่ประจวบกับความ

เสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ

เข้าบ้าง.

ว่าด้วยความโศก

ชื่อว่า ความโศก คือ ความเศร้าโศก กิริยาเศร้าโศก ความ

เป็นผู้เศร้าโศก ความเศร้าโศกภายใน ความตรมตรอมในภายใน ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 121

เดือดร้อนในภายใน ความเร่าร้อนในภายใน ความตรอมเตรียมแห่งจิต

ความโทมนัส ลูกศรคือความเศร้าโศก ของคนที่ถูกความเสื่อมแห่งญาติ

กระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งโภคสมบัติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความ

เสื่อมเพราะโรคกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งศีลกระทบเข้าบ้าง ที่

ถูกความเสื่อมแห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง ที่ประจวบกับความเสื่อมอย่างใด

อย่างหนึ่งบ้าง ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบเข้าบ้าง.

ว่าด้วยความตระหนี่

ชื่อว่า ความตระหนี่ ได้แก่ ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ ความ

ตระหนี่อาวาส ความตระหนี่สกุล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณะ

ความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่เห็นปานนี้ กิริยาที่ตระหนี่ ความเป็น

ผู้ประพฤติตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่าง ๆ ความเหนียวแน่น ความ

เป็นผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใคร ๆ ไม่เชื่อถือได้ใน

การให้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่. อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี

ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะก็ดี นี้เรียกว่า ความตระหนี่.

ความมุ่งจะเอา ก็เรียกว่าความตระหนี่. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความรำพัน

ความโศก ความตระหนี่.

ว่าด้วยความถือตัว

[๔๔๕] ชื่อว่า ความถือตัว ในคำว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น

และความพูดส่อเสียด พึงทราบอธิบายดังนี้ บุคคลบางคนในโลกนี้

ยังความถือตัวให้เกิดโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง โดยความเป็นบุตรแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 122

สกุลบ้าง โดยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง โดยทรัพย์บ้าง โดยการปกครอง

บ้าง โดยหน้าที่การงานบ้าง โดยหลักแหล่งแห่งศิลปศาสตร์บ้าง โดย

วิทยฐานะบ้าง โดยการศึกษาบ้าง โดยปฏิภาณบ้าง โดยวัตถุอย่างใด

อย่างหนึ่งบ้าง.

ว่าด้วยความดูหมิ่น

ชื่อว่า ความดูหมิ่น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่น

โดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง.

ว่าด้วยการพูดส่อเสียด

ชื่อว่า ความพูดส่อเสียด คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี

วาจาส่อเสียด คือฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้

หรือฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้

ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่แตกกันแล้วบ้าง ชอบผู้ที่

เป็นก๊กกัน ยินดีผู้ที่เป็นก๊กกัน เพลินคนที่เป็นก๊กกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่

ทำให้เป็นก๊กกัน นี้เรียกว่า ความพูดส่อเสียด. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมนำ

คำส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความ

มุ่งหมายเป็นที่รัก ๑ มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน จึงนำคำส่อเสียด

เข้าไป ๑.

บุคคลนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร ?

บุคคลนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า เราจักเป็น

ที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่สนิท เป็นภายใน เป็นที่ดีใจ ของบุคคลนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 123

บุคคลผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน จึงนำคำส่อเสียดเข้าไป

อย่างไร ? บุคคลผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า ชนเหล่านั้น

พึงเป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกัน เป็นสองเหล่า สองพวก สองฝ่าย

ชนเหล่านี้ พึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก ไม่ผาสุกด้วยอุบาย

อย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูด

ส่อเสียด.

[๔๔๖] คำว่า ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกว่า กิเลสเหล่านั้น มี

มาแต่อะไร ? ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัส

บอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาท ซึ่งมูล เหตุ นิทาน เหตุเกิด

แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์ ปัจจัย สมุทัย แห่งกิเลส ๘ ประการ

นี้ว่า กิเลส ๘ ประการนี้ คือ ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน

ความโศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด

มีมา คือ เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร

คือ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น

แดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาแต่อะไร. คำว่า ขอ

เชิญพระองค์จงตรัสบอก คือขอเชิญพระองค์จงตรัสบอก ตรัสตอบ

แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกทำให้ตื้น ประกาศ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอกว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาแต่อะไร เพราะ.

เหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้น จึงตรัสถานว่า

ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความโศก

ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูด

ส่อเสียด มีมาแต่อะไร ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอกว่า

กิเลสเหล่านั้นมีมาแต่อะไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 124

[๔๔๗] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ความทะเลาะ

ความวิวาท ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่ ความ

ถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด มีมาแต่สิ่ง

ที่รัก ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความตระหนี่

และเมื่อความวิวาทกันเกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็มี.

ว่าด้วยความทะเลาะ...มาจากสิ่งที่รัก

[๔๔๘] ชื่อว่า สิ่งที่รัก ในคำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท

ความรำพัน ความโศก ความตระหนี่...มีมาแต่สิ่งที่รัก ได้แก่วัตถุ

เป็นที่รัก ๒ อย่าง คือ สัตว์ ๑ สังขาร ๑.

สัตว์ผู้เป็นที่รักเป็นไฉน ? ชนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นผู้ใคร่ความ

เจริญ ใคร่ประโยชน์ ใคร่ความสบาย ใคร่ความปลอดโปร่งจากโยค-

กิเลส คือ เป็นมารดา เป็นบิดา เป็นพี่น้องชาย เป็นพี่น้องหญิง เป็น

บุตร เป็นธิดา เป็นมิตร เป็นพวกพ้อง เป็นญาติ หรือเป็นสาโลหิต

ชนเหล่านี้ชื่อว่า สัตว์ผู้เป็นที่รัก. สังขารเป็นที่รักเป็นไฉน ? รูป เสียง

กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจเหล่านั้นชื่อว่า สังขารเป็นที่รัก.

ชนทั้งหลาย แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก ย่อม

ทะเลาะกัน คือเมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมทะเลาะกันบ้าง

เมื่อวัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมทะเลาะกันบ้าง แม้ผู้มีความหวาด

ระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมทะเลาะกัน คือเมื่อวัตถุ

ที่รักกำลังแปรปรวนไป ย่อมทะเลาะกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไป

แล้ว ย่อมทะเลาะกันบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 125

ย่อมวิวาทกัน คือเมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมวิวาทกันบ้าง

เมื่อวัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมวิวาทกันบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวง

ในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมวิวาทกัน คือเมื่อวัตถุที่รัก

กำลังแปรปรวนไป ย่อมวิวาทกันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไปแล้ว

ย่อมวิวาทกันบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รักย่อม

รำพัน คือเมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมรำพันบ้าง เมื่อ

วัตถุที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมรำพันบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงใน

ความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมรำพัน คือเมื่อวัตถุที่รักกำลังแปร-

ปรวนไปแล้ว ย่อมรำพันบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไปแล้ว ย่อมรำพัน

บ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่รัก ย่อมเศร้าโศก คือ

เมื่อวัตถุที่รักกำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุที่รักถูก

แย่งชิงไปแล้วย่อมเศร้าโศกบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปร-

ปรวนไปแห่งวัตถุที่รัก ย่อมเศร้าโศก คือเมื่อวัตถุที่รักกำลังแปรปรวน

ไปย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุที่รักแปรปรวนไปแล้ว ย่อมเศร้าโศกบ้าง

และย่อมรักษา ปกครอง ป้องกัน หวงห้าม ตระหนี่วัตถุที่รัก เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความเศร้าโศก

ความตระหนี่ มีมาแต่สิ่งที่รัก.

[๔๔๙] คำว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น และความพูดส่อเสียด

ความว่า ชนทั้งหลายย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รัก ย่อม

ยังความดูหมิ่นให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รัก.

ชนทั้งหลายย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รักอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 126

ชนทั้งหลายย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่รักอย่างนี้ว่า พวก

เรามีปกติได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ชอบใจ.

ชนทั้งหลาย ย่อมยังความถือตัวให้เกิด เพราะอาศัยวัตถุที่รัก

อย่างไร ? ชนทั้งหลายย่อมยังความถือตัวให้เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่ารัก

อย่างนี้ว่า พวกเรามีปกติได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ. ที่ชอบใจ

ส่วนชนเหล่านั้น ไม่ได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ.

คำว่า ความพูดส่อเสียด ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น

ผู้มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่

นี้ ฯลฯ บุคคลผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า... ชนเหล่านี้พึง

แตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก ด้วยอุบายอย่างไร

ก็นำคำส่อเสียดเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น

และความพูดส่อเสียด.

[๔๕๐] คำว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความ

ตระหนี่ ความว่า กิเลส ๗ ประการนี้ คือ ความทะเลาะ ความวิวาท

ความรำพัน ความเศร้าโศก ความถือตัว ความดูหมิ่น ความพูดส่อเสียด

ประกอบ ตกแต่ง เนื่อง สืบเนื่อง ในความตระหนี่ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ความทะเลาะ ความวิวาท ประกอบในความตระหนี่.

[๔๕๑] คำว่า เมื่อความวิวาทกันเกิดแล้ว คำพูดส่อเสียดก็มี

ความว่า เมื่อความวิวาทกันเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ

แล้ว ชนทั้งหลายย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไป คือ ฟังจากข้างโน้นเพื่อทำลาย

คนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว มาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น

เป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่แตกกันแล้วบ้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 127

ชอบผู้ที่เป็นก๊กกันบ้าง ยินดีผู้ที่เป็นก๊กกัน เพลินคนที่เป็นก๊กกัน เป็น

ผู้กล่าววาจาที่ทำให้เป็นก๊กกัน นี้เรียกว่า ความพูดส่อเสียด อีกอย่างหนึ่ง

ชนทั้งหลายย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ นำคำส่อเสียด

เข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รัก ๑ มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน จึง

นำคำส่อเสียดเข้าไป ๑.

ชนทั้งหลายนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร ?

ชนทั้งหลายนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า พวก

เราจักเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่สนิท เป็นภายใน เป็นที่ดีใจของ

บุคคลผู้นี้.

ชนทั้งหลายผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน จึงนำคำส่อเสียดเข้าไป

อย่างไร ? ชนทั้งหลายผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า ชน

เหล่านี้พึงเป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกัน เป็นสองเหล่า เป็นสองพวก

เป็นสองฝ่าย ชนเหล่านั้นพึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก ไม่

ผาสุก ด้วยอุบายอย่างไร ก็นำคำส่อเสียดเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เมื่อความวิวาทกันเกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็มี เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ความทะเลาะ ความวิวาท ความรำพัน ความเศร้า-

โศก ความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่น และ

ความพูดส่อเสียด มีมาแต่สิ่งที่รัก ความทะเลาะ ความ

วิวาท ประกอบในความตระหนี่ และเมื่อความวิวาทกัน

เกิดแล้ว ความพูดส่อเสียดก็มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 128

[๔๕๒] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก

มีอะไรเป็นนิทาน และชนเหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปใน

โลกเพราะความโลภ ความโลภของชนเหล่านั้นมีอะไร

เป็นนี้ทาน อนึ่ง ความหวังและความสำเร็จหวังที่มีแก่

นรชน. เพื่อข้างหน้านั้น มีอะไรเป็นนิทาน ?

ว่าด้วยอะไรเป็นต้นเหตุแห่งสิ่งที่รัก

[๔๕๓] คำว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีอะไรเป็นนิทาน

ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้

ทรงแสดง ขอให้ประสาทซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัยแห่งสิ่งที่รักทั้งหลายว่า สิ่ง

ที่รักทั้งหลายมีอะไรเป็นนิทาน คือ เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ

ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น

ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก

มีอะไรเป็นนิทาน.

[๔๕๔] คำว่า และชนเหล่าใดแล ในคำว่า และชนเหล่าใดแล

ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ได้แก่พวกกษัตริย์ พราหมณ์

แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์. คำว่า เพราะความ

โลภ คือความโลภ กิริยาที่โลภ ความเป็นผู้โลภ ความกำหนัดนัก

กิริยาที่กำหนัดนัก ความเป็นผู้กำหนัดนัก อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล.

คำว่า เที่ยวไป คือ เที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง

เยียวยา. คำว่า ในโลก คือในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 129

ธาตุโลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และชนเหล่าใดแล ย่อม

เที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ.

[๔๕๕] คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง ... มีอะไรเป็น

นิทาน ? ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก

อัญเชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาทซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัยแห่งความหวัง

และความสำเร็จหวังว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง มีอะไรเป็นนิทาน

คือ เกิด บังเกิด เกิดพร้อม บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไร

เป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง มีอะไรเป็นนิทาน.

[๔๕๖] คำว่า ที่มีแก่นรชนเพื่อข้างหน้า ความว่า ความหวัง

และความสำเร็จหวังที่เป็นไปในเบื้องหน้า เป็นเกาะ เป็นที่ป้องกัน เป็นที่

แอบแฝง เป็นที่ระลึกของนรชน คือ นรชนเป็นผู้มีความสำเร็จหวังเป็น

ไปในเบื้องหน้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่มีแก่นรชนเพื่อโลกหน้า

เพราะฉะนั้น พระพุทธนิมิตจึงตรัสถามว่า

สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีอะไรเป็นนิทาน และชน

เหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ความ

โลภของชนเหล่านั้นมีอะไรเป็นนิพาน อนึ่ง ความหวัง

และความสำเร็จหวังที่มีแก่นรชนเพื่อข้างหน้านั้น มีอะไร

เป็นนิทาน.

[๔๕๗] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) สิ่งที่รักทั้งหลาย

ในโลก มีฉันทะเป็นนิทาน และชนเหล่าใดแล ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 130

เที่ยงไปในโลกเพราะความโลภ ความโลภของชนเหล่า-

นั้น มีฉันทะนี้เป็นนิทาน อนึ่ง ความหวังและความ

สำเร็จหวังที่มีแก่นรชนเพื่อโลกหน้านั้น ก็มีฉันทะนี้เป็น

นิทาน.

[๔๕๘] ชื่อว่า ฉันทะ ในคำว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลกมีฉันทะ

เป็นนิทาน ได้แก่ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิน

ในกาม ความอยากในกาม ความรักในกาม ความเร่าร้อนในกาม

ความหลงในกาม ความชอบใจในกาม กามโอฆะ กามโยคะ กามุ-

ปาทาน กามฉันทนิวรณ์ ในกามทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ฉันทะ

๕ ประการ คือ ความพอใจในการแสวงหา ๑ ความพอใจในการได้ ๑

ความพอใจในการบริโภค ๑ ความพอใจในการสั่งสม ๑ ความพอใจใน

การสละ ๑.

ความพอใจในการแสวงหาเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้

ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมแสวงหารูป เสียง กลิ่น

รส โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่า ความพอใจในการแสวงหา.

ความพอใจในการได้เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ

มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมได้ซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏ-

ฐัพพะ นี้ชื่อว่า ความพอใจในการได้.

ความพอใจในการบริโภคเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้

ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมบริโภครูป เสียง กลิ่น

รส โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่า ความพอใจในการบริโภค.

ความพอใจในการสั่งสมเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 131

มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมทำการสั่งสมทรัพย์ด้วยความหวังว่า

จักมีประโยชน์ในคราวเกิดอันตรายทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ความพอใจในการ

สั่งสม.

ความพอใจในการสละเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ชอบใจ

มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมสละทรัพย์เพื่อพวกพลช้าง พวก

พลม้า พวกพลรถ พวกพลถือธนู พวกพลเดินเท้า ด้วยความหวังว่า

คนพวกนี้จักรักษาคุ้มครองป้องกันเรา นี้ชื่อว่า ความพอใจในการสละ.

ว่าด้วยสิ่งที่รัก ๒ ประการ

คำว่า สิ่งที่รักทั้งหลาย คือสิ่งที่รัก ๒ ประการ ได้แก่สัตว์ ๑

สังขาร ๑ ฯลฯ เหล่านั้นชื่อว่าสัตว์เป็นที่รัก ฯลฯ เหล่านี้ชื่อว่าสังขารเป็น

ที่รัก คำว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีฉันทะเป็นนิทาน คือสิ่งที่รัก

ทั้งหลายมีฉันทะเป็นนิทาน มีฉันทะเป็นสมุทัย มีฉันทะเป็นชาติ มีฉันทะ

เป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีฉันทะ

เป็นนิทาน.

[๔๕๙] คำว่า และชนเหล่าใดแล ในคำว่า และชนเหล่าใด

แล ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ได้แก่พวกกษัตริย์ พราหมณ์

แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์. คำว่า เพราะความ

โลภ คือความโลภ กิริยาที่โลภ ความเป็นผู้โลภ ความกำหนัดนัก

กิริยาที่กำหนดนัก ความเป็นผู้กำหนัดนัก อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล.

คำว่า เที่ยวไป คือเที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา

บำรุง เยียวยา. คำว่า ในโลก คือในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และชนเหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะ

ความโลภ.

ว่าด้วยความหวัง

[๔๖๐] คำว่า อนึ่ง ความหวังและความสำเร็จหวัง ก็มีฉันทะ

นี้เป็นนิทาน ความว่า ตัณหา เรียกว่าความหวัง ได้แก่ราคะ ฯลฯ

อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า ความสำเร็จหวัง ความว่า บุคคลบาง

คนในโลกนี้ เมื่อแสวงหารูป ได้รูป เป็นผู้มีความสำเร็จหวังในรูป เมื่อ

แสวงหาเสียง ... กลิ่น ... รส ... เมื่อแสวงหาโผฏฐัพพะ ได้โผฏฐัพพะ

เป็นผู้มีความสำเร็จหวังในโผฏฐัพพะ เมื่อแสวงหาสกุล...คณะ... อาวาส...

ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร... บิณฑบาต... เสนาสนะ ...

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร.. พระสูตร... พระวินัย ... พระอภิธรรม...

อารัญญิกังคธุดงค์...ปิณฑปาติกังคธุดงค์...สปทานจาริกังคธุดงค์... ขลุ-

ปัจฉาภัตติกังคธุดงค์... เนสัชชิกังคธุดงค์... ยถาสันถติกังคธุดงค์... ปฐม-

ฌาน... ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน... อากาสานัญจายตน-

สมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ... เมื่อ

แสวงหาเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ

เป็นผู้มีความสำเร็จหวังในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บุคคลย่อมไถนาด้วยความหวัง หว่านพืชด้วยความ

หวัง พวกพ่อค้าหาทรัพย์ ไปสู่สมุทรด้วยความหวัง เรา

ย่อมตั้งอยู่ด้วยความหวังใด ความหวังนั้นของเราย่อม

สำเร็จ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 133

ความสำเร็จแห่งความหวัง เรียกว่าความสำเร็จหวัง. คำว่า ความ

หวังและความสำเร็จหวัง ก็มีฉันทะนี้เป็นนิทาน ความว่า ความหวัง

และความสำเร็จหวัง ก็มีฉันทะนี้เป็นนิทาน คือมีฉันทะเป็นสมุทัย มี

ฉันทะเป็นชาติ มีฉันทะเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความหวัง

และความสำเร็จหวัง ก็มีฉันทะนี้เป็นนิทาน.

[๔๖๑] คำว่า ที่มีแก่นรชนเพื่อโลกหน้า ความว่า ความหวัง

และความสำเร็จหวังที่เป็นเบื้องหน้า เป็นเกาะ เป็นที่ป้องกัน เป็นที่

แอบแฝง เป็นที่ระลึกของนรชน คือนรชนเป็นผู้มีความสำเร็จหวังเป็น

เบื้องหน้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่มีแก่นรชนเพื่อภพหน้า เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

สิ่งที่รักทั้งหลายในโลก มีฉันทะเป็นนิทาน และ

นรชนเหล่าใดแล ย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ

ความโลภของนรชนเหล่านั้น มีฉันทะนี้เป็นนิทาน อนึ่ง

ความหวังและความสำเร็จหวังที่มีแก่นรชนเพื่อโลกหน้า

นั้น ก็มีฉันทะนี้เป็นนิทาน.

[๔๖๒] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ฉันทะในโลกมีอะไรเป็น

นิทาน และความตัดสินใจมีมาแต่อะไร อนึ่ง ความ

โกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ และความสงสัย มีมาแต่

อะไร และธรรมเหล่าใดแล อันพระสมณะตรัสไว้แล้ว

ธรรมเหล่านั้นมีมาแต่อะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

ว่าด้วยฉันทะ...มีอะไรเป็นเหตุ

[๔๖๓] คำว่า ฉันทะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน ความว่า พระ-

พุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้ทรงแสดง ขอ

ให้ประสาทซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัยแห่งฉันทะว่า ฉันทะมีอะไรเป็นนิทาน คือ

เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไร

เป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ฉันทะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน.

[๔๖๔] คำว่า และความตัดสินใจมีมาแต่อะไร ความว่า พระ-

พุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้ทรงแสดง ขอ

ให้ประสาทซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัยแห่งความตัดสินใจว่า ความตัดสินใจมีมา

แต่อะไร คือเกิด เกิดพร้อม บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือ

มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดน

เกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และความตัดสินใจมีมาแต่อะไร.

[๔๖๕] ชื่อว่า ความโกรธ ในคำว่า อนึ่ง ความโกรธ ความ

เป็นผู้พูดเท็จ และความสงสัย คือความความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัด-

เคือง ความขุ่นเคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความ

ชั่งทั่ว ความชังเสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ

ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความ

เป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความ

พิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความ

เป็นผู้ไม่แช่มชื่นแห่งจิต ความกล่าวเท็จ เรียกว่าความเป็นผู้พูดเท็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 135

ความสงสัย เรียกว่า กถังกถา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง ความโกรธ

ความเป็นผู้พูดเท็จและความสงสัย.

[๔๖๖] คำว่า และธรรมเหล่าใด ในคำว่า และธรรมเหล่าใด

อันพระสมณะตรัสรู้แล้ว ความว่า ธรรมทั้งหลายใด สหรคต เกิด

ร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบกัน มีความเกิดขึ้นคราวเดียวกัน มีความ

ดับคราวเดียวกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน กับความโกรธ

ความเป็นผู้พูดเท็จ และความสงสัย ธรรมเหล่านี้ เรียกว่าธรรมเหล่าใด.

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ธรรมเหล่าใด คือกิเลสทั้งหลายมีชาติเป็นอย่างอื่น

ตั้งอยู่แล้วโดยอาการอื่น กิเลสเหล่านั้น เรียกว่าธรรมเหล่าใด. คำว่า อัน

พระสมณะตรัสแล้ว ความว่า อันพระพุทธะผู้เป็นสมณะมีบาปธรรมอัน

ระงับแล้ว เป็นพราหมณ์มีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว เป็นภิกษุมีมูลแห่ง

กิเลสอันทำลายแล้ว ผู้พ้นขาดจากอกุศลมูลเป็นเครื่องผูกทั้งปวง ตรัสไว้

แล้ว คือตรัสโดยทั่ว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก

ทำให้ตื้น ประกาศแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และธรรมเหล่าใดอัน

พระสมณะตรัสไว้แล้ว เพราะฉะนั้น พระพุทธนิมิตนั้น จึงตรัสถามว่า

ฉันทะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน และความตัดสินใจ

มีมาแต่อะไร อนึ่ง ความโกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ และ

ความสงสัยมีมาแต่อะไร และธรรมเหล่าใดอันพระสมณะ

ตรัสไว้แล้ว ธรรมเหล่านั้นมีมาแต่อะไร.

[๔๖๗] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) บัณฑิตทั้งหลาย

กล่าวธรรมใด คือความดีใจ ความเสียใจในโลก ฉันทะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 136

ย่อมมีมาเพราะอาศัยธรรมนั้น ชันตุชนเห็นความไม่มี

และความมีในรูปทั้งหลาย ย่อมทำความตัดสินใจในโลก.

[๔๖๘] คำว่า ความดีใจ ในคำว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวธรรม

ใด คือความดีใจ ความเสียใจ ในโลก ได้แก่สุขเวทนาและวัตถุที่น่า

ปรารถนา. คำว่า ความเสียใจ ได้แก่ทุกขเวทนาและวัตถุที่ไม่น่า

ปรารถนา. คำว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวธรรมใด ...ในโลก คือบัณฑิต

ทั้งหลายกล่าวบอก พูด แสดง แถลงธรรมใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวธรรมใด คือความดีใจ ความเสียใจ ในโลก.

[๔๖๙] คำว่า ฉันทะย่อมมีมาเพราะอาศัยธรรมนั้น ความว่า

ฉันทะย่อมมีมา คือมีทั่วไป เกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ เพราะ

อาศัย ความดีใจและความเสียใจ คืออาศัยสุขและทุกข์ โสมนัสและโทมนัส

วัตถุที่น่าปรารถนาและวัตถุที่ไม่น่าปรารถนา ความยินดีและความยินร้าย

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ฉันทะย่อมมีมาเพราะอาศัยธรรมนั้น.

ว่าด้วยความเกิดแห่งรูป

[๔๗๐] คำว่า ในรูปทั้งหลาย ในคำว่า เห็นความไม่มีและมี

ในรูปทั้งหลาย ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปแห่งมหาภูตรูป ๔.

ความมีแห่งรูปทั้งหลายเป็นไฉน. ความมี คือความเกิด ความเกิด-

พร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งรูปทั้งหลาย

นี้ชื่อว่า ความมีแห่งรูปทั้งหลาย.

ความไม่มีแห่งรูปทั้งหลายเป็นไฉน ความสิ้น ความเสื่อม ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 137

แตก ความแตกรอบ ความไม่เที่ยง ความหายไป แห่งรูปทั้งหลาย นี้ชื่อว่า

ความไม่มีแห่งรูปทั้งหลาย.

คำว่า เห็นความไม่มีและความมีในรูปทั้งหลาย คือเห็น พบ

พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ซึ่งความมีและความไม่มีในรูปทั้งหลาย

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นความไม่มีและความมีในรูปทั้งหลาย.

ว่าด้วยการตัดสินใจ ๒ อย่าง

[๔๗๑] ชื่อว่า ความตัดสินใจ ในคำว่า ชันตุชน... ย่อมทำ

ความตัดสินใจในโลก ได้แก่ความตัดสินใจ ๒ ประการ คือ ความตัด

สินใจด้วยตัณหา ๑ ความตัดสินใจด้วยทิฏฐิ ๑.

สัตว์ย่อมทำความตัดสินใจด้วยตัณหาอย่างไร. บุคคลบางคนในโลก

นี้ มีโภคสมบัติที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มิได้เกิดขึ้น และมีโภคสมบัติที่เกิดขึ้นแล้ว

ก็ถึงความหมดสิ้นไป เขาจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า โภคสมบัติของเราที่ยัง

ไม่เกิดขึ้นก็มิได้เกิดขึ้น และโภคสมบัติที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความหมดสิ้นไป

เพราะเหตุอะไรหนอ และเขามีความดำริอย่างนี้ต่อไปว่า เมื่อเราประกอบ

เนือง ๆในเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ในเพราะการดื่มน้ำเมา คือ

สุราและเมรัย โภคสมบัติที่ยังไม่เกิดขึ้นจึงมิได้เกิดขึ้น และโภคสมบัติที่

เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความหมดสิ้นไป เมื่อเราประกอบเนืองๆในการเที่ยวไป

ในถนนในเวลาค่ำคืน. . . เมื่อเราเที่ยวดูมหรสพมากไป ...เมื่อเราประกอบ

เนือง ๆ ในเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ในเพราะการเล่นการพนัน ...

เมื่อเราประกอบเนือง ๆ ในการคบปาปมิตร . . . เมื่อเราประกอบเนือง ๆ

ในความเป็นคนเกียจคร้าน โภคสมบัติที่ยังไม่เกิดขึ้น และโภคสมบัติที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 138

เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความหมดสิ้นไป ครั้นรู้อย่างนี้แล้ว เขาจึงไม่ประพฤติ

ทางความฉิบหายแห่งโภคสมบัติ ๖ ประการ ชันตุชนย่อมทำความตัด

สินใจด้วยตัณหา แม้ด้วยประการอย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อม

ประกอบการงานด้วยกสิกรรมบ้าง ด้วยพาณิชยกรรมบ้าง ด้วยโครักข-

กรรมบ้าง ด้วยธนูศิลป์บ้าง ด้วยการรับราชการบ้าง ด้วยศิลป์ อย่างใด

อย่างหนึ่งบ้าง ชันตุชนย่อมทำความตัดสินใจด้วยตัณหา แม้ด้วยประการ

อย่างนี้.

ชันตุชนย่อมทำความตัดสินใจด้วยทิฏฐิอย่างไร. เมื่อจักษุเกิดขึ้น

แล้ว ชันตุชนก็รู้ว่า คนของเราเกิดขึ้นแล้ว เมื่อจักษุหายไป ก็รู้ว่าตน

ของเราหายไปแล้ว คนของเราปราศจากไปแล้ว ชันตุชนย่อมทำความ

ตัดสินใจด้วยทิฏฐิ แม้ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อโสตะ. . . เมื่อฆานะ. . .

เมื่อชิวหา . . . เมื่อกาย . . . เมื่อรูป . . . เมื่อเสียง . . . เมื่อกลิ่น . . . เมื่อรส

เมื่อโผฏฐัพพะเกิดขึ้นแล้ว ชันตุชนก็รู้ว่า คนของเราเกิดขึ้นแล้ว เมื่อ

โผฏฐัพพะหายไป ก็รู้ว่า คนของเราหายไปแล้ว ตนของเราปราศจากไป

ไปแล้ว ชันตุชนย่อมทำความตัดสินใจด้วยทิฏฐิ คือให้เกิด ให้เกิดพร้อม

ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ แม้ด้วยประการอย่างนี้.

คำว่า ชันตุชน คือสัตว์ นระ มาณพ ฯลฯ มนุษย์. คำว่า ในโลก

คือในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชันตุชน. . .

ย่อมทำความตัดสินใจในโลก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวธรรมใด คือความดีใจ ความ

เสียใจ ในโลก ฉันทะย่อมมีมา เพราะอาศัยธรรมนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 139

ชันตุชนเห็นความไม่มีในรูปทั้งหลาย ย่อมทำความตัด

สินใจในโลก.

[๔๗๒] ธรรมแม้เหล่านี้ คือความโกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ

และความสงสัย เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสอง

มีอยู่ ก็มีมา บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทาง

แห่งญาณ และธรรมเหล่าใดอันพระสมณะทราบแล้ว

จึงตรัสไว้ ธรรมเหล่านั้น เมื่อความดีใจและความเสียใจ

ทั้งสองมีอยู่ ก็มีมา.

[๔๗๓] ชื่อว่า ความโกรธ ในคำว่า ความโกรธ ความเป็น

ผู้พูดเท็จ และความสงสัย คือความปองร้าย ความมุ่งร้าย ฯลฯ ความ

ไม่แช่มชื่นแห่งจิต ความกล่าวเท็จ เรียกว่า ความเป็นผู้พูดเท็จ ความ

สงสัย เรียกว่า กถังกถา ความโกรธย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนา

บ้าง เพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาบ้าง ความกล่าวเท็จ ย่อมเกิด

เพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาบ้าง เพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาบ้าง

ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาบ้าง เพราะอาศัยวัตถุ

ที่ไม่น่าปรารถนาบ้าง.

ว่าด้วยเหตุให้เกิดความโกรธ

ความโกรธย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาอย่างไร ความ

โกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 140

แล้ว. ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขากำลังประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น

ประโยชน์แก่เรา. ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่

ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา. ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขาได้ประพฤติ

สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว. ความ

โกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขากำลังประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่

บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา. ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขา

จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา.

ความโกรธย่อมเกิดขึ้นด้วยอาการว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์

แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว. ความโกรธย่อมเกิดด้วย

อาการว่า เขากำลังประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก

ที่ชอบใจของเรา. ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า เขาจักประพฤติ

สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา. ความโกรธ

ย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาอย่างนี้.

ความโกรธย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาอย่างไร. แม้บุคคล

ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่น่าปรารถนา ย่อมมีความโกรธ

เกิด คืนเมื่อวัตถุที่น่าปรารถนากำลังถูกแย่งชิงเอาไป ย่อมมีความโกรธ

เกิดบ้าง เมื่อวัตถุที่น่าปรารถนาถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมมีความโกรธเกิด

บ้าง แม้บุคคลผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่น่า

ปรารถนา ย่อมมีความโกรธเกิด คือเมื่อวัตถุที่น่าปรารถนาแปรปรวนไป

แล้ว ย่อมมีความโกรธเกิดบ้าง ความโกรธย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่า

ปรารถนาอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 141

ว่าด้วยเหตุให้เกิดการกล่าวเท็จ

มุสาวาท ย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาอย่างไร. บุคคล

บางคนในโลกนี้ ถูกเขาจำด้วยเครื่องจำคือขื่อ ย่อมกล่าวคำเท็จทั้งที่รู้อยู่

เพื่อพ้นจากเครื่องจำนั้น ถูกเขาจำด้วยเครื่องจำ คือเชือก . . . ถูกเขาจำ

ด้วยเครื่องจำคือโซ่ตรวน . . . ถูกเขาจำด้วยเครื่องจำคือหวาย . . . ถูกเขาจำ

ด้วยเครื่องจำคือเถาวัลย์ . . . ถูกเขาจำด้วยเครื่องจำคือเครื่องล้อม . . . ถูกเขา

จำด้วยเครื่องจำ คือบ้าน นิคมและนคร . . . ถูกเขาจำด้วยเครื่องจำคือ

ชนบท ย่อมกล่าวคำเท็จทั้งที่รู้อยู่ เพื่อพ้นจากเครื่องจำนั้น มุสาวาทย่อม

เกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาอย่างนี้.

มุสาวาท ย่อมเกิดเพราะอาศัย วัตถุที่น่าปรารถนาอย่างไร. บุคคล

บางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่เพราะเหตุแห่งรูปที่ชอบใจ ย่อม

กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่เพราะเหตุแห่งเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ

เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ

เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มุสาวาทย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุ

น่าปรารถนาอย่างนี้.

ว่าด้วยเหตุให้เกิดความสงสัย

ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาอย่างไร. ความ

สงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาว่า เราจักพ้นจากโรค

นัยน์ตาหรือหนอ หรือเราจักไม่พ้นจากโรคนัยน์ตา เราจักพ้นจากโรค

จมูกหรือหนอ จากโรคที่ลิ้นหรือหนอ จากโรคกาย. . . จากโรคศีรษะ

หรือหนอ จากโรคที่ใบหู จากโรคปาก เราจักพ้นจากโรคฟันหรือหนอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 142

หรือเราจักไม่พ้นจากโรคฟัน ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่า

ปรารถนาอย่างนี้.

ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาอย่างไร ความ

สงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาว่า เราจักได้รูปที่ชอบใจ

หรือหนอ หรือเราจักไม่ได้รูปที่ชอบใจ เราจักได้เสียง กลิ่น รส โผฏ-

ฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ เราจักได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่ชอบใจหรือหนอ หรือเรา

จักไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่ชอบใจ ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัย

วัตถุที่น่าปรารถนาอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความโกรธ ความเป็น

ผู้พูดเท็จและความสงสัย.

[๔๗๔] คำว่า ธรรมแม้เหล่านี้ . . . เมื่อความดีใจและความเสีย

ใจทั้งสองมีอยู่ ก็มีมา ความว่า เมื่อความดีใจและเสียใจมีอยู่ คือเมื่อ

สุขและทุกข์ โสมนัสและโทมนัส วัตถุที่น่าปรารถนาและวัตถุที่ไม่น่า

ปรารถนา ความยินดีและเพราะความยินร้าย มีอยู่ คือปรากฏ อันตน

เข้าไปได้อยู่ ธรรมแม้เหล่านี้ . . . ก็มีมา ฉะนั้น จึงชื่อว่า ธรรมแม้เหล่านี้

. . . เมื่อความดีใจและความเสียใจ ทั้งสองมีอยู่ ก็มีมา.

ว่าด้วยสิกขา ๓

[๔๗๕] คำว่า บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่ง

ญาณ ความว่า แม้ญาณก็ชื่อว่าทางแห่งญาณ แม้อารมณ์แห่งญาณก็ชื่อว่า

ทางแห่งญาณ แม้ธรรมทั้งหลายอันเกิดร่วมกับญาณก็ชื่อว่าทางแห่งญาณ

เปรียบเหมือนอริยมรรคก็ชื่อว่าทางแห่งอริยะ เทวมรรคก็ชื่อว่าทางแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 143

เทวดา พรหมมรรคก็ว่าทางแห่งพรหมฉันใด แม้ญาณก็ชื่อว่าทางแห่ง

ญาณ แม้อารมณ์แห่งญาณชื่อว่าทางแห่งญาณ แม้ธรรมทั้งหลายอันเกิด

ร่วมกับญาณก็ชื่อว่าทางแห่งญาณฉันนั้น. สิกขา ในคำว่า พึงศึกษา มี

๓ อย่าง คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑.

อธิศีลสิกขาเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวม

แล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติ

เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท

ทั้งหลาย ศีลขันธ์น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็น

เบื้องบาท เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นปาก เป็นประธาน

แห่งความถึงพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายฝ่ายอกุศล นี้ชื่อว่า อธิศีลสิกขา.

อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ

จึงบรรลุจตุตถฌาน นี้ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา.

อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา

ประกอบด้วยปัญญาอันให้ถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรก

กิเลส อันให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามความเป็น

จริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา และรู้ชัดตามความเป็น

จริงว่า เหล่านี้อาสวะ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ นี้ชื่อว่า

อธิปัญญาสิกขา.

คำว่า ผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ ความว่า บุคคล

ผู้มีความสงสัย เคลือบแคลง ลังเล เป็นสองทาง ไม่แน่ใจ พึงศึกษา

อธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง เพื่อความบรรลุญาณ เพื่อความ

ถูกต้องญาณ เพื่อความทำให้แจ่มแจ้งญาณ บุคคลเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 144

พึงศึกษา คือเมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อม

ใจไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร เมื่อตั้งสติ เมื่อตั้งจิต เมื่อรู้ชัด

ด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้

เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม

ที่ควรทำให้แจ้ง ก็พึงศึกษา ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ

สมาทานประพฤติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษา

เพื่อทางแห่งญาณ.

ว่าด้วยธรรมที่พระสมณะทราบ

[๔๗๖] คำว่า และธรรมเหล่าใด อันพระสมณะทราบแล้ว จึง

ตรัสไว้ ความว่า ธรรมทั้งหลายอันพระสมณะทรงทราบ ทรงรู้ พิจารณา

เทียบเคียงให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว ตรัสไว้ ตรัสสอน ตรัสบอก

ทรงแสดงบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้ว

คือทรงทราบ ทรงรู้ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง

แล้ว ตรัสไว้ ตรัสสอน ตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย

จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวง

เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

ฯลฯ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ เพราะอวิชชาดับ สังขาร

จึงดับ ฯลฯ เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข-

นิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ

ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ธรรมเหล่านั้นควรละ

ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ความเกิด ความดับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 145

คุณ โทษ อุบายเครื่องสลัดออก แห่งผัสสายตนะ ๖ แห่งอุปาทานขันธ์ ๕

แห่งมหาภูตรูป ๔ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง

มีความดับเป็นธรรมดา.

สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง เราไม่แสดงธรรมเพื่อความ

ไม่รู้ยิ่ง เราแสดงธรรมมีเหตุ เราไม่แสดงธรรมไม่มีเหตุ เราแสดงธรรม

มีปาฏิหาริย์ เราไม่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

เราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่แสดงธรรมเพื่อความไม่รู้ยิ่ง แสดงธรรม

มีเหตุ ไม่แสดงธรรมไม่มีเหตุ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่แสดงธรรม

ไม่มีปาฏิหาริย์อยู่ เธอทั้งหลายควรทำตามโอวาท ควรทำตามอนุสาสนี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เธอทั้งหลายควรยินดีปราโมทย์ ควรโสมนัสว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นสวาก-

ขาตธรรม พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ก็เมื่อคำเป็นไวยากรณ์นี้ อัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ โลกธาตุหมื่นหนึ่งหวั่นไหวแล้ว ดังนี้ เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า และธรรมเหล่าใดอันพระสมณะทราบแล้ว จึงตรัสไว้

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ธรรมแม้เหล่านี้ คือความโกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ

และความสงสัย เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสอง

มีอยู่ ก็มีมา บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่ง

ญาณและธรรมเหล่าใดอันพระสมณะทราบแล้วจึงตรัสไว้

ธรรมเหล่านั้น เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมี

อยู่ ก็มีมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 146

[๔๗๗] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า ) ความดีใจและความ

เสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน เมื่อไม่มีอะไร ความดีใจและ

ความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี อรรถนั้นใด คือความไม่มี

และความมี ขอพระองค์จงตรัสบอกอรรถนั้นว่า มีสิ่งใด

เป็นนิทาน แก่ข้าพระองค์.

ว่าด้วยต้นเหตุความดีใจและความเสียใจ

[๔๗๘] คำว่า ความดีใจและความเสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน

ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้

ทรงแสดง ขอให้ประสาท ซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัย แห่งความดีใจและความ

เสียใจว่า ความดีใจและความเสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน คือเกิด เกิดพร้อม

บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไร

เป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ความดีใจและความเสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน.

[๔๗๙] คำว่า เมื่ออะไรไม่มี ความดีใจและความเสียใจ

เหล่านั้นจึงไม่มี ความว่า เมื่ออะไรไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ ความ

ดีใจและความเสียใจ จึงไม่มี ไม่เป็น ไม่เกิด ไม่เกิดพร้อม ไม่บังเกิด

ไม่บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่ออะไรไม่มี ความดีใจและ

ความเสียใจเหล่านั้นจึงไม่มี.

[๔๘๐] คำว่า อรรถนั้นใด คือความไม่มีและความมี ความว่า

ความมีแห่งความดีใจและความเสียใจเป็นไฉน ความมี ความเป็น ความ

เกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 147

แห่งความดีใจและความเสียใจใด นี้ชื่อว่า ความมีแห่งความดีใจและความ

เสียใจ ความไม่มีแห่งความดีใจและความเสียใจเป็นไฉน ความสิ้น ความ

เสื่อม ความแตก ความแตกรอบ ความไม่เที่ยง ความหายไปแห่ง

ความดีใจและความเสียใจใด นี้ชื่อว่า ความไม่มีแห่งความดีใจและความ

เสียใจ. คำว่า อรรถนั้นใด คืออรรถอย่างยิ่งใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

อรรถนั้นใด คือความไม่มีและความมี.

[๔๘๑] คำว่า นั้น ในคำว่า ขอจงตรัสบอกอรรถนั้นว่า มีสิ่ง

ใดเป็นนิทานแก่ข้าพระองค์ ความว่า อรรถที่ข้าพระองค์ทูลถาม ขอให้

ตรัสบอก อัญเชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาท. คำว่า ขอจงตรัสบอก

คือขอจงตรัสบอก ทรงแจ้ง ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก

ทำให้ตื้น ทรงประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอจงตรัสบอกอรรถนั้น

... แก่ข้าพระองค์. คำว่า มีสิ่งใดเป็นนิทาน ความว่า มีสิ่งใดเป็นนิทาน

มีสิ่งใดเป็นสมุทัย มีสิ่งใดเป็นชาติ มีสิ่งใดเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ขอจงตรัสบอกอรรถนั้นว่า มีสิ่งใดเป็นนิทานแก่ข้าพระองค์

เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า

ความดีใจและความเสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน เมื่อ

อะไรไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านั้นจึงไม่มี

อรรถนั้นใด คือความไม่มีและความมี ขอพระองค์จงตรัส

บอกอรรถนั้นว่า มีสิ่งใดเป็นนิทาน แก่ข้าพระองค์.

[๔๘๒] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ความดีใจและ

ความเสียใจ มีผัสสะเป็นนิทาน เมื่อผัสสะไม่มี ความ

ดีใจและความเสียใจเหล่านั้นจึงไม่มี อรรถนั้นใด คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 148

ความไม่มีและความมี ข้าพระองค์ขอบอกอรรถนั้นว่า มี

ผัสสะนี้เป็นนิทาน แก่พระองค์.

[๔๘๓] คำว่า ความดีใจและความเสียใจ มีผัสสะเป็นนิทาน

ความว่า สุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา

เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นนั่นแหละดับไป สุขเวทนาอัน

เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ที่เสวยอยู่ อันเกิด

แต่ผัสสะนั้น ก็ดับสงบไป ทุกขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็น

ที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแหละ

ดับไป ทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข-

เวทนา ที่เสวยอยู่ อันเกิดแต่ผัสสะนั้น ก็ดับสงบไป อทุกขมสุขเวทนา

เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา เพราะผัสสะ

อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นนั่นแหละดับไป อทุกขมสุขเวทนา

อันเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ที่เสวยอยู่

อันเกิดแต่ผัสสะนั้น ก็ดับสงบไป. คำว่า ความดีใจและความเสียใจ มี

ผัสสะเป็นนิทาน ความว่า ความดีใจและความเสียใจ มีผัสสะเป็นนิทาน

มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะเป็นชาติ มีผัสสะเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ความดีใจ ความเสียใจ มีผัสสะเป็นนิทาน.

[๔๘๔] คำว่า เมื่อผัสสะไม่มี ความดีใจและความเสียใจ

เหล่านั้นจึงไม่มี ความว่า เมื่อผัสสะไม่มี คือไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้อยู่

ความดีใจและความเสียใจจึงไม่มี คือไม่เป็น ไม่เกิด ไม่เกิดพร้อม ไม่

บังเกิด ไม่บังเกิดเฉพาะ ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อผัสสะ

ไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านั้น จึงไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 149

[๔๘๕] คำว่า อรรถนั้นใด คือความไม่มีและความมี ความว่า

ภวทิฏฐิก็ดี วิภวทิฏฐิก็ดี ก็มีผัสสะเป็นนิทาน. คำว่า อรรถนั้นใด คือ

อรรถอย่างยิ่งใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อรรถนั้นใด คือความไม่มีและ

ความมี.

[๔๘๖] คำว่า นั้น ในคำว่า ขอบอกอรรถนั้นว่า ผัสสะนี้เป็น

นิทานแก่พระองค์ ความว่า อรรถที่พระองค์ตรัสถาม ขอให้บอก เชิญ

ให้บอก ให้ประสาท. คำว่า ขอบอก คือขอตอบ บอก แสดง บัญญัติ

แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ขอบอกอรรถนั้น. . .แก่พระองค์. คำว่า มีผัสสะนี้เป็นนิทาน คือมีผัสสะ

นี้เป็นนิทาน มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะเป็นชาติ มีผัสสะเป็นแดนเกิด

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอบอกอรรถนั้นว่า มีผัสสะนี้เป็นนิทานแก่

พระองค์ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ความดีใจและความเสียใจ มีผัสสะเป็นนิทาน เมื่อ

ผัสสะไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านั้นจึงไม่มี

อรรถนั้นใด คือความไม่มีและความมี ข้าพระองค์ขอ

บอกอรรถนั้นว่า มีผัสสะนี้เป็นนิทาน แก่พระองค์.

[๔๘๗] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ผัสสะในโลก มีอะไร

เป็นนิทาน และความยึดถือมีมาแต่อะไร เมื่ออะไรไม่มี

ความถือว่าของเราจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่

ถูกต้อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 150

ว่าด้วยต้นเหตุของผัสสะ...

[๔๘๘] คำว่า ผัสสะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน ความว่า พระ-

พุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้

ประสาทซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัยแห่งผัสสะว่า ผัสสะมีอะไรเป็นนิทาน คือเกิด

เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไรเป็น

นิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผัสสะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน.

[๔๘๙] คำว่า และความยึดถือมีมาแต่อะไร ความว่า พระพุทธ-

นิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาท

ซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัย แห่งความยึดถือทั้งหลายว่า ความยึดถือมีมาแต่อะไร

คือเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไร

เป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และความยึดถือมีมาแต่อะไร.

[๔๙๐] คำว่า เมื่ออะไรไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี ความว่า

เมื่อไม่มีอะไร ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้อยู่ ความถือว่าของเราจึงไม่มี

ไม่เป็น ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือความถือว่า ของเรา อันพระสมณะละ

ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่ออะไรไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี.

[๔๙๑] คำว่า เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ความว่า เมื่อ

อะไรไม่มี ไม่เป็น ก้าวล่วง ล่วงเลย เป็นไปล่วงแล้ว ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง เพราะเหตุนั้น

พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 151

ผัสสะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน และความยึดถือ มี

มาแต่อะไร เมื่ออะไรไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี

เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง.

[๔๙๒] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ผัสสะเกิดขึ้น

เพราะอาศัยนามและรูป ความยึดถือมีความปรารถนา

เป็นนิทาน เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเรา

จึงไม่มี เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง.

[๔๙๓] คำว่า ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป ความว่า

จักษุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป ประชุมธรรม ๓ ประการ

คือจักษุ รูปในส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นจักษุสัมผัส

เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้. โสตวิญญาณ

เกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียง ประชุมธรรม ๓ ประการ คือหู เสียงใน

ส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นโสตสัมผัส เป็นผัสสะ

ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป แม้อย่างนี้. ฆานวิญญาณเกิดขึ้น

เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ประชุมธรรม ๓ ประการ คือจมูก กลิ่นใน

ส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นฆานสัมผัส เป็นผัสสะ ผัสสะ

เกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้. ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยลิ้นและรส ประชุมธรรม ๓ ประการ คือลิ้น รสในส่วนรูป และ

สัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นชิวหาสัมผัส เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้. กายวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายเละโผฏ-

ฐัพพะ ประชุมธรรม ๓ ประการ คือกาย โผฏฐัพพะในส่วนรูป และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

สัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นกายสัมผัส เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้. มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ

ธรรมารมณ์ ประชุมธรรม ๓ ประการ คือวัตถุ รูป ในส่วนรูป ธรรม

ทั้งหลายที่มีรูปในส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นมโนสัมผัส

เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้.

ว่าด้วยความยึดถือมีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ

[๔๙๔] คำว่า ความยึดถือมีความปรารถนาเป็นนิทาน ความว่า

ตัณหา เรียกว่าความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา

โสภะ อกุศลมูล ชื่อว่าความยึดถือ ได้แก่ความยึดถือ ๒ ประการ คือความ

ยึดถือด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือ

ด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือด้วยทิฏฐิ. คำว่า ความยึดถือมีความ

ปรารถนาเป็นนิทาน ความว่า ความยึดถือทั้งหลาย มีความปรารถนา

เป็นเหตุ มีความปรารถนาเป็นปัจจัย มีความปรารถนาเป็นการณะ

มีความปรารถนาเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความยึดถือมีความ

ปรารถนาเป็นนิทาน.

[๔๙๕] คำว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึง

ไม่มี ความว่า ตัณหา เรียกว่า ความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ

ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ชื่อว่า ความถือว่าของเรา ได้แก่ความ

ถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความถือว่าของเราด้วยตัณหา. ความถือว่า

ของเราด้วยทิฏฐิ ๑ ฯ ลฯ นี้ชื่อว่า ความถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯ ลฯ

นี้ชื่อว่า ความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ. คำว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 153

ความถือว่าของเราจึงไม่มี ความว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ไม่ปรากฏ

ไม่เข้าไปได้อยู่ ความถือว่าของเราจึงไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ

ความถือว่าของเราเหล่านั้น อันพระสมณะละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว

ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี.

ว่าด้วยมหาภูตรูป ๔

[๔๙๖] คำว่า รูป ในคำว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง

ได้แก่มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูปของมหาภูตรูป ๔. คำว่า เมื่อรูปไม่มี

คือรูปย่อมไม่มีโดยเหตุ ๔ อย่าง คือโดยการรู้ โดยการพิจารณา โดย

การละ โดยการก้าวล่วง.

รูปไม่มีโดยการรู้อย่างไร พระสมณะย่อมรู้รูป คือย่อมรู้ ย่อม

เห็นว่า รูปหมดทุกอย่าง ชื่อว่ารูป ได้แก่มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูปของ

มหาภูตรูป ๔ รูปไม่มีโดยการรู้อย่างนี้.

รูปไม่มีโดยการพิจารณาอย่างไร พระสมณะครั้นรู้รูปอย่างนี้แล้ว

จึงพิจารณารูป คือพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค

เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น

เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของ

หวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น

เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา

เป็นโทษ เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่น-

สาร เป็นมูลแห่งความลำบาก เป็นดังเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 154

เจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของอันเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมาร

เป็นข้องมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชราเป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิ

เป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา เป็นของมีความโศก ความ

รำพัน ความเจ็บกาย ความเจ็บใจและความแค้นใจเป็นธรรมดา เป็นของ

มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป

เป็นของชวนให้หลงแช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ รูปไม่มีโดย

การพิจารณาอย่างนี้.

รูปไม่มีโดยการละอย่างไร พระสมณะครั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว

จึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะ

ในรูป.

สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันท-

ราคะในรูปใด พวกท่านจงละฉันทราคะนั้นเสีย ฉันทราคะนั้นจักเป็นของ

อันพวกท่านละแล้ว มีมูลอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน

ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โดยประการ

อย่างนี้ รูปไม่มีโดยการละอย่างนี้.

รูปไม่โดยการก้าวล่วงอย่างไร ผู้ที่ได้อรูปสมบัติทั้ง ๔ แล้วเป็น

ผู้ไม่มีรูป คือไม่เจริญรูป ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงรูปเสียได้แล้ว

รูปไม่มีโดยการก้าวล่วงอย่างนี้ รูปย่อมไม่มีโดยเหตุ ๔ ประการนี้.

คำว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ความว่า เมื่อรูปไม่มี

ไม่เป็น ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงแล้ว ผัสสะ ๕ ประการ คือจักษุ-

สัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส ย่อมไม่ถูกต้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 155

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป ความยึดถือ

มีความปรารถนาเป็นนิทาน เมื่อความปรารถนาไม่มี

ความถือว่าของเราจึงไม่มี เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูก

ต้อง.

[๔๘๗] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร

รูปจึงไม่มี อนึ่ง สุขและทุกข์ไม่มีอย่างไร รูปเป็นต้น

ไม่มีด้วยประการใด ขอพระองค์ตรัสบอกประการนั้น

แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้ตั้งใจว่า จะรู้ประการนั้น.

[๔๙๘] คำว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี ความว่า

เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร คือปฏิบัติอย่างไร เปลี่ยนอิริยาบถอย่างไร

ประพฤติอย่างไร รักษาอย่างไร บำรุงอย่างไร เยียวยาอย่างไร รูปจึง

ไม่มี คือไม่เป็นล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี.

[๔๙๙] คำว่า อนึ่ง สุขและทุกข์ไม่มีอย่างไร ความว่า สุขก็ดี

ทุกข์ก็ดี ไม่มี คือไม่เป็น ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงอย่างไร เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง สุขและทุกข์ไม่มีอย่างไร.

[๕๐๐] คำว่า ประการนั้น ในคำว่า รูปเป็นต้นไม่มีด้วยประการ

ใด ขอพระองค์ตรัสบอกประการนั้นแก่ข้าพระองค์ ความว่า ประการที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 156

ข้าพระองค์ถามขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาท เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ประการนั้น. คำว่า ขอตรัสบอก...แก่ข้าพระองค์ คือ

ตรัสบอก ทรงเล่า ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น

ประกาศแก่ข้าพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอตรัสบอก . . .แก่ข้า

พระองค์. คำว่า รูปเป็นต้นไม่มี ด้วยประการใด คือรูปไม่มี ไม่เป็น

ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วง ด้วยประการใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

รูปเป็นต้นไม่มีด้วยประการใด ขอพระองค์ตรัสบอกประการนั้นแก่ข้า-

พระองค์.

[๕๐๑] คำว่า จะรู้ประการนั้น ในคำว่า ข้าพระองค์ได้ตั้งใจว่า

จะรู้ประการนั้น ความว่า จะรู้ จะรู้ทั่วถึง จะรู้แจ่มแจ้ง จะแทงตลอด

ประการนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จะรู้ประการนั้น. คำว่า ข้าพระองค์

ได้ตั้งใจ คือข้าพระองค์ได้ตั้งจิต ตั้งความดำริ ตั้งวิญญาณ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ได้ตั้งใจว่า จะรู้ประการนั้น เพราะเหตุนั้น พระ-

พุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า

เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี อนึ่ง สุขและ

ทุกข์ไม่มีอย่างไร รูปเป็นต้นไม่มีด้วยประการใด ขอ

พระองค์ตรัสบอกประการนั้นแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์

ได้ตั้งใจว่า จะรู้ประการนั้น.

[๕๐๒] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) บุคคลไม่เป็นผู้มี

สัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิด

ปกติ ไม่เป็นผู้ไม่มีสัญญาและไม่เป็นผู้ปราศจากสัญญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 157

เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้รูปจึงไม่มี เพราะว่าส่วนแห่ง

ธรรมเครื่องให้เนินช้า มีสัญญาเป็นนิทาน.

[๕๐๓] คำว่า บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็น

ผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ ความว่า ชนเหล่าใด ตั้งอยู่โดยสัญญาปกติ

ชนเหล่านั้นเรียกว่า เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ บุคคลนั้นไม่ตั้งอยู่โดย

สัญญาปกติ ชนเหล่าใดเป็นบ้า และเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ชนเหล่านั้นเรียกว่า

เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ บุคคลนั้นไม่เป็นบ้า ทั้งไม่เป็นผู้มีจิต

ฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ

ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ.

[๕๐๔] คำว่า ไม่เป็นผู้ไม่มีสัญญา และไม่เป็นผู้ปราศจาก

สัญญา ความว่า ชนเหล่าใดเข้านิโรธ และเป็นอสัญญีสัตว์ ชนเหล่านั้น

เรียกว่า เป็นผู้ไม่มีสัญญา. บุคคลนั้นไม่ใช่ผู้เข้านิโรธทั้งไม่ใช่เป็นอสัญญี-

สัตว์ ชนเหล่าใดได้อรูปสมาบัติ ๔ ชนเหล่านั้นเรียกว่า ไม่เป็นผู้ปราศจาก

สัญญา. บุคคลนั้นไม่เป็นผู้ได้อรูปสมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่

เป็นผู้ไม่มีสัญญาและไม่เป็นผู้ปราศจากสัญญา.

[๕๐๕] คำว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี ความว่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เพราะละสุข ภิกษุนั้นเมื่อ

จิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควร

แก่การงาน ตั้งมั่นถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ

ประโยชน์แก่การได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วย

ธรรมเป็นทางแห่งอรูปสมาบัติ เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ คือปฏิบัติ ผลัด

เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยาอยู่อย่างนี้ ด้วยประการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 158

ดังนี้ รูปจึงไม่มี ไม่เป็น ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วง เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี.

ว่าด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า

[๕๐๖] คำว่า เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเครื่องให้เนิ่นช้า มีสัญญา

เป็นนิทาน ความว่า ธรรมเป็นเครื่องให้เนิ่นช้า คือตัณหา ทิฏฐิ มานะ

เป็นธรรมมีสัญญาเป็นนิทาน มีสัญญาเป็นสมุทัย มีสัญญาเป็นชาติ มีสัญญา

เป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่อง

เนิ่นช้า มีสัญญาเป็นนิทาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มี

สัญญาโดยสัญญาผิดปกติ ไม่เป็นผู้ไม่มีสัญญาและไม่

เป็นผู้ปราศจากสัญญา เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึง

ไม่มี เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องให้เนิ่นช้า มี

สัญญาเป็นนิทาน.

[๕๐๗] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ข้าพระองค์ได้ถูกถาม

ธรรมใดแล้ว พระองค์ได้ทรงแถลงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์

แล้ว ข้าพระองค์จะขอทูลถามธรรมส่วนอื่นกะพระองค์

ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกธรรมนั้น ก็สมณพราหมณ์บาง

พวกอ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวหมดจดแห่ง

ยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือหนอ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 159

หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก กล่าวความหมดจดอย่าง

อื่นกว่าอรูปสมาบัตินี้.

[๕๐๘] คำว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ได้

ทรงแถลงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว ความว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถาม

คือขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาทซึ่งธรรมใด. คำว่า

ได้ทรงแสดงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว คือพระองค์ทรงแถลง แถลง

ออก ตรัสบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น

ประกาศธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์

ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ได้ทรงแถลงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์

แล้ว.

[๕๐๙] คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมส่วนอื่นกะพระองค์

ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกธรรมนั้น ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม คือ

ขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาท ซึ่งธรรมส่วนอื่น กะ

พระองค์ คือจะขอทูลถามธรรมยิ่งขึ้นไปกะพระองค์. คำว่า ขอเชิญพระ-

องค์จึงตรัสบอกธรรมนั้น คือขอเชิญพระองค์จงตรัสบอก ชี้บอก แสดง

บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศธรรมนั้น เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมส่วนอื่นกะพระองค์ ขอเชิญ

พระองค์ตรัสบอกธรรมนั้น.

ว่าด้วยความหมดจดด้วยอรูปสมาบัติ

[๕๑๐] คำว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนเป็นบัณฑิตใน

โลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแต่งยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือหนอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 160

ว่าเป็นธรรมอันเลิศ ความว่า สมณพราหมณ์บางพวกย่อมกล่าว บอก พูด

แสดง แถลง (ความหมดจด) ว่าเป็นธรรมอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ

เป็นประธาน อุดม บวร ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือ. คำว่า ยักษ์ คือ

แห่งสัตว์ นรชน มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม

มนุษย์. คำว่า ความหมดจด คือความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความ

หมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ. คำว่า อ้างตนเป็น

บัณฑิตในโลกนี้ คือเป็นผู้กล่าวว่าตนเป็นบัณฑิต เป็นผู้กล่าวว่าตนเป็น

ธีรชน ผู้กล่าวว่าตนมีญาณ ผู้กล่าวโดยเหตุ ผู้กล่าวโดยลักษณะ ผู้กล่าว

โดยการณ์ ผู้กล่าวโดยฐานะ ในโลกนี้โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อม

กล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้หรือหนอ ว่าเป็นธรรม

อันเลิศ.

[๕๑๑] คำว่า หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก กล่าวความหมด

จดอย่างอื่นกว่าอรูปสมาบัตินี้ ความว่า หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก

ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงอรูปสมาบัติเหล่านี้ ย่อมกล่าว บอก พูด

แสดง แถลง ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ

ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบแห่งยักษ์อย่างอื่น คือยิ่งกว่าอรูป-

สมาบัตินี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือว่าสมณพราหมณ์บางพวก กล่าว

ความหมดจดอย่างอื่นกว่าอรูปสมาบัตินี้ เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้น

จึงตรัสถามว่า

ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ทรง

แถลงธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอทูลถาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 161

ธรรมส่วนอื่นกะพระองค์ ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอก

ธรรมนั้น ก็สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิต

ในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูป-

สมาบัติเท่านี้หรือหนอ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ หรือว่าสมณ-

พราหมณ์บางพวก กล่าวความหมดจดอย่างอื่นกว่าอรูป-

สมาบัตินี้.

[๕๑๒] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ก็สมณพราหมณ์

บางพวก อ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความ

หมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้ ว่าเป็นธรรม

อันเลิศ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์

อีกบางพวก อ้างตนเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวความสงบใน*

อนุปาทิเสส.

[๕๑๓] คำว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวก อ้างตนเป็นบัณฑิต

ในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูปสมาบัตินี้ ว่าเป็น

ธรรมอันเลิศ ความว่า ผู้กล่าวความเที่ยง ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง

แถลง (ความหมดจด) ว่าเป็นธรรมอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็น

ประธาน อุดม บวรด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้. คำว่า ยักษ์ คือแห่งสัตว์ นรชน

มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิตผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า

ความหมดจด คือความหมดจด ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้น

วิเศษ ความพ้นรอบ. คำว่า อ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ คือเป็นผู้กล่าว

๑. ความสงบและอนุปาทิเสสฝ่ายอุจเฉททิฏฐิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 162

ตนเป็นบัณฑิต เป็นผู้กล่าวว่าตนเป็นนรชน ผู้กล่าวว่าตนมีญาณ ผู้กล่าว

โดยเหตุ ผู้กล่าวโดยลักษณะ ผู้กล่าวโดยการณ์ ผู้กล่าวโดยฐานะ ใน

โลกนี้ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวก

อ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูป-

สมาบัติเท่านี้ ว่าเป็นธรรมอันเลิศ.

[๕๑๔] คำว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์

อีกบางพวกอ้างตนเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวความสงบในอนุปาทิเสส

ความว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแหละ สมณพราหมณ์บางพวก

ผู้กล่าวความขาดสูญ กลัวต่อภพ ย่อมยินดีความไม่มีภพ สมณพราหมณ์

พวกนั้น ย่อมกล่าวความสงบ คือความเข้าไปสงบ ความเงียบ ความดับ

ความระงับ แห่งสัตว์ว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ตนนี้เพราะกายแตก ย่อม

ขาดสูญ พินาศไป ย่อมไม่มีเบื้องหน้าแต่มรณะ โดยเหตุใด อนุปาทิเสส

ย่อมมีโดยเหตุเท่านั้น. คำว่า อ้างตนเป็นผู้ฉลาด ความว่า กล่าวว่าตนเป็น

ผู้ฉลาด กล่าวว่าตนเป็นธีรชน กล่าวว่าตนมีญาณ ผู้กล่าวโดยเหตุ ผู้กล่าว

โดยลักษณะ ผู้กล่าวโดยการณ์ ผู้กล่าวโดยฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่าหนึ่ง สมณพราหมณ์อีกบาง

พวกอ้างว่า ตนเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวความสงบในอนุปาทิเสส เพราะ-

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ก็สมณพราหมณ์บางพวก อ้างตนเป็นบัณฑิตในโลกนี้

ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ ด้วยอรูปสมาบัติเท่านี้

ว่าเป็นธรรมอันเลิศ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 163

สมณพราหมณ์อีกบางพวก อ้างตนเป็นผู้ฉลาด ย่อม

กล่าวความสงบในอนุปาทิเสส.

[๕๑๕] มุนีนั้นมีปัญญาเครื่องพิจารณา รู้สมณพราหมณ์

เหล่านั้นว่า เป็นผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย และรู้ว่าเป็นผู้

มีทิฏฐิเป็นที่อาศัย รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึงความ

วิวาท เป็นนรชน ย่อมไม่ถึงพร้อมในภพน้อยภพใหญ่.

ว่าด้วยผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา

[๕๑๖] คำว่า เหล่านั้น ในคำว่า รู้สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็น

ผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย ความว่า พวกสมณพราหมณ์ที่ดำเนินด้วยทิฏฐิ.

คำว่า เป็นผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย ความว่า มุนีนั้นรู้ ทราบ พิจารณา

เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า เป็นผู้อันสัสสตทิฏฐิอาศัยแล้ว

เป็นผู้อันอุจเฉททิฏฐิอาศัยแล้ว เป็นผู้อันสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิอาศัย

แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้สมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า เป็นผู้อันทิฏฐิ

เข้าไปอาศัย.

[๕๑๗] ชื่อว่า มุนี ในคำว่า มุนีนั้นผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา

รู้ว่า เป็นผู้มีทิฏฐิเป็นที่อาศัย ความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ฯลฯ

ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องบุคคลนั้นชื่อว่า มุนี. มุนี รู้ ทราบ พิจารณา

เทียบเคียง ให้เเจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้วว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น

เป็นผู้อันสัสสตทิฏฐิอาศัยแล้ว เป็นผู้อันอุจเฉททิฏฐิอาศัยแล้ว เป็นผู้อัน

สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิอาศัยแล้ว. คำว่า มุนีนั้นผู้มีปัญญาเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 164

พิจารณา คือเป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง

มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นผู้มีปัญญาเครื่อง

พิจารณารู้ว่า เป็นผู้มีทิฏฐิเป็นที่อาศัย.

[๕๑๘] คำว่า รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึงความวิวาท ความ

ว่า รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว

เป็นผู้พ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ พ้นวิเศษดี โดยความพ้นวิเศษ เพราะ

ไม่ถือมันโดยส่วนเดียว คือรู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้เเจ่มแจ้ง

ทำให้แจ้งแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรม

ทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น

ทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา จึงเป็นผู้พ้นวิเศษ พ้นรอบ พ้นวิเศษดี

โดยความพ้นวิเศษ เพราะไม่ถือมั่นโดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว. คำว่า ไม่ถึงความวิวาท ความว่า ไม่ทำความทะเลาะ

ไม่ทำความบาดหมาง ไม่ทำความโต้เถียง ไม่ทำความวิวาท ไม่ทำความ

หมายมั่น.

สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ภิกษุ

ผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่วิวาทกับใคร ๆ ก็เรื่องใดที่เขาพูดกัน

ในโลก ภิกษุนั้นก็มิได้ถือมั่นพูดโดยเรื่องนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้แล้ว

พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึงความวิวาท.

[๕๑๙] คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ ในคำว่า เป็นธีรชน ย่อม

ไม่ถึงพร้อมในภพน้อยและภพใหญ่ ความว่า ย่อมไม่ถึงพร้อม ไม่มา

ถึงพร้อม ไม่ถือเอาไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ในภพน้อยและภพใหญ่ คือใน

กรรมวัฏและวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 165

เป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏ

เป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ใน

วิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในความเกิดบ่อย ๆ ในความไปบ่อย ๆ

ในความเข้าถึงบ่อย ๆ ในปฏิสนธิบ่อย ๆ ในความบังเกิดขึ้นแห่งอัตภาพ

บ่อย ๆ. คำว่า เป็นธีรชน คือเป็นนักปราชญ์ เป็นบัณฑิต มีปัญญา

มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นธีรชน ย่อมไม่ถึงพร้อมในภพน้อยภพใหญ่ เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสว่า

มุนีนั้นมีปัญญาเครื่องพิจารณา รู้สมณพราหมณ์เหล่า

นั้นว่า. เป็นผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย และรู้ว่าเป็นผู้มีทิฏฐิ

เป็นที่อาศัยอยู่ รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึงความ

วาที เป็นธีรชน ย่อมไม่ถึงพร้อมในภพน้อยภพใหญ่

ดังนี้.

จบกลหวิวาทสุตตนิเทสสที่ ๑๑

อรรถกถากลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑

พึงทราบวินิจฉัยในกลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้.

บทว่า กุโต ปหูตา กลหวิวาทา ความทะเลาะความวิวาทมีมาแต่

อะไร ได้แก่กิเลสเหล่านี้ คือความทะเลาะและความวิวาทอันเป็นส่วน

เบื้องต้นของความทะเลาะนั้น เกิดมาแต่อะไร. บทว่า ปริเทวโสกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 166

สหมจฺฉรา จ ความรำพันความโศก ความตระหนี่ เกิดมาแต่อะไร. บทว่า

มานาติมานา สหเปสุณา จ ความถือตัว ความดูหมิ่น และคำพูดส่อเสียด

เกิดมาแต่อะไร. บทว่า เต ได้แก่ กิเลส ๘ อย่างทั้งหมดเหล่านั้น. บทว่า

ตทิงฺฆ พฺรูหิ ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกเถิด คือพระพุทธนิมิตทูลว่า

ข้าพระองค์ขอทูลวิงวอน ขอพระองค์จงตรัสบอกความที่ข้าพระองค์ทูล

ถามนั้นเถิด. บทว่า อิงฺฆ เป็นนิบาต มีความว่าขอร้อง.

บทว่า เอเกน อากาเรน คือ โดยอาการอย่างเดียวกัน. บทว่า

อปเรน อากาเรน คือ โดยอาการอื่น. บทว่า อาคาริกา ทณฺฑปสุตา

ผู้ครองเรือนหาโทษใส่กัน คือคหบดีเบียดเบียนกัน. บทว่า ปพฺพชิตา

อาปตฺตึ อาปชฺชนฺตา คือ บรรพชิตต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งในกอง

อาบัติ ๗ กอง. บทว่า กุโต ปหูตา คือ มีมาแต่ไหน. บทว่า กุโต ชาตา

เกิดมาแต่ไหน คือได้อัตภาพมาแต่ไหน. เพิ่มอุปสัตไปเป็น กุโต

สญฺชาตา คือ เกิดพร้อมมาแต่ไหน. บทว่า กุโต นิพฺพตฺตา บังเกิดมา

แต่ไหน คือถึงลักษณะพร้อมที่จะเกิดมาแต่ไหน. เพิ่มอุปสัคลงไปเป็น

กุโต อภินิพฺพตฺตา คือ บังเกิดเฉพาะมาแต่ไหน. บทว่า ปาตุภูตา คือ

ปรากฏมาแต่ไหน. พึงทราบความในบทว่า กึนิทานา มีอะไรเป็นนิทาน

เป็นต้นต่อไปนี้ ชื่อว่า นิทานะ เพราะมอบผลของตน. ชื่อ สมุทยะ

เพราะเป็นเหตุตั้งขึ้นแห่งผล. ชื่อว่า ชาติ เพราะเป็นเหตุเกิดผล. ชื่อว่า

ปภวะ เพราะเป็นแดงเกิดแห่งผล. บทว่า มูล ปุจฺฉติ พระพุทธนิมิต

ทูลถานถึงมูลแห่งการทะเลาะ. เพราะการณะชื่อว่า มูละ เพราะเป็นที่ตั้ง.

ชื่อว่า เหตุ เพราะอรรถว่า ปรารถนา คือเป็นไปเพื่อสำเร็จผลแก่ตน.

๑. บาลีเป็น รนฺธปสุตา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 167

ชื่อว่า นิทาน เพราะมอบผลของตนดุจแสดงว่า ขอเชิญท่านรับผลนั้นเถิด.

ชื่อว่า สัมภวะ เพราะเป็นเหตุเกิดแห่งผล. ชื่อว่า ปภวะ เพราะเป็น

แดงเกิดแห่งผล. ชื่อว่า สมุฏฐานะ เพราะเป็นที่เกิดแห่งผล หรือเป็น

เครื่องเกิดแห่งผล. ชื่อว่า อาหาระ เพราะนำมาซึ่งผลของตน. ชื่อว่า

อารัมมณะ เพราะยังผลของตนให้ยินดี. ชื่อว่า ปัจจยะ เพราะไม่ปฏิเสธ

ผลที่เป็นไปเพราะอาศัยสิ่งนั้น. ชื่อว่า สมุทยะ เพราะเป็นเหตุตั้งขึ้น

แห่งผล. เพราะฉะนั้น พึงทราบคำบรรยายแห่งบทเหล่านี้ด้วยประการ

ฉะนี้. พระสังคีติกาจารย์กล่าวแสดงโดยนัยมีอาทิว่า พระพุทธนิมิตทูล

ถามมูลแห่งการทะเลาะและวิวาท หมายถึงสมุทัย เหตุแห่งความทะเลาะ

วิวาทนั้น.

บทว่า ปิยปฺปหูตา คือ เกิดจากวัตถุเป็นที่รัก. บทว่า มจฺเฉรยุตฺตา

กลหาวิวาทา ความทะเลาะวิวาทประกอบด้วยความตระหนี่ ด้วยบทนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแสดงถึงความตระหนี่วัตถุ อันเป็นที่รักอย่าง

เดียวเท่านั้น ว่าเป็นเหตุแห่งความทะเลาะวิวาท. พึงทราบว่าธรรมทั้งหมด

เหล่านั้น ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ด้วยหัวข้อกลหวิวาทะ. ความวิวาทเป็นเหตุ

แห่งคำพูดส่อเสียด เหมือนความตระหนี่เป็นเหตุแห่งความวิวาทฉะนั้น.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เมื่อความวิวาทกันเกิดขึ้นแล้ว

คำพูดส่อเสียดก็มี. การชี้แจงคาถานี้มีความง่ายทั้งนั้น.

บทว่า ปิยา สุ โลกสฺมึ กุโตนิทานา เย วาปิ โลภา วิจรนฺติ

โลเก พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า สิ่งที่รักทั้งหลายในโลกนี้มีอะไรเป็นเหตุ

และชนเหล่าใดแลย่อมเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ ความว่า สิ่งที่รัก

ทั้งหลายเหล่าใดที่ท่านกล่าวไว้ในบทนี้ว่า ความทะเลาะเกิดแต่สิ่งที่รักดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 168

สิ่งที่รักทั้งหลายเหล่านั้น ในโลกมีอะไรเป็นเหตุ มิได้กล่าวถึงสิ่งที่รักอย่าง

เดียว แม้กษัตริย์เป็นต้น ยังเที่ยวไปเพราะความโลภ ถูกความโลภครอบงำ

ย่อมเที่ยวไปเพราะความโลภเป็นเหตุ. พระพุทธนิมิตทูลถามสองความ

ด้วยคาถาเดียวว่า ก็ความโลภนั้นของชนเหล่านั้นมีอะไรเป็นเหตุ. อนึ่ง

ในบทว่า กุโตนิทานา นี้ พึงทราบว่า แปลง โต เป็นปฐมาวิภัตติว่า กึนิ-

นิทานา กึเหตุกา. แต่ในสมาสไม่มีลบ โต นั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

นิทานา แปลว่า เกิดแล้ว ความว่า เกิดขึ้นแล้ว. เพราะฉะนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า กุโตนิทานา จึงมีความว่า เกิดจากอะไร เกิดขึ้นแล้วจากอะไร.

บทว่า อาสา จ นิฏฺา จ ได้แก่ ความหวังและความสำเร็จความหวังนั้น.

บทว่า เย สมฺปรายาย นรสฺส โหนฺติ ได้แก่ ความหวังและความสำเร็จ

ความหวังที่มีแก่นรชนเพื่อโลกหน้า ท่านอธิบายว่า เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

นี้เป็นคำถามข้อหนึ่งเท่านั้น.

บทว่า ทีปา โหนฺติ เป็นเกาะ คือเป็นที่พึ่ง. บทว่า สรณา โหนฺติ

เป็นที่ระลึก คือเป็นที่ให้ทุกข์พินาศไป. บทว่า นิฏฺาปรายโน โหติ

คือ เป็นผู้มีความสำเร็จเป็นเบื้องหน้า.

บทว่า ฉนฺทานิทานานิ มีฉันทะเป็นนิทาน ได้แก่ มีฉันทะ มีความ

พอใจในกามเป็นต้นเป็นนิทาน. บทว่า เย วาปิ โลภา วิจรนฺติ คือ

ชนเหล่าใดมีกษัตริย์เป็นต้น เที่ยวไปเพราะความโลภ แม้ความโลภของ

ชนเหล่านั้น ก็มีฉันทะเป็นนิทาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แก้ความทั้งสองรวมกัน. บทว่า อิโตนิทานา มีฉันทะที่เป็นนิทานเท่านั้น

ท่านอธิบายว่า มีฉันทะเป็นนิทานอย่างเดียว. เพราะบทว่า อิโตนิทานา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 169

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงฉันทะ. ด้วยว่าความโลภเป็นต้น มีฉันทะ

เป็นนิทาน. อนึ่ง พึงทราบความสำเร็จรูปศัพท์ ในบทว่า อิโตนิทานา

นี้ โดยนัยดังกล่าวแล้ว. ในบทว่า กุโตนิทานา นี้นั่นแล ความสำเร็จ

ด้วยความหวัง ท่านเรียกว่า นิฏฺา เพราะเหตุนั้น ความสำเร็จแห่งอัธยาศัย

ท่านกล่าวว่า เป็นการได้เฉพาะ.

บทว่า วินิจฺฉยา ความตัดสินใจ ได้แก่ ตัณหาวินิจฉัย และทิฏฐิ-

วินิจฉัย. บทว่า เย จาปิ ธมฺมา สมเณน วุตฺตา ธรรมเหล่าใดแล อัน

พระสมณะตรัสไว้ คือธรรมแม้อื่นเหล่าใดแล หรืออกุศลธรรมทั้งหลาย

เห็นปานนั้น ประกอบด้วยความโกรธเป็นต้น อันพระพุทธสมณะตรัสไว้

แล้ว ธรรมเหล่านั้นมีมาแต่อะไร.

บทว่า อญฺชาติกา กิเลสทั้งหลายมีชาติเป็นอย่างอื่น คือมีสภาพ

เป็นอย่างอื่น. บทว่า อฺวิหิตกา คือ ตั้งอยู่แล้วโดยการอื่น. บทว่า

สมิตปาเปน ผู้มีบาปอันระงับแล้ว คือมีบาปอันดับแล้ว. บทว่า พาหิต-

ปาปธมฺเมน มีบาปธรรมอันลอยแล้ว คือมีธรรมอันลามกละได้แล้ว.

บทว่า ภินฺนกิเลสมูเลน มีมูลแห่งกิเลสอันทำลายแล้ว คือตัดรากเหง้า

แห่งกิเลสได้แล้วดำรงอยู่. บทว่า สพฺพากุสลพนฺธนา ปมุตฺเตน ผู้พ้น

ขาดจากอกุศลมูลเป็นเครื่องผูกทั้งปวง คือปล่อยเครื่องผูก คืออกุศลมูล

๑๒ อย่าง แล้วดำรงอยู่. บทว่า วุตฺตา คือ อันพระสมณะตรัสไว้แล้ว.

บทว่า ปวุตฺตา ตรัสโดยทั่ว คือตรัสทุกสิ่งทุกอย่าง.

บทว่า ตมฺปนิสฺสาย ปโหติ ฉนฺโท ฉันทะย่อมมี เพราะอาศัย

ธรรมนั้น คือฉันทะย่อมมี ด้วยความปรารถนาอยู่ร่วมกัน และพรากจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 170

กัน เพราะอาศัยความดีใจและความเสียใจ กล่าวคือทั้งสองอย่างนั้น อัน

ได้แก่สุขเวทนาและทุกขเวทนา. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันพระพุทธสมณะ

ทรงแก้ปัญหานี้ว่า ฉันทะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน. บทว่า รูเปสุ ทิสฺวา

วิภว ภวญฺจ เห็นความไม่มีและความมีในรูปทั้งหลาย คือเห็นความเสื่อม

และความเกิดในรูปทั้งหลาย. บทว่า วินิจฺฉย กูรุเต ชนฺตุ โลเก สัตว์

เกิดย่อมทำความตัดสินในโลก คือสัตว์เกิดนี้ย่อมทำความตัดสินด้วยตัณหา

เพื่อให้ได้ลาภ และความตัดสินด้วยทิฏฐิ โดยนัยมีอาทิว่า อัตตาของเรา

เกิดแล้วดังนี้. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็เป็นอันพระพุทธสมณะทรงแก้ปัญหา

นี้ว่า แม้ความตัดสินเกิดมาแต่ไหน ดังนี้.

บทว่า สาตาสาต นิสฺสาย อาศัยความยินดีและความเสียใจ คือ

ทำอุปนิสัยให้ชุ่มชื่นและร่วงโรย. บทว่า อิฏฺานิฏฺ ได้แก่ อารมณ์น่า

ปรารถนา และอารมณ์ไม่น่าปรารถนา. บทว่า สุรา ในบทนี้ว่า สุรา-

เมรยมชฺชปมาทฏฺานานุโยค ประกอบเนือง ๆ ในเหตุเป็นที่ตั้งแห่ง

ความประมาทในเพราะการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย สุรามี ๕ อย่าง

คือสุราทำด้วยแป้ง ๑ สุราทำด้วยขนม ๑ สุราทำด้วยข้าวสุก ๑ สุราใส่

น้ำเชื้อ ๑ สุราผสมด้วยเครื่องปรุง ๑. บทว่า เมรย ได้แก่ น้ำดอง ๕

อย่าง คือน้ำดองดอกไม้ ๑ น้ำดองผลไม้ ๑ น้ำดองดอกมะซาง ๑ น้ำดอง

น้ำอ้อยงบ ๑ น้ำดองผสมเครื่องปรุง ๑. แม้ทั้งหมดนั้นก็เป็นน้ำเมา ด้วย

ทำผู้อื่นให้เมา. บทว่า ปมาทฏฺาน คือ เป็นเหตุแห่งความประมาท.

บทนี้เป็นชื่อของเจตนาของผู้ที่ดื่มน้ำเมานั้น. บทว่า อนุโยค ได้แก่

ประกอบเนือง ๆ ในเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทในเพราะการดื่มน้ำเมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 171

คือสุราและเมรัยนั้น คือทำบ่อย ๆ. ก็เพราะเมื่อเราประกอบเนือง ๆ ซึ่งเหตุ

เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท โภคสมบัติที่เกิดขึ้นแล้วก็ย่อมเสื่อมไป และที่

ยังไม่เกิดจึงไม่เกิดขึ้น ฉะนั้น ย่อมรู้ว่าโภคสมบัติของเราย่อมถึงความเสื่อม

สิ้นไป. ในบททั้งปวงก็เหมือนอย่างนี้. บทว่า วิกาลวิสิขาจริยานุโยค

ประกอบเนือง ๆ ในการเที่ยวมากไปในถนนในเวลาค่ำคืน คือในเวลาไม่

สมควร. บทว่า สมชฺชาภิจรณ เที่ยวดูมหรสพบ่อย ๆ คือไปดูมหรสพ

เช่นดูการฟ้อนรำเป็นต้นบ่อยครั้ง. บทว่า อาลสฺสานุโยค ประกอบ

เนือง ๆ ในความเป็นคนเกียจคร้าน คือขวนขวายมุ่งแต่อยู่ในความเป็นคน

เกียจคร้าน. บทว่า อปายมุขานิ น เสวติ ไม่เสพทางแห่งความฉิบหาย

คือไม่เสพประตูแห่งความฉิบหายแห่งโภคสมบัติทั้งหลาย . บทว่า กสิยา วา

คือ ด้วยกสิกรรมบ้าง. บทว่า วณิชฺชาย วา คือ ด้วยพาณิชยกรรมอันเป็น

ธรรมบ้าง. บทว่า โครกฺเขน วา ด้วยโครักขกรรม คือการเลี้ยงโคบ้าง.

บทว่า อิสฺสตฺเถน วา คือ ด้วยธนะศิลป์บ้าง. บทว่า ราชโรปริเสน วา

คือ ด้วยรับราชการบ้าง. บทว่า สิปฺปญฺตเรน วา คือ ด้วยศิลปะอย่างใด

อย่างหนึ่ง ในบรรดาศิลปะ มีช่างทำหม้อเป็นต้น. บทว่า ปฏิปชฺชติ

คือ ประกอบการงาน. บทว่า จกฺขุสฺมึ อุปฺปนฺเน ชานาติ คือ เมื่อจักษุ

เกิดขึ้น สัตว์ก็รู้ คือยึดถือทิฏฐิว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นแล้ว. บทว่า

จกฺขุสฺมึ อนฺตรหิเต คือ เมื่อจักษุนั้นหายไป. บทว่า อตฺตา เม อนฺตรหิโต

อัตตาของเราหายไปแล้ว คือยึดถือทิฏฐิว่า อัตตาของเราหายไปแล้ว.

บทว่า วิคโต เม อตฺตา คือ อัตตาของเราล่วงไปแล้ว. แม้ในบทมี

อาทิว่า โสตสฺมึ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 172

บทว่า เอเตปิ ธมฺมา ทฺวยเมว สนฺเต ธรรมแม้เหล่านี้ เมื่อ

ความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ คือธรรมมีความโกรธเป็นต้นเหล่านี้

เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ ก็มีมา คือเกิดขึ้น. ด้วยเหตุ

เพียงนี้ก็เป็นอันพระพุทธสมณะทรงแก้แม้ปัญหาข้อที่ ๓ แล้ว. พระพุทธ-

สมณะเมื่อจะทรงแสดงถึงอุบายละความสงสัย ของผู้ที่ยังมีความสงสัยใน

ปัญหาที่พระองค์แก้แล้วอย่างนี้ จึงตรัสว่า กถกถี าณปถาย สิกฺเข

ผู้มีความสงสัยพึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ ดังนี้. ท่านอธิบายไว้ว่า พึง

ศึกษาสิกขา ๓ เพื่อบรรลุญาณคือญาณทัสสนะ. เพราะเหตุไร. เพราะ

ธรรมอันพระสมณะทราบแล้ว จึงตรัสไว้ คือเพราะว่าพระพุทธสมณะทรงรู้

ธรรมทั้งหลายแล้วจึงตรัสไว้. ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลายมิได้มีแก่พระสมณะ

นั้น แต่บุคคลผู้มีความสงสัยไม่รู้ธรรมเหล่านั้น เพราะความที่ตนไม่มีญาณ

ก็ไม่พึงรู้ คือไม่พึงรู้ด้วยโทษแห่งการแสดงก็หาไม่ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า

ผู้สงสัยพึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ เพราะธรรมอันพระสมณะทรงรู้แล้ว

จึงตรัสไว้.

บทว่า ปกฺเขปพนฺธเนน วา พนฺโธ คือ ถูกเขาจำด้วยการขังไว้ใน

เรือนจำ. บทว่า ปริกฺเขปพนฺธเนน วา พนฺโธ ถูกเขาจำด้วยเครื่องจำ

คือล้อมรั้ว. ในบทมีอาทิว่า คามพนฺธเนน ด้วยเครื่องจำคือบ้าน

มีอธิบายว่า เมื่อไม่ได้เพื่อจะออกไปจากที่นั้น ๆ ก็ชื่อว่าถูกเขาจำด้วย

เครื่องจำคือบ้านเป็นต้น.

บทว่า ตสฺส พนฺธนสฺส โมกฺขตฺถาย คือ เพื่อพ้นจากเครื่องจำ

ดังที่กล่าวแล้วนั้น.

บทว่า าณมฺปิ าณปโถ แม้ญาณ ก็ชื่อว่าทางแห่งญาณ คือ

ญาณที่เกิดขึ้นก่อนเป็นสื่อของญาณที่เกิดต่อ ๆ มา เพราะเหตุนั้นแม้ญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 173

ก็เป็นทางแห่งญาณ. บทว่า ณาณสฺส อารมฺมณมฺปิ าณปโล แม้อารมณ์

แห่งญาณ ก็ชื่อว่าเป็นทางแห่งญาณ คือแม้ปัจจัยแห่งญาณ ก็ชื่อว่าเป็นทาง

แห่งญาณ เพราะหน่วงอารมณ์นั้นแล้วเกิดขึ้น. บทว่า าณสหภูโนปิ

ธมฺมา าณปโถ แม้ธรรมทั้งหลายอันเกิดร่วมกับญาณ ก็ชื่อว่าทาง

แห่งญาณ คือแม้ธรรมทั้งหลายที่เป็นจิตเจตสิกอันเหลือ เกิดร่วมกับญาณ

ก็เป็นทางแห่งญาณ. บัดนี้ พระพุทธสมณะเมื่อจะทรงให้แจ่มแจ้งด้วย

อุปมา จึงตรัสว่า ยถา อริยมคฺโค อริยปโถ เปรียบเหมือนอริยมรรค

ก็ชื่อว่าทางแห่งอริยะ ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า กถกถี ปุคฺคโล คือ บุคคลผู้มีความสงสัย. บทว่า สกงฺโข

คือ มีความเคลือบแคลง. บทว่า สวิเลโข มีความลังเล คือมีความขัดแย้ง

ในจิต. บทว่า สเทฺวฬฺหโก เป็นสองทาง คือกังขาอยู่. บทว่า สริจิกิจฺโฉ

คือ ไม่แน่ใจ. บทว่า าณาธิคมาย คือ เพื่อได้ญาณ. บทว่า าณทสฺส-

นาย เพื่อเห็นญาณ คือเพื่อแทงตลอดญาณ. อีกอย่างหนึ่งเพื่อประสบญาณ.

บทว่า าณสจฺฉิกิริยาย คือ เพื่อทำให้แจ่มแจ้งซึ่งญาณ.

บทว่า สนิทานาห เราแสดงธรรมมีเหตุ คือเรา (พระพุทธสมณะ)

แสดงธรรมมีเหตุมีปัจจัย. บทว่า สปฺปาฏิหาริย เราแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์

คือนำสัตว์ให้พ้นทุกข์. บทว่า โน อปฺปาฏิหาริย เราไม่แสดงธรรมไม่มี

ปาฏิหาริย์ คือแสดงธรรมไม่ทำให้สัตว์พ้นจากทุกข์.

บทว่า สาตาสาต ในบทว่า สาต อสาตญฺจ กุโตนิทานา ความ

ดีใจและความเสียใจมีอะไรเป็นนิทาน นี้ท่านประสงค์เอาสุขเวทนาและ

ทุกขเวทนานั่นเอง. บทว่า น ภวนฺติ เหเต คือ ความดีใจและเสียใจ

เหล่านั้นย่อมไม่มี. บทว่า วิภว ภวญฺจาปิ ยเมตมตฺถ เอตมฺเม ปพฺรูหิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 174

ยโตนิทาน ความว่า อรรถนั้นใด คือความไม่มีและความมีแห่งความ

ดีใจและความเสียใจ ขอพระองค์จงตรัสบอกอรรถนั้นว่า มีสิ่งใดเป็น

นิทานแก่ข้าพระองค์ ในบทนี้ เปลี่ยนรูปลิงค์. ควรจะเป็นดังที่ท่าน

อธิบายไว้ว่า สาตาสาตาน วิภโว ภโว จาติ โย เอส อตฺโถ เอตมฺม

ปพฺรูหิ. ความอย่างเดียวกับที่กล่าวแล้ว. ในบทว่า ยโตนิทาน นี้ พึงทราบ

โดยอรรถว่า ความไม่มีและความมี คือความเห็นว่าไม่มีและมีนั่นเอง

อันเป็นวัตถุแห่งความดีใจและความเสียใจ. เป็นความจริงดังนั้นในฝ่าย

แก้ปัญหานี้ แม้ความเห็นว่ามี ก็มีผัสสะเป็นนิทาน แม้ความเห็นว่าไม่มี

ก็มีผัสสะเป็นนิทาน เพราะเหตุนั้น จักกล่าวในนิเทศต่อไป. ในนิเทศ

แห่งคาถานี้ไม่มีข้อที่ควรกล่าว.

บทว่า อิโตนิทาน คือ มีผัสสะเป็นนิทาน. บทว่า กิสฺมึ วิภูเต

น ผุสนฺติ ผสฺสา เมื่ออะไรไม่มีผัสสะจึงไม่ถูกต้อง คือเมื่ออะไรล่วงไปแล้ว

ผัสสะ ๕ มีจักษุสัมผัสเป็นต้น จึงไม่ถูกต้อง แม้คาถานี้ก็ไม่มีอะไรควรกล่าว.

บทว่า นามญฺจ รูปญฺจ ปฏิจฺจ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนาม

และรูป คือเพราะอาศัยนามที่ประกอบกัน และรูปคือวัตถุเป็นอารมณ์.

บทว่า รูเป วิภูเต น ผุสนฺติ ผสฺสา เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง

คือเมื่อรูปล่วงแล้ว ผัสสะ ๕ จึงไม่ถูกต้อง.

บทว่า ติณฺณ สงฺคติ ผสฺโส ประชุมธรรม ๓ ประการ ผัสสะ

จึงเกิดขึ้น. คือผัสสะย่อมเกิดขึ้นเพราะประชุมธรรม ๓ ประการ คือจักษุ

รูปและวิญญาณ. บทว่า จกฺขุญฺจ รูปา จ รูปสฺมึ จักษุรูป ในส่วนรูป

คือ ประสาทจักษุ รูปารมณ์ อารมณ์ตั้งไว้ในส่วนรูป. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺส

เปตฺวา เว้นจักษุสัมผัส คือปล่อยผัสสะอันเกิดขึ้นเพราะประชุมธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 175

๓ ประการ. บทว่า สมฺปยุตฺตกา ธมฺมา นามสฺมึ สัมปยุตธรรมในส่วน

นาม ธรรมในส่วนนามเกิดพร้อมกับผัสสะ มีเวทนาเป็นต้นที่เหลือ.

แม้ในบทว่า โสตญฺจ ปฏิจฺจ อาศัยหูเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า จตูหิ การเณหิ รูป วิภูต โหติ คือ รูปล่วงไปด้วยเหตุ ๔ อย่าง

(โดยการรู้ โดยการพิจารณา โดยการละ โดยการก้าวล่วง). บทว่า

ญาตวิภูเตน โดยการรู้ คือทำให้ปรากฏแล้วก้าวล่วง. บทว่า ตีรณวิภูเตน

โดยการพิจารณา คือพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น แล้ว

ก้าวล่วง. บทว่า ปหานวิภูเตน โดยการละ คือโดยการล่วงไป เพราะ

ละฉันทราคะ. บทว่า สมติกฺกมวิภูเตน โดยการก้าวล่วง คือโดยการ

ก้าวล่วงด้วยสามารถการได้อรูปสมาบัติ ๔.

บทว่า กถ สเมตสฺส คือ ปฏิบัติอย่างไร. บทว่า วิโภติ รูป รูปจึง

ไม่มี หรือไม่พึงมี. บทว่า สุข ทุกฺข วา ความว่า พระพุทธนิมิตทูลถาม

ถึงรูปที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนานั่นเอง.

บทว่า ชาเนยฺยาม คือ จักรู้. บทว่า อาชาเนยฺยาม คือ จักรู้ทั่ว

ถึง. บทว่า วิชาเนยฺยาม คือ จักรู้แจ้งหลาย ๆ อย่าง. บทว่า ปฏิวิชา-

เนยฺยาม จักรู้แจ่มเเจ้ง คือจักรู้โดยชอบ. บทว่า ปฏิวิชฺเฌยฺยาม จัก

แทงตลอด คือจักตรัสรู้ด้วยจิต.

บทว่า น สญฺสญฺี บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญา โดยสัญญาปกติ

คือบุคคลนั้นไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างนี้ รูป

จึงไม่มี. บทว่า น วิสญฺสญฺญ บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ

คือไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ แม้ไม่มีสัญญา ได้แก่คนบ้าหรือคน

มีจิตฟุ้งซ่าน. บทว่า โนปิ อสญฺี ไม่เป็นผู้ไม่มีสัญญา คือแม้เว้นจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 176

สัญญาก็ไม่ใช่. ได้แก่ ท่านผู้เข้านิโรธ หรือสัตว์ไม่มีสัญญา. บทว่า

วิภูตสญฺี ไม่เป็นผู้ปราศจากสัญญา คือไม่เป็นผู้มีสัญญาก้าวล่วงแล้ว

โดยนัยมีอาทิว่า สพฺพโส รูปสญฺาน แห่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง

คือได้อรูปฌาน. บทว่า เอว สเมตสฺส วิโภติ รูป เมื่อปฏิบัติอย่างนี้รูปจึง

ไม่มี คือบุคคลนั้นเมื่อจิตตั้งมั่นแล้วอย่างนี้ ไม่ตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีสัญญา

โดยสัญญานี้แล้ว ฯลฯ ย่อมนำจิตที่ท่านกล่าวไว้แล้วนั้นไป เพื่อได้

อากาสานัญจายตนสมาบัติ เพราะเหตุนั้นเมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างนี้ คือมีความ

พร้อมในอรูปมรรค รูปจึงไม่มี. บทว่า สญฺานิทานา หิ ปปญฺจสงฺขา

เพราะส่วนแห่งธรรมที่เนิ่นช้ามีสัญญาเป็นนิทาน ท่านแสดงไว้ว่า แม้เมื่อ

บุคคลปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ธรรมที่เนิ่นช้ามีตัณหาเป็นต้น อันมีสัญญานั้น

เป็นนิทานเป็นอันยังละไม่ได้เลย.

บทว่า อสญฺญฺโน วุจฺจนฺติ นิโรธสมาปนฺนา ผู้เข้านิโรธท่านเรียกว่า

เป็นผู้ไม่มีสัญญา คือผู้เข้านิโรธเพราะดับสัญญาและเวทนา ท่านกล่าวว่า

เป็นผู้ไม่มีสัญญา เพราะสัญญาไม่มี. บทว่า อสญฺสตฺตา เป็นอสัญญีสัตว์

คือเกิดในอสัญญีภพ เพราะไม่มีสัญญาโดยประการทั้งปวง. บทว่า โส ใน

บทนั้นว่า โส เอว สมาหิเต จิตฺเต ได้แก่ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิอยู่อย่าง

นี้. บทว่า เอว นี้ แสดงถึงการก้าวไปสู่จตุตถฌาน. อธิบายว่า ได้จตุตถฌาน

ตามลำดับนี้. บทว่า สมาหิเต คือ จิตเป็นสมาธิด้วยสมาธิในจตุตถฌานนี้.

อนึ่ง ในบทว่า ปริสุทฺเธ เป็นต้น ได้แก่ จิตบริสุทธิ์ด้วยความบริสุทธิ์

แห่งอุเบกขาและสติ. ชื่อว่าจิตผุดผ่อง เพราะเป็นจิตบริสุทธิ์นั้นเอง.

อธิบายว่า ผ่องใส. ชื่อว่าจิตไม่มีกิเลส เพราะกิเลสมีราคะเป็นต้น ถูก

กำจัดออกไปด้วยการทำลายปัจจัยมีสุขเวทนาเป็นต้น ชื่อว่าจิตปราศจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 177

อุปกิเลส เพราะไม่มีกิเลสนั่นเอง. จิตเศร้าหมองด้วยกิเลส ชื่อว่าจิตอ่อน

เพราะอบรมดีแล้ว. อธิบายว่า จิตถึงความชำนาญ. เพราะจิตเป็นไปใน

อำนาจ จึงเรียกว่าจิตอ่อน. ชื่อว่าจิตควรแก่การงานเพราะจิตอ่อนนั่นเอง

ท่านอธิบายว่า ควรแก่การงาน เหมาะแก่การงาน. เพราะว่าจิตอ่อน

เป็นจิตที่ควรแก่การงาน เหมือนทองคำบริสุทธิ์. แม้จิตทั้งสองอย่างนั้น

ก็เป็นจิตที่อบรมดีแล้วนั่นเอง. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างเดียว เหมือนจิตที่อบรม

แล้วทำให้มากแล้วเป็นจิตอ่อนควรแก่การงานนี้เลย.

ในบรรดาจิตเหล่านั้นชื่อว่าจิตตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นอยู่ในความบริสุทธิ์

เป็นต้น. ชื่อว่าจิตถึงความไม่หวั่นไหว เพราะเป็นจิตตั้งมั่นนั่นเอง. อธิบาย

ว่าไม่หวั่น ไม่ไหว. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่าจิตตั้งมั่น เพราะตั้งอยู่ในอำนาจของ

ตนโดยความเป็นจิตอ่อนและควรแก่การงาน. ชื่อว่าจิตถึงความไม่หวั่นไหว

เพราะกำหนดไว้ด้วยศรัทธาเป็นต้น. จริงอยู่ จิตที่กำหนดไว้ด้วยศรัทธา

ย่อมไม่หวั่น เพราะความไม่เชื่อ. จิตที่กำหนดไว้ด้วยความเพียรย่อมไม่

หวั่นไหว เพราะความเกียจคร้าน. จิตที่กำหนดไว้ด้วยสติย่อมไม่หวั่นไหว

เพราะความประมาท. จิตที่กำหนดไว้ด้วยสมาธิย่อมไม่หวั่นไหว เพราะ

ความฟุ้งซ่าน. จิตที่กำหนดไว้ด้วยปัญญาย่อมไม่หวั่นไหว เพราะอวิชชา

จิตที่กำหนดไว้ด้วยแสงสว่าง ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะความมืดคือกิเลส

เป็นอันว่าจิตถึงความไม่หวั่นไหว กำหนดแล้วด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านั้น

จิตประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นจิตควรแก่อภินิหาร (อำนาจบุญกุศล) เพราะ

ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ.

อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าจิตมีสมาธิ เพราะมีสมาธิในจตุตถฌาน. ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 178

จิตบริสุทธิ์ เพราะไกลจากนิวรณ์. ชื่อว่าจิตผ่องแผ้ว เพราะก้าวล่วงวิตก

เป็นต้น. ชื่อว่าจิตไม่มีกิเลส เพราะไม่มีความเคลื่อนไหวไปในความ

ปรารถนาลามกอันเป็นข้าศึกแก่การได้ฌาน. บทว่า อิจฺฉาวจราน มีอธิบาย

ว่า เคลื่อนไปในความปรารถนา คือหยั่งลงเป็นไปด้วยอำนาจความ

ปรารถนาเป็นปัจจัยแห่งความโกรธมีประการต่าง ๆ. อนึ่ง ชื่อว่าจิตปราศ-

จากอุปกิเลส เพราะปราศจากอุปกิเลสแห่งจิตมีอภิชฌาเป็นต้น. พึงทราบ

แม้ทั้งสองอย่างนั้นโดยทำนองเดียวกันกับอนังคณสูตรและวัตถุสูตร. ชื่อว่า

จิตอ่อน เพราะถึงความชำนาญ. ชื่อว่าจิตควรแก่การงาน เพราะเข้าถึง

อิทธิบาท. ชื่อว่าจิตตั้งมั่นถึงความไม่หวั่นไหว เพราะเข้าถึงความประณีต

ด้วยการบำเพ็ญภาวนาให้บริบูรณ์. อธิบายว่า จิตตั้งมั่นโดยอาการที่จิต

ไม่มีความหวั่นไหว ไม่ถึงความหวั่นไหว. จิตประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้

เป็นจิตควรแก่อภินิหาร เป็นบาท คือเป็นปทัฏฐานเพื่อได้อากาสานัญจา-

ยตนสมาบัติ.

บทว่า อรูปมคฺคสมงฺคี เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรมเป็นทางแห่ง

อรูปสมาบัติ คือเป็นผู้ไม่เสื่อมจากธรรมเป็นทางให้ถึงอรูปสมาบัติ. บทว่า

ปปญฺจาเยว ปปญฺจสงฺขา ได้แก่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้ามีตัณหาเป็นต้น

ชื่อว่า ธรรมเป็นส่วนแห่งความเนิ่นช้า.

บทว่า เอตฺตาวตคฺค โน ฯลฯ วทนฺติ เอตฺโต ก็สมณพราหมณ์

บางพวกอ้างคนเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์

ด้วยอรูปสมาบัติเพียงเท่านี้ หรือว่าเป็นธรรมอันเลิศ หรือว่าสมณพราหมณ์

บางพวกกล่าวความหมดจดอย่างอื่นกว่าอรูปสมาบัตินี้ คือพระพุทธนิมิต

ทูลถามว่า สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวความหมดจด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 179

ของสัตว์ด้วยอรูปสมาบัติเพียงเท่านี้ หรือว่าเป็นธรรมอันเลิศ หรือว่ากล่าว

ความหมดจดแม้อย่างอื่นยิ่งกว่าอรูปสมาบัตินี้. บทว่า เอตฺโต อรูปสมา-

ปตฺติโต คือ กว่าอรูปสมาบัตินี้.

บทว่า เอตฺตาวตฺคฺคมฺปิ วทนฺติ เหเก คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ตอบว่า สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าเที่ยง บางพวกสำคัญคนว่าเป็นบัณฑิต

ย่อมกล่าวความหมดจดแห่งยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเพียงเท่านี้ว่า เป็นธรรม

อันเลิศ. บทว่า เตส ปุเนเก สมย วทนฺติ คือ บรรดาสมณพราหมณ์

เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกบางพวก มีวาทะว่าสูญย่อมกล่าวความสงบว่า

เป็นความสูญ. บทว่า อนุปาทิเสเส กุสลาวทานา คือ สมณพราหมณ์

อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวความสงบในอนุปาทิเสส.

บทว่า ภวตชฺชิตา กลัวต่อภพ. บทว่า วิภว อภินนฺทนฺติ ย่อมยินดี

ความไม่มีภพ คือยินดีเพราะอาศัยความขาดสูญ. บทว่า เตสตฺตสฺส สม

สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมกล่าวถึงความสงบแห่งสัตว์ คือสมณพราหมณ์

เหล่านั้นผู้มีวาทะว่าสูญ ย่อมกล่าวถึงความสงบ คือความไม่เกิดของบุคคล.

บทว่า อุปสม ความเข้าไปสงบ คือความสงบอย่างยิ่ง. บทว่า วูปสม

ความเงียบ คือสันติ. บทว่า นิโรธ ความดับ คือความไม่เกิด. บทว่า

ปฏิปสฺสทฺธ ความระงับ คือไม่เกิดอีกต่อไป.

บทว่า เอเต จ ตฺวา อุปนิสฺสิตา มุนีรู้สมณพราหมณ์นั้นว่า

เป็นผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย คือรู้ว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีทิฏฐิ

อาศัยสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ. บทว่า ตฺวา มุนิ นิสฺสเย โส วิมสี

มุนีนั้นมีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา รู้ว่าสมณพราหมณ์เป็นผู้มีทิฏฐิเป็นที่

อาศัย คือมุนีนั้นเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา เป็นบัณฑิต เป็นพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 180

พุทธมุนี รู้ว่าสมณพราหมณ์เป็นผู้มีทิฏฐิเป็นที่อาศัย. บทว่า ตฺวา

วิมุตฺโต รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว คือรู้ธรรมทั้งหลายโดยความเป็นทุกข์และ

ไม่เที่ยงเป็นต้น แล้วพ้นวิเศษ. บทว่า ภวาภวาย น สเมติ ไม่ถึง

พร้อมในภพน้อยภพใหญ่ คือไม่ถึงพร้อมด้วยการเกิดบ่อย ๆ. บทว่า

อปรามส ความว่า ภิกษุนั้นมิได้ถือมั่น คือไม่ถึงความถือมั่น.

จบอรรถกถากลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 181

จูฬวิยูหสุตตนิเทสที่ ๑๒

[๕๒๐] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) มีสมณพราหมณ์บางพวก

มีความอยู่รอบในทิฏฐิของตน ๆ ถือทิฏฐินั้นแล้ว อ้างตน

เป็นผู้ฉลาดพูดต่าง ๆ ว่า บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อ

ว่ารู้ธรรมแล้ว บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายัง

เป็นผู้ไม่บริบูรณ์หรือ.

ว่าด้วยทิฏฐิ

[๕๒๑] คำว่า มีความอยู่รอบในทิฏฐิของตน ๆ ความว่า มี

สมณพราหมณ์บางพวกผู้ดำเนินไปด้วยทิฏฐิ สมณพราหมณ์บางพวกนั้น

ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิ ๖๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง

ชื่อว่าย่อมอยู่ อยู่ร่วม มาอยู่ อยู่รอบในทิฏฐิของตน ๆ เปรียบเหมือน

พวกคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน ชื่อว่าย่อมอยู่ในเรือน หรือพวกบรรพชิต

ผู้มีอาบัติ ชื่อว่าย่อมอยู่ในอาบัติ หรือพวกมีกิเลส ชื่อว่าย่อมอยู่ในกิเลส

ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีความอยู่รอบในทิฏฐิของตนๆ.

[๕๒๒] คำว่า ถือ ในคำว่า ถือทิฏฐินั้นแล้ว อ้างตนเป็นผู้ฉลาด

พูดต่าง ๆ ความว่า ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่น. คำว่า พูดต่าง ๆ

ความว่า พูดไปต่าง ๆ พูดมีอย่างต่าง ๆ พูดอย่างอื่น ๆ พูดมาก ไม่พูด

ไม่กล่าว ไม่บอก ไม่แสดง ไม่แถลงอย่างเดียว. คำว่า อ้างตนเป็นผู้

ฉลาด ความว่า อ้างตนเป็นผู้ฉลาด อ้างตนเป็นบัณฑิต อ้างตนเป็นธีรชน

อ้างตนเป็นผู้มีญาณ อ้างตนโดยเหตุ อ้างตนโดยลักษณะ อ้างตนโดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 182

การณ์ อ้างตนโดยฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถือทิฏฐิ

นั้นแล้ว อ้างตนเป็นผู้ฉลาดพูดต่าง ๆ.

[๕๒๓] คำว่า บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว

ความว่า บุคคลใดรู้ธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า

รู้ ทราบ เห็น แทงตลอดธรรมแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลใดรู้

อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว.

[๕๒๔] คำว่า บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็นผู้ไม่

บริบูรณ์ ความว่า บุคคลใดคัดค้านธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคนี้

บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ ไม่ครบถ้วน ไม่เต็มรอบ คือ ยังเป็น

ผู้เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคล

ใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ เพราะเหตุนั้น พระ-

พุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า

สมณพราหมณ์บางพวก มีความอยู่รอบในทิฏฐิของ

ตน ๆ ถือทิฏฐิแล้วอ้างตนเป็นผู้ฉลาด พูดต่าง ๆ ว่า

บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว บุคคลใด

คัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็นผู้ไม่บริบูรณ์หรือ.

[๕๒๕] (พระพุทธนิมิตตรัสถามอีกว่า) สมณพราหมณ์

บางพวก ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้ ย่อมวิวาท และกล่าวว่า

คนอื่นโง่ไม่ฉลาด วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะ

ไหนจะจริงหนอ เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด

ต่างก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 183

ว่าด้วยวิวาทกันเพราะถือทิฏฐิ

[๕๒๖] คำว่า สมณพราหมณ์บางพวก ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้

ย่อมวิวาท ความว่า สมณพราหมณ์บางพวก ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น

ยึดมั่นทิฏฐิอย่างนี้ ย่อมวิวาท คือทำความทะเลาะ ทำความหมายมั่น

ทำความแก่งแย่ง ทำความวิวาท ทำความมุ่งร้ายกันว่า ท่านไม่รู้ธรรม

วินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์บางพวก ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้ย่อมวิวาท.

[๕๒๗] คำว่า และกล่าวว่า คนอื่นโง่ ไม่ฉลาด ความว่า กล่าว

บอก พูด แถลง อย่างนี้ว่า คนอื่นโง่ เลว ทราม ต่ำช้า ลามก

สกปรก ต่ำต้อย ไม่ฉลาด ไม่มีความรู้ ถึงอวิชชา ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญา

แจ่มแจ้ง มีปัญญาทึบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และกล่าวว่า คนอื่นโง่

ไม่ฉลาด.

[๕๒๘] คำว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาหะไหนจะจริง

หนอ ความว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจริง แท้ แน่

เป็นจริงไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านั้น

วาทะไหนจะจริงหนอ.

[๕๒๙] คำว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้าง

คนว่าเป็นผู้ฉลาด ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้างตน

ว่าเป็นผู้ฉลาด อ้างตนเป็นบัณฑิต อ้างตนเป็นธีรชน อ้างคนเป็นผู้มีญาณ

อ้างตนโดยเหตุ อ้างตนโดยลักษณะ อ้างตนโดยการณ์ อ้างตนโดยฐานะ

โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 184

ทั้งหมด ต่างก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้น

จึงตรัสถามว่า

สมณพราหมณ์บางพวก ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้ย่อมวิวาท

และกล่าวว่า คนอื่นโง่ ไม่ฉลาด วาทะของสมณพราหมณ์

เหล่านี้ วาทะไหนจริงหนอ เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้

ทั้งหมดต่างก็อ้างคนว่าเป็นผู้ฉลาด.

[๕๓๐] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ข้าพระองค์ไม่

อนุญาตธรรมของคนอื่น คนอื่นเป็นพาล ลามก มี

ปัญญาเลว สมณพราหมณ์ทั้งหมด เป็นพาล มีปัญญา

เสื่อมทราม สมณพราหมณ์ทั้งปวงนี้เทียว มีความอยู่รอบ

ในทิฏฐิ.

[๕๓๑] คำว่า ไม่อนุญาตธรรมของคนอื่น ความว่า ไม่อนุญาต

ไม่เห็นตาม ไม่อนุมัติ ไม่อนุโมทนา ซึ่งธรรม คือทิฏฐิ ปฏิปทา

มรรค ของคนอื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่อนุญาตธรรมของคนอื่น.

[๕๓๒] คำว่า คนอื่นเป็นพาล ลามก มีปัญญาเลว ความว่า

คนอื่นเป็นพาล เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย มีปัญญาเลว

มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก มีปัญญาสกปรก มีปัญญา

ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คนอื่นเป็นพาล ลามก มีปัญญาเลว.

[๕๓๓] สมณพราหมณ์ทั้งหมดเป็นพาล มีปัญญาเสื่อมทราม

ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดเทียว เป็นพาล เลว ทราม ต่ำช้า

ลามก สกปรก ต่ำต้อย มีปัญญาเลว มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำช้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 185

มีปัญญาลามก มีปัญญาสกปรก มีปัญญาต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

สมณะพราหมณ์ทั้งหมด เป็นพาล มีปัญญาเสื่อมทราม.

[๕๓๔] คำว่า สมณพราหมณ์ทั้งปวงนี้เทียว มีความอยู่รอบ

ในทิฏฐิ ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด เป็นผู้ดำเนินไปด้วย

ทิฏฐิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่น

ซึ่งทิฏฐิ ๖๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าย่อมอยู่ อยู่ร่วม มาอยู่

อยู่รอบในทิฏฐิของตน ๆ เปรียบเหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน ชื่อว่า

ย่อมอยู่ในเรือน พวกบรรพชิตผู้มีอาบัติ ชื่อว่าย่อมอยู่ในอาบัติ หรือ

พวกมีกิเลส ชื่อว่าย่อมอยู่ในกิเลสฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณ-

พราหมณ์ทั้งปวงเทียว มีความอยู่รอบในทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ข้าพระองค์ไม่อนุญาตธรรมของคนอื่น คนอื่นเป็นพาล

ลามก มีปัญญาเลว สมณพราหมณ์ทั้งหมด เป็นพาล มี

ปัญญาเสื่อมทราม สมณพราหมณ์ทั้งปวงนี้เทียว มีความ

อยู่รอบในทิฏฐิ.

[๕๓๕] ก็ถ้าพวกสมณะพราหมณ์เป็นผู้ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของ

คน เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี เป็นผู้ฉลาด มีความรู้ไซร้

บรรดาสมณพราหมณ์พวกนั้น ใคร ๆ จะไม่เป็นผู้มีปัญญา

เสื่อมรอบ เพราะทิฏฐิเป็นธรรมชาติอันสมณพราหมณ์

แม้เหล่านั้นถือเอาบริบูรณ์อย่างนั้น.

[๕๓๖] คำว่า ก็ถ้าเป็นผู้ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน ความว่า

เป็นผู้ผ่องแผ้ว ผ่องใส ไม่เศร้าหมอง เพราะทิฏฐิ ความควร ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 186

ชอบใจ ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็ถ้าเป็นผู้ผ่องแผ้วเพราะ

ทิฏฐิของตน.

[๕๓๗] คำว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี เป็นผู้ฉลาด มีความ

รู้ไซร้ ความว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจด มีปัญญาหมดจดวิเศษ มีปัญญา

หมดจดรอบ มีปัญญาผ่องแผ้ว มีปัญญาผ่องใส อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้มี

ความเห็นหมดจด มีความเห็นหมดจดวิเศษ มีความเห็นหมดจดรอบ

มีความเห็นผ่องแผ้ว มีความเห็นผ่องใส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มี

ปัญญาหมดจดดี. คำว่า เป็นผู้ฉลาด ความว่า เป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต

มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี เป็นผู้ฉลาด. คำว่า มีความรู้

ความว่า เป็นผู้มีความรู้ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความตรัสรู้ มีญาณ

มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มี

ปัญญาหมดจดดี เป็นผู้ฉลาด มีความรู้.

[๕๓๘] คำว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร ๆ จะไซร้

เป็นผู้มีปัญญาเสื่อมรอบ ความว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร ๆ

จะไม่เป็นผู้มีปัญญาเลว มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก มี

ปัญญาสกปรก มีปัญญาต่ำต้อย สมณพราหมณ์ทั้งหมด จะเป็นผู้มีปัญญาเลิศ

มีปัญญาประเสริฐ มีปัญญาวิเศษ มีปัญญาเป็นประธาน มีปัญญาอุดม

มีปัญญาบวร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บรรดาสมณพราหมณ์พวกนั้น ใคร ๆ

จะไม่เป็นผู้มีปัญญาเสื่อมรอบ.

[๕๓๙] คำว่า เพราะทิฏฐิเป็นธรรมชาติอันสมณพราหมณ์

เหล่านั้นถือเอาบริบูรณ์อย่างนั้น ความว่า ทิฏฐิเป็นธรรมชาติอันสมณ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 187

พราหมณ์เหล่านั้นถือเอาบริบูรณ์ สมาทาน ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ติดใจ

น้อมใจไปอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะทิฏฐิเป็นธรรมชาติอัน

สมณพราหมณ์เหล่านั้นถือเอาบริบูรณ์อย่างนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ก็ถ้าพวกสมณพราหมณ์เป็นผู้ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของ

ตน เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี เป็นผู้ฉลาด มีความรู้ไซร้

บรรดาสมณพราหมณ์พวกนั้น ใคร ๆ จะไม่เป็นผู้มีปัญญา

เสื่อมรอบ เพราะทิฏฐิเป็นธรรมชาติอันสมณพราหมณ์

แม้เหล่านั้น ถือเอาบริบูรณ์อย่างนั้น.

[๕๔๐] คนคู่กล่าวปรารภทิฏฐิใดกะกันและกันว่าเป็นพาล

ข้าพระองค์ไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง พวกสมณพราหมณ์

ได้ทำทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง เพราะเหตุนั้นแหละ พวก

สมณพราหมณ์จึงเห็นคนอื่นว่าเป็นพาล.

[๕๔๑] ศัพท์ว่า ในคำว่า ข้าพระองค์ไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง

เป็นศัพท์ปฏิเสธ. คำว่า ทิฏฐินั้น คือ ทิฏฐิ ๖๒ เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์

จึงไม่กล่าว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น

ประกาศทิฏฐิ ๖๒ นั้นว่า จริง แท้ เป็นจริง เป็นตามจริง ไม่วิปริต

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง.

[๕๔๒] คำว่า คนคู่ ในคำว่า คนคู่กล่าวปรารภทิฏฐิใดกะกัน-

และกันว่าเป็นพาล ความว่า คน ๒ คน ได้แก่คนสองคนผู้ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 188

ทะเลาะกัน คนสองคนผู้ทำความหมายมั่นกัน คนสองคนผู้ทำความอื้อฉาว

กัน คนสองคนผู้ทำความวิวาทกัน คนสองคนผู้ก่ออธิกรณ์กัน คนสอง

คนผู้พูดกัน คนสองคนผู้ปราศรัยกัน คนคู่เหล่านั้น กล่าว บอก พูด

แสดง แถลง กะกันและกันอย่างนี้ว่า ท่านเป็นพาล เลวทราม ต่ำช้า

ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คนคู่กล่าวปรารภทิฏฐิใด

กะกันและกันว่าเป็นพาล.

[๕๔๓] คำว่า พวกสมณพราหมณ์ได้ทำทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง

ความว่า พวกสมณพราหมณ์ได้ทำทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง โดยอ้างว่า โลก

เที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า โลกไม่เทียง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่น

เปล่า ฯลฯ สัตว์เมื่อตายไปย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้

สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกสมณพราหมณ์

ได้ทำทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง.

[๕๘๔] คำว่า เพราะเหตุนั้น ในคำว่า เพราะเหตุนั้นแหละ พวก

สมณพราหมณ์จึงเห็นคนอื่นว่าเป็นพาล ความว่า เพราะเหตุนั้น เพราะ

การณ์นั้นจึงเห็น คือ มองเห็น แลดู เพ่งดู พินิจดู พิจารณาดูซึ่งคน

อื่นว่า เป็นพาล เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

คนคู่กล่าวปรารภทิฏฐิใดกะกันและกันว่าเป็นพาล

ข้าพระองค์ไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง พวกสมณพราหมณ์

ได้ทำทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง เพราะเหตุนั้นแหละ พวก

สมณพราหมณ์จึงเห็นคนอื่นว่าเป็นพาล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 189

[๕๔๕] (พระพุทธนิมิตตรัสถามอีกว่า) สมณพราหมณ์บาง

พวก กล่าวธรรมใดว่าจริงแท้ สมณพราหมณ์แม้พวกอื่น

ก็กล่าวธรรมนั้นว่าเปล่าเท็จ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือ

ทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้วก็วิวาทกัน เพราะเหตุไร พวกสมณ-

พราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน.

[๕๔๖] คำว่า สมณพราหมณ์ บางพวกกล่าวธรรมค่าจริงแท้

ความว่า สมณพราหมณ์เหล่าหนึ่ง กล่าว บอก พูด แสดง แถลงซึ่ง

ธรรมะ คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใด อย่างนี้ว่า ธรรมนี้ จริง แท้

เป็นจริง เป็นตามจริง ไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์

บางพวกกล่าวธรรมใดว่าจริงแท้.

[๕๔๗] คำว่า สมณพราหมณ์แม้พวกอื่นก็กล่าวธรรมนั้นว่า

เปล่าเท็จ ความว่า สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง กล่าว บอก พูด แสดง

แถลงซึ่งธรรมะ คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคนั้นนั่นแหละ อย่างนี้ว่า ธรรม

นี้เปล่าเท็จ ไม่เป็นจริง เหลวไหล ไม่เป็นตามจริง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

สมณพราหมณ์แม้พวกอื่นก็กล่าวธรรมนั้นว่าเปล่าเท็จ.

[๕๔๘] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้ว

วิวาทกัน ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น

ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิอย่างนี้แล้วก็วิวาทกัน คือ ทำความทะเลาะกัน ทำความ

หมายมั่นกัน ทำความแก่งแย่งกัน ทำความมุ่งร้ายกันว่า ท่านไม่รู้ธรรม-

วินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้วก็วิวาทกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 190

[๕๔๙] คำว่า เพราะเหตุไร ในคำว่า เพราะเหตุไร พวก

สมณพราหมณ์ จึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน ความว่า เพราะ การณะ

เหตุ ปัจจัย นิทาน สมุทัย ชาติ เหตุเป็นแดนเกิดอะไร พวกสมณ-

พราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน คือ กล่าวต่าง ๆ กัน กล่าวหลาย

อย่าง กล่าวคำอื่น ๆ กล่าว พูด บอก แสดง แถลงมากอย่าง เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็นอย่าง

เดียวกัน เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า

สมณพราหมณ์ต่างพวก กล่าวธรรมใดว่าจริงแท้

สมณพราหมณ์แม้พวกอื่น ก็กล่าวธรรมนั้นว่าเปล่าเท็จ

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้วก็วิวาทกัน

เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็นอย่าง

เดียวกัน.

[๕๕๐] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ก็หมู่สัตว์รู้ชัด

สัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น มิได้

มี ๒ อย่าง สมณพราหมณ์เหล่านั้น อวดสัจจะต่าง ๆ

ไปเอง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่กล่าว

เป็นอย่างเดียวกัน.

ว่าด้วยสัจจะมีอย่างเดียว

[๕๕๑] คำว่า สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น มิได้มี ๒ อย่าง

ความว่า นิพพาน คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ความสงบสังขารทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 191

ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับ

ตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เรียกว่าสัจจะอย่างเดียว

อีกอย่างหนึ่ง มรรคสัจจะ นิยยานสัจจะ ได้แก่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ

การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ เพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจ

มั่นชอบ เรียกว่าสัจจะอย่างเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัจจะนั้นมีอย่าง

เดียวเท่านั้น มิได้มี ๒ อย่าง.

[๕๕๒] คำว่า ใด ในคำว่า หมู่สัตว์รู้ชัดสัจจะใด ไม่พึงวิวาท

กัน ความว่า ในสัจจะใด. คำว่า ปชา เป็นชื่อของสัตว์ หมู่สัตว์ รู้ชัด

รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้ปรุโปร่ง รู้ตลอด ซึ่งสัจจะใด ไม่พึงทำความทะเลาะกัน

ไม่พึงทำความหมายมั่นกัน ไม่พึงทำความแก่งแย่งกัน ไม่พึงทำความ

วิวาทกัน ไม่พึงทำความมุ่งร้ายกัน คือ ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้

ถึงความไม่มี ซึ่งความทะเลาะกัน ความหมายมั่นกัน ความแก่งแย่งกัน

ความวิวาทกัน ความมุ่งร้ายกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หมู่สัตว์รู้ชัดสัจจะ

ใด ไม่พึงวิวาทกัน.

[๕๕๓] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นอวดสัจจะต่าง ๆ ไปเอง

ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น อวด พูด บอก กล่าว แสดง แถลง

ซึ่งสัจจะต่าง ๆ ไปเองว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า โลก

ไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่

เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

สมณพราหมณ์เหล่านั้นอวดสัจจะต่าง ๆ ไปเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 192

[๕๕๔] คำว่า เพราะเหตุนั้น ในคำว่า เพราะเหตุนั้น สมณ-

พราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน ความว่า เพราะเหตุนั้น

คือ เพราะการณะ เหตุ ปัจจัย นิทานนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึง

ไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน คือ กล่าวต่าง ๆ กล่าวหลายอย่าง กล่าวคำ

อื่น ๆ กล่าว บอก พูด แสดง แถลงมากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน เพราะ-

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ก็หมู่สัตว์รู้ชัดสัจจะใด ไม่วิวาทกัน สัจจะนั้นมีอย่าง

เดียวเท่านั้น มิได้มี ๒ อย่าง สมณพราหมณ์เหล่านั้น

อวดสัจจะต่าง ๆ ไปเอง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์

เหล่านั้นจึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน.

[๕๕๕] (พระพุทธนิมิตตรัสถามอีกว่า) เพราะเหตุไรหนอ

พวกสมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะไปต่าง ๆ คือ เป็นผู้อ้าง

ตนว่าเป็นผู้ฉลาด กล่าวยืนยันสัจจะหลายอย่าง ก็สัจจะ

ที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็นสัจจะมากอย่าง

ต่าง ๆ กัน หรือสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมระลึกตรึก

เอาเอง.

[๕๕๖] คำว่า เพราะเหตุไร ในคำว่า เพราะเหตุไรหนอ พวก

สมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะไปต่าง ๆ ความว่า เพราะเหตุไร คือ

เพราะการณะ เหตุ ปัจจัย นิทานอะไร พวกสมณพราหมณ์จึงกล่าว

สัจจะต่าง ๆ คือ กล่าวหลายอย่าง กล่าวคำอื่น ๆ กล่าว บอก พูด แสดง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 193

แถลงมากอย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุไรหนอ พากสมณ-

พราหมณ์จึงกล่าวสัจจะไปต่าง ๆ.

[๕๕๗] คำว่า กล่าวยืนยัน ในคำว่า เป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด

กล่าวยืนยันสัจจะหลายอย่าง ความว่า พูดพร่ำมากไป จึงชื่อว่ากล่าว

ยืนยันบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมกล่าวยืนยัน คือ

บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งทิฏฐิของตน ๆ ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละ

จริง สิ่งอื่นเปล่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปย่อมเป็น

อีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า. คำว่า

เป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด คือ กล่าวว่าคนเป็นบัณฑิต กล่าวว่าคนเป็น

ธีรชน กล่าวว่าตนเป็นผู้มีญาณ กล่าวว่าคนพูดโดยเหตุ กล่าวว่าตนพูด

โดยลักษณะ กล่าวว่าตนพูดโดยการณ์ กล่าวว่าตนพูดโดยฐานะ

โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาดกล่าว

ยืนยัน.

[๕๕๘] คำว่า สัจจะที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็นสัจจะ

มากอย่างต่าง ๆ กัน ความว่า สัจจะที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว

เป็นสัจจะมาก ต่าง ๆ หลายอย่าง อื่น ๆ เป็นอันมาก เพราะฉะนั้น จึง

ชื่อว่า สัจจะที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็นสัจจะหลายอย่างต่าง ๆ

กัน.

[๕๕๙] คำว่า หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมระลึกตรึกเอา

เอง ความว่า หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมดำเนินไป เลื่อนไป

เคลื่อนไป เป็นไป ด้วยความตรึก ด้วยความตรอง ด้วยความดำริ แม้

ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมระลึกตรึก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

เอาเอง อีกอย่างหนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมกล่าว บอก พูด แสดง

แถลง ซึ่งสัจจะที่คนรวบรวมมาด้วยความตรึก ที่ตนคิดกันด้วยความ

พิจารณาที่ตนรู้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า หรือว่าสมณพราหมณ์

เหล่านั้นย่อมระลึกตรึกเอาเอง เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัส

ถามว่า

เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะ

ไปต่าง ๆ คือ เป็นผู้อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด ยืนยันสัจจะ

หลายอย่าง ก็สัจจะที่พวกสมณพราหมณ์ฟังมาแล้ว เป็น

สัจจะหลายอย่างต่าง ๆ กัน หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่า

นั้นย่อมระลึกตรึกเอาเอง.

[๕๖๐] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) สัจจะมากอย่าง

ต่าง ๆ กัน มิได้มีเลย เว้นแต่สัจจะที่แน่นอน ด้วยสัญญา

ในโลก พวกสมณพราหมณ์ดำริตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลาย

แล้ว ได้กล่าวธรรมเป็น ๒ อย่างว่า คำของเราจริง คำ

ของท่านเท็จ.

ว่าด้วยความจริงไม่ต่างกัน

[๕๖๑] คำว่า สัจจะมากอย่างต่าง ๆ กันมิได้มีเลย ความว่า

สัจจะมากอย่าง ต่าง ๆ กัน หลายอย่าง อื่น ๆ เป็นอันมากมิได้มีเลย

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัจจะมากอย่างต่าง ๆ กันมิได้มีเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

[๕๖๒] คำว่า เว้นแต่สัจจะที่แน่นอนด้วยสัญญาในโลก ความ

ว่า เว้นจากสัจจะที่ถือว่าเที่ยงด้วยสัญญา กล่าวว่า สัจจะอย่างเดียวเท่านั้น

ที่บัณฑิต กล่าว พูด แสดง แถลง ในโลก ได้แก่ทุกขนิโรธ นิพพาน

ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา

ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อย

รัด อีกอย่างหนึ่ง มรรคสัจจะ นิยยานสัจจะ ได้แก่ทุกขนิโรธคามินีปฏิ-

ปทา คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งจิตมั่น

ชอบ เรียกว่า เป็นสัจจะอย่างเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เว้นแต่สัจจะ

ที่แน่นอนด้วยสัญญาในโลก.

[๕๖๓] คำว่า ก็พวกสมณพราหมณ์คำริตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลาย

แล้ว ได้กล่าวธรรมเป็น ๒ อย่าง คำของเราจริง คำของท่านเท็จ

ความว่า พวกสมณพราหมณ์ตรึกตรองดำริแล้ว ยังทิฏฐิทั้งหลายให้เกิด

ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ในบังเกิดเฉพาะ ครั้นแล้วได้กล่าว บอก พูด

แสดง แถลง อย่างนี้ว่า คำของเราจริง คำของท่านเท็จ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ก็พวกสมณพราหมณ์ดำริตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลายแล้ว ได้กล่าว

ธรรมเป็น ๒ อย่าง คำของเราจริง คำของท่านเท็จ เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

สัจจะมากอย่างต่าง ๆ กันมิได้มีเลย เว้นแต่สัจจะที่

แน่นอน ด้วยสัญญาในโลก ก็พวกสมณพราหมณ์ดำริ

ตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลายแล้ว ได้กล่าวธรรมเป็น ๒ อย่าง

ว่า คำของเราจริง คำของท่านเท็จ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 196

[๕๖๔] เจ้าทิฏฐิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้

ยิน ศีล พรต หรืออารมณ์ที่ทราบ เป็นผู้แสดงอารมณ์

ดูหมิ่นผู้อื่น และตั้งอยู่ในทิฏฐิ เป็นที่วินิจฉัยแล้ว ร่าเริง

อยู่กล่าวว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด.

เจ้าทิฏฐิแสดงความดูหมิ่นผู้อื่น

[๑๖๕] คำว่า เจ้าทิฏฐิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือรูปที่เห็น เสียง

ที่ได้ยิน ศีล พรต หรืออารมณ์ที่ทราบ เป็นผู้แสดงความดูหมิ่นผู้อื่น

ความว่า เจ้าทิฏฐิอาศัย คือ เข้าไปอาศัย ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งรูป

ที่เห็นบ้าง ความหมดจดเพราะรูปที่เห็นบ้าง เสียงที่ได้ยินบ้าง ความ

หมดจดเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง ศีลบ้าง ความหมดจดเพราะศีลบ้าง วัตร

บ้าง ความหมดจดเพราะวัตรบ้าง อารมณ์ที่ทราบบ้าง ความหมดจดเพราะ

อารมณ์ที่ทราบบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล

พรต หรืออารมณ์ที่ทราบ. คำว่า อาศัยธรรมเหล่านี้ เป็นผู้แสดงความ

ดูหมิ่นผู้อื่น ความว่า เจ้าทิฏฐินั้น ไม่นับถือ แม้เพราะเหตุนั้น จึง

ชื่อว่า เป็นผู้แสดงความดูหมิ่น อีกอย่างหนึ่ง ยังโทมนัสให้เกิด แม้เพราะ

เหตุนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้แสดงความดูหมิ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐิ

อาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล พรต หรืออารมณ์

ที่ทราบ เป็นผู้แสดงความดูหมิ่นผู้อื่น.

[๕๖๖] คำว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็นที่วินิจฉัยแล้ว ร่าเริงอยู่ ความว่า

ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เรียกว่า วินิจฉัย. เจ้าทิฏฐิตั้งอยู่ ตั้งมั่น ถือ ยึดมั่น

ถือมั่น ในทิฏฐิที่วินิจฉัยแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 197

ที่วินิจฉัยแล้ว. คำว่า ร่าเริงอยู่ คือ เป็นผู้ยินดี หัวเราะ ร่าเริง ชอบใจ

มีความดำริบริบูรณ์ อีกอย่างหนึ่ง หัวเราะจนฟันปรากฏ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็นที่วินิจฉัย ร่าเริงอยู่.

[๕๖๗] คำว่า กล่าวว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด ความว่า

กล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า คนอื่นเป็นพาล เลวทราม

ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ไม่ฉลาด ไม่รู้แจ้ง ไปแล้วในอวิชชา

ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กล่าว

ว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

ตอบว่า

เจ้าทิฏฐิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้

ยิน ศีล พรต หรืออารมณ์ที่ทราบ เป็นผู้แสดงความ

ดูหมิ่นผู้อื่น และตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็นที่วินิจฉัยแล้ว ร่าเริงอยู่

กล่าวว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด.

[๕๖๘] เจ้าทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด และก็

กล่าวถึงตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยเหตุนั้น เจ้าทิฏฐินั้นอวดอ้าง

ว่าตนฉลาดด้วยตนเอง ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น และพูด

เช่นนั้นเหมือนกัน.

เจ้าทิฏฐิเห็นคนอื่นเป็นพาล

[๕๖๙] คำว่า เจ้าทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด

ความว่า เจ้าทิฏฐิเห็น มองเห็น แลดู เพ่งพินิจ พิจารณาซึ่งบุคคลอื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

โดยความเป็นพาล เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ด้วยเหตุ

ใด คือ ด้วยปัจจัย การณ์ เหตุเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้า

ทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด.

[๕๗๐] คำว่า และก็กล่าวถึงตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยเหตุนั้น

ความว่า ตน เรียกว่า อาตมา เจ้าทิฏฐิแม้นั้น กล่าวถึงตนว่า เราเป็น

ผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มี

ปัญญาทำลายกิเลส ด้วยเหตุนั้น คือ ด้วยปัจจัย การณ์ เหตุเป็นแดน

เกิดนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และก็กล่าวถึงตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยเหตุนั้น.

[๕๗๑] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นอวดอ้างว่าคนฉลาดด้วยตนเอง ความ

ว่า เจ้าทิฏฐินั้นอวดอ้างว่าคนฉลาดด้วยตนเอง คืออวดอ้างว่าเป็นบัณฑิต

อวดอ้างว่าเป็นธีรชน อวดอ้างว่าเป็นผู้มีญาณ อวดอ้างว่าพูดโดยเหตุ

อวดอ้างว่าพูดโดยลักษณะ อวดอ้างว่าพูดโดยการณ์ อวดอ้างว่าพูดโดย

ฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นอวดอ้างว่าตน

ฉลาดด้วยตนเอง.

[๕๗๒] คำว่า ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น และพูดเช่นนั้นเหมือนกัน

ความว่า เพราะไม่นับถือ จึงชื่อว่า ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น อีกอย่างหนึ่ง

เพราะยังโทมนัสให้เกิด จึงชื่อว่า ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น. คำว่า และพูด

เช่นนั้นเหมือนกัน ความว่า ย่อมพูดถึงทิฏฐินั้นว่า แม้ด้วยเหตุดังนี้

บุคคลนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อม

ดูหมิ่นบุคคลอื่น และพูดเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 199

เจ้าทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด และก็

กล่าวถึงตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยเหตุนั้น เจ้าทิฏฐินั้นอวด-

อ้างว่าตนฉลาดด้วยตนเอง ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น และ

พูดเช่นนั้นเหมือนกัน.

[๕๗๓] เจ้าทิฏฐินั้น เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอติสารทิฏฐิ (ทิฏฐิล่วง

แก่นสาร) เป็นผู้เมาด้วยความถือตัวเต็มรอบ อภิเษกตน

เองด้วยใจ เพราะทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้นบริบูรณ์อย่างนั้น.

ทิฏฐิ ๖๒ เรียกอติสารทิฏฐิ

[๕๗๔] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้น เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอติสารทิฏฐิ ความ

ว่า ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เรียกว่า อติสารทิฏฐิ เพราะเหตุไร ทิฏฐิ ๖๒

ประการ จึงเรียกว่า อติสารทิฏฐิ ทิฏฐิทั้งปวงนั้น ล่วงเหตุ ล่วงลักษณะ

ถึงความเป็นของต่ำช้า เพราะเหตุนั้น ทิฏฐิ ๖๒ ประการ จึงเรียกว่า

อติสารทิฏฐิ เดียรถีย์แม้ทั้งหมดเป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ เพราะเหตุไร เดียรถีย์

แม้ทั้งหมด จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ เดียรถีย์เหล่านั้น ล่วง ก้าวล่วง

ล่วงเลยกันและกัน ยังทิฏฐิทั้งหลายให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้

บังเกิดเฉพาะ เพราะเหตุนั้น เดียรถีย์ทั้งหมด จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ.

คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นเป็นผู้บริบูรณ์ ความว่า เป็นผู้บริบูรณ์เต็มรอบ ไม่

บกพร่องด้วยอติสารทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นเป็นผู้บริบูรณ์

ด้วยอติสารทิฏฐิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 200

[๕๗๕] คำว่า เป็นผู้เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวเต็มรอบ

ความว่า เป็นผู้เมา เมาทั่ว เมาขึ้น เมายิ่ง ด้วยความถือตัว เพราะทิฏฐิ

ของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เมาด้วยความถือตัว. คำว่า มีความ

ถือตัวเต็มรอบ ความว่า มีความถือตัวเต็มรอบ มีความถือตัวบริบูรณ์

มิได้บกพร่อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เมาด้วยความถือตัว มีความ

ถือตัวเต็มรอบ.

[๕๗๖] คำว่า อภิเษกตนเองด้วยใจ ความว่า ย่อมอภิเษกตน

เองด้วยจิตว่า เราเป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ

มีปัญญาแจ่มแจ้ง ปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อภิเษกตน

เองด้วยใจ.

[๕๗๗] คำว่า เพราะทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้นบริบูรณ์อย่างนั้น ความ

ว่า ทิฏฐินั้น ของเจ้าทิฏฐินั้น บริบูรณ์อย่างนั้น คือเป็นทิฏฐิอันเจ้าทิฏฐิ

นั้นสมาทาน ถือ ถือมั่น ยึดมั่น ติดใจ น้อมใจไปแล้วอย่างนั้น เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้น บริบูรณ์อย่างนั้น เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

เจ้าทิฏฐินั้น เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอติสารทิฏฐิ เป็นผู้

เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวเต็มรอบ อภิเษกตนเอง

ด้วยใจ เพราะทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้น บริบูรณ์อย่างนั้น.

[๕๗๘] ก็ถ้าบุคคลเป็นผู้เลวเพราะคำของคนอื่นไซร้ บุคคล

นั้นย่อมเป็นคนมีปัญญาทรามพร้อมด้วยคนอื่นนั้น อีก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 201

อย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลเป็นเวทคู เป็นธีรชนเองไซร้ ใคร ๆ

ในบรรดาสมณพราหมณ์ ย่อมไม่เป็นคนพาล.

[๕๗๙] คำว่า ก็ถ้าบุคคลเป็นผู้เลวเพราะคำของคนอื่นไซร้

ความว่า ถ้าคนอื่นเป็นคนพาล เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย

เพราะคำ เพราะถ้อยคำ คือ เพราะเหตุนินทา ติเตียน ค่อนว่าของคน

อื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็ถ้าบุคคลเป็นผู้เลวเพราะคำของคนอื่นไซร้.

[๕๘๐] คำว่า บุคคลนั้นย่อมเป็นคนมีปัญญาทรามพร้อมด้วย

คนอื่นนั้น ความว่า แม้บุคคลนั้นก็เป็นผู้มีปัญญาเลว มีปัญญาทราม

มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก มีปัญญาสกปรก มีปัญญาต่ำต้อย พร้อม

ด้วยคนอื่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นย่อมเป็นคนมีปัญญาทราม

พร้อมด้วยคนอื่นนั้น.

[๕๘๑] คำว่า อีกอย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลเป็นเวทคู เป็นธีรชนเอง

ไซร้ ความว่า บุคคลเป็นธีรชน เป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญา มีความรู้

มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

อีกอย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลเป็นเวทคู เป็นธีรชนเองไซร้.

[๕๘๒] คำว่า ใคร ๆ ในบรรดาสมณพราหมณ์ ย่อมไม่เป็น

คนพาล ความว่า ใคร ๆ ในบรรดาสมณพราหมณ์ เป็นคนพาล เลว

ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ไม่มี คือ คนทั้งหมดนั่นแหละ

จะเป็นผู้มีปัญญาเลิศ มีปัญญาประเสริฐ มีปัญญาวิเศษ มีปัญญาใหญ่

มีปัญญาอุดม มีปัญญาบวร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใคร ๆ ในบรรดา

สมณพราหมณ์ ย่อมไม่เป็นคนพาล เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 202

ก็ถ้าบุคคลเป็นผู้เลวเพราะคำของคนอื่นไซร้ บุคคล

นั้นย่อมเป็นคนมีปัญญาทรามพร้อมด้วยคนอื่นนั้น อีก

อย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลเป็นเวทคู เป็นธีรชนเองไซร้ ใคร ๆ

ในบรรดาสมณพราหมณ์ ย่อมไม่เป็นคนพาล.

[๕๘๓] ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรมอื่นจากธรรมนี้ ชน

เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้

ไม่บริบูรณ์ พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวแม้อย่างนั้นโดยทิฏฐิ

มาก เพราะพวกเดียรถีย์นั้นเป็นผู้ยินดียิ่งด้วยความกำหนัด

เพราะทิฏฐิของตน.

[๕๘๔] คำว่า ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรมอื่นจากธรรมนี้

ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์

ความว่า ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค

อื่นจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ พลั้ง พลาด คลาด เคลื่อน

ทางแห่งความหมดจด ทางแห่งความหมดจดรอบ ทางแห่งความผ่องแผ้ว

ทางแห่งความผ่องแผ้วรอบ ชื่อว่าพลาดจากอรหัตผล เป็นผู้ไม่บริบูรณ์

ไม่เต็มเปี่ยม ไม่เต็มรอบ คือ เป็นพวกเลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก

ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้พลาดทางแห่งความ

หมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์.

ทิฏฐิเรียกว่าติตถะ

[๕๘๕] คำว่า พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก

ความว่า ทิฏฐิเรียกว่า ติตถะ เจ้าทิฏฐิเรียกว่า พวกเดียรถีย์ พวกเดียรถีย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 203

ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งทิฏฐิมาก โดยทิฏฐิมาก เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกเดียรถีย์ ย่อมกล่าวแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก.

[๕๘๖] คำว่า เพราะพวกเดียรถีย์นั้น เป็นผู้ยินดียิ่งด้วยความ

กำหนัด เพราะทิฏฐิของตน ความว่า เดียรถีย์เหล่านั้น เป็นผู้ยินดี

ยินดียิ่ง ด้วยความกำหนัดเพราะทิฏฐิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะ

พวกเดียรถีย์ยินดียิ่ง ด้วยความกำหนัด เพราะทิฏฐิของตน เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรมอื่นจากธรรมนี้ ชน

เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้พลาดหางแห่งความหมดจด เป็นผู้

ไม่บริบูรณ์ พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก

เพราะพวกเดียรถีย์นั้น เป็นผู้ยินดียิ่งด้วยความกำหนัด

เพราะทิฏฐิของตน.

[๕๘๗] พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวความหมดจดว่า มีในธรรมนี้

เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมทั้งหลายอื่น

พวกเดียรถีย์ตั้งนั่นแม้อย่างนี้ โดยทิฏฐิมาก เป็นผู้กล่าว

ยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตนนั้น.

ว่าด้วยทิฏฐิของพวกเดียรถีย์

[๕๘๘] คำว่า พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวความหมดจดว่า มีใน

ธรรมนี้เท่านั้น ความว่า พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง

ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 204

ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ในธรรมนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง

สิ่งอื่นเปล่า . . . โลกไม่เที่ยง ฯ ล ฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมเป็น

อีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกเดียรถีย์ ย่อมกล่าวความหมดจดว่า มีในธรรมนี้

เท่านั้น.

[๕๘๙] คำว่า ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมทั้งหลายอื่น

ความว่า พวกเดียรถีย์นั้น ย่อมคัดค้าน โต้เถียงวาทะของคนอื่นทั้งหมด

เว้นแต่ศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าว หมู่คณะทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของตน

คือ กล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า ศาสดานั้นไม่ใช่สัพพัญญู

ธรรมนั้นไม่ใช่สวากขาตธรรม หมู่คณะนั้นมิใช่ผู้ปฏิบัติดี ทิฏฐินั้นมิใช่

ทิฏฐิอันเจริญ ปฏิปทานั้นมิใช่บัญญัติดี มรรคนั้นไม่เป็นมรรคนำให้พ้น

ทุกข์ ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น

ความพ้นวิเศษ หรือความพ้นรอบ มิได้มีในธรรมนั้น สัตว์ทั้งหลายย่อม

ไม่หมดจด ไม่หมดจดวิเศษ ไม่หมดจดรอบ ไม่พ้น ไม่พ้นวิเศษ ไม่พ้น

รอบ ในเพราะธรรมนั้น แต่เป็นผู้เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก

ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษ ในธรรมทั้ง

หลายอื่น.

[๕๙๐] คำว่า พวกเดียรถีย์ตั้งมั่นแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก ความ

ว่า ทิฏฐิเรียกว่า ติตถะ เจ้าทิฏฐิเรียกว่า พวกเดียรถีย์ พวกเดียรถีย์ตั้งมั่น

ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไปในทิฏฐิมาก โดยทิฏฐิมาก

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกเดียรถีย์ตั้งมั่นแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

[๕๙๑] คำว่า เป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของ

ตนนั้น ความว่า ธรรมะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ชื่อว่าธรรมเป็นทาง

ดำเนินของตน เป็นผู้กล่าวยืนยัน กล่าวมั่นคง กล่าวแข็งแรง กล่าวเที่ยง

แท้ ในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้

กล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตนนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวความหมดจดว่า มีในธรรมนี้

เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมทั้งหลายอัน

พวกเดียรถีย์ตั้งมั่นแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก เป็นผู้กล่าว

ยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตนนั้น.

[๕๙๒] อนึ่ง เจ้าทิฏฐิเป็นผู้พูดยืนยันในธรรมอันเป็นทาง

ของตน พึงเห็นใครอื่นว่า เป็นพาล ในเพราะทิฏฐินั้น

เจ้าทิฏฐินั้น กล่าวบุคคลอื่นว่าเป็นพาล มีความไม่หมดจด

เป็นธรรมดา พึงนำมาซึ่งความมุ่งร้ายเอง.

[๕๙๓] คำว่า อนึ่ง เจ้าทิฏฐิเป็นผู้พูดยืนยันในธรรมอันเป็นทาง

ดำเนินของตน ความว่า ธรรมะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ชื่อว่าธรรม

เป็นทางดำเนินของตน เป็นผู้กล่าวยืนยัน กล่าวมั่นคง กล่าวแข็งแรง

กล่าวเที่ยงแท้ ในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

อนึ่ง เจ้าทิฏฐิเป็นผู้ยืนยันในธรรมเป็นทางดำเนินของตน.

[๕๙๔] คำว่า ในเพราะทิฏฐินั้น ในคำว่า พึงเห็นใครอื่นว่า

เป็นพาล ในเพราะทิฏฐินั้น ความว่า พึงเห็น ดู แลดู ตรวจดู พินิจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

พิจารณา ซึ่งใครอื่นโดยความเป็นพาล เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก

ต่ำต้อย ในเพราะทิฏฐิ คือความควร ความชอบใจ ลัทธิของตน เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเห็นใครอื่นว่าเป็นพาล ในเพราะทิฏฐินั้น.

[๕๙๕] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นกล่าวบุคคลอื่นว่าเป็นพาล มีความ

ไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำมาซึ่งความมุ่งร้ายเอง ความว่า เจ้าทิฏฐิ

นั้นว่า กล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า บุคคลอื่นเป็นพาล

เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย มีความไม่หมดจด ไม่หมดจด-

วิเศษ ไม่หมดจดรอบ ไม่ขาว เป็นธรรมดา พึงนำมา นำมาพร้อม

ถือมา ถือมาพร้อม ชักมา ชักมาพร้อม ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งความ

ทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง ด้วย

ตนเองแท้ ๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นกล่าวบุคคลอื่นว่าเป็นพาล

มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำมาซึ่งความทุ่มเถียงเอง.

อนึ่ง เจ้าทิฏฐิเป็นผู้พูดยืนยันในธรรมอันเป็นทาง

ดำเนินของตน พึงเห็นใครอื่นว่า เป็นพาล ในเพราะ

ทิฏฐินั้น เจ้าทิฏฐินั้นกล่าวบุคคลอื่นว่า เป็นพาล มีความ

ไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำมาซึ่งความทุ่มเถียงเอง.

[๕๙๖] เจ้าทิฏฐินั้น ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว

ย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้าในโลก ชันตุชนละทิฏฐิที่

ตกลงใจทั้งปวง ย่อมไม่ทำความบาดหมางในโลก.

[๕๙๗] คำว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว ความว่า

ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เรียกว่าทิฏฐิที่ตกลงใจ เจ้าทิฏฐิ ตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ในทิฏฐิที่คนตัดสินแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตั้ง

อยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ. คำว่า นับถือเองแล้ว ความว่า นับถือ ตรวจเอง

แล้วว่า ศาสดานี้เป็นพระสัพพัญญู ธรรมนี้อันพระศาสดาตรัสดีแล้ว

หมู่คณะนี้ปฏิบัติแล้ว ทิฏฐินี้เป็นทิฏฐิเจริญ ปฏิปทานี้อันศาสดาบัญญัติ

ดีแล้ว มรรคนี้เป็นมรรดนำให้พ้นทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตั้งอยู่ใน

ทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว.

[๕๙๘] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้าในโลก

ความว่า อนาคต เรียกว่า ข้างหน้า เจ้าทิฏฐินั้น ตั้งวาทะของตนใน

ข้างหน้า ย่อมถึง เข้าถึง เข้าไปถึง ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งความทะเลาะ

ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง ด้วยตนเอง

แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้า

ในโลก อีกอย่างหนึ่ง เจ้าทิฏฐินั้น ย่อมทำความทะเลาะ ความหมายมั่น

ความแก่งแย่ง ทำความวิวาท ทำความทุ่มเถียง กับบุคคลอื่นผู้กล่าวใน

ข้างหน้าว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้อง

วาทะ ถ้าท่านสามารถ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมถึงความ

วิวาทในข้างหน้าในโลก.

[๕๙๙] คำว่า ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งปวงแล้ว ความว่า ทิฏฐิ ๖๒

ประการ เรียกว่า ทิฏฐิที่ตกลงใจ ชันตุชน ละ สละ ทิ้ง ปลดปล่อย

บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งทิฏฐิที่ตนตัดสินแล้วทั้งปวง

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละทิฏฐิตกลงใจทั้งปวงแล้ว.

[๖๐๐] คำว่า ชันตุชน . . . ย่อมไม่ทำความทุ่มเถียงในโลก

ความว่า ชันตุชนย่อมไม่ทำความทะเลาะ ไม่ทำความหมายมั่น ไม่ทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 208

ความแก่งแย่ง ไม่ทำความวิวาท ไม่ทำความทุ่มเถียง สมจริงตามที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ภิกษุมีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้

ย่อมไม่โต้เถียง ไม่วิวาทกับใคร ๆ สิ่งใดที่เขากล่าวกันในโลก ก็กล่าว

ตามสิ่งนั้น มิได้ถือมั่น. ชื่อว่าชันตุชน คือสัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล

ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า ในโลก คือในอบาย-

โลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ชันตุชน . . .ย่อมไม่ทำความบาดหมางในโลก เพราะเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

เจ้าทิฏฐินั้น ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ นับถือเองแล้ว

ย่อมถึงความวิวาทในข้างหน้าในโลก ชันตุชนละทิฏฐิที่

ตกลงใจทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่ทำความบาดหมางในโลก

ดังนี้.

จบจูฬวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๒

อรรถกถาจูฬวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๒

พึงทราบวินิจฉัยในจูฬวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สก สก ทิฏฺิปรินิพฺพาสนา สมณพราหมณ์บางพวกมี

ความอยู่รอบในทิฏฐิของตนๆ. ในมหาสมัยนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสพระสูตรแม้นี้ เพื่อจะทรงประกาศความนั้นแก่เทวดาทั้งหลายบางพวก

ผู้มีจิตเกิดขึ้นว่า สมณพราหมณ์ผู้ถือทิฏฐิเหล่านี้ทั้งหมดถือว่า เราเป็นผู้ดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 209

สมณพราหมณ์เหล่านั้นตั้งอยู่ในทิฏฐิของตนเท่านั้น จึงเป็นผู้ดีหรือ หรือว่า

ถือเอาทิฏฐิอย่างอื่นด้วย จึงทรงให้พระพุทธนิมิตตรัสถามพระองค์. ใน

พระสูตรนั้น สองคาถาข้างต้น เป็นคาถาถาม.

ในคาถาเหล่านั้น บทว่า สก สก ทิฏฺิปริพฺพาสนา คือ สมณ-

พราหมณ์ทั้งหลายอยู่ด้วยทิฏฐิของตน ๆ. บทว่า วิคฺคยฺห นานา กุสลา

วทนฺติ อ้างตนเป็นผู้ฉลาด พูดต่าง ๆ คือถือทิฏฐิอย่างแรง ปฏิญาณว่า

เราเป็นผู้ฉลาดในทิฏฐินั้น พูดมาก ไม่พูดครั้งเดียว. บทว่า โย เอว

ชานาติ ส เวทิ ธมฺม อิท ปฏิกฺโกสมเกวลี โส บุคคลใดรู้อย่างนี้

บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายัง

เป็นผู้ไม่ใช่บริบูรณ์ ความว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า บุคคลใด

รู้อย่างนี้หมายถึงทิฏฐินั้น ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรม แต่ถ้าบุคคลใดคัดค้านธรรม

นี้ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นคนเลว ดังนี้.

บทว่า นานา วทนฺติ คือ พูดเหตุต่าง ๆ กัน. บทว่า วิวิธ วทนฺติ

คือ พูดหลาย ๆ อย่าง. บทว่า อญฺโญฺ วทนฺติ พูดอย่างอื่นๆ คือไม่

พูดอย่างเดียวพูดจับโน่นจับนี่. บทว่า อเกวลี โส บุคคลนั้นชื่อว่ายังเป็น

ผู้ไม่บริบูรณ์ คือไม่ฉลาด. บทว่า อสมฺตโต คือ ไม่บริบูรณ์. บทว่า

อปริปุณฺโณ คือ ไม่ครบถ้วน.

บทว่า พาโล คือ คนเลว. บทว่า อกุสโล คือ ไม่ฉลาด.

ต่อไปนี้เป็นคาถาแก้สามคาถา. คาถาเหล่านั้นรวบรวมความที่กล่าว

ไว้โดยคาถาก่อน ด้วยคาถาหลังตั้งไว้ พระสูตรนี้จึงได้ชื่อว่า จูฬวิยูหสูตร

เพราะมีความน้อยกว่าสูตรก่อน ด้วยการรวบรวมนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 210

ในคาถาเหล่านั้นพึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่หนึ่งก่อน. บทว่า ปรสฺส

เจ ธมฺม ธรรมของคนอื่น คือทิฏฐิของคนอื่น. บทว่า สพฺเพปิเม พาลา

สมณพราหมณ์ทั้งหมดเหล่านั้นเป็นคนพาล อธิบายว่า เมื่อเป็นอย่างนี้

สมณพราหมณ์ทั้งหมดเหล่านั้นจึงเป็นพาล. เพราะอะไร เพราะสมณ-

พราหมณ์ทั้งหมดเหล่านี้ มีความอยู่รอบในทิฏฐิ.

บทว่า สนฺทิฏฺิยา เจ ปน เววทาตา สสุทฺธปญฺา กุสลา มตีมา

ความว่า ก็ถ้าพวกสมณพราหมณ์ เป็นผู้ผ่องแผ้ว หมดจด ไม่เศร้าหมอง

เพราะทิฏฐิของตน เป็นผู้มีปัญญาหมดจด เป็นผู้ฉลาด มีความรู้. บทว่า

น เตส โกจิ ความว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น บรรดาสมณพราหมณ์พวกนั้น

จะไม่เป็นผู้มีปัญญาเสื่อมแม้แต่คนเดียว. เพราะอะไร เพราะทิฏฐิเป็น

ธรรมชาติอันสมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ถือเอาบริบูรณ์เหมือนอย่างสมณ-

พราหมณ์พวกอื่น.

พึงทราบเนื้อความสังเขปแห่งคาถาว่า น วาหเมต ดังนี้ คนคู่

คือชนสองคนเหล่านั้น กล่าวปรารภทิฏฐิใดกะกันและกันว่าเป็นพาล ข้า-

พระองค์ไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าเป็นจริง เป็นของแท้. เพราะอะไร เพราะ

สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดได้ทำทิฏฐิของตน ๆ ว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง

สิ่งอื่นเป็นโมฆะ. เพราะเหตุนั้นแหละ พวกสมณพราหมณ์จึงเห็นคนอื่น

ว่าเป็นพาล.

ก็ในบทนี้มีปาฐะสองอย่าง คือ ตจฺฉ ตถว. บทว่า ตจฺฉ คือ

ไม่เปล่า. บทว่า ตถว จริง คือไม่วิปริต. บทว่า ภูต เป็นจริง คือมีอยู่.

บทว่า ยถาว เป็นตามจริง คือมีอยู่พร้อม. บทว่า อวิปรีต ไม่วิตก

คือไม่ผิดสังเกต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 211

ในคาถาที่เป็นคำถามว่า ยมาหุ คือ สมณพราหมณ์บางคนกล่าว

ทิฏฐิสัจจะใดว่าจริงแท้ พึงทราบความในคาถาที่เป็นคำตอบว่า เอก หิ สจฺจ

สัจจะมีอย่างเดียวเท่านั้น คือนิโรธหรือมรรค. ทว่า ยสฺมึ ปชา โน

วิวเท ปชาน คือ หมู่สัตว์รู้ชัดสัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน. บทว่า สย กุนนฺติ

อวดไปเอง คือ กล่าวด้วยตนเอง.

พึงทราบความในคาถาที่เป็นคำถามว่า กสฺมานุ เพราะเหตุไรหนอ.

บทว่า ปวาทิยาเส คือ พูดอวดอ้าง. บทว่า เต ตกฺกมนุสฺสรนฺติ สมณ-

พราหมณ์เหล่านั้นระลึกตรึกเอาเอง คือสมณพราหมณ์เหล่านั้นพูดเอาเอง

หรือไปตามเพียงความตรึกของตนเอง. บทว่า ตกฺกปริยาหฏ รวบรวม

ไว้ด้วยความตรึก คือตรึกเอาเอง. บทว่า วิมสานุจริต ที่ตนคิดกันด้วย

ความพิจารณา คือคิดด้วยปัญญาอันเข้าไปปรากฏแก่ตน. บทว่า สย

ปฏิภาณ คือ รู้ด้วยตนเอง.

พึงทราบความในคาถาที่เป็นคำตอบว่า น เหว มิได้มีเลย ดังนี้.

บทว่า อญฺตฺร สญฺาย นิจฺจานิ เว้นสัจจะที่แน่นอนด้วยสัญญา คือ

เว้นจากการยึดถือว่าเที่ยงเพียงสัญญา. บทว่า ตกฺกญฺจ ทิฏฺีสุ ปกปฺป-

ยิตฺวา ดำริตรึกเอาในทิฏฐิทั้งหลาย คือเพียงความดำริเป็นนิจของตนให้

เกิดในทิฏฐิทั้งหลาย. ก็เพราะสมณพราหมณ์ทั้งหลายยังความตรึกในทิฏฐิ

ทั้งหลายให้เกิด แม้ยังทิฏฐิให้เกิดอีก ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

คำมีอาทิว่า สมณพราหณ์ทั้งหลายยังทิฏฐิทั้งหลายให้เกิด ให้เกิดพร้อม.

บทว่า ชเนนฺติ ให้เกิด คือยังทิฏฐิให้เกิดสูงขึ้นๆ ชื่อว่าให้เกิด. บทมี

อาทิว่า สญฺชเนนฺติ ให้เกิดพร้อม ท่านเพิ่มบทอุปสัคขึ้นกล่าว. บทว่า

มยฺห สจฺจ คือ คำพูดของเราจริง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 212

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อสัจจะต่างไม่มีอยู่ เพื่อจะทรงแสดง

ถึงการปฏิบัติผิดของพวกสมณพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิ ระลึกถึงเพียงความตรึก

จึงได้ตรัสคาถามีอาทิว่า ทิฏฺเ สุเต รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺเ อธิบายว่า รูปที่ได้เห็นเป็นความ

เห็นอันบริสุทธิ์. ในเสียงที่ได้ฟังเป็นต้นก็มีดังนี้. บทว่า เอเต จ นิสฺสาย

วิมานทสฺสี เป็นผู้แสดงอารมณ์ดูหมิ่นผู้อื่นเพราะอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ

แสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม อันได้แก่ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ เพราะอาศัย

ธรรมคือทิฏฐิเหล่านี้. บทว่า วินิจฺฉเย ตฺวา ปหสฺสมาโน พาโล ปโร

อกุสโลติ จาห ตั้งอยู่ในทิฏฐิที่วินิจฉัยแล้ว ร่าเริงอยู่ กล่าวว่าคนอื่นว่า

เป็นคนพาลไม่ฉลาด ความว่า แม้แสดงความดูหมิ่นอย่างนี้ ก็ยังตั้งอยู่ใน

ทิฏฐิที่วินิจฉัยนั้น (คือวินิจฉัยด้วยทิฏฐิ) เป็นผู้ยินดี ร่าเริง กล่าวอย่างนี้

ว่าคนอื่นเลวและโง่ ดังนี้.

บทว่า นสมฺมาเนตีติปิ วิมานทสฺสี เจ้าทิฏฐินั้นไม่นับถือแม้เพราะ

เหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้แสดงความดูหมิ่น คือไม่ทำการนับถือมาก เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้แสดงความดูหมิ่น คือไม่แสดงความนับถืออย่างมาก.

บทว่า โทมนสฺส ชเนตีติปิ ยังความโทมนัสให้เกิด ความว่า ยังความ

โทมนัสให้เกิดในเวลาที่ติดแน่นซึ่งทิฏฐิวินิจฉัยก่อน แล้วได้ความโสมนัส

ภายหลังจึงตั้งอยู่ในทิฏฐิวินิจฉัย. บทว่า วินิจฺฉิตทิฏฺิยา ตฺวา ตั้งอยู่

ในทิฏฐิที่วินิจฉัยแล้ว คือตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ลงความเห็นถือเอาแล้ว. พึง

ทราบคาถาว่า เยเนว เป็นต้นดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สยมตฺตนา คือ ด้วยตนเอง. บทว่า วิมาเนติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 213

ดูหมิ่น คือติเตียน. บทว่า ตเทว ปาวา คือ พูดคำนั้น ทิฏฐินั้น

หรือบุคคลนั้น.

พึงทราบความแห่งคาถาว่า อติสารทิฏฺิยา ทิฏฐิล่วงแก่นสาร

เป็นต้นดังนี้. เจ้าทิฏฐินั้นมีความถือด้วยเต็มที่อย่างนี้ว่า เราสมบูรณ์ บริบูรณ์

พองด้วยความพองอันเป็นทิฏฐิล่วงสาระ ล่วงสาระอันเป็นลักษณะอย่างนี้

และสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยทิฏฐิมานะนั้นสิ้นเชิง. อภิเษกตนเองด้วยใจว่า

เราเป็นบัณฑิต. เพราะอะไร. เพราะทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้นบริบูรณ์อย่างนั้น

ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า สพฺพา ทิฏฺิโย ลกฺขณาติกฺกนฺตา ทิฏฐิทั้งปวงล่วงลักษณะ

คือทิฏฐิ ๖๒ ทั้งหมดเหล่านั้นล่วงลักษณะ. บทว่า อติยนฺติ ก้าวล่วงแล้ว.

บทว่า อโนโม คือ ไม่บกพร่อง.

พึงเชื่อมความคาถาว่า ปรสฺส เจ แห่งบุคคลอื่นดังนี้. อนึ่ง มี

ความอะไรที่ยิ่งไปอีก มีดังนี้ เจ้าทิฏฐินั้นตั้งอยู่ในวินิจฉัยแล้ว ร่าเริงอยู่

กล่าวว่าคนอื่นเป็นพาลไม่ฉลาด. ก็หากว่า บุคคลนั้นกล่าวว่าเลวเพราะคำ

ของคนอื่นนั้น. บทว่า ตุโม สหา โหติ นิหีนปญฺโ บุคคลนั้นย่อม

เป็นคนมีปัญญาทราม พร้อมด้วยบุคคลอื่นนั้น คือบุคคลแม้นั้นย่อมเป็น

ผู้มีปัญญาทรามพร้อมด้วยบุคคลนั้น แม้เขาจะพูดว่าบุคคลนั้นเป็นพาล.

เมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้อยคำของเขาเอาประมาณไม่ได้. แต่บุคคลนั้นเป็นผู้ถึง

เวท เป็นธีรชนด้วยตนเอง. เมื่อเป็นอย่างนั้นใคร ๆ ในบรรดาสมณ-

พราหมณ์ย่อมไม่เป็นคนพาล เพราะทั้งหมดเหล่านั้นเป็นบัณฑิตตามความ

ปรารถนาของตน. บทว่า วาจาย คือ เพราะคำ. บทว่า วจเนน คือ

เพราะถ้อยคำ. บทว่า นินฺทิตการณา คือ เพราะเหตุนินทา. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 214

ครหิตการณา คือ เพราะเหตุติเตียน. บทว่า อุปวทิตการณา คือ เพราะ

เหตุค่อนว่า.

พึงทราบการเชื่อมและความของคาถาว่า อญฺ อิโต ธรรมอื่นจาก

ธรรมนี้ต่อไป เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงเวทเป็น

ธีรชนเอง ใคร ๆ ในบรรดาสมณพราหมณ์ย่อมไม่มีคนพาลดังนี้ พึงมี

คำถามว่า เพราะเหตุ เพื่อใคร ๆ. ในข้อนั้นขอตอบว่า เพราะชนเหล่าใด

ย่อมสรรเสริญธรรมอื่นจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้นย่อมเป็นผู้พลาดทางแห่ง

ความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวแม้อย่างนั้นโดย

ทิฏฐิมาก คือชนเหล่าใดย่อมสรรเสริญทิฏฐิอื่นจากทิฏฐินี้ ชนเหล่านั้น

ย่อมเป็นผู้ฉลาด คือล้มเหลวทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ฉะนั้น

ท่านอธิบายว่า เดียรถีย์ทั้งหลายย่อมกล่าวอย่างนี้. หากถามว่า เพราะเหตุไร

จึงกล่าวอย่างนี้. ตอบว่า เพราะพวกเดียรถีย์เหล่านั้นเป็นผู้ยินดียิ่ง ด้วย

ความกำหนัดเพราะทิฏฐิของตน.

บทว่า เต สุทฺธิมคฺค ทางแห่งความหมดจด คืออัญญเดียรถีย์

เหล่านั้น ย่อมพลั้งพลาด คลาด ทางอันไม่เศร้าหมอง. บทว่า วิสุทฺธิมคฺค

ทางแห่งความหมดจดวิเศษ คือทางที่ไม่มีโทษ. บทว่า ปริสุทฺธิมคฺค

ทางแห่งความหมดจดรอบ คือทางแห่งธรรมขาว. บทว่า โอทาตมคฺค

ทางแห่งความผ่องแผ้ว คือทางผ่องใส. บทว่า ปริโยทาตมคฺค ทาง

ผ่องแผ้วรอบ คือทางมีแสงสว่าง. บทว่า วิรทฺธา พลั้ง คือพลั้งจากทาง

ที่กล่าวแล้วดำรงอยู่. บทว่า อปรทฺธา พลาด คือพลาดไปแล้วดำรงอยู่.

บทว่า ขลิตา คลาด คือเสื่อม. บทว่า คลิตา เคลื่อน คือตกจากที่นั้น.

บทว่า อญฺาย คือ ด้วยไม่รู้. บทว่า อปรทฺธา พลาด คือถึงความปราชัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 215

อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า ายาปรทฺธา บ้าง ความว่า พลาดจากทางที่ควรรู้

พวกเดียรถีย์ยินดียิ่งอย่างนี้.

พึงทราบคาถาว่า อิเธว สุทฺธึ พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวความหมดจด

ว่ามีในธรรมนี้เท่านั้น ดังต่อไปนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า สกายเน คือ

ในทางของตน. บทว่า ทฬฺห วทานา กล่าวยืนยัน คือกล่าวหนักแน่น.

บทว่า ถิรวาทา กล่าวมั่นคง คือกล่าวลงความเห็น. บทว่า พลิกวาทา

คือ กล่าวแข็งแรง. บทว่า อรฏฺิตวาทา กล่าวเที่ยงแท้ คือกล่าวด้วย

ความมั่นใจ.

บรรดาเดียรถีย์ผู้วาทะมั่นคงอย่างนี้ เดียรถีย์คนใดคนหนึ่ง เป็นผู้

พูดยืนยันในธรรมอันเป็นทางดำเนินของตน พึงเห็นใครอื่นว่าเป็นพาล

ในเพราะทิฏฐินั้น เพราะเหตุนั้น เดียรถีย์ผู้พูดยืนยันว่านี้เท่านั้นจริง ใน

ทางดำเนินของตน อันมีอาทิว่าโดยสังเขป ได้แก่ สัสสตทิฏฐิและอุจเฉท-

ทิฏฐิ โดยพิสดาร ได้แก่ นัตถิกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มี) อเหตุกทิฏฐิ

(ความเห็นว่าหาเหตุมิได้) อกิริยทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่เป็นอัน ทำ) พึง

เห็นใครอื่นโดยธรรมร่วมกัน ว่าเป็นคนพาลในทิฏฐินี้ แม้เดียรถีย์ทั้งหมด

ก็เป็นบัณฑิต เป็นผู้ปฏิบัติชอบตามความเห็นของเขามิใช่หรือ เมื่อเป็น

อย่างนี้ เจ้าทิฏฐินั้นกล่าวบุคคลอื่น ว่าเป็นพาล มีความไม่หมดจดเป็น

ธรรมดา พึงนำมาซึ่งความบาดหมางกันเอง เพราะเจ้าทิฏฐินั้นกล่าวคน

อื่นว่า ผู้นี้เป็นพาล และมีธรรมไม่บริสุทธิ์ พึงนำความทะเลาะมาด้วย

ตนเอง. เพราะเหตุไร. เพราะเจ้าทิฏฐิทั้งหมดก็เป็นบัณฑิตเหมือนกัน

และเป็นผู้ปฏิบัติชอบเหมือนกัน ตามความเห็นของเขา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 216

แม้ในบททั้งหมดพึงทราบอย่างนี้ว่า เจ้าทิฏฐินั้นตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตก

ลงใจ นับถือเองแล้ว ย่อมถึงความวิวาทในโลกยิ่งๆ ขึ้นไป. ก็สัตว์ครั้น

รู้โทษในทิฏฐิที่ตกลงใจอย่างนี้แล้ว ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งปวงด้วยอริย-

มรรค ไม่ทำความบาดหมางกันในโลก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบ

เทศนาด้วยธรรมอันเป็นยอด คือพระอรหัต.

บทว่า สย ปมาย คือ นับถือตนเอง บทว่า ปมินิตฺวา คือ ทำการ

คาดคะเน. ปาฐะว่า ปจินิตฺวา บ้าง บทนั้นไม่ดี. บทว่า อุทฺธ วาเทน

สทฺธึ คือ ทำความทุ่มเถียงกับบุคคลอื่นผู้กล่าวในข้างหน้าของตน.

เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้ตรัสรู้ธรรมเช่นกับที่กล่าวแล้วในปุราเภทสูตร

นั่นแล.

จบอรรถกถาจูฬวิยูหสุตตนิเทสที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 217

มหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๓

ว่าด้วยทิฏฐิ

[๖๐๑] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) สมณพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่ง มีความอยู่รอบในทิฏฐิ ย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้

แหละจริง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว ย่อม

ถูกนินทา หรือย่อมได้สรรเสริญ ในเพราะทิฏฐินั้น.

[๖๐๒] คำว่า เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในคำว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่งนี้ มีความอยู่รอบในทิฏฐิ ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง

ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า เหล่า

ใดเหล่าหนึ่งนี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า มีความอยู่รอบในทิฏฐิ

ความว่า มีสมณพราหมณ์เหล่าหนึ่งผู้ดำเนินไปด้วยทิฏฐิ สมณพราหมณ์

เหล่านั้น ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิ ๖๒ อย่าง อย่างใด

อย่างหนึ่ง ชื่อว่าย่อมอยู่ อยู่ร่วม มาอยู่ อยู่รอบในทิฏฐิของตน ๆ เปรียบ

เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน ชื่อว่าย่อมอยู่ในเรือน พวกบรรพชิต

ผู้มีอาบัติ ชื่อว่าย่อมอยู่ในอาบัติ หรือพวกมีกิเลส ชื่อว่าย่อมอยู่ในกิเลส

ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้มีความ

อยู่รอบในทิฏฐิ.

[๖๐๓] คำว่า ย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้แหละจริง ความว่า ย่อมกล่าว

บอก พูด แสดง แถลงว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ย่อม

กล่าว บอก พูด แสดง แถลงว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 218

ตายไป ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่ง

อื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้แหละจริง.

[๖๐๔] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเทียว ย่อมถูก

นินทา ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเทียว ย่อมถูกความนินทา

ติเตียน ไม่สรรเสริญเลย คือเป็นผู้ถูกชนทั้งหลายนินทาติเตียนไม่สรรเสริญ

ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเทียว ย่อม

ถูกนินทา.

[๖๐๕] คำว่า หรือย่อมได้สรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น ความว่า

หรือว่าย่อมได้ ได้เฉพาะ ประจวบ ประสบ ซึ่งความสรรเสริญ ความ

ยกย่อง ความชมเชย เกียรติคุณ ในเพราะทิฏฐิ ความควร ความชอบใจ

ลัทธิของตนนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือย่อมได้สรรเสริญในเพราะ

ทิฏฐินั้น เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า

สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ มีความอยู่รอบใน

ทิฏฐิ ย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้แหละจริง สมณพราหมณ์เหล่า-

นั้นทั้งหมดเทียว ย่อมถูกนินทา หรือย่อมได้สรรเสริญ

ในเพราะทิฏฐินั้น.

[๖๐๖] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ก็ควรสรรเสริญ

นั้นเป็นของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส ข้าพระองค์ย่อม

กล่าวผลแห่งความวิวาทเป็น ๒ อย่าง บุคคลเห็นโทษแม้

นั้นแล้ว เห็นอยู่ซึ่งภูมิแห่งความไม่วิวาทว่า เป็นธรรมชาติ

เกษม ไม่พึงวิวาท.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 219

[๖๐๗] คำว่า ก็ความสรรเสริญนั้นเป็นของน้อย ในคำว่า ก็ความ

สรรเสริญนั้นเป็นของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส ความว่า ความสรรเสริญ

นั้นเป็นส่วนน้อย ต่ำช้า นิดหน่อย ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ความสรรเสริญนั้นเป็นของน้อย. คำว่า ไม่พอเพื่อสงบกิเลส

ความว่า ไม่พอเพื่อยังราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ

ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ มารยา ความโอ้อวด

ความกระด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความ

มัวเมา กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความ

เร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง ให้สงบ

เข้าไปสงบ ดับ สละคืน ระงับไปทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง ให้

สงบ เข้าไปสงบ ดับ สละคืน ระงับไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความ

สรรเสริญนั้นเป็นของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส.

ว่าด้วยผลแห่งความวิวาท ๒ อย่าง

[๖๐๘] คำว่า ย่อมกล่าวผลแห่งความวิวาทเป็น ๒ อย่าง ความว่า

ความทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ ความหมายมั่นกันเพราะทิฏฐิ ความแก่งแย่ง

กันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกัน เพราะทิฏฐิ ความทุ่มเถียงกันเพราะทิฏฐิ

มีผล ๒ อย่าง คือความชนะและแพ้ ความมีลาภและความเสื่อมลาภ ความ

มียศและความเสื่อมยศ ความนินทาและความสรรเสริญ สุขและทุกข์

โสมนัสและโทมนัส อารมณ์ที่น่าปรารถนา และอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา

ความชอบและความชัง ความฟูขึ้นและความฟุบลง ความยินดีและความ

ยินร้าย อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์ย่อมกล่าว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศว่ากรรมนั้นให้เป็นไปในนรก เป็น

ไปในกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปในวิสัยแห่งเปรต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ย่อมกล่าวผลแห่งความวิวาทเป็น ๒ อย่าง.

[๖๐๙] คำว่า เห็นโทษแม้นั้นแล้ว ในคำว่า บุคคลเห็นโทษแม้

นั้นแล้ว . . .ไม่พึงวิวาท ความว่า เห็นพบ พิจารณา เทียบเคียง ทำให้

แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว ซึ่งโทษนั้น ในความทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ

ความหมายมั่นกันเพราะทิฏฐิ ความแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกัน

เพราะทิฏฐิ ความทุ่มเถียงกัน เพราะทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นโทษ

แม้นั้นแล้ว. คำว่า ไม่วิวาท ความว่า ไม่พึงทำความทะเลาะกัน ไม่พึง

ทำความหมายมั่นกัน ไม่พึงทำความแก่งแย่งกัน ไม่พึงทำความวิวาทกัน

ไม่พึงทำความทุ่มเถียงกัน คือพึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี

ซึ่งความทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง

พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออกไป สลัดออก พ้น ขาด ไม่เกาะเกี่ยว

มีจิตอันทำให้ปราศจากเขตแดน จากความทะเลาะ ความหมายมั่น ความ

แก่งแย่ง ความวิวาทและความทุ่มเถียง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นโทษ

แม้นั้นแล้ว . . .ไม่พึงวิวาท.

[๖๑๐] คำว่า เห็นอยู่ซึ่งภูมิแห่งความไม่วิวาทว่า เป็นธรรม-

ชาติเกษม ความว่า อมตนิพพาน ได้แก่ความสงบสังขารทั้งปวง ความ

สละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา

ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เรียกว่า ภูมิแห่งความไม่วิวาท.

บุคคลเห็น ดู แลดู พินิจ พิจารณาซึ่งภูมิแห่งความไม่วิวาทนั้น โดย

ความเป็นธรรมชาติเกษม เป็นที่ต้านทาน เป็นที่ลี้ภัย เป็นที่พึ่ง เป็นที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 221

ไม่มีภัย เป็นที่ไม่เคลื่อน เป็นที่ไม่ตาย เป็นที่ดับ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เป็นอยู่ซึ่งภูมิแห่งความไม่วิวาทว่า เป็นธรรมชาติเกษม เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ความสรรเสริญนั้นเป็นของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส

ข้าพระองค์ย่อมกล่าวผลแห่งวิวาทเป็น ๒ อย่าง บุคคล

เห็นโทษแม้นั้นแล้ว เห็นอยู่ซึ่งภูมิแห่งความไม่วิวาทว่า

เป็นธรรมชาติเกษม ไม่พึงวิวาท.

[๖๑๑] สมมติ (ทิฏฐิ) เหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ ที่เกิดแต่ปุถุชน

บุคคลผู้มีความรู้ ย่อมไม่ถึงสมมติทั้งปวงเหล่านั้น บุคคล

ผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงนั้น ไม่ทำความชอบใจในรูป

ที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน พึงถึงสังขารธรรมอันควรเข้าถึง

อะไรเล่า.

[๖๑๒] คำว่า เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในคำว่า สมมติเหล่าใดเหล่า-

หนึ่งนี้ ที่เกิดแต่ปุถุชน ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดย

ประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า เหล่าใดเหล่า

หนึ่งนี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า สมมติ คือทิฏฐิ ๖๒ ประการ

เรียกว่าสมมติ. คำว่า ที่เกิดแต่ปุถุชน คือสมมติเหล่านั้นอันปุถุชนให้เกิด

หรือว่าอันชนเจ้าทิฏฐิต่าง ๆ มากให้เกิด ฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่เกิดแต่ปุถุชน

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมมติเหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ ที่เกิดแต่ปุถุชน.

[๖๑๓] คำว่า บุคคลผู้มีความรู้ ย่อมไม่ถึงสมมติทั้งปวงเหล่านั้น

ความว่า บุคคลผู้มีความรู้ ถึงวิชชา มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 222

ทำลายกิเลส ย่อมไม่ถึง ไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น

ซึ่งสมมติทั้งปวงเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้มีความรู้ ย่อมไม่

ถึงสมมติทั้งปวงเหล่านั้น.

ว่าด้วยกิเลสเครื่องเข้าถึง ๒ อย่าง

[๖๑๔] ชื่อว่า กิเลสเป็นเครื่องเข้าถึง ในคำว่า บุคคลผู้ไม่มี

กิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงนั้น ... พึงถึงสังขารธรรมอันควรเข้าถึงอะไรเล่า

ได้แก่ กิเลสเป็นเครื่องเข้าถึง ๒ อย่าง คือ กิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงคือ

ตัณหา ๑ กิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่อง

เข้าถึงคือตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ บุคคลนั้น

ละกิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงคือตัณหา สละคืนกิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ

เพราะเป็นผู้ละกิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงคือตัณหา สละคืนกิเลสเป็นเครื่องเข้า

ถึงคือทิฏฐิ ชื่อว่าไม่มีกิเลสเป็นเครื่องเข้าถึง พึงเข้าถึง เข้าไปถือ ยึดมั่น

ถือมั่น ซึ่งรูปอะไร เวทนาอะไร สัญญาอะไร สังขารอะไร วิญญาณ

อะไร คติอะไร อุปบัติอะไร ปฏิสนธิอะไร ภพอะไร สงสารอะไร

วัฏฏะอะไร ว่าเป็นตนของเรา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้ไม่มี

กิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงนั้น... พึงถึงสังขารธรรมอันควรเข้าถึงอะไรเล่า.

[๖๑๕] คำว่า ไม่ทำความชอบใจในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน

ความว่า ไม่ทำความชอบใจ ความพอใจ ความรัก ความกำหนัด คือ

ไม่ยังความชอบใจเป็นต้นให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิด

เฉพาะ ในรูปที่เห็น หรือในความหมดจดเพราะรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้

ยิน หรือในความหมดจดเพราะในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 223

ในความหมดจด เพราะอารมณ์ที่ทราบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำ

ความชอบใจในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

สมมติเหล่าใดเหล่าหนึ่งนี้ที่เกิดแต่ปุถุชน บุคคลผู้มี

ความรู้ ย่อมไม่ถึงสมมติทั้งปวงเหล่านั้น บุคคลผู้ไม่มี

กิเลสเป็นเครื่องเข้าถึงนั้น ไม่ทำความชอบใจในรูปที่เห็น

ในเสียงที่ได้ยิน พึงถึงสังขารธรรมอันควรเข้าถึงอะไร

เล่า.

[๖๐๖] พวกสมณพราหมณ์ผู้สำคัญว่าศีลอุดม สมาทานวัตร

แล้วเข้าไปตั้งอยู่ ได้กล่าวความหมดจดด้วยความสำรวม

ว่า เราทั้งหลายศึกษาในทิฏฐินี้แหละ และความหมดจด

แห่งวัตรนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้เข้าถึงภพ และ

กล่าวว่าเป็นผู้ฉลาด.

ว่าด้วยผู้มีกุศลถึงพร้อมประกอบด้วยธรรม ๔

[๖๑๗] คำว่า พวกสมณพราหมณ์ผู้สำคัญว่าศีลอุดม... ได้กล่าว

ความหมดจดด้วยความสำรวม ความว่า มีสมณพราหมณ์บางพวก ผู้

กล่าวอ้างว่าศีลอุดม สมณพราหมณ์พวกนั้นได้กล่าว ย่อมกล่าว บอก

พูด แสดง แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจด-

รอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยเหตุสักว่าศีล ด้วย

เหตุสักว่าความสำรวม ด้วยเหตุสักว่าความระวัง ด้วยเหตุสักว่าความไม่

ล่วง เหมือนดังปริพาชกบุตรของนางปริพาชิกา ชื่อสมณมุณฑิกา กล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 224

อย่างนี้ว่า ดูก่อนช่างไม้เราย่อมบัญญัติปุริสบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ประการแลว่า เป็นผู้มีกุศลถึงพร้อมแล้ว มีกุศลเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงอรหัต

อันอุดมที่ควรถึง เป็นสมณะ เป็นผู้อันใคร ๆ ต่อสู้ไม่ได้ ธรรม ๔ ประการ

เป็นไฉน ดูก่อนช่างไม้ บุคคลในโลกนี้ ย่อมไม่ทำบาปกรรมด้วยกาย ๑

ย่อมไม่กล่าววาจาอันลามก ๑ ย่อมไม่ดำริถึงเหตุที่พึงดำริอันลามก ๑ ย่อม

ไม่อาศัยอาชีพอันลามกเป็นอยู่ ๑ ดูก่อนช่างไม้ เราย่อมบัญญัติปุริสบุคคล

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลว่า เป็นผู้มีกุศลถึงพร้อมแล้ว มีกุศล

เป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงอรหัตอันอุดมที่ควรถึง เป็นสมณะ เป็นผู้อันใคร ๆ

ต่อสู้ไม่ได้ฉันใด มีสมณพราหมณ์บางพวกผู้กล่าวอ้างว่าศีลอุดม สมณ-

พราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าว ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่ง

ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความ

พ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยเหตุสักว่าศีล ด้วยเหตุสักว่าความสำรวม

ด้วยเหตุสักว่าความระวัง ด้วยเหตุสักว่าความไม่ล่วงฉันนั้นเหมือนกัน

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกสมณพราหมณ์ผู้สำคัญว่าศีลอุดม... กล่าวความ

หมดจดด้วยความสำรวม.

ว่าด้วยการสมาทานวัตรต่าง ๆ

[๖๑๘] คำว่า วัตร ในคำว่า สมาทานวัตรแล้วเข้าไปตั้งอยู่

ความว่า สมาทาน ถือเอา รับ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งหัตถิวัตร (ประพฤติ

อย่างกิริยาช้าง) อัสสวัตร โควัตร อชวัตร กุกกุรวัตร กากวัตร วาสุ-

เทววัตร ปุณณภัททวัตร มณิภัททวัตร อัคคิวัตร นาควัตร สุปัณณวัตร

ยักขวัตร อสุรวัตร คันธัพพวัตร มหาราชวัตร จันทวัตร สุริยวัตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 225

อินทวัตร พรหมวัตร เทววัตร หรือทิศวัตร แล้วเข้าไปตั้งอยู่ เข้าไป

ตั้งอยู่เฉพาะ. พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

สมาทานวัตรแล้วเข้าไปตั้งอยู่.

[๖๑๙] คำว่า ในทิฏฐินี้ ในคำว่า เราทั้งหลายศึกษาในทิฏฐิ

นี้แหละ และความหมดจดแห่งวัตรนั้น ความว่า ศึกษา ประพฤติเอื้อ-

เฟื้อ ประพฤติเต็มใจ สมาทานแล้วประพฤติ ในทิฏฐิ ความควร ความ

ชอบใจ ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ศึกษาในทิฏฐินี้แหละ.

คำว่า และความหมดจดแห่งวัตรนั้น ความว่า และความหมดจด ความ

หมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้น-

รอบ แห่งวัตรนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ศึกษาในทิฏฐินี้แหละ และ

ความหมดจดแห่งวัตรนั้น.

[๖๒๐] คำว่า เป็นผู้เข้าถึงภพ ในคำว่า เป็นผู้เข้าถึงภพ และ

กล่าวว่าเป็นผู้ฉลาด ความว่า เป็นผู้เข้าถึงภพ เข้าไปใกล้ภพ ติดใจอยู่ใน

ภพ น้อมใจไปในภพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เข้าถึงภพ. คำว่า

และกล่าวว่าเป็นผู้ฉลาด ความว่า มีวาทะว่าเป็นผู้ฉลาด มีวาทะว่าเป็น

บัณฑิต มีวาทะว่าเป็นธีรชน มีวาทะว่าเป็นผู้มีญาณ มีวาทะโดยเหตุ มี

วาทะโดยลักษณะ มีวาทะโดยการณ์ มีวาทะโดยฐานะ โดยลัทธิของตน

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เข้าถึงภพ และกล่าวว่าเป็นผู้ฉลาด เพราะ-

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

พวกสมณพราหมณ์ผู้สำคัญว่าศีลอุดม สมาทานวัตร

แล้วเข้าไปตั้งอยู่ ได้กล่าวความหมดจดด้วยความสำรวม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 226

ว่า เราทั้งหลายศึกษาในทิฏฐินี้แหละ และความหมดจด

แห่งวัตรนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้เข้าถึงภพ

และกล่าวว่าเป็นผู้ฉลาด.

[๕๒๑] ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรต บุคคลนั้น

พลาดกรรมแล้วย่อมหวั่นไหว ย่อมเพ้อถึงและปรารถนา

ถึงความหมดจด เหมือนบุรุษผู้ออกจากเรือนตามไปไม่ทัน

พวกฉะนั้น.

ว่าด้วยเหตุให้เคลื่อนจากศีลและพรต

[๖๒๒] คำว่า ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรต ความว่า

บุคคลย่อมเคลื่อนจากศีลและพรตเพราะเหตุ ๒ ประการ คือย่อมเคลื่อน

เพราะความชี้ขาดของผู้อื่น ๑ ไม่บรรลุจึงเคลื่อน ๑.

บุคคลย่อมเคลื่อนเพราะความ ขาดของผู้อื่นอย่างไร ผู้อื่นย่อม

ชี้ขาดว่า ศาสดานั้นไม่ใช่เป็นสัพพัญญู ธรรมอันศาสดานั้นกล่าวไม่ดี

หมู่คณะไม่ปฏิบัติดี ทิฏฐิไม่เจริญ ปฏิปทาอันศาสดาบัญญัติไม่ดี มรรค

ที่เป็นมรรคนำออกจากทุกข์ ความหมดจดก็ดี ความหมดจดวิเศษก็ดี

ความหมดจดรอบก็ดี ความพ้นก็ดี ความพ้นวิเศษก็ดี ความพ้นรอบก็ดี

ไม่มีในธรรมนั้น ชนทั้งหลายไม่หมดจด ไม่หมดจดวิเศษ ไม่หมดจดรอบ

ไม่พ้น ไม่พ้นวิเศษ ไม่พ้นรอบ ในธรรมนั้น คือเป็นผู้เลว ทราม ต่ำ-

ช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ผู้อื่นย่อมชี้ขาดอย่างนี้ บุคคลเมื่อผู้อื่นขี้ขาด

อย่างนี้ ย่อมเคลื่อนจากศาสดา เคลื่อนจากธรรมที่ศาสดากล่าว เคลื่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 227

จากหมู่คณะ เคลื่อนจากทิฏฐิ เคลื่อนจากปฏิปทา เคลื่อนจากมรรค

บุคคลย่อมเคลื่อนเพราะความชี้ขาดของผู้อื่นอย่างนี้.

บุคคลไม่บรรลุย่อมเคลื่อนอย่างไร บุคคลไม่บรรลุศีล ย่อมเคลื่อน

จากศีล ไม่บรรลุพรต ย่อมเคลื่อนจากพรต ไม่บรรลุศีลและพรต ย่อม

เคลื่อนจากศีลและพรต บุคคลไม่บรรลุย่อมเคลื่อนอย่างนี้ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรต.

[๖๒๓] คำว่า บุคคลนั้น... ย่อมหวั่นไหว ในคำว่า บุคคล

นั้นพลาดกรรมแล้ว ย่อมหวั่นไหว ความว่า หวั่นไหวสะทกสะท้านอยู่

ว่า ศีลก็ดี พรตก็ดี ศีลและพรตก็ดี เราผิดพลาดคลาดไปแล้ว เราพลั้ง

พลาดไปจากอรหัตผล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้น ... ย่อมหวั่นไหว.

คำว่า พลาดกรรม คือบุคคลนั้นย่อมหวั่นไหวสะทกสะท้านอยู่ว่า ปุญญาภิ-

สังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี อเนญชาภิสังขารก็ดี เราผิดพลั้งพลาด

คลาดไปแล้ว เราพลั้งพลาดจากอรหัตผล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคล

นั้นพลาดกรรมแล้ว ย่อมหวั่นไหว.

[๖๒๔] คำว่า ย่อมเพ้อถึง ในคำว่า ย่อมเพ้อถึงและปรารถนา

ถึงความหมดจด ความว่า ย่อมเพ้อถึง รำพันถึง ใฝ่ฝันถึงศีลบ้าง

พรตบ้าง ศีลและพรตบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเพ้อถึง. คำว่า

และปรารถนาถึงความหมดจด ความว่า ปรารถนา ชอบใจ ใฝ่ฝันถึง

ความหมดจดเพราะศีลบ้าง ความหมดจดเพราะพรตบ้าง ความหมดจด

เพราะศีลและพรตบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเพ้อถึงและปรารถนา

ถึงความหมดจด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 228

[๖๒๕] คำว่า เหมือนบุรุษผู้ออกจากเรือนตามไปไม่ทันพวก

ฉะนั้น ความว่า บุรุษผู้ออกจากเรือน อยู่กับพวก ย่อมติดตามพวกนั้น

ไป หรือว่าย่อมกลับมาเรือนของตน ฉันใด บุคคลนั้น ผู้ดำเนินไปโดย

ทิฏฐิ ย่อมถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งศาสดานั้น หรือศาสดาอื่น ธรรมที่

ศาสดาบอกนั้น หรือธรรมที่ศาสดาบอกอื่น หมู่คณะนั้น หรือหมู่คณะ

อื่น ทิฏฐินั้น หรือทิฏฐิอื่น ปฏิปทานั้น หรือปฏิปทาอื่น มรรคนั้น

หรือมรรคอื่น ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนบุรุษผู้ออกจากเรือน

ตามไปไม่ทันพวกฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ถ้าบุคคลผู้เคลื่อนจากศีลหรือพรต บุคคลนั้นพลาด

กรรมแล้ว ย่อมหวั่นไหว ย่อมเพ้อถึงและปรารถนาถึง

ความหมดจด เหมือนบุรุษผู้ออกจากเรือนตามไปไม่ทัน

พวกฉะนั้น.

[๖๒๖] อริยสาวกละศีลและพรตทั้งปวง ละกรรมนั้นอันเป็น

สาวัชชกรรม และอนวัชชกรรม ไม่ปรารถนาความ

หมดจด และความไม่หมดจด เป็นผู้เว้นแล้ว ไม่ยึดถือ

ทิฏฐิที่มีอยู่ พึงประพฤติไป.

[๖๒๗] คำว่า ละศีลและพรตทั้งปวง ความว่า ละ เว้น บรรเทา

ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความหมดจดเพราะศีลทั้งหมด ความ

หมดจดเพราะพรตทั้งหมด ความหมดจดเพราะศีลและพรตทั้งหมด เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ละศีลและพรตทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

ว่าด้วยสาวัชชกรรม อนวัชชกรรม

[๖๒๘] คำว่า ละกรรมนั้นอันเป็นสาวัชชกรรมและอนวัชช-

กรรม ความว่า กรรมคำมีผลดำ เรียกว่า สาวัชชกรรม กรรมขาวมี

ผลขาว เรียกว่า อนวัชชกรรม ละ เว้น บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึง

ความไม่มีซึ่งสาวัชชกรรมและอนวัชชกรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละ

กรรมนั้นอันเป็นสาวัชชกรรมและอนวัชชกรรม.

[๖๒๙] คำว่า ไม่ปรารถนาความหมดจดและความไม่หมดจด

ความว่า พวกปุถุชนย่อมปรารถนาความไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศล-

ธรรม ย่อมปรารถนาความหมดจด คือปรารถนาเบญจกามคุณ ย่อม

ปรารถนาความไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศลธรรมและเบญจกามคุณ

ย่อมปรารถนาความหมดจด คือปรารถนาทิฏฐิ ๖๒ ย่อมปรารถนาความ

ไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศลธรรม เบญจกามคุณและทิฏฐิ ๖๒ ย่อม

ปรารถนาความหมดจด คือปรารถนากุศลธรรมอันทีในไตรธาตุ ย่อม

ปรารถนาความไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศลธรรม เบญจกามคุณ ทิฏฐิ

๖๒ และกุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ พวกกัลยาณปุถุชนย่อมปรารถนา

ความหมดจด คือปรารถนาความย่างเข้าสู่อริยมรรค พระเสขะย่อม

ปรารถนาอรหัตผลซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ เมื่อบรรลุอรหัตผลแล้วพระ-

อรหันต์ย่อมไม่ปรารถนาอกุศลธรรม ไม่ปรารถนาเบญจกามคุณ ไม่

ปรารถนาทิฏฐิ ๖๒ ไม่ปรารถนากุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ ไม่ปรารถนา

ความย่างเข้าสู่อริยมรรค ไม่ปรารถนาอรหัตผลซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ พระ-

อรหันต์ก้าวล่วงความปรารถนาแล้ว ล่วงเลยความเจริญและความเสื่อม

เสียแล้ว ท่านอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ มิได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 230

มีภพใหม่ต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ปรารถนาความหมดจดและ

ความไม่หมดจด.

[๖๓๐] คำว่า เป็นผู้เว้นแล้ว ในคำว่า เป็นผู้เว้นแล้ว ไม่ยึด-

ถือทิฏฐิที่มีอยู่ พึงประพฤติไป ความว่า ละเว้น งดเว้น ออก สละ

พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยความหมดจดและความไม่หมดจด เป็นผู้มีจิต

ทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เว้นแล้ว. คำว่า

พึงประพฤติไป ความว่า พึงประพฤติ พึงเที่ยวไป ผลัดเปลี่ยน ดำเนิน

ไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เว้นแล้ว ...

พึงประพฤติไป. คำว่า ไม่ยึดถือทิฏฐิที่มีอยู่ คือทิฏฐิ ๖๒ เรียกว่าทิฏฐิ

ที่มีอยู่ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิที่มีอยู่ พึงประพฤติไป เพราะ-

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

อริยสาวกละศีลและพรตทั้งปวง ละกรรมนั้นอันเป็น

สาวัชชกรรมและอนวัชชกรรม ไม่ปรารถนาความหมดจด

และความไม่หมดจด เป็นผู้เว้นแล้ว ไม่ยึดถือทิฏฐิที่มีอยู่

พึงประพฤติไป.

[๖๓๑] พวกสมณพราหมณ์อาศัยตบะที่เกลียดชังนั้น อาศัย

รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ ผู้กล่าวความ

หมดจดในสงสารข้างหน้า ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพ

น้อยภพใหญ่ ย่อมพร่ำพูดถึงความหมดจด.

[๖๓๒] คำว่า พวกสมณพราหมณ์อาศัยตบะที่เกลียดชังนั่น

ความว่า มีสมณพราหมณ์บางพวก มีวาทะเกลียดชังตบะ มีความเกลียด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 231

ชังตบะเป็นสาระ อิง อาศัย พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไปสู่ตบะ

ที่เกลียดชัง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกสมณพราหมณ์อาศัยตบะที่

เกลียดชังนั้น ๆ.

[๖๓๓] คำว่า อาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่

ทราบ ความว่า อาศัย เข้าไปอาศัย ถือยึดมั่น ถือมั่นรูปที่เห็น หรือ

ความหมดจดเพราะรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินหรือความหมดจดเพราะเสียงที่

ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบหรือความหมดจดเพราะอารมณ์ที่ทราบ เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า อาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ.

[๖๓๔] คำว่า ผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า...ย่อม

พร่ำพูดถึงความหมดจด ความว่า มีสมณพราหมณ์บางพวกผู้กล่าวความ

หมดจดในสงสารข้างหน้า สมณพราหมณ์พวกไหนผู้กล่าวความหมดจดใน

สงสารข้างหน้า คือพวกสมณพราหมณ์ผู้ถือความหมดจดโดยส่วนเดียว

ถือความหมดจดโดยสงสาร ผู้เป็นกิริยทิฏฐิ ผู้เป็นสัสสตวาทะ สมณ-

พราหมณ์พวกนี้ ชื่อว่าผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า สมณ-

พราหมณ์เหล่านั้น พร่ำถึง กล่าว บอก พูด แสดง แถลงความหมดจด

ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้น

รอบโดยสงสาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้าง

หน้า...ย่อมพร่ำพูดถึงความหมดจด.

[๖๓๕] ชื่อว่า ตัณหา ในคำว่า ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพ

น้อยภพใหญ่ คือรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏ-

ฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา. คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ ความว่า ในภพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 232

น้อยและภพใหญ่ คือในกรรมวัฏ และวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่อง

เกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็น

เครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏ

เป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในความ

เกิดบ่อย ๆ ในความไปบ่อย ๆ ในความเข้าถึงบ่อย ๆ ในปฏิสนธิบ่อย ๆ

ในความบังเกิดขึ้นแห่งอัตภาพบ่อย ๆ.

คำว่า ยังไม่ปราศจากตัณหา ความว่า ยังไม่ปราศจากตัณหา

ยังไม่หมดตัณหา ยังไม่สละตัณหา ยังไม่สำรอกตัณหา ยังไม่ปล่อยตัณหา

ยังไม่ละตัณหา ยังไม่สละคืนตัณหา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ยังไม่ปราศจาก

ตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

ตอบว่า

พวกสมณพราหมณ์ อาศัยตบะที่เกลียดชังนั้น อาศัย

รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ ผู้กล่าว

ความหมดจดในสงสารข้างหน้า ยังไม่ปราศจากตัณหา

ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมพร่ำพูดถึงความหมดจด.

[๖๓๖] วัตถุทั้งหลายเป็นของอันผู้ปรารถนาชอบใจ อนึ่ง

ความหวั่นไหว ย่อมมีในเพราะวัตถุทั้งหลายที่กำหนด

แล้ว ความเคลื่อนและความเข้าถึงมิได้มีแก่ภิกษุใดใน

ธรรมวินัยนี้ ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร พึงชอบใจ

ในที่ไหน (ไม่หวั่นไหว ไม่ชื่ออะไร ๆ).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 233

[๖๓๗] คำว่า วัตถุทั้งหลาย เป็นของอันบุคคลผู้ปรารถนา

ชอบใจ ความว่า เรียกว่าความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ

อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า ปรารถนา ความว่า ปรารถนา อยาก-

ได้ ยินดี รักใคร่ ชอบใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ปรารถนา. คำว่า

ชอบใจ ความว่า ตัณหา เรียกว่าความชอบใจ ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ

อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นของอันบุคคลผู้

ปรารถนาชอบใจ.

[๖๓๘] ชื่อว่า ความกำหนด ในคำว่า ความหวั่นไหว ย่อมมี

ในเพราะวัตถุทั้งหลายที่กำหนดแล้ว ได้แก่ความกำหนด ๒ อย่าง คือ

ความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ

กำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ แม้บุคคลผู้มีความ

หวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุ ย่อมหวั่นไหว คือแม้เมื่อวัตถุกำลังถูก

แย่งชิงเอาไป ก็ย่อมหวั่นไหว แต่เมื่อวัตถุถูกแย่งชิงเอาไปแล้ว ก็ย่อม

หวั่นไหว แม้บุคคลผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุ

ย่อมหวั่นไหว คือแม้เมื่อวัตถุกำลังแปรปรวนไปก็ย่อมหวั่นไหว แม้เมื่อ

วัตถุแปรปรวนไปแล้ว ก็ย่อมหวั่นไหว สะทกสะท้าน เอนเอียง เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะวัตถุทั้งหลายที่กำหนดแล้ว.

[๖๓๙] คำว่า แก่ภิกษุใด ในคำว่า ความเคลื่อนและความ

เข้าถึงมิได้มีแก่ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้ ความว่า ความมา ความไป

ความไปและความมา ความตาย คติ ภพน้อยและภพใหญ่ ความเคลื่อน

ความเข้าถึง ความเกิด ความแตก ชาติ ชราและมรณะ มิได้มี คือ

ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ แก่พระอรหันตขีณาสพ คือความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 234

เคลื่อนและความเข้าถึงนั้น อันพระอรหันตขีณาสพตัดขาด สงบ ระงับ

แล้ว ทำไม่ควรให้เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ความเคลื่อนและความเข้าถึงมิได้มีแก่ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้.

[๖๔๐] คำว่า ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร พึงชอบใจ

ในที่ไหน ความว่า ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ

ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย อะไรว่า เป็นผู้กำหนัดบ้าง ประทุษร้าย

บ้าง หลงใหลบ้าง มีมานะเป็นเครื่องผูกพันบ้าง ยึดถือบ้าง ถึงความ

ฟุ้งซ่านบ้าง ถึงความไม่แน่ใจบ้าง ถึงโดยเรี่ยวแรงบ้าง และภิกษุนั้นละ

อภิสังขารเหล่านั้นเสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารแล้ว พึงหวั่นไหว

โดยคติด้วยเหตุอะไรว่า เป็นผู้ไปเกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา

เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัญญีสัตว์ เป็นอสัญญีสัตว์ ภิกษุนั้น

ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ อันเป็นเหตุให้หวั่นไหวสะทกสะท้าน

เอนเอียง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร.

คำว่า พึงชอบใจในที่ไหน ความว่า พึงชอบใจ รักใคร่ พอใจในที่ไหน

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร พึงชอบใจใน

ที่ไหน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

วัตถุทั้งหลาย เป็นของอันบุคคลผู้ปรารถนาชอบใจ

อนึ่ง ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะวัตถุทั้งหลายที่กำหนด

แล้ว ความเคลื่อนและความเข้าถึง มิได้มีแก่ภิกษุใดใน

ธรรมวินัยนี้ ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร พึง

ชอบใจในที่ไหน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 235

[๖๔๑] สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เป็นเยี่ยม

แต่สมณพราหมณ์พวกอื่น ก็กล่าวธรรมนั้นนั่นแหละว่า

เลว วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจะจริง

เล่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้างตน

ว่าเป็นผู้ฉลาด.

[๖๔๒] คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เป็น

เยี่ยม ความว่า สมณพราหมณ์เหล่าหนึ่งกล่าว บอก พูด แสดง แถลง

ซึ่งธรรม คือทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใด อย่างนี้ว่า ธรรมนี้เป็นเยี่ยม เลิศ

ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน อุดม บวร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เป็นเยี่ยม.

[๖๔๓] คำว่า แต่สมณพราหมณ์พวกอื่นก็กล่าวธรรมนั้นนั่น-

แหละว่าเลว ความว่า สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งกล่าว บอก พูด แสดง

แถลงซึ่งธรรม คือทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคนั้นนั่นแหละ อย่างนี้ว่า ธรรมนี้

เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แต่

สมณพราหมณ์พวกอื่น ก็กล่าวธรรมนั้นนั่นแหละว่า เลว.

[๖๔๔] คำว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจะ

จริงเล่า ความว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจริง แท้

แน่ เป็นจริง เป็นยามจริง ไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วาทะของ

สมณพรหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจะจริงเล่า.

[๖๔๕] คำว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้าง

ตนว่าเป็นผู้ฉลาด ความว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งปวงต่างก็อ้าง

ตนว่าเป็นผู้ฉลาด อ้างตนเป็นบัณฑิต อ้างตนเป็นธีรชน อ้างตนเป็นผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 236

ญาณ อ้างตนว่ากล่าวโดยเหตุ อ้างตนว่ากล่าวโดยลักษณะ อ้างตนว่ากล่าว

โดยการณะ อ้างตนว่ากล่าวโดยฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ต่างก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า.

สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เป็นเยี่ยม

แต่สมณพราหมณ์พวกอื่น ก็กล่าวธรรมนั้นนั่นแหละว่า

เลว วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจะจริงเล่า

เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้างตนว่าเป็น

ผู้ฉลาด.

[๖๔๖] ก็สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวธรรมของตนว่า

บริบูรณ์ แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว พวกสมณ-

พราหมณ์ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน พวก

สมณพราหมณ์กล่าวทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง.

[๖๔๗] คำว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวธรรมของตนว่า

บริบูรณ์ ความว่า ก็สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าว บอก พูด แสดง

แถลง ซึ่งธรรม คือทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของตน อย่างนี้ว่า ธรรมนี้

บริบูรณ์ เต็มรอบไม่บกพร่อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็สมณพราหมณ์

บางพวก กล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์.

[๖๔๘] คำว่า แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว ความว่า สมณ-

พราหมณ์อีกพวกหนึ่งกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งธรรม คือทิฏฐิ-

ปฏิปทา มรรค ของสมณพราหมณ์อื่น อย่างนี้ว่า ธรรมนี้ เลว ทราม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 237

ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แต่กล่าวธรรม

ของสมณพราหมณ์อื่นว่าเลว.

[๖๔๙] คำว่า ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน ความว่า

ถือ ยึดถือ ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิอย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน คือย่อม

ทำความทะเลาะกัน ทำความหมายมั่นกัน ทำความแก่งแย่งกัน ทำความ

วิวาทกัน ทำความทุ่มเถียงกันว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้

ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าทานสามารถ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถือทิฏฐิ

แม้อย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน.

[๖๕๐] คำว่า กล่าวทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง ความว่า กล่าวว่า

โลกเที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่

เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

กล่าวทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

ตอบว่า

ก็สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวธรรมของตนว่า

บริบูรณ์ แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว พวกสมณ-

พราหมณ์ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน พวก

สมณพราหมณ์กล่าวทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง.

[๖๕๑] หากว่าบุคคลย่อมเป็นคนเลว เพราะคำที่ผู้อื่นตำหนิ

ไซร้ ใคร ๆ ก็ไม่พึงเป็นผู้วิเศษในธรรมทั้งหลาย เพราะ

ว่า ปุถุชนย่อมกล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความเป็นธรรมเลว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 238

ชนทั้งหลายเป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมเป็นทางดำเนินของ

ตน.

[๖๕๒] คำว่า หากว่าบุคคลพึงเป็นคนเลวเพราะคำที่ผู้อื่นตำหนิ

ไซร้ ความว่า หากว่าบุคคลอื่นย่อมเป็นคนโง่ เลว ทราม ต่ำช้า ลามก

สกปรก ต่ำต้อย เพราะเหตุถ้อยคำที่ผู้อื่นตำหนิติเตียนค่อนว่าไซร้ เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า หากว่าบุคคลย่อมเป็นคนเลว เพราะคำที่ผู้อื่นตำหนิไซร้.

[๖๕๓] คำว่า ใคร ๆ ก็ไม่พึงเป็นผู้วิเศษในธรรมทั้งหลาย

ความว่า ใคร ๆ ก็ไม่พึงเป็นผู้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน อุดม

บวรในธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใคร ๆ ก็ไม่พึงเป็นผู้วิเศษ

ในธรรมทั้งหลาย.

[๖๕๔] คำว่า เพราะว่าปุถุชนย่อมกล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความ

เป็นธรรมเลว ความว่า ปุถุชนแม้มากย่อมกล่าว ค่อนขอด นินทา

ติเตียนธรรมของปุถุชนมาก ย่อมกล่าว ค่อนขอด นินทา ติเตียนคำของ

ปุถุชนคนเดียว โดยความเป็นธรรมเลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก

ต่ำต้อย ปุถุชนแม้คนเดียวย่อมกล่าว ค่อนขอด นินทา ติเตียนธรรม

ของปุถุชนมากคน โดยความเป็นธรรมเลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก

ต่ำต้อย ปุถุชนแม้คนเดียวย่อมกล่าว ค่อนขอด นินทา ติเตียนธรรม

ของปุถุชนคนเดียว โดยความเป็นธรรมเลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก

ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะว่าปุถุชนย่อมกล่าวธรรมของผู้อื่น

โดยความเป็นธรรมเลว.

[๖๕๕] ธรรมะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ชื่อว่าธรรมเป็นทาง

ดำเนินของตน ๆ ในคำว่า ชนทั้งหลายเป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 239

ทางดำเนินของตน ชนทั้งหลายเป็นผู้กล่าวยืนยัน กล่าวมั่นคง กล่าว

แข็งแรง กล่าวเที่ยงแท้ในธรรมเป็นทางดำเนินของตน เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายเป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมเป็นทางดำเนินของตน

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

หากว่าบุคคลย่อมเป็นคนเลว เพราะคำที่ผู้อื่นตำหนิ

ไซร้ ใคร ๆ ก็ไม่พึงเป็นผู้วิเศษในธรรมทั้งหลาย เพราะ

ว่าปุถุชนย่อมกล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความเป็นธรรมเลว

ชนทั้งหลายเป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมเป็นทางดำเนินของ

คน.

[๖๕๖] ก็การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน ของพวก

สมณพราหมณ์เป็นของจริง เหมือนดังพวกสมณพราหมณ์

สรรเสริญธรรมเป็นทางดำเนินของตน วาทะทั้งปวงก็พึง

เป็นของจริง เพราะความหมดจดของพวกพราหมณ์

เหล่านั้น เป็นของเฉพาะตัวเท่านั้น.

[๖๕๗] การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน ในคำว่า ก็การ

บูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน ของพวกสมณพราหมณ์ เป็นของ

จริง เป็นไฉน พวกสมณพราหมณ์ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา

ศาสดาของตนว่า ศาสดานี้เป็นสัพพัญญู นี้ชื่อว่าการบูชาธรรมเป็นทาง

ดำเนินของตน พวกสมณพราหมณ์ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา

ธรรมที่ศาสดาของตนบอก หมู่คณะของตน ทิฏฐิของตน ปฏิปทาของ

ตน มรรคของตนว่า มรรคนี้เป็นทางให้พ้นทุกข์ นี้ชื่อว่าการบูชาธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 240

เป็นทางดำเนินของตน. คำว่า การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน

เป็นของจริง ความว่า การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน เป็นของ

จริง แท้ แน่นอน เป็นจริง เป็นตามจริง ไม่วิปริต เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ก็การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน ของพวกสมณพราหมณ์

เป็นของจริง.

[๖๕๘] ธรรมะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ชื่อว่าธรรมเป็นทาง

ดำเนินของตน ในคำว่า เหมือนดังพวกสมณพราหมณ์สรรเสริญธรรม

เป็นทางดำเนินของตน พวกสมณพราหมณ์ย่อมสรรเสริญ ชม ยกย่อง

พรรณนาธรรมเป็นทางดำเนินของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนดัง

พวกสมณพราหมณ์สรรเสริญธรรมเป็นทางดำเนินของตน.

[๖๕๙] คำว่า วาทะทั้งปวงก็พึงเป็นของจริง ความว่า วาทะ

ทั้งปวงก็พึงเป็นของจริง แท้ แน่นอน เป็นจริง เป็นตามจริง ไม่

วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วาทะทั้งปวงก็พึงเป็นของจริง.

[๖๖๐] คำว่า เพราะความหมดจดของพวกสมณพราหมณ์

เหล่านั้น เป็นของเฉพาะตัวเท่านั้น ความว่า ความหมดจด ความ

หมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้น

รอบ ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นของเฉพาะตัวเท่านั้น เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะความหมดจดของพวกสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็น

ของเฉพาะตัวเท่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ก็การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน ของพวก

สมณพราหมณ์เป็นของจริง เหมือนดังพวกสมณพราหมณ์

สรรเสริญธรรมเป็นทางดำเนินของตน วาทะทั้งปวงก็พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 241

เป็นของจริง เพราะความหมดจดของพวกสมณพราหมณ์

เหล่านั้น เป็นของเฉพาะตัวเท่านั้น.

[๖๖๑] ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ ย่อมไม่มีแก่พราหมณ์

(พระอรหันต์) ความตัดสินใจแล้วจึงถือมั่นในธรรม

ทั้งหลาย ก็ไม่มีแก่พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์

จึงเป็นผู้ล่วงเสียแล้วซึ่งความวิวาททั้งหลาย เพราะ

พราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรมอื่น โดยความเป็นธรรม

ประเสริฐ.

[๖๖๒] ศัพท์ว่า ในคำว่า ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำย่อม

ไม่มีแก่พราหมณ์ เป็นปฏิเสธ. ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ คือบุคคลชื่อว่า

เป็นพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยเสียแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ ฯลฯ อัน

ตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ผู้คงที่ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์. คำว่า ญาณอัน

บุคคลอื่นพึงแนะนำย่อมไม่มีแก่พราหมณ์ ความว่า ความเป็นผู้มีญาณ

อันบุคคลอื่นพึงแน่ะนำย่อมไม่มีแก่พราหมณ์ คือพราหมณ์เป็นผู้มีญาณ

อันผู้อื่นไม่ต้องแน่ะนำ ไม่ต้องอาศัยผู้อื่น ไม่เชื่อผู้อื่น ไม่ดำเนินเนื่อง

ด้วยผู้อื่น เป็นผู้ไม่หลงใหล มีความรู้สึก มีความระลึกได้ ย่อมรู้ ย่อม

เห็นว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็น

อนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความ

ดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ

ย่อมไม่มีแก่พราหมณ์.

๑. ดูข้อ ๓๕๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 242

[๖๖๓] คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ในคำว่า ความตัดสินใจแล้ว

จึงถือมั่นในธรรมทั้งหลาย ก็ไม่มีแก่พราหมณ์ ความว่า ในทิฏฐิ ๖๒

ประการ. คำว่า ตัดสินใจแล้ว คือตัดสินใจแล้ว ชี้ขาด ค้นหา แสวงหา

เทียบเคียง ตรวจตรา สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้งแล้วจึงจับมั่น ยึดมั่น

ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ ถือ ความถือ ความยึดถือ ความ

ยึดมั่น ความถือมั่น ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้จริง แน่ แท้ เป็นตาม

สภาพ เป็นตามจริง ไม่วิปริตดังนี้ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้

คือเป็นธรรมอันพราหมณ์นั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ แล้ว ทำให้ไม่ควร

เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความตัดสินใจ

แล้วจึงถือมั่นในธรรมทั้งหลาย ก็ไม่มีแก่พราหมณ์.

[๖๖๔] คำว่า เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงเป็นผู้ล่วงเสียแล้วซึ่ง

ความวิวาททั้งหลาย ความว่า เพราะเหตุนั้น คือเพราะการณะ เหตุ ปัจจัย

นิทานนั้น พราหมณ์จึงเป็นผู้ล่วง ก้าวล่วง ก้าวล่วงพร้อม เป็นไปล่วง

ซึ่งความทะเลาะ ด้วยทิฏฐิ ความหมายมั่นด้วยทิฏฐิ ความแก่งแย่งด้วย

ทิฏฐิ ความวิวาทด้วยทิฏฐิ ความทุ่มเถียงด้วยทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงเป็นผู้ล่วงเสียแล้วซึ่งความวิวาททั้งหลาย.

[๖๖๕] คำว่า เพราะพราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรมอื่นโดยความ

เป็นธรรมประเสริฐ ความว่า พราหมณ์ย่อมไม่เห็น ไม่พบ ไม่แลเห็น

ไม่พินิจ ไม่พิจารณาเห็นซึ่งธรรม คือศาสดา ธรรมที่ศาสดาบอก หมู่คณะ

ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค อื่น นอกจากสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท

อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ ๘ ว่าเป็นธรรมประเสริฐ วิเศษ

เป็นประธาน อุดม บวร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะพราหมณ์ย่อมไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 243

เห็นธรรมอื่นโดยความเป็นธรรมประเสริฐ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ ย่อมไม่มีแก่พราหมณ์

ความตัดสินใจแล้วจึงถือมั่นในธรรมทั้งหลาย ก็ไม่มีแก่

พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงเป็นผู้ล่วงเสียแล้ว

ซึ่งความวิวาททั้งหลาย เพราะพราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรม

อื่น โดยความเป็นธรรมประเสริฐ.

[๖๖๖] สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมเชื่อความหมดจดด้วย

ทิฏฐิว่า เราย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งความหมดจดนั้นจริงแท้

หากว่าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว สมณพราหมณ์

ผู้เห็นนั้นจะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นนั้นเล่า พวก

สมณพราหมณ์ล่วงเสียแล้ว ย่อมกล่าวความหมดจดด้วย

ทัศนะอื่น.

[๖๖๗] คำว่า ย่อมรู้ ในคำว่า เราย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งความหมด

จดนั้นแท้จริง ความว่า เราย่อมรู้ด้วยญาณเครื่องรู้จิตของผู้อื่น หรือย่อม

รู้ด้วยญาณเครื่องรู้ระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อน คำว่า ย่อมเห็น

ความว่า เราย่อมเห็นด้วยมังสจักษุหรือย่อมเห็นด้วยทิพยจักษุ. คำว่า ซึ่ง

ความหมดจดนั้นจริงแท้ ความว่า ซึ่งความหมดจดนั้นแน่แท้ เป็นจริง

เป็นตามจริง ไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งความ

หมดจดนั้นจริงแท้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 244

[๖๖๘] คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกย่อมเชื่อความหมดจดด้วย

ทิฏฐิ ความว่า สมณพราหมณ์บางพวกย่อมเชื่อความหมดจด ความหมด-

จดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ

ด้วยทิฏฐิ คือสมณพราหมณ์บางพวกย่อมเชื่อความหมดจด ความหมดจด

วิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วย

ทิฏฐิว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่

ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่ง

อื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์บางพวกย่อมเชื่อความ

หมดจดด้วยทิฏฐิ.

[๖๖๙] คำว่า ได้เห็นแล้ว ในคำว่า หากว่าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่ง

ได้เห็นแล้ว สมณพราหมณ์ผู้เห็นนั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็น

นั้นเล่า ความว่า ได้เห็นแล้วด้วยญาณเครื่องรู้จิตผู้อื่น ได้รู้แล้วด้วยญาณ

เครื่องระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อน ได้เห็นแล้วด้วยมังสจักษุ หรือ

ได้เห็นแล้วด้วยทิพยจักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หากว่าสมณพราหมณ์ผู้

หนึ่งได้เห็นแล้ว. คำว่า สมณพราหมณ์ผู้เห็นนั้น จะมีประโยชน์อะไร

ด้วยการเห็นนั้นเล่า ความว่า สมณพราหมณ์นั้นจะมีประโยชน์อะไรด้วย

การเห็นนั้น คือความกำหนดรู้ทุกข์จะมีได้อย่างไร ความละสมุทัยก็ไม่มี

ความเจริญมรรคก็ไม่มี ความทำให้แจ้งซึ่งผลก็ไม่มี ความละด้วยตัดขาด

ซึ่งราคะก็ไม่มี ความละด้วยตัดขาดซึ่งโทสะก็ไม่มี ความละด้วยตัดขาด

ซึ่งโมหะก็ไม่มี ความละด้วยตัดขาดซึ่งกิเลสทั้งหลายก็ไม่มี ความตัดขาด

ซึ่งสังสารวัฏก็ไม่มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หากสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้

เห็นแล้ว สมณพราหมณ์ผู้นั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นนั้นเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 245

[๖๗๐] คำว่า พวกสมณพราหมณ์ล่วงเสียแล้ว ย่อนกล่าวความ

หมดจดด้วยทัศนะอื่น ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นล่วงเลย ก้าวล่วง

เป็นไปล่วงแล้ว ซึ่งทางแห่งความหมดจด ทางแห่งความหมดจดวิเศษ

ทางแห่งความหมดจดรอบ ทางขาว ทางขาวรอบ ย่อมกล่าว บอก พูด

แสดง แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ

ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ อื่นจากสติปัฏฐาน อื่นจาก

สัมมัปปธาน อื่นจากอิทธิบาท อื่นจากอินทรีย์ อื่นจากพละ อื่นจาก

โพชฌงค์ อื่นจากอริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยทิฏฐิ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้

จึงชื่อว่าพวกสมณพราหมณ์ล่วงเสียแล้ว ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยทัศนะ

อื่น อีกอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี พระพุทธสาวกทั้งหลายก็ดี

พระปัจเจกพุทธะทั้งหลายก็ดี ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงแล้ว ซึ่งทาง

แห่งความไม่หมดจด ทางแห่งความไม่หมดจดวิเศษ ทางแห่งความไม่

หมดจดรอบ ทางแห่งความไม่ขาว ทางไม่ขาวรอบ โดยทิฏฐิแห่งสมณ-

พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งความหมดจด

ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความ

พ้นรอบ ด้วยสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕

พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึง

ชื่อว่าพระอริยะมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานล่วงเสียแล้ว ย่อมกล่าวความ

หมดจดด้วยธรรมอื่น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมเชื่อความหมดจดด้วย

ทิฏฐิว่า เราย่อมรู้ย่อมเห็นความหมดจดนั้นจริงแท้ หาก

ว่าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว สมณพราหมณ์ผู้เห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 246

นั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นนั้นเล่า พวกสมณ-

พราหมณ์ล่วงเสียแล้ว ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยทัศนะ

อื่น.

[๖๗๑] นรชนเมื่อเห็นก็เห็นนามรูป หรือเห็นแล้วก็จักรู้นาม-

รูปเหล่านั้นเท่านั้น นรชนเห็นนานรูปมากบ้าง น้อยบ้าง

โดยแท้ ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมไม่กล่าวความ

หมดจดเพียงความเห็นนามรูปนั้นเลย.

[๖๗๒] คำว่า นรชนเมื่อเห็น ในคำว่า นรชนเมื่อเห็นก็เห็นนาม-

รูป ความว่า นรชนเมื่อเห็นด้วยญาณเครื่องรู้จิตผู้อื่น เมื่อเห็นด้วยญาณ

เครื่องระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อน เมื่อเห็นด้วยมังสจักษุ หรือเมื่อ

เห็นด้วยทิพยจักษุ ก็เห็นนามรูปเท่านั้นโดยเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข

โดยความเป็นอัตตา มิได้เห็นความเกิด ความดับ คุณ โทษ หรืออุบาย

เครื่องสลัดออกแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อเห็น

นามรูป.

[๖๗๓] คำว่า หรือเห็นแล้วก็รู้จักนามรูปเหล่านั้นเท่านั้น ความว่า

ครั้นเห็นแล้วด้วยญาณเครื่องรู้จิตผู้อื่น เห็นแล้วด้วยเครื่องระลึกถึงขันธ์

ที่อยู่อาศัยในกาลก่อน เห็นแล้วด้วยมังสจักษุ หรือเห็นแล้วด้วยทิพยจักษุ

ก็เห็นเพียงนามรูปเท่านั้น แล้วจักรู้โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็น

สุข โดยความเป็นอัตตา จักไม่รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบาย

เครื่องสลัดออกแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือเห็นแล้ว

ก็จักรู้นามรูปเหล่านั้นเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 247

[๖๗๔] คำว่า เห็นนามรูปมากบ้าง น้อยบ้าง โดยแท้ ความว่า

เมื่อเห็นนามรูปมากบ้าง น้อยบ้าง ก็เห็นโดยความเป็นของเที่ยง โดยความ

เป็นสุข โดยความเป็นอัตตา โดยแท้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นนามรูป

มากบ้าง น้อยบ้าง โดยแท้.

[๖๗๕] คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ในคำว่า ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาด

ทั้งหลายย่อมไม่กล่าวความหมดจดเพียงความเห็นนามรูปนั้น ความว่า

พวกผู้ฉลาดในขันธ์ ผู้ฉลาดในธาตุ ผู้ฉลาดในอายตนะ ผู้ฉลาดใน

ปฏิจจสมุปบาท ผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน ผู้ฉลาดในสัมมัปปธาน ผู้ฉลาด

ในอิทธิบาท ผู้ฉลาดในอินทรีย์ ผู้ฉลาดในพละ ผู้ฉลาดในโพชฌงค์

ผู้ฉลาดในมรรค ผู้ฉลาดในผล ผู้ฉลาดในนิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้น

ย่อมไม่กล่าว ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ซึ่งความหมดจด

ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความ

พ้นรอบ เพียงความเห็นนามรูป ด้วยญาณเครื่องรู้จิตผู้อื่น ด้วยญาณ

เครื่องระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อน ด้วยมังสจักษุ หรือด้วยทิพย-

จักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมไม่กล่าว

ความหมดจดเพียงความเห็นนามรูปนั้นเลย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

นรชนเมื่อเห็นก็เห็นนามรูป หรือเห็นแล้วก็จักรู้นาม-

รูปเหล่านั้นเท่านั้น นรชนเห็นนานรูปมากบ้าง น้อยบ้าง

โดยแท้ ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมไม่กล่าวความ

หมดจดเพียงความเห็นนามรูปนั้นเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 248

[๖๗๕] ก็นรชนผู้กล่าวด้วยถือมั่น เป็นผู้อันใคร ๆ ไม่พึง

แนะนำให้ดีได้ เป็นผู้เชิดทิฏฐิกำหนดไว้ในเบื้องหน้า

อาศัยวัตถุใด ก็กล่าววัตถุนั้นว่างามในเพราะทิฏฐิ นรชน

ผู้กล่าวความหมดจดนั้น ได้เห็นว่าแท้ในทิฏฐินั้น.

[๖๗๗] คำว่า ก็นรชนผู้กล่าวด้วยความถือมั่น เป็นผู้อันใคร ๆ

ไม่พึงแนะนำให้ดีได้ ความว่า นรชนผู้กล่าวด้วยความถือมั่นว่า โลกเที่ยง

สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ผู้กล่าวด้วยความถือมั่นว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่ง

นี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า. คำว่า เป็นผู้อันใคร ๆ ไม่พึงแนะนำให้ดีได้

ความว่า นรชนผู้กล่าวด้วยความถือมั่น เป็นผู้อันใคร ๆ ยากที่จะแนะนำ

ได้ ยากที่จะให้รู้ได้ ยากที่จะให้เข้าใจได้ ยากที่จะให้เห็นได้ ยากที่จะ

ให้เลื่อมใสได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็นรชนผู้กล่าวด้วยความถือมั่น

เป็นผู้อันใคร ๆไม่พึงแนะนำให้ดีได้.

[๖๗๘] คำว่า เป็นผู้เชิดทิฏฐิที่กำหนดไว้ในเบื้องหน้า ความว่า

เป็นผู้เชิดทิฏฐิที่กำหนด ปรุงแต่ง ตั้งอยู่ดีแล้ว ไว้ในเบื้องหน้า คือทำ

ทิฏฐิออกหน้าเที่ยวไป มีทิฏฐิเป็นธงชัย มีทิฏฐิเป็นธงยอด มีทิฏฐิเป็น

ใหญ่ ถูกทิฏฐิห้อมล้อมเที่ยวไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เชิดทิฏฐิที่

กำหนดไว้ในเบื้องหน้า.

[๖๗๙] คำว่า อาศัยวัตถุใด ในคำว่า อาศัยวัตถุใด ก็กล่าว

วัตถุนั้นว่างามในเพราะทิฏฐินั้น ความว่า อาศัย อิงอาศัย พัวพัน เข้าถึง

ติดใจ น้อมใจ ถึงแล้ว ซึ่งวัตถุ คือศาสดา ธรรมที่ศาสดาบอก หมู่คณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 249

ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาศัยวัตถุใด. คำว่า ใน

เพราะทิฏฐนั้น ความว่า ในเพราะทิฏฐิ ความควร ความชอบใจ ลัทธิ

ของตน. คำว่า ก็กล่าววัตถุนั้นว่างาม ความว่า เป็นผู้กล่าววัตถุนั้นว่างาม

กล่าวว่าดี กล่าวว่าเป็นบัณฑิต กล่าวว่าเป็นธีรชน กล่าวว่ามีญาณ กล่าว

โดยลักษณะ กล่าวโดยการณะ กล่าวโดยฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า อาศัยวัตถุใด ก็กล่าววัตถุนั้นว่างามในเพราะทิฏฐิ.

[๖๘๐] คำว่า ผู้กล่าวความหมดจด ในคำว่า ผู้กล่าวความ

หมดจดนั้น ได้เห็นว่าแท้ในทิฏฐินั้น ความว่า กล่าวความหมดจด

กล่าวความหมดจดวิเศษ กล่าวความหมดจดรอบ กล่าวความขาว

กล่าวความขาวรอบ อีกอย่างหนึ่ง ผู้มีความเห็นความหมดจด มีความ

เห็นหมดจดวิเศษ มีความเห็นความหมดจดรอบ มีความเห็นความขาว

มีความเห็นความขาวรอบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้กล่าวความหมดจด.

คำว่า ในทิฏฐินั้น คือในทิฏฐิ ความควร ความชอบใจ ลัทธิของตน.

คำว่า ได้เห็นว่าแท้ ความว่า ได้เห็น ได้พบ ได้ประสบ ได้แทงตลอด

ว่า แท้ แน่นอน จริง เป็นตามจริง ไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

นรชนผู้กล่าวความหมดจดนั้น ได้เห็นว่าแท้ในทิฏฐินั้น เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

นรชนผู้กล่าวด้วยความถือมั่น เป็นผู้อันใคร ๆ ไม่

พึงแนะนำให้ดีได้ เป็นผู้เชิดทิฏฐิที่กำหนดไว้ในเบื้องหน้า

อาศัยวัตถุใดก็กล่าววัตถุนั้นว่างามในเพราะทิฏฐินั้น นรชน

ผู้กล่าวความหมดจดนั้น ได้เห็นว่าแท้ในทิฏฐินั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 250

[๖๘๑] พราหมณ์ทราบด้วยญาณแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความ

กำหนด ไม่เป็นผู้แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่มีตัณหาหรือ

ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกเพราะญาณ พราหมณ์นั้นรู้แล้ว ย่อม

วางเฉยซึ่งสมมติทั้งหลายที่ปุถุชนให้เกิด ส่วนสมณ-

พราหมณ์เหล่าอื่นย่อมถือมั่น.

[๖๘๒] ศัพท์ว่า ในคำว่า พราหมณ์ทราบด้วยญาณแล้วย่อม

ไม่เข้าถึงความกำหนด เป็นศัพท์ปฏิเสธ ชื่อว่าพราหมณ์ คือบุคคลชื่อว่า

เป็นพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยเสียแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ ฯลฯ อัน

ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย เป็นผู้คงที่ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์. คำว่า ความ

กำหนด ได้แก่ความกำหนด ๒ อย่าง คือความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ

ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ

นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. ญาณ เรียกว่าสังขาร ได้แก่ความรู้ ความ

รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. คำว่า

พราหมณ์ทราบด้วยญาณแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงความกำหนด ความว่า

พราหมณ์ทราบ พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งด้วยญาณ

ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

มีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้แล้ว

ย่อมไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ซึ่งความกำหนด

ด้วยตัณหา หรือความกำหนด้วยทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พราหมณ์

ทราบด้วยญาณแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงความกำหนด.

[๖๘๓] คำว่า ไม่เป็นผู้แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่มีตัณหาหรือทิฏฐิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 251

เป็นเครื่องผูกเพราะญาณ ความว่า พราหมณ์นั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ

ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ซึ่งทิฏฐิ ๖๒ ประการ

ไม่ดำเนิน ไม่ออก ไม่เลื่อน ไม่เคลื่อนไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่ถึง ไม่กลับ

มาถึงทิฏฐินั้นโดยความเป็นสาระ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เป็นผู้แล่นไป

ด้วยทิฏฐิ. คำว่า ทั้งไม่มีตัณหาหรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูกเพราะญาณ ความ

ว่า พราหมณ์ย่อมไม่ทำตัณหาเป็นเครื่องผูก หรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูก คือ

ไม่ยังตัณหาหรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูกให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้

บังเกิดเฉพาะ เพราะญาณในสมาบัติ ๘ เพราะญาณในอภิญญา ๕ หรือ

เพราะญาณที่ผิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เป็นผู้แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่มี

ตัณหาหรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูกเพราะญาณ.

[๖๘๘] คำว่า รู้แล้ว ในคำว่า พราหมณ์นั้นรู้แล้ว . . . ซึ่งสมมติ

ทั้งหลายที่ปุถุชนให้เกิด ความว่า รู้ ทราบ พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่ม-

แจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไป

เป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พราหมณ์นั้นรู้แล้ว ทิฏฐิ ๖๒ประการ

เรียกว่า สมมติ. ทิฏฐิทั้งหลายชื่อว่า ปุถุชชา เพราะทิฏฐิเหล่านั้น อัน

ปุถุชนให้เกิด หรือเพราะชนต่างๆ มากให้เกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

พราหมณ์นั้นรู้แล้ว . . .ซึ่งสมมติทั้งหลายที่ปุถุชนให้เกิด.

[๖๘๕] คำว่า ย่อมวางเฉย ส่วนพวกสมณพราหมณ์เหล่าอื่น

ย่อมถือมั่น ความว่า พวกสมณพราหมณ์เหล่าอื่นย่อมถือ ยึดมั่น ถือมั่น

ด้วยสามารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ ส่วนพระอรหันต์ย่อมวาง

เฉย ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมวางเฉย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 252

ส่วนสมณพราหมณ์เหล่าอื่นย่อมถือมั่น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสตอบว่า

พราหมณ์ทราบด้วยญาณแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความ

กำหนด ไม่เป็นผู้แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่มีตัณหาหรือ

ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกเพราะญาณ พราหมณ์นั้นรู้แล้ว ย่อม

วางเฉยซึ่งสมมติทั้งหลายที่ปุถุชนให้เกิด ส่วนพวกสมณ-

พราหมณ์เหล่าอื่น ย่อมถือมั่น.

[๖๘๖] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบอีกว่า) มุนีสละแล้วซึ่ง

กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายในโลกนี้ เมื่อชนทั้งหลายเกิด

วิวาทกัน ย่อมไม่เป็นผู้แล่นไปด้วยธรรมที่ทำให้เป็นพวก

มุนีนั้นเมื่อชนทั้งหลายไม่สงบ ก็เป็นผู้สงบ วางเฉย ไม่

ถือมั่น สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ย่อมถือมั่น.

[๖๘๗] ชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด ในคำว่า มุนีสละแล้ว

ซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายในโลกนี้ ได้แก่ กิเลสเครื่องร้อยรัด

๔ อย่าง คือกิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คืออภิชฌา พยาบาท สีลัพพัตต-

ปรามาส ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง. ความกำหนัดในทิฏฐิของตน ชื่อว่า

กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คืออภิชฌา. ความอาฆาต ความไม่ยินดี

ในถ้อยคำของผู้อื่น ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คือพยาบาท. ความ

ยึดถือศีลพรต หรือทั้งศีลและพรตของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัด

ทางกาย คือสีลัพพัตตปรามาส. ทิฏฐิของตน ชื่อว่าเครื่องร้อยรัดทาง

กาย คืออิทังสัจจาภินิเวสะ ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง. คำว่า สละแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 253

ความว่า ปล่อยหรือวางแล้วซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง

ความว่า แก้แล้วหรือคลายแล้วซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัดที่ผูก รัด พัน เหนี่ยว

รั้ง เกาะเกี่ยว พัวพัน คล้องไว้ เหมือนชนทั้งหลาย ทำความปลดปล่อย

คานหาม รถ หรือเกวียนฉะนั้น. คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่า

โมนะ ได้แก่ ความรู้ ความรู้ชัด ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง

และตัณหาเพียงดังข่าย บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี. คำว่า ในโลกนี้ คือในทิฏฐินี้

ฯลฯ ในมนุษยโลกนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีสละแล้วซึ่งกิเลสเป็น

เครื่องร้อยรัดทั้งหลายในโลกนี้.

[๖๘๘] คำว่า เมื่อชนทั้งหลายเกิดวิวาทกัน ไม่เป็นผู้แล่นไปด้วย

ธรรมที่ทำให้เป็นพวก ความว่า เมื่อชนทั้งหลายมีความวิววาทกันเกิดขึ้น

เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ คือเมื่อชนทั้งหลายถึงฉันทาคติ

ถึงโทสาคติ ถึงโมหาคติ ถึงภยาคติ มุนีย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ

ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ไม่ถึงด้วยสามารถราคะ โทสะ โมหะ มานะ

ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย ย่อมไม่ดำเนิน ออก เคลื่อน เคลื่อนไป

ด้วยธรรมทั้งหลายที่ทำให้เป็นพวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อชนทั้งหลาย

เกิดวิวาทกัน ย่อมไม่เป็นผู้แล่นไปด้วยธรรมที่ทำให้เป็นพวก.

[๖๘๙] คำว่า สงบ ในคำว่า มุนีนั้น เมื่อชนทั้งหลายไม่สงบ

ก็เป็นผู้สงบ วางเฉย ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เข้าไปสงบเงียบ ดับ

ระงับแล้ว เพราะเป็นผู้มีราคะ โทสะโมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง

สงบ เงียบ เข้าไปสงบ เย็น ดับ หายไป ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า เป็นผู้สงบ. คำว่า เมื่อชนทั้งหลายไม่สงบ คือเมื่อชนทั้งหลาย

ไม่สงบ ไม่เข้าไปสงบ ไม่เงียบ ไม่ดับ ไม่ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึง

ชื่อว่า เมื่อชนทั้งหลายไม่สงบ ก็เป็นผู้สงบ. คำว่า มุนีนั้น . . . เป็นผู้วาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 254

เฉย ความว่า พระอรหันต์เป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ คือเห็น

รูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติ มีสัมปชัญญะ

ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว ฯลฯ บุคคลนั้นเป็นผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว ฝึกดี

แล้ว รอคอยกาลมรณะอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้น เมื่อชนทั้งหลาย

ไม่สงบ ก็เป็นผู้สงบ วางเฉย.

[๖๙๐] คำว่า เป็นผู้ไม่ถือมั่น สมณพราหมณ์เหล่าอื่นย่อมถือ

มั่น ความว่า สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ย่อมถือ ยึดมั่น ถือมั่น ด้วยสามารถ

ตัณหา ด้วยสามารถทิฏฐิ พระอรหันต์ย่อมวางเฉย ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น

ไม่ถือมั่น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่ถือมั่น สมณพราหมณ์เหล่าอื่น

ย่อมถือมั่น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

มุนีสละแล้วซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายในโลกนี้

เมื่อชนทั้งหลายเกิดวิวาทกัน ย่อมไม่เป็นผู้แล่นไปด้วย

ธรรมที่ทำให้เป็นพวก มุนีนั้น เมื่อชนทั้งหลายไม่สงบ

ก็เป็นผู้สงบ วางเฉย ไม่ถือมั่น สมณพราหมณ์เหล่าอื่น

ย่อมถือมั่น.

[๖๙๑] มุนีละอาสวะอันมีในก่อน ไม่ทำอาสวะใหม่ ไม่เป็น

ผู้ดำเนินไปด้วยความพอใจ ทั้งไม่เป็นผู้กล่าวด้วยความ

ถือมั่น มุนีนั้นเป็นธีรชน พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย

ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ย่อมไม่ติดอยู่ในโลก.

[๖๙๒] คำว่า มุนีละอาสวะอันมีในก่อน ไม่ทำอาสวะใหม่ ความ

ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ส่วนอดีต เรียกว่า อาสวะอันมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 255

ในก่อน กิเลสเหล่าใดพึงเกิดขึ้นเพราะปรารภถึงสังขารส่วนอดีต มุนีละ

สลัด บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกิเลสเหล่านั้น เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ละอาสวะอันมีในก่อน. คำว่า ไม่ทำอาสวะใหม่ ความว่า

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ส่วนปัจจุบัน เรียกว่า อาสวะใหม่.

มุนีไม่ทำความพอใจ ไม่ทำความรักใคร่ ไม่ทำความกำหนัด ปรารภถึง

สังขารส่วนปัจจุบัน คือไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้

บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีละอาสวะอันมีในก่อน ไม่ทำ

อาสวะใหม่.

[๖๙๓] คำว่า ไม่เป็นผู้ดำเนินไปด้วยความพอใจ ในคำว่า ไม่

เป็นผู้ดำเนินไปด้วยความพอใจ ทั้งไม่เป็นผู้กล่าวด้วยความถือมั่น

ความว่า ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ

ไม่ถึงด้วยสามารถราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา

อนุสัย ไม่ดำเนิน ออก เลื่อน เคลื่อนไปด้วยธรรมทั้งหลายที่ทำให้เป็น

พวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เป็นผู้ดำเนินด้วยความพอใจ. คำว่า

ทั้งไม่เป็นผู้กล่าวด้วยความถือมั่น ความว่า นรชนเป็นผู้กล่าวด้วยความ

ถือมั่นว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้แหละ

จริง สิ่งอื่นเปล่า ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้

ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ฯลฯ (ไม่เป็นผู้

กล่าวด้วยความถือมั่นอย่างนั่น) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เป็นผู้ดำเนิน

ด้วยความพอใจ ทั้งไม่เป็นผู้กล่าวด้วยความถือมั่น.

[๖๙๔] คำว่า มุนีนั้นเป็นธีรชน พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิ ความว่า

ทิฏฐิ ๖๒ ประการ อันมุนีนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ มุนีนั้นเป็นผู้พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง

ด้วยทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่. คำว่า เป็นธีรชน

คือเป็นผู้มีปัญญาเครื่องทรงจำ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่อง

ตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นธีรชน พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย.

ว่าด้วยเหตุที่ติเตียนมี ๒ อย่าง

[๖๙๕] ชื่อว่า ความติด ในคำว่า ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ย่อม

ติดในโลก ได้แก่ความติด ๒ อย่าง คือความติดด้วยตัณหา ๑ ความติด

ด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดตัวตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติด

ด้วยทิฏฐิ มุนีนั้นละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิแล้ว

เพราะละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิ จึงเป็นผู้อันตัณหา

และทิฏฐิไม่เข้าไปติด ย่อมไม่ติด ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติด ในอบายโลก

มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก คือเป็นผู้อันตัณหา

และทิฏฐิไม่ติด ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติด ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่

เกี่ยวข้องแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากเขตแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ย่อมไม่ติดในโลก. คำว่า ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ความว่า บุคคลย่อมติเตียน

ได้ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือเพราะกระทำอย่างหนึ่ง เพราะไม่การทำอย่างหนึ่ง

บุคคลย่อมติเตียนตนเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างไร บุคคลย่อม

ติเตียนตนได้ว่า เราทำกายทุจริต เราไม่ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต

เราไม่ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต เราไม่ทำมโนสุจริ เราทำปาณาติบาต

ฯลฯ เราทำมิจฉาทิฏฐิ เราไม่ทำสัมมาทิฏฐิ บุคคลย่อมติเตียนตนเพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 257

กระทำและเพราะไม่การทำอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมติเตียนตนว่า

เราเป็นผู้ไม่ทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวาร

ในอินทรีย์ทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ เราเป็นผู้ไม่

หมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราเป็นผู้ไม่ประกอบด้วยสติ

สัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เราไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔

เราไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ เราไม่ได้เจริญพละ ๕

เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เราไม่ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เราไม่

กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ละสมุทัย เราไม่เจริญมรรค เราไม่ทำให้แจ้งซึ่ง

นิโรธ บุคคลย่อมติเตียนตนเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้ มุนี

ไม่กระทำกรรมเป็นเหตุ ติเตียน คือไม่ยังกรรมนั้นให้เกิด ให้เกิดพร้อม

ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่ติเตียนตน เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ย่อมไม่ติดในโลก เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

มุนีละอาสระอันมีในก่อน ไม่ทำอาสวะใหม่ ไม่เป็น

ผู้ดำเนินไปด้วยความพอใจ ทั้งไม่เป็นผู้กล่าวด้วยความ

ถือมั่น มุนีนั้นเป็นธีรชน พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย

ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ย่อมไม่ติดอยู่ในโลก.

[๖๙๖] มุนีนั้น กำจัดเสนาแล้วในธรรมทั้งปวง คือในรูปที่

เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ มุนีนั้น เป็น

ผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว ไม่มีความกำหนด ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 258

เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่าดังนี้.

[๖๙๗] มารเสนา เรียกว่า เสนา ในคำว่า มุนีนั้น กำจัดเสนา

แล้วในธรรมทั้งปวง คือในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ

กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความ

ผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง

ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความ

เมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวาย

ทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขาร

ทั้งปวง ชื่อว่ามารเสนา สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

กิเลสกาม เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๑ ของท่าน

ความไม่ยินดี เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๒ ของท่าน

ความหิวกระหาย เรากล่าวว่าเห็นมารเสนาที่ ๓ ของท่าน

ตัณหาเรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๔ ของท่าน ความง่วง-

เหงาหาวนอน เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๕ ของท่าน

ความขลาด เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๖ ของท่าน ความ

ลังเลใจ เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๗ ของท่าน ความ

ลบหลู่ ความกระด้าง เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๘ ของ

ท่าน ลาภ ความสรรเสริญ สักการะ และยศ ที่ได้

มาโดยหางผิด เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๙ ของท่าน

ความยกตนและข่มคนอื่น เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 259

ของท่าน ดูก่อนพระยามาร เสนาของท่านนี้เป็นผู้มีปกติ

กำจัดบุคคลผู้มีธรรมดำ คนไม่กล้าย่อมไม่ชนะมารเสนา

นั้นได้ ส่วนคนกล้าย่อมชนะได้ ครั้นชนะแล้วย่อมได้

ความสุข ดังนี้.

เมื่อใด มารเสนาทั้งหมด และกิเลสอันทำความเป็นปฏิปักษ์ทั้งหมด

อันมุนีชนะ ให้พ่ายแพ้ ทำลายเสีย กำจัดเสีย ทำให้ไม่สู้หน้าแล้ว ด้วย

อริยมรรค ๔ เมื่อนั้น มุนีนั้น เรียกว่า เป็นผู้กำจัดเสนาแล้ว มุนีนั้น

กำจัดเสนาในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ ในอารมณ์

ที่รู้แจ้งแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้น กำจัดเสนาแล้วในธรรม

ทั้งปวง คือ ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ.

ว่าด้วยภาระ ๓ อย่าง

[๖๙๘] ชื่อว่าภาระ ในคำว่า มุนีนั้น เป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว

พ้นขาด ได้แก่ภาระ ๓ อย่าง คือ ขันธภาระ ๑ กิเลสภาระ ๑

อภิสังขารภาระ ๑.

ขันธภาระเป็นไฉน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ในปฏิสนธิ นี้ชื่อว่า ขันธภาระ.

กิเลสภาระเป็นไฉน ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร

ทั้งปวง นี้ชื่อว่า กิเลสภาระ.

อภิสังขารภาระเป็นไฉน ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร

อเนญชาภิสังขาร นี้ชื่อว่า อภิสังขารภาระ. ขันธภาระ กิเลสภาระ และ

อภิสังขารภาระ เป็นสภาพอันมุนีละแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้

มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 260

ต่อไปเป็นธรรมดา เมื่อใด เมื่อนั้น มุนีนั้นเรียกว่า เป็นผู้ปลงภาระ

ลงแล้ว มีภาระตกไปแล้ว มีภาระอันปลดแล้ว มีภาระอันปล่อยแล้ว

มีภาระอันวางแล้ว มีภาระระงับแล้ว.

ว่าด้วยโมเนยยะ ๓ อย่าง

คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่าโมนะ ได้แก่ปัญญา ความรู้ทั่ว

ความเลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว ความเลือกเฟ้นธรรม ความกำหนดดี

ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความ

เป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน ปัญญาเป็นเครื่องจำแนก

ปัญญาเป็นเครื่องคิด ปัญญาเป็นเครื่องเข้าไปเห็น ปัญญาอันกว้างขวาง

ดุจแผ่นดิน ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ปัญญา

เป็นเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้สึกตัว ปัญญาเป็นเครื่องเจาะแทง ปัญญา

เป็นเครื่องเห็นชัด ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาเป็นดัง

ศาสตรา ปัญญาเพียงดังปราสาท ปัญญาอันสว่าง ปัญญาอันแจ่มแจ้ง

ปัญญาอันรุ่งเรือง ปัญญาเป็นดังแก้ว ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม

ความเห็นชอบ บุคคลประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่าเป็นมุนี คือ ผู้ถึงญาณ

ที่ชื่อว่าโมนะ โมเนยยะ (ธรรมเครื่องทาความเป็นมุนี) มี ๓ อย่า คือ

โมเนยยธรรมทางกาย ๑ โมเนยยธรรมทางวาจา ๑ โมเนยยธรรม

ทางใจ ๑.

โมเนยยธรรมทางกายเป็นไฉน การละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่า

โมเนยยธรรมทางกาย กายสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีกายเป็นอารมณ์ ความ

กำหนดรู้กาย มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในกาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 261

ความดับแห่งการสังขาร ความบรรลุจตุตถฌาน แต่ละอย่าง ๆ ชื่อว่า

โมเนยยธรรมทางกาย นี้ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางกาย.

โมเนยยธรรมทางวาจาเป็นไฉน การละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่า

โมเนยยธรรมทางวาจา วจีสุจริต ๔ อย่าง ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ ความ

กำหนดรู้วาจา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในวาจา

ความดับแห่งวจีสังขาร ความบรรลุทุติยฌาน แต่ละอย่าง ๆ ชื่อว่า

โมเนยยธรรมทางวาจา นี้ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางวาจา.

โมเนยยธรรมทางใจเป็นไฉน การละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่า

โมเนยธรรมทางใจ มโนสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีจิตเป็นอารมณ์ ความ

กำหนดรู้จิต มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในจิต ความ

ดับแห่งจิตตสังขาร ความบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ แต่ละอย่าง ๆ ชื่อว่า

โมเนยยธรรมทางใจ นี้ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางใจ.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวมุนี ผู้เป็นมุนีทางกาย เป็น

มุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ไม่มีอาสวะว่า เป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้ละกิเลสทั้งปวง

บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวมุนีผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนี

ทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ไม่มีอาสวะว่า เป็นผู้ถึงพร้อม

ด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้มีบาปอันล้างเสียแล้ว.

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนีเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นมุนีมี

๖ จำพวก คือ อาคารมุนี อนาคารมุนี เสขมุนี อเสขมุนี ปัจเจกมุนี

มุนิมุนี. อาคารมุนีเป็นไฉน ชนเหล่าใดเป็นผู้ครองเรือน มีบทคือนิพพาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 262

อันเห็นแล้วมีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ ชื่อว่าอาคารมุนี. อนาคารมุนี

เป็นไฉน ชนเหล่าใดออกบวช มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนา

อันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ชื่อว่า อนาคารมุนี. พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่า

เสขมุนี. พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่า อเสขมุนี. พระปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ชื่อว่า ปัจเจกมุนี พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ชื่อว่า มุนิมุนี.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บุคคลไม่เป็นมุนีด้วยความเป็นผู้นิ่ง เป็นแต่ผู้เปล่า

มิใช่ผู้รู้ ส่วนบุคคลใดเป็นบัณฑิต ถือธรรมอันประเสริฐ

ละเว้นบาปทั้งหลาย เหมือนคนที่ถือเครื่องชั่งตั้งอยู่ฉะนั้น

บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นมุนี เรียกว่ามุนีโดยเหตุนั้น บุคคลใด

ย่อมรู้โลกทั้ง ๒ บุคคลนั้นเรียกว่ามุนีโดยเหตุนั้น บุคคล

ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและธรรมของสัตบุรุษ ในโลก

ทั้งปวงทั้งภายในและภายนอก ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่อง

ข้องและตัณหาเพียงดังว่าข่ายดำรงอยู่ เป็นผู้อันเทวดา

และมนุษย์บูชาแล้ว บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นมุนี.

คำว่า พ้นขาดแล้ว ความว่า จิตของมุนีพ้น พ้นขาด พ้นวิเศษดี

แล้วจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว.

[๖๙๙] ชื่อว่า ความกำหนด ในคำว่า ไม่มีความกำหนด ไม่

เข้ารูปยินดี ไม่มีความปรารถนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดังนี้ ได้แก่

ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนดด้วยตัณหา ความกำหนด

ด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 263

กำหนดด้วยทิฏฐิ มุนีนั้นละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนด

ด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนด

ด้วยทิฏฐิ จึงย่อมไม่กำหนดความกำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนด

ด้วยทิฏฐิ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิด

เฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีความกำหนด. คำว่า ไม่เข้าไปยินดี

ความว่า พาลปุถุชน ทั้งปวงย่อมกำหนัด พระเสขะ ๗ จำพวกรวมทั้ง

กัลยาณปุถุชน ย่อมยินดี ยินดียิ่ง ยินดียิ่งเฉพาะ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง

ส่วนพระอรหันต์เป็นผู้ยินดี ยินดียิ่ง ยินดียิ่งเฉพาะแล้ว คือ เป็นผู้ออก

สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี. คำว่า ไม่มีความ

ปรารถนา ความว่า ตัณหา เรียกว่า ความปรารถนา ได้แก่ ราค-

สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ความปรารถนานั้น อันมุนีใด

ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟ

คือญาณ มุนีนั้น เรียกว่าผู้ไม่มีความปรารถนา. คำว่า ภควา เป็นเครื่อง

กล่าวด้วยความเคารพ.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถว่า ผู้ทำลายราคะแล้ว

ทำลายโทสะแล้ว ทำลายโมหะแล้ว ทำลายมานะแล้ว ทำลายทิฏฐิแล้ว

ทำลายเสี้ยนหนามแล้ว ทำลายกิเลสแล้ว เพราะอรรถว่า ทรงจำแนก

วิเศษ ทรงจำแนกเฉพาะแล้ว ซึ่งธรรมรัตนะ. ชื่อว่า ภควา

เพราะอรรถว่า ทรงทำซึ่งที่สุดแห่งภพทั้งหลาย มีพระกายอันอบรมแล้ว

มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 264

ซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะและป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อยปราศจาก

เสียงกึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของ

มนุษย์ ควรแก่วิเวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อันมีอรรถรส

ธรรมรส วิมุตติรส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔

อรูปสมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ

(ฌานเป็นที่ตั้งแห่งความครอบงำอารมณ์) ๘ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณ-

สมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔

อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งตถาคตพละ ๑๐ เวสารัชช-

ญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ภควา. พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาดา พระภคินี

มิตรอำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิมให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 265

พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหัตผลใน

ลำดับแห่งอรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ (บัญญัติที่เกิดเพราะทำให้แจ่ม-

แจ้งซึ่งอรหัตผลและธรรมทั้งปวง) พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญ-

ญุตญาณ ณ ควงโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ผู้ตรัสรู้แล้ว

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความ

ปรารถนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดังนี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

มุนีนั้น กำจัดเสนาแล้วในธรรมทั้งปวง คือ ในรูป

ที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ มุนีนั้น เป็น

ผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว ไม่มีความกำหนด ไม่

เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่าดังนี้ ฉะนี้แล.

จบมหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๓

อรรถกถามหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๓

พึงทราบวินิจฉัยในมหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๓ ดังต่อไปนี้.

แม้บทนี้ว่า เยเกจิเม ทิฏฺิปริพฺพสานา สมณพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่งมีความอยู่รอบในทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงทำความ

นั้นให้แจ้งแก่เทวดาทั้งหลาย บางพวกที่มีจิตเกิดขึ้นว่า สมณพราหมณ์

เหล่านั้น มีความอยู่รอบในทิฏฐิย่อมได้รับนินทาอย่างเดียวหรือ หรือว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 266

ได้รับความสรรเสริญด้วย จากสำนักของท่านผู้รู้ทั้งหลาย จึงทรงให้

พระพุทธนิมิตตรัสถามพระองค์ แล้วจึงตรัสโดยนัยก่อนนั่นแล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนฺวานยนฺติ ความว่า ย่อมติดความเนือง ๆ

ย่อมนำมาบ่อยๆ. บทว่า นินฺทเมว อนฺเวนฺติ ย่อมถูกนินทาอย่างเดียว คือ

ย่อมเข้าถึงการติเตียน.

บัดนี้ เพราะพวกเจ้าทิฏฐิทั้งหลาย แม้กล่าวอยู่ว่า นี้เท่านั้นจริง

ย่อมได้รับแม้ความสรรเสริญในบางครั้งบางคราว ผลแห่งวาทะ คือความ

สรรเสริญนั้นน้อยไม่สามารถเพื่อสงบกิเลสมีราคะเป็นต้นได้ จะกล่าวอะไร

ถึงผลแห่งการนินทาครั้งที่สอง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง

แสดงความนั้น จึงตรัสคาถาแก้นี้ก่อน มีอาทิว่า ก็ความสรรเสริญนั้นเป็น

ของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส ข้าพระองค์กล่าวผลแห่งความวิวาทเป็น

๒ อย่าง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุเว วิวาทสฺส ผลานิ ผลแห่งวิวาท

๒ อย่าง ได้แก่ นินทา และสรรเสริญ หรือความชนะและความแพ้

เป็นต้น อันมีส่วนเสมอกันกับนินทาและสรรเสริญนั้น. บทว่า เอตมฺปิ

ทิสฺวา คือ เห็นโทษในผลแห่งวิวาทแม้นั้นว่า นินทาเป็นสิ่งไม่น่าปรารถนา

เลย ความสรรเสริญน้อยไม่พอเพื่อสงบกิเลสได้เลย. บทว่า เขมาภิปสฺส

อวิวาทภูมึ คือ เห็นอยู่ซึ่งภูมิแห่งความไม่วิวาท คือนิพพานว่าเป็นธรรม-

ชาติเกษม.

บทว่า อปฺปก คือ น้อย. บทว่า ปริตฺตก คือ นิดหน่อย. บทว่า

โอมก คือ ต่ำช้า. บทว่า ลามก คือ ลามก. บทว่า สมาย คือ เพื่อ

ความสงบกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า อุปสมาย เพื่อเข้าไปสงบ คือเพื่อ

๑. บาลีว่า อวิวาทภุมฺม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 267

ความสงบสูงขึ้นรูป. บทว่า วูปสมาย เพื่อสงบวิเศษ คือเพื่อให้จมหายไป.

บทว่า นิพฺพาปนาย เพื่อดับ คือเพื่อประโยชน์แก่อมตมหานิพพาน.

บทว่า ปฏินิสฺสคฺคาย เพื่อสละคืน คือเพื่อสละกิเลสทั้งหลายด้วยมรรค.

บทว่า ปฏิปสฺสทฺธิยา เพื่อระงับ คือไม่พอเพื่อไม่ให้เกิดความระงับ

ด้วยผล. เพราะอย่างนี้จึงไม่วิวาทกัน.

พึงทราบคาถาว่า ยากาจิมา ทิฏฐิเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นต้นดังนี้ .

ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมติโย คือ ทิฏฐิทั้งหลาย. บทว่า ปุถุชฺชา

คือ ที่เกิดแต่ปุถุชน. บทว่า โส อุปย กิเมยฺย บุคคลนั้น พึงถึงสังขาร

ธรรมอันควรเข้าถึงอย่างไรเล่า ความว่า บุคคลนั้น พึงเข้าถึงธรรมแม้

อย่างหนึ่งในบรรดารูปเป็นต้น อันควรเข้าถึงอย่างไรเล่า หรือพึงเข้าถึง

ด้วยเหตุไรเล่า. บทว่า ทิฏฺเฐ สุเต ขนฺติมกุพฺพมาโน คือ ไม่ทำความ

ชอบใจในรูปที่เห็นและในเสียงที่ฟังอันหมดจดทั้งหลาย.

บทว่า ปุถุชฺชเนหิ ชนิตา วา คือ สมมติเหล่านั้นอันปุถุชนให้เกิด.

บทว่า ตา สมฺมติโย ได้แก่ ทิฏฐิเหล่านั้น. บทว่า ปุถุนานา-

ชเนหิ ชนิตา วา คือ หรือว่าอันเป็นเจ้าทิฏฐิต่าง ๆ มากให้เกิด. บทว่า

เนติ ตัดบทเป็น น เอติ คือ ไม่ถึง. บทว่า น อุเปติ ไม่เข้าถึง คือ

ไม่เข้าไปใกล้. บทว่า น อุปคจฺฉติ ไม่เข้าไปถึง คือกลับ. บทว่า

นาภินิวิสติ ไม่ยึดมั่น คือไม่เข้าไปตั้งมั่น. นอกเหนือไปจากนี้ พึงทราบ

คาถาว่า สีลุตฺตมา สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้สำคัญว่า ศีลอุดม ดังนี้

เป็นต้น ต่อไป.

บทนั้นมีความดังนี้ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกสำคัญว่า ศีลอุดม

สมาทานวัตรมีวัตรของช้างเป็นต้น แล้วเข้าไปตั้งอยู่ ได้กล่าวความหมดจด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 268

ด้วยความสำรวมว่า ความหมดจดของศาสดานั้น ในทิฏฐินี่แหละ

สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้เข้าถึงภพ สยบอยู่ในภพ ย่อมกล่าวว่าเป็น

ผู้ฉลาด. อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวว่า เป็นผู้ฉลาด คือ มีวาทะ

อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ฉลาด. บรรดาสมณพราหมณ์ผู้มีศีลอุดม อย่างนี้

เหล่านั้น สมณพราหมณ์คนใดคนหนึ่งปฏิบัติอย่างนั้น พึงทราบคาถาว่า

สเจ จุโต ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรตนี้ ดังนี้เป็นต้นต่อไป.

บทนั้นมีความดังนี้ ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรต คือเป็นผู้

เคลื่อน ด้วยการตัดขาดจากบุคคลอื่น หรือไม่บรรลุ บุคคลนั้นพลาดมรรค

คือศีลและพรตนั้น หรือกรรมมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น แล้วย่อมหวั่นไหว

ถึงภพ อนึ่ง ย่อมอยาก เพ้อเจ้อ และปรารถนาถึงความหมดจดของศีล

และพรตนั้น. เหมือนอะไร. เหมือนบุรุษออกจากเรือนตามไปไม่ทันพวก

ฉะนั้น เขาปรารถนาเรือนนั้นหรือพวก ด้วยการชี้ขาดของคนอื่น ถูกคนอื่น

ห้ามหรือไม่บรรลุ เพราะเหตุนั้นจึงไม่ยังการปฏิบัตินั้นให้สมบูรณ์ได้. บทว่า

ายาปรทฺโธ พลาดจากอรหัตผล คือ เสื่อมจากนิพพาน หรือจากมรรค.

บทว่า ต วา สตฺถ อนุพนฺธติ คือ ติดตามพวกนั้นไปข้างหลัง

ในทุกแห่งหน. พึงทราบคาถาว่า อริยสาวกละศีลและพรตทั้งปวง

อันเป็นเหตุให้ศีลอุดมหวั่นไหวได้ ดังนี้เป็นต้นต่อไป.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สาวชฺชานวชฺช ละกรรมอันมีโทษและ

ไม่มีโทษ คือ อกุศลทั้งหมด และกุศลที่เป็นโลกิยะ. บทว่า เอต สุทธึ

อสุทฺธินฺติ อปฏฺยาโน ไม่ปรารถนาความหมดจดและความไม่หมดจดนี้

คือ ไม่ปรารถนาความหมดจด อันได้แก่กามคุณ ๕ เป็นต้น และความ

ไม่หมดจด อันได้แก่อกุศลเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 269

บทว่า วิรโต จเร เป็นผู้เว้นแล้ว จึงประพฤติ คือ เป็นผู้เว้นแล้ว

จากความหมดจดและความไม่หมดจด พึงปฏิบัติ. บทว่า สนฺติมนุคฺคหาย

คือ ไม่ยึดถือทิฏฐิ.

บทว่า กณฺห กณฺหวิปาก กรรมดำมีผลดำ คือ อกุศลกรรมให้ผล

เป็นอกุศลวิบาก. บทว่า สุกฺก สุกฺกวิปาก กรรมขาวมีผลขาว คือ กุศล

เป็นโลกิยะให้ผลขาว เช่นเดียวกับด้วยตน. บทว่า นิยามาวกฺกนฺตึ คือ

ปรารถนาเข้าสู่อริยมรรค.

บทว่า เสกฺขา คือ พระเสขะ ๗ จำพวก. บทว่า อคฺคธมฺม คือ

ธรรมสูงสุด ได้แก่อรหัตผล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงการกำจัดวาทะอันหมดจด

ด้วยการสำรวมในศีลอุดม ภายนอกจากนี้อย่างนี้ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น

และการปฏิบัติของพระอรหันต์ผู้ละศีลและพรตแล้ว บัดนี้เพื่อทรงแสดง

วาทะอันบริสุทธิ์ภายนอกโดยประการอื่น จึงตรัสคาถานี้ว่า ตมูปนิสฺสาย

พวกสมณพราหมณ์อาศัยตบะนั้น ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีความดังนี้ มีสมณพราหมณ์แม้พวกอื่นอาศัยตบะที่เกลียด

ชังนั้น หรืออาศัยอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดารูปที่เห็นอันหมดจดเป็นต้น

เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้าด้วยอกิริยทิฏฐิ ยังไม่ปราศจาก

ตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมพร่ำพูดถึงความหมดจด.

บทว่า ตโปชิคุจฺฉวาทา มีวาทะเกลียดชังตบะ คือ สมณพราหมณ์

ทั้งหลาย มีวาทะละอายต่อบาปด้วยทำความเพียรมีทรมานร่างกายเป็นต้น.

บทว่า ตโปชิคุจฺฉสารา มีความเกลียดชังตบะเป็นสาระ คือมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 270

ความละอายด้วยตบะนั้นเป็นสาระ. บทว่า อุทฺธสราวาทา คือ กล่าวความ

หมดจดด้วยสงสาร.

อธิบายว่า เมื่อสมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้ยังไม่ปราศจากตัณหาอย่างนี้

ยังกล่าวถึงความหมดจด แม้ผู้ใดสำคัญตนว่าถึงความหมดจดแล้ว เมื่อ

ผู้นั้นยังปรารถนาวัตถุนั้น ๆ ในภพน้อยภพใหญ่ เพราะยังไม่ปราศจาก

ตัณหา ย่อมมีความอยากได้อยู่บ่อย ๆ นั่นเอง. จริงอยู่ ตัณหาที่บุคคลเสพ

เป็นอาจิณ ย่อมเพิ่มความทะเยอทะยานหนักขึ้น ไม่เพียงความอยากอย่าง

เดียว แม้ความหวั่นไหวก็ย่อมมีในเพราะวัตถุทั้งหลายที่กำหนดไว้แล้ว.

ท่านอธิบายว่า แม้ความหวั่นไหวก็ย่อมมี ในเพราะวัตถุที่กำหนดไว้

ด้วยตัณหาและทิฏฐิ. พึงเชื่อมความแห่งคาถานี้ว่า การจุติและอุปบัติ

ต่อไป ไม่มีแก่ภิกษุใดในศาสนานี้ เพราะปราศจากตัณหาแล้วในภพน้อย

และภพใหญ่ ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร พึงชอบใจในที่ไหน

ดังนี้.

บทว่า อาคมน คือ มาบ่อย ๆ. บทว่า คมน คือ ไปในภพอื่น

จากภพนี้. บทว่า คมนาคมน ไปและมา คือไปจากนี้แล้วกลับมาอีก.

บทว่า กาล คือ ความตาย. บทว่า คติ คือ ควรไปตามคติด้วย

อำนาจแห่งการไป.

บทว่า ยมาหุ ธมฺม สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เป็น

เยี่ยมดังนี้. เป็นคาถาถาม. เพราะในวาทะเหล่านี้วาทะจริงไม่มีแม้แต่อย่าง

เดียว เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นพูดเพียงแต่เห็นอย่างเดียว ฉะนั้น

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความนั้น จึงตรัสคาถาแก้นี้ก่อน

ว่า สก หิ ธรรมของตนบริบูรณ์ ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 271

ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมตึ คือ ทิฏฐิ. บทว่า อโนน คือ ไม่พร่อง.

เมื่อสมณพราหมณ์เหล่านี้ กล่าวธรรมของตนว่า เป็นธรรมบริบูรณ์ กล่าว

ธรรมของตนอื่นว่าเลว พึงทราบความว่า หากว่าบุคคลเป็นคนเลว

เพราะคำที่ผู้อื่นตำหนิดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีความดังนี้ ผิว่า บุคคลพึงเป็นคนเลว เพราะเหตุที่ผู้อื่น

ตำหนิไซร้ ใคร ๆ ก็ไม่พึงเป็นผู้วิเศษ คือ เลิศในธรรมทั้งหลาย เพราะ

อะไร เพราะปุถุชนย่อมกล่าวธรรมของผู้อื่น โดยความเป็นธรรมเลว

ชนทั้งหลายเป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมเป็นทางดำเนินของตนเท่านั้น.

บทว่า วมฺภยิตการณา เพราะเหตุที่ผู้อื่นตำหนิ คือ เพราะถูกกำจัด.

บทว่า ครหิตการณา เพราะเหตุที่ผู้อื่นติเตียน คือ เพราะเหตุที่ตน

ทำความลามกไว้. บทว่า อุปวทิตการณา เพราะเหตุที่ผู้อื่นค่อนคือด่า.

บทว่า สกายน คือ ทางดำเนินของตน. มีอะไรที่จะกล่าวอีก

มีดังต่อไปนี้.

พึงทราบคาถาว่า สธมฺมบูชา การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของ

ตนต่อไป. บทนั้นมีความดังนี้ ก็แม้การบูชาธรรมของสมณพราหมณ์

เหล่านั้นย่อมเป็นของจริง เหมือนดังพวกเดียรถีย์เหล่านั้นสรรเสริญธรรม

เป็นทางดำเนินของตน เพราะพวกเขานับถือบูชาศาสดาเป็นต้นอย่างยิ่ง

ผิว่า พวกเขาพึงถือเป็นประมาณในข้อนั้นได้ เมื่อเป็นอย่างนั้น วาทะ

ทั้งหมดก็พึงเป็นของจริง. เพราะอะไร. เพราะความหมดจดของสมณ-

พราหมณ์เหล่านั้นเป็นของเฉพาะตัวเท่านั้น. ความสำเร็จนั้นย่อมไม่สำเร็จ

ในบุคคลอื่น แม้โดยปรมัตถ์ก็ไม่มี. เพราะความหมดจดนั้นเป็นเพียง

ยึดถือด้วยความเห็นเท่านั้น ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ผู้มีปัญญาอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 272

บุคคลอื่นพึงแนะนำ. บทว่า ปจฺจตฺตเมว คือ เฉพาะตัวเท่านั้น. อนึ่ง

โดยตรงกันข้าม ผู้ใดชื่อว่า เป็นสมณพราหมณ์ เพราะลอยบาปได้แล้ว

พึงทราบคาถาว่า ญาณอันบุคคลอื่นแน่ะนำย่อมไม่มีแก่พราหมณ์นั้น.

บทนั้นมีความดังนี้ ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ ย่อมไม่มีแก่

พราหมณ์ เพราะเป็นผู้เห็นชอบแล้วโดยนัยมีอาทิว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวง

ไม่เที่ยงดังนี้ แม้ความตัดสินใจแล้วยึดมั่นในธรรม คือทิฏฐิทั้งหลายว่า

นี้เท่านั้นจริงดังนี้ก็ไม่มีแก่พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงก้าวล่วง

เสียแล้วซึ่งความทะเลาะกันด้วยทิฏฐิ เพราะพราหมณ์นั้นย่อมไม่เห็นธรรม

อื่นโดยความเป็นธรรมประเสริฐ นอกจากสติปัฏฐานเป็นต้น.

บทว่า น ปรเนยฺโย คือ พราหมณ์ไม่ต้องอาศัยผู้อื่นแนะนำ คือให้รู้.

บทว่า ปรปตฺติโย น ปรปจฺจโย คือ ไม่เชื่อผู้อื่น. บทว่า น ปรปฏิพทฺธคู

คือ ไม่ดำเนินเนื่องด้วยผู้อื่น.

พึงทราบการเชื่อมและความแห่งคาถาว่า ชานามิ เราย่อมรู้ดังนี้

เป็นต้นต่อไป. เพราะพราหมณ์ชั้นเยี่ยม (ปรมัตถพราหมณ์) ย่อมไม่เห็น

ธรรมอื่น โดยความเป็นธรรมประเสริฐอย่างนี้ก่อน ส่วนเดียรถีย์พวกอื่น

รู้อยู่ด้วยปรจิตตญาณ (ญาณรู้ใจผู้อื่น) เป็นต้น แม้เห็นอยู่ แม้กล่าวอยู่

อย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นความหมดจดนี้เป็นของจริง ชื่อว่าย่อมเห็นความ

หมดจดด้วยทิฏฐิ. เพราะเหตุไร. เพราะบรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้นหาก

ว่าแม้สมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว สมณพราหมณ์ผู้ได้เห็นเนื้อความ

ตามเป็นจริงด้วยปรจิตตญาณเป็นต้นนั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็น

นั้นของสมณพราหมณ์นั้นเล่า จะทำอะไรได้เล่า จะกำหนดรู้ทุกข์ให้สำเร็จ

ได้อย่างไรเล่า หรือว่าพวกเดียรถีย์เหล่านั้น ล่วงอริยมรรคแม้โดยประการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 273

ทั้งปวงอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดาการละเหตุแห่งทุกข์เป็นต้น ย่อมกล่าว

ความบริสุทธิ์ด้วยทัศนะอื่น พระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงก้าวล่วงเดียรถีย์

เหล่านั้น ย่อมกล่าวความบริสุทธิ์ด้วยทัศนะอื่นนั่นแล.

พึงทราบการเชื่อมและความแห่งคาถาว่า ปสฺส นโร นรชนเมื่อ

เห็นดังนี้เป็นต้น. มีอะไรที่จะกล่าวยิ่งกว่านี้อีก มีดังต่อไปนี้. นรชนใด

ได้เห็นด้วยปรจิตตญาณเป็นต้น นรชนนั้นเมื่อเห็นก็ย่อมเห็นนามรูปไม่อื่น

ไปจากนั้น หรือเห็นแล้วก็รู้จักนามรูปเหล่านั้นเท่านั้น โดยความเป็นของ

เที่ยงหรือโดยความเป็นสุข ไม่เห็นเป็นอย่างอื่น นรชนเมื่อเห็นอย่างนี้

เห็นนามรูปมากบ้าง น้อยบ้าง โดยความเป็นของเที่ยง และโดยเป็นสุข

โดยแท้ ถึงอย่างนั้นผู้ฉลาดทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวความหมดจดด้วยความ

เห็นนามรูปนั้นเลย.

พึงทราบการเชื่อมและความแห่งคาถาว่า นิวิสฺสวาที นรชนผู้กล่าว

ด้วยความถือมั่นดังนี้เป็นต้นต่อไป. แม้เมื่อความบริสุทธิ์ไม่มีด้วยความ

เห็นนั้น นรชนใดกล่าวด้วยความถือมั่นอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น ความ

บริสุทธิ์นั้นเป็นจริง หรืออาศัยความเห็นนั้น ถือความบริสุทธิ์ด้วยทิฏฐิ

กล่าวด้วยความถือมั่นอย่างนี้ว่า นี้เท่านั้นจริง นรชนนั้นเป็นผู้อันใคร ๆ

ไม่พึงแนะนำให้ดีได้ เป็นผู้เชิดทิฏฐิที่กำหนดปรุงแต่งแล้วไว้ในเบื้องหน้า

นรชนั้นนอาศัยวัตถุใดมีศาสดาเป็นต้น ก็กล่าววัตถุนั้นว่างามในเพราะ

ทิฏฐินั้น สำคัญตนว่า เราเป็นผู้มีวาทะหมดจด มีวาทะบริสุทธิ์ดังนี้ ได้

เห็นว่าแท้ในทิฏฐินั้น คือได้เห็นความไม่วิปริตในทิฏฐิของตนนั้น. อธิบาย

ว่า ทิฏฐินั้นเป็นไปอย่างใด ได้เห็นทิฏฐินั้นเป็นไปอย่างนั้น ไม่ปรารถนา

จะเห็นโดยประการอื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 274

บทว่า นิวสฺสวาที คือ กล่าวเพราะความมั่นใจ. บทว่า ทุพฺพินโย

คือ ยากที่จะแนะนำได้. บทว่า ทุปฺปญฺาปโย คือ ยากที่จะให้รู้ คือ

ให้ได้อย่างใจได้.

บทว่า ทุนฺนิชฺฌาปโย ยากที่จะให้เข้าใจได้ คือ ยากที่จะให้เข้าใจ

บ่อย ๆ เพื่อทดสอบใจแล้วถือเอาได้. บทว่า ทุปฺเปกฺขาปโย คือ ยาก

ที่จะให้เห็นได้. บทว่า ทุปฺปสาทโย คือ ยากที่ให้จิตเกิดความเลื่อมใส

ได้. บทว่า อปสฺสิ ได้เห็นแล้ว คือได้บรรลุปฏิเวธด้วยญาณ. บทว่า

ปฏิวชฺฌิ ได้แทงตลอด คือได้บรรลุความตรัสรู้ด้วยจิต. พึงทราบความ

ในเดียรถีย์ทั้งหลาย ผู้เชิดทิฏฐิที่กำหนดไว้ในเบื้องหน้าดังต่อไปนี้.

พึงทราบคาถาว่า น พฺราหฺมโณ กปฺปมุเปติ สงฺข พราหมณ์

ทราบด้วยญาณแล้วย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความกำหนด ดังนี้เป็นต้นต่อไป.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺข ความว่า ทราบแล้ว คือรู้แล้ว. บทว่า

นปิ าณพนฺธุ ไม่มีตัณหาหรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพันเพราะญาณ คือไม่

ทำตัณหาหรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน ด้วยสมาปัตติญาณเป็นต้น. ในบท

นั้นมีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่าไม่มีตัณหาหรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพันเพราะญาณ

เพราะมีวิเคราะห์ว่า ไม่มีตัณหาและทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพันอันทำแล้วด้วย

ญาณ. บทว่า สมฺมติโย ได้แก่ สมมติคือทิฏฐิ. บทว่า ปุถุชฺชา คือ

เป็นแดนเกิดของปุถุชน. บทว่า อุคฺคหณนฺติ มญฺเ คือ สมณพราหมณ์

เหล่าอื่นย่อมถือมั่น. อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่าอื่นย่อมถือมั่นทิฏฐิ

เหล่านั้น. บทว่า อุเปกฺขติ ย่อมวางเฉย คือไม่เพ่งดูตั้งแต่เกิด. มีอะไร

ที่กล่าวให้ยิ่งไปอีก มีดังต่อไปนี้.

๑. ๒. ม. สงฺขา แก้เป็น สงฺขาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 275

พึงทราบคาถาว่า วิสชฺช คนฺถานิ มุนีสละแล้วซึ่งกิเลสเครื่องร้อย-

รัดทั้งหลายในโลกนี้ ดังนี้เป็นต้นต่อไป. ในบทเหล่านั้น บทว่า อนุคฺคโห

คือเว้นจากความถือมั่น. ชื่อ อนุคฺคโห เพราะไม่มีการถือมั่น หรือเพราะ

ไม่ถือมั่น. บทว่า คนฺเถ โวสฺสชฺชิตฺวา วา วางกิเลสเครื่องร้อยรัด

ทั้งหลาย คือสละกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้น. บทว่า

วิสชฺช สละแล้ว คือละโดยไม่ยึดมั่นอีก. บทว่า คถิเต รัด คือผูกแน่น.

บทว่า คนฺถิเต พัน คือพันไว้เหมือนจับด้าย. บทว่า พนฺเธ เหนี่ยวรั้ง

คือรั้งไว้อย่างดี. บทว่า วิพนฺเธ เกาะเกี่ยว คือเกาะเกี่ยวหลายอย่าง.

บทว่า ปลิพุทฺเธ พัวพัน คือผูกติดกันโดยรอบ. บทว่า พนฺธเน ผูก

ไว้ คือผูกไว้ด้วยกิเลส. บทว่า โผฏยิตฺวา คือ คลายแล้ว. บทว่า สชฺช

วิสชฺช กโรนฺติ ทำการปลดปล่อย คือทำให้เป็นของใช้ไม่ได้. บทว่า

วิโกปนฺติ คือ ทำให้แหลกไปเป็นชิ้น ๆ. มีอะไรที่จะกล่าวยิ่งกว่านั้นอีก

มีดังต่อไปนี้.

นรชนเห็นปานนั้นพึงทราบคาถาว่า ปุพฺพาสเว มุนีละอาสวะอันมี

ก่อน ดังนี้เป็นต้นต่อไป.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺพาสเว ได้แก่ กิเลสอันเกิดขึ้นปรารภ

รูปในอดีตเป็นต้น. บทว่า นเว ไม่ทำอาสวะใหม่ ได้แก่ กิเลสอันเกิดขึ้น

ปรารภรูปในปัจจุบันเป็นต้น. บทว่า น ฉนฺทคู ไม่เป็นผู้ดำเนินไปด้วย

ความพอใจ คือไม่ไปด้วยอำนาจฉันทาคติเป็นต้น. บทว่า อนตฺตครหี ไม่

เป็นผู้ติเตียนคน คือไม่ติเตียนคนด้วยการกระทำและไม่กระทำ อย่างนี้แล

ชื่อว่าไม่ติเตียนตน. พึงทราบคาถาต่อไปว่า ส สพฺพธมฺเมสุ มุนีนั้น

กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง.

๑. ม. สจฺจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 276

ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพธมฺเมสุ คือ ในธรรมอันได้แก่ทิฏฐิ

๖๒ อันมีประเภทอย่างนี้ว่า รูปที่เห็นแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า

ปนฺนภาโร คือ เป็นผู้ปลงภาระแล้ว. บทว่า น กปฺปิโย คือ ไม่มี

กำหนด. อธิบายว่า ไม่ทำความกำหนดแม้ ๒ อย่าง. บทว่า นูปรโต

ไม่เข้าไปยินดี คือไม่มีความพร้อมที่จะเข้าไปยินดีดุจพระเสกขะผู้เป็น

กัลยาณปุถุชน. บทว่า น ปตฺถิโย ไม่มีความปรารถนา คือไม่มีความ

ทะเยอทะยาน. จริงอยู่ ตัณหา ชื่อว่า ปตฺถิยา เพราะมีความปรารถนา.

ชื่อว่า น ปตฺถิโย เพราะไม่มีความปรารถนา. ก่อนหลังจากนี้มี

ความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในที่นั้น ๆ. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต. เมื่อจบเทศนา

ได้มีผู้บรรลุเช่นกับที่กล่าวแล้วใน ปุราเภทสูตร นั่นแล.

จบอรรถกถามหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 277

ตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔

[๗๐๐] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ข้าพระองค์ขอทูลถาม

พระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ผู้สงัด แสวงหาคุณ

ใหญ่ว่า ภิกษุเห็นอย่างไรแล้ว จึงไม่ถือมั่นซึ่งสังขาร

อะไรในโลก ย่อมดับ.

ว่าด้วยปุจฉามี ๓ อย่าง

[๗๐๑] ชื่อว่า ปุจฉา ในคำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์

ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ปุจฉามี ๓ อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา ๑

ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา ๑ วิมติฉทนาปุจฉา ๑.

ทิฏฐโชตนาปุจฉาเป็นไฉน ลักษณะใดที่ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่

พิจารณา ไม่เทียบเคียง ไม่กระจ่าง ไม่แจ่มแจ้งโดยปกติ บุคคลย่อม

ถามปัญหาเพื่อจะรู้ เพื่อเห็น เพื่อพิจารณา เพื่อเทียบเคียง เพื่อกระจ่าง

เพื่อแจ่มแจ้งซึ่งลักษณะนั้น นี้ชื่อว่า อทิฏฐโชตนาปุจฉา.

ทิฏฐสังสันทนาปุจฉาเป็นไฉน ลักษณะใดที่รู้ เห็น พิจารณา

เทียบเคียง กระจ่าง แจ่มแจ้งแล้วโดยปกติ บุคคลย่อมถามเพื่อต้องการ

สอบสวนลักษณะนั้นกับบัณฑิตอื่น ๆ นี้ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา.

วิมติเฉทนาปุจฉาเป็นไฉน บุคคลเป็นผู้แล่นไปสู่ความเคลือบแคลง

สงสัยเป็นสองทางว่า เป็นอย่างนี้หรือหนอ หรือไม่เป็นอย่างนี้ เป็นอะไร

หนอ หรือเป็นอย่างไร บุคคลนั้นถามปัญหาเพื่อต้องการตัดความเคลือบ-

แคลงสงสัย นี้ชื่อว่า วิมติเฉทนาปุจฉา ปุจฉามี ๓ อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 278

ปุจฉาอีก ๓ อย่าง คือ มนุสสปุจฉา ๑ อมนุสสปุจฉา ๑ นิมมิต-

ปุจฉา ๑.

มนุสสปุจฉาเป็นไฉน มนุษย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมทูลถามปัญหา คือพวกภิกษุย่อมทูลถาม พวกภิกษุณีย่อม

ทูลถาม พวกอุบาสกย่อมทูลถาม พวกอุบาสิกาย่อมทูลถาม พระราชาย่อม

ทูลถาม กษัตริย์ย่อมทูลถาม พราหมณ์ย่อมทูลถาม แพศย์ย่อมทูลถาม

ศูทรย่อมทูลถาม คฤหัสถ์ย่อมทูลถาม บรรพชิตย่อมทูลถาม นี้ชื่อว่า

มนุสสปุจฉา.

อมนุสสปุจฉาเป็นไฉน พวกอมนุษย์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมทูลถามปัญหา คือนาคย่อมทูลถาม ครุฑย่อมทูลถาม

ยักษ์ย่อมทูลถาม อสูรย่อมทูลถาม คนธรรพ์ย่อมทูลถาม ท้าวมหาราช

ย่อมทูลถาม พระอินทร์ย่อมทูลถาม พรหมย่อมทูลถาม เทวดาย่อมทูล

ถาม นี้ชื่อว่าอมนุสสปุจฉา.

นิมมิตปุจฉาเป็นไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิรมิตพระพุทธรูป

ใด อันสำเร็จด้วยพระหฤทัย มีอวัยวะครบทุกอย่าง มีอินทรีย์ไม่วิการ

พระพุทธนิมิตนั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ตรัสถาม

ปัญหา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนา นี้ชื่อว่านิมมิตปุจฉา ปุจฉามี

๓ อย่างนี้.

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือ การถามถึงประโยชน์ตน ๑ การถามถึง

ประโยชน์ผู้อื่น ๑ การถามถึงประโยชน์ทั้งสองอย่าง ๑.

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือการถามถึงประโยชน์ในภพนี้ ๑ การถาม

ถึงประโยชน์ในภพหน้า ๑ การถามถึงประโยชน์อย่างยิ่ง ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือการถามถึงประโยชน์ไม่มีโทษ ๑ การ

ถามถึงประโยชน์ไม่มีกิเลส ๑ การถามถึงประโยชน์แห่งธรรมขาว ๑.

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือการถามถึงธรรมส่วนอดีต ๑ การถามถึง

ธรรมส่วนอนาคต ๑ การถามถึงธรรมส่วนปัจจุบัน ๑.

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือการถามถึงธรรมเป็นภายใน ๑ การถาม

ถึงธรรมเป็นภายนอก ๑ การถามถึงธรรมทั้งเป็นภายในและภายนอก ๑.

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือการถามถึงกุศลธรรม ๑ การถามถึง

อกุศลธรรม ๑ การถามถึงอพยากตธรรม ๑.

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือการถามถึงขันธ์ ๑ การถามถึงธาตุ ๑

การถามถึงอายตนะ ๑.

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือการถามถึงสติปัฏฐาน ๑ การถามถึง

สัมมัปปธาน ๑ การถามถึงอิทธิบาท ๑.

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือการถามถึงอินทรีย์ ๑ การถามถึงพละ ๑

การถามถึงโพชฌงค์ ๑.

ปุจฉามีอีก ๓ อย่าง คือการถามถึงมรรค ๑ การถามถึงผล ๑

การถามถึงนิพพาน ๑.

คำว่า ขอทูลถามพระองค์ ความว่า ขอทูลถาม ขออ้อนวอน

ขอเชื้อเชิญ ขอวิงวอนว่า ขอได้โปรดตรัสบอกธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอทูลถามพระองค์.

คำว่า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ความว่า พระสุริยะ เรียกว่า

พระอาทิตย์ พระอาทิตย์เป็นโคดมโดยโคตร แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็

เป็นโคดมโดยพระโคตร พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปรากฏโดยโคตรพระอาทิตย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 280

เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นเผ่าพันธุ์

พระอาทิตย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอทูลถามพระองค์ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์

พระอาทิตย์.

ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง

[๗๐๒] ชื่อว่า วิเวก ในคำว่า ผู้สงัด มีสันติบท แสวงหาคุณ

ใหญ่ ดังนี้ วิเวกมี ๓ อย่าง คือ กายวิเวก ๑ จิตตวิเวก ๑ อุปธิวิเวก ๑.

กายวิเวกเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอัน

สงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง

และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ เธอเดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้

เดียว เข้าสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่หลีกเร้นผู้เดียว

อธิษฐานจงกรมผู้เดียว ผู้เดียวเที่ยวไป ยับยั้งอยู่ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ

เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา นี้ชื่อว่ากายวิเวก.

จิตตวิเวกเป็นไฉน ภิกษุบรรลุปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์ บรรลุ

ทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกวิจาร บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ บรรลุ

จตุตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์ บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิต

สงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และมานัตตสัญญา บรรลุวิญญาณัญจายตน-

ฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน

มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา (เมื่อภิกษุนั้น) เป็นพระโสดาบัน

มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจ-

ฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น

เป็นพระสกทาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ ๆ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่า

เดียวกันกับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น เป็นพระอนาคามี มีจิตสงัดจาก

กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยอย่างละเอียด ๆ

และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น เป็น

พระอรหันต์ มีจิตสงัดจากรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย

ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้น

นั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่า จิตตวิเวก.

อุปธิวิเวกเป็นไฉน กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่า

อุปธิ อมตนิพพาน เรียกว่าอุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง

เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอกตัณหา เป็นที่

ดับตัณหา เป็นที่ออกไปจากตัณหาเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่า อุปธิวิเวก.

ก็กายวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ

จิตตวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้ว

อย่างยิ่ง อุปธิวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้หมดอุปธิ ถึงซึ่งนิพพานอันเป็น

วิสังขาร.

คำว่า สันติ ได้แก่สันติบ้าง สันติบทบ้าง โดยอาการอย่างเดียวกัน

ก็สันติบทนั้นนั่นแล คือ อมตนิพพาน ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้ง-

ปวง . . . เป็นที่ออกจากตัณหาเครื่องร้อยรัด สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่า บทใด คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง . . . เป็นที่ออกจาก

ตัณหาเครื่องร้อยรัด บทนั้นเป็นความสงบ เป็นธรรมชาติประณีต อีก

อย่างหนึ่ง โดยอาการอื่น ธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นไปเพื่อบรรลุความสงบ

เพื่อถูกต้องความสงบ เพื่อทำให้แจ้งความสงบ คือ สติปัฏฐาน ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 282

สัมมัปปธาน อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริย-

มรรคมีองค์ ๘ ธรรมเหล่านี้ เรียกว่าสันติบท บทสงบ ตาณบท บทที่

ต้านทาน เลณบท บทที่ซ่อนเร้น สรณบท บทที่พึ่ง อภยบท บทไม่มีภัย

อัจจุตบท บทไม่เคลื่อน อมตบท บทไม่ตาย นิพพานบท บทดับตัณหา.

คำว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสวงหาคุณใหญ่ คือทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งศีลขันธ์ใหญ่

สมาธิขันธ์ใหญ่ ปัญญาขันธ์ใหญ่ วิมุตติขันธ์ใหญ่ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์

ใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งความทำลาย

กองมืดใหญ่ ความทำลายวิปลาสใหญ่ ความถอนลูกศรคือตัณหาใหญ่

ความปลดเปลื้องโครงคือทิฏฐิใหญ่ ความกำจัดธงคือมานะใหญ่ ความ

ระงับอภิสังขารใหญ่ ความปิดกั้นโอฆะใหญ่ ความปลงภาระใหญ่ ความ

ดับสังสารวัฏใหญ่ ความดับความเดือดร้อนใหญ่ ความระงับความเร่าร้อน

ใหญ่ ความยกขึ้นซึ่งธงคือธรรมใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหา

คุณใหญ่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งสติปัฏฐาน ๔

สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริย-

มรรคมีองค์ ๘ อมตนิพพานเป็นปรมัตถ์ใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้

แสวงหาคุณใหญ่.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้อันสัตว์ทั้งหลายที่มีศักดิ์มาก

แสวงหา เสาะหา ค้นหาว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอยู่ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ที่ไหน พระพุทธเจ้าเป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดาประทับอยู่ที่ไหน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 283

พระพุทธเจ้าผู้องอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้

แสวงหาคุณใหญ่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้สงัด มีสันติบท แสวงหา

คุณใหญ่.

[๗๐๓] คำว่า ภิกษุเห็นอย่างไรแล้ว . . .ย่อมดับ ความว่า ภิกษุ

เห็น พบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง

อย่างไรจึงดับ สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ระงับ ซึ่งราคะ โทสะ

โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความ

ริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี

ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริต

ทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อน

ทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวงของตน. คำว่า ภิกษุ คือภิกษุที่เป็น

กัลยาณปุถุชนหรือภิกษุที่เป็นเสขบุคคล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุเห็น

อย่างไรแล้ว . . . ย่อมดับ.

[๗๐๔] คำว่า ไม่ถือมั่นซึ่งสังขารอะไรในโลก ความว่า ไม่ถือ

มั่น ไม่ยึด ไม่จับต้องด้วยอุปาทาน ๔. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก

มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก อายตนโลก. คำว่า สังขารอะไร คือ

สังขารอะไร ได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพราะฉะนั้น จึง

ชื่อว่า ไม่ถือมั่นซึ่งสังขารอะไรในโลก เพราะฉะนั้น พระพุทธนิมิตนั้น

จึงตรัสถามว่า

ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระ-

อาทิตย์ ผู้สงัด มีสันติบท แสวงหาคุณใหญ่ว่า ภิกษุเห็น

อย่างไรแล้วจึงไม่ถือมั่นซึ่งสังขารอะไรในโลก ย่อมดับ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 284

[๗๐๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัดบาป

ธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่อง

เนิ่นช้าและอัสมิมานะ ด้วยปัญญา ก็ตัณหาอย่างใดอย่าง

หนึ่งที่มี ณ ภายใน ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดซึ่ง

ตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ.

ว่าด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า

[๗๐๖] คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัด

บาปธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า

และอัสมิมานะ ด้วยปัญญา ความว่า ธรรมเครื่องเนิ่นช้านั่นแหละ ชื่อว่า

ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ได้แก่ส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ

ตัณหาและส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ.

รากเหง้าของธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหาเป็นไฉน อวิชชา อโย-

นิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ นี้เป็นรากเหง้า

แห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา.

รากเหง้าแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิเป็นไฉน อวิชชา อโย-

นิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ นี้เป็นรากเหง้า

แห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ.

คำว่า ภควา เป็นพระนามเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่าง

หนึ่ง คำว่า ภควา ความว่า ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถว่า ผู้ทำลายราคะ

ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลายทิฏฐิ ทำลายเสี้ยนหนาม

ทำลายกิเลส และเพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรงจำแนกพิเศษ ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 285

จำแนกเฉพาะซึ่งธรรมรัตนะ เพราะอรรถว่า ทรงทำซึ่งที่สุดแห่งภพทั้ง-

หลาย เพราะอรรถว่า มีพระกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิต

อันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะ ป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจาก

เสียงกึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์

สมควรแก่วิเวก เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

เพราฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา

อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่ง

วิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘ (ฌานเป็นที่ตั้งแห่งความครอบงำอารมณ์)

อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ (รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑)

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่ง

สัญญาภาวหา ๑๐ กสิณสมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัป-

ปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค

มีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมี

ส่วนแห่งตถาคตพละ ๑๐ เวสารัชชธรรม ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖

พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 286

พระมารดา พระบิดา พระภาดา พระภคินี มิตรอำมาตย์ พระญาติ-

สาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิมให้ พระนามว่า ภควา นี้

เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนานมีในอรหัตผลในลำดับแห่งอรหัตมัค) เป็น

สัจฉิกาบัญญัติ พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงแห่ง

โพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว .

คำว่า พึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง... อัสมิมานะ ด้วยปัญญา

ความว่า ปัญญา เรียกว่า มันตา ได้แก่ความรู้ ความรู้ชัด ฯ ล ฯ ความ

ไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. คำว่า อัสมิมานะ คือ

อัสมิมานะ อัสมิฉันทะ อัสมิอนุสัย ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.

คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง

คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะ

ด้วยปัญญา ความว่า ภิกษุพึงกำจัด สกัด ดับ สงบ ปราบปราม ระงับ

ซึ่งบาปธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า

และอัสมิมานะ ด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัดบาปธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่ง

ส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้าและอัสมิมานะ ด้วยปัญญา.

[๗๐๗] คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า ตัณหาอย่างใดอย่าง

หนึ่งที่มี ณ ภายใน ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดย

ประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า อย่างใด

อย่างหนึ่ง นี้เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า ตัณหาคือ รูปตัณหา ฯ ล ฯ

ธรรมตัณหา. คำว่า ที่มี ณ ภายใน คือตัณหานั้นตั้งขึ้นภายใน เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า มี ณ ภายใน. อีกอย่างหนึ่ง จิต เรียกว่า ภายใน ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 287

จิต มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ

วิญญาขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสมกัน (กับผัสสะเป็นต้น ) ตัณหานั้น

สหรคต เกิดร่วม เกี่ยวข้อง สัมปยุต มีความเกิดร่วมกัน มีความดับ

ร่วมกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกันกับด้วยจิตคือใจ แม้เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่มี ณ ภายใน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาอย่างใด

อย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน.

ว่าด้วยผู้มีสติโดยเหตุ ๔

[๗๐๘] คำว่า ในกาลทุกเมื่อ ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา

เพื่อกำจัดซึ่งตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ ความว่า ในกาลทุกเมื่อ ใน

กาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ตลอดกาลเป็นนิตย์ ตลอดกาลยั่งยืน

ตลอดกาลนิรันดร์ ตลอดกาลเป็นอันเดียว ตลอดกาลติดต่อ ตลอดกาล

เป็นลำดับ ตลอดกาลไม่ขาดระยะ ตลอดกาลไม่มีระหว่าง ตลอดกาลสืบ

เนื่อง ตลอดกาลไม่ขาดสาย ตลอดกาลกระชั้นชิด ในกาลก่อนภัต ใน

กาลหลังภัต ในยามต้น ในยามกลาง ในยามหลัง ในข้างแรม ในข้าง

ขึ้น ในฤดูฝน ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ในตอนวัยต้น ในตอนวัยกลาง

ในตอนวัยหลัง.

คำว่า ผู้มีสติ ได้แก่ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อย่าง คือเมื่อเจริญ

กายานุปัสสนาสติปัฏฐานในกาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนา-

สติปัฏฐานในเวทนาทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนา-

สติปัฏฐานในจิต ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานใน

ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 288

อีกประการหนึ่ง คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้

ไม่มีสติ เพราะเป็นผู้กระทำธรรมทั้งหลายที่ควรทำด้วยสติ เพราะเป็นผู้

กำจัดธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสติ เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมอันเป็น

นิมิตแห่งสติ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔.

อีกประการหนึ่ง คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วย

สติ เป็นผู้อยู่ด้วยสติ เพราะเป็นผู้คล่องแคล่วด้วยสติ เพราะเป็นผู้ไม่

หวนกลับจากสติ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔.

อีกประการหนึ่ง คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ระลึกได้ เพราะ

เป็นผู้สงบ เพราะเป็นผู้ระงับ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ

ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ

จาตานุสสติ เทวดานุสสติ อานาปานสติ มรณสติ กายคตาสติ อุปสมา-

นุสสติ.

ความระลึก ความระลึกถึง ความระลึกเฉพาะ ความระลึก กิริยา

ที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์

สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค นี้เรียกว่าสติ บุคคล

เป็นผู้เข้าใกล้ เข้าชิด เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม

ประกอบด้วยสตินี้ บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้มีสติ.

คำว่า พึงศึกษา ได้แก่สิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา

อธิปัญญาสิกขา.

อธิศีลสิกขาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้

สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยใน

โทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 289

น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีลเป็นที่ตั้ง เป็นเบื้องต้น เป็นเบื้องบาท เป็นความ

สำรวม เป็นความระวัง เป็นปาก เป็นประธาน แห่งความถึงพร้อมด้วย

กุศลธรรมทั้งหลาย นี้ชื่อว่าอธิศีลสิกขา.

อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก

อยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุด

ขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิด

แต่สมาธิอยู่ เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มสติสัมปชัญญะ เสวยสุข

ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้

เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข

เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุ

ให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา.

อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา

ประกอบด้วยปัญญาอันให้ถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรก

กิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

เหล่านั้นอาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึง

ความดับอาสวะ นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา.

คำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดซึ่งตัณหาเหล่านั้น ใน

กาลทุกเมื่อ ความว่า ภิกษุพึงศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง

คือ เมื่อนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้ ก็พึงศึกษา เมื่อรู้ก็พึงศึกษา เมื่อเห็นก็

พึงศึกษา เมื่อพิจารณาก็พึงศึกษา เมื่อตั้งจิตก็พึงศึกษา เมื่อน้อมใจเธอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 290

ด้วยศรัทธาก็พึงศึกษา เมื่อประกอบความเพียรก็พึงศึกษา เมื่อเข้าไปตั้งสติ

ก็พึงศึกษา เมื่อตั้งจิตก็พึงศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญาก็พึงศึกษา เมื่อรู้ยิ่ง

ซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งก็พึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ก็พึงศึกษา

เมื่อละธรรมที่ควรละก็พึงศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญก็พึงศึกษา

เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งก็พึงศึกษา คือประพฤติ ประพฤติ

เอื้อเฟื้อ ประพฤติด้วยดี สมาทานประพฤติ เพื่อกำจัด กำจัดเฉพาะ

ละ สงบ สละคืน ระงับซึ่งตัณหาเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ

พึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดซึ่งตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ เพราะเหตุ-

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุฟังคำจัดบาป

ธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่อง

เนิ่นช้าและอัสมิมานะ ด้วยปัญญา ก็ตัณหาอย่างใดอย่าง

หนึ่งที่มี ณ ภายใน ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา เพื่อกำจัดซึ่ง

ตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ.

[๗๐๙] ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภายใน

หรือเป็นภายนอก ไม่พึงทำความถือตัวด้วยคุณธรรมนั้น

เพราะการทำความถือตัวนั้น อันผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่า

เป็นความดับกิเลส.

[๗๑๐] คำว่า ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภายใน

ความว่า ภิกษุพึงรู้คุณธรรมของตนอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นกุศลธรรม หรือ

เป็นอัพยากตธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 291

คุณธรรมของตนเป็นไฉน ? ภิกษุเป็นผู้ออกบวชจากสกุลสูงบ้าง

ออกบวชจากสกุลใหญ่บ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมากบ้าง ออก

บวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่บ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียงมียศกว่าคฤหัสถ์และ

บรรพชิตทั้งหลาย เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย.

เภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง ทรงพระวินัยบ้าง เป็นธรรม-

กถึกบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร

บ้าง ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง ถือการทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง

ถือการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง ถือการไม่ฉันภัตหน

หลังเป็นวัตรบ้าง ถือการไม่นอนเป็นวัตรบ้าง ถือการอยู่ในเสนาสนะ

ที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง ได้ทุติยฌานบ้าง

ได้ตติยฌานบ้าง ได้จตุตถฌานบ้าง ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง

ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง ได้เนว-

สัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง คุณธรรมเหล่านี้เรียกว่า คุณธรรมของ

ตน. ภิกษุพึงรู้ รู้ทั่ว รู้ชัด รู้แจ่มแจ้ง แทงตลอดซึ่งคุณธรรมของตน

อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่าง

หนึ่งที่เป็นภายใน.

คำว่า หรือเป็นภายนอก ความว่า คุณธรรมเหล่านั้น เป็นของ

พระอุปัชฌายะหรืออาจารย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือเป็นภายนอก.

[๗๑๑] คำว่า ไม่พึงทำความรุนแรงด้วยคุณธรรมนั้น ความว่า

ภิกษุไม่พึงทำความรุนแรง คือไม่พึงทำความกระด้าง ไม่พึงทำความถือตัว

ไม่พึงทำความเย่อหยิ่ง ไม่พึงทำความจองหอง ด้วยคุณธรรมของตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 292

หรือด้วยคุณธรรมของคนเหล่าอื่น ไม่พึงให้ความถือตัวเกิดด้วยคุณธรรม

นั้น ไม่พึงเป็นผู้กระด้างจองหองหัวสูงด้วยคุณธรรมนั้น เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ไม่พึงทำความรุนแรงด้วยคุณธรรมนั้น.

[๗๑๒] คำว่า เพราะทำความรุนแรงนั้น อันผู้สงบทั้งหลาย

กล่าวว่าเป็นความดับกิเลส ความว่า การทำความรุนแรงนั้น อันพระ-

พุทธเจ้า พระพุทธสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นสัตบุรุษ ไม่กล่าว

ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่บัญญัติ ไม่แต่งตั้ง ไม่เปิดเผย ไม่จำแนก

ไม่ทำให้ตื้น ไม่ประกาศว่าเป็นความดับกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เพราะการทำความรุนแรงนั้น อันผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่าเป็นความดับ

กิเลส เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภายใน หรือ

ภายนอก ไม่พึงทำความรุนแรงด้วยคุณธรรมนั้น เพราะ

การทำความรุนแรงนั้น อันผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่าเป็น

ความดับกิเลส.

[๗๑๓] ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขา ว่าต่ำกว่าเขา หรือแม้ว่า

เสมอเขา ด้วยคุณธรรมนั้น ภิกษุผู้เพียบพร้อมด้วยคุณ-

ธรรมเป็นอเนก ไม่พึงกำหนดตนดำรงอยู่.

ว่าด้วยมานะ (ความสำคัญตัว)

[๗๑๔] คำว่า ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขา . . .ด้วยคุณธรรม

นั้น ความว่า ภิกษุไม่พึงยังความถือตัวให้เกิดว่า เราเป็นผู้ดีกว่าเขา ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 293

ชาติ ด้วยโคตร ด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุล ด้วยความเป็นผู้มีรูปงาม

ด้วยทรัพย์ ด้วยความเชื้อเชิญ ด้วยหน้าที่การงาน ด้วยหลักวิชา ด้วย

วิทยฐานะ ด้วยการศึกษา ด้วยปฏิภาณ หรือด้วยวัตถุอื่นๆ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขา. . .ด้วยคุณธรรมนั้น.

[๗๑๕] คำว่า ต่ำกว่าเขา หรือแม้ว่าเสมอเขา ความว่า ภิกษุ

ไม่พึงยังความถือตัว ตกต่ำให้เกิดว่า เราเป็นผู้เลวกว่าเขา ด้วยชาติ ด้วย

โคตร ฯลฯ หรือด้วยวัตถุอื่นๆ ไม่พึงยังความถือตัวให้เกิดว่า เราเป็น

ผู้เสมอเขา ด้วยขาด ด้วยโคตร ด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุล ด้วยความ

เป็นผู้มีรูปงาม ด้วยทรัพย์ ด้วยความเชื้อเชิญ ด้วยหน้าที่การงาน ด้วย

หลักวิชา ด้วยวิทยฐานะ ด้วยการศึกษา ด้วยปฏิภาณ หรือด้วยวัตถุอื่นๆ

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ต่ำกว่าเขา หรือแม้ว่าเสมอเขา.

[๗๑๖] คำว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นอเนก ความว่า

ผู้เพียบพร้อม ห้อมล้อม พรั่งพร้อม ประกอบด้วยอาการหลายอย่าง

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นอเนก.

[๗๑๗] คำว่า ไม่พึงกำหนดตนดำรงอยู่ ความว่า ตนเรียกว่า

อาตมันไม่พึงกำหนด กำหนดวิเศษ ถึงความกำหนดตน ดำรงอยู่

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงกำหนดตนดำรงอยู่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขา ว่าต่ำกว่าเขา หรือแม้ว่า

เสมอเขาด้วยคุณธรรมนั้น ภิกษุผู้เพียบพร้อมด้วยคุณ-

ธรรมเป็นอเนก ไม่พึงกำหนดตนดำรงอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 294

[๗๑๘] ภิกษุพึงสงบกิเลสเป็นภายในนี้แหละ ไม่พึงแสวงหา

ความสงบโดยทางอื่น เมื่อภิกษุสงบกิเลสเป็นภายในแล้ว

อัตตทิฏฐิหรือนิรัตตทิฏฐิ ย่อมไม่มีแต่ที่ไหนๆ.

[๗๑๙] คำว่า ภิกษุพึงสงบกิเลสเป็นภายในนี้แหละ ความว่า

ภิกษุพึงสงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับ ระงับ ซึ่งกิเลส เป็น

ภายใน คือราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่

ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความ

กระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท

กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน

ทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงสงบกิเลส

เป็นภายในนี้แหละ.

[๗๒๐] คำว่า ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น ความว่า

ภิกษุไม่พึงแสวงหา ค้นหา เสาะหา ซึ่งความสงบ ความเข้าไปสงบ ความ

เข้าไปสงบวิเศษ ความดับ ความระงับ โดยทางแห่งความไม่หมดจด

โดยปฏิปทาผิด โดยธรรมไม่เป็นทางแห่งความพ้นทุกข์อย่างอื่น นอกจาก

สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรค

มีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น.

[๗๒๑] คำว่า เมื่อสงบกิเลสเป็นภายในแล้ว ความว่า เมื่อสงบ

เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับ ระงับ ซึ่งกิเลสเป็นภายใน คือราคะ

โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อ

สงบกิเลสเป็นภายในแล้ว .

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 295

[๗๒๒] คำว่า นตฺถิ ในคำว่า อัตตทิฏฐิ หรือนิรัตตทิฏฐิ ย่อม

ไม่มีแต่ที่ไหน ๆ ดังนี้ เป็นปฏิเสธ. คำว่า อัตตทิฏฐิ คือสัสสตทิฏฐิก็ไม่มี

คำว่า นิรัตตทิฏฐิ คืออุจเฉททิฏฐิก็ไม่มี ความถือว่าตนย่อมไม่มี ความ

ปล่อยว่าไม่มีตนก็ไม่มี ความถือไม่มีแก่ภิกษุใด ความปล่อยก็ไม่มีแก่ภิกษุ

นั้น ความปล่อยไม่มีแก่ภิกษุใด ความถือก็ไม่มีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุผู้เป็น

อรหันต์ ก้าวล่วงความถือและความปล่อยเสียแล้ว ล่วงเลยความเจริญ

และความเสื่อมเสียแล้ว ภิกษุนั้นอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีจรณะอัน

ประพฤติแล้ว ฯลฯ ภิกษุนั้นมิได้มีความเกิดใหม่ต่อไป เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า อัตตทิฏฐิ หรือนิรัตตทิฏฐิ ย่อมไม่มีแต่ที่ไหนๆ เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุพึงสงบกิเลสเป็นภายในนี้แหละ ไม่พึงแสวงหา

ความสงบโดยทางอื่น เมื่อภิกษุสงบกิเลสเป็นภายในแล้ว

อัตตทิฏฐิหรือนิรัตตทิฏฐิ ย่อมไม่มีแต่ที่ไหน ๆ.

[๗๒๓] คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางแห่งสมุทร สมุทรสงบ

อยู่ฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้หยุดอยู่ ไม่มีความหวั่นไหว

ฉันนั้น ภิกษุไม่ควรทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นในที่ไหนๆ.

[๗๒๔] คำว่า คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางแห่งสมุทร สมุทร

สงบอยู่ฉันใด ความว่า โดยส่วนลึก สมุทรลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ น้ำข้าง

ล่าง ๔๐,๐๐๐ โยชน์ ย่อมหวั่นไหวเพราะปลาและเต่าทั้งหลาย น้ำข้างบน

๔๐,๐๐๐ โยชน์ ย่อมหวั่นไหวเพราะลม น้ำระหว่างกลาง ๔๐,๐๐๐ โยชน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 296

ย่อมไม่หวั่นไหวกำเริบวนไปวนมา ปั่นป่วน ปั่นป่วนพร้อม เป็นสมุทรไม่

หวั่นไหว ไม่เกลื่อนกล่น ไม่กำเริบ ไม่วน ไม่ป่วน ไม่ปั่น สงบอยู่

คลื่นไม่เกิดในระหว่างกลางแห่งสมุทรนั้น เป็นสมุทรนิ่งอยู่ แม้ด้วยเหตุ

อย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่าคลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางสมุทร สมุทรหยุดอยู่

ฉันใด อีกอย่างหนึ่ง สมุทรสีทันดรมีอยู่ในระหว่างภูเขาทั้ง ๗ น้ำใน

สมุทรสีทันดรนั้น ย่อมไม่หวั่นไหวกำเริบ วนไปวนมา ปั่นป่วน ปั่นป่วน-

พร้อม เป็นสมุทรไม่หวั่นไหว ไม่เกลื่อนกล่น ไม่กำเริบ ไม่วน ไม่ป่วน

ไม่ปั่น สงบอยู่ คลื่นไม่เกิดในสมุทรสีทันดรนั้นเป็นสมุทรนิ่งอยู่ แม้ด้วย

เหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่าคลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางสมุทร สมุทรหยุด

อยู่ ฉันใด.

[๗๒๕] คำว่า เอว ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้หยุดอยู่ไม่มีความหวั่น

ไหวฉันนั้น เป็นอุปไมยเครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อม. คำว่า เป็นผู้หยุดอยู่

คือภิกษุไม่หวั่นไหว กำเริบ วุ่นวาย สะเทือน สะท้าน ปั่นป่วน แม้ใน

เพราะลาภ แม้ในเพราะความเสื่อมลาภ แม้ในเพราะยศ แม้ในเพราะ

ความเสื่อมยศ แม้ในเพราะความสรรเสริญ แม้ในเพราะความนินทา แม้

ในเพราะสุข แม้ในเพราะทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้หยุด

อยู่ ฉันนั้น. ตัณหาเรียกว่าความหวั่นไหว ในคำว่า ไม่มีความหวั่นไหว

ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯ ลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตัณหาที่ชื่อว่า

ความหวั่นไหวนั้น อันภิกษุใดละ. ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่ให้เกิดขึ้น

เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ภิกษุนั้นเรียกว่า ไม่มีความหวั่นไหว เพราะ

เป็นผู้ละความหวั่นไหวเสียแล้ว ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า ไม่มีความหวั่นไหว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 297

ภิกษุนั้นย่อมไม่หวั่นไหว วุ่นวาย สะเทือน สะท้าน ปั่นป่วน แม้ใน

เพราะลาภ . . . แม้ในเพราะทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้หยุด

อยู่ ไม่มีความหวั่นไหว ฉันนั้น.

กิเลสเครื่องฟู ๗ ประการ

[๗๒๖] ชื่อว่ากิเลสเครื่องฟูขึ้น ในคำว่า ภิกษุไม่ควรทำกิเลส

เครื่องฟูขึ้นในที่ไหน ๆ ได้แก่ กิเลสเครื่องฟู ๗ ประการ คือกิเลสเครื่อง

ฟูขึ้น คือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส กรรม ภิกษุไม่ควร

ทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นนั้น ไม่พึงให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิด

เฉพาะ. คำว่า ในที่ไหน ๆ คือในที่ไหน ๆ ในที่ใด ๆ ในที่ทุก ๆ แห่ง

ทั้งภายใน ทั้งภายนอก ทั้งภายในและภายนอก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ภิกษุไม่ควรทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นในที่ไหน ๆ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางแห่งสมุทร สมุทรสงบ

อยู่ฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้หยุดอยู่ ไม่มีความหวั่นไหว

ฉันนั้น ภิกษุไม่ควรทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นในที่ไหนๆ.

[๗๒๗] (พระพุทธนิมิตตรัสถามอีกว่า) พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง ได้ทรงแสดงสักขิธรรมเครื่องกำจัด

อันตราย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงตรัสตอบ

ปฏิปทา คือปาติโมกข์ หรือแม้สมาธิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 298

ว่าด้วยจักษุ ๕

[๗๒๘] คำว่า ได้ทรงแสดง ในคำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มี

พระจักษุแจ่มแจ้งได้ทรงแสดง ความว่า ได้ทรงแสดง แสดงรอบ ตรัส

บอก เทศนา บัญญัติ แต่ตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้ว

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้ทรงแสดงแล้ว. คำว่า ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยพระจักษุ ๕ ประการ

คือมีพระจักษุแจ่มแจ้ง แม้ด้วยมังสจักษุ มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยทิพย-

จักษุ มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยปัญญาจักษุ มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วย

พุทธจักษุ มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยสมันตจักษุ.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแจ่มแจ้ง แม้ด้วยมังสจักษุอย่าง-

ไร ? สี ๕ อย่าง คือสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีดำ และสีขาว มีอยู่ใน

พระมังสจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขนพระเนตรทั้งหลายตั้งอยู่เฉพาะใน

ที่ใด ที่นั้นมีสีเขียว เขียวสนิท น่าชม น่าดู เหมือนดอกผักตบ ต่อจาก

ที่นั้น มีสีเหลือง เหลืองนวล สีเหมือนทองคำ น่าชม น่าดู. เหมือนดอก

กรรณิการ์ เบ้าพระเนตรทั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีสีแดง แดงงาม

น่าชม น่าดู. เหมือนสีปีกแมลงทับ ที่ท่ามกลางพระเนตร มีสีดำ ดำงาม

ไม่หมองมัว สนิท น่าชม น่าดู เหมือนสีสมอดำ (อิฐแก่ไฟ) ต่อจาก

ที่นั้น มีสีขาว ขาวงาม เปล่งปลั่ง ขาวนวล น่าชม น่าดู เหมือนสีดาว

ประกายพรึก พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระมังสจักษุนั้นเป็นปกติ เนื่องใน

พระวรกาย เกิดขึ้นเพราะสุจริตกรรมในภพก่อน จึงทรงเห็นตลอดโยชน์

หนึ่งโดยรอบทั้งกลางวันทั้งกลางคืน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 299

แม้เมื่อใด มีมืด ประกอบด้วยองค์ ๔ คือพระอาทิตย์อัสดงคต

ไป ๑ วัน อุโบสถมีในกาฬปักษ์ ๑ แนวป่าทึบ ๑ อกาลเมฆใหญ่ตั้งขึ้น ๑

เมื่อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเห็นตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบ ในที่มืด

ประกอบด้วยองค์ ๔ แม้เห็นปานนี้ ที่หลุมก็ดี บานประตูก็ดี กำแพงก็ดี

ภูเขาก็ดี กอไม้ก็ดี เถาวัลย์ก็ดี เป็นเครื่องบังการเห็นรูปทั้งหลายย่อมไม่มี

หากว่า บุคคลพึงเอางาเมล็ดหนึ่งทำเป็นเครื่องหมายใส่ลงในเกวียนบรรทุก

งานั้นแหละขึ้นได้ พระมังสจักษุเป็นปกติของพระผู้มีพระภาคเจ้าบริสุทธิ์

อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยมังสจักษุอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยทิพยจักษุอย่าง-

ไร ? พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว

ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณงาม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน

บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทรงทราบหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ว่า

สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระ-

อริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตาย

ไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านั้นประกอบด้วย

กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ

ยึดถือการทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว

ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ

อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ และทรงทราบหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วย

ประการดังนี้ ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประสงค์ พึงทรงเห็น

แม้โลกธาตุหนึ่ง แม้โลกธาตุสอง แม้โลกธาตุสาม แม้โลกธาตุสี่ แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 300

โลกธาตุห้า แม้โลกธาตุสิบ แม้โลกธาตุยี่สิบ แม้โลกธาตุสามสิบ แม้

โลกธาตุสี่สิบ แม้โลกธาตุห้าสิบ แม้โลกธาตุพันหนึ่งเป็นส่วนเล็ก แม้

โลกธาตุสองพันเป็นส่วนปานกลาง แม้โลกธาตุสามพัน แม้โลกธาตุ

หลายพัน หรือว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประสงค์เท่าใด ก็พึงทรง

เห็นเท่านั้น ทิพยจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้าบริสุทธิ์อย่างนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้ามีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยทิพยจักษุอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระจักษุแจ่มแจ้ง แม้ด้วยปัญญาจักษุ

อย่างไร ? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระปัญญามาก มีพระปัญญากว้าง-

ขวาง มีพระปัญญารื่นเริง มีพระปัญญาแล่นไป มีพระปัญญาเฉียบแหลม

มีพระปัญญาชำแรกกิเลส ทรงฉลาดในประเภทปัญญา มีพระญาณแตก

ฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุเวสารัชญาณ ๔ ทรงทศพลญาณ

ทรงเป็นบุรุษผู้องอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ ทรงเป็นบุรุษนาค ทรงเป็น

บุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษนำธุระไปเป็นปกติ มีพระญาณหาที่สุดมิได้

มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศหาที่สุดมิได้ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก

มีปัญญาเป็นทรัพย์ เป็นผู้นำ เป็นผู้นำไปโดยวิเศษ นำเนืองๆ ผู้ให้รู้จัก

ประโยชน์ ผู้ให้เพ่งพิจารณา ผู้เห็นประโยชน์ ผู้ให้แล่นไปด้วยปสาทะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้ให้มรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

ทรงให้มรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดขึ้นพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มี

ใครบอก ทรงรู้ซึ่งมรรค ทรงทราบซึ่งมรรค ทรงฉลาดในมรรค ก็แหละ

ในบัดนี้ พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้

ดำเนินตามมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยสีลาทิคุณในภายหลัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 301

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็น

ธรรมที่ควรเห็น มีพระจักษุ มีธรรม มีญาณ มีพรหมธรรม ผู้ตรัสบอก

ทรงแนะนำ ทรงนำออกซึ่งอรรถ ทรงประทานอมตธรรม เป็นธรรมสามี

เป็นพระคถาคต สิ่งที่ไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ในทรงทราบ ไม่ทรงทำให้

แจ่มแจ้ง ไม่ทรงถูกต้องด้วยปัญญา ย่อมไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ธรรมทั้งปวง รวมทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบัน ย่อมมาสู่

คลองแห่งพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว โดยอาการทั้งปวง

ชื่อว่าประโยชน์ที่ควรแนะนำทุกๆอย่างที่ควรรู้มีอยู่ ประโยชน์ตน ประ-

โยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองอย่าง ประโยชน์ในชาตินี้ ประโยชน์ใน

ชาติหน้า ประโยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับ ประโยชน์ที่ปกปิด

ประโยชน์ที่ควรแนะนำ ประโยชน์ที่นำไปแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษ

ประโยชน์ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์อันผ่องแผ้ว ประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์

ทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว มีพระญาณไม่ขัดข้องในอดีต มี

พระญาณไม่ขัดข้องในอนาคต มีพระญาณไม่ขัดข้องในปัจจุบัน กายกรรม

วจีกรรม มโนกรรมทั้งหมด ย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระผู้มีพร.่

ภาคจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว บทแห่งธรรมที่ควรแน่ะนำเท่าได้ พระญาณก็เท่านั้น-

พระญาณเท่าใด บทแห่งธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมีส่วนสุด

รอบแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ บทธรรมที่ควรแน่ะนำมีส่วนสุดรอบแห่ง

พระญาณ พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินบทแห่งธรรมที่ควรแนะนำ ทาง

แห่งบทธรรมที่ควรแน่ะนำก็ไม่เกินพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในส่วน

สุดรอบของกันและกัน เมื่อชั้นผอบทั้งสองปิดกันสนิทพอดี ชั้นผอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 302

ข้างล่างก็ไม่เกินชั้นผอบข้างบน ชั้นผอบข้างบนก็ไม่เกินชั้นผอบข้างล่าง

ชั้นผอบทั้งสองชั้น ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน ฉันใด บทธรรม

ที่ควรแนะนำก็ดี พระญาณก็ดี ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ตั้ง

อยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน บทธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระญาณ

ก็เท่านั้น พระญาณเท่าใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมี

ส่วนสุดรอบแห่งธรรมที่ควรแนะนำ บทแห่งธรรมที่ควรแนะนำก็มีส่วน

สุดรอบแห่งพระญาณ พระญาณไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ

ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็ไม่เกินพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ใน

ส่วนสุดรอบของกันและกัน ฉันนั้น พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมเป็นไปรอบในธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวงเนื่องด้วย

ความนึก เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว.

พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมเป็นไปรอบใน

สัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย จริต

อธิมุตติ แห่งสัตว์ทั้งปวง ย่อมทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสธุลีน้อย ใน

ปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์

อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้แนะนำได้โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก

เป็นภัพพสัตว์ เป็นอภัพพสัตว์ โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปในภายใน

พระพุทธญาณ ปลาและเต่าทุกชนิด รวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละและ

ปลาติมิติมิงคละ โดยที่สุด ย่อมเป็นไปภายในมหาสมุทร ฉันใด โลก

พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 303

เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ ฉันนั้น นกทุก

ชนิดรวมทั้งครุฑเวนไตรโคตร โดยที่สุดย่อมเป็นไปในประเทศอากาศ

ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลายผู้เสมอด้วยพระสารีบุตรเถระโดยปัญญา

ย่อมเป็นไปในประเทศแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้น. พระพุทธญาณย่อมแผ่

ปกคลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พวกบัณฑิตที่เป็นกษัตริย์

พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ มีปัญญาละเอียด แต่งวาทะโต้ตอบ เหมือน

นายขมังธนูผู้สามารถยิงขนทราย เที่ยวไปดุจทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วย

ปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้น ปรุงแต่งปัญญาแล้วเข้ามาเผ้าพระตถาคต

ทูลถามปัญหา ปัญหาเหล่านั้น อัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสย้อนถามและตรัส

แก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุที่ทรงแสดงออกและทรงสลัดออก บัณฑิต

เหล่านั้น ย่อมเลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรง

ไพโรจน์ยิ่งด้วยพระปัญญาในที่นั้นโดยแท้แล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระ-

จักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยปัญญาจักษุอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระจักษุแจ่มแจ้ง แม้ด้วยพุทธจักษุ

อย่างไร ? พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรง

เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญา

จักษุ มีอินทรีย์แก่กล้ามีอินทรีย์อ่อน มีอาหารดี มีอาการทราม ผู้แนะนำ-

ได้โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลก

อยู่ ในกอบัวเขียวก็ดี ในกอบัวแดงก็ดี ในกอบัวขาวก็ดี บางเหล่าเกิด

ในน้ำ เจริญในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัว

เขียวก็ดี ดอกบัวแดงก็ดี ดอกบัวขาวก็ดี บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ

ตั้งอยู่เสมอน้ำ ดอกบัวเขียวก็ดี ดอกบัวแดงก็ดี ดอกบัวขาวก็ดี บางเหล่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 304

เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ น้ำมิได้ติด แม้ฉันใด พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเมื่อทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย

ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์

แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้แนะนำได้โดยง่าย

ผู้แนะนำได้โดยยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ ฉันนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า บุคคลเหล่านั้นเป็นราคจริต

บุคคลนี้เป็นโทสจริต บุคคลนี้เป็นโมหจริต บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต บุคคล

นี้เป็นศรัทธาจริต บุคคลนี้เป็นญาณจริต พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสบอก

อสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต ย่อมตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้

เป็นโทสจริต ย่อมทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ดำรงอยู่ในการเรียน

ในการไต่ถาม ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล

ในการอยู่ร่วมกับครู ย่อมตรัสบอกอานาปานสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต

ย่อมตรัสบอกพระสูตรอันเป็นนิมิตดี ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความ

เป็นธรรมดีแห่งพระธรรม ความปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ และศีลทั้งหลาย

ของตน อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสแก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต ย่อม

ตรัสบอกธรรมอันเป็นนิมิตแห่งวิปัสสนา ซึ่งมีอาการไม่เที่ยง มีอาการ

เป็นทุกข์ มีอาการเป็นอนัตตา แก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต.

สมจริงดังประพันธคาถาว่า

บุรุษยืนอยู่บนยอดภูเขาศิลา พึงเห็นหมู่ชนโดยรอบ

แม้ฉันใด ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาดี มีจักษุ

โดยรอบ พระองค์มีความโศกไปปราศแล้ว ทรงขึ้นสู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 305

ปราสาทอันสำเร็จด้วยธรรม ขอจงทรงพิจารณาเห็นหมู่-

ชนผู้อาเกียรณด้วยความโศก ถูกชาติชราครอบงำอยู่

แล้ว ฉันนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแจ่มแจ้ง แม้ด้วยพุทธจักษุอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระจักษุแจ่มแจ้ง แม้ด้วยสมันตจักษุ

อย่างไร ? พระสัพพัญญุตญาณ เรียกว่าสมันตจักษุ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไปใกล้ ไปไกลดีแล้ว เข้าถึง เข้าถึงดีแล้ว เข้าไปถึง เข้าไปถึงดีแล้ว

ประกอบแล้วด้วยสัพพัญญุตญาณ.

สมจริงดังประพันธคาถาว่า

สิ่งอะไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้ อันพระปัญญาจักษุของ

พระตถาคตนั้นไม่เห็น ย่อมไม่มี อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ

ที่ควรรู้ อันพระพุทธญาณไม่รู้แจ้งย่อมไม่มี ธรรมชาติที่

ควรแนะนำใดมีอยู่ พระตถาคตทรงทราบแล้วซึ่งธรรมชาติ

ที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึง

ชื่อว่า ผู้มีสมันตจักษุ.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแจ่มแจ้ง แม้ด้วยสมันตจักษุอย่างนี้

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้งได้ทรง

แสดงแล้ว.

ว่าด้วยสักขิธรรม

[๗๒๙] คำว่า ซึ่งสักขิธรรม ในคำว่า ซึ่งสักขิธรรม เครื่อง

กำจัดอันตราย ความว่า ธรรมที่ประจักษ์แก่พระองค์ อันพระองค์ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 306

ทราบดีเอง มิใช่โดยต้องเชื่อผู้อื่น ว่าธรรมนี้เป็นดังนี้ มิใช่โดยได้ยิน

ต่อ ๆ กันมา มิใช่โดยถือตามลำดับสืบ ๆ กันมา มิใช่โดยอ้างตำรา มิใช่

โดยนึกเดาเอา มิใช่โดยคาดคะเน มิใช่โดยตรึกตามอาการ มิใช่โดยชอบ

ว่าควรแก่ทิฏฐิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สักขิธรรม. ชื่อว่าอันตราย

ในคำว่า เป็นเครื่องกำจัดอันตราย ได้แก่อันตราย ๒ อย่าง คืออันตราย

ปรากฏ ๑ อันตรายปกปิด ๑.

ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง

อันตรายปรากฏเป็นไฉน ? ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี

เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร คน

ที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียมจะทำกรรมชั่ว และโรคจักษุ โรคหู โรคจมูก

โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ

โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลม

สลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก

โรคมงคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิตด้าน โรคคุดทะราด

โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด

โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏ-

ฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธ-

สันนิบาต อาพาธเกิดแก่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำ-

เสมอ อาพาธเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม

ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 307

ปัสสาวะ ความสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน

อันตรายเหล่านี้เรียกว่า อันตรายปรากฏ.

อันตรายปกปิดเป็นไฉน ? กายทุจริต วจีทุริต มโนทุจริต กาม-

ฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์

วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธไว้

ความลบลู่คุณท่าน ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ มารยา

ความโออวด ความหัวดื้อ ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน

ความมัวเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวน

กระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง ลกุสลาภิ-

สังขารทั้งปวง อันตรายเหล่านี้เรียกว่า อันตรายปกปิด.

ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า อะไรจึงชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถ

ว่า ครอบงำ จึงชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อม จึง

ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า

อันตราย เพราะอรรถว่า ครอบงำ จึงชื่อว่าอันตรายอย่างไร อันตราย

เหล่านั้นย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น

เพราะอรรถว่า ครอบงำ จึงชื่อว่าอันตรายอย่างนี้.

เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อม จึงชื่อว่าอันตรายอย่างไร ?

อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศล-

ธรรมทั้งหลาย อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตร-

ธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่าไหน อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความ

เสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ คือความปฏิบัติชอบ

ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 308

ประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ใน

ศีลทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้

รู้จักประมาณในโภชนะ ความประกอบเนือง ๆ ในความเป็นผู้ตื่น สติ

สัมปชัญญะ ความประกอบเนือง ๆ ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัป-

ปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค

มีองค์ ๘ อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไป

แห่งกุศลเหล่านี้ เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อม จึงชื่อว่าอันตราย

อย่างนี้.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตราย

อย่างไร ? อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น ย่อม

เป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ เปรียบเหมือนเหล่าสัตว์ที่อาศัยรูย่อมอยู่ในรู

ที่อาศัยน้ำย่อมอยู่ในน้ำ ที่อาศัยป่าย่อมอยู่ในป่า ที่อาศัยต้นไม้ย่อมอยู่ที่

ต้นไม้ ฉันใด อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น

ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ ฉันนั้น เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เพราะ

อรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตรายอย่างนี้.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ผู้อยู่ร่วมกับอันเตวาสิก ผู้อยู่ร่วมกับอาจารย์ ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับอันเตวาสิก ผู้อยู่ร่วมกับอาจารย์

ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุกอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอัน

ลามก มีความดำริอันซ่านไปในอารมณ์อันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิด

ขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ อกุศลธรรมอันลามก

เหล่านั้น ย่อมซ่านไปในภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 309

เรียกภิกษุนั้นว่า ผู้อยู่ร่วมกับอันเตวาสิก อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น

ย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุนี้นั้น ท่านจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้อยู่ร่วม

กับอาจารย์ อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันลามก มีความดำริซ่านไป

ในอารมณ์อันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะได้ยินเสียงด้วย

หู เพราะสูดดมกลิ่นด้วยจมูก เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น เพราะถูกต้องโผฏ-

ฐัพพะด้วยกาย เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศลธรรมอันลามก

เหล่านั้น ย่อมซ่านไปในภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุนี้นั้น ท่านจึง

เรียกภิกษุนั้นว่า ผู้อยู่ร่วมกับอันเตวาสิก อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น

ย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้อยู่

ร่วมกับอาจารย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่อยู่ร่วมกับอันเตวาสิก ผู้อยู่

ร่วมกับอาจารย์ ย่อมอยู่ลำบากไม่ผาสุกอย่างนี้แล เพราะฉะนั้น เพราะ

อรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตรายอย่างนี้.

ธรรม ๓ ประการเป็นมลทินภายใน

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม

๓ ประการนี้เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกใน

ภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน ธรรม ๓ ประการ

เป็นไฉน ? คือโลภะเป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็น

ข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน โทสะ

เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็น

เพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน โมหะเป็นมลทินในภายใน เป็น

อมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็น

ศัตรูในภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 310

มลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌ-

ฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบ

ลงแล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

โลภะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โลภะยังจิตให้

กำเริบ โลภะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อมไม่

รู้สึกภัยนั้น คนโลภย่อมไม่รู้อรรถ คนโลภย่อมไม่เห็น

ธรรม ความโลภย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืด

ตื้อย่อมมีในขณะนั้น โทสะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้

เกิด โทสะยังจิตให้กำเริบ โทสะเป็นภัยเกิดขึ้นในภาย

ใน พาลชนย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ

คนโกรธย่อมไม่เห็นธรรม ความโกรธย่อมครอบงำนรชน.

ในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น โมหะยังสิ่งที่

ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โมหะยังจิตให้กำเริบ โมหะ

เป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น คน

หลงย่อมไม่รู้อรรถ คนหลงย่อมไม่เห็นธรรม ความหลง

ย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีใน

ขณะนั้น.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตรายอย่างนี้.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม

๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่

ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ธรรม ๓ ประการเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 311

ไฉน ? ได้แก่ธรรมคือโลภะแล เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิด

ขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ธรรมคือ

โทสะแล เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์

เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ธรรมคือโมหะแล เมื่อเกิดขึ้น

ในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ

ความอยู่ไม่ผาสุก ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้น

ในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ

ความอยู่ไม่ผาสุก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง

แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

โลภะ โทสะ และโมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมกำจัด

บุรุษผู้มีจิตลามก เหมือนขุยไผ่กำจัดไม้ไผ่ฉะนั้น.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตราย

อย่างนี้.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ราคะและโทสะมีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดแต่อัตภาพนี้

ไม่ยินดีกุศล ยินดีแต่กามคุณ ทำให้ขนลุก วิตกทางใจ

ตั้งขึ้นแต่อัตภาพนี้แล้วผูกจิตไว้ เหมือนพวกเด็กผูกกาที่

ข้อเท้าไว้ฉะนั้น.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่าอันตราย

อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 312

คำว่า เป็นเครื่องกำจัดอันตราย คือเป็นเครื่องกำจัดอันตราย

เป็นเครื่องละอันตราย เป็นเครื่องสงบอันตราย เป็นเครื่องสละคืนอันตราย

เป็นเครื่องระงับอันตราย เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่ง

สักขิธรรมเป็นเครื่องกำจัดอันตราย.

[๗๓๐] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงตรัสบอก

ปฏิปทา ความว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกปฏิปทา คือขอพระองค์โปรด

ตรัสบอก ชี้แจง แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น

ประกาศซึ่งปฏิปทาชอบ ปฏิปทาสมควร ปฏิปทาไม่เป็นข้าศึก ปฏิปทา

เป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความทำให้

บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความประกอบเนือง ๆ ในความเป็น

ผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔

อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และ

ปฏิปทาอันให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอพระองค์จงตรัสบอก

ปฏิปทา. พระพุทธนิมิตนั้นทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วว่า ภทฺทนฺเต.

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ภัตทันเต ความว่า พระองค์ตรัสบอก แสดง บัญญัติ

แต่งตั้ง เปิดเผย ทำให้ตื้น ประกาศแล้วซึ่งธรรมใด ธรรมนั้นทั้งหมด

เป็นธรรมดี เจริญ งาม ไม่มีโทษ ควรซ่องเสพ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงตรัสบอกปฏิปทา.

[๗๓๑] คำว่า ปาติโมกข์ ในคำว่า ปาติโมกข์หรือแม้สมาธิ

ความว่า ศีลเป็นที่ตั้ง เป็นเบื้องบาท เป็นความสำรวม เป็นความระวัง

เป็นปาก เป็นประธาน แห่งความถึงพร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย. คำว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 313

หรือแม้สมาธิ ได้แก่ความตั้งมั่น ความดำรงอยู่ ความตั้งลง ความไม่

แล่นไป ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความเป็นผู้มีใจอันอะไร ๆ ไม่ให้เเล่น

ไปได้ ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า คือปาติโมกข์หรือแม้สมาธิ เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตจึง

ตรัสถามว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง ได้ทรง

แสดงสักขิธรรม เครื่องกำจัดอันตราย ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอพระองค์จงตรัสบอกปฏิปทา คือปาติโมกข์

หรือแม้สมาธิ.

[๗๓๒] ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย พึงป้องกันหู

จากคามกถา ไม่พึงติดใจในรส ไม่พึงยึดถือสังขาร

อะไร ๆ ว่าของเราในโลก.

ว่าด้วยผู้โลเลด้วยจักษุ

[๗๓๓] คำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย ความว่า

ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วยจักษุอย่างไร ? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้

โลเลด้วยจักษุ ประกอบด้วยความเป็นผู้โลเลด้วยจักษุคิดว่า รูปที่ยังไม่

เคยดูเราควรดู รูปที่เคยดูเราควรผ่านไป ดังนี้ เป็นผู้ประกอบเนือง ๆ

ซึ่งความเที่ยวไปนาน ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน สู่อารามแต่อาราม

สู่สวนแต่สวน สู่บ้านแต่บ้าน สู่นิคมแต่นิคม สู่นครแต่นคร สู่แว่นแคว้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 314

แต่แว่นแคว้น สู่ชนบทแต่ชนบท เพื่อจะดูรูป ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ

แม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนเป็นผู้ไม่

สำรวม เดินไป คือแลดูช้าง แลดูม้า แลดูรถ แลดูพลเดินเท้า แลดู

สตรี แลดูบุรุษ แลดูกุมาร แลดูกุมารี แลดูร้านตลาด แลดูหน้ามุข

เรือน แลดูข้างบน แลดูข้างล่าง แลดูทิศน้อย ทิศใหญ่ เดินไป ภิกษุ

เป็นผู้โลเลด้วยจักษุ แม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วย จักษุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถือ

อนุพยัญชนะ. ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว

จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น

ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ย่อมไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุเป็นผู้

โลเลด้วยจักษุ แม้อย่างนี้.

อนึ่ง ท่านสมณพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา

แล้ว ย่อมขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือการฟ้อน

การขับ การประโคม มหรสพมีการรำเป็นต้น การเล่านิยาย เพลงปรบ-

มือ ฆ้อง ระนาด หนัง เพลงขอทาน เล่นไต่ราว การเล่นหน้าศพ

ชนช้าง แข็งม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ ชน

นกกระทา รำกระบี่กระบอง ชกมวย มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล

การจัดกระบวนทัพ กองทัพ ฉันใด ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ แม้

ฉันนั้น.

ภิกษุไม่เป็นผู้โลเลด้วยจักษุอย่างไร ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไป

สู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน เป็นผู้สำรวมเดินไป ไม่แลดูช้าง ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 315

แลดูม้า ไม่แลดูรถ ไม่แลดูคนเดินเท้า ไม่แลดูสตรี ไม่แลดูบุรุษ ไม่

แลดูกุมาร ไม่แลดูกุมารี ไม่แลดูร้านตลาด ไม่แลดูหน้ามุขเรือน ไม่

แลดูข้างบน ไม่แลดูข้างล่าง ไม่แลดูทิศน้อยทิศใหญ่ เดินไป ภิกษุไม่

เป็นผู้โลเลด้วยจักษุ แม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถือ

อนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่ไม่สำรวมแล้วจะเป็น

เหตุให้อกุศลธรรมลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมรักษา

จักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุไม่เป็นผู้โลเลด้วย

จักษุ แม้อย่างนี้.

อนึ่ง ท่านสมณพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา

แล้ว ย่อมขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือการฟ้อน

การขับ การประโคม มหรสพมีการรำเป็นต้น การเล่านิยาย ฯลฯ

กองทัพ ฉันใด ภิกษุเป็นผู้เว้นขาดจากการขวนขวายในการดูการเล่นอัน

เป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ ภิกษุเป็นผู้ไม่โลเลด้วยจักษุ แม้อย่างนี้.

คำว่า ไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ ความว่า พึงละ บรรเทา ทำ

ให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ คือเป็นผู้งดเว้น

เว้นขาด ออกไป สลัดออกไป หลุดพ้นไม่เกี่ยวข้อง ด้วยความเป็นผู้

โลเลด้วยจักษุ เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ.

ว่าด้วยติรัจฉานกถา

[๗๓๔] ติรัจฉานกถา ๓๒ ประการ คือเรื่องพระราชา เรื่องโจร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 316

เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องยาน เรื่อง

ที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องบ้าน เรื่องนิคม

เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้า เรื่องตรอก

เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่อง

ทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้น เรียกว่า คามกถา

ในคำว่า พึงป้องกันหูจากคามกถา เพราะฉะนั้น จ่งชื่อว่า จากคามกถา.

คำว่า พึงป้องกันหู คือพึงป้องกัน ห้าม สกัดกั้น รักษา คุ้มครอง

ปิด ตัดขาด ซึ่งหู จากคามกถา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงป้องกันหูจาก

คามกถา.

ว่าด้วยรสต่าง ๆ

[๗๓๕] ชื่อว่า รส ในคำว่า ไม่พึงติดใจในรส ได้แก่รสที่ราก

รสที่ลำต้น รสที่เปลือก รสที่ใบ รสที่ดอก รสที่ผล รสเปรี้ยว รส

หวาน รสขม รสเผ็ดร้อน รสเค็ม รสปร่า รสเฝื่อน รสฝาด รสอร่อย

รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน มีสมณพราหมณ์บางพวก ติดใจในรส

เที่ยวแสวงหารสอันเลิศด้วยปลายลิ้น ได้รสเปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสไม่

เปรี้ยว ได้รสไม่เปรี้ยวแล้วก็แสงหารสเปรี้ยว ฯลฯ ได้รสเย็นแล้วก็

แสวงหารสร้อน ได้รสร้อนแล้วก็แสวงหารสเย็น สมณพราหมณ์เหล่านั้น

ได้รสใด ๆ แล้ว ย่อมไม่พอใจด้วยรสนั้น ๆ ย่อมเที่ยวแสวงหารสอื่น ๆ

เป็นผู้กำหนัด ปรารถนา ยินดี ติดใจ หลงใหล เกี่ยวข้อง พัวพัน

ในรสที่ชอบใจ ความอยากในรสนั้น อันภิกษุใดละ ตัดขาด ฯลฯ เผา

เสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ภิกษุนั้นพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ย่อมฉันอาหาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 317

ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อเมา ไม่ฉันเพื่อตบแต่ง ไม่ฉันเพื่อประดับ

ฉันเพื่อดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก

เพื่อความอนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ อย่างเดียวเท่านั้น ฯลฯ ความอยู่

สบายของเราจักมีด้วยอุบายดังนี้ บุคคลทาแผลเพื่อให้แผลหาย หยอด

น้ำมันเพลาเกวียนเพื่อจะขนภาระ กินเนื้อบุตรเพื่อจะออกจากทางกันดาร

อย่างเดียวเท่านั้น ฉันใด ภิกษุพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว จึงฉันอาหาร

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ฉันเพื่อเล่น ฯลฯ ความไม่มีโทษและความอยู่

สบายจักมีด้วยอุบายดังนี้ ภิกษุพึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ

ไม่มี ซึ่งความอยากในรส คือเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สละ

พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยความอยากในรส พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดน

กิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงติดใจในรส.

ว่าด้วยความถือว่าของเรา

[๗๓๖] ชื่อว่า ความถือว่าของเรา ในคำว่า ไม่พึงถือสังขาร

อะไร ๆ ว่าของเราในโลก ได้แก่ความถือ ๒ อย่าง คือความถือว่าของ

เราด้วยตัณหา ๑ ความถือว่าของเราด้วย ทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ

ถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ภิกษุ

ละความถือว่าของเราด้วยตัณหา สละคืนความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิแล้ว

ไม่ถือ ไม่จับ ไม่ยึดถือ ไม่ถือมั่นจักษุว่าของเรา ไม่ถือ ไม่จับ ไม่ยึดถือ

ไม่ถือมั่น หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล

คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 318

อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ

จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็น เสียง

ที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ว่าของเรา. คำว่า สังขาร

อะไร ๆ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อะไร ๆ. คำว่า

ในโลก คือ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ไม่พึงถือสังขารอะไร ๆ ว่าของเราในโลก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย พึงป้องกันหู

จากคามกถา ไม่พึงติดใจในรส ไม่พึงถือสังขารอะไร ๆ

ว่าของเราในโลก.

[๗๓๗] ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะกระทบเข้าแล้ว เมื่อใด เมื่อนั้น

ไม่พึงทำความรำพันในที่ไหน ๆ ไม่พึงปรารถนาภพ และ

ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความขลาดกลัว.

ว่าด้วยโรคต่าง ๆ

[๗๓๘] คำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะกระทบเข้าแล้ว เมื่อใด

ความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะ คือโรคถูกต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม

ประกอบเข้าแล้ว คือเป็นผู้ถูกโรคจักษุ โรคตา โรคจมูก โรคลิ้น โรค

ทางร่างกาย โรคทางศีรษะ โรคในหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรค

หืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ

โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 319

มงคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิตเปื่อย โรคหิตด้าน โรคหูด โรคละลอก

โรคคุดทะราด โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม

โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็น

สมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดขึ้นแต่

ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดขึ้นแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดขึ้น

แต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดขึ้นแต่วิบากของกรรม ความหนาว

ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความ

สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ถูกต้อง ครอบงำ

กลุ้มรุม ประกอบเข้าแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะ

กระทบเข้าแล้ว เมื่อใด.

[๗๓๙] คำว่า เมื่อนั้น ไม่พึงทำความรำพันในที่ไหน ๆ ความว่า

ภิกษุนั้นไม่ควรทำความรำพัน ความร่ำไห้ อาการรำพัน อาการพูดถึง

ความเป็นผู้รำพัน ความเป็นผู้พูดถึง ความร่ำไร ความเพ้อ ความ

บอกเล่า อาการที่บอกเล่า ความเป็นผู้บอกเล่า คือไม่พึงให้เกิด ไม่ให้

เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ. คำว่า ในที่ไหน ๆ คือใน

ที่ไหน ๆ ในที่ทุกแห่งในภายใน ในภายนอก ทั้งในภายในและภายนอก

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อนั้น ไม่พึงทำความรำพันในที่ไหนๆ.

[๗๔๐] คำว่า ไม่พึงปรารถนาภพ ความว่า ไม่พึงปรารถนา

ไม่พึงปรารถนาทั่ว ไม่พึงปรารถนาเฉพาะ ซึ่งกามภพ รูปภพ อรูปภพ

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงปรารถนาภพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 320

ว่าด้วยภัยและความขลาดกลัว

[๗๔๑] ชื่อว่า ความขลาดกลัว ในคำว่า และไม่หวั่นไหว

ในเพราะความขลาดกลัว ความว่า ภัยก็ดี ความขลาดกลัวก็ดี โดย

อาการก็อย่างเดียวกัน สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภัย ความ

ขลาดกลัวนี้นั้น ย่อมมีมาแน่ ภัยนั้นท่านกล่าวว่ามีวัตถุภายนอกเป็น

อารมณ์ คือราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า โค

กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียม

จะทำกรรมชั่ว อนึ่ง โดยอาการอื่น ความกลัว กิริยาที่กลัว ความหวาด

หวั่น ความเป็นผู้มีขนลุก อันเกิดแก่จิตในภายใน ความหวาดเสียว ความ

สะดุ้งแห่งจิต ภัยแต่ชาติ ภัยแต่ชรา ภัยแต่พยาธิ ภัยแต่มรณะ ภัยแต่

พระราชา ภัยแต่โจร ภัยแต่ไฟ ภัยแต่น้ำ ภัยแต่ความติเตียนตน ภัย

แต่ความติเตียนผู้อื่น ภัยแต่อาชญา ภัยแต่ทุคติ ภัยแต่คลื่น ภัยแต่จระเข้

ภัยแต่วังวน ภัยแต่ปลาร้าย ภัยแต่การเลี้ยงชีพ ภัยแต่ความติเตียน ภัย

แต่ความครั่นคร้ามในประชุมชน ความขลาด ความหวาดหวั่น ความ

เป็นผู้มีขนลุก ความหวาดเสียว ความสะดุ้งแห่งจิต เรียกว่าภัย.

คำว่า ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความขลาดกลัว คือภิกษุเห็นหรือ

ได้ยินวัตถุที่น่ากลัว ไม่พึงสะดุ้งสะทกสะท้าน หวั่นไหว หวาดเสียว

ครั้นคร้าม เกรงกลัว ถึงความสะดุ้งกลัว คือพึงเป็นผู้ไม่ขลาด ไม่

หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป พึงเป็นผู้ละความกลัวความขลาดเสีย

ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุกขนพองอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึง

หวั่นไหวในเพราะความขลาดกลัว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 321

ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะกระทบเข้าแล้ว เมื่อใด เมื่อนั้น

ไม่พึงทำความรำพันในที่ไหน ๆ ไม่พึงปรารถนาภพ และ

ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความขลาดกลัว.

[๗๔๒] ภิกษุได้แล้วซึ่งข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของควรเคี้ยวก็ดี ผ้า

ก็ดี ไม่ควรทำการสั่งสม เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นนั้น ก็ไม่

พึงสะดุ้ง.

ว่าด้วยข้าวน้ำและของควรเคี้ยว

[๗๗๓] คำว่า ข้าว ในคำว่า ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของควรเคี้ยวก็ดี

ผ้าก็ดี ได้แก่ ข้าวสุก ขนมกุมมาส สัตตู ปลา เนื้อ. คำว่า น้ำ ได้แก่

ปานะ ๘ อย่าง คือน้ำผลมะม่วง น้ำผลหว้า น้ำผลกล้วยมีเมล็ด น้ำผล

กล้วยไม่มีเมล็ด น้ำผลมะซาง น้ำผลจันทน์ น้ำรากบัว น้ำผลลิ้นจี่.

ปานะ ๘ อีกอย่างหนึ่ง คือน้ำผลสะคร้อ น้ำผลกระเบา น้ำผล

พุทรา ปานะที่ทำด้วยเปรียง น้ำมัน น้ำข้าวยาคู น้ำนม ปานะที่ทำ

ด้วยรส. คำว่า ของควรเคี้ยว ได้แก่ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยแป้ง ของ

ควรเคี้ยวที่ทำเป็นขนม ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยเหง้าไม้ ของควรเคี้ยวที่ทำ

ด้วยเปลือกไม้ ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยใบไม้ ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยดอกไม้

ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยผลไม้. คำว่า ผ้า ได้แก่จีวร ๖ ชนิด คือ ผ้า

เปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้

เป็นต้น เจือกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของควรเคี้ยว

ก็ดี ผ้าก็ดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 322

ว่าด้วยการได้โดยธรรม

[๗๔๔] คำว่า ได้แล้ว ในคำว่า ได้แล้ว...ไม่ควรทำการสั่งสม

ความว่า ได้แล้ว รับแล้ว ได้มาแล้ว ประสบแล้ว ได้เฉพาะแล้ว มิใช่

ได้ด้วยความโกหก มิใช่ได้ด้วยความพูดเลียบเคียง มิใช่ได้ด้วยการทำนิมิต

มิใช่ได้ด้วยความกำจัดคุณเขา มิใช่ได้ด้วยความแสวงหาลาภด้วยลาภ มิใช่

ได้ด้วยการให้ไม้จริง มิใช่ได้ด้วยการให้ไม้ไผ่ มิใช่ได้ด้วยการให้ใบไม้

มิใช่ได้ด้วยการให้ดอกไม้ มิใช่ได้ด้วยการให้ผลไม้ มิใช่ได้ด้วยการให้

เครื่องอาบน้ำ มิใช่ได้ด้วยการให้จุรณ มิใช่ได้ด้วยการให้ดินเหนียว มิใช่

ได้ด้วยการให้ไม้สีฟัน มิใช่ได้ด้วยการให้น้ำล้างหน้า มิใช่ได้ด้วยคำพูด

มุ่งให้เขารักตน มิใช่ได้ด้วยถ้อยคำเหลาะแหละ มิใช่ได้ด้วยกิริยาประจบ

เขา มิใช่ได้ด้วยความเป็นผู้นั่งบนตั่ง (ความตีสนิทเขา) มิใช่ได้ด้วยวิชา

ดูพื้นที่ มิใช่ได้ด้วยดิรัจฉานวิชา มิใช่ได้ด้วยวิชาดูลักษณะ มิใช่ได้ด้วย

วิชาดูฤกษ์ยาม มิใช่ได้ด้วยการเดินเป็นทูต มิใช่ได้ด้วยความเป็นคนรับใช้

มิใช่ได้ด้วยความเป็นผู้เดินสาสน์ มิใช่ได้ด้วยเวชกรรม มิใช่ได้ด้วยนว-

กรรม มิใช่ได้ด้วยการให้ก้อนข้าวตอบแทน มิใช่ได้ด้วยการให้และการ

เพิ่มให้ แต่ว่าได้แล้ว รับแล้ว ได้มาแล้ว ประสบแล้ว ได้เฉพาะแล้ว

โดยธรรมสม่ำเสมอ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้แล้ว.

คำว่า ไม่ควรทำการสั่งสม คือ ไม่พึงทำการสั่งสมข้าว การสั่งสม

น้ำ การสั่งสมผ้า การสั่งสมยาน การสั่งสมที่นอน การสั่งสมเครื่องหอม

การสั่งสมอามิส คือ ไม่ยังการสั่งสมนั้นให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด

ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้แล้ว... ไม่ควรทำการสั่งสม.

[๗๔๕] คำว่า เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นนั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 323

ภิกษุไม่พึงตกใจ ตื่นเต้น สะดุ้ง กลัว ถึงความหวาดเสียวไปว่า เรา

ไม่ได้ข้าว ไม่ได้น้ำ ไม่ได้ผ้า ไม่ได้สกุล ไม่ได้คณะ ไม่ได้อาวาส

ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้บิณฑบาต

ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้คิลานุปัฏฐาก ไม่

เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏดังนี้ คือ ภิกษุไม่พึงเป็นผู้ขลาด หวาดเสียว ไม่

สะดุ้งกลัว ไม่หนีไป พึงเป็นผู้ละความกลัวและความขลาดเสีย ปราศจาก

ความเป็นผู้ขนลุกขนพองอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้น

นั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุได้แล้วซึ่งข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของควรเคี้ยวก็ดี ผ้า

ก็ดี ไม่ควรทำการสั่งสม เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นนั้น ก็ไม่

พึงสะดุ้ง.

[๗๔๖] ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึง

เว้นขาดจากความคะนอง ไม่พึงประมาทและพึงอยู่ในที่

นั่ง ในที่นอน ที่มีเสียงน้อย.

ว่าด้วยผู้มีฌาน

[๗๔๗] คำว่า มีฌาน ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึง

เป็นผู้โลเลเพราะเท้า ความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยปฐมฌาน

พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยทุติยฌาน พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยตติยฌาน พึงเป็น

ผู้มีฌานแม้ด้วยจตุตถฌาน พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานมีวิตกวิจาร พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 324

เป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานไม่มีวิตกมีแต่วิจาร พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌาน

ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานมีปีติ พึงเป็นผู้มีฌานแม้

ด้วยฌานไม่มีปีติ พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานอันสหรคตด้วยปีติ พึงเป็น

ผู้มีฌานแม้ด้วยฌานอันสหรคตด้วยสุข พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานอัน

สหรคตด้วยอุเบกขา พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานเป็นสุญญตะ พึงเป็นผู้มี

ฌานแม้ด้วยฌานเป็นอนิมิตตะ พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานเป็นอัปปณิหิตะ

พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานเป็นโลกิยะ พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานเป็น

โลกุตระ คือ เป็นผู้ยินดีแล้วในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิตมี

อารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นผู้หนักอยู่ในประโยชน์ของตน เพราะฉะนั้น จึง

ชื่อว่า พึงเป็นผู้มีฌาน.

ว่าด้วยผู้โลเลเพราะเท้า

คำว่า ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า ความว่า ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะ

เท้าอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้โลเลเพราะเท้า คือประกอบ

ด้วยความโลเลเพราะเท้า เป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเที่ยวไปนาน

ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน สู่อารามแต่อาราม สู่สวนแต่สวน สู่บ้านแต่

บ้าน สู่นิคมแต่นิคม สู่นครแต่นคร สู่แว่นแคว้นแต่แว่นแคว้น สู่ชนบท

แต่ชนบท ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าแม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยความโลเลเพราะเท้าในภายใน

สังฆาราม ไม่ใช่เดินไปเพราะเหตุแห่งการทำ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบ

เดินไปสู่บริเวณแต่บริเวณ เดินไปสู่วิหารแต่วิหาร เดินไปสู่เรือนมีหลังคา

แถบเดียวแต่เรือนมีหลังคาแถบเดียว เดินไปสู่ปราสาทแต่ปราสาท เดิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 325

ไปสู่เรือนหลังคาโล้นแต่เรือนหลังคาโล้น เดินไปสู่ถ้ำแต่ถ้ำ เดินไปสู่ที่

หลีกเร้นแต่ที่หลีกเร้น เดินไปสู่กุฎีแต่กุฎี เดินไปสู่เรือนยอดแต่เรือนยอด

เดินไปสู่ป้อมแต่ป้อม เดินไปสู่โรงปะรำแต่โรงปะรำ เดินไปสู่เรือนที่พัก

แต่เรือนที่พัก เดินไปสู่เรือนที่เก็บของแต่เรือนที่เก็บของ เดินไปสู่โรงฉัน

แต่โรงฉัน เดินไปสู่โรงกลมแต่โรงกลม เดินไปสู่โคนต้นไม้แต่โคนต้นไม้

หรือเดินไปในสถานที่ภิกษุทั้งหลายนั่งกัน เธอเป็นที่สองของภิกษุหนึ่งรูป

เป็นที่สามของภิกษุสองรูป เป็นที่สี่ของภิกษุสามรูป ย่อมพูดเรื่องเพ้อเจ้อ

มากในที่นั้น ๆ คือ เรของพระราชา เรื่องโจร... เรื่องทะเล เรื่องความ

เจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าแม้

อย่างนี้.

คำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า ความว่า ภิกษุพึงละ

บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเป็นผู้โลเลเพราะเท้า

คือพึงเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สละ พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง ด้วย

ความเป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดงกิเลสอยู่ ประพฤติ

เอื้อเฟื้อ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติไป รักษา บำรุง เยียวยา ภิกษุนั้น

พึงเป็นผู้ชอบในความสงัด ยินดีในความสงัด ขวนขวายในความสงบจิต

ณ ภายใน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่ใน

เรือนว่างเปล่า เป็นผู้มีฌาน ยินดีในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิต

มีอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นผู้หนักอยู่ในประโยชน์ของตน เพราะฉะนั้น จึง

ชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า.

[๗๔๘] คำว่า ความคะนอง ในคำว่า พึงเว้นจากความคะนอง

ไม่พึงประมาท ความว่า แม้ความคะนองมือ ความคะนองเท้า ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 326

คะนองมือและเท้าก็ชื่อว่าความคะนอง ความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร

ความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ

ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความ

เป็นผู้รำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ นี้เรียกว่าความรำคาญ.

ว่าด้วยความรำคาญเกิดเพราะเหตุ ๒ ประการ

อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ

ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุ ๒ ประการคือเพราะกระทำและไม่การทำ ความ

รำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะกระทำและ

เพราะไม่การทำอย่างไร ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ

ย่อมเกิดขึ้นว่า เราทำกายทุจริต เราไม่ได้ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต

เราไม่ได้ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต เราไม่ได้ทำมโนสุจริต เราทำ

ปาณาติบาต เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต เราทำ

อทินนาทาน เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากอทินนาทาน เราทำกาม-

สุมิจฉาจาร เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เราทำ

มุสาวาท เราไม่ทำเจตนาเครื่องงดเว้น จากมุสาวาท เราทำปิสุณาวาจา

เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากปิสุณาวาจา เราทำผรุสวาจา เราไม่ได้

ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำสัมผัปปลาปะ เราไม่ได้ทำเจตนา

เครื่องงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ เราทำอภิชฌา เราไม่ได้ทำอนภิชฌา เราทำ

พยาบาท เราไม่ได้ทำอัพยาบาท เราทำมิจฉาทิฏฐิ เราไม่ได้ทำสัมมาทิฏฐิ

ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะกระทำ

และไม่กระทำอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 327

อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ

ย่อมเกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้ไม่ทำความบริบูรณ์ในศีล เราเป็นผู้ไม่คุ้มครอง

ทวารในอินทรีย์ เราเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ เราเป็นผู้ไม่ได้

ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราเป็นผู้ไม่ได้ประกอบด้วยสติสัมป-

ชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เราไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔ เรา

ไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ เราไม่ได้เจริญพละ ๕

เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เราไม่ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เราไม่ได้

กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ได้ละสมุทัย เราไม่ได้เจริญมรรค เราไม่ได้ทำให้

แจ้งซึ่งนิโรธ.

คำว่า พึงเว้นจากความคะนอง ความว่า พึงงด เว้น เว้นขาด

จากความคะนอง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งความ

คะนอง คือพึงเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สละ พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง

กับความคะนอง พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึง

ชื่อว่า พึงเว้นจากความคะนอง.

ว่าด้วยความไม่ประมาท

คำว่า ไม่พึงประมาท ความว่า พึงเป็นผู้ทำโดยเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ

ทำไม่หยุด มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ปลงฉันทะ ไม่ทอดธุระ ไม่

ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล ความพอใจ ความพยายาม ความ

อุตสาหะ ความเป็นผู้ขยัน ความมีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ ความ

ระลึกได้ ความรู้สึกตัว ความเพียรเป็นเครื่องให้กิเลสร้อนทั่ว ความ

เพียรอันพึงตั้งไว้ ความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ ในกุศลธรรมนั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 328

เมื่อไร เราพึงยังศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึงอนุเคราะห์

ศีลขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความไม่ประมาทในธรรม

ทั้งหลายฝ่ายกุศล.

ความพอใจ ความพยายาม ...ความประกอบเนือง ๆ ในกุศลธรรม

นั้นว่า เมื่อไร เราพึงยังสมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึง

อนุเคราะห์สมาธิขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความไม่

ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล.

ความพอใจ ความพยายาม...ความประกอบเนือง ๆ ในกุศลธรรม

นั้นว่า เมื่อไร เราพึงยังปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเรา

พึงอนุเคราะห์ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความ

ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล.

ความพอใจ ความพยายาม... ความประกอบเนือง ๆ ในกุศลธรรม

นั้นว่า เมื่อไรเราพึงยังวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึง

อนุเคราะห์วิมุตติขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความไม่

ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล.

ความพอใจ ความพยายาม ...ความประกอบเนือง ๆ ในกุศลธรรม

นั้นว่า เมื่อไร เราพึงยังวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์

หรือเราพึงอนุเคราะห์วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา

ดังนี้ ชื่อว่าความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล.

ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเป็นผู้ขยัน ความ

มีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ ความระลึกได้ ความรู้สึกตัว ความเพียร

เป็นเครื่องให้กิเลสร้อนทั่ว ความเพียรอันพึงตั้งใจ ความตั้งใจ ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 329

ประกอบเนือง ๆ ในกุศลนั้นว่า เมื่อไร เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังไม่

กำหนดรู้ เราพึงละกิเลสทั้งหลายที่ยังละไม่ได้ เราพึงยังมรรคที่ยังไม่เจริญ

ให้เจริญ หรือว่าเราพึงทำให้แจ้งซึ่งนิโรธที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ดังนี้ ชื่อว่า

ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล. เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พึง

เว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท.

[๗๔๙] บทว่า อถ ในคำว่า และภิกษุพึงอยู่ในที่นั่ง ในที่นอน

ที่มีเสียงน้อย เป็นบทสนธิ ฯลฯ ภิกษุย่อมนั่งในที่ใด ที่นั้นเรียกว่าที่

นั่ง ได้แก่ เตียง ตั่ง ฟูก เสื่อ ท่อนหนัง เครื่องลาดหญ้า เครื่อง

ลาดใบไม้ เครื่องลาดฟาง เสนาสนะเรียกว่าที่นอน ได้แก่ วิหาร เรือน

หลังคาแถบเดียว ปราสาทเรือนมีหลังคาโล้น. ถ้ำ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ในที่นั่ง ในที่นอน. คำว่า ภิกษุพึงอยู่ ...ที่มีเสียงน้อย ความว่า ภิกษุ

พึงเที่ยวไป ยับยั้งอยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียว า

ในเสนาสนะที่มีเสียงน้อย คือมีเสียงกึกก้องน้อย ปราศจากชนผู้สัญจรไป

มา ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออกเร้น เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า และภิกษุพึงอยู่ในที่นั่ง ในที่นอน ที่มีเสียงน้อย. เพราะเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึง

เว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาทและพึงอยู่ในที่นั่ง

ในที่นอน ที่มีเสียงน้อย.

[๗๕๐] ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก พึงมีความเพียร

ซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 330

ลวง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรมอันเป็นไปกับ

ด้วยการประดับ.

ว่าด้วยการแบ่งเวลา

[๗๕๑] คำว่า ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก ความว่า ภิกษุ

พึงแบ่งกลางคืนและกลางวันให้เป็น ๖ ส่วนแล้ว ตื่นอยู่ ๕ ส่วน นอน

หลับ ๑ ส่วน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก.

[๗๕๒] คำว่า พึงมีความเพียรซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น ความว่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น

ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม

เป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่ง

ราตรี พึงสำเร็จสีหไสยา โดยช้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติ

สัมปชัญญะ ทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี

กลับตื่นขึ้นแล้ว พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วย

การเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี.

คำว่า ซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น คือพึงซ่องเสพ ซ่องเสพพร้อม

ซ่องเสพเฉพาะ ซึ่งความเป็นผู้ตื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงซ่องเสพ

ความเป็นผู้ตื่น.

คำว่า มีความเพียร ความว่า วิริยะเรียกว่าความเพียร ได้แก่การ

ปรารภความเพียร ความก้าวออก ความก้าวหน้า ความย่างขึ้นไป

ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความมั่นคง ความทรงไว้

ความก้าวหน้ามิได้ย่อหย่อน ความไม่ปลงฉันทะ ความไม่ทอดธุระ ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 331

ประคองธุระไว้ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันเป็นไป

ทางจิต ภิกษุเป็นผู้เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าไปถึง

เข้าไปถึงพร้อม ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ ภิกษุนั้นเรียกว่า มีความ

เพียร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงมีความเพียรซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น.

ว่าด้วยความเกียจคร้าน

[๗๕๓] ชื่อว่า ความเกียจคร้าน ในคำว่า พึงละเว้นความ

เกียจคร้าน ความลวง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรมอันเป็นไป

กับด้วยการประดับ ได้แก่ ความเกียจคร้าน กิริยาที่เกียจคร้าน ความ

เป็นผู้เกียจคร้าน ความเป็นผู้มีใจเกียจคร้าน ความขี้เกียจ กิริยาที่ขี้เกียจ

ความเป็นคนขี้เกียจ นี้เรียกว่าความเกียจคร้าน. คำว่า ความลวง ความว่า

ความประพฤติลวง เรียกว่าความลวง บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติ

ทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจแล้ว ตั้ง

ความปรารถนาลามกเพราะเหตุจะปกปิดทุจริตนั้น คือย่อมปรารถนาว่า

ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา (ว่าเราประพฤติชั่ว ) ย่อมดำริว่า ใครๆ อย่ารู้จักเรา

คิดว่า ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา ดังนี้แล้ว กล่าววาจา (ว่าตนไม่มีความ

ประพฤติชั่ว) คิดว่า ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา ดังนี้แล้ว ก็บากบั่นด้วยกาย.

ความลวง ความเป็นผู้ลวง กิริยาเป็นเครื่องปิดบัง กิริยาที่ซ่อน

ความจริง กิริยาที่บังความผิด กิริยาที่ปกปิดความผิด กิริยาที่เลี่ยงความผิด

กิริยาที่หลบความผิด กิริยาที่ซ่อนความชั่ว กิริยาที่พรางความชั่ว กิริยา

ที่บังความชั่ว กิริยาที่ปกปิดความชั่ว ความทำให้ลับ ความไม่เปิดเผย

กิริยาที่คลุมความผิด กิริยาที่ชั่ว นี้เรียกว่าความลวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 332

ว่าด้วยการเล่น ๒ อย่าง

คำว่า ความหัวเราะ ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม

หัวเราะเกินประมาณจนฟันปรากฏ สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหัวเราะเกินประมาณจนฟันปรากฏนี้เป็น

กิริยาของเด็ก ในอริยวินัย. ชื่อว่าการเล่น ได้แก่การเล่น ๒ อย่าง คือการ

เล่นทางกาย ๑ การเล่นทางวาจา ๑

การเล่นทางกายเป็นไฉน ชนทั้งหลายย่อมเล่นช้างบ้าง เล่นม้า

บ้าง เล่นรถบ้าง เล่นธนูบ้าง เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตาบ้าง เล่น

หมากรุกแถวละ ๑๐ ตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่น

หมากไหวบ้าง เล่นโยนบ่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาดให้เห็นรูปต่าง ๆ

บ้าง ๆ เล่นสกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อย ๆ บ้าง เล่นหก-

คะเมนบ้าง เล่นกังหันบ้าง เล่นตวงทรายบ้าง เล่นรถน้อย ๆ บ้าง เล่น

ธนูน้อย ๆ บ้าง เล่นเขียนทายกันบ้าง เล่นทายใจกันบ้าง เล่นเลียนคน

ขอทานบ้าง นี้ชื่อว่าการเล่นหางกาย.

การเล่นทางวาจาเป็นไฉน เล่นตีกลองปาก เล่นพิณพาทย์ปาก

เล่นรัวกลองด้วยปาก เล่นผิวปาก เล่นกระเดาะปาก เล่นเป่าปาก เล่น

ซ้อมเพลง เล่นโห่ร้อง เล่นร้องเพลง เล่นหัวเราะกัน นี้ชื่อว่าการเล่น

ทางวาจา.

ว่าด้วยเมถุน

ชื่อว่าเมถุนธรรม ได้แก่ ธรรมของอสัตบุรุษ ธรรมของชาวบ้าน

ธรรมของคนเลว ธรรมชั่วหยาบ ธรรมมีน้ำชำระเป็นส่วนสุด ธรรมที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 333

ทำในที่ลับ ธรรมเป็นความถึงพร้อมแห่งคนคู่ ๆ กัน เพราะเหตุไร

บัณฑิตจึงกล่าวว่า เมถุนธรรม ธรรมของคนคู่กันผู้กำหนัด กำหนัดนัก

ผู้ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้น มีจิตอันราคะครอบงำ เป็นคนเช่นเดียว

กันทั้งสองคน เพราะเหตุดังนี้นั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า เมถุนธรรม คน

สองคนทำความทะเลาะกัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนทำความหมาย-

มั่นกัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนทำความอื้อฉาว เรียกว่าคนคู่กัน

คนสองคนทำความวิวาทกัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนก่ออธิกรณ์กัน

เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนพูดกัน เรียกว่าคนคู่กัน คนสองคนปราศรัย

กัน เรียกว่าคนคู่กัน ฉันใด ธรรมของคนคู่กันผู้กำหนัด กำหนัดนัก

ผู้ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้น มีจิตอันราคะครอบงำ เป็นคนเช่นเดียว

กันทั้งสองคน เพราะเหตุดังนี้นั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า เมถุนธรรม ฉันนั้น.

ว่าด้วยการประดับ ๒ อย่าง

ชื่อว่าการประดับ ได้แก่การประดับมีอยู่ ๒ อย่าง คือการประดับ

ของคฤหัสถ์ ๑ การประดับของบรรพชิต ๑

การประดับของคฤหัสถ์เป็นไฉน การแต่งผม การแต่งหนวด

การทัดดอกไม้ การประพรมเครื่องหอม การย้อมผิว การแต่งเครื่อง

ประดับ การแต่งเครื่องแต่งตัว การนุ่งห่มผ้าสวยงาม การประดับข้อมือ

การทรงผ้าโพก การอบตัว การนวดตัว การอาบน้ำ การตัดตัว การ

ส่องกระจก การแต้มตา การสวมพวงดอกไม้ การทาปาก การเจิมหน้า

การผูกข้อมือ การเกล้าผม การใช้ไม้เท้า การใช้ทะนาน การใช้ดาบ

การใช้ร่ม การสวมรองเท้าที่งาม การสวมเขียงเท้า การติดกรอบหน้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 334

การปักปิ่น การใช้พัด การนุ่งห่มผ้าขาว การนุ่งห่มผ้าชายยาว นี้ชื่อว่า

การประดับของคฤหัสถ์.

การประดับของบรรพชิตเป็นไฉน การตกแต่งจีวร การตกแต่ง

บาตร หรือการตกแต่ง การประดับ การเล่นสนุก ในการประดับ การ

เพลินในการประดับ การปรารถนาในการประดับ ความชอบใจในการ

ประดับ กิริยาที่ประดับ ความเป็นแห่งการประดับ ซึ่งกายอันเปื่อยเน่านี้

หรือบริขารทั้งหลายอันเป็นภายนอก นี้ชื่อว่าการประดับของบรรพชิต.

คำว่า พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความลวง ความหัวเราะ การ

เล่นเมถุนธรรมอันเป็นไปกับด้วยการประดับ ความว่า พึงละเว้น บรรเทา

ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเกียจคร้าน ความลวง ความหัวเราะ

การเล่น เมถุนธรรมอันเป็นไปกับด้วยการประดับ คือทั้งบริวาร ทั้ง

บริภัณฑ์ ทั้งบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงละเว้นความเกียจคร้าน

ความลวง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรมอันเป็นไปกับด้วยการ

ประดับ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก พึงมีความเพียร

ซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความ

ลวง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรมอันเป็นไปกับ

ด้วยการประดับ.

[๗๕๔] ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การ

ทำนายฝัน การทายลักษณะ และการดูฤกษ์ ไม่พึงซ่อง-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 335

เสพการทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และ

การรักษาโรค.

ว่าด้วยการทำอาถรรพณ์

[๗๕๕] คำว่า ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์

การทำนายฝัน การทายลักษณะ และการดูฤกษ์ ความว่า พวกคน

ที่มีมนต์ทำอาถรรพณ์ ย่อมประกอบการทำอาถรรพณ์ คือเมื่อนครถูกล้อม

หรือเมื่อสงครามตั้งประชิดกัน ย่อมทำให้เสนียดจัญไรเกิดขึ้น ให้อุปัทวะ

เกิดขึ้น ให้โรคเกิดขึ้น ให้โรคจุกเสียดเกิดขึ้น ให้โรคลงรากเกิดขึ้น

ให้โรคไข้เชื่อมซึมเกิดขึ้น ให้โรคบิดเกิดขึ้น ในพวกข้าศึกที่เป็นศัตรูกัน

พวกชนที่มีมนต์ทำอาถรรพณ์ ย่อมประกอบการทำอาถรรพณ์อย่างนี้.

ว่าด้วยการทำนายฝัน

พวกชนที่ทำนายฝัน ย่อมทำนายฝันว่า คนฝันเวลาเช้า จะมีผล

อย่างนี้ คนฝันเวลาเที่ยง จะมีผลอย่างนี้. คนฝันเวลาเย็น จะมีผลอย่างนี้

คนฝันยามต้น จะมีผลอย่างนี้ คนฝันยามกลาง จะมีผลอย่างนี้ คนฝัน

ยามหลัง จะมีผลอย่างนี้ คนนอนข้างขวาฝัน จะมีผลอย่างนี้ คนนอน

ข้างซ้ายฝัน จะมีผลอย่างนี้ คนนอนหงายฝัน จะมีผลอย่างนี้ คนนอน

คว่ำฝัน จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นพระจันทร์ จะมีผลอย่างนี้ คนฝัน

เห็นพระอาทิตย์ จะมีผลอย่างนี้ ฝันเห็นพาสมุทร จะมีผลอย่างนี้

ฝันเห็นขุนเขาสิเนรุราช จะมีผลอย่างนี้ ฝันเห็นช้าง จะมีผลอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 336

ฝันเห็นรถ จะมีผลอย่างนี้ ฝันเห็นพลเดินเท้า จะมีผลอย่างนี้ คน

ฝันเห็นหมู่เสนา จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ จะมีผลอย่างนี้

ฝันเห็นป่าที่น่ารื่นรมย์ จะมีผลอย่างนี้ คนฝันเห็นภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์

จะมีผลอย่างนี้ ฝันเห็นสระที่น่ารื่นรมย์ จะมีผลอย่างนี้ พวกชนที่

ทำนายฝัน ย่อมทำนายฝันอย่างนี้.

ว่าด้วยการทำนายลักษณะ

พวกชนที่ทำนายลักษณะ ย่อมทำนายลักษณะ คือลักษณะแก้ว

ลักษณะไม้เท้า ลักษณะผ้า ลักษณะดาบ ลักษณะศร ลักษณะธนู ลักษณะ

อาวุธ ลักษณะสตรี ลักษณะบุรุษ ลักษณะกุมารี ลักษณะกุมาร ลักษณะ

ทาสี ลักษณะทาส ลักษณะช้าง ลักษณะม้า ลักษณะกระบือ ลักษณะ

โค ลักษณะแพะ ลักษณะแกะ ลักษณะไก่ ลักษณะนกคุ่ม ลักษณะเหี้ย

ลักษณะช่อฟ้า ลักษณะเต่า ลักษณะมฤค พวกชนที่ท่านายลักษณะ ย่อม

ทำนายลักษณะอย่างนี้.

ว่าด้วยการดูฤกษ์

พวกชนที่ดูฤกษ์ ย่อมตรวจดูฤกษ์ว่า ฤกษ์มีอยู่ ๒๘ ฤกษ์ งาน

มงคลขึ้นบ้านใหม่ พึงทำโดยฤกษ์นี้ งานมงคลผูกเครื่องประดับ พึงทำ

โดยฤกษ์นี้ งานมงคลแต่งงาน พึงทำโดยฤกษ์นี้ งานมงคลปลูกพืช พึง

ทำโดยฤกษ์นี้ งานมงคลอยู่เรือน พึงทำโดยฤกษ์นี้ พวกชนผู้ดูฤกษ์

ย่อมตรวจดูฤกษ์อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 337

คำว่า ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทาย

ลักษณะ และการดูฤกษ์ ความว่า ไม่พึงประกอบ คือไม่พึงประพฤติ

ไม่พึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ไม่พึงยึดถือประพฤติ ซึ่งการทำอาถรรพณ์

การทำนายฝัน การทายลักษณะ และการดูฤกษ์ อีกอย่างหนึ่ง ไม่ควรยึด

ไม่ควรถือ ไม่ควรทรงจำไว้ ไม่ควรเข้าไปทรงจำไว้ ไม่ควรเข้าไปกำหนด

ไม่ควรประกอบ ซึ่งการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทายลักษณะ

และการดูฤกษ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์

การทำนายฝัน การทายลักษณะ และการดูฤกษ์.

ว่าด้วยการทำนายเสียงนกและเนื้อ

[๗๕๖] เสียงเนื้อและเสียงนก เรียกว่าเสียร้อง ในคำว่า ภิกษุ

ผู้นับถือไม่พึงซ่องเสพการทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์

และการรักษาโรค ความว่า พวกชนที่รู้เสียงเนื้อและนก ย่อมทำนายเสียง

เนื้อและนก คือย่อมรู้เสียงร้องเสียงเจรจากัน แห่งนกหรือสัตว์สี่เท้า พวก

ชนที่รู้เสียงเนื้อและนก ย่อมทำนายเสียงเนื้อและนกอย่างนี้.

ว่าด้วยครรภ์ไม่ตั้งด้วยเหตุ ๒ ประการ

พวกชนปรุงยาให้ตั้งครรภ์ ย่อมยังครรภ์ให้ตั้งขึ้น ครรภ์ย่อมไม่

ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๒ ประการ คือด้วยเหล่าตัวสัตว์ ๑ ด้วยลมกำเริบ ๑ พวก

ชนที่ปรุงยาให้ตั้งครรภ์ ย่อมให้ยาเพื่อบำบัดเหล่าตัวสัตว์ หรือเพื่อบำบัด

ลมกำเริบ พวกชนที่ปรุงยาให้ตั้งครรภ์ ย่อมยังครรภ์ให้ตั้งขึ้นอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 338

ว่าด้วยการรักษาโรค

ชื่อว่าการรักษาโรค ได้แก่การรักษาโรค ๕ อย่าง คือรักษาทางตา

รักษาทางผ่าตัด รักษาทางยา รักษาทางภูตผี รักษาทางกุมาร. คำว่า

ภิกษุผู้นับถือ คือภิกษุผู้นับถือพระพุทธเจ้า ผู้นับถือพระธรรม ผู้นับถือ

พระสงฆ์ ภิกษุผู้นับถือนั้น ย่อมนับถือพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรับบุคคลนั้น สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้หลอกลวง กระด้าง พูด

เหลาะแหละ ชอบตกแต่ง มีมานะสูง เหมือนไม้อ้อ ไม่มีสมาธิ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ไม่นับถือเรา เป็นผู้ปราศไปจาก

ธรรมวินัยนี้ และย่อมไม่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ไม่หลอกลวง ไม่พูดเหลาะ

แหละ มีปัญญา ไม่กระด้าง มีสมาธิดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น

ชื่อว่าเป็นผู้นับถือเรา เป็นผู้ไม่ปราศไปจากธรรมวินัย และย่อมถึงความ

เจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง

แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

พวกภิกษุผู้หลอกลวง กระด้าง พูดเหลาะแหละ ชอบ

เครื่องประดับ มีมานะสูงดังไม้อ้อ ไม่มีสมาธิ ภิกษุ

เหล่านั้น ย่อมไม่งอกงามในธรรมวินัยที่พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ส่วนพวกภิกษุผู้ไม่หลอกลวง

ไม่พูดเหลาะแหละ มีปัญญา ไม่กระด้าง มีสมาธิดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 339

ภิกษุเหล่านั้น ย่อมงอกงามในธรรมรินัยที่พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

คำว่า ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงซ่องเสพการทายเสียงสัตว์ร้อง การ

ปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค ความว่า ภิกษุผู้นับถือไม่พึงเสพ

ไม่พึงซ่องเสพ ไม่พึงซ่องเสพเฉพาะ ไม่พึงประพฤติ ไม่พึงประพฤติ

โดยเอื้อเฟื้อ ไม่พึงยึดถือประพฤติ ซึ่งการทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยา

ให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค อีกอย่างหนึ่ง ไม่พึงยึด ไม่พึงถือ ไม่พึง

ทรงไว้ ไม่พึงเข้าไปทรงไว้ ไม่พึงเข้าไปกำหนด ไม่พึงประกอบ ซึ่งการ

ทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงซ่องเสพการทา เสียงสัตว์ร้อง การปรุงยา

ให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสตอบว่า

ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การ

ทำนายฝัน การทายลักษณะ และการดูฤกษ์ ไม่พึง

ซ่องเสพการทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์

และการรักษาโรค.

[๗๕๗] ภิกษุไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา ถูกเขา

สรรเสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น พึงบรรเทาความโลภ พร้อม

กับความตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด.

ว่าด้วยไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ

[๗๕๘] คำว่า ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 340

คนบางพวกในโลกนี้ ย่อมนินทา ติเตียน ค่อนขอดภิกษุโดยชาติบ้าง

โดยโคตรบ้าง โดยความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง โดยความเป็นผู้มีรูปงาม

บ้าง โดยทรัพย์บ้าง โดยความเชื้อเชิญบ้าง โดยหน้าที่การงานบ้าง โดย

ศิลปศาสตร์บ้าง โดยวิทยฐานะบ้าง โดยการศึกษาบ้าง โดยปฏิภาณบ้าง

โดยวัตถุอื่น ๆ บ้าง ภิกษุถูกนินทาติเตียนค่อนขอดแล้ว ไม่พึงหวั่น

หวั่นไหว เอนเอียง สะดุ้ง ดิ้นรน กระวนกระวายกลัว ถึงความหวาด

เสียว คือไม่พึงเป็นผู้ขลาด ครั่นคร้าม หวาดเสียว หนีไป ในเพราะ

ความนินทา ติเตียน ค่อนขอด เสื่อมเสียเกียรติ ถูกกล่าวโทษพึงเป็น

ผู้ละความกลัวความขลาด ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุกขนพองอยู่ เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา.

[๗๕๙] คำว่า ภิกษุถูกเขาสรรเสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น ความว่า

คนบางพวกในโลกนี้ ย่อมสรรเสริญ ชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณภิกษุ

โดยชาติบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอื่น ๆ บ้าง ภิกษุถูกเขาสรรเสริญ ชมเชย

ยกย่องพรรณนาคุณแล้ว ไม่ควรทำความฟูขึ้น ไม่ควรทำความกำเริบขึ้น

ไม่ควรทำความถือตัว ไม่ควรทำความกระด้าง คือไม่ควรเป็นผู้จองหอง

เป็นผู้ปั้นปึ่ง เป็นผู้หัวสูง เพราะความสรรเสริญ เพราะความชมเชย

เพราะความยกย่อง เพราะความพรรณนาคุณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ

ถูกเขาสรรเสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น.

ว่าด้วยความตระหนี่ ๕ ประการ

[๗๖๐] ชื่อว่า ความโลภ ในคำว่า พึงบรรเทาความโลภพร้อม

กับความตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด ได้แก่ความโลภ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 341

กิริยาที่โลภ ความกำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก ความเป็นผู้กำหนัดนัก

อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ชื่อว่าความตระหนี่ คือความตระหนี่ ๕ ประการ

ได้แก่ความตระหนี่อาวาส ฯลฯ ความหวงไว้ นี้เรียกว่าความตระหนี่.

ชื่อว่าความโกรธ คือความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความ

ขุ่นเคือง ความเคือง ความเคืองทั่ว ความเคืองเสมอ ความชัง ความ

ชังทั่ว ความชังเสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ

ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความ

เป็นผู้ชัง ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความ

พิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็นผู้ดุร้าย ความโกรธจนร้องไห้ ความ

ไม่แช่มชื่นแห่งจิต. คำว่า ความพูดส่อเสียด ความว่า บุคคลบางคน

ในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือได้ฟังจากข้างนี้แล้ว ไปบอกข้างโน้น

เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือได้ฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลาย

คนหมู่โน้น เป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่แตกกัน

บ้าง ชอบคนที่เป็นก๊กกัน ยินดีคนที่เป็นก๊กกัน เพลินกับคนที่เป็น

ก๊กกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำให้เป็นก๊กกัน นี้เรียกว่าความเป็นผู้มีวาจา

ส่อเสียด อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ

คือด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รัก ๑ มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน ๑ บุคคล

นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร บุคคลนำคำส่อเสียด

เข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า เราจักเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ

เป็นผู้สนิท เป็นคนภายใน เป็นที่ดีใจของบุคคลนี้ บุคคลเป็นผู้มีความ

ประสงค์ให้เขาแตกกัน นำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างไร บุคคลมีความประสงค์

ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้พึงเป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 342

เป็นสองเหล่า เป็นสองพวก เป็นสองฝ่าย คนเหล่านี้พึงแตกกัน ไม่

ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบากไม่ผาสุก ด้วยอุบายอย่างไร ดังนี้ บุคคลผู้มี

ความประสงค์ให้เขาแตกกัน นำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างนี้.

คำว่า พึงบรรเทาความโลภ พร้อมกับความตระหนี่ ความโกรธ

และการพูดส่อเสียด ความว่า ภิกษุพึงบรรเทา พึงสละ กำจัด ทำให้

สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความโลภ ความตระหนี้ ความโกรธ และ

การพูดส่อเสียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงบรรเทาความโลภ พร้อมกับ

ความตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา ถูกเขาสรร-

เสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น พึงบรรเทาความโลภ พร้อมกับ

ความตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด.

[๗๖๑] ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อการขาย ไม่พึงทำกิเลส

เป็นเครื่องค่อนขอดในที่ไหน ๆ ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน

และไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน เพราะความอยากได้ลาภ.

[๗๖๒] คำว่า ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อการขาย ความว่า การ

ซื้อการขายเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามไว้ในวินัย การซื้อ

การขายเหล่านั้นมิได้ทรงพระประสงค์เอาในอรรถนี้ ภิกษุตั้งอยู่ในการซื้อ

การขายอย่างไร ภิกษุทำความลวง หรือปรารถนาความเจริญ ย่อมแลก

เปลี่ยนบาตรก็ดี จีวรก็ดี บริขารอื่นอะไรๆ ก็ดี กับสหธรรมิก ๕ จำพวก

ภิกษุตั้งอยู่ในการซื้อการขายอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 343

ภิกษุไม่ตั้งอยู่ในการซื้อการขายอย่างไร ภิกษุไม่ทำความลวง

หรือไม่ปรารถนาความเจริญ ย่อมแลกเปลี่ยนบาตรก็ดี จีวรก็ดี บริขาร

อื่นอะไร ๆ ก็ดี กับสหธรรมิก ๕ จำพวก ภิกษุไม่ตั้งอยู่ในการซื้อขาย

อย่างนี้. คำว่า ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อ การขาย ความว่า ภิกษุไม่

พึงตั้งอยู่ ไม่พึงดำรงอยู่ในการซื้อ การขา พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้น

ไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งการซื้อการขาย พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ

ออกไป สลัด พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง กับการซื้อการขาย พึงเป็นผู้มีจิต

ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อ

การขาย.

ว่าด้วยกิเลส

[๗๖๓] คำว่า ภิกษุไม่พึงทำกิเลส เป็นเครื่องค่อนขอดในที่

ไหน ๆ ความว่า กิเลสเป็นเครื่องทำความค่อนขอดเป็นไฉน มีสมณ-

พราหมณ์บางพวกผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จักจิตผู้อื่น สมณพราหมณ์

พวกนั้น คนเห็นได้แต่ไกลบ้าง อยู่ใกล้ไม่ปรากฏบ้าง รู้จักจิตด้วยจิตบ้าง

พวกเทวดาผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จักจิตผู้อื่น เทวดาพวกนั้น คนเห็น

ได้แก่ไกลบ้าง อยู่ใกล้ไม่ปรากฏบ้าง รู้จักจิตด้วยจิตบ้าง สมณพราหมณ์

และเทวดาเหล่านั้น ย่อมค่อนขอดด้วยกิเลสหยาบบ้าง ด้วยกิเลสปานกลาง

บ้าง ด้วยกิเลสละเอียดบ้าง. กิเลสหยาบเป็นไฉน กายทุจริต วจีทุจริต

มโนทุจริต เหล่านี้เรียกว่า กิเลสหยาบ. กิเลสปานกลางเป็นไฉน กามวิตก

พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เหล่านั้นเรียกว่า กิเลสปานกลาง. กิเลสละเอียด

เป็นไฉน ความวิตกถึงญาติ ความวิตกถึงชนบท ความวิตกถึงอมรเทพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 344

ความวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น ความวิตกอันปฏิสังยุต

ด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญ ความวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความ

ไม่ถูกดูหมิ่น วิตกเหล่านี้เรียกว่า กิเลสละเอียด.

สมณพราหมณ์และเทวดาเหล่านั้น พึงค่อนขอดด้วยกิเลสหยาบบ้าง

ด้วยกิเลสปานกลางบ้าง ด้วยกิเลสละเอียดบ้าง ภิกษุไม่พึงทำกิเลสเป็น

เครื่องค่อนขอด คือไม่ควรทำกิเลสทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความค่อน-

ขอด ไม่ควรยังกิเลสเหล่านั้นให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิด

เฉพาะ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกิเลสทั้งหลาย

อันเป็นเครื่องทำความค่อนขอด พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออกไป

สลัด พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วยกิเลสอันเป็นเครื่องทำความค่อนขอด พึง

เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่. คำว่า ในที่ไหน ๆ คือในที่ไหนๆ

ในที่ทุกๆแห่ง ภายในบ้าง ภายนอกบ้าง ทั้งภายในและภายนอกบ้าง

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงทำกิเลสเป็นเครื่องค่อนขอดในที่ไหน.

[๗๖๔] พึงทราบวินิจฉัยคำว่า ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน ดังต่อ

ไปนี้ ภิกษุย่อมเกี่ยวข้องในบ้านอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอยู่

เกี่ยวข้อง ร่วมยินดี ร่วมเศร้าโศก กับพวกคฤหัสถ์ในบ้าน เมื่อพวก

คฤหัสถ์มีสุขก็สุขด้วย มีทุกข์ก็ทุกข์ด้วย มีธุรกิจที่ต้องทำเกิดขึ้น ก็ถึง

ความช่วยเหลือด้วยตน ภิกษุย่อมเกี่ยวข้องในบ้านแม้อย่างนี้ อีกอย่าง

หนึ่ง เวลาเช้า ภิกษุนุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังบ้านหรือ

นิคมเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต ไม่

ตั้งสติมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอย่อมเกี่ยวข้องในที่นั้นๆ ย่อมรับในที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 345

นั้น ๆ ย่อมติดอยู่ในที่นั้น ๆ ถึงความฉิบหายในที่นั้นๆ ภิกษุย่อมเกี่ยว-

ข้องในบ้านแม้อย่างนี้ ภิกษุย่อมไม่เกี่ยวข้องในบ้านอย่างไร ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่อยู่เกี่ยวข้อง ไม่ร่วมยินดี ไม่ร่วมเศร้าโศก กับพวก

คฤหัสถ์ในบ้าน เมื่อพวกคฤหัสถ์มีสุขก็มีสุขด้วย มีทุกข์ก็ไม่ทุกข์ด้วย

เมื่อมีธุรกิจที่ต้องทำเกิดขึ้น ก็ไม่ถึงความช่วยเหลือด้วยตน ภิกษุย่อมไม่

เกี่ยวข้องในบ้านแม้อย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง เวลาเช้าภิกษุนุ่งสบงแล้ว ถือ

บาตรและจีวรเข้าไปยังบ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต รักษากาย รักษาวาจา

รักษาจิต ตั้งสติมั่น สำรวมอินทรีย์ ย่อมไม่เกี่ยวข้องในที่นั้นๆ ย่อม

ไม่รับในที่นั้นๆ ย่อมไม่ติดอยู่ในที่นั้นๆ ไม่ถึงความฉิบหายในที่นั้น ๆ

ภิกษุย่อมไม่เกี่ยวข้องในบ้านแม้อย่างนี้.

คำว่า ไม่เกี่ยวข้องในบ้าน ความว่า ภิกษุไม่พึงเกี่ยวข้อง ไม่รับ

ไม่ติด ไม่พัวพันในบ้าน ไม่พึงเป็นผู้กำหนัดยินดีหลงใหลติดใจในบ้าน

พึงเป็นผู้หายกำหนัด ปราศจากกำหนัด สละกำหนัดเสียแล้ว ฯลฯ พึง

เป็นผู้มีตนดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน.

ว่าด้วยการพูดเลียบเคียง

[๗๖๕] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน

เพราะความอยากได้ลาภ ดังต่อไปนี้

การพูดเลียบเคียงเป็นไฉน การพูดหว่านล้อม การพูดเลียบเคียง

การพูดเลียบเคียงด้วยดี การพูดยกย่อง การพูดยกย่องด้วยดี การพูดผูก

พัน การพูดผูกพันด้วยดี การพูดอวดอ้าง การพูดอวดอ้างด้วยดี การ

พูดฝากรัก ความเป็นผู้พูดมุ่งให้เขารักตน ความเป็นผู้พูดเหลวไหลดังว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 346

แกงถั่ว ความเป็นผู้พูดประจบ ความเป็นผู้พูดแคะได้ (ดุจกินเนื้อหลัง

ผู้อื่น) ความเป็นผู้พูดอ่อนหวาน ความเป็นผู้พูดไพเราะ ความเป็นผู้พูด

ด้วยไมตรี ความเป็นผู้พูดไม่หยาบคายแก่ชนเหล่าอื่น แห่งภิกษุผู้มั่นหมาย

ลาภสักการะและความสรรเสริญ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนา

ครอบงำ เป็นผู้เห็นแก่อามิส หนักอยู่ในโลกธรรม กิริยานี้เรียกว่า

การพูดเลียบเคียง.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุพูดเลียบเคียงกะชนด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือตั้งตนต่ำ

ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกะชน ๑ ยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียง

กะชน ๑.

ภิกษุตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกะชนอย่างไร ภิกษุ

ตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดกะชนอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายมีอุปการะมาก

แก่ฉัน ฉันได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

เพราะอาศัยท่านทั้งหลาย แม้คนอื่น ๆ ย่อมสำคัญเพื่อจะให้หรือเพื่อจะทำ

แก่ฉัน คนเหล่านั้น อาศัยท่านทั้งหลาย เห็นแก่ท่านทั้งหลาย จึงให้

จึงทำแก่ฉัน แม้ชื่อเก่าเป็นของมารดาและบิดา ชื่อแม้นั้นของฉันหายลับ

ไป ฉันย่อมปรากฏเพราะท่านทั้งหลายว่า เป็นกุลุปกะของอุบาสกโน้น

เป็นกุลุปกะของอุบาสิกาโน้น ภิกษุตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียง

กะชนอย่างนี้.

ภิกษุยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชนอย่างไร ภิกษุ

ยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชนแม้อย่างนี้ว่า ฉันมีอุปการะมาก

แก่พวกท่าน พวกท่านอาศัยฉันจึงถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ ถึงพระ-

ธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 347

ขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท

เว้นขาดจากเหตุที่เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทในเพราะดื่มน้ำเมา คือสุรา

และเมรัย ฉันย่อมบอกให้พระบาลี ย่อมบอกให้คำอธิบายพระบาลี ย่อม

บอกอุโบสถ ย่อมอำนวยการก่อสร้าง แก่ท่านทั้งหลาย ก็แต่เมื่อท่าน

ทั้งหลายลืมฉันเสียแล้ว ย่อมสักการะเคารพนับถือบูชาภิกษุเหล่าอื่น ภิกษุ

ยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชนแม้อย่างนี้.

คำว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชนเพราะความอยากได้ลาภ ความ

ว่า ภิกษุเมื่อจะให้ลาภสำเร็จ ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน คือพึงละบรรเทา

ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งการพูดเลียบเคียงกะชน เป็นผู้งด เว้น

เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องการพูดเลียบเคียงเพราะ

เหตุแห่งลาภ เพราะการณะแห่งลาภ เพราะความบังเกิดขึ้นแห่งลาภ พึง

เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงพูดเลียบ-

เคียงกะชน เพราะความอยากได้ลาภ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสตอบว่า

ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อขาย ไม่พึงทำกิเลสเป็น

เครื่องค่อนขอดในที่ไหนๆ ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน ไม่

พึงพูดเลียบเคียงกะชนเพราะความอยากได้ลาภ.

[๗๖๖] ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูดโอ้อวด ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้

ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง และไม่พึงกล่าวถ้อยคำ

แก่งแย่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 348

ว่าด้วยการพูดโอ้อวด

[๗๖๗] พึงทราบอธิบายในคำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูดโอ้อวด

ดังต่อไปนี้.

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พูดโอ้อวด อวดอ้าง ภิกษุนั้น

ย่อมพูดโอ้อวด อวดอ้างว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลบ้าง ถึงพร้อม

ด้วยวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยชาติบ้าง ถึง

พร้อมด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นบุตรสกุลบ้าง ถึงพร้อมด้วย

ความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง ถึงพร้อมด้วยทรัพย์บ้าง ถึงพร้อมด้วยความเชื้อ

เชิญบ้าง ถึงพร้อมด้วยหน้าที่การงานบ้าง ถึงพร้อมด้วยศิลปศาสตร์บ้าง

ถึงพร้อมด้วยวิทยฐานะบ้าง ถึงพร้อมด้วยการศึกษาบ้าง ถึงพร้อมด้วย

ปฏิภาณบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตถุอื่นๆบ้าง เราออกบวชจากสกุลสูงบ้าง

ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมากบ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่ง

ใหญ่บ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นพระ-

ธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง ฯลฯ เป็นผู้ได้เนวสัญญานา-

สัญญายตนสมาบัติบ้าง ภิกษุไม่พึงพูดโอ้อวดอย่างนี้ คือพึงละ บรรเทา

ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งความพูดโอ้อวด พึงเป็นผู้งด เว้น เว้น-

เฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องกับการพูดโอ้อวด พึงเป็น

ผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูด

โอ้อวด.

ว่าด้วยการกล่าววาจามุ่งได้

[๗๖๘] พึงทราบอธิบายในคำว่า ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้ ดัง

ต่อไปนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 349

วาจามุ่งได้เป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมกล่าววาจา

มุ่งได้จีวร กล่าววาจามุ่งได้บิณฑบาต กล่าววาจามุ่งได้เสนาสนะ กล่าว

วาจามุ่งได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร วาจานี้เรียกว่า วาจามุ่งได้. อีกอย่าง

หนึ่ง ภิกษุพูดจริงบ้าง พูดเท็จบ้าง พูดส่อเสียดบ้าง พูดไม่ส่อเสียดบ้าง

พูดหยาบบ้าง พูดไม่หยาบบ้าง พูดเพ้อเจ้อบ้าง พูดไม่เพ้อเจ้อบ้าง พูด

ด้วยปัญญาบ้าง เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุ

แห่งเสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แม้วาจานี้ก็เรียกว่า

วาจามุ่งได้. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุมีจิตเลื่อมใส แสดงธรรมแก่ชนทั้งหลาย

อื่นด้วยคิดว่า โอหนอ ขอชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ครั้นฟังแล้ว

พึงเลื่อมใสธรรม ครั้นเลื่อมใสแล้วพึงทำอาการของคนผู้เลื่อมใสต่อเรา

วาจานี้ก็เรียกว่า วาจามุ่งได้.

คำว่า ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้ ความว่า ภิกษุไม่พึงกล่าว ไม่พึง

บอก ไม่พึงพูด ไม่พึงแสดง ไม่พึงแถลงวาจามุ่งได้ ตลอดถึงวาจาแสดง

ธรรมเป็นที่สุด คือพึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่ง

วาจามุ่งได้ พึงเป็นผู้งดเว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่

เกี่ยวข้องกับวาจามุ่งได้ พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้.

ว่าด้วยความคะนอง ๓ อย่าง

[๗๖๙] ชื่อว่า ความคะนอง ในคำว่า ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้

คะนอง ได้แก่ความคะนอง ๓ อย่าง คือความคะนองทางกาย ๑ ความ

คะนองทางวาจา ๑ ความคะนองทางใจ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 350

ความคะนองทางกายเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน

สงฆ์ก็ดี อยู่ในคณะก็ดี อยู่ในโรงฉันก็ดี อยู่ในเรือนไฟก็ดี อยู่ที่ท่าน้ำ

ก็ดี กำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้านก็ดี เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วก็ดี ก็แสดง

ความคะนองทางกาย.

ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางกายอย่างไร ภิกษุบางรูป

ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในสงฆ์ ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียดพวกภิกษุที่เป็น

เถระบ้าง นั่งเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้า

บ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง (ยืนตัวแข็ง) ยืนไม่ก้ม

พูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางกาย

อย่างนี้.

ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางกายอย่างไร ภิกษุบางรูป

ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในคณะ ไม่ทำความยำเกรง เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระ

ไม่สวมรองเท้าเดินอยู่ ก็สวมรองเท้าเดินไป เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระเดิน

อยู่ในที่จงกรมต่ำ ก็เดินในที่จงกรมสูง เมื่อพวกภิกษุที่เป็นเถระเดินอยู่

บนแผ่นดิน ก็เดินในที่จงกรม ยืนเบียดบ้าง นั่งเบียดบ้าง ยืนบังหน้า

บ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง ยืนตัว

แข็งพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทาง

กายอย่างนี้.

ภิกษุอยู่ในโรงฉันแสดงความคะนองทางกายอย่างไร ภิกษุบาง

รูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในโรงฉัน ไม่ทำความยำเกรง นั่งแทรกแซงพวก

ภิกษุที่เป็นเถระบ้าง นั่งกีดกันอาสนะพวกภิกษุที่เป็นนวกะบ้าง ยืนเบียด

บ้าง นั่งเบียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 351

นั่งคลุมศีรษะตนบ้าง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ใน

โรงฉันแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้.

ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกายอย่างไร ภิกษุบาง

รูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในเรือนไฟ ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียดพวกภิกษุ

ที่เป็นเถระบ้าง นั่งเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบัง

หน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง ไม่บอกก่อนแล้วใส่ฟืนบ้าง ไม่บอกก่อน

แล้วปิดประตูบ้าง. ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้.

ภิกษุอยู่ที่ท่าน้ำแสดงความคะนองทางกายอย่างไร ภิกษุบางรูป

ในธรรมวินัยนี้ อยู่ที่ท่าน้ำ ไม่ทำความยำเกรง ลงเบียดพวกภิกษุที่เป็น

เถระบ้าง ลงข้างหน้าบ้าง อาบเบียดบ้าง อาบข้างหน้าบ้าง อาบข้าง

เหมือน้ำบ้าง ขึ้นเบียดบ้าง ขึ้นข้างหน้าบ้าง ขึ้นข้างเหมือน้ำบ้าง ภิกษุ

อยู่ที่ท่าน้ำแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้.

ภิกษุกำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน แสดงความคะนองทางกาย

อย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ กำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน ไม่ทำ

ความยำเกรง เดินเบียดพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง เดินข้างหน้าบ้าง เดิน

ขึ้นหน้าพวกภิกษุที่เป็นเถระบ้าง ภิกษุกำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน แสดง

ความคะนองทางกายอย่างนี้.

ภิกษุเข้าไปในละแวกบ้านแล้ว แสดงความคะนองทางกายอย่างไร

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว เมื่อเขาไม่บอกว่า

เข้าไปเถิด พระคุณเจ้า ก็เข้าไป เมื่อเขาไม่บอกว่า ยืนอยู่เถิด พระคุณเจ้า

ก็ยืน เมื่อเขาไม่บอกว่า นั่งเถิด พระคุณเถิด ก็นั่ง เข้าไปสู่ที่เป็นโอกาส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 352

ไม่ควรบ้าง ยืนอยู่ในที่เป็นโอกาสไม่ควรบ้าง นั่งอยู่ในที่เป็นโอกาสไม่

ควรบ้าง ถลันเข้าไปในห้องเล็กลับปิดบังของสกุล อันเป็นที่นั่งอยู่แห่ง

พวกหญิงของสกุล ธิดาของสกุล สะใภ้ของสกุล กุมารีของสกุลบ้าง ภิกษุ

เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางกายอย่างนี้ นี้ชื่อว่าความ

คะนองทางกาย.

ความคะนองทางวาจาเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ใน

สงฆ์ก็ดี อยู่ในคณะก็ดี เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้วก็ดี ก็แสดงความคะนอง

ทางวาจา.

ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร ภิกษุบางรูป

ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในสงฆ์ไม่ทำความยำเกรง ไม่นอกพวกภิกษุที่เป็น

เถระก่อน หรืออันพวกภิกษุที่เป็นเถระไม่เชื้อเชิญ ก็แสดงธรรมแก่ภิกษุ

ทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แก้ปัญหาเอง สวดปาติโมกข์เอง ยืนตัวแข็งพูด

บ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในสงฆ์แสดงความคะนองทางวาจา

อย่างนี้.

ภิกษุอยู่ในคณะแสดงความคะนองทางวาจาอย่างไร ภิกษุบางรูป

ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในคณะไม่แสดงความยำเกรง ไม่บอกพวกภิกษุที่เป็น

เถระก่อน หรืออันพวกภิกษุที่เป็นเถระไม่เชื้อเชิญ ก็แสดงธรรมแก่ภิกษุ

ทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แก้ปัญหาเอง ยืนตัวแข็ง พูดบ้าง แกว่งแขนพูด

บ้าง แสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แสดงธรรมแก่อุบาสก

ทั้งหลายที่อยู่ในอาราม แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายที่อยู่ในอาราม

แก้ปัญหาเอง ยืนตัวแข็งพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในคณะ

แสดงความคะนองทางวาจาอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 353

ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว แสดงความคะนองทางวาจา

อย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว พูดกะ

สตรีบ้าง กุมารีบ้าง และพูดฟุ้งไปว่า ดูก่อนหญิงมีชื่ออย่างนี้ มีโคตร

อย่างนี้ สิ่งอะไรมีหรือ ยาคูมีไหม ภัตมีไหม ของควรเคี้ยวมีไหม พวก

เราจักดื่มอะไร จักฉันอะไร จักเคี้ยวอะไร สิ่งอะไรมีหรือ หรือพวกท่าน

จะให้อะไรแก่เรา ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้านแล้ว แสดงความคะนองทาง

วาจาอย่างนี้ นี้ชื่อว่าความคะนองทางวาจา.

ความคะนองทางใจเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่ใช่

เป็นผู้ออกบวชจากสกุลสูง ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจาก

สกุลสูง ไม่ใช่เป็นผู้ออกบวชจากสกุลใหญ่ ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุ

ที่ออกบวชจากสกุลใหญ่ ไม่ใช่เป็นผู้ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมาก

ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมาก ไม่ใช่

เป็นผู้ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่ ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุ

ที่ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เป็นผู้ทรงจำพระสูตร ก็มี

จิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ทรงจำพระสูตร ไม่ใช่เป็นผู้ทรงวินัย...ไม่ใช่

เป็นพระธรรมกถึก ... ไม่ใช่เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร . .. ไม่ใช่เป็นผู้ถือ

เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร.. . ไม่ใช่เป็นผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร. . . ไม่ใช่

เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกเป็นวัตร... ไม่ใช่เป็นผู้ถือไม่

ฉันภัตหนหลังเป็นวัตร. ..ไม่ใช่เป็นผู้ถือเนสัชชิกธุดงค์เป็นวัตร. . .ไม่ใช่

เป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร... ไม่ใช่เป็นผู้ได้ปฐม-

ฌาน... ไม่ใช่เป็นผู้ได้ทุติยฌาน... ไม่ใช่เป็นผู้ได้ตติยฌาน... ไม่ใช่เป็น

ผู้ได้จตุตถฌาน...ไม่ใช่เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ... ไม่ใช่เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 354

ผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ...ไม่ใช่เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ ...

ไม่ใช่เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญาตนสมาบัติ ก็มีจิตวางตนเหมือนภิกษุ

ผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าความคะนองทางใจ.

คำว่า ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง คือภิกษุไม่พึงศึกษา ไม่พึง

ประพฤติเอื้อเฟื้อ ไม่พึงประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี ไม่พึงสมาทานประพฤติ

ซึ่งความเป็นผู้คะนอง คือพึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี

ซึ่งความเป็นผู้คะนอง พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ. ออก สลัดออก

พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้คะนอง พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดน

กิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง.

[๗๗๐] พึงทราบอธิบายในคำว่า ไม่พึงกล่าวคำแก่งแย่ง ดัง

ต่อไปนี้

ถ้อยคำแก่งแย่งเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้กล่าว

ถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขถ้าท่าน

สามารถ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ เมื่อ

ถ้อยคำที่แก่งแย่งกันมีอยู่ ก็ต้องพูดมาก เมื่อพูดมาก ก็ต้องมีความฟุ้งซ่าน

เมื่อฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวมก็ต้องมี เมื่อไม่สำรวม จิตก็ห่างไกลจาก

สมาธิ ดังนี้.

คำว่า ไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่ง ความว่า ไม่พึงกล่าว พูด

แสดง แถลง ถ้อยคำแก่งแย่ง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ

ไม่มี ซึ่งถ้อยคำแก่งแย่ง พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก

พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องกับถ้อยคำแก่งแย่ง พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 355

อยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงกล่าว ถ้อยคำแก่งแย่ง เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูดโอ้อวด ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้

ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง และไม่พึงกล่าวถ้อยคำ

แก่งแย่ง.

[๗๗๑] ภิกษุพึงเว้นจากความพูดเท็จ เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำ

ความโอ้อวด อนึ่ง ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่น ด้วยความเป็น

อยู่ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร.

ว่าด้วยมุสาวาทมีด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ

[๗๗๒] คำว่า พึงเว้นจากความพูดเท็จ ความว่า มุสาวาทเรียกว่า

ความพูดเท็จ บุคคลบางคนในโลกนี้ อยู่ในสภาก็ดี อยู่ในที่ประชุมชน

ก็ดี ฯลฯ เป็นผู้กล่าวคำเท็จทั้งที่รู้สึกตัว เพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อย

บ้าง นี้เรียกว่าความพูดเท็จ.

อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๓ อย่าง คือในเบื้องต้น

บุคคลนั้นก็มีความรู้ว่า เราจักพูดเท็จ ๑ เมื่อกำลังพูดอยู่ก็รู้ว่า เรากำลัง

พูดเท็จ ๑ เมื่อพูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว ๑ มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ

๓ อย่างนี้.

อนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๔ ด้วยอาการ ๕ ด้วยอาการ ๖

ด้วยอาการ ๗ ด้วยอาการ ๘ คือในเบื้องต้น บุคคลนั้นก็มีความรู้ว่า

เราจักพูดเท็จ ๑ เมื่อกำลังพูดอยู่ก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ ๑ เมื่อพูดแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 356

ก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว ๑ ปกปิดทิฏฐิ ๑ ปกปิดความควร ๑ ปกปิด

ความชอบใจ ๑ ปกปิดสัญญา ๑ ปกปิดความจริง ๑ มุสาวาทย่อมมีด้วย

อาการ ๘ อย่างนี้.

คำว่า พึงเว้นจากความพูดเท็จ ความว่า ภิกษุพึงเว้นจากความ

พูดเท็จ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความพูดเท็จ

เป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความ

พูดเท็จ พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึง

พ้นจากความพูดเท็จ.

[๗๗๓] คำว่า เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำความโอ้อวด ความว่า ความ

เป็นผู้โอ้อวดเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้

อวดอ้างความโอ้อวด กิริยาที่โอ้อวด ความเป็นผู้โอ้อวด ความเป็นผู้

กระด้าง กิริยาที่กระด้าง ความเป็นผู้เห่อ กิริยาที่เห่อ ที่มีในบุคคลนั้น

ลักษณะนี้เรียกว่าความเป็นผู้โอ้อวด.

คำว่า เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำความโอ้อวด ความว่า เมื่อเป็นผู้รู้สึก

ตัว ไม่พึงทำความเป็นผู้โอ้อวด ไม่พึงยังความโอ้อวดให้เกิด ไม่ให้เกิด

พร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป

ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก

สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความเป็นผู้โอ้อวด พึงเป็นผู้มีจิตปราศจาก

แดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำความโอ้อวด.

[๗๗๘] ศัพท์ว่า อถ ในคำว่า อนึ่ง ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วย

ความเป็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ ศัพท์ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 357

อถ นี้เป็นไปตามลำดับบท. ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นอยู่อย่าง

เศร้าหมอง ย่อมดูหมิ่นภิกษุอื่นที่เป็นอยู่อย่างประณีตว่า ก็ภิกษุนี้ ทำไม่

จึงมีความเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือย ย่อมได้ฉันพืชทั้งปวง คือพืชแต่ราก พืช

แต่ลำต้น พืชแต่ผล พืชแต่ยอด พืชแต่พืชเป็นที่ ๕ ภิกษุนี้ข้าม (ทุกข์)

ไม่ได้แล้วเพราะความที่ตนมีความเพียร เสมอด้วยฟ้าแลบและพะเนินเหล็ก

ภิกษุนั้นย่อมดูหมิ่นภิกษุอื่นที่เป็นอยู่อย่างประณีต ด้วยความเป็นอยู่เศร้า-

หมอง ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นอยู่อย่างประณีต ย่อมดูหมิ่นภิกษุ

อื่นที่เป็นอยู่อย่างเศร้าหมองว่า ภิกษุนี้ทำไมจึงมีบุญน้อย มีศักดิ์น้อย

ไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้น

ย่อมดูหมิ่นภิกษุอื่นที่เป็นอยู่อย่างเศร้าหมอง ด้วยความเป็นอยู่อย่าง

ประณีต.

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ใครถาม

ปัญหาแล้ว ก็แก้ได้ เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย

ปัญญา ส่วนภิกษุอื่นเหล่าอื่น ไม่ถึงพร้อมด้วยปัญญา เธอก็ดูหมิ่นภิกษุ

อื่น ด้วยความถึงพร้อมด้วยปัญญานั้น.

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล สำรวมแล้ว

ด้วยความสำรวมในปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติ

เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท

ทั้งหลาย เธอมีความดำริอย่างนี้ เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ส่วนภิกษุอื่น

เหล่านี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม เธอก็ดูหมิ่นภิกษุอื่นด้วยความถึงพร้อม

ด้วยศีลนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 358

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร คือเป็นผู้ถือ

อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสกุล

เป็นวัตร เป็นผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตตาม

ลำดับตรอกเป็นวัตร เป็นผู้ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตร เป็นผู้ถือ

เนสัชชิกธุดงค์เป็นวัตร หรือเป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไร

เป็นวัตร เธอมีความดำริอย่างนี้ เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร ส่วนภิกษุ

อื่นเหล่านี้ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร เธอก็ดูหมิ่นภิกษุอื่นด้วยความถึง

พร้อมด้วยวัตรนั้น.

คำว่า อนึ่ง ไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ ด้วยปัญญา ด้วย

ศีลและวัตร ความว่า ไม่ควรดูหมิ่นดูแคลนผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ประณีต

ด้วยความถึงพร้อมด้วยปัญญา ด้วยความถึงพร้อมด้วยศีล หรือด้วยความ

ถึงพร้อมด้วยวัตร คือไม่พึงให้ความถือตัวเกิดขึ้นด้วยความเป็นอยู่เป็นต้น

นั้น ไม่พึงเป็นผู้หัวดื้อ หัวแข็ง หัวสูง ด้วยความเป็นอยู่เป็นต้นนั้น

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง ไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็นอยู่ด้วยปัญญา

ด้วยศีลและวัตร เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุพึงเว้นจากความพูดเท็จ เมื่อรู้สึกตัว ไม่พึงทำ

ความโอ้อวด อนึ่ง ภิกษุไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความเป็น

อยู่ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร.

[๗๗๕] ภิกษุถูกประทุษร้าย ได้ฟังวาจามากของพวกสมณะ

หรือของพวกคนผู้มีถ้อยลำมาก ไม่พึงโต้ตอบกะคน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 359

เหล่านั้นด้วยคำหยาบ เพราะภิกษุผู้สงบ ย่อมไม่ทำ

ผู้อื่นให้เป็นศัตรู.

[๗๗๖] คำว่า ถูกประทุษร้าย ในคำว่าภิกษุถูกประทุษร้าย ได้

ฟังวาจามากของพวกสมณะ หรือของพวกคนผู้มีถ้อยคำมาก ความว่า

คนอื่นประทุษร้าย ด่า เสียดสี เหยียดหยาม ติเตียน ค่อนว่าเข้าแล้ว.

คำว่า ของพวกสมณะ คือพวกชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้เข้าถึงการบวช

ยอมตัวบวช ในภายนอกแต่ศาสนานี้. คำว่า ของพวกคนผู้มีถ้อยคำมาก

คือพวกกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา

มนุษย์ ชนเหล่านั้นพึงด่า บริภาษ ติเตียน สาปแช่ง เบียดเบียน ย่ำยี

ให้ฆ่า เข้าไปฆ่าเอง ทำความเข้าไปฆ่า ด้วยวาจาเป็นอันมาก อันไม่น่า

ปรารถนารักใคร่ชอบใจ ภิกษุได้ฟัง ได้ยิน จำไว้ เข้าไปทรงจำไว้

กำหนดแล้วซึ่งวาจามาก ของชนเหล่านั้น อันไม่น่าปรารถนารักใคร่

ชอบใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุถูกประทุษร้าย ได้ฟังวาจาของพวก

สมณะ หรือของพวกคนผู้มีถ้อยคำมาก.

[๗๗๗] คำว่า ด้วยคำหยาบ ในคำว่า ไม่พึงโต้ตอบกะคน

เหล่านั้นด้วยคำหยาบ ความว่า ด้วยคำหยาบคาย. คำว่า ไม่พึงโต้ตอบ

คือไม่พึงกล่าวตอบ ไม่พึงด่าตอบคนที่ด่า ไม่พึงแช่งตอบคนที่แช่ง ไม่

พึงขัดเคืองตอบคนที่ขัดเคือง ไม่พึงทำความทะเลาะ ไม่พึงทำความ

ขัดเคือง ไม่พึงทำความแก่งแย่ง ไม่พึงทำความวิวาท ไม่พึงทำความ

ทุ่มเถียง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความทะเลาะ

ความขัดเคือง ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง พึงงด เว้น

เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องกับความทะเลาะ ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 360

ขัดเคือง ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง พึงเป็นผู้มีจิต

ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงโต้ตอบกะคนเหล่านั้น

ด้วยคำหยาบ.

[๗๗๘] คำว่า ผู้สงบ ในคำว่า เพราะภิกษุผู้สงบย่อมไม่ทำผู้

อื่นให้เป็นศัตรู ความว่า ภิกษุชื่อว่าผู้สงบ เข้าไปสงบ สงัด ดับ ระงับ

เพราะราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯลฯ อกุสลาภิ-

สังขารทั้งปวง เป็นบาปธรรมสงบ ถึงความสงบ สงัด ไหม้ ดับ หายไป

ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้สงบ. คำว่า ภิกษุผู้สงบ ย่อมไม่ทำ

ผู้อื่นให้เป็นศัตรู ความว่า ภิกษุผู้สงบ ย่อมไม่ทำผู้อื่นให้เป็นศัตรู ให้

เป็นข้าศึก ให้เป็นเวร ให้เป็นปฏิปักษ์ คือไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม

ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุผู้สงบ ย่อม

ไม่ทำผู้อื่นให้เป็นศัตรู เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุถูกประทุษร้าย ได้ฟังวาจามากของพวกสมณะ

หรือของพวกคนผู้มีถ้อยคำมาก ไม่พึงโต้ตอบกะชน

เหล่านั้นด้วยคำหยาบ เพราะภิกษุผู้สงบ ย่อมไม่ทำผู้อื่น

ให้เป็นศัตรู.

[๗๗๙] ก็ภิกษุรู้ธรรมนั้นแล้วค้นคว้าอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษา

ในกาลทุกเมื่อ ภิกษุรู้ความดับว่าเป็นความสงบแล้ว ไม่

พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม.

[๗๘๐] คำว่า นั้น ในคำว่า ภิกษุรู้ธรรมนั้นแล้ว คือธรรมที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส บอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 361

ทำให้ตื่นประกาศแล้ว. คำว่า รู้ธรรมนั้นแล้ว ความว่า รู้ พิจารณา

เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้

จึงชื่อว่ารู้ธรรมนั้นแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง

ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ซึ่งธรรมอันเสมอ ธรรมอันไม่เสมอ ธรรมเป็นทาง

ธรรมไม่เป็นทาง ธรรมมีโทษ ธรรมไม่มีโทษ ธรรมเลว ธรรมประณีต

ธรรมดำ ธรรมขาว ธรรมที่วิญญูชนติเตียน ธรรมที่วิญญูชนสรรเสริญ

แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่ารู้ธรรมนั้นแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง รู้ ทราบ

พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว ซึ่งความปฏิบัติชอบ

ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตาม

ประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความเป็นผู้ทำความ

บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความหมั่นประกอบความเพียรเป็น

เครื่องตื่นอยู่ สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔

อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน ธรรม

เป็นข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงนิพพาน แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่ารู้

ธรรมนั้นแล้ว.

[๗๘๑] คำว่า ค้นคว้าอยู่ ในคำว่า ภิกษุค้นคว้าอยู่ พึงเป็น

ผู้มีติ ศึกษาในกาลทุกเมื่อ ความว่า ค้นคว้าอยู่ คือค้นหา พิจารณา

เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็น

ธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ค้นคว้าอยู่. คำว่า ในกาลทุกเมื่อ คือ

ในกาลทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ฯลฯ ในตอนวัยหลัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 362

คำว่า มีสติ คือมีสติโดยเหตุ ๔ อย่าง คือเมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณา

กายในกาย ก็มีสติ ฯลฯ ภิกษุนั้นเรียกว่าเป็นผู้มีสติ. คำว่า พึงศึกษา

ความว่า สิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ฯลฯ

นี้ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา ภิกษุนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้อยู่ ก็พึงศึกษา ฯลฯ

พึงศึกษา คือพึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทาน

ประพฤติไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุค้นคว้าอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษา

ในกาลทุกเมื่อ.

[๗๘๒] คำว่า รู้ความดับว่าเป็นความสงบแล้ว ความว่า รู้ ทราบ

พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว ซึ่งความดับราคะ

โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง ว่าเป็นความสงบ เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ความดับว่าเป็นความสงบแล้ว.

[๗๘๓] คำว่า ไม่พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม ความว่า

ในศาสนาของพระโคดม คือในพุทธศาสนา ในศาสนาของพระชินเจ้า

ในศาสนาของพระตถาคต ในศาสนาของท่านผู้เป็นเทพ ในศาสนาของ

พระอรหันต์. คำว่า ไม่พึงประมาท ความว่า พึงเป็นผู้ทำโดยเอื้อเฟื้อ ทำ

ติดต่อ ทำไม่หยุด มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ปลงฉันทะ ไม่ทอดธุระ

ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ฝ่ายกุศล ความพอใจ ความพยายาม

ความอุตสาหะ ความเป็นผุ้ขยัน ความเป็นผู้มีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ

ความระลึกได้ ความรู้สึกตัว ความเพียรเป็นเครื่องให้กิเลสร้อนทั่ว

ความเพียรอันพึงตั้งไว้ ความตั้งใจ ความหมั่นประกอบในกุศลธรรมนั้น

ว่า เมื่อไรเราพึงยังศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ ฯลฯ เมื่อไรเรา

พึงยังสมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ที่ยังไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 363

บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ เมื่อไรเราฟังกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังไม่กำหนดรู้ก็ดี พึง

ละกิเลสทั้งหลายที่ยังละไม่ได้ก็ดี พึงเจริญมรรคที่ยังไม่เจริญก็ดี พึงทำ

ให้แจ้งซึ่งนิโรธที่ยังไม่ทำให้แจ้งแล้วก็ดี ชื่อว่าความไม่ประมาทในธรรม

ทั้งหลายฝ่ายกุศล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงประมาทในศาสนาของ

พระโคดม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

ภิกษุรู้ธรรมนั้นแล้วค้นคว้าอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ ศึกษา

ในกาลทุกเมื่อ ภิกษุรู้ความดังว่าเป็นความสงบแล้ว ไม่

พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม.

[๗๘๕] ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครองงำได้เห็นแล้ว

ซึ่งสักขิธรรมโดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น เพราะฉะนั้นแหละ

ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนาของพระผู้มีพระภาค

เจ้านั้น นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้.

[๗๘๕] คำว่า ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ ความว่า

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ครอบงำ เพราะครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

ธรรมารมณ์ เป็นผู้ไม่ถูกกิเลสอะไรครอบงำ อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ครอบงำ

เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันทำให้เศร้าหมอง อันให้เกิดในภพใหม่ ให้มี

ความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์อันเป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะ

ต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ.

[๗๘๖] คำว่า ซึ่งสักขิธรรม ในคำว่า ได้เห็นแล้วซึ่งสักขิธรรม

โดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น ความว่า ได้เห็น เห็นทั่ว พบเห็น แทงตลอด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 364

แล้วซึ่งธรรมที่ประจักษ์แก่ตน อันตนรู้ยิ่งเอง มิใช่โดยต้องเชื่อต่อผู้อื่นว่า

ธรรมนี้เป็นดังนี้ ธรรมนี้เป็นดังนี้ มิใช่โดยได้ฟังต่อ ๆ กันมา มิใช่โดย

ถือตามลำดับสืบ ๆ กันมา มิใช่โดยได้อ้างตำรา มิใช่โดยนึกเดาเอาเอง

มิใช่โดยคาดคะเนเอา มิใช่โดยได้ตรึกตามอาการ มิใช่โดยเห็นว่าควรแก่

ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้เห็นแล้วซึ่งสักขิธรรมโดยไม่ต้อง

เชื่อต่อผู้อื่น.

[๗๘๗] คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้นแหละ...

ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ความว่า เพราะฉะนั้น เพราะ

การณะนั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น. คำว่า

ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ความว่า ในศาสนาของพระผู้มี

พระภาคเจ้านั้น คือในศาสนาของพระโคดม ในพุทธศาสนา ในศาสนา

ของพระชินเจ้า ในศาสนาของพระตถาคต ในศาสนาของท่านผู้เป็นเทพ

ในศาสนาของพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้นแหละ...

ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.

[๗๘๘] คำว่า พึงเป็นผู้ไม่ประมาท ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้

ไม่ประมาท นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสดังนี้ ความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ทำโดยความเคารพ ฯลฯ ไม่

ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล. คำว่า ในกาลทุกเมื่อ คือในกาลทุกเมื่อ

ในกาลทั้งปวง ฯลฯ ในตอนวัยหลัง. คำว่า นมัสการอยู่ ความว่า นมัสการ

สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยจิต

ด้วยปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์หรือด้วยความปฏิบัติธรรม. คำว่า พึงหมั่น

ศึกษา ความว่า สิกขา ๓ คืออธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 365

ฯลฯ นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา. ภิกษุนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้อยู่ ฯลฯ ทำให้

แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งอยู่ ก็พึงศึกษา พึงประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี

สมาทานประพฤติ. คำว่า ภควา เป็นคำกล่าวด้วยความเคารพ ฯลฯ

เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาท...

นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ไม่ถูกครอบงำ ได้เห็นแล้ว

ซึ่งสักขิธรรมโดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น เพราะฉะนั้นแหละ

ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนาของพระผู้มีพระภาค-

เจ้านั้น นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล.

จบตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔

อรรถกถาตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๓

พึงทราบวินิจฉัยในตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔ ดังต่อไปนี้.

แม้บทว่า ปุจฺฉามิ ต นี้ ในมหาสมัยนั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงประกาศความนั้นแก่เทวดาทั้งหลายบางพวก ผู้มีจิตเกิดขึ้นว่า

การปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหัตเป็นอย่างไรหนอ จึงทรงให้พระพุทธนิมิต

ตรัสถามพระองค์ แล้วตรัสโดยนัยก่อนนั่นแล.

ในบทเหล่านั้น พึงทราบความคาถาที่เป็นคำถามต้นก่อน ท่าน

จำแนกคำถามด้วย อทิฏฐโชตนาปุจฉา เป็นต้น ไว้ในบทนี้ว่า ปุจฺฉามิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 366

ข้าพระองค์ขอทูลถามดังนี้. บทว่า อาทิจฺจพนฺธุ คือผู้เป็นเผ่าพันธุ์

พระอาทิตย์. บทว่า วิเวก สนฺติปทญฺจ ได้แก่ ผู้สงัด และผู้ดำเนิน

สู่ความสงบ. บทว่า กถ ทิสฺวา คือภิกษุเห็นอย่างไรแล้ว. ท่านอธิบายว่า

เป็นผู้เห็นความเป็นไปอย่างไร.

บทว่า ติสฺโส ปุจฺฉา คำถามมี ๓ คำถาม เป็นการกำหนดจำนวน.

คำถามเพื่อทำสิ่งที่ยังไม่เห็น ยังไม่แทงตลอดให้ปรากฏ ชื่อว่า

อทิฏฐโชตนาปุจฉา.

คำถามเพื่อเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้วด้วยญาณจักษุ ชื่อว่า ทิฏฐสัง-

สันทนาปุจฉา.

คำถามเพื่อตัดความสงสัย ชื่อว่า วิมติจเฉทนาปุจฉา.

บทว่า ปกติยา ลกฺขณ อาต คือ ลักษณะที่แท้ของธรรมทั้งหลาย

ที่ยังไม่รู้โดยปกติ. บทว่า อทิฏฺ คือ ไม่เห็น.

บทว่า อตุลิต ไม่พิจารณา คือไม่พิจารณาดุจพิจารณาด้วยเครื่องชั่ง.

บทว่า อติริต ไม่เทียบเคียง คือไม่เทียบเคียงด้วยการไตร่ตรอง.

บทว่า อวิภูต ไม่กระจ่าง คือไม่ปรากฏ. บทว่า อวิภาวิต ไม่

แจ่มแจ้ง คือไม่เจริญด้วยปัญญา. บทว่า ตสฺส าณาย เพื่อรู้ธรรม

นั้น คือเพื่อประโยชน์แก่การรู้ลักษณะของธรรมนั้น. บทว่า ทสฺสนาย

คือ เพื่อประโยชน์แก่การเห็น.

บทว่า ตุลนาย เพื่อพิจารณา คือเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณา.

บทว่า ติรณาย เทียบเคียง คือเพื่อประโยชน์แก่การเทียบเคียง. บทว่า

วิภาวนาย เพื่อกระจ่าง คือเพื่อทำความกระจ่าง. บทว่า อญฺเหิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 367

ปณฺฑิเตหิ ด้วยบัณฑิตเหล่าอื่น คือด้วยผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้เหล่าอื่น.

บทว่า สสยปกฺขนฺโน บุคคลผู้แล่นไปสู่ความสงสัย คือเข้าไปสู่ความ

สนเท่ห์.

บทว่า มนุสฺสปุจฺฉา คือ คำถามของมนุษย์ทั้งหลาย. บทว่า

อมนุสฺสปุจฺฉา คือ คำถามของอมนุษย์ มีนาคและครุฑเป็นต้น. บทว่า

คหฏฺา คือ คฤหัสถ์ที่เหลือ.

บทว่า ปพฺพชิตา บรรพชิตทั้งหลายกล่าวโดยเพศ. บทว่า นาคา

ได้แก่ นาค ชื่อว่าสุปัสสะเป็นต้น . บทว่า สุปณฺณา ครุฑ พึงทราบ

โดยที่รู้จักกันว่าเป็นครุฑ. บทว่า ยกฺขา พึงทราบโดยที่รู้จักกันว่าเป็น

ยักษ์. บทว่า อสุรา ได้แก่ อสูรทั้งหลาย มีปหาราทอสูรเป็นต้น.

บทว่า คนฺธพฺพา ได้แก่ พวกคนธรรพ์มีบุตรคนธรรพ์ ชื่อว่า ปัญจสิกขะ

เป็นต้น. บทว่า มหาราชาโน ได้แก่ มหาราชทั้ง ๔.

บทว่า อหินินฺทฺริย มีอินทรีย์ไม่เลว คือมีอินทรีย์ไม่วิการ.

บทว่า โส นิมฺมิโต คือ พระพุทธเจ้า อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเนรมิต.

บทว่า โวทานตฺถปุจฺฉา การถามถึงประโยชน์แห่งธรรมขาว คือถาม

ธรรมอันวิเศษ. บทว่า อตีตปุจฺฉา การถามถึงส่วนอดีต คือการถาม

ปรารภธรรมอันเป็นอดีต. แม้ในธรรมอันเป็นอนาคต ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า กุสลปุจฺฉา ถามถึงกุศลธรรม คือถามธรรมที่ไม่มีโทษ.

บทว่า อกุสลปุจฺฉา ถามธรรมที่เป็นอกุศล คือถามธรรมที่มีโทษ. บทว่า

อพฺยากตปุจฺฉา ถามถึงอัพยากตธรรม คือถามถึงธรรมอันตรงกันข้าม

กับธรรมทั้งสองนั้น. บทว่า อชฺเฌสามิ ต คือ ข้าพระองค์ขอวิงวอน

พระองค์. บทว่า กถยสฺสุ เม คือ ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกธรรม

๑. ม. สสยปกฺขนฺโท.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 368

นั้นแก่ข้าพระองค์. บทว่า โคตฺตาตโก คือ ผู้เป็นญาติโดยโคตร. บทว่า

โคตฺตพนฺธุ เป็นเผ่าพันธุ์โดยโคตร คือเป็นญาติใกล้ชิดโดยโคตร.

บทว่า เอเกนากาเรน คือ โดยส่วนเดียว. บทว่า สนฺติปท สันติบท

คือบทคือนิพพาน กล่าวคือสันติ. บทว่า เย ธมฺมา สนฺตาธิคมาย ธรรม

เหล่าใดเป็นไปเพื่อบรรลุความสงบ คือธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้นเหล่าใด

เป็นไปเพื่อได้นิพพาน. บทว่า สนฺติผุสนาย เพื่อถูกต้องความสงบ

คือเพื่อถูกต้องนิพพานด้วยความถูกต้องคือญาณ. บทว่า สจฺฉิกิริยาย

เพื่อทำให้แจ้ง คือเพื่อทำให้ประจักษ์. บทว่า มหนฺต สีลกฺขนฺธ

ศีลขันธ์ใหญ่ คือกองศีลใหญ่. แม้ในสมาธิขันธ์เป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ศีลขันธ์เป็นต้นเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ. วิมุตติญาณทัสสนะเป็นโลกิยะ

อย่างเดียว.

บทว่า ตโมกายสฺส ปทาลน ทำลายกองมืด คือกำจัดกองอวิชชา.

บทว่า วิปลฺลาสสฺส เภทน ทำลายวิปัลลาส คือทำลายวิปัลลาส

๔ อย่าง. บทว่า ตณฺหาสลฺลสฺส อพฺพุหณ คือ ถอนลูกศรคือตัณหา.

บทว่า อภิสงฺขารสฺส วูปสม ระงับอภิสังขาร คือดับอภิสังขารมีปุญญา-

ภิสังขารเป็นต้น . บทว่า ภารสฺส นิกฺเขปน การปลงภาระ คือวางภาระ

อันได้แก่เบญจขันธ์. บทว่า สสารวฏฺฏสฺส อุปจฺเฉท การตัดสังสารวัฏ

คือตัดความเป็นไปแห่งสังสารวัฏ. บทว่า สนฺตาปสฺส นิพฺพาปน ดับความ

เดือดร้อน คือดับความร้อนคือกิเลส. บทว่า ปริฬาหสฺส ปฏิปสฺสทฺธึ

ระงับความเร่าร้อน คือสงบความเร่าร้อน คือกิเลส. บทว่า เทวเทโว

คือพระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพทั้งหลาย.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเมื่อทรงเห็น จึงทรงกำจัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 369

กิเลสทั้งหลายเสียได้ด้วยประการใด ครั้นทรงเห็นด้วยประการนั้นแล้ว

ทรงเห็นความเป็นไปอย่างนั้น จึงเสด็จปรินิพพาน ฉะนั้นเมื่อจะทรงทำ

ความนั้นให้แจ่มแจ้ง จึงทรงชักชวนเทพบริษัทนั้นในการละกิเลสด้วย

ประการทั้งปวง ทรงเริ่มตรัสคาถา ๕ คาถา มีอาทิว่า มูล ปปญฺจสงฺขาย

กิเลสเป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า ดังนี้.

ในคาถานั้น พึงทราบความโดยสังเขปแห่งคาถาต้นก่อน. บทว่า

ปปญฺจ ในบทว่า ปปญฺจสงฺขา ส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือตัณหาที่ท่าน

บอกไว้. ปปญฺจา คือ ตัณหานั้นแล ชื่อว่า ปปญฺจสงฺขา ส่วนแห่งธรรม

เครื่องเนิ่นช้า. กิเลสทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น เป็นรากเหง้าแห่งปปัญจ-

ธรรมนั้น. ภิกษุพึงกำจัดกิเลสทั้งปวงอันเป็นไปอยู่ คือกิเลสที่เป็นรากเหง้า

แห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะด้วยปัญญา ก็ตัณหาที่มี

ณ ภายในอย่างใดอย่างหนึ่งพึงเกิดขึ้น ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา เพื่อ

กำจัดเพื่อละตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ คือพึงเป็นผู้มีสติตั้งมั่นศึกษา.

บทว่า อชฺฌตฺตสมุฏฺานา วา มีตัณหาในภายในเป็นสมุฏฐาน

คือตัณหาเกิดขึ้นในจิต. บทว่า ปุเรภตฺต ในกาลก่อนภัต คือก่อนอาหาร

กลางวัน. บทว่า ปุเรภตฺต เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งอัจจันตสังโยคะ

แปลว่าสิ้นกาลก่อนภัต. แต่โดยอรรถเป็นสัตตมีวิภัตติ แปลว่า ในกาล

ก่อนภัต. ในภายหลังภัตเป็นต้นก็มีนัยนี้. บทว่า ปจฺฉาภตฺต ในภายหลัง

ภัย คือหลังอาหารกลางวัน. บทว่า ปุริมยาน ในยามต้น คือส่วนแรก

ของราตรี. มชฺฌิมยาม ในยามกลาง คือส่วนที่สองของราตรี. บทว่า

ปจฺฉินยาม ในยามหลัง คือส่วนที่สามของราตรี. บทว่า กาเฬ คือ

ในข้างแรม. บทว่า ชุณฺเห คือ ในข้างขึ้น. บทว่า วสฺเส ในฤดูฝน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 370

คือในฤดูฝน ๔ เดือน. บทว่า เหมนฺเต ในฤดูหนาว คือในฤดูหนาว

๔ เดือน. บทว่า คิมฺเห ในฤดูร้อน คือในฤดูร้อน ๔ เดือน. บทว่า

ปุริเม วโยกฺขนฺเธ ในขันธ์วัยต้น คือในส่วนของวัยแรก ได้แก่ใน

ปฐมวัย. ก็ใน ๓ วัยเหล่านั้น สำหรับคนมีอายุ ๑๐๐ ปีเป็นเกณฑ์ ในวัย

หนึ่ง ๆ ก็มีอายุ ๓๓ ปี กับ ๔ เดือน.

พึงทราบความในคาถาแรกอย่างนี้ก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรง

แสดงเทศนาประกอบด้วยไตรสิกขา ด้วยธรรมเป็นยอด คืออรหัตแล้ว

เพื่อทรงแสดงด้วยการละความถือตัวอีก จึงตรัสคาถา มีอาทิว่า ยกิญฺจิ

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยกิญฺจิ ธมฺมมภิชญฺา อชฺฌตฺต ภิกษุ

พึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภายใน คือพึงรู้คุณธรรมของตน

มีความเป็นผู้มีตระกูลสูงเป็นต้น. บทว่า อถวาปิ พหิทฺธา คือ หรือพึง

รู้คุณของอาจารย์และอุปัชฌาย์ในภายนอก. บทว่า น เตน ถาม กุพฺเพถ

ไม่พึงทำความถือตัวด้วยคุณธรรมนั้น. บทว่า สตาน อันผู้สงบทั้งหลาย

คือผู้มีคุณธรรมคือความสงบ. บทว่า สนฺตาน คือ เป็นผู้ดับมานะ. บทว่า

น วุตฺตา แปลว่า ไม่กล่าว. บทว่า นปฺปวุตฺตา คือ ไม่แก้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงวิธีไม่ทำความถือตัว

นั้น จึงตรัสคาถาว่า เสยฺโย น เตน ภิกษุไม่พึงสำคัญว่าดีกว่าเขาด้วยคุณ

ธรรมนั้น ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีความดังนี้ ภิกษุไม่พึงสำคัญว่า เราดีกว่าเขา เราต่ำกว่าเขา

หรือแม้ว่าเราเสมอเขาด้วยมานะนั้น ภิกษุผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 371

อันมาก มีความเป็นผู้มีตระกูลสูงเป็นต้นเหล่านั้น ไม่พึงกำหนดตนดำรง

อยู่โดยนัยมีอาทิว่า เราบวชแล้วจากตระกูลสูง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง แม้ด้วยการละมานะอย่างนี้ บัดนี้

เพื่อจะทรงแสดงด้วยการสงบกิเลสทั้งปวง จึงตรัสคาถาว่า อฺฌตฺตเมว

กิเลสภายในนี้แล ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌตฺตเมว อุปสเม ภิกษุพึงสงบกิเลส

ภายในนี้แล คือพึงสงบกิเลสทั้งหมดมีราคะเป็นต้นในตนนั่นแล. บทว่า

น อญฺโต ภิกขุ สนฺตฺเมเสยฺย ภิกษุไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น

คือไม่พึงแสวงหาความสงบโดยอุบายอื่น นอกจากสติปัฏฐานเป็นต้น.

บทว่า กุโต นิรตฺต วา ความว่า ความไม่มีด้วยตนย่อมไม่มีแต่ที่ไหน ๆ.

บทว่า น เอเสยฺย คือ ไม่พึงแสวงหาด้วยศีลและพรตเป็นต้น. บทว่า

น คเวเสยฺย ไม่พึงค้นหา คือ ไม่พึงมองดู. บทว่า น ปริเยเสยฺย

ไม่พึงเข้าหา คือไม่พึงเห็นบ่อย ๆ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความเป็นผู้คงที่ของ

พระขีณาสพผู้สงบแล้วในภายใน จึงตรัสคาถาว่า มชฺเฌ ยถา เหมือน

คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางสมุทร ดังนี้เป็นต้น.

บทนั้นมีความดังนี้ คลื่นย่อมไม่เกิดในท่ามกลางประมาณ ๔,๐๐๐

โยชน์ คืออยู่ระหว่างกลางส่วนบนและส่วนล่างของมหาสมุทร หรือใน

ท่ามกลางสมุทรที่ตั้งอยู่ในระหว่างภูเขา สมุทรนั้นสงบไม่หวั่นไหวฉันใด

ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพพึงเป็นผู้หยุดอยู่ ไม่มีความหวั่นไหวฉันนั้น ภิกษุ

เช่นนั้นไม่พึงทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นมีราคะเป็นต้นในที่ไหน ๆ.

บทว่า อุพฺเพเธน คือ โดยส่วนเบื้องล่าง บทว่า คมฺภีโร คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 372

มหาสมุทรลึกประมาณ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ตั้งแต่หลังน้ำ. ปาฐะว่า อุพฺเพโธ

บ้าง. บทนั้นไม่ดี. บทว่า เหฏฺา น้ำข้างล่าง คือน้ำภายใน. บทว่า อุปริ

น้ำข้างบน คือน้ำเบื้องบน. บทว่า มชฺเฌ คือ ระหว่างกลาง. บทว่า

น กมฺปติ คือ ไม่หวั่นไหวจากที่ตั้ง. บทว่า น วิกมฺปติ คือไม่วนไปวนมา.

บทว่า น จลติ คือ ไม่ปั่นป่วน. บทว่า น เวธติ คือ ไม่กระเพื่อม.

บทว่า นปฺปเวธติ คือ ไม่ซัดไปมา. บทว่า น สมฺปเวธติ คือไม่ม้วนไปมา.

บทว่า อเนริโต คือ เป็นสมุทรไม่หวั่นไหว. บทว่า อฆฏฺฏิโต คือ ไม่

กำเริบ. บทว่า อจลิโต คือ ไม่หวั่นไหว. บทว่า อนาลุลิโต ไม่ขุ่นมัว

คือไม่มีเปือกตม. บทว่า ตตฺร อุมิ โน ชายติ คลื่นไม่เกิดในที่นั้น.

บทว่า สตฺตนฺน ปพฺพตาน อนฺตริกาสุ คือ สมุทรสีทันดร มีอยู่ในระหว่าง

ภูเขาทั้ง ๗ มีภูเขายุคันธรเป็นต้น. บทว่า สีทนฺตรา สมุทรสีทันดร ชื่อว่า

สีทา เพราะแม้ที่สุดปุยนุ่นตกไปในสมุทรเหล่านั้นก็จม. ชื่อว่า อนฺตรา

เพราะเกิดในระหว่างภูเขา. ปาฐะว่า สีตนฺตรา ก็มี

บัดนี้ พระพุทธนิมิต เมื่อจะทรงอนุโมทนาพระธรรมเทศนาที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยธรรมเป็นยอด คือพระอรหัตให้ยิ่งขึ้นไป เมื่อ

ตรัสถามปฏิปทาเบื้องต้น ของพระอรหัตนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า อกิตฺตยิ

ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น อกิตฺตยิ แปลว่า ได้ทรงแสดงแล้ว . วิวฏจกฺขุ

ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง คือประกอบด้วยจักษุ ๕ แจ่มแจ้ง คือไม่มีเครื่อง

กั้น. บทว่า สกฺขิธมฺม สักขิธรรม คือธรรมที่ประจักษ์แก่พระองค์

อันพระองค์ได้รู้ยิ่งแล้วเพื่อประกาศ. บทว่า ปริสฺสยินย ธรรมเครื่อง

กำจัดอันตราย คือเพื่อกำจัดอันตราย. บทว่า ปฏิปท วเทหิ คือ ขอ

๑. ม. อนฺตรสีทา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 373

พระองค์จงตรัสตอบข้อปฏิบัติในบัดนี้เถิด. บทว่า ภทฺทนฺเต ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ คือพระพุทธนิมิตตรัสเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอ

ความเจริญจงมีแด่พระองค์เถิด. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า ขอพระ-

องค์จงทรงตอบปฏิปทาอันเจริญดีแก่ข้าพระองค์เถิด. บทว่า ปาฏิโมกฺข

อถวาปิ สมาธึ คือ ปาติโมกข์หรือแม้สมาธิ พระพุทธนิมิตตรัสถามแบ่ง

ปฏิปทานั้นนั่นเอง. ตรัสถามมรรคด้วยบทว่า ปฏิปท. ตรัสถามศีล

และสมาธิด้วยบทนอกนี้.

บทว่า มสจกฺขุนาปิ แม้ด้วยมังสจักษุ คือแม้ด้วยมังสจักษุอันเป็น

ไปกับด้วยบารมีธรรมที่สะสมมา. บทว่า ทิพฺพจกฺขุนาปิ แม้ด้วยทิพยจักษุ

จักษุชื่อว่า ทิพฺพ เพราะเป็นเช่นกับของทิพย์. จริงอยู่ เทวดาทั้งหลาย

มีปสาทจักขุเป็นทิพย์ เกิดขึ้นเพราะกรรมสุจริต ไม่เกลือกกลั้วด้วยดี

เสมหะและเลือดเป็นต้น สามารถรับอารมณ์แม้ในที่ไกลได้เพราะพ้นจาก

สิ่งเศร้าหมอง. แม้ทิพยจักษุนี้ก็เกิดขึ้นด้วยกำลังการบำเพ็ญความเพียร

ญาณจักษุก็เช่นเดียวกัน เพราะเหตุนั้นชื่อว่า ทิพฺพ เพราะเป็นเช่นกับ

ของทิพย์ เพราะได้มาด้วยทิพพวิหารธรรม เพราะอันตนอาศัยอยู่ใน

ทิพพวิหารธรรมบ้าง เพราะรุ่งเรืองมากด้วยกำหนดอาโลกสัญญาบ้าง.

ทั้งหมดพึงทราบโดยทำนองเดียวกันกับศัพทศาสตร์. ชื่อว่าทิพยจักษุเพราะ

มีจักษุเป็นทิพย์. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยทิพยจักกษุ

นั้น.

บัดนี้ พระสังคีติกาจารย์เพื่อจะกล่าวจักษุ ๕ อย่างโดยพิสดาร จึง

กล่าวคำมีอาทิว่า กถ ภควา มสจกฺขุนา วิวฏจกฺขุ พระผู้มีพระภาคเจ้า

มีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยมังสจักขุ เป็นอย่างไรดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 374

พึงทราบความในบทนี้ว่า มสจกฺขุมฺหิ ภควโต ปญฺจ วณฺณา

สวิชฺชนฺติ สี ๕ สีมีในพระมังสจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้า คือ สี ๕ สี

ย่อมได้เฉพาะพระองค์ ในพระจักษุอันประกอบด้วยพระบารมีธรรมที่

สะสมมาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า. บทว่า นีโล จ วณฺโณ สีเขียว คือสี

ดอกผักตบ. บทว่า ปีตโก จ วณฺโณ สีเหลือง คือสีดอกกรรณิการ์. บทว่า

โลหิตโก จ วณฺโณ สีแดง คือสีปีกแมลงทับ. บทว่า กณฺโห จ วณฺโณ สีดำ

คือสีดอกอัญชัน. บทว่า โอหาโต จ วณฺโณ สีขาว คือสีดาวประกายพรึก.

บทว่า ยตฺถ จ อกฺขิโลมานิ ปติฏฺิตานิ คือ ขนพระเนตรทั้งหลายตั้งอยู่

เฉพาะที่ใด. บทว่า นีล ในบทนี้ว่า ต นีล โหติ สุนีล ที่นั้นมีสีเขียว

เขียวสนิทดังนี้ ท่านกล่าวโดยรวมไว้ทั้งหมด. บทว่า สุนีล คือ เขียวสนิท

เว้นช่องว่าง. บทว่า ปาสาทิก น่าชม คือให้เกิดความน่าชม. บทว่า

ทสฺสนีย น่าดู. บทว่า อุมฺมารปุปฺผสมาน เหมือนดอกผักตบ คือเช่น

กับดอกบัวจงกลนี. บทว่า ตสฺส ปรโต ต่อจากนั้น คือที่ข้างภายนอก

โดยรอบขนพระเนตรนั้น. บทว่า ปีตก สีเหลือง ท่านกล่าวรวบยอด.

บทว่า สุปิตก เหลืองนวล คือเหลืองสนิทเว้นช่องว่าง. บทว่า อุภยโต

จ อกฺขิกูฏานิ เบ้าพระเนตรทั้งสอง คือท้ายพระเนตรทั้งสองข้าง. บทว่า

โลหิตกานิ มีสีแดงกล่าวรวบยอด. บทว่า สุโลหิตกานิ คือ แดงสนิท

ไม่ปรากฏช่อง. บทว่า มชฺเณ ภณฺห ท่ามกลางพระเนตรมีสีดำ คือดำ

คล้ายดอกอัญชันตั้งอยู่กลางพระเนตร. บทว่า สุกณฺห ดำงาม คือดำสนิท

เว้นช่องว่าง. บทว่า อลูข ไม่หมองมัว คือมีสิริ. บทว่า สินิทฺธ สนิท

คือประณีต. บทว่า อฬาริฏฺกสมาน เหมือนสีสมอดำ คือเช่นกับ

ผลสมอดำที่เอาเปลือกออกแล้ว. บาลีว่า อทฺทาริฏฺกสมาน เหมือนลูก

๑. ม. ภทฺทาริฏฺฐฺกสสมาน คล้ายเมล็ดในผลมะคำดีควายที่ปอกเปลือก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 375

ประคำดีควายดังนี้ก็มี. อธิบายความบาลีนั้นว่า เช่นกับกาเปียกชุ่ม. บทว่า

โอทาต สีขาว ท่านกล่าวโดยรวม. บทว่า สุโวทาต ขาวงาม คือขาวสนิท

เช่นเงินกลมเว้นช่องว่าง. ท่านแสดงความเป็นสีขาวยิ่งด้วยสองบทว่า เสต

ปณฺฑร คือ ขาวผ่อง. บทว่า ปากติเกน มสจกฺขุนา คือ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ามีพระมังสจักขุเป็นปกติ. บทว่า อตฺตภาวปริยาปนฺเนน คือ อาศัย

อยู่ในพระวรกาย. บทว่า ปุรินสุจริตกมฺมาภินิพฺพตฺเตน เกิดขึ้นเพราะ

สุจริตกรรมในภพก่อน คือเกิดขึ้นเพราะกรรมมีกายสุจริตเป็นต้น ใน

อัตภาพที่เกิดแล้วในภพก่อน. บทว่า สมนฺตา โยชน ปสฺสติ ทรงเห็น

โยชน์หนึ่งโดยรอบ คือทรงเห็นที่อยู่ภายในฝาเป็นต้น ในที่โยชน์หนึ่ง

ประมาณ ๔ คาวุตโดยรอบ เว้นจากเครื่องกีดกั้นด้วยมังสจักขุปกติ. บทว่า

ทิวา เจว รตฺตึ คือ ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน. บทว่า จตุรงฺคสมนฺนาคโต

คือ มีมืดเค็มที่เว้นแสงสว่างประกอบด้วยองค์ ๔. บทว่า สุริโย จ อตฺถงฺ-

คมิโต พระอาทิตย์อัสดงคต คือพระอาทิตย์เกิดแสงกล้าดังขึ้นแล้วตกไป.

บทว่า กาฬปกฺโข จ อุโปสโถ วันอุโบสถข้างแรม คือวันอุโบสถ

แรม ๑๕ ค่ำ ในกาฬปักษ์. บทว่า ติพฺโพ จ วนสณฺโฑ แนวป่าทึบ

คือแนวไม้รกชัฏ. บทว่า มหา จ อกาลเมโฆ อพฺภุฏฺิโต อกาลเมฆใหญ่

ตั้งขึ้น คือพื้นหมอกดำใหญ่ตั้งขึ้น. บทว่า กุฑฺโฑ วา ฝาก็ดี คือฝา

ก่อด้วยอิฐ. บทว่า กวาฏ วา บานประตูก็ดี คือบานประตูและบานหน้าต่าง

ก็ดี. บทว่า ปากาโร วา กำแพงก็ดี คือกำแพงดินเหนียวเป็นต้นก็ดี.

ปพฺพโต วา ภูเขาก็ดี คือภูเขามีภูเขาดินเป็นต้นก็ดี. บทว่า คจฺฉ วา

กอไม้ก็ดี คือกอไม้อ่อนก็ดี. บทว่า ลตา วา เถาวัลย์ก็ดี คือเถาวัลย์

มีสีดำเป็นต้นก็ดี. บทว่า อาวรณ รูปาน ทสฺสนาย เป็นเครื่องบังการเห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 376

รูปทั้งหลาย คือเป็นเครื่องกั้นเพื่อเห็นรูปารมณ์ทั้งหลาย. บทว่า เอกติลผล

นิมิตฺต กตฺวา คือ เอาเมล็ดงาเมล็ดหนึ่งทำเป็นเครื่องหมาย. บทว่า ติลวาเห

ปกฺขิเปยฺย คือ ใส่สงในเกวียนบรรทุกงา. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

กระพองช้างและเกวียนสองเล่ม ชื่อว่าวาหะ. บทว่า ตญฺเว ติลผล

อุทฺธเรยฺย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหยิบเอาเมล็ดงานั้นแหละขึ้นมาได้ คือ

ทรงหยิบเมล็ดงาที่ทำเครื่องหมายไว้นั้นขึ้นมาได้.

บทว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา นี้ มีความได้กล่าวไว้แล้ว . บทว่า วิสุทฺ-

เธน ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ คือด้วยการเห็นจุติและอุปบัติอันบริสุทธิ์

เพราะเหตุมีทิฏฐิบริสุทธิ์ จริงอยู่ ผู้ใดเห็นเพียงจุติอย่างเดียว ไม่เห็น

อุปบัติ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมถือเอาซึ่งอุจเฉททิฏฐิ. ผู้ใดเห็นอุปบัติอย่างเดียว

ไม่เห็นจุติ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมถือเอาซึ่งสัสสตทิฏฐิ เพราะปรากฏสัตว์เกิดใหม่.

ส่วนผู้ใดเห็นทั้งสองอย่างนั้น เพราะผู้นั้นก้าวล่วงทิฏฐิแม้ทั้งสองอย่างนั้น

เสีย ฉะนั้น ความเห็นของเขาจึงเป็นเหตุแห่งความเห็นบริสุทธิ์. ส่วน

พระพุทธบุตรทั้งหลายย่อมเห็นทั้งสองอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ความเห็นชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะเป็นเหตุแห่งความเห็นบริสุทธิ์. เห็นความ

บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ เพราะเห็นรูปล่วงอุปจารของมนุษย์. อีก

อย่างหนึ่ง พึงทราบว่า ชื่อว่าล่วงจักษุของมนุษย์ เพราะล่วงมังสจักษุอัน

เป็นของมนุษย์. ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์นั้น. บทว่า

สตฺเต ปสฺสติ ทรงเห็นหมู่สัตว์ คือทรงแลดูหมู่สัตว์ ดุจมนุษย์ทั้งหลาย

ดูด้วยตาเนื้อฉะนั้น. ในบทว่า จวมาเน อุปปชฺชมาเน นี้ พึงทราบ

ความดังนี้ ในขณะจุติก็ดี ขณะอุปบัติก็ดี ไม่สามารถจะเห็นได้ด้วยทิพย-

จักษุ ท่านประสงค์เอาว่า ก็สัตว์เหล่าใดใกล้จะจุติ จักจุติเดี๋ยวนี้ สัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

เหล่านั้นก็กำลังจุติอยู่. ส่วนสัตว์เหล่าใดถือปฏิสนธิและเกิดแล้วในทันที

สัตว์เหล่านั้นกำลังเกิดอยู่. ท่านแสดงไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรง

เห็นสัตว์เหล่านั้นที่กำลังจุติ และกำลังอุปบัติ. บทว่า หีเน เลว คือเลว

เพราะประกอบด้วยผลอันเกิดแต่โมหะ. ประณีตตรงกันข้ามกับเลวนั้น.

บทว่า สุวณฺเณ มีผิวพรรณดี คือมีผิวพรรณน่าปรารถนา น่าใคร่น่าเอ็นดู

เพราะประกอบด้วยผลอันเกิดแต่อโทสะ. ผิวพรรณชั่วตรงกันข้ามกับผิว-

พรรณดีนั้น คือมีรูปพิกลตรงข้ามกับรูปสวย. บทว่า สุคเต ได้ดี คือมั่งคั่ง

มีทรัพย์มาก เพราะประกอบด้วยผลอันเกิดแต่อโลภะ. บทว่า ทุคฺคเต

ได้ชั่ว คือยากจน ไม่มีข้าวและน้ำ เพราะประกอบด้วยผลอันเกิดแต่โลภะ.

บทว่า ยถากมฺมูปเค หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม คือเข้าถึงกรรมที่ตน

สะสมไว้.

ในบทเหล่านั้น ท่านกล่าวถึงกิจของทิพยจักษุ ด้วยบทมีอาทิว่า

จวมาเน อันมีในบทก่อน. แต่ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงกิจ คือความรู้หมู่

สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม. นี้เป็นลำดับของการเกิดขึ้นแห่งญาณนั้น ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เจริญอาโลกสัญญามุ่งถึงนรก เห็นหมู่สัตว์นรกกำลัง

เสวยทุกข์ใหญ่. การเห็นนั้นเป็นกิจต้องทิพยจักษุเท่านั้น. ภิกษุนั้นกระทำ

ไว้ในใจอย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านี้ทำกรรมอะไรไว้หนอจึงเสวยทุกข์นี้ ดังนี้.

ลำดับนั้น ภิกษุนั้นก็เกิดญาณอันมีกรรมนั้นเป็นอารมณ์ว่า เพราะทำกรรม

อย่างนี้ ๆ ดังนี้. อนึ่ง ภิกษุเจริญอาโลกสัญญามุ่งสู่เทวโลกในเบื้องบน

เห็นหมู่สัตว์ในสวนนันทวัน มิสสกวันและปารุสกวันเป็นต้น เสวยมหา-

สมบัติอยู่. แม้ความเห็นนั้นก็เป็นกิจของทิพยจักษุเหมือนกัน. ภิกษุนั้น

กระทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านั้นทำกรรมอะไรไว้หนอ จึงเสวยสมบัติ

นี้ ดังนี้. ลำดับนั้น ภิกษุนั้นก็เกิดญาณอันมีกรรมนั้นเป็นอารมณ์ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 378

เพราะทำกรรมอย่างนี้ ๆ ดังนี้. นี้ชื่อว่า ยถากัมมูปคญาณ (รู้ว่าสัตว์เป็น

ไปตามกรรม). ญาณนี้ไม่มีบริกรรมต่างหาก. ญาณนี้ฉันใด แม้อนาคตัง-

สญาณ ก็ฉันนั้น. เพราะว่าญาณเหล่านั้นมีทิพยจักษุเป็นบาท จึงย่อมสำเร็จ

พร้อมกับทิพยจักษุนั่นเอง.

บทว่า อิเม ในบทมีอาทิว่า อิเม วต โภนฺโต สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้

เป็นคำแสดงถึงการเห็นด้วยทิพยจักษุ บทว่า วต เป็นนิบาตลงในอรรถ

แห่งความเศร้า. บทว่า โภนฺโต คือ ผู้เจริญ. ชื่อว่า ทุจริต เพราะ

ประพฤติชั่วหรือประพฤติประทุษร้าย เพราะมีใจเน่าด้วยกิเลส. ชื่อว่า

กายทุจริต เพราะประพฤติชั่วทางกาย หรือประพฤติชั่วเกิดแต่กาย. แม้

ในบทนอกนี้ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สมนฺนาคตา คือ มีความพร้อม.

บทว่า อริยาน อุปวาทกา ติเตียนพระอริยเจ้า คือเป็นผู้ประสงค์

ความพินาศต่อพระอริยเจ้าผู้เป็นพุทธะ ปัจเจกพุทธะ และสาวกพุทธะ

โดยที่สุดแม้พระโสดาบันผู้เป็นคฤหัสถ์ กล่าวติเตียนด้วยอันติมวัตถุ (โทษ

มีในที่สุด) หรือด้วยกำจัดคุณ. ท่านอธิบายว่า ได้แก่ด่า ติเตียน. กล่าวว่า

ภิกษุเหล่านี้ไม่มีสมณธรรม ภิกษุเหล่านี้ ไม่ใช่สมณะ ดังนี้ ชื่อว่าติเตียน

ด้วยอันติมวัตถุ. กล่าวว่าภิกษุเหล่านี้ไม่มีฌาน วิโมกข์ มรรค หรือผล

ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่าติเตียนด้วยกำจัดคุณ อนึ่ง ภิกษุนั้นรู้อยู่ก็ดี ไม่รู้

อยู่ก็ดี พึงติเตียน ย่อมเป็นอันติเตียนพระอริยเจ้าแม้ทั้งสองอย่างนั้น.

กรรมหนัก เช่นอนันตริยกรรม ที่ห้ามสวรรค์และห้ามมรรค ยังแก้ไขได้.

เพราะฉะนั้น ผู้ใดติเตียนพระอริยเจ้า ผู้นั้นควรไป หากตนเป็นผู้ใหญ่กว่า

ควรนั่งน้อมกาย แล้วกล่าวขอขมาว่า ผมได้กล่าวอย่างนี้ ๆ กะท่าน ขอ

ท่านได้ยกโทษให้แก่ผมด้วยเถิด ดังนี้ หากตนอ่อนกว่าพึงไหว้น้อมกาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 379

ประคองอัญชลี แล้วขอขมาว่า กระผมได้กล่าวอย่างนี้ ๆ ขอพระคุณเจ้า

โปรดยกโทษให้แก่กระผมด้วยเถิด ดังนี้ . แม้หากว่าท่านไปที่อื่น ควร

ไปเองหรือส่งสัทธิวิหาริกเป็นต้นไป ให้ท่านยกโทษ. หากไม่สามารถจะ

ไปได้หรือไม่สามารถจะส่งไปได้. ก็ไปหาภิกษุที่อยู่ในวิหารนั้น หากว่าภิกษุ

เหล่านั้นอ่อนกว่า พึงนั่งน้อมกาย หากแก่กว่าควรปฏิบัติตามนัยที่กล่าว

แล้วในภิกษุผู้ใหญ่นั้นแล แล้วกล่าวขอขมาว่า ท่านผู้เจริญ กระผมได้กล่าว

อย่างนี้ ๆ กะพระคุณเจ้าชื่อโน้น ขอพระคุณเจ้านั้นจงยกโทษให้แก่กระผม

ด้วยเถิด ดังนี้. แม้เมื่อไม่ขอขมาต่อหน้า ก็ควรทำเช่นเดียวกัน. หาก

ภิกษุเที่ยวไปรูปเดียว ที่อยู่ที่ไปของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ. พึงไปหาภิกษุ

ผู้ฉลาดรูปหนึ่ง แล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ กระผมได้กล่าวอย่างนี้ ๆ กะท่าน

ผู้มีอายุชื่อโน้น เมื่อกระผมนึกไป ๆ ถึงท่านก็มีความเดือนร้อน กระผม

จะทำอย่างไรดี. ภิกษุผู้ฉลาดรูปนั้นก็จักกล่าวว่า คุณอย่าคิดมากไปเลย

พระเถระยกโทษให้แก่คุณ ขอให้คุณสงบใจเสียเถิด. พึงประคองอัญชลี

มุ่งตรงไปยังทิศที่พระอริยเจ้านั้นไป แล้วพึงกล่าวว่า ขอพระคุณเจ้าโปรด

ยกโทษเถิด ดังนี้. ผิว่า พระอริยเจ้านั้นนิพพานไปแล้ว ควรไปยังที่ตั้ง

เตียงที่ท่านนิพพาน แล้วไปขอขมาจนถึงอัฐิที่บรรจุไว้. เมื่อทำอย่างนี้แล้ว

จึงเป็นอันไม่ห้ามสวรรค์ไม่ห้ามมรรค ย่อมเป็นเหมือนเดิมนั่งเอง.

บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิกา คือ มีความเห็นวิปริต. บทว่า มิจฺฉาทิฏฐิกมฺม-

สมาทาน ยึดถือการทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ คือยึดถือการกระทำต่าง ๆ

หลายอย่างด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ อนึ่ง ผู้ใดชักชวนแม้ผู้อื่นในกายกรรม

เป็นต้น อันเป็นมูลแห่งมิจฉาทิฏฐิ ผู้นั้นก็ชื่อว่า เป็นผู้ยึดถือการกระทำ

ต่าง ๆ หลายอย่าง. อนึ่ง ในบทนี้ แม้เมื่อมิจฉาทิฏฐิสงเคราะห์ด้วยการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 380

ถือเอาวจีทุจริต และด้วยการถือเอามโนทุจริตในการติเตียนพระอริยเจ้า

คำกล่าวของทั้งสองอย่างเหล่านั้นพึงทราบว่า เพื่อแสดงความมีโทษมาก

เพราะผู้ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นผู้มีโทษมาก เช่นเดียวกับอนัตริยกรรม

แม้ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุถึง

พร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา พึงให้ผู้อื่นยินดีในทิฏฐธรรมด้วย แม้

ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร ข้อนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น เรากล่าวว่าผู้ไม่ละคำพูด

นั้น ไม่ละจิตนั้น ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเก็บสะสมไว้ เหมือนยินดีใน

นรก.

ไม่มีอย่างอื่นที่มีโทษมากกว่ามิจฉาทิฏฐิเลย. เหมือนอย่างที่พระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้

สักอย่างเดียว ที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง.

บทว่า กายสฺส เภทา กายแตก คือสละขันธ์ที่ยังมีชีวิตอยู่. บทว่า

ปรมฺมรณา เมื่อตายไป คือยึดขันธ์อันจะเกิดในลำดับนั้น . อีกอย่างหนึ่ง

บทว่า กายสฺส เภทา คือ ตัดชีวิตินทรีย์. บทว่า ปรมฺมรณา เบื้องหน้า

แต่จุติจิต. บทว่า อปาย เป็นต้น เป็นไวพจน์ของนรกทั้งหมด. เพราะ

ว่านรกชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากความเจริญที่สมมติว่าบุญ อันเป็น

เหตุแห่งสวรรค์และนิพพาน หรือเพราะไม่มีความเจริญแห่งความสุข

ทั้งหลาย. นรกชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็นที่อยู่อาศัยของทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า ทุคติ เพราะเกิด คือถึงด้วยกรรมชั่วอันมากไปด้วยโทษ. นรก

ชื่อว่า วินิปาตะ เพราะเป็นที่ที่อวัยวะน้อยใหญ่แตกพินาศไป. ชื่อว่า

นิรยะ เพราะเป็นที่ที่ไม่มีความเจริญที่รู้กันว่าเป็นความชอบใจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 381

ท่านแสดง กำเนิดเดียรัจฉาน ด้วย อปาย ศัพท์. จริงอยู่ กำเนิด

เดียรัจฉาน ชื่อว่า อบาย เพราะปราศจาก สุคติ ไม่ชื่อ ทุคติ. เพราะ

ยังเป็นที่เกิดของนาคราชเป็นต้น ผู้มีศักดิ์ใหญ่.

ท่านแสดง ปิตติวิสัย (ที่อยู่ของเปรต) ด้วย ทุคคติ ศัพท์. จริงอยู่

ปิตติวิสัย ชื่อว่า อบายและทุคติ เพราะปราศจากสุคติและเพราะไปหา

ทุกข์ ส่วนนรกชื่อว่า วินิบาต. ส่วนวินิบาตไม่ชื่อว่า ปิตติวิสัย เพราะ

ไม่ตกไปเช่นอสูร.

ท่านแสดง อสุรกาย ด้วย วินิปาต ศัพท์. จริงอยู่ อสุรกายนั้นชื่อว่า

อบายและทุคติตามความที่กล่าวไว้แล้ว และท่านเรียกว่า วินิบาต เพราะ

ตกไปทั้งร่างกาย.

ท่านแสดง นรก มีหลายอย่าง มีอเวจีเป็นต้น ด้วย นิรย ศัพท์.

บทว่า อุปฺปนฺนา เข้าไปถึงแล้ว . ในบทนั้นท่านประสงค์เอาว่าเกิดแล้ว.

พึงทราบธรรมฝ่ายขาวโดยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว. แต่ความต่าง

กันมีดังต่อไปนี้. ในบทนั้น แม้มนุษยคติท่านก็สงเคราะห์ด้วย สุคติ ศัพท์.

เทวดาก็เหมือนกันท่านสงเคราะห์ด้วย สัคค ศัพท์. ในบทนั้น ชื่อว่า สุคติ

เพราะมีทางไปดี. ชื่อว่า สัคคะ เพราะเลิศไปด้วยอารมณ์มีรูปเป็นต้นดี.

แม้ทั้งหมดนั้นมีความว่า ชื่อว่า โลก เพราะแตกสลาย. บททั้งปวงว่า

อิติ ทิพฺเพน จกฺขุนา เป็นต้นเป็นคำสรุป. ความสังเขปในบทนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นด้วยทิพยจักขุด้วยประการฉะนี้แล.

ทิพยจักษุญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๔ ด้วยอำนาจแห่งปริตต-

อารมณ์ ปัจจุบันอารมณ์ อัชฌัตตอารมณ์และพหิทธอารมณ์. ยถากัมมู-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 382

ปคญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๕ ด้วยอำนาจแห่งปริตตอารมณ์

มหัคคตอารมณ์ อดีตอารมณ์ อัชฌัตตอารมณ์ และพหิทธอารมณ์

อนาคตังสญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๘ ด้วยอำนาจแห่งปริตตอารมณ์

มหัคคตอารมณ์ อัปปมาณอารมณ์ มรรคอารมณ์ อนาคตอารมณ์

อัชฌัตตอารมณ์ พหิทธอารมณ์ และนวัตตัพพอารมณ์.

บทว่า อากงฺขมาโน จ ภควา คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารถนา

อยู่. บทว่า เอกมฺปิ โลกธาตุ ปสฺเสยฺย พึงทรงเห็นแม้โลกธาตุหนึ่ง

คือพึงทรงเห็นจักรวาลหนึ่ง. ในบทว่า สหสฺสิมฺปิ จูฬนิกา แม้โลกธาตุ

พันหนึ่งเป็นส่วนเล็กนี้ พึงทราบดังต่อไปนี้ โลกธาตุนี้ชื่อว่าพันหนึ่ง

เป็นส่วนเล็กในอาคตสถานว่า

โลกทรงไว้ซึ่งโลกธาตุพันหนึ่ง ตลอดเวลาที่พระจันทร์

และพระอาทิตย์ยังเดินอยู่ ยังสว่างไสว หมุนไปทั่วทิศ

อำนาจของท่านย่อมเป็นไปในโลกนี้.

บทว่า จูฬนิก คือ เล็กน้อย. ในบทว่า ทฺวิสหสฺสิมฺปิ มชฺฌิมิก

โลกธาตุ แม้โลกธาตุสองพันเป็นส่วนปานกลางนี้ พึงทราบความดังนี้

ปริมาณจักรวาลล้านหนึ่งคูณจักรวาลพันหนึ่ง ด้วยส่วนของพัน รวมเป็น

หนึ่งล้าน ชื่อว่าโลกธาตุสองพันเป็นส่วนปานกลาง. ด้วยโลกธาตุนี้

ท่านแสดงถึงเขตอันเป็นกำเนิดของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. จริงอยู่ ที่

ประมาณเท่านี้ย่อมหวั่นไหว ในวันเคลื่อนจากเทวโลกในภพสุดท้ายของ

พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย แล้วถือปฏิสนธิในครรภ์ของมารดา ในวันประสูติ

จากครรภ์ ในวันเสด็จออกผนวช และในวันตรัสรู้ ในวันแสดงพระธัมม-

จักกัปปวัตตนสูตร ในวันปลงอายุสังขาร และในวันเสด็จปรินิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 383

บทว่า ติสหสฺสึ มหาสหสฺสิมฺปิ โลกธาตุ โลกธาตุสามพัน เพราะ

คูณด้วยหลายพัน แม้โลกธาตุหลายพัน คือชื่อว่า มหาสหสฺสี หลายพัน

เพราะคูณโลกธาตุตั้งแต่พันหนึ่ง สามพันที่สาม พันที่หนึ่ง แล้วคูณโลก-

ธาตุพันหนึ่งเป็นส่วนปานกลาง. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านแสดงถึงโลกมี

ปริมาณแสนโกฏิจักรวาล. อนึ่ง พระคณกปุตตติสสเถระกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

นั่น ไม่ใช่ปริมาณของโลกธาตุสามพันและหลายพัน เพราะปริมาณนี้ ชื่อว่า

โลกธาตุสามพันหลายพัน เป็นความงมงายในการท่องบ่นของอาจารย์

ทั้งหลาย เป็นที่เสื่อมของวาจา เป็นที่กำหนดจักรวาลล้านโกฏิ. ก็ด้วย

เหตุมีประมาณเพียงเท่านี้ เป็นอันท่านแสดงถึงอาณาเขตของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. อานุภาพของอาฏานาฏิยปริตร อิสิคิลิปริตร ธชัคคปริตร โพช-

ฌังคปริตร ขันธปริตร โมรปริตร เมตตปริตร และรัตนปริตร ย่อม

แผ่ไปในระหว่างนี้. บทว่า ยาตา วา ปน อากงฺเขยฺย คือ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงปรารถนาเท่าใด. ด้วยบทนี้เป็นอันท่านแสดงวิสัยเขต

(เขตของวิสัย ) จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีการกำหนดปริมาณของ

วิสัยเขต. พระสังคีติกาจารย์ นำข้ออุปมาในความไม่มีวิสัยเขตนี้มา ดัง

ต่อไปนี้.

หากใคร ๆ เอาเมล็ดผักกาดมาให้เต็มในแสนโกฏิจักรวาล ตลอดถึง

พรหมโลก แล้วเอาเมล็ดผักกาดเมล็ดหนึ่งใส่ลงในจักรวาลหนึ่งทางทิศ

ตะวันออก เมล็ดผักกาดเหล่านั้นแม้ทั้งหมดก็ถึงความสิ้นไป ส่วนจักรวาล

ทั้งหลายทางทิศตะวันออกไม่สิ้นไป. แม้ในทิศใต้เป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือน

กัน . ชื่อว่าความไม่มีวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในการกำหนดประมาณ

นั้นย่อมไม่มี. บทว่า ตาวตก ปสฺเสยฺย คือ พึงทรงเห็นได้เท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 384

ทิพยจักษุกถาก็จบลงด้วยบทว่า ทิพยจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้าบริสุทธิ์

อย่างนี้.

บทว่า กถ ภควา ปญฺาจกฺขุนา วิวฏจกฺขุ พระผู้มีพระภาคเจ้า

มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยปัญญาจักษุอย่างไร คือมีพระจักษุอันปัญญา

จักษุไม่ปิดแล้วด้วยเหตุไร.

บทว่า มหาปญฺโ ปุถุปญฺโ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีปัญญามาก

มีปัญญากว้างขวางเป็นต้น. บทสุดท้ายว่า ตตฺถ อติโรจติ ยทิท ปญฺาย

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงไพโรจน์ยิ่ง ด้วยพระปัญญาในที่นั้น ดังนี้ มีความ

ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

บทว่า พุทฺธจกฺขุนา ด้วยพุทธจักษุ คือด้วยอินทรียปโรปริยัตตญาณ

(ปรีชากำหนดรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย) เเละ

ด้วยอาสยานุสยญาณ (ปรีชากำหนดรู้อัธยาศัยดีเลว และอนุสัยกิเลสอัน

นอนเนื่องอยู่ในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย). มีญาณสองเหล่านี้ จึงชื่อว่า

พุทธจักษุ. สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่าสมันตจักษุ (จักษุรอบตอบ). มรรค-

ญาณ ๓ ชื่อว่าธรรมจักษุ. บทว่า โลก โวโลเกนฺโต อทฺทส สตฺเต คือ

ทรงตรวจดูโลก ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย. พึงทราบความในบทว่า อปฺปร-

ชกฺเข มีกิเลสเป็นเพียงดังธุลีน้อยเป็นต้น ธุลีมีราคะเป็นต้น ในปัญญาจักษุ

โดยนัยที่กล่าวแล้วของสัตว์เหล่าใดน้อย สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามีกิเลสน้อย.

ธุลีมีราคะเป็นต้นของสัตว์เหล่านั้นมาก สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามีกิเลสเพียงดัง

ธุลีมาก. อินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้นของสัตว์เหล่าใดกล้า สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า

มีอินทรีย์กล้า. อินทรีย์เหล่านั้นของสัตว์เหล่าใดอ่อน สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามี

อินทรีย์อ่อน. อาการศรัทธาเป็นต้นเหล่านั้นของสัตว์เหล่าใดดี สัตว์เหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 385

ชื่อว่ามีอาการดี. สัตว์เหล่าใดกำหนดเหตุที่กล่าวแล้วสามารถรูได้โดยง่าย

สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าแนะนำได้โดยง่าย. สัตว์เหล่าใดเห็นปรโลกและวัฏฏะ

โดยความเป็นภัย สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าเห็นภัยในปรโลกและวัฏฏะ. บทว่า

อุปฺปลินิย คือ ในกอบัว. แม้ในบทนอกนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน . บทว่า

อนฺโต นิมุคฺคโปสินี คือ จมอยู่ในน้ำอันน้ำหล่อเลี้ยงไว้. บทว่า อุทกา

อจฺจุคฺคมฺม ติฏฺนฺติ โผล่ขึ้นจากน้ำ คือตั้งขึ้นพ้นน้ำ. ในดอกบัวเหล่านั้น

ดอกบัวใดโผล่ขึ้นพ้นน้ำ ดอกบัวนั้นรอต้องแสงพระอาทิตย์ ก็จะบานใน

วันนี้. ดอกบัวใดตั้งอยู่เสมอน้ำ ดอกบัวนั้นจะบานในวันรุ่งขึ้น. ดอกบัว

ใดยังไม่พ้นจากน้ำจมอยู่ในน้ำ น้ำเลี้ยงไว้ ดอกบัวนั้นจะบานในวันที่สาม

นั่นแล. ดอกบัวใดไม่บานเลยก็จักเป็นอาหารของปลาและเต่าไปเท่านั้น

เอง ดอกบัวนั้นท่านแสดงไว้ว่ามิได้ยกขึ้นสู่บาลี แต่ก็ควรนำมากล่าวไว้.

ท่านแสดงถึงบุคคล จำพวก คืออุคฆติตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ

ปทปรมะ เหมือนดอกบัว ๔ ชนิดฉะนั้น. บุคคลใดรู้ธรรมในเวลาที่ท่าน

ยกขึ้นมากล่าว บุคคลนี้ท่านเรียกว่า อุคฆติตัญญู.

บุคคลใด เมื่อท่านขยายความโดยพิสดารแห่งภาษิตที่ยกขึ้นกล่าว

โดยย่อ จึงรู้ธรรม บุคคลนี้ท่านเรียกว่า วิปจิตัญญู.

บุคคลใด สอบถามใส่ใจ เสพคบนั่งใกล้กัลยาณมิตร จึงรู้ธรรม

บุคคลนี้ท่านเรียกว่า เนยยะ.

บุคคลใด แม้บอกมาก กล่าวมาก ทรงไว้มาก สอนมาก ก็ไม่รู้

ธรรมในชาตินั้น บุคคลนี้ท่านเรียกว่า ปทปรมะ.

ในบุคคลเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูหมื่นโลกธาตุ

เช่นกับดอกบัวเป็นต้น ได้ทรงเห็นโดยอาการทั้งปวงอย่างนี้ว่า วันนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 386

อุคฆติตัญญูจะบาน วันนี้วิปจิตัญญูจะบาน ดังนี้. พระธรรมเทศนาของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า จะสำเร็จประโยชน์แก่บุคคล ๓ จำพวกในอัตภาพ

นี้แล พระธรรมเทศนาก็จะเป็นวาสนาแก่บุคคลผู้เป็นปทปรมะในอนาคต.

พึงทราบความในบทว่า ราคจริโต เป็นราคจริตเป็นต้นนี้ ดังนี้

ชื่อว่าเป็นราคจริต เพราะมีความประพฤติในอารมณ์ด้วยความกำหนัด.

ชื่อว่าเป็นโทสจริต เพราะมีความประพฤติในอารมณ์ด้วยความประทุษ-

ร้าย. ชื่อว่าเป็นโมหจริต เพราะมีความประพฤติด้วยความหลง. ชื่อว่า

เป็นวิตกจริต เพราะมีความประพฤติในอารมณ์ ด้วยความวิตกด้วยความ

ตรึก. ชื่อว่าเป็นศรัทธาจริต เพราะมีความประพฤติในอารมณ์ด้วยความ

เชื่อง่าย. ชื่อว่าเป็นญาณจริต เพราะมีความประพฤติเป็นความรู้ ประพฤติ

ด้วยความรู้ ประพฤติโดยความรู้ หรือประพฤติเพื่อความรู้. บทว่า

ราคจริตสฺส แก่บุคคลผู้เป็นราคจริต คือราคะหนา ราคะจัด. แม้บทอื่น

ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อสุภกถ กเถติ ตรัสอสุภกถา คือทรงบอกกถาปฏิสังยุต

ด้วยอสุภะ ๑๐ อย่าง มีอุทธุมาตกะ (ขึ้นอืด) เป็นต้น. ดังที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ควรเจริญอสุภะเพื่อละราคะ ดังนี้. บทว่า เมตฺตา-

ภาวน อาจิกฺขติ คือ ตรัสบอกเมตตาภาวนา คือตรัสเมตตาภาวนาอันจับจิต.

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พึงเจริญเมตตา เพื่อละพยาบาท

ดังนี้.

บทว่า อุทฺเทเส ในการเรียน คือในการท่องบ่น. บทว่า ปริ-

ปุจฺฉาย ในการไต่ถาม คือในการกล่าวเนื้อความ. บทว่า กาเลน

ธมฺมสฺสวเน ในการฟังธรรมตามกาล คือในการฟังปริยัติธรรมให้ยิ่งใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 387

เวลาเรียน. บทว่า ธมฺมสากจฺฉา ในการสนทนาธรรม คือในการ

สนทนากับผู้อื่น. บทว่า คุรุสวาเส ในการอยู่ร่วมกับครู คือในการเข้า

ใกล้ครู. บทว่า นิเวเสติ ให้อยู่ คือให้ตั้งอยู่ในสำนักของอาจารย์.

บทว่า อานปานสฺสตึ กเถติ บอกอานาปานสติ คือบอกกรรมฐาน

สัมปยุตด้วยอานาปานสติ (กำหนดลมหายใจเข้าออก) ดังที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พึงเจริญอานาปานสติเพื่อกำจัดวิตก. บทว่า ปาสาท-

นีย นิมิตฺต อาจิกฺขติ ตรัสบอกพระสูตรอัน เป็นนิมิตดี คือตรัสบอก

พระสูตรอันให้เกิดความเลื่อมใส มีจุลลเวทัลลสูตรและมหาเวทัลลสูตร

เป็นต้น.

บทว่า พุทฺธสุโพธึ ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า คือการตรัสรู้

ความเป็นพุทธะของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า. บทว่า ธมฺมสุธมฺม ความ

เป็นธรรมดีแห่งพระธรรม คือความที่โลกุตรธรรม ๙ อย่าง อันพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว. บทว่า สงฺสุปฏิปตฺตึ การปฏิบัติของพระสงฆ์

คือการปฏิบัติดี มีการปฏิบัติชอบของพระอริยสงฆ์ ๘ จำพวก.

บทว่า สีลานิ จ อตฺตโน ศีลของตน คือทรงบอกศีลอันเป็นของ

ตน. บทว่า วิปสฺสนานิมิตฺต ธรรมอันเป็นนิมิตแห่งวิปัสสนา คือทรง

บอกธรรมอันปฏิสังยุตด้วยวิปัสสนา มีความเกิดและความดับเป็นต้น.

บทว่า อนิจฺจาการ มีอาการไม่เที่ยง คือมีอาการมีแล้วไม่มี. บทว่า

ทุกฺขาการ มีอาการเป็นทุกข์ คือมีอาการบีบคั้น คือความเกิดและความ

ดับ. บทว่า อนตฺตาการ มีอาการไม่เป็นไปในอำนาจ.

บทว่า เสเล ยถา ปพฺพตมุทฺธนิฏฺิโต คือ บุรุษยืนอยู่บนยอดภูเขา

ศิลาหนาทึบ. เมื่อยืนบนภูเขานั้นก็ไม่มีกิจที่จะขึ้นต้นไม้เพื่อดูเลย. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 388

ตถูปม เปรียบเหมือนภูเขานั้น คือเปรียบด้วยภูเขาศิลาอันปฏิภาคกันนั้น.

ในบทนี้มีความสังเขปดังต่อไปนี้

บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดเขาศีลา พึงเห็นหมู่ชน

โดยรอบฉันใด ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาดี

คือมีปัญญาประเสริฐ มีพระจักษุโดยรอบ พระองค์มี

ความโศกไปปราศแล้ว ทรงขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จด้วย

ธรรม สำเร็จด้วยปัญญา ขอจงทรงพิจารณาใคร่ครวญ

ไตร่ตรองถึงหมู่ชนผู้อาเกียรณด้วยความโศก และถูกชาติ

ชราครอบงำแล้วฉันนั้น.

ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- เหมือนอย่างว่า ชนทั้งหลายทำพื้น

ที่อันใหญ่โดยรอบเชิงภูเขา แล้วปลูกกระท่อมไว้ที่แนวพื้นที่อันเหมาะแก่

การเพาะปลูก ณ ที่นั้น นึกก่อไฟในเวลากลางคืน และพึงมีความมืด

ประกอบด้วยองค์ ๔ ทีนั้นเมื่อบุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขานั้นมองดู

พื้นที่ พื้นที่ไม่ปรากฏ แนวเพาะปลูกไม่ปรากฏ กระท่อมไม่ปรากฏ

มนุษย์ที่นอนในกระท่อมไม่ปรากฏ ปรากฏแต่เพียงเปลวไฟในกระท่อม

ฉันใด เมื่อพระตถาคตทรงขึ้นสู่ธรรมปราสาททรงตรวจดูหมู่สัตว์ สัตว์

เหล่าใดไม่ทำความดีไว้ สัตว์เหล่านั้นแม้นั่ง ณ ข้างพระชานุเบื้องขวาใน

วิหารเดียวกัน ก็ไม่มาสู่คลองแห่งพุทธจักษุ เหมือนลูกศรที่ซัดไปใน

ตอนกลางคืนฉะนั้น ส่วนสัตว์เหล่าใด ทำความดีไว้ เป็นเวไนยบุคคล

สัตว์เหล่านั้นแม้อยู่ไกลพระตถาคตก็ย่อมมาสู่คลองพุทธจักษุ สัตว์เหล่านั้น

ดุจไฟ และดุจภูเขาหิมวันตะ. ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 389

สัตบุรุษทั้งหลายย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขา

หิมวันตะ อสัตบุรุษทั้งหลายไม่ปรากฏในที่นี้ เหมือน

ลูกศรที่ซัดไปในตอนกลางคืนฉะนั้น.

พึงทราบความในบทว่า สพฺพญฺญุตาณ พระสัพพัญญุตญาณนี้

ดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า สัพพัญู เพราะรู้ทั่วถึงสิ่งทั้งปวงอันเป็นคลองแห่งธรรม

ที่ควรแน่นำ ๕ ประการ. ธรรมทั้งปวงมีประเภทเป็นสังขตธรรมและ

อสังขตธรรม ชื่อว่าเป็นคลองแห่งธรรมที่ควรแนะนำ ๕ ประการ คือ

สังขาร ๑ วิการ ๑ ลักษณะ ๑ นิพพาน ๑ บัญญัติ ๑ ความเป็นแห่ง

สัพพัญญู ชื่อว่าสัพพัญญุตา. สัพพัญญุตานั่นเอง คือาณ ควรจะกล่าว

ว่า สพฺพญฺญุตาาณ ท่านก็กล่าวว่า สพฺพญฺญุตาณ. บทว่า สพฺพญฺญู

รู้สิ่งทั้งปวง คือพึงถึงเป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง ๕ อย่าง คือกมสัพพัญญู (รู้สิ่ง

ทั้งปวงตามลำดับ) ๑. สกึสัพพัญญู (รู้สิ่งทั้งปวงคราวเดียว) ๑. สตต-

สัพพัญญู (รู้สิ่งทั้งปวงเนืองๆ ) ๑. สัตติสัพพัญญู (รู้สิ่งทั้งปวงตาม

ความสามารถ) ๑. ญาตสัพพัญญู (รู้สิ่งทั้งปวงที่รู้แล้ว) ๑.

ในสัพพัญญู ๕ อย่างนั้น เพราะไม่มีกาลอันจะรู้สิ่งทั้งปวงตามลำดับ

จึงไม่ชื่อว่า กมสัพพัญญู. เพราะไม่มีการยึดถืออารมณ์คราวเดียว จึง

ไม่ชื่อว่า สกึสัพพัญญู. เพราะมีจิตมีอารมณ์แน่นอนในจักขุวิญญาณ

เป็นต้น เพราะดับภวังคจิต และเพราะไม่มีการประกอบ จึงไม่ชื่อว่า

สตตสัพพัญญู. เพราะสามารถรู้สิ่งทั้งปวงโดยไม่เหลือ พึงเป็นสัตติ-

สัพพัญญู หรือเพราะรู้แจ้งธรรมทั้งปวง พึงเป็นญาตสัพพัญญู. การ

รู้สิ่งทั้งปวงไม่มีในสัตติสัพพัญญู ด้วยประการฉะนี้. แม้ข้อนั้นก็ไม่ถูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 390

เพราะท่านกล่าวไว้ว่า สิ่งอะไร ๆ ในโลกนี้ อันพระปัญญาจักษุของพระ-

ตถาคตนั้นไม่เห็น ย่อมไม่มี ฯลฯ เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า

ผู้มีสมันตจักษุ. ญาตสัพพัญญูนั่นแลถูก. ก็เมื่อเป็นอย่างนี้สัพพัญญู

ย่อมมี โดยกิจ โดยไม่หลง โดยสำเร็จแต่การณะ โดยอาศัยอาวัชชนะ.

บทว่า เตน าเณน ด้วยญาณนั้น คือด้วยญาณอันรู้สิ่งทั้งปวงนั้น. เพื่อ

สำเร็จความเป็นสัพพัญญูโดยปริยายอื่นอีก ท่านจึงกล่าวคาถาว่า น ตสฺส

ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า น ตสฺส อทิฏฺมิธตฺถิ กิญฺจิ อะไร ๆ ใน

โลกนี้ อันพระปัญญาจักษุของพระตถาคตไม่เห็นย่อมไม่มี ความว่า อะไร ๆ

ในไตรโลกนี้ อันพระปัญญาจักษุของพระตถาคตนั้น ไม่เห็นในกาล

ปัจจุบันนี้ แม้ประมาณน้อยย่อมไม่มี. บทว่า อตฺถิ นี้ เป็นบทอาขยาต

เป็นไปในปัจจุบันแล. ด้วยบทนี้ ท่านจึงแสดงความที่ธรรมทั้งปวงอัน

เป็นไปในปัจจุบันกาล อันพระตถาคตรู้แล้ว. ก็ในคาถานี้ประกอบ

เข้าไป เพื่อสะดวกในการแต่งคาถา. อโถ ศัพท์ ในบทว่า อโถ วิญฺาต

อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้ นี้เป็นนิบาตลงในความรับรองคำพูด.

บทว่า อวิญฺาต มีปาฐะที่เหลือว่า ธรรมชาติอะไร ๆ ชื่อว่า อันพระ-

พุทธญาณไม่รู้แจ้ง อันเป็นกาลในอดีต มิได้มี. แม้เว้นปาฐะที่เหลือใน

การถือเอา อัตถิ ศัพท์ อันเป็นอัพยยศัพท์ ก็ควรเหมือนกัน. ด้วยบทนี้

ท่านแสดงถึงความที่ธรรมทั้งปวง อันเป็นอดีตกาลอัน พระตถาคตรู้แล้ว.

บทว่า อชานิตพฺพ ไม่ควรรู้ คือธรรมชาติที่ไม่ควรรู้ อันเป็นอนาคตกาล

จักไม่มีหรือย่อมไม่มี. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงถึงความที่ธรรมทั้งปวงอันเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 391

อนาคตกาล อันพระตถาคตทรงรู้แล้ว. อ อักษรในบทว่า อชานิตพฺพ

นี้ เพียงเป็นวิเสสนะของกิริยารู้นั่นเอง.

ในบทว่า สพฺพ อภิญฺาสิ ยทตฺถิ เนยฺย พระตถาคตทรงทราบ

แล้วซึ่งธรรมชาติ ที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด นี้พึงทราบดังนี้.

ธรรมชาติอะไร ๆ อันใดที่ควรแนะนำ ควรรู้ เป็นไปใน ๓ กาล

หรือพ้นกาลไปแล้วมีอยู่ พระตถาคตทรงทราบ คือทรงรู้ทรงแทงตลอด

ธรรมชาตินั้นทั้งหมด ด้วยพระสัพพัญญุตญาณอันยิ่ง. ในบทนี้พึงเห็นว่า

อัตถิ ศัพท์ เป็นอัพยยศัพท์ในกาล โดยถือเอา ๓ กาลและพ้นกาลด้วย อัตถิ

ศัพท์. บทว่า ตถาคโต เตน สมนฺตจกฺขุ ด้วยเหตุนั้นพระตถาคตจึง

ชื่อว่าผู้มีสมันตจักษุ คือชื่อว่า สมันตจักษุ เพราะมีญาณจักษุอันเป็นไปแล้ว

โดยรอบคือโดยประการทั้งปวง เพราะแสดงโดยไม่เหลือด้วยกาลด้วย

โอกาส. ท่านอธิบายไว้ว่า เพราะเหตุตามที่กล่าวแล้วนั้น พระตถาคต

จึงเป็นพระสัพพัญญูผู้มีสมันตจักษุ พระสัพพัญญุตญาณ สำเร็จลงแล้วด้วย

เทศนาอันเป็นบุคลาธิษฐานด้วยคาถานี้.

บทว่า น อิติหิติห คือ มิใช่โดยต้องเชื่อต่อผู้อื่นว่า ธรรมนี้เป็น

ดังนี้ ธรรมนี้เป็นดังนี้. บทว่า น อิติกิริยาย คือ มิใช่โดยได้ยินต่อ ๆ

กันมาว่า ได้ยินว่านี้เป็นอย่างนี้. บทว่า น ปรมฺปราย คือ มิใช่โดยถือตาม

ลำดับสืบ ๆ กันมา. บทว่า น ปิฏกสมฺปทาย มิใช่โดยอ้างตำรา คือมิใช่

โดยอ้างว่านี้เหมาะสมกับตำราพระไตรปิฎกของเรา. บทว่า น ตกฺกเหตุ

มิใช่โดยนึกเอา คือมิใช่โดยคาคคะเนเอา บทว่า น อาการปริวิตกฺเกน

มิใช่โดยตรึกตามอาการ คือมิใช่ตรึกตามเหตุอย่างนี้ว่า เหตุการณ์นี้ดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 392

บทว่า น ทิฏฺินินชฺฌานกฺขนฺติยา มิใช่โดยชอบว่าควรแก่ทิฏฐิของตน คือ

มิใช่ว่าเหมาะสมกับทิฏฐิที่เราชอบแล้วถือเอา.

พึงทราบความในบทว่า อถวาปิ สมาธึ นี้ดังนี้ บทว่า สมาธึ คือ

ชื่อว่าสมาธิ เพราะจิตเป็นกุศลมีอารมณ์เดียว. ชื่อว่าสมาธิด้วยอรรถว่า

กระไร. ด้วยอรรถว่าตั้งใจมั่น. ชื่อว่าการตั้งใจมั่นนี้เป็นอย่างไร. คือการ

ตั้งจิตและเจตสิกไว้ในอารมณ์เดียวเสมอและโดยชอบ. ท่านอธิบายว่า

การตั้งไว้. เพราะฉะนั้น จิตและเจตสิกทั้งหลาย ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วุ่นวาย

ตั้งอยู่ในอารมณ์เดียว ด้วยอานุภาพแห่งธรรมใดเสมอและโดยชอบ นี้พึง

ทราบว่าการตั้งใจมั่น.

ท่านกล่าวถึงสมาธินั้นเป็นคาถาประพันธ์ว่า

สมาธินั้น มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ มีความกำจัด

ความฟุ้งซ่านเป็นรส มีความไม่หวั่นไหวเป็นเครื่องปรากฏ

มีความสุข ความเจริญเป็นปทัฏฐาน.

สมาธิ ชื่อว่าตั้งมั่น เพราะตั้งอยู่ในอารมณ์โดยความไม่ขุ่นมัวไม่

หวั่นไหว. สองบทต่อไปเพิ่มอุปสัค. ชื่อว่าตั้งอยู่พร้อม เพราะรวบรวม

แม้อารมณ์ในสัมปยุตธรรมตั้งอยู่. ซึ่งว่าตั้งลง เพราะไม่เข้าไปเกาะอารมณ์

ตั้งอยู่. จริงอยู่ ในฝ่ายกุศลธรรมมี ๔ อย่าง คือศรัทธา สติ สมาธิและปัญญา

ย่อมหยั่งลงในอารมณ์. ด้วยเหตุนั้นแล ศรัทธาท่านจึงกล่าวว่าแน่วแน่.

สติท่านกล่าวว่าไม่เลื่อนลอย. สมาธิท่านกล่าวว่าตั้งลงดิ่ง. ปัญญาท่าน

กล่าวว่าหยั่งลง. ส่วนในฝ่ายอกุศลธรรมมี ๓ อย่าง คือ ตัณหา ทิฏฐิและ

อวิชชาย่อมหยั่งลงในอารมณ์. ด้วยเหตุนั้นธรรมเหล่านั้นท่านจึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 393

เป็น โอฆะ. อนึ่ง ในฝ่ายอกุศลนี้ จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ แต่ไม่มีกำลัง.

เหมือนอย่างว่า เมื่อบุคคลเอาน้ำรดในที่เปรอะด้วยธุลีแล้วถู ธุลีหายไป

ชั่วขณะเล็กน้อย เมื่อแห้งแล้วธุลีก็ปรากฏตามเดิมอีกฉันใด ความที่จิตมี

อารมณ์เป็นหนึ่งในฝ่ายอกุศล จึงไม่มีกำลังฉันนั้นเหมือนกัน. ชื่อว่าไม่

มีความฟุ้งซ่าน เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน อันเป็นไปแล้วด้วย

อำนาจความฟุ้งซ่านและความสงสัย. จิตแล่นไปด้วยอำนาจความฟุ้งซ่าน

และความสงสัยนั่นแล ชื่อว่าย่อมฟุ้งซ่าน. แต่สมาธินี้ไม่ฟุ้งซ่านอย่างนั้น

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่ฟุ้งซ่าน. จิตแล่นไป คือแล่นไปข้างโน้นข้างนี้

ด้วยอำนาจความฟุ้งซ่านและความสงสัย. แต่ความเป็นผู้มีใจอันอะไร ๆ ไม่

ให้ฟุ้งซ่านไปได้อย่างนี้ ชื่อว่า อวิสาหฏมานสตา ความมีใจไม่ฟุ้งซ่าน.

บทว่า สมโถ ความสงบ มี ๓ อย่างคือจิตตสมถะ (ความสงบจิต) ๑ อธิกรณ-

สมถะ (ความสงบอธิกรณ์) ๑ สัพพสังขารสมถะ (ความสงบสังขาร

ทั้งปวง) ๑. ในสมถะ ๓ อย่างนั้น ชื่อว่าจิตตสมถะ เพราะจิตมีอารมณ์

เป็นหนึ่งในสมาบัติ ๘. เพราะจิตหวั่นไหว จิตดิ้นรน สงบระงับเพราะ

อาศัยสมถะนั้น ฉะนั้น สมถะนั้นท่านจึงเรียกว่า จิตตสมถะ.

ชื่อว่า อธิกรณสมถะ (ความสงบอธิกรณ์) มี ๗ อย่าง มี

สัมมุขาวินัย (ในที่พร้อมหน้าบุคคล วัตถุ และธรรม) เป็นต้น. อธิกรณ์

ทั้งหลายนั้น ๆ สงบระงับไปเพราะอาศัยสมถะนั้น เพราะฉะนั้น สมถะนั้น

ท่านจึงเรียกว่า อธิกรณสมถะ แต่เพราะสังขารทั้งหลายทั้งปวงสงบระงับ

ไป เพราะอาศัยนิพพาน ฉะนั้น นิพพานนั้นท่านจึงเรียกว่า สัพพสังขาร-

สมถะ. ในความนี้ท่านประสงค์เอาจิตตสมถะ. ชื่อว่า สมาธินทริยะ

เพราะทำความเป็นใหญ่ในลักษณะของสมาธิ. ชื่อว่า สมาธิพละ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 394

ไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ บทว่า สมฺมาสมาธิ ได้แก่ สมาธิแน่นอน

สมาธินำสัตว์ออกไป.

ลำดับนั้น เพราะอินทรีย์สังวรเป็นการรักษาศีล หรือเพราะเทศนานี้

ที่พระองค์ทรงแสดงตามลำดับนี้ เป็นที่สบายของเทวดาทั้งหลาย ฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงปฏิปทาเริ่มตั้งแต่อินทรีย์สังวรไป

จึงทรงปรารภคำมีอาทิว่า จกฺขูหิ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า จกฺขูหิ เนว โลลสฺส ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเล

ด้วยจักษุทั้งหลาย คือไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย ด้วยอำนาจมีรูปที่

เราไม่เคยดู ควรดูเป็นต้น. บทว่า คามกถาย อาวรเย โสต พึงป้องกันหู

จากคามกถา (คำพูดของชาวบ้าน) คือพึงป้องกันหูจากติรัจฉานกถา.

บทว่า จกฺขุโลลิเยน ความเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ คือความเป็นผู้

โลเลด้วยจักษุ ด้วยอำนาจความโลภอันเกิดขึ้นแล้วในจักษุทวาร. บทว่า

อทิฏฺ ทกฺขิตพฺพ รูปที่เราไม่เคยดู ควรดู คือรูปารมณ์ที่เราไม่เคยดูควร

เพื่อจะดู. บทว่า ทิฏฺ สมติกฺกมิตพฺพ รูปที่เคยเห็นแล้วควรผ่านไป

คือรูปารมณ์ที่เคยเห็นแล้วควรผ่านไป. บทว่า อาราเมน อาราม สู่สวน

แต่สวน คือสู่สวนผลไม้ สวนดอกไม้เป็นต้น แต่สวนมีสวนดอกไม้เป็น

ต้น. บทว่า ทีฆจาริก คือ เที่ยวไปนาน. บทว่า อนวฏฺิตจาริก เที่ยวไป

ไม่แน่นอน คือเที่ยวไปโดยไม่ตกลงใจ. บทว่า อนุยุตฺโต โหติ

รูปทสฺสนาย เป็นผู้ขวนขวายเพื่อจะดูรูป คือเป็นผู้ขวนขวายบ่อย ๆ

เพื่อจะดูรูปารมณ์. บทว่า อนฺตรฆร ปวิฏฺโ เข้าไปสู่ละแวกบ้าน คือ

เข้าไปถึงภายในธรณีประตู. บทว่า วีถึ ปฏิปนฺโน เดินไปตามถนน คือ

ก้าวไประหว่างถนน. บทว่า ฆรมุขานิ โอโลเกนฺโต แลดูหน้ามุขเรือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 395

คือมองดูประตูเรือน. บทว่า อุทฺธ โอโลเกนฺโต แลดูข้างบน คือแหงน

หน้ามองดูเบื้องบน. บทว่า จกฺขุนา รูป ทิสฺวา เห็นรูปด้วยจักษุ คือ

เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณอันสามารถเห็นรูป ที่เรียกว่าจักษุด้วยอำนาจของ

เหตุ. แต่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า จักษุไม่เห็นรูป เพราะไม่มีจิต

จิตไม่เห็นรูป เพราะไม่มีจักษุ ย่อมเห็นด้วยจิตอันมีปสาทจักษุกระทบ

อารมณ์ทางทวาร. ก็กถาเช่นนี้ชื่อว่าสสัมภารกถา (กล่าวรวมกัน ) ดุจใน

ประโยคมีอาทิว่า ยิงด้วยธนูเพราะฉะนั้น ความในข้อนี้จึงมีว่า เห็นรูป

ด้วยจักษุวิญญาณ. บทว่า นิมิตฺตคฺคาหี เป็นผู้ถือนิมิต คือถือนิมิตหญิง

และชาย หรือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส มีสุภนิมิตเป็นต้นด้วยอำนาจ

ฉันทราคะ. เพียงเห็นเท่านั้นนิมิตไม่ปรากฏ. บทว่า อนุพฺยญฺชนคฺคาหี

ถืออนุพยัญชนะ คือถืออากาหันต่างด้วยมือ เท้า หัวเราะ ขบขัน พูด

ชำเลืองดูและการเหลียวดูเป็นต้น เรียกว่าอนุพยัญชนะเพราะทำให้ปรากฏ

โดยเป็นเหตุให้กิเลสทั้งหลายปรากฏ. พึงทราบความในบทว่า ยตฺวาธิ-

กรณเมน เป็นต้น ดังต่อไปนี้. ธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้

พึงครอบงำติดตามบุคคลนั้นผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ด้วยประตูคือสติ ผู้ไม่ปิด

จักษุทวารอันเป็นเหตุแห่งการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ บทว่า ตสฺส สรราย

น ปฏิปชฺชติ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ คือย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อ

ปิดจักขุนทรีย์นั้นด้วยประตูคือสติ. ท่านกล่าวว่า ภิกษุเป็นอย่างนี้ ชื่อว่า

ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์บ้าง. ในบทนั้น

การสำรวมหรือไม่สำรวม ย่อมไม่มีในจักขุนทรีย์โดยแท้. เพราะสติหรือ

การหลงลืมย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย จักษุประสาท อีกอย่างหนึ่ง เมื่อใด

รูปารมณ์มาสู่คลองจักษุ เมื่อนั้นเมื่อภวังคจิตเกิดขึ้นแล้วดับไปสองครั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 396

กิริยามโนธาตุยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จ เกิดขึ้นแล้วดับไป. แต่นั้นจักษุ-

วิญญาณก็ทำหน้าที่เห็น. แต่นั้นวิปากมโนธาตุ ทำหน้าที่รับ. แต่นั้น

วิปากอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ทำหน้าที่พิจารณา. แต่นั้นกิริยาอเหตุก-

มโนวิญญาณธาตุยังโวฏฐัพพกิจให้สำเร็จ เกิดขึ้นแล้วดับไป. ในลำดับนั้น

ชวนจิตย่อมแล่นไป. ความไม่สำรวมหรือความสำรวมย่อมไม่มีในสมัย

แห่งภวังคจิตแม้นั้น ย่อมไม่มีในสมัยใดสมัยหนึ่ง บรรดาอาวัชชนจิตเป็น

ต้น. ก็ในขณะชวนะจิต หากว่า ความเป็นผู้ทุศีล ความหลงลืม ความไม่รู้

ความไม่อดทน หรือความเกียจคร้านเกิดขึ้น ความไม่สำรวมย่อมมี. ภิกษุ

เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็นผู้ไม่สำรวมในจักขุนทรีย์. เพราะเหตุ

ไร. เพราะเมื่อไม่มีการสำรวมในจักขุนทรีย์มีอยู่ แม้ทวารก็ไม่เป็นอัน

คุ้มครอง แม้ภวังคจิต แม้วิถีจิต มีอาวัชชนะเป็นต้น ก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง

เหมือนอะไร. เหมือนเมื่อประตู ๔ ด้านในนครไม่ปิด แม้จะปิดประตู

เรือนซุ้มและห้องเป็นต้นข้างในก็ตาม ถึงดังนั้นก็ไม่เป็นอันรักษาคุ้มครอง

ทรัพย์ทั้งหมดภายในนครนั่นเอง โจรทั้งหลายเข้าไปทางประตูนคร พึง

ทำตามความต้องการฉันใด เมื่อความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้น เกิดขึ้นในชวนะจิต

เมื่อไม่มีการสำรวมนั้น แม้ทวารก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง แม้ภวังคจิต แม้วิถี

จิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็ไม่เป็นอันคุ้มครองฉันนั้นนั่นแล.

บทว่า สทฺธาเทยฺยานิ โภชนะอันเขาถวายด้วยศรัทธา คือโภชนะ

อันเขาเชื่อกรรม ผลของกรรม โลกนี้โลกหน้าแล้วถวาย. อธิบายว่า ไม่

ได้ถวายด้วยอาการอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้เป็นญาติ เป็นมิตรของเรา จักทำสิ่งนี้

หรือเขาเคยทำสิ่งนี้ ดังนี้. การถวายอย่างนี้ ไม่ชื่อว่าถวายด้วยศรัทธา.

อนึ่ง บทว่า โภชนานิ นี้ เป็นเพียงหัวข้อเทศนา. แต่โดยอรรถ ท่านกล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 397

คำทั้งหมดนี้ว่า ภิกษุบริโภคโภชนะที่เขาถวายด้วยศรัทธา ห่มจีวร เสพ

เสนาสนะ บริโภคบริขารคือยาอันเป็นปัจจัยแห่งคนไข้. บทว่า เสยฺยถีท

เป็นนิบาต มีความว่า นั้นเป็นไฉน. การฟ้อนอย่างใดอย่างหนึ่งชื่อว่า

นัจจะ. ภิกษุแม้เดินไปบ้านก็ไม่ควรแหงนดู. บทว่า คีต การขับ ได้แก่

การขับย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า วาทิต ได้แก่ การประโคมอย่างใด

อย่างหนึ่ง. บทว่า เปกฺข ได้แก่ มหรสพมีการรำเป็นต้น. บทว่า อกฺขาน

การเล่านิยาย คือเล่าเรื่องภารตะและรามายณะเป็นต้น (เรื่องรามเกียรติ์)

ภิกษุไม่ควรไปในที่ที่เขาเล่านิยายกัน. บทว่า ปาณิสฺสร คือ เพลงปรบมือ.

บทว่า เวตาฬ คือ ฆ้อง. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า การร่ายมนต์บนร่าง

ของผู้ตาย. บทว่า กุมฺภถูน ระนาด คือการตีบนราง ๔ เหลี่ยม. บทว่า

โสภนครก คือ หนัง. ท่านอธิบายว่า นครงาม คือมีผู้ทำให้วิจิตรด้วย

ความเฉียบแหลม. บทว่า จณฺฑาล เล่นตีคลี. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

กีฬาชักเปลือกไม้ของคนจัณฑาล. บทว่า วส เล่นไต่ราว คือยกไม้ไผ่

ขึ้นเล่น. บทว่า โธวน คือ การเล่นหน้าศพ. ได้ยินว่า ในชนบทบางแห่ง

เมื่อญาติตายเขาไม่เผา ขุดหลุมฝัง. ญาติรู้เวลาที่ผู้ตายนั้นจะเน่า จึงนำ

ออกแล้วล้างกระดูกเอาของหอมทาเก็บไว้. ครั้นถึงวันนักขัตฤกษ์ พวก

ญาติตั้งกระดูกไว้ในที่หนึ่ง ตั้งสุราเป็นต้นไว้ในที่หนึ่ง แล้วพากันร้องไห้

คร่ำครวญไป ดื่มสุราไป. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ในทักขิณาชนบทมีตำบลหนึ่งชื่อโธวนะ ทำตำบลนั้นมีข้าวน้ำ

ลงเคี้ยว ของบริโภค ของลิ้มมากมาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตำบลโธวนะ

นั้นยังมีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี ดังนี้. แต่อาจารย์บางพวกกล่าว การล้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 398

กระดูกด้วยการเล่นกล ชื่อโธวนะ. ในการยุทธหัตถีเป็นต้น ภิกษุไม่ควร

รบด้วยช้างเป็นต้น ไม่ควรให้เขารบกัน ไม่ควรดูเขารบกัน.

บทว่า นิพฺพุทฺธ คือ มวยปล้ำ. บทว่า เสนาพฺยูห การจัดกระบวน

ทัพ คือค่ายทหารที่พักนักรบ มีกองทัพเกวียนเป็นต้น. บทว่า อนีกทสฺสน

กองทัพ คือดูกองทัพที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า กองทัพช้างมีช้าง ๓

เชือกเป็นที่สุด.

บทว่า น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ ภิกษุไม่ถือนิมิต คือไม่ถือนิมิตดังที่

กล่าวแล้วด้วยอำนาจฉันทราคะ. แม้บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม

กับที่กล่าวแล้ว. อนึ่ง ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังว่า เมื่อความเป็นผู้ทุศีล

เกิดขึ้นแล้วในชวนะจิต เมื่อไม่มีความสำรวม แม้ทวารก็เป็นอันคุ้มครอง

ไม่ได้ แม้ภวังคจิต แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็คุ้มครองไม่ได้ฉันใด

ในที่นี้ก็ฉันนั้น เมื่อศีลเกิดขึ้นแล้วในภิกษุนั้น แม้ทวารก็เป็นอันคุ้มครอง

ได้ แม้ภวังคจิตก็เป็นอันคุ้มครองได้ แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นก็คุ้ม-

ครองได้. เหมือนอะไร. เหมือนเมื่อปิดประตูนครแล้ว แม้ภายในเรือน

เป็นต้น ไม่ได้ปิดก็จริง ถึงดังนั้นทรัพย์สินทั้งหมดในภายในนครก็เป็น

อันรักษาดีแล้ว คุ้มครองดีแล้วนั่นเอง เมื่อประตูนครปิดแล้ว โจรทั้ง

หลายก็เข้าไปไม่ได้ฉันใด เมื่อศีลเป็นต้นเกิดแล้วในชวนะจิต แม้ทวารก็

เป็นอันคุ้มครองได้ แม้ภวังคจิตก็คุ้มครองได้ แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น

ก็คุ้มครองได้. เพราะฉะนั้น ความสำรวมแม้เกิดขึ้นในขณะแห่งชวนะจิต

ท่านก็กล่าวว่า เป็นความสำรวมในจักขุนทรีย์. ต่อจากนี้ทั้งข้างหลังข้าง

หน้าพึงทราบความโดยปริยายที่ท่านกล่าวแล้ว. บทว่า วิสูกทสฺสนา คือ

การดูสิ่งอันเป็นข้าศึกแก่กุศล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 399

บทว่า คามกถา คือ คำพูดของชาวบ้าน. บทว่า พตฺตึส คือ ๓๒.

คำพูดอันเป็นเครื่องปิดกั้นทางไปสวรรค์และทางแห่งความหลุดพ้น ชื่อว่า

ติรัจฉานกถา เพราะเป็นคำพูดที่ไม่นำสัตว์ออกไป. ในคามกถาเหล่านั้น

คำพูดที่ปรารภพระราชาเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า พระมหาสมมตราช พระ-

เจ้ามันธาตุราช พระเจ้าธรรมาโศกราช มีอานุภาพอย่างนี้ ๆ ชื่อว่า ราชกถา

พูดเรื่องพระราชา. ใน โจรกถา (พูดเรื่องโจร) เป็นต้นก็มีนัยนี้. ใน

คามกถา เหล่านี้ คำพูดอาศัยเคหะโดยนัยมีอาทิว่า พระราชาพระองค์โน้น

มีพระโฉมงามน่าชม ดังนี้ เป็น ติรัจฉานกถา. อนึ่ง คำพูดที่เป็นไปอย่าง

นี้ว่า แม้พระราชาพระองค์นั้นมีอานุภาพมากถึงอย่างนี้ก็ยังสวรรคต ชื่อว่า

ตั้งอยู่ในความเป็นกรรมฐาน. แม้ในพวกโจรคำพูดอาศัยเคหะว่า อัศจรรย์

โจรผู้กล้าหาญทั้งหลายอาศัยการกระทำของพวกโจร ว่ามูลเทพ มีอานุภาพ

มากอย่างนี้ เมฆมาล มีอานุภาพมากอย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ติรัจฉานกถา.

แม้ในการรบคำพูดด้วยความชอบใจในเรื่องภารตยุทธ์เป็นต้นว่า ทหารชื่อ

โน้นถูกทหารชื่อโน้นฆ่าอย่างนี้ ถูกแทงอย่างนี้ ก็ชื่อว่า ติรัจฉานกถา.

ส่วนคำพูดที่เป็นไปอย่างนี้ว่า แม้คนนั้นก็ยังตาย ดังนี้ ย่อมเป็นกรรมฐาน

ในที่ทั้งหมด.

อีกอย่างหนึ่งในอาหารมีข้าวเป็นต้น ไม่ควรพูดด้วยความชอบใจ

ในกามว่า เราเคี้ยว กิน ดื่มบริโภค อาหารมีสี มีกลิ่น มีรส ถึงพร้อม

ด้วยผัสสะ อย่างนี้ ดังนี้. อนึ่ง ควรทำให้ประกอบด้วยประโยชน์แล้วพูด

ว่า เมื่อก่อน เราได้ถวายข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน ดอกไม้กลิ่นหอมอัน

สมบูรณ์ด้วยสีเป็นต้นอย่างนี้ แก่ท่านผู้มีศีลทั้งหลาย เราได้กระทำการ

บูชาพระเจดีย์ ดังนี้. แม้ใน ญาติกถา (พูดเรื่องญาติ) เป็นต้น ก็ไม่

ควรพูดด้วยความชอบใจว่า ญาติของเราเป็นผู้สามารถ หรือเมื่อก่อนเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 400

ได้เที่ยวไปด้วยยานอันวิจิตรอย่างนี้ ดังนี้. อนึ่ง ควรพูดว่าญาติทั้งหลาย

ได้ทำแต่สิ่งที่มีประโยชน์ไว้ แม้ญาติทั้งหลายของเราก็ตายเสียแล้ว หรือ

เมื่อก่อนเราได้ถวายรองเท้าอย่างนี้แก่สงฆ์. แม้ในคามกถา (คำพูดของ

ชาวบ้าน) เป็นต้น ก็ไม่ควรพูดด้วยความชอบใจอย่างนี้ว่า พวกที่อยู่

บ้านโน้นเป็นคนกล้า มีความสามารถด้วยการมีหลักฐานดี ยากจน

หากินง่าย หากินลำบาก ดังนี้. ควรพูดว่า คนนั้นทำสิ่งมีประโยชน์มี

ศรัทธา เลื่อมใส หรือคนนั้นได้ตายเสียแล้ว แม้ในนิคมกถา (พูดเรื่อง

นิคม) นครกถา (พูดเรื่องนคร) ชนนพกถา (พูดเรื่องชนบท) ก็มีนัยนี้

เหมือนกัน. แม้อิตถีกถา (พูดเรื่องสตรี) ก็ไม่ควรพูดด้วยความชอบใจ

เกี่ยวกับผิวและรูปร่างเป็นต้น. ควรพูดอย่างนี้อย่างเดียวว่า หญิงผู้มี

ศรัทธาเลื่อมใสได้ตายเสียแล้ว . แม้ สูรกถา (พูดเรื่องคนกล้า) ก็ไม่ควร

พูดด้วยความชอบใจว่า นักรบชื่อว่านันทิมิตรเป็นคนกล้า. ควรพูดอย่าง

นี้อย่างเดียวว่า นักรบผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้ตายเสียแล้ว ดังนี้. แม้วิสิขา-

กถา (พูดเรื่องตรอก) ก็ไม่ควรพูดด้วยความพอใจว่า ตรอกโน้นเรียบ

ไม่เรียบ. แม้สุรกถา (พูดเรื่องคนกล้า) ก็ไม่ควรพูดด้วยความพอใจว่า

คนโน้นเป็นผู้กล้าเป็นผู้สามารถ ดังนี้. ควรพูดได้อย่างเดียวว่า คนกล้าที่มี

ศรัทธาเลื่อมใสได้ตายไปเสียแล้ว ดังนี้. บทว่า กุมฺภฏฺานกถา (พูด

เรื่องท่าน้ำ) ท่านกล่าวว่า อุทกติฏฺกถา บ้าง ได้แก่ กุมฺภทาสีกถา

(พูดเรื่องนางกุมภทาสี). ไม่ควรพูดด้วยความพอใจว่า แม้นางกุมภาสี

นั้น น่าเลื่อมใสเป็นหญิงฉลาดเพื่อฟ้อนรำ เพื่อขับร้อง. ควรพูดโดยนัยมี

อาทิว่า นางกุมภทาสีนั้นเป็นหญิงมีศรัทธาเลื่อมใส. บทว่า ปุพฺพเปตกถา

(พูดเรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว) คือพูดถึงญาติที่ตายไปแล้ว . ในบทนั้นพึง

ทราบวินิจฉัยเช่นเดียวกับพูดถึงญาติที่กำลังเป็นอยู่. บทว่า นานตฺตกถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 401

(พูดเรื่องเบ็ดเตล็ด) คือพูดไรประโยชน์พ้นจากกถาก่อนและกถาหลัง ที่

เหลือมีสภาพต่าง ๆ กัน. บทว่า โลกกฺขายิกา (พูดเรื่องโลก) คือพูดให้

ชาวโลกหลงเชื่อมีอาทิอย่างนี้ว่า โลกนี้ใครสร้าง คนโน้นสร้าง กามีสีขาว

เพราะกระดูกขาว นกยางโทนมีสีแดง เพราะเลือดแดง. สมุทฺทกฺขายิกา

(พูดเรื่องทะเล) เพราะเหตุไรจึงชื่อว่า สมุทฺทกฺขายิกา. การพูดเรื่อง

สมุทรมีอาทิอย่างนี้ว่า ชื่อว่าสาครเพราะเทพเจ้าประจำสาครขุด ชื่อสมุทร

เพราะประกาศให้รู้ด้วยการชี้นิ้วว่า สาครเราขุด. บทว่า ภโว คือ ความเจริญ.

บทว่า อภโว คือ ความเสื่อม. การพูดถึงเหตุอันไรประโยชน์ธรรมดา ๆ ว่า

ความเจริญเป็นอย่างนี้ ความเสื่อมเป็นอย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่า อิติภวาภวกถา

(พูดเรื่องความเจริญ และความเสื่อม). บทว่า อาวเรยฺย พึงป้องกัน คือ

พึงทำการป้องกัน. บทว่า นิวาเรยฺย พึงห้าม คือพึงกั้นจากอารมณ์.

บทว่า สนฺนิวาเรยฺย พึงสกัดกั้น คือพึงกั้นทำให้ไม่มีเหลือโดยชอบ.

บทว่า รกฺเขขฺย พึงรักษา คือพึงทำการรักษา. บทว่า โคเปยฺย พึง

คุ้มครอง คือพึงคุ้มครองเสมอ. บทว่า ปิทเหยฺย พึงปิด คือพึงทำการ

ปิด. บทว่า ปจฺฉินฺเทยฺย พึงตัดขาด คือพึงตัดกระแสคือตัณหา. บทว่า

เตน เตน น ตุสฺสิ ไม่พอใจด้วยรสนั้น ๆ คือไม่พอใจด้วยรสมีรส

เปรี้ยวเป็นต้นนั้น ๆ. บทว่า อปราปร ปริเยสนฺติ ย่อมเที่ยวแสวงหารส

อื่น ๆ คือย่อมแสวงหารสสูง ๆ ขึ้นไป.

บทว่า ผสฺเสน ได้แก่ ผัสสะคือโรค. บทว่า ภวญฺจ นาภิชปฺเปยฺย

ไม่พึงปรารถนาภพ คือไม่พึงปรารถนาภพมีกามภพเป็นต้น เพื่อบรรเทา

ผัสสะนั้น. บทว่า เภรเวสุ จ น สมฺปเวเธยฺย ไม่พึงหวั่นในเพราะ

ความขลาดกลัว คือไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความขลาดกลัว มีราชสีห์และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 402

เสือโคร่งเป็นต้น อันเป็นปัจจัยแห่งผัสสะนั้น. หรือไม่พึงหวั่นไหวใน

อารมณ์ อันเป็นวิสัยแห่งฆานินทรีย์และมนินทรีย์ที่เหลือ. ด้วยประการ

ฉะนี้ เป็นอันท่านกล่าวถึงความสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงความสำรวมอินทรีย์ด้วยบทก่อนแล้ว ด้วยบทนี้จึงทรงแสดง

ว่า อันภิกษุผู้อยู่ในป่า ได้เห็นหรือได้ยินสิ่งที่น่ากลัว ไม่พึงหวั่นไหวดังนี้.

บทว่า เอเกนากาเรน คือ ด้วยเหตุอย่างเดียวกัน บทว่า ภยมฺปิ

เภรวมฺปิ ตญฺเว ภัยก็ดี ความขลาดกลัวก็ดีนั้นแล คือภัยก็ดีความขลาด-

กลัวก็ดี ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ก็เป็นนิมิตแห่งความหวาดสะดุ้งเหมือนกัน. เพื่อ

แสดงความนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า วุตฺตญฺเหต สมจริงดังที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้. บทว่า ภย คือ ภัยเกิดขึ้นเพราะความขลาดกลัวเป็น-

เหตุ. บทว่า ภยานก แสดงถึงอาการ คือกิริยาที่กลัว. บทว่า ฉมฺภิตตฺต

ความหวาดหวั่น คือมีกายหวั่นไหวด้วยอำนาจความกลัว. บทว่า โลมหโส

ความเป็นผู้มีขนลุก คือขนลุกชัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นแสดงภัยโดย

กิจด้วยบททั้งสองนี้แล้ว ทรงแสดงโดยสภาวะอีกว่า ความหวาดเสียว ความ

สะดุ้งแห่งจิต. บทว่า อุพฺเพโค ความหวาดเสียว คือความขลาด. บทว่า

อุตฺราโส ความสะดุ้ง คือความกำเริบแห่งจิต. บทว่า ชาติภย ภัยแต่

ชาติ คือภัยเกิดขึ้นเพราะอาศัยชาติ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ภัยเกิดแด่พระราชา ชื่อ ราชภัย. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อตฺตานุวาทภย ภัยแต่การติเตียนตน คือภัยเกิดแต่การติเตียนตน

ผู้ทำกรรมชั่ว. บทว่า ปรานุวาทภย คือ ภัยเกิดแต่การติเตียนของผู้อื่น.

บทว่า ทณฺฑภย ภัยแต่อาชญา คือภัยเกิดขึ้นเพราะอาศัยพระราช-

อาชญาหรือโทษทางวินัยของนักบวช. บทว่า ทุคฺคติภย ภัยแต่ทุคติ คือภัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 403

เกิดขึ้นเพราะอาศัยอบาย ๔. บทว่า อูมิภย ภัยแต่คลื่น คือภัยเกิดแก่

ผู้ลงน้ำในมหาสมุทร. นัยว่า ในมหาสมุทรมีคลื่นชื่อมหินทะผุดพลุ่งขึ้น

ประมาณ ๕๐ โยชน์ คลื่นซึ่งว่าโรหิณี ผุดพลุ่งขึ้นประมาณ ๔๐ โยชน์

ภัยเกิดเพราะอาศัยคลื่นชื่อว่า อูมิภัย. ภัยเกิดจากจระเข้ ชื่อว่า กุมภีลภัย

ภัยแต่จระเข้. ภัยแต่วังวน ชื่อว่า อาวัฏฏภัย. ปลาดุเรียกว่า สุสุกา

ภัยแต่ปลาดุนั้น ชื่อว่า สุงสุกาภัย. บทว่า อาชีวกภย ภัยแต่การเลี้ยงชีพ

ชื่อว่า อาชีวกภัย. บทว่า อสิโลกภย คือ ภัยแต่ความติเตียน.

บทว่า ลทฺธา น สนฺธึ กยิรา ได้แล้วไม่ควรทำการสะสม คือได้

อย่างใดอย่างหนึ่งบรรดาข้าวเป็นต้นเหล่านั้นแล้ว ไม่ควรคิดว่า อันภิกษุ

ผู้อยู่ในป่าหาได้ยากแล้วทำการสะสม. บทว่า โอทโน ได้แก่ ข้าวสุกเกิด

จากข้าวสารของข้าวเปลือก และอนุโลมด้วยข้าวเปลือก ๗ อย่าง คือข้าว

สาลี ๑ ข้าวเปลือก ๑ ข้าวเหนียว ๑ ข้าวละมาน ๑ ข้าวฟ่าง ๑ ลูกเดือย ๑

หญ้ากับแก้ ๑. บทว่า กุมฺมาโส ขนมกุมมาส คือเกิดจากข้าวเหนียว.

บทว่า สตฺตุ ข้าวสัตตู คือข้าวสัตตุทำด้วยข้าวสาลีเป็นต้น . สัตว์เกิดใน

น้ำ ชื่อว่าปลา. เนื้อความชัดอยู่แล้ว. บทว่า อมฺพปาน น้ำผลมะม่วง

ได้แก่น้ำที่ทำด้วยผลมะม่วงดิบหรือสุก. เมื่อจะทำด้วยผลดิบ ควรผ่าผล

มะม่วงอ่อนแล้วแช่น้ำผึ่งแดด กรองผสมกับน้ำผึ้ง น้ำตาลกรวดและ

การบูรเป็นต้นทำปานะ. บทว่า ชมฺพุปาน คือ น้ำทำด้วยผลหว้า. บทว่า

โจจปาน คือ น้ำทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด. บทว่า โมจปาน คือ น้ำทำด้วย

ผลกล้วยไม่มีเมล็ด. บทว่า มธุกปาน น้ำผลมะซาง คือน้ำทำด้วยรสชาติ

แห่งผลมะซาง. อนึ่ง น้ำผลมะซางนั้นควรผสมน้ำ ล้วน ๆ ไม่ควร.

บทว่า มุทฺทิกปาน น้ำผลจันทน์ คือน้ำที่ขยำผลจันทน์ลงในน้ำ แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 404

ทำเหมือนน้ำผลมะม่วง. บทว่า สาลุภปาน น้ำรากบัว คือน้ำที่ทำขยำ

รากบัวของบัวแดงและบัวเขียวเป็นต้น. บทว่า ผารุสกปาน น้ำผลลิ้นจี่

คือน้ำที่ทำด้วยผลลิ้นจี่ดุจน้ำผลมะม่วง. บทว่า โกสมฺพปาน คือ น้ำทำ

ด้วยผลสะคร้อ. บทว่า โกลปาน คือ น้ำทำด้วยผลกระเบา. บทว่า

พทรปาน น้ำผลพุทรา คือนำทำด้วยผลพุทราลูกใหญ่ เหมือนน้ำผล

มะม่วง. ปานะ ๑๑ อย่างเหล่านี้ เย็นบ้าง สุกด้วยแสงอาทิตย์บ้างก็ควร.

บทว่า ฆฏปาน ปานะที่ทำด้วยเปรียง ได้แก่ น้ำเนยใส. บทว่า เตลปาน

น้ำมัน ได้แก่ น้ำมันงาเป็นต้น. บทว่า ปโยปาน ได้แก่ น้ำนม.

บทว่า ยาคุปาน น้ำข้าวยาคู คือนำข้าวยาตูมีรสเปรี้ยวเป็นต้น. บทว่า

รสปาน คือ ปานะที่ทำด้วยรสมีรสผักเป็นต้น. บทว่า ปิฏฺขชฺชก ของ

ควรเคี้ยวทำด้วยแป้ง คือของควรเคี้ยวทำด้วยแป้งมีอาทิอย่างนี้ คือแป้ง

ขนุน แป้งขนุนสำมะลอ แป้งมะกอก แป้งเมล็ดผักกาดและแป้งเถาน้ำนม.

ปูวขัชชกะ แม้ของควรเคี้ยวที่ทำเป็นขนม ก็ทำด้วยแป้งเหล่านี้เหมือน

หัน. บทว่า มูลขชฺชก ของควรเคี้ยวทำด้วยเหง้าไม้ มีอาทิอย่างนี้คือ

เหง้าเผือก เหง้าไม้ช้างน้าว เหง้ามัน. บทว่า ตจขชฺชก ของควรเคี้ยว

ทำด้วยเปลือกไม้ มีเปลือกอ้อยเป็นต้น. บทว่า ปตฺตขชฺชก ของควร

เคี้ยวทำด้วยใบไม้ มีใบสะเดา ใบมวกเหล็ก ใบกระดอม และใบอัญชัน

เขียวเป็นต้น. บทว่า ปุปฺผขชฺชก ของเคี้ยวทำด้วยดอกไม้ มีดอกเผือก

ดอกไม้ช้างน้าว กุ่มขาว มะรุม อุบลและปทุมเป็นต้น. บทว่า ผลขชฺชก

ของเคี้ยวทำด้วยผลไม้มีขนุน ขนุนสำมะลอ มะพร้าว มะกอก มะขาม

มะงั่ว มะขวิด น้ำเต้า ฟักผลขาว มะพลับ แตงกวา มะเขือ กล้วยมี

เมล็ด กล้วยไม่มีเมล็ด เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 405

บทว่า น กุหนาย มิใช่ได้ด้วยความโกหก คือมิใช่ได้ด้วยความ

พิศวง. บทว่า น ลปนาย ไม่ใช่ได้ด้วยความพูดเลียบเคียงเพื่อปัจจัย

คือมิใช่เห็นพวกมนุษย์มาวิหารแล้วพูดเลียบเคียงอย่างนี้ว่า พวกท่านมา

เพื่ออะไร มาเพื่อนิมนต์ภิกษุหรือ ผิว่าอย่างนั้นพวกท่านกลับไปก่อน

อาตมาจะตามไปทีหลัง. อีกอย่างหนึ่งมิใช่จะแน่ะนำตน แล้วพูดเลียบเคียง

อย่างนี้ว่า อาตมาชื่อติสสะ พระราชาทรงเลื่อมใสในอาตมา มหาอำมาตย์

ของพระราชาชื่อโน้น ๆ ก็เลื่อมใสในอาตมา ดังนี้. บทว่า น เนมิตฺติ-

กตาย คือมิใช่ได้ด้วยทำนิมิตทางกายและวาจาอย่างใดอย่างหนึ่งแก่คนอื่น

ให้เกิดความรู้สึกจะถวายปัจจัย. บทว่า น นิปฺเปสิกตาย มิใช่ได้ด้วยกำจัด

คุณเขา คือแสดงกิริยามีการด่าผู้อื่นเป็นต้น ชื่อว่ากำจัดครอบงำคุณของ

ผู้อื่นอย่างไม่มีดี ดุจไม้ไผ่ชิ้นเล็กๆ. อีกอย่างหนึ่ง เพราะการบดขยี้คุณของ

ผู้อื่นให้แหลกรานแล้วแสวงหาลาภ ดุจบดคันธชาตแล้วหากลิ่นหอมฉะนั้น

ดังนั้นท่านจึงเรียกว่า นิปฺเปสิกตา กำจัดคุณเขา. มิใช่ได้ด้วยกำจัดคุณเขา

เห็นปานฉะนี้. บทว่า นิชิคึสนตา ในบทว่า น ลาเภน ลาภ นิชิคุสนตาย

มิใช่ได้ด้วยแสวงหาลาภด้วยลาภนี้ คือการแสวงหา. การแสวงหาลาภด้วย

ด้วยการนำลาภที่ได้แล้วจากที่อื่นไปแลกเปลี่ยนในที่อื่น. มิใช่ได้ด้วยการ

แสวงหาลาภด้วยลาภเห็นปานฉะนี้. บทว่า น ทารุทาเนน มิใช่ได้ด้วยการ

ให้ไม้จริง คือมิใช่ได้ด้วยการให้ไม้จริงอันเป็นเหตุเป็นปัจจัย. จริงอยู่ ไม่

ควรให้ไม้จริงที่ขึ้นในวิหาร หรือที่นำมาจากที่อื่นแล้วรักษาคุ้มครองไว้

แก่อุปัฏฐากทั้งหลายด้วยคิดว่า อุปัฏฐากเหล่านั้นจักให้ปัจจัยแก่เราด้วย

อาการอย่างนี้. เพราะเมื่อภิกษุสำเร็จชีวิตอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นอยู่โดยมิจฉา-

ชีพ การแสวงหาที่ไม่สมควร. ภิกษุนั้นย่อมได้รับความติเตียนในปัจจุบัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 406

และจะต้องจมอยู่ในอบายในภพหน้า. ภิกษุให้ไม้จริงอันเป็นส่วนของตน

เพื่อสงเคราะห์ตระกูล ย่อมต้องอาบัติทุกกฏ ชื่อว่า กุลทูสกะ ให้ของ

คนอื่นด้วยไถยจิตถูกปรับเป็นภัณฑไทย. แม้ในของสงฆ์ก็มีนัยนี้เหมือนกัน

แต่ถ้าให้ของนั้นเพราะคนเป็นผู้มีอำนาจ ย่อมต้องอาบัติข้อสละครุภัณฑ์.

ก็ไม้จริงอย่างไหนเป็นครุภัณฑ์ อย่างไหนไม่เป็นครุภัณฑ์. ไม้ที่ไม่ได้

ปลูกไว้ก่อน เกิดเองในที่ที่สงฆ์กำหนดเขตไว้นั้นแลเป็นครุภัณฑ์. นอก

จากนั้นไม่เป็นครุภัณฑ์. ไม้ในที่ที่ปลูกไว้ก็เป็นครุภัณฑ์ทั้งหมด. ไม้มี

ประมาณเท่าเล่นเข็มโดยประมาณก็เป็นครุภัณฑ์.

แม้ในบททั้งหลายมีอาทิว่า น เวฬุทาเนน มิใช่ได้ด้วยให้ไม้ไผ่

พึงทราบบททั้งปวงมีอาทิว่า ไม่ใช่ได้ด้วยการให้ไม้ไผ่อันเป็นเหตุเป็น

ปัจจัยโดยนัยที่กล่าวแล้ว ในบทนี้ว่า น ทารุทาเนน ดังนี้. อนึ่ง ไม้ไผ่

มีประมาณเท่าหลอดน้ำมันโดยประมาณเป็นครุภัณฑ์ ต่ำกว่านั้นไม่เป็น

มนุษย์ทั้งหลายไปวิหารขอไม้ไผ่. ภิกษุให้ไม่ได้เพราะเป็นของสงฆ์. มนุษย์

ทั้งหลายอ้อนวอนหรือแค่นไค้บ่อยๆ ภิกษุทั้งหลายควรพูดว่า พวกท่าน

ทำทัณฑกรรมแล้วถือเอาเถิด. ไม่มีการให้ไม้ไผ่. หากมนุษย์ทั้งหลาย

เหล่านั้นถวายมีดและขวานเป็นต้น หรือของเคี้ยวของฉันก็ไม่ควรรับ . แต่

ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาวินัยว่า มนุษย์ถูกไฟเผาเรือน ถือเอาไปไม่ควร

ห้าม หากจอมปลวกเกิดที่กอไผ่ของสงฆ์ เมื่อไม่ทำลายจอมปลวกนั้น ไม้

ไผ่จะเสียหาย ควรทำอย่างไร. ควรบอกพวกมนุษย์ในเวลาออกบิณฑบาต.

หากพวกมนุษย์ไม่ปรารถนาจะทำลาย ควรกล่าวว่า พวกท่านจักทำให้

พื้นเสมอกันได้ไหม. พวกมนุษย์ก็ไม่ปรารถนาอยู่นั่นเอง ควรบอกว่า

พวกท่านจักได้สองส่วน. แม้อย่างนี้พวกมนุษย์ก็ยังไม่ปรารถนาอยู่อีก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 407

ควรกล่าวว่า ไม่มีประโยชน์ที่ทำให้เสียหาย เมื่อพวกท่านมีเวลาพวกท่าน

จักทำฑัณฑกรรม ทำลายแล้วเอาไปเถิด. ไม่มีการให้ไม้ไผ่. แม้เมื่อกอไผ่

ถูกไฟไหม้ แม้ไม้ไผ่ที่ลอยน้ำมาก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

พึงทราบวินิจฉัยนี้ในการให้ใบไม้ เพราะเป็นครุภัณฑ์ต่อไป.

ก็ในที่ใดเขาขายใบไม้กัน ผู้ต้องการกลิ่นเอาไปเพื่ออบกลิ่นเป็นต้น

ในที่ที่หายากเช่นนั้น ใบไม้ก็เป็นครุภัณฑ์. พึงทราบวินิจฉัยในใบทอง-

กวาวและใบตาลใช้เป็นเครื่องประดับหูเป็นต้นก่อน. แม้ใบตาลก็ควร

กล่าวไว้ในที่นี้เหมือนกัน. เพราะใบตาลในป่าตาลที่เกิดขึ้นเอง ก็เป็น

ครุภัณฑ์ในที่ที่สงฆ์กำหนดเขตไว้เหมือนกัน. ออกจากนั้นไม่เป็น. ใบ

ตาลที่ปลูกแม้ทั้งหมดก็เป็นครุภัณฑ์. ใบลานเปล่าแม้ประมาณ ๘ องคุลี

ในที่สุดเบื้องต่ำ ก็เป็นประมาณของครุภัณฑ์นั้น. แม้หญ้าก็ควรนำมา

กล่าวไว้ในที่นี้เหมือนกัน ก็ในที่ใดไม่มีหญ้า มนุษย์ทั้งหลายก็เอาฟาง

ใบมะพร้าวปกคลุมในที่นั้น. เพราะฉะนั้น แม้ฟางและใบมะพร้าวเหล่านั้น

ก็สงเคราะห์เข้าด้วยหญ้าได้เหมือนกัน. ด้วยเหตุนี้ บรรดาหญ้าปล้อง

ฟางเป็นต้น หญ้าอย่างใดอย่างหนึ่งประมาณกำมือหนึ่ง และบรรดาใบ

มะพร้าวเป็นต้น แม้ใบเดียวที่เขาถวายแก่สงฆ์ก็ดี เกิดเองในที่นั้นก็ดี

หญ้าที่เกิดในพื้นที่ของสงฆ์นอกวัด หญ้าที่สงฆ์รักษาคุ้มครองไว้แล้วก็ดี

ย่อมเป็นครุภัณฑ์. อนึ่ง เมื่อสงฆ์จะทำสังฆกรรมและเจติยกรรม ควรให้

ครุภัณฑ์นั้นในบุคลิกกรรม (ส่วนบุคคล) ดีกว่า. แม้ในไม้จริงและไม้ไผ่

ที่ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังก็มีนัยเหมือนกัน.

พึงทราบวินิจฉัยในการให้ดอกไม้ดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 408

ดอกไม้ที่กำหนดไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย จงสละดอกไม้ใน

ต้นไม้ประมาณเท่านี้ แล้วนำเข้าไปเพื่อข้าวยาคูและภัตร ในต้นไม้ประ-

มาณเท่านี้จงนำเข้าไปในการปฏิสังขรณ์เสนาสนะดังนี้ ย่อมเป็นครุภัณฑ์.

ผิว่า สามเณรทั้งหลายเก็บดอกไม้แล้วทำให้เป็นกองไว้ ภิกษุผู้แบ่งดอกไม้

ประกอบด้วยองค์ ๕ นับสงฆ์แล้วทำให้เป็นส่วน ๆ ภิกษุนั้นย่อมได้

เพื่อที่จะไม่ต้องบอกสงฆ์ในที่ประชุมแล้วให้. ส่วนภิกษุที่ยังไม้ได้รับ

สมมติ ควรบอกก่อนแล้วจึงให้. ก็ภิกษุย่อมได้เพื่อจะให้ดอกไม่แก่ใคร

ไม่ได้เพื่อจะให้แก่ใคร. ภิกษุแม้ไปเรือนมารดาบิดา เรียกมารดาบิดา

ออกจากเรือนแล้วกล่าวว่า โยมจงเอาไปบูชาพระ ดังนี้ ย่อมได้เพื่อจะให้

ย่อมไม่ได้ เพื่อเอาไปประดับศิวลึงค์ อนึ่ง ไม่ควรนำไปใหญ่ญาติที่เหลือ

ควรเรียกมาแล้วจึงให้เพื่อเอาไปบูชาพระ. เมื่อชนที่เหลือไปพร้อมกันยังที่

บูชา คนที่ไม่หวังจะได้ก็ควรให้. ไม่มีการให้ดอกไม้. ดอกไม้ในวิหาร

บานมาก. ภิกษุผู้ไปเที่ยวบิณฑบาตเห็นมนุษย์ทั้งหลายพึงกล่าวว่า พวก

ท่านจงบูชาดอกไม้เป็นอันมากในวิหารเถิด. เพียงพูดไม่มีโทษ. แต่ไม่

ควรพูดด้วยคิดว่า พวกมนุษย์จักถือเอาของเคี้ยวของบริโภคมาถวาย. หาก

ภิกษุพูด ไม่ควรฉันของเคี้ยวของฉัน. พวกมนุษย์ถามว่า ดอกไม้ในวิหาร

ยังมีตามธรรมดาหรือ แล้วกล่าวว่า ในวันโน้นพวกข้าพเจ้าจักมาวิหาร

พระคุณเจ้าทั้งหลายอย่าให้สามเณรเก็บดอกไม้เลย. ภิกษุลืมบอกสามเณร.

สามเณรพากันเก็บดอกไม้. พวกมนุษย์เข้าไปหาภิกษุกล่าวว่า ในวันโน้น

พวกข้าพเจ้าได้เรียนพระคุณเจ้าทั้งหลายว่า อย่าให้สามเณรเก็บดอกไม้

ทำไมพระคุณเจ้าไม่ห้ามเหล่า. ควรกล่าวว่า อาตมาลืมไป ดอกไม้เพียง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 409

เก็บเท่านั้น ยังไม่ได้ทำการบูชาเลย. ไม่ควรกล่าวว่า พวกท่านเอาไป

บูชากันเถิด หากภิกษุพูด ไม่ควรฉันอาหาร. ภิกษุอีกรูปหนึ่งบอกแก

สามเณรทั้งหลายว่า ชาวบ้านโน้นพูดว่า อย่าเก็บดอกไม้ แม้มนุษย์

ทั้งหลายก็นำอาหารมาถวายท่านแล้วกล่าวว่า พวกมนุษย์ของพวกกระผม

ไม่มาก ขอพระคุณเจ้าโปรดสั่งให้สามเณรทั้งหลายเก็บดอกไม้กับพวก

กระผมเถิด, ควรกล่าวว่า อุบาสก พวกสามเณรได้ภิกษาแล้ว พวกที่

ไม่ไปบิณฑบาตอุบาสกจักรู้ด้วยตนเอง ดังนี้. ได้นัยเพียงเท่านี้ แล้วทำ

สามเณรผู้เป็นบุตรหรือเป็นพี่น้องชายให้เก็บดอกไม้ ไม่มีโทษ. ไม่มีการ

ให้ดอกไม้.

พึงทราบวินิจฉัยการให้ผลไม้ดังนี้. แม้ผลไม้ที่กำหนดไว้เหมือน

ดอกไม้ ก็เป็นครุภัณฑ์. เมื่อมีผลาผลมากในวิหาร พวกมนุษย์ไม่มีความ

สบายพากันมาขอ ภิกษุให้ไม่ได้เพราะเป็นของสงฆ์ พวกมนุษย์เดือดร้อน

พากันแช่งด่า ควรทำอย่างไรในเรื่องนั้น. ควรกำหนดผลไม้หรือต้นไม้

แล้วทำกติกาว่า ในต้นไม้ต้นโน้น ๆ ถือเอาผลไม้ได้ประมาณเท่านี้ หรือ

ในต้นไม้ประมาณเท่านี้ถือเอาผลไม้ได้ไม่ควรห้าม. พวกโจรหรืออิสรชน

ถือเอาด้วยพลการไม่ควรห้าม. เพราะพวกนั้นโกรธ แม้วิหารทั้งสิ้นก็จะ

เสียหาย. แต่ควรกล่าวถึงความผิด.

พึงทราบวินิจฉัยในการให้เครื่องอาบน้ำดังต่อไปนี้. จุณที่ใช้อาบน้ำ

บดแล้วไม่เป็นครุภัณฑ์. เปลือกไม้ที่อยู่ในต้นไม้เป็นครุภัณฑ์. แต่จุณ

สำหรับใช้ย้อมควรแก่ภิกษุไม่เป็นไข้. จุณอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมควรแก่

ภิกษุไข้ทั้งนั้น. มิใช่ได้ด้วยการให้จุณไม้ซึกเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วใน

บทว่า น จุณฺณทาเนน มิใช่ได้ด้วยการให้จุณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 410

พึงทราบวินิจฉัยการให้ดินเหนียวดังนี้. ก็ในที่ใดหาดินเหนียว

ได้ยาก ดินเหนียวในที่นั้นแลเป็นครุภัณฑ์. แม้ดินเหนียวนั้นอย่างต่ำที่สุด

มีประมาณเท่าลูกตาลและงบน้ำอ้อย ต่ำกว่านั้นไม่เป็นครุภัณฑ์

พึงทราบวินิจฉัยในการให้ไม้สีฟันดังนี้. ไม้สีฟันที่ยังไม่ได้ตัดเป็น

ครุภัณฑ์. สามเณรเหล่าใดถึงวาระที่จะได้ไม้สีฟันจากสงฆ์ สามเณรเหล่านั้น

จะให้แก่อาจารย์และอุปัชฌาย์ของตนเฉพาะตัวไม่ได้. อนึ่ง สามเณรเหล่า

ใดกำหนดไว้ว่า พึงนำไม้สีฟันมาประมาณเท่านี้ดังนี้ แล้วถือเอาตามวาระ

สามเณรเหล่านั้นจะให้ไม้สีฟันยิ่งกว่านั้นแก่อาจารย์และอุปัชฌาย์ได้. ภิกษุ

รูปเดียวไม่ควรถือเอาไม้สีฟันมาจากต้นไม้ที่ใช้เป็นไม้สีฟัน ควรถือเอาอัน

เดียวเท่านั้นทุก ๆ วัน. แม้ภิกษุอยู่รูปเดียวนับภิกษุสงฆ์แล้วควรถือเอาไม้

สีฟันเท่าที่ถึงแก่ตนเท่านั้น. เมื่อภิกษุทั้งหลายกำลังมาในระหว่างหรือมา

แล้ว ควรหลีกไปสู่ทิศ นำไม้สีฟันมาเก็บไว้ในที่ที่ตนเอาไป. บทว่า

น มุโขทกทาเนน คือ มิใช่ได้ด้วยการให้น้ำล้างหน้า.

ท่านกล่าว จาฏุกมฺยตา ในบทว่า น จาฏุกมฺยตาย มิใช่ได้ด้วย

คำพูดมุ่งให้เขารักตนเป็นต้น คือวางคนไว้ในที่ต่ำดุจเป็นทาส แล้วอ้าง

คำพูดที่ได้พูดพลาดพลั้งแก่คนอื่น กล่าวยกย่องมุ่งให้เขารักคน บทว่า

มุคฺคสูปตาย คือ ด้วยถ้อยคำที่เหลาะแหละ. บทว่า มุคฺคสูปตา นี้ เป็นชื่อ

ของการสำเร็จชีวิตอยู่ได้ด้วยคำพูดเหลาะแหละ. ในบุคคลผู้สำเร็จชีวิตอยู่

ได้ด้วยคำพูดเหลาะแหละ. มีคำพูดเหลาะแหละมาก มีคำพูดจริงน้อย

เหมือนเช่นการต้มแกงถั่ว ถั่วเขียวส่วนมากสุก ส่วนน้อยไม้สุกฉะนั้น.

หรือคนผู้มีปกติพูดถ้อยคำเหลาะแหละ ย่อมไม่มั่นคง เหมือนที่น้ำไม่เข้าสู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 411

ภายในของแกงถั่วฉะนั้น. คนพูดถ้อยคำเหลาะแหละ ย่อมตั้งอยู่ในสาย

ทางที่ตนปรารถนาแล้ว เหมือนทางสี่แพร่งฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น ความที่

บุคคลนั้นพูดเท็จ ท่านจึงเรียกว่า มุคฺคสูปตา ความเป็นผู้มีถ้อยคำเหลาะ-

แหละ เหมือนแกงถั่ว. บทว่า น ปาริภฏฺยตาย มิใช่ได้ด้วยกิริยาประจบเขา

คือมิใช่ได้ด้วยความเป็นบ่าว. การงานของบ่าว ชื่อว่า ปาริภัฏยะ ความ

เป็นผู้ทำการงานเป็นบ่าว ชื่อว่า ปาริภัฏยตา. บทนี้เป็นชื่อของการทำของ

เล่นให้เด็ก ด้วยการทำเครื่องประดับเป็นต้น . บทว่า น ปีมทฺทิกตาย

มิใช่ได้ด้วยความเป็นผู้นั่งบนตั่ง (ความตีสนิทเขา) คือไม่ใช่ได้ด้วยความ

เป็นผู้รีบร้อนเข้าไปเรือนแล้วนั่งบนตั่ง.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า น วตฺถุวิชฺชาย มิใช่ได้ด้วยวิชา

ดูพื้นที่ดังนี้ ตำรารู้ถึงหลักฐานมั่นคงไม่มั่นคง ของชาวบ้าน ชาวนิคม

และชาวเมืองเป็นต้น ชื่อว่า วัตถุวิชชา. วิชาที่เหลือมีศาสตร์ว่าด้วยลักษณะ

และตำราทำนายฝันเป็นต้น อันปิดกั้นทางสวรรค์และทางไปสู่ความหลุด

พ้น เพราะไม่นำสัตว์ออกไปจากทุกข์ได้ ชื่อว่า ติรัจฉานวิชชา. การรู้

ลักษณะความมีบุญไม่มีบุญของหญิงและชาย ชื่อว่า อังควิชชา. ตำรารู้

การประกอบของนักษัตรทั้งหลาย ชื่อว่า นักขัตตวิชชา วิชาดูฤกษ์.

บทว่า น ทูตคมเนน คือ มิใช่ได้ด้วยการเดินเป็นทูต. บทว่า

น ปหิณคมเนน มิใช่ได้ด้วยความเป็นคนรับใช้ คือมิใช่ด้วยการรับสาสน์

ของคฤหัสถ์แล้วออกจากเรือนไปส่งถึงเรือน. บทว่า น ชงฺฆเปสนีเยน

มิใช่ได้ด้วยความเป็นผู้เดินสาสน์ คือมิใช่ได้ด้วยการนำสาสน์และตอบ

สาสน์ของคฤหัสถ์เหล่านั้น ๆ ในละแวกบ้านหรือในละแวกท้องถิ่นเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 412

ชื่อว่า ความเป็นผู้เดินสาสน์นี้ สมควรด้วยการรับสาสน์ของผู้ที่บำรุงมารดา

บิดาของภิกษุนั้น แล้วไปส่งให้แก่มารดาบิดาของตน. การนำสาสน์ของ

ช่างไม้ผู้กระทำการงานแก่เจดีย์ก็ดี แก่สงฆ์ก็ดี แก่ตนก็ดี ควร. มนุษย์

ทั้งหลายกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักให้ทาน ข้าพเจ้าจักทำการบูชา ขอพระคุณ

เจ้าจงแจ้งแก่ภิกษุสงฆ์ ดังนี้. ถวายบิณฑบาต ยา หรือจีวรโดยกล่าวว่า

พระคุณเจ้าจงถวายแก่ภิกษุรูปโน้น มอบดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้

เป็นต้น หรือธงชัยธงแผ่นผ้าเป็นต้นให้ โดยกล่าวว่า พระคุณเจ้าจงทำ

การบูชา ดังนี้. นำไปทั้งหมดควร. ไม่มีการเดินสาสน์. เมื่อภิกษุถือ

สาสน์นอกเหนือไปจากนี้ เป็นอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ ก้าว.

บทว่า น เวชฺชกมฺเมน มิใช่ได้ด้วยเวชกรรม คือมิใช่ได้ด้วยเป็น

แพทย์ปรุงยามียารักษาร่างกายเป็นต้น. แต่ควรปรุงยาแก่สหธรรมิกทั้ง ๕

คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี. เพราะจะไม่ปรุงยา

แก่สหธรรมิกเหล่านั้น ผู้มีศีลศรัทธาและปัญญาเสมอกัน ผู้ประกอบแล้ว

ในไตรสิกขาไม่ได้. จะปรุงยาแม้แก่คนทั้ง ๕ เหล่านี้ คือมารดาบิดา

ผู้บำรุงมารดาบิดา ตนเอง ไวยาจักร ผู้เป็นโรคผอมเหลือง ก็ควร.

อันภิกษุผู้จะปรุงยาให้แก่คน ๑๐ จำพวก แม้เหล่านี้ คือ พี่ชาย น้องชาย

พี่สาว น้องสาว น้าสาว ป้า อา ลุง อาน้องสาวของพ่อ น้า ควร

ถือเอาเภสัชอันเป็นของชนเหล่านั้นปรุงให้อย่างเดียว. หากไม่พอ ควรให้

ตาวกาลิก (ของบริโภคชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง) อันเป็นของตน. เมื่อ

ภิกษุให้นำปัจจัย ๔ มา ให้แก่ชนเหล่านั้น สืบมาตั้งแต่บุตรจนถึง ๗ ชั่ว

ตระกูล ชื่อว่า ไม่ทำวิญญัติ (พูดแกมขอ) เมื่อภิกษุปรุงยาให้แก่คน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 413

เหล่านั้นก็ไม่เป็นเวชกรรม หรือไม่เป็นอาบัติเพราะทำลายตระกูล

(กูลทุสกะ). บทว่า น ปิณฑปฏิปิณฺฑเกน มิใช่ได้ด้วยการให้ก้อนข้าว

ตอบแทน. ก้อนข้าวในบทนี้ ควรให้แก่ใคร ไม่ควรให้แก่ใคร. ควรให้แก่

มารดาบิดา ผู้บำรุงมารดาบิดา ไวยาวัจกร คนเป็นโรคผอมเหลือง

โจรทามริกะมาประจันหน้า (โจรขบถ) แม้แก่อิสรชน. แม้ให้แก่ชนเหล่านี้

แล้วกลับได้ในภายหลัง ก็ไม่เป็น ปิณฺฑปฏิปิณฺฑ ให้ก้อนข้าวตอบแทน.

บทว่า น ทานานุปฺปทาเนน มิใช่ได้ด้วยการให้และการเพิ่มให้ คือมิใช่ได้

ด้วยการให้ตอบแก่คนที่ให้แก่ตน. บทว่า ธมฺเมน คือ เกิดขึ้นโดยธรรม.

บทว่า สเมน โดยเสมอ คือโดยกายสุจริตเป็นต้น. บทว่า ลทฺธา ได้

แล้ว คือได้แล้วทางกาย. บทว่า ลภิตฺวา รับแล้ว คือถึงแล้วทางใจ.

บทว่า อธิคนฺตฺวา ได้มาแล้ว คือถึงพร้อมแล้ว. บทว่า วินฺทิตฺวา

ประสบแล้ว คือประสบแล้วด้วยญาณ. บทว่า ปฏิลภิตฺวา ได้เฉพาะแล้ว

คือได้บ่อย ๆ.

ในบทว่า อนฺนสนฺนิธึ การสะสมข้าวนี้ พึงทราบกถาสองอย่าง คือ

โดยทางวินัย และโดยทางขัดเกลากิเลส. พึงทราบโดยทางวินัยก่อน ข้าว

อย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้รับในวันนี้ ทำการสะสมไว้ในวันอื่นอีก ต้องอาบัติ

ปาจิตตีย์ในเพราะฉันข้าวนั้น. แต่ให้ข้าวที่ตนได้แก่สามเณรทั้งหลาย แล้ว

เก็บข้าวที่สามเณรเหล่านั้นได้ไว้ฉันในวันที่สอง ควร, แต่ไม่เป็นการขัด

เกลากิเลส. แม้ในการสะสมน้ำดื่มก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ชื่อว่า ปานะ ใน

บทนี้ ปานะ ๘ อย่างมีปานะทำด้วยผลมะม่วงเป็นต้น อนุโลมเข้ากันได้

กัปปานะเหล่านี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 414

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า วตฺถสนฺนิธึ สะสมผ้า ดังนี้. ผ้า

ที่มิได้อธิษฐานและมิได้วิกัป จัดเป็นสันนิธิ คือการสะสม และยังสัลเลข-

ปฏิบัติให้กำเริบ. นี้พูดโดยนิปริยายไม่อ้อมค้อม. แต่โดยปริยายคืออ้อม-

ค้อม ภิกษุควรเป็นผู้สันโดษในไตรจีวร. ได้ผืนที่สี่มา ควรให้แก่ภิกษุรูป

อื่น. หากไม่สามารถจะให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งได้ ประสงค์จะให้แก่รูปใด

รูปนั้นไปเพื่อเรียนหรือเพื่อสอบถาม ควรให้ในทางที่ท่านกลับมา. ไม่ให้

ไม่ควร. อนึ่ง เมื่อจีวรไม่พอ เมื่อมีความหวัง ควรกำหนดเวลาที่อนุญาต

ไว้. เพราะไม่ได้ภิกษุผู้ทำจีวรโดยเย็บด้วยด้วยและเข็ม แม้ต่อจากนั้นก็ควร

ทำวินัยกรรมเก็บไว้. เมื่อจีวรเก่าจะเก็บไว้ด้วยคิดว่า เราจักได้จีวรเช่นนี้

แต่ไหนอีกเล่า ไม่ควร. เป็นทั้งสันนิธิ ทั้งยังสัลเลขปฏิบัติให้กำเริบ.

พึงทราบวินิจฉัยในการสะสมยานดังนี้. ชื่อว่า ยาน ได้แก่ ล้อ

เลื่อน รถ เกวียน ระแทะ วอ เก้าอี้. นั่นมิใช่ยานของบรรพชิต.

แต่รองเท้าเป็นยาน. รองเท้าสองคู่อย่างดีควรแก่ภิกษุรูปหนึ่ง คือคู่หนึ่ง

สำหรับไปป่า คู่หนึ่งสำหรับล้างเท้า, ได้คู่ที่สามควรให้แก่ภิกษุรูปอื่น.

เมื่อรองเท้าเก่าจะเก็บไว้ด้วยคิดว่า เราจักได้รองเท้าอื่นแต่ไหนอีก ไม่

ควร. เป็นทั้งสันนิธิและทั้งยังสัลเลขปฏิบัติให้กำเริบ.

พึงทราบวินิจฉัยในการสะสมที่นอนดังนี้. บทว่า สยน ที่นอน

คือเตียง. เตียงสองเตียงอย่างดี ย่อมควรแก่ภิกษุรูปหนึ่ง คือในห้องหนึ่ง

เตียง ในที่พักกลางวันหนึ่งเตียง. ได้เกินกว่านั้นควรให้แก่ภิกษุรูปอื่น

หรือแก่คณะ. ไม่ให้ ไม่ควร. เป็นทั้งสันนิธิ ทั้งยังสัลเลขปฏิบัติให้กำเริบ.

พึงทราบวินิจฉัยในการสะสมเครื่องหอมดังนี้. เมื่อมีอาพาธด้วย

โรคฝี หิด อันเป็นโทษแก่ผิวหนังเป็นต้น เครื่องหอมย่อมควรแก่ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 415

เมื่อโรคสงบด้วยเครื่องหอมนั้น ควรให้แก่ภิกษุอาพาธรูปอื่น ๆ หรือนำ

ไปเจิมเรือนที่ประตู. จะเก็บไว้ด้วยคิดว่าเผื่อจะมีโรคอีก ดังนี้ไม่ควร.

เป็นทั้งคันธสันนิธิเป็นทั้งยังสัลเลขปฏิบัติให้กำเริบ.

พึงทราบบทว่า อามิส เป็นต้น นอกเหนือจากที่กล่าวแล้ว. เช่น

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ให้นำ งา ข้าวสาร ถั่วเขียว ถั่วทอง มะพร้าว

เกลือ ปลา เนื้อแห้ง เนยใส น้ำมัน ภาชนะดิน เป็นต้น มาเก็บไว้

ด้วยคิดว่า ของเหล่านั้นจักมีประโยชน์ในกาลนั้น ๆ. ภิกษุนั้นในฤดูฝนให้

สามเณรต้มข้าวยาคูแต่เช้ามืดแล้วฉัน ส่งสามเณรไปสั่งว่า สามเณร การ

เข้าไปบ้านในขณะน้ำเฉอะแฉะลำบาก เธอจงไปยังตระกูลโน้นบอกว่า

เรามานั่งอยู่ในวิหารแล้ว เธอจงนำนมส้มเป็นต้นมาแต่ตระกูลโน้น ดังนี้.

เมื่อภิกษุทั้งหลายถามว่า ทำไมท่านไม่เข้าไปสู่บ้านเล่าขอรับ ภิกษุนั้น

ตอบว่า เดี๋ยวนี้บ้านนั้นเข้าไปลำบากซิคุณ. ภิกษุเหล่านั้น กล่าวว่า ไม่เป็น

ไรดอกขอรับ ท่านอยู่เถิด พวกผมจะหาภิกษามาเอง แล้วพากันไป.

ลำดับนั้นสามเณรนำนมส้มเป็นต้นมา นำเข้าไปถวายพร้อมทั้งภัตรและผัก.

เมื่อภิกษุฉันอาหารนั้นอยู่นั่นเอง พวกอุปัฏฐากก็ส่งภัตรไปถวาย. แต่นั้น

ภิกษุนั้นก็ฉันอย่างเอร็ดอร่อย. ต่อมาภิกษุทั้งหลายรับบิณฑบาตแล้วกลับ

มา. ภิกษุนั้นก็ยังฉันอย่างเอร็ดอร่อยจนล้นคอหอยนั่นเอง. แม้สี่เดือน

ล่วงไป. ภิกษุนี้ท่านเรียกว่ามีชีวิตอยู่อย่างกุฎุมพีโล้น มิใช่อยู่อย่างสมณะ.

ภิกษุเห็นปานนี้ชื่อว่า เป็นผู้สะสมอามิส. แต่ในที่อยู่ของภิกษุ การเก็บ

อามิสมีประมาณเท่านี้ คือข้าวสารทะนานหนึ่ง น้ำอ้อยงบหนึ่งก้อน เนยใส

ประมาณ ๔ ส่วน ควร เพื่อประโยชน์แก่โจรที่มาถึงในเวลาอันไม่ควร.

เพราะโจรเหล่านั้นเมื่อไม่ได้ปฏิสันถารด้วยอามิส มันก็จะฆ่าเสีย. เพราะ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 416

ฉะนั้น หากไม่มีอามิสเท่านี้ก็ควรหามาเก็บไว้. อนึ่ง ในเวลาไม่สบาย

จะฉันอามิสที่เป็นกัปปิยะ. แม้ด้วยตนเองก็ควร. อนึ่ง แม้เก็บอามิสมาก

ไว้ในกัปปิยกุฏิก็ไม่เป็นสันนิธิ.

บทว่า ฌายี น ปาทโลลสฺส ความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน และ

ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า. บทว่า วิรเม กุกฺกุจฺจ นปฺปมชฺเชยฺย พึง

เว้นขาดจากความคะนองไม่พึงประมาท คือพึงบรรเทาความคะนอง มี

คะนองมือเป็นต้น และไม่พึงประมาทในที่นี้ เพราะภิกษุเป็นผู้ที่เขาทำ

ความเคารพอยู่แล้ว.

บทว่า เอกตฺตมนุยุตฺโต คือ ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์

เป็นหนึ่ง. บทว่า สทตฺถครุโถ เป็นผู้หนักอยู่ในประโยชน์ของตน คือ

หนักในประโยชน์อันสูงสุด. ปาฐะว่า สกตฺถครุโก ก็มี แปลว่า หนักอยู่

ในประโยชน์ของตน. บทว่า ปฏิสลฺลานาราโม พึงเป็นผู้ชอบในความ

หลีกเร้น คือสถานที่ชอบใจ ชื่อว่า อาราม. ภิกษุรวบรวมจากอารมณ์

นั้น ๆ แล้วชอบใจในความหลีกเร้น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ชื่อว่า

ปฏิสลฺลานาราโม. บทว่า อสฺส คือ พึงเป็น. ภิกษุยินดีแล้วใน

ความหลีกเร้นนั้น ชื่อว่า ปฏิสลฺลานรโต. ท่านแสดงถึงความเป็นผู้

บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายด้วยบทเหล่านี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะแม้

ภิกษุผู้มีศีลวิบัติ มีอารมณ์เป็นหนึ่งก็ยังไม่สำเร็จ. บทว่า อชฺฌตฺต

เจโตสมถมนุยุตฺโต ขวนขวายในความสงบจิต ณ ภายใน คือขวนขวายใน

ความสงบจิตของตน. บทว่า อชฺฌตฺต ในภายในก็ดี อตฺตโน ของตนก็ดี

มีความอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน . บทว่า เจโตสมถ นี้

เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ แปลว่า ในความสงบจิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 417

สำเร็จรูปด้วยการประกอบด้วยอุปสัคนี้ว่า อนุ. บทว่า อนิรากตชฺฌาโน

ไม่เหินห่างจากฌาน คือไม่นำฌานออกไปภายนอก หรือไม่ยังฌานให้

เสื่อม. อนึ่ง พึงเห็นประโยคในบทมีอาทิว่า นี้ชื่อว่า มิใช่ไม่กระทำเพื่อ

ความนำออกและเพื่อความเสื่อม เป็นความพระพฤติสุภาพ เพราะไม่

หัวดื้อ. บทว่า วิปสฺสนาย สมนฺนาคโต ประกอบด้วยวิปัสสนา คือ

ประกอบด้วยอนุปัสสนา ๗ อย่าง.

อนุปัสสนา ๗ คืออนิจจานุปัสสนา พิจารณาเนือง ๆ ในความ

ไม่เที่ยง ๑ ทุกขานุปัสสนา พิจารณาเนือง ๆ ในความเป็นทุกข์ ๑

อนัตตานุปัสสนา พิจารณาเนือง ๆ ในความเป็นอนัตตา ๑ นิพพิทานุ-

ปัสสนา พิจารณาเนือง ๆ ในความเบื่อหน่าย ๑ วิราคานุปัสสนา

พิจารณาเนือง ๆ ในความคลายกำหนัด ๑ นิโรธานุปัสสนา พิจารณา

เนือง ๆ ในความดับตัณหา๑ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา พิจารณาเนืองๆ ใน

ความสละคืน ๑, วิปัสสนาเหล่านั้นพิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค.

บทว่า พฺรูเหตา สุญฺาคาราน คือ เพิ่มพูนสุญญาคาร. ก็ในบทนี้

พึงทราบว่า ภิกษุเรียนกรรมฐานทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน

แล้ว เข้าไปนั่งยังสุญญาคารตลอดคืนและวัน ชื่อว่า เพิ่มพูนสุญญาคาร.

แม้บำเพ็ญอยู่ในปราสาท อันมีพื้นชั้นเดียวเป็นต้น ก็พึงเห็นว่าเพิ่มพูน

สุญญาคาร.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า สกฺกจฺจการี พึงเป็นผู้ทำโดยความเคารพ

ดังต่อไปนี้. พึงเป็นผู้ทำความเคารพ ด้วยทำความเคารพต่อบุคคลหรือ

ต่อไทยธรรม เพื่อบำเพ็ญกุศลธรรมมีทานเป็นต้น. บทว่า อสฺส คือ พึง

เป็น. ความเป็นผู้ทำเนือง ๆ ชื่อว่า สาตจฺจ ความทำติดต่อชื่อว่า สาตจฺจ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 418

การี เป็นผู้ทำเนือง ๆ. เพราะทำติดต่อไม่มีระหว่าง ชื่อว่า อฏิิตการี เป็น

ผู้ทำไม่หยุด. บุคคลใดให้ทาน ทำการบูชา ฟังธรรม หรือบำเพ็ญสมณ-

ธรรมวันหนึ่ง อีกนานจึงทำอีก ไม่เป็นไปติดต่อกัน บุคคลนั้นท่านเรียกว่า

ิตการี ทำแล้วหยุด เหมือนปูเดินไปได้หน่อยหนึ่ง หยุดหน่อยหนึ่ง

ไม่เดินต่อไปฉะนั้น. ส่วนบุคคลใดไม่ทำอย่างนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า อฏฺิต-

การี ทำไม่หยุด. บทว่า อโนลีนวุตฺติโก มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน

คือมีความประพฤติย่อหย่อนหามิได้ เพราะมีความแผ่ขยายออกไป อัน

ได้แก่ ทำติดต่อกันไป. บทว่า อนิกฺขิตฺตฉนฺโท ไม่ปลงฉันทะ คือชื่อว่า

ไม่ปลงฉันทะ เพราะความเป็นผู้ไม่ปลงฉันทะในการทำความเพียร เพื่อ

กุศลกิริยา. บทว่า อนิกฺขิตฺตธุโร ไม่ทอดธุระ คือไม่วางธุระในการทำ

ความเพียร อธิบายว่า ไม่มีใจท้อถอย. บทว่า อปฺปฏิวาณี คือ ความไม่

ถอยกลับ. บทว่า อธิฏฺาน ความตั้งใจ คือมีความตั้งมั่นในการทำกุศล.

บทว่า อนุโยโค คือความประกอบเนือง ๆ. บทว่า อปฺปมาโท คือ

ความไม่อยู่ปราศจากสติ.

บทว่า ตนฺทึ มาย หสึ ขิฑฺฑ คือ ความเกียจคร้าน ความหลอก-

ลวง ความหัวเราะ และการเล่นทางกาย และวาจา. บทว่า สวิภูส คือ

กับด้วยเครื่องประดับ.

บทว่า รตฺตินฺทิว ฉโกฏฺาส กริตฺวา ภิกษุพึงแบ่งกลางคืนและ

กลางวันให้เป็น ๖ ส่วน คือพึงแบ่งออกเป็น ๖ ส่วน กลางคืน ๓ ส่วน

คือยามต้น ยามกลาง ยามสุดท้าย กลางวันก็เหมือนกัน. บทว่า ปญฺจ-

โกฏฺาส ชาคเรยฺย พึงตื่น ๕ ส่วน คือพึงสละยามกลางในกลางคืนแล้ว

ไม่หลับ ใน ๕ ส่วนที่เหลือ. บทว่า เอก โกฏฺาน นิปชฺเชยฺย นอนหลับ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 419

ส่วน คือมีสติสัมปชัญญะ นอนหลับตอนยามกลาง ๑ ส่วน. บทว่า อิธ ภิกฺขุ

ทิวส คือ แบ่งกลางวันออกเป็น ๓ ส่วน คือเช้า กลางวัน เย็น. บทว่า

จงฺกเมน นิสชฺชาย ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง คือบริหารด้วย

อิริยาบถทั้งสองนี้ตลอดวัน พึงชำระจิตจากธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต หรือ

จากอกุศลธรรมทั้งปวงอันได้แก่นิวรณ์ ๕. บทว่า จิตฺต ปริโสเธยฺย พึง

ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเหล่านั้น. ในที่นี้มิได้กำหนดการยืนไว้ก็จริง

ถึงดังนั้นก็ควรกำหนดเอาการยืน อาศัยการเดินจงกรมและการนั่งนั่นแล.

บทว่า ปม ยาม คือ ตลอดยามต้น.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า เสยฺย การนอน ดังนี้. การนอนมี ๔

อย่าง คือ กามโภคีเสยฺยา ๑ เปตเสยฺยา ๑ สีหเสยฺยา ๑ ตถาคต

เสยฺยา ๑.

ในการนอน ๔ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย คนบริโภคกามโดยมากนอนโดยข้างซ้าย นี้ชื่อว่า กามโภคี-

ไสยา. จริงอยู่ คนบริโภคกามเหล่านั้นย่อมไม่นอนโดยข้างขวา. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เปรตโดยมากนอนหงาย นี้ชื่อว่า เปตไสยา. จริงอยู่

เพราะเปรตมีเนื้อและเลือดน้อย เปรตห่อหุ้มด้วยโครงกระดูก จึงไม่อาจ

จะนอนโดยข้างหนึ่งได้ จึงต้องนอนหงาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีหมฤค-

ราชสำเร็จการนอนโดยข้างขวา ฯลฯ จึงพอใจ นี้ชื่อว่า สีหไสยา.

จริงอยู่ สีหมฤคราชเพราะมีอำนาจสูง วางเท้าทั้งสองไว้ที่เท้าหลังข้างหนึ่ง

ในที่เดียวกัน สอดหางไว้หว่างขา กำหนดโอกาสที่เท้าหน้าเท้าหลังและ

หางตั้งอยู่ แล้ววางศีรษะลงบนที่สุดเท้าหน้าทั้งสองนอนแม้นอนหลับตลอด

วัน เมื่อตื่นก็ตื่นอย่างไม่หวาดสะดุ้ง เงยศีรษะสังเกตโอกาสที่เท้าหน้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 420

เป็นต้นตั้งอยู่. หากที่ไร ๆ ละไปตั้งอยู่ไม่เรียบร้อย สีหมฤคราชก็เสียใจว่า

นี้ไม่สมควรแก่เจ้าผู้มีความกล้าหาญโดยกำเนิด จึงนอนต่อไปในที่นั้น

ไม่ไปแสวงหาอาหาร แต่ครั้นเมื่อไม่ละ ตั้งอยู่เรียบร้อย สีหะก็ดีใจว่า

นี้สมควรแก่เจ้าผู้มีความกล้าหาญโดยกำเนิด จึงลุกบิดกายอย่างสีหะ สลัด

ขนที่คอ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วจึงไปหาอาหาร. ส่วนการนอน

ด้วยจตุตถฌานเรียกว่า ตถาคตไสยา (พระตถาคตนอน). ในไสยา ๔

อย่างเหล่านั้น ในที่นี้หมายเอาสีหไสยา. เพราะไสยานี้ ชื่อว่าเป็นไสยา

อย่างสูงที่สุด เพราะเป็นอิริยาบถที่มีอำนาจสูง.

บทว่า ปาเท ปาท ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า คือเท้าซ้ายทับเท้าขวา.

บทว่า อจฺจาธาย คือ ตั้งเท้าเหลื่อมเท้าเลยไปนิดหน่อย. เพราะเมื่อข้อเท้า

เสียดสีกับข้อเท้า เข่าเสียดสีกับเข่า นอนไม่สบาย. เมื่อตั้งเท้าเลยไปโดยที่ไม่

เสียดสีกันเวทนาย่อมไม่เกิดจิตก็มีอารมณ์เป็นหนึ่ง นอนสบาย. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า. บทว่า สโต สมฺปชา-

โน คือ เป็นผู้ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ. ด้วยบทนี้ กล่าวถึงสติ

สัมปชัญญะที่กำหนดไว้ดีแล้ว. บทว่า อุฏฺานสญฺญ มนสิการิตฺวา ทำ

สัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ คือตั้งอุฏฐานสัญญากำหนดเวลาตื่นขึ้นไว้ใน

ใจอย่างนี้ว่า เราจักตื่นขึ้นในเวลาโน้นดังนี้. เพราะทำอย่างนี้แล้วนอน

จะตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้เป็นแน่.

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งวิริยินทรีย์ ดังต่อไปนี้. บทว่า

เจตสิโก นี้ ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่าความเพียรเป็นไปทางจิตโดยแน่นอน.

เพราะความเพียรนี้ท่านกล่าวว่า เจตสิก ก็เพื่อแสดงว่า ความเพียรเป็นไป

ทางกายไม่มี มีแต่เป็นไปทางจิตเท่านั้น ดุจกายวิญญาณ แม้กล่าวว่าเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 421

ไปทางกาย เพราะเกิดขึ้นแก่ผู้กระทำจงกรมเป็นต้น ในพระสูตรทั้งหลาย

มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเพียรเป็นไปทางกายแม้ใด

ความเพียรนั้นก็คือวิริยสัมโพชฌงค์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเพียรเป็น

ไปทางจิตแม้ใด ความเพียรนั้นก็คือวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น

ความเพียรนี้ย่อมมาสู่อุเทศด้วยประการฉะนี้.

บทว่า วิริยารมฺโภ ความว่า อารัมภะคือวิริยะ.

จริงอยู่ อารัมภศัพท์นี้มาแล้วในเนื้อความไม่น้อย คือในกรรม ใน

อาบัติ ในกิริยา ในวิริยะ ในความเบียดเบียน ในการทำร้าย.

อารัมภะ มาในความว่า กรรม ในคาถานี้ว่า

ทุกข์ทั้งปวงอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเกิด เพราะมี

อารัมภะ (กรรม) เป็นปัจจัย ความเกิดทุกข์ไม่มี เพราะ

ดับอารัมภะเสียได้.

อารัมภะ มาในความว่า อาบัติ ในบทนี้ว่า ย่อมปรารภ และย่อม

เป็นความเดือดร้อน.

อารัมภะ มาในความว่า กิริยา มีอุปกรณ์ในการบูชายัญเป็นต้น ใน

บทนี้ว่าบรรดาทั้งหลายมีความเพียรมากมหายัญเหล่านั้นไม่มีผลมากเลย

อารัมภะ มาในความว่า วิริยะ ในบทนี้ว่า ท่านทั้งหลา จงพยายาม

จงออกไป จงขวนขวายในพระพุทธศาสนาเถิด.

อารัมภะ มาในความว่า ความเบียดเบียน ในประโยคนี้ว่า ชน

ทั้งหลายย่อมเบียดเบียนสัตว์ เจาะจงพระสมณโคดม.

อารัมภะ มาในความว่าการประทุษร้าย มีการตัดและทำลายเป็นต้น

ในบทนี้ว่า เป็นผู้เว้นจากการทำลายพืชคาม (เมล็ดพันธุ์ไม้) ภูตคาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 422

ไม้ที่งอกแล้ว). ในที่นี้ท่านประสงค์เอาวิริยะเท่านั้น. ที่ท่านกล่าวว่า

บทว่า กิริยารมฺโภ ได้แก่ อารัมภะ คือความเพียร.

จริงอยู่ ความเพียร ท่านเรียกว่า อารัมภะ ด้วยสามารถแห่งความ

พยายาม. บทว่า วิริยารมฺโภ นี้ เป็นบทแสดงถึงสภาวะของความเพียร

นั้น. การก้าวออกด้วยการออกไปจากความเกียจคร้าน. การก้าวหน้าด้วย

การก้าวไปสู่ฐานะอื่นๆ. ความขวนขวายด้วยการย่างขึ้นไป. ความพยายาม

ด้วยการไปไม่หยุด. ความอุตสาหะด้วยความขะมักเขม้น. ความขยันด้วย

ความขะมักเขม้นอย่างสูง. ความมั่นคงด้วยตั้งอยู่ในความหนักแน่น. ความ

ทรงไว้ เพราะทรงไว้ด้วยสามารถการทรงจิตและเจตสิกไว้ได้ หรือทรง

ความสืบต่อแห่งกุศลไว้ด้วยสามารถความเป็นไปโดยไม่ขาดตอน.

อีกนัยหนึ่ง ความก้าวออกนี้เพื่อบรรเทากามทั้งหลาย. ความ

ก้าวหน้านี้เพื่อตัดความผูกพัน. ความขวนขวายนี้เพื่อถอนโอฆะ. ความ

พยายามนี้เพื่อไปถึงฝั่ง. ความอุตสาหะนี้เพื่อไปข้างหน้า. ความขยันนี้

เพื่อความยิ่งขึ้นไป. ความมั่นคงนี้เพื่อถอนกิเลสเพียงดังกลอนเหล็ก. ความ

ทรงไว้นี้เพื่อไม่หยุดยั้ง. ความก้าวหน้ามิได้ย่อหย่อน ด้วยสามารถการ

ก้าวไปไม่หยุดในกาลอันเป็นไปอย่างนี้ว่า หนังเอ็นและกระดูกจงเหลืออยู่

ก็ตาม. อธิบายว่า ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง. อนึ่ง เพราะความเพียรนี้

ไม่ปลงฉันทะ ไม้ทอดธุระ ไม่ข้ามไป ไม่สละ นำมาซึ่งความเป็นผู้ไม่

ท้อถอย ในที่ที่ทำกุศลกรรม ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความไม่ปลงฉันทะ

ความไม่ทอดธุระ ดังนี้. เหมือนอย่างว่าชนทั้งหลายกล่าวว่า พวกท่าน

จงคอ จับโคนำสินค้าไปในที่ที่เจิ่งไปด้วยน้ำใกล้ฝั่งคงคา โคนั้นแม้คุกเข่า

ลงที่พื้นก็ยังนำสินค้าไปได้ ไม่ให้สินค้าตกลงที่พื้นฉันใด ภิกษุไม่ทอด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 423

ธุระ ประคองความเพียรไว้ในที่ที่ทำกุศลกรรม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ประคองธุระไว้ ชื่อว่า วิริยินทรีย์ เพราะ

ทำความเป็นใหญ่ในลักษณะประคองไว้. ชื่อว่า วิริยพละ เพราะไม่หวั่น-

ไหวไปในความเกียจคร้าน. ชื่อว่า สัมมาวายามะ เพราะพยายามในกุศล

อันนำสัตว์ออกไปจากทุกข์ได้แน่นอน.

บทว่า ตนฺทิ ความเกียจคร้าน. บทว่า ตนฺทิยา คือ อาการเกียจ-

คร้าน. บทว่า ตนฺทิมนกตา ความเป็นผู้เกียจคร้าน คือความเป็นผู้มีจิต

ถูกความเกียจคร้านครอบงำ. ความเป็นแห่งความขี้เกียจ ชื่อว่า อาลสิย

ความขี้เกียจ. อาการแห่งความขี้เกียจ ชื่อว่า อาลสายนา กิริยาที่ขี้เกียจ.

ความเป็นแห่งคนขี้เกียจ ชื่อว่า อาลสายิตตฺต ความเป็นคนขี้เกียจ.

ด้วยบทเหล่านี้แม้ทั้งหมด ท่านกล่าวถึงความเป็นผู้ขี้เกียจทางกายด้วย

อำนาจกิเลส. บทว่า วญฺจนิกา จริยา คือ กิริยาหลอกลวง. บทว่า มา ม

ชญฺาติ วาจ ภาสติ กล่าววาจาคิดว่าใคร ๆ อย่ารู้จักเรา คือภิกษุทั้ง ๆ

รู้อยู่ ล่วงข้อบัญญัติทำกรรมหนัก แต่กล่าวทำเป็นเหมือนผู้สงบว่า เรา

ไม่มีการละเมิดเลย. บทว่า กาเยน ปรกฺกมติ บากบั่นด้วยกาย คือทำ

ความปกปิดทางกายว่า ใคร ๆ อย่ารู้บาปกรรมที่เราทำนี้เลย. ความลวง

คือทำเป็นลวงให้หลงทางตา โดยปกปิดโทษที่มีอยู่. ความเป็นแห่งความ

เป็นผู้หลอกลวง ชื่อว่า มายาวิตา ความเป็นผู้ลวง. ชื่อว่า อจฺจสรา

เพราะทำความชั่วแล้วปิดบัง. ชื่อว่า วญฺจนา เพราะซ่อนความจริงโดย

ให้เห็นเป็นอย่างอื่น ด้วยวาจาและกิริยา. ชื่อว่า นิกติ เพราะบังความผิด.

อธิบายว่า ทำผิด. ชื่อว่า นิกิรณา เพราะปิดความผิดด้วยคิดว่า เราจะ

ไม่ทำอย่างนี้อีก. ชื่อว่า ปริหรณา เพราะเลี่ยงความผิดด้วยคิดว่า เราจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 424

ไม่ทำอย่างนี้อีก. ชื่อว่า คูหณา ซ่อนความผิดโดยสำรวมกายเป็นต้น.

ชื่อว่า ปริคูหณา คือ ซ่อนผิดทุกส่วนโดยประการทั้งปวง. ชื่อว่า ฉาทนา

เพราะปิดบังความชั่วด้วยกายกรรมและวจีกรรม ดุจปิดบังคูถด้วยใบหญ้า

ฉะนั้น. ชื่อว่า ปริจฺฉาทนา เพราะปิดบังทุกส่วนโดยประการทั้งปวง. ชื่อว่า

อนุติตานีกมฺม เพราะไม่แสดงเปิดเผย. ชื่อว่า อนาวิกมฺม เพราะไม่แสดง

ให้ปรากฏ. ชื่อว่า โวจฺฉาทนา เพราะคลุมความผิดไว้อย่างดี. ชื่อว่าปาป-

กิริยา เพราะทำชั่วใหม่อีก โดยปกปิดความชั่วที่ทำมาแล้ว. บทว่า

อย วุจฺจติ คือ นี้เรียกว่าความลวง มีลักษณะปกปิดความชั่วที่ทำมาแล้ว.

บุคคลมีมายาดุจถ่านปกปิดด้วยขี้เถ้า ดุจตอปกปิดด้วยน้ำ และดุจศัสตรา

ปกปิดด้วยเอาผ้าเก่าพัน.

บทว่า อติเวล ทนฺตวิทสก หสติ บุคคลย่อมหัวเราะเกินประมาณ

จนฟันปรากฏ คือเปิดฟันแสดงแก่คนอื่น ยังความชื่นชมโสมนัสให้เกิด

แล้วหัวเราะเกินประมาณ. บทว่า กายิกา จ ขิฑฺฑา การเล่นทางกาย

คือการเล่นอันเป็นไปทางกาย. แม้ในทางวาจาก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า

หตฺถีหิปิ กีฬนฺติ เล่นช้าง คือเล่นด้วยการเล่นมีนั่งเป็นต้นบนหลัง ให้

วิ่งให้กระโดดไปข้างหน้าโดยให้ช้างเล่น. แม้ในม้าและรถก็มีนัยนี้. บทว่า

อฏฺปเทปิ กีฬนฺติ เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตาบ้าง คือชื่อว่า อฏฺปท

เพราะแถวหนึ่งๆมี ๘ ตา. ในแถวละ ๘ ตานั้น. แม้ในแถวละ ๑๐ ตา

ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อากาเส คือ เล่นหมากเก็บเหมือนเล่นหมากรุก

แถวละ ๘ ตานั่นแล. บทว่า ปริหารปเถหิปิ เล่นชิงนางบ้าง คือขีด

เส้นลงบนดินทำให้เป็นวงกลม แล้วเล่นไล่จับกันในที่นั้น. บทว่า สนฺติ-

กายปิ กีฬนฺติ คือ เล่นหมากไหวบ้าง. เอาตาสกาหรือก้อนกรวดตั้งไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 425

รวมกันไม่ให้ไหว เอาเล็บเขี่ยออกและเขี่ยเข้า. หากก้อนกรวดอะไรๆในที่

นั้นไหวเป็นแพ้. บทว่า ขลิกาย คือ เล่นโยนบ่วงบนกระดานพนัน. บทว่า

ฆฏิกาย เล่นไม้หึ่ง คือเล่นโดยเอาท่อนไม้ยาวตีกับท่อนไม้สั้น เรียกว่า

ฆฏิกา. บทว่า สลากหตฺเถน เล่นฟาดให้เห็นรูปร่างๆ คือเอาเส้นหญ้า

ชุบด้วย ครั่ง ฝาง หรือแป้งเปียก แล้วฟาดเส้นหญ้านั้นลงบนพื้นดิน

หรือที่ฝา ดูว่าจะเป็นรูปอะไร แล้วเล่น แสดงให้เห็นเป็นรูปช้างและม้า

เป็นต้น. บทว่า อกฺเขน คือ เล่นสกา. บทว่า ปงฺกจีเรน เล่นเป่าใบ

ไม้ ใบไม้เรียกว่า ปงฺกจีร เล่นเป่าใบไม้นั้น. บทว่า วงฺกเกน เล่นไถ

น้อย ๆ คือไถเล็กๆสำหรับเด็กชาวบ้านเล่น. บทว่า โมกฺขจิกาย คือ

เล่นหกคะเมน. ท่านอธิบายว่า กระโดดรับท่อนไม้บนอากาศ หรือวาง

หัวลงกับพื้นดินแล้วเล่นหกคะเมน. บทว่า จิงฺคุลเกน เล่นกังหัน คือเล่น

เครื่องหมุนตีลมทำด้วยใบตาลเป็นต้นเรียกว่า จิงฺคุลก. บทว่า ปตฺตาฬฺ-

หเกน เล่นตวงทราย คือ เล่นตวงทรายเป็นต้นด้วยทะนานใบไม้ เรียกว่า

ปตฺตาฬฺหก. บทว่า รถเกน คือ รถน้อยๆ. บทว่า ธนุเกน คือ ธนู

น้อย ๆ. บทว่า อกฺขริกาย เล่นเขียนทายกัน คือเล่นเขียนอักษรบน

อากาศ หรือบนหลังทายกัน เรียกว่า อกฺขริกา. บทว่า มเนสิกาย

เล่นทายใจกัน คือเล่นให้รู้ความคิดทางใจ เรียกว่า มเนสิกา. บทว่า

ยถาวชฺเชน เล่นเลียนคนขอทาน คือเล่นเลียนคำพูดของตนตาบอด คน

ง่อย คนกระจอก เป็นต้น เรียกว่า ยถาวชฺช.

บทว่า มุขเภริย เล่นตีกลองปาก คือ เป่าเสียงออกทางปากเหมือน

กลอง บทว่า มุขาฬมฺพท คือ เล่นพิณพาทย์ทางปาก. บทว่า มุขเฑณฺ-

ฑิมก คือ เล่นรัวกลองทางปาก. บทว่า มุขวลิมก เล่นผิวปาก คือทำลิ้น

๑. สี. ม. มุขาลมฺพร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 426

ที่เนื้อริมฝีปากให้มีเสียง. ปาฐะว่า มุขวาลิก บ้าง. คือผิวรอบ ๆ ปาก.

บทว่า มุขเภรุฬก เล่นกระเดาะปาก คือเป่าเป็นกลองทางปาก บทว่า

นาฏก เล่นซ้อมเพลง คือแสดงให้เรียนท่าใหม่ๆ ปาฐะว่า นฏฺฏก บ้าง

บทว่า ลาส เล่นโห่ร้อง คือทำเสียงตะโกน. บทว่า คีต เล่นร้องเพลง

คือขับร้อง. บทว่า ทวกมฺม คือ เล่นหัวเราะกัน. บทว่า อย วาจสิกา

ขิฑฺฑา คือ นี้ชื่อว่าการเล่นเกิดทางวาจา คือเกิดแล้วในวจีทวาร.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า เกสา จ มสฺสุ จ เป็นอาทิ ดังต่อไปนี้.

เอากรรไกรตัดผมไม่ให้แหว่ง, แต่งหนวดให้เป็นเขี้ยว, กำดอกไม้มีก้าน

เป็นกำเดียวกันเป็นต้น ของหอมมีกลิ่นที่รากเป็นต้น เครื่องลูบไล้ทำการ

ย้อมผิว เครื่องประดับตกแต่งที่คอเป็นต้น เครื่องประดับตกแต่งสวมศีรษะ

ผ้านุ่งอย่างวิจิตร สร้อยสังวาล เครื่องรัดและเครื่องประดับผ้าโพกศีรษะ.

พึงทราบวินิจฉัยในการอบตัวเป็นต้น ดังนี้. กลิ่นกายของทารก

ที่เกิดจากครรภ์มารดา จะหมดไปในเมื่ออายุได้ประมาณ ๑๒ ปี. เพื่อนำ

กลิ่นกายของทารกกลับมา มารดาบิดาจึงอบด้วยจุณขมิ้นเป็นต้น การอบ

อย่างนี้ไม่ควร. แต่บิดามารดาให้ทารกมีบุญนอนบนขาอ่อนทั้งสอง แล้ว

ทาด้วยน้ำมันนวด เพื่อให้ส่วนต่าง ๆ มีมือ เท้า ขาอ่อน และต้องเป็นต้น

สมบูรณ์. การนวดอย่างนี้ก็ไม่ควร. บทว่า นหาปน คือ การอาบน้ำ คือ

อาบทารกเหล่านั้นด้วยของหอมเป็นต้น. บทว่า สมฺพาหน คือ การดัดตัว

คือเอาไม้ค้อนเป็นต้นทุบเบา ๆ ที่มือและเท้า ดุจของนักมวยปล้ำ แล้วดัด

แขน. บทว่า อาทาส คือ การส่องกระจก การส่องกระจกอย่างใดอย่างหนึ่ง

ไม่ควร. บทว่า อญฺชน คือ แต้มตา. บทว่า มาลา คือ สวมพวงดอกไม้

หรือไม่สวม. บทว่า วิเลปน คือ ทำการย้อมผิวอย่างใดอย่างหนึ่ง บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 427

มุขจุณฺณก มุขาเลป การเจิมหน้าการทาปาก ชนทั้งหลายเพื่อจะเอาไฝดำ

ที่ใบหน้าออก จึงใช้ยางเหนียวของดินแต้ม เมื่อเลือดออกด้วยยางเหนียว

ของดินนั้น ใช้ยางเหนียวของเมล็ดผักกาดแต้ม เมื่อเมล็ดผักกาดนั้นกัด

ฝีดำที่เป็นโทษแล้ว ให้ยางเหนียวของงา เมื่อเลือดสงบด้วยยางเหนียว

ของงา จึงให้ยางเหนียวของขมิ้น เมื่อผิวพรรณผ่องด้วยยางเหนียวของ

ขมิ้นนั้น จึงเจิมหน้าด้วยเครื่องเจิมหน้า.

พึงทราบวินิจฉัยในการผูกข้อมือเป็นต้น ดังต่อไปนี้.

ชนทั้งหลายผูกสังข์และกระเบื้องอันวิจิตรที่ข้อมือเที่ยวไป. เครื่อง

ประดับข้อมือทั้งหมดนั้นหรืออย่างอื่นไม่ควร. ชนอีกพวกหนึ่ง ผูกแหยม

เที่ยวไป และล้อมแหยมนั้นด้วยป่านทองวลัยมุกดา. ทั้งหมดนั้นไม่ควร.

ชนอีกพวกหนึ่ง ถือไม้เท้า ๔ ศอก หรือไม้เท้าประดับอย่างอื่นเที่ยวไป.

อนึ่ง ชนทั้งหลาย คล้องขวดยาวิจิตรไปด้วยรูปหญิงและชายเป็นต้น

ล้อมรอบเป็นอย่างดีที่บ่าข้างซ้าย. ชนอีกพวกหนึ่ง คล้องดาบอันคมกริบ

มีฝักวิจิตรตระการตา กางร่มวิจิตรด้วยเขี้ยวมังกรเย็บด้วยด้าย ๕ สี สวม

รองเท้าล้อมด้วยแววหางนกยูงเป็นต้น วิจิตรด้วยทองและเงิน. บางคน

ไว้ผมยาวประมาณศอกหนึ่งกว้าง ๔ องคุลี สวมกรอบหน้าที่หน้าผากดุจ

สายฟ้าที่ปากเมฆ แล้วปักปิ่น ใช้พัดจามรีและพัดวาลวิชนี. ทั้งหมดนั้น

ไม่ควร.

บทว่า อิมสฺส วา ปูติกายสฺส กายอันเปื่อยเน่านี้ คือร่างของศพ

อันสำเร็จด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้. บทว่า เกฬนา คือ การเล่นสนุก. บทว่า

ปริเกฬนา การเล่นเพลิน คือเล่นได้ทุกส่วนโดยประการทั้งปวง. บทว่า

เคธิตตา คือ การปรารถนา. บทว่า เคธิตตฺต คือ ความชอบ ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 428

ปรารถนา. บทว่า จปลนา กิริยาที่ประดับ คือทำการประดับ. บทว่า

จาปลฺย คือ ความเป็นแห่งการประดับ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า สวิภูส เป็นต้น ดังต่อไปนี้. เป็นไป

กับด้วยความประดับ ชื่อว่า สวิภูส. เป็นไปกับด้วยบริวาร คือการทำการ

ย้อมผิว ชื่อว่า สปริวาร. เป็นไปกับด้วยของใช้ ชื่อว่า สปริภณฺฑ.

เป็นไปกับด้วยบริขาร ชื่อว่า สปริกฺขาร.

บทว่า อาถพฺพณ อาถรรพณ์ คือประกอบมนต์ทำอาถรรพณ์. บทว่า

สุปิน คือ ตำราทำนายฝัน. บทว่า ลกฺขณ การทายลักษณะ คือมีการ

ทายลักษณะตัว แก้วมณีเป็นต้น . บทว่า โน วิเทเห คือ ไม่พึงประกอบ.

บทว่า วิรุทญฺจ การทายเสียงสัตว์ร้อง คือเสียงร้องของสัตว์มีเนื้อเป็นต้น.

บทว่า อาถพฺพณิกา พวกคนที่มีมนต์ทำอาถรรพณ์ คือรู้มนต์เพื่อ

ฆ่าผู้อื่น. ชื่อว่า อาถพฺพณิกา เพราะประกอบอาถรรพณ์ ได้ยินมาว่า

พวกประกอบอาถรรพณ์ บริโภคของไม่เค็มตลอด ๗ วัน ปูหญ้าคานอน

บนพื้นดินประพฤติตบะ ในวันที่ ๗ เตรียมพื้นสุสาน ยืนอยู่บนทางที่ ๗

ชูมือร่ายวิชา. ที่นั้นการงานของพวกเขาก็สำเร็จ. พระสังคติกาจารย์

กล่าวว่า ประกอบอาถรรพณ์ หมายถึงพวกรู้มนต์ทำอาถรรพณ์พวกนี้

แหละ. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปโยเชนฺติ คือ เป็นผู้ขวนขวายในการ

ประกอบอาถรรพณ์. บทว่า นคเร วา รุทฺเธ เมื่อนครถูกล้อม คือเมื่อ

นครถูกปิดกั้นไว้โดยรอบ. บทว่า สงฺคาเม วา ปจฺจุปฏฺิเต คือ หรือเมื่อ

สงครามตั้งประชิดกัน. บทว่า ปจฺจติถิเกสุ ปจฺจามิตฺเตสุ คือ ในพวก

ข้าศึกที่เป็นศัตรูกัน. บทว่า อีตึ อุปฺปาเทนฺติ ยังจัญไรให้เกิดขึ้น คือ

ทำความหวั่นไหวปั่นป่วนให้เกิดขึ้นแก่ข้าศึก. บทว่า อุปทฺทว อันตราย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 429

คือทำการบีบคั้นทางกาย. บทว่า โรค คือ พยาธิ. บทว่า ปชฺชรก คือ

โรคไข้เชื่อมซึม. บทว่า สุล คือ โรคจุกเสียด. บทว่า วิสูจิก คือ โรค

ลงราก. บทว่า ปกฺขนฺทิก คือ โรคบิด. บทว่า กโรนฺติ คือ ให้เกิดขึ้น.

บทว่า สุปินปากา คือ พวกทำนายฝัน. บทว่า อาทิสนฺติ คือ

พยากรณ์. ในบทมีอาทิว่า โย ปุพฺพณฺหสมย สุปิน ปสฺสติ ผู้ใดเห็น

ฝันในเวลาเช้า เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ แปลว่า

ในเวลาเช้า. บทว่า เอว วิปาโก โหติ จะมีผลอย่างนี้ คือจะมีผลเห็น

ปานนี้ โดยเป็นผลที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา. บทว่า อวกุชฺชนิ-

ปนฺโน คนนอนคว่ำ คือนอนคว่ำฝัน พวกทำนายฝันจะท่านายฝัน

อย่างนี้.

อนึ่ง ผู้ฝันย่อมฝันด้วยเหตุ ๔ ประการ คือธาตุโขภะ ธาตุกำเริบ ๑

อนุภูตปุพพะ เคยเสพมาก่อน ๑ เทวโตปสังหาระ เทวดาดลใจ ๑ ปุพพ-

นิมิต ลางบอกเหตุ ๑.

ในความฝัน ประการนั้น ผู้มีธาตุกำเริบ เพราะดีเป็นต้นกำเริบ

ชื่อว่าฝันโดยธาตุกำเริบ. ผู้ฝันโดยเคยเสพมาก่อนแล้ว ย่อมเห็นอารมณ์

ที่เคยเสพมาแล้วในกาลก่อน. ฝันโดยเทวดาดลใจ ย่อมเห็นอารมณ์

ทั้งหลายด้วยอานุภาพของเทวดาทั้งหลาย. ฝันโดยบอกเหตุล่วงหน้า ย่อม

ฝันเห็นลางบอกเหตุล่วงหน้าแห่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ หรือสิ่งที่ไม่เป็น

ประโยชน์ อันประสงค์จะให้เกิดด้วยอำนาจบุญและบาป. ในความฝัน

เหล่านั้น ฝันโดยธาตุกำเริบและโดยที่เคยเสพมาก่อนแล้ว ไม่เป็นจริง.

ฝันโดยเทวดาดลใจ จริงบ้างไม่จริงบ้าง. เพราะเทวดาโกรธ ประสงค์จะ

ให้ถึงความพินาศโดยอุบาย ก็แสดงทำให้วิปริต. ฝันโดยบอกเหตุล่วง

หน้า จริงโดยสิ้นเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 430

ประเภทแห่งความฝัน ย่อมมีโดยประเภทแห่งความเกี่ยวข้องกันของ

มูลเหตุ ๔ อย่างเหล่านี้ ปุถุชนผู้เป็นเสกขะย่อมฝัน ๔ อย่างนี้ เพราะยัง

ละความวิปลาสไม่ได้. พระอเสกขะไม่ฝัน เพราะละวิปลาสได้แล้ว เมื่อฝัน

หลับฝันหรือตื่นฝัน หรือไม่หลับไม่ตื่น. ในข้อนี้ ผิว่าหลับฝัน ผิดทาง

อภิธรรมโดยแท้ เพราะว่าฝันด้วยจิตเข้าสู่ภวังค์ (ไม่รู้สึกตัว) ความฝัน

นั้นไม่มีอารมณ์มีรูปนิมิตเป็นต้น หรือไม่สัมปยุตตด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น.

อนึ่ง เมื่อฝันจิตเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ตื่นฝันจึงผิดทางวินัย

เพราะว่าตื่นฝัน ย่อมฝันด้วยจิตเป็นอัพโพหาริก (มีเหมือนไม่มี) ชื่อว่า

ไม่เป็นอาบัติในเพราะทำการละเมิดด้วยจิตเป็นอัพโพหาริกไม่มี เมื่อผู้ฝัน

ทำการละเมิด ไม่เป็นอาบัติโดยส่วนเดียวเท่านั้น ดังนั้นไม่หลับไม่ตื่นฝัน

ใคร ๆ ก็ไม่ฝัน เมื่อเป็นอย่างนี้ ความฝันก็ไม่มี ไม่ฝันก็ไม่มี. เพราะเหตุไร.

เพราะฝันเช่นเดียวกับลิงหลับ. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า มหา-

บพิตร ฝันย่อมเห็นเช่นกับลิงหลับแล. บทว่า กปิมิทฺธปเรโต คือ ประกอบ

แล้วด้วยการนอนหลับของลิง. การหลับใดเปลี่ยนไปเร็ว เพราะเจือด้วยจิต

เป็นกุศลเป็นต้นบ่อย ๆ การออกจากภวังคจิตบ่อย ๆ ย่อมมีในความเป็นไป

ของการหลับใด ย่อมฝันประกอบด้วยการหลับนั้น เหมือนการหลับของลิง

เปลี่ยนแปลงไปได้เร็วฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น ความฝันนี้ จึงเป็นกุศลบ้าง

อกุศลบ้าง อัพยากฤตบ้าง. ในความฝันนั้นพึงทราบว่า ความฝันของ

บุคคลผู้กระทำการไหวพระเจดีย์ การฟังธรรม และแสดงธรรมเป็นต้น

เป็นกุศล ความฝันของบุคคลผู้กระทำปาณาติบาตเป็นต้นเป็นอกุศล ความ

ฝันนอกเหนือจากสองอย่างนั้นเป็นอัพยากฤต ในขณะที่อารมณ์นั้นเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 431

อาวัชชนะ. ความฝันนั้นไม่สามารถฉุดรั้งปฏิสนธิได้ เพราะมีกำลังน้อย

แต่กุศลอกุศลอื่นค้ำจุน ย่อมให้วิบากได้ในเพราะยังเป็นไปอยู่.

พึงทราบวินิจฉัยในลักษณะแก้วมณี ดังต่อไปนี้. พวกทำนาย

ลักษณะ ย่อมทำนายลักษณะของแก้วมณีเป็นต้น ด้วยสีและสัณฐานเป็นต้น

อย่างนี้ว่า แก้วมณีอย่างนี้ประเสริฐ อย่างนี้ไม่ประเสริฐ ย่อมเป็นเหตุ

แห่งความไม่มีโรคและความเป็นใหญ่แก่เจ้าของ. ในลักษณะเหล่านั้น

บทว่า อาวุธลกฺขณ ลักษณะอาวุธ คืออาวุธที่เหลือเว้นดาบเป็นต้น.

แม้ลักษณะหญิงเป็นต้น ก็พึงทราบด้วยอำนาจความเจริญและความเสื่อม

ของตระกูลที่หญิงและชายเป็นต้นอยู่. ส่วนในลักษณะแพะเป็นต้น ควร

ทราบความต่างกัน คือเนื้อของแพะเป็นต้นอย่างนี้ควรกิน อย่างนี้ไม่ควร

กิน. ในลักษณะเหี้ย พึงทราบความวิเศษดังนี้ บรรดาจิตรกรรมและเครื่อง

ประดับเป็นต้น เมื่อเหี้ยเห็นปานนี้มีอยู่. สิ่งนี้ย่อมมี. ลักษณะช่อฟ้าพึง

ทราบด้วยอำนาจแห่งช่อฟ้า เครื่องประดับบ้าง ช่อฟ้าเรือนบ้าง แม้

ลักษณะเต่าก็เช่นเดียวกับลักษณะเหี้ยนั่นแล. ลักษณะเนื้อ ท่านกล่าว

สงเคราะห์เนื้อทุกชนิด ด้วยอำนาจแห่งลักษณะของสัตว์ ๔ เท้าทั้งหมด.

บทว่า เอว ลกฺขณปากา ลกฺขณ อาทิสนฺติ คือ ผู้บอกตำราทายลักษณะ

ย่อมทายคือย่อมบอกลักษณะอย่างนี้.

บทว่า น นกฺขตฺตานิ คือ ฤกษ์ ๒๘ อย่างมีกัตติกาฤกษ์เป็นต้น . บทว่า

อิมินา นกฺขตฺเตน ฆรปฺปเวโส กตฺตพฺโพ คือ งานมงคลขึ้นบ้านใหม่

ควรทำด้วยฤกษ์นี้. บทว่า มกุฏ พนฺธิตพฺพ คือ งานมงคลผูกเครื่อง

ประดับ. บทว่า วาเรยฺย งานมงคลแต่งงาน คือ พวกดูฤกษ์ถึงการทำ

อาวาหมงคลว่า ท่านทั้งหลายจงนำหญิงจากตระกูลโน้นมาให้แก่ชายด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 432

ฤกษ์โน้น และบอกการทำวิวาหมงคลว่า พวกท่านจงให้หญิงนี้แก่ชายชื่อ

โน้นด้วยฤกษ์โน้น ความเจริญจักมีแก่เขาทั้งสองด้วยประการฉะนี้ แล้ว

ทายว่า พึงทำอาวาหมงคลและวิวาหมงคล คือการแต่งงาน. บทว่า

พีชนีหาโร งานมงคลปลูกพืช คือการนำพืชออกไปภายนอกเพื่อจะหว่าน.

บาลีว่า นิหาโร ก็มี.

บทว่า มิคจกฺก เสียงเนื้อและเสียงนกนี้ เป็นชื่อรวมสัตว์ทุกชนิด

ท่านกล่าวด้วยสามารถการรู้เสียงร้องของนกและสัตว์สี่เท้าทุกชนิด. บทว่า

มิคจกฺกปากา ผู้รู้เสียงเนื้อและเสียงนก คือผู้ทายเสียงของนกและสัตว์

สี่เท้า. บทว่า มิคจกฺก อาทิสนฺติ ย่อมทายเสียงเนื้อและนก คือฟังเสียง

สัตว์เหล่านั้นแล้วทาย. บทว่า รุท คือ เสียง. บาลีว่า รุต ก็มี. บทว่า

วสฺสิต คือ คำพูด. บทว่า คพฺภกรณียา พวกชนปรุงยาให้ตั้งครรภ์

คือปรุงยาให้ตั้งครรภ์ด้วยการให้ยาเพื่อมิให้แพ้. จริงอยู่ ครรภ์ย่อมแพ้

ด้วยเหตุ ๓ ประการ คือด้วยลม ๑ ด้วยสัตว์ทั้งหลาย ๑ ด้วยกรรม ๑.

ในเหตุ ๓ ประการนั้นเมื่อแพ้ด้วยลม ก็ให้ยาเย็นเพื่อแก้ลม. เมื่อแพ้ด้วย

สัตว์ก็ทำการต่อต้านสัตว์ทั้งหลาย. แต่เมื่อแพ้ด้วยกรรม แม้พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายก็ไม่สามารถป้องกันได้ เพราะฉะนั้น ในที่นี้ จึงไม่ถึงอาการแพ้

ด้วยกรรมนั้น. บทว่า สาลากิย คือ รักษาทางตา. บทว่า สลฺลกฺกิตฺติย

คือ รักษาทางผ่าตัด. บทว่า กายติกิจฺฉา รักษาทางกา คือประกอบยา

ด้วยรากไม้เป็นต้นแล้วรักษากาย. บทว่า ภูติย คือ รักษาทางภูตผี.

บทว่า โกมารกเวชฺช รักษาโรคเด็ก.

บทว่า กุหา คือ เป็นผู้หลอกลวง. บทว่า ถทฺธา กระด้าง คือมีร่าง

กายกระด้างเหมือนท่อนไม้. บทว่า ลปา พูดเหลาะแหละ คือพูดเกี่ยวกับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 433

ปัจจัย. บทว่า สิงฺคี คือ ชอบเครื่องประดับเป็นปกติ. บทว่า อุนฺนฬา

คือ มีมานะยกขึ้นสูงดังไม้อ้อ. บทว่า อสมาหิตา ไม่มีสมาธิ คือเว้น จาก

อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า น คณฺเหยฺย เป็นต้น ดังต่อไปนี้ ไม่พึง

ถือเอาด้วยการยกขึ้นแสดง. ไม่พึงยึดถือด้วยการท่อง. ไม่พึงทรงไว้ด้วย

การตั้งไว้ในจิต. ไม่พึงเข้าไปทรงไว้ด้วยการตั้งไว้ใกล้. ไม่พึงเข้าไป

กำหนดด้วยการสอบสวน. ไม่พึงประกอบด้วยการบอกแก่คนเหล่าอื่น.

บทว่า เปสุเณยฺย คือ การพูดส่อเสียด. การชี้แจงที่เหลือมีความ

ได้กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า กยวิกฺกเย ในการซื้อและการขาย คือไม่ควรตั้งอยู่ด้วยการ

หลอกลวงกับ ด้วยสหธรรมิกทั้ง ๕ หรือด้วยปรารถนาความเจริญ. บทว่า

อุปวาท ภิกฺขุ น กเรยฺย ภิกษุไม่ควรทำความค่อนขอด คือไม่ให้เกิด

กิเลสทำความค่อนขอด ไม่พึงยังความค่อนขอดด้วยสมณะและพราหมณ์

อื่นเกิดขึ้นในตน. บทว่า คาเม จ นาภิสชฺเชยฺย ไม่พึงเกี่ยวข้องใน

บ้าน คือไม่พึงเกี่ยวข้องด้วยความคลุกคลีกับคฤหัสถ์เป็นต้นในบ้าน. บทว่า

ลาภมฺยตา ชน น ลเปยฺย คือ ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน เพราะความ

อยากได้ลาภ.

บทว่า เย กยวิกฺกยา วินเย ปฏิกิขิตฺตา การซื้อและการขาย

เหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามไว้ในวินัย คือการซื้อและการขาย

เหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามไว้ใน กยวิกฺกยสิกขาบท ด้วย

การให้และการรับ ว่าไม่ควร.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงการซื้อและการขายที่ประสงค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 434

ในที่นี้ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ปญฺจนฺน สทฺธึ ปตฺตึ วา จีวร วา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจนิน สทฺธึ คือ กับด้วยสหธรรมิก ๕ จำพวก.

สหธรรมิก ๕ จำพวกได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร และ

สามเณรี. บทว่า จญฺจนิย วา ความหลอกลวง คือแสดงความหลอกลวง

ว่าสมควร. บทว่า อุทย วา ปฏฺยนฺโต คือ ปรารถนาความเจริญ.

บทว่า ปริวตฺเตติ คือ ทำการแลกเปลี่ยน.

บทว่า อิทฺธิมนฺโต มีฤทธิ์ คือมีอำนาจให้เกิดความสำเร็จ. บทว่า

ทิพฺพจกฺขุกา คือ มีญาณจักขุเช่นกับทิพย์. อีกอย่างหนึ่ง ได้ญาณจักษุด้วย

ธรรมเป็นเครื่องอยู่อาศัยพร้อมด้วยทิพพวิหารธรรม. บทว่า ปรจิตฺตวิทุโน

รู้จิตผู้อื่น คือรู้จิตของผู้อื่นด้วยจิตของตน. บทว่า เต ทูรโตปิ ปสฺสนฺติ

สมณพราหมณ์พวกนั้น คนเห็นได้แต่ไกลบ้าง คือเห็นแต่จักรวาลโยชน์

หนึ่งบ้าง ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๑,๐๐๐ โยชน์บ้าง ๑๐๐,๐๐๐ โยชน์บ้าง

จักรวาลหนึ่งบ้าง ๒-๓-๔-๕-๑๐- ๒๐- ๔๐-๑,๐๐๐ จักรวาลบ้าง ยิ่ง

กว่านั้นบ้าง. บทว่า อาสนฺนาปิ น ทิสฺสนฺติ อยู่ใกล้ไม่ปรากฏบ้าง

คือยืนอยู่ใกล้บ้าง นั่งอยู่ใกล้บ้าง ย่อมไม่ปรากฏ. บทว่า เจตสาปิ จิตฺต

ปชานนฺติ คือ รู้จิตผู้อื่นแม้ด้วยจิตของตน. บทว่า เทวตาปิ โข สนฺติ

อิทฺธิมนฺตินิโย พวกเทวดาผู้มีฤทธิ์ คือเทวดาผู้มีอำนาจให้ความสำเร็จมี

อยู่อย่างนี้. บทว่า ปรจิตตวิทุนิโย คือ รู้จิตของผู้อื่น

บทว่า โอฬาริเกหิ วา กิเลเสหิ ด้วยกิเลสหยาบ คือด้วยความ

เดือดร้อนมีกายทุจริตเป็นต้น. บทว่า มชฺฌิมเกหิ วา กิเลสปานกลาง

มีกามวิตกเป็นต้น. บทว่า สุขุมเกหิ วา กิเลสละเอียดมีวิตกถึงญาติเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 435

พึงทราบกายทุจริตเป็นต้น ด้วยกรรมบถ. พึงทราบกามวิตกเป็นต้น ด้วย

กิเลสอันมีวัฏฏะเป็นมูล.

พึงทราบวินิจฉัยในวิตกถึงญาติเป็นต้น ดังต่อไปนี้ :- วิตกเกิดขึ้น

เพราะปรารภญาติทั้งหลายด้วยความรัก อาศัยกามคุณ ๕ อย่างนี้ว่า ญาติ

ทั้งหลายของเรามีความเป็นอยู่สบายมีสมบัติดังนี้ ชื่อว่าวิตกถึงญาติ. แต่

วิตกเป็นไปอย่างนี้ว่า ญาติทั้งหลายมีศรัทธาเลื่อมใสได้ถึงความสิ้นไป

เสื่อมไปเสียแล้วดังนี้ ไม่ชื่อว่าวิตกถึงญาติ. วิตกเกิดขึ้นด้วยความรัก

อาศัยเรือนของผู้มีใจยินดีว่า ชนบทของเรามีภิกษาหาได้ง่าย มีข้าวกล้า

สมบูรณ์ดังนี้ ชื่อว่าวิตกถึงชนบท. วิตกเป็นไปอย่างนี้ว่า มนุษย์ทั้งหลาย

ในชนบทของเรา ที่มีศรัทธาเลื่อมใสได้ถึงความสิ้นไป ความเสื่อมไป

เสียแล้วดังนี้ ไม่ชื่อว่าวิตกถึงชนบท. วิตกถึงความไม่ตาย หรือว่าความ

วิตกถึงอมรเทพ ชื่อว่าวิตกถึงอมรเทพ. วิตกประกอบแล้วด้วยการทำ

ทุกรกิริยานั้น ของทำทุกข์กิริยาด้วยคิดว่า ตนจะมีความสุขไม่ตายในภพ

หน้า ถึงจะแก่แล้ว ด้วยทุกข์ทั้งหลายมีการทำความเพียรด้วยการนั่งกระหย่ง

เป็นต้น ชื่อว่าวิตกถึงความไม่ตาย. ส่วนเจ้าทิฏฐิถูกเขาถามคำมีอาทิว่า

ท่านจงบอกถึงสัสสตทิฏฐิดังนี้ ย่อมถึงความลำบากใจว่า เราไม่รู้ว่า

อย่างนี้ก็ใช่ เราไม่รู้ว่า อย่างนั้นก็ใช่ อย่างอื่นก็ใช่ เราก็ไม่รู้ว่า ไม่มี

ก็ใช่ เราไม่รู้ว่า ไม่มีหามิได้ก็ใช่ ดังนี้ วิตกของเจ้าทิฏฐินั้น เป็นวิตก

ประกอบด้วยทิฏฐิ. เทพชื่ออมรเพราะไม่ตาย โดยไม่มีสัณฐานแม้ในส่วน

เดียว เหมือนปลาชื่อว่าอมร ใคร ๆ ไม่อาจจบในน้ำเอามาฆ่าได้ ว่ายไป

ข้างโน้น ช้างนี้จนจับไม่ได้ฉะนั้น แม้ทั้งสองนั้น ท่านกล่าวรวมเป็นอันเดียว

กันว่า อมรวิตกฺโก วิตกถึงเทพอมร. บทว่า ปรานุทฺทยตาปฏิสยุตฺโต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 436

วิตกประกอบด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น คือประกอบด้วยความรักอาศัย

เรือนเหมือนกันกับความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น คือเมื่ออุปัฏฐากยินดีและเศร้าโศก

ภิกษุย่อมยินดีและเศร้าโศกสองเท่ากับด้วยอุปัฏฐากเหล่านั้น เมื่ออุปัฏฐาก

เหล่านั้นมีความสุข ภิกษุก็มีความสุขสองเท่า เมื่ออุปัฏฐากมีความทุกข์

ภิกษุก็มีความทุกข์สองเท่า เมื่อกิจที่จะต้องทำเกิดขึ้น ภิกษุขวนขวายย่อม

ทำกิจนั้นให้สำเร็จ ย่อมล่วงบัญญัติ ยังสัลเลขปฏิบัติให้กำเริบ. วิตกใด

อาศัยเรือนในเพราะอยู่เกี่ยวข้องกัน หรือในเพราะขวนขวายช่วยเหลือกัน

นั้น นี้ชื่อว่าวิตกประกอบด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น. บทว่า ลาภสกฺ-

การสิโลกปฏิสยุตฺโต วิตกประกอบด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ

คือวิตกประกอบด้วยทำความยินดีกับด้วยลาภมีจีวรเป็นต้น ด้วยสักการะ

และด้วยชื่อเสียง. บทว่า อนวญฺตฺติปฏิสยุตฺโต วิตกประกอบด้วยความ

ไม่ถูกดูหมิ่น คือวิตกเกิดกับความปรารถนาความไม่ถูกดูหมิ่นอย่างนี้ว่า

ไฉนหนอ คนอื่นจะไม่พึงดูหมิ่นเรา ไม่พึงพูดทักท้วงข่มเหงเรา. วิตก

เกิดขึ้นอาศัยเรือนคือกามคุณ ๕ ในเมื่อจิตเกิดขึ้นว่าคนอื่นอย่าได้ดูหมิ่น

เราเลยดังนี้ ชื่อว่าวิตกประกอบด้วยความไม่ถูกดูหมิ่น.

บทว่า ตตฺถ ตตฺถ สชฺชติ คือ ภิกษุย่อมเกี่ยวข้องในที่นั้น ๆ คือ

ติดอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ. บทว่า ตตฺถ ตตฺถ คณฺหาติ ย่อมรับในที่นั้นๆ

คือเข้าไปสู่อารมณ์ดังกล่าวแล้ว. บทว่า พชฺฌติ ผูกพัน คือย่อมผูกพัน

ย่อมเป็นอันเดียวกันกับด้วยอารมณ์นั้น ๆ. บทว่า อนยพฺพยสน ความ

ฉิบหาย คือความไม่เจริญและความพินาศในที่นั้น ๆ. บทว่า อาปชฺชติ

แปลว่า ย่อมถึง.

บทว่า อามิสฺสจกฺขุกสฺส ภิกษุผู้เห็นแก่อามิส คือผู้โลเลด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 437

อามิสมีจีวรเป็นต้น. บทว่า โลกธมฺมครุกสฺส หนักอยู่ในโลกธรรม คือ

ละโลกุตรธรรม พูดหนักอยู่แต่โลกธรรมมีรูปเป็นต้นเท่านั้น. บทว่า

อาลปนา การพูดหว่านล้อม คือเห็นมนุษย์ทั้งหลายมาวิหาร แล้วพูด

เลียบเคียงตั้งแต่ต้นอย่างนี้ว่า ผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านมาเพื่ออะไร

หรือจะมานิมนต์ภิกษุ หากว่าเป็นอย่างนั้น เชิญพวกท่านไปเถิด อาตมา

จะมารับภายหลัง.

อีกอย่างหนึ่ง พูดแนะนำคนแล้วพูดเลียบเคียง แนะนำตนอย่างนี้ว่า

อาตมาชื่อติสสะ พระราชาทรงเลื่อมใสในอาตมา มหาอำมาตย์ของพระ-

ราชาชื่อโน้น ๆ ก็เลื่อมใสในอาตมา ดังนี้ ชื่อว่าพูดหว่านล้อม. บทว่า

ลปนา พูดเลียบเคียง คือเมื่อถามแล้วก็พูดเลียบเคียงดังที่ได้กล่าวแล้ว

นั้นแล. บทว่า สลฺลปนา พูดเลียบเคียงด้วยดี. คือหาโอกาสให้ของที่ดี

เลิศแก่คหบดีทั้งหลายแล้วพูดเลียบเคียงด้วยดี. บทว่า อุลฺลปนา การพูด

ยกย่อง คือพูดยกให้สูงอย่างนี้ว่า เป็นมหากุฎุมพี เป็นผู้ให้ทานมาก

เป็นมหาทานบดีดังนี้. บทว่า สมุลฺลปนา พูดยกย่องด้วยดี คือพูดยก

ให้สูงในทุกส่วนด้วยประการทั้งปวง. บทว่า อุนฺนหนา การพูดผูกพัน

คือภิกษุพูดว่า อุบาสกทั้งหลาย เมื่อในกาลเช่นนี้พวกท่านให้ทานใหม่

เพราะเหตุไรเดี๋ยวนี้ไม่ให้เล่า พวกอุบาสกกล่าวคำเป็นต้นว่า พระคุณเจ้า

กระผมจักถวายตลอดเวลา แต่พวกกระผมยังไม่ได้โอกาส. ชื่อว่าพูด

ผูกพันให้สูงไว้ก่อน.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นเขาถืออ้อย ถามว่า อุบาสกเอาอ้อยมาจาก

ไหน. เขาตอบว่า เอามาจากไร่อ้อย ขอรับ. ถามว่า อ้อยที่ไร่นั้นมีรส

อร่อยดีดอกหรือ. เขาตอบว่า พระคุณเจ้าฉันแล้วจะรู้เอง. ควรพูดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 438

อุบาสก พวกท่านอย่าถวายอ้อยแก่ภิกษุเลย. การพูดผูกพันแม้ของภิกษุ

ผู้ไขความอย่างนี้ ก็ชื่อว่าพูดผูกพัน. การพูดผูกพันบ่อย ๆ ทุกส่วนโดย

ประการทั้งปวง ชื่อว่าการพูดผูกพ้นด้วยดี. บทว่า อุกฺกาจนา การพูด

อวดอ้าง คือพูดอวดอย่างนี้ว่า ตระกูลนั้นรู้จักเราดี หากไทยธรรมเกิด

ขึ้นในที่นี้ ก็จะให้เราแน่นอน. อธิบายว่า การอวดอ้าง. การพูดอวด

บ่อย ๆ ทุก ๆ ส่วนโดยประการทั้งปวง ชื่อว่าการพูดอวดอ้างด้วยดี.

บทว่า อนุปฺปิยภาณิณา การพูดฝากรัก คือพูดด้วยคำน่ารัก

บ่อย ๆ ด้วยอำนาจปัจจัย. บทว่า สณฺหวาจตา การพูดอ่อนหวาน คือ

พูดอ่อนโยน. บทว่า สขิลราจตา พูดไพเราะ คือพูดพอดี ๆ หรือพูด

แต่น้อย. บทว่า ลิตฺตวาจตา คือ พูดหนักแน่น. บทว่า อผรุสวาจตา

พูดไม่หยาบ คือพูดไพเราะ. บทว่า โปราณ มาตาเปตฺติก คือ ชื่อ

ครั้งที่เกิดเป็นของมารดาบิดาตั้งให้. บทว่า อาหิต คือ ชื่อนั้นปกปิด

เป็นเรื่องภายใน. บทว่า ายามิ คือ ฉัน ย่อมปรากฏ. บทว่า อสุกสฺส

กุลุปโก เป็นกุลูปกะ (ผู้เข้าสู่ตระกูล) ของอุบาสกโน้น คือเป็นผู้เข้าถึง

ตระกูลของอำมาตย์โน้น. บทว่า อสุกาย คือ อุบาสิกาโน้น. บทว่า

ม อุสฺสชิชิตฺวา คือ ลืมฉันเสียแล้ว.

บทว่า ปยุตฺต คือ มุ่งแต่จะได้ด้วยจีวรเป็นต้น. หรือมุ่งประโยชน์

นั้น. การขยายความคาถานี้ทั้งหมดมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

บทว่า โมสฺชเชน นิยฺเยถ คือ ภิกษุพึงเว้นจากการพูดเท็จ

บทว่า ชีวิเตน คือ ด้วยความเป็นอยู่. บทว่า สโ เป็นผู้โอ้อวด คือไม่พูด

ชอบ เพราะแสดงคุณที่ไม่มี. เป็นผู้โอ้อวดทุก ๆ ส่วนโดยประการทั้งปวง

ชื่อว่าเป็นผู้อวดอ้าง. บทว่า ย ตตฺถ คือ ที่มีในบุคคลนั้น. บทว่า ส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 439

ความโอ้อวด คือหลอกลวงแสดงคุณที่ไม่มี. บทว่า สตา กิริยาที่

โอ้อวด คืออาการโอ้อวด. ทว่า สาเยฺย คือ ความเป็นผู้โอ้อวด.

บทว่า กกฺกรตา ความเป็นผู้พูดกระด้าง คือความเป็นผู้หยาบคาย ไม่

กล้าจับต้องดุจความระคายของก้านบัวฉะนั้น. แม้บทว่า กกฺกริย ก็เป็น

ไวพจน์ของบทว่า กกฺกรตา นั้นนั่นเอง. ท่านกล่าวความหลอกลวง

อย่างหนักแน่นดุจฝังไว้ด้วยสองบทว่า ปริกฺขตฺตตา ปริกฺขตฺติย ความ

เป็นผู้เห่อเหิม กิริยาที่เห่อเหิม. แต่อาจารย์บางพวกพรรณนาความนี้ว่า

บทว่า กกฺกรตา คือ พูดยกย่อง. บทว่า กกฺกริย กิริยาที่พูดยกย่อง.

บทว่า ปริกฺขตฺตตา คือ อาการตกแต่ง. บทว่า ปริกฺขติติย คือ กิริยาที่

ตกแต่ง. บทว่า อิท วุจฺจติ คือ นี้ท่านเรียกว่าเป็นผู้โอ้อวด มีลักษณะ

ประกาศคุณที่ไม่มีอยู่แก่ตน. ต้องหรือหลังของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ

โออวดนั้น ใคร ๆ ก็ไม่สามารถจะรู้ได้. เช่นเดียวกับยักขสุกรกล่าวไว้

อย่างนี้ว่า

สุกร เป็นอยู่โดยเบื้องซ้าย แพะและเนื้อเป็นอยู่

โดยเบื้องขวา แกะเป็นอยู่ด้วยเสียง โคแก่เป็นอยู่

ด้วยเขา.

บทว่า อติมญฺติ ย่อมดูหมิ่น คือล่วงเกิน. บทว่า กึ ปนาย

พหุลาชีโว คือ ภิกษุนี้ทำไมจึงมีความเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือย. บทว่า สพฺพ

สมฺภกฺเขติ ย่อมฉันพืชทั้งปวง คือฉันพืชที่ได้แล้ว ๆ. บทว่า อปฺปปุญฺโ

คือ มีบุญน้อย. บทว่า อปฺเปสกฺโข มีศักดิ์น้อย คือไม่มีบริวาร. บทว่า

ปญฺาสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยปัญญา คือมีปัญญาสมบูรณ์บริบูรณ์

บทว่า ปญฺห วิสชฺเชติ คือ กล่าวแก้ปัญหาได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 440

บทว่า สุตฺวา ทฺสิโต พหุ วาจ สมณาน วา ปุถุชนาน ภิกษุ

ถูกประทุษร้ายได้ฟังวาจามากของพวกสมณะ หรือของคนผู้มีถ้อยคำมาก

คือถูกประทุษร้าย เสียดสี ได้ฟังวาจาที่ไม่น่าปรารถนาแม้มากของสมณะ

เหล่านั้น หรือของปุถุชนเหล่าอื่นมีกษัตริย์เป็นต้น . บทว่า น ปฏิวชฺช คือ

ไม่พึงโต้ตอบ. เพราะอะไร. เพราะภิกษุผู้สงบย่อมไม่ทำผู้อื่นให้เป็นศัตรู.

บทว่า กกฺขเลน คือ ด้วยคำหยาบ. บทว่า สนฺโต ผู้สงบ คือดับ

กิเลสได้แล้ว. บทว่า ปฏิเสนึ คือ ศัตรู. บทว่า ปฏิมลฺล คือ ข้าศึก.

บทว่า ปฏิกณฺฏ คือ เป็นเวร. บทว่า ปฏิปกฺข เป็นปฏิปักษ์ คือเป็น

ปฏิปักษ์ด้วยกิเลส. อธิบายว่า ไม่ทำความเกี่ยวข้องด้วยอำนาจกิเลส.

บทว่า เอตญฺจ ธมฺมมญฺาย รู้ธรรมนั้นแล้ว คือรู้ธรรมตาม

ที่กล่าวแล้วนั้นทั้งหมด. บทว่า วิจิน คือ ค้นคว้าอยู่. บทว่า สนฺตึติ

นิพฺพุตึ ตฺวา คือ รู้ความดับราคะเป็นต้นว่า เป็นความสงบ.

บทว่า สมญฺจ ธรรมอันเสมอ คือกายสุจริตเป็นต้น . บทว่า วิสมญฺจ

ธรรมอันไม่เสมอมีกายทุจริตเป็นต้น. บทว่า ปถญฺจ ธรรมเป็นทาง คือ

กุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า วิปถญฺจ ธรรมไม่เป็นทาง คืออกุศล-

กรรมบถ ๑๐. บทว่า สาวชฺชญฺจ ธรรมมีโทษ คืออกุศล. บทว่า

อนวชฺชญฺจ ธรรมไม่มีโทษ คือกุศล. แม้บทว่า หีนปฺปณีตกณฺหสุกฺก-

วิญฺญูครหิตปฺปสตฺถ ธรรมเลว ธรรมประณีต ธรรมดำ ธรรมขาว

ธรรมที่วิญญูชนติเตียน ธรรมที่วิญญูชนสรรเสริญแม้นี้ ก็เป็นกุศลและ

อกุศลนั่นเอง. ในธรรมเป็นกุศลและอกุศลเหล่านั้น กายสุจริตเป็นต้นเป็น

ธรรมอันเสมอ เพราะทำให้เสมอ. กายทุจริตเป็นต้นเป็นธรรมอันไม่เสมอ

เพราะทำให้ไม่เสมอ. กุศลกรรมบถเป็นทาง เพราะเป็นทางไปสุคติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 441

อกุศลกรรมบถไม่เป็นทาง เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อการไปสุคติ เพราะเป็น

ทางไปอบาย. อกุศลชื่อว่า เป็นธรรมมีโทษ เพราะเป็นไปกับด้วยโทษ.

กุศลชื่อว่า เป็นธรรมไม่มีโทษ เพราะมีโทษออกไปแล้ว. อนึ่ง พึงทราบว่า

ชื่อว่า เป็นธรรมเลว เพราะประกอบด้วยโมหะบ้าง โมหะและโทสะบ้าง

โมหะและโลภะบ้าง. ชื่อว่า เป็นธรรมประณีต เพราะประกอบด้วยอโลภะ

อโทสะ และอโมหะ. ชื่อว่า เป็นธรรมดำ เพราะมีวิบากดำ. ชื่อว่า

เป็นธรรมขาว เพราะมีวิบากขาว. ชื่อว่า เป็นธรรมอันวิญญูชนติเตียน

เพราะวิญญูชนมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงติเตียน. ชื่อว่า เป็นธรรมอัน

วิญญูชนสรรเสริญ เพราะอันวิญญูชนเหล่านั้นนั่นแล สรรเสริญ.

หากถามว่า เพราะเหตุไร ภิกษุไม่พึงประมาท. พึงทราบคาถาว่า

อภิภู หิ โส เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อภิภู คือ เป็นผู้ครอบงำรูปเป็นต้น. บทว่า

อนภิภูโต ไม่ถูกครองงำ คือไม่ถูกรูปเป็นต้น เหล่านั้นครอบงำ. บทว่า

สกฺขิธมฺม อนีติหมทสฺสี ได้เห็นแล้วซึ่งสักขิธรรมโดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น

คือได้เห็นธรรมแจ่มแจ้งแล้วโดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่น. บทว่า สทา นมสฺส-

มนุสิกฺเข นมัสการอยู่ พึงหมั่นศึกษาในกาลทุกเมื่อ คือนมัสการอยู่

พึงศึกษาสิกขา ๓.

บทว่า เกหิจิ กิเลเสหิ คือ ด้วยกิเลสอันทำให้เร่าร้อนมีราคะเป็นต้น

อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า อธิโภสิ เน คือ ครอบงำกิเลสเหล่านั้นได้แล้ว.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวงชัดดีแล้ว.

แต่ในที่นี้พึงทราบการสำรวมอินทรีย์ ด้วยบทมีอาทิว่า ไม่เป็นผู้

โลเลด้วยจักษุอย่างเดียวเท่านั้น. พึงทราบปัจจยปฏิเสวนศีล (ศีลคือการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 442

เสพปัจจัย) มีการห้ามการสะสมเป็นหลัก ด้วยบทมีอาทิว่า แห่งข้าวหรือ

แห่งน้ำทั้งหลาย. พึงทราบปาติโมกขสังวรศีล (ศีลคือการสำรวมในปาติ-

โมกข์) ด้วยบทมีอาทิว่า เว้นการพูดเท็จ. พึงทราบอาชีวปาริสุทธศีล

(ศีลคืออาชีวะบริสุทธิ์) ด้วยบทมีอาทิว่า ทำอาถรรพณ์ ทำนายฝัน ทำนาย

ลักษณะ พึงทราบสมาธิด้วยบทนี้ว่า พึงเป็นผู้เพ่ง. พึงทราบไตรสิกขา

โดยสังเขปด้วยบทมีอาทิว่า พึงเป็นผู้มีสติศึกษาทุกเมื่อ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสการสงเคราะห์และการบรรเทา อันเป็นอุปจาระแห่งศีล สมาธิ

ปัญญา ด้วยบทมีอาทิว่า ภิกษุพึงอยู่ในที่นั่งที่นอนอันมีเสียงน้อย ไม่พึง

เห็นแก่นอนมากนัก. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสปฏิปทาบริบูรณ์แก่พระ-

พุทธนิมิตอย่างนี้แล้ว ทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอด คือพระอรหัต.

เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นเดียวกันกับที่กล่าวไว้แล้วใน

ปุราเภทสูตรนั้นแล.

จบอรรถกถาตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 443

อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕

[๗๘๙] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า) ภัยเกิดแต่อาชญาของ

ตน ท่านทั้งหลายจงดูคนที่ทุ่มเถียงกัน เราจักแสดง

ความสังเวชตามที่เราได้สังเวชมาแล้ว.

ว่าด้วยภัย ๒ เกิดจากอาชญา ๓ อย่าง

[๗๙๐] ชื่อว่า อาชญา ในคำว่า ภัยเกิดแต่อาชญาของตน ได้แก่

อาชญา ๓ อย่าง คือ อาชญาทางกาย ๑ อาชญาทางวาจา ๑ อาชญาทางใจ ๑

กายทุจริต ๓ ชื่อว่าอาชญาทางกาย วจีทุจริต ๔ ชื่อว่าอาชญาทางวาจา

มโนทุจริต ๓ ชื่อว่าอาชญาทางใจ. ชื่อว่าภัย คือ ภัย ๒ อย่าง ได้แก่

ภัยมีในชาตินี้ ๑ ภัยมีในชาติหน้า ๑.

ภัยมีในชาตินี้เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริต

ด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ ฆ่าสัตว์บ้าง

ลักทรัพย์บ้าง ตัดที่ต่อบ้าง ปล้นทุกหลังคาเรือนบ้าง ปล้นเฉพาะเรือน

หลังเดียวบ้าง ดักแย่งชิงอยู่ที่หนทางเปลี่ยวบ้าง คบชู้ภรรยาแห่งชาย

อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง พวกราชบุรุษจับคนผู้นั้นได้แล้ว ทูลแด่พระราชาว่า

ขอเดชะ บุรุษผู้นี้เป็นโจร ประพฤติชั่ว พระองค์จงลงอาชญาที่ทรง

พระประสงค์แก่บุรุษนี้เถิด พระราชากทรงตวาดบริภาษคนผู้นั้น คนนั้น

ของเสวยทุกข์โทมนัสแม้เพราะเหตุที่ถูกบริภาษ ทุกข์โทมนัสนั้นเป็นภัย

ของคนนั้นเกิดแต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ

ปรากฏแต่อาชญาของตน. พระราชายังไม่พอพระทัย แม้ด้วยการบริภาษ

เท่านี้ ย่อมรับสั่งให้จองจำคนนั้นด้วยเครื่องจองจำคือขื่อคาบ้าง ด้วยเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 444

จองจำคือเชือกบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือโซ่ตรวนบ้าง ด้วยเครื่องจองจำ

คือหวายบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือเถาวัลย์บ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือการ

ควบคุมบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือเครื่องล้อมบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือ

บ้านบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือนครบ้าง ด้วยเครื่องจองจำคือแว่นแคว้นบ้าง

ด้วยเครื่องจองจำคือชนบทบ้าง โดยที่สุดทรงบังคับว่า มันจะหนีจาก

ถามที่จองจำนี้ไปไม่ได้ คนนั้นต้องเสวยทุกข์โทมนัสแม้เพราะเหตุการ

จองจำนั้น ภัยทุกข์โทมนัสของคนนั้นเกิดแต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม

บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน.

พระราชายังไม่พอพระทัยแม้ด้วยการจองจำนั้น ย่อมรับสั่งให้

ริบทรัพย์ของคนนั้นร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง แสนหนึ่งบ้าง คนนั้น

ต้องเสวยทุกข์และโทมนัสแม้เพราะเหตุแห่งความเสื่อมทรัพย์ ทุกข์โทมนัส

นั้นเป็นภัยของคนนั้นเกิดแต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด

บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน. พระราชายังไม่พอพระทัยแม้ด้วย

การริบทรัพย์เท่านั้น ย่อมรับสั่งให้ทำกรรมกรณ์ต่าง ๆ กะคนนั้น คือ

ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ดีด้วยไม้พลองบ้าง ให้

ตัดมือบ้าง ให้ตัดเท้าบ้าง ให้ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง ให้ตัดใบหูบ้าง ให้ตัด

จมูกบ้าง ให้ตัดทั้งใบหูทั้งจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง

ถลกหนังศีรษะออกแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง ใส่ไฟลุกโพลงเข้าไป

ในปากจนโลหิตไหลออกเต็มปากเหมือนปากราหูบ้าง พันตัวด้วยผ้า

ชุบน้ำมันแล้วเผาทั้งเป็นบ้าง พันมือด้วยผ้าชุบน้ำมันแล้วจุดไฟให้ลุก

เหมือนประทีปบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอลงมาถึงข้อเท้าลากให้เดินเหยียบ

หนังนั้นจนล้มลงบ้าง ถลกหนึ่งตั้งแต่คอลงมาถึงบั้นเอวทำให้เป็นดังนุ่งผ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 445

คากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าทั้งหมดแล้วเสียบหลาวเหล็ก

๔ ทิศตั้งไว้เผาไฟบ้าง เอาเบ็ดเกี่ยวหนังเนื้อเอ็นออกมาบ้าง เอามีดเฉือน

เนื้อออกเป็นแว่น ๆ ดังเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนังเนื้อเอ็นออกเหลือ

แต่กระดูกบ้าง แทงหลาวเหล็กที่ช่องหูจนทะลุถึงกันเสียบติดดินแล้วจับ

หมุนไปโดยรอบบ้าง ทุบให้กระดูกละเอียดแล้วถลกหนังออกเหลือแต่กอง

เนื้อดังตั่งใบไม้บ้าง เอาน้ำมันเดือดพล่านรดตัวบ้าง ให้สุนัขกัดกินทั้งเป็น

จนเหลือแต่กระดูกบ้าง เสียบหลาวยกขึ้นนอนหงายทั้งเป็นบ้าง เอาดาบ

ตัดศีรษะบ้าง คนนั้นต้องเสวยทุกข์โทมนัสแม้เพราะเหตุแห่งกรรมกรณ์

ภัยทุกข์โทมนัสนั้นของคนนั้นเกิดแต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด

บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน.

พระราชาเป็นใหญ่ในอาชญา ๔ อย่างเหล่านี้ คนนั้นเมื่อตายไปแล้ว

ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมของตน พวกนาย

นิรยบาลย่อมให้ทำกรรมกรณ์อันมีเครื่องจองจำ ๕ กะสัตว์นั้น คือ (ให้สัตว์

นั้นนอนหงายแล้ว) เอาหลาวเหล็กแดงตรึงไว้ที่มือขวา ๑ ที่มือซ้าย ๑

ที่เท้าขวา ๑ ที่เท้าซ้าย ๑ ที่ท่ามกลางอก ๑ สัตว์นั้นได้เสวยทุกขเวทนา

แสบร้อนร้ายแรงในนรกนั้น แต่ยังไม่ตาย ตลอดเวลาที่บาปกรรมนั้นยัง

ไม่สิ้น ภัยทุกข์และโทมนัสนั้นของสัตว์นั้นเกิดแต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิด

พร้อม บังเกิด เกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน.

พวกนายนิรยบาลให้สัตว์นั้นนอนลงแล้วเอาผึ่งถาก สัตว์นั้นได้

เสวยทุกขเวทนาแสบร้อนร้ายแรงในนรกนั้น แต่ยังไม่ตาย ตลอดเวลาที่

บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้น พวกนายนิรยบาลจับสัตว์นั้นเอาเท้าชี้ขึ้นข้างบนเอา

หัวห้อยลงข้างล่างแล้วเอามีดถาก เทียมสัตว์นั้นเข้าที่รถแล้ว ให้วิ่งไปข้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 446

หน้าบ้าง ให้วิ่งกลับมาข้างหลังบ้าง บนแผ่นดินที่ไฟติดทั่ว มีไฟลุก

โพลง ฯลฯ พวกนายนิรยบาลไล่ต้อนให้สัตว์นั้นขึ้นบนภูเขาถ่านเพลิง

ใหญ่ที่ไฟติดทั่ว มีไฟลุกโพลงบ้าง ไล่ต้อนให้ลงจากภูเขานั้นบ้าง ฯลฯ

พวกนายนิรยบาลจับสัตว์นั้นเอาเท้าชี้ขึ้นข้างบน เอาหัวห้อยลงข้างล่าง

แล้วเหวี่ยงลงไปในหม้อเหล็กอันร้อน ที่ไฟติดทั่ว มีไฟลุกโพลง สัตว์นั้น

เดือดพล่านอยู่ในหม้อเหล็กเหมือนฟองน้ำที่เดือด เมื่อเดือดพล่านอยู่ใน

หม้อเหล็กเหมือนฟองน้ำที่เดือด บางครั้งก็เดือดพล่านไปข้างบน บางครั้ง

ก็เดือดพล่าไปข้างล่าง บางครั้งก็เดือดพล่านไปทางขวาง สัตว์นั้นได้

เสวยทุกขเวทนา แสบร้อนร้ายแรงอยู่ในหม้อเหล็กนั้น แต่ยังไม่ตาย

ตลอดเวลาที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้น ภัย ทุกข์และโทมนัสของสัตว์นั้นเกิด

แต่อะไร ภัยนั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่

อาชญาของตน. พวกนายนิรยบาลโยนสัตว์นั้นลงไปในมหานรก

ว่าด้วยมหานรก

ก็แหละมหานรกนั้น มีมุมสี่เหลี่ยมจตุรัส มีประตู

สี่ช่อง ซึ่งจำแนกนับออกโดยส่วน มีกำแพงเหล็กล้อม-

รอบ มีแผ่นเหล็กครอบไว้ มหานรกนั้นมีภาคพื้นสำเร็จ

ด้วยเหล็ก มีเปลวไฟรุ่งโรจน์ ประกอบด้วยไฟร้อน แผ่ไป

ร้อยโยชน์โดยรอบตั้งอยู่ตลอดกาลทั้งปวง มหานรกอัน

เป็นที่น่าสยดสยองเผาผลาญสัตว์ให้มีทุกข์ร้ายแรง มี

เปลวไฟ แสนยากที่จะเข้าใกล้ น่าขนลุกขนพอง น่า

กลัว ให้เกิดภัย ให้เกิดทุกข์ กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 447

ด้านตะวันออกแล้ว แผดเผาเหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่าน

ไปกระทบฝาด้านตะวันตก กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้าน

ตะวันตกแล้ว แผดเผาเหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไป

กระทบฝาด้านตะวันออก กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้าน

เหนือแล้ว แผดเผาเหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไปกระทบ

ฝาด้านใต้ กองเปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านใต้แล้วแผดเผา

เหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไปกระทบฝาด้านเหนือ กอง

เปลวไฟที่น่ากลัวตั้งขึ้นแต่ภาคพื้นข้างล่างแล้ว แผดเผา

เหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไปกระทบฝาปิดข้างบน

ของเปลวไฟที่น่ากลัวตั้งขึ้นแต่ฝาปิดข้างบนแล้ว แผดเผา

เหล่าสัตว์ที่มีบาปกรรม ผ่านไปกระทบภาคพื้นข้างล่าง

แผ่นเหล็กที่ไฟติดทั่วร้อนอยู่เสมอ มีไฟลุกรุ่งโรจน์ ฉันใด

อเวจีนรกข้างล่าง ข้าง และโดยรอบ ก็ฉันนั้น.

สัตว์ทั้งหลายในนรกนั้น มีกรรมหยาบมาก ทำกรรม

ร้ายแรงมาก มีบาปกรรมโดยส่วนเดียว ย่อมหมกไหม้

อยู่ แต่ไม่ตาย ร่างกายของเหล่าสัตว์ที่อยู่ในนรกนั้น

เหมือนไฟที่ลุกอยู่ เชิญดูความมั่นคงของกรรม เถ้าและ

เขม่ามิได้มีเลย เหล่าสัตว์วิ่งไปข้างตะวันออกแล้ว ก็วิ่ง

ย้อนกลับมาข้างตะวันตก วิ่งไปข้างเหนือแล้ว ก็วิ่งย้อน

กลับมาข้างใต้ วิ่งไปทิศใด ๆ ประตูทิศนั้น ๆ ก็ปิดเอง

สัตว์เหล่านั้นมีความหวังเพื่อจะออก เป็นผู้แสวงหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 448

ประตูที่จะออก สัตว์เหล่านั้นไม่ได้เพื่อจะออกไปจากนรก

นั้น เพราะบาปกรรมเป็นปัจจัย เพราะบาปกรรมที่สัตว์

เหล่านั้นทำไว้มาก ยังมิได้ให้ผลหมดสิ้น ดังนี้.

ทุกข์และโทมนัสนั้นเป็นภัยของสัตว์นั้นเกิดแต่อะไร ภัยนั้นเกิด

เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแต่อาชญาของตน ทุกข์ที่มี

ในนรกก็ดี ทุกข์ที่มีในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็ดี ทุกข์ที่มีในเปรตวิสัยก็ดี

ทุกข์ที่มีในมนุษย์ก็ดี ทุกข์เหล่านั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ

ปรากฏแต่อะไร ทุกข์เหล่านั้นเกิด เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ

ปรากฏแต่อาชญาของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภัยเกิดแต่อาชญา

ของตน.

[๗๙๑] คำว่า คน ในคำว่า ท่านทั้งหลายจงดูคนที่ทุ่มเถียงกัน

คือพวกกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา

มนุษย์ คำว่า ที่ทุ่มเถียงกัน ความว่า ท่านทั้งหลายจงดู แลดู เหลียวดู

เพ่งดู พิจารณาดู ซึ่งคนที่ทุ่มเถียงกัน คือคนที่ทะเลาะกัน คนที่ทำร้าย

กัน คนที่ทำร้ายตอบกัน คนที่เคืองกัน คนที่เคืองตอบกัน คนที่ปองร้าย

กัน คนที่ปองร้ายตอบกัน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า จงดูคนที่ทุ่มเถียงกัน.

[๗๙๒] คำว่า เราจักแสดงความสังเวช ความว่า เราจักแสดง

ชี้แจง บอก เล่า บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ

ซึ่งความสังเวช คือความสะดุ้ง ความหวาดเสียว ความกลัว ความบีบคั้น

ความกระทบ ความเบียดเบียน ความขัดข้อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เราจักแสดงความสังเวช.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 449

[๗๙๓] คำว่า ตามที่เราได้สังเวชมาแล้ว ความว่า ตามที่เรา

ได้สังเวชมาแล้ว คือสะดุ้ง ถึงความหวาดเสียวมาแล้วด้วยตนทีเดียว

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตามที่เราได้สังเวชมาแล้ว เพราะเหตุนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภัยเกิดแต่อาชญาของตน ท่านทั้งหลายจงดูคนที่

ทุ่มเถียงกัน เราจักแสดงความสังเวชตามที่เราได้สังเวช

มาแล้ว.

[๗๙๔] ภัยเข้ามาถึงแล้ว เพราะเห็นหมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่ เหมือน

ปลาทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในที่มีน้ำน้อย และเพราะเห็นสัตว์

ทั้งหลายทำร้ายกันและกัน.

ว่าด้วยทุกข์ต่าง ๆ

[๗๙๕] คำว่า ปชา ในคำว่า เพราะเห็นหมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่

เป็นชื่อของสัตว์ ซึ่งหมู่สัตว์ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่น-

ไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา ด้วย

ความดิ้นรนเพราะทิฏฐิ ด้วยความดิ้นรนเพราะกิเลสด้วยความดิ้นรนเพราะ

ทุจริต ด้วยความดิ้นรนเพราะประโยค ด้วยความดิ้นในเพราะผลกรรม

ด้วยราคะของผู้กำหนัด ด้วยโทสะของผู้ขัดเคือง ด้วยโมหะของผู้หลง

ด้วยมานะเป็นเครื่องผูกพัน ด้วยทิฏฐิเป็นเครื่องถือมั่น ด้วยความฟุ้งซ่าน

ที่ฟุ้งเฟ้อแล้ว ด้วยความสงสัยที่ไม่แน่ใจ ด้วยอนุสัยที่ถึงกำลัง ด้วยลาภ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 450

ความเสื่อมลาภ ยศ ความเสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ ชาติ

ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส ทุกข์

อันมีในนรก ทุกข์อันมีในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ทุกข์อันมีในเปรตวิสัย

ทุกข์อันมีในมนุษย์ ทุกข์มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีความอยู่ใน

ครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีความคลอดจากครรภ์เป็นมูล ทุกข์อันติดตามสัตว์ผู้

เกิดแล้ว ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นของสัตว์ผู้เกิดแล้ว ทุกข์อันเกิดแต่ความ

ขวนขวายของตน ทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของผู้อื่น ทุกข์อันเนื่อง

แต่ทุกขเวทนา ทุกข์อันเกิดแต่สังขาร ทุกข์อันเกิดแต่ความแปรปรวน

ทุกข์เพราะโรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรค

ที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ

โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรค

ลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรค

หิตเปื่อย โรคหิตด้าน โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราด โรคอาเจียน

โลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง

อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็น

สมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดเพราะฤดูแปรปรวน อาพาธเกิด

เพราะการบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดเพราะทำความเพียรเกินกำลัง

อาพาธเกิดเพราะผลกรรม ด้วยความหนาว ความร้อน ความหิว ความ

ระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์เกิดแก่สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม

แดด และสัตว์เสือกคลาน ทุกข์เพราะมารดาตาย ทุกข์เพราะบิดาตาย

ทุกข์เพราะพี่ชายน้องชายตาย ทุกข์เพราะพี่หญิงน้องหญิงตาย ทุกข์เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 451

บุตรตาย ทุกข์เพราะธิดาตาย ทุกข์เพราะญาติตาย ทุกข์เพราะความ

ฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ ทุกข์เพราะความฉิบหายอันเกิดแต่โรค ทุกข์เพราะ

ความฉิบหายแห่งศีล ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ. คำว่า เพราะ

เห็น คือเพราะประสบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เเจ่ม

แจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเห็นหมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่.

[๗๙๖] คำว่า เหมือนปลาทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในที่มีน้ำน้อย ความ

ว่า ปลาทั้งหลายอันกา นกตะกรุม นกยาง จิกเฉี่ยวฉุดขึ้นกินอยู่ ย่อม

ดิ้นรนกระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่าย

อยู่ในที่มีน้ำน้อย คือในที่มีน้ำเล็กน้อย ในที่มีน้ำจะแห้งไป ฉันใด หมู่

สัตว์ย่อมดิ้นรนกระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับ

กระส่ายไปมาด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา ฯลฯ ด้วยทุกข์เพราะความ

ฉิบหายแห่งทิฏฐิ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนปลา

ทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในที่มีน้ำน้อย.

[๗๙๗] คำว่า สัตว์ทั้งหลายทำร้ายกันและกัน ความว่า สัตว์

ทั้งหลายทำร้ายกัน ทำร้ายตอบกัน เคืองกัน เคืองตอบกัน ปองร้ายกัน

ปองร้ายตอบกัน คือแม้พวกพระราชาก็วิวาทกับพวกพระราชา แม้พวก

กษัตริย์ก็วิวาทกับพวกกษัตริย์ แม้พวกพราหมณ์ก็วิวาทกับพวกพราหมณ์

แม้พวกคฤหบดีก็วิวาทกับพวกคฤหบดี แม้มารดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตร

ก็วิวาทกับมารดา แม้บิดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับบิดา แม้

พี่น้องชายก็วิวาทกับพี่น้องชาย แม้พี่น้องหญิงก็วิวาทกับพี่น้องหญิง แม้

พี่น้องชายก็วิวาทกับพี่น้องหญิง แม้พี่น้องหญิงก็วิวาทกับพี่น้องชาย แม้

สหายก็วิวาทกับสหาย สัตว์เหล่านั้นถึงความทะเลาะ ความแก่งแย่งและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 452

ความวิวาทกัน ในเพราะการทำร้ายกันและกันนั้น ย่อมประทุษร้ายกัน

และกันด้วยมือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศาสตราบ้าง

สัตว์เหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ย่อมถึงทุกข์ปางตายบ้าง ในเพราะ

ความประทุษร้ายกันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์ทั้งหลายทำร้าย

กันและกัน.

[๗๙๘] คำว่า เพราะเห็น ในคำว่า ภัยเข้ามาถึงเราแล้ว เพราะ

เห็น ความว่า ภัย คือความเบียดเบียน ความกระทบกระทั่ง อุบาทว์

อุปสรรคเข้ามาถึงเราเพราะเห็น ประสบ พิจารณา เทียบเคียง ทำให้

แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภัยเข้ามาถึงเราแล้ว

เพราะเห็น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภัยเข้ามาถึงเราแล้ว เพราะเห็นหมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่

เหมือนปลาทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในที่มีน้ำน้อย และเพราะ

เห็นสัตว์ทั้งหลายทำร้ายกันและกัน.

[๗๙๙] โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร สังขารทั้งหลายหวั่นไหว

แล้วตลอดทิศทั้งปวง เมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตน

ไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไร ๆ อันไม่ลูกครองงำ.

ว่าด้วยโลก

[๘๐๐] คำว่า โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร ความว่า โลกนรก

โลกดิรัจฉานกำเนิด โลกเปรตวิสัย โลกมนุษย์ โลกเทวดา โลกขันธ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 453

โลกธาตุ โลกอายตนะ โลกนี้ โลกอื่น ทั้งโลกพรหม ทั้งโลกเทวดา

นี้ชื่อว่าโลก โลกนรกไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร

โดยแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยแก่นสารที่เป็นสุข โดยแก่นสารที่เป็น

ตัวตน โดยความเป็นสภาพเที่ยง โดยความเป็นสภาพยั่งยืน โดยความ

เป็นสภาพมั่นคง หรือโดยความเป็นธรรมไม่มีความแปรปรวน โลก-

ดิรัจฉานกำเนิด โลกเปรตวิสัย โลกมนุษย์ โลกเทวดา โลกขันธ์ โลก-

ธาตุ โลกอายตนะ โลกนี้ โลกอื่น ทั้งพรหมโลก ทั้งเทวโลกไม่เป็น

แก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยแก่นสารที่เป็นของเที่ยง

โดยแก่นสารที่เป็นสุข โดยแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นสภาพเที่ยง

โดยความเป็นสภาพยั่งยืน โดยความเป็นสภาพมั่นคง หรือโดยความเป็น

ธรรมไม่มีความแปรปรวน ต้นอ้อไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร

ปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต้นละหุ่งไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร

ปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต้นมะเดื่อไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร

ปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต้นทองหลางไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร

ปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต่อมฟองน้ำไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร

ปราศจากแก่นสาร ฉันใด พยับแดดไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร

ปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต้นกล้วยไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร

ปราศจากแก่นสาร ฉันใด มายาไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจาก

แก่นสาร ฉันใด โลกนรกไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจาก

แก่นสาร ฯลฯ ทั้งพรหมโลก ทั้งเทวโลก ไม่เป็นแก่นสาร ไม่มี

แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยแก่นสารที่เป็นของเที่ยง... หรือโดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 454

ความเป็นธรรมไม่มีความแปรปรวน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร.

ว่าด้วยสังขารไม่เที่ยง

[๘๐๑] คำว่า สังขารทั้งหลายหวั่นไหวแล้วตลอดทิศทั้งปวง

ความว่า สังขารทั้งหลายในทิศตะวันออก แม้สังขารเหล่านั้นก็หวั่นไหว

สะเทื้อน สะท้าน เอนเอียง เพราะเป็นสภาพไม่เที่ยงจึงเป็นสภาพอัน

ชาติติดตาม ชราห้อมล้อม พยาธิครอบงำ ถูกมรณะกำจัด ตั้งอยู่ใน

กองทุกข์ ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง เป็นสภาพไม่มีที่พึ่ง

สังขารทั้งหลายในทิศตะวันตก ในทิศเหนือ ในทิศใต้ ในทิศอาคเนย์

ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน

ในสิบทิศ แม้สังขารเหล่านั้น หวั่นไหว สะเทื้อน สะท้าน เอนเอียง

เพราะเป็นของไม่เที่ยง จึงเป็นสภาพอันชาติติดตาม ชราห้อมล้อม พยาธิ

ครอบงำ ถูกมรณะกำจัด ตั้งอยู่ในกองทุกข์ ไม่มีที่ป้องกัน ไม่มีที่หลีก

เร้น ไม่มีที่พึ่ง เป็นสภาพไม่มีที่พึ่ง สมจริงตามภาษิตนี้ว่า

ก็วิมานนี้ สว่างรุ่งเรืองอยู่ในทิศอุดรแม้โดยแท้ แต่

บัณฑิตเห็นความชั่ว (โทษ) ในรูปแล้ว หวั่นไหวทุกเมื่อ

เพราะเหตุนั้น ท่านผู้มีปัญญาดีย่อมไม่ยินดีในรูป โลก

อันมัจจุกำจัด อันชราห้อมล้อม ถูกลูกศร คือตัณหา

แทงติดอยู่ ลุกเป็นควันเพราะความปรารถนาทุกเมื่อ โลก

ทั้งปวงอันไฟติดทั่ว โลกทั้งปวงอันไฟให้ลุกสว่าง โลก

ทั้งปวงอันไฟให้ลุกรุ่งโรจน์ โลกทั้งปวงหวั่นไหว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 455

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สังขารทั้งหลายหวั่นไหวแล้วตลอดทิศทั้งปวง.

[๘๐๒] คำว่า เมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตน ความว่า

เมื่อเราปรารถนา ยินดี ประสงค์ รักใคร่ ชอบใจ ซึ่งความเจริญ คือ

ที่ป้องกัน ที่หลีกเร้น ที่พึ่ง ที่ดำเนิน ที่ก้าวหน้า เพื่อตน เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า เมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตน.

[๘๐๓] คำว่า ไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไร ๆ อันไม่ถูกครอบงำ

ความว่า เราไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไร อันไม่ถูกครองงำ คือได้เห็นฐานะ

ทั้งปวงถูกครอบงำทั้งนั้น ความเป็นหนุ่มสาวทั้งปวงถูกชราครอบงำ ความ

เป็นผู้ไม่มีโรคทั้งปวงถูกพยาธิครอบงำ ชีวิตทั้งปวงถูกมรณะครอบงำ

ลาภทั้งปวงถูกความเสื่อมลาภครอบงำ ยศทั้งปวงถูกความเสื่อมยศครอบงำ

ความสรรเสริญทั้งปวงถูกความนินทาครอบงำ สุขทั้งปวงถูกทุกข์ครอบงำ.

สมจริงดังภาษิตว่า

ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือลาภ ความเสื่อมลาภ

ยศ ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ เป็น

ของไม่เที่ยง ไม่มั่นคง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไร ๆ อันไม่ถูกครอบงำ

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร สังขารทั้งหลายหวั่นไหว

แล้วตลอดทิศทั้งปวง เมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตน

ไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไร ๆ อันไม่ถูกครอบงำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 456

[๘๐๔] เพราะได้เห็นที่สิ้นสุด ที่สกัดกั้น เราจึงได้มีความไม่

ยินดี อนึ่ง เราได้เห็นลูกศรอันเห็นได้ยาก อาศัยหทัย

ในสัตว์ทั้งหลายนั้น.

[๘๐๕] คำว่า ที่สิ้นสุด ในคำว่า ที่สิ้นสุด ที่สกัดกั้น ความว่า

ชรายังความเป็นหนุ่มสาวทั้งปวงให้สิ้นสุดไป พยาธิยังความเป็นผู้ไม่มีโรค

ทั้งปวงให้สิ้นสุดไป มรณะยังชีวิตทั้งปวงให้สิ้นสุดไป ความเสื่อมลาภยัง

ลาภทั้งปวงให้สิ้นสุดไป ความนินทายังความสรรเสริญทั้งปวงให้สิ้นสุดไป

ทุกข์ยังสุขทั้งปวงให้สิ้นสุดไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่สิ้นสุด. คำว่า ที่

สกัดกั้น ความว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความเป็นหนุ่มสาว ถูกชรา

สกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความไม่มีโรค ถูกพยาธิสกัดกั้นไว้

สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาชีวิต ถูกมรณะสกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนา

ลาภ ถูกความเสื่อมลาภสกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนายศ ถูกความ

เสื่อมยศสกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความสรรเสริญ ถูกความ

นินทาสกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความสุข ถูกความทุกข์สกัดกั้น

ไว้ คือปิดไว้ มากระทบ มากระทบเฉพาะ ทำลาย ทำลายเฉพาะ

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่สิ้นสุดที่สกัดกั้น.

[๘๐๖] คำว่า เพราะได้เห็น ในคำว่า เพราะได้เห็น ... เราจึง

ได้มีความไม่ยินดี ความว่า เพราะเห็น ประสบ พิจารณา เทียบเคียง

ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะได้เห็น.

คำว่า เราจึงได้มีความไม่ยินดี ความว่า ความไม่ยินดี ความไม่ยินดี

ยิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง ความระอา ความเบื่อ ได้มีแล้ว เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า เพราะได้เห็น... เราจึงได้มีความไม่ยินดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 457

[๘๐๗] ศัพท์ว่า อถ ในคำว่า อนึ่ง เราได้เห็นลูกศร... ใน

สัตว์ทั้งหลาย นั้น เป็นบทสนธิ ฯลฯ ศัพท์ว่า อถ นี้ เป็นไปตาม

ลำดับบท. คำว่า ใน นั้น เพ่งความว่า ในสัตว์ทั้งหลาย. ชื่อว่า ลูกศร

ได้แก่ ลูกศร ๗ ประการ คือลูกศรคือราคะ ลูกศรคือโทสะ ลูกศรคือ

โมหะ. ลูกศรคือมานะ ลูกศรคือทิฏฐิ ลูกศรคือความโศก ลูกศรคือ

ความสงสัย. คำว่า เราได้เห็นแล้ว ความว่า ได้ประสบ ได้พบ ได้เห็น

แทงตลอดแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง เราได้เห็นลูกศร... ในสัตว์

ทั้งหลายนั้น.

[๘๐๘] คำว่า อันเห็นได้ยาก ในคำว่า อันเห็นได้ยาก อาศัย

หทัย ความว่า เห็นได้ยาก ดูได้ยาก พบได้ยาก รู้ได้ยาก ตามรู้ได้ยาก

แทงตลอดได้ยาก จิตได้แก่จิต ใจ มานัส หทัย ปัณฑระ มโน

มนายตนะ มนินเทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสม

กัน . เรียกว่าหทัย ในคำว่า อันอาศัยหทัย. คำว่า อันอาศัยหทัย

คืออันอาศัยหทัย อาศัยจิต ร่วมอาศัยจิต ไปร่วม เกิดร่วม เกี่ยวข้อง

สัมปยุตด้วยจิต เกิดขึ้นพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์

เดียวกันกับจิต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันเห็นได้ยาก อาศัยหทัย

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เพราะได้เห็นที่สิ้นสุด ที่สกัดกั้น เราจึงได้มีความ

ไม่ยินดี อนึ่ง เราได้เห็นลูกศรอันเห็นได้ยาก อาศัยหทัย

ในสัตว์ทั้งหลายนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 458

[๘๐๙] สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ย่อมแล่นพล่านไปสู่ทิศ

ทั้งปวง เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ ย่อมไม่แล่นไป

ย่อมไม่ล่มจม.

ว่าด้วยลูกศร ๗ ประการ

[๘๑๐] ชื่อว่า ลูกศร ในคำว่า สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้วย่อม

แล่นพล่านไปสู่ทิศทั้งปวง ได้แก่ ลูกศร ๗ ประการ คือลูกศรราคะ

ลูกศรโทสะ ลูกศรโมหะ ลูกศรมานะ ลูกศรทิฏฐิ ลูกศรความโศก

ลูกศรความสงสัย.

ลูกศรราคะเป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความยินดี

ความชอบใจ ความเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน ความที่

จิตกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล นี้ชื่อว่า ลูกศรราคะ.

ลูกศรโทสะเป็นไฉน ความอาฆาตย่อมเกิดว่า คนโน้นได้ประพฤติ

ความพินาศแก่เราแล้ว ความอาฆาตย่อมเกิดว่า คนโน้นย่อมประพฤติ

ความพินาศแก่เรา ความอาฆาตย่อมเกิดว่า คนโน้นจักประพฤติความ

พินาศแก่เรา ฯลฯ ความเป็นคนดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่

แช่มชื่นแห่งจิต นี้ชื่อว่า ลูกศรโทสะ.

ลูกศรโมหะเป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ความไม่รู้ใน

ปฏิปทาอันให้ถึงความดับทุกข์ ความไม่รู้ส่วนเบื้องต้น ความไม่รู้ส่วน

เบื้องปลาย ความไม่รู้ส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ใน

ธรรมทั้งหลายที่อาศัยกันเกิดขึ้น คือความที่ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชานี้เป็น

ปัจจัย ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่ตามตรัสรู้ ความไม่ตรัสรู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 459

ชอบ ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเหตุด้วยดี ความไม่หยั่งรู้เหตุ

ความไม่เพ่งพินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความไม่

ผ่องแผ้ว ความเป็นคนโง่ ความหลง ความหลงทั่ว ความหลงพร้อม

อวิชชา อวิชชาโอฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน

อวิชชาลังคี (ลิ่มคืออวิชชา) โมหะ อกุศลมูล นี้ชื่อว่า ลูกศรโมหะ.

ลูกศรมานะเป็นไฉน ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา ความถือตัวว่า

เราเสมอเขา ความถือตัวว่า เราเลวกว่าเขา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว

ความเป็นผู้ถือตัว ความใฝ่สูง ความฟูขึ้น ความทะนงตัว ความยกตัว

ความที่จิตใฝ่สูง ดุจธง นี้ชื่อว่า ลูกศรมานะ.

ลูกศรทิฏฐิเป็นไฉน สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐

อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ทิฏฐิ ความไปคือทิฏฐิ รกเรี้ยวคือทิฏฐิ

กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องประกอบ

คือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดถือทางผิด คลอง-

ผิด ความเป็นผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือโดยแสวงหาผิด ความถือวิปริต

ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือแน่นอนว่าจริงในสิ่งที่ไม่จริง

อันใดเห็นปานนี้ และทิฏฐิ ๖๒ มีประมาณเท่าใด นี้ชื่อว่า ลูกศรทิฏฐิ.

ลูกศรความโศกเป็นไฉน ความโศก กิริยาที่โศก ความเป็นผู้โศก

ความโศกในภายใน ความตรอมเตรียมในภายใน ความเร่าร้อนในภายใน

ความแห้งผากในภายใน ความตรอมเตรียมแห่งจิต ความโทมนัสแห่ง

บุคคลที่ถูกความเสื่อมแห่งญาติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งโภค-

สมบัติกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมเพราะโรคกระทบเข้าบ้าง ที่ถูก

ความเสื่อมแห่งศีลกระทบเข้าบ้าง ที่ถูกความเสื่อมแห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 460

ที่ประจวบกับความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใด

อย่างหนึ่งกระทบเข้าบ้าง นี้ชื่อว่า ลูกศรความโศก.

ลูกศรความสงสัยเป็นไฉน ความสงสัยในทุกข์ ความสงสัยใน

ทุกขสมุทัย ความสงสัยในทุกขนิโรธ ความสงสัยในทุกขนิโรธคามินี-

ปฏิปทา ความสงสัยในส่วนเบื้องต้น ความสงสัยในส่วนเบื้องปลาย ความ

สงสัยในส่วนเบื้องต้น และส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยในธรรมทั้งหลายที่

อาศัยกันเกิดขึ้น คือความที่ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชานี้เป็นปัจจัย ความ

สงสัย กิริยาที่สงสัย ความเป็นผู้สงสัย ความเคลือบแคลง ความลังเล

ความเป็นสองทาง ความไม่แน่ใจ ความไม่แน่นอน ความไม่ตกลงใจ

ความไม่อาจตัดสิน ความไม่กำหนดถือเอาได้ ความที่จิตหวั่นไหวอยู่

ความติดขัดในใจ นี้ชื่อว่า ลูกศรความสงสัย.

ว่าด้วยภาวะของสัตว์ที่ถูกลูกศร

[๘๑๑] คำว่า สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ย่อมแล่นพล่านไป

สู่ทิศทั้งปวง ความว่า สัตว์อันลูกศรราคะปักติดแล้ว คือแทงเข้าไป

ถูกต้อง ติดเสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อม

ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมประพฤติทุจริตด้วยใจ ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง

ลักทรัพย์บ้าง ตัดที่ต่อบ้าง ปล้นโดยไม่เหลือบ้าง ปล้นเฉพาะเรือนหลัง

เดียวบ้าง ดักแย่งชิงที่ทางเปลี่ยวบ้าง คบชู้ภรรยาบุรุษอื่นบ้าง พูดเท็จ

บ้าง สัตว์อันลูกศรราคะปักติดแล้ว คือแทงเข้าไปถูกต้อง ติด เสียบแน่น

คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปแม้อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 461

อนึ่ง สัตว์อันลูกศรราคะปักติดแล้ว คือแทงเข้าไป ถูกต้อง ติด

เสียบแน่น คาอยู่แล้ว เมื่อแสวงหาโภคทรัพย์ ย่อมแล่นไปสู่มหาสมุทร

ด้วยเรือ ฝ่าหนาว ฝ่าร้อน ถูกสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์

เสือกคลานเบียดเบียน ถูกความหิวระหายเบียดเบียน ไปคุมพรัฐ ไปตัก-

โกลรัฐ ไปตักกสิลรัฐ ไปกาลมุขรัฐ ไปมรณปารรัฐ ไปเวสุงครัฐ ไปเวรา-

ปถรัฐ ไปชวรัฐ ไปตัมพลิงครัฐ ไปวังกรัฐ ไปเอฬวันธนรัฐ ไปสุวรรณ-

กูฏรัฐ ไปสุวรรณภูมิรัฐ ไปตัมพปัณณิรัฐ ไปสุปปารรัฐ ไปภรุกรัฐ ไป

สุรัทธรัฐ ไปอังคเณกรัฐ ไปคังคณรัฐ ไปปรมคังคณรัฐ ไปโยนรัฐ ไป

ปินกรัฐ ไปอัลลสัณฑรัฐ ไปมรุกันตารรัฐ เดินทางที่ต้องไปด้วยเข่า เดิน

ทางที่ต้องไปด้วยแกะ เดินทางที่ต้องไปด้วยแพะ เดินทางที่ต้องโหนไป

ด้วยเชือกและหลัก เดินทางที่ต้องโดดลงด้วยร่มหนังแล้วจึงเดินไปได้ เดิน

ทางที่ต้องไปด้วยพะองไม้ไผ่ เดินทางตามทางนก เดินทางตามทางหนู

เดินทางตามซอกภูเขา เดินทางตามลำธารที่ต้องได้ไปตามเส้นหวาย เมื่อ

แสวงหาไม่ได้ ก็เสวยทุกข์โทมนัสแม้มีความไม่ได้เป็นมูล เมื่อแสวงหาได้

ครั้นได้แล้วก็เสวยทุกข์โทมนัสแม้มีความรักษาเป็นมูล ด้วยวิตกอยู่ว่า ด้วย

อุบายอะไรหนอ พระราชาจึงจะไม่ริบทรัพย์ของเราไป พวกโจรจะไม่

ลักไป ไฟจะไม่ไหม้ น้ำจะไม่พัดไป พวกทายาทที่ไม่เป็นที่รักไม่เอาไป

เมื่อเขารักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ ทรัพย์เหล่านั้นย่อมวิบัติไป เขาก็เสวยทุกข์

โทมนัสแม้มีการพลัดพรากทรัพย์เป็นมูล สัตว์อันลูกศรราคะปักติดแล้ว

คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่น

พล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปแม้อย่างนี้ สัตว์อันลูกศรโทสะ ลูกศรโมหะ

ลูกศรมานะ ปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 462

อยู่แล้ว ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อม

ประพฤติทุจริตด้วยใจ ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ตัดที่ต่อบ้าง

ปล้นโดยไม่เหลือบ้าง ปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ดักแย่งชิงที่ทาง

เปลี่ยวบ้าง คบชู้ภรรยาบุรุษอื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง สัตว์อันลูกศรมานะปัก

ติดแล้ว คือแทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น

แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปแม้อย่างนี้.

สัตว์อันลูกศรทิฏฐิปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบ

แน่น คาอยู่แล้ว ย่อมเป็นคนเปลือยกาย ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญ

ให้มาริบภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้

ก่อน ไม่รับภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่รับภิกษาที่เขาเชื้อเชิญ ไม่รับภิกษา

ปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากหม้อข้าว ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณี

ประตูนำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้นำมา ไม่รับภิกษาที่

บุคคลยืนคร่อมสากนำมา ไม่รับภิกษาของตน ๒ คนที่กำลังบริโภคอยู่

ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงที่กำลังให้ลูกดูดนม

ไม่รับภิกษาของหญิงที่คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่

รับภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็น

กลุ่ม ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง เขา

รับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษา

ที่เรือน ๒ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำบ้าง ฯลฯ รับภิกษาที่

เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วย

ภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ฯลฯ ๗ ใบบ้าง กินอาหาร

ที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ฯลฯ ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 463

ความขวนขวายในการบริโภคอาหารที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง สัตว์

อันลูกศรทิฏฐิปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น

คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปอย่างนี้ อนึ่ง

สัตว์อันลูกศรทิฏฐิปักติดแล้ว คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น

คาอยู่แล้ว เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูก

เดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภิกษาบ้าง

มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มี

โคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น

เยียวยาอัตภาพ เขานุ่งห่มผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้า

เปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้า

คากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วย

ผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยชนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด

คือ เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้

ยืน คือ ห้ามอาสนะ (การนั่ง) บ้าง เป็นผู้กระหย่ง คือ ประกอบความ

เพียรในการกระหย่งบ้าง เป็นผู้นอนบนหนาม คือ สำเร็จการนอนบน

หนามบ้าง สำเร็จการนอนบนแผ่นกระดานบ้าง สำเร็จการนอนบนเนิน

ดินบ้าง เป็นผู้นอนตะแคงข้างเดียวบ้าง เป็นผู้หมักหมมด้วยธุลีบ้าง เป็น

ผู้อยู่กลางแจ้งบ้าง เป็นผู้นั่งบนอาสนะตามที่ลาดไว้บ้าง เป็นผู้บริโภคคูถ

คือ ประกอบการขวนขวายในการบริโภคคูถบ้าง เป็นผู้ห้ามน้ำเย็น คือ

ขวนขวายในการห้ามน้ำเย็นบ้าง เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือ ประกอบ

ความขวนขวายในการลงน้ำบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการให้

กายเดือดร้อน เร่าร้อนหลายอย่างเช่นนี้ สัตว์อันลูกศรทิฏฐิปักติดแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 464

คือ แทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่น

พล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปแม้อย่างนี้.

สัตว์อันลูกศรความโศกปักติดแล้ว คือแทงเข้าไป ถูกต้อง ติด

เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ รำพัน ทุบอกคร่ำครวญ

ถึงความหลงใหล สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์

เรื่องเคยมีมาแล้วในพระนครสาวัตถีนี้นี่แหละ หญิงคนหนึ่งมารดาตายไป

หญิงนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่านเพราะมารดาตาย จากถนนนี้เข้าไปยังถนน

โน้น จากตรอกนี้เข้าไปยังตรอกโน้น พูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายเห็น

มารดาฉันบ้างไหม ท่านทั้งหลายเห็นมารดาฉันบ้างไหม ดูก่อนพราหมณ์

เรื่องเคยมีมาแล้วในพระนครสาวัตถีนี้นี่แหละ หญิงคนหนึ่งบิดาตายไป

พี่ชายน้องชายตายไป... พี่หญิงน้องหญิงตายไป... บุตรตายไป... ธิดา

ตายไป... สามีตายไป หญิงนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่านเพราะสามีตาย จาก

ถนนนี้เข้าไปยังถนนโน้น จากตรอกนี้เข้าไปยังตรอกโน้น พูดอย่างนี้ว่า

ท่านทั้งหลายเห็นสามีฉันบ้างไหม ท่านทั้งหลายเห็นสามีฉันบ้างไหม ดู

ก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้วในพระนครสาวัตถีนี้นี่แหละ บุรุษ

คนหนึ่งมารดาตายไป บุรุษนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่านเพราะมารดาตาย

จากถนนนี้เข้าไปยังถนนโน้น จากตรอกนี้ เข้าไปยังตรอกโน้น พูด

อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายเห็นมารดาฉันบ้างไหม ท่านทั้งหลายเห็นมารดาฉัน

บ้างไหม ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้วในพระนครสาวัตถีนี้นี่แหละ

บุรุษคนหนึ่งบิดาตายไป... พี่ชายน้องชายตายไป... พี่หญิงน้องหญิงตาย

ไป... บุตรตายไป... ธิดาตายไป... ภรรยาตายไป บุรุษนั้นเป็นบ้า

จิตฟุ้งซ่านเพราะภรรยาตาย จากถนนนี้เข้าไปยังถนนโน้น จากตรอกนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 465

เข้าไปยังตรอกโน้น พูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายเห็นภรรยาฉันบ้างไหม

ท่านทั้งหลายเห็นภรรยาฉันบ้างไหม ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว

ในพระนครสาวัตถีนี้นี่แหละ หญิงคนหนึ่งไปสู่สกุลแห่งญาติ พวกญาติ

ของหญิงนั้น ปรารถนาจะพรากสามีเสีย แล้วยกหญิงนั้นให้แก่บุรุษอื่น

หญิงนั้นไม่พอใจบุรุษอื่นนั้น ครั้งนั้นแหละ หญิงนั้นได้บอกกะสามีว่า

ข้าแต่ท่านลูกเจ้า ญาติเหล่านี้ประสงค์จะพรากท่านแล้วยกฉันให้บุรุษอื่น

เราทั้งสองจักพากันตาย ในทันใดนั้น บุรุษก็ฟันหญิงนั้นขาด ๒ ท่อน

แล้วก็ฆ่าตนเองพร้อมด้วยหวังว่า เราทั้งสองจักมี (พบกัน ) ในโลกหน้า

สัตว์อันลูกศรความโศกปักติดแล้วคือแทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น

คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปอย่างนี้.

สัตว์อันลูกศรความสงสัยปักติดแล้ว คือแทงเข้าไป ถูกต้อง ติด

เสียบแน่น คาอยู่แล้ว เป็นผู้แล่นไปสู่ความสงสัยเคลือบแคลงเป็นสองทาง

ว่า ในอดีตกาล เราได้เป็นแล้วหรือหนอ หรือเราไม่ได้เป็นแล้ว เรา

ได้เป็นอะไรแล้วหรือหนอ เราได้เป็นแล้วอย่างไรหนอ เราได้เป็นอะไร

มาแล้วจึงเป็นอะไรต่อมาหนอ ในอนาคตกาล เราจักเป็นหรือหนอ หรือ

เราจักไม่เป็น เราจักเป็นอะไรหนอ เราจักเป็นอย่างไรหนอ เราจักเป็น

อะไรแล้ว จึงจักเป็นอะไรต่อไปอีกหนอ ในปัจจุบันกาลบัดนี้ ก็มีความ

สงสัยอยู่ ณ ภายในว่า เราย่อมเป็นหรือหนอ หรือเราย่อมไม่เป็น เรา

ย่อมเป็นอะไรหรือหนอ เราย่อมเป็นอย่างไรหนอ เราเป็นสัตว์มาแต่ไหน

หนอ เราจักเป็นสัตว์ไปเกิดที่ไหนหนอ สัตว์อันลูกศรความสงสัยปักติด

๑. ความสงสัย ๑๖ อย่าง คือ อดีตกาล ๕ อนาคตกาล ๕ ปัจจุบันกาล ๖ เรียกว่าโสฬสกังขา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 466

แล้ว คือแทงเข้าไป ถูกต้อง ติด เสียบแน่น คาอยู่แล้ว ย่อมแล่น

แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปอย่างนี้ สัตว์นั้นย่อมปรุงแต่งให้ลูกศร

เหล่านั้นเกิด ก็แล่นไปสู่ทิศตะวันออก แล่นไปสู่ทิศตะวันตก แล่นไปสู่

ทิศเหนือ แล่นไปสู่ทิศใต้ ด้วยสามารถแห่งการปรุงแต่งให้ลูกศรเกิด สัตว์

เป็นผู้ละอภิสังขารคือลูกศรเหล่านั้นไม่ได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขาร

คือลูกศรไม่ได้ จึงแล่นไปในคติ แล่นไปในนรก แล่นไปในดิรัจฉาน-

กำเนิด แล่นไปในเปรตวิสัย แล่นไปในมนุษยโลก แล่นไปในเทวโลก

ย่อมแล่น แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไปจากคตินี้สู่คติโน้น จาก

อุปบัตินี้สู่อุปบัติโน้น จากปฏิสนธินี้สู่ปฏิสนธิโน้น จากภพนี้สู่ภพโน้น

จากสงสารนี้สู่สงสารโน้น จากวัฏฏะนี้สู่วัฏฏะโน้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ย่อมแล่นพล่านไป สู่ทิศทั้งปวง.

[๘๑๒] คำว่า เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป

ย่อมไม่ล่มจม ความว่า สัตว์ถอน ถอด ชัก ดึง ฉุด กระชากออก

ละเว้น บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งลูกศรราคะ ลูกศร

โทสะ ลูกศรโมหะ ลูกศรมานะ ลูกศรทิฏฐิ ลูกศรความโศก ลูกศร

ความสงสัยนั้นได้แล้ว ย่อมไม่แล่นไปสู่ทิศตะวันออก ไม่แล่นไปสู่ทิศ

ตะวันตก ไม่แล่นไปสู่ทิศเหนือ ไม่แล่นไปสู่ทิศใต้ สัตว์เป็นผู้ละ

อภิสังขารคือถูกศรเหล่านั้นได้แล้วเพราะเป็นผู้ละอภิสังขารคือลูกศรได้แล้ว

จึงไม่แล่นไปในคติ ไม่แล่นไปในนรก ไม่แล่นไปในดิรัจฉานกำเนิด

ไม่แล่นไปในเปรตวิสัย ไม่แล่นไปในมนุษยโลก ไม่แล่นไปในเทวโลก

ไม่แล่นไป แล่นพล่าน วนเวียน ท่องเที่ยวไป จากคตินี้สู่คติโน้น จาก

อุปบัตินี้สู่อุปบัติโน้น จากปฏิสนธินี้สู่ปฏิสนธิโน้น จากภพนี้สู่ภพโน้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 467

จากสงสารนี้สู่สงสารโน้น จากวัฏฏะนี้สู่วัฏฏะโน้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป. คำว่า ย่อมไม่ล่มจม

ความว่า ไม่ล่มจม ไม่จมพร้อม ไม่ล่มลง ไม่จมสง ไม่ตกลงไป

ในกามโอฆะ ในภวโอฆะ ในทิฏฐิโอฆะ ในอวิชชาโอฆะ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่ล่มจม

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ย่อมแล่นพล่านไปสู่ทิศ

ทั้งปวง เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป

ย่อมไม่ล่มจม.

[๘๑๓] ชนทั้งหลายย่อมกล่าวถึงการศึกษา ในเพราะกามคุณ

เป็นที่พัวพันในโลก บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการ

ศึกษาหรือในกามคุณเหล่านั้น รู้ชัดกามทั้งหลายโดย

ประการทั้งปวงแล้ว พึงศึกษาความดับของตน.

ว่าด้วยศึกษาเพื่อได้กามคุณ

[๘๑๔] ชื่อว่า การศึกษา ในคำว่า ชนทั้งหลายกล่าวถึงการ

ศึกษา ในเพราะกามคุณเป็นที่พัวพันในโลก ได้แก่ การศึกษาเรื่องช้าง

การศึกษาเรื่องม้า การศึกษาเรื่องรถ การศึกษาเรื่องธนู ความเป็นหมอ

เสกเป่า ความเป็นหมอทางผ่าตัด ความเป็นหมอทางยา ความเป็นหมอทาง

ภูตผี ความเป็นหมอทางกุมาร. คำว่า ย่อมกล่าวถึง ความว่า กล่าวถึง

พูดถึง เล่าถึง แสดงถึง แถลงถึง อีกอย่างหนึ่ง ย่อมกล่าวถึง คือย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 468

เรียน เล่าเรียน ทรงจำ เข้าไปทรงจำ เข้าไปกำหนด เพื่อได้เฉพาะซึ่ง

กามคุณเป็นที่พัวพัน. เบญจกามคุณ คือรูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ ที่น่าปรารถนา

พอใจ ชอบใจ รักใคร่ อันประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

เรียกว่ากามคุณเป็นที่พัวพัน. เหตุไร เบญจกามคุณ จึงเรียกว่ากามคุณ

เป็นที่พัวพัน. เทวดาและมนุษย์ ย่อมปรารถนา ยินดี รักใคร่ ชอบใจ

กามคุณโดยมาก เหตุนั้น เบญจกามคุณ จึงเรียกว่ากามคุณเป็นที่พัวพัน.

คำว่า ในโลก คือในมนุษยโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลาย

ย่อมกล่าวถึงการศึกษาในเพราะกามคุณเป็นที่พัวพันในโลก.

[๘๑๕] บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการศึกษา หรือในกาม-

คุณเหล่านั้น ความว่า บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการศึกษา หรือใน

เบญจกามคุณเหล่านั้น คือพึงเป็นผู้ไม่น้อม ไม่โน้ม ไม่โอนเอน ไม่

น้อมใจไปในการศึกษาหรือในเบญจกามคุณเหล่านั้น ไม่พึงเป็นผู้มีการ

ศึกษาหรือเบญจกามคุณเหล่านั้นเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคล

พึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการศึกษาหรือในเบญจกามคุณเหล่านั้น.

[๘๑๖] คำว่า รู้ชัด ในคำว่า รู้ชัดกามทั้งหลายโดยประการ

ทั้งปวง ความว่า แทงตลอดแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขาร

ทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้น

ทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา. คำว่า โดยประการทั้งปวง คือทั้งปวง

โดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ.

คำว่า โดยประการทั้งปวง เป็นเครื่องกล่าวรวมหมดโดย อุทานว่า กาม

กามมี ๒ อย่าง คือวัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ นี้เรียกว่า

๑. บาลีคงตกหายไป จึงมีแต่รูป น่าจะมีเสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะด้วย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 469

วัตถุกาม ฯลฯ นี้เรียกว่ากิเลสกาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ชัดกาม

ทั้งหลายโดยประการทั้งปวง.

[๘๑๗] ชื่อว่า ศึกษา ในคำว่า พึงศึกษาความดับของตน ได้แก่

สิกขา ๓ อย่าง คืออธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ฯลฯ

นี้ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา. คำว่า ความดับของตน ความว่า พึงศึกษา

แม้อธิศีล ศึกษาแม้อธิจิต ศึกษาแม้อธิปัญญา เพื่อความดับ เพื่อความสงบ

เพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความเข้าไปสงบวิเศษ เพื่อความดับ เพื่อความ

สละคืน เพื่อความระงับ ซึ่งราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร

ทั้งปวงของตน เมื่อนึกถึงสิกขา ๓ เหล่านี้ก็พึงศึกษา เมื่อรู้ก็พึงศึกษา ฯลฯ

เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ควรทำให้แจ้งก็พึงศึกษา ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ

ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทานประพฤติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

พึงศึกษาความดับของตน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ชนทั้งหลายกล่าวถึงการศึกษาในเพราะกามคุณ เป็น

ที่พัวพันในโลก บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการศึกษา

หรือในกามคุณเหล่านั้น รู้ชัดกามทั้งหลายโดยประการ

ทั้งปวงแล้ว พึงศึกษาความดับของตน.

[๘๑๘] บุคคลพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง ไม่มีมายา ปราศ-

จากตำส่อเสียด มุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้นความ

โลภอันลามก และความหวงแหน.

[๘๑๙] คำว่า พึงเป็นผู้มีสัจจะ ในคำว่า บุคคลพึงเป็นผู้มีสัจจะ

ไม่คะนอง ความว่า พึงเป็นผู้ประกอบด้วยสัจวาจา ประกอบด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 470

สัมมาทิฏฐิประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็น

ผู้มีสัจจะ. คำว่า ไม่คะนอง ความว่า ความคะนองมี ๓ อย่าง คือความ

คะนองทางกาย ๑ ความคะนองทางวาจา ๑ ความคะนองทางจิต ๑ ฯลฯ

นี้ชื่อว่าความคะนองทางจิต ความคะนอง ๓ อย่างนี้ อันบุคคลใดละ

ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ

บุคคลนั้น เรียกว่าผู้ไม่คะนอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลพึงเป็นผู้มี

สัจจะ ไม่คะนอง.

ว่าด้วยความเป็นผู้มีมายา

[๘๒๐] ความประพฤติลวงเรียกว่า มายา ในคำว่า ไม่มีมายา

ปราศจากคำส่อเสียด ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วย

กาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ ย่อมตั้งความปรารถนา

ลามกเพราะเหตุจะปกปิดทุจริตนั้น ย่อมปรารถนาว่า ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา

(ว่าเราประพฤติชั่ว) ย่อมดำริว่า ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา คิดว่า ใคร ๆ อย่า

รู้จักเรา ดังนี้ แล้วก็กล่าววาจา (ว่าตนไม่มีความประพฤติชั่ว) คิดว่า

ใครๆ อย่ารู้จักเรา ดังนี้แล้วก็บากบั่นด้วยกาย (เพื่อจะปกปิดความประ-

พฤติชั่วของตน).

ความลวง ความเป็นผู้ลวง กิริยาเป็นเครื่องปกปิด กิริยาที่ซ่อน

ความจริง กิริยาบังความผิด กิริยาที่ซ่อนความผิด กิริยาที่พรางความชั่ว

กิริยาที่ซ่อนความชั่ว ความทำให้ลับ ความไม่เปิดเผย กิริยาที่คลุมความผิด

กิริยาที่ชั่ว นี้เรียกว่ามายา. มายานี้ อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ

ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 471

เรียกว่า ผู้ไม่มีมายา. ชื่อว่า คำส่อเสียด ในคำว่า ปราศจากคำส่อเสียด

ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด ฯลฯ บุคคล

มุ่งให้เขาแตกกันย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างนี้ คำส่อเสียดนี้ อันบุคคล

ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว

ด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น เรียกว่าผู้ปราศจากคำส่อเสียด คือมีคำ

ส่อเสียดปราศจากไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีมายา ปราศจาก

คำส่อเสียด.

[๘๒๑] ข้อว่า มุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้นความโลภ

อันลามกและความหวงแหน ความว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้ไม่

มีความโกรธ ก็แต่ว่าความโกรธควรกล่าวก่อน ความโกรธย่อมเกิดด้วย

เหตุ ๑๐ อย่าง ฯลฯ ความโกรธนั้น อันมุนีใดละ ตัดขาด สงบ

ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ มุนีนั้น

เรียกว่าผู้ไม่มีความโกรธ เพราะมุนีนั้นละความโกรธ กำหนดรู้วัตถุแห่ง

ความโกรธ ตัดเสียซึ่งเหตุแห่งความโกรธแล้ว จึงชื่อว่าผู้ไม่มีความโกรธ

ชื่อว่าความโลภ คือความโลภ กิริยาที่โลภ ความเป็นผู้โลภ ฯลฯ

อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ความตระหนี่ ๕ อย่าง เรียกว่าความหวงแหน

ได้แก่ความตระหนี่อาวาส ฯลฯ ความถือเอาไว้ เรียกว่าความตระหนี่.

คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ได้แก่ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ

ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังว่าข่าย บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี.

คำว่า มุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้นความโลภอันลามกและความ

หวงแหน ความว่า มุนีได้ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลย

เป็นไปล่วงแล้ว ซึ่งความโลภอันลามกและความหวงแหน เพราะฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 472

จึงชื่อว่า มุนีมุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้นความโลภอันลามกหวงแหน

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง ไม่มีมายา

ปราศจากคำส่อเสียด มุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้น

ความโลภอันลามก และความหวงแหน.

[๘๒๒] นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจคร้าน ความ

ย่อท้อ ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความ

ดูหมิ่น พึงเป็นผู้มีใจน้อม ปรนนิพพาน.

ว่าด้วยความเกียจคร้าน

[๘๒๓] ชื่อว่า ความหลับ ในคำว่า พึงปราบความหลับ ความ

เกียจคร้าน ความย่อท้อ คือความที่กายเป็นไข้ ความที่กายไม่ควรแก่การ

งาน อาการที่หยุด อาการที่พัก อาการที่พักผ่อน ณ ภายใน ความง่วง

ความหลับ กิริยาที่โงกง่วง กิริยาที่หลับ ความเป็นผู้หลับ. ชื่อว่าความ

เกียจคร้าน คือความคร้าน กิริยาที่คร้าน ความเป็นผู้มีใจคร้าน ความ

เกียจคร้าน กิริยาที่เกียจคร้าน ความเป็นผู้เกียจคร้าน. ชื่อว่าความย่อท้อ

คือความที่จิตเป็นไข้ ความที่จิตไม่ควรแก่การงาน กิริยาที่หดหู่ กิริยา

ย่นย่อ ความย่อท้อ กิริยาที่ย่อท้อ ความที่จิตย่อท้อ ความหดหู่ กิริยา

ที่หดหู่ ความที่จิตหดหู่. คำว่า นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจ-

คร้าน ความย่อท้อ ความว่า นรชนพึงปราบปราม ครอบงำ กดขี่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 473

กำจัด ซึ่งความหลับ ความเกียจคร้าน ความย่อท้อ เพราะฉะนั้น จึง

ชื่อว่า นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจคร้าน ความย่อท้อ.

[๘๒๔] ความประมาท ในคำว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท

ความกล่าวถึง ความปล่อย หรือความเพิ่มเติมซึ่งความปล่อยซึ่งจิตใน

เบญจกามคุณ เพราะกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือการไม่ทำ

ความเอื้อเฟื้อ การไม่ทำความติดต่อ การทำความหยุดเนือง ๆ ความ

ประพฤติย่อหย่อน ความปลงฉันทะ ความทอดธุระ ความไม่ซ่องเสพ

ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจ ความไม่หมั่นประกอบ

ในการเจริญธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล ชื่อว่าความประมาท. ความประมาท

กิริยาที่ประมาท ความเป็นผู้ประมาท เห็นปานนี้ เรียกว่าความประมาท.

คำว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ความว่า ไม่พึงร่วม ไม่พึงอยู่อาศัย

ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยความประมาท คือ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้

ถึงความไม่มีซึ่งความประมาท พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัด

ออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความประมาท พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดง

กิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท.

[๘๒๕] ชื่อ ความดูหมิ่น ในคำว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น

มีอธิบายว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่นโดยชาติบ้าง โดย

โคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ความถือตัว กิริยาที่

ถือตัว ความเป็นผู้ถือตัว ความกำเริบขึ้น ความฟูขึ้น ความถือตัวดังว่า

ธงชัย ความประคองจิตไว้ ความที่จิตใคร่เป็นดังว่าธงยอดเห็นปานนี้

เรียกว่า ความดูหมิ่น. คำว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น ความว่า ไม่พึง

ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ในความดูหมิ่น คือ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 474

ความไม่มีซึ่งความดูหมิ่น พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก

พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความดูหมิ่น พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น.

ว่าด้วยทำบุญต้องมุ่งนิพพาน

[๘๒๖] คำว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน ความว่า

นรชนบางคนในโลกนี้ ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถกรรม เข้าไป

ตั้งไว้ซึ่งน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไหว้พระเจดีย์ บูชาด้วยเครื่องหอมและ

ดอกไม้ที่พระเจดีย์ ทำประทักษิณพระเจดีย์ บำเพ็ญกุศลที่ควรบำเพ็ญอย่าง

ใดอย่างหนึ่งอันเป็นไตรธาตุ ก็ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งคติ ไม่บำเพ็ญ

เพราะเหตุแห่งอุปบัติ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งปฏิสนธิ ไม่บำเพ็ญ

เพราะเหตุแห่งภพ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งสงสาร ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุ

แห่งวัฏฏะ เป็นผู้มีความประสงค์ในอันพรากออกจากทุกข์ มีใจน้อมโน้ม

โอนไปในนิพพาน ย่อมบำเพ็ญกุศลทั้งปวงนั้น แม้เพราะเหตุอย่างนี้

ดังนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.

อนึ่ง นรชนบังคับจิตให้กลับจากสังขารธาตุอันเป็นไปในไตรภูมิทั้ง-

ปวง น้อมจิตเข้าไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาติใด คือ ความสงบแห่ง

สังขารทั้งปวง สละคืนแห่งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอก

ตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ธรรมชาติ

นี้สงบ ประณีต แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจ

น้อมไปในนิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 475

สมจริงดังพระพุทธภาษิตว่า

บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่ให้ทานเพราะเหตุแห่งสุข

อันก่อให้เกิดอุปธิ แต่บัณฑิตเหล่านั้นย่อมให้ทานเพื่อ

ความหมดสิ้นอุปธิ เพื่อนิพพานอันไม่มีภพต่อไป โดย

ส่วนเดียว บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญฌานเพราะ

เหตุแห่งสุขอันก่อให้เกิดอุปธิ เพื่อภพต่อไป แต่บัณฑิต

เหล่านั้น ย่อมเจริญฌานเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ เพื่อ

นิพพานอันไม่มีภพต่อไปโดยสิ้นเดียว บัณฑิตเหล่านั้น

มุ่งนิพพาน มีจิตเอนไปในนิพพาน น้อมจิตไปในนิพพาน

ย่อมให้พาน บัณฑิตเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีนิพพานเป็น

เบื้องหน้า เหมือนแม่น้ำทั้งหลายไหลไปสู่ทะเลฉะนั้น.

เพราะฉะนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจคร้าน ความ

ย่อท้อ ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความ

ดูหมิ่น พึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.

[๘๒๗] นรชนพึงออกจากความพูดเท็จ ไม่พึงทำความเสน่หา

ในรูป พึงกำหนดรู้มานะ และพึงประพฤติเว้นจากความ

ผลุนผลัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 476

ว่าด้วยมุสาวาทมีด้วยอาดาร ๓ ฯลฯ

[๘๒๘] มุสาวาท เรียกว่า ความพูดเท็จ ในคำว่า นรชนพึง

ออกจากความพูดเท็จ บุคคลบางคนในโลกนี้ อยู่ในที่ประชุม อยู่ใน

ประชุมชน อยู่ในท่ามกลางญาติ อยู่ในท่ามกลางข้าราชการ หรืออยู่ใน

ราชสกุล เขาถูกนำไปถามเป็นพยานว่า บุรุษผู้เจริญ มาเถิด ท่านรู้สิ่งใด

ก็จงบอกสิ่งนั้น บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้ก็บอกว่ารู้บ้าง เมื่อรู้ก็บอกว่าไม่รู้บ้าง

เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าเห็นบ้าง เมื่อเห็นก็บอกว่าไม่เห็นบ้าง เป็นผู้กล่าว

คำเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง เพราะเห็นแก่อามิส

เล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ นี้เรียกว่า ความพูดเท็จ.

อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๓ อาการ อาการ ๕

อาการ ๖ อาการ ๗ อาการ ๘ ฯลฯ มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๘ นี้.

คำว่า นรชนพึงออกจากความพูดเท็จ ความว่า ไม่พึงดำเนิน ไม่พึง

ประกอบ ไม่พึงนำเข้าไปด้วยความพูดเท็จ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป

ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความพูดเท็จ พึงเป็นผู้งด เว้น เว้น เฉพาะ ออก

สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความพูดเท็จ พึงเป็นผู้มีจิตปราศจาก

แดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนพึงออกจากความพูดเท็จ.

[๘๒๙] ชื่อว่ารูป ในคำว่า ไม่พึงทำความเสน่หาในรูป คือ

มหาภูตรูป และอุปาทายรูปแห่งมหาภูตรูป ๔. คำว่า ไม่พึงทำความเสน่หา

ในรูป ความว่า ไม่ควรทำความเสน่หา ไม่ควรทำความพอใจ ไม่ควรทำ

ความรัก ไม่ควรทำความกำหนัดในรูป คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม

ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่า ไม่พึงทำความ

เสน่หาในรูป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 477

ว่าด้วยมานะลักษณะต่าง ๆ

[๘๓๐] ชื่อว่ามานะ ในคำว่า พึงกำหนดรู้มานะ คือ มานะ

อย่างหนึ่ง ได้แก่ความฟูขึ้นแห่งจิต. มานะ ๒ อย่าง ได้แก่มานะในความ

ยกตน ๑ มานะในความข่มผู้อื่น ๑. มานะ ๓ อย่าง ได้แก่มานะว่า เราดี

กว่าเขา ๑ มานะว่า เราเสมอเขา ๑ มานะว่า เราเลวกว่าเขา ๑. มานะ

๔ อย่าง ได้แก่บุคคลให้มานะเกิดเพราะลาภ ๑ ให้มานะเกิดเพราะยศ ๑

ให้มานะเกิดเพราะสรรเสริญ ๑ ให้มานะเกิดเพราะสุข ๑. มานะ ๕ อย่าง

ได้แก่บุคคลให้มานะเกิดว่า เราได้รูปที่ชอบใจ . ให้มานะเกิดว่า เรา

ได้เสียงที่ชอบใจ ๑ ให้มานะเกิดว่า เราได้กลิ่นที่ชอบใจ ๑ ให้มานะเกิด

ว่า เราได้รสที่ชอบใจ ๑ ให้มานะเกิดว่า เราได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ๑.

มานะ ๖ อย่าง ได้แก่บุคคลให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจักษุ ๑

ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งหู ๑ ให้มานะเกิดเพราะความถึง

พร้อมแห่งจมูก ๑ ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งลิ้น ๑ ให้มานะ

เกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งกาย ๑ ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่ง

ใจ ๑. มานะ ๗ อย่าง ได้แก่ความถือตัว ๑ ความดูหมิ่น ๑ ความถือตัว

และความดูหมิ่น ๑ ความถือตัวต่ำ ๑ ความถือตัวสูง ๑ ความถือตัวว่า

เรามั่งมี ๑ ความถือตัวผิด ๑. มานะ ๘ อย่าง ได้แก่บุคคลให้ความถือ

ตัวเกิดเพราะลาภ ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมลาภ ๑ ให้

ความถือตัวเกิดเพราะยศ ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมยศ ๑

ให้ความถือตัวเกิดเพราะความสรรเสริญ ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะ

ความนินทา ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะสุข ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะ

ทุกข์ ๑. มานะ ๙ อย่าง ได้แก่มานะว่า เราดีกว่าคนที่ดี ๑ มานะว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 478

เราเสมอกับคนที่ดี ๑ มานะว่า เราเลวกว่าคนที่ดี ๑ มานะว่า เราดีกว่า

ผู้เสมอกัน ๑ มานะว่า เราเสมอกับผู้เสมอกัน ๑ มานะว่า เราเสมอ

กับผู้เลว ๑ มานะว่า เราดีกว่าผู้เลว ๑ มานะว่า เราเสมอกับผู้เลว ๑

มานะว่า เราเลวกว่าผู้เลว ๑. มานะ ๑๐ อย่าง ได้แก่บุคคลบางคนใน

โลกนี้ ยังมานะ ให้เกิดเพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง ฯลฯ เพราะ

วัตถุอื่น ๆ บ้าง ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความเป็นผู้ถือตัว ความ

กำเริบขึ้น ความฟูขึ้น มานะดังว่า ธงชัย มานะอันประคองจิตไว้ ความ

ที่จิตใคร่ดังว่าธงยอดเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า มานะ.

คำว่า พึงกำหนดรู้มานะ ความว่า พึงกำหนดรู้มานะด้วย

ปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา.

ญาตปริญญาเป็นไฉน นรชนย่อมรู้จักมานะ คือ ย่อมรู้ย่อมเห็นว่า

นี้เป็นมานะอย่างหนึ่ง ได้แก่ความฟูขึ้นแห่งจิต นี้เป็นมานะ ๒ อย่าง

ได้แก่มานะในการยกตน มานะในการข่มผู้อื่น ฯ ลฯ. นี้เป็นมานะ

๑๐ อย่าง ได้แก่บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมานะให้เกิดเพราะชาติบ้าง

เพราะโคตรบ้าง ฯลฯ เพราะวัตถุอื่น ๆ บ้าง นี้ชื่อว่า ญาตปริญญา.

ตีรณปริญญา เป็นไฉน นรชนรู้อย่างนี้แล้วย่อมพิจารณามานะ

โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยอุบายเป็นเครื่อง

สลัดทุกข์ นี้ชื่อว่า ตีรณปริญญา.

ปหานปริญญาเป็นไฉน นรชนพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ

บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งมานะ นี้ชื่อว่า ปหานปริญญา.

คำว่า ฟังกำหนดรู้มานะ คือ พึงกำหนดรู้มานะด้วยปริญญา ๓ นี้

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงกำหนดรู้มานะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 479

[๘๓๑] ความประพฤติผลุนผลัน ในคำว่า พึงประพฤติเว้นจาก

ความผลุนผลัน เป็นไฉน ความประพฤติด้วยราคะแห่งคนผู้กำหนัด.

ความประพฤติด้วยโทสะแห่งคนผู้ขัดเคือง ความประพฤติด้วยโมหะแห่ง

คนผู้หลง ความประพฤติด้วยมานะแห่งคนที่มานะผูกพัน ความประพฤติ

ด้วยทิฏฐิแห่งคนผู้ถือมั่น ความประพฤติด้วยอุทธัจจะแห่งคนผู้ถึงความ

ฟุ้งซ่าน ความประพฤติด้วยวิจิกิจฉาแห่งคนผู้ถึงความไม่ตกลง ความ

ประพฤติด้วยอนุสัยแห่งคนผู้ถึงโดยเรี่ยวแรง ชื่อว่าความประพฤติผลุน-

ผลัน (แต่ละอย่าง) นี้ชื่อว่า ความประพฤติผลุนผลัน.

คำว่า พึงประพฤติเว้นจากความผลุนผลัน ความว่า นรชนพึงเป็น

ผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วยความ

ประพฤติผลุนผลัน พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ พึงประพฤติ

เที่ยวไป ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเป็นไปรักษา บำรุง เยียวยา เพราะเหตุนั้น

จึงชื่อว่า พึงประพฤติเว้นจากความผลุนผลัน เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

นรชนพึงออกจากความพูดเท็จ ไม่พึงทำความเสน่หา

ในรูป พึงกำหนดรู้มานะ และพึงประพฤติเว้นจากความ

ผลุนผลัน.

[๘๓๒] ไม่พึงยินดีสังขารเก่า ไม่พึงทำความชอบใจในสังขาร

ใหม่ เมื่อสังขารเสื่อมไป ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงเป็น

ผู้อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 480

[๘๓๓] คำว่า ไม่พึงยินดีสังขารเก่า ความว่า รูป เวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ล่วงแล้ว เรียกว่า สังขารเก่า บุคคลไม่ควร

ยินดี ไม่ควรบ่นถึง ไม่ควรติดใจ ซึ่งสังขารทั้งหลายที่ล่วงแล้วด้วยสามารถ

แห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้

ถึงความไม่มี ซึ่งความชอบใจ ความบ่นถึง ความติดใจ ความถือ

ความยึดถือ ความถือมั่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงยินดีสังขารเก่า.

[๘๓๔] คำว่า ไม่พึงทำความชอบใจสังขารใหม่ ความว่า รูป

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นปัจจุบัน เรียกว่า สังขารใหม่

ไม่ควรทำความชอบใจ ความพอใจ ความรัก ความกำหนัด ในสังขาร

ทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน ด้วยสามารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ คือ

ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ไม่พึงทำความชอบใจในสังขารใหม่.

[๘๓๕] คำว่า เมื่อสังขารเสื่อมไป ไม่พึงเศร้าโศก ความว่า

เมื่อสังขารเสื่อมไป เสียไป ละไป แปรไป หายไป อันตรธานไป

ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงลำบากใจ ไม่พึงถือมั่น ไม่พึงร่ำไร ไม่พึงทุบอก

คร่ำครวญ ไม่พึงถึงความหลงใหล คือ เมื่อจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา

กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ

สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

เสื่อมไป เสียไป ละไป แปรไป หายไป อันตรธานไป ไม่พึงเศร้าโศก

ไม่พึงลำบากใจ ไม่พึงถือมั่น ไม่พึงร่ำไร ไม่พึงทุบอกคร่ำครวญ ไม่พึง

ถึงความหลงใหล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อสังขารเสื่อมไป ไม่พึง

เศร้าโศก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 481

ว่าด้วยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง

[๘๓๖] ตัณหา เรียกว่า กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ในคำว่า ไม่พึง

เป็นผู้อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา

โลภะ อกุศลมูล เหตุไรตัณหาจึงเรียกว่ากิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง บุคคลย่อม

เกี่ยวข้อง เกาะเกี่ยว ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ด้วยตัณหาใด เหตุนั้น

ตัณหานั้นจึงเรียกว่า กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง. คำว่า ไม่พึงเป็นผู้อาศัยกิเลส

เครื่องเกี่ยวข้อง ความว่า บุคคลไม่พึงเป็นผู้อาศัยตัณหา พึงละ บรรเทา

ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งตัณหา เป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก

สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องตัณหา พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลส

อยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงเป็นผู้อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง เพราะ-

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ไม่พึงยินดีสังขารเก่า ไม่พึงทำความชอบใจในสังขาร

ใหม่ เมื่อสังขารเสื่อมไป ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงเป็นผู้

อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง.

[๘๓๗] เราย่อมกล่าวความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ กล่าว

ความว่องไว (อาชวะ) ว่า เป็นความปรารถนา กล่าว

อารมณ์ว่า เป็นความหวั่นไหว เปือกตมคือกามเป็นสภาพ

ล่วงได้โดยยาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 482

ว่าด้วยเรียกตัณหาว่าเป็นห้วงน้ำใหญ่

[๘๓๘] ตัณหา เรียกว่า ความกำหนัด ในคำว่า เราย่อมกล่าว

ความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ ได้แก่ราคะ สารคะ ฯลฯ อภิชฌา

โลภะ อกุศลมูล ตัณหา เรียกว่าห้วงน้ำใหญ่ ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ

อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า เราย่อมกล่าวความกำหนัดว่า เป็น

ห้วงน้ำใหญ่ ความว่า เราย่อมกล่าว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง

เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมกล่าวความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่.

[๘๓๙] ตัณหา เรียกว่า ความว่องไว ในคำว่า กล่าวความ

ว่องไวว่า เป็นความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ

อกุศลมูล ตัณหา เรียกว่าความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ

อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า กล่าวความว่องไวว่า เป็นความปรารถนา

ความว่า เราย่อมกล่าว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก

ทำให้ตื้น ประกาศความว่องไวว่า เป็นความปรารถนา เพราะฉะนั้น จึงชื่อ

ว่า กล่าวความว่องไวว่า เป็นความปรารถนา.

[๘๔๐] ตัณหา เรียกว่า อารมณ์ ในคำว่า กล่าวอารมณ์ว่า เป็น

ความกำหนด ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล

ตัณหา เรียกว่าความกำหนด ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ

อกุศลมูล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กล่าวอารมณ์ว่า เป็นความกำหนด.

ว่าด้วยเปรียบกามเหมือนเปือกตม

[๘๔๑] คำว่า เปือกตมคือกามเป็นสภาพล่วงได้โดยยาก ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 483

ว่า เปือกตมคือกาม หล่มคือกาม กิเลสคือกาม โคลนคือกาม ความ

กังวลคือกาม เป็นสภาพล่วงได้โดยยาก ก้าวล่วงได้โดยยาก ข้ามได้ยาก

ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้นยาก ล่วงเลยได้ยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เปือก

ตมคือกามเป็นสภาพล่วงได้โดยยาก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า

เราย่อมกล่าวความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ กล่าว

ความว่องไวว่า เป็นความปรารถนา กล่าวอารมณ์ว่า

เป็นความกำหนด เปือกตมคือกามเป็นสภาพล่วงได้โดย

ยาก.

[๘๔๒] ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ เป็นพราหมณ์ตั้งอยู่

บนบก ผู้นั้นสลัดสิ่งทั้งปวง ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นผู้

สงบ.

[๘๘๓] คำว่า ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ ความว่า ไม่ก้าว

ล่วงจากสัจวาจา ไม่ก้าวล่วงจากสัมมาทิฏฐิ ไม่ก้าวล่วงจากอริยมรรคมี

องค์ ๘. คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่าโมนะ ได้แก่ปัญญา ความรู้

ทั่ว ๆ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย บุคคลนั้น

ชื่อว่ามุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ.

ว่าด้วยอมตนิพพานเรียกว่าบก

[๘๔๔] อมตนิพพาน เรียกว่า บก ในคำว่า เป็นพราหมณ์ตั้ง

อยู่บนบก ได้แก่ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง

๑. ดูข้อ ๖๙๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 484

ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหา

เป็นเครื่องร้อยรัด. คำว่า พราหมณ์ ความว่า บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์

เพราะเป็นผู้ลอยเสียแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ ๆ ฯ ล ฯ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิ

ไม่อาศัยแล้ว เป็นผู้คงที่ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์. คำว่า เป็นพราหมณ์ตั้ง

อยู่บนบก ความว่า เป็นพราหมณ์ตั้งอยู่บนบก คือตั้งอยู่ในธรรมเป็นที่

พึ่ง ตั้งอยู่ในธรรมเป็นที่ป้องกัน ตั้งอยู่ในธรรมเป็นที่พักพิง ตั้งอยู่ใน

ธรรมเป็นสรณะ ตั้งอยู่ในธรรมไม่มีภัย ตั้งอยู่ในธรรมไม่มีความเคลื่อน

ตั้งอยู่ในอมตะ ตั้งอยู่ในนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นพราหมณ์

ตั้งอยู่บนบก.

[๘๔๕] คำว่า ผู้นั้นสลัดสิ่งทั้งปวงแล้ว ความว่า อายตนะ ๑๒

คือจักษุ รูป ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ เรียกว่าสิ่งทั้งปวง ฉันทราคะ

ในอายตนะภายในและภายนอก เป็นกิเลสอันผู้นั้นละแล้ว ตัดรากขาด

แล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความ

ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเท่านี้ สิ่งทั้งปวงชื่อ

ว่าอันผู้นั้นสละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนแล้ว ตัณหาก็ดี ทิฏฐิก็ดี

มานะก็ดี เป็นกิเลสอันผู้นั้นละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดัง

ตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็น

ธรรมดา ด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเท่านี้ สิ่งทั้งปวงชื่อว่าอันผู้นั้นสละ

สำรอก ปล่อย ละ สละคืนแล้ว ปุญญาภิสังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี

อเนญชาภิสังขารก็ดี เป็นสภาพอันผู้นั้นละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่

ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้น

๑. ดูข้อ ๖๘๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 485

ต่อไปเป็นธรรมดาด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเท่านี้ สิ่งทั้งปวงชื่อว่าอันผู้นั้น

สละ สำรอก ปล่อย ละ ละคืนแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้น

สลัดสิ่งทั้งปวงเสียแล้ว.

[๘๔๖] คำว่า ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นผู้สงบ ความว่า ผู้นั้น

เราย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลงว่า เป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไป

สงบวิเศษ ดับ ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า

เป็นผู้สงบ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ เป็นพราหมณ์ตั้งอยู่

บนบก ผู้นั้นสลัดสิ่งทั้งปวงแล้ว ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า

เป็นผู้สงบ.

[๘๔๗] ผู้นั้นแลมีความรู้ เป็นเวทคู รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย

ผู้นั้นอยู่ในโลกโดยชอบ ย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใครในโลกนี้.

[๘๔๘] คำว่า มีความรู้ ในคำว่า ผู้นั้นแลมีความรู้ เป็นเวทคู

ความว่า มีความรู้ ถึงวิชชา มีญาณ มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีปัญญาแจ่มแจ้ง

มีปัญญาทำลายกิเลส. คำว่า เป็นเวทคู ความว่า ญาณในมรรค ๔ เรียกว่า

เวท ฯลฯ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในเวทนาทั้งปวง ล่วงเวทนา

ทั้งปวงแล้ว ชื่อว่าเป็นเวทคู เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นแลมีความรู้

เป็นเวทคู.

[๘๔๙] คำว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ความว่า รู้แล้ว คือ ทราบ

พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ทำให้เป็นแจ้งแล้วว่า สังขาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 486

ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด

เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา. คำว่า ไม่อาศัย

ความว่า ความอาศัย ๒ ประการ คือ ความอาศัยด้วยตัณหา ๑ ความ

อาศัยด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า

ความอาศัยด้วยทิฏฐิ ผู้นั้นละความอาศัยด้วยตัณหา สละคืนความอาศัยด้วย

ทิฏฐิ เป็นผู้ไม่อาศัย ไม่พัวพัน ไม่เข้าถึง ไม่เยื่อใย ไม่น้อมใจไป ออก

สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯลฯ รูปที่เห็น

เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบ และธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เป็น

ผู้มีจิตอันทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ธรรมแล้ว

ไม่อาศัย.

[๘๕๐] คำว่า ผู้นั้นอยู่ในโลกโดยชอบ ความว่า ฉันทราคะใน

อายตนะภายในและภายนอก เป็นกิเลสอันผู้นั้นละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว

ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้น

ต่อไปเป็นธรรมดาด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเที่ยวไป

อยู่ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยาอยู่ในโลกโดยชอบ

ปุญญาภิสังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี อาเนญชาภิสังขารก็ดี เป็นสภาพ

อันผู้นั้นละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึง

ความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาด้วยเหตุใด แม้

ด้วยเหตุเท่านี้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเที่ยวไป อยู่ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ

รักษา บำรุง เยียวยาอยู่ในโลกโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นอยู่

ในโลกโดยชอบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 487

ว่าด้วยตัณหาเรียกว่าความใฝ่ฝัน

[๘๕๑] คำว่า ย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใคร ๆ ในโลกนี้ ความว่า ตัณหา

เรียกว่าความใฝ่ฝัน ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล

ตัณหาอันเป็นความใฝ่ฝันนั้น อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำ

ไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้นย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใคร ๆ

เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นแพศย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม

เป็นคฤหัสถ์ก็ดี เป็นบรรพชิตก็ตาม เป็นเทวดาก็ตาม เป็นมนุษย์ก็ตาม

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใคร ๆ ในโลกนี้ เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ผู้นั้นแลมีความรู้ เป็นเวทคู รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย

ผู้นั้นอยู่ในโลกโดยชอบ ย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใคร ๆ ในโลก

นี้.

[๘๕๒] ผู้ใดข้ามพ้นกามทั้งหลาย และเครื่องข้อง ที่ล่วงได้

โดยยากในโลก ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโคก ย่อมไม่เพ่งเล็ง

เป็นผู้มีกระแสอันตัดเสียแล้ว มิได้มีเครื่องผูก.

ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง

[๘๕๓] คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดข้ามพ้นกามทั้งหลาย และ

เครื่องข้องที่ล่วงได้โดยยากในโลก ความว่า ผู้ใด คือ เช่นใด ประกอบ

อย่างไร ชนิดอย่างไร มีประการอย่างไร ถึงฐานะใด ประกอบด้วยธรรม

ใด เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นแพศย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม

เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม เป็นเทวดาก็ตาม เป็นมนุษย์ก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 488

ตาม. โดยอุทานว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลส-

กาม ๑ ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม

ชื่อว่าเครื่องข้อง ได้แก่เครื่องข้อง ๗ ประการ คือ เครื่องข้องคือราคะ

โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก

มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. คำว่า ที่ล่วงได้

โดยยาก ความว่า ผู้ใดได้ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็นไป

ล่วงแล้ว ซึ่งกามและเครื่องข้องที่ล่วงได้โดยยาก ล่วงไปได้ยาก ข้ามขึ้น

ได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวล่วงได้ยาก เป็นไปล่วงได้ยาก เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ผู้ใดข้ามพ้นกามทั้งหลาย และเครื่องข้องที่ล่วงได้โดยยากใน

โลก.

[๘๕๔] คำว่า ผู้นั่นย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เพ่งเล็ง ความว่า

ย่อมไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวนไป หรือเมื่อวัตถุแปรปรวนไปแล้ว

ก็ไม่เศร้าโศกถึง คือ ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่ทุบอก

คร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข

จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มารดา บิดา พี่น้องชาย

พี่น้องหญิง บุตร ธิดา มิตร พวกพ้อง ญาติสาโลหิต ของเรา แปรปรวน

ไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่เศร้าโศก. คำว่า ย่อมไม่เพ่งเล็ง

ความว่า ย่อมไม่เพ่งเล็ง ไม่เพ่งถึง ไม่มุ่งถึง ไม่มุ่งหมายถึง อีกอย่าง

หนึ่ง ผู้นั้นย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่เคลื่อน ไม่อุบัติ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เพ่งเล็ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 489

ว่าด้วยตัณหาเรียกว่ากระแส

[๘๕๕] คำว่า เป็นผู้มีกระแสอันตัดเสียแล้ว ไม่มีเครื่องผูก

ความว่า ตัณหาเรียกว่ากระแส ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา

โลภะ อกุศลมูล ตัณหากระแสนั้น เป็นกิเลสชาติอันผู้ใดละ ตัดขาด

สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้น

เรียกว่าเป็นผู้มีกระแสอันตัดเสียแล้ว. คำว่า ไม่มีเครื่องผูก ความว่า

เครื่องผูก ๗ ประการ คือ เครื่องผูกคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ

กิเลส ทุจริต เครื่องผูกเหล่านี้อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำ

ไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้น เรียกว่าไม่มีเครื่องผูก

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีกระแสอันตัดเสียแล้ว ไม่มีเครื่องผูก

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ผู้ใดข้ามพ้นกามทั้งหลาย และเครื่องข้องที่ล่วงได้

โดยยากในโลก ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เพ่งเล็ง

เป็นผู้มีกระแสอันตัดเสียแล้ว ไม่มีเครื่องผูก.

[๘๕๖] กิเลสชาติที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภถึงสังขารใน

กาลก่อน ท่านจงให้เหือดหายไปเสีย กิเลสชาตเครื่อง

กังวลที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภถึงสังขารในภายหลัง

อย่าได้มีแก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือเอาสังขารในท่ามกลาง

ท่านจักเป็นผู้เข้าไปสงบประพฤติไป.

[๘๕๗] คำว่า กิเลสชาตที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภถึงสังขาร

ในกาลก่อน ท่านจงให้เหือดหายไปเสีย ความว่า กิเลสเหล่าใดพึงเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 490

ขึ้น เพราะปรารภถึงสังขารทั้งหลายเป็นส่วนอดีต ท่านจงยังกิเลสเหล่านั้น

ให้เหือดไป เหือดหายไป เหือดแห้งไป คือ จงละ บรรเทา ทำให้สิ้น

ไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า กิเลส-

ชาตที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภสังขารในกาลก่อน ท่านจงให้เหือดหายไป

เสีย อีกอย่างหนึ่ง อภิสังขาร คือกรรมเป็นส่วนอดีตเหล่าใด ที่ยังมิได้

ให้ผล ท่านจงยังอภิสังขารคือกรรมเหล่านั้นให้เหือดไป เหือดหายไป

เหือดแห้งไป คือ จงทำให้สิ้นพืช ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ

ไม่มีในภายหลัง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า กิเลสชาตที่พึงเกิดขึ้น

เพราะปรารภถึงสังขารในกาลก่อน ท่านจงให้เหือดหายไป.

ว่าด้วยอนาคตเรียกว่าภายหลัง

[๘๕๘] คำว่า กิเลสชาตเครื่องกังวลที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภ

ถึงสังขารในภายหลัง อย่าได้มีแก่ท่าน ความว่า อนาคต เรียกว่า

ภายหลัง กิเลสชาตเครื่องกังวลเหล่าใด คือ กิเลสชาตเครื่องกังวลคือราคะ

โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต พึงเกิดขึ้นเพราะปรารภสังขาร

ทั้งหลายในอนาคต กิเลสชาตเครื่องกังวลเหล่านี้ อย่าได้มีแก่ท่าน คือ

ท่านอย่าทำให้ปรากฏ อย่าให้เกิด อย่าให้เกิดพร้อม อย่าให้บังเกิด อย่า

ให้บังเกิดเฉพาะ จงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสชาตเครื่องกังวลที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภ

ถึงสังขารในภายหลัง อย่าได้มีแก่ท่าน.

[๘๕๙] คำว่า ถ้าท่านจักรไม่ถือเอาสังขารในท่ามกลาง ความว่า

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นปัจจุบัน เรียกว่า ท่ามกลาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 491

ท่านจักไม่ถือเอา ไม่ยึด ไม่ถือ ไม่ยึดถือ ไม่ยินดี ไม่พูดถึง ไม่ติดใจ

คือ จักละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งความ

ยินดี ความพูดถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดถือ ความถือมั่น

ซึ่งสังขารทั้งหลายในปัจจุบันนี้ ด้วยสามารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่ง

ทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าท่านจักไม่ถือเอาสังขารในท่ามกลาง.

[๘๖๐] คำว่า ท่านจักเป็นผู้เข้าไปสงบประพฤติไป ความว่า

ท่านจักเป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับ ระงับแล้ว เพราะราคะ

โทสะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นสภาพสงบ สงบเงียบ เข้าไป

สงบวิเศษ ถูกเผา ดับ ปราศไป ระงับ ประพฤติ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ

เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านจักเป็นผู้

เข้าไปสงบประพฤติไป เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

กิเลสชาติที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภถึงสังขารใน

กาลก่อน ท่านจงให้เหือดหายไปเสีย กิเลสชาตเครื่อง

กังวลที่พึงเกิดขึ้น เพราะปรารภถึงสังขารในภายหลัง

อย่าได้มีแก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือเอาสังขารในท่ามกลาง

ท่านจักเป็นผู้เข้าไปสงบประพฤติไป.

[๘๖๑] ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด โดย

ประการทั้งปวง และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศก เพราะสิ่งที่

ถือว่าของเราไม่มีอยู่ ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมในโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 492

ว่าด้วยนามและรูป

[๘๖๒] คำว่า โดยประการทั้งปวง ในคำว่าความถือว่า ของเรา

ในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง ความว่า ทั้งปวงโดย

กำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ คำว่า

ทั้งปวงนั้น เป็นเครื่องกล่าวรวบหมด. อรูปขันธ์ ๔ ชื่อว่านาม มหาภูต-

รูป ๔ และอุปาทายรูปแห่งมหาภูตรูป ๔ ชื่อว่ารูป. คำว่า แก่ผู้ใด คือ

แก่พระอรหันตขีณาสพ ชื่อว่าความถือว่าของเรา ได้แก่ความถือว่าของ

เรา ๒ อย่าง คือความถือว่าของเราด้วยตัณหา ๑ ความถือว่าของเราด้วย

ทิฏฐิ ฯลฯ นี้ ชื่อว่าความถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯ ลฯ นี้ชื่อว่าความ

ถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ. คำว่า ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อมไม่

แก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง ความว่า ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อม

ไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง คือ อันผู้ใดละ

ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือ

ญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่

ผู้ใดโดยประการทั้งปวง.

ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก

[๘๖๓] คำว่า และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่าของเรา

ไม่มีอยู่ ความว่า ย่อมไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวน หรือเมื่อวัตถุ

แปรปรวนไปแล้วก็ย่อมไม่เศร้าโศกถึง คือ ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ

ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ มานะ

ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 493

ลาภ ฯลฯ ญาติสาโลหิต ของเราแปรปรวนไปแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้

ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่.

อีกอย่างหนึ่งผู้ใดเป็นผู้อันทุกขเวทนาซึ่งไม่สำราญกระทบ ครอบงำ

ย่ำยี มาถึงเข้าแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม้รำพัน ไม่ทุบอก

คร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหล แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า

ย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใด

เป็นผู้อันโรคตากระทบ ครอบงำ ฯลฯ เป็นผู้อันสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง

ลม แดด และสัตว์เสือกคลานกระทบ ครอบงำ ย่ำยี มาถึงเข้าแล้ว ย่อมไม่

เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหล

แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่าของเรา

ไม่มีอยู่ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อนามรูปนั้นไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ ผู้ใด

ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความ

หลงใหลว่า นามรูปของเราได้มีแล้วหนอ นามรูปย่อมไม่มีแก่เราหนอ

นามรูปของเราพึงมีหนอ เราย่อมไม่ได้นามรูปนั้นหนอ แม้ด้วยเหตุอย่าง

นี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่.

ว่าด้วยความเสื่อมมีแก่ผู้ยึดถือ

[๘๖๘] คำว่า ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมในโลก ความว่า ความถือ

ความยึดถือ ความถือมั่น ความชอบใจ ความน้อมใจถึงรูป เวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณอะไร ๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของตน

เหล่าอื่น ย่อมมีแก่ผู้ใด ความเสื่อมย่อมมีแก่ผู้นั้น สมจริงตามภาษิตว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 494

ท่านเสื่อมแล้วจากรถ ม้า แก้วมณี และกุณฑล เสื่อม

แล้วจากบุตรและภรรยา ทั้งจากโภคสมบัติทั้งปวง ที่ไม่

ได้เสพ เหตุไร ท่านจึงไม่เดือดร้อนในเวลาเศร้าโศก

โภคสมบัติทั้งหลาย ย่อมละสัตว์ไปก่อนบ้าง สัตว์ย่อมละ

โภคสมบัติเหล่านั้นไปก่อนบ้าง ผู้ใคร่กามมีโภคสมบัติ

ทั้งหลายเหล่าเป็นผู้ไม่มีอะไรเป็นของของตน เหตุนั้น เรา

จึงไม่เศร้าโศกในเวลาเศร้าโศก ดวงจันทร์ย่อมขึ้น ย่อม

เต็มดวง ย่อมเสื่อมไป ดวงอาทิตย์อัสดงคตแล้วก็ลับไป

โลกธรรมทั้ง ๘ เรารู้แล้ว เหตุนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกใน

เวลาเศร้าโศก.

ความถือ ความยึดถือ ความถือมั่น ความชอบใจ ความน้อมใจ

ถึงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอะไร ๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า

สิ่งนี้ของตนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ความเสื่อมก็ไม่มีแก่ผู้นั้น สมจริง

ตามภาษิตว่า ดูก่อนสมณะ ท่านย่อมยินดีหรือ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เรา

ได้อะไรเล่าจึงจะยินดี. ดูก่อนสมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านย่อมเศร้าโศกหรือ.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สิ่งอะไร ๆ เล่าเสื่อมไปแล้ว เราจึงจะเศร้าโศก. ดูก่อน

สมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านย่อมไม่ยินดี ย่อมไม่เศร้าโศกหรือ. เป็นอย่าง

นั้น ท่านผู้มีอายุ.

และสมจริงตามภาษิตว่า

เป็นเวลานานหนอ เราจึงได้เห็นภิกษุผู้เป็นพราหมณ์

ตัดรอบแล้ว ไม่มียินดี ไม่มีทุกข์ ข้ามตัณหาเครื่อง

เกาะเกี่ยวในโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 495

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมในโลก เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ความถือว่าของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใดโดย

ประการทั้งปวง และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศก เพราะสิ่งที่

ถือว่าของเราไม่มีอยู่ ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมในโลก.

[๘๖๖] ความกังวลอะไร ๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของ

คนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นเมื่อไม่ได้ความถือว่า

ของเรา ก็ไม่เศร้าโศกว่าสิ่งนี้ย่อมไม่มีแก่เรา.

[๘๖๖] คำว่า แก่ผู้ใด ในคำว่า ความกังวลอะไร ๆ ว่าสิ่งนี้

ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ความว่า แก่

พระอรหันตขีณาสพ ความถือ ความยึดถือ ความถือมั่น ความชอบใจ

ความน้อมใจถึงสังขารอะไร ๆ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่

เข้าไปได้แก่ผู้ใด คือ อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควร

เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า

ความกังวลอะไร ๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อม

ไม่มีแก่ผู้ใด.

ว่าด้วยอิทัปปัจจยตา

สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้

ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ทั้งไม่ใช่ของคนเหล่าอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 496

กายนี้ อันกรรมเก่าควบคุมแล้ว อันจิตประมวลเข้าแล้ว ท่านทั้งหลาย

พึงเห็นว่าเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ แล้ว

ย่อมมนสิการถึงปฏิจจสมุปบาทนั่นแหละ โดยแยบคายเป็นอย่างดีในกาย

นั้นว่า เพราะเหตุนี้ ๆ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็

เกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ กล่าวคือ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ

ฯลฯ ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ เพราะ

อวิชชานั้นแลดับด้วยสามารถความสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ ฯลฯ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ แม้ด้วยเหตุ

อย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไร ๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่ง

นี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.

และสมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนโมฆราช ท่านจงมีสติพิจารณาเห็นโลกโดย

ความเป็นของสูญ ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว พึงเป็นผู้

ข้ามพ้นมัจจุได้ด้วยอาการอย่างนี้ มัจจุราชย่อมไม่เห็น

บุคคลผู้พิจารณาเห็นโลกอย่างนี้

แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไร ๆ . . . ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.

และสมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสียเถิด สิ่งนั้นที่

ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ตลอดกาลนาน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูปเสียเถิด รูปนั้นที่ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 497

ทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ตลอดกาลนาน เวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละ

วิญญาณนั้นเสียเถิด วิญญาณนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อ

ประโยชน์ เพื่อสุข ตลอดกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย

จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน หญ้า ไม้กิ่งไม้และใบไม้ในวิหารเชตวันนี้

คนพึงนำไป เผาเสีย หรือว่าทำตามปัจจัย ท่านทั้งหลายพึงมีความดำริ

อย่างนี้ หรือว่าคนย่อมนำไป เผาเสีย ซึ่งเราทั้งหลาย หรือทำตามปัจจัย

ความดำรินั้นไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุ

ว่า สิ่งนั้นไม่ใช่ตนหรือของเนื่องด้วยตนแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย

เถิด สิ่งนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ตลอด

กาลนาน ฉันนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย . . . วิญญาณไม่ใช่ของท่าน

ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสียเถิด วิญญาณนั้นที่ท่านทั้งหลาย

ละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เพื่อสุข ตลอดกาลนาน แม้ด้วยเหตุอย่าง

นี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไร ๆ. . . ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.

และสมจริงตามภาษิตว่า

ดูก่อนคามณี เมื่อบุคคลเห็นความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง

ธรรมล้วน และความสืบต่อแห่งสังขารล้วน ตามเป็นจริง

ภัยก็ไม่มี เมื่อใด บุคคลเห็นขันธโลกเสมอด้วยหญ้าและ

ไม้ ด้วยปัญญา เมื่อนั้น บุคคลนั้นก็ไม่ปรารถนาอะไร ๆ

อื่น นอกจากนิพพานอันไม่มีปฏิสนธิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 498

นางวชิราภิกษุณีได้กล่าวคาถานี้กะมารผู้ลามกว่า

ดูก่อนมาร ทิฏฐิของท่านย่อมเชื่อสิ่งอะไรหนอว่าสัตว์

ร่างกายนี้เป็นกองแห่งสังขารล้วน บัณฑิตย่อมไม่ได้ที่จะ

เรียกว่าเป็นสัตว์ในกองสังขารล้วนนี้ เสียงว่ารถย่อมมี

เพราะคุมกันเข้าแห่งส่วนประกอบ ฉันใด เมื่อขันธ์

ทั้งหลายมีอยู่ ความสมมติว่าสัตว์ก็มี ฉันนั้น ก็ทุกข์

อย่างเดียวย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และย่อมแปรไป

นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ.

แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไร ๆ...ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.

และสมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุย่อมค้นหารูปอย่างนั้นแหละ ตลอดถึงคติของรูปที่มีอยู่ ภิกษุย่อมค้น

หาเวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ตลอดถึงคติของวิญญาณที่มีอยู่

เมื่อภิกษุนั้นค้นหารูปตลอดถึงคติของรูปที่มีอยู่ เมื่อค้นหาเวทนา . . .

สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ตลอดถึงคติของวิญญาณที่มีอยู่ แม้ความ

ถือว่าเราก็ดี ว่าของเราก็ดี ว่าเราย่อมมีก็ดี ความถือแม้นั้นก็มิได้มีแก่ภิกษุ

นั้นๆ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ... ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.

ว่าด้วยโลกสูญ

ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า โลกสูญ โลกสูญ ดังนี้ ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล

พระองค์จึงตรัสว่า โลกสูญ โลกสูญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

๑. ส. ส. ๑๕/ข้อ ๕๕๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 499

ดูก่อนอานนท์ เพราะสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้น เราจึง

กล่าวว่าโลกสูญ ดูก่อนอานนท์ ก็สิ่งอะไรที่สูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่อง

ด้วยตน ดูก่อนอานนท์ จักษุสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน รูป

ก็สูญ... จักษุวิญญาณ... จักษุสัมผัส... สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี

อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้น

ก็สูญ หู ... เสียง ... จมูก ... กลิ่น... ลิ้น... รส... กาย ...โผฏฐัพพะ...

ใจ... ธรรมารมณ์... มโนวิญญาณ... มโนสัมผัส ... สุขเวทนาก็ดี

ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

แม้เวทนานั้นก็สูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ดูก่อนอานนท์ เพราะ

โลกสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า โลกสูญ

แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไร ๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า

สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่บุคคลใด.

[๘๖๗] ชื่อว่า ความถือว่าของเรา ในคำว่า ผู้นั้น เมื่อไม่ได้

ความถือว่าของเรา ได้แก่ ความถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความถือว่า

ของเราด้วยตัณหา ๑ ความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า

ความถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ.

ผู้นั้นละความถือว่าของเราด้วยตัณหา สละคืนความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ

แล้ว เมื่อไม่ได้ ไม่พบ ไม่ประสบ ไม่ได้เฉพาะ ซึ่งความถือว่าของเรา

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้น เมื่อไม่ได้ความถือว่าของเรา.

[๘๖๘] คำว่า ก็ไม่เศร้าโศกว่า สิ่งนี้ย่อมไม่มีแก่เรา ความว่า

ผู้นั้น ย่อมไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวนไป หรือเมื่อวัตถุนั้นแปรปรวน

ไปแล้ว ก็ไม่เศร้าโศกถึง และไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 500

ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุของเราแปรปรวนไปแล้ว

หูของเราแปรปรวนไปแล้ว ฯลฯ สาโลหิตของเราแปรปรวนไปแล้ว

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็ไม่เศร้าโศกว่า สิ่งนี้ย่อมไม่มีแก่เรา เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ความกังวลอะไร ๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของ

คนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้น เมื่อไม่ได้ความถือ

ว่าของเรา ก็ไม่เศร้าโศกว่า สิ่งนี้ย่อมไม่มีแก่เรา.

[๘๖๙] บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตามติดใจ ไม่หวั่นไหว

เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่มี

ความหวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์นั้น.

ว่าด้วยผู้ไม่ริษยา

[๘๗๐] ความริษยา ในคำว่า เป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตามติดใจ

เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ริษยา คือ ย่อมริษยา ชิงชัง

ผูกความริษยา ในลาภ สักการะ การเคารพ การนับถือ การไหว้และ

การบูชาของบุคคลอื่น ความเป็นผู้ริษยา การทำความเป็นผู้ริษยา ความ

ริษยา กิริยาที่ริษยา ความเป็นผู้ริษยา ความชิงชัง กิริยาที่ชิงชัง ความ

เป็นผู้ชิงชัง นี้เรียกว่าความริษยา ความริษยานั้น อันผู้ใดละ ตัดขาด

สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้น

เรียกว่า เป็นผู้ไม่ริษยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่ริษยา. คำว่า

ไม่ตามติดใจ ความว่า ตัณหา เรียกว่าความตามติดใจ ได้แก่ ราคะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 501

สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ความติดใจนั้น อันผู้ใดละ

ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ

ผู้นั้น เรียกว่าเป็นผู้ไม่ตามติดใจ ผู้นั้นไม่ติดใจ คือไม่ถึงความติดใจ

ไม่หลง ไม่หมกมุ่นในรูป ฯลฯ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่

ทราบและธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง คือเป็นผู้ปราศจากความติดใจ หายจาก

ความติดใจ สละความติดใจ สำรอกความติดใจ ปล่อยความติดใจ ละ

ความติดใจ สละคืนความติดใจแล้ว ปราศจากความกำหนัด หายจาก

ความกำหนัด สละความกำหนัด สำรวมความกำหนัด ปล่อยความกำหนัด

ละความกำหนัด สละคืนความกำหนัดแล้ว หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว

เป็นผู้เสวยสุขมีตนดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลเป็นผู้ไม่

ริษยา ไม่ตามติดใจ.

ว่าด้วยผู้ไม่หวั่นไหว

[๘๗๑] คำว่า ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง

ความว่า ตัณหา เรียกว่าความหวั่นไหว ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ

อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตัณหาอันเป็นความหวั่นไหวนั้น อันผู้ใดละ

ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือ

ญาณ ผู้นั้น เรียกว่าเป็นผู้ไม่หวั่นไหว บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ไม่หวั่นไหว

เพราะละความหวั่นไหวเสียแล้ว ผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหว เอนเอียง ดิ้นรน

ยุ่ง วุ่นไป แม้ในลาภ แม้ในความเสื่อมลาภ แม้ในยศ แม้ในความ

เสื่อมยศ แม้ในความสรรเสริญ แม้ในความนินทา แม้ในสุข แม้ในทุกข์

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่หวั่นไหว. คำว่า เป็นผู้เสมอในอายตนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 502

ทั้งปวง ความว่า อายตนะ ๑๒ คือ จักษุ รูป ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์

เรียกว่าอายตนะทั้งปวง เมื่อใด ฉันทราคะในอายตนะภายในและภายนอก

อันบุคคลละ ตัดรากเสียแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความ

ไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เมื่อนั้น ผู้นั้น

เรียกว่าเป็นผู้เสมอ คงที่ วางตนเป็นกลาง เพิกเฉย ในอายตนะทั้งปวง

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง.

[๘๗๒] คำว่า เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่มีความหวั่นไหว ก็บอก

อานิสงส์นั้น ความว่า เราถูกถาม สอบถาม ขอให้บอก อัญเชิญให้

บอก ขอให้ประสาทถึงบุคคลผู้ไม่มีความหวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์ ๔ นี้

คือ บอก ชี้แจง ฯลฯ ประกาศว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตาม

ติดใจ ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง ดังนี้ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่มีความหวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์นั้น

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตามติดใจ ไม่หวั่นไหว

เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่มี

ความหวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์นั้น.

[๘๗๓] อภิสังขารอะไร ๆ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว

รู้แจ้งอยู่ บุคคลนั้น งดเว้นแล้วจากอภิสังขาร ย่อมเห็น

ความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง.

[๘๗๔] ตัณหา เรียกว่า ความหวั่นไหว ในคำว่า แก่บุคคล

ผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ้งอยู่ ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 503

อกุศลมูล ตัณหาอันเป็นความหวั่นไหวนั้น อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ

ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้น เรียกว่า

ผู้ไม่หวั่นไหว บุคคลชื่อว่าไห่หวั่นไหว เพราะละความหวั่นไหวเสียแล้ว

ผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหว เอนเอียง ดิ้นรน ยุ่ง วุ่นไป แม้ในลาภ แม้

ในความเสื่อมลาภ แม้ในยศ แม้ในความเสื่อมยศ แม้ในความสรรเสริญ

แม้ในความนินทา แม้ในสุข แม้ในทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แก่

บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว. คำว่า รู้แจ้งอยู่ ความว่า รู้ รู้ทั่ว รู้แจ้งเฉพาะ

แทงตลอดว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ สิ่งใด

สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แก่บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ้งอยู่.

[๘๗๕] คำว่า อภิสังขารอะไร ๆ ย่อมไม่มี ความว่า ปุญญาภิ-

สังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เรียกว่า อภิสังขาร. ปุญญา-

ภิสังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี อาเนญชาภิสังขารก็ดี อันบุคคลนั้นละ

ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง

มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุเท่านี้ อภิสังขารทั้งหลายก็

ไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือเป็นสภาพอันบุคคลนั้นละ ตัดขาด

สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า อภิสังขารอะไร ๆ ย่อมไม่มี.

[๘๗๖] คำว่า บุคคลนั้นงดเว้นแล้วจากอภิสังขาร ความว่า

ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เรียกว่า อภิสังขาร.

ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร อันบุคคลนั้นละ

ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภาย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 504

หลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุเท่านี้ บุคคลชื่อว่า

เป็นผู้งด เว้น เว้นขาด เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด

ไม่เกี่ยวข้องอภิสังขาร เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า บุคคลนั้นงดเว้นแล้วจากอภิสังขาร.

[๘๗๗] คำว่า ย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง ความว่า

ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ กิเลสทั้งหลาย อันก่อให้เกิดภัย เพราะ

ผู้นั้นเป็นผู้ละราคะ อันก่อให้เกิดภัย ฯลฯ ละกิเลสทั้งหลายอันก่อให้เกิด

ภัยเสียแล้ว ชื่อว่าย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง คือ ย่อมเห็นความ

ไม่มีภัย ไม่มีเสนียด ไม่มีอุบาทว์ ไม่มีอุปสรรค ความระงับ ในที่ทุก

สถาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

อภิสังขารอะไร ๆ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว

รู้แจ้งอยู่ บุคคลนั้น งดเว้นแล้วจากอภิสังขาร ย่อมเห็น

ความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง.

[๘๗๘] มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอกัน ในพวก

คนที่ต่ำกว่า ในพวกคนที่สูงกว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ผู้

ปราศจากความตระหนี่ ย่อมไม่ยึดถือ ย่อมไม่สลัด

(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้ ).

ว่าด้วยคุณสมบัติของมุนี

[๘๗๙] คำว่า มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกตนที่เสมอกัน ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 505

พวกคนที่ตำกว่า ในพวกตนที่สูงกว่า ความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ

ได้แก่ ปัญญา ความรู้ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง และตัณหา

เพียงดังข่ายดำรงอยู่ บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี มุนีย่อมไม่พูดถึง ไม่กล่าว ไม่

บอก ไม่แสดง ไม่แถลง ว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา หรือว่าเราเลว

กว่าเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอ

กัน ในพวกคนที่ต่ำกว่า ในพวกคนที่สูงกว่า.

[๘๘๐] คำว่า เป็นผู้สงบ ในคำว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจาก

ความตระหนี่ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ

ดับแล้ว ระงับแล้ว เพราะราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร

ทั้งปวง เป็นสภาพสงบ สงบเงียบ เข้าไปสงบวิเศษ ถูกเผา ดับ ปราศไป

ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ.

คำว่า ปราศจากความตระหนี่ ความว่า ความตระหนี่ ๕ ประการ

คือ ความตระหนี่อาวาส ฯลฯ ความหวงไว้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่

ความตระหนี่นั้น อันมุนีใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควร

เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ มุนีนั้นเรียกว่า ผู้ปราศจากความ

ตระหนี่ หายจากความตระหนี่ กำจัดความตระหนี่ สำรอกความตระหนี่

พ้นความตระหนี่ ละความตระหนี่ สละคืนความตระหนี่ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจากความตระหนี่.

[๘๘๑] คำว่า ย่อมไม่ยึดถือ ในควานว่า ย่อมไม่ยึดถือ ย่อม

ไม่สลัด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้ ความว่า มุนีนั้น ย่อมไม่ยึดถือ

ไม่ถือเอา ไม่เข้าไปถือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ซึ่งรูป เวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ยึดถือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 506

คำว่า ย่อมไม่สลัด ความว่า มุนีนั้น ย่อมไม่ละ ไม่บรรเทา

ไม่ทำให้สิ้นไป ไม่ให้ถึงความไม่มี ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ เพราะฉะนั้น จึง

ชื่อว่า ย่อมไม่สลัด. คำว่า ภควา เป็นคำเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ.

บทว่า ภควา นี้เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า

มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอกัน ในพวก

คนที่ต่ำกว่า ในพวกคนที่สูงกว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ

ปราศจากความตระหนี่ ย่อมไม่ยึดถือ ย่อมไม่สลัด

(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้).

จบอัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕

อรรถกถาอัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕

พึงทราบวินิจฉัยในอัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕ ดังต่อไปนี้.

พึงทราบความในคาถาที่หนึ่ง มีคำเริ่มต้นว่า อตฺตทณฺฑา ภย ชาต

ภัยเกิดแต่อาชญาของตน ดังนี้.

ภัยใด เป็นไปในโลกปัจจุบัน หรือเป็นไปในสัมปรายภพเกิดแล้ว

ภัยนั้นทั้งหมดเกิดแต่อาชญาของตน คือเกิดแต่เหตุประพฤติชั่วของตน

เมื่อเป็นอย่างนี้ พวกท่านจงดูชนที่ทุ่มเถียงกัน คือจงดูชนมีเจ้าศากยะ

เป็นต้นนี้ ทุ่มเถียงกันและกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงอบรมชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 507

ผู้ทำร้ายกัน ผู้ปฏิบัติผิดต่อกันนั้นอย่างนี้แล้ว เพื่อให้ชนนั้นเกิดความ

สังเวชด้วยการแสดงถึงการปฏิบัติชอบของพระองค์ จึงตรัสว่า

เราจักแสดงความสังเวชตามที่เราได้สังเวชมาแล้ว.

อธิบายว่า เมื่อก่อนเราเป็นพระโพธิสัตว์ ระลึกได้แล้ว.

บทว่า ตโย คือ กำหนดจำนวน. บทว่า ทณฺฑา อาชญา คือ

ทุจริต. บทว่า กายทณฺโฑ อาชญาทางกาย คือ กายทุจริต. แม้ในอาชญา

ทางวาจาเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ติวิธ กายทุจฺจริต กายทุจริต

มี ๓ อย่าง อันได้แก่ความประพฤติชั่วเป็นไปทางกาย มีปาณาติบาต

เป็นต้น. หรือประพฤติชั่ว เพราะเน่าด้วยกิเลส เพราะเหตุนั้น จึงได้

ชื่อว่า ทุจริต ๓ อย่าง. บทว่า จตุพฺพิธ คือ วจีทุจริต ๔ อย่างมีมุสาวาท

เป็นต้น. บทว่า ติวิธ คือ มโนทุจริต ๓ อย่าง มีอภิชฌา (โลภอยาก

ได้ของเขา) เป็นต้น. บทว่า ทิฏฺธมฺมิก ภัยในชาตินี้ คือภัยที่ได้รับใน

ชาตินี้ คือในอัตภาพนี้. บทว่า สมฺปรายิก คือ ภัยที่ได้รับในอัตภาพยังมา

ไม่ถึง. บทว่า อาคุจารี คือ เป็นผู้ประพฤติชั่วประพฤติผิด. บทว่า ตเมน

ราชา ปริภาสติ พระราชาทรงบริภาษคนผู้นั้น คือพระราชาทรงบริภาษ

คนทำชั่ว ให้เกิดความกลัว. บทว่า ทุกฺข โทมนสฺส ปฏิสเวเทติ ให้เสวย

ทุกข์โทมนัส คือเสวยทุกข์ทางกาย โทมนัสทางใจ. บทว่า เอต ภย ทุกฺข

โทมนสฺส คือ ภัยทุกข์และโทมนัสนั้น. บทว่า กุโต ตสฺส คือ เกิดแต่

อะไร. บทว่า อตฺตทณฺฑโต ชาต เกิดแต่อาชญา คือเกิดแต่ทุจริตที่ตน

กระทำ. บทว่า อนฺตมโส คือ โดยอย่างต่ำ. บทว่า สวจนียมฺปิ กโรติ น เต

ลพฺภา อิโต ปกฺกมิตุ พระราชามีพระกระแตรับสั่งว่า มันจะหนีจากสถาน

เป็นที่จองจำนี้ไปไม่ได้ คือทรงบังคับว่า โจรพวกนั้นมันจะไปจากบ้าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 508

เป็นต้นนี้ ออกไปภายนอกไม่ได้. บทว่า ธนชานิปจฺจยาปิ คือ แม้

เพราะเหตุแห่งความสูญเสียทรัพย์. พระราชารับสั่งให้ลงโทษโจรนั้นหลาย

อย่าง. บทว่า กสาหิปิ ตาเฬนฺติ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง. เวตฺเตหิปิ

ตาเฬนฺติ คือ ให้เฆี่ยนด้วยหวายมีหนามบ้าง. บทมีอาทิว่า อฑฺฒทณฺฑเกหิ

ด้วยไม้พลอง มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. สุนเขหิปิ ขาทาเปนฺติ

ให้สุนัขกัดกินบ้าง คือให้สุนัขที่หิวเพราะไม่ได้อาหารมา ๒-๓ วัน กัดกิน.

สุนัขเหล่านั้น เพียงครู่เดียวก็กัดกินเหลือแต่ร่างกระดูกเท่านั้น. บทว่า

สูเล อุตฺตาเสนฺติ คือ ให้นอนบนหลาวบ้าง. บทว่า ราชา อิเมส จตุนฺน

ทณฺฑาน อิสฺสโร พระราชาเป็นใหญ่ในอาชญา ๔ อย่างแหล่านี้ คือ

พระราชาสามารถจะลงอาชญา ๔ อย่างเหล่านี้. บทว่า สเกน กมฺเมน

คือ ด้วยกรรมที่ตนทำ. ในบทว่า ตเมน นิรยปาลา นี้ พระเถระบางพวก

กล่าวว่า พวกนายนิรยบาลไม่มีให้ทำกรรมกรณ์ ดุจรูปยนต์เท่านั้น.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พวกนายนิรยบาลมีในนรก. ในอภิธรรมรับรอง

ไว้โดยนัยมีอาทิว่า เออ ผู้ลงกรรมกรณ์มีอยู่. พวกนิรยบาลในนรกมีเหมือน

ในมนุษยโลก ที่มีพวกลงโทษ. บทว่า ตตฺต อโยขิล หลาวเหล็กร้อน

คือให้สัตว์นรกมีร่างกาย ๓ คาวุต นอนหงายบนแผ่นดินโลหะ ไฟลุก

โพลงแล้วเอาหลาวเหล็กประมาณเท่าลำตาลสอดเข้าไปที่มือขวา ในมือซ้าย

เป็นต้นก็เหมือนกัน. ให้สัตว์นรกนอนคว่ำบ้าง ตะแคงซ้ายบ้าง ตะแคง

ขวาบ้าง เหมือนให้นอนหงายลงกรรมกรณ์นั้น. บทว่า สเวเสตฺวา ให้

นอนลง คือให้ร่างประมาณ ๓ คาวุต นอนลงบนแผ่นดินเหล็กอันลุก

โพลง. บทว่า กุธารีหิ ด้วยผึ่ง คือเอาผึ่งใหญ่ประมาณปีกข้างหนึ่งของ

หลังคาเรือนถาก. เลือดไหลเหมือนน้ำไหล. เปลวไฟลุกขึ้นจากแผ่นดิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 509

โลหะจดถึงที่ถาก. เกิดมหาทุกข์. อนึ่ง เมื่อถาก ถากไปตามเส้นบรรทัด

เป็น ๘ เหลี่ยมบ้าง ๖ เหลี่ยมบ้าง เหมือนถากไม้. บทว่า วาสีหิ คือ

ด้วยมีด ประมาณเท่ากระด้งใหญ่. บทว่า รเถ โยเชตฺวา เทียมเข้าที่รถ

คือเทียมที่รถมีไฟลุกโพลงไปทั่วกับแอก เชือก กระพอง ล้อ ทูบ ปฏัก.

บทว่า มหนฺต คือ ภูเขาถ่านเพลิงให้ประมาณเท่าเรือนยอด. บทว่า

อาโรเปนฺติ ให้ขึ้น คือเอาค้อนเหล็กมีไฟลุกโพลงโบยให้ขึ้นภูเขาถ่าน

เพลิง. บทว่า สกิมฺปิ อุทฺธ บางครั้งก็เดือดพล่านไปข้างบน คือไปข้าง

บนข้างล่างและทางขวาง เหมือนข้าวสารที่ใส่ไว้ในหม้ออันเดือดพล่าน.

บทว่า มหานิรเย คือ ในอเวจีมหานรก.

บทว่า จตุกฺกณฺโณ มหานรกมี ๔ มุม คือเช่นกับหีบสี่เหลี่ยม

จตุรัส. บทว่า วิภตฺโต คือ จำแนกออกโดยประตู ๔ ช่อง. บทว่า ภาคโส

มิโต จำแนกออกโดยส่วน คือสร้างจำแนกออกโดยส่วนแห่งประตูและ

ถนน. บทว่า ปริยตฺโต คือ ล้อมรอบ. บทว่า อยสา คือ มีแผ่นเหล็ก

ประมาณ ๙ โยชน์ครอบไว้ข้างบน. บทว่า สนนฺตา โยชนสต ผริตฺวา

ติฏฺติ แผ่ไปร้อยโยชน์ตั้งอยู่โดยรอบ คือแผ่ไปตั้งอยู่ โดยที่เมื่อบุคคล

ยืนแลดูอยู่ในที่ร้อยโยชน์โคตรอบ ตาทั้งสองข้างจะถลนออกเหมือนลูกกลม

คู่. บทว่า กทริยา ตปนา มหานรกอันเป็นที่น่าสยดสยองเผาผลาญ คือ

มหานรก ๘ ขุม กับอุสสทนรก แม้ทั้งหมดเหล่านั้น เป็นที่น่าสยดสยอง

เผาผลาญสัตว์อยู่เป็นนิจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กทริยา ตปนา. มหานรก

ชื่อว่า ร้ายแรง เพราะให้เกิดทุกข์ร้ายแรง ชื่อว่า มีเปลวไฟ เพราะมีเปลว-

ไฟตั้งอยู่ตลอดกัป ชื่อว่า แสนยากที่จะเข้าใกล้ เพราะทำได้ยากเพื่อจะให้

ขัดเคือง เพื่อกระทบกระทั่ง ชื่อว่า น่าขนลุกขนพอง เพราะเพียงเห็น หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 510

เพียงได้ยินขนก็ลุกชันเสียแล้ว ชื่อว่า น่ากลัว เพราะน่าครั่นคร้าม ชื่อว่า

ให้เกิดภัย เพราะให้เกิดความกลัว ชื่อว่า ให้เกิดทุกข์ เพราะไม่มีความสุข.

พึงทราบความสังเขปแห่งคาถามีอาทิว่า ปุรตฺถิมาย จ ภิตฺติยา

เปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านทิศตะวันออกอย่างนี้ถึงอเวจีมหานรกเป็นที่สุด,

มหานรกชื่ออเวจี เพราะไม่มีคลื่นในระหว่างของเปลวไฟ หรือของสัตว์

ทั้งหลาย หรือของทุกข์ของสัตว์เหล่านั้น. เพราะว่าในอเวจีนั้น กลุ่ม

เปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านทิศตะวันออกเป็นต้น แล้วเผาบุคคลผู้มีกรรมชั่ว

พังฝาด้านทิศตะวันตกออกไป. กลุ่มเปลวไฟทะลุฝาเหล่านั้นพุ่งไปข้างหน้า

๑๐๐ โยชน์. กลุ่มเปลวไฟตั้งอยู่ข้างล่างไปกระทบข้างบน ดังอยู่ข้างบนลง

กระทบข้างล่าง. ในอเวจีนี้ชื่อว่าไม่มีคลื่นของเปลวไฟเลยอย่างนี้. ที่ ๑๐๐

โยชน์ในภายในอเวจีนั้น เต็มไปด้วยสัตว์นรกไม่มีช่องว่าง เหมือนทะนาน

เต็มไปด้วยแป้งทำด้วยเถาน้ำนม. สัตว์นรกสุดแดนนรก ไม่มีกำหนดด้วย

อิริยาบถ ๔. สัตว์นรกไม่เบียดเบียนกัน หมกไหม้อยู่ในที่เดียวกัน. ใน

นรกอเวจีนี้ชื่อว่าไม่มีคลื่นของสัตว์นรกอย่างนี้. อนึ่ง หยาดน้ำผึ้ง ๖ หยาด

บนปลายลิ้น ย่อมเป็นอัพโพหาริก เพราะหยาดน้ำทองแดงหยาดที่ ๗

มีกำลังเผาไหม้หมด ฉันใด อุเบกขาอกุสลวิบาก ๖ ที่เหลือ ย่อมเป็น

อัพโพหาริก เพราะมีกำลังในการเผาผลาญในนรกนั้น. ทุกข์เท่านั้นปรากฏ

ไม่มีระหว่าง. ในนรกอเวจีนี้ชื่อว่าไม่มีคลื่นของทุกข์เลยอย่างนี้. ชื่อว่า

นรกเพราะปราศจากความยินดี.

บทว่า ตตฺถ สตฺตา มหาลุทฺทา คือ สัตว์ที่เกิดในนรกอเวจีนั้น มี

กรรมหยาบมาก. บทว่า มหากิพฺพิสการิโน คือ ทำกรรมร้ายแรงมาก.

บทว่า อจฺจนฺตปาปกมฺมนฺตา คือ มีบาปกรรมโดยส่วนเดียว. บทว่า

๑. คือไม่มีความขาดตอน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 511

ปจฺจนฺติ น จ มิยฺยเร คือ หมกไหม้อยู่ในระหว่างเปลวไฟ แต่ไม่ตาย.

บทว่า ชาตเวทสโม กาโย คือ ร่างกายของสัตว์นรกเหล่านั้น เช่นกับ

ไฟ. บทว่า เตส นิรยวาสีน คือ สัตว์ผู้อยู่ในนรกเหล่านั้น เป็นผู้มีบาป-

กรรม. บทว่า ปสฺส กมฺมาน ทฬฺหตฺต คือ จงดูความมั่นคงของบาป-

กรรม. บทว่า น ภสฺมา โหนฺติ นปิ มสิ คือ เถ้าและเขม่ามิได้มีเลย.

บทว่า ปุรตฺถิเมน ข้างทิศตะวันออก คือตราบใดประตูยังไม่ปิด สัตว์

นรกก็วิ่งมุ่งหน้าไปทางประตูนั้น. ผิวหนังเป็นต้นของสัตว์นรกเหล่านั้น

ย่อมไหม้ที่ประตูนั้น. เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นไปถึงใกล้ประตู ประตูนั้นก็

ปิด ประตูหลังปรากฏดุจไม่ได้ปิดไว้. ในบททั้งหมดก็มีนัยนี้. บทว่า

นิกฺขมิตาสา เต คือ สัตว์นรกเหล่านั้นมีความหวังเพื่อจะออก จึงชื่อว่า

นิกฺขมิตาสา. บทว่า โมกฺข คเวสิโน คือ แสวงหาอุบายที่จะออก.

บทว่า น เต ตโต นิกฺขมิตุ ลภนฺติ กมฺมปจฺจยา คือ สัตว์เหล่านั้นออก

จากนรกนั้นไม่ได้ เพราะบาปกรรมเป็นปัจจัย. บทว่า เตสญฺจ

ปาปกมฺมนฺต อวิปกฺก กต พหุ เพราะบาปกรรมที่สัตว์เหล่านั้นทำไว้มาก

ยังมิได้ให้ผลหมดสิ้น คือกรรมลามกหยาบช้าที่สัตว์เหล่านั้นทำสะสมไว้มี

อยู่มากมายนานัปการ ยังไม่ให้ผล.

บทว่า สเวค ความสังเวช คือความระอา. บทว่า อุพฺเพค ความ

สะดุ้ง คือไปจากที่ยืนอยู่. บทว่า อุตฺราส ความหวาดเสียว คือความ

ยุ่งยากใจ ไม่ตกลงใจ. บทว่า ภย ความกลัว คือจิตสะดุ้ง. บทว่า

ปีฬน ความบีบคั้น คือความเสียดสี. บทว่า ฆฏฺฏน ความกระทบ คือ

ทำการบีบคั้น. บทว่า อุปทฺทว ความเบียดเบียน คือจัญไร. บทว่า

อุปสคฺค ความขัดข้อง คือการปิดกั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 512

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงประการที่พระองค์ทรง

สังเวชมาแล้ว จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ผนฺทมาน หมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ผนฺทมาน คือ ดิ้นรนด้วยตัณหาเป็นต้น.

บทว่า อปฺโปทเก คือ ในน้ำน้อย. บทว่า อญฺมญฺเหิ พฺยารุทฺเธ

ทิสฺวา เห็นสัตว์ทั้งหลายทำร้ายกันและกัน คือเห็นสัตว์ต่าง ๆ ทำร้ายกับ

สัตว์อื่น ๆ. บทว่า ม ภยมามิสิ คือ ภัยเข้ามาถึงเราแล้ว.

บทว่า กิเลสผนฺทนาย ผนฺทมาน ดิ้นรนเพราะกิเลส คือหวั่นไหว

ด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า ปโยโค ได้แก่ กายประโยค วจีประโยค

และมโนประโยค. บทว่า วิรุทฺธา ทำร้ายกัน คือถึงความพิโรธกัน.

บทว่า ปฏิวิรุทฺธา ทำร้ายตอบกัน คือหันหน้าทะเลาะกัน. หรือตรงเข้า

ทำร้ายกัน . บทว่า อาหตา เคืองกัน คือประกันประหารกันด้วยความ

โกรธ. บทว่า ปจฺจาหตา เคืองตอบกัน คือเป็นมวยปล้ำต่อสู้กัน. บทว่า

อาฆาติตา ปองร้ายกัน คือกระทบกระทั่งกัน . บทว่า ปจฺจาฆฏฺฏิตา

ปองร้ายตอบกัน คือกระทบกระทั่งกันอย่างแรง. บทว่า ปาณีหิปิ

อุปกฺกมนฺติ คือ ตบตีกันด้วยมือบ้าง.

บทว่า สมนฺตมสาโร โลโก โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร คือโลก

ทั้งหมดตั้งแต่นรกเป็นต้น. ไม่เป็นแก่นสาร คือเว้นจากแก่นสารที่เป็น

ของเที่ยงเป็นต้น. บทว่า ทิสา สพฺพา สเมริตา คือ สังขารทั้งหลาย

หวั่นไหวแล้วตลอดทิศทั้งปวง เพราะความไม่เที่ยง. บทว่า อิจฺฉ ภวน-

มตฺตโน เมื่อปรารถนาความเจริญเพื่อตน คือเมื่อปรารถนาความต้านทาน

เพื่อตน. บทว่า นาทฺทสาสึ อโนสิต คือ ไม่ได้เห็นฐานะอะไรๆ อัน

ไม่ถูกครอบงำด้วยชราเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 513

บทว่า อสฺสาโร คือ ไม่เป็นแก่นสารหรือเว้นจากแก่นสาร. บทว่า

นิสฺสาโร คือ เว้นจากแก่นสารด้วยประการทั้งปวง. บทว่า สาราปคโต

คือ ปราศจากแก่นสาร. บทว่า นิจฺจสารสาเรน วา โดยแก่นสารที่เป็น

ของเที่ยง คือแก่นสารที่นับว่าเป็นแก่นสารตลอดไป. แม้สองบทต่อไป

ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า เย ปุรตฺถิมาย ทิสาย สงฺขารา สังขาร

ทั้งหลายในทิศตะวันออก คือสังขารทั้งหลายที่ร่วมกันทำขึ้นด้วยปัจจัยใน

ทิศตะวันออก. บทว่า เตปิ เอริตา คือ แม้สังขารเหล่านั้นก็หวั่นไหว.

บทว่า สเมริตา สะเทือน คือหวั่นไหวยิ่ง. บทว่า จลิตา สะท้าน คือ

ไปสู่ความหวั่นไหว. บทว่า ฆฏฺฏิตา เอนเอียง คือถูกความเกิดความดับ

บีบคั้น. บทว่า อนิจฺจตาย คือ เพราะเป็นแล้วไม่เป็น. บทว่า ชาติยา

อนุคตา อันชาติติดตาม คืออันความเกิดเข้าไปติดตาม. บทว่า ชราย

อนุสฏา อันชราห้อมล้อม คือถูกเบียดเบียนเพราะความแก่หง่อม. บทว่า

พฺยาธินา อภิภูตา อันพยาธิครอบงำ คือถูกพยาธิอันเกิดขึ้นเพราะความ

เปลี่ยนแปลงของธาตุครอบงำ. บทว่า มรเณน อพฺภาหตา คือ ถูกมรณะ

กำจัด. บทว่า อตาณา ไม่มีที่ต้านทาน คือเว้นจากการรักษา. บทว่า

อเลณา ไม่มีที่หลีกเร้น คือเว้นจากที่หลีกเร้น. บทว่า อสรณา คือ ไม่

มีที่พึ่ง. บทว่า อสรณีภูตา เป็นสภาพไม่มีที่พึ่ง คือไม่ทำกิจของที่พึ่ง

เอง. บทว่า อตฺตโน ภวน ความเจริญเพื่อตน เป็นบทยกขึ้นเพื่อขยาย

ความ. บทว่า ตาณ ที่ป้องกัน คือที่รักษา. บทว่า เลณ คือ ที่หลีกเร้น.

บทว่า สรณ ที่พึ่ง คือที่ยังทุกข์ให้พินาศไป. บทว่า คตึ ที่ดำเนิน คือ

ที่อาศัย. บทว่า ปรายน ที่ก้าวหน้า คือที่ไปในเบื้องหน้า ชื่อว่า ปรายน.

บทว่า อชฺโณสิต เยว อทฺทส ได้เห็นฐานะทั้งปวงถูกครอบงำ คือได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 514

เห็นฐานะทั้งปวงถูกชราเป็นต้นย่ำยี. บทว่า สพฺพ โยพฺพญฺ คือ ความ

เป็นหนุ่มสาวทั้งปวง ชื่อว่า โยพฺพญฺ. ความเป็นหนุ่มสาวทั้งปวงของ

สัตว์ผู้ยังมีจิตใจ. บทว่า ชราย โอสิต ถูกชราครอบงำ คือถูกชรา คือ

ความแก่หง่อมครอบงำย่ำยี. ในบททั้งปวงก็เป็นอย่างนี้.

บทว่า โอสาเน เตฺวว พฺยารุทฺเธ ทิสฺวา เม อรติ อหุ

เพราะได้เห็นสัตว์ทั้งหลายมีที่สิ้นสุดมีที่สกัดกั้น เราจึงได้มีความไม่ยินดี

คือได้เห็นสัตว์ทั้งหลายมีที่สิ้นสุด มีที่ตั้งอยู่ไม่ได้ มีที่พินาศทั้งนั้น มีที่

สกัดกั้น มีจิตถูกกำจัดด้วยความชราเป็นต้นของความเป็นหนุ่มสาว เรา

จึงได้มีความไม่ยินดี. บทว่า อเถตฺถ สลฺล อนึ่ง เราได้เห็นลูกศรอันเห็น

ได้ยากในสัตว์เหล่านั้น คือลูกศรมีราคะเป็นต้น ในสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้.

บทว่า หทยนิสฺสิต คือ อาศัยจิต. บทว่า โยพฺพญฺ ชรา โวสาเปติ

ชรายังความหนุ่มสาวให้สิ้นสุด คือให้สัตว์อยู่ไม่ได้ ให้พินาศไป. ในบท

ทั้งปวงก็มีนัยอย่างนี้.

ลูกศรมีอานุภาพอย่างไร. พึงทราบคาถาว่า เยน สลฺเลน โอติณฺโณ

สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า ทิสา สพฺพา วิธาวติ สัตว์ย่อมแล่นไปสู่ทิศทั้งปวง คือ

สัตว์ย่อมแล่นไปสู่ทิศที่เป็นทุจริตบ้าง ทิศมีทิศตะวันออกเป็นต้นบ้าง

ทิศที่เป็นคติบ้าง. บทว่า ตเมว สลฺล อพฺพุยฺห น ธาวติ น สีหติ

เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่จมลง. คือ เพราะ

ถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไปสู่ทิศเหล่านั้น และไม่จมลงใน

โอฆะ ๔.

พึงทราบความในบทมีอาทิว่า อาณ ความไม่รู้ต่อไป. ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 515

ไม่รู้ ความไม่เห็น เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความรู้ความเห็น ชื่อว่าไม่

ตรัสรู้ เพราะเป็นผู้มุ่งหน้าแล้วต่อญาณไม่รวมลงในธรรม คือไม่ประชุม

กัน. ชื่อว่าตามตรัสรู้ เพราะรู้ธรรมตามสมควร. ชื่อว่าไม่ตามตรัสรู้

เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อการตามตรัสรู้นั้น. ชื่อว่าไม่ตรัสรู้ชอบ เพราะไม่

ตรัสรู้ประกอบด้วยพระไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ชื่อว่า

ไม่ตรัสรู้ชอบ เพราะรู้ความไม่สงบ และความไม่เหมาะสมบ้าง. ชื่อว่าไม่

แทงตลอด เพราะไม่แทงตลอดอริยสัจ ๔. ชื่อว่าไม่ถือเหตุด้วยดี เพราะไม่

ถือธรรมอย่างหนึ่งในรูปเป็นต้น โดยความเป็นสามัญ ลักษณะมีความไม่

เที่ยงเป็นต้น. ชื่อว่าไม่หยั่งรู้เหตุ เพราะไม่หยั่งลงสู่ธรรมนั้นนั่นเอง. ชื่อว่า

ความไม่เพ่งพินิจ เพราะไม่เพ่งโดยสม่ำเสมอ. ชื่อว่าความไม่พิจารณา

เพราะไม่พิจารณาเฉพาะสภาวะของธรรมทั้งหลาย. ชื่อว่ากรรมที่ไม่ทำให้

ประจักษ์ เพราะไม่มีกรรมแม้อย่างเดียวให้ประจักษ์แก่โมหะนั้น เพราะ

ประพฤติวิปริตในกุศลกรรมและอกุศลกรรม หรือเพราะไม่มีการถือความ

เป็นจริงหรือไม่มีการการทำกรรมไร ๆ ให้ประจักษ์เอง. ชื่อว่าความไม่

ผ่องแผ้ว เพราะเมื่อโมหะยังไม่เกิด จิตสันดานใดพึงเป็นความผ่องแผ้ว

สะอาดบริสุทธิ์ จิตสันดานอันเป็นความผ่องแผ้วนั้นถูกโมหะนี้ประทุษร้าย.

ชื่อว่าความเป็นคนโง่ เพราะความเป็นพาล. ชื่อว่าความหลง เพราะลุ่มหลง

ความหลงมีกำลัง ชื่อว่าความหลงทั่ว. ชื่อว่าความหลงพร้อม เพราะหลง

รอบด้าน. ชื่อว่า อวิชชา เพราะไม่รู้ โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อความรู้ อวิชชา-

โอฆะ (ห้วงอวิชชา) อวิชชาโยคะ (ประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออวิชชา)

ทั้งสองนี้มีความได้กล่าวไว้แล้ว. ชื่อว่า อนุสัย เพราะนอนเนื่องด้วยความ

มีกำลัง ชื่อว่า ปริยุฏฐานะ เพราะท่วมทับครอบงำจิต. ชื่อว่า ลังคิ (ลิ่มคือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 516

อวิชชา) เพราะไม่สามารถจะมุ่งหน้าไปสู่ประโยชน์เกื้อกูลได้ เพราะไม่มี

การถือประโยชน์ ย่อมติดแน่นอยู่โดยแท้ อธิบายว่า กะโผลกกะแผลก.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าลังคิ เพราะกำจัดได้ยาก. แม้โมหะนี้ ก็ชื่อว่าลังคิ

เพราะเป็นดุจลิ่ม. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบความในบทว่า ยา เอวรูปา กงฺขา ดังนี้เป็นต้นต่อไป

ชื่อว่าความสงสัย ด้วยอำนาจแห่งความเคลือบแคลง. ชื่อว่ากิริยาที่สงสัย

เพราะเดินไปสู่ความสงสัย. ความสงสัยยิ่งกว่าความสงสัยในก่อน ชื่อว่า

กิริยาที่สงสัย. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวบทนี้ด้วยอำนาจแห่งอาการ. จิต

ที่เปี่ยมไปด้วยความสงสัย ชื่อว่าความเป็นไปกับด้วยความสงสัย เพราะ

เนื่องด้วยความสงสัย. ความเป็นแห่งความเป็นไปกับด้วยความสงสัย ชื่อว่า

ความเป็นผู้สงสัย. ไม่มีความเห็น ชื่อว่าความเคลือบแคลง. ชื่อว่าความ

ลังเล เพราะเป็นเหตุค้นหาสภาวธรรมอยู่ยากลำบาก. วิจิกิจฉานั้น มี

ความสงสัยเป็นรส มีความหวั่นไหวเป็นลักษณะ มีความไม่ตัดสินใจ

เป็นเครื่องปรากฏ หรือมีความยึดถือหลาย ๆ ส่วนเป็นเครื่องปรากฏ มีการ

ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย เป็นปทัฏฐาน. พึงเห็นว่า ความสงสัยทำ

อันตรายแก่การปฏิบัติ. ชื่อว่าความเป็นสองทาง เพราะเอนเอียงไป

สองส่วนด้วยความหวั่นไหว. ชื่อว่าเป็นทางสองแพร่ง เพราะเป็นดุจทาง

สองแยก ด้วยห้ามการปฏิบัติ. ชื่อว่าไม่แน่ใจ เพราะอยู่โดยรอบ เพราะ

ไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้ในอาการอย่างเดียว ด้วยความเป็นไปมีอาทิว่า

นี้เที่ยงหรือไม่เที่ยงดังนี้. ข้อว่าความไม่แน่นอน เพราะไม่ตกลงใจ เพราะ

ไม่สามารถจะถือเอาส่วนเดียวได้. ชื่อว่าความไม่ตกลงใจ เพราะไม่สามารถ

จะตัดสินใจถอยจากอารมณ์ได้. ชื่อว่าไม่อาจตัดสินใจ เพราะไม่สามารถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 517

จะหยั่งลงไปโดยรอบได้. ชื่อว่าไม่กำหนดถือเอาได้ เพราะไม่สามารถจะ

กำหนดเอาได้. ชื่อว่าความที่จิตหวั่นไหว เพราะไม่สามารถเพื่อเป็นไป

ในอารมณ์ ด้วยความแน่ใจได้. อธิบายว่า ความที่จิตผูกพัน. จริงอยู่

ความสงสัยเกิดขึ้นแล้วย่อมทำให้จิตผูกพัน. อนึ่ง เพราะความสงสัยนั้น

เมื่อเกิดยึดอารมณ์ไว้ดุจขีดเขียนใจ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มโนวิเลโข

ความติดขัดในใจ.

บทว่า วิทฺโธ แทงเข้าไป คือได้ประหารด้วยลูกศร. บทว่า ผุฏฺโ

ถูกต้องแล้ว คือเสียบเข้าไป. บทว่า ปเรโต เสียบติดแน่น คือกดลงไป

บทว่า ธาวติ ย่อมแล่น คือวิ่งไปข้างหน้า. บทว่า วิธาวติ แล่นพล่าน

คือไปโดยวิธีต่าง ๆ. บทว่า สนฺธาวติ วนเวียน คือแล่นไปโดยเร็ว.

บทว่า สสรติ ท่องเที่ยวไป คือเที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้. บทว่า อเจลโก

คนเปลือย คือเปลือยไม่มีผ้านุ่ง. บทว่า มุตฺตาจาโร คือ ไร้มารยาท. ไม่

ประพฤติเยี่ยงกุลบุตรชาวโลก ในการถ่ายอุจจาระเป็นต้น ยืนถ่ายอุจจาระ

ปัสสาวะ ยืนเคี้ยวกินอาหาร. บทว่า หตฺถาวเลขโณ เลียมือ คือเมื่อ

ก้อนข้าวในมือหมดก็เลียมือ. ถ่ายอุจจาระแล้วสำคัญว่าไม้ชำระอยู่ในมือ

เอามือเช็ด. ได้ยินว่า พวกอเจลกเหล่านั้นบัญญัติไม้ชำระว่าเป็นสัตว์. ชื่อว่า

นเอหิภทนฺติโก เพราะเมื่อเขากล่าวว่า เชิญมารับอาหารซิท่าน ก็ไม่มา.

ชื่อว่า นติฏฺภทนิติโก เพราะแม้เมื่อเขากล่าวว่า ถ้ากระนั้นเชิญหยุด

ก่อนซิท่าน ก็ไม่หยุด. นัยว่า ผู้ถูกศรทิฏฐิปักติดนั้นไม่ทำแม้ทั้งสองอย่าง

ด้วยคิดว่า จักเป็นอันกระทำตามถ้อยคำของเขาแล้ว.

บทว่า นาภิหฏ คือ ไม่รับภิกษุที่เขาแบ่งไว้ก่อน. บทว่า น อุทฺทิสฺส

กต คือไม่รับภิกษาที่เขาบอกอย่างนี้ว่า นี้ทำเฉพาะท่าน. บทว่า น นิมนฺ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 518

ตน คือ ไม่ยินดี ไม่รับแม้ภิกษาที่เขานิมนต์อย่างนี้ว่า นิมนต์เข้าไปยัง

ตระกูล ถนน หรือบ้านโน้นเถิด. บทว่า น ภุมฺภิมุขา คือ ไม่รับภิกษา

ที่เขาคดจากหม้อถวาย. บทว่า น กโฬปิมุขา หม้อข้าวหรือกระจาด

ชื่อว่า กโฬปิ ไม่รับภิกษาจากหม้อข้าวนั้น. เพราะเหตุไร. เพราะ

หม้อข้าวทั้งหลายย่อมได้การกระทบด้วยทัพพี เพราะอาศัยเรา.

บทว่า น เอฬกมนฺตร คือ ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตู

ถวาย เพราะเหตุไร. เพราะผู้นี้อาศัยเราจึงยืนคร่อมประตู. แม้ในการยืน

คร่อมท่อนไม้และสากก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บุทว่า ทฺวินฺน คือ ไม่รับภิกษา

เมื่อคนสองคนกำลังบริโภคอาหารอยู่. คนหนึ่งลุกขึ้นมาถวาย. เพราะ

เหตุไร. เพราะมีอันตรายจากดำข้าว. อนึ่ง พึงทราบความในบทมีอาทิว่า

น คพฺภินิยา ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ดังนี้ต่อไป ทารกในท้องของ

หญิงมีครรภ์ย่อมลำบาก. เมื่อทารกกำลังดื่มจะเป็นอันตรายเพราะน้ำนมได้.

ไม่รับภิกษาของหญิงที่คลอเคลียกับบุรุษ เพราะจะเป็นอันตรายแก่ความ

อภิรมย์ของหญิงที่อยู่กับชาย. บทว่า น สงฺกิตฺตีสุ คือ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะ

กันทำไว้. ได้ยินว่า ในสมัยข้าวยาก พวกสาวกของอเจลกชวนกันให้นำ

ข้าวสารเป็นต้นมาหุงข้าว เพื่อประโยชน์แก่พวกอเจลก. อเจลกที่เคร่งครัด

ไม่ยอมรับจากอาหารนั้น. บทว่า น ยตฺถ สา คือ ไม่รับภิกษาที่เขาไม่

ให้แก่สุนัข ในที่ที่สุนัขคิดว่า เราจักได้ก้อนข้าว ซึ่งเขาเลี้ยงดูนำมาถวาย.

เพราะเหตุไร. เพราะจะเป็นอันตรายแก่ก้อนข้าวของสุนัขนั้น.

บทว่า สณฺฑสณฺฑจารินี คือ ไม่รับอาหารที่มีแมลงวันไต่ตอม.

เพราะหากว่ามนุษย์ทั้งหลายเห็นอเจลกแล้ว คิดว่า เราจักถวายภิกษาแก่

อเจลกนี้ จึงเข้าครัว เมื่อมนุษย์เข้าไป แมลงวันที่เกาะอยู่บนปากหม้อข้าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 519

เป็นต้น จะกระโดดบินเป็นกลุ่มๆ หนีไป. จึงไม่รับภิกษาที่นำมาจากหม้อ

นั้น. เพราะเหตุไร. เพราะอาศัยเราจะเกิดอันตรายแก่อาหารของแมลงวัน

ทั้งหลาย. บทว่า ถุโสทก คือ ยาดองทำด้วยเครื่องปรุงคือข้าวทุกชนิด.

ในบรรดาสิ่งเหล่านี้สุราบานเท่านั้นมีโทษ. แต่อเจลกนี้ มีความสำคัญ

ในวัตถุทุกชนิดว่ามีโทษ. บทว่า เอกาคาริโก รับภิกษาที่เรือนหลังเดียว

คือได้ภิกษาในเรือนหลังเดียวเท่านั้นก็กลับ. บทว่า เอกาโลปิโก คือ ยัง

อัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวคำเดียวเท่านั้น. แม้ในบทว่า ทฺวาคาริโก ยิ่ง

อัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวสองคำเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า

เอกิสฺสาปิ ทตฺติยา คือ ในถาดน้อยใบเดียว. ถาดเล็ก ๆ ใบหนึ่งชื่อว่า

ทตฺติ. ใส่ภิกษาเลิศลงในถาดเล็กใบนั้น. บทว่า เอกาหิก คือ บริโภค

อาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่ง. บทว่า อฑฺฒมาสิก คือ บริโภคอาหาร

ที่เก็บไว้กึ่งเดือนบ้าง. บทว่า ปริยายภตฺตโภชน คือ บริโภคอาหาร

ที่เวียนมาถึงตามวาระ. บริโภคอาหารที่มาถึงตามวาระอย่างนี้ วันหนึ่ง

สองวัน เจ็ดวัน กึ่งเดือน. บทว่า สากภกฺโข มีผักดองเป็นภิกษาเป็นต้น

มีความดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า อุพฺภฏฺโก เป็นผู้ยืนตรง คือยืนตรง. บทว่า อุกฺกุฏิกปฺ-

ปธานมนุยุตฺโต เป็นผู้ประกอบความเพียรในการกระหย่ง คือเดินกระหย่ง

กระโดดไป. บทว่า กณฺฏกาปสฺสยิโก นอนบนหนาม คือปักหนามเหล็ก

หรือหนามธรรมดาลงบนแผ่นดิน แล้วปูหนังลงบนนั้น ยืนและจงกรม

เป็นต้น. บทว่า เสยฺย คือ แม้นอนก็สำเร็จการนอนบนหนามนั้นนั่นเอง.

บทว่า ผลกเสยฺย คือ นอนบนแผ่นไม้กระดาน. บทว่า ถณฺฑิลเสยฺย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 520

คือ นอนบนเนินดินมีพื้นดินสูง. บทว่า เอกปสฺสสยิโก คือ นอนตะแคง

ข้างเดียวเท่านั้น.

บทว่า รโชชลฺลธโร หมักหมมด้วยธุลี คือเอาน้ำมันทาร่างกาย

แล้วยืนในที่ที่หมักหมมด้วยธุลี. แต่นั้นธุลีย่อมติดในร่างกายของเขาหมัก-

หมมธุลีนั้นไว้. บทว่า ยถาสนฺถติโก นั่งบนอาสนะตามที่ลาดไว้ คือ

พอใจอาสนะที่ได้ แล้วนั่งบนอาสนะที่ได้นั้นเป็นปกติ. ในบทว่า

เวกฏิโก คูถเรียกว่า วิกฏ คือ บริโภคคูถ. บทว่า อปานโก คือ ห้าม

ดื่มน้ำเย็น. ชื่อว่า สายตติยก คือ อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง, ประกอบ

ความขวนขวายในการลงอาบน้ำด้วยตั้งใจว่า เราจักลอยบาปวันละ ๓ ครั้ง

คือเช้า กลางวัน เย็น.

บทว่า เต สลฺเล อภิสงฺขโรติ สัตว์นั้นย่อมปรุงแต่งลูกศรเหล่านั้น

คือยังลูกศร ๗ ลูก มีราคะเป็นต้นให้เกิด. บทว่า อภิสงฺขโรนฺโต เมื่อ

ปรุงแต่ง คือเมื่อให้เกิด. บทว่า สลฺลาภิสงฺขารวเสน ด้วยสามารถ

แห่งการปรุงแต่งลูกศร คือเพราะเหตุให้ลูกศรเกิด. บทว่า ปุรตฺถิม

ทิส ธาวติ คือ แล่นไปสู่ทิศตะวันออก. บทว่า สลฺลาภิสงฺขาราน

อปฺปหีนตฺตา เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารคือลูกศรไม่ได้ คือเพราะละการ

ประกอบลูกศรไม่ได้. บทว่า คติยา ธาวติ คือ แล่นไปในคติ. บทว่า

คติยา คตึ คือ จากคตินี้สู่คติโน้น. บทว่า น สีทติ คือ ไม่จม. บทว่า

น สสีทติ คือ ไม่จมโดยรอบ. บทว่า น โอสีทติ คือ ไม่ล่มลง. บทว่า

น อวสีทติ คือ ไม่จมลง. บทว่า น อวคจฺฉติ คือ ไม่ตกลงไปเบื้องต่ำ.

เมื่อสัตว์ทั้งหลายตกลงไปด้วยลูกศรมีอานุภาพใหญ่อย่างนี้ พึงทราบ

คาถามีอาทิว่า ตตฺถ สิกฺขานคียนฺติ ยานิ โลเก คธิตานิ สัตว์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 521

ย่อมกล่าวถึงการศึกษาในเพราะกามคุณเป็นที่พัวพันในโลก ดังนี้.

บทนั้นมีอธิบายดังนี้ สัตว์ทั้งหลายย่อมกล่าวถึง หรือย่อมเรียนการ

ศึกษาไม่น้อย มีการศึกษาเรื่องช้างเป็นต้น อันเป็นนิมิตในเพราะ

กามคุณที่ท่านกล่าวว่าเป็นที่พัวพัน เพราะพัวพันด้วยกามคุณ ๕ ในโลก

หรือเพราะพัวพันในกาลนาน ท่านทั้งหลายจงดูกุลบุตรผู้เป็นบัณฑิต

ตลอดเวลาที่ขวนขวายต่อสู้อยู่กับโลก ไม่พึงน้อมไปในความกำหนัดเหล่า

นั้น หรือในการศึกษาเหล่านั้น พึงรู้ชัดกามทั้งหลายโดยประการทั้งปวง

ด้วยการเห็นความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นโดยแท้ พึงศึกษาความดับของ

คนเท่านั้น. บทว่า ปฏิวิชฺฌิตฺวา คือ แทงตลอดด้วยญาณ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อ

การดับ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า สจฺโจ สิยา บุคคลพึงเป็นผู้มีสัจจะ

ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า สจฺโจ คือ ประกอบด้วยวาจาสัจ ญาณสัจ

มรรคสัจ. บทว่า ริตฺตเปสุโณ ปราศจากคำส่อเสียด คือละคำส่อเสียด.

บทว่า เวววิจฺฉ คือ ความตระหนี่.

บทว่า นิทฺท ตนฺทึ สเห ถีน บุคคลพึงปราบความหลับ ความ

เกียจคร้าน ความท้อแท้ คือพึงครอบงำธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ คือความ

ง่วงเหงาหาวนอน ๑ ความเกียจคร้านทางกาย ความเกียจคร้านทาง

ใจ ๑. บทว่า นิพฺพานมนโส คือ เป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.

บทว่า กายสฺส อกลฺยตา ความที่กายเป็นไข้ คือความที่นามกาย

อันได้แก่ขันธ์ ๓ เป็นไข้. ก็เพราะความไข้ท่านเรียกว่า อกลฺลโก เป็นโรค.

แม้ในวินัยท่านก็กล่าวไว้ว่า นาห ภนฺเต อกลฺลโก ท่านขอรับ ผมไม่

เป็นไข้. บทว่า อกมฺมญฺตา ความที่กายไม่ควรแก่การงาน คืออาการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 522

ไม่ควรแก่การงาน กล่าวคือความที่กายเจ็บป่วยลง. ชื่อว่า โอนาโห

อาการที่หยุด เพราะยังกายให้หยุด ดุจเมฆยังอากาศให้หยุดฉะนั้น.

อาการที่หยุดโดยทุก ๆ ส่วนชื่อว่า ปริโยนาหะ คือ อาการที่พัก. ชื่อว่า

อนฺโต สโมโรโธ เพราะพักผ่อนในภายใน. ชื่อว่า มิทฺธ เพราะง่วง.

อธิบายว่า ลำบากเพราะความไม่ควรแก่การงาน. ชื่อว่า สุปฺป เพราะ

เป็นเหตุหลับ. ชื่อว่า ปจลายิกา เพราะทำให้หนังตาหลุบลง. บทว่า

สุปนา สุปิตตฺต กิริยาที่หลับ คือความเป็นผู้หลับ แสดงถึงอาการ. บทว่า

โอลิยนา ความหดหู่ คืออาการที่หดหู่ บททีสองเพิ่มอุปสัค. บทว่า ลีน

ความท้อแท้ คืองอไม่ผึ่งผาย. อีกสองบทนอกนี้ แสดงถึงความเป็น

อาการ. บทว่า ถีน ความหงอยเหงา คือตั้งอยู่เป็นก้อน เพราะไม่

กระจายเหมือนก้อนเนยใส. บทว่า ถียนา แสดงถึงอาการหงอยเหงา คือ

ความเป็นผู้หงอยเหงา ชื่อว่า ถียิตตฺต อธิบายว่า ถูกผูกมัดไว้ไม่ผึ่งผาย.

บทว่า สพฺพสงฺขารธาตุยา คือ สังขารธาตุอันเป็นไปในไตรภูมิทั้งปวง.

บทว่า จิตฺต ปฏิวาเปตฺวา คือ ยังจิตให้กลับ. บทว่า เอต สนฺต

ธรรมชาตินี้สงบ คือนิพพานนี้ชื่อว่าสงบ เพราะสงบจากกิเลส ชื่อว่า

ประณีต เพราะไม่เดือดร้อน.

บทว่า อุปธิสุขสฺส เหตุ เพราะเหตุ แห่งสุขอันก่อให้เกิดอุปธิ คือ

บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ให้ทาน เพราะเหตุแห่งกามสุขอัน เป็นความเกิดที่

ชั่ว. บทว่า กามญฺจ เต อุปธิ ปริกฺขยาย แต่บัณฑิตเหล่านั้นให้ทาน

เพื่อความหมดสิ้นแห่งอุปธิโดยแท้ คือบัณฑิตเหล่านั้นให้ทานเพื่อความสิ้น

กามโดยแท้. บทว่า อปุนพฺภวาย เพื่อไม่เกิดอีก คือเพื่อนิพพาน. บทว่า

ฌานานิ ภาเวนฺติ เจริญฌาน คือยังปฐมฌานเป็นต้นให้เจริญ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 523

ปุนพฺภวาย คือ เพื่อเกิดใหม่. บัณฑิตเหล่านั้นเป็นผู้ให้เพราะมุ่งต่อ

นิพพาน.

บทว่า สาหสา ความผลุนผลัน คือเพราะเหตุความผลุนผลันมี

ราคจริตเป็นต้นของผู้กำหนัด.

บทว่า ปุราณ นาภินนฺเทยฺย คือ ไม่พึงพอใจรูปเป็นต้นในอดีต.

บทว่า นเว คือ ในปัจจุบัน . บทว่า หียมาเน คือ พินาศ. บทว่า

อากสฺส น สิโต สิยา ไม่พึงเป็นผู้อาศัยกิเลสที่เกี่ยวข้อง คือไม่พึงเป็น

ผู้อาศัยตัณหา. จริงอยู่ ตัณหาท่านเรียกว่า อากสฺส เพราะเกี่ยวข้องกับรูป

เป็นต้น. บทว่า เวมาเน แปรไป คือไม่เป็นอยู่. บทว่า วิคจฺฉมาเน

หายไป คือปราศจากไป. ปาฐะสองอย่าง คือ อากาสติ อากสฺสติ

แปลว่า เกี่ยวข้อง.

หากถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่เป็นผู้อาศัยกิเลสที่เกี่ยวข้อง พึง

ทราบพระคาถาว่า เพราะเรากล่าวความกำหนัดนี้ว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่

ดังนี้.

บทนั้น มีความดังนี้ เพราะเรากล่าวตัณหาคือความเกี่ยวข้องนี้ว่า

เป็นความกำหนัด เพราะกำหนัดในรูปเป็นต้น และกล่าวว่า เคธะ

ความอยาก. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้นอีก. มีดังต่อไปนี้ :- เรากล่าวความ

กำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ เพราะอรรถว่า ท่วมทับ กล่าวว่า เป็นความ

ว่องไว อรรถว่า ไปไว กล่าวว่า เป็นความปรารถนา เพราะคอยกระซิบว่า

นี้ของเรา กล่าวว่า เป็นอารมณ์ เพราะอรรถว่า ปล่อยได้ยาก และกล่าว

ว่า เป็นความหวั่นไหว เพราะอรรถว่า ทำความหวั่นไหว และกล่าวความ

กำหนัดนั้นว่า เป็นเปือกตมคือกาม เป็นสภาพล่วงได้โดยยาก เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 524

อรรถว่า เป็นความห่วงใยของโลก และเพราะอรรถว่า ก้าวไปได้ยาก.

บทว่า อาจม ชื่อว่า อาจมะ เพราะมาว่องไวตั้งแต่ปฏิสนธิ. บทนี้เป็น

ชื่อของตัณหาให้ปฏิสนธิในภพใหม่อันมีวัฏฏะเป็นมูล. บทว่า ชปฺปน นี้เป็น

ชื่อของตัณหาอันเป็นความปรารถนา. บทว่า อารมฺมณมฺปิ วุจฺจติ ตณฺหา

แม้อารมณ์ก็เรียกว่าตัณหา คือท่านกล่าวว่า ตัณหาเกิดขึ้นในอารมณ์มีรูป

เป็นต้น ชื่อว่าเป็นอารมณ์ เพราะไม่สามารถปล่อยไปได้. บทว่า

กามปงฺโก เปือกตมคือกาม ชื่อว่าเปือกตม เพราะอรรถว่า จมลง

บทว่า กทฺทโม ความว่า หล่มคือกาม ชื่อว่าหล่ม เพราะอรรถว่า ติดอยู่.

ชื่อว่ากิเลส เพราะอรรถว่า เผาผลาญ. ชื่อว่า ปลิโป โคลนคือกาม

เพราะอรรถว่า ให้ติดแน่นดุจยาง. ชื่อว่า ปลิเคโธ ความกังวลคือกาม

เพราะอรรถว่า ปิดทรงไว้. ความกังวลคือกามมิได้อาศัยช่องอันเป็น

ปริยายมีความกำหนัดเป็นต้นนี้ ด้วยประการฉะนี้.

พึงทราบคาถา มีอาทิว่า สจฺจา อโวกฺกม เป็นมุนีไม่ก้าวล่วง

สัจจะดังนี้ต่อไป. บทนั้นมีความดังนี้ ชื่อว่ามุนี เพราะปฏิบัติเพื่อความ

เป็นมุนี ไม่ก้าวล่วงสัจจะแม้ ๓ อย่าง ดังที่กล่าวไว้แล้วในคราวก่อน

เป็นพราหมณ์ ตั้งอยู่บนบกคือนิพพาน ผู้นั้นแล เรากล่าวว่าเป็นผู้สงบ

เพราะสละเสียได้ซึ่งอายตนะทั้งปวง. ในนิเทศไม่มีข้อควรกล่าว. มีอะไร

ยิ่งไปกว่านั้นอีก. พึงทราบคาถามีอาทิว่า สเว วิทฺธา ผู้นั้นแลมีความรู้

ดังนี้ต่อไป.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวา ธมฺน คือ รู้สังขตธรรมโดยนัยมีอาทิ

ว่า ความไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า สมฺมา โส โลเก อิริยาโน ผู้นั้นอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 525

ในโลกโดยชอบ คือผู้นั้นอยู่ในโลกโดยชอบ เพราะละกิเลสอันทำให้อยู่

โดยมิชอบ.

ก็เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ พึงทรามความว่า โย จ กาเม ผู้ใดข้ามพ้น

กามทั้งหลายดังนี้เป็นต้นต่อไป. ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺค เครื่องข้อง

คือผู้ใดข้ามพ้นเครื่องข้อง ๗ อย่างได้. บทว่า นาชฺเฌติ คือ ย่อมไม่

เพ่งเล็ง เพราะฉะนั้น บรรดาเธอทั้งหลาย เรากล่าวถึงผู้ปรารถนา

เพื่อจะเป็นอย่างนั้น.

พึงทราบคาถามีอาทิว่า ย ปุพฺเพ ดังนี้ต่อไป. ในบทเหล่านั้น บทว่า

ปุพิเพ คือ กิเลสชาตและกรรมในอดีต ที่พึงเกิดขึ้นเพราะปรารภถึง

สังขารในอดีต. บทว่า ปจฺฉา เต มาหุ กิญฺจน กิเลสชาตเครื่องกังวล

มีราคะเป็นต้น อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะปรารภสังขารแม้ในอดีต อย่าได้มี

แก่ท่าน. บทว่า มชฺเณ เจ โน คเหสฺสติ หากท่านไม่ถือเอาสังขารใน

ท่ามกลาง คือหากท่านจักไม่ถือธรรมมีรูปเป็นต้นในปัจจุบันไซร้ ท่าน

จักเป็นผู้เข้าไปสงบประพฤติอย่างนี้.

บทว่า อพีช โรหิ จงทำให้สิ้นพืช ความว่า จงทำให้สิ้นพืช

ด้วยมรรคญาณ. บทว่า ราคกิญฺจน กิเลสชาตเครื่องกังวลคือราคะ

ความว่า บรรเทากิเลสคือราคะ แม้ในบทว่า โทหสกิฺจน เป็นต้น ก็นัยนี้

เหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงการบรรลุพระอรหัตอย่างนี้แล้ว

บัดนี้ได้ตรัสคาถาทั้งหลายต่อจากนี้ ด้วยทรงสรรเสริญพระอรหัตต่อไป.

ในบทเหล่านั้น พึงทราบความแห่งคาถามีอาทิว่า สพฺพโส โดย

ประการทั้งปวงดังนี้ต่อไป. บทว่า มมายิต การถือว่าของเรา คือทำความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 526

ถือว่าเป็นตนของเรา. หรือถือวัตถุว่านี้เป็นของเรา. บทว่าอสตา จ น โสจติ

และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศก เพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่ คือไม่เศร้าโศก

เพราะเหตุไม่มีความยินดี เพราะความไม่มีอยู่เป็นเหตุ. บทว่า น ชียติ

คือ ไม่ถึงความเสื่อม. บทว่า อหุ วต เม คือ นามรูปของเราได้มีแล้วหนอ.

บทว่า ต วต เม นตฺถิ นามรูปย่อมไม่มีแก่เราหนอ คือนามรูปที่ได้

มีแล้วในอดีต บัดนี้ ไม่มีแก่เรา. บทว่า สิยา วต เม นามรูปของเรา

พึงมีหนอ คือเราไม่ได้นามรูปที่จักมีแก่เราหนอ บัดนี้เราจะไม่บรรลุ

โดยส่วนเดียว. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้นอีก.

พึงทราบคาถามีอาทิว่า ยสฺส นตฺถิ ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ดังนี้ต่อไป.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กิญฺจน ความกังวล คือธรรมชาติมีรูป

เป็นต้นอะไร ๆ. บทว่า อภิสงฺขต คือ อันกรรมควบคุมแล้ว. บทว่า

อภิสญฺเจตยิก คือ อันจิตประมวลเข้าแล้ว. บทว่า อวิชฺชาย เตฺวว ตัดบท

เป็น อวิชฺชาย ตุ เอว. บทว่า อเสสวิราคนิโรธา เพราะดับด้วยความ

สำรอกโดยไม่เหลือ คือเพราะดับโดยไม่เหลือด้วยมรรค อันได้แก่ความ

สำรอก.

บทว่า สุญฺโต โลก อเวกฺขสฺสุ จงพิจารณาเห็นโลกโดยความ

เป็นของสูญ คือจงดูโลกโดยความเป็นของสูญด้วยอาการสองอย่าง คือ

ด้วยการกำหนดความไม่เป็นไปในอำนาจ ๑ ด้วยเข้าไปพิจารณาสังขารโดย

ความเป็นของเปล่า ๑. บทว่า อตฺตานุทิฏฺึ โอหจฺจ ถอนอัตตานุสทิฏฐิ

(ความเห็นเป็นตัวตน) เสียแล้ว คือถอนสักกายทิฏฐิ (ความเห็นเป็นเหตุ

ถือตัวถือตน). บทว่า เอว มจฺจุตโร สิยา พึงเป็นผู้ข้ามมัจจุราชได้

ด้วยอาการอย่างนี้ คือพึงเป็นผู้ข้ามมรณะได้ด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า เอว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 527

โลก อเวกฺขนฺต มัจจุราชย่อมไม่เห็นผู้พิจารณาเห็นโลกอย่างนี้. บทว่า

มจฺจุราชา น ปสฺสติ คือ มัจจุราชไม่เหลียวแลดู. บทว่า นาญฺ

ปฏฺยเต กิญฺจิ บุคคลไม่ปรารถนาอะไร ๆ อื่น คือไม่ปรารถนาไม่ต้อง

การอย่างอื่นแม้มีประมาณน้อย. บทว่า อญฺตฺร อปฺปฏิสนฺธิยา คือ นอก

จากนิพพานอันไม่มีปฏิสนธิ อาจารย์ทั้งหลายกล่าวทำเป็นบทเดียวด้วย

ประการฉะนี้. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้นอีก.

พึงทราบคาถามีอาทิว่า อนิฏฺฐุรี ไม่มีริษยา ดังนี้เป็นต้นต่อไป.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนิฏฺฐุรี คือ ไม่มีริษยา. อาจารย์บางพวกกล่าว

ว่า อนิฏฺรี บ้าง. บทว่า สพฺพธิ สโม คือ เป็นผู้เสมอในอายตนะ

ทั้งปวง. อธิบายว่า เป็นผู้วางเฉย. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้ใดไม่เศร้าโศกว่า นั้นไม่มีแก่เรา เราถูกถามถึง

บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์ ๔ อย่างในบุคคลนั้นนี้ว่า บุคคล

เป็นผู้ไม่มีริษยา ไม่ตามติดใจ ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะ

ทั้งปวง.

บทว่า นิฏฺฐุริโย คือ เป็นผู้ริษยา. ความเป็นผู้ริษยา ชื่อว่า

นิฏฺฐุริย คือ เป็นผู้ริษยา. ความเป็นผู้ริษยา ชื่อว่า นิฏฺฐุริย อธิบายว่า

คุณแม้มีประมาณน้อยก็ย่อมไม่มี เพราะอาศัยความเป็นผู้ริษยานั้น เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า เขฬปาตน ถ่มน้ำลาย. บทว่า นิฏฺฐุริยกมฺน คือ

การทำความเป็นผู้ริษยา. จริงอยู่ คฤหัสถ์อาศัย คฤหัสถ์อยู่ หรือภิกษุอาศัย

ภิกษุอยู่ ครั้นโกรธด้วยเหตุเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ก็พูดว่าอาศัยผู้นั้นแล้ว

ไม่มีคุณแม้สักน้อย จึงทำเสมือนชื่อว่าความเป็นผู้ริษยา เสมือนถ่มน้ำลาย

แล้วเอาเท้าขยี้ฉะนั้น การกระทำของผู้นั้นเรียกว่า นิฏฐุริยกรรม คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 528

การทำความเป็นผู้ริษยา. บทว่า อิสฺสา แสดงความเป็นสภาวะ คือ

ความริษยาสองอย่าง ต่อจากนั้นเป็นการแสดงความเป็นอาการ. สามอย่าง

นอกนั้น เป็นคำกล่าวโดยปริยาย. อนึ่ง ความริษยานั้น โดยลักษณะเป็นต้น

มีความหวงสมบัติของผู้อื่นเป็นลักษณะ มีความไม่ยินดีในสมบัตินั้นเป็นรส

มีความเพิกเฉยต่อสมบัติของผู้อื่นนั้นเป็นเครื่องปรากฏ มีสมบัติของผู้อื่น

เป็นปทัฏฐาน. บทว่า ลาเภปิ น อิญฺชติ ไม่หวั่นไหวแม้ในลาภ คือไม่

หวั่นไหวในเพราะการได้ปัจจัย. บทว่า อลาเภปิ คือ แม้ในการไม่ได้

ปัจจัยทั้งหลาย. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้นอีก.

พึงทราบคาถามีอาทิว่า อเนชสฺส ผู้ไม่หวั่นไหว ดังนี้เป็นต้น

ต่อไป. ในบทเหล่านั้นบทว่า นิสงฺขิติ ได้แก่ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง

ในบรรดาอภิสังขารมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น. เพราะอภิสังขารนั้นอันบุญ

กรรมต่กแต่ง หรือย่อมตกแต่ง ฉะนั้น จึงเรียกว่า นิสงฺขิติ คือ อภิสังขาร.

บทว่า วิยารมฺภา ได้แก่ อภิสังขาร มีปุญญาภิสังขารเป็นต้นหลายอย่าง.

บทว่า เขม ปสฺสติ สพฺพธิ ย่อมเห็นความปลอดโปร่ง คือความ

ไม่มีภัยในที่ทั้งปวง. บทา อารมฺภา คือ การพยายามทำกรรมครั้งแรก.

บทว่า วิยารมฺภา คือ พยายามหลายอย่างสูงในรูป. บทนี้เป็นชื่อของ

กรรมอันยังปฏิสนธิให้เกิดใน ๓ ภพ. เพราะฉะนั้น เว้นจากวิยารัมภะ

(ความพยายามยิ่งขึ้นไป) จึงเห็นอย่างนี้.

พึงทราบคาถามีอาทิว่า น สเมสุ ดังนี้เป็นต้นต่อไป. ในบท

เหล่านั้น บทว่า น สเมสุ คือ มุนี ไม่พูดถึงตนแม้ในบุคคลผู้เสมอตนด้วย

มานะมีอาทิว่า เราเป็นผู้เสมอกับเขา. แม้ในคนที่ต่ำกว่า ในคนที่สูงกว่า

ก็ไม่พูด. บทว่า นาเทติ น นิรสฺสติ ย่อมไม่ยึดถือ ย่อมไม่สลัด คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 529

ไม่ยึดถือ ไม่สละธรรมอะไร ๆ ในรูปเป็นต้น. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง

ชัดดีแล้ว เพราะมีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในที่นั้น ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอด คือพระอรหัต.

จบอรรถกถาอัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 530

สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

ว่าด้วยกระแสเสียงของพระพุทธเจ้าประกอบด้วยองค์ ๘

[๘๘๒] (ท่านพระสารีบุตรกล่าวดังนี้ว่า) พระศาสดาผู้มี

พระกระแสเสียงอันไพเราะ เสด็จจากภพดุสิตมาสู่ความ

เป็นพระคณาจารย์อย่างนี้ ก่อนแต่นี้ข้าพเจ้าไม่เคยเห็น

เลย ทั้งไม่เคยได้ยินต่อใคร ๆ เลย.

[๘๘๓] คำว่า แต่ก่อนนี้ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเลย ความว่า ใน

กาลก่อนแต่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นด้วย

จักษุนี้ ด้วยอัตภาพนี้เลย คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำพรรษาที่บัณฑุ-

กัมพลศิลาอาสน์ ณ ควงไม้ปาริฉัตตกะ (ต้นทองหลาง) ในภพดาวดึงส์

อันหมู่เทวดาห้อมล้อมเสด็จลงสู่สังกัสสนคร โดยบันไดอันสำเร็จด้วยแก้ว

มณีในท่ามกลาง ในกาลนั้น ข้าพเจ้าเว้นการเห็นครั้งนี้ ไม่เคยเห็นใน

กาลก่อนเลย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก่อนแต่นี้ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเลย.

[๘๘๔] บทว่า อิติ ในคำว่า ท่านพระสารีบุตรกล่าวดังนี้ว่า

เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสัค เป็นบทปทปูรณะ เป็นศัพท์ประชุมอักขระ

เป็นศัพท์สละสลวยด้วยพยัญชนะ เป็นลำดับบท. คำว่า อายสฺมา เป็น

เครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ เป็นเครื่อง

กล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความ

ยำเกรง. คำว่า สารีบุตร เป็นนาม เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมาย

เป็นบัญญัติ เป็นโวหาร เป็นชื่อ เป็นความตั้งชื่อ เป็นความทรงชื่อ

เป็นเครื่องกล่าวถึง เป็นเครื่องแสดงความหมาย เป็นเครื่องกล่าวเฉพาะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 531

แห่งพระเถระนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านพระสารีบุตรกล่าว

ดังนี้ว่า.

[๘๘๕] ศัพท์ว่า ในคำว่า ทั้งไม่เคยได้ยินต่อใคร ๆ เลย

เป็นปฏิเสธ. ศัพท์ว่า อุท เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสัค เป็นบทปท-

ปูรณะ เป็นศัพท์ประชุมอักขระ เป็นศัพท์สละสลวยด้วยพยัญชนะ เป็น

ลำดับบท. คำว่า ต่อใคร ๆ คือ ต่อใคร ๆ ที่เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์

เป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา หรือเป็น

มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทั้งไม่เคยได้ยินต่อใคร ๆ เลย.

[๘๘๖] คำว่า พระศาสดาผู้มีพระกระแสเสียงอันไพเราะอย่างนี้

ความว่า พระศาสดามีพระกระแสเสียงอันไพเราะ คือมีพระกระแสเสียง

อันเสนาะ มีพระกระแสเสียงเป็นที่ตั้งแห่งความรัก มีพระกระแสเสียง

ดูดดื่มหทัย มีพระกระแสเสียงเพราะดังเสียงนกการเวก เสียงอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ประการ ย่อมเปล่งออกจากพระโอฐแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

นั้นคือ เป็นเสียงไม่ขัดข้อง ๑ เป็นเสียงผู้ฟังทราบได้ง่าย ๑ เป็นเสียง

ไพเราะ ๑ เป็นเสียงน่าฟัง ๑ เป็นเสียงกลมกล่อม ๑ เป็นเสียงไม่

แปร่ง ๑ เป็นเสียงลึก ๑ เป็นเสียงก้องกังวาน ๑ เมื่อใดพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้านั้น จะทรงยังบริษัทให้ทราบด้วยเสียง เมื่อนั้นเสียงของพระผู้-

มีพระภาคเจ้านั้นย่อมไม่ออกไปนอกบริษัท ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มี

เสียงเหมือนเสียงพรหม มีเสียงดังเสียงนกการเวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

มีพระกระแสเสียงอันไพเราะอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำพวก ชื่อว่า

พระศาสดา บุคคลผู้นำพวก ย่อมนำพวกให้ข้ามทางกันดาร คือให้ข้าม

ข้ามขึ้น ข้ามออก ข้ามพ้น ซึ่งทางกันดารแต่โจร ทางกันดารแต่สัตว์ร้าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 532

ทางกันดารแต่ที่อดอยาก ทางกันดารแต่ที่ไม่มีน้ำ ให้ถึงพร้อมซึ่งภูมิภาค

อันเกษม ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำออก ข้ามออก ข้ามพ้น ซึ่ง

กันดารแต่ชาติ กันดารแต่พยาธิ กันดารแต่มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส และอุปายาส กันดารแต่ราคะ กันดารแต่โทสะ โมหะ มานะ

ทิฏฐิ กิเลสและทุจริต รกชัฏคือราคะ รกชัฏคือโทสะ โมหะ มานะ

และทิฏฐิ รกชัฏคือกิเลส ให้ถึงพร้อมซึ่งอมตนิพพานอันเป็นส่วนเกษม

ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า

ผู้นำพวก.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นำ ผู้แนะนำ ผู้นำเนือง ๆ ผู้ให้รู้ดี

ผู้ให้พินิจ ผู้เพ่งดู ผู้ให้เลื่อมใส แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าจึงชื่อว่า ผู้นำพวก.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรง

ยังมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ผู้ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก

ทรงทราบมรรค ทรงรู้แจ้งมรรค ทางฉลาดในมรรค ก็แหละในบัดนี้

สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ดำเนินตามมรรค

อยู่ เป็นผู้ประกอบศีลาทิคุณในภายหลัง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า ผู้นำพวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระศาสดา

ผู้มีพระกระแสเสียงอันไพเราะอย่างนี้.

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าเป็นพระคณาจารย์

[๘๘๗] คำว่า เสด็จจากภพดุสิตมาสู่ความเป็นพระคณาจารย์

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจุติจากชั้นดุสิต ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 533

ลงสู่พระครรภ์พระมารดา แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เสด็จจาก

ภพดุสิตมาสู่ความเป็นพระคณาจารย์.

อีกอย่างหนึ่ง พวกเทวดาท่านกล่าวว่า ดุสิต เทวดาเหล่านั้นยินดี

พอใจ ชอบใจ เบิกบาน เกิดปีติโสมนัสว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาก

ดุสิตเทวโลกมาสู่ความเป็นพระคณาจารย์ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า

เสด็จจากภพดุสิตมาสู่ความเป็นพระคณาจารย์.

อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า ดุสิต พระอรหันต์

เหล่านั้นยินดี พอใจ ชอบใจ มีความดำริบริบูรณ์ว่า พระผู้มีพระภาค-

เจ้าเสด็จมาสู่ความเป็นพระคณาจารย์แห่งพระอรหันต์ทั้งหลาย แม้ด้วยเหตุ

อย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เสด็จจากภพดุสิตมาสู่ความเป็นพระคณาจารย์.

คำว่า คณี ความว่า มีคณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าเป็นคณี

เพราะอรรถว่า เป็นพระคณาจารย์ เพราะอรรถว่า เป็นพระศาสดาของ

คณะ เพราะอรรถว่า พระองค์ทรงบริหารคณะ เพราะอรรถว่า พระองค์

ตรัสสอนคณะ เพราะอรรถว่า พระองค์ทรงพร่ำสอนคณะ เพราะอรรถว่า

พระองค์มีความองอาจเสด็จเข้าไปสู่คณะ เพราะอรรถว่า คณะย่อมตั้งใจ

ฟังต่อพระองค์ เงี่ยโสตลงฟัง เข้าไปตั้งจิตเพื่อความรู้ เพราะอรรถว่า

พระองค์ทรงยังคณะให้ออกจากอกุศล ให้ตั้งอยู่ในกุศล เป็นคณาจารย์

ของคณะภิกษุ เป็นคณาจารย์ของคณะภิกษุณี เป็นคณาจารย์ของคณะ

อุบาสก เป็นคณาจารย์ของคณะอุบาสิกา เป็นคณาจารย์ของคณะพระราชา

เป็นคณาจารย์ของคณะกษัตริย์ เป็นคณาจารย์ของคณะพราหมณ์ เป็น

คณาจารย์ของคณะแพศย์ เป็นคณาจารย์ของคณะศูทร เป็นคณาจารย์ของ

คณะเทวดา เป็นคณาจารย์ของคณะพรหม พระศาสดาเป็นผู้มีหมู่ มีคณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 534

เป็นพระคณาจารย์ เสด็จมา เข้าไป เข้าไปพร้อม ถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง

สังกัสสนคร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เสด็จจากภพดุสิตมาสู่ความเป็น

พระคณาจารย์ เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า

(ท่านพระสารีบุตรกล่าวดังนี้ว่า) พระศาสดาผู้มีพระ-

กระแสเสียงอันไพเราะ เสด็จจากภพดุสิต มาสู่ความ

เป็นพระคณาจารย์อย่างนี้ ก่อนแต่นี้ข้าพเจ้าไม่เคยเห็น

ทั้งไม่เคยได้ยินต่อใคร ๆเลย.

[๘๘๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ย่อมปรากฏเด่นชัด

แก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก พระองค์ทรงกำจัดมืดทั้งปวง

เป็นบุคคลผู้เอก บรรลุแล้วถึงความยินดี.

[๘๘๙] คำว่า แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก ความว่า แก่โลกพร้อม

ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แก่หมู่สัตว์พร้อมสมณพราหมณ์ เทวดา

และมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก.

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าปรากฏแก่เทวดาและมนุษย์

[๘๙๐] คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ย่อมปรากฏ

เด่นชัด ความว่า พวกเทวดาย่อมเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับแสดง

ธรรมอยู่ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ควงไม้ปาริฉัตตกะ ในภพดาวดึงส์

ฉันใด พวกมนุษย์ก็ย่อมเห็นฉันนั้น พวกมนุษย์ย่อมเห็นฉันใด พวก

เทวดาก็ย่อมเห็นฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมปรากฏแก่พวกเทวดา

ฉันใด ก็ย่อมปรากฏแก่พวกมนุษย์ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 535

แก่มนุษย์ฉันใด ก็ย่อมปรากฏแก่พวกเทวดาฉันนั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้

ดังนี้ จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุย่อมปรากฏเด่นชัด อีกอย่าง

หนึ่ง ท่านสมณพราหมณ์บางพวกมิได้ฝึกตน ก็ปรากฏเพศแห่งบุคคล

ผู้ฝึกตน มิได้สงบ ก็ปรากฏโดยเพศแห่งบุคคลผู้สงบ มิได้ระงับ ก็ปรากฏ

โดยเพศแห่งบุคคลผู้ระงับ มิได้ดับ ก็ปรากฏโดยเพศแห่งบุคคลผู้ดับ

สมจริงดังภาษิตว่า

สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ ณ ภายใน งาม

แต่ภายนอก เป็นผู้อันบริวารห้อมล้อมเที่ยวไปในโลก

เหมือนหม้อน้ำทำด้วยดินหุ้มทองคำ และเหมือนเหรียญ

มาสกโลหะชุบทองคำฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงฝึกพระองค์แล้ว ย่อมปรากฏโดยเพศแห่งพระพุทธเจ้าผู้ฝึกแล้ว ทรง

สงบแล้ว ย่อมปรากฏโดยเพศแห่งพระพุทธเจ้าผู้สงบแล้ว ทรงระงับแล้ว

ย่อมปรากฏโดยเพศแห่งพระพุทธเจ้าผู้ระงับแล้ว ทรงดับแล้ว ย่อมปรากฏ

โดยเพศแห่งพระพุทธเจ้าผู้ดับแล้ว โดยความจริงโดย เป็นจริง โดยถ่องแท้

โดยความเป็นจริง โดยไม่วิปริต โดยสภาพ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย

ผู้เป็นพระพุทธเจ้า มีพระอิริยาบถมิได้กำเริบ ทรงสมบูรณ์ด้วยปณิธิ

(ความปรารถนา) แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้มีพระจักษุย่อมปรากฏเด่นชัด.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระเกียรติอันบริสุทธิ์ ทรง

เพียบพร้อมด้วยพระเกียรติยศและความสรรเสริญ เป็นเช่นนี้ เช่นนั้น และ

๑. ส. ส. ๑๕/ข้อ ๓๕๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 536

อย่างยิ่ง ในภพนาค ภพครุฑ ภพยักษ์ ภพอสูร ภพคนธรรพ์ ภพ-

มหาราช ภพอินทร์ ภพพรหม แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบด้วยพละ ๑๐ ย่อมปรากฏ ประจักษ์ รู้ได้ด้วย

เวสารัชชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เดชธรรม

พลธรรมคุณธรรม วิริยะ ปัญญา สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

สัตบุรุษทั้งหลายย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขา

หิมวันต์ฉะนั้น อสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏในที่นั้น

เหมือนลูกศรที่ยิ่งไปในกลางคืนฉะนั้น.

แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ

ย่อมปรากฏเด่นชัด.

ว่าด้วยจักษุ ๕ ประการ

คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ความว่า พระผู้มีพระภาค-

เจ้ามีพระจักษุด้วยจักษุ ๕ ประการ คือมีพระจักษุแม้ด้วยมังสจักษุ มี

พระจักษุแม้ด้วยทิพยจักษุ มีพระจักษุแม้ด้วยปัญญาจักษุ มีพระจักษุแม้

ด้วยพุทธจักษุ มีพระจักษุแม้ด้วยสมันตจักษุ.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยมังสจักษุอย่างไร. สี ๕ อย่าง

คือสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีดำ และสีขาว ย่อมปรากฏมีอยู่ในมังสจักษุ

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขนพระเนตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าตั้งอยู่ในที่ใด

ที่นั้นมีสีเขียว เขียวสนิท น่าชม น่าดู. เหมือนดอกผักตบ ต่อจากที่นั้น

มีสีเหลือง เหลืองนวล สีเหมือนทองคำ น่าชมน่าดู เหมือนดอกกรรณิการ์

ขอบเบ้าพระเนตรทั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีสีแดง แดงงาม น่าชม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 537

น่าดู. เหมือนสีปีกแมลงทับ ที่ท่ามกลางพระเนตรมีสีดำ ดำงาม ไม่หมองมัว

ใสสนิท น่าชม น่าดู เหมือนสีสมอดำ (อิฐแก่ไฟ) ต่อจากที่นั้นมีสีขาว

ชาวงาม เปล่งปลั่ง ขาวนวล น่าชม น่าดู เหมือนสีดาวประกายพฤกษ์

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระมังสจักษุนั้นเป็นปกติ เนื่องในพระวรกาย เกิด

เฉพาะด้วยสุจริตกรรมในภพก่อน ทรงเห็นตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบทั้ง

กลางวันทั้งกลางคืน แม้เมื่อใด มีมืดประกอบด้วยองค์ ๔ คือพระอาทิตย์

อัสดงคต ๑ วันอุโบสถมีในกาฬปักษ์ ๑ แนวป่าทึบ ๑ ก้อนอกาลเมฆใหญ่

ตั้งขึ้น ๑ เมื่อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเห็นตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบ

ในที่มืดอันประกอบด้วยองค์ ๔ แม้เห็นปานนี้ ที่หลุมก็ดี บานประตูก็ดี

กำแพงก็ดี ภูเขาก็ดี กอไม้ก็ดี เถาวัลย์ก็ดี เป็นเครื่องบังการเห็นรูป

ทั้งหลาย ย่อมไม่มี หากว่าบุคคลพึงเอางาเมล็ดหนึ่งทำเป็นเครื่องหมาย

ใส่ลงในเกวียนบรรทุกงา พระผู้มีพระภาคเจ้าก็พึงทรงหยิบเอาเมล็ดงา

นั้นแหละขึ้นได้ พระมังสจักษุเป็นปกติของพระผู้มีพระภาคเจ้าบริสุทธิ์

อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยมังสจักษุอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยทิพยจักษุอย่างไร. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าย่อมทรงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต

มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์

ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทรงทราบหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์

เหล่านั้นหนอ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน

พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตาย

ไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบ

ด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 538

ทิฏฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อคายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง

อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก

ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ และทรงทราบหมู่สัตว์ผู้เป็นไป

ตามกรรมด้วยประการดังนี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงพระประสงค์ พึงเห็นแม้โลกธาตุหนึ่ง

แม้โลกธาตุ ๒ แม้โลกธาตุ ๓ แม้โลกธาตุ ๔ แม้โลกธาตุ ๕ แม้โลก-

ธาตุ ๒๐ แม้โลกธาตุ ๓๐ แม้โลกธาตุ ๔๐ แม้โลกธาตุ ๕๐ แม้โลก-

ธาตุพันหนึ่งเป็นส่วนเล็ก แม้โลกธาตุสองพันเป็นส่วนกลาง แม้โลกธาตุ

สามพัน แม้โลกธาตุหลายพัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระประสงค์

เท่าใด ก็พึงทรงเห็นเท่านั้น ทิพยจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้าบริสุทธิ์

อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยทิพยจักษุอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยปัญญาจักษุอย่างไร. พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญารื่นเริง มี

ปัญญาแล่นไป มีปัญญาคมกล้า มีปัญญาชำแรกกิเลส ทรงฉลาดในประเภท

ปัญญา มีญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุเวสารัชชญาณ ๔

ทรงทศพลญาณ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ ทรงเป็นบุรุษ

นาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษนำธุระไปเป็นปกติ มีพระญาณ

หาที่สุดมิได้ มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศหาที่สุดมิได้ ทรงเป็นผู้มั่งคั่ง

ทรงมีทรัพย์มาก ทรงมีปัญญาเป็นทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ ทรงนำไปโดย

วิเศษ นำเนือง ๆ ให้รู้จักประโยชน์ ให้เพ่งพิจารณาให้เห็นประโยชน์

ให้แล่นไปด้วยปสาทะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 539

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้ให้มรรคที่ยังไม่เกิดขึ้น

ให้เกิดขึ้น ทรงให้มรรคที่ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ให้เกิดขึ้นพร้อม ผู้ตรัส

บอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงรู้ซึ่งมรรค ทรงทราบซึ่งมรรค ทรงฉลาด

ในมรรค ก็แหละในบัดนี้ สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้น เป็นผู้ดำเนินตามมรรคอยู่ เป็นผู้ประกอบด้วยศีลาทิคุณในภายหลัง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรม

ที่ควรเห็น มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม มีพรหมธรรม ผู้ตรัสบอก

ผู้ตรัสบอกโดยประการ เป็นผู้นำออกซึ่งอรรถ ทรงประทานอมตธรรม

ทรงเป็นธรรมสามี เป็นพระตถาคต สิ่งที่ไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรง

ทราบ ไม่ทรงทำให้แจ่มแจ้ง ไม่ทรงถูกต้องด้วยปัญญา ย่อมไม่มีแก่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ธรรมทั้งปวง รวมทั้งอดีตอนาคตและปัจจุบัน

ย่อมมาสู่คลองในมุข คือพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วโดย

อาการทั้งปวง ชื่อว่าประโยชน์ที่ควรแนะนำทุก ๆ อย่างอันชนควรรู้ มีอยู่

คือประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองอย่าง ประโยชน์มีใน

ชาตินี้ ประโยชน์มีในชาติหน้า ประโยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์

ลี้ลับ ประโยชน์ที่ปกปิด ประโยชน์ที่ควรแน่ะนำ ประโยชน์ที่บัณฑิต

แนะนำไปแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษ ประโยชน์ไม่มีกิเลส ประโยชน์อัน

ผ่องแผ้ว ประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์ทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปรอบใน

ภายในพระพุทธญาณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว มีพระญาณไม่ขัดข้องในอดีต มี

พระญาณไม่ขัดข้องในอนาคต มีพระญาณไม่ขัดข้องในปัจจุบัน กายกรรม

วจีกรรม มโนกรรมทั้งหมด ย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 540

ภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว บทธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระญาณก็เท่านั้น

พระญาณเท่าใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมีส่วนสุดรอบ

แห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ บทธรรมที่ควรแนะนำก็มีส่วนสุดรอบแห่ง

พระญาณ พระญาณไม่เป็นไปรอบเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่ง

บทธรรมที่ควรแนะนำก็ไม่เกินพระญาณไป ธรรมเหล่านั้นมีความตั้งอยู่

ในส่วนสุดรอบของกันและกัน เมื่อชั้นผอบสองชั้นปิดกันสนิทพอดี ชั้น

ผอบข้างล่างก็ไม่เกินผอบข้างบน ชั้นผอบข้างบนก็ไม่เกินชั้นผอบข้างล่าง

ชั้นผอบทั้งสองนั้นมีความตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน ฉันใด บท

ธรรมที่ควรแนะนำก็ดี พระญาณก็ดี ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ควรรู้แล้ว

ผู้มีความตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน บทธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด

พระญาณก็เท่านั้น พระญาณเท่าใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระ-

ญาณมีส่วนสุดรอบแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ บทธรรมที่ควรแนะนำก็มี

ส่วนสุดรอบแห่งพระญาณ พระญาณไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ

ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็ไม่เกินพระญาณ ธรรมเหล่านั้น มีความ

ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมเป็นไปรอบใน

ธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวงเนื่องด้วยความนึก เนื่องด้วยความหวัง เนื่อง

ด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว

พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมเป็นไปรอบในสัตว์

ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย จริต อธิมุตติ

แห่งสัตว์ทั้งปวง ย่อมทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสธุลีน้อย ในปัญญาจักษุ

มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 541

มีอาการทราม ผู้ควรแนะนำได้โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก เป็นภัพพ-

สัตว์ เป็นอภัพพสัตว์.

โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง

สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปรอบในภายในพระพุทธ-

ญาณ ปลาและเต่าทุกชนิด โดยที่สุดรวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละ และ

ปลาติมิติมิงคละ ย่อมเป็นไปรอบในภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อม

ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา

และมนุษย์ ย่อมเป็นไปรอบในภายในพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน.

นกทุกชนิด โดยที่สุดรวมทั้งครุฑเวนไตยโคตร ย่อมเป็นไปรอบใน

ประเทศอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลายผู้เสมอด้วยพระสารีบุตร

โดยปัญญา ย่อมเป็นไปรอบในประเทศแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือน

กัน.

พระพุทธญาณย่อมแผ่ปกคลุมปัญญาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

ตั้งอยู่ พวกบัณฑิตผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ มีปัญญา

ละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูยิงขนหางทรายแม่น เที่ยว

ไปดุจทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้น ปรุงแต่ง

ปัญหาแล้ว เข้ามาเฝ้าพระตถาคต ทูลถามปัญหาเหล่านั้นอันพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสย้อนถาม และตรัสแก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุที่ทรงแสดงออก

และทรงสลัดออก บัณฑิตเหล่านั้นเลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงไพโรจน์ยิ่งด้วยพระปัญญา ในที่นั้นโดยแท้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยปัญญาจักษุอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 542

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยพุทธจักษุอย่างไร พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์

ทั้งหลายผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มี

อินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ควรแนะนำ

ได้โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลก

อยู่ ในกอบัวเขียว ในกอบัวแดง หรือในกอบัวขาว ดอกอุบล ดอกบัว

แดง หรือดอกบัวขาว บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จม

อยู่ในนำ อันน้ำล่อเลี้ยงไว้ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ตั้งอยู่เสมอ

น้ำ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติดแม้ฉันใด

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพระพุทธจักษุ ได้ทรง

เห็นสัตว์ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มี

อินทรีย์กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้แนะนำได้โดย

ง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่

ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้เป็นราคจริต บุคคล

นี้เป็นโทสจริต บุคคลนี้เป็นโมหจริต บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต บุคคลนี้

เป็นศรัทธาจริต บุคคลนี้เป็นญาณจริต.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต

ย่อมตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโทสจริต ทรงเเนะนำบุคคล

ผู้เป็นโมหจริตให้ตั้งอยู่ในการเรียน ในการไต่ถาม ในการฟังธรรมตาม

กาลอันควร ในการสนทนาธรรมตามกาลอันควร ในการอยู่ร่วมกับครู

ย่อมตรัสบอกอานาปานสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต ย่อมตรัสบอกพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 543

สูตรอันเป็นนิมิตดี ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดีแห่ง

พระธรรม ความปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ และศีลทั้งหลายของตน อันเป็น

ที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต ย่อมตรัสบอกธรรม

อันเป็นนิมิตแห่งวิปัสสนาซึ่งมีอาการไม่เที่ยง มีอาการเป็นทุกข์ มีอาการ

เป็นอนัตตาแก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต.

สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า

บุรุษยืนอยู่บนยอดภูเขาศิลา พึงเห็นหมู่ชนโดยรอบ

ฉันใด ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระปัญญาดี มีพระ-

จักษุโดยรอบ พระองค์มีความโศกไปปราศจากแล้ว ทรง

ขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จด้วยธรรม ขอจงทรงตรวจดูหมู่ชน

ผู้อาเกียรณด้วยความโศก ถูกชาติและชราครอบงำฉันนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยพุทธจักษุอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยสมันตจักษุอย่างไร. พระ-

สัพพัญญุตญาณ เรียกว่าสมันตจักษุ พระผู้มีพระภาคเจ้าไปใกล้ ไปใกล้ดี

แล้วเข้าถึง เข้าถึงดีแล้ว เข้าไปถึงดีแล้ว ประกอบแล้วด้วยพระสัพพัญ-

ญุตญาณ.

สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า

สิ่งอะไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้ อันปัญญาจักษุของพระ-

ตถาคตนั้นไม่เห็นแล้ว ย่อมไม่มี อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ

อันพระพุทธญาณไม่รู้แจ้งแล้วและที่ไม่พึงรู้ ย่อมไม่มี

ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่ พระตถาคตทรงทราบแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 544

ซึ่งธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด เพราะเหตุนั้น พระ-

ตถาคตจึงชื่อว่า ผู้มีสมันตจักษุ.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระจักษุแม้ด้วยสมันตจักษุอย่างนี้ เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุย่อมปรากฏเด่นชัด.

[๘๙๑] คำว่า ทรงกำจัดมืดทั้งปวง ความว่า ทรงบรรเทา กำจัด

ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความมืดเพราะราคะ ความมืดเพราะ

โทสะ ความมืดเพราะโมหะ ความมืดเพราะมานะ ความมืดเพราะทิฏฐิ

ความมืดเพราะกิเลส ความมืดเพราะทุจริตทั้งปวงอันทำให้เป็นคนบอด

ทำไม่ให้มีจักษุ ทำไม่ให้มีญาณ อันดับปัญญา เป็นไปในฝ่ายแห่งความ

ลำบาก ไม่ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงกำจัดมืด

ทั้งปวง.

พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลผู้เอก

[๘๙๒] คำว่า เป็นบุคคลเอก ทรงบรรลุแล้วซึ่งความยินดี ความว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะส่วนแห่งบรรพชา ทรงเป็น

บุคคลผู้เอก เพราะเป็นผู้ไม่มีเพื่อน ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะความละ

ตัณหา ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากราคะโดย

ส่วนเดียว ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากโทสะ

โดยส่วนเดียว ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากโมหะ

โดยส่วนเดียว ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ไม่มีกิเลสใด

ส่วนเดียว ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้เสด็จไปตามเอกายน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 545

มรรค ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้เดียวตรัสรู้ซึ่งพระ-

สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะส่วนแห่งบรรพชา

อย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงหนุ่มฉกรรจ์ มีพระเกศาดำสนิท ยัง

หนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ทรงปรารถนา

ให้ผนวช มีพระพักตร์ชุ่มด้วยน้ำพระเนตรทรงกัน แสงรำพันอยู่ ทรงสละ

หมู่พระญาติ ทรงตัดความกังวลในยศทั้งหมด ทรงตัดความกังวลใน

พระโอรสพระชายา ทรงตัดความกังวลในพระญาติ ทรงตัดความกังวล

ในมิตรอำมาตย์ ทรงตัดกังวลในการสั่งสม ทรงปลงพระเกศาและพระ-

มัสสุ ทรงครองผ้ากาสายะเสด็จออกผนวช ถึงความเป็นผู้ไม่มีกังวล เสด็จ-

เที่ยวไป ยับยั้งอยู่ พักผ่อน ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา ลำพัง

พระองค์เดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะส่วนแห่ง

บรรพชาอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะไม่มีเพื่อน

อย่างไร. พระองค์ทรงผนวชแล้วอย่างนี้ พระองค์เดียว ซ่องเสพ

เสนาสนะเป็นป่าและป่าใหญ่น้อยอันสงัด มีเสียงน้อย ไม่มีเสียงกึกก้อง

ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่วิเวก

พระองค์ทรงพระดำเนินพระองค์เดียว ประทับยืนพระองค์เดียว ประทับ

นั่งพระองค์เดียว ทรงบรรทมพระองค์เดียว เสด็จเข้าบ้านเพื่อทรงบิณฑ-

บาตพระองค์เดียว เสด็จออกไปพระองค์เดียว ประทับอยู่ในที่ลับพระองค์

เดียว ทรงอธิษฐานจงกรมพระองค์เดียว ทรงเที่ยวไป ยับยั้งอยู่ พักผ่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 546

ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา ลำพังพระองค์เดียว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะไม่มีเพื่อนอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอ เพราะความละตัณหา

อย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระองค์เดียว ไม่มีเพื่อนอย่างนี้

ไม่ทรงประมาท มีความเพียร มีพระทัยเด็ดเดี่ยว ทรงตั้งพระมหาปธาน

อยู่ที่ควงโพธิพฤกษ์ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงกำจัดมารทั้งเสนามารที่ไม่ให้

มหาชนพ้นไป เป็นเผ่าพันธุ์ผู้ประมาท ทรงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไปซึ่ง

ตัณหาเพียงดังข่ายอันให้แล่นไป ให้เกาะเกี่ยวอารมณ์อยู่.

สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า

บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน แล่นไปสู่ความเป็นอย่างนี้

และความเป็นอย่างอื่นตลอดกาลนาน ไม่ล่วงพ้นสงสาร

ไปได้ ภิกษุรู้จักโทษนี้ รู้จักตัณหาเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์

จึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่มีความยึดถือ มีสติ พึง

เว้นรอบ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะความละตัณหา

อย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้

ปราศจากราคะ โดยส่วนเดียวอย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็น

บุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะ

อรรถว่า ทรงละราคะเสียแล้ว ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็น

ผู้ปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว เพราะทรงละโทสะเสียแล้ว ทรงเป็นบุคคล

ผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะทรงละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 547

โมหะเสียแล้ว ทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้ไม่มีกิเลสโดย

ส่วนเดียว เพราะทรงละกิเลสทั้งหลายเสียแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้

เสด็จไปตามเอกายนมรรคอย่างไร. สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔

อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

เรียกว่า เอกายนมรรค (ธรรมเป็นหนทางเป็นที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว).

สมดังประพันธ์คาถาว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เห็นธรรมเป็นส่วนสุดแห่ง

ความสิ้นชาติ ผู้ทรงอนุเคราะห์ด้วยพระทัยเกื้อกูล ย่อม

ทรงทราบมรรคเป็นที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว บัณฑิตทั้งหลาย

ได้ข้ามก่อนแล้ว จักข้าม และย่อมข้ามซึ่งโอฆะด้วย

มรรคนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้

เสด็จไปตามเอกายนมรรคอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้

เดียวตรัสรู้ ซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมอย่างไร ญาณ ปัญญา

ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิมังสา วิปัสสนา สัมมา-

ทิฏฐิ ในมรรค ๔ เรียกว่า โพธิ ด้วยโพธิญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสรู้ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ตรัสรู้ว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ตรัสรู้ว่า

ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ตรัสรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

ฯลฯ ตรัสรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ ตรัสรู้ว่า เพราะ

อวิชชาดับ สังขารจึงดับ ฯลฯ เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 548

ตรัสรู้ว่า นี้ทุกข์ ตรัสรู้ว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ตรัสรู้ว่า นี้ความดับทุกข์

ตรัสรู้ว่า นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ ตรัสรู้ว่า เหล่านี้อาสวะ ตรัสรู้ว่า

นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ตรัสรู้ว่า นี้ความดับอาสวะ ตรัสรู้ว่า นี้ปฏิปทาให้

ถึงความดับอาสวะ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้

ควรกำหนดรู้ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านั้นควรละ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านั้น

ควรให้เจริญ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ตรัสรู้ความเกิด ความ

ดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตรัสรู้ความเกิด

ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕

ตรัสรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง

มหาภูตรูป ๔ ตรัสรู้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้น

ทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ คามตรัสรู้ ตรัสรู้เฉพาะ

ตรัสรู้พร้อม ตรัสรู้ชอบ ทรงบรรลุ ทรงได้เฉพาะ ทรงถูกต้อง ทรง

ทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรตรัสรู้ ควรตรัสรู้เฉพาะ ควรตรัสรู้พร้อม

ควรบรรลุ ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้งทั้งปวงด้วยโพธิญาณนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เอก เพราะอรรถว่า เป็นผู้เดียวตรัสรู้ซึ่ง

สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมอย่างนี้.

คำว่า ซึ่งความยินดี ในคำว่า บรรลุแล้วซึ่งความยินดี ความว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุ ทรงถึงเฉพาะ ทรงถูกต้อง ทรงทำให้แจ้ง

ซึ่งความยินดีในเนกขัมมะ ความยินดีในความสงัด ความยินดีในความ

สงบ ความยินดีในสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นบุคคลผู้เอก

บรรลุแล้วซึ่งความยินดี เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 549

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ย่อมปรากฏเด่นชัด

แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรง

กำจัดมืดทั้งปวง เป็นบุคคลผู้เอก บรรลุแล้วซึ่งความยินดี.

[๘๙๓] เรามีความประสงค์ด้วยปัญหา จึงมาถึงพระพุทธเจ้า

พระองค์นั้น ผู้ไม่อาศัย ผู้คงที่ ผู้ไม่หลอกลวง ผู้มาเป็น

พระคณาจารย์ของคนหมู่มาก ซึ่งเนื่องในศาสนานี้.

ว่าด้วยพระนามว่าพุทธะ

[๘๙๔] ชื่อว่า พุทธะ ในคำว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่

อาศัย ผู้คงที่ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระสยัมภู ไม่มีใครเป็นอาจารย์

ตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายเอง ในธรรมทั้งหลายอันพระองค์ไม่เคยสดับมาก่อน

ทรงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในเพราะความตรัสรู้นั้น และทรงถึงความ

เป็นผู้ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย. คำว่า พุทฺโธ ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า

เพราะอรรถว่าอะไร ? ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะ

ทั้งหลาย เพราะอรรถว่า ให้หมู่สัตว์ตรัสรู้ เพราะเป็นพระสัพพัญญู เพราะ

เป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวง เพราะเป็นผู้ไม่มีผู้อื่นแนะนำ เพราะเป็นผู้เบิกบาน

เพราะเป็นผู้สิ้นอาสวะ เพราะเป็นผู้ไม่มีอุปกิเลส เพราะอรรถว่า เป็นผู้

ปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากโทสะโดยส่วน

เดียว เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า

เป็นผู้ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า เป็นผู้เสด็จไปตามเอกายน-

มรรค เพราะอรรถว่า เป็นผู้เดียวตรัสรู้ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 550

ยอดเยี่ยม ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะเว้นจากความไม่รู้ เพราะได้เฉพาะ

ความรู้ พระนามว่า พุทฺโธ นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาดา พระภคินี

มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณะ พราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิมให้

พระนามว่า พุทฺโธ นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหัตผลใน

ลำดับแห่งอรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ (บัญญัติที่เกิดเพราะทำแจ่ม-

แจ้ง ซึ่งพระอรหัตผลและธรรมทั้งปวง) พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระ-

สัพพัญญุตญาณ ณ ควงแห่งโพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย

ผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

[๘๙๕] ความอาศัย ในคำว่า ไม่อาศัย มี ๒ อย่าง คือความ

อาศัยด้วยตัณหา ๑ ความอาศัยด้วยทิฏฐิ ๑.

ความอาศัยด้วยตัณหาเป็นไฉน ? วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน

เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือเอาว่าของเรา ด้วยส่วนแห่ง

ตัณหามีประมาณเท่าใด ความยึดถือว่าของเรา ซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านั้น

ว่า สิ่งนี้ของเรา สิ่งนั้นของเรา สิ่งมีประมาณเท่านี้ของเรา สิ่งของของ

เรามีประมาณเท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องลาด เครื่อง

นุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน

ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท ฉาง คลัง เป็นของ

ของเรา ความยึดถือว่าเป็นของเรา แม้ซึ่งแผ่นดินใหญ่ทั้งสิ้นด้วยสามารถ

แห่งตัณหา ตลอดถึงตัณหาวิปริต ๑๐๘ นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยตัณหา.

ว่าด้วยทิฏฐิ

ความอาศัยด้วยทิฏฐิเป็นไฉน ? สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 551

มีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ทิฏฐิ ความไปคือทิฏฐิ รกเรี้ยว

คือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ

เครื่องประกอบคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดถือ

ทางผิด คลองผิด ความเป็นผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือโดยแสวงหาผิด

ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือว่าแน่นอน ว่าจริง

ในสิ่งที่ไม่จริงอันใด เห็นปานนี้ และทิฏฐิ ๖๒ มีประมาณเท่าใด นี้ชื่อว่า

ความอาศัยด้วยทิฏฐิ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละความอาศัยด้วยตัณหา สละ

คืนความอาศัยด้วยทิฏฐิ เพราะทรงละความอาศัยด้วยตัณหา สละคืนความ

อาศัยด้วยทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่อาศัย ไม่อิงอาศัย ไม่พัวพัน

ไม่เข้าถึง ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจถึง เป็นผู้ทรงออกไป สละ พันขาด ไม่เกี่ยว

ข้องซึ่งจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

(ธรรมารมณ์) สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ

กาม รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนรสัญญานาสัญญาภพ

เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน

รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ทรงเป็นผู้

มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้าพระองค์

นั้น เป็นผู้ไม่อาศัย.

ว่าด้วยผู้คงที่โดยอาการ ๕

[๘๙๖] คำว่า ผู้คงที่ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 552

ผู้คงที่โดยอาการ ๕ คือ เป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ๑ เป็นผู้

คงที่ เพราะอรรถว่า สละแล้ว ๑ เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า ข้ามแล้ว ๑

เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า พ้นแล้ว ๑ เป็นผู้คงที่ เพราะทรงแสดงออก

ซึ่งธรรมนั้น ๆ ๑.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐา-

รมณ์ อย่างไร ? พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้คงที่แม้ในลาภ แม้ใน

ความเสื่อมลาภ แม้ในยศ แม้ในความเสื่อมยศ แม้ในสรรเสริญ แม้ใน

นินทา แม้ในสุข แม้ในทุกข์ หากว่า ชนทั้งหลายพึงลูบไล้พระพาหา

ข้างหนึ่งแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเครื่องหอม พึงถากพระพาหาข้างหนึ่ง

ด้วยมีด พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่ทรงมีความยินดีในการลูบไล้ด้วยเครื่อง

หอมโน้น และไม่ทรงมีความยินร้ายในการถากด้วยมีดโน้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงละความยินดีและความยินร้ายเสียแล้ว ทรงล่วงเลยความ

ดีใจและความเสียใจแล้ว ทรงก้าวล่วงความพอใจและความพิโรธเสียแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ในอิฐารมณ์และอนิฐารมณ์อย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า สละแล้ว.

อย่างไร ? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสละ คาย ปล่อย ละ สละคืนราคะ

โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความดีเสมอ

ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง

ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลส

ทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง

ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า

เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า สละแล้ว อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 553

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า ข้ามแล้วอย่าง

ไร ? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข้าม คือ ข้ามขึ้น ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วย

ดี ล่วงเลยแล้ว ซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ และ

คลองแห่งสงสารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงอยู่จบแล้ว ทรงประ-

พฤติจรณะแล้ว ดำเนินถึงทางไกลแล้ว ดำเนินถึงทิศแล้ว ดำเนินถึงที่สุด

แล้ว ทรงรักษาพรหมจรรย์แล้ว ทรงบรรลุอุดมทิฏฐิแล้ว เจริญมรรคแล้ว

ละกิเลสแล้ว มีการแทงตลอดมิได้กำเริบ มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดรู้ทุกข์ ทรงละสมุทัย ทรงเจริญมรรค ทรง

ทำให้เเจ่มแจ้งซึ่งนิโรธ ทรงรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ทรงกำหนดรู้ธรรมที่

ควรกำหนดรู้ ทรงละธรรมที่ควรละ ทรงเจริญธรรมที่ควรเจริญ ทรง

ทำให้เเจ่มแจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรง

ถอนอวิชชาอันเป็นดุจลิ่มสลักออกแล้ว ทรงเรี่ยรายกรรมอันเป็นดังคูเสีย

แล้ว ทรงถอนตัณหาเป็นดังเสาระเนียดขึ้นแล้ว ไม่มีสังโยชน์เป็นบาน-

ประตู เป็นผู้ไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก มีมานะเป็นดุจธงอันตกไปแล้ว

ทรงปลงภาระเสียแล้ว มีโยคกิเลสมิได้เกี่ยวข้อง มีองค์ ๕ อันละเสียแล้ว

ประกอบด้วยองค์ ๖ มีสติเป็นธรรมเอกเครื่องรักษา มีธรรมเป็นเครื่อง

อาศัย ๔ มีทิฏฐิสัจจะเฉพาะอย่างหนึ่งอันทรงบรรเทาเสียแล้ว มีการ

แสวงหาอันชอบไม่หย่อนอันประเสริฐ มีความดำริมิได้ขุ่นมัว มีกายสังขาร

อันระงับแล้ว มีจิตพ้นดีแล้ว มีปัญญาพ้นดีแล้ว เป็นผู้มีความบริบูรณ์

มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ถึงความบรรลุ

เป็นอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมิได้ก่อ มิได้กำจัด กำจัดดำรงอยู่แล้ว

มิได้ละ มิได้ถือมั่น ละแล้วดำรงอยู่ มิได้เย็บ มิได้ยาก เย็บแล้วดำรงอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 554

มิได้ดับ มิได้ให้ลุก ดับแล้วดำรงอยู่ ดำรงอยู่เพราะเป็นผู้ประกอบด้วย

ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์

เป็นอเสขะ แทงตลอดอริยสัจแล้วดำรงอยู่ ก้าวล่วงตัณหาอย่างนี้แล้วจึง

ดำรงอยู่ ดับไฟกิเลสแล้วดำรงอยู่ ดำรงอยู่เพราะไม่ต้องไป ยึดถือเอายอดชัย

แล้วดำรงอยู่ ดำรงอยู่ในความซ่องเสพวิมุตติ ดำรงอยู่ด้วยความเมตตา

กรุณา มุทิตา อุเบกขาอันบริสุทธิ์ ดำรงอยู่ด้วยความบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว

ดำรงอยู่ในความเป็นผู้ไม่แข็งกระด้าง ด้วยตัณหา ทิฏฐิ มานะ อันบริสุทธิ์

ดำรงอยู่เพราะเป็นผู้หลุดพ้น ดำรงอยู่เพราะเป็นผู้สันโดษ ดำรงอยู่ใน

ส่วนสุดรอบแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร

วัฏฏะ ดำรงอยู่ในภพอันมีในที่สุด ดำรงอยู่ในอัตภาพอันมีในที่สุด ทรง

ไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด.

สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีภพนี้เป็นที่สุด มีอัตภาพนี้

เป็นทีหลัง มิได้มีชาติ มรณะและสงสาร ไม่มีภพใหม่.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าคงที่ เพราะอรรถว่า ข้ามแล้วอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า พ้นแล้วอย่าง

ไร ? พระทัยของพระมีผู้พระภาคเจ้าพ้นแล้ว พ้นวิเศษ พ้นดีแล้ว จากราคะ

โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ

ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความ

แข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง

ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 555

เดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็น

ผู้คงที่ เพราะอรรถว่า พ้นแล้วอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกซึ่งธรรม

นั้น ๆ อย่างไร ? พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออก

ว่า เป็นผู้มีศีล ในเมื่อศีลมีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็น

ผู้มีศรัทธา ในเมื่อศรัทธามีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า

เป็นผู้มีวิริยะ ในเมื่อวิริยะมีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า

เป็นผู้มีสติ ในเมื่อสติมีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็น

ผู้มีสมาธิ ในเมื่อสมาธิมีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า เป็น

ผู้มีปัญญา ในเมื่อปัญญามีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า

เป็นผู้มีวิชชา ๓ ในเมื่อวิชชามีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกว่า

เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ในเมื่ออภิญญามีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้คงที่เพราะทรงแสดง

ออกว่า เป็นผู้มีพละ ๑๐ ในเมื่อพละมีอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็น

ผู้คงที่เพราะทรงแสดงออกซึ่งธรรมนั้น ๆ อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่อาศัย ผู้คงที่.

ว่าด้วยวัตถุแห่งความหลอกลวง ๓ อย่าง

[๘๙๗] ชื่อว่า ผู้ไม่ทรงหลอกลวง ในคำว่า ผู้ไม่หลอกลวง

ผู้มาเป็นพระคณาจารย์ มีอธิบายว่า วัตถุแห่งความหลอกลวง ๓ อย่าง คือ

วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย ๑ วัตถุแห่งความ

หลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถ ๑ วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยการพูด

เลียบเคียง ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 556

วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัยเป็นไฉน ?

พวกคฤหบดีในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้นมีความปรารถนาลามก อันความ

ปรารถนาครอบงำ มีความต้องการด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร อาศัยความเป็นผู้อยากได้มาก ย่อมบอกคืน

จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร พูดอย่างนี้ว่า

ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยจีวรมีค่ามาก การที่สมณะเที่ยวเลือกเก็บ

ผ้าเก่าจากป่าช้า กองหยากเยื่อ หรือร้านตลาด แล้วทำสังฆาฏิใช้ เป็น

การสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยบิณฑบาตมีค่ามาก การที่สมณะ

สำเร็จความเป็นอยู่ ด้วยก้อนข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง โดยความประพฤติ

แสวงหา เป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยเสนาสนะมีค่ามาก

การที่สมณะอยู่โคนต้นไม้ อยู่ที่ป่าช้า หรืออยู่ที่แจ้ง เป็นการสมควร

ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีค่ามาก การที่สมณะ

พึงทำยาด้วยน้ำมูตรเน่าหรือชิ้นลูกสมอ เป็นการสมควร ภิกษุนั้นอาศัย

ความเป็นผู้อยากได้มาก จึงทรงจีวรที่เศร้าหมอง ฉันบิณฑบาตที่

เศร้าหมอง ซ่องเสพเสนาสนะที่เศร้าหมอง และฉันคิลานปัจจัยเภสัช-

บริขารที่เศร้าหมอง พวกคฤหบดีเห็นภิกษุนั้นแล้ว ย่อมทราบอย่างนี้ว่า

สมณะนี้เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วย

หมู่คณะ ปรารภความเพียร มีวาทะกำจัดกิเลส ก็ยิ่งนิมนต์เธอด้วยจีวร

บิณฑบาตเสนาสนะคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้นก็กล่าวว่า เพราะ

ประกอบด้วยเหตุ ๓ ประการ กุลบุตรผู้มีศรัทธา ก็ประสบบุญมาก คือ

เพราะประจวบด้วยศรัทธา ๑ เพราะประจวบด้วยไทยธรรม ๑ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 557

ประจวบด้วยทักขิไณยบุคคล ๑ ท่านทั้งหลายมีศรัทธานี้อยู่ มีไทยธรรมนี้

อยู่ ทั้งอาตมาก็เป็นปฏิคาหก (ผู้ทักขิไณยบุคคล) ถ้าอาตมาจักไม่รับ

ท่านทั้งหลายก็จักเสื่อมจากบุญไป อาตมาไม่มีความต้องการด้วยปัจจัยนี้

ก็แต่ว่าอาตมาจะรับด้วยความอนุเคราะห์ท่านทั้งหลาย จำเดิมแต่นั้น ภิกษุ

นั้นก็รับจีวรมาก รับบิณฑบาตมาก รับเสนาสนะมาก รับคิลานปัจจัย-

เภสัชบริขารมาก ความทำหน้ายู่ยี่ ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความหลอกลวง

กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็นปานนี้ เรียกว่า วัตถุแห่ง

ความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย.

วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถเป็นไฉน ? ภิกษุบาง

รูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ

มีความประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเราด้วยอุบาย

อย่างนี้ จึงสำรวมการเดิน สำรวมการยืน สำรวมการนั่ง สำรวมการนอน

ย่อมตั้งสติเดิน ตั้งสติยืน ตั้งสตินั่ง ตั้งสตินอน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิเดิน

ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิยืน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินั่ง ทำเหมือนภิกษุมี

สมาธินอน และทำเหมือนภิกษุที่เจริญอาปาถกฌาน (เจริญฌานต่อหน้า

พวกมนุษย์) การดังใจทำ การทำ ก้าวดำรงอิริยาบถ ความทำหน้ายู่ยี่

ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้

หลอกลวง เห็นปานนี้ เรียกว่า วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวอันตราย

อิริยาบถ.

วัตถุแห่งดงามหลอกลวงกล่าวด้วยการพูดเลียบเคียงเป็นไฉน ?

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนา

ครอบงำ มีความประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเรา

ด้วยอุบายอย่างนี้ จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือ พูดว่า สมณะใดทรงจีวร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 558

อย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดทรงบาตรอย่างนี้... ทรงภาชนะ

โลหะอย่างนี้ ... ทรงธมกรกอย่างนี้ .. . ทรงผ้ากรองน้ำอย่างนี้ ... ถือ

ลูกกุญแจอย่างนี้... สวมรองเท้าอย่างนี้. .. ใช้ประคดสำหรับคาดกาย

อย่างนี้... ใช้สายโยกบาตอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก พูดว่า สมณะ

ใด มีอุปัชฌายะอย่างนี้ มีอาจารย์อย่างนี้ ... มีพวกร่วมอุปัชฌายะอย่าง

นี้ ... มีพวกร่วมอาจารย์อย่างนี้ ... มีมิตรอย่างนี้ ... มีพวกอย่างนี้ ...

มีพวกที่คบกันมาอย่างนี้ ... มีสหายอย่างนี้ ... สมณะนั้นมีศักดิ์มาก

พูดว่า สมณะใดอยู่ในวิหารเช่นนี้ ... อยู่ในเรือนมีหลังคาแถบเดียว

อย่างนี้ ... อยู่ในปราสาทอย่างนี้ ... อยู่ในเรือนมีหลังคาโล้นอย่างนี้...

อยู่ในถ้ำอย่างนี้ ... อยู่ในที่เร้นอย่างนี้ ... อยู่ในกุฎีอย่างนี้ . . . อยู่ใน

เรือนยอดอย่างนี้ ... อยู่ในซุ้มประตูอย่างนี้ ... อยู่ในโรงกลมอย่างนี้ ...

อยู่ในโรงที่พัก (ปะรำ) อย่างนี้ ... อยู่ในศาลาที่ประชุมอย่างนี้ ... อยู่

ในมณฑปอย่างนี้ ... อยู่ที่โคนต้นไม้อย่างนี้... สมณะนั้นมีศักดิ์มาก

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้วางหน้าเฉยเมย ทำหน้ายู่ยี่ หลอกลวง ปลิ้นปล้อน

ตลบตะแลง อันผู้อื่นสรรเสริญ ด้วยความที่ตนวางหน้าว่า สมณะนี้ได้

วิหารสมบัติอันมีอยู่เห็นปานนี้ ภิกษุนั้น ย่อมกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น อัน

ปฏิสังยุตด้วยโลกุตรธรรม และนิพพาน อันลึกลับ สุขุม ละเอียด ปิดบัง

ความท่าหน้ายู่ยี่ ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง

ความเป็นผู้หลอกลวง เห็นปานนี้ เรียกว่า วัตถุแห่งควานหลอกลวง

กล่าวด้วยการพูดเลียบเคียง.

วัตถุแห่งความหลอกลวง ๓ อย่างนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้

แล้ว ทรงละ ตัดขาด ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 559

ด้วยไฟคือญาณ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า

ผู้ไม่หลอกลวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่หลอกลวง

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระคณาจารย์

[๘๙๘] คำว่า ผู้มาเป็นพระคณาจารย์ ความว่า พระผู้มีพระภาค-

เจ้าชื่อว่า คณี เพราะอรรถว่า มีคณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า เป็นคณี

เพราะอรรถว่า เป็นพระคณาจารย์ ชื่อว่า เป็นคณี เพราะอรรถว่า เป็น

พระศาสดาของคณะ ชื่อว่า เป็นคณี เพราะอรรถว่า พระองค์ทรงบริหาร

คณะ ชื่อว่า เป็นคณี เพราะอรรถว่า พระองค์ตรัสสอนคณะ ชื่อว่า เป็น

คณี เพราะอรรถว่า พระองค์ทรงพร่ำสอนคณะ ชื่อว่า เป็นคณี เพราะ

อรรถว่า พระองค์มีความองอาจเสด็จเข้าไปสู่คณะ ชื่อว่า เป็นคณี เพราะ

อรรถว่า คณะย่อมฟังด้วยดีต่อพระองค์ เงี่ยโสตลงฟัง เข้าไปตั้งจิตเพื่อ

ความรู้ ชื่อว่า เป็นคณี เพราะอรรถว่า พระองค์ยังคณะให้ออกจากอกุศล

ให้ตั้งอยู่เฉพาะในกุศล. ชื่อว่า เป็นคณีของคณะภิกษุ ชื่อว่า เป็นคณีของ

คณะภิกษุณี ชื่อว่า เป็นคณีของคณะอุบาสก ชื่อว่า เป็นคณีของคณะ

อุบาสิกา ชื่อว่า เป็นคณีของคณะพระราชา ชื่อว่า เป็นคณีของคณะ

กษัตริย์ ชื่อว่า เป็นคณีของคณะพราหมณ์ ชื่อว่า เป็นคณีของคณะแพศย์

ชื่อว่า เป็นคณีของคณะศูทร ชื่อว่า เป็นคณีของคณะเทวดา ชื่อว่า เป็น

คณีของคณะพรหม พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มีหมู่ มีคณะ เป็นพระคณา-

จารย์ เสด็จมา เข้ามา เข้ามาพร้อม ถึงพร้อมแล้วซึ่งสังกัสสนคร เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่หลอกลวง ผู้มาเป็นพระคณาจารย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 560

[๘๙๙] คำว่า ของคนหมู่มาก ในคำว่า ของคนหมู่มากซึ่งเนื่อง

ในศาสนานี้ ความว่า ของกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์

บรรพชิต เทวดา มนุษย์ เป็นอันมาก. คำว่า เนื่อง คือ เป็นผู้เนื่อง

มีความประพฤติเนื่องกัน เป็นผู้บำรุง เป็นศิษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ของคนหมู่มากซึ่งเนื่องในศาสนานี้.

[๙๐๐] คำว่า เรามีความประสงค์ด้วยปัญหาจึงมา ความว่า

เราเป็นผู้มีความประสงค์ด้วยปัญหามาแล้ว คือเรามีความประสงค์เพื่อจะ

ทูลถามปัญหามาแล้ว เรามีความประสงค์เพื่อจะฟังปัญหามาแล้ว แม้ด้วย

เหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เรามีความประสงค์ด้วยปัญหาจึงมา. อีกอย่าง

หนึ่ง ความมา ความก้าวไปเฉพาะ ความเข้าไปหา ความเข้าไปนั่งใกล้

พึงมีแก่ชนทั้งหลาย ผู้มีความต้องการด้วยปัญหา ผู้ถามปัญหา ผู้ประสงค์

เพื่อจะฟังปัญหา แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เรามีความประสงค์

ด้วยปัญหาจึงมา. อีกอย่างหนึ่ง อาคม (สูตร) แห่งปัญหาของพระองค์มี

อยู่ พระองค์เป็นผู้สามารถจะตรัสถาม กล่าวแก้กับข้าพระองค์ ข้อนี้จง

เป็นภาระของพระองค์ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เรามีความประ-

สงค์ด้วยปัญหาจึงมา เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงกราบทูลว่า

ข้าพระองค์มีความประสงค์ด้วยปัญหา จึงมาถึงพระ-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่อาศัย ผู้คงที่ ผู้ไม่หลอกลวง ผู้

มาเป็นพระคณาจารย์ของคนหมู่มากซึ่งเนื่องในศาสนานี้.

[๙๐๑] เมื่อภิกษุเกลียดอยู่ ซ่องเสพที่นั่งอันว่างเปล่า รุกขมูล

สุสาน หรือที่นั่งในถ้ำแห่งบรรพตทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 561

ว่าด้วยปฏิปทาของภิกษุ

[๙๐๒] คำว่า เมื่อภิกษุ ในคำว่า เนื้อภิกษุเกลียดอยู่ ความว่า

เมื่อภิกษุที่เป็นกัลยาณปุถุชน หรือที่เป็นเสขชน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เมื่อภิกษุ. คำว่า เกลียดอยู่ คือ เกลียด อึดอัด ระอา เบื่อหน่าย ด้วยชาติ

ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ทุกข์ในนรก

ทุกข์ในดิรัจฉานกำเนิด ทุกข์ในเปรตวิสัย ทุกข์ในมนุษย์ ทุกข์มีความเกิด

ในครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีความตั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีความคลอดจาก

ครรภ์เป็นมูล ทุกข์ที่ติดตามสัตว์ผู้เกิด ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิด

ทุกข์เกิดแต่ความขวนขวายของตน ทุกข์เกิดแต่ความขวนขวายของผู้อื่น

ทุกข์ที่เกิดแต่ทุกขเวทนา (ทุกขเวทนามีในกายและใจ) ทุกข์เกิดแต่สังขาร

ทุกข์เกิดแต่ความแปรปรวน ทุกข์เพราะโรคจักษุ ทุกข์เพราะโรคหู

ทุกข์เพราะโรคจมูก ทุกข์เพราะโรคลิ้น ทุกข์เพราะโรคกาย ทุกข์เพราะ

โรคศีรษะ ทุกข์เพราะโรคในหู ทุกข์เพราะโรคปาก ทุกข์เพราะโรคฟัน

โรคไอ โรคหืด โรคไขหวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง

โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรค

กลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู. โรคหิตเปื่อย โรคหิตด้าน โรคหูด

โรคละลอก โรคคุดทะราด โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ โรคเบาหวาน

โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมี

เสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธ

เกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิด

แต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว

ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 562

เกิดแต่ความสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ทุกข์

เพราะมารดาตาย ทุกข์เพราะบิดาตาย ทุกข์เพราะพี่ชายน้องชายตาย

ทุกข์เพราะพี่หญิงน้องหญิงตาย ทุกข์เพราะบุตรตาย ทุกข์เพราะธิดาตาย

ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งญาติ ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์

ทุกข์เพราะความฉิบหายอันเกิดแต่โรค ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล

ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อภิกษุเกลียด

อยู่.

[๙๐๓] คำว่า ซ่องเสพที่นั่งอันว่างเปล่า ความว่า ที่ใดเป็นที่นั่ง

คือเตียง ตั่ง ฟูก เสื่อ ท่อนหนัง เครื่องลาดด้วยหญ้า เครื่องลาดด้วยใบไม้

เครื่องลาดด้วยฟาง ที่นั้นเรียกว่าที่นั่ง ที่นั่งนั้น ว่าง เปล่า สงัด เงียบ

จากการเห็นรูปไม่เป็นที่สบาย ว่าง เปล่า สงัด เงียบจากการได้ยินเสียง

ไม่เป็นที่สบาย ฯลฯ ว่าง เปล่า สงัด เงียบจากเบญจกามคุณไม่เป็นที่

สบาย เมื่อภิกษุซ่องเสพ ซ่องเสพเสมอ เสพอาศัย ซ่องเสพเฉพาะที่

นั่งนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อภิกษุซ่องเสพที่นั่งอันว่างเปล่า.

[๙๐๔] คำว่า รุกขมูล สุสาน ความว่า รุกขมูล คือโคนต้นไม้

สุสานคือป่าช้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รุกขมูล สุสาน.

[๙๐๕] คำว่า หรือที่นั่งในถ้ำแห่งบรรพตทั้งหลาย ความว่า

บรรพตคือภูเขา กันทระคือซอก คิริคุหาคือถ้ำในภูเขา ท้องภูเขาแห่ง

ภูเขาทั้งหลาย เรียกว่า ระหว่างภูเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือที่นั่ง

ในถ้ำแห่งบรรพตทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงทูลถามว่า

เมื่อภิกษุเกลียดอยู่ ซ่องเสพที่นั่งอันว่างเปล่า รุกขมูล

สุสาน หรือที่นั่งในถ้ำแห่งบรรพตทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 563

[๙๐๖] ในที่นอนทั้งหลายอันสูงและต่ำ ภิกษุร้องอยู่ เพราะ

ในที่นั้นมีอารมณ์อันน่าหวาดเสียว อันเป็นเหตุให้ภิกษุไม่

พึงหวั่นไหว ในที่นอนที่นั่งอันไม่มีเสียงก้อง.

ว่าด้วยที่นอนสูงต่ำ

[๙๐๗] คำว่า อันสูงและต่ำ ในคำว่า ในที่นอนอันสูงและต่ำ

ความว่า สูงและตำ คือเลวประณีต ดีและชั่ว เสนาสนะ คือวิหาร

เรือนมีหลังคาแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ เรียกว่า ที่นอน ในคำว่า

ในที่นอนทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในที่นอนทั้งหลายอันสูง

และต่ำ.

[๙๐๘] คำว่า ร้องอยู่ ในคำว่า ภิกษุร้องอยู่ เพราะในนั้น

มีอารมณ์อันน่าหวาดเสียว ความว่า ภิกษุร้อง เรียกว่า บันลือ ออก

เสียงอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า อารมณ์อันน่าหวาดเสียว มีเท่าไร มี

อย่างไร มีประมาณเท่าไร มีกำหนดเท่าไร มีมากเท่าไร ชื่อว่าอารมณ์

น่าหวาดเสียวเหล่านั้น คือราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว

หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ทำกรรมชั่ว

หรือคนที่เตรียมทำกรรมชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุร้องอยู่ เพราะ

ในที่นั้นมีอารมณ์อันน่าหวาดเสียว.

[๙๐๙] คำว่า อารมณ์อันน่าหวาดเสียว ในคำว่า อันเป็นเหตุ

ให้ภิกษุไม่พึงหวั่นไหว ความว่า ภิกษุเห็นหรือได้ยินแล้วซึ่งอารมณ์อันน่า

หวาดกลัวเหล่าใด อันเป็นเหตุให้ภิกษุไม่พึงหวั่นไหว ไม่สะทกสะท้าน

ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่ตกใจ ไม่กลัว ไม่ถึงความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 564

สยดสยอง ไม่พึงเป็นผู้ขลาด ไม่ขยาด ไห่หวาดหวั่น ไม่หนี ละความ

กลัว ความหวาดเสียว ปราศจากขนลุกชูชัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

อันเป็นเหตุให้ภิกษุไม่พึงหวั่นไหว.

[๙๑๐] คำว่า ในที่นอนที่นั่งอันไม่มีเสียงกึกก้อง ความว่า ใน

เสนาสนะอันมีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา

เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกเร้น เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ในที่นอนที่นั่งอันไม่มีเสียงกึกก้อง เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตร

เถระจึงทูลถามว่า

ในที่นอนทั้งหลายอันสูงและต่ำ ภิกษุร้องอยู่ เพราะ

ในที่นั้นมีอารมณ์อันน่าหวาดเสียว อันเป็นเหตุให้ภิกษุไม่

พึงหวั่นไหว ในที่นอนที่นั่งอันไม่มีเสียงกึกก้อง.

[๙๑๑] เมื่อภิกษุไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป ภิกษุพึงปราบปราม

อันตรายเหล่าใด ในที่นอนที่นั่งอันสงัด อันตรายเหล่านั้น

มีเท่าไรในโลก.

ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง

[๙๑๒] คำว่า มีเท่าไร ในคำว่า อันตรายเหล่านั้นมีเท่าไร

ในโลก ความว่า มีเท่าไร มีประมาณเท่าไร มีกำหนดเท่าไร มีมาก

เท่าไร ชื่อว่าอันตราย ได้แก่อันตราย ๒ อย่าง คืออันตรายปรากฏ ๑

อันตรายปกปิด ๑.

อันตรายปรากฏเป็นไฉน ? ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 565

เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร คน

ที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียมทำกรรมชั่ว โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น

โรคกาย โรคศีรษะ โรคในหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด

โรคไขหวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ

โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรค

มองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคหูด โรคละลอก

โรคคุดทะราด โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม

โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็น

สมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่

ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดแต่ความ

เพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน

ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความสัมผัสแห่ง

เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน อันตรายเหล่านั้น เรียกว่า

อันตรายปรากฏ.

อันตรายปกปิดเป็นไฉน ? กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจนิวรณ์

วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความ

ลบหลู่คุณท่าน ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ มารยา โอ้อวด

ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความ

ประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความ

เร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง อันตราย

เหล่านี้ เรียกว่า อันตรายปกปิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 566

ที่ชื่อว่า อันตราย เพราะอรรถว่ากระไร จึงชื่อว่า อันตราย

เพราะอรรถว่า ครอบงำ จึงชื่อว่า อันตราย เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อ

ความเสื่อม จึงชื่อว่า อันตราย เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศล

ทั้งหลาย จึงชื่อว่า อันตราย.

เพราะอรรถว่า ครอบงำอย่างไร จึงชื่อว่า อันตราย. อันตราย

เหล่านั้น ย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยี ซึ่ง

บุคคลนั้น เพราะอรรถว่า ครอบงำอย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย.

เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อมอย่างไร จึงชื่อว่า อันตราย.

อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศล

ธรรมทั้งหลาย. อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อม เพื่ออันตร-

ธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่าไหน ? อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความ

เสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ คือความปฏิบัติชอบ

ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตาม

ประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีล

ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ

ความประกอบเนือง ๆ ในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ ความประกอบ

เนือง ๆ ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ความประกอบเนือง ๆ ในการเจริญ

สัมมัปปธาน ๔ ความประกอบเนือง ๆ ในการเจริญอิทธิบาท ๔ ความ

ประกอบเนือง ๆ ในการเจริญอินทรีย์ ๕ ความประกอบเนือง ๆ ในการ

เจริญพละ ๕ ความประกอบเนือง ๆ ในการเจริญโพชฌงค์ ๗ ความ

ประกอบเนือง ๆ ในการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ อันตรายเหล่านั้นย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 567

เป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านั้น เพราะ

อรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อมอย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอย่างไร จึงชื่อว่า

อันตราย. อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น อยู่

อาศัยในอัตภาพ เปรียบเหมือนเหล่าสัตว์ที่อาศัยรูย่อมอยู่ในรู ที่อาศัยน้ำ

ย่อมอยู่ในน้ำ ที่อาศัยป่าย่อมอยู่ในป่า ที่อาศัยต้นไม้ย่อมอยู่ที่ต้นไม้ฉันใด

อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น อยู่อาศัยใน

อัตภาพ ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรม

ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่

ลำบากไม่ผาสุก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัย

ในภายใน อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบากไม่ผาสุกอย่างไร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอันลามกมีความดำริอันซ่านไปในอารมณ์

อันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูป

ด้วยจักษุ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ซ่านไปในภายในแห่ง

ภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอัน

อยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น

เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน อีก

ประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันลามกมีความดำริอันซ่านไปในอารมณ์ อัน

เกื้อกูลแก่สังโยชน์ย่อมเกิดแก่ภิกษุ เพราะได้ยินเสียงด้วยหู ... เพราะสูด

กลิ่นด้วยจมูก ... เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น ... เพราะได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 568

กาย... เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น

ย่อมอยู่ซ่านไปในภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึง

เรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรมอันลามก

เหล่านั้น ย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า

ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่อยู่ร่วมกับกิเลส

อันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบากไม่ผาสุก

อย่างนี้แล เพราะฉะนั้น เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรม

ทั้งหลายแม้อย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรม ๓ ประการ นี้ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็น

ข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน ธรรม

๓ ประการเป็นไฉน ? คือโลภะ เป็นมลทินในภายใน... เป็นศัตรูใน

ภายใน โทสะ เป็นมลทินในภายใน... เป็นศัตรูในภายใน โมหะ เป็น

มลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌ-

ฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ

นี้แล เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน

เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง

แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

โลภะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โลภะยังจิตให้

กำเริบ โลภะเป็นภัยเกิดในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึก

ภัยนั้น คนผู้โลภย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้โลภย่อมไม่เห็น

๑. ขุ. อ. ๒๕/ข้อ ๒๖๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 569

ธรรม ความโลภครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อ

ย่อมมีในขณะนั้น.

โทสะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โทสะยังจิตให้

กำเริบ โทสะเป็นภัยเกิดในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึก

ภัยนั้น คนผู้โกรธย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้โกรธย่อมไม่เห็น

ธรรม ความโกรธครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อ

ย่อมมีในขณะนั้น.

โมหะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เถิด โมหะยังจิตให้

กำเริบ โมหะเป็นภัยเกิดในภายใน พาลชนย่อมไม่รู้สึก

ภัยนั้น คนผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้หลงย่อมไม่เห็น

ธรรม ความหลงครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อ

ย่อมมีในขณะนั้น.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลทั้งหลายแม้อย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม

๓ ประการแล เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่

ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ธรรม ๓ ประการ

เป็นไฉน ? คือโลภะเมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่

ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก โทสะเมื่อเกิดขึ้นใน

ภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ

ความอยู่ไม่ผาสุก โมหะเมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่

ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก ดูก่อนมหาบพิตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 570

ธรรม ๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ

มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง

แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

โลภะ โทสะ และโมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมกำจัด

บุรุษผู้มีจิตลามก เหมือนขุยไผ่กำจัดไม้ไผ่ฉะนั้น.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายแม้อย่างนี้ จึงชื่อว่า

อันตราย.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ราคะ และโทสะ มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดแต่อัตภาพ

นี้ ไม่ยินดีกุศล ยินดีแต่กามคุณ หำให้ขนลุกขนพอง

บาปวิตกในใจตั้งขึ้นแต่อัตภาพนี้แล้วผูกจิตไว้ เหมือน

พวกเด็กผูกกาไว้ที่ข้อเท้า ฉะนั้น.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายแม้อย่างนี้ จึงชื่อว่า

อันตราย. คำว่า ในโลก คือ ในมนุษยโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

อันตรายเหล่านั้นมีเท่าไรในโลก.

ว่าด้วยทิศที่ไม่เคยไป ( อมตนิพพาน)

[๙๑๓] คำว่า เมื่อภิกษุไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป ความว่า อมต-

นิพพาน คือความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความ

สิ้นตัณหา ความสำรอก ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด

๑. ขุ. อิ. ๒๕/ข้อ ๒๒๘, ขุ. สุ. ๒๕/ข้อ ๓๒๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 571

เรียกว่าทิศที่ไม่เคยไป ทิศที่ยังไม่เคยไปโดยกาลยืดยาวนี้ ชื่อว่าทิศที่ไม่

เคยไป บุคคลพึงประคองภาชนะน้ำมัน อันเต็มเสมอขอบปาก เต็มเปี่ยม

ฉันใด พระโยคาวจรเมื่อปรารถนาทิศที่ยังไม่เคยไป ก็พึงรักษาจิตของตน

เนืองๆ ฉันนั้น เมื่อภิกษุไป ดำเนินไป ก้าวไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อภิกษุไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป.

[๙๑๔] คำว่า ภิกษุพึงปราบปรามอันตรายเหล่าใด ความว่า

ภิกษุพึงปราบปราม ครอบงำ กำจัด ขับไล่ ย่ำยีอันตรายเหล่าใด

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงปราบปรามอันตรายเหล่าใด.

[๙๑๕] คำว่า ในที่นอนที่นั่งอันสงัด ความว่า ในที่นอนที่นั่ง

อันสงัดเป็นที่สุด ส่วนสุด ส่วนสุดรอบ เป็นส่วนสุดแห่งภูเขาหิน เป็น

ส่วนสุดแห่งป่า เป็นส่วนสุดแห่งน้ำ หรือเป็นส่วนสุดแห่งแม่น้ำ เป็น

สถานที่เขาไม่ไถ ไม่หว่าน ไม่เป็นอุปจารแห่งพวกมนุษย์ ล่วงเลยหมู่

ชน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในที่นอนที่นั่งอันสงัด เพราะเหตุนั้น

พระสารีบุตรเถระจึงทูลถามว่า

เมื่อภิกษุไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป ภิกษุพึงปราบปราม

อันตรายเหล่าใด ในที่นอนที่นั่งอันสงัด อันตรายเหล่านั้น

มีเท่าไรในโลก.

[๙๑๖] เมื่อภิกษุอบรมตนอยู่ เธอพึงเป็นผู้มีคลองแห่งถ้อยคำ

อย่างไร พึงเป็นผู้มีโคจรในศาสนานี้อย่างไร พึงเป็น

ผู้มีศีลและวัตรอย่างไร.

[๙๑๗] คำว่า เธอพึงเป็นผู้มีคลองแห่งถ้อยคำอย่างไร ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 572

พระเถระ ย่อมทูลถามถึงความบริสุทธิ์แห่งวาจาว่า ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้

ประกอบด้วยคลองแห่งถ้อยคำเช่นไร คือด้วยคลองแห่งถ้อยคำที่ดำรงไว้

อย่างไร มีชนิดอย่างไร มีส่วนเปรียบอย่างไร.

ว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งวาจา

ความบริสุทธิ์แห่งวาจาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละมุสาวาท

เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท คือพูดจริง ดำรงคำจริง มีถ้อยคำมั่นคง มี

ถ้อยคำเชื่อถือได้ ไม่พูดให้เคลื่อนคลาดแก่โลก ละปิสุณาวาจา เป็นผู้เว้น

ขาดจากปิสุณาวาจา คือฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลาย

คนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว ไม่มาบอกคนหมู่นี้ เพื่อทำลายคนหมู่

โน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกกันบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง

มีความพร้อมเพรียงเป็นที่มายินดี ยินดีในบุคคลที่พร้อมเพรียงกัน มีความ

เพลิดเพลินในบุคคลที่พร้อมเพรียงกัน กล่าววาจาที่ทำให้เขาพร้อมเพรียง

กันด้วยประการดังนี้ ละผรุสวาจา เป็นผู้เว้นขาดจากผรุสวาจา คือกล่าว

วาจาที่ไม่มีโทษ อันไพเราะโสต เป็นที่ตั้งแห่งความรัก หยั่งลงถึงหทัย

เป็นคำของชาวเมือง ที่คนหมู่มากพอใจ ชอบใจ ละสัมผัปปลาปะ เป็น

ผู้เว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ คือพูดโดยกาลควร พูดจริง พูดอิงอรรถ

พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย กล่าววาจาเป็นหลักฐานมีที่อ้างอิง มีส่วนสุด

ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลควร เป็นผู้ประกอบด้วยวจีสุจริต ๔ กล่าว

วาจาปราศจากโทษ ๔ งด เว้น เว้น ขาด ออก สลัด พ้นขาด ไม่ประกอบ

ด้วยติรัจฉานกถา ๓๒ ประการ เป็นผู้มีจิตปราศจากเขตแดนกิเลสอยู่

ย่อมกล่าวกถาวัตถุ ๑๐ อย่าง คืออัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 573

อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา

วิมุตติญาณทัสสนกถา ย่อมกล่าวสติปัฏฐานกถา สัมมัปปธานกถา

อิทธิบาทกถา อินทรียกถา พลกถา โพชฌงคกถา มรรคกถา ผลกถา

นิพพานกถา เป็นผู้ประกอบ สำรวม สำรวมเฉพาะ คุ้มครอง ปกครอง

รักษา ระวังด้วยวาจา นี้ชื่อว่าความบริสุทธิ์แห่งวาจา ภิกษุพึงเป็นผู้

ประกอบด้วยความบริสุทธิ์แห่งวาจาเช่นนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เธอพึง

เป็นผู้มีคลองแห่งถ้อยคำอย่างไร.

[๙๑๘] คำว่า เธอพึงเป็นผู้มีโคจรในศาสนานี้อย่างไร ความว่า

พระเถระย่อมทูลถามถึงโคจรว่า ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้ประกอบด้วยโคจร

เช่นไร คือด้วยโคจรที่ดำรงไว้อย่างไร มีชนิดอย่างไร มีส่วนเปรียบ

อย่างไร อโคจรมีอยู่ โคจรมีอยู่.

ว่าด้วยอโคจร

อโคจรเป็นไฉน ? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีหญิงแพศยา

เป็นโคจรบ้าง เป็นผู้มีหญิงหม้ายเป็นโคจรบ้าง เป็นผู้มีสาวเทื้อเป็นโคจร

บ้าง เป็นผู้มีบัณเฑาะก์เป็นโคจรบ้าง เป็นผู้มีภิกษุณีเป็นโคจรบ้าง เป็น

ผู้มีโรงสุราเป็นโคจรบ้าง อยู่คลุกคลีด้วยพวกพระราชา พวกมหาอำมาตย์

ของพระราชา พวกเดียรถีย์ พวกสาวกของเดียรถีย์ ด้วยความคลุกคลี

กับคฤหัสถ์อันไม่สมควร.

อนึ่ง สกุลบางแห่งไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่เป็นดุจบ่อน้ำ มัก

ด่า มักบริภาษ มุ่งความเสื่อม มุ่งสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล มุ่งความ

ไม่สบาย มุ่งความไม่ปลอดโปร่งจากโยคกิเลส แก่พวกภิกษุ พวกภิกษุณี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 574

พวกอุบาสก พวกอุบาสิกา ภิกษุย่อมซ่องเสพ คบหา ติดต่อกับสกุล

เห็นปานนั้น นี้เรียกว่าอโคจร.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน เป็นผู้

ไม่สำรวมเดินไป คือแลดูช้าง แลดูม้า แลดูรถ แลดูพลเดินเท้า แลดู

สตรี แลดูบุรุษ แลดูกุมาร แลดูกุมารี แลดูร้านตลาด แลดูหน้ามุขเรือน

แลดูข้างบน แลดูข้างล่าง แลดูทิศน้อยทิศใหญ่เดินไป แม้เช่นนี้ก็

เรียกว่าอโคจร.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ถือนิมิต ถืออนุพยัญชนะ

ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุ

ให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมไม่

รักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความไม่สำรวมในจักจุนทรีย์ ฯลฯ รู้แจ้ง

ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ถือนิมิต ถืออนุพยัญชนะ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อ

สำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอัน

ลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมไม่รักษามนินทรีย์ ย่อม

ถึงความไม่สำรวมในมนินทรีย์ แม้เช่นนี้ก็เรียกว่าอโคจร.

อีกอย่างหนึ่ง เหมือนอย่างว่า ท่านสมณพราหมณ์บางพวกฉัน

โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล

เห็นปานนี้ คือการฟ้อน การขับ การประโคม มหรสพ มีการรำ

เป็นต้น การเล่านิยาย เพลงปรบมือ ฆ้อง ระนาด หนัง เพลงขอทาน

ไต่ราว การเล่นหน้าศพ ชนช้าง แข่งม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ

ชนแกะ ชนไก่ ชนนกกระทา รำกระบี่กระบอง ชกมวย มวยปล้ำ

การรบ การตรวจพล การจัดกระบวนทัพ กองทัพ ท่านสมณพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 575

บางพวก ขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ แม้เช่นนี้

ก็เรียกว่าอโคจร.

แม้กามคุณ ๕ ก็ชื่อว่า อโคจร สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าเที่ยวไปในแดนอื่นซึ่ง

เป็นอโคจร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเที่ยวไปในแดนอื่นซึ่ง

เป็นอโคจร มารจักได้ช่องได้อารมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แดนอื่น

ซึ่งเป็นอโคจรของภิกษุ คืออะไร. คือกามคุณ ๕. กามคุณ ๕ เป็นไฉน ?

คือรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา พอใจ ชอบใจ รักใคร่

ประกอยด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู

กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้ง

ด้วยกาย อันน่าปรารถนา พอใจ ชอบใจ รักใคร่ ประกอบด้วย

กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า

แดนอื่นเป็นอโคจรของภิกษุ แม้เช่นนี้ก็เรียกว่าอโคจร.

โคจรเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็น

โคจร ไม่เป็นผู้มีหญิงหม้ายเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีสาวเทื้อเป็นโคจร ไม่

เป็นผู้มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีภิกษุณีเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีโรง

สุราเป็นโคจร ไม่อยู่คลุกคลีด้วยพวกพระราชา พวกมหาอำมาตย์ของ

พระราชา พวกเดียรถีย์ พวกสาวกของเดียรถีย์ ด้วยความคลุกคลีกับ

คฤหัสถ์อันไม่สมควร.

อนึ่ง สกุลบางแห่งมีศรัทธาเลื่อมใส เป็นดุจบ่อน้ำ รุ่งเรืองด้วย

ผ้ากาสาวพัสตร์ เป็นที่เดินสวนกันเข้าออกแห่งภิกษุผู้แสวงหา มุ่งความ

เจริญ มุ่งประโยชน์เกื้อกูล มุ่งความสบาย มุ่งความปลอดโปร่งจากโยค-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 576

กิเลส แก่พวกภิกษุ พวกภิกษุณี พวกอุบาสก พวกอุบาสิกา ภิกษุย่อม

ซ่องเสพ คบหา ติดต่อกันสกุลเห็นปานนั้น นี้เรียกว่าโคจร.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน ย่อมเป็น

ผู้สำรวมเดินไป คือไม่แลดูช้าง ไม่แลดูม้า ไม่แลดูรถ ไม่แลดูพลเดิน

เท้า ฯลฯ ไม่แลดูทิศน้อยทิศใหญ่ แม้เช่นนี้ก็เรียกว่าโคจร.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุ-

พยัญชนะ ฯลฯ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์ แม้เช่นนี้ก็เรียกว่า

โคจร.

อีกอย่างหนึ่งว่า เหมือนอย่างว่า ท่านสมณพราหมณ์บางพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ไม่ขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึก

แก่กุศลเห็นปานนี้ คือการฟ้อน การขัน การประโคม ฯลฯ กองทัพ

ภิกษุเป็นผู้เว้นขาดจากการขวนขวายดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็น

ปานนี้ แม้เช่นนี้ก็เรียกว่าโคจร.

แม้สติปัฏฐาน ๔ ก็ชื่อว่าโคจร สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในแดนเป็นของ

บิดาของตนซึ่งเป็นโคจร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไป

ในแดนเป็นของบิดาของตนซึ่งเป็นโคจร มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้

อารมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แดนเป็นของบิดาของคนซึ่งเป็นโคจรของ

ภิกษุคืออะไร คือสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย มี

ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่

เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 577

เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มี

สติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า

แดนเป็นของบิดาของตนซึ่งเป็นโคจรของภิกษุ แม้เช่นนี้ก็เรียกว่าโคจร

ภิกษุพึงเป็นผู้ประกอบด้วยโคจรเช่นนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็น

ผู้มีโคจรในศาสนานี้อย่างไร.

ว่าด้วยศีลและวัตร

[๙๑๙] คำว่า พึงเป็นผู้มีศีลและวัตรอย่างไร ความว่า พระเถระ

ย่อมทูลถามถึงความบริสุทธิ์แห่งศีลและวัตรว่า ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ประกอบ

ด้วยศีลและวัตรอย่างไร คือด้วยศีลและวัตรที่ดำรงไว้อย่างไร มีชนิด

อย่างไร มีส่วนเปรียบอย่างไร.

ความบริสุทธิ์แห่งศีลและวัตรเป็นไฉน ? บางแห่งเป็นศีลและ

เป็นวัตร บางแห่งเป็นวัตร แต่ไม่เป็นศีล.

ศีลและวัตรเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวม

ด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เป็นผู้เห็น

ภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย

ความสำรวม ความระวัง ความไม่ก้าวล่วงในสิกขาบททั้งหลายนั้น นี่เป็น

ศีล. ความสมาทาน ชื่อว่า เป็นวัตร เพราะอรรถว่า สำรวม จึงชื่อว่า

ศีล เพราะอรรถว่า สมาทาน จึงชื่อว่า วัตร นี้เรียกว่าศีลและวัตร.

เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีลเป็นไฉน ? ธุดงค์ ๘ คืออารัญญิกังคธุดงค์ ๑

ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ๑ ปังสุกุลิกังคธุดงค์ ๑ เตจีวริกังคธุดงค์ ๑ สปทาน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 578

จาริกังคธุดงค์ ๑ ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ๑ เนสัชชิกังคธุดงค์ ๑

ยถาสันถติกังคธุดงค์ ๑ นี้เรียกว่าเป็นวัตร แต่ไม่เป็นศีล.

แม้การสมาทานความเพียร ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล กล่าว

คือ พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น

กระดูก ก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ผลใดอัน

บุรุษพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียร

ของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ การไม่บรรลุผลนั้นแล้วหยุดความ

เพียรเสียจักไม่มี ดังนี้ แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่า

เป็นวัตร ไม่เป็นศีล ภิกษุประคองตั้งจิตว่า

เมื่อลูกศรคือตัณหาเรายังถอนไม่ได้แล้ว เราจักไม่

กิน จักไม่ดื่ม จักไม่ออกจากวิหาร ทั้งจักไม่เอนข้าง

[ไม่นอน] ดังนี้.

แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล.

พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้จนตลอด

เวลาที่จิตของเราจักไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้.

แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล

ภิกษุประคองตั้งจิตว่า จิตของเราจักไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะ

ไม่ถือมั่นเพียงใด เราจักไม่ลุกขึ้นจากอาสนะนี้เพียงนั้น จิตของเราจักยัง

ไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นเพียงใด เราจักไม่ลงจากที่

จงกรม จักไม่ออกจากวิหาร จักไม่ออกจากเรือนมีหลังคาแถบเดียว จัก

ไม่ออกจากปราสาท จักไม่ออกจากเรือนโล้น จักไม่ออกจากเพิง จัก

ไม่ออกจากถ้ำ จักไม่ออกจากกุฎี จักไม่ออกจากเรือนยอด จักไม่ออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 579

จากป้อม จักไม่ออกจากโรงกลม จักไม่ออกจากเรือนที่มีเครื่องกั้น จัก

ไม่ออกจากศาลาที่บำรุง จักไม่ออกจากมณฑป จักไม่ออกจากโคนต้นไม้

เพียงนั้น ดังนี้.

แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล

ภิกษุประคองตั้งจิตว่า ในเวลาเช้านี้แหละ เราจักนำมา จักนำมาพร้อม

จักบรรลุ จักถูกต้อง จักทำให้แจ้ง ซึ่งอริยธรรม ดังนี้.

แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล

ภิกษุประคองตั้งจิตว่า ในเวลาเที่ยงนี้แหละ ในเวลาเย็นนี้แหละ ในกาล

ก่อนภัตนี้แหละ ในกาลภายหลังภัตนี้แหละ ในยามต้นนี้แหละ ในยาม

กลางนี้แหละ ในยามหลังนี้แหละ ในฤดูร้อนนี้แหละ ในตอนวัยต้น

นี้แหละ ในตอนวัยกลางนี้แหละ ในตอนวัยหลังนี้แหละ เราจักนำมา จัก

นำมาพร้อม จักบรรลุ จักถูกต้อง จักทำให้แจ้ง ซึ่งอริยธรรม ดังนี้.

แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล

นี้ชื่อว่าความบริสุทธิ์ แห่งศีลและวัตร ภิกษุพึงเป็นผู้ประกอบด้วยความ

บริสุทธิ์แห่งศีลและวัตรเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เธอพึงเป็นผู้มีศีล

และวัตรอย่างไร.

ว่าด้วยการอบรมตน

[๙๒๐] คำว่า อบรมตนอยู่ ในคำว่า เมื่อภิกษุอบรมตนอยู่

ความว่า ปรารภความเพียร มีความเพียรแรงกล้า มีความบากบั่นมั่นคง

มิได้ปลงฉันทะ มิได้ทอดธุระ ในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล อีกอย่างหนึ่ง

ผู้ส่งตนไป คือตนอันภิกษุส่งไปในอรหัตผลอันเป็นประโยชน์ของตน ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 580

อริยมรรค ในลักษณะ ในเหตุ ในฐานะ และอฐานะ คือส่งตนไปว่า

สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ส่งตนไปว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ส่งตนไปว่า

ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ส่งตนไปว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร

ฯลฯ ส่งตนไปว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ ส่งตนไปว่า

เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับ ฯลฯ ส่งตนไปว่า เพราะชาติดับชราและ

มรณะจึงดับ ส่งตนไปว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ ส่งตนไปว่า นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึง

ความดับทุกข์ ส่งตนไปว่า เหล่านี้อาสวะ ฯลฯ ส่งตนไปว่า นี้ปฏิปทา

เครื่องให้ถึงความดับอาสวะ ส่งตนไปว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯลฯ

ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ส่งตนไปถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ

และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ส่งตนไปถึงความเกิด ความ

ดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ แห่งมหา-

ภูตรูป ๔ ส่งตนไปว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้น

ทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา. คำว่า เมื่อภิกษุ ความว่า เมื่อภิกษุ

ที่เป็นกัลยาณปุถุชน หรือเมื่อภิกษุที่เป็นพระเสขะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เมื่อภิกษุอบรมตนอยู่ เพราะฉะนั้น พระสารีบุตรเถระจึงทูลถามว่า

เมื่อภิกษุอบรมตนอยู่ เธอพึงเป็นผู้มีคลองแห่งถ้อยคำ

อย่างไร พึงเป็นผู้มีโคจรในศาสนานี้อย่างไร พึงเป็นผู้มี

ศีลและวัตรอย่างไร.

[๙๒๑] ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร จึงเป็นผู้มีสมาธิ เป็น

ธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติ พึงกำจัดมลทิน

ของตน เหมือนช่างทองจำจัดมลทินแห่งทองฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 581

ว่าด้วยสมาทานสิกขา ๓

[๙๒๒] คำว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร ความว่า ภิกษุนั้น

ถือเอา สมาทาน ยึดถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งสิกขาอะไร เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร. คำว่า มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุด

ขึ้น ในคำว่า จึงเป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน

มีสติ ความว่า มีจิตมีอารมณ์เดียว มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่ถูกอารมณ์ร้าย

กระทบ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น. คำว่า มี

ปัญญารักษาตน ความว่า มีปัญญารักษาตน เป็นบัณฑิต มีปัญญา มี

ความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส. คำว่า มีสติ

ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณา

เห็นกายในกาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเห็นเวทนาใน

เวทนาทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเห็นจิตในจิต

ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ก็

ซึ่งว่ามีสติ ภิกษุนั้น เรียกว่ามีสติ พระเถระย่อมทูลถามถึงอธิศีลสิกขา

ด้วยคำว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร ทูลถามถึงอธิจิตสิกขาด้วยคำว่า

มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ทูลถามถึงอธิปัญญาสิกขาด้วยคำว่า มีปัญญา

รักษาตน ทูลถามถึงความบริสุทธิ์แห่งสติด้วยคำว่า มีสติ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร จึงเป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุด

ขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 582

ว่าด้วยการกำจัดมลทิน

[๙๒๓] คำว่า พึงกำจัดมลทินของตน เหมือนช่างทอง กำจัด

มลทินแห่งทองฉะนั้น ความว่า คนทำทอง เรียกว่าช่างทอง ทองคำ

เรียกว่าทอง ช่างทองย่อมเป่า ไล่ กำจัดมลทินอย่างหยาบแห่งทองบ้าง

เป่า ไล่ กำจัดมลทินอย่างกลางแห่งทองบ้าง เป่า ไล่ กำจัดมลทิน

อย่างละเอียดแห่งทองบ้าง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป่า ไล่

กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกิเลสอย่างหยาบ

ของตนบ้าง ซึ่งกิเลสอย่างกลางของตนบ้าง ซึ่งกิเลสอย่างละเอียดของตน

บ้าง. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้น

ไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งมลทินคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ

กิเลส ทุจริต ของตน อันทำให้เป็นคนบอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่

มีญาณ อันดับปัญญา อันเป็นไปในฝ่ายแห่งทุกข์ ไม่ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ

ไม่มีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ด้วยสัมมาทิฏฐิ ซึ่งมิจฉาสังกัปปะ ด้วยสัมมาสังกัปปะ

ซึ่งมิจฉาวาจา ด้วยสัมมาวาจา ซึ่งมิจฉากัมมันตะ ด้วยสัมมากัมมันตะ ซึ่ง

มิจฉาอาชีวะ ด้วยสัมมาอาชีวะ ซึ่งมิจฉาวายามะ ด้วยสัมมาวายามะ ซึ่ง

มิจฉาสติ ด้วยสัมมาสติ ซึ่งมิจฉาสมาธิ ด้วยสัมมาสมาธิ ซึ่งมิจฉาญาณ

ด้วยสัมมาญาณ ซึ่งมิจฉาวิมุตติ ด้วยสัมมาวิมุตติ. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุ

ย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่ง

กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน

ทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง ด้วยอริยมรรค

มีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงกำจัดมลทินของตน เหมือนช่างทอง

กำจัดมลทินแห่งทองฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงทูลถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 583

ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร จึงเป็นผู้มีสมาธิเป็น

ธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติ พึงกำจัดมลทิน

ของตน เหมือนช่างทองกำจัดมลทินแห่งทองฉะนั้น.

[๙๒๔] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร)

เราจะกล่าวซึ่งความผาสุกและธรรมตามสมควรนั้น ของ

ภิกษุผู้เกลียด ผู้ซ่องเสพ ที่นั่งและที่นอนอันสงัด ผู้

ปรารถนาสัมโพธิแก่ท่าน ตามที่รู้.

ว่าด้วยความผาสุก

[๙๒๕] คำว่า ผู้เกลียด ในคำว่า ความผาสุก ...ของ ภิกษุ

ผู้เกลียด ความว่า ผู้เกลียด ผู้อึดอัด ผู้เอือมระอา ด้วยชาติ ชรา พยาธิ

มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ฯลฯ ทุกข์เพราะ

ความฉิบหายแห่งทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เกลียด. คำว่า ความผาสุก

ความว่า เราจักบอกความผาสุก คือความอยู่เป็นผาสุก ความอยู่เป็น

ผาสุกเป็นไฉน ? ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่

เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควร

แก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวาร

ในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความประกอบ

เนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔

อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 584

นิพพานและปฏิปทาเครื่องให้ถึงนิพพาน นี้ชื่อว่า ความอยู่เป็นผาสุก

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความผาสุก... ของภิกษุผู้เกลียด.

อธิบายคำว่า ภควา

[๙๒๖] คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบดังนี้ว่า ดูก่อนสารี-

บุตร ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระเถระนั้นโดยชื่อ. คำว่า

ภควา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ชื่อว่า ภควา

เพราะอรรถว่า ทรงทำลายราคะ ทรงทำลายโทสะ ทรงทำลายโมหะ

ทรงทำลายมานะ ทรงทำลายทิฏฐิ ทรงทำลายเสี้ยนหนาม ทรงทำลาย

กิเลส เพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรงจำแนกวิเศษ ทรงจำแนกเฉพาะ

ซึ่งธรรมรัตนะ เพราะอรรถว่า ทรงทำที่สุดแห่งภพทั้งหลาย เพราะอรรถว่า

มีพระกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญา

อันอบรมแล้ว อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่า

ละเมาะและป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจาก

คนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่วิเวก เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่ง อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา

อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔

อรูปสมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 585

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘

(ฌานเป็นที่ตั้งแห่งความครอบงำอารมณ์) อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณ-

มาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัป-

ปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค

มีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ ๑๐ เวสา-

รัชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น จึง

ชื่อว่า ภควา พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาดา

พระภคินี มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิม

ให้ พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหัตผลใน

ลำดับ แห่งอรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ พร้อมด้วยอาการทรงบรรลุ

พระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงโพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย

ผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบดังนี้ว่า

ดูก่อนสารีบุตร.

[๙๒๗] คำว่า ผู้ซ่องเสพที่นั่งและที่นอนอันสงัด ความว่า ที่ใด

เป็นที่นั่ง คือเตียง ตั่ง ฟูก เสื่อ ท่อนหนัง เครื่องลาดด้วยหญ้า เครื่อง

ลาดด้วยใบไม้ เครื่องลาดด้วยฟาง เรียกว่าที่นั่ง เสนาสนะ คือวิหาร

เรือนมีหลังคาแถบเดียว ปราสาทเรือนมีหลังคาโล้น ถ้ำ ที่นอนและที่นั่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 586

อันสงัด ว่าง เงียบ สงัด จากการเห็นรูปไม่เป็นที่สบาย จากการได้ยิน

เสียงไม่เป็นที่สบาย ฯลฯ อันสงัด ว่าง เงียบสงัด จากเบญจกามคุณ

อันไม่เป็นที่สบาย ผู้ซ่องเสพ อาศัยซ่องเสพ ซ่องเสพเสมอ ซ่องเสพเฉพาะ

ซึ่งที่นอนและที่นั่งอันสงัด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ซ่องเสพที่นั่งและ

ที่นอนอันสงัด.

ว่าด้วยสัมโพธิและธรรมอันควรแก่สัมโพธิ

[๙๒๘] คำว่า ผู้ปรารถนาสัมโพธิ . . . และซึ่งธรรมอันสมควร

ความว่า ญาณ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ ในมรรค ๔ เรียกว่า

สัมโพธิ. ผู้ปรารถนาเพื่อจะตรัสรู้ ปรารถนาเพื่อจะตามตรัสรู้ ปรารถนา

เพื่อจะตรัสรู้เฉพาะ ปรารถนาเพื่อจะตรัสรู้พร้อม ปรารถนาเพื่อจะบรรลุ

ปรารถนาเพื่อจะถูกต้อง ปรารถนาเพื่อจะทำให้แจ้ง ซึ่งสัมโพธินั้น

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ปรารถนาสัมโพธิ. คำว่า ซึ่งธรรมอันสมควร

ความว่า ธรรมอันสมควรต่อโพธิเป็นไฉน ? ความปฏิบัติชอบ ความ

ปฏิบัติอันสมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตาม

ประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีล

ทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จัก

ประมาณในโภชนะ ความประกอบเนื่อง ๆ ในความเป็นผู้อื่น สติสัม-

ปชัญญะ ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ธรรมอันสมควรต่อโพธิ. อีกอย่างหนึ่ง

วิปัสสนาในส่วนเบื้องต้นแห่งมรรค ๔ เรียกว่า ธรรมอันสมควรต่อโพธิ

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ปรารถนาสัมโพธิ... และซึ่งธรรมอันสมควร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 587

[๙๒๙] คำว่า นั้น ในคำว่า เราจักกล่าว...นั้น แก่ท่าน ตาม

ที่รู้ ความว่า ธรรมอันสมควรแก่โพธิ. คำว่า เราจักกล่าว ความว่า

จักบอกกล่าว ชี้แจง แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น

ประกาศ. คำว่า ตามที่รู้ คือเรารู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด

อย่างไร จักกล่าวซึ่งธรรมที่ประจักษ์แก่ตน อันตนรู้ยิ่งเอง มิใช่โดยต้อง

เชื่อต่อผู้อื่นว่า ธรรมนี้เป็นดังนี้ ธรรมนี้เป็นดังนี้ มิใช่โดยอ้างตำรา

มิใช่โดยนึกเดาเอาเอง มิใช่โดยคาดคะเนเอาเอง มิใช่โดยตรึกตามอาการ

มิใช่โดยเห็นว่าควรแก่ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราจักกล่าว

... นั้นแก่ท่าน ตามที่รู้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร)

เราจักกล่าวซึ่งความผาสุก และธรรมตามสมควรนั้น ของ

ภิกษุผู้เกลียด ผู้ซ่องเสพที่นั่งและที่นอนอันสงัด ผู้

ปรารถนาสัมโพธิแก่ท่าน ตามที่รู้.

[๙๓๐] ภิกษุผู้เป็นธีรชน มีสติ ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุด

รอบ ไม่พึงกลัวต่อภัย ๕ ประการ คือตัวเหลือบ สัตว์

ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน สัมผัสแต่มนุษย์ และภัยแต่

สัตว์สี่เท้า.

ว่าด้วยภิกษุเป็นธีรชน

[๙๓๑] คำว่า ผู้เป็นธีรชน ในคำว่า ผู้เป็นธีรชน...ไม่พึงกลัว

ต่อภัย ๕ ประการ ความว่า ผู้เป็นธีรชน เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 588

ตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส ไม่พึงกลัว

ไม่พึงสะดุ้ง ไม่พึงหวาดเสียว ไม่พึงครั่นคร้าม ไม่พึงถึงความสยดสยอง

ต่อภัย ๕ ประการ คือเป็นผู้ไม่ขลาด ไม่ครั้นคร้าม ไม่หวาดเสียว ไม่หนี

เป็นผู้ละความกลัว ความขลาดเสียแล้ว ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุกอยู่

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เป็นธีรชน...ไม่พึงกลัวต่อภัย ๕ ประการ.

[๙๓๒] คำว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุ...มีสติ ประพฤติธรรมเป็น

ส่วนสุดรอบ คือภิกษุที่เป็นกัลยาณปุถุชน หรือภิกษุที่เป็นพระเสขะ.

คำว่า มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือเมื่อเจริญสติปัฏฐาน

คือพิจารณาเห็นกายในกาย ก็ชื่อว่ามีสติ. เมื่อเจริญสติปัฏฐานคือพิจารณา

เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ. เมื่อเจริญสติปัฏฐานคือ

พิจารณาเห็นจิตในจิต ก็ชื่อว่ามีสติ. เมื่อเจริญสติปัฏฐานคือพิจารณาเห็น

ธรรมในธรรมทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ. ภิกษุนั้นท่านเรียกว่า เป็นผู้มีสติ.

ธรรมเป็นส่วนสุดรอบ ในคำว่า ประพฤติธรรมเป็นส่วนสุดรอบ มี ๔

ประการ คือธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือศีลสังวร ๑ ธรรมเป็นส่วนสุดรอบ

คืออินทรียสังวร ๑ ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญญุตา ๑ ธรรม

เป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยค ๑.

ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือศีลสังวรเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้มีศีล สำรวมอยู่ในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร

เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท

ทั้งหลาย พิจารณาถึงความเสีย ณ ภายใน ชื่อว่าประพฤติในธรรมเป็นส่วน

สุดรอบคือศีลสังวร ณ ภายใน มิได้ทำลายศีลอันเป็นเขตแดน นี้ชื่อว่า

ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือศีลสังวร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 589

ธรรมเห็นส่วนสุดรอบคืออินทรียสังวรเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรม

วินัยนี้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติ

เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรม

อันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึง

ความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถือ

อนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึง

เป็นเหตุให้อกุศลธรรม อันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อม

รักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์ พิจารณาอาทิตตปริยาย-

เทศนา ชื่อว่าประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบ คืออินทรียสังวรในภายใน

มิได้ทำลายอินทรีสังวรอันเป็นเขตแดน นี้ชื่อว่า ธรรมเป็นส่วนสุดรอบ

คืออินทรียสังวร.

ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญญุตาเป็นไฉน ? ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้ว ฉันอาหาร ไม่ฉันเพื่อ

เล่น ไม่ฉันเพื่อมัวเมา ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ฉันเพื่อ

ความตั้งอยู่แห่งกายนี้ เพื่อจะให้กายนี้เป็นไป เพื่อเว้นความลำบากแห่ง

กายนี้ เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยมนสิการว่า เราจะบำบัดเวทนา

เก่า จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น และความดำเนินของเรา ความที่เรา

ไม่มีโทษ ความอยู่สบายของเราจักมี ดังนี้ อย่างเดียวเท่านั้น พิจารณา

อาหารเปรียบด้วยน้ำมันสำหรับหยอดเพลาเกวียน ผ้าสำหรับปิดแผลและ

เนื้อบุตร (ของคนที่เดินทางกันดาร) ชื่อว่า ประพฤติในธรรมเป็นส่วน

สุดรอบ คือโภชเนมัตตัญญุตา ย่อมไม่ทำลายโภชเนมัตตัญญุตาอันเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 590

เขตแดนในภายใน นี้ชื่อว่า ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญ-

ญุตา.

ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยคเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลาย อันเป็นเครื่องกั้นกาง

ด้วยการเดินการนั่งตลอดวัน ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลาย

อันเป็นเครื่องกั้นกาง ด้วยการเดินการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี ย่อม

สำเร็จสีหไสยา (นอนอย่างราชสีห์) โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อม

เท้า มีสติสัมปชัญญะ ใส่ใจถึงสัญญาในความลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยาม

แห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมทั้งหลายอันเป็น

เครื่องกั้นกาง ด้วยการเดิน การนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี พิจารณา

ถึงความอยู่แห่งบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ ชื่อว่า ประพฤติในธรรมเป็น

ส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยคในภายใน ย่อมไม่ทำลายชาคริยานุโยคอัน

เป็นเขตแดน นี้ชื่อว่า ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยค เพราะเหตุ

นั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ...มีสติ ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบ.

ลักษณะตัวเหลือบเป็นต้น

[๙๓๓] แมลงมีตาเหลือง เรียกว่า เหลือบ ในคำว่า ตัวเหลือบ

สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน แมลงวันแม้ทั้งปวง เรียกว่าสัตว์ไต่ตอม

เหตุไรแมลงวันแม้ทั้งปวง จึงเรียกว่าสัตว์ไต่ตอม สัตว์เหล่านั้น ย่อมบิน

ตอม กัดกิน เหตุนั้น จึงเรียกว่า สัตว์ไต่ตอม งูทั้งหลาย เรียกว่า สัตว์

เลื้อยคลาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัวเหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อย

คลาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 591

[๙๓๔] คำว่า สัมผัสแต่มนุษย์ และภัยแต่สัตว์ ๔ เท้า ความว่า

พวกโจร คนที่ทำกรรมชั่ว หรือคนที่เตรียมทำกรรมชั่ว เรียกว่า สัมผัส

แต่มนุษย์ มนุษย์เหล่านั้น พึงถามปัญหาบ้าง พึงยกวาทะกะภิกษุบ้าง

พึงด่า ค่อนว่า แช่ง เสียดสี เบียดเบียน ย่ำยี กดขี่ ข่มเหง ฆ่า เข้า

ไปฆ่า หรือทำความพยายามฆ่า ความกระทบกระทั่งแต่มนุษย์อย่างใด

อย่างหนึ่ง ชื่อว่าสัมผัสแต่มนุษย์. คำว่า ภัยแต่สัตว์ ๔ เท้า ความว่า

ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง

สัตว์ ๔ เท้าเหล่านั้น พึงย่ำยี กัดกิน เบียดเบียน รังแก กดขี่ ข่มเหง

ฆ่า เข้าไปฆ่า ทำความพยายามฆ่าภิกษุ ความกระทบกระทั่งแต่สัตว์ ๔

เท้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าภัยแต่สัตว์ ๔ เท้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

สัมผัสแต่มนุษย์และภัยแต่สัตว์ ๔ เท้า เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า

ภิกษุผู้เป็นธีรชน มีสติ ประพฤติในธรรมเป็นส่วน

สุดรอบ ไม่พึงกลัวภัย ๕ ประการ คือตัวเหลือบ สัตว์

ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน สัมผัสแต่มนุษย์ และภัยแต่

สัตว์ ๔ เท้า.

[๙๓๕] ภิกษุไม่พึงหวาดเสียว แม้ต่อคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น

แม้เห็นอารมณ์อันให้เกิดความขลาดมากของคนที่ตั้งอยู่ใน

ธรรมอื่นนั้น ก็ไม่พึงหวาดเสียว อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้

แสวงหากุศล พึงย่ำยีอันตรายอื่น ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 592

ว่าด้วยสหธรรมิก

[๙๓๖] คำว่า ภิกษุไม่พึงหวาดเสียวแม้ต่อคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น

แม้เห็นอารมณ์อันให้เกิดความขลาดมาก ของคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น

นั้น ก็ไม่พึงหวาดเสียว ความว่า เว้นสหธรรมิกชน ๗ จำพวก (คือภิกษุ

ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา) คนเหล่าใด

เหล่าหนึ่งผู้ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ไม่เลื่อม-

ใสในพระสงฆ์ เรียกว่า คนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น คนพวกนั้นถามปัญหา

บ้าง พึงยกวาทะกะภิกษุบ้าง พึงด่า ค่อนว่า แช่ง เสียดสี เบียดเบียน

ย่ำยี กดขี่ ข่มเหง ฆ่า เข้าไปฆ่า ทำความพยายามฆ่า ภิกษุเห็นหรือ

ได้ยินอารมณ์อันให้เกิดความขลาดเป็นอันมากของคนเหล่านั้นแล้ว ไม่

พึงหวั่นไหวสะทกสะท้าน ไม่พึงสะดุ้งดิ้นรนหวาดเสียว ครั่นคร้าม ไม่

พึงกลัว ไม่พึงถึงความสยดสยอง คือเป็นผู้ไม่ขลาด ไม่ครั่นคร้าม ไม่

หวาดเสียว ไม่หนีไป เป็นผู้ละความกลัว ความขลาดเสียแล้ว ปราศจาก

ความเป็นผู้มีขนลุกอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงหวาดเสียวแม้

ต่อคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น เมื่อเห็นอารมณ์อันให้เกิดความขลาดมาก

ของตนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่นนั้น ก็ไม่พึงหวาดเสียว.

อันตราย ๒ อย่าง

[๙๓๗] คำว่า อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้ตามแสวงหากุศล พึงย่ำยี

อันตรายอื่น ความว่า อนึ่ง อันตรายแม้เหล่าอื่น อันภิกษุทั้งหลายผู้ตาม

แสวงหากุศลพึงย่ำยี ครอบงำ ข่มขี่ กำจัด ขับไล่ มีอยู่ ชื่อว่าอันตราย

ได้แก่อันตราย ๒ อย่าง คืออันตรายที่ปรากฏ ๑ อันตรายที่ปกปิด ๑ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 593

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายแม้อย่างนี้ ชื่อว่า

อันตราย. คำว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ตามแสวงหากุศล ความว่า อันตราย

ทั้งหลายอันผู้แสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติ

สมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ฯลฯ

อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาเครื่องให้ถึงนิพพาน พึงย่ำยี

ครอบงำ ข่มขี่ กำจัด ขับไล่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย

ผู้แสวงหากุศล พึงย่ำยีอันตรายอื่น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า

ภิกษุไม่พึงหวาดเสียวแม้ต่อคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น แม้

เห็นอารมณ์อันให้เกิดความขลาดมาก ของคนที่ตั้งอยู่ใน

ธรรมอื่นนั้น ก็ไม่พึงหวาดเสียว อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้ตาม

แสวงหากุศล พึงย่ำยีอันตรายอื่น.

[๙๓๘] ภิกษุถูกผัสสะคือโรคและความหิวกระหายแล้ว พึง

อดทนความหนาวและความร้อน ภิกษุนั้นอันผัสสะเหล่า-

นั้นกระทบแล้วโดยอาการมากอย่าง เป็นผู้ไม่เปิดโอกาส

พึงทำความบากบั่น คือความเพียรให้มั่นไว้.

[๙๓๙] คำว่า ภิกษุถูกผัสสะคือโรคและความหิวกระทำแล้ว

ความว่า ความกระทบคือโรค เรียกว่า ผัสสะคือโรค ภิกษุเป็นผู้อันผัสสะ

คือโรคกระทบ ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำ คือ เป็นผู้อันโรคตา โรคหู

โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย ฯลฯ สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและ

สัตว์เลื้อยคลานกระทบเข้า ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำแล้ว ความอยากกิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 594

เรียกว่าความหิว ภิกษุเป็นผู้อันความหิวกระทบเข้า ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำ

แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุถูกผัสสะคือโรคและความหิวกระทบ

แล้ว.

ความหนาวมีด้วยเหตุ ๒ อย่าง

[๙๔๐] คำว่า ความหนาว ในคำว่า พึงอดทนความหนาวและ

ความร้อน ความว่า ความหนาวย่อมมีด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ความหนาว

ย่อมมีด้วยสามารถแห่งอาโปธาตุภายในกำเริบ ๑ ความหนาวย่อมมีด้วย

สามารถแห่งฤดูภายนอก ๑. คำว่า ความร้อน ความว่า ความร้อนย่อมมี

ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ความร้อนย่อมมีด้วยสามารถแห่งเตโชธาตุภายใน

กำเริบ ๑ ความร้อนย่อมมีด้วยสามารถแห่งฤดูภายนอก ๑. คำว่า พึง

อดทนความหนาวและความร้อน ความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้อดทนต่อความ

หนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม

แดด และสัตว์เสือกคลาน พึงเป็นผู้มีปกติอดกลั้นต่อทางถ้อยคำที่เขา

กล่าวชั่ว มาร้าย และทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นในสรีระที่กล้าแข็ง เผ็ดร้อน

ไม่สบาย ไม่ชอบใจ สามารถนำชีวิตไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงอดทน

ความหนาวและความร้อน.

[๙๔๑] คำว่า ภิกษุนั้นอันผัสสะเหล่านั้น ในคำว่า ภิกษุนั้นอัน

ผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้วโดยอาการมากอย่าง เป็นผู้ไม่เปิดโอกาส

ความว่า ภิกษุนั้น เป็นผู้อันผัสสะคือโรค ความหิว ความหนาว และ

ความร้อนกระทบเข้า ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ภิกษุนั้น อันผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้ว. คำว่า โดยอาการมากอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 595

ความว่า กระทบเข้า ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำ โดยอาการมีชนิดเป็นอเนก

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้น อันผัสสะเหล่านั้นกระทบเข้าแล้วโดย

อาการมากอย่าง. คำว่า เป็นผู้ไม่เปิดโอกาส ความว่า ย่อมไม่ทำโอกาส

แก่วิญาณอันสหรคตด้วยอภิสังขาร แม้เพราะเหตุดังนี้ จึงชื่อว่า ไม่เปิด

โอกาส อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่ทำโอกาสแก่กายทุจริต วจีทุจริต มโน-

ทุจริต แม้เพราะเหตุดังนี้ จึงชื่อว่า ไม่เปิดโอกาส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ภิกษุนั้น อันผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้วโดยอาการมากอย่าง เป็นผู้ไม่

เปิดโอกาส.

ว่าด้วยการทำความบากบั่น

[๙๔๒] คำว่า พึงทำความบากบั่นคือความเพียรให้มั่นไว้ ความว่า

ความปรารถนาความเพียร ความก้าวหน้าไป ความบากบั่น ความดำเนิน

ไป ความพยายาม ความอุตสาหะ ความหมั่น ความไม่ถอยหลัง ความ

ออกแรง ความตั้งไว้ ความบากบั่นคือไม่ย่อหย่อน ความไม่ปลงฉันทะ

ความไม่ทอดธุระ ความปกครองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมา-

วายามะ ที่เป็นไปทางจิต เรียกว่า ความบากบั่นคือความเพียร ภิกษุพึง

ทำความบากบั่นคือความเพียรให้มั่นไว้ คือ พึงเป็นผู้สมาทานมั่น มี

สมาทานตั้งลงมั่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงทำความบากบั่นคือความ

เพียรให้มั่นไว้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภิกษุถูกผัสสะคือโรคและความหิวกระทบแล้ว พึง

อดทนความหนาวและความร้อน ภิกษุนั้น อันผัสสะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 596

เหล่านั้นกระทบแล้วโดยอาการมากอย่าง เป็นผู้ไม่เปิด

โอกาส พึงทำความบากบั่นคือความเพียรให้มั่นไว้.

[๙๔๓] ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย ไม่พึงพูดเท็จ พึงแผ่

เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่สะดุ้งและผู้มั่นคง เมื่อใด ภิกษุพึง

รู้ความขุ่นใจ เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียซึ่งความขุ่นใจด้วย

มนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ.

[๙๔๔] คำว่า ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย ในคำว่า ภิกษุไม่

พึงทำความเป็นขโมย ไม่พึงพูดเท็จ ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละ

อทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวัง

ได้แต่ของที่เขาให้ พึงเป็นผู้มีจิตไม่เป็นขโมยเป็นจิตสะอาดอยู่ เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย. คำว่า ไม่พึงพูดเท็จ

ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท คือ

พูดจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำมั่นคงเชื่อถือได้ ไม่พูดให้เคลื่อนคลาดแก่

โลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย ไม่พึงพูด

เท็จ.

การแผ่เมตตา

[๙๔๕] ชื่อว่า เมตตา ในคำว่า พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่

สะดุ้งและผู้มั่นคง คือ ความไมตรี กิริยาที่รัก ความเป็นผู้มีความรัก

ความเอ็นดู กิริยาที่เอ็นดู ความเป็นผู้เอ็นดู ความแสวงหาประโยชน์

ความอนุเคราะห์ ความไม่พยาบาท ความไม่ปองร้าย ความไม่โกรธ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 597

กุศลมูล สัตว์เหล่าใดยังละตัณหา อันทำให้สะดุ้งไม่ได้ และยังละความกลัว

และความขลาดไม่ได้ สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าผู้สะดุ้ง เพราะเหตุอะไร สัตว์

เหล่านั้นจึงเรียกว่าสะดุ้ง สัตว์เหล่านั้นย่อมสะดุ้งหวาดเสียว ครั้นคร้าม กลัว

ถึงความสยดสยอง เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงเรียกว่าผู้สะดุ้ง สัตว์

เหล่าใดละตัณหาอันทำให้สะดุ้งได้แล้ว และละความกลัวและความขลาด

ได้แล้ว สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าผู้มั่นคง เพราะเหตุไร สัตว์เหล่านั้น จึงเรียกว่า

ผู้มั่นคง สัตว์เหล่านั้นย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่ครั้นคร้าม ไม่กลัว

ไม่ถึงความสยดสยอง เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงเรียกว่าผู้มั่นคง. คำว่า

พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่สะดุ้งและผู้มั่นคง ความว่า พึงถูกต้อง พึง

แผ่เมตตา คือพึงเป็นผู้มีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็น

ใหญ่ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปยังสัตว์ทั้งผู้สะดุ้งและ

ผู้มั่นคง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่สะดุ้ง

และผู้มั่นคง.

คำว่าใจมีชื่อต่าง ๆ

[๙๔๖] คำว่า เมื่อใด ในคำว่า เมื่อใด ภิกษุพึงรู้ความขุ่นใจ

ความว่า ในกาลใด. คำว่า ใจ คือ จิต ใจ มานัส หทัย บัณฑระ มนะ

มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสมกันกับ

ผัสสะเป็นต้นนั้น จิตเป็นธรรมชาติขุ่นมัว เศร้าหมอง ยุ่ง วุ่น หวั่นไหว

หมุนไป ไม่สงบ เพราะกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ

โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา

ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความหัวดื้อ ความแข่งดี ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 598

ถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง สุจริตทั้งปวง

ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง

อกุสลาภิสังขารทั้งปวง. คำว่า เมื่อใด ภิกษุพึงรู้ความขุ่นใจ ความว่า

ภิกษุพึงรู้ รู้ทั่ว รู้วิเศษ รู้วิเศษเฉพาะ แทงตลอดความที่จิตขุ่น เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อใด ภิกษุพึงรู้ความขุ่นใจ.

บรรเทาความขุ่นใจด้วยมนสิการ

[๙๔๗] ผู้ให้สัตว์ตาย ผู้มีกรรมดำ ผู้เป็นใหญ่ ผู้ให้สัตว์ถึงความ

ตาย ผู้ไม่ให้สัตว์พ้นไป ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งผู้ประมาท ชื่อว่า ผู้มีกรรม

ดำ ในคำว่า เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่าย

แห่งมารผู้มีกรรมดำ. คำว่า เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่

เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ ความว่า พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป

ให้ถึงความไม่มีด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายผู้มีกรรมดำ เป็นฝักฝ่ายมาร

เป็นบ่วงมาร เป็นเบ็ดมาร เป็นเหยื่อมาร เป็นวิสัยมาร เป็นเครื่องให้

เดือดร้อนของมาร เป็นอาหารมาร เป็นเครื่องผูกของมาร แม้ด้วยเหตุ

อย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่เป็น

ฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ. อีกอย่างหนึ่ง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป

ให้ถึงความไม่มี ด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายผู้มีกรรมดำ เป็นฝักฝ่ายมาร

เป็นฝักฝ่ายอกุศล เป็นเครื่องให้เกิดทุกข์ เป็นสภาพมีวิบากเป็นทุกข์

เป็นเหตุให้เป็นไปในนรก เป็นเหตุให้เป็นไปในกำเนิดดิรัจฉาน เป็นเหตุ

ให้เป็นไปในเปรตวิสัย แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เมื่อนั้น พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 599

บรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย ไม่พึงพูดเท็จ พึงแผ่

เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่สะดุ้งและผู้มั่นคง เมื่อใด ภิกษุพึงรู้

ความขุ่นใจ เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่

เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ.

[๙๔๘] ภิกษุไม่พึงลุอำนาจแห่งความโกรธและความดูหมิ่น

พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ อนึ่ง

ภิกษุเมื่อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้.

ความโกรธและความดูหมิ่น

[๙๔๙] ชื่อว่า ความโกรธ ในคำว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจ

ความโกรธและความดูหมิ่น คือ ความอาฆาต ความมุ่งร้าย ฯลฯ

ความเป็นผู้ดุร้าย ความเพราะวาจาชั่ว ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ชื่อว่า

ความดูหมิ่น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่น โดยชาติบ้าง

โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอื่น ๆ บ้าง. คำว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจ

ความโกรธและความดูหมิ่น ความว่า ไม่พึงลุอำนาจความโกรธและความ

ดูหมิ่น คือ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความโกรธ

และความดูหมิ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความโกรธ

และความดูหมิ่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 600

รากของความโกรธและความดูหมิ่น

[๙๕๐] รากแห่งความโกรธ ในคำว่า พึงขุดรากความโกรธและ

ความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ เป็นไฉน อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ

อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ (แต่ละอย่าง) เป็นรากแห่งความโกรธ.

รากแห่งความดูหมิ่นเป็นไฉน อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ

อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ (แต่ละอย่าง) เป็นรากแห่งความดูหมิ่น.

คำว่า พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ ความว่า พึงขุด

รื้อ ถอน ฉุด กระชาก ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี

ซึ่งความโกรธและความดูหมิ่นเสียดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงขุด

รากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่.

ว่าด้วยที่รัก ๒ อย่าง

[๙๕๑] บทว่า อถ ในคำว่า อนึ่ง ภิกษุ เมื่อปราบก็พึงปราบที่รัก

และที่เกลียดชังเสียโดยแท้ เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสัค เป็นบทปท-

ปูรณะ ศัพท์ที่ประชุมอักขระ เป็นศัพท์สละสลวยด้วยพยัญชนะ เป็นลำดับ

บท. ชื่อว่าเป็นที่รัก ได้แก่ที่รัก ๒ อย่าง คือ สัตว์ ๑ สังขาร ๑ สัตว์เป็น

ที่รักเป็นไฉน สัตว์ในโลกนี้เป็นผู้ปรารถนาความเจริญ ปรารถนาประโยชน์

เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความปลอดโปร่งจากโยคกิเลส

แก่บุคคลนั้น คือ เป็นมารดาบิดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง บุตร

ธิดา มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต (ผู้สืบสาย) สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าเป็น

ที่รัก. สังขารเป็นที่รักเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อัน

เป็นที่ชอบใจ สังขารเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นที่รัก ชื่อว่าที่เกลียดชัง ได้แก่เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 601

ที่เกลียดชัง ๒ อย่าง คือ สัตว์ ๑ สังขาร ๑ สัตว์เป็นที่เกลียดชังเป็นไฉน

สัตว์ในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ปรารถนาความเจริญ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น

ประโยชน์เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่ปลอดโปร่ง

จากโยคกิเลส ปรารถนาจะปลงเสียจากชีวิต แก่บุคคลนั้น สัตว์เหล่านี้

ชื่อว่าเป็นที่เกลียดชัง. สังขารเป็นที่เกลียดชังเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น

รส โผฏฐัพพะ อันไม่เป็นที่ชอบใจ สังขารเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นที่เกลียดชัง.

คำว่า โดยแท้ เป็นคำกล่าวโดยส่วนเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความสงสัย

เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความเคลือบแคลง เป็นคำกล่าวไม่เป็นสองส่วน เป็น

คำกล่าวไม่เป็นสองอย่าง เป็นคำกล่าวมิได้รวมกัน เป็นคำกล่าวไม่ผิด.

คำว่า โดยแท้นี้ เป็นคำกล่าวกำหนดแน่. คำว่า อนึ่ง ภิกษุเมื่อปราบ

ก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้ ความว่า ภิกษุเมื่อปราบก็พึง

ปราบ เมื่อย่ำยีพึงย่ำยีซึ่งที่รักและที่เกลียดชัง ที่ยินดีและยินร้าย สุขและ

ทุกข์ โสมนัสและโทมนัส อิฐารมณและอนิฐารมณ์ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า อนึ่ง ภิกษุเมื่อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภิกษุไม่พึงลุอำนาจแห่งความโกรธ และความดูหมิ่น

พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ อนึ่ง

ภิกษุเนื้อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้.

[๙๕๒] ภิกษุทำปัญญาไว้เบื้องหน้า มีปีติงาม พึงข่มอันตราย

เหล่านั้น พึงปราบความไม่ยินดีในที่นอนอันสงัด พึง

ปราบธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน ๔ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 602

ว่าด้วยการทำปัญญาไว้เบื้องหน้าและมีปีติงาม

[๙๕๓] ชื่อว่า ปัญญา ในคำว่า ภิกษุทำปัญญาไว้เบื้องหน้า

มีปีติงาม ได้แก่ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ความเลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว

ความเลือกเฟ้นธรรม ฯลฯ อโมหะ ธรรมวิจยะ สัมมาทิฏฐิ. คำว่า

ทำปัญญาไว้เบื้องหน้า ความว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ทำปัญญา

ไว้เบื้องหน้าประพฤติ เป็นผู้มีปัญญา เป็นธงชัย มีปัญญาเป็นธงยอด

มีปัญญาเป็นใหญ่ มีความเลือกเฟ้นมาก มีความเลือกเฟ้นทั่วมาก

มีปัญญาเครื่องเห็นมาก มีความเสาะหามาก อยู่ด้วยความเป็นผู้ทำให้

แจ่มแจ้ง ประพฤติด้วยปัญญา มีปัญญามาก ตระหนักอยู่ด้วยปัญญา เอน

ไปในปัญญา โอนไปในปัญญา โน้มไปในปัญญา น้อมไปในปัญญา

มีปัญญานั้นเป็นใหญ่ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ทำปัญญาไว้

เบื้องหน้า.

อนึ่ง ภิกษุเมื่อเดินก็รู้ว่า เดิน เมื่อยืนก็รู้ว่า ยืน เมื่อนั่งก็รู้ว่า นั่ง

หรือเมื่อนอนก็รู้ว่า นอน หรือว่ากายของเธอตั้งอยู่อย่างใด ๆ ภิกษุนั้น

ก็รู้กายนั้นอย่างนั้น ๆ แม้เพราะเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ทำปัญญา

ไว้เบื้องหน้า.

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ

ทำความรู้สึกตัวในการแล ในการเหลียว ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า

ในการเหยียดออก ทำความรู้สึกตัวในการครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร

ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ทำความรู้สึกตัว

ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 603

การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า

ทำปัญญาไว้เบื้องหน้า.

คำว่า มีปีติงาม ความว่า ปีติ ปราโมทย์ ที่เกิดขึ้นด้วยความ

สามารถแห่งพุทธานุสสติ ชื่อว่า ปีติงาม ปีติ ปราโมทย์ ที่เกิดขึ้นด้วย

สามารถธรรมานุสสติ... สังฆานุสสติ... สีลานุสสติ... จาคานุสสติ...

เทวดานุสสติ...อานาปานสติ... มรณานุสสติ... กายคตาสติ... อุปสมานุสสติ

ชื่อว่า ปีติงาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุทำปัญญาไว้เบื้องหน้า

มีปีติงาม.

ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง

[๙๕๔] ชื่อว่า อันตราย ในคำว่า พึงข่มอันตรายเหล่านั้น

ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ อันตรายปรากฏ อันตรายปกปิด ๑ ฯลฯ

อันตรายเหล่านี้ ชื่อว่าอันตรายปรากฏ ฯลฯ อันตรายเหล่านี้ ชื่อว่าอันตราย

ที่ปกปิด ฯ ล ฯ เพราะอรรถว่า เป็นที่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย

แม้อย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย. คำว่า พึงข่มอันตรายเหล่านั้น ความว่า

พึงข่ม ปราบปราม ครอบงำ กำจัด ย่ำยี ซึ่งอันตรายเหล่านั้น เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข่มอันตรายเหล่านั้นเสีย.

[๙๕๕] ชื่อว่า ความไม่ยินดี ในคำว่า พึงปราบความไม่ยินดี

ในท่านอนอันสงัด คือ ความไม่ยินดี ความไม่ชอบใจ ความไม่ยินดียิ่ง

ความไม่ยินดีเฉพาะ ความเบื่อ ความระอา. คำว่า ในที่นอนอันสงัด

ความว่า พึงปราบ ข่ม ครอบงำ กำจัด ย่ำยี ซึ่งความไม่ยินดีใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 604

เสนาสนะอันสงัด หรือในธรรมทั้งหลายอันเป็นอธิกุศลอื่น ๆ เพราฉะนั้น

จึงชื่อว่า พึงปราบความไม่ยินดีในที่นอนอันสงัด.

[๙๕๖] คำว่า พึงปราบธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน ๔ อย่าง

ความว่า พึงปราบ ข่ม ครอบงำ กำจัด ย่ำยี ซึ่งธรรมอันเป็นเหตุ

แห่งความรำพัน ๔ อย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงปราบธรรมอันเป็น

เหตุแห่งความรำพัน ๔ อย่าง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า

ภิกษุทำปัญญาไว้เบื้องหน้า มีปีติงาม พึงข่มอันตราย

เหล่านั้น พึงปราบความไม่ยินดีในที่นอนอันสงัด พึง

ปราบธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน ๔ อย่าง.

[๙๕๗] เราจักฉันอะไร เราจักฉันที่ไหน วันนี้เรานอนลำบาก

หนอ พรุ่งนี้เราจักนอนที่ไหน ภิกษุผู้เสขะ พึงบำบัด

เสียซึ่งวิตกเหล่านี้อันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน พึงเป็นผู้

ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป.

ว่าด้วยความวิตกอันเป็นที่ตั้งความรำพัน

[๙๕๘] คำว่า เราจักฉันอะไร ในคำว่า เราจักฉันอะไร เราจัก

ฉันที่ไหน ความว่า เราจักฉันอะไร คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง

ปลา หรือเนื้อ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราจักฉันอะไร. คำว่า เราจัก

ฉันที่ไหน ความว่า เราจักฉันที่ไหน คือ ในสกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 605

สกุลแพศย์ หรือสกุลศูทร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราจักฉันอะไร

เราจักฉันที่ไหน.

[๙๕๙] คำว่า วันนี้เรานอนลำบากหนอ พรุ่งนี้เราจักนอนที่ไหน

ความว่า คืนนี้เรานอนลำบากบนแผ่นกระดาน บนเสื่อ บนท่อนหนัง

บนเครื่องลาดด้วยหญ้า บนเครื่องลาดด้วยใบไม้ หรือบนเครื่องลาดด้วยฟาง

คืนพรุ่งนี้เราจักนอนสบายที่ไหน คือที่เตียง ที่ตั้ง ที่ฟูก ที่หมอน ที่วิหาร

ที่เรือนมีหลังคาแถบเดียว ที่ปราสาท ที่เรือนมีหลังคาโล้น หรือที่ถ้ำ

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วันนี้เรานอนลำบากหนอ พรุ่งนี้เราจักนอน

ที่ไหน.

[๙๖๐] คำว่า ซึ่งวิตกเหล่านี้อันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน ความ

ว่า ซึ่งวิตกอันปฏิสังวยุตด้วยบิณฑบาต ๒ อย่าง ซึ่งวิตกอันปฏิสังยุตด้วย

เสนาสนะ ๒ อย่าง อันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน คือ เป็นฐานแห่งความ

ปรับทุกข์ เป็นมูลฐานแห่งความรำพัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่งวิตก

เหล่านี้อันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน.

อธิบายคำว่าเสขะและคำว่าศึกษา

[๙๖๑] ชื่อว่า เสขะ ในคำว่า ภิกษุผู้เสขะพึงบำบัดเสีย พึง

เป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป ความว่า เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า เสขะ

เพราะศึกษาจึงชื่อว่า เสขะ ศึกษาอะไร ศึกษาอธิศีลบ้าง ศึกษา

อธิจิตบ้าง ศึกษาอธิปัญญาบ้าง อธิศีลสิกขาเป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า

อธิปัญญาสิกขา. ภิกษุคำนึงถึงสิกขาสมมตินี้ ก็ชื่อว่า ศึกษา รู้ก็ชื่อว่า

ศึกษา เห็นก็ชื่อว่า ศึกษา พิจารณาก็ชื่อว่า ศึกษา ตั้งจิตก็ชื่อว่า ศึกษา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 606

น้อมใจไปด้วยศรัทธาก็ชื่อว่า ศึกษา ประคองความเพียรก็ชื่อว่า ศึกษา

เข้าไปตั้งสติก็ชื่อว่า ศึกษา ตั้งจิตไว้ก็ชื่อว่า ศึกษา รู้ชัดด้วยปัญญาก็ชื่อว่า

ศึกษา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งก็ชื่อว่า ศึกษา กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้

ก็ชื่อว่า ศึกษา ละธรรมที่ควรละก็ชื่อว่า ศึกษา ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่

ควรทำให้แจ้งก็ชื่อว่า ศึกษา เจริญธรรมที่ควรเจริญก็ชื่อว่า ศึกษา คือ

ย่อม ประพฤติเอื้อเฟื้อ ย่อมประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี ย่อมสมาทานศึกษา

เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า เสขะ ภิกษุผู้เสขะศึกษาแม้อธิศีล แม้อธิจิต

แม้อธิปัญญา เพื่อบำบัด กำจัด ละเว้น สงบ สละคืน ระงับเสีย

ภิกษุผู้เสขะเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้ก็พึงศึกษา เมื่อรู้ก็พึงศึกษา ฯลฯ เมื่อ

ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งก็พึงศึกษา คือพึงประพฤติเอื้อเฟื้อ

ประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทานประพฤติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุผู้

เสขะพึงบำบัดเสีย.

ว่าด้วยการเที่ยวไปโดยไม่มีกังวล

[๙๖๒] คำว่า พึงเป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป ความว่า ภิกษุ

เป็นผู้มีกังวลท่องเที่ยวไปอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประ-

กอบด้วยความกังวลสกุล ด้วยความกังวลคณะ ด้วยความกังวลอาวาส

ด้วยความกังวลจีวร ด้วยความกังวลบิณฑบาต ด้วยความกังวลเสนาสนะ

ด้วยความกังวลคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุเป็นผู้มีกังวลท่องเที่ยวไป

อย่างนี้.

ภิกษุเป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไปอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ไม่เป็นผู้ประกอบด้วยความกังวลสกุล ไม่เป็นผู้ประกอบด้วยความกังวล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 607

คณะ อาวาส จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุ

เป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไปอย่างนี้.

สมจริงดังภาษิตว่า

ภิกษุทั้งหลายไปมคธรัฐ ไปโกศลรัฐ มีอยู่ ภิกษุที่

ไปมคธรัฐบางพวก เที่ยวไปต่างหมู่ แต่วัชชีภูมิ เป็นผู้

ไม่มีกังวลยู่ ความเที่ยวไปให้ประโยชน์สำเร็จ ความ

เที่ยวไปดีให้ประโยชน์สำเร็จ ความเป็นผู้ไม่กังวลอยู่ ให้

ประโยชน์สำเร็จทุกเมื่อ การถามถึงประโยชน์เป็นกรรม

ของผู้ขยัน นั่นเป็นความเสมอกันแห่งความไม่กังวล

ดังนี้.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุผู้เสขะพึงบำบัดเสีย พึงเป็นผู้ไม่มีกังวล

ท่องเที่ยวไป เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เราจักฉันอะไร เราจักฉันที่ไหน วันนี้เรานอนลำบาก

หนอ พรุ่งนี้เราจักนอนที่ไหน ภิกษุผู้เสขะพึงบำบัดเสีย

ซึ่งวิตกเหล่านี้ อันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน พึงเป็นผู้

ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป.

[๙๖๓] ภิกษุนั้นในธรรมวินัย ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มใน

กาล พึงรู้จักประมาณเพื่อสันโดษ ภิกษุนั้นสำรวมใน

ปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในบ้าน แม้ถูกเขาด่า

ก็ไม่ควรกล่าววาจาหยาบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 608

ว่าด้วยได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มโดยธรรม

[๙๖๔] ชื่อว่า อาหาร ในคำว่า ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่ม

ในกาล คือข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ. ชื่อว่า เครื่องนุ่งห่ม

ได้แก่จีวร ๖ ชนิด คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน

ผ้าด้ายเจือไหม. คำว่า ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มในกาล ความว่า

ภิกษุนั้นได้จีวรและบิณฑบาต มิใช่ได้ด้วยการหลอกลวง มิใช่ได้ด้วย

การพูดเลียบเคียง มิใช่ได้ด้วยการบอกใบ้ มิใช่ได้ด้วยความกำจัดคุณเขา

มิใช่ได้ด้วยการแสวงหาลาภด้วยลาภ มิใช่ได้ด้วยการให้ฟืน มิใช่ได้ด้วย

การให้ไม้ไผ่ มิใช่ได้ด้วยการให้ใบไม้ มิใช่ได้ด้วยการให้ดอกไม้ มิใช่

ได้ด้วยการให้ผลไม้ มิใช่ได้ด้วยการให้เครื่องอาบน้ำ มิใช่ได้ด้วยการ

ให้จุรณ มิใช่ได้ด้วยการให้ดินเหนียว มิใช่ได้ด้วยการให้ไม้สีฟัน มิใช่

ได้ด้วยการให้น้ำบ้วนปาก มิใช่ได้ด้วยคำพูดมุ่งให้เขารักตน มิใช่ได้ด้วย

ถ้อยคำเหลวไหลดังแกงถั่ว มิใช่ได้ด้วยกิริยาประจบเขา มิใช่ได้ด้วยความ

เป็นผู้นั่งบนตั่ง (ด้วยความตีสนิทเขา) มิใช่ได้ด้วยวิชาดูพื้นที่ มิใช่ได้ด้วย

ติรัจฉานวิชา มิใช่ได้ด้วยอังควิชา (รู้จักลักษณะดีร้ายของหญิงชาย) มิใช่

ได้ด้วยนักขัตวิชา (รู้จักฤกษ์ยาม) มิใช่ได้ด้วยการเดินเป็นทูต มิใช่ได้

ด้วยความเป็นผู้รับใช้ มิใช่ได้ด้วยความเป็นผู้เดินสาสน์ มิใช่ได้ด้วย

เวชกรรม มิใช่ได้ด้วยนวกรรม มิใช่ได้ด้วยการให้ก้อนข้าวและก้อนข้าว

ตอบแทน มิใช่ได้ด้วยการให้และการเพิ่มให้ ได้รับได้เฉพาะ โดยธรรม

สม่ำเสมอ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มในกาล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 609

ความรู้จักประมาณ ๒ อย่าง

[๙๖๕] คำว่า ภิกษุนั้นพึงรู้จักประมาณ ในคำว่า ภิกษุนั้นใน

ธรรมวินัยนี้... พึงรู้จักประมาณเพื่อสันโดษ ความว่า รู้จักประมาณโดย

เหตุ ๒ อย่าง คือรู้จักประมาณโดยการรับ ๑ รู้จักประมาณโดยการ

บริโภค ๑.

ภิกษุรู้จักประมาณโดยการรับอย่างไร เมื่อทายกถวายสิ่งของแม้

น้อย ภิกษุก็รับเพื่อความเอ็นดูแก่สกุล เพื่อความรักษาสกุล เพื่อ

อนุเคราะห์แก่สกุล เมื่อทายกถวายสิ่งของแม้มาก ภิกษุรับจีวรพอบริหาร

กาย รับบิณฑบาตพอบริหารท้อง ภิกษุรู้จักประมาณโดยการรับ

อย่างนี้.

ภิกษุรู้จักประมาณโดยการบริโภคอย่างไร ภิกษุพิจารณาโดย

อุบายอันแยบคายแล้วจึงใช้จีวร เพื่อบำบัดความหนาว เพื่อบำบัดความ

ร้อน เพื่อบำบัดสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เสือกคลาน

เพื่อจะปกปิดอวัยวะที่ให้ความละอายกำเริบ เป็นกำหนดเท่านั้น ภิกษุ

พิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้ว จึงฉันบิณฑบาต ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉัน

เพื่อเมา ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ฉันเพื่อความดำรงกายนี้

เพื่อให้กายนี้เป็นไป เพื่อเว้นความลำบากแห่งกายนี้ เพื่ออนุเคราะห์แก่

พรหมจรรย์ ด้วยมนสิการว่า เราจะบำบัดเวทนาเก่า จักไม่ให้เวทนา

ใหม่เกิดขึ้น ความเป็นไปสะดวก ความไม่มีโทษ ความผาสุกจักมีแก่เรา

ดังนี้ เป็นกำหนดเท่านั้น ภิกษุพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย แล้วจึง

เสพเสนาสนะ เพื่อบำบัดความหนาว เพื่อบำบัดความร้อน เพื่อบำบัด

สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เสือกคลาน เพื่อความบรรเทา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 610

อันตรายอันเกิดแต่ฤดู เพื่อความยินดีในความหลีกเร้น เป็นกำหนด

เท่านั้น ภิกษุพิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้วจึงใช้คิลานปัจจัย เภสัช-

บริขาร เพื่อบำบัดทุกขเวทนา อันเกิดเพราะธาตุกำเริบ ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว

เพื่อความลำบากเป็นอย่างยิ่งเป็นกำหนดเท่านั้น ภิกษุรู้จักประมาณโดย

การบริโภคอย่างนี้.

คำว่า ภิกษุนั้นพึงรู้จักประมาณ คือ รู้ รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ

แทงตลอด ซึ่งประมาณ โดยเหตุ ๒ อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ภิกษุนั้นพึงรู้จักประมาณ.

[๙๖๖] คำว่า ในธรรมวินัยนี้... เพื่อสันโดษ ความว่า ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร และกล่าวคุณแห่งความสันโดษด้วย

จีวรตามมีตามได้ ทั้งไม่ถึงความแสวงหาผิดอันไม่สมควรเพราะเหตุแห่ง

จีวร ไม่ได้จีวรก็ไม่สะดุ้ง และได้จีวรแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน

เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดทุกข์ บริโภคอยู่ ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น

ด้วยความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่

เกียจคร้าน มีความรู้สึกตัว มีสติ ในจีวรสันโดษนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า

เป็นผู้ดำรงอยู่ในวงศ์ของพระอริยะที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์เลิศ อันมีมาแต่

โบราณ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และ

กล่าวคุณแห่งความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ทั้งไม่ถึงความ

แสวงหาผิดอันไม่สมควรเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่

สะดุ้ง และได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน เห็นโทษ

มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดทุกข์ บริโภคอยู่ ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 611

สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน

มีความรู้สึกตัว มีสติ ในบิณฑบาตสันโดษนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้

ดำรงอยู่ในวงศ์ของพระอริยะที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์เลิศ อันมีมาแต่โบราณ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และกล่าว

คุณแห่งความสันโดษด้วยเสนาสนะ ทั้งไม่ถึงความแสวงหาผิดอันไม่สมควร

เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่สะดุ้ง และได้เสนาสนะแล้ว

ก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดทุกข์

บริโภคอยู่ ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความสันโดษ ด้วยเสนาสนะตามมี

ตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้สึกตัว มีสติ

ในเสนาสนะสันโดษนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ดำรงอยู่ในวงศ์แห่งพระ-

อริยะที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์เลิศ อันมีมาแต่โบราณ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมี

ตามได้ และกล่าวคุณแห่งความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมี

ตามได้ ทั้งไม่ถึงความแสวงหาผิดอันไม่สมควรเพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัย

เภสัชบริขาร ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารก็ไม่สะดุ้ง ได้คิลานปัจจัย

เภสัชบริขารแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน เห็นโทษ มีปัญญาเป็น

เครื่องสลัดทุกข์ บริโภคอยู่ ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วย

คิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจ-

คร้าน มีความรู้สึกตัว มีสติ ในคิลานปัจจัยเภสัชบริขารสันโดษนั้น ภิกษุ

นี้เรียกว่า เป็นผู้ดำรงอยู่ในวงศ์แห่งพระอริยะที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์เลิศ

อันมีมาแต่โบราณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นในธรรมวินัยนี้...

พึงรู้จักประมาณเพื่อสันโดษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 612

ว่าด้วยการสำรวม

[๙๖๗] คำว่า ภิกษุนั้นสำรวมในปัจจัยเหล่านั้น ในคำว่า ภิกษุ

นั้นสำรวมในปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในบ้าน ความว่า

สำรวม คุ้มครอง รักษา ระวัง ในจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย

เภสัชบริขารแม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสำรวมในปัจจัย

เหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้นสำรวม คุ้มครอง รักษา ระวังในอายตนะ

ทั้งหลาย แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสำรวมในปัจจัย

เหล่านั้น. คำว่า เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในบ้าน ความว่า เป็นผู้สำรวม

ระวัง ระวังเฉพาะ คุ้มครอง ครอบครอง รักษา สังวร เที่ยวไปในบ้าน

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสำรวมในปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวม

เที่ยวไปในบ้าน.

ว่าด้วยการไม่ด่าตอบคนที่ด่า

[๙๖๘] คำว่า แม้ถูกเขาด่าก็ไม่ควรกล่าววาจาหยาบ ความว่า

ถูกเขาด่า แช่ง ดูหมิ่น เสียดสี ติเตียน ค่อนว่าเข้าแล้ว ไม่พึงกล่าว

ตอบผู้ที่กล่าว ไม่พึงด่าตอบผู้ที่ด่า ไม่พึงแช่งตอบผู้ที่แช่ง ไม่พึงหมายมั่น

ตอบผู้ที่หมายมั่นด้วยถ้อยคำหยาบ กระด้าง ไม่ควรทำความทะเลาะ ไม่

ควรทำความหมายมั่น ไม่ควรทำความแก่งแย่ง ไม่ควรทำความวิวาท

ไม่ควรทำความทุ่มเถียง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี

ซึ่งความทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความทุ่มเถียง

พึงเป็นผู้งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก ปล่อยเสีย ไม่เกี่ยวข้องซึ่ง

ความทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาทและความทุ่มเถียง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 613

พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้ถูกเขาด่าก็

ไม่ควรกล่าววาจาหยาบ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภิกษุนั้นในธรรมวินัยนี้ ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่ม

ในกาล พึงรู้จักประมาณเพื่อสันโดษ ภิกษุนั้นสำรวมใน

ปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในบ้าน แม้ถูกเขาด่า

ก็ไม่ควรกล่าววาจาหยาบ.

[๙๖๙] ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า

พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน พึงเป็นผู้ตื่นอยู่มาก พึงเป็น

ผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น และพึงเข้าไปตัดความตรึก

ธรรมที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก และความรำคาญ.

ว่าด้วยการสำรวมจักษุ

[๙๗๑] พึงทราบอธิบาย ในคำว่า พึงเป็นผู้สำรวมจักษุ ไม่พึง

เป็นผู้โลเลเพราะเท้า ดังต่อไปนี้.

ภิกษุเป็นผู้ทอดจักษุไปอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้

โลเลเพราะจักษุ ประกอบด้วยความเป็นผู้โลเลเพราะจักษุ คิดว่า เราพึง

เห็นรูปที่ยังไม่ได้เห็น พึงผ่านเลยรูปที่ได้เห็นแล้ว ดังนี้ จึงเป็นผู้ประกอบ

เนือง ๆ ซึ่งความเที่ยวไปนาน ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน เพื่อ

เห็นรูป จากอารามนี้ ไปยังอารามโน้น จากสวนนี้ไปยังสวนโน้น จาก

บ้านนี้ไปยังบ้านโน้น จากนิคมนี้ไปยังนิคมโน้น จากนครนี้ไปยังนคร

โน้น จากแคว้นนี้ไปยังแคว้นโน้น จากชนบทนี้ไปยังชนบทโน้น ภิกษุ

เป็นผู้ทอดจักษุไปแม้อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 614

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน ไม่สำรวม

เดินไป เดินแลดูกองพลช้าง แลดูกองพลม้า แลดูกองพลรถ แลดู

กองพลเดินเท้า แลดูพวกสตรี แลดูพวกบุรุษ แลดูพวกกุมาร แลดู

พวกกุมารี แลดูร้านตลาด แลดูหน้ามุขเรือน แลดูข้างบน แลดูข้างล่าง

แลดูทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุเป็นผู้ทอดจักษุไปแม้อย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง

ภิกษุเห็นรูปด้วยจักแล้ว ถือนิมิต ถืออนุพยัญชนะ ย่อมไม่ปฏิบัติ

เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรม

อันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์

ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุเป็นผู้ทอดจักษุไปแม้อย่างนี้.

อนึ่ง เหมือนอย่างว่า ท่านสมณพราหมณ์จำพวกหนึ่ง ฉันโภชนะ

ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็น

ปานนี้ คือ การฟ้อน การขับ การประโคมมหรสพมีการรำเป็นต้น

การเล่านิยาย เพลงปรบมือ ฆ้อง ระนาด หนัง เพลงขอทาน ไต่ราว

การเล่นหน้าศพ ชนช้าง แข็งม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ

ชนไก่ ชนนกกระทา รำกระบี่กระบอง ชกมวย มวยปล้ำ การบ การ

ตรวจพล การจัดกระบวนทัพ กองทัพ ภิกษุเป็นผู้ทอดจักษุไปแม้

อย่างนี้.

ภิกษุเป็นผู้ไม่ทอดจักษุอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้

โลเลเพราะจักษุ ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้โลเลเพราะจักษุ ไม่คิดว่า

เราพึงเห็นรูปที่ยังไม่ได้เห็น พึงผ่านเลยรูปที่ได้เห็นแล้วดังนี้ เป็นผู้ไม่

ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเที่ยวไปนาน ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน

เพื่อเห็นรูป จากอารามนี้ไปยังอารามโน้น ... จากชนบทนี้ไปยังชนบท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 615

โน้น ภิกษุไม่เป็นผู้ทอดจักษุไปแม้อย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่

ละแวกบ้าน เดินไปตามทาง ย่อมสำรวมเดินไป ไม่เดินแลดูกอง

พลช้าง ฯลฯ ไม่แลดูทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุเป็นผู้ไม่ทอดจักษุไปแม้

อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วย จักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุ-

พยัญชนะ ฯลฯ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุไม่เป็นผู้ทอด

จักษุไปแม้อย่างนี้.

อนึ่ง เหมือนอย่างว่า ท่านสมณพราหมณ์จำพวกหนึ่ง ฉันโภชนะ

ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ฯลฯ กองทัพ ภิกษุเว้นขาดจากดูการเล่นอัน

เป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ ภิกษุไม่เป็นผู้ทอดจักษุไปแม้อย่างนี้ เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ.

ว่าด้วยไม่โลเลเพราะเท้า

[๙๗๑] พึงทราบอธิบายในคำว่า ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า

ดังต่อไปนี้.

ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้โลเลเพราะเท้า ประกอบด้วยความเป็นผู้โลเลเพราะเท้า คือ เป็นผู้

ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเที่ยวไปนาน ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน จาก

อารามนี้ไปยังอารามโน้น ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าแม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้า ประกอบด้วยความเป็นผู้

โลเลเพราะเท้า ในภายในแห่งสังฆาราม ไม่ใช่เดินไปเพราะเหตุแห่ง

ประโยชน์ ไม่ใช่เดินไปเพราะเหตุแห่งการให้ทำ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน มีจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 616

ไม่สงบ จากบริเวณนี้ไปยังบริเวณโน้น ฯลฯ พูดเรื่องความเจริญและ

ความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าแม้อย่างนี้.

คำว่า ไม่เป็นผู้โลเลเพราะเท้า ความว่า ภิกษุพึงละ บรรเทา

ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเป็นผู้โลเลเพราะเท้า คือ พึงเป็น

ผู้งดเว้น เว้น เว้นขาด ออก สละ พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งความ

เป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ พึงเป็นผู้ชอบ

ในความสงัด ยินดีในความสงัด ขวนขวายในความสงบจิต ณ ภายใน

ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่ในเรือน

ว่างเปล่า เป็นผู้มีฌาน ยินดีในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิตมี

อารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นผู้หนักอยู่ในประโยชน์ของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า.

ว่าด้วยผู้ขวนขวายในฌาน

[๙๗๒] คำว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ในคำว่า พึงเป็นผู้

ขวนขวายในฌาน เป็นผู้ตื่นอยู่มาก ความว่า เป็นผู้ขวนขวายในฌาน

ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือเป็นผู้ประกอบ ประกอบทั่ว ประกอบโดยเอื้อเฟื้อ

มาประกอบด้วยดี เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อ

ความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งคติยฌาน

ที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจตุตถฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น แม้

ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้ขวนขวายในฌาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 617

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุซ่องเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งปฐมฌานที่เกิด

ขึ้นแล้ว ทุติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ตติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว หรือจตุตถฌาน

ที่เกิดขึ้นแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้ขวนขวายในฌาน.

คำว่า เป็นผู้ตื่นอยู่มาก ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิต

ให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน

ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการ

นั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยา (นอนอย่างราชสีห์)

โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ใส่ใจถึงสัญญา

ในการลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้

บริสุทธิ์ จากกรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอด

ปัจฉิมยามแห่งราตรี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน

เป็นผู้ตื่นอยู่มาก.

ว่าด้วยอุเบกขา

[๙๗๓] ความเพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉยยิ่ง ความ

ที่จิตสงบ ความที่จิตระงับ ความที่จิตเป็นกลาง ในจตุตถฌาน. ชื่อว่า

อุเบกขา ในคำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น ความหยุด

ความนิ่ง ความแน่วแน่ ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต

ความที่มีใจกวัดแกว่ง ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ

ชื่อว่า ความเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น. คำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น

ความว่า ปรารภอุเบกขาในจตุตถฌาน เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 618

มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจอันอะไร ๆ ไม่ให้กวัดแกว่งได้ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น.

ว่าด้วยความตรึก ๙ อย่าง

[๙๗๔] ชื่อว่า ความตรึก ในคำว่า พึงเข้าไปตัดความตรึก

ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก ละความรำคาญ ได้แก่ความ

ตรึก ๙ อย่าง คือความตรึกในกาม ความตรึกในความพยาบาท ความ

ตรึกในความเบียดเบียน ความตรึกถึงญาติ ความตรึกถึงชนบท ความ

ตรึกถึงเทพเจ้า ความตรึกอันปฏิสังยุตด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น ความ

ตรึกอันปฏิสังยุตด้วยลาภ สักการะ และความสรรเสริญ ความตรึกอัน

ปฏิสังยุตด้วยความไม่ถูกดูหมิ่น เหล่านี้เรียกว่า ความตรึก ๙ อย่าง.

กามสัญญาเป็นที่อาศัยอยู่แห่งกามวิตก พยาบาทสัญญาเป็นที่อาศัยอยู่แห่ง

พยาบาทวิตก วิหิงสาสัญญาเป็นที่อาศัยอยู่แห่งวิหญิงสาวิตก.

อีกอย่างหนึ่ง อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อโนตตัปปะ

อุทธัจจะ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก คือความดำริทั้งหลาย ชื่อว่า

ความรำคาญ คือความรำคาญมือบ้าง ความรำคาญเท้าบ้าง ความรำคาญ

มือและเท้าบ้าง ความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งควรว่า

ไม่ควร ความสำคัญในสิ่งไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งมีโทษว่า

ไม่มีเทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความเป็นผู้รำคาญ ความเดือด

ร้อนจิต ความกลุ้มใจเห็นปานนี้ เรียกว่า ความรำคาญ. อีกอย่างหนึ่ง

ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุ

๒ ประการ คือเพราะกระทำและไม่กระทำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 619

ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะ

กระทำ และเพราะไม่กระทำอย่างไร ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต

ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราทำกายทุจริต เราไม่ได้ทำกายสุจริต

เราทำวจีทุจริต เราไม่ได้ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต เราไม่ได้ทำมโน-

สุจริต เราทำปาณาติบาต เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติปาต

เราทำอทินนาทาน เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากอทินนาทาน เรา

ทำกาเมสุมิจฉาจาร เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้น จากกาเมสุมิจฉาจาร

เราทำมุสาวาท เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท เราทำปิสุณา-

วาจา เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากปิสุณาวาจา เราทำผรุสวาจา

เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำสัมผัปปลาปะ เราไม่

ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้น จากสัมผัปปลาปะ เราทำอภิชฌา เราไม่ได้ทำ

อนภิชฌา เราทำพยาบาท เราไม่ได้ทำอัพยาบาท เราทำมิจฉาทิฏฐิ เรา

ไม่ได้ทำสัมมาทิฏฐิ ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจย่อม

เกิดขึ้นเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ

ย่อมเกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้ไม่ทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่

คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ

เราเป็นผู้ไม่หมั่นประกอบในความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราเป็นผู้ไม่

ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เราไม่ได้เจริญ

สัมมัปปธาน ๔ เราไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕

เราไม่ได้เจริญพละ ๕ เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เราไม่ได้เจริญอริยมรรค

มีองค์ ๘ เราไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ได้ละสมุทัย เราไม่ได้เจริญมรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 620

เราไม่ได้ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ. คำว่า พึงเข้ารูปตัดความตรึก ธรรมเป็นที่

อาศัยอยู่แห่งความตรึก และความรำคาญ ความว่า ภิกษุพึงเข้าไปตัด

ตัดขาด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความตรึก

ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก และความรำคาญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

พึงเข้าไปตัดความตรึก ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุ ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า

พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน พึงเป็นผู้ตื่นอยู่มาก พึงเป็น

ผู้ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น และพึงเข้าไปตัดความตรึก

ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ.

[๙๗๕] ภิกษุลูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ พึง

ทำลายความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย พึง

เปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ไม่

พึงคิดเพื่อธรรม คือการว่ากล่าวซึ่งชน.

ว่าด้วยการยินดีในการตักเตือน

[๙๗๖] คำว่า ถูกตักเตือน ในคำว่า ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา

พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ ความว่า พระอุปัชฌายะ พระอาจารย์ พระเถระ

ปูนอุปัชฌายะ พระเถระปูนอาจารย์ มิตรผู้เคยเห็นกัน ผู้ที่เคยคบกันมา

หรือสหาย ตักเตือนว่า ท่านผู้มีอายุ กรรมนี้ไม่ควรแก่ท่าน กรรมนี้ยัง

ไม่ถึงแก่ท่าน กรรมนี้ไม่เหมาะแก่ท่าน กรรมนี้ไม่งดงามแก่ท่าน ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 621

ผู้ถูกตักเตือนนั้น พึงเข้าไปตั้งสติยินดี ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา

อยากได้ ประสงค์ ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ ซึ่งความตักเตือนนั้น

เหมือนสตรีหรือบุรุษที่เป็นสาวเป็นหนุ่ม กำลังเจริญ ชอบแต่งตัว อาบน้ำ

ดำเกล้าแล้ว ได้พวงมาลัยดอกบัวก็ดี พวงมาลัยดอกมะลิก็ดี พวงมาลัย

ดอกลำดวนก็ดี รับด้วยมือทั้งสองแล้ว เอาวางไว้บนศีรษะ ซึ่งเป็นอวัยวะ

สูงสุด พึงยินดี ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา อยากได้ ประสงค์

ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ ฉันใด ภิกษุผู้ถูกตักเตือนนั้น พึงเข้าไปตั้ง

สติยินดี ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา อยากได้ ประสงค์ ปรารถนา

รักใคร่ ติดใจ ซึ่งความตักเตือนนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

บุคคลพึงเห็นผู้ใด ผู้แสดงโทษ กล่าวข่มขี่ มีปัญญา

ว่าเป็นเหมือนบุคคลผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ให้ พึงคบหาบุคคล

เช่นนั้น ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น มีแต่คุณ

อันประเสริฐ ไม่มีโทษลามกเลย บุคคลพึงกล่าวสอน

พึงพร่ำสอน และพึงห้ามจากธรรมของอสัตบุรุษ บุคคล

นั้นเป็นที่รักของพวกสัตบุรุษเท่านั้น เป็นที่ชังของพวก

อสัตบุรุษ ดังนี้.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ.

[๙๗๗] ชื่อว่า สพรหมจารี ในคำว่า พึงทำลายความเป็นผู้

กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย คือ บุคคลที่มีกรรมเป็นอันเดียวกัน มี

อุเทศเป็นอันเดียวกัน มีสิกขาเสมอกัน. คำว่า พึงทำลายความเป็นผู้

กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย ความว่า พึงทำลายความเป็นผู้มีจิตอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 622

ความโกรธกระทบเข้าแล้ว ความเป็นผู้มีจิตกระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย

คือพึงทำลายความกระด้างแห่งจิตทั้ง ๕ พึงทำลายความกระด้างแห่งจิต

ทั้ง ๓ พึงทุบ ทำลาย กำจัด ซึ่งความกระด้างเพราะราคะ ความกระด้าง

เพราะโทสะ ความกระด้างเพราะโมหะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงทำลาย

ความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย.

ว่าด้วยขอบเขตการเปล่งวาจา ๒ อย่าง

[๙๗๘] คำว่า พึงเปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกิน

ขอบเขต ความว่า พึงเปล่งวาจาอันเกิดขึ้นแต่ญาณ คือ พึงเปล่ง

เปล่งออก เปล่งออกดี ซึ่งวาจาอันประกอบด้วยอรรถ อันประกอบด้วย

ธรรม ซึ่งเป็นวาจาประกอบด้วยประโยชน์ มีที่อ้างอิง มีที่สุด ตามกาล

อันควร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเปล่งวาจาที่อันเป็นกุศล. ชื่อว่า ขอบ

เขต ในคำว่า ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ได้แก่ ขอบเขต ๒ อย่าง

คือขอบเขตกาล ๑ ขอบเขตศีล ๑.

ขอบเขตกาลเป็นไฉน ภิกษุไม่พึงกล่าววาจาล่วงเกินกาล ไม่พึง

กล่าววาจาล่วงเกินเวลา ไม่พึงกล่าววาจาล่วงเกินกาลและเวลา ไม่พึง

กล่าววาจาที่ยังไม่ถึงกาล ไม่พึงกล่าววาจาที่ยังไม่ถึงเวลา ไม่พึงกล่าววาจา

ที่ยังไม่ถึงกาลและเวลา.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ก็ผู้ใด เมื่อยังไม่ถึงกาลอันควร ย่อมกล่าววาจาเกิน

เวลา ผู้นั้นย่อมถูกฆ่านอนอยู่ เหมือนลูกของนางนก

ดุเหว่าที่นางกาเลี้ยงไว้ฉะนั้น ดังนี้.

นี้ชื่อว่า ขอบเขตกาล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 623

ขอบเขตศีลเป็นไฉน บุคคลผู้กำหนัดไม่ควรกล่าววาจา ผู้โกรธ

เคืองไม่ควรกล่าววาจา ผู้หลงไม่ควรกล่าววาจา แลไม่ควรกล่าว บอก

พูด แสดง แถลง ซึ่งมุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ

นี้ชื่อว่า ขอบเขตศีล. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล ไม่

พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต.

ไม่ควรคิดที่จะว่าเขาด้วยศีลวิบัติ

[๙๗๙] ชื่อว่า ชน ในคำว่า ไม่พึงคิดเพื่อธรรมคือการว่ากล่าว

ซึ่งชน คือ บุคคลที่เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร

เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ ภิกษุไม่พึงคิด คือ

ไม่พึงยังความคิดให้เกิดขึ้น ไม่พึงยังความดำริแห่งจิตให้เกิดขึ้น ไม่พึง

ยังมนสิการให้เกิดขึ้นเพื่อการกล่าว การค่อนว่า การนินทา การติเตียน

การไม่สรรเสริญ การไม่พรรณนาคุณแห่งชน ด้วยศีลวิบัติ ด้วยอาจาร-

วิบัติ ด้วยทิฏฐิวิบัติ หรือด้วยอาชีววิบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึง

คิดเพื่อธรรมคือการว่ากล่าวซึ่งชน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า

ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ พึง

ทำลายความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย พึง

เปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ไม่

พึงคิดเพื่อธรรม คือการกล่าวว่าซึ่งชน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 624

[๙๘๐] ลำดับต่อไป ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา เพื่อกำจัด

ราคะเหล่าใด ราคะเหล่านั้น เป็นธุลี ๕ ประการในโลก

พึงปราบปราม ราคะในรูป เสียง กลิ่น รส และ

ผัสสะ.

ว่าด้วยธุลี ๕ ประการ

[๙๘๑] บทว่า อถ ในคำว่า ลำดับต่อไป...ราคะเหล่านั้น เป็น

ธุลี ๕ ประการในโลก เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสัค เป็นบทปทปูรณะ

เป็นศัพท์ประชุมอักขระ เป็นศัพท์สละสลวยด้วยพยัญชนะ เป็นลำดับบท.

คำว่า ธุลี ๕ ประการ คือราคะในรูป ราคะในเสียง ราคะในกลิ่น

ราคะในรส ราคะในโผฏฐัพพะ. อนึ่ง ได้แก่ราคะดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า

ราคะเรากล่าวว่าเป็นธุลี มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี.

คำว่า ธุลี เป็นชื่อของราคะ บัณฑิตทั้งหลายนั้นละธุลี

นี้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.

โทสะเรากล่าวว่าเป็นธุลี มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี.

คำว่า ธุลี เป็นชื่อของโทสะ บัณฑิตทั้งหลายนั้นละธุลี.

นี้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.

โมหะเรากล่าวว่าเป็นธุลี มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี.

คำว่า ธุลี เป็นชื่อของโมหะ. บัณฑิตทั้งหลายนั้น ละ

ธุลีนี้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าผู้ปราศจาก

ธุลี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 625

คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก

ธาตุโลก อายตนโลก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ลำดับต่อไป... ราคะ

เหล่านั้นเป็นธุลี ๕ ประการในโลก.

[๙๘๒] คำว่า ราคะเหล่าใด ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ

ศึกษาเพื่อกำจัดราคะเหล่าใด ความว่า ราคะในรูป ราคะในเสียง

ราคะในกลิ่น ราคะในรส ราคะในโผฏฐัพพะ. คำว่า เป็นผู้มีสติ

ความว่า ความระลึก ความระลึกถึง ความระลึกเฉพาะ สติความระลึก

ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สตินทรีย์ สติพละ

สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค นี้เรียกว่า สติ. ภิกษุเป็นผู้ถึง

เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ไปใกล้ ไปใกล้พร้อม ประกอบด้วยสตินี้

ภิกษุนั้นเรียกว่า มีสติ.

สิกขา ในคำว่า พึงศึกษา มี ๓ อย่าง คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตต-

สิกขา อธิปัญญาสิกขา อธิศีลสิกขาเป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า อธิปัญญา

สิกขา.

คำว่า พึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดราคะเหล่าใด ความว่า บุคคล

ผู้มีสติ พึงศึกษาแม้อธิศีล ศึกษาแม้อธิจิต ศึกษาแม้อธิปัญญา เพื่อ

กำจัด เพื่อกำจัดเฉพาะ เพื่อละ เพื่อสงบ เพื่อสละคืน เพื่อระงับ ซึ่ง

ราคะเหล่าใด คือ ราคะในรูป ราคะในเสียง ราคะในกลิ่น ราคะในรส

ราคะในโผฏฐัพพะ นึกถึงอยู่ ชื่อว่า พึงศึกษาสิกขา ๓ นี้ รู้ก็ชื่อว่าพึง

ศึกษา ฯลฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ก็ชื่อว่าพึงศึกษา พึง

ประพฤติเอื้อเฟื้อ พึงประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทาน ประพฤติไป

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดราคะเหล่าใด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 626

[๙๘๓] คำว่า พึงปราบปรามราคะเหล่านั้น คือ ราคะในรูป

เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ความว่า พึงปราบ ปราบปราม ครอบงำ

ครอบงำเฉพาะ กำจัด ย่ำยี ซึ่งราคะในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏ-

ฐัพพะทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึ่งปราบปรามราคะเหล่านั้น คือ

ราคะในรูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ลำดับต่อไป ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดราคะ

เหล่าใด ราคะเหล่านั้นเป็นธุลี ๕ ประการในโลก ภิกษุ

พึงปราบปรามราคะเหล่านั้น คือราคะในรูป เสียง กลิ่น

รส และผัสสะ.

[๙๘๔] ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว พึงกำจัดฉันทะ

ในธรรมเหล่านั้น ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรม

โดยชอบตามกาล เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึง

กำจัดความมืดเสีย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดังนี้.

[๙๘๕] คำว่า เหล่านั้น ในคำว่า พึงกำจัดฉันทะในธรรม

เหล่านั้น ความว่า ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ. ชื่อว่าฉันทะ

คือความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลินในกาม ความ

ปรารถนาในกาม ความเสน่หาในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลง

ในกาม ความติดใจในกาม กามโอฆะ กามโยคะ กามุปาทาน กาม-

ฉันทนิวรณ์ในกามทั้งหลาย. คำว่า พึงกำจัดฉันทะในธรรมเหล่านั้น

ความว่า พึงกำจัด กำจัดเฉพาะ ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 627

ความไม่มี ซึ่งฉันทะในธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงกำจัด

ฉันทะในธรรมเหล่านั้น.

[๙๘๖] ชื่อว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษ

ดีแล้ว คือภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือภิกษุผู้เสขะ. คำว่า มีสติ ความว่า

ความระลึก ความระลึกถึง ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค

นี้เรียกว่า สติ. ภิกษุเป็นผู้เข้าถึง ฯลฯ ประกอบด้วยสตินี้ ภิกษุนั้น

เรียกว่ามีสติ. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ. คำว่า เป็นผู้มีจิต

พ้นวิเศษดีแล้ว ความว่า จิตของภิกษุผู้เข้าปฐมฌาน พ้น พ้นวิเศษ

พ้นวิเศษดีแล้วจากนิวรณ์ทั้งหลาย. จิตของภิกษุผู้เข้าทุติยฌาน พ้น พ้น-

วิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากวิตกและวิจาร. จิตของภิกษุผู้เข้าตติยฌาน พ้น

พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากปีติ. จิตของภิกษุผู้เข้าจตุตถฌาน พ้น พ้น-

วิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากสุขและทุกข์. จิตของภิกษุผู้เข้าอากาสานัญจาย-

ตนฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตต-

สัญญา. จิตของภิกษุผู้เข้าวิญญานัญจายตนฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษ-

ดีแล้วจากอากาสานัญจายตนสัญญา. จิตของภิกษุผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌาน

พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากวิญญาณัยจายตนสัญญา. จิตของภิกษุผู้

เข้าเนวสัญญานาสัญญาตนฌาน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากอากิญ-

จัญญจายตนสัญญา. จิตของพระโสดาบัน พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้ว

จากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และ

จากเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับวิจิกิจฉาเป็นต้นนั้น. จิตของพระ-

สกทาคามี พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจากกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย

อย่างหยาบ และจากเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับกามราคานุสัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 628

เป็นต้นนั้น. จิตของพระอนาคามี พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจาก

กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ จากกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วน

ละเอียด และจากเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับกามราคสังโยชน์

เป็นต้นนั้น. จิตของพระอรหันต์ พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจาก

รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธจัจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย

อวิชชานุสัย เหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้นนั้น และ

จากสรรพนิมิตภายนอก. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิต

พ้นวิเศษดีแล้ว.

ว่าด้วยจิตที่เป็นกาลของสมถะและวิปัสสนา

[๙๘๗] คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณา

ธรรมโดยชอบตามกาล ความว่า เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ

เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกาลของวิปัสสนา.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

โยคีผู้ใด ย่อมประคองจิตในกาล ย่อมข่มจิตใน

กาลอื่น ย่อมให้จิตรื่นเริงโดยกาล ย่อมตั้งจิตไว้ในกาล

ย่อมวางเฉยตามกาล โยคีผู้นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล

ความประคองจิตควรมีในกาลไหน ความข่มจิตควรมีใน

กาลไหน กาลเป็นที่ให้จิตรื่นเริงควรมีในกาลไหน และ

กาลของสมถะเป็นกาลเช่นไร บัณฑิตย่อมแสดงกาลเป็น

ที่วางเฉยแห่งจิตของโยคีบุคคลอย่างไร เมื่อจิตของโยคี

บุคคลย่อหย่อน เป็นกาลที่ควรประคองไว้ เมื่อจิตของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 629

โยคีบุคคลฟุ้งซ่านเป็นกาลที่ควรข่มไว้ โยคีบุคคลพึงยัง

จิตที่ถึงความแช่มชื่นให้รื่นเริงในกาลนั้น จิตเป็น

ธรรมชาติรื่นเริงไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมมีในกาล

ใด กาลนั้นเป็นกาลของสมถะ ใจพึงยินดีในภายใน

อุบายนั้นนั่นแหละ จิตเป็นธรรมชาติตั้งมั่น ย่อมมีใน

กาลใด ในกาลนั้น โยคีบุคคลพึงวางเฉยไว้ซึ่งจิตที่ตั้งมั่น

แล้วด้วยปัญญา ธีรชนผู้รู้แจ้งกาล ทราบกาล ฉลาดใน

กาล พึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต ตลอดกาล

ตามกาล อย่างนี้.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้น... ตามกาล. คำว่า เมื่อกำหนดพิจารณา

ธรรมโดยชอบ ความว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ สังขาร

ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็น

ธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ.

[๙๘๘] คำว่า มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า เป็นผู้มีจิต

เป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดังนี้ ความว่า เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่

กวัดแกว่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น. คำว่า

ภิกษุนั้นฟังคำจัดความมืด ความว่า พึงขจัด กำจัด ละ บรรเทา

ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความมืดคือราคะ ความมืดคือโทสะ

ความมืดคือโมหะ ความมืดคือมานะ ความมืดคือทิฏฐิ ความมืดคือกิเลส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 630

ความมืดคือทุจริต อันทำให้บอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีฌาน ดับ

ปัญญา เป็นฝักฝ่ายความลำบาก ไม่ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน. คำว่า ภควา

เป็นคำเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภควา เพราะ-

อรรถว่า ผู้ทำลายราคะ ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลาย

ทิฏฐิ ทำลายเสี้ยนหนาม ทำลายกิเลส เพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรง

แจกแจง ทรงจำแนกเฉพาะซึ่งธรรมรัตนะ เพราะอรรถว่า ทรงทำที่สุด

แห่งภพทั้งหลาย เพราะอรรถว่า มีพระกายอันทรงอบรมแล้ว มีศีลอัน

อบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะ

และป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากชน

ผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออก

เร้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา

อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔

อรูปสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘

อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสมาบัติ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ภควา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 631

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณ-

สมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัป-

ปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค

มีองค์ ๘ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ ๑๐ เวสา-

รัชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาดา

พระภคินี มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้

เฉลิมให้ พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีใน

อรหัตผลในลำดับแห่งอรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ พร้อมด้วยการ

ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงโพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุด

ขึ้น พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดังนี้ เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษแล้ว พึงกำจัดฉันทะใน

ธรรมเหล่านั้น ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดย

ชอบตามกาล เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัด

ความมืด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดังนี้ ฉะนี้แล.

จบสารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

สุตตนิทเทส ๑๖ นิทเทสในอัฏฐกวรรคจบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 632

อรรถกถาสารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

พึงทราบวินิจฉัยในสารีปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖ มีคำเริ่มต้นว่า

น เม ทิฏฺโ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเลย ดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อิโต ปุพฺเพ ก่อนแต่นี้ คือ ก่อนแต่พระ-

ศาสดาเสด็จหยั่งลงที่สังกัสสนครนี้. บทว่า วคฺคุวโท คือ มีกระแสเสียง

อันไพเราะ. บทว่า ตุสิตา คณิมาคโต พระศาสดาเสด็จจากดุสิตมาสู่

ความเป็นคณาจารย์ คือเสด็จมาจากดุสิต เพราะเคลื่อนจากดุสิตมาสู่ครรภ์

พระมารดา. ชื่อว่า คณี เพราะเป็นคณาจารย์ หรือว่าเสด็จมาจากเทวโลก

ชื่อว่า ดุสิต. เพราะเป็นที่ยินดี แล้วมาเป็นคณาจารย์. หรือว่าเสด็จมาเป็น

คณาจารย์ของพระอรหันต์ทั้งหลายผู้ยินดีแล้ว.

บทว่า อิมินา จกฺขุนา ด้วยจักษุนี้ คือ ด้วยมังสจักษุตามปกติอัน

เนื่องอยู่ในอัตภาพนี้. บทว่า อิมินา อตฺตภาเวน คือ ด้วยอัตภาพครั้ง

สุดท้ายนี้. บทว่า ตาวตึสภวเน คือ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. บทว่า

ปาริจฺฉตฺตกมูเล ณ ควงไม้ปาริฉัตตกะ คือภายใต้ไม้ทองหลาง. บทว่า

ปณฺฑุกมฺพลสิลาย ปัณฑุกัมพลสิลาอาสน์ คือหลังแผ่นหินเช่นกับผ้า

กัมพลสีแดง. บทว่า วสฺส วุฏฺโ คือ ประทับจำพรรษา. บทว่า

เทวคณปริวุโต อันหมู่เทวดาห้อมล้อมแล้ว. บทว่า โอติณฺโณ คือ

เสด็จลงแล้ว. บทว่า อิม ทสฺสน ปุพฺเพ คือ เว้นการเห็นครั้งนี้ ไม่

เคยเห็นมาก่อนเลย. บทว่า น ทิฏฺโ คือ ไม่เคยเห็นในกาลอื่น. บทว่า

ขตฺติยสฺส วา คือ ไม่เคยได้ยินต่อกษัตริย์ตรัสบอก. แม้ในพราหมณ์

เป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 633

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า มธุรวโท มีพระกระแสเสียงอัน

เสนาะดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า มีพระกระแสเสียงอันเสนาะ เพราะพระศาสดาตรัสไพเราะ

สมบูรณ์ด้วยพยัญชนะ. ชื่อว่า มีกระแสเสียงเป็นที่ตั้งแห่งความรัก เพราะ

พระองค์ตรัสชวนให้เกิดความรัก ควรแก่ความรัก. ชื่อว่า มีพระกระแส

เสียงดูดดื่มหทัย เพราะพระองค์ตรัสดูดดื่มหทัยซึ้งเข้าไปในดวงจิต ชื่อว่า

มีพระกระแสเสียงเพราะดุจนกการเวก เพราะพระองค์มีพระกระแสเสียง

ไพเราะดุจนกการเวก. บทว่า วิสฺสฏฺโ จ เป็นเสียงไม่ขัดข้อง คือ

ไม่แหบเครือ ไม่ติดขัด. บทว่า วิญฺเยฺโย จ เป็นเสียงที่ผู้ฟังรู้

ได้ง่าย คือชัดเจน. บทว่า มญฺชุ จ เป็นเสียงไพเราะ คืออ่อนหวาน.

บทว่า สวนีโย จ เป็นเสียงน่าฟังคือเสนาะ. บทว่า พินฺทุ จ คือ เป็น

เสียงกลมกล่อม. บทว่า อวิสารี จ เป็นเสียงไม่แปร่ง คือไม่พร่า.

บทว่า คมฺภีโร จ เป็นเสียงลึก คือซึ้ง. บทว่า นินฺนาทิ จ เป็นเสียงก้อง

คือมีกังวาน. บทว่า อสฺส คือ ของพระศาสดาพระองค์นั้น. บทว่า

พหิทฺธา ปริสาย คือ ภายนอกบริษัท. บทว่า น นิจฺฉรติ คือ

ไม่ออกไป. เพราะอะไร. เพราะพระผู้มีพระสุรเสียงเสนาะเห็นปานนี้

จงอย่าหายไปโดยไม่มีเหตุผล. บทว่า พฺรหฺมสโร มีพระสุรเสียงเหมือน

พรหม คือชนเหล่าอื่นมีเสียงขาดไปบ้าง มีเสียงแตกไปบ้าง มีเสียงเหมือน

กาบ้าง. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ มีพระสุรเสียงเช่นกับเสียงของ

มหาพรหม. เพราะเสียงของมหาพรหมแจ่มใส เพราะไม่แหบเครือด้วยดี

และเสมหะ. แม้กรรมที่พระองค์ทรงกระทำไว้ ก็ทำให้ที่ตั้งของเสียง

บริสุทธิ์. เสียงตั้งขึ้นตั้งแต่พระนาภี เพราะเป็นที่ตั้งบริสุทธิ์จึงแจ่มใส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 634

ตั้งขึ้นประกอบด้วยองค์ ๘ ชื่อว่า มีพระกระแสเสียงดุจเสียงนกการเวก

เพราะตรัสดุจเสียงนกการเวก. อธิบายว่า มีพระสุรเสียงไพเราะเหมือน

เสียงร้องของนกการเวก.

บทว่า ตาเรติ ให้ข้าม คือให้พ้นที่อันไม่ปลอดภัย. บทว่า

อุตฺตาเรติ ข้ามขึ้น คือข้ามให้ถึงพื้นที่อันปลอดภัย. บทว่า นิตฺตาเรติ

ข้ามออก คือข้ามให้เลยที่อัน ไม่ปลอดภัย. บทว่า ปตฺตาเรติ ข้ามพ้น

คือกำหนดข้าม. อธิบายว่า ข้ามเหมือนเอามือจับ. การข้ามการข้ามขึ้น

เป็นต้นทั้งหมดนี้ เป็นที่ตั้งในที่อันปลอดภัยนั่นเอง เพราะเหตุนั้น

พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า ให้ถึงพื้นที่อันเป็นที่ปลอดภัย. บทว่า สตฺเต

ได้แก่ เวไนยสัตว์. ความกันดารคือชาตินั่นแล ชื่อว่า ชาติกันดาร

เพราะรกชัฏมาก เพราะไม่มีประโยชน์มาก และเพราะข้ามไปได้ยาก. ซึ่ง

ชาติกันดารนั้น. บทว่า คณสฺส สุสฺสูสติ คือ คณะย่อมตั้งใจฟังพระองค์.

บทว่า โสต โอทหติ เงี่ยหูฟัง คือเงี่ยหูประสงค์จะฟัง. บทว่า อญฺาจิตฺต

อุปฏฺเปติ คือ เข้าไปตั้งใจเพื่อประสงค์จะรู้.

บทว่า คณ อกุสลา วุฏฺาเปตฺวา พระองค์ยังคณะให้ออกจาก

อกุศล คือยังหมู่ชนให้ออกจากอกุศล คือความไม่ฉลาด. บทว่า กุสเล

ปติฏฺาเปติ คือ ให้ตั้งอยู่ในกุศลอันเป็นความฉลาด. บทว่า สงฺฆี ชื่อว่า

สังฆี เพราะมีหมู่โดยเป็นชุมนุมใหญ่. ชื่อว่า คณี เพราะมีคณะโดยมี

บริษัท. ชื่อว่า คณาจริโย เพราะเป็นอาจารย์ของคณะ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สอง ต่อไป.

บทว่า สเทวกสฺส โลกสฺส ยถา ทิสฺสติ ความว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ย่อมปรากฏแม้แก่มนุษย์ทั้งหลาย ดุจปรากฏแก่โลกพร้อมทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 635

เทวโลก. หรือปรากฏโดยแท้จริง โดยไม่วิปริต ดุจปรากฏแก่โลกพร้อม

ด้วยเทวโลก. บทว่า จกฺขุมา ผู้มีพระจักษุอุดม. บทว่า เอโก คือ เป็น

บุคคลเอกด้วยคุณธรรมอันได้แก่บรรพชาเป็นต้น. บทว่า รตึ คือ มี

ความยินดีต่อเนกขัมมะเป็นต้น.

บทว่า ปฏิรูปโก คือ กุณฑลที่ทำด้วยทองคำ. บทว่า มตฺติกา-

กุณฺฑโล คือ ดุจกุณฑลที่ทำด้วยดิน. บทว่า โลหมาโสว สุวณฺณจฺฉนฺโน

คือ เหมือนเหรียญมาสกโลหะหุ้มด้วยทองคำ. บทว่า ปริวารจฺฉนฺนา คือ

อันบริวารห้อมล้อม. บทว่า อนฺโต อสุทฺธา คือ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย

ผู้ไม่บริสุทธิ์ ณ ภายใน ด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า พหิ โสภมานา

คือ งามแต่ภายนอกด้วยจีวรเป็นต้น. บทว่า อกปฺปิตอิริยาปถา จ มีพระ-

อิริยาบถมิได้กำเริบ คือมีพระอิริยาบถมิได้สละออกไปแล้ว. บทว่า

ปณิธิสมิปนฺนา ความว่า มีความปรารถนาบริบูรณ์. บทว่า วิสุทฺธสทฺโท

ความว่า มีพระกิตติศัพท์บริสุทธิ์. อธิบายว่า มีชื่อเสียงยกย่องตามความ

เป็นจริง. บทว่า ภฏกิตฺติสทฺทสิโลโก ทรงเพียบพร้อมด้วยพระเกียรติยศ

และชื่อเสียง คือทรงได้รับพระเกียรติยศและความสรรเสริญเป็นปกติ.

หากถามว่า มีพระกิตติศัพท์ในที่ไหน. ตอบว่า ในที่ที่กล่าวไว้พิสดารแล้ว

โดยนัยมีอาทิว่า ในนาคพิภพ และสุบรรณพิภพ. บทว่า ตโต จ ภิยฺโย

และยิ่งกว่านั้น คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรากฏยิ่งกว่านั้น คือยิ่งกว่าที่

กล่าวแล้ว ด้วยอำนาจของเวไนยสัตว์.

บทว่า สพฺพ ราคตม คือ ความมืด เพราะราคะทั้งสิ้น. แม้ใน

ความมืด เพราะโทสะก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อนฺธกรณ อันทำให้

คนบอด คือทำการปิดกั้นโลกด้วยปัญญา. บทว่า อจกฺขุกรณ ทำให้ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 636

จักษุ คือทำให้ไม่มีปัญญาจักษุ. บทว่า อญาณกรณ คือ ทำให้ไม่รู้ด้วย

ญาณ. บทว่า ปฺานิโรธิก คือ ทำให้ดวงตา คือปัญญาเสียไป.

บทว่า วิฆาตปกฺขิก อันเป็นไปในฝ่ายแห่งความลำบาก คือความเบียด-

เบียน. บทว่า อนิพฺพานสตฺตนิก ไม่ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน คือไม่ให้

เป็นไปเพื่อนิพพานอันเป็นอมตะไม่มีปัจจัย.

บทว่า สพฺพนฺต เตน โพธิาเณน พุชฺฌิ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสรู้ธรรมที่ควรตรัสรู้ทั้งปวงด้วยพระโพธิญาณ คือตรัสรู้ธรรมทั้งสิ้น

นั้นด้วยอำนาจแห่งมรรคญาณ ๔. ทรงรู้ ตรัสรู้ตามด้วยอำนาจแห่งปฐม-

มรรค ได้ทรงรู้ทั่ว ทรงแทงตลอดด้วยทุติยมรรค ทรงบรรลุ ตรัสรู้

พร้อมซึ่งปฏิเวธ ด้วยอำนาจแห่งตติยมรรค ตรัสรู้โดยชอบด้วยแทงตลอด

ไม่มีส่วนเหลือ ด้วยอำนาจแห่งจตุตถมรรค. ควรประกอบ ๓ บทนี้ คือ

อธิคจฺฉิ ทรงบรรลุเฉพาะ ๑ ผุเสสิ ทรงถูกต้อง ๑ สจฺฉิกาสิ ทรง

ทำให้แจ้ง ๑ ด้วยอำนาจแห่งผล. ทรงได้เฉพาะ ด้วยอำนาจแห่งปฐม-

มรรคและทุติยมรรค ทรงถูกต้องแล้ว ด้วยอำนาจแห่งตติยมรรค ทรงได้

กระทำให้ประจักษ์ ด้วยอำนาจแห่งจตุตถมรรค. อีกอย่างหนึ่ง แม้ทั้ง

๓ บทนั้น ย่อมได้ผลอย่างหนึ่ง ๆ นั่นเอง.

บทว่า เนกฺขมฺมรตึ ความยินดีในเนกขัมมะ คือความยินดีเกิดขึ้น

เพราะอาศัยบรรพชาเป็นต้น. บทว่า ปวิเวกรตึ ความยินดีในความสงัด

คือความยินดีเกิดขึ้นในความสงัดกายเป็นต้น. บทว่า อุปสมรตึ ความ

ยินดีในความสงบ คือความยินดีในความสงบกิเลส. บทว่า สมฺโพธิรตึ

ความยินดีในสัมโพธิญาณ คือความยินดีเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณามรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 637

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า พหูนมิธ ปฏฺาน ของคนหมู่มากอันเนื่องในศาสนานี้

คือของคนหมู่มากมีกษัตริย์เป็นต้น ผู้เที่ยวปรารถนาอยู่ในโลกนี้. เพราะว่า

ศิษย์ทั้งหลายท่านเรียกว่า พทฺธ ผู้เนื่อง เพราะมีความประพฤติเนื่องด้วย

อาจารย์. บทว่า อตฺถี ปญฺเหน อาคม คือ เรามีความต้องการปัญหา

จึงมา. หรือมาด้วยปัญหาของผู้มีความต้องการ หรือมีปัญหาจึงมา.

ท่านกล่าวว่า พุทฺโธ ด้วยประสงค์จะแสดงถึงพระพุทธเจ้าพระองค์

นั้น ในบทว่า ต พุทฺธ แม้ไม่มีบทว่า พุทฺโธ.

บทว่า สยมฺภู ผู้เป็นพระสยัมภู คือเป็นเองไม่มีผู้แนะนำสั่งสอน.

บทว่า อนาจริโย ไม่มีใครเป็นอาจารย์ เป็นคำขยายความของบทว่า

สยมฺภู. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ไม่มีอาจารย์ ทรงรู้แจ้ง

แทงตลอดอริยสัจด้วยพระองค์เอง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงชื่อ

ว่า สยมภู พระผู้เป็นเอง. บทว่า ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ในธรรมทั้งหลาย

อันพระองค์ไม่เคยสดับมาก่อนเป็นต้น เป็นบทประกาศความของความที่

พระองค์เป็นผู้ไม่เคยมีอาจารย์. บทว่า อนนุสฺสุเตสุ คือ ไม่เคยสดับมา

แต่อาจารย์. บทว่า สาม คือ พระองค์เอง. บทว่า อภิสมฺพุชฺฌิ ตรัสรู้

ยิ่ง คือตรัสรู้ธรรมอันยิ่งด้วยพระองค์เอง. บทว่า ตตฺถ จ สพฺพญฺญุต

ปาปุณิ คือ ทรงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในอริยสัจนั้น. ท่านกล่าว

อย่างนั้น เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้อริยสัจ เหมือนพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายตรัสรู้อริยสัจ ทรงเป็นพระสัพพัญญู ปาฐะว่า สพฺพญฺุต ปตฺโต

บ้าง.

บทว่า พเลสุ จ วสีภาว ทรงถึงความเป็นผุ้ชำนาญในพลธรรม

๑. บาลีเป็น พทฺธาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 638

ทั้งหลาย คือทรงถึงความเป็นใหญ่ในพลญาณของพระตถาคต ๑๐ ประการ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ท่านเรียกว่า พุทฺโธ. พระพุทธเจ้าเป็นสัตว์วิเศษ เป็นการบัญญัติขึ้นเพราะ

อาศัยพระญาณอัน อะไร ๆ กำจัดไม่ได้ พระนิมิตอันยอดเยี่ยม การบรรลุ

พระนิพพาน และพระขันธสันดานอบรมมาแล้วในธรรมทั้งปวง หรือ

เป็นบัญญัติขึ้น เพราะอาศัยการตรัสรู้อริยสัจ อันเป็นปทัฏฐานแห่งพระ-

สัพพัญญุตญาณ. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันประกาศความเป็นพุทธะ

แจ่มแจ้งแล้วโดยอรรถ.

บัดนี้ พระสารีบุตร เมื่อจะให้แจ่มแจ้งโดยพยัญชนะ จึงกล่าวคำ

มีอาทิว่า พุทฺโธติ เกนตฺเถน พุทฺโธ. บทว่า พุทฺโธ ชื่อว่า เป็นพระ-

พุทธเจ้า เพราะอรรถว่าอะไร. ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้

อริยสัจ เหมือนอย่างพระผู้ตรัสรู้ ตรัสรู้แล้วในโลก. ชื่อว่า พระพุทธเจ้า

เพราะยังหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้ เหมือนพูดกันว่า ใบไม้แห้ง เพราะลมพัดให้

ใบไม้แห้ง. สองบทว่า สพฺพญฺณุตาย พุทฺโธ อธิบายว่า ชื่อว่า เป็น

พระพุทธเจ้าด้วยปัญญาสามารถรับรู้ธรรมทั้งปวง. ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะ

ทรงเห็นธรรมทั้งปวง อธิบายว่า ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะทรง

เห็นธรรมทั้งปวงด้วยญาณจักษุ. ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะไม่มีผู้อื่นแนะนำ

อธิบายว่า ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง มิใช่

ผู้อื่นทำให้ตรัสรู้. ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะเป็นผู้เบิกบาน อธิบายว่า ชื่อว่า

เป็นพระพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้เบิกบานดุจปทุมจากสวนชนิดที่มีคุณต่าง ๆ.

ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะเป็นผู้สิ้นอาสวะ อธิบายว่า ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า

เพราะเป็นผู้ตื่นจากหลับคือกิเลสทุกชนิด ด้วยละธรรมอันนำให้จิตกำเริบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 639

โดยปริยาย ๖ เป็นอาทิ เหมือนบุรุษตื่นจากสิ้นสุดการนอนหลับ. บทว่า

สงฺขา สงฺขาต โดยอรรถมีความอย่างเดียวกัน. บทว่า สงฺขาเตน ความ

ว่า โดยส่วนของคำพูด. ท่านกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว

ทำให้วิเศษด้วยคำว่าโดยส่วนเดียว เพราะละกิเลสทั้งปวงพร้อมด้วยวาสนา

กล่าวคือไม่มีกิเลสเข้าไปฉาบทา เพราะไม่มีเครื่องฉาบทาคือตัณหาและ

ทิฏฐิ. เป็นผู้ไม่มีกิเลสด้วยกิเลสทั้งปวงอันเหลือ คือราคะ โทสะ และ

โมหะ. เพราะเป็นผู้เสด็จไปตามเอกายนมรรค (ทางทางเดียว) คือธาตุ

ทั้งหลายเป็นประโยชน์ในการไป แม้เพราะตรัสรู้ เพราะรู้ธาตุอันเป็น

ประโยชน์ในการไป เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าว ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า

เพราะเสด็จไปสู่เอกายนมรรค. อนึ่ง ในบทนี้ท่านกล่าวเอกายนมรรคโดย

ชื่อว่า มคฺค ที่กล่าวโดยชื่อว่า อยน ในหลายชื่อของ ทาง คือ

มคฺโค ปนฺโถ ปโถ ปชฺโช อญฺชส วฏุมายน

นานา อุตฺตรเสตุ จ กุลฺโล จ ภิสิ สงฺกโม.

คำทั้งหมดนี้เป็นชื่อของทาง.

เพราะฉะนั้น ทางจึงเป็นทางเดียว. อธิบายว่า ไม่ใช่สองทาง.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เอกายนมรรค เพราะเป็นทางอันบุคคลเดียวพึง

ดำเนินไป. บทว่า เอเกน คือสงัดเพราะละการคลุกคลีด้วยหมู่. บทว่า

อยิตพฺโพ คือ พึงดำเนินไป อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อยโน เพราะเป็นเหตุ

ไป. อธิบายว่า ไปสู่นิพพานจากสังสารวัฏ. ชื่อว่า เอกายโน เพราะเป็น

ทางไปของคนประเสริฐ. บทว่า เอเกส คือ คนประเสริฐ. ด้วยว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ประเสริฐที่สุดกว่าสัตว์ทั้งปวง. เพราะ-

ฉะนั้น ท่านอธิบายไว้ว่า มรรคเป็นทางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 640

เป็นทางไปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อยโน เพราะไปถึง. อธิบายว่า ไป คือ

เป็นไป. ชื่อว่า เอกายนมคฺโค เพราะเป็นทางไปในที่เดียว. ท่าน

อธิบายว่า มรรคเป็นไปในพระพุทธสาสนาแห่งเดียวเท่านั้น ไม่เป็นไป

ในที่อื่น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เอกายโน เพราะไปทางเดียว. ท่าน

อธิบายว่า ในเบื้องต้นแม้เป็นไปโดยมุขภาวหาและนัยต่าง ๆ ในเบื้อง

ปลายก็ไปนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เอกายน-

มรรค อธิบายว่า เป็นทางไปสู่นิพพานอย่างเดียว. ชื่อว่า เป็นพระพุทธ-

เจ้า เพราะเป็นผู้เดียวตรัสรู้ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม มิใช่

ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้าเพราะตรัสรู้ด้วยผู้อื่น. ท่านอธิบายไว้อย่างไร

ท่านอธิบายไว้ว่า ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิ-

ญาณอันยอดเยี่ยมด้วยพระองค์เองเท่านั้น. คำว่าชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า

เพราะเว้นจากความไม่รู้ เพราะได้เฉพาะความรู้ นี้เป็นปริยายของบทว่า

พุทฺธิ พุทฺธ โพโธ. ท่านอธิบายเพื่อให้รู้ว่า ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า

เพราะทรงประกอบด้วยคุณของพระพุทธเจ้า เหมือนอย่างพูดว่า ผ้าเขียว

ผ้าแดง เพราะประกอบด้วยมีสีเขียวสีแดง.

นอกจากนั้น ศัพท์ว่า พุทฺโธ ในบทมีอาทิว่า พุทฺโธติ เนต นาม

พระมารดาเป็นต้นมิได้เฉลิมให้ นี้ท่านกล่าวไว้เพื่อให้รู้ว่านี้เป็นบัญญัติ

ตามอรรถ. ในบทว่า พุทฺโธ พระมารดาเป็นต้นมิได้เฉลิมให้นั้น คือ

มิตร สหาย อำมาตย์ คนเลี้ยงดู ญาติฝ่ายบิดา สาโลหิตฝ่ายมารดา

สมณะ ผู้เข้าถึงบรรพชา โภวาทีพราหมณ์ ผู้สงบบาป ผู้ลอยบาป หรือ

เทวดามีท้าวสักกะเป็นต้นและพรหม ก็มิได้เฉลิมให้. บทว่า วิโมกฺขนฺติก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 641

เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหัตผลและในลำดับแห่งอรหัตมรรค)

คืออรหัตมรรคอันเป็นวิโมกข์. ที่สุดแห่งวิโมกข์ คืออรหัตผล ความมี

ในที่สุดแห่งวิโมกข์นั้น ชื่อว่า วิโมกขัตติกะ. เพราะว่าความเป็นพระ-

สัพพัญญูย่อมสำเร็จด้วยอรหัตมรรค. ความสำเร็จย่อมมีได้ในความเกิดขึ้น

ของพระอรหัตผล. เพราะฉะนั้น ความเป็นพระสัพพัญญู จึงมีในที่สุด

แห่งวิโมกข์. แม้เนมิตตกนามนั้น ก็เป็นชื่อมีในที่สุดแห่งวิโมกข์ ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วิโมกฺขนฺติกเมต พุทฺธาน ภควนฺตาน. บทว่า

พุทฺโธ นี้ เป็นวิโมกขันติกนามของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว

บทว่า โพธิยา มูเล สห สพฺพญฺญุตาณสฺส ปฏิลาภา

ความว่า พร้อมกับได้พระสัพพัญญุตญาณ ในขณะตามที่กล่าวแล้ว

ณ ควงไม้มหาโพธิ. บทว่า สจฺฉิกา ปญฺตฺติ คือ บัญญัติเกิดขึ้นด้วย

การทำให้แจ้งพระอรหัตผล หรือด้วยการทำให้แจ้งธรรมทั้งปวง คือ

บัญญัติว่า พุทฺโธ. บทว่า พุทฺโธ นี้ โดยพยัญชนะ ได้แก่ การประกาศ

ความเป็นพระพุทธเจ้า. ต่อจากนี้ บทสุดท้ายว่า วหสฺเสต ภาร ข้อนี้

จงเป็นภาระของพระองค์ ย่อมดำเนินไปตามบาลี เพราะมีนัยดังได้กล่าว

แล้วในที่นั้น ๆ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๔ ดังต่อไปนี้.

บทว่า วิชิคุจฺฉโต เมื่อภิกษุเกลียดอยู่ คืออึดอัดด้วยชาติเป็นต้น.

บทว่า ริตฺตมาสน ที่นั่งอันว่างเปล่า คือเตียงและตั่งอันสงัด. บทว่า

ปพฺพตาน คุหาสุ วา คือ ในถ้ำแห่งภูเขาทั้งหลาย. ควรเชื่อมบทว่า ริตฺต-

มาสน ภชโค เสพที่นั่งอันว่างเปล่า. บทว่า ชาติยา วิชิคุจฺฉโต คือ

เกลียดชาติ. แม้ในบทว่า ชราย พฺยาธินา เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 642

พึงทราบวินิจฉัย ในบทว่า เสวโต เป็นต้นต่อไป.

บทว่า เสวโต คือ เสพ. บทว่า นิเสวโต คือ เสพเสมอ.

บทว่า สเสวโต คือ เสพบ่อย ๆ. บทว่า ปฏิเสวโต คือ เข้าไปเสพ.

บทว่า ภชโต คือ เสพที่นั่งอันว่างเปล่า. บทว่า ปพฺพตปพฺภรา คือ

ท้องภูเขา.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อุจฺจาวเจสุ ในที่นอนสูงและต่ำ คือเลวและประณีต.

บทว่า อาสเนสุ คือ เสนาสนะมีวิหารเป็นต้น. บทว่า คีวนฺโต คือ

ร้องอยู่. ปาฐะว่า กีวนฺโต บ้าง. อธิบายว่า เพราะเหตุแห่งความกลัว

ในที่นั้นมีประมาณเท่าไร. บทว่า คฺรีวนฺโต คือ ส่งเสียงอยู่. บทว่า

กุชนฺโต คือ เรียกอยู่ ได้แก่ ทำเสียงเบา ๆ. บทว่า นทนฺโต บันลืออยู่

คือทำเสียงดัง. บทว่า สทฺท กโรนฺโต คือ ออกเสียง. บทว่า กติ

มีเท่าไร เป็นคำถาม. บทว่า กิตฺตกา มีประมาณเท่าไร เป็นคำถาม

โดยประมาณ. บทว่า กีวตกา มีกำหนดเท่าไร เป็นคำถามกำหนด.

บทว่า กีวพหุกา มีประมาณเพียงไร เป็นคำถามกำหนดประมาณ. บทว่า

เต เภรวา อารมณ์น่ากลัวเหล่านั้น คืออันตรายเกิดแต่ความน่ากลัว

เหล่านั้น คืออารมณ์น่ากลัว. บทว่า กีวพหุกา มีมากเท่าไร พระสารี-

บุตร เพื่อแสดงอารมณ์ที่ถาม จึงแก้ด้วยบทมีอาทิว่า สีหา พฺยคฺฆา

ทีปิ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า กตี ปริสฺสายา คือ อันตรายมีเท่าไร. บทว่า อคต ทิส

ทิศที่ไม่เคยไปคือนิพพาน. จริงอยู่ นิพพานนั้น ชื่อว่า อคต เพราะไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 643

เคยไป ชื่อว่า ทิสา เพราะควรชี้แจง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

อคต ทิส ดังนี้. บาลีว่า อมต ทิส ก็มี. บทว่า อภิสมฺภเว ความว่า

พึงบรรลุ. บทว่า ปนฺตมฺหิ สงัด คือสุดเขต. ทิศที่ไม่เคยไป แม้แต่

ฝันชื่อว่า อคตปุพฺพา. ทิศนั้นไม่เคยไป เพราะเหตุนั้น ทิศนั้น จึงชื่อ

ว่า อคตปุพฺพา โดยนัยดังกล่าวแล้ว.

บทว่า อิมินา ทีเฆน อทฺธุนา คือ โดยกาลยาวนานนี้. บทว่า

สนติตฺติก คือ ภาชนะน้ำมันเต็มถึงขอบปากภายใน. บทว่า อนวเสก

คือ มิให้ไหลรด ได้แก่ ภาชนะน้ำมันที่ใส่น้ำมันลงไปจนเต็มทำมิให้

ไหลรด. บทว่า ปริหเรยฺย พึงประคอง คือพึงนำไป พึงถือเอาไป.

บทว่า เอว สจิตฺตมนุรกฺเข พึงรักษาจิตของตนเนืองๆฉันนั้น คือภิกษุ

วางจิตของตนดุจภาชนะเต็มด้วยน้ำมันนั้นไว้ในระหว่างธรรมทั้งสองอย่าง

คือด้วยกายคตาสติและด้วยสติอันสัมปยุตในโคจร แล้วไม่ฟุ้งซ่านไปใน

โคจรภายนอกแม้ครู่เดียวฉันใด พระโยคาวจรผู้ฉลาด พึงรักษา คุ้มครอง

ฉันนั้น. เพราะอะไร. เพราะ

การฝึกจิตที่ข่มได้ยาก เบา มักตกไปในอารมณ์ใคร่

เป็นความดี จิตที่ฝึกแล้ว จะนำความสุขมาให้.

เพราะฉะนั้น

นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยาก ละเอียดยิ่งนัก

มันตกไปในอารมณ์ใคร่ จิตที่คุ้มครองแล้ว จะนำความ

สุขมาให้.

เพราะจิตนี้

ไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำเป็น

ที่อาศัย ผู้ใดสำรวมจิตไว้ได้ ผู้นั้นจะพ้นจากบ่วงมาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 644

ปัญญาของผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้สัทธรรม มีความ

เลื่อมใสเลื่อนลอย ย่อมไม่บริบูรณ์.

อนึ่ง ภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่ ผู้มีกรรมฐานมั่นคง

เป็นสหาย มีจิตไม่ขวนขวาย มีจิตไม่ถูกกำจัด ละบุญ

และบาปได้แล้ว.

เพราะฉะนั้น

นักปราชญ์ย่อมทำจิตนั้นซึ่งดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษา

ยาก ห้ามยาก ให้ตรง เหมือนช่างศรดัดศรให้ตรงฉะนั้น.

เมื่อทำจิตให้ตรงอย่างนี้ พึงคามรักษาจิตตองตน. บทว่า ปตฺถ-

ยาโน ทิส อคตปุพฺพ พระโยคาวจรเมื่อปรารถนาทิศที่ไม่เคยไป ความ

ว่า เมื่อปรารถนาทิศที่ไม่เคยไปในสงสารอันไม่มีเบื้องต้นและที่สุด เพราะ

ปรารถนากรรมในกรรมฐานคือกายคตาสตินี้ พึงรักษาจิตของตนโดยนัย

ที่กล่าวแล้ว.

ก็อะไรชื่อว่าทิศนั้น ท่านกล่าวมารดาบิดาเป็นต้น ชื่อว่าทิศใน

คาถาแม้ว่า

มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา

บุตรภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตรและอำมาตย์เป็นทิศ

เบื้องซ้าย ทาสกรรมกรเป็นทิศเบื้องล่าง สมณพราหมณ์

เป็นทิศเบื้องบน คฤหัสถ์ผู้มีตนสมควรพึงนมัสการทิศ

เหล่านี้ ดังนี้.

ทิศมีทิศบูรพาเป็นต้นท่านกล่าวว่า ทิศ ในคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 645

ทิศทั้งหลาย ๑๐ เหล่านี้ คือทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔

ทิศเบื้องบน ๑ ทิศเบื้องล่าง ๑ พระยานาคประดิษฐาน

อยู่ทิศไหน จึงได้เห็นเขาสัตว์ทั้ง ๖ ในความฝัน ดังนี้.

ท่านกล่าวนิพพานว่าเป็นทิศในคาถานี้ว่า

ผู้ครองเรือนให้ข้าวน้ำและผ้าแก่ผู้มีชื่อทั้งหลาย ย่อม

กล่าวถึงทิศ ผู้มีความทุกข์ทั้งหลาย ถึงทิศอันมีธงขาว

อย่างยิ่ง ย่อมมีความสุข ดังนี้.

พระนิพพานนั้นแลท่านประสงค์เอาในที่นี้. พระนิพพานนั้นจัก

ปรากฏ จักยืนยันได้ด้วยบทมีอาทิว่า ตณฺหกฺขย วิราค นิพพานเป็นที่

สิ้นตัณหา สำรอกกิเลส ดังนี้ เพราะฉะนั้น นิพพานจึงเรียกว่าทิศ.

นิพพานท่านเรียกชื่อว่าทิศไม่เคยไป เพราะพาลปุถุชนไร ๆ แม้แต่ฝันถึง

ก็ไม่เคย. ผู้ปรารถนานิพพานนั้น ควรทำความเพียรด้วยกายคตาสติ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า วชโต ดังนี้ เมื่อภิกษุไปสู่ที่ใกล้

แต่การเกิดแห่งมรรค ดำเนินไปในขณะดำรงอยู่ ก้าวไปแต่การเห็นมรรค.

บทว่า อนฺเต คือ ตั้งอยู่ในที่สุด. บทว่า ปนฺเต คือ ตั้งอยู่ลึกเข้าไป

ในป่าชัฏ. บทว่า ปริยนฺเต คือ ตั้งอยู่ในที่สุดรอบเพราะความไกล.

บทว่า เสลนฺเต คือ ส่วนสุดแห่งภูเขาหิน. บทว่า วนนฺเต คือ ส่วนสุด

แห่งป่าทึบ. บทว่า นทนฺเต คือ ส่วนสุดแห่งแม่น้ำ. บทว่า อุทกนฺเต

คือ ในที่สุดสายน้ำ. บทว่า น กสิยติ น วปิยติ คือ เป็นที่ที่เขาไม่ไถ

ไม่หว่าน. บทว่า ชนนฺต อติกฺกมิตฺวา ิเต มนุสฺสาน อนูปจาร

ไม่เป็นอุปจารแห่งมนุษย์ล่วงเลยหมู่ชน คือเสนาสนะที่มนุษย์ทั้งหลายไม่

เข้าไปทำมาหากินด้วยการไถและการหว่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 646

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

บทว่า กยาสฺส พฺยปฺปถโย อสฺสุ ภิกษุพึงเป็นผู้มีคลองแห่ง

ถ้อยคำเช่นไร คือคำพูดของภิกษุนั้นพึงเป็นเช่นไร.

บทว่า มุสา ในบทนี้ว่า มุสาวาท ปหาย ละมุสาวาท คือ

วจีประโยค หรือกายประโยคอันหักเสียซึ่งประโยชน์ของผู้มุ่งจะพูดให้ผิด.

อนึ่ง เจตนาอันยังกายประโยคและวจีประโยคของผู้พูดให้คนอื่นเข้าใจผิด

ตั้งขึ้นแก่เขาด้วยประสงค์จะพูดให้ผิด ชื่อว่า มุสาวาท. อีกนัยหนึ่ง

บทว่า มุสา คือ วัตถุไม่จริง ไม่แท้. บทว่า วาโท คือ พูดให้เขารู้

โดยเป็นความจริง โดยเป็นความแท้. อนึ่ง เจตนาอันยังการบอกกล่าว

อย่างนั้นให้ตั้งขึ้นแก่ผู้ประสงค์จะให้คนอื่นรู้วัตถุอันไม่เป็นจริง โดยเป็น

ความจริง ชื่อว่า มุสาวาท. มุสาวาทนั้นหักเสียซึ่งประโยชน์ใด เพราะ

ประโยชน์นั้นน้อย จึงมีโทษน้อย เพราะประโยชน์มากจึง มีโทษมาก

อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทมีโทษน้อยแก่คฤหัสถ์เป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า

ไม่เป็นมุสาวาท เพราะประสงค์จะไม่ให้ของของตน. ผู้เป็นพยานพูดเพื่อ

หักเสียซึ่งประโยชน์มีโทษมาก มีโทษน้อยแก่บรรพชิตเป็นไปแล้วโดย

นัยมีอาทิว่า ด้วยประสงค์จะให้ขบขัน เพราะได้น้ำมันหรือเนยใสน้อยว่า

วันนี้น้ำมันไหลเข้าไปในบ้านเหมือนแม่น้ำ. มีโทษมากแก่บรรพชิตผู้พูด

โดยนัยมีอาทิว่า สิ่งที่ไม่เห็นได้เห็นแล้ว.

มุสาวาทนั้นมีองค์ ๔ คือ เรื่องไม่จริง ๑ จิตคิดจะพูดให้ผิด ๑

พยายามจะพูดเรื่องนั้น ๑ ผู้อื่นรู้ความนั้น ๑.

มุสาวาทเป็นสาหัตถิกประโยค (ด้วยน้ำมือของตนเอง) เท่านั้น. พึง

เห็นสาหัตถิกประโยคนั้น ในการกระทำกิริยาให้ผู้อื่นสำคัญผิด ด้วยกายก็ดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 647

ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี. หากผู้อื่นรู้ความนั้นด้วยกิริยานั้น

เจตนาอันตั้งขึ้นด้วยกิริยานี้ ย่อมสำเร็จเป็นกรรมคือมุสาวาทในขณะนั้น

เอง. ชื่อว่า สจฺจวาที เพราะพูดจริง. ชื่อว่า สจฺจสนฺโธ ดำรงความ

จริง เพราะติดต่อ สืบต่อ ความจริงด้วยความจริง. อธิบายว่า ไม่พูดเท็จ

ในระหว่าง ๆ. คนใดบางครั้งพูดเท็จ บางครั้งพูดจริง ความจริงกับ

ความจริงไม่ต่อเนื่องกัน เพราะความจริงนั้น เป็นไปในระหว่างด้วย

มุสาวาท เพราะฉะนั้น คนนั้นไม่ชื่อว่า สจฺจสนฺโธ ผู้ดำรงความจริง.

อนึ่ง คนนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ไม่พูดเท็จ แม้เพราะเหตุชีวิต ความจริงกับ

ความจริงติดต่อกันไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สจฺจสนฺโธ.

บทว่า เถโต คือ ผู้มั่นคง. อธิบายว่า มีถ้อยคำมั่นคง. บุคคล

คนหนึ่ง มีถ้อยคำไม่มั่นคง ดุจผ้าย้อมด้วยขมิ้น ดุจตอไม้ปักที่กองแกลบ

และดุจลูกฟักวางไว้บนหลังม้า. บุคคลคนหนึ่งมีถ้อยคำมั่นคง ดุจจารึกบน

แผ่นหิน และดุจเสาเขื่อน แม้จะเอาดาบตัดศีรษะก็ไม่พูดเป็นคำสอง

บุคคลนี้เรียกว่าผู้มีถ้อยคำมั่น. บทว่า ปจฺจยิโก คือ มีถ้อยคำเชื่อถือได้.

อธิบายว่า เชื่อได้. เพราะบุคคลบางคนเชื่อถือไม่ได้. ถามว่า คำนี้ใครพูด

เมื่อเขาตอบว่า คนโน้นพูด ควรจะพูดว่า พวกท่านอย่าเชื่อถ้อยคำของ

คนนั้น. บุคคลหนึ่งเป็นผู้เชื่อถือได้. ถามว่า คำนี้ใครพูด. ตอบว่า คน

โน้นพูด ผิว่า คนนั้นพูด ถ้อยคำนี้เป็นประมาณได้ ไม่มีข้อควรสอบสวน

ในบัดนี้ ควรจะพูดว่า ถ้อยคำนี้เป็นอย่างนั้นทีเดียว. บุคคลนี้เรียกว่า มี

ถ้อยคำควรเชื่อถือได้. บทว่า อวิสวาทโก โลกสฺส ไม่พูดให้คลาดเคลื่อน

แก่โลก ความว่า ไม่ให้ชาวโลกเข้าใจผิด เพราะคำพูดจริงนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยบทมีอาทิว่า ปิสุณ วาจ ปหาย ละวาจา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 648

ส่อเสียดต่อไป, กล่าววาจาของตนที่ทำความน่ารักในหัวใจ ของบุคคลนั้น

และส่อเสียดบุคคลอื่น ชื่อว่า ปิสุณวาจา วาจาส่อเสียด. วาจาที่ทำตนบ้าง

ผู้อื่นบ้างให้หยาบ หรือวาจาที่หยาบเองเพราะหู ไม่สุขใจ ชื่อว่า ผรุส-

วาจา วาจาหยาบ. คำพูดเพ้อเจ้อไม่มีประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ.

แม้เจตนาอันเป็นมูลเหตุของคำพูดเหล่านั้น ก็ได้ชื่อว่า ปิสุณวาจา เป็น-

ต้นนั่นเอง. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาปิสุณวาจานั่นเอง.

ในวาจาเหล่านั้น เจตนาอันยังกายประโยคและวจีประโยคให้ตั้งขึ้น

ของผู้มีจิตเศร้าหมอง เพื่อทำลายผู้อื่นหรือเพราะประสงค์จะให้เขารักตน

ชื่อว่า ปิสุณวาจา. ปิสุณวาจานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ที่ถูกทำ

ความแตกกันมีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะผู้ที่ถูกทำความแตกกันมี

คุณมาก.

ปิสุณวาจานั้นมีองค์ ๔ คนอื่นที่ควรให้แตกกันมุ่งจะให้แตกกัน

ด้วยคิดว่าคนเหล่านี้จักแตกกันอย่างนี้ ๑ ใคร่ให้เป็นที่รัก ด้วยคิดว่า

เราจักเป็นทั้รักเป็นผู้คุ้นเคยอย่างนี้ ๑ พยายามจะทำให้เขาแตกกัน ๑

ผู้นั้นรู้ความนั้น ๑.

บทว่า อิเมส เภทาย เพื่อทำลายคนหมู่นี้ คือเพื่อทำลายคนที่ฟัง

ในสำนักของผู้ที่กล่าวว่า ฟังจากข้างนี้ดังนี้. บทว่า ภินฺนาน วา สนิธาตา

เป็นผู้สมานคนที่แตกกัน คือเมื่อมิตรสองคนหรือผู้ร่วมอุปัชฌาย์เดียวกัน

แตกกันด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง เข้าไปหาคนหนึ่ง ๆ แล้วกล่าวว่า การแตก

กันนี้ไม่สมควรแก่พวกท่านผู้เกิดในตระกูลเช่นนี้ ผู้เป็นพหูสูตอย่างนี้

แล้วทำความสมานกัน. บทว่า อนุปฺปทาตา คือ ส่งเสริมคนที่พร้อม-

เพรียงกัน ความว่า เห็นคนสองคนสามัคคีกัน แล้วกล่าวคำมีอาทิว่า เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 649

เกิดในตระกูลเห็นปานนี้ ประกอบด้วยคุณเห็นปานนี้ ข้อนี้เป็นความ

สมควร แล้วทำให้มั่นคง. ชื่อว่า สมคฺคาราโม เพราะมีความพร้อม-

เพรียงกัน เป็นที่มายินดี. อธิบายว่า ความพร้อมเพรียงกันไม่มีในที่ใด

ไม่ปรารถนาแม้จะอยู่ในที่นั้น. บาลีว่า สมคฺครโต บ้าง. ความ

อย่างเดียวกัน. บทว่า สมคฺครโต คือ ยินดีแล้วในความพร้อมเพรียง.

อธิบายว่า ไม่ปรารถนาจะละความพร้อมเพรียงเหล่านั้นไปอยู่ที่อื่น. ชื่อว่า

สมคฺคนนฺที เพราะเห็นบ้าง ฟังบ้าง คนที่พร้อมเพรียงกันย่อมเพลิดเพลิน.

บทว่า สมคฺคกรณึ วาจ ภาสิตา กล่าววาจาทำให้เขาพร้อมเพรียงกัน

คือกล่าววาจาแสดงคุณของความพร้อมเพรียงกัน อันทำให้สัตว์ทั้งหลาย

พร้อมเพรียงกัน ไม่กล่าวคำนอกไปจากนี้.

เจตนาหยาบโดยส่วนเดียว ยังกายประโยคและวจีประโยคตัดส่วน

สำคัญของร่างกายของตนอื่น ชื่อว่า ผรุสวาจา. วจีประโยค แม้ตัดส่วน

สำคัญของร่างกาย ก็ไม่เป็นผรุสวาจา เพราะจิตละเอียดอ่อน. จริงอยู่

มารดาบิดา บางครั้งพูดกะบุตรอย่างนี้ว่า ขอให้โจรฟาดฟันพวกเจ้า

ให้เป็นชิ้น ๆ ทีเถิด ดังนี้ ทั้ง ๆ ที่มารดาบิดาไม่ปรารถนาแม้ใบบัวตก

บนศีรษะของพวกลูก ๆ เหล่านั้น. อนึ่ง อาจารย์และอุปัชฌาย์บางครั้ง

กล่าวกะศิษย์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า อะไรพวกนี้ไม่มีหิริโอตตัปปะเสียเลย

พวกเจ้าจงไล่เขาออกไป. ที่แท้อาจารย์และอุปัชฌาย์ปรารถนาให้ศิษย์

ทั้งหลายถึงพร้อมด้วยอาคมและอธิคม. อนึ่ง เพราะจิตละเอียดอ่อนย่อม

ไม่เป็นผรุสวาจาฉันใด เพราะคำพูดละเอียดอ่อนไม่เป็นผรุสวาจาหามิได้

ฉันนั้น. คำพูดของผู้ประสงค์จะให้เขาตายว่า จงให้ผู้นี้นอนให้สบายเถิด

ดังนี้ ไม่เป็นผรุสวาจาหามิได้ เพราะจิตหยาบคาย ลำพูดนั้นจึงเป็นผรุส-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 650

วาจาแท้. วาจามีโทษน้อย เพราะผู้ที่พูดหมายถึงมีคุณน้อย มีโทษมาก

เพราะผู้ที่พูดหมายถึงมีคุณมาก.

ผรุสวาจานั้นมีองค์ ๓ คือคนอื่นที่พึงด่า ๑ จิตโกรธ ๑ การด่า ๑.

บทว่า เนลา โทษ ท่านเรียกว่า เอลา. ชื่อว่า เนลา เพราะ

วาจาไม่มีโทษ. ดุจคำว่า เนล ที่ท่านกล่าวไว้ในบทนี้ว่า เนลงฺโค

เสตปจฺฉาโท ราชรถไม่มีโทษคลุมด้วยสีขาว. บทว่า กณฺณสุขา ไพเราะหู

คือวาจาเป็นสุขแก่หู เพราะไพเราะด้วยพยัญชนะ ไม่ทำให้เกิดเสียดแทงหู

ดุจแทงด้วยเข็ม. วาจาชื่อว่า เปมนียา เพราะมิให้เกิดความโกรธแล้ว

ให้เกิดความรักในสกลกาย เพราะไพเราะด้วยอรรถ. วาจาชื่อว่า หทยงฺ-

คมา เพราะหยั่งลงถึงหทัย เข้าไปถึงจิตได้โดยง่ายไม่ติดขัด. วาจาชื่อว่า

โปรี เพราะเป็นถ้อยคำของชาวเมืองบริบูรณ์ด้วยคุณธรรม. เพราะเป็น

ถ้อยคำดีดุจนารีเจริญแล้วในเมือง. เพราะเป็นถ้อยคำของชาวเมือง จริงอยู่

ชาวเมืองย่อมเป็นผู้กล่าวถ้อยคำเหมาะสม กล่าวกะคนปูนพ่อว่า พ่อ คน

ปูนพี่ว่า พี่. วาจา ชื่อว่า พหุชนกนฺตา เพราะถ้อยคำเห็นปานนั้น

ชนหมู่มากพอใจ. ชื่อว่า พหุชนมนาปา เพราะชนหมู่มากชอบใจ ทำ

ความเจริญแก่ใจด้วยความเป็นผู้พอใจ. อกุศลเจตนาอันยังกายประโยค

และวจีประโยคที่จะให้เขารู้ไม่มีประโยชน์ตั้งขึ้น ชื่อว่า สมฺผปฺปลาโป.

สัมผัปปลาปะนั้นมีโทษน้อย เพราะอาเสวนะ (การคบหา การเสพ) น้อย

มีโทษมาก เพราะอาเสวนะมาก.

สัมผัปปลาปะมีองค์ ๒ คือมุ่งกล่าวคำไม่มีประโยชน์ มีเรื่อง

ภารตยุทธ์และเรื่องชิงสีดาเป็นต้น ๑ กล่าวถ้อยคำแบบนั้น ๑.

ชื่อว่า กาลวาที เพราะพูดโดยกาลอันควร. อธิบายว่า พูด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 651

กำหนดกาลที่ควรพูด. ชื่อว่า ภูตวาที เพราะพูดคำจริงแท้ ที่เป็นตาม

สภาวะ. ชื่อว่า อตฺถวาที เพราะพูดอิงประโยชน์ในปัจจุบันและภพหน้า.

ชื่อว่า ธมฺมวาที เพราะพูดอิงโลกุตรธรรม ๙. ชื่อว่า วินยราที เพราะพูด

อิงสังวรวินัย (การสำรวม) และปหานวินัย (การละ). วาจาเป็นหลักฐาน

เรียกว่า นิธาน. ชื่อว่า นิธานวาที เพราะพูดมีหลักฐานอ้างอิง อธิบายว่า

กล่าววาจาอันควรจำไว้ในหทัย. บทว่า กาเลน โดยกาลอันควร คือแม้

กล่าววาจาเห็นปานนี้ว่า เราจักพูดวาจามีหลักฐานดังนี้ ก็ชื่อว่า ไม่กล่าวใน

กาลอันไม่ควร อธิบายว่า พิจารณากาลอันควรแล้วจึงพูด. บทว่า สาปเทส

มีที่อ้างอิง ความว่า มีเปรียบเทียบ และมีเหตุผล. บทว่า ปริยนฺตวตึ

มีส่วนสุด อธิบายว่า แสดงหัวข้อ แล้วกล่าวโดยอาการที่หัวข้อของวาจา

นั้นปรากฏ. บทว่า อตฺถสญฺหิต ประกอบด้วยประโยชน์ คือถึงพร้อม

ด้วยประโยชน์ เพราะอันผู้จำแนกโดยนัยไม่น้อยไม่สามารถจะถือเอาได้.

บุคคลผู้กล่าวประโยชน์นั้นย่อมกล่าวถึงประโยชน์ใด ย่อมกล่าววาจาอัน

ประกอบด้วยประโยชน์ เพราะตั้งอยู่ด้วยประโยชน์นั้น ท่านอธิบายว่า

ไม่ยกอย่างอื่นแล้วกล่าวอย่างอื่น. บทว่า จตูหิ วจีสุจริเตหิ คือ ด้วยการ

ประพฤติดี อันประกอบแล้วด้วยวาจา ๔ อย่างดังกล่าวแล้วโดยนัยมีอาทิว่า

มุสาวาท ปหาย ละการพูดเท็จดังนี้. บทว่า สมนฺนาคโต ประกอบแล้ว

คือไม่เสื่อม. บทว่า จตุทฺโทสาปคต วาจ ภาสติ คือ กล่าววาจา

ปราศจากโทษ ๔ อย่าง มีไม่เป็นที่รักเป็นต้น.

บทว่า อตฺถิ โคจโร พระเถระประสงค์จะกล่าวถึงสมณโคจรโดย

แท้จึงยกบทว่า อโคจโร มีอยู่ โคจร ก็มีอยู่ ดังนี้. เหมือนอย่างว่า บุรุษ

ผู้ฉลาดหนทาง เมื่อบอกหนทางย่อมบอกทางมีภัยอันเป็นทางมีอันตรายที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 652

ควรเว้นก่อนว่า ท่านจงเว้นทางซ้าย ถือเอาทางขวา ดังนี้ ภายหลังจึงบอก

ทางตรงอันเป็นทางปลอดภัยที่ควรถือเอา ฉันใด พระธรรมเสนาบดี

เช่นกับบุรุษผู้ฉลาดในทางก็ฉันนั้นเหมือนกัน บอกอโคจรที่พระพุทธเจ้า

ทรงติเตียน ควรละก่อน แล้วประสงค์จะบอกโคจรในภายหลัง จึงกล่าวคำ

มีอาทิว่า กตโม อโคจโร อโคจรเป็นไฉน. ทางที่บุรุษบอกจะถูกก็ได้

ผิดก็ได้. แต่ทางที่พระตถาคตตรัสบอกไม่ผิดหวัง ย่อมประชุมลงสู่นคร

คือนิพพานนั่นเอง ดุจวชิระที่พระอินทร์ขว้างออกไปฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น

พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า บุรุษผู้ฉลาดในทาง คำนั้นเป็นชื่อของพระ-

ตถาคต ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. หรือเพราะการบำเพ็ญ

กัลยาณธรรมของผู้ละบาปธรรมได้แล้ว ดุจวิธีการตกแต่งเครื่องประดับมี

ดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น ของบุคคลผู้ชำระเหงื่อมลทินและ

สะเก็ด ด้วยการอาบน้ำตลอดศีรษะ ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระบอกอโคจร

ที่ควรละก่อน ดุจเหงื่อมลทินและสะเก็ด แล้วประสงค์จะบอกโคจรใน

ภายหลัง ดุจวิธีตกแต่งเครื่องประดับมีดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้

เป็นต้น ของบุคคลผู้ชำระเหงื่อมลทินและสะเก็ด ฉะนั้น จึงกล่าวคำมี

อาทิว่า กตโม อโคจโร ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โคจโร ได้เเก่ ที่สมควรเข้าไปเพื่อบิณฑบาต

เป็นต้น. อโคจร คือที่ไม่ควรเข้าไป. ชื่อว่า เวสิยโคจโร เพราะมีหญิง

แพศยาเป็นโคจร. อธิบายว่า ไม่เป็นที่ควรเข้าไปด้วยอำนาจความคุ้นเคย

ฉันมิตร. หญิงอาศัยรูปเลี้ยงชีพชื่อว่า เวสิยะ. เข้าไปหาหญิงเหล่านั้น

ร่วมประเวณีได้ง่าย ด้วยอำนาจมิตรสันถวสิเนหา ชื่อว่าเป็น เวสิยโคจร.

เพราะฉะนั้น ไม่ควรเข้าไปอย่างนั้น. เพราะอะไร. เพราะวิบัติด้วยการ

อารักขา. จริงอยู่ เมื่อภิกษุเข้าไปอย่างนั้น สมณธรรมที่รักษาคุ้มครองมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 653

เป็นเวลานานย่อมฉิบหายไปด้วยวันเล็กน้อยนั่นเอง แม้หากไม่ฉิบหายก็ได้

รับความติเตียน. เมื่อเข้าไปเกี่ยวกับทักษิณา ควรตั้งสติเข้าไป. หญิงผัว

ตายหรือผัวทิ้ง ชื่อว่า วิธวา หญิงหม้าย.

บทว่า ถูลกุมาริโย สาวเทื้อ คือหญิงแก่ คือไม่มีความเป็นหญิงสาว

เหลืออยู่. บทว่า ปณฺฑกา บัณเฑาะก์ คือพวกนปุงสกะ (กะเทย) มาก

ไปด้วยคำพูดอิงโลก มีกิเลสหนา เร่าร้อนไม่หาย. โทษในการเข้าไป

หากะเทยเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. แม้ในภิกษุณี

ทั้งหลานก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง ธรรมดาภิกษุทั้งหลายย่อมเป็นผู้มี

พรหมจรรย์สูง. ภิกษุณีก็เหมือนกัน. ภิกษุเหล่านั้นยังสมณธรรมที่รักษา

คุ้มครองแล้วให้ฉิบหายไปโดยวันเล็กน้อย ด้วยการทำสันถวะกะกันและ

กัน. แต่การไปถามเรื่องเจ็บป่วยควร. ได้ดอกไม้แล้วไป เพื่อบูชาบ้าง

เพื่อโอวาทบ้าง ควรเหมือนกัน. บทว่า ปานาคาร คือ โรงเหล้า โรง

เหล้านั้นย่อมทำอันตรายแก่พรหมจรรย์ เป็นที่ไม่สงัดจากพวกนักเลงเหล้า.

การเข้าไปในที่นั้นด้วยความชอบพอกับพวกนักเลงเหล้าเหล่านั้นไม่ควร.

ย่อมเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า สสฏฺโ วิหรติ วาชูหิ อยู่คลุกคลี

ด้วยพระราชา ต่อไป. บทว่า ราชาโน ได้แก่ ปกครองราชสมบัติ จะ

อภิเษกแล้วหรือยังไม่อภิเษกก็ตาม เรียกว่า พระราชา ผู้ประกอบด้วย

ความเป็นอิสระอันใหญ่ เช่นเดียวกับความเป็นอิสระของพระราชาทั้งหลาย

เรียกว่า มหาอำมาตย์ของพระราชา. นักบวชนอกศาสนา มีความเห็น

วิปริต เรียกว่า เดียรถีย์. ผู้ให้ปัจจัยแก่เดียรถีย์เหล่านั้นด้วยความภักดี

เรียกว่า สาวกของเดียรถีย์. อธิบายว่า เป็นผู้คลุกคลีกับสาวกเดียรถีย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 654

เหล่านั้น. บทว่า อนนุโลมิเกน คิหิสสคฺเคน ด้วยความคลุกคลีกับ

คฤหัสถ์อันไม่สมควร คือภิกษุได้รับอันตรายของพรหมจรรย์ การล่วง

บัญญัติ และความเสื่อมสัลเลขปฏิบัติ ด้วยความคลุกคลีอันเป็นข้าศึกไม่

สมควรแก่ไตรสิกขา ชื่อว่าความคลุกคลีอันไม่สมควร. เหมือนอย่างว่า

ความเศร้าโศกร่วมกัน ความยินดีร่วมกัน ความมีสุขทุกข์ร่วมกัน กับพระ-

ราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา เมื่อกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ถึงความ

ขวนขวายด้วยตน ความเป็นผู้มีอาจารย์ร่วมกันด้วยความพอใจความชอบ

ใจเป็นอันเดียวกันกับสาวกของเดียรถีย์. การนำมาซึ่งความเป็นผู้มีอาจาระ

เสมอกันด้วยความพอใจชอบใจเป็นอันเดียวกัน หรือความชื่นชมมีมาก

ด้วยความเสน่หา. การคลุกคลีกับพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา

เป็นการกระทำอันตรายแก่พรหมจรรย์ การคลุกคลีกับเดียรถีย์นอกนี้เป็น

การถือลัทธิ. อันผู้สามารถทำลายวาทะของเดียรถีย์เหล่านั้น แล้วให้ถือ

ลัทธิของตน เข้าไปหาควร.

บัดนี้พระสารีบุตรเพื่อจะแสดงอโคจรโดยปริยายอื่น จึงเริ่มคำมี

อาทิว่า ยานิ วา ปน ตานิ กุลานิ อนึ่ง ตระกูลบางตระกูล ดังนี้. ใน

บทเหล่านั้น ว่า อสฺสทฺธานิ ไม่มีศรัทธา คือเว้นจากศรัทธาในพระ-

พุทธเจ้าเป็นต้น. ตระกูลทั้งหลายย่อมไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระ-

สัพพัญญู พระธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์ พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดี ดังนี้.

บทว่า อปฺปสนฺนานิ ไม่เลื่อมใส คือไม่สามารถทำจิตให้ผ่องใสไม่ขุ่นมัว

ได้. บทว่า อกฺโกสกปริภาสกานิ คือ มักด่ามักบริภาษ. อธิบายว่า

ย่อมด่าด้วยอักโกสวัตถุ (เรื่องที่ด่า) ๑๐ อย่าง อย่างนี้คือ ท่านเป็นโจร

เป็นคนพาล เป็นคนหลง เป็นอูฐ เป็นโค เป็นลา เป็นคนตกในอบาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 655

เป็นสัตว์นรก เป็นเดียรัจฉาน ท่านไม่มีสุคติ ท่านหวังทุคติอย่างเดียว

และบริภาษด้วยการแสดงภัยอย่างนี้ว่า ช่างเถิด ประเดี๋ยวเราจักประหาร

จักจองจำ จักฆ่าท่าน.

บทว่า อนตฺถกามานิ มุ่งความเสื่อม คือไม่ปรารถนาประโยชน์

ปรารถนาความเสื่อมอย่างเดียว. บทว่า อหิตกามานิ มุ่งสิ่งไม่มีประโยชน์

เกื้อกูล คือปรารถนาความไม่มีประโยชน์เกื้อกูลอย่างเดียว ไม่ปรารถนา

ความมีประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า อผาสุกามานิ มุ่งความไม่สบาย คือไม่

ปรารถนาความสบาย ปรารถนาความไม่สบายอย่างเดียว. บทว่า อโยคกฺ-

เขมกามานิ มุ่งความไม่ปลอดโปร่งจากกิเลส คือไม่ปรารถนาความ

ปลอดโปร่งจากโยคะ ๔ คือความไม่มีภัย ปรารถนาความมีภัยอย่างเดียว.

แม้สามเณรทั้งหลายก็สงเคราะห์เข้าในบทนี้ว่า ภิกฺขูน ดังนี้. สิกขมานาก็ดี

สามเณรีก็ดี สงเคราะห์เข้าในบทว่า ภิกฺขุนีน ดังนี้นี้. การมุ่งความเสื่อม

เหล่านั้นแก่บริษัท ๔ ทั้งปวง ผู้บวชและถึงความเป็นสมณะ อุทิศพระผู้มี

พระภาคเจ้า. บทว่า ตถารูปานิ กุลานิ คือ ตระกูลทั้งหลายมีตระกูลกษัตริย์

เป็นต้นเห็นปานนั้น. บทว่า เสวติ คือ อาศัยเป็นอยู่. บทว่า ภชติ คบหา

คือเข้าไปใกล้. บทว่า ปยิรุปาสติ ติดต่อ คือเข้าไปใกล้บ่อย ๆ. บทว่า

อย วุจฺจติ พึงทราบว่า นี้เรียกว่า อโคจร เป็นโคจรอันไม่สมควร

๓ ประการ คืออโคจรมีหญิงแพศยาเป็นต้น ของผู้เที่ยวหาหญิงแพศยา

เป็นต้น อโคจรมีพระราชาเป็นต้น ของผู้คลุกคลีกับพระราชาเป็นต้น

อโคจรมีตระกูลไม่มีศรัทธาเป็นต้น ของผู้คบตระกูลไม่มีศรัทธาเป็นต้น.

พึงทราบความเป็นอโคจรของภิกษุนั้นโดยปริยายแม้นี้. พึงทราบ

อโคจรมีหญิงแพศยาเป็นต้น ชื่อว่า อโคจร เพราะอาศัยในกามคุณ ๕ ก่อน.

เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อะไรเป็นแดนอื่น ซึ่งเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 656

อโคจรของภิกษุ คือกามคุณ ๕. พึงทราบอโคจรด้วยทำให้เกิดกิเลส ๔ อย่าง

คืออโคจรมีพระราชาเป็นต้น ชื่อว่า อโคจร เพราะไม่เป็นอุปนิสัยแห่ง

การประกอบเนือง ๆ ในฌาน และเพราะเหตุแห่งการบีบด้วยวิตกอันข้อง

อยู่ในลาภสักการะและเป็นเหตุให้ทิฏฐิวิบัติ ๑ อโคจรมีตระกูลไม่มีศรัทธา

เป็นต้น ชื่อว่าอโคจร เพราะนำความเสื่อมศรัทธาและความประทุษร้าย

ทางจิตมาให้ ๑ อโคจรมีการเข้าไปตามละแวกเรือนเป็นต้น ชื่อว่าอโคจร

เพราะเห็นรูปด้วยจักษุแล้วถือเป็นนิมิต และบริโภคโภชนะที่เขาให้ด้วย

ศรัทธาแล้วขวนขวายในการดูสิ่งอันเป็นข้าศึกแห่งกุศล ๑ กามคุณห้า ๑.

บทว่า มา ภิกฺขเว อโคจเร จรถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

จงอย่าเที่ยวไปในอโคจร คืออย่าเที่ยวไปในที่ที่ไม่ควรเที่ยวไป. บทว่า

ปรวิสเย ในแดนอื่น คือแดนศัตรู. บทว่า อโคจเร ภิกฺขเว จรต คือ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอเที่ยวไปในอโคจรอันเป็นที่ไม่สมควร. บทว่า

ลจฺฉติ คือ จักได้ จักเห็น. บทว่า มาโร ได้แก่ เทวบุตรมารบ้าง มัจจุมาร

บ้าง. บทว่า โอตาร ได้แก่ ช่องโอกาส.

พึงทราบวินิจฉัยใน โคจรนิทเทส ดังต่อไปนี้. บทมีอาทิว่า

เวสิยโคจโร โหติ ภิกษุไม่เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจรดังนี้ พึงทราบ

โดยตรงกันข้ามกับที่กล่าวไว้แล้ว. แต่ความต่างกันมีดังนี้. บทว่า จตฺตาโร

สติปฏฺานา โคจโร คือ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโคจร ด้วยเป็นที่สมควร

ประพฤติ. บทว่า สเก คือ เป็นของของตน. บทว่า เปตฺติเก วิสเย

คือ เป็นแดนอันมาแล้วแต่บิดา.

บทว่า อารทฺธวิริยสฺส ปรารภความเพียร คือมีความเพียรอัน

ได้แก่สัมมัปปธาน ๔ เข้าไปตั้งไว้แล้วโดยชอบ. บทว่า ถามรโต คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 657

มีกำลัง. บทว่า ทฬฺหปรกิกมสฺส คือ มีความเพียรมั่น. บทว่า ยสฺสตฺตา

เปสิโต ตนอันภิกษุส่งไปแล้ว คือสละอัตภาพเพื่อพระอรหัต. บทว่า

อตฺตตฺเถ จ คือ ในอรหัตผลอันเป็นประโยชน์ของตน. บทว่า าเย จ

คือ ในมรรคมีองค์ ๘ อัน เป็นอริยะ. บทว่า ลกฺขเณ จ คือ ในการ

แทงตลอดลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น. บทว่า การเณ จ คือ ใน

เหตุ. บทว่า านาาเน จ คือ ในฐานะและอฐานะ อธิบายว่า ในเหตุ

และมิใช่เหตุ. บัดนี้พระสารีบุตรเพื่อแสดงให้พิสดาร จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยใน คาถาที่ ๘ ดังต่อไปนี้. บทว่า เอโกทิ นิปโก

เป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น คือเป็นบัณฑิตมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.

บทว่า ชาตรูปสฺส โอฬาริกมฺปิ มล ธมติ ช่างทองกำจัดมลทินแม้อย่าง

หยาบของทอง คือนำมลทินหยาบของทองออกด้วยใช้ไฟ. บทว่า สนฺธมติ

คือ นำออกโดยชอบ. บทว่า นิทฺธมติ กำจัด คือนำออกไป ทำไม่ให้

เกิดอีก. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ณาเปติ คือ เผา. บทว่า มชฺณิมกมฺปิ

อย่างกลางบ้าง คือละเอียดกว่านั้นบ้าง. บทว่า สุขุมกมฺปิ ละเอียดบ้าง

คือละเอียดยิ่งบ้าง. บทว่า เอวเมว เป็นบทแสดงเปรียบเทียบ. บทว่า

อตฺตโน โอฬาริเกปิ กิเลเส ธมติ กำจัดกิเลสอย่างหยาบของตน คือ

นำกิเลสหยาบมีกายทุจริตเป็นต้นออกไปด้วยความเพียรเผากิเลส. บทว่า

มชฺฌิมเกปิ กิเลเส กำจัดกิเลสอย่างกลาง คือกิเลสอย่างกลางระหว่าง

กิเลสอย่างหยาบและอย่างละเอียด มีกามวิตกเป็นต้น. บทว่า สุขุมเกปิ

กิเลสอย่างละเอียด คือกิเลสอย่างละเอียดยิ่งมีวิตกถึงญาติเป็นต้น. บทว่า

สมฺมาทิฏฺิยา มิจฺฉาทิฏฺึ ธมติ กำจัดมิจฉาทิฏฐิ ด้วยสัมมาทิฏฐิ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 658

นำออกซึ่งมิจฉาทิฏฐิอันวิปริตด้วยสัมมาทิฏฐิ ที่สัมปยุตด้วยมรรคพร้อมกับ

วิปัสสนา. แม้ในสัมมาสังกัปปะเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า อันท่านพระสารีบุตรสรรเสริญด้วยคาถา ๓

คาถา แล้วทูลถามถึงเสนาสนะ โคจร ศีลและพรต เป็นต้น เพื่อประ-

โยชน์แก่ศิษย์ทั้งหลาย ๕๐๐ เพื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงเริ่มวิสัชนา

โดยนัยมีอาทิว่า วิชิคุจฺฉมานสฺส ของภิกษุผู้เกลียด ดังนี้.

ในคาถาเหล่านั้นพึงทราบความแห่ง คาถาต้น ก่อน. ดูก่อนสารี-

บุตร เราจะกล่าวซึ่งความผาสุกและธรรมตามสมควรนั้นของภิกษุผู้เกลียด

ด้วยชาติเป็นต้น ผู้เสพ ที่นั่ง ที่นอน อันสงัด ผู้ปรารถนาสัมโพธิแก่เธอ

ตามที่รู้ คือเรารู้อย่างใดก็จะกล่าวอย่างนั้น.

บทว่า ย ผาสุวิหาร คือ ความอยู่เป็นผาสุก. บทว่า อสปฺปาย-

รูปทสฺสเนน จากการเห็นรูปไม่เป็นที่สบาย คือเห็นรูปไม่เป็นที่สบายของ

สมณะมีรูปสตรีเป็นต้น. บทว่า ต สมฺโพธึ พุชฺณิตุกามสฺส ปรารถนา

เพื่อจะตรัสรู้สัมโพธินั้น คือปรารถนาเพื่อจะตรัสรู้สัมโพธิ อันได้แก่

มรรคญาณ ๔ นั้น. บทว่า อนุพุชฺฌิตุกามสฺส ปรารถนาจะตรัสรู้ตาม คือ

ปรารถนาจะตรัสรู้ด้วยการปฏิบัติตามสมควร. บทว่า ปฏิวิชฺฌิตุกามสฺส

ปรารถนาจะตรัสรู้เฉพาะ คือปรารถนาจะแทงตลอดทำไว้ในที่เฉพาะหน้า.

บทว่า สมฺพุชฺฌิตุกามสฺส ปรารถนาจะตรัสรู้พร้อม คือปรารถนาจะ

ตรัสรู้ชอบด้วยการไม่ให้กิเลสที่ละได้แล้วกลับมา. บทว่า อธิคนฺตุกามสฺส

คือ ปรารถนาจะบรรลุ. บทว่า สจฺฉิกาตุกามสฺส ปรารถนาจะทำให้แจ้ง

คือปรารถนาจะบรรลุด้วยการได้เฉพาะและการทำให้แจ้ง. อีกอย่างหนึ่ง

บทว่า พุชฺฌิตุกามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจะรู้โสดาปัตติมรรคญาณ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 659

อนุพุชฺฌิตุกามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจะรู้สกทาคามิมรรคญาณอีก. บทว่า

ปฏิวิขฺณิตุกามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจะรู้ด้วยการแทงตลอดอนาคามิมรรค-

ญาณ. บทว่า สนฺพุชฺฌิตุกามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจะรู้โดยชอบซึ่ง

อรหัตมรรคญาณ. ปรารถนาจะบรรลุแม้ทั้ง ๔ ญาณ. บทว่า ผุสิตุกามสฺส

ปรารถนาจะถูกต้อง คือปรารถนาจะถูกต้องด้วยญาณ. บทว่า สจฺฉิกาตุ-

กามสฺส ได้แก่ ปรารถนาจะทำให้ประจักษ์ด้วยการพิจารณา. บทว่า

จตุนฺน มคฺคาน ปุพฺพภาเค วิปสฺสนา วิปัสสนาในส่วนเบื้องต้นแห่ง

มรรค ๔ คือวิปัสสนาญาณมีอุทยัพพยญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นทั้งความ

เกิดและความดับ) เป็นต้น อันเกิดขึ้นแล้วในเบื้องต้นของอริยมรรค ๔.

พึงทราบความใน คาถาที่สอง ดังต่อไปนี้. บทว่า สปฺปริยนฺตจารี

ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุด คือประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุด ๔ อย่าง

มีศีลเป็นต้น. บทว่า ฑสาธิปาตาน ได้แก่ เหลือบและแมลงวัน. เพราะ

เหลือบและแมลงวันเหล่านั้นบินออกจากที่นั้น ๆ แล้วกัด เพราะฉะนั้น

จึงเรียกว่า อธิปาตา (สัตว์ไต่ตอม). บทว่า มนุสฺสผสฺสาน สัมผัสแต่

มนุษย์ คือสัมผัสแต่โจรเป็นต้น.

บทว่า จตฺตาโร ปริยนฺตา ประพฤติธรรมเป็นส่วนสุดรอบมี ๔

อย่าง ได้แก่ศีลอันเป็นเขตแดน ศีลอันเป็นข้อกำหนด. บทว่า อนฺโต

ปูติภาว ปจฺจเวกฺขมาโน พิจารณาความเสีย ณ ภายใน คือตรวจดูความ

น่าเกลียดในภายใน ความเป็นผู้เว้นจากศีล. บทว่า อนฺโตสีลสรรปริ-

ยนฺเต จรติ ได้แก่ ประพฤติในธรรมภายในอันกำหนดด้วยศีลสังวร.

บทว่า มริยาท น ภินฺทติ มิได้ทำลายศีลอันเป็นเขตแดน คือไม่ทำศีล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 660

อันเป็นเขตแดน ศีลอันเป็นข้อกำหนดให้กำเริบ. บทว่า อาทิตฺตปริยาย

ปจฺจเวกฺขมาโน คือ พิจารณาอาทิตตปริยาเทศนา.

บทว่า อกฺขพฺภญฺชนวณปฏิจฺฉาทนปุตฺตมสูปม ปจฺจเวกฺขมาโน

พิจารณาอาหารเปรียบด้วยน้ำมันหยอดเพลาเกวียน ผ้าพันแผลและเนื้อ

บุตร คือพิจารณาอาหารดุจน้ำมันหยอดเพลาของเกวียน อุปมาด้วยผ้าเก่า

ชุบน้ำมันพันแผลของตนเป็นโรคเรื้อน และอุปมาด้วยการกินเนื้อบุตร

ของผัวเมียที่เดินทางกันดาร. บทว่า ภทฺเทกรตฺตวิหาร ปจฺจเวกฺขมาโน

พิจารณาถึงความเป็นอยู่แห่งบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ คือพิจารณาภัทเทก-

รัตตวิหารธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงอดีต ไม่ควรหวังถึงอนาคต มุนี

ผู้สงบ เรียกบุคคลนั้นแลว่า เป็นผู้มีราตรีเดียวเจริญ ดังนี้.

บทว่า ตา อุปฺปติตฺวา อุปฺปติตฺวา ขาทนฺติ แมลงวันเหล่านั้นย่อม

บินตอมกัดกิน.

พึงทราบความแห่ง คาถาที่สาม ดังต่อไปนี้. คนภายนอกแม้ทั้ง

หมดเว้นสหธรรมิก ๗ จำพวก ชื่อว่า ปรธมฺมิกา คนที่ตั้งอยู่ในธรรม

อื่น. บทว่า กุสลานุเอสี ผู้แสวงหากุศล คือแสวงหากุศลธรรม. บทว่า

สตฺต สหธมฺมิเก เปตฺวา เว้นสหธรรมิก ๗ จำพวก คือเว้นภิกษุ

ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา. บทว่า

อถาปรานิปิ อตฺถิ อภิสมฺโภตพฺพานิ คือ อนึ่ง อันตรายแม้เหล่าอื่น

มีอยู่ ภิกษุทั้งหลายพึงย่ำยี.

พึงทราบความใน คาถาที่สี่ ดังต่อไปนี้. บทว่า อาตงฺกผสฺเสน

ได้แก่ ผัสสะคือโรค. บทว่า สีต อถุณฺห ได้แก่ ความหนาวและความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 661

ร้อน. บทว่า โส เตหิ ผุฏฺโ พหุธา คือ ภิกษุนั้นอันผัสสะเหล่านั้นมี

โรคเป็นต้น กระทบแล้วโดยอาการไม่น้อย. บทว่า อโนโก เป็นผู้ไม่เปิด

โอกาส คือไม่ให้โอกาสแก่วิญญาณอันสหรคตด้วยอภิสังขารเป็นต้น. บทว่า

อพฺภนฺตรธาตุสงฺโกปวเสน วา ความหนาวย่อมมีด้วยสามารถแห่งอาโป-

ธาตุภายในร่างกายกำเริบ คือด้วยสามารถแห่งอาโปธาตุภายในกำเริบ หรือ

ด้วยสามารถแห่งธาตุอย่างใดอย่างหนึ่งกำเริบ. บทว่า อุณฺห ความร้อน

คือความร้อนย่อมเกิดด้วยสามารถแห่งเตโชธาตุภายในร่างกายกำเริบ.

บทว่า อภิสงฺขารสหคตวิญฺาณสฺส วิญญาณอันสหรคตด้วยอภิสังขาร

คือจิตที่สัมปยุตด้วยกุศลเจตนาและอกุศลเจตนา. บทว่า โอกาส น กโรติ

ไม่เปิดโอกาส คือไม่เปิดช่องที่อาศัย. บทว่า อรฏฺิตสมาทาโน พึง

เป็นผู้สมาทานมั่น คือหยั่งลงยึดไว้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแก้ความที่พระสารีบุตรถามด้วยคาถา ๓

คาถามีอาทิว่า เมื่อภิกษุเกลียดอยู่อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแก้ปัญหาที่พระ-

สารีบุตรถามโดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีคลองแห่งถ้อยคำอย่างไร จึง

ตรัสคำมีอาทิว่า ภิกษุไม่พึงทำการขโมย ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ผสฺเส คือ พึงแผ่. บทว่า ยทาวิลตฺต

มนโส วิชญฺา ความว่า ภิกษุพึงรู้ความขุ่นใจ พึงบรรเทาเสียซึ่งความ

ขุ่นใจนั้นทั้งหมด ด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า อทินฺนาทาน ปหาย ภิกษุละอทินนา-

ทานเสีย ดังต่อไปนี้ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ชื่อว่า อทินนาทาน.

การนำไปมีคำอธิบายว่า การขโมยของคนอื่นท่านกล่าวว่า เป็นโจร. ใน

บทเหล่านั้น บทว่า อทินฺน คือ ของที่คนอื่นหวงแหน. คนอื่นถึงความเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 662

ผู้ทำตามความปรารถนา ไม่ควรลงอาชญา และไม่ควรว่ากล่าวติเตียน ใน

ของที่ผู้อื่นหวงแหนใด โดยเจตนาอันยังความพยายามเพื่อถือเอาของที่ผู้

อื่นหวงแหนนั้น ตั้งขึ้น ของผู้มีความสำคัญในของที่ผู้อื่นหวงแหนว่า เป็น

ของอันผู้อื่นหวงแหนเป็นอทินนาทาน. อทินนาทานนั้นมีโทษน้อยในของ

ผู้อื่นที่เลว มีโทษมากในของที่ประณีต. เพราะเหตุไร. เพราะวัตถุ

ประณีต. เมื่อวัตถุสมบูรณ์มีโทษมาก ในวัตถุ อันเป็นของของผู้ยิ่งด้วย

คุณธรรม. มีโทษน้อยในวัตถุอันเป็นของของผู้มีคุณเลวกว่าผู้ยิ่งด้วยคุณ

นั้นๆ.

อทินนาทานั้นมีองค์ ๕ คือของอันผู้อันหวงแหน ๑ รู้อย่าว่าผู้อื่น

หวงแหน ๑ จิตคิดจะขโมย ๑ พยายามที่จะขโมย ๑ นำไปได้ด้วย

ความพยายามนั้น ๑.

บทว่า ปหาย คือ ละความเป็นผู้ทุศีล อันได้แก่เจตนาที่จะถือเอา

ของที่เขาไม่ให้ตน. บทว่า ปฏิวิรโต คือ งดเว้นจากความเป็นผู้ทุศีลนั้น

ตั้งแต่เวลาที่ละได้แล้ว. ชื่อว่า ทินฺนาทายี เพราะถือเอาแต่ของที่เขาให้

อย่างเดียว. ชื่อว่า ทินฺนปาฏิกงฺขี เพราะหวังได้แต่ของที่เขาตั้งใจให้

อย่างเดียว. ชื่อว่า เถโน คือ ขโมย. พึงเป็นผู้มีจิตไม่เป็นขโมย.

เป็นผู้มีจิตสะอาดเพราะเป็นผู้มีจิตไม่ขโมย. บทว่า อตฺตา คือ ด้วยความ

เป็นตน. ท่านอธิบายว่า ทำความเป็นตนให้มีจิตสะอาดมีจิตไม่ขโมย. ต่อ

จากนี้ มีนัยดังกล่าวแล้ว.

ความไมตรีด้วยอำนาจความเมตตา. อาการแห่งความเมตตา ชื่อว่า

เมตตฺายนา. ความที่จิตมีความพร้อมเพรียงด้วยเมตตา ชื่อว่า เมตฺตา-

ยิตตฺต. ชื่อว่า อนุทฺทยนา เพราะย่อมเอ็นดู. อธิบายว่า ย่อมรักษา.

อาการแห่งความเอ็นดู ชื่อว่า อนุทฺทยนา. ความเป็นผู้เอ็นดู ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 663

อนุทฺทายิตตฺต. การแสวงหาประโยชน์ด้วยอำนาจแห่งการหาประโยชน์

เกื้อกูล. ความอนุเคราะห์ด้วยอำนาจแห่งความช่วยเหลือ. ด้วยบทแม้ทั้ง

หมดเหล่านี้ท่านกล่าวว่า เมตตา อันถึงอุปจาร (ใกล้เคียง) และอัปปนา

(แนบแน่น). พึงเห็นความที่เมตตาไพบูลย์ด้วยการแผ่ไปในบทนี้ว่า วิปุเลน

ด้วยความไพบูลย์. จิตนั้นถึงความเป็นใหญ่ด้วยอำนาจภูมิ. ไม่มีประมาณ

ด้วยอำนาจความคล่องแคล่ว. อนึ่ง ไม่มีประมาณด้วยอำนาจสัตตารมณ์

(มีสัตว์เป็นอารมณ์) ไม่มีเวรด้วยการละข้าศึกคือพยาบาท ชื่อว่าไม่มี

พยาบาทเพราะละโทมนัส. อธิบายว่า ไม่มีทุกข์. บทว่า อาวิล ขุ่นมัว

คือไม่ผ่องใส. บทว่า ลุลิต เศร้าหมอง คือเป็นกลละ (เปือกตม).

บทว่า เอริต ยุ่ง คือไม่ตกลง. บทว่า ฆฏฺฏิต วุ่น คือถึงความกระทบ

ด้วยอารมณ์. บทว่า จลิต หวั่นไหว คือสั่นสะเทือน. บทว่า ภนฺต

หมุนไป คือละหน้าที่. บทว่า อวูปสนฺต ไม่สงบ คือไม่ดับ.

พึงทราบวินิจฉัยบททั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า โย โส มาโร ดังนี้

ต่อไป. ชื่อว่า มาร เพราะชักชวนมหาชนให้ประกอบความฉิบหายแล้ว

ฆ่า. ชื่อว่า กณฺห เพราะมีกรรมดำ. ชื่อว่า อธิปติ เพราะเป็นใหญ่

ในกามาวจร. ชื่อว่า อนฺตคู เพราะให้สัตว์ถึงความตาย. ชื่อว่า นมุจิ

เพราะไม่ให้สัตว์พ้นไปได้. ชื่อว่า มารพฬิส เพราะเป็นเบ็ดมาร. ชื่อว่า

มารามิส เพราะเป็นเหยื่อมารโดยอาศัยวัฏฏะ. ชื่อว่า มารนิสโย เพราะ

เป็นวิสัยแห่งมารโดยให้อยู่ในอำนาจ. ชื่อว่า มารนิวาโป เพราะเป็น

เหยื่อของมารโดยเป็นอารมณ์. ชื่อว่า มารโคจโร เพราะเป็นอารมณ์ของ

มารโดยเที่ยวไปสู่กาม. ชื่อว่า มารพนฺธน เพราะเป็นเครื่องผูกของมาร

โดยแก้ออกได้ยาก. ชื่อว่า ทุกฺขพนฺธโน เพราะทำให้เกิดทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 664

บทว่า มูลมฺปิ เตส ปลิขญฺ ติฏฺเ ภิกษุพึงขุดรากความโกรธ

และความดูหมิ่นเหล่านั้นตั้งอยู่ คือพึงขุดรากมีอวิชชาเป็นต้นของความ

โกรธและความดูหมิ่นเหล่านั้นตั้งอยู่. บทว่า อทฺธา ภวนฺโต อภิสมฺ-

ภเวยฺย คือ ภิกษุเมื่อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังโดยส่วนเดียว

เท่านั้น. อธิบายว่า ไม่พึงยินดีสิ่งที่รัก ไม่พึงเกลียดสิ่งที่ไม่น่ารัก.

บทว่า อวิชฺชา มูล คือ อวิชชาเป็นต้น เป็นมูลแห่งความโกรธ

ด้วยอำนาจอุปนิสยปัจจัยและสหชาตปัจจัยเป็นต้น. ธรรมสองอย่างเหล่านี้

คือไม่ทำไว้ในใจโดยอุบาย ๑ การถือตัว ๑ เป็นมูลของความโกรธด้วย

อำนาจอุปนิสยปัจจัย. ธรรมสามอย่างเหล่านี้ คือความไม่ละอาย ๑ ความ

ไม่เกรงกลัว ๑ ความฟุ้งซ่าน ๑ เป็นมูลของความโกรธ ด้วยอำนาจ

ของอุปนิสยปัจจัยและสหชาตปัจจัย. แม้แห่งอติมานะ (ความดูหมิ่น) ก็

เหมือนกัน.

บทว่า ปญฺ ปุรกฺขิตฺวา คือ ภิกษุทำปัญญาไว้เบื้องหน้า. บทว่า

กลฺยาณปีติ มีปีติงาม คือประกอบด้วยกัลยาณปีติ. บทว่า จตุโร

สเหถ ปริเทวธมฺเม คือ พึงปราบปริเทวธรรม (ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง

ความรำพัน) สี่อย่าง ที่ท่านกล่าวไว้ในคาถาเป็นลำดับไป.

บทว่า วิจยพหุโล มีความเลือกเฟ้นมาก คือมีความไตร่ตรองมาก.

บทว่า ปวิจยพหุโล มีความเลือกเฟ้นทั่วมาก คือมีความไตร่ตรองมาก

เป็นพิเศษ. บทว่า โอกฺขายนพหุโล มีปัญญาเครื่องเห็นมาก คือมีความ

เห็นมาก. บทว่า สเมกฺขายนพหุโล มีความเสาะหามาก คือมีการแสวง

หามาก. บทว่า วิภูตวิหารี คือ อยู่ด้วยการทำความรู้ให้ปรากฏ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต ในการก้าวไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 665

ในการถอยกลับนี้ต่อไป. การเดินไปเรียกว่า ก้าวไป การเดินกลับเรียกว่า

ถอยกลับ. แม้ทั้งสองนั้นก็ได้ในอิริยาบถ ๔ พึงทราบความในการเดิน

ก่อน การนำกายไปข้างหน้า ชื่อว่า ก้าวไป การยังกายให้ถอยกลับ ชื่อว่า

ถอยกลับ. ยืนอยู่กับที่น้อมกายไปข้างหน้า ชื่อว่า ก้าวไป ถอยไปข้างหลัง

ชื่อว่า ถอยกลับ. นั่งอยู่กับที่ หันหน้าหมุนไปทางอาสนะ ชื่อว่า ก้าวไป

หมุนอวัยวะไปข้างหลัง ชื่อว่า ถอยกลับ. แม้ในการนอนก็มีนัยนี้เหมือน

กัน. บทว่า สมฺปชานการี โหติ คือ การทำกิจทั้งหมดด้วย สัมปชัญญะ.

หรือว่าการทำความรู้สึกตัวนั่นเอง. จริงอยู่ ผู้มีสัมปชัญญะนั้นย่อมทำความ

รู้สึกตัวในการก้าวไปเป็นต้น เป็นผู้ไม่เว้นจากความรู้สึกตัวไม่ว่าในที่ไหน ๆ.

พึงทราบความในบทว่า อาโลกิเต วิโลกิเต ในการแลดูในการ

เหลียวดูนี้ต่อไป. การเพ่งไปข้างหน้า ชื่อว่า การแลดู การเพ่งดูไปตาม

ทิศ ชื่อว่า การเหลียวดู. แม้อย่างอื่นที่มีการก้มการแหงนการมองดูไปทั่วๆ

ด้วยการเพ่งดูไปข้างล่างข้างบนข้างหลัง. ในที่นี้มิได้ถือเอาอย่างนั้น. แต่

โดยสรุปถือเอาสองอย่างเหล่านี้ หรือถือเอาทั้งหมดโดยเป็นหัวข้อนี้เท่านั้น.

บทว่า สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ได้แก่

ในการคู้เข้าการเหยียดออกซึ่งอวัยวะทั้งหลาย.

พึงทราบความในบทว่า สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ ในการครอง

สังฆาฏิ บาตร และจีวรนี้ต่อไป. การใช้ด้วยการนุ่งและการห่มสังฆาฏิ

และจีวร ด้วยการรับภิกษาแห่งบาตร ชื่อว่า ธารณ (การครอง).

พึงทราบความในบทว่า อสิต การฉัน เป็นต้นต่อไป. บทว่า

อสิเต คือ ในการฉันบิณฑบาต. บทว่า ปีเต คือ ในการดื่มข้าวยาคู.

เป็นต้น. บทว่า ขายิเต คือ ในการเคี้ยวมีของเคี้ยวทำด้วยแป้งเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 666

บทว่า สายิเต คือ ในการลิ้มมีน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น. บทว่า อุจฺจาร-

ปสิสาวกมฺเม คือ ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ.

พึงทราบในบทว่า คต เป็นต้นต่อไป. บทว่า คเต คือ ในการ

เดิน. บทว่า ิเต คือ ในการยืน. บทว่า นิสินฺเน คือ ในการนั่ง.

บทว่า สุตฺเต คือ ในการนอน. บทว่า ชาคริเต คือ ในการตื่น.

บทว่า ภาสิเต คือ ในการพูด. ในบทว่า ภาสิเต นั้นมีความดังนี้.

เมื่อสัททายตนะอันเป็นอุปาทายรูปเป็นไปไม่ได้ ก็ไม่ชื่อว่าพูด เมื่อ

สัททายตนะยังเป็นไปได้ ก็ชื่อว่าพูดได้ เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้กำหนด

ชื่อว่า เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการพูด. ภิกษุแสดงธรรมในหัวข้อ วิมุต-

ตายตนะ (การหลุดพ้น) บ้าง ละติรัจฉานกถา ๓๒ กล่าวกถาอิงกถา-

วัตถุ ๑๐ บ้าง ก็ชื่อว่า เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการพูด. บทว่า ตุณฺหีภาเว

ในการนิ่ง คือไม่พูด. ในบทว่า ตุณฺหีภาเว นั้น มีความดังนี้ ชื่อว่า

ความเป็นผู้นิ่งย่อมไม่มี ในเมื่อสัททายตนะอันเป็นอุปาทายรูปยังเป็นไป

ได้อยู่ ย่อมมีได้ในเมื่อสัททายตนะอันเป็นอุปาทายรูปเป็นไปไม่ได้ ด้วย

เหตุนั้น ภิกษุผู้กำหนดจึงชื่อว่า เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในความเป็นผู้นิ่ง.

ภิกษุนั่งเรียนกัมมัฏฐานอันเป็นที่ชอบใจในอารมณ์ ๓๘ ก็ดี เข้าทุติยฌาน

ก็ดี ชื่อว่า เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในความเป็นผู้นิ่ง. อนึ่ง ในบทนี้ อิริยาบถ

หนึ่งมาแล้วในฐานะสอง. ในบทว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต นี้ เมื่อภิกษุ

เดินไปเดินมายังบ้านเพื่อภิกษาจาร ท่านกล่าวถึงภิกษุนั้นในภายหลังด้วย

การเดินทางไกล. ในบทว่า คเต ิเต นิสินฺเน พึงทราบว่า ท่านกล่าว

ด้วยการยกเท้าอันมีฝุ่นละอองในวิหาร. บทมีอาทิว่า พุทฺธานุสฺสติวเสน

ด้วยอำนาจแห่งพุทธานุสสติ ท่านประกาศไว้แล้วในที่นั้น ๆ ในหนหลัง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 667

บทว่า อรติ ความไม่ยินดี คือห้ามความยินดี. บทว่า อรติกา คือ

อาการไม่ยินดี. บทว่า อนภิรติ คือ ความไม่ยินดียิ่ง. บทว่า อนภิรมนา

คือ อาการไม่ยินดีเฉพาะ. บทว่า อุกฺกณฺิกา คือ อาการเบื่อ. บทว่า

ปริตฺตสิกา ความระอา คือความระอาด้วยความเบื่อ.

บทว่า กึสุ อสิสฺสามิ คือ เราจักฉันอะไร. บทว่า กุว วา อสิสฺส

คือ เราจักฉันที่ไหน. บทว่า ทุกฺข วต เสตฺถ กุวชฺช เสสฺส คือ วันนี้

เรานอนลำบากตลอดคืนนี้ พรุ่งนี้เราจักนอนที่ไหน. บทว่า เอเต วิตกฺเก

ได้แก่ วิตก ๔ อย่าง คือวิตกอาศัยบิณฑบาต ๒ อย่าง อาศัยเสนาสนะ

๒ อย่าง. บทว่า อนิเกตจารี ได้แก่ เป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป ไม่มี

ตัณหาท่องเที่ยวไป.

บทว่า ผลเก วา บนแผ่นกระดาน คือบนหลังกระดานมีกระดาน

คดเป็นต้น. บทว่า อาคมนรตฺตึ คือ ราตรีที่จะมาถึง. บทว่า อาเทว-

เนยฺเย เป็นฐานแห่งความปรับทุกข์ คือปรับทุกข์เป็นพิเศษ. บทว่า

ปริเทวเนยฺเย เป็นฐานแห่งความรำพัน คือรำพันไปรอบ ๆ.

บทว่า กาเล คือ ในเวลาออกบิณฑบาต. อธิบายว่า ได้ข้าว

คือบิณฑบาตหรือเครื่องนุ่งห่ม คือจีวรโดยธรรมโดยเสมอ. บทว่า มตฺต

โส ชญฺา ภิกษุนั้นพึงรู้จักประมาณ คือพึงรู้จักประมาณในการรับและ

การบริโภค. บทว่า อิธ คือ ในศาสนานี้. หรือบทว่า อิธ นี้ เป็น

เพียงนิบาตเท่านั้น. บทว่า โตสนตฺถ คือ เพื่อสันโดษ. ท่านอธิบายว่า

พึงรู้จักประมาณเพื่อประโยชน์นั้น. บทว่า โส เตสุ คุตฺโต คือ ภิกษุ

นั้นสำรวมในปัจจัยเหล่านั้น. บทว่า ยตจารี คือ เป็นผู้สำรวมเที่ยวไป.

ท่านอธิบายว่า รักษาอิริยาบถ และรักษากายทวาร วจีทวาร มโนทวาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 668

ปาฐะว่า ยติจารี บ้าง. มีความอย่างเดียวกัน. บทว่า รุสิโต คือ ถูกเขา

ด่า. อธิบายว่า ถูกเขาเสียดสี.

บทว่า ทฺวีหิ การเณหิ มตฺต ชาเนยฺย คือ พึงรู้จักประมาณด้วย

เหตุ ๒ อย่าง. บทว่า ปฏิคฺคหณโต วา โดยการรับ คือโดยกาลรับของ

ที่ผู้อื่นถวาย. บทว่า ปริโภคโต วา โดยการบริโภค คือ โดยกาลบริโภค.

บทว่า โถเกปิ ทียมาเน คือ เมื่อทายกถวายแม้น้อย. บทว่า กุลานุทฺทยาย

คือ เพื่อความเอ็นดูแก่ตระกูล. บทว่า กุลานุรกฺขาย คือ เพื่อรักษา

ตระกูล. บทว่า ปฏิคฺคณฺหาติ คือ รับแม้น้อย. บทว่า พหุเกปิ ทียมาเน

คือ เมื่อทายกถวายแม้มาก.

พึงทราบความในบทว่า กายปริหาริย จีวร ปฏิคฺคณฺหาติ ภิกษุ

รับจีวรพอบริหารกายนี้ต่อไป ชื่อว่า กายปริหาริย เพราะบริหารเลี้ยง

ร่างกาย. ชื่อว่า กุจฺฉิปริหาริย เพราะบริหารเลี้ยงท้อง. บริขาร ๘ คือ

ไตรจีวร บาตร มีดตัดไม้ชำระฟัน เข็ม ประคดเอว หม้อกรองน้ำ

ย่อมควรแก่ ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยสันโดษในปัจจัยตามมีตามได้. สมดังที่

ท่านกล่าวไว้ว่า

บริขาร ๘ เหล่านี้ คือ ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม

ประคดเอว หม้อกรองน้ำ ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ประกอบความ

เพียร ดังนี้.

บริขารทั้งหมดนั้น เป็นทั้งการบริหารกาย เป็นทั้งการบริหารท้อง.

อย่างไร. ไตรจีวร ย่อมบริหารเลี้ยงกายในเวลานุ่งและห่มเที่ยวไป

เพราะเหตุนั้น จึงเป็นการบริหารกาย. ไตรจีวรบริหารเลี้ยงท้อง ในเวลา

เอาชายจีวรกรองน้ำดื่ม และในเวลารับผลไม้น้อยใหญ่ที่ควรเคี้ยว เพราะ

เหตุนั้น จึงเป็นการบริหารท้อง. แม้บาตรก็เป็นการบริหารกาย ในเวลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 669

เอาบาตรตักน้ำอาบ และในเวลาทำความสะอาดกุฏิ เป็นการบริหารท้อง

ในเวลารับอาหารฉัน . แม้มีดก็เป็นการบริหารกาย ในเวลาเอามีดนั้นตัด

ไม้สีฟัน และในเวลาแต่งเชิงเตียง และตั่ง จีวร และใช้ไม้ทำกุฏิ เป็น

การบริหารท้อง ในเวลาตัดอ้อยและปอกมะพร้าว. เข็มเป็นการบริหารกาย

ในเวลาเย็บจีวร เป็นการบริหารท้อง ในเวลาจิ้มขนมหรือผลไม้กิน. รัด

ประคดเป็นการบริหารกาย ในเวลาพันกายเที่ยวไป เป็นการบริหารท้อง

ในเวลามัดอ้อยเป็นต้นถือเอา. หม้อกรองน้ำเป็นการบริหารกาย ในเวลา

เอาหม้อกรองนั้นกรองน้ำอาบ และในเวลาทำความสะอาดเสนาสนะ เป็น

การบริหารท้อง ในเวลากรองน้ำดื่ม และในเวลารับงา ข้าวสาร ข้าวเม่า

เป็นต้น ด้วยหม้อกรองน้ำนั้นฉัน.

บทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส พิจารณาโดยแยบคาย อธิบายว่า

พิจารณาโดยอุบาย คือโดยทำนองคลองธรรม. อนึ่ง ในบทนี้ พึงทราบ

ว่า การพิจารณาโดยนัยมีอาทิว่า สีตสฺส ปฏิฆาตาย เพื่อกำจัดความหนาว

เป็นการพิจารณาโดยแยบคาย ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า จีวร ได้แก่

จีวรผืนใดผืนหนึ่ง ในบรรดาอันตรวาสก (ผ้าสบง) เป็นต้น. บทว่า

ปฏิเสวติ คือ ใช้. ได้แก่ นุ่งหรือห่ม. บทว่า ยาวเทว เป็นคำกำหนด

เขตของประโยชน์ เพราะว่าประโยชน์ในการใช้จีวรของพระโยคีมีเพียง

เท่านี้ คือเพื่อกำจัดความหนาวเป็นต้นไม่ยิ่งไปกว่านั้น. บทว่า สีตสฺส

ความหนาว คือความหนาวอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเกิดขึ้นด้วยธาตุภายใน

กำเริบ หรือความเปลี่ยนแปลงฤดูในภายนอก. บทว่า ปฏิฆาตาย คือ

เพื่อกำจัด. เพื่อบรรเทาอาพาธโดยอาการที่ไม่ให้อาพาธนั้นเกิดในร่างกาย.

เพราะเมื่อร่างกายถูกความหนาวเบียดเบียน ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่านไม่สามารถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 670

ตั้งความเพียรโดยแยบคายได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง

อนุญาตว่า ภิกษุพึงใช้จีวรเพื่อกำจัดความหนาวดังนี้. ในบททั้งปวงก็มี

นัยนี้. เพราะในบทนี้มีอย่างเดียว. บทว่า อุณฺหสฺส ความร้อน คือ

ความร้อนของไฟ. ความร้อนของไฟนั้นพึงทราบว่า เกิดขึ้นในเพราะ

ไฟไหม้ป่าเป็นต้น.

อนึ่ง พึงทราบความในบทนี้ว่า ฑสมกสวาตาตปสิรึสปสมฺผสฺสาน

สัมผัส เหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลานต่อไป. บทว่า ฑส

คือ เหลือบ. ท่านเรียกว่า อนฺธมกฺขิกา บ้าง. บทว่า มกส คือยุง

นั่นเอง. บทว่า วาต คือ ลมเกิดแต่เสียงและเกิดแต่การหมุนของวงล้อ.

บทว่า อาตโป คือ ความร้อนจากดวงอาทิตย์. บทว่า สิรึสป คือ ทีฆชาติ

ประเภทใดประเภทหนึ่ง มีงูเป็นต้น เลื้อยคลานไป. สัมผัสเหล่านั้น สัมผัส

สองอย่าง คือทัฏฐสัมผัส (ถูกกัด) ๑ ผุฏฐสัมผัส (ถูกต้อง) ๑. สัมผัสแม้นั้น

ย่อมไม่เบียดเบียนภิกษุผู้นั่งห่มจีวร. เพราะฉะนั้น ภิกษุใช้จีวรเพื่อกำจัด

สัมผัสเหล่านั้น ในฐานะเช่นนั้น. จะกล่าวถึงบทว่า ยาวเทว อีก คือ

เพื่อแสดงกำหนดเขตของประโยชน์ที่แน่นอน. เพราะประโยชน์ที่แน่นอน

คือการปกปิดอวัยวะที่ยังความละอายให้กำเริบ. นอกนี้ย่อมเป็นบางครั้ง

บางคราว. ในบทเหล่านั้น บทว่า หิริโกปิน ยังหิริให้กำเริบ คืออวัยวะ

นั้นๆ เป็นที่คับแคบ. เพราะเมื่ออวัยวะใด ๆ เปิด หิริย่อมกำเริบคือเสียหาย

ท่านจึงเรียกอวัยวะนั้น ๆ ว่า หิริโกปิน เพราะยังหิริให้กำเริบ ชื่อว่า

หิริโกปินปฏิจฺฉาทนตฺถ เพราะปกปิดอวัยวะอันจะยังหิริให้กำเริบนั้น.

ปาฐะว่า หิริโกปิน ปฏิจฺฉาทนฺตฺถ บ้าง ความอย่างเดียวกัน.

บทว่า ปิณฺฑปาต คือ อาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง. จริงอยู่ ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 671

เรียกอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งว่า ปิณฺฑปาต เพราะตกไปในบาตรของ

ภิกษุโดยความเป็นก้อน. หรือชื่อว่า ปิณฺฑปาโต เพราะก้อนข้าวตกลง

ไป. อธิบายว่า รวบรวมภิกษาที่ได้ในที่นั้น ๆ. บทที่เหลือมีนัยดังได้

กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

บทว่า เสนาสน คือ ที่นอนและที่นั่ง. ก็ภิกษุนอนที่ใด ๆ จะเป็น

ในวิหาร หรือในเรือนมุงด้านเดียว ที่นั้นเรียกว่า เสนะ คือ ที่นอน.

ภิกษุนั่งในที่ใด ๆ ที่นั้นเรียกว่า อาสนะ คือ ที่นั่ง. ที่นอนที่นั่งเป็นอัน

เดียวกัน เรียกว่า เสนาสนะ คือที่นอนที่นั่ง. บทว่า อุตุปริสฺสยวิโนทน-

ปฏิสลฺลานารามตฺถ เพื่อบรรเทาอันตรายเกิดแต่ฤดู เพื่อความยินดีใน

การหลีกเร้น คือฤดูนั่นแหละเป็นอันตราย จึงเรียกว่า อุตุปริสฺสย. เพื่อ

บรรเทาอันตรายแต่ฤดู. และเพื่อความยินดีในการหลีกเร้น. ฤดูใดเป็นฤดู

ไม่สบายทำให้ร่างกายและจิตใจผิดปกติ พึงบรรเทาฤดูนั้นด้วยการใช้

เสนาสนะ. เพื่อบรรเทาฤดูนั้น. อธิบายว่า เพื่อความสุขอัน เป็นเอกภาพ.

ท่านกล่าวการบรรเทาอันตรายเกิดแต่ฤดู ด้วยบทมีอาทิว่า สีต-

ปฏิฆาต กำจัดความหนาวโดยแท้. ท่านกล่าวว่า ก็เพราะประโยชน์ที่

แน่นอน คือการปกปิดอวัยวะอันจะยังหิริให้กำเริบในการใช้จีวร นอกนั้น

เป็นบางครั้งบางคราวฉันใด แม้ในบทนี้ก็ฉันนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าว

ดังนี้หมายถึงความแน่นอน คือการบรรเทาอันตรายอันเกิดแต่ฤดู. อีก

อย่างหนึ่ง ฤดูที่ได้กล่าวแล้วนี้คืออุตุเท่านั้น.

แต่อันตรายมีสองอย่าง คืออันตรายปรากฏ ๑ อันตรายปกปิด ๑

ในอันตรายสองอย่างนั้น อันตรายปรากฏ ได้แก่ ราชสีห์และเสือโคร่ง

เป็นต้น. อันตรายปกปิด ได้แก่ ราคะและโทสะเป็นต้น. อันตราย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 672

เหล่านั้นไม่ทำการเบียดเบียนด้วยการไม่คุ้มครอง และด้วยการเห็นรูปไม่

เป็นที่สบายเป็นต้น ในเสนาสนะใด ภิกษุรู้พิจารณาอย่างนี้แล้ว ใช้

เสนาสนะนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า พิจารณาเสนาสนะโดยแยบคาย ฯลฯ

ใช้เสนาสนะเพื่อบรรเทาอันตรายเกิดแต่ฤดู.

พึงทราบความในบทนี้ว่า คิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขาร บริขาร

คือคิลานปัจจัยเภสัชต่อไป. ชื่อว่า ปจฺจโย เพราะต่อต้านโรค อธิบายว่า

ถึงความเป็นข้าศึกกัน. บทนี้ เป็นชื่อแห่งความสบายอย่างใดอย่างหนึ่ง

การกระทำของหมอ ชื่อว่า เภสัชชะ เพราะอนุญาตให้ใช้ยาเป็นปัจจัยแห่ง

คนไข้. เภสัช ก็คือคิลานปัจจัยนั่นเอง ชื่อว่า คิลานปัจจัยเภสัช. ท่าน

อธิบายว่า การการทำของหมอ เป็นที่สบายของคนไข้ด้วยเภสัช มีน้ำมัน

น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า ปริกฺขาโร ท่านเรียกว่า

บริวารในประโยคมีอาทิว่า นครล้อมไว้เป็นอย่างดีด้วยการล้อมนคร ๗ ชั้น.

เรียกว่าเครื่องประดับ ในประโยคมีอาทิว่า รถประดับด้วยสีขาว มีฌานเป็น

เพลา มีวิริยะเป็นล้อ. เรียกว่าของใช้ ในบทมีอาทิว่า บรรพชิตควรหา

ของใช้อันจำเป็นแก่ชีวิต. แต่ในที่นี้ เป็นของใช้บ้าง เป็นบริวารบ้างก็

ควร. อนึ่ง คิลานปัจจัยเภสัชนั้น ชื่อว่า เป็นบริวารของชีวิตบ้าง เพราะ

ป้องกัน ไม่ให้ช่องเพื่อเกิดอาพาธ อันจะทำความเสียหายแก่ชีวิต, ชื่อว่า

เป็นของใช้บ้าง เพราะเป็นเหตุให้ชีวิตเป็นไปได้นาน. เพราะฉะนั้น

จึงเรียกว่า ปริกฺขาโร. ชื่อว่า คิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขาโร เพราะเป็น

คิลานปัจจัยเภสัช และเป็นบริขาร. ซึ่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้น. ท่าน

อธิบายว่า น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น อันหมออนุญาตแล้วอย่างใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 673

อย่างหนึ่ง เป็นที่สบายของคนไข้ ชื่อว่าเป็น ชีวิตบริขาร. บทว่า

อุปปนฺนาน คือ เกิดแล้ว เป็นแล้ว บังเกิดแล้ว.

บทว่า พฺยาพาโธ ในบทว่า เวยฺยาพาธิกาน นี้ คือ ธาตุกำเริบ.

โรคเรื้อน ฝี ฝีหัวขาดเป็นต้น ซึ่งมีธาตุกำเริบเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่า

เวยฺยาพาธิกา เพราะเกิดจากธาตุกำเริบ. บทว่า เวทนา ได้แก่ ทุกข-

เวทนา คือเวทนาอันเป็นผลแห่งอกุศล. เพื่อกำจัดเวทนาอันเกิดแต่

ธาตุกำเริบเหล่านั้น. บทว่า อพฺยาปชฺฌปรมตาย เพื่อความไม่ลำบาก

เป็นอย่างยิ่ง คือเพื่อความไม่มีทุกข์เป็นอย่างยิ่ง. อธิบายว่า ตลอดเวลา

ที่ละทุกข์ได้หมด.

บทว่า สนฺตุฏฺโ โหติ ภิกษุเป็นผู้สันโดษ คือสันโดษด้วยปัจจัย.

บทว่า อิตรีตเรน จีวเรน ด้วยจีวรตามมีตามได้ คือไม่ใช่สันโดษด้วย

จีวรผืนใดผืนหนึ่ง บรรดาจีวรเนื้อหยาบ ละเอียด เศร้าหมอง ประณีต

ยังใหม่ และเก่า ที่แท้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรผืนใดผืนหนึ่งตามมีตามได้

ในบรรดาจีวรตามที่ได้แล้วเป็นต้น. จริงอยู่ ในจีวรมีสันโดษ ๓ อย่าง คือ

ยถาลาภสันโดษ (สันโดษตามที่ได้) ๑ ยถาพลสันโดษ (สันโดษตาม

กำลัง) ๑ ยถาสารุปปสันโดษ (สันโดษตามสมควร) ๑. แม้ในบิณฑบาต

เป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า วณฺณวาที กล่าวคุณ ความว่า ภิกษุ

รูปหนึ่งเป็นผู้สันโดษย่อมไม่กล่าวคุณของความสันโดษ รูปหนึ่งเป็นผู้ไม่

สันโดษ ย่อมกล่าวคุณของความสันโดษ รูปหนึ่งทั้งเป็นผู้ไม่สันโดษ

ทั้งไม่กล่าวคุณของความสันโดษ รูปหนึ่งทั้งเป็นผู้สันโดษ ทั้งเป็นผู้กล่าว

คุณของความสันโดษ เพื่อแสดงถึงการกล่าวคุณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า อิตรีตรสนฺตุฏฺิยา จ วณฺณวาที ผู้กล่าวคุณแห่งความสันโดษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 674

ด้วยจีวรตามมีตามได้ ดังนี้. บทว่า อเนสน การแสวงหาผิด คือการ

แสวงหาไม่สมควรมีประการต่าง ๆ มีประเภทเช่นเป็นทูตส่งข่าว เดิน

ส่งข่าว. บทว่า อปฺปฏิรูป คือ ไม่สมควร. บทว่า ลทฺธา จ คือ ได้แล้ว

โดยธรรมโดยเสมอ. บทว่า อคธิโต ไม่อยาก คือปราศจากความโลภ.

อนุจฺฉิโต ไม่หลง คือไม่หลงด้วยอยากได้ให้มาก. บทว่า อนชฺฌาปนฺโน

ไม่พัวพัน คือไม่ถูกตัณหาท่วมทับ ไม่พัวพันด้วยตัณหา. บทว่า

อาทีนวทสฺสาวี เห็นโทษ คือเห็นโทษในการแสวงหาไม่สมควร และ

ในการบริโภคด้วยความอยาก. บทว่า นิสฺสรณปญฺโ มีปัญญาเป็น

เครื่องสลัดทุกข์ คือรู้เครื่องสลัดทุกข์ ดังที่กล่าวแล้วว่า ยาวเทว สีตสฺส

ปฏิฆาตาย เพียงเพื่อกำจัดความหนาว.

บทว่า อิตรีตรจีวรสนฺตุฏฺิยา คือ ด้วยความสันโดษด้วยจีวร

ตามมีตามได้. บทว่า เนวตฺตานุกฺกเสติ ไม่ยกตน คือไม่ยกตนว่าเรา

เป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เราถือปังสุกูลิกังคธุดงค์ในเรือนยอดตั้งแต่วัน

อุปสมบท ไม่มีใครเช่นกับเรา. บทว่า น ปร วมฺเภติ ไม่ข่มผู้อื่น คือ

ไม่ข่มผู้อื่นอย่างนี้ว่า ภิกษุอื่นเหล่านั้นไม่ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร หรือภิกษุ

เหล่านั้นแม้เพียงถือผ้าบังกุกุลเป็นวัตรก็ไม่มี.

บทว่า โย หิ ตตฺถ ทกฺโข ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยันในจีวรสันโดษนั้น

คือภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ฉลาด เฉียบแหลม ในการกล่าวคุณเป็นต้นใน

จีวรสันโดษนั้น. บทว่า อนลโส ไม่เกียจคร้าน คือเว้นจากความเกียจ-

คร้านด้วยการกระทำเนือง ๆ. บทว่า สมฺปชาโน ปติสฺสโต มีสัมป-

ชัญญะ มีสติ คือประกอบด้วยปัญญาคือความรู้สึกตัวและด้วยสติ. บทว่า

โปราเณ มีมาแต่โบราณ คือมิใช่เพิ่งเกิดในบัดนี้. บทว่า อคฺคญฺเ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 675

คือที่รู้กันว่าเป็นวงศ์เลิศ. บทว่า อริยวเส ิโต คือ ดำรงอยู่ในวงศ์ของ

พระอริยะทั้งหลาย.

อนึ่ง บทว่า อริยวโส คือ อริยวงศ์ที่ ๘ แม้นี้ เป็นเชื้อสายของ

พระอริยะ ชื่อว่า เป็นประเพณีของพระอริยะ เหมือนวงศ์กษัตริย์ วงศ์-

พราหมณ์ วงศ์แพศย์ วงศ์ศูทร วงศ์สมณะ วงศ์ตระกูล ราชวงศ์

ฉะนั้น. อริยวงศ์นี้นั้นท่านกล่าวว่า เลิศกว่าวงศ์เหล่านี้ เหมือนกลิ่น

กระลำพักเป็นต้น เลิศกว่ากลิ่นไม่มีกลิ่นที่รากเป็นต้น . ก็วงศ์ของ

พระอริยะทั้งหลายเป็นใครบ้าง. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธะ

ทั้งหลาย และสาวกของพระตถาคตทั้งหลาย ท่านเรียกว่าเป็นอริยะ วงศ์

ของพระอริยะเหล่านั้น ชื่อว่า อริยวงศ์. จริงอยู่ ก่อนแต่นี้ไปในที่สุด

สื่อสงไขยกับแสนกัป มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๔ พระองค์ คือพระตัณ-

หังกร พระเมธังกร พระสรณังกร พระทีปังกร. พระพุทธเจ้าเหล่านั้น

เป็นอริยะ วงศ์ของพระอริยะเหล่านั้น ชื่อว่า อริยวงศ์. ต่อมาหลังจาก

พระพุทธเจ้าเหล่านั้นปรินิพพานล่วงไปหนึ่งอสงไขย พระพุทธเจ้าพระ-

นามว่าโกณฑัญญะทรงบังเกิด. ในกัปนี้พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ทรงอุบัติ

คือพระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระผู้มีพระภาคเจ้าของ

พวกเราคือพระโคดม วงศ์ของพระอริยะเหล่านั้น ชื่อว่า อริยวงศ์. อนึ่ง

วงศ์ของพระอริยะทั้งหลาย ผู้เป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และ

พระสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่า

อริยวงศ์. ประดิษฐานอยู่ในอริยวงศ์นั้น.

บทว่า อิตรีตเรน ปิณฺฑปาเตน คือ ด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้

อย่างใดอย่างหนึ่ง. แม้ในเสนาสนะเป็นต้นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 676

บทว่า อายตเนสุ คือ ในอายตนะทั้งหลายมีจักขวายตนะเป็นต้น.

บทว่า ยโต คือ สำรวมแล้ว. บทว่า ยตฺโต คือ ระวังแล้ว. บทว่า

ปฏิยตฺโต คือ ระวังอย่างยิ่ง. บทว่า คุตฺโต คือ คุ้มครองแล้ว. บทว่า

โคปิโต ครอบครองแล้ว คือตั้งไว้แล้วดุจตั้งไว้ในหีบ. บทว่า รกฺขิโต

รักษาแล้ว คือเก็บไว้เเล้ว. บทว่า สวุโต สำรวมแล้ว คือปิดแล้วด้วย

การกันทวาร. บทว่า ขุสิโต คือ ถูกติเตียน. บทว่า วมฺภิโต ถูกเขา

ดูหมิ่น คือถูกเขาไม่เลื่อมใส. ฆฏฺฏิโต คือ ถูกเขาเสียดสี. บทว่า

ครหิโต คือ ถูกเขาเหยียดหยาม. บทว่า อุปวทิโต ถูกเขาค่อนว่า คือ

ถูกเขาด่า. บทว่า ผรุเสน ด้วยถ้อยคำหยาบ คือด้วยคำตัดจุดสำคัญของ

ร่างกาย. บทว่า กกฺขเฬน ด้วยถ้อยคำกระด้าง คือทารุณ บทว่า

น ปฏิวชฺชา คือ ไม่พึงกล่าวโต้ตอบ.

บทว่า ฌานานุยุตฺโต พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน คือประกอบด้วย

ฌานที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเสพฌานที่เกิดแล้ว. บทว่า อุเปกฺข-

มารพฺภ สมาหิตตฺโต พึงเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นปรารภอุเบกขา คือพึงเป็นผู้

มีจิตดังมั่น ยังอุเบกขาในจตุตถฌานให้เกิด. บทว่า ตกฺกาสย กุกฺกุจฺจิ-

ยูปจฺฉินฺเท พึงตัดวิตก ที่อยู่ของวิตกและความคะนอง คือพึงตัดวิตกมี

กามวิตกเป็นต้น ที่อยู่ของวิตกมีกามสัญญาเป็นต้น และความคะนองมี

คะนองมือเป็นต้น.

บทว่า อนุปฺปนฺนสฺส วา ปมณานสฺส อุปฺปาทาย เพื่อความเกิด

ขึ้นแห่งปฐมฌานที่ยังไม่เกิด คือเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานที่ยังไม่เกิด

ในอัตภาพนั้น หรือเกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป เพื่อได้เฉพาะในสันดานของตน

๑. ในบาลีไม่มี แต่ ม. ยุ. มีคำนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 677

พึงทราบความในบทมีอาทิว่า อุปฺปนฺนญฺจ ปมชฺฌาน อาเสวติ

เสพปฐมฌานที่เกิดขึ้นแล้วต่อไป ในบทนี้มีความว่า เสพโดยเอื้อเฟื้อ

กระทำให้คล่องแคล่ว ทำให้เกิด ทำให้เจริญ ทำให้มาก ทำบ่อย ๆ.

บทว่า อุเปกฺขา ความเพิกเฉย คือตัตรมัชฌัตตุเบกขาอันเกิดขึ้นในจตุตถ-

ฌาน. บทว่า อุเปกฺขา เป็นบทแสดงสภาวะ.

บทว่า อุเปกฺขนา กิริยาที่เพิกเฉย คืออาการเห็นแต่การเข้าถึง.

บทว่า อชฺฌุเปกฺขนา กิริยาเพิกเฉยยิ่ง คือเห็นเป็นอย่างยิ่ง. บทว่า

จิตฺตสมตา ความที่จิตสงบ คือความที่จิตเสมอเว้นความหย่อนและความ

มากเกินไป. บทว่า จิตฺตปสฺสทฺธตา ความที่จิตระงับ อธิบายว่า ความ

ที่จิตไม่คะนอง จิตไม่กระด้าง. บทว่า มชฺฌตฺตตา จิตฺตสฺส ความที่จิต

เป็นกลาง อธิบายว่า ความที่จิตไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล เป็นกลาง. ว่า

จตุตฺเถ ฌาเน อุเปกฺข อารพฺภ ปรารภอุเบกขาในจตุตถฌาน คืออาศัย

ตัตรมัขฌัตตุเบกขา อันเกิดขึ้นในจตุตถฌาน. บทว่า เอกคฺคจิตฺโต

คือเป็นผู้มีจิตเป็นไปแล้วในอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า อวิกฺขิตฺตจิตฺโต คือ

เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่านเว้นจากอุทธัจจะ วิตก ๙ มีนัยดังกล่าวแล้ว. บทว่า

กามวิตกฺกาน กามสญฺาสโย กามสัญญาเป็นที่อาศัยอยู่แห่งกามวิตก.

อธิบายว่า กามสัญญาอันเกิดขึ้นแก่ผู้ตรึกอยู่ด้วยกามวิตก เป็นที่อาศัย เป็น

โอกาสที่อยู่ของวิตกเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า กามสญฺาสโย.

แม้ในพยาปาทวิตกเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า จุทิโต วจีภิ สติมาภินนฺเท ภิกษุถูกติเตียนด้วยวาจา พึง

เป็นผู้มีสติชอบใจ คือภิกษุถูกติเตียนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติ ยินดีคำ

ตักเตือนนั้น. บทว่า วาจ ปมุญฺเจ กุสล พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล คือเปล่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 678

วาจาอันตั้งขึ้นด้วยญาณ. บทว่า นาติเวล ไม่เกินขอบเขต คือ ไม่พึง

เปล่งวาจาเกินขอบเขต คือ เกินขอบเขตของกาล และขอบเขตของศีล.

บทว่า ชนวาทธมฺมาย คือ เนื้อธรรม คือ การว่ากล่าวชน. บทว่า

เจตเยยฺย คือ ไม่พึงยังความคิดให้เกิด.

บทว่า อิท เต อปฺปตฺต คือ กรรมนี้ไม่ถึงแก่ท่าน. บทว่า อสารุปฺป

คือ กรรมนี้ไม่สมควรที่ท่านจะประกอบ. บทว่า อสีลฏฺ ไม่ดังอยู่ในศีล

คือ ชื่อว่า อสีลฏฺ เพราะไม่ตั้งอยู่ในศีลอันเป็นความขวนขวายของ

ท่าน. อธิบายว่า กรรมนี้ไม่เป็นประโยคสมบัติของท่านผู้ตั้งอยู่ในศีล.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อสิลิฏฺ คือ ไม่งดงาม. ท่านพรรณนาความไว้

ว่า มีวาจาไม่เกลี้ยงเกลา. บทว่า นิธีน ขุมทรัพย์ คือหม้อทรัพย์เต็มไป

ด้วยเงินและทองที่เขาฝังตั้งเอาไว้. บทว่า ปวตฺตาร ผู้บอก คือดุจผู้ทำ

ความอนุเคราะห์มนุษย์เข็ญใจ มีความเป็นอยู่คับแค้น กล่าวว่า เจ้าจงมา

เราจะบอกอุบายเลี้ยงชีพอย่างเป็นสุขแก่เจ้า แล้วนำไปยังที่ฝังทรัพย์ไว้

เหยียดมือบอกว่า เจ้าจงถือเอาทรัพย์นี้เลี้ยงชีพให้เป็นสุขเถิด.

บทว่า วชฺชทสฺสิน ผู้แสดงโทษ ความว่า ผู้ชี้โทษมี ๒ จำพวก

คือผู้คอยเสาะแสวงหาโทษด้วยประสงค์ว่า เราจักข่มภิกษุนั้นในท่ามกลาง

สงฆ์ ด้วยกรรมอันไม่สมควร หรือด้วยความพลั้งพลาดนี้ และผู้ตั้งอยู่

ในสภาพที่จะชี้โทษด้วยการตรวจดูโทษนั้นๆ เพราะความเป็นผู้ใคร่ความ

เจริญแก่เขาด้วยศีลเป็นต้น เพื่อให้รู้สิ่งที่ไม่รู้ เพื่ออนุเคราะห์สิ่งที่รู้แล้ว.

ในที่นี้ประสงค์เอาข้อนี้. ภิกษุไม่ควรโกรธบุคคลผู้เห็นความไม่สมควรหรือ

ความผิดพลาด แล้วบอกกล่าว พึงเป็นผู้มีความยินดีอย่างเดียว ควรขอร้อง

ว่า ท่านขอรับ ท่านได้ทำกรรมแก่กระผมอย่างใหญ่หลวง ขอท่านพึงตั้งอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 679

ในฐานะอาจารย์และอุปัชฌาย์ของกระผม แล้วว่ากล่าวตักเตือนกระผม

อีก ด้วยโอวาทดังนี้ เหมือนคนเข็ญใจ ไม่โกรธผู้คุกคาม แม้โบยตี

แล้วแสดงขุมทรัพย์ให้ว่า เจ้าจงถือเอาทรัพย์นี้เถิด กลับพอใจเสียอีก

ฉะนั้น.

บทว่า นิคฺคยฺหวาทึ กล่าวข่มขี่ คือ ภิกษุบางรูปเห็นความไม่

สมควร หรือความผิดพลาดของสัทธิวิหาริกเป็นต้นแล้ว ไม่ว่ากล่าวด้วย

คิดว่า ภิกษุรูปนี้อุปัฏฐากเราด้วยการให้น้ำบ้วนปากเป็นต้นโดยเคารพ

หากเราจักว่ากล่าวเธอ เธอก็จักไม่อุปัฏฐากเรา เราก็จักเสื่อมไปด้วย

ประการฉะนี้ ดังนี้ ไม่ชื่อว่าเป็นผู้กล่าวข่มขี่. ภิกษุนั้นโปรยหยากเยื่อลงใน

ศาสนานี้ ส่วนภิกษุใดเห็นโทษอย่างนั้นแล้ว คุกคามตามสมควรแก่โทษ

ประณามทำทัณฑกรรม นำออกจากวิหารให้ศึกษา ภิกษุนี้ชื่อว่า เป็นผู้

กล่าวข่มขี่ เหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฉะนั้น. สมดังที่พระองค์

ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวข่มผู้ที่ควรข่ม เรากล่าวยกย่องผู้ที่ควร

ยกย่อง ผู้ที่มีคุณความดีจักดำรงอยู่ได้.

บทว่า เมธาวึ ผู้มีปัญญา คือผู้ประกอบด้วยปัญญา มีโอชะเกิด

แต่ธรรม. บทว่า ตาทิส คือ พึงคบ พึงเข้าใกล้บัณฑิตเห็นปานนั้น.

เพราะว่าเมื่ออันเตวาสิกคบอาจารย์เช่นนั้น ย่อมมีแต่ความประเสริฐอย่าง

เดียว ไม่มีความลามก มีแต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อม

ฉะนี้.

บทว่า โอวเทยฺย พึงกล่าวสอน คือ เมื่อเรื่องเกิดขึ้นแล้วกล่าวสอน

ชื่อว่า โอวาท เมื่อเรื่องยังไม่เกิดขึ้นพึงชี้ให้เห็นโทษในอนาคต ด้วยคำมี

อาทิว่า แม้โทษก็จะพึงมีแก่ท่าน ดังนี้ ชื่อว่า อนุสาสน์ แม้กล่าวสอนต่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 680

หน้าก็ชื่อว่า โอวาท ส่งทูตหรือคำสอนไปลับหลัง ชื่อว่า อนุสาสน์ กล่าว

สอนแม้ครั้งเดียวก็ชื่อว่า โอวาท กล่าวสอนบ่อย ๆ ชื่อว่า อนุสาสน์ หรือให้

โอวาทอย่างเดียวก็ชื่อว่า อนุสาสน์ เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงให้โอวาทและ

อนุสาสน์ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อสพฺภา จากอสัตบุรุษ ความว่า พึง

ห้ามจากอกุศลธรรม พึงให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรม. บทว่า สต หิ โส ปิโย

โหติ เพราะว่าบุคคลนั้นย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษ คือ บุคคลเห็นปานนั้น

ย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. อนึ่ง ภิกษุ

ผู้ให้โอวาทอนุสาสน์ ย่อมไม่เป็นที่รักของภิกษุผู้เป็นอสัตบุรุษ ผู้ไม่เห็น

ธรรม ผู้ข้ามปรโลกเสียแล้ว ผู้เพ่งต่ออามิส บวชเพื่อดำรงชีวิต ยังกล่าว

ทิ่มแทงด้วยหอกคือปากว่า ท่านมิใช่อุปัชฌาย์อาจารย์ของพวกผม เพราะ

เหตุไรจึงมาสั่งสอนพวกผม ดังนี้.

บทว่า เอกกมฺม คือ มีกรรมเป็นอันเดียวกัน มีอปโลกนกรรม

คือ การบอกเล่าเป็นต้น. บทว่า เอกุทฺเทโส มีอุเทศเป็นอันเดียวกัน คือ

มีนิทานุเทศเป็นต้นเป็นอันเดียว. บทว่า สมสิกฺขตา คือ มีสิกขาเสมอ

กัน. บทว่า อาหตจิตฺตต คือ ความเป็นผู้มีจิตอันความโกรธกระทบแล้ว.

บทว่า ขิลชตต คือ ความเป็นผู้มีจิตกระด้าง. บทว่า ปญฺจปิ เจโตขิเล

คือ พึงทำลายความกระด้างแห่งจิต ในสิ่งทั้ง ๕ คือ ในพระพุทธเจ้า ๑

ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในเพื่อนพรหมจรรย์ ๑.

บทว่า าณสมุฏฺิต วาจ คือ พึงเปล่งวาจาอันเกิดขึ้นในจิตสัมปยุตด้วย

ญาณ. บทว่า มุญฺเจยฺย คือ พึงเปล่ง. บทว่า อตฺถูปสหิต คือ วาจา

ประกอบด้วยอรรถ. บทว่า ธมฺมูปสหิต คือ วาจาประกอบด้วยธรรม.

บทว่า กาลาติกฺกนฺต วาจ น ภาเสยฺย คือ ไม่พึงเปล่งวาจาเกินกาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 681

เพราะเวลานั้นล่วงไปแล้ว. บทว่า เวลาติกฺกนฺต เกินขอบเขต คือ

ไม่พึงกล่าววาจาเกินขอบเขต เพราะขอบเขตของวาจาล่วงไปแล้ว. พึง

ทราบกาลและเวลาด้วยบททั้งสอง.

บทว่า โย จ กาเล อสมฺปตฺเต ก็บุคคลใดยังไม่ถึงกาลอันควร

คือ ยังไม่ถึงกาลที่ตนพูด. บทว่า อติเวล เกินเวลา คือ พูดเกินเวลาที่

กำหนด. บทว่า นิหโต เสติ คือ ถูกฆ่านอนอยู่. บทว่า โกกิลาเยว

อตฺรโช คือ เหมือนลูกนกดุเหว่าเกิดแต่ดุเหว่า อันนางกาเลี้ยงไว้.

บทว่า อถาปร คือ ลำดับต่อไปนี้. บทว่า ปญฺจ รชานิ ธุลี ๕

ประการ คือ ธุลี ๕ มีรูปราคะเป็นต้น. บทว่า เยส สติมา วินยาย

สิกฺเข ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา คือ พึงตั้งสติศึกษาไตรสิกขา เพื่อกำจัด

กิเลส. เพราะเมื่อศึกษาอยู่อย่างนี้ ย่อมอดกลั้นความกำหนัดในรูป ฯลฯ

ในผัสสะ ไม่อดกลั้นอย่างอื่น. บทว่า รูปรโช ธุลีในรูป คือ ธุลีมี

ราคะเป็นต้น เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูป. แม้ในบทว่า สทฺทรโช เป็นต้นก็

มีนัยเหมือนกัน.

แต่นั้นภิกษุศึกษาเพื่อกำจัดฉันทะในธรรมเหล่านั้น พึงทราบคาถา

ว่า เอเตสุ ธมฺเมสุ โดยลำดับ. ในบทเหล่านั้น บทว่า เอเตสุ คือ ใน

รูปเป็นต้น. บทว่า กาเลน โส สมฺมา ธมฺม ปริวิมสมาโน ภิกษุนั้น

พึงพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล คือ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาสังขตธรรม

ทั้งปวง โดยนัยมีความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ตามกาลที่ท่านกล่าวไว้

โดยนัยมีอาทิว่า เมื่อจิตฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ. บทว่า เอโกทิภูโต

วิหเน ตม โส ภิกษุเป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืดเสีย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 682

คือ ภิกษุนั้นมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง พึงกำจัดความมืดมีโมหะทั้งหมด

เป็นต้นเสีย ไม่มีความสงสัยในข้อนี้.

บทว่า อุทฺธเต จิตฺเต เมื่อจิตฟุ้งซ่าน คือ เมื่อจิตไม่สงบด้วยอำนาจ

แห่งวิริยินทรีย์. จริงอยู่ ความเพียรมีกำลัง สมาธิอ่อน ย่อมครอบงำ

ความฟุ้งซ่าน เพราะความเพียรเป็นฝ่ายแห่งความฟุ้งซ่าน เมื่อจิต

ไม่ฟุ้งซ่านอย่างนี้. บทว่า สมถสฺส กาโล คือ เป็นกาลแห่งความเจริญ

สมาธิ. บทว่า สมาหิเต จิตฺเต คือ เมื่อจิตตั้งมั่นด้วยอุปจารและอัปปนา.

จริงอยู่ สมาธิมีกำลัง ความเพียรอ่อน ย่อมครอบงำความเกียจคร้าน เพราะ

สมาธิเป็นฝ่ายแห่งความเกียจคร้าน สมาธิอันวิริยะผูกไว้แล้ว ย่อมไม่ตก

ไปในความเกียจคร้าน. วิริยะอันสมาธิผูกไว้แล้ว ย่อมไม่ตกไปในความ

ฟุ้งซ่าน. เพราะฉะนั้น ทั้งสองอย่างนั้นพึงทำให้เสมอกัน เพราะความที่

ธรรมทั้งสองเสมอกัน จึงเป็นอัปปนา. บทว่า วิปสฺสนาย กาโล เป็นกาล

แห่งวิปัสสนา คือ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วอย่างนี้ เป็นกาลแห่งวิปัสสนาหลาย

อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอนิจจลักษณะเป็นต้น ศรัทธาแม้มีกำลังก็ควรแก่

ผู้ประกอบสมาธิ. เมื่อเชื่อคือเชื่อมั่นอย่างนี้ ย่อมถึงอัปปนา. ศรัทธามีกำลัง

ในสมาธิและปัญญา ย่อมควร เพราะผู้ประกอบสมาธิมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.

จริงอยู่ ผู้นั้นย่อมถึงอัปปนาด้วยอาการอย่างนี้. ปัญญามีกำลังย่อมควรแก่

ผู้ประกอบวิปัสสนา. เพราะผู้นั้นย่อมบรรลุการแทงตลอดลักษณะด้วย

ประการฉะนี้. แม้เมื่อทั้งสองอย่างเสมอกัน ก็เป็นอัปปนาแท้.

บทว่า กาเล ปคฺคณฺหติ จิตฺต ประคองจิตไว้ในกาลอันควร คือ

ในสมัยใด จิตหดหู่เพราะความเพียรย่อหย่อนยิ่งนักเป็นต้น ในสมัยนั้น

ประคองจิตไว้ด้วยการตั้งอยู่ในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 683

และปีติสัมโพชฌงค์. บทว่า นิคฺคณฺหาติ ย่อมข่ม คือ ในสมัยใด จิต

ฟุ้งซ่านด้วยปรารภความเพียรเกินไปเป็นต้น ในสมัยนั้น ข่มจิตไว้ด้วย

ตั้งอยู่ในปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์.

บทว่า สมฺปหสติ กาเลน ย่อมให้จิตรื่นเริงโดยกาล คือ ในสมัยใด จิต

ไม่มีอัสสาทะ (ความยินดี) เพราะความขวนขวายด้วยปัญญาอ่อน หรือ

เพราะไม่ได้รับความสุขอันเกิดแต่ความสงบ ในสมัยนั้น ให้เกิดความสังเวช

ด้วยพิจารณาสังเวควัตถุ (วัตถุให้เกิดความสังเวช) ๘ ประการ. สังเวค-

วัตถุ ๘ ประการ คือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ รวมเป็น ๔ ทุกข์ใน

อบายเป็นที่ ๕ ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอดีตเป็นที่ ๖ ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูล

ในอนาคตเป็นที่ ๗ ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลในปัจจุบันเป็นที่ ๘.

ทำจิตให้เกิดความเลื่อมใสด้วยระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย. นี้เรียกว่า

ให้จิตรื่นเริงตามกาล.

บทว่า จิตฺต สมาทเห พึงตั้งจิตไว้ คือ สมัยใด ความที่ศรัทธา

และปัญญา สมาธิ และวิริยะ เสมอกัน สมัยนั้น พึงตั้งจิต คือ พึงให้ถึง

อัปปนา. บทว่า อชฺฌุเปกฺขติ กาเลน วางเฉยตามกาล คือ สมัยใด จิต

อาศัยสัมมาปฏิบัติ ไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน มีอัสสาทะ เป็นไปเสมอในอารมณ์

ดำเนินสู่วิถีแห่งสมาธิ สมัยนั้น จิตนั้นย่อมไม่ถึงความขวนขวายในการ

ประคอง ข่ม ให้ร่าเริง เหมือนสารถี เมื่อม้าวิ่งเรียบก็วางเฉยได้ นี้

เรียกว่า วางเฉยตามกาล. บทว่า โส โยคี กาลโกวิโท โยคีผู้นั้นชื่อว่า

เป็นผู้ฉลาดในกาล คือ โยคีผู้นั้นเป็นผู้ประกอบแล้วในกรรมฐาน มี

ประการดังกล่าว เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลมในกาล คือ ยกย่อง ข่ม ให้

ร่าเริง ตั้งมั่น และวางเฉย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 684

พระผู้พระภาคเจ้าตรัสตามกาลมีการประคองเป็นต้น ด้วยพระ-

ดำรัส มีอาทิว่า กิมฺหิ กาลมฺหิ ในกาลไหน ดังนี้. บัดนี้ เมื่อจะทรง

วิสัชนากาลมีการประคองเป็นต้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ลีเน จิตฺตมฺหิ

เมื่อจิตหดหู่ ดังนี้.

เมื่อจิตถึงความหดหู่เพราะความเพียรย่อหย่อนยิ่งนักเป็นต้น เป็นกาล

ที่ควรประคองไว้ด้วยการตั้งอยู่ด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์

แลปีติสัมโพชฌงค์. บทว่า อุทฺธตสฺมึ วินิคฺคโห เมื่อจิตฟุ้งซ่านเป็นกาล

ที่ควรข่มไว้ คือ เมื่อจิตฟุ้งซ่านเพราะปรารภความเพียรเกินไป เป็นกาล

ที่ควรข่มด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขา

สัมโพชฌงค์. บทว่า นิรสฺสาทคต จิตฺต สมฺปหเสยฺย ตาวเท โยคีพึง

ยังจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงในกาลนั้น คือ โยคีพึงยังจิตที่เว้นจาก

ความแช่มชื่น เพราะขวนขวายทางปัญญาอ่อน หรือเพราะไม่ได้รับสุข

อันเกิดแต่ความสงบ ให้รื่นเริงด้วยพิจารณาสังเวควัตถุ ๘ ประการ หรือ

ด้วยระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในขณะนั้น.

บทว่า สมฺปหฏฺ ยทา จิตฺต จิตรื่นเริงในกาลใด คือ ในกาลใดจิต

เป็นธรรมชาติรื่นเริงตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. ว่า อลีน ภวติ นุทฺธต

จิตเป็นธรรมชาติ ไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน คือ จิตเว้นจากความหดหู่และฟุ้ง-

ซ่าน เพราะผูกไว้ด้วยวิริยะและสมาธิ. บทว่า สมถนิมิตฺตสฺส ของสมถ-

นิมิต คือ สมถะและนิมิตของกาลนั้น ชื่อว่าสมถนิมิต. ทว่า โส กาโล

คือ กาลที่ท่านกล่าวถึงกาล ที่เว้นจากความหดหู่และฟุ้งซ่าน. บทว่า อชฺฌ-

ตต รมเย มโน ใจพึงยินดีในภายใน คือ จิตสัมปยุตด้วยฌาน พึงยินดี

พึงให้อภิรมย์ในภายในอารมณ์มีกสิณเป็นต้น . บทว่า เอเตน เมวุปาเยน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 685

โดยอุบายนั้นนั่นแล คือ โดยอุบายดังที่กล่าวแล้วนั้นนั่นแล. อักษร

ท่านกล่าวด้วยบทสนธิ. บทว่า อชฺฌุเปกฺเขยฺย ตาวเท พึงวางเฉยใน

กาลนั้น คือ ในกาลใด จิตนั้นตั้งมั่นด้วยอุปจารและอัปปนา ในกาลนั้น

ชื่อว่า จิตตั้งมั่นแล้ว เพราะเหตุนั้น โยคีรู้แล้วไม่พึงทำความขวนขวาย

ในการประคอง การข่ม การให้ร่าเริง ควรกระทำการวางเฉยอย่างเดียว

ในขณะนั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงย่อคาถาที่พระองค์ตรัสถามว่า

กิมฺหิ กาลมฺหิ ปคฺคาโห ความประคองจิตควรมีในกาลไหน จึงตรัส

พระดำรัส มีอาทิว่า เอว กาลวิทู ธีโร ธีรชนผู้รู้แจ้งกาลอย่างนี้ ดังนี้.

บทว่า กาเลน กาล จิติตสฺส นิมิตฺตมุปลกฺขเย พึงกำหนด

อารมณ์อันเป็นนิมิตของจิตตลอดกาลตามกาล ความว่า พึงกำหนด เข้า

ไปกำหนดอารมณ์ของจิตอันสัมปยุตด้วยสมาธิตามกาลอันสมควร. บทที่

เหลือในที่ทั้งปวงชัดดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลงด้วยธรรม

เป็นยอด คือพระอรหัตด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสารีปุตตนิเทสที่ ๑๖

จบอรรถกถาอัฏฐกวรรคในมหานิทเทส

อรรถกถามหานิทเทส จบบริบูรณ์