ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย มหานิทเทส

เล่มที่ ๕ ภาคที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อัฏฐกวัคคิกะ

กามสุตตนิทเทสที่ ๑

ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง

[๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

เมื่อสัตว์ปรารถนากามอยู่ ถ้ากามนั้นย่อมสำเร็จแก่

สัตว์นั้น สัตว์นั้นได้กามตามปรารถนาแล้ว ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่

นอน.

[๒] คำว่า กาม ในคำว่า เมื่อปรารถนากามอยู่ โดยหัวข้อได้

แก่กาม ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑.

วัตถุกามเป็นไฉน ? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่

ชอบใจ เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาสา แพะ แกะ ไก่ สุกร

ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น

ชนบท กองพลรบ คลัง และวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด อย่างใด

๑. อัฏฐกถาว่า อัฏฐกวัคคะ, น่าจะปริวรรตเป็น อัฏฐกวรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

อย่างหนึ่ง ชื่อว่า วัตถุกาม. อีกอย่างหนึ่ง กามที่เป็นอดีต กามที่เป็น

อนาคต กามที่เป็นปัจจุบัน ที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภาย-

ในและภายนอก ชนิดเลว ชนิดปานกลาง ชนิดประณีต เป็นของสัตว์ผู้

เกิดในอบาย เป็นของมนุษย์ เป็นของทิพย์ ที่ปรากฏเฉพาะหน้า ที่

เนรมิตเอง ที่ผู้อื่นเนรมิต ที่หวงแหน ที่ไม่ได้หวงแหน ที่ยึดถือว่าของเรา

ที่ไม่ยึดถือว่าของเรา ธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นรูปา-

วจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่ง

ตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหา ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า อันบุคคลพึง

ใคร่ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะอรรถว่า เป็นที่

ตั้งแห่งความมัวเมา กามเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม.

กิเลสกามเป็นไฉน ? ความพอใจ ความกำหนัด ความพอใจและ

ความกำหนัด, ความดำริ ความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด

ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือ

ความใคร ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสน่หาในกาม

ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม

ความประกอบในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นคือกามฉันทะ ชื่อว่า

กาม.

สมจริงดังคำว่า :-

ดูก่อนกาม เราเห็นรากฐานของท่านแล้วว่า ท่าน

ย่อมเกิดเพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจัก

ไม่มีอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

กามเหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม คำว่า เมื่อปรารถนากามอยู่ มี

ความว่า เมื่อใคร่ อยากได้ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย ชอบใจกามอยู่

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อปรารถนากามอยู่.

[๓] คำว่า ถ้ากามนั้นย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น มีความว่า คำว่า

สัตว์นั้น ได้แก่ สัตว์ผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์

บรรพชิต เทวดาหรือมนุษย์. คำว่า กามนั้น ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส

โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ซึ่งเรียกว่า วัตถุกาม. คำว่า ย่อมสำเร็จ สำเร็จโดย

ชอบ ได้ ได้เฉพาะ. ประสบ พบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้ากามนั้น

ย่อมสำเร็จแก่สัตว์นั้น.

[๔] คำว่า ย่อมเห็นผู้อิ่มใจแน่นอน มีความว่า คำว่า แน่นอน

เป็นคำกล่าวโดยส่วนเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความสงสัย เป็นคำกล่าว

โดยไม่มีความเคลือบแคลง เป็นคำกล่าวไม่เป็นสองแง่ เป็นคำกล่าวไม่

เป็นสองง่าม เป็นคำกล่าวที่ไม่มีคำประกอบเป็นคำกล่าวไม่ผิด คำว่า แน่

นอน นี้ เป็นคำกล่าวกำหนดแน่ คำว่า อิ่ม คือ ความอิ่ม ความ

ปราโมทย์ ความเบิกบาน ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความ

ปลื้มใจ ความยินดี ความชื่นใจ ความชอบใจ ความเต็มใจ ที่ประกอบ

พร้อมเฉพาะด้วยกามคุณ ๕.

คำว่า ใจ คือ จิต มนะ มานัส หทัย บัณฑระ มนะ มนายตนะ

มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดแต่ผัสสะ

เป็นต้นนั้น นี้เรียกว่า ใจ.

ใจนี้ สหรคต คือ เกิดร่วม เกี่ยวข้อง ประกอบ เกิดพร้อมกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกัน กับด้วยความ

อิ่มนี้.

คำว่า ย่อมเป็นผู้อิ่มใจ คือ เป็นผู้มีใจยินดี มีใจร่าเริง มีใจ

เบิกบาน มีใจดี มีใจสูง มีใจปลาบปลื้ม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อม

เป็นผู้อิ่มใจแน่นอน.

[๕] คำว่า สัตว์นั้นได้กามตามปรารถนาแล้ว มีความว่า

คำว่า ได้ คือได้ ได้แล้ว ได้เฉพาะ ประสบ พบ. คำว่า สัตว์ คือ สัตว์ นระ

มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า

ตามปรารถนา คือ รูป เสียง กลิ่น รส หรือโผฏฐัพพะ. ตามปรารถนา

ยินดี. ประสงค์ มุ่งหมาย ชอบใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์นั้นได้

กามตามปรารถนาแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

เมื่อสัตว์ปรารถนากามอยู่ ถ้ากามนั้นย่อมสำเร็จแก่

สัตว์นั้น สัตว์นั้นได้กามตามปรารถนาแล้ว ย่อมเป็นผู้

อิ่มใจแน่นอน.

[๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ เมื่อสัตว์นั้นมีฉันทะ

เกิดแล้ว ถ้ากามเหล่านั้นเสื่อมไป สัตว์นั้นย่อมกระสับ

กระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงแล้ว.

[๗] คำว่า เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ มีความว่า คำว่า

เมื่อสัตว์นั้น ได้แก่ สัตว์ผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์

บรรพชิต เทวดาหรือมนุษย์ คำว่า ปรารถนากามอยู่ คือ เมื่อใคร่ อยาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

ได้ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย ชอบใจ. อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ย่อมไป

ออกไป ลอยไป แล่นไป เพราะกามตัณหา เปรียบเหมือนมนุษย์ ย่อม

ไป ออกไป ลอยไป แล่นไป ด้วยยานช้างบ้าง ยานม้าบ้าง ยานโคบ้าง

ยานแกะบ้าง ยานแพะบ้าง ยานอูฐบ้าง ยานลาบ้าง ฉันใด สัตว์ย่อม

ไป ออกไป ลอยไป แล่นไป เพราะกามตัณหา ฉันนั้น เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่.

[๘] คำว่า เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว ความว่า คำว่า ฉันทะ

ได้แก่ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลินในกาม ความ

อยากในกาม ความเสน่หาในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม

ความคิดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบคือกาม ความยึดถือในกาม

เครื่องกั้นคือกามฉันทะ ความพอใจในกามนั้น เกิดแล้ว เกิดพร้อม เกิดขึ้น

เกิดเฉพาะ ปรากฏแล้วแก่สัตว์นั้น. คำว่า สัตว์ คือ สัตว์ นระ มาณพ

บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว.

[๙] คำว่า กามเหล่านั้นเสื่อมไป มีความว่า กามเหล่านั้นเสื่อม

ไปบ้าง สัตว์นั้นเสื่อมจากกามทั้งหลายบ้าง.

กามเหล่านั้นเสื่อมไป อย่างไร ? เมื่อสัตว์นั้นดำรงอยู่นั่นแหละ โภคะ

เหล่านั้น ถูกพระราชาริบไปบ้าง ถูกโจรลักไปบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกน้ำ

พัดไปบ้าง ถูกพวกญาติผู้ไม่เป็นที่ชอบใจนำไปบ้าง สัตว์นั้นไม่พบโภค

ทรัพย์ที่เก็บฝังไว้บ้าง การงานที่ประกอบไม่ดีเสียไปบ้าง คนผลาญสกุล

ผู้แจกจ่ายกระจัดกระจายทำลายโภคะเหล่านั้นเกิดในสกุลบ้าง ความเป็นของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

ไม่เที่ยงแห่งโภคะเป็นที่แปด กามเหล่านั้นย่อมเสื่อม เสียหาย กระจัด

กระจาย รั่วไหล อันตรธาน สูญหายไปอย่างนี้.

สัตว์นั้นย่อมเสื่อมจากกามทั้งหลาย อย่างไร ? โภคะเหล่านั้นยังตั้งอยู่

นั่นแหละ สัตว์นั้นเคลื่อน ตาย อันตรธาน สูญหายไปจากโภคะเหล่านั้น

สัตว์นั้นย่อมเสื่อม เสียหาย กระจัดกระจา รั่วไหล อันตรธาน สูญหาย

ไปจากกามทั้งหลายอย่างนี้.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

โภคทรัพย์ทั้งหลาย ถูกโจรลักไป ถูกพระราชาริบ

ไป ถูกไฟไหม้ เสียหาย อนึ่ง บุคคลผู้เป็นเจ้าของย่อม

ละทิ้งสรีระ กับทั้งข้าวของ เพราะความตาย นักปราชญ์

ทราบเหตุนี้แล้ว พึงใช้สอยบ้าง พึงให้ทานบ้าง ครั้น

ให้ทานและใช้สอยตามสมควรแล้ว เป็นผู้ไม่ถูกติเตียน

ย่อมเข้าถึงสถาน คือ สวรรค์.

เพราะฉะนั้น จึงว่า กามเหล่านั้นย่อมเสื่อมไป.

[๑๐] คำว่า สัตว์นั้นย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูก

ลูกศรแทงแล้ว มีความว่า สัตว์ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วย เหล็กแทงแล้วบ้าง

ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยกระดูกแทงแล้วบ้าง ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยงาแทงแล้วบ้าง

ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยเขาแทงแล้วบ้าง ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยไม้แทงแล้วบ้าง

ย่อมกระสับกระส่ายหวั่นไหว ดิ้นรน จุกเสียด เจ็บตัว เจ็บใจ ฉันใด

ความโศก คร่ำครวญ เจ็บกาย เจ็บใจ และคับแค้นใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะ

วัตถุกามทั้งหลายแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป สัตว์นั้นถูกลูกศรคือกามแทง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

แล้ว ย่อม ๆ กระสับกระส่าย หวั่นไหว ดิ้นรน จุกเสียด เจ็บกาย เจ็บใจ

ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์นั้นย่อมกระสับกระส่าย

เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงแล้ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า :-

เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิด

แล้ว ถ้ากามเหล่านั้นเสื่อมไป สัตว์นั้นย่อมกระสับกระส่าย

เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงแล้ว.

[๑๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ผู้ใดย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย เหมือนบุคคลเว้น

ขาดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอัน

ชื่อว่าวิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้.

ว่าด้วยการเว้นขาดกามด้วยเหตุ ๒ ประการ

[๑๒] คำว่า ผู้ใดย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย มีความว่า คำว่า

ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ผู้ประกอบอย่างใด ผู้ตั้งไว้อย่างใด ผู้มีประการอย่างใด

ผู้ถึงฐานะใด ผู้ประกอบด้วยธรรมใด เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร

คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือเป็นมนุษย์.

คำว่า กาม ในคำว่า ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย โดยหัวข้อ

ได้แก่กาม ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑.

วัตถุกามเป็นไฉน ? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่

ชอบใจ ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านั้นเรียกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

กิเลสกาม.

คำว่า ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย คือ ย่อมเว้นขาดกามโดยเหตุ

๒ ประการ คือ โดยการข่มไว้ประการ ๑ โดยการตัดขาดประการ ๑.

ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ อย่างไร ? บุคคลผู้เห็นอยู่ว่า

กามทั้งหลายเปรียบด้วยโครงกระดูก เพราะอรรถว่า เป็นของมีความยินดี

น้อย ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.

ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่า เป็น

ของสาธารณ์แก่ชนหมู่มาก ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.

ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า เพราะอรรถว่า

เป็นของตามเผา ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.

ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่า

เป็นของให้เร่าร้อนมาก ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.

ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยความฝัน เพราะอรรถว่า เป็น

ของปรากฏชั่วเวลาน้อย ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.

ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยของขอยืม เพราะอรรถว่า เป็น

ของเป็นไปชั่วกาลที่กำหนด ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.

ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั่งหลายเปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก เพราะอรรถว่า

เป็นของทำให้กิ่งหักและให้ต้นล้ม ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.

ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยดาบและมีด เพราะอรรถว่า

เป็นของพื้น ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.

ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วย หอก หลาว เพราะอรรถว่า เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

ของทิ่มแทง ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.

ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหัวงู. เพราะอรรถว่า เป็นของ

น่าสะพึงกลัว ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.

ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยกองไฟ เพราะอรรถว่า เป็น

ดังไฟกองใหญ่ให้เร่าร้อน ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.

แม้ผู้เจริญพุทธานุสสติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.

แม้ผู้เจริญธรรมานุสสติย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.

แม้ผู้เจริญสังฆานุสสติ..........

แม้ผู้เจริญสีลานุสสติ.........

แม้ผู้เจริญจาคานุสสติ.........

แม้ผู้เจริญเทวตานุสสติ..........

แม้ผู้เจริญอานาปานุสสติ.........

แม้ผู้เจริญมรณานุสสติ............

แม้ผู้เจริญกายคตาสติ............

แม้ผู้เจริญอุปสมานุสสติ...........

แม้ผู้เจริญปฐมฌาน...........

แม้ผู้เจริญทุติยฌาน...........

แม้ผู้เจริญตติยฌาน...........

แม้ผู้เจริญจตุตถฌาน...........

แม้ผู้เจริญอากาสานัญจายตนสมาบัติ...........

แม้ผู้เจริญวิญญาณัญจายตนสมาบัติ...........

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

แม้ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ............

แม้ผู้เจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการ

ข่มไว้ ย่อมเว้น ขาดกามโดยการข่มไว้อย่างนี้.

ย่อมเว้นขาดกามโดยการตัดขาด อย่างไร ? แม้บุคคลผู้เจริญ

โสดาปัตติมรรค ย่อมเว้นขาดกามอันให้ไปสู่อบายโดยการตัดขาด. แม้

บุคคลผู้เจริญสกทาคามิมรรค ย่อมเว้นขาดกามส่วนหยาบโดยการตัดขาด.

แม้บุคคลผู้เจริญอนาคามิมรรค ย่อมเว้นขาดกามอันเป็นส่วนละเอียดโดย

การตัดขาด. แม้บุคคลผู้เจริญอรหัตมรรค ย่อมเว้นขาดกามโดยอาการ

ทั้งปวง โดยประการทั้งปวง หมดสิ้น มิให้มีส่วนเหลือโดยการตัดขาด

ย่อมเว้นขาดกามโดยการตัดขาด อย่างนี้เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ใด

ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย.

[๑๓] คำว่า เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า มีความว่า

งูเรียกว่าสัปปะ เพราะอรรถว่าอะไร งูจึงเรียกว่าสัปปะ ? เพราะอรรถว่า

เสือกไป งูจึงเรียกว่าสัปปะ, เพราะอรรถว่า ขนดไป งูจึงเรียกว่า ภุชคะ,

เพราะอรรถว่าไปด้วยอก งูจึงเรียกว่า อุรคะ, เพราะอรรถว่า มีหัวตกไป

งูจึงเรียกว่า ปันนคะ, เพราะอรรถว่า นอนด้วยหัว งูจึงเรียกว่า สิริสปะ

เพราะอรรถว่า นอนในรู งูจึงเรียกว่า วิลาสยะ, เพราะอรรถว่า นอน

ในถ้ำ งูจึงเรียกว่า คุหาสยะ, เพราะอรรถว่า มีเขี้ยวเป็นอาวุธ งูจึงเรียกว่า

ทาฒาวุธ, เพราะอรรถว่า มีพิษร้ายแรง งูจึงเรียกว่า โฆรวิสะ, เพราะ

อรรถว่า มีลิ้นสองแฉก งูจึงเรียกว่า ทุชิวหา, เพราะอรรถว่า ลิ้มรส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

ด้วยลิ้นสองแฉก งูจึงเรียกว่า ทิรสัญญู.

บุรุษผู้ใคร่ต่อชีวิต ไม่อยากตาย อยากได้สุข เกลียดทุกข์ พึงเว้น

หลีก หลบ อ้อมหนีหัวงูด้วยเท้า ฉันใด บุคคลผู้รักสุข เกลียดทุกข์

พึงเว้น หลีก หลบ อ้อมหนีกามทั้งหลาย ฉันนั้น เหมือนกัน เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า.

[๑๔] คำว่า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า

วิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้ มีความว่า คำว่า ผู้นั้น คือผู้เว้นขาดกาม

ทั้งหลาย.

ตัณหา เรียกว่า วิสัตติกา ได้แก่ ความกำหนัด, ความกำหนัดกล้า,

ความพอใจ, ความชอบใจ, ความเพลิดเพลิน, ความกำหนัดด้วยสามารถ

แห่งความเพลิดเพลิน, ความกำหนัดกล้าแห่งจิต, ความปรารถนา, ความ

หลง, ความติดใจ, ความยินดี, ความยินดีทั่วไป, ความข้อง, ความ

ติดพัน, ความแสวงหา, ความลวง, ความให้สัตว์เกิด, ความให้สัตว์

เกี่ยวกับทุกข์, ความเย็บไว้, ความเป็นดังว่าข่าย, ความเป็นดังว่ากระแส

น่า ความซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ความเป็นดังว่าเส้นด้าย, ความกระจาย

ไป ความให้อายุเสื่อมไป, ความเป็นเพื่อน, ความตั้งมั่น, เครื่องนำไป

สู่ภพ, ความติดอารมณ์, ความตั้งอยู่ในอารมณ์, ความสนิท, ความรัก

ความเพ่งเล็ง, ความผูกพัน, ความหวัง, ความจำนง, ความประสงค์,

ความหวังในรูป, ความหวังในเสียง, ความหวังในกลิ่น, ความหวังในรส,

ความหวังในโผฏฐัพพะ, ความหวังในลาภ, ความหวังในทรัพย์, ความ

หวังในบุตร, ความหวังในชีวิต, ความปรารถนา, ความให้สัตว์ปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

ความที่จิตปรารถนา, ความเหนี่ยวรั้ง, ความให้สัตว์เหนี่ยวรั้ง, ความที่

จิตเหนี่ยวรั้ง, ความหวั่นไหว, อาการแห่งความหวั่นไหว, ความพรั่ง

พร้อมด้วยความหวั่นไหว, ความกำเริบ, ความใคร่ดี, ความกำหนัดในที่

ผิดธรรม, ความโลภไม่เสมอ, ความใคร่, อาการแห่งความใคร่, ความ

มุ่งหมาย, ความปอง, ความปรารถนาดี, กามตัณหา, ภวตัณหา, วิภว-

ตัณหา, ตัณหาในรูปภพ, ตัณหาในอรูปภพ, ตัณหาในนิโรธ, รูปตัณหา,

สัททตัณหา, คันธตัณหา, รสตัณหา, โผฏฐัพพตัณหา, ธัมมตัณหา, โอฆะ,

โยคะ, คันถะ, อุปาทาน, ความกั้น, ความปิด, ความบัง, ความผูก,

ความเข้าไปเศร้าหมอง, ความนอนเนื่อง, ความกลุ้มรุมจิต, ความเป็น

ดังว่าเถาวัลย์, ความปรารถนาวัตถุต่าง ๆ, รากเง่าแห่งทุกข์, เหตุแห่งทุกข์,

แดนเกิดแห่งทุกข์, บ่วงมาร, เบ็ดมาร, วิสัยมาร, แม่น้ำตัณหา, ข่าย

ตัณหา, โซ่ตัณหา, สมุทรตัณหา, อภิชฌา, โลภะ, อกุศลมูล, เรียกว่า

วิสัตติกา.

คำว่า วิสัตติกา ความว่า เพราะอรรถว่าอะไร ตัณหาจึงชื่อว่า

วิสัตติกา (ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ) เพราะอรรถว่า ซ่านไป ตัณหาจึง

ชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า แผ่ไป ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะ

อรรถว่า แล่นไป ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า ครอบงำ

ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า สะท้อนไป ตัณหาจึงชื่อว่า

วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้พูดผิด ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา

เพราะอรรถว่า มีมูลรากเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถ

ว่า มีผลเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า เป็นเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

บริโภคสิ่งเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา.

อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไปใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ,

สกุล คณะ ที่อยู่, ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร, กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ, กามภพ รูปภพ

อรูปภพ, สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ, เอกโวการภพ

จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ, ในอดีต ในอนาคต ในปัจจุบัน, แล่นไป

ซ่านไป ในรูปที่เห็นแล้ว, ในเสียงที่ได้ยินแล้ว, กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่

ทราบแล้ว, และในธรรมที่พึงรู้แจ้ง, ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา.

คำว่า ในโลก คือ อบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก

ธาตุโลก อายตนโลก.

คำว่า เป็นผู้มีสติ มีความว่า เป็นผู้มีสติ ด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ

เมื่อเจริญ กายานุปัสสนาสติปัฎฐานในกาย ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ, เมื่อเจริญ

เวทนานุปัสสนาสติปัฎฐานในเวทนาทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ, เมื่อ

เจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ. เมื่อเจริญธรรมา-

นุปัสสนาสติปัฏฐานในธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ.

เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ

เว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้กระทำธรรมทั้ง

หลายที่ควรทำด้วยสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้กำจัดธรรมทั้งหลาย

ที่เป็นข้าศึกต่อสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมทั้งหลาย

ที่เป็นนิมิตแห่งสติ.

เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

เป็นผู้ประกอบด้วยสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้อยู่ด้วยสติ, ชื่อว่า

เป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้คล่องแคล้วด้วยสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็น

ผู้ไม่หวนกลับจากสติ.

เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ

เป็นผู้ระลึกได้, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้สงบ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ

เป็นผู้ระงับ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของ

สัตบุรุษ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะพุทธานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ

ธรรมานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะสังฆานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ

เพราะสีลานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะจาคานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ

เพราะเทวดานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะอานาปานัสสติ, ชื่อว่าเป็น

ผู้มีสติ เพราะมรณานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะกายคตาสติ, ชื่อว่า

เป็นผู้มีสติ เพราะอุปสมานุสสติ, ความระลึก ความระลึกถึง ความระลึก

เฉพาะ ความระลึกคือสติ, ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม

สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค ธรรมเหล่า

นี้เรียกว่าสติ, บุคคลเป็นผู้เข้าใกล้ เข้าชิด เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้า

ไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบด้วยสตินี้ บุคคลนั้นเรียกว่ามิสติ.

คำว่า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกา

นี้ในโลกเสียได้ มีความว่า เป็นผู้มีสติ ย่อมข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าว

ล่วง ล่วงเลยตัณหาชื่อว่าวิสัตติกานี้ในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้น

เป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ในโลกเสียได้

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

ผู้ใดย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย เหมือนบุคคลเว้น

ขาดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอัน

ชื่อว่า วิสัตติกานี้ในโลกเสียได้

[๑๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

นรชนใดย่อมปรารถนา ไร่ นา ที่ดิน เงิน โค ม้า

ทาส คนภายใน สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก.

[๑๖] คำว่า ไร่ นา ที่ดิน เงิน มีความว่า คำว่า :-

ไร่ คือ ไร่ถั่วเขียว ไร่ถั่วราชมาส ไร่ข้าวเหนียว ไร่ข้าวละมาน

ไร่งา.

นา คือ นาข้าวสาลี นาข้าวจ้าว

ที่ดิน คือ ที่เรือน ที่ฉาง ที่หน้าเรือน ที่หลังเรือน ที่สวน ที่อยู่.

เงิน คือ กหาปณะ เรียกว่า เงิน

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไร่ นา ที่ดิน เงิน.

ว่าด้วยทาส ๔ จำพวก

[๑๗] คำว่า โค ม้า ทาส คนภายใน มีความว่า :-

โคทั้งหลาย เรียกว่า โค.

ปสุสัตว์เป็นต้น เรียกว่า ม้า.

คำว่า ทาส ได้แก่ ทาส ๔ จำพวก คือ ทาสที่เกิดภายใน ๑ ทาส

ที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ ๑ ผู้ที่สมัครเข้าถึงความเป็นทาสเอง ๑ เชลยผู้ที่เข้าถึง

ความเป็นทาส ๑ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

คนบางพวกเป็นทาสโดยกำเนิดบ้าง คนบางพวก

เป็นทาสที่เขาซื้อมาด้วยทรัพย์บ้าง คนบางพวกสมัครเข้า

เป็นทาสเองบ้าง คนบ้างพวกเป็นทาสเพราะตกเป็นเชลย

บ้าง.

คำว่า คนภายใน ได้แก่ บุรุษ ๓ จำพวก คือ คนรับจ้าง ๑

กรรมกร ๑ พวกอยู่อาศัย ๑.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โค ม้า ทาส คนภายใน.

[๑๘] คำว่า สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก มีความว่า :-

สตรีที่มีเจ้าของ เรียกว่า สตรี.

คำว่า พวกพ้อง ได้แก่ พวกพ้อง ๔ จำพวก คือ พวกพ้อง

โดยเป็นญาติ ชื่อว่า พวกพ้อง ๑ พวกพ้องโดยโคตร ชื่อว่า พวกพ้อง ๑

พวกพ้องโดยการเรียนมนต์ ชื่อว่า พวกพ้อง ๑ พวกพ้องโดยการเรียน

ศิลปะ ชื่อว่า พวกพ้อง ๑.

คำว่า กามเป็นอันมาก คือ กามมาก, กามมากเหล่านี้ ได้แก่

รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ โผฏฐัพพะที่

ชอบใจ.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก.

[๑๙] คำว่า นรชนใดย่อมปรารถนา มีความว่า :-

คำว่า ใด คือ เช่นใด ประกอบ อย่างใด จัดแจงอย่างใด มี

ประการอย่างใด ถึงฐานะอย่างใด ประกอบด้วยธรรมอย่างใด คือ เป็น

กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือเป็นมนุษย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

คำว่า นรชน คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต

ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์.

คำว่า ย่อมปรารถนา คือย่อมปรารถนา ย่อมตามปรารถนา

ย่อมปรารถนาทั่วไป ย่อมติดพัน ในวัตถุกามทั้งหลาย ด้วยกิเลสกาม

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนใดย่อมปรารถนา.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

นรชนใดย่อมปรารถนาไร่ นา ที่ดิน เงิน โค ม้า

ทาส คนภายใน สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก.

[๒๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น

เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น เพราะอันตรายนั้น

ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่

แตกแล้วฉะนั้น.

[๒๑] คำว่า เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชน

นั้น มีความว่า คำว่า ไม่มีกำลัง คือ กิเลสอันไม่มีกำลัง คือทุรพล

มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย เลว ทราม เสื่อม ตกต่ำ ลามก เป็นดัง

ลูกนก เล็กน้อย. กิเลสเหล่านั้น ย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ

กำจัด ย่ำยี บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง

ย่อมครอบงำนรชนนั้น แม้ด้วยประการอย่างนี้.

อีกนัยหนึ่ง สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ

หิริพละ โอตตัปปพละ ไม่มีแก่บุคคลใด กิเลสเหล่านั้น ย่อมครอบงำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น ผู้ไม่มีกำลัง มีกำลัง

ทราม มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย เลว ทราม เสื่อม ตกต่ำ ลามก

เป็นดังลูกนก เล็กน้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหล่ากิเลสอันไม่มี

กำลังย่อมครอบงำนรชนนั้น แม้ด้วยประการอย่างนี้.

ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง

[๒๒] คำว่า เหล่าอันตราย่อมย่ำยีนรชนนั้น มีความว่า :-

คำว่า อันตราย ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ อันตรายที่ปรากฏ

อย่าง ๑ อันตรายที่ปกปิดอย่าง ๑.

อันตรายที่ปรากฏ เป็นไฉน ? คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสื่อเหลือง

หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร

คนที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียมจะทำกรรมชั่ว, และโรคทางจักษุ โรคทาง

โสตะ โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคทางศีรษะ โรคทาง

หู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ

โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด

โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู

โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด โรคละลอก โรคคุด-

ทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ โรคเบาหวาน โรคเริม

โรคพุพอง โรคริดสีดวง. อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็น

สมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปร

ปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธรู้สึกเจ็บปวด

อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม, ความหนาว ความร้อน ความหิว ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

ระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ, ความสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม

แดด และสัตว์เลื้อยคลาน อันตรายเหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ.

อันตรายที่ปกปิดเป็นไฉน ? คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโน

ทุจริต. กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุก-

กุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์. ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ผูก

โกรธไว้ ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ มายา โอ้อวด หัวดื้อ

แข็งดี ถือตัว ดูหมิ่นท่าน มัวเมา ประมาท, กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง

ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง

อกุศลธรรมทั้งปวง อันตรายเหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ปกปิด.

คำว่า อันตราย ความว่า เพราะอรรถว่าอะไร จึงชื่อว่าอันตราย ?

เพราะอรรถว่าครอบงำ จึงชื่อว่าอันตราย, เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อ

ความเสื่อม จึงชื่อว่าอันตราย, เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรม

ทั้งหลายจึงชื่อว่าอันตราย.

เพราะอรรถว่า ครอบงำ จึงชื่อว่า อันตราย อย่างไร. อันตราย

เหล่านั้นย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น

เพราะอรรถว่าครอบงำ จึงชื่อว่า อันตราย อย่างนี้.

เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อม จึงชื่อว่า อันตราย อย่าง

ไร่ ? อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศล

ธรรมทั้งหลาย อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธาน

ไปแห่งกุศลธรรมเหล่าไหน ? อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม

เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้คือ ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

สมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความ

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีล ความเป็นผู้มี

ทวารอันคุ้มครองในอินทรีย์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความ

ประกอบเนือง ๆ ในความเป็นผู้อื่นมีสติสัมปชัญญะ ความประกอบเนือง ๆ

ในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ ความประกอบเนือง ๆ ในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔

ความประกอบเนือง ๆ ในอันเจริญอิทธิบาท ความประกอบเนือง ๆ ใน

อันเจริญอินทรีย์ ๕ ความประกอบเนือง ๆในอันเจริญพละ ๕ ความ

ประกอบเนือง ๆ ในอันเจริญ โพชฌงค์ ๗ ความประกอบเนือง ๆ ในอัน

เจริญมรรคมีองค์ ๘ อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่อ

อันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม

จึงชื่อว่า อันตราย อย่างนี้.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า

อันตราย อย่างไร ? อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น

ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ เปรียบเหมือนเหล่าสัตว์ที่อาศัยรู ย่อมอยู่

ในรู ที่อาศัยน้ำ ย่อมอยู่ในน้ำ ที่อาศัยป่า ย่อมอยู่ในป่า ที่อาศัยต้นไม้

ย่อมอยู่ที่ต้นไม้ ฉันใด อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นใน

อัตภาพนั้น ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ ฉันนั้น เพราะอรรถว่า

เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายจึงชื่อว่า อันตราย อย่างนี้.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้

อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

ก็ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน

ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุกอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอัน

ลามก มีความดำริอันซ่านไปในอารมณ์ อันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อม

เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ อกุศลธรรมอัน

ลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ซ่านไปในภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น

ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรม

อันลามกเหล่านั้นย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึง

เรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันลามก มีความ

ดำริอันซ่านไปในอารมณ์ อันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ

เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต .............เพราะสูดกลิ่นด้วยฆานะ.............เพราะ

ลิ้มรสด้วยชิวหา...........เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย..........เพราะรู้แจ้ง

ธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ซ่านไปใน

ภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับ

กิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมกลุ้มรุม

ภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วม

กับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก อย่างนี้แล เพราะอรรถว่า

เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า อันตราย แม้ด้วยประการ

ฉะนี้.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน

เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน.

ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ โลภะ เป็นมลทินในภายใน เป็น

อมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรู

ในภายใน, โทสะ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็น

ข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน. โมหะ

เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็น

เพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม

๓ ประการนี้แล เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึก

ในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง

แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า.

โลภะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โลภะยัง

จิตให้กำเริบ โลภะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อม

ไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้โลภแล้วย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้โลภแล้ว

ย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใดความโลภครอบงำนรชน เมื่อนั้น

นรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ.

โทสะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โทสะยัง

จิตให้กำเริบ โทสะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อม

ไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้โกรธแล้วย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้โกรธ

แล้วย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใดความโกรธครอบงำนรชน

เมื่อนั้นนรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

โมหะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โมหะยัง

จิตให้กำเริบ โมหะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อม

ไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้หลงแล้วย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้หลงแล้ว

ย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใดความหลงครอบงำนรชน เมื่อนั้น

นรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า

อันตราย แม้ด้วยประการฉะนี้.

สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓ ประการ เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่ง

บุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่

ผาสุก.

ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ โลภะ เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่ง

บุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่

ผาสุก, โทสะ เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่

ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก. โมหะ เมื่อเกิดขึ้น

ในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ

ความอยู่ไม่ผาสุก. ดูก่อนมหาพิตร ธรรม ๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้น

ในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ

ความอยู่ไม่ผาสุก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง

แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมกำจัด

บุรุษผู้มีจิตลามก เหมือนขุยไผ่กำจัดไม้ไผ่ ฉะนั้น.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า

อันตราย แม้ด้วยประการฉะนี้.

สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ราคะและโทสะ มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดแต่อัต

ภาพนี้ ไม่ยินดีกุศล ยินดี แต่กามคุณ ทำให้ขนลุก บาป

วิตกในใจ ตั้งขึ้นแต่อัตภาพนี้ ผูกจิตไว้เหมือน พวกเด็ก

ผูกกาที่ข้อเท้าไว้ ฉะนั้น.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า

อันตราย แม้ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น มีความว่า อันตราย

เหล่านั้นย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น.

[๒๓] คำว่า เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชน

นั้นไป มีความว่า เพราะอันตรายนั้น ๆ ทุกข์ย่อมติดตาม ตามไป ไป

ตามบุคคลนั้น คือชาติทุกข์ ย่อมติดตาม ตามไป ไปตาม ชราทุกข์....พยาธิ

ทุกข์.......มรณทุกข์........ทุกข์คือความโศกคร่ำครวญ ลำบากกาย ทุกข์

ใจ ความแค้นใจ........ทุกข์คือความเกิดในนรก.......ทุกข์คือความเกิดใน

กำเนิดเดียรัจฉาน...........ทุกข์คือความเกิดในเปรตวิสัย.......ทุกข์คือความ

เกิดในมนุษย์.........ทุกข์มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล........ทุกข์มีความตั้งอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

ในครรภ์เป็นมูล.........ทุกข์มีความตลอดจากครรภ์เป็นมูล..........ทุกข์ที่ติด

ตามสัตว์ที่เกิดเเล้ว........ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ที่เกิดแล้ว.........ทุกข์

อันเกิดแต่ความขวนขวายของตน........ทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของผู้

อื่น.........ทุกข์อันเกิดแต่ทุกขเวทนา.........ทุกข์อันเกิดแต่สังขาร.........ทุกข์

อันเกิดแต่ความแปรปรวน.........

โรคทางจักษุ โรคทางโสด โรคทางฆานะ โรคทางชิวหา โรค-

ทางกาย โรคทางศีรษะ โรคทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ

โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ

โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝีโรคกลาก โรคมองคร่อ

โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด โรค-

ละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ โรค-

เบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง.

อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมี

ลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธ

เกิดแต่บริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธ

เกิดแต่วิบากแห่งกรรม.

ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ

ปวดปัสสาวะ.

ทุกข์เกิดแต่สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน

ทุกข์เพราะความตายแห่งมารดา ทุกข์เพราะความตายแห่งบิดา ทุกข์เพราะ

ความตายแห่งพี่ชายน้องชาย ทุกข์เพราะความตายแห่งพี่สาวน้องสาว ทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

เพราะความตายแห่งบุตร ทุกข์เพราะความตายแห่งธิดา ทุกข์เพราะความ

ฉิบหายแห่งญาติ ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ ทุกข์เพราะความ

ฉิบหายอันเกิดแค่โรค ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล ทุกข์เพราะความ

ฉิบหายแห่งทิฏฐิ ย่อมติดตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้นเพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป.

[๒๔] คำว่า เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่รั่วแล้วฉะนั้น มี

ความว่าน้ำไหลซึมเข้าสู่เรือที่รั่วแล้ว คือ น้ำย่อมซึมเข้าไป ตามเข้าไป

ไหลเข้าไป แต่ที่นั้น ๆ คือ ย่อมซึมเข้าไป เซาะเข้าไป ไหลเข้าไป

ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ข้างท้องบ้าง แต่ข้าง ๆ บ้าง ฉันใด เพราะ

อันตรายนั้น ๆ ทุกข์ย่อมติดตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้น คือ ชาติทุกข์

ย่อมติดตาม ตามไป ไปตาม ฯลฯ ทุกข์อันเกิดแต่ทิฏฐิพยสนะ ย่อมติด

ตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้นฉันนั้น ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่รั่วแล้วฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า.

เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น

เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น เพราะอันตรายนั้น

ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่

รั่วแล้วฉะนั้น.

ว่าด้วยผู้มีสติทุกเมื่อ

[๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดตามเหล่านั้นแล้ว

พึงข้ามโอฆะได้ เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง

ฉะนั้น.

[๒๖] คำว่า เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติ

ทุกเมื่อ มีความว่า :-

คำว่า เพราะเหตุนั้น คือเพราะฉะนั้น เพราะกาลนั้น เพราะ

เหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น สัตว์ผู้เกิดมา เมื่อเห็นโทษ

นั้นในกามทั้งหลาย ฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น.

คำว่า สัตว์ผู้เกิดมา ได้แก่สัตว์ นรชน มาณพ บุรุษ บุคคล

ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์.

คำว่า ในกาลทุกเมื่อ ได้แก่ ในกาลทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง

ตลอดกาลทั้งปวง ตลอดก็เป็นนิจ ตลอดกาลยั่งยืน ตลอดกาลเป็น

นิรันดร์ ตลอดกาลเป็นอันเดียวกัน ตลอดกาลติดต่อ ตลอดกาลเป็น

ลำดับ ตลอดกาลไม่ขาดระยะ ตลอดกาลไม่มีระหว่าง ตลอดกาลสืบเนื่อง

ตลอดกาลไม่ขาดสาย ตลอดกาลกระชั้นชิด.

ในกาลก่อนภัต ในกาลหลังภัต ในปฐมยาม ในมัชฌิมยาม ใน

ปัจฉิมยาม ในข้างแรม ในข้างขึ้น ในฤดูฝน ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน

ในตอนปฐมวัย ในตอนมัชฌิมวัย ในตอนปัจฉิมวัย.

คำว่า มีสติ ได้แก่ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อย่าง คือ เจริญ

สติปัฏฐาน มีการตามเห็นกายในกายอยู่ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ, เจริญสติ

ปัฏฐาน มีการตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

เจริญสติปัฏฐานมีการตามเห็นจิตในจิตอยู่ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ, เจริญสติ

ปัฏฐานมีการตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ, เป็น

ผู้มีสติโดยเหตุ อย่างแม้อื่นอีก คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเว้นจาก

ความเป็นผู้ไม่มีสติ ฯลฯ บุคคลเป็นผู้เข้าใกล้ เข้าชิด เข้าถึง เข้าถึงพร้อม

เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบด้วยสตินี้ บุคคลนั้นเรียกว่า มีสติ

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์ผู้เกิดมาพึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ.

[๒๗] คำว่า พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย มีความว่า กามทั้ง

หลาย ได้แก่ กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑

วัตถุกามเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่

ชอบใจ ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่า

กิเลสกาม.

คำว่า พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย ได้แก่ พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย

โดยเหตุ ๒ ประการ คือ โดยการข่มไว้ประการ ๑ โดยการตัดขาดประ

การ ๑.

พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้อย่างไร ? สัตว์ผู้เกิดมา เมื่อเห็นอยู่ว่า

กามทั้งหลายเปรียบด้วยโครงกระดูก เพราะอรรถว่า เป็นของมีความยินดี

น้อย พึงเว้น ขาดกามโดยการข่มไว้.

เมื่อเห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่า เป็น

ของสาธารณ์แก่ชนหมู่มาก พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้

เมื่อเห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า เพราะอรรถว่า

เป็นของตามเผา พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ฯลฯ แท้เจริญเนวสัญญานา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

สัญญายตนสมาบัติ พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้. พึงเว้นขาดกามโดยการ

ข่มไว้อย่างนี้ ฯลฯ พึงเว้นขาดกามโดยการตัดขาดอย่างนี้. เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย.

[๒๘] คำว่า ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะ

ได้ มีความว่า คำว่า เหล่านั้น ได้แก่ สัตว์ผู้เกิดมา กำหนดรู้

วัตถุกามทั้งหลาย ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีใน

ภายหลัง ซึ่งกิเลสกาม คือ ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความ

ไม่มีในภายหลัง ซึ่งกามฉันทนิวรณ์....พยาบาทนิวรณ์....ถีนมิทธนิวรณ์....

อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มี

ในภายหลัง ซึ่งวิจิกิจฉานิวรณ์ พึงข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็น

ไปล่วง กามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้.

[๒๙] คำว่า เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น

มีความว่า บุคคลวิด สาดออก ทิ้งออกซึ่งน้ำในเรืออันทำให้หนัก บรรทุก

หนักแล้ว พึงไปถึงฝั่งด้วย เรือที่เบา โดยเร็วไว โดยไม่ลำบาก ฉันใด สัตว์ผู้

เกิดมา กำหนดรู้วัตถุกามทั้งหลาย ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้

ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งกิเลสกาม คือ ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้

สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งกามฉันทนิวรณ์....พยาบาทนิวรณ์....

ถีนมิทธนิวรณ์....อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์....วิจิกิจฉานิวรณ์ พึงไปถึงฝั่งโดย

เร็วไว โดยไม่ลำบาก ฉันนั้น.

อมตนิพพาน เรียกว่า ฝั่ง ได้แก่ธรรม เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับ

กิเลสเครื่องร้อยรัด พึงถึง บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้งซึ่งฝั่ง.

คำว่า ถึงฝั่ง ได้แก่ ผู้ใดใคร่เพื่อจะถึงฝั่ง ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง

ผู้ใดต่อไปสู่ฝั่ง ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง ผู้ใดถึงฝั่งแล้ว ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง

สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ข้ามพ้นแล้ว

ถึงฝั่งแล้ว ยืนอยู่บน ชื่อว่าเป็นพราหมณ์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า พราหมณ์ เป็นชื่อพระอรหันต์

พระอรหันต์นั้นถึงฝั่งด้วยการรู้ยิ่ง ถึงฝั่งด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งด้วยการละ

ถึงฝั่งด้วยการเจริญ ถึงฝั่งด้วยการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งด้วยสมาบัติ ถึงฝั่งแห่ง

ธรรมทั้งปวงด้วยการรู้ยิ่ง ถึงฝั่งแห่งทุกข์ทั้งปวงด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่ง

แห่งกิเลสทั้งปวงด้วยการละ ถึงฝั่งแห่งอริยมรรค ๔ ด้วยการเจริญ ถึงฝั่ง

แห่งนิโรธด้วยการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งแห่งสมาบัติทั้งปวงด้วยการบรรลุ.

พระอรหันต์นั้น ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ถึง

ความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยสมาธิ ถึงความชำนาญ ถึงความ

สำเร็จในอริยปัญญา ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยวิมุตติ.

พระอรหันต์นั้น ไปสู่ฝั่งแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ไปสู่ส่วนสุดแล้ว ถึงส่วน

สุดแล้ว ไปสู่ที่สุดแล้ว ถึงที่สุดแล้ว ไปสู่ที่สุดรอบแล้ว ถึงที่สุดรอบแล้ว

ไปสู่ความสำเร็จแล้ว ถึงความสำเร็จแล้ว ไปสู่ที่ป้องกันแล้ว ถึงที่ป้องกัน

แล้ว ไปสู่ที่ลับแล้ว ถึงที่ลับแล้ว ไปสู่ที่พึ่งแล้ว ถึงที่พึ่งแล้ว ไปสู่ที่ไม่

มีภัยแล้ว ถึงที่ไม่มีภัยแล้ว ไปสู่ที่ไม่จุติแล้ว ถึงที่ไม่จุติแล้ว ไปสู่ที่ไม่

ตายแล้ว ถึงที่ไม่ตายแล้ว ไปสู่นิพพานแล้ว ถึงนิพพานแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

พระอรหันต์นั้น อยู่จบแล้ว พระพฤติจรณะ มีทางไกลอันถึงแล้ว

มีทิศอันถึงแล้ว มีที่สุดอันถึงแล้ว มีพรหมจรรย์อันรักษาแล้ว ถึงทิฏฐิ

อันอุดมแล้ว มีมรรคอันเจริญแล้ว มีกิเลสอันละเสียแล้ว มีการแทงตลอด

มิได้กำเริบ มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว มีทุกข์อันกำหนดรู้แล้ว มีสมุทัยอัน

ละแล้ว มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว มีมรรคอันเจริญแล้ว มีธรรมที่ควรรู้

ยิ่งอันได้รู้ยิ่งแล้ว มีธรรมที่ควรกำหนดรู้อันกำหนดรู้แล้ว มีธรรมที่ควร

ละอันละแล้ว มีธรรมที่ควรเจริญอันเจริญแล้ว มีธรรมที่ควรทำให้แจ้งอัน

ทำให้แจ้งแล้ว.

พระอรหันต์นั้นมีอวิชชาเป็นลิ่มสลักอันถอนเลียแล้ว มีกรรมเป็นดู

อันกำจัดเสียแล้ว มีตัณหาเป็นเสาระเนียดอันถอนเสียแล้ว ไม่มีสังโยชน์

เป็นบานประตู เป็นผู้ไกลจากกิเลสอันเป็นข้าศึก มีมานะเป็นธงอันให้ตก

ไปแล้ว มีภาระอันปลงเสียแล้ว มีโยคกิเลสมิได้เกี่ยวข้อง มีองค์ ๕ อันละ

เสียแล้ว ประกอบด้วยองค์ ๖ มีสติเป็นธรรมเครื่องรักษาอย่างเอก มี

ธรรมเป็นเครื่องอาศัย ๘ มีทิฏฐิสัจจะเฉพาะอย่างอันละเสียแล้ว มีการ

แสวงหาอันชอบไม่หย่อนประเสริฐ มีความดำริมิได้ขุ่นมัว มีการสังขาร

อันระงับแล้ว มีจิตหลุดพ้นแล้ว มีปัญญาเป็นเครื่องหลุดพ้นด้วยดี เป็น

ผู้มีความบริบูรณ์ มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ

ถึงความบรรลุปรมัตถะ.

พระอรหันต์นั้น มิได้ก่อมิได้กำจัด กำจัดตั้งอยู่แล้ว มิได้ละ มิ

ได้ถือมั่น ละแล้วจึงตั้งอยู่ มิได้เย็บ มิได้ตก เย็บแล้วจึงตั้งอยู่ มิได้ดับ

มิได้ให้ลุกดับแล้วจึงตั้งอยู่ ดำรงอยู่ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ซึ่งเป็นอเสขะ

แทงตลอดอริยสัจจะแล้วตั้งอยู่ ก้าวล่วงตัณหาอย่างนี้แล้วตั้งอยู่ ดับไฟ

กิเลสแล้วตั้งอยู่ ตั้งอยู่ด้วยไม่ต้องไปรอบ ยึดถือเอายอดแล้วตั้งอยู่ ตั้งอยู่

ด้วยเป็นผู้ซ่องเสพวิมุตติ ดำรงอยู่ด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

อันบริสุทธิ์ ดำรงอยู่ด้วยความบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดำรงอยู่ในความเป็น

ผู้ไม่แข็งกระด้างด้วยตัณหาทิฏฐิมานะอันบริสุทธิ์ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้หลุดพ้น

ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้สันโดษ ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ

คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ตั้งอยู่ในภพอันมีในที่สุด

ตั้งอยู่ในสรีระอันมีในที่สุด ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด สมจริงดังคาถา

ประพันธ์ว่า :-

พระขีณาสพนั้นมีภพนี้เป็นที่สุด มีสรีระนี้เป็นที่

หลัง มิได้มีชาติ มรณะ สงสาร และภพใหม่.

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ

พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดตามเหล่านั้นแล้ว

พึงข้ามโอฆะได้ เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง

ฉะนั้น ดังนี้.

จบ กามสุตตนิทเทส ที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

สัทธัมมปัชโชติกา

อรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเทส

ภาคที่ ๑

อารัมภกถา

พระชินเจ้าพระองค์ใดทรงกำจัดเสียซึ่งลิ่มคือ

อวิชชา และความกำหนัดด้วยสามารถแห่งความยิน

ดี อย่างถอนราก ทรงเจริญอัฏฐังคิกมรรคถูกต้อง

อมตบท. ทรงบรรลุพระโพธิญาณ เสด็จหยั่งลงสู่

อิสิปตนมฤคทายวันประกาศธรรมจักรยังเวไนยสัตว์

๑๘ โกฏิ มีพระโกณฑัญญเถระเป็นต้น ให้บรรลุธรรม

ในวันนั้นในที่นั้น.

ข้าพเจ้าขอนมัสการด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระชินเจ้า

พระองค์นั้น ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง และพระธรรม

อันสูงสุด ทั้งพระสงฆ์ผู้ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า.

ก็ธรรมจักรใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยย่อ

พระสารีบุตรผู้มีปัญญามากเกือบเท่าพระศาสดา ผู้

เกิดแต่องค์พระชินเจ้า จำแนกธรรมจักรนั้นเป็น

ส่วน ๆ กล่าวมหานิทเทสซึ่งชื่อว่าเป็นปาฐะประเสริฐ

และวิเศษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

อนึ่ง ข้าพเจ้าขอนมัสการพระสารีบุตรพุทธชิโน-

รสองค์นั้น ผู้เป็นพระเถระที่มีเถรคุณมิใช่น้อยเป็นที่

ยินดียิ่ง ผู้มีเกียรติคุณสูงสุดเพราะสภาพปัญญา และ

ผู้มีความประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นอันดี ข้าพเจ้า

อันพระเทวเถระผู้พหูสูต ผู้ประกอบด้วยคุณมีความ

อดทนเป็นต้น มีปกติกล่าวคำที่สมควรและพอดีเป็น

ต้น อาราธนาแล้วจักดำรงอยู่ในแนวสาธยายของ

พระเถระ ชาวมหาวิหาร ถือเอาข้อวินิจฉัยเก่า ๆ ที่

ควรถือเอา ไม่ทอดทิ้งลัทธิของตน และไม่ทำลัทธิ

ผู้อื่นให้เสียหาย ทั้งรวบรวมนัยแห่งอรรถกถาทั้ง

เบื้องต้นเบื้องปลายได้ตามสมควร พรรณนาตามเนื้อ

ความที่ยังไม่เคยพรรณนาของนัยนั้น อันนำมาซึ่ง

ประเภทแห่งญาณ ที่พระโยคาวจรทั้งหลายมิใช่น้อย

เสพอาศัยแล้ว ไม่ทอดทิ้งพระสูตรและข้อยุติ จัก

เริ่มพรรณนามหานิทเทสโดยย่อ ด้วยความนับถือ

มากในพระสัทธรรม มิใช่ประสงค์จะยกตน ข้าพเจ้า

จักกล่าวอรรถกถา เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน

และเพื่อความดำรงอยู่นานแห่งพระสัทธรรม ขอ

ท่านสัตบุรุษทั้งหลายจงฟัง สัทธัมมปัชโชติกา โดย

เคารพและจงทรงจำไว้ด้วยดีเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

เพราะได้กล่าวไว้แล้วในอารัมภกถานั้นว่า ซึ่งมหานิทเทสนั้นโดยชื่อ

อันวิเศษว่า ปาฐะวิสิฏฐนิทเทส, ปาฐะ มี ๒ อย่างคือ พยัญชน-

ปาฐะ ๑ อรรถปาฐะ ๑.

ในปาฐะทั้ง ๒ นั้น พยัญชนปาฐะ มี ๖ อย่างคือ อักขระ ๑,

บท ๑, พยัญชนะ ๑, อาการะ ๑, นิรุตติ ๑, นิทเทส ๑.

อรรถปาฐะ ก็มี ๖ อย่างคือ สังกาสนะ ๑, ปกาสนะ ๑,

ววรณะ ๑, วิภชนะ ๑, อุตตานีกรณะ ๑, บัญญัตติ ๑.

ว่าด้วยอักขระ

ในพยัญชนะปาฐะนั้น เทสนาที่เป็นไปด้วยจิตที่คิดถึงเหตุอันหมด

จด ด้วยสามารถแห่งปโยคะอันบริสุทธิ์ในไตรทวาร บัณฑิตรู้ได้ว่า

อักขระ เพราะมิได้แสดงคือไม่ได้เสวนาด้วยวาจา. อักขระนั้น พึงถือเอาว่า

ชื่อว่า อักขระ ด้วยสามารถแห่งปัญหาที่บรรดาพราหมณ์ผู้มีจุดหมายปลาย

ทางถามด้วยใจ และด้วยสามารถแห่งปัฏฐานมหาปกรณ์อัน พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าประทับนั่งพิจารณาแล้วที่รตนฆรเจดีย์.

อีกอย่างหนึ่ง บทที่ไม่บริบูรณ์ก็พึงรับรู้ว่า อักขระ ดุจในคำมีอาทิ

อย่างนี้ว่า สฏฺีวสฺสสหสฺสานิ หกหมื่นปี ดังนี้. ในคำนี้อาจารย์พวก

หนึ่งกล่าวว่า - อักษร และ ทุ - อักษร ก็ชื่อว่า อักขระ, หรือบทที่มี

อักขระเดียว ก็ชื่อว่า อักขระ.

ว่าด้วยบท

อักขรสันนิบาตอันส่องความที่จำแนกไว้ในคำเป็นต้นว่า ยาย ตณฺหา

โปโนพฺภวิกา - ตัณหานี้ใดเป็นปัจจัยให้เกิดอีก ดังนี้ ชื่อว่า บท คำที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

ประกอบด้วยอักขระมากมายได้ในคำเป็นต้นว่า นามญฺจ รูปญฺจ - นาม

ด้วยรูปด้วย ก็ชื่อว่า บท - อักขรสันนิบาต.

ว่าด้วยพยัญชนะ

ชื่อว่า พยัญชนะ เพราะอรรถว่า ยังเนื้อความอันเป็นประโยชน์

เกื้อกูลให้ชัดเจน คือทำให้รู้ ทำให้ปรากฏด้วยบทว่า พึงทำบทที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้โดยย่อให้แจ่มแจ้งดังนี้ ได้แก่คำพูดนั่นเอง.

เนื้อความที่ตรัสโดยย่อว่า จตฺตาโร อิทฺธิปาทา - อิทธิบาท ๔ ก็

ชื่อว่า พยัญชนะ - ทำเนื้อความให้ชัดเจน เพราะทำเนื้อความให้ปรากฏ

ได้ในคำว่า กตเม จตฺตาโร - ๔ เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วย ฉันทะ, สมาธิปธานสังขาร

คือ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วย วิริยะ, จิตตะ, วิมังสา, สมาธิประธาน-

สังขาร.

ว่าด้วยอาการะ

การประกาศวิภาคแห่งพยัญชนะ ชื่อว่า อาการะ. การกระทำวิภาค

หลายอย่างซึ่งพยัญชนะที่ตรัสไว้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า อิทธิบาท ๔ นั้น

ฉันทะเป็นไฉน ? ฉันทะคือความพอใจ ความเป็นผู้พอใจ ความเป็นผู้ใคร่

เพื่อจะทำ ดังนี้ ชื่อว่า อาการะ - ประกาศวิภาคแห่งพยัญชนะ.

ว่าด้วยนิรุตติ

คำขยายเนื้อความอันประกอบด้วยอาการ ชื่อว่า นิรุตติ. คำที่นำมา

กล่าวว่า ชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่ากระทบอารมณ์, ชื่อว่า เวทนา

๑ ฉบับพม่าว่า สเรน - ด้วยสระ, หรือด้วยเสียง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

เพราะอรรถว่าเสวยอารมณ์ ซึ่งตรัสไว้แล้วโดยอาการ มาในคำเป็นต้นว่า

ผสฺโส เวทนา ดังนี้ ก็ชื่อว่า นิรุตติ - แสดงสภาวะ.

ว่าด้วยนิทเทส

ความพิสดารแห่งคำขยาย ชื่อว่า นิทเทส เพราะอรรถว่าแสดง

เนื้อความโดยไม่เหลือ. บทที่ได้คำขยายว่า เวทยตีติ เวทนา - ชื่อว่า

เวทนา เพราะอรรถว่าเสวยอารมณ์ ดังนี้. ก็ชื่อว่า นิทเทส - แสดงขยาย

ความ เพราะท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถความพิสดารแห่งเนื้อความเป็นต้นว่า

สุขะ ทุกขะ อทุกขมสุขะ, ชื่อว่า สุขะ เพราะอรรถว่าเป็นไปสบาย. ชื่อว่า

ทุกขะ เพราะอรรถว่าเป็นไปลำบาก. ชื่อว่า อทุกขมสุขะ เพราะอรรถว่า

ไม่เป็นไปลำบาก ไม่เป็นไปสบาย.

ว่าด้วยสังกาสนะ

การรู้บทแห่งพยัญชนปาฐะ ๖ อย่าง ด้วยประการฉะนี้แล้ว

ประกาศแสดงในบทแห่ง อรรถปาฐะ ๖ อย่างโดยย่อ ชื่อว่า สังกาสนา

- ประกาศให้รู้ชัด. การแสดงข้อความโดยสังเขปได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า

ภิกษุเมื่อสำคัญอยู่แล ย่อมถูกมารผูกมัด, เมื่อไม่สำคัญอยู่ ย่อมพ้นจาก

มารผู้มีบาป ดังนี้ ก็ชื่อว่า สังกาสนา - ให้รู้ชัด ก็พระเถระนี้เป็นผู้สามารถ

เพื่อจะกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ได้รู้ทั่วแล้ว ข้าแต่

พระสุคตเจ้า ข้าพระองค์ได้รู้ทั่วแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า แทงตลอดแล้วซึ่งเนื้อ

ความที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วโดยสังเขปด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

ว่าด้วยปกาสนะ

การประกาศการแสดงแต่เบื้องต้น ซึ่งเนื้อความที่ควรกล่าวใน

เบื้องต้น ชื่อว่า ปกาสนะ. การแสดงการประกาศซึ่งเนื้อความที่ควร

กล่าวในภายหลังด้วยคำแรกได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า สพฺพ ภิกฺขเว อา-

ทิตฺต - สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อนดังนี้ ก็ชื่อว่า ปกาสนะ - ประกาศ. ด้วย

การแสดงข้อความที่แสดงแล้วในครั้งแรกทำให้ปรากฏอีกอย่างนี้ เป็นอัน

ตรัสบทแห่งอรรถทั้งสองในข้อความที่ตรัสไว้มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อะไรคือสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็น

ของร้อน, รูปเป็นของร้อน, ดังนี้ เพื่ออุปการะแก่ภิกษุผู้มีอินทรีย์แก่กล้า

เพราะตรัสไว้ว่า ภิกษุผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ย่อมแทงตลอดเนื้อความที่ตรัส

ไว้โดยสังเขปได้ดังนี้.

ว่าด้วยวิวรณะ

การทรงไว้โดยพิสดารซึ่งเนื้อความที่กล่าวแล้วโดยสังเขป และการ

ทรงไว้ได้อีกซึ่งเนื้อความที่กล่าวแล้วเพียงครั้งเดียว ชื่อว่า วิวรณะ.

การขยายเนื้อความที่ตั้งไว้โดยสังเขปว่า กุสลา ธมฺมา สภาวธรรมทั้ง

หลายที่เป็นกุศลดังนี้ ให้พิสดารด้วยสามารถแห่งนิทเทสว่า สภาวธรรม

ทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นไฉน ? สมัยใดกามาวจรกุศลจิต เกิดขึ้นแล้วดังนี้

เป็นต้น ก็ชื่อว่า วิวรณะ - เปิดเผย.

ว่าด้วยวิภชนะ

การทำเนื้อความนั้นเป็นส่วน ๆ ชื่อว่า วิภชนะ. การทำกุศลธรรม

ทั้งหลายที่เปิดเผยแล้วว่า ยสฺมึ สมเย ในสมัยใด ดังนี้ เป็นส่วน ๆ ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

ในสมัยนั้น ผัสสะ ก็เกิด เวทนา ก็เกิด ดังนี้ ก็ชื่อว่า วิภชนะ - จำแนก.

ว่าด้วยอุตตานีกรณะ

การทำเนื้อความให้ถึงพร้อม ด้วยการทรงไว้โดยพิสดารซึ่งเนื้อความ

ที่จำแนกแล้ว และด้วยการตั้งไว้ซึ่งเนื้อความที่จำแนกแล้วด้วยอุปมา ชื่อว่า

อุตตานีกรณะ. เนื้อความที่เปิดเผยแล้วโดยการเปิดเผย กล่าวคือ เปิดเผย

อย่างยิ่งว่า ผัสสะมีในสมัยนั้นเป็นไฉน ? คือ ในสมัยนั้น ผัสสะ กระทบ

อารมณ์. ผุสนา - ถูกต้องอารมณ์. สัมผุสนา - สัมผัสอารมณ์ ดังนี้, และ

เนื้อความที่จำแนกแล้ว โดยการจำเเนกกล่าวอุปมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวว่า ผัลสาหารพึงเห็นได้ ดุจดังแม่โคที่ปราศจากหนังฉะนั้น ดังนี้

ก็ชื่อว่า อุตตานีกรณะ - ทำให้ง่าย.

ว่าด้วยปัญญัตติ

การยังโสมนัสให้เกิดขึ้นแก่จิตด้วยอเนกวิธี คือ ด้วยการแสดงธรรม

แก่สาธุชนผู้สดับธรรมอยู่. และการกระทำความคมกล้าของญาณด้วยอเนก

วิธี ให้แก่สาธุชนที่ยังมีปัญญายังไม่คมกล้า ชื่อว่า ปัญญัตติ เพราะอรรถ

ว่า ย่อมปรากฏแก่สาธุชนผู้สดับอยู่เหล่านั้น ด้วยความยินดีของจิตที่

ประกอบด้วยโสมนัสนั้น และด้วยความใคร่ครวญของจิตที่ประกอบด้วย

โสมนัสนั้น จึงชื่อว่า ปัญญัตติ.

ในปาฐะทั้ง ๒ นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้รู้ชัดด้วยอักขระ,

ทรงประกาศด้วยบท, ทรงเปิดเผยด้วยพยัญชนะ, ทรงจำแนกด้วย

อาการะ, ทรงทำให้ง่ายด้วยนิรุตติ, ทรงทำให้ปรากฏด้วยนิทเทส.

คำนี้มีอธิบายไว้อย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงกระทำเวไนยสัตว์บางพวกให้รู้

ชัดเนื้อความด้วย อักขระ ในการแสดงธรรมครั้งหนึ่ง ฯลฯ ทรงทำเนื้อ

ความให้ปรากฏด้วย นิทเทส นี้เป็นอธิบายในปาฐะทั้ง ๒ นั้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เวไนยสัตว์รู้ชัดด้วยอักขระ

ทั้งหลายแล้วทรงประกาศด้วยบททั้งหลาย ทรงเปิดเผยด้วยพยัญชนะ

ทั้งหลาย แล้วทรงจำแนกด้วยอาการทั้งหลาย ทรงทำให้ง่ายด้วยนิรุตติ

ทั้งหลาย แล้วทรงบัญญัติด้วยนิทเทสทั้งหลาย มีอธิบายไว้อย่างไร ?

มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำเวไนยสัตว์บางพวกใน

ฐานะบางอย่าง ด้วยพระธรรมเทศนาเห็นปานนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเมื่อทรงให้เหล่าเวไนยรู้ชัดด้วยอักขระ ทั้งหลายแล้วทรงประกาศ

ด้วยบททั้งหลาย ย่อมทรงแนะนำพวกอุคฆติตัญญู เมื่อทรงเปิดเผยด้วย

พยัญชนะทั้งหลาย แล้วทรงจำแนกด้วยอาการทั้งหลาย ย่อมทรงแนะนำพวก

วิปจิตัญญู เมื่อทรงทำให้ง่ายด้วยนิรุตติทั้งหลาย แล้วทรงบัญญัติด้วย

นิทเทสทั้งหลาย ย่อมทรงแน่ะนำพวกเนยยะ แม้ด้วยสามารถแห่งเวไนยสัตว์

ก็พึงประกอบด้วยประการฉะนี้แล.

แต่โดยใจความในที่นี้ พระสุรเสียงที่เป็นไปกับด้วยวิญญัติซึ่งรู้เนื้อ

ความ ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ทรงแสดงพระธรรมว่า

พยัญชนปาฐะเป็นไฉน ? อรรถปาฐะเป็นไฉน ? ดังนี้นั้น ชื่อพยัญชน-

ปาฐะ. พระธรรมที่ประกอบด้วยลักษณะและรสเป็นต้นอันพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพึงบรรลุ นั้นพึงทราบว่า อรรถปาฐะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะมี ๖ อย่าง คือ สันธายภาสิตปาฐะ พยัญชน-

ภาสิตปาฐะ สาวเสสปาฐะ อนวเสสปาฐะ นีตปาฐะ และเนยย-

ปาฐะ.

ในปาฐะเหล่านั้น ปาฐะที่กล่าวข้อความไม่น้อยมีอาทิอย่างนี้ว่า

ฆ่ามารดาบิดา และกษัตริยราชทั้งสอง ดังนี้ ชื่อ สันธายภาสิตปาฐะ.

ปาฐะที่กล่าวข้อความอย่างเดียวมีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลายมีใจ

ถึงก่อน ดังนี้ ชื่อ พยัญชนภาสิตปาฐะ.

ปาฐะมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน

ดังนี้ ชื่อ สาวเสสปาฐะ.

ปาฐะที่ตรงกันข้ามมีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งปวงย่อมมาสู่คลองใน

ญาณมุขของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า โดยอาการทั้งปวง ดังนี้ ชื่อ

อนวเสสปาฐะ.

ปาฐะที่พึงรู้อย่างที่กล่าวมีอาทิอย่างนี้ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ดังนี้ ชื่อ นีตปาฐะ.

ปาฐะที่พึงระลึกถึงโดยความถูกต้องมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคลเอก ดังนี้ ชื่อเนยยปาฐะ.

อนึ่ง อรรถมีประการไม่น้อย มีอาทิ คือ ปาฐัตถะ, สภาวัตถะ,

ญายัตถะ, รูปาฐานุรูป, นปาฐานุรูป, ชาวเสสตถะ, นิรวเสสตถะ,

นีตัตถะ และ เนยยัตถะ ในอรรถเหล่านั้น :-

ปาฐะใดพ้นข้อความที่ให้รู้ซึ่งข้อความที่ยังไม่รู้ไม่เห็น ปาฐะนั้นชื่อ

ปาฐัตถะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

ลักษณะและรสเป็นต้นของรูปธรรม และอรูปธรรมทั้งหลายข้อ

สภาวัตถะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า เจริญสัมมาทิฏฐิดังนี้.

อรรถใดอันบุคคลรู้อยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล ย่อมควร

เพื่อให้รู้พร้อมดังนี้ อรรถนั้นชื่อ ญายัตถะ ดุจในประโยกมีอาทิว่า ผู้

มีปกติกล่าวอรรถ ผู้มีปกติกล่าวธรรม ดังนี้.

อรรถที่สมควรตามปาฐะชื่อ ปาฐานุรูป อรรถที่บุคคลผู้ปฏิเสธข้อ

ความด้วยพยัญชนฉายาว่า เพราะฉะนั้น แม้จักษุก็เป็นกรรม ดังนี้.

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นกรรม

เก่า ดังนี้ กล่าวแล้ว ชื่อ นปาฐานุรูป.

อรรถนั้นโดยปาฐะมิได้ทรงอนุญาตไว้ มิได้ทรงปฏิเสธ มิได้ทรง

ประกอบไว้. ก็อรรถนั้น แม้ที่ควรสงเคราะห์ก็มิได้ทรงสงเคราะห์ หรือ

แม้ที่ควรเว้น ก็มิได้ทรงเว้นอะไร ๆ เลย มิได้ทรงปฏิเสธตรัสไว้ ชื่อ

สาวเสสัตถะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า อาศัยจักขุประสาทและรูปารมณ์

จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น สัตว์ทั้งปวงย่อมสะดุ้งต่ออาชญา สัตว์ทั้งปวงย่อม

กลัวต่อมัจจุ ดังนี้.

อรรถที่ตรงกันข้าม ชื่อ นิรวเสสัตถะ ดุจในประโยคมีอาทิว่าทั้ง

เราทั้งท่าน แล่นไปพร้อมแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน

ข้อนั้น นอกจากบทที่เห็นแล้ว ใครรู้ใครทรงจำไว้ได้ ดังนี้.

อรรถที่พึงทราบด้วยสามารถแห่งเสียงนั้นแล ชื่อ นีตัตถะ ดุจใน

ประโยคมีอาทิว่า รูป เสียง รส กลิ่น และโผฏฐัพพะ เป็นที่รื่นรมย์

แห่งใจ ดังนี้.

๑. น่าจะอยู่หลัง กลิ่น ตามลำดับในวิสยรูป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

อรรถที่พึงทราบด้วยสามารถแห่งสมมติ ชื่อ เนยยัตถะ ดุจใน

ประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยพลาหก ๔ เหล่านั้น

ดังนี้. บุคคลรู้แจ้งทั้งปาฐะ และอรรถะดำรงอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ง่อนแง่นจาก

พวกกล่าวตรงกันข้ามทั้งหลาย ด้วยดำรงอยู่สิ้นกาลนาน.

บุคคลผู้สามารถเข้าใจด้วยเหตุและอุทาหรณ์เป็นต้น ทั้งโดยสังเขป

นัย และวิตถารนัย ย่อมอาจที่จะกล่าวจนถึงความถึงพร้อมแห่งอาคมและ

อธิคมอย่างไม่ง่อนแง่น ด้วยประการฉะนี้ ครั้นรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว ย่อมเป็น

ผู้สะอาด เพราะเว้นจากมลทินคือศีลและทิฏฐิชั่ว ด้วยความเป็นผู้สามารถ

ที่จะชำระตนและผู้อื่นให้บริสุทธิ์ได้. ด้วยว่าคนทุศีลย่อมเบียดเบียนตน เป็น

ผู้มีวาจาไม่น่าเชื่อถือ เพราะความทุศีลนั้นไม่สามารถจะนำอาหารมาได้

เดือนร้อนอยู่เป็นนิตย์โนโลกนี้ดุจลูกโค คนมีทิฏฐิชั่วย่อมเบียดเบียนผู้อื่น

และเป็นที่พึ่งอาศัยไม่ได้ เพียงดังกอบัวที่อากูลอยู่ในถ้ำของสัตว์ร้าย ก็ผู้

วิบัติทั้งสองอย่าง เป็นผู้ไม่ควรนั่งใกล้ เหมือนหีบศพที่อยู่ในคูถ และ

เหมือนงูเห่าที่อยู่ในคูถ. ส่วนผู้สมบูรณ์ทั้งสองอย่าง เป็นผู้สะอาดควรนั่ง

ใกล้และควรคบหาแม้ด้วยประการทั้งปวง เหมือนบ่อรัตนะปราศจาก

อันตรายจากวิญญูชนทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นอย่างนี้ ไม่ตระหนี่อย่างนี้ ไม่

ลืมอาจารย์ ไม่สละ ๔ อย่าง คือ สุตตะ, สุตตานุโลม, อาจริยวาท,

และ อัตตโนมติ กล่าวข้อความได้ต่าง ๆ ด้วยสามารถแห่งสิ่งสำคัญ ๔

อย่างนั้น อีกอย่างหนึ่งเป็นผู้ไม่สละสิ่งสำคัญ ๔ อย่างเหล่านี้คือ :-

การกล่าวโดยส่วนเดียวเป็นสุตตะที่ ๑ การกล่าวจำแนก

เป็นบทสุตตานุโลมเป็นที่ ๒ ไต่ถามเป็นอาจริยวาทที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

ดำรงไว้ เป็นอัตตโนมติที่ ๔.

เพราะประกอบผู้ฟังเข้าไว้ในประโยชน์เกื้อกูล แต่สิ่งสำคัญ ๔ อย่าง

นั้นแหละ ความเข้าใจสิ่งสำคัญ ๔ อย่างเหล่านั้น ย่อมกลับเป็นไม่เกียจ

คร้าน ดังนี้แล. ในข้อนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า :-

บุคคลผู้กล่าว ผู้ไม่ง่อนแง่นเพราะรู้อรรถแห่งปาฐะ

เป็นผู้สะอาด ไม่ตระหนี่ ไม่สละสิ่งสำคัญ ๔ อย่าง

เป็นผู้แสดงไปตามประโยชน์เกื้อกูล.

บทว่า เทสกสฺส ในคาถานี้ ความว่า พึงเป็นผู้แสดง. บทว่า

หิตนฺวิโต ความว่า ผู้ไปตามด้วยประโยชน์เกื้อกูล คือผู้มีจิตประกอบด้วย

ประโยชน์เกื้อกูล.

ก็บุคคลนี้นั้น เป็นที่รักเพราะเป็นผู้สะอาด เป็นที่เคารพเพราะเป็น

ผู้ไม่สละสิ่งสำคัญ ๔ อย่าง น่าสรรเสริญเพราะเป็นผู้ไม่ง่อนแง่น เป็นผู้

อดทนต่อถ้อยคำเพราะเป็นผู้ไปตามประโยชน์เกื้อกูล เป็นผู้กล่าวชี้แจงเรื่อง

ที่ลึกซึ้งได้ เพราะเป็นผู้รู้อรรถแห่งปาฐะ เป็นผู้ชักจูงในฐานะอันควร

เพราะเป็นผู้ไม่ตระหนี่ ดังนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสัตตกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า :-

เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ น่าสรรเสริญ รู้จักกล่าวชี้แจง

ให้เข้าใจ เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำกล่าวชี้แจงเรื่องที่ลึกซึ้งได้

ไม่ชักจูงในเรื่องเหลวไหลไร้สาระดังนี้.

ผู้แสดงเป็นผู้เกื้อกูลยิ่ง ผู้แสดงนั้น จะตั้งไว้เฉพาะในบัดนี้ก่อน ผู้

แสดงย่อมไม่ดูหมิ่นถ้อยคำเพราะเคารพธรรม ๔ ประการ ย่อมไม่ดูหมิ่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

ถ้อยคำที่กล่าวแล้ว เพราะเคารพอาจารย์ ย่อมไม่ดูหมิ่นตน เพราะเป็นผู้

ประดับด้วยคุณมีศรัทธาและปัญญาเป็นต้น เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน เพราะ

เป็นผู้ไม่โอ้อวดและไม่มีมายา และเพราะเป็นผู้มุ่งพระนิพพาน ย่อม

มนสิการโดยแยบคาย เพราะเป็นผู้มีปัญญาดี. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้

ว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังพระ-

สัทธรรม เป็นผู้ควรที่จะก้าวลงสู่ความแน่นอนอันเป็นความชอบในกุศล

ธรรมทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ไม่ดูหมิ่นถ้อยคำ ๑ ไม่

ดูหมิ่นถ้อยคำที่กล่าวแล้ว ๑ ไม่ดูหมิ่นตน ๑ มีจิตไม่ฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑

จิตแน่วแน่มนสิการโดยแยบคาย ๑ ภาชนะย่อมมีเพราะถึงลักษณะนั้นแล

ก็ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ผู้เคารพธรรมาจารย์ ผู้ประดับด้วยคุณมีศรัทธาและ

ปัญญาเป็นต้น ผู้ไม่โอ้อวดและไม่มีมายา มีปัญญา มุ่ง

พระนิพพาน เป็นผู้กล่าวและเป็นผู้ฟัง ด้วยประการฉะนี้.

ครั้นแสดงพยัญชนะและอรรถะซึ่งมีประการดังกล่าวอย่างนี้แล้ว

บัดนี้ข้าพเจ้าจักพรรณนามหานิทเทสนั้น ซึ่งท่านเรียกว่า มหานิทเทส

เพราะอรรถว่า เป็นนิทเทสใหญ่ราวกะมหาสมุทรและมหาปฐพี เพราะท่าน

กล่าวทำให้ยอดเยี่ยม ท่านพระอานนท์สดับมหานิทเทสเช่นนั้น อันสมบูรณ์

ด้วยอรรถะ สมบูรณ์ด้วยพยัญชนะ ลึกซึ้ง มีอรรถลึกซึ้ง ประกาศโลกุตตระ

ปฏิสังยุตด้วยสุญญตา ให้สำเร็จการปฏิบัติและคุณวิเสสคือมรรคผล ปฏิเสธ

๑. คาถานี้ไม่เต็มคงขาดหายไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

ธรรมที่เป็นข้าศึก เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะคือญาณของพระโยคาวจรทั้งหลาย

เป็นเหตุพิเศษที่ให้เกิดความงามแห่งธรรมกถาของพระธรรมกถึกทั้งหลาย

เป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ของผู้ที่ขลาดกลัวสังสารวัฏ มีข้อความให้เกิด

ความโปร่งใจ ด้วยการแสดงอุบายแห่งการออกไปจากทุกข์นั้น มีข้อความ

กำจัดธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการออกไปจากทุกข์นั้น และมีข้อความให้เกิด

ความยินดีแห่งหทัยของสาธุชน ด้วยการเปิดเผยอรรถแห่งสุตตบททั้งหลาย

มิใช่น้อยที่มีอรรถลึกซึ้ง อันท่านพระสารีบุตรเถระผู้เป็นธรรมเสนาบดีของ

พระธรรมราชา ผู้มีสิเนหะคือมหากรุณาแผ่ไปในชั้นทั้งสิ้น ด้วยแสงสว่าง

แห่งมหาประทีป คือ พระสัพพัญญุตญาณของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัม

พุทธเจ้าอันอะไร ๆ กำจัดไม่ได้ในที่ทั้งปวง ผู้ปรารถนาให้มหาประทีปคือ

พระสัทธรรมที่รุ่งเรื่องอยู่แล้วเพื่อกำจัดความมืด คือกิเลสที่ฝั่งอยู่ในหทัย

ของเวไนยชน ได้รุ่งเรื่องอยู่นานยิ่งตลอด ๕,๐๐๐ ปี ด้วยการหลั่งสิเนหะ

ขยายคำอธิบายพระสัทธรรมนั้น ผู้อนุเคราะห์โลกเกือบเท่าพระศาสดา

ภาษิตไว้ ได้ยกขึ้นสู่สังคีติตามที่ได้สดับมานั่นแหละ ในคราวปฐมมหาสัง

คายนา.

ก็บรรดาปิฎก ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และ อภิธรรมปิฎก

มหานิทเทสนี้นั้นนับเนื่องในสุตตันตปิฎก.

บรรดามหานิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย

อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย มหานิทเทสนับเนื่องในขุททกมหานิกาย.

บรรดาองค์แห่งคำสอน ๕ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา

อุทาน อิทิวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ท่านสงเคราะห์มหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

นิทเทสด้วยองค์ ๒ คือ คาถาและ เวยยากรณะ.

พระธรรมที่รู้กันว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระอานนทเถระ

ผู้ธรรมภัณฑาคาริก ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ ๕ ตำแหน่ง เรียนแต่

ภิกษุ ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ดังเถรภาษิตว่า :-

ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปเหล่านี้มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรม-

ขันธ์ ข้าพเจ้าเรียนแต่พระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

เรียนแก่ภิกษุ ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์.

ท่านสงเคราะห์มหานิทเทสนี้หลายร้อยพระธรรมขันธ์ มหานิทเทสมี

๒ วรรค คือ อัฏฐกวรรค ปารายนิกวรรคกับทั้งขัคควิสาณสูตร มหานิทเทส

มี ๓๓ สูตร มีกามสูตรเป็นต้น มีขัคควิสาณสูตรเป็นปริโยสาน แบ่งวรรคละ

๑๖ สูตร และขัคควิสาณสูตร ข้าพเจ้าจักพรรณนาเนื้อความตามลำดับบท

ของมหานิทเทสนี้ที่ท่านกำหนดไว้หลายประการอย่างนี้ ก็มหานิทเทสนี้ผู้

อุทเทสและผู้นิทเทส ทั้งโดยปาฐะและโดยอรรถะ พึงอุทเทสและพึงนิทเทส

โดยเคารพ แม้เพราะเหตุนั้น จึงควรเรียนและทรงจำไว้โดยเคารพ ข้อนั้น

เพราะเหตุไร ? เพราะมหานิทเทสนี้เป็นคัมภีร์ลึกซึ้ง เพื่อให้คัมภีร์มหา-

นิทเทสนี้ดำรงอยู่ในโลกสิ้นกาลนานี้เพื่อเกื้อกูลแก่ชาวโลก ในมหานิทเทส

นั้น กามสูตรเป็นสูตรแรก. แม้ในกามสูตรนั้น คาถาว่า กาม

กามยนานสฺส ดังนี้ เป็นคาถาแรก. การพรรณนานั้นตั้งไว้ตามส่วน

คือ อุทเทส นิทเทส ปฏินิทเทส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

มหานิทเทส

อรรถกถาอัฏฐกวรรค กามสุตตนิทเทส

บทมีอาทิอย่างนี้ว่า กาม กามยมานสฺส ดังนี้ ชื่อว่า อุทเทส.

บทว่า กาม โดยหัวข้อได้แก่กาม ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑

ดังนี้ ชื่อว่า นิทเทส. บทมีอาทิอย่างนี้ว่า วัตถุกามเป็นไฉน ? รูป

อันเป็นที่ชอบใจ ดังนี้ ชื่อว่า ปฏินิทเทส.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาม ได้แก่วัตถุกามกล่าวคือธรรมอันเป็น

ไปในภูมิ ๓ มีรูปอันเป็นที่ชอบใจเป็นต้น.

บทว่า กามยนานสฺส แปลว่าปรารถนาอยู่.

บทว่า ตสฺส เจ ต สมิชฺฌติ ความว่า ถ้าวัตถุกล่าวคือกามนั้น

ย่อมสำเร็จแก่สัตว์ผู้ปรารถนาอยู่นั้น ท่านอธิบายไว้ว่า ถ้าสัตว์นั้นได้วัตถุ

กามนั้น.

บทว่า อทฺธา ปีติมโน โหติ ความว่า ย่อมเป็นผู้มีจิตยินดีโดย

ส่วนเดียว. บทว่า ลทฺธา แปลว่า ได้แล้ว. บทว่า มจฺโจ ได้แก่สัตว์.

บทว่า ยทิจฺฉติ ความว่า ปรารถนากามใด แต่บทนี้เป็นเพียงเชื่อม

เนื้อความของบทโดยสังเขปเท่านั้น ส่วนความพิสดาร พึงทราบโดยนัยที่

มาในบาลีข้างบนนั่นแล. แม้ในบททั้งปวงต่อแต่นี้ ก็เหมือนในบทนี้แล.

บทว่า กามา เป็นอุททิสิตัพพบท คือบทที่ยกขึ้นตั้งเพื่อจะแสดง.

บทว่า อุทฺทานโต ก็เป็นนิททิสิตัพพบท.

บทว่า อุทฺทานโต ท่านกล่าวเป็นหมู่ ดุจในประโยคมีอาทิว่า พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

ซื้อเครื่องผูกปลา ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุททานะ เพราะให้สูง ๆ ขึ้น

ไป คือเพราะชำระให้สะอาดเบื้องบนดุจชื่อว่า ผ่องแผ้ว เพราะอรรถว่า

ขาวเป็นพิเศษ. อีกอย่างหนึ่ง :-

บทว่า กามา พึงกล่าวทำเป็นปาฐเสสะด้วยการกระทำให้พิสดาร.

บทว่า เทฺว เป็นการกำหนดจำนวน ๑ ก็ไม่ใช่ ๓ ก็ไม่ใช่.

บทว่า วตฺถุกามา จ ได้แก่ วัตถุกามมีรูปอันเป็นที่ชอบใจ เป็นต้น

และกิเลสกาม ด้วยอรรถว่าให้เร่าร้อน และด้วยอรรถว่าเบียดเบียน.

ในกาม ๒ นั้นวัตถุกามควรกำหนดรู้ กิเลสกามควรละ. ในกามทั้ง

๒ นั้น บุคคลปรารถนาวัตถุกาม. เพราะกิเลสกาม ชื่อว่า กาม เพราะ

อรรถว่าอันบุคคลใคร่. กิเลสกาม ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ

ให้บุคคลใคร่ด้วยความเป็นเหตุให้หวังวัตถุกาม. ในกาม ๒ นั้น วัตถุกาม

ท่านสงเคราะห์เข้าในขันธ์มีรูปเป็นต้น กิเลสกามท่านสงเคราะห์เข้าในสังขาร

ขันธ์. วัตถุกามรู้แจ้งได้ด้วยวิญญาณทั้ง ๖. กิเลสกามรู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ.

ชื่อว่าวัตถุกาม เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสทั้งหลาย เพราะอรรถว่า

เป็นเหตุแห่งกิเลสทั้งหลาย และเพราะอรรถว่าเป็นอารมณ์ แห่งกิเลส

ทั้งหลาย.

สิ่งสวยงามทั้งหลายในโลกเหล่านั้น มิใช่เป็นกามไป

ทั้งหมด ความกำหนัดด้วยสามารถแห่งความดำริ เป็น

กามของบุรุษ สิ่งสวยงามทั้งหลายย่อมดำรงอยู่ในโลก

อย่างนั้นแล เมื่อเป็นเช่นนั้น นักปราชญ์ทั้งหลาย ก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

กำจัด ความพอใจในสิ่งสวยงามเหล่านี้เสีย.

ในข้อนี้มีเรื่องนันทมาณพและบุตรของโสเรยยเศรษฐี เป็นต้นเป็นตัว

อย่าง.

กิเลสกามชื่อว่ากาม เพราะอรรถว่า ให้ใคร่เอง ด้วยอรรถคือให้เร่า

ร้อน ด้วยอรรถคือเบียดเบียน. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์

บุคคลผู้กำหนัดแล้วแล ถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตถูกราคะครอบงำ ย่อม

จงใจเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมจงใจเบียดเบียนคนอื่นบ้าง ย่อมจงใจเบียด

เบียนทั้งคนและคนอื่นบ้าง ดังนี้, และว่า ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้กำหนัด

แล้วแล ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ย่อมลักทรัพย์บ้าง ย่อมถึงทาระของผู้อื่นบ้าง

ย่อมกล่าวมุสาบ้าง ดังนี้ ตัวอย่างมีอย่างนี้เป็นต้น. พระสารีบุตรเถระประ-

สงค์จะกล่าวมหานิทเทสนั้น แลให้พิสดารด้วย ปฏินิทเทส จึงกล่าวคำมี

อาทิว่า กตเม วตฺถุกามา วัตถุกามเป็นไฉน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตเม เป็น กเถตุกัมยตาปุจฉา. ความ

จริง ปุจฉามี ๕ อย่าง วิภาคแห่งปุจฉาเหล่านั้น จักมีแจ้งในบาลีข้างหน้า

นั้นแล. บรรดาปุจฉา ๕ อย่างนั้น นี้เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนาปิกา ความว่า ชื่อว่า มนาปา

เพราะอรรถว่า ยังใจให้เอิบอาบ คือให้เจริญ มนาปา นั่นแหละ เป็น

มนาปิกา.

บทว่า รูปา ได้แก่ รูปารมณ์ ซึ่งมีสมุฏฐาน ๔ คือ กรรม จิต

อุตุ อาหาร, ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่าแตกดับไป อธิบายว่า เมื่อ

สีเปลี่ยนไป ย่อมประกาศภาวะที่ถึงหทัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

บรรดาวัตถุกามเหล่านั้น ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่าอะไร ? เพราะ

อรรถว่า แตกดับไป. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อะไรเล่าที่พวกเธอเรียกว่า รูป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ

อรรถว่าย่อมแตกดับไปแล ฉะนั้นจึงเรียกว่า รูป, รูปนั้นย่อมแตกดับไป

ด้วยอะไร ย่อมแตกดับไปด้วยหนาวบ้าง ร้อนบ้าง หิวบ้าง ระหายบ้าง

ย่อมแตกดับไปด้วยสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอรรถว่า ย่อมแตกดับแล ฉะนั้น จึงเรียกว่ารูป

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุปฺปติ ความว่าย่อมกำเริบ คือ สั่นรัว

ถูกบีบคั้น แตก ความแตกดับด้วยความหนาว ปรากฏในโลกันตนรก

ความหนาวปรากฏในประเทศที่หนาวจนหิมะตก มีมหิสรัฐเป็นต้น ก็ใน

มหิสรัฐเป็นต้นนั้น สัตว์ทั้งหลายมีสรีระแตก เพราะความหนาว ถึงตายก็มี.

ความสลายด้วยความร้อน ปรากฏในอวีจิมหานรก. ก็ในอวีจิมหา-

นรกนั้นสัตว์ทั้งหลายเสวยทุกข์ใหญ่ ในเวลาที่ถูกให้นอนบนปฐพีที่ร้อนแรง

ถูกจองจำ ๕ ประการเป็นต้น.

ความแตกดับด้วยความหิว ปรากฏในภูมิแห่งเปรต และในคราว

เกิดทุพภิกขภัย ก็เหล่าสัตว์ในภูมิแห่งเปรตจะใช้มือหยิบอามิสอะไร ๆ ใส่

ปากไม่ได้ ตลอด ๒ - ๓ พุทธันดร ภายในท้องเป็นเหมือนโพรงต้นไม้

อันไฟติดทั่วอยู่ ในคราวเกิดทุพภิกขภัย เหล่าสัตว์ที่ไม่ได้แม้เพียงน้ำข้าว

ถึงความตายประมาณไม่ได้ ความแตกดับด้วยความกระหายปรากฏใน

แดนกาลกัญชิกาสูรเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

ก็ในแดงนั้นเหล่าสัตว์ไม่อาจที่จะได้หยาดน้ำเพียงชุ่มหทัยหรือเพียง

ชุ่มลิ้น, ตลอด ๒ - ๓ พุทธันดร เมื่อเหล่าสัตว์ไปแม่น้ำด้วยคิดว่าจักดื่มน้ำ

น้ำก็กลายเป็นหาดทราย แม้เมื่อแล่นไปมหาสมุทร สมุทรก็เป็นแผ่นหินดาด

สัตว์เหล่านั้นซูบซีดถูกความทุกข์หนักบีบคั้น ร้องครวญครางอยู่.

ความสลายด้วยเหลือบ เป็นต้น ปรากฏในประเทศที่มากไปด้วย

เหลือบและแมลงวันเป็นต้น. ก็รูปนั้นให้พิสดารไว้แล้วในอภิธรรม โดย

นัยมีอาทิว่า รูปนั้นเป็นไฉน คือสนิทัสสนรูป สัปปฏิฆรูป ดังนี้.

ชื่อว่า สัทท เพราะอรรถว่า ทำเสียง อธิบายว่า เปล่งออก. เสียงมี

สมุฏฐาน ๒ คือ อุตุและจิต.

ชื่อว่า กลิ่น เพราะอรรถว่า ฟุ้งไป ความว่า ประกาศที่อยู่ของตน.

ชื่อว่า รส เพราะอรรถว่า เหล่าสัตว์เยื่อใย ความว่า ยินดี.

ชื่อว่า โผฏฐัพพะ เพราะอรรถว่า ถูกต้อง. กลิ่นเป็นต้น เหล่านั้น

มีสมุฏฐาน ๔ วิภาคแห่งเสียงเป็นต้นเหล่านั้น ให้พิสดารไว้แล้วในอภิธรรม

นั้นแล. พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงความนั้นนั่นแลโดยพิสดาร จึงกล่าว

คำมีอาทิว่า อตฺถรณา ปาปุรณา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น ที่ชื่อว่า อตฺถรณา เครื่องลาด เพราะอรรถว่า

ลาดแล้วนอน. ชื่อว่า ปารุปณา เครื่องนุ่งห่ม เพราะอรรถว่า ห่มพัน

สรีระ. ทาสีด้วย ทาสด้วย ชื่อว่า ทาสีและทาส ๔ มีทาสในเรือนเบี้ย

เป็นต้น.

๑. สนิทัสสนรูป - รูปที่เห็นได้ ได้แก่รูปารมณ์.

๒. สัปปฏิฆรูป - รูปที่กระทบได้ ได้แก่ปสาทรูป ๕ กับวิสยรูป ๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

ที่เป็นที่งอกขึ้นแห่งปุพพัณชาติ ชื่อว่า นา, ที่เป็นที่งอกขึ้นแห่ง

อปรัณชาติ ชื่อว่า ที่ดิน. อีกอย่างหนึ่ง ที่เป็นที่งอกขึ้นแห่งปุพพัณชาติ

และอปรัณชาติ แม้ทั้งสอง ชื่อว่า นา. พื้นที่ที่ไม่ได้ทำประโยชน์อย่างนั้น

ชื่อว่า ที่ดิน. อนึ่งในที่นี้ แม้บึงและสระน้ำเป็นต้น ท่านก็สงเคราะห์

ด้วยหัวข้อ คือ เขตตะ และวัตถุ.

บทว่า หิรญฺ ได้แก่ กหาปณะ. บทว่า สุวณฺณ ได้แก่ ทอง

มาสกแม้ทุกอย่าง คือ มาสกโลหะ มาสกครั่ง มาสกไม้ ก็สงเคราะห์เข้า

ด้วยศัพท์ หิรญฺ และ สุวณฺณ เหล่านั้น.

บทว่า คามนิคมราชธานิโย ความว่า กระท่อมหลังเดียวเป็นต้น

ชื่อว่า คาม. คามที่มีตลาด ชื่อว่า นิคม. สถานที่อันเป็นอาณาเขตของพระ

ราชาพระองค์หนึ่ง ชื่อว่า ราชธานี. ชนบทเอกเทศหนึ่ง ชื่อว่า รัฐ.

ชนบทกาสีและชนบทโกศลเป็นต้น ชื่อว่า ชนบท.

บทว่า โกโส ได้แก่ กองพลรบ ๔ เหล่า คือเหล่าช้าง เหล่าม้า

เหล่ารถ เหล่าราบ. บทว่า โกฏฺาคาร ได้แก่ เรือนคลัง ๓ อย่าง คือ

เรือนคลังทรัพย์ เรือนคลังข้าวเปลือก เรือนคลังผ้า. บทว่า ยงฺกิญฺจิ

เป็นคำกำหนดว่าไม่มีอะไรเหลือ. บทว่า รชนีย ได้แก่ ด้วยอรรถว่าควร

ยินดี.

ต่อแต่นี้ พระสารีบุตรเถระ เพื่อจะแสดงเป็นติกะ จึงได้กล่าวติกะ

๖ คือ อตีตติกะ อัชฌัตตติกะ หีนติกะ โอกาสติกะ ปโยคติกะ และ

กามาวจรติกะ.

บรรดาติกะเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยในอตีตติกะก่อน ชื่อว่า อดีต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

เพราะอรรถว่าก้าวล่วงซึ่งสภาวะของตน หรือถึงแล้วซึ่งขณะมีอุปปาทะ

เป็นต้น. ชื่อว่า อนาคต เพราะอรรถว่ายังไม่มาถึงทั้งสองอย่างนั้น. ชื่อว่า

ปัจจุบัน เพราะอรรถว่าอาศัยเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้น. บทนี้ท่านกำหนด

ด้วยภพ ด้วยว่า จำเดิมปฏิสนธิ เหล่าสัตว์ที่บังเกิดในภพอดีตก็ตาม

ในภพติดต่อกันก็ตาม หรือในที่สุดแสนโกฏิกัปก็ตาม ทั้งหมดชื่อว่า อดีต

ทั้งนั้น. จำเดิมแต่จุติ กามที่เกิดขึ้นภพอนาคต กำลังเกิดอยู่ในภพติดต่อ

กันก็ตาม ในที่สุดแสนโกฏิกัปก็ตาม ทั้งหมดชื่อว่า อนาคต ทั้งนั้น.

กามที่เป็นไปต่อจากจุติปฏิสนธิ ชื่อว่า ปัจจุบัน.

ในอัชฌัตตติกะมีวินิจฉัยว่า กามเฉพาะบุคคลที่เป็นไปอย่างนี้ คือ

เป็นไปกระทำตนเป็นใหญ่ ได้แก่เป็นไปในสันดานของตน ด้วยความ

ประสงค์เหมือนประสงค์ว่า พวกเราจักยึดถือว่า ตน ดังนี้ ชื่อว่า

อัชฌัตตติกะ. ส่วนที่เป็นภายนอกจากนั้นเนื่องด้วยอินทรีย์ก็ตาม ไม่

เนื่องด้วยอินทรีย์ก็ตาม ชื่อว่า ภายนอก. ตติยบท ท่านกล่าวด้วยสามารถ

แห่งบททั้งสองนั้น.

ในหีนติกะมีวินิจฉัยว่า บทว่า หีนา ได้แก่ ลามก.

บทว่า มชฺฌิมา ความว่า ชื่อว่ามัชฌิมา ปานกลาง เพราะอรรถว่า

เป็นระหว่างกลางของกามชนิดเลวและกามชนิดประณีต ที่เหลือลงชื่อว่า

ประณีต เพราะอรรถว่าสูงสุด.

อีกอย่างหนึ่งพึงทราบว่าเป็นชนิดเลว ชนิดปานกลาง ชนิดประณีต

โดยเปรียบเทียบกัน จริงอยู่ กามของเหล่าสัตว์นรก ชื่อว่าเลวที่สุด เมื่อ

เปรียบเทียบสัตว์นรกเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

บรรดาดิรัจฉานทั้งหลาย กามของนาคและครุฑทั้งหลาย ชื่อว่า

ประณีต กามของเหล่าสัตว์ดิรัจฉานที่เหลือ ชื่อว่า ปานกลาง กามแม้

ของดิรัจฉานเหล่านั้น ก็ชื่อว่า เลว เมื่อเปรียบเทียบดิรัจฉานเหล่านั้น.

กามของเหล่าเปรตผู้มเหศักดิ์ ชื่อว่า ประณีต กามของเหล่าเปรต

ที่เหลือลง ชื่อว่า ปานกลาง กามแม้ของเปรตเหล่านั้น ก็ชื่อว่า เลว

เมื่อเปรียบเทียบเปรตเหล่านั้น.

กามของชาวชนบท ชื่อว่า ประณีต กามของชาวชายแดน ชื่อว่า

ปานกลาง กามแม้ของเขาทั้งหลายเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเลว เมื่อเปรียบเทียบ

พวกเขาเหล่านั้น.

กามของพวกนายบ้าน ชื่อว่า ประณีต กามของพวกคนรับใช้ของ

นายบ้านเหล่านั้น ชื่อว่าปานกลาง กามของพวกเขาเหล่านั้น ก็ชื่อว่า เลว

เมื่อเปรียบเทียบพวกเขาเหล่านั้น.

กามของพวกปกครองชนบท ชื่อว่า ประณีต กามของพวกคนรับใช้

ของผู้ปกครองชนบทเหล่านั้น ชื่อว่า ปานกลาง กามแม้ของพวกเขา

เหล่านั้น ก็ชื่อว่า เลว เมื่อเปรียบเทียบพวกเขาเหล่านั้น.

กามของพวกเจ้าประเทศราช ชื่อว่า ประณีต กามของพวกอำมาตย์

ชื่อว่า ปานกลาง กามแม้ของพวกเขาเหล่านั้น ก็ชื่อว่า เลว เมื่อเปรียบเทียบ

พวกเขาเหล่านั้น.

กามของพระเจ้าจักรพรรดิ ชื่อว่า ประณีต กามของพวกอำมาตย์

ชื่อว่า ปานกลาง กามแม้ของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ชื่อว่า เลว เมื่อเปรียบ

เทียบพวกเขาเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

กามของเหล่าภุมมเทวดา ชื่อว่า ประณีต กามของเหล่าเทวดารับใช้

ของภุมมเทวดาเหล่านั้น ชื่อว่า ปานกลาง กามแม้ของภุมมเทวดาเหล่านั้น

ก็ชื่อว่า เลว เมื่อเปรียบเทียบภุมมเทวดาเหล่านั้น.

กามของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ชื่อว่า ประณีต จนถึงกามของ

เหล่าเทวดาชั้นอกนิฏฐ์ ชื่อว่า ประณีตที่สุด โดยนัยมีอาทิดังนี้ พึงทราบ

กามชนิดเลว ชนิดปานกลาง และชนิดประณีต โดยเปรียบเทียบด้วย

ประการฉะนี้.

ในโอกาสติกะมีวินิจฉัยว่า บทว่า อาปายิกา กามา ความว่า กาม

ของสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔ ที่ปราศจากความเจริญ กล่าวคือไม่เจริญ ชื่อว่า

กามของสัตว์ผู้เกิดในอบาย. กามของสัตว์ผู้เกิดในหมู่มนุษย์ ชื่อว่าเป็นของ

มนุษย์ กามของสัตว์ผู้เกิดในหมู่เทวดา ชื่อว่า เป็นทิพย์.

ในปโยคติกะมีวินิจฉัยว่า กามของเหล่าสัตว์ในอบายที่เหลือ นอก

จากพวกสัตว์นรก ของเหล่ามนุษย์และของเหล่าเทวดาตั้งแต่ชั้นจาตุมหา-

ราชิกาจนถึงเหล่าเทวดาชั้นดุสิต ชื่อว่า กามที่ปรากฏเฉพาะหน้า เพราะ

บริโภคกามทั้งหลายที่ปรากฏเฉพาะหน้า.

เทวดาทั้งหลายในเวลาที่ต้องการจะรื่นรมย์ด้วยอารมณ์ที่เกินกว่า

อารมณ์ที่ตกแต่งไว้ตามปกติ ย่อมเนรมิตอารมณ์ตามที่ชอบใจรื่นรมย์

ดังนั้น กามของเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดีจึงชื่อว่า กามที่เนรมิตเอง.

เทวดาทั้งหลายย่อมเสพอารมณ์ที่เทวดาเหล่าอื่นรู้อัธยาศัยของตน

เนรมิตให้ ดังนั้นกามของเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี จึงชื่อว่า กาม

ที่ผู้อื่นเนรมิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

บทว่า ปริคฺคหิตา ได้แก่ กามที่หวงแหนว่านั่นของเรา.

บทว่า อปริคฺคหิตา ได้แก่กามของชาวอุตตรกุรุทวีป ซึ่งมิได้

หวงแหนอย่างนั้น.

บทว่า มมายิตา ได้แก่ ที่ยึดถือว่านั่นของเรา ด้วยอำนาจตัณหา.

บทว่า อมมายิตา ได้แก่ ที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

บทว่า สพฺเพปิ กามาวจรา ธมฺมา ความว่า ธรรมที่นับเนื่องใน

กามาวจรธรรม ที่กล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า โดยเบื้องต่ำทำนรกอเวจีให้เป็น

ที่สุดรอบ ในข้อนั้นมีเนื้อความแห่งคำดังนี้ กามโดยหัวข้อมี ๒ คือ

วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑.

ใน ๒ อย่างนั้น กิเลสกาม โดยอรรถ ได้แก่ฉันทราคะความกำหนัด

ด้วยสามารถแห่งความพอใจ วัตถุกาม ได้แก่วัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓

อนึ่ง กิเลสกาม ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า เป็นที่ใคร่. วัตถุกาม นอกนี้

ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า อันสัตว์ย่อมใคร่. เป็นภูมิที่ท่องเที่ยว เป็นไป

แห่งกามทั้ง ๒ นั้น มี ๑ ภูมิ คืออบายภูมิ ๔ มนุษย์ภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖.

ชื่อว่า กามาวจร เพราะอรรถว่า เป็นที่ท่องเที่ยวไปแห่งกาม.

ท่านกล่าวว่า สพฺเพปิ กามาวจรา ธมฺมา ในที่นั้น หมายเอาธรรมที่

นับเนื่องกัน. ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน.

บทว่า รูปาวจรา ธมฺมา ความว่า ธรรมทั้งหมด เป็น

รูปาวจรธรรม ด้วยสามารถแห่งรูปาวจรธรรมที่กล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า

แต่เบื้องต่ำขึ้นไปจนถึงพรหมโลกเป็นที่สุด.

บทว่า อรูปวจรา ธมฺมา ความว่า ธรรมทั้งหมดที่กล่าวไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

โดยนัยมีอาทิว่า เบื้องต่ำเริ่มแต่เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะดังนี้

เป็น อรูปาวจรธรรม.

บรรดาธรรม ๒ อย่างนั้น ชื่อว่า รูปาวจรธรรม เพราะอรรถว่า

ท่องเที่ยวไปใน รูปภพ. ชื่อว่า อรูปาวจรธรรม เพราะอรรถว่า

ท่องเที่ยวไปใน อรูปภพ.

บทว่า ตณฺหาวตฺถุกา ความว่า เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เพราะ

อรรถว่าเป็นที่ตั้ง และเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ.

บทว่า ตณฺหารมฺมณา ความว่า เป็นอารมณ์แห่งตัณหา ด้วย

สามารถความเป็นไปแห่งตัณหายึดหน่วงธรรมเหล่านั้นทีเดียว.

บทว่า กามนียฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่าพึงหวังเฉพาะ.

บทว่า รชนียฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่าควรยินดี.

บทว่า มทนียฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่าเป็นที่เกิดขึ้นแห่งความ

มัวเมามีความมัวเมาตระกูลเป็นต้น.

ในนิทเทสนั้น พระสารีบุตรเถระกล่าวคำเบื้องต้นว่า กตเม

วตฺถุกามา มนาปิกา รูปา แล้วกล่าวคำสุดท้ายว่า ยกิญฺจิ รชนีย

วตฺถุ ดังนี้ กล่าวถึงทั้งสิ่งที่มีวิญญาณและหาวิญญาณมิได้ คำที่เหลือพึง

ทราบว่า ติกะ ๖ ที่เกินเป็นเอกะและจตุกกะ.

พระสารีบุตรเถระแสดงวัตถุกามอย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงกิเลสกาม

จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า กตเม กิเลสกามา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺโท ได้แก่ ความกำหนัดอย่างอ่อน ๆ.

บทว่า ราโค ได้แก่ความกำหนัดที่มีกำลังแรงกว่าความพอใจนั้น. ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

กำหนัดทั้งสามเบื้องบน มีกำลังแรงกว่าความกำหนัดเหล่านี้. บทว่า กาเมสุ

ได้แก่ ในกามคุณ ๕.

บทว่า กามจฺฉนฺโท ได้แก่ ความพอใจ กล่าวคือความใคร่ ไม่ใช่

ใคร่เพื่อจะทำงาน ไม่ใช่ใคร่ในธรรม. ความกำหนัดคือความใคร่ ด้วย

อรรถว่าใคร่ และด้วยอรรถว่ายินดี ชื่อว่า กามราคะ ความกำหนัดคือ

ความใคร่.

ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ด้วยสามารถแห่งความใคร่ และ

ด้วยสามารถแห่งความเพลิดเพลิน ฉะนั้นจึงชื่อว่า กามนนฺทิ ความ

เพลิดเพลินคือความใคร่. ในบททั้งปวงพึงทราบอย่างนี้.

ชื่อว่า กามตัณหา เพราะอรรถว่ารู้ประโยชน์ของกาม แล้วจึง

ปรารถนา.

ชื่อว่า กามสิเนหะ เพราะอรรถว่าเสน่หา.

ชื่อว่า กามปริฬาหะ เพราะอรรถว่าเร่าร้อน.

ชื่อว่า กามุจฉา เพราะอรรถว่าหลง.

ชื่อว่า กามัชโฌสานะ เพราะอรรถว่ากลืนกินสำเร็จ.

ชื่อว่า กาโมฆะ เพราะอรรถว่าท่วมทับ คือให้จมลงในวัฏฏะ.

ชื่อว่า กามโยคะ เพราะอรรถว่าประกอบสัตว์ไว้ในวัฏฏะ.

ความยึดถือด้วยตัณหาและทิฏฐิอย่างมั่น ชื่อว่า อุปาทาน.

ชื่อว่า นีวรณะ เพราะอรรถว่ากั้นจิต คือหุ้มห่อจิตไว้.

บทว่า อทฺทส ได้แก่ ได้เห็นแล้ว.

บทว่า กาม เป็นอาลปนะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

บทว่า เต แปลว่า ของท่าน.

บทว่า มูล ได้แก่ที่ตั้ง.

บทว่า สงฺกปฺปา ได้แก่ เพราะความดำริ.

บทว่า น ต กปฺปยิสฺสามิ ความว่า จักไม่ทำความดำริถึงท่าน.

บทว่า น เหหิสิ แปลว่า จักไม่มี.

บทว่า อิจฺฉนานสฺส ได้แก่ หวังเฉพาะอยู่.

บทว่า สาทิยมานสฺส ได้แก่ ยินดีอยู่.

บทว่า ปฏฺยมานสฺส ได้แก่ ยังความปรารถนาให้เกิดขึ้น.

บทว่า ปิหยมานสฺส ได้แก่ ยังความอยากเพื่อจะถึงให้เกิดขึ้น.

บทว่า อภิชปฺปมานสฺส ได้แก่ไม่ให้เกิดความอิ่มด้วยอำนาจตัณหา.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพระสารีบุตรเถระกล่าว ท่านกล่าวบทว่า ขตฺติ-

ยสฺส วา เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งชาติ ๔. กล่าวบทว่า คหฏฺสฺส วา

ปพฺพชิตสฺส วา ด้วยสามารถแห่งเพศ.

กล่าวบทว่า เทวสฺส วา มนุสฺสสฺส วา ด้วยสามารถแห่งการ

เกิด.

บทว่า อิชฺฌติ ได้แก่ ย่อมสำเร็จ. บทว่า สมิชฺฌติ ได้แก่ ย่อม

สำเร็จโดยชอบ คือย่อมสำเร็จด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะ. ซึ่งรูปวิเศษ

ย่อมได้ด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะ ซึ่งรูปที่น่าดู ย่อมได้เฉพาะด้วย

สามารถแห่งการได้เฉพาะซึ่งรูปที่น่าเลื่อมใส ย่อมบรรลุด้วยสามารถแห่ง

การได้เฉพาะซึ่งรูปมีสัณฐานดี ย่อมประสบด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะ

ซึ่งรูปที่มีผิวพรรณน่าเลื่อมใส อีกอย่างหนึ่ง ย่อมสำเร็จด้วยความเป็นผู้ยิ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

ใหญ่ด้วยความงามเลิศ ย่อมได้ด้วยความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยชาติ ย่อมได้

เฉพาะด้วยความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยความเป็นใหญ่ ย่อมบรรลุด้วยความเป็นผู้

ยิ่งใหญ่ด้วยความสุข ย่อมประสบด้วยความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยสมบัติ ดังนี้แล.

บทว่า เอกสวจน ได้แก่ เป็นคำกล่าวโดยส่วนเดียว ห้าม

การถือเอาหลายส่วน ดุจในประโยคเป็นต้นว่า ห่มจีวรเฉวียงบ่า พยากรณ์

ปัญหาอย่างแน่ชัด ดังนี้.

บทว่า นิสฺสสยวจน ได้แก่ เป็นคำเว้นจากความสงสัย อธิบายว่า

เป็นคำห้ามความสนเท่ห์

บทว่า นิกฺกงฺขวจน ได้แก่ เป็นคำห้ามความเคลือบแคลงว่า

นี้อย่างไร นี้อย่างไร.

บทว่า อเทฺวชฺฌวจน ได้แก่ เป็นคำกล่าวไม่เป็นของส่วนเพราะ

ไม่มีความเป็นสองส่วนนั้น คือเว้นจากความเป็นส่วนของ ห้ามความสงสัย

ดุจในประโยคเป็นต้นว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระวาจาไม่เป็นสอง ดังนี้.

บทว่า อเทฺวฬฺหกวจน ได้แก่ เป็นคำกล่าวไม่เป็นสองอย่าง

เพราะไม่มีหทัยสอง เป็นคำกล่าวห้ามความเป็นของอย่างว่าร่าเริงด้วย

ประการฉะนี้.

บทว่า นิโยควจน ความว่า ชื่อว่าเป็นคำกล่าวไม่รวมกันเพราะอรรถ

ว่า ไม่ประกอบสองเรื่องไว้ในข้อความเดียวกันห้ามคำสองแง่ ก็เพราะไม่

ประกอบในเรื่องอื่น จึงเป็นคำที่มาว่าไม่มีอารมณ์อนาคต.

บทว่า อปณฺณกวจน ได้แก่ เป็นคำกล่าวที่มีสาระเว้นจากการ

พูดพร่ำ เป็นคำกล่าวที่มีเหตุการณ์ไม่ผิด จึงชื่อว่า ไม่ผิด ดุจในประโยค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

เป็นต้นว่า านเมเก ดังนี้ เป็นคำกล่าวที่มีหลักฐาน ดุจเหตุแห่งการ

กระทำที่ไม่ผิด.

บทว่า อวฏฺาปนวจนเมต ความว่า คำนี้เป็นคำหยั่งลงตั้งไว้

คือเป็นคำกำหนดแน่ตั้งไว้.

บทเหล่าใดอันพระสารีบุตรเถระยกขึ้นจำแนกไว้ในมหานิทเทสนี้ บท

เหล่านั้น เมื่อถึงการจำแนกย่อมถึงการจำแนกด้วยเหตุ ๓ ประการ. เมื่อเป็น

ต่าง ๆ กัน ย่อมเป็นต่าง ๆ กันด้วยเหตุ ๔ ประการ. ก็การแสดงอีกอย่าง

หนึ่งในมหานิทเทสนี้ ย่อมถึงฐานะ ๒ ประการ. คือ บทเหล่านั้นย่อมถึง

การจำแนกด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านี้ คือ พยัญชนะ ๑ อุปสัค ๑ อรรถ

๑. ในเหตุ ๓ ประการนั้น พึงทราบการถึงการจำแนกด้วยพยัญชนะอย่าง

นี้ว่า ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความประทุษร้าย

กิริยาที่ประทุษร้าย ความเป็นผู้ประทุษร้าย ก็ในมหานิทเทสนี้ ความโกรธ

อย่างเดียวเท่านั้น ถึงการจำแนกเป็นอย่างเดียว ด้วยพยัญชนะ อนึ่ง พึง

ทราบการถึงก็จำแนกด้วยอุปสัคอย่างนี้ว่า อิชฺฌติ สำเร็จ สมิชฺฌติ

สำเร็จโดยชอบ ลภติ ได้ ปฏิลภติ ได้เฉพาะ อธิคจฺฉติ ประสบ พึง

ทราบการถึงการจำแนกด้วยอรรถอย่างนี้ว่า ความเป็นบัณฑิต ความเป็น

ผู้ฉลาดความไร้ปัญญา ความปลอดภัย ความคิดการสอบสวน.

บรรดาบทเหล่านั้น ในนิทเทสแห่งปีติบท ย่อมได้การจำแนก ๓

อย่างเหล่านี้ก่อน ก็บทว่า ความอิ่ม ความปราโมทย์ เป็นบทถึงการ

จำแนกด้วยพยัญชนะ. บทว่า ความเบิกบาน ความบันเทิง ความร่าเริง

ความรื่นเริงเป็นบทถึงการจำแนกด้วยอุปสัค. บทว่า ความปลื้มใจ ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

ยินดี ความชื่นใจ ความชอบใจ เป็นบทถึงการจำแนกด้วยอรรถ. พึง

ทราบการถึงการจำแนกในนิทเทสแห่งบททั้งหมดโดยนัยนี้ บททั้งหลาย

แม้เมื่อเป็นต่าง ๆ กัน ก็เป็นต่าง ๆ กันด้วยเหตุ ๔ ประการเหล่านี้ คือ ด้วย

ความต่างกัน โดยชื่อ ด้วยความต่างกันโดยลักษณะ. ด้วยความต่างกันโดย

กิจ ด้วยความต่างกันโดยการปฏิเสธ.

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า พยาบาทเป็นไฉน ? คือในสมัยนั้น

มีความประทุษร้าย กิริยาที่ประทุษร้ายนี้ พึงทราบความต่างกัน ด้วยความ

ต่างกัน โดยชื่ออย่างนี้ว่า ก็ความโกรธอย่างเดียวนั่นแหละ ถึงความต่างกัน

โดยชื่อเป็นสองอย่าง คือ ความพยาบาท หรือความประทุษร้าย แม้ขันธ์

๕ ก็เป็นขันธ์เดียวนั่นแล.

ด้วยอรรถว่า กอง แต่ในที่นี้ ขันธ์ ๕ ย่อมต่างกัน โดยลักษณะนี้ คือ

รูปมีความสลายไปเป็นลักษณะ เวทนามีความเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ

สัญญามีความจำได้เป็นลักษณะ เจตนามีความจงใจเป็นลักษณะ วิญญาณมี

ความรู้แจ้งเป็นลักษณะ พึงทราบความต่างกัน ด้วยความต่างกันโดย

ลักษณะอย่างนี้.

ความเพียรอย่างเดียวเท่านั้น มาในฐานะ ๔ อย่างด้วยความต่างกัน

โดยกิจว่า สัมมัปปธาน ๔ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมประคอง ย่อมเริ่ม

ตั้งจิต เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งบาปอกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น พึง

ทราบความต่างกัน ด้วยความต่างกันโดยกิจอย่างนี้. พึงทราบความต่างกัน

ด้วยความต่างกันโดยการปฏิเสธ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่าอสัทธรรม ๔ ประการ

คือความเป็นผู้หนักในความโกรธ ไม่หนักในพระสัทธรรม ความเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

หนักในการลบหลู่ ไม่หนักในพระสัทธรรม ความเป็นผู้หนักในลาภ

ไม่หนักในพระสัทธรรม ความเป็นผู้หนักในสักการะ ไม่หนักในพระสัท-

ธรรม ดังนี้.

ก็ความต่างกัน ๔ อย่างเหล่านี้ ย่อมไม่ได้ด้วยปีติเลย ย่อมได้ตามแต่

จะได้แม้ในบททั้งปวง. ก็คำว่า ปีติ เป็นชื่อของปีติ. คำว่า จิตต เป็นชื่อ

ของจิต. ก็ปีติมีความแผ่ไปเป็นลักษณะ. เวทนา มีความเสวยอารมณ์เป็น

ลักษณะ. สัญญา มีความจำได้เป็นลักษณะ. เจตนา มีความตั้งใจในอารมณ์

เป็นลักษณะ. วิญญาณ มีความรู้แจ้งเป็นลักษณะ. อนึ่ง ปีติ มีความแผ่ไป

เป็นกิจ. เวทนา มีความเสวยอารมณ์เป็นกิจ. สัญญา มีความจำได้เป็นกิจ

เจตนา มีความจงใจเป็นกิจ. วิญญาณ มีความรู้แจ้งเป็นกิจ. พึงทราบ

ความต่างกัน ด้วยความต่างกันโดยกิจอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

ความต่างกัน โดยการปฏิเสธ ไม่มีในบทปีติ แต่พึงทราบความต่างกัน

ด้วยความต่างกันโดยการปฏิเสธอย่างนี้ว่า ในนิทเทสแห่งอโลภะเป็นต้น

ย่อมได้โดยนัยมีอาทิว่า ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ความเป็นผู้มีโลภ

ดังนี้ พึงทราบความต่างกันทั้ง ๔ อย่าง ด้วยบทที่ได้ในนิทเทสแห่งบท

ทั้งปวงด้วยอาการอย่างนี้.

การแสดงอีกอย่างหนึ่งย่อมถึงฐานะ ๒ อย่างนี้ คือ ยกย่องบท หรือ

ทำให้มั่น ด้วยว่าเมื่อกล่าวบทว่า ปีติ ครั้งเดียวเท่านั้น ดุจเขี่ยด้วยปลาย

ไม้เท้า บทนั้นย่อมไม่ชื่อว่าบานขยายแล้ว ประดับแล้ว ตกแต่งแล้วด้วย

อาการอย่างนี้ เมื่อกล่าวว่า ความอิ่ม ความปราโมทย์ ความเบิกบาน

ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ดังนี้ ด้วยพยัญชนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

ด้วยอุปสรรค ด้วยอรรถ บ่อย ๆ บทนั้นย่อมชื่อว่าบานขยายแล้ว ประดับ

แล้ว ตกแต่งแล้ว เหมือนอย่างว่า ให้เด็กเล็กอาบน้ำ ให้นุ่งห่มผ้าที่ชอบใจ

ให้ประดับดอกไม้ทั้งหลาย หยอดตาให้ ต่อจากนั้นก็ทำจุดมโนศิลาบน

หน้าผากของเขารอยเดียวเท่านั้น เขายังไม่ชื่อว่ามีรอยเจิมอันงดงามด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้ แต่เมื่อทำจุดหลาย ๆ จุดล้อมด้วยสีต่าง ๆ ย่อมชื่อว่ามีรอยเจิม

งดงาม ฉันใด อุปไมยเครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อม ก็พึงทราบ ฉันนั้น นี้

ชื่อว่า ยกย่องบท.

การกล่าวบ่อย ๆ นั่นแลด้วยพยัญชนะ ด้วยอุปสัค และด้วยบทอีก

ชื่อว่า ทำให้มั่น เหมือนอย่างว่า เมื่อกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็ตาม

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ตาม ว่า ยักษ์ ก็ตาม ว่า งู ก็ตาม ย่อมไม่ชื่อว่าทำให้

มั่น แต่เมื่อกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ. ข้าแต่ท่านผู้

เจริญ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ. ยักษ์ยักษ์, งูงู, ย่อมชื่อว่าท่าให้มั่น ฉันใดเมื่อ

เพียงกล่าวว่า ปีติ ครั้งเดียวเท่านั้น ดุจเขี่ยด้วยปลายไม้เท้า ย่อมไม่ชื่อว่า

ทำให้มั่น เมื่อกล่าวว่าความอิ่ม ความปราโมทย์ ความเบิกนาน

ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ดังนี้ ด้วยพยัญชนะ

ด้วยอุปสัค ด้วยอรรถ บ่อย ๆ นั่นแล จึงชื่อว่าทำให้มั่นแล การแสดง

อีกอย่างหนึ่งย่อมถึงฐานะ ๒ อย่าง ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบเนื้อความ

ในบททั้งปวง ในนิทเทสแห่งบทที่ได้ด้วยสามารถแห่งการแสดงอีกอย่าง

หนึ่งแม้นี้.

บรรดาบทเหล่านั้น ที่ชื่อว่า ปีติ เพราะอรรถว่าอิ่ม. ปีตินั้นมีการ

แสดงความรักเป็นลักษณะ มีความอิ่มกายอิ่มใจเป็นรสก็ตาม มีการแผ่ซ่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

เป็นรสก็ตาม พึงมีความชื่นใจเป็นปัจจุปัฏฐาน พึงประกอบด้วยกามคุณ

๕ เป็นปีติที่ประกอบด้วยส่วนแห่งกาม ๕ มีรูปเป็นต้น. บทว่า ปีติ นั้น

ชื่อว่าปีติ เพราะอรรถว่า อิ่ม นี้เป็นบทแสดงสภาวะ. ความเป็นผู้เบิก

บานชื่อว่าความปราโมทย์. อาการที่เบิกบานชื่อว่า ความเบิกบาน. อาการ

ที่บันเทิงชื่อว่าความบันเทิง.

อีกอย่างหนึ่ง การเอาเภสัชหรือน้ำมันหรือน้ำร้อนน้ำเย็นรวมกัน

เรียกว่า ระคนกัน ฉันใด แม้ข้อนี้ก็ฉันนั้น เรียกว่า ระคนกัน เพราะรวม

ธรรมทั้งหลายไว้ด้วยกัน.

ก็ที่กล่าวว่า อาโมทนา ปโมทนา ความเบิกบาน ความบันเทิง

เพราะประดับด้วยอุปสัค.

ชื่อว่า ทาสะ เพราะอรรถว่า ร่าเริง. ชื่อว่า ปหาสะ เพราะ

อรรถว่า รื่นเริง. สองบทนี้เป็นชื่อของอาการที่ร่าเริงแล้ว. รื่นเริงแล้ว.

ชื่อว่า วิตตะ เพราะอรรถว่า ปลื้มใจบทนี้เป็นชื่อของทรัพย์. ก็

ทรัพย์ชื่อว่า วิตฺติ เพราะเป็นปัจจัยแห่งโสมนัสเพราะความเป็นของอัน

บุคคลเห็นเสมอด้วยความปลื้มใจ เหมือนอย่างว่าความโสมนัสย่อมเกิดขึ้น

แก่คนมีทรัพย์ เพราะอาศัยทรัพย์ ฉันใด ความโสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่คน

มีปีติ เพราะอาศัยปีติ ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความ

ปลื้มใจ. บทนี้เป็นชื่อของปีติ ที่ตั้งอยู่โดยสภาวะแห่งความยินดี. ก็บุคคล

ผู้มีปีติ ท่านเรียกว่า มีความชื่นใจ เพราะมีกายและจิตเป็นที่ชื่นใจ.

ภาวะแห่งความชื่นใจ ชื่อ โอทัคยะ. ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน

ชื่อว่า ความชอบใจ. ก็ใจของผู้ไม่ชอบใจ ย่อมไม่ชื่อว่ามีใจเป็นของตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์. ดังนั้น ความเป็นผู้มีใจเป็นของตนจึงชื่อว่า.

ความชอบใจ อธิบายว่า ภาวะแห่งใจของตน ก็เพราะความชอบใจนั้น

มิใช่เป็นความชอบใจของใคร ๆ อื่น แต่เป็นเจตสิกธรรมที่เป็นความงามแห่ง

จิตเท่านั้น ฉะนั้นพระสารีบุตรเถระจงกล่าวว่า อตฺตมนตา จิตฺตสฺส ดังนี้.

ชื่อว่า จิต เพราะมีจิตวิจิตร. ชื่อว่า มโน เพราะรู้อารมณ์ มโน

นั่นแหละ. ชื่อว่า มานัส. ก็ธรรมที่สัมปยุตกับมโน ท่านกล่าวว่า มานัส.

ในที่นี้ว่า มานัสซึ่งเป็นบ่วงที่เที่ยวไปในอากาศนี้นั้น ย่อมเที่ยวไป.

พระอรหัตต์ ท่านกล่าวว่า มานัส ในคาถานี้ว่า :-

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงขวนขวาย เพื่อ

ประชาชน อย่างไรเล่า สาวกของพระองค์ ยินดี

แล้วในพระศาสนา ยังไม่บรรลุพระอรหัตต์ เป็น

เสขะอยู่ จึงทำกาลกิริยา.

แต่ในที่นี้ มานัสก็คือใจนั่นแหละ เพราะท่านขยายบทนี้ด้วยพยัญ-

ชนะ.

บทว่า หทย ความว่า อุระ ท่านกล่าว หทัย ในประโยคนี้ว่า

เราจักขยี้จิตของท่าน หรือจักผ่าอุระของท่านเสีย ดังนี้. จิตท่านกล่าวว่า

หทัย ในประโยคนี้ว่า จิตไปจากจิต คนอื่นไปจากคนอื่น ดังนี้. หทัย

วัตถุ ท่านกล่าวว่า หทัย ในประโยคนี้ว่า ม้าม หัวใจ ดังนี้. แต่ใน

ที่นี้ จิต นั่นแลท่านกล่าวว่า หทัย เพราะอรรถว่าอยู่ภายใน. จิตนั้น

แล ชื่อว่า บัณฑระ เพราะอรรถว่า บริสุทธิ์. จิตนั้น ท่านกล่าวหมาย

เอาภวังคจิต. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

ทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง ก็จิตนั้นแลอันอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมาทำให้เศร้า

หมองแล้ว ดังนี้. ก็แม้กุศลจิตท่านก็กล่าวว่า บัณฑระเหมือนกัน เพราะ

ออกจากจิตนั้น ดุจน้ำคงคา ไหลจากแม่น้ำคงคา และดุจน้ำโคธาวรี

ไหลจากแม่น้ำโคธาวรี ฉะนั้น.

แต่ศัพท์ว่า มโน ในที่นี้ว่า มโน มนายตน ดังนี้ ท่านกล่าวเพื่อ

แสดงความเป็นอายตนะแห่งใจเท่านั้น.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงแสดงความนี้ว่า จิตนี้มิใช่มนายตนะเพราะเป็น

อายตนะแห่งใจเหมือนเทวายตนะ ที่แท้อายตนะคือใจนั้นเอง เป็นมนาย-

ตนะ ดังนี้.

ในบทนี้พึงทราบอายตนะ โดยอรรถว่าเป็นที่อยู่อาศัย โดยอรรถว่า

เป็นบ่อเกิด. โดยอรรถว่าเป็นที่ประชุม. โดยอรรถว่าเป็นแดนเกิด และ

โดยอรรถว่าเป็นเหตุ.

ตัวอย่างเช่น ที่อยู่อาศัยท่านกล่าวว่า อายตนะ ในประโยคนี้มีอาทิว่า

ที่อยู่อาศัยของผู้เป็นใหญ่ในโลก ชื่อ เทวายตนะ ดังนี้.

บ่อเกิดท่านกล่าวว่า อายตนะ ในประโยคมีอาทิว่า สุวรรณายตนะ

บ่อทอง รชตายตนะ บ่อเงิน ดังนี้.

ที่ประชาชนกล่าวว่า อายตนะ ในประโยคมีอาทิว่า ก็นกทั้งหลาย

ย่อมเสพต้นไม้ในป่าอันเป็นที่ประชุมที่น่ารื่นรมณ์ใจ ดังนี้.

แดนเกิดท่านกล่าวว่า อายตนะ ในประโยคมีอาทิว่า ทักษิณาบถ

เป็นแดนเกิดของโคทั้งหลาย ดังนี้.

เหตุท่านก็กล่าวว่า อายตนะ ในประโยคมีอาทิว่าย่อมถึงความเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

พึงศึกษาในเรื่องนั้น ๆ แล ในเมื่อเหตุมีอยู่ ดังนี้.

ก็ในที่นี้ควรด้วยอรรถทั้ง ๓ คือด้วยอรรถว่าเป็นแดนเกิด ด้วย

อรรถว่าเป็นที่ประชุม ด้วยอรรถว่าเป็นเหตุ.

จิตนี้เป็นอายตนะ แม้ด้วยอรรถว่าเป็นแดนเกิด ในประโยคว่า ก็

ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น ย่อมเกิดในจิตนี้ ดังนี้. เป็นอายตนะ แม้ด้วย

อรรถว่า เป็นที่ประชุมลง ได้ในประโยคว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

ภายนอก ย่อมประชุมลงในจิตนี้ โดยความเป็นอารมณ์. ก็จิตบัณฑิตพึง

ทราบว่า อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ เพราะความที่เจตสิกธรรม

ทั้งหลายมี ผัสสะ เป็นต้นเป็นเหตุ เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย มีสหชาต-

ปัจจัยเป็นต้น.

จิตนั้นแล ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่าสร้างความเป็นใหญ่ใน

ลักษณะแห่งการรู้ อินทรีย์ คือ มโน ชื่อว่า มนินทรีย์.

ชื่อว่า วิญญาณ เพราะอรรถว่า รู้อารมณ์ต่าง ๆ. ขันธ์คือ

วิญญาณ ชื่อว่า วิญญาณขันธ์. พึงทราบเนื้อความแห่งวิญญาณขันธ์นั้น

ว่าเป็นกองเป็นต้น.

จริงอยู่ ขันธ์ ท่านกล่าวแล้ว ด้วยอรรถว่าเป็นกองได้ในประโยค

นี้ว่า ย่อมถึงการนับว่า มหาอุทกขันธ์ - ลำน้ำใหญ่ดังนี้. ท่านกล่าวว่า

ขันธ์ ด้วยอรรถว่า คุณ ได้ในคำว่า สีลขันธ์ - คุณคือศีล สมาธิขันธ์-

คุณคือสมาธิ เป็นต้น. ท่านกล่าวว่าขันธ์ ด้วยอรรถว่าเป็นเพียงบัญญัติ

เท่านั้น ได้ในประโยคนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นกอง

ไม้ใหญ่แล้วแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

แต่ในที่นี้ท่านกล่าวขันธ์อันเจตสิกธรรมมีผัสสะเป็นต้นให้เกิดขึ้น

แล้ว. ก็เอกเทสแห่งวิญญาณขันธ์ ชื่อว่าวิญญาณอันหนึ่ง เพราะอรรถว่า

เป็นกอง. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าววิญญาณแม้อันหนึ่งอันเป็นเอกเทส

แห่งวิญญาณขันธ์ ว่า วิญญาณขันธ์ อันเจตสิกธรรมมีผัสสะเป็นต้นให้เกิด

ขึ้นแล้ว ดุจคนตัดเอกเทสแห่งต้นไม้ ก็เรียกว่า ตัดต้นไม้ฉะนั้น.

บทว่า ตชฺชา มโนวิญฺาณธาตุ ได้แก่ มโนวิญญาณธาตุอัน

สมควรแก่ธรรมเหล่านั้นมีผัสสะเป็นต้นต้น. ในบทนี้ จิต อย่างเดียวเท่านั้น

ท่านกล่าวโดยชื่อแห่ง มโน ไว้ ๓ คำคือ ชื่อว่า มโน เพราะอรรถว่า

รู้ ๑, ชื่อว่า วิญญาณ เพราะอรรถว่า รู้อารมณ์ต่าง ๆ ๑, ชื่อว่า ธาตุ

เพราะอรรถว่า เป็นเพียงสภาวะ หรือเพราะอรรถว่า มิใช่สัตว์ ๑.

ไม่ละแล้ว ชื่อว่า สหคโต. เข้าไปกับ ชื่อว่า สหชาโต. ระคน

กันสถิตอยู่ ชื่อว่า สสฏฺโ. ประกอบพร้อมแล้วด้วยประการทั้งหลาย

ชื่อว่า สมฺปยุตฺโต. ประกอบด้วยประการทั้งหลายเป็นไฉน. ประกอบ

ด้วยประการทั้งหลายมี เอกุปฺปาทตา - การเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นต้น.

ธรรมบางเหล่า ประกอบกับธรรมบางเหล่า ไม่มีมิใช่หรือ ? ใช่.

ด้วยการปฏิเสธปัญหานี้ด้วยประการฉะนี้ ท่านจึงกล่าวอรรถว่า

สัมปโยคะ-การประกอบด้วย สามารถแห่งลักขณะมี เอกุปปาทตา-การ

เกิดขึ้นพร้อมกัน เป็นต้นไว้อย่างนี้ว่า ธรรมบางเหล่าเป็น สหคตะ-เกิด

ร่วมกัน, เป็นสหชาตะ-เกิดพร้อมกัน, เป็นสังสัฏฐะ-ระคนกัน, เป็น

เอกุปฺปาทะ-เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน. เป็นเอกนิโรธะ-ดับในขณะเดียว

กัน. เป็นเอกวัตถุกะ-มีที่อาศัยเดียวกัน, เป็นเอการัมมณะ-มีอารมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

เดียวกันกับด้วยธรรมบางเหล่า มีอยู่มิใช่หรือ. ธรรมที่ประกอบพร้อม

ด้วยประการทั้งหลายมี เอกุปปาทตา เป็นต้น เหล่านี้ ชื่อว่า สัมปยุตตะ

ประกอบพร้อมแล้วด้วยประการฉะนี้.

บทว่า เอกุปฺปาโท ได้แก่ เกิดขึ้นโดยความเป็นอันเดียวกัน

อธิบายว่าไม่พรากจากกัน.

บทว่า เอกนิโรธ ได้แก่ ดับพร้อมกัน.

บทว่า เอกวตฺถุโก ได้แก่ มีวัตถุที่อาศัยเดียวกัน ด้วยสามารถ

แห่งหทยวัตถุ.

บทว่า เอการมฺมโณ ได้แก่ มีอารมณ์เดียวกัน ด้วยสามารถแห่ง

รูปารมณ์ เป็นต้น.

ในที่นี้ สหคตศัพท์ ปรากฏในอรรถ ๕ ประการคือ ตพฺภาเว-

ในอรรถเดิมนั้น, โวกิณฺเณ-ในอรรถว่าเจือแล้ว, อารมฺมเณ-ในอรรถ

ว่าอารมณ์, นิสฺสเย - ในอรรถว่าอาศัย, สสฏฺเ-ในอรรถว่าระคนแล้ว.

ความใน ตัพภาวะ-อรรถเดิมนั้น พึงทราบในคำนี้อันเป็นพุทธ-

วจนะว่า ตัณหานี้ใด นำเกิดในภพใหม่อีก, ตัณหานี้นั้น ชื่อว่า นันทิ-

ราคสหคตา อธิบายว่า เป็นความกำหนัดด้วยความเพลิดเพลิน.

อรรถว่า โวกิณณะ-เจือแล้ว พึงทราบในคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ความไตร่ตรองอันใด เจือด้วยโกสัชชะ, ความไตร่ตรองอันนั้น

ชื่อว่า ประกอบด้วยโกสัชชะ. อธิบายว่า เจือแล้วด้วยโกสัชชะอันเกิดใน

ระหว่าง.

อรรถว่า อารัมมณะ-อารมณ์ พึงทราบในคำนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

มีรูปเป็นอารมณ์ หรือสมาบัติมีอรูปเป็นอารมณ์. อธิบายว่า สมาบัติมีรูป

เป็นอารมณ์-รูปฌานสมาบัติ, มีอรูปเป็นอารมณ์-อรูปฌานสมาบัติ.

อรรถว่า นิสสยะ-อาศัย พึงทราบในคำนี้ว่า พระโยคาวจรเจริญ

สติสัมโพชฌงค์มีอัฏฐิกสัญญาเป็นที่อาศัย อธิบายว่า สติสัมโพชฌงค์ อัน

พระโยคาวจรเจริญแล้ว ได้ อัฏฐิกสัญญา เพราะอาศัยความสำคัญใน

อสุภนิมิตที่มีอัฏฐิเป็นอารมณ์.

อรรถว่า สังสัฏฐะ-ระคนแล้ว พึงทราบในคำนี้ว่า สุขนี้สหรคต

คือเกิดร่วม ได้แก่สัมปยุตด้วยปีตินี้. อธิบายว่า เจือปน. ถึงในที่นี้

สังสัฏฐะศัพท์ก็มา ในอรรถว่า เจือปน.

สหชาตศัพท์ ในอรรถว่า เกิดร่วม ดุจในคำนี้ว่า สหชาต-

เกิดร่วม, ปุเรชาต-เกิดก่อน, ปจฺฉาชาต-เกิดหลัง.

สังสัฏฐะศัพท์ ในอรรถว่า เกี่ยวข้อง พึงทราบดุจในคำเหล่านี้

มีอาทิว่า ข้าเเต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเกี่ยวข้องอย่างนี้ ชื่อว่าความ

เกี่ยวข้องของคฤหัสถ์.

ในอรรถว่า สทิสะ-เหมือนกัน ได้ในคำว่า เว้นม้าผอมม้าอ้วน

เสียแล้ว ก็เทียมด้วยม้าเหมือนกัน.

ในความเกี่ยวพัน ได้ในคาถานี้ว่า.

ดูก่อนท่านทธิวาหนะ ต้นมะม่วงของท่าน มี

ต้นสะเดาล้อมรอบ รากกับรากเกี่ยวพันกัน กิ่งกับ

กิ่งก็ติดต่อกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

ในธรรมอันสัมปยุตกับจิต ได้ในคำนี้ว่า เจตสิกธรรมทั้งหลาย

ประกอบกับจิต. แต่ในที่นี้ ธรรมใดเป็นธรรมมีเอกุปปาทลักขณะเป็นต้น

เพราะไม่แยกจากกัน ธรรมนั้นท่านเรียกว่า สัมปยุตตะ-ประกอบพร้อม

แล้ว ดุจธรรมที่เป็นเหตุไม่แยกในการให้ผล.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า สหคตะ-เกิดร่วม แล้วกล่าวคำว่า

สหชาตะ-เกิดกับ ในภายหลัง ก็เพื่อจะแสดงว่า มโน นั้นไม่มี ดุจกล่าว

ด้วยอาคตศัพท์.

ท่านกล่าวคำว่า สังสัฏฐะ-เกี่ยวข้อง ก็เพื่อแสดงว่า มโนนั้นไม่

มี ดุจรูปและนามที่เกิดขึ้นพร้อมกัน.

ท่านกล่าวคำว่า สัมปยุตตะ-ประกอบพร้อมแล้ว เพื่อแสดงว่า

มโน แม้นั้นก็ไม่มี ดุจน้ำมันกับน้ำ.

ก็ธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกัน แม้เป็นธรรมที่ประกอบกัน พร้อมแล้ว

มีอยู่ เพราะอรรถว่า ไม่อาจทำให้แยกจากกันได้ ดุจน้ำมันกับน้ำมัน แม้

ธรรมที่เป็น วิปปยุตตะ-ไม่ประกอบกัน ก็อย่างนั้น ดุจเนยข้นที่ออก

จากน้ำมัน ธรรมที่ถึงลักษณะอย่างนี้ คือมีการเกิดพร้อมกันเป็นลักษณะ

นั่นเอง ท่านกล่าวคำเป็นต้นว่า เอกุปปาทะ-เกิดขึ้นพร้อมกันก็เพื่อ

แสดงดังนี้.

ในนิทเทสนี้ ธรรมที่เกิดพร้อมกันและที่เกิดร่วมกัน มีความต่างกัน

อย่างไร ?

ธรรมที่เว้นจากระหว่างในอุปปาทขณะเสียแล้ว ชื่อว่า เอกุปปาทะ

-เกิดพร้อมกัน. ธรรมที่เป็นอุปปาทะนั้น ย่อมไม่เป็นเหมือนเนยข้นที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

ปรากฏ ในเมื่อนมส้มที่พ้นจากกาลเป็นน้ำนมไหลไป ๆ ย่อมไม่เป็นเหมือน

เกิดในวันเดียวกันนั่นเอง ด้วยสามารถแห่งเวลาก่อนอาหารและเวลาหลัง

อาหาร.

ชื่อว่า สหชาโต เพราะอรรถว่าเกิดในขณะเดียวกัน.

บทว่า เอกวตฺถุโก-มีที่อาศัยเดียวกัน ความว่า มีวัตถุเดียวกัน

เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง โดยกำหนดที่ตั้งอันเดียวกัน เป็นที่ตั้งเว้นระหว่าง

ที่ตั้ง ดุจภิกษุ ๒ รูปมีที่อาศัยแห่งเดียวกัน.

บทว่า เอการมฺมโณ ความว่า มีอารมณ์เดียวกันโดยไม่แน่นอน

ไม่เหมือนจักขุวิญญาณ อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ ด้วยประการ

ฉะนี้.

บทว่า มจฺโจ เป็นมูลบท คือบทเดิม. ชื่อว่า สัตว์ เพราะ

อรรถว่า ข้อง เกี่ยวข้อง ข้องแล้วในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปารมณ์เป็นต้น

สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์

สัตว์ นั้น ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแลจึงเรียกว่า สัตว์ พระเจ้าข้า.

ดูก่อน ราธะ ฉันทะอันใด ราคะอันใด ในรูปแล, ผู้ข้องในฉันทะนั้น

ข้องวิเศษแล้วในราคะนั้น ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า สัตว์. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่าสัตว์เพราะประกอบด้วยความข้อง.

ชื่อว่า นระ เพราะอรรถว่า นำไปสู่สุคติแลทุคคติ.

ชื่อว่า มาณพ เพราะอรรถว่า เป็นลูก คือเป็นบุตรของพระมนู.

ชื่อว่า โปส เพราะอรรถว่า อันบุคคลอื่นเลี้ยงดูด้วยเครื่องใช้.

นรก ท่านเรียกว่า ปุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

ชื่อว่า ปุคคล เพราะอรรถว่า กลืนกินนรกนั้น.

ชื่อว่า ชีว เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งชีวิตินทรีย์.

ชื่อว่า ชาตุ-ผู้เกิด เพราะอรรถว่า ไปสู่การเกิดจากจุติ.

ชื่อว่า ชนฺตุ เพราะอรรถว่า ย่อมเสื่อมโทรม.

ชื่อว่า อินฺทคู เพราะอรรถว่า ถึงโดยความเป็นใหญ่. อีกอย่าง

หนึ่ง ชื่อว่า อินฺทคู เพราะอรรถว่า ไปด้วยกรรมเป็นใหญ่. บาลีว่า

หินฺทคู ก็มี.

บทว่า หินฺท ได้แก่ ความตาย. ชื่อว่า หินฺทคู เพราะอรรถ

ว่า ไปสู่ความตายนั้น.

ชื่อว่า มนุชะ เพราะอรรถว่า เกิดแต่พระมนู.

บทว่า ย สาทิยติ ความว่า ยินดีอารมณ์มีรูปเป็นต้นใด บทที่

เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ต่อแต่นี้ไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงสรุปความที่ตรัสแล้วให้

เข้าใจง่าย จึงตรัสว่า กาม กามยมานสฺส ฯลฯ ยทิจฺฉติ ดังนี้.

ต่อแต่นี้ข้าพเจ้าจักไม่กล่าวถึงเพียงนี้ จักกล่าวแต่ที่แปลกเท่านั้น.

บทว่า ตสฺส เจ กามยมานสฺส ความว่า เมื่อบุคคลนั้น

ปรารถนากามอยู่ หรือไปอยู่ด้วยกาม.

บทว่า ฉนฺทชาตสฺส ได้แก่ มีตัณหาเกิดแล้ว.

บทว่า ชนฺตุโน ได้แก่ สัตว์.

บทว่า เต กามา ปริหายนฺติ ความว่า ถ้ากามเหล่านั้นเสื่อมไป.

บทว่า สลฺลวิทฺโธว รุปฺปติ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น สัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

นั้นย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรอันทำด้วยเหล็กเป็นต้น

แทงแล้ว. ต่อแต่นี้ข้าพเจ้าจักเว้นบทที่กล่าวไว้แล้ว จักกล่าวแต่บทที่ยาก ๆ

ในบรรดาบทที่ยังไม่ได้กล่าวไว้เท่านั้น.

สัตว์ย่อมไป คือย่อมถึง ด้วยสามารถถึงอารมณ์อันเป็นความอิ่มใจ

เพราะจักษุ.

ชื่อว่า ออกไป เพราะอรรถว่า ยังจิตให้ถึงพร้อมด้วยสามารถแห่ง

อารมณ์ แม้ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ที่น่าทัศนา.

ชื่อว่า ถอยไป เพราะอรรถว่า กำหนดความอิ่มใจเพราะได้ยิน

ด้วยหู ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ที่น่าเสพ.

ชื่อว่า แล่นไป เพราะอรรถว่า เข้าไปยึดความอิ่มจิตแล่นไปด้วย

สามารถแห่งอารมณ์ที่น่าเที่ยวไป.

บทว่า ยถา เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งอุปมา.

ชื่อว่า ด้วยยานช้างบ้าง เพราะอรรถว่าไปคือถึงด้วยช้าง. วาศัพท์

ลงในอรรถวิกัป.

ชื่อว่า ด้วยยานม้าบ้าง เพราะอรรถว่าไปคือถึงด้วยม้า. ยานมียาน

เทียมด้วยโคเป็นต้น ชื่อว่า ยานโค คือถึงด้วยยานโคนั้น แม้ในยานแกะ

เป็นต้นก็นัยนี้แหละ.

ความพอใจในกามที่เกิดด้วยสาหารถอารมณ์ที่ปรารถนา ชื่อว่า เกิด

พร้อม, ที่เกิดด้วยความเป็นอารมณ์ที่รัก ชื่อว่า เกิดขึ้น เกิดเฉพาะ. ที่

เกิดด้วยความเป็นอารมณ์ที่ชอบใจ ชื่อ ปรากฏ.

อีกอย่างหนึ่ง ความพอใจในกามที่เกิดด้วยกามราคะ ชื่อว่า เกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

พร้อม. ที่เกิดด้วยกามนันทิ ชื่อว่า เกิดขึ้น เกิดเฉพาะ, ที่เกิดด้วย

กามตัณหา ด้วยกายมสิเนหา ด้วยกามฉันทะ และด้วยกามปริฬาหะ พึง

ทราบว่า ปรากฏ.

บทว่า เต วา กามา ปริหายนฺติ ความว่า กามเหล่านั้น

คือวัตถุกามเป็นต้น เสื่อมไป คือจากไป.

บทว่า โส วา กาเมหิ ปริหายติ ความว่า สัตว์นั้น คือ

บุคคลมีกษัตริย์ เป็นต้น ย่อมเสื่อม คือจากไป จากกามทั้งหลาย มี

วัตถุกามเป็นต้น ดุจในคาถามีอาทิอย่างนี้ว่า :-

โภคทั้งหลายย่อมละสัตว์ไปในก่อนแล สัตว์

ย่อมสละทรัพย์ทั้งหลายก่อนกว่าดังนี้.

บทว่า กถ ได้แก่ ด้วยประการไร.

บทว่า ติฏฺนฺตสฺเสว ได้แก่ ดำรงอยู่นั่นแหละ.

บทว่า เต โภเค ได้แก่ โภคะทั้งหลายเหล่านั้น มีวัตถุกาม

เป็นต้น.

บทว่า ราชาโน วา ได้แก่ พวกพระราชาในแผ่นดินเป็นต้น.

บทว่า หรนฺติ ได้แก่ ยึดเอาไป หรือริบเอาไป.

บทว่า โจรา วา ได้แก่ พวกตัดช่องย่องเบาเป็นต้น.

บทว่า อคฺคิ วา ได้แก่ ไฟป่าเป็นต้น.

บทว่า ฑหติ ได้แก่ ให้ย่อยยับ คือทำให้เป็นเถ้า.

บทว่า อุทก วา ได้แก่ น้ำ มีน้ำหลากเป็นต้น.

บทว่า วหติ ได้แก่ พัดเอาไปลงทะเล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

บทว่า อปฺปิยา วา ได้แก่ ผู้ไม่รักใคร่ ไม่ชอบใจ.

บทว่า ทายาทา หรนฺติ ความว่า ผู้มีใช่เจ้าของ เว้นจากความ

เป็นทายาท นำไป.

บทว่า นิหิต วา ได้แก่ ที่เก็บฝังไว้.

บทว่า นาธิคจฺฉติ ได้แก่ ไม่ประสบ คือไม่ได้คืน อธิบายว่า

ไม่ได้เห็น.

บทว่า ทุปฺปยุตฺตา ได้แก่ การงานมีกสิกรรมและพาณิชยกรรม

เป็นต้น ที่ประกอบดำเนินการไม่เรียบร้อย.

บทว่า ภิชฺชนฺติ ได้แก่ ถึงความทำลาย อธิบายว่า ดำเนินการ

ไปไม่ได้. พึงทราบความเกิดในคาถามีอาทิว่า ผู้ไม่รู้ย่อมทำลายการงาน

นั้น ดังนี้.

บทว่า กุเล วา กุลชฺฌาปโก อุปฺปชฺชติ ความว่า คน

ผลาญสกุลคือคนสุดท้ายในสกุล เกิดในสกุลกษัตริย์เป็นต้น.

บาลีว่า กุเล วา กุลงฺคาโร ดังนี้ก็มี.

บทว่า โย เต โภเค วิกิรติ ความว่า ผู้เป็นคนสุดท้ายใน

สกุลนี้ ยังโภคะมีเงินเป็นต้นเหล่านั้นให้สิ้นไป.

บทว่า วิธเมติ ได้แก่แยกเป็นส่วน ๆ ขว้างทิ้งไปไกล.

บทว่า วิทฺธเสติ ได้แก่ ให้พินาศ คือให้ดูไม่ได้ อีกอย่างหนึ่ง

เป็นนักเลงหญิงเรี่ยราย, เป็นนักเลงสุรากระจัดกระจาย, เป็นนักเลงการ

พนันทำลาย. อีกอย่างหนึ่ง ผู้นี้เรี่ยรายโภคะที่เกิดขึ้นเพราะความไม่รู้,

กระจัดกระจายโภคะที่เกิดขึ้นเพราะไม่รู้หลักการใช้จ่าย, ทำลายโภคะที่เกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

ขึ้น เพราะปราศจากวิธีอารักขาในสถานที่เก็บไว้.

บทว่า อนิจฺจตาเยว อฏฺฐมี ความว่า ความพินาศนั่นแลเป็น

ที่แปด.

บทว่า หายนฺติ ได้แก่ ถึงการดูไม่ได้.

บทว่า ปริหายนฺติ ได้แก่ ไม่ปรากฏอีก.

บทว่า ปริทฺธเสนฺติ ได้แก่ เคลื่อนจากที่.

บทว่า ปริจฺจชนฺติ ได้แก่ รั่วไหล.

บทว่า อนฺตรธายนฺติ ได้แก่ ถึงความอันตรธาน คือดูไม่เห็น.

บทว่า วิปฺปลุชฺชนฺติ ได้แก่ แหลกละเอียดหมดไป.

บทว่า ติฏฺนฺเตว เต โภคา ความว่า ในเวลาที่โภคะเหล่า-

นั้นตั้งอยู่ เหมือนในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ดำรงอยู่ก็ตาม. บังเกิดแล้ว

ก็ตามดังนี้.

บทว่า โส ได้แก่ บุคคลนั้นคือผู้เป็นเจ้าของโภคะ จุติจาก

เทวโลก, ตายจากมนุษยโลก, สูญหายจากโลกแห่งนาคและครุฑเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง เสื่อมด้วยสามารถแห่งเรือนคลังข้าวเปลือก, เสียหายด้วย

สามารถแห่งเรือนคลังทรัพย์, กระจัดกระจายด้วยสามารถแห่งโคงานและ

ช้างม้าเป็นต้น. รั่วไหลด้วยสามารถแห่งทาสีและทาส, อันตรธานด้วย

สามารถแห่งทาระและอาภรณ์, สูญหายด้วยสามารถแห่งน้ำเป็นต้น.

อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้ดังนี้.

บทว่า อโยมเยน ได้แก่ ที่เกิดแต่โลหะดำเป็นต้น.

บทว่า สลฺเลน ได้แก่ ด้วยลูกธนู.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

บทว่า อฏฺิมเยน ได้แก่ ด้วยกระดูกที่เหลือเว้นกระดูกมนุษย์.

บทว่า ทนฺตมเยน ได้แก่ ด้วยงาช้างเป็นต้น.

บทว่า วิสาณมเยน ได้แก่ ด้วยเขาโคเป็นต้น.

บทว่า กฏฺมเยน ได้แก่ ด้วยไม้ไผ่เป็นต้น.

บทว่า วิทฺโธ ได้แก่ แทงด้วยลูกศรมีประการดังกล่าวแล้วอย่าง

ใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า รุปฺปติ ได้แก่ กระสับกระส่าย คือถึงวิการ.

บทว่า กุปฺปติ ได้แก่ หวั่นไหว คือยังความโกรธให้เกิดขึ้น.

บทว่า ฆฏิยติ ได้แก่ เป็นผู้ดิ้นรน.

บทว่า ปีฬิยติ ได้แก่ เป็นผู้จุกเสียด ผู้ถูกประหารย่อมหวั่นไหว

ย่อมดิ้นรนในเวลาใส่เส้นหญ้าเข้าไปล้างแผลในวันที่สาม ย่อมจุกเสียดเมื่อ

ให้น้ำด่าง หรือย่อมกระสับกระส่ายเมื่อล้างแผลที่ถูกแทง ย่อมหวั่นไหว

เพราะเกิดทุกข์นั้น ย่อมจุกเสียดเพราะใส่เส้นหญ้าเข้าไป ย่อมดิ้นรนเมื่อ

ให้น้ำด่าง อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า พฺยาธิโต ได้แก่ เป็นผู้ถูกประหารแล้วเจ็บตัว.

บทว่า โทมนสฺสิโต ได้แก่ ถึงความโทมนัส.

บทว่า วิปริณามญฺถาภาเวน ได้แก่ เพราะละความเป็นปกติ

เข้าถึงความเป็นอย่างอื่น. ความเหี่ยวแห้งภายในใจ ชื่อว่า โศก, ความ

บ่นเพ้อด้วยวาจา ชื่อว่า ปริเทวะ, ความบีบคั้นทางกายเป็นต้น ชื่อว่า

ทุกข์, ความบีบคั้นทางใจ ชื่อว่า โทมนัส, และความคับแค้นใจอย่าง

แรง ชื่อว่า อุปายาส. ความโศกเป็นต้นมีประการดังกล่าวแล้วเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

ย่อมเกิดขึ้น คือย่อมถึงความปรากฏ.

ในคาถาที่ ๓ มีความย่อดังต่อไปนี้ :- ก็ผู้ใดเว้น ขาดกามเหล่านี้

โดยการข่มฉันทราคะในกามนั้น, หรือโดยการตัดขาด เหมือนบุคคลเว้น

ขาดหัวงูด้วยเท้าของตน. ผู้นั้นเป็นผู้เห็นภัย, เป็นผู้มีสติย่อมล่วงพ้น

ตัณหา กล่าวคือวิสัตติกาซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลก, เพราะซ่านไป

ทั่วโลกตั้งอยู่.

บทว่า โย เป็นบทที่พึงจำแนก. บทว่า โย ยาทิโส เป็นต้น

เป็นบทจำแนกบทนั้น. ก็ในคาถานี้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

บทที่มีเนื้อความว่า โย และบุคคลนั้นโดยไม่กำหนด. ฉะนั้น เมื่อจะ

ทรงแสดงเนื้อความของบทนั้น พระองค์จึงตรัสศัพท์ว่า โย เท่านั้น

ซึ่งแสดงบุคคลโดยไม่กำหนด. เพราะฉะนั้น ในคาถานี้พึงทราบเนื้อความ

อย่างนี้ว่า บทว่า โย ได้แก่ คนใดคนหนึ่ง. เพราะบุคคลนั้น คือ

บุคคลผู้ชื่อว่าคนใดคนหนึ่งนั้น ย่อมปรากฏโดยอาการนั้น ด้วยสามารถ

แห่งเพศ การประกอบ มีชนิดอย่างไร. มีประการอย่างไร. ถึงฐานะใด,

ประกอบด้วยธรรมใด เป็นแน่. ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะประ

กาศประเภทนั้น เพื่อให้รู้บุคคลนั้น ในที่นั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยา-

ทิโส ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาทิโส ความว่า เป็นผู้เช่นใดหรือ

เช่นนั้นก็ตาม ด้วยสามารถแห่งเพศ คือ สูง, ต่ำ, ดำ, ขาว, ผิวตก-

กระ, ผอมหรืออ้วนก็ตาม.

บทว่า ยถายุตฺโต ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยการใดหรือการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

นั้นก็ตาม ด้วยสามารถแห่งการประกอบ คือ ประกอบงานก่อสร้างก็

ตาม ประกอบการเรียนการสอนก็ตาม, ประกอบธุระเครื่องนุ่งห่มก็ตาม.

บทว่า ยถาวิหิโต ความว่า เป็นผู้ได้รับแต่งตั้งอย่างใด ด้วย

สามารถเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างเป็นต้น.

บทว่า ยถาปกาโร ความว่า เป็นผู้ดำรงอยู่ด้วยประการใด ด้วย

สามารถเป็นผู้นำบริษัทเป็นต้น.

บทว่า ย านปฺปตฺโต ความว่า เป็นผู้ถึงตำแหน่งใด ด้วย

สามารถตำแหน่งเสนาบดีและตำแหน่งเศรษฐีเป็นต้น.

บทว่า ย ธมฺมสมนฺนาคโต ความว่า เป็นผู้เข้าถึงด้วยธรรมใด

ด้วยสามารถธุดงค์เป็นต้น.

บทว่า วิกฺขมฺภนโต วา ความว่า โดยกระทำให้ไกลจากกิเลส

ทั้งหลาย ด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ ดุจใช้หม้อน้ำแหวกสาหร่าย.

บทว่า สมุจฺเฉทโต วา ความว่า หรือโดยการตัดขาด ด้วย

สามารถแห่งการละโดยถอนรากกิเลสทั้งหลายอย่างเด็ดขาด ทำให้เป็นไป

ไม่ได้อีก ด้วยมรรค.

บท ๑๑ บท มีบทว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยโครงกระดูก เป็น-

ต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา.

บทว่า แม้ผู้เจริญพุทธานุสสติ เป็นต้น. และบทว่า แม้ผู้เจริญ

มรณานุสสติ แม้ผู้เจริญอุปสมานุสสติ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอุปจาร-

ฌาน.

บทว่า แม้ผู้เจริญอานาปานสติ แม้ผู้เจริญกายคตาสติ แม้ผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

ปฐมฌาน เป็นต้น. แม้ผู้เจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นที่

สุด ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอัปปนาฌาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺิกงฺกลูปมา กามา ความว่า

กามทั้งหลาย ชื่อว่า เปรียบด้วยโครงกระดูก เพราะอรรถว่า กามเหล่า

นั้นมีโครงกระดูกซึ่งไม่น่ายินดี ไม่มีเนื้อและเลือดติดเป็นเครื่องเปรียบ.

บทว่า อปฺปสาทฏฺเน ความว่า เพราะอรรถว่า เห็นว่าในกาม

นี้มีความยินดีความสุขน้อย คือนิดหน่อย มีโทษมากมาย.

บทว่า ปสฺสนฺโต ความว่า เห็นอยู่ด้วยจักษุคือญาณว่า ก็และ

สุนัขนั้นยังคงมีส่วนแห่งความลำบากความคับแค้นอยู่อย่างนั้นนั่นเอง.

บทว่า ปริวชฺเชติ ได้แก่ ไปไกล สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า ดูก่อนคฤหบดีเหมือนอย่างว่า สุนัขที่ถูกความทุรพลเพราะความ

หิวครอบงำเข้าไปร้องขอต่อนายโคฆาต นายโคฆาตหรือลูกมือของนาย

โคฆาตผู้ขยันพึงเอาโครงกระดูกซึ่งไม่น่ายินดี ไม่มีเนื้อและเลือดติดเลี้ยงดู

สุนัขนั้น สุนัขนั้นแทะโครงกระดูกนั้นซึ่งไม่น่ายินดี ไม่มีเนื้อและเลือดติด

พึงบรรเทาความทุรพลเพราะความหิวได้บ้างหรือหนอ นั้นเป็นไปไม่ได้

เลยพระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะโครงกระดูกนั้นไม่น่ายินดี ไม่

มีเนื้อและเลือดติด พระเจ้าข้า ก็และสุนัขนั้นยังคงมีส่วนแห่งความลำบาก

ความคับแค้น อยู่อย่างนั้นนั่นเอง แม้ฉันใด ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉัน

นั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วยประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบ

ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบ

ด้วยโครงกระดูก มีทุกข์มาก, มีความคับแค้นมาก, ในกามนี้มีโทษมากมาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

ดังนี้แล้ววางอุเบกขาที่มีความต่างกัน อาศัยความต่างกันนั้นเสีย เจริญ

อุเบกขาที่มีความเป็นอย่างเดียว อาศัยความเป็นอย่างเดียว ซึ่งเป็นที่ดับ

ความยึดมั่นโลกามิสไม่เหลือโดยประการทั้งปวง นั้นนั่นเทียว.

กามทั้งหลายชื่อว่า เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่า มีชิ้นเนื้อ

ซึ่งเป็นของสาธารณ์แก่แร้งเป็นต้น เป็นเครื่องเปรียบ. ชื่อว่า สาธารณ์

แก่ชนหมู่มาก เพราะอรรถว่า เป็นของสาธารณ์แก่ชนทั้งหลายเป็นอันมาก.

ชื่อว่า เปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า เพราะอรรถว่า มีคบเพลิงหญ้าซึ่งไฟติด

ทั่วแล้ว เป็นเครื่องเปรียบ.

บทว่า อนุทหนฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่า เผามือเป็นต้น.

ชื่อว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่า มีหลุมถ่านเพลิงลึกกว่า

ชั่วบุรุษ เต็มด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว ปราศจากควัน เป็นเครื่อง

เปรียบ.

บทว่า มหาปริฬาหฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่า ทำให้เร่าร้อน

มาก ชื่อว่า เปรียบด้วยความฝัน เพราะอรรถว่า มีความฝันว่าอารามที่

น่ารื่นรมย์เป็นต้น เป็นเครื่องเปรียบ.

บทว่า อิตฺตร ปจฺจุปฏฺานฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่า เข้าไป

ตั้งไว้ไม่ถึง. ชื่อว่า เปรียบด้วยของขอยืม เพราะอรรถว่า มีภัณฑะมียาน

เป็นต้นที่ได้มาด้วยการขอยืม เป็นเครื่องเปรียบ.

บทว่า ตาวกาลิกฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่า ไม่เนืองนิจ.

ชื่อว่า เปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก เพราะอรรถว่า มีต้นไม้มีผลสมบูรณ์

เป็นเครื่องเปรียบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

บทว่า สมฺภญฺขนปริภญฺชนฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่า ทำให้

กิ่งหัก และเพราะอรรถว่า ทำให้หักโดยรอบแล้วให้ต้นล้ม. ชื่อว่า เปรียบ

ด้วยดาบและมีด เพราะอรรถว่า มีดาบและมีด เป็นเครื่องเปรียบ.

บทว่า อธิกุฏฺฏนฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่า ตัด. ชื่อว่า

เปรียบด้วย หอกหลาว เพราะอรรถว่า มีหอกหลาว เป็นเครื่องเปรียบ.

บทว่า วินิวิชฺฌนฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่า ให้ล้มลงไป.

เพราะอรรถว่า ให้เกิดภัต. ชื่อว่า เปรียบด้วยหัวงู เพราะอรรถว่า มี

หัวงู เป็นเครื่องเปรียบ.

บทว่า สปฺปฎิภยฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่า มีภัยเฉพาะหน้า.

ชื่อว่า เปรียบด้วยกองไฟ เพราะอรรถว่า มีกองไฟที่ไห้เกิดทุกข์เป็น

เครื่องเปรียบ.

บทว่า มหคฺคิตาปนฏฺเน ได้แก่ เพราะอรรถว่า ให้เกิดความ

เร่าร้อน เพราะความเป็นดังไฟกองใหญ่ให้เร่าร้อน ดังนั้นจึงเว้นขาดกาม

แล. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนคฤหบดีเหมือนอย่างว่า แร้ง,

นกกระสา, หรือเหยี่ยวก็ตาม กัดคาบเอาชิ้นเนื้อนั้น แม้แร้งทั้งหลาย

แม้นกกระสาทั้งหลาย แม้เหยี่ยวทั้งหลาย ก็พากันบินติดตามยื้อแย่งเอา

ชิ้นเนื้อนั่นนั้น.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ถ้าแร้ง นกกระสา

หรือเหยี่ยวนั้น ไม่สละชิ้นเนื้อนั้นทันทีทีเดียว มันต้องตาย หรือต้องถึง

ทุกข์ปางตาย เพราะเหตุที่ไม่สละชิ้นเนื้อนั้น ? อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ ฯลฯ เจริญอุเบกขานั้น

นั้นเทียว.

ดูก่อนคฤหบดี เหมือนอย่างว่า บุรุษถือคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่ว

แล้วเดินทวนลม. ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ถ้า

บุรุษนั้นไม่สละคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วแล้วนั้นทันทีทีเดียว คบเพลิงหญ้า

อันไฟติดทั่วแล้วนั้นพึงไหม้มือไหม้แขน หรือพึงไหม้อวัยวะอื่น ๆ ของเขา

เขาต้องตาย หรือต้องถึงทุกข์ปางตาย เพราะเหตุที่ไม่สละคบเพลิงหญ้านั้น

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย

ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า มีทุกข์มาก มีความ

คับแค้นมาก ฯลฯ เจริญอุเบกขานั้นนั่นเทียว.

ดูก่อนคฤหบดี เหมือนอย่างว่า หลุมถ่านเพลิงลึกกว่าชั่วบุรุษ เต็ม

ด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ครั้งนั้น บุรุษอยากมีชีวิต

อยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงเดินมา บุรุษผู้มีกำลังสองคน

จับแขนทั้งสองของบุรุษนั้น ลากไปสู่หลุมถ่านเพลิง.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? บุรุษนั้นจะพึงยัง

กายนั้นนั่นแลให้เร่าร้อนแม้ด้วยประการฉะนี้บ้างหรือหนอ ? อย่างนั้น

พระเจ้าข้าข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะบุรุษนั้นรู้ว่า

ถ้าเราจักตกหลุมถ่านเพลิง เราย่อมตาย หรือย่อมถึงทุกข์ปางตาย เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

เหตุที่ตกหลุมถ่านเพลิงนั้น.

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย

ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ เจริญ

อุเบกขานั้นนั่นเทียว.

ดูก่อนคฤหบดี เหมือนอย่างว่า บุรุษฝันเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่า

ที่น่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ เขาตื่น

ขึ้นไม่เห็นอะไร ๆ เลย.

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย

ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยความฝัน ฯลฯ เจริญอุเบกขานั้น

นั่นเทียว.

ดูก่อนคฤหบดี เหมือนอย่างว่า บุรุษขอยืมกุณฑลแก้วมณีอัน

ประเสริฐซึ่งเป็นของขอยืม ยกขึ้นสู่ยาน เขาเอากุณฑลแก้วมณีอันประเสริฐ

วางไว้ข้างหน้า แวดล้อมด้วยของขอยืมทั้งหลายเดินทางไปร้านตลาด ชน

เห็นเขานั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ คนมีโภคะหนอ ได้ยินว่าคนมี

โภคะทั้งหลายย่อมบริโภคโภคะทั้งหลายอย่างนี้ พวกเจ้าของเห็นของของตน

ตรงที่ใด ๆ พึงนำของของตนไปจากบุรุษนั้นตรงที่นั้น ๆ เอง.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? บุรุษนั้นจะไม่

เป็นอย่างอื่นไปหรือหนอ ไม่อย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุ

อะไร เพราะเจ้าของทั้งหลายนำของของเขาไปเสีย พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย

ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยของขอยืม ฯลฯ เจริญอุเบกขา

นั้นนั่นเทียว.

ดูก่อนคฤหบดี เหมือนอย่างว่า ไพรสณฑ์ใหญ่ใกล้บ้านหรือนิคม.

ในไพรสณฑ์นั้นมีต้นไม้มีผลดกและกำลังออกผล และไม่มีผลไร ๆ ของ

ต้นไม้นั้นหล่นลงบนพื้นดิน ครั้งนั้น บุรุษผู้มีความต้องการผลไม้ แสวงหา

ผลไม้ เที่ยวแสวงหาผลไม้อยู่พึงมา เขาหยั่งลงสู่ไพรสณฑ์นั้น พึงเห็น

ต้นไม้นั้นมีผลดกและกำลังออกผล เขาติดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้ใหญ่และมี

ผลดกและกำลังออกผล ไม่มีผลไร ๆ หล่นลงบนพื้นดิน ก็เราขึ้นต้นไม้เป็น

อย่ากระนั้นเลย เราพึงบนต้นไม้นี้ เคี้ยวกินให้อิ่ม และใส่ให้เต็มพก

ดังนี้เขาขึ้นต้นไม้นั้น เคี้ยวกินจนอิ่ม และใส่เต็มพก ครั้งนั้น บุรุษคน

ที่สองผู้มีความต้องการผลไม้ แสวงหาผลไม้ เที่ยวแสวงหาผลไม้อยู่ พึง

ถือเอาจอบอันคมมา บุรุษนั้นหยั่งลงสู่ไพรสณฑ์นั้น พึงเห็นต้นไม้นั้นมี

ผลดกและกำลังออกผล เขาคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้แลมีผลดกและกำลังออก

ผล และไม่มีผลไร ๆ หล่นลงบนพื้นดิน ก็เราขึ้นต้นไม้ไม่เป็น แต่ตัด

ต้นไม้เป็น อย่ากระนั้นเลย เราพึงตัดโคนต้นไม้นี้ เคี้ยวกินให้อิ่ม และ

ใส่ให้เต็มพกดังนี้ เขาตัดโคนต้นไม้นั้น.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? บุรุษคนที่ขึ้น

ต้นไม้นั้นก่อน ถ้าเขาไม่รีบลงทันที ต้นไม้นั้นพึงล้มลงทำลายมือเท้าหรือ

อวัยวะอื่น ๆ ของเขาเสีย เขาต้องตาย หรือต้องทุกข์ปางตาย เพราะเหตุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

พี่ถูกต้นไม้ทำลายนั้น. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย

ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก มีทุกข์มาก มี

ความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษมากมา ดังนี้แล้ว วางอุเบกขาที่มีความ

ต่างกัน อาศัยความต่างกันนั้นเสีย เจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอย่างเดียว

อาศัยความเป็นอย่างเดียว ซึ่งเป็นที่ดับความยึดมั่นโลกามิสไม่เหลือ โดย

ประการทั้งปวงนั้นนั่นเที่ยว. พระสารีบุตรเถระแสดงวิปัสสนา โดยเปรียบ

ด้วยโครงกระดูกเป็นต้น และเปรียบด้วยกองไฟเป็นที่สุดอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะแสดงอุปจารสมาธิ จึงกล่าวคำว่า พุทฺธานุสฺสตึ ภาเวนฺโต

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น สตินั่นแหละ ชื่อว่า อนุสสติ เพราะเกิดขึ้น

บ่อย ๆ. อนึ่ง ชื่อว่า อนุสสติ เพราะอรรถว่า สติที่สมควรแก่กุลบุตร

ผู้บวชด้วยศรัทธา เพราะเป็นไปในฐานะที่ควรให้เป็นไปนั่นเอง ดังนี้ก็มี.

อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทธานุสสติ. คำว่า พุทธา-

นุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีพระพุทธคุณ. มีความเป็นพระอรหันต์เป็นต้น

เป็นอารมณ์ ซึ่งพุทธานุสสตินั้น บทว่า ภาเวนฺโต ได้แก่ เจริญอยู่

คือเพิ่มพูนอยู่.

อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระธรรม ชื่อว่า ธรรมานุสสติ, คำว่า

ธรรมานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีพระธรรมคุณ, มีความเป็นธรรมอัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่า สังฆานุสสติ. คำว่า

สังฆานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีพระสังฆคุณ, มีความเป็นผู้ปฏิบัติดีเป็นต้น

เป็นอารมณ์.

อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภศีล ชื่อ ว่า สีลานุสสติ. คำว่า สีลานุสสติ

นี้ เป็นชื่อของสติที่มีศีลคุณ, มีความไม่ขาดเป็นต้นของตนเป็นอารมณ์.

อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภจาคะ ชื่อว่า จาคานุสสติ. คำว่า จาคานุสสติ

นี้ เป็นชื่อของสติที่มีจาคคุณ, มีความเป็นผู้มีจาคะอันละแล้วของตน

เป็นต้น เป็นอารมณ์.

อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภเทวดา ชื่อว่า เทวดานุสสติ. คำว่า

เทวตานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีคุณมีศรัทธาของตนเป็นต้น ตั้งเทวดา

ทั้งหลายไว้ในฐานะพยานเป็นอารมณ์.

อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภลมหายใจเข้าออก ชื่อว่า อานาปานัสสติ.

คำว่า อานาปานัสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตแห่งลมหายใจเข้าออกเป็น

อารมณ์.

อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความตาย ชื่อว่า มรณานุสสติ. คำว่า

มรณานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีความตายกล่าวคือความแตกแห่งชีวิติน-

ทรีย์ที่นับเนื่องในภพหนึ่งเป็นอารมณ์.

สติที่ไป, คือเป็นไปในสรีระที่นับว่ากาย เพราะเป็นความเจริญคือเป็น

บ่อเกิดของสิ่งปฏิกูลทั้งหลายมีผมเป็นต้นที่น่าเกลียด ชื่อว่า กายคตาสติ.

เมื่อควรจะกล่าวว่า กายคตสติ ท่านกล่าวว่า กายคตาสติ เพราะ

ไม่รัสสะ แม้ในที่นี้ท่านก็กล่าวคำนี้เป็น กายคตาสติ เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

คำว่ากายคตาสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตปฏิกูลในส่วนของร่างกายมีผม

เป็นต้นเป็นอารมณ์.

อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความสงบ ชื่อว่า อุปสมานุสสติ คำว่า

อุปสมานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีพระนิพพานอันเป็นที่เข้าไปสงบทุกข์ทั้ง

ปวงเป็นอารมณ์.

ผู้เจริญปฐมฌานอันประกอบด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข และจิต-

เตกัคคตา. ผู้เจริญทุติยฌานอันประกอบด้วยปีติ สุข และจิตเตกัคคตา.

ผู้เจริญตติยฌานอันประกอบด้วยสุข และจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญจตุตถฌาน

อันประกอบด้วยอุเบกขาและจิตเตกัคคตา. ฯลฯ แม้ผู้เจริญเนวสัญญานา

สัญญายตนสมาบัติ ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย. พระสารีบุตรเถระแสดงการ

ละกามโดยการข่มไว้ด้วยประการฉะนี้ บัดนี้เพื่อจะแสดงการละกามทั้งหลาย

โดยการตัดขาด จึงกล่าวคำว่า โสตาปตฺติมคฺค ภาเวนฺโตปิ ดังนี้

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น การถึงซึ่งกระแสแห่งมรรค ชื่อว่า โสดาปัตติ.

มรรคแห่งการถึงกระแสพระนิพพาน ชื่อว่า โสดาปัตติมรรค.

บทว่า อปายคมนีเย กาเม ความว่า เมื่อเจริญโสดาปัตติมรรค

ย่อมเว้นขาดจากกามอันให้ไปสู่อบาย ซึ่งเป็นเครื่องให้เหล่าสัตว์ไปสู่อบาย

เหล่านั้นโดยการตัดขาด.

ชื่อว่า สกทาคามี เพราะอรรถว่า มาปฏิสนธิยังโลกนี้คราวเดียว

เท่านั้น มรรคแห่งพระสกทาคามีนั้น ชื่อว่า สกทาคามิมรรค เมื่อเจริญ

มรรคนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

บทว่า โอฬาริเก ได้แก่ ถึงความเร่าร้อน. ชื่อว่า อนาคามี

เพราะอรรถว่า ไม่มาปฏิสนธิยังกามภพเลย. มรรคแห่งพระอนาคามีนั้น

ชื่อว่าอนาคามิมรรค เมื่อเจริญมรรคนั้น.

บทว่า อณุสหคเต ได้แก่ ถึงความละเอียด. ชื่อว่า พระอรหันต์

เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลาย เพราะกำจัดข้าศึกคือกิเลส. เพราะหักซี่ล้อ

แห่งสังสารวัฏ, เพราะไม่มีความลับในการทำบาป, และเพราะเป็นผู้ควร

แก่ปัจจัยเป็นต้น. ความเป็นแห่งพระอรหันต์ ชื่อว่า อรหัตต์. อรหัตต์

นั้นคืออะไร, คืออรหัตตผล. มรรคเเห่งอรหัตต์ ชื่อ อรหัตตมรรค เมื่อ

เจริญอรหัตตมรรคนั้น.

บทว่า สพฺเพน สพฺพ ได้แก่ ทั้งปวงโดยอาการทั้งปวง.

บทว่า สพฺพถา สพฺพ ได้แก่ ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง.

บทว่า อเสส นิสฺเสส ได้แก่ มิได้มีส่วนเหลือ คือไม่เหลือแม้

เพียงขันธ์.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สพฺเพน สพฺพ กล่าวถึงมูลราก. บทว่า

สพฺพถา สพฺพ กล่าวชี้ถึงอาการ. บทว่า อเสส นิสฺเสส กล่าวชี้

ถึงการบำเพ็ญ.

อนึ่ง ด้วยบทแรกกล่าวเพราะไม่มีทุจริต. ด้วยบทที่สองกล่าวเพราะ

ไม่มีการครอบงำ. ด้วยบทที่สามกล่าวเพราะไม่มีอนุสัย อาจารย์พวกหนึ่ง

พรรณนาไว้อย่างนี้.

บทว่า สปฺโป วุจฺจติ อหิ ความว่า งูตัวใดตัวหนึ่งเลื้อยไป.

บทว่า เกนตฺเถน ได้แก่ เพราะอรรถว่าอะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

บทว่า สสปฺปนฺโต คจฺฉติ ความว่า เพราะเสือกไป ฉะนั้น

จึงเรียกว่า สัปปะ.

บทว่า ภุชนฺโต ความว่า ขนดไป.

บทว่า ปนฺนสิโร ได้แก่ เป็นสัตว์มีหัวตก.

บทว่า สิเรน สุปติ ความว่า ชื่อว่า สิริสปะ เพราะอรรถว่า

นอนด้วยหัวโดยความเป็นโพรง เอาหัวไว้ภายในขนด. ชื่อว่า วิลาสยะ

เพราะอรรถว่า นอนในรู บาลีว่า พิลสโย ก็มี. พึงเว้นหัวงูนั้นให้ดี.

ชื่อว่าคุหาสยะ เพราะอรรถว่า นอนในถ้ำ.

บทว่า ทาฒา ตสฺส อาวุโส ความว่า เขี้ยวทั้งสองเป็นอาวุธ

กล่าวคือศัสตราเครื่องประหารของงูนั้น.

บทว่า วิส ตสฺส โฆร ความว่า พิษกล่าวคือน้ำที่เป็นพิษของ

งูนั้นร้ายแรง.

บทว่า ชิวฺหา ตสฺส ทุวิธา ความว่า งูนั้นมีลิ้นสองแฉก.

บทว่า ทฺวีหิ ชิวฺหาหิ รส สายติ ความว่า ย่อมรู้รส คือ

ย่อมประสบความยินดี คือย่อมยินดีด้วยลิ้นสองแฉก.

ชื่อว่า ผู้ใครต่อชีวิต เพราะอรรถว่า ใคร่เพื่อจะเป็นอยู่.

ชื่อว่า ไม่อยากตาย เพราะอรรถว่า ยังไม่อยากตาย.

ชื่อว่า อยากได้สุข เพราะอรรถว่า ใคร่ซึ่งความสุข.

บทว่า ทุกฺขปฏิกูโล ได้แก่ ไม่ปรารถนาความทุกข์.

บทว่า ปาเทน ได้แก่ ด้วยเท้าของตน.

บทว่า สปฺปสิร ได้แก่ หัวของงู.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

บทว่า วชฺเชยฺย ได้แก่ พึงเว้นข้างหน้า.

บทว่า วิวุชฺเชยฺย ได้แก่ พึงเว้นโดยประมาณของงูนั้น.

บทว่า ปริวชฺเชยฺย ได้แก่ พึงเว้นโดยรอบ.

บทว่า อภินิวชฺเชยฺย ได้แก่ พึงเว้นประมาณ ๔ ศอก.

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทแรก พึงเว้นแต่หัว. ด้วยบทที่ ๒ และที่ ๓

พึงเว้นข้างทั้งสอง. ด้วยบทที่ ๔ พึงเว้นข้างหลัง.

อนึ่ง พึงเว้น เพราะความเป็นวัตถุแห่งทุกข์ ซึ่งมีการแสวงหาเป็น

มูลของผู้ที่ยังไม่ถึงกามทั้งหลาย. พึงหลีก เพราะความเป็นวัตถุแห่งทุกข์

ซึ่งมีการรักษาเป็นมูลของผู้ที่ถึงกามแล้ว. พึงเลี่ยง เพราะความเป็นวัตถุ

แห่งทุกข์ที่เร่าร้อนเพราะความไม่รู้. พึงอ้อมหนี เพราะความเป็น

วัตถุแห่งทุกข์ที่เกิดจากความพลัดพรากจากของรักในปากแห่งความพินาศ

อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ชื่อว่า ความกำหนัด ด้วยสามารถความยินดี.

ชื่อว่า ความพอใจ เพราะความเป็นเพื่อนของเหล่าสัตว์ในอารมณ์

ทั้งหลาย.

ชื่อว่า ความชอบใจ เพราะอรรถว่า ยินดี.

อธิบายว่า ปรารถนา ชื่อว่า ความเพลิดเพลิน เพราะอรรถว่า

เป็นเครื่องเพลิดเพลิน ในภพใดภพหนึ่งของเหล่าสัตว์ หรือเพลิดเพลิน

เอง.

ตัณหาชื่อว่า นันทิราคะ เพราะเป็นความเพลิดเพลินด้วย เป็น

ความกำหนัดด้วย อรรถว่ายินดีด้วย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

ในบทว่า นนฺทิราโค นั้น ตัณหาที่เกิดขึ้นคราวเดียวในอารมณ์

เดียวเรียกว่านันทิ. ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ เรียกว่า นันทิราคะ.

บทว่า จิตฺตสฺส สาราโค ความว่า ความกำหนัดโค ท่านเรียก

ว่าความกำหนัดกล้า เพราะอรรถว่า ความยินดีมีกำลังเบื้องต่ำ ความกำหนัด

นั้น มิใช่ของสัตว์ เป็นความกำหนัดกล้าแห่งจิตเท่านั้น.

ชื่อว่า ความปรารถนา เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องปรารถนา

อารมณ์ทั้งหลาย.

ชื่อว่า ความหลง เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องหลงของเหล่าสัตว์

เพราะความเป็นกิเลสหนา.

ชื่อว่า ความติดใจ เพราะกลืนให้สำเร็วแล้วยึดไว้.

ชื่อว่า ความยินดี เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องต้องการ คือถึงความ

ยินดีของเหล่าสัตว์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ความยินดี เพราะอรรถว่า

หนาแน่น. ก็ความยินดีนั่นแล ท่านกล่าวว่า ชัฎแห่งป่าใหญ่ เพราะอรรถว่า

หนาแน่นเหมือนกัน ขยายบทที่ติดกันด้วยอุปสัค.

ชื่อว่า ความยินดีทั่วไป เพราะอรรถว่า ยินดีทุกอย่างหรือตามส่วน.

ชื่อว่า ความข้อง เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องข้องอยู่ของเหล่าสัตว์

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ความข้อง เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องข้อง.

ชื่อว่า ความติดพัน เพราะอรรถว่า จมลง.

ชื่อว่า ความแสวงหา เพราะฉุดคร่า. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า

ตัณหาชื่อว่าเอชาย่อมฉุดคร่าบุรุษนี้ เพื่อบังเกิดในภพนั้น ๆ นั่นแล.

ชื่อว่า มายา เพราะอรรถว่า ลวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

ชื่อว่า ชนิกา เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ทั้งหลายให้เกิดในวัฏฏะ. สมจริง

ดังที่กล่าวไว้ว่า ตัณหาย่อมยังบุรุษให้เกิด ย่อมวิ่งเข้าสู่จิตของบุรุษนั้น.

ชื่อว่า สัญชนนี เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้เกิดประกอบไว้ด้วย

ทุกข์.

ชื่อว่า สิพฺพินี เพราะอรรถว่า ติดแน่น. เพราะตัณหานี้เย็บ

คือติดแน่นเหล่าสัตว์ไว้ในวัฏฏะ ด้วยสามารถแห่งจุติและปฏิสนธิ ดุจช่าง

เย็บ เย็บผ้าเก่าด้วยผ้าเก่า ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่า ความเย็บไว้

เพราะอรรถว่า ติดแน่น.

ชื่อว่า ชาลินี เพราะอรรถว่า มีข่ายคืออารมณ์มีประการไม่น้อย.

หรือข่ายกล่าวคือความยึดมั่นด้วยการดิ้นรนแห่งตัณหา.

ชื่อว่า สริตา เพราะอรรถว่า เป็นดังกระแสน้ำที่ไหลเร็ว เพราะ

อรรถว่า ฉุดคร่า. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สริตา เพราะอรรถว่า

เปียกชุ่ม. สมจริงดังคำที่กล่าวไว้ว่า โสมนัสทั้งหลายที่ชุ่มชื่นและประกอบ

ด้วยความรักย่อมมีแก่สัตว์เกิด. ก็ในข้อนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า ทั้งชุ่มชื่น

ทั้งน่ารัก.

ชื่อว่า สุตตะ เพราะอรรถว่า เป็นดังเส้นด้ายผูกเต่า เพราะอรรถ

ว่า ให้ถึงความฉิบหายมิใช่ความเจริญ. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า สุตฺต นี้แล เป็นชื่อของนันทิราคะ.

ชื่อว่า วิสฏา เพราะอรรถว่า แผ่ไปในรูปเป็นนี้.

ชื่อว่า อายุหนี เพราะอรรถว่า สัตว์ย่อมยังอายุให้เสื่อมไปเพื่อต้อง

การได้เฉพาะอารมณ์นั้น ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

ชื่อว่า ทุติยา เพราะอรรถว่า เป็นสหาย เพราะไม่ให้กระวน

กระวาย. ก็ตัณหานี้ย่อมไม่ให้สัตว์ทั้งหลายกระวนกระวายในวัฏฏะ, ย่อม

ให้รื่นรมย์ยิ่ง. ดังสหายรัก ในที่ที่ไปแล้ว ๆ เพราะเหตุนั้นแล ท่านจึง

กล่าวว่า :-

บุรุษมีตัณหาเป็นสหาย ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาว

นาน ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏอันเป็นอย่างนี้ไม่มีอย่างอื่น.

ชื่อว่า ปณิธิ ด้วยสามารถแห่งความตั้งมั่น.

บทว่า ภวเนตฺติ ได้แก่ เชือกเครื่องนำไปสู่ภพ. จริงอยู่สัตว์ทั้ง

หลายอันตัณหานี้นำไป เหมือนโคทั้งหลายถูกเชือกผูกคอนำไปยังที่ที่

ปรารถนาแล้ว ๆ ฉะนั้น

ชื่อว่า วนะ เพราะอรรถว่า ติด คือคบ คือชุ่มอารมณ์นั้น ๆ

ขยายบทด้วยพยัญชนะเป็น วนถะ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วนะ เพราะ

อรรถว่า เป็นราวกะป่า, ด้วยอรรถว่า ยังทุกข์อันหาประโยชน์มิได้ให้ตั้ง

ขึ้น. และด้วยอรรถว่า รกชัฏ คำนี้เป็นชื้อของตัณหาที่มีกำลัง. แต่ตัณหา

ที่มีกำลังเท่านั้นชื่อว่า วนถะ ด้วยอรรถว่า รกชัฏกว่า. เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสไว้ว่า :-

เธอทั้งหลายจงตัดป่า อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิด

แต่ป่า พวกเธอตัดป่าน้อยและป่าใหญ่แล้ว จงเป็นผู้หมด

ป่าเถิด ภิกษุทั้งหลาย.

ชื่อว่า สันถวะ ด้วยความสามารถแห่งความเชยชิด. อธิบายว่า

เกี่ยวข้อง สันถวะนั้นมี ๒ อย่าง คือ ตัณหาสันถวะ ความเชยชิดด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

ตัณหาหนึ่ง. มิตตสันถวะ ความเชยชิดด้วยไมตรีหนึ่ง. ใน ๒ อย่างนั้น

ในที่นี้ประสงค์เอาตัณหาสันถวะ.

ชื่อว่า เสน่หา ด้วยสามารถแห่งความรัก.

ชื่อว่า อเปกขา ความเพ่งเล็ง เพราะอรรถว่า เพ่งเล็งด้วยสามารถ

กระทำความอาลัย. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ

พระนครแปดหมื่นสี่พันของพระองค์เหล่านี้. มีกุสาวดีราชธานีเป็นประมุข

ขอพระองค์จงยังความพอพระราชหฤทัยให้เกิดในพระนครนี้เถิด พระเจ้า

ข้า. ขอพระองค์โปรดการทำความเพ่งเล็งในชีวิตเถิด. ก็ในข้อนี้มีเนื้อ

ความดังนี้ว่า จงกระทำความอาลัย.

ชื่อว่า ปฏิพันธา เพราะอรรถว่า ผูกพันในอารมณ์เฉพาะอย่าง ๆ

หรือผู้มีอารมณ์เฉพาะอย่างผูกพัน ด้วยอรรถว่าเป็นญาติ. ชื่อว่าพวกพ้อง

ที่เสมอด้วยตัณหาของสัตว์ทั้งหลาย แม้ด้วยอรรถว่า อาศัยเป็นนิจ ย่อม

ไม่มี.

ชื่อว่า อาสา เพราะเป็นอาหารของอารมณ์ทั้งหลาย. อธิบายว่า

เพราะท่วมทับด้วย. เพราะความพอใจไปบริโภคด้วย.

ชื่อว่า อาสิงสนา ด้วยสามารถแห่งความจำนง. ภาวะความจำนง

ชื่ออาสิงสิตัตตะ. บัดนี้ เพื่อจะแสดงฐานะที่เป็นไปของตัณหานั้น พระ

สารีบุตรเถระจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า รูปาสา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น พึงถือเอาเนื้อความของอาสาว่า ความหวัง. แล้ว

ทราบบททั้ง ๙ อย่างนี้ว่า ความหวังในรูป ชื่อว่า รูปาสา. ละในบทนี้

๕ บทแรกท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งกามคุณ ๕. ที่ ๖ กล่าวด้วยสามารถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

แห่งความโลภในบริขาร. บทที่ ๖ นั้นกล่าวสำหรับบรรพชิตเป็นพิเศษ.

๓ บทนอกนั้นกล่าวสำหรับคฤหัสถ์ ด้วยสามารถวัตถุอันไม่เป็นที่พอใจ

เพราะคฤหัสถ์ทั้งหลาย สิ่งซึ่งเป็นที่รักกว่าทรัพย์ บุตร ละชีวิตย่อมไม่มี

ชื่อว่า ชัปปา เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ทั้งหลายให้ปรารถนาอย่าง

นี้ว่า นี้ของเรา ๆ หรือว่าคนโน้นให้สิ่งนี้ ๆ แก่เรา. ๒ บทต่อไปท่านขยาย

ด้วยอุปสรรค. ข้อนั้นท่านกล่าวบท ชปฺปา อีกเพราะปรารภจะจำแนก

ความโดยอาการอย่างอื่น. อาการที่ปรารถนา ความเป็นไปแห่งความ

ปรารถนา. ภาวะที่จิตปรารถนา ชื่อว่า ชัปปิตัตตะ.

ชื่อว่า โลลุปปะ เพราะอรรถว่า หวั่นไหว คือฉุดคร่าไว้ในอารมณ์

บ่อย ๆ. ความเป็นแห่งความหวั่นไหว ชื่อว่า โลลุปปิตัตตะ.

อาการที่หวั่นไหว ความเป็นไปแห่งความหวั่นไหว ความเป็นแห่ง

ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยความหวั่นไหวชื่อว่า โลลุปปายิตัตตะ.

บทว่า ปุจฺฉญฺจิกตา ได้แก่ ตัณหา ที่เป็นเครื่องให้สัตว์ทั้งหลาย

หวั่นไหว คือหวั่นไหวเที่ยวไปในที่มีลาภ ดุจสุนัข. บทนี้เป็นชื่อแห่งตัณหา

เครื่องหวั่นไหวนั้น.

บทว่า สาธุกมฺยตา ได้แก่ ความใคร่ดี เพราะอรรถว่า ยัง

เหล่าสัตว์ให้ใคร่ในอารมณ์ที่น่าชอบใจ ๆ ดี. ควรเป็นแห่งความใคร่

ดีนั้น ชื่อว่า สาธุกัมยตา.

ชื่อว่า อธรรมราคะ เพราะอรรถว่า ความกำหนัดในฐานะไม่

สมควร มีมารดาและป้าน้าเป็นต้น. ความโลภที่เกิดขึ้นมีกำลังแม้ในฐานะ

ที่สมควร ชื่อว่า วิสมโลภ. ฉันทราคะที่เกิดขึ้นในฐานะที่สมควรก็ตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

ในฐานะที่ไม่สมควรก็ตาม พึงทราบว่า อธรรมราคะ เพราะอรรถว่า

ผิดธรรม และว่า วิสมโลภะ เพราะอรรถว่า ไม่สม่ำเสมอ.

ชื่อว่า ความใคร่ ด้วยสามารถแห่งความใคร่ในอารมณ์ทั้งหลาย.

อาการแห่งความใคร่ ชื่อว่า นิกามนา. ชื่อว่า ความมุ่งหมาย ด้วย

สามารถแห่งความมุ่งหมายวัตถุ. ชื่อว่า ความปอง ด้วยสามารถแห่ง

ความต้องการ. ความปรารถนาด้วยดี ชื่อว่า ความปรารถนาดี. ตัณหา

ในกามคุณ ๕ ชื่อว่า กามตัณหา. ตัณหาในรูปภพและอรูปภพ ชื่อว่า

ภวตัณหา. ตัณหาในความไม่มี กล่าวคือขาดสูญ ชื่อว่า วิภวตัณหา.

ตัณหาในรูปภพที่บริสุทธิ์นั่นแลชื่อว่า รูปตัณหา. ตัณหาในอรูปภพ

ชื่อว่า อรูปตัณหา ได้แก่ความกำหนัดที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ. ตัณหา

ในนิโรธ ชื่อว่า นิโรธตัณหา. ตัณหาในเสียง ชื่อว่า สัททตัณหา.

แม้ในคันธตัณหาเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. โอฆะเป็นต้น มีเนื้อความได้

กล่าวไว้แล้วแล.

ชื่อว่า อาวรณะ เพราะอรรถว่า กั้นกุศลธรรมทั้งหลาย.

ชื่อว่า ฉทนะ ด้วยสามารถเป็นเครื่องปิด.

ชื่อว่า พันธนะ เพราะอรรถว่า ผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ในวัฏฏะ.

ชื่อว่า อุปกิเลส เพราะอรรถว่า เบียดเบียนจิต เศร้าหมอง คือ

ทำให้เศร้าหมอง.

ชื่อว่า อนุสยะ เพราะอรรถว่า นอนเนื่อง ด้วยอรรถว่ามีกำลัง.

ชื่อว่า ปริยุฏฐานะ เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นครอบงำจิต. ความว่า

ยึดอาจาระที่เป็นกุศลไม่ให้เกิดขึ้น อธิบายว่า ยึดมรรคา ในข้อความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

เป็นต้นว่า พวกโจรครอบงำในบรรดา พวกนักเลงครอบงำในมรรคา.

แม้ในที่นี้ก็พึงทราบการครอบงำ ด้วยอรรถว่า ยึดด้วยอาการอย่างนี้.

ชื่อว่า ลตา เพราะอรรถว่า เป็นดังเถาวัลย์ ด้วยอรรถว่า พัวพัน

แม้ในอาคตสถานว่า ตัณหาก่อความยุ่งยากตั้งอยู่ดังนี้ ตัณหานี้ท่านก็

กล่าวว่า ลตา เหมือนกัน.

ชื่อว่า เววิจฉะ เพราะอรรถว่า ปรารถนาวัตถุต่าง ๆ.

ชื่อว่า ทุกขมูล เพราะอรรถว่า เป็นมูลแห่งทุกข์ในวัฏฏะ.

ชื่อว่า ทุกขนิทาน เพราะอรรถว่า เป็นเหตุแห่งทุกข์นั้นแล.

ชื่อว่า ทุกขปภวะ แดนเกิดแห่งทุกข์ เพราะอรรถว่า ทุกข์นั้นเกิด

แต่ตัณหานี้.

ชื่อว่า ปาสะ เพราะอรรถว่า เป็นดุจบ่วง ด้วยอรรถว่า ผูกไว้,

บ่วงแห่งมาร ชื่อว่า มารปาสะ.

ชื่อว่า พฬิสะ เพราะอรรถว่า เหมือนเบ็ด ด้วยอรรถว่า

กลืนยาก, เบ็ดแห่งมาร ชื่อว่า มารพฬิสะ.

ชื่อว่า มารวิสัย เพราะอรรถว่า เป็นวิสัยแห่งมาร โดยปริยาย

นี้ว่า สัตว์ทั้งหลายที่ถูกตัณหาครอบงำแล้ว ย่อมไม่ล่วงพ้นวิสัยของมาร

ไปได้ มารย่อมใช้อำนาจเหนือสัตว์เหล่านั้น.

แม่น้ำคือตัณหา ชื่อว่า ตัณหานที ด้วยอรรถว่า ไหลไป. ข่าย

คือตัณหา ชื่อว่า ตัณหาชาละ ด้วยอรรถว่า ท่วมทับ. สุนัขทั้งหลาย

ที่ผูกไว้แน่น คนนำไปตามปรารถนาได้ ฉันใด สัตว์ทั้งหลายที่ตัณหาผูกไว้

ก็ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

ชื่อว่า คัททละ เพราะอรรถว่า เป็นเหมือนโซ่ผูกสุนัข ด้วยอรรถ

ว่า ผูกไว้แน่น. โซ่ผูกสุนัข คือตัณหา ชื่อว่า ตัณหาคัททละ.

ทะเลคือตัณหา ชื่อว่า ตัณหาสมุทร ด้วยอรรถว่า ให้เต็มได้ยาก.

ชื่อว่า อภิชฌา ด้วยอรรถว่า เพ่งเล็ง. ชื่อว่า โลภะ เพราะอรรถว่า

เป็นเครื่องได้ หรือได้เอง หรือสักว่าได้เท่านั้น. ชื่อว่า มูละ ด้วย

อรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งอกุศลทั้งหลายที่ประกอบกัน.

บทว่า วิสตฺติกา ได้แก่ ชื่อว่าซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ.

บทว่า เกนตฺเถน ได้แก่ ด้วยสภาวะอะไร.

บทว่า วิสตา ได้แก่ แผ่ไปแล้ว.

ชื่อว่า วิสาล เพราะอรรถว่า แผ่ไปในอารมณ์มีรูปเป็นต้น.

ชื่อว่า วิสฏา เพราะอรรถว่า แล่นไป ด้วยสามารถซ่านไปทุก

แห่งในภูมิ ๓ ก็คำแรกนี้ ท่านกล่าวจำแนกพยัญชนะ แปลง ต อักษร

เป็น ฏ อักษร.

บทว่า วิสกฺกติ ได้แก่ ปกครอง คือ อดทน ก็คนที่กำหนัด

แม้ถูกกระทบด้วยเท้าอันเป็นวัตถุแห่งราคะ ย่อมอดทนได้ ท่านกล่าว

ความซักช้า หรือความดิ้นรน ว่า วิสกฺกน ก็มี อาจารย์บางพวกพรรณนา

ว่า เป็นใหญ่ของกุศลและอกุศลทั้งหลาย.

บทว่า วิสหรติ ความว่าเห็นอานิสงส์ในกามทั้งหลายอย่างนั้น ๆ

รวบรวม คือ เปลี่ยนจิตจากที่เป็นไปมุ่งเนกขัมมะ ด้วยอาการหลายอย่าง

อีกอย่างหนึ่ง ความว่า นำความทุกข์ที่มีพิษไปเสีย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

บทว่า วิสวาทิกา ความว่า เป็นเหตุให้พูดผิดว่าท่านจงยึดถือของ

ที่ไม่เที่ยงเป็นต้น ว่าเป็นของเที่ยง.

ชื่อว่า วิสมูลา มีมูลรากเป็นพิษ เพราะความเป็นเหตุแห่งกรรม

ที่ให้เกิดทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิสมูลา เพราะอรรถว่า มีทุกข์ที่มีพิษ

คือ เวทนาที่เป็นทุกข์เป็นต้น เป็นมูลราก.

ชื่อว่า วิสผลา มีผลเป็นพิษ เพราะอรรถว่า มีผลเป็นพิษเพราะ

เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ การบริโภคสิ่งที่เป็นทุกข์มีรูปเป็นต้น ซึ่งไม่ใช่

อมตะ. ย่อมมีด้วยตัณหาใด เหตุนั้น ตัณหานั้นท่านจึงกล่าวว่า วิสปริ-

โภคา บทที่สำเร็จรูปในที่ทั้งปวง พึงทราบตามหลักภาษา.

พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงวิสัยแห่งตัณหานั้น จึงกล่าวคำ.

เป็นต้นว่า อีกอย่างหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไปในรูป ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสาลา วา ปน ได้แก่ ชื่อว่า

ตัณหา ด้วยอรรถว่า เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่นั่นเอง. รูปเป็นต้นท่าน

กล่าวด้วยสามารถแห่งความกำหนัด ที่เป็นไปในกามคุณ ๕ บท. ๑๑ บท มี

บทว่า กุเล คเณ เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งความเกิดขึ้นแห่ง

ความโลภ.

ติกะแห่งกามธาตุ ท่านจำแนกด้วยสามารถแห่งกรรมวัฏฏ์.

ติกะแห่งกามภพ จำแนกด้วยสามารถแห่งวิปากวัฏฏ์.

ติกะแห่งสัญญาภพ จำแนกด้วยสามารถแห่งสัญญา

ติกะแห่งเอกโวการภพ จำแนกด้วยสามารถแห่งขันธ์.

ติกะแห่งอดีต จำแนกด้วยสามารถแห่งกาล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

จตุกะแห่งทิฏฐธรรม จำแนกด้วยสามารถแห่งอารมณ์.

ติกะแห่งอบาย จำแนกด้วยสามารถแห่งโอกาส.

ติกะแห่งขันธ์ จำแนกด้วยสามารถแห่งนิสสัตตะนิชชีวะ พึงทราบ

ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น. มีการแสดงเนื้อความ และการขยายเนื้อความโดย

สังเขป ดังต่อไปนี้ :-

บรรดาบทเหล่านั้น กามธาตุเป็นไฉน ? การที่ท่องเที่ยวไปใน

ระหว่างนี้คือเบื้องต่ำมีนรกอเวจีเป็นที่สุด เบื้องบนมีสวรรค์ชั้นปรนิมมิต-

วสวัตดีเป็นที่สุด ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ ที่นับเนื่องในกามาพจรนี้ นี้เรียกว่า กามธาตุ.

บรรดาบทเหล่านั้น รูปธาตุเป็นไฉน ? รูปธาตุที่ท่องเที่ยวไปใน

ระหว่างนี้ คือเบื้องต่ำมีพรหมโลกเป็นที่สุด เบื้องบนมีสวรรค์ชั้นอกนิษฐ์

เป็นที่สุด ธรรมคือจิตและเจตสิกของผู้เข้าฌานก็ดี ของผู้สำเร็จแล้วก็ดี

ของผู้มีสุขวิหารธรรมในปัจจุบันก็ดี ที่นับเนื่องในรูปาพจรนี้ นี้เรียกว่า

รูปธาตุ.

บรรดาบทเหล่านั้น อรูปธาตุเป็นไฉน ? อรูปธาตุที่ท่องเที่ยวไปใน

ระหว่างนี้คือเบื้องต่ำมีสวรรค์ชั้นอากาสานัญจายตนะเป็นที่สุด เบื้องบนมี

สวรรค์ชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นที่สุด ธรรมคือจิตและเจตสิกของผู้

เข้าฌาณก็ดี ของผู้สำเร็จแล้วก็ดี ของผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบันก็ดี ที่นับ

เนื่องในอรูปาพจรนี้ นี้เรียกว่า อรูปธาตุ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า บทว่า กามธาตุ ได้แก่ขันธ์ ๕ ใน

กามภพ. บทว่า รูปธาตุ ได้แก่ขันธ์ ๕ ในรูปภพ. บทว่า อรูปธาตุ

ได้แก่ขันธ์ ในอรูปภพ ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ธาตุที่ประกอบด้วยกามกล่าวคือกามภพ ชื่อว่ากาม

ธาตุ. หรือธาตุกล่าวคือกาม ชื่อว่า กามธาตุ. ธาตุที่ละกามประกอบด้วย

รูป ชื่อว่า รูปธาตุ, หรือธาตุกล่าวคือรูป ชื่อว่ารูปธาตุ. ธาตุที่ละทั้ง

กามและรูปประกอบด้วยอรูปชื่อว่า อรูปธาตุ. หรือธาตุกล่าวคืออรูป

ชื่อว่า อรูปธาตุ.

ธาตุเหล่านั้นแหละ ท่านกล่าวไว้โดยปริยายแห่งภพอีก ก็ท่านเรียก

ว่าภพ เพราะอรรถว่า เป็นอยู่. ภพที่ประกอบด้วยสัญญา ชื่อว่า สัญญา

ภพ, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัญญาภพ เพราะอรรถว่า ภพของผู้มีสัญญา

หรือสัญญามีอยู่ในภพนี้. สัญญาภพนั้น เป็นกามภพด้วย เป็นรูปภพที่พ้น

จากอสัญญาภพด้วย เป็นอรูปภพที่พ้นจากเนวสัญญานาสัญญาภพด้วย.

ภพที่ไม่ใช่สัญญาภพ ชื่อว่า อสัญญาภพ อสัญญาภพนั้น เป็น

เอกเทศแห่งรูปภพ.

ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา เพราะอรรถว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ เพราะ

ไม่มีความเป็นแห่งโอฬาร. ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เพราะมีสภาวะเป็นของ

ละเอียด. ภพที่ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญานั้น ชื่อว่า เนวสัญญา

นาสัญญาภพ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เนวสัญญาสัญญาภพ เพราะ

อรรถว่าในภพนี้มีเนวสัญญานาสัญญา เพราะไม่มีสัญญาอันโอฬาร และ

เพราะมีสัญญาอันละเอียด เนวสัญญานาสัญญาภพนั้น เป็นเอกเทศแห่ง

อรูปภพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

ชื่อว่า เอกโวการภพ เพราะอรรถว่า ภพที่เกลื่อนไปด้วยรูปขันธ์

หนึ่ง หรือภพนั้นมีโวการหนึ่ง. เอกโวการภพนั้น ก็คืออสัญญาภพนั่นเอง.

ชื่อว่า จตุโวการภพ เพราะอรรถว่า ภพที่เกลื่อนไปด้วยอรูปขันธ์ ๔

หรือภพนั้นมีโวการ ๔, จตุโวการภพนั้น ก็คืออรูปภพนั้นเอง.

ชื่อว่า ปัญจโวการภพ เพราะอรรถว่า ภพที่เกลื่อนไปด้วยขันธ์ ๕

หรือภพนั้นมีโวการ ๕, ปัญจโวการภพนั้น เป็นกามภพด้วย เป็นเอกเทศ

แห่งรูปภพด้วย. ติกะแห่งอดีตมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

บทว่า ทิฏฺ ได้แก่ รูปารมณ์ที่มีสมุฏฐาน ๔.

บทว่า สุต ได้แก่ สัททารมณ์ที่มีสมุฏฐาน ๒.

บทว่า มุต ได้แก่ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ที่มี

สมุฏฐาน ๔ ซึ่งบุคคลรู้แล้วพึงถือเอา.

ธรรมารมณ์ที่พึงรู้ด้วยใจ ชื่อว่า วิญญาตัพพะ. ในธรรม

ทั้งหลายที่เห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว และพึงรู้แจ้งเหล่านั้น.

บทว่า วิสฏา วิตฺถตา ความว่า แผ่ไปมาก.

บทว่า อปายโลเก ได้แก่ ชื่อว่า อบาย เพราะไม่มีความ

รุ่งเรือง กล่าวคือความเจริญ. ในอบายโลกนั้น.

บทว่า ขนฺธโลเก ได้แก่ ขันธ์ ๕ มีรูปเป็นต้นนั่นแล ชื่อว่า

โลก ด้วยอรรถว่าเป็นกอง.

บทว่า ธาตุโลเก ได้แก่ ธาตุ ๑๘ มีจักขุธาตุเป็นต้นนั่นแล ชื่อ

ว่า โลก ด้วยอรรถว่า ว่างเปล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

บทว่า อายตนโลเก ได้แก่ อายตนะ ๑๒ นั้นแล ชื่อว่า โลก

ด้วยเหตุมีอายตนะเป็นต้น. ทั้งหมดชื่อว่าโลก ด้วยอรรถว่า สลาย. ตัณหา

ชื่อว่า วิสัตติกา เพราะอรรถว่า แล่นไป ซ่านไป ในโลกมีประการ

ดังกล่าวแล้ว.

บทว่า สโต ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ เพราะอรรถว่า ระลึก

ได้. ท่านกล่าวสติโดยเป็นบุคคล สติในบทนั้น มีความระลึกได้เป็น

ลักษณะ. ชื่อว่า สติ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องระลึกได้ของเหล่าสัตว์.

หรือระลึกได้เอง. หรือเพียงระลึกเท่านั้น. ก็สตินี้นั้น มีการทำซ้ำ ๆ เป็น

ลักษณะ, มีความไม่ลืมเป็นรส, มีการรักษาเป็นปัจจุปัฏฐาน หรือมีภาวะ

มุ่งอารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน, มีความจำมั่นเป็นปทัฏฐาน, หรือมีสติ

ปัฏฐาน มีกายเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน พึงเห็นว่าเหมือนเสาระเนียด เพราะ

ตั้งมั่นในอารมณ์. และเหมือนนายประตู เพราะรักษาจักขุทวารเป็นต้น.

พระสารีบุตรเถระเมื่อแสดงฐานะความเป็นไปของสตินั้น กล่าวสติ-

ปัฏฐาน ๔ อย่าง โดยนัยเป็นต้นว่า เมื่อเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานใน

กาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเย ได้แก่ ในรูปกาย. จริงอยู่ รูป

กายท่านประสงค์เอาว่า กาย ด้วยอรรถว่า หมู่แห่งอวัยวะน้อยใหญ่ มี

ผมเป็นต้น, และแห่งธรรมทั้งหลาย ดุจหมู่ช้างหมู่รถเป็นต้น. ด้วยอรรถ

ว่าหมู่ฉันใด. ด้วยอรรถว่าประชุมแห่งสิ่งน่าเกลียด ก็ฉันนั้น. ชื่อว่า กาย

เพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุมแห่งสิ่งน่าเกลียด ซึ่งน่ารังเกียจอย่างยิ่ง ดังนี้

ก็มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

ประเทศเป็นที่เกิดขึ้น ชื่อว่า อายะ. ในบทนั้นมีเนื้อความของคำ

ดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่า อายะ เพราะอรรถว่า ประชุมกันในที่นั้น, อะไร

ประชุมกัน ? สิ่งน่าเกลียดมีผมเป็นต้นประชุมกัน. ชื่อว่า กาย เพราะอรรถ

ว่า เป็นที่ประชุมแห่งสิ่งน่าเกลียด ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า กายานุปสฺสนา ได้แก่ การพิจารณากาย. พึงทราบว่า แม้

ท่านกล่าวว่า กาเย ได้แล้ว ก็ยังกระทำศัพท์ว่า กาย ที่สอง ในบทว่า

กายานุปสฺสนา ไว้อีก เพื่อแสดงการแยกฆนสัญญาด้วยการกำหนด

โดยไม่ระคนกัน. เหตุนั้น ท่านจึงไม่แสดงว่า กาเย เวทนานุปสฺสนา

การพิจารณาเวทนาในกาย, หรือว่า กาเย จิตฺตธมฺมานุปสฺสนา

การพิจารณาจิตและธรรมในกาย. ที่แท้ท่านแสดงการกำหนดโดยไม่ระคน

กันด้วยการแสดงอาการพิจารณากาย ในวัตถุกล่าวคือกายว่า กายานุปัสสนา

เท่านั้น. อนึ่ง ไม่ใช่เป็นการพิจารณาธรรมอย่างหนึ่งที่พ้นจากอวัยวะน้อย

ใหญ่ในกาย. ทั่งไม่ใช่เป็นการพิจารณาสตรีและบุรุษที่พ้นจากอวัยวะที่ผม

และขนเป็นต้น.

ก็กายแม้ใดกล่าวคือหมู่แห่งมหาภูตรูปและอุปาทายรูป มีผมและขน

เป็นต้นในที่นี้ ในกายแม้นั้น พระสารีบุตรเถระเมื่อแสดงโดยประการต่าง ๆ

ของวัตถุกล่าวคือกาย, เป็นอันท่านแสดงการแยกฆนสัญญาด้วยสามารถแห่ง

หมู่นั่นแลว่า ไม่ใช่เป็นการพิจารณาธรรมอย่างหนึ่ง ที่พ้นจากมหาภูตรูป

และอุปาทายรูป ที่แท้เป็นการพิจารณาหมู่อวัยวะน้อยใหญ่, ดุจการพิจารณา

ของผู้พิจารณาเครื่องรถ เป็นการพิจารณาหมู่แห่งผมและขนเป็นต้น

ดุจการพิจารณาของผู้พิจารณาเครื่องปรุงแต่งพระนคร เป็นการพิจารณาหมู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

แห่งมหาภูตรูปและอุปาทายรูปทีเดียว ดุจการพิจารณาของผู้แยกลำต้น ใบ

และกาบของต้นกล้วย และดุจของผู้แทงตลอดกำมือที่ว่างเปล่า. ก็ธรรม

อะไร ๆ เป็นกายก็ตาม สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม หรืออย่างอื่นก็ตามที่พ้น

จากหมู่ตามที่กล่าวแล้ว ย่อมไม่ปรากฏในที่นี้. แต่สัตว์ทั้งหลายย่อมกระทำ

ซึ่งการยึดผิดอย่างนั้น ๆ ในสิ่งสักว่าหมู่แห่งธรรมตามที่กล่าวแล้วนั่นแล.

ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า :-

บุคคลย่อมเห็นสิ่งใด สิ่งนั้นชื่อว่าเห็นแล้วก็

หาไม่ สิ่งใดอันเขาเห็นแล้ว บุคคลชื่อว่าย่อมไม่เห็นสิ่ง

นั้น เมื่อไม่เห็นอยู่ ย่อมติด เมื่อติดก็หลงอยู่ ย่อมพ้นไป

ไม่ได้.

ก็เนื้อความแม้นี้ในที่นี้ พึงทราบด้วยอาทิศัพท์ที่กล่าวไว้ว่า เพื่อ

แสดงการแยกหมู่เป็นอาทิดังนี้ และการพิจารณากายในกายนี้นั่นแล ไม่

ใช่การพิจารณาธรรมอื่น. ท่านอธิบายไว้อย่างไร ? ท่านอธิบายไว้ว่า :-

การพิจารณาน้ำในพยับแดดแม้ไม่มีน้ำ ฉันใด การพิจารณาว่าเป็นของ

เที่ยงเป็นสุข เป็นอัตตาและงาม ในกายนี้ซึ่งเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

และไม่งามนั้นแล ฉันนั้นหามิได้. ที่แท้การพิจารณากาย ก็คือการ

พิจารณาหมู่แห่งอาการที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และไม่งามนั่นเอง.

อีกอย่างหนึ่ง กายนี้ใดเกิดแต่สิ่งละเอียด มีลมหายใจออกลมหายใจ

เข้าเป็นต้น มีกระดูกเป็นที่สุดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐาน

โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ป่าก็ตาม

ฯลฯ เธอเป็นผู้มีสติหายใจออกอยู่ ดังนี้. และกายใดที่พระสารีบุตรเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

กล่าวไว้ในสติปัฏฐานกถา ในปฏิสัมภิทามรรค ขุททกนิกาย ว่าบุคคล

บางคนในโลกนี้พิจารณากายคือดิน กายคือน้ำ กายคือไฟ กายคือลม

กายคือผม กายคือขน กายคือผิว กายคือหนัง กายคือเนื้อ กายคือเลือด

กายคือเอ็น กายคือกระดูก กายคือเยื่อในกระดูก โดยความเป็นของไม่

เที่ยงดังนี้. พึงทราบเนื้อความของกายนั้นทั้งหมดแม้อย่างนี้ว่า เป็นการ

พิจารณากาย โดยการพิจารณาในกายนี้เท่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า การพิจารณากายกล่าว

คือหมู่แห่งผมเป็นต้นในกาย โดยการพิจารณาหมู่แห่งธรรมต่าง ๆ มีผม

และขนเป็นต้นนั้น ๆ แหละ ไม่พิจารณาอะไร ๆ ที่จะพึงยึดถือในกายอย่าง

นี้ว่าเรา หรือว่าของเรา. อนึ่งพึงทราบเนื้อความแม้อย่างนี้ว่า การ

พิจารณากายในกาย แม้โดยการพิจารณากายกล่าวคือหมู่แห่งอาการมี

อนิจจลักษณะเป็นต้นทั้งหมดทีเดียว ซึ่งมีนัยอันมาแล้วในปฏิสัมภิทามรรค

ตามลำดับเป็นต้นว่า ย่อมพิจารณาในกายนี้โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่

พิจารณาโดยความเป็นของเที่ยง ดังนี้ ก็เนื้อความนี้ ทั่วไปแก่สติปัฏฐาน

ทั้ง ๔.

บทว่า สติปฏฺาน ได้แก่สติปัฏฐาน ๓ อย่าง คือสติโคจร ๑

ความที่พระศาสดาเป็นผู้ประพฤติล่วงความยินดียินร้ายในหมู่พระสาวกผู้

ปฏิบัติ ๓ อย่าง ๑ ตัวสติ ๑. ก็อารมณ์ของสติ เรียก สติปัฏฐาน. ในข้อ

ความเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับ

แห่งสติปัฏฐาน ๔ พวกเธอจงฟังข้อนั้น จงใส่ใจให้ดี ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย กายเกิดอย่างไร, กายเกิดเพราะอาหารเกิด ดังนี้. แม้ในข้อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

ความเป็นต้นว่า การตั้งขึ้น คือกาย ไม่ใช่สติ, สติเป็นทั้งการตั้งขึ้น

เป็นทั้งสติ ดังนี้ก็เหมือนกัน ข้อนั้นมีเนื้อความดังนี้ ชื่อว่าปัฏฐาน

เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้ง. อะไรตั้ง ? สติตั้ง ที่ตั้งแห่งสติ ชื่อว่า

สติปัฏฐาน.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ตั้งคือเริ่มตั้ง. ที่ตั้งแห่งสติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน

ดุจที่ตั้งแห่งช้างที่ตั้งแห่งม้าเป็นต้น. เพราะความที่แห่งพระศาสดาเป็นผู้

ประพฤติล่วงความยินดียินร้ายในหมู่พระสาวกผู้ปฏิบัติ ๓ อย่าง ท่านจึง

กล่าวว่าสติปัฏฐาน ในที่นี้ว่าพระศาสดาผู้อริยะเสพธรรมใด ธรรมนั้น

คือสติปัฏฐาน ๓ ก็เมื่อเสพธรรมนั้นอยู่จึงควรเพื่อจะตามสอนหมู่ศิษย์ดังนี้.

ข้อนั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่าปัฏฐาน เพราะพึงให้ตั้ง

ความว่า พึงให้เป็นไป อะไรตั้ง ? สติตั้ง, ที่ตั้งแห่งสติชื่อว่า สติปัฏฐาน.

ก็และสตินั่นแลท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน. ในข้อความเป็นต้นว่า สติ-

ปัฏฐาน ๔ ที่บุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้วย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์

ดังนี้.

ข้อนั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า

ตั้งอยู่. ความว่า ตั้งมั่น คือ แล่นติดต่อกันเป็นไป. สตินั่นแหละชื่อว่า

สติปัฏฐาน อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าสติ ด้วยอรรถว่าระลึกได้. ชื่อว่า

ปัฏฐาน ด้วยอรรถว่า ตั้งไว้มั่น. สตินั้นด้วย ตั้งไว้มั่นด้วย เหตุนั้น

จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน ด้วยประการฉะนี้. ในที่นี้ท่านประสงค์ความข้อนี้

คือสติปัฏฐานนั้น.

บทว่า ภาเวนฺโต ได้แก่ เจริญอยู่. ก็ในที่นี้คำใดอันท่านกล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

แล้วว่า สติปัฏฐาน เพราะความที่พระศาสดาประพฤติล่วงความยินดี

ยินร้ายในเหล่าสาวกผู้ปฏิบัติโดยส่วนสาม, คำนั้นพึงถือเอาตามสูตรนี้

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พระศาสดาผู้อริยะเสพธรรมใด

ธรรมนั้นคือสติปัฏฐาน ๓ ก็เมื่อเสพธรรมนั้นอยู่จึงควรเพื่อจะตามสอนหมู่

ศิษย์ดังนี้ ก็คำนี้ท่านได้กล่าวไว้แล้วด้วยประการฉะนั้นและก็ท่านกล่าวคำนี้

เพราะอาศัยอะไร ? เพราะอาศัยคำนี้ว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศาสดาในศาสนานี้แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย

เป็นผู้อนุเคราะห์แสวงประโยชน์เกื้อกูล. อาศัยความอนุเคราะห์แสดง

ธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์เกื้อกูลของพวกเธอ, นี้เพื่อ

ความสุขของพวกเธอดังนี้. เหล่าสาวกของศาสดานั้น ไม่ปรารถนาฟัง,

ไม่เงี่ยโสตสดับ, ไม่ตั้งใจจะรู้ และหลีกไปเสียจากคำสอนของศาสดา. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลายในเรื่องนั้น ตถาคตจะยินร้ายก็หามิได้. จะเสวยความยินร้าย

ก็หามิได้. ไม่ซูบซีดมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นสติ

ปัฏฐานข้อที่ ๑.

ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดา ฯลฯ นี้

เพื่อความสุขของพวกเธอดังนี้. สาวกบางพวกของศาสดานั้น ไม่ปรารถนา

ฟัง ฯลฯ สาวกบางพวกปรารถนาฟัง ฯลฯ และไม่หลีกไปเสียจากคำ

สอนของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ตถาคตจะยินร้ายก็หา

มิได้, จะเสวยความยินร้ายก็หามิได้, จะยินดีก็หามิได้, จะเสวยความยินดี

ก็หามิได้, สละวางเสียซึ่งความยินร้ายและความยินดีทั้งสองอย่าง, เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

วางเฉยมีสติสัมปชัญญะอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นสติปัฏฐานข้อ

ที่ ๒.

ฯลฯ ข้ออื่นยังมีอีก ฯลฯ นี้เพื่อความสุขของพวกเธอดังนี้. สาวก

ทั้งหลายของศาสดานั้น ปรารถนาจะฟัง ฯลฯ ไม่หลีกไปเสียจากคำสอน

ของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ตถาคตย่อมยินดี, และ

เสวยความยินดี ทั้งไม่ซูบซีดมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้เป็น

สติปัฏฐานข้อที่ ๓.

ความไม่ซูบซีดเพราะความยินร้ายและความยินดีทั้งหลาย และความ

ล่วงพ้นความยินร้ายและความยินดีทั้งสองนั้นเพราะมีสติตั้งมั่นเป็นนิจอย่าง

นี้ท่านกล่าวว่าสติปัฏฐาน ด้วยประการฉะนี้.

ได้ยินว่า ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่นเป็นนิจ มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เท่านั้น มิได้มีแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น แล.

ก็ในการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในเวทนาทั้งหลายเป็นต้น.

พึงทราบว่าต้องประกอบคำว่าเวทนาเป็นต้น เข้ากับคำว่า อนุปัสสนา

ตามที่ควรประกอบโดยนัยที่ กล่าวแล้วในกายานุปัสสนานั่นแล. เนื้อความ

แม้นี้ก็เป็นเนื้อความทั่ว ๆ ไป, คือ การพิจารณาเวทนาอย่างหนึ่ง ๆ ใน

เวทนาหลายประเภท มีสุขเวทนาเป็นต้น. โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็น

ต้นเป็นอย่าง ๆ.

การพิจารณาจิตอย่างหนึ่ง ๆในจิต ๑๖ ประเภท มีสราคจิตเป็นต้น.

โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นเป็นอย่าง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

การพิจารณาธรรมอย่างหนึ่ง ๆ ในธรรมที่เป็นไปในภูมิสามที่เหลือ

นอกจากกายเวทนาและจิต. โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นเป็นอย่าง ๆ

การพิจารณาธรรมมีนิวรณ์เป็นต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในสติปัฏฐานสูตร.

และในที่นี้.

เอกวจนะในบทว่า กาเย เพราะสรีระเป็นหนึ่ง.

เอกวจนะในบทว่า จิตเต เพราะจิตเป็นหนึ่ง.

พึงทราบว่าท่านทำด้วยชาติศัพท์ เพราะมีสภาวะไม่แตกต่างกัน.

อนึ่ง พึงทราบการพิจารณาเหมือนอย่างเวทนาเป็นต้นที่พึงพิจารณา

ว่า การพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย, การพิจารณาจิตในจิต, การ

พิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย ก็เวทนาพึงพิจารณาอย่างไร ?

พึงพิจารณาสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ก่อน.

พึงพิจารณาทุกขเวทนาโดยความเป็นดังลูกศร.

พึงพิจารณาอทุกขมสุขเวทนา โดยความเป็นของไม่เที่ยง เหมือน

อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

ภิกษุใดได้เห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ ได้เห็นทุกข์

โดยความเป็นดังลูกศร. ได้เห็นอทุกขมสุขซึ่งมีอยู่นั้น

โดยความเป็นของไม่เที่ยง. ภิกษุนั้นแลเป็นผู้เห็นชอบ.

ย่อมกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายได้.

อนึ่ง เวทนาเหล่านั้นทั้งหมดนั่นเทียว พึงพิจารณาแม้โดยความเป็น

ทุกข์. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า :- เรากล่าวเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง

ทั้งหมดนั้นว่าเป็นทุกข์ พึงพิจารณาสุขเวทนา แม้โดยความเป็นทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า สุขเวทนา เป็นสุขเพราะดำรงอยู่. เป็นทุกข์

เพราะแปรปรวนไป. ทุกขเวทนา เป็นทุกข์เพราะดำรงอยู่. เป็นสุข

เพราะแปรปรวนไป. อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้. เป็นทุกข์

เพราะไม่รู้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงพิจารณาด้วยสามารถแห่งการพิจารณาสัตว์โดย

ความเป็นอนิจจังเป็นต้น แม้ในจิตและธรรมทั้งหลาย. พึงพิจารณาจิต

ก่อน ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาสัตว์โดยความเป็นอนิจจังเป็นต้น ซึ่ง

มีความแตกต่างกันโดยอารมณ์, อธิบดี, สหชาตะ, ภูมิ, กรรม, และ

กิริยาเป็นต้นแห่งจิต ๑๖ ประเภท มีสราคจิตเป็นต้น. พึงพิจารณาธรรม

ทั้งหลายด้วยสามารถแห่งสุญญตธรรมของผู้ที่เป็นไปกับด้วยลักษณะและมี

สามัญญลักษณะ และแห่งการพิจารณาสัตว์โดยความเป็นอนิจจังเป็นต้น

ที่มีอยู่และไม่มีอยู่เป็นต้น.

สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ย่อมได้ในจิตต่าง ๆ ในส่วนเบื้องต้น. ด้วยว่า

บุคคลย่อมกำหนดกายด้วยจิตดวงหนึ่ง, กำหนดเวทนาทั้งหลายด้วยจิตอีก

ดวงหนึ่ง. กำหนดจิตด้วยจิตอีกดวงหนึ่ง, กำหนดธรรมทั้งหลายด้วยจิต

อีกดวงหนึ่ง. แต่ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค ย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น.

ดังนั้น สติที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนาของผู้ที่กำหนดกายมาแต่ต้น จึง

ชื่อว่ากายานุปัสสนา, บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินั้น ชื่อว่ากายานุปัสสี.

สติ ที่สัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคของผู้ที่ขวนขวายเจริญ

วิปัสสนาบรรลุอริยมรรคแล้ว ชื่อว่า กายานุปัสสนา, บุคคลผู้ประกอบ

ด้วย สติ นั้น ชื่อว่า กายานุปัสสี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

สติ ที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนา ของผู้ที่กำหนดเวทนา กำหนดจิต

กำหนดธรรมทั้งหลายมาแล้ว ชื่อว่า ธรรมานุปัสสนา, บุคคลผู้ประกอบ

ด้วย สติ นั้น ชื่อว่า ธรรมานุปัสสี.

สติ ที่สัมปยุตด้วยมรรคในมรรคขณะ ของผู้ที่ขวนขวายเจริญ

วิปัสสนาบรรลุอริยมรรคแล้ว ชื่อว่า ธรรมานุปัสสนา, บุคคลผู้ประกอบ

ด้วย สติ นั้น ชื่อว่า ธรรมานุปัสสี. เทศนาเป็นบุคคลาธิษฐานเท่านี้

ก่อน.

สติ กำหนดกาย ละสุภสัญญาวิปลาส ย่อมสำเร็จได้ด้วยมรรค

ดังนั้นจึงชื่อว่า กายานุปัสสนา.

สติ กำหนดเวทนา ละสุขสัญญาวิปลาส ย่อมสำเร็จได้ด้วยมรรค

ดังนั้น จึงชื่อว่า เวทนานุปัสสนา.

สติ กำหนดจิต ละนิจจสัญญาวิปลาส ย่อมสำเร็จได้ด้วยมรรค

ดังนั้น จึงชื่อว่า จิตตานุปัสสนา.

สติ กำหนดธรรม ละอัตตสัญญาวิปลาส ย่อมสำเร็จได้ด้วยมรรค

ดังนั้น จึงชื่อว่า ธรรมมานุปัสสนา.

สติที่สัมปยุตด้วยมรรคอย่างเดียวนั่นแล ย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง ด้วย

อรรถว่ายังกิจ ๔ ให้สำเร็จ. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ในขณะแห่ง

โลกุตตรมรรค สติปัฏฐาน ๔ ย่อมได้ในจิตดวงเดียวนั่นเอง. ท่านกล่าว

จตุกกะ ๓ อื่น ๆ ด้วยสามารถอุปการะ. ไม่เสื่อม และคุณ อีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสติปริวชฺชนาย ความว่า ไม่มี

สติ ชื่อว่า อสติ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อสติ เพราะอรรถว่า สติไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

มีในผู้นี้. คำว่า อสติ นี้ เป็นชื่อของสติที่ลืมแล้ว. บทว่า ปริวชฺชนาย

ได้แก่ เพราะการเว้นโดยรอบ. สติย่อมเกิดขึ้นเพราะการเว้นบุคคลผู้มีสติ

อันลืมแล้วเช่นกาวางก้อนข้าว, เพราะคบบุคคลผู่มีสติตั้งมั่น, และเพราะ

ความเป็นผู้มีจิตน้อมไป โน้มไป เงื้อมไป เพื่อให้สติตั้งขึ้นพร้อมในการ

ยืนและการนั่งเป็นต้น.

บทว่า สติกรณียาน ธมฺมาน ได้แก่ ธรรมทั้งหลายที่ควรทำ

ด้วยสติ.

บทว่า กตตฺตา ได้แก่ เพราะความเป็นผู้กระทำ อธิบายว่า เพราะ

ความเป็นผู้กระทำ คือเจริญมรรค ๔.

บทว่า สติปฏิปกฺขาน ธมฺมาน หตตฺตา ได้แก่ เพราะความ

เป็นผู้ทำให้กามฉันทะเป็นต้นพินาศ.

บทว่า สตินิมิตฺตาน ธมฺมาน อปมุฏฺตฺตา ได้แก่ เพราะ

ความเป็นผู้ไม่เสียอารมณ์ทางกายเป็นต้น ที่เป็นเหตุแห่งสติ.

บทว่า สติยา สมนฺนาคตตฺตา ได้แก่ เพราะความเป็นผู้มา คือ

ไม่เสื่อมจากธรรมทั้งหลายด้วยสติ.

บทว่า วสิตตฺตา ได้แก่ ถึงความชำนาญ.

บทว่า ปาคุญฺตาย ได้แก่ เพราะความคล่องแคล่ว.

บทว่า อปจฺโจโรหณตาย ได้แก่ เพราะความไม่หวนกลับ คือ

เพราะความไม่ถอยหลังกลับ.

บทว่า สตตฺตา ได้แก่ เพราะมีอยู่โดยสภาวะ.

บทว่า สนฺตตฺตา ได้แก่ เพราะมีสภาวะดับ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

บทว่า สมิตตฺตา ได้แก่ เพราะความเป็นผู้ระงับกิเลสทั้งหลายได้.

บทว่า สนฺตธมฺมสมนฺนาคตตฺตา ได้แก่ เพราะเป็นผู้ไม่เสื่อม

จากธรรมของสัตบุรุษ. พุทธานุสสติเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง

นั้นแล.

ชื่อว่า สติ ด้วยสามารถระลึกได้, นี้เป็นบทแสดงสภาวะของสติ.

ชื่อว่า อนุสสติ ด้วยสามารถระลึกถึง โดยระลึกบ่อย ๆ.

ชื่อว่า ปฏิสฺสติ ด้วยสามารถระลึกเฉพาะ. โดยระลึกราวกะมุ่ง

หน้าไป. หรือบทนี้เป็นเพียงท่านขยายด้วยอุปสรรค. อาการที่ระลึก

ชื่อว่า สรณตา.

ก็เพราะบทว่า สรณตา เป็นชื่อของแม้สรณะ ๓ ฉะนั้น ท่านจึง

ใช้ศัพท์สติอีก เพื่อกันสรณะ ๓ นั้น . ก็เนื้อความในบทนี้มีดังนี้ว่า ความ

ระลึกได้ กล่าวคือสติ.

ชื่อว่า ธารณตา เพราะความทรงจำการเล่าเรียนพระสูตร.

ความไม่เลื่อนลอยชื่อว่า อปิลาปนตา โดยอรรถว่าหยั่งลง กล่าว

คือ เข้าไปโดยลำดับ. เหมือนอย่างว่า กระโหลกน้ำเต้าเป็นต้นย่อมลอยไป

ไม่เข้าไปโดยลำดับ ฉันใด, สตินี้ไม่เหมือนฉันนั้น เมื่ออารมณ์มีอยู่ ย่อม

เข้าสู่อารมณ์โดยลำดับ, ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความไม่เลื่อนลอย.

ชื่อว่า อปมุสฺสนตา เพราะความไม่ลืมเรื่องที่ทำไว้นานและคำที่

พูดไว้นาน.

ชื่อว่า อินทริยะ เพราะอรรถว่า ให้กระทำอรรถว่าเป็นใหญ่ ใน

ลักษณะที่บำรุง. อินทรีย์ กล่าวคือสติ ชื่อว่า สตินทรีย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

ชื่อว่า สติพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวในความประมาท.

ชื่อว่า สัมมาสติ เพราะอรรถว่า สติแน่นอน, สตินำให้พ้นทุกข์

สติเป็นกุศล.

ชื่อว่า โพชฌังคะ เพราะอรรถว่า เป็นองค์แห่งการตรัสรู้.

โพชฌงค์ที่เขาสรรเสริญและดี ชื่อว่า สัมโพชฌงค์. สัมโพชฌงค์คือสติ

ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์.

บทว่า เอกายนมคฺโค ได้แก่ ทางเอก. พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้

ว่า ทางนี้ไม่ใช่ทางสองแพร่ง.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เอกายนะ เพราะอรรถว่า พึงไปคนเดียว.

บทว่า เอเกน ความว่า พึงละความคลุกคลีด้วยหมู่ ไปคือดำเนิน

ไปด้วยความสงัดซึ่งมีอรรถว่าวิเวก.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อยนะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องไปของ

เหล่าสัตว์. อธิบายว่า เหล่าสัตว์จากสังสารวัฏไปสู่พระนิพพาน.

ทางไปของบุคคลเอก ชื่อว่า เอกายนะ.

บทว่า เอกสฺส ของบุคคลเอก ได้แก่ คนประเสริฐที่สุด. ก็

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดของสัตว์ทั้งปวง. ฉะนั้นท่านจึง

กล่าวว่า ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ความจริง แม้สัตว์อื่น ๆ ก็ไปโดยทางนั้น

โดยแท้, ถึงอย่างนั้น ทางนั้นก็เป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่นั่นเอง

เพราะพระองค์ทรงให้เกิดขึ้น. เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงยังทางที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ดังนี้เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อยนะ เพราะอรรถว่า ไป. อธิบายว่า ไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

คือเป็นไป. ทางไปในที่เดียว ชื่อว่า เอกายนะ ท่านอธิบายไว้ว่า เป็น

ไปในธรรมวินัยนี้เท่านั้น มิใช่ที่อื่น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อน

สุภัททะ ทางที่ประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐ ย่อมได้ในธรรมวินัย

นี้แล ดังนี้. นี้เป็นความต่างกันแห่งเทศนาเท่านั้น แต่เนื้อความก็อย่าง

เดียวกัน.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เอกายนะ เพราะอรรถว่า ไปสู่ที่เดียว.

ท่านอธิบายไว้ว่า ในเบื้องแรกแม้เป็นไปโดยนัยภาวนาหัวข้อต่าง ๆ ใน

ภายหลังก็ไปสู่พระนิพพานแห่งเดียวทั้งนั้น ดังนี้. เหมือนอย่างที่ท่านท้าว

สหัมบดีพรหมได้กราบทูลแด่พระพุทธเจ้าไว้ว่า :-

พระพุทธเจ้า พระผู้ทรงเห็นพระนิพพาน ที่สุด

แห่งความเกิดและความดับจึงตรัสรู้ (สติปัฏฐาน) มรรค

คือทางดำเนินทางเดียว ทรงอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อ

กูล. พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

ก็ดี และพระอรหันต์ทั้งหลายก็ดี ในกาลก่อนทุกพระองค์

ท่านได้ปฏิบัติทางสติปัฏฐานนี้. แล้วเป็นผู้บริสุทธิ์และ

บรรลุพระนิพพาน ซึ่งเป็นที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง. ใน

กาลอนาคตเช่นกัน มหาบุรุษทั้งหลายทุกท่าน จักดำเนิน

ตามทางสติปัฏฐานนี้ แล้วจักข้ามโอฆสงสารบรรลุพระ-

นิพพานในโลกปัจจุบันนี้ก็เช่นกัน. พระโคดมพุทธเจ้าและ

พระสาวกทั้งหลายของพระองค์ ทำตนเองให้บริสุทธิ์จาก

กิเลสทั้งหลาย และข้ามโอฆสงสารบรรลุพระนิพพานโดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

ดำเนินทางสติปัฏฐานนี้.

บทว่า มคฺโค ได้แก่ ชื่อว่า มรรคด้วยอรรถว่าอย่างไร ? ด้วย

อรรถว่า ไปสู่พระนิพพาน. และด้วยอรรถว่า อันผู้ต้องการพระนิพพาน

พึงแสวงหา.

บทว่า อุเปโต ความว่า ไปใกล้. บทว่า สมุเปโต ความว่า

ไปใกล้กว่านั้น, อธิบายว่า ไม่เสื่อมจากสติ ทั้งสองบท.

บทว่า อุปคโต ความว่า เข้าไปตั้งอยู่ บทว่า สมุปคโต ความ

ว่า ประกอบพร้อมตั้งอยู่ บาลีว่า อุปาคโต สมุปาคโต ดังนี้ก็มี

ความว่า มาใกล้สติ ทั้งสองบท.

บทว่า อุปปนฺโน ได้แก่ เข้าถึงแล้ว. บทว่า สมุปปนฺโน ได้

แก่ สมบูรณ์แล้ว. บทว่า สมนฺนาคโต ได้แก่ ไม่ขาดตกบกพร่อง.

ท่านกล่าวถึงความเป็นไปด้วยบท ๒ บทว่า อุเปโต สมุเปโต.

กล่าวถึงปฏิเวธด้วยบท ๒ บทว่า อุปคโต สมุปคโต. กล่าวถึงการได้

เฉพาะ ด้วยบท ๓ บทว่า อุปปนฺโน สมุปปนฺโน สมนฺนาคโต

อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า โลเก เวสา วิสตฺติกา ความว่า ตัณหานี้ใดที่ได้กล่าว

แล้วโดยประการไม่น้อย ตัณหานั้นชื่อว่าวิสัตติกา. ย่อมเป็นไปในขันธโลก

นั้นแล ไม่เว้นจากขันธ์ทั้งหลาย. บทว่า โลเก เวต วิสตฺติก ความ

ว่า ตัณหากล่าวคือที่ชื่อว่าวิสัตติกานั่น ซึ่งเป็นไปในขันธโลกนั่นแล.

ผู้มีสติ เว้นขาดกามทั้งหลายได้ ชื่อว่า ข้าม. ละกิเลสทั้งหลายได้

ตัดเหตุที่ตั้งของกิเลสเหล่านั้นได้ ชื่อว่า ข้ามพ้น. ก้าวล่วงสังสารวัฏได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

ชื่อว่า ก้าวล่วง. ทำปฏิสนธิให้ไม่สมควรจะเกิดขึ้น ชื่อว่า ล่วงเลย.

อีกอย่างหนึ่ง ข้าม ข้ามขึ้น ด้วยกายานุปัสสนา. ข้ามพ้น ด้วย

เวทนานุปัสสนา. ก้าวล่วง ด้วยจิตตานุปัสสนา. ล่วงเลยจากทุกอย่าง

ด้วยธรรมานุปัสสนา.

อีกอย่างหนึ่ง ข้าม ด้วยศีล. ข้ามขึ้นด้วยสมาธิ. ข้ามพ้น ด้วย

วิปัสสนา. ก้าวล่วงด้วยมรรค. ล่วงเลยด้วยผล. พึงประกอบความโดยนัย

มีอาทิอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

คาถาที่ ๔ มีเนื้อความย่อดังต่อไปนี้ :- ผู้ใดย่อมปรารถนาไร่นาข้าว

สาลีเป็นต้นก็ตาม, ที่ดินที่มีเรือนเป็นต้นก็ตาม, เงินกล่าวคือกหาปณะ

ก็ตาม, โคและม้าชนิดต่าง ๆ ก็ตาม ทาสที่เกิดภายในเป็นต้นก็ตาม,

กรรมกรรับจ้างเป็นต้นก็ตาม, เหล่าหญิงที่ร้องเรียกกันว่าหญิงก็ตาม, พวก

พ้องโดยเป็นญาติเป็นต้นก็ตาม, หรือกามอื่น ๆ เป็นอันมากมีรูปที่น่าชอบ

ใจเป็นต้น.

บทว่า สาลิเขตฺต ได้แก่ ที่เป็นที่งอกงามแห่งข้าวสาลี. แม้ใน

นาข้าวจ้าวเป็นต้นก็นัยนี้แหละ.

บทว่า วีหิ ได้แก่ ข้าวจ้าวที่เหลือลง.

ชื่อว่า มุคคะ- ถั่วราชมาส เพราะอรรถว่า ระคนกัน.

บทว่า ฆรวตฺถุ ได้แก่ภูมิภาคที่จัดทำไว้สำหรับสร้างเรือน. แม้

ในที่ฉางเป็นต้นก็นัยนี้แหละ.

บทว่า โกฏฺโก ได้แก่ ซุ้มประตูเป็นต้น. บทว่า ปุเร ได้แก่

หน้าเรือน. บทว่า ปจฺฉา ได้แก่ หลังเรือน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

ชื่อว่า อาราม เพราะอรรถว่า เป็นที่มายินดี. คือทำใจให้ยินดีได้,

ความว่า ยินดีด้วยดอกบ้าง, ด้วยผลบ้าง, ด้วยร่มเงาบ้าง, ด้วยทัศนะบ้าง.

บทว่า ปสุกาทโย ได้แก่ แกะเป็นต้น. บทว่า อนฺโตชาตโก

ได้แก่เกิดในท้องของทาสีภายในเรือน. บทว่า ธนกฺกีโต ได้แก่ ซื้อ

ด้วยทรัพย์เปลี่ยนเจ้าของยึดถือไว้. บทว่า สาม วา ได้แก่ เอง ก็ตาม

บทว่า ทาสวิย ได้แก่ ความเป็นแห่งทาส ชื่อว่าทาสัพยะ-

ความเป็นแห่งทาสนั้น. บทว่า อุเปติ ได้แก่ เข้าถึง. บทว่า อกามโก

วา ได้แก่ ผู้ถูกนำมาเป็นเชลยด้วยความไม่ชอบใจของตนเพื่อจะแสดงทาส

ทั้ง ๔ เหล่านั้นอีก. ท่านจึงกล่าวว่า อามาย ทาสาปิ ภวนฺติ เหเก

คนบางพวกเป็นทาสโดยกำเนิดบ้าง ดังนี้.

บทว่า อามาย ทาสา ได้แก่ ทาสที่เกิดภายใน. ทาสเหล่านั้น

แหละท่านกล่าวไว้แม้ในที่นี้ว่า ทาสในที่อื่นเกิดแต่หญิงรับใช้ย่างเนื้ออ้วน

ทั้งหลาย ดังนี้. บทว่า ธเนน กีตา ได้แก่ ทาสที่เขาซื้อมาด้วยทรัพย์

บทว่า สามญฺจ เอเก ได้แก่ เป็นทาสเอง. บทว่า ภยาปนุณฺณา

ได้แก่ ทอดตัวยอมเป็นทาสเพราะกลัว.

บทว่า ภตกา ได้แก่ พวกเลี้ยงชีพด้วยรับจ้าง. ชื่อว่า กรรม-

กร เพราะอรรถว่า ทำงานมีกสิกรรมเป็นต้น. บทว่า อุปชีวิโน ได้

แก่ ชื่อว่าพวกอยู่อาศัย เพราะอรรถว่า เข้าไปหาด้วยกิจมีการปรึกษา

หารือเป็นต้นแล้วขออยู่อาศัย.

บทว่า อิตฺถี ได้แก่ ชื่อว่าหญิง. เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งครรภ์

บทว่า ปริคฺคโห ได้แก่ มีสามี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

พวกพ้องทางมารดาบิดา ชื่อว่า พวกพ้องโดยเป็นญาติ. พวกพ้อง

ร่วมโคตร ชื่อว่า พวกพ้องโดยโคตร. ผู้เริ่มมนต์ในสำนักอาจารย์

เดียวกัน หรือมนต์อย่างเดียวกัน ชื่อว่า พวกพ้องโดยการเรียนมนต์

ผู้เรียนศิลปะธนูเป็นต้นร่วมกัน ชื่อว่า พวกพ้องโดยการเรียนศิลปะ.

ปาฐะในบางคัมภีร์ปรากฏว่า แม้พวกพ้องโดยความเป็นมิตร ก็ชื่อว่า

พวกพ้อง.

บทว่า คิชฺฌติ ได้แก่ ปรารถนาด้วยกิเลสกาม. บทว่า อนุคิชฺฌติ

ได้แก่ ปรารถนาเนือง ๆ. คือปรารถนาบ่อย ๆ บทว่า ปลิคิชฺฌติ ได้แก่

ปรารถนาโดยรอบ. บทว่า ปลิพชฺฌติ ได้แก่ ปรารถนาโดยพิเศษ.

อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า ปรารถนา, ตามปรารถนา,

ด้วยสามารถการถือโดยนิมิต. ด้วยความเป็นของโอฬาร. ปรารถนาทั่วไป.

ติดพัน, ด้วยสามารถการถือโดยอนุพยัญชนะ.

คาถาที่ ๕ มีเนื้อความย่อดังต่อไปนี้ :- กิเลสทั้งหลายย่อมครอบงำ,

บังคับ, ย่ำยีซึ่งบุคคลนั้น เพราะไม่มีกำลัง, หรือกิเลสที่ไม่มีกำลังย่อม

ครอบงำบุคคลนั้นผู้ไม่มีกำลัง เพราะเว้นจากกำลังคือศรัทธาเป็นต้น.

อธิบายว่า ย่อมครอบงำได้ เพราะไม่มีกำลัง. ครั้งนั้นอันตรายที่ปรากฏมี

ราชสีห์เป็นต้น, และอันตรายที่ไม่ปรากฏมีกายทุจริตเป็นต้น ย่อมครอบ

งำบุคคลนั้น ผู้ปรารถนากาม, รักษากาม, และแสวงหากาม, แต่นั้น

ทุกข์มีความเกิดเป็นต้นย่อมไปตามบุคคลนั้นผู้ที่อันตรายไม่ปรากฏครอบงำ

แล้ว, ดุจน้ำไหลเข้าเรือรั่วฉะนั้น.

บทว่า อพลา ความว่า กำลังของกิเลสเหล่านั้นไม่มี เหตุนั้น

กิเลสเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่มีกำลัง. คือเว้นจากกำลัง. บทว่า ทุพฺพลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

ได้แก่ประกอบความเฉื่อยชา คือเว้นกิจที่จะพึงทำด้วยกำลัง. บทว่า

อปฺปพลา ความว่ากำลังของกิเลสเหล่านั้นน้อย คือนิดหน่อย เหตุนั้น

กิเลสเหล่านั้น จึงชื่อว่ามีกำลังน้อย คือไม่สามารถจะประกอบกรรมได้.

บทว่า อปฺปถามกา ความว่า เรี่ยวแรง, ความพยายาม, ความ

อุตสาหะของกิเลสเหล่านั้นน้อย คือนิดหน่อย เหตุนั้น กิเลสเหล่านั้นจึง

ชื่อว่ามีเรี่ยวแรงน้อย.

กิเลสเหล่านั้น ชื่อว่า เลว, ทราม, เสื่อม เพราะมีความเพียรเลว.

ชื่อว่า ตกต่ำ เพราะมีเรี่ยวแรงเลว. ชื่อว่า ลามก เพราะมีปัจจัยเลว.

ชื่อว่าเป็นดังค้างคาว เพราะมีอัธยาศัยเลว. ชื่อว่า เล็กน้อยเพราะมีสติเลว.

บทว่า สหนฺติ ได้แก่ ย่ำยี คือยังการกระทบให้เกิดขึ้น. บทว่า

ปริสหนฺติ ได้แก่ ย่ำยีโดยประการทั้งปวง.

บทว่า อภิภวนฺติ ได้แก่ด้วยสามารถแห่งการเกิดขึ้นไป ๆ มา ๆ.

บทว่า อชฺโฌตฺถรนฺติ ได้แก่ ด้วยสามารถแห่งการเกิดขึ้นบ่อย ๆ.

บทว่า ปริยาทิยนฺติ ได้แก่ ด้วยการให้ซูบซีดตั้งอยู่. บทว่า

มทฺทนฺติ ได้แก่ ด้วยการห้ามไม่ให้กุศลเกิดขึ้น.

บทว่า สทฺธาพล ความว่า ชื่อว่าศรัทธา เพราะอรรถว่า เป็น

เหตุเชื่อของเหล่าสัตว์ หรือเชื่อเอง, หรือเป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น.

ศรัทธานั้นมีความเชื่อเป็นลักษณะ. หรือมีความไว้ใจเป็นลักษณะ.

มีความผ่องใสเป็น รส, เหมือนแก้วมณีมีน้ำใส, หรือมีความแล่น

ไปเป็นรส เหมือนเรือแล่นข้ามห้วงน้ำ. มีความลุกขึ้นใช่กาลเป็น

ปัจจุปัฏฐาน หรือมีความพอใจเป็น ปัจจุปัฏฐาน มีวัตถุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

เครื่องให้ด้วยศรัทธาเป็นปทัฏฐาน. หรือมีองค์แห่งการแรกถึง

กระแสธรรมเป็นปทัฏฐาน พึงเห็นเหมือนพืชที่ปลื้มใจในมือ.

ชื่อว่า สัทธาพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวในความไม่เชื่อ.

บทว่า วิริยพล ได้แก่ ภาวะของคนกล้า ชื่อว่า วิริยะ. หรือ

กรรมของคนกล้า ชื่อว่า วิริยะ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิริยะ เพราะอรรถ

ว่า พึงให้เคลื่อน, คือให้เป็นไป ด้วยวิธี. ด้วยนัย, ด้วยอุบาย.

วิริยะนั่นนั้น มีความค้ำจุนเป็นลักษณะ หรือมีความประคองเป็น

ลักษณะ มีความค้ำจุนสหชาตธรรมเป็นรส. มีการไม่จมเป็น

ปัจจุปัฏฐาน. มีความสังเวชหรือเรื่องปรารภความเพียรเป็นปทัฏฐาน.

โดยพระบาลีว่า ผู้สังเวชย่อมเริ่มตั้งโดยแยบคาย. พึงเห็นว่า ความเพียร

ที่เริ่มแล้วเป็นมูลแห่งสมบัติทุกอย่าง ชื่อว่า วีริยพละ เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน.

ลักษณะเป็นต้นของสติ ได้กล่าวไว้แล้วเทียว. ชื่อว่า สติพละ

เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวในความลืมสติ.

ชื่อว่า สมาธิ เพราะอรรถว่า ให้ยึดมั่น คือตั้งไว้ซึ่งสหชาต

ปัจจัยทั้งหลาย โดยชอบ. สมาธินั้น มีความเป็นหัวหน้าเป็นลักษณะ, หรือมี

ความไม่ซัดส่ายเป็นลักษณะ, หรือความไม่ฟุ้งซ่านไปเป็นลักษณะ. มี

การประมวลสหชาตธรรมทั้งหลายไว้ในอารมณ์เป็นรส, ดุจน้ำประมวล

จุรณสำหรับอาบไว้. มีความสงบหรือญาณเป็นปัจจุปัฏฐาน สมจริงดังที่

ตรัสไว้ว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ ย่อมเห็นตามเป็นจริง. โดยพิเศษมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

ความสุขเป็นปทัฏฐาน. พึงเห็นว่า ความตั้งมั่นแห่งใจเหมือนความหยุด

นิ่งของเปลวประทีปในที่สงัดลม ชื่อว่า สมาธิพละ เพราะอรรถว่า ไม่

หวั่นไหวในความฟุ้งซ่าน.

ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ชัด, รู้ชัดอะไร ? รู้ชัดอริยสัจ

ทั้งหลายโดยนัยเป็นต้นว่า นี้ทุกข์ ดังนี้. ปัญญานั้นมีการแทงตลอดตาม

สภาวะเป็นลักษณะ, หรือมีการแทงตลอดไม่พลาดเป็นลักษณะ, เหมือน

การแทงตลอดของลูกธนูที่ยิงไปด้วยธนูของผู้มีฝีมือ. มีการส่องสว่างซึ่ง

อารมณ์เป็นรส. เหมือนดวงประทีป. มีความไม่ลุ่มหลงเป็นปัจจุปัฏฐาน

เหมือนผู้ชี้แจงอย่างดีแก่ผู้ไปป่า. ชื่อว่า ปัญญาพละ เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหวในอวิชชา.

บทว่า หิริพล โอตฺตปฺปพล ความว่า ชื่อว่า หิริพละ เพราะ

อรรถว่า ไม่หวั่นไหวในคนไม่มีหิริ ชื่อว่า โอตตัปปพละ เพราะ

อรรถว่า ไม่หวั่นไหวในคนไม่มีโอตตัปปะ.

พรรณนาเนื้อความของบททั้งสองมีดังต่อไปนี้. ชื่อว่า หิริ เพราะ

อรรถว่า ละอายต่อกายทุจริตเป็นต้น. คำว่า หิริ นี้เป็นชื้อของความ

ละอาย. ชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะอรรถว่า เกรงกลัวต่อกายทุจริตเป็น

ต้นเหล่านั้นแล. คำว่า โอตตัปปะ นี้เป็นชื่อของความหวาดสะดุ้งต่อ

บาป.

เพื่อแสดงการกระทำต่าง ๆ ของหิริและโอตตัปปะเหล่านั้น ท่านเว้น

มาติกานี้ สมุฏฐานที่สำคัญมีความละอายเป็นต้นเป็นลักษณะ ดังนี้เสีย,

กล่าวกถาพิสดารต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

ชื่อว่า หิริ มีสมุฏฐานภายใน, ชื่อว่า โอตตัปปะ มีสมุฏฐาน

ภายนอก.

ชื่อว่า หิริ มีตนเป็นใหญ่. ชื่อว่า โอตตัปปะ มีโลกเป็นใหญ่.

ชื่อว่า หิริ ตั้งอยู่ด้วยสภาวะละอาย, ชื่อว่า โอตตัปปะ ตั้งอยู่

ด้วยสภาวะกลัว.

ชื่อว่า หิริ มีความตกลงเป็นลักษณะ ชื่อว่า โอตตัปปะ มี

ความเป็นผู้เห็นภัยของผู้กลัวความผิดเป็นลักษณะ.

บรรดาหิริและโอตตัปปะ ๒ นั้น บุคคลยังหิริมีสมุฏฐานภายในให้

ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๔ อย่างคือ :- พิจารณาชาติ, พิจารณาวัย, พิจารณาความ

เป็นผู้กล้า, พิจารณาความเป็นพหูสูต. อย่างไร ?

บุคคล พิจารณาชาติ อย่างนี้ก่อนว่า ชื่อว่า การกระทำบาป

ไม่ใช่การกระทำของผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ. การการทำบาปนี้ เป็นการกระทำ

ของพวกมีชาติต่ำ มีพวกประมงเป็นต้น. การกระทำกรรมนี้ไม่สมควรแก่

ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเช่นท่าน ดังนี้. กระทำบาปมีปาณาติบาต เป็นต้น

ยังหิริให้ตั้งขึ้น.

บุคคล พิจารณาวัย อย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำบาปอย่างนั้น ๆ

เป็นกรรมที่พวกคนหนุ่มพึงกระทำ. การกระทำกรรมนี้ ไม่สมควรแก่ผู้ที่

ตั้งอยู่ในวัยเช่นท่าน ดังนี้. ไม่กระทำบาปมีปาณาติบาตเป็นต้น ยังหิริ

ให้ตั้งขึ้น.

บุคคล พิจารณาความเป็นผู้กล้า อย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำ

บาปอย่างนั้น ๆ เป็นการกระทำของพวกมีชาติทุรพล. การกระทำกรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

นี้ ไม่สมควรแก่ผู้สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้กล้าเช่นท่าน ดังนี้. ไม่การทำ

บาปมีปาณาติบาตเป็นต้น ยังหิริให้ตั้งขึ้น.

บุคคล พิจารณาความเป็นพหูสูต อย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำ

บาปอย่างนอน ๆ เป็นการกระทำของพวกอันธพาล. ไม่ใช่ของพวก

บัณฑิต. การกระทำกรรมนี้ ไม่สมควรแก่บัณฑิตผู้เป็นพหูสูตเช่นท่าน

ดังนี้. ไม่กระทำบาปมีปาณาติบาตเป็นต้น ยังหิริให้ตั้งขึ้น บุคคลยังหิริให้

ตั้งขึ้น. ด้วยเหตุ ๔ อย่าง ด้วยประการฉะนี้. ก็และครั้นให้หิริตั้งขึ้นแล้ว

ยังหิริให้ เข้าไปในจิตของตน จึงไม่กระทำบาป. ขอว่าหิริมีสมุฏฐาน

ภายใน ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้.

ชื่อว่าโอตตัปปะมีสมุฏฐานภายนอก อย่างไร ?

บุคคลพิจารณาอย่างนี้ว่า ถ้าท่านจักการทำกรรมลามก ท่านก็จัก

ถูกติเตียนในบริษัท ๔ :-

วิญญูชนทั้งหลายจักติเตียนท่าน. เหมือนชาววังติเตียน

คนไม่สะอาด. ท่านถูกผู้มีศีลทั้งหลายสละแล้ว. ท่านเป็นภิกษุ

จักกระทำอย่างไร ดังนี้.

ย่อมไม่กระทำกรรมลามก เพราะโอตตัปปะอันมีสมุฏฐานนอก ชื่อว่า

โอตตัปปะมีสมุฏฐานภายนอก อย่างนี้.

ชื่อว่า หิริมีตนเป็นใหญ่ อย่างไร ?

กุลบุตรบางคนในโลกนี้ กระทำตนให้เป็นใหญ่ คือ เจริญที่สุด

ย่อมไม่กระทำบาปด้วยพิจารณาว่า การกระทำกรรมลามก ไม่สมควรแก่ผู้

บวชด้วยศรัทธาเช่นท่าน. ผู้เป็นพหูสูต, ทรงธุดงค์ ชื่อว่า หิริมีตนเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

ใหญ่ อย่างนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กุลบุตรครั้น

กระทำตนนั่นแลให้เป็นใหญ่. ละอกุศลเจริญกุศล. ละกรรมมีโทษเจริญ

กรรมไม่มีโทษ. บริหารตนให้บริสุทธิ์.

ชื่อว่า โอตตัปปะมีโลกเป็นใหญ่ อย่างไร ?

กุลบุตรบางตนในโลกนี้ กระทำโลกให้เป็นใหญ่ คือเจริญที่สุด

ย่อมไม่กระทำกรรมลามกเหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า :- ก็โลกสันนิวาสนี้ใหญ่

แล. ในโลกสันนิวาสนี้ มีสมณพราหมณ์เป็นผู้มีฤทธิ์, มีทิพยจักษุ

รู้แจ้งจิตของผู้อื่น. มีพราหมณ์เหล่านั้นย่อมเห็นแม้แต่ที่ไกล คนทั้ง

หลายไม่เห็นท่านแม้ในที่ใกล้ ย่อมรู้ชัดซึ่งจิตแม้ด้วยจิต. สมณพราหมณ์

แม้เหล่านั้นจักรู้ซึ่งเราอย่างนี้ว่า :- ดูก่อนผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย

จงดูกุลบุตรนี้เขามีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีเรือน. ยังเต็มด้วย

บาปอกุศลธรรมทั้งหลายอยู่. มีเทวดาเป็นผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้แจ้งจิต

ของผู้อื่น. เทวดาเหล่านั้นย่อมเห็นแม้แต่ที่ไกล คนทั้งหลายไม่เห็นท่าน

แม้ในที่ใกล้ ย่อมรู้ชัดซึ่งจิตแม้ด้วยจิต. เทวดาแม้เหล่านั้น จักรู้ซึ่งเรา

ว่า :- ดูก่อนผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดูกุลบุตรนี้ เขามีศรัทธา

ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีเรือน. ยังเต็มด้วยบาปอกุศลธรรมทั้งหลายอยู่.

กุลบุตรนั้นกระทำโลกนั่นแลให้เป็นใหญ่, ละอกุศลเจริญกุศล, ละกรรม

โทษเจริญกรรมไม่มีโทษ, บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดังนี้. ชื่อว่าโอตตัปปะ

มีโลกเป็นใหญ่อย่างนี้.

ก็ในสองบทว่า หิริ ตั้งอยู่ด้วยสภาวะละอาย โอตตัปปะ ตั้งอยู่

ด้วยสภาวะกลัว นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

บทว่า ลชฺชา ได้แก่ อาการที่ละอาย หิริตั้งอยู่ด้วยสภาวะนั้น.

บทว่า ภย ได้แก่ ภัยในอนาคต โอตตัปปะตั้งอยู่ในสภาวะนั้น

หิริและโอตตัปปะทั้งสองนั้น ย่อมปรากฏในการเว้น ขาดจากบาป,

เหมือนอย่างบุคคลบางคนก้าวลงสู่ลัชชีธรรมแล้ว ย่อมไม่ทำบาปเหมือน

บุรุษคนหนึ่งกำลังถ่ายอุจจาระปัสสาวะอยู่, เห็นคนคนหนึ่งซึ่งควรจะละอาย,

พึงถึงอาการละอายเป็นผู้กระดากอาย ฉะนั้น บุคคลบางคนเป็นผู้กลัวแต่

ภัยในอบาย ย่อมไม่ทำบาป. ในข้อนั้นมีอุปมาดังนี้ :-

เหมือนอย่างว่า มีก้อนเหล็กสองก้อน ก้อนหนึ่งเย็น เปื้อนคูถ.

ก้อนหนึ่งร้อน ไฟลุกแดง. ในก่อนเหล็กสองก้อนนั้น คนฉลาดย่อม

รังเกียจไม่จับก้อนเย็นเพราะเปื้อนคูถ. ไม่จับก้อนร้อนเพราะกลัวร้อน.

ในข้อนั้นพึงทราบว่า การก้าวลงสู่ลัชชีธรรมภายในไม่ทำบาปเหมือนการ

ไม่จับเหล็กก้อนเย็นเพราะรังเกียจที่เปื้อนคูถ. การไม่ทำบาปเพราะกลัวภัย

ในอบายเหมือนการไม่จับเหล็กก้อนร้อนเพราะกลัวร้อน.

หิริมีความตกลงเป็นลักษณะ. โอตตัปปะ มีความเป็นผู้

เห็นภัยของผู้กลัวความผิดเป็นลักษณะ แม้ทั้งสองนี้ ย่อมปรากฏในการ

เว้นขาดจากบาปนั่นแล.

ก็บุคคลบางคนยังหิริซึ่งมีความตกลงเป็นลักษณะให้ตั้งขึ้นแล้วไม่ทำ

บาปด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ พิจารณาความยิ่งใหญ่ของชาติ, พิจารณา

ความยิ่งใหญ่ของศาสดา, พิจารณาความยิ่งใหญ่ของมรดก, พิจารณา

ความยิ่งใหญ่ของเพื่อนพรหมจารี.

บุคคลบางคนยังโอตตัปปะซึ่งมีความเป็นผู้เห็นภัยของผู้กลัวความผิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

เป็นลักษณะให้ตั้งขึ้นแล้วไม่ทำบาปด้วยอาการ ๔ อย่าง คือกลัวติเตียน

ตนเอง, กลัวผู้อื่นติเตียน, กลัวอาชญา, กลัวทุคติ.

การพิจารณาความยิ่งใหญ่ของชาติเป็นต้น และความกลัวติเตียน

ตนเองเป็นต้น พึงกล่าวให้พิศดารในเรื่องนั้น.

พละ ๗ อย่างที่กล่าวแล้วอย่างนี้ ไม่มีแก่บุคคลใด กิเลสทั้งหลาย

เหล่านั้น ย่อมครอบงำ ฯลฯ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้นแล.

บทว่า เทฺว ปริสฺสยา ความว่า อันตรายมี ๒ อย่าง คือที่ปรากฏ

และไม่ปรากฏเท่านั้น ไม่ใช่ ๑ ไม่ใช่ ๓. เพื่อจะแสดงอันตรายเหล่า

นั้นเป็นส่วน ๆ พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า กตเม ปากฏ-

ปริสฺสยา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกกา ได้แก่ สุนัขป่ามีเสียงเหมือน

เสียงร้องของนกยูง, อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้แหละ.

บทว่า มาณวา ได้แก่ ผู้ประกอบการงานผลุนผลัน.

บทว่า กตกมฺมา ได้แก่ ผู้ทำโจรกรรมมีตัดที่ต่อเป็นต้น.

บทว่า อกตกมฺมา ได้แก่ ผู้ออกเพื่อจะทำโจรกรรม.

บทว่า อสฺส ในที่นี้ แปลว่า พึงเป็น.

บทว่า จกฺขุโรโค ได้แก่ โรคที่เกิดในจักษุ. ชื่อว่า โรค ด้วย

อรรถว่า เสียดแทง.

บทว่า จกฺขุโรโค เป็นต้น พึงทราบด้วยสามารถแห่งวัตถุ ก็

ธรรมดาโรคย่อมไม่มีแก่คนประสาทดี.

บทว่า กณฺณโรโค ได้แก่ โรคหูข้างนอก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

บทว่า มุขโรโค ได้แก่ โรคที่เกิดในปาก.

บทว่า ทนฺตโรโค ได้แก่ โรคปวดฟัน.

บทว่า กาโส ได้แก่ โรคไอ.

บทว่า สาโส ได้แก่ โรคอาเจียนที่เป็นมาก.

บทว่า ปินาโส ได้แก่ โรคนาสิกข้างนอก.

บทว่า ฑโห ได้แก่ ความร้อนที่เกิดภายใน.

บทว่า มุจฺฉา ได้แก่ โรคขาดสติ.

บทว่า ปกฺขนฺทิกา ได้แก่ โรคท้องร่วงเป็นโลหิต, โรคลงแดง.

บทว่า สุลา ได้แก่ โรคเสียดท้อง.

บทว่า วิสูจิกา ได้แก่ โรคท้องร่วงอย่างแรง.

บทว่า กิลาโส ได้แก่ โรคกลาก.

บทว่า โสโส ได้แก่ โรคมองคร่อ ทำให้ผอมแห้ง.

บทว่า อปมาโร ได้แก่ โรคผีสิง เป็นโรคที่เกิดแต่ผู้มีเวร หรือ

ยักษ์เบียดเบียน.

บทว่า ททฺทุ ได้แก่ โรคหิดเปื่อย.

บทว่า กณฺฑุ ได้แก่ โรคหิดด้าน.

บทว่า กจฺฉุ ได้แก่ โรคคุดทะราด, หูด.

บทว่า รขสา ได้แก่ โรคเป็นตรงที่เล็บข่วน. บาลีว่า นขสา

ก็มี.

บทว่า วิตจฺฉิกา ได้แก่ โรคที่เกิดขึ้นที่ฝ่ามือฝ่าเท้าแตกเป็นริ้ว ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

บทว่า โลหิตปิตฺต ได้แก่ โรคดีกำเริบ. ท่านอธิบายว่า โรค

ดีแดง.

บทว่า มธุเมโห ได้แก่ โรคร้ายภายในร่างกาย. สมจริงดังที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า อีกอย่างหนึ่งโรคเบาหวานเป็นโรคร้ายแรง.

บทว่า อสา ได้แก่ โรคริดสีดวงงอก.

บทว่า ปิฬกา ได้แก่ โรคพุพอง.

บทว่า ภคนฺทลา ได้แก่ โรคริดสีดวงทวาร เพราะอรรถว่า

ทำลายอวัยวะ, อธิบายว่า ผ่าวัจจมรรค.

บทว่า ปิตฺตสมุฏฺานา ความว่า มีดีเป็นสมุฏฐาน. คือเป็นที่

เกิดขึ้นของอาพาธเหล่านั้น, ได้ยินว่า อาพาธเหล่านั้นมี ๓๒ ชนิด. แม้

ในอาพาธที่มีเสมหะเป็นสมุฏฐานเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

บทว่า สนฺนิปาติกา ได้แก่อาพาธที่เกิดขึ้นด้วยลม ดี และ

เสมหะประชุมกัน คือรวมกัน. ชื่อว่า อาพาธ ด้วยอรรถว่า เบียด

เบียน.

บทว่า อุตุปริณามชา ได้แก่ โรคที่เกิดขึ้นเพราะฤดูแปรปรวน

คือร้อนเกินไปหนาวเกินไป.

บทว่า วิสมปริหารชา ได้แก่ เกิดการบริหารไม่สม่ำเสมอ

มียืนและนั่งเกินไปเป็นต้น.

บทว่า โอปกฺกมิกา ได้แก่ ที่เกิดด้วยความพยายามมีการฆ่าและ

จองจำเป็นต้น.

บทว่า กมฺมวิปากชา ได้แก่ เกิดแต่วิบากแห่งกรรมที่มีกำลัง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

อาพาธในบทว่า สีต อุณฺห ฯ เป ฯ สมฺผสฺสา เหล่านี้ ปรากฏ

แล้วทั้งนั้น.

บทว่า กตเม ปฏิจฺฉนฺนปริสฺสยา ความว่า พระสารีบุตรเถระ

ถามว่า อันตรายปกปิดที่ไม่ปรากฏ เป็นไฉน ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายทุจฺจริต พึงทราบว่า เจตนาใน

ปาณาติบาต, อทินนาทาน และกาเมสุมิจฉาจาร.

บทว่า วจีทุจฺจริต พึงทราบว่า เจตนาในการพูดเท็จ, พูดส่อ

เสียด, พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ.

บทว่า มโนทุจฺจริต พึงทราบว่า อภิชฌา, พยาบาท และมิจฉา

ทิฏฐิ.

ชื่อว่า กายทุจริตเพราะอรรถว่า ความประพฤติชั่วที่เป็นไปทางกาย

หรือความประพฤติชั่วเพราะความเป็นผู้ประทุษร้ายด้วยกิเลส แม้ในวจี

ทุจริตเป็นต้นก็นัยนี้แหละ.

ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า อันบุคคลใคร่, ได้แก่ กามคุณ ๕.

ความพอใจในกามทั้งหลาย ชื่อว่า กามฉันทะ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

กาม เพราะอรรถว่า ใคร่. ความพอใจคือความใคร่ ชื่อว่า กามฉันทะ.

ความว่า ไม่ใช่ความพอใจใคร่จะทำงาน, กามตัณหานั่นแหละมีชื่ออย่าง

นี้. ชื่อว่า นิวรณ์ เพราะอรรถว่า กั้นกุศลธรรมทั้งหลาย. นิวรณ์คือ

กามฉันทะ ชื่อว่า กามฉันทนิวรณ์. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็มีนัย

อย่างนี้.

ชื่อว่า พยาบาท เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องถึงความพินาศ. คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

จิตเข้าถึงความเสีย หรือให้ถึงความพินาศ คือยังสมบัติคือวินัยและอาจาร

หรือประโยชน์เกื้อกูลและความสุขเป็นต้น ให้พินาศ.

ความหดหู่ ชื่อว่า ถีนะ. ความเคลิบเคลิ้ม ชื่อว่า มิทธะ.

อธิบายว่า ความไม่ขะมักเขม้น และความทำลายสมบัติ. ถีนะด้วย มิทธะ

ด้วย ชื่อว่า ถีนมิทธะ. ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ มีความไม่ขะมักเขม้น

เป็นลักษณะ. มีการบรรเทาความเพียรเป็นรส, มีความจมลงเป็นปัจจุ-

ปัฏฐาน. มิทธะ มีความไม่ควรแก่การงานเป็นลักษณะ, มีความตก

ต่ำเป็นรส, มีความเหี่ยวแห้งหรือความเคลิ้มหลับเป็นปัจจุปัฏฐาน. ทั้ง

ถีนะและมิทธะ มีอโยนิโสมนสิการในความริษยา ความเฉื่อยชาและ

หาวนอนเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน.

ความเป็นแห่งคนฟุ้งซ่าน ชื่อว่า อุทธัจจะ อุทธัจจะนั้นมีความ

ไม่สงบเป็นลักษณะ, มีความไม่ตั้งมั่นเหมือนน้ำกระเพื่อมเพราะถูกลมพัด

เป็นรส, มีจิตกวัดแกว่งเหมือนธงปฏากสะบัดเพราะถูกลมพัดเป็นปัจจุ-

ปัฏฐาน, มีอโยนิโสมนสิการในความไม่สงบใจเหมือนเถ้าฟุ้งขึ้นเพราะถูก

แผ่นหินทุ่มเป็นปทัฏฐาน. พึงเห็นว่าความฟุ้งซ่านแห่งจิตนั้นเอง.

ความน่าเกลียดที่บุคคลกระทำแล้ว ชื่อว่า กุกกตะ. ความเป็นแห่ง

กุกกตะนั้น ชื่อว่า กุกกุจจะ ความรำคาญ. กุกกุจจะนั้นมีความตาม

เดือดร้อนภายหลังเป็นลักษณะ, มีความเศร้าโศกถึงสิ่งที่ทำแล้วยังไม่ได้ทำ

เป็นรส, มีความร้อนใจเป็นปัจจุปัฏฐาน, มีสิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ

เป็นปทัฏฐาน, พึงเห็นอุทธัจจะและกุกกุจจะเหมือนความเป็นทาส.

ชื่อว่า วิจิกิจฉา เพราะอรรถว่า ปราศจากการเยียวยา, อีกอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

หนึ่ง ชื่อว่า วิจิกิจฉา เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องค้นคว้าสภาวะฝืดเคือง

ลำบาก. วิจิกิจฉานั้น มีความสงสัยเป็นลักษณะ, มีการเสือกสนเป็นรส,

มีความไม่ตกลงหรือความยึดถือหลายส่วนเป็นปัจจุปัฏฐาน. วิจิกิจฉามี

อโยนิโสมนสิการเป็นปทัฏฐาน. พึงเห็นว่ากระทำอันตรายแก่การปฏิบัติ.

ราคะ มีความกำหนัดเป็นลักษณะ. โทสะ มีความประทุษร้าย

เป็นลักษณะ. โมหะ มีความหลงเป็นลักษณะ.

โกธะ มีความโกรธหรือความดุร้ายเป็นลักษณะ, มีการกระทำ

ความอาฆาตเป็นรส, มีความประทุษร้ายเป็นปัจจุปัฏฐาน.

อุปนาหะ มีความผูกใจเจ็บเป็นลักษณะ, มีความจองเวรเป็น

รส, มีความเข้าไปผูกโกรธเป็นปัจจุปัฏฐาน. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่าความ

โกรธมีก่อน ความผูกโกรธมีภายหลัง เป็นต้น.

มักขะ มีความลบหลู่คุณท่านเป็นลักษณะ, มีการทำให้ท่านเหล่า

นั้นเสียหายเป็นรส, มีการปกปิดคุณความดีของท่านเป็นปัจจุปัฏฐาน.

ปลาสะ มีการเทียบคู่เป็นลักษณะ, มีการกระทำคุณของตนให้

เสมอกับคุณของผู้อื่นเป็นรส, มีการยกขึ้นเทียบคุณของผู้อื่นเป็นปัจจุปัฏ-

ฐาน.

อิสสา มีการทำสมบัติของผู้อื่นให้สิ้นไป หรือทนไม่ได้ต่อสมบัติ

นั้นเป็นลักษณะ, มีความไม่ยินดียิ่งในสมบัตินั้นเป็นรส, มีความเบือน

หน้าจากสมบัตินั้นเป็นปัจจุปัฏฐาน.

มัจเฉระ มีการซ่อนสมบัติของตนเป็นลักษณะ, มีความทนไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

ที่สมบัติของตนจะสาธารณ์ไปถึงผู้อื่นเป็นรส, มีความสยิ้วหน้าเป็น

ปัจจุปัฏฐาน.

มายา มีการปกปิดความชั่วที่ตัวทำเป็นลักษณะ, มีการอำพราง

ความชั่วที่ตัวทำนั้นเป็นรส, มีการกำบังความชั่วที่ตัวทำนั้นเป็นปัจจุ-

ปัฏฐาน.

สาไถย มีการประกาศคุณของตนซึ่งไม่มีเป็นลักษณะ, มีการ

เปล่งถึงคุณเหล่านั้นเป็นรส, มีการทำคุณเหล่านั้นปรากฏด้วยกิริยาท่าทาง

เป็นปัจจุปัฏฐาน.

ถัมภะ มีความลำพองแห่งจิตเป็นลักษณะ, มีความประพฤติไม่

เชื่อฟังเป็นรส, มีความไม่อ่อนโยนเป็นปัจจุปัฏฐาน.

สารัมภะ มีกระทำยิ่ง ๆ ขึ้นไปเป็นลักษณะ, มีความเป็นข้าศึก

เป็นรส, มีความไม่เคารพเป็นปัจจุปัฏฐาน.

มานะ มีความหยิ่งเป็นลักษณะ, มีความทะนงตัวเป็นรส, มีความ

ลำพองเป็นปัจจุปัฏฐาน.

อติมานะ มีความหยิ่งอย่างยิ่งเป็นลักษณะ, มีความทะนงตัวเหลือ

เกินเป็นรส, มีความลำพองยิ่งเป็นปัจจุปัฏฐาน.

มานะ มีความเมาเป็นลักษณะ, มีการนำไปซึ่งความมัวเมาเป็นรส,

มีความมัวเมาเป็นปัจจุปัฏฐาน.

ปมาทะ มีความปล่อยจิตไปในกามคุณ ๕ เป็นลักษณะ, มีการ

เพิ่มความปล่อยจิตเป็นรส, มีความขาดสติเป็นปัจจุปัฏฐาน. ลักษณะ

๑. ลักขณาทิจตุกกะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

เป็นต้นของธรรมเหล่านี้ พึงทราบด้วยประการฉะนี้ นี้เป็นความย่อใน

เรื่องนี้.

ส่วนความพิสดาร พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้ในคัมภีร์วิภังค์. มีอาทิ

ว่า บรรดาบทเหล่านั้น ความโกรธ เป็นไฉน ดังนี้. แต่ในที่นี้ พึง

ทราบเป็นพิเศษดังต่อไปนี้ :-

คนปรารถนาอามิส เมื่อตนเองไม่ได้ ย่อมโกรธคนอื่นที่ได้. ความ

โกรธของเขาที่เกิดครั้งเดียว เป็นความโกรธนั่นเอง. ที่เกิดยิ่งขึ้นไปกว่า

นั้น เป็นความผูกโกรธไว้. ผู้นั้นโกรธอย่างนี้ และผูกโกรธไว้ ย่อมลบ

หลู่คุณแม้ที่มีอยู่ของผู้อื่นที่ได้ลาภ. และตีเสมอว่าแม้เราก็เป็นเช่นนั้น. นี้

เป็นความลบหลู่คุณท่านและตีเสมอของเขา. คนที่มีความลบหลู่คุณท่าน

มีความตีเสมอนั้น ย่อมริษยา, ย่อมประทุษร้ายในลาภสักการะเป็นต้นของ

คนอื่นว่า สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์อะไรแก่ผู้นี้. นี้เป็นความริษยาของเขา. ก็

ถ้าเขามีสมบัติอะไร ๆ เขาไม่อาจจะใช้จ่ายสมบัติของเขาเป็นสาธารณะได้.

นี้เป็นความตระหนี่ของเขา. เขาปกปิดโทษทั้งหลายแม้ที่มีอยู่ของตน,

เพราะเหตุแห่งลาภ. นี้เป็นมายาของเขา. เขาประกาศคุณทั้งหลายซึ่งไม่มี

อยู่เลย นี้เป็นสาไถยของเขา. เขาปฏิบัติอย่างนี้. ถ้าได้ลาภตามประสงค์

เป็นผู้กระด้าง, มีจิตไม่อ่อนโยน. ด้วยเหตุนั้นไม่อาจที่จะกล่าวสอนว่า

เรื่องนี้ไม่ควรทำอย่างนี้. นี้เป็นความหัวดื้อของเขา. ก็ถ้าใคร ๆ พูดอะไร ๆ

ว่า เรื่องนี้ ท่านไม่ควรทำอย่างนี้. ย่อมมีใจปั่นป่วนเพราะเหตุนั้น จึงมี

หน้าสยิ้วกล่าวข่มขู่ว่า แกเป็นอะไรของข้า นี้เป็นความแข่งดีของเขา. แต่

นั้นเขามีความหัวดื้อสำคัญตนว่า เราเท่านั้นประเสริฐกว่า เป็นผู้มีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

ถือตัว ดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความแข่งดีว่า คนเหล่านี้เป็นอะไร. เป็นผู้ดูหมิ่น

ท่าน นี้เป็นความถือตัวและดูหมิ่นท่านของเขา. เขายังความมัวเมาหลาย

อย่างมีความมัวเมาชาติเป็นต้น ให้เกิดด้วยความถือตัวและดูหมิ่นท่านเหล่า

นั้น. เป็นผู้มัวเมาย่อมประมาทในวัตถุทั้งหลายต่างโดยกามคุณเป็นต้น. นี้

เป็นความมัวเมาและความประมาทของเขา ดังนี้.

บทว่า สพฺเพ กิเลสา ความว่า อกุศลธรรมแม้ทั้งปวง ชื่อว่า

กิเลส ด้วยอรรถว่า แผดเผา. และด้วยอรรถว่า เบียดเบียน. ชื่อว่า

ทุจริต เพราะถูกกิเลสประทุษร้าย. ชื่อว่า ความกระวนกระวาย ด้วย

อรรถว่า ทำความกระวนกระวาย. ชื่อว่า ความเร่าร้อน ด้วยอรรถว่า

ทำการเผาภายในเป็นต้น. ชื่อว่า ความเดือดร้อน ด้วยอรรถว่า เผาไหม้

ทุกเมื่อ. ชื่อว่า อกุศลธรรมทั้งปวง ด้วยอรรถว่า เกิดแต่ภาวะแห่งอกุศล.

และด้วยอรรถว่า ปรุงแต่ง.

บทว่า เกนตฺเถน ได้แก่ ด้วยอรรถอะไร ? เพื่อจะแสดงเนื้อ

ความตามอย่าง มีครอบงำเป็นต้น. พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวคำเป็นต้น

ว่า ปริสหนฺตีติ ปริสฺสยา ดังนี้.

บทว่า ปริสหนฺติ ความว่า ย่อมยังทุกข์ให้เกิดขึ้น, ย่อมครอบงำ.

บทว่า ปริหานาย สวตฺตนฺติ ความว่า ย่อมเป็นไปเพื่อสละกุศล

ธรรมทั้งหลาย.

บทว่า ตตฺราสยา ความว่า อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมอาศัย คือ

ย่อมอยู่ในสรีระนั้น. อธิบายว่า ย่อมเกิดขึ้น.

บทว่า เต ปริสฺสยา ได้แก่ อันตรายมีกายทุจริตเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

บทว่า กุสลาน ธมฺมาน อนฺตรายาย ความว่า ย่อมเป็นไป

เพื่ออันตรธานไปคือเห็นไม่ได้ แห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดแต่ภาวะที่เป็นกุศล

มีสัมมาปฏิปทาเป็นต้น ที่พึงกล่าวในเบื้องบน.

บทว่า สมฺมาปฏิปทาย ได้แก่ ปฏิปทาที่ดีงามอันบัณฑิตสรร-

เสริญ ไม่ใช่มิจฉาปฏิปทา.

บทว่า อนุโลมปฏิปทาย ได้แก่ ปฏิปทาที่ไม่ขัดขวาง, ไม่ใช่

ปฏิทาที่ทวนกลับ.

บทว่า อปจฺจนิกปฏิปทาย ได้แก่ ไม่ใช่ปฏิปทาเป็นข้าศึก. คือ

ไม่ใช่ปฏิปทาที่ขัดแย้ง.

บทว่า อนฺวตฺถปฏิปทาย ได้แก่ ปฏิปทาที่คล้อยตามประโยชน์,

คือปฏิปทาที่ให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น. ท่านอธิบายไว้ว่า ปฏิปทาที่พึงปฏิบัติอย่าง

ที่จะเกิดประโยชน์. บาลีว่า อตฺตตฺถปฏิปทาย ดังนี้ก็มี. ข้อนั้นไม่ดี.

บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปทาย ความว่า โลกุตตรธรรม ๙ ชื่อว่า

ธรรม. วิปัสสนาเป็นต้น ชื่อว่า ธรรมอันสมควร. ปฏิปทาอันสมควรแก่

ธรรมนั้น ชื่อว่า อนุธรรมปฏิปทา แห่งความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

นั้น.

บทว่า สีเลลุ ปริปูริการิตาย ได้แก่ ความเป็นผู้ตั้งอยู่ในศีล

คือพระปาฏิโมกข์ กระทำให้บริบูรณ์.

บทว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวารตาย ได้แก่ ความเป็นผู้มีทวาร

อันคุ้มครองดีแล้วในอินทรีย์มีใจเป็นที่ ๖. ที่ตรัสไว้โดยนัยว่า เห็นรูป

ด้วยจักษุ เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

บทว่า โภชเน มตฺตญฺญุตาย ได้แก่ ความเป็นผู้มีโภชนะอัน

นับแล้วด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยประมาณในการรับเป็นต้น ละผ้าสาฎก

ที่ประดับเป็นต้นเสีย.

บทว่า ชาคริยานุโยคสฺส ได้แก่ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็น

เครื่องตื่น ๕ ประการ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น

ทั้งหลาย ดังนี้. ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน.

บทว่า สติสมฺปชญฺสฺส ได้แก่ สติและสัมปชัญญะซึ่งเป็น

อุปการะทุกเมื่อ แก่พระโยคาวจรทุกท่าน ผู้ประกอบการเจริญ กรรมฐาน

ทั้งปวง.

บทว่า สติปฏฺานาน ความว่า ชื่อว่า การตั้ง เพราะคร่ำครวญ

เรียกร้องเข้าไปตั้งไว้ในอารมณ์ทั่งหลาย. การตั้งสตินั้นแล ชื่อว่า สติ-

ปัฏฐาน. ก็สติปัฏฐานนั้นมี ๔ ประเภท คือ กาย, เวทนา, จิต,

ธรรม. ให้เป็นไปด้วยสามารถแห่งการละโดยเป็นอาการที่ไม่งาม, เป็น

ทุกข์, ไม่เที่ยง, ไม่ใช่ตัวตน, และด้วยสามารถแห่งการให้สำเร็จ

กิจการละความสำคัญว่า งาม, เป็นสุข, เที่ยง, เป็นตัวตน. สติ

ปัฏฐาน ๔ เหล่านั้น.

บทว่า จตุนฺน สมฺมปฺปธานาน ความว่า ชื่อว่า ปธาน เพราะ

อรรถว่า เป็นเครื่องเริ่มตั้ง. ชื่อว่า สัมมัปปธาน เพราะอรรถว่า ความ

เริ่มตั้งงาม, หรือเป็นเครื่องเริ่มตั้งโดยชอบ, อีกอย่างหนึ่ง ความเริ่มตั้ง

นั้นชื่อว่างาม, เพราะเว้นจากกิเลสชนิดต่าง ๆ และชื่อว่า ปธาน เพราะ

นำมาซึ่งภาวะประเสริฐที่สุด ด้วยความเป็นคุณธรรมให้สำเร็จประโยชน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

เกื้อกลและความสุข และเพราะการกระทำความเป็นปธาน ดังนั้นจึงชื่อว่า

สัมมัปปธาน. คำว่า สมฺมปฺปธาน นี้เป็นชื่อของความเพียร. การแบ่ง

สัมมัปปธานเป็น ๔ ย่อมเป็นไปโดยให้สำเร็จกิจคือ ละ, ไม่เกิด, เกิดขึ้น

และตั้งอยู่แห่งอกุศลและกุศลทั้งหลายที่เกิดและไม่เกิดด้วย, ที่ไม่เกิดและ

เกิดด้วยสัมมัปปธาน ๔ เหล่านั้น.

ในบทว่า จตุนฺน อิทฺธิปาทาน นี้ มีวินิจฉัยว่า บรรดา ฉันทะ

วิริยะ จิตตะและวิมังสาทั้งหลาย แต่ละอย่างชื่อว่า อิทธิ เพราะ

อรรถว่า สำเร็จ. อธิบายว่า ย่อมรุ่งเรื่อง คือ ย่อมผลิต. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า อิทธิ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องสำเร็จ. คือ มั่งคั่ง, เจริญ, ถึง

ความดีเลิศของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยอรรถที่หนึ่ง เครื่องบรรลุคือความสำเร็จ

ชื่ออิทธิบาท อธิบายว่า ส่วนคือความสำเร็จ. ด้วยอรรถที่สอง ชื่อว่า

อิทธิบาท เพราะเป็นเครื่องถึงซึ่งความสำเร็จ.

บทว่า ปาโท ได้แก่ ที่ตั้ง อธิบายว่า อุบายเป็นเครื่องบรรลุ.

ด้วยว่าธรรมทั้งหลายย่อมยังความสำเร็จกล่าวคือความวิเศษยิ่ง ๆ ขึ้นไปให้

เกิดขึ้น. คือย่อมบรรลุ ด้วยอิทธิบาทนั้น. ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า เป็น

เครื่องบรรลุอิทธิบาท ๔ เหล่านั้น.

บทว่า สตฺตนฺน โพชฺฌงฺคาน ความว่า ชื่อว่า โพชฌงค์

เพราะอรรถว่า องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้. หรือแห่งความตรัสรู้. ท่าน

อธิบายไว้ว่า ธรรมสามัคคีนี้ท่านเรียกว่า โพธิ เพราะทำวิเคราะห์ว่า

พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี กล่าวคือ สติ ธรรมวิจยะ

วีริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และ อุเบกขา ซึ่งเกิดขึ้นในขณะแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

โลกุตตรมรรค. เป็นปฎิปักษ์ต่ออันตรายิกธรรมทั้งหลายมิใช่น้อย. มีความ

หดหู่, ความฟุ้งซ่าน การแต่งตั้ง การประมวลมา, กามสุขอัตตกิลมถา-

นุโยค, อุจเฉททิฏฐิ, สัสสตทิฏฐิและความยึดมั่นเป็นต้น.

บทว่า พุชฺฌติ ความว่า ลุกขึ้นจากความหลับอันสืบต่อกิเลส.

คือแทงตลอดอริยสัจ ๔ หรือทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานทีเดียว. ชื่อว่า

โพชฌงค์ แม้เพราะเป็นองค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้, กล่าวคือ ธรรม

สามัคคีนั้น เหมือนองค์แห่งฌานและองค์แห่งมรรคเป็นต้น. เพราะอริย-

สาวกแม้นี้ใด ท่านเรียกว่า ตรัสรู้ เพราะทำวิเคราะห์ว่า ตรัสรู้ด้วยธรรม

สามัคคีนั่นซึ่งมีประการตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า โพชฌงค์. แม้เพราะเป็น

องค์แห่งพระอริยสาวกผู้ตรัสรู้นั้น เหมือนองค์แห่งเสนาเป็นต้น. เพราะ

เหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งบุคคลผู้ตรัสรู้ดังนี้, โพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น.

บทว่า อริยสฺส อฏงฺคิกสฺส มคฺคสฺส ความว่า เรียกว่า อริยะ

ในบทว่า อริโย นั้น เพราะไกลจากกิเลสที่พึงฆ่าด้วยมรรคนั้น ๆ. เพราะ

การทำความเป็นอริยะ, และเพราะเป็นผู้ได้เฉพาะซึ่งอริยผล. ทางชื่อว่า

อัฏฐังคิกะ เพราะอรรถว่า มีองค์ ๘. ทางนี้นั้นชื่อว่า มรรค เพราะ

อรรถว่า แสวงหา คือ ฆ่ากิเลสทั้งหมดไปสู่พระนิพพาน. เหมือนเสนา

มีองค์ ๔, ดนตรีมีองค์ ๕ ซึ่งเป็นเพียงองค์เท่านั้น ผู้ปลดเปลื้ององค์ไม่มี.

ความประกอบเนือง ๆ ในอันเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘.

บทว่า อิเมส กุสลาน ธมฺมาน ได้แก่ กุศลธรรมอันเป็น

โลกุตตระ ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว. บทว่า อนฺตรายาย ได้แก่ เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

เป็นอันตรายคือเพื่ออันตรธานแห่งโลกุตตรธรรมทั้งหลาย. คือเพื่อสละ

กุศลธรรมที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระในกุศลธรรมเหล่านั้น. ชื่อว่าเป็น

อันตราย เพราะอรรถว่า ไม่ให้โลกุตตรธรรมทั้งหลายเกิดขึ้น. อันตราย

เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่นำความเสียหายมาให้.

บทว่า ตตฺเถเต ได้แก่ อกุศลธรรมเหล่านั้นในอัตภาพนั้น.

บทว่า ปาปกา แปลว่า ลามก.

บทว่า อตฺตภาวสนฺนิสฺสยา ความว่า อกุศลธรรมอันลามก

เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นธรรมอยู่อาศัยในอันตราย เพราะอรรถว่าเข้าไปอาศัย

อัตภาพเกิดขึ้นเป็นอารมณ์ จึงชื่อว่าอันตราย.

บทว่า ทเก แปลว่า ในน้ำ.

บทว่า วุตฺตญฺเหต ความว่า สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้.

บทว่า สานฺเตวาสิโก ความว่า ชื่อว่า สานเตวาสิกะ เพราะ

อรรถว่า อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน. ชื่อว่า สาจริยกะ เพราะ

อรรถว่า อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน.

บทว่า จกฺขุนา รูป ทิสฺวา ได้แก่ เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ

แม้ในบทว่า โสเตน สทฺท สุตฺวา เป็นต้นข้างหน้า ก็นัยนี้แหละ.

บทว่า อุปฺปชฺชนฺติ ได้แก่ ย่อมปรากฏขึ้น.

บทว่า สรสงฺกปฺปา ได้แก่ มีความดำริเกิดขึ้นซ่านไปในอารมณ์

ต่าง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

บทว่า สญฺโชนียา ได้แก่ เกื้อกูลแก่สัญโญชน์ทั้งหลาย ด้วย

ความเจริญ แห่งสัญโญชน์เข้าถึงความเป็นอารมณ์

บทว่า ตยสฺส ความว่า อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ......แห่ง

ภิกษุนั้น.

บทว่า อนฺโต วสนฺติ ความว่า ย่อมอยู่อาศัยในภายในคือในจิต.

บทว่า อนฺวาสฺสวนฺติ ความว่า ย่อมซ่านคือติดตามไปตกแต่ง

ไปตามความสืบเนื่องของกิเลส.

บทว่า เต น ความว่า อกุศลธรรมเหล่านั้น....บุคคลนั้น.

บทว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่ ย่อมประพฤติเอื้อเฟื้อคือย่อมเป็นไป

โดยชอบ.

ชื่อว่าเป็น มลทิน เพราะอรรถว่า เศร้าหมอง.

ชื่อว่าเป็น อมิตร เพราะอรรถว่า เป็นศัตรู.

ชื่อว่าเป็น ข้าศึก เพราะอรรถว่า เป็นผู้จองเวร.

ชื่อว่าเป็น เพชฌฆาต เพราะอรรถว่า ฆ่า.

ชื่อว่าเป็น ศัตรู เพราะอรรถว่า เป็นปัจจามิตร.

อีกอย่างหนึ่ง เป็นมลทิน เหมือนพลาหกเป็นเครื่องเศร้าหมองของ

ดวงอาทิตย์. เป็นอมิตร เหมือนควันของดวงอาทิตย์. เป็นข้าศึกเหมือน

หิมะของดวงอาทิตย์. เป็นเพชฌฆาต เหมือนธุลีของดวงอาทิตย์. เป็น

ศัตรู เหมือนราหูของดวงอาทิตย์.

เป็นมลทิน เหมือนมลทินของทองคำ ทำรัศมีอันวิจิตรให้พินาศ.

เป็นอมิตร เหมือนมลทินของโลหะดำ ทำความน่ารักในความวิจิตรให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

พินาศ. เป็นข้าศึก เหมือนข้าศึกรบกันเป็นคู่ กำจัดธรรมที่ตั้งอยู่ในใจ.

เป็นเพชฌฆาต เหมือนคนฆ่ามนุษย์ ย่อมฆ่าธรรมเสีย. เป็นศัตรู

เหมือนความพินาศของผู้ที่พระราชาประหารห้ามทางพระนิพพาน. อาจารย์

พวกหนึ่งพรรณนาอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อนตฺถชนโน ความว่า ชื่อว่ายังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้

เกิด เพราะอรรถว่า ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์นั้นให้เกิดขึ้น. ธรรมที่ยัง

สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิดขึ้นนั้น คืออะไร ? คือโลภะ.

บทว่า จิตฺตปฺปโกปโน ความว่า ทำจิตให้กำเริบ คือกำจัด.

อธิบายว่า กั้นจิตไว้ไม่ให้บรรลุความดี.

บทว่า ภยมนฺตรโต ชาต ความว่า ภัยหลายอย่างเกิดในภายใน

คือในจิตของตนนั่นเอง คือเป็นเหตุแห่งภัยมีการยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

ให้เกิดเป็นต้น.

บทว่า ต ชโน นาวพุชฺฌติ ความว่า มหาชนที่เป็นพาล ย่อม

ไม่หยั่งรู้ซึ้งถึงภัยนั้น.

บทว่า อตฺถ ความว่า บุคคลผู้โลภย่อมไม่รู้ประโยชน์ที่เป็นโลกิยะ

และโลกุตตระ.

บทว่า ธมฺม ได้แก่ เหตุแห่งประโยชน์นั้น.

บทว่า อนฺธตม ได้แก่ ความมืดตื้อ.

บทว่า ย แปลว่า เพราะเหตุใด หรือคนใด.

บทว่า สหเต แปลว่า ย่อมครอบงำ.

บทว่า อชฺฌตฺต ได้แก่ ในสันดานของตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

บทว่า อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชนฺติ ความว่า พอเกิดขึ้นทีแรก

ก็เกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์. ด้วยบททั้งสองนั้น

หมายถึง เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก.

บทว่า อหิตาย ได้แก่ ทุกข์ทางใจ.

บทว่า ทุกฺขาย ได้แก่ ทุกข์ทางกาย.

บทว่า อผาสุวิหาราย ความว่า ด้วยบททั้งสองนั้นไม่ใช่เพื่อ

ความอยู่เป็นสุข.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อุปฺปชฺมานา อุปฺปชฺชนฺติ ความว่า

ตั้งแต่ภวังคจลนจิต จนถึงโวฏฐัพพนจิต ชื่อว่า เมื่อเกิดขึ้น. เมื่อถึง

โวฏฐัพพนจิตแล้วไม่กลับ ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้น อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนา

อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ตจสารว สมฺผล ความว่า เหมือนไม้ไผ่ซึ่งเป็นไม้มีเปลือก

แข็งต้องพินาศไปด้วยขุยของตนฉะนั้น.

บทว่า อรตี ได้แก่ ไม่พอใจในกุศลธรรมทั้งหลาย.

บทว่า รติ ได้แก่ ความยินดียิ่งในกามคุณ ๕.

บทว่า โลมหโส ได้แก่ มีขนมีปลายชูขึ้นเช่นกับหนาม.

บทว่า อิโตนิทานา ความว่า ชื่อว่า มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เพราะ

อรรถว่า มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ คือเป็นปัจจัย.

๑. ภวังคจลนะ, ภวังคุปัจเฉทะ, ปัญจทวาราวัชชนะ ปัญจวิญญาณ, สัมปฏิจฉันนะ,

สันตีรณะ, โวฏฐัพพนะ....(ในปัญจทวารวิถี)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

บทว่า อิโต ชาตา ความว่า เกิดแต่อัตภาพนี้.

บทว่า อิโต สมุฏฺาย มโนวิตกฺกา ความว่า อกุศลวิตกตั้ง

ขึ้นแต่อัตภาพนี้แล้ว ย่อมปล่อยจิตเหมือนพวกเด็กเอาด้ายยาวผูกตีนกา

เอาปลาด้ายนั้นพันนิ้วมือไว้แล้วปล่อยกาไป กานั้นแม้บินไปไกล ก็กลับ

มาตกแทบเท้าของพวกเด็กเหล่านั้น ฉะนั้น.

พระสูตรแรกที่นำมาอ้างว่า สานฺเตวาสิโก ท่านกล่าวหมายเอา

การอยู่ร่วมด้วยกิเลส.

พระสูตรที่ ๒ ที่นำมาอ้างว่า ตโยเม ภิกฺขเว อนฺตรามลา ท่าน

กล่าวด้วยสามารถการทำกุศลธรรมให้เศร้าหมอง และด้วยสามารถแห่งการ

ไม่รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์.

พระสูตรที่ ๓ ที่นำมาอ้างว่า ตโย โข มหาราช ปุริสสฺส ธมฺมา

อชฺฌตฺต อุปฺปชฺชมานา ท่านกล่าวด้วยสามารถกำจัดนิสัยของตน

พระสูตรที่ ๔ ที่นำมาอ้างว่า ราโค จ โทโส จ อิโตนิทานา

ท่านกล่าวด้วยสามารถแสดงที่ตั้งของกิเลสทั้งหลาย พึงทราบดังนี้

บทว่า ตโต ตโต ปริสฺสยโต ได้แก่ แต่อันตรายนั้น ๆ.

บทว่า ต ปุคฺคล ได้แก่ บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยกิเลส

มีประการดังกล่าวแล้ว.

บทว่า ทุกฺข อนฺเวติ ความว่า ทุกข์ย่อมติดตามเหมือนลูกโคที่

ยังไม่หย่านม ตามหลังแม่โคไป ฉะนั้น.

บทว่า อนุคจฺฉติ ความว่า ย่อมไปใกล้ ๆ เหมือนคนฆ่าโจรตาม

โจรที่ถูกสั่งประหารไปฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

บทว่า อนฺวายิก โหติ ความว่า ย่อมถึงพร้อม เหมือนการ

กำหนดข้อธรรมชี้แจงเนื้อความเป็นอันมากของ ชาติศัพท์ ในบทว่า

ชาติทุกฺข ก่อนเหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า :-

เนื้อความของชาติศัพท์ ท่านประกาศไว้ว่า ภพ สกุล

นิกาย ศีล บัญญัติ ลักษณะ ประสูตร และปฏิสนธิ.

จริงอย่างนั้น ศัพท์ว่า ชาติ มีเนื้อความว่า ภพ ในข้อความเป็นต้น

ว่า เอกมฺปิ ชาตึ เทฺวปิ ชาติโย ภพหนึ่งบ้าง สองภพบ้าง.

มีเนื้อความว่า สกุล ในข้อความนี้ว่า อกฺขิตฺโต อนูปกฏโ

ชาติวาเทน ซัดไป ไม่เข้าไปใกล้ ด้วยวาทะว่าสกุล.

มีเนื้อความว่า นิกาย ในข้อความนี้ว่า อตฺถิ วิสาเข นิคฺคณาฺา

นาม สมณชาติ ดูก่อนวิสาขา ชื่อว่านิครนถ์ทั้งหลายเป็นนิกายสมณะ

มีอยู่.

มีเนื้อความว่า อริยศีล ในข้อความนี้ว่า ยโตห ภคินิ อริยาย

ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดแล้ว โดย

อริยชาติ จะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์เสียจากชีวิตหามิได้.

มีเนื้อความว่า บัญญัติ ในข้อความนี้ว่า ติริยา นาม ติณชาติ

นาภิยา อุคฺคนฺตวา นภ อาหจฺจ ิตา อโหสิ บัญญัติว่าหญ้า ถึง

มีศูนย์กลางสูงขึ้นไปตั้งอยู่จดต้องฟ้า ก็ชื่อว่า ต่ำต้อย.

มีเนื้อความว่า สังขตลักษณะ ในข้อความนี้ว่า ชาติ ทฺวีหิ

ขนฺเธหิ สงฺคหิตา สังขตลักษณะ สงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๒.

๑. ม.ม. ๑๓/๕๓๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

มีเนื้อความว่า ประสูติ ในข้อความนี้ว่า สมฺปติชาโต อานนฺท

โพธิสตฺโต ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์ประสูติบัดเดี๋ยวนี้.

เนื้อความว่า ปฏิสนธิขณะ โดยอ้อม ในข้อความนี้ว่า ภวปจฺจยา

ชาติ ปฏิสนธิขณะมีเพราะภพเป็นปัจจัย. และว่า ชาติปิ ทุกฺขา แม้

ปฏิสนธิขณะก็เป็นทุกข์. แต่โดยตรงมีเนื้อความว่า ความปรากฏครั้ง

แรกแห่งขันธ์นั้น ๆ ที่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้บังเกิดอยู่ในภพนั้น ๆ.

หากจะถามว่า ก็เพราะเหตุไร ชาตินี้จึงเป็นทุกข์ ? พึงตอบว่า

เพราะเป็นที่ตั้งของทุกข์มิใช่น้อย. ก็ทุกข์มิใช่น้อย ได้แก่ ทุกขทุกข์

วิปริณามทุกข์, สังขารทุกข์, ปฏิจฉันนทุกข์, อัปปฏิจฉันนทุกข์,

ปริยายทุกข์, นิปปริยายทุกข์,

บรรดาทุกข์เหล่านี้ ทุกขเวทนาทางกาย ทางใจ ท่านเรียกว่า ทุกข-

ทุกข์ เพราะเป็นทุกข์โดยสภาวะด้วย โดยชื่อด้วย.

สุขเวทนา ท่านเรียกว่า วิปริณามทุกข์, เพราะเป็นเหตุให้เกิด

ทุกข์ในเมื่อแปรปรวนไป.

อุเบกขาเวทนาด้วย, สังขารที่เป็นไปในภูมิ ๓ ที่เหลือลงด้วย, ท่าน

เรียกว่า สังขารทุกข์, เพราะถูกความเจริญและความเสื่อมบีบคั้น.

อาพาธทางกายทางใจ คือ ปวดหู, ปวดฟัน, ความเร่าร้อนเกิด

เพราะโทสะโมหะ, ท่านเรียกว่า ปฏิจฉันนทุกข์, เพราะถามจึงรู้ และ

เพราะมีความพยายามไม่ปรากฏ.

อาพาธที่มีการลงโทษ ๓๒ อย่างเป็นต้น เป็นสมุฏฐาน ท่านเรียก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

ว่า อัปปฏิจฉันนทุกข์, เพราะไม่ต้องถามก็รู้ และเพราะมีความพยายาม

ปรากฏ.

ทุกข์ที่เหลือ นอกจากทุกขทุกข์ มาแล้วในคัมภีร์สัจจวิภังค์.

ทุกข์แม้ทั้งหมดมีชาติเป็นต้น ท่านเรียกว่า ปริยายทุกข์ เพราะ

เป็นที่ตั้งของทุกข์นั้น ๆ. ส่วนทุกขทุกข์ ท่านเรียกว่า ทุกข์โดยตรง.

บรรดาทุกข์เหล่านั้น ชาติทุกข์นี้ ได้แก่ ทุกข์ที่เป็นไปในอบาย

แม้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นอุปมาไว้ในพาลปัณฑิตสูตรเป็นต้น. และ

ทุกข์ประเภทที่มีความเกิดในครรภ์เป็นมูลเป็นต้น ที่เกิดในมนุษยโลก แม้

ในสุคติ. ชาติเป็นทุกข์เพราะความเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์นั้น. ในทุกข์เหล่านั้น

ทุกข์ประเภทที่มีความเกิดในครรภ์เป็นมูลเป็นต้น ดังต่อไปนี้.

ความจริง สัตว์นี้เมื่อบังเกิดในครรภ์ของมารดา มิใช่บังเกิดใน

ดอกอุบล ดอกปทุมและดอกบุณฑริกเป็นต้น ที่แท้บังเกิดในส่วนของ

ร่างกายที่เป็นท้อง ตรงกลางระหว่างแผ่นท้องและกระดูกสันหลัง อยู่ใต้

กระเพาะอาหารใหม่. เหนือกระเพาะอาหารเก่า เป็นที่คับแคบอย่างยิ่ง

มืดตื้อ อบไปด้วยกลิ่นซากศพต่าง ๆ และมีกลิ่นเหม็นอย่างยิ่งอัดแน่น น่า

รังเกียจอย่างยิ่ง เหมือนหนอนในปลาเน่า ขนมสดบูดเน่าและส้วมซึม

เป็นต้น สัตว์ที่เกิดในครรภ์นั้นต้องอยู่ในครรภ์มารดาถึง ๑๐ เดือน จึง

ร้อนเหมือนอาหารที่สุกแต่ความร้อน. จมอยู่เหมือนก้อนแป้ง เว้นจากการ

คู้เข้าและการเหยียดออกเป็นต้น ย่อมเสวยทุกข์มีประมาณยิ่งแล ทุกข์มี

ความเกิดในครรภ์เป็นมูล เท่านี้ก่อน.

สัตว์นั้น เวลาที่มารดาลื่นพลาด เดินนั่งลุกและพลิกตัวโดยพลัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

เป็นต้น เป็นเหมือนแกะอยู่ในมือของนักเลงสุรา และเหมือนลูกงูอยู่

ในมือของคนเล่นงู ย่อมเสวยทุกข์มีประมาณยิ่ง ด้วยความพยายามมีฉุด

กระชากลากถูเป็นต้น. สัตว์นั้น เวลาที่มารดาดื่มน้ำเย็น ก็เป็นเหมือนตก

สีตนรก เวลามารดากลืนกินข้าวยาคูและภัตตาหารที่ร้อน ก็เหมือนถูกโปรย

ด้วยเม็ดฝนถ่านเพลิง, เวลาที่มารดากลืนกินของเค็มของเปรี้ยวเป็นต้น ก็

เหมือนถูกลงโทษ มีราดด้วยน้ำด่างเป็นต้น ย่อมเสวยทุกข์หนัก. นี้เป็น

ทุกข์ซึ่งมีการบริหารครรภ์เป็นมูล.

อนึ่ง ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์นั้น ด้วยการตัดและการผ่าเป็นต้น

ในที่เกิดทุกข์ ซึ่งแม้มิตรอำมาตย์และเพื่อนเป็นต้นของมารดาผู้หลงครรภ์

ก็ไม่ควรเห็น นี้เป็นทุกข์ซึ่งมีความวิบัติแห่งครรภ์เป็นมูล.

เมื่อมารดาคลอด ทุกข์ย่อมเกิดแก่สัตว์นั้น ผู้ถูกลมกัมมชวาตพัดให้

ตกลงตรงทางกำเนิดซึ่งน่ากลัวยิ่ง เหมือนตกนรก ถูกคร่าออกทางปาก

ช่องกำเนิดที่คับแคบอย่างยิ่งเหมือนช่องกุญแจ เหมือนสัตว์นรกมหานาค

ที่ถูกภูเขาบดแหลกละเอียด นี้เป็นทุกข์ซึ่งมีการคลอดเป็นมูล.

อนึ่ง ในเวลาที่เขาจับมือให้อาบน้ำทำความสะอาดและเช็ดคูถด้วยผ้า

ซึ่งสรีระของเด็กอ่อนอันเช่นกับแผลอ่อนเป็นต้น ทุกข์เช่นกับการเจาะและ

การผ่าด้วยคมมีดโกนซึ่งคมเหมือนปากยุง ย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้เกิดแล้ว

นี้เป็นทุกข์ซึ่งมีการออกภายนอกครรภ์มารดาเป็นมูล.

ในความเป็นไปต่อแต่นั้น ทุกข์ย่อมมีแก่สัตว์ผู้ฆ่าตนด้วยตนนั่น

แหละ ผู้ประกอบความเพียรด้วยการทรมานตนและการเผากิเลสด้วยการ

ประพฤติวัตรของอเจลกเป็นต้น ผู้ไม่บริโภคอาหารและหงุดหงิดเพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

โกรธ นี้เป็นทุกข์ซึ่งมีความขวนขวายของตนเป็นมูล.

อนึ่ง ทุกข์ย่อมเกิดแก่สัตว์ผู้เสวยกรรมมีการฆ่าและการจองจำเป็น

ต้นแต่ผู้อื่น นี้เป็นทุกข์ซึ่งมีความขวนขวายของผู้อื่นเป็นมูล. ทุกข์

แม้ทั้งหมดนี้ ล้วนมีชาติเป็นที่ตั้งทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้. ชาติทุกข์นี้

ย่อมติดตามไป.

บทว่า ชราทุกฺข ได้แก่ ชรา ๒ อย่าง คือ ลักษณะที่ปรุงแต่ง ๑

ความเก่าแห่งขันธ์ที่เนื่องด้วยเอกภพในสันตติ ที่รู้กันว่าฟันหักเป็นต้น ๑.

ชรานั้นท่านประสงค์เอาในที่นี้, ก็ชรานี้นั้น เป็นทุกข์เพราะความเป็นทุกข์

ในสังสารวัฏ และเพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์. ทุกข์ทางกายและทางใจ ซึ่ง

มีปัจจัยไม่น้อย เป็นต้นว่าความหย่อนยานแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ ความมีรูป

เปลี่ยนไปเพราะความวิการแห่งอินทรีย์ ความเป็นหนุ่มสาวสิ้นไป ความ

เพียรอ่อนลง ความปราศจากสติและมติ และความดูแคลนแค่ผู้อื่นนี้ย่อม

เกิดขึ้น.

ชราเป็นที่ดังแห่งทุกข์นั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า :-

สัตว์ย่อมถึงทุกข์ ทางกายทุกข์ทางใจ เพราะอวัยวะ

หย่อนยาน, อินทรีย์ทั้งหลายพิการ, ความเป็นหนุ่มสาว

สิ้นไป, ความบั่นทอนกำลัง, ปราศจากสติเป็นต้น บุตร

และทาระของตนไม่เสื่อมใส, ถึงความอ่อนยิ่ง ๆ ขึ้น,

เพราะทุกข์ทั้งหมดนั้นมีชราเป็นเหตุ ฉะนั้น ชราจึงเป็น

ทุกข์.

เชื่อมความว่า ชราทุกข์นี้ย่อมติดตาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

บทว่า พฺยาธิ ความว่า ชื่อว่า พยาธิ เพราะนำทุกข์ ๒ อย่าง

มา. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า พยาธิ เพราะอรรถว่า ให้ลำบาก ให้เดือด

ร้อน ให้หวั่นไหว.

แม้ในบทว่า มรณทุกฺข นี้ก็มีความตาย ๒ อย่าง คือลักษณะที่

ปรุงแต่ง ๑. ซึ่งท่านกล่าวหมายเอาว่า ชราและมรณะ สงเคราะห์ด้วย

ขันธ์ ๒ ดังนี้ และความตัดขาดแห่งการเกี่ยวเนื่องกัน ของชีวิตินทรีย์ที่

เนื่องด้วยเอกภพ ๑ ซึ่งท่านกล่าวหมายเอาว่า ความกลัวแต่ความตายเป็น

นิจ ดังนี้. ในที่นี้ ประสงค์เอามรณะนั้น แม้คำว่า มรณะเพราะชาติเป็น

ปัจจัย คือมรณะเพราะความขวนขวายของผู้อื่น มรณะเพราะสิ้นอายุ

มรณะเพราะสิ้นบุญ ก็เป็นชื่อของมรณะนั้นแหละ. พึงทราบประเภทแม้นี้

อีกว่า ขณิกมรณะ สมมติมรณะ สมุจเฉทมรณะ.

เมื่อชีวิตยังเป็นไป ความแตกแห่งรูปธรรมและนามธรรม ชื่อว่า

ขณิกมรณะ, คำนี้ว่า ติสสะตาย ปุสสะตาย ดังนี้ ชื่อว่าสมมติมรณะ,

โดยปรมัตถ์ เพราะไม่มีสัตว์ แม้คำนี้ว่า ข้าวกล้าตาย ต้นไม้ตาย ดังนี้

ก็ชื่อว่าสมมติมรณะ เพราะไม่มีชีวิตินทรีย์, กาลกิริยาอันไม่มีปฏิสนธิ

ของพระขีณาสพ ชื่อว่าสมุจเฉทมรณะ.

สมมติมรณะนอกนี้ เว้นสมมติมรณะภายนอกเสีย ท่านสงเคราะห์

ในที่นี้ด้วยความตัดขาดแห่งการเกี่ยวเนื่องกันตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่าเป็น

ทุกข์ก็เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า :-

คนชั่วพิจารณานิมิต มีกรรมชั่วเป็นต้น. คนดี

อดกลั้นความวิโยคซึ่งมีของรักเป็นที่ตั้ง. ทั้งคนชั่วคนดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

เมื่อตาย ย่อมมีทุกข์ใจไม่ต่างกัน. อีกอย่างหนึ่ง คนทั้ง

หมดเมื่อถูกแทงจุดสำคัญของร่างกาย ย่อมมีทุกข์เกิดแต่

ร่างกาย มีการตัดที่ต่อที่ผูกพันเป็นต้นซึ่งเป็นที่รัก เพราะ

การไม่แก้ไขทุกข์นี้ เป็นเรื่องทนไม่ได้ ฉะนั้นมรณะซึ่ง

เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์นี้ ท่านจึงกล่าวว่าเป็นทุกข์เหมือนกัน.

ในบทว่า โลกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสทุกฺข นี้มีวินิจฉัย

ดังต่อไปนี้ บรรดาความโศกเป็นต้น ความเดือนร้อนใจของผู้ที่ถูกความ

ฉิบหายแห่งญาติเป็นต้น ถูกต้อง โดยลักษณะเพ่งภายใน ชื่อว่าความ

โศก. ก็ความโศกมีความทุกข์เป็นอรรถ เพราะความโศกนั้นเป็นทุกข

ทุกข์ และเพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า :-

ความโศกย่อมแทงหทัยของสัตว์ทั้งหลาย ดุจลูก-

ศรอาบยาพิษ ย่อมเผาสัตว์อีก เหมือนกรงเหล็กที่ไฟติด

แดงเผาแกลบ ฉะนั้น ความโลกย่อมนำมาซึ่งความทำลาย

กล่าวคือพยาธิ ชรา และ มรณะ และนำมาซึ่งทุกข์มี

อย่างต่าง ๆ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่าทุกข์.

การพร่ำรำพันของผู้ที่ถูกความฉิบหายแห่งญาติเป็นต้นถูกต้อง ชื่อ

ว่า ปริเทวะ. ก็ปริเทวะนั้นมีความทุกข์เป็นอรรถ เพราะเป็นทุกข์ใน

สังสารวัฏ และเพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า :-

เพราะบุคคลถูกลูกศรคือความโศกแทงแล้วคร่ำ

ครวญอยู่ย่อมถึงทุกข์ เกิดแต่โรคคอ ริมฝีปาก เพดาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

ลำคอและโรคผอมแห้ง ประมาณอย่างยิ่งจนทนไม่ได้

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสปริเทวะว่า เป็นทุกข์.

ความทุกข์ทางกายมีลักษณะบีบคั้นกาย ชื่อว่าทุกข์. ก็ทุกข์นั้น

ความทุกข์เป็นอรรถ เพราะทุกข์นั้นเป็นทุกขทุกข์ คือเพราะนำมา

ซึ่งทุกข์ทางกายด้วย เพราะนำมาซึ่งทุกข์ทางใจด้วย. เพราะเหตุนั้นท่าน

จึงกล่าวว่า :-

เพราะทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจนี้ ย่อมบีบคั้น

ยิ่ง ทั้งให้เกิดทุกข์ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทุกข์เป็น

พิเศษ.

ความทุกข์ทางใจมีลักษณะบีบคั้นใจ ชื่อว่าโทมนัส ก็โทมนัสนั้นมี

ความทุกข์เป็นอรรถ เพราะโทมนัสนั้นเป็นทุกขทุกข์ และเพราะนำมา

ซึ่งทุกข์ทางกาย จริงอยู่ ผู้ที่เพียบพร้อมด้วยทุกข์ทางใจ ย่อมสยายผม

ทุบอก หมุนไปหมุนมาตกหลุมที่เขาขุดไว้ นำศัสตรามา ดื่มยาพิษ ผูกคอ

ตาย เข้ากองไฟ ย่อมเสวยทุกข์มีประการต่าง ๆ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า

เพราะโทมนัสย่อมบีบคั้นใจ และนำมาซึ่งความ

บีบคั้นกาย ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทุกข์.

ความคับแค้น ที่เกิดแต่ความทุกข์ทางใจ ซึ่งมีประมาณยิ่ง ของผู้ที่

ถูกความฉิบหายแห่งญาติเป็นต้นถูกต้องนั่นแล ชื่อว่าอุปายาส. อาจารย์

พวกหนึ่งกล่าวว่า เป็นธรรมอย่างหนึ่งซึ่งเนื่องด้วยสังขารขันธ์. อุปายาส

๑. ทุกขทุกข์ หมายเอา ทุกขเวทนา ในที่ทุกแห่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

นั้นมีความทุกข์เป็นอรรถ เพราะอุปายาสนั้นเป็นทุกข์เพราะเป็นสังขาร-

ธรรม คือเพราะเผาใจ และเพราะทำกายให้ตกต่ำ เพราะเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า :-

เพราะอุปายาสให้เกิดทุกข์ มีประมาณยิ่ง คือเผาใจ

และทำกายให้ตกต่ำ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทุกข์.

อนึ่ง ในบทนี้ ความโศก พึงเห็นเหมือนการหุงต้มภายในภาชนะ

ด้วยไฟอ่อน ๆ. ปริเทวะ พึงเห็นเหมือนการล้นออกนอกภาชนะของ

อาหารที่หุงต้มด้วยไฟแรง. อุปายาส พึงเห็นเหมือนการเคี้ยวอาหารที่

เหลือจากล้นออกภายนอก ล้นออกไม่ได้อีก เคี่ยวภายในภาชนะนั่นแหละ

จนกว่าจะหมด.

บทว่า เนรยิกทุกฺข ความว่า ทุกข์มีการจองจำ ๕ ประการเป็น

ต้น ในนรก ย่อมติดตาม ทุกข์นั้นพึงแสดงด้วยเทวทูตสูตร เพราะเหตุ

นั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า :-

ถ้าสัตว์ไม่พึงเกิดในนรกทั้งหลาย พึงได้ทุกข์มีถูก

ไฟไหม้เป็นต้น ซึ่งทนไม่ได้ในที่นั้น ๆ อันจะเป็นเครื่อง

ค้ำจุน ที่ไหนได้ ฉะนั้น พระมหามุนีจึงตรัสการเกิดในโลก

นี้ว่า ทุกข์ดังนี้.

บทว่า ติรจฺฉานโยนิกทุกฺข ความว่า ทุกข์หลายอย่างมีหวดด้วย

แส้ และแทงด้วยประตักเป็นต้น ในหมู่เดรัจฉาน ย่อมติดตาม. ทุกข์นั้น

พึงถือเอาแต่พาลปัณฑิตสูตร. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

ทุกข์ในเดรัจฉานทั้งหลาย เกิดแต่ถูกพิฆาตด้วยแส้

ประตักและท่อนไม้เป็นต้น ไม่น้อยนั้น พึงมีในชาตินั้น

อย่างไร นอกจากการเกิดในเดรัจฉาน การเกิดในที่นั้น ๆ

เป็นทุกข์ แม้เพราะเหตุนั้น.

บทว่า ปิตฺติวิสยิกทุกฺข ความว่า ทุกข์ที่บังเกิดแต่ความหิว

กระหายและลมแดดเป็นต้น ในเปรตทั้งหลายด้วย ทุกข์ที่เกิดแต่หนาวจน

ทนไม่ได้เป็นต้น ในโลกันต์ซึ่งมืดตื้อด้วย ย่อมติดตาม เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวไว้ว่า :-

ก็ทุกข์ในเปรตทั้งหลาย เกิดแต่ความหิวกระหาย

และลมแดดเป็นต้น วิจิตร เพราะไม่มีแก่ผู้ที่ไม่เกิดใน

เปรตนั้น ฉะนั้นพระมหามุนีจึงตรัสว่า ชาติเป็นทุกข์.

ทุกข์ในอสูรทั้งหลายในโลกันต์ ซึ่งมืดตื้อและหนาวจนทน

ไม่ได้นั้น ไม่พึงมีแก่ผู้ไม่เกิดในที่นั้น ฉะนั้น ชาติการ

เกิดนี้จึงเป็นทุกข์.

บทว่า มานุสกทุกฺข ได้แก่ ทุกข์มีการฆ่าและการจองจำเป็นต้น

ในมนุษย์ทั้งหลาย.

บทว่า คพฺโภกฺกนฺติมูลกทุกฺข ได้แก่ ชาติทุกข์ที่กล่าวไว้โดย

นัยเป็นต้นว่า ความจริง สัตว์นี้เมื่อบังเกิดในครรภ์ของมารดา มิใช่บังเกิด

ในดอกอุบล ดอกปทุม และดอกบุณฑริกเป็นต้น ดังนี้. ในเบื้องแรก

ทุกข์มีความเกิดในครรภ์เป็นมูลนี้ก็ย่อมติดตามไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

บทว่า คพฺเภ ิติมูลกทุกฺข ได้แก่ ทุกข์กล้าที่กล่าวไว้โดยนัย

เป็นต้นว่า สัตว์นั้น เวลาที่มารดาลื่นพลาด เดิน นั่ง ลุก และพลิกตัว

โดยพลันเป็นต้น. นี้คือ ทุกข์มีความตั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ย่อมติดตามไป.

บทว่า คพฺภวุฏฺานมูลกทุกฺข ได้แก่ ทุกข์ที่กล่าวไว้โดยนัย

เป็นต้นว่า ในที่เป็นที่เกิดแห่งทุกข์ ซึ่งแม้มิตรอำมาตย์และเพื่อนของ

มารดาผู้หลงครรภ์เป็นต้น ก็ไม่ควรเห็น. นี้คือ ทุกข์มีการออกนอกครรภ์

มารดาเป็นมูล ย่อมติดตามไป. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า :-

อนึ่ง สัตว์อยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งเหมือนนรกคูถ

ครบกำหนดก็ตลอดออกภายนอก ซึ่งทุกข์ที่น่ากลัวขึงแม้นี้

เว้นชาติการเกิดเสีย ย่อมไม่มี พูดไปมากก็ไม่ได้ประโยชน์

อะไร ในที่ไหน ๆ มิใช่หรือ แม้ทุกข์อะไร ๆ นี้จะมีอยู่ใน

โลกนี้ในบางคราว เมื่อเว้นชาติเสียได้ ก็จะไม่มีเลย.

ฉะนั้น พระผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่จึงตรัสชาตินี้ว่า ทุกข์

ก่อนอะไรทั้งหมด.

บทว่า ชาตสฺสุปนิพนฺธิกทุกฺน ความว่า ทุกข์คือการบำรุงเลี้ยง

มีการอาบ ไล้ ทา กิน ดื่มเป็นต้น ซึ่งติดตามสัตว์ที่เกิดแล้ว ย่อม

ติดตามไป.

บทว่า ชาตสฺส ปราเธยฺยกทุกฺข ความว่า ทุกข์ที่ไม่มีอิสระ

ต้องอาศัยผู้อื่น คือบุคคลอื่น ย่อมติดตามไป มีอธิบายว่า ตกอยู่ใน

อำนาจของผู้อื่นทุกอย่าง เป็นทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

บทว่า อตฺตูปกฺกมทุกฺข ได้แก่ ทุกข์ที่มีแก่สัตว์ผู้ฆ่าตนด้วยตน

นั่นแหละ ผู้ประกอบความเพียรด้วยการทรมานตนและการเผากิเลส ด้วย

การประพฤติวัตรของอเจลกเป็นต้น ผู้ไม่บริโภคอาหารและหงุดหงิดเพราะ

ความโกรธ. นี้คือทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของตน ย่อมติดตามไป.

บทว่า ปรูปกฺกมทุกฺข ได้แก่ ทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้เสวยกรรม

มีการฆ่าและการจองจำเป็นต้นแต่ผู้อื่น. นี้คือทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวาย

ของผู้อื่น ย่อมติดตามไป.

บทว่า ทุกฺขทุกฺข ความว่า ทุกขเวทนาทางกายและทางใจ ท่าน

เรียกว่า ทุกขทุกข์ เพราะเป็นทุกข์โดยสภาวะและโดยชื่อ ทุกขทุกข์นี้

ย่อมติดตามไป.

บทว่า สงฺขารทุกฺข ได้แก่ อุเบกขาเวทนา และสังขารธรรม

ที่เป็นไปในภูมิ ๓ ที่เหลือ ชื่อว่า สังขารทุกข์ เพราะถูกความเจริญและ

ความเสื่อมบีบคั้น. สังขารทุกข์นี้ ย่อมติดตามไป.

บทว่า วิปริณามทุกฺข ได้แก่ สุขเวทนา ชื่อว่าวิปริณามทุกข์

เพราะเป็นเหตุแห่งทุกข์ในเมื่อแปรปรวน ก็วิปริณามทุกข์นี้ ย่อมติดตาม

บทว่า มาตุมรณ ได้แก่ ความตายของมารดา. บทว่า ปิตุมรณ

ได้แก่ ความตายของบิดา. บทว่า ภาตุมรณ ได้แก่ ความตายของพี่ชาย

น้องชาย. บทว่า ภคินีมรณ ได้แก่ ความตายของพี่สาวน้องสาว.

บทว่า ปุตฺตมรณ ได้แก่ ความตายของบุตรทั้งหลาย. บทว่า ธีตุมรณ

ได้แก่ความตายของธิดาทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

บทว่า าติพฺยสนทุกฺข ความว่า ความฉิบหายแห่งญาติทั้งหลาย

ชื่อว่า ญาติพยสนะ อธิบายว่า ความสิ้นไปแห่งญาติ ด้วยโจรภัย

และโรคภัยเป็นต้น เป็นความฉิบหายแห่งญาติ. ทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่สัตว์

ผู้ถูกความฉิบหายแห่งญาตินั้นถูกต้อง คือท่วมทับ ครอบงำ ชื่อว่า ทุกข์

เพราะความฉิบหายแห่งญาติ ทุกข์คือความฉิบหายแห่งญาตินั้น ย่อม

ติดตามไป แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้แหละ ส่วนความต่างกันมีดังนี้:-

ความฉิบหายแห่งโภคะทั้งหลาย ชื่อว่าโภคพยสนะ อธิบายว่า

ความสิ้นไปแห่งโภคะเพราะราชภัยและโจรภัยเป็นต้น เป็นความฉิบหาย

แห่งโภคะ. ทุกข์คือความฉิบหายแห่งโภคะนั้น ย่อมติดตามไปโดยนัยที่

กล่าวแล้ว.

บทว่า โรคพฺยสน ความว่า ความฉิบหายคือโรค ชื่อว่า โรค-

พยสนะ ก็โรคชื่อว่าความฉิบหายเพราะอรรถว่า ยังความไม่มีโรคให้

ฉิบหายคือให้พินาศ ทุกข์คือความฉิบหายเพราะโรคนั้น ย่อมติดตามไป

โดยนัยที่กล่าวแล้ว.

บทว่า สีลพฺยสนทุกฺข ความว่า ความฉิบหายแห่งศีล ชื่อว่า

สีลพยสนะ บทนี้เป็นชื่อของความเป็นผู้ทุศีล ทุกข์คือความฉิบหายแห่ง

ศีลนั้น ย่อมติดตามไปโดยนัยที่กล่าวแล้ว.

ความฉิบหายคือทิฏฐิที่เกิดขึ้นยังสัมมาทิฏฐิให้พินาศ ชื่อว่า ทิฏฐิ-

พยสนะ ทุกข์คือความฉิบหายแห่งทิฏฐินั้น ย่อมติดตามไปโดยนัยที่กล่าว

แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

และบรรดาบทเหล่านี้ ๒ บทแรกไม่สำเร็จประโยชน์ ๓ บทหลัง

สำเร็จประโยชน์ กำจัดลักษณะ ๓ อนึ่ง ๓ บทแรก เป็นกุศลก็ไม่ใช่

เป็นอกุศลก็ไม่ใช่ ความฉิบหายแห่งศีลและทิฏฐิทั้งสอง เป็นอกุศล.

บทว่า ยถา ลงในอรรถแห่งอุปมา.

บทว่า ภินฺน นาว ได้แก่เรือที่มีเครื่องผูกหย่อน เป็นเรือคร่ำ

คร่าหรือมีแผ่นกระดานหลุดถอน.

บทว่า ทีเปสึ ได้แก่ น้ำไหล คือน้ำเข้าไป.

บทว่า ตโต ตโต อุทก อนฺเวติ ความว่า น้ำย่อมเข้า

ไปตรงที่แตกนั้น ๆ.

บทว่า ปุรโตปิ ได้แก่ ทางส่วนข้างหน้าของเรือบ้าง.

บทว่า ปจฺฉโตปิ ได้แก่ ทางส่วนข้างหลังของเรือนั้นบ้าง.

บทว่า เหฏโตปิ ได้แก่ ทางส่วนท้องเรือบ้าง.

บทว่า ปสฺสโตปิ ได้แก่ ทางข้างทั้งสองบ้าง. บทใดที่มิได้

กล่าวไว้ในระหว่าง ๆ บทนั้นพึงทราบโดยแนวแห่งพระบาลี.

เพราะฉะนั้น สัตว์เป็นผู้มีสติทุกเมื่อ ด้วยการเจริญกายคตาสติ

เป็นต้น เมื่อเว้นกิเลสกามแม้มีประการทั้งปวง ในวัตถุกามทั้งหลายมีรูป

เป็นต้น พึงเว้นกามทั้งหลายด้วยข่มไว้และตัดขาด. ละกามทั้งหลายเหล่า

นั้นด้วยอาการอย่างนี้แล้ว พึงข้าม พึงอาจเพื่อจะข้ามโอฆะแม้ทั้ง ๔ อย่าง

ด้วยมรรคเครื่องการทำการละกามนั้นนั่นแล. ต่อนั้น พึงวิดเรือคืออัตภาพ

ซึ่งหนักด้วยน้ำคือกิเลส พึงเป็นผู้ถึงฝั่งด้วยอัตภาพเบาเหมือนบุรุษวิดเรือ

หนัก. พึงเป็นผู้ถึงฝั่ง พึงถึงซึ่งฝั่งด้วยเรือเบา โดยลำบากน้อยนั่นเทียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

ฉะนั้น. เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งพระสัทธรรม คือพระนิพพาน พึงถึงด้วยการ

บรรลุพระอรหัตต์ คือด้วยการปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

พระสารีบุตรเถระจบเทศนาด้วยอดคือพระอรหัตต์ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะทุกข์มีชาติเป็นต้น ย่อมติดตาม

บุคคลนั้นฉะนั้น คือเหตุนั้น. แม้ในบทว่า ตเหตุ เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ

เพราะทุกข์มีประการดังกล่าวแล้วย่อมติดตามบุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น

เพราะทุกข์ย่อมติดตาม เพราะปัจจัยนั้น เพราะทุกข์ย่อมติดตาม เพราะ

นิทานนั้น พึงประกอบบทอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า เหตุ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของบทว่า การณะ. ก็การณะ

ชื่อว่า เหตุ เพราะอรรถว่า มีผลเกิดขึ้น คือเป็นไปด้วยเหตุนั้น.

ชื่อว่า ปัจจัย เพราะอรรถว่าผลย่อมอาศัยธรรมนั้นเกิดและเป็นไป.

ชื่อว่า นิทาน เพราะอรรถว่า ย่อมมอบให้ซึ่งผลของตน ดุจ

แสดงว่า เชิญท่านทั้งหลายถือเอาสิ่งนั้นเถิด.

บทว่า ตการณา ห้ามธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ.

บทว่า ตเหตุ ปฏิเสธสิ่งที่ไม่ใช่เหตุและเหตุแห่งมหาภูต.

บทว่า ตปฺปจฺจยา ปฏิเสธปัจจัยที่ไม่ทั่วไปกับธรรมที่ไม่ใช่ปัจจัย.

บทว่า ตนิทานา หมายเหตุในอาคมและนิคมกับทั้งธรรมที่ไม่ใช่

เหตุ อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า เอต อาทีนว สมฺปสฺสมาโน ความว่า ดูอยู่ คือเห็น

อยู่โดยชอบซึ่งอันตรายนั้นคือมีประการดังกล่าวแล้ว ด้วยวิปัสสนาญาณ.

บทว่า สทา เป็นบทตั้ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

บทว่า ปุน สทา เป็นบทขยายความ.

บทว่า สทา ได้แก่ ทุกวัน.

บทว่า สพฺพทา ได้แก่ ทุกเวลา.

บทว่า สพฺพกาล ได้แก่ ตลอดกาลทั้งปวงมีเวลาเช้าเป็นต้น

บทว่า นิจฺจกาล ได้แก่ ทุกวัน ๆ.

บทว่า ธุวกาล ได้แก่ ตลอดกาลไม่ขาด.

บทว่า สตต ได้แก่ ไม่มีระหว่าง.

บทว่า สมิต ได้แก่ เป็นอันเดียวกัน.

บทว่า อพฺโพกิณฺณ ได้แก่ ไม่เจือปนอย่างอื่น.

บทว่า โปกฺขานุโปกฺข ความว่าสืบต่อโดยลำดับ ดุจในประโยค

เป็นต้นว่า ย่อมปรากฏติดตามกันไปไม่ผิดพลาด.

บทว่า อุทกุมฺมิกชาต ได้แก่ เหมือนลูกคลื่นในน้ำที่บังเกิด

ขึ้น.

บทว่า อวีจิ ได้แก่ ไม่เบาบาง.

บทว่า สนฺตติ ได้แก่ ไม่ขาดระยะ.

บทว่า สหิต ได้แก่ สืบต่อ เป็นอันเดียวกัน ดุจในประโยค

เป็นต้นว่าของข้าพเจ้าสืบต่อกัน ของท่านไม่สืบต่อกัน.

บทว่า ผุสิต ได้แก่ ถูกต้องในที่ลมผ่านไม่ได้ ดุจในประโยค

เป็นต้นว่า ขัดกลอน ดังนี้.

สองบทว่า ปุเรภตฺต ปจฺฉาภตฺต กล่าวแบ่งเวลาในกลางวัน

๑. ฉบับเทวนาครี เป็น โปงฺขานุโปงฺข.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

สามบทว่า ปุริมยาม มชฺฌิมยาม ปจฺฉิมยาม กล่าวแบ่งเวลา

ในกลางคืน.

สองบทว่า กาเฬ ชุณฺเห กล่าวถึงกึ่งเดือน.

สามบทว่า วสฺเส เหมนฺเต คิมฺเห กล่าวถึงฤดู.

สามบทว่า ปุริเม วโยขนฺเธ มชฺฌิเม วโยขนฺเธ ปจฺฉิเม

วโยขนฺเธ กล่าวแบ่งวัย พึงทราบดังนี้.

บทเริ่มต้นว่า สโตติ กาเย กายานุปสฺสนาสติปฏฺาน

ภาเวนฺโต สโต จนถึงบทสุดท้ายว่า เอว สมุจฺเฉทโต กาเม

ปริวชฺเชยฺย ดังนี้ มีเนื้อความตามที่ได้กล่าวแล้วนั่นแล.

อนึ่ง บทว่า สตตฺตา สโต ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะ

ความเป็นผู้มีสติ ด้วยความเป็นผู้ข้องอยู่ในวัตถุ ๓ หรือด้วยความเป็นผู้

สามารถเพื่อจะก้าวล่วงกิเลส ๓.

บทว่า สนฺตตฺตา ความว่าชื่อว่า เป็นผู้มีสติด้วยการยังกิเลสและ

อุปกิเลสให้หนีไปดำรงอยู่ และเพราะเปลื้องจากอารมณ์แล้วสงบ.

บทว่า สมิตตฺตา ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มี สติ เพราะเป็นผู้สงบ

ด้วยบุญที่ให้ผลอันน่าปรารถนา และจากบาปที่ให้ผลอันไม่น่าปรารถนา.

บทว่า สนฺตธมฺมสมนฺนาคตตฺตา ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ

เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ โดยเสพสัปปุริสธรรม

และเสวนากับพระอริยบุคคลมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น.

บทว่า วตฺถุกาเม ปริชานิตฺวา ความว่า รู้วัตถุกามที่เป็นไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

ในภูมิ ๓ ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วเหล่านั้น ด้วยตีรณปริญญา.

บทว่า ปหาย ได้แก่ ละขาดกิเลสกามด้วย ปหานปริญญา.

บทว่า ปชหิตฺวา ได้แก่ทิ้งแล้ว. ท่านอธิบายไว้ว่าบรรเทา

กิเลสกาม เหมือนทิ้งหยากเยื่อด้วยตะกร้าหรือ หามิได้เลย ที่แท้บรรเทา

กิเลสกามนั้น คือข้าม นำออก ทำกิเลสกามให้สูญสิ้นเหมือนแทงโคงาน

ที่โกงด้วยประตักหรือ ? หามิได้เลย ที่แท้ทำให้สูญสิ้นซึ่งกิเลสกามนั้น

คือกระทำให้มีที่สุดไปปราศแล้ว คือกระทำกิเลสกามนั้นโดยประการที่

แม้ที่สุดก็จักไม่เหลือ แม้เพียงการทำลายโดยกำหนดมีในที่สุด ให้ถึงความ

ไม่มีว่า อย่างไรจึงจะทำกิเลสกามนั้นด้วยประการนั้น คือกระทำโดย

ประการที่ตัดขาดกิเลสกามด้วยสมุจเฉทปหานดังนี้ แม้ในกามฉันทนิวรณ์

เป็นต้นก็นัยนี้.

ในบทว่า กาโมฆ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ความกำหนัดที่

เป็นไปในกามคุณ ๕ ท่านเรียกว่า กาโมฆะ เพราะอรรถว่า จมลง.

บทว่า ภโวโฆ ได้แก่ ฉันทราคะในรูปภพและอรูปภพ และ

ความยินดีในฌาน.

บทว่า ทิฏโโฆ ได้แก่ ความปรารถนาในภพที่ประกอบด้วย

สัสสตทิฏฐิเป็นต้นนั่นแล. ทิฏโฐฆะย่อมถึงการรวมลงในภโวฆะนั่นเอง.

อวิชโชฆะได้แก่ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔.

ในโอฆะเหล่านั้น เมื่อบุคคลยินดีใส่ใจกามคุณทั้งหลาย กาโมฆะ

ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และที่เกิดแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น.

เมื่อบุคคลยินดีใส่ใจมหัคคตธรรมทั้งหลาย ภโวฆะที่ยังไม่เกิดก็เกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

ขึ้น และที่เกิดแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น. อวิชโชฆะ (อาศัยกามโอฆะ ) ที่ยัง

ไม่เกิดก็เกิดขึ้น และที่เกิดแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น ด้วยความเป็นปทัฏฐานแห่ง

วิปัลลาส ๔ ในธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ พึงทราบดังนี้ ธรรมฝ่ายขาว

พึงให้พิสดารโดยตรงกันข้ามกับนัยที่กล่าวแล้ว.

ผู้ปฏิบัติอัปปณิหิตวิโมกข์ พึงข้ามกาโมฆะได้. ผู้ปฏิบัติอนิมิตต-

วิโมกข์ พึงข้ามภโวฆะได้. ผู้ปฏิบัติสุญญตวิโมกข์ พึงข้ามอวิชโชฆะได้.

พึงข้ามด้วยปฐมมรรค พึงข้ามขึ้นด้วยทุติยมรรค พึงข้ามพ้นด้วยตติยมรรค

พึงก้าวล่วงด้วยจตุตถมรรค พึงเป็นไปล่วงด้วยผล ดังนี้แล. อีกอย่างหนึ่ง

อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาอย่างนี้ว่า พึงข้ามด้วยกามโอฆะ พึงข้ามด้วย

ภโวฆะ พึงข้ามขึ้นด้วยภโวฆะ พึงข้ามพ้นด้วยทิฏโฐฆะ พึงกล่าวล่วงด้วย

อวิชโชฆะพึงเป็นไปล่วงด้วยโอฆะทั้งปวง.

บทว่า ครุก ได้แก่ ไม่เบา.

บทว่า ภาริก ความว่า ชื่อว่า ภาริกะบรรทุกหนัก เพราะอรรถ

ว่า มีภัณฑะที่หนักในเรือนี้.

บทว่า อุทก สิญฺจิตฺวา ได้แก่วิดน้ำ.

บทว่า อุสฺสิญฺจิตฺวา ได้แก่ วิดยิ่งเกิน.

บทว่า ฉฑฺเฑตฺวา ได้แก่ ให้ตกไป.

บทว่า ลหุกาย ได้แก่ เบาพร้อม.

บทว่า ขิปฺป แปลว่า พลัน.

บทว่า ลหุ ได้แก่ ขณะนั้น.

๑. ฉะบับ สิงหฬและพม่าไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

บทว่า อปฺปกสิเรเนว ได้แก่ โดยไม่ลำบากเลย. อมตนิพพาน

ท่านกล่าวว่า ฝั่ง ดังนั้น นิพพาน ซึ่งออกจากเครื่องร้อยรัดคือตัณหา

ท่านกล่าวว่า ฝั่ง ซึ่งเป็นฝั่งนอกจากฝั่งในแห่งสักกายทิฏฐิ.

บทว่า โยโส ได้แก่ นี้ใด. บททั้งปวงมีบทว่า สพฺพสงฺขาร

สมโถ เป็นต้น หมายความถึงพระนิพพานทั้งนั้น ก็เพราะความสะเทือน

แห่งสังขารทั้งปวง ความหวั่นไหวแห่งสังขารทั้งปวง ความดิ้นรนแห่ง

สังขารทั้งปวง ย่อมสงบ ย่อมระงับ เพราะอาศัยนิพพานนั้น ฉะนั้น ท่าน

จงกล่าวนิพพานว่า เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง.

อนึ่ง เพราะอุปธิทั้งปวงย่อมเป็นอันสละคืนได้ ตัณหาทั้งปวงย่อม

สิ้นไป ความกำหนัดคือกิเลสทั้งปวงย่อมคลายไป ทุกข์ทั้งปวงย่อมดับไป

เพราะอาศัยนิพพานนั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวนิพพานว่า เป็นที่สละคืน

อุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับ ก็ตัณหานี้

ท่านเรียกว่า วานะ เพราะวิเคราะห์ว่า ย่อมร้อยรัด ย่อมเย็บภพกับภพ

กรรมกับผล. ชื่อว่า นิพพานเพราะออกจากวานะนั้น พึงถึงฝั่ง คือพึง

ถึง พึงบรรลุฝั่งคือนิพพาน ด้วยโคตรภูญาณที่ออกโดยส่วนเดียว ด้วย

สามารถแห่งนิมิต พึงถึงฝั่งคือนิพพาน ด้วยมรรคญาณที่ออกโดยส่วน

๒ เป็นพิเศษ ด้วยความเป็นไปแห่งนิมิต พึงถูกต้อง คือพึงสัมผัส

ฝั่งคือนิพพาน ด้วยผลจิตซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์.

บทว่า สจฺฉิกเรยฺย ความว่า พืชถูกต้องด้วยสามารถแห่งคุณแล้ว

กระทำฝั่งคือนิพพานให้ประจักษ์ ด้วยปัจจเวกขณญาณ อีกอย่างหนึ่ง

อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาว่า พึงถึงฝั่งด้วยโสดาปัตติมรรค พึงบรรลุด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

สกทาคามิมรรค พึงถูกต้องด้วยอนาคามิมรรค พึงทำให้แจ้งด้วยอรหัตมรรค

ดังนี้.

บทว่า โยปิ ปาร คนฺตุกาโม ความว่า บุคคลคนใดคนหนึ่ง

ซึ่งตั้งอยู่ในวิปัสสนาญาณ เป็นผู้ใคร่จะถึงฝั่งคือนิพพาน บุคคลแม้นั้นจัก

ไปในนิพพานนั้นแน่แท้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ปารคู ผู้ถึงฝั่ง สมจริงดังที่

ตรัสไว้ เป็นต้นว่า เราเป็นผู้ข้ามพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ดังนี้ บุคคลแม้นั้นชื่อว่าผู้ถึงฝั่ง ด้วยสามารถ

แห่งอัธยาศัยในส่วนเบื้องต้น และด้วยประกอบวิปัสสนา.

บทว่า โยปิ ปาร คจฺฉติ ความว่า บุคคลแม้ใด มีความพร้อม

เพรียงด้วยมรรค ย่อมถึงฝั่งคือนิพพาน บุคคลแม้นั้นก็ชื่อว่าผู้ถึงฝั่ง.

บทว่า โยปิ ปาร คโต ความว่า บุคคลใดให้สำเร็จกิจด้วยมรรค

ตั้งอยู่ในผล ถึงแล้วซึ่งฝั่งคือนิพพาน บุคคลแม้นั้นก็ชื่อว่าผู้ถึงฝั่ง เพื่อ

จะแสดงความข้อนั้นด้วยพระดำรัสของพระชินเจ้า พระสารีบุตรเถระจึง

กล่าวคำเป็นต้นว่า สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บุคคลผู้ข้ามพ้น

แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ดำรงอยู่บนบก ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ดังนี้.

บทว่า อภิญฺาปารคู ความว่า ชื่อว่าถึงฝั่ง เพราะอรรถว่า

ใคร่จะถึงฝั่งคือนิพพานด้วยญาตปริญญา ถึงด้วยญาณที่บรรลุแล้ว คือ

ถึงแล้ว.

บทว่า ปริญฺาปารคู ความว่า ชื่อว่า ผู้ถึงฝั่งโดยนัยที่กล่าวแล้ว

เพราะก้าวล่วงธรรมทั้งปวงด้วยตีรณปริญญา.

บทว่า ปหานปารคู ความว่า ชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง โดยนัยที่กล่าวแล้ว

เพราะก้าวล่วงกิเลสทั้งหลายที่เป็นฝ่ายสมุทัยด้วย ปหานปริญญา จริงอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

บุคคลใดกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง บุคคลนั้นย่อมกำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ คือ

ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา.

บรรดาปริญญา ๓ เหล่านั้น ญาตปริญญา เป็นไฉน ? บุคคลรู้

ธรรมทั้งปวงว่า ธรรมเหล่านี้มีในภายใน เหล่านี้มีภายนอก นี้เป็นลักษณะ

ของธรรมนี้ เหล่านี้เป็นรส เป็นปัจจุปัฏฐาน เป็นปทัฏฐาน ดังนี้ นี้ชื่อว่า

ญาตปริญญา.

ตีรณปริญญา เป็นไฉน ? บุคคลพิจารณาธรรมทั้งปวงด้วยสามารถ

ได้เพราะรู้อย่างนี้โดยนัยเป็นต้นว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้

นี้ชื่อว่า ตีรณปริญญา.

ปหานปริญญา เป็นไฉน ? บุคคลพิจารณาอย่างนี้แล้ว ละฉันท-

ราคะในธรรมทั้งปวง ด้วยมรรคอันเลิศ นี้ชื่อว่า ปหานปริญญา แล.

พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า พระอรหันต์นั้น ถึงฝั่งด้วยการรู้ยิ่ง ถึงฝั่งด้วย

การกำหนดรู้ ถึงฝั่งด้วยการละดังนี้ หมายเอาปริญญาเหล่านี้.

บทว่า ภาวนาปารคู ความว่า ภาวนาถึงที่สุดแล้ว ถึงฝั่งคือ

นิพพานด้วยมรรค.

บทว่า สจฺฉิกิริยาปารคู ความว่า ถึงฝั่งคือผลและนิพานที่ทำให้

แจ้ง ด้วยสามารถแห่งผลและนิพพาน.

บทว่า สมาปตฺติปารคู ความว่า ถึงฝั่งแห่งสมาบัติ ๘.

บทว่า สพฺพธมฺมาน ได้แก่ ธรรมทั้งปวงมีขันธ์ ๕ เป็นต้น.

บทว่า สพฺพทุกฺขาน ได้แก่ ทุกข์ทั้งปวงมีชาติทุกข์เป็นต้น.

บทว่า สพฺพกิเลสาน ได้แก่ กิเลสทั้งปวงมีกายทุจริตเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

บทว่า อริยมคฺคาน ได้แก่ อริยมรรค ๔ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น.

บทว่า นิโรธสฺส ได้แก่ นิพพาน.

บทว่า สพฺพสมาปตฺตีน ได้แก่ รูปสมาบัติและอรูปสมาบัติ ๘

ทั้งหมด.

บทว่า โส ได้แก่ พระอริยะนั้น.

บทว่า วสิปฺปตฺโต ได้แก่ ถึงความเป็นผู้ชำนาญ. อีกอย่างหนึ่ง

ได้แก่ ถึงความเป็นผู้มีอิสระ คือความเป็นผู้สำเร็จ.

บทว่า ปารมิปฺปตฺโต ได้แก่ ถึงที่สุด คือความสำเร็จ คือความ

สูงสุด ที่เรียกว่าบารมี. เพื่อจะแก้คำถามว่า ถึงในอะไร ? พระสารีบุตรเถระ

จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ในอริยศีล ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริยสฺมึ สีลสฺมึ ได้แก่ ในศีลที่

ปราศจากโทษ.

บทว่า อริยาย สมาธิสฺมึ ได้แก่ ในสมาธิที่ปราศจากโทษ.

บทว่า อริยาย ปญฺาย ได้แก่ ในปัญญาที่ปราศจากโทษ.

บทว่า อริยาย วิมุตฺติยา ได้แก่ ในผลวิมุติที่ปราศจากโทษ.

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ท่านถือเอาด้วยบทแรก.

สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ท่านถือเอาด้วยบทที่ ๒.

สัมมาสังกัปปะและสัมมาทิฏฐิ ท่านถือเอาด้วยบทที่ ๓.

ธรรมอันเหลือที่สัมปยุตด้วยอริยมรรคนั้น ท่านถือเอาด้วยบทที่ ๔.

พึงทราบดังนี้.

บทว่า อนฺตคโต ความว่า ไปสู่ส่วนสุดแห่งสังขารโลก ด้วยมรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

บทว่า อนฺตปฺปตฺโต ความว่า ถึงส่วนสุดแห่งโลกนั้นแหละ ด้วย

ผล.

บทว่า โกฏิคโต ความว่า ไปสู่ที่สุดแห่งสังขารโลก ด้วยมรรค.

บทว่า โกฏิปฺปตฺโต ความว่า ถึงที่สุดนั้นแหละ ด้วยผล.

บทว่า ปริยนฺตคโต ความว่า ไปสู่การกำหนดที่สุดของโลก มี

ขันธโลกและอายตนโลกเป็นต้น ทำให้เป็นทางได้ด้วยมรรค.

บทว่า ปริยนฺตปฺปตฺโต ความว่า ถึงโลกนั้นแหละ ทำให้เป็นที่

สุดรอบได้ ด้วยผล.

บทว่า โวสานคโต ความว่า ไปสู่ที่สุดด้วยมรรค.

บทว่า โวสานปฺปตฺโต ความว่า ถึงที่สุดด้วยผล.

บทว่า ตาณคโต ความว่า ไปสู่ที่ต้านทานได้ด้วยมรรค.

บทว่า ตาณปฺปตฺโต ความว่า ถึงที่ต้านทานได้ด้วยผล.

บทว่า เลณคโต ความว่า ไปสู่ที่เร้นลับได้ด้วยมรรค.

บทว่า เลณปฺปตฺโต ความว่า ถึงที่เร้นลับได้ด้วยผล.

บทว่า สรณคโต ความว่า ไปสู่ที่พึ่งได้ด้วยมรรค.

บทว่า สรณปฺปตฺโต ความว่า ถึงที่พึ่งได้ด้วยผล.

บทว่า อภยคโต ความว่า ไปสู่ที่ไม่มีภัยได้ด้วยมรรค.

บทว่า อภยปฺปตฺโต ความว่า ถึงที่ไม่มีภัยคือนิพพานได้ด้วยผล.

บทว่า อจฺจุติคโต ความว่า ไปสู่ที่ไม่ตาย คือนิพพานได้ด้วย

มรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

บทว่า อจฺจุติปฺปตฺโต ความว่า ถึงที่ไม่ตายนั้นได้ด้วยผล.

บทว่า อมตคโต ความว่า ไปสู่แดนอมตะ คือนิพพานได้ด้วย

มรรค.

บทว่า อมตปฺปตฺโต ความว่า ถึงแดนอมตะนั้น ได้ด้วยผล.

บทว่า นิพฺพานคโต ความว่า ไปสู่นิพพานซึ่งออกจากเครื่องร้อย

รัดคือตัณหาได้ด้วยมรรค.

บทว่า นิพฺพานปฺปตฺโต ความว่า ถึงนิพพานนั้นแหละได้ด้วยผล.

บทว่า โส วุฏฺวาโส ความว่า พระอรหันต์นั้น ชื่อว่า อยู่จบ

แล้ว เพราะอรรถว่า อยู่แล้ว อยู่รอบแล้ว อยู่จบแล้ว ในอริยวาสธรรม

๑๐.

บทว่า จิณฺณจรโณ ความว่า ชื่อว่า ประพฤติจรณะแล้ว เพราะ

อรรถว่า มีความชำนาญประพฤติแล้วในสมาบัติ ๘ กับศีล.

บทว่า คตทฺโธ ความว่า ก้าวล่วงทางไกลคือสังสารวัฏ.

บทว่า คตทิโส ความว่า ถึงทิศคือนิพพาน ซึ่งไม่เคยไปแม้ใน

ความฝัน.

บทว่า คตโกฏิโก ความว่า เป็นผู้ถึงที่สุดคืออนุปาทิเสสนิพพาน

ดำรงอยู่.

บทว่า ปาลิตพฺรหฺมจริโย ความว่า มีพรหมจรรย์อันรักษาแล้ว.

บทว่า อุตฺตมทิฏฺิปฺปตฺโต ความว่า ถึงสัมมาทิฏฐิอันอุดม.

บทว่า ปฏิวิทฺธากุปฺโป ความว่า แทงตลอดอรหัตผล ไม่กำเริบ

คือไม่หวั่นไหวดำรงอยู่แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

บทว่า สจฺฉิกตนิโรโธ ความว่า กระทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ คือ

นิพพานดำรงอยู่แล้ว.

บทว่า ทุกฺข ตสฺส ปริญฺาต ความว่า ทุกข์ ๓ อย่างอันพระ

อรหันต์นั้นก้าวล่วงตัดขาดเสียแล้ว.

บทว่า อภิญฺเยฺย ความว่า พึงรู้ด้วยอาการอันงาม ด้วยสามารถ

แห่งการหยั่งรู้สภาวลักษณะ.

บทว่า อภิญฺาต ความว่า รู้แล้วด้วยญาณอันยิ่ง.

บทว่า ปริญฺเยฺย ความว่า พึงกำหนดรู้ทราบซึ่ง ด้วยสามารถ

แห่งการหยั่งรู้สามัญลักษณะ และด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้มีกิจถึงพร้อม

บทว่า ปริฺาต ความว่า รู้แล้วโดยรอบ.

บทว่า ภาเวตพฺพ ได้แก่ พึงให้เจริญ.

บทว่า สจฺฉิกาตพฺพ ได้แก่ พึงกระทำให้ประจักษ์ ก็การกระทำ

ให้แจ้งมี ๒ อย่างคือ การกระทำให้แจ้งการได้เฉพาะ และการกระทำให้

แจ้งอารมณ์.

ในบทว่า อุกฺขิตฺตปลิโฆ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปลิโฆ ได้แก่ อวิชชาซึ่งเป็นรากเง่าแห่งวัฏฏะ ก็อวิชชานี้

ท่านเรียกว่า ลิ่ม ด้วยอรรถว่า ถอนได้ยาก ท่านเรียกพระอรหันต์ว่าเป็น

ผู้มีอวิชชาเป็นลิ่มสลักอันถอนเสียแล้ว เพราะอวิชชานั้น อันพระอรหันต์

นั้นถอนได้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

ที่เรียกว่า คู ในบทว่า สงฺกิณฺณปริโข ได้แก่ อภิสังขารคือ

กรรมที่ให้ภพใหม่ คือเป็นปัจจัยแห่งขันธ์ทั้งหลายในภพใหม่ ซึ่งได้นาม

ว่า ชาติสงสาร ด้วยสามารถให้เกิดในภพทั้งหลาย และด้วยสามารถแห่ง

การท่องเที่ยวไป ก็อภิสังขารคือกรรมนั้น ท่านเรียกว่า คู เพราะตั้งแวด

ล้อมด้วยสามารถกระทำความเกิดขึ้นบ่อย ๆ ท่านเรียกพระอรหันต์ว่าเป็นผู้มี

กรรมเป็นคูอันกำจัดเสียแล้ว เพราะกรรมอันเป็นคูนั้นอันพระอรหันต์กำจัด

เสียแล้ว คือถมเสียแล้ว.

บทว่า เอสิกา ในบทว่า อพฺพุฬฺเหสิโก ได้แก่ ตัณหาซึ่งเป็น

มูลแห่งวัฏฏะ ก็ตัณหานี้ลึกซึ้ง ท่านเรียกว่า เสาระเนียด เพราะอรรถว่า

ข้ามไปได้ยาก ท่านเรียกพระอรหันต์ว่าเป็นผู้มีตัณหาเป็นเสาระเนียดอัน

ถอนเสียแล้ว เพราะตัณหานั้นอันพระอรหันต์นั้นถอนได้แล้ว คือถอนทิ้ง

ไปแล้ว.

ที่เรียกว่า อัคคฬะ ในบทว่า นิรคฺคโฬ ได้แก่ สังโยชน์ที่ใช้

เกิดกิเลสอย่างหยาบ คือโอรัมภาคิยสังโยชน์ ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดในกามภพ

ก็สังโยชน์เหล่านั้นท่านเรียกว่าอัคคฬะ เพราะตั้งปิดกั้นจิตไว้ เหมือนบาน

ประตูใหญ่ที่ใช้เป็นประตูพระนครฉะนั้น ท่านเรียกพระอรหันต์ว่าเป็นผู้ไม่

มีสังโยชน์เป็นบานประตู เพราะไม่มีสังโยชน์เป็นบานประตู คือสังโยชน์

เหล่านั้นอันพระอรหันต์ทำลายได้แล้ว.

บทว่า อริโย ได้แก่ ไม่มีกิเลส คือบริสุทธิ์.

บทว่า ปนฺนทฺธโช ได้แก่ มีธง คือมานะให้ตกไปแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

บทว่า ปนฺนภาโร ได้แก่ ชื่อว่า มีภาระอันปลงเสียแล้ว เพราะ

ภาระคือขันธ์ ภาระคือกิเลส ภาระคืออภิสังขาร ภาระคือกามคุณ ๕

อันพระอรหันต์นั้นปลงแล้ว คือวางลงแล้ว. อีกอย่างหนึ่งในที่นี้ท่าน

ประสงค์ว่า มีมานะอันปลงแล้ว เพราะภาระคือมานะนั่นแหละ พระอรหันต์

วางลงแล้ว.

บทว่า วิสยุตฺโต ความว่า ไม่เกี่ยวข้องด้วยโยคะ ๔ และกิเลส

ทั้งปวง แต่ในที่นี้ท่านประสงค์ว่า ชื่อว่าไม่เกี่ยวข้อง เพราะไม่เกี่ยวข้อง

ด้วยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องคือมานะนั่นเอง.

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ พระสารีบุตรเถระแสดงกาลที่ให้กิเลสทั้ง

หลายสิ้นไปด้วยมรรคแล้วบรรลุผลสมาบัติซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ ของ

พระขีณาสพผู้บรรลุนิโรธซึ่งเป็นธรรมเครื่องอยู่อันประเสริฐ. เหมือนอย่าง

ว่ามีนคร ๒ นคร คือโจรนคร ๑ เขมนคร ๑ ครั้งนั้น นายทหารใหญ่

คนหนึ่งเกิดความปรารถนาขึ้นว่า โจรนครนี้ยังตั้งอยู่ตราบใด เขมนคร

ย่อมไม่พ้นภยันตรายนั้น เราจักทำโจรนครให้ไม่เป็นนคร เขาสวมเกราะ

ถือพระขรรค์เข้าไปยังโจรนคร เอาพระขรรค์ฟันเสาระเนียดซึ่งเขายกขึ้นไว้

ที่ประตูนคร ทำลายที่ต่อบานประตูและหน้าต่าง ถอนลิ่มสลัก ทำลาย

กำแพง ถมคู เอาธงที่ยกขึ้นเพื่อความสง่างามของนครลง เอาไฟเผานคร

แล้วเข้าเขมนคร ขึ้นบนปราสาท แวดล้อมไปด้วยหมู่ญาติ บริโภค

โภชนาหารที่มีรสอร่อย ฉันใด ข้ออุปไมยก็ฉันนั้น สักกายทิฏฐิดุจโจรนคร

นิพพานดุจเขมนคร พระโยคาวจรดุจนายทหารใหญ่ พระโยคาวจรนั้นมี

ความคิดอย่างนี้ว่า เครื่องผูกคือสักกายทิฏฐิยังผูกพันอยู่ตราบใด ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

หลุดพ้นจากกรรมกรณ์ ๓๒ จากโรค ๙๘ และจากภัยใหญ่ ๒๕ ย่อมไม่มี

พระโยคาวจรนั้นเป็นดุจนายทหารใหญ่ สวมเกราะคือศีล ถือพระขรรค์

คือปัญญา ฟันเสาระเนียดคือตัณหาด้วยอรหัตมรรคดุจฟันเสาระเนียดด้วย

พระขรรค์ ฉุดลูกตาลคือสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการดุจ

นายทหารนั้นทำลายหน้าต่างนครพร้อมทั้งบานประตูถอนลิ่มสลักคืออวิชชา

ดุจนายทหารนั้นถอนลิ่มสลักทำลายกรรมาภิสังขารถมคูคือชาติสงสาร ดุจ

นายทหารทำลายกำแพงถมคู เอาธงคือมานะลงแล้วเผานคร คือสักกายทิฏฐิ

ดุจนายทหารนั้นเอาธงที่ยกขึ้นเพื่อความสง่างามของนครลง เข้าสู่นคร

นิพพาน เสวยสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติ ซึ่งมีนิโรธ อันเป็นอมตะเป็น

อารมณ์ ยังกาลให้ล่วงไป ดุจนายทหารนั้นเข้าสู่เขมนคร บริโภคโภชนา

หารมีรสอร่อยบนปราสาท ฉะนั้น.

สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีอวิชชาเป็นลิ่มสลักอันถอนเสียแล้ว อย่างไร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอวิชชาแล้ว ถอนรากแล้ว

ทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีอวิชชา เป็นลิ่มสลักอันถอนเสียแล้ว

อย่างนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นคูอันกำจัดเสียแล้ว

อย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละชาติสงสารอันให้เกิด

ในภพใหม่แล้ว ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีกรรมเป็นคูอัน

กำจัดเสียแล้วอย่างนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีตัณหาเป็น

๑. นิโรธ หมายถึง นิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

เสาระเนียดอันถอนเสียแล้ว อย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ละตัณหาแล้ว ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีตัณหาเป็นเสา

ระเนียดอันถอนเสียแล้วอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่มี

สังโยชน์เป็นบานประตู อย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย

นี้ละสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการแล้ว ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่มีสังโยชน์เป็นบานประตูอย่างนี้แล. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ไกลจากกิเลสอันเป็นข้าศึก มีมานะเป็นธงอันให้ตก

ไปแล้ว มีภาระอันปลงเสียแล้ว มีโยคกิเลสมิได้เกี่ยวข้อง อย่างไร ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอัสมิมานะแล้วถอนรากแล้ว ทำให้

เป็นดังตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไกลจากกิเลสอันเป็นข้าศึก มีมานะเป็นธงอัน

ให้ตกไปแล้ว มีภาระอันปลงเสียแล้ว มีโยคกิเลสมิได้เกี่ยวข้องอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลาย พร้อมด้วยพระอินทร์ พระพรหม

พระประชาบดี ติดตามภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แลย่อมไม่พบ นิมิต

นี้เป็นวิญญาณของตถาคต ดังนี้.

บทว่า ปญฺจงฺควิปฺปหีโน ความว่า ละองค์ ๕ มีกามฉันท์เป็นต้น

ด้วยอุบายมีอย่างต่าง ๆ ตั้งอยู่ สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า :- ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ละขาดองค์ ๕ อย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละกามฉันทะ ละพยาบาท ละถีนมิทธะ ละอุท-

ธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ละขาดองค์ ๕

อย่างนี้แล ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

บทว่า ฉฬงฺคสมนฺนาคโต ความว่า ละอนุสัยคือปฏิฆะในอารมณ์

มีรูปเป็นต้นในทวาร ๖ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะด้วยสามารถแห่งอุเบกขา

ท่านกล่าวว่า ประกอบด้วยองค์ ๖ เพราะยังองค์ ๖ ให้เต็มตั้งอยู่แล้วด้วย

สามารถแห่งการอยู่ สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า :- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ อย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ เป็นผู้ไม่เสียใจ

มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่. ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก

ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เป็นผู้

ไม่ดีใจ เป็นผู้ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ อย่างนี้แล ดังนี้.

บทว่า เอการกฺโข ความว่า ชื่อว่า เอการักขะ เพราะอรรถว่า

มีการรักษาอย่างเอก คือ อุดม ด้วยธรรมเครื่องรักษาคือสติ สมจริงดัง

พระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า :- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสติเป็นธรรม

เครื่องรักษาอย่างเอก อย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

มีใจมีสติเป็นธรรมเครื่องรักษาอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีสติ

เป็นธรรมเครื่องรักษาอย่างเอกนี้แล ดังนี้.

บทว่า จตุราปสฺเสโน ความว่า เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องอาศัย ๔

ด้วยสามารถแห่งธรรมเป็นเครื่องอาศัย ๔ อย่าง คือ การเสพเฉพาะ,

การเว้น, การบรรเทา และการละ ด้วยปัญญา ที่ไม่เป็นไปข้างโน้น

ข้างนี้คือบรรลุธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ :- พึงให้

พิสดารโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

อาศัย ๔ อย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่อง

อาศัย ๔ อย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณา

แล้วเสพเฉพาะอย่าง ๑ พิจารณาแล้วเว้นอย่าง ๑ พิจารณาแล้วบรรเทา

อย่าง ๑ พิจารณาแล้วละอย่าง ๑ ดังนี้.

บทว่า ปนุณฺณปจฺเจกสจฺโจ ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้มีทิฏฐิสัจจะ

เฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว เพราะอรรถว่า ทิฏฐิสัจจะกล่าวคือเฉพาะ

อย่าง เพราะถือเอาเฉพาะอย่างเดียวอย่างนี้ว่า ทัศนะนี้เท่านั้นจริง ทัศนะ

นี้เท่านั้นจริง ดังนี้ อันพระอรหันต์นั้นบรรเทาแล้ว คือนำออกแล้ว

ละแล้ว.

บทว่า อวย ในบทว่า สมวยสฏฺเสโน ได้แก่ ไม่หย่อน.

บทว่า สฏ ได้แก่ ประเสริฐ ชื่อว่า สมวยสัฏเฐสนะ เพราะ

อรรถว่า มีการแสวงหาอันชอบ ไม่หย่อน ประเสริฐ อธิบายว่า มีการ

แสวงหาทั้งปวงประเสริฐโดยชอบ.

บทว่า เกวลี ได้แก่ เป็นผู้บริบูรณ์.

บทว่า วุสิตวา ได้แก่ เป็นผู้มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว คือเป็นผู้

อยู่จบในอริยมรรคซึ่งเป็นเครื่องอยู่อันสมควรแก่โยคะบ้าง ในอริยวาส

ธรรม ๑๐ บ้าง.

บทว่า อตฺตมปุริโส ได้แก่ เป็นบุรุษวิเศษ คือเป็นบุรุษอาชาไนย

เพราะกิเลสสิ้นแล้ว.

บทว่า ปรมปุริโส ได้แก่เป็นบุรุษสูงสุด คือเป็นผู้ถึงความบรรลุ

ปรมัตถะ เพราะถึงการได้เฉพาะซึ่งประโยชน์อย่างยิ่ง คือถึงการได้เฉพาะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

ซึ่งพระอรหัตต์อันอุดมที่พึงถึง เป็นบุญเขตที่ยอดเยี่ยม จึงชื่อว่าเป็นบุรุษ

สูงสุด เป็นบรมบุรุษด้วยอรรถนั้นแหละ คือเป็นผู้ถึงความบรรลุปรมัตถะ

เพราะเป็นผู้ถึงการได้เฉพาะซึ่งอมตะ เพื่อเข้าสมาบัติอันยอดเยี่ยม.

อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาอย่างนี้ว่า เป็นอุดมบุรุษ

ด้วยสามารถรู้ดีถึงโทษในการครองเรือนแล้วจึงเข้าศาสนา เป็นบรมบุรุษ

ด้วยสามารถรู้ดีถึงโทษในอัตภาพแล้วจึงเข้าวิปัสสนา คือ รู้ดีถึงโทษใน

กิเลสจึงเข้าสู่อริยภูมิ เป็นผู้ถึงความบรรลุปรมัตถะ.

บทว่า เนว อาจินาติ ความว่า ไม่เพิ่มวิบากแห่งกุศลและ

อกุศลเหล่านั้น เพราะละกุศลและอกุศลได้แล้ว.

บทว่า น อปจินาติ ความว่า มิได้กำจัด เพราะตั้งอยู่ในผลแล้ว.

บทว่า อปจินิตฺวา ิโต ความว่า ยังหยาดแห่งกิเลสทั้งหลายให้

แห้งตั้งอยู่แล้ว เพราะตั้งอยู่ในการละด้วยสงบระงับ.

บทว่า เนว ปชหติ ความว่า มิได้ละกิเลสทั้งหลาย เพราะไม่มี

กิเลสที่จะต้องละ.

บทว่า น อุปาทิยติ ความว่า มิได้ถือเอาด้วยตัณหามานะทิฏฐิ

เหล่านั้น เพราะไม่มีสิ่งที่จะพึงถือเอาด้วยตัณหามานะทิฏฐิ.

บทว่า ปชหิตฺวา ิโต ความว่า ละแล้วจึงตั้งอยู่.

บทว่า เนว วิสิเนติ ความว่า มิได้เย็บด้วยสามารถแห่งตัณหา.

บทว่า น อุสฺสิเนติ ความว่า มิได้ยกขึ้นด้วยสามารถแห่งมานะ.

บทว่า วิสิเนตฺวา ิโต ความว่า มิได้กระทำการเย็บด้วยตัณหา

ตั้งอยู่ อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

บทว่า เนว วิธุเปติ ความว่า มิได้ให้ไฟคือกิเลสดับ.

บทว่า น สนฺธุเปติ ความว่า มิได้ให้ไฟคือกิเลสลุก.

บทว่า วิธุเปตฺวา ิโต ความว่า ให้ดับแล้วตั้งอยู่.

บทว่า อเสกฺเขน สีลกฺขนฺเธน ความว่า ดำรงอยู่ คือดำรงอยู่

โดยความเป็นผู้ไม่เสื่อม เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ คือ สัมมาวาจา

สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ คือด้วยกองแห่งศีล ซึ่งเป็นอเสขะ เพราะ

ไม่มีข้อที่จะต้องศึกษา.

บทว่า สมาธิกฺขนฺเธน ได้แก่ ด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วยสัมมา

วายามะและสัมมาสติ.

บทว่า วิมุตติกฺขนฺเธน ได้แก่ ด้วยขันธ์อันสัมปยุตด้วยผลวิมุตติ.

บทว่า วิมุตฺติาณทสฺสนกฺขนฺเธน ได้แก่ ด้วยปัจจเวกขณญาณ.

บทว่า สจฺจ ปฏิปาทยิตฺวา ความว่า ยังอริยสัจ ๔ ให้ถึงพร้อม

ในสันดานของตนด้วยสามารถแห่งสภาวะ คือแทงตลอดแล้วตั้งอยู่.

บทว่า เอว สมติกฺกมิตฺวา ได้แก่ ก้าวล่วงตัณหาเครื่องหวั่นไหว.

บทว่า กิเลสคฺคึ ได้แก่ ไฟคือกิเลสมีราคะเป็นต้น.

บทว่า ปริยาทยิตฺวา ได้แก่ ให้สิ้นแล้ว คือให้ดับแล้ว.

บทว่า อปริคมนตาย ได้แก่ ด้วยการไม่ไปในสังสารวัฏ ความว่า

ไม่มีการกลับมาอีก.

บทว่า กูฏ สมาทาย ได้แก่ ถือเอาความชนะ.

บทว่า มุตฺติปฏิเสวนตาย ได้แก่ ด้วยภาวะพ้นจากกิเลสทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

เสพอารมณ์มีรูปเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง ด้วยสามารถเสพผลสมาบัติ ซึ่งพ้น

จากกิเลสทั้งปวง.

บทว่า เมตฺตาย ปาริสุทฺธิยา ได้แก่ ดำรงอยู่ด้วยเมตตาที่ตั้งอยู่

ในความบริสุทธิ์ เพราะพ้นจากอุปกิเลส แม้ในกรุณาเป็นต้นก็นัยนี้แหละ.

บทว่า อจฺจนฺตปาริสุทฺธิยา ได้แก่ ดำรงอยู่ด้วยความบริสุทธิ์

ก้าวล่วงถึงที่สุดของความบริสุทธิ์.

บทว่า อกมฺมยตา ความว่าตัณหาทิฏฐิมานะ ท่านเรียกว่า กมฺมยา

ความแข็งกระด้าง ความไม่มีแห่งตัณหาทิฏฐิมานะเหล่านั้น ชื่อว่า

อกมฺมยตา ความเป็นผู้ไม่แข็งกระด้าง ดำรงอยู่ในความเป็นผู้เว้นจาก

ตัณหามานะทิฏฐินั้น สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

คนเช่นท่านนั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้มีปัญญาดี

เป็นมุนีที่ไม่แข็งกระด้างในธรรมทั้งปวง.

ดังนี้. แม้ในที่นี้ ความก็ว่า เป็นผู้เว้นจากตัณหามานะทิฏฐิ นั่นเอง.

บทว่า วิมุตฺตตฺตา ได้แก่ ด้วยความเป็นผู้พ้นจากกิเลสทั้งปวง.

บทว่า สนฺตุสิตตฺตา ความว่า ตั้งอยู่เพราะความเป็นผู้สันโดษ

ด้วยยถาลาภสันโดษ ยถาพลสันโดษ ยถาสารุปปสันโดษ.

บทว่า ขนฺธปรยนฺเต ความว่า เผาขันธ์ขันธ์ ๔ และขันธ์

ด้วยไฟคือปริญญา ๓ แล้วตั้งอยู่ในส่วนสุด คือที่สุด แม้ในส่วนสุดรอบ

แห่งธาตุเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

บทว่า ธาตุปริยนฺเต ได้แก่ในส่วนสุดรอบแห่งธาตุ ๑๘.

บทว่า อายตนปริยนฺเต ได้แก่ อายตนะ ๑๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

บทว่า คติปริยนฺเต ได้แก่ คติ ๕ มีนรกเป็นต้น.

บทว่า อุปปตฺติปริยนฺเต ได้แก่ในการบังเกิดในสุคติและทุคติ.

บทว่า ปฏิสนฺธิปริยนฺเต ได้แก่ในปฏิสนธิในกามภพ ที่รูปภพ

และอรูปภพ.

บทว่า ภวปริยนฺเต ได้แก่ เอกโวการภพ. จตุโวการภพ, ปัญจ

โวการภพ, สัญญาภพ, เนวสัญญานาสัญญาภพ, กามภพ, รูปภพ, และ

อรูปภพ.

บทว่า สสารปริยนฺเต ได้แก่ ในความเป็นไปไม่ขาดแห่งขันธ์

ธาตุ อายตนะ.

บทว่า วฏฺฏปริยนฺเต ได้แก่ในส่วนสุดรอบแห่งกรรมวัฏ วิปาก

วัฏ และกิเลสวัฏ.

บทว่า อนติมภเว ได้แก่ ในอุปบัติภพอันเป็นที่สุด.

บทว่า อนฺติมสมุสฺสเย ิโต ได้แก่ ตั้งอยู่ในร่างกาย คือใน

สรีระอันเป็นที่สุด.

บทว่า อนฺติมเทหธโร ความว่า ชื่อว่า ทรงไว้ซึ่งร่างกายที่สุด

เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งร่างกายคือสรีระ อันมีในที่สุดคือเป็นที่สุด.

บทว่า อรหา ความว่า ชื่อว่า พระอรหันต์ เพราะไกลข้าศึก

เพราะกำจัดข้าศึก เพราะควรแก่ปัจจัยเป็นต้นและเพราะไม่มีที่ลับในการ

ทำชั่ว.

บทว่า ตสฺสาย ปจฺฉิมโก ความว่า ร่างกายคืออัตภาพนี้ เป็น

ที่สุดของพระขีณาสพนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

บทว่า จริโม ได้แก่ น้อย เฉื่อยชา ดุจคำข้าวน้อย พระสารี-

บุตรเถระกล่าวว่าพระขีณาสพนั้นมิได้มีชาติมรณะสังสาระ และภพใหม่ดังนี้

หมายเอาความที่ปฏิสนธิไม่มีอีก.

ความเกิดชื่อว่าชาติ. ชื่อว่ามรณะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องตาย

ของสัตว์ทั้งหลาย เมื่อทรงสรุปภาวะที่ตรัสไว้ว่า ความเป็นไปในสังสารวัฏ

ไม่ขาดแห่งขันธ์เป็นต้น ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพนั้นอีกดังนี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพราะฉะนั้นสัตว์ ฯลฯ วิดเรือแล้วเป็นผู้ถึงฝั่ง ดังนี้.

ในพระสูตรนี้ บทใดมิได้กล่าวไว้ในระหว่าง ๆ บทนั้นพึงถือตาม

แนวพระบาลี.

สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถามหานิทเทส

อรรถกถากามสุตตนิทเทส

จบ สูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ที่ ๒

ว่าด้วยนรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ

[๓๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมาก

ปิดบังไว้แล้ว นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง

นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจากวิเวกก็เพราะกามทั้งหลาย

ในโลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย.

[๓๑] คำว่า นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมาก

ปิดบังไว้แล้ว มีความว่า คำว่า เป็นผู้ข้อง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ก่อน ก็แต่ว่า ถ้ำ ควรกล่าวก่อน กายเรียกว่า ถ้ำ คำว่ากายก็ดี

ถ้ำก็ดี ร่างกายก็ดี ร่างกายของตนก็ดี เรือก็ดี รถก็ดี ธงก็ดี

จอมปลวกก็ดี รังก็ดี เมืองก็ดี กระท่อมก็ดี ฝีก็ดี หม้อก็ดี

เหล่านี้เป็นชื่อของกาย.

คำว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ คือข้อง เกี่ยวข้อง ข้องทั่วไป ติด

อยู่ พันอยู่ เกี่ยวพันอยู่ในถ้ำ เหมือนสิ่งของที่ข้อง เกี่ยวข้อง ข้อง

ทั่วไป ติดอยู่ พันอยู่ เกี่ยวพันอยู่ที่ตะปู ซึ่งดอกติดไว้ที่ฝาหรือที่ไม้ขอ

ฉะนั้น.

๑. โรคฝีดาษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ความพอใจ ความกำหนัด

ความเพลิดเพลิน ความอยาก ความเข้าไปถือมั่น ความเข้าไปยึดถือในรูป

อันเป็นที่มานอนเนื่องแห่งอภินิเวสะ อย่างมั่นคงแห่งจิต บุคคลมา

เกี่ยวข้องอยู่ในความพอใจเป็นต้นนั้น เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ คำว่า

สัตว์ เป็นชื่อของผู้เกี่ยวต้อง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ.

คำว่า ผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว คือผู้อันกิเลสเป็นอันมากปิด

บังไว้แล้ว คือ อันความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง ความโกรธ

ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่

ความลวง ความโอ้อวด ความดื้อ ความแข่งดี ความถือด้วย ความดู-

หมิ่น ความเมา ความประมาท ปิดบังไว้แล้ว อันกิเลสทั้งปวง อันทุจริต

ทั้งปวง อันความกระวนกระวายทั้งปวง อันความเร่าร้อนทั้งปวง

อันความเดือดร้อนทั้งปวง อันอภิสังขารคืออกุศลธรรมทั้งปวง บังไว้

คลุมไว้ หุ้มห่อไว้ ปิดไว้ ปิดบังไว้ ปกปิดไว้ ปกคลุมไว้ ครอบงำไว้

แล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมาก

ปิดบังไว้แล้ว.

[๓๒] คำว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง มีความว่า

คำว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ คือนรชน เมื่อตั้งอยู่ ก็เป็นผู้กำหนัด ย่อม

ตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความกำหนัด เป็นผู้ขัดเคืองย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถ

แห่งความขัดเคือง เป็นผู้หลงย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความหลง เป็นผู้

ผูกพันย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความถือมั่น เป็นผู้ยึดถือย่อมตั้งอยู่ด้วย

๑. อภินิเวสะ - ความยึดมั่น, คำนี้เป็นชื่อของคันถะกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

สามารถแห่งความเห็น เป็นผู้ฟุ้งซ่านย่อมดังอยู่ด้วยสามารถแห่งความฟุ้ง-

ซ่าน เป็นผู้ไม่แน่นอน ย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความสงสัย เป็นผู้

ถึงความมั่นคงย่อมตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งกิเลสที่นอนเนื่อง เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป

ที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบ

ด้วยกาม เป็นที่ดังแห่งความกำหนัด มีอยู่ หากว่าภิกษุเพลิดเพลินชมเชย

ยึดถือรูปนั้น ตั้งอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต........

กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ........รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา........โผฏฐัพพะที่พึง

รู้แจ้งด้วยกาย........ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยมโน ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่า

พอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่ หาก

ภิกษุเพลิดเพลินชมเชยยึดถือธรรมนั้น ตั้งอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญ

ญาณที่เข้าถึงรูป เมื่อตั้งอยู่ ย่อมมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง ซ่องเสพ

ความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงเวทนา....วิญญาณที่เข้าถึงสัญญา....หรือวิญญาณที่

เข้าถึงสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ย่อมมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง ซ่อง

เสพความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วยประการอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้า

ว่าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความอยาก มีอยู่ในกวฬิงการาหาร

วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามในที่นั้น วิญญาณตั้งอยู่งอกงามในที่ใด ความหยั่ง

ลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่นั้น ความหยั่งลงแห่งนามรูปมีในที่ใด ความ

เจริญแห่งสังขารทั้งหลายก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่

ในที่ใด ความเกิดในภพใหญ่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่

ต่อไป มีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะต่อไปก็มีอยู่ในที่นั้น ชาติ ชรา

มรณะต่อไป มีอยู่ในที่ใด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ที่นั้นมี

ความโศก มีความหม่นหมอง มีความคับแค้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้า

ว่าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความอยากมีอยู่ในผัสสาหาร....ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความอยากมีอยู่ใน

มโนสัญเจตนาหาร......, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าความกำหนัด ความ

เพลิดเพลิน ความอยากมีอยู่ในวิญญาณาหาร วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามใน

ที่นั้น วิญญาณตั้งอยู่งอกงามในที่ใด ความหยั่งลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่

นั้น ความหยั่งลงแห่งนามรูปมีอยู่ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย

ก็มีอยู่ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายมีอยู่ในที่ใด ความเกิดใน

ภพใหม่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่ต่อไป มีอยู่ในที่ใด

ชาติ ชรา มรณะต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะต่อไป มีอยู่

ในที่ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ที่นั้นมีความโศก มีความหม่น

หมอง มีความคับแค้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ แม้ด้วย

ประการอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

คำว่า หยั่งลงในที่หลง มีความว่า กามคุณ ๕ คือ รูปที่พึงรู้

แจ้งด้วยจักษุ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วย

กามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด สิ่งที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต....กลิ่นที่พึงรู้แจ้ง

ด้วยฆานะ....รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา....โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่น่า

ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง

ความกำหนัด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ที่หลง เพราะเหตุไร ? กามคุณ

๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ที่หลง เพราะเหตุว่า เทวดาและมนุษย์

โดยมากย่อมหลง หลงพร้อม หลงเสมอ เป็นผู้หลง เป็นผู้หลงพร้อม

เป็นผู้หลงเสมอ ในกามคุณ ๕ เป็นผู้อันอวิชชาทำให้ตาบอด หุ้มห่อไว้

ปิดไว้ ปิดบังไว้ ปกปิดไว้ ปกคลุมไว้ ครอบงำแล้ว เพราะเหตุนั้น

กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ที่หลง คำว่า หยั่งลงในที่

หลง คือหยั่งลง ก้าวลง หมกมุ่น จมลงในที่หลง เพราะฉะนั้น จึง

ชื่อว่า นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง.

ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง

[๓๓] คำว่า นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจากวิเวก มีความว่า

วิเวก ได้แก่ วิเวก ๓ อย่าง คือ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก.

กายวิเวกเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนา-

สนะอันสงัด คือ ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ช่องเขา ป้าช้า

ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ คือ เดินผู้เดียว

ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

กลับผู้เดียว นั่งอยู่ในที่เร้นลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียว

เที่ยวอยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา เป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า

กายวิเวก.

จิตตวิเวกเป็นไฉน ? ภิกษุผู้บรรลุปฐมฌาณ มีจิตสงัดจากนิวรณ์.

บรรลุทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกวิจาร. บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจาก

ปีติ, บรรลุจตุตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์.

บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา

นานัตตสัญญา.

บรรลุวิญญานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา.

บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา

บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตน-

สัญญา.

เมื่อภิกษุนั้นเป็น โสดาบันบุคคล มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิ-

กิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่

ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น.

เป็นสกทาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์

อย่างหยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่

ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์อย่างหยาบเป็นต้นนั้น.

เป็นอนาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์

อย่างละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และจากกิเลสที่ตั้ง

อยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

เป็นอรหันตบุคคล มีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ

อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่

ในเหล่าเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้นนั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภาย

นอก นี้ชื่อว่า จิตตวิเวก.

อุปธิวิเวกเป็นไฉน ? กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่า

อุปธิ. อมตนิพพาน เรียกว่า อุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับ

สังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอก

เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่า อุปธิวิเวก.

ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนก-

ขัมมะจิตตวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิต

ผ่องแผ้วอย่างยิ่ง อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้หมดอุปธิ ถึงซึ่งนิพพาน

อันเป็นวิสังขาร.

คำว่า ไกลจากวิเวก มีความว่า นรชนนั้นใด เป็นผู้ข้องอยู่ใน

ถ้ำอย่างนี้ อันกิเลสมาก ปิดบังไว้อย่างนี้ หยั่งลงในที่หลงอย่างนี้ นรชน

นั้นย่อมอยู่ไกลแม้จากกายวิเวก ย่อมอยู่ไกลแม้จากจิตตวิเวก ย่อมอยู่ไกล

แม้จากอุปธิวิเวก คือ อยู่ในที่ห่างไกลแสนไกล มิใช่ใกล้ มิใช่ใกล้ชิด

มิใช่เคียง มิใช่ใกล้เคียง. คำว่า อย่างนั้น คือ ผู้หยั่งลงในที่หลง ชนิด

นั้น เช่นนั้น ดำรงอยู่ดังนั้น แบบนั้น เหมือนเช่นนั้น เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง

[๓๔] คำว่า กามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของอันนรชนละ

ได้โดยง่าย มีความว่า คำว่า กาม โดยหัวข้อ ได้แก่ กาม ๒ อย่าง

คือ วัตถุกามกิเลสกาม ๑.

วัตถุกามเป็นไฉน ? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็น

ที่ชอบใจ เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร

ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี

แว่นแคว้น ชนบท กองพลรบ คลัง และวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความ

กำหนัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วัตถุกาม. อีกอย่างหนึ่ง กามที่เป็น

อดีต กามที่เป็นอนาคต กามที่เป็นปัจจุบัน ที่เป็นภายใน ที่เป็น

ภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก ชนิดเลว ชนิดปานกลาง ชนิด

ประณีต เป็นของสัตว์ผู้เกิดในอบาย เป็นของมนุษย์ เป็นของทิพย์ ที่

ปรากฏเฉพาะหน้าที่นิรมิตเอง ที่ผู้อื่นนิรมิต ที่หวงแหน ที่ไม่ได้หวงแหน

ที่ยึดถือว่าของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าของเรา ธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมด

ธรรมที่เป็นรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรม

เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหา ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า

อันบุคคลพึงใคร่ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะ

อรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา กามเหล่านั้น เรียกว่า วัตถุกาม.

กิเลสกามเป็นไฉน ? คือ ความพอใจ ความกำหนัด ความ

ดำริ ความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด ความพอใจคือความ

ใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือ ความใคร่ในกาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

ทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสน่หาในกาม ความเร่าร้อนในกาม

ความหลงไหลในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบ

ในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นคือกามฉันทะ ชื่อว่า กาม.

สมจริงดังคำว่า :-

ดูก่อนกาม เราได้เห็นรากฐานของเจ้าแล้วเจ้าเกิด

เพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงเจ้า เจ้าจักไม่มีอย่างนี้.

กามเหล่านี้ เรียกว่า กิเลสกาม. คำว่า ในโลก คือ ในอบาย

โลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. คำว่า

กามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย มีความว่า

ก็กามทั้งหลายในโลก เป็นของอันนรชนละได้โดยยาก สละได้โดยยาก

สลัดได้โดยยาก ย่ำยีได้โดยยาก แหวกออกได้โดยยาก ข้ามได้โดยยาก

พ้นได้โดยยาก ก้าวล่วงได้โดยยาก ข้ามพ้นได้โดยยาก เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า กามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบัง

ไว้แล้ว นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่น

นั้นย่อมอยู่ไกลจากกิเลส ก็เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่

เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย.

[๓๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

สัตว์เหล่านั้น ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ

เพราะเหตุแห่งความปรารถนา มุ่งหวังอยู่ในข้างหลังบ้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

ในข้างหน้าบ้าง ปรารถนาอยู่ซึ่งกามเหล่านี้ หรือกามที่มี

ในก่อน เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยังบุคคลอื่นให้

หลุดพ้น.

[๓๖] คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพเพราะเหตุ

แห่งความปรารถนา มีความว่า ตัณหาเรียกว่า ความปรารถนา ได้แก่

ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ความพอใจ ความชอบใจ ความเพลิด

เพลิน ความกำหนัดด้วยสามารถแห่งความเพลิดเพลิน ความกำหนัดกล้า

แห่งจิต ความปรารถนา ความหลง ความติดใจ ความยินดี ความยินดี

ทั่วไป ความข้อง ความติดพัน ความแสวงหา ความลวง ความให้

สัตว์เกิด ความให้สัตว์เกี่ยวกับทุกข์ ความเย็บไว้ ความที่จิตเป็นดังข่าย

ความที่จิตเป็นดังกระแสน้ำ ความซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ความที่จิตเป็น

ดังเส้นด้าย ความกระจายไป ความให้อายุเสื่อมไป ความเป็นเพื่อน

ความตั้งไว้ เครื่องนำไปสู่ภพ ความติดอารมณ์ ความตั้งใจอยู่ในอารมณ์

ความสนิท ความรัก ความเพ่งเล็ง ความผูกพัน ความหวัง ความจำนง

ความประสงค์ ความหวังในรูป ความหวังในเสียง ความหวังในกลิ่น

ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความหวัง

ในทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ความปรารถนา ความ

ให้สัตว์ปรารถนา ความที่จิตปรารถนา ความเหนี่ยวรั้ง ความให้สัตว์

เหนี่ยวรั้ง ความที่จิตเหนี่ยวรั้ง ความหวั่นไหว อาการแห่งความหวั่นไหว

ความพรั่งพร้อมด้วยความหวั่นไหว ความกำเริบ ความใคร่ดี ความ

กำหนัดในที่ผิดธรรม ความโลภไม่เสมอ ความใคร่ อาการแห่งความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

ใคร่ ความมุ่งหมาย ความปอง ความปรารถนาดี กามตัณหา ภวตัณหา

วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ รูป

ตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพะตัณหา ธัมม-

ตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน ความกั้น ความปิด ความบัง

ความผูก ความเข้าไปเศร้าหมอง ความนอนเนื่อง ความกลุ้มรุมจิต

ความเป็นดังเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุต่าง ๆ รากเง่าแห่งทุกข์ เหตุแห่ง

ทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงมาร เบ็ดมาร วิสัยมาร แน่น้ำ ตัณหา

ข่ายตัณหา โซ่ตัณหา สมุทรตัณหา อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล คำว่า

เพราะเหตุแห่งความปรารถนา คือ เพราะเหตุแห่งความปรารถนา

เพราะความปรารถนาเป็นเหตุ เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย เพราะความ

ปรารถนาเป็นตัวการ เพราะความปรารถนาเป็นแดนเกิด ฉะนั้นจึงชื่อว่า

เพราะเหตุแห่งความปรารถนา.

คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ คือ ความแช่มชื่นใน

ภพอย่างหนึ่ง ได้แก่สุขเวทนา. ความแช่มชื่นในภพ ๒ อย่าง ได้แก่สุข

เวทนา ๑ วัตถุที่ปรารถนา ๑. ความแช่มชื่นในภพ ๓ อย่าง ได้แก่ความ

เป็นหนุ่มสาว ๑ ความไม่มีโรค ๑ ชีวิต ๑. ความแช่มชื่นในภพ ๔ อย่าง

ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข. ความแช่มชื่นในภพ ๕ อย่าง ได้แก่

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ. ความแช่มชื่นในภพ ๖

อย่าง ได้แก่ความถึงพร้อมแห่งจักษุ ความถึงพร้อมแห่งโสตะ ความถึง

พร้อมแห่งฆานะ ความถึงพร้อมแห่งชิวหา ความถึงพร้อมแห่งกาย ความ

ถึงพร้อมแห่งใจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ คือ ผู้ติดพันในสุข

เวทนา ติดพันในวัตถุที่ปรารถนา ติดพันในความเป็นหนุ่มสาว ติดพันใน

ความไม่มีโรค ติดพันในชีวิต ติดพันในลาภ ติดพันในยศ ติดพันในสรร

เสริญ ติดพันในสุข ติดพันในรูป ติดพันในเสียง ติดพันในกลิ่น ติดพัน

ในรส ติดพันในโผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ติดพัน คือเกี่ยวพัน ผูกพัน

ข้อง เกี่ยว หมกมุ่นในความถึงพร้อมแห่งจักษุ ในความถึงพร้อมแห่ง

โสตะ ในความถึงพร้อมแห่งฆานะ ในความถึงพร้อมแห่งชิวหา ในความ

ถึงพร้อมแห่งกาย ในความถึงพร้อมแห่งใจ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ติด

พันด้วยความแช่มชื่นในภพ เพราะเหตุแห่งความปรารถนา.

[๓๗] คำว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่

ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น มีความว่า ธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่น

ในภพเหล่านั้น อันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก หรือสัตว์เหล่านั้นเป็นผู้หลุดพ้น

ได้ยากจากธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพเหล่านั้น.

ธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพเหล่านั้น อันสัตว์หลุดพ้น

ได้ยาก อย่างไร ? คือ สุขเวทนา วัตถุที่ปรารถนา ความเป็นหนุ่มสาว

ความไม่มีโรค ชีวิต ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข รูป เสียง กลิ่น รส

โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ความถึงพร้อมแห่งจักษุ ความถึงพร้อมแห่งโสตะ

ความถึงพร้อมแห่งฆานะ ความถึงพร้อมแห่งชิวหา ความถึงพร้อมแห่ง

กาย ความถึงพร้อมแห่งใจ อันสัตว์พ้นได้ยาก คือหลุดพ้นได้ยาก เปลื้อง

ได้ยาก ปล่อยได้ยาก ย่ำยีได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

ได้ยาก ก้าวล่วงได้ยาก ประพฤติล่วงได้ยาก ธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความ

แช่มชื่นในภพ อันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก อย่างนี้.

สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้หลุดพ้นได้ยากจากธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่ม

ชื่นในภพเหล่านั้น อย่างไร ? คือ สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้พ้นได้ยาก หลุดพ้น

ได้ยาก ถอนขึ้นได้ยาก ปลดเปลื้องได้ยาก พรากออกได้ยาก ฉุดออกได้

ยาก จากสุขเวทนา วัตถุที่ปรารถนา ความเป็นหนุ่มสาว ความไม่มีโรค

ชีวิต ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่น่า

พอใจ ความถึงพร้อมแห่งจักษุ ความถึงพร้อมแห่งโสตะ ความถึงพร้อม

แห่งฆานะ ความถึงพร้อมแห่งชิวหา ความถึงพรอมแห่งกาย ความถึง

พร้อมแห่งใจ สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก จากธรรมที่เป็นวัตถุ

แห่งความแช่มชื่นในภพเหล่านั้น อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์-

เหล่านั้นเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก อย่างนี้.

คำว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น มีความว่า สัตว์เหล่านั้น

จมอยู่ด้วยตน ย่อมไม่อาจจะฉุดผู้อื่นที่จมอยู่ให้ขึ้นได้ สมจริงดังที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนจุนทะ บุคคลนั้นหนอ จมอยู่ด้วยตนแล้ว

จักฉุดผู้อื่นที่จมอยู่ขึ้นได้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนจุนทะ บุคคล

นั้นหนอ ไม่ฝึกฝน ไม่อบรม ไม่ดับกิเลสด้วยตนแล้ว จักยังผู้อื่นให้ฝึก

ฝน ให้อบรม ให้ดับกิเลสได้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะได้ สัตว์เหล่านั้น

ไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้นได้ อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่งไม่มีใคร ๆ อื่นที่จะ

ยังสัตว์เหล่านั้นให้พ้นได้ ถ้าสัตว์เหล่านั้นจะพึงพ้นได้ไซร้ สัตว์เหล่านั้นก็

ปฏิบัติอยู่ซึ่งสัมมาปฏิบัติ อนุโลมปฏิบัติ อปัจจนิกปฏิบัติ อนวัตถปฏิบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

ธัมมานุธัมมปฏิบัติ โดยตนเอง ด้วยเรี่ยวแรง กำลัง ความเพียร ความ

บากบั่น เรี่ยวแรงของบุรุษ กำลังของบุรุษ ความเพียรของบุรุษ ความ

บากบั่นของบุรุษ ของตนเอง จึงจะพึงพ้นได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น ด้วยประการฉะนี้.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ดูก่อนโธตกมาณพ เราไม่อาจยังใคร ๆ ที่มีความ

สงสัยในโลกให้หลุดพ้นได้ แต่ท่านรู้เฉพาะซึ่งธรรมอัน

ประเสริฐ พึงข้ามห้วงทุกข์นี้ได้ ด้วยประการอย่างนี้.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น แม้ด้วย

ประการอย่างนี้.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ความชั่วอันบุคคลกระทำด้วยตน บุคคลนั้นจักเศร้า

หมองด้วยตนเอง ความชั่วอันบุคคลไม่กระทำด้วยตน

บุคคลนั้น จะบริสุทธิ์ด้วยตนเอง ความบริสุทธิ์ และ ความ

ไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตน ผู้อื่นไม่พึงให้ผู้อื่นบริสุทธิ์

ได้.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น แม้ด้วย

ประการอย่างนี้.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้ก็ฉันนั้น นิพพานก็ตั้งอยู่

หนทางไปนิพพานก็ตั้งอยู่ เราผู้ชักชวนก็ตั้งอยู่ ก็เมื่อเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

ดังนั้น สาวกทั้งหลายของเรา ผู้อันเราสั่งสอนอยู่อย่างนี้

พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกก็บรรลุถึงนิพพาน อันจบสิ้น

โดยส่วนเดียว บางพวกก็ไม่บรรลุ ดูก่อนพราหมณ์

ในเรื่องนี้เราจะทำอย่างไรได้ ดูก่อนพราหมณ์ พระตถาคต

เป็นเพียงผู้บอกหนทาง พระพุทธเจ้าย่อมบอกหนทาง

สัตว์ทั้งหลายผู้ปฏิบัติอยู่ด้วยตนเอง จึงจะพึงหลุดพ้นได้

เพราะฉะนั้น จึงถือว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้นแม้

ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์เหล่านั้น

เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น

[๓๘] คำว่า มุ่งหวังอยู่ในข้างหลังบ้างในข้างหน้าบ้าง มีความ

ว่า อนาคตเรียกว่าข้างหลัง อดีตเรียกว่าข้างหน้าอีกอย่างหนึ่ง อนาคต

ใกล้อดีตก็ดี ปัจจุบันใกล้อดีตก็ดี เรียกว่า ข้างหลัง อดีตใกล้อนาคต

ก็ดี ปัจจุบันใกล้อนาคตก็ดี เรียกว่าข้างหน้า.

บุคคลทำความมุ่งหวังในข้างหน้า อย่างไร ? คือ บุคคลย่อม

หวนระลึกถึงความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตกาล เราได้มีรูป

อย่างนี้ มีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญาอย่างนี้ มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้

บุคคลชื่อว่า ทำความมุ่งหวังในข้างหน้า แม้ด้วยประการอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง วิญญาณเป็นของพัวพันด้วยฉันทราคะในอารมณ์นั้นว่า

ในอดีตกาลเราได้มีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะวิญญาณเป็นของพัวพันด้วย

ฉันทราคะบุคคลนั้นจึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้น

จึงชื่อว่า ย่อมกระทำความมุ่งหวังในข้างหน้า แม้ด้วยประการอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

วิญญาณเป็นของพัวพันด้วยฉันทราคะในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตกาล

เราได้มีโสตะดังนี้ มีเสียงดังนี้....ในอดีตกาล เราได้มีฆานะดังนี้ มีกลิ่นดังนี้...

ในอดีตกาลเราได้มีชิวหาดังนี้ มีรสดังนี้...ในอดีตกาล เราได้มีกายดังนี้

มีโผฏฐัพพะดังนี้ ... ในอดีตกาล เราได้มีใจดังนี้ มีธรรมดังนี้ เพราะวิญญาณ

เป็นของพัวพันด้วยฉันทราคะ บุคคลนั้นจึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อ

เพลิดเพลินอารมณ์นั้น จึงชื่อว่า ย่อมกระทำความมุ่งหวังในข้างหน้า

แม้ด้วยประการอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมยินดี มุ่งหวัง ถึงความปลื้มใจด้วยการ

หัวเราะ การเจรจา การเล่นกับมาตุคามในกาลก่อนบุคคลจึงชื่อว่า ย่อม

กระทำความมุ่งหวังในข้างหน้า แม้ด้วยประการอย่างนี้.

บุคคลทำความมุ่งหวังในข้างหลังอย่างไร ? คือ บุคคลตามระลึก

ถึงความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีรูปอย่างนี้

เวทนาอย่างนี้ สัญญาอย่างนี้ สังขารอย่างนี้ วิญญาณอย่างนี้ บุคคล

ชื่อว่าทำความมุ่งหวังในข้างหลัง แม้ด้วยประการอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคต

กาล เราพึงมีจักษุดังนี้ มีรูปดังนี้ เพราะเหตุแห่งการตั้งจิตไว้ บุคคลนั้น

จึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้น จึงชื่อว่า ย่อมกระทำ

ความมุ่งหวังในข้างหลัง แม้ด้วยประการอย่างนี้.

บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้อารมณ์ที่ไม่ได้ว่า ในอนาคตกาลเราพึงมิโสตะ

ดังนี้ มีเสียงดังนี้....ในอนาคตกาล เราพึงมีฆานะดังนี้ มีกลิ่นดังนี้.....ใน

อนาคตกาลเราพึงมีชิวหาดังนี้ มีรสดังนี้....ในอนาคตกาลเราพึงมีกายดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

มีโผฏฐัพพะดังนี้....ในอนาคตกาล เราพึงมีใจดังนี้ มีธรรมดังนี้ เพราะ

เหตุแห่งการตั้งจิตไว้ บุคคลนั้นจึงเพลิดเพลินอารมณ์นั้นเมื่อเพลิดเพลิน

อารมณ์นั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวังในข้างหลังแม้ด้วย

ประการอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมตั้งจิตเพื่อจะได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า เราจัก

เป็นเทวราช หรือจักเป็นเทวดาตนใดตนหนึ่ง ด้วยศีลด้วยพรต ด้วยตบะ

หรือด้วยพรหมจรรย์ เพราะเหตุแห่งการตั้งจิตไว้ บุคคลนั้นจึงเพลิดเพลิน

อารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ทำความมุ่ง

หวังในข้างหลัง แม้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มุ่งหวัง

อยู่ในข้างหลังบ้าง ในข้างหน้าบ้าง.

[๓๙] คำว่า ปรารถนาอยู่ซึ่งกามเหล่านี้ หรือกามที่มีในก่อน

มีความว่า คำว่าซึ่งกามเหล่านี้ คือ อยากได้ ยินดี ปรารถนา

ทะเยอทะยาน เพ้อฝันถึงกามคุณ ๕ ที่เป็นปัจจุบัน คำว่า ปรารถนา

อยู่ซึ่งกามที่มีในก่อนมีความว่า ปรารถนาอยู่ บ่นเพ้ออยู่ รำพันอยู่ ถึง

กามคุณ ๕ ที่เป็นอดีต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปรารถนาอยู่ซึ่งกาม

เหล่านี้หรือกามที่มีในก่อนเพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

สัตว์เหล่านั้น ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ

เพราะเหตุแห่งความปรารถนา มุ่งหวังอยู่ในข้างหลังบ้าง

ในข้างหน้าบ้างปรารถนาอยู่ซึ่งกามเหล่านี้ หรือกามที่มีใน

ก่อน เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุด

พ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

[๔๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า:-

สัตว์เหล่านั้น ปรารถนา ขวนขวาย หลงใหลอยู่

ในกามทั้งหลายเป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ ถึง

ทุกข์แล้ว ย่อมรำพันอยู่ว่าเราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้ว

จักเป็นอะไรหนอ.

ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง

[๔๑] คำว่า ปรารถนา ขวนขวาย หลงใหลอยู่ในกาม

ทั้งหลาย มีความว่า กาม โดยหัวข้อได้แก่กาม ๒ อย่าง คือ วัตถุ

กาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ กามเหล่านี้ เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ กาม

เหล่านี้ เรียกว่า กิเลสกาม. ตัณหา เรียกว่า ความปรารถนา ได้

แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล

สัตว์ทั้งหลาย กำหนัด ปรารถนาหลงใหล ติดใจ ลุ่มหลง ข้อง เกี่ยว

พัวพัน ในวัตถุกามทั้งหลายด้วยกิเลสกาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ปรารถนาในกามทั้งหลาย. คำว่า ขวนขวาย มีความว่า แม้สัตว์

เหล่าใด ย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหากามทั้งหลาย เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อ

กาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้ม

ไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ก็ชื่อว่า

ผู้ขวนขวายในกาม. แม้สัตว์เหล่าใด ย่อมแสวงหาเสาะหา ค้นหา รูป

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหาเป็นผู้เที่ยวไปเพื่อ

กาม มักมากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

ไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ก็ชื่อว่า

ผู้ขวนขวายในกาม.

แม้สัตว์เหล่าใดได้เฉพาะรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วย

สามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกาม

เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่ง

กามเป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ก็ชื่อว่า ผู้ขวนขวายในกาม.

แม้สัตว์เหล่าใด บริโภครูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วย

สามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกาม

เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม มุ่งกาม

เป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ก็ชื่อว่า ผู้ขวนขวายในกาม.

คนผู้ทำความทะเลาะชื่อว่าขวนขวายในความทะเลาะ. คนผู้ทำการ

งานชื่อว่าขวนขวายในการงาน. คนผู้เที่ยวไปในโคจร ชื่อว่าขวนขวายใน

โคจร. คนผู้เจริญฌาน ชื่อว่าขวนขวายในฌานฉันใด. แม้สัตว์เหล่าใด

ย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหา กามทั้งหลายเป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มัก

มากในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม

น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ก็ชื่อว่า ผู้ขวนขวาย

ในกามฉันนั้นเหมือนกัน.

แม้สัตว์เหล่าใด ย่อมแสวงหา เสาะหา ค้นหา รูป เสียง กลิ่น

รส โผฏฐัพพะ ด้วยสามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมาก

ในกาม หนักในกาม เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม

น้อมใจไปในกาม มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ก็ชื่อว่า ผู้ขวนขวาย

ในกาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

แม้สัตว์เหล่าใดได้เฉพาะรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วย

สามารถแห่งตัณหา เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม มักมากในกาม หนักในกาม

เอนไปในกาม โอนไปในกาม โน้มไปในกาม น้อมใจไปในกาม

มุ่งกามเป็นใหญ่ แม้สัตว์เหล่านั้น ก็ชื่อว่า ผู้ขวนขวายในกาม.

คำว่า หลงใหล มีความว่า โดยมากเทวดาและมนุษย์ย่อมหลง

หลงใหล หลงพร้อมอยู่ในกามคุณ ๕ เป็นผู้หลง หลงใหล หลงพร้อม

อันอวิชชาทำให้ตาบอด หุ้มห่อไว้ ปิดไว้ ปิดบังไว้ ปกปิดไว้ ปกคลุม

ไว้ ครอบงำไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปรารถนา. ขวนขวาย

หลงใหลอยู่ในกามทั้งหลาย.

[๔๒] คำว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้ตกต่ำตั้งอยู่ในกรรมอัน

ไม่เสมอ มีความว่า คำว่า ตกต่ำ คือแม้สัตว์ผู้ไปต่ำ ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ

แม้ผู้มีความตระหนี่ ก็ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ ผู้ไม่เชื่อถือคำ ถ้อยคำ เทศนา

คำสอน ของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ชื่อว่า

ผู้ตกต่ำ.

ผู้ไปต่ำ ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ อย่างไร ? สัตว์ผู้ไปต่ำคือสัตว์ที่ไปสู่นรก

ไปสู่ดิรัจฉานกำเนิด ไปสู่เปรตวิสัย ชื่อว่าไปต่ำ ผู้ไปต่ำอย่างนี้ จึงชื่อว่า

ผู้ตกต่ำ.

ว่าด้วยความตระหนี่ ๕ ประการ

ผู้มีความตระหนี่ ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ อย่างไร ? ความตระหนี่ ๕

ประการ คือ ความตระหนี่ที่อยู่, ความตระหนี่ตระกูล, ความตระหนี่ลาภ,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

ความตระหนี่วรรณะ, ความตระหนี่ธรรม, ความตระหนี่เห็นปานนี้

อาการตระหนี่ ความเป็นผู้ประพฤติตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่าง ๆ

ความเหนียวแน่น ความเป็นผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอัน

ใคร ๆ ไม่เชื่อถือได้ในการให้ นี้เรียกว่าความตระหนี่. อีกอย่างหนึ่ง

ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะก็ดี

นี้เรียกว่า ความตระหนี่. ความมุ่งจะเอา ก็เรียกว่าความตระหนี่ นี้ชื่อว่า

ความตระหนี่. ชนผู้ประกอบด้วยความตระหนี่ ไม่รู้จักถ้อยคำที่ยาจก

กล่าว ประมาทอยู่แล้ว ผู้มีความตระหนี่อย่างนี้ ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ.

สัตว์ที่ไม่เชื่อถือคำ ถ้อยคำ เทศนา คำสอนของพระพุทธเจ้าและ

สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ตกต่ำอย่างไร ? สัตว์ทั้งหลายไม่

เชื่อถือ ไม่ฟัง ไม่เงี่ยโสตลงฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้คำ ถ้อยคำ เทศนา

คำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ไม่เชื่อ

ฟัง ไม่ทำตามคำ ประพฤติฝ่าฝืน เบือนหน้าไปทางอื่น สัตว์ที่ไม่เชื่อคำ

ถ้อยคำ เทศนา คำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

อย่างนี้ ชื่อว่า ผู้ตกต่ำ.

คำว่า สัตว์เหล่านั้นตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ มีความว่า

สัตว์เหล่านั้น ตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ ติดแน่น เข้าถึง ติดพัน ติดใจ

ข้อง เกี่ยว เกาะเกี่ยว ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม การฆ่าสัตว์

การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การกล่าวคำเท็จ คำส่อเสียด

คำหยาบ. คำเพ้อเจ้อ ความเพ่งเล็ง ความปองร้าย ความเห็นผิด

สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ ความคิดอ่าน ความปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

ความตั้งใจ อันไม่เสมอ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัตว์เหล่านั้นเป็นผู้ตกต่ำ

ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ.

[๔๓] คำว่า ถึงทุกข์เข้าแล้ว ย่อมรำพันอยู่ มีความว่า คำว่า

ถึงทุกข์เข้าแล้ว คือ เข้าถึงทุกข์ ถึงทุกข์ ประสบทุกข์ ประจวบทุกข์

ถึงมาร ประสบมาร ประจวบมาร ถึงมรณะ ประสบมรณะ ประจวบ-

มรณะเข้าแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถึงทุกข์เข้าแล้ว. คำว่า

ย่อมรำพันอยู่ คือ ย่อมร่ำไรถึง เพ้อถึง โศกถึง ลำบากใจ รำพัน

ตบอกคร่ำครวญถึง ถึงความหลงใหล เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ถึงทุกข์

เข้าแล้ว ย่อมรำพันอยู่.

ความสงสัยในอนาคต ๑๕ ประการ

[๔๔] คำว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้ว จักเป็น

อะไรหนอ ? มีความว่า สัตว์เหล่านั้น แล่นไปสู่ความสงสัย แล่นไปสู่

ความเคลือบแคลง เกิดไม่แน่ใจ ย่อมพูดถึง เพ้อถึง โศกถึง ลำบากใจ

รำพันตบอกคร่ำครวญถึง ถึงความหลงใหลอยู่ว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจาก

ภพนี้แล้วจักเป็นอะไรหนอ ? คือจักเป็นสัตว์เกิดในนรก จักเป็นสัตว์เกิด

ในดิรัจฉานกำเนิด จักเป็นสัตว์เกิดในเปรตวิสัย จักเป็นมนุษย์ จักเป็น

เทวดา จักเป็นสัตว์มีรูป จักเป็นสัตว์ไม่มีรูป จักเป็นสัตว์มีสัญญา จักเป็น

สัตว์ไม่มีสัญญา หรือจักเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราทั้งหลาย

จักมีในอนาคตหรือหนอ หรือจักไม่มีในอนาคต เราทั้งหลายจักเป็นอะไร

หนอแลในอนาคต เราทั้งหลายจักเป็นอย่างไรหนอแลในอนาคต เราทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

หลายจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรอีกในอนาคตกาล ดังนั้น เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า สัตว์เหล่านั้นย่อมรำพันว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้ว

จักเป็นอะไรหนอ ?

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

สัตว์เหล่านั้น ปรารถนา ขวนขวายหลงใหลอยู่

ในกามทั้งหลาย เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในธรรมอันไม่เสมอ

ถึงทุกข์เข้าแล้วย่อมรำพันอยู่ว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพ

นี้แล้ว จักเป็นอะไรหนอ.

[๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมา พึงศึกษาในศาสนา

นี้แหละ พึงรู้กรรมอันไม่เสมออย่างใดอย่างหนึ่งในโลก

ว่าเป็นกรรมอันไม่เสมอ ไม่พึงประพฤติกรรมอันไม่เสมอ

เพราะเหตุแห่งกรรมอันไม่เสมอนั้น นักปราชญ์ทั้งหลาย

ได้กล่าวชีวิตนี้ ว่าเป็นของน้อย.

ว่าด้วยสิกขา ๓

[๔๖] คำว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมา พึงศึกษาใน

ศาสนานี้แหละ มีความว่า คำว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะฉะนั้น

เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น คือ

เพราะเห็นโทษนั้นในกามทั้งหลาย. คำว่า พึงศึกษา มีความว่า พึง

ศึกษาสิกขาทั้ง ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญา

สิกขา ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

อธิศีลสิกขาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวม

แล้วด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัย

ในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์

น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีล ที่ตั้ง เบื้องต้น ความประพฤติ ความสำรวม

ความระวังปาก ประธานแห่งความถึงพร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียก

ว่า อธิศีลสิกขา

อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมทั้งหลายบรรลุปฐมฌาณ มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด

แต่วิเวกอยู่ เพราะวิตกและวิจารสงบไปจึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส

แห่งใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและ

สุขเกิดแต่สมาธิอยู่. เพราะปีติสิ้นไปจึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข

ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้

เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัส

โทมนัสก่อน ๆ ได้ จึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็น

เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า อธิจิตตสิกขา.

อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา

ประกอบด้วยปัญญาอันให้ถึงความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรก

กิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านั้น

อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ

อาสวะ นี้เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

สัตว์ผู้เกิดมา เมื่อนึกถึงสิกขาทั้ง ๓ นี้ เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา

เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยความเชื่อ เมื่อประคองความเพียร

เมื่อตั้งสติ เมื่อตั้งจิต เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง

เมื่อกำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรม

ที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง พึงศึกษา พึงประพฤติ

เอื้อเฟื้อ พึงประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ.

คำว่า ในศาสนานี้ คือ ในความเห็นนี้ ในความควรนี้ ในความ

ชอบใจนี้ ในความยึดถือนี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ใน

ปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้ ในอัตภาพนี้ ในมนุษย

โลกนี้.

คำว่า สัตว์ผู้เกิดมา คือสัตว์ นระ ฯลฯ มนุษย์เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมา พึงศึกษาในศาสนานี้

แหละ.

[๔๗] คำว่า พึงรู้กรรมอันไม่เสมออย่างใดอย่างหนึ่งในโลก

ว่าเป็นกรรมอันไม่เสมอ มีความว่า คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

ทั้งปวงโดยอาการทั้งปวง ทั้งปวง โดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ ไม่มี

เหลือ, คำว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เป็นเครื่องกล่าวกรรมทั้งสิ้น.

คำว่า พึงรู้ว่าเป็นกรรมอันไม่เสมอ มีความว่า สัตว์ผู้เกิดมา

พึงรู้ พึงรู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอด กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา

ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เจตนาความปรารถนา ความตั้งใจ อันไม่เสมอ

ว่าเป็นกรรมอันไม่เสมอ คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก ฯลฯ อายตน-

โลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงรู้กรรมอันไม่เสมออย่างใดอย่างหนึ่ง

ว่าเป็นกรรมอันไม่เสมอ.

[๔๘] คำว่า ไม่พึงประพฤติกรรมอันไม่เสมอเพราะเหตุ

แห่งกรรมอันไม่เสมอนั้น มีความว่า สัตว์ผู้เกิดมา ไม่พึงประพฤติ

ไม่พึงเอื้อเฟื้อประพฤติ ไม่พึงเอื้อเฟื้อประพฤติโดยชอบ ไม่พึงสมาทาน

ประพฤติซึ่งกรรมอันไม่เสมอ เพราะเหตุแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณวาจา

ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย

กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เจตนาความปรารถนา ความตั้งใจอันไม่เสมอ

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่พึงประพฤติกรรมอันไม่เสมอเพราะเหตุ

แห่งกรรมอันไม่เสมอนั้น.

ชีวิตน้อยด้วยเหตุ ๒ ประการ

[๔๙] คำว่า นักปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของ

น้อย มีความว่า ชีวิต ได้แก่อายุ ความตั้งอยู่ ความดำเนินไป ความ

ให้อัตภาพดำเนินไป ความหมุนไป ความเลี้ยง ความเป็นอยู่ ชีวิตินทรีย์

ก็ชีวิตน้อยโดยเหตุ ๒ ประการ คือ ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อย ๑ ชีวิตน้อย

เพราะมีกิจน้อย ๑.

ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อย เป็นอย่างไร ? ชีวิตเป็นอยู่แล้วใน

ขณะจิตเป็นอดีต ย่อมไม่เป็นอยู่ จักไม่เป็นอยู่ ชีวิตจักเป็นอยู่ในขณะจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

เป็นอนาคต ย่อมไม่เป็นอยู่ ไม่เป็นอยู่แล้ว ชีวิตย่อมเป็นอยู่ในขณะจิต

เป็นปัจจุบัน ไม่เป็นอยู่แล้ว จักไม่เป็นอยู่.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ชีวิต อัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งมวลเป็นธรรมประ-

กอบกัน เสมอด้วยจิตดวงเดียว ขณะย่อมเป็นไปพลัน

เทวดาเหล่าใด ย่อมตั้งอยู่ตลอดแปดหมื่นสี่พันกัปเทวดา

เหล่านั้น ย่อมไม่เป็นผู้ประกอบด้วยจิต ๒ ดวงเป็นอยู่เลย

ขันธ์เหล่าใดของสัตว์ผู้ตาย หรือของสัตว์ที่เป็นอยู่ในโลก

นี้ดับแล้ว ขันธ์เหล่านั้นทั้งปวงเที่ยวเป็นเช่นเดียวกันดับไป

แล้ว มิได้สืบเนื่องกัน ขันธ์เหล่าใด แตกไปแล้วในอดีต

เป็นลำดับ และขันธ์เหล่าใดแตกไปแล้วในอนาคตเป็น

ลำดับ ความแปลกกันแห่งขันธ์ทั้งหลายที่ดับไปในปัจจุบัน

กับด้วยขันธ์เหล่านั้น ย่อมมิได้มีในลักษณะสัตว์ไม่เกิดแล้ว

ด้วยอนาคตขันธ์ ย่อมเป็นอยู่ด้วยปัจจุบันขันธ์ สัตว์โลกตาย

แล้ว เพราะความแตกแห่งจิตนี้เป็นบัญญัติทางปรมัตถ์

ขันธ์ทั้งหลายแปรไปโดยฉันทะ ย่อมเป็นไปดุจน้ำไหลไป

ตามที่ลุ่มฉะนั้น ย่อมเป็นไปตามวาระอันไม่ขาดสาย เพราะ

อายตนะ ๖ เป็นปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายแตกแล้วมิได้ถึงความ

ตั้งอยู่ กองขันธ์มิได้มีในอนาคต ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว

ย่อมตั้งอยู่ เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดทั้งอยู่บนปลายเหล็ก

แหลมฉะนั้น ก็ความแตกแห่งธรรมขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

นั้นสกัดอยู่ข้างหน้าแห่งสัตว์เหล่านั้น ขันธ์ทั้งหลายมีความ

ทำลายเป็นปกติ มิได้รวมขันธ์ที่เกิดก่อน ย่อมตั้งอยู่

ขันธ์ทั้งหลายมาโดยไม่ปรากฏแตกแล้วก็ไปสู่ที่ไม่ปรากฏ

ย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป เหมือนสายฟ้าแลบในอากาศ

ฉะนั้น.

ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อย อย่างนี้.

ชีวิตน้อยเพราะมีกิจน้อย อย่างไร ? ชีวิตเนื่องด้วยลมหายใจเข้า

ชีวิตเนื่องด้วยลมหายใจออก ชีวิตเนื่องด้วยลมหาย ใจเข้าและลมหายใจออก

ชีวิตเนื่องด้วยมหาภูตรูป ชีวิตเนื่องด้วยไออุ่น ชีวิตที่เนื่องด้วยอาหารที่

กลืนกิน ชีวิตเนื่องด้วยวิญญาณ กรัชกายอันเป็นที่ตั้งแห่งลมหายใจเข้า

และลมหายใจออกเหล่านี้ก็ดี อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และ

ภพอันเป็นเหตุเดิมแห่งลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเหล่านี้ก็ดี ปัจจัยทั้ง

หลายก็ดี ตัณหาอันเป็นแดนเกิดก่อนก็ดี รูปธรรมและอรูปธรรมที่เกิด

ร่วมกัน แห่งลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเหล่านี้ก็ดี อรูปธรรมที่ประ

กอบกัน แห่งลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเหล่านั้นก็ดี ขันธ์ที่เกิดร่วมกัน

แห่งลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเหล่านี้ก็ดี ตัณหาอันประกอบกันก็ดี

ก็มีกำลังทราม ธรรมเหล่านั้นมีกำลังทรามเป็นนิตย์ต่อกันและกัน มิได้ตั้งมั่น

ต่อกันและกัน ย่อมยังกันและกันให้ตกไป เพราะความต้านทานมิได้มีแก่

กันและกัน ธรรมเหล่านั้นจึงไม่ดำรงกันและกันไว้ได้ ธรรมแม้ใดให้ธรรม

เหล่านี้เกิดแล้ว ธรรมนั้นมิได้มี ก็แต่ธรรมอย่างหนึ่ง มิได้เสื่อมไปเพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

ธรรมอย่างหนึ่ง ก็ขันธ์เหล่านี้แตกไปเสื่อมไป โดยอาการทั้งปวง ขันธ์

เหล่านี้อันเหตุปัจจัยมีในก่อนให้เกิดแล้ว แม้เหตุปัจจัยอันเกิดก่อนเหล่าใด

เหตุปัจจัยเหล่านั้นก็ตายไปแล้วในก่อน ขันธ์ที่เกิดก่อนก็ดี ขันธ์ที่เกิดภาย

หลังก็ดี มิได้เห็นกันและกันในกาลไหน ๆ ฉะนั้น ชีวิตจึงชื่อว่า เป็น

ของน้อยเพราะมีกิจน้อย อย่างนี้.

อนึ่ง เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา ชีวิตมนุษย์ก็

น้อย คือเล็กน้อยนิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไปชั่วกาล

บัดเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่ช้า ดำรงอยู่ไม่นาน เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้น

ดาวดึงส์......เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นยามา.........เพราะเทียบชีวิตของ

เทวดาชั้นดุสิต......เพราะเทียบชีวิตของเทวดาชั้นนิมมานรดี.....เพราะเทียบ

ชีวิตของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.......เพราะเทียบชีวิตของเทวดาเนื่องใน

หมู่พรหม ชีวิตมนุษย์น้อย คือเล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็น

ไปพลัน เป็นไปชั่วกาลบัดเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่ช้า ดำรงอยู่ไม่นาน.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายุของพวกมนุษย์นี้น้อย

จำต้องไปสู่ปรโลก มนุษย์ทั้งหลายจำต้องประสบความตาย

ตามที่รู้กันอยู่แล้วควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์

ไม่มีมนุษย์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้

ใดย่อมเป็นอยู่นาน ผู้นั้นก็เป็นอยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปี หรือที่

เกินกว่า ๑๐๐ ปี ก็มีน้อย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง

แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า :-

อายุของพวกมนุษย์น้อย บุรุษผู้ใคร่ความดี พึงดู

หมิ่นอายุที่น้อยนี้ พึงรีบประพฤติให้เหมือนคนถูกไฟไหม้

ศีรษะ ฉะนั้น เพราะความตายจะไม่มาถึง มิได้มี วันคืน

ย่อมล่วงเลยไปชีวิตก็กระชั้นเข้าไปสู่ความตายอายุของสัตว์

ทั้งหลายย่อมสิ้นไปเหมือนน้ำในแม่น้ำน้อย ย่อมสิ้นไป

ฉะนั้น.

ว่าด้วยปัญญาที่เรียกว่าธี

คำว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย มี

ความว่า นักปราชญ์ทั้งหลายได้แก่ ผู้มีปัญญาทรงจำ ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา

ทรงจำ ผู้ติเตียนบาป ปัญญาเรียกว่า ธี ได้แก่ความรู้ ความรู้ทั่ว ความ

เลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว ความเลือกเฟ้นธรรม ความกำหนดดี

ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความ

เป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน ปัญญาเป็นเครื่องจำแนก ปัญญา

เป็นเครื่องติด ปัญญาเป็นเครื่องเข้าไปเห็น ปัญญาอันกว้างขวางดุจแผ่นดิน

ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ปัญญาเป็นเครื่องเห็น

แจ้ง ความรู้สึกตัว ปัญญาเป็นเครื่องเจาะแทง ปัญญาเป็นเครื่องเห็นชัด

ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาเป็นศัสตรา ปัญญาเพียงดังปรา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

สาท ปัญญาอันสว่าง ปัญญาอันแจ่มแจ้ง ปัญญาอันรุ่งเรื่อง ปัญญาเป็น

ดังแก้ว ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ เพราะเป็น

ผู้ประกอบด้วยปัญญานั้น จึงชื่อว่า ธีรา อีกอย่างหนึ่ง ชนผู้มีปัญญาใน

ขันธ์ มีปัญญาในธาตุ มีปัญญาในอายตนะ มีปัญญาในปฏิจจสมุปบาท มี

ปัญญาในสติปัฏฐาน มีปัญญาในสัมมัปปธาน มีปัญญาในอิทธิบาท มีปัญญา

ในอินทรีย์ มีปัญญาในพละ มีปัญญาในโพชฌงค์ มีปัญญาในมรรค มี

ปัญญาในผล มีปัญญาในนิพพาน ชื่อว่า ธีรา ผู้มีปัญญาทั้งหลายนั้น

ได้กล่าว คือ กล่าว บอก พูด แสดง แถลงว่า ชีวิตมนุษย์น้อย คือ

เล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไปตลอดกาลบัดเดี๋ยว

เดียวตั้งอยู่ตลอดกาลไม่ช้า ดำรงอยู่ไม่นาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

นักปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

เพราะฉะนั้นแล สัตว์ผู้เกิดมา พึงศึกษาในศาสนา

นี้แหละ พึงรู้กรรมอันไม่เสมออย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่า

เป็นกรรมอันไม่เสมอ ไม่พึงประพฤติกรรมอันไม่เสมอ

เพราะเหตุแห่งกรรมอันไม่เสมอนั้น นักปราชญ์ ทั้งหลาย

ได้กล่าวชีวิตนี้ว่าเป็นของน้อย.

[๕๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

เราย่อมเห็นหมู่สัตว์นี้ ผู้ไปในตัณหาในภพทั้ง

หลายดิ้นรนอยู่ในโลก นรชนทั้งหลายที่เลวยังไม่ปราศจาก

ตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

สัตว์ดิ้นในอยู่ในโลกเพราะตัณหา

[๕๑] คำว่า เราย่อมเห็น.... ดิ้นรนอยู่ในโลก มีความว่า

คำว่า ย่อมเห็น คือ ย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู

ด้วยมังสจักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง ปัญญาจักษุบ้าง พุทธจักษุบ้าง สมันตจักษุ

บ้าง.

คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก

ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก.

คำว่า ดิ้นรนอยู่ คือ เราย่อมเห็น ย่อมแลดู. ตรวจดู เพ่งดู

พิจารณาดู ซึ่งหมู่สัตว์นี้ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว

เอนเอียง กระสับกระส่ายอยู่ ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา ด้วยความดิ้น

รนเพราะทิฏฐิ ด้วยความดิ้นรนเพราะกิเลส ด้วยความดิ้นรนเพราะความ

ประกอบ ด้วยความดิ้นรนเพราะผลกรรม ด้วยความดิ้นรนเพราะทุจริต

ด้วยราคะของผู้กำหนัด ด้วยโทสะของผู้ขัดเคือง ด้วยโมหะของผู้หลงแล้ว

ด้วยมานะเป็นเครื่องผูกพัน ด้วยทิฏฐิที่ยึดถือไว้ ด้วยความฟุ้งซ่านที่ฟุ้ง

แล้ว ด้วยความสงสัยที่ไม่แน่ใจ ด้วยอนุสัยที่ถึงกำลังด้วยลาภ ด้วยความ

เสื่อมลาภ ด้วยยศ ด้วยความเสื่อมยศ ด้วยสรรเสริญ ด้วยนินทา ด้วยสุข

ด้วยทุกข์ ด้วยชาติ ด้วยชรา ด้วยพยาธิ ด้วยมรณะ ด้วยโสกะปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ด้วยทุกข์คือความเกิดในนรก ด้วยทุกข์คือ

ความเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยทุกข์คือความเกิดในวิสัยแห่งเปรต

ด้วยทุกข์คือความเกิดในมนุษย์ ด้วยทุกข์มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล ด้วย

ทุกข์มีความทั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ด้วยทุกข์มีความตลอดจากครรภ์เป็นมูล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

ด้วยทุกข์อันติดตามสัตว์ที่เกิดแล้ว ด้วยทุกข์อันเนื่องแห่งผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิด

แล้ว ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของตน ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความ

ขวนขวายของผู้อื่น ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ทุกขเวทนา ด้วยทุกข์อันเกิดแต่

สังขาร ด้วยทุกข์อันเกิดแต่ความแปรปรวน ด้วยทุกข์เพราะโรคทางจักษุ

โรคทางโสตะ โรคทางฆานะ โรคทางชิวหา โรคทางกาย โรคทางศีรษะ

โรคทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไร้หวัด

โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด

โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ

โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด

โรคละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ

โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง ด้วยอาพาธมีดีเป็น

สมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธ

สันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดขึ้นเพราะการบริหารไม่

สม่ำเสมอ อาพาธเกิดขึ้นแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่ผลกรรม

ด้วยความหนาว ด้วยความร้อน ด้วยความหิว ด้วยความกระหาย ด้วย

ปวดอุจจาระ ด้วยปวดปัสสาวะ ด้วยความทุกข์เกิดแต่สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง

ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งมารดา ด้วย

ทุกข์เพราะความตายแห่งบิดา ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งพี่ชายน้องชาย

ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งพี่สาวน้องสาว ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่ง

บุตร ด้วยทุกข์เพราะความตายแห่งธิดา ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่ง

ญาติ ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ ด้วยทุกข์เพราะความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

ฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายอันเกิดแต่โรค ด้วย

ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล ด้วยทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมเห็น....ดิ้นรนอยู่ในโลก.

[๕๒] คำว่า หมู่สัตว์นี้ผู้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย มี

ความว่า คำว่า หมู่สัตว์ เป็นชื่อของสัตว์.

คำว่า ตัณหา คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา

โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา.

คำว่า ผู้ไปในตัณหา คือไปในตัณหา ไปตามตัณหา ซ่านไปตาม

ตัณหา จมอยู่ในตัณหา อันตัณหาให้ตกไปแล้ว อันตัณหาครอบงำแล้ว

มีจิตอันตัณหาครอบงำแล้ว.

คำว่า ในภพทั้งหลาย คือในกามภพ รูปภพ อรูปภพ เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า หมู่สัตว์นี้ผู้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย.

[๕๓] คำว่า นรชนทั้งหลายที่เลว....ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ

มีความว่า นรชนทั้งหลายที่เลว คือผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม

มโนกรรม ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณ-

วาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขาร

ทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจอันเลว

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ชั่วหยาบ

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนทั้งหลายที่เลว.

คำว่า ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ มีความว่า นรชนทั้งหลายเป็นผู้

ถึงมัจจุ ประจวบกับมัจจุเข้าถึงมัจจุถึงมาร ประจวบกับมาร เข้าถึงมาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

ถึงมรณะ ประจวบกับมรณะ เข้าถึงมรณะ ย่อมร่ำไร บ่นเพ้อ เศร้าโศก

ลำบากใจ รำพัน บอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหล ใกล้ปากมัจจุ

ปากมาร ปากมรณะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนทั้งหลายที่เลว....

ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ.

ว่าด้วยภพน้อยภพใหญ่

[๕๔] คำว่า ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยและภพใหญ่

มีความว่า ตัณหา คือ รูปตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา.

คำว่า ในภพน้อยและภพใหญ่ ได้แก่ ภพน้อยและภพใหญ่

คือ กรรมวัฏและวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏ

เป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏ

เป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏ

เป็นเครื่องเกิดในอรูปภพในความเกิดบ่อย ๆ ในความเป็นไปบ่อย ๆ ใน

ความเข้าถึงบ่อย ๆ ในปฏิสนธิบ่อย ๆในอันบังเกิดขึ้นแห่งอัตภาพบ่อย ๆ.

คำว่า ยังไม่ปราศจากตัณหา คือ ยังไม่ปราศจากตัณหา

มีตัณหายังไม่หมดไป มีตัณหายังไม่สละแล้ว มีตัณหายังไม่สำรอกแล้ว

มีตัณหายังไม่พ้นไปแล้ว มีตัณหายังไม่ละเสียแล้ว มีตัณหายังไม่สละคืน

แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยและ

ภพใหญ่.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า:-

เราย่อมเห็นหมู่สัตว์นี้ ผู้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

ดิ้นรนอยู่ในโลก นรชนทั้งหลายที่เลว ยังไม่ปราศจากตัณ

หาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ.

[๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุ

ที่ยึดถือว่าต้องเรา เหมือนฝูงปลาดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อยอัน

มีกระแสสิ้นไป นรชนเห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ทำซึงตัณหา

เครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือว่าของ

เราประพฤติ.

ว่าด้วยความยึดถือ ๒ อย่าง

[๕๖] คำว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ใน

เพราะวัตถุไม่ยึดถือว่าของเรา มีความว่า ความยึดถือว่าของเรา ได้แก่

ความยึดถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา ๑

ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑.

ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา เป็นไฉน ? วัตถุที่ทำให้เป็น

เขต เป็นแดน เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือเอาว่าของ

เรา ด้วยส่วนแห่งตัณหามีประมาณเท่าใด ย่อมยึดถือว่าของเรา ซึ่งวัตถุมี

ประมาณเท่านั้น ว่าสิ่งนี้ของเรา สิ่งนั้นของเรา สิ่งมีประมาณเท่านี้ของ

เรา สิ่งของของเรามีประมาณเท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค

ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

ชนบท ฉางข้าว คลัง เป็นของของเรา ย่อมยึดถือว่าเป็นของเราแม้ซึ่งแผ่น

ดินใหญ่ทั้งสิ้น ด้วยสามารถแห่งตัณหา ตลอดถึงตัณหาวิปริต ๑๐๘ นี้ชื่อ

ว่า ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา.

ความยืดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ เป็นไฉน ? สักกายทิฏฐิมีวัตถุ

๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตัคคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ความไปคือทิฏฐิ

รกชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ

เครื่องประกอบคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยืดมั่น ความยึดถือ

ทางชั่ว ทางผิด ความผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือโดยแสวงผิด ความ

ถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งที่ไม่แน่นอนว่า

แน่นอน จนถึงทิฏฐิ ๖๒ นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ.

คำว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุ

ที่ยึดถือว่าของเรา มีความว่า หมู่สัตว์แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการ

แย่งชิงวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมดิ้นรน คือย่อมดิ้นรนเมื่อเขากำลังชิง

เอาบ้าง เมื่อเขาชิงเอาแล้วบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวน

ไปแห่งวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมดิ้นรน คือ ย่อมดิ้นรน ย่อมกระเสือก

กระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา เมื่อวัตถุ

นั้นกำลังแปรปรวนอยู่บ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรปรวนไปแล้วบ้าง ท่านทั้ง

หลายจงเห็น จงแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู. ซึ่งหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรน

กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา

อยู่อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้น

รนอยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

[๕๗] คำว่า เหมือนฝูงปลาที่ดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อยอันมีกระ

แสสิ้นไป มีความว่า ฝูงปลาที่ถูกฝูงกา เหยี่ยว หรือนกยาง จิกฉุดขึ้น

กินอยู่ ย่อมดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง

กระสับกระส่ายไปมาในที่มีน้ำน้อย มีน้ำนิดหน่อย มีน้ำแห้งไป ฉันใด

หมู่สัตว์แม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่ยึดถือว่า ของเรา ย่อม

ดิ้นรน คือ ย่อมดิ้นรนเมื่อเขากำลังชิงเอาบ้าง เมื่อเขาชิงเอาแล้วบ้าง

แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่ยึดถือว่าของเราย่อม

ดิ้นรน คือ ย่อมดิ้นรน ย่อมกระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว

เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา เมื่อวัตถุนั้น กำลังแปรปรวนบ้างแปรปรวน

ไปแล้วบ้างฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนฝูงปลาที่ดิ้นรนอยู่

ในน้ำน้อยอันมีกระแสสิ้นไป.

[๕๘] คำว่า นรชนเห็นโทษแม้นั้นแล้ว....พึงเป็นผู้ไม่ยึด

ถือว่าของเราประพฤติ มีความว่า เห็นแล้ว คือ ประสบ เทียบเคียง

พิจารณา ตรวจตรา ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งโทษนั้น ในเพราะวัตถุที่ยึดถือ

ว่าของเรา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นโทษแม้นั้นแล้ว.

คำว่า พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือว่าของเราประพฤติ มีความว่า ความ

ยึดถือว่าของเรา ได้แก่ความยึดถือว่าของเรา ๒ อย่างคือ ความยึดถือว่า

ของเราด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า

ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าของ

เราด้วยทิฏฐิ นรชนพึงละความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา สละคืนความ

ยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิแล้ว ไม่ยึดถือว่าของเราซึ่งจักษุ โสตะ ฆานะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

ชิวหา กาย ใจ ไม่ยึดถือว่าของเรา คือ ไม่ถือ ไม่ถือมั่น ไม่ยึดมั่น

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ

สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ. คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ, กามภพ รูปภพ อรูปภพ, สัญญาภพ

อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ, เอกโวการภพ จตุโวการภพ

ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ทิฏฐสุตมุตวิญญาตัพพธรรม

พึงประพฤติไป คือ พึงอยู่ เป็นไป หมุนไปรักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพ

ดำเนินไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเห็นโทษแม้นั้นแล้ว....พึง

เป็นผู้ไม่ยึดถือว่าของเราประพฤติ.

[๕๙] คำว่า ไม่ทำซึ่งตัณหาเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย มี

ความว่า ในภพทั้งหลาย คือในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ตัณหาเรียก

ว่า เครื่องเกี่ยวข้อง ได้แก่ความกำหนัด ความกำหนัด กล้า ฯลฯ อภิชฌา

โลภะ อกุศลมูล. คำว่า ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้ง

หลาย คือ ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลายคือ ไม่ทำซึ่ง

ตัณหาเครื่องเกี่ยวข้อง ไม่ทำซึ่งความพอใจ ความรัก ความกำหนัด

ความชอบใจ คือไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดเสมอ ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิด

เฉพาะในภพทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่อง

เกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ ในเพราะ

วัตถุที่ยึดถือว่าของเรา เหมือนฝูงปลาดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

อันมีกระแสสิ้นไป นรชนเห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ทำซึ่ง

ตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือ

ว่าของเราประพฤติ.

[๖๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ธีรชนพึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้ง ๒ กำหนดรู้

ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้ตามติดใจ ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำ

กรรมนั้นอยู่ ย่อมไม่ติดในทิฏฐารมณ์ และสุตารมณ์.

[๖๑] คำว่า พึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้ง ๒ มีความว่า

ที่สุด คือ ผัสสะเป็นที่สุดอันที่ ๑ ผัสสสมุทัยเป็นที่สุดอันที่ ๒, อดีตเป็น

ที่สุดอันที่ ๑ อนาคตเป็นที่สุดอันที่ ๒, สุขเวทนาเป็นที่สุดอันที่ ๑ ทุกข-

เวทนาเป็นที่สุดอันที่ ๒, นามเป็นที่สุดอันที่ ๑ รูปเป็นที่สุดอันที่ ๒,

อายตนะภายใน ๖ เป็นที่สุดอันที่ อายตนะภายนอก ๖ เป็นที่สุดอันที่ ๒,

สักกายะเป็นที่สุดอันที่ ๑ สักกายสมุทัยเป็นที่สุดอันที่ ๒, คำว่า ความพอ

ใจ ได้แก่ ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความ

เพลินคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสน่หา

ในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม

ห้วงคือกาม ความประกอบในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นกางคือ

กามฉันทะ. คำว่า พึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้ง ๒ คือพึงกำ-

จัด พึงกำจัดเฉพาะ พึงละ พึงบรรเทา พึงทำให้สิ้นไป พึงให้ถึงความ

ไม่มีในภายหลัง ซึ่งความพอใจในที่สุดทั้ง ๒ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

พึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้ง ๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

ว่าด้วยผัสสะต่าง ๆ

[๖๒] คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้วเป็นผู้ไม่ตามติดใจ มีความ

ว่า ผัสสะ ได้แก่ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส

กายสัมผัส มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส ปฏิฆสัมผัส สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่ง

สุขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุข

เวทนา ผัสสะอันสัปยุตด้วย กุศลจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วย กุศลจิต ผัสสะ

อันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต ผัสสะอันสัม-

ปยุตด้วยรูปาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต ผัสสะเป็นสุญญตะ

ผัสสะเป็นอนิมิตตะ ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะเป็นโลกิยะ ผัสสะเป็น

โลกุตตระ ผัสสะเป็นอดีต ผัสสะเป็นอนาคต ผัสสะเป็นปัจจุบัน ผัสสะ

ใดเห็นปานนี้ คือความถูกต้อง ความถูกต้องพร้อม ความที่จิตถูกต้อง

พร้อม นี้ชื่อว่า ผัสสะ. คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือ กำหนดรู้ซึ่ง

ผัสสะ โดยปริญญา ๓ ประการ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหาน

ปริญญา.

ว่าด้วยปริญญา ๓ ประการ

ญาตปริญญา เป็นไฉน? ธีรชนย่อมรู้ซึ่งผัสสะ คือ ย่อมรู้ ย่อม

เห็นว่า นี้จักขุสัมผัส นี้โสตสัมผัส นี้ฆานสัมผัส นี้ชิวหาสัมผัส นี้กาย

สัมผัส นี้มโนสัมผัส นี้อธิวจนสัมผัส นี้ปฏิฆสัมผัส นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่ง

สุขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา นี้สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขม

สุขเวทนา นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกุศลจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต

นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต

นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต นี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

นี้ผัสสะเป็นสุญญตะ นี้ผัสสะเป็นอนิมิตตะ นี้ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ นี้ผัสสะ

เป็นโลกิยะ นี้ผัสสะเป็นโลกุตตระ นี้ผัสสะเป็นอดีต นี้ผัสสะเป็นอนาคต

นี้ผัสสะเป็นปัจจุบัน นี้เรียกว่า ญาตปริญญา.

ตีรณปริญญา เป็นไฉน ? ธีรชนทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณา

ซึ่งผัสสะ คือ ย่อมพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น

โรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่าง

อื่น เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค

เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่

ต้านทาน เป็นของไม่มีที่ช่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็น

ของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ เป็นของมีความแปรไป

เป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมลแห่งความลำบาก เป็นดัง

เพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของอัน

เหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อมาร เป็นของมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชรา

เป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิเป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา

เป็นของมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา

เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของ

ดับไป เป็นของไม่ชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่า

ตีรณปริญญา.

ปหานปริญญา เป็นไฉน ? ธีรชนพิจารณาอย่างนี้แล้วย่อมละ บรร

เทาทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในผัสสะ สม

จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

ผัสสะใด เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้น ผัสสะนั้นจักเป็นของอันเธอ

ทั้งหลายละแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน

ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นธรรมดา โดย

ประการอย่างนี้ นี้เรียกว่า ปหานปริญญา.

คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือ กำหนดรู้ซึ่งผัสสะ ด้วยปริญญา

๓ นี้. คำว่า ไม่เป็นผู้ตามติดใจ มีความว่า ตัณหา เรียกว่า ความ

ติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ

อกุศลมูล ความติดใจนั้น อันบุคคลใดละได้แล้ว ขัดขาดแล้ว สงบได้

แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ

บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้ไม่ติดใจ บุคคลนั้น ไม่ติดใจ คือ ไม่ถึงความ

ติดใจ ไม่หลงใหล ไม่หมกมุ่น ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริฐ สุข จีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ

รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโว-

การภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีตกาล อนาคตกาล ปัจจุบัน

กาล ทิฏฐธรรม สุตธรรม มุตธรรม วิญญาตัพพธรรม คือ เป็นผู้คลาย

ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนความติดใจแล้ว คลาย

ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนความกำหนัดแล้ว หมด

ความอยาก ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยความสุข มีตนเป็นดุจพรหมอยู่

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้ตามติดใจ.

[๖๓] คำว่า ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้น มีความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

กรรมใด คือ ธีรชนย่อมติเตียนกรรมใดด้วยตน ธีรชนย่อมติเตียนตน

เพราะเหตุ ๒ ประการ คือ เพราะกระทำ และเพราะไม่กระทำ.

ธีรชนติเตียนตนเพราะกระทำ และเพราะไม่กระทำ อย่างไร ?

ธีรชนย่อมติเตียนตนว่า เราทำกายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต. เราทำวจีทุจริต

ไม่ทำวจีสุจริต. เราทำมโนทุจริต ไม่ทำมโนสุจริต. เราทำปาณาติบาต

ไม่ทำความงดเว้น จากปาณาติบาต. เราทำอทินนาทาน ไม่ทำความงดเว้น

จากอทินนาทาน. เราทำกาเมสุมิจฉาจาร ไม่ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจ-

ฉาจาร. เราทำมุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจากมุสาวาท. เราทำปิสุณวาจา

ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณวาจา. เราทำผรุสวาจา ไม่ทำความงดเว้นจาก

ผรุสวาจา. เราทำสัมผัปปลาปะ ไม่ทำความงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ. เรา

ทำอภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา. เราทำพยาบาท ไม่ทำอัพยาบาท. เราทำ

มิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ. ธีรชนย่อมติเตียนตนเพราะกระทำ และ

เพราะไม่กระทำอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ธีรชนย่อมติเตียนตนว่า เราไม่ทำ

ความบริบูรณ์ในศีล ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ไม่รู้จักประมาณใน

โภชนะไม่หมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ไม่ประกอบด้วยสติ-

สัมปชัญญะ ไม่เจริญสติปัฏฐาน ๔ ไม่เจริญสัมมัปปธาน ๔ ไม่เจริญ

อิทธิบาท ๔ ไม่เจริญอินทรีย์ ๕ ไม่เจริญพละ ๕ ไม่เจริญโภชฌงค์ ๗

ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่เจริญมรรค

ไม่ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ธีรชนย่อมติเตียนตนเพราะการทำ และเพราะไม่

กระทำ อย่างนี้ไม่ทำกรรมที่ตนติเตียนอย่างนี้ คือ ไม่ยังกรรมนั้นให้เกิด

ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

ว่า ตนติเตียนกรรมใด ไม่กระทำกรรมนั้น.

[๖๔] คำว่า ธีรชนย่อมไม่ติดในทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์

มีความว่า ความติด ได้แก่ความติด ๒ อย่าง คือ ความติดด้วยตัณหา ๑

ความติดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความติดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า

ความติดด้วยทิฏฐิ คำว่า ธีรชน คือ บุคคลผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรง

ผู้ดำเนินด้วยปัญญา ผู้มีปัญญา ผู้มีความรู้ ผู้มีญาณ ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง

ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส ธีรชนละความติดด้วยตัณหา สละคืน

ความติดด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่ติด คือ ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติด เป็นผู้ไม่ติด

ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดแล้ว เป็นผู้ออก สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้ว

ในทิฏฐารมณ์ สุตารมณ์ มุตารมณ์ วิญญาตารมณ์ เป็นผู้มีจิตกระทำให้

ปราศจากแดงกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ธีรชนย่อมไม่ติดใน

ทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ธีรชนพึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้ง ๒ กำหนด

รู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้ตามติดใจ ตนติเตียนกรรมใด ไม่

ทำกรรมนั้น ย่อมไม่ติดในทิฏฐารมณ์และสุตารมณ์.

[๖๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึด

ถือทั้งหลาย พึงข้ามโอตะได้ เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว

ไม่ประมาท ประพฤติอยู่ ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า.

[๖๖] คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว....พึงข้ามโอตะได้ มีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

ว่า สัญญา ได้แก่ กามสัญญา พยาปาทสัญญา วิหิงสาสัญญา เนก-

ขัมมสัญญา อัพยาปาทสัญญา อวิหิงสาสัญญา รูปสัญญา สัททสัญญา

คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา สัญญาใดเห็นปานนี้

คือ ความรู้พร้อม ความเป็นคืออันรู้พร้อม นี้เรียกว่าสัญญา คำว่า

กำหนดรู้สัญญาแล้ว มีความว่า กำหนดรู้สัญญา ด้วยปริญญา ๓ คือ

ญาตปริญญา ตีรูปริญญา ปหานปริญญา.

ญาตปริญญา เป็นไฉน ? มุนีย่อมรู้ปัญญา คือ ย่อมรู้ ย่อม

เห็นว่านี้กามสัญญา นี้พยาปาทสัญญา นี้วิหิงสาสัญญา นี้เนกขัมมสัญญา

นี้อัพยาปาทสัญญา นี้อวิหิงสาสัญญา นี้รูปสัญญา นี้สัททสัญญา นี้คันธ-

สัญญา นี้รสสัญญา นี้โผฏฐัพพสัญญา นี้ธัมมสัญญา นี้เรียกว่า ญาต-

ปริญญา.

ตีรณปริญญา เป็นไฉน ? มุนีทำความรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณา

สัญญาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็น

ดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นของอื่น เป็นของชำรุด

เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว

เป็นของแตกพัง ฯลฯ เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็นของ

ชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ นี้เรียกว่า ตีรณปริญญา.

ปหานปริญญา เป็นไฉน ? มุนีพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ

บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในสัญญา

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะใน

สัญญาใด เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้นเสีย สัญญานั้นจักเป็นของอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

เธอทั้งหลายละแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอด

ด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาด้วย

ประการอย่างนี้ นี้เรียกว่า ปหานปริญญา.

คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว คือ กำหนดรู้สัญญา ด้วยปริญญา

๓ นี้ คำว่า พึงข้ามโอฆะได้ คือ พึงข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ล่วง

เลย ก้าวล่วงกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว พึงข้ามโอฆะได้.

[๖๗] คำว่า มุนีไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย มีความ

ว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ ๒ อย่าง คือ ความยึดถือด้วยตัณหา ๑

ความยึดถือด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้เรียกว่า ความยึดถือด้วยตัณหา ฯลฯ

นี้เรียกว่า ความยึดถือด้วยทิฏฐิ คำว่า มุนี มีความว่า ญาณ เรียกว่า

โมนะ ได้แก่ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้น

ธรรม ความเห็นชอบ บุคคลประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่า มุนี คือผู้ถึง

ญาณที่ชื่อว่า โมนะ โมเนยยะคือ ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี มี ๓ อย่าง คือ

โมเนยยธรรมทางกาย ๑ โมเนยยธรรมทางวาจา ๑ โมเนยยธรรม

ทางใจ ๑.

โมเนยยธรรมทางกาย เป็นไฉน ? การละกายทุจริต ๓ อย่าง

ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางกาย กายสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีกายเป็นอารมณ์

กายปริญญา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในกาย ความ

ดับแห่งกายสังขาร ความบรรลุจตุตถฌาน ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางกาย

นี้ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางกาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

โมเนยยธรรมทางวาจา เป็นไฉน ? การละวจีทุจริต ๔ อย่าง

ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางวาจา วจีสุจริต ๔ อย่าง ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์

วาจาปริญญา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในวาจา

ความดับแห่งวจีสังขาร ความบรรลุทุติยฌาน ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางวาจา

นี้ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางวาจา.

โมเนยยธรรมทางใจ เป็นไฉน ? การละมโนทุจริต ๓ อย่าง

ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางใจ มโนสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีจิตเป็นอารมณ์

จิตตปริญญา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในจิต ความ

ดับแห่งจิตสังขาร การบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางใจ

นี้ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางใจ.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย

เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ ว่าเป็น

มุนีผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้ละกิเลส

ทั้งปวง บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย

เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ ว่าเป็น

มุนี ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้มีบาปอัน

ล้างเสียแล้ว.

ชนผู้ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี ๓ อย่างนี้ ชื่อว่ามุนี มุนี

มี ๖ จำพวก คือ อาคารมุนี อนาคารมุนี เสขมุนี อเสขมุนี ปัจเจกมุนี

มุนิมุนี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

อาคารมุนี เป็นไฉน ? ชนเหล่าใด เป็นผู้ครองเรือน มีบทคือ

นิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ชื่อว่า อาคารมุนี.

อนาคารมุนี เป็นไฉน ? ชนเหล่าใดออกบวช มีบทคือนิพพาน

อันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า อนาคารมุนี.

พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่า เสขมุนี.

พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่า อเสขมุนี.

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า ปัจเจกมุนี.

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า มุนิมุนี.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บุคคลไม่เป็นมุนีด้วยความเป็นผู้นิ่ง แต่เป็นผู้เปล่า

ไม่ใช่ผู้รู้ ส่วนบุคคลใดเป็นบัณฑิต ถือธรรมอันประเสริฐ

ละเว้นบาปทั้งหลาย เหมือนคนที่ถือเครื่องชั่งตั้งอยู่ฉะนั้น

บุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นมุนี เรียกว่าเป็นมุนี โดยเหตุนั้น

และบุคคลใดย่อมรู้ อรรถทั้ง ๒ ในโลก บุคคลนั้นเรียกว่า

เป็นมุนีโดยเหตุนั้น บุคคลใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและ

ธรรมของสัตบุรุษ ในโลกทั้งปวง ทั้งภายในภายนอก

ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังว่าข่ายดำรง

อยู่ เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชา บุคคลนั้นชื่อว่า มุนี.

คำว่า ความติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง คือ ความติดด้วย

ตัณหา ๑ ความติดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความติดด้วยตัณหา ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

นี้ชื่อว่า ความติดด้วยทิฏฐิ มุนีละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วย

ทิฏฐิย่อมไม่ติด คือ ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติด เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพัน

ไม่เข้าไปติดแล้ว เป็นผู้ออก สละเสีย พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้วในความ

ยึดถือทั้งหลาย เป็นผู้มี่จิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า มุนีไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย.

[๖๘] คำว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว ไม่ประมาท ประพฤติ

อยู่ มีความว่า ลูกศร ได้แก่ลูกศร ๗ อย่าง คือ ลูกศรคือราคะ ลูกศร

คือโทสะ ลูกศรคือโมหะ ลูกศรคือมานะ ลูกศรคือทิฏฐิ ลูกศรคือความ

โสกะ ลูกศรคือความสงสัย ลูกศรเหล่านี้ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว

สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาแล้วด้วยไฟคือญาณ

ผู้นั้นเรียกว่า เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว คือ ถอน ชัก ดึง ฉุด กระชาก

สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนลูกศรเสียแล้ว เป็นผู้หมดความอยาก

ดับ เย็นแล้ว เสวยสุข มีตนดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็น

ผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว. คำว่า ประพฤติอยู่ คือ ประพฤติอยู่ เที่ยวอยู่

เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป. คำว่า เป็น

ผู้ไม่ประมาท คือ เป็นผู้ทำด้วยความเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด

มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ปลงฉันทะ ไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรม

ทั้งหลาย. ความไม่ประมาท คือ ความพอใจ ความพยายาม ความ

อุตสาหะ ความเป็นผู้ขยัน ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ ความเป็นผู้มีสติ

มีสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องให้กิเลสเร่าร้อน ความเพียรอันสูงสุด

ความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ ความไม่ประมาท ในกุศลธรรมนั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

เราพึงยังศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์ศีลขันธ์ที่

บริบูรณ์ในที่นั้น ๆ ด้วยปัญญาโดยอุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่ประมาท

คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงยังสมาธิขันธ์ที่ยังไม่

บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึงอนุเคราะห์สมาธิขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้น ๆ

ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่ประมาทคือ ความพอใจ ฯลฯ

ในกุศลธรรมนั้นว่า เราพึงยังปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือ

พึงอนุเคราะห์ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้น ๆ ด้วยปัญญา โดยอุบายอย่างไร

ดังนี้ ความไม่ประมาท คือความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้นว่าเราพึง

ยังวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์วิมุตติขันธ์ที่

บริบูรณ์ในที่นั้น ๆ ด้วยปัญญาโดยอุบายอย่างไร ดังนี้. ความไม่ประมาท

คือ ความพอใจ ฯลฯ ในกุศลธรรมนั้น ว่าเราพึงยังวิมุตติญาณทัสสนขันธ์

ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือพึงอนุเคราะห์วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่

บริบูรณ์ในที่นั้น ๆ ด้วยปัญญาโดยอุบายอย่างไร ดังนี้, ความไม่ประมาท

คือความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเป็นผู้ขยัน ความ

เป็นผู้ไม่ถอยกลับ ความเป็นผู้มีสติมีสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องให้

กิเลสเร่าร้อน ความเพียรอันสูงสุด ความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ.

ความไม่ประมาท ในกุศลธรรมนั้นว่าเราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังไม่กำหนดรู้

พึงละกิเลสทั้งหลายที่ยังละไม่ได้ พึงเจริญมรรคที่ยังไม่เจริญ หรือพึงทำ

ให้แจ้งซึ่งนิโรธที่ยังไม่แจ้ง โดยอุบายอย่างไร ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาทประพฤติอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

[๖๙] คำว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า มีความว่า ย่อม

ไม่หวังโลกนี้ คืออัตภาพของตน, ไม่หวังโลกหน้า คืออัตภาพในปรโลก.

ไม่หวังโลกนี้คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณของตน.

ไม่หวังโลกหน้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณของ

ผู้อื่น. ไม่หวังโลกนี้ คือ อายตนะภายใน ๖. ไม่หวังโลกหน้า คือ

อายตนะภายนอก ๖. ไม่หวังโลกนี้ คือ มนุษยโลก. ไม่หวังโลกหน้า

คือ เทวโลก. ไม่หวังโลกนี้ คือ กามธาตุ. ไม่หวังโลกหน้า คือ รูปธาตุ

อรูปธาตุ. ไม่หวังโลกนี้ คือ กามธาตุ รูปธาตุ. ไม่หวังโลกหน้า

คืออรูปธาตุ. ไม่หวังไม่อยากได้ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่รักใคร่

ไม่พอใจ ซึ่งคติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือวัฏฏะต่อไป

เพราะนั้น จึงชื่อว่าย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึด

ถือทั้งหลาย พึงข้ามโอตะได้ เป็นผู้ถอนลูกศรเสียแล้ว

ไม่ประมาท ประพฤติอยู่. ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า ดังนี้.

จบ คุหัฏฐกสุคตนิทเทส ที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

อรรถกถาคุหัฏฐกสุตตนิทเทส

ในคุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สตฺโต ได้แก่ ผู้ข้อง.

บทว่า คุหาย ได้แก่ ในกาย. ก็กายท่านเรียกว่า ถ้ำ เพราะ

เป็นห้องที่อยู่ของกิเลสร้าย ๆ มีราคะเป็นต้น.

บทว่า พหุนาภิฉนฺโน ได้แก่ อันกิเลสมีราคะเป็นต้น มากปิดบัง

ไว้ด้วยบทว่า พหุนาภิฉนฺโน นี้ ท่านกล่าวถึงเครื่องผูกภายใน.

บทว่า ติฏ ได้แก่ เมื่อตั้งอยู่ด้วยอำนาจราคะเป็นต้น. กามคุณ

ท่านกล่าวว่าโมหนะ ในบทว่า โมหนสฺมึ ปคาฬฺโห. ด้วยว่า เทวดา

และมนุษย์ทั้งหลายย่อมหลงในกามคุณนี้ เป็นผู้หยั่งลงในกามคุณเหล่านั้น.

ด้วย บทว่า โมหนสฺมึ ปคาฬฺโห นี้ ท่านกล่าวถึงเครื่องผูกภายนอก.

บทว่า ทูเร วิเวกา หิ ตถาวิโธ โส ความว่า นรชนผู้มี

อย่างนั้นเป็นรูปนั้นอยู่ไกล คือไม่ใกล้ จากวิเวกทั้ง ๓ อย่าง มีกายวิเวก

เป็นต้น. เพราะเหตุไร ? เพราะกามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของอันนรชน

ละได้โดยง่าย. ท่านอธิบายว่า เพราะกามทั้งหลายในโลก ย่อมไม่เป็นของ

ที่นรชนจะละได้โดยง่าย.

บทว่า สตฺโตติ หิ โข วุตฺต ท่านกล่าวว่าโดยนัยมีอาทิอย่างนี้

ว่า สัตว์ นรชน มาณพ. พระพุทธพจน์ว่า คุหาย ที่พระสารีบุตร

เถระอธิบายว่า คุหา ตาว วตฺตพฺพา ความว่า ถ้ำควรกล่าวก่อน.

ในบทว่า กาโยติ วา เป็นต้น ประกอบบทดังนี้ก่อนว่า กายก็ดี ถ้ำ

ก็ดี ฯลฯ หม้อก็ดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาโย ได้กล่าวไว้แล้วในสติปัฏฐานกถา

ในหนหลังโดยนัยเป็นต้นว่า ชื่อว่า กาย เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่ของสิ่ง

น่าเกลียดทั้งหลาย.

ชื่อว่า ถ้ำ เพราะอรรถว่า เป็นห้องที่อยู่ของกิเลสร้าย ๆ มีราคะ

เป็นต้น. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า เพราะอรรถว่า ปกปิด ก็มี, ดุจใน

ประโยคมีอาทิว่า ไปรับอารมณ์ได้ไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่างมี

หทัยรูปเป็นถ้ำที่อาศัย ดังนี้.

ชื่อว่า ร่างกาย เพราะอรรถว่า ถูกกิเลสมีราคะเป็นต้นเผา ดุจใน

ประโยคมีอาทิว่า เขาเหล่านั้นละร่างมนุษย์แล้วดังนี้.

ชื่อว่า ร่างกายของตน เพราะอรรถว่า กระทำให้มัวเมา ดุจใน

ประโยคมีอาทิว่า ร่างกายของตนเป็นของเปื่อยเน่าทำลายไป เพราะชีวิต

มีความตายเป็นที่สุด ดังนี้.

ชื่อว่า เรือ เพราะอรรถว่า สัญจรไปในสังสารวัฏ ดุจในประโยค

มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้เถิด เรือที่เธอวิดแล้วจักถึงเร็ว

ดังนี้.

ชื่อว่า รถ เพราะอรรถว่า มีอิริยาบถดุจในประโยคมีอาทิว่า รถ

คือร่างกาย มีศีลเป็นเครื่องประดับ มีฌานเป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อ

ดังนี้.

ชื่อว่า ธง เพราะอรรถว่าลอยเด่น ดุจในประโยคมีอาทิว่า ธง

เป็นเครื่องปรากฏของรถ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

ชื่อว่า จอมปลวก เพราะเป็นที่อยู่ของเหล่ากิมิชาติทั้งหลาย

ดุจในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่าจอมปลวกนี้แล เป็นชื่อของกาย

ซึ่งประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้. เหมือนอย่างว่า จอมปลวกภายนอกท่าน

เรียกว่า จอมปลวก ด้วยเหตุ ๔ ประการ คือคายออก ผู้คายออก คาย

ความริษยาออก คายน้ำมันสำหรับเชื่อมออก. ด้วยว่าจอมปลวกนั้น ชื่อว่า

จอมปลวก เพราะอรรถว่า คายสัตว์ต่าง ๆ มีงู พังพอน หนู และตุ๊กแก

เป็นต้น. ชื่อว่า จอมปลวก เพราะอรรถว่า ตัวปลวกทั้งหลายใช้จะงอย

ปากคาบดินก้อนเล็ก ๆ มาคายออกก่อขึ้นสูงประมาณสะเอวบ้าง ประมาณ

ชั่วบุรุษบ้าง แม้ฝนตกถึง ๗ สัปดาห์ก็ไม่พังทลาย เพราะน้ำมันคือน้ำลาย

ที่ตัวปลวกทั้งหลายคายออกเชื่อมยึดไว้. แม้ในฤดูร้อน เมื่อเอาดินกำมือ

หนึ่งแต่จอมปลวกนั้น มาบีบด้วยกำมือที่จอมปลวกนั้น น้ำมันก็ไหลออก.

ชื่อว่า จอมปลวก เพราะอรรถว่า คายน้ำมันสำหรับเชื่อมออก ด้วย

ประการฉะนี้. แม้กายนี้ก็ฉันนั้น ชื่อว่า จอมปลวก เพราะอรรถว่า

คายออกซึ่งของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ โดยนัยเป็นต้นว่า คายขี้ตาจาก

นัยน์ตา. พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระขีณาสพทั้งหลายทิ้ง

อัตภาพด้วยสละความใคร่ในอัตภาพนี้ ดังนั้นจึงชื่อว่าจอมปลวก เพราะ

อรรถว่า อันพระอริยะทั้งหลายคายแล้ว ก็มี.

อนึ่ง กายนี้อันกระดูกสามร้อยท่อนตั้งไว้ มีเอ็นเป็นเครื่องผูก มีเนื้อ

เป็นเครื่องฉาบทา หุ้มห่อไว้ด้วยหนังสด ย้อมไว้ด้วยผิว ล่อลวงเหล่าสัตว์.

ทั้งหมดนั้นอันพระอริยะทั้งหลายตายแล้วทีเดียวดังนั้นจึงชื่อว่า จอมปลวก

เพราะอรรถว่า คายความริษยาออก ก็มี. กายนี้เชื่อมไว้ด้วยน้ำมันคือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

ตัณหา ที่พระอริยะทั้งหลายคายแล้วนั่นแลเพราะตัณหาให้เกิดแล้วอย่างนี้ว่า

ตัณหาให้บุรุษเกิด แล่นไปสู่จิตของบุรุษนั้น ดังนั้นจึงชื่อว่าจอมปลวก

เพราะอรรถว่า คายน้ำมันสำหรับเชื่อมออก ก็มี.

เหล่าสัตว์ต่าง ๆ ภายในจอมปลวก ย่อมเกิด ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ

นอนเจ็บไข้ ตายตกไปในจอมปลวกนั้นเอง. จอมปลวกนั้น เป็นเรือน-

ตลอด เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาล และเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้น

ด้วยประการฉะนี้ ฉันใด แม้ร่างกายของกษัตริย์มหาศาลเป็นต้นก็ฉันนั้น

มีกิมิชาติประมาณแปดหมื่นเหล่า โดยการนับเหล่า อย่างนี้คือ เหล่าสัตว์

ที่อาศัยผิว เหล่าสัตว์ที่อาศัยหนัง เหล่าสัตว์ที่อาศัยเนื้อ เหล่าสัตว์ที่อาศัย

เอ็น เหล่าสัตว์ที่อาศัยกระดูก เหล่าสัตว์ที่อาศัยเยื่อในกระดูก ย่อมเกิด

ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ นอนกระสับกระส่ายด้วยความไข้ตายตกไปภายในกาย

นั่นแหละ โดยไม่คิดนึกว่า นี้เป็นกายของผู้มีอานุภาพมาก ที่คุ้มครอง

รักษาแล้ว ประดับตกแต่งแล้ว กายแม้นี้ย่อมเป็นเรือนตลอด เป็นส้วม

เป็นโรงพยาบาล และเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้

ดังนั้นจึงนับว่า จอมปลวก.

ชื่อว่า รัง เพราะเป็นที่เก็บ คือเป็นรังแห่งโรคเป็นต้น ดุจใน

ประโยคว่า รูปนี้เป็นรังแห่งโรคผุพัง ดังนี้.

ชื่อว่า นคร เพราะอรรถว่าเป็นที่ท่องเที่ยวไปแห่งของชอบใจและ

ของไม่ชอบใจ ดุจในประโยคว่า นครคือกายของตน เป็นต้น.

ชื่อว่า กระท่อม เพราะอรรถว่า เป็นเรือนที่อยู่อาศัยแห่งปฏิสนธิ

ดุจในประโยคว่า พิจารณาในกระท่อมซึ่งมี ๕ ประตู เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

ชื่อว่า ฝี เพราะเป็นของเปื่อยเน่า ดุจในประโยคว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย คำว่า โรค ว่าฝี ว่าลูกศร นี้เป็นชื่อของกาย เป็นต้น.

ชื่อว่า หม้อ เพราะอรรถว่า แตก ดุจในประโยคว่า รู้แจ้งกายนี้

อันเปรียบได้กับหม้อ เป็นต้น.

บทว่า กายสฺเสต อธิวจน ความว่า การกล่าวนี้ คือมีประการ

ดังกล่าวแล้ว เป็นชื่อของที่อยู่ของสิ่งที่น่าเกลียดทั้งหลายซึ่งสำเร็จแต่มหาภูต

รูป ๔.

บทว่า คุหาย ได้แก่ ในสรีระ.

บทว่า สตฺโต ได้แก่ ติดแน่น.

บทว่า วิสตฺโต ได้แก่ ติดแน่นด้วยอาการต่าง ๆ มีความกำหนัด

ในวรรณะเป็นต้น.

ชื่อว่า ข้องทั่วไป ด้วยสามารถแห่งความกำหนัด ในสัณฐาน.

ชื่อว่า ติดอยู่ ด้วยสามารถแห่งการยึดถือในถ้ำนั้นว่างาม เป็นสุข

ชื่อว่า พันอยู่ ด้วยสามารถแห่งการยึดถือว่าเป็นตน

บทว่า ปลิพุทฺโธ ได้แก่ ไม่ปล่อยด้วยสามารถแห่งความกำหนัด

ในผัสสะตั้งอยู่.

บทว่า ภิตฺติขีเล ได้แก่ลิ่มซึ่งตอกไว้ที่ฝา.

บทว่า นาคทนฺเต ได้แก่ ที่ไม้งอเช่นกับงาช้าง.

บทว่า สตฺต ได้แก่ ติดอยู่ที่ลิ่มซึ่งตอกติดไว้ที่ฝา.

บทว่า วิสตฺต ได้แก่ ติดอยู่ที่ไม้ขอ.

บทว่า อาสตฺต ได้แก่ ติดอยู่ที่ราวจีวร.

บทว่า ลคฺค ได้แก่ ติดอยู่ที่สายระเดียงตากจีวร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

บทว่า ลคฺคิต ได้แก่ ติดอยู่ที่เท้าตั่ง.

บทว่า ปลิพุทฺธ ได้แก่ติดอยู่ที่เท้าเตียง พึงประกอบความโดยนัย

มีอาทิอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ลคฺคนาธิวจน ได้แก่ การกล่าวถึงการติดแน่นเป็นพิเศษ.

บทว่า ฉนฺโน ได้แก่ อันกิเลสทั้งหลายมีประการดังกล่าวปิดบังไว้

ชื่อว่า คลุมไว้ เพราะปิดบังไว้เหนือ ๆ ขึ้นไป โดยเกิดขึ้นบ่อย ๆ.

บทว่า อาวุโฏ ได้แก่ หุ้มห่อไว้.

บทว่า นิวุโต ได้แก่ กั้นไว้.

บทว่า โอผุโฏ ได้แก่ ปิดคลุมไว้.

บทว่า ปิหิโต ได้แก่ ครอบไว้ ดุจครอบปากหม้อข้าวด้วยภาชนะ.

บทว่า ปฏิจฺฉนฺโน ได้แก่ ปกคลุมไว้.

บทว่า ปฏิกุชฺชิโต ได้แก่ ให้ตั้งคว่ำหน้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บังไว้ ดุจหญ้าและใบไม้เป็นต้นบังไว้ คลุมไว้

ดุจสะพานคลุมแม่น้ำ หุ้มห่อไว้ ดุจกั้นทางสัญจรของประชาชน.

บทว่า วินิพนฺโธ มานวเสน ความว่า เป็นผู้ผูกพันในอารมณ์

ต่าง ๆ ตั้งอยู่ด้วยมานะและอติมานะมีอย่างต่าง ๆ.

บทว่า ปรามฏฺโ ทิฏฺิวเสน ความว่า เป็นผู้ยึดถือ คือลูบคลำ

ถือเอาด้วยทิฏฐิ ๖๒.

บทว่า วิกฺเขปคโต อุทฺธจฺจวเสน ความว่า เป็นผู้ถึง คือเข้า

ถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต ด้วยไม่ตั้งมั่นในอารมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

บทว่า อนิฏฺงฺคโต วิจิกิจฺฉาวเสน ความว่า เป็นผู้ไม่ถึงความ

ตกลงด้วยวิจิกิจฉากล่าวคือ ความสงสัยในพระรัตนตรัยเป็นต้น.

บทว่า ถามคโต อนุสยวเสน ความว่า เป็นผู้ถึงคือเข้าถึงภาวะ

มั่นคง ย่อมตั้งอยู่ด้วยกิเลสที่นอนเนื่องซึ่งละไม่ได้เพราะนำออกได้ยาก

บทว่า รูปูปาย ความว่า เข้าถึงรูปทำให้เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถ

เข้าถึงตัณหาและทิฏฐิ.

บทว่า วิญฺาณ ติฏฺมาน ความว่า วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์

เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น.

บทว่า รูปารมฺมณ รูปปฺปติฏฺ ความว่า หน่วงเหนี่ยวรูปนั่น

แหละเป็นอารมณ์ กระทำรูปนั่นแหละเป็นที่ตั้ง.

บทว่า นนฺทูปเสวน ได้แก่ วิญญาณที่รดด้วยน้ำคือตัณหาของผู้ที่

มีปีติ.

บทว่า วุฑฺฒึ ได้แก่ ความเจริญ.

บทว่า วิรูฬฺหึ ได้แก่ ความงอกงามด้วยอำนาจแห่งชวนะดวง

ต่อไป.

บทว่า เวปุลฺล ได้แก่ ความไพบูลย์ด้วยอำนาจตทารัมมณะ.

บทว่า อตฺถิ ราโค เป็นต้น เป็นชื่อของความโลภนั่นเอง ด้วย

ว่า ความโลภนั้น ท่านเรียกว่า ราคะ ด้วยสามารถแห่งความยินดี, เรียกว่า

นันทิ ด้วยสามารถแห่งความเพลิดเพลิน, เรียกว่า ตัณหา ด้วยสามารถ

แห่งความเป็นไปด้วยความอยาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

บทว่า ปติฏฺิต ตตฺถ วิญฺาณ วิรูฬฺห ความว่า ตั้งอยู่และ

งอกงาม ด้วยความเป็นธรรมชาติสามารถยังกรรมให้แล่นไปแล้วคร่าไป

ด้วยปฏิสนธิ.

บทว่า ยตฺถ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าวัฏฏะเป็นไปในภูมิ ๓.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยตฺถ นี้ ในบทแรก ๆ ทุกบท เป็นสัตตมีวิภัตติ.

บทว่า อตฺถิ ตตฺถ สงฺขาราน วุฑฺฒิ นี้ ท่านกล่าวหมายเอา

สังสารทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งวัฏฏะต่อไปแห่งนามรูปที่ตั้งอยู่ในวิปากวัฏนี้.

บทว่า ยตฺถิ อตฺถ อายตึ ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ ความว่า

ความเกิดในภพใหม่ต่อไปมีอยู่ในที่ใด.

บรรดาสูตรเหล่านั้น สูตรแรก กล่าวด้วยสามารถการได้อารมณ์มี

รูปเป็นต้น. สูตรที่ ๒ กล่าวด้วยสามารถความเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์

นี้นั้นแล. สูตรที่ ๓ กล่าวด้วยสามารถเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ. สูตรที่

กล่าวด้วยสามารถอาหาร ๔ อย่าง และด้วยสามารถเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณที่

เป็นกุศลและอกุศล พึงทราบดังนี้.

บทว่า เยภุยฺเยน ได้แก่ มากมาย.

บทว่า มุยฺหนฺติ ได้แก่ ย่อมถึงความหลง.

บทว่า สมฺมุยฺหนฺติ ได้แก่ ย่อมหลงโดยวิเศษ.

บทว่า สมฺปมุยฺหนฺติ ได้แก่ ย่อมหลงโดยอาการทั้งปวง. อีก

อย่างหนึ่ง ย่อมหลงเพราะอาศัยรูปารมณ์ ย่อมหลงพร้อมเพราะอาศัย

สัททารมณ์ ย่อมหลงเสมอเพราะอาศัยมุตารมณ์ คืออารมณ์ที่ทราบแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

บทว่า อวิชฺชาย อนฺธิกตา ความว่า อันอวิชชาคือความไม่รู้

ในฐานะ ๘ ทำให้ตาบอด, อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า คตา ความว่า

เข้าถึงความบอด.

บทว่า ปคาฬฺโห ได้แก่เข้าไปแล้ว.

บทว่า โอคาฬฺโห ได้แก่ เข้าไปแล้วสู่ส่วนเบื้องต่ำ.

บทว่า อชฺโฌคาฬฺโห ได้แก่ เข้าไปสำเหนียกคือครอบงำเป็น

พิเศษ.

บทว่า นิมุคฺโค ได้แก่ ก้มหน้าเข้าไป, อีกอย่างหนึ่ง ก้าวลง

ด้วยความเกี่ยวข้องด้วยการเห็น หมกมุ่น ด้วยความเกี่ยวข้องด้วยการฟัง

จมลง ด้วยความเกี่ยวข้องด้วยการกล่าวเว้นความเกี่ยวข้องกับสัตบุรุษ

ชื่อว่าก้าวลง เว้นการฟังพระสัทธรรม ชื่อว่า หมกมุ่น หรือเว้นการ

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ชื่อว่าจมลง.

บทว่า วิเวกา ได้แก่ เงียบ คือ ว่าง.

บทว่า ตโย ได้แก่ การกำหนดจำนวน.

บทว่า กายวิเวโก ได้แก่ ความสงัด คือเว้น คือไม่ขวนขวาย

ทางกาย. แม้ใน จิตฺตวิเวก เป็นต้นก็นัยนี้แหละ.

บทว่า อธิ ภิกฺขุ ความว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเห็นภัยใน

สังสารวัฏ ในศาสนานี้.

บทว่า วิวิตฺต ได้แก่ ว่าง คือ ปราศจากเสียง ความว่า มีเสียง

กึกก้องน้อย. ในคัมภีร์วิภังค์ ท่านก็หมายเอาความสงัดนี้นี่แหละ กล่าวว่า

บทว่า วิวิตฺต ความว่า แม้ถ้าในที่อยู่มีเสนาสนะและเสนาสนะนั้นไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

เกลื่อนไปด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย เสนาสนะนั้น ชื่อว่า สงัด.

ชื่อว่า เสนาสนะ เพราะอรรถว่า เป็นที่นอนและที่นั่ง คำว่า เสนาสนะ

นี้เป็นชื่อของเตียงและตั่งเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า

เสนาสน ความว่า แม้เตียง ก็ชื่อว่า เสนาสนะ, ฟูกหมอนก็ดี วิหารก็ดี

เพิงก็ดี ปราสาทก็ดี ทิมคดก็ดี ถ้าก็ดี ป้อมก็ดี เรือนยอดเดียวก็ดี

ที่เร้นก็ดี กอไผ่ก็ดี โคนไม้ก็ดี มณฑปก็ดี ชื่อว่า เสนาสนะ, ก็หรือ

ว่าภิกษุทั้งหลายกลับเข้าไปในที่ใด ที่นั้นทั้งหมด ชื่อว่า เสนาสนะ.

อีกอย่างหนึ่ง สถานที่นี้คือ วิหาร เพิง ปราสาท ทิมคด ถ้ำ ชื่อว่า

เสนาสนะคือวิหาร ของใช้นี้คือ เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ชื่อว่า

เสนาสนะคือเตียงตั่ง ของใช้นี้ คือ ปลอกหมอน ชิ้นหนังใช้ปู เครื่อง

ปูลาดหญ้า เครื่องปูลาดใบไม้ ชื่อว่า เสนาสนะคือสันถัต ก็หรือว่า

ภิกษุทั้งหลายกลับเข้าไปในที่ใด ที่นี้ชื่อว่า เสนาสนะคือโอกาส

เสนาสนะมี ๔ อย่าง ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้. เสนาสนะแม้

ทั้งหมดนั้น ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า เสนาสนะทั้งนั้น ก็พระสารีบุตร

เถระเมื่อจะแสดงเสนาสนะที่สมควรแก่ภิกษุผู้มาแต่ทิศทั้ง ๔ ผู้เช่นกับนกนี้

จึงกล่าวคำว่า อรญฺ รุกฺขมูล เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺ ความว่า ป่าที่มาด้วยสามารถ

แห่งภิกษุณีทั้งหลายนี้ว่า ที่นอกเสาเขื่อนออกไปทั้งหมดนั้น ชื่อว่าป่า,

เสนาสนะด้านหลังชั่ว ๕๐๐ คันธนู ซึ่งว่า เสนาสนะป่า, ก็เสนาสนะป่า

ก็เสนาสนะนี้ ย่อมสมควรแก่ภิกษุนี้ ด้วยประการฉะนี้. ลักษณะแห่ง

เสนาสนะป่านั้น ได้กล่าวไว้แล้วในธุดงคนิเทศ ในวิสุทธิมรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

บทว่า รุกฺขมูล ความว่า ที่สงัดมีร่มเงาหนาทึบแห่งใดแห่งหนึ่ง

ชื่อว่า โคนไม้.

บทว่า ปพฺพต ได้แก่ เขาศิลา, ก็ที่เขาศิลานั้น ภิกษุนั่งอยู่ที่

ร่มเงาของรุกขชาติที่เย็นเพราะน้ำในตระพังหิน ซึ่งเต็มด้วยน้ำให้ความเย็น

มีลมเย็นซึ่งพัดมาแต่ทิศต่าง ๆ รำเพยพัดอยู่ จิตย่อมแน่วแน่. น้ำท่านเรียก

ว่า ในบทว่า กนฺทร ประเทศภูเขาที่น้ำนั้นเซาะแล้ว คืออันน้ำ

ทำลายแล้ว ท่านเรียกซอกเขานั้นว่าเทือกเขาบ้าง ว่าหุบเขาบ้าง ก็ที่ซอก

เขานั้น มีทรายเช่นกับแผ่นเงิน ข้างบนมีไพรสณฑ์เหมือนเพดานแก้วมณี

มีน้ำหลั่งไหลคล้ายท่อนแก้วมณี เมื่อภิกษุขึ้นสู่ซอกเขาเห็นปานนี้ ดื่มน้ำ

ชำระร่างกาย พูนทรายลาดบังสุกุลจีวรนั่งกระทำสมณธรรมอยู่ จิตย่อม

แน่วแน่.

บทว่า คิริคุห ได้แก่ ระหว่างภูเขาสองลูก หรือช่องใหญ่คล้าย

อุโมงค์ในที่แห่งหนึ่งนั้นแล. ลักษณะของป่าช้า ได้กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิ

มรรค.

บทว่า วนปตฺถ ได้แก่ ที่ซึ่งเลยแดนบ้านออกไป ไม่เป็นที่เข้า

ไปเที่ยวของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นที่ไถไม่ได้หว่านไม่ได้. เพราะเหตุนั้นแหละ

ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า คำว่า วนปตฺถ นี้เป็นชื่อของเสนาสนะทั้งหลาย

ที่ไกล.

บทว่า อพฺโภกาส ได้แก่ ไม่มีอะไรมุงบัง เมื่อภิกษุต้องการก็

ปักกลดอยู่ในที่นี้ได้.

บทว่า ปลาลปุญฺช ได้แก่ กองฟาง. ก็ภิกษุดึงเอาฟางออกจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

ลอมฟางใหญ่ทำที่อยู่คล้ายที่เร้นที่เงื้อมเขา แม้เอาฟางใส่ข้างบนกอไม้พุ่มไม้

เป็นต้น นั่งกระทำสมณธรรมอยู่ภายใต้. คำเป็นต้นว่า และเป็นผู้สงัด

ด้วยกายอยู่ดังนี้ ท่านกล่าวหมายเอาเสนาสนะนั้นทั้งหมด มีอธิบายว่า

ภิกษุรูปหนึ่งอธิษฐานจงกรมให้เป็นไป.

บทว่า อิริยติ ได้แก่ ให้อิริยาบถเป็นไป.

บทว่า วตฺตติ ได้แก่ ยังความเป็นไปแห่งอิริยาบถให้เกิดขึ้น.

บทว่า ปาเลติ ได้แก่ รักษาอิริยาบถ.

บทว่า ยเปติ ได้แก่ เป็นไป.

บทว่า ยาเปติ ได้แก่ ให้เป็นไป.

บทว่า ปมชฺฌาน สมาปนฺนสฺส ได้แก่ ผู้มีความพร้อมเพรียง

ด้วยฌานกุศล.

บทว่า นีวรเณหิ จิตฺต วิวิตฺต ความว่า ท่านกล่าวว่า ภิกษุ

ผู้บรรลุปฐมฌานมีจิตสงัดจากนิวรณ์ ดังนี้ เพื่อแสดงว่า จิตแม้สงัดจาก

นิวรณ์ด้วยอุปจาระ ก็ชื่อว่าสงัดด้วยดีภายในอัปปนา.

บทว่า ภิกษุผู้บรรลุทุติยฌาณ ตติยฌาณ จตุตถฌาน มีจิตสงัด

จากวิตก วิจาร ปีติ สุขและทุกข์ มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า รูปสญฺาย ได้แก่ สัญญาในรูปฌาน ๑๕ ด้วยสามารถ

กุศลวิบากและกิริยา.

บทว่า ปฏิฆสญฺาย ได้แก่ ปฏิฆสัญญา กล่าวคือทวิปัญจวิญ-

ญาณ ๑๐ ด้วยสามารถกุศลวิบากและอกุศลวิบาก ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุกับ

รูปเป็นต้นกระทบกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

บทว่า นานตฺตสญฺาย ความว่า จิตย่อมสงัด คือว่างจากกา-

มาวจรสัญญา ๔๔ ที่เป็นไปในอารมณ์ต่าง ๆ.

ในบทว่า อากาสานญฺจายตน สมาปนฺนสฺส นี้ชื่อว่า อนันตะ

หาที่สุดมิได้ เพราะอรรถว่า อากาศนั้นไม่มีที่สุด อากาศหาที่สุดมิได้

ชื่อว่า อากาสานันตะ, อากาสานันตะนั่นแหละ เป็นอากาสานัญจะ,

อากาสานัญจะนั้นด้วย เป็นอายตนะแห่งฌาณพร้อมด้วยสัมปยุตธรรมนั้นด้วย

ด้วยอรรถว่า ตั้งมั่น ดุจที่อยู่แห่งเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่าเทวายตนะ. เหตุนั้น

จึงชื่อว่า อากาสานัญจายตนะ. คำนี้เป็นชื่อของฌานที่มีกสิณุคฆาฏิมากาส

เป็นอารมณ์ ภิกษุผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานนั้น คือผู้บรรลุอรูปฌาน

กุศลและอรูปฌานกิริยา.

บทว่า รูปสญฺาย ได้แก่ จากรูปาวจรฌาน และจากอารมณ์

แห่งรูปาวจรฌานนั้น ด้วยหัวข้อคือสัญญา. ด้วยว่า แม้รูปาวจรฌาน

ท่านก็เรียกว่า รูป ดุจในประโยคว่า ผู้ได้รูปาวจรแห่งฌานย่อมเห็นรูป

เป็นต้น. แม้อารมณ์แห่งรูปาวจรฌานนั้น ท่านก็เรียกว่า รูป ดุจในประ

โยคว่า เห็นอารมณ์ภายนอก ซึ่งมีวรรณะดีและมีวรรณะทรามเป็นต้น,

เพราะฉะนั้น คำนี้จึงเป็นชื่อของรูปาวจรฌาน ด้วยหัวข้อคือสัญญาอย่างนี้

ว่า สัญญาในรูป ชื่อว่ารูปสัญญาในที่นี้. ชื่อว่า รูปสัญญา เพราะ

อรรถว่า ฌานนั้นมีสัญญาในรูป อธิบายว่ารูปเป็นชื่อของฌานนั้น. อนึ่ง

คำนี้พึงทราบว่าเป็นชื่อของอารมณ์แห่งฌานนั้น ซึ่งต่างด้วยปฐวีกสิณเป็น

ต้น, จากสัญญากล่าวคือฌาน ๑๕ อย่าง ด้วยสามารถกุศลวิบากกิริยานี้

และจากรูปสัญญากล่าวคืออารมณ์ ๘ อย่าง ด้วยสามารถปฐวีกสิณเป็นต้นนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

บทว่า ปฏิฆสฺาย ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นด้วยการกระทบกัน

ของวัตถุมีจักขุวัตถุเป็นต้น และอารมณ์มีรูปเป็นต้น ชื่อปฏิฆสัญญา. คำ

นี้เป็นชื่อของรูปสัญญาเป็นต้น. เหมือนอย่างที่ตรัสว่า บรรดาสัญญาเหล่า

นั้น ปฏิฆสัญญา เป็นไฉน ? คือรูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา

รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา สัญญาเหล่านี้เรียกว่า ปฏิฆสัญญา. สัญญา

เหล่านั้น เป็นกุศลวิบาก ๕ เป็นอกุศลวิบาก ๕ แล. จากปฏิฆสัญญานั้น.

บทว่า นานตฺตสญฺาย ได้แก่ จากสัญญาที่เป็นไปในอารมณ์

ต่างๆ หรือจากสัญญาที่มีอารมณ์ต่าง ๆ. เหมือนอย่างที่ตรัสว่า บรรดา

สัญญาเหล่านั้น นานัตตสัญญาเป็นไฉน ? ความรู้พร้อม กิริยาที่รู้พร้อม

ภาวะแห่งผู้ที่มีความรู้พร้อม กิริยาที่รู้พร้อม ภาวะแห่งผู้ที่มีความรู้พร้อม

ของภิกษุผู้ยังมิได้บรรลุ ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมโนธาตุ หรือผู้มีความ

พร้อมเพรียงด้วยมโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้เรียกว่า นานัตตสัญญา. ท่าน

กล่าวจำแนกไว้ในคัมภีร์วิภังค์ด้วยประการฉะนี้. สัญญาเหล่านั้นท่านประ-

สงค์เอาไว้ในที่นี้. สัญญาที่สงเคราะห์ด้วยมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ

ของภิกษุผู้ยังมิได้บรรลุ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ที่มีความต่างกัน คือมี

สภาวะต่างกัน ต่างโดยรูปและเสียงเป็นต้น.

ก็เพราะกามาวจรกุศลสัญญา ๘ อกุศลสัญญา ๑๒ กามาวจรกุศล

วิปากสัญญา ๑๑ อกุศลวิปากสัญญา ๒ กามาวจรกิริยาสัญญา ๑๑ เหล่านี้

รวมเป็นสัญญา ๔๔ ดังพรรณนามาฉะนี้ มีความต่างกัน มีสภาวะต่างกัน

ไม่เหมือนกัน ฉะนี้ท่านจึงเรียกว่า นานัตตสัญญา. จากนานัตตสัญญานั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

บทว่า จิตฺต วิวิตฺต โหติ ความว่า ภิกษุผู้บรรลุอากาสานัญ-

จายตนฌาน จิตในฌานย่อมสงัด คือเว้น คือปราศจากความขวนขวาย

จากสัญญาทั้งหลาย กล่าวคือรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และนานัตตสัญญา.

บทว่า วิญฺาณญฺจายตน ความว่า ฌานชื่อว่า วิญญาณัญจาย-

ตนะ เพราะอรรถว่ามีวิญญาณนั่นแหละเป็นอารมณ์ ด้วยอรรถว่า เป็น

อารมณ์ที่ตั้งมั่น. คำนี้เป็นชื่อของฌานที่มีวิญญาณซึ่งเป็นไปในอากาศเป็น

อารมณ์. ภิกษุผู้บรรลุฌานนั้น มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญาซึ่งมี

ประการดังกล่าวแล้ว.

ก็ในบทว่า อากิฺจายตน นี้ ฌานชื่อว่า อกิญจนะเพราะ

อรรถว่า ไม่มีความกังวล มีอธิบายว่า ฌานนั้นไม่มีอะไร ๆ ที่เหลือ โดย

ที่สุดแม้เพียงภังคขณะ. ภาวะแห่งฌานที่ไม่มีความกังวล ชื่ออากิญจัญญะ

คำนี้เป็นชื่อของอากาสานัญจายตนฌานที่ปราศจากวิญญาณ. ฌานชื่อว่า

อากิญจัญญายตนะ เพราะอรรถว่า มีอากิญจัญญะนั้นเป็นอารมณ์ด้วยอรรถ

ว่า เป็นอารมณ์ที่ตั้งมั่น. คำนี้เป็นชื่อของฌานซึ่งมีความปราศจากวิญญาณ

ที่เป็นไปในอากาศเป็นอารมณ์. ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนฌานนั้น มีจิต

สงัดจากวิญญานัญจายตนสัญญานั้น.

ก็ในบทว่า เนวสญฺานาสญฺายตน นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

ฌานนั้น ท่านเรียกว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะไม่มีสัญญาใด สัญ

ญานั้นย่อมมีแก่ภิกษุผู้ปฏิบัติแล้วอย่างไร เพื่อจะแสดงสัญญานั้นก่อน ท่าน

ตั้งหัวข้อไว้ว่า เนวสัญฺี มีสัญญาก็ไม่ใช่ นาสญฺี ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

กล่าวในคัมภีร์วิภังค์ว่า ภิกษุมนสิการถึงอากิญจัญญายตนะนั้นแลโดยความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

เป็นของมีอยู่ เจริญสมาบัติที่เหลือลงจากสังขาร เหตุนั้นท่านจึงเรียกว่ามี

สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่.

บรรดา เหล่านั้น บทว่า สนฺตโต มนสิกโรติ ความว่า ภิกษุ

มนสิการแม้ความไม่มีว่าสมาบัตินี้มีอยู่หรือไม่หนอเป็นอารมณ์อยู่ ย่อมชื่อ

ว่ามนสิการสมาบัตินั้นว่ามีอยู่ เพราะมีสิ่งที่มีอยู่เป็นอารมณ์ อย่างนี้ด้วย

ประการฉะนี้. ภิกษุนั่งบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ฌานจิต ย่อม

ว่างจากอากิญจัญญายตนสัญญานั้น.

บทว่า โสตาปนฺนสฺส ได้แก่ บรรลุโสดาปัตติผล.

บทว่า สกฺกายทิฏฺิยา ได้แก่จากสักกายทิฏฐิซึ่งมีวัตถุ ๒๐.

บทว่า วิจิกิจฺฉาย ได้แก่ จากความสงสัยในฐานะ ๘.

บทว่า สีลพฺพตปรามาสา ได้แก่ ทิฏฐิที่เกิดขึ้นลูบคลำว่าบริสุทธิ์

โดยศีล บริสุทธิ์โดยพรรค.

บทว่า ทิฏานุสยา ได้แก่ ทิฏฐานุสัยซึ่งนอนเนื่องอยู่ในสันดาน

เพราะอรรถว่า ยังละไม่ได้. วิจิกิจฉานุสัยก็เหมือนกัน.

บทว่า ตเทกฏฺเหิ จ ได้แก่ และที่ตั้งอยู่โดยความเป็นอันเดียว

กันกับด้วยสักกายทิฏฐิเป็นต้นเหล่านั้น. ชื่อว่า กิเลส เพราะอรรถว่า ให้

เดือดร้อน และให้ลำบาก. จิตสงัด คือว่างจากกิเลสมีสักกายทิฏฐิเป็นต้น

เหล่านั้น.

บทว่า ตเทกฏฺ ในที่นี้ ความว่า เอกัฏฐะตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกัน

มี ๒ คือ ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันโดยการละ และตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกัน

โดยเกิดร่วมกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

ก็กิเลสทั้งหลายที่ให้ถึงอบายชื่อว่า ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกัน โดยการละ

เพราะอรรถว่า ตั้งอยู่ในบุคคลเดียวกันกับด้วยทิฏฐิและวิจิกิจฉาตราบที่ยัง

ละไม่ได้ด้วยโสดาปัตติมรรค. ก็บรรดากิเลส ๑๐ อย่าง ทิฏฐิและวิจิกิจฉา

เท่านั้นมาในที่นี้ ส่วนกิเลสที่ให้ถึงอบายที่เหลือ ๘ อย่าง คือ โลภะ โทสะ

โมหะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ เป็นกิเลสที่ตั้งอยู่

ในเหล่าเดียวกันกับทิฏฐิและวิจิกิจฉาย่อมละได้พร้อมกับอนุสัยทั้ง ๒ ด้วย

โสดาปัตติมรรค.

อีกอย่างหนึ่ง บรรดากิเลสพันห้าที่มีราคะโทสะโมหะเป็นหัวหน้า

เมื่อละทิฏฐิได้ด้วยโสดาปัตติมรรค ก็เป็นอันละวิจิกิจฉาได้พร้อมกับทิฏฐิ

กิเลสทั้งปวงที่ให้ถึงอบาย ย่อมละได้พร้อมทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัย

ด้วยสามารถตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันโดยการละ. ส่วนที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกัน

โดยเกิดร่วมกัน ได้แก่กิเลสที่เหลือลงที่ดังอยู่ในจิตแต่ละดวงพร้อมด้วยทิฏฐิ

และพร้อมด้วยวิจิกิจฉา ก็เมื่อจิตที่เป็นทิฏฐิสัมปยุต และเป็นอสังขาริก

ทั้ง ๒ ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค กิเลสเหล่านี้ คือ โลภะ โทสะ โมหะ

อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะที่เกิดร่วมกับจิตเหล่านั้นย่อมละได้ด้วย

สามารถตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันโดยเกิดร่วมกัน. เมื่อละจิตที่เป็นทิฏฐิสัมปยุต

และเป็นสสังขาริกทั้ง ๒ กิเลสเหล่านี้คือ โลภะ โมหะ ถีนะ อุทธัจจะ

อหิริกะ อโนตตัปปะ ที่เกิดร่วมกับจิตเหล่านั้น ย่อมละได้ด้วยสามารถ

ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันโดยเกิดร่วมกัน. เมื่อละจิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาได้

กิเลสเหล่านั้นคือโมหะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ ที่เกิดร่วมกับจิตนั้น

ย่อมละได้ด้วยสามารถตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันโดยเกิดร่วมกัน. จิตย่อมสงัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

จากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกัน ๒ อย่างเหล่านั้น อธิบายว่า มรรคจิต

ย่อมสงัด ผลจิตย่อมสงัด คือไม่ประกอบ ไม่ขวนขวาย คือว่าง ด้วย

ประการฉะนี้.

บทว่า สกทาคามิสฺส โอฬาริกา กามราคสญฺโชนา ความว่า

สังโยชน์กล่าวคือ ความกำหนัดในเมถุน เป็นกิเลสหยาบ คือเป็นกิเลส

หยาบเพราะเป็นปัจจัยแห่งการก้าวล่วงในกายทวารก็กามราคะนั้น ท่าน

เรียกว่า สังโยชน์ เพราะอรรถว่าประกอบเหล่าสัตว์ไว้ในกามภพ.

บทว่า ปฏิฆสญฺโชนา ได้แก่ สังโยชน์คือพยาบาท. ก็พยาบาท

นั้น ท่านเรียกว่า ปฏิฆะ เพราะอรรถว่ากระทบอารมณ์. กิเลสเหล่านั้นแล

ชื่อว่า อนุสัย. เพราะอรรถว่า นอนเนื่องอยู่ในสันดาน ด้วยอรรถว่ามี

กำลัง.

บทว่า อณุสหคตา ได้แก่ ละเอียดคือสุขุม. กามราคสังโยชน์

อย่างละเอียด.

บทว่า กามราคานุสยา ปฏิฆานุสยา ได้แก่ กามราคานุสัย

และปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด ด้วยสามารถนอนเนื่องอยู่ในสันดาน โดย

อรรถว่า ยังละไม่ได้.

บทว่า ตเทกฏฺเหิ จ ความว่า จิตย่อมสงัด คือว่างจากกิเลส

ทั้งหลาย ที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกัน ๒ อย่าง ซึ่งมีเนื้อความดังกล่าวแล้ว.

บทว่า อรหโต ได้แก่ ผู้ได้นามว่า พระอรหันต์ เพราะกำจัด

ข้าศึกคือกิเลสทั้งหลายได้.

บทว่า รูปราคา ได้แก่ ฉันทราคะในรูปภพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

บทว่า อรูปราคา ได้แก่ ฉันทราคะในอรูปภพ.

บทว่า มานา ได้แก่ มานะ ที่ฆ่าได้ด้วยอรหัตมรรคนั่นแล,

อุทธัจจะ อวิชชา และมานานุสัยเป็นต้น ก็ฆ่าได้ด้วยอรหัตมรรคเหมือน

กัน. บรรดากิเลสเหล่านั้นมานะมีลักษณะพอง อุทธัจจะมีลักษณะไม่สงบ

อวิชชามีลักษณะมืด ภวราคานุสัยเป็นไปด้วยสามารถรูปราคะและอรูปราคะ.

บทว่า ตเทกฏฺเหิ จ ได้แก่ และจากกิเลสทั้งหลายที่ตั้งอยู่ร่วม

กันเหล่านั้น.

บทว่า พหิทฺธา จ สพฺพนมิตฺเตหิ ความว่า มรรคจิตย่อมสงัด

คือเว้น ไม่ขวนขวาย ผลจิตไม่ประกอบ คือไม่ขวนขวายจากสังขารนิมิต

ทั้งปวง ที่ถึงการนับว่า ภายนอก คือพ้นภายในเป็นไปภายนอก เพราะ

อาศัยอกุศลขันธ์ภายในจิตสันดาน.

ในอนุสัยเหล่านั้น พึงทราบความ ไม่มีแห่งอนุสัยโดยลำดับ ๒ อย่าง

คือลำดับ กิเลสและลำดับมรรค ก็โดยลำดับกิเลส กามราคานุสัยและปฏิฆา-

นุสัยด้วยมรรคที่ ๓, มานานุสัยไม่มีด้วยมรรคที่ ๔, ทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉา-

นุสัยไม่มีด้วยมรรคที่ ๑, ภวราคานุสัยและอวิชชานุสัยไม่มีด้วยมรรคที่ ๔

นั่นแล. ส่วนโดยลำดับมรรคทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัยไม่มีด้วยมรรคที่

๑, กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยเบาบางด้วยมรรคที่ ๒, ไม่มีโดยประการ

ทั้งปวงด้วยมรรคที่ ๓, มานานุสัย ภวราคานุสัย และอวิชชานุสัยไม่มี

ด้วยมรรคที่ ๔.

บทว่า จิตฺตวิเวโก ความว่า ความที่มหัคคตจิตแลโลกุตตรจิตว่าง

คือเปล่าจากกิเลสทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

บทว่า อุปธิวิเวโก ได้แก่ ความว่างเปล่าแห่งอุปธิกล่าวคือกิเลส

ขันธ์และอภิสังขาร.

เพื่อจะแสดงอุปธิก่อน พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า

อุปธิ วุจฺจนฺติ กิเลสา จ ดังนี้.

กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น เกิดขึ้นแก่ผู้ใดย่อมทำผู้นั้นให้เดือด

ร้อนให้ลำบากด้วย เบญจขันธ์มีรูปเป็นต้น เป็นอารมณ์ของอุปาทานด้วย

ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขารด้วย ชื่อ อุปธิ.

บทว่า อมต ความว่า นิพพานชื่อว่า อมตะ เพราะอรรถว่า

ไม่มีมตะกล่าวคือความตาย.

ชื่อว่า อมตะ เพราะอรรถว่า เป็นยา เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อพิษ

คือกิเลส ก็มี.

ตัณหา ท่านเรียกว่า วานะ เพราะอรรถว่า เย็บ คือร้อยรัดเหล่า

สัตว์ไว้ในสงสาร กำเนิด คติ อุปบัติ วิญญาณฐีติและสัตตาวาสทั้งหลาย.

ชื่อว่า นิพพาน เพราะอรรถว่า ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดใน

นิพพานนั้น.

บทว่า วูปกฏฺกายาน ได้แก่ ผู้มีสรีระปราศจากการคลุกคลีใน

หมู่.

บทว่า เนกฺขมฺมาภิรตาน ได้แก่ ผู้ยินดียิ่งในเนกขัมมะคือปฐม

ณานเป็นต้น ที่ออกจากกามเป็นต้น คือ ผู้น้อมไปในเนกขันมะนั้น.

บทว่า ปรมโวทานปฺปตฺตาน. ได้แก่ ผู้บรรลุผลคือความเป็นผู้

บริสุทธิ์สูงสุดตั้งอยู่. อาจารย์บางพวกพรรณนาอย่างนี้ว่า ผู้มีจิตบริสุทธิ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

เพราะไม่มีอุปกิเลสผู้ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง เพราะความเป็น

ผู้พ้นจากกิเลสทั้งหลาย ผู้มีจิตบริสุทธิ์ด้วยวิกขัมภนปหานละด้วยการข่มไว้

ผู้ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง ด้วยสมุจเฉทปหานละด้วยตัดขาด

บทว่า นิรูปธีน. ได้แก่ ผู้มีอุปธิไปปราศแล้ว.

บทว่า วิสงฺขารคตาน ได้แก่ ผู้เข้าถึงนิพพานซึ่งปราศจากสังขาร

เพราะตัดอารมณ์คือสังขาร ด้วยสามารถเป็นอารมณ์. แม้ในบทว่า วิสงฺ-

ขารคต จิตฺต นี้ ท่านก็กล่าวว่า วิสังขาร คือนิพพาน.

บทว่า วิทูเร ได้แก่ ไกลโดยประการต่าง ๆ.

บทว่า สุวิทูเร ได้แก่ ไกลด้วยดี.

บทว่า น สนฺติเก ได้แก่ ไม่ใกล้.

บทว่า น สามนฺตา ได้แก่ ไม่ใช่ข้างเคียง.

บทว่า อนาสนฺเน ได้แก่ ไม่ใกล้เกินไป.

บทว่า วูปกฏเ ได้แก่ ไม่ใกล้, ความว่า ไปปราศ.

บทว่า ตาทิโส ได้แก่ ผู้เช่นนั้น.

บทว่า ตสฺสณฺิโต ได้แก่ ผู้ตั้งอยู่ด้วยอาการนั้น.

บทว่า ตปฺปกาโร ได้แก่ ผู้ตั้งอยู่ด้วยประการนั้น.

บทว่า ตปฺปฏิภาโค ได้แก่ ผู้มีส่วนดังนั้น, อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์

พวกหนึ่งพรรณนาอย่างนี้ว่า ชื่อว่าผู้เช่นนั้น เพราะข้องอยู่ในถ้ำคืออัตภาพ,

ชื่อว่าผู้ดำรงอยู่ดังนั้น เพราะกิเลสทั้งหลายปกปิดไว้, ชื่อว่าแบบนั้น เพราะ

หยั่งลงในที่หลง, ชื่อว่าเหมือนเช่นนั้น เพราะไกลจากวิเวก ๓,

บทว่า ทุปฺปหาย ได้แก่ ไม่เป็นของอันนรชนพึงละได้โดยง่าย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

บทว่า ทุจฺจชา ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะละได้โดยง่าย.

บทว่า ทุปฺปริจฺจชา ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะละได้โดยอาการทั้งปวง.

บทว่า ทุนฺนิมฺมทยา ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะกระทำให้ไม่มัวเมา

คือให้มีความมัวเมาออกแล้ว.

บทว่า ทุพฺพินิเวธยา ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะกระทำการแทงตลอด

คือ ความพ้นได้.

บทว่า ทุตฺตรา ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะข้ามขึ้นก้าวล่วงไปได้.

บทว่า ทุปฺปตรา ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะข้ามโดยพิเศษได้.

บทว่า ทุสฺสมติกฺกมา ได้แก่ พึงก้าวล่วงได้โดยยาก.

บทว่า ทุพฺพีติวตฺตา ได้แก่ ยากที่จะให้เป็นไป.

อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์บางพวกพรรณนาอย่างนี้ว่า สลัดได้โดยยาก

ด้วยสามารถแห่งปกติ ย่ำยีได้โดยยาก ดุจอสรพิษที่มีพิษร้าย แหวกออกได้

โดยยาก ดุจนาคบาศ ข้ามได้โดยยาก พ้นได้โดยยาก ดุจทางกันดาร

ทะเลทรายในฤดูร้อนก้าวล่วงได้โดยยาก ดุจคงที่เสือโคร่งหวงแหนข้ามพ้น

ได้โดยยาก ดุจคลื่นในมหาสมุทร.

ระสารีบุตรเถระให้สำเร็จความว่า นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจาก

วิเวก ด้วยคาถาที่ ๑ อย่างนี้แล้วเมื่อกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมดาของเหล่า

สัตว์อย่างนั้นอีก จึงกล่าวคาถาว่า อิจฺฉานิทานา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิจฺฉานิทานา ได้แก่ มีตัณหาเป็น

เหตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

บทว่า ภวสาตพนฺธา ได้แก่ ผู้ติดพ้นด้วยความแช่มชื่นในภพ

มีสุขเวทนาเป็นต้น.

บทว่า เต ทุปฺปมุญฺจา ได้แก่ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความแช่มชื่น

ในภพเหล่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง สัตว์เหล่านั้น คือผู้ติดพันในความแช่มชื่นในภพนั้น

เป็นผู้หลุดพ้นได้โดยยาก เพราะเหตุแห่งความปรารถนา.

บทว่า น หิ อญฺโมกฺขา ความว่า ไม่อาจที่จะยังบุคคลอื่น

ให้หลุดพ้น.

อีกอย่างหนึ่ง บทนั้นเป็นตติยาวิภัตติ สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้หลุดพ้นได้

โดยยาก. เพราะเหตุไร ? เพราะเป็นผู้อันบุคคลอื่นให้หลุดพันไม่ได้ ถ้า

สัตว์ทั้งหลายจะพึงหลุดพ้น ก็พึงหลุดพ้นได้ด้วยกำลังของตน เนื้อความ

ลงบทนั้นมีดังพรรณนามาฉะนี้.

บทว่า ปจฺฉา ปุเร วาปิ อเปกฺขมานา ความว่า มุ่งหวังกาม

ทั้งหลายในอนาคตบ้าง ในอดีตบ้าง.

บทว่า อิเมว กาเม ปุริเมว ชปฺป ความว่า ปรารถนาอยู่ซึ่ง

กามเหล่านี้ คือที่เป็นปัจจุบัน หรือกามที่มีในก่อนทั้งสองอย่าง คือที่เป็น

อดีตและอนาคต เพราะตัณหามีกำลัง.

อนึ่ง พึงทราบก่อนว่าบททั้ง ๒ เหล่านี้ เชื่อมกับบทนี้ว่า เต

ทุปฺปมุญฺจา น หิ อญฺโมกฺขา นั่นแล.

นอกนี้ สัตว์เหล่านั้นแม้มุ่งหวังอยู่ ก็ไม่ปรากฏว่า เมื่อปรารถนา

กระทำอะไรอยู่ หรือได้กระทำอะไรแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

บทว่า ภวสาตพนฺธา ความว่า ความแช่มชื่นในภพ ชื่อว่า

ภวสาตะ สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพนั้น คือด้วย

ความชื่นชมความสุขตั้งอยู่. เพื่อแสดงจำแนกความแช่มชื่นนั้น ท่านจึง

กล่าวคำว่า เอก ภวสาต สุขาเวทนา เป็นต้น.

ความเป็นแห่งความหนุ่มสาว ชื่อว่า ความเป็นหนุ่มสาว. ความ

ไม่มีแห่งโรค ชื่อว่า ความไม่มีโรค. ความเป็นไปแห่งชีวิตินทรีย์ ชื่อว่า

ชีวิต.

บทว่า ลาโภ ได้แก่ การได้ปัจจัย ๔.

บทว่า ยโส ได้แก่ บริวาร.

บทว่า ปสสา ได้แก่ ชื่อเสียง.

บทว่า สุข ได้แก่ สุขทางกายและทางใจ.

บทว่า มนาปิกา รูปา ได้แก่ รูปที่เจริญใจ. แม้ในบทที่เหลือ

ทั้งหลายก็นัยนี้แหละ.

บทว่า จกฺขุสมฺปทา ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่งจักษุ.

บทว่า จกฺขุสมฺปทา ท่านกล่าวหมายถึงความชื่นชมความสุขที่เกิด

ขึ้นว่า จักษุของเราสมบูรณ์ ปรากฏดุจสีหบัญชรที่ติดตั้งไว้ที่วิมานแก้ว

มณี. แม้ในบทว่า โสตสมฺปทา เป็นต้นก็นัยนี้แหละ.

บทว่า สุขาย เวทนาย (สตฺตา) พนฺธา ฯ เป ฯ พนฺธ เป็น

บทเดิม.

บทว่า วินิพนฺธา ได้แก่ ติดพันด้วยอาการมีอย่างต่าง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

บทว่า อาพนฺธา ได้แก่ ติดพันแต่ต้นโดยวิเศษ.

บทว่า ลคฺคา ได้แก่ แนบกับอารมณ์.

บทว่า ลคฺคิตา ได้แก่ คล้องไว้ดุจกระบอกน้ำอ้อยแขวนไว้ที่ไม้

นาคทันต์.

บทใดไม่ได้กล่าวไว้ในที่นี้ บทนั้น พึงถือเอาโดยนัยที่กล่าวไว้ใน

บทว่า สตฺโต วิสตฺโต เป็นต้น.

บทว่า น หิ อญฺโมกฺขา ความว่า ไม่ยังบุคคลเหล่าอื่นให้

หลุดพ้น.

บทว่า เต วา ภวสาตวตฺถู ทุปฺปมุญฺจา ความว่า ธรรมที่

เป็นวัตถุแห่งความชื่นชมความสุขในภพ ยากที่จะพ้นได้.

บทว่า สตฺตา วา เอตฺโต ทุมฺโมจยา ความว่า หรือเหล่าสัตว์

นั่นแล ยากที่จะหลุดพ้นจากวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพนี้.

บทว่า ทุรุทฺธรา ความว่า ยากที่จะยกขึ้น.

บทว่า ทุสฺสมุทฺธรา ความว่า ยากที่จะยกขึ้นไว้ข้างบน เหมือน

ตกเงื้อมผานรกที่มีเงื้อมผาขาดแล้ว.

บทว่า ทุพฺพุฏาปนา ความว่า ยากที่จะให้ตั้งขึ้น.

บทว่า ทุสฺสมุฏาปนา ความว่า ยากเหลือเกินที่จะยกขึ้นดุจการ

ประดิษฐานอัตภาพที่ละเอียดบนแผ่นดิน.

บทว่า เต อตฺตนา ปลิปปลิปนฺนา ความว่า จมลงในเปือก-

ตมที่ลึกแค่ศีรษะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

บทว่า น สกฺโกนฺติ ปร ปลิปปลินฺน อุทฺธริตุ ความว่า ไม่

อาจที่จะจับมือหรือศีรษะยกผู้อื่นที่จมลงอย่างนั้นแล ขึ้นตั้งไว้บนบก.

บทว่า โส ในบทว่า โส วต จุนฺท เป็นปุคคลนิทเทสโดย

อาการที่จะพึงกล่าว. นิทเทสนั้นพึงทราบว่า นำคำอุทเทสว่า โย นี้มา

เชื่อมในบทที่เหลือทั้งหลายอย่างนี้ว่า บุคคลใดจมอยู่ด้วยตน ดูก่อนจุนทะ

บุคคลนั้นหนอจักฉุดผู้อื่นที่จมอยู่ขึ้นได้ ดังนี้.

บทว่า ปลิปปลิปนฺโน ท่านกล่าวบุคคลที่จมลงในเปือกตมที่ลึก.

ความว่า ดูก่อนจุนทะ เหมือนบุรุษบางคนจมลงในเปือกตมที่ลึกแค่ศีรษะ.

จักจับมือ. หรือศีรษะ. ฉุดแม้คนอื่นที่จมลงอย่างนั้นเหมือนกันขึ้น.

บทว่า เนต าน วิชฺชติ ความว่า ก็ข้อที่บุคคลนั้นพึงฉุดผู้นั้น

ขึ้นให้ตั้งอยู่บนบกนั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.

ก็ในบทว่า อทนฺโต อวินีโต อปรินิพฺพุโต นี้มีวินิจฉัยดังต่อ

ไปนี้. บุคคลนั้น ชื่อว่าไม่ฝึกฝนเพราะยังมีการเสพผิด ชื่อว่า ไม่อบรม

เพราะไม่ศึกษาวินัย ชื่อว่าไม่ดับกิเลส เพราะยังดับกิเลสไม่ได้. บุคคลนั้น

คือเช่นนั้นจักฝึกฝนผู้อื่น จักการทำให้มีการเสพผิดออกแล้ว จักแนะนำ

จักให้ศึกษาสิกขา ๓ จักให้ดับรอบ คือจักให้กิเลสทั้งหลายของผู้นั้นดับ.

บทว่า นตฺถญฺโ โกจิ ความว่า บุคคลอื่นใคร ๆ ที่ชื่อว่า

สามารถจะให้พ้นได้ ย่อมไม่มี.

บทว่า สเกน ถาเมน ได้แก่ ด้วยเรี่ยวแรงแห่งญาณของตน.

บทว่า พเลน ได้แก่ ด้วยกำลังแห่งญาณ.

บทว่า วิริเยน ได้แก่ ด้วยความเพียรทางใจอันสัมปยุตด้วยญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

บทว่า ปุริสปรกฺกเมน ได้แก่ ด้วยความเพียรใหญ่ ซึ่งไม่เหยียบ

ย่ำฐานะอื่น ๆ.

บทว่า นาห สหิสฺสามิ มีอธิบายว่า เราจักไม่อาจ คือไม่อาจ

คือจักไม่พยายาม.

บทว่า ปโมจนาย ได้แก่ เพื่อให้หลุดพ้น.

บทว่า กถกถึ ได้แก่ ผู้มีความสงสัย.

บทว่า โธตก เป็นอาลปนะ.

บทว่า ตเรสิ ความว่า พึงข้ามได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ความชั่วอันบุคคลกระทำด้วยตน บุคคลนั้นจัก

เศร้าหมองด้วยตนเอง ความชั่วอันบุคคลไม่กระทำด้วยตน

บุคคลนั้นจะบริสุทธิ์ด้วยตนเอง ความบริสุทธิ์และความไม่

บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน ผู้อื่นไม่พึงให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ได้.

ในพระพุทธพจน์นี้มีเนื้อความดังนี้ :- อกุศลกรรมอันบุคคลใด

กระทำด้วยตนเอง บุคคลนั้นจักเสวยทุกข์ในอบาย ๔ เศร้าหมองด้วยตน

เอง แต่ความชั่วอันบุคคลใดไม่กระทำด้วยตน บุคคลนั้นย่อมไปสู่สวรรค์

และนิพพานบริสุทธิ์ได้ด้วยตนเอง ความบริสุทธิ์กล่าวคือกุศลกรรม ความ

ไม่บริสุทธิ์กล่าวคืออกุศลกรรม เป็นของเฉพาะตน คือย่อมให้ผลในตน

นั่นแหละ แก่เหล่าสัตว์ผู้กระทำ บุคคลอื่นไม่พึงยังบุคคลอื่นให้บริสุทธิ์

คือให้บริสุทธิ์ไม่ได้ มีอธิบายว่า ให้เศร้าหมองไม่ได้ ให้บริสุทธิ์ ไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

บทว่า ติฏฺเตว นิพฺพาน ความว่า อมตมหานิพพานก็ตั้งอยู่

นั่นแหละ.

บทว่า นิพฺพานคามิมคฺโค ได้แก่ อริยมรรคเริ่มแต่วิปัสสนา

อันเป็นส่วนเบื้องต้น.

บทว่า ติฏฺามห สมาทเปตา ความว่า เราผู้ให้ถือ ให้ตั้งอยู่

เฉพาะ ก็ตั้งอยู่เฉพาะ.

บทว่า เอว โอวทิยมานา เอว อนุสาสิยมานา ได้แก่

อันเรากล่าวสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้, ใน ๒ บทนี้ กล่าวในเรื่อง

ที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า กล่าวสอน. พร่ำสอนในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น แสดง

อนาคตเป็นต้นว่า แม้ความเสื่อมยศก็จักมีแก่ท่าน ดังนี้ชื่อว่าพร่ำสอน

แม้ผู้กล่าวต่อหน้า ก็ชื่อว่ากล่าวสอน ผู้ส่งทูตหรือคำสอนไปลับหลัง ชื่อว่า

พร่ำสอน. ผู้กล่าวครั้งเดียว ชื่อว่ากล่าวสอน. ผู้กล่าวบ่อย ๆ ชื่อว่าพร่ำสอน.

อีกอย่างหนึ่ง ผู้กล่าวสอนนั่นแหละ ชื่อว่าพร่ำสอน.

บทว่า อปฺเปกจฺเจ ได้แก่ บางพวก ความว่า พวกหนึ่ง.

บทว่า อจฺจนฺตนิฏฺ นิพฺพาน อาราเธนฺติ ความว่า ชื่อว่า

อัจจันตะ เพราะอรรถว่า ส่วนสุดกล่าวคือความสิ้นไปและความเสื่อมไป

ล่วงไปแล้ว ส่วนสุดล่วงไปแล้วนั้นด้วย จบสิ้นแล้วเพราะไม่เป็นที่เป็นไป

แห่งสังขารทั้งปวงด้วย เหตุนั้นจึงชื่อว่า มีส่วนสุดล่วงไปแล้ว จบสิ้นแล้ว.

ความว่า จบสิ้นโดยส่วนเดียว. สาวกบางพวกบรรลุคือถึงซึ่งนิพพานอัน

จบสิ้นโดยส่วนเดียวนั้น.

บทว่า นาราเธนฺติ ได้แก่ ไม่ถึงพร้อม, ความว่า ไม่ได้เฉพาะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

บทว่า เอตฺถ กฺยาห ความว่า ในเรื่องเหล่านี้ เราจะทำอะไร

อย่างไรได้.

บทว่า มคฺคกฺขายี ได้แก่ ผู้บอกทางปฏิบัติ.

บทว่า อาจิกฺขติ แปลว่า นอก.

บทว่า อตฺตนา ปฏิปชฺชมานา มุญฺเจยฺยุ ความว่า ผู้ปฏิบัติ

อยู่พึงหลุดพ้นเอง.

บทว่า อตีต อุปาทาย ได้แก่ อาศัยอดีต.

บทว่า กถ ปุเร อเปกฺข กโรติ ความว่า กระทำการเห็นคือ

การแลดู ด้วยประการไร.

บทว่า เอวรูโป อโหสึ ความว่า เราได้มีชาติอย่างนี้ มีรูป

อย่างนี้ คือ สูง ต่ำ ผอม อ้วน เป็นต้น.

บทว่า ตตฺถ นนฺทึ สมนฺนาเนติ ความว่า นำมา คือนำเข้า

มาโดยชอบซึ่งตัณหาในรูปารมณ์นั้น. แม้ใน เวทนา เป็นต้นก็นัยนี้

แหละ.

เมื่อจะแสดงความเกิดขึ้นแห่งตัณหาด้วยสามารถวัตถุและอารมณ์

พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวคำว่า อิติ เม จกฺขุ เป็นต้น.

บทว่า อิติ รูปา ได้แก่ มีรูปอย่างนี้.

บทว่า ตตฺถ ฉนฺทราคปฏิพทฺธ ความว่า ฉันทะกล่าวคือที่มี

กำลังอ่อน และราคะกล่าวคือมีกำลังแรงในจักษุและรูปเหล่านั้น พัวพัน

คือติดแน่นด้วยฉันทราคะนั้น.

บทว่า วิญฺาณ ได้แก่ ชวนจิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

บทว่า ฉนฺทราคปฏิพทฺธตฺตา วิญฺาณสฺส ความว่า เพราะ

ชวนจิตนั้นพัวพันด้วยฉันทราคะ.

บทว่า ตทภินนฺทติ ความว่า ย่อมเพลิดเพลินอารมณ์นั้น ด้วย

สามารถตัณหา เมื่อเพลิดเพลินอารมณ์นั้นด้วยสามารถตัณหานั่นแล.

บทว่า ยานิสฺส ตานิ ได้แก่ การหัวเราะ การเจรจา และการ

เล่นเหล่านั้น.

บทว่า ปุพฺเพ ได้แก่ ในอดีต.

บทว่า สทฺธึ ได้แก่ ร่วมกัน.

บทว่า หสิตลปิตกีฬตานิ ได้แก่ การหัวเราะมีกัดฟันเป็นต้น

การเปล่งวาจาเจรจา และการเล่นมีการเล่นทางกายเป็นต้น.

บทว่า ตทสฺสาเทติ ความว่า ย่อมชื่นชม คือได้ความชื่นชม

คือยินดีอารมณ์นั้น.

บทว่า ต นิกาเมติ ความว่า ย่อมมุ่งหวัง คือหวังเฉพาะอารมณ์

นั้น.

บทว่า วิตฺตึ อาปชฺชติ ความว่า ย่อมถึงความยินดี.

บทว่า สิย แปลว่า พึงเป็น.

บทว่า อปฺปฏิลทฺธสฺส ปฏิลาภาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่

การถึงอารมณ์ที่ยังไม่ถึง.

บทว่า จิตฺต ปณิทหติ ความว่า ตั้งจิตไว้.

บทว่า เจตโส ปณิธานปจฺจยา ได้แก่ เพราะเหตุแห่งการตั้ง

จิตไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

บทว่า สีเลน วา ได้แก่ ด้วยศีลมีศีล ๕ เป็นต้น.

บทว่า วตฺเตน วา ได้แก่ ด้วยสมาทานธุดงค์.

บทว่า ตเปน วา ได้แก่ ด้วยสมาทานความเพียร.

บทว่า พฺรหฺมจริเยน วา นี้แก่ หรือด้วยเมถุนวิรัติ.

บทว่า เทโว วา ได้แก่ เทวราชผู้มีอานุภาพมาก.

บทว่า เทวญฺตโร วา ได้แก่ เทวดาตนใดคนหนึ่งบรรดา

เทวดาเหล่านั้น.

บทว่า ชปฺปนฺตา ได้แก่ กล่าวด้วยสามารถแห่งคุณ.

บทว่า ปชปฺปนฺตา ได้แก่ กล่าวโดยประการ.

บทว่า อภิชปฺปนฺตา ได้แก่ กล่าวโดยพิเศษ. หรือขยายความ

ด้วยสามารถแห่งอุปสรรค.

พระสารีบุตรเถระแสดงเป็นตัวอย่างว่า นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกล

จากวิเวก ด้วยคาถาที่ ๑, ทำให้แจ้งซึ่งธรรมดาของเหล่านรชนเช่นนั้น

ด้วยคาถาที่ ๒, บัดนี้เมื่อจะทำให้แจ้งถึงการกระทำกรรมชั่วของนรชนเหล่า

นั้น จึงกล่าวคาถาว่า กาเมสุ คิทฺธา เป็นต้น.

เนื้อความของคาถานั้นว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้ปรารถนาในกามทั้ง

หลาย ด้วยตัณหาในการบริโภค เป็นผู้ขวนขวายในกามทั้งหลาย เพราะ

ขวนขวายการแสวงหาเป็นต้น เป็นผู้หลงใหลในกามทั้งหลาย เพราะถึง

ความหลงพร้อม เป็นผู้ตกต่ำ เพราะมีการไปต่ำ เพราะมีความตระหนี่

และเพราะไม่ถือมั่นพระพุทธพจน์เป็นต้น ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ มี

กรรมอันไม่เสมอทางกายเป็นต้น ในกาลอันเป็นที่สุด เข้าถึงทุกข์ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

ความตาย ย่อมคร่ำครวญอยู่ว่า เราทั้งหลายเคลื่อนจากภพนี้แล้ว จักเป็น

อะไรหนอ.

บทว่า คิทฺธา ได้แก่ ปรารถนาด้วยกามราคะ.

บทว่า คธิตา ความว่า เป็นผู้หวังเฉพาะด้วยความกำหนัดเพราะ

ความดำริหลงใหล.

บทว่า มุจฺฉตา ความว่า เป็นผู้มีความติดใจเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

ด้วยกามตัณหา.

บทว่า อชฺโฌปนฺนา ความว่า หมกมุ่น ลุ่มหลง ด้วยความ

เพลิดเพลินในกาม.

บทว่า ลคฺคา ความว่า ติดแน่นด้วยความเสน่หาในกาม.

บทว่า ลคฺคิตา ความว่า เป็นอันเดียวกันด้วยความเร่าร้อนใน

กาม.

บทว่า ปลพุทฺธา ความว่า พัวพันด้วยความสำคัญในกาม.

อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาอย่างนี้ว่า ปรารถนา

ในเพราะเห็นสิ่งที่เห็นแล้ว หลงใหล ในเพราะเห็นเนือง ๆ ติดใจ ใน

เพราะการกระทำความเกี่ยวข้อง ลุ่มหลง ในเพราะการกระทำความคุ้น

เคย ข้อง ในเพราะการตามรอยด้วยความเสน่หาเกี่ยว ในเพราะความ

เข้าถึงเป็นคู่ ๆ พัวพัน คือเป็นผู้ไม่ยอมปล่อยแล้ว ๆ เล่า ๆ นั่นเอง.

บทว่า เอสนฺติ ได้แก่ หวังเฉพาะ.

บทว่า คเวสนฺติ ได้แก่ แสวงหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

บทว่า ปริเยสนฺติ ได้แก่ ต้องการคือปรารถนาด้วยอาการทั้งปวง.

อีกอย่างหนึ่ง หาดูว่า ในอารมณ์ที่เห็นแล้ว ความงาม ความไม่

งาม มี ไม่มี ดังนี้ เมื่อจะทำให้เป็นที่รักด้วยเครื่องหมายเพราะทำให้

ประจักษ์ในสุภารมณ์และอสุภารมณ์ ชื่อว่า แสวงหา ชื่อว่าเสาะหาแสวง

หา ด้วยสามารถแห่งจิต เสาะหา ด้วย สามารถแห่งการประกอบ ค้นหา

ด้วยสามารถแห่งการกระทำ. ชื่อว่า เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม เพราะอรรถ

ว่า เที่ยวไปอาศัยคือหยั่งลงสู่กาม ๒ อย่างนั้น, ชื่อว่าเป็นผู้มักมากในกาม

เพราะอรรถว่า มักมาก คือยังกามเหล่านั้นแลให้เจริญ ให้เป็นไปโดย

มาก. ชื่อว่า เป็นผู้หนักในกาม เพราะอรรถว่า ไหม้ ทำกามเหล่านั้น

แหละ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักหน่วง, ชื่อว่าเป็นผู้เอนไปในกาม เพราะ

อรรถว่า เป็นผู้เอนคือน้อมไปในกามเหล่านั้นอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้โอนไปใน

กาม เพราะอรรถว่า เป็นผู้เอนไปในกามเหล่านั้นอยู่, ชื่อว่าเป็นผู้โน้ม

ไปในกาม เพราะอรรถว่า เป็นผู้น้อมไปในกามเหล่านั้นแหละ, เพราะ

เป็นผู้แขวนอยู่ที่กามเหล่านั้นอยู่, ชื่อว่าเป็นผู้น้อมใจไปในกาม เพราะ

อรรถว่า เป็นผู้ครอบงำเกี่ยวข้องด้วยความลุ่มหลงในกามเหล่านั้นเที่ยวไป,

ชื่อว่าเป็นผู้มุ่งกามเป็นใหญ่ เพราะอรรถว่า ทำกามเหล่านั้นแหละให้เป็น

ใหญ่ ให้เป็นหัวหน้าเที่ยวไป, อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนา

อย่างนี้ว่า เป็นผู้เที่ยวไปเพื่อกาม เพราะปรารถนาอารมณ์, เป็นผู้มักมาก

ในกาม เพราะใคร่อารมณ์, เป็นผู้หนักในกาม เพราะชอบใจอารมณ์,

เป็นผู้เอนไปในกาม เพราะมีอารมณ์น่ารัก, เป็นผู้โอนไปในกาม เพราะ

มีอารมณ์ประกอบด้วยกาม, เป็นผู้โน้มไปในกาม เพราะมีอารมณ์เป็นที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

ตั้งแห่งความกำหนัด. เป็นผู้น้อมใจไปในกาม เพราะมีอารมณ์เป็นที่ตั้ง

แห่งความลุ่มหลง. เป็นผู้มุ่งกามเป็นใหญ่ เพราะมีอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง

ความผูกพัน.

ในบทว่า รูเป ปริเยสนฺติ เป็นต้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวบท

ปริเยสนฺติ ด้วยสามารถการแสวงหาลาภของผู้ที่ยังไม่ได้ลาภ. ท่านกล่าว

บท ปฏิลภนฺติ ด้วยสามารถลาภอยู่ในมือแล้ว. ท่านกล่าวบท ปริ-

ภุญฺชนฺติ ด้วยสามารถการใช้สอย.

ชื่อว่าคนผู้ทำความทะเลาะ เพราะอรรถว่า ทำความทะเลาะวิวาท,

ชื่อว่า ขวนขวายในความทะเลาะ เพราะอรรถว่า ประกอบในความ

ทะเลาะนั้น, แม้ในคนทำการงานเป็นต้นก็นัยนี้แหละ.

บทว่า โคจเร จรนฺโต ความว่า เที่ยวไปอยู่ในอโคจรมีซ่องหญิง

แพศยา เป็นต้น หรือในโคจรมีสติปัฏฐานเป็นต้น. ผู้ประกอบในโคจร

เหล่านั้น ชื่อว่า ขวนขวายในโคจร.

ชื่อว่าผู้เจริญฌาน เพราะอรรถว่า มีฌานด้วยสามารถเข้าไปเพ่งอา-

รมณ์. ผู้ประกอบในฌานนั้น ชื่อว่า ขวนขวายในฌาน.

บทว่า อวคจฺฉนฺติ ได้แก่ ไปสู่อบาย.

บทว่า มจฺฉริโน ได้แก่ ผู้ซ่อนสมบัติของตน.

บทว่า วจน ได้แก่ คำพูด.

บทว่า พฺยปล ได้แก่ ถ้อยคำ.

บทว่า เทสน ได้แก่ โอวาทชี้แจง.

บทว่า อนุสิฏฺึ ได้แก่ คำพร่ำสอน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

บทว่า น อาทิยนฺติ ได้แก่ ไม่เชื่อถือ ไม่ทำความเคารพ ปาฐะ

ว่า น อลฺลียนฺติ ก็มี ความก็อย่างเดียวกัน.

เพื่อแสดงความตระหนี่โดยวัตถุ ท่านจึงกล่าวว่า ปญฺจ มจฺฉริยานิ

อาวาสมจฺฉริย เป็นต้น. บรรดาความตระหนี่เหล่านั้น ความตระหนี่ใน

ที่อยู่ ชื่อว่า อาวาสมัจฉริยะ. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้แหละ.

อารามทั้งสิ้นก็ตาม บริเวณก็ตาม ห้องนอนห้องเดียวก็ตาม ที่พักกลางคืน

เป็นต้นก็ตาม ชื่อว่าที่อยู่, อยู่สบาย ได้ปัจจัยทั้งหลาย ในที่ใด ที่นั้นพึง

ทราบว่า อาวาส

ภิกษุรูปหนึ่งไม่ต้องการให้ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร มา

ในอาวาสนั้น คิดว่าแม้ภิกษุที่มาแล้วก็ขอให้รีบไปเสีย นี้ชื่อว่า อาวาส-

มัจฉริยะ, แต่ภิกษุผู้ไม่ต้องการให้พวกภิกษุผู้ก่อการทะเลาะวิวาท เป็นต้น

อยู่ในที่อยู่นั้น ไม่เป็นอาวาสมัจฉริยะ.

บทว่า กุล ได้แก่ กุลอุปัฏฐากบ้าง สกุลญาติบ้าง ภิกษุไม่ต้อง

การให้ภิกษุอื่นเข้าไปในสกุลนั้น เป็นกุลมัจฉริยะ แต่เมื่อไม่ต้องการ

ให้บุคคลลามกเข้าไป ไม่ชื่อว่าเป็นมัจฉริยะ ด้วยว่าบุคคลลามกนั้นย่อม

ปฏิบัติเพื่อทำลายความเลื่อมใสของอุปัฏฐากและญาติเหล่านั้นเสีย. แต่เมื่อ

ไม่ต้องการให้ภิกษุผู้สามารถรักษาความเลื่อมใสไว้ได้ เข้าไปในสกุลนั้น

ชื่อว่าเป็นมัจฉริยะ.

บทว่า ลาโภ ได้แก่ ลาภคือปัจจัย นั้นเอง เมื่อภิกษุผู้มีศีลรูป

อื่นได้ลาภอยู่ทีเดียว ภิกษุคิดว่า จงอย่าได้ ดังนี้ ย่อมเป็นลาภมัจฉริยะ

แก่ภิกษุใดทำสัทธาไทยให้ตกไป ให้พินาศด้วยไม่บริโภคและบริโภคไม่ดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

เป็นต้น แม้ของบูดเน่าก็ไม่ให้แก่ผู้อื่น. เห็นภิกษุนั้นแล้วคิดว่า ถ้าภิกษุ

นี้ไม่ได้ลาภนี้ ภิกษุผู้มีศีลรูปอื่นพึงได้ พึงบริโภค ดังนี้ ย่อมไม่เป็น

มัจฉริยะ.

วรรณะแห่งสรีระก็ดี วรรณะคือคุณความดีก็ดี ซึ่งว่า วรรณะ.

ในวรรณะ ๒ อย่างนั้น ผู้ที่เมื่อเขากล่าวกันว่า ผู้อื่นมีรูปน่าเลื่อมใส ดังนี้

ไม่ประสงค์จะกล่าว ซึ่งว่าตระหนี่วรรณะแห่งสรีระ. ผู้ที่ไม่ประสงค์จะ

กล่าวสรรเสริญ ผู้อื่นด้วยศีลธุดงค์ปฏิปทา อาจาระ ชื่อว่าวรรณะมัจฉริยะ.

บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ปริยัติธรรมและปฏิเวธธรรม บรรดาธรรม

๒ อย่างนั้น พระอริยสาวกทั้งหลายย่อมไม่ตระหนี่ปฏิเวธธรรม ย่อม

ปรารถนาให้โลกพร้อมทั้งเทวโลกแทงตลอดธรรมที่คนแทงตลอดแล้ว ย่อม

ปรารถนาว่า ขอคนอื่น ๆ จงรู้ปฏิเวธธรรมนั้นด้วย. ชื่อว่า ธรรมมัจ-

ฉริยะ ในธรรมคือพระพุทธพจน์นั่นแลมีอยู่. บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม

มัจฉริยะนั้น รู้คัณฐะหรือกถามรรคที่ลี้ลับอันใด ไม่ประสงค์จะให้คน

อื่น ๆ รู้คัณฐะหรือกถามรรคอันนั้น แต่ผู้ใดไม่ให้โดยสอบสวนบุคคลแล้ว

อนุเคราะห์ด้วยธรรม หรือโดยสอบสวนธรรมอนุเคราะห์บุคคล ผู้นี้ไม่ชื่อ

ว่ามีธรรมมัจฉริยะ.

ในข้อนั้น บุคคลบางคนเป็นคนโลเล บางเวลาเป็นสมณะ บาง

เวลาเป็นพราหมณ์ บางเวลาเป็นนิครนถ์. ก็ภิกษุใดไม่ให้ด้วยคิดว่าบุคคลนี้

ทำลายข้อธรรมซึ่งเป็นพระพุทธพจน์ที่มีมาโดยประเพณีเกลี้ยงเกลาละเอียด

อ่อน แล้วจักร้อนใจ ภิกษุนี้ชื่อว่าไม่ให้โดยสอบสวนบุคคลอนุเคราะห์

ธรรม, ส่วนภิกษุใดไม่ให้ด้วยคิดว่าธรรมนี้เกลี้ยงเกลาละเอียดอ่อน ถ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

บุคคลผู้นี้จักถือเอา ก็จักพยากรณ์พระอรหัตผลกระทำให้แจ้งซึ่งคนจัก

ฉิบหาย ภิกษุนี้ชื่อว่าไม่ให้โดยสอบสวนธรรมอนุเคราะห์บุคคล. แต่ภิกษุ

ใดไม่ให้ด้วยคิดว่า ถ้าบุคคลผู้นี้จักถือเอาธรรมนี้ ก็จักสามารถทำลายลัทธิ

ของพวกเราได้ ภิกษุนี้ชื่อว่ามีธรรมมัจฉริยะโดยแท้.

บรรดาความตระหนี่ ๕ ประการเหล่านี้ บุคคลเป็นยักษ์ก็ตามเป็น

เปรตก็ตาม ยกหยากเยื่อในอาวาสนั้นเทินไปด้วยศีรษะ เพราะอาวาส

มัจฉริยะก่อน.

เมื่อบุคคลเห็นสกุลนั้นกระทำการให้ทานและความนับถือเป็นต้นแก่ผู้

อื่น คิดว่า สกุลของเรานี้แตกแล้วหนอ ถึงแก่เลือดพุ่งออกจากปากก็มี

ท้องเดินก็มี ไส้ใหญ่ออกมาเป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่ก็มี เพราะกุลมัจฉริยะ.

บุคคลตระหนี่ลาภที่มีอยู่ ของสงฆ์ก็ตามของคณะก็ตาม บริโภค

เหมือนบริโภคส่วนบุคคลย่อมเกิดเป็นยักษ์ก็มี เป็นเปรตก็มี เป็นงูเหลือม

ใหญ่ก็มี เพราะลาภมัจฉริยะ.

ก็บุคคลสรรเสริญคุณที่ควรสรรเสริญของตน ไม่สรรเสริญของผู้อื่น

กล่าวโทษนั้น ๆ ว่า ผู้นี้มีคุณอย่างไร ไม่ให้ปริยัติและอะไร ๆ แก่ใคร ๆ

ย่อมมีวรรณะทรามและเป็นใบ้เหมือนแพะ เพราะความตระหนี่วรรณะแห่ง

สรีระและวรรณคือคุณความดี และเพราะความตระหนี่ปริยัติธรรม.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมหมกไหม้อยู่ในเรือนโหละ เพราะความ

ตระหนี่ที่อยู่ เป็นผู้มีลาภน้อย เพราะความตระหนี่สกุล, บังเกิดในคูถนรก

เพราะความตระหนี่ลาภ, เมื่อบังเกิดในภพ ย่อมไม่มีวรรณะ เพราะความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

ตระหนี่วรรณะ, บังเกิดในกุกกุลนรก คือ นรกถ่านเพลิง เพราะความ

ตระหนี่ธรรม.

ความตระหนี่ ด้วยสามารถแห่งผู้ตระหนี่. อาการแห่งความตระหนี่

ชื่อว่าอาการตระหนี่. ภาวะแห่งผู้ประพฤติด้วยความตระหนี่ คือผู้มีความ

พร้อมเพรียงด้วยความตระหนี่ ชื่อว่าความเป็นผู้ประพฤติตระหนี่, ชื่อว่า

ผู้ปรารถนาต่าง ๆ เพราะอรรถว่า ปรารถนาที่จะป้องกันสมบัติของคนทั้ง

หมดว่า จงเป็นของเราเท่านั้น อย่าเป็นของผู้อื่น ภาวะแห่งผู้ปรารถนา

ต่าง ๆ ชื่อว่า ความเป็นผู้ปรารถนาต่าง ๆ คำนี้เป็นชื่อของความตระหนี่

อย่างอ่อน. ปุถุชน ท่านเรียกว่าผู้เหนียวแน่น. ภาวะแห่งผู้เหนียวแน่น

นั้น ชื่อว่าความเหนียวแน่น, คำนี้เป็นชื่อของความตระหนี่อย่างแรง ก็

บุคคลที่ประกอบด้วย ความตระหนี่อย่างแรงนั้น ย่อมห้ามแม้ผู้อื่นที่ให้ทาน

แก่คนอื่นอยู่.

สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

คนตระหนี่นี้ความดำริชั่ว แม้มิจฉาทิฏฐิ ไม่เอื้อ

เฟื้อย่อมห้ามผู้ให้ทานแก่พวกคนผู้ขอโภชนะอยู่.

ชื่อว่า ผู้มีจิตเจ็บร้อนในการให้ เพราะอรรถว่า จิตย่อมเป็นไป

ด้วยความเจ็บร้อน คือย่อมขัดเคืองเพราะเห็นพวกยาจก. ภาวะแห่งผู้มีจิต

เจ็บร้อนในการให้ ชื่อว่าความเป็นผู้มีจิตเจ็บร้อนในการให้.

อีกนัยหนึ่ง การถือทัพพี ท่านเรียกว่ากฏุกะ, ก็เมื่อบุคคลจะเอา

ข้าวใส่หม้อข้าวให้เต็มถึงขอบหม้อ ใช้ทัพพีสำหรับตักข้าวที่บิดเบี้ยวไปทุก

ส่วนตักใส่ ย่อมไม่อาจใส่ให้เต็มได้, จิตของบุคคลผู้มีความตระหนี่ก็อย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

นั้น ย่อมหดหู่ เมื่อจิตหดหู่ แม้กายของเขาก็หดหู่ โค้งงอ บิดเบี้ยว

อย่างนั้นเหมือนกัน ไม่เหยียดยื่นออกได้ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ความ

เป็นผู้มีจิตเจ็บร้อนในการให้ ชื่อว่า ความตระหนี่.

บทว่า อคฺคหิตตฺต จิตฺตสฺส ความว่า ความที่จิตกั้นอย่างเหยียด

ยื่นไม่ได้ถือเอาโดยอาการมีให้ทานเป็นต้น ในการกระทำอุปการะแก่คน

อื่น ๆ. ก็เพราะบุคคลผู้มีความตระหนี่ เป็นผู้ไม่ประสงค์จะให้สมบัติของ

ตนแก่คนอื่น ประสงค์จะถือเอาสมบัติของผู้อื่น. ฉะนั้น ความตระหนี่นี้

พึงทราบว่ามีลักษณะซ่อนสมบัติของตน และมีลักษณะถือเอาสมบัติของผู้

อื่น ด้วยสามารถแห่งความตระหนี่ที่เป็นไปว่า จงเป็นของเราเท่านั้น

อย่าเป็นของผู้อื่น.

บทว่า ขนฺธมจฺฉริยมฺปิ มจฺฉริย ความว่า อุปบัติภพกล่าวคือ

เบญจขันธ์ของตนไม่สาธารณ์ถึงคนอื่น ๆ ชื่อว่าความตระหนี่ ความตระหนี่

ที่เป็นไปว่า ขอจงเป็นของเราเท่านั้น อย่าเป็นของผู้อื่น ชื่อว่าความ

ตระหนี่ขันธ์. แม้ในความตระหนี่ธาตุและความตระหนี่อายตนะ ก็นัยนี้

แหละ.

บทว่า คาโห ได้แก่ ความถือด้วยมุ่งจะถือเอา.

บทว่า อวทญฺญุตาย ได้แก่ ด้วยความไม่รู้พระดำรัสแม้ที่พระ-

สัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสไว้.

ก็บุคคลเมื่อไม่ให้แก่ยาจกทั้งหลาย ชื่อว่า ย่อมไม่รู้คำที่ยาจกเหล่า

นั้นกล่าว.

บทว่า ชนา ปนตฺตา ได้แก่ ชนผู้อยู่ปราศจากสติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

บทว่า วจน ได้แก่ คำกล่าวอย่างย่อ.

บทว่า พฺยปถ ได้แก่ คำกล่าวอย่างพิสดาร.

บทว่า เทสน ได้แก่ คำที่แสดงอุปมาชี้แจงเนื้อความ.

บทว่า อนุสฏฺึ ได้แก่ คำที่ให้กำหนดบ่อย ๆ.

อีกอย่างหนึ่ง การกล่าวชี้แจง ชื่อว่า วจนะ. การกล่าวให้ถือ

เอาชื่อว่า พยปถะ. การกล่าวแสดงเนื้อความ ชื่อว่า เทศนา. การ

กล่าวแสดงโดยบท ชื่อว่า อนุสิฏฐิ.

อีกอย่างหนึ่ง การกล่าวให้ทุกข์คือความหวาดสะดุ้งพินาศไป ชื่อว่า

วจนะ. กุมารกล่าวให้ทุกข์คือความเร่าร้อนพินาศไป ชื่อว่า พยปถะ.

การกล่าวให้ทุกข์ในอบายพินาศไป ชื่อว่า เทศนา. การกล่าวให้ทุกข์

ในภพพินาศไป ชื่อว่า อนุสิฏฐิ.

อีกอย่างหนึ่ง คำที่ประกอบการแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ทุกขสัจ

ชื่อว่า วจนะ. คำที่ประกอบการแทงตลอดด้วยการละสมุทัยสัจ ชื่อว่า

พยปถะ, คำที่ประกอบการแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งซึ่งนิโรธสัจ ชื่อ

ว่า เทศนา คำที่ประกอบการแทงตลอดด้วยการทำมรรคสัจให้เกิด ชื่อ

ว่า อนุสิฏฐิ. อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ ด้วย

ประการฉะนี้.

บทว่า น สุสฺสุสนฺติ ความว่า ไม่ฟัง.

บทว่า น โสต โอทหนฺติ ความว่า ไม่ตั้งโสตคือหูเพื่อฟัง.

บทว่า น อญฺา จิตฺต อุปฏฺเปนฺติ ความว่า ไม่ดำรงจิต

เพื่อจะรู้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

บทว่า อนสฺสวา ความว่า ไม่ฟังโอวาท.

บทว่า อวจนกรา ความว่า ชื่อว่า ไม่ทำตามคำ เพราะอรรถ

ว่าแม้ฟังอยู่ ก็ไม่ทำตามคำ.

บทว่า ปฏิโลมวุตฺติโน ความว่า. เป็นผู้ฝ่าฝืนเป็นไป.

บทว่า อญฺเเนว มุข กโรนฺติ ความว่า แม้กระทำอยู่ก็ไม่ให้

เห็นหน้า.

บทว่า วิสเม ความว่า ชื่อว่า ไม่เสมอ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อ

กรรมที่เสมอ ซึ่งสมมติว่ากายสุจริตเป็นต้น ในกรรมอันไม่เสมอนั้น

บทว่า นิวิฏา ความว่า เข้าไปแล้วนำออกได้ยาก.

บทว่า กายกมฺเม ความว่า ในกายกรรมที่เป็นไปทางกายก็ตาม

ที่เป็นไปด้วยกายก็ตาม. แม้ในวจีกรรมเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

บรรดากรรมเหล่านั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ท่าน

จำแนกด้วยสามารถแห่งทุจริต. พึงทราบว่าปาณาติบาตเป็นต้น ท่าน

จำแนกด้วยสามารถแห่งอกุศลกรรมบถ ๑๐. พรรณนาบทที่เป็นสาธารณะ

ในที่นี้ เท่านี้ก่อน.

ก็ในบทที่เป็นอสาธารณะทั้งหลาย การทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป

ชื่อว่า ปาณาติบาต ท่านอธิบายว่า การฆ่าสัตว์ การเบียดเบียนสัตว์.

ก็ในบทว่า ปาโณ นี้ โดยโวหารได้แก่ สัตว์ โดยปรมัตถ์ได้แก่ ชีวิติน

ทรีย์. ก็เจตนาฆ่าที่เป็นไปทางกายทวารและวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง

ซึ่งตั้งขึ้นด้วยความเพียรเข้าไปตัดอินทรีย์คือชีวิต ของผู้มีความสำคัญใน

สัตว์มีชีวิตนั้นว่าเป็นสัตว์มีชีวิต ชื่อว่า ปาณาติบาต. ปาณาติบาตนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

ในบรรดาสัตว์มีชีวิตทั้งหลายมีดิรัจฉานเป็นต้นที่เร้นจากคุณ ในสัตว์เล็ก

มีโทษน้อย ในสัตว์ตัวใหญ่ มีโทษมาก. เพราะเหตุไร ? เพราะปโยคะ

ใหญ่, แม้เมื่อปโยคะเท่ากัน ก็เพราะวัตถุใหญ่. บรรดามนุษย์เป็นต้น

ผู้มีคุณ สัตว์ที่มีคุณน้อย มีโทษน้อย ที่มีคุณมาก มีโทษมาก. ก็เมื่อ

สรีระและคุณเท่ากัน มีโทษน้อยเพราะกิเลสและความเพียรอ่อน, มีโทษ

มากเพราะกิเลสและความเพียรกล้าแข็ง พึงทราบดังพรรณนามาฉะนี้.

ปาณาติบาตนั้นมีองค์ ๕ คือ สัตว์มีชีวิต ๑ รู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต ๑

จิตคิดจะฆ่า ๑ ทำความเพียรที่จะฆ่า ๑ สัตว์ตายด้วยความเพียรนั้น ๑

มีปโยคะ ๖ คือ สาหัตถิกปโยคะ อาณัตติกปโยคะ ๑ นิสสัคคิย์ปโยคะ ๑

ถาวรปโยคะ ๑ วิชชามยปโยคะ ๑ อิทธิมยปโยคะ ๑. เมื่อจะอธิบาย

เนื้อความนี้อย่างพิสดาร ก็จะยืดยาวเกินไป ฉะนั้นจักไม่อธิบายเรื่องนั้น

ให้พิสดาร. ผู้ต้องการทราบข้อความอื่นและข้อความอย่างนั้น พึงตรวจดู

สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย ถือเอาเถิด.

การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ชื่อว่า อทินฺนาทาน, ท่าน

อธิบายว่า การลัก การขโมย การทำโจรกรรม.

ในบทว่า อทินฺนาทาน นั้น บทว่า อทินฺน ได้แก่ ของอัน

เจ้าของเขาหวงแหน ซึ่งเป็นที่เจ้าของเขาทำได้ตามความปรารถนา ไม่ควร

แก่อาชญาและไม่มีโทษ. ก็เจตนาคิดที่จะลักที่ตั้งขึ้นด้วยความเพียรถือเอา

สิ่งนั้น ของผู้มีความสำคัญในของอันเจ้าของเขาหวงแหนนั้น ว่าเป็นของ

อันเจ้าของเขาหวงแหน ชื่อว่า อทินนาทาน. อทินนาทานนั้น ในวัตถุ

ที่เป็นของตนอื่นเลว มีโทษน้อย. ในวัตถุที่เป็นของตนอื่นประณีต มีโทษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

มาก. เพราะเหตุไร ? เพราะวัตถุประณีต. เมื่อวัตถุเท่ากัน ในวัตถุที่เป็น

ของผู้ยิ่งด้วยคุณ มีโทษมาก, ในวัตถุที่เป็นของผู้มีคุณทรามกว่าคุณนั้น ๆ

โดยเทียบผู้ยิ่งด้วยคุณนั้น ๆ มีโทษน้อย.

อทินนาทานนั้น มีองค์ ๕ คือ ของอันเจ้าของเขาหวงแหน ๑ รู้อยู่

ว่าของอันเจ้าของเขาหวงแหน ๑ จิตคิดจะลัก ๑ ทำความเพียรเพื่อที่จะ

ลัก ๑ ได้ของนั้นมาด้วยความเพียรนั้น ๑. มีปโยคะ ๖ มีสาหัตถิกปโยคะ

เป็นต้นนั่นเอง. ก็ปโยคะเหล่านั้นแล เป็นไปด้วยสามารถอวหารเหล่านี้

คือไถยาวหาร ปสัยหาวหาร ปฏิฉันนาวหาร ปริกัปปาวหาร กุสาวหาร

ตามสมควร. นี้เป็นความย่อในข้ออทินนาทานนี้ ด้วยประการฉะนี้ ส่วน

ความพิสดารได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาสมันตปาสาทิกา.

ก็ในบทว่า กาเมสุ มิจฺฉาจาโร นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กาเมสุ ได้แก่ ความประพฤติเมถุน หรือวัตถุแห่งเมถุน.

บทว่า มิจฺฉาจาโร ได้แก่ ความประพฤติลามก ซึ่งต้องตำหนิ

โดยส่วนเดียว. แต่โดยลักษณะ เจตนาก้าวล่วงอคมนียฐาน ที่เป็นไปทาง

กายทวาร ด้วยความประสงค์อสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร. ใน

กาเมสุมิจฉาจารนั้น จะกล่าวถึงอคมนียฐานของพวกบุรุษก่อนซึ่งได้แก่

หญิงที่มารดารักษา, หญิงที่บิดารักษา, หญิงที่มารดาบิดารักษา, หญิงที่

พี่ชายน้องชายรักษา, หญิงที่พี่สาวน้องสาวรักษา, หญิงที่ญาติรักษา,

หญิงที่โคตรรักษา, หญิงที่ธรรมรักษา, หญิงที่มีอารักขา, หญิงที่มีอาชญา,

รวมเป็นหญิง ๑๐ ประเภทมีหญิงที่มารดารักษาเป็นต้น. หญิงที่ช่วยมาด้วย

ทรัพย์, หญิงที่อยู่ด้วยความพอใจ, หญิงที่อยู่ด้วยโภคะ, หญิงที่อยู่ด้วยผ้า,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

หญิงที่ผู้ใหญ่จับมือคนทั้งสองจุ่มลงในน้ำแล้วมอบให้, หญิงที่บุรุษช่วยปลง

ภาระหนักแล้วมาอยู่ด้วย, หญิงที่เป็นทาสีแล้วยกขึ้นเป็นภรรยา, หญิงที่

เป็นลูกจ้างแล้วได้เป็นภรรยา, หญิงที่บุรุษไปรบชนะได้มา, หญิงที่เป็น

ภรรยาชั่วคราว, รวมเป็นหญิง ๑๐ ประเภท มีหญิงที่ช่วยมาด้วยทรัพย์

เป็นต้น รวมทั้งหมดเป็นหญิง ๒๐ ประเภท. เป็นอคมนียฐานของพวก

บุรุษ.

ส่วนในสตรีทั้งหลาย บุรุษอื่น ๆ ชื่อว่าเป็นอคมนียฐานของสตรี ๑๒

ประเภท คือ หญิงที่มีอารักขา, และหญิงที่มีอาชญา ๒ ประเภท และหญิง

ที่ช่วยมาด้วยทรัพย์เป็นต้น ๑๐ ประเภท. ก็มิจฉาจารนี้นั้น ในอคมนียฐาน

ที่เว้นจากคุณมีศีลเป็นต้น มีโทษน้อย. ในอคมนียฐานที่สมบูรณ์ด้วยคุณ

มีศีลเป็นต้น มีโทษมาก.

กาเมสุมิจฉาจารนั้นมีองค์ ๔ คือ วัตถุที่ไม่พึงถึง ๑ จิตคิดจะเสพ

ในวัตถุนั้น ๑ ปโยคะในการเสพ ๑ การยังมรรคต่อมรรคให้จดกัน ๑

มีปโยคะเดียวคือสาหัตถิกปโยคะนั่นแล.

บทว่า มุสา ได้แก่ วจีปโยคะ หรือกายปโยคะ ซึ่งหักประโยชน์

ของผู้ที่มุ่งจะกล่าวให้ผิดเจตนาที่ตั้งขึ้นด้วยกายโยคะหรือวจีปโยคะซึ่งกล่าว

ให้ผิด ของผู้ที่มุ่งจะกล่าวให้ผิดนั้น ด้วยความประสงค์จะกล่าวให้ผิด

ชื่อว่ามุสาวาท.

อีกนัยหนึ่ง บทว่า มุสา ได้แก่ เรื่องไม่จริง ไม่แท้.

บทว่า วาโท ได้แก่ การให้รู้เรื่องไม่จริงไม่แท้นั้นว่าจริงว่าแท้.

ก็โดยลักษณะเจตนาที่ตั้งขึ้นด้วยวิญญัติอย่างนั้นของผู้ประสงค์จะให้ผู้อื่นรู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

เรื่องไม่จริงว่าจริง ชื่อว่า มุสาวาท มุสาวาทนั้น มีโทษน้อย, เพราะ

ประโยชน์ที่หักนั้นน้อย มีโทษมากเพราะประโยชน์ที่หักนั้นมาก.

อีกอย่างหนึ่ง สำหรับพวกคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยเป็น

ต้นว่า สิ่งของของตนไม่มี ด้วยความประสงค์จะไม่ให้เขา ดังนี้ มีโทษ

น้อย, มุสาวาทที่บุคคลเป็นพยานกล่าวเพื่อหักประโยชน์ มีโทษมาก,

สำหรับพวกบรรพชิต มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยที่ได้น้ำมัน หรือเนยใสแม้

น้อยมา แต่กล่าวว่าเต็ม ด้วยความประสงค์จะให้หัวเราะกันว่า วันนี้ใน

บ้านมีน้ำมันไหลเหมือนแม่น้ำ ดังนี้ มีโทษน้อย, แต่เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่

ไม่ได้เห็นเลย โดยนัยเป็นต้น ว่า เห็น ดังนี้ มีโทษมาก. มุสาวาท

นั้นมีองค์ ๔ คือ เรื่องไม่จริง ๑ จิตคิดจะพูดให้ผิด ๑ เพียรกล่าวปด

ออกไป ๑ ข้อความที่ตนกล่าวนั้น คนอื่นรู้เข้าใจ ๑. มีปโยคะเดียว คือ

สาหัตถิกปโยคะนั้นแล.

ในบทว่า ปิสุณวาจา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บุคคลกล่าววาจานั้นแก่ผู้ใด กระทำความรักของคน ความส่อเสียด

ของผู้อื่น ในหทัยของผู้นั้น ด้วยวาจาใด วาจานั้น ชื่อว่า ปิสุณวาจา.

ก็บุคคลกระทำความหยาบกะตนบ้าง กะผู้อื่นบ้าง ด้วยวาจาใด

วาจาใดเป็นวาจาหยาบแม้เอง ไม่สบายหู ไม่สบายใจ วาจานี้ ชื่อว่า

ผรุสวาจา.

บุคคลพูดพร่ำคำเหลาะแหละไร้ประโยชน์ ด้วยวาทะใดวาทะนั้น

ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ. เจตนาแม้ที่เป็นมูลเหตุแห่งวาจา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

เหล่านั้น ก็ได้ชื่อว่า ปิสุณวาจา เป็นต้นเหมือนกัน. เจตนานั้นแหละ

ท่านประสงค์ในที่นี้ดังนี้แล.

ในบทว่า ปิสุณวาจา นั้น เจตนาที่ตั้งขึ้นด้วยกายปโยคะหรือ

วจีปโยคะ เพื่อทำผู้อื่นให้แตกกันก็ดี เพื่อทำความรักนั้นก็ดี ของผู้ที่

มีจิตเศร้าหมอง ชื่อว่า ปิสุณวาจา ปิสุณวาจานั้น มีโทษน้อย. เพราะ

ผู้ที่ทำให้แตกกันนั้นมีคุณน้อย. มีโทษมาก เพราะผู้ที่ทำให้แตกกันมีคุณ

มาก.

ปิสุณวาจานี้มีองค์ ๔ คือ ผู้อื่นที่จะพึงให้แตกกัน ๑ ความมุ่งทำให้

แตกกันว่า คนเหล่านี้จักแตกกัน จักแยกจากกัน ด้วยประการฉะนี้ ก็ดี

ความการทำให้เป็นที่รักว่า เราจักเป็นที่รัก เป็นที่พิสวาส ด้วยประการ

ฉะนี้ ก็ดี ๑ เพียรกล่าวส่อเสียดออกไป ๑ ข้อความที่คนกล่าวนั้นคนนั้นรู้

เข้าใจ ๑.

เจตนาที่หยาบโดยส่วนเดียว ซึ่งตั้งขึ้นด้วยกายประโยคหรือวจี

ประโยคตัดจุดสำคัญของร่างกายของผู้อื่น ชื่อว่า ผรุสวาจา, ปโยคะแม้

ตัคจุดสำคัญของร่างกาย ก็ไม่เป็นผรุสวาจา เพราะจิตอ่อน เหมือนอย่าง

บิดามารดาบางคราวก็กล่าวกะบุตรน้อย ๆ ถึงอย่างนี้ว่า พวกโจรจงทำพวก

เจ้าให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่ ดังนี้ แต่ก็ไม่ปรารถนาแม้กลีบอุบลที่ตกลง

ข้างบนลูกน้อย ๆ เหล่านั้น. อาจารย์และอุปัชฌาย์ทั้งหลาย บางคราวก็

กล่าวกะพวกนิสิตอย่างนี้ว่า พวกนี้ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะหรือ จงขับ

พวกมันออกไป แต่ย่อมปรารถนาให้พวกนิสิตเหล่านั้น พร้อมด้วยอาคม

และอธิคมโดยแท้ไม่เป็นผรุสวาจา เพราะจิตอ่อน ฉันใด, แม้ไม่เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

ผรุสวาจา เพราะคำกล่าวอ่อน ก็หามิได้ฉันนั้น. คำว่า ท่านทั้งหลายจง

ให้ผู้นี้นอนเป็นสุขเถิด ของผู้ประสงค์จะฆ่า จะไม่เป็นผรุสวาจา หามิได้

เลย. ก็วาจานี้เป็นผรุสวาจาแท้ เพราะจิตหยาบ. ผรุสวาจานั้น มีโทษ

น้อย เพราะผู้ที่ผรุสวาจาเป็นไปหมายถึงนั้น มีคุณน้อย. มีโทษมาก

เพราะผู้นั้นมีคุณมาก.

ผรุสวาจานั้นมีองค์ ๓ คือ ผู้อื่นที่จะพึงด่า ๑ จิตโกรธ ๑ ด่า ๑.

อกุศลเจตนาที่ตั้งขึ้นด้วยกายปโยคะหรือวจีปโยคะให้รู้เรื่องไม่เป็น

ประโยชน์ ชื่อว่าสัมผัปปลาปะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องพูดพร่ำคำเหลาะ

แหละไร้ประโยชน์. สัมผัปปลาปะนั้น มีโทษน้อย เพราะมีการซ่องเสพ

น้อย มีโทษมาก เพราะมีการซ่องเสพมาก.

สัมผัปปลาปะนั้นมีองค์ ๒ คือความมุ่งกล่าวเรื่องไร้ประโยชน์ มี

เรื่องภารตยุทธ์ และเรื่องชิงนางสีดาเป็นต้น ๑ กล่าวกถามีอย่างนั้นเป็น

รูป ๑.

ชื่อว่า อภิชฌา เพราะอรรถว่า เพ่งเล็ง อธิบายว่า มุ่งสิ่งของ

ผู้อื่น เป็นไปด้วยความเป็นผู้น้อมไปในสิ่งของนั้น. อภิชฌานั้น

มีลักษณะเพ่งเล็งสิ่งของของผู้อื่น ว่า โอ สิ่งนี้พึงเป็นของเราหนอ

มีโทษน้อย และมีโทษมาก เหมือนอทินนาทาน.

อภิชฌานั้นมีองค์ ๒ คือ สิ่งของของผู้อื่น ๑ การน้อมมาเพื่อตน ๑.

ด้วยว่า เมื่อความโลภซึ่งมีสิ่งของของผู้อื่นเป็นที่ตั้งแม้เกิดขึ้นแล้ว กรรมบถ

ก็ยังไม่แตก. ๆ ตราบที่ยังไม่น้อมมาเพื่อตนว่า โอ สิ่งนี้พึงเป็นของเราหนอ.

ชื่อว่า พยาบาท เพราะอรรถว่า ยังประโยชน์เกื้อกูลและความสุข

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

ให้ถึงความพินาศ. พยาบาทนั้น มีลักษณะประทุษร้ายด้วยใจ เพื่อให้ผู้

อื่นพินาศ มีโทษน้อยและมีโทษมากเหมือนผรุสวาจา.

พยาบาทนั้นมีองค์ ๒ คือ สัตว์อื่น ๑ คิดให้สัตว์อื่นนั้นพินาศ ๑. ก็

เมื่อความโกรธซึ่งมีสัตว์อื่นเป็นวัตถุแม้เกิดขึ้นแล้ว กรรมบถก็ยังไม่แตก

ตราบที่ยังไม่ได้คิดให้ผู้นั้นพินาศว่า โอ ผู้นี้พึงถูกทำลาย พึงพินาศหนอ.

ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นผิดเพราะไม่มีความยึดถือ

ตามเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้น มีลักษณะเป็นทัศนะวิปริต โดยนัยเป็นต้น

ว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล มีโทษน้อย และมีโทษมากเหมือนสัมผัปปลาปะ.

สัตว์เหล่านั้นย่อมสงสัยด้วยสามารถแห่งรูปเป็นต้นว่า เราทั้งหลาย

จักเป็นสัตว์มีสัญญา จักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา จักเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มี

สัญญาก็มิใช่. ย่อมสงสัยตนโดยนัยมีอาทิว่า เราทั้งหลายจักมีหรือหนอแล ?

ย่อมสงสัยความที่คนมีอยู่และไม่มีอยู่ในอนาคต เพราะอาศัยอาการแห่งสัสสต

ทิฏฐิและอาการแห่งอุจเฉททิฏฐิในข้อนั้นว่า เราทั้งหลายจักมีหรือหนอแล.

หรือจักไม่มี.

บทว่า กึ นุ โข ภวิสฺสาม ความว่า สัตว์เหล่านั้นอาศัยความ

เข้าถึงชาติและเพศ สงสัยว่า เราทั้งหลายจักเป็นกษัตริย์ พราหมณ์

แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและมนุษย์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ

หนอแล ?

บทว่า กถ นุ โข ภวิสฺสาม ความว่าอาศัยอาการแห่งทรวด

ทรงสงสัยว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้สูงต่ำ ขาว ดำ มีประมาณ และหา

ประมาณมิได้เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่าอาศัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

ความเป็นใหญ่และปราศจากมานะเป็นต้น สงสัยโดยเหตุว่า เราทั้งหลาย

จักเป็นเหตุการณ์อะไรหนอแล.

บทว่า กึ หุตฺวา กึ ภวิสฺสาม นุ โข มย ความว่า อาศัย

ชาติเป็นต้น สงสัยคนอื่นต่อจากตนไป ว่า เราทั้งหลายเป็นกษัตริย์แล้ว

จักเป็นพราหมณ์หนอแล ฯลฯ เป็นเทวดาแล้วจักเป็นมนุษย์ ดังนี้.

ก็บทว่า อทฺธาน ในที่ทั้งปวงนั่นเทียว เป็นชื่อของกาลเวลา.

เหตุใดท่านจึงกล่าวคำนี้ว่า ตสฺมา หิ สิกฺเขถ ฯ เป ฯ อาหุ

ธีรา ดังนี้ บรรดาบทเหล่านั้น.

บทว่า สิกฺเขถ ความว่า พึงรำลึกถึงสิกขา ๓ บทว่า อิเธว

ได้แก่ ในศาสนานี้แหละ.

ก็ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า สิกขา เพราะอรรถว่า พึงศึกษา.

บทว่า ติสฺโส เป็นการกำหนดจำนวน.

บทว่า อธิศีลสิกฺขา ความว่า ชื่อว่า อธิศีล เพราะอรรถว่า

ศีลยิ่ง คือสูงสุด, ศีลยิ่งนั้นด้วย ชื่อว่า สิกขา เพราะพึงศึกษาด้วย

ดังนั้นจึงชื่อว่า อธิศีลสิกขา. ในอธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา

ก็นัยนี้แหละ,

และในสิกขา ๓ เหล่านี้ ศีลเป็นไฉน ? อธิศีลเป็นไฉน ? จิตเป็น

ไฉน ? อธิจิตเป็นไฉน ? ปัญญาเป็นไฉน ? อธิปัญญาเป็นไฉน ? จะได้

อธิบายต่อไป :-

อธิบายศีลก่อน ได้แก่ ศีล ๕ ศีล ๑. นั่นเอง. เมื่อพระพุทธเจ้า

เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ยังมิได้เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ศีลนั้นก็เป็นไปอยู่ในโลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ทั้งพระพุทธเจ้า ทั้งเหล่าพระสาวก

ก็ให้มหาชนสมาทานในศีลนั้น เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พระ

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายด้วย สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้เป็นกรรม

วาทีด้วย พระเจ้าจักรพรรดิมหาราชด้วย พระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายด้วย

ให้มหาชนสมาทาน. สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็สมาทานแม้ด้วยตนเอง.

พวกเขาเหล่านั้นบำเพ็ญกุศลธรรมนั้นแล้วย่อมเสวยราชสมบัติในเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลาย.

ก็ศีลคือความสำรวมในพระปาติโมกข์ ท่านเรียกว่า อธิศีล. อธิศีล

นั้น ยิงด้วย สูงสุดด้วยของโลกิยศีลทั้งหมด ดุจดวงอาทิตย์เป็นยอดยิ่ง

ของแสงสว่างทั้งหลาย ดุจเขาสิเนรุสูงสุดของภูเขาทั้งหลายฉะนั้น ย่อมเป็น

ไปในพุทธุปาทกาลเท่านั้น นอกจากพุทธุปาทกาล ย่อมไม่เป็นไป. ด้วย

ว่าสัตว์อื่นย่อมไม่อาจที่จะยกบัญญัตินั้นขึ้นตั้งไว้ได้, แต่พระพุทธเจ้าทั้ง

หลายเท่านั้น ทรงตัดกระแสแห่งอัชฌาจารทางกายทวารและวจีทวารโดย

ประการทั้งปวง ทรงบัญญัติศีลสังวรนั้น ซึ่งสมควรแก่การละเมิดนั้น ๆ.

ศีลแม้ของผู้สำรวมในปาติโมกข์ ซึ่งสัมปยุตด้วยมรรคผลนั้นแล ก็ชื่อว่า

อธิศีล.

กุศลจิต ๘ ดวงอันเป็นกามาพจร และจิตที่สัมปยุตด้วยสมาบัติ ๘

ดวงอันเป็นโลกิยะ พึงทราบว่า จิตนั่นเอง เพราะทำร่วมกัน. ก็ความ

เป็นไปของจิตนั้นด้วย การชักชวนให้สมาทานและการสมาทานด้วย ใน

กาลที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นและมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พึงทราบตามนัยที่

กล่าวแล้วในศีลนั่นเทียว. จิตที่สัมปยุตด้วยสมาบัติ ๘ ซึ่งเป็นบาทแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

วิปัสสนา ท่านเรียกว่า อธิจิต. อธิจิตนั้น ยิ่งด้วย สงสุดด้วย ของ

โลกิยจิตทั้งหลาย เหมือนอธิศีลยิ่งด้วยสูงสุดด้วยของศีลทั้งหลายฉะนั้น

และมีในพุทธุปาทกาลเท่านั้น นอกจากพุทธุปาทกาลหามีไม่ อนึ่ง

มรรคจิตและผลจิตที่ยิ่งกว่านั้นแล ชื่อว่า อธิจิต.

กัมมัสสกตาญาณที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่

บูชาแล้วมีผล ดังนี้ ชื่อว่า ปัญญา. ปัญญานั้น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จ

อุบัติขึ้นก็ตาม มิได้เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ย่อมเป็นไปอยู่ในโลก เมื่อพระ-

พุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ทั้งพระพุทธเจ้า ทั้งเหล่าพระสาวก ก็ให้มหาชน

สมาทานในปัญญานั้น. เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พระปัจเจก

พุทธเจ้าทั้งหลายด้วย สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้เป็นกรรมวาทีด้วย

พระเจ้าจักรพรรดิมหาราชด้วย พระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายด้วย ให้มหาชน

สมาทาน. บัณฑิตทั้งหลายก็สมาทานแม้ด้วยตนเอง. จริงอย่างนั้น อังกุร

เทพบุตรได้ในมหาทานสองหมื่นปี. เวลามพราหมณ์ พระเวสสันดร และ

มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตอื่น ๆ เป็นอันมากได้ให้มหาทานทั้งหลาย. เขาเหล่านั้น

บำเพ็ญกุศลธรรมนั้นแล้วได้เสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ก็

วิปัสสนาญาณที่กำหนดไตรลักษณาการ ท่านเรียกว่า อธิปัญญา. อธิปัญญา

นั้น ยิ่งด้วย สูงสุดด้วย ของโลกิยปัญญาทั้งหมด เหมือนอธิศีลและอธิจิต

ยิ่งด้วยสูงสุดด้วยของศีลและจิตทั้งหลาย และนอกจากพุทธุปาทกาล ย่อม

ไม่เป็นไปในโลก. อนึ่ง ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคผลที่ยิ่งกว่านั้นนั่นแล

ชื่อว่า อธิปัญญา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงสิกขาเป็นอย่าง ๆ จึงกล่าวว่า

อธิศีลสิกขาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วด้วย

ความสำรวมในปาติโมกข์อยู่ ดังนี้เป็นต้น.

คำว่า อิธ เป็นคำแสดงคำสอนซึ่งเป็นที่อาศัยของบุคคลผู้ถึงพร้อม

ด้วยกรณียกิจอันเป็นส่วนเบื้องต้น ผู้บำเพ็ญศีลโดยประการทั้งปวง และ

เป็นคำปฏิเสธภาวะอย่างนั้นของศาสนาอื่น. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสมณะในศาสนานี้แล ฯลฯ ลัทธิอื่น ๆ ว่างจากสมณะ

ผู้รู้ทั่วถึงดังนี้.

คำว่า ภิกฺขุ เป็นคำแสดงบุคคลผู้บำเพ็ญศีลนั้น คำว่า ปาฏิโมกฺข-

สวรสวุโต นี้เป็นคำแสดงความที่บุคคลนั้นตั้งอยู่ในความสำรวมใน

ปาติโมกข์.

คำว่า วิหรติ นี้ เป็นคำแสดงความที่บุคคลนั้น มีความพร้อมเพรียง

ด้วยวิหารธรรมอันสมควรแก่ปาติโมกข์สังวรนั้น.

คำว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน นี้ เป็นคำแสดงธรรมที่เป็นอุปการะ

แก่ปาติโมกข์สังวรของบุคคลนั้น.

คำว่า อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี นี้ เป็นคำแสดงความ

ไม่เคลื่อนจากปาติโมกข์เป็นธรรมดาของบุคคลนั้น.

คำว่า สมาทาย นี้ เป็นคำแสดงการถือสิกขาบททั้งหลายโดยครบ

ถ้วนของบุคคลนั้น.

คำว่า สิกฺขติ นี้ เป็นคำแสดงความเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย

สิกขาของบุคคลนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

คำว่า สิกฺขาปเทสุ นี้ เป็นคำแสดงธรรมที่พึงศึกษาของบุคคล

นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขุ ความว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ

อรรถว่า เห็นภัยในสังสารวัฏ, ชื่อว่า ผู้มีศีล เพราะอรรถว่า ศีลของภิกษุ

นั้นมีอยู่, คำว่า ศีล ในที่นี้ คืออะไร. ชื่อว่า ศีล ด้วยอรรถว่า การ

ปฏิบัติ. ชื่อว่าการปฏิบัตินี้ คืออะไร? คือการสมาทาน ความว่า ความ

เป็นผู้มีกายกรรมเป็นต้นไม่กระจัดกระจาย ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้มี

ศีลดี หรือว่า เป็นที่รองรับ, ความว่า ความเป็นที่รองรับกุศลธรรมทั้ง

หลาย คือเป็นที่ตั้ง. ก็ในบทนี้ ปราชญ์ผู้รู้ลักษณะศัพท์ ย่อมรู้ตามเนื้อ

ความทั้ง ๒ นั้นนั่นแหละ. แต่อาจารย์อื่น ๆ พรรณนาไว้ว่า ชื่อว่า ศีล

ด้วยอรรถว่า ประพฤติเคร่งครัด. ด้วยอรรถว่า อาจาระ, ด้วยอรรถว่า

การปฏิบัติ. ด้วยอรรถว่า ศีรษะ, ด้วยอรรถว่า เย็น, ด้วยอรรถว่า

เป็นที่ปลอดภัย.

การปฏิบัติเป็นลักษณะของศีล แม้ที่ขยายไปเป็น

อเนกประการ เหมือนความเป็นสนิทัสสนะเป็นลักษณะ

ของรูปที่ขยายไปเป็นอเนกประการฉะนั้น.

เหมือนอย่างว่า ความเป็นสนิทัลสนะเป็นลักษณะของรูปายตนะซึ่ง

แม้ขยายเป็นอเนกประการมีชนิดเขียวและเหลืองเป็นต้น เพราะไม่ก้าวล่วง

ความเป็นสนิทัสสนะแม้ของรูปที่ขยายเป็นชนิดเขียวเป็นต้น ฉันใด, การ

ปฏิบัติที่กล่าวไว้ด้วยสามารถสมาทานกายกรรมเป็นต้น และด้วยสามารถ

เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย นั้นแหละเป็นลักษณะของศีลแม้ขยายเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

อเนกประการ มีชนิดเจตนาเป็นต้น เพราะไม่ก้าวล่วงสมาทานและความ

เป็นที่ตั้งของศีลซึ่งแม้ขยายเป็นชนิดเจตนาเป็นต้น ฉันนั้น.

ก็ความกำจัดความเป็นผู้ทุศีล และคุณอันหาโทษมิ

ได้ ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า รส ของศีลซึ่งมีลักษณะอย่างนี้

ด้วยอรรถว่า เป็นกิจและสมบัติ.

เพราะฉะนั้น ชื่อว่าศีลนี้ พึงทราบว่า มีการกำจัดความเป็นผู้ทุศีล

เป็นรส เพราะอรรถว่าเป็นกิจ ว่า มีคุณอันหาโทษมิได้เป็นรส เพราะ

อรรถว่าเป็นสมบัติ.

ศีลนี้นั้นมีความสะอาดเป็นปัจจุปปัฏฐาน โอต-

ตัปปะ และหิริ ท่านผู้รู้ทั้งหลายพรรณนาว่าเป็นปทัฏฐาน

ของศีลนั้น.

ก็ศีลนี้นั้น มีความสะอาดซึ่งท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ความสะอาดกาย

ความสะอาดวาจา ความสะอาดใจเป็นปัจจุปปัฏฐาน ย่อมปรากฏ คือ ถึง

ความเป็นแห่งการรับเอาด้วยความสะอาด. ก็หิริและโอตตัปปะท่านผู้รู้ทั้ง

หลายพรรณนาว่าเป็นปทัฏฐานของศีลนั้น. อธิบายว่า เป็นเหตุใกล้. ด้วย

ว่า เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่ ศีลย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่ เมื่อหิริและโอต-

ตัปปะไม่มี ศีลย่อมไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่ตั้งอยู่ ดังนี้แล. บุคคลเป็นผู้มีศีล

ด้วยศีลอย่างที่อธิบายมานี้. ธรรมมีเจตนาเป็นต้น ของบุคคลผู้งดเว้นจาก

ปาณาติบาตเป็นต้นก็ดี ของบุคคลผู้บำเพ็ญวัตรปฏิบัติก็ดี พึงทราบว่า ชื่อ

ว่า ศีล. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรคว่า อะไรชื่อว่า ศีล ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

เจตนาชื่อว่าศีล, เจตสิกชื่อว่าศีล, ความสำรวมชื่อว่าศีล การไม่ก้าวล่วง

ชื่อว่าศีล.

บรรดาศีลเหล่านั้น เจตนาของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น

ก็ดี ของบุคคลผู้บำเพ็ญวัตรปฏิบัติก็ดี ชื่อ เจตนาศีล, ความงดเว้น

ของผู้ที่งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อ เจตสิกศีล, อีกอย่างหนึ่ง

เจตนาในกรรมบถ ๗ ของผู้ละปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อ เจตนาศีล,

ธรรมคือความไม่เพ่ง ความไม่พยาบาทและสัมมาทิฏฐิ ที่ตรัสไว้ในสัง

ยุตตนิกายมหาวรรค โดยนัยเป็นต้นว่าภิกษุละความเพ่ง มีใจปราศจาก

ความเพ่งอยู่ดังนี้ชื่อ เจตสิกศีล. สังวร ในบทว่า สวโร สีล นี้ พึง

ทราบว่ามี ๕ อย่าง คือ ปาติโมกขสังวร สติสังวร ญาณสังวร

ขันติสังวร วิริยสังวร การกระทำสังวรนั้นต่าง ๆ กัน จักมีแจ้งข้าง

หน้า.

บทว่า อวีติกฺกโม สีล ความว่า ความไม่ก้าวล่วงทางกายทาง

วาจาของผู้สมาทานศีล ก็ในที่นี้ บทว่า สวรสึล อวีติกฺกมสีล นี้แหละ

เป็นศีลโดยตรง บทว่า เจตนาสีล เจดสิกสีล เป็นศีลโดยปริยาย พึง

ทราบดังนี้.

บทว่า ปาติโมกฺข ได้แก่ ศีลส่วนที่เป็นสิกขาบท. เพราะศีลนั้น

ปลด คือเปลื้องผู้ที่คุ้มครองรักษาศีลนั้นให้พ้นจากทุกข์ทั้งหลายมีทุกข์ที่

เป็นไปในอบายเป็นต้น ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ปาติโมกข์.

บทว่า ปาติโมกฺขสวรสวุโต ได้แก่ผู้ประกอบด้วยความสำรวม

ในปาติโมกข์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระ

และโคจร.

บทว่า อณุมตฺเตสุ ได้แก่ มีประมาณน้อย.

บทว่า วชฺเชสุ ได้แก่ ในอกุศลธรรมทั้งหลาย.

บทว่า ภยทสฺสาวี ได้แก่ เห็นภัย.

บทว่า สมาทาย ได้แก่ ถือเอาโดยชอบ.

บทว่า สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ ได้แก่ สมาทานศึกษาสิกขาบท

นั้น ๆ.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ ความว่า

สมาทาน ศึกษาข้อใดข้อหนึ่งซึ่งควรศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย คือใน

ส่วนแห่งสิกขาทั้งหลาย ทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตาม ทั้งหมดนั้น.

บทว่า ขุทฺทโก สีลกฺขนฺโธ ได้แก่ ศีลขันธ์ซึ่งมีส่วนเหลือลงมี

สังฆาทิเสสเป็นต้น.

บทว่า มหนฺโต ได้แก่ ซึ่งหาส่วนเหลือลงมิได้มีปาราชิกเป็นต้น.

ก็เพราะภิกษุชื่อว่าย่อมตั้งอยู่ในศาสนาด้วยปาติโมกขศีล ฉะนั้น ปา-

ติโมกขศีลนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นที่ตั้ง. ชื่อว่า เป็นที่ตั้ง เพราะ

อรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งภิกษุ หรือเป็นที่ดังแห่งกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น.

เนื้อความนี้ พึงทราบด้วยสามารถแห่งสูตรเป็นต้นว่า นระผู้มีปัญญาตั้งอยู่

ในศีลดังนี้ด้วย ว่า ดูก่อนมหาบพิตร ศีลเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งปวง

ดังนี้ด้วย ว่า ดูก่อนมหาบพิตรกุศลธรรมทั้งปวงของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีล

แล ย่อมไม่เสื่อมไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

ศีลนี้นั้น ชื่อว่าเป็นเบื้องต้น ด้วยอรรถว่า เกิดขึ้นก่อน. สมจริง

ดังที่ตรัสไว้ว่า แน่ะขัตติยะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงชำระเบื้องต้นแห่ง

กุศลธรรมทั้งหลายแล ก็อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ศีลที

บริสุทธิ์ตีแล้วและทิฏฐิที่ตรง ดังนี้. เหมือนอย่างว่า นายช่างสร้างนคร

ประสงค์จะสร้างนคร จึงชำระที่ตั้งนครก่อน ต่อนั้นจึงสร้างนคร แบ่ง

กำหนดเป็น ถนน ทาง ๔ แพร่ง ทาง ๓ แพร่ง ในภายหลัง ฉันใด.

พระโยคาวจรชำระศีลเป็นเบื้องต้น ต่อนั้นจึงทำให้แจ้งซึ่งสมาธิ วิปัสสนา

มรรค ผล และนิพพานในภายหลัง ฉันนั้นเหมือนกัน. ก็หรือว่าช่าง

ย้อมผ้า ซักผ้าด้วยน้ำด่าง ๓ อย่างก่อน เมื่อผ้าสะอาดแล้วจึงใส่สีตามที่

ต้องการ ฉันใด, ก็หรือว่าช่างเขียนผู้ฉลาด ต้องการจะเขียนรูปภาพ จึง

ขัดฝาเป็นเบื้องต้นทีเดียว ต่อนั้นจึงสร้างรูปภาพขึ้นในภายหลัง ฉันใด,

พระโยคาวจรชำระศีลให้บริสุทธิ์แต่ต้นทีเดียว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งธรรมทั้ง-

หลายมีสมถะและวิปัสสนาเป็นต้นในภายหลัง ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะ

ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ศีลเป็นเบื้องต้น ดังนี้.

ศีลนี้นั้น ชื่อว่า จรณะ เพราะความเป็นคุณที่พึ่งเห็นเสมอด้วย

จรณะ ก็เท้า ท่านเรียกว่า จรณะ เหมือนอย่างว่า อภิสังขารคือการไปสู่

ทิศย่อมไม่เกิดแก่คนเท้าด้วน ย่อมเกิดแก่คนมีเท้าบริบูรณ์เท่านั้น ฉันใด,

การไปแห่งญาณเพื่อบรรลุนิพพาน ย่อมไม่สำเร็จแก่บุคคลผู้มีศีลขาดด่าง

พร้อย ไม่บริบูรณ์นั้น, แต่การไปแห่งญาณเพื่อบรรลุนิพพาน ย่อมสำเร็จ

แก่บุคคลผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ด่างพร้อย บริบูรณ์ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น ท่าน

จึงกล่าวศีลว่า จรณะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

ศีลนั้น ชื่อว่า สังยนะ ด้วยสามารถแห่งความสำรวม. ชื่อว่า สัง

วระ ด้วยสามารถแห่งความระวัง. ดังนั้น ท่านจึงกล่าวทั้งศีลสังยมะ

ทั้งศีลสังวระ แม้ด้วยบททั้ง ๒ ก็ในบทนี้มีเนื้อความของคำว่า ชื่อว่า

สังยมะ เพราะอรรถว่าสำรวม หรือยังบุคคลผู้ดิ้นรนก้าวล่วงให้สำรวม

คือไม่ให้บุคคลนั้นดิ้นรนก้าวล่วง. ชื่อว่า สังวระ เพราะอรรถว่า กั้น

คือ ปิดทวาร ด้วยความสำรวมการก้าวล่วง.

บทว่า มุข ได้แก่ สูงสุด หรือเป็นประมุข. เหมือนอย่างว่า อา-

หาร ๔ อย่างของสัตว์ทั้งหลาย เข้าทางปากแล้วแผ่ไปยังอวัยวะต่าง ๆ ฉัน

ใด แม้พระโยคาวจรทั้งหลายก็ฉันนั้น เข้าสู่กุศลอันเป็นไปในภูมิ ๔ ด้วย

ปาก คือศีล ยังความสำเร็จแห่งประโยชน์ให้ถึงพร้อม. เพราะฉะนั้น บท

ว่า โมกฺข จึงมีความว่า ประมุข หัวหน้า เป็นสภาพถึงก่อน ประเสริฐ

ที่สุด เป็นประธาน.

บทว่า กุสลาน ธมฺมาน สมาปตฺติยา ความว่า พึงทราบว่า

เป็นประมุข เป็นหัวหน้า เป็นสภาพถึงก่อน เป็นสึงประเสริฐสุด เป็น

ประธาน เพื่อประโยชน์แก่การได้ เฉพาะซึ่งกุศลอันเป็นไปในภูมิ ๔.

บทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ความว่า สงัด คือเว้น คือหลีกออก

จากกามทั้งหลาย ก็อักษรว่า เอว ในว่า วิวิจฺเจว นี้นั้น พึงทราบ

ว่า มีเนื้อความอันแน่นอน ก็เพราะมีเนื้อความอันแน่นอน ฉะนั้น ท่าน

จึงแสดงความที่กามทั้งหลายแม้ไม่มีอยู่ในเวลาเข้าปฐมฌานเป็นปฏิปักษ์ต่อ

ปฐมฌานนั้น และความบรรลุปฐมฌานนั้น ด้วยการสละกามนั่นเอง.

อย่างไร ก็เมื่อกระทำความแน่นอนอย่างนี้ว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

ปฐมฌานนี้ย่อมปรากฏ กามทั้งหลายยังเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้แน่ เมื่อกาม

เหล่าใดมีอยู่ ปฐมฌานนี้ย่อมไม่เป็นไป เหมือนเมื่อความมืดมีอยู่ แสงสว่าง

แห่งประทีปก็ไม่มี การบรรลุปฐมฌานนั้นย่อมมีด้วยการสละก้ามเหล่านั้น

นั่นแล เหมือนสละฝั่งในถึงฝั่งนอกฉะนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกระทำ

ความแน่นอน. ในเรื่องนั้น พึงมีคำถามว่า เหตุไรความแน่นอนนี้ ท่านจึง

กล่าวไว้ในบทแรกเท่านั้น ไม่กล่าวในบทหลัง บุคคลแม้ไม่สงัดจากอกุศล

ธรรมทั้งหลาย จะพึงเข้าปฐมฌานอยู่หรือ ก็ข้อนี้อย่าพึงเห็นอย่างนั้นเลย

ด้วยว่าท่านกล่าวความแน่นอนในบทแรกเท่านั้น โดยการออกไปจากกาม

นั้น ก็ฌานนี้เป็นเครื่องออกไปของกามทั้งหลายนั้นแล เพราะก้าวล่วงด้วย

ดีซึ่งกามธาตุ และเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกามราคะ. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าว

ว่า :- การออกไปแห่งกามทั้งหลายคือเนกขัมมะ. ก็แม้ในบทหลังท่านพึง

กล่าว เหมือนที่นำอักษร เอว มากล่าวไว้ในข้อนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สมณะที่ ๑ ในศาสนานี้นั่นเทียว สมณะที่ ๒ ในศาสนานี้ดังนี้. เพราะไม่

อาจที่จะเข้าฌานอยู่ โดยไม่สงัดจากอกุศลธรรมกล่าวคือนิวรณ์แม้อื่น ๆ จาก

นี้ได้ ฉะนั้น พึงเห็นความนี้แม้ทั้งสองบทอย่างนี้ว่า สงัดจากกามทั้งหลาย

นั่นเทียว สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายนั้นเทียว. ก็ตทังควิเวก วิกขัมภน-

วิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก นิสสรณวิเวก และจิตตวิเวก กายวิเวก

อุปธิวิเวก ย่อมถึงความสงเคราะห์ด้วยคำอันเป็นสาธารณะนี้ว่า สงัด ก็จริง

อยู่ แม้ถึงอย่างนั้น กายวิเวก จิตตวิเวก วิกขัมภนวิเวก ก็พึงเห็นในกาล

อันเป็นส่วนเบื้องต้น. กายวิเวก จิตตวิเวก สมุจเฉทวิเวก และนิสสรณวิเวก

พึงเห็นในขณะแห่งโลกุตตรมรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

ก็ วัตถุกาม เหล่าใดที่ท่านกล่าวไว้ในที่นี้เป็นต้นว่า วัตถุกาม

เป็นไฉน ? คือรูปที่น่าชอบใจ ดังนี้ด้วย กิเลสกาม เหล่าใดที่ท่านกล่าว

ไว้ในที่นี้อย่างนี้ว่า กามคือ ฉันทะ กามคือ ราคะ กามคือ ฉันทราคะ

กามคือ สังกัปปะ กามคือ สังกัปปราคะ ดังนี้ด้วยวัตถุกาม และกิเลส

กามเหล่านั้นแม้ทั้งหมด พึงเห็นว่า ท่านสงเคราะห์ด้วยบทนี้ว่า กาเมหิ

ดังนี้ทั้งนั้น.

เมื่อเป็นอย่างนั้น บทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ มีเนื้อความว่า สงัด

แล้วแม้จากวัตถุกามทั้งหลาย ก็ถูก. ด้วยบทนั้น กายวิเวกเป็นอันกล่าว

แล้ว.

บทว่า วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ มีเนื้อความว่า สงัดแล้วจาก

กิเลสกามทั้งหลาย หรือจากอกุศลทั้งปวง ก็ถูก. ด้วยบทนั้น จิตตวิเวก

เป็นอันกล่าวแล้ว. ก็ในข้อนี้ การสละกามสุข เป็นอันท่านให้เป็นแจ้ง

แล้ว โดยคำว่า สงัดจากวัตถุกามทั้งหลายนั่นแล ด้วยบทแรก, การ

กำหนดเนกขัมมสุข เป็นอันท่านให้เป็นแจ้งแล้ว โดยคำว่าสงัดจากกิเลส

กามทั้งหลาย ด้วยบทที่ ๒. การละวัตถุแห่งสังกิเลสของกามเหล่านั้นโดย

คำว่าสงัดจากวัตถุกามและกิเลสกามทั้งหลายอย่างนี้ เป็นอันท่านให้แจ่ม

แจ้งแล้วด้วยบทแรก. การละสังกิเลส เป็นอันท่านให้แจ่มแจ้งแล้วด้วย

บทที่ ๒ การสละเหตุแห่งความโลเล เป็นอันท่านให้แจ่มแจ้งแล้วด้วย

บทแรก การสละเหตุแห่งความเป็นพาล เป็นอันท่านให้แจ่มแจ้งแล้วด้วย

บทที่ ๒. และความบริสุทธิ์แห่งความเพียร เป็นอันท่านให้แจ่มแจ้งแล้ว

ด้วยบทแรก กายชำระ อาสยะ ที่อาศัยให้สะอาด เป็นอันท่านให้แจ่มแจ้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

แล้วด้วยบทที่ ๒ พึงทราบด้วยประการฉะนี้. บรรดากามทั้งหลายที่กล่าว

ไว้ในบทว่า กาเมหิ นี้ในฝ่ายวัตถุกาม มีนัยเท่านี้ก่อน.

แต่ในฝ่ายกิเลสกาม กามฉันท์นั้น แลซึ่งมีประเภทไม่น้อย เป็นต้น

ว่า ฉันทะ และราคะอย่างนี้ ท่านประสงค์ว่า กาม, ก็กามนั้นแม้นับ

เนื่องในอกุศล ท่านก็แยกกล่าวโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อฌาน ในวิภังค์ โดย

นัยว่า ในกามเหล่านั้น กามฉันทะเป็นไฉน ? คือกาม ดังนี้เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวไว้ในบทแรก เพราะเป็นกิเลสกาม ใน

บทที่ ๒ เพราะนับเนื่องด้วยอกุศล. อนึ่ง ท่านไม่กล่าวว่า กามโต ท่าน

กล่าวว่า กาเมหิ โดยประเภทไม่น้อยของกามนั้น, อนึ่ง แม้เมื่อธรรม

เหล่าอื่นเป็นอกุศลมีอยู่ ท่านก็กล่าวนิวรณ์นั่นแหละ โดยแสดงความเป็น

ข้าศึกคือปฏิปักษ์ต่อองค์ฌานสูง ๆ ขึ้นไป ในวิภังค์โดยนัยเป็นต้นว่า ใน

ธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมเป็นไฉน ? คือ กามฉันทะ ดังนี้, ก็นิวรณ์ทั้ง

หลายเป็นข้าศึกต่อองค์ฌานทั้งหลาย ท่านอธิบายไว้ว่า องค์ฌานทั้งหลาย

นั่นแล เป็นปฏิปักษ์ เป็นผู้ทำลาย เป็นผู้พิฆาตนิวรณ์เหล่านั้น, จริง

อย่างนั้น ท่านกล่าวไว้ในปิฎกว่า สมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ ปีติ

เป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาท วิตกเป็นปฏิปักษ์ต่อถิ่นมิทธะ สุขเป็นปฏิปักษ์

ต่ออุทธัจจกุกกุจจะ วิจารเป็นปฏิปักษ์ต่อวิจิกิจฉา. ความสงัดด้วยความข่ม

กามฉันทะ เป็นอันท่านกล่าวแล้วในที่นี้ด้วยบทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ นี้

ด้วยประการฉะนี้.

ความสงัดด้วยความข่มนิวรณ์ทั้ง ๕ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทว่า

วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ นี้ ก็ด้วยการยึดถือสิ่งที่เขาไม่ยึดถือกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

ความสงัดด้วยความข่มกามฉันทะ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทแรก

ความสงัดด้วยความข่มนิวรณ์ที่เหลือ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทที่ ๒.

ด้วยประการนั้น.

ความสงัดด้วยความข่มโลภะซึ่งมีประเภทแห่งกามคุณ ๕ เป็นอารมณ์

ในอกุศลมูล ๓ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทแรก ความสงัดด้วยความข่ม

โทสะและโมหะซึ่งมีประเภทแห่งอาฆาตวัตถุเป็นต้นเป็นอารมณ์ ย่อมเป็น

อันท่านกล่าวแล้วด้วยบทที่ ๒.

อีกอย่างหนึ่ง ในธรรมทั้งหลายมีโอฆะเป็นต้น ความสงัดด้วยความ

ข่มกาโมฆะ กามโยคะ กามาสวะ กามุปาทาน อภิชฌากายคันถะ และ

กามราคสังโยชน์ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทแรก. ความสงัดด้วยความ

ข่มโอฆะ โยคะ อาสวะ อุปาทาน คันถะ และสังโยชน์ที่เหลือ เป็น

อันท่านกล่าวแล้วด้วยบทที่ ๒.

ความสงัดด้วยความข่มตัณหาและธรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหานั้น เป็น

อันท่านกล่าวแล้วด้วยบทแรก. ความสงัดด้วยความข่มอวิชชาและธรรมที่

สัมปยุตด้วยอวิชชานั้น เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทที่ ๒.

อีกอย่างหนึ่ง ความสงัดด้วยความข่มจิตตุปบาท ๘ ที่สัมปยุตด้วยโลภะ

เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทแรก ความสงัดด้วยความข่มจิตตุปบาทที่เป็น

อกุศลที่ ๔ ที่เหลือเป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยบทที่ ๒. พึงทราบด้วยประการ

๑. วิวิจฺเจว กาเมหิ.

๒. วิวิจฺจ อกุสเลหิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

ก็พระสารีบุตรเถระแสดงองค์แห่งการละของปฐมฌานด้วยคำมีประ-

มาณเท่านี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะแสดงองค์แห่งการประกอบ จึงกล่าวคำเป็น

ต้นว่า สวิตกฺก สวิจาร ดังนี้.

บรรดาวิตกและวิจารเหล่านั้น วิตกมีลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์

วิจารมีลักษณะประคองจิตไว้ในอารมณ์ วิตกและวิจารเหล่านั้น แม้เมื่อ

ไม่แยกกันในอารมณ์อะไร ๆ วิตกเข้าถึงจิตก่อนด้วยอรรถว่าหยาบและเป็น

ธรรมชาติถึงก่อน ดุจการเคาะระฆัง. วิจารตามพัวพันด้วยอรรถว่าละเอียด

และด้วยสภาพตามเคล้า ดุจเสียงครางของระฆัง.

ก็วิตกมีการแผ่ไปในอารมณ์นี้ เป็นความไหวของจิตในเวลาที่เกิด

ขึ้นครั้งแรก ดุจการกระพือปีกของนกที่ต้องการจะบินไปในอากาศ และ

ดุจการโผลงตรงดอกปทุมของภมรที่มีใจผูกพันอยู่ในกลิ่น, วิจารมีความ

เป็นไปสงบ ไม่เป็นความไหวเกินไปของจิต ดุจการกางปีกของนกที่ร่อน

อยู่ในอากาศ และดุจการหมุนของภมรที่โผลงตรงดอกปทุม ในเบื้องบน

ของดอกปทุม.

แต่ในอรรถกถาทุกนิบาตท่านกล่าวว่า วิตกเป็นไปด้วยภาวะติดไป

กับจิตในอารมณ์ เหมือนเมื่อนกใหญ่บินไปในอากาศ ปีกทั้งสองจับลม

แล้วก็หยุดกระพือปีกไปฉะนั้น. วิจารเป็นไปด้วยภาวะตามเคล้า เหมือน

การบินไปของนกที่กระพือปีกเพื่อให้จับลมฉะนั้น. คำนั้น ย่อมควรในการ

เป็นไปด้วยการตามพัวพัน. ก็ความแปลกของวิตกวิจารเหล่านั้น ย่อม

ปรากฏในปฐมฌานและทุติยฌาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อบุคคลใช้มือข้างหนึ่งจับภาชนะที่มีสนิมจับอย่าง

มั่น ใช้มืออีกข้างหนึ่งขัดถูด้วยแปรงทำด้วยหางม้าที่จุ่มน้ำมัน ผสมผงละ-

เอียด. วิตกเหมือนมือที่จับมั่น วิจารเหมือนมือที่ขัดถู. เหมือนเมื่อช่าง

หม้อใช้ท่อนไม้หมุนแป้นทำภาชนะอยู่ วิตกดุจมือที่กด วิจารดุจมือที่ตก

แต่งข้างโน้นข้างนี้. และเหมือนบุคคลที่ทำวงเวียน วิตกติดไปกับจิต ดุจ

ขาที่ปักกั้นอยู่ตรงกลาง, วิจารตามเคล้า ดุจขาที่หมุนรอบนอก. ฌานนี้

ท่านกล่าวว่า สวิตกฺก สวิจาร เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปกับด้วย

วิตกนี้ด้วย ด้วยวิจารนี้ด้วย ดุจต้นไม้มีทั้งดอกและผล ด้วยประการฉะนี้.

ในบทว่า วิเวกช นี้ ความสงัดชื่อว่า วิเวก ความว่า ปราศจาก

นิวรณ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิเวก เพราะอรรถว่า สงัด. อธิบายว่า

กองธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ซึ่งสงัดจากนิวรณ์. ชื่อว่า วิเวกชะ เพราะ

อรรถว่า เกิดแต่วิเวกนั้น หรือในวิเวกนั้น.

ในบทว่า ปีติสุข นี้ ชื่อว่า ปีติ เพราะอรรถว่า อิ่มใจ. ปีติ

นั้นมีลักษณะดื่มด่ำ. ก็ปีตินี้นั้นมี ๕ อย่างคือ ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย ๑,

ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ ๑, โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอก ๑, อุพเพง-

คาปีติ ปีติโลดลอย ๑. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน ๑.

บรรดาปีติ ๕ อย่างนั้น ขุททกาปีติ อาจทำพอให้ขนชูชันใน

สรีระทีเดียว, ขณิกาปีติ ย่อมเป็นเช่นกับฟ้าแลบ เป็นขณะ ๆ โอก-

กันติกาปีติ ให้รู้สึกซู่ลงมา ๆ ในกาย ดุจคลื่นซัดฝั่งทะเล, อุพเพง-

คาปีติ เป็นมีปีติมีกำลัง ทำกายให้ลอยขึ้นโลดไปในอากาศหาประมาณไม่

ได้. ผรณาปีติ เป็นปีติมีกำลังยิ่ง ก็เมื่อผรณาปีตินั้นเกิดขึ้นแล้ว สรีระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

ทั้งสิ้นจะรู้สึกเย็นซาบซ่าน ดุจเต็มไปด้วยเม็ดฝน และดุจเวิ้งเขาที่ห้วงน้ำ

ใหญ่ไหลบ่ามาฉะนั้น.

ก็ปีติทั้ง ๕ อย่างนี้เมื่อถือเอาห้องถึงความแก่กล้า ย่อมยังปัสสัทธิ

ทั้งสองคือกายปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิให้บริบูรณ์.

ปัสสัทธิเมื่อถือเอาห้องถึงความแก่กล้า ย่อมยังสุขทั้ง ๒ คือสุขทั้ง

ทางกายและสุขทางใจให้บริบูรณ์.

สุขเมื่อถือเอาห้องถึงความแก่กล้า ย่อมยังสมาธิ ๓ อย่างคือ ขณิก-

สมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิให้บริบูรณ์.

บรรดาปีติเหล่านั้น ผรณาปีติที่เป็นมูลแห่งอัปปนาสมาธิ เมื่อเจริญ

ถึงความประกอบด้วยสมาธิ นี้ท่านประสงค์เอาว่า ปีติ ในอรรถนี้.

ก็อีกบทหนึ่ง ชื่อว่า สุข เพราะอรรถว่า สบาย อธิบายว่า เกิด

ขึ้นแก่คนใด ย่อมทำคนนั้นให้ถึงความสบาย. อีกอย่างหนึ่ง ความสบาย

ชื่อว่าสุขธรรมชาติใดย่อมกลืนกินและขุดออกเสียได้โดยง่าย ซึ่งอาพาธทาง

กายทางใจ ฉะนั้นธรรมชาตินั้นชื่อว่า สุข. คำนี้เป็นชื่อของโสมนัสส

เวทนา สุขนั้นมีลักษณะสำราญ. ปีติและสุขเหล่านั้นเมื่อไม่แยกกันใน

อารมณ์อะไร ๆ ความยินดีด้วยการได้เฉพาะอารมณ์ที่น่าปรารถนา ชื่อว่า

ปีติ ความเสวยรสแห่งอารมณ์ที่ได้เฉพาะแล้ว ชื่อว่า สุข. ที่ใดมีปีติ

ที่นั้นมีสุข ที่ใดมีสุขที่นั้นมีปีติใด ไม่แน่นอน.

ปีติสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์ สุขสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์.

คนที่ลำบากในทางกันดาร ปีติเหมือนเมื่อเห็น หรือได้ฟังป่าไม้และน้ำ,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

สุขเหมือนเมื่อเข้าไปสู่ร่มเงาของป่าไม้และบริโภคน้ำ ก็บทนี้พึงทราบว่า

กล่าวไว้ เพราะภาวะที่ปรากฏในสมัยนั้น ๆ.

ฌานนี้ท่านกล่าวว่า ปีติสุข เพราะอรรถว่า ปีตินี้ด้วย สุขนี้ด้วย

มีอยู่แก่ฌานนี้ หรือในฌานนี้. อีกอย่างหนึ่งปีติด้วย สุขด้วย ชื่อว่า

ปีติและสุข ดุจธรรมและวินัยเป็นต้น. ชื่อว่ามีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอย่างนี้

เพราะอรรถว่า ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก มีอยู่แก่ฌานนี้ หรือในฌานนี้

ก็ฌานฉันใด ปีติและสุขก็ฉันนั้นย่อมเกิดแต่วิเวกทั้งนั้น ในที่นี้. ก็ปีติ

และสุขเกิดแต่วิเวกนั้น มีอยู่แก่ฌานนี้ เพราะเหตุดังนี้นั้น แม้จะกล่าวว่า

วิเวก ปีติสุข รวมเป็นบทเดียวกันทีเดียว ย่อโดยไม่ลบวิภัตติ ก็ควร.

บทว่า ปม ความว่า ชื่อว่า ที่ ๑ เพราะเป็นลำดับแห่งการนับ

ชื่อว่า ที่ ๑ เพราะอรรถว่า ฌานนี้เกิดขึ้นเป็นที่ ๑ ก็มี.

บทว่า ฌาน ได้แก่ ฌาน ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน

และ ลักขณูปนิชฌาน, ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ ถึงการ

นับว่า อารัมมณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งอารมณ์มีปฐวี-

กสิณเป็นต้น. ก็วิปัสสนา มรรค ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน.

ในวิปัสสนา มรรค ผล เหล่านั้น วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณู-

ปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอนิจจลักษณะเป็นต้น, มรรค ชื่อว่า

ลักขณูปนิชฌาน เพราะกิจที่ทำด้วยวิปัสสนา สำเร็จด้วยมรรค. ส่วน

ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งนิโรธสัจจะ

ซึ่งเป็นลักษณะแท้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

ในฌาน ๒ อย่างนั้น ในที่นี้ ท่านประสงค์อารัมมณูปนิชณาน

ในกาลเป็นส่วนเบื้องต้นประสงค์ลักขณูปนิชฌาน ในขณะแห่งโลกุตตร

มรรค เพราะฉะนั้นพึงทราบว่า ฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์ด้วย,

เพราะเข้าไปเพ่งลักษณะด้วย. เพราะเผาข้าศึกคือกิเลสด้วย.

บทว่า อุปสมฺปชฺช ได้แก่เข้าถึงแล้ว มีอธิบายว่า บรรลุแล้ว.

อีกอย่างหนึ่งให้เข้าถึงพร้อมแล้ว มีอธิบายว่า ให้สำเร็จแล้ว.

บทว่า วิหรติ ความว่า ย่อมเคลื่อนไหวด้วยการอยู่แห่งอิริยาบท

ที่สมควรแก่ฌานนั้น คือเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยฌานซึ่งมีประการ

ดังกล่าวแล้ว ยังความเคลื่อนไหว คือความเป็นไปแห่งอัตภาพให้สำเร็จ.

ก็ปฐมฌานนี้นั้น ละองค์ ๕ ประกอบองค์ ๕ มีความงาม ๓ อย่าง

ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐.

ในปฐมฌานนั้น พึงทราบความที่ละองค์ ๕ ด้วยสามารถละนิวรณ์

๕ เหล่านั้น คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ

วิจิกิจฉา ด้วยว่า เมื่อละนิวรณ์เหล่านั้นไม่ได้ ปฐมฌานนั้นย่อมไม่เกิดขึ้น

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวนิวรณ์เหล่านี้ ว่าเป็นองค์แห่งการละของ

ปฐมฌานนั้น.

ก็อกุศลธรรมแม้เหล่าอื่น จะละได้ในขณะแห่งฌานก็จริง ถึง

อย่างนั้น นิวรณ์เหล่านั้นแหละ ก็ยังทำอันตรายแก่ฌานได้ โดยวิเสส.

ด้วยว่า จิตที่ถูกกามฉันท์เล้าโลมด้วยอารมณ์ต่าง ๆ ย่อมไม่ตั้งมั่นในอารมณ์

เป็นที่ตั้งแห่งความแน่วแน่ หรือจิตนั้นถูกกามฉันท์ครอบงำ ย่อมไม่

ดำเนินไปเพื่อละกามธาตุ ถูกพยาบาทกระทบกระทั่งในอารมณ์ ย่อมไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

เป็นไปติดต่อ, ถูกถีนมิทธะครอบงำ ย่อมเป็นจิตไม่ควรแก่การงาน,

ถูกอุทธัจจะกุกกุจจะนำไปในเบื้องหน้า เป็นจิตไม่สงบทีเดียว ย่อมหมุน

ไปรอบ, ถูกวิจิกิจฉาเข้าไปกระทบ ย่อมไม่ขึ้นสู่ปฏิปทาที่ให้การบรรลุ.

ฌานสำเร็จ นิวรณ์เหล่านั้นแล ท่านกล่าวว่า องค์แห่งการละ เพราะ

กระทำอันตรายแก่ฌานโดยวิเสส ด้วยประการฉะนี้.

ก็เพราะวิตกยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิจารประคองจิตไว้ในอารมณ์,

ปีติเกิดแต่ปโยคสมบัติแห่งจิตที่มีสังโยคอันวิตกวิจารเหล่านั้น สำเร็จแล้ว

ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน การทำความเอิบอิ่ม, และสุขกระทำความเพิ่มพูน,

ลำดับนั้น เอกัคคตาซึ่งเป็นสัมปยุตธรรมที่เหลือของปฐมฌานนั้น อันการ

ติดไปกับจิต การตามเคล้า ความเอิบอิ่ม และความเพิ่มพูนเหล่านี้

อนุเคราะห์แล้วย่อมตั้งมั่นเสมอและ. โดยชอบในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความ

แน่วแน่ ฉะนั้นพึงทราบความที่ประฌานประกอบองค์ ๕ ด้วยสามารถ

ความเกิดขึ้นแห่งองค์ ๕ เหล่านี้ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาจิต.

ด้วยว่าเมื่อองค์ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว ฌานชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุ

นั้น องค์ ๕ เหล่านี้ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นองค์ประกอบ ๕ ประการของ

ปฐมฌานนั้น.

เพราะฉะนั้น ไม่พึงถือเอาว่า มีฌานอื่นที่ประกอบด้วยองค์ ๕

เหล่านี้ เหมือนอย่างว่า ท่านกล่าวว่า เสนามีองค์ ๔ ดนตรีมีองค์ ๕

มรรคมีองค์ ๘ ก็ด้วยสามารถสักว่าองค์เท่านั้น ฉันใด, แม้ปฐมฌานนี้

ก็ฉันนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่ามีองค์ ๕ ก็ตาม ว่าประกอบด้วยองค์ ๕

ก็ตาม ก็ด้วยสามารถสักว่าองค์เท่านั้น. ก็องค์ ๕ เหล่านั้นอยู่ในขณะแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

อุปจาร ก็จริง ถึงอย่างนั้นในอุปจาร ก็มีกำลังกว่าจิตปกติ แต่ใน

ปฐมฌานนี้แม้มีกำลังกว่าอุปจาร ก็สำเร็จเป็นถึงลักษณะแห่งรูปาวจร.

ก็วิตกในปฐมฌานนี้ ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เกิดขึ้นโดยอาการอัน

สะอาดมาก วิจารประคองจิตไว้กับอารมณ์อย่างยิ่ง ปีติและสุข แผ่ไปสู่

กายแม้เป็นที่สุดแห่งสภาวะ. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า โดยสภาพแห่ง

กายนั้น อะไร ๆ ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกไม่ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่มี.

แม้เอกัคคตาจิตก็เกิดขึ้นถูกต้องด้วยดีในอารมณ์ ดุจพื้นผอบข้างบนถูกต้อง

พื้นผอบข้างล่างฉะนั้น องค์เหล่านั้นแตกต่างจากองค์เหล่านั้นดังนี้.

ในองค์เหล่านั้น เอกัคคตาจิต มิได้แสดงไว้ในปาฐะนี้ว่า สวิตกฺก

สวิจาร ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็เป็นองค์เหมือนกัน เพราะท่านกล่าวไว้

ในวิภังค์อย่างนี้ว่า บทว่า ฌาน ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

จิตดังนี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำอุทเทสด้วยอธิบายใด อธิบายนั้นแล

พระสารีบุตรเถระนี้ ประกาศแล้วในวิภังค์ ดังนี้แล.

ก็ในบทว่า ติวิธกลฺยาณ ทสลกฺขณสมฺปนฺน นี้ ความที่ปฐม-

ฌาน มีความงาม ๓ คือเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด และพึงทราบ

ความที่ปฐมฌานถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑. ด้วยสามารถแห่งลักษณะของ

เบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดเหล่านั้นนั่นแล.

ในข้อนั้นมีบาลีดังนี้ :- ปฏิปทาวิสุทธิเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน

การเพิ่มพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลาง, ความรื่นเริงเป็นที่สุด.

ปฏิปทาวิสุทธิเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน. เบื้องต้นมีลักษณะเท่าไร ?

เบื้องต้นมีลักษณะ ๓ จิตบริสุทธิ์จากอันตรายแห่งปฐมฌานนั้น, เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

บริสุทธิ์ จิตจึงดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง, เพราะดำเนินไป

จิตจึงแล่นไปในสมถนิมิตนั้น, จิตบริสุทธิ์จากอันตราย ๑ เพราะบริสุทธิ์

จิตจึงดำเนินไปสู่สมถนิมิต ๑ เพราะดำเนินไป จิตจึงแล่นไปในสมถ

นิมิตนั้น ๑ ปฏิปทาวิสุทธิเป็นเบื้องต้น แห่งปฐมฌาน เบื้องต้นมีลักษณะ

๓ เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานมีความงามในเบื้องต้น

และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๓.

การเพิ่มพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ท่ามกลางมีลักษณะ

เท่าไร ? ทำมกลางมีลักษณะ ๓ เข้าถึงจิตบริสุทธิ์ เข้าถึงสมถปฏิปทา

เข้าถึงที่ประชุมเอกัตตารมณ์ เข้าถึงจิตบริสุทธิ์ ๑ เข้าถึงสมถปฏิปทา ๑

เข้าถึงที่ประชุมเอกัตตารมณ์ ๑ การเพิ่มพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่ง

ปฐมฌาน ท่ามกลางมีลักษณะ ๓ เหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ประฌานมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๓.

ความรื่นเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ที่สุดมีลักษณะเท่าไร. ที่สุดมี

ลักษณะ ๔ ชื่อว่าความรื่นเริง เพราะอรรถว่า ไม่ล่วงธรรมที่เกิด

ในปฐมฌาน นั้น, ชื่อว่า ความรื่นเริง เพราะอรรถว่า อินทรีย์

ทั้งหลายมีรสเดียวกัน, ชื่อว่า ความรื่นเริง เพราะอรรถว่า นำมา

ซึ่งความเพียรที่เข้าถึงปฐมฌานนั้น, ชื่อว่า ความรื่นเริง เพราะ

อรรถว่า คบหา. ความรื่นเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ที่สุดมีลักษณะ ๔

เหล่านี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานมีความงามเป็นที่สุด

และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๔ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

อาจารย์พวก ๑ พรรณนาอย่างนี้ว่า ในบาลีนั้น ชื่อว่า ปฏิปทา-

วิสุทธิ ได้แก่ อุปจาระที่เป็นไปกับด้วยสัมภาระ, ชื่อว่า การเพิ่มพูน

อุเบกขา ได้แก่ อัปปนา, ชื่อว่า ความรื่นเริง ได้แก่ การพิจารณา.

ก็เพราะท่านกล่าวไว้ในบาลีว่า เอกัคคตาจิตมีปฏิปทาวิสุทธิเป็น

ลักษณะด้วย, เพิ่มพูนอุเบกขาด้วย, รื่นเริงด้วยญาณด้วย ดังนี้, ฉะนั้น

พึงทราบปฏิปทาวิสุทธิ ด้วยสามารถแห่งการมาภายในอัปปนานั่นแล. พึง

ทราบการเพิ่มพูนอุเบกขา ด้วยสามารถแห่งกิจของตัตรมัชฌัตตุเปกขา,

และพึงทราบความรื่นเริง ด้วยสามารถแห่งความสำเร็จแห่งญาณที่ผ่อง

แผ้วด้วยการยังความไม่ล่วงธรรมทั้งหลายเป็นต้นให้สำเร็จ อย่างไร ? ก็

ในวาระที่อัปปนาเกิดขึ้นนั้น หมู่กิเลสกล่าวคือนิวรณ์ใดเป็นอันตรายต่อฌาน

นั้น จิตย่อมบริสุทธิ์ จากหมู่กิเลสนั้น. เพราะบริสุทธิ์ จิตจึงเว้นจากเครื่อง

กั้น ดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันมีในท่ามกลาง, อัปปนาสมาธิที่เป็นไปพร้อม

นั่นแล ชื่อว่า สมถนิมิตอันมีในท่ามกลาง. ลำดับนั้นปุริจิตเข้าถึงความ

เป็นอย่างนั้น ด้วยการน้อมไปสู่สันตติ ๑ ชื่อว่าย่อมดำเนินไปสู่สมถนิมิต

อันมีในท่ามกลาง เพราะดำเนินไปอย่างนั้น จึงชื่อว่า ย่อมแล่นไปใน

ปฐมฌานนั้น ด้วยการเข้าถึงความเป็นอย่างนั้น. ปฏิปทาวิสุทธิที่ยังอาการ

ซึ่งมีอยู่ในปุริมจิตให้สำเร็จ พึงทราบด้วยสามารถแห่งการบรรลุในอุปปา-

ทักขณะแห่งปฐมฌานก่อน.

ก็เพราะไม่ต้องทำจิตที่บริสุทธิ์อย่างนี้ให้บริสุทธิ์อีก บุคคลจึงไม่ขวน

ขวายในการให้บริสุทธิ์ ชื่อว่า ย่อมเพ่งจิตที่บริสุทธิ์. เมื่อไม่ขวนขวายใน

การตั้งจิตที่ดำเนินไปสู่สมถะ ด้วยการเข้าถึงภาวะแห่งสมถะอีก ชื่อว่าย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

เพ่งจิตที่ดำเนินไปสู่สมถะ ก็เพราะความที่จิตนั้นดำเนินไปสู่สมถะนั่นแล

บุคคลจึงละความเกี่ยวข้องด้วยกิเลส ไม่ต้องขวนขวายในการประชุม

เอกัตตารมณ์ของจิตที่ตั้งมั่นแล้วด้วยเอกัตตารมณ์อีก ชื่อว่า ย่อมเข้าถึงที่

ประชุมเอกัตตารมณ์. พึงทราบการเพิ่มพูลอุเบกขา ด้วยสามารถแห่งกิจ

ของตัตรมัชฌัตตุเปกขา ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ธรรมที่เนื่องกันเป็นคู่ กล่าวคือสมาธิและปัญญา ซึ่งเกิดใน

ปฐมฌานนั้น อันอุเบกขาเพิ่มพูนแล้วอย่างนี้ ไม่เป็นไปล่วงกันและกันเป็น

ไป, อินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้น มีรสเป็นอันเดียวกันด้วยวิมุตติรส เพราะ

พ้นจากกิเลสต่าง ๆ เป็นไป. ความเพียรที่ถึงความเป็นไปกับด้วยรูป ไม่

เป็นไปล่วงธรรมเหล่านั้น สมควรแก่ภาวะที่มีรสเป็นอันเดียวกันเป็นไป.

และการคบหาที่เป็นไปในขณะนั้นแห่งปฐมฌานนั้น อาการเหล่านั้นแม้ทั้ง

หมด เพราะสำเร็จ เพราะเห็นโทษนั้น ๆ และอานิสงส์นั้น ๆ ในความ

เศร้าหมองและความผ่องแผ้ว ด้วย ญาณ จึงรื่นเริง บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ด้วย

ประการนั้น ๆ ฉะนั้น พึงทราบความรื่นเริง ด้วยสามารถแห่งความสำเร็จ

กิจแห่งญาณที่ผ่องแผ้วด้วยการยังความไม่เป็นไปล่วงธรรมทั้งหลายเป็นต้น

ให้สำเร็จท่านกล่าวไว้ดังนี้.

บทว่า วิตถฺกวิจาราน วูปสมา ความว่า เพราะองค์ ๒ เหล่านี้คือ

วิตกด้วย วิจารณ์ด้วย สงบไป มีอธิบายว่า เพราะไม่ปรากฏในขณะแห่ง

ทุติยฌาน.

ในทุติยฌานนั้น พึงทราบว่า ธรรมแห่งปฐมฌานทั้งหมด ไม่มีใน

ทุติยฌานก็จริง ถึงอย่างนั้น ผัสสะเป็นต้น ในปฐมฌานเป็นอย่าง ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

ในทุติยฌานนี้เป็นอย่าง ๑ ก็เพื่อแสดงองค์ที่หยาบว่า การบรรลุทุติยฌาน

เป็นต้นอื่นจากปฐมฌาน ย่อมมีได้เพราะก้าวล่วงองค์ที่หยาบ ดังนี้ ท่าน

จึงกล่าวอย่างนี้ว่า วิตกฺกวิจารน วูปสมา ดังนี้.

ในบทว่า อชฺฌตฺต นี้ ท่านประสงค์ภายในที่แน่นอน อธิบายว่า

เกิดในตน คือบังเกิดในสันดานของตน.

บทว่า สมฺปสาทน ความว่า ศรัทธา ท่านเรียกว่า สมัปสาทนะ

ความผ่องใส แม้ฌานก็ชื่อสัมปสาทนะ เพราะประกอบด้วยความผ่องใส

ดุจผ้าเขียว เพราะประกอบด้วยสีเขียว.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะฌานนั้นยังใจให้ผ่องใส เพราะประกอบด้วย

ความผ่องใส และเพราะยังความกำเริบแห่งวิตกวิจารให้สงบ ฉะนั้น ท่าน

จึงเรียกว่า สัมปสาทนะ. และในอรรถวิกัปนี้ พึงทราบการเชื่อมบทอย่าง

นี้ว่า สมฺปสาทน เจตโส มีความผ่องใสแห่งใจ ดังนี้. ส่วนในอรรถ

วิกัปแรก พึงประกอบบท เจตโส นี้ กับบท เอโกทิภาเวน ในอรรถ

วิกัปนั้นมีอรรถโยชนาดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้น อธิบายว่า เป็น

ธรรมเลิศ คือ ประเสริฐ เพราะไม่ถูกวิตกวิจารท่วมทับผุดขึ้น. ความจริง

แม้ธรรมที่ประเสริฐ ท่านก็เรียกว่า เป็นเอกในโลก.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่เว้นจากวิตกวิจาร เป็นธรรมเอก คือไม่มี

ธรรมที่เป็นไปร่วม ย่อมเป็นไปดังนี้ก็มี.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุทิ เพราะอรรถว่า ยังสัมปยุตธรรมทั้งหลาย

ให้เกิด ความว่า ให้ตั้งขึ้น, ธรรมนั้นเป็นเอก เพราะอรรถว่า ประเสริฐ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

ด้วย ตั้งขึ้นด้วย ดังนั้น จึงชื่อว่า เอโกทิ. คำว่า เอโกทิ นี้ เป็นชื่อ

ของสมาธิ ทุติยฌานนี้มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะอรรถว่า ยัง

ธรรมเอกผุดขึ้นนี้ ให้เกิด คือให้เจริญด้วยประการฉะนี้, ก็ธรรมเอกผุด

ขึ้นนี้นั้น เพราะเป็นของใจ ไม่ใช่ของสัตว์ ไม่ใช่ของชีวิต ฉะนั้น ท่าน

จึงกล่าวทุติยฌานนี้ว่า เจตโส เอโกทิภาว ดังนี้.

อนึ่ง ศรัทธานี้ และสมาธิที่ชื่อว่า เอโกทิ นี้ มีอยู่แม้ในปฐมฌาน

มิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรจึงกล่าวไว้ในที่นี้เท่านั้นว่า สมฺปสาทน

เจตโส เอโกทิภาว ดังนี้ ข้อนั้นจะอธิบายดังต่อไปนี้ :-

ก็ปฐมฌานนี้ย่อมไม่ผ่องใสด้วยดี เพราะวิตกวิจารกำเริบ เหมือน

น้ำกระเพื่อมเพราะระลอกคลื่น ฉะนั้น แม้เมื่อมีศรัทธา ท่านก็ไม่กล่าวว่า

สมฺปสาทน และเพราะไม่ผ่องใสด้วยดีนั่นเอง แม้สมาธิก็ไม่ปรากฏด้วย

ดีในฌานนี้ ฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวแม้ว่า เอโกทิภาว แต่ในฌานนี้

ศรัทธามีกำลังได้โอกาส เพราะไม่มีวิตกวิจารเป็นเครื่องกังวล. และทั้ง

สมาธิก็ปรากฏ เพราะได้ศรัทธาที่มีกำลังเป็นสหายนั่นเอง. เพราะฉะนั้น

พึงทราบว่า ฌานนี้เท่านั้น ท่านกล่าวไว้อย่างนี้.

บทว่า อวิตกฺก อวิจาร ความว่า ชื่อว่า ไม่มีวิตก เพราะอรรถว่า

วิตกไม่มีในฌานนี้ หรือแก่ฌานนี้ เพราะละได้ด้วยภาวนา. ชื่อว่า ไม่มี

วิจาร ก็โดยนัยนี้แหละ. ในที่นี้ท่านท้วงว่า แม้ด้วยบทว่า วิตกฺกวิจาราน

วูปสมา ก็สำเร็จความนี้แล้วมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรท่านจึง

กล่าวว่า อวิตกฺก อวิจาร อีก ? ข้อนั้นจะอธิบายดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

ความนี้สำเร็จแล้วอย่างนี้ทีเดียว แต่บทนี้ มิได้แสดงความนั้น พวก

เราได้กล่าวแล้วมิใช่หรือ เพื่อแสดงองค์ที่หยาบว่า การบรรลุทุติยฌาน

เป็นต้นอื่นจากปฐมฌาน ย่อมมีได้เพราะก้าวล่วงองค์ที่หยาบ ดังนี้ ท่าน

จึงกล่าวอย่างนี้ว่า วิตกฺกวิจาราน วูปสมา ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะวิตกและวิจารสงบไป ฌานนี้จึงมีความผ่องใส

ไม่ใช่เพราะความสกปรกของกิเลสหมดไป และเพราะวิตกและวิจารสงบไป

จึงมีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ซึ่งไม่เหมือนอุปจารฌาน เพราะละนิวรณ์

ได้ เหมือนปฐมฌาน เพราะองค์ฌานปรากฏ คำนี้เป็นคำแสดงเหตุแห่ง

ความผ่องใสและความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่งเพราะวิตกและวิจารสงบไป ฌานนี้จึงไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ไม่

เหมือนตติยฌานและจตุตถฌาน และไม่เหมือนจักษุวิญญาณเป็นต้น เพราะ

ไม่มี นี้เป็นคำแสดงเหตุแห่งความเป็นฌานไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มิใช่แสดง

เพียงความไม่มีวิตกและวิจาร.

คำนี้อีกว่า อวิตกฺก อวิจาร ดังนี้ เป็นคำแสดงเพียงความไม่มี

แห่งวิตกและวิจารเท่านั้น, เพราะฉะนั้น แม้กล่าวอรรถวิกัปแรกแล้ว ก็

พึงกล่าวเหมือนกัน ดังนี้แล.

บทว่า สมาธิช ความว่า เกิดแต่สมาธิในปฐมฌาน หรือแต่

สมาธิที่เป็นสัมปยุตธรรม. ในบทนั้น แม้ปฐมฌานเกิดแต่สมาธิที่เป็นสัม-

ปยุตธรรมก็จริง. ถึงอย่างนั้น ฌานนี้แลก็ควรที่จะกล่าวว่า สมาธิช

เพราะมั่นคงที่สุด และเพราะผ่องใสด้วยดี ด้วยเว้นจากความกำเริบแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

วิตกและวิจาร. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวฌานนี้เท่านั้นว่า สมาธิช เพื่อ

กล่าวสรรเสริญฌานนี้.

บทว่า ปีติสุข นี้มีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

บทว่า ทุติย ได้แก่ ที่ ๒ โดยลำดับการนับ. ชื่อว่า ทุติยะ

เพราะอรรถว่า ฌานนี้เกิดเป็นที่ ๒ ดังนี้ก็มี.

บทว่า ปีติยา จ วิราคา ความว่า ความเกลียดชังก็ดี ความก้าว

ล่วงก็ดี ซึ่งปีติมีประการดังกล่าวแล้ว ชื่อว่า วิราคะ. ก็ ศัพท์ระหว่าง

บททั้ง ๒ มีอรรถว่าประมวล. ศัพท์นั้นย่อมประมวลซึ่งความสงบหรือ

ซึ่งความสงบแห่งวิตกและวิจาร, ในบทนั้น ศัพท์ย่อมประมวลความสงบ

นั่นแล ในกาลใด ในกาลนั้นพึงทราบการประกอบความอย่างนี้ว่า เพราะ

ปีติสิ้นไปด้วยเพราะสงบอะไร ๆ อย่างยิ่งด้วย. ก็ด้วยความประกอบนี้ วิ-

ราคะ ย่อมมีความเกลียดชัง, เพราะฉะนั้น พึงเห็นความดังนี้ว่า เพราะ

เกลียดชัง ปีติด้วยเพราะก้าวล่วงปีติด้วย. ก็ ศัพท์ย่อมประมวลซึ่งความ

สงบแห่งวิตกและวิจาร ในกาลใด ในกาลนั้นพึงทราบการประกอบความ

อย่างนี้ว่า เพราะปีติสิ้นไปด้วย เพราะวิตกและวิจารอะไร ๆ สงบไปอย่าง

ยิ่งด้วย. ก็ด้วยการประกอบความนี้ วิราคะย่อมมีความว่าก้าวล่วง เพราะ

ฉะนั้น พึงเห็นความดังนี้ว่า เพราะก้าวล่วงปีติด้วย เพราะวิตกและวิจาร

สงบไปด้วย.

ก็วิตกและวิจารเหล่านี้สงบแล้วในทุติยฌานนั้นแล ก็จริง ถึงอย่าง

นั้นท่านก็กล่าวบทนี้ เพื่อแสดงมรรคของฌานนี้ และเพื่อกล่าวสรรเสริญ

ฌานนี้. ถามว่า ก็เมื่อกล่าวว่า เพราะวิตกและวิจารสงบไปดังนี้ ฌานนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

ย่อมปรากฏ ความสงบแห่งวิตกและวิจารเป็นมรรคแห่งฌานนี้ มิใช่หรือ ?

แก้ว่า เหมือนอย่างว่า เมื่อกล่าวถึงการละอย่างนี้ว่า เพราะละสังโยชน์

เบื้องต่ำ ๕ มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้ที่ยังละไม่ได้ในอริยมรรคที่ ๓ ย่อม

เป็นการกล่าวสรรเสริญ เพื่อให้เกิดอุตสาหะแก่ผู้ที่ขวนขวายเพื่อบรรลุฌาน

นั้น ฉันใด เมื่อกล่าวถึงความสงบวิตกและวิจารแม้ที่ยังไม่สงบในที่นี้ ย่อม

เป็นการกล่าวสรรเสริญ ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น ความนี้ท่าน

กล่าวเพราะก้าวล่วงปีติ และเพราะวิตกและวิจารสงบไป.

ในบทว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ นี้ ชื่อว่า อุเบกขา เพราะ

อรรถว่า เห็นโดยความเข้าถึง อธิบายว่า เห็นเสมอ คือเป็นผู้ไม่ตกไป

ในฝักใฝ่เลยเห็น. ผู้พร้อมเพรียงด้วยตติยฌาน ท่านเรียกว่า ผู้มีอุเบกขา

เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขานั้น ซึ่งบริสุทธิ์ไพบูลย์มีกำลัง. ก็อุเบกขา

มี ๑๐ อย่าง คือ ฉฬังคุเบกขา, พรหมวิหารุเบกขา, โพชฌังคุเบกขา,

วิริยุเบกขา, สังขารุเบกขา, เวทนุเบกขา, วิปัสสนุเบกขา, ตัตรมัชฌัตตุ

เบกขา, ฌานุเบกขา, และปาริสุทธิอุเบกขา.

บรรดาอุเบกขาเหล่านั้น อุเบกขาที่มีภาวะปกติคือบริสุทธิ์ เป็น

อาการละคลองแห่งอารมณ์ ๖ ทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ใน

ทวาร ๖ ของพระขีณาสพ มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้มีขีณาสพ

ในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้มีอุเบกขา มี

สติสัมปชัญญะอยู่ดังนี้ นี้ชื่อว่า ฉฬังคุเบกขา.

อุเบกขาที่มีอาการเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลาย มาในบาลีอาคตสถาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

อย่างนี้ว่า มีใจสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปสู่ทิศ ๑ อยู่ ดังนี้ นี้ชื่อว่า พรหม

วิหารุเบกขา.

อุเบกขาที่มีอาการเป็นกลางแห่งสหชาตธรรมทั้งหลาย มาในบาลีอา-

คตสถานอย่างนี้ว่า เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ซึ่งอาศัยวิเวก ดังนี้ นี้ชื่อว่า

โพชฌังคุเบกขา.

อุเบกขากล่าวคือความเพียรที่ไม่ปรารภเกินไป ไม่ย่อหย่อนเกินไป

มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า มนสิการถึงอุเบกขานิมิตตามกาลอันสมควร

ดังนี้ นี้ชื่อว่า วิริยุเบกขา.

อุเบกขาที่พิจารณานิวรณ์เป็นต้นแล้วเป็นกลางในการถือเอา ข้อตกลง

มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า สังขารุเบกขาเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธิ

เท่าไร สังขารเปกขาเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา เท่าไร สังขารุเบก-

ขา ๘ เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธิ สังขารุเบกขา ๑๐ เกิดขึ้นด้วย

สามารถแห่งวิปัสสนา ดังนี้ นี้ชื่อว่า สังขารุเบกขา.

อุเบกขาที่เรียกกันว่าไม่ทุกข์ไม่สุข มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า

สมัยใด กุศลจิตฝ่ายกามาพจรเกิดขึ้นแล้ว สหรคตด้วยอุเบกขา ดังนี้ นี้

ชื่อว่า เวทนุเปกขา.

อุเบกขาที่เป็นกลางในการพิจารณา มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า

ละสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่นั้นเสีย ได้เฉพาะอุเบกขา ดังนี้ นี้ชื่อว่า วิปัสสนุ

เบกขา.

อุเบกขาที่มาในเยวาปนกธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น ซึ่งสหชาต-

ธรรมนำไปด้วยดีแล้ว นี้ชื่อว่า ตัตรมัชฌัตตุเปกขา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

อุเบกขาที่ไม่ให้การตกไปในฝักใฝ่เกิดขึ้นในอารมณ์นั้น แม้เป็นสุข

อย่างยอดเยี่ยม มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า เป็นผู้มีอุเบกขาอยู่ ดังนี้

นี้ชื่อว่า ฌานุเบกขา.

อุเบกขาที่บริสุทธิ์จากข้าศึกคือกิเลสทั้งปวง ไม่ต้องขวนขวายแม้ใน

การยังข้าศึกคือกิเลสให้สงบ มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า จึงบรรลุ

จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดังนี้

นี้ชื่อว่า ปาริสุทธิอุเบกขา.

บรรดาอุเบกขาเหล่านั้น ฉฬังคุเปกขา พรหมวิหารุเปกขา โพชฌัง

คุเปกขา ตัตรมัชฌัตตุเปกขา ฌานุเปกขา และปาริสุทธุเปกขา โดย

ความก็เป็นตัตรมัชฌัตตุเปกขาอย่างเดียวเท่านั้น. ก็ตัตรมัชฌัตตุเปกขานั้น

มีประเภทดังนี้โดยประเภทแห่งตำแหน่งนั้น ๆ ดุจสัตว์แม้คนเดียว มี

ประเภทเป็นเด็ก เป็นหนุ่มสาว เป็นผู้ใหญ่ เป็นเสนาบดี และเป็น

พระราชาเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น ในอุเบกขาเหล่านี้ ในที่ใดมีฉฬังคุ

เปกขา ในที่นั้นไม่มีโพชฌังคุเปกขาเป็นต้น ก็หรือในที่ใดมีโพชฌังคุเปกขา

ในที่นั้นไม่มีฉฬังคุเปกขาเป็นต้น พึงทราบดังนี้.

อุเบกขาเหล่านั้น โดยความก็เป็นอย่างเดียวกัน ฉันใด แม้สังขารุ

เปกขาและวิปัสสนุเปกขา โดยความก็เป็นอย่างเดียวกัน ฉันนั้น ก็ปัญญา

นั่นแล แบ่งเป็น ๒ อย่างด้วยสามารถแห่งกิจ เหมือนอย่างว่า บุรุษถือ

ท่อนไม้เหมือนกีบแพะค้นหางูที่เข้าเรือนเวลาเย็น เห็นมันนอนอยู่ในฉาง

แกลบ พิจารณาดูว่า งูหรือมิใช่หนอ เห็นลักษณะงูชัด ๓ อย่างก็หมดสงสัย

เกิดความเป็นกลางในการค้นหาว่า งู ไม่ใช่งู ฉันใด ความเป็นกลางใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

การพิจารณาความไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลายเป็นต้น ในเมื่อเห็นไตรลักษณ์

ด้วยวิปัสสนาญาณ เกิดขึ้นแก่ผู้ปรารภวิปัสสนา ฉันนั้นนั่นแลความเป็น

กลางนี้ชื่อว่า วิปัสสนุเปกขา. ก็เมื่อบุรุษนั้นจับงูไว้มั่นด้วยท่อนไม้มีลักษณะ

เหมือนกีบแพะ คิดว่า เราจะไม่เบียดเบียนงูนี้ และจะไม่ให้งูนี้กัดเรา

จะพึงปล่อยไปอย่างไร เมื่อกำลังคิดหาวิธีปล่อยอยู่นั้นแล มีความเป็น

กลางในการจับงูไว้ ฉันใด เมื่อบุคคลเห็นภพทั้ง ๓ เหมือนถูกไฟไหม้

เพราะเห็นไตรลักษณะแล้ว ความเป็นกลางในการยึดถือสังขารมีขึ้นฉันนั้น

เหมือนกัน ความเป็นกลางนี้ชื่อว่า สังขารุเปกขา. แม้สังขารุเปกขาก็ย่อม

สำเร็จด้วยความสำเร็จแห่งวิปัสสนุเปกขา ด้วยประการฉะนี้. ก็ด้วยประการ

นี้ สังขารุเปกขานี้จึงแบ่งเป็น ๒ โดยกิจ กล่าวคือความเป็นกลางในการ

พิจารณาและการยึดถือ. ส่วนวิริยุเปกขาและเวทนุเปกขาต่างกันและกัน

และต่างจากอุเบกขาที่เหลือลงทั้งหลายโดยครามเท่านั้นแล.

และท่านสรุปไว้ในที่นี้ว่า :-

อุเปกขา โดยพิสดารมี ๑๐ คือ ตัตรมัชฌัตตุเปกขา

พรหมวิหารุเปกขา โพชฌังคุเปกขา ฉฬังคุเปกขา ฌานุ-

เปกขา ปาริสุทธุเปกขา วิปัสสนุเปกขา สังขารุเปกขา

เวทนุเปกขา วิริยุเปกขา แบ่งที่เป็นความเป็นกลางเป็น

ต้น ๖ ที่เป็นปัญญา ๒ อย่าง อย่างละ ๒ รวมเป็น ๔ ดังนี้.

บรรดาอุเบกขาเหล่านี้ ฌานุเปกขาท่านประสงค์เอาในที่นี้ ด้วย

ประโยคการฉะนี้. ฌานุเปกขานั้น มีมัชฌัตตะความเป็นกลาง เป็นลักษณะ.

ในข้อนี้ท่านกล่าวไว้ว่า ก็ฌานุเปกขานี้ โดยความก็คือ ตัตรมัชฌัตตุเปกขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

นั่นเอง มิใช่หรือ และณานุเปกขานั้นก็มีอยู่แม้ในปฐมฌานและทุติยฌาน

ฉะนั้น ฌานุเปกขานี้จึงควรกล่าวแม้ในฌานนั้นอย่างนี้ว่า เป็นผู้มีอุเบกขาอยู่

เพราะเหตุไรท่านจึงไม่กล่าวไว้ เพราะไม่ประกอบกิจที่จะต้องขวนขวาย

ด้วยว่าฌานุเปกขานั้นไม่มีกิจในฌานนั้นที่ต้องขวนขวาย เพราะวิตกเป็น

ต้นครอบงำไว้ แต่ในฌานนี้ เพราะวิตกวิจารและปีติมิได้ครอบงำ จึง

เป็นเหมือนเงยศีรษะขึ้น มีกิจที่ต้องขวนขวาย ฉะนั้น จึงกล่าวไว้.

ในบทว่า สโต จ สมฺปชาโน นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่า

มีสติ เพราะอรรถว่า ระลึกได้. ชื่อว่า มีสัมปชัญญะ เพราะอรรถ

ว่า รู้ตัว. สติด้วยสัมปชัญญะด้วย ท่านกล่าวโดยบุคคลาธิษฐาน สติมี

ลักษณะระลึกได้ สัมปชัญญะมีลักษณะไม่ลุ่มหลง ในข้อนั้น สติและ

สัมปชัญญะนี้มีอยู่แม้ในฌานต้น ๆ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เมื่อบุคคลลืมสติ

ไร้สัมปชัญญะ แม้เพียงอุปจารก็ไม่สำเร็จ จะป่วยกล่าวไปใยถึงอัปปนะ.

เพราะฌานเหล่านั้นมีองค์หยาบ จิตของบุรุษก็เหมือนภาคพื้น ย่อมมีคติ

เป็นสุข. ในฌานเหล่านั้นไม่ต้องขวนขวายกิจแห่งสติสัมปชัญญะ แต่เพราะ

ฌานนี้สุขุมเพราะละองค์ที่หยาบได้ จึงต้องปรารถนาคติแห่งจิตกำหนดกิจ

แห่งสติสัมปชัญญะของบุรุษดุจคมมีดโกนนั่นแล ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ ด้วย

ประการฉะนี้.

ยังมีอะไร ๆ ที่พึงทราบให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ลูกโคที่ยังดื่มน้ำ ถูกพราก

จากแม่โค เมื่อไม่ระวังรักษา ก็เข้าหาแม่โคอีกร่ำไป ฉันใด สุขใน

ตติฌานนี้ก็ฉันนั้น ถูกพรากจากปีติ เมื่อไม่รักษาด้วยสติสัมปชัญญะ

พึงเข้าหาปีติอีกนั่นเทียว พึงสัมปยุตด้วยปีติอยู่นั่นเอง. อนึ่งเหล่าสัตว์ก็ยัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

กำหนัดนักในสุขอยู่นั้นเอง. เพื่อแสดงอรรถพิเศษแม้นี้ว่า ก็สุขนี้เป็นสุข

ที่หวานยิ่งเพราะไม่มีสุขที่ยิ่งกว่านั้น ก็ความไม่กำหนัดนักในสุขในฌานนี้

ย่อมมีด้วยอานุภาพสติสัมปชัญญะ มิใช่มีด้วยอย่างอื่น ดังนี้ ท่านจึงกล่าว

คำนี้ไว้ในที่นี้นั้นแล.

บัดนี้ จะวินิจฉัยบทนี้ว่า สุขญฺจ กาเยน ปฏิสเวเทติ ดังนี้

ความผูกใจในการเสวยสุขของผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยตติยฌาน ย่อมไม่

มีก็จริง แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุใดผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยตติยฌาน

นั้นจึงมีสุขอันสัมปยุตด้วยนามกาย เพราะตติยฌานนั้น มีสุขอันสัมปยุตด้วย

นามกายอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นสมุฏฐาน เหตุใดรูปกายอันรูปที่ประณีต

จึงจะถูกต้องแล้ว เพราะรูปกายอันรูปที่ประณีตยิ่งถูกต้องแล้ว แม้ออก

จากฌานแล้วก็พึงเสวยสุข. ฉะนั้น เมื่อจะแสดงความนั้น ท่านจึงกล่าว

ว่า สุขญฺจกาเยน ปฏิสเวเทติ ดังนี้.

บัดนี้ จะวินิจฉัยในบทนี้ว่า ยนฺต อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺข

โก สติมา สุขวิหารี ดังนี้ พระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

ทรงสรรเสริญ แสดง บัญญัติแต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้

ตื่นขึ้นประกาศซึ่งบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยตติยฌานนั้น เพราะ

เหตุการณ์แห่งฌานใด อธิบายว่า สรรเสริญ สรรเสริญว่าอย่างไร ?

สรรเสริญว่าเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. พึงทราบการประกอบความ

ในบทนี้อย่างนี้ว่าเข้าตติยฌานนั้นอยู่ ก็เพราะเหตุไรพระอริยะเหล่านั้น

จึงสรรเสริญตติยฌานนั้นอย่างนี้เพราะควรแก่การสรรเสริญ คือ เพราะผู้มี

อุเบกขาในตติยฌานแม้ถึงบารมีคือสุข ซึ่งเป็นสุขอย่างยิ่ง ก็ไม่ถูกความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

ติดสุขในฌานนั้นฉุดคร่าไว้ชีวิต เป็นผู้มีสติ เพราะความเป็นผู้มีสติ

ตั้งมั่น โดยอาการที่ปีติจะเกิดขึ้นไม่ได้และเพราะเสวยสุขที่พระอริยะยินดี

คือที่อริยชนเสพนั้นแล และเป็นสุขไม่เศร้าหมอง ด้วยนามกาย ฉะนั้น

จึงเป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญ พระอริยะทั้งหลายเมื่อประกาศคุณที่เป็นเหตุ

ควรแก่การสรรเสริญอย่างนี้เหล่านั้น จึงสรรเสริญตติยฌานนั้นโดยควร

แก่การสรรเสริญอย่างนี้ว่า อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารี ประการฉะนี้

พึงทราบดังนี้.

บทว่า ตติย ได้แก่ ที่ ๓ โดยลำดับการนับ. ฌานนี้ ชื่อว่า

ตติยะ เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นเป็นที่ ๓ ดังนี้ก็มี.

บทว่า สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ความว่า

เพราะละสุขทางกายและทุกข์ทางกาย.

บทว่า ปุพฺเพว ได้แก่ สุขและทุกข์นั้นแล ในกาลก่อน มิใช่ใน

ขณะแห่งจตุตถฌาน.

บทว่า โสมนสฺสโทนนสฺสาน อตฺถงฺคมา ความว่า เพราะ

ถึงความดับแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้ง ๒ แม้เหล่านี้ คือ สุขทางใจ และ

ทุกข์ทางใจ ในก่อนเที่ยว ท่านอธิบายว่าเพราะละ นั่นเอง. ก็การละ

โสมนัสโทมนัสเหล่านั้นมีในกาลไร มีในขณะแห่งอุปจาระของฌานทั้ง ๔

โสมนัส ละได้ในขณะแห่งอุปจาระของฌานที่ ๔ นั่นเอง.

ทุกข์โทมนัสและสุข ละได้ในขณะแห่งอุปจาระของฌานที่ ๑ ที่ ๒

และที่ ๓ พึงทราบการละสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัส ที่กล่าวไว้

แม้ในที่นี้ ตามลำดับอุทเทสแห่งอินทรีย์ทั้งหลายในอินทริยวิภังค์ ซึ่งมิได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

กล่าวไว้ตามลำดับการละสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัสเหล่านั้น ด้วย

ประการฉะนี้.

ก็ถ้าสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัสเหล่านี้ ละได้ในขณะแห่ง

อุปจาระของฌานนั้น ๆ เท่านั้น, เมื่อเป็นเช่นนั้นเหตุไรพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสความดับในฌานทั้งหลายนั้นแลไว้อย่างนี้ว่า ก็ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นใน

ที่ไหน ก็ย่อมดับไม่เหลือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัด

จากก้านทั้งหลาย ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ ทุกขินทริย์ที่เกิดขึ้นในปฐมฌาน

น ย่อมดับไม่เหลือ ก็โทมนัสสินทรีย์ สุขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ เกิดขึ้น

ในที่ไหน ก็ย่อมดับไม่เหลือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เพราะละสุข ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานอยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เกิด มโน

จตุตถฌานนี้ ก็ย่อมดับไม่เหลือ ดังนี้ เพราะดับอย่างสมบูรณ์ ก็ความ

ดับอย่างสมบูรณ์มิใช่ความดับแห่งสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัสเหล่านั้น

ในปฐมฌานเป็นต้น.

อนึ่ง ความดับนั่นแหละมิใช่ความดับอย่างสมบูรณ์ในขณะแห่ง

อุปจาระ จริงอย่างนั้น ทุกขินทรีย์แม้ดับในอุปจาระแห่งปฐมฌาน ใน

เพราะการละต่าง ๆ พึงเกิดขึ้นเพราะสัมผัสแห่งเหลือบยุงเป็นต้นก็มี เพราะ

ลำบากด้วยอาสนะไม่เรียบก็มี แต่ภายในอัปปนาไม่มีเลย.

อีกอย่างหนึ่ง ทุกขินทรีย์แม้ที่ดับในอุปจาระนี้ ย่อมไม่เป็นอันดับ

ความดี เพราะไม่ถูกปฏิปักษ์กำจัด ก็กายทั้งปวงหยั่งลงสู่ความสุขด้วยการ

แผ่ไปแห่งปีติภายในอัปปนา. และทุกขินทรีย์ของกายหยั่งลงสู่ความสุข

ย่อมเป็นอันดับด้วยดี เพราะถูกปฏิปักษ์กำจัด สำหรับโทมนัสสินทรีย์ที่แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

ละได้ในอุปจาระแห่งทุติยฌานในเพราะการละต่าง ๆ นั้นแล เพราะเมื่อมี

ความลำบากกาย และความเดือนร้อนใจซึ่งมีวิตกวิจารเป็นปัจจัย โทมนัส-

สินทรีย์นั้นย่อมเกิดขึ้น และจะเกิดขึ้นไม่ได้ในเพราะไม่มีวิตกวิจาร. อนึ่ง

ยังละวิตกวิจารในอุปจาระแห่งทุติยฌานไม่ได้เลย ดังนั้น โทมนัสสินทรีย์นั้น

พึงเกิดขึ้นในทุติยฌานนั้น เพราะยังละปัจจัยไม่ได้. แต่ในทุติยฌานนั้น

ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะละปัจจัยได้ สุขินทรีย์แม้ที่ละได้ในอุปจาระแห่ง

ตติยฌาน ก็อย่างนั้นพึงเกิดขึ้นแก่กายที่มีปีติเป็นสมุฏฐานและรูปอันประณีต

ถูกต้องแล้ว แต่ในตติยฌานไม่ใช่อย่างนั้น.

ด้วยว่า ปีติที่เป็นปัจจัยแก่สุขในตติยฌาน ดับโดยประการทั้งปวง

แล. โสมนัสสินทรีย์แม้ที่ละได้ในอุปจาระแห่งจตุตถฌานก็อย่างนั้น พึง

เกิดขึ้นเพราะใกล้ และเพราะไม่ก้าวล่วงแล้วโดยชอบ เพราะไม่มีอุเบกขา

ที่ถึงอัปปนา แต่ในจตุตถฌานไม่ใช่อย่างนั้น.

ก็เพราะฉะนั้นแล ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นในจตุตถฌานนี้จึงดับไม่เหลือ

ดังนั้น ท่านจึงกระทำการถือเอาว่าไม่เหลือไว้ในฌานนั้น ๆ แล. ในเรื่องนี้

มีผู้ท้วงว่าเมื่อเป็นอย่างนั้น เวทนาเหล่านี้ แม้ละได้แล้วในอุปจาระแห่ง

ฌานนั้น ๆ เหตุไรจึงนำมารวมไว้ในที่นี้ แก้ว่า เพื่อถือเอาสะดวก.

ก็อทุกขมสุขเวทนาที่ท่านกล่าวว่า อทุกฺขมสุข นี้ใด อทุกขมสุข

เวทนานั้นสุขุม รู้แจ้งได้ยาก ใคร ๆ ไม่อาจจะถือเอาโดยสะดวก. เพราะ

ฉะนั้น จึงนำเวทนาเหล่านี้ทั้งหมดมารวมไว้ เพื่อถือเอาสะดวก เหมือน

คนเลี้ยงโคนำโคทั้งหมดมารวมไว้ในดอกแห่งหนึ่ง เพื่อจะจับโคดุที่ใคร ๆ

ไม่อาจจะเข้าไปจับได้ด้วยวิธีไร ๆ ครั้นแล้วเอานำโคออกทีละตัว ให้คน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

จับโคดุตัวนั้นที่หาตามลำดับ ด้วยคำว่า ตัวนี้คือโคดุตัวนั้น พวกท่านจง

จับมัน ฉะนั้นแล. ครั้นแสดงเวทนาเหล่านั้นที่นำมารวมไว้อย่างนี้แล้ว

ก็อาจที่จะถือเอาเวทนานี้ที่ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่โสมนัส ไม่ใช่โทมนัส

ว่า นี้คืออทุกขมสุขเวทนา.

อีกอย่างหนึ่ง เวทนาเหล่านี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดง

ปัจจัยแก่เจโตวิมุตติอันเป็นอทุกขมสุข. ก็การละสุขทุกข์เป็นต้น เป็นปัจจัย

แก่เจโตวิมุตตินั้น เหมือนอย่างที่กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ปัจจัยเพื่อการ

เข้าถึงเจโตวิมุตติที่เป็นอทุกขมสุข มี ๔ แล ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ เพราะละสุข ฯลฯ เข้าจตุตถฌานอยู่ ดูก่อนอาวุโส ปัจจัย ๔

เหล่านั้นแล เพื่อการเข้าถึงเจโตวิมุตติที่เป็นอทุกขมสุขดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง สักกายทิฏฐิเป็นต้นไม้ที่ละได้ในที่อื่น ท่านก็กล่าวว่า

ละได้ในฌานนั้น เพื่อกล่าวสรรเสริญตติยมรรค ฉันใด เวทนาเหล่านั้น

พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ เพื่อกล่าวสรรเสริญฌานนั้น ฉันนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง เวทนาเหล่านี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวแม้เพื่อแสดง

ว่าราคะและโทสะอยู่ไกลยิ่ง ในฌานนี้ด้วยการกำจัดปัจจัย.

ด้วยว่าในเวทนาเหล่านี้ สุขเป็นปัจจัยแก่โสมนัส โสมนัสเป็นปัจจัย

แก่ราคะ ทุกข์เป็นปัจจัยแก่โทมนัส โทมนัสเป็นปัจจัยแก่โทสะ และราคะ

โทสะที่มีปัจจัยก็ถูกกำจัดด้วยการทำลายความสุขเป็นต้นเสีย ดังนั้นจึงมีอยู่

ในที่ไกลยิ่ง ฉะนี้แล.

๑. อนาคามิมรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

บทว่า อทุกฺขมสุข ความว่า ชื่อว่า ไม่มีทุกข์ เพราะความไม่

แห่งทุกข์ ชื่อว่า ไม่มีสุข เพราะความไม่มีแห่งสุข.

ด้วยบทนี้ ท่านแสดงตติยเวทนาซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์สุข ใน

ฌานนี้ มิใช่แสดงเพียงความไม่มีทุกข์สุข, อทุกขมสุขที่ชื่อว่าตติยเวทนา

ท่านเรียกว่า อุเบกขา ก็มี. อุเบกขานั้น พึงทราบว่ามีความเสวยอารมณ์

ที่ตรงกันข้ามกันอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์เป็น ลักษณะ มีความเป็น

กลางในอารมณ์เป็นรส มีความไม่เด่นชัดเป็นปัจจุปปัฏฐาน มีความดับ

แห่งสุขทุกข์เป็นปทัฏฐาน.

บทว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ ได้แก่ มีความบริสุทธิ์แห่งสติที่

ให้เกิดด้วยอุเบกขา. ก็สติในฌานนี้บริสุทธิ์ดี, และความบริสุทธิ์แห่งสตินั้น

การทำด้วยอุเบกขา มิใช่ด้วยอย่างอื่น. เพราะฉะนั้น ฌานนี้ท่านจึงเรียกว่า

มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์แห่งสติในฌานนี้ มีด้วยอุเบกขาใด อุเบกขา

นั้น พึงทราบว่า ตัตรมัชฌัตตุเปกขา โดยความ. อนึ่งมิใช่ด้วยอุเบกขา

นั้นอย่างเดียวที่เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ในฌานนี้ ยังมีสัมปยุตธรรมแม้

ทั้งปวงด้วย, แต่ท่านยกสติขึ้นแสดงเป็นข้อสำคัญ.

ในฌานเหล่านั้น อุเบกขานี้มีอยู่ในฌานทั้ง ๓ หลัง ๆ กันจริง ก็

เหมือนอย่างว่าดวงจันทร์ถึงมีอยู่ในกลางวัน ก็ไม่บริสุทธิ์ผ่องใส เพราะ

ถูกรัศมีดวงอาทิตย์ครอบงำ และเพราะไม่ได้ราตรี ซึ่งเป็นสภาคะกันโดย

ความเป็นดวงจันทร์หรือโดยเป็นอุปการะแก่ตน ฉันใด ดวงจันทร์ คือ

ตัตรมัชณัตตุเปกขานี้ก็ฉันนั้น ถึงมีอยู่ก็ไม่บริสุทธิ์ ในประเภทแห่งปฐม

ฌานเป็นต้น เพราะถูกเดชแห่งธรรมที่เป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้นครอบงำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

และเพราะไม่ได้ราตรี คืออุเบกขาเวทนาซึ่งเป็นสภาคะกัน. อนึ่ง เมื่อ

อุเบกขานั้นไม่บริสุทธิ์ สติเป็นต้นแม้เกิดร่วมกัน ก็ไม่บริสุทธิ์ไปด้วย

เหมือนรัศมีแห่งดวงจันทร์ไม่บริสุทธิ์ในกลางวัน ฉะนั้น, เพราะฉะนั้น

จึงมิได้กล่าวในฌานเหล่านั้น แม้ฌานเดียวว่า มีอุเบกขาเป็นเหตุ

ให้สติบริสุทธิ์. แต่ในจตุตถฌานนี้ ดวงจันทร์คือ ตัตรมัชฌัตตุเปกขา

นี้ บริสุทธิ์อย่างยิ่ง เพราะไม่มีเดชแห่งธรรมที่เป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้น

ครอบงำ และเพราะได้ราตรีคือ อุเบกขาเวทนา ซึ่งเป็นสภาคะกัน.

สติเป็นต้นแม้ที่เกิดร่วมกัน ย่อมบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะตัตร-

มัชฌัตตุเปกขานั้นบริสุทธิ์ เหมือนรัศมีแห่งดวงจันทร์บริสุทธิ์ฉะนั้น

เพราะฉะนั้น จตุตถฌานนี้เท่านั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า มีอุเบกขา

เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์.

บทว่า จตุตฺถ ความว่า ที่ ๔ โดยลำดับการนับ ฌานนี้ชื่อว่า

จตุตถะ เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นเป็นที่ ๔ ดังนี้ก็มี.

บทว่า ปญฺญวา โหติ ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญา เพราะ

อรรถว่า ปัญญาของภิกษุนั้นมีอยู่.

บทว่า อุทยตฺถคามินิยา ได้แก่ เครื่องให้ถึงความเกิดด้วย

เครื่องให้ถึงความดับด้วย.

บทว่า สนนฺนาคโต ได้แก่ บริบูรณ์.

บทว่า อริยาย ได้แก่ ปราศจากโทษ.

บทว่า นิพฺเพธิกาย ได้แก่ เป็นไปในฝักใฝ่แห่งการชำแรกกิเลส.

บทว่า ทุกฺขกฺขยคามินิคา ได้แก่ เครื่องให้ถึงนิพพาน. ในบท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

มีอาทิอย่างนี้ว่า โส อิท ทุกฺข ดังนี้ พึงทราบความอย่างนี้ว่า ย่อม

รู้ชัด คือแทงตลอดทุกขสัจแม้ทั้งปวงตามความเป็นจริง ด้วยการแทง

ตลอดลักษณะพร้อมทั้งรสว่า ทุกข์มีประมาณเท่านี้ ทุกข์ไม่ยิ่งไปกว่านี้.

ย่อมรู้ชัด คือแทงตลอดตัณหาซึ่งเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ นั้นตามความเป็น

จริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งรสว่า นี้ เหตุเกิดแห่งทุกข์,

ย่อมรู้ชัด คือ แทงตลอดนิพพานซึ่งเป็นฐานะที่ทุกข์และทุกขสมุทัยทั้ง ๒

นั้นถึงแล้วดับไป คือทุกข์และทุกขสมุทัยทั้ง ๒ นั้น เป็นต้นไปไม่ได้

ตามความเป็นจริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งรสว่า นี้ความดับ

แห่งทุกข์. และย่อมรู้ชัด คือแทงตลอดอริยมรรคเครื่องให้ถึงความดับ

แห่งทุกข์นั้น ตามความเป็นจริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งรส

ว่า นี้ ปฏิปทาเครื่องดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์.

พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงสัจจะทั้งหลายโดยย่ออย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะแสดงโดยปริยายด้วยสามารถแห่งกิเลส จึง กล่าวคำว่า. อิเม อาสวา

ดังนี้เป็นต้น. อาสวะเหล่านั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว.

พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงสิกขา ๓ อย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะ

แสดงลำดับสิกขา ๓ เหล่านั้นอย่างบริบูรณ์ จึงกล่าวคำว่า อิมา ติสฺโส

สิกฺขาโย อาวชฺชนฺโต สิกฺเขยฺย ดังนี้เป็นต้น.

คำนั้นมีความดังต่อไปนี้ :- สัตว์ผู้เกิดมาแม้เมื่อนึกถึงพึงศึกษาเพื่อ

ให้บริบูรณ์เป็นอย่าง ๆ, ครั้นนึกถึงแล้ว เมื่อรู้ว่า สิกขาชื่อนี้ พึงศึกษา,

ครั้นรู้แล้ว เมื่อเห็นอยู่บ่อย ๆ พึงศึกษา, ครั้นเห็นแล้ว เมื่อพิจารณา

ตามที่เห็นแล้ว พึงศึกษา, ครั้นพิจารณาแล้ว เมื่ออธิษฐานจิตให้มั่นใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

สิกขา ๓ นั้นแล พึงศึกษา, แม้เมื่อกระทำกิจของตน ๆ ที่สัมปยุตด้วย

สิกขานั้น ๆ ด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา พึงศึกษา, เมื่อ

กระทำกิจนั้น ๆ แม้ในกาลเป็นที่รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่า พึงศึกษา

สิกขา ๓ ดังนี้. พึงประพฤติเอื้อเฟื้ออธิศีล. พึงประพฤติเอื้อเฟื้ออธิจิต,

พึงสมาทานประพฤติอธิปัญญา.

บทว่า อิธ เป็นบทเดิม. คำสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้ากล่าว

คือ ไตรสิกขานั้นแล พระสารีบุตรเถระกล่าวแล้วด้วยบท ๑๐ บท มีบท

ว่า อิมิสฺสา ทิฏฺิยา เป็นต้น. ก็คำสอนนั้นท่านเรียกว่า ทิฏฐิ

เพราะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงเห็นแล้ว. คำสอนนั้นแล ท่านเรียกว่า

ขันติ ด้วยสามารถความอดกลั้น, เรียกว่า รุจิ ด้วยสามารถความชอบใจ.

เรียกว่า อาทายะ ด้วยสามารถความยึดถือ. เรียกว่า ธรรม ด้วย อรรถว่า

สภาวะ, เรียกว่า วินัย ด้วยอรรถว่า พึงศึกษา. เรียกว่า ธรรมวินัย

แม้ด้วยเหตุทั้ง ๒ นั้น. เรียกว่า ปาพจน์ ด้วยสาหารถเป็นไปทั่ว,

เรียกว่า พรหมจรรย์ ด้วยอรรถว่า ประพฤติธรรมอันประเสริฐ,

เรียกว่า สัตถุศาสน์ ด้วยสามารถประทานคำพร่ำสอน.

เพราะเหตุนั้น ในบทว่า อิมิสฺสา ทิฏฺิยา เป็นต้น พึงทราบ

ความอย่างนี้ว่า ในพุทธธรรนวินัยนี้ ในพุทธปาพจน์นี้ ในพุทธพรหม

จรรย์นี้ ในพุทธสัตถุศาสน์นี้ ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนโคตมี ในพุทธ

ทิฏฐินี้ ในพุทธขันตินี้ ในพุทธรุจินี้ ในพุทธอาทายะนี้ ในพุทธธรรม

ในพุทธวินัยนี้ เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อมี

กำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด. เป็นไปเพื่อความประกอบ ไม่เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

ไปเพื่อคลายความประกอบ, เป็นไปเพื่อความสะสม ไม่เป็นไปเพื่อปราศ

จากความสะสม, เป็นไปเพื่อความยึดมั่น ไม่เป็นไปเพื่อความสละวาง,

เป็นไปด้วยความมักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความมักน้อย, เป็นไปเพื่อความไม่

สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ, เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ

ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด, เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อ

ปรารภความเพียร, เป็นไปเพื่อความเป็นผู้เลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความ

เป็นผู้เลี้ยงง่าย. ดูก่อนโคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้โดยส่วนเดียว

ว่า นั้นใช่ธรรม, นั้นไม่ใช่วินัย. นั้นไม่ใช่สัตถุศาสน์ดังกล่าวมาแล้วนี้,

ดูก่อนโคตมี อนึ่งเธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแล ว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นไปเพื่อ

คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อมีกำหนัด, ฯลฯ เป็นไปเพื่อความเป็นผู้เลี้ยง

ง่าย, ดูก่อนโคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้โดยส่วนเดียวว่านั่นเป็น

ธรรม, นั่นเป็นวินัย, นั่นเป็นสัตถุศาสน์.

อีกอย่างหนึ่ง คำสอนทั้งสิ้น กล่าวคือ ไตรสิกขานั้น ชื่อว่า ทิฏฐิ

เพราะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงเห็นแล้ว เพราะเป็นปัจจัยแก่สัมมาทิฏฐิ

และทรงมีสัมมาทิฏฐิเป็นประธาน. ชื่อว่า ขันติ ด้วยสามารถความควร

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า รุจิ ด้วยสามารถความชอบใจ, ชื่อว่า

อาทายะ ด้วยสามารถยึดถือ, ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า ทรงการก

ของตนไม่ให้ตกไปในอบายทั้งหลาย, ชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า กำจัด

ฝ่ายสังกิเลสของธรรมนั้นนั่นแล. ชื่อว่า ธรรมวินัย เพราะอรรถว่า เป็น

ธรรมด้วยเป็นวินัยด้วย, อิกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธรรมวินัย เพราะอรรถว่า

กำจัดอกุศลธรรมทั้งหลายด้วยกุศลธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

เพราะเหตุนั้นแหละจึงตรัสว่า เย จ โข ตฺว โคตมิ ธมฺเม

ชาเนยฺยาสิ อิเม ธมฺมา วิราคาย ฯเปฯ เอกเสน โคตมิ ชาเนยฺ-

ยาสิ เอโส ธมฺโม เอโส วินโย เอต สตฺถุสาสน ดังนี้. อีกอย่าง

หนึ่ง ชื่อว่า ธรรมวินัย เพราะอรรถว่า นำไปให้วิเศษด้วยธรรม มิใช่

ด้วยอาชญา เป็นต้น, สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

คนบางพวกฝึกด้วยท่อนไม้ ด้วยขอ และด้วยแส้

ทั้งหลาย พระผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ทรงฝึกผู้ประเสริฐ มิ

ใช่ด้วยอาชญา มิใช่ด้วยศัสตรา. และว่า สำหรับผู้ฝึก

โดยธรรม ผู้รู้แจ้งอยู่จะต้องขะมักเขม้นอะไร.

ธรรมหรือวินัย ชื่อธรรมวินัย. ความจริงธรรมนี้นำไปให้วิเศษ

ซึ่งประโยชน์คือธรรมอันหาโทษมิได้ มิใช่นำประโยชน์มีโภคสมบัติในภพ

เป็นต้น.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้มิใช่เพื่อหลอกลวงประชาชน. ความพิสดาร

ว่า แม้พระปุณณเถระก็กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุอยู่ประพฤติพรหม

จรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า นำไปให้ประเสริฐ,

นำไปให้ประเสริฐโดยธรรม ชื่อว่า ธรรมวินัย. จริงอยู่ ธรรมวินัยนี้

ย่อมนำไปสู่นิพพานอันประเสริฐ จากธรรมมีสังสารวัฏเป็นต้น หรือจาก

ธรรมมีความโศกเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธรรมวินัย เพราะอรรถว่า นำไปให้วิเศษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

เพื่อธรรม มิใช่เพื่อพวกเจ้าลัทธิทั้งหลาย. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็น

โดยธรรม นำไปให้วิเศษซึ่งธรรมนั้นแหละ.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะธรรมทั้งหลายนั้นแล เป็นธรรมควรรู้ยิ่ง ควร

กำหนดรู้ ควรละ ควรเจริญ และควรทำให้แจ้ง ฉะนั้นแล จึงชื่อว่า

ธรรมวินัย เพราะอรรถว่า นำไปให้วิเศษในธรรมทั้งหลาย มิใช่ในสัตว์

และมิใช่ในชีวะทั้งหลาย.

ชื่อว่า ปวจนะ เพราะอรรถว่า คำเป็นประธานโดยคำของชน

เหล่าอื่น ด้วยความพร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะเป็นต้น คำเป็นประธาน

นั้นแหละ คือปาวจนะ.

ชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะเป็นความประพฤติประเสริฐกว่าความ

ประพฤติทั้งปวง.

ชื่อว่า สัตถุศาสน์ เพราะอรรถว่า เป็นคำสอนของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. หรือชื่อว่า สัตถุศาสน์

เพราะอรรถว่า คำสอนเป็นศาสดา ดังนี้ก็มี. จริงอยู่ ธรรมวินัยนั้นแล

ชื่อว่าเป็นศาสดา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ธรรมวินัยนั้นจัก

เป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ในเมื่อเราล่วงไปแล้ว พึงทราบความของบท

เหล่านั้นอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

ก็เพราะภิกษุผู้บำเพ็ญสิกขา ๓ โดยประการทั้งปวง ย่อมปรากฏใน

ศาสนานี้เท่านั้น ไม่ปรากฏในศาสนาอื่น ฉะนั้น ท่านจึงทำกำหนดนี้ว่า

อิมิสฺสา และ อิมสฺมึ ในบทนั้น ๆ พึงทราบดังนี้.

ชื่อว่า ชีวิต เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องเป็นอยู่แห่งสัมปยุตธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

นั้น ๆ. ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่า ให้กระทำอรรถว่าเป็นใหญ่ใน

ลักษณะตามรักษา. อินทรีย์คือชีวิต ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์. ชีวิตินทรีย์นั้น

มีสันตติเป็นใหญ่ในความเป็นไป. ก็ชีวิตินทรีย์นั้น มีการรักษาธรรมที่

แยกจากตนไม่ได้โดยลักษณะเป็นต้นเป็นลักษณะ, มีความเป็นไปแห่ง

ธรรมเหล่านั้นเป็นรส, มีความตั้งอยู่แห่งธรรมเหล่านั้นแหละเป็นปัจจุป

ปัฏฐาน, มีธรรมที่พึงยังชีวิตให้เป็นไปเป็นปทัฏฐาน. ก็แม้เมื่อการ

ทรงไว้มีการตามรักษาเป็นลักษณะเป็นต้นมีอยู่. ชีวิตินทรีย์นั้นย่อมตาม

รักษาธรรมเหล่านั้นในขณะมีอยู่นั่นแล ดุจน้ำตามรักษาดอกอุบลเป็นต้น,

และย่อมรักษาธรรมแม้ที่เกิดขึ้นแล้วจากปัจจัยทั้งหลายตามที่เป็นของตน

ดุจพี่เลี้ยงรักษากุมาร, ย่อมเป็นไปด้วยความเกี่ยวเนื่องธรรมที่ให้เป็นไป

เองดุจนายท้ายยังเรือให้แล่นไป ไม่เป็นไปล่วงภังคขณะ เพราะไม่มีธรรม

ที่พึงให้เป็นไปของตน ไม่ตั้งอยู่ในภังคขณะ เพราะทำลายอยู่เอง ดุจไส้

ตะเกียงน้ำมัน เมื่อสิ้นไป ย่อมยังเปลวประทีปให้สิ้นไปฉะนั้น, และไม่

เว้นจากอานุภาพแห่งความเป็นไปและความตั้งอยู่ เพราะยังสำเร็จกิจนั้น ๆ

ในขณะตามที่กล่าวแล้ว พึงเห็นดังนี้.

บทว่า ิติปริตฺตตาย วา ได้แก่ เพราะฐิติขณะน้อยคือหน่อยหนึ่ง.

บทว่า อปฺปก ได้แก่น้อย คือ ลามก.

บทว่า สรสปริตฺตาย วา ได้แก่ เพราะกิจหรือสมบัติทั้งหลาย

ซึ่งเป็นปัจจัยของตน น้อยคือ มีกำลังน้อย เพื่อจะแสดงเหตุทั้ง ๒ นั้น

เป็นส่วน ๆ พระเสรีบุตรจึงกล่าวว่า กถ ิติปริตฺตตาย เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

บรรดาบทเหล่านั้น บทมีอาทิอย่างนี้ว่า อตีเต จิตฺตกฺขเณ

ชีวิตฺถ ดังนี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายถึงอรูปชีวิต โดยความที่อรูป

เป็นประธานโดยรูป แม้เมื่อรูปธรรมทั้งหมดยังไม่ดับ ในกาลเป็นที่ดับ

แห่งจิตในความเป็นไปในปัญจโวการภพ หรือหมายถึงจุติจิตในปัญจโว

การภพ โดยความดับแห่งรูปธรรมและอรูปธรรมทั้งปวงกับจุติจิต หรือ

หมายถึงจตุโวการภพเพราะความไม่มีแห่งรูปในจตุโวการภพ.

บทว่า อตีเต จิตฺตกฺขเณ ความว่า บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียง

ด้วยชีวิตนั้น กล่าวได้ว่าเป็นอยู่แล้ว ในกาลที่มีความพร้อมเพรียงด้วย

ภังคขณะแห่งจิตเป็นอดีต.

บทว่า น ชีวติ ความว่า กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอยู่ในปัจจุบัน.

บทว่า น ชีวิสฺสติ ความว่า แม้จะกล่าวว่า จักเป็นอยู่ในอนาคต

ก็ไม่ได้.

บทว่า อนาคเต จิตฺตกฺขเณ ชีวิสฺสติ ความว่า กล่าวได้ว่า

จักเป็นอยู่ ในกาลที่มีความพร้อมเพรียง ด้วยขณะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งจิต

เป็นอนาคต.

บทว่า น ชีวติ ความว่า กล่าวไม่ได้ว่าเป็นอยู่.

บทว่า น ชีวิตฺถ ความว่า แม้จะกล่าวว่าเคยเป็นอยู่แล้วในอดีต

ก็ไม่ได้.

บทว่า ปจฺจุปฺปนฺเน จิตฺตกฺขเณ ชีวติ ความว่า กล่าวได้ว่า

เป็นอยู่ในกาลที่มีความพร้อมด้วยขณะแห่งจิตเป็นปัจจุบัน.

บทว่า น ชีวตฺถ ความว่า กล่าวไม่ได้ว่าเคยเป็นอยู่แล้วในอดีต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

บทว่า น ชีวิสฺสติ ความว่า แม้จะกล่าวว่าจักเป็นอยู่ในอนาคต

ก็ไม่ได้.

คาถานี้ว่า ชีวิต อตฺตภาโว จ สุขทุกฺขา จ ดังนี้ ท่านกล่าว

หมายเอาปัญจโวการภพนั่นแล เพราะถูกทุกขเวทนาที่ได้มาเพราะยังไม่พ้น

ปัญจโวการภพยึดไว้. อย่างไร ?

บทว่า ชีวิต ได้แก่ สังขารขันธ์โดยหัวข้อคือชีวิต.

บทว่า อตฺตภาโว ได้แก่รูปขันธ์. สุขและทุกข์กระทำอุเบกขา

เวทนาไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า เวทนาขันธ์ เพราะท่านกล่าวไว้ว่า

อุเบกขาท่านกล่าวว่า สุข นั่นเที่ยวเพราะมีอยู่.

วิญญาณขันธ์ ท่านกล่าวว่า จิต.

แม้สัญญาขันธ์ ก็พึงทราบว่าท่านกล่าวไว้แล้วด้วยสามารถแห่งการ

มุ่งลักษณะ เพราะมีลักษณะเดียวกันกับลักษณะแห่งขันธ์ เพราะขันธ์ ๔

เหล่านี้ ท่านได้กล่าวไว้แล้วแล.

ความเป็นประธานแห่งอรูปธรรม ย่อมเป็นอันท่านกล่าวแล้วว่า

เอกจิตฺตสมายุตฺตา เพราะความไม่เป็นไปแห่งรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน

เป็นต้น ซึ่งพ้นอรูปธรรมในขันธ์ ๕ ที่กล่าวแล้วอย่างนี้.

แม้รูปในอสัญญีสัตว์ ย่อมเป็นไปไม่พ้นกำลังกรรมเข้าไปสั่งสมไว้

ในที่นี้ อย่างไร ? แม้รูปของผู้เข้านิโรธทั้งหลายก็เป็นไปไม่พ้นกำลังแห่ง

ปฐมสมาบัติเลย.

ความเป็นประธานแห่งจิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวแล้วว่า เอกจิตฺต-

สมายุตฺตา ด้วยความเป็นเหตุแห่งประธานของความเป็นไปแห่งรูป ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

ฐานะที่เป็นไปแห่งตนของอรูปธรรมซึ่งมีสภาวะกระทำความเป็นไปแห่งรูป

ให้เป็นของมีอยู่ของตนทีเดียวเป็นไป แม้ในฐานะที่เป็นไปไม่ได้ของตน

อย่างนี้. เมื่อรูปยังดำรงอยู่นั่นแล ชื่อว่าความดับของสัตว์ทั้งหลายย่อมมีได้

ด้วยความดับแห่งจิตที่เป็นประธานของความเป็นไปแห่งรูป ในปวัตติกาล

ในปัญจโวการภพ ด้วยประการฉะนี้. ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า ลหุโส

วตฺตเต ขโณ สามารถแห่งอรูปธรรมนั่นเอง.

อีกอย่างหนึ่งพึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายจุติจิตในปัญจโวการภพ.

เมื่อท่านกล่าวอยู่อย่างนี้ บทว่า สุขทุกฺขา จ ได้แก่ สุขเวทนาที่เป็น

ไปทางกายและทางจิต และทุกขเวทนาที่เป็นไปทางกายแห่งทางจิต. แม้

ไม่มีอยู่ในขณะแห่งจุติจิต ท่านก็กล่าวว่า ย่อมดับพร้อมกับจุติจิต ด้วย

มีสันตติร่วมกัน. พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายถึงจตุโวการภพ ก็มี.

สัญญาขันธ์ท่านถือเอาว่า อัตภาพ ด้วยความที่ท่านกล่าวสัญญาขันธ์ว่า

อัตภาพในที่อื่น. อย่างไร ? สุข ทุกข์ และโทมนัสทางกายแม้ไม่มีในพรหม

โลก ก็พึงทราบว่า ท่านถือเอาเวทนาขันธ์ที่ได้โดยเวทนาสามัญว่า

สุขทุกฺขา จ ดังนี้.

บทที่เหลือ เช่นกับที่กล่าวแล้วนั่นแล, รวมทั้งในวิกัป ๓ เหล่านี้

ด้วย.

บทว่า เกวลา ความว่า ไม่มีความยั่งยืน ความสุข และความ

งามทั้งสิ้น คือ ไม่เจือปนด้วยความยั่งยืน ความสุข และความงามเหล่า

นั้น. ขณะแห่งชีวิตเป็นต้น เร็ว คือนิดหน่อยเหลือเกิน. เพราะเป็นไป

ชั่วขณะจิตเดียว ย่อมเป็นไปโดยนัยที่กล่าวแล้วว่า ลหุโส วตฺตติกฺขโณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงความไม่เป็นไปร่วมกันของจิต ๒ ดวง

จึงกล่าวคาถาว่า จูฬาสีติ สหสฺสานิ เป็นต้น.

บทว่า จูฬาสีติ สหสฺสานิ กปฺปา ติฏนฺติ เย มรู

ความว่า หมู่เทพเหล่าใดมีอายุแปดหมื่นสี่พันกัป ย่อมตั้งอยู่ในภพชั้น

เนวสัญญานาสัญญายตนะ. บาลีว่า เย นรา ดังนี้ก็มี.

บทว่า น เตวฺว เตปิ ชีวนฺติ ทฺวีหิ จิตฺเตหิ สมาหิตา

ความว่า เทพแม้เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยจิต ๒ ดวงโดยความเป็น

อันเดียวกัน เป็นอยู่ด้วยจิตที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นคู่ หามิได้เลย แต่ย่อมเป็น

อยู่ด้วยจิตดวงเดียวเท่านั้น.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงมรณกาล จึงกล่าวคาถาว่า เย

นิรุทฺธา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย นิรุทฺธา ความว่า ขันธ์เหล่าใด

ดับแล้ว คือถึงซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้.

บทว่า นรนฺตสฺส ได้แก่ ตายแล้ว.

บทว่า ติฏมานสฺส วา ได้แก่ หรือยังดำรงอยู่.

บทว่า สพฺเพปิ สทิสา ขนฺธา ความว่า ขันธ์แม้ทั้งปวง

เป็นขันธ์ที่ดับต่อจากจุติก็ตาม เป็นขันธ์ที่ดับในเมื่อเป็นไปก็ตาม ชื่อว่า

เป็นเช่นเดียวกัน ด้วยอรรถว่า อาจที่จะสืบต่อได้อีก.

บทว่า คตา อปฺปฏิสนฺธิกา ความว่า ขันธ์เหล่านั้นท่านกล่าว.

ว่า ดับไปแล้ว มิได้สืบเนื่องกัน เพราะไม่มีขันธ์ที่ดับแล้วมาสืบเนื่องอีก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

บัดนี้พระสารีบุตรเถระเพื่อจะแสดงว่า ขันธ์ที่ดับในกาลทั้ง ๓ ไม่มี

ความต่างกัน จึงกล่าวคาถาว่า อนนฺตรา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนนฺตรา จ เย ภงฺคา เย จ

ภงฺคา อนาคตา ความว่า ขันธ์เหล่าใด เป็นอดีตติดต่อกัน แตกแล้ว

คือดับแล้ว และขันธ์เหล่าใด เป็นอนาคตก็จักแตก.

บทว่า ตทนฺตเร ได้แก่ขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งดับในระหว่างขันธ์

ที่เป็นอดีตและขันธ์ที่เป็นอนาคตเหล่านั้น.

บทว่า เวสมฺม นตฺถิ ลกฺขเณ ความว่า ความไม่เสมอกันชื่อ

ว่าความแปลกกัน ความแปลกกันนั้นไม่มี. อธิบายว่า ไม่มีความต่างกัน

จากขันธ์เหล่านั้น. ชื่อว่า ลักษณะ เพราะอรรถว่า กำหนด ในลักษณะ

นั้น.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะกล่าวความที่ขันธ์ที่เป็นอนาคต ไม่

เจือปนด้วยขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน จึงกล่าวคาถาว่า อนิพฺพตฺเตน น ชาโต

เป็นต้น.

บทว่า อนิพฺพตฺเตน น ชาโต ความว่าไม่เกิดแล้ว ด้วยขันธ์

ที่เป็นอนาคต ซึ่งยังไม่เกิด คือไม่ปรากฏ พระเถระกล่าวถึงความที่ขันธ์ที่

เป็นอนาคต ไม่เจือปนด้วยขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน.

บทว่า ปจฺจุปฺปนฺเนน ชีวติ ความว่า ย่อมเป็นอยู่ด้วยขันธ์ที่เป็น

ปัจจุบัน ในขันธ์ที่เกิดขึ้นในขณะ ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวว่า ย่อมไม่เป็นอยู่

ด้วยจิต ๒ ดวงในขณะเดียวกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

บทว่า จิตฺตภงฺคมโต ความว่า ตายแล้วเพราะความดับแห่งจิต

เพราะความเป็นอยู่ไม่ได้ด้วยจิต ๒ ดวงในขณะเดียวกัน บาลีว่า อุปริโต

จิตฺตภงฺคา ดังนี้ก็มี, บทบาลีนั้นตรงทีเดียว.

บทว่า ปญฺตฺติ ปรมฏฺิยา ความว่า เพียงเป็นบัญญัติตามลำดับ

คำว่า รูปของสัตว์ทั้งหลายย่อมเสื่อมโทรม แต่ชื่อและโคตรหาเสื่อมโทรมไม่

ชื่อว่าโดยปรมัตถ์ เพราะอรรถว่า มีความตั้งมั่นเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็น

สภาพไม่เสื่อมโทรม อธิบายว่า ตั้งมั่นโดยสภาวะ, ความจริง ตั้งอยู่เพียง

บัญญัติเท่านั้นว่า นายทัตตาย นายมิตรตาย.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปรมตฺถิยา ได้แก่ เป็นปรมัตถ์ บัญญัติชื่อ

ว่า ปรมัตถิกา เพราะอรรถว่า มีอรรถอย่างยิ่ง บัญญัติว่า ตายแล้วมิได้

กล่าวเพราะอาศัยนัยถิธรรม ดุจการกล่าวอาศัยนัตถิธรรม โดยบัญญัติว่า

อชฎากาศ - ท้องฟ้า ท่านกล่าวอาศัยธรรม กล่าวคือความแตกแห่งชีวิ-

ตินทรีย์.

บทว่า อนิธานคตา ภงฺคา ความว่า ขันธ์เหล่าใดแตกแล้วขันธ์

เหล่านั้น ย่อมไม่ถึงความทรงอยู่ คือการตั้งอยู่ ดังนั้น จึงชื่อว่า มิได้ถึง

ความตั้งอยู่.

บทว่า ปุญฺโช นตฺถิ อนาคเต ความว่า ความเป็นกลุ่ม คือความ

เป็นกอง แห่งขันธ์เหล่านั้น ย่อมไม่มีแม้ในอนาคต.

บทว่า นิพฺพตฺตาเยว ติฏฺนฺติ ความว่า ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

เป็นปัจจุบัน เป็นขันธ์ที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ย่อมตั้งอยู่ในฐิติขณะ

แห่งขันธ์ปัจจุบันนั้น. เหมือนอะไร ?

บทว่า อารคฺเค สาสปูปมา ความว่าเหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดตั้ง

อยู่บนปลายเหล็กแหลม.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงความพินาศของขันธ์ทั้งหลาย จึงกล่าว

ถาคาว่า นิพฺพตฺตาน เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺพตฺตาน ธมฺมาน ได้แก่ ขันธ์

ปัจจุบัน.

บทว่า ภงฺโค เนส ปุรกฺขโต ความว่า ความแตกแห่งขันธ์

เหล่านั้น ตั้งอยู่ข้างหน้า.

บทว่า ปโลกธมฺมา ได้แก่ ธรรมที่มีความพินาศเป็นสภาวะ.

บทว่า ปุราเณหิ อมิสฺสิตา ความว่า ไม่เจือปน คือไม่เกี่ยวข้อง

ด้วยขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในก่อน.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงความไม่ปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย จึง

กล่าวคาถาว่า อทสฺสนโต อายนฺติ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทสฺสนโต อายนฺติ ความว่า มา

คือ เกิดขึ้น ไม่ปรากฏเลย.

บทว่า ภงฺคา คจฺฉนฺติทสฺสน ความว่า แตกแล้วก็ไปสู่ความ

ไม่ปรากฏ ต่อจากที่แตก.

บทว่า วิชฺชุปฺปาโทว อากาเส ได้แก่ ดุจสายฟ้าแลบในอากาศ

กลางแจ้ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

บทว่า อุปฺปชฺชนฺติ วยนฺติ จ ความว่า ย่อมเกิดขึ้นและย่อม

แตกไป พ้นเบื้องต้นและที่สุด. อธิบายว่าพินาศ ดุจในข้อความมีอาทิ

อย่างนี้ว่า ดวงจันทร์ขึ้นเต็มดวงลอยอยู่ ฉะนั้น.

ครั้นแสดงความตั้งอยู่เพียงเล็กน้อยอย่างนี้แล้ว บัดนี้ พระเถระเมื่อ

จะแสดงความมีกิจน้อย จึงกล่าวคำว่า กถ สรสปริตฺตตาย เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสาสูปนิพพฺธ ชีวิต ความว่า

ชีวิตินทรีย์ที่เนื่องด้วยลมนาสิกที่เข้าไปภายใน.

บทว่า ปสฺสาโส ได้แก่ ลมนาสิกที่ออกภายนอก.

บทว่า อสฺสาสปสฺสาสา ได้แก่ ทั้ง ๒ นั้น.

บทว่า มหาภูตูปนิพทฺธ ความว่า ชีวิตเนื่องด้วยมหาภูตรูป คือ

ดิน น้ำ ไฟ ลม ซึ่งมีสมุฏฐาน ๔.

บทว่า กวฬิงฺการาหารูปนิพทฺธ ได้แก่ เนื่องด้วยอาหารคือ

คำข้าวมีเครื่องบริโภคและเครื่องดื่มเป็นต้น.

บทว่า อุสฺมูปนิพทฺธ ได้แก่ เนื่องด้วยเตโชธาตุ อันเกิดแก่กรรม.

บทว่า วิญฺาณูปนิพทฺธ ได้แก่ เนื่องด้วยวิญญาณในภวังค์คือ

เนื่องด้วยภวังคจิต, ที่ท่านมุ่งหมายกล่าวไว้ว่า อายุ ไออุ่น และวิญญาณ

ย่อมละลายนี้ไปในกาลใด ดังนี้.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงเหตุให้มีกำลังทรามของธรรมเหล่านั้น

จึงกล่าวคำว่า มูลมฺปิ อิเมส ทุพฺพล เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มูลมฺปิ ความว่า ชื่อว่าแม้เป็นเหตุเดิม

ด้วยอรรถว่า เป็นที่ตั้ง จริงอยู่ กรชกายเป็นเหตุเดิมแห่งลมหายใจเข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

และลมหายใจออก อวิชชา กรรม ตัณหา และอาหารเป็นเหตุเดิมแห่ง

มหาภูตรูป.

บทว่า อิเมส ได้แก่ ลมหายใจเข้าเป็นต้น ซึ่งมีประการดังกล่าว

แล้ว คือที่กล่าวแล้วด้วยสามารถแห่งเหตุที่เนื่องด้วยชีวิตินทรีย์ บรรดา

ลมหายใจเข้าเป็นต้นเหล่านั้น เมื่ออย่างหนึ่ง ๆไม่มีชีวิตินทรีย์ก็ย่อมตั้งอยู่

ไม่ได้.

บทว่า ทุพฺพล ได้แก่ มีกำลังน้อย.

บทว่า ปุพฺพเหตูปิ ความว่า แม้อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน

และภพ กล่าวคือเหตุ ซึ่งเป็นเหตุแห่งวิปากวัฏนี้ในอดีตชาติ แห่งลม

หายใจเข้าเป็นต้นเหล่านี้ มีกำลังทราม.

บทว่า เยปิ ปจฺจยา เตปิ ทุพฺพลา ได้แก่ สาธารณปัจจัย

มีอารัมณปัจจัย เป็นต้น.

บทว่า ปภวิกา ได้แก่ ตัณหาที่เป็นประธานเกิดขึ้น.

บทว่า สหภูปิ ได้แก่ รูปธรรมและอรูปธรรม แม้ที่ร่วมภพกัน.

บทว่า สมฺปโยคาปิ ได้แก่ อรูปธรรมแม้ที่ประกอบร่วมกัน.

บทว่า สหชาปิ ได้แก่ แม้เกิดขึ้นด้วยกันในจิตดวงเดียว.

บทว่า ยาปิ ปโยชิกา ได้แก่ ตัณหาที่เป็นมูลแห่งวัฏฏะ.

ชื่อว่า ปโยชิกา เพราะอรรถว่า ประกอบเข้าแล้ว เพื่อที่จะ

ประกอบด้วยสามารถแห่งจุติและปฏิสนธิ, สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

บุรุษมีตัณหาเป็นที่ ๒.

บทว่า นิจฺจทุพฺพลา ได้แก่ มีกำลังทรามโดยไม่มีระหว่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

บทว่า อนวฏฺิตา ได้แก่ ไม่ตั้งลง คือไม่น้อมลงตั้งอยู่

บทว่า ปริปาตยนฺติ อิเม ความว่า ธรรมเหล่านี้ย่อมยังกันและ

กันให้ตกไป คือซัดไป.

บทว่า อญฺมญฺสฺส ได้แก่ แก่กันและกัน ความว่า ๑ ต่อ ๑.

หิ ศัพท์ เป็นนิบาตในอรรถแห่ง เหตุ.

บทว่า นตฺถิ ตายิตา ความว่า ความต้านทาน คือรักษา มิได้มี.

บทว่า น จาปิ เปนฺติ อญฺมญฺ ความว่า ธรรมเหล่าอื่น

ไม่อาจดำรงธรรมอื่นไว้ได้.

บทว่า โยปิ นิพฺพตฺตโก โส น วิชฺชติ ความว่า ธรรมใด

เป็นที่เกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้, ธรรมนั้นก็มิได้มีในบัดนี้.

บทว่า น จ เกนจิ โกจิ หายติ ความว่า ธรรมอะไร ๆ คือ

แม้สักอย่างหนึ่ง ย่อมไม่เสื่อมไปเพราะอำนาจของธรรมอะไร ๆ.

บทว่า ภงฺคพฺยา จ อิเม หิ สพฺพโส ความว่า ก็ขันธ์เหล่านี้

แม้ทั้งหมด ก็ควรถึงความดับไปโดยอาการทั้งปวง.

บทว่า ปุริเมหิ ปภาวิตา ความว่า ขันธ์เหล่านี้ อันเหตุปัจจัย

มีในก่อนเหล่านี้ ให้เป็นไปคือให้เกิดขึ้น.

บทว่า เยปิ ปภวิกา ได้แก่ เหตุปัจจัยในก่อนที่เป็นไปคือให้

เกิดขึ้นเหล่านี้ใด.

บทว่า เต ปุเร มตา ความว่า ปัจจัยมีประการดังกล่าวแล้วนั้น

เป็นไปไม่ได้แล้ว ถึงความตายแล้วก่อนทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

บทว่า ปุริมาปิ จ ปจฺฉิมาปิ จ ได้แก่ ขันธ์ที่เกิดก่อน คือ

ที่มีเหตุปัจจัยในก่อนก็ดี ขันธ์ที่เกิดภายหลัง คือที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยปัจจัย

ในเมื่อเหตุปัจจัยเป็นไปก็ดี.

บทว่า อญฺมญฺ น กทาจิ มทฺทสสุ ความว่า ไม่เคยเห็น

กันและกันในกาลไหน ๆ อักษรท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งบทสนธิ.

บทว่า จาตุมฺมหาราชิกาน เทวาน ความว่า เทวดาเหล่านั้น

ชื่อว่า จาตุมมหาราชิกา เพราะอรรถว่า มีมหาราชทั้ง ๔ กล่าวคือ ท้าว

ธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ และท้าวกุเวร เป็นใหญ่. ชื่อว่า เทพ

เพราะอรรถว่า รุ่งเรืองด้วยรูปเป็นต้น. เทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาเหล่านั้น

อยู่ท่ามกลางสิเนรุบรรพต, บรรดาเทวดาเหล่านั้น พวกที่อยู่ที่บรรพตก็มี

พวกที่อยู่ในอากาศก็มี อยู่ต่อ ๆ กันไปถึงจักรวาลบรรพต. เทวดาเหล่านี้

คือ พวกขิฑฑาปโทสิกะ พวกมโนปโทสิกะ พวกสีตวลาหกะ พวก

อุณหวลาหกะ จันทิมเทพบุตร สุริยเทพบุตร แม้ทั้งหมดอยู่เทวโลกชั้น

จาตุมมหาราชิกาทั้งนั้น. ชีวิตของเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาเหล่านั้น.

บทว่า อุปาทาย ได้แก่ อาศัย.

บทว่า ปริตฺตก ได้แก่ ปฏิเสธความเจริญ ดุจในข้อความว่า

วัยของเราแก่รอบ ชีวิตของเราน้อย เป็นต้น.

บทว่า โถก ได้แก่ เหลือเวลาน้อย. ปฏิเสธวันยาวนาน.

บทว่า ขณิก ได้แก่ เหลือเวลาน้อย ปฏิเสธระหว่างกาล, ดุจใน

ข้อความว่า มรณะชั่วขณะ ฌานชั่วขณะ เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

บทว่า ลหุก ได้แก่ เบาพร้อม ดุจในข้อความว่า ปฏิเสธความ

เกียจคร้าน เป็นไปรวดเร็วอย่างนี้เป็นต้น.

บทว่า อิตฺตร ได้แก่ เร็ว ปฏิเสธอย่างแข็งแรง ดุจในข้อความว่า

ภักดีเดี๋ยวเดียว ศรัทธาเดี๋ยวเดียว เป็นต้น.

บทว่า อนทฺธนิก ได้แก่ ทนอยู่ได้ไม่นานด้วยสามารถแห่งกาล

ดุจในข้อความว่า ตลอดกาลยาวนาน เป็นต้น.

บทว่า น จิรฏิติก ความว่า ชื่อว่า ดำรงอยู่ไม่นาน เพราะ

อรรถว่า ตั้งอยู่ไม่นานในวัน ๆ ปฏิเสธวัน ดุจในข้อความว่า พระสัทธรรม

ดำรงอยู่ไม่นาน เป็นต้น.

บทว่า ตาวตึสาน ความว่า ชื่อว่าดาวดึงส์ เพราะอรรถว่า ชน

๓๓ คน เกิดขึ้นในภพนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าว คำว่าดาวดึงส์ว่า

เป็นชื่อของเทวดาเหล่านั้น ดังนี้ก็มี, เทวดาแม้เหล่านั้น อยู่บรรพตก็มี

อยู่ในอากาศก็มี อยู่ต่อ ๆ กันไปถึงจักรวาลบรรพต ชั้นยามาเป็นต้น

ก็เหมือนกัน ก็แม้ในเทวโลกชั้น ๑ เหล่าเทวดาที่อยู่ต่อ ๆ กันไปไม่ถึง

จักรวาลบรรพต ย่อมไม่มี.

ชื่อว่า ยามา เพราะอรรถว่า ไป, คือถึง, ได้แก่ บรรลุถึงซึ่ง

ทิพยสุข.

ชื่อว่า ดุสิต เพราะอรรถว่า ยินดีแล้ว ร่าเริงแล้ว.

ชื่อว่า นิมมานรดี เพราะอรรถว่า เนรมิตโภคะทั้งหลายตามที่

ชอบใจแล้วยินดีอยู่ในกาลที่ประสงค์จะยินดีด้วยโภคะที่เกินกว่าอารมณ์ที่ตก

แต่งไว้ตามปกติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

ชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตดี เพราะอรรถว่า ยังอำนาจให้เป็นไปใน

โภคะทั้งหลายที่เทวดาเหล่าอื่นรู้วาระจิตเนรมิตให้.

ชื่อว่า เนื่องในหมู่พรหม เพราะอรรถว่า ประกอบแล้วด้วยธรรม

เป็นเครื่องสืบต่อพรหมธรรมในหมู่พรหม, รูปพรหมแม้ทั้งหมด ท่านถือ

เอาแล้ว.

บทว่า คมนีโย แปลว่า ต้องไป.

บทว่า สมฺปราโย ได้แก่ ปรโลก.

บทว่า โย ภิกฺขเว จิร ชีวติ โส วสฺสสต ความว่า ผู้ใด

ดำรงอยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปี.

บทว่า อปฺป วา ภิยฺโย ความว่า ผู้ที่ดำรงอยู่เกิน ๑๐๐ ปี

ชื่อว่าดำรงอยู่ถึง ๒๐๐ ปีไม่มี.

บทว่า หิเฬยฺย น ความว่า พึงดูหมิ่นชีวิตนั้น คือพึงคิดเป็น

สิ่งเลวทราม. ท่านกล่าวว่า หิเฬยฺยาน ดังนี้ก็มี.

บทว่า อจฺจยนฺติ ได้แก่ ย่อมก้าวล่วง.

บทว่า อโหรตฺตา ได้แก่ กำหนดคืนและวัน.

บทว่า อุปรุชฺฌติ ความว่า ชีวิตินทรีย์ย่อมดับ คือเข้าถึงความ

ไม่มี.

บทว่า อายุ ขียติ มจฺจาน ความว่า อายุสังขารของสัตว์ทั้ง

หลายย่อมถึงความสิ้นไป.

บทว่า กุนฺนทีนว โอทก ความว่า น้ำในแม่น้ำน้อยที่ขาดน้ำ

ย่อมสิ้นไป ฉันใด อายุของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไป ฉันนั้น. ก็โดยปรมัตถ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

ขณะแห่งชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อยเหลือเกิน เพียงเป็นไปชั่วขณะจิตเดียว

เท่านั้น ล้อรถเมื่อหมุนก็หมุนด้วยประเทศแห่งดุมอย่างเดียวเท่านั้น, เมื่อ

ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ด้วยประเทศแห่งดุมอย่างเดียวนั่นแหละ ฉันใดชีวิตของสัตว์

ทั้งหลายนั้น เป็นไปชั่วขณะจิตเดียว ฉันนั้น พอจิตดวงนั้นดับ ท่านเรียก

สัตว์ว่า ดับ คือ ตาย.

บทว่า ธีรา ได้แก่ นักปราชญ์ ธีรา อีกบท ๑ ได้แก่ บัณฑิต.

บทว่า ธิติมา ความว่า ชื่อว่า ธิติมา เพราะอรรถว่า มีปัญญา

เป็นเครื่องทรง.

บทว่า ธิติสมฺปนฺนา ความว่า ผู้ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต.

บทว่า ธิกฺกิตปาปา ความว่า ผู้ติเตียนบาป. เพื่อจะแสดงปริยาย

ของบทนั้นนั่นแล พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า ธี วุจฺจติ ปญฺา

ปัญญาเรียกว่า ธี ดังนี้ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ทั่ว, รู้ทั่ว

อะไร ? รู้ทั่วอริยสัจทั้งหลาย โดยนัยว่า นี้ทุกข์ เป็นต้น. แต่ในอรรถกถา

ท่านกล่าวว่า ปัญญา ด้วยสามารถประกาศให้รู้ทั่ว ประกาศให้รู้ทั่วว่า

อย่างไร ? ประกาศให้รู้ทั่วว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา. ปัญญานั้น ชื่อว่า

อินทรีย์ ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ เพราะครอบงำอวิชชาเสียได้.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่า ให้กระทำความเป็น

ใหญ่ ในลักษณะที่ปรากฏ. อินทรีย์คือปัญญา ชื่อว่า ปัญญินทรีย์.

ก็ปัญญานี้นั้นมีความสว่างเป็นลักษณะ และมีความรู้ทั่วเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

ลักษณะเหมือนอย่างว่า ในเรือนมีฝา ๔ ด้าน เวลากลางคืน เมื่อจุด

ประทีป ความมืดย่อมหายไป ความสว่างย่อมปรากฏ ฉันใด ปัญญามี

ความสว่างเป็นลักษณะก็ฉันนั้น. ชื่อว่าแสงสว่างที่เสมอด้วยแสงสว่างแห่ง

ปัญญา ไม่มี. ก็เมื่อผู้มีปัญญานั่งโดยบัลลังก์เดียว หมื่นโลกธาตุย่อมมี

แสงสว่างเป็นอันเดียวกัน. เพราะเหตุนั้นพระเถระจึงกล่าวว่า มหาบพิตร

บุรุษถือประทีปน้ำมันเข้าไปในเรือนที่มืด ประทีปเข้าไปแล้วย่อมกำจัด

ความมืดให้เกิดแสงสว่างส่องแสงสว่าง ทำรูปทั้งหลายให้ปรากฏได้ ฉันใด

มหาบพิตร ปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเกิดขึ้น ย่อมกำจัดความมืดคือ

อวิชชา ให้เกิดแสงสว่างคือวิชชา ส่องแสงแห่งญาณ ทำอริยสัจ ๔ ให้

ปรากฏได้. มหาบพิตร ปัญญามีความสว่างเป็นลักษณะอย่างนี้ทีเดียวแล.

อีกอย่างหนึ่ง เหมือนแพทย์ผู้ฉลาด ย่อมรู้โภชนะเป็นต้น ที่เป็น

สัปปายะและไม่เป็นสัปปายะ ของผู้ป่วยได้ทั้งหลาย ฉันใด ปัญญาก็ฉันนั้น

เมื่อเกิดขึ้น ย่อมรู้ทั่วซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศลที่ควรเสพและ

ไม่ควรเสพ ที่เลวและประณีต ที่ดำและขาว และมีส่วนเปรียบ. สมจริงดัง

คำที่พระธรรมเสนาบดีกล่าวไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส เพราะอรรถว่า ย่อมรู้ทั่ว

ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าปัญญา รู้ทั่วอะไร ? รู้ทั่วว่า นี้ทุกข์ ดังนี้. คำนี้

พึงให้พิสดาร พึงทราบความที่ปัญญานั้น มีความรู้ทั่วเป็นลักษณะอย่างนี้.

อีกนัยหนึ่ง ปัญญามีการแทงตลอดตามภาวะเป็นลักษณะ, หรือ

มีการแทงตลอดไม่ผิดพลาดเป็นลักษณะ ดุจการแทงตลอดของลูกธนู

ของผู้ฉลาด, มีความสว่างในอารมณ์เป็นรส ดุจประทีป มีความไม่ลุ่มหลง

เป็นปัจจุปปัฏฐาน ดุจคนชำนาญป่าไปป่า ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

บทว่า ขนฺธธีรา ความว่า ชื่อว่า ผู้มีปัญญาในขันธ์ เพราะ

อรรถว่า ยังญาณให้เป็นไปในขันธ์ ๕, ชื่อว่า ผู้มีปัญญาในธาตุ เพราะ

อรรถว่า ยังญาณให้เป็นไปในธาตุ ๑๘, แม้ในบทที่เหลือทั้งหลาย ก็พึง

นำความไปประกอบโดยนัยนี้.

บทว่า เต ธีรา เอวมาหสุ ความว่า บัณฑิตเหล่านั้นกล่าวไว้

แล้วอย่างนี้.

บทว่า กเถนฺติ ได้แก่ กล่าวว่า น้อย นิดหน่อย.

บทว่า ภณนฺติ ได้แก่ หน่อยหนึ่ง เป็นไปชั่วขณะ.

บทว่า ทีปยนฺติ ได้แก่ เริ่มตั้งว่า เร็ว เดี๋ยวเดียว.

บทว่า โวหรนฺติ ได้แก่ แถลงด้วยวิธีต่าง ๆ ว่า ตั้งอยู่ตลอดกาล

ไม่ช้า ดำรงอยู่ได้ไม่นาน.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงความเกิดขึ้นแห่งความพินาศของพวกที่

ไม่การทำอย่างนี้ จึงกล่าวคาถาว่า ปสฺสามิ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺสามิ ได้แก่เห็นด้วยมังสจักษุเป็น

ต้น.

บทว่า โลเก ได้แก่ ในอบายเป็นต้น.

บทว่า ปริผนฺทมาน ได้แก่ ดิ้นรนไปข้างโน้นด้วยข้างนี้ด้วย.

บทว่า ปช อิม ได้แก่ หมู่สัตว์นี้.

บทว่า ตณฺหาคต ได้แก่ ผู้ไปในตัณหา. อธิบายว่า ถูกตัณหา

ครอบงำให้ตกลงไป.

บทว่า ภเวสุ ได้แก่ ในกามภพเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

บทว่า หีนา นรา ได้แก่นรชนผู้มีการงานเลว.

บทว่า มจฺจุมุเข ลปนฺติ ความว่า คร่ำครวญอยู่ในปากแห่ง

มรณะที่ถึงในกาลที่สุด.

บทว่า อวีตตณฺหา เส ได้แก่ ยังไม่ปราศจากตัณหา.

บทว่า ภวา ได้แก่ กามภพเป็นต้น.

บทว่า ภเวสุ ได้แก่ ในกามภพเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

ภวาภเวสุ ได้แก่ ในภพน้อยภพใหญ่. ท่านอธิบายว่า ในภพทั้งหลาย

บ่อย ๆ.

บทว่า ปสฺสามีติ มสจกฺขุนาปิ ปสฺสามิ ความว่า มังสจักษุ ๒

อย่าง คือ สสัมภารจักษุ ปสาทจักษุ. ก้อนเนื้อที่กำหนดด้วยความโค้ง

ของลูกตา ๒ ข้าง คือข้างล่างด้วยกระดูกเบ้าตา ข้างบนด้วยกระดูกคิ้ว

ข้างนอกด้วยขนตา เกี่ยวเนื่องด้วยสมองซึ่งมีเส้นเอ็นแล่นออกท่ามกลางเบ้า

ตาวิจิตรด้วยวงดำเป็นตาขาวตาดำ นี้ชื่อ สสัมภารจักษุ. ประสาทซึ่งผูก

ที่ก้อนเนื้อนี้ ติดเนื่องในชิ้นเนื้อนี้ อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้ชื่อ ปสาทจักษุ

ซึ่งประสงค์ในที่นี้.

ปสาทจักษุนั่นนั้นยังเยื่อหุ้มจักษุ ๗ ชั้นให้เอิบอาบ เหมือนปุยนุ่น

ชุ่มในน้ำมันในปุยนุ่น ๗ ชั้น ในวงกลมที่เห็นในประเทศที่เกิดขึ้นแห่ง

สัณฐานสรีระ ของผู้ที่ยืนอยู่ตรงหน้า ท่ามกลางดวงตาดำซึ่งล้อมรอบ

ดวงตาขาวของสสัมภารจักษุนั้น ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวาร ตาม

สมควรแก่จักขุวิญาณเป็นต้น สักว่าพอมีโอกาสโดยประมาณตั้งอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

ปสาทจักษุนั้น ชื่อว่าจักษุ เพราะอรรถว่า บอกให้รู้จักอะไร ๆ.

ข้าพเจ้าเห็นด้วยมังสจักษุนั้น.

บทว่า ทิพฺพจกฺขุนา ได้แก่ ด้วยทิพยจักษุอย่างนี้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราได้เห็นแล้วแล ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์.

บทว่า ปญฺาจกฺขุนา ได้แก่ ด้วยปัญญาจักษุที่มาอย่างนี้ว่า ธรรม

จักษุที่ปราศจากธุลีไม่มีมลทินเกิดขึ้นแล้ว.

บทว่า พุทฺธจกฺขุนา ได้แก่ ด้วยพุทธจักษุที่มาอย่างนี้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราตรวจดูอยู่ซึ่งโลกด้วย พุทธจักษุ ได้เห็นแล้วแล.

บทว่า สมนฺตจกฺขุนา ได้แก่ ด้วยสมันตจักษุ ที่มาอย่างนี้ว่า

สัพพัญญุตญาณท่านเรียกว่า สมันตจักษุ.

บทว่า ปสฺสามิ ได้แก่ เห็นรูปด้วยมังสจักษุ เหมือนเห็นมะขาม

ป้อมในฝ่ามือด้วยมังสจักษุ.

บทว่า ทกฺขามิ ความว่า รู้พร้อมซึ่งจุติและอุบัติด้วยทิพยจักษุ.

บทว่า โอโลเกมิ ความว่า ตรวจดูอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาจักษุ.

บทว่า นิชฺฌายามิ ความว่า คิดอินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น ด้วย

พุทธจักษุ.

บทว่า อุปปริกฺขามิ ความว่า เห็นโคตรอบ คือแสวงหาทางที่

ควรแนะนำ ๕ ประการ ด้วยสมันตจักษุ.

บทว่า ตณฺหาผนฺทนาย ผนฺทมาน ได้แก่ หวั่นไหวด้วยความ

หวั่นไหวเพราะตัณหา. ความดิ้นรนเพราะทิฏฐิเป็นต้น ต่อจากนี้ ซึ่งมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

สัตว์ผู้ดิ้นรนเพราะทุกข์คือความพินาศแห่งทิฏฐิเป็นที่สุด ง่ายทั้งนั้น เพราะ

มีนัยดังกล่าวแล้ว.

บทว่า สมฺผนฺทมาน ได้แก่ ดิ้นรนบ่อย ๆ.

บทว่า วิปฺผนฺทนาน ได้แก่ หวั่นไหวด้วยวิธีต่าง ๆ.

บทว่า เวธมาน ได้แก่ สั่นอยู่.

บทว่า ปเวธฺมาน ได้แก่ สั่นด้วยความเพียร.

บทว่า สมฺปเวธมาน ได้แก่ สั่นอยู่บ่อย ๆ, อีกอย่างหนึ่ง ท่าน

ขยายบทด้วยอุปสรรค.

บทว่า ตณฺหานุคต ได้แก่ เข้าไปตามตัณหา.

บทว่า ตณฺหานุสฏ ได้แก่ แผ่ไปตามตัณหา.

บทว่า ตณฺหายาปนฺน ได้แก่ จมลงในตัณหา.

บทว่า ตณฺหายา ปาติต ได้แก่ อันตัณหาซัดไป. ปาฐะว่า ปริปา-

ติต ก็มี.

บทว่า อภิภูต ได้แก่ อันตัณหาย่ำยีคือท่วมทับแล้ว.

บทว่า ปริยาทินฺนจิตฺต ได้แก่ มีจิตอันตัณหายึดไว้หมดสิ้น.

อีกอย่างหนึ่ง ไปในตัณหาเหมือนไปตามห้วงน้ำ, ไปตามตัณหา

เหมือนตกไปตามปัจจัยแห่งรูปที่มีวิญญาณครอง, ซ่านไปตามตัณหา เหมือน

แหนแผ่ปิดหลังน้ำจมอยู่ในตัณหา. เหมือนจมลงในหลุมอุจจาระ, อัน

ตัณหาให้ตกไป เหมือนตกจากยอดไม้ลงเหว, อันตัณหาครอบงำ เหมือน

ประกอบรูปที่มีวิญญาณครอง. มีจิตอันตัณหาครอบงำแล้ว เหมือนมี

วิปัสสนาเกิดขึ้นแก่ผู้กำหนดรูปที่มีวิญญาณครอง.

๑. รูปอันตัณหาและทิฏฐิเข้าไปยึดไว้โดยความเป็นผลและเป็นอารมณ์ของอุปาทานได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

อีกอย่างหนึ่งไปในตัณหา ด้วยกามฉันทะ ไปตามตัณหาด้วยความ

กระหายในกาม, ซ่านไปตามตัณหาด้วยความหมักดองในกาม, จมอยู่ใน

ในตัณหา ด้วยความเร่าร้อนเพราะกาม, อันตัณหาให้ตกไปด้วยความจบ

สิ้นเพราะกาม, อันตัณหาครอบงำเพราะโอฆะคือกาม, มีจิตอันตัณหาครอบ

งำแล้ว เพราะยึดมั่นกาม, อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ ด้วย

ประการฉะนี้.

บทว่า กามภเว ได้แก่ ภพกามาพจร.

บทว่า รูปภเว ได้แก่ ภพรูปาพจร.

บทว่า อรูปภเว ได้แก่ ภพอรูปาพจร. ความต่างกันของภพเหล่า

นั้นได้ประกาศแล้วในหนหลังนั่นแล.

บทว่า ภวาภเวสู ภวาภเว ความว่า บทว่า ภโว ได้แก่

กามธาตุ บทว่า อภโว ได้แก่ รูปธาตุและอรูปธาตุ.

อีกอย่างหนหลัง บทว่า ภโว ได้แก่ กามธาตุ รูปธาตุ.

บทว่า อภโว ได้แก่ อรูปธาตุ. ในภพน้อยภพใหญ่เหล่านั้น.

บทว่า กมฺมภเว ได้แก่ กรรมวัฏ.

บทว่า ปุนพฺภเว ได้แก่ วิปากวัฏที่เป็นไปในภพใหม่.

บทว่า กามภเว ได้แก่ กามธาตุ.

บทว่า กมฺมภเว ได้แก่ กรรมวัฏ. ในบทเหล่านั้น กรรมภพ

ชื่อว่า ภพ เพราะอรรถว่า ทำให้เกิด.

บทว่า กามภเว ปุนพฺภเว ได้แก่ วิปากวัฏ ซึ่งเป็นภพที่เข้าถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

กามธาตุ. วิปากภพ ชื่อว่า ภพ เพราะอรรถว่า เกิด แม้ในรูปภพ

เป็นต้นก็นั้นแหละ.

และคำว่า กามภเว รูปภเว อรูปภเว ในที่นี้ ท่านกล่าวหมายเอา

โอกาสภพ.

ในภพทั้ง ๓ บทว่า กมฺมภเว ได้แก่ กรรมวัฏ.

บทว่า ปุนพฺภเว ท่านกล่าวหมายเอาอุบัติภพเหมือนกัน.

บทว่า ปุนปฺปุน ภเว ได้แก่ ในการเกิดขึ้นไป ๆ มา ๆ.

บทว่า คติยา ได้แก่ คติ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า อตฺตภาวาภินิพฺพตฺติยา ได้แก่ ความบังเกิดขึ้นแห่ง

อัตภาพทั้งหลาย.

บทว่า อวีตตณฺหา เป็นบทเดิม.

บทว่า อวิคตตณฺหา ความว่า ชื่อว่ายังไม่ปราศจากตัณหา เพราะ

อรรถว่า ยังปราศจากตัณหาไม่ได้ เพราะไม่มีขณิกปหานะ ดุจขณิกสมาธิ.

บทว่า อจฺจตฺตตณหา ความว่า ชื่อว่า มีตัณหายังไม่สละแล้ว

เพราะอรรถว่า มีตัณหายังสละไม่ได้ เพราะไม่มีตทังคปหานะ.

บทว่า อวนฺตตณฺหา ความว่า ชื่อว่า มีตัณหายังไม่สำรอกแล้ว

เพราะอรรถว่า มีตัณหายังสำรอกไม่ได้ เพราะไม่มีวิกขัมภนปหานะ.

บทว่า อมุตฺตตณฺหา ความว่า ชื่อว่า มีตัณหายังไม่พ้นไปแล้ว

เพราะอรรถว่ามีตัณหายังพ้นไปไม่ได้ เพราะไม่มีสมุจเฉทปหานะล่วงส่วน.

บทว่า อปฺปหีนตณฺหา ความว่า ชื่อว่า มีตัณหายังไม่ละเสียแล้ว

เพราะอรรถว่า มีตัณหายังละไม่ได้ เพราะไม่มีปฏิปัสสัทธิปหานะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

บทว่า อปฺปฏินิสฺสฏฺตณฺหา ความว่า ก็ชื่อว่า มีตัณหายังไม่

สละคืนแล้ว เพราะไม่สละคืนสังกิเลสล่วงส่วน ที่ตั้งมั่นอยู่ในภพ เพราะ

ไม่มีนิสสรณปหานะ.

บัดนี้ เพราะผู้ยังไม่ปราศจากตัณหาดิ้นรนและบ่นเพื่ออยู่ ฉะนั้น

พระสารีบุตรเถระเมื่อจะชักชวนในการกำจัดตัณหา จึงกล่าวคาถาว่า

มมายิเต เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มมายิเต ได้แก่ ในเพราะวัตถุที่ยึด

ถือว่าของเรา. พระเถระกล่าวเรียกผู้ฟังทั้งหลายด้วยบทว่า ปสฺสถ.

บทว่า เอตมฺปิ ได้แก่ โทษแม้นั้น บทที่เหลือปรากฏแล้วทั้งนั้น.

บทว่า เทฺว มมตฺตา ได้แก่ อาลัย ๒ อย่าง.

บทว่า ยาวตา เป็นนิบาตในอรรถว่ากำหนดตัด.

บทว่า ตณฺหาสงฺขาเตน ได้แก่ ส่วนแห่งตัณหา.

บทว่า สงฺขา สงฺขาต โดยความเป็นอย่างเดียวกันเหมือนในข้อ

ความว่า ก็ส่วนแห่งความเนิ่นช้า มีตัณหาเป็นเหตุ เป็นต้น.

บทว่า สีมกต ได้แก่ เว้นจากโทษที่ไม่มีขอบเขต.

บทว่า มริยาทกต ความว่า ดุจในข้อความว่า พึงสมมติสีมามี-

โยชน์ ๑ เป็นอย่างยิ่ง เป็นต้น.

บทว่า โอธิกต ได้แก่ เว้นจากโทษที่ไม่มีกำหนดถ้อยคำดุจต้นไม้

ที่อยู่ในระหว่างแดนซึ่งกำหนดไว้.

บทว่า ปริยนฺตกต ได้แก่ กำหนดไว้ คือ ทำที่สุดรอบว่า ต้นไม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

ที่อยู่ในระหว่างแดนเป็นสาธารณะของทั้งสองฝ่าย ทำให้เป็นเหมือนแถว

ต้นตาลที่เนื่องเป็นอันเดียวกัน.

บทว่า ปริคฺคหิต ได้แก่ ถือเอาโดยอาการทั้งปวง พ้นที่ผู้อื่น

อาศัยแม้ในระหว่างกาล.

บทว่า มมายิต ได้แก่ ทำอาลัยเหมือนเสนาสนะของภิกษุผู้เข้า

จำพรรษา.

บทว่า อิท มม ได้แก่ ตั้งอยู่ในที่ใกล้.

บทว่า เอต มม ได้แก่ ตั้งอยู่ในที่ไกล.

บทว่า เอตฺตก ได้แก่ กำหนดบริขาร ดุจในข้อความว่า แม้

เพียงเท่านี้ก็ไม่พึงกล่าวตอบ.

บทว่า เอตฺตาวตา เป็นการกำหนดด้วยนิบาต แม้ในอรรถว่า

กำหนด ดุจในข้อความว่า ดูก่อนมหานาม ด้วยคำเพียงเท่านี้แล.

บทว่า เกวลมฺปิ มหาปวึ ได้แก่ แผ่นดินใหญ่เเม้ทั้งสิ้น.

บทว่า อฏฺสตตณฺหาวิปรีต ได้แก่ ขยายไปเป็นตัณหา ๑๐๘,

หากจะถามว่า เป็น ๑๐๘ ได้อย่างไร ? ตัณหาที่เป็นไปในชวนวิถีในจักขุ

ทวารเป็นต้นอย่างนี้ว่า รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหามีอารมณ์เช่นกับบิดา

ดุจได้นามฝ่ายบิดา ในข้อความมีอาทิอย่างนี้ว่า บุตรแห่งเศรษฐี บุตร

แห่งพราหมณ์ ดังนี้.

ก็ในบทนี้ ชื่อว่ารูปตัณหา เพราะอรรถว่าตัณหามีรูปเป็นอารมณ์

คือตัณหาในรูป, รูปตัณหานั้น ที่ยินดีรูปเป็นไปด้วยความกำหนัดในกาม

๑. สัททตัณหา, คันธตัณหา, รสตัณหา, โผฏฐัพพตัณหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

ชื่อ กามตัณหา, ที่ยินดีเป็นไปอย่างนี้ว่า รูปเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ด้วย

ความกำหนัดที่สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ ชื่อ ภวตัณหา, ที่ยินดีเป็นไป

อย่างนี้ว่า รูปขาดสูญ พินาศ ตายแล้ว จักไม่เกิด ด้วยความกำหนัดที่

สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ชื่อ วิภวตัณหา, รูปตัณหามี ๓ อย่าง อย่างนี้

ด้วยประการฉะนี้.

แม้สัททตัณหาเป็นต้น ก็เหมือนรูปตัณหา. ตัณหาเหล่านั้นเป็นตัณหา

วิปริต ๑๘. ตัณหาเหล่านั้น ในรูปภายในเป็นต้น ๑๘ ในรูปภายนอกเป็นต้น

๑๘ รวมเป็น ๓๖. ที่เป็นอดีต ๓๖ อนาคต ๓๖ ปัจจุบัน ๓๖ รวมเป็น

๑๐๘ ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง รูปที่อาศัยรูปภายในเป็นต้นมีอาทิอย่างนี้ว่า เมื่อบทว่า

อสฺมิ มีอยู่ บทว่า อิตฺถสฺมิ ก็ย่อมมี, เพราะอาศัยรูปภายใน มี ๑๘

รูปที่อาศัยรูปภายนอกเป็นต้นว่า เมื่อบทว่า อสฺมิ มีอยู่ด้วยบทนี้ บทว่า

อิตฺถสฺมิ ก็ย่อมมีด้วย บทว่า เพราะอาศัยรูปภายนอก มี ๑๘ รวมเป็น ๓๖.

ที่เป็นอดีต ๓๖ อนาคต ๓๖ ปัจจุบัน ๓๖ รวมเป็นตัณหาวิปริต ๑๐๘ แม้

อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า วีสติวตฺถุกา สกฺกายทิฏฺิ ความว่า ชื่อว่าสักกายทิฏฐิเพราะ

อรรถว่า ทิฏฐิในกายนั้น ในเมื่อกายกล่าวคือขันธ์ปัญจกะมีอยู่ ด้วยอรรถว่า

มีอยู่ซึ่งเกิดขึ้นทำวัตถุที่เป็นไป ด้วยสามารถยึดถือเป็น ๔ ส่วน โดยนัยมี

อาทิว่า พิจารณารูปในรูปหนึ่ง ๆ แห่งขันธ์ ๕ มีรูปเป็นต้น.

บทว่า ทสวตฺถุกา มิจฺฉาทิฏฺิ ได้แก่ มิจฉาทิฏฐิที่เป็นไปโดย

นัยมีอาทิว่าทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล. อีกอย่างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

ทิฏฐิที่ไม่แน่นอน เป็นทิฏฐิที่เหลวไหลเพราะยึดถือผิด ชื่อมิจฉาทิฏฐิ

ชื่อมิจฉาทิฏฐิเพราะอรรถว่า ทิฏฐิอันบัณฑิตทั้งหลายรังเกียจ เพราะไม่นำ

ประโยชน์มาดังนี้ก็มี.

มิจฉาทิฏฐินั้นมีความยึดมั่นโดยไม่แยบคายเป็นลักษณะ, มีความ

ยึดถือเป็น รส, มีความยึดมั่นผิดเป็น ปัจจุปปัฏฐาน, มีความเป็นผู้ใคร่

เห็นพระอริยะทั้งหลายเป็น ปทัฏฐาน, พึงเห็นว่า มีโทษอย่างยิ่ง.

บทว่า ทสวตฺถุกา อนฺตคฺคาหิกา ทิฏฺิ ได้แก่ ทิฏฐิที่เป็น

ไปโดยนัยเป็นต้นว่า โลกเที่ยง, โลกไม่เที่ยง, โลกมีที่สุด, เป็นไปอย่างนี้

ด้วยสามารถทำส่วนหนึ่ง ๆ เป็นที่ตั้งยึดถือ ชื่ออันตัคคาหิกาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐.

บทว่า ยา เอวรูปา ทิฏฺิ ได้แก่ ทิฏฐิที่มีชาติอย่างนี้.

บทว่า ทิฏฺิคต ได้แก่ ความเป็นไปในทิฏฐิทั้งหลาย. ทัศนะนี้

ชื่อว่า ทิฏฺิคต เพราะอรรถว่า หยั่งลงในภายในแห่งทิฏฐิ ๖๒.

รกชัฏเพราะอรรถว่าก้าวล่วงได้ยากคือทิฏฐิ ชื่อว่า รกชัฏคือทิฏฐิ

ดุจรกชัฏหญ้า รกชัฏป่า รกชัฏภูเขา.

ชื่อว่า กันดารคือทิฏฐิ เพราะอรรถว่ามีภัยเฉพาะหน้าที่น่ารังเกียจ

ดุจกันดารเพราะโจร กันดารเพราะสัตว์ร้าย กันดารเพราะขาดน้ำ และ

ดันดารเพราะข้าวยากหมากแพง.

ชื่อว่า เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ เพราะอรรถว่าแทงตลอด และ

เพราะอรรถว่าทวนซึ่งสัมมาทิฏฐิ. ด้วยว่ามิจฉาทัศนะเมื่อเกิดขึ้นย่อมแทง

ตลอด และทวนสัมมาทัศนะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

ชื่อว่า ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เพราะอรรถว่า ดิ้นรนจนผิดรูป

ด้วยทิฏฐิ เพราะบางครั้งก็ยึดถือความเที่ยง บางครั้งก็ยึดถือความขาดสูญ.

ก็คนผู้มีทิฏฐิย่อมไม่อาจตั้งมั่นในอารมณ์เดียว บางครั้งก็คล้อยไปตามความ

เที่ยง บางครั้งก็คล้อยไปตามความขาดสูญ.

ชื่อว่า ทิฏฐิสังโยชน์ เพราะอรรถว่า ทิฏฐินั่นแล ชื่อว่าสังโยชน์

ด้วยอรรถว่า ผูกพันไว้.

ชื่อว่า คาหะ ความถือ เพราะอรรถว่า ถือเอาอารมณ์ไว้มั่น

ดุจจระเข้เป็นต้นคาบบุรุษ.

ชื่อว่า ย่อมตั้งมั่น เพราะความตั้งมั่น. จริงอยู่ทิฏฐินี้ตั้งมั่นแล้ว

ถือเอาด้วยปวัตติภาพที่มีกำลัง.

ชื่อว่า อภินิเวส ยึดมั่น เพราะอรรถว่าย่อมยึดมั่นว่าเที่ยงเป็นต้น.

ชื่อว่า ปรามาสะ เพราะอรรถว่า ลูบคลำไปข้างหน้าว่าเที่ยงเป็นต้น

ก้าวล่วงสภาวะแห่งธรรม.

ชื่อว่า มิจฉามัคคะ ทางชั่ว เพราะอรรถว่าทางที่บัณฑิตรังเกียจ

เพราะไม่นำประโยชน์มาหรือทางแห่งอบายที่บัณฑิตรังเกียจ.

ชื่อว่า มิจฉาปถะ เพราะเป็นทางที่ไม่แน่นอน, เหมือนอย่างว่า

ทางที่คนหลงทิศยึดถือว่า นี้เป็นทางของบ้านชื่อโน้น ย่อมไม่ทำให้เขาถึง

บ้านนั้นได้ ฉันใด ทิฏฐิที่คนมีทิฏฐิยึดถือเอาว่า เป็นทางสู่สุคติ ก็ไม่ส่ง

เขาให้ถึงสุคติได้ ฉันนั้น ดังนั้นจึงชื่อว่า ทางผิด เพราะเป็นทางที่ไม่ถูก.

ชื่อว่า ความเห็นผิด เพราะมีความเห็นผิดเป็นสภาวะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

ชื่อว่า ท่า เพราะอรรถว่า เป็นที่ข้ามแห่งคนพาลทั้งหลาย โดย

หมุนไปรอบในที่นั้นเอง. ท่านั้นด้วยเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศทั้งหลาย

ด้วย ดังนั้นจึงชื่อว่า ติตถายตนะ ลัทธิเดียรถีย์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

อายตนะ ด้วยอรรถว่า เป็นประเทศที่เกิด และเป็นที่อยู่อาศัยของเดียรถีย์

ทั้งหลาย ดังนั้นจึงชื่อว่า ลัทธิเดียรถีย์ ความถือที่เป็นความแสวงหาผิด

หรือความถือโดยความแสวงหาผิด ดังนั้นจึงชื่อว่า ความถือโดยแสวงหาผิด.

ความถือผิดสภาวะ ชื่อว่าความถือวิปริต ความถือที่เปลี่ยนแปลง

ไปโดยนัยเป็นต้นว่า ถือในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ชื่อว่าความถือวิปลาส.

ความไม่ถือเอาโดยอุบาย ชื่อว่า ความถือผิด. ความถือในเรื่อง

ที่ไม่แน่นอน ไม่ใช่สภาวะ ว่า แท้ แน่นอนเป็นสภาวะ ชื่อว่า ความ

ถือในสิ่งที่ไม่แน่นอนว่าแน่นอน.

บทว่า ยาวตา ได้แก่ มีประมาณเท่าใด.

บทว่า ทฺวาสฏฺิทฺิคตานิ ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒ ที่มาในพรหม-

ชาลสูตร.

บทว่า อจฺเฉทสงฺกิโนปิ ผนฺทนฺติ ความว่า แม้ผู้มีความหวาด

ระแวงเกิดขึ้นว่า คนทั้งหลายจักแย่งชิงข่มขี่ถือเอาโดยพลการ ย่อมหวั่นไหว.

บทว่า อจฺฉิชฺชนฺเตปิ ได้แก่ ในเมื่อเขากำลังแย่งชิงโดยนัยที่

กล่าวแล้วบ้าง.

บทว่า อจฺฉินฺเนปิ ได้แก่ ในเมื่อเขาแย่งชิงถือเอาแล้วโดยนัยที่

กล่าวแล้วบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

บทว่า วิปริณามสงฺกิโนปิ ได้แก่ แม้ผู้มีความหวาดระแวง โดย

ความเป็นแปลงเป็นอย่างอื่นบ้าง.

บทว่า วิปริณามนฺเตปิ ได้แก่ ในเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง.

บทว่า วิปริณเตปิ ได้แก่ เมื่อวัตถุนั้นเปลี่ยนแปลงไปแล้วบ้าง.

บทว่า ผนฺทนฺติ ได้แก่ ย่อมหวั่นไหว.

บทว่า สุมฺผนฺทนฺติ ได้แก่ ย่อมหวั่นไหวโดยอาการทั้งปวง.

บทว่า วิปฺผนฺทนฺติ ได้แก่ ย่อมหวั่นไหวโดยอาการมีอย่างต่าง ๆ.

บทว่า เวธนฺติ ได้แก่ เห็นภัยแล้วหวั่นไหว.

บทว่า ปเวธนฺติ ได้แก่ หวั่นไหวเป็นพิเศษ เพราะภัยที่น่า

หวาดเสียว.

บทว่า สมฺปเวธนฺติ ได้แก่ หวั่นไหวโดยอาการทั้งปวง เพราะ

ภัยที่ทำให้ขนลุกขนพอง.

บทว่า ผนฺทมาเน เป็นทุติยาวิภัตติ พหุวจนะ.

บทว่า อปฺโปทเก ได้แก่ มีน้ำน้อย.

บทว่า ปริตฺโตทเก ได้แก่ มีน้ำนิดหน่อย.

บทว่า อุทกปริยาทาเน ได้แก่ มีน้ำสิ้นไป.

บทว่า พลากาหิ วา ได้แก่ ฝูงปักษีที่เหลือจากที่กล่าวแล้ว.

บทว่า ปริปาติยมานา ได้แก่ เบียดเบียนอยู่ กระทบกระทั่งอยู่.

บทว่า อุกฺขิปิยมานา ได้แก่ นำมาแต่ระหว่างเปือกตม หรือ

กลืนกิน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

บทว่า ขชฺชมานา ได้แก่ เคี้ยวกินอยู่. ปลาทั้งหลายย่อมดิ้นรน

เพราะฝูงกา ย่อมกระเสือกกระสนเพราะฝูงเหยี่ยว ย่อมทุรนทุรายเพราะฝูง

นกยาง ย่อมหวั่นไหวด้วยสามารถแห่งความตายในเวลาที่ถูกคาบด้วยจะงอย

ปาก ย่อมเอนเอียงในเวลาถูกจิก ย่อมกระสับกระส่ายในเวลาใกล้ตาย.

บทว่า ปสฺสิตฺวา ได้แก่ เห็นโทษมิใช่คุณ.

บทว่า ตุลยิตฺวา ได้แก่ เปรียบเทียบคุณและโทษ.

บทว่า ติรยิตฺวา ได้แก่ ยังคุณและโทษให้พิสดาร.

บทว่า วิภาวยิตฺวา ได้แก่ ปล่อยคือเว้นวัตถุอันทราม.

บทว่า วิภูต กตฺวา ได้แก่ ให้ถึงความสำเร็จ คือยกเว้น.

อีกอย่างหนึ่ง เห็นด้วยการเปลื้องโทษที่เกลื่อนกล่นแล้วจำแนกเป็น

เรื่อง ๆ. เทียบเคียงด้วยการเปลื้องโทษที่ไม่มีกำหนดแล้วทำการกำหนด,

พิจารณาด้วยการเปลื้องวัตถุโทษแล้วแบ่งเป็นส่วน ๆ. ตรวจตราด้วยการ

เปลื้องโทษความลุ่มหลงแล้วตีราคา ทำให้แจ่มแจ้งด้วยการเปลื้องโทษความ

เป็นก้อนแล้วแบ่งส่วนตามปกติ.

บทว่า ปหาย ได้แก่ ละแล้ว

บทว่า ปฏินิสฺสชฺชิตฺวา ได้แก่ สละคืนแล้ว.

บทว่า อมมายนฺโต ได้แก่ ไม่กระทำอาลัยด้วยตัณหาและทิฏฐิ.

บทว่า อคฺคณฺหนฺโต ได้แก่ ไม่ถือเอาส่วนเบื้องต้นแห่งทิฏฐิ

ด้วยปัญญา.

บทว่า อปรามสนฺโต ได้แก่ ไม่การทำการสละลงด้วยวิตก.

บทว่า อนภินิวิสนฺโต ได้แก่ ไม่เข้าไปด้วยทิฏฐิที่ก้าวลงแน่นอน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 362

บทว่า อกุพฺพมาโน ได้แก่ ไม่กระทำด้วยตัณหาเครื่องยึดถือ.

บทว่า อชนยมาโน ได้แก่ ไม่ให้เกิดด้วยตัณหาที่ให้เกิดในภพใหม่.

บทว่า อสญฺชนฺยมาโน ได้แก่ ไม่ให้เกิดพร้อมเป็นพิเศษ.

บทว่า อนิพฺพตฺตยมาโน ได้แก่ ไม่ให้บังเกิดด้วยตัณหาคือ

ความปรารถนา.

บทว่า อนภินิพฺพตฺตยมาโน ได้แก่ ไม่ให้บังเกิดเฉพาะด้วย

อาการทั้งปวง, อีกอย่างหนึ่ง บทเหล่านี้ ท่านขยายความด้วยอุปสรรค.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความยินดีด้วยคาถาแรก และโทษ

ด้วย ๔ คาถาต่อจากนั้น ในที่นี้ ด้วยประการฉะนี้ บัดนี้ เพื่อจะแสดงการสลัด

ออกพร้อมด้วยอุบาย และอานิสงส์แห่งการสลัดออก, หรือแสดงโทษความ

ต่ำช้าและความเศร้าหมองของกามทั้งหลายด้วยคาถาเหล่านี้ ทั้งหมด บัดนี้

เพื่อจะแสดงอานิสงส์ในเนกขัมมะ ท่านจึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า อุโภสุ

อนฺเตสุ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุโภสุ อนฺเตสุ ได้แก่ ในที่สุดที่

กำหนดไว้เป็นคู่ ๆ มีผัสสะและผัสสสมุทัยเป็นต้น.

บทว่า วิเนยฺย ฉนฺท ได้แก่ กำจัดฉันทราคะ.

บทว่า ผสฺส ปริญฺาย ได้แก่ กำหนดรู้นามรูปแม้ทั้งสิ้น คือ

ผัสสะมีจักขุสัมผัสเป็นต้น หรืออรูปธรรมแม้ทั้งสิ้นที่สัมปยุตด้วยผัสสะนั้น

โดยทำนองแห่งผัสสะและรูปธรรม โดยมีวัตถุทวารของอรูปธรรมเหล่านั้น

เป็นอารมณ์ ด้วยปริญญา ๓.

บทว่า อนานุคิทฺโธ ได้แก่ ไม่ติดใจในธรรมทั้งปวงมีรูป เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 363

บทว่า ยทตฺตครหี ตทกุพฺพมาโน ความว่า ไม่กระทำกรรมที่ตน

ติเตียน.

บทว่า น ลิมฺปตี ทิฏฺสุเตสุ ธีโร ความว่า ธีรชนผู้ถึงพร้อม

ด้วยปัญญาเห็นปานนี้นั้น ย่อมไม่ติดด้วยการติดแม้สักอย่างหนึ่งแห่งการติด

ทั้งสองในธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เห็นแล้วและฟังแล้ว คือไม่ติดอะไร ๆ เหมือน

อากาศ ย่อมเป็นผู้ถึงความผ่องแผ้วยิ่งนัก.

บทว่า ผสฺโส เอโก อนฺโต ได้แก่ ผัสสะเป็นกำหนดอันหนึ่ง.

ชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่า ถูกต้อง ผัสสะนี้นั้น มีการถูกต้องเป็น

ลักษณะ, มีการเสียดสีเป็นรส, มีการประชุมเป็นปัจจุปปัฏฐาน, มี.

อารมณ์ที่อยู่ในคลองเป็นปทัฏฐาน.

ก็ผัสสะนี้แม้เป็นอรูปธรรม ก็เป็นไปโดยอาการถูกต้องในอารมณ์นั้น

แล ดังนั้นจึงชื่อว่า มีการถูกต้องเป็นลักษณะ, และแม้ไม่ติดแน่นเป็น

เอกเทส ก็เสียดสี ดุจรูปเสียดสีจักษุ เสียงเสียดสีหู จิตเสียดสีอารมณ์ ดังนั้น

จึงชื่อว่า มีการเสียดสีเป็นรส, อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า มีการเสียดสี

เป็นรส ด้วยรสแม้มีอรรถว่าสมบัติ เพราะเกิดขึ้นแต่การเสียดสีของวัตถุ

และอารมณ์. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า ผัสสะที่เป็นไปใน

ภูมิ ๔ ที่จะชื่อว่าไม่มีการถูกต้องเป็นลักษณะนั้นย่อมไม่มี ก็ผัสสะที่มีการ

เสียดสีเป็นรส ย่อมเป็นไปในทวาร ๕ ทีเดียว ด้วยว่า คำว่า มีการถูกต้อง

เป็นลักษณะก็ดี มีการเสียดสีเป็นรสก็ดี เป็นชื่อของผัสสะที่เป็นไปในทวาร

๕, คำว่า มีการถูกต้องเป็นลักษณะ, มิใช่มีการเสียดสีเป็นรส เป็นชื่อ

ของผัสสะที่เป็นไปทางมโนทวาร และท่านกล่าวคำนี้แล้ว ได้นำพระสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 364

นี้มาว่า :-

มหาบพิตร เหมือนมีแพะ ๒ ตัวต่อสู้กัน พึงเห็นจักษุเหมือนแพะ

สัตว์ที่ พึงเห็นรูปเหมือนแพะตัวที่ ๒ พึงเห็นผัสสะเหมือนการเข้าสู้

กันของแพะ ๒ ตัวนั้น ผัสสะมีการถูกต้องเป็น ลักษณะ และมีการเสียดสี

เป็นรส เหมือนกันฉันนั้น มหาบพิตรเหมือนสลักแอกไถ ๒ อันเสียด

เสียดกัน แม้สัตว์ทั้ง ๒ ก็พึงเบียดเสียดกัน พึงเห็นจักษุเหมือนสัตว์ตัวที่ ๑

พึงเห็นรูปเหมือนสัตว์ตัวที่ ๒ พึงเห็นผัสสะเหมือนการเข้าเบียดเสียด

กันของสัตว์ ๒ ตัวนั้น ผัสสะมีการถูกต้องเป็นลักษณะ และมีการ

เสียดสีเป็นรส เหมือนกันฉันนั้น พึงทราบความพิสดารดังต่อไปนี้ :-

เหมือนอย่างว่า จักขุวิญญาณเป็นต้น ท่านกล่าวโดยชื่อว่าจักษุ ในข้อ

ความว่า เห็นรูปด้วยจักษุ เป็นต้น ฉันใด จักขุวิญญาณเป็นต้น

เหล่านั้น แม้ในที่นี้ก็พึงทราบว่า ท่านกล่าวโดยชื่อว่า จักษุ ฉันนั้น.

เพราะฉะนั้น เนื้อความในข้อความว่า พึงเห็นจักษุอย่างนี้ เป็นต้น

พึงทราบโดยนัยนี้ว่า พึงเห็นจักขุวิญญาณอย่างนี้. เมื่อเป็นอย่างนั้น แม้

ในพระสูตรนี้ ก็ย่อมสำเร็จเนื้อความว่ามีการเสียดสีเป็นรส ด้วยรสซึ่งมีกิจ

เป็นอรรถนั่นแล เพราะการเสียดสีของจิตกับอารมณ์ แต่มีการประชุมกัน

เป็นปัจจุปปัฏฐาน เพราะประกาศความเสียดสีด้วยการประชุมกันแห่งธรรม

ทั้ง ๓ อย่างด้วยสามารถแห่งเหตุของตน เพราะผัสสะนี้ท่านประกาศในที่นั้น

ด้วยสามารถแห่งการประกอบเหตุอย่างนี้ว่าความเป็นไปร่วมกันของธรรม

๓ อย่าง, เป็นผัสสะ ดังนั้นสุตตบทนี้จึงมีเนื้อความนี้ว่า ชื่อว่า ผัสสะ

๑. ธรรม ๓ อย่างคือ จักษุ ๑ รูป ๑ จักขุวิญญาณ ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 365

เพราะความเป็นไปร่วมกันของธรรม ๓ อย่าง, ผัสสะมิใช่เพียงเป็นไปร่วม

กันเท่านั้น แต่ย่อมปรากฏด้วยอาการนั้นนั่นแล เพราะท่านประกาศไว้อย่าง

นั้น ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า มีการประชุมกันเป็นปัจจุปปัฏฐาน อนึ่ง ผัสสะ

ชื่อว่า มีเวทนาเป็นเครื่องปรากฏ แม้ด้วยความปรากฏซึ่งมีผลเป็นอรรถ

อธิบายว่า ด้วยว่าผัสสะนี้ยังเวทนาให้ปรากฏ คือให้เกิดขึ้น. ก็ผัสสะ

นี้คือจิตซึ่งเป็นที่อาศัยของตน เพราะอาศัยจิต เมื่อให้เกิดขึ้น แม้มี

สิ่งอื่นกล่าวคือวัตถุหรืออารมณ์เป็นปัจจัย ย่อมยังเวทนาให้เกิดขึ้น มิใช่ใน

วัตถุหรือในอารมณ์ เหมือนไออุ่นที่อาศัยธาตุกล่าวคือครั่ง แม้มีความร้อน

ภายนอกเป็นปัจจัย ก็ย่อมกระทำความอ่อนในนิสัยของตน มิใช่ในความ

ร้อนกล่าวคือถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลวภายนอกแม้เป็นปัจจัยของตน ฉะนั้น

พึงทราบดังนี้.

อนึ่ง ผัสสะนี้ ท่านกล่าวว่า มีอารมณ์ที่อยู่ในคลองเป็นปทัฏฐาน

เพราะเกิดขึ้นโดยไม่มีอันตราย ในอารมณ์ที่แวดล้อมด้วยอินทรีย์ซึ่งเกิดจาก

นั้นและที่ประมวลมา. ผัสสะตั้งขึ้น คือเกิดขึ้นแต่ปัจจัยใด ปัจจัยนั้นท่าน

เรียกว่า ผัสสสมุทัย. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า เพราะสฬายตนะเป็น

ปัจจัยจึงเกิดผัสสะ.

พึงทราบว่า อดีตทุกะ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งกาล.

เวทนาทุกะ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งสุขทุกข์ เพราะทำอุเบกขา

เวทนาให้เป็นสุขอย่างเดียว เพราะท่านกล่าวไว้ว่า ก็อุเบกขา ท่านกล่าวว่า

สุขอย่างเดียว เพราะสงบ.

นามรูปทุกะ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งรูปธรรมและอรูปธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 366

อายตนะทุกะ. ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งความเป็นไปในสังสารวัฏ.

สักกายทุกะ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งเบญจขันธ์.

บรรดาบทเหล่านั้น ชื่อว่า สุข เพราะอรรถว่าเป็นไปสบาย. ชื่อ

ว่า เวทนา เพราะอรรถว่า เสวยอารมณ์. ชื่อว่า ทุกข์ เพราะอรรถว่า

เป็นไปลำบาก. นาม มีความน้อมไปเป็นลักษณะ. รูป มีความแตกดับ

ไปเป็นลักษณะ, อายตนะภายใน ๖ มีจักขวายตนะเป็นต้น, อายตนะ

ภายนอก ๖ มีรูปายตนะเป็นต้น, เบญจขันธ์ มีรูปขันธ์เป็นต้น เป็นสักกายะ

ด้วยอรรถว่า มีอยู่, อวิชชา กรรม ตัณหา อาหาร ผัสสะ, และนามรูป

เป็นสักกายสมุทัย.

บทว่า จกฺขุสมฺผสฺโส ความว่า ชื่อว่า จักษุ เพราะอรรถว่า บอก

ให้รู้จักอะไร ๆ อธิบายว่า ยินดี คือทำให้แจ้งซึ่งรูป. สัมผัสที่เป็นไปทาง

จักษุ ชื่อจักขุสัมผัสสะ.

ก็จักขุสัมผัสสะนั้นเป็นปัจจัยแก่เวทนาที่สัมปยุตกับด้วยตน ด้วยอำนาจ

ปัจจัย ๘ ปัจจัย คือ สหชาตะ, อัญญมัญญะ, นิสสยะ, วิปากะ, อาหาระ,

สัมปยุตตะ, อัตถิ, อวิคตะ,

ชื่อว่า โสตะ เพราะอรรถว่า ฟัง โสตะนั้น ให้สำเร็จความเป็น

วัตถุและทวารตามควรแก่โสตวิญญาณเป็นต้น ตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐาน

ดังเจาะด้วยนิ้วมือ มีขนสีแดงบาง ๆ ขึ้นคลุม ภายในช่องสสัมภารโสตะ.

สัมผัสที่เป็นไปทางโสต ชื่อโสมสัมผัสสะ. แม้ในฆานสัมผัสสะ เป็น

ต้น ก็นัยนี้แหละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

ชื่อว่า ฆานะ เพราะอรรถว่า ดม ฆานะนั้น ให้สำเร็จความ

เป็นวัตถุและทวารตามควรแก่ฆานวิญญาณ เป็นต้น ตั้งอยู่ในประเทศมี

สัณฐานดังกีบแพะ ภายในช่องสสัมภารฆานะ.

ชื่อว่า ชิวหา เพราะอรรถว่า เรียกชีวิต. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

ชิวหา ด้วยอรรถว่า ลิ้มรส. ชิวหานั้นให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวาร

ตามควรแก่ชิวหาวิญญาณ เป็นต้น ตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐานดังปลายกลีบ

ดอกอุบลที่ทะลุตรงกลางใบข้างบน เว้นปลายสุด โคน และช้าง ๆ แห่ง

สสัมภารชิวหา.

ชื่อว่า กาย เพราะอรรถว่า เป็นที่เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นไปกับ

ด้วยอาสวะที่น่ารังเกียจทั้งหลาย.

บทว่า อาโย แปลว่า เป็นประเทศที่เกิดขึ้น. กายประสาทให้

สำเร็จความเป็นวัตถุและทวารตามควรแก่กายวิญญาณเป็นต้นโดยมากตั้งอยู่

ในกายนั้น ตลอดเวลาที่ความเป็นไปแห่งสังขารที่มีใจครองยังมีอยู่ในกายนี้.

ชื่อว่า มโน เพราะอรรถว่า รู้ อธิบายว่า รู้แจ้ง.

บทว่า มโน ได้แก่ ภวังคจิตที่เป็นไปกับด้วยอาวัชชนะ สัมผัสที่

เป็นไปทางมโน ชื่อมโนสัมผัสสะ.

เพื่อจะแสดงว่า ผัสสะทั้ง ๖ อย่าง นับเป็น ๒ อย่างเท่านั้น

ฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า อธิวจนสมฺผสฺโส ปฏิฆสมฺผสฺโส สัมผัส

ทางนาม สัมผัสทางรูป.

อธิวจนสัมผัสสะเป็นไปทางมโนทวาร ปฏิฆสัมผัสสะเป็นไปทาง

ปัญจทวาร เพราะเกิดขึ้นด้วยการกระทบวัตถุและอารมณ์เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 368

สัมผัสเป็นอารมณ์แห่งสุขเวทนา ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา.

สัมผัสเป็นอารมณ์แห่งทุกขเวทนา ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา. สัมผัส

เป็นอารมณ์แห่งอทุกขมสุขเวทนา ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา.

บรรดาบทเหล่านั้น ชื่อว่า สุข เพราะอรรถว่า เป็นไปสบาย

อธิบายว่า เกิดขึ้นแก่ผู้ใด ก็ทำให้ผู้นั้นให้มีความสุข, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อ

ว่าสุข เพราะอรรถว่า ขุด และเคี้ยวกิน ซึ่งความลำบากกายและใจเสียได้

ด้วยดี.

ชื่อว่า ทุกข์ เพราะอรรถว่า เป็นไปลำบาก อธิบายว่า เกิดขึ้น

แก่ผู้ใด ก็ทำผู้นั้นให้มีความทุกข์.

ชื่อว่า อทุกขมสุข เพราะอรรถว่า ทุกข์ก็ไม่ใช่ สุขก็ไม่ใช่ ม

อักษรท่านกล่าวด้วยบทสนธิ. ผัสสะที่ว่าเป็น กุสโล เป็นต้น ท่านกล่าว

ด้วยสามารถแห่งชาติ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุสโล ได้แก่ ผัสสะ

ที่สัมปยุตด้วยกุศลจิต ๒๑ ดวง.

บทว่า อกุสโล ได้แก่ ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอกุศลจิต ๑๒ ดวง.

บทว่า อพฺยากโต ได้แก่ ผัสสะที่สัมปยุตด้วย อัพยากตจิต กล่าว

คือ วิปากจิต และกิริยาจิตที่เหลือ.

พระสารีบุตรเถระเมื่อชี้แจงด้วยสามารถแห่งประเภทของภพใหม่ จึง

กล่าว กามาวจโร เป็นต้น.

ผัสสะที่สัมปยุตด้วยกามาวจรจิต ๕๔ ดวง ชื่อว่า กามาวจร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 369

ชื่อว่า รูปาวจร เพราะอรรถว่า ละกามภพ ท่องเที่ยวไปในรูปภพ

ผัสสะที่สัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต ๑๕ ดวง ด้วยสามารถแห่งกุศลและอัพยากตะ.

ชื่อว่า อรูปาวจร เพราะอรรถว่า ละกามภพและรูปภพ ท่องเที่ยว

ไปในอรูปภพ ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต ๑๒ ด้วยสามารถแห่งกุศล

และอัพยากตะ.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงด้วยสามารถแห่งความยึดมั่น จึงกล่าว

ว่า สุญฺโต เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุญฺโต เป็นต้น ความว่า ท่าน

เรียกว่า สุญญตะ เพราะว่างจากราคะ โทสะ โมหะ, เรียกว่า อนิมิตตะ

เพราะไม่มีเครื่องหมายแห่งราคะ โทล่ะ โมหะ, เรียกว่า อัปปณิหิตะ

เพราะไม่มีที่ตั้งแห่งราคะ โทสะ โมหะ.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงด้วยสามารถผัสสะที่นับเนื่องและไม่นับ

เนื่องในวัฏฏะ จึงกล่าวว่า โลกิโย เป็นต้น.

วัฏฎะ ท่านเรียกว่า โลก ด้วยอรรถว่า แตกหัก พังทลาย, ผัสสะ

ชื่อว่า โลกิยะ เพราะอรรถว่า ประกอบไว้ในโลก ด้วยภาวะที่นับเนื่อง

ในโลกนั้น, ชื่อว่า อุตตระ เพราะอรรถว่า ข้ามขึ้นแล้ว, ชื่อว่า โลกุต-

ตระ เพราะอรรถว่า ข้ามขึ้นจากโลก เพราะภาวะที่ไม่นับเนื่องในโลก.

บทว่า ผุสนา ได้แก่ อาการที่ถูกต้อง.

บทว่า สมฺผุสฺนา สมฺผุสิตตฺต ท่านขยายด้วยอุปสัค.

บทว่า เอว าต กตฺวา ได้แก่ ทำให้ปรากฏอย่างนี้, เมื่อรู้

ย่อมพิจารณา คือย่อมเห็น ย่อมคิดโดยอาการที่พึงเป็นไปเบื้องบน ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 370

พิจารณาโดยความเป็นอนิจจัง เพราะมีความเป็นไปในที่สุดคืออนิจจัง และ

แลเพราะมีเบื้องต้นและที่สุด.

ชื่อว่า โดยความเป็นทุกข์ เพราะมีความเกิดขึ้นและความเสื่อม

ไปบีบคั้น และเพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์.

ชื่อว่า โดยความเป็นโรค เพราะจะต้องให้เป็นไปด้วยปัจจัย และ

เพราะเป็นมูลแห่งโรค.

ชื่อว่า โดยความเป็นดังหัวฝี เพราะประกอบด้วยโรคเสียดท้อง

โดยเป็นทุกข์ เพราะมีการไหลออกแห่งของไม่สะอาดคือกิเลส และเพราะ

ขึ้นพองแก่รอบแตกไป ด้วยความเกิดขึ้น ความเสื่อมโทรมและความแตก

ดับ.

ชื่อว่า โดยความเป็นดังลูกศร เพราะให้เกิดความบีบคั้น เพราะ

เจาะแทงภายใน และเพราะมีภาวะที่นำออกได้ยาก.

ชื่อว่า โดยความเป็นของลำบาก เพราะเป็นภาวะที่น่าติเตียน

เพราะไม่นำมาซึ่งความเจริญและเพราะเป็นที่ตั้งแห่งความชั่ว.

ชื่อว่า โดยความเป็นอาพาธ เพราะไม่ให้เกิดเสรีภาพ และเพราะ

เป็นปทัฏฐานแห่งอาพาธ.

ชื่อว่า โดยความเป็นอย่างอื่น เพราะไม่มีอำนาจ และเพราะ

ความเป็นชื่อ.

ชื่อว่า โดยความเป็นของชำรุด เพราะชำรุดด้วยพยาธิชราและ

มรณะ.

ชื่อว่า โดยความเป็นเสนียด เพราะนำมาซึ่งความพินาศมิใช่น้อย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 371

ชื่อว่า โดยความเป็นอุบาทว์ เพราะนำมาซึ่งความฉิบหายมาก

มาย ซึ่งไม่มีใครรู้ได้และเพราะเป็นที่ดังแห่งอันตรายทุกอย่าง.

ชื่อว่า โดยความเป็นภัย เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งภัยทั้งปวง

เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อหายใจเข้าอย่างยิ่งกล่าวคือความสงบทุกข์.

ชื่อว่า โดยความเป็นอุปสรรค เพราะพัวพันด้วยความฉิบหายมิ

ใช่น้อย เพราะเข้าไปดำรงไว้ซึ่งโทษ และเพราะไม่ควรแก่การอดกลั้น

ดุจอุปสรรค.

ชื่อว่า โดยความเป็นของหวั่นไหว เพราะหวั่นไหวด้วยพยาธิ

ชรา และมรณะ และด้วยโลกธรรมมีลาภเป็นต้น.

ชื่อว่า โดยความเป็นของแตกพัง เพราะเข้าถึงความแตกพัง

เป็นปกติ ด้วยความเพียรและด้วยสิ่งที่มีรส.

ชื่อว่า โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน เพราะทำความมั่นคงทั้งปวง

ให้ถึงความพินาศ และเพราะไม่มีความมั่นคง.

ชื่อว่า โดยความเป็นของไม่มีที่ต้านทาน เพราะความไม่ต้าน

ทาน และเพราะไม่ได้ความปลอดภัย.

ชื่อว่า โดยความเป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น เพราะความเป็นของ

ไม่ควรที่จะติดแน่น และเพราะไม่กระทำกิจซ่อนเร้นแม้ของผู้ที่ติดแน่น.

ชื่อว่า โดยความเป็นของไม่มีที่พึ่ง เพราะไม่มีความเป็นผู้กระทำ

ที่พึ่งจากภัย แก่ผู้อาศัยทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

ชื่อว่า โดยความเป็นของว่าง เพราะว่างจากอัตภาพที่ยั่งยืน งาม

เป็นสุข ตามที่กำหนดไว้.

ชื่อว่า โดยความเป็นของเปล่า เพราะความเป็นของว่างนั่นเอง

หรือเพราะเป็นของน้อย. จริงอยู่แม้ของน้อย ท่านก็เรียกว่า เปล่าในโลก.

ชื่อว่า โดยความเป็นของสูญ เพราะเว้นจากเจ้าของผู้อยู่อาศัย

ผู้รู้ ผู้กระทำ และผู้อธิษฐาน.

ชื่อว่า โดยความเป็นอนัตตา เพราะความที่ตนเองมิใช่เจ้าของ

เป็นต้น.

ชื่อว่า โดยความเป็นโทษ. เพราะมีทุกข์เป็นไป และเพราะความ

เป็นโทษของทุกข์อีกอย่างหนึ่ง.

ชื่อว่า อาทีนพ เพราะอรรถว่า พัดไป คือไป เป็นไป ซึ่ง

เบื้องต้น คำนี้เป็นชื่อของคนกำพร้า แม้ขันธ์ทั้งหลายก็กำพร้าเหมือนกัน

โดยความเป็นโทษ เพราะเป็นเช่นกับโทษ.

ชื่อว่า โดยความเป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

เพราะมีปกติแปรปรวน ๒ อย่าง คือ ด้วยชราและมรณะ.

ชื่อว่า โดยความเป็นของไม่มีแก่นสาร เพราะทุพพลภาพ

เหมือนกระพี้ และเพราะทำลายความสุข.

ชื่อว่า โดยความเป็นมูลแห่งความลำบาก เพราะเป็นเหตุแห่ง

ความลำบาก.

ชื่อว่า โดยความเป็นดังเพชฌฆาต เพราะฆ่าความคุ้นเคย

เหมือนศัตรูที่อยู่ต่อหน้าทำเป็นมิตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

ชื่อว่า โดยความเป็นของปราศจากความเจริญ เพราะปราศ-

จากความเจริญ และเพราะมีความเสื่อม.

ชื่อว่า โดยความเป็นของมีอาสวะ เพราะมีอาสวะเป็นปทัฏฐาน.

ชื่อว่า โดยความเป็นของอันเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เพราะเป็น

ของอันเหตุและปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว.

ชื่อว่า โดยความเป็นเหยื่อมาร เพราะเป็นเหยื่อแห่งมัจจุมารและ

กิเลสมาร.

ชื่อว่า โดยความเป็นของมีชาติชราพยาธิและมรณะเป็น

ธรรมดา เพราะมีชาติ ชรา พยาธิ และมรณะเป็นปกติ.

ชื่อว่า โดยความเป็นของมีโสกะ ปริเทวะ และอุปายาสะ

เป็นธรรมดา เพราะเป็นเหตุแห่งโสกะ บริเทวะ และอุปายาสะ.

ชื่อว่า โดยความเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา

เพราะมีอารมณ์แห่งตัณหาทิฏฐิทุจริต และสังกิเลสทั้งหลายเป็นธรรมดา.

ชื่อว่า โดยความเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เพราะความเกิดขึ้นด้วย

สามารถแห่งอวิชชา กรรม ตัณหา และสฬายตนะ.

ชื่อว่า โดยความเป็นของดับไป เพราะไม่มีเหตุเกิดแห่งทุกข์

เหล่านั้น.

ชื่อว่า โดยความเป็นของชวนให้แช่มชื่น เพราะความแช่มชื่น

ที่มีความหวานด้วยสามารถแห่งฉันทราคะในผัสสะ.

ชื่อว่า โดยความเป็นอาทีนพ เพราะความแปรปรวนแห่งผัสสะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 374

ชื่อว่า โดยความเป็นนิสสรณะ เพราะการออกไปแห่งความ

แช่มชื่นและอาทีนพทั้งสอง. ปาฐะที่เหลือในบทว่า ติเรติ เหล่านี้ พึง

เห็นในบทว่า ติเรติ ทุกบท.

บทว่า ปชหติ ความว่า นำออกจากสันดานของตน.

บทว่า วิโนเทติ ความว่า บรรเทา.

บทว่า พยนฺตีกโรติ ความว่า ทำให้สิ้นสุด.

บทว่า อนภาวงฺคเมติ ความว่า ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง.

ชื่อว่า มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว เพราะอรรถว่า มูลรากที่สำเร็จ

ด้วยตัณหาและอวิชชาของฉันทราคะเหล่านั้น ถูกตัดขาดแล้วด้วยศัสตราคือ

อริยมรรค.

ชื่อว่า ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน เพราะอรรถว่า ทำที่ตั้ง

แห่งฉันทราคะเหล่านั้น ราวกะว่าตาลยอดด้วน. เหมือนอย่างว่า ถอนต้น

ตาลขึ้นพร้อมทั้งรากแล้วทำประเทศนั้นเป็นเพียงที่ตั้งของต้นตาลนั้น ความ

เกิดขึ้นของต้นตาลนั้น ย่อมไม่ปรากฏอีก ฉันใด, ถอนรสมีรูปเป็นต้น

พร้อมทั้งราก ด้วยศัสตราคือ อริยมรรค แล้วทำจิตสันดานเป็นเพียงที่ตั้ง

แห่งฉันทราคะเหล่านั้น โดยภาวะเดิมที่เกิดขึ้นแล้วในก่อน ฉันทราคะ

เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ท่านเรียกว่า ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน ฉันนั้น.

บทว่า ยสฺเสโส ได้แก่ ความติดใจนั้น ของบุคคลใด.

บทว่า สมุจฺฉินฺโน ได้แก่ ตัดขาดแล้วโดยชอบ.

บทว่า วูปสนฺโต ได้แก่ สงบได้แล้วด้วยผล.

บทว่า ปฏิปสฺสทฺโธ ได้แก่ ระงับได้แล้วด้วยปฏิปัสสัทธิปหานะ,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

อีกอย่างหนึ่งท่านขยายบทด้วยอุปสรรค.

บทว่า อภพฺพุปฺปตฺติโก ได้แก่ ไม่ควรเพื่อจะเกิดขึ้นอีก.

บทว่า าณคฺคินา ทฑฺโฒ ได้แก่ เผาแล้วด้วยไฟคือมรรค

ญาณ.

อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาอย่างนี้ว่า ละได้แล้วพร้อม

ด้วยวัตถุ เหมือนทิ้งไปพร้อมกับภาชนะที่ใส่ยาพิษ. ตัดพร้อมทั้งราก

เหมือนตัดรากเถาวัลย์มีพิษ ดังนั้นจึงชื่อว่า ตัดขาดแล้ว, สงบได้แล้ว

เหมือนราดน้ำดับถ่านไฟในเตา, ระงับได้แล้ว เหมือนหยาดน้ำที่ตกลง

ในถ่านไฟที่ดับแล้ว, ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เหมือนพืชที่ถูกตัดเหตุเกิด

ของหน่อเสียแล้ว. เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เหมือนต้นไม้มีพิษถูก

ฟ้าผ่า ดังนี้.

บทว่า วีตเคโธ นี้ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งการสละภาวะของตน.

บทว่า วิคตเคโธ นี้กล่าวด้วยสามารถแห่งการสละภาวะที่ยังมีอาลัย

ในอารมณ์.

บทว่า วนฺตเคโธ นี้กล่าวด้วยสามารถแสดงภาวะไม่ถือเอา.

บทว่า มุตฺตเคโธ นี้กล่าวด้วยสามารถแห่งการเปลื้องจากสันตติ.

บทว่า ปหีนเคโธ นี้กล่าวด้วยสามารถแสดงความไม่ตั้งมั่น ในบาง

คราวของจิตที่พ้นแล้ว.

บทว่า ปฏินิสฺสฏฺเคโธ นี้ กล่าวด้วยสามารถแสดงการสลัดออก

ซึ่งความติดใจที่เคยยึดถือไว้.

บทว่า วีตราโค วิคตราโค จตฺตราโค วนฺตราโค พึงประ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

กอบโดยนัยที่กล่าวแล้ว.

บรรดาเหล่านั้น ชื่อว่า เคธะ ด้วยสามารถแห่งความติดใจ,

ชื่อว่า ราคะ ด้วยสามารถแห่งความยินดี,

บทว่า นิจฺฉาโต ได้แก่ มีตัณหาออกแล้ว. ปาฐะว่า นิจฺฉโท

ก็มีความว่า เว้นจากหลังคาคือตัณหา.

บทว่า นิพฺพุโต ได้แก่ มีสภาวะดับแล้ว.

บทว่า สีติภูโต ได้แก่ มีความเย็นเป็นสภาวะ.

บทว่า สุขปฏิสเวที ได้แก่ มีสภาวะเสวยสุขทางกายและสุข

ทางใจ.

บทว่า พฺรหฺมภูเตน ได้แก่ มีสภาวะสูงสุด.

บทว่า อตฺตนา ได้แก่ จิต.

บทว่า กตตฺตา จ ได้แก่ เพราะทำกรรมชั่วด้วย.

บทว่า อกตตฺตา จ ได้แก่ เพราะไม่ทำกรรมดีด้วย.

บทว่า กต เม กายทุจฺจริต อกต เม กายสุจริต เป็นต้น

กล่าวด้วยสามารถการไม่งดเว้นและการงดเว้นและการงดเว้นทางทวาร และ

ด้วยสามารถกรรมบถ.

บทว่า สีเลสุมฺหิ น ปริปูริการี เป็นต้น กล่าวด้วยสามารถ

ปาริสุทธิสีล ๔.

บทว่า ชาคริยมนนุยุตฺโต กล่าวด้วยสามารถชาครณธรรม ๕.

บทว่า สติสมฺปชญฺเน กล่าวด้วยสามารถสาตถกสัมปชัญญะ

เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 377

โพธิปักขิยธรรมทั้งหลายมีบทว่า จตฺตาโร สติปฏฺานา เป็นต้น

กล่าวด้วยสามารถโลกิยะและโลกุตตระ.

บททั้ง ๔ มีบทว่า ทุกฺข เม อปริญฺาต เป็นต้น กล่าวด้วย

สามารถอริยสัจพึงทราบดังนี้. บทเหล่านั้นมีเนื้อความปรากฏแล้ว เพราะมี

นัยดังที่กล่าวไว้ในที่นั้น ๆ.

บททั้ง ๗ ว่า ธีโร ปณฺฑิโต เป็นต้น มีเนื้อความได้กล่าวไว้

แล้วเหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธีร ด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหวใน

ทุกข์, ชื่อว่า ปณฺฑิต ด้วยอรรถว่า ไม่ลอยไปในสุข. ชื่อว่า ปญฺวา

ด้วยอรรถว่า ทำความสะสมประโยชน์ปัจจุบันและประโยชน์ข้างหน้า, ชื่อ

ว่า พุทฺธิมา ด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหวในประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน,

ซึ่งว่า าณี ด้วยอรรถว่า ลึกและตื้น และด้วยอรรถว่า ไม่ถอยหลัง,

ชื่อว่า วิภาวี ด้วยอรรถว่า แจ่มแจ้งในอรรถที่ปกปิดลึกลับ, ชื่อว่า

เมธาวี เพราะอรรถว่า เช่นกับตาชั่ง ด้วยอรรถว่า เซาะลงจนหมด

กิเลส.

บทว่า น ลิมฺปติ ความว่า ไม่ติดในความเกิดของตน เหมือน

รอยเขียนในอากาศ.

บทว่า น ปลิมฺปติ ความว่า ไม่ติดโดยพิเศษ.

บทว่า น อุปลิมฺปติ ความว่า แม้ประกอบก็ไม่ติด เหมือนรอย

เขียนในฝ่ามือ.

บทว่า อลิตฺโต ความว่า แม้ประกอบก็ไม่เศร้าหมองเหมือนแก้ว

มณีที่วางไว้ในผ้าแคว้นกาสี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 378

บทว่า อสลิตฺโต ความว่า ไม่เศร้าหมองเป็นพิเศษ เหมือนผ้า

แคว้นกาสีที่พันไว้ที่แก้วมณี.

บทว่า อนูปลิตฺโต ความว่า แม้เข้าไปก็ไม่ติดแน่นเหมือนหยาด

น้ำบนใบบัว.

บทว่า นิกฺขนโต ความว่า ออกไปภายนอก เหมือนหนีออก

จากเรือนจำ

บทว่า นิสฺสฏโ ความว่า ละขาดแล้ว เหมือนผ้าเศร้าหมองที่

อมิตรคลุมไว้.

บทว่า วิปฺปมุตฺโต ความว่า พันด้วยดี เหมือนยังความยินดีใน

วัตถุที่น่าถือเอาให้พินาศแล้วไม่มาอีก.

บทว่า วิสยุตฺโต ความว่า ไม่ประกอบด้วยกิเลสทั้งหลาย โดย

ความเป็นอันเดียวกัน เหมือนคนไข้หายจากพยาธิฉะนั้น.

บทว่า วิมริยาทิกเตน เจตสา ความว่า มีจิตกระทำให้ปราศ

จากแดนกิเลส. อธิบายว่า มีจิตพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง โดยภพทั้งปวง

โดยอารมณ์ทั้งปวง.

ก็ในคาถาว่า สัญฺญ ปริญฺา เป็นต้น ความย่อดังต่อไปนี้ มิใช่

ผัสสะแต่อย่างเดียวเท่านั้น ก็อีกอย่างหนึ่งแล มุนีกำหนดรู้สัญญาต่างด้วย

กามสัญญาเป็นต้น แม้นามรูป โดยแนวแห่งสัญญาหรือโดยนัยที่กล่าวแล้ว

ในก่อนนั่นแล ด้วยปริญญา ๓ พึงข้ามพ้นโอฆะทั้ง ๔ ด้วยปฏิปทานี้

ข้อนั้นมุนีนั้นข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือด้วยตัณหาและ

ทิฏฐิ เพราะละกิเลสคือตัณหาและทิฏฐิได้ เป็นมุนีมีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 379

ถอนลูกศรเสียแล้ว เพราะถอนลูกศรคือกิเลสมีราคะเป็นต้นได้แล้ว เป็นผู้

ไม่ประมาทเที่ยวไป เพราะถึงความไพบูลย์แห่งสติ หรือเป็นผู้ไม่ประมาท

เที่ยวไปในกาลเบื้องต้น เป็นผู้ถอนลูกศรได้ด้วยเที่ยวไปด้วยความไม่ประ

มาทนั้น ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า ซึ่งต่างโดยอัตภาพของตนและ

ของผู้อื่นเป็นต้น ย่อมปรินิพพานเพราะดับจริมจิตเสียได้โดยแท้ เหมือน

ไฟหมดเชื่อ ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระวางระเบียบธรรมนั้นแล จบเทศนา

ด้วยอดธรรมคือพระอรหัตต์ ด้วยประการฉะนี้ แต่มิได้ยังมรรคหรือผล

ให้เกิดขึ้นด้วยเทศนานี้ เพราะท่านแสดงแก่พระขีณาสพดังนี้แล.

ชื่อว่า สัญญา เพราะอรรถว่า จำอารมณ์ ชนิดสีเขียวเป็นต้นได้.

สัญญานั้น มีความจำได้เป็นลักษณะ, มีความรู้ยิ่งเฉพาะเป็นรส, ก็สัญญา

ที่เป็นไปในภูมิ ๔ ชื่อว่ามีความจำได้เป็นลักษณะ, สัญญาทั้งหมดมีความ

จำได้เป็นลักษณะทั้งนั้น, ก็สัญญาใดย่อมจำได้ด้วยความรู้ยิ่ง ในที่นี้

สัญญานั้น ชื่อว่ามีความรู้ยิ่งเฉพาะเป็นรส. พึงทราบความเป็นไปของ

สัญญาที่มีความรู้ยิ่งเฉพาะเป็นรสนั้น ในเวลาที่ช่างไม้ทำเครื่องหมายไว้ที่ไม้

จำไม้นั้นได้ด้วยเครื่องหมายนั้นอีก และในเวลาที่กำหนดเครื่องหมายมีไฝ

ดำเป็นต้นของบุรุษ จำบุรุษนั้นได้ว่า ผู้นี้ คือคนชื่อโน้น ด้วยเครื่อง

หมายนั้นอีก และในเวลาที่เจ้าหน้าที่ภัณฑาคาริกผู้ดูแลเครื่องประดับของ

พระราชา ผูกหนังสือชื่อที่เครื่องประดับนั้น ๆ เมื่อมีรับสั่งว่า จงนำเครื่อง

ประดับชื่อโน้นมา ก็จุดประทีปเข้าห้องที่แข็งแรง อ่านหนังสือแล้วนำ

เครื่องประดับนั้น ๆ นั่นแลมาได้.

อีกนัยหนึ่ง สัญญามีความจำได้เป็นลักษณะ ด้วยสามารถรวบรวม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 380

ทุกอย่างไว้ได้, มีการกระทำนิมิตซึ่งเป็นปัจจัยแห่งความจำได้อีกเป็นรส

เหมือนช่างถากเป็นต้นทำเครื่องหมายไว้ที่ไม้เป็นต้น. มีการกระทำความยึด

มั่นเป็นปัจจุปปัฏฐาน ด้วยสามารถนิมิตตามที่ยึดถือไว้ เหมือนคนตา

บอดดูช้าง, หรือมีความตั้งอยู่ไม่นานเป็นปัจจุปปัฏฐาน เพราะมีความ

เป็นไปไม่หยั่งลงในอารมณ์ เหมือนฟ้าแลบ, มีอารมณ์ตามที่เข้าไปตั้งมั่น

แล้วเป็น ปทัฏฐาน เหมือนความจำว่าบุรุษ ของเหล่าลูกเนื้อน้อย ๆ ที่

เกิดขึ้นในหมู่คนเลี้ยงหญ้าฉะนั้น.

ก็สัญญาใดสัมปยุตด้วยญาณในที่นี้, สัญญานั้นย่อมเป็นไปตามญาณ

นั่นแล ธรรมที่เหลือในปถพีที่เป็นไปกับด้วยสัมภาระเป็นต้น พึงทราบว่า

เหมือนปฐพีเป็นต้น.

สัญญาที่ปฏิสังยุตด้วยกาม ชื่อกามสัญญา, สัญญาที่ปฏิสังยุตด้วย

พยาบาท ชื่อพยาปนาทสัญญา สัญญาที่ปฏิสังยุตด้วยวิหิงสา ชื่อวิหิงสา

สัญญา.

บรรดาสัญญาเหล่านั้นสัญญา ๒ ย่อมเกิดขึ้นทั้งในสัตว์ทั้งในสังขารทั้ง

หลาย, ก็กามสัญญาย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ตรึกถึงสัตว์หรือสังขารทั้งหลายซึ่งเป็น

ที่รักที่ชอบใจ, พยาปาทสัญญาเกิดขึ้นทั้งแต่เวลาโกรธแลดูสัตว์หรือสังขาร

ทั้งหลายซึ่งไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจ จนถึงพินาศไป, วิหิงสาสัญญาไม่

เกิดขึ้นในสังขารทั้งหลาย ด้วยว่าสังขารที่ชื่อว่าให้ถึงทุกข์ไม่มี แต่เกิดขึ้น

ในสัตว์ทั้งหลาย ในเวลาคิดว่าสัตว์เหล่านี้จงฆ่ากัน จงขาดสูญ จงพินาศ

หรืออย่าได้มี ดังนี้, สัญญาที่ปฏิสังยุตด้วยเนกขัมมะชื่อเนกขัมมสัญญา

เนกขัมมสัญญานั้นเป็นกามาวจรในกาลเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งอสุภ เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 381

รูปาวจรในอสุภฌาน, เป็นโลกุตตระในกาลที่มรรคผลเกิดขึ้นเพราะทำฌาน

นั้นให้เป็นบาท.

สัญญาที่ปฏิสังยุตด้วยอัพยาบาท ชื่ออัพยาปาทสัญญา อัพยาปาท

สัญญานั้นเป็นกามาวจรในกาลเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา เป็นรูปาวจร

ในเมตตาฌาน, เป็นโลกุตตระในกาลที่มรรคผลเกิดขึ้น เพราะทำฌานนั้น

ให้เป็นบาท.

สัญญาที่ปฏิสังยุตด้วยอวิหิงสา ชื่ออวิหิงสาสัญญา อวิหิงสาสัญญา

นั้นเป็นกามาวจรในกาลเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งกรุณา เป็นรูปาวจรในกรุณา

ฌานเป็นโลกุตตระในกาลที่มรรคผลเกิดขึ้น เพราะทำฌานนั้นให้เป็นบาท.

ในกาลใดอโลภะเป็นข้อสำคัญ ในกาลนั้น สัญญา ๒ เหล่านี้

ย่อมไปตามอโลภะนั้น, ในกาลใดเมตตาเป็นข้อสำคัญ ในกาลนั้นสัญญา ๒

เหล่านี้ย่อมไปตามเมตตานั้น, ในกาลใดกรุณาเป็นข้อสำคัญในกาลนั้น

สัญญา ๒ เหล่านี้ย่อมไปตามกรุณานั้นแล.

สัญญาที่เกิดขึ้นปรารภรูปารมณ์ ชื่อรูปสัญญา. แม้ในสัททสัญญา

เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. คำนี้เป็นชื่อของสัญญานั้นแหละโดยอารมณ์ แม้

วัตถุที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นต้น ย่อมเป็นอันท่านกล่าวแล้วทีเดียว เพราะ

ได้กล่าวอารมณ์ทั้งหลายไว้แล้ว.

บทว่า ยา เอวรูป สญฺา ความว่าพึงทราบสัญญามีอาทิอย่างนี้

ว่า. สัญญาเกิดแต่ปฏิฆสัมผัส สัญญาเกิดแต่อธิวจนสัมผัส แม้อื่น ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

บทว่า อธิวจนสมฺผสฺสชา สฺา ได้แก่ สัญญาที่เป็นไปทาง

ทวาร ๖ โดยปริยายนั่นเอง. ก็อรูปขันธ์ ๓ ที่เป็นไปข้างหลังเอง ย่อมได้

ชื่อว่า อธิวจนสัมผัสสชาสัญญา เพราะสหชาตสัญญาของตน.

แต่โดยตรง สัญญาที่เป็นไปทางทวาร ๕ ชื่อปฏิฆสัมผัสสชา

สัญญา. สัญญาที่เป็นไปทางมโนทวาร ชื่ออธิวจนสัมผัสสชาสัญญา.

สัญญาเหล่านั้นพึงทราบว่า ท่านกำหนดเป็นอดิเรกสัญญา.

บทว่า สญฺา ได้แก่ สภาวนาม.

บทว่า สญฺชานนา ได้แก่ อาการที่รู้พร้อม.

บทว่า สญฺชานิตตฺต ได้แก่ ความเป็นคือความรู้พร้อม.

บทว่า อวิชฺโชฆ ความว่า กายทุจริตเป็นต้น ชื่อว่า ไม่พึงประสบ

ด้วยอรรถว่า ไม่ควรบำเพ็ญ. อธิบายว่า ไม่พึงได้. กายทุจริตเป็นต้นนั้น

ชื่อว่า อวิชชา. เพราะอรรถว่า ประสบสิ่งที่ไม่พึงประสบ.

กายสุจริตเป็นต้น ชื่อว่า พึงประสบโดยตรงกันข้ามกับกายทุจริต

เป็นต้นนั้น.

กายสุจริตเป็นต้นนั้น ชื่อว่า อวิชชา, เพราะอรรถว่า ไม่ประสบ

สิ่งที่พึงประสบ.

ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า กระทำอรรถว่ากองแห่งขันธ์ทั้ง

หลาย. อรรถว่าที่ต่อแห่งอายตนะทั้งหลาย, อรรถว่าสูญแห่งธาตุทั้งหลาย,

อรรถว่าเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย, อรรถว่าแท้แห่งสัจจะทั้งหลาย ให้

ไม่รู้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า กระทำเนื้อความ ๔ อย่าง ที่กล่าว

แล้วด้วยสามารถบีบคั้นทุกข์เป็นต้น ให้ไม่รู้แล้ว.

ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ทั้งหลายให้แล่นไปในกำเนิด,

คติ, ภพ, วิญญาณฐิติ และสัตตาวาสทั้งหลาย ในสงสารอันไม่มีที่สุด.

ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า แล่นไปในสตรีและบุรุษเป็นต้น

ซึ่งไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์ ไม่แล่นไปในขันธ์เป็นต้นซึ่งมีอยู่.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อวิชชา เพราะปกปิดธรรมทั้งหลายที่อาศัย

วัตถุและอารมณ์แห่งจักขุวิญญาณเป็นต้นเกิดขึ้นก็มี. ซึ่งอวิชชาโอฆะนั้น.

พึงข้ามขึ้น ด้วยสามารถกาโมฆะ พึงข้ามพ้น ด้วยสามารถ

ภโวฆะ, พึงล่วงเลย ด้วยสามารถทิฏโฐฆะ, พึงก้าวล่วง ด้วยสามารถ

อวิชโชฆะ.

อีกอย่างหนึ่ง พึงข้ามขึ้น ด้วยสามารถละด้วยโสดาปัตติมรรค, พึง

ข้ามพ้น ด้วยสามารถละด้วยสกทาคามิมรรค, พึงล่วงเลย ด้วยสามารถ

ละด้วยอนาคามิมรรค, พึงก้าวล่วง ด้วยสามารถละด้วยอรหัตตมรรค.

อีกอย่างหนึ่ง บท ๕ บทมีบทว่า ตเรยฺย เป็นต้น พึงประกอบ

ด้วยปหานะ มี ตทังคปหานะ เป็นต้น อาจารย์บางพวกกล่าวไว้ดังนี้.

พระสารีบุตรเถระครั้นกล่าวว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ดังนี้แล้ว เพื่อ

จะแสดงญาณนั้นโดยประเภท จึงกล่าวว่า ยา ปญฺา ปชานนา

เป็นต้น.

เว้นนัยที่กล่าวแล้วนั้นนั่นเอง พึงทราบบทว่า อโมโห ธมฺมวิจโย

ดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 384

อโมหะความไม่หลง เป็นปฏิปักษ์ต่อการไม่เจริญในกุศลธรรมทั้ง

หลาย คือเป็นเหตุให้เจริญ. บุคคลมีความไม่หลง ย่อมถือเอาไม่วิปริตจาก

การถือเอาวิปริตของคนหลง. บุคคลทรงจำความแน่นอนโดยเป็นความแน่

นอน ย่อมเป็นไปในสภาวะที่เป็นจริง ด้วยความไม่หลง. ก็คนหลงย่อม

ถือเอาความจริง ว่าไม่จริง และความไม่จริง ว่าจริง ย่อมมีทุกข์เพราะ

ไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ด้วยประการนั้น.

คนไม่หลงย่อมไม่มีมรณทุกข์ เพราะเกิดแต่การพิจารณา มีอาทิ

อย่างนี้ว่า จะได้ความทุกข์นั้นแต่ไหนในที่นี้. ก็ความตายด้วยความลุ่มหลง

เป็นทุกข์ และความตายด้วยความลุ่มหลงนั้น ไม่มีแก่คนไม่หลง. บรรพชิต

ทั้งหลายย่อมอยู่ร่วมกันเป็นสุข ไม่บังเกิดในกำเนิดเดียรฉาน. ก็คนที่ลุ่ม

หลงเป็นนิจย่อมเข้าถึงกำเนิดเดียรฉานด้วยความหลง. และความไม่หลงเป็น

ปฏิปักษ์ต่อความหลง. กระทำให้ไม่มีความเป็นกลาง ด้วยอำนาจความ

หลง. อวิหิงสาสัญญา ธาตุสัญญา การปฏิบัติมัชฌิมาปฏิปทา การทำลาย

๒ คัณฐะหลัง ย่อมมีด้วยความไม่หลง. สติปัฏฐาน ๒ ข้อหลัง ย่อมสำเร็จ

ด้วย อานุภาพของความไม่หลงนั้นแล.

ความไม่หลงเป็นปัจจัยให้เป็นผู้มีอายุยืน. ด้วยว่าคนผู้ไม่หลง รู้

ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์, เว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เสพเฉพาะสิ่งที่เป็น

ประโยชน์, ย่อมมีอายุยืน, ไม่เสื่อมจากอรรถสมบัติ. ก็คนผู้ไม่หลงเมื่อ

การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนนั่นแล ย่อมยังคนให้ถึงพร้อมด้วยความไม่

หลง ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการอยู่อย่างประเสริฐ เป็นผู้ดับในฝ่ายที่เป็นกลาง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 385

คนไม่หลง ย่อมเห็นอนัตตาด้วยความไม่หลง เพราะไม่มีความสงสัย

ทั้งปวง. ก็คนไม่หลงเป็นคนฉลาดถือเอาความแน่นอน ย่อมรู้ขันธปัญจก

ซึ่งไม่ใช่ผู้นำ. โดยความไม่ใช่ผู้นำ เหมือนอย่างว่า เห็นอนัตตาเพราะ

ความไม่หลง ฉันใด. ความไม่หลงเพราะเห็นอนัตตา ฉันนั้น. ก็ใครแล

รู้ความว่างเปล่าแห่งอัตตาแล้ว จะพึงถึงความลุ่มหลงอีก แล.

บทว่า เตน าเณน สมนฺนาคโต ความว่า พระเสขะเป็นต้นผู้มี

ความพร้อมเพรียงด้วยญาณมีประการดังกล่าวแล้วนั้น ชื่อว่า มุนี.

บทว่า โมนปฺปตฺโต ความว่า ถึงแล้วซึ่งความเป็นมุนี ด้วยญาณ

ที่ได้เฉพาะแล้ว.

บทว่า ตีณิ เป็นบทกำหนดจำนวน.

บทว่า โมเนยฺยานิ ได้แก่ ธรรมคือข้อปฏิบัติ ที่กระทำความ

เป็นมุนี คือกระทำให้เป็นมุนี. ในบทว่า กายโมเนยฺย เป็นต้น มี

วินิจฉัยดังต่อไปนี้. ข้อที่พึงบัญญัติด้วยสามารถแห่งกายวิญญัตติ และรูป

กาย ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางกาย. ข้อที่พึงบัญญัติด้วยสามารถแห่งวจี

วิญญัตติและสัททวาจา ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางวาจา. ข้อที่พึงบัญญัติ

ด้วยสามารถแห่งจิตที่เป็นไปในมโนทวารเป็นต้น ชื่อว่า โมเนยยธรรม

ทางใจ.

บทว่า ติวิธกายทุจฺจริตาน ปหาน ได้แก่ การละความประพฤติ

ชั่วที่เป็นไปทางกาย ๓ อย่าง มีปาณาติบาตเป็นต้น.

บทว่า กายสุจริต ได้แก่ ความประพฤติดีที่เป็นไปทางกาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 386

บทว่า กายารมฺมเณ าณ ได้แก่ ญาณในธรรมที่มีกายเป็น

อารมณ์ ที่ทำกายให้เป็นอารมณ์เป็นไปด้วยสามารถแห่งอนิจจัง เป็นต้น.

บทว่า กายปริญฺา ได้แก่ ญาณที่เป็นไปด้วยสามารถรู้กาย ด้วย

ญาตปริญญา ตีรณปริญญา และปหานปริญญา.

บทว่า ปริญฺาสหคโต มคฺโค ได้แก่ มรรคที่พิจารณากาย

ภายในให้เกิดขึ้น ชื่อว่าสหรคตด้วยปริญญา.

บทว่า กาเย ฉนฺทราคสฺส ปหาน ได้แก่ การละฉันทราคะ

คือตัณหาในกาย.

บทว่า กายสงฺขารนิโรโธ ได้แก่ ความดับคือการปิดลมหายใจ

เข้า และลมหายใจออก, คือการเข้าสมาบัติ. คือจตุตถฌาน.

บทว่า วจีสงฺขารนิโรโธ ได้แก่ ความดับ คือการปิดวิตกวิจาร,

คือการเข้าสมาบัติ, คือทุติยฌาน.

บทว่า จิตฺตสงฺขารนิโรโธ ได้แก่ ความดับ คือการกั้นสัญญา

และเวทนา คือการเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.

ในบทว่า กายมุนึ เป็นต้น ในคาถาแรกมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า ผู้เป็นมุนีทางกาย ด้วยสามารถละกายทุจริตได้, ชื่อว่าผู้เป็นมุนี

ทางวาจา ด้วยสามารถละวจีทุจริตได้, ชื่อว่า ผู้เป็นมุนี ทางใจ ด้วย

สามารถละมโนทุจริตได้, ชื่อว่า ผู้เป็นมุนีทางใจผู้หาอาสวะมิได้ ด้วย

สามารถละอกุศลทั้งปวงได้.

บทว่า โมเนยฺยสมฺปนฺน ความว่า ชื่อว่าผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่

ทำให้เป็นมุนี เพราะรู้สิ่งที่ควรรู้แล้วตั้งอยู่ในผล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 387

บทว่า อาหุสพฺพปฺปทายิน ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็น

ผู้ละกิเลสทั้งปวงเพราะละกิเลสทั้งปวงตั้งอยู่.

ในคาถาที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- บทว่า นินฺหาตปาปก ความ

ว่าบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นผู้มีบาปอันล้างเสียแล้ว เพราะเป็นผู้ล้างคือ

ชำระบาปทั้งปวง ที่เกิดขึ้นในอายตนะแม้ทั้งปวงกล่าวคือ ภายในและภาย

นอก ด้วยสามารถอารมณ์ภายในและภายนอก ด้วยมรรคญาณตั้งอยู่แล้ว

พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

มุนีผู้อยู่ครองเรือน ชื่ออคารมุนี, มุนีผู้เข้าบรรพชา ชื่ออนาคาร

มุนี. พระเสขะ ๗ ชื่อเสขมุนี, พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่ออเสขมุนี,

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อปัจเจกมุนี. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย

ชื่อมุนิมุนี.

พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า กตเม อคารมุนิโน อีกด้วยสามารถ

แห่งการถามเพื่อใคร่จะตอบ.

บทว่า อคาริกา ได้แก่ผู้ขวนขวายในการงานของผู้ครองเรือนมี

กสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น.

บทว่า ทิฏฺปทา ได้แก่ ผู้มีนิพพานอันเห็นแล้ว.

บทว่า วิญฺาตสาสนา ความว่า ชื่อว่ามีคำสอนอันรู้แจ้งแล้ว

เพราะอรรถว่ามีคำสอนคือไตรสิกขาอันรู้แจ้งแล้ว.

บทว่า อนาคารา ความว่า บรรพชิตทั้งหลาย ท่านเรียกว่า

อนาคารมุนี เพราะอรรถว่า ไม่มีการงานของผู้ครองเรือนมีกสิกรรมและ

โครักขกรรมเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 388

บทว่า สตฺต เสกฺขา ความว่า ชื่อว่า เสขมุนี เพราะอรรถว่า

พระอริยบุคคล ๗ มีพระโสดาบันเป็นต้น ยังศึกษาในไตรสิกขา.

พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่าอเสขมุนีเพราะอรรถว่า ไม่ต้องศึกษา.

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าปัจเจกมุนี เพราะอรรถว่า แต่ละองค์

นั่นแลไม่มีครูอาจารย์ อาศัยการณ์นั้น ๆ ตรัสรู้อริยสัจ ๔.

ในบทว่า มุนิมุนิโน วุจฺจนฺติ ตถาคตา นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไป

นี้ :- พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ตถาคตด้วยเหตุ ๘ ประการ

คือ :-

๑. เพราะเสด็จมาอย่างนั้น

๒. เพราะเสด็จไปอย่างนั้น

๓. เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้

๔. เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง ตามที่เป็นจริง

๕. เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง

๖. เพราะมีพระวาจาที่แท้จริง

๗. เพราะทรงกระทำเองและให้ผู้อื่นการทำ

๘. เพราะทรงครอบงำ

ตถาคต ในอรรถว่าเสด็จมาอย่างนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมา

อย่างนั้น เป็นอย่างไร ?

เหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ทรงขวนขวายเพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวงเสด็จมาแล้ว. ท่านอธิบายไว้อย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ก่อน ๆ เสด็จมาด้วยอภินิหารใด พระผู้มีพระภาค

เจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาด้วยอภินิหารนั้นเหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ก่อน ๆ ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ :- คือบารมี ๑๐

อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ กล่าวคือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา

วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขา. ทรงบริจาค

มหาบริจาค ๕ ประการ :- คือ บริจาคอวัยวะ บริจาคนัยน์ตา บริจาคทรัพย์

บริจาคราชสมบัติ และบริจาคบุตรภริยา. ทรงบำเพ็ญบุพประโยค บุพจริยา

การแสดงธรรม และญาตัตถจริยาเป็นต้น. ทรงถึงที่สุดแห่งพุทธจริยาเสด็จ

มาแล้วอย่างใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาเหมือน

อย่างนั้น. อนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ก่อน ๆ ทรงเจริญเพิ่มพูนสติปัฏฐาน ๔

สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมี

องค์ ๘ เสด็จมาแล้วอย่างใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย

ก็เสด็จมาเหมือนอย่างนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต

เพราะเสด็จมาอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ :-

พระมุนีทั้งหลายมีพระทีปังกรพุทธเจ้าเป็นต้น เสด็จ

มาสู่ความเป็นพระสัพพัญญูในโลกนี้อย่างใด แน่พระศากยมุนีนี้

เสด็จมาเหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีจักษุจึงทรงพระ

นามว่า ตถาคต ดังนี้.

ตถาคต ในอรรถว่าเสด็จไปอย่างนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่าง

นั้นเป็นอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 390

เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ก่อน ๆ ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นก็

เสด็จไป. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้นเสด็จไปอย่างไร ? จริงอยู่ พระผู้

พระภาคเจ้าเหล่านั้นประสูติในบัดเดี๋ยวนั่นเอง ประทับยืนบนปฐพีด้วย

พระยุคลบาทอันเสมอกัน บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศอุดร เสด็จไปโดยย่าง

พระบาท ๗ ก้าว, ดังพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า :- ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์

ประสูติบัดเดี๋ยวนั้น ก็ประทับยืนด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน บ่ายพระ

พักตร์ไปเบื้องทิศอุดร เสด็จไปโดยย่างพระบาท ๗ ก้าว. เมื่อท้าวมหา-

พรหมกั้นพระเศวตฉัตร ทรงเหลียวดูทั่วทิศ ทรงเปล่งอาสภิวาจาว่า เรา

เป็นผู้เลิศในโลก, เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก, เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดใน

โลก, การเกิดครั้งนี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย. บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีต่อไป

ดังนี้.

และการเสด็จไปของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็เป็นอาการอันแท้

ไม่แปรผัน ด้วยความเป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุคุณวิเศษหลายประการคือ

ข้อที่พระองค์ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นเอง ก็ได้ประทับยืนด้วยพระยุคลบาท

อันเสมอกัน นี้เป็นบุพนิมิตแห่งการได้อิทธิบาท ๔ ของพระองค์.

อนึ่ง ความที่พระองค์บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศอุดร เป็นบุพนิมิต

แห่งความเป็นโลกุตตรธรรมทั้งปวง, การย่างพระบาท ๗ ก้าว เป็น

บุพนิมิตแห่งการได้รัตนะ คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ, อนึ่ง การยกพัด

จามรขึ้น ที่กล่าวไว้ในคำนี้ว่า พัดจามรทั้งหลายมีด้ามทอง ก็โบกสะบัดนี้

เป็นบุพนิมิตแห่งการย่ำยีเดียรถีย์ทั้งปวง, การกั้นพระเศวตฉัตร เป็น

บุพนิมิตแห่งการได้เศวตฉัตรอันบริสุทธิ์ประเสริฐ คือพระอรหัตตวิมุตติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 391

ธรรม, การทอดพระเนตรเหลียวดูทั่วทิศ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้พระ

อนาวรณญาณคือความเป็นพระสัพพัญญู, การเปล่งอาสภิวาจา เป็น

บุพนิมิตแห่งการประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ อันใคร ๆ เปลี่ยนแปลง

ไม่ได้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ก็เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น และ

การเสด็จไปของพระองค์นั้น ก็ได้เป็นอาการอันแท้ ไม่แปรผันด้วยความ

เป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุคุณวิเศษเหล่านั้นแล. ด้วยเหตุนี้ พระโบราณา-

จารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า :-

พระควัมบดีโคดมนั้น ประสูติแล้วในบัดเดี๋ยวนั้น ก็

ทรงสัมผัสพื้นดินด้วยพระยุคลบาทสม่ำเสมอ เสด็จย่าง

พระบาทไปได้ ๗ ก้าว และฝูงเทพยดาเจ้าก็กางกั้นเศวต-

ฉัตร พระโคดมนั้นครั้นเสด็จไปได้ ๗ ก้าว ก็ทอด

พระเนตรไปรอบทิศเสมอกัน ทรงเปล่งพระสุรเสียง

ประกอบด้วยองค์ ๘ประการ ปานดังราชสีห์ยืนอยู่บนยอด

บรรพตฉะนั้น ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น

เป็นอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ก่อน ๆ เสด็จไปแล้ว

ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้พระองค์นี้ ก็เหมือนกันฉันนั้นนั่นเทียว

ทรงละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะเสด็จไปแล้ว ฯลฯ ทรงละนิวรณ์ด้วย

ปฐมฌาน ทรงละนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา ฯลฯ ทรงละกิเลส

ทั้งหมดได้ด้วยอรหัตตมรรค เสด็จไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนาม

ว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น แม้เป็นอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 392

ตถาคตในอรรถว่าเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาสู่

ลักษณะที่แท้ เป็นอย่างไร.

ปฐวีธาตุมีความเข็มแข็งแท้ไม่แปรผันเป็นลักษณะ, อาโปธาตุมีการ

ไหลเป็นลักษณะ, เตโชธาตุมีความร้อนเป็นลักษณะ, วาโยธาตุมีความ

เคร่งตึงเป็นลักษณะ, อากาศธาตุมีการสัมผัสได้เป็นลักษณะ, วิญญาณธาตุ

มีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ, รูปมีการสลายแปรปรวนเป็นลักษณะ.

เวทนามีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ, สัญญามีการจำอารมณ์เป็น

ลักษณะ, สังขารมีการปรุงแต่งอารมณ์เป็นลักษณะ, วิญญาณมีการรู้อารมณ์

เป็นลักษณะ.

วิตกมีการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์เป็นลักษณะ, วิจารมีการตามเคล้า

อารมณ์เป็นลักษณะ, ปีติมีการแผ่ไปเป็นลักษณะ, สุขมีความยินดีเป็น

ลักษณะ, เอกัคคตาจิตมีการไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ, สัทธินทรีย์มีการ

น้อมใจเชื่อเป็นลักษณะ, วิริยินทรีย์มีการประคองเป็นลักษณะ, สตินทรีย์

มีการบำรุงเป็นลักษณะ, สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ

ปัญญินทรีย์มีการรู้อารมณ์ต่าง ๆ เป็นลักษณะ.

สัทธาพละมีการไม่หวั่นไหวในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความไม่เชื่อเป็น

ลักษณะ, วีริยพละมีการไม่หวั่นไหวในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน

เป็นลักษณะ, สติพละมีการไม่หวั่นไหวในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมีสติ

ฟั่นเฟือนเป็นลักษณะ, สมาธิพละมีการไม่หวั่นไหวในอารมณ์เป็นที่ตั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 393

แห่งความฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ, ปัญญาพละมีการไม่หวั่นไหวในอารมณ์

เป็นที่ตั้งแห่งอวิชชาเป็นลักษณะ.

สติสัมโพชฌงค์ มี อุปัฏฐานะ การบำรุงเป็นลักษณะ, ธัมมวิจย-

สัมโพชฌงค์ มีปวิจยะการเลือกเฟ้นเป็นลักษณะ, วิริยสัมโพชฌงค์ มี

ปัคคหะการประคองเป็นลักษณะ, ปีติสัมโพชฌงค์ มี ผรณะการแผ่ไปเป็น

ลักษณะ, ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มี อุปสมะความสงบเป็นลักษณะ, สมาธิ

สัมโพชฌงค์ มีอวิกเขปะความไม่ซัดส่ายเป็นลักษณะ, อุเบกขาสัมโพชฌงค์

มีปฏิสังขาการ เพ่งเฉพาะเป็นลักษณะ.

สัมมาทิฏฐิมีการเห็นเป็นลักษณะ, สัมมาสังกัปปะมีการยกจิตขึ้นสู่

อารมณ์เป็นลักษณะ, สัมมาวาจามีการกำหนดยึดถือเป็นลักษณะ, สัมมา

กัมมันตะมีการตั้งขึ้นเป็นลักษณะ, สัมมาอาชีวะมีความผ่องแผ้วเป็น

ลักษณะ, สัมมาวายามะมีการประคองเป็นลักษณะ, สัมมาสติมีการบำรุง

เป็นลักษณะ, สัมมาสมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ.

อวิชชามีความไม่รู้เป็นลักษณะ, สังขารมีความตั้งใจเป็นลักษณะ,

วิญญาณมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ, นามมีการน้อมไปสู่อารมณ์เป็น

ลักษณะ, รูปมีการสลายแปรปรวนเป็นลักษณะ, สฬายตนะมีการสืบต่อ

เป็นลักษณะ, ผัสสะมีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ, เวทนามีการเสวย

อารมณ์เป็นลักษณะ, ตัณหามีความเป็นเหตุเป็นลักษณะ, อุปาทานมีการ

ยึดมั่นเป็นลักษณะ, ภพมีความเพิ่มพูนเป็นลักษณะ, ชาติมีความบังเกิดขึ้น

เป็นลักษณะ, ชรามีความทรุดโทรมเป็นลักษณะ, มรณะมีการเคลื่อนย้าย

จากภพที่ปรากฏอยู่เป็นลักษณะ,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 394

ธาตุมีความว่างเปล่าเป็นลักษณะ, อายตนะมีการสืบต่อเป็นลักษณะ,

สติปัฏฐานมีการบำรุงเป็นลักษณะ, สัมมัปปธานมีการเริ่มตั้งเป็น

ลักษณะ, อิทธิบาทมีความสำเร็จเป็นลักษณะ, อินทรีย์มีความเป็นใหญ่ยิ่ง

เป็นลักษณะ, พละมีความไม่หวั่นไหวเป็นลักษณะ, โพชฌงค์มีการนำ

ออกจากทุกข์เป็นลักษณะ, มรรคมีการเป็นเหตุเป็นลักษณะ, สัจจะมีความ

แท้เป็นลักษณะ, สมถะมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ, วิปัสสนามีการตาม

พิจารณาเห็นเป็นลักษณะ, สมถะและวิปัสสนามีรสเป็นหนึ่งเป็นลักษณะ,

ธรรมที่ขนานคู่กันมีการไม่ครอบงำเป็นลักษณะ, ศีลวิสุทธิมีการสำรวมเป็น

ลักษณะ, จิตตวิสุทธิมีความไม่ซัดส่ายเป็นลักษณะ, ทิฏฐิวิสุทธิมีการเห็น

เป็นลักษณะ, ขยญาณมีการตัดได้เด็ดขาดเป็นลักษณะ, อนุปปาทญาณมี

การระงับเป็นลักษณะ,

ฉันทะมีมูลเป็นลักษณะ, มนสะการมีการตั้งขึ้นเป็นลักษณะ, ผัสสะ

มีการประชุมเป็นลักษณะ, เวทนามีการซ่านไปในอารมณ์เป็นลักษณะ,

สมาธิมีความประชุมเป็นลักษณะ, สติมีความเป็นใหญ่เป็นลักษณะ, ปัญญา

มีความยอดเยี่ยมกว่านั้นเป็นลักษณะ, วิมุตติมีสาระเป็นลักษณะ, พระ-

นิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะมีปริโยสานเป็นลักษณะ, ซึ่งแต่ละอย่างเป็น

ลักษณะที่แท้ไม่แปรผัน, พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสู่ลักษณะที่เเท้ด้วย

พระญาณคติ คือ ทรงบรรลุ ทรงบรรลุโดยลำดับ ไม่ผิดพลาดอย่างนี้. เหตุ

นั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า

ตถาคต เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้ เป็นอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 395

ตถาคต ในอรรถว่าตรัสรู้ธรรมที่แท้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้

จริง ตามที่เป็นจริง เป็นอย่างไร ?

อริยสัจ ๔ ชื่อว่าธรรมที่แท้จริง. อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ เป็นธรรมที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่าง

อื่น. อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ว่า นี้ทุกข์ ดังนี้

เป็นธรรมที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น พึงทราบความพิสดาร

ต่อไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ๔ เหล่านั้น เหตุนั้น จึงได้รับ

พระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้ ก็ คต ศัพท์ในที่นี้ มี

เนื้อความว่า ตรัสรู้.

อีกอย่างหนึ่ง สภาวะที่ชราและมรณะเกิดและประชุมขึ้นเพราะมีชาติ

เป็นปัจจัย เป็นสภาวะที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น. ฯลฯ สภาวะ

ที่สังขารทั้งหลายเกิดและประชุมขึ้นเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นสภาวะที่

แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น. สภาวะที่อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร

ทั้งหลาย ฯลฯ. สภาวะที่ชาติเป็นปัจจัยแก่ชราและมรณะ เป็นสภาวะที่แท้

ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ธรรมที่แท้นั้น

ทั้งหมด แม้เพราะเหตุนั้น จึงได้รับพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้

ธรรมที่แท้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้

ธรรมที่แท้จริง ตามที่เป็นจริง เป็นอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 396

ตถาคต ในอรรถว่าทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นอารมณ์

ที่แท้จริง เป็นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ทรงเห็นโดยประการทั้งปวง ซึ่งอารมณ์อัน

ชื่อว่ารูปารมณ์ ที่มาปรากฏทางจักขุทวารของหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดาและ

มนุษย์ในโลกนี้กับเทวโลก คือของสัตว์ทั้งหลายอันหาประมาณมิได้. และ

อารมณ์นั้นอันพระองค์ผู้ทรงรู้ทรงเห็นอยู่อย่างนี้ ทรงจำแนกด้วยสามารถ

อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เป็นต้น หรือด้วยสามารถ. บทที่ได้ในอารมณ์

ที่ได้เห็น ที่ได้ยิน ที่ได้ทราบ และที่ได้รู้ ๑๓ วาระบ้าง ๕๒ นัยบ้าง

มีชื่อมากมายโดยนัยเป็นต้นว่า รูป คือรูปายตนะ เป็นไฉน ? คือรูปใด

อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นแสงสี เป็นรูปที่เห็นได้ เป็นรูปที่กระทบได้ เป็น

รูปสีเขียว เป็นรูปสีเหลือง ดังนี้ ย่อมเป็นอารมณ์ที่แท้จริงอย่างเดียว ไม่

มีแปรผัน, แม้ในอารมณ์มีเสียงเป็นต้น ที่มาปรากฏแม้ทางโสตทวารเป็น

ต้น ก็นัยนี้. ข้อนี้สมด้วยพระบาลีที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :- ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อารมณ์ใดที่โลกพร้อมทั้งเทวดา พร้อมทั้งมาร พร้อมทั้ง

พรหม พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ได้เห็น ได้ยิน

ได้ทราบ ได้รู้ ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ค้นคว้าแล้วด้วยใจ เราย่อมรู้ซึ่ง

อารมณ์นั้น รู้ยิ่งแล้วซึ่งอารมณ์นั้น อารมณ์นั้นตถาคตทราบแล้ว ปรากฏ

แล้วแก่ตถาคตดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะ

ทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง เป็นอย่างนี้. พึงทราบความสำเร็จ บทว่า

ตถาคต มีเนื้อความว่า ทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 397

ตถาคตในอรรถว่ามีพระวาจาที่แท้จริง

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะมีพระวาจาที่แท้

จริง เป็นอย่างไร ?

ตลอดราตรีใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์ ณ

โพธิมณฑลสถาน ทรงย่ำยีมารทั้ง ๔ แล้ว ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ

ญาณ และตลอดราตรีใดที่พระองค์เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน

ธาตุ ในระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ในระหว่างนี้ คือในกาลประมาณ ๔๕

พรรษา พระวาจาใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปฐมโพธิกาลก็ดี ใน

มัชฌิมโพธิกาลก็ดี ในปัจฉิมโพธิกาลก็ดี คือสุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละ,

พระวาจานั้นทั้งหมด อันใคร ๆ ติเตียนไม่ได้ ไม่ขาด ไม่เกิน โดยอรรถะ

และโดยพยัญชนะ บริบูรณ์โดยอาการทั้งปวง บรรเทาความเมา คือ ราคะ

โทสะ โมหะ, ในพระวาจานั้นไม่มีความพลั้งพลาดแม้เพียงปลายขนทราย

พระวาจานั้นทั้งหมด ย่อมแท้จริงอย่างเดียว ไม่ผันแปร ไม่กลายเป็น

อย่างอื่น ดุจประทับไว้ด้วยตราอันเดียวกัน ดุจตวงไว้ด้วยทะนานใบเดียว

กัน และดุจชั่งไว้ด้วยตาชั่งอันเดียวกัน. ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า :- ดูก่อน

จุนทะ ตลอดราตรีใดที่ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และตลอด

ราตรีใดปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างนี้ คำใดที่

ตถาคตกล่าว พูด แสดง คำนั้นทั้งหมด ย่อมเป็นคำแท้อย่างเดียว ไม่

เป็นอย่างอื่น เหตุนั้นจึงได้นามว่า ตถาคต ดังนี้ ก็ในที่นี้ ศัพท์ คต

มีเนื้อความเท่า คท แปลว่า คำพูด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า

ตถาคต เพราะมีพระวาจาแท้จริง เป็นอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 398

อนึ่ง มีอธิบายว่า อาคทน เป็น อาคโท แปลว่า คำพูด. มี

วิเคราะห์ว่า ตโถ อวิปรีโต อาคโท อสฺสาติ ตถาคโต แปลว่า

ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีพระวาจาแท้จริง ไม่วิปริต โดยแปลง เป็น

ในอรรถนี้ พึงทราบความสำเร็จบทอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ตถาคตในอรรถว่าทำเองและให้ผู้อื่นทำ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงกระทำเอง

และให้ผู้อื่นกระทำ เป็นอย่างไร ?

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระวรกายตรงกับพระวาจา ทรง

มีพระวาจาตรงกับพระวรกาย ฉะนั้น ทรงมีพระวาจาอย่างใด ก็ทรงกระ

ทำอย่างนั้น. และทรงกระทำอย่างใดก็ทรงมีพระวาจาอย่างนั้น อธิบายว่า

ก็พระองค์ผู้เป็นอย่างนี้มีพระวาจาอย่างใด แม้พระวรกายก็ทรงเป็นไป

คือทรงประพฤติอย่างนั้น และพระวรกายอย่างใด แม้พระวาจาก็ทรงเป็น

ไป คือทรงประพฤติอย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้นแล จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ตถาคตพูดอย่างใด กระทำอย่างนั้น กระทำอย่างใด พูดอย่าง

นั้น. ด้วยเหตุนี้จึงชื่อว่า ยถาวาที ตถาการี ยถาการี ตถาวาที

เหตุนั้นจึงได้พระนามว่า ตถาคต ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระ

นามว่า ตถาคต เพราะทรงกระทำเองและให้ผู้อื่นกระทำ เป็นอย่างนี้.

ตถาคตในอรรถว่าครอบงำ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงครอบงำ

เป็นอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 399

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครอบงำสรรพสัตว์ เบื้องบนถึงภวัคคพรหม

เบื้องล่างถึงอเวจีเป็นที่สุด เบื้องขวางในโลกธาตุอันหาประมาณมิได้ ด้วย

ศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ด้วยวิมุตติ ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ การจะ

ชั่งหรือประมาณพระองค์หามีไม่ พระองค์เป็นผู้ไม่มีใครเทียบเคียงได้ อัน

ใคร ๆ ประมาณไม่ได้ เป็นผู้ยอดเยี่ยม เป็นพระราชาที่พระราชาทรงบูชา

คือเป็นเทพยิ่งกว่าเทพทั้งหลาย เป็นสักกะยิ่งกว่าสักกะทั้งหลาย เป็นพรหม

ยิ่งกว่าพรหมทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน

โลกพร้อมทั้งเทวดา พร้อมทั้งมาร พร้อมทั้งพรหม ในหมู่สัตว์ พร้อม

ทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่

อันใคร ๆ ครอบงำไม่ได้ เป็นผู้เห็นถ่องแท้ เป็นผู้ทรงอำนาจ เหตุนั้นจึง

ได้รับพระนามว่า ตถาคต ดังนี้.

ในข้อนั้น พึงทราบความสำเร็จบทอย่างนี้ อคโท แปลว่า โอสถ

ก็เหมือน อคโท ที่แปลว่าวาจา ก็โอสถนี้คืออะไร ? คือเทศนาวิลาส

และบุญพิเศษ. ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ทรงครอบงำผู้มีวาทะตรงกัน

ข้ามทั้งหมด และโลกพร้อมทั้งเทวดา เหมือนนายแพทย์ผู้มีอานุภาพมาก

ครอบงำงูทั้งหลายด้วยทิพยโอสถ ฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า บัณฑิต

พึงทราบว่า ทรงพระนามว่าตถาคต เพราะเหตุว่า ทรงมีพระโอสถ คือ

เทศนาวิลาส และบุญพิเศษ อันแท้ ไม่วิปริต ในการครอบงำโลกทั้ง

ปวง ดังนี้ เพราะแปลง เป็น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนาม

ว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ทรงครอบงำ เป็นอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 400

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะ

เสด็จไปด้วยกิริยาที่แท้ ก็มี, ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงถึง

กิริยาที่แท้ ก็มี.

บทว่า คโต ความว่า หยั่งรู้ เป็นไปล่วง บรรลุ ปฏิบัติ ใน

ความ ๔ อย่างนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะ

ทรง หยั่งรู้ โลกทั้งสิ้นด้วยตีรณปริญญา ชื่อว่าด้วยกิริยาที่แท้. ทรงพระ

นามว่า ตถาคต เพราะทรงเป็นไปล่วง ซึ่งโลกสมุทัยด้วยปหานปริญญา

ชื่อว่าด้วยกิริยาที่แท้. ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรง บรรลุ โลก

นิโรธด้วยสัจฉิกิริยา ชื่อว่าด้วยกิริยาที่แท้. ทรงพระนามว่า ตถาคต

เพราะทรงปฏิบัติปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธ ชื่อว่ากิริยาที่แท้.

ด้วยเหตุนั้น พระดำรัสใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย โลกตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตพรากแล้วจากโลก. ก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย โลกสมุทัยตถาคตตรัสรู้แล้ว โลกสมุทัยตถาคตละได้แล้ว. ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกนิโรธตถาคตตรัสรู้แล้ว โลกนิโรธตถาคตทำให้

แจ้งแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลายปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธตถาคตตรัสรู้แล้ว

ปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธตถาคตเจริญแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม

ชาติใดของโลกพร้อมทั้งเทวดา ฯลฯ ธรรมชาตินั้นทั้งหมดตถาคตตรัสรู้.

แล้ว เหตุนั้น จึงได้นามว่า ตถาคต ดังนี้. พึงทราบเนื้อความแห่งพระ

ดำรัสนั้น แม้อย่างนี้. อนึ่ง แม้ข้อนี้ก็เป็นเพียงมุขในการแสดงภาวะที่พระ

ตถาคตมีพระนามว่าตถาคต เท่านั้น. ที่จริง พระตถาคตเท่านั้นจะพึง

พรรณนาภาวะที่พระตถาคต มีพระนามว่า ตถาคต โดยอาการทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 401

ได้. อนึ่ง เพราะพระพุทธเจ้าทั้งปวงเป็นผู้มีพระคุณเสมอเหมือนแม้ด้วย

คุณของพระตถาคต. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตถาคต ด้วยสามารถแห่ง

พระพุทธเจ้าทั้งปวง.

บทว่า อรหนฺโต ความว่า พระตถาคต ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์

เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลสทั้งหลาย เพราะทรงทำลายข้าศึกทั้งหลาย เพราะ

ทรงหักกำแห่งสังสารจักร เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น และเพราะไม่

มีความลับในการทำบาป. จริงอยู่ พระตถาคตนั้นทรงไกล คือทรงดำรง

อยู่ในที่ไกลแสนไกลจากสรรพกิเลสทั้งหลาย เพราะทรงกำจัดกิเลสทั้งหลาย

พร้อมทั้งวาสนาได้ด้วยมรรค เหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า อรหันต์ เพราะ

ทรงไกลจากกิเลส.

พระผู้เป็นนาถะพระองค์นั้น ชื่อว่าทรงไกลจากกิเลส

และเป็นผู้ไม่มีความพร้อมเพรียง เพราะไม่ทรงพร้อมเพรียง

ด้วยโทษทั้งหลาย เหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า อรหันต์

อนึ่ง ข้าศึกคือกิเลสเหล่านั้น พระตถาคตพระองค์นั้นทรงกำจัดแล้ว

ด้วยมรรค เหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า อรหันต์ เพราะทรงกำจัดข้าศึกทั้ง

หลาย.

เพราะข้าศึกแม้ทั้งปวงกล่าวคือ ราคะเป็นต้น พระผู้

เป็นนาถะทรงกำจัดแล้วด้วยศัสตราคือปัญญา ฉะนั้นจึง

ทรงพระนามว่า อรหันต์.

อนึ่ง สังสารจักรนั้นใด มีดุมสำเร็จด้วยอวิชชาและภวตัณหา มีกำ

คือปุญญาภิสังขารเป็นต้น. มีกงคือชราและมรณะ. อันเพลาซึ่งสำเร็จด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 402

อาสวสมุทัยร้อยคุมไว้ในรถคือภพ ๓ หมุนไปตลอดกาลหาเบื้องต้นมิได้.

กำแห่งสังสารจักรนั้นทั้งหมด พระตถาคตนั้นประทับยืนบนปฐพีคือศีล

ด้วยพระยุคลบาทคือวิริยะ ณ โพธิมัณฑสถาน. ทรงถือขวานคือ ญาณอัน

กระทำความสิ้นไปแห่งกรรม ด้วยพระหัตถ์คือศรัทธา ทรงหักเสียแล้ว.

เหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า อรหันต์.

เพราะกำลังแห่งสังสารจักรอันพระโลกนาถทรงหักเสีย

แล้วด้วยดาบคือ ญาณ ฉะนั้น พระองค์จึงได้พระนามว่า

อรหันต์.

อนึ่ง พระตถาคตย่อมควรซึ่งปัจจัย มีจีวรเป็นต้น และบูชาพิเศษ

เพราะทรงเป็นอัครทักขิไณยบุคคล. เพราะเหตุนั้นแหละ เมื่อพระตถาคต

เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เทวดาและมนุษย์ผู้มเหสักข์ทั้งหลายจึงไม่บูชาในที่อื่น.

จริงอย่างนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทรงบูชาพระตถาคตด้วยพวงรัตนะ ประ

มาณเขาสิเนรุ. เหล่าเทวดาและมนุษย์อื่น ๆ มีพระเจ้าพิมพิสารและพระ

เจ้าปเสนทิโกศลเป็นต้น ก็บูชาตามกำลัง. พระเจ้าอโศกมหาราชก็ทรง

สละพระราชทรัพย์ ๖ โกฏิ สร้างวิหารแปดหมื่นสี่พันวิหารทั่วชมพูทวีป

อุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงแม้ปรินิพพานแล้ว จะป่วยกล่าวไปไยถึงบูชา

พิเศษของคนอื่น ๆ เหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า อรหันต์ แม้เพราะเป็นผู้

ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น.

เพราะพระโลกนาถพระองค์นี้ ย่อมควรซึ่งบูชาพิเศษ

กับด้วยปัจจัยทั้งหลาย ฉะนั้นพระชินเจ้าจึงควรแก่พระนาม

นี้ว่าอรหันต์ในโลกตามสมควรแก่อรรถ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 403

เหมือนอย่างว่า คนพาลที่สำคัญคนว่าเป็นบัณฑิตบางพวกในโลก

กระทำบาปในที่ลับเพราะกลัวถูกตำหนิ ฉันใด พระตถาคตนี้ไม่กระทำ

บาปฉันนั้นในกาลไหน เหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า อรหันต์ แม้เพราะไม่

มีที่ลับในการทำบาป.

เพราะที่ลับในการทำกรรมชั่ว ไม่มีแก่พระตถาคตผู้

คงที่ ฉะนั้นพระตถาคตนี้จึงปรากฏพระนามว่า อรหันต์

เพราะไม่มีที่ลับ.

แม้ในที่ทั้งปวงก็กล่าวไว้อย่างนี้ว่า :-

เพราะทรงไกลจากข้าศึกคือกิเลส และเพราะทรงกำ

จัดข้าศึกคือกิเลสเสียแล้ว พระมุนีนั้นทรงหักกำแห่งสัง-

สารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น ไม่ทรงกระทำ

บาปทั้งหลายในที่ลับ เหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า อรหันต์.

ก็พระพุทธเจ้าทั้งปวง เป็นผู้สม่ำเสมอกันแม้ด้วยคุณคือความเป็น

พระอรหันต์ ฉะนั้นพระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า อรหนฺโต ด้วยสามารถ

แห่งพระพุทธเจ้าแม้ทั้งปวง.

บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธา ความว่า ชื่อว่าสัมมาสัมพุทธะ เพราะ

ตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง. จริงอย่างนั้น พระตถา-

คตนี้ ตรัสรู้โดยชอบและด้วยพระองค์เองซึ่งธรรมทั้งปวง คือซึ่งธรรมที่

ควรรู้ยิ่ง โดยความเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง, ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ โดย

ความเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้, ซึ่งธรรมที่ควรละ โดยความเป็นธรรมที่

ควรละ, ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง โดยความเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 404

และซึ่งธรรมที่ควรเจริญ โดยความเป็นธรรมที่ควรเจริญ เพราะเหตุนั้น

แหละ พระองค์จึงตรัสว่า:-

ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เรารู้ยิ่งแล้ว ธรรม

ที่ควรเจริญ เราเจริญแล้ว และธรรมที่ควรละ เราละได้

แล้ว ฉะนั้น เราจึงเป็น พุทธะ.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตรัสรู้โดยชอบและด้วย

พระองค์เอง ซึ่งธรรมทั้งหลายแม้ด้วยการยกขึ้นเป็นบท ๆ อย่างนี้ว่า จักษุ

ชื่อว่า ทุกขสัจ, ตัณหาอันมีมาแต่เดิม ที่เป็นสมุฏฐาน โดยความเป็นมูล

เหตุแห่งจักษุนั้น ชื่อว่าสมุทัยสัจ. ความไม่เป็นไปแห่งทุกขสัจและสมุทย-

สัจทั้ง ๒ ชื่อว่า นิโรธสัจ, ปฏิปทาเครื่องรู้ชัดนิโรธ ชื่อว่า มรรคสัจ.

ในโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมโน ก็นัยนี้.

อนึ่ง อายตนะ ๖ มีรูปายตนะ เป็นต้น, หมวดแห่งวิญญาณ ๖

มีจักขุวิญญาณเป็นต้น, ผัสสะ ๖ มีจักขุสัมผัสสะเป็นต้น, เวทนา ๖ มี

จักขุสัมผัสสชาเวทนาเป็นต้น, สัญญา ๖ มีรูปสัญญาเป็นต้น, เจตนา ๖

มีรูปสัญเจตนาเป็นต้น. วิตก ๖ มีรูปวิตกเป็นต้น, วิจาร ๖ มีรูปวิจารเป็นต้น,

ขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น, กสิณ ๑๐, อนุสสติ ๑๐, สัญญา ๑๐ มีอุทธุ

มาตกสัญญาเป็นต้น. อาการ ๓๒ มีเกสาเป็นต้น, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘

ภพ ๙ มีกามภพเป็นต้น, ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น. อัปปมัญญา ๔

มีเมตตาภาวนาเป็นต้น, อรูปสมาบัติ ๔. องค์แห่งปฏิจจสมุปบาท โดย

ปฏิโลมมีชราและมรณะเป็นต้น โดยอนุโลมมีอวิชชาเป็นต้น พึงประกอบ

โดยนัยนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 405

ในบทเหล่านั้นมีการประกอบความเฉพาะบทดังต่อไปนี้ :- พระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้ คือตรัสรู้โดยสมควร ได้แก่ทรงแทง

ตลอด โดยชอบและด้วยพระองค์เอง ซึ่งธรรมทั้งปวง ด้วยการยกขึ้น

เป็นบท ๆ อย่างนี้ว่า ชราและมรณะ ชื่อว่าทุกขสัจ, ชาติชื่อว่าสมุทยสัจ,

การสลัดออกซึ่งสัจจะทั้งสอง ชื่อว่านิโรธสัจ, ปฏิปทาเครื่องรู้ชัดนิโรธ

ชื่อว่า มรรคสัจ. ก็หรือว่า ชื่อว่าสัมมาสัมพุทธะ ด้วยสามารถแห่งวิโมก-

ขันติกญาณ เพราะตรัสรู้โดยชอบและด้วยพระองค์เอง ซึ่งข้อควรแนะนำ

อะไร ๆ ที่มีอยู่ทั้งหมด ก็การจำแนกบทเหล่านั้น จักมีแจ้งข้างหน้าแล.

ก็เพราะพระพุทธเจ้าทั้งปวงเป็นผู้สม่ำเสมอแม้ด้วยคุณแห่งพระสัมมาสัมพุทธ

เจ้า. ฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า สมฺมาสมฺพุทฺธา ด้วยสามารถ

แม้แห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง.

บทว่า โมเนน ความว่า จริงอยู่ บุคคลชื่อว่าเป็นมุนี ด้วยความ

เป็นผู้นิ่งด้วยมรรคญาณ กล่าวคือโมไนยปฏิปทาโดยแท้. แต่ในที่นี้

บทว่า โมเนน ท่านกล่าวหมายเอาดุษณีภาพ.

บทว่า มุฬฺหรโป ได้แก่ เป็นผู้เปล่า.

บทว่า อวิทฺทสุ ได้แก่ ไม่ใช่ผู้รู้ ด้วยว่าบุคคลแม้เป็นผู้นิ่งเห็น

ปานนี้ ก็ไม่ชื่อว่าเป็นมุนี. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมชื่อว่ามุนีด้วยความเป็นผู้นิ่ง

อธิบายว่า ความเป็นคนเปล่า และความเป็นคนไม่รู้อะไรเลย.

บทว่า โย จ ตุลว ปคฺคยฺห ความว่า เหมือนอย่างว่า คนยืน

ถือเครื่องชั่งอยู่ ถ้าเกินก็เอาออก ถ้าพร่องก็เพิ่มเข้า ฉันใด บุคคลนำไป

คือเว้นความชั่วเหมือนคนชั่งเอาส่วนที่เกินออก ยังความดีให้เต็ม เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 406

คนชั่งเพิ่มส่วนที่พร่องให้เต็ม ฉันนั้น. อธิบายว่า ก็เมื่อบุคคลกระทำอยู่

อย่างนี้ ถือเอาธรรมอันประเสริฐ คือสูงสุดนั้นแล กล่าวคือศีล สมาธิ

ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ละเว้นบาปคืออกุศลกรรมทั้งหลาย

บุคคลนั้น ชื่อว่ามุนี.

บทว่า เตน โส มุนิ ความว่า หากจะถามว่า ก็เพราะเหตุไร

ผู้นั้นจึงชื่อว่าเป็นมุนี พึงตอบว่า ผู้นั้นชื่อว่าเป็นมุนี เพราะเหตุที่กล่าว

แล้วในหนหลังนั้น.

บทว่า โย มุนาติ อุโภ โลเก ความว่า บุคคลใดย่อมรู้อรรถ

ทั้งสองเหล่านี้ ในขันธโลกเป็นต้นนี้ โดยนัยเป็นต้นว่า เหล่านั้นเป็น

ขันธ์มีในภายใน เหล่านี้ภายนอก ดังนี้ ดุจคนยกเครื่องชั่งขึ้นรู้อยู่ฉะนั้น.

บทว่า มุนิ เตน ปวุจฺจติ ความว่า เรียกว่าเป็นมุนี ก็ด้วยเหตุ

นั้นนั่นเทียว.

คาถาว่า อสตญฺจ เป็นต้น มีความย่อดังต่อไปนี้ :- ธรรมของ

อสัตบุรุษและของสัตบุรุษต่างโดยเป็นอกุศลและกุศลนี้ใด บุคคลนั้นรู้ธรรม

ของอสัตบุรุษและของสัตบุรุษนั้น วิญญาณเครื่องสอดส่องในโลกทั้งปวง

นี้ว่า เป็นภายในและภายนอก ล่วงเลยคือก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๗

อย่างมีราคะเป็นต้น. และข่าย ๒ อย่าง คือ ตัณหาและทิฏฐิ ดำรงอยู่

เพราะรู้ธรรมประเสริฐนั่นแล. ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะประกอบด้วยญาณ

เครื่องสอดส่องนั้น กล่าวคือโมนะ.

ก็คำว่า เทวมนุสฺเสหิ ปูชิโต นี้เป็นคำชมเชยบุคคลนั้น ด้วยว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 407

บุคคลนั้นเป็นผู้ควรแก่การบูชาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะเป็น

มุนีผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ฉะนั้นท่านจึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า สลฺล เป็นบทเดิม.

บทว่า สตฺต สลฺลานิ เป็นบทกำหนดจำนวน.

บทว่า ราคสลฺล ความว่า ชื่อว่า ลูกศรคือราคะ เพราะอรรถว่า

ชื่อว่าลูกศร เพราะให้เกิดความบีบคั้น เพราะเจ้าเข้าไปภายใน เพราะ

ถอนออกได้ยาก. คือชื่อว่าราคะ เพราะอรรถว่า ยินดี. แม้ในลูกศรคือ

โทสะเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อพฺพุฬฺหสลฺโล เป็นบทเดิม.

บทว่า อพฺพุหิตสลฺโล ได้แก่ นำลูกศรออกแล้ว.

บทว่า อุทฺธฏสลฺโล ได้แก่ ฉุดลูกศรขึ้น.

บทว่า สมุทฺธริตสลฺโล ท่านกล่าวด้วยสามารถอุปสรรค.

บทว่า อุปฺปาฏิตสลฺโล ได้แก่ ถอนลูกศรขึ้น.

บทว่า สมุปฺปาฏิตสลฺโล ท่านกล่าวด้วยสามารถอุปสรรค.

บทว่า สกฺกจฺจการี ความว่า เป็นผู้ทำโดยเคารพ ด้วยสามารถ

ทำโดยเคารพบุคคลหรือไทยธรรม ด้วยการเจริญกุศลธรรมมีทานเป็นต้น.

เป็นผู้ทำติดต่อ ด้วยการทำติดต่อกันไปด้วยสภาวะติดต่อ. เป็นผู้ทำไม่หยุด

ด้วยการทำโดยไม่หยุดยั้ง. กิ้งก่าไปได้หน่อยหนึ่งแล้วหยุดอยู่หน่อยหนึ่ง

ไม่ไปติดต่อกัน อุปมานี้ฉันใด บุคคลใดในวันหนึ่งให้ทานก็ดี ทำการ

บูชาก็ดี ฟังธรรมก็ดี แม้ทำสมณธรรมก็ดี ทำไม่นาน ไม่ยังการทำนั้นให้

เป็นไปติดต่อ อุปมัยนี้ก็ฉันนั้นนั่นแล. บุคคลนั้น เรียกว่าเป็นผู้ทำไม่ติด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 408

ต่อกันไป ไม่ทำให้ติดต่อกันไป. บุคคลนี้ไม่ทำอย่างนั้น เหตุนั้นจึงชื่อว่า

เป็นผู้ทำไม่หยุด.

บทว่า อโนลีนวุตฺติโก ความว่า เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน

หามิได้ เพราะมีการแผ่ไป กล่าวคือการทำไม่มีระหว่าง เหตุนั้นจึงชื่อว่า

เป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน.

บทว่า อนิกฺขิตฺตจฺฉนฺโท ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ปลงฉันทะ

เพราะความที่ไม่ปลงฉันทะในความเพียรทำกุศล.

บทว่า อนิกฺขิตฺตธุโร ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ทอดธุระ เพราะ

ไม่ปลงธุระคือความเพียร อธิบายว่า เป็นผู้มีใจไม่ท้อถอย.

บทว่า โย ตตฺถ ฉนฺโท จ วาจาโม จ ความว่า ความพอใจใน

ธรรมคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อกระทำ, ความพยายามกล่าวคือประกอบความ

อุตส่าห์ด้วยสามารถความขะมักเขม้น, และความเป็นผู้ขยันด้วยสามารถ

ความขะมักเขม้นมีประมาณยิ่ง. นี้ชื่อว่าความพยายาม ด้วยอรรถว่าไปสู่ฝั่ง.

นี้ชื่อว่าความอุตส่าห์ ด้วยอรรถว่าไปก่อน. นี้ชื่อว่าความเป็นผู้ขยันด้วย

อรรถว่ามีประมาณยิ่ง.

บทว่า อปฺปฏิวานี จ ได้แก่ ความไม่ถอยกลับ.

บทว่า สติ จ สมฺปชญฺญฺจ ความว่า ชื่อว่าสติ ด้วยอรรถว่า

ระลึกได้ ชื่อว่า สัมปชัญญะ ด้วยอรรถว่า รู้ตัว. อธิบายว่า รู้โดย

ประการทั้งหลายโดยรอบ. พึงทราบประเภทแห่งสัมปชัญญะนี้ คือ สาตถก

สัมปชัญญะ, สัปปายสมัปชัญญะ, โคจรสัมปชัญญะ, อสัมโมหสัมปชัญญะ.

บทวา อาตปฺป ได้แก่ ความเพียรเครื่องเผากิเลส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 409

บทว่า ปธาน ได้แก่ ความเพียรอันสูงสุด.

บทว่า อธิฏฺาน ได้แก่ ความตั้งมั่นในการทำความดี.

บทว่า อนุโยโค ได้แก่ ความประกอบเนือง ๆ.

บทว่า อปฺปมาโท ได้แก่ ความไม่มัวเมา คือความไม่อยู่ปราศ

จากสติ.

บทว่า อิม โลก นาสึสติ เป็นบทเดิม.

บทว่า สกตฺตภาว ได้แก่ อัตภาพของตน.

บทว่า ปรตฺตภาว ได้แก่ อัตภาพในปรโลก. รูปและเวทนา

เป็นต้นของตน คือ ขันธ์ ๕ ของตน รูปและเวทนาเป็นต้นของผู้อื่น

คือ ขันธ์ ๕ ในปรโลก.

บทว่า กามธาตุ ได้แก่ กามภพ.

บทว่า รูปธาตุ ได้แก่ รูปภพ.

บทว่า อรูปธาตุ ได้แก่ อรูปภพ.

เพื่อแสดงทุกข์ด้วยสามารถแห่งรูปและรูปอีก พระเถระจึงกล่าว

กามธาตุ รูปธาตุ ไว้ส่วนหนึ่ง กล่าวอรูปธาตุไว้ส่วนหนึ่ง.

บทว่า คตึ วา ความว่า คติ ๕ ท่านกล่าวด้วยสามารถเป็นที่ตั้ง.

บทว่า อุปปตฺตึ วา ความว่า กำเนิด ๔ ท่านกล่าวด้วยสามารถ

ความบังเกิด.

บทว่า ปฏิสนฺธึ วา ความว่า ปฏิสนธิ ท่านกล่าวด้วยสามารถ

การสืบต่อแห่งภพ ๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 410

บทว่า ภว วา ท่านกล่าวด้วยสามารถกรรมและภพ.

บทว่า สสาร วา ท่านกล่าวด้วยสามารถตัดขาดขันธ์เป็นต้น.

บทว่า วฏฺฏ วา ความว่า ไม่หวังวัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓ ดัง

นี้แล.

สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถามหานิทเทส

อรรถกถาคุหัฏฐกสุตตนิทเทส

จบสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส ที่ ๓

ว่าด้วยเดียรถีย์กับมุนี

[๗๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่ว ย่อมติเตียนโดยแท้ แม้ชน

เหล่าอื่นเข้าใจว่าจริง ก็ติเตียนตาม แต่มุนีย่อมไม่เข้าถึง

วาทะติเตียนที่เกิดแล้ว เพราะเหตุนั้น กิเลสเครื่องตรึงจิต

จึงมิได้มีแก่มุนีในที่ไหน ๆ.

[๗๑] คำว่า เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่ว ย่อมติเตียนโดยแท้

มีความว่า เดียรถีย์เหล่านั้นมีใจชั่ว คือมีใจอันโทษประทุษร้าย มีใจผิด

มีใจผิดเฉพาะ มีใจอันโทสะมากระทบ มีใจอันโทสะมากระทบเฉพาะ มีใจ

อาฆาต มีใจอาฆาตเฉพาะ ย่อมติเตียน คือเข้าไปติเตียนพระผู้มีพระภาค

เจ้าและภิกษุสงฆ์ ด้วยคำไม่จริง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เดียรถีย์บาง

พวกมีใจชั่ว ย่อมติเตียนโดยแท้.

[๗๒] คำว่า แม้ชนเหล่าอื่นเข้าใจว่าจริง ก็ติเตียนตาม มี

ความว่า ชนเหล่าใด เชื่อถือ กำหนดอยู่ น้อมใจเชื่อต่อเดียรถีย์เหล่านั้น

เข้าใจว่าจริง มีความสำคัญว่าจริง, เข้าใจว่าแท้ มีความสำคัญว่าแท้.

เข้าใจว่าแน่ มีความสำคัญว่าแน่, เข้าใจว่าเป็นจริง มีความสำคัญว่าเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 412

จริง. เข้าใจว่าไม่วิปริต, มีความสำคัญว่าไม่วิปริต, ชนเหล่านั้นก็ติเตียน

คือเข้าไปติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ ด้วยคำไม่จริง. เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า แม้ชนเหล่าอื่นเข้าใจว่าจริง ก็ติเตียนตาม.

[๗๓] คำว่า แต่มุนีย่อมไม่เข้าถึงวาทะติเตียนที่เกิดแล้ว มี

ความว่า วาทะนั้นเป็นวาทะเกิดแล้ว เป็นวาทะเกิดพร้อม บังเกิดแล้ว

บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว คือเสียงประกาศแต่บุคคลอื่น คำด่า คำ

ติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ ด้วยคำอันไม่จริง, เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า วาทะติเตียนที่เกิดแล้ว. คำว่า มุนี ในคำว่า มุนีย่อม

ไม่เข้าถึง มีความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ได้แก่ ปัญญา ความรู้

ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ บุคคล

ประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่ามุนี คือผู้ถึงญาณที่ชื่อว่า โมนะ ฯลฯ บุคคล

ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและธรรมของสัตบุรุษในโลกทั้งปวง ทั้งภายใน

ภายนอก ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย ดำรงอยู่

เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้วบุคคลนั้นชื่อว่ามุนี. บุคคลใดจะเข้าถึง

วาทะติเตียน บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงวาทะติเตียน ด้วยเหตุ ๒ ประการ. คือ

เป็นผู้กระทำ ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียนด้วยความเป็นผู้กระทำ ๑, เป็นผู้ถูก

เขาว่า เขาติเตียน ย่อมโกรธขัดเคือง โต้ตอบ ทำความโกรธ ความเคือง

ความชัง ให้ปรากฏว่า เราไม่เป็นผู้กระทำ ๑, บุคคลใดจะเข้าถึงวาทะ

ติเตียน บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงวาทะติเตียน ด้วยเหตุ ๒ ประการนี้. มุนีไม่

เข้าถึงวาทะติเตียนด้วยเหตุ ๒ ประการ. คือเป็นผู้ไม่กระทำ ย่อมไม่เข้า

ถึงวาทะติเตียนด้วยความเป็นผู้ไม่กระทำ ๑, เป็นผู้ถูกเขาว่า เขาติเตียน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 413

ย่อมไม่โกรธ ไม่เคือง ไม่โต้ตอบ ไม่ทำความโกรธ ความเคือง ความ

ชัง ให้ปรากฏว่า เราไม่เป็นผู้กระทำ ๑, มุนีย่อมไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง

ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นวาทะติเตียน ด้วยเหตุ ๒ ประการนี้. เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า แต่มุนีย่อมไม่เข้าถึงวาทะติเตียนที่เกิดแล้ว.

ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิต ๓

[๗๔] เพราะเหตุนั้น กิเลสเครื่องตรึงจิตจึงมิได้มีแก่มุนีใน

ที่ไหน ๆ มีความว่า คำว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะเหตุนั้น เพราะ.

การณ์นั้น เพราะดังนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น ความเป็นผู้มี

จิตอันโทสะมากระทบก็ดี ความเป็นผู้มีกิเลสเครื่องตรึงจิตเกิดขึ้นก็ดี ย่อม

ไม่มีแก่มุนี. กิเลสเครื่องตรึงจิต ๕ อย่างก็ดี กิเลสเครื่องตรึงจิต ๓ อย่าง

คือ ราคะ โทสะ โมหะ ก็ดี ย่อมไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ ไม่

เข้าไปได้ คือกิเลสนั้น ๆ เป็นกิเลสอันมุนีละเสียแล้ว ตัดขาดแล้ว สงบ

แล้ว ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟ คือ ญาณ.

คำว่า ในที่ไหน ๆ คือในที่ไหน ๆ ในที่ใดที่หนึ่ง ทุก ๆ แห่ง

ในภายใน ในภายนอก หรือทั้งภายในทั้งภายนอก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เพราะเหตุนั้นกิเลสเครื่องตรึงจิตจึงมิได้มีแก่มุนี ในที่ไหน ๆ

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่ว ย่อมติเตียนโดยแท้ แม้

ชนเหล่าอื่นเข้าใจว่าจริง ก็ติเตียนตาม แต่มุนีย่อมไม่เข้า

ถึงวาทะติเตียนที่เกิดแล้ว เพราะเหตุนั้น กิเลสเครื่องตรึง

จิต จึงมิได้มีแก่มุนีในที่ไหน ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 414

[๗๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บุคคลผู้ไปตามความพอใจ ตั้งมั่นแล้วในความ

ชอบใจพึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า แต่บุคคลเมื่อ

กระทำให้เต็มด้วยตนเอง รู้อย่างใด ก็พึงกล่าวอย่างนั้น.

ว่าด้วยทิฏฐิ

[๗๖] คำว่า พึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า มีความว่า

เดียรถีย์เหล่าใด มีทิฏฐิอย่างนี้ มีความพอใจ ความชอบใจ ลัทธิ อัธยาศัย

ความประสงค์อย่างนี้ว่า พวกเราฆ่านางปริพาชิกาชื่อสุนทรีเสียแล้ว ประ-

กาศโทษของพวกสมณศากยบุตรแล้ว จักนำคืนมาซึ่งลาภยศสักการะ สัม-

มานะนั้น โดยอุบายอย่างนี้ เดียรถีย์เหล่านั้น ไม่อาจล่วงทิฏฐิ ความพอ

ใจ ความชอบใจ ลัทธิ อัธยาศัย ความประสงค์ของตนได้. โดยที่แท้

ความเสื่อมยศนั่นแหละ ก็กลับย้อนมาถึงพวกเดียรถีย์นั้น เพราะฉะนั้นจึง

ชื่อว่า บุคคลพึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า แม้ด้วยประการอย่าง

นี้.

อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดมีวาทะอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้ แหละจริง สิ่งอื่น

เปล่าบุคคลนั้นพึงล่วง ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วยดี ล่วงเลยทิฏฐิ ความพอใจ

ความชอบใจ ลัทธิ อัธยาศัย ความประสงค์ของตนได้อย่างไร. ข้อนั้นเป็น

เพราะเหตุอะไร. เพราะเหตุว่า ทิฏฐินั้นอันบุคคลนั้นสมาทานแล้ว ถือ

เอา ยึดถือ ถือมั่น ติดใจ น้อมใจ ให้บริบูรณ์อย่างนั้น เพราะฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 415

จึงชื่อว่า บุคคลพึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า แม้ด้วยประการ

อย่างนี้.

บุคคลใดมีวาทะอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง....โลกมีที่สุด....โลกไม่มีที่สุด

....ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น....ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น....สัตว์เบื้อง

หน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก....สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก......

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี....สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง

สิ่งอื่นเปล่า บุคคลนั้นพึงล่วง ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วยดี ล่วงเลยทิฏฐิ

ความพอใจ ความชอบใจ ลัทธิ อัธยาศัย ความประสงค์ของตนได้อย่าง

ไร. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร. เพราะเหตุว่า ทิฏฐินั้น อันบุคคลนั้น

สมาทานถือเอายึดถือ ถือมั่น ติดใจ น้อมใจ ให้บริบูรณ์เหล่านั้น เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลพึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า. แม้ด้วย

ประการอย่างนี้.

[๗๗] คำว่า บุคคลผู้ไปตามความพอใจตั้งมั่นแล้วในความ

ชอบใจ มีความว่า ผู้ไปตามความพอใจ คือ บุคคลนั้นย่อมไป ออก

ไป ลอยไป เคลื่อนไป ตามทิฏฐิ ความพอใจ ความชอบใจ ลัทธิของ

ตน. บุคคลย่อมไป ออกไป ลอยไป เคลื่อนไป ด้วยยานช้าง ยานรถ

ยานม้า ยานโค ยานแกะ ยานแพะ ยานอูฐ ยานลา ฉันใด บุคคลนั้น

ย่อมไป ออกไป ลอยไป เคลื่อนไปตามทิฏฐิ ความพอใจ ความชอบใจ

ลัทธิของตน ฉันนั้นนั่นแล. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไปตามความ

พอใจ คำว่า ตั้งมั่นแล้วในความชอบใจ มีความว่า ตั้งมั่น ตั้งอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 416

ติดพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไป ในทิฏฐิ ความพอใจ ความชอบใจ

ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้ไปตามความพอใจ ตั้ง

มั่นแล้วในความชอบใจ.

[๗๘] คำว่า บุคคลเมื่อกระทำให้เต็มด้วยตนเอง มีความว่า

บุคคลกระทำให้เต็ม ให้บริบูรณ์ ไม่บกพร่อง ให้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ

เป็นประธาน อุดม บวร คือยังทิฏฐินั้นให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด

ให้บังเกิดเฉพาะด้วยตนเองว่า พระศาสดานี้เป็นพระสัพพัญญู พระธรรม

นี้อันพระศาสดาตรัสดีแล้ว คณะสงฆ์นี้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐินี้เจริญ ปฏิปทา

นี้อันพระศาสดาทรงบัญญัติดีแล้ว มรรคนี้เป็นเครื่องนำออก เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า บุคคลเมื่อกระทำให้เต็มด้วยตนเอง.

[๗๙] คำว่า รู้อย่างใด ก็พึงกล่าวอย่างนั้น มีความว่า บุคคล

รู้อย่างใด ก็พึงกล่าว บอก พูด แสดง แถลงอย่างนั้น. คือ รู้อย่างใดว่า

โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ก็พึงกล่าว บอก พูด แสดง

แถลงอย่างนั้น. รู้อย่างใดว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว

ย่อมเป็นอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีก ก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่น

เปล่า ก็พึงกล่าว บอก พูด แสดง แถลงอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึง

ชื่อว่า รู้อย่างใด ก็พึงกล่าวอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า :-

บุคคลผู้ไปตามความพอใจ ตั้งมั่นแล้วในความชอบ

ใจ พึงล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า แต่บุคคลเมื่อกระทำ

ให้เต็มด้วยตนเอง รู้อย่างใด ก็พึงกล่าวอย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 417

[๘๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ชนใดไม่มีใครถาม ย่อมบอกศีลและวัตรของตน

แก่ชนเหล่าอื่น ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวชนเหล่านั้นว่า ไม่มี

อริยธรรม อนึ่ง ชนใดย่อมบอกตนเอง ผู้ฉลาดทั้งหลาย

ก็กล่าวชนนั้นว่า ไม่มีอริยธรรม.

[๘๑] คำว่า ชนใด....ย่อมบอกศีลและวัตรของตน มีความ

ว่า คำว่า ใด คือ เช่นใด ประกอบอย่างใด จัดแจงอย่างใด มีประการ

อย่างใด ถึงฐานะใด ประกอบด้วยธรรมใด เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์

เป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา หรือเป็น

มนุษย์. คำว่า ศีลและวัตร มีความว่า บางแห่งเป็นศีลและเป็นวัตร

บางแห่งเป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.

ว่าด้วยศีลและวัตร

เป็นศีลและเป็นวัตร เป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี

ศีลสำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่

เป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท

ทั้งหลาย ความสำรวม ความระวัง ความไม่ก้าวล่วง ในสิกขาบททั้งหลาย

นั้น นี้เป็นศีล. ความสมาทานชื่อว่าเป็นวัตร เพราะอรรถว่า สำรวม

จึงชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่า สมาทาน จึงชื่อว่า วัตร นี้เรียกว่า เป็น

ศีลและเป็นวัตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 418

เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล เป็นไฉน ? ธุดงค์ ๘ คือ อารัญญิกังค-

ธุดงค์ ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ปังสุกูลิกังคธุดงค์ เตจีวริกังคธุดงค์ สปทาน-

จาริกังคธุดงค์ ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ เนสัชชิกังคธุดงค์ ยถาสันถติกังค-

ธุดงค์ นี้เรียกว่า เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.

แม้การสมาทานความเพียร ก็เรียกว่า เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.

กล่าวว่า พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น

และกระดูก ก็ตามที เนื้อและเลือด ในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด อิฐผล

ใดอัน จะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความ

เพียรของบุรุษ ด้วยความยากบั่นของบุรุษ ไม่บรรลุอิฐผลนั้นแล้วจักไม่

หยุดความเพียร ดังนี้. แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่า เป็น

วัตรแต่ไม่เป็นศีล.

พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า จิตของเราจักยังไม่หลุดพ้น

จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นเพียงใด เราจักไม่ทำลายบังลังก์นี้เพียง

นั้น แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่า เป็นวัตรแต่ไม่

เป็นศีล.

ภิกษุประคองตั้งจิตว่า :-

เมื่อลูกศรคือตัณหาอันเรายังถอนไม่ได้แล้ว เราจัก

ไม่กิน เราจักไม่ดื่ม ไม่ออกจากวิหาร ทั้งจักไม่เอนข้าง.

ดังนี้.

แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่า เป็นวัตรแต่ไม่

เป็นศีล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 419

ภิกษุประคองจิตว่าของเราจักยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย

เพราะไม่ถือมั่นเพียงใด เราจักไม่ลุกขึ้นจากอาสนะนี้เพียงนั้น....จักไม่ลงจาก

ที่จงกรม....จักไม่ออกจากวิหาร....จักไม่ออกจากเรือนมีหลังคาแถบเดียว.....

ไม่ออกจากปราสาท....จักไม่ออกจากเรือนโล้น ....จักไม่ออกจากถ้ำ.....จัก

ไม่ออกจากที่เร้น.....จักไม่ออกจากกุฎี.....จักไม่ออกจากเรือนยอด.....จักไม่

ออกจากป้อม....จักไม่ออกจากโรงกลม....จักไม่ออกจากเรือนที่มีเครื่องกั้น

.....จักไม่ออกจากศาลาที่บำรุง....จักไม่ออกจากมณฑป....จักไม่ออกจากโคน

ต้นไม้เพียงนั้นดังนี้. แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่า เป็น

วัตรแต่ไม่เป็นศีล.

ภิกษุประคองตั้งจิตว่า ในเช้าวันนี้แหละ เราจักนำมา นำมาด้วยดี

บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง ซึ่งอริยธรรมดังนี้ แม้การสมาทานความเพียร

เห็นปานนี้ ก็เรียกว่า เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.

ภิกษุประคองตั้งจิตว่า ในเที่ยงวันนี้แหละ.....ในเย็นนี้แหละ.....ในกาล

ก่อนภัตนี้แหละ....ในกาลภายหลังภัตนี้แหละ....ในยามต้นนี้แหละ....ในยาม

กลางนี้แหละ.......ในยามหลังนี้แหละ......ในข้างแรมนี้แหละ......ในข้างขึ้นนี้

แหละ....ในฤดูฝนนี้แหละ....ในฤดูหนาวนี้แหละ....ในฤดูร้อนนี้แหละ....ใน

ตอนวัยต้นนี้แหละ.....ในตอนวัยกลางนี้แหละ....ในตอนวัยหลังนี้แหละ เรา

จักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง ซึ่งอริยธรรม ดังนี้.

แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่า เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.

คำว่า ชน คือสัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 420

สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนใด...ย่อมบอก

ศีลและวัตรของตน.

[๘๒] คำว่า ไม่มีใครถามย่อมบอก....แก่ชนเหล่าอื่น มีความ

ว่า ชนเหล่าอื่น คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์

บรรพชิต เทวดา มนุษย์. คำว่า ไม่มีใครถาม คือ อันใคร ๆ ไม่

ถาม ไม่ไต่ถาม ไม่ขอร้อง ไม่เชิญ ไม่เชื้อเชิญ. คำว่า ย่อมบอก

คือ ย่อมอวดอ้างศีลบ้าง วัตรบ้าง ศีลและวัตรบ้างของตน ได้แก่ ย่อม

อวดอ้าง บอก พูด แสดง แถลงว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลบ้าง

ถึงพร้อมด้วยวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยชาติบ้าง

ถึงพร้อมด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง ถึงพร้อม

ด้วยความเป็นผู้มีรูปร่างงามบ้าง ถึงพร้อมด้วยทรัพย์บ้าง ถึงพร้อมด้วย

การศึกษาบ้างถึงพร้อมด้วยหน้าที่การงานบ้าง ถึงพร้อมด้วยขอบเขตศิลปะ

บ้าง ถึงพร้อมด้วยวิทยฐานะบ้าง ถึงพร้อมด้วยสุตะบ้าง ถึงพร้อมด้วย

ปฏิภาณบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ออกบวชจากสกุล

สูงบ้าง ออกบวชจากสกุลใหญ่บ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมากบ้าง

ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติใหญ่บ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศกว่าพวก

คฤหัสถ์และบรรพชิตบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะและคิลาน

ปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงพระวินัยบ้าง

เป็นธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็น

วัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรงไตรจีวรเป็น

วัตรบ้าง เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 421

ไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถืออยู่

ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็น

ผู้ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็น

ผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง

เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มี

ใครถามย่อมบอก......แก่ชนเหล่าอื่น.

[๘๓] คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกชนนั้นว่า ไม่มีอริยธรรม

มีความว่า ผู้ฉลาด ได้แก่ ผู้ฉลาดเหล่าใดเหล่าหนึ่ง คือ ผู้ฉลาดในขันธ์

ผู้ฉลาดในธาตุ ผู้ฉลาดในอายตนะ ผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ผู้ฉลาดใน

สติปัฏฐาน ผู้ฉลาดในสัมมัปปธาน ผู้ฉลาดในอิทธิบาท ผู้ฉลาดใน

อินทรีย์ ผู้ฉลาดในพละ ผู้ฉลาดในโพชฌงค์ ผู้ฉลาดในมรรค ผู้ฉลาดในผล

ผู้ฉลาดในนิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้นกล่าว บอก พูด แสดง แถลงอย่างนี้ว่า

ธรรมนั้นของพวกอนารยชนธรรมนั้นไม่ใช่ของพวกอริยชน ธรรมนั้นของ

พวกคนพาล ธรรมนั้นไม่ใช่ของพวกบัณฑิต ธรรมนั้นของพวกอสัต

บุรุษ ธรรมนั้นไม่ใช่ของพวกสัตบุรุษ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้

ฉันใดทั้งหลายเรียกชนนั้นว่าไม่มีอริยธรรม.

[๘๔] คำว่า ชนใดย่อมบอกตนเอง มีความว่า อัตตา เรียก

ว่า ตน. คำว่า ย่อมบอกเอง ได้แก่ ย่อมอวดอ้างซึ่งตนเองนั่นแล

คือย่อมอวดอ้าง บอก พูด แสดง แถลงว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย

ศีลบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตรบ้าง ถึงพร้อม

ด้วยชาติบ้าง ถึงพร้อมด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นบุตรแห่ง

สกุลบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง ถึงพร้อมด้วยทรัพย์บ้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 422

ถึงพร้อมด้วยการศึกษาบ้าง ถึงพร้อมด้วยหน้าที่การงานบ้าง ถึงพร้อมด้วย

ขอบเขตศิลปะบ้าง ถึงพร้อมด้วยวิทยฐานะบ้าง ถึงพร้อมด้วยสุตะบ้าง

ถึงพร้อมด้วยปฏิภาณบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ออก

บวชจากสกุลสูงบ้าง ออกบวชจากสกุลใหญ่บ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภค

สมบัติมากบ้าง ออกบวชจากสกุล โภคสมบัติใหญ่บ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียงมี

ยศกว่าพวกคฤหัสถ์และบรรพชิตบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรง

พระวินัยบ้าง เป็นธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือ

บิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือ

ทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร

บ้าง เป็นผู้ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร

บ้าง เป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้

ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ใดทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้

อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง

เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน

สมาบัติบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนใดย่อมบอกตนเอง. เพราะเหตุ

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ชนใดไม่มีใครถาม ย่อมบอกศีลและวัตรของตน

แก่ชนเหล่าอื่น ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวชนนั้นว่า ไม่มี

อริยธรรม อนึ่งชนใดย่อมบอกตนเอง ผู้ฉลาดทั้งหลาย

กล่าวชนนั้นว่า ไม่มีอริยธรรม.

[๘๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 423

แต่ว่าภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสในตนแล้ว ไม่อวดใน

ศีลทั้งหลายว่า เราเป็นดังนี้ ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวภิกษุ

นั้นว่า มีอริยธรรม อนึ่ง กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้นมิได้มีแก่

ภิกษุใด ในที่ไหน ๆ ในโลก ผู้ฉลาดทั้งหลายก็กล่าวภิกษุ

นั้นว่า มีอริยธรรม.

ผู้ได้ชื่อว่าภิกษุ

[๘๖] คำว่า แต่ว่าภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสในตนแล้ว มีความว่า

ชื่อว่า ผู้สงบ เพราะเป็นผู้สงบ คือระงับ เข้าไประงับ เผา ดับ

ปราศจากสงบระงับ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง ความ

โกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความ

ตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว

ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง

ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง

อกุศลธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่าเป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ ดับ สงบระงับแล้ว

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าผู้สงบ.

คำว่า ภิกษุ มีความว่า เพราะเป็นผู้ทำลายธรรม ๗ ประการจึงชื่อ

ว่า ภิกษุ คือทำลายสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ

โมหะ และมานะ ภิกษุนั้นทำลายแล้วซึ่งอกุศลธรรมอันลามก อันเป็น

ปัจจัยแห่งความมัวหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวายมีวิบาก

เป็นทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 424

ดูก่อนสภิยะ ผู้ใดควรแก่การชมเชยเหล่านี้ว่า ถึง

ปรินิพพานแล้ว ด้วยธรรมเป็นหนทางอันตนให้เจริญ ข้าม

ความสงสัยเสียแล้ว ละแล้วซึ่งความเสื่อมและความเจริญ

อยู่จนแล้ว และเป็นคู่มีภพใหม่สิ้นแล้ว ผู้นั้น ชื่อว่าภิกษุ.

อนึ่ง ผู้สงบ ชื่อว่า ภิกษุ. คำว่า ผู้ดับกิเลสในตนแล้ว

มีความว่า เพราะเป็นผู้ดับความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง

ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา

ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข็งดี ความ

ถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้ง

ปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือนร้อน

ทั้งปวง อกุศลธรรมทั้งปวง จึงชื่อว่า ผู้ดับกิเลสในตนแล้ว เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า แต่ว่าภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสในตนแล้ว.

[๘๗] คำว่า ไม่อวดในศีลทั้งหลายว่าเราเป็นดังนี้ มีความ

ว่า ศัพท์ว่า อิติห เป็นศัพท์ต่อบท เกี่ยวข้องแห่งบท บริบูรณ์แห่งบท

เป็นที่ประชุมอักษร เป็นความสละสลายแห่งพยัญชนะ ศัพท์ว่า อิติห

นั้นเป็นไปตามลำดับ.

คำว่า ไม่อวดในศีลทั้งหลาย มีความว่า ภิกษุบางรูปในธรรม

วินัยนี้ เป็นผู้อวด เป็นผู้โอ้อวด คือย่อมอวด ย่อมโอ้อวดว่า ข้าพเจ้า

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยศีลและ

วัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยญาติบ้าง ถึงพร้อมด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อมด้วย

ความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง ถึงพร้อมด้วยความมีรูปงามบ้าง ฯลฯ เป็นผู้ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 425

เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง ภิกษุน้อมไม่อวด ไม่โอ้อวดอย่างนั้น

คือเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วย

ความอวด เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดงกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้นจึง

ชื่อว่า ไม่อวดในศีลทั้งหลายว่าเราเป็นดังนี้.

ว่าด้วยผู้มีอริยธรรม

[๘๘] คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวภิกษุนั้นว่านี้อริยธรรม

มีความว่า คำว่า ผู้ฉลาด ได้แก่ผู้ฉลาดเหล่าใดเหล่าหนึ่ง คือผู้ฉลาด

ในขันธ์ ฉลาดในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาด

ในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์

ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาดในผล ฉลาดใน

นิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้นย่อมกล่าว คือ กล่าว บอก พูด แสดง แถลง

อย่างนี้ว่า ธรรมนั้นของพวกอารยชน ธรรมนั้นมิใช่ของพวกอนารยชน

ธรรมนั้นของบัณฑิต ธรรมนั้นมิใช่ของพวกคนพาล ธรรมนั้นของสัตบุรุษ

ธรรมนั้นมิใช่ของอสัตบุรุษ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย

กล่าวภิกษุนั้นว่ามีอริยธรรม.

[๘๙] คำว่า กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้นมิได้มีแก่ภิกษุใด ในที่

ไหน ๆ ในโลก มีความว่า คำว่า ภิกษุใด คือพระอรหันต์ผู้มีอาสวะ

สิ้นแล้ว.

คำว่า กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้น คือกิเลสเป็นเหตุฟูขึ้น ๗ ประการ

คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และกรรม. กิเลสเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 426

เหตุฟูขึ้นเหล่านี้ มิได้มี คือ ไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือเป็นธรรมชาติ

อันภิกษุนั้นละเสียแล้ว ตัดขาด สงบ ระงับ ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้นได้

เผาเสียแล้วด้วยไฟ คือญาณ.

คำว่า ในที่ไหน ๆ คือในที่ไหน ๆ. ในที่ใดที่หนึ่งทุก ๆ แห่ง

ในภายใน ในภายนอก หรือทั้งภายในทั้งภายนอก.

คำว่า ในโลก คือในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก

ธาตุโลก อาตนโลก เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้นมิได้มีแก่

ภิกษุใดในที่ไหน ๆ ในโลก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

แต่ว่าภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสในตนแล้ว ไม่อวดใน

ศีลทั้งหลายว่า เราเป็นดังนี้ ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวภิกษุ

นั้นว่า อริยธรรม. อนึ่ง กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้น มิได้มีแก่

ภิกษุใด ในที่ไหน ๆ ในโลก ผู้ฉลาดทั้งหลายก็กล่าวภิกษุ

นั้นว่า มีอริยธรรม.

ว่าด้วยทิฏฐิธรรม

[๙๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ทิฏฐิธรรมทั้งหลายของเจ้าทิฏฐิใด เป็นธรรมที่

บุคคลนั้นกำหนดแล้ว ที่ปัจจัยปรุงแต่ง กระทำไว้ใน

เบื้องหน้า ไม่ขาวสะอาด มีอยู่ และบุคคลนั้นเป็นผู้อาศัย

อานิสงส์ที่เห็นอยู่ในตน และอาศัยสันติที่กำเริบที่อาศัยกัน

เกิดขึ้น เขาพึงยกตนหรือข่มผู้อื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 427

[๙๑] คำว่า ทิฏฐิธรรมทั้งหลายของเจ้าทิฏฐิใดเป็นธรรมที่

บุคคลนั้นกำหนดแล้ว ที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีความว่า คำว่า กำหนด

ได้แก่ความกำหนด ๒ อย่าง คือความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนด

ด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความ

กำหนดด้วยทิฏฐิ.

คำว่า ที่ปัจจัยปรุงแต่ง คือ อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ปรุงแต่ง

วิเศษแล้ว ปรุงแต่งเฉพาะแล้ว ให้ตั้งลงพร้อมแล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

ที่ปัจจัยปรุงแต่ง. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ที่ปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ที่ไม่

เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว เป็นธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป

ความเสื่อมไป มีความสำรอก มีความดับเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ที่ปัจจัยปรุงแต่ง.

คำว่า ใด ได้แก่ แห่งเจ้าทิฏฐิ. ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เรียกว่า

ทิฏฐิธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิธรรมทั้งหลายของเจ้าทิฏฐิใด

เป็นธรรมที่บุคคลนั้นกำหนดแล้ว ที่ปัจจัยปรุงแต่ง.

[๙๒] คำว่า กระทำไว้ในเบื้องหน้า ไม่ขาวสะอาด มีอยู่

มีความว่า คำว่า กระทำไว้ในเบื้องหน้า ได้แก่ การกระทำไว้ใน

เบื้องหน้า ๒ อย่าง คือ การกระทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา ๑ การ

กระทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า การกระทำไว้ในเบื้องหน้า

ด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า การการทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ บุคคลนั้น

ไม่ละการกระทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา ไม่สละคืนการการทำไว้ใน

เบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ไม่ละการกระทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 428

เพราะเป็นผู้ไม่สละคืนการกระทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ บุคคลนั้นชื่อว่า

เที่ยวทำตัณหาบ้าง ทิฏฐิบ้าง ไว้ในเบื้องหน้า คือชื่อว่าเป็นผู้มีตัณหาเป็น

ธงชัย มีตัณหาเป็นธงยอด มีตัณหาเป็นใหญ่ มีทิฏฐิเป็นธงชัย มีทิฏฐิ

เป็นธงยอด มีทิฏฐิเป็นใหญ่ เป็นผู้อันตัณหาบ้าง ทิฏฐิบ้างแวดล้อม

เที่ยวไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระทำไว้ในเบื้องหน้า.

คำว่า มีอยู่ ได้แก่ ย่อมมี ย่อมปรากฏ ย่อมเข้าไปได้.

คำว่า ไม่ขาวสะอาด ได้แก่ ไม่ขาวสะอาด ไม่ผ่องแผ้ว ไม่

บริสุทธิ์ คือเศร้าหมอง มัวหมอง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า กระทำไว้ใน

เบื้องหน้า ไม่ขาวสะอาด มีอยู่.

[๙๓] คำว่า อานิสงส์ที่เห็นอยู่ในตน มีความว่า บทว่า

ยทตฺตนิ ตัดบทเป็น ย อตฺตนิ ทิฏฐิ เรียกว่า ตน. บุคคลนั้นย่อม

เห็นอานิสงส์ ๒ อย่าง แห่งทิฏฐิของตน คือ อานิสงส์มีในชาตินี้ ๑,

อานิสงส์มีในชาติหน้า ๑.

อานิสงส์แห่งทิฏฐิมีในชาตินี้เป็นไฉน ? ศาสดาเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างใด

พวกสาวกเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น พวกสาวกย่อมสักการะ เคารพ นับถือ

บูชา ยำเกรงศาสดาผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น และย่อมได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ.

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ที่มีศาสดานั้นเป็นเหตุ นี้ชื่อว่า อานิสงส์

แห่งทิฏฐิมีในชาตินี้.

อานิสงส์แห่งทิฏฐิมีในชาติหน้า เป็นไฉน ? บุคคลนั้นย่อมหวังผล

ในอนาคตว่า ทิฏฐินี้ควรเพื่อความเป็นนาค เป็นครุฑ เป็นยักษ์ เป็น

อสูร เป็นคนธรรพ์ เป็นมหาราช เป็นพระอินทร์ เป็นพรหม หรือเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 429

เทวดา ทิฏฐินี้ควรเพื่อความหมดจด หมดจดวิเศษ บริสุทธิ์ หลุดไป

พ้นไป หลุดพ้นไป ด้วยทิฏฐินี้ สัตว์ทั้งหลายย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ

บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หลุดพ้นไป ด้วยทิฏฐินี้ เราจักหมดจด หมด

จดวิเศษ บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หลุดพ้นไปด้วยทิฏฐินี้ดังนี้ นี้ชื่อว่า

อานิสงส์แห่งทิฏฐิมีในชาติหน้า.

บุคคลนั้นย่อมเห็น แลเห็น เหลียวเห็น เล็งเห็น พิจารณาเห็น

ซึ่งอานิสงส์แห่งทิฏฐิของตน ๒ ประการนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อานิ-

สงส์ที่เห็นอยู่ในตน.

ว่าด้วยสันติ ๓

[๙๔] คำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้อาศัยอานิสงส์และอาศัยสันติ

ที่กำเริบ ที่อาศัยกันเกิดขึ้น มีความว่า สันติมี ๓ ประการ คือ

สันติโดยส่วนเดียว ๑, สันติโดยองค์นั้น ๆ ๑, สันติโดยสมมติ ๑.

สันติโดยส่วนเดียว เป็นไฉน ? อมตนิพพาน คือ ความระงับ

สังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอก

ความดับ ความออกจากตัณหา เรียกว่าสันติโดยส่วนเดียว นี้ชื่อว่า สันติ

โดยส่วนเดียว.

สันติโดยองค์นั้น ๆ เป็นไฉน ? บุคคลผู้บรรลุปฐมฌานมีนิวรณ์

สงบไป. ผู้บรรลุทุติยฌานมีวิตกและวิจารสงบไป. ผู้บรรลุตติยฌานมีปีติ

สงบไป. ผู้บรรลุจตุตถฌานมีสุขและทุกข์สงบไป. ผู้บรรลุอากาสานัญ

จายตนฌาน มีรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา สงบไป. ผู้บรรลุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 430

วิญญาณัญจายตนฌาน มีอากาสานัญจายตนสัญญาสงบไป. ผู้บรรลุอากิญจัญ

ญายตนฌาน มีวิญญาณัญจายตนสัญญาสงบไป. ผู้บรรลุเนวสัญญานาสัญ

ญายตนฌาน มีอากิญจัญญายตนสัญญาสงบไป. นี้ชื่อว่า สันติโดยองค์

นั้น ๆ.

สันติโดยสมมติ เป็นไฉน ? ทิฏฐิ ๖๒ ประการ เรียกว่า สันติ

โดยสมมติ. อนึ่ง สันติโดยสมมติพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาว่า

สันติในคาถานี้.

คำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้อาศัยอานิสงส์ และอาศัยสันติที่กำเริบ

ที่อาศัยกันเกิดขึ้น มีความว่า อาศัย คือ พัวพัน ติดพัน ติดใจ

น้อมใจถึงสันติอันกำเริบ คือ สันติอันกำเริบทั่ว เอนไป เอียงไป หวั่น

ไหว กระทบกระทั่ง อันตนกำหนดแล้ว อันคนกำหนดทั่วแล้วไม่เที่ยง

อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป สำรอก

ไปดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นเป็นผู้อาศัย

อานิสงส์และอาศัยสันติที่กำเริบที่อาศัยกันเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ทิฏฐิธรรมทั้งหลายของเจ้าทิฏฐิใด เป็นธรรมที่

บุคคลนั้นกำหนดแล้ว ที่ปัจจัยปรุงแต่ง กระทำไว้ใน

เบื้องหน้า ไม่ขาวสะอาด มีอยู่ และบุคคลนั้นเป็นผู้อาศัย

อานิสงส์ที่เห็นอยู่ในตน และอาศัยสันติที่กำเริบที่อาศัยกัน

เกิดขึ้นเขาพึงยกตนหรือข่มผู้อื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 431

ว่าด้วยความถือมั่น

[๙๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่เป็นอาการที่กล่าวล่วง

โดยง่ายเลย การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น

ก็ไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่าย เพราะฉะนั้น ในความ

ถือมั่นเหล่านั้น นรชนย่อมสละธรรมต่าง ยึดถือธรรมบ้าง.

[๙๖] คำว่า ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่เป็นอาการที่

ก้าวล่วงโดยง่ายเลย มีความว่า คำว่า ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ คือ

ความถือมั่น ยึดถือมั่นว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ชื่อว่า

ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ หรือความถือมั่น ยึดถือมั่นว่า โลกไม่เที่ยง สิ่ง

นี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า โลกมีที่สุด....โลกไม่มีที่สุด....ชีพอันนั้น สรีระ

ก็อันนั้น....ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น.....สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็น

อีก....สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่เป็นอีก....สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อม

เป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี....สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีกก็หามิได้

ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ชื่อว่าความ

ถือมั่นด้วยทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ คำว่า

ย่อมไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่ายเลย คือ ย่อมไม่เป็นอาการที่ก้าว

ล่วงโดยยาก ข้ามโดยยาก ข้ามพ้นโดยยาก ก้าวล่วงพ้นไปโดยยากเป็นไป

ล่วงโดยยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่

เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่ายเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 432

[๙๗] คำว่า การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือ

มั่น มีความว่า คำว่า ในธรรมทั้งหลาย คือ ในทิฏฐิ ๖๒.

คำว่า ถึงความตกลง มีความว่า ตัดสินแล้ว ชี้ขาด ค้นหา

แสวงหา เทียบเคียง ตรวจตรา สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้งแล้วจึงจับมั่น

ยึดมั่น ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ คือ ความถือ ความยึด

ถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้จริง แท้ แน่

เป็นสภาพจริง เป็นยามจริง มิได้วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า การถึง

ความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น.

[๙๘] คำว่า เพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น นรชน..

มีความว่า คำว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะฉะนั้น เพราะการณ์นั้น

เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น.

คำว่า นรชน คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต

ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์.

คำว่า ในความถือมั่น เหล่านั้น คือ ในความถือมั่นด้วยทิฏฐิ

ทั้งหลายนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้น ในความถือมั่น

เหล่านั้น นรชน.

ว่าด้วยการสละ ๒ อย่าง

[๙๙] คำว่า ย่อมสละธรรมบ้าง ยึดถือธรรมบ้าง มีความว่า

คำว่า ย่อมสละ คือ ย่อมสละด้วยเหตุ ๒ ประการ คือสละด้วยการตัด

สินของผู้อื่น ๑, ไม่สำเร็จประโยชน์เองจึงสละ ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

นรชนย่อมสละด้วยการตัดสินของผู้อื่น อย่างไร ? ผู้อื่นย่อมตัดสิน

ว่าศาสดานั้นไม่ใช่สัพพัญญู ธรรมแห่งศาสดานั้น ไม่เป็นธรรมอันศาสดา

กล่าวดีแล้ว หมู่คณะไม่เป็นผู้ปฏิบัติดี ทิฏฐิไม่เป็นทิฏฐิอันเจริญ ปฏิปทา

ไม่เป็นปฏิปทาอันศาสดาบัญญัติดีแล้ว มรรคไม่เป็นทางนำออกจากทุกข์

ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความบริสุทธิ์ ความพ้น ความพ้น

วิเศษ หรือความพ้นรอบมิได้มีในลัทธินี้ ประชาชนไม่หมดจด ไม่หมด

จดวิเศษ ไม่หมดจดรอบ ไม่พ้น ไม่พ้นวิเศษ หรือไม่พ้น รอบเพราะลัทธิ

นั้น ลัทธินั้นเลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ผู้อื่นย่อมตัดสิน

อย่างนี้. เมื่อผู้อื่นตัดสินให้อย่างนี้ ย่อมสละศาสดา สละธรรมที่ศาสดานั้น

บอก สละหมู่คณะ สละทิฏฐิ สละปฏิปทา สละมรรค. นรชนย่อมสละ

ด้วยการตัดสินของผู้อื่น อย่างนี้.

นรชนไม่สำเร็จประโยชน์เองจึงสละ อย่างไร ? นรชนไม่ยังศีลให้

สำเร็จประโยชน์ ย่อมสละศีล ไม่ยังวัตรให้สำเร็จประโยชน์ ย่อมสละวัตร

ไม่ยังศีลและวัตรให้สำเร็จประโยชน์ ย่อมสละศีลและวัตร. นรชน ไม่

สำเร็จประโยชน์เองจึงสละ อย่างนี้.

คำว่า ย่อมยึดถือธรรมบ้าง คือ นรชนย่อมถือ ย่อมยึดมั่น ย่อม

ถือมั่นซึ่งศาสดา ธรรมที่ศาสดานั้นบอก หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมสละธรรมบ้าง ยึดถือธรรมบ้าง. เพราะเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วง

โดยง่ายเลย การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 434

ก็ไม่เป็นอาการที่ก้าวล่วงโดยง่าย เพราะฉะนั้น ในความ

ถือมั่นเหล่านั้น นรชนย่อมสละธรรมบ้าง ยึดถือธรรมบ้าง.

ว่าด้วยผู้มีปัญญา

[๑๐๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่

มีแก่บุคคลผู้มีปัญญา ในที่ไหน ๆ ในโลก เพราะบุคคล

ผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลส

เครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า.

[๑๐๑] คำว่า ทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่

ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญา ในที่ไหน ๆ ในโลก มีความว่า

ปัญญา เรียกว่า โธนะ ได้แก่ ความรู้ ความรู้ทั่ว ความเลือกเฟ้น

ความเลือกเฟ้นทั่ว ความเลือกเฟ้นธรรม ความกำหนดความดี ความเข้า

ไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิตความเป็นผู้ฉลาด

ความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน ปัญญาเครื่องจำแนก ปัญญาเครื่องคิด ปัญญา

เครื่องเข้าไปเห็น ปัญญาอันกว้างขวางดุจแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลาย

กิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้สึกตัว ปัญญา

เครื่องเจาะแทง ปัญญาเครื่องเห็นชัด ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง

ปัญญาเพียงดังศัสตรา ปัญญาเพียงดังปราสาท ปัญญาอันสว่าง ปัญญาอัน

แจ่มแจ้ง ปัญญาอันรุ่งเรือง ปัญญาเพียงดังแก้ว ความไม่หลง ความ

เลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. เพราะเหตุไร ปัญญาจึงเรียกโธนา ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 435

เพราะปัญญานั้น เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอก ซึ่งกายทุจริต วจี-

ทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ

ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความ

โอ้อวด ความกระด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา

ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง

ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือนร้อนทั้งปวง อกุศลธรรมทั้งปวง. เพราะ

เหตุนั้น ปัญญา จึงเรียกว่า โธนา.

อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐิเป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอก ซึ่ง

มิจฉาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ....ซึ่งมิจฉาสังกัปปะ, สัมมาวาจา....ซึ่งมิจฉา-

วาจา, สัมมากัมมันตะ.....ซึ่งมิจฉากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ.....ซึ่งมิจฉา-

อาชีวะ, สัมมาวายามะ....ซึ่งมิจฉาวายามะ. สัมมาสติ....ซึ่งมิจฉาสติ, สัมมา

สมาธิ...ซึ่งมิจฉาสมาธิ, สัมมาญาณะ....ซึ่งมิจฉาญาณะ, สัมมาวิมุตติเป็น

เครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ชักฟอก ซึ่งมิจฉาวิมุตติ. อีกอย่างหนึ่ง อริย

มรรคมีองค์ ๘ กำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกกิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง

ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง

อกุศลกรรมทั้งปวง พระอรหันต์เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม

เข้าชิด เข้าชิดพร้อม ประกอบแล้ว ด้วยธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่อง

กำจัดเหล่านี้. เพราะฉะนั้น พระอรหันต์จึงชื่อว่า ผู้มีปัญญา. พระอรหันต์

นั้น กำจัดราคะ บาป กิเลส ความเร่าร้อนเสียแล้ว ฉะนั้น จึงชื่อว่า

ผู้มีปัญญา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 436

คำว่า ในที่ไหน ๆ คือ ใน ในที่ไหน ๆ ในที่ใดที่หนึ่งทุก ๆ

แห่ง ในภายใน ในภายนอก หรือทั้งภายในทั้งภายนอก.

คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก ฯลฯ ในอายตนโลก.

คำว่า กำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ความกำหนด

ด้วยตัณหา ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความกำหนดด้วย

ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความกำหนดด้วยทิฏฐิ.

คำว่า ในภพน้อยและภพใหญ่ ได้แก่ ในภพน้อยและภพใหญ่

คือ ในกรรมวัฏ และวิปากวัฏ. ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ใน

วิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ. ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ

ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ. ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ

ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ. ในความเกิดบ่อย ๆ ในความไป

บ่อย ๆ ในความเข้าถึงบ่อย ๆ. ในปฏิสนธิบ่อย ๆ ในความบังเกิดขึ้นแห่ง

อัตภาพบ่อย ๆ.

คำว่า ทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อม

ไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญา ในที่ไหน ๆ ในโลก คือ ทิฏฐิที่กำหนด

กำหนดทั่ว ปรุงแต่ง ตั้งมั่นในภพน้อยและภพใหญ่ทั้งหลาย ย่อมไม่มี

มิได้มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ แก่บุคคลผู้มีปัญญา ในที่ไหน ๆ ในโลก

คือย่อมเป็นทิฏฐิ อันบุคคลผู้มีปัญญานั้นละเสียแล้ว ตัดขาด สงบ ระงับ

ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มีแก่บุคคล

ผู้มีปัญญา ในที่ไหน ๆ ในโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 437

ว่าด้วยมารยาและมานะ

[๑๐๒] คำว่า บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว

มีความว่า ความประพฤติลวง เรียกว่า มารยา. บุคคลบางคนในโลก

นี้ประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ

แล้ว ย่อมตั้งความปรารถนาอันลามก เพราะเหตุจะปกปิดทุจริตนั้น คือ

ย่อมปรารถนาว่า ใคร ๆ อย่ารู้เรา ดำริว่า ใคร ๆ อย่ารู้เรา กล่าววาจา

ว่า ใคร ๆ อย่ารู้เรา ย่อมพยายามด้วยกายว่า ใคร ๆ อย่ารู้เรา ความ

ลวง ความเป็นผู้มีความลวง ความไม่นึกถึง ความอำพราง ความปลอม

ความปิดบัง ความหลีกเลี่ยง ความซ่อน ความซ่อนเร้น ความปิดความ

ปกปิด ความไม่ทำให้ตื่น ความไม่เปิดเผย ความปิดด้วยดี ความการทำ

ชั่ว เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความลวง.

คำว่า มานะ ได้แก่ ความถือตัวอย่าง คือ ความที่จิตใฝ่สูง.

ความถือตัว ๒ อย่าง คือ ความยกตน, ความข่มผู้อื่น.

ความถือตัว ๓ อย่าง คือ ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา, เราเสมอ

เขา, เราเลวกว่าเขา.

ความถือตัว ๔ อย่าง คือ บุคคลยังความถือตัวให้เกิดเพราะลาภ.

ยังความถือตัวให้เกิดเพราะยศ, ยังความถือตัวให้เกิดเพราะความสรรเสริญ

ยังความถือตัวให้เกิดเพราะความสุข.

ความถือตัว ๕ อย่าง คือ บุคคลยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้

รูปที่ชอบใจ ยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้เสียงที่ชอบใจ, ยังความถือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 438

ตัวให้เกิดว่า เราได้กลิ่นที่ชอบใจ ยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้รสที่

ชอบใจ, ยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ.

ความถือตัว ๖ อย่าง คือ บุคคลยังความถือตัวให้เกิดด้วยความถึง

พร้อมแห่งตา,......ความถึงพร้อมแห่งหู ความถึงพร้อมแห่งจมูก,.........

ความถึงพร้อมแห่งลิ้น,.....ความถึงพร้อมแห่งกาย, บุคคลยังความถือตัวให้

เถิดด้วยความถึงพร้อมแห่งใจ

ความถือตัว ๗ อย่าง คือ ความถือตัว, ความถือตัวจัด, ความ

ถือตัวและความถือตัวจด, ความถือตัวเลว, ความถือตัวยิ่ง, ความถือตัว

ว่าเรามั่งมี, ความถือตัวผิด.

ความถือตัว ๘ อย่าง คือ บุคคลยังความถือตัวให้เกิดเพราะลาภ.

ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะความเสื่อมลาภ, ยังความถือตัวให้เกิดเพราะ

ยศ, ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะความเสื่อมยศ, ยังความถือตัวให้เกิด

เพราะสรรเสริญ, ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะนินทา. ยังความถือตัวให้

เกิดเพราะสุข, ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะทุกข์.

ความถือตัว ๙ อย่าง คือ ความถือตัวว่าเราเป็นผู้ดีกว่าคนอื่น

ความถือตัวว่าเราเป็นผู้เสมอกับคนดี, ความถือตัวว่าเราเป็นผู้เลวกว่าคนดี,

ความถือตัวว่าเราเป็นผู้ดีกว่าคนชั้นเดียวกัน, ความถือตัวว่าเราเป็นผู้เสมอ

กับคนชั้นเดียวกัน, ความถือตัวว่าเราเป็นผู้เลวกว่าคนชั้นเดียวกัน. ความ

ถือตัวว่าเราเป็นผู้ดีกว่าคนเลว, ความถือตัวว่าเราเป็นผู้เสมอกับคนเลว,

ความถือตัวว่าเราเป็นผู้เลวกว่าคนเลว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 439

ความถือตัว ๑๐ อย่าง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังความถือตัว

ให้เกิดเพราะชาติ ๑ เพราะโคตร ๑ เพราะความเป็นบุตรแห่งสกุล ๑

เพราะความเป็นผู้มีรูป ๑ เพราะทรัพย์ ๑ เพราะการเรียน ๑ เพราะ

หน้าที่การงาน ๑ เพราะขอบเขตศิลปะ ๑ เพราะวิทยฐานะ ๑ เพราะสุตะ ๑

เพราะปฏิภาณ ๑ เพราะวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ ความถือตัว กิริยา

ที่ถือตัว ความที่จิตถือตัว ความใฝ่สูง ความฟูขึ้น ความทนงตัว ความ

ยกตัว ความที่จิตใคร่สูงดุจธง นี้เรียกว่า ความถือตัว.

คำว่า บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว คือบุคคล

ผู้มีปัญญา ละ เว้น บรรเทา ทำให้หมด ทำให้ไม่มี ซึ่งมารยาและมานะ

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลผู้มีปัญญาและมารยาและมานะได้แล้ว.

ว่าด้วยกิเลสเครื่องเข้าถึง ๒ อย่าง

[๑๐๓] คำว่า บุคคลผู้มีปัญญานั้นเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่อง

เข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า มีความว่า กิเลสเครื่องเข้าถึง

ได้แก่ กิเลสเครื่องเข้าถึง ๒ อย่างคือ กิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา ๑ กิเลส

เครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า กิเลสเครื่องเข้าถึง คือตัณหา ฯลฯ

นี้ชื่อว่า กิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ.

บุคคลผู้มีปัญญานั้นละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา สละคืนกิเลส

เครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา เพราะ

เป็นผู้สละคืนกิเลส เครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ จึงชื่อว่า ไม่มีกิเลสเครื่อง

เข้าถึง.

๑. นับแล้วได้ ๑๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 440

บุคคลผู้มีปัญญานั้นจะพึงไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ

อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัยอะไรเล่า ว่าเป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ผูกพัน

ถือมั่นถึงความฟุ้งซ่าน ถึงความไม่ตกลง ถึงโดยเรี่ยวแรง กิเลสเครื่อง

ปรุงแต่งเหล่านั้น อันผู้มีปัญญานั้นละแล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุง

แต่งแล้ว จะพึงไปสู่คติทั้งหลายด้วยกิเลสอะไรเล่าว่า เป็นสัตว์เกิดในนรก

เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็น

สัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือ

เป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ บุคคลผู้มีปัญญานั้น ไม่มีเหตุ

ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ อันเป็นเครื่องไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้

ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ทิฏฐิที่กำหนด เพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่

ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญา ในที่ไหน ๆ ในโลก เพราะ

บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว เป็นผู้ไม่มี

กิเลสเครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า.

[๑๐๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ย่อมเข้าถึงวาทะ

ติเตียนในธรรมทั้งหลายใด ๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้

ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ด้วยกิเลสอะไรอย่างไรเล่า เพราะ

ทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้

ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเข้าถึงนั้น

สลัดเสียแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในโลกนี้นี่แหละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 441

[๑๐๕] คำว่า บุคคลผู้มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ย่อมเข้าถึง

วาทะติเตียนในธรรมทั้งหลาย มีความว่า คำว่า กิเลสเครื่องเข้า

ถึง ได้แก่กิเลสเครื่องเข้าถึง ๒ อย่างคือ กิเลสเครื่องเข้าถึงคือ ตัณหา ๑

กิเลสเครื่องเข้าถึงคือ ทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า กิเลสเครื่องเข้าถึงคือ ตัณหา

ฯลฯ นี้ ชื่อว่า กิเลสเครื่องเข้าถึงคือ ทิฏฐิ.

บุคคลนั้นไม่ละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา ไม่สละคืนกิเลสเครื่อง

เข้าถึงคือทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ไม่ละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา เพราะเป็นผู้

ไม่สละคืนกิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ จึงเข้าถึงวาทะติเตียนในธรรมทั้งหลาย

ว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ผูกพัน ถือมั่น ถึง ความฟุ้งซ่าน

ถึงความไม่ตกลง หรือถึงโดยเรี่ยวแรง กิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่านั้น

อันบุคคลนั้นไม่ละแล้ว เพราะเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องปรุงแต่งจึงเข้าถึง

วาทะติเตียนโดยคติ คือเข้าถึง เข้าไปถึง รับถือมั่น วาทะติเตียนว่า

เป็นสัตว์เกิดในนรก เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์

เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็น

สัตว์ไม่มีสัญญา หรือเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า บุคคลผู้มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียน

ในธรรมทั้งหลาย.

[๑๐๖] คำว่า ใคร ๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลส

เครื่องเข้าถึง ด้วยกิเลสอะไรอย่างไรเล่า มีความว่า คำว่า กิเลส

เครื่องเข้าถึงได้แก่กิเลสเครื่องเข้าถึง ๒ อย่าง คือกิเลสเครื่องเข้าถึงคือ

ตัณหา ๑ กิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่ากิเลสเครื่องเข้าถึง

คือตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่ากิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 442

บุคคลนั้นละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา สละคืนกิเลสเครื่องเข้าถึง

คือทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา เพราะเป็นผู้สละคืน

กิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ.

ใคร ๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ด้วยราคะ

โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัยอะไรเล่าว่าเป็น

ผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ผูกพัน ถือมั่นถึงความฟุ้งซ่าน ถึงความไม่ตก

ลงหรือถึงโดยเรี่ยวแรง กิเลสเครื่องปรุงแต่งอันบุคคลเหล่านั้นละแล้ว

เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงแต่งแล้ว. ใคร ๆ จะพึงกล่าว คติของ

บุคคลเหล่านั้น ด้วยกิเลสอะไรเล่าว่าเป็นผู้เกิดในนรก ฯลฯ หรือเป็นผู้ที่มี

สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น ไม่มี

เหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ เครื่องกล่าว บอก พูด แสดง แถลงได้

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใคร ๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่อง

เข้าถึง ด้วยกิเลสอะไรอย่างไรเล่า.

ว่าด้วยทิฏฐิ

[๑๐๗] คำว่า เพราะทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน

ย่อมไม่มีแต่บุคคลผู้ไม่มีกิเลสผู้เข้าถึงนั้น มีความว่า ทิฏฐิถือว่ามี

ตน ได้แก่สัสสตทิฏฐิย่อมไม่มี ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ได้แก่ อุจเฉททิฏฐิ

ย่อมไม่มีทิฏฐิถือว่ามีตน คือสิ่งที่ถือย่อมไม่มี ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน คือสิ่งที่

พึงปล่อยย่อมไม่มีผู้ใดมีสิ่งที่ถือ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมมีสิ่งที่พึงปล่อย ผู้ใดมีสิ่ง

ที่พึงปล่อยผู้นั้น ชื่อว่ามีสิ่งที่ถือ พระอรหันต์ก้าวล่วงความถือและความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 443

ปล่อยล่วงเลยความเจริญและความเสื่อมเสียแล้ว พระอรหันต์นั้นอยู่จบ

พรหมจรรย์เป็นเครื่องอยู่ ประพฤติธรรมเป็นเครื่องประพฤติแล้ว ฯลฯ

ไม่มีภพใหม่เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ทิฏฐิถือว่ามีตัวตน ทิฏฐิถือว่าไม่มี

ตนย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง.

[๑๐๘] คำว่า เพราะบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น

สลัดเสียแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในโลกนี้นี่แหละ มีความว่า ทิฏฐิ ๖๒

อันบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น ละตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่ให้

ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ. บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง

นั้นสลัดแล้ว คือ กำจัด กำจัดด้วยดี กำจัดออก ละ บรรเทา ทำให้

ในรูปให้ถึงความไม่มี ซึ่งทิฏฐิทั้งปวง ในโลกนี้นี่แหละ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น สลัดเสียแล้วซึ่งทิฏฐิ

ทั้งปวง ในโลกนี้นี่แหละ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า :-

บุคคลผู้มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียน

ในธรรมทั้งหลาย ใคร ๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มี

กิเลสเครื่องเข้าถึง ด้วยกิเลสอะไร อย่างไรเล่า เพราะ

ทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้

ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น สลัดเสียแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวง

ในโลกนี้นี่แหละดังนี้.

จบ ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 444

อรรถกถาทุฏฐัฎฐกสุตตนิทเทส

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาแรก ในทุฏฐัฎฐกสูตรก่อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วทนฺติ ความว่า ย่อมติเตียนพระผู้มี

พระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์.

บทว่า ทุฏฺมนาปิ เอเก อญฺเปิ เว สจฺจมนา ความว่า

บทว่า บางพวก ได้แก่ เดียรถีย์บางพวกมีใจอันโทษประทุษร้าย บาง

พวกแม้มีความสำคัญเช่นนั้นก็มีใจอันโทษประทุษร้าย อธิบายว่า ชนเหล่า

ใดฟังเดียรถีย์เหล่านั้นแล้วเชื่อ ชนเหล่านั้นเข้าใจว่าจริง.

บทว่า วาทญฺจ ชาต ความว่า คำด่าอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น.

บทว่า มุนิ โน อุเปติ ความว่า มุนีคือพระพุทธเจ้า ย่อมไม่เข้า

ถึงเพราะมิใช่ผู้กระทำ และเพราะความไม่กำเริบ.

บทว่า ตสฺมา มุนี นตฺถิ ขิโล กุหิญฺจิ ความว่า เพราะ

เหตุนั้น มุนีนี้ พึงทราบว่า ไม่มีกิเลสเครื่องตรึงจิต ด้วยกิเลสเครื่องตรึง

จิตมีราคะเป็นต้นในที่ไหน ๆ.

บทว่า ทุฏฺมนา ความว่า มีใจอันโทษทั้งหลายที่เกิดขึ้นประทุษ

ร้ายแล้ว.

บทว่า วิรุทฺธมนา ความว่า มีใจอันกิเลสเหล่านั้นกั้นไว้ไม่ให้

ช่องแก่กุศล.

บทว่า ปฏิวิรุทฺธมนา ท่านขยายด้วยสามารถอุปสรรค.

บทว่า อาหตมนา ความว่า ชื่อว่า มีใจอันโทสะมากระทบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

เพราะอรรถว่า เดียรถีย์เหล่านั้นมีใจอันปฏิฆะมากระทบแล้ว.

บทว่า ปจฺจาหตมนา ท่านขยายด้วยสามารถแห่งอุปสรรคเหมือน

กัน.

บทว่า อาฆาติตมนา ความว่า ชื่อว่า มีใจอาฆาต เพราะอรรถ

ว่า เดียรถีย์เหล่านั้นมีใจอาฆาตด้วยสามารถวิหิงสา.

บทว่า ปจฺจาฆาติตมมา ท่านขยายด้วยสามารถอุปสรรคเหมือนกัน

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มีใจชั่วด้วยสามารถความโกรธ ชื่อว่ามีใจอันโทษ

ประทุษร้าย ด้วยสามารถความผูกโกรธไว้ ชื่อว่า มีใจผิด ด้วยสามารถ

ลบหลู่คุณท่าน ชื่อว่า มีใจผิดเฉพาะ ด้วยสามารถตีเสมอ ชื่อว่ามีใจอัน

โทสะมากระทบเฉพาะ ด้วยสามารถโทสะ ชื่อว่า มีใจอาฆาต อาฆาต

เฉพาะ ด้วยสามารถพยาบาท ชื่อว่า มีใจชั่ว มีใจอันโทษประทุษร้าย

แล้ว เพราะไม่ได้ปัจจัยทั้งหลาย ชื่อว่า มีใจผิด มีใจผิดเฉพาะ เพราะ

เสื่อมยศ ชื่อว่า มีใจอันโทสะมากระทบ มากระทบเฉพาะ เพราะติเตียน

ชื่อว่า มีใจอาฆาต อาฆาตเฉพาะ เพราะเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย

ทุกขเวทนา อาจารย์บางพวกพรรณนา โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ ด้วยประการ

ฉะนี้.

บทว่า อุปวทนฺติ ความว่า ยังครหาให้เกิดขึ้น.

บทว่า อภูเตน ความว่า ไม่มีอยู่.

บทว่า สทฺทหนฺตา ความว่า ยังศรัทธาให้เกิดขึ้นด้วยสามารถ

ความเลื่อมใส.

บทว่า โอกปฺเปนฺตา ความว่า หยั่งลงกำหนดด้วยสามารถแห่งคุณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 446

บทว่า อธิมุจฺจนฺตา ความว่า อดกลั้นถ้อยคำของเดียรถีย์เหล่านั้น

ลงความเห็นด้วยสามารถความเลื่อมใส.

บทว่า สจฺจมนา ความว่าเข้าใจว่าจริง.

บทว่า สจฺจสญฺิโน ความว่ามีความสำคัญว่าจริง.

บทว่า ตถมนา ความว่า เข้าใจว่าไม่วิปริต.

บทว่า ภูตมนา ความว่า เข้าใจว่ามีความเป็นจริง.

บทว่า ยาถาวมนา ความว่า เข้าใจว่าไม่หวั่นไหว.

บทว่า อวิปรีตมนา ความว่า เข้าใจว่าตั้งใจแน่วแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺจมนา สจฺจสญฺิโน พึงทราบ

ว่า ท่านกล่าวคุณของผู้ที่พูดจริง.

บทว่า ตถมนา ตถสญฺิโน ท่านกล่าวคุณที่เชื่อมต่อความจริง.

บทว่า ภูตมนา ภูตสญฺิโน ท่านกล่าวคุณที่เป็นความตั้งมั่น.

บทว่า ยาถาวนนา ยาถาวสญฺิโน ท่านกล่าวคุณที่ควรเชื่อ

ถือได้.

บทว่า อวิปรีตมนา อวิปรีตสญฺิโน ท่านกล่าวคุณคือพูดไม่ผิด.

บทว่า ปรโต โฆโส ความว่า มีศรัทธาเกิดขึ้นแต่สำนักผู้อื่น.

บทว่า อกฺโกโส ความว่า คำด่า ๑๐ อย่างมีชาติเป็นต้น อย่างใด

อย่างหนึ่ง.

บทว่า โย วาท อุเปติ ความว่า บุคคลใดเข้าถึงคำติเตียน.

บทว่า การโก วา ความว่า ผู้มีโทสะอันการทำแล้วก็ดี.

บทว่า การกตาย ความว่า ด้วยความที่มีโทสะอันกระทำแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 447

บทว่า วุจฺจมาโน ความว่า ถูกเขากล่าวอยู่.

บทว่า อุปวทิยนาโน ความว่า ถูกเขาติเตียนอยู่ คือว่า ถูก

ตำหนิโทษ.

บทว่า กุปฺปติ ความว่า ย่อมโกรธ.

บทว่า ขีลชาตตาปิ นตฺถิ ความว่า ชื่อว่า ผู้มีกิเลสเครื่องตรึง

จิตเกิดแล้ว เพราะอรรถว่า มีกิเลสเครื่องตรึงจิตคือปฏิฆะ กล่าวคือความ

เป็นหยากเยื่อแห่งจิตโดยความผูกพัน เกิดแล้ว ภาวะแห่งผู้มีกิเลสเครื่อง

ตรึงจิตเกิดแล้วนั้น ชื่อว่า ความเป็นผู้มีกิเลสเครื่องตรึงจิตเกิดแล้ว ความ

เป็นผู้มีกิเลสเครื่องตรึงจิตเกิดแล้วแม้นั้น ย่อมไม่มีคือมีอยู่หามิได้.

บทว่า ปญฺจปิ เจโตขีลา ความว่า ผู้มีความกำหนัดในกาย

มีความกำหนัดในรูป บริโภคอาหารเต็มท้องพอแก่ความต้องการ ประกอบ

ความสุขในการนอน ความสุขในการดูแล ประพฤติพรหมจรรย์ ปรารถนา

เทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า เราจักเป็นเทวดา หรือเทพอื่น ๆ ด้วยศีล พรต

ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ กิเลสเครื่องตรึงใจ กล่าวคือความเป็นหยากเยื่อ

โดยความผูกพันจิต แม้ ๕ อย่าง เห็นปานนี้ ย่อมไม่มี.

ครั้นตรัสพระคาถานี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามพระอานนท-

เถระว่า อานนท์ ภิกษุทั้งหลายถูกกล่าวบริภาษสบประมาทอยู่อย่างนี้

กล่าวอะไรกันบ้าง พระอานนทเถระกราบทูลว่า มิได้กล่าวอะไร ๆ เลย

พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงเป็น

ผู้นิ่งในที่ทั้งปวงด้วยคิดว่า เราเป็นผู้มีศีล ด้วยว่าคนทั้งหลายในโลกย่อม

ไม่รู้ว่าบัณฑิตปนกับเหล่าพาลเมื่อไม่กล่าว ดังนี้แล้วได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 448

คนพูดไม่จริงย่อมเข้าถึงนรก เพื่อจะแสดงธรรมว่า อานนท์ ภิกษุทั้งหลาย

จงท้วงตอบอย่างนี้ กะมนุษย์เหล่านั้น พระเถระเรียนพระพุทธพจน์นั้น

แล้วกล่าวกะภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงท้วงตอบพวกมนุษย์ด้วยคาถานี้

ภิกษุทั้งหลายได้กระทำอย่างนั้น มนุษย์ที่เป็นบัณฑิตได้พากันนิ่งอยู่ ฝ่าย

พระราชาทรงส่งพวกราชบุรุษไปในที่ทั้งปวง จับพวกนักเลงที่พวกเดียรถีย์

จ้างให้ฆ่านางสุนทรี ทรงข่มขู่ จึงทรงทราบความเป็นไปนั้นได้ตรัสบริภาษ

เดียรถีย์ทั้งหลาย ผ่านมนุษย์ทั้งหลายเห็นเดียรถีย์แล้ว ก็เอาก้อนดินขว้าง

เอาฝุ่นสาด พร้อมกันกล่าวว่า พวกนี้ทำความเสื่อมยศให้เกิดขึ้นแด่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า พระอานนทเถระเห็นดังนั้นจึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาค.

เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาแก่พระเถระว่า สกญฺหิ ทิฏฺึ

ฯลฯ วเทยฺย ดังนี้.

คาถานี้มีเนื้อความว่า ชนผู้เป็นเดียรถีย์มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า พวกเราฆ่า

นางสุนทรีแล้วประกาศโทษของพวกสมณศากยบุตรทั้งหลาย จักยินดี

สักการะที่ได้มาด้วยอุบายนี้ ชนผู้เป็นเดียรถีย์นั้น พึงก้าวล่วงทิฏฐินั้นได้

อย่างไร โดยที่แท้ความเสื่อมยศนั้นก็ย่อมมาถึงชนผู้เป็นเดียรถีย์นั้นเอง

ผู้ไม่อาจล่วงทิฏฐินั้นได้ หรือผู้เป็นสัสสตวาทีแม้นั้น ไปตามความพอใจ

ในทิฏฐินั้น และตั้งมั่นในความชอบใจในทิฏฐินั้น พึงล่วงทิฏฐิของตนได้

อย่างไร อีกอย่างหนึ่งเมื่อกระทำให้เต็มด้วยตนเอง คือเมื่อกระทำทิฏฐิ

เหล่านั้น ให้บริบูรณ์ด้วยตนนั่นแล พึงกล่าวที่ตนรู้ทีเดียว.

บทว่า อวณฺณ ปกาสยิตฺวา ความว่ากระทำโทษมิใช่คุณให้

ปรากฏ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 449

บทว่า สกฺการ ได้แก่ การกระทำความเคารพด้วยปัจจัย ๔.

บทว่า สมฺนาน ได้แก่ การนับถือมากด้วยใจ.

บทว่า ปจฺจาหริสฺสาม ความว่า จักยังลาภเป็นต้นให้บังเกิด.

บทว่า เอวทิฏฺิกา ได้แก่ มีลัทธิอย่างนี้ เพราะชนผู้เป็นเดียรถีย์

เหล่านั้นมีลัทธินี้ อย่างนี้ว่า พวกเราจักยังลาภเป็นต้นนั้นให้บังเกิด อนึ่ง

ชนผู้เป็นเดียรถีย์เหล่านั้นพอใจและชอบใจว่า เรามีธรรม มีประการ

ดังกล่าวแล้ว อีกอย่างหนึ่ง ชนผู้เป็นเดียรถีย์เหล่านั้น มีจิตมีภาพอย่างนี้

ทีเดียวว่า ความคิดของเรามีอยู่ ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงว่า

ชนผู้เป็นเดียรถีย์เหล่านั้นมีความพอใจพร้อมกับทิฏฐิก็ดี มีความชอบใจ

พร้อมกับทิฏฐิและความพอใจก็ดี มีลัทธิพร้อมกับทิฏฐิความพอใจและ

ความชอบใจก็ดี มีอัธยาศัยพร้อมกับทิฏฐิความพอใจความชอบใจและลัทธิ

ก็ดี มีความประสงค์พร้อมกับทิฏฐิความพอใจ ความชอบใจ ลัทธิ และ

อัธยาศัยก็ดี ดังนี้ จึงกล่าวว่า เอวทิฏฺิกา ฯลฯ เอวอธิปฺปายา ดังนี้

บทว่า สก ทิฏฺิ ได้แก่ ทัศนะของตน.

บทว่า สก ขนฺตึ ได้แก่ ความอดกลั้นของตน.

บทว่า สก รุจึ ได้แก่ ความชอบใจของตน.

บทว่า สก ลทฺธึ ได้แก่ ลัทธิของตน.

บทว่า สก อชฺฌาสย ได้แก่ อัธยาศัยของตน.

บทว่า สก อธิปฺปาย ได้แก่ ภาวะของตน.

บทว่า อติกฺกมิตุ ได้แก่ เพื่อก้าวล่วงพร้อม.

บทว่า อถโข เสฺวว อยโส ความว่า ความเสื่อมยศนั้นนั่นแหละ

ย้อนมาถึงโดยส่วนเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 450

บทว่า เต ปจฺจาคโต ความว่า ย้อนมาเป็นของเดียรถีย์เหล่านั้น.

บทว่า เต เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ.

บทว่า อถวา เป็นบทแสดงระหว่างเนื้อความ.

บทว่า สสฺสโต ได้แก่ เที่ยง คือยั่งยืน.

บทว่า โลโก ได้แก่ อัตภาพ.

บทว่า อิทเมว สจฺจ โมฆมญฺ ความว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริงแท้

สิ่งอื่นเปล่า.

บทว่า สมตฺตา ได้แก่ สมบูรณ์.

บทว่า สมาทินฺนา ได้แก่ ถือเอาโดยชอบ.

บทว่า คหิตา ได้แก่ เข้าไปถือเอา.

บทว่า ปรามฏฺา ได้แก่ ถูกต้องถือเอาโดยอาการทั้งปวง.

บทว่า อภินิวิฏฺา ได้แก่ ได้ที่พึ่งเป็นพิเศษ.

บทว่า อสสฺสโต พึงทราบโดยปริยายตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

บทว่า อนฺตวา ได้แก่ มีที่สุด.

บทว่า อนนฺตวา ได้แก่ ไม่มีที่สุดคือความเจริญ.

บทว่า ต ชึว ได้แก่ ชีพก็อันนั้น ท่านทำเป็นลิงควิปลาส.

บทว่า ชีโว ก็ได้แก่ อัตตานั่นเอง.

บทว่า ตถาคโต ได้แก่ สัตว์, อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

พระอรหันต์.

บทว่า ปรมฺมรณา ได้แก่ ต่อจากตายไป ความว่าปรโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 451

บทว่า น โหติ ตถาคโต ปรมฺมรณา ความว่า ต่อจาก

ตายไป ย่อมไม่เป็นอีก.

บทว่า โหติ จ น จ โหติ ตถาคโต ปรมฺมรณา ความว่า

ต่อจากตายไป ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี.

บทว่า เนว โหติ น น โหติ ตถาคโต ปรมฺมรณา ความว่า

ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ด้วยสามารถขาดสูญ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ด้วย

สามารถเที่ยง.

บทว่า สกาย ทิฏฺิยา เป็นต้น เป็นตติยาวิภัตติ.

บทว่า อลฺลีโน ได้แก่ เป็นอันเดียวกัน.

บทว่า สย สมตฺต กโรติ ความว่า เปลื้องความบกพร่องกระทำ

ตนให้เต็มโดยชอบด้วยนี้.

บทว่า ปริปุณฺณ ความว่า เปลื้องโทษที่เกินเลย กระทำให้

สมบูรณ์.

บทว่า อโนม ความว่า เปลื้องโทษที่เลว กระทำให้ไม่ลามก.

บทว่า อคฺค ได้แก่ เป็นต้น.

บทว่า เสฏฺ ได้แก่ เป็นประธาน คือปราศจากโทษ.

บทว่า วิเสฏฺ ได้แก่ เจริญที่สุด.

บทว่า ปาโมกฺข ได้แก่ ยิ่ง.

บทว่า อุตฺตม ได้แก่ วิเศษ คือไม่มีในเบื้องต่ำ.

บทว่า ปวร กโรติ ความว่ากระทำให้สูงสุดเป็นพิเศษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 452

อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์พวกหนึ่ง พรรณนาอย่างนี้ว่า กระทำให้เลิศ

ด้วยเปลื้องโทษที่นอนเนื่องให้ประเสริฐ ด้วยเปลื้องโทษที่เป็นสังกิเลส

ให้วิเศษ ด้วยเปลื้องโทษที่เป็นอุปกิเลสให้เป็นวิสิษฎิ์ ด้วยเปลื้องโทษที่

เต็มให้เป็นประธาน ด้วยเปลื้องโทษปานกลางให้อุดม ด้วยเปลื้องโทษ

อุดมและปานกลางให้บวร.

บทว่า อย สตฺถา สพฺพญฺญู ความว่า พระศาสดาของพวกเรา

นี้ เป็นพระสัพพัญญู ด้วยสามารถทรงรู้ทุกอย่าง.

บทว่า อย ธมฺโม สฺวากฺขาโต ความว่า พระธรรมของพวกเรา

นี้พระศาสดาตรัสแล้วด้วยดี.

บทว่า อย คโณ สุปฏิปนฺโน ความว่า พระสงฆ์ของพวกเรานี้

ปฏิบัติแล้วด้วยดี.

บทว่า อย ทิฏฺิ ภทฺทิกา ความว่า ลัทธิของพวกเรานี้ดี.

บทว่า อย ปฏิปทา สุปญฺตฺตา ความว่า ปฏิปทาอันเป็น

ส่วนเบื้องต้นของพวกเรานี้ อันพระศาสดาทรงบัญญัติแล้วด้วยดี.

บทว่า อย มคฺโค นิยฺยานิโก ความว่า มรรคเครื่องนำออก

เป็นพัก ๆ ของพวกเรานี้ เป็นเครื่องนำออก บุคคลย่อมการทำให้เต็มที่

ด้วยตนเอง ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า กเถยฺย ได้แก่ พึงพูดว่า โลกเที่ยง พึงแสดงว่า สิ่งนี้

แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า พึงแถลงว่า โลกมีที่สุด คือให้ถือเอาโดยวิธีมี

อย่างต่าง ๆ ว่า ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 453

ลำดับนั้น พอล่วง ๗ วัน พระราชาก็รับสั่งให้ทิ้งซากศพนั้น เวลา

เย็นเสด็จไปวิหาร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระ-

องค์ผู้เจริญ เมื่อความเสื่อมยศเกิดขึ้นเช่นนี้ ควรจะแจ้งแม้แก่ข้าพระองค์

มิใช่หรือ เมื่อพระราชากราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

มหาบพิตร การแจ้งแก่คนอื่นว่า เราเป็นผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยคุณความดี

ดังนี้ ไม่สมควรแก่พระอริยะทั้งหลาย ดังนี้แล้วได้ทรงภาษิตคาถาที่เหลือ

ว่า โย อตฺตโน สีลวตานิ ดังนี้ เพื่อเป็นเหตุให้เกิดเรื่องนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลวตานิ ได้แก่ ศีลทั้งหลายมีพระ-

ปาติโมกข์เป็นต้น และธุดงควัตรทั้งหลายมีอารัญญิกธุดงค์เป็นต้น.

บทว่า อนานุปุฏฺโ ได้แก่ อันใคร ๆ ไม่ถาม.

บทว่า ปาวา ได้แก่ ย่อมกล่าว.

บทว่า อนริยธมฺม กุสลา ตมาหุ โย อาตุมาน สยเมว-

ปาวา ความว่า ชนใดย่อมบอกตนว่าเที่ยงนั่นแลอย่างนี้ ผู้ฉลาดทั้งหลาย

ย่อมกล่าววาทะของชนนั้นอย่างนี้ว่า นั้นไม่ใช่ธรรมของอริยชน.

บทว่า อตฺถิ สีลญฺเจว วตฺตญฺจ ความว่า เป็นศีลด้วยนั่นเทียว

เพราะอรรถว่า สังวร เป็นวัตรด้วย เพราะอรรถว่า สมาทาน.

บทว่า อตฺถิ วตฺต น สีล. ความว่า ข้อนั้นเป็นวัตรแต่ไม่เป็น

ศีล ด้วยอรรถดังกล่าวแล้ว.

บทว่า กตม เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา.

บทว่า อิธ ภิกฺขุ สีลวา เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 454

บทว่า สวรฏฺเน ความว่า ด้วยอรรถว่า การทำความสำรวม

ถือด้วยอรรถว่า ปิดทวารที่ก้าวล่วง.

บทว่า สมาทานฏฺเน ความว่า ด้วยอรรถว่า ถือเอาโดยชอบ

ซึ่งสิกขาบทนั้น ๆ.

บทว่า อารญฺิกงฺค ความว่า ชื่อว่า อารัญญิกะ เพราะอรรถว่า

มีที่อยู่อาศัยในป่า องค์แห่งผู้มีที่อยู่อาศัยในป่า ชื่ออารัญญิกังคะ.

บทว่า ปิณฺฑปาติกงฺค ความว่า ก็การตกลงแห่งก้อนอามิสกล่าว

คือภิกษา ชื่อว่า บิณฑบาต ท่านอธิบายว่า การตกลงในบาตรแห่งก้อน

ภิกษาที่คนเหล่าอื่นถวาย. ชื่อว่า บิณฑปาติกะ เพราะอรรถว่า. บิณฑบาตร

นั้น คือ เข้าหาสกุลนั้น ๆ แสวงหา. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า บิณฑปาตี

เพราะอรรถว่า มีการเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าวเป็นวัตร.

บทว่า ปติตุ แปลว่า การเที่ยวไป บิณฑปาตีนั่นแหละเป็น.

บิณฑปาติกะ, องค์แห่งบิณฑปาติกะผู้เที่ยวไปเพื่อก้อนข้าวเป็นวัตร ชื่อ

บิณฑปาติกังคะ เหตุ ท่านเรียกว่า องค์. เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเป็น

ผู้เที่ยวไปเพื่อก้อนข้าวเป็นวัตร ด้วยการสมาทานใด การสมาทานนั้น พึง

ทราบว่าเป็นชื่อขององค์นั้นโดยนัยนี้แหละ.

ผ้าชื่อว่า บังสุกุล เพราะอรรถว่า เป็นเหมือนเกลือกกลั้วด้วยฝุ่น

ในที่นั้น ๆ ด้วยอรรถว่า ฟุ้งไป เพราะตั้งอยู่บนฝุ่นทั้งหลายในที่แห่งใด

แห่งหนึ่ง มีถนน ป่าช้า และกองหยากเยื่อเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

บังสุกุล เพราะอรรถว่า ถึงภาวะน่าเกลียดเหมือนฝุ่น ท่านอธิบายว่า ถึง

ความเป็นของน่ารังเกียจ การทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลที่มีคำไขอันได้แล้วอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 455

ชื่อว่า บังสุกุล การทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลเป็นปกติของภิกษุนั้น เหตุนั้น

ภิกษุนั้นถึงชื่อว่า บังสุกูลิก ผู้ทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุล องค์แห่งภิกษุผู้ทรงไว้

ซึ่งผ้าบังสุกุลนั้นชื่อบังสุกูลิกังคะ.

ชื่อว่า เตจีวริก เพราะอรรถว่า มีไตรจีวรกล่าวคือ สังฆาฏิ

อุตตราสงค์ และอันตรวาสก เป็นปกติ องค์แห่งเตจีวริกผู้มีไตรจีวรเป็น

ปกติ ชื่อเตจีวริกังคะ.

บทว่า สปทานจาริกงฺค ความว่า ความขาด ท่านเรียกว่า ทานะ.

ปราศจากความขาด ชื่อว่า อปทานะ อธิบายว่าไม่ขาด กับด้วยการ

ปราศจากความขาด ชื่อว่า สปทานะ. ท่านอธิบายว่า เว้นจากความขาด

คือ ตามลำดับเรือน. ชื่อว่า สปทานจารี เพราะอรรถว่า มีการเที่ยวไป

ตามลำดับเรือนเป็นปกติ. สปทานจารีนั่นแหละเป็นสปทานจาริกะ. องค์

แห่งสปทานจาริกะผู้เที่ยวไปตามลำดับเรือนเป็นปกติ ชื่อสปทานจาริกังคะ.

บทว่า ขลุ ในบทว่า ขลุปจฺฉาภตฺติกงฺค เป็นนิบาตลงใน

อรรถปฏิเสธ มีผู้ปวารณา ภัตที่ได้มาภายหลัง ชื่อว่า ปัจฉาภัต. การ

บริโภคภัตที่ได้มาภายหลัง ชื่อว่า ปัจฉาภัตโภชน์. ชื่อว่า ปัจฉาภัตติกะ

เพราะอรรถว่า มีปัจฉาภัตเป็นปกติ. เพราะทำสัญญาในปัจฉาภัตโภชน์นั้น

ว่าปัจฉาภัต มิใช่ปัจฉาภัตติกะ. ชื่อว่า ขลุปัจฉาภัตติกะ คำนี้เป็นชื่อของการ

บริโภคมากเกินซึ่งห้ามไว้ด้วยสามารถสมาทาน. องค์แห่งขลุปัจฉาภัตติกะ

ผู้ไม่บริโภคภัตที่ได้มาภายหลัง ชื่อ ขลุปัจฉาภัตติกังคะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 456

บทว่า เนสชฺชิกงฺค ความว่า ชื่อว่า เนสัชชิกะ เพราะอรรถว่า

มีการห้ามการนอน อยู่ด้วยการนั่งเป็นปกติ องค์แห่งเนสัชชิกะ ผู้ห้าม

การนอนอยู่ด้วยการนั่ง ชื่อว่า เนสัชชิกกังคะ.

บทว่า ยถาสนฺถติกงฺค ความว่า เสนาสนะที่เขาจัดไว้ใด ๆ นั่น

แล ชื่อว่า เสนาสนะตามที่จัดไว้. คำนี้เป็นชื่อเสนาสนะที่เขาแสดงก่อน

อย่างนี้ว่า เสนาสนะนี้ย่อมถึงแก่ท่าน ชื่อว่า ยถาสันถติกะ เพราะอรรถว่า

มีการอยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้นั้นเป็นปกติ. องค์แห่งยถาสันถติกะผู้อยู่

ในเสนาสนะตามที่จัดไว้เป็นปกติ ชื่อว่า ยถาสันถติกังคะ.

องค์เหล่านี้ทั้งหมดนั้นแล ชื่อว่า ธุดงค์ เพราะอรรถว่า เป็นองค์

แห่งภิกษุผู้กำจัด เพราะกำจัดกิเลสด้วยสมาทานนั้น ๆ. หรืออรรถว่า มี

ญาณที่ได้โวหารว่า ธุตะ เพราะกำจัดกิเลส เป็นองค์. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า ธุดงค์ เพราะอรรถว่า ธุตะเหล่านั้นด้วย. ชื่อว่าเป็นองค์ เพราะ

กำจัดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ด้วยการปฏิบัติด้วย ดังนี้ก็มี. ในข้อนี้พึงทราบ

วินิจฉัยโดยอรรถว่าอย่างนี้ก่อน.

ก็ธุดงค์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแล มีเจตนาเครื่องสมาทานเป็นลักษณะ.

สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ตั้งใจแน่วแน่นั้น ย่อมตั้งใจแน่วแน่ด้วยธรรม

ใด ธรรมเหล่านั้น คือจิตและเจตสิก. เจตนาเครื่องสมาทานนั้น คือธุดงค์.

ข้อที่ห้ามนั้น คือวัตถุ. ก็ธุดงค์ทั้งหมดนั่นแล มีความกำจัดความอยากได้

เป็นรส มีความไม่อยากได้เป็นปัจจุปปัฏฐาน. มีอริยธรรมมีความ

ปรารถนาน้อยเป็นต้น เป็นปทัฏฐาน. ในข้อนี้พึงทราบวินิจฉัยโดย

ลักษณะเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 457

บทว่า วิริยสมาทานมฺปิ ได้แก่ แม้การถือเอาความเพียร.

บทว่า กาม เป็นนิบาตลงในอรรถว่า ส่วนเดียว.

บทว่า ตโจ จ นหารู จ ได้แก่ ผิวหนังและเส้นเอ็นทั้งหลาย.

บทว่า อฏฺิ จ ได้แก่ กระดูกทั้งหมด.

บทว่า อวสุสฺสตุ ได้แก่ จงเหือดแห้งไป.

บทว่า อุปสุสฺสตุ มสโลหิต ความว่า เนื้อและเลือดทั้งหมดจง

เหือดแห้งไป.

บทว่า ตโจ ได้แก่ อวัยวะส่วนหนึ่ง.

บทว่า นหารู ได้แก่ อวัยวะส่วนหนึ่ง.

บทว่า อฏฺิ ได้แก่ อวัยวะส่วนหนึ่ง.

บทว่า อุปสุสฺสตุ มสโลหิต ได้แก่ อวัยวะส่วนหนึ่ง.

บทว่า ยนฺต เป็นบทเชื่อมกับบทที่จะพึงกล่าวข้างหน้า.

บทว่า ปุริสถาเมน ได้แก่ ด้วยกำลังทางกายของบุรุษ.

บทว่า พเลน ได้แก่ ด้วยกำลังญาณ.

บทว่า วิริเยน ได้แก่ ด้วยวิริยานุภาพแห่งญาณทางใจ.

บทว่า ปรกฺกเมน ได้แก่ ด้วยการก้าวไปสู่ฐานะข้างหน้า ๆ คือ

ด้วยความเพียรที่ถึงขั้นอุตสาหะ.

บทว่า ปตฺตพฺพ ได้แก่ อิฐผลนั้นใดที่พึงบรรลุ.

บทว่า น ต อปาปุณิตฺวา ได้แก่ ยังไม่บรรลุอิฐผลที่พึงบรรลุนั้น.

บทว่า วิริยสฺส สณฺฑาน ภวิสฺสติ ความว่า ความย่อหย่อน คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 458

ความจมลงแห่งความเพียร ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว จักไม่มี. ปาฐะว่า

สณฺาน ก็มี ความก็อย่างนี้แหละ.

บทว่า จิตฺต ปคฺคณฺหาติ ความว่า ประคองจิต คือ อุตสาหะ.

บทว่า ปทหติ ความว่า ได้ตั้งอยู่เฉพาะ.

บทว่า นาสิสฺส ความว่า เราจักไม่เคี้ยวกิน คือจักไม่บริโภค.

บทว่า น ปิวิสฺสามิ ความว่า จักไม่ดื่มข้าวยาคูและน้ำดื่มเป็นต้น.

บทว่า วิหารโต น นิกฺขเม ความว่า ไม่พึงออกภายนอกเสนา-

สนะ.

บทว่า นปิ ปสฺส นิปาเตสฺส ความว่า จักไม่ทำให้ศีรษะตกคือ

ตั้งอยู่บนเตียง ตั่ง พื้น หรือบนที่ปูลาดคือเสื่อลำแพน.

บทว่า ตณฺหาสลฺเล อนูหเต ความว่า เมื่อลูกศรกล่าวคือตัณหา

เรายังถอนไม่ได้ อธิบายว่า ยังไม่ปราศจากไป.

บทว่า อิม ปลฺลงก ได้แก่ การนั่งเนื่องด้วยขาที่คู้เข้าโดยรอบ.

บทว่า น ภินฺทิสฺสามิ ได้แก่ จักไม่ละ.

บทว่า ยาว เม น อนุปาทาย ได้แก่ ไม่ยึดถือด้วยอุปาทาน ๔.

บทว่า อาสเวหิ ได้แก่ จากอาสวะ ๔ มีกามาสวะเป็นต้น.

บทว่า วิมุจฺจิสฺสติ ได้แก่ จักยังไม่หลุดพ้นด้วยสมุจเฉทวิมุตติ.

บทเริ่มต้นว่า น ตาวาห อิมมฺหา อาสนา วุฏฺหริสฺสามิ

จนถึงบทว่า รุกฺขมูลา นิกฺขมิสฺสามิ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งโอกาส.

บทว่า อิมสฺมึเยว ปุพฺพณฺหสมย อริยธมฺมมาหริสฺสามิ จน

ถึงบทว่า คิมฺเห ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งกาล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 459

บทว่า ปุริเม วโยขนฺเธ เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งวัย

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสนา น วุฏฺหิสฺสามิ ความว่า

จักไม่ลุกจากอาสนะที่นั่งแล้ว.

บทว่า อฑฺฒโยคา ได้แก่ เรือนเพิง.

บทว่า ปาสาทา ได้แก่ ปราสาทยาว.

บทว่า หมฺมิยา ได้แก่ เรือนโล้น.

บทว่า คุหาย ได้แก่ ถ้ำฝุ่น.

บทว่า เลณา ได้แก่ ถ้าภูเขาทั้งที่มีขอบเขต และไม่มี.

บทว่า กุฏิยา ได้แก่ กุฎีที่ฉาบทาเป็นต้น.

บทว่า กูฏาคารา ได้แก่ เรือนที่ยกยอดขึ้นทำ.

บทว่า อฏฺฏา ได้แก่ หอคอยบนหลังคาประตู.

บทว่า มาฬา ได้แก่ โรงกลม. ที่อยู่อาศัยพิเศษอย่างหนึ่ง เชื่อ

ว่า เรือนที่มีเครื่องกั้น บางท่านกล่าวว่า เรือนที่มีหลังคา ก็มี.

บทว่า อุปฏฺานสาลา ได้แก่ หอประชุม หรือหอฉัน มณฑป

เป็นต้นก็ปรากฏเหมือนกัน.

บทว่า อริยธมฺม ได้แก่ ธรรมที่ปราศจากโทษ หรือธรรมของ

พระอริยะทั้งหลาย คือ ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระ-

สาวกทั้งหลาย.

บทว่า อาหริสฺสามิ ได้แก่ จักนำมาใกล้จิตของเราด้วยศีล.

บทว่า สมาหริสฺสามิ ได้แก่ จักนำมาเป็นพิเศษด้วยสมาธิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 460

บทว่า อธิคจฺฉิสฺสามิ ได้แก่ จักถึงด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะ

ด้วยธุดงค์.

บทว่า ผสฺสยิสฺสามิ ได้แก่ จักถูกต้องด้วยมรรค.

บทว่า สจฺฉิกริสฺสามิ ได้แก่ จักการทำให้ประจักษ์ด้วยผล.

อีกนัยหนึ่ง จักนำมาด้วยโสดาปัตติมรรค, จักนำมาด้วยดีด้วยสกทาคา-

มิมรรค จักบรรลุด้วยอนาคามิมรรค, จักถูกต้องด้วยอรหัตตมรรค, จัก

กระทำให้แจ้งด้วยปัจจเวกขณะ.

บทว่า ผสฺสยิสฺสามิ ในนัยทั้งสอง มีความว่า จักถูกต้องนิพพาน

ด้วยนามกาย.

บทว่า อปุฏฺโ เป็นบทเดิม บทนั้นมีความว่า อันใคร ๆ ไม่ถาม.

บทว่า อปุจฺฉิโต ความว่า ไม่ให้รู้แล้ว.

บทว่า อยาจิโต ความว่า ไม่ขอร้อง.

บทว่า อนชฺเฌสิโต ความว่า ไม่บังคับ บางท่านกล่าวว่า ไม่

ปรารถนา.

บทว่า อปฺปสาทิโต ความว่า ไม่เชื้อเชิญ.

บทว่า ปาวทติ ความว่า ย่อมกล่าว.

บทว่า อหมสฺมิ แปลว่า เป็นเรา.

บทว่า ชาติยา วา ความว่า ด้วยชาติกษัตริย์และชาติพราหมณ์บ้าง.

บทว่า โคตฺเตน วา ความว่า ด้วยโคดมโคตรเป็นต้นบ้าง.

บทว่า โกลปุตฺติเยน วา ความว่า ด้วยความเป็นบุตรของ

ตระกูลบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 461

บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย วา ความว่า ด้วยความเป็นผู้มีรูปร่าง

งามบ้าง.

บทว่า ธเนน วา ความว่า ด้วยทรัพย์สมบัติบ้าง.

บทว่า อชฺเฌเนน วา ความว่า ด้วยกระทำการเชื้อเชิญบ้าง.

บทว่า กมฺมายตเนน วา การงานนั่นแหละ ชื่อว่ากัมมายตนะ

ด้วยการงานนั้น มีกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้นบ้าง.

บทว่า สิปฺปานตเนน วา ความว่า ด้วยธนูศิลป์เป็นต้นบ้าง.

บทว่า วิชฺชฏฺาเนน วา ความว่า ด้วยวิทยฐานะ ๑๘ อย่าง

บ้าง.

บทว่า สุเตน วา ความว่า ด้วยคุณคือความเป็นพหูสูตบ้าง.

บทว่า ปฏิภาเณน วา ความว่า ด้วยญาณกล่าวคือปฏิภาณใน

เหตุและมิใช่เหตุ.

บทว่า อุจฺจากุลา ความว่า จากตระกูลกษัตริย์และตระกูลพราหมณ์.

ด้วยบทนี้ ย่อมแสดงความเป็นใหญ่โดยชาติและโคตร.

บทว่า มหาโภคกุลา ความว่า จากตระกูลคฤหบดีมหาศาล.

ด้วยบทนี้ ย่อมแสดงความเป็นใหญ่โดยความมั่งคั่ง.

บทว่า อุฬารโภคกุลา ความว่า จากตระกูลแพศย์ที่เหลือลงเป็น

ต้น ด้วยบทนี้ ย่อมแสดงถึงทองและเงินเป็นต้นมากมาย ด้วยว่าแม้พวก

จัณฑาลก็มีโภคะโอฬาร.

บทว่า าโต แปลว่า ปรากฏ.

บทว่า ยสสี ความว่า ถึงพร้อมด้วยบริวาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 462

บทว่า สุตฺตนฺติโก แปลว่า เป็นผู้ขวนขวายในพระสูตร.

บทว่า วินยธโร แปลว่า เป็นผู้ทรงพระวินัยปิฎก.

บทว่า ธมฺมกถิโก แปลว่า ผู้ชำนาญพระอภิธรรม.

บทว่า อารญฺิโก เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงข้อปฏิบัติอัน

เป็นส่วนเบื้องต้นแห่งธุดงค์.

บทว่า ปมสฺส ฌานสฺส ลาภี เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถ

แสดงรูปสมาบัติและอรูปสมาบัติ ๘ แล้วแสดงปฏิเวธ.

บทว่า ปาวทติ เป็นบทเดิม.

บทว่า กเถติ ความว่า ย่อมกล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นอาจารย์ผู้ทรง

ปิฎก.

บทว่า ภณติ ความว่า กระทำให้ปรากฏว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ถือธุดงค์.

บทว่า ทีปยติ ความว่า ชี้แจงว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้รูปฌาน.

บทว่า โวหรติ ความว่า เปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อรูปฌาน.

บทว่า ขนฺธกุสลา ความว่า ผู้ฉลาดในสามัญลักษณะซึ่งเป็นไป

กับด้วยลักษณะในขันธ์ ๕ อธิบายว่า ผู้ฉลาดด้วยสามารถแห่งญาตปริญญา

ตีรณปริญญา และปหานปริญญา แม้ในธาตุ อายตนะ และปฏิจจสมุปบาท

เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ

บทว่า นิพฺพานกุสลา ความว่า ผู้ฉลาดในนิพพาน.

บทว่า อนริยาน ได้แก่ มิใช่อริยะ.

บทว่า เอโส ธมฺโม ได้แก่ สภาวะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 463

บทว่า พาลาน ได้แก่ พวกมิใช่บัณฑิต.

บทว่า อสปฺปุริสาน ได้แก่ พวกมิใช่คนดี.

บทว่า อตฺตา ได้แก่ ซึ่งตน.

บทว่า สนฺโต ความว่า ชื่อว่าผู้สงบเพราะความเข้าไปสงบกิเลสมี

ราคะเป็นต้น, ชื่อว่า ผู้ดับกิเลสในตนแล้ว ก็เหมือนกัน.

บทว่า อิติหนฺติ สีเลสุ อกตฺถมาโน ความว่า ไม่อวดในศีล

ทั้งหลาย โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยประการ

ฉะนี้. ท่านอธิบายไว้ว่า ไม่กล่าววาจาโอ้อวดคนซึ่งเป็นนิสิตแห่งศีล.

บทว่า ตมริยธมฺม กุสลา วทนฺติ ความว่า ผู้ฉลาดในขันธ์

เป็นต้น มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมกล่าวความไม่อวดในศีลของภิกษุนั้นว่า

นี้เป็นอริยธรรม.

บทว่า ยสฺสุสฺสทา นตฺถิ กุหิญฺจิ โลเก ความว่า กิเลส ๗

ประการ มีราคะเป็นต้น เป็นเหตุฟูขึ้น มิได้มีแก่ภิกษุใด คือแก่พระขีณาสพ

ในที่ไหน ๆ ในโลก. เชื่อมความว่าผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวความไม่อวด

นั้นของภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า นี้เป็น อริยธรรม.

บทว่า สนฺโต เป็นบทเดิม.

บทว่า ราคสฺส สมิตตฺตา ความว่า เพราะระงับราคะ ซึ่งมี

ความกำหนัดเป็นลักษณะได้ แม้ในโทสะเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

บทว่า วิชฺฌาตตฺตา ความว่า เพราะเผากิเลสเครื่องเร่าร้อนทั้ง

ปวงได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 464

บทว่า นิพฺพุตตฺตา ความว่า เพราะดับกิเลสเครื่องเผาทั้งปวงได้.

บทว่า วิคตตฺตา ความว่า เพราะปราศจากคือไกลอภิสังขารฝ่าย

อกุศลทั้งปวง.

บทว่า ปฏิปสฺสทฺธตฺตา ความว่า เพราะความเกิดขึ้นแห่งความ

สงบระงับโดยอาการทั้งปวง.

บทว่า สตฺตนฺน ธมฺมาน ภินฺนตฺตา ภิกฺขุ ความว่า ชื่อว่า

ภิกษุ เพราะทำลายธรรม ๗ ประการที่จะกล่าวข้างหน้าดำรงอยู่. กิเลส ๓

อย่างเหล่านั้น คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทำลายด้วย

โสดาปัตติมรรค, กิเลสอย่างหยาบ ๒ อย่างเหล่านี้ คือ กามราคะ โทสะ

ทำลายได้ด้วยสกทาคามิมรรค. กิเลส ๒ อย่างเหล่านั้นนั่นแหละที่เป็นอยู่

ละเอียด ทำลายได้ด้วยอนาคามิมรรค. กิเลส ๒ อย่างเหล่านี้ คือ โมหะ

มานะ ทำลายด้วยอรหัตมรรค.

อนึ่ง เพื่อจะแสดงกิเลสทั้งหลายที่เหลือพระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า

ภิกษุนั้น ทำลายแล้วซึ่งอุกุศลธรรมอันลามก ดังนี้.

บทว่า สงฺกิเลสิกา ได้แก่ อันเป็นปัจจัยแห่งความมัวหมอง.

บทว่า โปโนพฺภวิกา ได้แก่ ให้เกิดในภพใหม่.

บทว่า สทฺทรา ได้แก่ ชื่อว่ามีความกระวนกระวาย เพราะอรรถ

ว่า เป็นที่มีความกระวนกระวายคือกิเลส. ปาฐะว่า สทรา ก็มี ความว่า

เป็นไปกับด้วยความกระวนกระวาย.

บทว่า ทุกฺขวิปากา ความว่า ให้ทุกข์ในเวลาให้ผล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 465

บทว่า อายตึ ชาติชรามรณียา ความว่า เป็นปัจจัยแก่ชาติ

ชรา และมรณะ ในอนาคตกาล.

คาถาว่า ปชฺเชน กเตน อตฺตนา เป็นต้น มีประมวลเนื้อความ

ดังนี้ว่า ผู้ใดควรแก่คำชมเชยเหล่านี้อย่างนี้ว่า ถึงปรินิพพานแล้วด้วยธรรม

อันเป็นทางอันตนให้เจริญแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว เพราะถึงความดับ

รอบกิเลส และละแล้วซึ่งความเสื่อมและความเจริญ มีประเภทคือวิบัติและ

สมบัติ ความเสื่อมและความเจริญ ความขาดสูญและความเที่ยง บาปและบุญ

อยู่จบมรรค เป็นผู้มีภพใหม่สิ้นแล้ว ผู้นั้นชื่อว่า ภิกษุ.

ปาฐะ ๒ ว่า อิติห ว่า อิทห ท่านยกปาฐะว่า อิทห หมาย

เอาการต่อบทเป็นต้นว่า อิติ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิติ ได้แก่

บทที่กล่าวแล้ว.

บทว่า ปทสนฺธิ ได้แก่ การต่อบททั้งหลายชื่อปทสนธิความว่า

การเชื่อมบท.

บทว่า ปทสสคฺโค ได้แก่ ความเป็นอันเดียวกันของบททั้งหลาย.

บทว่า ปทปาริปูริ ได้แก่ ความบริบูรณ์แห่งบททั้งหลาย ความ

เป็นอันเดียวกันของบททั้งสอง.

บทว่า อกฺขรสมวาโย ความว่า เพื่อแสดงว่าแม้บททั้งหลายเป็น

อันเดียวกันก็ดี ไม่บริบูรณ์ก็ดี นี้ย่อมไม่เป็นที่ประชุมคือรวมแห่งอักษรทั้ง

หลายอย่างนี้ พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า อกฺขรสมวาโย ดังนี้.

บทว่า พฺยญฺชนสิลิฏฺตา ความว่า ความประจักษ์แจ้งอรรถแห่ง

พยัญชนะทั้งหลาย คือแห่งอรรถและพยัญชนะที่กล่าวแล้วเพื่อความบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 466

แห่งการรวบรวมพยัญชนะ ความอ่อน มิใช่ความไม่เรียบร้อยแห่งปาฐะ

เพราะเป็นความไพเราะแห่งเหตุทั้งหลาย.

บทว่า ปทานุปุพฺพตาเมต ความว่า ความเป็นลำดับแห่งบท

ทั้งหลาย ชื่อว่าความเป็นไปตามลำดับบท อธิบายว่า ความเป็นลำดับแห่ง

บท.

บทว่า เมต ได้แก่ บทนั้น หากจะถามว่า บทไหน พึงตอบว่า

บทว่า อิติ นี้ อักษรในบทว่า เมต นี้ ท่านกล่าวต่อบท.

บทว่า กตฺถี โหติ ความว่า เป็นผู้มีปกติกล่าวยกตนว่า ข้าพเจ้า

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.

บทว่า กตฺถติ ความว่า ย่อมกล่าวโดยนัยที่กล่าวแล้ว.

บทว่า วิกตฺถติ ความว่า ย่อมกล่าวมีอย่างต่าง ๆ.

บทว่า กตฺถนา แปลว่า กล่าว.

บทว่า อารโต ความว่า แต่ที่ไกล.

บทว่า วิรโต ความว่า ยินดีด้วยความปราศจากด้วยลามารถก้าว

ข้ามฐานะ.

บทว่า ปฏิวิรโต ความว่า เป็นผู้ออกจากฐานะนั้นแล้วไม่ประกอบ

โดยอาการทั้งปวงยินดีบรรดาบทเหล่านั้น อารตะ คือเหมือนเห็นปีศาจ

แล้วหนีไป วิรตะ คือวิ่งไปรอบ ๆ เหมือนเมื่อช้างย่ำเหยียบ ปฏิวิรตะ

คือ ย่ำยีเหมือนทหารต่อสู่กันสำเร็จแล้วไป.

บทว่า ขีณาสวสฺส ได้แก่ ผู้มีอาสวะคือกิเลส สิ้นแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 467

บทว่า กมฺมุสฺสโท ได้แก่ กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้นแห่งกรรม กล่าวคือ

ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร เพราะฟูขึ้น.

บทว่า ตสฺสิเม ความว่า กิเลสเป็นเหตุฟูขึ้นเหล่านี้ มิได้มีแก่

ผู้นั้น คือผู้มีอาสวะ สิ้นแล้ว.

พระสารีบุตรเถระแสดงข้อปฏิบัติของพระขีณาสพอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะแสดงข้อปฏิบัติของเดียรถีย์ทั้งหลายผู้มีทิฏฐิ จึงกล่าวว่า ปกปฺปิตา

สงฺขตา

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกปฺปิตา ความว่า อันบุคคลกำหนด

แล้ว.

บทว่า สงฺขตา ความว่า อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว.

บทว่า ยสฺส ความว่า ของผู้มีทิฏฐิคนใดคนหนึ่ง.

บทว่า ธมฺมา ได้แก่ ทิฏฐิทั้งหลาย.

บทว่า ปุรกฺขตา ได้แก่ กระทำไว้เบื้องหน้า.

บทว่า สนฺติ ได้แก่ มีอยู่.

บทว่า อโวทาตา ได้แก่ ไม่ขาวสะอาด.

บทว่า ยทตฺตนิ ปสฺสติ อานิสส ตนฺนิสสิโต กุปฺปปฏิจฺจสนฺ-

ตินฺติ ความว่า ทิฏฐิธรรมเหล่านี้ของเจ้าทิฏฐิใด เป็นธรรมอันบุคคลกระทำ

ไว้ในเบื้องหน้า ไม่ขาวสะอาด มีอยู่ เจ้าทิฏฐินั้นเป็นผู้เป็นอย่างนี้ คือ

เพราะเห็นสักการะเป็นต้น ที่เป็นไปในทิฏฐิธรรม และอานิสงส์มีคติวิเสส

เป็นต้นที่เป็นไปในสัมปรายภพ ของทิฏฐินั้นในตน ฉะนั้นจึงเป็นผู้อาศัย

ทิฏฐิ กล่าวคือ สันติที่กำเริบที่อาศัยกันเกิดขึ้น เพราะอาศัยอานิสงส์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 468

และความกำเริบนั้นเกิดขึ้น และเพราะเป็นสันติสมมติ เขาพึงยกตนหรือ

พึงข่มผู้อื่นด้วยคุณและโทษแม้ไม่เป็นจริง เพราะอาศัยทิฏฐินั้น.

บทว่า สงฺขตา เป็นบทเดิม.

บทว่า สงฺขตา ความว่า อันปัจจัยทั้งหลายมาประชุมกันกระทำ

ท่านขยายบทด้วย อุปสรรค.

บทว่า อภิสงฺขตา ความว่า อันปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว.

บทว่า สณฺาปิตา ความว่า ตั้งไว้โดยชอบด้วยสามารถแห่งปัจจัย

นั้นแล.

บทว่า อนิจฺจา ความว่า เพราะมีแล้วไม่มี.

บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา ความว่า อาศัยวัตถุและอารมณ์เกิดขึ้น.

บทว่า ขยธมฺมา ความว่า มีความสิ้นไปตามลำดับเป็นสภาวะ.

บทว่า วยธมฺมา ความว่า มีความเสื่อมรอบด้วยสามารถแห่งความ

เป็นไปเป็นสภาวะ.

บทว่า วิราคธมฺมา ความว่า มีความไปปราศอย่างไม่กลับเป็น

สภาวะ.

บทว่า นิโรธธมฺมา ความว่า มีความดับเป็นสภาวะ, อธิบายว่า

มีความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา คือมีความเป็นแล้วดับไปเป็นสภาวะ.

บทว่า ทิฏฺิคติกสฺส ความว่า แห่งบุคคลผู้ยึดทิฏฐิ ๖๒ ตั้งอยู่.

บทว่า ปุเรกฺขา ความว่า กระทำไว้ในเบื้องหน้า.

บทว่า ตณฺหาธโช ความว่า ที่ตัณหาเป็นธงชัย ด้วยอรรถว่า

ยกขึ้น ชื่อว่ามีตัณหาเป็นธงชัย เพราะอรรถว่า มีธงคือตัณหา ชื่อว่ามี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 469

ตัณหาเป็นธงยอด เพราะอรรถว่า มีตัณหานั่นแหละเป็นธงยอด ด้วยอรรถ

ว่า เที่ยวไปข้างหน้า.

บทว่า ตณฺหาธิปเตยฺโย ความว่า ชื่อว่ามีตัณหาเป็นใหญ่ เพราะ

อรรถว่า ตัณหามาโดยความเป็นใหญ่ ด้วยสามารถความเป็นใหญ่ด้วยความ

พอใจ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ามีตัณหาเป็นใหญ่ เพราะอรรถว่า มีตัณหา

เป็นใหญ่. แม้ในบทว่า มีทิฏฐิเป็นธงชัยเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อโวทาตา ความว่าไม่บริสุทธิ์.

บทว่า สงฺกิลิฏา ความว่า เศร้าหมองเอง.

บทว่า สงฺกิเลสิกา ความว่า เป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน.

บทว่า เทฺว อานิสเส ปสฺสติ แปลว่าย่อมเห็นคุณ ๒ อย่าง.

บทว่า ทิฏฺธมฺมิกญฺจ อานิสส ความว่า อานิสงส์ซึ่งเป็นธรรม

ประจักษ์ในอัตภาพนี้แหละด้วย.

บทว่า สมฺปรายิก ความว่า อานิสงส์ซึ่งจะพึงถึงในปรโลกด้วย.

บทว่า ยทิฏฺิโก สตฺถา โหติ แปลว่า ศาสดาเป็นผู้มีลัทธิ

อย่างใด.

บทว่า ตทิฏฺิกา สาวกา โหนฺติ ความว่า แม้สาวกทั้งหลาย

ผู้ฟังคำของศาสดานั้น ก็เป็นผู้มีลัทธิอย่างนั้น.

บทว่า สกฺกโรนฺติ ความว่า ย่อมกระทำให้ถึงสักการะ.

บทว่า ครุกโรนฺติ ความว่า ย่อมกระทำให้ถึงความเคารพ.

บทว่า มาเนนฺติ ความว่า ย่อมประพฤติรักด้วยใจ.

บทว่า ปูเชนฺติ ความว่า ย่อมบูชาด้วยนำปัจจัย ๔ มาบูชา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 470

บทว่า อปจิตึ กโรนฺติ ความว่า ย่อมกระทำให้ถึงความยำเกรง.

บรรดาบทเหล่านั้นสาวกทั้งหลายสักการะ คือปรุงแต่งปัจจัย ๔ ทำ

ให้ประณีต ๆ ถวายแก่ศาสดาใด ศาสดานั้นชื่อว่าอันสาวกทั้งหลายสักการะ

แล้ว สาวกทั้งหลายย่อมเริ่มตั้งถวายความเคารพในศาสดาใด ศาสดานั้น

ชื่อว่าอันสาวกทั้งหลายย่อมเคารพแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมมีใจประพฤติรัก

ซึ่งศาสดาใด ศาสดานั้นชื่อว่าอันสาวกทั้งหลายนับถือแล้ว สาวกทั้งหลาย

ย่อมกระทำอย่างนั้นแม้ทั้งหมดแก่ศาสดาใด ศาสดานั้นชื่อว่าอันสาวก

ทั้งหลายบูชาแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมกระทำความเคารพอย่างยิ่ง มีกราบ

ไหว้ ลุกรับ และประนมมือเป็นต้น แก่ศาสดาใด ศาสดานั้นชื่อว่าอัน

สาวกทั้งหลายยำเกรงแล้ว อาจารย์บางพวกอธิบายว่า สักการะด้วยกาย

เคารพด้วยวาจา นับถือด้วยใจ บูชาด้วยลาภ.

บทว่า อล นาคตฺตาย วา ความว่า พอ คือควรเพื่อเป็น

พญานาค.

บทว่า สุปณฺณตฺตาย วา ความว่า เพื่อเป็นพญาครุฑ.

บทว่า ยกฺขตฺตาย วา ความว่า เพื่อความเป็นเสนาบดียักษ์.

บทว่า อสุรตฺตาย วา ความว่า เพื่อเป็นอสูร.

บทว่า คนฺธพฺพตฺตาย วา ความว่า เพื่อบังเกิดในหมู่เทพคน

ธรรพ์.

บทว่า มหาราชตาย วา ความว่า เพื่อความเป็นท้าวมหาราช

๔ องค์ใดองค์หนึ่ง.

บทว่า อินฺทตฺตาย วา ความว่า เพื่อความเป็นท้าวสักกะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 471

บทว่า พฺรหฺมตฺตาย วา ความว่า เพื่อความเป็นพรหมองค์ใด

องค์หนึ่งในหมู่พรหมเป็นต้น.

บทว่า เทวตฺตาย วา ความว่า เพื่อความเป็นสมมติเทพเป็นต้น

องค์ใดองค์หนึ่ง.

บทว่า สุทฺธิยา ความว่า พอคือควรเพื่อความเป็นผู้บริสุทธิ์.

บทว่า วิสุทฺธิยา ความว่า เพื่อความเป็นผู้บริสุทธิ์ล่วงส่วนเว้น

จากมลทินทั้งปวง.

บทว่า ปริสุทฺธิยา ความว่า เพื่อความเป็นผู้บริสุทธิ์โดยอาการ

ทั้งปวง.

บรรดาบทเหล่านั้น เพื่อความเป็นใหญ่ในกำเนิดเดียรฉาน ชื่อว่า

เพื่อความหมดจด เพื่อความเป็นใหญ่ในเทวโลก ชื่อว่าเพื่อความหมดจด

วิเศษ. เพื่อความเป็นใหญ่ในพรหมโลก ชื่อว่าเพื่อความบริสุทธิ์. เพื่อ

ก้าวล่วงแปดหมื่นสี่พันกัปพ้นไป ชื่อว่าเพื่อหลุดไป เพื่อพ้นไปโดยไม่

มีอันตราย ชื่อว่าเพื่อพ้นไป. เพื่อพ้นไปโดยอาการทั้งปวง ชื่อว่าเพื่อหลุด

พ้นไป.

บทว่า สุชฺฌนฺติ ความว่า ย่อมถึงความหมดจดด้วยความเป็น

บรรพชิตในลัทธิอื่น ๆ นั้น.

บทว่า วิสุชฺฌนฺติ ความว่า ย่อมหมดจดด้วยวิธีหลายอย่าง ด้วย

ความเป็นผู้ถือบรรพชาประกอบด้วยการปฏิบัติ.

บทว่า ปริสุชฺฌนฺติ ความว่า ถึงความสำเร็จแล้วหมดจดด้วย

อาการทั้งปวง ย่อมหลุดไปด้วยธรรมอันเป็นลัทธิอื่น ๆ ของศาสดาเหล่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 472

นั้น ย่อมพ้นไปด้วยโอวาทของศาสดานั้น ย่อมหลุดพ้นไปด้วยอนุศาสน์

ของศาสดานั้น.

บทว่า สุชฺฌิสฺสามิ เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอนาคต.

บทว่า อายตึ ผลปาฏิกงฺขี ความว่า หวังผลคือวิบากในอนาคต

ด้วยว่า ทิฏฐิที่พวกเจ้าทิฏฐิประพฤติล่วงนี้ เมื่อสำเร็จผลย่อมให้สำเร็จเป็น

สัตว์นรกบ้าง เป็นสัตว์ในกำเนิดเดียรฉานบ้าง.

บทว่า อจฺจนฺตสนฺติ ความว่า สันติคือการออกไปล่วงส่วน.

บทว่า ตทงฺคสนฺติ ความว่า ฌานชื่อว่าสันติโดยองค์นั้น ๆ เพราะ

อรรถว่า ยังองค์ที่มิใช่คุณมีนิวรณ์เป็นต้นให้สงบ ด้วยองค์ที่เป็นคุณมี

ปฐมฌานเป็นต้น.

บทว่า สมฺมติสนฺติ ความว่า สันติโดยทิฏฐิ ด้วยสามารถกล่าว

รวม.

เพื่อแสดงสันติเหล่านั้นเป็นส่วน ๆ พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า

กตมา อจฺจนฺตสนฺติ เป็นต้น.

บททั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า อมต นิพฺพาน มีเนื้อความดังกล่าว

แล้วในหนหลังนั่นแล.

บททั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ ปมชฺฌาน สมาปนฺนสฺส นีวรณา

สนฺตา โหนฺติ ท่านกล่าวด้วยสามารถความสมบูรณ์ภายในอัปปนา.

อีกอย่างหนึ่ง สันติโดยสมมติ ประสงค์เอาว่าสันติในอรรถนี้ ดังนั้น

จึงห้ามสันติ ๒ อย่างนอกนี้ แสดงสันติโดยสมมติเท่านั้น.

บทว่า กุปฺปสนฺติ ได้แก่ สันติอันกำเริบ ด้วยสามารถให้เกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 473

วิบากและเปลี่ยนแปลง.

บทว่า ปกุปฺปสนฺติ ได้แก่ สันติอันกำเริบโดยพิเศษ.

บทว่า เอริตสนฺติ ได้แก่ สันติอันหวั่นไหว.

บทว่า สเมริตสนฺติ ได้แก่ สันติที่ให้กำเริบโดยพิเศษ.

บทว่า จลิตสนฺติ เป็นไวพจน์ของบทว่า สเมริตสนฺติ นั่นเอง.

บทว่า ฆฏิตสนฺติ ได้แก่ สันติที่บีบคั้น.

บทว่า สนฺตึ นิสฺสิโต ได้แก่ อาศัยสันติกล่าวคือทิฏฐิ.

บทว่า อสฺสิโต ได้แก่ ปรารถนา คืออาศัยโดยพิเศษ.

บทว่า อลฺลีโน ได้แก่ เป็นอันเดียวกัน. พึงทราบวินิจฉัยใน

การอาศัยอย่างนี้ก่อน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ความถือมั่นด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่เป็นอาการที่เป็นไป

ล่วงโดยง่ายเลย การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้ว

ถือมั่น ก็ไม่เป็นอาการที่เป็นไปล่วงโดยง่าย เพราะฉะนั้น

ในความถือมั่นเหล่านั้น นรชนย่อมสละธรรมบ้าง ย่อม

ยืดถือธรรมบ้าง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺินิเวสา ความว่า ความถือมั่น

ด้วยทิฏฐิ กล่าวคือความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง.

บทว่า น หิ สฺวาติวตฺตา ความว่า ย่อมไม่เป็นอาการที่จะพึง

เป็นไปล่วงได้โดยสะดวก.

บทว่า ธมฺเมสุ นิจฺเฉยฺย สมุคฺคหีต มีอธิบายว่า ความถือมั่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 474

ด้วยทิฏฐิที่ชี้ขาดธรรมที่ถือมั่นนั้น ๆ ในธรรมคือทิฏฐิ ๖๒ ว่าเป็นธรรม

ที่ยึดมั่นเป็นไปก็ไม่เป็นอาการที่เป็นไปล่วงโดยง่าย.

บทว่า ตสฺมา นโร เตสุ นิเวสเนสุ นิรสฺสตี อาทิยติจฺจ

ธมฺม มีอธิบายว่า เพราะไม่เป็นอาการที่เป็นไปล่วงโดยง่าย ฉะนั้น ใน

ความถือมั่นด้วยทิฏฐิเหล่านั้นแล นรชนย่อมสละบ้าง ย่อมยึดถือบ้าง ซึ่ง

ศาสดาผู้กล่าวธรรมชนิดถือศีลแพะ ถือศีลโค ถือศีลสุนัข อยู่หลุมทราย

ซึ่งร้อน ๕ ประการ ทำความเพียรเป็นผู้กระโหย่ง และนอนบนหนาม

เป็นต้น และซึ่งธรรมนั้น ๆ ชนิดเป็นหมู่เป็นต้น เหมือนลิงป่า ละบ้าง

ถือบ้าง ซึ่งกิ่งไม้นั้น ๆ เมื่อสละบ้าง ยึดถือบ้างอย่างนี้ พึงยังยศและ

ความเสื่อมยศให้เกิดขึ้นแก่ตนเองแก่ผู้อื่นบ้าง ด้วยคุณและโทษทั้งหลายแม้

ไม่มีอยู่ เพราะความเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น.

บทว่า ทุรติวตฺตา ความว่า ยากที่จะก้าวล่วง.

บทว่า ทุตฺตรา ความว่า ข้ามขึ้นได้ยาก.

บทว่า ทุปฺปตรา, ทุสฺสมติกฺกมา, ทุพฺพีติวตฺตา ท่านขยาย

ด้วยอุปสรรค.

บทว่า นิจฺฉินิตฺวา ความว่า ตกลงว่าเที่ยง.

บทว่า วินิจฺฉินิตฺวา ความว่า ชี้ขาดด้วยวิธีต่าง ๆ ว่าเป็นอัตตา.

บทว่า วิจินิตฺวา ความว่า แสวงหา.

บทว่า ปวิจินิตฺวา ความว่า แสวงหาโดยอาการทั้งปวง ด้วยความ

ถือมั่นว่าอัตตา ปาฐะว่า นิจินิตฺวา วิจฺฉินิตฺวา ก็มี.

บทว่า โอทิสฺสคฺคาโห ความว่า ถือเอาไม่พิเศษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 475

บทว่า วิลคฺคาโห ความว่า ถือเอาด้วยสามารถส่วนแบ่ง ดุจใน

ประโยคว่า แบ่งเป็นส่วน ๆ เป็นต้น.

บทว่า วรคฺคาโห ความว่า ถือเอาสูงสุด.

บทว่า โกฏฺาสคฺคาโห ความว่า ถือเอาด้วยสามารถอวัยวะ.

บทว่า อุจฺจยคฺคาโห ความว่า ถือเอาด้วยสามารถเป็นกอง.

บทว่า สมุจฺจยคฺคาโห ความว่า ถือเอาด้วยสามารถส่วนแบ่งและ

ด้วยสามารถเป็นกอง.

บทว่า อิท สจฺจ ความว่า นี้แหละเป็นสภาวะ.

บทว่า ตจฺฉ ความว่า แท้คือมิใช่สภาวะผันแปร.

บทว่า ตถ ได้แก่ เว้นจากความแปรปรวน.

บทว่า ภูต แปลว่า จริง.

บทว่า ยาถาว แปลว่า ตามความเป็นจริง.

บทว่า อวิปรีต แปลว่า ไม่ผันแปร.

บทว่า นิรสฺสติ ความว่า ย่อมสละ คือย่อมทอดทิ้ง.

บทว่า ปรวิจฺฉินฺทนาย วา ความว่า ด้วยการชี้แจงโดยคน

เหล่าอื่น.

บทว่า อนภิสมฺภุณนฺโต วา ความว่า ไม่ถึงพร้อม หรือไม่อาจ

จึงสละ.

บทว่า ปโร วิจฺฉินฺทติ ความว่า ผู้อื่นกระทำการแยก.

บทว่า นตฺเถตฺถ ความว่า ไม่มีลัทธินี้.

บทว่า สีล อนภิสมฺภุณนฺโต ความว่า ไม่ยังศีลให้ถึงพร้อม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 476

บทว่า สีล นิรสฺสติ ความว่า ย่อมสละศีล แม้ในบทอื่น ๆ จาก

นี้ก็นัยนี้แล.

ก็ทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มีแก่บุคคล

ผู้ซึ่งว่ามีปัญญา เพราะประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำจัด โทษมีมิจฉาทิฏฐิ

ทั้งปวงเป็นต้นนั้น ในที่ไหน ๆ ในโลก เพราะบุคคลผู้มีปัญญาละมายา

และมานะได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไร

เล่า ท่านอธิบายไว้อย่างไร ท่านอธิบายว่า ทิฏฐิเครื่องกำหนดในภพ

นั้น ๆ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ชื่อว่ามีปัญญา เพราะประกอบด้วยธรรมเครื่อง

กำจัด คือ แก่พระอรหันต์ผู้มีบาปทั้งปวงอันกำจัดเสียแล้ว ในที่ไหน ๆ

ในโลก บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญา เพราะไม่มีทิฏฐิที่พวกเดียรถีย์

ทั้งหลายใช้ปกปิดกรรมชั่วที่ตนกระทำ ถึงอคติอย่างนี้ด้วยมายาบ้าง ด้วย

มานะบ้าง และเพราะละมายามานะแม้นั้น จะพึงไปด้วยโทษทั้งหลายมีราคะ

เป็นต้นอะไรเล่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงจะพึงไปสู่บัญญัติ

ในทิฏฐิธรรม หรือในคติวิเสสมีนรกเป็นต้นในสัมปรายภพด้วยกิเลสอะไร

เล่า ด้วยว่าบุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง เพราะไม่มีกิเลส

เครื่องเข้าถึงคือตัณหาและทิฏฐิทั้งสอง.

บทว่า กึการณา ได้แก่ เพราะเหตุอะไร.

บทว่า โธนา วุจฺจติ ปญฺา ความว่า ปัญญา ท่านเรียกว่า

โธนา เพราะเหตุไร ?

บทว่า ตาย ปญฺาย กายทุจฺจริต ความว่า ชื่อว่า ทุจริต

เพราะอรรถว่า ประพฤติชั่วหรือเพราะเสียด้วยอำนาจกิเลส ซึ่งเป็นไปทาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 477

กาย กำจัดได้ด้วยปัญญานั้น คือที่มีประการดังกล่าวแล้ว.

บทว่า ธุตญฺจ โธตญฺจ ได้แก่ ให้หวั่นไหวแล้วและชำระแล้ว.

บทว่า สนฺโธตญฺจ ได้แก่ ชำระแล้วโดยชอบ.

บทว่า นิทฺโธตญฺจ ความว่า ซักฟอกด้วยดีโดยพิเศษ.

บทว่า ราโค ธุโต จ เป็นต้น พึงประกอบด้วยสามารถแห่งมรรค ๔.

บทว่า สมฺมาทิฏฺิยา มิจฺฉาทิฏฺิ ธุตา จ ความว่า มิจฉาทิฏฐิ

ให้หวั่นไหวชำระได้ด้วยสัมมาทิฏฐิที่สัมปยุตด้วยมรรค แม้ในสัมมาสังกัปปะ

เป็นต้นก็นัยนี้แหละ. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉา-

ทิฏฐิของบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ ย่อมหมดกำลัง พึงให้พระสูตรพิสดาร.

บทว่า สมฺมาาเณน ได้แก่ ญาณที่สัมปยุตด้วยมรรค หรือ

ปัจจเวกขณญาณ.

บทว่า มิจฺฉาาณ ได้แก่ ญาณที่วิปริต คือญาณที่ไม่แท้ และ

โมหะที่เกิดขึ้นด้วยอาการพิจารณาว่า ในการกระทำบาปทั้งหลาย เราทำ

บาปด้วยสามารถความคิดที่สุขุม เป็นอันทำดีแล้ว.

บทว่า สมฺมาวิมุตฺติยา มิจฺฉาวิมุตฺติ ความว่า วิมุตติที่วิปริต

คือวิมุตติที่ไม่แท้นั่นแหละ ซึ่งเรียกกันว่าเจโตวิมุตติ กำจัดได้ด้วยสมุจเฉท-

วิมุตติ.

บทว่า อรหา อิเมหิ โธนิเยหิ ธมฺเมหิ ความว่า พระอรหันต์

ดำรงอยู่ไกลจากกิเลสมีราคะเป็นต้น ย่อมเป็นผู้เข้าถึงด้วยธรรมเป็นเครื่อง

กำจัดกิเลสเหล่านี้ คือที่มีประการดังกล่าวแล้ว.

บทว่า โธโน ได้แก่บุคคลผู้มีปัญญา เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตร

เถระจึงกล่าวว่า โส ธุตราโค เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 478

บทว่า มายา วุจฺจติ วญฺจนิกา จริยา ความว่า ความประพฤติ

ชื่อว่าลวง เพราะอรรถว่า มีกิริยาลวง คือกระทำล่อลวง.

บทว่า ตปฺปฏิจฺฉาทนเหตุ ความว่า เพราะเหตุที่ไม่ประกาศ

ทุจริตเหล่านั้น.

บทว่า ปาปิก อิจฺฉ ปณฺทหติ ความว่า ย่อมตั้งความปรารถนา

ลามก.

บทว่า มา ม ชญฺญูติ อิจฺฉติ ความว่า คนอื่น ๆ อย่าได้รู้ว่า

เราทำบาป.

บทว่า สงฺกปฺเปติ ความว่า ยังวิตกให้เกิดขึ้น.

บทว่า วาจ ภาสติ ความว่า ภิกษุทั้งที่รู้อยู่ ก้าวล่วงบัญญัติ

กระทำกรรมหนัก ทำเป็นผู้สงบ กล่าวว่า ชื่อว่าการทำผิดพระวินัยไม่มี

แก่พวกเรา.

บทว่า กาเยน ปรกฺกมติ ความว่า ประพฤติวัตรด้วยกาย เพราะ

จะปกปิดโทษที่มีอยู่ว่า เราทำกรรมลามกนี้แล้วใคร ๆ อย่าได้รู้.

ชื่อว่า มีมายา. เพราะอรรถว่า มีมายาที่ลวงตา. ภาวะแห่งผู้มี

มายา ชื่อว่า ความเป็นผู้มีมายา.

ชื่อว่า ความไม่นึกถึง เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องไม่นึกถึงอย่าง

ยิ่ง เพราะกระทำแล้ว จะปกปิดความชั่วอีกของสัตว์.

ชื่อว่า ความอำพราง เพราะอรรถว่า อำพรางโดยแสดงเป็น

อย่างอื่น ด้วยกิริยาทางกายและทางวาจา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 479

ชื่อว่า ความปลอม เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องปลอมของสัตว์

ทั้งหลาย อธิบายว่า การทำให้ผิด.

ชื่อว่า ความปิดบัง เพราะโยนบาปทั้งหลายออกไปเสียว่า เรามิได้

กระทำอย่างนี้.

ชื่อว่า ความหลีกเลี่ยง เพราะเลี้ยงไปว่า เรามิได้กระทำอย่างนี้.

ชื่อว่า ความซ่อน เพราะสำรวมด้วยกายเป็นต้น.

ชื่อว่า ความซ่อนเร้น เพราะซ่อนโดยภาวะรอบข้าง.

ชื่อว่า ความปิด เพราะอรรถว่า ปิดบาปไว้ด้วยกายกรรมและวจี

กรรม เหมือนปิดคูถไว้ด้วยหญ้าและใบไม้.

ความปิดตามส่วนโดยประการทั้งปวง ชื่อว่า ความปกปิด

ชื่อว่า ความไม่ทำให้ตื้น เพราะอรรถว่า ไม่กระทำให้ตื้นแสดง.

ชื่อว่า ความไม่เปิดเผย เพราะอรรถว่า ไม่กระทำให้ปรากฏ

แสดง.

ความปิดด้วยดี ชื่อว่า ความปิดด้วยดี.

ชื่อว่า ความกระทำชั่ว เพราะกระทำความชั่วแม้อีก ด้วยสามารถ

แห่งการปกปิดความชั่วที่ทำแล้ว.

บทว่า อย วุจฺจติ ความว่า นี้เรียกว่า ชื่อว่ามายา มีลักษณะปก

ปิดความชั่วที่ทำแล้ว ที่บุคคลประกอบแล้ว ย่อมเหมือนถ่านเพลิงที่เถ้าปิด

ไว้ เหมือนตอที่น้ำปิดไว้ และเหมือนศัสตราที่ผ้าเก่าพันไว้.

บทว่า เอกวิเธน มาโน ความว่า ความถือตัวโดยกำหนดอย่าง

เดียว คือโดยส่วนเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 480

บทว่า ยา จิตฺตสฺส อุณฺณติ ความว่า ความยกจิตขึ้นสูง นี้

ชื่อว่า ความถือตัว. ในบทนี้ ท่านกล่าวถึงความถือตัวที่ให้บังเกิดขึ้นไม่

ถูกต้องบุคคล.

บทว่า อตฺตุกฺกสนมาโน ความว่า ความถือตัวด้วยการตั้งตนไว้

ในเบื้องบน.

บทว่า ปรวมฺภนมาโน ความว่า ความถือตัวด้วยการกระทำความ

ลามกแก่ตนอื่น. ความถือตัว ๒ อย่างนี้ ท่านกล่าวด้วยสามารถอาการที่

เป็นไปอย่างนั้นโดยมาก.

บทว่า เสยฺโยหมสฺมีติ มาโน ความว่า ความถือตัวที่เกิดขึ้นว่า

เราดีกว่าเขา เพราะอาศัยชาติเป็นต้น คือความถือตัวว่าไม่มีใครเสมอ. แม้

ในความถือตัวว่า เสมอเขาเป็นต้น ก็นัยนี้แล. ความถือตัว ๓ อย่างแม้นี้

ท่านก็กล่าวด้วยสามารถอาการที่เป็นไปอย่างนั้น ไม่อาศัยคุณวิเสสของ

บุคคลด้วยประการฉะนี้. บรรดาความถือตัวเหล่านั้น ความถือตัวอย่าง

หนึ่ง ๆ ย่อมเกิดขึ้นแก่คนดีกว่า คนเสมอกันและคนเลว แม้ทั้ง ๓. บรรดา

คน ๓ ประเภทเหล่านั้น ความถือตัวว่าเราดีกว่าเขามีความถือตัวตามความ

จริงของคนที่ดีกว่าเขานั่นแล มิใช่ความถือตัวตามความจริงของตนที่เหลือ.

ความถือตัวว่าเราเสมอเขา เป็นความถือตัวตามความจริงของตนที่เสมอกัน

นั่นและ มิใช่ความถือตัวตามความจริงของตนที่เหลือ. ความถือตัวว่า

เราเลวกว่าเขา เป็นความถือตัวตามความจริงของตนที่เลวกว่าเขานั่นแล

มิใช่ความถือตัวตามความจริงของตนที่เหลือ. ความถือตัว ๔ อย่าง ท่าน

กล่าวด้วยสามารถโลกธรรม. ความถือตัว ๕ อย่าง ท่านกล่าวด้วยสามารถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 481

กามคุณ ๕. ความถือตัว ๖ อย่าง ท่านกล่าวด้วยสามารถความถึงพร้อม

แห่งจักษุเป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาน ชเนติ ความว่า ยังความถือ

ตัวให้เกิดขึ้น.

ในนิทเทสความถือตัว ๗ อย่าง มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า มาโน ได้แก่ ความพอง.

บทว่า อติมาโน ได้แก่ ความถือตัวที่เกิดขึ้นด้วยสามารถพูด

ดูหมิ่น ว่า คนที่เสมอเราโดยชาติเป็นต้น ไม่มี.

บทว่า มานาติมาโน ได้แก่ ความถือตัวที่เกิดขึ้นว่า เมื่อก่อนผู้

นี้เสมอเรา บัดนี้เราเป็นผู้ประเสริฐ ผู้นี้เป็นผู้เลวกว่า ความถือตัวนี้เหมือน

ภาระซ้อนภาระ. พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า มานาติมาโน เพื่อแสดงว่า

ชื่อว่า ความถือตัวและความถือตัวจัด อาศัยความถือตัวว่าเสมอเขาที่มีใน

ก่อน.

บทว่า โอมาโน ได้แก่ ความถือตัวว่าเลว. ชื่อว่าความถือตัวที่

ท่านกล่าวว่าเราเป็นคนเลว ดังนี้ชื่อว่า ความถือตัวว่าเลว.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความถือตัวนี้ว่า ความถือตัวว่าเลวในบทนี้

ด้วยสามารถทำตนไว้ภายใต้เป็นไปอย่างนี้ว่า เจ้าเป็นผู้มีชาติ ชาติของเจ้า

เหมือนชาติกา เจ้าเป็นผู้มีโคตร โคตรของเจ้าเหมือนโคตรจัณฑาล เจ้ามี

เสียง เสียงของเจ้าเหมือนเสียงกา.

บทว่า อธิมาโน ความว่า ความถือตัวว่าบรรลุแล้ว ที่เกิดขึ้นแก่

ผู้ยังไม่บรรลุสัจจะ ๔ แต่มีความสำคัญว่าบรรลุแล้ว ผู้มีความสำคัญในกิจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 482

ที่พึงทำด้วยมรรค ๔ ที่ตนยังมิได้ทำเลยว่าทำแล้ว ผู้มีความสำคัญในธรรม

คือสัจจะ ๔ ที่คนยังไม่บรรลุว่าบรรลุแล้ว ผู้มีความสำคัญในพระอรหัตที่

ตนยังทำไม่แจ้งว่าทำให้แจ้งแล้ว ชื่อว่า ความถือตัวยิ่ง ก็ความถือตัวนี้

ย่อมเกิดขึ้นแก่ใคร ? ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ใคร ? ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระอริย-

สาวกเลย. เพราะพระอริยสาวกนั้น เกิดโสมนัสด้วยการพิจารณามรรคผล

นิพพาน และกิเลสที่ได้ละแล้ว และกิเลสที่ยังเหลืออยู่ ไม่มีความสงสัยใน

การแทงตลอดอริยคุณ ฉะนั้น ความถือตัวว่าเราเป็นพระสกทาคามีเป็นต้น

จึงไม่เกิดขึ้นแต่พระโสดาบันเป็นต้น. ความถือตัวนี้ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่คน

ทุศีล. เพราะคนทุศีลนั้นเป็นผู้หมดหวังในการบรรลุอริยคุณทีเดียว. ย่อม

ไม่เกิดขึ้นแม้แก่ผู้มีศีล ที่ละเลยกรรมฐาน เอาแต่หลับนอนอยู่เรื่อย. แต่

ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้มีศีลบริสุทธิ์ ผู้ไม่ประมาทในกรรมฐาน กำหนดนามรูป

ข้ามความสงสัยได้ด้วยปัจจยปริคคหญาณ แล้วยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์

พิจารณาสังขารธรรมเริ่มวิปัสสนา. และเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเป็นผู้ได้สมถะ

ล้วน ๆ บ้าง เป็นผู้ได้วิปัสสนาล้วน ๆ บ้าง ดำรงอยู่ในระหว่าง. ก็ท่านนั้น

เมื่อไม่เห็นกิเลสกำเริบ ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ย่อมสำคัญว่าเรา

เป็นโสดาบันก็มี เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี. แต่ผู้ได้สมถะและ

วิปัสสนา ย่อมดำรงอยู่ในพระอรหัตทีเดียว. เพราะท่านข่มกิเลสทั้งหลาย

ได้ด้วยกำลังสมาธิ กำหนดสังขารทั้งหลายได้ด้วยกำลังวิปัสสนา ฉะนั้น

กิเลสทั้งหลายจึงไม่กำเริบคลอด ๖๐ ปีบ้าง ๘๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง

พระขีณาสพเท่านั้นย่อมมีการเที่ยวไปแห่งจิต พระขีณาสพนั้น เมื่อไม่เห็น

กิเลสกำเริบตลอดกาลนั้นอย่างนี้ ถึงไม่ดำรงอยู่ในระหว่าง ก็สำคัญว่าเรา

เป็นพระอรหันต์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 483

บทว่า อสฺมิมาโน ความว่า ความถือตัวที่เกิดขึ้นในเบญจขันธ์ว่า

รูปเป็นต้นคือเรา โดยนัยเป็นต้นว่า เราเป็นในรูป.

บทว่า มิจฺฉามาโน ความว่า ความถือตัวที่เกิดขึ้นด้วยขอบเขต

การงาน ขอบเขตศิลปะ วิทยฐานะ สุตะ ปฏิภาณ และศีลพรตที่ลามก

และด้วยทิฏฐิที่ลามก.

บรรดาบทเหล่านั้น การงานของชาวประมง คนขังปลา และพวก

พราน ชื่อว่า ขอบเขตการงานที่ลามก.

ความเป็นผู้ฉลาดในการทอดข่ายจับปลา และทำไซดักปลา และใน

การวางบ่วงดักสัตว์และการปักขวาก เป็นต้น ชื่อว่า ขอบเขตศิลปะที่

ลามก.

วิชาที่ทำร้ายผู้อื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิทยฐานะที่ลามก.

สุตะที่ประกอบด้วยเรื่องภารตยุทธ์ และเรื่องชิงนางสีดาเป็นต้น

ชื่อว่า สุตะที่ลามก.

ปฏิภาณในการแต่งกาพย์ การฟ้อนรำ และร้องเพลงเป็นต้นที่

ประกอบด้วยคำเป็นทุพภาษิต ชื่อว่า ปฏิภาณที่ลามก.

ศีลแพะ ศีลโค ชื่อว่าศีลที่ลามก. แม้วัตรที่เป็นวัตรแพะวัตรโค

ก็เหมือนกัน.

ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า ทิฏฐิที่ลามก.

ความถือตัว ๘ อย่างมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

ในนิทเทสความถือตัว ๙ อย่าง มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 484

ความถือตัว ๙ อย่าง มีถือตัวว่าเราเป็นผู้ดีกว่าคนดีเป็นต้น ท่าน

กล่าวอาศัยบุคคล.

ก็ในบทนี้ ความถือตัวว่าเราเป็นผู้ดีกว่าคนดี ย่อมเกิดขึ้นแก่พวก

พระราชาและพวกบรรพชิต. ด้วยว่าพระราชาย่อมกระทำความถือตัวนี้ว่า

มีใครที่เสมอเรา ด้วยแว่นแคว้น หรือด้วยทรัพย์และพาหนะทั้งหลาย.

แม้บรรพชิตก็กระทำความถือตัวนี้ว่า มีใครที่เสมอเรา ด้วยคุณมีศีล

และธุดงค์เป็นต้น. แม้ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เสมอกับคนดี ก็เกิดขึ้นแก่

พวกพระราชาและพวกบรรพชิตเหล่านั้นเหมือนกัน. ด้วยว่า พระราชา

ย่อมกระทำความถือตัวนี้ว่า เรามีการกระทำต่างอะไรกับพระราชาเหล่าอื่น

ด้วยแว่นแคว้น หรือด้วยทรัพย์และพาหนะทั้งหลาย. แม้บรรพชิตก็กระทำ

ความถือตัวนี้ว่า เรามีการกระทำต่างอะไรกับภิกษุอื่น ด้วยคุณมีศีลและ

ธุดงค์เป็นต้น.

แม้ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เลวกว่าคนดี ก็เกิดขึ้นแก่พวกพระราชา

และพวกบรรพชิตเหล่านั้นเหมือนกัน. ด้วยว่า แว่นแคว้นหรือทรัพย์และ

พาหนะเป็นต้น ของพระราชาองค์ใดไม่อุดมสมบูรณ์ พระราชาองค์นั้น

ย่อมกระทำความถือตัวนี้ว่า เราชื่อว่าพระราชาอะไร เป็นเพียงเรียกเรา

อย่างสะดวกว่าพระราชาเท่านั้น. แม้บรรพชิตที่มีลาภสักการะน้อย ก็กระทำ

การถือตัวนี้ว่า เราผู้ไม่มีลาภสักการะ ชื่อว่า ธรรมกถึกอะไร ชื่อว่า

พหูสูตอะไร ชื่อว่า มหาเถระอะไร เป็นเพียงกล่าวว่า เราเป็นธรรมกถึก

เป็นพหูสูต เป็นมหาเถระเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 485

ความถือตัวว่า เราเป็นผู้ดีกว่าคนชั้นเดียวกัน ย่อมเกิดขึ้นแก่อิสสรชน

มีอมาตย์เป็นต้น. ด้วยว่าอมาตย์ย่อมกระทำความถือตัวทั้งหลายเหล่านั้นว่า

ราชบุรุษอื่นมีใครที่เสนอเราด้วยสมบัติในแว่นแคว้น หรือโภคะยานพาหนะ

เป็นต้น ดังนี้บ้าง. ว่าเรามีการกระทำต่างอะไรกับราชบุรุษอื่น ๆ ดังนี้บ้าง,

ว่า เรามีชื่อว่า อมาตย์เท่านั้น แต่ไม่มีแม้สักว่าอาหารและเครื่องนุ่งห่ม

เราชื่อว่าอมาตย์อะไร ดังนี้บ้าง.

ความถือตัวว่า เราเป็นผู้ดีกว่าคนเลว เป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นแก่พวก

ทาสเป็นต้น. ด้วยว่าทาสย่อมกระทำความถือตัวทั้งหลายเหล่านี้ว่า ชื่อว่า

ทาสอื่นมีใครที่เสมอเราฝ่ายมารดาก็ตาม ฝ่ายบิดาก็ตาม ทาสอื่น ๆ ไม่อาจ

จะเป็นอยู่ เกิดเป็นทาสเพราะปากท้อง แต่เราดีกว่า เพราะมาตามเชื้อสาย

ดังนี้บ้าง, ว่า เรามีการกระทำต่างอะไรกับทาสชื่อโน้น ด้วยความเป็นทาส

แม้ทั้งสองฝ่าย เพราะมาตามเชื้อสาย ดังนี้บ้าง, ว่า เราเข้าถึงความเป็นทาส

เพราะปากท้อง แต่ไม่มีฐานะทาสโดยที่สุดแห่งมารดา บิดา เราชื่อว่าทาส

อะไรดังนี้บ้าง.

แม้พวกปุกกุสะและพวกจัณฑาลเป็นต้น ก็กระทำความถือตัวเหล่านี้

เหมือนทาสนั่นแล.

ก็ในบทนี้ ความถือตัวที่เกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้ดีกว่าคนดี เป็นความ

ถือตัวที่แท้. ความถือตัว ๒ อย่างนอกนี้ มิใช่ความถือตัวที่แท้

บรรดาความถือตัวที่แท้และไม่แท้ ๒ อย่างนั้น ความถือตัวที่แท้

ฆ่าด้วยอรหัตตมรรค, ความถือตัวที่ไม่แท้ ฆ่าด้วยโสดาปัตติมรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 486

ความถือตัวว่าเราเป็นผู้ดีกว่าคนดี ในที่นี้เป็นความถือตัวที่เกิดขึ้น

อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยอรรถว่าสูงสุดกว่าคนผู้สูงสุด.

ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เสมอกับคนดี เป็นความถือตัวที่เกิดขึ้น

อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้เสมอ ด้วยอรรถว่า เสมอกับคนสูงสุด.

ความถือตัวว่า เราเป็นผู้เลวกว่าคนดี เป็นความถือตัวที่เกิดขึ้น

อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้เลว ด้วยอรรถว่าลามกกว่าคนสูงสุด.

ความถือตัว ๓ อย่างเหล่านี้ คือ ความถือตัวว่าดีกว่าเขา ความถือ

ตัวว่าเสมอเขา ความถือตัวว่าเลวกว่าเขา ย่อมเกิดขึ้นแก่คนดี ด้วย

ประการฉะนี้.

ความถือตัว ๓ อย่างว่า เราเป็นคนดี เป็นคนเสมอกัน เป็น

คนเลว ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่คนที่เสมอกัน.

แม้คนเลวก็เกิดความถือตัว ๓ อย่างว่า เราเป็นคนเลว เป็นคน

เสมอกัน เป็นคนดี.

ในนิทเทสความถือตัว ๓ อย่าง มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อิเธกจฺโจ มาน ชเนติ ความว่า บุคคลบางคนย่อมยัง

ความถือตัวให้เกิด.

บทว่า ชาติยา วา ได้แก่เพราะความถึงพร้อมด้วยชาติมีความเป็น

กษัตริย์ เป็นต้น.

บทว่า โคตฺเตน วา ได้แก่ เพราะโคตรเลิศลอย มีโคดมโคตร

เป็นต้น.

บทว่า โกลปุตฺติเยน วา ได้แก่เพราะความเป็นบุตรตระกูลใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 487

บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย วา ได้แก่ เพราะความเป็นผู้มีสรีระ

สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ก็สรีระท่านเรียกว่า โปกขระ ความว่า เพราะความ

ที่บุคคลนั้นเป็นผู้มีรูปงาม เพราะความถึงพร้อมด้วยวรรณะ.

บทว่า ธเนน วา ได้แก่ เพราะความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทรัพย์

ความว่า ทรัพย์ของเราที่ฝังไว้ประมาณไม่ได้.

บทว่า อชฺเฌเนน วา ได้แก่ เพราะการเรียน.

บทว่า กมฺมายตเนน วา ได้แก่ เพราะหน้าที่การงานที่เป็นไป

โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า เหล่าสัตว์ที่เหลือเป็นเช่นกาปีกหัก แต่เราเป็นผู้มี

ฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก หรือว่าเราทำกรรมใด ๆ กรรมนั้น ๆ ย่อมสำเร็จ.

บทว่า สิปฺปายตเนน วา ได้แก่ เพราะขอบเขตศิลปะที่เป็นไป

โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า เหล่าสัตว์ที่เหลือเป็นผู้ไร้ศิลปะ เราเป็นผู้มีศิลปะ.

บทว่า วิชฺชฏาเนน วา นี้มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

บทว่า สุเตน วา ได้แก่ เพราะสุตะมีอาทิอย่างนี้ว่า เหล่าสัตว์

ที่เหลือเป็นผู้มีสุตะน้อย แต่เราเป็นพหูสูต.

บทว่า ปฏิภาเณน วา ได้แก่ เพราะปฏิภาณมีอาทิอย่างนี้ว่า

เหล่าสัตว์ที่เหลือเป็นผู้หาปฏิภาณมิได้ แต่เรามีปฏิภาณหาประมาณมิได้

บทว่า อญฺตรญฺตเรน วตฺถุนา ได้แก่ เพราะวัตถุเคลื่อนที่

มิได้กล่าวถึง.

บทว่า โย เอวรูโป มาโน ได้แก่ ชื่อว่ามานะด้วยสามารถ

กระทำความถือตัว.

บทว่า มญฺนา มญฺิตตฺต แสดงความเป็นอาการ ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 488

ความใฝ่สูง. ด้วยอรรถว่ายกขึ้น ชื่อว่า ความฟูขึ้น เพราะอรรถว่า ฟูขึ้น

คือยกขึ้นตั้งไว้. ซึ่งบุคคลผู้มีความถือตัวเกิดขึ้น. ชื่อว่า ความทนงตัว.

ด้วยอรรถว่า ยกขึ้นพร้อม. ชื่อว่า ความยกตัว เพราะอรรถว่า ประคอง

จิตด้วยอรรถว่ายกขึ้น ธงที่ขึ้นไปสูงในบรรดาธงเป็นอันมาก ท่านเรียกว่า

เกตุ แม้ความถือตัวเมื่อเกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็ชื่อว่าเกตุ เพราะอรรถว่าเหมือน

ธง ด้วยอรรถว่า ขึ้นไปสูง โดยเทียบเคียงธงอื่น ๆ. ชื่อว่า ความใคร่

สูงดุจธง เพราะอรรถว่า ปรารถนาสูงดุจธงนั้น ภาวะแห่งความใคร่สูง

ดุจธงนั้น ชื่อว่าความใคร่สูงดุจธง. ก็ความใคร่สูงดุจธงนั้น เป็นของจิต

มิใช่ของตน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความที่จิตใคร่สูงดุจธง. ก็

จิตที่สัมปยุตด้วยความถือตัว ย่อมปรารถนาธง ภาวะแห่งจิตนั้น ชื่อว่า

ความถือตัว กล่าวคือธง แล.

บุคคลผู้มีปัญญาละคือเว้นมายาและมานะ คือบุคคลผู้มีปัญญานั้นใด

คือพระอรหันต์ เว้นกิเลสทั้งหลายได้ด้วยสามารถบรรเทา และทำให้ไม่มี

เป็นต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังตั้งอยู่ บุคคลผู้มีปัญญานั้นจะพึงไป

ด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้นอะไรเล่า.

บทว่า เนรยิโกติ วา ได้แก่ ว่าเป็นสัตว์ผู้บังเกิดขึ้นนรก. แม้

ในสัตว์ผู้เกิดในกำเนิดดิรัจฉานเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า โส เหตุ นตฺถิ ความว่า บุคคลผู้มีปัญญาพึงบังเกิดใน

คติเป็นต้น ด้วยเหตุให้เกิดใด เหตุนั้นไม่มี.

บทว่า ปจฺจโย เป็นไวพจน์ของบทว่า เหตุ นั้น.

บทว่า การณ ได้แก่ ฐานะ ก็การณะ ท่านกล่าวว่า เป็นฐาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 489

แห่งผลของตน เพราะมีความเป็นไปเนื่องด้วยผลนั้น. เพราะฉะนั้น บุคคล

ผู้มีปัญญาพึงบังเกิดในคติเป็นต้น ด้วยเหตุใด ด้วยปัจจัยใด เหตุนั้นปัจจัย

นั้นซึ่งเป็นการณะ ไม่มี.

ก็ผู้ใดเป็นผู้มีกิเลสเครื่องเข้าถึง เพราะมีกิเลสเครื่องเข้าถึง ๒ อย่าง

นั้น ผู้นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บุคคลผู้มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียน

ในธรรมทั้งหลาย ใคร ๆ จะพึงกล่าวติเตียนบุคคลผู้ไม่มี

กิเลสเครื่องเข้าถึง ด้วยกิเลสอะไร อย่างไรเล่า เพราะ

ทิฏฐิถือว่ามีตน ทิฏฐิถือว่าไม่มีตน ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้

ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง

สลัดเสียแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวง ในโลกนี้นี่แหละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปโย ได้แก่ ผู้อาศัยตัณหาและทิฏฐิ.

บทว่า ธมฺเมสุ อุเปติ วาท ความว่า ย่อมเข้าถึงวาทะติเตียน

ในธรรมทั้งหลายนั้น ๆ อย่างนี้ว่า เป็นผู้กำหนัดบ้าง เป็นผู้ประทุษร้ายบ้าง.

บทว่า อนูปย เกน กถ วเทยฺย ความว่า ใคร ๆ จะพึงติเตียน

พระขีณาสพผู้ชื่อว่าไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง เพราะละตัณหาและทิฏฐิได้ว่า

เป็นผู้กำหนัดบ้าง เป็นผู้ประทุษร้ายบ้าง ด้วยราคะหรือโทสะอะไรเล่า.

พระขีณาสพเป็นผู้อันใคร ๆ ไม่ควรกล่าวติเตียนอย่างนี้เลย. อธิบายว่า

พระขีณาสพนั้นจักเป็นผู้ปกปิดสิ่งที่กระทำแล้ว เหมือนพวกเดียรถีย์หรือ.

บทว่า อตฺต นิรตฺต น หิ ตสฺส อตฺถิ ความว่า เพราะ

ทิฏฐิว่ามีตน หรือทิฏฐิว่าขาดสูญ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 490

ถึงนั้น. อีกอย่างหนึ่ง แม้ความถือและความปล่อยที่ร้องเรียกกันว่ามีตน

และไม่มีตน ก็ไม่มี. หากจะถามว่า เพราะเหตุไรจึงไม่มี.

บทว่า อโธสิ โส ทิฏฺิมิเธว สพฺพ ความว่า เพราะบุคคล

ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึงนั้น สลัดเสียแล้ว ละแล้ว บรรเทาแล้ว ซึ่งทิฏฐิ

ทั้งปวง ด้วยน้ำคือญาณในอัตภาพนี้แหละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบ

พระธรรมเทศนาด้วยยอดคือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้. พระราชาทรง

สดับพระธรรมเทศนานั้นแล้วทรงดีพระทัย ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วเสด็จหลีกไปแล.

บทว่า รตฺโตติ วา ได้แก่ เป็นผู้กำหนัดด้วยราคะ. แม้ในบทว่า

ทุฏฺโติ วา เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า เต อภิสงฺขาราอปฺปหีนา ความว่า ปุญญาภิสังขาร

อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขารเหล่านั้น อันบุคคลนั้นไม่ละแล้ว.

บทว่า อภิสงฺขาราน อปฺปหีนตฺตา ความว่า เพราะความ

สภาพเครื่องปรุงแต่งกรรม ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วเหล่านั้น อันบุคคลนั้น

ไม่ละแล้ว.

บทว่า คติยา วาท อุเปติ ความว่า ย่อมเข้าถึงการกล่าวโดย

คติ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า

ย่อมเข้าถึง เข้าไปถึงวาทะติเตียนโดยคติว่าเป็นสัตว์เกิดในนรก ดังนี้.

บทว่า วเทยฺย ได้แก่ พึงกล่าว.

บทว่า คหิต นตฺถิ ความว่า สิ่งที่พึงถือเอาย่อมไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 491

บทว่า มุญฺจิตพฺพ นตฺถิ ความว่า สิ่งที่พึงปล่อยย่อมไม่มี เพราะ

ความเป็นผู้ปล่อยแล้วตั้งอยู่.

บทว่า ยสฺสตฺถิ คหิต ความว่า บุคคลใดมีสิ่งที่ถือว่า เรา ของเรา.

บทว่า ตสฺสตฺถิ มุญฺจิตพฺพ ความว่า บุคคลนั้นย่อมมีสิ่งที่พึง

ปล่อย บททั้งหลายข้างหน้า พึงกลับกันประกอบ.

บทว่า คหณมุญฺจนา สมติกฺกนฺโต ความว่า พระอรหันต์

ก้าวล่วงจากความถือและความปล่อย.

บทว่า วุฑฺฒิปริหานิวีติวตฺโต ความว่า ก้าวล่วงความเจริญและ

ความเสื่อมเป็นไป.

บทตั้งต้นว่า โส วุฏฺวาโส จนถึงบทสุดท้าย าณคฺคินา

ทฑฺฒานิ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

บทว่า อโธสิ ความว่า ตัดแล้ว.

บทว่า ธุนิ สนฺธุนิ นิทฺธุนิ ท่านขยายด้วยอุปสรรค แล.

สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถา มหานิทเทส

อรรถกถาทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส

จบ สูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 492

สุทธัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๔

ว่าด้วยผู้พิจารณาเห็นความหมดจด

[๑๐๙] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า :-

เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด ว่าเป็นผู้ไม่มีโรคเป็น

อย่างยิ่ง ความหมดจดดีย่อมมีแก่นรชน เพราะความเห็น

บุคคลเมื่อรู้เฉพาะอย่างนี้รู้แล้วว่า ความเห็นนี้เป็นเยี่ยม

ดังนี้ ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นญาณ บุคคลนั้นชื่อว่า

เป็นผู้พิจารณาเห็นความหมดจด.

[๑๑๐] คำว่า เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด ว่าเป็นผู้

ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง มีความว่า เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด คือเรา

ย่อมเห็น ย่อมแลดู เพ่งดู ตรวจดู พิจารณาเห็นนรชนผู้หมดจด คำว่า

ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง คือถึงความเป็นผู้ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ถึงธรรม

อันเกษม ถึงธรรมเป็นที่ต้านทาน ถึงธรรมเป็นที่เร้น ถึงธรรมเป็นสรณะ

ถึงธรรมเป็นที่ไปข้างหน้า ถึงธรรมไม่มีภัย ถึงธรรมไม่เคลื่อน ถึงธรรม

ไม่ตาย ถึงนิพพานเป็นอย่างยิ่ง. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เราย่อมเห็น

นรชนผู้หมดจด ว่าเป็นผู้ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง.

[๑๑๑] คำว่า ความหมดจดดีย่อมมีแก่นรชน เพราะความ

เห็น มีความว่า ความหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ ความพ้น

พ้นวิเศษ พ้นรอบ ย่อมมีแก่นรชน คือนรชนย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 493

หมดจดรอบ ย่อมพ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ เพราะความเห็นรูปด้วยจักขุ-

วิญญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความหมดจดดีย่อมมีแก่นรชน

เพราะความเห็น.

[๑๑๒] คำว่า บุคคลเมื่อรู้เฉพาะอย่างนี้ รู้แล้วว่า ความ

เห็นนี้เป็นเยี่ยม ดังนี้. มีความว่า บุคคลเมื่อรู้เฉพาะ คือ รู้ทั่ว รู้วิเศษ

รู้วิเศษเฉพาะ แทงตลอดอยู่อย่างนี้ รู้แล้วคือ ทราบแล้ว สอบสวนแล้ว

พิจารณาแล้ว ตรวจตราแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า ความเห็นนี้เป็นเยี่ยม

คือ เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน เป็นสงสุด เป็นอย่างยิ่ง

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลเมื่อรู้เฉพาะอย่างนี้ รู้แล้วว่า ความ

เห็นนี้เป็นเยี่ยม. ดังนี้.

[๑๑๓] คำว่า ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นญาณ บุคคล

นั้น ชื่อว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นความหมดจด มีความว่า บุคคลใด

ย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด บุคคลนั้นชื่อว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นความหมด

จด คำว่า ย่อมเชื่อว่าความเห็นนั้นเป็นญาณ มีความว่า บุคคลนั้น

ย่อมเชื่อความเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ ว่าเป็นญาณ เป็นทาง เป็นคลอง

เป็นเครื่องนำออก. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้น

เป็นญาณ บุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความหมดจด

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

เราย่อมเห็นนรชนผู้หมดจด ว่าเป็นผู้ไม่มีโรคเป็น

อย่างยิ่ง ความหมดจดดีย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น

บุคคลเมื่อรู้เฉพาะอย่างนี้ รู้แล้วว่าความเห็นนี้เป็นเยี่ยม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 494

ดังนี้ ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นญาณ บุคคลนั้นชื่อ

ว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นความหมดจด.

[๑๑๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า:-

หากว่า ความหมดจดย่อมมีแก่นรชนด้วยความเห็น

หรือว่านรชนนั้น ย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณไซร้ นรชนนั้นผู้

ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วยมรรคอื่น เพราะทิฏฐิย่อม

บอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูดอย่างนั้น.

ว่าด้วยความหมดจดเป็นต้น

[๑๑๕] คำว่า หากว่าความหมดจดย่อมมีแก่นรชนด้วยความ

เห็น มีความว่า หากว่า ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมด

จดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ย่อมมีแก่นรชน คือ

นรชนย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ ย่อมพ้น พ้นวิเศษ

พ้นรอบ ด้วยความเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า หาก

ว่าความหมดจดย่อมมีแก่นรชนด้วยความเห็น.

[๑๑๖] คำว่า หรือว่า นรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณ

ไซร้ มีความว่า หากว่า นรชนย่อมละชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์

มรณทุกข์ ทุกข์คือความโศก ความร่ำไร ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความ

คับแค้นใจ ได้ด้วยความเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณไซร้. เพราะฉะนั้น จึง

ชื่อว่า หรือว่า นรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณไซร้.

[๑๑๗] คำว่า นรชนนั้นผู้ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วย

มรรคอื่น มีความว่า นรชนย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 495

ย่อมพ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ. ด้วยมรรคอื่น คือมรรคอันไม่หมดจด

ปฏิปทาผิด ทางอันไม่นำออก นอกจากสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิ

บาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรค ๘ คำว่า ผู้ยังมีอุปธิ คือยังมี

ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ตัณหา ทิฏฐิ กิเลส อุปาทาน. เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า นรชนนั้นผู้ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วยมรรคอื่น.

[๑๐๘] คำว่า เพราะทิฏฐิย่อมบอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูด

อย่างนั้น มีความว่า ทิฏฐินั้นแหละย่อมบอกบุคคลนั้นว่า บุคคลนี้เป็น

มิจฉาทิฏฐิมีความเห็นวิปริต. แม้เพราะเหตุนั้น คำ เป็นผู้พูดอย่างนั้น

คือ เป็นผู้พูด บอก กล่าว แสดง แถลงอยู่อย่างนั้น คือ เป็นผู้พูด

บอก กล่าว แสดง แถลงว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ

โลกไม่เทียง....โลกมีที่สุด....โลกไม่มีที่สุด....ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น....

ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่น....สัตว์เบื้องหน้าแก่ตายย่อมเป็นอีก....

สัตว์เบื้องหน้าแก่ตายย่อมไม่เป็นอีก....สัตว์เบื้องหน้าแก่ตาย ย่อมเป็นอีก

ก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี....สัตว์เบื้องหน้าแก่ตาย ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อม

ไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ เพราะฉะนั้นจึงชื่อ

ว่า เพราะทิฏฐิย่อมบอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูดอย่างนั้น เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

หากว่า ความหมดจดย่อมมีแก่นรชน ด้วยความเห็น

หรือว่านรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยญาณไซร้ นรชนนั้น

ผู้ยังมีอุปธิ ย่อมหมดจดได้ด้วยมรรคอื่น เพราะทิฏฐิย่อม

บอกนรชนนั้นว่า เป็นผู้พูดอย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 496

[๑๑๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่เห็น

อารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและวัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ โดย

มรรคอื่น พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป ละ

เสียซึ่งตน. เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ในโลกนี้.

[๑๒๐] คำว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่

เห็น อารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและวัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรค

อื่น มีความว่า ศัพท์ว่า เป็นปฏิเสธ. คำว่า พราหมณ์ มีความว่า

บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะลอยเสียแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ คือ

เป็นผู้ลอยสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ

มานะ และบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น ลอยเสียแล้วซึ่งอกุศลธรรมอันลามก

ทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความ

กระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นปัจจัยแห่งชาติชราและมรณะต่อไป

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ดูก่อนสภิยะ บุคคลใดลอยบาปทั้งปวงเสียแล้ว

ปราศจากมลทิน มีจิตตั้งมั่นด้วยดี มีตนตั้งอยู่แล้ว บุคคล

นั้น เรียกว่า เป็นผู้สำเร็จกิจเพราะล่วงสงสารได้แล้ว อัน

ตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย เป็นผู้คงที่ เรียกว่า เป็นพราหมณ์.

ว่าด้วยการเชื่อถือว่าเป็นมงคล ไม่เป็นมงคล

คำว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจด.......โดยมรรคอื่น มี

ความว่า พราหมณ์ไม่กล่าว ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ซึ่งความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 497

หมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ

ความพ้นรอบ โดยมรรคอื่น คือ โดยมรรคอันไม่หมดจด ปฏิปทาผิด ทาง

อันไม่นำออก นอกจากสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ

โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ ๘. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พราหมณ์ไม่

กล่าวความหมดจด....โดยมรรคอื่น คำว่า ในอารมณ์ที่เห็น อารมณ์ที่

ได้ยิน ศีลและวัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ มีความว่า สมณพราหมณ์

บางพวกปรารถนาความหมดจดด้วยการเห็นรูป สมณพราหมณ์เหล่านั้น

ย่อมเชื่อถือการเห็นรูปบางอย่างว่า เป็นมงคล ย่อมเชื่อถือการเห็นรูปบาง

อย่างว่า ไม่เป็นมงคล.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเชื่อถือการเห็นรูปเหล่าไหนว่า เป็น

มงคล สมณพราหมณ์เหล่านั้นลุกขึ้นแต่เช้า ย่อมเห็นรูปทั้งหลายที่ถึงเหตุ

เป็นมงคลยิ่ง คือ เห็นนกแอ่นลม เห็นผลมะตูมอ่อนที่เกิดขึ้นโดยบุษย์ฤกษ์

เห็นหญิงมีครรภ์ เห็นคนที่ให้เด็กหญิงขี่คอเดินไป เห็นหม้อน้ำเต็ม เห็น

ปลาตะเพียน เห็นม้าอาชาไนย เห็นรถที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย เห็นโคตัว

ผู้ เห็นแม่โคด่าง ย่อมเชื่อถือการเห็นรูปเห็นปานนี้ว่า เป็นมงคล.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมซึ่งถือการเห็นรูปเหล่าไหนว่า ไม่เป็น

มงคล สมณพราหมณ์เหล่านั้นเห็นกองฟาง เห็นหม้อเปรียง เห็นหม้อ

เปล่า เห็นนักฟ้อน เห็นสมณะเปลือย เห็นลา เห็นยานที่เทียมด้วยลา

เห็นยานที่เทียมด้วยพาหนะตัวเดียว เห็นคนตาบอด เห็นคนง่อย เห็นคน

กระจอก เห็นคนเปลี้ย เห็นคนแก่ เห็นคนเจ็บ เห็นคนตาย ย่อมเชื่อ

ถือการเห็นรูปเห็นปานนี้ว่า ไม่เป็นมงคล พอควร สมณพราหมณ์เหล่านี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 498

นั้น เป็นผู้ปรารถนาความหมดจดด้วยการเห็นรูป ย่อมเชื่อถือความหมด

จด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ

ความพ้นรอบ ด้วยการเห็นรูป.

มีสมณพราหมณ์บางพวก ปรารถนาความหมดจด ด้วยการได้ยิน

เสียง สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเชื่อถือการได้ยินเสียงบางอย่างว่า เป็น

มงคล ย่อมเชื่อถือการได้ยินเสียงบางอย่างว่า ไม่เป็นมงคล

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเชื่อถือการได้ยินเสียงเหล่าไหนว่า เป็น

มงคล พอควร. สมณพราหมณ์เหล่านั้นลุกขึ้นแต่เช้า ย่อมได้ยินเสียงทั้ง

หลายที่ถึงเหตุเป็นมงคลยิ่ง คือ ได้ยินเสียงว่าเจริญ เสียงว่าเจริญอยู่ เสียง

ว่าเต็มแล้ว เสียงว่าขาด เสียงว่าไม่เศร้าโศก เสียงว่ามีใจดี เสียงว่าฤกษ์ดี

เสียงว่ามงคลดี เสียงว่ามีสิริ หรือเสียงว่าเจริญด้วยสิริ ย่อมเชื่อถือการได้

ยินเสียงเห็นปานนี้ว่า เป็นมงคล.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเชื่อถือการได้ยินเสียงเหล่าไหนว่า ไม่

เป็นมงคล ? สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมได้ยินเสียงว่าคนตาบอด เสียง

ว่าคนง่อย เสียงว่าคนกระจอก เสียงว่าคนเปลี้ย เสียงว่าคนแก่ เสียงว่าคน

เจ็บ เสียงว่าคนตาย เสียงว่าถูกตัด เสียงว่าถูกทำลาย เสียงว่าไฟไหม้

เสียงว่าของหา หรือเสียงว่าของไม่มี ย่อมเชื่อถือการได้ยินเสียงเห็นปาน

นี้ว่า ไม่เป็นมงคล สมณพราหมณ์เหล่านี้นั้นเป็นผู้ปรารถนาความหมดจด

ด้วยการได้ยินเสียง ย่อมเชื่อถือความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความ

หมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยการได้ยิน

เสียง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 499

ว่าด้วยความหมดจดด้วยศีล

มีสมณพราหมณ์บางพวก ปรารถนาความหมดจดด้วยศีล สมณ-

พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเชื่อถือความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความ

หมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยเหตุสักว่าศีล

เหตุสักว่าความสำรวม เหตุสักว่าความระวัง เหตุสักว่าความไม่ละเมิดศีล

ปริพาชกผู้เป็นบุตรนางปริพพาชิกา ชื่อสมณมุณฑิกา. กล่าวอย่างนี้ว่า ดู

ก่อนช่างไม้ เราย่อมบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้

แล ว่าเป็นผู้มีกุศลถึงพร้อมแล้ว มีกุศลเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงพระอรหัต

อันอุดมที่ควรถึง เป็นสมณะ เป็นผู้อันใคร ๆ ต่อสู้ไม่ได้ธรรม ๔ ประ

การเป็นไฉน. ดูก่อนช่างไม้ บุรุษบุคคลในโลกนี้ ย่อมไม่ทำบาปกรรม

ด้วยกาย ๑ ย่อมไม่กล่าววาจาอันลามก ๑ ย่อมไม่ดำริถึงเหตุที่พึงดำริอัน

ลามก ๑ ย่อมไม่อาศัยอาชีพอันลามกเป็นอยู่ ๑ ดูก่อนช่างไม้ เราย่อม

บัญญัติบุรุษผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ว่าเป็นผู้มีกุศลถึงพร้อม

แล้ว มีกุศลเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ถึงพระอรหัตอันอุดมที่ควรถึง เป็น

สมณะ เป็นผู้อันใคร ๆ ต่อสู้ไม่ได้ สมณพราหมณ์บางพวก ปรารถนา

ความหมดจดด้วยศีล สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมเชื่อถือความหมดจด

ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความ

พ้นรอบ ด้วยเหตุสักว่าศีล เหตุสักว่าความสำรวม เหตุสักว่าความระวัง

เหตุสักว่าความไม่ละเมิดศีล อย่างนี้แล.

ว่าด้วยความหมดจดด้วยวัตร

มีสมณพราหมณ์บางพวก ปรารถนาดูวามหมดจดด้วยวัตร สมณ-

พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ประพฤติหัตถีวัตรบ้าง ประพฤติอัสสวัตรบ้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 500

ประพฤติโควัตรบ้าง ประพฤติกุกกุรวัตรบ้าง ประพฤติกากวัตรบ้าง

ประพฤติวาสุเทววัตรบ้าง ประพฤติพลเทววัตรบ้าง ประพฤติปุณณภัตร-

วัตรบ้าง ประพฤติมณีภัตรวัตรข้าง ประพฤติอัคคิวัตรบ้าง พระพฤตินาค

วัตรบ้าง ประพฤติสุปัณณวัตรบ้าง ประพฤติยักขวัตรบ้าง ประพฤติอสุร

วัตรบ้าง ประพฤติคันธัพพวัตรบ้าง ประพฤติมหาราชวัตรบ้าง ประพฤติ

จันทวัตรบ้าง ประพฤติสุริยวัตรบ้าง ประพฤติอินทวัตรบ้าง ประพฤติ

พรหมวัตรบ้าง ประพฤติเทววัตรบ้าง ประพฤติทิสวัตรบ้าง สมณพราหมณ์

เหล่านั้นปรารถนาความหมดจดด้วยวัตร ย่อมเชื่อถือความหมดจด ความ

หมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยวัตร.

มีสมณพราหมณ์บางพวก ปรารถนาความหมดจดด้วยอารมณ์ที่

ทราบ มีพราหมณ์เหล่านั้นลุกขึ้นแต่เช้า ย่อมจับต้องแผ่นดิน จับต้อง

ของสดเขียว จับต้องโคมัย จับต้องเต่า เหยียบข่าย จับต้องเกวียนบรรทุก

งา เคี้ยวกินงาสีขาว ทาน้ำมันงาสีขาว เคี้ยวไม้สีฟันขาว อาบน้ำด้วยดินสอ-

พอง นุ่งขาว โพกผ้าโพกสีขาว สมณพราหมณ์เหล่านั้นปรารถนาความ

หมดจดด้วยอารมณ์ที่ทราบ ย่อมเชื่อถือความหมดจด ความหมดจดวิเศษ

ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้น วิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยอารมณ์

ที่ทราบ.

คำว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่เห็น

อารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและวัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรคอื่น

มีความว่า พราหมณ์ไม่กล่าว ไม่บอก ไม่แสดง ไม่แถลงความ

หมดจด โดยความหมดจดด้วยการเห็นรูปบ้าง โดยความหมดจดด้วยการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 501

ได้ยินเสียงบ้าง โดยความหมดจดด้วยศีลบ้าง โดยความหมดจดด้วยวัตรบ้าง

โดยความหมดจดด้วย อารมณ์ที่ทราบบ้าง. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พราหมณ์

ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ ที่เห็น อารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและ

วัตร หรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรคอื่น.

ว่าด้วยการละบุญบาป

[๑๒๑] คำว่า พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป มี

ความว่า กุสลาภิสังขารอันให้ปฏิสนธิในไตรธาตุ (กามธาตุ รูปธาตุ

อรูปธาตุ) อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่าบุญ. อกุศลทั้งหมดเรียกว่าบาปไม่

ใช่บุญ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เป็นสภาพ

อันพราหมณ์ละเสียแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ตั้งอยู่ไม่ได้ดุจตาล

ยอดด้วน ทำให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็น

ธรรมดา ในกาลใดในกาลนั้น พราหมณ์นั้นชื่อว่าย่อมไม่ติด ไม่ติดพัน

ไม่เข้าไปติด เป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดแล้ว เป็นผู้ออกไป

สละเสีย พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้ว ในบุญและบาป เป็นผู้มีจิตกระทำให้

ปราศจากแดนกิเลสอยู่ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป.

ว่าด้วยการละตน

[๑๒๒] คำว่า ละเสียซึ่งตนเรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่

ในโลกนี้ มีความว่า ละเสียซึ่งตน คือละทิฏฐิที่ถือว่าเป็นตน หรือละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 502

ความถือมั่น. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ละเสียซึ่งตน ได้แก่ ความถือ ยึด

ถือ ถือมั่น ติดใจ น้อมใจไป ด้วยสามารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่ง

ทิฏฐิ ความถือเป็นต้นนั้นทั้งปวง เป็นธรรมชาติอันพราหมณ์นั้นสละแล้ว

สำรอก ปล่อย ละ สละคืนเสียแล้ว. คำว่า ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ในโลกนี้

คือ ไม่ทำเพิ่มเติม ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร

คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ.

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ละเสียซึ่งตน เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่

ในโลกนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่เห็น

อารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและวัตรหรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรค

อื่น พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญบาป ละเสียซึ่งตน

เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมในโลกนี้.

[๑๒๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ละต้น อาศัยหลัง ไปตาม

ความแสวงหา ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้ สมณ-

พราหมณ์เหล่านั้นย่อมจับถือ ย่อมละ เหมือนลิงจับ และ

ละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น.

ว่าด้วยการจับ ๆ วาง ๆ พ้นกิเลสไม่ได้

[๑๒๔] คำว่า ละต้น อาศัยหลัง มีความว่า สมณพราหมณ์

เหล่านั้น ละศาสดาต้น อาศัยศาสดาหลัง ละธรรมที่ศาสดาต้นบอก อาศัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 503

ธรรมที่ศาสดาหลังบอก ละหมู่คณะต้น อาศัยหมู่คณะหลัง ละทิฏฐิต้น

อาศัยทิฏฐิหลัง ละปฏิปทาต้น อาศัยปฏิปทาหลัง ละมรรคต้น อาศัย อิง-

อาศัย พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจถึงมรรคหลัง. เพราะฉะนั้นจึงชื่อ

ว่า ละต้น อาศัยหลัง.

[๑๒๕] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นไปตามความแสวง

หา ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้ มีความว่า ตัณหา เรียกว่า

ความแสวงหา ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา

โลภะ อกุศลมูล. คำว่า ไปตามความแสวงหา คือไปตาม ไปตามแล้ว

แล่นไปตาม ถึงแล้ว ตกไปตามความแสวงหา อันความแสวงหาครอบงำ

แล้ว มีจิตอันความแสวงหาควบคุมแล้ว. คำว่า ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่อง

เกี่ยวข้องได้ คือ ย่อมไม่ข้าม ไม่ข้ามขึ้น ไม่ข้ามพ้น ไม่ก้าวพ้น ไม่

ก้าวล่วง ไม่ล่วงเลย ซึ่งกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ

ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต, เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นไป

ตามความแสวงหา ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้.

[๑๒๖] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมจับถือ ย่อมละ มี

ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมถือศาสดา ละศาสดานั้นแล้วย่อม

ถือศาสดาอื่น ย่อมถือธรรมที่ศาสดาอื่นบอก ละธรรมที่ศาสดาบอกนั้น

แล้ว ย่อมถือธรรมที่ศาสดาอื่นบอก ย่อมถือหมู่คณะ ละหมู่คณะนั้นแล้ว

ย่อมถือหมู่คณะอื่น ย่อมถือทิฏฐิ ละทิฏฐินั้นแล้วถือทิฏฐิอื่น ย่อมถือปฏิ-

ปทา ละปฏิปทานั้นแล้ว ถือปฏิปทาอื่น ย่อมถือมรรค ละมรรคนั้นแล้ว

ถือมรรคอื่น ย่อมถือและปล่อย คือ ย่อมยึดถือและย่อมละ. เพราะฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 504

จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมจับถือ ย่อมละ.

[๑๒๗] คำว่า เหมือนลิงจับและละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น

มีความว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมาก ย่อมจับถือและปล่อย คือย่อมยึด

ถือและสละทิฏฐิเป็นอันมาก เหมือนลิงเที่ยวไปในป่าใหญ่ ย่อมจับกิ่งไม้

ละกิ่งไม้นั้นแล้วจับกิ่งอื่น ละกิ่งอื่นนั้นแล้วจับกิ่งอื่น ฉะนั้น เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า เหมือนลิงจับและละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น. เพราะเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ละต้น อาศัยหลัง ไป

ตามความแสวงหา ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้

สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมจับถือ ย่อมละ เหมือนลิงจับ

และละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น.

[๑๒๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า:-

ชันตุชนสมาทานวัตรทั้งหลายเอง เป็นผู้ข้องใน

สัญญา ย่อมดำเนินผิด ๆ ถูก ๆ ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้

ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลาย เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจ

แผ่นดิน ย่อมไม่ดำเนินผิด ๆ ถูก ๆ.

ว่าด้วยการดำเนินผิด ๆ ถูก ๆ

[๑๒๙] คำว่า ชันตุชนสมาทานวัตรทั้งหลายเอง มีความว่า

คำว่า สมาทานเอง ได้แก่ สมาทานเอาเอง. คำว่า วัตรทั้งหลาย

ความว่า ชันตุชน ถือเอา สมาทาน ถือเอาแล้ว ถือเอาโดยเอื้อเฟื้อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 505

สมาทานแล้ว รับเอาแล้ว ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งหัตถีวัตร อัสสวัตร

โควัตร กุกกุรวัตร กากวัตร วาสุเทววัตร พลเทววัตร ปุณณภัตรวัตร

มณิภัตรวัตร อัคคิวัตร นาควัตร สุปัณณวัตร ยักขวัตร อสุรวัตร ฯลฯ

ทิสวัตร คำว่า ชันตุชน ได้แก่ สัตว์ นรชน ฯลฯ มนุษย์. เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า ชันตุชนสมาทานวัตรทั้งหลายเอง.

[๑๓๐] คำว่า เป็นผู้ข้องในสัญญา ย่อมดำเนินผิด ๆ ถูก ๆ

มีความว่า จากศาสดาต้นถึงศาสดาหลัง จากธรรมที่ศาสดาต้นบอกถึงธรรม

ที่ศาสดาหลังบอก จากหมู่คณะต้นถึงหมู่คณะหลัง จากทิฏฐิต้นถึงทิฏฐิหลัง

จากปฏิปทาต้นถึงปฏิปทาหลัง จากมรรคต้นถึงมรรคหลัง. คำว่า เป็นผู้

ข้องในสัญญา คือ เป็นผู้ข้อง เกี่ยวข้อง ข้องทั่วไป ติดอยู่ พันอยู่

เกี่ยวพันอยู่ ในกามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา ทิฏฐิสัญญา

เหมือนสิ่งของที่ข้อง เกี่ยวข้อง ข้องทั่วไป ติดอยู่ พันอยู่ เกี่ยวพันอยู่

ที่ตาปูอันตอกติดฝา หรือที่ไม้ขอ ฉะนั้น. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้

ข้องในสัญญา ย่อมดำเนินผิด ๆ ถูก ๆ.

ผู้รู้ธรรม ๗ ประการ

[๑๓๑] คำว่า ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยความรู้ทั้ง

หลาย มีความว่า คำว่า มีความรู้ ได้แก่ มีความรู้ คือถึงวิชชา มี

ญาณ มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเป็นเครื่องทำลาย

กิเลส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 506

คำว่า ด้วยความรู้ทั้งหลาย มีความว่า ญาณในมรรคทั้ง ๔

ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเป็นเครื่อง

พิจารณา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ เรียกว่า ความรู้. บุคคลผู้มีความรู้นั้น

ถึงที่สุด บรรลุที่สุด ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงที่สุดรอบ บรรลุที่สุด

รอบ ถึงที่สิ้นสุด บรรลุที่สิ้นสุด ถึงที่ป้องกัน บรรลุที่ป้องกัน ถึงที่ลับ

บรรลุที่ลับ ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่ไม่

จุติ บรรลุที่ไม่จุติ ถึงที่ไม่ตาย บรรลุที่ไม่ตาย ถึงนิพพาน บรรลุ

นิพพาน แห่งชาติชรา และมรณะ ด้วยความรู้ทั้งหลายเหล่านั้น. อีก

อย่างหนึ่ง บุคคลชื่อว่า เวทคู เพราะอรรถว่า ถึงที่สุดแห่งความรู้ทั้ง

หลายบ้าง. เพราะอรรถว่า ถึงที่สุดด้วยความรู้ทั้งหลายบ้าง. และชื่อว่า

เวทคู เพราะเป็นผู้รู้แจ้งธรรม ๗ ประการ คือเป็นผู้รู้แจ้งซึ่งสักกายทิฏฐิ

วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ มานะ และเป็นผู้รู้

แจ้งซึ่งอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย อันทำความเศร้าหมอง ให้เกิดใน

ภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นปัจจัยแห่งชาติชรา

และมรณะต่อไป. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ดูก่อนสภิยะ บุคคลเลือกเฟ้นเวททั้งสั้น ของพวก

สมณพราหมณ์ที่มีอยู่เป็นผู้ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง

ล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าเวทคู.

คำว่า ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลาย มี

ความรู้ รู้ รู้เฉพาะซึ่งธรรม คือรู้ รู้เฉพาะซึ่งธรรมว่า สังขารทั้งปวง

ไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เพราะอวิชชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 507

เป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณ

เป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะ

สฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะ

เวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะ

อุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็น

ปัจจัยจึงมีชราและมรณะ เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ

วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับสฬายตนะ

จึงดับ เพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ

เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะ

อุปาทานดับภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับชราและ

มรณะจึงดับ. และรู้ รู้เฉพาะซึ่งธรรมว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้

ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์. เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุ

ให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ.

ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ธรรมเหล่านี้ควรละ

ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง. และรู้ รู้เฉพาะ

ซึ่งธรรม คือ เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก

แห่งผัสสะสายตนะ ๖. และรู้ รู้เฉพาะซึ่งธรรม คือ เหตุเกิด ความดับ

คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕. และรู้ รู้

เฉพาะซึ่งธรรม คือ เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัด

ออกแห่งมหาภูตรูป ๔. และรู้ รู้เฉพาะซึ่งธรรมว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 508

เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา. เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลาย.

[๑๓๒] คำว่า เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน ย่อมไม่

ดำเนินผิด ๆ ถูก ๆ มีความว่า บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน

ย่อมไม่จากศาสดาต้นถึงศาสดาหลัง ไม่จากธรรมที่ศาสดาต้นบอกถึงธรรม

ที่ศาสดาหลังบอก ไม่จากหมู่คณะต้นถึงหมู่คณะหลัง ไม่จากทิฏฐิต้นถึง

ทิฏฐิหลัง ไม่จากปฏิปทาต้นถึงปฏิปทาหลัง ไม่จากมรรคต้นถึงมรรคหลัง

คำว่า บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน คือมีปัญญาใหญ่ มี

ปัญญามาก มีปัญญาเป็นเครื่องรื่นเริง มีปัญญาไว มีปัญญาคมกล้า มี

ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส. แผ่นดิน ตรัสว่า ภูริ บุคคลประกอบด้วย

ปัญญากว้างขวางแผ่ไปเสมอด้วยแผ่นดินนั้น. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคล

ผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน ย่อมไม่ดำเนินผิด ๆ ถูก ๆ

เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ชันตุชนสมาทานวัตรทั้งหลายเอง เป็นผู้ข้องใน

สัญญา ย่อมดำเนินผิดๆ ถูกๆ ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้

ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลาย เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจ

แผ่นดิน ย่อมไม่ดำเนินผิด ๆ ถูก ๆ

[๑๓๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดินนั้น เป็นผู้

กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน

หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใคร ฯ ในโลกนี้พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 509

กำหนดซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็นผู้ประพฤติเปิดเผย

ด้วยกิเลสอะไรเล่า.

ว่าด้วยมารเสนา

[๑๓๔] บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดินนั้น เป็นผู้

กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวงคือ ในรูปที่เห็น เสี่ยงที่ได้ยิน หรือ

อารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง มีความว่า กองทัพมาร เรียกว่า

เสนา. กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ

อุปนาหะ ฯลฯ อกุศลกรรมทั้งปวง ชื่อว่า กองทัพมาร. สมจริงดังที่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า.

กิเลสกาม เรากล่าวว่าเป็นกองทัพที่ ๑ ของท่าน

ความไม่ยินดี เป็นกองทัพที่ ๒ ความหิวกระหาย เป็น

กองทัพที่ ๓ ตัณหา เรากล่าวว่าเป็นของทัพที่ ๔ ของ

ท่าน ความหดหู่และความง่วงเหงา เป็นกองทัพที่ ๕ ของ

ท่าน ความขลาดเรากล่าวว่าเป็นกองทัพที่ ๖ ความลังเล

ใจ เป็นกองทัพที่ ๗ ของท่าน ความลบหลู่คุณท่านและ

หัวดื้อ เป็นกองทัพที่ ๘ ลาภ ความสรรเสริญ สักการะ

และยศที่ได้โดยทางผิด เป็นกองทัพที่ ๙ ของท่าน ยกตน

และข่มขู่ผู้อื่น เป็นกองทัพที่ ๑๐ ของท่าน ดูก่อนพระยา

มาร กองทัพของท่านนี้ เป็นผู้มีปกติกำจัดผู้มีธรรมดำ คน

ขลาดจะเอาชนะกองทัพของท่านนั้นไม่ได้ คนกล้าย่อม

ชนะได้ และครั้นชนะแล้วย่อมได้ความสุข.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 510

เมื่อใดกองทัพมารทั้งหมด และกิเลสที่กระทำความเป็นปฏิปักษ์ทั้ง

หมด อันบุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดินนั้นชนะแล้ว ให้แพ้แล้ว

ทำลายเสีย กำจัดเสีย ทำให้ไม่สู้หน้าแล้ว ด้วยอริยมรรค ๔ เมื่อนั้น

บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดินนั้น เรียกว่าเป็นผู้กำจัดเสนา. บุคคล

นั้นเป็นผู้กำจัด เสนาในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ อารมณ์ที่

รู้แจ้ง. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน

นั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือในรูปที่เห็น เสียงที่

ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ อย่างใดอย่างหนึ่ง.

[๑๓๕] คำว่า ซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็นผู้ประพฤติ

เปิดเผย มีความว่า ซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็นธรรมอันหมดจด เห็น

ธรรมอันหมดจดพิเศษ เห็นธรรมอันหมดจดรอบ เห็นธรรมอันขาว เห็น

ธรรมอันขาวรอบ อีกอย่างหนึ่ง ผู้มีความเห็นอันหมดจด มีความเห็นอัน

หมดจดวิเศษ มีความเห็นอันหมดจดรอบ มีความเห็นอันขาว มีความเห็น

อันขาวรอบ. คำว่า เปิดเผย มีความว่า เครื่องปิดบังคือตัณหา เครื่อง

ปิดบังคือกิเลส เครื่องปิดบังคืออวิชชา เครื่องปิดบังเหล่านั้น อันบุคคล

นั้นเปิดเผยแล้ว กำจัด เลิกขึ้น เปิดขึ้น ละ ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่

ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ. คำว่า ผู้ประพฤติ คือ ผู้

ประพฤติ ผู้เที่ยวไป เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพ

ดำเนินไป. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็น ผู้

ประพฤติเปิดเผย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 511

[๑๓๖] คำว่า ใคร ๆ ในโลกนี้ พึงกำหนด....ด้วยกิเลส

อะไรเล่า มีความว่า คำว่า กำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ

ความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความ

กำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ บุคคลนั้นละความ

กำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความ

กำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว. ใคร ๆ จะพึงกำ-

หนดบุคคลนั้น ด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา

อนุสัย อะไรเล่าว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลงผูกพัน ถือมั่น ถึง

ความฟุ้งซ่าน ถึงความไม่ตกลง หรือถึงโดยเรี่ยวแรง กิเลสเครื่องปรุง

แต่ง เหล่านั้นอันบุคคลนั้นละแล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงแต่ง

เหล่านั้นแล้ว. ใคร ๆ จะพึงกำหนดคติแห่งบุคคลนั้น ด้วยกิเลสอะไรเล่าว่า

เป็นผู้เกิดในนรก เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์

เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์

ไม่มีสัญญา หรือเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ บุคคลนั้นไม่มี

เหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ อันเป็นเครื่องกำหนด กำหนดวิเศษ ถึง

ความกำหนดแห่งใคร ๆ. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก

เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ใคร ๆ

ในโลกนี้พึงกำหนด....ด้วยกิเลสอะไรเล่า เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดินนั้น เป็นผู้

กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือในโลกที่เห็น เสียงที่ได้ยิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 512

หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใคร ๆ ในโลกนี้พึง

กำหนดซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผย

ด้วยกิเลสอะไรเล่า

[๑๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหา

และทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่กล่าวว่า

เป็นความหมดจดส่วนเดียว สัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็น

เครื่องถือมั่น ผูกพันร้อยรัดแล้ว ไม่ทำความหวังในที่

ไหน ๆ ในโลก.

ว่าด้วยคุณลักษณะของสัตบุรุษ

[๑๓๘] คำว่า สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำ

ตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า มีความว่า คำว่า กำหนด ได้แก่

ความกำหนด ๒ อย่าง คือความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนด

ด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ

กำหนดด้วยทิฏฐิ สัตบุรุษเหล่านั้นละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืน

ความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละ

คืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว สัตบุรุษเหล่านั้นจึงไม่กำหนดซึ่งความ

กำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนดด้วยทิฏฐิ คือไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิด

พร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่

กำหนด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 513

คำว่า ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า มีความว่า

ความทำไว้ในเบื้องหน้า ๒ อย่างคือ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา ๑

ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความทำไว้ในเบื้องหน้า

ด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ. สัตบุรุษเหล่านั้น

ละความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา สละคืนความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วย

ทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา สละคืนความ

ทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิแล้ว จึงไม่กระทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า

เที่ยวไป คือ เป็นผู้ไม่มีตัณหาเป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นธงยอด ไม่มีตัณหา

เป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นธงยอด ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่

เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่แวดล้อมเที่ยวไป. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ใน

เบื้องหน้า.

[๑๓๙] คำว่า สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่กล่าวว่า เป็นความ

หมดจดส่วนเดียว มีความว่า สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่กล่าว ไม่บอก

ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ซึ่งความไม่หมดจดส่วนเดียว ความหมดจด

จากสงสาร ความหมดจดโดยอกิริยทิฏฐิ วาทะว่า สัตว์สังขารเที่ยง ว่า

เป็นความหมดจดส่วนเดียว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สัตบุรุษเหล่านั้น

ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดส่วนเดียว.

[๑๔๐] คำว่า สัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็นเครื่องถือมั่น

ผูกพัน ร้อยรัดแล้ว มีความว่า คำว่า กิเลสเป็นเครื่องผูกพัน

ได้แก่ กิเลสเป็นเครื่องผูกพัน ๔ อย่าง คือ กิเลส เป็นเครื่องผูกพันทาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 514

กายคือ อภิชฌา พยาบาท สีลัพพตปรามาส ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง.

ความกำหนัด ความเพ่งเล็งด้วยทิฏฐิของตนเป็นกิเลสเครื่องผูกพันทางกาย.

ความอาฆาต ความไม่ยินดี ความพยาบาทในถ้อยคำของชนอื่น. สีลัพพต

ปรามาสคือความยึดถือศีลหรือวัตร หรือทั้งศีลและวัตรของตน ความเห็น

ความยึดถือว่าสิ่งนี้จริง ของคน เป็นกิเลสเครื่องผูกพันทางกาย. เพราะ

เหตุไรจึงเรียกว่าเป็นกิเลสเครื่องถือมั่นผูกพันเพราะสัตว์ทั้งหลายย่อมถือ

เข้าไปถือ จับ ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สังสารวัฏ ด้วยกิเลสเป็นเครื่องผูกพันเหล่านั้น.

เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า เป็นกิเลสเครื่องถือมั่นผูกพัน.

คำว่า ละ คือ สลัด หรือละกิเลสเป็นเครื่องผูกพันทั้งหลาย. อีก

อย่างหนึ่ง. สัตบุรุษเหล่านั้น แก้หรือละกิเลสทั้งหลายที่ผูกพัน ร้อยรัด

รัดรึง พ้น ตรึง เหนี่ยวรั้ง ติด ข้อง เกี่ยวพัน พันอยู่ เหมือนชน

ทั้งหลายทำความปลดปล่อยไม่กำหนดวอ รถ เกวียน หรือรถมีเครื่อง

ประดับ ฉะนั้น อีกอย่างหนึ่ง สัตบุรุษเหล่านั้น แก้หรือละกิเลสทั้งหลาย

ที่ผูกพัน ร้อยรัด รัดรึง พัน ตรึง เหนี่ยวรั้ง ติด ข้อง เกี่ยวพัน

พ้นอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็นเครื่องถือ

มั่นผูกพัน ร้อยรัดแล้ว.

[๑๔๑] คำว่า ย่อมไม่ทำความหวังในที่ไหน ๆ ในโลก มี

ความว่า ตัณหา เรียกว่า ความหวัง ได้แก่ความกำหนัด ความกำหนัด

กล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 515

คำว่า ย่อมไม่ทำความหวัง มีความว่า ย่อมไม่ทำความหวัง

ไม่ให้ความหวังเกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ.

คำว่า ในที่ไหน ๆ ได้แก่ ในที่ไหน ๆ ในที่ใดที่หนึ่งทุก ๆ แห่ง

ในภายใน ในภายนอก หรือทั้งภายในภายนอก.

คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อมไม่ทำความหวัง ในที่ไหน ๆ ในโลก. เพราะ

เหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่ทำตัณหา

และทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่กล่าวว่า

เป็นความหมดจดส่วนเดียว สัตบุรุษเหล่านั้นละกิเลสเป็น

เครื่องถือมั่น ผูกพัน ร้อยรัดแล้ว ไม่ทำความหวังในที่

ไหน ๆ ในโลก.

[๑๔๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

พระอรหันต์นั้นผู้ล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว ทั้งรู้

ทั้งเห็นแล้ว มิได้มีความยึดถือ มิได้มีความกำหนัดใน

กามคุณเป็นที่กำหนัด มิได้กำหนดในสมาบัติเป็นที่คลาย

กำหนัด มิได้มีความยึดถือว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม.

ว่าด้วยพระอรหันต์

[๑๔๓] คำว่า พระอรหันต์นั้นผู้ล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว

ทั้งรู้ทั้งเห็นแล้ว มิได้มีความยึดถือ มีความว่า คำว่า แดน ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 516

แดน ๔ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อนุสัยคือ

ทิฏฐิ อนุสัยคือวิจิกิจฉา และเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ฝ่ายเดียวกันนี้เป็นแดนที่ ๑.

สังโยชน์คือกามราคะ สังโยชน์คือปฏิฆะ อนุสัยคือกามราคะ อนุสัย

คือปฏิฆะ ส่วนหยาบ ๆ และเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ฝ่ายเดียวกัน นี้เป็นแดนที่ ๒.

สังโยชน์คือกามราคะ สังโยชน์คือปฏิฆะ อนุสัยคือกามราคะ อนุสัย

คือปฏิฆะ ส่วนละเอียด และเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ฝ่ายเดียวกัน นี้เป็นแดนที่ ๓.

รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา อนุสัยคือมานะ

อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา และเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ฝ่ายเดียวกัน

นี้เป็นแดนที่ ๔.

เมื่อใด พระอรหันต์นั้นเป็นผู้ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วยดี ล่วงเลย

แดน ๔ อย่างเหล่านี้ ด้วยอริยมรรค ๔. เมื่อนั้น พระอรหันต์นั้น จึง

เรียกว่าเป็นผู้ล่วงแดนแล้ว.

คำว่า ลอยบาปแล้ว ความว่า ชื่อว่าผู้ลอยบาปแล้ว เพราะเป็น

ผู้ลอยแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ ฯลฯ เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว

เป็นผู้คงที่ จึงเรียกท่านว่าเป็นพรหม.

คำว่า นั้น ได้แก่ พระอรหันต์ผู้ขีณาสพ.

คำว่า รู้แล้ว คือผู้รู้แล้วด้วยปรจิตตญาณ หรือรู้แล้วด้วยปุพเพ-

นิวาสานุสสติญาณ.

คำว่า เห็นแล้ว คือเห็นแล้วด้วยมังสจักษุ หรือด้วยทิพยจักษุ.

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระอรหันต์นั้นผู้ล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว

ทั้งรู้ทั้งเห็นแล้ว มิได้มีความยึดถือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 517

คำว่า ความยืดถือ ความว่า พระอรหันต์นั้น มิได้มี ความถือ

ถือมั่น ยึดมั่น ติดใจ น้อมใจไปว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม เลิศ ประเสริฐ วิเศษ

เป็นใหญ่ สูงสุด บวร.

คำว่า ไม่มี ความว่า ย่อมไม่มี มีอยู่หามิได้ ไม่ปรากฏ ไม่เข้า

ไปได้. ความยึดถือนั้นอันพระอรหันต์นั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่

ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระ

อรหันต์นั้นผู้ล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว รู้และเห็นแล้ว มิได้

มีความยืดถือ.

[๑๔๔] คำว่า มิได้มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด

มิได้กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด มีความว่า ชนเหล่าใด

กำหนัด รักใคร่ หลงใหล ติดใจ ลุ่มหลง ข้อง เกี่ยว พัวพัน ใน

กามคุณ ๕ ชนเหล่านั้น เรียกว่า กำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด. ชน

เหล่าใด กำหนัด รักใคร่ หลงใหล ติดใจ ลุ่มหลง ข้องเกี่ยว พัวพัน

ในรูปาวจรสมาบัติและอรูปาวจรสมาบัติ ชนเหล่านั้น เรียกว่า กำหนัดแล้ว

ในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด.

คำว่า มิได้มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด มิได้

กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด ความว่า เมื่อใดกามราคะ รูป

ราคะ และอรูปราคะ เป็นกิเลสอันพระอรหันต์นั้นละ ตัดมูลรากขาดแล้ว

ทำให้ตั้งอยู่ไม่ได้ดังตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี ทำให้ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็น

ธรรมดา เมื่อนั้น พระอรหันต์ ชื่อว่ามิได้มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่

กำหนัด มิได้กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด ด้วยเหตุมีประมาณเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 518

[๑๔๕] คำว่า มิได้มีความข้อถือว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม มีความว่า

คำว่า นั้น ได้แก่ พระอรหันต์ขีณาสพ พระอรหันต์นั้นมิได้มีความถือ

ถือมั่น ยึดมั่น ติดใจ น้อมใจไปว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม เลิศ ประเสริฐ

วิเศษ เป็นใหญ่ สูงสุด บวร.

คำว่า ไม่มี ความว่า ย่อมไม่มี มีอยู่หามิได้ ไม่ปรากฏ ไม่เข้า

ไปได้. ความยึดถือนั้น อันพระอรหันต์นั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ

ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

มิได้มีความยึดถือว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า :-

พระอรหันต์นั้นผู้ล่วงแดนแล้ว ลอยบาปแล้ว ทั้งรู้

ทั้งเห็นแล้ว มิได้มีความยึดถือ มิได้มีความกำหนัดใน

กามคุณเป็นที่กำหนัด มิได้กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลาย

กำหนัด มิได้มีความยืดถือว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม ดังนี้.

จบสุทธัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 519

อรรถกถาสุทธัฏฐกสุตตนิทเทส

ในสุทธัฏฐกสูตรที่ ๔ พึงทราบเนื้อความในคาถาแรกก่อน :- พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหมดจดย่อมมีเพราะ

ความเห็น เห็นปานนี้หามิได้ อีกอย่างหนึ่งแล คนพาลผู้มีทิฏฐิเห็น

พราหมณ์จันทาภะ หรือคนเห็นปานนี้อื่น ผู้ไม่หมดจดเพราะขุ่นมัวด้วย

กิเลส ผู้มีโรคเพราะถูกโรคคือกิเลสถึงทับ ย่อมรู้เฉพาะ ย่อมเห็นผู้หมด

จดว่าเป็นผู้ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ก็ความหมดจดดีย่อมมีแก่นรชน เพราะ

ความเห็นกล่าวคือทิฏฐินั้นดังนี้.

คนพาลนั้นรู้เฉพาะอยู่อย่างนี้ รู้แล้วว่า ความเห็นเป็นเยี่ยม เป็นผู้

พิจารณาเห็นความหมดจดในความเห็นนั้น ย่อมเชื่อว่าความเห็นนั้นเป็น

มรรคญาณ แต่ความเห็นนั้นมิได้เป็นมรรคญาณ.

บทว่า ปรม อาโรคฺย ปตฺต ความว่า ถึงความไร้พยาธิอันอุดม

ตั้งอยู่.

บทว่า ตาณปฺปตฺต ความว่า ถึงธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองอย่างนั้น.

บทว่า เลณปฺปตฺต ความว่า ถึงธรรมเป็นที่แอบแฝง.

บทว่า สรณปฺปตฺต ความว่า ถึงธรรมเป็นที่พึ่ง หรือถึงธรรม

เครื่องยังทุกข์ให้พินาศ.

บทว่า อจฺจุตปฺปตฺต ความว่า ถึงความปลอดภัย.

บทว่า อจฺจุตปฺปตฺต ความว่า ถึงภาวะเที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 520

บทว่า อมตปฺปตฺต ความว่า ถึงธรรมไม่ตาย คือมหานิพพาน.

บทว่า นิพฺพานปฺปตฺต ความว่า ถึงธรรมที่เว้นจากตัณหาเครื่อง

ร้อยรัด.

บทว่า อภิชานนฺโต ความว่า รู้โดยวิเศษ.

บทว่า อาชานนฺโต ความว่า รู้ทั่ว.

บทว่า วิชานนฺโต ความว่า รู้หลายอย่าง.

บทว่า ปฏวิชานนฺโต ความว่า รู้แจ้งเพราะอาศัยความเห็นนั้น ๆ.

บทว่า ปฏิวิชฺฌนฺโต ความว่า กระทำไว้ในหทัย.

บทว่า จกฺขุวิญฺาเณน รูปทสฺสน ความว่า ความเห็นรูปด้วย

จักขุวิญญาณ

บทว่า าณนฺติ ปจฺเจติ ความว่า ย่อมเชื่อว่าเป็นปัญญา.

บทว่า มคฺโคติ ปจฺเจติ ความว่า ย่อมเชื่อว่าเป็นอุบาย.

บทว่า ปโถ ความว่า เป็นที่สัญจร.

บทว่า นียาน ความว่า เครื่องถือไป, ปาฐะว่า นิยฺยาน ก็มี.

คาถาที่ ๒ ว่า ทิฏเน เจ สุทฺธิ เป็นต้น เนื้อความของคาถา

นั้นว่า ถ้าความหมดจดจากกิเลสย่อมมีแก่นรชน ด้วยความเห็น กล่าวคือ

ความเห็นรูปนั้น. หรือว่า ถ้านรชนนั้นย่อมละทุกข์มีชาติเป็นต้น. ด้วย

ญาณนั้นไซร้ เมื่อเป็นอย่างนั้น นรชนนั้นย่อมหมดจดด้วยมรรคอันไม่

หมดจดอื่นจากอริยมรรคนั่นแล. คือย่อมถึงความเป็นผู้ที่จะพึงกล่าวว่า

เป็นผู้ยังมีอุปธิด้วยอุปธิมีราคะเป็นต้นอยู่นั่นแลหมดจด และไม่เป็นอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 521

นั้นหมดจด เพราะทิฏฐิย่อมบอกนรชนนั้นว่าเป็นผู้พูดอย่างนั้น คือทิฏฐิ

นั้นแหละย่อมบอกว่า ผู้นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ได้แก่บอกอย่างนั้น ๆ โดยนัยว่า

โลกเที่ยงเป็นต้น สมควรแก่ทิฏฐิ.

ชื่อว่า ยังมีราคะ เพราะอรรถว่า เป็นไปกับด้วยราคะ. ความว่า

มีราคะ แม้ในบทว่า สโทโส เป็นต้นก็นัยนี้แล.

คาถาที่ ๓ ว่า น พฺราหฺมโณ เป็นต้น เนื้อความของคาถานั้น

ว่าก็ผู้ใดชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะลอยคือย่างบาปเสียแล้ว ผู้นั้นถึงความ

สิ้นอาสวะ เป็นพราหมณ์ขีณาสพ ด้วยมรรค ไม่กล่าวความหมดจดด้วย

มิจฉาญาณที่เกิดขึ้น ในอารมณ์ที่เห็นกล่าวคือรูปที่สมมติว่าเป็นมงคลยิ่ง

ในอารมณ์ที่ได้ยินกล่าวคือเสียงอย่างนั้น ในศีลกล่าวคือความไม่ก้าวล่วง

ในวัตรต่างโดยหัตถีวัตรเป็นต้น และในอารมณ์ที่ทราบต่างโดยปฐพีเป็น

ต้น ซึ่งอื่นจากอริยมรรคญาณ. คำนี้ท่านกล่าวด้วยการกล่าวสรรเสริญ

พราหมณ์ขีณาสพ.

ก็พราหมณ์นั้นเป็นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญที่เป็นไปในธาตุสาม และใน

บาปทั้งปวง เป็นผู้ละเสียซึ่งตน เพราะเหตุไร ? เพราะละตนนั้นได้คือ

เพราะละความเห็นว่าตนหรือความยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่ง. ท่านกล่าวว่า

เป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ให้โลกนี้ เพราะไม่การทำปุญญาภิสังขารเป็นต้น.

อนึ่ง พึงทราบการเชื่อมบทนั้น ทั้งหมดนั้นแล ด้วยบทแรกว่า พราหมณ์

ผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป ผู้ละเสียซึ่งตน ผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ในโลกนี้

ไม่กล่าวความหมดจด โดยมรรคอื่น.

บทว่า นาติ ปฏิกฺเขโป ความว่า ศัพท์เป็นศัพท์ปฏิเสธ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 522

คาถาว่า พาเหตฺวา สพฺพปาปกานิ เป็นต้น มีความว่า บุคคล

ใดลอยบาปทั้งปวงเสียแล้วด้วยมรรคที่ ๔ (อรหัตตมรรค) ชื่อว่ามีตนตั้งอยู่

แล้ว เพราะทิฏฐิตั้งอยู่ไม่ได้ และเพราะลอยบาปเสียแล้วนั่นแล ชื่อว่า

ปราศจากมลทิน. คือถึงความเป็นผู้ปราศจากมลทินคือความเป็นพรหม

ความเป็นผู้ประเสริฐ ชื่อว่ามีจิตตั้งมั่นด้วยดี ด้วยมรรคสมาธิและผลสมาธิ

ซึ่งสละมลทินคือกิเลสที่การทำความฟุ้งซ่านแก่สมาธิ. ท่านเรียกว่าเป็นผู้

สำเร็จกิจ เพราะความเป็นผู้มีกิจอันสำเร็จแล้ว เพราะล่วงสงสารได้แล้ว

เพราะก้าวล่วงเหตุแห่งสงสาร ว่าเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย เพราะ

ความเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว. และว่าเป็นผู้คงที่ เพราะไม่มี

พิการด้วยโลกธรรม บุคคลนั้น ควรชมเชยอย่างนี้ จึงเรียกว่าเป็นผู้ประเสริฐ

คือเป็นพราหมณ์.

บทว่า อญฺตฺร สติปฏฺาเนหิ ความว่า พ้นสติปัฏฐาน ๔

แม้ในสัมมัปปธานเป็นต้น ก็นัยนี้แล.

บทว่า สนฺเตเก สมณพฺราหฺมณา ความว่า สมณพราหมณ์บาง

พวกได้โวหารว่า สมณพราหมณ์ ด้วยการกำหนดของโลก มีอยู่.

บทว่า ทิฏฺสุทฺธิกา ความว่า ปรารถนาความหมดจด ด้วยการ

เห็นรูป.

บทว่า เต เอกจฺจาน รูปาน ทสฺสน ความว่า สมณพราหมณ์

เหล่านั้น ปรารถนาความหมดจดด้วยการเห็นรูป ย่อมเชื่อการแลดูรูปารมณ์

เหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 523

บทว่า มงฺคล ปจฺเจนฺติ ความว่า ย่อมให้ตั้งไว้ซึ่งเหตุแห่งความ

สำเร็จ เหตุแห่งความเจริญ เหตุแห่งสมบัติทั้งปวง.

บทว่า อมงฺคล ปจฺเจนฺติ ความว่า ย่อมให้ตั้งไว้ซึ่งเหตุแห่ง

ความสำเร็จ หามิได้. ซึ่งเหตุแห่งความเจริญ หามิได้, ซึ่งเหตุแห่งสมบัติ

ทั้งปวง หามิได้.

บทว่า เต กาลโล วุฏฺหิตฺวา ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น

คือพวกเชื่อถือสิ่งที่เห็นเป็นต้นว่าเป็นมงคล ลุกขึ้นก่อนกว่าทีเดียว.

บทว่า อภิมงฺคลคตานิ ความว่า ที่ถึงเหตุแห่งความเจริญโดย

พิเศษ.

บทว่า รูปานิ ปสฺสนฺติ ความว่า ย่อมเห็นรูปารมณ์มีอย่างต่าง ๆ.

บทว่า วาตสกุณ ความว่า นกมีชื่ออย่างนั้น.

บทว่า ปุสฺสเวฬุวลฏฺึ ความว่า ผลมะตูมอ่อนที่เกิดขึ้นโดย

บุษยฤกษ์.

บทว่า คพฺภินิตฺถึ ความว่า หญิงมีครรภ์.

บทว่า กุมารก ขนฺเธ อาโรเปตฺวา คจฺฉนฺต ความว่า คน

ที่ยกเด็กรุ่น ๆ ขึ้นบ่าเดินไป.

บทว่า ปุณฺณฆฏ ความว่า หม้อเต็มด้วยน้ำ.

บทว่า โรหิตมจฺฉ ความว่า ปลาตะเพียนแดง.

บทว่า อาชญฺรถ ความว่า รถเทียมม้าสินธพ.

บทว่า อุสภ ความว่า โคตัวผู้เป็นมงคล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 524

บทว่า โคกปิล ความว่า แม่โคดำแดง.

บทว่า ปลาลปุญฺช ความว่า กองข้าวเปลือก.

บทว่า ตกฺกฆฏ ความว่า ถาดที่เต็มไปด้วยเปรียงโคเป็นต้น.

บทว่า ริตฺตฆฏ ความว่า หม้อเปล่า

บทว่า นฏ ความว่า การฟ้อนรำของนักฟ้อนเป็นต้น. อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า กิริยาของนักเลง.

บทว่า นคฺคสมณก ความว่า สมณะไม่นุ่งผ้า.

บทว่า ขร ความว่า ลา.

บทว่า ขรยาน ความว่า ยวดยานเป็นต้นที่เทียมลา.

บทว่า เอกยุตฺตยาน ความว่า ยานที่เทียมด้วยสัตว์พาหนะตัวเดียว.

บทว่า กาณ ความว่า คนตาบอดข้างเดียวและสองข้าง.

บทว่า กุณึ ความว่า คนมือง่อย.

บทว่า ขญฺช ความว่า คนเท้ากระจอก คือมีเท้าไปขวาง.

บทว่า ปกฺขหต ความว่า คนพิการ.

บทว่า ชิณฺณก ความว่า คนแก่เพราะชรา.

บทว่า พฺยาธิก ความว่า คนถูกพยาธิเบียดเบียน.

บทว่า มต ความว่า คนตาย.

บทว่า สุตสุทฺธิกา ความว่า ปรารถนาความหมดจดด้วยการได้

ยินเสียงด้วยโสตวิญญาณ.

บทว่า สทฺทาน สวน ความว่า การได้ยินสัททารมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 525

บทว่า วฑฺฒาติ วา เป็นต้น ท่านกล่าวถือเอาสักว่าเป็นเสียงที่

เป็นไปในโลก แต่เสียงที่กล่าวโดยชื่อนั้น ๆ ว่า กาโณ เป็นต้นนั่นแล

ไม่เป็นมงคล.

บทว่า ฉินฺนนฺติ วา ความว่า เสียงว่าถูกตัดมือและเท้าเป็นต้น.

บทว่า ภินฺนนฺติ วา ความว่า เสียงว่าถูกตีศีรษะเป็นต้น.

บทว่า ทฑฺฒนฺติ วา ความว่า เสียงว่าถูกไฟไหม้.

บทว่า นฏฺนฺติ วา ความว่า เสียงว่าพินาศเพราะพวกโจรเป็น

ต้น.

บทว่า นตฺถีติ วา ความว่า หรือเสียงว่าของไม่มี.

บทว่า สีลสุทฺธิกา ความว่า ผู้ปรารถนาความหมดจดด้วยศีล.

บทว่า สีลมตฺเตน ความว่า ด้วยเหตุสังวร.

บทว่า สญฺมมตฺเตน ความว่า ด้วยเหตุสักว่าเข้าไปยินดี.

บทว่า สวรมตฺเตน ความว่า ด้วยเหตุสักว่ากั้นทวาร.

บทว่า อวีติกฺกมมตฺเตน ความว่า ด้วยเหตุสักว่าไม่ก้าวล่วงศีล.

บทว่า สมณมุณฑิกาปุตฺโต เป็นชื่อที่ได้มาทางฝ่ายมารดา.

บทว่า สมฺณปนฺนกุสล ความว่า มีกุศลบริบูรณ์.

บทว่า ปรมกุสล ความว่า มีกุศลสูงสุด.

บทว่า อุตฺตมปตฺติปฺปตฺต ความว่า ผู้ถึงพระอรหันต์อันอุดมที่

พึงตั้งอยู่.

บทว่า อโยชฺฌ ความว่า สมณะผู้อันใคร ๆ ไม่อาจให้แพ้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 526

บทว่า วตฺตสุทฺธิกา ความว่า ผู้ปรารถนาความหมดจดด้วยวัตร

คือการสมาทาน.

บทว่า หตฺถิวตฺติกา วา ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติหัตถี

วัตร เพราะอรรถว่า มีหัตถีวัตรที่สมาทานไว้.

อธิบายว่า กระทำกิริยาอย่างช้างทั้งปวง ทำอย่างไร ? สมณพราหมณ์

เหล่านั้น เกิดความคิดขึ้นอย่างนี้ว่า จำเดิมแต่วันนี้ไป เราจักการทำสิ่งที่ช้าง

ทั้งหลายทำจึงกระทำอาการเดิน ยืน นั่ง นอน ถ่ายอุจจาระปัสสาวะอย่าง

ช้างทั้งหลาย และอาการที่เห็นช้างอื่น ๆ แล้วชูงวงเดินไปทุกอย่าง ดังนั้น

จึงชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติหัตถีวัตร.

แม้ในบทว่า เป็นผู้พระพฤติอัสสวัตรเป็นต้น ก็พึงประกอบบทตาม

ที่ควรประกอบ ด้วยสามารถบทที่ได้มา.

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า ทิสาวตฺติกา วา ซึ่งเป็นบทสุดท้าย

มีความว่า เป็นผู้ประพฤติทิสวัตรที่สมาทาน ด้วยสามารถนมัสการทิศมีทิศ

บูรพาเป็นต้น. การสมาทานวัตรของสมณพราหมณ์มีประการดังกล่าวแล้ว

เหล่านั้น เมื่อสำเร็จย่อมนำเข้าไปถึงความเป็นเพื่อนกับช้างเป็นต้น. แต่ถ้า

มิจฉาทิฏฐิมีแก่เขาผู้คิดอยู่ว่า เราย่อมเป็นเทวดา หรือเทวดาองค์ใดองค์

หนึ่ง ด้วยการสมาทานศีลและวัตร และความประพฤติอันประเสริฐนี้ พึง

ทราบว่า นรกและกำเนิดดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมมี.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนปุณณะ บุคคล

บางคนในโลกนี้บำเพ็ญวัตรสุนัขบริบูรณ์ไม่วุ่นวาย, บำเพ็ญศีลสุนัข

บริบูรณ์ไม่วุ่นวาย, บำเพ็ญสมาธิสุนัขบริบูรณ์ไม่วุ่นวาย บำเพ็ญอากัปปะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 527

สุนัขบริบูรณ์ไม่วุ่นวาย, บุคคลนั้นบำเพ็ญวัตรสุนัขบริบูรณ์ไม่วุ่นวาย.

บำเพ็ญศีลสุนัขบริบูรณ์ไม่วุ่นวาย, บำเพ็ญสมาธิสุนัขบริบูรณ์ไม่วุ่นวาย.

บำเพ็ญอากัปปะสุนัขบริบูรณ์ไม่วุ่นวาย. ครั้นแตกกายตายไปแล้วย่อมเข้า

ถึงความเป็นเพื่อนกับสุนัขทั้งหลาย. ก็ถ้าเขามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เราจักเป็น

เทวดาหรือเทวดาองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีล วัตรหรือพรหมจรรย์นี้ ทิฏฐิของ

เขานั้นย่อมเป็นมิจฉาทิฏฐิ. ดูก่อนปุณณะเรากล่าวว่าคนมิจฉาทิฏฐิมีคติ ๒

อย่างคือนรก หรือกำเนิดดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง. ดูก่อนปุณณะ

วัตรสุนัขเมื่อสำเร็จ ย่อมนำเข้าถึงความเป็นเพื่อนกับสุนัขทั้งหลาย. เมื่อ

ไม่สำเร็จย่อมนำเข้าสู่นรก. ไม่พึงถือเอาเนื้อความว่า ผู้ประพฤติคันธัพพวัตร

เป็นต้น ย่อมเข้าถึงความเป็นเพื่อนกับคนธรรพ์เป็นต้น. แต่พึงถือเอาว่า

ย่อมเข้าถึงนรกและกำเนิดดิรัจฉานนั่นแล เพราะถือเอาด้วยมิจฉาทิฏฐิ.

บทว่า มุตสุทฺธิกา ความว่า ผู้ปรารถนาความหมดจด ด้วย

อารมณ์ที่ถูกต้อง.

บทว่า ปวึ อามสนฺติ ความว่า ย่อมถูกต้องแผ่นดินใหญ่ที่มี

สัมภาระ ด้วยกาย.

บทว่า หริต ความว่า หญ้าแพรกเขียวสด.

บทว่า โคมย ความว่า โคมัยของโคเป็นต้น.

บทว่า กจฺฉป ความว่า เต่าหลายชนิดมีเต่ากระดูกเป็นต้น.

บทว่า ชาล อกฺกมนฺติ ความว่า ย่ำเหยียบข่ายเหล็ก.

บทว่า ติลวาห ความว่า เกวียนบรรทุกงา หรือกองงา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 528

บทว่า ปุสฺสติล ขาทนฺติ ความว่า เคี้ยวกินงาที่ประกอบด้วย

มงคล.

บทว่า ปสฺสเตล มกฺเขนฺติ ความว่า ทำน้ำมันงาอย่างนั้นเป็น

เครื่องพรมสรีระ.

บทว่า ทนฺตวฏ ความว่า ไม้สีฟัน.

บทว่า มตฺติกาย นหายนฺติ ความว่า ถูสรีระด้วยดินอ่อน มี

ดินสอพองเป็นต้นแล้วอาบน้ำ.

บทว่า สาฏก นิวาเสนฺติ ความว่า นุ่งห่มผ้าที่ประกอบด้วย

มงคล.

บทว่า เวฏฺน เวฏฺนฺติ ความว่า วาง คือ สวมผ้าโพกศีรษะ

ซึ่งเป็นผ้าไหมเป็นต้นบนศีรษะ.

บทว่า เตธาตุก กุสลาภิสงฺขาร ความว่า ปัจจยาภิสังขารซึ่งเกิด

แต่ความฉลาด ให้ปฏิสนธิในกามธาตุ รูปธาตุ และอรูปธาตุ.

บทว่า สพฺพ อกุสล ความว่า อกุศลซึ่งเกิดแต่ความไม่ฉลาด ๑๒,

บทว่า ยโต ได้แก่ ในกาลใด. ปุญญาภิสังขาร ๑๓ อปุญญาภิ

สังขาร ๑๒ และอาเนญชาภิสังขาร ๔ เป็นอันละได้แล้ว ด้วยสมุจเฉทปหาน

ตามสมควร.

บทว่า อตฺตทิฏฺิญฺชโห ความว่า ละทิฏฐิที่ถือว่า นั่นเป็นตัว

ตนของเรา.

บทว่า คาหญฺชโห ความว่า ละความยึดถือที่สัมปยุตด้วยมานะว่า

เราเป็นนั่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 529

บทว่า อตฺตญฺชโห มีความอีกว่า บทเป็นต้นว่า ความถือลูบคลำ

ความจับต้องแต่ข้างหน้า ความถือมั่นในอัตตานั้น ความติดใจกลืนด้วย

สามารถตัณหามีกำลัง และความปรารถนามีกำลัง ด้วยสามารถความยึดถือ

ด้วยตัณหาและด้วยสามารถความยึดถือด้วยทิฏฐิ ว่า นั่นของเรา ความถือ

เป็นต้นทั้งปวงนั้นย่อมเป็นอันพราหมณ์นั้นสละแล้ว ดังนี้ มีนัยดังกล่าว

แล้วนั่นแล.

ครั้นกล่าวว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดโดยมรรคอื่น อย่างนี้

แล้ว บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงความที่ทิฏฐินั้น ของพวกมีทิฏฐิ

ที่กล่าวความหมดจดโดยมรรคอื่นเหล่านั้น เป็นทิฏฐินำทุกข์ออกไม่ได้ จึง

กล่าวคาถา ปุริม ปหาย ดังนี้ เป็นต้น.

คาถานั้นมีความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นแม้เป็นผู้กล่าวความหมด

จดโดยมรรคอื่น ละศาสดาต้น เป็นต้น อาศัยศาสดาหลัง เพราะถูกความ

ถือและความปล่อยครอบงำ เพราะละทิฏฐินั้นไม่ได้ ไปตามตัณหากล่าวคือ

ความแสวงหา คือถูกตัณหาครอบงำ ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง

ต่างโดยราคะเป็นต้น และเมื่อไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ย่อมเรียนด้วย

ย่อมละด้วยซึ่งธรรมนั้น ๆ เหมือนลิงเกาะกิ่งไม้.

บทว่า ปุริม สตฺถาร ปหาย ความว่า เว้นปฏิญญาของศาสดา

ที่ถือไว้ในก่อน.

บทว่า อปร สตฺถาร นิสฺสิตา ความว่า อาศัย คือ ติดแน่น

ปฏิญญาของศาสดาอื่น. แม้ในบทว่า ปุริม ธมฺมกฺขาน ปหาย เป็น

ต้นก็นัยนี้แล.

บทว่า เอชานุคา ความว่า ไปตามตัณหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 530

บทว่า เอชานุคตา ความว่า ไปตามตัณหาแล้ว.

บทว่า เอชานุสุฏา ความว่า ซ่านไปตาม หรือแล่นไปตามตัณหา.

บทว่า เอชาย ปนฺนา ปติตา ความว่า จมลงในตัณหา และอัน

ตัณหาเก็บเสียแล้ว.

บทว่า มกฺกโฏ ได้แก่ ลิง.

บทว่า อรญฺเ ความว่า ในทุ่ง.

บทว่า ปวเน ความว่า ในป่าใหญ่.

บทว่า จรมาโน ความว่า ไปอยู่.

บทว่า เอวเมว เป็นบทอุปไมย เครื่องยังบทอุปมาให้ถึงพร้อม.

บทว่า ปุถุ ความว่า ต่าง ๆ.

บทว่า ปุถุทิฏฺิคตานิ ความว่า ทิฏฐิมีอย่างต่าง ๆ.

บทว่า คณฺหนฺติ จ มุญฺจนฺติ จ ความว่า ย่อมจับด้วยสามารถ

แห่งการถือ และย่อมปล่อยด้วยสามารถแห่งการสละ.

บทว่า อาทิยนฺติ จ นิรสฺสชนฺติ จ ความว่า ย่อมการทำความ

กังวล ย่อมสละ และย่อมซัดไป.

เนื้อความที่ตรัสไว้ว่า เพราะทิฏฐิย่อมบอกนรชนนั้นว่าเป็นผู้พูด

อย่างนั้น นั้นเชื่อมความในคาถาที่ ๕ ว่า สย สมาทาย สมาทานวัตรทั้ง

หลายเอง เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สย แปลว่า เอง.

บทว่า สมาทาย ความว่า ถือเอา.

บทว่า วตฺตานิ ความว่า วัตรทั้งหลายมีหัตถีวัตรเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 531

บทว่า อุจฺจาวจ ความว่า กลับไปกลับมา หรือเลวและประณีต

คือ จากศาสดาสู่ศาสดา เป็นต้น.

บทว่า สญฺสตฺโต ความว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในกามสัญญา เป็นต้น.

บทว่า วิทฺธา จ เวเทหิ สเมจฺจ ธมฺม ความว่า ส่วนผู้มีความ

รู้ คือพระอรหันต์ ตรัสรู้สัจจธรรม ๔ อันเป็นปรมัตถ์ ด้วยความรู้คือ

มรรคญาณ ๔. บทที่เหลือ ปรากฏแล้วทั้งนั้น.

บทว่า สย สมาทาย ความว่า ถือของทีเดียว.

บทว่า อาทาย ความว่า ถือเอาแล้ว คือรับเอาแล้ว.

บทว่า สมาทาย ความว่า ถือเอาแล้ว โดยชอบ.

บทว่า อาทิยิตฺวา ความว่า กระทำความกังวล.

บทว่า สมาทิยิตฺวา ความว่า กระทำความกังวลโดยชอบ.

บทว่า คณฺหิตฺวา ความว่า ไม่สละ.

บทว่า ปรามสิตฺวา ความว่า แสดงแล้ว.

บทว่า อภินิวิสิตฺวา ความว่า ตั้งมั่นแล้ว.

บทว่า กามสัญญา เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

บทว่า วิทฺธา แปลว่า ผู้มีปัญญา.

บทว่า วิชฺชาคโต ความว่า ผู้ถึงความรู้แจ้ง.

บทว่า าณี ความว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา.

บทว่า วิภาวี ความว่า ผู้พิจารณาด้วยญาณ,

บทว่า เมธาวี ความว่า ผู้มีญาณตรึกตรองโดยอนิจจลักษณะเป็น

ต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 532

บทว่า ปญฺา เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

บทว่า จตุสจฺจธมฺม วิจินาติ ความว่า ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์

เนื้อความของโพชฌงค์ กล่าวไว้แล้วในหนหลังเทียว.

บทว่า วีมสา ความว่า ปัญญาเครื่องค้นคว้าสัจจธรรม ๔ นั่นแล

ท่านอธิบายว่า วิมังสา คือการคิดธรรม.

บทว่า วิปสฺสนา ความว่า ปัญญาเครื่องเห็นโดยอาการต่าง ๆ ที่

สัมปยุตด้วยมรรคนั้นแล.

บทว่า สมฺมาทิฏฺิ ความว่า สัมมาทิฏฐิที่งาม บัณฑิตสรรเสริญ

ดี สัมปยุตด้วยมรรค.

บทว่า เตหิ เวเทหิ ความว่า ด้วยมรรคญาณ ๔ เหล่านั้นนั่นแล.

บทว่า อนฺตคโต ความว่า ถึงที่สุดชาติ ชรา และมรณะ.

บทว่า โกฏิคโต เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

บทว่า เวทาน วา อนฺตคโต ความว่า ถึงที่สุดแห่งทุกข์ที่พึงรู้.

บทว่า เวเทหิ วา อนฺตคโต ความว่า ถึงพระนิพพานกล่าวคือ

ที่สุด โดยเป็นที่สุดรอบแห่งทุกข์ในวัฏฏะ ด้วยปัญญา คือมรรคญาณ ๔.

บทว่า วิทิตตฺตา ความว่า เพราะความเป็นผู้รู้แจ้ง คือ เพราะ

ความเป็นผู้รู้.

คาถาว่า เวทานิ วิเจยฺย เกวลานิ เป็นต้น มีความว่า ผู้ใด

กระทำความสิ้นกิเลสด้วยเวทคือมรรคญาณ ๔ ถึงแล้ว ผู้นั้นชื่อว่าถึงเวท

โดยปรมัตถ์. อนึ่ง ผู้ใดเลือกเฟ้นเวททั้งหลายที่เรียกกันว่าศาสตร์ ของ

สมณพราหมณ์ทั้งปวง ด้วยสามารถอนิจจลักษณะเป็นต้นโดยกิจ ด้วยมรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 533

ภาวนานั้นแล. ก้าวล่วงเวททั้งปวงนั้นนั่นแล. ด้วยการละฉันทราคะใน

เวทนั้น เป็นผู้ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง ที่เกิดขึ้นเพราะเวทเป็น

ปัจจัย หรือโดยประการอื่น. เพราะเหตุนั้น เมื่อทรงแสดงเนื้อความนั้น

ถูกทูลถามว่า ผู้ถึงเวทกล่าวถึงการบรรลุอะไร ? มิได้ตรัสตอบว่า การ

บรรลุนี้ ตรัสว่า บุคคลเลือกเฟ้นเวททั้งหลาย ฯลฯ ชื่อว่าเป็นเวทคู ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะผู้ใดเลือกเฟ้นเวททั้งหลายด้วยปัญญาเครื่องเลือก

เฟ้น ย่อมเป็นไปก้าวล่วงเวททั้งปวงด้วยการละฉันทราคะในเวทนั้น. ผู้นั้น

ถึง คือรู้ คือก้าวล่วงเวททั้งหลายที่เรียกกันว่าศาสตร์. ผู้ใดปราศจากราคะ

ในเวทนาทั้งหลาย แม้ผู้นั้นก็ถึง คือก้าวล่วงเวททั้งหลายที่เรียกกันว่า

เวทนา คือถึงเวทนายิ่ง. แม้ดังนั้นก็ชื่อว่า เวทคู ฉะนั้น เมื่อจะทรง

แสดงเนื้อความว่า จึงมิได้ตรัสว่า การบรรลุนี้ แต่ตรัสว่า บุคคลเลือก

เฟ้นเวททั้งหลาย ฯลฯ ชื่อว่าเป็นเวทคู ดังนี้.

บทว่า สเมจฺจ ความว่า มาพร้อมด้วยญาณ.

บทว่า อภิสเมจฺจ ความว่า แทงตลอดด้วยญาณ.

บทว่า ธมฺม ความว่า สัจจธรรม ๔.

บทว่า สพฺเพ สงฺขารา ความว่า ธรรมพร้อมด้วยปัจจัยทั้งปวง.

ด้วยว่าธรรมเหล่านั้นชื่อว่าสังขารอันปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมร่วมกระทำด้วย

ปัจจัยทั้งหลาย เหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขาร. สังขารเหล่านั้นท่านกล่าวโดยวิเศษ

ว่า สังขตะ เพราะร่วมกระทำด้วยปัจจัยทั้งหลายด้วยประการฉะนี้. ใน

อรรถกถาทั้งหลายกล่าวว่า ธรรมมีรูปที่เป็นไปในภูมิ ๓ เป็นต้น ที่บังเกิด

เพราะกรรม ชื่อว่า อภิสังขตสังขาร. อภิสังขตสังขารแม้เหล่านั้น ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 534

สงเคราะห์เข้าในสังขตสังขารทั้งหลาย. ในประโยคว่า สังขารทั้งหลายไม่

เที่ยงหนอ เป็นต้น สังขารที่มีอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแลมาในประโยคว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบุรุษบุคคลผู้ไปด้วยอวิชชานี้ ย่อมปรุงแต่งปุญญาภิสัง-

ขาร เป็นต้น. กุศลเจตนาและอกุศลเจตนาที่เป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า

สังขารเครื่องปรุงแต่งความเพียรทางกายและความเพียรทางใจ ที่มาใน

ประโยคว่า คติแห่งอภิสังขารมีประมาณเท่าใด ไปประมาณเท่านั้น เข้าใจ

ว่าได้ตั้งอยู่กำจัดอินทรีย์ เป็นต้น ชื่อว่า ปโยคาภิสังขาร. วิตกวิจารที่

มาในประโยคว่าแน่ะท่านวิสาขะ วจีสังขารของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

แลย่อมดับก่อน ต่อแต่นั้นกายสังขารดับ ต่อแต่นั้น จิตตสังขารดับ เป็นต้น

ชื่อ วจีสังขาร เพราะอรรถว่า ปรุงแต่งวาจา. ลมอัสสาสะลมปัสสาสะ

ชื่อ กายสังขาร เพราะอรรถว่า ปรุงแต่งกาย. สัญญาและเวทนา ชื่อ

จิตตสังขาร เพราะอรรถว่า ปรุงแต่งจิต แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอา

สังขตสังขาร.

บทว่า อนิจฺจา ความว่า เพราะอรรถว่ามีแล้วไม่มี.

บทว่า ทุกฺขา ความว่า เพราะอรรถว่า เบียดเบียน.

บทว่า สพฺเพ ธมฺมา ความว่า ท่านกล่าวทำแม้พระนิพพานไว้

ภายใน.

บทว่า อนตฺตา ความว่า เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ.

ในบทว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ผลมาอาศัยธรรมใดเกิด

ฉะนั้น ธรรมนั้นชื่อว่า เป็นปัจจัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 535

บทว่า ปฏิจฺจ ความว่า เว้นไม่ได้ อธิบายว่า ไม่ห้าม.

บทว่า เอติ ความว่า เกิดขึ้นและเป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง มีความ

ว่า อุปการะ มีความว่า เป็นปัจจัย อวิชชานั่นด้วย เป็นปัจจัยด้วย ชื่อว่า

อวิชชาเป็นปัจจัย เพราะเหตุนั้น สังขารทั้งหลายจึงมีอวิชชาเป็นปัจจัย.

บทว่า สมฺภวนฺติ ความว่า ย่อมบังเกิดเฉพาะพึงประกอบศัพท์

สมฺภวนฺติ แม้ด้วยบทที่เหลือทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

ในอวิชชาและสังขารเหล่านั้น อวิชชาเป็นไฉน ? ความไม่รู้ในทุกข์,

ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย, ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ, ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ

คามินีปฏิปทา, ความไม่รู้ในส่วนเบื้องต้น, ความไม่รู้ในส่วนเบื้องปลาย

ความไม่รู้ในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ในธรรมที่อาศัย

กันและกันเกิดขึ้น คืออิทัปปัจจยตา.

สังขารเป็นไฉน ? ปุญญาภิสังขาร, อปุญญาภิสังขาร, อาเนญชาภิ-

สังขาร, กายสังขาร, วจีสังขาร , จิตตสังขาร.

กามาวจรกุศลจิต ๘ รูปาวจรกุศลจิต ๕ เป็นปุญญาภิสังขาร.

อกุศลจิต ๑๒ เป็นอปุญญาภิสังขาร.

อรูปาวจรกุศลจิต ๔ เป็นอาเนญชาภิสังขาร.

กายสัญเจตนาเป็นกายสังขาร.

วจีสัญเจตนาเป็นวจีสังขาร

มโนสัญเจตนาเป็นจิตตสังขาร.

พึงมีคำถามในบทนั้นว่า ข้อว่า สังขารเหล่านี้มีอวิชชาเป็นปัจจัยนั้น

พึงรู้ได้อย่างไร ? รู้ได้โดยภาวะในความเป็นอวิชชา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 536

ก็ความไม่รู้ กล่าวคืออวิชชาในธรรม ๘ ประการมีทุกข์เป็นต้น อัน

บุคคลใดยังละไม่ได้ บุคคลนั้นถือเอาทุกข์ในสังสารวัฏด้วยความสำคัญว่า

เป็นสุข ปรารภสังขารแม้ทั้ง ๓ อย่างที่เป็นเหตุแห่งทุกข์นั้นแล เพราะ

ความไม่รู้ในทุกข์และส่วนเบื้องต้นเป็นต้นก่อน.

บุคคลปรารภสังขารทั้งหลายที่เป็นบริขารแห่งตัณหาแม้เป็นเหตุแห่ง

ทุกข์ สำคัญว่าเป็นเหตุแห่งสุข เพราะความไม่รู้ในสมุทัย.

บุคคลเป็นผู้มีความสำคัญในคติวิเศษแม้ไม่ใช่ความดับทุกข์ ว่าเป็น

ความดับทุกข์เป็นผู้มีความสำคัญในการเซ่นสรวง และการบำเพ็ญพรตเพื่อ

เป็นเทวดาเป็นต้น แม้มิใช่ทางแห่งความดับทุกข์เลย ว่าเป็นทางแห่งความ

ดับทุกข์ เมื่อปรารถนาความดับทุกข์ ย่อมปรารภสังขารทั้ง ๓ อย่าง ด้วย

การเซ่นสรวงและการบำเพ็ญพรตเพื่อเป็นเทวดาเป็นต้นเป็นข้อสำคัญ เพราะ

ความไม่รู้ในนิโรธและในมรรค.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลนั้นไม่รู้ทุกข์ กล่าวคือ ผลบุญแม้เต็มไปด้วย

โทษมีชาติ ชรา และมรณะเป็นต้นว่าเป็นทุกข์โดยวิเศษ เพราะความที่ยัง

ละอวิชชาในสัจจะ ๔ ไม่ได้นั้น. ย่อมปรารภปุญญาภิสังขาร ชนิดกายสังขาร

วจีสังขาร จิตตสังขาร เพื่อบรรลุผลนั้น เหมือนผู้ใคร่เป็นเทวดาและเทพ

อัปสร ปรารภเงื้อมผาเทวดาฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลแม้ไม่เห็นความเป็นวิปริณามทุกข์ที่ให้เกิดความ

เร่าร้อนใหญ่ในที่สุดแห่งผลบุญนั้น ซึ่งสมมติว่าเป็นสุข และความไม่ชอบ

ใจ ย่อมปรารภปุญญาภิสังขารซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วนั่นแล อันเป็น

ปัจจัยแห่งทุกข์นั้น. เหมือนแมงเม่าบินเข้าหาเปลวไฟ, และเหมือนคน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 537

อยากหยาดน้ำหวาน เลียคมศัสตราที่ทาน้ำหวานฉะนั้น.

อนึ่ง บุคคลไม่เห็นโทษในการเข้าไปเสพกามเป็นต้น ซึ่งมีวิบาก ย่อม

ปรารภอปุญญาภิสังขารที่เป็นไปในไตรทวาร เพราะสำคัญว่าเป็นสุข และ

เพราะความที่ถูกกิเลสครอบงำ เหมือนเด็กอ่อนเล่นคูถ และเหมือนคน

อยากตายเคี้ยวกินยาพิษฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลไม่รู้ความเป็นวิปริณามทุกข์แห่งสังขารในอรูป

วิบาก ย่อมปรารภอาเนญชาภิสังขารที่เป็นจิตตสังขาร ด้วยวิปลาสว่าเที่ยง

เป็นต้น เหมือนคนหลงทิศเดินทางตรงไปเมืองปีศาจฉะนั้น.

เพราะมีอวิชชานั่นแล จึงมีสังขาร. เพราะไม่มีอวิชชา จึงไม่มี

สังขาร. ด้วยประการฉะนี้ ฉะนั้นพึงทราบข้อนี้วา สังขารเหล่านั้นย่อมมี

อวิชชาเป็นปัจจัย.

ในข้อนี้ท่านกล่าวว่า พวกเราถือเอาเนื้อความนี้ก่อนว่า อวิชชาเป็น

ปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย. ก็อวิชชานี้อย่างเดียวเท่านั้น เป็นปัจจัยแก่สังขาร

ทั้งหลายหรือ หรือว่ามีปัจจัยอื่น ๆ อีก. ก็ถ้าการกล่าวถึงเหตุหนึ่งจากเหตุ

หนึ่งเท่านั้น ย่อมถึงก่อนไซร้. เมื่อเป็นเช่นนั้น ปัจจัยแม้อื่น ๆ ก็ย่อมมี

การชี้แจงเหตุหนึ่งว่า :- สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นปัจจัย จะไม่เกิดขึ้น

ในข้อนี้หรือ ? ไม่เกิดขึ้นหามิได้. เพราะเหตุไร ? เพราะ :-

ผลอย่างหนึ่งย่อมมีแต่เหตุอย่างเดียวในโลกนี้ หา

มิได้ ผลหลายอย่างแต่เหตุแม้หลายอย่าง ก็หามิได้ ผล

อย่างหนึ่งมีอยู่ หามิได้ แต่ประโยชน์ในการแสดงเหตุผล

อย่างหนึ่งมีอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 538

ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเหตุก็ตามผลก็ตาม อย่างเดียว

เท่านั้น. โดยสมควรแก่ความงามของเทศนา และแก่เหล่าเวไนยสัตว์.

เพราะเป็นประธานในที่บางแห่ง ปรากฏในที่บางแห่ง เป็นอสาธารณะใน

ที่บางแห่ง. ฉะนั้นอวิชชาในข้อนี้เมื่อเหตุแห่งสังขารทั้งหลายมีวัตถุอารมณ์

และสหชาตธรรมเป็นต้นอื่น ๆ แม้มีอยู่ ก็พึงทราบว่า ทรงแสดงโดยความ

เป็นเหตุแห่งสังขารทั้งหลาย. เพราะเป็นประธานว่า เป็นเหตุของเหตุแห่ง

สังขารทั้งหลาย มีตัณหาเป็นต้นแม้อื่น ๆ เพราะปรากฏและเพราะเป็น

อสาธารณะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มีปัญญา ได้ด้วยอวิชชา

ย่อมปรุงแต่งแม้ปุญญาภิสังขาร โดยพระบาลีว่า ตัณหาย่อมเจริญแก่ผู้เห็น

ตามความพอใจ และว่าเพราะอวิชชาเกิด อาสวะจึงเกิด. และพึงทราบ

การประกอบในการแสดงเหตุผลเป็นอย่าง ๆ ในที่ทั้งปวง ด้วยการแสดง

บริหารและกล่าวถึงเหตุผลเป็นอย่าง ๆ นี้นั่นเทียวแล. ในข้อนี้ท่านกล่าวว่า

แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ความที่อวิชชาซึ่งมีโทษมีผลไม่น่าปรารถนาโดยส่วน

เดียวเป็นปัจจัยแห่งปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขาร จะถูกได้อย่างไร

เพราะอ้อยจะเกิดแต่พืชสะเดาหาได้ไม่ จักไม่ถูกได้อย่างไร. เพราะใน

โลก :-

บุคคลที่เป็นศัตรูก็ตาม เป็นมิตรก็ตาม ที่คล้ายกัน

ก็ตาม ไม่คล้ายกันก็ตาม สำเร็จเป็นปัจจัยแห่งธรรมทั้ง

หลาย บุคคลเหล่านั้นจะเป็นวิบากทั้งนั้นก็หามิได้.

อวิชชานี้แม้มีผลไม่น่าปรารถนาโดยส่วนเดียว ด้วยสามารถแห่ง

วิบาก, และมีโทษ ด้วยสามารถแห่งสภาวะ, ก็พึงทราบว่าเป็นปัจจัยแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 539

ปุญญาภิสังขารเป็นต้นเหล่านั้นแม้ทั้งหมด. ด้วยสามารถเป็นปัจจัยแห่ง

ฐานะกิจสภาวะศัตรูและมิตร. และด้วยสามารถเป็นปัจจัยแห่งผู้ที่คล้ายกัน

และไม่คล้ายกัน ตามสมควร. อนึ่ง ยังมีปริยายอื่นอีกว่า :-

ผู้ใดลุ่มหลงในจุติและอุบัติในสังสารวัฏในลักษณะ

แห่งสังขาร และในธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ผู้นั้น

ย่อมปรุงแต่งสังขาร ๓ อย่างเหล่านั้นเพราะอวิชชาเป็นปัจ-

จัยแห่งสังขาร ๓ อย่างเหล่านั้นทั้งหมด.

นระผู้บอดแต่กำเนิด เป็นผู้นำไม่ได้ บางคราวไป

ถูกทาง บางคราวก็ไปผิดทาง แม้ฉันใด คนพาลท่อง

เที่ยวอยู่ในสังสารวัฏเป็นผู้นำไม่ได้ บางคราวทำบุญ บาง

คราวก็ทำบาป. ก็ผู้นั้นรู้ธรรมแล้วบรรลุสัจจะทั้งหลายใน

กาลใด จักเป็นผู้เข้าไปสงบจากอวิชชาเที่ยวไปในกาลนั้น.

บทว่า สงฺขารปจฺจยา วิญฺาณ ได้แก่หมวดแห่งวิญญาณ ๖ คือ

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ

มโนวิญญาณ. บรรดาวิญญาณเหล่านั้น จักขุวิญญาณมี ๒ อย่าง คือ

ที่เป็นกุศลวิบาก ๑ ที่เป็นอกุศลวิบาก ๑. โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ

ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณก็เหมือนกัน. ส่วนมโนวิญญาณมี ๒๒

อย่าง คือวิปากมโนธาตุ ๒, อเหตุกวิปากมโนวิญญาณธาตุ ๓, สเหตุก

วิปากจิต ๘, รูปาวจรวิปากจิต ๕, อรูปาวจรวิปากจิต ๔, วิปากวิญ-

ญาณฝ่ายโลกิยะทั้งหมดมี ๓๒ ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 540

ในข้อนั้นพึงมีคำถามว่า ก็ข้อว่า วิญญาณซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว

นี้มีสังขารเป็นปัจจัยนี้จะพึงรู้ได้อย่างไร ? พึงรู้ได้เพราะไม่มีวิบาก ใน

เพราะไม่มีกรรมที่สั่งสมไว้.

เรื่องวิบากนี้พึงทราบว่า วิบากจะไม่เกิดขึ้นในเพราะไม่มีกรรมที่สั่ง

สมไว้. ถ้าจะพึงเกิดขึ้น วิบากทั้งปวงของกรรมทุกอย่างพึงเกิดขึ้น แต่จะ

ไม่เกิดขึ้น. ดังนั้นพึงทราบข้อนี้ว่า วิญญาณนี้ย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

ก็วิญญาณนี้ทั้งหมดนั่นแล ย่อมเป็นไปโดยประการ ๒ คือ ปวัตติ

และปฏิสนธิ. ใน ๒ ประการนั้น วิญญาณ ๕ ทั้ง ๒ ฝ่าย (เป็น ๑๐).

มโนธาตุ ๒, อเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัส ๑, รวมเป็น

วิญญาณ ๑๓ เหล่านี้ ย่อมเป็นไปในปวัตติเท่านั้น ในปัญจโวการภพ.

วิญญาณ ๑๙ ที่เหลือ ย่อมเป็นไปทั้งในปวัตติ ทั้งในปฏิสนธิ ในภพ ๓

ตามสมควร.

วิญญาณที่ได้ปัจจัยเป็นเพียงธรรมนี้ย่อมเข้าถึง

ระหว่างภพ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณนั้นไม่ข้ามภพนั้น

ไปได้ เว้นเหตุจากภพนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่ปรากฏ.

ก็วิญญาณที่ได้ปัจจัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นเป็นเพียงรูปธรรมและอรูปธรรม

เรียกว่า ย่อมเข้าถึง ระหว่างภพ ด้วยประการฉะนี้. ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่

ชีวะ และวิญญาณนั้นย่อมไม่ข้ามอดีตภพไปได้ในโลกนี้. ทั้งเว้น เหตุจาก

อดีตภพนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่ปรากฏในโลกนี้.

ก็ในข้อนี้ท่านเรียกวิญญาณดวงแรกว่า จุติ เพราะเคลื่อนไป เรียก

วิญญาณดวงหลังว่า ปฏิสนธิ เพราะสืบต่อในระหว่างภพเป็นต้น.

๑. เรียกทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ (วิญญาณ ๔ * ๒).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 541

ในข้อนี้ท่านกล่าวว่า เมื่อไม่มีการข้ามและความปรากฏ อย่างนี้

เพราะขันธ์ทั้งหลายในอัตภาพมนุษย์นี้ดับ. เพราะกรรมซึ่งมีปัจจัยแห่งผล

ไม่ดำเนินไปในภพนั้น และเพราะประการอื่นแห่งกรรมอื่น ผลนั้นพึงมีมิ

ใช่หรือ ? ก็เนื้อไม่มีมีผู้ใช้สอย ผลนั้นจะพึงมีแก่ใคร ฉะนั้นวิธีนี้ไม่ถูก. ใน

ข้อนั้นท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า :-

ผลในสันดานมิใช่ของกรรมอื่นและโดยประการอื่น

การปรุงแต่งพืชทั้งหลายให้สำเร็จประโยชน์นั้น การสมมติ

ผู้ใช้สอย สำเร็จได้ด้วยการเกิดขึ้นแห่งผลนั่นแล เหมือน

ต้นไม้ที่สมมติกันว่าผลิตผล ด้วยความเกิดขึ้นแห่งผล

ฉะนั้น.

แม้ผู้ใดพึงกล่าวว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น สังขารเหล่านั้นมีอยู่ก็ตาม

ไม่มีอยู่ก็ตาม พึงเป็นปัจจัยแห่งผล. ก็ถ้ามีอยู่ วิบากแห่งสังขารเหล่านั้น

พึงมีในปวัตติขณะทีเดียว. ถ้าไม่มี สังขารเหล่านั้นพึงนำผลมาเป็นนิจ ทั้ง

ก่อนและหลังปวัตติขณะบุคคลเหล่านั้น. พึงกล่าวอย่างนี้ว่า :-

สังขารเหล่านั้นเป็นปัจจัยเพราะกระทำ นำผลมา

เป็นนิจก็หามิได้ พึงทราบการชี้แจงในข้อนั้น ซึ่งมีผู้รับ

รองเป็นต้น.

ในบทว่า วิญฺาณปจฺจยา นามรูป นี้ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์

และสังขารขันธ์ เป็นนาม. มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปของมหาภูต

รูป ๔ เป็นรูป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 542

ในปฏิสนธิขณะของคัพภเสยยกสัตว์ที่ไม่มีภาวะ และของเหล่าสัตว์ผู้

เกิดในไข่ วัตถุทสกะและกายทสกะ รวมเป็นรูปขันธ์ ๒๐ รูป. และ

นามขันธ์อีก ๓ รวมขันธ์เหล่านี้เป็นธรรม ๒๓. พึงทราบว่าเพราะวิญญาณ

เป็นปัจจัยจึงมีนามรูป. เพิ่มภาวทสกะของเหล่าสัตว์ผู้มีภาวะ รวมเป็น ๓๓.

ในปฏิสนธิขณะของเหล่าสัตว์ชั้นพรหมกายิกาทั้งหลายในบรรดา

เหล่าโอปปาติกสัตว์ทั้งหลาย จักขุทสกะ โสตทสกะ วัตถุทสกะ และ

ชีวิตนวกะ รวมเป็นรูปขันธ์ ๓ รูป. และนามขันธ์อีก ๓ รวมธรรม

เหล่านั้นเป็น ๔๒. พึงทราบว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป.

ส่วนในปฏิสนธิขณะของเหล่าโอปปาติกสัตว์ที่เหลือผู้เกิดในที่ชื้นแฉะ

โสโครกก็ตาม ผู้มีภาวะมีอายตนะบริบูรณ์ก็ตาม จักขุทสกะ. โสตทสกะ,

ฆานทสกะ, ชิวหาทสกะ, กายทสกะ, วัตถุทสกะ, ภาวทสกะ, (อย่าง

ละ ๑๐ รวม ๗๐) และนามขันธ์ ๓ รวมธรรมเหล่านั้นเป็น ๗๓. พึงทราบ

ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยยิ่งมีนามรูป พึงทราบอย่างอุกฤษฏ์ด้วย

ประการฉะนี้. แต่อย่างต่ำ พึงทราบการปรุงแต่งนามรูปเพราะวิญญาณ

เป็นปัจจัยในปฏิสนธิที่ค่อย ๆ เสื่อมลงด้วยสามารถแห่งขันธ์นั้น ๆ แห่งทสกะ

ที่บกพร่องนั้น ๆ.

ก็นามขันธ์ ๓ ของเหล่าอรูปสัตว์นั่นแล พึงทราบว่า ชีวิตนวกะ

นั่นเอง โดยรูปแห่งอสัญญีสัตว์แล. พึงทราบนัยในปฏิสนธิเท่านี้ก่อน.

ก็ในการแสดงความเป็นไปแห่งรูปในที่ทั้งปวงที่เป็นไป ย่อมปรากฏ

สุทธัฏฐกะที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน โดยที่เป็นไปกับปฏิสนธิจิต ในฐีติขณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 543

แห่งปฏิสนธิจิต. จำเดิมแต่ภวังคจิตดวงแรก ย่อมปรากฏสุทธัฏฐกะที่มีจิต

เป็นสมุฏฐาน. รูปขันธ์ ๒๖ ด้วยสามารถแห่งสุทธัฏฐกะที่มีอาหารเป็น

สมุฏฐานอย่างนี้ คือสุทธัฏฐกะที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานของเหล่าสัตว์ผู้อาศัย

กวฬิงการาหารเป็นอยู่ ซึ่งเป็นสัททนวกะโดยอุตุและจิต ในกาลที่เสียง

ปรากฏ และแห่งนวกะทั้งสองที่มีอุตุและจิตเป็นสมุฏฐาน และรูปขันธ์ ๗๐

ที่มีกรรมดังกล่าวแล้วเป็นสมุฏฐาน ซึ่งเกิดขึ้น ๓ ครั้ง ในจิตดวงหนึ่ง ๆ

รวมเป็นรูปขันธ์ ๙๖ และอรูปขันธ์ ๓ รวมเป็นธรรม ๙๙ พึงทราบว่า

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป ตามสมควรที่จะเกิดได้.

พึงมีคำถามในข้อนั้นว่า ก็ข้อว่า ปฏิสนธินามรูปย่อมมีเพราะ

วิญญาณเป็นปัจจัย นั้นจะรู้ได้อย่างไร ? รู้ได้โดยสูตรและโดยยุติ.

ก็โดยสูตร คือ:- ความที่เวทนาเป็นต้นมีวิญญาณเป็นปัจจัยโดยส่วน

มาก สำเร็จโดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไปตามจิต.

แต่โดยยุติคือ :-

ก็นามรูปย่อมสำเร็จด้วยรูปที่เกิดแต่จิต ที่เห็นได้ใน

ภพนี้วิญญาณเป็นปัจจัยแต่รูปแม้ที่เห็นไม่ได้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

นาม ในบทว่า นามรูปปจฺจยา สฬายตน ได้กล่าวไว้แล้ว

นั่นแล. ก็ในที่นี้ รูปมี ๑๑ อย่าง คือ มหาภูตรูป ๔ วัตถุรูป ๖ และ

ชีวิตินทรีย์รูป ๑ โดยแน่นอน. ส่วนอายตนะมี ๖ คือ จักขายตนะ

โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และมนายตนะ. พึง

มีคำถามในข้อนั้นว่า ก็ข้อว่า นามรูปเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะนั้น จะรู้ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 544

อย่างไร ? รู้ได้โดยภาวะในความเป็นนามรูป. ด้วยว่าอายตนะนั้น ๆ ย่อมมี

ในภาวะแห่งนานและรูปนั้น ๆ มิใช่มีโดยประการอื่นแล.

บทว่า สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส ความว่า :-

ผัสสะอย่างย่อมี ๖ เท่านั้น มีจักขุสัมผัสเป็นต้น

ผัสสะเหล่านั้นอย่างพิสดารมี ๓๒ เหมือนวิญญาณ.

บทว่า ผสฺสปจฺจยา เวทนา ความว่า :-

เวทนากล่าวโดยทวารมี ๖ เท่านั้น มีจักขุสัมผัสสชา

เวทนาเป็นต้น เวทนาเหล่านั้นกล่าวโดยประเภทในที่นี้

มี ๓๒.

บทว่า เวทนาปจฺจยา ตณฺหา ความว่า :-

ตัณหาท่านแสดงในที่นั้นมี ๖ โดยประเภทมีรูป

ตัณหาเป็นต้น ตัณหาแต่ละอย่างรู้กันว่ามี ๓ อย่าง โดย

อาการที่เป็นไปในตัณหานั้น คือผู้มีทุกข์ย่อมปรารถนาสุข

ผู้มีสุขย่อมปรารถนาสุขยิ่ง ๆ ขึ้น ส่วนอุเบกขาท่านกล่าวว่า

เป็นสุขแท้เพราะสงบ ฉะนั้นเวทนาทั้ง ๓ จงเป็นปัจจัยแก่

ตัณหา พระผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่จึงตรัสว่า เพราะเวทนา

เป็นปัจจัยจึงมีตัณหา แล.

บทว่า ตณฺหาปจฺจยา อุปาทาน ความว่า อุปาทาน ๔ คือ

กามุปาทาน, ทิฏฐุปาทาน, สีลัพพตุปาทาน, อัตตวาทุปาทาน. ในบทว่า

อุปาทานปจฺจยา ภโว นี้ ประสงค์เอากรรมภพ แต่อุปปัตติภพท่าน

กล่าวด้วยสามารถแห่งการยกบทขึ้นแสดง.

บทว่า ภวปจฺจยา ชาติ ความว่า เพราะกรรมภพเป็นปัจจัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 545

จึงปรากฏปฏิสนธิขันธ์ทั้งหลาย. หากจะมีคำถามในข้อนั้นว่า ก็ข้อว่า ภพ

เป็นปัจจัยแก่ชาติ นั้นจะรู้ได้อย่างไร ? รู้ได้โดยความปรากฏต่างกันมีเลว

และประณีตเป็นต้นแม้ในความบริบูรณ์ด้วยปัจจัยภายนอก.

ด้วยว่าความต่างกันมีเลวและประณีตเป็นต้นของเหล่า สัตว์ตั้งร้องคู่

ย่อมปรากฏแม้ในความบริบูรณ์ด้วยปัจจัยภายนอก มีบิดามารดา ความ

บริสุทธิ์เลือดและอาหารเป็นต้น. และความต่างกันนั้นไม่มีเหตุก็หามิได้

เพราะไม่มีในกาลทั้งปวงและแก่สัตว์ทั้งปวงเลย. มีเหตุอื่นจากกรรมภพ ก็

หามิได้ เพราะไม่มีเหตุอย่างอื่นในสันดานภายในของเหล่าสัตว์ผู้บังเกิดใน

ภพนั้น. ดังนั้นจึงชื่อว่า มีกรรมภพเป็นเหตุแท้ เพราะกรรมเป็นเหตุแห่ง

ความต่างกันมีเลวและประณีตเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลาย. ฉะนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต. เพราะ

ฉะนั้นพึงทราบข้อนี้ว่า ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ ดังนี้.

ในบทว่า ชาติปจฺจยา ชรามรณ เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า เพราะ

เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะและธรรมมีโสกะเป็นต้น ย่อมไม่มี. แต่เมื่อชาติมี

ชรามรณะ และธรรมมีโสกะเป็นต้นที่เนื่องด้วยชรามรณะเป็นต้น ของชน

พาลผู้อันทุกขธรรมกล่าวคือชรามรณะถูกต้องแล้วก็ตาม ที่ไม่เกี่ยวเนื่อง

ของชนพาลผู้อันทุกขธรรมนั้น ๆ ถูกต้องแล้วก็ตาม ย่อมมี. ฉะนั้น เพราะ

ชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ.

บทว่า สเมจฺจ อภิสเมจฺจ ธมฺม ความว่า ประกอบด้วยญาณ

แทงตลอดสัจจธรรม ๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 546

ครั้นแสดงความเป็นไปแห่งปัจจยาการ ๑๒ บท อย่างนี้แล้ว บัดนี้

เพื่อจะแสดงความดับอวิชชาเป็นต้นด้วยสามารถแห่งวิวัฎฏะ พระสารีบุตร-

เถระจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อวิชฺชานิโรธา สงฺขารนิโรโธติ สเมจฺจ

อภิสเมจฺจ ธมฺม ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวิชฺชานโรธา ความว่า เพราะดับ

อย่างไม่เกิดขึ้น คือ เพราะดับอย่างเป็นไปไม่ได้อีกแห่งอวิชชา.

บทว่า สงฺขารนิโรโธ ความว่า ย่อมมีความดับอย่างไม่เกิดขึ้น

แห่งสังขารทั้งหลาย. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็อย่างนี้.

บทว่า อิท ทุกฺข เป็นต้นมีนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล.

บทว่า อิเม ธมฺมา อภิญฺเยฺยา ความว่า ธรรมอันเป็นไปใน

ภูมิ ๓ เหล่านั้น พึงทราบโดยสภาวะ ด้วยสามารถหยั่งรู้สภาวะและลักษณะ

หรือด้วยญาณอันยิ่ง โดยอาการอันงาม.

บทว่า ปริญฺเยฺยา ความว่า พึงกำหนดรู้ด้วยสามารถหยั่งรู้

สามัญลักษณะ และด้วยสามารถสำเร็จกิจ.

บทว่า อิเม ธมฺมา ปหาตพฺพา ความว่า ธรรมที่เป็นไปในฝ่าย

สมุทัยเหล่านั้น พึงละด้วยองค์คุณนั้น ๆ.

บทว่า ภาเวตพฺพา ความว่า พึงเจริญ.

บทว่า สจฺฉิกาตพฺพา ความว่า พึงทำให้ประจักษ์ การทำให้แจ้ง

มี ๒ อย่าง คือ การทำให้แจ้งการได้เฉพาะ และการทำให้แจ้งโดยความ

เป็นอารมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 547

บทว่า ฉนฺน ผสฺสายตนาน ความว่า อายตนะ ๖ มีจักขุ

เป็นต้น.

บทว่า สมุทยญฺจ อตฺถงฺคมญฺจ ความว่า ความเกิดและความ

ดับ.

บทว่า ภูริปญฺโ ความว่า ปัญญาชื่อว่า ภูริ เพราะอรรถว่า

เหมือนแผ่นดิน ผู้ประกอบด้วยปัญญาเหมือนแผ่นดินนั้น ชื่อว่าผู้มีปัญญา

กว้างขวางดังแผ่นดิน. ในบทว่า มหาปญฺโ เป็นต้น ความว่า

ประกอบด้วยปัญญาใหญ่เป็นต้น. ความต่างกันแห่งผู้มีปัญญาใหญ่เป็นต้น

ในบทเหล่านั้นมีดังต่อไปนี้.

ปัญญาใหญ่เป็นไฉน ? ชื่อว่า ปัญญาใหญ่ เพราะอรรถว่า กำหนด

อรรถใหญ่, ชื่อว่า ปัญญาใหญ่ เพราะอรรถว่า กำหนดธรรมใหญ่.

นิรุตติใหญ่, ปฏิภาณใหญ่. ชื่อว่า ปัญญาใหญ่ เพราะอรรถว่า กำหนด

สีลขันธ์ใหญ่.

ชื่อว่า ปัญญาใหญ่ เพราะอรรถว่า กำหนดสมาธิขันธ์ ปัญญา-

ขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ใหญ่.

ชื่อว่า ปัญญาใหญ่ เพราะอรรถว่า กำหนดฐานาฐานญาณใหญ่

วิหารสมาบัติใหญ่ อริยสัจใหญ่ สติปัฏฐานใหญ่ สัมมัปปธานใหญ่ อิทธิ-

บาทใหญ่ อินทรีย์ใหญ่ พละใหญ่ โพชฌงค์ใหญ่ อริยมรรคใหญ่

สามัญญผลใหญ่ อภิญญาใหญ่ และนิพพานซึ่งเป็นปรมัตถ์ใหญ่.

ปัญญามากเป็นไฉน ? ชื่อว่า ปัญญามาก เพราะอรรถว่า ญาณ

เป็นไปในขันธ์ต่าง ๆ มาก. ชื่อว่า ปัญญามาก. เพราะอรรถว่า ญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 548

เป็นไปในธาตุต่าง ๆ มาก, ในอายตนะต่าง ๆ มาก, ในปฏิจจสมุปบาท

ต่างๆ มาก, ในการไม่รับความว่างเปล่าต่างๆ มาก, ในอรรถต่าง ๆ มาก,

ในธรรม ในนิรุตติ ในปฏิภาณ ในสีลขันธ์ต่าง ๆ มาก, ในสมาธิ ปัญญา

วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่าง ๆ มาก, ในฐานาฐานญาณต่าง ๆ มาก,

ในวิหารสมาบัติต่าง ๆ มาก, ในอริยสัจจ์ต่าง ๆ มาก, ในสติปัฏฐานต่าง ๆ

มาก. ในสันมัปปธาน ในอิทธิบาท ในอินทรีย์ ในพละ ในโพชฌงค์ ใน

อริยมรรคต่าง ๆ มาก. ในสามัญญผล ในอภิญญา ในนิพพานซึ่งเป็น

ปรมัตถ์ ล่วงเลยธรรมที่สาธารณะแก่ชนต่าง ๆ มาก.

ปัญญาเป็นเครื่องรื่นเริงเป็นไฉน ? ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่องรื่น

เริง เพราะอรรถว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยความรื่นเริง

มากด้วยเวท มากด้วยความยินดี มากด้วยความปราโมทย์ ยังศีลให้บริบูรณ์.

ยังอินทรีย์สังวรให้บริบูรณ์. ยังโภชเนมัตตัญญุตาให้บริบูรณ์ ยังชาคริยา-

นุโยค, ยังสีลขันธ์, ยังสมาธิขันธ์, ยังปัญญาขันธ์, ยังวิมุตติขันธ์, ยัง

วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ให้บริบูรณ์, ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่องรื่นเริง

เพราะอรรถว่า ผู้มากด้วยความรื่นเริง มากด้วยความปราโมทย์ แทงตลอด

ฐานาฐานญาณ.

ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่องรื่นเริง เพราะอรรถว่า ผู้มากด้วยความ

รื่นเริงย่อมยังวิหารสมาบัติให้บริบูรณ์. ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่องรื่นเริง

เพราะอรรถว่า ผู้มากด้วยความรื่นเริง แทงตลอดอริยสัจ, เพราะอรรถ

ว่า เจริญสติปัฏฐาน เพราะอรรถว่า เจริญสัมมัปปธาน, อิทธิบาท, อินทรีย์,

พละ, โพชฌงค์, อริยมรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 549

ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่องรื่นเริง เพราะอรรถว่า ผู้มากด้วยความ

รื่นเริงย่อมทำให้แจ้งซึ่งสามัญผล.

ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่องรื่นเริง เพราะอรรถว่า แทงตลอด

อภิญญา.

ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่องรื่นเริง เพราะอรรถว่า ผู้มากด้วยความ

รื่นเริง มากด้วยเวท ความยินดี ความปราโมทย์ การทำให้แจ้งนิพพาน

ซึ่งเป็นปรมัตถ์.

ปัญญาไวเป็นไฉน ? ชื่อว่า ปัญญาไว เพราะอรรถว่า แล่นไปสู่

รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายในก็ตาม ภาย

นอกก็ตาม โอฬารก็ตาม สุขุมก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลก็ตาม

ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดโดยเป็นอนิจจัง ได้ไว.

ชื่อว่า ปัญญาไว เพราะอรรถว่า แล่นไป โดยเป็นทุกขังเป็น

อนัตตาได้ไว.

ชื่อว่า ปัญญาไว เพราะว่า แล่นไปสู่เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ฯลฯ ไกลก็ตาม

ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดโดยเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ไว.

ชื่อว่า ปัญญาไว เพราะอรรถว่า แล่นไปสู่จักษุ ฯลฯ ชราและ

มรณะซึ่งเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ได้ไว.

ชื่อว่า ปัญญาไว เพราะอรรถว่า ตรึกตรอง พิจารณา ไตร่ตรอง

คือทำให้แจ้งซึ่งรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันว่าเป็นอนิจจัง เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 550

อรรถว่าสิ้นไป ว่าเป็นทุกขัง เพราะอรรถว่าน่ากลัว ว่าเป็นอนัตตา

เพราะอรรถว่าหาสาระมิได้ แล่นไปในนิพพานซึ่งเป็นที่ดับรูปได้ไว.

ชื่อว่า ปัญญาไว เพราะอรรถว่า ตรึกตรอง พิจารณา ไตร่ตรอง

คือทำให้แจ้งซึ่งรูปที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบันว่าเป็นอนิจจัง เพราะ

อรรถว่าสิ้นไป, ว่าเป็นทุกขัง เพราะอรรถว่าน่ากลัว, น่าเป็นอนัตตา

เพราะอรรถว่าหาสาระมิได้ แล่นไปในนิพพานซึ่งเป็นที่ดับรูปได้ไว.

ชื่อว่า ปัญญาไว เพราะอรรถว่า ตรึกตรอง พิจารณา ไตร่ตรอง

คือทำให้แจ้งซึ่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและ

มรณะที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันว่าเป็นอนิจจัง เพราะอรรถว่า

สิ้นไป, ว่าเป็นทุกขัง เพราะอรรถว่า น่ากลัว, ว่าเป็นอนัตตา เพราะ

อรรถว่าหาสาระมิได้. แล่นไปในนิพพานซึ่งเป็นที่ดับชราและมรณะได้ไว.

ชื่อว่า ปัญญาไว เพราะอรรถว่า ตรึกตรอง พิจารณา ไตร่ตรอง

คือทำให้แจ้งซึ่งรูปที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ว่าเป็นอนิจจัง อัน

ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้นมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความ

เสื่อมเป็นธรรมดา มีความคลายกำหนัดเป็นธรรมดา มีความดับเป็น

ธรรมดา แล่นไปในนิพพานซึ่งเป็นที่ดับรูปได้ไว.

ชื่อว่า ปัญญาไว เพราะอรรถว่า ตรึกตรอง พิจารณา ไตร่

ตรอง คือทำให้แจ้งซึ่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ

ชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต ละปัจจุบัน ว่าเป็นอนิจจัง ฯลฯ

มีความดับเป็นธรรมดา แล่นไปในนิพพานซึ่งเป็นที่ดับรูป ได้ไว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 551

ปัญญาคมกล้าเป็นไฉน ? ชื่อว่า ปัญญาคมกล้า เพราะอรรถว่า

ตัดกิเลสทั้งหลายได้ไว.

ชื่อว่า ปัญญาคมกล้า เพราะอรรถว่า ยังกามวิตกที่เกิดขึ้นให้อยู่-

ทับไม่ได้ ยังพยาปาทวิตกที่เกิดขึ้น วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นบาปอกุศลธรรม

ทั้งหลายที่เกิดขึ้น ๆ ราคะที่เกิดขึ้น โทสะ โมหะ ความโกรธ ผูกโกรธไว้

ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ มารยา โอ้อวด หัวดื้อ แข่งดี

ถือตัว ดูหมิ่นท่าน มัวเมา เลินเล่อ ที่เกิดขึ้น กิเลสทั้งปวง ทุจริต

ทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง กรรมเครื่องไปสู่ภพทั้งปวงให้อยู่ทับไม่ได้ คือ

ละบรรเทาทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี.

ชื่อว่า ปัญญาคมกล้า เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องบรรลุ คือทำ

ให้แจ้ง ถูกต้องอริยมรรค ๔ สามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ และอภิญญา ๖

ได้ในอาสนะเดียว.

ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลสเป็นไฉน ? ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่อง

ทำลายกิเลส เพราะอรรถว่าบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยความ

ตื่นเต้น มากด้วยความสะดุ้ง, มากด้วยความกระสัน, มากด้วยความไม่

ยินดี, มากด้วยความไม่ยินดียิ่ง, เบือนหน้าไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง,

ย่อมแทงตลอด ย่อมทำลายกองโลภะที่ไม่เคยแทงตลอด ไม่เคยทำลายใน

สังขารทั้งปวง.

ชื่อว่า ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส เพราะอรรถว่า เป็น

เครื่องแทงตลอด, เป็นเครื่องทำลาย กองโทสะ, กองโมหะ, ความ

โกรธ, ผูกโกรธไว้ ฯลฯ กรรมเครื่องไปสู่ภพทั้งปวงที่ไม่เคยแทงตลอด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 552

ไม่เคยทำลาย.

บทว่า ส สพฺพธมฺเมสุ วิเสนิภูโต ยกิญฺจิ ทิฏฺว สุต

มุต วา ความว่า ผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้น คือพระขีณาสพ

ชื่อว่าเป็นผู้กำจัดเสนา เพราะความเป็นผู้ยังเสนามารในธรรมทั้งปวงเหล่า

นั้น รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่งให้

พินาศตั้งอยู่.

บทว่า ตเมว ทสฺสึ ความว่า ซึ่งบุคคลนั้นนั่นแหละ ผู้เห็นความ

หมดจด.

บทว่า วิวฏ จรนฺต ความว่า ผู้ประพฤติเปิดเผย เพราะปราศ

จากเครื่องปกปิดคือตัณหาเป็นต้น.

บทว่า เกนีธ โลกสฺมึ วิกปฺปเยยฺย ความว่า ใคร ๆ ในโลก

นี้พึงกำหนด ด้วยกิเลสอะไรเล่า ? คือด้วยความกำหนดด้วยตัณหา หรือ

ด้วยความกำหนดด้วยทิฏฐิ หรือด้วยกิเลสที่กล่าวแล้วในก่อนมีราคะเป็นต้น

เพราะละกิเลสเหล่านั้นได้แล้ว.

ในคาถา ๔ คาถาว่า กามา เต ปมา เสนา เป็นต้น มีเนื้อ

ความดังต่อไปนี้ เพราะกิเลสกามทั้งหลายทำเหล่าสัตว์ผู้ครองเรือนให้หลง

อยู่ในวัตถุกามทั้งหลายแต่ต้นเทียว ความไม่ยินดีในเสนาสนะที่สงัด หรือ

ในธรรมที่เป็นกุศลอันยิ่งอื่น ๆ ย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้ครอบงำกิเลสเหล่า

นั้นเข้าถึงความเป็นบรรพชิต, สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส

บรรพชิตแลทำความยินดียิ่งได้ยาก. ฉะนั้น ความหิวและความกระหาย

ย่อมเบียดเบียนบรรพชิตเหล่านั้น เพราะมีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่น. เมื่อถูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 553

ความหิวและความกระหายเบียดเบียน ตัณหาในการแสวงหาย่อมทำจิตให้

ลำบาก. ลำดับนั้น ความหดหู่และความง่วงเหงาย่อมเยี่ยมกราบผู้มีใจ

ลำบากเหล่านั้น. ต่อนั้น ความกลัวที่รู้กัน ว่าความหวาดสะดุ้ง ย่อมเกิดแก่

ผู้ที่ยังไม่บรรลุคุณวิเศษ. ผู้อยู่ในเสนาสนะในป่าและหมู่ไม้ที่เกิดกลิ่นเหม็น

เมื่อเขาเหล่านั้นไม่ไว้ใจหวาดระแวง ทำใจให้ยินดีรสวิเวกอยู่ ย่อมเกิด

ความสงสัยในปริยัติว่า ทางนี้จะพึงมีหรือหนอ. เมื่อบรรเทาความสงสัย

นั้นได้ ความถือตัว ลบหลู่คุณท่าน และหัวดื้อ ย่อมเกิด. เพราะบรรลุ

คุณวิเศษมีประมาณน้อย. เมื่อบรรเทาความถือตัว ลบหลู่คุณท่าน และ

หัวดื้อแม้เหล่านั้นได้. ลาภสักการะและความสรรเสริญย่อมเกิดขึ้น เพราะ

อาศัยการบรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งกว่านั้น. ผู้ที่หมกมุ่นอยู่ในลาภเป็นต้น ประ

กาศธรรมปฏิรูปได้รับยศที่ผิดแล้วดำรงอยู่ในยศนั้น ย่อมยกตนข่มท่าน

ด้วยชาติเป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงกองทัพ ๑๐ อย่างนี้ อย่างนี้แล้ว

เมื่อจะทรงชี้แจงว่า เหมือนความเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมคำนั้น ย่อมเป็น

ไปเพื่ออุปการะแก่ผู้กำจัดผู้มีธรรมดำ ฉะนั้นจึงเป็นกองทัพของท่าน ดังนี้

จึงตรัสว่า เอสา นมุจิ เต เสนา กณฺหสฺสาภิปฺปหาริณี ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิปฺปหาริณี ความว่า เป็นผู้ฆ่า คือ

บดขยี้ การทำอันตรายสมณพราหมณ์ทั้งหลาย.

บทว่า น น อสูโร ชินาติ เชตฺวา จ ลภเต สุข ความ

ว่าคนไม่กล้า คือคนผู้เพ่งเล็งกายและชีวิต ย่อมชนะกองทัพมารอย่างนี้ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 554

ได้ แต่คนกล้าย่อมชนะได้ และครั้นชนะแล้ว ย่อมได้สุขเกิดแต่มรรคและ

สุขเกิดแต่ผล.

บทว่า ยโต จตูหิ อริยมคฺเคหิ ความว่า ด้วยมรรค ๔ กล่าวคือ

เครื่องถึงพระนิพพาน ซึ่งไม่มีโทษในกาลใด.

บทว่า มารเสนา ความว่า กองทัพของมาร ผู้ทำตามคำสั่ง ได้

แก่ กิเลส.

บทว่า ปฏิเสนิกรา ความว่า กระทำความเป็นปฏิปักษ์.

บทว่า ชิตา จ ความว่า ให้ถึงซึ่งความปราชัย.

บทว่า ปราชิตา จ ความว่า ข่มขี่.

บทว่า ภคฺคา ความว่า ทำลาย.

บทว่า วิปฺปลุตฺตา ความว่า ทำให้แหลกละเอียด.

บทว่า ปรมฺมุขา ความว่า ให้ถึงความหลบหน้า.

บทว่า วิเสนิภูโต ความว่า เป็นผู้ปราศจากกิเลสตั้งอยู่.

บทว่า โวทานทสฺสี ความว่า ผู้เห็นพระนิพพานอันเป็นอารมณ์

ของโวทาน.

บทว่า ตานิ ฉทนานิ ความว่า เครื่องปิดบังคือ กิเลสมีตัณหา

เป็นต้นเหล่านั้น.

บทว่า วิวฏานิ ความว่า ทำให้ปรากฏ.

บทว่า วิทฺธสิตานิ ความว่า นำออกไปจากฐานที่ตั้งอยู่.

บทว่า อุคฺฆาติตานิ ความว่า เพิกขึ้น.

บทว่า สมุคฺฆาติตานิ ความว่า เพิกขึ้นเป็นพิเศษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 555

คาถาว่า น กปฺปยนฺติ เป็นต้น มีการเชื่อมความและเนื้อความ

ดังต่อไปนี้. จะกล่าวบางอย่างโดยยิ่ง ก็สัตบุรุษเหล่านั้น คือเช่นนั้น ย่อม

ไม่กำหนดด้วยความกำหนด ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง และย่อมไม่ทำ

ตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า ด้วยการทำไว้ในเบื้องหน้าอย่างใดอย่าง

หนึ่ง สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่กล่าวอกิริยทิฏฐิและสัสสตทิฏฐิ ซึ่งมิใช่

ความหมดจดส่วนเดียวกัน ว่าเป็นความหมดจดส่วนเดียว เพราะเป็นผู้

บรรลุความหมดจดส่วนเดียวซึ่งเป็นปรมัตถ์.

บทว่า อาทานคนฺถ คถิต วิสชฺช ความว่า ละ คือตัดคันถะ

เป็นเครื่องยึดมั่น อย่าง คือเกี่ยวเนื่องในจิตตสันดานของตน เพราะ

เป็นผู้ยึดมั่นธรรมมีรูปเป็นต้น ด้วยศัสตราคืออริยมรรค. บทที่เหลือปรากฏ

แล้วนั้นเทียว.

บทว่า อจฺจนฺตสุทฺธึ ความว่า ความหมดจดส่วนเดียวคืออย่างยิ่ง.

บทว่า สสารสุทฺธึ ความว่า ความหมดจดจากสงสาร.

บทว่า อกิริทิฏฺิ ความว่า อกิริยทิฏฐิว่า ผู้กระทำบาป ชื่อว่า

ไม่เป็นอันกระทำ.

บทว่า สสฺสตวาท ความว่า ไม่กล่าว คือไม่พูดว่า เที่ยง ยั่งยืน

แน่นอน.

บทว่า คนฺถา ความว่า ชื่อว่า ผูกพัน เพราะอรรถว่า ผูกพัน

นามกาย คือสืบต่อในวัฏฏะด้วยสามารถจุติและปฏิสนธิ. อภิชฌานั้นด้วย

เป็นเครื่องผูกพันด้วยสามารถการสืบต่อนามกายด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่า

เครื่องผูกพันทางกายคืออภิชฌา. ชื่อว่า พยาบาท เพราะอรรถว่า ยัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 556

ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขให้ถึงความพินาศ. พยาบาทนั้นด้วย เป็น

เครื่องผูกพันโดยนัยที่กล่าวแล้วด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่า เครื่องผูกพันทาง

กายคือพยาบาท.

บทว่า สีลพฺพตปรามาโส ความว่า ความลูบคลำโดยประการอื่น

ว่า หมดจดด้วยศีล หมดจดด้วยวัตร ของเหล่าสมณพราหมณ์นอกศาสนา

นี้.

บทว่า อิทสจฺจาภินิเวโส ความว่า การห้ามแม้ภาษิตของพระ-

สัพพัญญูเสียแล้ว ยึดมั่นโดยอาการนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่ง

อื่นเป็นโมฆะ ชื่อว่า ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง.

บทว่า อตฺตโน ทิฏฺิยา ราโค ความว่า ฉันทราคะด้วยทิฏฐิ

ที่ตนยึดมั่นถือเอา.

บทว่า ปรวาเทสุ อาฆาโต ความว่า ความโกรธในเพราะคำ

ของคนอื่น.

บทว่า อปฺปจฺจโย ความว่า อาการที่ไม่ยินดี.

บทว่า อตฺตโน สีล วา ความว่า ศีลมีโคศีลเป็นต้นที่ตนสมา-

ทานแล้วก็ดี.

บทว่า อตฺตโน ทิฏฺิ ความว่า ทิฏฐิที่ตนถือคือลูบคลำ.

บทว่า เตหิ คนฺเถหิ ความว่า ด้วยกิเลสเครื่องสืบต่อนามกายที่

กล่าวแล้วเหล่านี้.

บทว่า รูป อาทิยนฺติ ความว่า ย่อมถือ คือจับรูปารมณ์ซึ่งมี

สมุฏฐาน ๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 557

บทว่า อุปาทิยนฺติ ความว่า เข้าไปถือ จักด้วยตัณหา ถือมั่น

ด้วยทิฏฐิ ยึดมั่นด้วยมานะ.

บทว่า วฏฺฏ ความว่า วัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓.

บทว่า คนฺเถ ความว่า กิเลสเครื่องผูกพัน.

บทว่า โวสฺสชฺชิตฺวา ความว่า สละโดยชอบ.

บทว่า คถิเต ความว่า กิเลสเครื่องผูกพัน

บทว่า คนฺถิเต ความว่า ที่ผูกพันด้วยกิเลสเครื่องผูกพัน.

บทว่า วิพนฺเธ ความว่า ที่ผูกพันเป็นพิเศษ.

บทว่า อาพนฺเธ ความว่า ที่ผูกพันหลายอย่าง.

บทว่า ปลิพุทฺเธ ความว่า กิเลสเครื่องผูกพันที่พ้นไม่ได้.

บทว่า โผฏยิตฺวา ความว่า ทำลายเครื่องผูกพัน คือตัณหามานะ

ทิฏฐิ.

บทว่า วิสชฺช ความว่า สละ.

ก็การนำกิเลสเครื่องผูกพัน ๔ อย่างเหล่านี้มาตามลำดับกิเลสก็ดี ตาม

ลำดับมรรคก็ดี ย่อมควรตามลำดับกิเลส. กิเลสเครื่องผูกพันทางกาย คือ

อภิชฌา ละได้ด้วยอรหัตตมรรค. กิเลสเครื่องผูกพันทางกายคือพยาบาท

ละได้ด้วยอนาคามิมรรค. กิเลสเครื่องผูกพันทางกาย คือสีลัพพตปรามาส

กิเลสเครื่องผูกพันทางกาย คือ ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง ละได้ด้วยโสดา

ปัตติมรรค. ตามลำดับมรรค. กิเลสเครื่องผูกพันทางกาย คือสีลัพพต-

ปรามาส กิเลสเครื่องผูกพันทางกายคือ ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง ละได้ด้วย

โสดาปัตติมรรค. กิเลสเครื่องผูกพันทางกายคือพยาบาท ละได้ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 558

อนาคามิมรรค. กิเลสเครื่องผูกพันทางกายคือ อภิชฌา ละได้ด้วยอรหัตต

มรรค. ดังนี้แล. กิเลสเครื่องผูกพัน อย่างเหล่านี้มีอยู่แก่ผู้ใด ย่อมผูก

พัน คือสืบต่อผู้นั้นไว้ในวัฏฏะ ด้วยสามารถจุติและปฏิสนธิ ดังนั้นจึงชื่อว่า

กิเลสเครื่องผูกพัน. กิเลสเครื่องผูกพันเหล่านั้นมี ๔ ประเภท สัตว์ทั้งหลาย

ย่อมเพ่งเล็งด้วยอภิชฌานี้ คือตัวอภิชฌาเองเพ่งเล็งก็ตาม อภิชฌานี้เป็น

เพียงความเพ่งเล็งเท่านั้นก็ตาม ดังนั้นจึงชื่อว่าอภิชฌา คือความโลภ

นั้นเอง. ชื่อว่ากิเลสเครื่องผูกพันทางกาย เพราะอรรถว่า ผูกพันนามกาย

คือ สืบต่อไว้ในวัฏฏะด้วยสามารถจุติและปฏิสนธิ.

ชื่อว่า พยาบาท เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องที่จิตถึงความพินาศ

คือถึงความเป็นจิตเสีย หรือทำอาจาระคือวินัย รูปสมบัติ ประโยชน์เกื้อกูล

และความสุขเป็นต้น ให้ถึงความพินาศ.

ความลูบคลำว่า หมดจดด้วยศีล หมดจดด้วยวัตร ของเหล่าสมณ-

พราหมณ์นอกศาสนานี้ ชื่อว่า สีลัพพตปรามาส. ชื่อว่าความยึดมั่นว่า

สิ่งนี้จริง เพราะอรรถว่า ห้ามแม้ภาษิตของพระสัพพัญญูเสียแล้วยึดมั่น

โดยอาการเป็นต้นว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ.

พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะแสดงสิ่งที่ปรุงแต่งมีวอเป็นต้น เป็นเครื่อง

เปรียบเทียบในการแยกแยะกิเลสเครื่องผูกพันทั้งหลาย จึงกล่าวคำเป็นต้น

ว่า ยถา วยฺห วา ดังนี้.

บทว่า น ชเนนฺติ ความว่า ไม่ให้เกิดขึ้น.

บทว่า น สญฺชเนนฺติ ความว่า ไม่ให้บังเกิด. ท่านขยายบทว่า

นาภินิพฺพตฺเตนฺติ ด้วยอุปสรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 559

บทว่า น สญฺชเนนฺติ ความว่า ไม่ยังลักษณะที่เกิดขึ้นให้บังเกิด.

บทว่า นาภินิพฺพตฺเตนฺติ ท่านกล่าวหมายเอาลักษณะที่เป็นไป.

พระอรหันต์ชื่อว่าล่วงแดนแล้ว เพราะล่วงแดนคือกิเลส ๔, และ

ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยบาปเสียแล้ว และพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นอย่างนี้

รู้ด้วยปรจิตตญาณ และปุพเพนิวาสญาณ หรือเห็นด้วยมังสจักษุและทิพยจักษุ

จึงไม่มีความยึดถืออะไร ๆ. ท่านอธิบายว่า ตั้งมั่น.

อนึ่ง พระอรหันต์นั้น ชื่อว่ามิได้มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่

กำหนัด เพราะไม่มีกามราคะ. ชื่อว่ามิได้กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลาย

กำหนัด เพราะไม่มีรูปราคะและอรูปราคะ. เพราะพระอรหันต์นั้นเป็น

อย่างนี้ จึงไม่มีความนับถืออะไร ๆ ในที่นี้ว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม. พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยเอกคือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า จตสฺโส สีมาโย ความว่า เขตที่กำหนด ๔ อย่าง.

บทว่า ทิฏฺานุสโย ความว่า ทิฏฐินั้นด้วย เป็นอนุสัยเพราะ

อรรถว่ายังละไม่ได้ด้วย ดังนี้จึงชื่อว่าทิฏฐานุสัย แม้ในอนุสัยคือวิจิกิจฉา

เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

ชื่อว่า อนุสัย ด้วยอรรถว่าอะไร ?

ด้วยอรรถว่านอนเนื่อง.

ชื่อว่า มีอรรถว่านอนเนื่องนี้ เป็นอย่างไร ?

มีอรรถว่าละไม่ได้. เพราะกิเลสเหล่านี้ ชื่อว่าย่อมนอนเนื่อง

ในสันดานของสัตว์นั้น ๆ เพราะอรรถว่ายังละไม่ได้จึงเรียกว่า อนุสัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 560

บทว่า อนุเสนฺติ ความว่า ได้เหตุที่สมควรย่อมเกิดขึ้น หากจะมี

คำถามว่า อาการที่ละไม่ได้ ชื่อว่ามีอรรถว่า นอนเนื่อง ก็ไม่ควรจะ

กล่าวว่า อาการที่ละไม่ได้ เกิดขึ้น ฉะนั้น อนุสัยทั้งหลายจึงไม่เกิดขึ้น

ในข้อนั้นมีคำตอบดังนี้ อาการที่ยังละไม่ได้ ไม่ใช่อนุสัย, แต่กิเลสที่มี

กำลัง ท่านเรียกว่า อนุสัย เพราะอรรถว่ายังละไม่ได้อนุสัยที่เป็นจิตต-

สัมปยุต เป็นไปกับด้วยอารมณ์ เป็นไปกับด้วยเหตุเพราะอรรถว่าเป็นไป

กับด้วยปัจจัย เป็นอกุศลโดยส่วนเดียว เป็นอดีตบ้าง เป็นอนาคตบ้าง

เป็นปัจจุบันบ้าง ฉะนั้นจึงควรกล่าวว่า เกิดขึ้น นี้เป็นประมาณในข้อนั้น.

ในอภิสมยกถา คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ท่านถามก่อนว่า ละกิเลส

ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้อย่างไร ดังนี้แล้วกล่าวว่า ผู้มีกำลังย่อมละอนุสัยได้

เพราะอนุสัยทั้งหลายมีความเป็นปัจจุบัน.

ในบทภาชนะแห่งโมหะคัมภีร์ธัมมสังคณี ท่านกล่าวความที่โมหะเกิด

ขึ้นกับอกุศลจิตว่า อนุสัยคืออวิชชา การครอบงำคือ อวิชชา ลิ่มคือวิชชา

โมหะ เป็นอกุศลมูล โมหะนี้ มีในสมัยนั้น.

ในคัมภีร์กถาวัตถุ ท่านปฏิเสธวาทะทั้งหมดว่า อนุสัยเป็นอัพยากฤต

อนุสัยเป็นอเหตุกะ อนุสัยเป็นจิตตวิปปยุต. ในอุปปัชชนวาระบางแห่ง

แห่งมหาวาร ๗ ในอนุสยยมก ท่านกล่าวคำเป็นต้นว่า อนุสัยคือกามราคะ

เกิดขึ้นแก่ผู้ใด อนุสัยคือปฏิฆะก็เกิดขึ้นแก่ผู้นั้นใช่ไหม ? เพราะฉะนั้น

คำที่ท่านกล่าวว่า บทว่า อนุเสนฺติ ความว่าได้เหตุที่สมควรย่อมเกิดขึ้นนั้น

พึงทราบว่า ท่านกล่าวดีแล้ว โดยประมาณที่เป็นแบบแผนนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 561

คำที่ท่านกล่าวแล้วว่า อนุสัยที่เป็นจิตตสัมปยุตเป็นไปกับด้วยอารมณ์

เป็นต้น แม้นั้นก็เป็นอันท่านกล่าวดีแล้วทีเดียว. ในข้อนี้พึงตกลงว่า

ก็ชื่อว่าอนุสัยนี้ สำเร็จแล้ว เป็นอกุศลธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต.

บรรดาอนุสัยเหล่านั้นทิฏฐานุสัย ท่านกล่าวไว้ในอนุสัยที่สัมปยุต

ด้วยทิฏฐิ ๔.

วิจิฉานุสัย กล่าวไว้ในอนุสัยที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา.

อวิชชานุสัย กล่าวไว้ในอกุศลจิต ๑๒ ดวง ด้วยสามารถแห่ง

สหชาตธรรมและด้วยสามารถแห่งอารมณ์.

ทิฏฐิวิจิกิจฉาและโมหะแม้ทั้ง ๓ กล่าวไว้ในธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓

ที่เหลือ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์.

ก็ในที่นี้ กามราคานุสัย กล่าวไว้ในจิตที่สหรคตด้วยโลภะทั้งหลาย

ด้วยสามารถแห่งสหชาตธรรมและด้วยสามารถแห่งอารมณ์.

โลภะที่เกิดขึ้น กล่าวไว้ในธรรมเป็นกามาวจรที่เหลือ ซึ่งเป็นที่

ชอบใจด้วยสามารถแห่งอารมณ์นั้นแล.

ปฏิฆานุสัย กล่าวไว้ในจิตที่สหรคตด้วยโทมนัส ด้วยสามารถแห่ง

สหชาตธรรมและด้วยสามารถแห่งอารมณ์.

โทสะที่เกิดขึ้น กล่าวไว้ในธรรมเป็นกามาวจรที่เหลือ ซึ่งไม่เป็นที่

ชอบใจ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์นั่นแล.

มานานุสัย กล่าวไว้ในจิตที่วิปปยุตด้วยทิฏฐิและสหรคตด้วยโลภะ

ด้วยสามารถแห่งสหชาตธรรมและด้วยสามารถแห่งอารมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 562

มานะที่เกิดขึ้น กล่าวไว้ในธรรมเป็นกามาวจรที่เหลือ และในธรรม

เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร ซึ่งเว้นจากทุกขเวทนา ด้วยสามารถแห่ง

อารมณ์นั้นแล.

ภวราคานุสัย แม้เมื่อเกิดขึ้น ก็กล่าวไว้ในจิตที่วิปปยุตด้วยทิฏฐิ ๔

ด้วยสามารถแห่งสหชาตธรรม.

แต่โลภะที่เกิดขึ้น กล่าวไว้ในธรรมเป็นรูปารูปาวจระด้วยสามารถ

แห่งอารมณ์นั่นแล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏานุสโย ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒ อย่าง.

บทว่า วิจิกิจฺฉานุสโย ได้แก่ วิจิกิจฉามีวัตถุ ๘.

บทว่า ตเทกฏฺา จ กิเลสา ความว่า ตั้งอยู่โดยความเป็นอัน

เดียวกัน ด้วยสามารถเกิดร่วมกัน. และตั้งอยู่แห่งเดียวกัน คือ ด้วยสามารถ

ทิฏฐิและวิจิกิจฉาเกิดร่วมกันและตั้งอยู่แห่งเดียวกัน.

บทว่า มานานุสโย ได้แก่มานะ ๙ อย่าง.

บทว่า ปรจิตฺตาเณน วา ตฺวา ความว่า รู้ด้วยปัญญาเครื่อง

รู้วาระจิตของผู้อื่น. ท่านอธิบายว่า รู้ด้วยเจโตปริยญาณ.

บทว่า ปุพฺเพ นิวาสานุสฺสติาเณน วา ความว่า รู้ด้วยญาณ

เครื่องระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในอดีต.

บทว่า มสจกฺขุนา วา ได้แก่ด้วยจักษุปกติ (ตาธรรมดา)

บทว่า ทิพฺพจกฺขุนา วา ความว่า เห็นด้วยทิพยจักษุ ซึ่งคล้าย

ทิพย์หรืออาศัยทิพยวิหาร.

บทว่า ราครตฺตา ความว่า ยินดีด้วยราคะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 563

บทว่า เย ปญฺจสุ กามคุเณสุ ความว่า ชนเหล่าใดกำหนัดใน

ส่วนคือวัตถุกามมีรูปเป็นต้น ๕ อย่าง.

บทว่า วิราครตฺตา ความว่า กำหนัดยิ่ง คือติดแน่น ในรูป

สมาบัติและอรูปสมาบัติ กล่าวคือ วิราคะ.

บทว่า ยโต กามราโค จ ความว่า ในกาลใด กามราคะ แม้

ในรูปภพและอรูปภพก็นัยนี้แหละ.

สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเทส

อรรถกถา สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส

จบสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 564

ปรมัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๕

[๑๔๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ชันตุชนยึดถืออยู่ทิฏฐิทั้งหลายว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม

ย่อมทำสิ่งใดให้ยิ่งในโลก ชันตุชนนั้นกล่าวสิ่งทั้งปวงนั้น

จากสิ่งนั้นว่าเลว เพราะฉะนั้น ชันตุชนนั้นย่อมเป็นผู้ไม่

ล่วงเลยวิวาททั้งหลาย.

ว่าด้วยผู้ยึดถืออยู่ในทิฏฐิ

[๑๔๗] คำว่า ยึดถืออยู่ในทิฏฐิทั้งหลายว่าสิ่งนี้ยอดเยี่ยม

มีความว่า มีสมณพราหมณ์บางพวกเป็นเจ้าทิฏฐิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น

รับ รับเอา ถือเอา ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิ ๖๒ อย่างใดอย่างหนึ่งว่า สิ่งนี้

ยอดเยี่ยม เลิศ ประเสริฐ วิเศษเป็นใหญ่ สูงสุด บวร ย่อมอยู่ อยู่ร่วม

อยู่อาศัย อยู่รอบ ด้วยทิฏฐิของตน ๆ เหมือนพวกผู้อยู่ครองเรือนทั้งหลาย

อยู่ในเรือน หรือพวกบรรพชิตผู้มีอาบัติอยู่ในกองอาบัติ หรือพวกผู้มี

กิเลสอยู่ในกองกิเลสฉะนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ยึดถืออยู่ในทิฏฐิ

ทั้งหลายว่าสิ่งนี้ยอดเยี่ยม.

[๑๔๘] คำว่า ชันตุชนย่อมทำสิ่งใดให้ยิ่งในโลก มีความว่า

คำว่า ยท แปลว่า ใดคำว่า ย่อมทำให้ยิ่ง มีความว่า ชันตุชนย่อม

ทำสิ่งใดให้ยิ่ง ให้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นใหญ่ สูงสุด บวร คือย่อม

ให้บังเกิด บังเกิดเฉพาะว่า พระศาสดานี้เป็นพระสัพพัญญู พระธรรมนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 565

อันพระศาสดาตรัสดีแล้ว คณะสงฆ์นี้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐินี้เจริญ ปฏิปทานี้

พระศาสดาบัญญัติดีแล้วมรรคนี้ให้พ้นทุกข์ได้. คำว่า ชันตุชน ได้แก่

สัตว์ นรชน ฯลฯ มนุษย์ คำว่า ในโลก ได้แก่ อบายโลก ฯลฯ

อายตนโลก. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชันตุชนย่อมทำสิ่งใดให้ยิ่งในโลก.

[๑๔๙] คำว่า ชันตุชนนั้นกล่าวสิ่งทั้งปวงอื่นจากสิ่งนั้นว่า

เลว มีความว่า ชันตุชนย่อมคัดค้าน โต้แย้ง ปฏิเสธ ซึ่งลัทธิอื่นทั้งปวง

เว้นศาสดา ธรรมที่ศาสดาบอก คณะสงฆ์ ทิฏฐิปฏิปทา มรรค ของตน

คือกล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า ศาสนานั้นไม่ใช่สัพพัญญู

ธรรมไม่เป็นธรรมอันศาสดากล่าวดีแล้ว หมู่คณะไม่เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

ทิฏฐิไม่เป็นทิฏฐิอันเจริญ ปฏิปทาไม่เป็นปฏิปทาอันศาสดาบัญญัติดีแล้ว

มรรคไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ

ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ หรือความพ้นรอบ มิได้มีใน

ลัทธินั้น พวกถือลัทธินั้น ย่อมไม่หมดจด ไม่หมดจดวิเศษ ไม่หมดจดรอบ

ไม่พ้น ไม่พ้นวิเศษ หรือไม่พ้นรอบในลัทธินั้น พวกถือลัทธินั้นย่อม

เป็นผู้เลว เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย. เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ชันตุชนนั้นกล่าวสิ่งทั้งปวงอื่นจากสิ่งนั้นว่าเลว.

[๑๕๐] คำว่า เพราะฉะนั้น ชันตุชนนั้นย่อมเป็นผู้ไม่ล่วง

เลยวิวาททั้งหลาย มีความว่า เพราะฉะนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะ

เหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น ชันตุชนนั้นย่อมเป็นผู้ไม่ล่วง

เลยไม่ก้าวล่วง ไม่ก้าวล่วงพร้อม ซึ่งความทะเลาะเพราะทิฏฐิ บาดหมาง

แก่งแย่ง วิวาท มุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชันตุชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 566

นั้นย่อมเป็นผู้ไม่ล่วงเลยวิวาททั้งหลาย. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ชันตุชนยึดถืออยู่ในทิฏฐิทั้งหลายว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม

ย่อมทำสิ่งใดให้ยิ่งในโลก ชันตุชนนั้นกล่าวสิ่งทั้งปวงอื่น

จากสิ่งนั้น ว่าเลว เพราะฉะนั้น ชันตุชนนั้นย่อมเป็นผู้ไม่

ล่วงเลยวิวาททั้งหลาย.

[๑๕๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ใดในทิฏฐิของตนก็ดี ใน

อารมณ์ที่เห็นก็ดี ในอารมณ์ที่ได้ยินก็ดี ในศีลและวัตรก็

ดี ในอารมณ์ที่ทราบก็ดี นรชนนั้นถือมั่นซึ่งทิฏฐินั้นนั่น

แหละในลัทธิของตนนั้น ย่อมเห็นสิ่งอื่นทั้งปวงโดยความ

เป็นของเลว.

ว่าด้วยอานิสงส์ในทิฏฐิ

[๑๕๒] คำว่า นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ใดในทิฏฐิของตนก็

ดี ในอารมณ์ที่เห็นก็ดี ในอารมณ์ที่ได้ยินก็ดี ในศีลและวัตรก็ดี

ในอารมณ์ที่ทราบก็ดี มีความว่าศัพท์ว่า ยทตฺตนิ ตัดบทเป็น

ย อตฺตนิ ทิฏฐิเรียกว่า ตน นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ ๒ ประการ ใน

ทิฏฐิของตน คือ อานิสงส์ในชาตินี้ ๑ อานิสงส์ในชาติหน้า ๑.

อานิสงส์ในทิฏฐิมีในชาตินี้ เป็นไฉน ? ศาสดาเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างใด

พวกสาวกก็เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น พวกสาวกย่อมสักการะ เคารพ นับถือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 567

บูชา ยำเกรง ซึ่งศาสดาผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น และย่อมได้ จีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่มีการสักการะเป็นต้นนั้นเป็นเหตุ

นี้ชื่อว่า อานิสงส์ในทิฏฐิมีในชาตินี้.

อานิสงส์ในทิฏฐิมีในชาติหน้า เป็นไฉน ? นรชนย่อมหวังผลใน

อนาคตว่า ทิฏฐินี้ควรเพื่อความเป็นนาค เป็นครุฑ เป็นยักษ์ เป็นอสูร

เป็นคนธรรพ์ เป็นมหาราช เป็นพระอินทร์ เป็นพรหม หรือเป็นเทวดา

ทิฏฐินี้เหมาะสมเพื่อความหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ พ้น พ้น-

วิเศษ พ้นรอบ สัตว์ทั้งหลายย่อมหมดจด หมดจดวิเศษ หมดจดรอบ

พ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ ด้วยทิฏฐินี้ เราจักหมดจด หมดจดวิเศษหมด

จดรอบ พ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ ด้วยทิฏฐินี้ ดังนี้ นี้ชื่อว่า อานิสงส์

ในทิฏฐิมีในชาติหน้า นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ในทิฏฐิของตน ๒ ประ-

การนี้.

นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ ๒ ประการ แม้ในความหมดจดด้วยอารมณ์

ที่เห็น คือ อานิสงส์มีในชาตินี้ ๑ อานิสงส์มีในชาติหน้า ๑ ย่อมเห็น

อานิสงส์ ๒ ประการ แม้ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ได้ยิน ย่อมเห็น

อานิสงส์ ๒ ประการ แม้ในความหมดจดด้วยศีล ย่อมเห็นอานิสงส์ ๒

ประการ แม้ในความหมดจดด้วยวัตร ย่อมเห็นอานิสงส์ ๒ ประการ แม้

ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ทราบ คือ อานิสงส์มีในชาตินี้ ๑ อานิสงส์

มีในชาติหน้า ๑.

อานิสงส์ไม่ในความหมดจดด้วย อารมณ์ที่ทราบ มีในชาตินี้เป็นไฉน ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 568

ศาสดาเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างใด พวกสาวกก็เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น ฯลฯ นั้นชื่อ

ว่าอานิสงส์ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ทราบมีในชาตินี้.

อานิสงส์ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ทราบ มีในชาติหน้า เป็น

ไฉน. นรชนนั้นย่อมหวังผลในอนาคตว่า ทิฏฐินี้ควรเพื่อความเป็นนาค

ฯลฯ นี้ชื่อว่าอานิสงส์ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ทราบมีในชาติหน้า

นรชนย่อมเห็น คือแลเห็น เหลียวเห็น เล็งเห็น พิจารณาเห็น อานิสงส์

๒ ประการเหล่านี้คำนี้ แม้ในความหมดจดด้วยอารมณ์ที่ทราบ เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ใด ในทิฏฐิของตนก็ดี ใน

อารมณ์ที่เห็นก็ดี อารมณ์ที่ได้ยินก็ดี ในศีลและวัตรก็ดี ใน

อารมณ์ที่ทราบก็ดี.

[๑๕๓] คำว่า นรชนนั้นถือมั่นทิฏฐินั้นนั่นแหละในลัทธิ

ของตนนั้น มีความว่า คำว่า ตเทว ได้แก่ ซึ่งทิฏฐินั้น. คำว่า ตตฺถ

ได้แก่ ในทิฏฐิของตน ในความควรของตน ในความชอบใจของตน ใน

ลัทธิของตน คำว่า ถือมั่น ได้แก่ ถือ ถือเอา รับเอา ยึดมั่น ถือมั่น

ว่า สิ่งนี้ยอดเยี่ยม เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นใหญ่ สูงสุด บวร เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า นรชนนั้นถือมั่นทิฏฐินั้นนั่นแหละ ในลัทธิของ

ตนนั้น.

[๑๕๔] คำว่า ย่อมเห็นสิ่งอื่นทั้งปวงโดยความเป็นของเลว

มีความว่า นรชนนั้นย่อมเห็น คือ แลเห็น เหลียวเห็น เล็งเห็น พิจารณา

เห็น ซึ่งศาสดา ธรรมที่ศาสดาบอก หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคอื่น

โดยความเป็นของเลว เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 569

ฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อมเห็นสิ่งอื่นทั้งปวงโดยความเป็นของเลว เพราะ

เหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

นรชนย่อมเห็นอานิสงส์ใดในทิฏฐิของตนก็ดี ใน

อารมณ์ที่เห็นก็ดี ในอารมณ์ที่ได้ยินก็ดี ในศีลวัตรก็ดี

ในอารมณ์ที่ทราบก็ดี นรชนนั้น ถือมั่นทิฏฐินั้นนั่นแหละ

ในลัทธิของตนนั้น ย่อมเห็นสิ่งอื่นทั้งปวงโดยความเป็น

ของเลว.

[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวทัศนะที่ตนอาศัยแม้นั้น

ว่า เป็นเครื่องร้อยรัด เห็นทัศนะอื่นว่าเลว เพราะฉะนั้น

แหละ ภิกษุไม่พึงอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์

ที่ทราบ หรือศีลและวัตร.

ว่าด้วยทัศนะของผู้ฉลาด

[๑๕๖] คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวทัศนะที่ตนอาศัย

แม้นั้นว่า เป็นเครื่องร้อยรัด มีความว่า คำว่า ผู้ฉลาด ได้แก่ ผู้ฉลาด

ในขันธ์ ฉลาดในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาด

ในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์

ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาดในผล ฉลาดใน

นิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้นย่อมกล่าวอย่างนี้ คือย่อมกล่าว บอก พูด

แสดง แถลง อย่างนี้ว่า ทัศนะนั้นเป็นกิเลสเครื่องร้อยรัด เป็นกิเลส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 570

เครื่องยึดเหนี่ยว เป็นกิเลสเครื่องผูกพัน เป็นกิเลสเครื่องพัวพัน. เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวทัศนะที่ตนอาศัย แม้

นั้นว่า เป็นเครื่องร้อยรัด.

[๑๕๗] คำว่า ทัศนะที่ตนอาศัยแล้ว เห็นทัศนะอื่นว่าเลว

มีความว่า คำว่า ทัศนะที่ตนอาศัยแล้ว ได้แก่ ภิกษุอาศัย อิงอาศัย

ติดพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจถึงทัศนะใด คือ ศาสดา ธรรม ที่ศาสดา

บอก หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใด คำว่า เห็นทัศนะอื่นว่าเลว

ได้แก่ ย่อมเห็น แลเห็น เหลียวเห็น เล็งเห็น พิจารณาเห็น ซึ่งทัศนะ

อื่น คือ ศาสดา ธรรมที่ศาสดาบอก หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคอื่น

โดยความเป็นของเลว เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย. เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า ทัศนะที่ตนอาศัยแล้ว เห็นทัศนะอื่นว่าเลว.

[๑๕๘] คำว่า เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุที่ไม่พึงอาศัยรูป

ที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ หรือศีลและวัตร มีความว่า

เพราะฉะนั้น คือเพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะ

นิทานนั้น ภิกษุไม่พึงอาศัย ไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น ซึ่งรูป

ที่เห็นบ้าง ความหมดจดเพราะรูปที่เห็นบ้าง เสียงที่ได้ยินบ้าง ความ

หมดจดเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง อารมณ์ที่ทราบบ้าง ความหมดจดเพราะ

อารมณ์ที่ทราบบ้าง ศีลบ้าง ความหมดจดเพราะศีลบ้าง วัตรบ้าง ความ

หมดจดเพราะวัตรบ้าง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เพราะฉะนั้นแหละ

ภิกษุไม่พึงอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ หรือศีล

และวัตร. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 571

ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวทัศนะที่ตนอาศัยแม้นั้นว่า

เป็นเครื่องร้อยรัด เห็นทัศนะอื่นว่าเลว เพราะฉะนั้นแหละ

ภิกษุไม่พึงอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ

หรือศีลและวัตร.

[๑๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ภิกษุไม่พึงกำหนดทิฏฐิในโลก ด้วยญาณหรือแม้

ด้วยศีลและวัตร ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เสมอเขา ไม่

พึงสำคัญตนว่าเลวกว่าเขา หรือแม้ว่าวิเศษกว่าเขา.

ว่าด้วยภิกษุไม่พึงมีทิฏฐิมานะ

[๑๖๐] คำว่า ภิกษุไม่พึงกำหนดแม้ทิฏฐิในโลกด้วยญาณ

หรือแม้ด้วยศีลและวัตร มีความว่า ภิกษุไม่พึงกำหนดซึ่งทิฏฐิ

คือไม่พึงให้เกิด ไม่พึงให้เกิดพร้อม ไม่พึงให้บังเกิด ไม่พึงให้บังเกิด

เฉพาะ ด้วยญาณในสมาบัติ ๘ ด้วยญาณในอภิญญา ๕ ด้วยมิจฉาญาณ ด้วย

ศีล ด้วยวัตร หรือด้วยศีลและวัตร. คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก

มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงกำหนดแม้ทิฏฐิในโลก ด้วยญาณหรือแม้ด้วย

ศีลและวัตร.

[๑๖๑] คำว่า ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เสมอเขา มีความว่า

ไม่พึงนำไปซึ่งตนว่า เราย่อมเป็นผู้เสมอเขาด้วยชาติ ด้วยโคตร ด้วย

ความเป็นบุตรแห่งสกุล ด้วยความเป็นผู้มีรูปงาม ด้วยทรัพย์ ด้วยการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 572

ปกครอง ด้วยหน้าที่การงาน ด้วยหลักแหล่งแห่งศิลปศาสตร์ ด้วยวิทยฐานะ

ด้วยการศึกษา ด้วยปฏิภาณ หรือด้วยวัตถุอื่น ๆ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เสมอเขา.

[๑๖๒] คำว่า ไม่พึงสำคัญตนว่า เลวกว่าเขา หรือแม้ว่า

วิเศษกว่าเขา มีความว่า ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เราย่อมเป็นผู้เลวกว่า

เขาด้วยชาติ ด้วยโคตร ด้วยความเป็นบุตรแห่งสกุล ฯลฯ หรือด้วยวัตถุ

อื่น ๆ และไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เราย่อมเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา ด้วย

ชาติ ด้วยโคตร ฯลฯ หรือด้วยวัตถุอื่น ๆ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่พึง

สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา หรือแม้ว่าวิเศษกว่าเขา. เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ภิกษุไม่พึงกำหนดแม้ทิฏฐิในโลก ด้วยญาณหรือ

แม้ด้วยศีลและวัตร ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งตนว่า เสมอเขา

ไม่พึงสำคัญตนว่า เลวกว่าเขา หรือแม้ว่าวิเศษกว่าเขา.

[๑๖๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

นรชนนั้นละตนแล้ว ไม่ถือมั่น ไม่ทำนิสัยแม้ใน

เพราะญาณ เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน นรชนนั้นก็ไม่แล่น

ไปกับพวก ไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่งทิฏฐิอะไร ๆ.

[๑๖๔] คำว่า ละตนแล้ว ไม่ถือมั่น มีความว่า คำว่า ละตน

แล้ว ได้แก่ ละความเห็นว่าเป็นตน. คำว่า ละตนแล้ว ได้แก่ ละความ

ถือ. คำว่า ละตนแล้ว ได้แก่ ละ เว้น บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำ

ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความถือ ถือมั่น ยึดมั่น ติดใจ น้อมใจไป ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 573

สมารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ. คำว่า ละตนแล้ว ไม่ถือมั่น

ได้แก่ ไม่ถือมั่น คือไม่ยึด ไม่ยึดถือ ไม่ยึดมั่น ด้วยอุปาทาน ๔.

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ละตนแล้ว ไม่ถือมั่น.

[๑๖๕] คำว่า นรชนนั้น ไม่ทำนิสัยแม้ในเพราะญาณ มี

ความว่า นรชนนั้นไม่ทำตัณหานิสัยหรือทิฏฐินิสัย คือไม่ให้เกิด ไม่ให้

เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ ในเพราะญาณในสมาบัติ ๘

ในเพราะญาณในอภิญญา ๕ หรือในเพราะมิจฉาญาณ. เพราะฉะนั้นจึง

ชื่อว่า นรชนนั้น ไม่ทำนิสัยแม้ในเพราะญาณ.

[๑๖๖] คำว่า เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน นรชนนั้นก็ไม่แล่น

ไปกับพวก มีความว่า เมื่อชนทั้งหลายแยกกัน แตกกัน ถึงความเป็น

สองฝ่าย เกิดเป็นสองพวกมีทิฏฐิต่างกัน มีความควรต่างกัน มีความชอบใจ

ต่างกัน มีลัทธิต่างกัน อาศัยทิฏฐินิสัยต่างกัน ถึงฉันทาคติ ถึงโทสาคติ

ถึงโมหาคติ ถึงภยาคติ นรชนนั้นย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ

ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ไม่ถึงด้วยอำนาจแห่งราคะ โทสะ โมหะ

มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย ไม่ไป ดำเนินไป เลื่อนลอยไป

แล่นไป เพราะธรรมทั้งหลายอันทำความเป็นพวก. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน นรชนนั้นก็ไม่แล่นไปกับพวก

[๑๖๗] คำว่า ไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่งทิฏฐิอะไร ๆ มีความว่า

ทิฏฐิ ๖๒ อันนรชนนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ ควรทำไม่ให้เกิดขึ้น

เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณนรชนนั้นไม่ถึงเฉพาะ ไม่มาถึงเฉพาะ ซึ่งทิฏฐิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 574

อะไร ๆ. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่งทิฏฐิอะไร ๆ.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

นรชนนั้นละตนแล้ว ไม่ถือมั่น ไม่ทำนิสัยแม้ใน

เพราะญาณ เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน นรชนนั้นก็ไม่แล่น

ไปกับพวกไม่ถึงเฉพาะแม้ซึ่งทิฏฐิอะไร ๆ.

[๑๖๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่พระ

อรหันต์ขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือ

โลกหน้า พระอรหันตขีณาสพนั้น ย่อมไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ

ย่อมไม่มีการถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น.

ว่าด้วยภูมิธรรมของพระอรหันต์

[๑๖๙] คำว่า ความตั้งใจซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่

พระอรหันตขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือโลก

หน้า มีความว่า คำว่า ใด ได้แก่พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า ส่วนสุด

ได้แก่ผัสสะ เป็นส่วนสุดที่ ๑ ผัสสสมุทัยเป็นส่วนสุดที่ ๒ อดีตเป็นส่วน

สุดที่ ๑ อนาคตเป็นส่วนสุดที่ ๒ สุขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ ๑ ทุกขเวทนา

เป็นส่วนสุดที่ ๒ นามเป็นส่วนสุดที่ ๑ รูปเป็นส่วนสุดที่ ๒ อายตนะภาย

ใน ๖ เป็นส่วนสุดที่ ๑ อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วนสุดที่ ๒ กายของ

คนเป็นส่วนสุดที่ ๑ สมุทัยแห่งกายของตนเป็นส่วนสุดที่ ๒ ตัณหา เรียก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 575

ว่า ความตั้งไว้ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา

โลภะ อกุศลมูล.

คำว่า เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ได้แก่ เพื่อภพน้อยภพใหญ่ คือ

เพื่อกรรมวัฏและวิปากวัฏ เพื่อกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ เพื่อ

วิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ เพื่อกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ

เพื่อวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ เพื่อกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ

เพื่อวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ เพื่อความเกิดบ่อย ๆ เพื่อความไป

บ่อย ๆ เพื่อความเข้าถึงบ่อย ๆ เพื่อปฏิสนธิบ่อย ๆ เพื่อบังเกิดขึ้นแห่ง

อัตภาพบ่อย ๆ.

คำว่า โลกนี้ ได้แก่ อัตภาพของตน.

คำว่า โลกหน้า ได้แก่ อัตภาพของผู้อื่น.

คำว่า โลกนี้ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ของตน.

คำว่า โลกหน้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร สัญญาณ

ของผู้อื่น.

คำว่า โลกนี้ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖.

คำว่า โลกหน้า ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖.

คำว่า โลกนี้ ได้แก่ มนุษยโลก.

คำว่า โลกหน้า ได้แก่ เทวโลก.

คำว่า โลกนี้ ได้แก่ กามธาตุ.

คำว่า โลกหน้า ได้แก่ รูปธาตุ อรูปธาตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 576

คำว่า โลกนี้ ได้แก่ กามธาตุ รูปธาตุ.

คำว่า โลกหน้า ได้แก่ อรูปธาตุ.

คำว่า ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต

ขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ในโลกนี้หรือโลกหน้า มีความว่า

ความตั้งใจไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ แก่

พระอรหันตขีณาสพใด เมื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือโลกหน้า

คือความตั้งไว้นั้น ย่อมเป็นกิริยาอันพระอรหันต์ขีณาสพใดละ ตัดขาด

สงบ ระงับเสียแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่

พระอรหันต์ขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ในโลกนี้หรือโลก.

หน้า.

[๑๗๐] คำว่า พระอรหันตขีณาสพนั้น ย่อมไม่มีเครื่องอยู่

อะไร ๆ มีความว่า คำว่า เครื่องอยู่ ได้แก่ เครื่องอยู่. ๒ อย่าง คือ

เครื่องอยู่ คือตัณหา ๑ เครื่องอยู่คือทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าเครื่องอยู่ คือ

ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าเครื่องอยู่คือทิฏฐิ.

คำว่า นั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพนั้น. คำว่า พระอรหันต

ขีณาสพนั้น ย่อมไม่มีเครื่องอยู่ คือ เครื่องอยู่นั้นไม่มี ไม่ปรากฏ

ย่อมไม่เข้าไปได้ คือ เป็นธรรมอันพระอรหันตขีณาสพนั้นละ ตัดขาด

สงบ ระงับ ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ. เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า พระอรหันตขีณาสพนั้น ย่อมไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 577

[๑๗๑] คำว่า ย่อมไม่สังการถึงความตกลงในธรรมทั้งหลาย

แล้วถือมั่น มีความว่า คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ในทิฏฐิ ๖๒.

คำว่า ถึงความตกลง มีความว่า ตัดสินแล้ว ชี้ขาด ค้นคว้า แสวงหา

เทียบเคียง ตรวจตรา สอบสวน ทำให้เป็นแจ้งแล้วจึงจับมั่น ยึดมั่น

ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ คือความถือ ความยึดถือ ความ

ยึดมั่น ความถือมั่น ความพร้อมน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้จริง แท้ แน่ เป็น

ตามสภาพ เป็นตามจริง มิได้วิปริตดังนี้ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไป

ได้ หรือเป็นธรรมอันพระอรหันตขีณาสพนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว

ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

ย่อมไม่มีการถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น. เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสองย่อมไม่มีแก่พระ

อรหันตขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือโลก

หน้า พระอรหันตขีณาสพนั้น ย่อมไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ

ย่อมไม่มีการถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น.

[๑๗๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญากำหนด

แล้ว ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบใน

โลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น ใคร ๆ ในโลกนี้ พึง

กำหนดซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิ

ด้วยกิเลสอะไรเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 578

ว่าด้วยอรหันต์ได้ชื่อว่าพราหมณ์

[๑๗๓] คำว่า ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญา

กำหนดแล้ว ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ

ในโลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น มีความว่า คำว่า นั้น ได้แก่

พระอรหันตขีณาสพ ทิฏฐิอันสัญญาให้เกิดขึ้น อันสัญญากำหนด ปรุงแต่ง

ตั้งไว้ เพราะเป็นทิฏฐิมีสัญญาเป็นประธานมีสัญญาเป็นใหญ่ และความถือ

ต่างด้วยสัญญา ในรูปที่เห็นบ้าง ในความหมดจดเพราะรูปที่เห็นบ้าง ในเสียง

ที่ได้ยินบ้าง ในความหมดจดเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง ในอารมณ์ที่ทราบ

บ้าง ในความหมดจดเพราะอารมณ์ที่ทราบบ้าง ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้า

ไปได้ แก่พระอรหันต์ขีณาสพนั้น คือ ทิฏฐินั้นอันพระอรหันตขีณาสพละ

ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญา

กำหนดแล้ว ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ

ในโลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น.

[๑๗๔] คำว่า ซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือ

ทิฏฐิ มีความว่า คำว่า พราหมณ์ ได้แก่ พระอรหันต์ผู้ชื่อว่าเป็น

พราหมณ์ เพราะลอยเสียแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ ฯลฯ ผู้อันตัณหาและ

ทิฏฐิไม่อาศัย เป็นผู้คงที่ เรียกว่า เป็นพราหมณ์. คำว่า ซึ่งพระอรหันต์

นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิ มีความว่า ซึ่งพระอรหันต์นั้น

ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือ ไม่ถือเอา ไม่ถือมั่น ไม่ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 579

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ไม่ยึดถือ

ทิฏฐิ.

[๑๗๕] คำว่า ใคร ๆ ในโลกนี้ พึงกำหนด....ด้วยกิเลส

อะไรเล่า มีความว่า คำว่า กำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ

ความกำหนดด้วยตัณหา ความกำหนดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความ

กำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. บุคคลนั้นละความ

กำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความ

กำหนดด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว ใคร ๆ จะพึงกำหนด

บุคคลนั้นด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุ-

สัยอะไรเล่าว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ผูกพัน ถือมั่นถึงความฟุ้ง

ซ่าน ถึงความไม่ตกลง หรือถึงโดยเรี่ยวแรง กิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่า

นั้น อันบุคคลนั้นละแล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงเหล่านั้นแล้ว

ใคร ๆ จะพึงกำหนดคติแห่งบุคคลนั้นด้วยกิเลสอะไรเล่าว่า เป็นผู้เกิดขึ้น

นรกเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็น

สัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือ

เป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ บุคคลนั้นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย

ไม่มีการณะอันเป็นเครื่องกำหนด กำหนดวิเศษ ถึงความกำหนด. คำว่า

........ในโลก ได้แก่ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุ-

โลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใคร ๆ ในโลกนี้ พึงกำหนด

.......ด้วยกิเลสอะไรเล่า. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 580

ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้นแม้เล็กน้อย ที่สัญญากำหนด

แล้วในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ ใน

โลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์นั้น ใคร ๆ ในโลกนี้ พึง

กำหนดซึ่งพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิ

ด้วยกิเลสอะไรเล่า.

[๑๗๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ย่อม

ไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า. แม้ธรรมคือทิฏฐิทั้ง

หลาย อันพระอรหันต์เหล่านั้น ไม่ปรารถนาเฉพาะแล้ว

พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์ อันใคร ๆ ไม่พึงนำไปได้ด้วย

ศีลและพรตย่อมเป็นผู้ถึงฝั่งไม่กลับมา เป็นผู้คงที่.

พระอรหันต์ได้ชื่อต่าง ๆ

[๑๗๗] คำว่า พระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลายย่อมไม่กำหนด

ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า มีความว่า คำว่า กำหนด

ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือความกำหนดด้วยตัณหา ๑ ความกำหนด

ด้วยทิฏฐิ ๑.

ความกำหนดด้วยตัณหาเป็นไฉน ? วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน

เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือเอาว่าของเรา ด้วยส่วนแห่ง

ตัณหามีประมาณเท่าใด ย่อมยึดถือเอาว่าของเรา ซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านั้น

ว่า สิ่งนี้ของเรา สิ่งนั้นของเรา สิ่งมีประมาณเท่านี้ของเรา สิ่งของของ

เรามีประมาณเท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องลาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 581

เครื่องนุ่งห่ม ทาสีและทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา

นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท ฉาง

คลังเป็นของเรา ย่อมยึดถือว่านั่นของของเรา แม้ซึ่งแผ่นดินใหญ่ทั้งสิ้น

ด้วยสามารถแห่งตัณหา ตลอดถึงตัณหาวิปริต ๑๐๘ นี้ชื่อว่า ความ

กำหนดด้วยตัณหา.

ความกำหนดด้วยทิฏฐิเป็นไฉน ? สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิ

มีวัตถุ ๑๐ อันตัคคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ทิฏฐิ ความไปคือทิฏฐิ รกเรี้ยวคือ

ทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่อง

ประกอบคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดถือ ทาง

ผิด คลองผิด ความเห็นผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือโดยแสวงหาผิด

ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งไม่แน่นอนว่า

เป็นสิ่งแน่นอนเห็นปานนี้ ตลอดถึงทิฏฐิ ๖๒ นี้ชื่อว่า ความกำหนด

ด้วยทิฏฐิ.

พระอรหันตขีณาสพทั้งหลายละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืน

ความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละ

คืนความกำหนดด้วยทิฏฐิแล้ว พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้นจึงไม่กำหนด

ความกำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนดด้วยทิฏฐิ คือไม่ให้เกิด ไม่ให้

เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่

กำหนด.

คำว่า ย่อมไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า มีความว่า

คำว่า ทำไว้ในเบื้องหน้า ได้แก่ ความทำไว้ในเบื้องหน้า ๒ อย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 582

คือ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา ๑ ความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วย

ทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ

ทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิ พระอรหันตขีณาสพทั้งหลายละความทำไว้ใน

เบื้องหน้าด้วยตัณหา สละคืนความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะ

เป็นผู้ละความทำไว้ในเบื้องหน้าด้วยตัณหา สละคืนความทำไว้ในเบื้องหน้า

ด้วยทิฏฐิแล้ว พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้นจึงไม่กระทำตัณหาหรือทิฏฐิไว้

เบื้องหน้าเที่ยวไป คือเป็นผู้ไม่มีตัณหาเป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นธงยอด

ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นธงยอด ไม่มีทิฏฐิ

เป็นใหญ่ จึงชื่อว่าเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่แวดล้อมเที่ยวไป เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า พระอรหันตขีณาสพทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ย่อม

ไม่ทำตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า.

[๑๗๘] คำว่า แม้ธรรมคือทิฏฐิทั้งหลายอันพระอรหันต์

เหล่านั้นไม่ปรารถนาเฉพาะแล้ว มีความว่าทิฏฐิ ๖๒ เรียกว่า ธรรม

คำว่า เหล่านั้นได้แก่ พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น คำว่าไม่ปรารถนา

เฉพาะแล้ว ความว่า ไม่ปรารถนาเฉพาะว่าโลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง

สิ่งอื่นเป็นโมฆะ ไม่ปรารถนาเฉพาะว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้อง

หน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่า

นั้นจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า แม้ธรรมคือทิฏฐิ

ทั้งหลาย อันพระอรหันต์เหล่านั้น ไม่ปรารถนาเฉพาะแล้ว.

[๑๗๙] คำว่า พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์ อันใคร ๆ ไม่

พึงนำไปได้ด้วยศีลและพรต มีความว่า ศัพท์ว่า เป็นปฏิเสธ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 583

คำว่า พราหมณ์ ความว่า พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะลอย

เสียแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ ฯลฯ เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว

เป็นผู้คงที่ เรียกว่าเป็นพราหมณ์ คำว่า พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์

อันใคร ๆ ไม่พึงนำไปได้ด้วยศีลและพรต ความว่า พระอรหันต์ผู้

เป็นพราหมณ์ ย่อมไม่ไป ไม่ออกไป ไม่เลื่อนลอยไป ไม่แล่นไป ด้วย

ศีลหรือด้วยพรต หรือด้วยศีลและพรต เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระอรหันต์

ผู้เป็นพราหมณ์ อันใคร ๆ ไม่พึงนำไปได้ด้วยศีลและพรต.

[๑๘๐] คำว่า ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่งไม่กลับมาเป็นผู้คงที่ มีความ

ว่า อมตนิพพาน เรียกว่าฝั่ง ได้แก่ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง

เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา ความสำรอก ความดับ ความ

ออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ผู้ใดไปถึงฝั่ง บรรลุฝั่งแล้ว ไปถึงส่วน

สุด เพราะส่วนสุดแล้ว ไปถึงที่สุด บรรลุที่สุดแล้ว ฯลฯ ภพใหม่มิได้มี

แก่ผู้นั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง.

คำว่า ย่อมไม่กลับ ความว่า กิเลสเหล่าใด อันอริยบุคคลละ

แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค อริยบุคคลนั้นย่อมไม่ถึงอีก ไม่กลับถึงไม่กลับมา

สู่กิเลสเหล่านั้น. กิเลสเหล่าใดอันอริยบุคคลละแล้วด้วยสกทาคามิมรรค อริย

บุคคลนั้น ย่อมไม่ถึงอีก ไม่กลับถึง ไม่กลับมา สู่กิเลสเหล่านั้น กิเลสเหล่า

ใดอันอริยบุคคลละแล้วด้วยอนาคามิมรรค อริยบุคคลนั้นย่อมไม่ถึงอีก ไม่

กลับถึง ไม่กลับมา สู่กิเลสเหล่านั้น. กิเลสเหล่าใดอันอริยบุคคลละแล้ว

ด้วยอรหัตตมรรค อริยบุคคลนั้นย่อมไม่ถึงอีก ไม่กลับถึง ไม่กลับมา

สู่กิเลสเหล่านั้น. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 584

คำว่า เป็นผู้คงที่ ความว่า พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ โดย

อาการ ๕ คือ เป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เป็นผู้คงที่เพราะ

อรรถว่าสละแล้ว เป็นผู้คงที่เพราะอรรถว่าข้ามแล้ว เป็นผู้คงที่เพราะ

อรรถว่าพ้นแล้ว เป็นผู้คงที่เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้น ๆ.

พระอรหันต์ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์

อย่างไร ? พระอรหันต์เป็นผู้คงที่แม้ในลาภ แม้ในความเสื่อมลาภ แม้

ในยศ แม้ในความเสื่อมยศ แม้ในสรรเสริญ แม้ในนินทา แม้ในสุข

แม้ในทุกข์ หากว่าชนทั้งหลายพึงลูบไล้แขนข้างหนึ่งแห่งพระอรหันต์ด้วย

เครื่องหอม พึงถากแขนข้างหนึ่งด้วยมีด พระอรหันต์ย่อมไม่มีความยินดีใน

การลูบไล้ด้วยเครื่องหอมโน้น และไม่มีความยินร้ายในการถากด้วยมีดโน้น

เป็นผู้ละการยินดียินร้ายเสียแล้ว เป็นผู้ล่วงเลยการดีใจและการเสียใจแล้ว

เป็นผู้ก้าวล่วงความยินดีความยินร้ายเสียแล้ว พระอรหันต์ชื่อว่า เป็นผู้

คงที่ ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์อย่างนี้.

พระอรหันต์ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าสละแล้ว อย่างไร ?

พระอรหันต์ สละ คาย ปล่อย ละ สละคืนเสียแล้ว ซึ่งความกำหนัด

ความขัดเคือง ความหลง ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่

ความดีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความ

กระด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท

กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน

ทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง พระอรหันต์

ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าสละ อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 585

พระอรหันต์ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าข้ามแล้ว อย่างไร ?

พระอรหันต์ข้ามแล้ว ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวล่วงด้วยดี เป็นไป

ล่วงซึ่งกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ และคลองแห่งสงสาร

ทั้งปวง พระอรหันต์นั้นอยู่จบแล้ว ประพฤติจรณะแล้ว ฯลฯ ภพใหม่

มิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ชื่อว่า เป็นผู้คงที่

เพราะอรรถว่าข้ามแล้ว อย่างนี้.

พระอรหันต์ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่า พ้นแล้ว อย่างไร ?

พระอรหันต์มีจิตพ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้ว พ้นดีแล้ว จากความกำหนัด

และขัดเคือง ความหลง ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความ

ตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระ

ด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท

กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน

ทั้งปวง ความเดือนร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง พระอรหันต์ชื่อ

ว่า เป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าพ้นแล้ว อย่างนี้.

พระอรหันต์ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้น ๆ อย่าง

ไร ? พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีศีล ใน

เมื่อศีลมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีศรัทธา ใน

เมื่อศรัทธามีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีความเพียร

ในเมื่อความเพียรมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีสติ

ในเมื่อสติมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้ตั้งมั่น ใน

เมื่อสมาธิมีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีปัญญา ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 586

เมื่อปัญญามีอยู่. ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีวิชชา ๓

ในเมื่อวิชชา ๓ มีอยู่. ซึ่งว่าเป็นผู้คงที่ เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มี

อภิญญา ๖ ในเมื่ออภิญญา ๖ มีอยู่. พระอรหันต์ชื่อว่า เป็นผู้คงที่

เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้น ๆ อย่างนี้. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อม

เป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมาเป็นผู้คงที่. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค

เจ้าจึงตรัสว่า :-

พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ย่อมไม่ทำ

ตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า แม้ธรรมคือทิฏฐิทั้งหลาย อัน

พระอรหันต์เหล่านั้นไม่ปรารถนาเฉพาะแล้ว พระอรหันต์ผู้เป็น

พราหมณ์ อันใคร ๆ ไม่พึงนำไปได้ด้วยศีลและพรต ย่อมเป็น

ผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา เป็นผู้คงที่ดังนี้.

จบปรมัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 587

อรรถกถาปรมัฏฐกสุตตนิทเทส

ในปรมัฏฐกสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปรมนฺติ ทิฏฺีสุ ปริพฺพสาโน ความว่า ยึดถืออยู่ใน

ทิฏฐิของตน ๆ ว่าสิ่งนี้ยอดเยี่ยม.

บทว่า ยทุตฺตรึ กุรุเต ความว่า ย่อมทำสิ่งใด มีศาสดาของตน

เป็นต้นให้ประเสริฐที่สุด.

บทว่า หีนาติ อญฺเ ตโต สพฺพมาห ความว่า ชันตุชน

นั้นกล่าวสิ่งทั้งปวง เว้นศาสดาของตนเป็นต้นนั้น ชื่อว่า อื่นจากสิ่งนั้น

ชื่อว่าเหล่านี้เลวทั้งหมด.

บทว่า ตสฺมา วิวาทานิ อวีติวตฺโต ความว่า เพราะเหตุนั้น

ชันตุชนนั้นย่อมเป็นผู้ไม่ล่วงเลยการทะเลาะเพราะทิฏฐิได้เลย.

บทว่า วสนฺติ ความว่า อยู่ด้วยสามารถทิฏฐิที่เกิดขึ้นครั้งแรก.

บทว่า สวสนฺติ ความว่า เข้าไปอยู่.

บทว่า อาวสนฺติ ความว่า อยู่โดยวิเศษ.

บทว่า ปริวสนฺติ ความว่า อยู่โดยภาวะทุกอย่าง.

พระสารีบุตรเถระเมื่อจะยังบทนั้นให้สำเร็จด้วยอุปมา จึงกล่าวคำ

เป็นต้นว่า ยถา อาคาริกา วา ดังนี้.

บทว่า อาคาริกา วา ได้แก่ พวกเจ้าของเรือน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 588

บทว่า ฆเรสุ วสนฺติ ความว่า เป็นผู้ปราศจากความหวาดหวั่น

อยู่อาศัยในเรือนของตน.

บทว่า สาปตฺติกา วา ได้แก่ ผู้มากด้วยอาบัติ.

บทว่า สกิเลสา ได้แก่ ผู้มากด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น.

บทว่า อุตฺตรึ กโรติ ความว่า กระทำให้ยิ่งเกิน.

บทว่า อย สตฺถา สพฺพญฺญู ความว่า พระศาสดาของพวก

เรานี้รู้ธรรมทั้งปวง.

บทว่า สพฺเพ ปรปฺปวาเท ขิปติ ความว่า ทิ้งลัทธิอื่นทั้งหมด.

บทว่า อุกฺขิปติ ความว่า นำออก.

บทว่า ปริกฺขิปติ ความว่า ทำลับหลัง.

บทว่า ทิฏิเมธคานิ ได้แก่ ความมุ่งร้ายเพราะทิฏฐิ.

คาถาที่ ๒ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-

ผู้ไม่ล่วงเลยไปได้อย่างนี้ เห็นอานิสงส์ใด คือมีประการดังกล่าว

แล้วในก่อน ในคนกล่าวคือทิฏฐิที่เกิดขึ้นในวัตถุ ๔ เหล่านี้ คือ ในรูป-

ที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในศีลและพรต ในอารมณ์ที่ทราบ ผู้ไม่ล่วงเลยไป

ได้นั้นยึดมั่นอานิสงส์ในทิฏฐิของตนนั้นว่าสิ่งนี้ ประเสริฐที่สุด เห็นสิ่งอื่น

ทั้งปวงมีศาสดาอื่นเป็นต้น โดยความเป็นของเลว.

บทว่า เทฺว อานิสงฺเส ปสฺสติ ความว่า แลดูคุณ ๒ ประการ.

บทว่า ทิฏฺธมฺมิกญฺจ ได้แก่ คุณที่ให้ผลในปัจจุบัน คือใน

อัตภาพที่ประจักษ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 589

บทว่า สมฺปรายิกญฺจ ได้แก่ คุณที่พึงได้เฉพาะในโลกหน้า.

บทว่า ยทิฏฺิโก สตฺถา ความว่า เป็นผู้มีลัทธิอย่างใด คือเป็น

เจ้าลัทธิเดียรถีย์.

บทว่า อล นาคตฺตาย วา ความว่า ต้องการเพื่อความเป็นนาค

แม้ในความเป็นครุฑ ก็นัยนี้แหละ.

บทว่า เทวตฺตาย วา ได้แก่ เพื่อความเป็นสมมติเสพเป็นต้น

บทว่า อายตึ ผลปฏิกงฺขี โหติ ความว่า ย่อมปรารถนาผล

อันเป็นวิบากในอนาคต.

บทว่า ทิฏฺวิสุทฺธิยาปิ เทฺว อานิสงฺเส ปสฺสติ ความว่า

แลดูคุณ ๒ ประการ ด้วยการยึดถือสิ่งที่คนยึดถือ แม้เพราะความเป็นเหตุ

แห่งความหมดจด ด้วยสามารถแห่งรูปายตนะที่เห็นด้วยจักขุวิญญาณ แม้

ในความหมดจดด้วยเสียงที่ได้ยินเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

คาถาที่ ๓ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-

ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวทัศนะที่ตนแม้เห็นอยู่อย่างนี้ อาศัยศาสดา

ของตนเป็นต้น. เห็นผู้อื่นมีศาสดาอื่นเป็นต้นว่าเลว นั้นว่าเป็นเครื่องร้อย

รัดนั่นเทียว มีอธิบายว่า เครื่องผูกพัน เพราะข้อนั้นแหละ ฉะนั้นภิกษุ

จึงไม่อาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ หรือศีลและพรต มี

อธิบายว่า ไม่ยึดมั่น.

บทว่า กุสลา ได้แก่ ผู้ฉลาดในเพราะรู้ธรรมมีขันธ์เป็นต้น.

บทว่า ขนฺธกุสลา ได้แก่ ผู้ฉลาดในขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น.

แม้ในธาตุอายตนะ ปฏิจจสมุปบาท สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 590

อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ มรรค ผล และนิพพาน ก็นัยนี้แหละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มคฺคกุสลา ได้แก่ ฉลาด ในมรรค ๔.

บทว่า ผลกุสลา ได้แก่ ฉลาดในผล ๔.

บทว่า นิพฺพานกุสลา ได้แก่ ฉลาดในนิพพาน ๒ อย่าง.

บทว่า เต กุสลา ได้แก่ ผู้ฉลาดเหล่านั้น เป็นผู้ฉลาดในประการ

ที่กล่าวแล้วเหล่านี้.

บทว่า เอว วทนฺติ ความว่า กล่าวอย่างนี้.

บทว่า คณฺโ เอโส ความว่า ผู้ฉลาดย่อมกล่าวทัศนะที่อาศัย

ศาสดาของตนผู้เห็นอยู่เป็นต้น และทัศนะอื่นมีศาสดาอื่นเป็นต้น โดยความ

เป็นของเลวว่า นี้เป็นกิเลสเครื่องร้อยรัด คือผูกพ้น.

บทว่า ลมฺพน เอต ความว่า ทัศนะนั้นคือมีประการดังกล่าว

แล้ว เป็นกิเลสเครื่องยึดเหนี่ยวลงต่ำ ดุจคล้องไว้ที่หลักที่แขวนหมวก.

บทว่า พนฺธน เอต ความว่า ชื่อว่าเป็นกิเลสเครื่องผูกพัน ดุจ

เครื่องผูกพันมีโซ่เป็นต้น เพราะอรรถว่า ยากที่จะตัดออก.

บทว่า ปลิโพโธ เอโส ความว่า นี้ชื่อว่าเป็นกิเลสเครื่องผูกพัน

เพราะอรรถว่าไม่ยอมให้ออกจากสงสาร.

คาถาที่ ๔ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-

ภิกษุไม่พึงอาศัยรูปที่เห็น และเสียงที่ได้ยินเป็นต้นอย่างเดียวก็หามิ

ได้ ก็อีกอย่างหนึ่ง ไม่พึงกำหนดแม้ทิฏฐิสูง ๆ ขึ้นไป ซึ่งมิได้เกิดในโลก

มีอธิบายว่า ไม่พึงให้เกิด เช่นไร ? ไม่พึงกำหนดทิฏฐิที่ตนจักกำหนดด้วย

ญาณหรือแม้ด้วยศีลและวัตร คือด้วยญาณมีญาณในสมาบัติเป็นต้น หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 591

ด้วยศีลและวัตรนั้น ภิกษุไม่พึงกำหนดทิฏฐิอย่างเดียวก็หามิได้ ก็อีกอย่าง

หนึ่ง ไม่พึงนำเข้าไปซึ่งคนว่า เป็นผู้เสมอเขา ด้วยเหตุมีชาติเป็นต้น หรือ

ไม่พึงสำคัญว่า เลวกว่าเขา หรือแม้ว่า วิเศษกว่าเขา แม้เพราะมานะ.

บทว่า อฏสมาปตฺติาเณน วา ความว่า ด้วยปัญญาอันสัมปยุต

ด้วยสมาบัติ ๘.

บทว่า ปญฺจาภิญฺาาเณน วา ความว่า ด้วยปัญญาอันสัมปยุต

ด้วยอภิญญา ๕ อันเป็นโลกิยะ.

บทว่า มิจฺฉาาเณน วา ความว่า ด้วยปัญญาที่เป็นไปโดยสภาพ

วิปริต หรือด้วยมิจฉาญาณที่เกิดขึ้นอย่างนี้ ในสิ่งที่ยังไม่พ้นว่า พวกเรา

พ้นแล้ว.

คาถาที่ ๕ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-

ก็นรชนนั้นไม่กำหนดและไม่สำคัญทิฏฐิอย่างนี้ ละตนแล้วไม่ถือมั่น

คือละตนที่เคยยึดถือแล้วไม่ยึดถือตนอื่นอีก ย่อมไม่กระทำนิสัย ๒ อย่างใน

เพราะญาณแม้นั้น คือแม้ในญาณที่มีประการดังกล่าวแล้ว และเมื่อไม่

กระทำ นรชนนั้นแล เมื่อเหล่าสัตว์แยกกัน คือแตกกันด้วยสามารถแห่ง

ทิฏฐิต่าง ๆ เป็นผู้แล่นไปกับพวก คือเป็นผู้มีอันไม่ไปด้วยสามารถความ

พอใจเป็นต้นเป็นธรรมดา ย่อมไม่ถึงเฉพาะซึ่งทิฏฐิอะไร ๆ ในบรรดา

ทิฏฐิ ๖๒ มีอธิบายว่า ย่อมไม่กลับมา.

บทว่า จตูหิ อุปาทาเนหิ ได้แก่ ด้วยความยึดมั่น ๔ อย่าง มี

กามุปาทานเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 592

บทว่า ส เว ววฏฺิเตสุ ความว่า บุคคลนั้น เมื่อคนทั้งหลาย

ไม่ปรารถนากันและกัน.

บทว่า ภินฺเนสุ ความว่า แตกกันเป็น ๒ พวก.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เพื่อจะกล่าวสรรเสริญพระขีณาสพที่กล่าว

ไว้ในคาถานี้นั้น จงกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า ยสฺสูภยนฺเต เป็นต้น.

บรรดาคาถา ๓ คาถานั้น คาถาแรกมีเนื้อความดังต่อไปนี้ :- บทว่า

ยสฺสูภยนฺเต ความว่า ต่างโดยผัสสะที่กล่าวแล้วในก่อนเป็นต้น.

บทว่า ปณิธิ ได้แก่ ตัณหา.

บทว่า ภวาภวาย ได้แก่ เพื่อเกิดบ่อย ๆ.

บทว่า อิธ วา หุร วา ได้แก่ ในโลกนี้ต่างโดยอัตภาพของตน

เป็นต้น หรือในโลกหน้าต่างโดยอัตภาพของผู้อื่นเป็นต้น.

บทว่า ผสฺโส เอโก อนฺโต ความว่า จักขุสัมผัสเป็นต้นเป็น

ส่วนที่ ๑.

บทว่า ผสฺสสมุทโย ความว่า มีวัตถุเป็นอารมณ์ เพราะตั้งขึ้น

คือเกิดขึ้น ผัสสะนั้นจึงชื่อสมุทัย.

บทว่า ทุติโย อนฺโต ความว่า เป็นส่วนที่ ๒.

บทว่า อตีต ความว่า เป็นไปล่วงแล้ว ชื่อว่า อดีตมีอธิบายว่า

ก้าวล่วง.

บทว่า อนาคต ความว่า ยังไม่มาถึง ชื่อว่า อนาคต มีอธิบายว่า

ยังไม่เกิดขึ้น. สุขเวทนาเป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถเป็นวิสภาคกัน

หมวด ๒ แห่งนามรูป ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งการนอบน้อมและการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 593

เปลี่ยนแปลง อายตนะภายในเป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอายตนะ

ภายในและอายตนะภายนอก กายของตนเป็นต้น พึงทราบว่าท่านกล่าว

ด้วยสามารถแห่งความเป็นไป และความเกิดขึ้นแห่งขันธปัญจกทั้งหลาย.

บทว่า สกตฺตภาโว ได้แก่ อัตภาพของตน.

บทว่า ปรตฺตภาโว ได้แก่ อัตภาพของผู้อื่น.

คาถาที่ ๒ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทิฏฺเ วา ได้แก่ ในความหมดจดเพราะรูปที่เห็นบ้าง ใน

เสียงที่ได้ยินเป็นต้น ก็นัยนี้.

บทว่า สญฺา ได้แก่ ทิฏฐิที่สัญญาให้เกิดขึ้น.

บทว่า อปรามสนฺต ความว่า ไม่ถือมั่นด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ.

บทว่า อภินิวิสนฺต ความว่า ไม่ยึดมั่นด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ

เหล่านั้น.

บทว่า วินิพนฺโธติ วา ความว่า หรือว่า ผูกพันด้วยมานะ.

บทว่า ปรามฏฺโติ วา ความว่า หรือว่า ถือมั่นด้วยความ

เที่ยงความสุขและความงามเป็นต้นแต่ผู้อื่น.

บทว่า วิกฺเขปคโต ท่านกล่าวด้วยสามารถอุทธัจจะ.

บทว่า อนิฏฺงฺคโต ท่านกล่าวด้วยสามารถวิจิกิจฉา.

บทว่า ถามคโต ท่านกล่าวด้วยสามารถอนุสัย.

บทว่า คติยา ท่านกล่าวด้วยสามารถ ภพที่จะพึงไป.

คาถาที่ ๓ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 594

บทว่า ธมฺมาปิ เตส น ปฏิจฺฉิตา เส ความว่า แม้ธรรมคือ

ทิฏฐิ ๖๒ อันพระอรหันต์เหล่านั้นไม่ปรารถนาเฉพาะอย่างนี้ว่า สิ่งนี้แหละ

จริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ.

บทว่า ปารงฺคโต น ปจฺเจติ ตาทิ ความว่า พระอรหันต์ผู้ถึง

ฝั่งคือนิพพาน ย่อมไม่มาสู่กิเลสทั้งหลายที่ละได้แล้วด้วยมรรคนั้น ๆ อีก

และเป็นผู้คงที่ด้วยอาการ ๕ บทที่เหลือปรากฏแล้วทั้งนั้น.

บทว่า วีสติวตฺถุกา สกฺกายทิฏฺิ ได้แก่ ทิฏฐิในวิชชมานกาย

ชึ่งกระทำขันธ์ ๕ เป็นที่ตั้ง เป็นไปโดยอาการสี่ ๆ ในขันธ์หนึ่ง ๆ โดย

นัยเป็นต้นว่า พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน.

บทว่า ทสวตฺถุกา มิจฺฉาทิฏฺิ ได้แก่ ทิฏฐิที่เป็นไปโดยนัย

เป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล.

บทว่า อนฺตคฺคาหิกา ทิฏฺิ ทิฏฐิทีถือเอาว่า ส่วนสุดหนึ่ง ๆ มี

อยู่ ซึ่งเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเป็น

โมฆะ.

บทว่า ยา เอวรูปา ทิฏฺิ เป็นบทตั้ง ซึ่งทั่วไปแก่บท ๑๙ บท

ที่กล่าวอยู่ในบัดนี้ พึงเชื่อมความแม้ทั้งหมดว่า ทิฏฐิอันใด ความไปคือ

ทิฏฐิก็อันนั้นแหละ ทิฏฐิอันใด รกเรี้ยวคือทิฏฐิก็อันนั้นแหละ.

อันใดชื่อว่าทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเห็นไม่แน่นอน อันนั้นแหละชื่อว่า

ทิฏฐิคตะ เพราะอรรถว่าไป คือ เห็นในทิฏฐิทั้งหลาย เพราะหยั่งลงภาย

ในทิฏฐิ ๖๒. เนื้อความของบทนั้น กล่าวไว้แล้วทีเดียวแม้ในหนหลัง.

ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ เพราะไปแล้วโดยส่วนเดียวของส่วนสุดทั้ง ๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 595

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สสฺสโต ได้แก่ เที่ยง.

บทว่า โลโก ได้แก่ ตน, สรีระในโลกนี้เท่านั้นพินาศไป แต่

ตนคงเป็นตนนั่นแหละทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เข้าใจกันดังนี้.

ก็ตนนั้น เข้าใจกันว่าโลก เพราะวิเคราะห์ว่าแลดูเป็นสามัญทั้งนั้น.

บทว่า อสสฺสโต ได้แก่ ไม่เที่ยงตนย่อมพินาศไปพร้อมกับสรีระ

เข้าใจกันดังนี้.

บทว่า อนนฺตวา ความว่า ทำฌานให้เกิดขึ้นในกสิณเล็กน้อยแล้ว

เข้าใจเจตนาที่มีกสิณเล็กน้อยเป็นอารมณ์นั้นว่าเป็นตนที่มีในที่สุดรอบ.

บทว่า อนนฺตวา ความว่า มีที่สุดหามิได้ คือทำฌานให้เกิดขึ้น

ในกสิณหาประมาณมิได้แล้วเข้าใจเจตนาที่มีกสิณหาประมาณมิได้เป็นอารมณ์

นั้น ว่าเป็นตนที่มีที่สุดรอบหามิได้.

บทว่า ต ชีว ต สรีร ความว่า ทั้งชีพทั้งสรีระก็อันนั้นแหละ.

บทว่า ชีโว ได้แก่ นี้ท่านกล่าวเป็นนปุงสกลิงค์ด้วยลิงควิปลาส.

บทว่า สรีร ความว่า ชื่อว่าขันธปัญจกะ ด้วยอรรถว่ายินดี.

บทว่า อญฺ ชีว อญฺ สรีร ความว่า ชีพเป็นอย่างหนึ่ง

ขันธปัญจกะเป็นอีกอย่างหนึ่ง.

บทว่า โหติ ตถาคโต ปรมฺมรณา ความว่า สัตว์เบื้องหน้า

แต่มรณะ ย่อมมี คือ มีอยู่ ไม่พินาศไป.

ก็บทว่า ตถาคโต นี้ เป็นชื่อของสัตว์ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

บทว่า ตถาคโต ได้แก่ พระอรหันต์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 596

บทว่า อิเม น โหติ ความว่า เห็นโทษในฝ่ายหนึ่ง แล้วถือ

เอาอย่างนี้.

บทว่า น โหติ ตถาคโต ปรมฺมรณา ความว่า แม้ขันธ์นั้น

หลายย่อมพินาศในโลกนี้เท่านั้น และสัตว์เบื้องหน้าแต่มรณะย่อมไม่มี คือ

ขาดสูญ.

บทว่า อิเม โหติ ความว่าเห็นโทษในฝ่ายหนึ่งแล้วถือเอาอย่างนี้.

บทว่า โหติ จ น จ โหติ ความว่า พระอรหันต์เหล่านี้เห็น

โทษในการยึดถือฝ่ายหนึ่ง ๆ แล้วถือเอาทั้งสองฝ่าย.

บทว่า เนว โหติ น น โหติ ความว่า พระอรหันต์เหล่านี้เห็น

การต้องโทษ ๒ อย่างในการยึดถือทั้ง ๒ ฝ่าย จึงถือฝ่ายที่ดิ้นได้ไม่ตายตัว

ว่า มีอยู่ ก็มี ไม่มีอยู่ ก็มี.

ก็ในข้อนี้มีนัยแห่งอรรถกถาดังต่อไปนี้ :-

ท่านกล่าวประเภทแห่งทิฏฐิโดยอาการ ๑๐ อย่างว่า สสฺสโต โลโก

วา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สสฺสโต โลโก ความว่า ทิฏฐิที่เป็น

ไปโดยอาการยึดถือว่าเที่ยง ของผู้ที่ยึดถือว่าขันธปัญจกะชื่อว่าโลก แล้ว

ยึดถือว่า โลกนี้เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปทุกกาล.

บทว่า อสสฺสโต ความว่า ทิฏฐิที่เป็นไปโดยอาการยึดถือว่าขาด

สูญของผู้ที่ยึดถือโลกนั้นนั่นแหละว่า ขาดสูญ คือ พินาศ.

บทว่า อนฺตวา ความว่า ทิฏฐิที่เป็นไปโดยอาการยึดถือว่าโลกมี

ที่สุด ของผู้ได้กสิณเล็กน้อย ผู้เข้ากสิณเพียงกระด้งหรือเพียงถ้วย ยึดถือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 597

รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปภายในสมาบัติ ว่าโลกด้วย ว่ามีที่สุด

โดยที่กำหนดด้วยกสิณด้วย ทิฏฐินั้นย่อมเป็นทั้งสัสสตทิฏฐิทั้งอุจเฉททิฏฐิ

แต่ผู้ได้กสิณไพบูลย์ เข้ากสิณนั้น ยึดถือรูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไป

ภายในสมาบัติ ว่าโลกด้วย ว่าไม่มีที่สุดโดยที่สุดที่กำหนดด้วยกสิณด้วย

ย่อมมีทิฏฐิที่เป็นไปโดยอาการยึดถือว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฏฐินั้นก็เป็นทั้ง

สัสสตทิฏฐิทั้งอุจเฉททิฏฐิ.

บทว่า ต ชีว ต สรีร ความว่า ทิฏฐิที่เป็นไปโดยอาการยึด

ถือว่าขาดสูญ ว่าเมื่อสรีระขาดสูญ แม้ชีพก็ขาดสูญ เพราะยึดถือว่า เป็น

ชีพของสรีระซึ่งมีการแตกไปเป็นธรรมดานั่นเองด้วยบทที่ ๒ ท่านกล่าว

ทิฏฐิที่เป็นไปโดยอาการยึดถือว่าเที่ยง ว่าแม้เมื่อสรีระขาดสูญ ชีพก็ไม่

ขาดสูญ เพราะถือว่าชีพเป็นอื่นจากสรีระ. ในบทว่า โหติ ตถาคโต

เป็นต้นมีความว่า ทิฏฐิ ๑ ชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ เพราะยึดถือว่า สัตว์

ชื่อว่าตถาคต สัตว์นั้นเบื้องหน้าแต่มรณะ มีอยู่ ทิฏฐิที่ ๒ ชื่อว่าอุจเฉท

ทิฏฐิ เพราะยึดถือว่า ไม่มีอยู่. ทิฏฐิที่ ๓ ชื่อว่า เอกัจจสัสสต

เพราะยึดถือว่า มีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี. ทิฏฐิที่ ๔ ชื่อว่าอมราวิกเขป

ทิฏฐิ เพราะยึดถือว่า มีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้. ทิฏฐิ ๑๐ อย่าง

มีประการดังกล่าวแล้วด้วยประการฉะนี้. ทิฏฐิมี ๒ อย่าง ตามกิเลส คือ

ภวทิฏฐิ ๑ วิภวทิฏฐิ ๑ ในทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น แม้สักอย่างหนึ่ง พระ

ขีณาสพเหล่านั้นก็ไม่ปรารถนา.

บทว่า เย กิเลสา ความว่า กิเลสเหล่าใดอันอริยบุคคลละแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 598

ด้วยโสดาปัตติมรรค อริยบุคคลนั้นย่อมไม่กลับถึงกิเลสเหล่านั้นอีก คือไม่

ยังกิเลสเหล่านั้นให้กลับบังเกิดอีก.

บทว่า น ปจฺจาคจฺฉติ ความว่า ไม่มาภายหลัง.

บทว่า ปญฺจหากาเรหิ ตาทิ ความว่า เป็นผู้เช่นกับด้วยเหตุ

หรือส่วน ๕ อย่าง.

บทว่า อิฏฺานิฏฺเ ตาทิ ความว่า เป็นผู้เช่นกับในเหตุ ๒ อย่าง

คือ อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เพราะเปลื้องความยินดีและยินร้ายได้

ตั้งอยู่.

บทว่า จตฺตาวี ได้แก่ ละกิเลสทั้งหลาย.

บทว่า ติณฺณาวี ได้แก่ ก้าวล่วงสงสาร.

บทว่า มุตฺตาวี ได้แก่ พ้นจากราคะเป็นต้น.

บทว่า ต นิทฺเทสา ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้เช่นกัน เพราะแสดง

ออก คือกล่าวชี้แจงด้วยคุณมีศีลและศรัทธาเป็นต้นนั้น ๆ.

พระสารีบุตรเถระประสงค์จะกล่าวอาการ ๕ อย่างนั้นให้พิสดาร จึง

กล่าวว่า กถ อรหา อิฏานิฏฺเ ตาทิ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลาเภปิ ความว่า แม้ในการได้

ปัจจัย ๔.

บทว่า อลาเภปิ ความว่า แม้ในการเสื่อมปัจจัย ๔ เหล่านั้น.

บทว่า ยเสปิ ได้แก่ แม้ในบริวาร.

บทว่า อยเสปิ ได้แก่ แม้ในคราวเสื่อมบริวาร.

บทว่า ปสสายปิ ได้แก่ แม้ในการกล่าวสรรเสริญ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 599

บทว่า นินฺทายปิ ได้แก่ แม้ในการติเตียน.

บทว่า สุเขปิ ได้แก่ แม้ในความสุขทางกาย.

บทว่า ทุกฺเขปิ ได้แก่ แม้ในความทุกข์ทางกาย.

บทว่า เอก เจ พาห คนฺเธน ลิมฺเปยฺยุ ความว่า หากชน

ทั้งหลายพึงให้การลูบไล้เบื้องบน ๆ แขนข้างหนึ่ง ด้วยของหอมที่ปรุงด้วย

จตุรชาติ.

บทว่า วาสิยา ตจฺเฉยฺย ความว่า หากนายช่างเอามีดถากแขน

ข้างหนึ่งทำให้บาง.

บทว่า อมุสฺมึ นตฺถิ ราโค ความว่า ความเสน่หาในการสูบไล้

ด้วยของหอมโน้นไม่มี คือมีอยู่หามิได้.

บทว่า อมุสฺมึ นตฺถิ ปฏิฆ ความว่า ความยินร้ายกล่าวคือการ

กระทบ ได้แก่ความโกรธ ในการถากด้วยมีดโน้นไม่มี คือมีอยู่หามิได้.

บทว่า อนุนยปฏิฆวิปฺปหีโน ความว่า ละความเสน่หาและความ

โกรธตั้งอยู่.

บทว่า อุคฺฆาตินิคฺฆาติ วีติวตฺโต ความว่า ก้าวล่วงการช่วย

เหลือด้วยสามารถแห่งความยินดี และการข่มขี่ด้วยสามารถแห่งความยินร้าย

ตั้งอยู่.

บทว่า อนุโรธวิโรธสมติกฺกนฺโต ความว่า ก้าวล่วงโดยชอบ

ซึ่งความยินดีและความยินร้าย.

บทว่า สีเล สติ ความว่า เมื่อศีลมีอยู่.

บทว่า สีลวา ความว่า ถึงพร้อมด้วยศีล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 600

พระอรหันต์ย่อมได้การแสดงออก คือการกล่าว ด้วยศีลนั้น เหตุ

นั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้คงที่. แม้ในบทอย่างนี้ว่า สทฺธาย สติ สทฺโธ เป็น

ต้นก็นัยนี้แหละ.

สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาฯ มหานิทเทส

อรรถกถาปรมัฏฐกสุตตนิทเทส

จบสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 601

ชราสุตตนิทเทสที่ ๖

[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ชีวิตนี้น้อยหนอ มนุษย์ย่อมตายภายในร้อยปี แม้หากว่า

มนุษย์ใดย่อมเป็นอยู่เกินไป มนุษย์นั้นย่อมตายเพราะชราโดย

แท้แล.

ว่าด้วยชีวิตเป็นของน้อย

[๑๘๒] คำว่า ชีวิตนี้น้อยหนอ มีความว่า คำว่า ชีวิต ได้แก่

อายุ ความตั้งอยู่ ความดำเนินไป ความให้อัตภาพดำเนินไป ความเป็น

ไป ความหมุนไป ความเลี้ยง ความเป็นอยู่ ชีวิตินทรีย์. อนึ่ง ชีวิต

น้อย คือชีวิตนิดเดียว โดยเหตุ ๒ ประการ คือ ชีวิตน้อยเพราะตั้ง

อยู่น้อย ๑ ชีวิตน้อยเพราะมีกิจน้อย ๑.

ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อย อย่างไร ? ชีวิตเป็นอยู่แล้วในขณะจิตเป็น

อดีต ย่อมไม่เป็นอยู่ จักไม่เป็นอยู่. ชีวิตจักเป็นอยู่ในขณะจิตเป็นอนาคต

ย่อมไม่เป็นอยู่ ไม่เป็นอยู่แล้ว. ชีวิตย่อมเป็นอยู่ในขณะจิตเป็นปัจจุบัน

ไม่เป็นอยู่แล้ว จักไม่เป็นอยู่.

สมจริงดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 602

ชีวิต อัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งมวล เป็นธรรม

ประกอบกันเสมอด้วยจิตดวงเดียว. ขณะย่อมเป็นไปพลัน.

เทวดาเหล่าใดย่อมตั้งอยู่ตลอดแปดหมื่นสี่พันกัป แม้เทวดา

เหล่านั้นย่อมไม่เป็นผู้ประกอบด้วยจิตของดวงเป็นอยู่เลย.

ขันธ์เหล่าใดของสัตว์ที่ตาย หรือของสัตว์ที่ดำรงอยู่ในโลก

นี้ดับแล้ว ขันธ์เหล่านั้นทั้งปวงเทียว เป็นเช่นเดียวกันดับ

ไปแล้ว มิได้สืบเนื่องกัน. ขันธ์เหล่าใดแตกไปแล้วใน

อดีตเป็นลำดับ และขันธ์เหล่าใดแตกไปแล้วในอนาคต

เป็นลำดับ ความแปลกกันแห่งขันธ์ทั้งหลายที่ดับไปใน

ปัจจุบันกับขันธ์เหล่านั้น มิได้มีในลักษณะ. สัตว์ไม่เกิด

ด้วยอนาคตขันธ์ ย่อมเป็นอยู่ด้วยปัจจุบันขันธ์ สัตว์โลก

ตายแล้วเพราะความแตกแห่งจิต นี้เป็นบัญญัติทางปรมัตถ์.

ขันธ์ทั้งหลายแปรไปโดยฉันทะ ย่อมเป็นไปดุจน้ำไหลไป

ตามที่ลุ่มฉะนั้น. ย่อมเป็นไปตามวาระอันไม่ขาดสาย

เพราะอายตนะ ๖ เป็นปัจจัย. ขันธ์ทั้งหลายแตกแล้ว ถึง

ความตั้งอยู่ไม่ได้ กองขันธ์มิได้มีในอนาคต ขันธ์ทั้ง

หลายที่เกิดแล้วนั้นแล ย่อมตั้งอยู่เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด

ตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม. ก็ความแตกแห่งธรรมขันธ์ทั้ง

หลายที่เกิดแล้ว สกัดอยู่ข้างหน้าแห่งสัตว์เหล่านั้น. ขันธ์

ทั้งหลายมีความทำลายเป็นธรรมดามิได้เจือปนกับขันธ์ที่

เกิดก่อนตั้งอยู่. ขันธ์ทั้งหลายมาโดยไม่ปรากฏ แตกแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 603

ไปสู่ที่ไปไม่ปรากฏ ย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไปเหมือนสายฟ้า

แลบในอากาศ. ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่ อย่างนี้.

ชีวิตน้อยเพราะมีกิจน้อยอย่างไร ? ชีวิตเนื่องด้วยลมหายใจเข้า

เนื่องด้วยลมหายใจออก เนื่องด้วยลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เนื่อง

ด้วยมหาภูตรูป เนื่องด้วยไออุ่น เนื่องด้วยกวฬิงการาหาร เนื่องด้วยวิญ

ญาณ. กรัชกายอันเป็นที่ตั้งแห่งลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเหล่านั้นก็ดี

อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพอันเป็นเหตุเดิมแห่งลมหายใจ

เข้าและลมหายใจออกก็ดี ปัจจัยทั้งหลายก็ดี ตัณหาอันเป็นแดนเกิดก่อน

ก็ดี รูปธรรมและอรูปธรรมที่เกิดร่วมกันก็ดี อรูปธรรมที่ประกอบกันก็ดี

ขันธ์ที่เกิดร่วมกันแห่งลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเหล่านี้ก็ดี ตัณหาอัน

ประกอบกันก็ดี ก็มีกำลังทราม. ธรรมเหล่านั้นมีกำลังทรามเป็นนิตย์ต่อกัน

และกัน มิได้ตั้งมั่นต่อกันและกัน ย่อมยังกันและกันให้ตกไป เพราะ

ความต้านทานมิได้มีแก่กันและกัน ธรรมเหล่านี้จึงไม่ดำรงกันและกันไว้ได้

ธรรมใดให้ธรรมเหล่านี้เกิดแล้ว ธรรมนั้นมิได้มี. ก็แต่ธรรมอย่างหนึ่ง

มิได้เสื่อมไปเพราะธรรมอย่างหนึ่ง. ก็ขันธ์เหล่านี้แตกไปเสื่อมไปโดย

อาการทั้งปวง ขันธ์เหล่านี้อันเหตุปัจจัยมีในก่อนให้เกิดแล้ว. แม้เหตุปัจจัย

อันเกิดก่อนเหล่าใด แม้เหตุปัจจัยเหล่านั้นก็ดับแล้วในก่อน. ขันธ์ที่เกิด

ก่อนก็ดี ขันธ์ที่เกิดภายหลังก็ดี มิได้เห็นกันและกันในกาลไหน ๆ. ฉะนั้น

ชีวิตจึงชื่อว่า เป็นของน้อยเพราะมีกิจน้อย อย่างนี้.

อนึ่ง เพราะเทียบชีวิตของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราช ชีวิตของพวก

มนุษย์ก็น้อย คือเล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 604

ไปชั่วกาลเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่ช้า ดำรงอยู่ไม่นาน. เพราะเทียบชีวิตของ

พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์.... เพราะเทียบชีวิตของพวกเทวดาชั้นยามา.....

เพราะเทียบชีวิตของพวกเทวดาดุสิต ...... เพราะเทียบชีวิตของพวกเทวดา

ชั้นนิมมานรดี..... เพราะเทียบชีวิตของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.....

เพราะเทียบชีวิตของพวกเทวดาที่เนื่องในหมู่พรหม ชีวิตของมนุษย์ก็น้อย

คือเล็กน้อย นิดหน่อย เป็นไปชั่วขณะ เป็นไปพลัน เป็นไปชั่วกาล

เดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่ช้า ดำรงอยู่ไม่นาน. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า :- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายุของพวกมนุษย์นี้น้อย

จำต้องละไปสู่ปรโลก มนุษย์ทั้งหลายจำต้องประสบความตายตาม

ที่รู้กันอยู่แล้ว ควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มี

มนุษย์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดอยู่นาน

ผู้นั้นก็เป็นอยู่ได้เพียงร้อยปี หรือที่เกินกว่าร้อยปีก็มีน้อย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง

แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า :-

อายุของพวกมนุษย์น้อย บุรุษผู้ใคร่ความดีพึงดูหมิ่น

อายุที่น้อยนี้ พึงรีบประพฤติให้เหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ

ฉะนั้น. เพราะความตายจะไม่มาถึงมิได้มี วันคืนย่อมล่วง

เลยไป ชีวิตก็กระชั้นเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้ง

หลายย่อมสิ้นไป เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อยน้อยสิ้นไปฉะนั้น.

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชีวิตนี้น้อยหนอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 605

[๑๘๓] คำว่า มนุษย์ย่อมตายภายในร้อยปี มีความว่า มนุษย์

ย่อมเคลื่อน ตาย หาย สลายไป ในกาลที่เป็นกลละบ้าง, ในกาลที่เป็น

น้ำล้างเนื้อบ้าง, ในกาลที่เป็นชิ้นเนื้อบ้าง, ในกาลที่เป็นก้อนเนื้อบ้าง,

ในกาลที่เป็นปัญจสาขาได้แก่มือ ๒ เท้า ๒ ศีรษะ ๑ บ้าง, แม้พอเกิดก็

ย่อมเคลื่อน ตาย หาย สลายไปก็มี. ย่อมเคลื่อน ตาย หาย สลายไปใน

เรือนที่ตลอดก็มี. ย่อมเคลื่อน ตาย หาย สลายไปเมื่อชีวิตครั้งเดือนก็มี.

เดือน ๑ ก็มี. ๒ เดือนก็มี. ๓ เดือนก็มี. ๔ เดือนก็มี. ๕ เดือนก็มี.

๖ เดือนก็มี. ๗ เดือนก็มี. ๘ เดือนก็มี. ๙ เดือนก็มี. ๑๐ เดือนก็มี.

๑ ปีก็มี. ๒ ปีก็มี. ๓ ปีก็มี. ๔ ปีก็มี. ๕ ปีก็มี. ๖ ปีก็มี. ๗ ปีก็มี.

๘ ปีก็มี. ๙ ปีก็มี. ๑๐ ปีก็มี. ๒๐ ปีก็มี. ๓๐ ปีก็มี. ๔๐ ปีก็มี. ๕๐

ปีก็มี. ๖๐ ปีก็มี. ๗๐ ปีก็มี. ๘๐ ปีก็มี. ๙๐ ปีก็มี. เพราะฉะนั้นจึง

ชื่อว่า มนุษย์ย่อมตายภายในร้อยปี.

[๑๘๔] คำว่า แม้หากว่ามนุษย์ใดย่อมเป็นอยู่เกินไป มีความ

ว่ามนุษย์ใดเป็นอยู่เกินร้อยปีไป มนุษย์นั้นเป็นอยู่ ๑ ปีบ้าง. ๒ ปีบ้าง.

๓ ปีบ้าง. ๔ ปีบ้าง. ๕ ปีบ้าง. ๑๐ ปีบ้าง. ๒๐ ปีบ้าง. ๓๐ ปีบ้าง.

๔๐ ปีบ้าง. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า แม้หากมนุษย์ใดย่อมเป็นอยู่เกินไป.

[๑๘๕] คำว่า มนุษย์ผู้นั้นย่อมตายเพราะชราโดยแท้แล

มีความว่า เมื่อใดมนุษย์เป็นคนแก่ เจริญวัย เป็นผู้ใหญ่โดยกำเนิด

ล่วงกาลผ่านวัย มีฟันหัก ผมหงอก ผมบาง ศีรษะล้าน หนังย่น ตัว

ตกกระ คด ค่อม ถือไม้เท้าไปข้างหน้า เมื่อนั้น มนุษย์นั้น ย่อมเคลื่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 606

ตาย หาย สลายไปเพราะชรา การพ้นจากความตายไม่มี สมจริงดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

สัตว์ที่เกิดมามีภัยโดยความตายเป็นนิตย์ เหมือน

ผลไม้ที่สุกแล้วมีภัย โดยการหล่นในเวลาเช้าฉะนั้น.

ภาชนะดินที่นายช่างทำแล้วทุกชนิดมีความแตกเป็นที่สุด

แม้ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็เป็นฉันนั้น. มนุษย์

ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ โง่ และฉลาด ทั้งหมดย่อมไปสู่อำนาจ

มัจจุ มีมัจจุสกัดอยู่ข้างหน้า เมื่อมนุษย์เหล่านั้นถูกมัจจุสกัด

ข้างหน้าแล้ว ถูกมัจจุครอบงำ บิดาก็ต้านทานบุตรไว้ไม่

ได้ หรือพวกญาติก็ต้านทานญาติไว้ไม่ได้ เมื่อพวกญาติ

กำลังแลดูกันอยู่นั่นแหละกำลังรำพันกันอยู่เป็นอันมากว่า

ท่านจงดู ตนคนเดียวเท่านั้นแห่งสัตว์ทั้งหลายอันมรณะ

นำไปได้ เหมือนโคลูกนำไปฆ่าฉะนั้น. สัตว์โลกอัน

มัจจุและชราครอบงำไว้อย่างนี้.

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มนุษย์ผู้นั้นย่อมตายเพราะชราโดยแท้แล

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ชีวิตนี้มีน้อยหนอ มนุษย์ย่อมตายภายในร้อยปี

แม้หากว่ามนุษย์ใดย่อมเป็นอยู่เป็นไป มนุษย์ผู้นั้นย่อมตาย

เพราะชราโดยแท้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 607

[๑๘๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ชนทั้งหลายย่อมเศร้าโศกในเพราะวัตถุที่ถือว่าของ

เราความยึดถือทั้งหลายเป็นของเที่ยง มิได้มีเลย การยึดถือ

นี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุดทีเดียว กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว

ไม่ควรอยู่ครองเรือน.

ว่าด้วยคนเศร้าโศกเพราะการยึดถือ

[๑๘๗] คำว่า ชนทั้งหลายย่อมเศร้าโศกในเพราะวัตถุที่ถือ

ว่าของเรา มีความว่า คำว่า ชนทั้งหลาย ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์

แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา และมนุษย์. คำว่า ยึดถือว่า

ของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความยึดถือว่าของ

เราด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า

ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าของเราด้วย

ทิฏฐิชนทั้งหลายแม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่ถือว่าของเรา

ย่อมเศร้าโศก คือ ย่อมเศร้าโศกเมื่อเขากำลังแย่งชิงเอาบ้าง เมื่อเขาแย่ง

ชิงเอาไปแล้วบ้าง ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุ

ที่ถือว่าของเรา ย่อมเศร้าโศก คือ ย่อมเศร้าโศก ลำบาก คร่าครวญ

ทุบอกร่ำไร ถึงความหลงใหล เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรปรวนไปอยู่บ้าง เมื่อ

วัตถุนั้นแปรปรวนไปแล้วบ้าง. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายย่อม

เศร้าโลกในเพราะวัตถุถือว่าของเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 608

[๑๘๘] คำว่า ความยึดถือทั้งหลายเป็นของเที่ยง มิได้มีเลย

มีความว่า คำว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ ๒ อย่าง คือ ความ

ยึดถือด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือ

ด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยทิฏฐิ. ความยึดถือด้วยตัณหา

เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยความประชุมกันแห่งปัจจัยเกิดขึ้น

มีความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับไป ความแปรปรวน

ไปเป็นธรรมดา. ความยึดถือด้วยทิฏฐิ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง

อาศัยความประชุมกันแห่งปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป ความเสื่อมไป

ความคลายไป ความดับไป ความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาสมจริงดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอย่อมเห็นหรือว่า ความ

ยอดถือที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่แปรปรวนไปเป็น

ธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้น แหละเสมอด้วยของเที่ยง.

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นไม่มีเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นถูกละ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย แม้เราก็ไม่ตามเห็นว่า ความยึดถือนั้น เป็น

ความยึดถือที่เป็นของเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่แปรปรวน

ไปเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นนั่นแหละเสมอด้วยของ

เที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 609

ความยึดถือ เป็นของเที่ยงยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนไป

เป็นธรรมดา ย่อมไม่มี คือไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้. เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ความยึดถือทั้งหลายเป็นของเที่ยง มิได้มีเลย.

[๑๘๙] คำว่า การยึดถือนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุดทีเดียว

มีความว่า มีความเป็นต่าง ๆ กัน ความพลัดพราก ย่อมเป็นอย่างอื่น มี

อยู่ ปรากฏอยู่ เข้าไปได้อยู่. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ดูก่อนอานนท์ อย่าเลย เธออย่าเศร้าโศก อย่า

คร่ำครวญไปเลย ดูก่อนอานนท์ ข้อนั้นเราได้บอกไว้ก่อน

แล้วมิใช่หรือว่า ความเป็นต่าง ๆ กัน ความพลัดพราก

ความเป็นอย่างอื่น จากสัตว์สละสังขารอันเป็นที่รักใคร่พอ

ใจทั้งหลายทีเดียวมีอยู่ ดูก่อนนี้ จะพึงได้แต่ที่ไหน สิ่งใดที่

เกิดแล้ว มีแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความสลายไปเป็น

ธรรมดา สิ่งนั้น อย่าสลายไปเลย ต่อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะ

มีได้ เพราะขันธ์ ธาตุ อายตนะ ก่อน ๆ แปรปรวนไป

เป็นอย่างอื่น ขันธ์ธาตุและอายตนะหลัง ๆ ก็ย่อมเป็นไป

ดังนี้. เพราะฉะนั้นจึงถือว่า การยึดถือนี้มีความพลัดพราก

เป็นที่สุดทีเดียว.

[๑๙๐] คำว่า กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ไม่ควรอยู่ครองเรือน

มีความว่า ศัพท์ว่า อิติ เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสรรค เป็นบทบริบูรณ์

เป็นที่ประชุมอักษร เป็นศัพท์ที่มีพยัญชนะสละสลวย ศัพท์ว่า อิติ นี้เป็น

ลำดับแห่งบท. กุลบุตรเห็นแล้ว พบแล้ว เทียบเคียง ตรวจตรา สอบ.

สวนทำให้แจ่มแจ้ง ในวัตถุที่ถือว่าของเราทั้งหลาย ดังนี้แล้ว เพราะฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 610

จึงชื่อว่า เห็นดังนี้แล้ว. คำว่า ไม่ควรอยู่ครองเรือน ความว่า กุลบุตร

ตัดกังวลในฆราวาสทั้งหมด ตัดกังวลในบุตรและภรรยา ตัดกังวลในญาติ

ตัดกังวลในมิตรและอมาตย์ ตัดกังวลในความสั่งสมทั้งหมด ปลงผมและ

หนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความ

เป็นผู้ไม่มีห่วงใย พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป คือ อยู่ เป็นไป หมุนไป

รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า กุลบุตร

เห็นดังนี้ แล้วไม่ควรอยู่ครองเรือน. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาค

เจ้าจึงตรัสว่า :-

ชนทั้งหลายย่อมเศร้าโศกในเพราะวัตถุที่ถือว่าของ

เรา ความยึดถือทั้งหลายเป็นของเที่ยง มิได้มีเลย การยึด

ถือนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุดทีเดียว กุลบุตรเห็นดังนี้

แล้ว ไม่ควรอยู่ครองเรือน.

[๑๙๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา เบญจ-

ขันธ์นั้นอันบุรุษนั้นย่อมละไปแม้เพราะความตาย พุทธ-

มามกะผู้เป็นบัณฑิตรู้เห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ควรน้อมไป

เพื่อความยึดถือว่าของเรา.

ว่าด้วยการยึดถือเบญจขันธ์

[๑๙๒] คำว่า เบญจขันธ์นั้นอันบุรุษนั้น ย่อมละไปแม้เพราะ

ความตาย มีความว่า คำว่า ความตาย ได้แก่ ความจุติ ความเคลื่อน

จากหมู่สัตว์นั้น ๆ แห่งเหล่าสัตว์นั้น ๆ ควรทำลาย ความหายไป มัจจุ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 611

มรณะ กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ความทอดทิ้งร่างกาย

ความเข้าไปตัดแห่งชีวิตินทรีย์. คำว่า เบญจขันธ์นั้น ได้แก่ รูปเวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ คำว่า ย่อมละ ความว่าเบญจขันธ์ อันบุรุษ

นั้นย่อมละ สละทิ้ง หายไป สลายไป สมจริงดังภาษิตว่า:-

โภคสมบัติทั้งหลายย่อมละทิ้งสัตว์ไปก่อนบ้าง สัตว์

ย่อมละทิ้งโภคสมบัติเหล่านั้นไปก่อนบ้าง ดูก่อนราชโจรผู้

ใคร่กาม พวกชนเป็นผู้มีโภคสมบัติมิได้เที่ยง เพราะฉะนั้น

เราจึงไม่เศร้าโศก ในเวลาเศร้าโศก ดวงจันทร์ย่อมขึ้น

ย่อมเต็มดวง ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดวงอาทิตย์อัสดงคตแล้ว

ย่อมจากไป ดูก่อนศัตรู โลกธรรมทั้งหลาย เรารู้แล้ว

เพราะฉะนั้นเราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาเศร้าโศก.

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เบญจขันธ์นั้นอันบุรุษนั้นย่อมละไปแม้เพราะ

ความตาย.

[๑๙๓] คำว่า บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา มี

ความว่า คำว่า เบญจขันธ์ใด ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ. คำว่า บุรุษ ได้แก่ ความนับ ความหมายรู้ บัญญัติ โวหาร

ของโลก นาม การตั้งนาม ความทรงนาม ความพูดถึง การแสดง

ความหมาย การพูดปราศรัย. คำว่า ย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้

ของเรา มีความว่า ย่อมสำคัญด้วยความสำคัญด้วยตัณหา ด้วยความสำคัญ

ด้วยทิฏฐิ ด้วยความสำคัญด้วยมานะ ด้วยความสำคัญด้วยกิเลส ด้วยความ

สำคัญด้วยทุจริต ด้วยความสำคัญด้วยประโยค ด้วยความสำคัญด้วยวิบาก.

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุรุษย่อมลำดับเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 612

[๑๙๔] คำว่า ผู้เป็นบัณฑิตรู้เห็นโทษแม้นั้นแล้ว มีความว่า

ทราบ รู้ เทียบเคียง ตรวจทราบ สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้ง ซึ่งโทษนั้น

ในวัตถุที่ยึดถือว่าของเราทั้งหลาย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า รู้เห็นโทษแม้นั้น

แล้วละ คำว่า บัณฑิต ได้แก่ ผู้มีความรู้ ผู้มีญาณ ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง

ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรง. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้เป็นบัณฑิตรู้เห็นโทษ

แม้นั้นแล้ว.

[๑๙๕] คำว่า พุทธมามกะไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่า

ของเรา มีความว่า คำว่า ความยึดถือว่าของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่า

ของเรา ๒ อย่างคือ ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือว่าของ

เรา ด้วยทิฏฐิ ๑. คำว่า พุทธมามกะ ได้แก่ ผู้นับถือพระพุทธ พระ-

ธรรม พระสงฆ์ คือบุคคลผู้นั้นย่อมนับถือพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าของเรา

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงกำหนดบุคคลผู้นั้น สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค

เจ้าตรัสไว้ว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้คดโกง

กระด้าง พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด มีจิตไม่ตั้งมั่น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ไม่นับถือเรา เป็น

ผู้ไปปราศแล้วจากธรรมวินัยนี้ และย่อมไม่ถึงความเจริญ

งอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายส่วนว่า

ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ไม่คดโกง ไม่พูดพล่อย ปัญญาไม่กระ-

ด้าง มีจิตตั้งมั่นดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 613

ผู้นับถือเรา ไม่ปราศแล้วจากธรรมวินัยนี้ และย่อมถึงความ

เจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง

แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า :-

ชนทั้งหลายเป็นผู้คดโกง กระด้าง พูดพล่อย กรีด

กราย มีมานะจัด มีจิตไม่ตั้งมั่น ชนเหล่านั้นย่อมไม่งอก

งามในธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ส่วน

ชนทั้งหลายเป็นผู้ไม่คดโกง ไม่พูดพล่อย มีปัญญา ไม่

กระด้าง มีจิตตั้งมั่นดี ชนเหล่านั้นแล ย่อมงอกงามใน

ธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

คำว่า พุทธมามกะไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าของเรา

มีความว่า พุทธมามกะละความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา สละคืนความ

ยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ไม่พึงน้อมโน้มไปเพื่อความยึดถือว่าของเรา คือ

ไม่พึงเป็นผู้น้อมไป เอนไป โอนไป โน้มไป ในความยึดถือว่าของเรา

นั้น ไม่พึงเป็นผู้มีความยึดถือว่าของเรานั้นเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

พุทธมามกะไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือของเรา. เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา เบญจ-

ขันธ์นั้นอันบุรุษนั้นย่อมละไปแม้เพราะความตาย พุทธ

มามกะผู้เป็นบัณฑิตรู้เห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ควรน้อมไป

เพื่อความยึดถือว่าของเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 614

[๑๙๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บุรุษตื่นแล้ว ย่อมไม่เห็นสิ่งที่มาประจวบด้วยความ

ฝัน แม้ฉันใด ใคร ๆ ก็ไม่เห็นชนที่รักซึ่งตายจากไปแล้ว

แม้ฉันนั้น.

เปรียบสิ่งที่ได้เหมือนความฝัน

[๑๙๗] คำว่า สิ่งที่มาประจวบด้วยความฝันแม้ฉันใด มีความ

ว่า สิ่งที่มาประจวบ คือ สิ่งที่มาปรากฏมาตั้งมั่นประชุมกันแล้ว เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า สิ่งที่มาประจวบด้วยความฝัน แม้ฉันใด.

[๑๙๘] คำว่า บุรุษตื่นแล้ว ย่อมไม่เห็น มีความว่า บุรุษผู้ฝัน

เห็นดวงจันทร์ เห็นดวงอาทิตย์ เห็นมหาสมุทร เห็นขุนเขาสิเนรุ เห็น

ช้าง เห็นม้า เห็นรถ เห็นคนเดินเท้า เห็นขบวนเสนา เห็นสวนที่น่า

รื่นรมย์ เห็นป่าที่น่ารื่นรมย์ เห็นภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ เห็นสระโบกขรณี

ที่น่ารื่นรมย์ ครั้นตื่นแล้ว ย่อมไม่เห็นอะไร ๆ ฉันใด เพราะฉะนั้นจึง

ชื่อว่า บุรุษตื่นแล้ว ย่อมไม่เห็น.

[๑๙๙] คำว่า ชนที่รัก........แม้ฉันนั้น มีความว่า ศัพท์ว่า

ฉันนั้น เป็นอุปไมยเครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อม. คำว่า ชนที่รัก ได้แก่

ชนที่รัก ที่ถือว่าของเรา ซึ่งได้แก่ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่สาว

น้องสาว บุตร ธิดา มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ชนที่รัก........แม้ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 615

[๒๐๐] คำว่า ย่อมไม่เห็น........ผู้ตายจากไปแล้ว มีความว่า

ชนผู้ตาย ทำกาละแล้ว เรียกว่า ผู้จากไปแล้ว ย่อมไม่เห็น ไม่แลเห็น

ไม่ประสบ ไม่พบ ไม่ได้เฉพาะ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อมไม่เห็น....

....ฝ่ายจากไปแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

บุรุษตื่นแล้ว ย่อมไม่เห็นสิ่งที่มาประจวบด้วยความ

ฝันแม้ฉันใด ใคร ๆ ก็ไม่เห็นชนที่รักซึ่งตายจากไปแล้ว

แม้ฉันนั้น.

[๒๐๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ชนทั้งหลายที่เห็นกันก็ดี ที่ได้ยินชื่อเรียกกันก็ดี

ชนเหล่านั้นที่จากไปแล้ว ยังเหลือแต่ชื่อเท่านั้น ที่พูดถึง

กันอยู่.

ว่าด้วยสิ่งต่าง ๆ ย่อมสลายไปเหลือแต่ชื่อ

[๒๐๒] คำว่า ชนทั้งหลายที่เห็นกันก็ดี ที่ได้ขึ้นเรียกชื่อกัน

ก็ดี มีความว่า คำว่า ที่เห็นกัน ได้แก่ ชนทั้งหลายมีรูปที่รู้กันด้วยจักขุ-

วิญญาณ. คำว่า ที่ได้ยินกัน ได้แก่ มีเสียงที่รู้กันได้ด้วยโสตวิญญาณ-

คำว่า ชนเหล่านั้น ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์

บรรพชิต เทวดา มนุษย์. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชนทั้งหลายที่เห็น

กันก็ดี ที่ได้ขึ้นเรียกชื่อกันก็ดี.

[๒๐๓] คำว่า มีชื่อเรียกกัน มีความว่า คำว่า เยส ได้แก่

กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 616

คำว่า มีชื่อ ได้แก่ มีชื่อที่นับ มีชื่อที่หมายรู้ มีชื่อที่บัญญัติ มีชื่อที่

เรียกกันทางโลก มีนาม มีความตั้งนาม มีความทรงนาม มีชื่อที่พูดถึง

มีชื่อที่แสดงความหมาย มีชื่อที่กล่าวเฉพาะ. คำว่า เรียก ได้แก่ กล่าว

พูด แสดง แถลง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มีชื่อเรียกกัน.

[๒๐๔] คำว่า ยังเหลือแต่ชื่อเท่านั้น ที่พูดถึงกันอยู่ มีความ

ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันบุคคลละไป สละไป ทิ้ง

ไป หายไป สลายไป มีเหลือแต่ชื่อเท่านั้น. คำว่า ที่พูดถึงกันอยู่ ได้แก่

เพื่อบอก เพื่อกล่าว เพื่อพูด เพื่อแสดง เพื่อแถลง เพราะฉะนั้นจึงชื่อ

ว่า ยังเหลือแต่ชื่อเท่านั้น ที่พูดถึงกันอยู่. คำว่า ชนเหล่านั้นที่จากไป.

แล้ว มีความว่า คำว่า ที่จากไปแล้ว ได้แก่ ตายแล้ว กระทำกาละ

แล้ว. คำว่า ชน ได้แก่ สัตว์ นระ มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต

ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชนเหล่านั้นที่

จากไปแล้ว........ที่พูดถึงกันอยู่. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า :-

ชนทั้งหลายที่เห็นกันก็ดี ที่ได้ยินชื่อเรียกกันก็ดี

ชนเหล่านั้นที่จากไปแล้ว ยังเหลือแต่ชื่อเท่านั้นที่พูดถึง

กันอยู่.

[๒๐๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ชนทั้งหลายผู้ติดใจในวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมไม่

ละความโศก ความคร่ำครวญและความหวงแหน เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 617

ฉะนั้น มุนีทั้งหลายผู้เห็นความปลอดโปร่ง ละซึ่งความยึด

ถือได้เที่ยวไปแล้ว.

[๒๐๖] คำว่า ชนทั้งหลายผู้ติดใจในวัตถุที่ถือว่าของเรา

ย่อมไม่ละความโศกความคร่ำครวญและความหวงแหน มีความ

ว่า :-

คำว่า ความโศก ได้แก่ ความโศก กิริยาที่เศร้าโศก ความเป็น

ผู้เศร้าโศก ความที่จิตเศร้าโศก ความเศร้าโศกในภายใน ความเศร้าโศก

รอบในภายใน ความเร่าร้อนในภายใน ความเร่าร้อนรอบในภายใน

ความตรอมตรมแห่งจิต โทมนัส ลูกศรคือความเศร้าโศก ของชนผู้ถูก

ความเสื่อมแห่งญาติกระทบเข้าบ้าง ถูกความเสื่อมแห่งโภคะกระทบเข้าบ้าง

ถูกความเสื่อมเพราะโรคกระทบเข้าบ้าง ถูกความเสื่อมแห่งศีลกระทบเข้า-

บ้าง ถูกความเสื่อมแห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง ที่ประจวบกับความเสื่อม

อย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบเข้าบ้าง.

คำว่า ความคร่ำครวญ ได้แก่ ความเพ้อถึง ความคร่ำครวญ

อาการที่เพ้อถึง อาการที่คร่ำครวญถึง ความเป็นผู้เพ้อถึง ความเป็นผู้-

คร่ำครวญถึง ความพูดเพ้อ ความบ่นเพ้อ ความบ่นเพ้อแปลก ๆ อาการ

พร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ ความเป็นผู้พร่ำเพ้อ ของชนผู้ถูกความเสื่อม

แห่งญาติกระทบเข้าบ้าง ฯลฯ ถูกความเสื่อมแห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง ที่

ประจวบกับความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่าง

หนึ่งกระทบเข้าบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 618

คำว่า ความหวงแหน ได้แก่ ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ

ความตระหนี่ที่อยู่ ความตระหนี่ตระกูล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่

วรรณะ ความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่เห็นปานนี้ อาการที่ตระหนี่

ความเป็นผู้ประพฤติตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่าง ๆ ความเหนียวแน่น

ความเป็นผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใคร ๆ เชื่อถือไม่ได้

ในการให้ นี้เรียกว่าความตระหนี่, อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี

ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะก็ดี นี้เรียกว่า ความตระหนี่

ความมุ่งจะเอาก็เรียกว่าความตระหนี่ นี้เรียกว่าความตระหนี่ ตัณหาเรียกว่า

ความติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ

อกุศลมูล.

คำว่า ความยึดถือว่าของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าของเรา ๒

อย่าง คือ ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือว่าของเราด้วย

ทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ

ยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ. ชนทั้งหลายแม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่ง

ชิงวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมเศร้าโศก คือย่อมเศร้าโศกเมื่อเขากำลังแย่งชิง

เอาบ้าง เมื่อเขาแย่งชิงเอาไปแล้วบ้าง แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความ

แปรปรวนไปแห่งวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมเศร้าโศก ย่อมเศร้าโศกเมื่อ

วัตถุนั้นกำลังแปรปรวนไปบ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรปรวนไปแล้วบ้าง แม้ผู้มี

ความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมคร่ำครวญ คือ

ย่อมคร่ำครวญเมื่อเขากำลังแย่งชิงเอาบ้าง เมื่อเขาแย่งชิงเอาไปแล้วบ้าง

แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 619

คร่ำครวญ คือย่อมคร่ำครวญเมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรปรวนไปบ้าง เมื่อวัตถุ

นั้นแปรปรวนไปแล้วบ้าง. ชนทั้งหลายย่อมรักษา คุ้มครอง ป้องกันวัตถุ

ที่ถือว่าของเรา หวงแหนวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมเศร้าโศก คือ ไม่ละ

ไม่สละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นไป ไม่ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งความโศก

ความคร่ำครวญ ความหวงแหน ความติดใจในวัตถุที่ถือว่าของเรา

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชนทั้งหลายผู้ติดใจในวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมไม่

ละความโศก ความคร่ำครวญ และความหวงแหน.

ว่าด้วยโมไนยธรรม

[๒๐๗] คำว่า เพราะฉะนั้น มุนีทั้งหลายผู้เห็นความปลอด

โปร่งละซึ่งความยืดถือได้เที่ยวไปแล้ว มีความว่า :-

คำว่า เพราะฉะนั้น ได้แก่ เพราะเหตุนั้น เพราะการณะนั้น

เพราะฉะนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น คือเห็นโทษนั้นในวัตถุ

ที่ยึดถือว่าของเราทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า เพราะฉะนั้น.

คำว่า มุนีทั้งหลาย ความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ได้แก่ ปัญญา

ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ชนทั้ง

หลายผู้ประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่ามุนี คือผู้ถึงแล้วซึ่งญาณชื่อว่าโมนะ

โมไนยธรรม คือธรรมที่ทำให้เป็นมุนี มี ๓ ประการ คือ โมไนยธรรม

ทางกาย ๑, โมไนยธรรมทางวาจา ๑, โมไนยธรรมทางใจ ๑.

โมไนยธรรมทางกายเป็นไฉน ? การละกายทุจริต ๓ อย่าง ซึ่งว่า

โมไนยธรรมทางกาย กายสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีกายเป็นอารมณ์ การ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 620

กำหนดรู้กายมรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในกาย นี้ชื่อ

ว่าโมไนยธรรมทางกาย.

โมไนยธรรมทางวาจาเป็นไฉน ? การละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่า

โมไนยธรรมทางวาจา วจีสุจริต ๔ อย่าง ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ การ

กำหนดรู้วาจามรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในวาจา ความ

ดับแห่งวจีสังขาร ความบรรลุทุติยฌานชื่อว่าโมไนยธรรมทางวาจา นี้ชื่อ

ว่าโมไนยธรรมทางวาจา.

โมไนยธรรมทางใจเป็นไฉน ? การละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่า

โมไนยธรรมทางใจ มโนสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีจิตเป็นอารมณ์ การ

กำหนดรู้จิตมรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละฉันทราคะในใจ ความดับ

แห่งจิตสังขาร การบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ชื่อว่าโมไนยธรรมทางจิต

นี้ชื่อว่าโมไนยธรรมทางใจ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวมุนีผู้เป็นมุนีทางกาย เป็น

มุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ ว่าเป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้ละกิเลสทั้งปวง

บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวมุนีผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทาง

วาจา เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ ว่าเป็นผู้ถึงพร้อม

ด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้มีบาปอันล้างเสียแล้ว ฯลฯ

ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่ายดำรงอยู่

เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้วบุคคลนั้น ชื่อว่ามุนี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 621

คำว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ ๒ อย่าง คือ ความยึดถือ

ด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยตัณหา

ฯลฯ นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยทิฏฐิ มุนีทั้งหลายละความยึดถือด้วยตัณหา

สละคืนความยึดถือด้วยทิฏฐิเสียแล้ว ได้ประพฤติแล้ว เที่ยวไป เป็นไป

หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป.

คำว่า ผู้เห็นความปลอดโปร่ง มีความว่า อมตนิพพาน เรียกว่า

ความปลอดโปร่ง ได้แก่ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง

ความสิ้นตัณหา ความสำรอก ความดับ ความออกจากตัณหา เป็นเครื่อง

ร้อยรัด คำว่า เห็นความปลอดโปร่ง ได้แก่ เห็นความปลอดโปร่ง เห็น

ที่ต้านทาน เห็นที่เร้น เห็นที่พึ่ง เห็นความไม่มีภัย เห็นความไม่เคลื่อน

เห็นอมตะ เห็นนิพพาน. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มุนีทั้งหลายผู้เห็น

ความปลอดโปร่ง ละซึ่งความยืดถือได้เที่ยวไปแล้ว เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ชนทั้งหลายผู้ติดใจในวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมไม่

ละความโศก ความคร่ำครวญ และความหวงแหน เพราะ

ฉะนั้นมุนีทั้งหลายผู้เห็นความปลอดโปร่ง ละซึ่งความ

ยึดถือได้เที่ยวไปแล้ว.

[๒๐๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนในภพนั้น

ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น ผู้คบที่นั่งอันสงัดว่าเป็นความ

พร้อมเพรียง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 622

ว่าด้วยผู้ประพฤติหลีกเร้น

[๒๐๙] คำว่า ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น มีความว่า พระ

เสขะ ๗ จำพวก เรียกว่า ผู้ประพฤติหลีกเร้น. พระอรหันต์ เรียกว่า

ผู้หลีกเร้น. พระเสขะ ๗ จำพวก เรียกว่า ผู้ประพฤติหลีกเร้น เพราะเหตุไร ?

พระเสขะเหล่านั้น ยังจิตให้หลีกเร้น หดกลับ ถอยกลับ ปิดกั้น ข่ม

ห้าม รักษา คุ้มครองจิตจากอารมณ์นั้น ๆ ย่อมประพฤติ อยู่เป็นไป

หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป ยังจิตให้หลีกเร้น หดกลับ

ถอยกลับ ปิดกั้น ข่ม ห้าม รักษา คุ้มครองจิตจากอารมณ์นั้น ๆ ให้จักขุ

ทวารประพฤติ อยู่ เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนิน

ไปยังจิตให้หลีกเร้น หดกลับ ถอยกลับ ปิดกั้น ข่ม ห้าม รักษา คุ้มครอง

จิตจากอารมณ์นั้น ๆ ในโสตทวาร....ในฆานทวาร....ในชิวหาทวาร....ใน

กายทวาร....ยังจิตให้หลีกเร้น หดกลับ ถอยกลับ ปิดกั้น ข่ม ห้าม รักษา

คุ้มครองจิตจากอารมณ์นั้น ๆ ในมโนทวาร ย่อมประพฤติ อยู่ เป็นไป

หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป เปรียบเหมือนขนไก่

หรือเส้นเอ็นที่ใส่เข้าไปในไฟ ย่อมหด งอ ม้วน ไม่คลี่ออกฉะนั้น เพราะ

เหตุนั้น พระเสขะ ๗ จำพวก จึงเรียกว่า ผู้ประพฤติหลีกเร้น. คำว่า

ของภิกษุ ได้แก่ ของภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือของภิกษุผู้เป็น

พระเสขะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น.

[๒๑๐] คำว่า ผู้คบที่นั่งอันสงัด มีความว่า ที่เป็นที่นั่ง เรียกว่า

อาสนะ ได้แก่ เตียง ตั่ง เบาะ เสื่อ ท่อนหนัง เครื่องลาดทำด้วยหญ้า

เครื่องลาดทำด้วยใบไม้ เครื่องลาดทำด้วยฟาง ที่นั่งนั้นว่าง เงียบ สงัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 623

จากการเห็นรูปไม่เป็นที่สบาย จากการได้ยินเสียงไม่เป็นที่สบาย จากการ

สูดดมกลิ่นไม่เป็นที่สบาย จากการได้ลิ้มรสไม่เป็นที่สบาย จากการถูกต้อง

โผฏฐัพพะไม่เป็นที่สบาย จากกามคุณ ๕ ไม่เป็นที่สบาย ผู้คบอยู่ คบเสมอ

เสพ เข้าไปเสพ คบหา ซ่องเสพ ซึ่งที่นั่งนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

ผู้คบที่นั่งอันสงัด.

ว่าด้วยสามัคคี ๓ อย่าง

[๒๑๑] คำว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนในภพ

นั้นว่าเป็นความพร้อมเพรียง มีความว่า คำว่า ความพร้อมเพรียง

ได้แก่ สามัคคี ๓ อย่าง คือ คณะสามัคคี ๑, ธรรมสามัคคี ๑, อนภินิพ-

พัตติสามัคคี ๑.

คณะสามัคคีเป็นไฉน ? ภิกษุทั้งหลายแม้มาก พร้อมเพรียงกัน ชื่น

ชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นดังน้ำเจือด้วยน้ำนม แลดูกันและกันด้วยจักษุ

เป็นที่รักอยู่ นี้ชื่อว่า คณะสามัคคี.

ธรรมสามัคคีเป็นไฉน ? สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔

อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมเหล่านั้น

ย่อมแล่นไป ผ่องใส ประดิษฐานด้วยดี พ้นวิเศษ โดยความเป็นอันเดียว

กัน ความวิวาท ความขัดแย้งกัน แห่งธรรมเหล่านั้นย่อมไม่มี นี้ชื่อว่า

ธรรมสามัคคี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 624

อนภินิพพัตติสามัคคีเป็นไฉน ? ภิกษุทั้งหลายแม้มาก ย่อมปรินิพพาน

ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความบกพร่องหรือความเต็มแห่งนิพพาน.

ธาตุของภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่ปรากฏ นี้ชื่อว่า อนภินิพพัตติสามัคคี.

คำว่า ในภพ ความว่า นรกเป็นภพของพวกสัตว์ที่เกิดในนรก

กำเนิดดิรัจฉานเป็นภพของพวกสัตว์ที่เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เปรตวิสัย

เป็นภพของพวกสัตว์ที่เกิดขึ้นเปรตวิสัย มนุษยโลกเป็นภพของพวกมนุษย์

เทวโลกเป็นภพของพวกเทวดา.

คำว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนในภพนั้น ว่าเป็น

ความพร้อมเพรียง ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าว บอก พูด แสดง

แถลงอย่างนี้ว่า ภิกษุใดปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ไม่พึงแสดงตนในนรก ใน

กำเนิดดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย ในมนุษยโลก ในเทวโลก การไม่แสดง

ตนของภิกษุนั้น เป็นความพร้อมเพรียง คือ ข้อนั้นเป็นการปกปิด เป็น

การควร เป็นการสมควร เป็นอนุโลม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บัณฑิต

ทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนในภพนั้น ว่าเป็นความพร้อมเพรียง

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนในภพนั้นของ

ภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น ผู้คบที่นั่งอันสงัด ว่าเป็นความ

พร้อมเพรียง.

[๒๐๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

มุนีไม่อาศัยแล้วในสิ่งทั้งปวง ไม่ทำสัตตสังขารว่า

เป็นที่รัก และไม่ทำสัตตสังขารว่าเป็นที่ชัง ความคร่ำครวญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 625

และความหวงแหนมิได้ติดในมุนีนั้น เหมือนน้ำไม่ติดใน

ใบบัวฉะนั้น

[๒๑๓] คำว่า มุนีไม่อาศัยแล้วในสิ่งทั้งปวง มีความว่า

อายตนะ ๑๒ คือ จักขุ - รูป, หู - เสียง, จมูก - กลิ่น, ลิ้น - รส, กาย-

โผฏฐัพพะ, ใจ - ธรรมารมณ์ เรียกว่า สิ่งทั้งปวง. คำว่า มุนี มีความว่า

ญาณ เรียกว่า โมนะ ได้แก่ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็น

เครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย ดำรงอยู่ และเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์

บูชาแล้ว บุคคลนั้นชื่อว่า มุนี.

คำว่า ไม่อาศัย มีความว่า ความอาศัย ๒ อย่าง คือ ความอาศัย

ด้วยตัณหา ๑ ความอาศัยด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยตัณหา

ฯลฯ นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยทิฏฐิ. มุนีละความอาศัยด้วยตัณหา สละคืน

ความอาศัยด้วยทิฏฐิแล้ว ไม่อาศัย คือ ไม่อิงอาศัย ไม่พัวพัน ไม่เข้าถึง

ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจถึง ออกไป สละเสีย พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่ง

จักขุ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

คิลานปัจจัย เภสัช บริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ

อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ

จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ทิฏฐธรรม สุตธรรม

มุตธรรม วิญญาตัพพธรรม เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มุนีไม่อาศัยแล้วในสิ่งทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 626

ว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก ๒ อย่าง

[๒๑๔] คำว่า ไม่ทำสัตตสังขารว่าเป็นที่รัก และไม่ทำสัตต

สังขารว่าเป็นที่ชัง มีความว่า คำว่า ที่รัก ได้แก่ สิ่งเป็นที่รัก ๒

อย่าง คือ สัตว์ ๑ สังขาร ๑.

สัตว์ทั้งหลายเป็นที่รักเป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ใคร่

ความเจริญ ใคร่ประโยชน์เกื้อกูล ใคร่ความผาสุก ใคร่ความปลอดโปร่ง

จากโยคกิเลส คือ เป็นมารดาบ้าง เป็นบิดาบ้าง เป็นพี่ชายน้องชายบ้าง

เป็นพี่สาวน้องสาวบ้าง เป็นบุตรบ้าง เป็นธิดาบ้าง เป็นมิตรบ้าง เป็น

อมาตย์บ้าง เป็นญาติบ้าง เป็นสาโลหิตบ้าง แห่งบุคคลนั้น สัตว์เหล่า

นี้ชื่อว่าเป็นที่รัก.

สังขารทั้งหลายเป็นที่รักเป็นไฉน ? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

เป็นที่ชอบใจ สังขารเหล่านี้ชื่อว่าเป็นที่รัก.

คำว่า เป็นที่ชัง ได้แก่ สิ่งเป็นที่ชัง ๒ อย่างคือ สัตว์ ๑ สังขาร ๑.

สัตว์ทั้งหลายเป็นที่ชังเป็นไฉน ? สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ใคร่

ความเสื่อม ใคร่สิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ใคร่ความไม่ผาสุก ใคร่

ความไม่ปลอดโปร่งจากโยคกิเลส ใคร่เพื่อจะปลงจากชีวิตของบุคคลนั้น

สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าเป็นที่ชัง.

สังขารทั้งหลายเป็นที่ชังเป็นไฉน ? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

ไม่เป็นที่ชอบใจ สังขารเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นที่ชัง.

คำว่า ไม่ทำสัตตสังขารว่าเป็นที่รัก และไม่ทำสัตตสังขาร

ว่าเป็นที่ชัง ความว่า มุนีไม่ทำสัตตสังขารว่าเป็นที่รัก ด้วยสามารถแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 627

ความกำหนัดว่า สัตว์นี้เป็นที่รักของเรา และสังขารเหล่านี้เป็นที่ชอบใจ

ของเรา และไม่ทำสัตตสังขารว่าเป็นที่ชัง ด้วยสามารถแห่งความขัดเคืองว่า

สัตว์นี้เป็นที่ชังของเรา และสังขารเหล่านี้ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา คือไม่ให้

เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ. เพราะฉะนั้นจึง

ชื่อว่า ไม่ทำสัตตสังขารว่าเป็นที่รัก และไม่ทำสัตตสังขารว่าเป็น

ที่ชัง.

[๒๑๕] คำว่า ความคร่ำครวญและความหวงแหนมิได้ติด

ในมุนีนั้น เหมือนน้ำไม่ติดในใบบัวฉะนั้น มีความว่า คำว่า ใน

มุนีนั้น ได้แก่ในบุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ.

คำว่า ความคร่ำครวญ ได้แก่ ความเพ้อถึง ความคร่ำครวญ

กิริยาที่เพ้อถึง กิริยาที่คร่ำครวญ ความเป็นผู้เพ้อถึง ความเป็นผู้คร่ำครวญ

ความพูดเพ้อ ความบ่นเพ้อ ความพร่ำเพ้อ อาการพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ

ความเป็นผู้พร่ำเพ้อของชนผู้ถูกความเสื่อมแห่งญาติกระทบเข้าบ้าง ถูกความ

เสื่อมแห่งโภคสมบัติกระทบเข้าบ้าง ถูกความเสื่อมเพราะโรคกระทบเข้าบ้าง

ถูกความเสื่อมแห่งศีลกระทบเข้าบ้าง ถูกความเสื่อมแห่งทิฏฐิกระทบเข้าบ้าง

ที่ประจวบกับความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใด

อย่างหนึ่งกระทบเข้าบ้าง.

คำว่า ความหวงแหน ได้แก่ ความตระหนี่ ๕ ประการคือ ความ

ตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่

วรรณ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑ ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 628

เป็นผู้ประพฤติตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่าง ๆ ความเหนียวแน่น

ความเป็นผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใคร ๆ ไม่เชื่อถือได้

ในการไห้เห็นปานนี้ นี้เรียกว่าความตระหนี่ อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่

ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะก็ดี เรียกว่า ความ

ตระหนี่ ความมุ่งจะเอาก็เรียกว่าความตระหนี่ นี้เรียกว่าความตระหนี่.

คำว่า ไม่ติดเหมือนน้ำไม่ติดในใบบัวฉะนั้น ความว่า ใบปทุม

เรียกว่า ใบบัว น้ำเรียกว่า วารี ความคร่ำครวญและความตระหนี่ ย่อม

ไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติด คือ ย่อมเป็นของไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่

เข้าไปติด ในมุนีนั้น คือในบุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ เหมือนน้ำ

ย่อมไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติด คือเป็นของไม่ติด ไม่ติดพร้อม

ไม่เข้าไปติดในใบปทุมฉะนั้น และบุคคลนั้นย่อมไม่ติด ไม่ติดพร้อม

ไม่เข้าไปติด คือเป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติด เป็นผู้

ออกไป สละเสียแล้ว พ้นขาดแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว ด้วยกิเลสเหล่านั้น

เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความ

คร่ำครวญและความหวงแหนย่อมไม่ติดในมุนีนั้น เหมือนน้ำย่อม

ไม่ติดในใบบัวฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

มุนีไม่อาศัยแล้วในสิ่งทั้งปวง ไม่ทำสัตตสังขารว่า

เป็นที่รัก และไม่ทำสัตตสังขารว่าเป็นที่ซึ่ง ความคร่ำครวญ

และความหวงแหนมิได้ติดในมุนีนั้น เหมือนน้ำไม่ติดใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 629

[๒๑๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

หยาดน้ำย่อมไม่ติดในใบบัว วารีย่อมไม่ติดในดอก

บัว ฉันใด มุนีย่อมไม่เข้าไปติดในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน

และอารมณ์ที่รู้ฉันนั้น.

[๒๑๗] คำว่า หยาดน้ำย่อมไม่ติดในใบบัว มีความว่า หยดน้ำ

เรียกว่า หยาดน้ำ ใบปทุม เรียกว่าใบบัว หยาดน้ำย่อมไม่ติด ไม่ติด

พร้อม ไม่เข้าไปติด คือ เป็นของไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติดใน

ใบบัว ฉันใด เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า หยาดน้ำย่อมไม่ติดในใบบัว.

[๒๑๘] คำว่า วารีย่อมไม่ติดในดอกบัว ฉันใด มีความว่า

ดอกปทุม เรียกว่า ดอกบัว น้ำเรียกว่า วารี วารีย่อมไม่ติด ไม่ติด

พร้อม ไม่เข้าไปติด คือ เป็นของไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติดใน

ดอกบัว ฉันใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วารีย่อมไม่ติดในดอกบัว

ฉันใด.

[๒๑๙] คำว่า มุนีย่อมไม่เข้าไปติดในรูปที่เห็นเสียงที่ได้ยิน

และอารมณ์ทราบ ฉันนั้น มีความว่า คำว่า ฉันนั้น เป็นอุปไมย

เครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อมเฉพาะ. คำว่า มุนี มีความว่า ญาณ เรียกว่า

โมนะ ได้แก่ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและ

ตัณหาเพียงดังข่าย ดำรงอยู่และเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว บุคคล

นั้นชื่อว่า มุนี.

คำว่า ติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง คือความติดด้วยตัณหา ๑

ความ ติดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 630

ทิฏฐิ มุนีละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิเสียแล้ว ย่อม

ไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติด คือเป็นผู้ไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติด

เป็นผู้ออกไป สละเสียแล้ว พ้นขาดแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว ในรูปที่เห็น

เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่รัก อารมณ์ที่รู้แจ้ง เป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจาก

แดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มุนีย่อมไม่เข้าไปติดในรูปที่เห็น

เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่รู้ ฉันนั้น. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

หยาดน้ำย่อมไม่ติดในใบบัว วารีย่อมไม่ติดในดอก

บัว ฉันใด มุนีย่อมไม่เข้าไปติดในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน

และอารมณ์ที่รู้ฉันนั้น.

[๒๒๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัดย่อมไม่สำคัญ

ในรูปที่เห็นเสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ พระอรหันต์

นั้นย่อมไม่ปรารถนาความหมดจดด้วยมรรคอื่น ย่อมไม่

กำหนัดย่อมไม่คลายกำหนัดเลย.

[๒๒๑] คำว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด ย่อม

ไม่สำคัญในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินและอารมณ์ที่ทราบ มีความว่า

คำว่า โธนะ ความว่า ปัญญา เรียกว่า โธนา ได้แก่ ความ รู้ความรู้ทั่ว ฯลฯ

ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ เพราะเหตุไรปัญญาจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 631

เรียกว่าโธนา ? เพราะปัญญานั้นเป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอก

ซึ่งกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ

ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่

ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความ

ดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความ

กระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือนร้อนทั้งปวง

อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะเหตุนั้น ปัญญาจึงชื่อว่า โธนา.

อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐิเป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ

ซักฟอกซึ่งมิจฉาทิฏฐิ.

สัมมาสังกัปปะเป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ชักฟอกซึ่งมิจฉา-

สังกัปปะ.

สัมมาวาจาเป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาวาจา.

สัมมากัมมันตะเป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉา-

กัมมันตะ.

สัมมาอาชีวะเป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาอาชีวะ.

สัมมาวายามะเป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ชักฟอกซึ่งมิจฉา-

วายามะ.

สัมมาสติเป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาสติ.

สัมมาสมาธิเป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาสมาธิ.

สัมมาญาณเป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาญาณ.

สัมมาวิมุตติเป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาวิมุตติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 632

อีกอย่างหนึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ

ซักฟอกซึ่งกิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง

ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือนร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง.

พระอรหันต์เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าชิด

เข้าชิดพร้อมแล้ว ด้วยธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกำจัดเหล่านี้ เพราะ

เหตุนั้น พระอรหันต์จึงชื่อว่ามีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด พระอรหันต์นั้น

เป็นผู้กำจัดราคะ บาป กิเลส ความเร่าร้อนเสียแล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด.

คำว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญ

ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ ความว่า พระ

อรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญซึ่งรูปที่เห็น ย่อมไม่สำคัญ

ในรูปที่เห็น ย่อมไม่สำคัญในรูปที่เห็น ย่อมไม่สำคัญว่า รูปเราเห็นแล้ว,

ย่อมไม่สำคัญ ซึ่งเสียงที่ได้ยิน ย่อมไม่สำคัญในเสียงที่ได้ยิน ย่อมไม่สำคัญ

แต่เสียงที่ได้ยิน ย่อมไม่สำคัญว่าเสียงที่เราได้ยินแล้ว, ย่อมไม่สำคัญ ซึ่ง

อารมณ์ที่ทราบ ย่อมไม่สำคัญในอารมณ์ที่ทราบ ย่อมไม่สำคัญแต่อารมณ์

ที่ทราบ ย่อมไม่สำคัญว่า อารมณ์เราทราบแล้ว. ย่อมไม่สำคัญซึ่งอารมณ์

ที่รู้แจ้ง ย่อมไม่สำคัญในอารมณ์ที่รู้แจ้ง ย่อมไม่สำคัญแต่อารมณ์ที่รู้แจ้ง

ย่อมไม่สำคัญว่า อารมณ์เรารู้แจ้งแล้ว. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนได้สำคัญว่า เรามีอยู่

ว่าเราย่อมไม่มี ว่าเราจักมีว่าเราจักไม่มี ว่าเราจักเป็นสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 633

มีรูปว่าเราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป ว่าเราจักเป็นสัตว์มีสัญญา

ว่าเราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา ว่าเราจักเป็นสัตว์มีสัญญา

มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ และปุถุชนได้สำคัญว่าเป็นดังโรค

เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นอุบาทว์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนิว่า เราจัก

เป็นผู้มีจิตไม่สำคัญอยู่ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด

ย่อมไม่สำคัญในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินและอารมณ์ที่ทราบ.

[๒๒๒] คำว่า พระอรหันต์ย่อมไม่ปรารถนาความหมดจด

ด้วยมรรคอื่น ความว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด ย่อมไม่

ปรารถนา ไม่ยินดี ไม่ประสงค์ ไม่รัก ไม่ชอบใจ ซึ่งความหมดจด

ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความ

พ้นรอบด้วยมรรคอื่น คือด้วยมรรคอันไม่หมดจด ด้วยปฏิปทาผิด ด้วย

ทางอันไม่นำออกจากทุกข์ เว้นจากสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท

อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระ

อรหันต์ย่อมไม่ปรารถนาความหมดจดด้วยมรรคอื่น.

[๒๒๓] คำว่า พระอรหันต์ย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่คลาย

กำหนัดเลย ความว่า พาลปุถุชนทั้งปวงย่อมกำหนัด พระอริยบุคคลผู้

เสขะ ๗ จำพวก ตลอดถึงกัลยาปุถุชน ย่อมคลายกำหนัด ส่วนพระอรหันต์

ย่อมกำหนัดหามิได้ ย่อมคลายกำหนัดก็หามิได้ เพราะพระอรหันต์นั้น

คลายกำหนัดแล้ว เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ โดยราคะสิ้นไปแล้วเพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 634

เป็นผู้ปราศจากโทสะ โดยโทสะสิ้นไปแล้ว เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ

โดยโมหะสิ้นไปแล้ว พระอรหันต์นั้นอยู่จบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว

ฯลฯ ภพใหม่มิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระอรหันต์

นั้น ย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่คลายกำหนัดเลย. เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด ย่อมไม่

สำคัญในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ

พระอรหันต์นั้นย่อมไม่ปรารถนาความหมดจดด้วยมรรคอื่น

ย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่คลายกำหนัดเลย ดังนี้.

จบ ชราสุตตนิทเทสที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 635

อรรถกถาชราสุตตนิทเทส

ในชราสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปฺป วต ชีวิต อท ความว่า ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย

นี้หนอน้อย คือ นิดหน่อย.

บทว่า ิติปริตฺตตาย สรสปริตฺตตาย มีนัยดังกล่าวแล้วแม้ใน

คุหัฏฐกสูตร.

บทว่า โอร วสฺสสตาปิ มิยฺยติ ความว่า ย่อมตายภายในร้อยปี

ในกาลเป็นกลละเป็นต้นก็มี.

บทว่า อติจฺจ ความว่าเกินร้อยปี.

บทว่า ชรสาปิ มิยฺยติ ความว่า ย่อมตายแม้เพราะชราความ

ต่อแต่นี้พึงถือเอาโดยนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถาคุหัฏฐกสูตรนั่นแล.

บทว่า อปฺป ได้แก่ น้อย.

บทว่า คมนี โย สมฺปราโย ความว่า พึงไปปรโลก. ชื่อว่า

กลละ ในบทว่า กลลกาเลปิ ในขณะปฏิสนธิเป็นกลละที่ใสแจ๋ว

ประมาณเท่าหยาดน้ำมัน ซึ่งติดอยู่ที่ปลายเส้นด้ายทำด้วยขนสัตว์ ๓ เส้น

ที่ท่านหมายกล่าวไว้ว่า :-

หยาดน้ำมันงา ใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัวฉันใด รูปที่มี

ส่วนเปรียบด้วย วรรณะ ก็ฉันนั่น เรียกว่า กลละ แม้

ในกาลเป็นกลละนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 636

บทว่า จวติ ความว่า เคลื่อนจากชีวิต.

บทว่า มรติ ความว่า ถึงความพรากจากชีวิต.

บทว่า อนฺตรธายติ ความว่า ถึงการเห็นไม่ได้.

บทว่า วิปฺปลุชฺชติ ความว่า ขาด อาจารย์บางพวกอธิบายอย่าง

นี้ว่าเคลื่อนในกำเนิดอัณฑชะ ตายในกำเนิดชลาพุชะ หายในกำเนิด

สังเสทชะสลายไปในกำเนิดโอปปาติกะ.

บทว่า อมฺพุทกาเลปิ ความว่า ชื่อว่า อัมพุทะ ย่อมมีสีเหมือน

น้ำล้างเนื้อ เมื่อเป็นกลละได้ ๗ วัน ชื่อว่า กลละ ย่อมหายไป สม

จริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

เป็นอัมพุทะได้ ๗ วัน สุกงอม พ้นสภาพ เปลี่ยน

ภาวะที่เป็นอัมพุทะนั้น เกิดเป็นสภาพชื่อว่า เปสิ แม้ใน

กาลเป็นเปสินั้น.

บทว่า เปสิกาเลปิ ความว่า เมื่อเป็นอัมพุทะแม้นั้นได้ ๗ วัน

ย่อมเกิดเป็นสภาพชื่อว่าเปสิเช่นกับดีบุกที่ละลายคว้าง เปสินั้น พึงแสดง

ด้วยพริกและน้ำอ้อย ก็พวกเด็กชาวบ้านเก็บพริกที่สุกดี ห่อที่ชายผ้า คั้น

เอายอดรสใส่กระเบื้องวางตากแดด ยอดรสนั้นจะแห้งเข้า ๆ พ้นจากส่วน

ทั้งปวง เปสิย่อมมีลักษณะอย่างนั้น ชื่อว่า อัมพุทะย่อมหายไป สม

จริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

เป็นกลละได้ ๗ วัน สุกงอม พ้นสภาพ เปลี่ยน

ภาวะที่เป็นกลละนั้นเกิดเป็นสภาพชื่อว่าอัมพุทะ แม้ใน

กาลเป็นอัมพุทะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 637

บทว่า ฆนกาเลปิ ความว่า เมื่อเป็นเปสิแม้นั้นได้ ๗ วันย่อม

บังเกิดก้อนเนื้อชื่อว่าฆนะมีสัณฐานเหมือนฟองไข่ไก่ ชื่อว่า เปสิย่อม

หายไป สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

เป็นเปสิได้ ๗ วัน สุกงอม พ้นสภาพ เปลี่ยน

ภาวะที่เป็นเปสินั้นสภาพชื่อว่า ฆนะ ฟองไข่ของแม่ไก่

เป็นวงราบโดยรอบฉันใดสัณฐานของฆนะบังเกิดเพราะ

กรรมเป็นปัจจัย ก็ฉันนั้น แม่ในกาลเป็นฆนะนั้น.

บทว่า ปญฺจสาขกาเลปิ ความว่า ในสัปดาห์ที่ ๕ เกิดต่อม ๕

ต่อม เป็นมือ ๒ เท้า ๒ ศีรษะ ๑ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่อม ๕ ต่อมย่อมตั้งขึ้นแต่กรรมในสัปดาห์ที่

๕ ดังนี้ แม้ในกาลเป็นสาขานั้น ต่อแต่นั้น พระสารีบุตรเถระย่อเทศนา

ข้ามสัปดาห์ที่ ๖ ที่ ๗ เป็นต้นไปเสีย ในกาลที่เปลี่ยนไป ๔๒ สัปดาห์

เป็นกาลเกิดขึ้นแห่งผมขนและเล็บเป็นต้นและสายรก ที่ตั้งขึ้นแต่นาภีของ

ทารกนั้นย่อมเนื่องเป็นอันเดียวกันกับด้วยพื้นอุทรของมารดา สายรกนั้น

เป็นรูคล้ายก้านบัว รสอาหารแล่นไปทามสายรกนั้น ยังรูปซึ่งมีอาหารเป็น

สมุฏฐานให้ตั้งขึ้น ทารกนั้นยังอัตภาพให้เป็นไปตลอด ๑๐ เดือนด้วย

อาการอย่างนี้พระเถระกล่าวว่า สูติฆเร มิได้กล่าวเรื่องทั้งปวงนั้นที่ท่าน

หมายกล่าวว่าผมขน และแม้เล็บ.

ก็มารดาของนระนั้น บริโภคอาหารใด ทั้งข้าวน้ำ

และโภชนะนระที่อยู่ในครรภ์มารดาย่อมยังอัตภาพให้เป็น

ไปในที่นั้น ด้วยอาหารนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 638

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สูติฆเร ความว่าในเรือนตลอด คือ

ในเรือนเป็นที่คลอด ปาฐะว่า สูติกาฆเร ก็มี ตัดบทเป็น สูติกาย.

บทว่า อฑฺฒมาสิโกปิ ความว่า ชื่อว่า อัทฒมาสกะ เพราะ

อรรถว่ามีชีวิตอยู่กึ่งเดือนตั้งแต่วันคลอด แม้ในบทว่ามีชีวิตอยู่ ๒ เดือน

เป็นต้นก็นัยนี้แหละ. ชื่อว่า สังวัจฉริกะ เพราะอรรถว่า มีชีวิตอยู่

๑ ปี ตั้งแต่วันเกิด แม้ในบทว่ามีชีวิตอยู่ ๒ ปี เป็นต้น เบื้องบนก็

นัยนี้แหละ.

บทว่า ยทาชิณฺโณ โหติ ความว่าในกาลใด มนุษย์เป็นผู้คร่ำ

คร่าเพราะชรา เป็นผู้เหี่ยวแห้ง.

บทว่า วุฑฺโฒ ความว่า เจริญวัย.

บทว่า มหลฺลโก ความว่า เป็นผู้ใหญ่โดยกำเนิด.

บทว่า อทฺธคโต ความว่าล่วงกาลทั้ง ๓.

บทว่า วโยอนุปฺปตฺโต ความว่า ถึงวัยที่ ๓ ตามลำดับ

บทว่า ขณฺฑทนฺโต ความว่า ชื่อว่ามีฟันหัก เพราะอรรถว่า

มีฟันร่วงและห่างในระหว่าง ๆ และฟันหัก ด้วยอานุภาพของชรา.

บทว่า ปลิตเกโส ความว่า มีผมขาว บทว่า วิลูน ความว่า

ล้านดุจเส้นผมถูกจับถอน.

บทว่า ปลิตสิโร ความว่า มีศีรษะล้านมาก.

บทว่า วลิน ความว่ารอยย่นที่เกิดเอง.

บทว่า ติลกาหตคตฺโต ความว่า มีสรีระเกลื่อนไปด้วยกระขาว

และกระดำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 639

บทว่า โภคฺโค ความว่า หักแล้วพระเถระแสดงความคดของสรีระ

นั้น แม้ด้วยบทนี้.

บทว่า ทณฺฑปรายโน ความว่า มีไม้เท้าเป็นที่พึ่งอาศัย คือมี

ไม้เท้าเป็นเพื่อน.

บทว่า โส ชรายปิ ความว่าบุคคลนั้นแม้ถูกชราครอบงำแล้วย่อม

ตาย.

บทว่า นตฺถิ มรณมฺหา โมกฺโข ความว่า อุบายเป็นเครื่อง

พ้นจากความตาย ไม่มี คือไม่เข้าไปได้.

บทว่า ผลานมิว ปกฺกาน ปาโต ปตนโต ภย ความว่า

เหมือนพวกเจ้าของผลไม้กลัวผลไม้สุกมีผลขนุนเป็นต้น ที่สุกงอมมีขั้วหย่อน

หล่นแน่ในเวลาเช้าตรู่ บทว่า เอว ชาตานมจฺจาน มิจฺจ มรณโต

ภย ความว่า เหล่าสัตว์ที่เกิดขึ้นแล้วมีภัยแต่ความตายกล่าวคือมัจจุ ตลอด

กาลที่เป็นไปติดต่อ ฉันนั้นเหมือนกัน.

บทว่า ยถาปิ กุมฺภการสฺส ความว่า ผู้กระทำภาชนะดิน ชื่อ

ฉันใด.

บทว่า กต มตฺติกภาชน ความว่า ภาชนะที่นายช่างนั้นให้

สำเร็จ บทว่า สพฺพ เภทปริยนฺต ความว่า ภาชนะดินที่เผาสุกและ

ไม่สุกทั้งหมด ชื่อว่ามีความแตกเป็นที่สุด เพราะอรรถว่ามีความแตก คือ

ทำลาย เป็นที่สุด คือจบลง.

บทว่า เอวมจฺจานชีวิต ความว่า อายุสังขารของสัตว์ทั้งหลาย

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 640

บทว่า ทหรา จ มหนฺตา จ ความว่า ทั้งหนุ่ม ทั้งแก่.

บทว่า เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา ความว่าทั้งคนโง่ที่มีชีวิต

เนื่องด้วยลมหายใจเข้าลมหายใจออกทั้งคนฉลาดที่ประกอบด้วยความเป็น

บัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น.

บทว่า สพฺเพ มจฺจุวส ยนฺติ ความว่า คนหนุ่มเป็นต้นทั้งหมด

ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงซึ่งอำนาจของมัจจุ.

บทว่า เตส มจฺจุปเรตาน ความว่า คนเหล่านั้นอันมัจจุแวด

ล้อมแล้ว.

บทว่า คจฺฉต ปรโลกโต ความว่า ไปจากมนุษยโลกนี้สู่ปรโลก.

บทว่า นปิตา ตายเต ปุตฺต ความว่า บิดาย่อมรักษาบุตรไว้

ไม่ได้.

บทว่า าตี วา ปน าตเก ความว่า หรือพวกญาติฝ่าย

มารดาบิดา ก็ไม่อาจรักษาญาติเหล่านั้นไว้ได้เลย.

บทว่า เปกฺขตญฺเว าตีน ความว่า เมื่อพวกญาติอย่างที่

กล่าวแล้วนั่นแล กำลังเพ่งดู คือแลดูกันอยู่นั่นแหละ.

บทว่า ปสฺส ลาลปฺปต ปุถุ ความว่า คำว่า ปสฺส เป็น

อาลปนะ. เมื่อพวกญาติกำลังรำพันกันอยู่คือบ่นเพ้อกันอยู่เป็นอันมาก คือ

มีประการต่าง ๆ.

บทว่า เอกมโกว มจฺจาน โควชฺโฌ วิย นิยฺยติ ความว่า

เหล่าสัตว์แต่ละคนอันมรณะนำไป คือให้ถึงความตาย เหมือนโคถูกนำ

ไปฆ่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 641

บทว่า เอว อพฺภาหโต โลโก ความว่า สัตว์โลกถูกนำมา

เป็นเครื่องประดับอย่างนี้เท่านั้น.

บทว่า มจฺจุนา จ ชราย จ ความว่า ความตายและความแก่

ครอบงำไว้.

บทว่า มมายิเต ความว่า เพราะเหตุแห่งวัตถุที่ถือว่าของเรา.

บทว่า วนาภาวสนฺตมวท ความว่า การยึดถือนี้มีความพลัดพราก

คือความพลัดพรากมีอยู่ทีเดียว ท่านอธิบายว่า ไม่อาจที่จะไม่พลัดพราก.

บทว่า โสจนฺติ ความว่า กระทำความเศร้าโศกด้วยจิตคืออาการ

เศร้าใจ.

บทว่า กิลมนฺติ ความว่า ถึงความลำบากด้วยกาย.

บทว่า ปรทวนฺติ ความว่า ถึงความบ่นเพ้อด้วยวาจามีอย่างต่าง ๆ.

บทว่า อุรตฺตาฬึ กนฺทนฺติ ความว่า ทุบอกชกตัวคร่ำครวญอยู่

บทว่า สมฺโมห อาปชฺชนฺติ ความว่า ถึงความหลงใหล.

บทว่า อนิจฺโจ ความว่า ด้วยอรรถว่ามีแล้วไม่มี.

บทว่า สงฺขโต ความว่า อันปัจจัยทั้งหลายประชุมกันกระทำ.

บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺโน ความว่า อาศัยคือไม่บอกคือสามัคคีที่

เป็นปัจจัย เกิดขึ้นร่วมกันและโดยชอบ.

บทว่า ขยธมฺโม ความว่า มีการถึงความสิ้นไปเป็นสภาพ.

บทว่า วยธมฺโม ความว่า มีการถึงความเสื่อมไปเป็นสภาพ อธิบาย

ว่ามีการถึงความทำลายเป็นสภาพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 642

บทว่า วิราคธมฺโม ความว่า มีความคลายกำหนัดเป็นสภาพ.

บทว่า นิโรธธมฺโน ความว่า มีความดับเป็นสภาพ.

บทว่า ยฺวาย ปริคฺคโห ความว่า ความยึดถือนี้ใด ปาฐะว่า

ยาย ปริคฺคโห ก็มี ตัดบทก็อย่างนี้แหละ.

บทว่า นิจฺโจ ความว่า เป็นไปตลอดกาลติดต่อ.

บทว่า ธุโว ความว่า มั่น.

บทว่า สสฺสโต ความว่า ไม่เคลื่อน.

บทว่า อวิปริณามธมฺโม ความว่า มีการไม่ละปกติเป็นสภาพ.

บทว่า สสฺสติสม ตเถว สฺสติ ความว่า พึงตั้งอยู่ เหมือน

ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ เขาสิเนรุ มหาสมุทร แผ่นดิน และภูเขาเป็นต้น.

บทว่า นานาภาโว ความว่า สภาพต่าง ๆ โดยกำเนิด.

บทว่า วินาภาโว ความว่า ความพลัดพรากเพราะความตาย.

บทว่า อญฺถาภาโว ความว่า ความเป็นอย่างอื่นโดยภพ.

บทว่า ปุริมาน ปุริมาน ขนฺธาน ความว่า ขันธ์ที่เกิดขึ้นใน

ก่อนติด ๆ กัน.

บทว่า วิปริณามญฺถาภาวา เชื่อมความว่า ขันธ์เป็นต้นหลัง ๆ

ละภาวะปกติแล้วเป็นไป คือเกิดขึ้นโดยภาวะอย่างอื่น.

บทว่า สพฺพ ฆราวาสปลิโพธ ความว่า รกชัฏในความเป็นคฤหัสถ์

ทั้งสิ้น.

บทว่า าติมิตฺตามจฺจปลิโพธ ความว่า ญาติฝ่ายมารดาบิดา

มิตร สหาย อำมาตย์ พวกหมู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 643

บทว่า สนฺนิธิปลิโพธ ความว่า ทิ้งรกชัฏในสมบัติที่เก็บฝังไว้.

บทว่า เกสมสฺสุ โอหาเรตฺวา ความว่า ปลงผมและหนวด.

บทว่า กาสายานิ วตฺถานิ ความว่า ผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด.

บทว่า มามโก ความว่า ถึงการนับว่าอุบาสกหรือภิกษุของเรา หรือ

นับถือวัตถุมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ว่าของเรา.

บทว่า เตส เตส สตฺตาน เป็นบทแสดงทั่วไปถึงเหล่าสัตว์มิใช่

น้อย ก็เมื่อกล่าวอยู่แม้ตลอดวันอย่างนี้ว่า ยัญทัตตาย โสมทัตตาย สัตว์

ทั้งหลายย่อมไม่ถือเอาเลย การแสดงอรรถอื่นทั้งปวงย่อมไม่สำเร็จ แต่คน

บางคนจะไม่ถือเอาด้วยบททั้งสองนี้ก็หามิได้ การแสดงอรรถอื่นบางอย่าง

จึงไม่สำเร็จ.

บทว่า ตมฺหา ตมฺหา นี้เป็นบทแสดงทั่วไปถึงหมู่สัตว์มิใช่น้อย

ด้วยสามารถแห่งคติ.

บทว่า สตฺตนิกายา ความว่า จากหมู่แห่งสัตว์ทั้งหลาย อธิบาย

ว่า จากกลุ่มสัตว์ จากประชุมแห่งสัตว์.

บทว่า จุติ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งความเคลื่อน บทนี้เป็นคำ

สามัญของจุติที่มีขันธ์ ๑ ขันธ์ ๔ และขันธ์ ๕.

บทว่า จวนตา แสดงถึงลักษณะด้วยคำแสดงภาวะ.

บทว่า เภโท แสดงถึงความเกิดขึ้นแห่งการแตกสลายของขันธ์.

บทว่า อนฺตรธาน แสดงถึงความไม่มีที่สุดโดยปริยายอย่างใดอย่าง

หนึ่งของขันธ์ที่แตกแล้ว ดุจหม้อแตก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 644

บทว่า มจฺจุมรณ ความว่า ความตายกล่าวคือมัจจุ มิใช่ตายชั่วขณะ

ผู้กระทำที่สุดชื่อว่ากาละ ชื่อว่า กาลกิริยา เพราะอรรถว่า กระทำกาละ

นั้น ความตายโดยสมมติ ท่านแสดงแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงโดยปรมัตถ์ พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวคำว่า

ขนฺธาน เภโท เป็นต้น.

ก็โดยปรมัตถ์ ขันธ์เท่านั้นแตก ชื่อว่า สัตว์ไม่มีใครตาย แต่เมื่อ

ขันธ์แตก สัตว์ย่อมตาย จึงมีโวหารว่า เมื่อขันธ์ทั้งหลายแตกแล้ว สัตว์

ตายแล้ว และในที่นี้ ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยสามารถแห่ง

จตุโวการะ และปัญจโวการะ การทอดทิ้งร่างกาย ย่อมมีด้วยสามารถแห่ง

เอกโวการะ อีกอย่างหนึ่ง ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยสามารถ

แห่งจตุโวการะเท่านั้น พึงทราบความทอดทิ้งร่างกาย ด้วยสามารถแห่ง

โวการะทั้งสองที่เหลือ. เพราะเหตุไร ? เพราะเกิดร่างกายกล่าวคือรูปกาย

ในกรรมภพทั้งสอง.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะขันธ์ทั้งหลายในจาตุมหาราชิกาเป็นต้น ย่อม

แตกไปเลย ไม่ทอดทิ้งอะไร ๆ ไว้ ฉะนั้น ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลายจึง

มีด้วยสามารถแห่งขันธ์เหล่านั้น มนุษย์เป็นต้นมีการทอดทิ้งร่างกาย ก็ใน

ที่นี้ท่านกล่าวมรณะว่า การทอดทิ้งร่างกาย เพราะเหตุแห่งการทอดทิ้ง

ร่างกาย ชื่อว่ามรณะย่อมมีแก่ร่างกายที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้น ด้วยบทว่า

ชีวิตินฺทริยสฺส อุปจฺเฉโท นี้ ร่างกายที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ย่อมไม่มี

มรณะ พระสารีบุตรเถระแสดงดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 645

ส่วนคำว่า นายบุษตาย นายดิษตาย เป็นเพียงโวหารเท่านั้น แต่

โดยเนื้อความคำทั้งหลายเห็นปานนี้ ย่อมแสดงถึงความสิ้นไปและความเสื่อม

ไปของข้าวกล้าเป็นต้นนั่นเอง.

บทว่า รูปคต ความว่า รูปคตะ คือรูปนั้นแหละ แม้ในบทว่า

เวทนาคต เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพว มจฺจ ความว่า โภคสมบัติ

ทั้งหลายย่อมละทิ้งสัตว์ไปก่อนกว่านั่นเทียวบ้าง สัตว์ย่อมละโภคสมบัติทั้ง

หลายไปก่อนกว่าบ้าง พระเถระเรียกขุนโจรว่า ผู้ใคร่กาม ความว่า แน่ะ

ผู้ใคร่กามผู้เจริญ พวกชนผู้มีกามโภคะทั้งหลายมิได้เที่ยวในโลก เมื่อโภคะ

ทั้งหลายฉิบหายไป เป็นอยู่ไม่มีโภคะบ้าง ละโภคะทั้งหลาบฉิบหายเองบ้าง

เพราะฉะนั้น แม้ในเวลาที่มหาชนเศร้าโศก เราจึงไม่เศร้าโศก พระเถระ

เรียกขุนโจรด้วยคำว่า ดูก่อนศัตรู โลกธรรมทั้งหลายเรารู้แล้ว ความว่า

แน่ะศัตรูผู้เจริญ โลกธรรม เป็นต้นว่า ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ

เรารู้แล้ว เหมือนอย่างว่า ดวงจันทร์ย่อมขึ้น ย่อมเต็มดวง และย่อมลับไป

และดวงอาทิตย์ส่องแสงไปยังประเทศทั่วโลกใหญ่กำจัดความยึด เวลาเย็น

ก็หนีลับไป คืออัสดงคต ไม่ปรากฏอีกฉันใด โภคสมมติทั้งหลายย่อมเกิด

ขึ้นด้วย ย่อมฉิบหายไปด้วย ฉันนั้นเหมือนกัน เศร้าโศกในเพราะ

โภคสมบัตินั้นจะได้ประโยชน์อะไร เพราะฉะนั้นเราจึงไม่เศร้าโศก.

บทว่า ตณุหามญฺนาย มญฺติ ความว่า ย่อมสำคัญ คือการทำ

ความนับถือ ด้วยความสำคัญ ด้วยมานะที่ให้เกิดด้วยตัณหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 646

บทว่า ทิฏิมญฺนาย ความว่า ด้วยความสำคัญที่เกิดขึ้น กระทำ

ทิฏฐิให้เป็นอุปนิสัย.

บทว่า มานมญฺนาย ความว่า ด้วยความสำคัญด้วยมานะที่เกิด

ร่วมกัน.

บทว่า กิเลสมญฺนาย ความว่า ย่อมสำคัญด้วยความสำคัญ ด้วย

กิเลส ด้วยอรรถว่าเข้าไปทรมานตัวเอง ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว.

บทว่า กุหา ความว่า ทำให้ประหลาด.

บทว่า ถทฺธา ความว่า กระด้างเหมือนตอไม้.

บทว่า ลปา ความว่า พูดพล่อยด้วยปัจจัยนิมิต.

บทว่า สงฺคต ความว่า สิ่งที่มาประจวบ คือสิ่งที่เห็นแล้ว หรือ

แม้ถูกต้องแล้ว.

บทว่า ปิยายิต ความว่า การทำให้เป็นที่รัก.

บทว่า สงฺคต ความว่า อยู่พร้อมหน้า.

บทว่า สมาคต ความว่า มาใกล้.

บทว่า สมาหิต ความว่า เป็นอันเดียวกัน.

บทว่า สนฺนิปติต ความว่า ประมวลไว้.

บทว่า สุปินคโต ความว่า เข้าไปแล้วสู่ความฝัน.

บทว่า เสนาวิยูห ปสฺสติ ความว่า เห็นการตั้งค่ายของเสนา.

บทว่า อารามรามเณยฺยก ความว่า ความน่ารื่นรมณ์แห่งสวน

ดอกไม้เป็นต้น.

แม้ในบท วนรามเณยฺยก เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 647

บทว่า เปต ความว่า จากโลกนี้ไปสู่ปรโลก.

บทว่า กาลกต ความว่า ตายแล้ว.

บทว่า นามเมวาวสิสฺสติ อกฺเขยฺย ความว่า ธรรมชาติมีรูป

เป็นต้นทั้งหมดอันบุคคลละไป เหลือแต่เพียงชื่อเท่านั้น เพื่อนับคือเรียก

อย่างนี้ว่า พุทธรักขิต ธรรมรักขิต.

บทว่า เย จกฺขุวิญฺาณาภิสมฺภูตา ความว่า รูปที่ทราบกันได้

ด้วยจักขุวิญญาณ มีสุมุฏฐาน ๔ ที่ทำให้เป็นกองเห็นแล้ว.

บทว่า โสตวิญฺาณาภิสมฺภูตา ความว่า เสียงที่มีสมุฏฐาน ๒

ที่ทำให้เป็นกองไว้ได้ฟังแล้วด้วยโสตวิญญาณซึ่งกองแต่อื่น.

บทว่า มุนโย ได้แก่มุนีผู้เป็นขีณาสพ.

บทว่า เขมทสฺสิโน ความว่า เห็นพระนิพพาน. ในโสกนิทเทส

บทว่า โสโก มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่า พยสนะ เพราะอรรถว่า

เสื่อม อธิบายว่า ซัดไป คือกำจัดประโยชน์เกื้อกูลและความสุข ความ

เสื่อมแห่งญาติ ชื่อญาติพยสนะ อธิบายว่า เพราะโจรโรคภัยเป็นต้น จึง

สิ้นญาติเสื่อมญาติ เพราะความเสื่อมแห่งญาตินั้น.

บทว่า ผุฏสฺส ความว่า ท่วมทับ คือ ครอบงำ ประจวบ แม้

ในบทที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ความแปลกกันดังนี้ ความเสื่อม

แห่งโภคะทั้งหลาย ชื่อโภคพยสนะ อธิบายว่า เพราะราชภัยและโจรภัยเป็น

ต้น โภคะจึงสิ้นไปพินาศไป, ความเสื่อมคือโรค ชื่อโรคพยสนะ ด้วยว่า

โรคทำความไม่มีโรคให้ฉิบหายไปพินาศไป ฉะนั้นจึงชื่อว่าพยสนะ. ความ

เสื่อมแห่งศีล ชื่อสีลพยสนะ บทนี้เป็นชื่อของความทุศีล. ความเสื่อมคือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 648

ทิฏฐิที่เกิดขึ้นทำสัมมาทิฏฐิให้พินาศไป ชื่อทิฏฐิพยสนะ. ก็ในที่นี้ ความ

เสื่อม ๒ อย่างแรกสำเร็จ ๓ อย่างหลังไม่สำเร็จ ถูกกำจัดด้วยไตรลักษณ์

และความเสื่อม ๓ อย่างแรก เป็นกุศลก็ไม่ใช่ เป็นอกุศลก็ไม่ใช่ ความ

เสื่อมแห่งศีลและทิฏฐิทั้งสองเป็นอกุศล.

บทว่า อญฺตรญฺตเรน ความว่า อันความเสื่อมแห่งมิตรและ

อำมาตย์เป็นต้น ที่ยึดถือก็ตามไม่ยึดถือก็ตาม อย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า สมนฺนาคตสฺส ความว่า ตามผูกพัน คือไม่พ้นไป.

บทว่า อญฺตรญฺตเรน ทุกฺขธมฺเมน ความว่า อันอุบัติเหตุ

แห่งทุกข์คือความโศกอย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า โสโก ความว่า ชื่อว่าความโศก ด้วยสามารถแห่งความ

เศร้าโศก บทนี้เป็นสภาวะเฉพาะตนแห่งความโศกที่เกิดขึ้นด้วยเหตุเหล่านี้.

บทว่า โสจนา ได้แก่ อาการที่เศร้าโศก.

บทว่า โสจิตตฺต ได้แก่ ความเป็นผู้เศร้าโศก.

บทว่า อนฺโตโสโก ได้แก่ ความเศร้าโศกในภายใน ท่านขยาย

บทที่ ๒ ด้วยอุปสรรค ด้วยว่าความเศร้าโศกนั้นเกิดขึ้นทำภายในให้แห้ง

ให้แห้งรอบ ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า ความเศร้าโศกในภายใน ความเศร้า

โศกรอบในภายใน.

บทว่า อนฺโตฑาโห ได้แก่ ความเร่าร้อนในภายใน ท่านขยาย

บทที่ ๒ ด้วยอุปสรรค.

บทว่า เจตโส ปริชฺฌายนา ได้แก่ อาการคือความตรอมตรม

แห่งจิต ด้วยว่าความเศร้าโศกเมื่อเกิดขึ้น ย่อมยังจิตให้ไหม้ คือเผาจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 649

เหมือนไปทำให้พูดว่า จิตของเราถูกเผาอยู่ อะไร ๆ ไม่แจ่มแจ้งแก่เรา ใจ

ถึงทุกข์ ชื่อว่าทุกข์ใจ ภาวะแห่งทุกข์ใจ ชื่อว่าโทมนัส ลูกศรคือความ

เศร้าโศก ด้วยอรรถว่าเข้าไปโดยลำดับ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ลูกศรคือความ

เศร้าโศก.

ในปริเทวนิทเทสมิวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่า อาเทวะ เพราะ

อรรถว่า เป็นเหตุเพ้อคือร้องให้ถึงอย่างนี้ว่า ธิดาของฉัน บุตรของฉัน.

ชื่อว่า ปริเทวะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุที่เพ้อสรรเสริญคุณนั้น ๆ. บท ๒

คู่นอกจากนั้น ท่านกล่าวด้วยสามารถแสดงไขภาวะแห่งอาการของ ๒ บท

แรกนั่นเอง.

บทว่า วาจา ได้แก่ คำพูด.

บทว่า ปลาโป ได้แก่ คำพูดที่เปล่าคือไร้ประโยชน์. ชื่อว่า วิป-

ปลาปะ เพราะอรรถว่า ความบ่นเพ้อแปลก ๆ ด้วยสามารถกล่าวนอก

เรื่องและกล่าวเรื่องอื่น ๆ.

บทว่า ลาลปฺโป ได้แก่ เพ้อบ่อย ๆ. อาการพร่ำเพ้อชื่อ ลาลัปปนา.

ความเป็นแห่งผู้พร่ำเพ้อ ชื่อว่าความเป็นผู้พร่ำเพ้อ. ความตระหนี่เป็นต้น

มีเนื้อความได้กล่าวไว้ทั้งนั้น.

คาถาที่ ๗ ท่านกล่าวเพื่อแสดงข้อปฏิบัติอันสมควรในโลกที่ถูกมรณะ

กำจัดอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิลีนจรสฺส ความว่าผู้ประพฤติทำ

จิตหลีกเร้นจากอารมณ์นั้น ๆ.

บทว่า ภิกฺขุโน ได้แก่ กัลยาณปุถุชนบ้าง เสขบุคคลบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 650

บทว่า สามคฺคิยมาหุ ตสฺส ต โย อตฺตาน ภวเน น ทสฺสเย

ความว่า ภิกษุใดปฏิบัติอย่างนี้ ไม่พึงแสดงตนในภพต่างโดยนรกเป็นต้น

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนนั้นของภิกษุนั้นว่าสมควร. อธิบายว่า

ด้วยว่าภิกษุนั้นพึงพ้นจากมรณะนี้ ด้วยอาการอย่างนี้.

บทว่า ปฏิลีนจรา วุจฺจนฺติ ความว่า เรียกว่า ผู้ประพฤติโดย

เอื้อเฟื้อซึ่งจิตละอายแต่อารมณ์นั้น ๆ.

บทว่า สตฺต เสกฺขา ความว่า ชื่อว่า เสขบุคคล ๗ จำพวก

ตั้งต้นแต่ผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค เพราะ

อรรถว่า ศึกษาในสิกขา ๓ มีอธิศีลสิกขาเป็นต้น.

บทว่า อรหา ได้แก่ ผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น. ผู้ตั้งอยู่ในอรหัตต-

ผลนั้น ชื่อว่า หลีกเร้นเพราะเสร็จกิจแล้ว.

พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงเหตุในความประพฤติหลีกเร้นของพระ

เสขะทั้งหลาย จึงกล่าวว่า กึการณา เป็นต้น.

บทว่า เต ตโต ตโต ความว่า พระเสขะ ๗ จำพวกเหล่านั้น

ยังจิตให้หลีกเร้น จากอารมณ์นั้น ๆ.

บทว่า จิตต ปฏิลีเนนฺตา ความว่า ยังจิตของตนให้หลีกเร้น.

บทว่า ปฏิกุฏฺเฏนฺตา ความว่า ให้หด.

บทว่า ปฏิวฏฺเฏฺนฺตา ความว่า ม้วนเหมือนเสื่อรำแพน.

บทว่า สนฺนิรุทฺธนฺตา ความว่า กีดขวาง

บทว่า สนฺนิคฺคณฺหนฺตา ความว่า ทำซึ่งการข่ม.

บทว่า สนฺนิวาเรนฺตา ความว่า ห้าม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 651

บทว่า รกฺขนฺตา ความว่า ทำการรักษา.

บทว่า โคเปนฺตา ความว่า คุ้มครองไว้ในหีบคือจิต.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงด้วยสามารถแห่งทวาร พระสารีบุตรเถระจึงกล่าว

ว่า จกฺขุทฺวาเร เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺขุทฺวาเร ได้แก่ ทวารคือจักขุ-

วิญญาณ. แม้ในโสตทวารเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า ภิกฺขุโน ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชนบ้าง ภิกษุผู้เป็น

เสขบุคคลบ้าง ฉะนั้นพระเถระจึงไม่กล่าวเนื้อความแห่งคำของศัพท์ว่าภิกษุ

แสดงภิกษุที่ประสงค์เอาในที่นี้เท่านั้น.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าปุถุชน เพราะยังถอนกิเลส

ทั้งหลายไม่ได้และชื่อว่ากัลยาณะ เพราะประกอบด้วยข้อปฏิบัติมีศีลเป็นต้น

ฉะนั้นจึงชื่อว่า กัลยาณปุถุชน กัลยาณปุถุชนนั่นแหละ ชื่อว่าผู้เป็น

กัลยาณปุถุชน แห่งภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชนนั้น.

ชื่อว่า เสขะ เพราะอรรถว่า ศึกษาอธิศีลเป็นต้น แห่งภิกษุนั้น

ผู้เป็นเสขะบ้าง คือผู้เป็นพระโสดาบันบ้าง พระสกทาคามีบ้าง พระอนาคา

มีบ้าง.

ชื่อว่า อาสนะ เพราะอรรถว่า เป็นที่นั่ง คือจมลง.

บทว่า ยตฺถ ได้แก่ ในอาสนะเหล่าใดมีเตียงและตั่งเป็นต้น.

บทว่า มญฺโจ เป็นต้น เป็นคำแสดงประเภทของอาสนะ แม้เตียง

ท่านก็กล่าวไว้ในอาสนะทั้งหลายในที่นี้ เพราะเป็นโอกาสแม้สำหรับนั่ง

ก็เตียงนั้น เป็นเตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา เตียงมีแม่แคร่เนื่องเป็นอันเดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 652

กันกับขาเตียงมีขาเหมือนปู. และเตียงมีขาจดแม่แคร่ อย่างใดอย่างหนึ่ง

แม้ตั่งก็เป็นตั่งแบบนั้น อย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง.

บทว่า ภิสิ ได้แก่ เบาะขนสัตว์ เบาะผ้า เบาะเปลือกไม้ เบาะ

หญ้า และเบาะใบไม้ อย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า ตฏฏิกา ได้แก่ เสื่อที่ทอด้วยใบตาลเป็นต้น.

บทว่า จมฺมกฺขณฺโฑ ได้แก่ ท่อนหนังอย่างใดอย่างหนึ่งที่ควร

แก่การนั่ง เครื่องลาดทำด้วยหญ้าเป็นต้น ได้แก่เครื่องลาดที่ถักด้วยหญ้า

เป็นต้น.

บทว่า อสปฺปายรูปทสฺสเนน ความว่าจากการแลดูรูปที่ปรารถนา

อันไม่เป็นที่สบาย.

บทว่า วิตฺต ความว่า ว่างจากภายใน.

บทว่า วิวิตฺต ความว่า เปล่าจากการเข้าไปแต่ภายนอก.

บทว่า ปวิวิตฺต ความว่า เปล่าเป็นอดิเรกว่า ไม่มีคฤหัสถ์ไร ๆ

ในที่นั้น แม้ในการได้ยินเสียงไม่เป็นที่สบาย ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า ปญฺจหิ กามคุเณหิ ความว่า จากส่วนแห่งกาม ๕ คือ

รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะของหญิง สมจริงดังที่ท่านกล่าว

ไว้ว่า :-

กามคุณ ๕ ในโลก คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ

โผฏฐัพพะที่น่ารื่นรมย์ เห็นได้ในร่างของหญิง.

บทว่า ภชโต ความว่า ทำการเสพด้วยจิต.

บทว่า สมฺภชโต ความว่า เสพโดยชอบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 653

บทว่า เสวโต ความว่า เข้าไปหา.

บทว่า นิเสวโต ความว่า เสพเป็นที่อาศัย.

บทว่า สเสวโต ความว่า เสพด้วยดี.

บทว่า ปฏิเสวโต ความว่าเข้าไปหาบ่อย ๆ.

บทว่า คณสามคฺคี ได้แก่ความที่สมณะทั้งหลายเป็นอันหนึ่งอันเดียว

กัน คือพร้อมเพรียงกัน.

บทว่า ธมฺมสามคฺคี ได้แก่ความประชุมแห่งโพธิปักขิยธรรม ๓๗

ประการ.

บทว่า อนภินิพฺพตฺติสามคฺคี ได้แก่ ประชุมแห่งพระอรหันต์

ทั้งหลายผู้ไม่บังเกิด คือไม่เกิดขึ้น ผู้ปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน

ธาตุ.

บทว่า สมคฺคา ความว่า ไม่แยกกันทางกาย.

บทว่า สมฺโนทมานา ความว่า มีจิตบันเทิง คือยินดีด้วยดี.

บทว่า อวิวทมานา ความว่า ไม่กระทำการวิวาทกันด้วยวาจา.

บทว่า ขีโรทกีภูตา ความว่า เป็นเช่นกับน้ำผสมด้วยน้ำนม.

บทว่า เต เอกโต ปกฺขนฺทนฺติ ความว่า ธรรมเหล่านั้น คือ

โพธิปักขิยธรรม ย่อมเข้าไปสู่อารมณ์เดียวกัน.

บทว่า ปสีทนฺติ ความว่า ย่อมถึงความผ่องใสในอารมณ์นั้นนั่นแล.

บทว่า อนุปาทิเสสาย ความว่า เว้นจากอุปาทาน.

บทว่า นิพฺพานธาตุยา ความว่า ด้วยอมตมหานิพพานธาตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 654

ในบทว่า โอนตฺต วา นี้ ความพร่อง ชื่อว่าโอนัตตะ อธิบายว่า

ความไม่สมบูรณ์.

บทว่า ปุณฺณตฺต วา ความว่า ความบริบูรณ์ ชื่อว่าปุณณัตตะ

อธิบายว่า หรือความเต็มย่อมไม่ปรากฏ คือไม่มี.

บทว่า เนรยิกาน ความว่า ชื่อว่าเนรยิกา สัตว์นรก เพราะอรรถ

ว่า ควรกะนรก เพราะความที่มีกรรมให้บังเกิดในนรกของสัตว์นรกเหล่า

นั้น.

บทว่า นิรโย ภวน ความว่า นรกนั่นแลเป็นที่อยู่ คือเป็นเรือน

ของสัตว์นรกเหล่านั้น.

แม้ในบทว่า ติรจฺฉานโยนิกาน เป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า ตสฺเสสา สามคฺคี ความว่า การไม่แสดงตนนั้นของภิกษุ

นั้น คือของพระขีณาสพ เป็นนิพพานสามัคคี.

บทว่า เอต ฉนฺน ความว่า ข้อนั้นเป็นการสมควร.

บทว่า ปฏิรูป ความว่า เช่นกัน มีส่วนเปรียบเทียบ คือมิใช่ไม่

เช่นกัน ไม่มีส่วนเปรียบเทียบ.

บทว่า อนุจฺฉวิก ความว่า ข้อนั้นสมควรแก่ธรรมที่ทำให้เป็น

สมณะบ้าง แก่ธรรมที่เป็นคำสอนเกี่ยวด้วยมรรคผลนิพพานบ้าง (ย่อม

คล้อยตาม ไปตามความดีงาม) เพราะความสมควรแก่ธรรมเหล่านั้นด้วย

ธรรมเหล่านั้นแต่ที่ใกล้นั่นเองโดยแท้แล ข้อนั้นเป็นอนุโลมและย่อมอนุโลม

แก่ธรรมเหล่านั้น เพราะสมควรนั่นเอง มิได้ตั้งอยู่ในความเป็นข้าศึกที่ขัด

แย้งเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 655

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระกล่าวคาถา ๓ คาถา ต่อจากนี้ เพื่อจะกล่าว

สรรเสริญพระขีณาสพที่ท่านสรรเสริญไว้อย่างนี้ว่า โย อตฺตาน ภวเน น

ทสฺสเย ดังนี้.

บรรดาคาถา ๓ คาถาเหล่านั้น คาถาแรกมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สพฺพตฺถ ความว่า ในอายตนะ ๑๒. ในนิทเทสว่า น ปิย

กุพฺพติ โนปิ อปฺปิย มีความว่า :-

บทว่า ปิยา ความว่า กระทำปีติในใจ.

พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงสัตว์และสังขารเหล่านั้นเป็นส่วน ๆ จึง

กล่าวว่า กตเม สตฺตา ปิยา อิธ ยสฺส เต โหนฺติ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส เต ตัดบทเป็น เย อสฺส เต

ความว่า สัตว์เหล่านั้น.

บทว่า โหนฺติ ความว่า เป็น.

บทว่า อตฺถกามา ความว่า ผู้ใคร่ความเจริญ.

บทว่า หิตถามา ความว่า ผู้ใคร่ความสุข.

บทว่า ผาสุกามา ความว่า ผู้ใคร่อยู่เป็นสุข.

บทว่า โยคกฺเขมกามา ความว่า ผู้ใคร่ความเกษม คือปลอดภัย

จากโยคะ ๔.

ชื่อว่า มารดา เพราะอรรถว่า ถนอมรัก.

ชื่อว่า บิดา เพราะอรรถว่า ประพฤติน่ารัก.

ชื่อว่า พี่น้องชาย เพราะอรรถว่า คบกัน.

แม้ในบทว่า ภคินี นี้ก็นัยนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 656

ชื่อว่า บุตร เพราะอรรถว่า ทำสกุลให้บริสุทธิ์ คือรักษาวงศ์สกุล.

ชื่อว่า ธิดา เพราะอรรถว่า ดำรงวงศ์สกุลไว้.

มิตร ได้แก่สหาย. อามาตย์ ได้แก่คนเลี้ยงดู. ญาติ ได้แก่ญาติ

ฝ่ายบิดา. สาโลหิต ได้แก่ญาติฝ่ายมารดา.

บทว่า อิเม สตฺตา ปิยา ความว่า สัตว์เหล่านั้นยังปีติให้เกิด สัตว์

เป็นที่ชัง พึงทราบโดยปริยายตรงกัน ข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

ก็ในบทว่า ยทิท ทิฏฺสุต มุเตสุ วา นี้ พึงทราบการเชื่อมความ

อย่างนี้ว่า มุนีย่อมไม่เข้าไปติดในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรือธรรมารมณ์

ที่ทราบ ฉันนั้น.

บทว่า อุทกเถโว ได้แก่ หยดแห่งน้ำ ปาฐะว่า อุทกตฺเถวโก

ดังนี้ก็มี.

บทว่า ปทุมปตฺเต ได้แก่ บนใบบัว.

แม้ในบทว่า โธโน น หิ เตน มญฺติ ยทิท ทิฏฺสุต มุเตสุ

วา นี้ก็พึงทราบการเชื่อมความอย่างนี้เหมือนกันว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญา

เป็นเครื่องกำจัดย่อมไม่สำคัญด้วยวัตถุที่เห็นหรือที่ได้ยินนั้น หรือย่อมไม่

สำคัญในธรรมารมณ์ทั้งหลายที่ทราบ.

บทว่า น หิ โส รชฺชติ โน วิรชฺชติ ความว่า ย่อมไม่กำหนัด

นัก เหมือนพาลปุถุชน ย่อมไม่คลายกำหนัด เหมือนกัลยาณปุถุชน

และเสขบุคคล แต่ย่อมถึงการนับว่า เป็นผู้คลายกำหนัดแล้ว เพราะมีราคะ

สิ้นแล้ว บทที่เหลือปรากฏแล้วทั้งนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 657

บทว่า ตาย ปญฺาย กายทุจฺจริต ความว่า พระโยคีกำหนด

สิ่งที่ควรกำหนด ด้วยปัญญาอันเป็นสัมมาทิฏฐินั้น หรือด้วยปัญญาอันเป็น

ส่วนเบื้องต้นนั่นเอง กำจัดกายทุจริต ๓ อย่างด้วยสามารถแห่งการตัดขาด.

ก็บุคคลนี้เมื่อกำจัดวิปันนธรรมในเทศนาธรรมทั้งหลาย เป็นบุคคลผู้มีความ

พร้อมเพรียงด้วยธุตธรรม จึงชื่อว่าย่อมกำจัด ก็ผู้ใช้ปัญญาเป็นเครื่องกำจัด

ธรรมเหล่านั้น เริ่มที่จะกำจัดในขณะที่เป็นปัจจุบันของตน ท่านเรียกว่า

ผู้กำจัด เหมือนคนที่เริ่มบริโภค เขาเรียกว่า ผู้บริโภค อนึ่ง พึงทราบ

ลักษณะโดยศัพท์ศาสตร์ในที่นี้.

บทว่า ธุต เป็นกัตตุสาธนะ กำจัดด้วยโสดาปัตติมรรค. ล้างด้วย

สกทาคามิมรรค. ชำระด้วยอนาคามิมรรค. ซักฟอกด้วยอรหัตตมรรค.

บทว่า โธโน ทิฏฺ น มญฺติ ความว่า พระอรหันต์ย่อม

ไม่สำคัญรูปายตนะที่เห็นด้วยมังสจักษุก็ตาม ด้วยความสำคัญ ๓ อย่าง

อย่างไร ? พระอรหันต์ไม่เห็นรูปายตนะด้วยสุภสัญญาและสุขสัญญา. ย่อม

ไม่ยังฉันทราคะให้เกิดในรูปายตนะนั้น. ไม่ยินดี ไม่เพลิดเพลินรูปายตนะ

นั้น. พระอรหันต์ย่อมไม่สำคัญรูปที่เห็นด้วยความสำคัญด้วยตัณหา อย่างนี้.

ก็หรือว่าพระอรหันต์ไม่หวังความเพลิดเพลินในรูปายตนะนี้ว่า รูป

ของเราในอนาคตกาลพึงเป็นดังนี้ หรือเมื่อหวังรูปสมมติ ไม่ให้ทาน ไม่

สมาทานศีล ไม่กระทำอุโบสถกรรม พระอรหันต์ย่อมไม่สำคัญรูปที่เห็น

ด้วยความสำคัญด้วยตัณหา อย่างนี้ก็มี ก็พระอรหันต์มิได้อาศัยสมาบัติและ

วิบัติแห่งรูป ทั้งของตนและคนอื่นยังมานะให้เกิดว่า เราประเสริฐกว่าผู้นี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 658

บ้าง เราเสมอผู้นี้บ้าง เราเลวกว่าผู้นี้บ้าง. พระอรหันต์ย่อมไม่สำคัญรูปที่

เห็น ด้วยความสำคัญด้วยมานะอย่างนี้. ก็พระอรหันต์ย่อมไม่สำคัญ

รูปายตนะว่าเที่ยง ยั่งยืน แน่นอน ไม่สำคัญคนว่ามีด้วยตน ไม่สำคัญสิ่งไม่

เป็นมงคลว่าเป็นมงคล. พระอรหันต์ย่อมไม่สำคัญรูปที่เห็น ด้วยความ

สำคัญด้วยทิฏฐิ อย่างนี้.

บทว่า ทิฏฺสฺมึ น มญฺติ ความว่า เมื่อไม่สำคัญตนในรูป

โดยนัยแห่งการพิจารณาเห็น ชื่อว่าย่อมไม่สำคัญในรูปที่เห็น พระอรหันต์

เมื่อไม่สำคัญว่ากิเลสมีราคะเป็นต้นในรูป เหมือนน้ำนมในถัน ชื่อว่าย่อม

ไม่สำคัญในรูปที่เห็น.

ก็ความสำคัญด้วยตัณหาและมานะ พึงทราบว่า ไม่มีแก่พระอรหันต์

นั้นผู้ไม่ยังสิเนหาและมานะให้เกิดขึ้นในวัตถุที่คนไม่สำคัญ ด้วยความสำคัญ

ด้วยทิฏฐินั้นแหละ พระอรหันต์ย่อมไม่สำคัญ ในรูปที่เห็นอย่างนี้.

ก็บทว่า ทิฏฺโต ในบททั้งหลายว่า ทิฏฺโต น มญฺติ นี้เป็น

ปัญจมีวิภัตติ. เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เมื่อไม่สำคัญอุบัติหรือความเข้าถึงแต่

รูปที่เห็นมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว ของตนก็ตามของผู้อื่นก็ตามพร้อมทั้ง

อุปกรณ์ หรือว่าตนเป็นอื่นจากรูปที่เห็น พึงทราบว่า ไม่สำคัญแต่รูปที่

เห็น พระอรหันต์นั้นไม่มีความสำคัญด้วยทิฏฐินี้ แม้ความสำคัญด้วยตัณหา

และมานะพึงทราบว่า ไม่มีแก่พระอรหันต์นั้นผู้ไม่ยังสิเนหาและมานะให้

เกิดขึ้นในวัตถุที่ตนไม่สำคัญด้วยความสำคัญด้วยทิฏฐินั้นแหละ.

ก็ในบทว่า ทิฏฺิ เมติ น มญฺติ นี้ ความว่า พระอรหันต์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 659

ไม่ยึดถือเป็นของเรา ด้วยสามารถแห่งตัณหาว่า นั่นของเรา ย่อมไม่สำคัญ

รูปที่เห็นด้วยความสำคัญด้วยตัณหา.

บทว่า สุต ความว่า ได้ยินดีด้วยมังสโสตก็ตาม ได้ยินด้วยทิพโสต

ก็ตาม บทนี้เป็นชื่อแห่งสัททายตนะ.

บทว่า มุต ความว่า เข้าไปจดอารมณ์ที่ทราบและนับแล้วถือเอา

ท่านอธิบายไว้ว่า อารมณ์แห่งอินทรีย์ทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้น

ด้วยสังกิเลส บทนี้เป็นชื่อแห่งคันธายตนะ รสายตนะและโผฏฐัพพายตนะ.

บทว่า วิญฺาต ความว่า รู้แจ้งด้วยใจ บทนี้เป็นชื่อแห่งอายตนะ

๗ ที่เหลือ แม้ธรรมารมณ์ในที่นี้ ก็ย่อมได้อารมณ์ที่เนื่องด้วยสักกายทิฏฐิ

นั่นแล ส่วนความพิสดารในข้อนี้ พึงทราบตามนี้ที่กล่าวแล้วในทิฏฐวาระ.

ในบัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงด้วยสามารถแห่งสูตรที่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ จึงกล่าวคำว่า อสฺมีติ ภิกฺขเว เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺมิ ความว่า มีอยู่ บทนี้เป็นชื่อ

ของความเที่ยง.

บทว่า มญฺิตเมต ความว่า ข้อนั้นเป็นเครื่องกำหนดด้วยทิฏฐิ.

บทว่า มม อหมสฺมิ ความว่า เรามีอยู่ คือเป็นอยู่แก่เรา.

บทว่า อญฺตฺร สติปฏฺาเนหิ ความว่า เว้นสติปัฏฐาน ๔.

บทว่า สพฺเพ พาลปุถุชฺชนา รชฺชนฺติ ความว่า ชนต่าง ๆ

ผู้เป็นอันธพาลทั้งสิ้นย่อมติด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 660

บทว่า สตฺต เสกฺขา วิรชฺชนฺติ ความว่า อริยชน ๗ จำพวก

มีพระโสดาบันเป็นต้น ย่อมถึงความคลายกำหนัด.

บทว่า อรหา เนว รชฺชติ โน วิรชฺชติ ความว่า ด้วยว่า

พระอรหันต์ย่อมไม่ทำทั้งสองอย่าง เพราะกิเลสทั้งหลายดับสนิทแล้ว.

บททั้ง ๓ ว่า ขยา ราคสฺส เป็นต้น คือพระนิพพานนั่นแล.

สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถา มหานิทเทส

อรรถกถา ชราสุตตนิทเทส

จบ สูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 661

ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทสที่ ๗

[๒๒๔] ท่านพระติสสเมตเตยยะ กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก

ซึ่งความคับแค้นของบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุน-

ธรรม พวกข้าพระองค์ได้ฟังคำสอนของพระองค์แล้ว จัก

ศึกษาในวิเวก.

ว่าด้วยเมถุนธรรม

[๒๒๕] คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนื่อง ๆ ในเมถุนธรรม

ความว่า ชื่อว่า เมถุนธรรม ได้แก่ ธรรมของอสัตบุรุษ ธรรมของชาว

บ้าน ธรรมของคนเลว ธรรมชั่วหยาบ ธรรมมีน้ำเป็นที่สุด ธรรมอัน

พึงทำในที่ลับ ธรรมคือความถึงพร้อมด้วยธรรมของคนคู่กัน.

เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าเมถุนธรรม ? เพราะเป็นธรรมของคนทั้งสอง

ผู้กำหนัด กำหนัดกล้า ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้น มีจิตอันราคะ

ครอบงำ เป็นเช่นเดียวกันทั้งสองคน เพราะเหตุดังนี้นั้น จึงเรียกว่า

เมถุนธรรม.

คน ๒ คนทำความทะเลาะกัน เรียกว่าคนคู่, คน ๒ คนทำความ

มุ่งร้ายกัน เรียกว่าคนคู่, คน ๒ คนทำความอื้อฉาวกัน เรียกว่าคนคู่,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 662

คน ๒ คนทำความวิวาทกัน เรียกว่าคนคู่, คน ๒ คนก่ออธิกรณ์กัน

เรียกว่าคนคู่, คน ๒ คนพูดกัน เรียกว่าคนคู่ คน ๒ คนปราศรัยกัน

เรียกว่าคนคู่, ฉันใด ธรรมนั้นเป็นธรรมของคนทั้งสองผู้กำหนัด กำหนัด

กล้า ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้น มีจิตอันราคะครอบงำ เป็นเช่น

เดียวกันทั้งสองคน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้แล้ว จึงเรียกว่า

เมถุนธรรม.

คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุนธรรม ได้แก่

ของบุคคลผู้ประกอบ ประกอบทั่ว ประกอบเอื้อเฟื้อ ประกอบพร้อม ใน

เมถุนธรรม คือผู้ประพฤติในเมถุนธรรม มักมากในเมถุนธรรม หนักใน

เมถุนธรรม น้อมไปในเมถุนธรรม โน้นไปในเมถุนธรรม โอนไปใน

เมถุนธรรม น้อมใจไปในเมถุนธรรม มีเมถุนธรรมนั้นเป็นใหญ่ เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุนธรรม.

[๒๒๖] คำว่า ท่านพระติสสเมตเตยยะกราบทูลถามพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า มีความว่า ศัพท์ว่า อิติ เป็นบทสนธิเชื่อมบท เป็น

ปทปูรณะ ควบอักษร เป็นศัพท์มีพยัญชนะสละสลวย เป็นลำดับบท.

คำว่า อายสฺมา เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวด้วยความ

เคารพ เป็นคำกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพ เป็นคำกล่าวด้วยความ

ยำเกรง.

คำว่า ติสฺส เป็นนาม เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมายรู้ เป็นบัญญัติ

เป็นโวหาร เป็นชื่อ เป็นความตั้งขึ้น เป็นความทรงชื่อ เป็นเครื่องกล่าว.

ถึง เป็นเครื่องแสดงความหมาย เช่นเครื่องกล่าวเฉพาะ แห่งพระเถระนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 663

คำว่า เมตเตยยะ เป็นโคตร เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมายรู้

เป็นบัญญัติ เป็นโวหาร แห่งพระเถระนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ท่าน

พระติสสเมตเตยยะกราบทูลถามผู้มีพระภาคเจ้าว่า.

[๒๒๗] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์โปรด

ตรัสบอกซึ่งความคับแค้น มีความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ

โปรดบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้แสดง

ประกาศซึ่งความคับแค้น คือ ความเข้าไปกระทบ ความเบียดเบียน ความ

กระทบกระทั่ง ความระทมทุกข์ ความขัดข้อง.

คำว่า มาริสะ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวด้วยความ

เคารพ เป็นคำกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพ เป็นคำกล่าวด้วยความ

ยำเกรง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์

โปรดตรัสบอกซึ่งความคับแค้น.

[๒๒๘] คำว่า ได้ฟังคำสอนของพระองค์แล้ว มีความว่า ได้

ฟัง ได้สดับ ศึกษา เข้าไปทรง เข้าไปกำหนด ซึ่งพระดำรัส คำเป็นทาง

เทศนา คำพร่ำสอนขอพรพระองค์ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ได้ฟังคำสอน

ของพระองค์แล้ว.

ว่าด้วยวิเวก ๓

[๒๒๙] คำว่า จักศึกษาในวิเวก มีความว่า คำว่า วิเวก ได้แก่

วิเวก ๓ คือ กายวิเวก, จิตวิเวก, อุปธิวิเวก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 664

กายวิเวกเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอัน

สงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง

ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดกายอยู่ คือ เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว

นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งอยู่ในที่หลีกเร้น

ผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวไปอยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ

ประพฤติรักษา เป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า กายวิเวก.

จิตตวิเวกเป็นไฉน ? ภิกษุเข้าปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์. เข้า

ทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกและวิจาร. เข้าตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ.

เข้าจตุตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์. เข้าอากาสานัญจายตนฌาน มี

จิตสงัดจากรูปสัญญา ปฎิฆสัญญา นานัตตสัญญา. เข้าวิญญาณัญจาย-

ตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา. เข้าอากิญจัญญายตนฌาน

มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา. เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มี

จิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา. เมื่อเป็นพระโสดาบัน มีจิตสงัดจาก

สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และ

จากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น. เป็นพระสก-

ทาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย

ปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราค-

สังโยชน์เป็นต้นนั้น. เป็นพระอนาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์

ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยอย่างละเอียด และจากกิเลสที่

ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น. เป็น

พระอรหันต์ มีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 665

มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับ

รูปราคะเป็นต้นนั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่า

จิตตวิเวก.

อุปธิวิเวกเป็นไฉน ? กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่า

อุปธิ อมตนิพพาน เรียกว่า อุปธิวิเวก ได้แก่ ความระงับสังขารทั้งปวง

ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอก ความดับ ความ

ออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่า อุปธิวิเวก.

ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออก ผู้ยินดียิ่งในเนกขัมมะ.

จิตตวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้ว

อย่างยิ่ง. อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้หมดอุปธิ ถึงซึ่งนิพพานอันเป็น

วิสังขาร.

คำว่า จักศึกษาในวิเวก มีความว่า พระเถระนั้นมีสิกขาอันศึกษา

แล้วโดยปกติ อีกอย่างหนึ่ง พระเถระนั้นเมื่อจะทูลขอพระธรรมเทศนา

จึงกราบทูลอย่างนี้ว่า จักศึกษาในวิเวก เพราะเหตุนั้น พระติสสเมตเตยย

เถระจึงกราบทูลอย่างนี้ว่า :- (ท่านพระติสสเมตเตยยะกราบทูลถามพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า)

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก

ซึ่งความคับแค้นของบุคคลประกอบเนือง ๆ ในเมถุนธรรม

พวกข้าพระองค์ได้ฟังคำสอนของพระองค์แล้ว จักศึกษา

ในวิเวก.

๑. วิสังขารธรรม - ธรรมอันเป็นปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 666

[๒๓๐] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนเมตเตยยะ)

คำสั่งสอนของบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุน

ธรรมย่อมเลอะเลือน และบุคคลนั้นย่อมปฏิบัติผิด นี้เป็น

ธรรมอันไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น.

[๒๓๑] คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุนธรรม

ความว่า ชื่อว่าเมถุนธรรม ได้แก่ ธรรมของอสัตบุรุษ ธรรมของชาวบ้าน

ธรรมของคนเลว ธรรมชั่วหยาบ ธรรมมีน้ำเป็นที่สุด ธรรมอันพึงทำใน

ที่ลับ ธรรมคือความถึงพร้อมด้วยธรรมของคนคู่กัน.

เพราะเหตุไรจึงเรียกเมถุนธรรม ? เพราะเป็นธรรมของตนทั้งสอง

ผู้กำหนัด กำหนัดกล้า ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้น มีจิตอันราคะ

ครอบงำ เป็นเช่นเดียวกันทั้งสองคน เพราะเหตุดังนี้นั้น จึงเรียกว่า

เมถุนธรรม.

คน ๒ คนทำความทะเลาะกัน เรียกว่าคนคู่, คน ๒ คนทำความ

มุ่งร้ายกัน เรียกว่าคนคู่, คน ๒ คนทำความอื้อฉาวกัน เรียกว่าคนคู่, คน

๒ คนทำความวิวาทกัน เรียกว่าคนคู่, คน ๒ คนก่ออธิกรณ์กัน เรียกว่า

คนคู่, คน ๒ คนพูดกัน เรียกว่าคนคู่, คน ๒ คนปราศรัยกัน เรียกว่า

คนคู่, ฉันใด ธรรมนั้นเป็น ธรรมของคนทั้งสองผู้กำหนัด กำหนัดกล้า

ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้น มีจิตอันราคะครอบงำ เป็นเช่นเดียวกัน

ทั้งสองคน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น จึงเรียกว่า เมถุนธรรม.

คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุนธรรม ได้แก่

ของบุคคลผู้ประกอบ ประกอบทั่ว ประกอบเอื้อเฟื้อ ประกอบพร้อมใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 667

เมถุนธรรม คือผู้ประพฤติในเมถุนธรรม มักมากในเมถุนธรรม หนักใน

เมถุนธรรม น้อมไปในเมถุนธรรม โน้มไปในเมถุนธรรม โอนไปใน

เมถุนธรรม น้อมใจไปในเมถุนธรรม มีเมถุนธรรมนั้นเป็นใหญ่ เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุนธรรม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระเถระนั้น โดยโคตรว่า เมตเตยยะ.

คำว่า ภควา เป็นพระนามเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถว่า ทรงทำลายราคะ

ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลายทิฏฐิ ทำลายเสี้ยนหนาม

ทำสายกิเลส และเพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรงจำแนกวิเศษ ทรง

จำแนกวิเศษเฉพาะ ซึ่งธรรมรัตนะ เพราะอรรถว่า ทรงทำซึ่งที่สุดแห่ง

ภพทั้งหลาย เพราะอรรถว่า มีพระกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว

มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะ

และป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากชนผู้

สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกเร้น

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา

อันเป็นอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 668

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔

อรูปสมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘

อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณ-

สมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่ง สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปป-

ธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค

มีองค์ ๘ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ ๑๐ เวสา-

รัชชธรรม ๔ ปฏิสัมภิทา ๘ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ภควา.

พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาดา พระ

ภคินี มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้

เฉลิมให้พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม เป็นสัจฉิกาบัญญัติ

พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ โคนแห่งต้นโพธิ์ ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเมตเตยยะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 669

[๒๓๒] คำว่า คำสั่งสอน....ย่อมเลอะเลือน มีความว่า คำสั่ง

สอนย่อมเลอะเลือนด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ คำสั่งสอนทางปริยัติย่อม

เลอะเลือน ๑ คำสั่งสอนทางปฏิบัติย่อมเลอะเลือน ๑.

คำสั่งสอนทางปริยัติเป็นไฉน ? คำสั่งสอนใด คือ สุตตะ เคยยะ

เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ

อันบุคคลนั้นศึกษาแล้ว นี้ชื่อว่าคำสั่งสอนทางปริยัติ คำสั่งสอนทางปริยัติ

แม้นั้น ย่อมเลอะเลือน ฟั่นเฝือ เหินห่าง. คำสั่งสอน....ย่อมเลอะ

เลือนแม้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

คำสั่งสอนทางปฏิบัติเป็นไฉน ? ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติ

สมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ความ

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความเป็นผู้กระทำให้สมบูรณ์ในศีล ความ

เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณ

ในโภชนะ ความประกอบเนือง ๆ ในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ

สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ พละ ๕ โพชฌงค์

๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ชื่อว่าคำสั่งสอนทางปฏิบัติ คำสั่งสอนทางปฏิบัติ

แม้นั้น ย่อมเลอะเลือน ฟั่นเฝือ เหินห่าง คำสั่งสอนย่อมเลอะเลือนแม้

อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

[๒๓๓] คำว่า บุคคลนั้นย่อมปฏิบัติผิด มีความว่า บุคคลนั้น

ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง. ตัดที่ต่อบ้าง ปล้นโดยไม่เหลือบ้าง ปล้น

เฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นที่หนทางเปลี่ยวบ้าง คบหาภรรยาของ

ผู้อื่นบ้าง กล่าวคำเท็จบ้าง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลนั้นย่อม

ปฏิบัติผิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 670

[๒๐๔] คำว่า นี้เป็นธรรมอันไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น มี

ความว่า ข้อปฏิบัติผิดนี้ เป็นธรรมอันไม่ประเสริฐ เป็นธรรมของตน

พาล เป็นธรรมของตนหลง เป็นธรรมของตนไม่รู้. เป็นธรรมของคนมี

ถ้อยคำดิ้นได้ไม่ตายตัว ในบุคคลนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า นี้เป็น

ธรรมอันไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค

เจ้าจึงตรัสว่า :- (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเมตเตยยะ.)

คำสั่งสอนของบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุน

ธรรมย่อมเลอะเลือน และบุคคลนั้นย่อมปฏิบัติผิด นี้เป็น

ธรรมอันไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น.

[๒๓๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บุคคลใดเป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น ย่อมซ่อง

เสพเมถุนธรรม บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่าเป็น

ปุถุชนคนเลวในโลก เหมือนยวดยานที่หมุนไป ฉะนั้น.

ว่าด้วยผู้บวชแล้วสึก

[๒๓๖] คำว่า เป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น มีความว่า เป็น

ผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยส่วนบรรพชา

๑, ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่ ๑.

เป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น ด้วยส่วนบรรพชาอย่างไร ? บุคคล

ตัดกังวลในฆราวาสทั้งหมด ตัดกังวลในบุตรและภรรยา ตัดกังวลในญาติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 671

ตัดกังวลในมิตรและอำมาตย์ ตัดกังวลในความสั่งสม ปลงผมและหนวด

นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีกังวล

เป็นผู้เดียวเที่ยวไป คือ อยู่ เปลี่ยนกิริยาบถ ประพฤติ รักษา เป็นไป

ให้เป็นไป ยังอัตภาพให้เป็นไป ชื่อว่า เป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้อง

ต้น ด้วยส่วนบรรพชาอย่างนี้.

เป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่อย่าง

ไร ? บุคคลนั้นบวชแล้วอย่างนั้น เป็นผู้เดียว ซ่องเสพเสนาสนะ อันเป็น

ป่าละเมาะและป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้องปราศจาก

ชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกเร้น

ภิกษุนั้น เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อ

บิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่หลีกเร้นผู้เดียว อธิษฐานจงกรม

ผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา เป็น

ไป ให้เป็นไป ชื่อว่า เป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น ด้วยการละ

ความคลุกคลีด้วยหมู่ อย่างนี้.

[๒๓๗] คำว่า บุคคลใด ย่อมซ่องเสพเมถุนธรรม มีความว่า

ชื่อว่าเมถุนธรรม ได้แก่ธรรมของอสัตบุรุษ ฯลฯ เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า

เมถุนธรรม คำว่า บุคคลใด....ย่อมซ่องเสพเมถุนธรรม ความว่า

สมัยต่อมา บุคคลนั้นบอกคืนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา

เวียนมาเป็นคฤหัสถ์ ย่อมเสพ ซ่องเสพ หมกมุ่น เสพเฉพาะซึ่งเมถุนธรรม

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลใด....ย่อมซ่องเสพเมถุนธรรม.

[๒๓๘] คำว่า บุคคลนั้น....ในโลก เหมือนยวดยานที่หมุน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 672

ไปฉะนั้น มีความว่า คำว่า ยาน ได้แก่ ยานช้าง ยานม้า ยานโค ยานแกะ

ยานแพะ ยานอูฐ ยานลา ที่หมุนไป คือที่เขามิได้ฝึกหัด มิได้ฝึกฝน

มิได้อบรม ย่อมแล่นไปผิดทาง คือ ย่อมขึ้นบนตอไม้บ้าง กองหินบ้าง

ที่ไม่เรียบ ทำลายยานบ้าง ผู้ขับขี่บ้าง ตกไปในเหวบ้าง ยานนั้นที่หมุน

ไปคือที่เขามิได้ฝึกหัด มิได้ฝึกฝน มิได้อบรม ย่อมแล่นไปผิดทาง ฉันใด

บุคคลนั้นหมุนผิดไป เปรียบเหมือนยานที่หมุนไป ย่อมถึงทางผิด คือถือ

มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ถือมิจฉาสมาธิ ก็ฉันนั้น ยานนั้นที่หมุนไป คือที่เขามิ

ได้ฝึกหัด มิได้ฝึกฝน มิได้อบรม ย่อมขึ้นบนตอไม้บ้าง กองหินบ้างที่

ไม่เรียบร้อย ฉันใด บุคคลนั้นหมุนไปผิด เปรียบเหมือนยานที่หมุนไป

ย่อมขึ้นสู่กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ปาณาติบาต อทินนาทาน

กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา สัมฝัปปลาป อภิชฌา

พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขาร กามคุณ ๕ นิวรณ์ อันไม่เสมอ ฉันนั้น

เหมือนกัน ยานนั้นที่หมุนไป คือที่เขามิได้ฝึกหัด มิได้ฝึกฝน มิได้อบรม

ย่อมทำลายแม้ผู้ขับขี่ ฉันใด บุคคลนั้นหมุนไปผิด เปรียบเหมือนยาน

ที่หมุนไป ย่อมทำลายตนในนรก ทำลายตนในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ทำลาย

ตนในวิสัยแห่งเปรต ทำลายตนในมนุษย์โลก ทำลายตนในเทวโลก ฉัน

นั้น ยานนั้นที่หมุนไป คือที่เขามิได้ฝึกฝน มิได้ฝึกหัด มิได้อบรม ย่อม

ตกเหวบ้าง ฉันใด บุคคลนั้นหมุนไปผิด เปรียบเหมือนยานที่หมุนไป

ย่อมตกไปสู่เหวคือชาติบ้าง ตกไปสู่เหวคือชราบ้าง ตกไปสู่เหวคือพยาธิบ้าง

ตกไปสู่เหวคือมรณะบ้าง ตกไปสู่เหวคือโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

และอุปายาสบ้าง ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 673

คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ มนุษยโลก เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้น......ในโลกเหมือนยวดยานที่หมุนไป

ฉะนั้น.

[๒๓๙] คำว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นปุถุชนคนเลว มี

ความว่า คำว่า ปุถุชน ความว่า ชื่อปุถุชน เพราะอรรถว่าอะไร ?

ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ยังกิเลสอันหนาแน่นให้เกิด เพราะอรรถ

ว่า มีสักกายทิฏฐิที่ยังไม่ได้กำจัดหนาแน่น เพราะอรรถว่า ปฏิญาณต่อ

ศาสดามาก เพราะอรรถว่า อันคติทั้งปวงร้อยไว้มาก เพราะอรรถว่า

ผู้อันอภิสังขารต่าง ๆ ปรุงแต่งไว้มาก เพราะอรรถว่า ผู้ลอยไปตามโอฆ-

กิเลสต่าง ๆ มาก เพราะอรรถว่า ผู้เดือดร้อนด้วยความเดือนร้อนต่าง ๆ

มาก เพราะอรรถว่า ผู้เร่าร้อนด้วยความเร่าร้อนต่าง ๆ มาก เพราะอรรถ

ว่า ผู้กำหนัด ปรารถนา ยินดี ติดใจ ลุ่มหลง ข้องเกี่ยว เกี่ยวพัน

พัวพัน ในกามคุณ ๕ มาก และเพราะอรรถว่า อันนิวรณ์ ๕ ร้อยรัด

ปกคลุม หุ้มห่อ ปิดบัง ปกปิด ครอบงำไว้มาก.

คำว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นปุถุชนคนเลว มีความว่า

ได้กล่าว บอก พูด แสดง แถลงอย่างนี้ว่าเป็นปุถุชนคนเลว ทราม

ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บัณฑิตทั้งหลาย

กล่าวว่าเป็นปุถุชนคนเลว เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

บุคคลใดเป็นผู้เดียวเที่ยวไปในเบื้องต้น ย่อมซ่อง

เสพเมถุนธรรม บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่าเป็น

ปุถุชนคนเลวในโลก เหมือนยวดยานที่หมุนไป ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 674

[๒๔๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ยศและเกียรติในกาลก่อนของภิกษุนั้นย่อมเสื่อมไป

ภิกษุเห็นความเสื่อมแม้นั้นแล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุน

ธรรมเสีย.

ว่าด้วยยศและเกียรติ

[๒๔๑] คำว่า ยศและเกียรติในกาลก่อนของภิกษุนั้นย่อม

เสื่อมไป. มีความว่า ยศเป็นไฉน ? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้

อันชนทั้งหลายสักการะเคารพ นับถือ บูชา นอบน้อมแล้วเป็นผู้ได้จีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ในกาลก่อน คือใน

คราวเป็นสมณะ นี้เรียกว่า ยศ

เกียรติเป็นไฉน ? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อันชนทั้งหลาย

สรรเสริญเกียรติคุณว่า เป็นบัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูตร มีถ้อย

คำไพเราะ มีปฏิภาณดี ทรงจำพระสูตรบ้าง ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็น

พระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการเที่ยว

บิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือ

การทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก

เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการห้ามภัตในภายหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการ

อยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้พูดปฐมฌานบ้าง เป็นผู้

ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้

ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 675

เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน

สมาบัติบ้าง ในกาลก่อน คือในคราวเป็นสมณะ นี้เรียกว่า เกียรติ.

คำว่า ยศและเกียรติในกาลก่อนของภิกษุนั้นย่อมเสื่อมไป

มีความว่า สมัยต่อมา เมื่อภิกษุนั้นบอกคืนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

สิกขา เวียนมาเป็นคฤหัสถ์ ยศนั้นและเกีตรตินั้นย่อมเสื่อมไปคือ เสื่อมรอบ

สิ้นไป หมดไป สิ้นไป สลายไป เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ยศและเกียรติ

ในกาลก่อนของภิกษุนั้นย่อมเสื่อมไป.

ว่าด้วยสิกขา ๓ อย่าง

[๒๔๒] คำว่า ภิกษุเห็นความเสื่อมแม้นั้นแล้วพึงศึกษาเพื่อ

ละเมถุนธรรมเสีย มีความว่า คำว่า นั้น คือ ภิกษุเห็น พบ เทียบ-

เตียงพิจารณาทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง ซึ่งสมบัติและวิบัตินั้น คือ

ยศและเกียรติในกาลก่อน คือในคราวเป็นสมณะ กลายเป็นความเสื่อมยศ

และเสื่อมเกียรติของภิกษุผู้บอกคืนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา

แล้วเวียนมาเป็นคฤหัสถ์ในภายหลัง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เห็นความ

เสื่อมแม้นั้นแล้ว.

คำว่า พึงศึกษา ได้แก่ สิกขา ๓ อย่าง คือ อธิศีลสิกขา ๑

อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑.

อธิศีลสิกขาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วย

ความสำรวมในปาติโมกข์ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจระ เห็นภัยในโทษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 676

ทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์

น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีลเป็นที่ตั้ง เป็นเบื้องต้น เป็นเครื่องประพฤติ เป็น

ความสำรวม เป็นความระวัง เป็นปาก เป็นประธาน แห่งความถึงพร้อม

แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิศีลสิกขา.

อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก

อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบไป บรรลุทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตใน

ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิด

แต่สมาธิอยู่ เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย

นามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็น

ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัส

ก่อน ๆ ได้ บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ

บริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า อธิจิตตสิกขา.

อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญาประ

กอบด้วยปัญญาอันให้ถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส

ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์

นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ

นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ

นี้เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา.

คำว่า เมถุนธรรม มีความว่า ชื่อว่าเมถุนธรรม ได้แก่ ธรรม

ของอสัตบุรุษ ฯลฯ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า เมถุนธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 677

คำว่า ภิกษุเห็นความเสื่อมแม้นั้นแล้ว พึงศึกษาเพื่อละ

เมถุนธรรมเสีย มีความว่า ภิกษุพึงศึกษาแม้อธิศีล พึงศึกษาแม้อธิจิต

พึงศึกษาแม้อธิปัญญา เพื่อละ เพื่อสงบ เพื่อสละคืน เพื่อระงับเมถุนธรรม

คือภิกษุเมื่อนึก เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อ

น้อมจิตไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร เมื่อเข้าไปตั้งสติ เมื่อตั้งจิต

ให้มั่น เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่พึงรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่

พึงกำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่พึงละ เมื่อเจริญธรรมที่พึงเจริญ เมื่อทำให้แจ้ง

ซึ่งธรรมที่พึงทำให้แจ้ง พึงศึกษา พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติด้วยดี

สมาทานประพฤติซึ่งสิกขา ๓ เหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภิกษุเห็น

ความเสื่อมแม้นั้นแล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรมเสีย เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ยศและเกียรติในกาลก่อนของภิกษุนั้นย่อมเสื่อมไป

ภิกษุเห็นความเสื่อมแม้นั้นแล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรม

เสีย.

[๒๔๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ภิกษุนั้นถึงพร้อมด้วยความดำริ ย่อมซบเซา เหมือน

คนกำพร้า ได้ยินเสียงติเตียนของชนเหล่าอื่นแล้ว ย่อม

เป็นผู้เก้อเขินเป็นผู้เช่นนั้น.

ว่าด้วยข้อเสียของภิกษุ

[๒๔๔] คำว่า ภิกษุนั้นถึงพร้อมด้วยความดำริ ย่อมซบเซา

เหมือนคนกำพร้า มีความว่าภิกษุนั้น อันความดำริในกาม ดำริใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 678

พยาบาท ดำริในควานเบียดเบียน ดำริด้วยทิฏฐิ ถูกต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม

ประกอบ ย่อมซบเซา. ซึมเซา เซื่อมซึม หงอยเหงา เหมือนคนกำพร้า

คนโง่ คนหลงใหล นกเค้าคอยดักจับหนูอยู่ที่กิ่งไม้ ย่อมซบเซา ซึมเซา

เซื่อมซึม หงอยเหงา ฉันใด สุนัขจิ้งจอก ดักจับปลาอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำ

ย่อมซบเซา ซึมเซา เซื่อมซึม หงอยเหงา ฉันใด แมวคอยดักจับหนู.

อยู่ในที่ต่อ ที่ท่อน้ำ ที่ฝั่งน้ำมีเปือกตม ย่อมซบเซา ซึมเซา เซื่อมซึม

หงอยเหงา ฉันใด ลามีแผลที่หลัง ย่อมซบเซา ซึมเซา เซื่อมซึม

หงอยเหงาอยู่ในที่โขดหิน ที่ท่าน้ำ และฝั่งมีเปือกตม ฉันใด ภิกษุนั้น

ผู้หมุนไปผิด อันความดำริในกาม ดำริในพยาบาท ดำริในความเบียดเบียน

ดำริด้วยทิฏฐิ ถูกต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบ ย่อมซบเซา ซึมเซา

เซื่อมซึม หงอยเหงา ฉันนั้น เหมือนคนกำพร้า คนโง่ คนหลงใหล

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภิกษุนั้นถึงพร้อมด้วยความดำริ ย่อมซบเซา

เหมือนคนกำพร้า.

[๒๔๕] คำว่า ได้ยินเสียงติเตียนของชนเหล่าอื่นแล้ว ย่อม

เป็นผู้เก้อเขิน เป็นผู้เช่นนั้น มีความว่า คำว่า ชนเหล่าอื่น คือ

อุปัชฌาย์บ้าง อาจารย์บ้าง ชนชั้นอุปัชฌาย์บ้าง ชนชั้นอาจารย์บ้าง มิตร

บ้าง คนที่เคยเห็นกันบ้าง คนที่เคยคบกันบ้าง สหายบ้าง ย่อมตักเตือนว่า

ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่ลาภของท่านแล ท่านเอาดีไม่ได้แล้ว คือข้อที่ท่าน

ได้พระศาสดาผู้ยิ่งใหญ่เห็นปานนี้ บวชในธรรมวินัยที่พระศาสดาตรัสดี

แล้วอย่างนี้ ได้คณะพระอริยะเห็นปานนี้แล้ว บอกคืนพระพุทธ พระธรรม

พระสงฆ์ สิกขา แล้วเวียนมาเพื่อความเป็นคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งเมถุน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 679

ธรรมอันเลว ท่านชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลายบ้าง เป็น

ผู้ไม่มีหิริในกุศลธรรมทั้งหลายบ้าง เป็นผู้ไม่มีโอตตปปะในกุศลธรรม

ทั้งหลายบ้าง เป็นผู้ไม่มีสติในกุศลธรรมทั้งหลายบ้าง เป็นผู้ไม่มีปัญญา

ในกุศลธรรมทั้งหลายบ้าง ดังนี้ ภิกษุนั้นได้ยิน ได้ฟัง กำหนด พิจารณา

ตรวจตราแล้ว ซึ่งถ้อยคำ คำเป็นคลอง คำแสดง คำสั่งสอน ของ

อุปัชฌาย์เป็นต้นเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน คือ ขวยเขิน อึดอัด กระ-

ดากอาย เสียใจ.

คำว่า ผู้เป็นเช่นนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้หมุนไปผิดนั้น ย่อมเป็นผู้

เช่นนั้น คือ เป็นผู้เหมือนกันเช่นนั้น เป็นผู้ดำรงอยู่อย่างนั้น เป็นผู้มี

ประการอย่างนั้น เป็นผู้มีส่วนเปรียบอย่างนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ได้

ยินเสียงติเตียนของชนเหล่าอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน เป็นผู้

เช่นนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ภิกษุนั้น ถึงพร้อมด้วยความดำริ ย่อมซบเซา

เหมือนคนกำพร้า ได้ยินเสียงติเตียนของชนเหล่าอื่นแล้ว

ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน เป็นผู้เช่นนั้น.

[๒๔๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกวาทะของชนเหล่าอื่นตัก

เตือน ย่อมกระทำศัสตรา การกล่าวเท็จทั้งรู้อยู่นั้นเป็น

เครื่องผูกพันภิกษุนั้น ภิกษุนั้นย่อมหยั่งลงสู่ความเป็นผู้พูด

เท็จ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 680

[๒๔๗] คำว่า ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกวาทะของชนเหล่าอื่น

ตักเตือน ย่อมกระทำศัสตรา มีความว่า ศัพท์ว่า อถ เป็นบทสนธิ

เชื่อมบท เป็นปทปูรณะควบอักษร เป็นศัพท์มีพยัญชนะสละสลวย เป็น

ลำดับบท.

คำว่า ศัสตรา ได้แก่ ศัสตรา ๓ อย่าง คือ ศัสตราทางกาย ๑

ศัสตราทางวาจา ๑ ศัสตราทางใจ ๑. กายทุจริต ๓ อย่าง เป็นศัสตรา

ทางกาย วจีทุจริต ๔ อย่าง เป็นศัสตราทางวาจา มโนทุจริต ๓ อย่าง

เป็นศัสตราทางใจ.

คำว่า ถูกวาทะของชนเหล่าอื่นตักเตือน ความว่า ภิกษุนั้น

อันอุปัชฌาย์บ้าง อาจารย์บ้าง ชนชั้นอุปัชฌาย์บ้าง ชนชั้นอาจารย์บ้าง

มิตรบ้าง คนที่เคยเห็นกันบ้าง คนที่เคยคบกันบ้าง สหายบ้าง ตักเตือน

แล้ว ย่อมกล่าวเท็จทั้งรู้ คือย่อมกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ายินดี

ยิ่งในบรรพชา แต่ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงมารดา ฉะนั้นจึงต้องลาสิกขา ข้าพเจ้า

ต้องเลี้ยงบิดาต้องเลี้ยงพี่ชายน้องชาย ต้องเลี้ยงพี่สาวน้องสาวต้องเลี้ยงบุตร

ต้องเลี้ยงธิดา ต้องเลี้ยงมิตรต้องเลี้ยงอำมาตย์ต้องเลี้ยงญาติ ต้องเลี้ยงคน

ที่สืบเชื้อสาย ฉะนั้นจึงต้องลาสิกขา ดังนี้ชื่อว่าย่อมทำศัสตราทางวาจา คือ

ย่อมให้ศัสตราทางวาจาเกิดขึ้น ให้เกิดขึ้นพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ลำดับนั้น ภิกษุนั้น ถูกวาทะของชนเหล่าอื่น

ตักเตือน ย่อมกระทำศัสตรา.

[๒๔๘] คำว่า การกล่าวเท็จทั้งรู้อยู่นั้น เป็นเครื่องผูกพัน

ภิกษุนั้น มีความว่า การกล่าวเท็จทั้งรู้อยู่นั้น เป็นเครื่องผูกพัน คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 681

เป็นป่าใหญ่ เป็นป่าชัฎใหญ่ เป็นทางกันดารให้ เป็นทางไม่เสมอมาก.

เป็นทางคดมาก เป็นหล่มมาก เป็นเปือกตมมาก เป็นเครื่องกังวลมาก เป็น

เครื่องผูกรัดมาก ของภิกษุนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า การกล่าวเท็จทั้ง

รู้อยู่นั้นเป็นเครื่องผูกพันภิกษุนั้น.

[๒๔๙] คำว่า ภิกษุนั้นหยั่งลงสู่ความเป็นผู้พูดเท็จ มีความ

ว่า มุสาวาท เรียกว่า ความเป็นผู้พูดเท็จ บุคคลบางตนในโลกนี้ อยู่ใน

สภาก็ดี อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ท่ามกลางญาติก็ดี อยู่ท่ามกลางสมาคมก็ดี

อยู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี ถูกเขานำไปถามเป็นพยานว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ

ท่านรู้สิ่งใด ก็จงบอกสิ่งนั้น บุคคลนั้น เมื่อไม่รู้ก็บอกว่ารู้บ้าง เมื่อรู้ก็

บอกว่าไม่รู้บ้าง เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าเห็นบ้าง เมื่อเห็นก็บอกว่าไม่เห็น

บ้าง ย่อมกล่าวเท็จทั้งเพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้าง

เพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ นี้เรียกว่าความเป็นผู้พูด

เท็จ อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๓ อย่าง คือในเบื้องต้น

บุคคลนั้นมีความรู้ว่า เราจักพูดเท็จ เมื่อพูดอยู่ก็รู้ว่าเรากำลังพูดเท็จ เมื่อ

พูดแล้วก็รู้ว่าเราพูดเท็จแล้ว มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ อีก

อย่างหนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๔ อย่าง ย่อมมีด้วยอาการ ๕ อย่าง

ย่อมมีด้วยอาการ ๖ อย่าง ย่อมมีด้วยอาการ ๗ อย่าง ย่อมมีด้วยอาการ ๘ อย่าง

คือในเบื้องต้นบุคคลนั้นมีความรู้ว่า เราจักพูดเท็จ เมื่อพูดอยู่ก็รู้ว่าเรา

กำลังพูดเท็จ เมื่อพูดแล้วก็รู้ว่าเราพูดเท็จแล้ว ปิดบังซึ่งทิฏฐิ ความควร

ความชอบใจ ความสำคัญ ความจริง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๘ อย่าง

เหล่านี้. คำว่า ย่อมหยั่งลงสู่ความเป็นผู้พูดเท็จ ความว่า ย่อมหยั่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 682

ลง ก้าวลงยึดถือเข้าไปสู่ความเป็นผู้พูดเท็จ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อม

หยั่งลงสู่ความเป็นผู้พูดเท็จ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

ว่า :-

ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกวาทะของชนเหล่าอื่นตัก

เตือน ย่อมกระทำศัสตรา การกล่าวเท็จทั้งรู้อยู่นั้น เป็น

เครื่องผูกพันภิกษุนั้น ภิกษุนั้นย่อมหยั่งลงสู่ความเป็นผู้พูด

เท็จ.

[๒๕๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ภิกษุเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นบัณฑิต อธิษฐานความ

ประพฤติผู้เดียว แม้ภายหลังประกอบเมถุนธรรม จักเศร้า

หมอง เหมือนคนโง่ฉะนั้น.

ว่าด้วยต้นตรงปลายคด

[๒๕๑] คำว่า ภิกษุเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นบัณฑิต มีความว่า

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อันชนทั้งหลายสรรเสริญเกียรติคุณว่า

เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูตร มีถ้อยคำไพเราะ มี

ปฏิภาณดี ทรงจำพระสูตรบ้าง ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึก

บ้าง ฯลฯ เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง ในกาลก่อน คือ

ในคราวเป็นสมณะ เป็นผู้อันประชุมชนรู้ หมายรู้ เลื่องลือกันอย่างนี้

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภิกษุเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นบัณฑิต.

[๒๕๒] คำว่า อธิษฐานความประพฤติผู้เดียว มีความว่า

อธิษฐานความประพฤติผู้เดียวด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยส่วนบรรพชา ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 683

ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่ ๑ อธิษฐานความประพฤติผู้เดียวด้วยส่วน

บรรพชาอย่างไร ? ภิกษุตัดกังวลในฆราวาสทั้งหมด ฯลฯ อธิษฐานความ

ประพฤติผู้เดียวด้วยส่วนบรรพชาอย่างนี้ อธิษฐานความประพฤติผู้เดียว

ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่ อย่างไร ? ภิกษุนั้นบวชแล้วอย่างนั้น

เป็นผู้เดียวซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะและป่าทึบ อันสงัด ฯลฯ

อธิษฐานความประพฤติผู้เดียว ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่อย่างนี้

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อธิษฐานความประพฤติผู้เดียว.

[๒๕๓] คำว่า แม้ภายหลังประกอบในเมถุนธรรม มีความว่า

ชื่อว่าเมถุนธรรม ได้แก่ธรรมของอสัตบุรุษ ฯลฯ เพราะเหตุนั้นจึงเรียก

ว่า เมถุนธรรม. คำว่า แม้ภายหลังประกอบในเมถุนธรรม ความ

ว่าสมัยต่อมา ภิกษุนั้นบอกคืนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และสิกขา

แล้วเวียนมาเป็นคฤหัสถ์ ประกอบ ประกอบทั่ว ประกอบด้วยความเอื้อเฟื้อ

ประกอบด้วยดี ในเมถุนธรรม เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า แม้ภายหลัง

ประกอบเมถุนธรรม.

ว่าด้วยการลงโทษ

[๒๕๔] คำว่า จักเศร้าหมอง เหมือนคนโง่ฉะนั้น มีความว่า

บุคคลนั้นจักลำบาก จักเศร้าหมอง มัวหมอง เหมือนคนกำพร้า เหมือน

คนหลงใหล ฉะนั้น. คือ ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ตัดที่ต่อบ้าง

ปล้นโดยไม่เหลือบ้าง ปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นที่หนทางเปลี่ยวบ้าง

คบหาภรรยาของผู้อื่นบ้าง กล่าวเท็จบ้าง จักลำบาก จักเศร้าหมอง

มัวหมอง แม้อย่างนี้ พระราชารับสั่งให้จับกุมบุคคลนั้นแล้ว ให้ทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 684

กรรมกรณ์ต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วย

ไม้พลองบ้าง ให้ตัดมือบ้าง ให้ตัดเท้าบ้าง ให้ตัดมือและเท้าบ้าง ให้ตัด

ใบหูบ้าง ให้ตัดจมูกบ้าง ให้ตัดใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบน

ศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะออกแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง ใส่ไฟลุก

โพลงเข้าไปในปากจนโลหิตไหลออกเต็มปากเหมือนปากราหูบ้าง พันตัว

ด้วยผ้าชุบน้ำมันแล้วเผาทั้งเป็นบ้าง พ้นมือด้วยผ้าจุดไฟให้ลุกเหมือนประทีป

บ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอลงมาถึงข้อเท้า ลุกเดินเหยียบหนังนั้นจนล้มลงบ้าง

ถลกหนังตั้งแต่คอลงมาถึงบันเอว ทำให้เป็นดังนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวม

ปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าทั้งหมดแล้วเสียบหลาวเหล็ก ๕ ทิศ ตั้งไว้เผา

ไฟบ้าง เอาเบ็ดเกี่ยวหนังเนื้อเอ็นออกมาบ้าง เอามีดเฉือนเนื้อออกเป็น

แว่น ๆ ดังเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนังเนื้อเอ็นออกเหลือแต่กระดูกบ้าง

เอาหลาวเหล็กแทงที่ช่องหูจนทะลุถึงกัน เสียบติดดินแล้วจับขาหมุนไปโดย

รอบบ้าง ทุบให้กระดูกละเอียดแล้วถลกหนังออกเหลือแต่กองเนื้อดังตั่งใบ

ไม้บ้าง เอาน้ำมันเดือดพล่านรดตัวบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่กระดูก

บ้าง เสียบหลาวยกขึ้นนอนหงายทั้งเป็นบ้าง เอาดาบตัดศีรษะบ้าง บุคคล

นั้นจักลำบาก จักเศร้าหมอง มัวหมองแม้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง บุคคล

นั้นถูกกามตัณหาครอบงำแล้ว มีจิตอันกามตัณหาตรึงไว้แล้ว เมื่อแสวงหา

โภคทรัพย์ ย่อมแล่นไปสู่มหาสมุทรด้วยเรือ ฝ่าหนาว ฝ่าร้อน ถูกสัมผัส

แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานเบียดเบียน ถูกความหิว

กระหายเบียดเบียนอยู่ ไปคุมพรัฐ ไปตักโกลรัฐ ไปตักกสิลรัฐ ไปกาล-

มุขรัฐ ไปมรณปารรัฐ ไปเวสุงครัฐ ไปเวราปถรัฐ ไปชวรัฐ ไปกมลิรัฐ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 685

ไปวังกรัฐ ไปเอฬวัททนรัฐ ไปสุวัณณกูฏรัฐ ไปสุวัณณภูมิรัฐ ไปตัมพ-

ปัณณิรัฐ ไปสุปปารรัฐ ไปภรุกรัฐ ไปสุรัทธรัฐ ไปอังคเณกรัฐ ไป

คังคณรัฐ ไปปรมคังคณรัฐ ไปโยนรัฐ ไปปีนรัฐ ไปอัลลสันทรัฐ ไป

มรุกันดารรัฐ เดินทางที่ต้องไปด้วยเข่า เดินทางที่ต้องไปด้วยแกะ เดินทาง

ที่ต้องไปด้วยแพะ เดินทางที่ต้องโหนไปด้วยเชือกและหลัก เดินทางที่

ต้องโดดลงด้วยร่มหนังแล้วจึงเดินไปได้ เดินทางที่ต้องไปด้วยพะองไม้ไผ่

เดินทางตามทางนก เดินทางตามทางหนู เดินทางตามทางซอกภูเขา เดิน

ทางตามลำธารที่ท้องไต่ไปตามเส้นหวาย จักลำบาก จักเศร้าหมอง

มัวหมองแม้อย่างนี้ เมื่อแสวงหาไม่ได้ ย่อมเสวยทุกข์และโทมนัสแม้มี

ความไม่ได้เป็นมูล จักลำบาก จักเศร้าหมอง มัวหมองแม้อย่างนี้ เมื่อ

แสวงหาได้ ครั้นได้แล้วก็เสวยทุกข์และโทมนัสแม้มีความรักษาเป็นมูล

ด้วยวิตกอยู่ว่า ด้วยอุบายอะไรหนอ พระราชาจึงจะไม่ริบโภคทรัพย์ของเรา

พวกโจรจะไม่ลักไป ไฟจะไม่ไหม้ น้ำจะไม่พัดไป พวกทายาทอัปรีย์จะ

ไม่ขนเอาไป เมื่อรักษาปกครองอย่างนี้ โภคทรัพย์ย่อมสลายไป บุคคล

นั้นก็เสวยทุกข์และโทมนัส แม้มีความสลายไปแห่งทรัพย์เป็นมูล จักลำบาก

จักเศร้าหมอง มัวหมองแม้อย่างนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าจักเศร้าหมอง

เหมือนคนโง่ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ภิกษุเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นบัณฑิต อธิษฐานความ

ประพฤติผู้เดียว แม้ภายหลังประกอบเมถุนธรรม จักเศร้า

หมองเหมือนคนโง่ ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 686

[๒๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

มุนีทราบโทษนั้น ในความเป็นฆราวาสอื่นแต่ความ

เป็นสมณะก่อนในธรรมวินัยนี้ พึงทำความประพฤติผู้เดียว

ให้มั่น ไม่พึงเสพเมถุนธรรม.

ว่าด้วยปฏิปทาของมุนี

[๒๕๖] คำว่า มุนีทราบโทษนั้น ในความเป็นฆราวาสอื่น

แต่ความเป็นสมณะก่อน ในธรรมวินัยนี้ มีความว่า คำว่า นั้น

ได้แก่ มุนี ทราบ รู้ เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง ซึ่ง

สมบัติและวิบัตินั้น คือ ยศและเกียรติในกาลก่อน คือ ในคราวเป็น

สมณะ ย่อมกลายเป็นความเสื่อมยศและเสื่อมเกียรติ ของภิกษุผู้บอกคืน

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และสิกขาแล้วเวียนมาเป็นคฤหัสถ์ใน

ภายหลัง.

คำว่า มุนี ความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ได้แก่ ปัญญา

ความรู้ทั่ว ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย ดำรง

อยู่ และเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว บุคคลนั้นชื่อว่า มุนี.

คำว่า ในธรรมวินัยนี้ ได้แก่ ในทิฏฐิ ในความควร ในความ

ชอบใจ ในเขตแดน ในธรรม ในวินัย ในธรรมวินัย ในปาพจน์ ใน

พรหมจรรย์ ในสัตถุศาสน์ ในอัตภาพ ในมนุษยโลกนี้ เพราะเหตุนั้น

จึงชื่อว่า มุนีทราบโทษนั้น ในความเป็นฆราวาสอื่นแต่ความเป็น

สมณะก่อน ในธรรมวินัยนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 687

[๒๕๗] คำว่า พึงทำความประพฤติผู้เดียวให้มั่นคง มีความ

ว่าพึงทำความประพฤติผู้เดียวให้มั่นคง ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยส่วน

บรรพชา ๑, ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่ ๑.

พึงทำความประพฤติผู้เดียวให้มั่นคง ด้วยส่วนบรรพชาอย่างไร ?

มุนีตัดกังวลในฆราวาสทั้งหมด ตัดกังวลในบุตรและภรรยา ตัดกังวลใน

ญาติ ตัดกังวลในมิตรและอมาตย์ ตัดกังวลในความสั่งสมแล้ว ปลงผม

และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว เข้าถึง

ความเป็นผู้ไม่มีกังวล พึงเป็นผู้เดียวประพฤติ คือ อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ

ประพฤติ รักษา เป็นไป ยิ่งอัตภาพให้เป็นไป มุนีพึงทำความประพฤติ

ผู้เดียวให้มั่นคง ด้วยส่วนบรรพชาอย่างนี้.

พึงทำความประพฤติผู้เดียวให้มั่นคง ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่

อย่างไร ? มุนีนั้นบวชแล้วอย่างนั้น พึงเป็นผู้เดียวซ่องเสพเสนาสนะอัน

เป็นป่าละเมาะและป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง

ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่

การหลีกเร้น มุนีนั้นพึงเดินผู้เดียว พึงยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว

เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐาน

จงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวประพฤติ คือ อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ

รักษา เป็นไป มุนีพึงทำความประพฤติผู้เดียวให้มั่นคง ด้วยการละความ

คลุกคลีด้วยหมู่อย่างนี้ มุนีพึงทำความประพฤติผู้เดียวให้มั่นคงถาวร มี

การสมาทานมั่นคง มีการสมาทานตั้งลงในกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า พึงกระทำความประพฤติผู้เดียวให้มั่นคง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 688

[๒๕๘] คำว่า ไม่พึงเสพเมถุนธรรม มีความว่า ชื่อว่าเมถุน-

ธรรม ได้แก่ธรรมของอสัตบุรุษ ฯลฯ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าเมถุนธรรม

มุนีไม่พึงเสพ ไม่พึงซ่องเสพ ไม่พึงร่วม ไม่พึงเสพเฉพาะ ซึ่งเมฤุนธรรม

เพาะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่พึงเสพเมถุนธรรม เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

มุนีทราบโทษนั้น ในความเป็นฆราวาสอื่นแต่ความ

เป็นสมณะก่อน ในธรรมวินัยนี้ พึงทำความประพฤติ

ผู้เดียวให้มั่น ไม่พึงเสพเมถุนธรรม.

[๒๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บุคคลพึงศึกษาวิเวกนั่นเทียว เพราะความประพฤติ

วิเวกนั้น เป็นกิจอันสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย บุคคล

ไม่พึงสำคัญว่า เราเป็นผู้ประเสริฐด้วยความประพฤติวิเวก

นั้น บุคคลนั้นแลย่อมเข้าไปใกล้พระนิพพาน.

[๒๖๐] คำว่า บุคคลพึงศึกษาวิเวกนั้นเทียว มีความว่า คำว่า

วิเวก ได้แก่ วิเวก ๓ อย่างคือ กายวิเวก ๑ จิตตวิเวก ๑ อุปธิวิเวก ๑

กายวิเวกเป็นไฉน ? ฯลฯ นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก ก็กายวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้

มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตตวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิต

บริสุทธิ์ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง อุปธิวิเวกย่อมมีแก่บุคคล

ผู้หมดอุปธิ ถึงซึ่งพระนิพพานอันเป็นวิสังขาร.

คำว่า ศึกษา ได้แก่ สิกขา ๓ อย่าง คืออธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตต-

สิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 689

คำว่า บุคคลพึงศึกษาวิเวกนั่นเทียว ความว่าพึงศึกษา พึง

ประพฤติเอื้อเฟื้อ พึงประพฤติด้วยดี พึงสมาทานประพฤติวิเวกนั่นเทียว

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลพึงศึกษาวิเวกนั่นเทียว.

[๒๖๑] คำว่า ความประพฤติวิเวกนั้น เป็นกิจอันสูงสุด

ของพระอริยะทั้งหลาย มีความว่า พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้า

พระปัจเจกพุทธเจ้า เรียกว่า พระอริยะ ความประพฤติวิเวกนั้น เป็นกิจ

อันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นใหญ่ สูงสุด บวร ของพระอริยะทั้งหลาย

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความประพฤติวิเวกนั้น เป็นกิจอันสูงสุดของ

พระอริยะทั้งหลาย.

[๒๖๒] คำว่า บุคคลไม่พึงสำคัญว่า เราเป็นผู้ประเสริฐด้วย

ความประพฤติวิเวกนั้น มีความว่าบุคคลไม่พึงทำความกำเริบขึ้น ไม่พึง

ทำความยกตน ไม่พึงทำความถือตัว ไม่พึงทำความกระด้างด้วยความ

ประพฤติวิเวกนั้น คือ ไม่พึงยังความถือตัวให้เกิด ไม่พึงทำความผูกพัน

ด้วยความประพฤติวิเวกนั้น ไม่พึงเป็นผู้กระด้าง เย่อหยิ่ง หัวสูง ด้วย

ความประพฤติวิเวกนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลไม่พึงสำคัญว่า เรา

เป็นผู้ประเสริฐด้วยความประพฤติวิเวกนั้น.

[๒๖๓] คำว่า บุคคลนั้นแลย่อมเข้าไปใกล้พระนิพพาน มี

ความว่า บุคคลนั้นย่อมเข้าไปในที่ใกล้ ในที่ใกล้รอบ ในที่ใกล้เคียง ไม่

ห่างไกล ใกล้ชิดต่อพระนิพพาน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลนั้นแล

ย่อมเข้าไปใกล้พระนิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 690

บุคคลพึงศึกษาวิเวกนั่นเทียว เพราะความประพฤติ

วิเวกนั้น เป็นกิจอันสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย บุคคล

ไม่พึงสำคัญว่า เราเป็นผู้ประเสริฐด้วยความประพฤติวิเวก

นั้น บุคคลนั้นแลย่อมเข้าไปใกล้พระนิพพาน.

[๒๖๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

หมู่สัตว์ผู้ยินดีในถามทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อมุนี

ผู้ประพฤติว่าง ไม่มีอาลัยในกามทั้งหลาย ผู้ข้ามโอฆะ

ได้แล้ว.

[๒๖๕] คำว่า ต่อมุนีผู้ประพฤติว่าง มีความว่า คำว่า ว่าง

คือ ผู้ว่าง ผู้เปล่า ผู้สงัด จากกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ

โทสะ โนหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ

ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความ

แข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความเมา ความประมาท กิเลส

ทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง

ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง.

คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่าโมนะ ได้แก่ปัญญา ความรู้

ทั่ว ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องต้องและตัณหาเพียงดังข่าย ดำรงอยู่

และเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้วบุคคลนั้นชื่อว่ามุนี คำว่า ผู้ประพฤติ

ความว่า ผู้เที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา เป็นไป

ยังอัตภาพให้เป็นไป เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ต่อมุนีผู้ประพฤติว่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 691

[๒๖๖] คำว่า ไม่มีอาลัยในกามทั้งหลาย มีความว่า คำว่า

กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่างโดยหัวข้อ คือ วัตถุกาม ๑. กิเลสกาม ฯลฯ

นี้เรียกว่าวัตถุกาม ฯลฯ นี้เรียกว่ากิเลสกาม มุนีกำหนดรู้วัตถุกาม ละเว้น

บรรเทา ทำให้สิ้นให้ถึงความไม่มีซึ่งกิเลสกาม ชื่อว่าไม่มีอาลัยในกาม

ทั้งหลาย คือ สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนกามเสียแล้ว ปราศจาก

ราคะ คือ สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนราคะเสียแล้ว เป็นผู้หมด

ตัณหา ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยความสุข มีตนเป็นผู้ประเสริฐอยู่ เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่มีอาลัยในกามทั้งหลาย.

[๒๖๗] คำว่า หมู่สัตว์ผู้ยินดีในกามทั้งหลายย่อมรักใคร่....

ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว มีความว่า คำว่า ปชา เป็นชื่อของสัตว์ หมู่สัตว์

ผู้กำหนัด ปรารถนา ยินดี ติดใจ ลุ่มหลง ข้อง เกี่ยว พัวพัน ในกาม

ทั้งหลาย หมู่สัตว์เหล่านั้นย่อมอยากได้ ยินดี ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ

ต่อมุนีผู้ข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลย เป็นไปล่วงซึ่ง

กามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ และทางแห่งสงสารทั้งปวง

ผู้ไปสู่ฝั่งถึงฝั่งแล้ว ไปสู่ส่วนสุดถึงส่วนสุดแล้ว ไปสู่ที่สุดถึงที่สุดแล้ว ไปสู่

ส่วนสุดรอบถึงส่วนสุดรอบแล้ว ไปสู่ที่จบถึงที่จบแล้ว ไปสู่ที่ต้านทานถึง

ที่ต้านทานแล้ว ไปสู่ที่ลี้ลับถึงที่ลี้ลับแล้ว ไปสู่ที่พึ่งถึงที่พึ่งแล้ว ไปสู่ที่ไม่มี

ภัยถึงที่ไม่มีภัยแล้ว ไปสู่ที่ไม่เคลื่อนถึงที่ไม่เคลื่อนแล้ว ไปสู่อมตะถึงอมตะ

แล้ว ไปสู่นิพพานถึงนิพพานแล้ว พวกลูกหนี้ย่อมปรารถนารักใคร่ความ

เป็นผู้หมดหนี้ ฉันใด พวกป่วยไข้ย่อมปรารถนารักใคร่ความเป็นผู้หายโรค

ฉันใด พวกติดอยู่ในเรือนจำย่อมปรารถนารักใคร่ความพ้นจากเรือนจำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 692

ฉันใด พวกเป็นทาสย่อมปรารถนารักใคร่ความเป็นไท ฉันใด พวกเดิน

ทางกันดารย่อมปรารถนารักใคร่ภาคพื้นที่เกษม ฉันใด หมู่สัตว์ผู้กำหนัด

ปรารถนา ยินดี ติดใจ ลุ่มหลง ข้อง เกี่ยว พัวพันในกามทั้งหลาย

หมู่สัตว์เหล่านั้นย่อมอยากได้ ยินดี ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ ต่อมุนี

ผู้ข้ามคือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลย เป็นไปล่วงซึ่งกามโอฆะ

ภวโอฆะ ฯลฯ ไปสู่นิพพานถึงนิพพานแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า หมู่สัตว์ผู้ยินดีในกามทั้งหลาย ย่อมรักใคร่....

ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

หมู่สัตว์ ผู้ยินดีในกามทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อมุนี

ผู้ประพฤติว่าง ไม่มีอาลัยในกามทั้งหลาย ผู้ข้ามโอฆะ

ได้แล้ว ดังนี้.

จบ ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทสที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 693

อรรถกถาติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

ในติสสเมตเตยยสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เมถุนมนุยุตฺตสฺส ความว่า ผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุน-

ธรรม.

บทว่า อิติ ความว่า ท่านพระติสสเมตเตยยะกราบทูลอย่างนี้.

บทว่า อายสฺมา เป็นคำแสดงความรัก.

บทว่า ติสฺโส เป็นชื่อของพระเถระนั้น พระเถระแม้นั้นก็ปรากฏ

โดยชื่อว่า ติสสะ พระเถระนี้ได้ปรากฏด้วยสามารถแห่งโคตรนั่นแลว่า

เมตเตยยะ เพราะฉะนั้น ในอัตถุปปัตติกถาท่านจึงกล่าวว่า มีสหาย ๒ คน

ชื่อติสสเมตเตยะ.

บทว่า วิฆาต ได้แก่ ความเข้าไปกระทบ.

บทว่า พฺรูหิ แปลว่า โปรดบอก.

บทว่า มาริส เป็นคำแสดงความรัก ท่านอธิบายว่า ท่านผู้นิรทุกข์.

บทว่า สุตฺวาน ตว สาสน ความว่า ฟังพระดำรัสของพระองค์

แล้ว. ท่านพระติสสเมตเตยยะกราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรมปรารภ

สหาย ก็พระเถระนั้นเป็นผู้มีการศึกษาดีทีเดียว.

บทว่า เมถุนธมฺโม นาม นี้เป็นบทอุทเทสเมถุนธรรมที่พึงชี้แจง.

บทว่า อสทฺธมฺโม ได้แก่ ธรรมของอสัตบุรุษคือชนชั้นต่ำ.

บทว่า คามธมฺโม ได้แก่ ธรรมที่พวกชาวบ้านประพฤติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 694

บทว่า วสลธมฺโม ได้แก่ ธรรมของคนถ่อย อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

วสลธรรม เพราะอรรถว่า เป็นธรรมชั่ว ดุจฝน เพราะกิเลสรั่วรด.

บทว่า ทุฏฐุลฺโล ความว่า ชื่อว่า ชั่วหยาบ เพราะอรรถว่า ชื่อ

ว่าชั่ว เพราะกิเลสประทุษร้าย ชื่อว่าหยาบเพราะไม่ละเอียด ก็เพราะความ

เห็นก็ดี ความยึดถือก็ดี ความลูบคลำก็ดี ความถูกต้องก็ดี ความกระทบ

ก็ดี ที่เป็นบริวารของธรรมนั้น ชั่วหยาบ ฉะนั้น ธรรมที่ชั่วหยาบนั้น

จึงเป็นเมถุนธรรม.

บทว่า โอทกนฺติโก ความว่า ชื่อว่า มีน้ำเป็นที่สุด เพราะอรรถ

ว่า ถือเอาน้ำ เพื่อความบริสุทธิ์ในที่สุดแห่งธรรมนั้น อุทกันตะนั่นแหละ

เป็นโอทกันติกะ ชื่อว่า เป็นธรรมอันพึงทำในที่ลับ เพราะเป็นธรรมที่

พึงทำในที่ลับ คือในโอกาสที่ปกปิด ปาฐะว่า วินเย ปน ทุฏฐุลฺล

โอทกนฺติก รหสฺส ดังนี้ก็มี.

ในบท ๓ บทเหล่านั้น พึงเปลี่ยนบท โย โส ประกอบเป็น ย ต

ความว่า อันใดชั่วหยาบ อันนั้นเป็นเมถุนธรรม, อันใดมีน้ำเป็นที่สุด

อันนั้นเป็นเมถุนธรรม, อันใดพึงทำในที่ลับ อันนั้นเป็นเมถุนธรรม. แต่

ในที่นี้ พึงทราบการประกอบบท อย่างนี้ว่า ธรรมใดเป็นธรรมของ

อสัตบุรุษ ธรรมนั้นเป็นเมถุนธรรม ฯลฯ ธรรมใดเป็นธรรมอันพึงทำ

ในที่ลับ ธรรมนั้นเป็นเมถุนธรรม ชื่อว่าธรรมคือความถึงพร้อมด้วยธรรม

ของคนคู่กัน เพราะเป็นธรรมอันคนคู่ ๆ กันพึงถึงพร้อม ประกอบความ

ในบทนั้นว่า ความถึงพร้อมด้วยธรรมของคนคู่กันนั้น ชื่อว่าเมถุนธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 695

บทว่า กึการณา วุจฺจติ เมถุนธมฺโม ความว่า ชื่อว่าเมถุนธรรม

ด้วยเหตุอะไร ด้วยปริยายอะไร พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงเหตุนั้น

ซึ่งท่านกล่าวด้วยประการฉะนี้ จึงกล่าวว่า อุภินฺน รตฺตาน เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุภินฺน รตฺตาน ความว่า แห่งหญิง

และชาย ๒ คน อันราคะย้อมแล้ว.

บทว่า อวสฺสุตาน ความว่า ชุ่มแล้วด้วยกิเลส.

บทว่า ปริยุฏฺิตาน ความว่า กำจัดและย่ำยีอาจาระที่เป็นกุศลตั้ง

อยู่ ดุจในประโยคว่า โจรปล้นในหนทาง เป็นต้น.

บทว่า ปริยาทินฺนจิตฺตาน ความว่า ผู้มีจิตกำจัดกุศลจิต คือทำให้

สิ้นไปตั้งอยู่.

บทว่า อุภินฺน สทิสาน ความว่า ทั้ง ๒ คนมีกิเลสพอกัน.

บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สภาวะ.

บทว่า ต การณา ความว่า เพราะเหตุนั้น.

พระสารีบุตรเถระเมื่อจะยังความข้อนั้นให้สำเร็จด้วยอุปมา จึงกล่าวว่า

อุโภ กลหการกา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุโภ กลหการกา ความว่า ในกาล

อันเป็นส่วนเบื้องต้น คน ๒ คนทำความทะเลาะกัน.

บทว่า เมถุนกาติ วุจฺจนฺติ ความว่า เรียกว่า คนเป็นเช่นเดียวกัน.

บทว่า ภณฺฑนการกา ความว่า ไปการทำความมุ่งร้ายกันในที่นั้น ๆ.

บทว่า ภสฺสการกา ความว่า ทำความทะเลาะกันด้วยวาจา.

บทว่า วิวาทการกา ความว่า กระทำคำพูดต่าง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 696

บทว่า อธิกรณการกา ความว่า กระทำเหตุพิเศษที่ถึงการวินิจฉัย.

บทว่า วาทิโน ความว่า กล่าวและกล่าวตอบกัน.

บทว่า สลฺลาปกา ความว่า กล่าวเจรจา.

บทว่า เอวเมว เป็นคำเปรียบเทียบด้วยอุปมา.

บทว่า ยุตฺตสฺส ความว่า ประกอบพร้อม.

บทว่า ปยุตฺตสฺส ความว่า ประกอบโดยเอื้อเฟื้อ.

บทว่า อายุตฺตสฺส ความว่า ประกอบเป็นพิเศษ.

บทว่า มายุตฺตสฺส ความว่า ประกอบโดยความเป็นอันเดียวกัน.

บทว่า ตญฺจริตสฺส ความว่า กระทำเมถุนธรรมนั้น.

บทว่า ตพฺพหุลสฺส ความว่า กระทำเมถุนธรรมนั้นให้มาก.

บทว่า ตคฺครุกสฺส ความว่า กระทำเมถุนธรรมนั้นให้หนัก.

บทว่า ตนฺนินฺนสฺส ความว่า มีจิตน้อมไปในเมถุนธรรมนั้น.

บทว่า ตปฺโปณสฺส ความว่า มีกายน้อมไปในเมถุนธรรมนั้น.

บทว่า ตปฺปพฺภารสฺส ความว่า มีกายมุ่งหน้าไปในเมถุนธรรมนั้น.

บทว่า ตทธิมุตฺตสฺส ความว่า มีใจเที่ยวไปในเมถุนธรรมนั้น.

บทว่า ตทาธิปเตยฺยสฺส ความว่า กระทำเมถุนธรรมนั้นให้เป็น

ใหญ่เป็นหัวหน้าเป็นไป.

บทว่า วิฆาต เป็นบทอุทเทสแห่งบทที่จะพึงชี้แจง.

บทว่า วิฆาต ความว่า ความเบียดเบียน.

บทว่า อุปฆาต ความว่า ความเบียดเบียนทำใกล้ ๆ.

บทว่า ปีฬน ความว่า ความกระทบกระทั่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 697

บทว่า ฆฏฺฏน ความว่า ความบีบคั้น บททุกบทเป็นไวพจน์กัน

และกันทั้งนั้น.

บทว่า อุปทฺทว ความว่า ความเบียดเบียน.

บทว่า อุปสคฺค ความว่า อาการที่เข้าไปเบียดเบียนในที่นั้น ๆ.

บทว่า พฺรูหิ แปลว่า โปรดตรัสบอก.

บทว่า อาจิกฺขุ แปลว่า โปรดวิสัชนา.

บทว่า เทเสหิ แปลว่า โปรดแสดง.

บทว่า ปญฺาเปหิ แปลว่า โปรดให้ทราบ.

บทว่า ปฏฺเปหิ แปลว่า โปรดตั้งไว้.

บทว่า วิวร แปลว่า โปรดทำให้ปรากฏ.

บทว่า วิภช แปลว่า โปรดจำแนก.

บทว่า อุตฺตานีกโรหิ แปลว่า โปรดให้ถึง.

บทว่า ปกาเสหิ แปลว่า โปรดทำให้ปรากฏ.

บทว่า ตุยฺห วจน แปลว่า พระดำรัสของพระองค์.

บทว่า พฺยปถ แปลว่า พระดำรัส.

บทว่า เทสน แปลว่า พระดำรัสบอก.

บทว่า อนุสาสน แปลว่า พระโอวาท.

บทว่า อนุสิฏฺึ แปลว่า พระดำรัสพร่ำสอน.

บทว่า สุตฺวา ความว่า ฟังแล้วด้วย โสตวิญญาณ

บทว่า สุณิตฺวา เป็นไวพจน์ของบทว่า สุตฺวา นั่นแหละ.

บทว่า อุคฺคเหตฺวา ความว่า ถือเอาโดยชอบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 698

บทว่า อุปธารยิตฺวา ความว่า ไม่ให้ลืม.

บทว่า อุปลกฺขยิตฺวา ความว่า กำหนดไว้.

บทว่า มุสฺสเต วาปิ สาสน ความว่า คำสั่งสอนทั้งสองอย่าง

คือปริยัติและปฏิบัติ ย่อมเสียหาย.

บทว่า วาปิ สักว่าเป็นปทปูรณะ.

บทว่า เอต ตสฺมึ อนาริย ความว่า นี้คือมิจฉาปฏิปทา เป็น

ธรรมอันไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น.

บทว่า คารวาธิวจน เป็นคำกล่าวถึงความเคารพต่อครูผู้สูงสุดของ

สัตว์ผู้ประเสริฐด้วยคุณ เพราะเหตุนั้น โบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า :-

คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา

เป็นคำสูงสุด เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรง

ควรแก่ความเคารพโดยฐานเป็นครู ฉะนั้นจึงทรงพระนาม

ว่า ภควา.

จริงอยู่ นามมี ๔ อย่าง คือ อาวัตถิกนาม ๑ ลิงคิกนาม ๑

เนมิตตกนาม ๑ อธิจจสมุปปันนนาม ๑.

มีคำอธิบายว่า นามที่ตั้งขึ้นตามความปรารถนา ตามโวหารของ

ชาวโลก ชื่อว่า อธิจจสมุปปันนนาม.

บรรดานามเหล่านั้น นามเป็นต้นว่า ลูกโค โคถึก โคงาน อย่าง

นี้ชื่อว่า อาวัติถิกนาม.

นามเป็นต้นว่า คนมีไม้เท้า คนมีร่ม สัตว์มีหงอน สัตว์มีงวง

อย่างนี้ชื่อว่า ลิงคิกนาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 699

นามเป็นต้นว่า ผู้ได้วิชา ๓ ผู้ได้อภิญญา ๖ อย่างนี้ชื่อว่า

เนมิตตกนาม.

นามเป็นต้นว่า เจริญศรี เจริญทรัพย์ ซึ่งตั้งขึ้นโดยมิได้เพ่งเนื้อ

ความของถ้อยคำ อย่างนี้ชื่อว่า อธิจจสมุปปันนนาม.

ก็พระนามว่า ภควา นี้เป็น เนมิตตกนาม พระนางสิริมหามายา

ก็มิได้ทรงขนาน พระเจ้าสุทโธทนมหาราชก็มิได้ทรงขนาน พระญาติแปด

หมื่นก็มิได้ทรงขนาน เทวดาวิเศษทั้งหลายมีท้าวสักกเทวราชและท้าวสัน

ดุสิตเทวราชเป็นต้น ก็มิได้ทรงขนาน จริงอยู่ พระสารีบุตรเถระกล่าว

ไว้ว่า พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดาก็มิได้ทรงขนาน ฯลฯ พระ

นามว่า ภควา นี้เกิดขึ้นที่สุดแห่งวิโมกข์ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ แก่พระ

ผู้มีพระภาคผู้พุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมกับการได้เฉพาะซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ

ณ ควงไม้โพธิ อีกนัยหนึ่งว่า :-

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีโชค ทรงหักกิเลส ทรงประ

ประกอบด้วยภคธรรม ทรงจำแนกแจกธรรม ทรงคบธรรม

และทรงคายกิเลสเป็นเครื่องไปในภพทั้งหลายได้แล้ว เหตุ

นั้นจึงทรงพระนามว่า ภควา.

ในคาถานั้น ท่านกล่าวนิรุตติศาสตร์ไว้ ๕ อย่าง คือ การลงอักษร

ใหม่ ๑ การเปลี่ยนอักษร ๑ การแปลงอักษร ๑ การลบอักษร ๑ และการ

ประกอบด้วยความสมบูรณ์แห่งเนื้อความของธาตุทั้งหลาย บัณฑิตพึงถือ

เอาลักษณะแห่งนิรุตติศาสตร์ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ ทราบความสำเร็จแห่ง

บทด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 700

บรรดานิรุตติศาสตร์ ๕ อย่างนั้น ก็ลงอักษรซึ่งไม่มีอยู่ ดุจการ

ลง อักษรในประโยคนี้ว่า นกฺขตฺตราชาริว ตารกาน ดังนี้ ชื่อว่า

การลงอักษรใหม่.

การเปลี่ยนอักษรที่มีอยู่ โดยเอาข้างหน้าไว้ข้างหลังดุจเมื่อควรจะ

กล่าวว่า หึสนา หึโส ก็กล่าวเสียว่า สีโห ดังนี้ ชื่อว่า การเปลี่ยน

อักษร.

การแปลงอักษรให้เป็นอักษรอื่น ดุจการแปลง อักษรเป็น เอ

อักษร ในประโยคนี้ว่า นวิจฺฉนฺทเก ทาเน ทิยติ ดังนี้ ชื่อว่าการ

แปลงอักษร.

การลบอักษรที่มีอยู่ ดุจเมื่อควรจะกล่าวว่า ชีวนสฺส มุโต

ชีวนมุโต ก็ลบ อักษร และ อักษรเสีย เป็น ชีมุโต ดังนี้ ชื่อ

ว่าการลบอักษร.

การประกอบเนื้อความเป็นพิเศษตามที่ประกอบในที่นั้น ๆ ดุจการทำ

บทว่า ปกฺรุพฺพมาโน ในประโยคนี้ ว่า ผรุสาหิ วาจาหิ ปกฺรุพฺพ

มาโน อาสชฺช ม ตฺว วทสิ กุมาร ให้สำเร็จเนื้อความว่า อติภวมาโน

ดังนี้ ชื่อว่าการประกอบด้วยความสมบูรณ์แห่งเนื้อความของธาตุทั้งหลาย.

เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีภาคยะที่ถึงฝั่งมีทานและศีลเป็น

ต้น ซึ่งให้บังเกิดโลกิยสุขและโสกุตตรสุข ฉะนั้น เมื่อควรจะถวายพระ

นามว่า ภาคฺยวา พึงทราบว่า ท่านถือเอาลักษณะแห่งนิรุตติศาสตร์

อย่างนี้หรือถือเอาลักษณะคือการเพิ่มศัพท์มีปิโสทร ศัพท์เป็นต้น โดยนัย

แห่งศัพท์ศาสตร์ ถวายพระนามว่า ภควา.

๑. ปิโสทร - ที่ท้องมีรอยจุด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 701

อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงหักกิเลส เครื่องกระวนกระ-

วาย เครื่องเร่าร้อนทุกอย่างนับแสน มีประเภทคือ โลภะ โทสะ โมหะ

มนสิการวิปริต อหิริกะ อโนตตัปปะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ

อิสสา มัจฉริยะ มายา สาไถย ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ

ปมาทะ ตัณหา อวิชชา อกุศลมูล ๓ ทุจริต ๓ สังกิเลส ๓ วิสมสัญญา

๓ วิตก ๓ ปปัญจะ ๓ วิปริเยสะ ๔ อาสวะ ๔ คันถะ ๘ โอฆะ ๔

โยคะ ๔ อคติ ๔ ตัณหา ๔ อุปาทาน ๔ เจโตขีละ ๕ วินิพันธะ ๕

นิวรณ์ ๕ อภินันทนะ ๕ วิวาทมูล ๖ กองตัณหา ๖ อนุสัย ๗ มิจ-

ฉัตตะ ๘ ตัณหามูล ๙ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทิฏฐิ ๖๒ ตัณหาวิปริต ๑๐๘

หรือโดยย่อ ซึ่งมาร ๕ คือ กิเลสมาร ขันธมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร

และเทวบุตรมาร ฉะนั้น เมื่อควรจะถวายพระนามว่า ภคฺควา เพราะทรง

หักอันตรายเหล่านี้ได้แล้ว แต่ถวายพระนามว่า ภควา อนึ่ง ท่านกล่าว

ไว้ในที่นี้ว่า :-

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงหักราคะ โทสะ โมหะ

ได้แล้ว ทรงหาอาสวะมิได้ ธรรมอันลามกทั้งหลาย พระ-

องค์ก็ทรงหักเสียแล้ว เหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า ภควา.

อนึ่ง สมบัติแห่งรูปกายของพระองค์ผู้ทรงบุญลักษณะตั้งร้อย เป็น

อันท่านแสดงแล้วด้วยความที่พระองค์ทรงมีภาคยะ สมบัติแห่งธรรมกาย

ของพระองค์ เป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยความที่พระองค์ทรงหักโทสะเสียได้

อนึ่ง ความที่พระองค์เป็นผู้อันโลกิยชนและอริยบุคคลทั้งหลายนับถือแล้ว

มาก ความเป็นผู้อันคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายพึงเข้าเฝ้า ความเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 702

สามารถกำจัดทุกข์กายทุกข์ใจ ของคนผู้เข้าเฝ้าเหล่านั้น ความเป็นผู้มี

อุปการะด้วยอามิสทานและธรรมทาน ความเป็นผู้สามารถประกอบคนเหล่า

นั้นไว้ด้วยโลกิยสุขและโลกุตตรสุข เป็นต้นท่านแสดงแล้ว.

อนึ่ง เพราะ ภค ศัพท์ เป็นไปในธรรม ๖ ประการในโลก คือ

อิสสริยะ ธรรม ยศ สิริ กาม และความขวนขวาย ก็พระผู้มีพระภาค

เจ้าพระองค์นั้น ทรงมีอิสสริยะในพระทัยของพระองค์อย่างยิ่ง หรือทรงมี

อิสสริยะบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ที่ชาวโลกรู้กันแล้ว มีหายตัวและล่อง

หนเป็นต้น.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงมีโลกุตตรธรรม ทรงมี

พระยศบริสุทธิ์ยิ่งนัก ที่ทรงบรรลุด้วยพระคุณตามที่เป็นจริง อันระบือไป

ในโลกทั้ง ๓ มีพระสิริแห่งอังคาพยพน้อยใหญ่ทุกส่วน บริบูรณ์ด้วยอาการ

ทั้งปวง สามารถยังความเลื่อมใสให้เกิดแก่ตาและใจของชนผู้ขวนขวายใน

การชมพระรูปกาย ทรงมีความปรารถนาที่รู้กันแล้วว่า ความสำเร็จประ-

โยชน์ที่ทรงปรารถนา เพราะไม่ว่าประโยชน์ใด ๆ ที่พระองค์ทรงมุ่งหมาย

ปรารถนา จะเป็นประโยชน์คนหรือประโยชน์ผู้อื่นก็ตาม ประโยชน์นั้น ๆ

สำเร็จได้ดังนั้นทีเดียว อนึ่ง พระองค์ทรงมีความขวนขวาย กล่าวคือความ

พยายามชอบ อันเป็นตัวเหตุให้เกิดความเป็นครูของโลกทั้งปวง เพราะ

ฉะนั้น บัณฑิตจึงถวายพระนามว่า ภควา ด้วยอรรถนี้ว่า เพราะพระองค์

ทรงมีภคธรรม แม้เพราะทรงประกอบด้วยภคธรรมเหล่านี้.

อนึ่ง เพราะเหตุที่พระองค์ทรงแจก คือจำแนก เปิดเผย มีอธิบาย

ว่า แสดง ซึ่งธรรมทั้งปวง โดยประโยคเภทมีกุศลเป็นต้น. หรือซึ่งธรรมมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 703

กุศลเป็นต้น โดนประเภทเป็นต้นว่า ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์

และปฏิจจสมุปบาท. หรือซึ่ง ทุกขอริยสัจ ด้วยอรรถว่าบีบคั้น อันปัจจัย

ปรุงแต่ง ทำให้เร่าร้อนและแปรปรวน. ซึ่ง สมุทัยอริยสัจ ด้วยอรรถว่า

เหตุประมวลมา เป็นเหตุมอบให้ซึ่งผล เป็นเหตุประกอบและเป็นเหตุกังวล.

ซึ่ง นิโรธอริยสัจ ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องสลัดออก เป็นความสงัด ไม่มี

ปัจจัยปรุงแต่ง และเป็นธรรมไม่ตาย. ซึ่ง มรรคอริยสัจ ด้วยอรรถว่า

เป็นเครื่องนำออกเป็นเหตุ เป็นทัศนะ และเป็นใหญ่. ฉะนั้น เมื่อควร

ถวายพระนามว่า วิภตฺตวา แต่ถวายพระนามว่า ภควา.

อนึ่ง พระองค์ทรงคบ คือทรงเสพ ทรงกระทำให้มาก ซึ่งทิพย-

วิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร ซึ่งกายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก

ซึ่งสุญญตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ และอนิมิตตวิโมกข์ และซึ่งอุตตริ-

มนุษยธรรมเหล่าอื่น ทั้งที่เป็นโลกิยะทั้งที่เป็นโลกุตตระ ฉะนั้น เมื่อควร

ถวายพระนามว่า ภตฺตวา แต่ถวายพระนามว่า ภควา.

อนึ่ง เพราะพระองค์ทรงคายการไป กล่าวคือ ตัณหาในภพ ๓

เสียแล้ว ฉะนั้น เมื่อควรถวายพระนามว่า ภเวสุ วนฺตคมโน ทรงคาย

การไปในภพทั้งหลาย. ท่านถือเอา อักษร จาก ภว ศัพท์, อักษร

จาก คมน ศัพท์. อักษร จาก วนฺต ศัพท์ ทำให้เป็นทีฆะแล้วถวาย

พระนามว่า ภควา เหมือนในทางโลก เมื่อควรจะกล่าวว่า เมหนสฺส

ขสฺส มาลา เครื่องประดับของลับ ก็กล่าวว่า เมขลา เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระสารีบุตรเถระเมื่อจะชี้แจงปริยายแม้อื่นอีก จึง

กล่าวว่า ภคฺคราโคติ ภควา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น พระผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 704

พระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ภัคคราคะ เพราะพระองค์ทรงทำลายราคะได้

แล้ว แม้ในบท ภคฺคโทโส เป็นต้น ก็นัยนี้นั่นเอง.

บทว่า กณฺฏโก ได้แก่ กิเลสนั้นแล ด้วยอรรถว่าแทงตลอด.

บทว่า ภชิ ความว่า ทรงจำแนกเป็นส่วนด้วยสามารถแห่งอุทเทส.

บทว่า วิภชิ ความว่า ทรงจำแนกเป็นอย่าง ๆ ด้วยสามารถแห่ง

นิทเทส.

บทว่า ปฏิภชิ ความว่า ทรงจำแนกวิเศษโดยประการด้วยสามารถ

แห่งปฏินิทเทส. ทรงจำแนกด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้เป็นอุคฆติตัญญู,

ทรงจำแนกวิเศษด้วย สามารถแห่งบุคคลผู้เป็นวิปจิตัญญู. ทรงจำแนกวิเศษ

เฉพาะด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้เป็นเนยยะ.

บทว่า ธมฺมรตน ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกเป็น ๓

อย่าง ซึ่งธรรมรัตนะที่ทรงสรรเสริญไว้อย่างนี้ว่า :-

เครื่องใช้สอยของสัตว์อย่างเยี่ยม ทำไว้งดงามและ

มีค่ามาก ไม่มีที่เปรียบ หาดูได้ยาก เรียกว่า รัตนะ นั่นแล.

บทว่า ภวาน อนฺตกโร ความว่า ทรงกระทำ กำหนด คือ ที่สุด

รอบ ทางรอบ แห่งภพ ๙ มีกามภพ เป็นต้น.

บทว่า ภาวิตกาโย ความว่า มีพระกายอันเจริญแล้ว แม้ในบท

นอกนี้ก็เหมือนกัน.

บทว่า ภชิ ได้แก่ ทรงเสพแล้ว.

บทว่า อรญฺวนปตฺถานิ ความว่า นอกเสาเขื่อนของบ้านก็ตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 705

ของเมืองก็ตาม ชื่อว่า ป่าละเมาะ ไพรสณฑ์ที่เลยบริเวณรอบ ๆ ถิ่นมนุษย์

ชื่อว่าป่าทึบ.

บทว่า ปนฺตานิ ความว่า เสนาสนะไกล ไม่เป็นที่ไถหว่านของ

พวกมนุษย์ แต่อาจารย์บางท่านกล่าวว่า :-

บทว่า วนปตฺถานิ ความว่า เพราะเสือโคร่งเป็นต้น มีอยู่ในป่าใด

เสือโคร่งเป็นต้นเหล่านั้นย่อมคุ้มครองรักษาป่านั้น ฉะนั้น เสนาสนะเหล่า

นั้นชื่อว่า วนปัตถะ เพราะเสือโคร่งเป็นต้นเหล่านั้นรักษา.

บทว่า เสนาสนานิ ความว่า ชื่อว่า เสนาสนะ เพราะอรรถว่า

เป็นที่นอนและที่นั่ง.

บทว่า อปฺปสทฺทานิ ความว่า มีเสียงน้อย ด้วยเสียงของคำพูด.

บทว่า อปฺปนิคโฆสานิ ความว่า ปราศจากเสียงกึกก้อง ด้วยเสียง

กึกก้องในบ้านและเมืองเป็นต้น.

บทว่า วิชนวาตานิ ความว่า เว้นจากลมสรีระของชนผู้สัญจรภาย

ใน ปาฐะว่า วิชนวาทานิ ก็มี ความว่า เว้นจากวาทะของชนภายใน

ปาฐะว่า วีชนวาตานิ ก็มี ความว่า เว้นจากคนสัญจร.

บทว่า มนุสฺสราหเสยฺยกานิ ความว่า เป็นที่กระทำกรรมลับของ

พวกมนุษย์.

บทว่า ปฏิสลฺลานสารุปฺปานิ ความว่า เหมาะแก่วิเวก.

บทว่า ภาคี วา ความว่า ชื่อว่าทรงมีส่วน เพราะอรรถว่า

พระองค์ทรงมีส่วน คือส่วนมีจีวรเป็นต้น ชื่อว่าทรงมีส่วน เพราะอรรถ

ว่า พระองค์ทรงมีส่วนแห่งอรรถรสเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 706

บทว่า อตฺถรสสฺส ได้แก่ อรรถรสกล่าวคือความถึงพร้อมแห่งผล

ของเหตุ.

บทว่า ธมฺมรสสฺส ได้แก่ ธรรมรสกล่าวคือความถึงพร้อมแห่งเหตุ

สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ญาณในผลของเหตุ ชื่อว่าอรรถปฏิสัมภิทา ญาณ

ในเหตุ ชื่อว่าธรรมปฏิสัมภิทา.

บทว่า วิมุตฺติรสสฺส ได้แก่ วิมุตติรสกล่าวคือความถึงพร้อมแห่ง

ผล สมจริงดังที่ตรัสไว้ร่า เรียกว่า รส ด้วยอรรถว่าความถึงพร้อมแห่ง

กิจ.

บทว่า จตุนฺน ฌานาน ได้แก่ ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น.

บทว่า จตุนฺน อปฺปมญฺาน ได้แก่ พรหมวิหาร ๔ มีเมตตา

เป็นต้น ที่เว้นจากประมาณในการแผ่ คือ แผ่ไปโดยไม่มีประมาณ.

บทว่า จตุนฺน อรูปสมาปตฺตีน ได้แก่ อรูปฌาน มีอากา-

สานัญจายตนฌานเป็นต้น.

บทว่า อฏฺนฺน วิโมกฺขาน ได้แก่ วิโมกข์ ๘ ที่พ้นจากอารมณ์

ซึ่งท่านกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลายดังนี้.

ฌานทั้งหลายชื่อว่า อภิภายตนะ ในบทว่า อภิภายตนาน นี้

เพราะอรรถว่า ฌานเหล่านั้นมีอายตนะเป็นยิ่ง.

บทว่า อายตนานิ ได้แก่ ฌานมีกสิณเป็นอารมณ์ กล่าวคือ

อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งอารมณ์อย่างมั่นคง จริงอยู่บุคคลผู้ยิ่งด้วย

ญาณ มีญาณบริสุทธิ์ ย่อมเข้าสมบัติครอบงำอารมณ์เหล่านั้นว่า เราจะพึง

เข้าสมาบัติในอารมณ์นี้ทำไม ภาระในการการทำเอกัคคตาจิตไม่มีในเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 707

อธิบายว่า ทำอัปปนาให้บังเกิดในอารมณ์นี้พร้อมกับความเกิดขึ้นแห่งนิมิต

นั้นเอง ฌานที่ให้เกิดขึ้นอย่างนี้ เรียกว่า อภิภายตนะ แห่งอภิภายตนะ

๘ เหล่านั้น.

บทว่า นวนฺน อนุปุพฺพวิหารสมาปตฺตีน ความว่า ชื่อว่า

อนุปุพพวิหารสมาบัติ เพราะพึงอยู่ คือพึงเข้าถึง ตามก่อน ๆ คือตามลำดับ

อธิบายว่า พึงเข้าถึงตามลำดับ แห่งอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เหล่านั้น.

บทว่า ทสนฺน สญฺาภาวนาน ได้แก่ สัญญาภาวนา ๑๐ มี

อนิจจสัญญาเป็นต้น ที่นาในคิริมานนทสูตร.

บทว่า ทสนฺน กสิณสหาปตฺตีน ได้แก่ ฌาน ๑๐ มีปถวีกสิณ-

ฌานเป็นต้น กล่าวคือกสิณ ด้วยอรรถว่าทั่วไป.

บทว่า อานาปานสฺสติสมาปตฺติยา ได้แก่ สมาธิที่สัมปยุตด้วย

อานาปานสติ.

บทว่า อสุภสมาปตฺติยา ได้แก่ การเข้าฌานมีอสุภะเป็นอารมณ์.

บทว่า ทสนฺน ตถาคตพลาน ได้แก่ ญาณอันเป็นกำลังของ

พระทศพล ๑๐ ประการ.

บทว่า จตุนฺน เวสารชฺชาน ได้แก่ เวสารัชชธรรม ๔ ซึ่งเป็น

ความแกล้วกล้า.

บทว่า จตุนฺน ปฏิสมฺภิทาน ได้แก่ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔.

บทว่า ฉนฺน อภิญฺาน ได้แก่ อภิญญา ๖ มีอิทธิวิธเป็นต้น.

บทว่า ฉนฺน พุทฺธธมฺมาน ได้แก่ พุทธธรรม ๖ ที่มาในเบื้อง

บนโดยนัยเป็นต้นว่า กายกรรมทุกอย่างเป็นไปตามญาณ. จีวรเป็นต้น ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 708

บทนั้นท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งภาคยสมบัติ. อรรถรสตุกะ ท่านกล่าว

ด้วยสามารถแห่งปฏิเวธ. อธิสีลติกะ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งปฏิบัติ.

ฌานติกะ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งรูปฌานและอรูปฌาน. วิโมกขติกะ

ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งสมาบัติ สัญญาพาจตุกกะ ท่านกล่าวด้วยสามารถ

แห่งอุปจาระและอัปปนา. สติปัฏฐาน เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่ง

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ.

บทว่า ตถาคตพลาน เป็นต้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวด้วยสามารถ

แห่งธรรมพิเศษ.

บทว่า ภควาติ เนต นาม เป็นต้น ต่อจากนี้ ทานกล่าวเพื่อให้

ทราบว่า บัญญัตินี้ไปตามเนื้อความ.

ในบทว่า สมณพฺราหฺมเณหิ นั้น ได้แก่ พวกสมณะ พวก

พราหมณ์ที่เข้าบรรพชา มีวาทะว่าเจริญ สงบบาปหรือลอยบาปแล้ว เทวดา

มีท้าวสักกะเป็นต้น และพรหมทั้งหลาย.

บทว่า วิโมกฺขนฺติก ได้แก่ วิโมกข์ คือ อรหัตตมรรค ที่สุด

แห่งวิโมกข์ คืออรหัตตผล มีในที่สุดแห่งวิโมกข์นั้น ชื่อว่า วิโมกขันติกะ

ด้วยว่า ความเป็นพระสัพพัญญูย่อมสำเร็จด้วยอรหัตตมรรค คือเป็นอัน

สำเร็จแล้วด้วยการบรรลุอรหัตตผล ฉะนั้น ความเป็นสัพพัญญูจึงมีในที่สุด

แห่งวิโมกข์ แม้เนมิตตกนามนั้น ก็เป็นนามที่มีในที่สุดแห่งวิโมกข์ เหตุ

นั้นท่านจึงกล่าวว่า วิโมกฺขนฺติกเมต พุทฺธาน ภควนฺตาน ดังนี้.

บทว่า โพธิยา มูเล สห สพฺพญฺญุตญาณสฺส ปฏิลาภา ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 709

ว่า กับการได้เฉพาะพระสัพพัญญุตญาณ ในขณะตามที่กล่าวแล้ว ณ โคน

ต้นมหาโพธิ.

บทว่า สจฺฉิกา ปญฺตฺติ ความว่า เป็นบัญญัติที่เกิดด้วยการทำให้

แจ้งพระอรหัตตผล หรือด้วยการทำให้แจ้งธรรมทั้งปวง.

บทว่า ยทิท ภควา ความว่า บัญญัติว่า ภควา นี้.

บทว่า ทฺวีหิ การเณหิ ได้แก่ ด้วยส่วน ๒.

บทว่า ปริยตฺติสาสน ได้แก่ พุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก.

บทว่า ปฏิปตฺติ ความว่า ชื่อว่า ปฏิบัติ เพราะอรรถว่า เป็น

เครื่องถึงเฉพาะ.

บทว่า ย ตสฺส ปริยาปุต ความว่า คำสั่งสอนใดอันบุคคลนั้น

ศึกษาแล้ว คือ สาธยายแล้ว. คำว่า ตสฺส นั้นเป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงใน

อรรถแห่งตติยาวิภัตติ ปาฐะว่า ปริยาปุฏ ก็มี.

บทว่า สุตฺต ความว่า คัมภีร์อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร

มงคลสูตร รตนสูตร ตุวฏกสูตรในสุตตนิบาต และพระดำรัสของพระ

ตถาคตที่ได้นามว่าสูตรแม้อื่น พึงทราบว่า สุตตะ พระสูตรที่มีคาถาแม้

ทั้งหมด.

พึงทราบบทว่า เคยยะ สคาถวรรคแม้ทั้งสิ้นในสังยุต. พึงทราบว่า

เคยยะ เป็นพิเศษ.

บทว่า เวยฺยากรณ ความว่า พระอภิธรรมปิฎก ทั้งสิ้น พระสูตร

ที่ไม่มีคาถา และพระพุทธพจน์ที่มิได้สงเคราะห์ด้วยองค์ ๘ นั้นพึงทราบว่า

เวยยากรณะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 710

บทว่า คาถา ความว่าคาถาธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถาและคาถา

ล้วน ๆ ที่มิได้ชื่อว่าพระสูตร ในสุตตนิบาต พึงทราบว่าคาถา.

บทว่า อุทาน ความว่า พระสูตร ๘๒ สูตร ที่ปฏิสังยุตด้วยคาถา

เจือด้วยโสมนัสญาณ พึงทราบว่า อุทาน.

บทว่า อิติวุตฺตก ความว่า พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่เป็นไปโดย

นัยเป็นต้นว่า วุตฺต เหต ภควตา ดังนี้ พึงทราบว่า อิติวุตตกะ.

บทว่า ชาตก ความว่า ชาดก ๕๕๐ เรื่อง มีอปัณณกชาดกเป็นต้น

พึงทราบว่า ชาดก.

บทว่า อพฺภูตธมฺม ความว่า พระสูตรที่ปฏิสังยุตด้วยอัพภูตธรรม

น่าอัศจรรย์ทั้งปวงที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า จตฺตาโรเม ภิกฺขเว อจฺฉริ-

ยา อพฺภูตธมฺมา อานนฺเท ภิกษุทั้งหลาย ข้ออัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ อย่างนี้

หาได้ในอานนท์ ดังนี้ พึงทราบว่า อัพภูตธรรม.

บทว่า เวทลฺล ความว่า พระสูตรแบบถามตอบซึ่งผู้ถามได้ทั้ง

ความรู้และความพอใจ ถามต่อไป แม้ทั้งหมด มีจูฬเวทัลลสูตร มหา

เวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญหสูตร สังขารภาชนียสูตร และ

มหาปณณมสูตรเป็นต้น พึงทราบว่า เวทัลละ.

บทว่า อิท ปริยตฺติสาสน ความว่า พระพุทธวจนะคือพระไตร

ปิฎก ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วนี้ ชื่อว่าคำสั่งสอนทางปริยัติ เพราะทำ

วิเคราะห์ว่า ชื่อว่าปริยัติ เพราะอรรถว่าพึงเล่าเรียน ซึ่งว่าคำสั่งสอน

เพราะอรรถว่าพร่ำสอน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 711

บทว่า ตมฺปิ มุสฺสติ ความว่า คำสั่งสอนทางปริยัติแม้นั้น ย่อม

สูญหาย.

บทว่า ปริมุสฺสติ ความว่า ย่อมสูญหายแต่ต้น.

บทว่า ปริพาหิโร โหติ ความว่า ต่อหน้า.

บทว่า กตม ปฏิปตฺติสาสน ความว่า ส่วนเบื้องต้นแต่โลกุตตร

ธรรม ชื่อว่าปฏิบัติ เพราะอรรถว่าอันบุคคลปฏิบัติอรรถนั้น ชื่อว่าคำ

สั่งสอน เพราะอรรถว่า อันศาสดาสั่งสอนเหล่าเวไนยทั้งหลายในอรรถนี้.

บทว่า สมฺมาปฏิปทา เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า ปาณมฺปิ หนติ ความว่า ฆ่าอินทรีย์คือชีวิตบ้าง.

บทว่า อทินฺนมฺปิ อาทิยติ ความว่า ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ

หวงแหนบ้าง.

บทว่า สนฺธิมปิ ฉินฺทติ ความว่า ตัดที่ต่อของเรือนบ้าง.

บทว่า นิลฺโลปมฺปิ หรติ ความว่า ประหารชาวบ้านทั้งหลายทำ

การปล้นใหญ่บ้าง.

บทว่า เอกาคาริกมฺปิ กโรติ ความว่า ล้อมจับเป็นเรียกค่าไถ่

ด้วยทรัพย์ประมาณ ๕๐ บ้าง ๖๐ บ้าง.

บทว่า ปริปนฺเถปิ ติฏติ ความว่า ทำการรีดเงินที่หนทาง

เปลี่ยว.

บทว่า ปรทารมฺปิ คจฺฉติ ความว่า ถึงความประพฤติในภรรยา

ของผู้อื่น.

บทว่า มุสาปิ ภณติ ความว่า กล่าวเท็จหักประโยชน์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 712

บทว่า อนริยธมฺโม ความว่า มิใช่สภาวะที่ประเสริฐ.

บทว่า เอโก ปุพฺเพ จริตฺวาน ความว่า เทียวไปในเบื้องต้น คือ

ในโลก ด้วยส่วนบรรพชาก็ตาม ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่ก็ตาม.

บทว่า ยาน ภนฺตว ต โลเก หีนมาหุ ปุถุชฺชน ความว่า

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้น คือผู้หมุนไปผิด ว่าเป็นปุถุชนคนเลว

เหมือนยวดยานที่หมุนไปฉะนั้น ด้วยการขึ้นสู่ทางที่ไม่เรียบมีกายทุจริตเป็น

ต้น ด้วยการทำลายตนในนรกเป็นต้น และด้วยการตกลงในเหวคือชาติ

เป็นต้น เหมือนยวดยานมียานช้างเป็นต้น ที่ไม่ได้ฝึกย้อมขึ้นสู่ทางที่ไม่

เรียบบ้าง ทำลายคนขี่เสียบ้าง ตกลงในเหวบ้าง ฉะนั้น.

บทว่า ปพฺพชฺชาสงฺขาเตน ความว่า ด้วยส่วนบรรพชาก็ตาม

คือด้วยการขึ้นสู่การนับว่าเป็นบรรพชิต ว่าเป็นสมณะ ก็ตาม.

บทว่า คณาววสฺสคฺคฏเน วา ความว่า ด้วยการสละความยินดี

ในความคลุกคลีด้วยหมู่เทียวไปก็ตาม.

บทว่า เอโก ปฏิกฺกมติ ความว่า ผู้เดียวเท่านั้นกลับจากบ้าน.

บทว่า โย นิเสวติ เป็นบทอุทเทสของบทที่จะต้องชี้แจง

บทว่า อเปเรน สมเยน ความว่า ในกาลอื่น คือ ในกาลอัน

เป็นส่วนอื่นอีก.

บทว่า พุทฺธ ได้แก่ พระพุทธเจ้าผู้สัพพัญญู.

บทว่า ธมฺม ได้แก่ พระธรรมซึ่งประกอบด้วยคุณมีความเป็น

ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 713

บทว่า สงฺฆ ได้แก่ พระสงฆ์ผู้ประกอบด้วยคุณมีความเป็นผู้

ปฏิบัติดีเป็นต้น.

บทว่า สิกฺข ได้แก่ สิกขาที่ต้องศึกษา มีอธิสีลสิกขาเป็นต้น.

บทว่า ปจฺจกฺขาย ความว่า ห้ามพระพุทธเจ้าเป็นต้น.

บทว่า หีนาย ความว่า เพื่อความเป็นคนเลว คือเพื่อความเป็น

คฤหัสถ์.

บทว่า อาวตฺติตฺวา ความว่า กลับ.

บทว่า เสวติ ความว่า เสพครั้งเดียว.

บทว่า นิเสวติ ความว่า เสพหลายวิธี.

บทว่า สเสวติ ความว่า เสพชุ่ม.

บทว่า ปฏิเสวติ ความว่า เสพบ่อย ๆ.

บทว่า ภนฺต ความว่า หมุนไปผิด.

บทว่า อทนฺต ความว่า มิได้นำเข้าไปสู่ความเป็นสัตว์อันเขาฝึก

แล้ว.

บทว่า อการิต ความว่า ไม่ได้รับการศึกษากิริยาที่ศึกษาดีแล้ว.

บทว่า อวินิต ความว่า ไม่ได้ศึกษาด้วยอาจารสมบัติ.

บทว่า อุปฺปถ คณฺหาติ ความว่า ยานมีประการดังกล่าวแล้ว

ประกอบด้วยความเป็นสัตว์อันเขามิได้ฝึกเป็นต้นหมุนไป ย่อมเข้าถึงทางที่

ไม่เรียบ.

บทว่า วิสม ขาณุมฺปิ ปาสาณมฺปิ อภิรูหติ ความว่า ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 714

ขึ้นบนตอไม้ตะเคียนเป็นต้นตั้งอยู่ไม่เรียบบ้าง กองหินบนภูเขาที่ตั้งอยู่ไม่

เรียบอย่างนั้นบ้าง.

บทว่า ยานมฺปิ อาโรหกมฺปิ ภญฺชติ ความว่า ย่อมทำลาย

ยานมีวอเป็นต้นบ้าง ทำลายมือเท้าเป็นต้นของผู้ที่ขึ้นขี่ขับไปบ้าง.

บทว่า ปปาเตปิ ปปตติ ความว่า ย่อมตกไปในเหวแห่งเงื้อมผา

ที่ขาดด้านเดียวบ้าง.

บทว่า โส วิพฺภนฺตโก ความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ถอยกลับ.

บทว่า ภนฺตยานปาฏิภาโค ความว่า เช่นกับยานที่ไม่ตั้งมั่น.

บทว่า อุปฺปถ คณฺหาติ ความว่า ถอยกลับจากกุศลกรรมบถเข้า

ไปนอกทาง คือทางผิด ซึ่งเป็นทางแห่งอบาย.

บทว่า วิสม กายกมฺม อภิรูหติ ความว่า ย่อมขึ้นสู่กายกรรม

อันไม่เสมอ กล่าวคือกายทุจริต อันเป็นปฏิปักษ์ต่อความเสมอ แม้ใน

บทที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้แหละ.

บทว่า นิรเย อตฺตาน ภญฺชติ ความว่า กระทำอัตภาพให้

แหลกละเอียด ในนรก กล่าวคือที่หาความยินดีมิได้.

บทว่า มนุสฺสโลเก อตฺตาน ภญฺชติ ความว่า ย่อมทำลาย

ด้วยสามารถแห่งการกระทำกรรมมีอย่างต่าง ๆ.

บทว่า เทวโลเก อตฺตาน ภญฺชติ ความว่า ด้วยสามารถแห่ง

ทุกข์ มีทุกข์เกิดแต่ความพลัดพรากจากของรักเป็นต้น.

บทว่า ชาติปปาตมฺปิ ปปตติ ความว่า ตกไปในเหวคือชาติ

บ้าง แม้ในบทว่า ชราปปาต เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. พระสารีบุตร

เถระแสดงโลกที่ประสงค์ในที่นี้นั่นแล ด้วยบทว่า มนุสฺสโลเก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 715

บทว่า ปุถุชฺชนา เป็นบทอุทเทสแห่งบทที่จะต้องชี้แจง บรรดา

บทที่จะต้องชี้แจง บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุถุชฺชนา ความว่า :-

ชื่อว่าปุถุชน ด้วยเหตุทั้งหลายมีการยังกิเลสหนา

ให้เกิดเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง ชนนี้ชื่อว่ามีกิเลสหนา

เพราะหยั่งลงภายในชนที่มีกิเลสหนา ดังนี้แล.

ก็ชนนั้นชื่อว่าปุถุชน ด้วยเหตุทั้งหลายมีการยังกิเลสเป็นต้นที่หนา

คือมีประการต่าง ๆ ให้เกิดเป็นต้น เพื่อจะแสดงปุถุชนนั้นโดยวิภาค พระ

สารีบุตรเถระจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ปุถู กิเลเส ชเนนฺติ ดังนี้ ชื่อว่า

ปุถุชนในนิทเทสนั้นเพราะอรรถว่า ยังสักกายทิฏฐิเหล่านั้นให้เกิด หรือ

อันสักกายทิฏฐิเหล่านั้นให้เกิด เพราะยังกำจัดสักกายทิฏฐิมีประการต่าง ๆ

เป็นอันมากไม่ได้ อีกอย่างหนึ่ง ชนศัพท์ ย่อมกล่าวถึงว่ายังกำจัดไม่ได้

นั่นเอง.

ในบทว่า ปุถุ สตฺถาราน มุขุลฺโลกิกา นี้มีเนื้อความของคำว่า

ชื่อว่าปุถุชน เพราะอรรถว่า มีปฏิญญาต่อศาสดาทั้งหลายมากคือต่าง ๆ.

ในบทว่า ปุถุ สพฺพคตีหิ อวุฏิตา นี้ชื่อว่า เกิดคติ เพราะ

อรรถว่าพึงให้เกิด หรือเป็นที่เกิด ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า มีกิเลส

เกิดมาก ชื่อว่า เกิดอภิสังขารเป็นต้น เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องเกิดกิเลส

นอกนี้ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า มีอภิสังขารเหล่านี้ พึงเห็นว่าชน-

ศัพท์มีเนื้อความว่าปรุงแต่งเป็นต้นนั่นเอง.

บทว่า นานาสนฺตาเปหิ สนฺตปฺปนฺติ ความว่า ความเดือด

ร้อนทั้งหลายมีไฟคือราคะเป็นต้น เหล่านั้นแหละ หรือแม้ทั้งหมด ชื่อว่า

กิเลสเครื่องเร่าร้อน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 716

ในบทว่า ปุถุ ปญฺจสุ กามคุเณสุ นี้ชื่อว่า ชน เพราะอรรถ

ว่าเกิด ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า มีการเกิด มีอาทิอย่างนี้ว่า ความ

กำหนัด ความต้องการมาก อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นว่าชนศัพท์ลงในอรรถ

ว่า กำหนัดเป็นต้นนั่นเอง อย่างนี้ว่า เกิดแล้ว กำหนัดแล้ว มาก.

บทว่า ปลิพุทฺธา ความว่า พัวพัน.

บทว่า อาวุฏา ความว่า ร้อยรัด.

บทว่า นิวุฏา ความว่า กั้น.

บทว่า โอผุฏา ความว่า ปิดเบื้องบน.

บทว่า ปิหิตา ความว่า ปิดเบื้องล่าง.

บทว่า ปฏิจฺฉนฺนา ความว่า ไม่ปรากฏ.

บทว่า ปฏิกุชฺชิตา ความว่า ครอบไว้.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน แม้เพราะหยั่งลงภายในของพวกกิเลส

หนา หรือของเหล่าชนผู้หันหลังให้อริยธรรม ประพฤติเอื้อเฟื้อธรรมต่ำ

ทราม ซึ่งเหลือที่จะนับได้. ชื่อว่า ปุถุชน แม้เพราะอรรถว่า บุคคลนี้

มีกิเลสหนาบ้าง เป็นชนผู้ถึงการนับ คือคลุกคลีด้วยอริยชนผู้ประกอบด้วย

คุณมีศีลและสุตะเป็นต้นบ้าง ปุถุชนอย่างนี้ ได้แก่ปุถุชน ๒ พวกที่ท่าน

กล่าวว่า :-

พระพุทธเจ้าผู้เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ตรัสปุถุชน ๒

จำพวก คืออันธพาลปุถุชน ๑ กัลยาณปุถุชน ๑.

ใน ๒ จำพวกนั้น อันธพาลปุถุชนพึงทราบว่า เป็นผู้ที่ท่านกล่าวถึง.

บทว่า ยโส กิตฺตี จ ได้แก่ลาภสักการะและความสรรเสริญ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 717

บทว่า ปุพฺเพ ได้แก่ ในความเป็นบรรพชิต.

บทว่า หายเต วาปิ ตสฺส สา ความว่า ยศนั้นด้วย เกียรติ

นั้นด้วย ของภิกษุนั้นคือผู้หมุนไปผิด ย่อมเสื่อมไป.

บทว่า เอตมฺปิ ทิสฺวา ความว่า เห็นการได้ยศและเกียรติในกาล

ก่อน และความเสื่อมในภายหลังแม้นั้น.

บทว่า สิกฺเขถ เมถุน วิปฺปหาตเว ความว่า พึงศึกษาสิกขา ๓

เพื่อเหตุอะไร เพื่อละเมถุนธรรม มีอธิบายว่า เพื่อต้องการละเมถุนธรรม.

บทว่า กิตฺติวณฺณภโต ความว่า ภิกษุผู้ได้รับสรรเสริญเกียรติคุณ

ย่อมเป็นผู้ยกเสียงสรรเสริญ และคุณที่พรรณนาขึ้นกล่าว ชื่อว่า มีถ้อยคำ

ไพเราะ เพราะอรรถว่า มีการกล่าวโดยนัยต่าง ๆ ไพเราะ.

บทว่า กลฺยาณปฏิภาโณ ความว่า มีปัญญาดี.

บทว่า หายติ เป็นบท อุทเทส แห่งบทที่ต้องชี้แจง.

บทว่า ปริหายติ ความว่า ย่อมเสื่อมไปโดยรอบ.

บทว่า ปริธสติ ความว่า ย่อมตกไปเบื้องต่ำ.

บทว่า ปริปตฺติ ความว่า ย่อมไปปราศโดยรอบ.

บทว่า อนฺตรธายติ ความว่า ย่อมถึงการเห็นไม่ได้.

บทว่า วิปฺปลุชฺชติ ความว่า ย่อมทำลาย.

บทว่า ขุทฺทโก สีลกฺขนฺโธ ได้แก่ ถุลลัจจัยเป็นต้น.

บทว่า มหนฺโต สีลกฺขนฺโธ ได้แก่ ปาราชิกและสังฆาทิเสส.

บทว่า เมถุนธมฺมสฺส ปหานาย ความว่า เพื่อต้องการละด้วย

ตทังคปหานเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 718

บทว่า วูปสมาย ความว่า เพื่อต้องการเข้าไปสงบมลทินทั้งหลาย.

บทว่า ปฏินิสฺสคฺคาย ความว่า เพื่อต้องการแล่นไป สละขาด

และสละคืน.

บทว่า ปฏิปสฺสทฺธิยา ความว่า เพื่อต้องการผล กล่าวคือความ

สงบระงับ.

ก็ภิกษุใดไม่ละเมถุนธรรม ภิกษุนั้นถึงพร้อมด้วยความดำริ ย่อม

ซบเซา เหมือนคนกำพร้าได้ยินเสียงติเตียนของชนเหล่าอื่นแล้ว ย่อมเป็น

ผู้เก้อเขิน เป็นผู้เช่นนั้นแล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเรโต ความว่า ประกอบ.

บทว่า ปเรส นิคฺโฆส ความว่า คำติเตียนของอุปัชฌาย์เป็นต้น.

บทว่า มงฺกุ โหติ ความว่า เป็นผู้เสียใจ.

บทว่า กามสงฺกปฺเปน ความว่า อันวิตกที่ปฏิสังยุตด้วยกามแม้

ในบทที่ตั้งอยู่เหนือ ๆ ขึ้นไป ก็นัยนี้แหละ.

บทว่า ผุฏฺโ ความว่า อันวิตกทั้งหลายถูกต้องแล้ว.

บทว่า ปเรโต ความว่า ไม่เสื่อมรอบ.

บทว่า สโมหิโต ความว่า ปลง คือเข้าไปในภายในโดยชอบ.

บทว่า กปโณ วิย ความว่า เหมือนคนตกยาก.

บทว่า มนฺโท วิย ความว่า เหมือนคนไม่มีความรู้.

บทว่า โมมูโห วิย ความว่า เหมือนคนลุ่มหลง.

บทว่า ฌายติ ความว่า ย่อมคิด.

บทว่า ปชฺฌายติ ความว่า ย่อมคิดหนัก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 719

บทว่า นิชฺฌายติ ความว่า ย่อมคิดหลายอย่าง.

บทว่า อวชฺฌายติ ความว่า ย่อมคิดนอกไปจากนั้น.

บทว่า อุลูโก ได้แก่ นกเค้าแมว.

บทว่า รุกฺขสาขาย ความว่า ที่กิ่ง ซึ่งตั้งขึ้นบนต้นไม้ หรือที่

ค่าคบ.

บทว่า มูสิก คมยมาโน ความว่า แสวงหาหนู, อาจารย์บาง

ท่านกล่าวว่า มคฺคยมาโน ดังนี้ก็มี.

บทว่า โกตฺถุ ได้แก่ สุนัขจิ้งจอก.

บทว่า วิลาโร ได้แก่ แมว.

บทว่า สนฺธิสมลสปงฺกตีเร ความว่า ในระหว่างเรือน ๒ หลังที่

ท่อน้ำ เปือกตม ที่ทิ้งหยากเยื่อ และที่เนินค่าย.

บทว่า วหจฺฉินฺโน ความว่า มีเนื้อหลังและคอขาดไป คาถาต่อ

จากนี้ปรากฏความเกี่ยวเนื่องกันแล้วทั้งนั้น.

บทว่า สตฺถานิ ในคาถานั้น ได้แก่ กายทุจริตเป็นต้น ก็กาย

ทุจริตเป็นต้นเหล่านั้น ท่านเรียกว่า ศัสตรา เพราะอรรถว่า ตัดทั้งตน

และผู้อื่น ก็ภิกษุนี้ เมื่อกล่าวว่า ข้าพเจ้าสึกเพราะเหตุนี้ ชื่อว่าย่อมกระทำ

ศัสตรา คือกล่าวเท็จแต่ต้นก่อนโดยวิเสส ในบรรดาศัสตราเหล่านั้น

เพราะเหตุนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เอส ขฺวสฺส มหา

เคโธ โมสวชฺช ปคาหติ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอส ขฺวสฺส ตัดบทเป็น เอโส โข

อสฺส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 720

บทว่า มหาเคโธ ได้แก่ เครื่องผูกพันใหญ่หากจะถามว่า เป็น

ไฉน ? ก็ได้แก่ การหยั่งลงสู่มุสาวาท พึงทราบว่า เป็นเครื่องผูกพันของ

ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นย่อมหยั่งลงสู่ความเป็นผู้พูดเท็จ.

บทว่า ตีณิ สตฺถามิ ได้แก่ เครื่องตัด ๓ อย่าง กายทุจริตทั้ง

หลายชื่อว่าศัสตราทางกาย แม้ในศัสตราทางวาจาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือน

กันเพื่อจะแสดงศัสตรานั้นเป็นส่วน ๆ พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า ติวิธ

กายทุจฺจริต กายสตฺถ ดังนี้.

บทว่า สมฺปชานมุสา ภาสติ ความว่า รู้อยู่กล่าววาจาไร้

ประโยชน์.

บทว่า อภิรโต อห ภนฺเต อโหสึ ปพฺพชฺชาย ความว่า

ข้าพเจ้าเป็นผู้มิได้เว้นจากความยินดียิ่งต่อการบรรพชาในพระศาสนา.

บทว่า มาตา เม โปเสตพฺพา ความว่า ข้าพเจ้าเลี้ยงดูมารดา.

บทว่า เตนฺมหิ วิพฺภนฺโตติ ภณติ ความว่า เพราะเหตุนั้น

ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้ก้าวกลับคือลาสิกขา.

แม้ในบทว่า ปิตา มยา โปเสตพฺโพ ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงบิดา

เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า เอโส ตสฺส มหาเคโธ ความว่า การกล่าวเท็จทั้งรู้อยู่

นั้นเป็นเครื่องผูกพันใหญ่ของบุคคลนั้น.

บทว่า มหาวน ได้แก่ ป่าใหญ่.

บทว่า คหณ ได้แก่ ก้าวล่วงได้ยาก.

บทว่า กนฺตาโร ความว่า เช่นกับกันดารเพราะโจรเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 721

บทว่า วิสโม ความว่า ไม่เสมอเพราะหนาม.

บทว่า กุฏิโล ความว่า เช่นกับโค้ง.

บทว่า ปงฺโก ความว่า เช่นกับสระน้อย.

บทว่า ปลิโป ความว่า เช่นกับเปือกตม.

บทว่า ปลิโพโธ ความว่า เข้าถึงได้ยากมาก.

บทว่า มหาพนฺธน ความว่า เครื่องผูกรัดใหญ่เปลื้องได้ยาก.

บทว่า ยทิท สมฺปชานมุสาวาโท ความว่า การกล่าวเท็จทั้งรู้

อยู่นี้ใด.

บทว่า สภคฺคโต วา ความว่า อยู่ในสภาก็ดี.

บทว่า ปริสคฺคโต วา ความว่า อยู่ในที่ประชุมชาวบ้านก็ดี.

บทว่า าติมชฺฌคโต วา ความว่า อยู่ท่ามกลางทายาททั้งหลาย

ก็ดี.

บทว่า ปูคมชฺฌคโต วา ความว่า อยู่ท่ามกลางกองทหารก็ดี.

บทว่า ราชกุลมชฺฌคโต วา ความว่า อยู่ในที่วินิจฉัยใหญ่ท่าม

กลางราชสกุลก็ดี.

บทว่า อภินีโต ความว่า ถูกนำไปเพื่อต้องการถาม.

บทว่า สกฺขิปุฏฺโ ความว่า ถูกถามเป็นพยาน.

บทว่า เอหิ โภ ปุริส นี้เป็นคำร้องเรียก.

บทว่า อตฺตเหตุ วา ปรเหตุ วา ความว่า เพราะเหตุแห่ง

อวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้นบ้าง เพราะเหตุแห่งทรัพย์บ้าง ของตนบ้างของ

ผู้อื่นบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 722

บทว่า อามิส ในบทว่า อามิสกิญฺจิกฺขเหตุ วา นี้ ท่าน

ประสงค์เอาลาภ.

บทว่า กิญฺจิกฺข ความว่า อามิสอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีประมาณ

น้อยโดยที่สุดเพียงนกกระทา นกกระจาบ ก้อนเนยใสและก้อนเนยข้นเป็น

ต้น อธิบายว่า เพราะเหตุแห่งลาภบางอย่าง.

บทว่า สมฺปชานมุสา ภาสติ ความว่า รู้อยู่นั่นแลทำมุสาวาท.

อนึ่ง พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงปริยายอื่นอีก จึงกล่าวคำเป็น

ต้นว่า ตีหากาเรหิ มุสาวาโท โหติ ปุพฺเพวสฺส โหติ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตีหากาเรหิ ความว่า ด้วยเหตุ ๓

อย่าง ซึ่งเป็นองค์ของสัมปชานมุสาวาท.

บทว่า ปุพฺเพวสฺส โหติ ความว่า ในกาลอันเป็นส่วนเบื้องต้น

นั่นแล บุคคลนั้นมีความรู้อย่างนี้ว่า เราจักพูดเท็จ.

บทว่า ภณนฺตสฺส โหติ ความว่าเมื่อกำลังพูดก็รู้.

บทว่า ภณิตสฺส โหติ ความว่า เมื่อพูดแล้วบุคคลนั้นก็รู้ อธิบาย

ว่า เมื่อกล่าวคำที่พึงกล่าวนั้นแล้ว ก็รู้.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภณิตสฺส ความว่าเมื่อกล่าวออกไปแล้ว คือ

พูดจบแล้ว ก็รู้ ในข้อนี้ท่านแสดงเนื้อความดังนี้ว่า บุคคลใดย่อมรู้แม้

ในกาลอันเป็นส่วนเบื้องต้น คือแม้กำลังกล่าวอยู่ก็รู้ แม้ภายหลังก็รู้ ว่าเรา

กล่าวเท็จแล้ว บุคคลนั้นเมื่อกล่าวอยู่อย่างนี้ ย่อมถูกมัดด้วยกรรมคือกล่าว

เท็จ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 723

ในข้อนี้ท่านแสดงเนื้อความไว้แล้วก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีเนื้อ

ความพิเศษ ดังต่อไปนี้ :- ถามก่อนว่า กาลอันเป็นส่วนเบื้องต้นว่าเราจัก

กล่าวเท็จ มีอยู่, กาลอันเป็นส่วนภายหลังว่า เรากล่าวเท็จแล้ว ไม่มี. เพียง

คำที่กล่าวเท่านั้น ใครๆ ก็ลืมได้ จะเป็นมุสาวาทแก่บุคคลนั้นหรือไม่ ?

คำถามนั้นท่านวิสัชนาไว้แล้วในอรรถกถาทั้งหลายอย่างนี้ ในตอนแรก

รู้ว่าเราจักกล่าวเท็จ และเมื่อกล่าวอยู่ ก็รู้ว่าเรากำลังกล่าวเท็จ. ในตอนหลัง

รู้ว่าเรากล่าวเท็จแล้ว ใคร ๆ ไม่อาจที่จะไม่เป็น แม้หากจะไม่เป็นก็คงเป็น

มุสาวาทอยู่นั่นเอง ด้วยว่า ๒ องค์แรกนั่นแลเป็นประมาณ. แม้ผู้ใดใน

ตอนแรกไม่ตั้งใจว่าเราจักกล่าวเท็จ แต่เมื่อกล่าว รู้ว่าเรากำลังกล่าวเท็จ

แม้เมื่อกล่าวแล้ว ก็รู้ว่าเรากล่าวเท็จแล้ว ไม่พึงปรับผู้นั้นด้วยมุสาวาท

เพราะตอนแรกเป็นประมาณกว่า เมื่อไม่เป็นมุสาวาท ย่อมเป็นการกล่าว

เล่นหรือกล่าวเสียงร้องเท่านั้น.

อนึ่ง พึงสละภาวะคือญาณในมุสาวาทนั้น และการประชุมแห่งญาณ

ในข้อนี้เสีย.

บทว่า ตญฺาณตา ปริจฺจิตพฺพา ความว่า บุคคลย่อมรู้ว่า

เราจักกล่าวเท็จ ด้วยจิตดวงใด ย่อมรู้ว่าเรากล่าวเท็จ และว่าเรากล่าวเท็จ

แล้ว ด้วยจิตดวงนั้นนั่นเอง ย่อมรู้ในขณะ ๓ ด้วยจิตดวงเดียวนั่นแหละ

อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ ฉะนั้นจึงควรสละภาวะคือญาณในมุสาวาทนั้นอัน

นี้เสีย ด้วยว่าบุคคลไม่อาจจะรู้จิตดวงนั้นด้วยจิตดวงนั้นนั่นเองได้เหมือน

ไม่อาจจะใช้ดาบเล่มนั้นนั่นเองฟันดาบเล่มนั้นได้ ก็จิตดวงแรก ๆ เป็น

ปัจจัยตามที่เกิดขึ้นของจิตดวงหลัง ๆ แล้วดับไป เพราะเหตุนั้นท่านจึง

กล่าวว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 724

กาลอันเป็นส่วนเบื้องต้นแลเป็นประมาณ เมื่อกาล

อันเป็นส่วนเบื้องต้นนั้นมีอยู่ กาลทั้ง ๒ นั้นจึงไม่มี วาจา

ประกอบด้วยองค์ ๓ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า าณสโมธาน ปริจฺจชิตพฺพ ความว่าจิต ๓ ดวงเหล่า

นี้ไม่พึงถือเอาว่า ย่อมเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน ก็ชื่อว่าจิตนี้ :-

เมื่อดวงแรกยังไม่ดับ ดวงหลังย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะ

เกิดขึ้นติด ๆ กัน จึงปรากฏเหมือนดวงเดียว.

ต่อแต่นี้ บุคคลนี้ใดไม่รู้อยู่เลย กล่าวเท็จทั้งรู้โดยนัยเป็นต้นว่า เรา

รู้เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า นี้ไม่จริง บุคคลนั้นก็มีลัทธิอยู่ดังนี้เท่า

นั้น. อนึ่งบุคคลนั้นเห็นด้วยและชอบใจอย่างนี้ว่า นี้ไม่จริง บุคคลนั้นมี

ความสำคัญอย่างนี้ มีสภาวะอย่างนี้เท่านั้น และมีจิตว่า นี้ไม่จริง. แต่

เมื่อใดประสงค์จะกล่าวเท็จ เมื่อนั้นเขาปิดบัง คือทอดทิ้ง ปกปิด ซึ่ง

ทิฏฐินั้นบ้าง, ซึ่งความควรกับทิฏฐิบ้าง, ซึ่งความชอบใจกับทิฏฐิและ

ความควรบ้าง, ซึ่งความสำคัญกับทิฏฐิความควรและความชอบใจบ้าง,

ซึ่งความจริงกับทิฏฐิความควรความชอบใจและความสำคัญบ้าง ย่อมกล่าว

ไม่เด่นชัด ฉะนั้นเพื่อจะแสดงประเภทขององค์ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิเป็น

ต้นแม้เหล่านั้น พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า อปิจ จตูหากาเรหิ

เป็นต้น.

บทว่า วินิธาย ทิฏึ ในที่นี้ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งการ

ปิดบังธรรมที่มีกำลัง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 725

บทว่า วินิธาย ขนฺตึ เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งการ

ปิดบังธรรมที่ทุรพลกว่านั้น.

แต่บทว่า วินิธาย สญฺ นี้ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งการปิด

บังธรรมที่ทุรพลทั้งหมดในที่นี้. ข้อว่าบุคคลไม่ปิดบังชื่อแม้เพียงความ

สำคัญ จักกล่าวเท็จทั้งรู้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้แล.

บทว่า มนฺโทว ปริกิสฺสติ ความว่า กระทำการฆ่าสัตว์เป็นต้น

เสวยทุกข์ซึ่งมีเหตุเกิดแต่การฆ่าสัตว์เป็นต้นนั้น กระทำการแสวงหาและ

การรักษาโภคสมบัติ ย่อมเศร้าหมองเหมือนคนหลงใหล.

บทว่า ตเมน ราชาโน คเหตฺวา วิวิธา กมฺมกรณา กาเรนฺติ

ความว่า พระราชาทั้งหลายมิได้ทรงกระทำเอง พวกบุรุษผู้จัดแจงของ

พระราชากระทำกรรมกรณ์มีอย่างต่าง ๆ.

บทว่า กสาหิปิ ตาเฬนฺติ ความว่า คุกคามด้วยท่อนแส้บ้าง.

บทว่า เวตฺเตหิ ได้แก่ เส้นหวาย.

บทว่า อฑฺฒทณฺฑเกหิ ได้แก่ ไม้ค้อนหรือไม้พลองที่ตัดท่อน

ละ ๔ ศอก ๒ ท่อน ถือเอาเพื่อให้สำเร็จการประหาร.

บทว่า พิลงฺคถาลิก ได้แก่ กรรมกรณ์แบบหม้อข้าวต้ม เมื่อ

กระทำกรรมกรณ์นั้น เปิดกระโหลกศีรษะ เอาคีมจับก้อนเหล็กแดงที่ร้อน

ใส่เข้าในกระโหลกศีรษะนั้น มันสมองเดือดล้นออกเพราะเหตุนั้น.

บทว่า สงฺขมุณฺฑิก ได้แก่ กรรมกรณ์แบบทำให้เกลี้ยงเหมือน

สังข์เมื่อการทำกรรมกรณ์นั้น เฉือนหนัง กำหนดเหนือริมฝีปากถึงจอนหู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 726

สองข้างวงไปรอบคอ แล้วรวบเส้นผมทั้งหมดเป็นขมวดพันท่อนไม้เพิก

ขึ้นหนังกับผมทั้งหลายจะตั้งขึ้น ต่อนั้นเอาก้อนกรวดหยาบ ๆ ขัดกระโหลก

ศีรษะ ล้างทำให้มีสีเหมือนสังข์.

บทว่า ราหุมุข ได้แก่ กรรมกรณ์แบบหน้าราหู เมื่อกระทำ

กรรมกรณ์นั้น เปิดปากด้วยหอกแล้วเอาไฟลุกโพลงใส่ภายในปาก หรือ

เอาสิ่วเจาะตั้งแต่จอนหูทั้งสองข้างจนถึงปาก เลือดไหลออกเต็มปาก.

บทว่า โชติมาลิก ความว่า เอาผ้าชุบน้ำมันพันสรีระทั้งสิ้นแล้ว

เอาไฟเผา.

บทว่า หตฺถปชฺโชติก ความว่า เอาผ้าชุบน้ำมันพันมือทั้งสอง

แล้วจุดไฟให้ลุกโพลงต่างประทีป.

บทว่า เอรกวตฺติก ได้แก่ กรรมกรณ์แบบเป็นไปบนตะใคร่น้ำ

เมื่อการทำกรรมกรณ์นั้น ถลกหนังหุ้มตัวตั้งแต่ใต้คอลงไปถึงข้อเท้า ลำดับ

นั้นเอาเชือกผูกเขาแล้วฉุดไป เขาเหยียบ ๆ หนังหุ้มตัวของตนล้มลง.

บทว่า จิรกวาสิก ได้แก่ กรรมกรณ์แบบนุ่งผ้าคากรอง เมื่อ

กระทำกรรมกรณ์นั้น ถลกหนังหุ้มตัวเหมือนอย่างนั้นแลลงไปแค่สะเอว

แล้วถลกหนังตั้งแต่สะเอวลงไปถึงข้อเท้า หนังตอนบนหุ้มห่อสรีระตอน

ล่างเหมือนนุ่งผ้าคากรอง.

บทว่า เอเณยฺยก ได้แก่ กรรมกรณ์แนบเนื้อทราย เมื่อกระทำ

กรรมกรณ์นั้น สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกสองข้าง และเข่าสองข้างแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 727

เสียบหลาวเหล็ก เขาอยู่บนพื้นดินด้วยหลาวเหล็ก ๔ เล่ม ลำดับนั้น คน

ทั้งหลายใส่ไฟรอบตัวเขา เขาเหมือนเนื้อทรายที่ไฟติดโชติช่วง แม้ใน

อาคตสถานท่านก็กล่าวดังนี้แหละ ด้วยประการฉะนี้ คนทั้งหลายถอน

หลาวออกจากที่เสียบแล้ววางเขาไว้ด้วยปลายกระดูก ๔ ท่อนเท่านั้น นอก

จากเหตุเห็นปานนี้ไม่มีอะไรเหลือ.

บทว่า พฬิสมสิก ความว่า เอาเบ็ดสองหน้าเกี่ยวหนังเนื้อเอ็น

ออกมา.

บทว่า กหาปณก ความว่า เอามีดคม ๆ เฉือนสรีระทั้งสิ้น ตั้งแต่

ศีรษะออกเป็นแว่น ๆ เท่าเหรียญกษาปณ์.

บทว่า ขาราปตจฺฉิก ความว่า ใช้อาวุธต่าง ๆ ทิ่มแทงสรีระตาม

ที่นั้น ๆ แล้วเอาขี้เถ้าขัดถูด้วยแปรงหวายจนหนังเนื้อเอ็นหลุดไหลออก

เหลือตั้งอยู่แต่โครงกระดูกเท่านั้น.

บทว่า ปลิฆปริวตฺติก ความว่า ให้นอนตะแคงข้างหนึ่งแล้วเสียบ

หลาวเหล็กในช่องหูทะลุลงติดแผ่นดิน ต่อนั้นก็จับเท้าเขาหมุนไปรอบ ๆ.

บทว่า ปลาลปีก ความว่า ผู้รู้เหตุการณ์ที่ฉลาดถลกหนังออก

แล้วใช้ที่รองหินลับมีดทุบกระดูกทั้งหลาย จับที่ผมยกขึ้นเป็นกองเนื้อที่

เดียว ต่อนั้นก็หุ้มห่อเขาด้วยผมทั้งหลายนั่นแหละจับไว้ พันทำเป็นเหมือน

ดั่งใบไม้.

บทว่า สุนเขหิปิ ความว่า ให้สุนัขที่หิวเพราะไม่ให้อาหารมา

๒ - ๓ วันกัดกิน ครู่เดียวพวกสุนัขเหล่านั้นก็กัดกินเหลือแต่โครงกระดูกเท่า

นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 728

บทว่า เอวมฺปิ กิสฺสติ ความว่า ย่อมถึงความพิฆาตแม้ด้วย

ประการฉะนี้.

บทว่า ปริกิสฺสติ ความว่า ย่อมถึงความพิฆาตโดยส่วนทั้งปวง.

บทว่า ปริกิลิสฺสติ ความว่า ย่อมถึงความหวาดเสียว.

พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงเหตุการณ์อย่างอื่นอีก จึงกล่าวคำเป็น

ต้นว่า อถวา กามตณฺหาย อภิภูโต ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามตณฺหาย ได้แก่ ความโลภที่

ประกอบด้วยกามคุณ ๕.

บทว่า อภิภูโต ความว่า ย่ำยีแล้ว.

บทว่า ปริยาทินฺนจิตฺโต ความว่า มีจิตถูกกามตัณหายึดไว้ยัง

อาจาระที่เป็นกุศลให้สิ้นไป.

บทว่า โภเคปริเยสนฺโต ความว่า แสวงหาทรัพย์.

บทว่า นาวาย มหาสมุทฺท ปกฺขนฺทติ ความว่า เข้าไปสู่สาคร

ที่มีเกลือด้วยเรือกล่าวคือเรือกำปั่น.

บทว่า สีตสฺส ปุรกฺขโต ความว่า ผจญหนาว.

บทว่า อุณฺหสฺส ปุรกฺขโต ความว่า ผจญร้อน.

บทว่า ฑสา ได้แก่ แมลงวันเหลืองอ่อน.

บทว่า มกสา ได้แก่ ยุงนั่นเอง.

บทว่า ริสฺสมาโน ความว่า ถูกสัมผัสแห่งเหลือบเป็นต้นเบียดเบียน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 729

บทว่า ขุปฺปิปาสาย ปีฬิยมาโน ความว่า ถูกความหิวความ

กระหายย่ำยี.

บท ๒๔ บท มีบทว่า คุมฺพ คจฺฉติ เป็นต้น มีบทว่า มรุกนฺตาร

คจฺฉติ เป็นที่สุด ท่านกล่าวโดยนามของรัฐ.

บทว่า มรุกนฺตาร คจฺฉาติ ความว่า เดินทางทะเลทรายโดยใช้

ดาวเป็นสำคัญ.

บทว่า ชณฺณุปถ ได้แก่ ทางที่ต้องไปด้วยเข่า.

บทว่า อชปถ ได้แก่ ทางที่ต้องไปด้วยแพะ แม้ในทางที่ต้องไป

ด้วยแกะ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า สงฺกุปถ ได้แก่ ทางที่ต้องไปด้วยหลัก ซึ่งต้องดอกหลัก

ทั้งหลายแล้วก้าวลงไปตามหลักเหล่านั้น เมื่อจะไปทางนั้น ยืนที่เชิงเขาเอา

เชือกผูกกระจับเหล็กโยนขึ้นไปให้คล้องภูเขาแล้วโหนเชือกขึ้นไป แล้วเอา

เหล็กสกัดซึ่งมีปลายแข็งเหมือนเพชรเจาะภูเขาตอกหลัก ยืนบนหลักนั้น

แขวนเชือกหนังไว้ ถือเชือกหนังนั้นลงไปผูกที่หลักอันล่าง มือซ้ายจับ

เชือก มือขวาถือค้อน แก้เชือกถอนหลักออกแล้วขึ้นสูงขึ้นไปอีก คือตอก

ทอย โดยอุบายนี้ เขาขึ้นถึงยอดเขาข้ามลงไปเบื้องหน้า ตอกหลักบนยอด

เขาก่อนโดยนัยแรกนั่นแหละ ผูกเชือกที่กระเช้าหนัง พันหลักไว้ ตัวเอง

นั่งภายในกระเช้า โรยเชือกลงโดยอาการแมลงมุมชักใย เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ทางที่ต้องตอกหลักทั้งหลายแล้วก้าวลงไปตามหลักเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 730

บทว่า ฉตฺตปถ ได้แก่ ทางที่ต้องถือร่มหนังอุ้มลมร่อนไปเหมือน

นกทั้งหลาย.

บทว่า วสปถ ความว่า บทว่า วสปถ คจฺฉติ พึงทราบว่า

ท่านกล่าวหมายเอาทางที่บุคคลเมื่อทำทางใช้มีดสำหรับตัดตัดกอไผ่ ใช้ขวาน

ผ่าต้นไม้ ทำบันไดในป่าไผ่ ขึ้นบนกอไผ่ ตัดไม้ไผ่ให้ล้มทับไผ่กออื่น

แล้วเดินไปตามยอดกอไผ่นั่นแหละ.

บทว่า คเวสนฺโต น วินฺทติ อลาภมูลกมฺปิ ทุกฺข โทมนสฺส

ปฏิสเวเทติ ความว่า ย่อมได้รับทุกข์กายทุกข์ใจแม้มีความไม่ได้เป็นมูล.

บทว่า ลทฺธา แปลว่า ครั้นได้แล้ว.

บทว่า อารกฺขมูลก ความว่า แม้มีการรักษาเป็นมูล.

บทว่า กินฺติ เม โภเค ความว่า ด้วยวิตกอยู่ว่า ด้วยอุบายอะไร

พระราชาจึงจะไม่ริบโภคทรัพย์ของเรา พวกโจรจะไม่ลักไป ไฟจะไม่ไหม้

น้ำจะไม่พัดไป พวกทายาทผู้ไม่เป็นที่รักจะไม่ขนเอาไป.

บทว่า โคปยโต ความว่า คุ้มครองด้วยหีบเป็นต้น.

บทว่า วิปฺปลุชฺชนฺติ ความว่า พินาศ.

บทว่า เอตมาทีนว ตฺวา มุนิ ปพฺพาปเร อิธ ความว่า มุนี

ทราบโทษนั้น คือความเป็นฆราวาสอื่นแต่ความเป็นสมณะก่อน ที่กล่าว

ไว้จำเดิมแต่นี้ว่า ยศและเกียรติที่เสื่อมไปในกาลก่อนนั้นของภิกษุนั้น ใน

ความเป็นฆราวาสอื่นแต่ความเป็นสมณะก่อน คือในความเป็นผู้สึกจาก

ความเป็นสมณะในศาสนานี้.

บทว่า ทฬฺห กเรยฺย เป็นบทอุทเทสของบทที่จะต้องชี้แจง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 731

บทว่า ถิร กเรยฺย ความว่า พึงกระทำให้ไม่ย่อหย่อน.

บทว่า ทฬฺหสมาทาโน อสฺส ความว่า พึงเป็นผู้มีปฏิญญามั่นคง.

บทว่า อวฏฺิตสมาทาโน ความว่า มีปฏิญญาตั้งลงพร้อม.

บทว่า เอตทริยานมุตฺตม ความว่า ความประพฤติวิเวกนั้น เป็น

กิจอันสูงสุดของพระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น อธิบายว่า เพราะ

ฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาวิเวกทีเดียว.

บทว่า น เตน เสฏฺโ มญฺเถ ความว่า ไม่พึงสำคัญตนว่า

เราเป็นผู้ประเสริฐสุด ด้วยความสงัดนั้น ท่านอธิบายว่า ไม่พึงเป็นผู้กระ

ด้างเพราะมานะด้วยความสงัดนั้น.

บทว่า อุณฺณตึ ได้แก่ การยกขึ้น.

บทว่า อุณฺณม ได้แก่ การตั้งตนขึ้นไว้สูง.

บทว่า มาน ได้แก่ ความก้าวร้าวด้วยความถือดี.

บทว่า ถมฺภ ได้แก่ ทำตามอำเภอใจ.

บทว่า พนฺติ ได้แก่ เหตุผูกพัน.

บทว่า ถทฺโธ ได้แก่ ไม่อ่อนโยน.

บทว่า ปตฺถทฺโธ ได้แก่ ไม่อ่อนโยนโดยพิเศษ.

บทว่า ปคฺคหิตสิโร ได้แก่ หัวสูง.

บทว่า สมนฺตา ได้แก่ ไม่ห่าง.

บทว่า อาสนฺเน ได้แก่ ไม่ไกล.

บทว่า อวิทูเร ได้แก่ ใกล้.

บทว่า อุปกฏฺเ ได้แก่ ในสำนัก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 732

บทว่า ริตฺตสฺส ความว่า ว่าง คือเว้นจากกายทุจริตเป็นต้น.

บทว่า โอฆติณฺณสฺส ปิหยนฺติ กาเมสุ คธิตา ปชา ความว่า

สัตว์ทั้งหลายผู้ข้องอยู่ในวัตถุกามย่อมรักใคร่ต่อมุนีนั้น ผู้ข้ามโอฆะ ๔ ได้

แล้ว เหมือนคนเป็นหนี้รักใคร่ต่อคนไม่เป็นหนี้ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงจบเทศนาด้วยยอดคือพระอรหัตต์ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ริตฺตสฺส ได้แก่ ว่างจากกิเลสทุกอย่าง.

บทว่า วิวิตฺตสฺส ได้แก่ เปล่า.

บทว่า ปวิวิตฺตสฺส ได้แก่ ผู้เดียว.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงกิเลสทั้งหลายที่มุนีว่างเว้น จึง

กล่าวคำเป็นต้นว่า กายทุจฺจริเตน ริตฺตสฺส ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น พึงทราบความว่าง ๒ อย่างคือ ตามลำดับกิเลส

อย่าง ๑ ตามลำดับมรรคอย่าง ๑ พึงทราบตามลำดับกิเลสก่อน มุนีเป็น

ผู้ว่างจากกิเลส ๖ อย่างเหล่านี้ คือ ราคะ โมหะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ

มทะ ด้วยอรหัตตมรรค. เป็นผู้ว่างจากกิเลส ๔ อย่างเหล่านี้ คือ โทสะ

โกธะ อุปนาหะ ปมาทะ ด้วยอนาคามิมรรค. เป็นผู้ว่างจากกิเลส ๗ อย่าง

เหล่านี้ คือ อติมานะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาไถย

ด้วยโสดาปัตติมรรค.

ส่วนตามลำดับมรรค พึงทราบดังต่อไปนี้ มุนีเป็นผู้ว่างจากกิเลส

๗ อย่างเหล่านี้ คือ อติมานะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา

สาไถย ด้วยโสดาปัตติมรรค. เป็นผู้ว่างจากกิเลส ๔ อย่างเหล่านี้ คือ

โทสะ โกธะ อุปนาหะ ปมาทะ ด้วยอนาคามิมรรค. เป็นผู้ว่างจากกิเลส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 733

๖ อย่างเหล่านี้ คือ ราคะ โมหะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ มทะ ด้วย

อรหัตตมรรค. แม้กิเลสที่เหลือลงทั้งหลาย ก็พึงประกอบตามที่ประกอบไว้

โดยนัยเป็นต้นว่า ตีณิ ทุจฺจริตานิ สพฺพกิเลเสหิ ดังนี้.

บทว่า วตฺถุกาเม ปริชานิตฺวา ความว่า รู้วัตถุกามทั้งหลายที่

เป็นไปในภูมิ ๓ ด้วยสามารถเข้าถึงแล้วด้วยญาณปริญญาและตีรณปริญญา.

บทว่า กิเลสกาเม ปหาย ความว่า กิเลสกามทั้งหลายมีฉันทะ

เป็นต้น ด้วยปหานปริญญา.

บทว่า พฺยนฺตีกริตฺวา ความว่า กระทำให้มีที่สุดไปปราศแล้ว คือ

ให้ปราศจากที่สุด.

บทว่า กาโมฆ ติณฺณสฺส ความว่า ข้ามกาโมฆะกล่าวคือ การ

วนเวียนตั้งอยู่ ด้วยอนาคามิมรรค.

บทว่า ภโวฆ ความว่า ข้ามภโวฆะ ด้วยอรหัตตมรรค.

บทว่า ทิฏฺโฆ ความว่า ข้ามทิฏโฐฆะ ด้วยโสดาปัตติมรรค.

บทว่า อวิชฺโชฆ ความว่า ข้ามอวิชโชฆะ ด้วยอรหัตตมรรค.

บทว่า สพฺพสงฺขารปถ ความว่า ข้ามทางกล่าวคือ ลำดับแห่ง

ขันธ์ ธาตุ และอายตนะทั้งปวงตั้งอยู่ ด้วยอรหัตตมรรคนั่นแหละ.

ข้ามขึ้นโดยโสดาปัตติมรรค, ข้ามพ้นด้วยสกทาคามิมรรค, ก้าวล่วง

กามธาตุด้วยอนาคามิมรรค, ล่วงเลยภพทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค, เป็นไป

ล่วงด้วยสามารถแห่งผลสมาบัติ.

บทว่า ปาร คตสฺส เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งพระ-

นิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 734

บทว่า ยถา อิณายิถา อานณฺย ความว่า พวกกู้หนี้ที่มีดอกเบี้ย

ย่อมปรารถนาความหมดหนี้.

บทว่า ปฏฺเนฺติ ความว่า ยังความปรารถนาให้เกิดขึ้น.

บทว่า อาพาธิกา อาโรคฺย ความว่า ผู้กระสับกระส่ายเพราะโรค

ดีพิการเป็นต้น ย่อมปรารถนาความสงบโรค คือความไม่มีโรค ด้วย

ประกอบเภสัช.

บทว่า ยถา พนฺธนฺพนฺธา ความว่า ในวันนักขัตฤกษ์ พวกที่ติด

อยู่ในเรือนจำ ย่อมปรารถนาความพ้นจากเรือนจำ.

บทว่า ยถา ทาสา ภุชิสฺส ความว่า เพราะคนที่เป็นไทย่อมทำ

อะไร ๆ ได้ตามปรารถนา ไม่มีใครจะให้เขากลับจากการกระทำนั้นได้ด้วย

พลการ ฉะนั้น ทาสทั้งหลายจึงปรารถนาความเป็นไท.

บทว่า ยถา กนฺตารทฺธาน ปกฺขนฺนา ความว่า เพราะพวกคน

ที่มีกำลัง จับช้างสาร ตระเตรียมอาวุธ พร้อมด้วยบริวาร เดินทางกันดาร

พวกโจรเห็นเขาแล้วย่อมหนีไปแต่ไกลทีเดียว พวกเขาพ้นทางกันดาร ถึง

แดนเกษมด้วยความสวัสดี ย่อมร่าเริงยินดี ฉะนั้น พวกเดินทางกันดาร

จึงปรารถนาภาคพื้นที่เกษม.

เวลาจบเทศนา พระติสสเถระบรรลุโสดาปัตติผล ภายหลังบวชได้

กระทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตต์ดังนี้แล.

สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถามหานิทเทส

อรรถกถาติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

จบ สูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 735

ปสูรสุตตนิทเทสที่ ๘

[๒๖๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

สมณพราหมณ์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า ความหมดจด

ในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมเหล่า

อื่น อาศัยสิ่งใดแล้ว กล่าวสิ่งนั้นว่างาม ในเพราะทิฏฐิ

ของตนนั้น สมณพราหมณ์เป็นอันมากเป็นผู้ตั้งมั่นในสัจจะ

เฉพาะอย่าง.

ว่าด้วยความหมดจด

[๒๖๙] คำว่า สมณพราหมณ์ ย่อมกล่าวว่า ความหมดจด

ในธรรมนี้เท่านั้น มีความว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลายย่อมกล่าว บอก พูด

แสดง แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ

ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ในธรรมนี้เท่านั้น คือ ย่อม-

กล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ

ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ว่า

โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง

แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น

ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ว่า โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด

ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างอื่น สรีระอย่างอื่น สัตว์เบื้องหน้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 736

แต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก สัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี. สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้. สิ่งนี้ เท่านั้น

จริง สิ่งอื่นเปล่า. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อม

กล่าวว่า ความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น.

[๒๗๐] คำว่า ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมเหล่าอื่น

มีความว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลายย่อมทิ้ง ทอดทิ้ง ละทิ้งวาทะอื่นทั้งหมด

เว้นศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าว คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคของตน

ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า ศาสดานั้นไม่ใช่สัพพัญญู

ธรรมไม่เป็นธรรมอันศาสดานั้นกล่าวดีแล้ว คณะสงฆ์ไม่เป็นผู้ปฏิบัติดี

ทิฏฐิไม่เป็นทิฏฐิเจริญ ปฏิปทาไม่เป็นปฏิปทาอันศาสดาบัญญัติดีแล้ว มรรค

ไม่เป็นธรรมนำออกจากทุกข์ ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความ

หมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ หรือความพ้นรอบ ย่อมไม่มีใน

ธรรมนั้น สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่หมดจด ไม่หมดจดวิเศษ ไม่หมดจดรอบ

ไม่พ้น ไม่พ้นวิเศษ หรือไม่พ้นรอบ ในเพราะธรรมทั้งหลายนั้นคือย่อม

เป็นผู้เลว เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้นจึงชื่อ

ว่า ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมเหล่าอื่น.

[๒๗๑] อาศัยสิ่งใดแล้ว กล่าวสิ่งนั้นว่างาม ในเพราะทิฏฐิ

ของตนนั้น มีความว่า อาศัยสิ่งใด คือ อาศัย อาศัยด้วยดี พัวพัน

เข้าถึง ติดใจ น้อมใจถึง, สิ่งใด คือ ศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าว

คณะสงฆ์ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 737

คำว่า ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น คือ ในเพราะทิฏฐิ ความควร

ความชอบใจ ลัทธิของตน.

คำว่า กล่าวสิ่งนั้นว่างาม คือ กล่าวสิ่งนั้นว่าดี กล่าวว่าเป็น

บัณฑิต กล่าวว่าเป็นนักปราชญ์ กล่าวว่าเป็นญาณ กล่าวว่าเป็นเหตุ กล่าว

ว่าเป็นลักษณะ กล่าวว่าเป็นการณะ กล่าวว่าเป็นฐานะ โดยลัทธิของตน

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อาศัยสิ่งใดแล้ว กล่าวสิ่งนั้น ว่างาม ในเพราะ

ลัทธิของตนนั้น.

[๒๓๒] คำว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมากเป็นผู้ตั้งมั่นใน

สัจจะเฉพาะอย่าง มีความว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมาก ตั้งมั่น

ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไปว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้น

จริงสิ่งอื่นเปล่า ตั้งมั่น ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไปว่า

โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่

เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

สมณพราหมณ์เป็นอันมากเป็นผู้ตั้งมั่นในสัจจะเฉพาะอย่าง เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

สมณพราหมณ์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า ความหมดจด

ในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรม

เหล่าอื่น อาศัยสิ่งใดแล้ว กล่าวสิ่งนั้นว่างาม ในเพราะ

ทิฏฐิของตนนั้น สมณพราหมณ์เป็นอันมากเป็นผู้ตั้งมั่นใน

สัจจะเฉพาะอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 738

[๒๗๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ เข้าไปสู่บริษัท

เป็นคู่ปรับ ย่อมมุ่งกันและกันว่าเป็นพาล สมณพราหมณ์

เหล่านั้น อาศัยสิ่งอื่นแล้วย่อมกล่าวถ้อยคำคัดค้านกัน เป็น

ผู้ใคร่ความสรรเสริญ กล่าวว่าคนเป็นคนฉลาด.

ว่าด้วยการยกวาทะ

[๒๗๔] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ เข้าไป

สู่บริษัท มีความว่า คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ

ได้แก่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นใคร่วาทะ ต้องการวาทะ ประสงค์วาทะ

มุ่งหมายวาทะ เที่ยวแสวงหาวาทะ คำว่า เข้าไปสู่บริษัท ได้แก่เข้าไป

หยั่งลง เข้าถึง เข้าหา ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท

สมณบริษัท เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ

เข้าไปสู่บริษัท.

[๒๗๕] คำว่า เป็นคู่ปรับ ย่อมมุ่งกันและกันว่าเป็นพาล

มีความว่า คำว่า เป็นคู่ปรับ ได้แก่ เป็นคนสองฝ่าย เป็นผู้ทำความ

ทะเลาะกันทั้งสองฝ่าย ทำความหมายมั่นกันทั้งสองฝ่าย ทำความอื้อฉาวกัน

ทั้งสองฝ่าย ทำความวิวาทกันทั้งสองฝ่าย ก่ออธิกรณ์กันทั้งสองฝ่าย มี

วาทะกนทั้งสองฝ่าย โต้เถียงกันทั้งสองฝ่าย สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมมุ่ง

กันและกัน คือ ดู เห็น แลดู เพ่งดู พิจารณาดู กันและกัน โดย

ความเป็นคนพาล เป็นคนเลว เป็นคนเลวทราม เป็นคนต่ำช้า เป็นคน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 739

ลามก เป็นคนสกปรก เป็นคนต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นคู่ปรับ

ย่อมมุ่งกันและกันว่าเป็นพาล.

[๒๗๖] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น อาศัยสิ่งอื่นแล้ว

ย่อมกล่าวถ้อยคำคัดค้านกัน มีความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นอาศัย

อาศัยด้วยดี พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจถึงสิ่งอื่น คือ ศาสดา ธรรม

ที่ศาสดากล่าว สมณะสงฆ์ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค.

ความทะเลาะกัน ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความ

มุ่งร้าย เรียกว่า ถ้อยคำคัดค้านกัน อีกอย่างหนึ่ง ถ้อยคำที่ไม่มีน้ำมีนวล

เรียกว่า คำคัดค้านกัน สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมกล่าว คือ พูด

แสดง แถลง ซึ่งคำคัดค้านกัน คำหมายมั่นกัน คำแก่งแย่งกัน คำวิวาท

กัน คำมุ่งร้ายกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น

อาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำคัดค้านกัน.

[๒๗๗] คำว่า เป็นผู้ใคร่ความสรรเสริญ กล่าวว่าตนเป็น

คนฉลาด มีความว่า คำว่า เป็นผู้ใคร่ความสรรเสริญ ได้แก่ เป็น

ผู้ใคร่ความสรรเสริญ ต้องการความสรรเสริญ ประสงค์ความสรรเสริญ

มุ่งหมายความสรรเสริญ เที่ยวแสวงหาความสรรเสริญ. คำว่า กล่าวว่าตน

เป็นคนฉลาด ได้แก่ พูดว่าตนเป็นคนฉลาด พูดว่าตนเป็นบัณฑิต

พูดว่าตนเป็นนักปราชญ์ พูดว่าตนเป็นผู้มีญาณ พูดว่าคนเป็นผู้มีเหตุ

พูดว่าตนเป็นผู้มีลักษณะ พูดว่าตนเป็นผู้มีการณะ ด้วยลัทธิของตน เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้ใคร่ความสรรเสริญ กล่าวว่าตนเป็นผู้ฉลาด

เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 740

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ เข้าไปสู่บริษัท

เป็นคู่ปรับ ย่อมมุ่งกันและกันว่าเป็นพาล สมณพราหมณ์

เหล่านั้นอาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำคัดค้านกัน

เป็นผู้ใคร่ความสรรเสริญ กล่าวว่าตนเป็นคนฉลาด.

[๒๗๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่ามกลางบริษัท เมื่ออยาก

ได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน

ในเมื่อถ้อยคำของตนถูกเขาค้านตกไป ย่อมขัดเคืองเพราะ

ความติเตียนย่อมเป็นผู้แสวงหาช่องทางแก้ตัว.

ว่าด้วยแพ้วาทะแล้วขัดเคือง

[๒๗๙] คำว่า ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่านกล่างบริษัท มี

ความว่า ชนผู้ประกอบ คือ ประกอบทั่ว ประกอบเอื้อเฟื้อ ประกอบ

ด้วยดี ประกอบพร้อม ในถ้อยคำของตน เพื่อกล่าวในท่ามกลางขัตติย

บริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท เพราะฉะนั้น จึงชื่อ

ว่า ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่ามกลางบริษัท.

[๒๘๐] คำว่า เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเล

ใจ มีความว่า คำว่า เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ได้แก่ เมื่ออยากได้

ยินดี ปรารถนา ชอบใจ รักใคร่. คำว่า ความสรรเสริญ คือ ความชมเชย

ความมีเกียรติ ความยกย่องคุณ. คำว่า ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ ความว่า ก่อน

แต่โต้ตอบ ย่อมเป็นผู้สงสัย ลังเลใจ คือ ก่อนแต่โต้ตอบ ย่อมเป็นผู้สงสัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 741

ลังเลใจอย่างนี้ว่า เราจักมีชัยหรือปราชัยหนอ เราจักข่มเขาอย่างไร จักทำ

ลัทธิของเราให้เชิดชูอย่างไร จักทำลัทธิของเราให้วิเศษอย่างไร จักทำ

ลัทธิของเราให้วิเศษเฉพาะอย่างไร จักทำความผูกมัดเขาอย่างไร จักทำ

ความปลดเปลื้องอย่างไร จักทำความตัดรอนวาทะเขาอย่างไร จักขนาบ

วาทะเขาอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ

ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ.

[๒๘๑] คำว่า ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถ้อยคำของตนถูก

เขาค้านตกไป มีความว่า ชนผู้พิจารณาปัญหา ผู้เป็นสมาชิกของที่ประชุม

ผู้มีความกรุณา ย่อมคัดค้านให้ตกไป คือย่อมคัดค้านโดยอรรถะ ว่าคำที่

ท่านกล่าว ปราศจากอรรถะ, ย่อมคัดค้านโดยพยัญชนะว่า คำที่ท่านกล่าว

ปราศจากพยัญชนะ, ย่อมคัดค้านโดยอรรถะ และพยัญชนะว่า คำที่ท่านกล่าว

ปราศจากทั้งอรรถะและพยัญชน, ย่อมคัดค้านว่า เนื้อความท่านชักมาไม่ดี

พยัญชนะท่านยกขึ้นไม่ดี อรรถะและพยัญชนะท่านชักมาไม่ดี ยกขึ้นไม่ดี,

ความข่มผู้อื่นท่านไม่กระทำ, ความเชิดชูลัทธิ ท่านทำไม่ดี. วาทะอันวิเศษ

ท่านไม่กระทำ, วาทะอันพิเศษเฉพาะ ท่านทำไม่ดี, ความผูกมัดผู้อื่น

ท่านไม่กระทำ, ความปลดเปลื้อง ท่านทำไม่ดี. ความตัดรอนวาทะผู้อื่น

ท่านไม่กระทำ, ความขนาบวาทะผู้อื่น ท่านทำไม่ดี, ท่านพูดชั่ว กล่าวชั่ว

เจรจาชั่ว เปล่งวาจาชั่ว ภาษิตชั่ว. คำว่า ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อ

ถ่อยคำของตนถูกเขาค้านตกไป ความว่า เมื่อถ้อยคำของตนถูกเขาค้าน

ตกไปย่อมเป็นผู้เก้อเขิน คือ อับอาย กระวนกระวาย ลำบากกาย ทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 742

ใจ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถ้อยคำของตน

ถูกเขาค้านตกไป

[๒๘๒] คำว่า ย่อมขัดเคืองเพราะความติเตียน ย่อมเป็นผู้

แสวงหาช่องทางแก้ตัว มีความว่า คำว่า เพราะความติเตียน ได้แก่

เพราะความนินทา ครหา ไม่ชมเชย ไม่สรรเสริญคุณ. คำว่า ย่อมขัด

เคือง ได้แก่ ขัดเคือง ขัดใจ หมายแก้แค้น ย่อมทำความโกรธ ความ

เคือง ความไม่ยินดี ให้ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมขัดเคือง

เพราะความติเตียน คำว่า ย่อมเป็นผู้แสวงหาช่องทางแก้ตัว ได้แก่

ย่อมเป็นผู้แสวงหาช่องทางแก้ตัว แสวงหาความผิด ความพลั้ง ความ

พลาด ความเผลอ และช่องทาง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมขัดเคือง

เพราะความติเตียน ย่อมเป็นผู้แสวงหาช่องทางแก้ตัว เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่ามกลางบริษัท เมื่ออยาก

ได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน

ในเมื่อถ้อยคำของตนถูกเขาคัดค้านตกไป ย่อมขัดเคือง

เพราะความติเตียน ย่อมเป็นผู้แสวงหาช่องทางแก้ตัว.

[๒๘๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ชนผู้พิจารณาปัญหา กล่าววาทะของชนนั้นว่าเลว

คัดค้านให้ตกไป ชนนั้นมีวาทะเสื่อมไปแล้ว ย่อมรำพัน

เศร้าโศก ทอดถอนใจอยู่ว่า เขาล่วงเลยเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 743

ว่าด้วยถูกข่มด้วยวาทะแล้วเสียใจ

[๒๘๔] คำว่า กล่าววาทะของชนนั้นว่าเลว มีความว่า ชนผู้

พิจารณาปัญหาย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งวาทะของชนนั้น

ว่า เลว เลวทราม เสื่อมเสีย เสียหาย ไม่บริบูรณ์ อย่างนี้ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า กล่าววาทะของชนนั้นว่าเลว.

[๒๘๕] คำว่า ชนผู้พิจารณาปัญหา......คัดค้านให้ตกไป มี

ความว่า ชนผู้พิจารณาปัญหา ผู้เป็นสมาชิกของที่ประชุม ผู้มีความกรุณา

ย่อมคัดค้านให้ตกไป คือย่อมคัดค้านโดยอรรถะว่า คำที่ท่านกล่าว ปราศจาก

อรรถะ, ย่อมคัดค้านโดยพยัญชนะว่า คำที่ท่านกล่าว ปราศจากพยัญชนะ,

ย่อมคัดค้านโดยอรรถะและพยัญชนะว่า คำที่ท่านกล่าว ปราศจากทั้งอรรถะ

ทั้งพยัญชนะ, ย่อมคัดค้านว่า เนื้อความท่านชักมาไม่ดี, พยัญชนะท่านยก

ขึ้นไม่ดี, อรรถะและพยัญชนะท่านชักมาไม่ดี, ยกขึ้นไม่ดี, ความข่มผู้อื่นท่าน

ไม่กระทำ, ความเชิดชูลัทธิท่านทำไม่ดี, วาทะอันวิเศษท่านไม่กระทำ,

วาทะอันวิเศษเฉพาะท่านทำไม่ดี, ความผูกมัดผู้อื่น ท่านไม่การทำ, ความ

ปลดเปลื้อง ท่านทำไม่ดี ความตัดรอนวาทะผู้อื่น ท่านไม่กระทำ, ความ

ขนาบวาทะผู้อื่น ท่านทำไม่ดี, ท่านพูดชั่ว กล่าวชั่ว เจรจาชั่ว เปล่ง

วาจาชั่ว ภาษิตชั่ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชนผู้พิจารณาปัญหา....คัด

ค้านให้ตกไป.

[๒๘๖] คำว่า ชนนั้นมีวาทะเสื่อมไปแล้ว ย่อมรำพัน เศร้า

โศก มีความว่าคำว่า ย่อมรำพัน ได้แก่ เป็นผู้มีการพูดเพ้อ บ่นเพ้อ

พร่ำเพ้อ อาการพร่ำเพ้อ ความเป็นแห่งอาการพร่ำเพ้อ เห็นปานนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 744

เหตุการณ์อื่นเรานึก คิด พิจารณา ใคร่ครวญแล้ว เขามีพวกมาก มี

บริษัทมาก มีบริวารมาก ก็บริษัทนี้เป็นพวกแต่ไม่พร้อมเพรียงกัน การ

เจรจาปราศรัยจงมีเพื่อความพร้อมเพรียงกัน เราจักทำลายเขาอีก เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า ย่อมรำพัน. คำว่า ย่อมเศร้าโศก ได้แก่ ย่อมเศร้าโศก

ลำบากใจ รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความหลงใหลว่า เขามีชัย เรา

ปราชัย เขามีลาภ เราเสื่อมลาภ เขามียศ เราเสื่อมยศ เขาได้ความสรร-

เสริญ เราได้ความนินทา เขามีสุข เรามีทุกข์ เขาได้รับสักการะ เคารพ

นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย

เภสัชบริขาร เราไม่ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ไม่ได้

จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ย่อมรำพัน เศร้าโศก. คำว่า มีวาทะเสื่อมไปแล้ว ได้แก่

มีวาทะเสื่อมไปแล้ว มีวาทะเลวทราม มีวาทะเสื่อมรอบ มีวาทะอันเขาให้

เสื่อมรอบ มีวาทะไม่บริบูรณ์แล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชนนั้นมีวาทะ

เสื่อมไปแล้ว ย่อมรำพัน เศร้าโศก.

[๒๘๗] คำว่า ทอดถอนใจอยู่ว่า เขาล่วงเลยเรา มีความว่า

ทอดถอน อยู่ว่า เขา ล่วง ล้ำ เกิน เลย ล่วงเลย ซึ่งวาทะเราด้วยวาทะ

เขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เขาล่วงเลยเรา แม้ด้วยประการอย่างนี้ อีก

อย่างหนึ่ง ทอดถอนใจอยู่ว่า เขากดขี่ ครอบงำ ย่ำยีวาทะเราด้วยวาทะ

เขาแล้ว ย่อมประพฤติอยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ หมุนไป รักษาเป็นไป ยิ่ง

อัตภาพให้เป็นไป เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เขาล่วงเลยเรา แม้ด้วยประการ

อย่างนี้ การพูดเพ้อ การบ่นเพ้อ การพร่ำเพ้อ อาการพร่ำเพ้อ ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 745

เป็นแห่งอาการพร่ำเพ้อ เรียกว่า ทอดถอนใจอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

ทอดถอนใจอยู่ว่า เขาล่วงเลยเราเพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า :-

ชนผู้พิจารณาปัญหา กล่าววาทะของตนนั้นว่าเลว

คัดค้านให้ตกไป ชนนั้นมีวาทะเสื่อมไปแล้ว ย่อมรำพัน

เศร้าโศกทอดถอนใจอยู่ว่า เขาล่วงเลยเรา.

[๒๘๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ความวิวาทกันเหล่านี้ เกิดแล้วในสมณะทั้งหลาย

ความยินดีและความยินร้าย ย่อมมีในเพราะความวิวาท

เหล่านั้น บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว พึงงดเว้นการคัดค้าน

กัน เพราะประโยชน์อื่นจากการได้ความสรรเสริญ ย่อม

ไม่มี.

ว่าด้วยโทษของการวิวาท

[๒๘๙] คำว่า ความวิวาทกันเหล่านี้ เกิดแล้วในสมณะ

ทั้งหลาย มีความว่า คำว่า สมณะ ได้แก่ ชนบางเหล่าผู้เป็นปริพาชก

ภายนอกพระศาสนานี้ ความทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกันเพราะ

ทิฏฐิ ความหมายมั่นกันเพราะทิฏฐิ ความแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ ความมุ่ง

ร้ายกันเพราะทิฏฐิ เกิดแล้ว คือ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ

ปรากฏแล้ว ในสมณะทั้งหลาย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความวิวาทกัน

เหล่านี้เกิดแล้วในสมณะทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 746

[๒๙๐] คำว่า ความยินดีและความยินร้าย ย่อมมีในเพราะ

ความวิวาทเหล่านั้น มีความว่า ย่อมมีความชนะและความแพ้, ลาภ

และความเสื่อมลาภ, ยศและความเสื่อมยศ, นินทาและสรรเสริญ, โสมนัส

และโทมนัส, อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์, ความปลอดโปร่งและความ

กระทบกระทั่ง, ความยินดีและความยินร้าย, ความดีใจและความเสียใจ

คือ จิตยินดีเพราะความชนะ จิตยินร้ายเพราะความแพ้, จิตยินดีเพราะ

ลาภ จิตยินร้ายเพราะความเสื่อมลาภ, จิตยินดีเพราะยศ จิตยินร้ายเพราะ

ความเสื่อมยศ, จิตยินดีเพราะสรรเสริญ จิตยินร้ายเพราะนินทา, จิตยินดี

เพราะสุข จิตยินร้ายเพราะทุกข์, จิตยินดีเพราะโทมนัส, จิตยินดีเพราะ

เฟื่องฟูขึ้น จิตยินร้ายเพราะตกอับ, เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความยินดีและ

ความยินร้าย ย่อมมีในเพราะความวิวาทเหล่านั้น.

[๒๙๑] คำว่า บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว พึงงดเว้นการคัด

ค้านกัน มีความว่า คำว่า เห็นโทษแม้นี้แล้ว ได้แก่ เห็น พบ

เทียบเคียง พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง ซึ่งโทษนั้น ในเพราะ

ความทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ ความหมายมั่นกันเพราะทิฏฐิ ความแก่งแย่ง

กันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกันเพราะทิฏฐิ ความมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เห็นโทษแม้นี้แล้ว. คำว่า พึงงดเว้นการคัด

ค้านกัน ได้แก่ ความทะเลาะกัน ความหมายมั่นกัน ความแก่งแย่งกัน

ความวิวาทกัน ความมุ่งร้ายกัน เรียกว่า การคัดค้านกัน, อีกอย่างหนึ่ง

ถ้อยคำที่ไม่มีน้ำมีนวล เรียกว่า ถ้อยคำคัดค้านกัน บุคคลไม่พึงทำถ้อยคำ

คัดค้านกัน คือ ไม่พึงทำความทะเลาะกัน ความหมายมั่นกัน ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 747

แก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน ความมุ่งร้ายกัน พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้น

ไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งความทะเลาะกัน ความหมายมั่นกัน

ความแก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน ความมุ่งร้ายกัน คือ พึงเป็นผู้งด เว้น

เว้นขาดออกไป สละ พ้น พ้นขาด พรากออกจากความทะเลาะกัน

ความหมายมั่นกัน ความแก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน และความมุ่งร้ายกัน

พึงเป็นผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคล

เห็นโทษแม้นี้แล้วพึงงดเว้นการคัดค้านกัน.

[๒๙๒] คำว่า เพราะประโยชน์อื่นจากการได้ความสรรเสริญ

ย่อมไม่มี มีความว่า ไม่มีประโยชน์อื่นจากการได้ความสรรเสริญ คือ

ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสอง ประโยชน์มีในชาตินี้

ประโยชน์มีในชาติหน้า ประโยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับ

ประโยชน์ปิดบัง ประโยชน์ที่ควรนำไป ประโยชน์ที่นำไปแล้ว ประโยชน์

ไม่มีโทษ ประโยชน์ปราศจากกิเลส ประโยชน์ผ่องแผ้ว ประโยชน์อย่าง

ยิ่ง ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เพราะ

ประโยชน์อื่นจากการได้ความสรรเสริญ ย่อมไม่มี. เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ความวิวาทกันเหล่านี้ เกิดแล้วในสมณะทั้งหลาย

ความยินดีและความยินร้ายย่อมมีในเพราะความวิวาทเหล่า

นั้น บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว พึงงดเว้นการคัดค้านกัน

เพราะประโยชน์ อื่นจากการได้ความสรรเสริญ ย่อมไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 748

[๒๙๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ก็หรือว่า บุคคลกล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท

ย่อมได้รับสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น บุคคลนั้นย่อม

หัวเราะ และเฟื้องฟูขึ้นด้วยประโยชน์ในความชนะนั้น

เพราะบุคคลนั้น บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว ได้เป็นผู้สมใจ

นึก.

[๒๙๔] คำว่า ก็หรือว่า....ย่อมได้รับสรรเสริฐในเพราะทิฏฐิ

นั้น มีความว่า คำว่า ในเพราะทิฏฐินั้น ได้แก่ บุคคลย่อมเป็นผู้

อันชนหมู่มากสรรเสริญ ชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณ ในเพราะทิฏฐิ

ความควร ความชอบใจ ลัทธิของตน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ก็หรือว่า....

ย่อมได้รับสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น.

[๒๙๕] คำว่า กล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท มีความว่า

กล่าวบอก พูด แสดง แถลง ให้รุ่งเรือง บัญญัติ กำหนด ซึ่งวาทะ

ของตนและวาทะอนุโลมแก่วาทะของตน ในท่ามกลางขัตติยบริษัท

พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า กล่าว

วาทะในท่ามกลางบริษัท.

[๒๙๖] คำว่า บุคคลนั้นย่อมหัวเราะและเฟื่องฟูขึ้นด้วย

ประโยชน์ในความชนะนั้น มีความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ยินดี หัวเราะ

ร่าเริง ชอบใจ มีความดำริ บริบูรณ์ ด้วยประโยชน์ในความชนะนั้น

อีกอย่างหนึ่งบุคคลนั้นหัวเราะจนเห็นฟัน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลนั้น

ย่อมหัวเราะ. คำว่า และเฟื่องฟูขึ้นด้วยประโยชน์ในความชนะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 749

ความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้เฟื่องฟูขึ้น คือ เห่อเหิมเป็นดุจธงชัยยกย่องตนขึ้น

ความที่จิตใคร่ยกไว้ดังธงยอด ด้วยประโยชน์ในความชนะนั้น เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลนั้นย่อมหัวเราะและเฟื่องฟูขึ้นด้วยประโยชน์

ในความชนะนั้น.

[๒๙๗] คำว่า เพราะบุคคลนั้นบรรลุประโยชน์นั้นแล้ว ได้

เป็นผู้สมใจนึก มีความว่า บรรลุ คือ ถึง ได้ ประสบ ได้เฉพาะ

ซึ่งประโยชน์ในความชนะนั้นแล้ว. คำว่า ได้เป็นผู้สมใจนึก ความว่า

ได้เป็นผู้สมใจนึก คือ สมเจตนา สมควรดำริ สมดังวิญญาณ เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า เพราะบุคคลนั้น บรรลุประโยชน์นั้นแล้วได้เป็นผู้สม

ใจนึก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ก็หรือว่า บุคคลกล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท

ย่อมได้รับสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น บุคคลนั้นย่อม

หัวเราะและเฟื่องฟูขึ้นด้วยประโยชน์ในความชนะนั้น

เพราะบุคคลนั้นบรรลุประโยชน์นั้นแล้ว ได้เป็นผู้สมใจนึก.

[๒๙๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ความเฟื่องฟูเป็นพื้นย่ำยีแห่งบุคคลนั้น บุคคลนั้น

ย่อมกล่าวความถือตัวและความดูหมิ่น บุคคลเห็นโทษแม้

นั้นแล้วไม่ควรวิวาทกัน ผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวความหมดจด

เพราะวิวาทนั้น.

[๒๙๙] คำว่า ความเฟื่องฟูเป็นพื้นย่ำยีแห่งบุคคลนั้น มีความ

ว่า ความเฟื่องฟู คือความเห่อเหิม ความเป็นดุจธงชัย ความยกย่องตนขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 750

ความที่จิตใคร่ยกไว้ดังธงยอดใด ความเฟื่องฟูนั้นเป็นพื้น ย่ำยี คือเป็น

พื้นตัดรอน เป็นพื้นเบียดเบียน เป็นพื้นบีบคั้น เป็นพื้นอันตราย เป็นพื้น

อุปสรรคแห่งบุคคลนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความเฟื้องฟูเป็นพื้น

ย่ำยีแห่งบุคคลนั้น.

[๓๐๐] คำว่า บุคคลนั้นย่อมกล่าวความถือตัวและความดู

หมิ่น มีความว่า บุคคลนั้นย่อมกล่าวความถือด้วย และย่อมกล่าวความ

ดูหมิ่น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลนั้นย่อมกล่าวความถือตัวและ

ความหมิ่น.

[๓๐๑] คำว่า เห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ควรวิวาทกัน มีความ

ว่า เห็น พบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว

ซึ่งโทษนั้นในเพราะความทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ ความหมายมั่นกัน เพราะ

ทิฏฐิ ความแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกันเพราะทิฏฐิ ความมุ่ง

ร้ายกันเพราะทิฏฐิ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เห็นโทษแม้นั้นแล้ว. คำว่า ไม่

ควรวิวาทกัน ความว่า ไม่พึงทำความทะเลาะ ความหมายมั่น ความ

แก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน ความมุ่งร้ายกัน คือ พึงละบรรเทา ทำให้

สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งความทะเลาะกัน ความหมายมั่นกัน

ความแก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน และความมุ่งร้ายกัน คือพึงเป็นผู้งด

เว้น เว้นขาด ออกไป สละ พ้นขาด พรากออกไป จากความทะเลาะกัน

ความหมายมั่นกัน ความแก่งแย่งกัน ความวิวาทกันและความมุ่งร้ายกัน

พึงเป็น ผู้มีจิตกระทำให้ปราศจากแดนอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เห็นโทษ

แม้นั้นแล้ว ไม่ควรวิวาทกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 751

[๓๐๒] คำว่า ผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวความหมดจดเพราะวิวาท

นั้น มีความว่า คำว่า ผู้ฉลาด ได้แก่ ผู้ฉลาดในขันธ์ ฉลาดในธาตุ

ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในสติปัฏฐาน ฉลาดใด

สัมมัปปธาน ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาด

ในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาดในผล ฉลาดในนิพพาน ผู้ฉลาด

เหล่านั้น ย่อมไม่กล่าว ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลงถึงความ

หมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้นความพ้นวิเศษ

ความพ้นรอบ เพราะความทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ ความหมายมั่นกันเพราะ

ทิฏฐิ ความแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ ความวิวาทกัน เพราะละทิฏฐิ ความมุ่ง

ร้ายกันเพราะทิฏฐิ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวความ

หมดจดเพราะวิวาทนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ความเฟื่องฟูเป็นพื้นย่ำยีแห่งบุคคลนั้น บุคคลนั้น

ย่อมกล่าวถือตัว และความดูหมิ่น บุคคลนั้นเห็นโทษแม้

นั้นแล้วไม่ควรวิวาทกัน ผู้ฉลาดย่อมไม่กล่าวความหมดจด

เพราะวิวาทนั้น.

[๓๐๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

คนกล้าที่พระราชาทรงชุบเลี้ยงด้วยของควรเคี้ยว

คะนองปรารถนาคนกล้าที่เป็นศัตรู ย่อมพบคนกล้าที่

เป็นศัตรูฉันใด เจ้าทิฏฐิย่อมพบเจ้าทิฏฐิ ฉันนั้น ดูก่อน

ท่านผู้กล้า เจ้าทิฏฐิอยู่ที่ใด ท่านจงไปเสียจากที่นั้น กิเลส

ทั้งหลายของตถาคตมิได้มีในเบื้องต้นเพื่อจะรบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 752

[๓๐๔] คำว่า คนกล้าที่พระราชาทรงชุบเลี้ยงด้วยของควร

เคี้ยว มีความว่า คำว่า คนกล้า ได้แก่ คนกล้า คนมีความเพียร คนต่อสู้

คนไม่ขลาด คนไม่หวาดเสียว คนไม่ครั่นคร้าม คนไม่หนี. คำว่า ที่

พระราชาทรงชุบเลี้ยงด้วยของควรเคี้ยว ความว่า ผู้อันพระราชาทรง

ชุบเลี้ยง คือพวกเลี้ยง บำรุง เพิ่มพูน ให้เจริญ ด้วยของควรเคี้ยวของ

พระราชา ด้วยของควรบริโภคของพระราชา เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า คน

กล้าที่พระราชาทรงชุบเลี้ยงด้วยของควรเคี้ยว.

[๓๐๕] คำว่า ผู้คะนองปรารถนาคนกล้าที่เป็นศัตรู ย่อม

พบคนกล้าที่เป็นศัตรู ฉันใด เจ้าทิฏฐิย่อมพบเจ้าทิฏฐิ ฉันนั้น

ว่า คนกล้านั้น ผู้คะนอง ร้องท้าทาย บันลือลั่น ปรารถนา ยินดี

มุ่งหวัง ประสงค์ พอใจ ซึ่งคนกล้าผู้เป็นศัตรู คือบุรุษที่เป็นปฏิปักษ์

ศัตรูที่เป็นปฏิปักษ์ นักรบที่เป็นปฏิปักษ์ ย่อมพบ คือ ถึง เข้าถึง ซึ่ง

คนกล้าที่เป็นศัตรู เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้คะนองปรารถนาคนกล้าที่

เป็นศัตรู ย่อมพบคนกล้าที่เป็นศัตรู ฉันใด เจ้าทิฏฐิย่อมพบเจ้า

ทิฏฐิฉันนั้น.

[๓๐๖] คำว่า ดูก่อนท่านผู้กล้า เจ้าทิฏฐิอยู่ที่ใด ท่านจงไป

เสียจากที่นั้น มีความว่า เจ้าทิฏฐินั้นอยู่ที่ใด ท่านจงไป คือ จงดำเนิน

เดินก้าวไปเสียจากที่นั้นนั่นแหละ เพราะเจ้าทิฏฐินั้น เป็นคนกล้าที่เป็นศัตรู

คือเป็นบุรุษที่เป็นปฏิปักษ์ ศัตรูที่เป็นปฏิปักษ์ นักรบที่เป็นปฏิปักษ์ ต่อ

ท่าน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ดูก่อนท่านผู้กล้า เจ้าทิฏฐิอยู่ที่ใด ท่าน

จงไปเสียจากที่นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 753

[๓๐๗] คำว่า กิเลสทั้งหลายของตถาคตมิได้มีในเบื้องต้น

เพื่อจะรบ มีความว่า กิเลสเหล่าใด อันทำความขัดขวาง ทำความเป็น

ข้าศึก ทำความเป็นเสี้ยนหนาม ทำความเป็นปฏิปักษ์ กิเลสเหล่านั้น

มิได้มี คือ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ เป็นบาปธรรมอัน

ตถาคตละตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว

ด้วยไฟคือญาณ ในเบื้องต้นนั่นแหละ คือ ที่โคนโพธิพฤกษ์. คำว่า

เพื่อจะรบ ได้แก่. เพื่อต้องการรบ เพื่อความทะเลาะ เพื่อความหมายมั่น

เพื่อความแก่งแย่ง เพื่อความวิวาท เพื่อความมุ่งร้าย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

กิเลสทั้งหลายของตถาคต มิได้มีในเบื้องต้นเพื่อจะรบ เพราะเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

คนกล้าที่พระราชาทรงชุบเลี้ยงด้วยของควรเคี้ยว

ผู้คะนองปรารถนาคนกล้าที่เป็นศัตรู ย่อมคบคนกล้าที่เป็น

ศัตรูฉันใด เจ้าทิฏฐิย่อมพบเจ้าทิฏฐิ ฉันนั้น ดูก่อนท่าน

ผู้กล้า เจ้าทิฏฐิอยู่ที่ใดท่านจงไปเสียจากที่นั้น กิเลส

ทั้งหลายของตถาคตมิได้มีในเบื้องหน้าเพื่อจะรบ.

[๓๐๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ว ย่อมวิวาทกัน และย่อม

กล่าวว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง ดังนี้ ท่านจงกล่าวกะชนเหล่านั้น

เพราะกิเลสที่ทำความขัดขวางกัน ในเมื่อวาทะเกิดแล้ว

ย่อมไม่มีในที่นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 754

ว่าด้วยวิวาทกันเพราะทิฏฐิ

[๓๐๙] คำว่า ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ว ย่อมวิวาทกัน มี

ความว่า ชนเหล่าใด ถือ คือ จับถือ ถือเอา ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่ง

ทิฏฐิ ๖๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมวิวาทกัน คือ ทำความ

ทะเลาะ ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความมุ่งร้ายกันว่า

ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ เรารู้ธรรมวินัยนี้, ท่านจักรู้ธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร,

ท่านปฏิบัติผิดเราปฏิบัติชอบ, คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มี

ประโยชน์, คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวทีหลัง, คำที่ควรกล่าวทีหลัง

ท่านกล่าวก่อน คำที่คล่องแคล่วของท่านกลับขัดข้องไป, เราใส่โทษท่าน

แล้ว ท่านถูกเราปราบแล้ว ท่านจงเที่ยวไป หรือจงแก้ไขเพื่อเปลื้องวาทะ

ถ้าท่านสามารถเพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้วย่อม

วิวาทกัน.

[๓๑๐] คำว่า และย่อมกล่าวว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง ดังนี้ มี

ความย่อมกล่าว คือ ย่อมบอก พูด แสดง แถลงว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้

เท่านั้นจริงสิ่งอื่นเปล่า ย่อมกล่าว คือ ย่อมบอก พูดแสดง แถลงว่า

โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่

เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้นจึงซึ่งว่า และ

ย่อมกล่าวว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง ดังนี้.

[๓๑๑] คำว่า ท่านจงกล่าวกับชนเหล่านั้น เพราะกิเลสที่

ทำความขัดขวางกัน ในเมื่อวาทะเกิดแล้ว ย่อมไม่มีในที่นี้ มี

ความว่า ท่านจงกล่าวกะชนเหล่านั้น คือผู้เป็นเจ้าทิฏฐิ คือ ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 755

จงทำความข่มด้วยความข่มทำกรรมตอบด้วยกรรมตอบ ทำกรรมแปลกด้วย

กรรมแปลกทำกรรมแปลกเฉพาะด้วยกรรมแปลกเฉพาะ ทำความผูกมัด

ด้วยความผูกมัดทำความปลดเปลื้องด้วยความปลดเปลื้อง ทำความตัดด้วย

ความตัด ทำความขนาบด้วยความขนาบ ชนเหล่านั้นเป็นคนกล้าที่เป็นศัตรู

เป็นบุรุษที่เป็นปฏิปักษ์ เป็นศัตรูที่เป็นปฏิปักษ์ เป็นนักรบที่เป็นปฏิปักษ์

ต่อท่านเพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ท่านกล่าวกะชนเหล่านั้น.

คำว่า เพราะกิเลสที่ทำความขัดขวางกัน ในเมื่อวาทะเกิด

แล้วย่อมไม่มีในที่นี้ มีความว่า เมื่อวาทะเกิดแล้ว เกิดพร้อม บังเกิด

บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้ว กิเลสเหล่าใดที่ทำความขัดขวางกัน ความขัด

แย้งกัน ความเป็นเสี้ยนหนามกัน ความเป็นปฏิปักษ์กัน พึงทำความ

ทะเลาะ หมายมั่น แก่งแย่ง วิวาท มุ่งร้ายกัน กิเลสเหล่านั้นย่อมไม่มี

คือ ย่อมไม่มีพร้อม ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ ย่อมเป็นบาปธรรมอันตถาคต

ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วย

ไฟคือญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ท่านจงกล่าวกะชนเหล่านั้น เพราะ

กิเลสที่ทำความขัดขวางกัน ในเมื่อวาทะเกิดแล้ว ย่อมไม่มีใน

ที่นี่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ก็ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ว ย่อมวิวาทกัน และย่อม

กล่าวว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง ดังนี้ ท่านจงกล่าวกะชนเหล่านั้น

เพราะกิเลสที่ทำความขัดขวางกัน ในเมื่อวาทะเกิดแล้ว

ย่อมไม่มีในที่นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 756

[๓๑๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด กำจัดเสนาแล้ว ไม่

กระทบทิฏฐิด้วยทิฏฐิย่อมเที่ยวไป ดูก่อนปสูระ ท่านพึงได้

อะไรในพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ผู้ไม่มีความถือว่าสิ่ง

นี้ประเสริฐ.

ว่าด้วยมารเสนา

[๓๑๓] คำว่า ก็พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด กำจัดเสนา

แล้ว....ย่อมเที่ยวไป มีอธิบายดังต่อไปนี้ มารเสนา เรียกว่า เสนา กาย

ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความ

ผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง

ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น

ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวน

กระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือนร้อนทั้งปวง อกุสลา-

ภิสังขารทั้งปวง เป็นมารเสนา สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

กิเลสกามเรากล่าวว่าเป็นกองทัพที่ ๑ ของท่าน ความไม่ยินดีเป็นกองทัพ

ที่ ๒ ฯลฯ ส่วนคนกล้าย่อมชนะได้ ครั้นชนะแล้ว ย่อมได้สุข ดังนี้.

เพราะมารเสนาทั้งหมด และกิเลสอันทำความเป็นปฏิปักษ์ทั้งหมด อันบุคคล

นั้นชนะแล้ว ไม่แพ้แล้ว ทำลายแล้ว กำจัดแล้ว ทำให้ไม่สู้หน้าแล้ว

ด้วยอริยมรรค ๔ ฉะนั้นจึงเรียกบุคคลนั้นว่า เป็นผู้กำจัดเสนาแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 757

คำว่า เหล่าใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า ย่อมเที่ยวไป

ได้แก่ ย่อมเที่ยวไปอยู่ ผลัดเปลี่ยนกิริยาบถ ประพฤติ รักษา เป็นไป

ยังอัตภาพให้เป็นไป เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ก็พระอรหันตขีณาสพเหล่า

ใดกำจัดเสนาแล้วย่อมเที่ยวไป.

[๓๑๔] คำว่า ไม่กระทบทิฏฐิด้วยทิฏฐิ มีความว่า ทิฏฐิ ๖๒

อันพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้นละแล้ว ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้

ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น

ไม่กระทบ คือ ไม่กระทั่ง ไม่บั่นรอน ไม่ทำลายซึ่งทิฏฐิด้วยทิฏฐิ เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่กระทบทิฏฐิด้วยทิฏฐิ.

[๓๑๕] คำว่า ดูก่อนปสูระ ท่านพึงได้อะไรในพระอรหันต

ขีณาสพเหล่านั้น มีความว่า ดูก่อนท่านผู้กล้าเป็นปฏิปักษ์ คือ เป็น

บุรุษปฏิปักษ์ เป็นศัตรูปฏิปักษ์ เป็นนักรบปฏิปักษ์ ท่านพึงได้อะไรใน

พระอรหัน ขีณาสพเหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ดูก่อน ปสูระ ท่าน

พึงได้อะไรในพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น.

[๓๑๖] คำว่า ผู้ไม่มีความถือว่าสิ่งนี้ประเสริฐ มีความว่า ความ

ถือ ความยึดมั่น ความติดใจ ความน้อมใจไปว่า สิ่งนี้ประเสริฐ คือ

เลิศ เป็นใหญ่ วิเศษ เป็นประธาน สูงสุด บวร ย่อมไม่มี คือย่อมไม่

ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ แก่พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด คือเป็นกิเลสอัน

พระอรหันตขีณาสพนั้นละตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น

เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ไม่มีความถือว่าสิ่งนี้

ประเสริฐ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 758

ก็พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด กำจัดเสนาแล้ว ไม่

กระทบทิฏฐิด้วยทิฏฐิ ย่อมเที่ยวไป ดูก่อนปสูระ ท่านพึง

ได้อะไรในพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ผู้ไม่มีความถือว่า

สิ่งนี้ประเสริฐ.

[๓๑๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ก็ท่านตรึกคิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจมาแล้ว

ท่านมาแข่งคู่ด้วยพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาชื่อว่าโธนา ท่าน

ไม่อาจเพื่อเทียมทันได้เลย.

ว่าด้วยพระปัญญาของพระพุทธเจ้า

[๓๑๘] บทว่า อถ ในคำว่า ก็ท่านตรึก....มาแล้ว เป็นบทสนธิ

เชื่อมบท เป็นบทบริบูรณ์ เป็นศัพท์ประชุมอักษร เป็นศัพท์ทำพยัญชนะ

ให้สละสลวย.

บทว่า อถ นี้เป็นลำดับบท คำว่า ท่านตรึก....มาแล้ว มีความ

ว่า ท่านตรึกตรอง ดำริ คือ ตรึก ตรอง ดำริอย่างนี้ว่า เราจักมีชัย

หรือจักปราชัยหนอ เราจักข่มเขาอย่างไร จักทำลัทธิของเราให้เชิดชูอย่าง

ไร จักทำลัทธิของเราให้วิเศษอย่างไร จักทำลัทธิของเราให้วิเศษเฉพาะ

อย่างไร จักทำความผูกพันเขาอย่างไร จักทำความปลดเปลื้องอย่างไร จัก

ทำความตัดรอนวาทะเขาอย่างไร จักขนาบวาทะเขาไว้อย่างไร ดังนี้ เป็น

ผู้มาแล้ว คือ เข้ามา มาถึง มาประจวบแล้วกับเรา เพราะฉะนั้นจึงชื่อ

ว่า ก็ท่านตรึก....มาแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 759

[๓๑๙] คำว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ มีความว่า คำว่า ใจ

ได้แก่ จิต ใจ มานัส หทัย บัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์

วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่เกิดแต่ผัสสะเป็นต้นนั้น ท่าน

คิดนึกถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยจิตว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง ฯลฯ

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีก ก็หามิได้

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ.

[๓๒๐] ในคำว่า ท่านมาแข่งคู่ด้วยพระพุทธเจ้า ผู้มีปัญญา

ชื่อว่าโธนา ท่านไม่อาจเพื่อเทียมทันได้เลย มีอธิบายดังต่อไปนี้

ปัญญา เรียกว่า โธนา ได้แก่ ความรู้ ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง

ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. เพราะเหตุไร ปัญญาจึงเรียกว่าโธนา

เพราะปัญญานั้น เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอก ซึ่งกายทุจริต

ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐิเป็นเครื่องกำจัด

ล้าง ชำระ ซักฟอก ซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ. สัมมาวิมุตติเป็นเครื่องกำจัด

ล้าง ชำระ ชักฟอก ซึ่งมิจฉาวิมุตติ อีกอย่างหนึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘

เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอก ซึ่งอกุศลทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง

ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง

อกุสสาภิสังขารทั้งปวง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไป

เข้าไปพร้อม เข้าชิด เข้าชิดพร้อม ประกอบแล้วด้วยธรรมทั้งหลายอันเป็น

เครื่องกำจัดเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า ปัญญา

เป็นเครื่องกำจัด. พระผู้มีภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงกำจัดราคะ บาป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 760

กิเลส ความเร่าร้อนเสียแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีปัญญาเป็นเครื่อง

กำจัด.

คำว่า ท่านมาแข่งคู่ด้วยพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาถือว่าโธนา

ท่านไม่อาจเพื่อเทียมทันได้เลย มีความว่า ปสูรปริพาชกไม่อาจมาแข็ง

คู่ คือมาเพื่อจับคู่ เพื่อสนทนา ปราศรัย โต้ตอบ กับพระผู้มีพระภาคผู้เป็น

พระพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาชื่อว่าโธนา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะปสูรปริ-

พาชกเป็นคนเลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ส่วนพระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน บวร.

ปสูรปริพาชกไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อจับคู่ เพื่อสนทนา ปราศรัย

โต้ตอบ กับพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาชื่อว่าโธนา.

เปรียบเหมือนกระต่ายไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อจับคู่กับช้างใหญ่ซับมัน.

เหมือนสุนัขจิ้งจอกแก่ไม่อาจมาแข่งคู่กับสีหะเป็นมฤคราช. เหมือนลูกโค

ตัวเล็กยังไม่อดนม ไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อจับคู่กับโคที่มีกำลังมาก

เหมือนกาไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อจับคู่กับครุฑเวนไตย. เหมือนคนจัณ-

ฑาลไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อจับคู่กับพระเจ้าจักรพรรดิ. และเหมือน

ปีศาจเล่นฝุ่นไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อจับคู่กับพระอินทร์ผู้เป็นเทวราช.

ฉะนั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะปสูรปริพาชกเป็นผู้มีปัญญาเลว มีปัญญา

ทราม มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก มีปัญญาสกปรก มีปัญญาต่ำต้อย.

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง

มีปัญญารื่นเริง มีปัญญาแล่น มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาชำแรกกิเลส

ฉลาดในประเภทปัญญา มีปัญญาแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 761

เวสารัชชญาณ ๔ ทรงทศพลญาณ เป็นบุรุษองอาจ เป็นบุรุษสีหะ เป็น

บุรุษนาค เป็นบุรุษอาชาไนย เป็นบุรุษนำธุระไป มีญาณหาที่สุดมิได้

มีเดชหาที่สุดมิได้ มียศหาที่สุดมิได้ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีปัญญา

เป็นทรัพย์ เป็นผู้นำ เป็นผู้แนะนำ เป็นผู้นำไปเนือง ๆ ให้รู้จักประโยชน์

ให้เพ่งพินิจ เป็นผู้เห็นประโยชน์ เป็นผู้ให้แล่นไป.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดขึ้น

ให้เกิดขึ้น ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่

ไม่มีใครบอก ทรงรู้มรรค ทรงรู้แจ้งมรรค ทรงฉลาดในมรรค ก็และ

ในบัดนี้ พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ดำเนิน

ตามมรรคอยู่ เป็นผู้ประกอบด้วยสีลาที่คุณในภายหลัง พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น เป็นผู้มีพระ

จักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้ตรัสบอก เป็นผู้แนะนำ

เป็นผู้นำออกซึ่งอรรถ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นธรรมสามี เป็นพระตถาคต

สิ่งที่ไม่รู้ สิ่งที่ไม่เห็น สิ่งที่ไม่ทราบชัด สิ่งที่ไม่ทำให้แจ้ง สิ่งที่มิได้ถูก

ต้องด้วยปัญญา ย่อมไม่มีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ธรรมทั้งปวง

รวมทั้งอดีต อนาคต ปัจจุบัน ย่อมมาสู่คลองในมุข คือพระญาณของ

พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้า โดยอาการทั้งปวง ชื่อว่าประโยชน์ที่

ควรแนะนำทุก ๆ อย่าง อันชนควรรู้ มีอยู่ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น

ประโยชน์ทั้งสองอย่าง ประโยชน์ในชาตินี้ ประโยชน์ในชาติหน้า ประ-

โยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับ ประโยชน์ปกปิด ประโยชน์ที่

ควรแนะนำ ประโยชน์ที่บัณฑิตแนะนำแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษ ประ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 762

โยชน์ที่ปราศจากกิเลส ประโยชน์ผ่องแผ้ว ประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์

ทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ กายกรรม วจีกรรม

มโนกรรมทั้งหมด ย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระ

พุทธเจ้า. พระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้า มิได้ขัดข้องใน

อดีต อนาคต ปัจจุบัน บทธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระญาณก็เท่านั้น

พระญาณเท่าใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมีส่วนสุดรอบ

แห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ บทธรรมที่ควรแนะนำ ก็มีส่วนสุดรอบแห่ง

พระญาณ พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่ง

บทธรรมที่ควรแนะนำก็มิได้เกินพระญาณไป ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในส่วน

สุดรอบของกันและกัน เมื่อชั้นผอบ ๒ ชั้น ปิดสนิทพอดีกัน ชั้นผอบ

ข้างล่างก็ไม่เกินชั้นผอบข้างบน ชั้นผอบข้างบนก็ไม่เกินชั้นผอบข้าง

ล่าง ชั้นผอบทั้ง ๒ ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน ฉันใด บท

ธรรมที่ควรแนะนำก็ดี พระญาณก็ดี ของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้า

ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน บทธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระ

ญาณก็เท่านั้น พระญาณเท่าใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณ

มีส่วนสุดรอบแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ ก็มีส่วนสุดรอบแห่งพระญาณ.

พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่

ควรแนะนำก็มิได้เกินพระญาณไป ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของ

กันและกัน ฉันนั้น พระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้าย่อม

เป็นไปในธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวง เนื่องด้วยความนึก เนื่องด้วยความ

หวัง เนื่องด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท แห่งพระผู้มีพระภาคผู้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 763

พระพุทธเจ้า พระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้า ย่อมเป็น

ไปในสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย จริต

อธิมุตติ แห่งสัตว์ทั้งปวง ย่อมทรงทราบซึ่งเหล่าสัตว์ผู้มีธุลีคือกิเลสน้อย

ในจักษุ มีธุลีคือกิเลสมากในจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน

มีอาการดี มีอาการทราม ให้รู้แจ้งได้โดยง่าย ให้รู้แจ้งได้โดยยาก เป็น

อภัพพสัตว์ โลกพร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธ

ญาณ ปลาและเต่าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละ และ

ปลาติมิติมิงคละ เป็นที่สุดย่อมเป็นไปในภายในมหาสมุทร ฉันใด โลก

พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์

เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน.

นกเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รวมทั้งครุฑเวนไตย เป็นที่สุด ย่อมเป็นไปใน

ประเทศอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลายผู้เสมอกับพระสารีบุตร

เถระด้วยปัญญาแม้เหล่านั้น ก็เป็นไปในประเทศแห่งพระพุทธญาณ ฉัน

นั้นเหมือนกัน. พระพุทธญาณย่อมแผ่คลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์ทั้ง

หลายตั้งอยู่ พวกบัณฑิตผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี สมณะ มีปัญญา

ละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูยิงขนหางสัตว์แม่น เที่ยวไป

ดุจทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้นปรุงแต่งปัญหา

แล้วเข้าไปเฝ้าพระตถาคตทูลถามปัญหา ปัญหาเหล่านั้นอันพระผู้มีพระภาค

เจ้าตรัสย้อนถามและตรัสแก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุที่ทรงแสดงไขและทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 764

ใส่เข้าแล้ว บัณฑิตเหล่านั้นย่อมเลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้าย่อมทรงไพโรจน์ยิ่งด้วยพระปัญญาในที่นั้นโดยแท้แล เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า ท่านมาแข่งคู่ด้วยพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาชื่อว่าโธนา ท่าน

ไม่อาจเพื่อเทียมทันได้เลย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ท่านตรึกคิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจมาแล้ว ท่าน

มาแข่งคู่ด้วยพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาชื่อว่า โธนา ท่านไม่

อาจเพื่อเทียมทันได้เลย.

จบ ปสูรสุตตนิทเทสที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 765

อรรถกถาปสูรสุตตนิทเทส

ในปสูรสุตตนิทเทส พึงทราบความย่อของคาถาแรกก่อน.

เจ้าทิฏฐิเหล่านั้นย่อมกล่าวว่า ความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น หมายเอา

ทิฏฐิของตน แต่มิได้กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมเหล่าอื่นเลย สมณ-

พราหมณ์เป็นอันมากอาศัยศาสดาของตนเป็นต้นใด เป็นผู้กล่าวว่างามใน

เพราะศาสดาของตนเป็นต้นนั้นนั่นแหละอย่างนี้ว่า วาทะนี้งาม ตั้งมั่นใน

สัจจะเฉพาะอย่างว่า โลกเที่ยง เป็นต้น.

บทว่า สพฺเพ ปรวาเท ขิปนฺติ ความว่าย่อมทิ้งลัทธิอื่นทั้งหมด.

บทว่า อุกฺขิปนฺติ ความว่า ทิ้งไปไกล.

บทว่า ปริกฺขิปนฺติ ความว่า ทิ้งไปโดยรอบ.

บทว่า สุภวาทา เป็นบทอุทเทสของบทที่จะต้องชี้แจง.

บทว่า โสภณวาทา ความว่า กล่าวว่า งาม อย่างนี้.

บทว่า ปณฺฑิตวาทา ความว่า กล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราเป็น

บัณฑิต.

บทว่า ธีรวาทา ความว่า กล่าวว่าพวกเรากล่าววาทะที่ปราศจากโทษ.

บทว่า ายวาทา ความว่า กล่าวว่า พวกเรากล่าววาทะที่ควร.

บทว่า เหตุวาทา ความว่า กล่าวว่า พวกเรากล่าววาทะที่ประกอบ

ด้วยเหตุ.

๑. บาลีเป็นาณวาทา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 766

บทว่า ลกฺขณวาทา ความว่า กล่าวว่า พวกเรากล่าววาทะที่

ควรกำหนด.

บทว่า การณวาทา ความว่า กล่าวว่า พวกเรากล่าววาทะที่

ประกอบด้วยอุทาหรณ์.

บทว่า านวาทา ความว่า กล่าวว่า พวกเรากล่าววาทะที่ไม่อาจ

จะหลีกเลี่ยงได้.

บทว่า นิวิฏฺา ความว่า เข้าไปในภายใน.

บทว่า ปติฏฺิตา ความว่า ตั้งอยู่ในสัจจะเฉพาะอย่างนั้นนั่นแหละ

ชื่อว่าตั้งมั่นอยู่ด้วยประการฉะนี้แล.

คาถาที่ ๒ ว่า เต วาทกามา เป็นต้น พึงทราบดังต่อไปนี้ :-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาล ทหนฺติ มิถู อญฺมญฺ

ความว่า ชนทั้งสองพวกย่อมมุ่งกันและกันว่าเป็นพาล คือย่อมเห็นโดย

ความเป็นพาล ย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นพาล ผู้นี้เป็นพาล.

บทว่า เต อญฺสิตา กโถชฺช ความว่า สมณพราหมณ์

เหล่านั้นอาศัยศาสดาเป็นต้น กล่าวทะเลาะกันและกัน.

บทว่า ปสสกามา กุสลาวทานา ความว่า ทั้งสองพวก เป็น

ผู้มีความต้องการความสรรเสริญ มีความสำคัญอย่างนี้ว่า พวกเรากล่าวว่า

ตนเป็นคนฉลาด คือกล่าวว่าเป็นบัณฑิต.

บทว่า วาทตฺถิกา ความว่า มีความต้องการด้วยวาทะ.

บทว่า วาทาธิปฺปายา ความว่า มีความมุ่งหมายวาทะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 767

บทว่า วาทปุเรกฺขารา ความว่า ทำวาทะนั่นแลไว้เบื้องหน้า

เที่ยวไป.

บทว่า วาทปริเยสน จรนฺตา ความว่า เที่ยวแสวงหาวาทะ

นั่นแล.

บทว่า วิคฺคยฺห ความว่า เข้าไปแล้ว.

บทว่า โอคฺคยฺห ความว่า หยั่งลงแล้ว.

บทว่า อชฺโฌคเหตฺวา ความว่า จมแล้ว.

บทว่า ปวิสิตฺวา ความว่า ไปในภายใน.

บทว่า อโนชวนฺตี ความว่า ไม่มีน้ำมีนวล อธิบายว่า เว้นจาก

เดช.

บทว่า สา กถา ได้แก่ วาจานี้.

บทว่า กโถชฺช วทนฺติ ความว่า กล่าวคำที่ไร้เดช ก็บรรดา

พวกเขาที่กล่าวอย่างนี้ กำหนดได้คนเดียวเท่านั้น.

คาถาว่า ยุตฺโย กถาย เป็นต้น พึงทราบดังต่อไปนี้ :-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยุตฺโต กถาย ความว่า ผู้ขวนขวาย

ในการกล่าววาทะ.

บทว่า ปสสมิจฺฉ วินิฆาติ โหติ ความว่า เมื่อปรารถนาความ

สรรเสริญเพื่อตน เป็นผู้มีถ้อยคำอย่างไรที่จะกล่าวก่อน โดยนัยเป็นต้นว่า

เราจักข่มเขาอย่างไรหนอ ชื่อว่าย่อมเป็นผู้ลังเลใจ.

บทว่า อปาหตสฺมึ ความว่า ในเมื่อวาทะของตนถูกผู้พิจารณา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 768

ปัญหา ค้านโดยนัยเป็นต้นว่า ท่านกล่าวคำปราศจากอรรถะ ท่านกล่าวคำ

ปราศจากพยัญชนะ.

บทว่า นินฺทาย โส กุปฺปติ ความว่า นรชนนั้นย่อมขัดเคือง

ในเมื่อวาทะถูกเขาคัดค้าน และเพราะความติเตียนที่เกิดขึ้น.

บทว่า รนฺธเมสิ ความว่า แสวงหาความผิดของผู้อื่นนั่นแล.

บทว่า โถมน ได้แก่ กล่าวสรรเสริญ.

บทว่า กิตฺตึ ได้แก่ กระทำให้ปรากฏ.

บทว่า วณฺณหาริย ได้แก่ ยกย่องคุณความดี.

บทว่า ปุพฺเพว สลฺลาปา ความว่า ก่อนที่จะโต้ตอบกันนั่นแหละ

ชื่อว่า กถังกถา เพราะอรรถว่า คำนี้อย่างไร คำนี้อย่างไร ชื่อว่า

กถังกถี เพราะอรรถว่า มีกถังกถา ถ้อยคำว่าอย่างไร.

บทว่า ชโย นุโข เม ความว่า เราชนะ.

บทว่า กถ นิคฺคห ความว่า ข่มด้วยประการไร.

บทว่า ปฏิกมฺม กริสฺสามิ ความว่า เราจักกระทำลัทธิของเรา

ให้บริสุทธิ์.

บทว่า วิเสส ความว่า ยิ่งเกิน.

บทว่า ปฏิวิเสส ความว่า วิเศษบ่อย ๆ.

บทว่า อาเวธิย กริสฺสามิ ความว่า จักกระทำความผูกพัน.

บทว่า นิพฺเพธิย ความว่า ความปลดเปลื้อง คือ ความพ้น

ความออกไปของเรา.

บทว่า เฉทน ความว่า การตัดวาทะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 769

บทว่า มณฺฑล ความร่า การขนาบวาทะ.

บทว่า ปาริสชฺชา ความว่า ผู้เข้าที่ประชุม.

บทว่า ปาสาทนิยา ความว่า ผู้มีความกรุณา.

บทว่า อปหรนฺติ ความว่า ย่อมห้าม.

บทว่า อตฺถาปคต ความว่า ปราศจากอรรถะ อธิบายว่า ไม่มี

อรรถะ

บทว่า อตฺถโต อปหรนฺติ ความว่า ย่อมห้ามจากอรรถะ.

บทว่า อตฺโถ เต ทุนฺนีโต ความว่า ท่านมิได้นำอรรถะเข้า

ไปโดยชอบ.

บทว่า พฺยญฺชนนฺเต ทุโรปิต ความว่า ท่านตั้งพยัญชนะไม่ดี.

บทว่า นิคฺคโห เต อกโต ความว่า ท่านไม่กระทำความข่ม.

บทว่า ปฏิกมฺมนฺเต ทุกฺกฏ ความว่า การตั้งลัทธิของตน ท่าน

ทำไม่ดี คือทำไม่เรียบร้อย.

บทว่า ทุกฺกถิต ความว่า ท่านพูดไม่ชอบ.

บทว่า ทุพฺภณิต ความว่า แม้เมื่อกล่าว ก็กล่าวไม่ดี.

บทว่า ทุลฺลปิต ความว่า ชี้แจงไม่ชอบ.

บทว่า ทุรุตฺต ความว่า กล่าวโดยประการอื่น.

บทว่า ทุพฺภาสิต ความว่า กล่าวผิดรูป.

บทว่า นินฺทาย ความว่า ความติเตียน.

บทว่า ครหาย ความว่า กล่าวโทษ.

บทว่า อกิตฺติยา ความว่า กล่าวสิ่งที่ไม่เป็นคุณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 770

บทว่า อวณฺณหาริกาย ความว่า เพิ่มสิ่งที่ไม่เป็นคุณ.

บทว่า กุปฺปติ ความว่า ละปกติภาพแล้วหวั่นไหว.

บทว่า พฺยาปชฺชติ ความว่า ถึงภาวะเสียด้วยสามารถแห่งโทสะ.

บทว่า ปติตฺถียติ ความว่า ถึงความแค้นใจด้วยสามารถแห่งความ

โกรธ.

บทว่า โกปญฺจ ความว่า ความโกรธ.

บทว่า โทสญฺจ ความว่า ความประทุษร้าย.

บทว่า อปฺปจฺจยญฺจ ความว่า อาการไม่ยินดี.

บทว่า ปาตุกโรติ ความว่า กระทำให้ปรากฏ.

บทว่า รนฺธเมสี ความว่า แสวงหาระหว่าง.

บทว่า วิรนฺธเมสี ความว่า แสวงหาช่อง.

บทว่า อปรนฺธเมสี ความว่า นำคุณออก แล้วแสวงหาโทษเท่า

นั้น.

บทว่า ขลิตเมสี ความว่า แสวงหาความพลั้งพลาด.

บทว่า คลิตเมสี ความว่า แสวงหาความตกไป ปาฐะว่า

ฆฏฏิตเมสี ก็มี ความแห่งปาฐะนั้นว่า แสวงหาความบีบคั้น.

บทว่า วิวรเมสี ความว่า แสวงหาโทษ.

อนึ่ง มิใช่โกรธอย่างเดียว แต่พึงทราบคาถาว่า ยมสฺส วาท เป็น

ต้น โดยแท้แล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริหีนมาหุ อปาหต ความว่า ย่อม

กล่าวว่าเลว คัดค้านให้ตกไป โดยอรรถสละพยัญชนะเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 771

บทว่า ปริเทวติ ความว่า ต่อนั้นเขาบ่นเพ้อถึงนิมิตโดยนัยว่าเรา

คิดถึงสิ่งอื่นเป็นต้น.

บทว่า โสจติ ความว่า ย่อมเศร้าโศกปรารภว่าเขาชนะเป็นต้น.

บทว่า อุปจฺจคา มนฺติ อนุตฺถุนาติ ความว่า บ่นเพ้อยิ่งขึ้นไป

อีกโดยนัยเป็นต้นว่า เขากล่าวก้าวล่วงเราด้วยวาทะ.

บทว่า ปริหาปิต ความว่า ให้เจริญไม่ได้.

บทว่า อญฺ มยา อาวชฺชิต ความว่า เรารำพึงถึงเหตุอื่น.

บทว่า จินฺติต ความว่า พิจารณา.

บทว่า มหาปกฺโข ความว่า ชื่อว่า มีพวกมาก เพราะอรรถว่า

มีพวกญาติมาก.

บทว่า มหาปริโส ความว่า มีบริษัทโดยความเป็นบริวารมาก.

บทว่า มหาปริวาโร ความว่า มีทาสและทาสีเป็นบริวารมาก.

บทว่า ปริสา จาย วคฺคา ความว่า ก็บริษัทนี้เป็นพวก ๆ ไม่เป็น

อันหนึ่งอันเดียวกัน.

บทว่า ปุน ภญฺชิสฺสามิ ความว่า จักทำลายอีก.

ก็ในบทว่า เอเต วิวาทา สมเณสุ นี้ เหล่าปริพาชกภายนอก

เรียกว่า สมณะ.

บทว่า เอเตสุ อุคฺฆาติ นิคฺฆาติ โหติ ความว่า เมื่อถึงความ

ที่จิตยินดีหรือยินร้ายด้วยสามารถแห่งความแพ้และความชนะเป็นต้น ชื่อ

ว่าความยินดีและความยินร้ายย่อมมีในเพราะวาทะเหล่านี้.

บทว่า วิรเม กโถชฺช ความว่า พึงละความทะเลาะกันเสีย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 772

บทว่า น หญฺทตฺถตฺถิ ปสสลาภา ความว่า เพราะประโยชน์

อื่นจากการได้ความสรรเสริญ ย่อมไม่มีในเพราะความวิวาทนี้.

บทว่า อุตฺตาโน วา ความว่า ไม่ลึกเหมือนในประโยคว่า กาม

คุณ ๕ เหล่านี้ เป็นต้น.

บทว่า คมฺภีโร ความว่า เข้าไปได้ยาก ตั้งอยู่ไม่ได้เหมือนธรรม

ที่อาศัยกันเกิดขึ้น.

บทว่า คุฬฺโห ความว่า ปกปิดตั้งอยู่ เหมือนในประโยคว่า

จงรื่นรมย์เถิด นันทะ เราเป็นผู้รับรองของเธอ เป็นต้น.

บทว่า ปฏิจฺฉนฺโน ความว่า ไม่ปรากฏ เหมือนในประโยคว่า

ฆ่ามารดาบิดา เป็นต้น.

บทว่า เนยฺโย วา ความว่า ควรนำออกกล่าว เหมือนในประโยค

ว่า เป็นผู้ไม่มีศรัทธาและเป็นคนอกตัญญู เป็นต้น.

บทว่า นีโต วา ความว่า พึงกล่าวโดยทำนองที่ตั้งไว้ในบาลี

เหมือนในประโยคว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ ๔ เหล่านี้ เป็นต้น.

บทว่า อนวชฺโช วา ความว่า ประโยชน์ที่ปราศจากโทษ เหมือน

ในประโยคว่า กุศลธรรม เป็นต้น.

บทว่า นิกฺกิเลโส วา ความว่า เว้นจากกิเลส เหมือนวิปัสสนา.

บทว่า โวทาโน วา ความว่า บริสุทธิ์ เหมือนโลกุตตระ.

บทว่า ปรมตฺโถ วา ความว่า ประโยชน์สูงสุด คือ ประโยชน์ที่

เป็นประโยชน์สูงสุด เหมือนขันธ์ ธาตุ อายตนะ และพระนิพพาน

คาถาที่ ๖ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 773

เพราะประโยชน์อื่นจากการได้ความสรรเสริญ ย่อมไม่มี ฉะนั้นแม้

เมื่อได้ลาภอย่างยิ่ง ก็ย่อมได้รับสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้นว่า คนนี้ก็

แสดงวาทะนั้นในท่ามกลางบริษัท ต่อนั้นเขาถึงความยินดี หรือความยิ้ม

แย้ม ย่อมหัวเราะและเฟื่องฟูขึ้นด้วยมานะ เพราะอรรถว่าชนะนั้น เพราะ

เหตุอะไร เพราะบรรลุประโยชน์คือความชนะนั้น เป็นผู้สมใจนึก.

บทว่า ถมฺภยิตฺวา ความว่า ให้เต็ม.

บทว่า พฺรูหยิตฺวา ความว่า ให้เจริญ นิทเทสของคาถานี้

มีเนื้อความง่าย.

อนึ่ง เมื่อเฟื่องฟูขึ้นอย่างนี้ พึงทราบคาถาว่า ยา อุณฺณตี เป็นต้น

ดังต่อไปนี้ :-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มานาติมาน วทเต ปเนโส ความว่า

ก็บุคคลนั้นไม่รู้อยู่ว่าความเฟื่องฟูนั้นเป็นพื้นย่ำยี จึงกล่าวความถือตัวและ

ความดูหมิ่น นิทเทสแห่งคาถาแม้นี้ก็มีเนื้อความง่าย.

ครั้นแสดงโทษในวาทะอย่างนี้แล้ว บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ

ไม่ทรงรับวาทะของปริพาชกนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า สูโร เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชขทาย มีอธิบายว่า ด้วยของควร

เคี้ยวซึ่งเป็นของพระราชทาน คือภัตตาหาร. ด้วยบทว่า อภิคชฺชเมติ

ปฏิสูรมิจฺฉ ทรงแสดงว่า ผู้คะนองอยู่นั้น เมื่อปรารถนาคนกล้าที่เป็น

ศัตรู ย่อมพบ ฉันใด เจ้าทิฏฐิย่อมพบเจ้าทิฏฐิ ฉันนั้น.

บทว่า เยเนว โส เตน ปเลหิ ความว่า คนกล้าที่เป็นศัตรูต่อ

ท่านนั้นมีอยู่ที่ใด ท่านจงไปเสียจากที่นั้น. ด้วยบทว่า ปุพฺเพว นตฺถี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 774

ยทิท ยุทฺธาย ทรงแสดงว่า ก็ความลำบากนี้ใดพึงมีเพื่อการรบ ความ

ลำบากนั้นมิได้มีในเบื้องต้นเลยในที่นี้ ตถาคตละเสียแล้วที่โคนไม้โพธิ

นั้นแล.

บทว่า สูโร เป็นบทอุทเทสของบทที่จะต้องชี้แจง ชีวิตด้วยดี ชื่อ

สูระ ความว่า ละชีวิต ถวายชีวิต.

บทว่า วีโร ความว่า มีความบากบั่น.

บทว่า วิกฺกนฺโต ความว่า เข้าสู่สงคราม.

บทว่า อภิรุ เป็นต้นมีนัยดังกล่าวนั้นแล.

บทว่า ปุฏฺโ เป็นบทอุทเทสของบทที่จะต้องชี้แจง.

บทว่า โปสิโต ความว่า ทำให้มีกำลัง.

บทว่า อาปาทิโต ความว่า เข้าไปเลี้ยงดู.

บทว่า ปฏิปาทิโต วฑฺฒิโต ความว่า ให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น.

บทว่า คชฺชนฺโต ความว่า คะนองด้วยบทของคนโง่.

บทว่า อุคฺคชฺชนฺโต ความว่า กระทำการโห่ร้อง.

บทว่า อภิคชฺชนฺโต ความว่า กระทำสีหนาท.

บทว่า เอติ ความว่า ย่อมมา.

บทว่า อุเปติ ความว่า ไปใกล้จากนั้น.

บทว่า อุปุคจฺฉติ ความว่า ไปใกล้จากนั้นแล้วไม่กลับ.

บทว่า ปฏิสูร ความว่า ปลอดภัย.

บทว่า ปฏิปุริส ความว่า บุรุษผู้เป็นศัตรู.

บทว่า ปฏิสตฺตุ ความว่า ผู้เป็นศัตรูยืนอยู่เฉพาะหน้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 775

บทว่า ปฏิมลฺล ความว่า เป็นผู้ขัดขวางต่อสู้อยู่.

บทว่า อิจฺฉนฺโต ความว่า หวังอยู่.

บทว่า ปเลหิ ความว่า จงไป.

บทว่า วชฺช ความว่า จงอย่ายืนอยู่.

บทว่า คจฺฉ ความว่า เข้าไปหาใกล้ ๆ

บทว่า อภิกฺกม ความว่า จงกระทำความบากบั่น.

บทว่า โพธิยา มูเล ความว่า ที่ใกล้มหาโพธิพฤกษ์.

บทว่า เย ปฏิเสนิกรา กิเลสา ความว่า กิเลสเหล่าใดอัน

กระทำความเป็นปฏิปักษ์.

บทว่า ปฏิโลมกรา ความว่า กระทำความเสื่อม.

บทว่า ปฏิกณฺฏกกรา ความว่า กระทำความทิ่มแทง.

บทว่า ปฏิปกฺขกรา ความว่า กระทำเป็นศัตรู คาถาที่เหลือต่อ

จากนี้ มีความเกี่ยวเนื่องปรากฏแล้วทั้งนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิวาทิยนฺติ ความว่า ย่อมวิวาทกัน.

บทว่า ปฏิเสนิกตฺตา ความว่า กิเลสที่ทำความขัดขวางกัน คำที่

ขัดแย้งกันโดยนัยว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ เป็นต้น ชื่อวิวาท.

บทว่า สหิตมฺเม ความว่า คำของเราประกอบด้วยประโยชน์.

บทว่า อสหิตนฺเต ความว่า คำของท่านไม่ประกอบด้วยประโยชน์.

บทว่า อธิจิณฺณนฺเต วิปราวตฺต ความว่า คำที่สั่งสมนั้นใด

เป็นคำคล่องแคล่วด้วยสามารถเสวนะตลอดกาลนาน คำนั้นเปลี่ยนไปแล้ว

เพราะอาศัยวาทะของเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 776

บทว่า อาโรปิโต เต วาโท ความว่า เรายกโทษไว้เบื้องบน

ท่าน.

บทว่า จร วาทปฺปโมกฺขาย ความว่า ท่านจงถือห่อข้าวเข้าไป

หาท่านนั้น ๆ เที่ยวแสวงหายิ่งขึ้น หรือจงแก้ไขเพื่อต้องการเปลื้องวาทะ

อีกอย่างหนึ่ง ท่านจงเปลื้องตนให้พ้นจากโทษที่เรายกขึ้น.

บทว่า สเจ ปโหสิ ความว่า ถ้าท่านสามารถ.

บทว่า อาเวธิกาย อาเวธิก ความว่า การกลับด้วยการกลับผูก

มัด.

บทว่า นิพฺเพธิกาย นิพฺเพธิก ความว่า ความปลดเปลื้องด้วย

ความปลดเปลื้องจากโทษ คำมีอาทิอย่างนี้ว่า เฉเทน เฉท พึงประกอบ

ตามที่ควรประกอบ เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง.

บทว่า วิเสนิกตฺวา ความว่า ยังกองทัพกิเลสให้พินาศ. พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเรียกปริพาชกนั้นว่า ปสูระ คาถาแม้นี้ว่า เยสีธ นตฺถิ

ก็มีนิทเทสมีเนื้อความง่ายเหมือนกัน.

บทว่า ปวิตกฺก ความว่า วิตกว่า เราจักมีชัยหรือหนอ เป็นต้น.

บทว่า โธเนน ยุค สมาคมา ความว่า ถึงการจับคู่กับพระ

พุทธเจ้าผู้กำจัดกิเลสแล้ว.

บทว่า น หิ ตฺว สกฺขสิ สมฺปยาตเว ความว่า ท่านจักไม่อาจ

เพื่อจะจับคู่กับพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาชื่อว่าโธนา เทียมทันเสมอเป็นหนึ่ง

กับเรา คือจักไม่อาจจับคู่เพื่อเทียมทันเรานั้นได้เลย เหมือนหมาไนเป็นต้น

ไม่อาจจับคู่เทียมทันกับราชสีห์เป็นต้นได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 777

บทว่า มโน เป็นบทอุทเทสของบทที่จะต้องชี้แจง.

บทว่า ย จิตฺต ความว่า ชื่อว่าจิต เพราะวิจิตรด้วยจิต. ชื่อว่า

มนะ เพราะอรรถว่า รู้ คือทราบอารมณ์.

บทว่า มานส ได้แก่ ใจนั่นเอง ก็ธรรมที่สัมปยุตด้วยใจ เรียก

ว่ามนัส ในประโยคนี้ว่า บ่วงที่ลอยเที่ยวไปในอากาศ ชื่อมานัส.

พระอรหัตต์เรียกว่ามานัส ในคาถานี้ว่า :-

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงขวนขวายประโยชน์

เพื่อประชาชน สาวกของพระองค์ยินดีในศาสนา ยังไม่

บรรลุพระอรหันต์ ยังเป็นเสขะอยู่ จะพึงทำกาละเสีย

อย่างไรเล่า.

แต่ในที่นี้ มานัสคือใจ.

บทว่า มานส ท่านขยายด้วยสามารถแห่งพยัญชนะ.

บทว่า หทย ได้แก่ จิต อก เรียกว่า หทัย ในประโยคนี้ว่าเรา

จักซัดจิตของท่านเสีย หรือจักผ่าอกของท่าน จิต เรียกว่า หทัย ใน

ประโยคนี้ว่า เข้าใจว่าถากจิตด้วยจิตเพื่อพระอรหัตตผล หัวใจ เรียกว่า

หทัย ในประโยคนี้ว่า ไต หัวใจ แต่ในที่นี้จิตนั่นแล เรียกว่า หทัย

ด้วยอรรถว่าภายใน จิตนั้นแลชื่อว่าปัณฑระ ด้วยอรรถว่าบริสุทธิ์ จิตนี้

ท่านกล่าวเอาภวังค์จิตเหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุด

ผ่อง ก็จิตนั้นแลถูกอุปกิเลสที่จะมาทำให้เศร้าหมองดังนี้ แม้อกุศลที่ออก

จากจิตนั้น ก็เรียกว่า ปัณฑระเหมือนกัน เหมือนแม่น้ำคงคาไหลออกจาก

แม่น้ำคงคา และเหมือนแม่น้ำโคธาวรีไหลออกจากแม่น้ำโคธาวรี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 778

ก็ มโน ศัพท์ในที่นี้ว่า มนะ มนายตนะ ท่านกล่าวเพื่อแสดง

ความเป็นอายตนะแห่งใจ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงแสดงว่า อายตนะแห่งใจ

ชื่อมนายตนะ ดุจเทวายตนะนี้หามิได้ ที่แท้อายตนะ คือใจ ชื่อมนายตนะ

พึงทราบอายตนะ ในบทว่า ด้วยอรรถว่าที่อยู่อาศัย ด้วยอรรถว่าบ่อเกิด

ด้วยอรรถว่าที่ประชุม ด้วยอรรถว่าประเทศที่เกิด และด้วยอรรถว่าเหตุ

จริงอย่างนั้น. ที่อยู่อาศัย เรียกว่า อายตนะ ในประโยคเป็นต้นว่า ที่

อยู่ของอิสรชน ที่อยู่ของวาสุเทพ ในโลก. บ่อเกิด เรียกว่า อายตนะ

ในประโยคเป็นต้นว่า บ่อเกิดทอง บ่อเกิดรัตนะ. ที่ประชุมเรียกว่า

อายตนะ ในประโยคเป็นต้นว่า ผู้ไปในอากาศทั้งหลายย่อมคบเขาในที่

ประชุมที่น่ารื่นรมย์ในศาสนา. ประเทศที่เกิด เรียกว่า อายตนะ ใน

ประโยคเป็นต้นว่า ทักษิณาบถเป็นประเทศที่เกิดของโคทั้งหลาย. เหตุ

เรียกว่า อายตนะ ในประโยคเป็นต้นว่า เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น พยานย่อมถึง

ความเป็นผู้ควร ในที่นั้น ๆ ทีเดียว. ก็ในที่นี้เป็นไปทั้ง ๓ อย่าง คือด้วย

อรรถว่าประเทศที่เกิด ๑ ด้วยอรรถว่าที่ประชุม ๑ ด้วยอรรถว่าเหตุ ๑ มนะ

นี้พึงทราบว่าอายตนะ แม้ด้วยอรรถว่าประเทศที่เกิดว่า ก็ธรรมทั้งหลาย

ผัสสะเป็นต้น ย่อมเกิดในมนะนี้. พึงทราบว่า อายตนะ แม้ด้วยอรรถว่า

ประชุมว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และอารมณ์ภายนอก

ย่อมประชุมลงในมนะนี้ตามสภาพ. พึงทราบว่า อายตนะ แม้ด้วยอรรถว่า

เหตุ เพราะความเป็นเหตุแห่งผัสสะเป็นต้น ด้วยอรรถว่าเป็นปัจจัยแห่ง.

สหชาตธรรมเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 779

มนินทรีย์มีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่า วิญญาณ เพราะ

อรรถว่า รู้แจ้ง. ขันธุ์ คือ วิญญาณ ชื่อวิญญาณขันธ์ พึงทราบเนื้อ

ความแห่งขันธ์นั้น ด้วยสามารถแห่งกองเป็นต้น. ก็ท่านกล่าวขันธ์ด้วย

อรรถว่ากอง ในประโยคนี้ว่า. ย่อมถึงการนับว่ากองน้ำใหญ่ทีเดียว ท่าน

กล่าวด้วยอรรถว่าคุณ ในประโยคเป็นต้นว่า สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ท่าน

กล่าวด้วยอรรถว่าเป็นเพียงบัญญัติ ในประโยคนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วแลซึ่งกองไม้ใหญ่ แต่ในที่นี้ท่านกล่าวขันธ์โดย

รุฬหีศัพท์ ก็เอกเทศแห่งวิญญาณขันธ์ เป็นวิญญาณดวงหนึ่ง ด้วยอรรถว่า

เป็นกอง เพราะเหตุนั้นวิญญาณแม้ดวงเดียว ซึ่งเป็นเอกเทศแห่งวิญญาณ

ขันธ์ท่านกล่าวว่า วิญญาณขันธ์ โดยรุฬหีศัพท์ เหมือนเมื่อตัดส่วนหนึ่ง

ของต้นไม้ ก็เรียกว่า ตัดต้นไม้ ฉะนั้น.

บทว่า ตชฺชา มโนวิญฺาณธาตุ ความว่า มโนวิญญาณธาตุ

อันสมควรแก่ธรรมมีผัสสะเป็นต้นเหล่านั้น ก็ในบทนี้จิตดวงเดียวนั่นแหละ

เรียกเป็น ๓ ชื่อ คือมนะ ด้วยอรรถว่า รู้, วิญญาณ ด้วยอรรถว่า รู้แจ้ง,

ธาตุ ด้วยอรรถว่า สภาวะบ้าง ด้วยอรรถว่า ไม่เป็นสัตว์ไม่เป็นบุคคล

บ้าง.

บทว่า สทฺธึ ยุคสมาคมา ความว่า ร่วมต่อสู้ด้วยกัน.

บทว่า สมาคนฺตฺวา ความว่า ถึงแล้ว.

บทว่า ยุคคฺคาห คณฺหิตฺวา ความว่า จับคู่แข่งขันกัน.

บทว่า สากจฺเฉตุ ความว่า เพื่อกล่าวด้วยกัน.

บทว่า สลฺลปิตุ ความว่า เพื่อทำการสนทนาปราศรัยกัน.

๑. บาลีเป็น คณหิตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 780

บทว่า สากจฺฉ สมาปชฺชิตุ ความว่า เพื่อดำเนินการกล่าว

ร่วมกัน.

อนึ่ง เพื่อจะแสดงเหตุในความที่ปสูรปริพาชก เป็นผู้ไม่สามารถ

พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ต กิสฺส เหตุ ปสูโร ปริพฺ-

พาชโก หีโน ดังนี้.

บทว่า โส หิ ภควา อคฺโค จ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ชื่อว่าเป็นผู้เลิศ เพราะไม่มีใครเหมือน คือเพราะไม่มีใครมี

ปัญญาเสมอ.

บทว่า เสฏโ จ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยอรรถว่า

ไม่มีใครเปรียบเทียบด้วยคุณทั้งปวง.

บทว่า โมกฺโข จ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้พ้น เพราะพ้นจากกิเลส

พร้อมทั้งวาสนา.

บทว่า อุตฺตโม จ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้สูงสุด เพราะไม่อวด

อุตตริมนุษยธรรมของพระองค์.

บทว่า ปวโร จ ความว่า ชื่อว่าบวร เพราะเป็นผู้ที่ชาวโลกทั้ง

ปวงปรารถนายิ่ง.

บทว่า มตฺเตน มาตงฺเคน ได้แก่ ช้างซับมัน.

บทว่า โกตฺถุโก ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกแก่.

บทว่า สีเหน มิครญฺา สทฺธึ ความว่า กับพญาไกรสรสีหะผู้

เป็นมฤคราช.

บทว่า ตรุณโก ความว่า ลูกนก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 781

บทว่า เธนูปโก ความว่า ยังดื่มนม.

บทว่า อุสเภน ความว่า วัวผู้ที่ยอมรับตกลงกันว่าเป็นมงคล.

บทว่า วลกกุนา สทฺธึ ความว่า กับโคที่มีหนอกไหวอยู่.

บทว่า ธงฺโก ได้แก่ กา.

บทว่า ครุเฬน ในบทว่า ครุเฬน เวนเตยฺเยน สทฺธึ เป็น

ชื่อด้วยสามารถแห่งชาติ.

บทว่า เวนเตยฺเยน เป็นชื่อด้วยสามารถแห่งโคตร.

บทว่า จณฺฑาโล ได้แก่ คนจัณฑาลโดยกำเนิด.

บทว่า รญฺา จกฺกวตฺตินา ได้แก่ พระเจ้าจักรพรรดิผู้ครอง

ทวีปทั้ง ๔.

บทว่า ปสุปิสาจโก ได้แก่ ยักษ์ ที่บังเกิดในที่ทั้งหยากเยื่อ.

บทว่า อินฺเทน เทวรญฺา สทฺธึ ความว่า กับท้าวสักกเทวราช.

บท ๖ บทว่า โส หิ ภควา มหาปญฺโ เป็นต้น ให้พิสดาร

แล้วในหนหลัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺปเภทกุสโล ความว่า เป็นผู้

ฉลาดในประเภทแห่งปัญญาซึ่งมีวิกัปไม่มีที่สุดของตน.

บทว่า ปภินฺนาโณ ความว่า ได้ญาณชนิดไม่มีที่สุด แม้เมื่อมี

ความเป็นผู้ฉลาดในประเภทแห่งปัญญา ท่านก็แสดงความที่ปัญญาเหล่านั้น

มีประเภทไม่มีที่สุด ด้วยบทว่า ปภินฺนาโณ นี้.

บทว่า อธิคตปฏิสมฺภิโท ความว่า ได้เฉพาะปฏิสัมภิทาอันเลิศ ๔

อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 782

บทว่า จตุเวสารชฺชปฺปตฺโต ความว่า บรรลุญาณกล่าวคือความ

เป็นผู้แกล้วกล้า ๔ อย่าง. เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

ไม่พิจารณาเห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ

ใคร ๆ ก็ตามในโลก จักทักท้วงเราด้วยธรรมในข้อนั้นเลยว่า ธรรมเหล่า

นี้อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงปฏิญาณธรรมเหล่านั้นมิได้ตรัสรู้. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราไม่พิจารณาเห็นนิมิตนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงความเกษม

ถึงความปลอดภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

ไม่พิจารณาเห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ

ใคร ๆ ก็ตามในโลกนี้ จักทุกท้วงเราด้วยธรรมในข้อนั้นได้เลยว่า อาสวะ

เหล่านั้นของพระขีณาสพผู้ปฏิญาณธรรมเหล่านั้น ยังไม่หมดสิ้นว่า ก็ธรรม

เหล่านั้นเหล่าใดที่ตรัสว่าเป็นธรรมกระทำอันตราย เมื่อเสพเฉพาะธรรม

เหล่านั้น ไม่เป็นไปเพื่ออันตราย ว่า ก็พระองค์ทรงแสดงธรรมเพื่อ

ประโยชน์แก่ผู้ใด ผู้นั้นเมื่อกระทำตามนั้น ย่อมไม่ออกไปจากความสิ้นทุกข์

โดยชอบ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราไม่พิจารณาเห็นนิมิตนี้ ย่อมเป็น

ผู้ถึงความเกษม ถึงความปลอดภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่.

บทว่า ทสพลพลธารี ความว่า ชื่อว่า พระทศพล เพราะอรรถ

ว่า มีกำลัง ๑๐ กำลังทั้งหลายของพระทศพล ชื่อว่ากำลังพระทศพล

ชื่อว่าทรงกำลังพระทศพล เพราะอรรถว่า ทรงกำลังเหล่านั้น ท่านแสดง

เพียงหัวข้อประเภทธรรมที่ควรแนะนำซึ่งมีประเภทมากมาย. ด้วยคำ ๓ คำ

เหล่านี้ บุคคลผู้นั้นแล ชื่อว่า บุรุษองอาจ ด้วยอรรถว่า ยอมรับตกลง

กันว่าเป็นมงคลยิ่ง ด้วยสามารถประกอบด้วยปัญญา. ชื่อว่า บุรุษสีหะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 783

ด้วยอรรถว่า ไม่หวาดสะดุ้ง. ชื่อว่า บุรุษนาค ด้วยอรรถว่า ใหญ่. ชื่อว่า

บุรุษอาชาไนย ด้วยอรรถว่า รู้พร้อม. ชื่อว่า บุรุษนำธุระไป ด้วยอรรถว่า

นำกิจธุระของโลกไป.

ลำดับนั้น พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงคุณวิเศษที่ได้แต่ญาณ

อันหาที่สุดมิได้ มีเดชเป็นต้น เมื่อแสดงความที่เดชเป็นต้นเหล่านั้นมีญาณ

อันหาที่สุดมิได้เป็นมูล จึงกล่าวว่า อนนฺตาโณ แล้วกล่าวว่า อนนฺต-

เตโช เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนนฺตาโณ ความว่า มีญาณเว้นจาก

ที่สุด ด้วยสามารถแห่งคุณ และด้วยสามารถแห่งสภาวะ.

บทว่า อนนฺตเตโช ความว่า มีเดชเกิดแต่ญาณอันหาที่สุดมิได้

ด้วยการกำจัดมืด คือโมหะในสันดานของเวไนยสัตว์.

บทว่า อนนฺตยโส ความว่า เสียงสรรเสริญอันหาที่สุดมิได้ที่แผ่

ไปในโลก ๓ ด้วยปัญญาคุณนั่นแล.

บทว่า อทฺโฒ ความว่า เป็นผู้สำเร็จด้วยความสำเร็จแห่งทรัพย์คือ

ปัญญา.

บทว่า มหทฺธโน ความว่า ชื่อว่า มีทรัพย์มาก เพราะอรรถว่า

มีทรัพย์คือปัญญา เป็นไปมากด้วยความมากตามสภาวะ แม้ด้วยความมาก

แห่งทรัพย์คือปัญญา ปาฐะว่า มหาธโน ก็มี.

บทว่า ธนวา ความว่า ผู้เป็นไปด้วยทรัพย์คือปัญญาที่พึงสรรเสริญ

ผู้เป็นไปด้วยทรัพย์คือปัญญาที่ประกอบไว้เป็นนิจ ผู้เป็นไปด้วยทรัพย์คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 784

ปัญญา โดยเป็นความดียิ่ง ชื่อว่า ผู้มีทรัพย์. ผู้รู้ศัพท์ ย่อมปรารถนา

คำนี้ในอรรถ ๓ แม้เหล่านี้.

พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงความสำเร็จอัตตสมบัติของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ด้วยปัญญาคุณอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงความสำเร็จโลกหิตสมบัติ

ด้วยปัญญาคุณนั้นแลอีก จึงกล่าวคำว่า เนตา เป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้นำเหล่าเวไนยสัตว์ในที่นั้น จากที่มีภัย

กล่าวคือสังสารวัฏ สู่ที่ปลอดภัยกล่าวคือพระนิพพาน. ทรงเป็นผู้แนะนำ

เหล่าเวไนยสัตว์ ด้วยสามารถแห่งสังขารวินัยและปหานวินัยในกาลเป็นที่

แนะนำในที่นั้นนั่นแล. ทรงเป็นผู้นำเนือง ๆ ด้วยการตัดความสงสัยใน

เวลาทรงแสดงพระธรรมนั้นแล. เมื่อทรงตัดความสงสัยแล้วให้รู้ประโยชน์

ที่ควรให้รู้ ชื่อว่าให้รู้จักประโยชน์ทรงให้เพ่งพินิจ ด้วยเหตุแห่งการตั้งใจ

แน่วแน่ถึงประโยชน์ที่ให้รู้จักอย่างนั้น. ทรงเป็นผู้เห็นประโยชน์ที่ให้เพ่ง

พินิจแล้วอย่างนั้น ด้วยสามารถแห่งการประกอบการปฏิบัติ ทรงให้ยินดี

ด้วยผลแห่งการปฏิบัติในประโยชน์ที่ดำเนินไปแล้วอย่างนั้น หิ ศัพท์ใน

บทว่า โส หิ ภควา เป็นนิบาตที่ยืนยันถึงเหตุแห่งประโยชน์ที่กล่าว

ไว้ติดต่อกัน.

บทว่า อนุปฺปนฺนสฺส มคฺคสฺส อุปฺปาเทตา ความว่า ทรง

ทำอริยมรรคซึ่งเป็นเหตุแห่งอสาธารณญาณ ๖ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในสันดาน

ของพระองค์ ให้เกิดขึ้นในสันดานของพระองค์ ณ โคนไม้โพธิ เพื่อ

เกื้อกูลแก่สัตว์โลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 785

บทว่า อสญฺชาตสฺส มคฺคสฺส สญฺชเนตา ความว่า ทรงทำ

มรรคอันเลิศ ซึ่งเป็นเหตุแห่งสาวกบารมีญาณ ที่ไม่เคยเกิดพร้อมใน

สันดานของเวไนยสัตว์ ให้เกิดพร้อมในสันดานของเวไนยสัตว์. จำเดิมแต่

ทรงยังธรรมจักรให้เป็นไป จนถึงกาลทุกวันนี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า

ชื่อว่า ทรงให้เกิดพร้อม เพราะทรงทำอริยมรรคให้เกิดพร้อมในสันดาน

แม้ของเหล่าพระสาวกผู้เวไนย ตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

นั้นแล.

บทว่า อนกฺขาตสฺส มคฺคสฺส อกฺขาตา ความว่า ตรัสบอก

อริยมรรคที่เกิดขึ้น ณ โคนไม้โพธิ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าของเหล่า

โพธิสัตว์ผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ สร้างอภินิหารเพื่อความเป็น

พระพุทธเจ้าไว้แล้ว. หรือด้วยเหตุเพียงพยากรณ์มรรคคือความเป็นบารมี

ซึ่งไม่เคยประทานพยากรณ์ตรัสบอกว่า จักเป็นพระพุทธเจ้านัยนี้ ย่อม

ได้แม้ในการพยากรณ์พระปัจเจกโพธิสัตว์.

บทว่า มคฺคญฺ ความว่า ทรงรู้อริยมรรคที่เกิดขึ้นแก่พระองค์

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณา.

บทว่า มคฺควิทู ความว่า ฉลาดในอริยมรรคที่พึงให้เกิดในสันดาน

ของเวไนยสัตว์.

บทว่า มคฺคโกวิโท ความว่า เห็นแจ้งในมรรคที่ควรบอกแก่

เหล่าโพธิสัตว์. อีกอย่างหนึ่ง ทรงรู้มรรคเครื่องบรรลุอภิสัมโพธิญาณ.

ทรงรู้แจ้งมรรคเครื่องบรรลุปัจเจกโพธิญาณ. ทรงฉลาดในมรรคเครื่อง

บรรลุสาวกโพธิญาณ. อีกอย่างหนึ่งเหล่าสัตว์ย่อมกระทำการประกอบในที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 786

นี้ตามลำดับ ด้วยสามารถแห่งมรรคของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า

และพระสาวกในอดีตในอนาคตและปัจจุบันตามที่ประกอบ มีความตาม

พระบาลีว่า.

สัตว์ทั้งหลายข้ามโอฆะแล้วในอดีต จักข้ามใน

อนาคตและกำลังข้านอยู่ในปัจจุบัน ด้วยมรรคนี้.

ด้วยสามารถแห่งสุญญตมรรค อนิมิตตมรรคและอัปปณิหิตมรรคและด้วย

สามารถแห่งมรรคของอุคฆติตัญญูบุคคล วิปจิตัญญูบุคคล และเนยยบุคคล.

บทว่า มคฺคานุคา จ ปน ความว่า เป็นผู้ดำเนินตามมรรคที่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินแล้ว ศัพท์ ในที่นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า

เหตุ. ด้วย ศัพท์นี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเหตุแล้วเพื่อ

บรรลุคุณมีความเกิดขึ้นแห่งมรรคเป็นต้น. ปน ศัพท์เป็นนิบาตลงในอรรถ

ว่ากระทำแล้ว ย่อมเป็นอันตรัสการกระทำมรรคที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

ทรงกระทำแล้ว.

บทว่า ปจฺฉา สมนฺนาคตา ความว่า ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็น

ต้น ภายหลังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จไปก่อนแล้ว.

เพราะคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทั้งหมด

อาศัยอรหัตตมรรคเท่านั้นมาแล้ว ฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวคุณอาศัยอรหัต

มรรคเท่านั้น ด้วยบทว่า อนุปฺปนฺนสฺส มคฺคสฺส อุปฺปาเทตา เป็น

ต้น ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ชาน ชานาติ ความว่า ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ อธิบายว่า

ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ด้วยปัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง และที่เป็นทางที่ควรแนะ

นำทุกอย่างด้วยปัญญา เพราะความเป็นพระสัพพัญญู.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 787

บทว่า ปสฺส ปสฺสติ ความว่า ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น อธิบาย

ว่า ทรงเห็นทางที่ควรแนะนำนั้นนั่นแหละ ด้วยปัญญาจักษุทรงทำให้เป็น

เหมือนเห็นด้วยจักษุ เพราะความเป็นผู้เห็นทุกอย่าง.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลบางคนเมื่อถือวิปริต ถึงรู้อยู่ก็ไม่เป็นอันรู้ ถึง

เห็นอยู่ก็ไม่เป็นอันเห็นฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเป็นฉันนั้น แต่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือตามสภาวะ เมื่อทรงรู้ก็เป็นอันรู้ทีเดียว เมื่อ

ทรงเห็นก็เป็นอันเห็นทีเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั่น ทรงมีพระจักษุ

ด้วยอรรถว่าเป็นปริณายกแห่งการเห็น. ทรงมีพระญาณ ด้วยอรรถว่าเป็น

ผู้กระทำให้รู้แจ้ง. ทรงมีธรรม ด้วยอรรถว่า มีสภาวะไม่วิปริต หรือ

เพราะอรรถว่าสำเร็จด้วยธรรมทรงดำริด้วยพระหฤทัยแล้ว ทรงเปล่งด้วย

พระวาจา โดยทรงแนะนำปริยัตติธรรม ทรงเป็นพรหม ด้วยอรรถว่า

ประเสริฐ.

อีกอย่างหนึ่ง ทรงมีพระภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเหมือนจักษุ.

ทรงมีพระญาณ เพราะอรรถว่า เป็นเหมือนพระญาณ. ทรงมีธรรม เพราะ

อรรถว่า เป็นเหมือนธรรม. ทรงเป็นพรหม เพราะอรรถว่า เป็นเหมือน

พรหม. พระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั้นเป็นผู้ตรัสบอก เพราะตรัสบอกธรรม

หรือตรัสสอนธรรม เป็นผู้แนะนำ เพราะตรัสบอกหรือตรัสสอนโดยประการ

ต่าง ๆ. เป็นผู้นำออกซึ่งประโยชน์ เพราะทรงนำประโยชน์ออกแสดง

เป็นผู้ให้อมตธรรม เพราะทรงแสดงข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุอมตธรรม หรือ

ให้สัตว์บรรลุอมตธรรม ด้วยพระธรรมเทศนาที่ประกาศอมตธรรม. เป็น

ธรรมสามี เพราะอรรถว่า เป็นใหญ่ในธรรมทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ยัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 788

โลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น. และเพราะประทานโลกุตตรธรรมตามสบาย

โดยอนุรูปแก่เวไนยสัตว์. บทว่า ตถาคโต มีเนื้อความดังกล่าวแล้วในหน

หลัง.

บัดนี้พระเถระประสงค์จะแสดงคุณที่กล่าวไว้ด้วยบทว่า ชาน ชา-

นาติ เป็นต้น ให้วิเศษ ด้วยความเป็นพระสัพพัญญู เมื่อยังความเป็น

พระสัพพัญญูให้สำเร็จ จึงกล่าวว่า นตฺถิ เป็นต้น.

ก็ชื่อว่าสิ่งที่ไม่รู้. ย่อมไม่มีแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้เป็น

อย่างนั้น เพราะทรงปราศจากความลุ่มหลงพร้อมทั้งวาสนา ในธรรมทั้ง

ปวงด้วย อรหัตตมรรคญาณที่สำเร็จแต่อำนาจผลบุญบารมี เพราะรู้ธรรมทั้ง

ปวงโดยไม่ลุ่มหลง และชื่อว่าสิ่งที่ไม่เห็นก็ย่อมไม่มีเหมือนอย่างนั้นเทียว

เพราะทรงเห็นธรรมทั้งปวงด้วยญาณจักษุเหมือนด้วยจักษุ ชื่อว่าสิ่งที่ไม่

ทราบชัดย่อมไม่มี เพราะทรงบรรลุแล้วด้วยพระญาณ ชื่อว่าสิ่งที่ไม่ทำให้

แจ้งย่อมไม่มีเพราะทรงการทำให้แจ้งแล้ว ด้วยการการทำให้แจ้งซึ่งไม่

ลุ่มหลง ชื่อว่าสิ่งที่มิได้ถูกต้องด้วยปัญญาย่อมไม่มี เพราะทรงถูกต้องแล้ว

ด้วยปัญญาที่ไม่ลุ่มหลง.

บทว่า ปจฺจุปฺปนฺน ได้แก่ กาลหรือธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า.

บทว่า อุปาทาย ได้แก่ถือเอา ความว่า กระทำไว้ภายใน แม้

พระนิพพานที่พ้นกาลเวลา ก็เป็นอันถือเอาแล้วทีเทียว ด้วยคำว่า อุปาทาย

นั้นเอง.

ก็คำว่า อตีต เป็นต้น ย่อมต่อเนื่องด้วยคำว่า นตฺถิ เป็นต้นบ้าง.

ด้วยคำว่า สพฺเพ ธมฺมา เป็นต้นบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 789

บทว่า สพฺเพ ธมฺมา ได้แก่ ความควบคุมสังขตธรรมและ

อสังขตธรรมทั้งหมด.

บทว่า สพฺพากาเรน ได้แก่ ความควบคุมอาการทุกอย่างมีอาการ

ไม่เที่ยงเป็นต้น แห่งธรรมแต่ละอย่างทีเดียว ในธรรมทั้งปวง.

บทว่า าณมุเข ได้แก่ ตรงหน้าพระญาณ.

บทว่า อาปาถ อาคจฺฉนฺติ ความว่า เข้าถึงการประชุม.

บทว่า ชานิตพฺพ ท่านกล่าวเพื่อไขความของบทว่า เนยฺย.

วา ศัพท์ ในบทว่า อตฺตตฺโถ วา เป็นต้น เป็นสมุจจยัตถะมีอรรถ

ว่ารวบรวม.

บทว่า อตฺตตฺโถ ได้แก่ ประโยชน์ของตน.

บทว่า ปรตฺโถ ได้แก่ ประโยชน์ของผู้อื่นคือของโลก ๓.

บทว่า อุภยตฺโถ ได้แก่ ประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย คราวเดียวกัน

ทีเดียว คือทั้งของตนและของผู้อื่น.

บทว่า ทิฏฺธมฺมิโก ได้แก่ ประโยชน์ที่ประกอบในปัจจุบันชื่อว่า

ทิฏฐธรรมประโยชน์. ประโยชน์ชื่อว่า สัมปรายิก เพราะอรรถว่า ประกอบ

ในภายหน้า ชื่อว่า สัมปรายประโยชน์. ประโยชน์ที่พึงกล่าวด้วยสามารถ

แห่งโวหาร ในบทว่า อุตฺตาโน เป็นต้น ชื่อว่าประโยชน์ตื้น เพราะดำรง

ไว้สะดวก. ประโยชน์ที่พึงกล่าวล่วงเลยโวหารเสีย เป็นประโยชน์ที่ปฏิสังยุต

ด้วยสุญญตาชื่อว่าประโยชน์ลึก เพราะดำรงไว้ได้ยาก ได้แก่โลกุตตร

ประโยชน์. ชื่อว่าประโยชน์ลี้ลับ เพราะเห็นได้แต่ภายนอกล่วงส่วน. ชื่อว่า

ประโยชน์ปกปิด เพราะปกปิดไว้ด้วยความไม่เที่ยงเป็นต้น และด้วยเมฆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 790

คือโมหะเป็นต้น. ประโยชน์ที่พึงกล่าวด้วยโวหารว่าไม่เจริญ ชื่อว่า

ประโยชน์ที่ควรแนะนำ เพราะไม่ถือเอาประโยชน์ตามที่กล่าวแล้วแนะนำถึง

ความประสงค์. ประโยชน์ที่พึงกล่าวด้วยโวหารว่าเจริญ ชื่อว่าประโยชน์ที่

บัณฑิตแน่ะนำแล้ว เพราะแนะนำถึงความประสงค์ ด้วยสักว่าคำเท่านั้น

ประโยชน์ของศีลสมาธิและวิปัสสนาที่บริสุทธิ์ดี ชื่อว่าประโยชน์ที่ไม่มีโทษ

เพราะเว้นจากโทษ ด้วยสามารถแห่งตทังคปหานและวิกขัมภนปหาน.

ประโยชน์ของอริยมรรค ชื่อว่าประโยชน์ที่ปราศจากกิเลส เพราะตัดกิเลส

ได้เด็ดขาด. ประโยชน์ของอริยผล ชื่อว่าประโยชน์ผ่องแผ้วเพราะกิเลสสงบ

ระงับแล้ว. พระนิพพานชื่อว่าประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเป็นธรรมเลิศใน

บรรดาสังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งหลาย.

บทว่า ปริวตฺตติ ความว่า ย่อมเป็นไปซึมซาบ หรือประดับ

โคตรอบหรือโดยพิเศษ ในภายในพระพุทธญาณ เพราะมิได้อยู่ภายนอก

แต่ภาวะวิสัยแห่งพระพุทธญาณ พระเถระแสดงความเป็นวิสัยแห่งญาณของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยบทว่า สพฺพ กายกมฺม เป็นต้น.

บทว่า าณานุปริวตฺตติ ความว่า ย่อมเป็นไปตามพระญาณ

อธิบายว่า ย่อมไม่เว้นจากพระญาณ พระเถระแสดงความปราศจากความ

ขัดข้อง ด้วยบทว่า อปฺปฏิหต.

พระเถระประสงค์จะยังความเป็นพระสัพพัญญูให้สำเร็จด้วยอุปมาอีก

จึงกล่าวคำว่า ยาวตก เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น ชื่อว่าบทธรรมที่ควรแนะนำ เพราะอรรถว่า

ควรรู้. ชื่อว่าพระญาณมีส่วนสุดรอบแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 791

อรรถว่า พระญาณนั้นมีส่วนสุดรอบแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำคือที่สุด

แห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ ก็ที่สุดแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำนั่นแล ย่อม

ไม่มีแก่ผู้ที่มิใช่สัพพัญญู. แม้ในบทธรรมที่ควรแนะนำที่มีส่วนสุดรอบแห่ง

พระญาณก็นัยนี้เหมือนกัน. ในคู่แรกมีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแล พระ

เถระแสดงให้วิเศษด้วยคู่นี้ แสดงกำหนดด้วยสามารถปฏิเสธ ด้วยคู่ที่ ๓

ก็ในที่นี้บทธรรมที่ควรแนะนำ ชื่อว่าทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ.

บทว่า อญฺมญฺปริยนฺตฏฺายิโน ความว่า มีปกติตั้งอยู่ใน

ส่วนสุดรอบของกันและกัน โดยตั้งซึมซาบทั้งบทธรรมที่ควรแนะนำและ

ญาณ.

บทว่า อาวชฺชนปฏิพทฺธา ความว่า อาศัยความนึกทางมโนทวาร

อธิบายว่า ย่อมรู้ในลำดับความนึกนั้นนั่นเอง.

บทว่า อากงฺขปฏิพทฺธา ความว่า อาศัยความชอบใจ อธิบาย

ว่าย่อมรู้ด้วยชวนะญาณในลำดับความนึก บท ๒ บทนอกนี้. ท่านกล่าว

เพื่อประกาศเนื้อความตามลำดับ ของบท ๒ บทเหล่านี้.

ชื่อว่า อาสยะ ในบทว่า อาสย ชานาติ นี้ เพราะอรรถว่าเป็น

ที่พักพิงคืออาศัยของเหล่าสัตว์. บทนี้เป็นชื่อของสันดานที่ได้รับอบรมด้วย

มิจฉาทิฏฐิบ้าง ด้วยสัมมาทิฏฐิบ้าง ด้วยกามเป็นต้นบ้าง ด้วยเนกขัมมเป็น

ต้นบ้าง.

ชื่อว่าอนุสัย เพราะอรรถว่า นอนเนื่อง คือเป็นไปตามสันดาน

ของสัตว์ คำนี้เป็นชื่อของกามราคะเป็นต้นที่มีกำลัง กถาว่าด้วยอนุสัยว่า

อนุสย ชานาติ ดังนี้ กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 792

บทว่า จริต ได้แก่กุศลกรรมที่ทำไว้ในก่อน.

บทว่า อธิมุตฺตึ ได้แก่ การสละจิตในกุศลก็ตาม ในอกุศลก็ตาม

บทว่า อปฺปรชกฺเข ความว่า ชื่อว่าผู้มีธุลีคือกิเลสน้อยในจักษุ

เพราะอรรถว่ามีธุลีคือกิเลสมีราคะเป็นต้น ในจักษุที่สำเร็จด้วยปัญญาน้อย

อีกอย่างหนึ่งชื่อว่าผู้มีธุลีคือกิเลสน้อยในจักษุเพราะอรรถว่า มีธุลีคือกิเลส

มีราคะเป็นต้นน้อย.

บทว่า มหารชกฺเข ความว่า ชื่อว่าผู้มีธุลีคือกิเลสมากในญาณจักษุ

เพราะอรรถว่า มีธุลีคือกิเลสมีราคะเป็นต้น ในจักษุที่สำเร็จด้วยญาณมาก

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ผู้มีธุลีคือกิเลสมากในจักษุ เพราะอรรถว่า มีธุลีคือ

กิเลสมีราคะเป็นต้นมาก.

บทว่า ติกฺขินฺทฺริเย มุทินฺทฺริเย ความว่าชื่อว่า มีอินทรีย์แก่

กล้า เพราะอรรถว่า มีอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้นแก่กล้า. ชื่อว่ามีอินทรีย์

อ่อนเพราะอรรถว่า มีอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้นอ่อน.

บทว่า สฺวากาเร ทฺวากาเร ความว่า ชื่อว่ามีอาการดี เพราะ

อรรถว่า มีอาการคือโกฏฐาส มีศรัทธาเป็นต้น อันเป็นธรรมดี. ชื่อว่า

มีอาการเลว เพราะอรรถว่า มีอาการคือโกฏฐาส มีอศรัทธาเป็นต้น

อันเป็นธรรมน่าเกลียด น่าติเตียน.

บทว่า สุวิญฺาปเย ทุพฺพิญฺาปเย ความว่า สัตว์เหล่าใด

กำหนดเหตุการณ์ที่กล่าวแล้ว อาจให้รู้แจ้งได้โดยง่าย สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า

ให้รู้แจ้งได้โดยง่าย. สัตว์ทั้งหลายที่ตรงกันข้ามกับสัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าให้

รู้แจ้งได้โดยยาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 793

บทว่า ภพฺพาภพฺเพ ได้แก่ เป็นภัพพสัตว์ และเป็นอภัพพสัตว์.

ชื่อว่าเป็นภัพพสัตว์เพราะอรรถว่า เป็น คือเกิดในอริยชาติ เป็นคำ

ปัจจุบันกาล ลงในอรรถว่า ใกล้ที่กำลังเป็นไปอยู่. ชื่อว่าเป็นภัพพสัตว์

เพราะอรรถว่า จักเป็น หรือจักเกิด ความว่า เป็นภาชนะ สัตว์เหล่าใด

เป็นผู้สมควร คือถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งการแทงตลอดอริยมรรค สัตว์

เหล่านั้นเป็นภัพพสัตว์. เหล่าสัตว์ที่เป็นคนละฝ่ายกับสัตว์ที่กล่าวแล้ว เป็น

อภัพพสัตว์.

บทว่า สตฺเต ปชานาติ ความว่า ย่อมทรงทราบซึ่งเหล่าสัตว์

ผู้ข้องคือติดอยู่ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น.

บทว่า สเทวโก โลโก เป็นต้นความว่าพร้อมกับเทวดาทั้งหลาย

ชื่อ สเทวกะ. พร้อมกับมาร ชื่อ สมารกะ. พร้อมกับพรหม ชื่อ

สพรหมกะ. พร้อมกับสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ชื่อ สัสสมณพราหมณี.

ชื่อ ปชา เพราะความเป็นหมู่สัตว์. พร้อมกับเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ชื่อ สเทวมนุสสา.

บทว่า ปชา นี้เป็นคำเรียกสัตวโลกโดยปริยาย บรรดาคำเหล่านั้น

ด้วยคำว่า สเทวกะ หมายเอาเทวดาชั้นกามาพจร ๕ ชั้น

ด้วยคำว่า สมารกะ หมายเอาเทวดาชั้นกามาพจรที่ ๖

ด้วยคำว่า สพรหมกะ หมายเอาพรหม มีพรหมกายิกะเป็นต้น.

ด้วยคำว่า สัสสมณพราหมณี หมายเอาสมณพราหมณ์ที่เป็นข้าศึก

เป็นปัจจามิตรต่อพระศาสนา และหมายเอาสมณพราหมณ์ผู้สงบบาปผู้ลอย

บาปแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 794

ด้วยคำว่า ปชา หมายเอาสัตวโลก.

ด้วยคำว่า สเทวมนุสสา หมายเอาสมมติเทพและพวกมนุษย์ที่

เหลือลงในที่นี้พึงทราบว่าโอกาสโลก ถือเอาด้วยบท ๓ บท สัตวโลกด้วย

สามารถเป็นหมู่สัตว์ ถือเอาด้วยบท ๒ บทด้วยประการฉะนี้.

อีกนัยหนึ่ง อรูปาวจรโลก ถือเอาด้วยศัพท์ว่า สเทว. ฉกามาวจร

โลกถือเอาด้วยศัพท์ว่า สมาร. รูปาวจรพรหมโลก ถือเอาด้วยศัพท์ว่า

สพฺรหฺม. มนุษยโลกพร้อมกับสมมติเทพด้วยสามารถแห่งบริษัท ๔ หรือ

สัตวโลกที่เหลือลง ถือเอาด้วยศัพท์ว่า สัสสมณพราหมณี เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง การกำหนดอย่างเลิศลอยด้วยคำว่า สเทวกะ ในที่นี้ย่อม

ยังความเป็นไปในภายในพระพุทธญาณให้สำเร็จแก่โลกแม้ทั้งปวง จากนั้น

ชนเหล่าใดพึงมีความสงสัยว่า มารมีอานุภาพมาก เป็นใหญ่ฝนสวรรค์ชั้น

กามาพจร ๖ ชั้นเป็นผู้ยังอำนาจให้เป็นไป มารแม้นั้นจะเป็นไปในภายใน

พระพุทธญาณได้อย่างไร พระเถระเมื่อจะกำจัดความสงสัยของชนเหล่านั้น

จึงกล่าวว่า สมารโก ดังนี้.

อนึ่ง ชนเหล่าใดพึงมีความสงสัยว่า พรหมมีอานุภาพมาก แผ่แสง

สว่างไปในพันจักรวาล ๑ ด้วยนิ้วมือ ๑ นิ้ว ในพันจักรวาล ๒ ด้วยนิ้ว

มือ ๒ นิ้ว ฯลฯ ในพันจักรวาล ๑๐ ด้วยนิ้วมือ ๑๐ นิ้ว และเสวยสุขเกิดแต่

ฌานสมาบัติ ที่ไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่า พรหมแม้นั้นจะเป็นไปในภายในพระพุทธ

ญาณได้อย่างไร พระเถระเมื่อจะกำจัดความสงสัยของชนเหล่านั้น จึงกล่าว

ว่า สพฺรหฺมโก ดังนี้ จากนั้น ชนเหล่าใดพึงมีความสงสัยว่าสมณพราหมณ์

เป็นอันมากที่เป็นข้าศึกต่อพระศาสนา สมณพราหมณ์ แม้เหล่านั้นจะเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 795

ไปในภายในพระพุทธญาณได้อย่างไร พระเถระเมื่อจะกำจัดความสงสัยของ

ชนเหล่านั้น จึงกล่าวว่า สสฺสมณพฺราหฺมณี ปชา ดังนี้. พระเถระ

ครั้นประกาศความเป็นไปในภายในพระพุทธญาณของเหล่าผู้เลิศลอยอย่างนี้

แล้วต่อนั้นเมื่อจะประกาศความเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ ของสัตวโลก

ที่เหลือ ด้วยสามารถแห่งการกำหนดอย่างเลิศลอย รวมทั้งสมมติเทพและ

มนุษย์ที่เหลือลง จึงกล่าวว่า สเทวมนุสฺสา ดังนี้ ในข้อนี้มีลำดับอนุสนธิ

ดังนี้ แต่โบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า บทว่า สเทวโก ได้แก่ สัตวโลก

ที่เหลือลงกับเทวดาทั้งหลาย.

บทว่า สมารโก ได้แก่สัตวโลกที่เหลือลงกับมาร.

บทว่า สพฺรหฺมโก ได้แก่ สัตวโลกที่เหลือลงกับพรหมทั้งหลาย

พระเถระใส่เหล่าสัตว์ผู้เข้าถึงภพ ๓ แม้ทั้งหมดเข้าในบท ๓ บท ด้วย

อาการ ๓ แล้วจึงกล่าวว่า สสฺสมณพฺราหฺมณี ปชา สเทวมนุสฺสา

เพื่อถือเอาด้วยอาการ ๒ อีก ธาตุ ๓ นั่นแลย่อมเป็นอันท่านถือเอาแล้วด้วย

อาการนั้น ๆ ด้วยบททั้งหลาย ๕ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อนฺตมโส ความว่า โดยที่สุดเบื้องบน.

ในบทว่า ติมิติมิงฺคล นี้ มัจฉาชาติชนิดหนึ่งชื่อติมิ. มัจฉาชาติ

ชนิดหนึ่งชื่อติมิงคละ ตัวใหญ่กว่าปลาติมินั้น สามารถกลืนกินปลาติมิได้.

มัจฉาชาติชนิดหนึ่งชื่อติมิติมิงคละ ตัวยาวประมาณ ๕๐๐ โยชน์ สามารถ

กลืนกินแม้ปลาติมิงคละได้. ในที่นี้พึงทราบว่าท่านทำเอกวจนะด้วยศัพท์ว่า

ชาติ.

ในบทว่า ครุฬ เวนเตยฺย นี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 796

บทว่า ครุโฬ เป็นชื่อโดยชาติ.

บทว่า เวนเตยฺโย เป็นชื่อโดยโคตร.

บทว่า ปเทเส ได้แก่ เอกเทส.

บทว่า สารีปุตฺตสฺมา พึงทราบว่าท่านกล่าวถือเอาพระธรรมเสนา-

บดีเถระทั้งหลายของพระพุทธเจ้าทั้งปวง ด้วยว่า พระสาวกที่เหลือทั้งหลาย

ที่มีปัญญาเสมอด้วยพระธรรมเสนาบดีเถระ ไม่มี เหมือนอย่างที่ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราผู้มีปัญญามาก สารีบุตรเป็น

เลิศ และในอรรถกถาท่านกล่าวว่า :-

ก็เหล่าสัตว์อื่น ๆ บรรดามี เว้นพระโลกนาถเสีย

ย่อมมีปัญญาไม่ถึงเสี้ยวที่ ๖ ของพระสารีบุตร.

บทว่า ผริตฺวา ความว่า พระพุทธญาณถึงปัญญาแม้ของเทวดา

และมนุษย์ทั้งปวง คือแผ่คลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์ทั้งปวงเหล่านั้น

ตั้งอยู่ตามฐาน.

บทว่า อภิภวิตฺวา ความว่า ก้าวล่วงปัญญาแม้ของเทวดาและ

มนุษย์ทั้งปวง ครอบงำบทธรรมที่ควรแนะนำทั้งหมดว่า แม้เป็นวิสัยของ

เทวดา และมนุษย์เหล่านั้นตั้งอยู่ แต่ปาฐะในปฏิสัมภิทามรรคว่า อติฆสิตฺวา

ความว่า บด ขัดสี พระเถระแสดงเหตุที่ประจักษ์ของการแผ่คลุมตั้งอยู่

อย่างนี้ ด้วยบทว่า เยปิ เต เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺฑิตา ความว่า ผู้ประกอบด้วย

ความเป็นบัณฑิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 797

บทว่า นิปุณา ความว่า ละเอียดอ่อน. คือสามารถแทงตลอดใน

ระหว่างอรรถที่สุขุมของผู้มีปัญญาสุขุม.

บทว่า กตกรปฺปวาทา ความว่า รู้วาทะของผู้อื่น และร่วมกับ

ผู้อื่นสนทนากัน.

บทว่า วาลเวธิรูปา ความว่า เช่นกับนายขมังธนูผู้ยิงขนหางสัตว์.

บทว่า โวภินฺทนฺตา มญฺเ จรนฺติ ปญฺาคเตน ทิฏฺิคตานิ

ความว่า เที่ยวไปดุจทำลายทิฏฐิของตนเหล่าอื่น แม้ละเอียดดังขนหางสัตว์

ด้วยปัญญาของตน.

อีกอย่างหนึ่ง ปัญญาคตะ คือปัญญานั่นแหละ ทิฏฐิคตะ คือทิฏฐิ

นั่นแหละ ดุจในประโยคว่า คูถมูตร เป็นต้น.

บทว่า ปญฺเห อภิสงฺขริตฺวา อภิสงฺขริตฺวา ความว่า แต่งคำ

ถาม ๒ บทบ้าง ๓ บทบ้าง ๔ บทบ้าง กล่าว ๒ ครั้งเพื่อรวบรวมปัญหา

ทั้งหมด เพราะปัญหาเหล่านั้นมากเหลือเกิน ปาฐะที่เหลือว่า ข้อความที่

ลี้ลับและปกปิดบ้าง.

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นวินัยของบัณฑิตเหล่านั้น อย่างนั้น

แล้วมีพระพุทธพระสงค์อย่างนี้ว่าจงถามปัญหาที่ตนปรุงแต่งเถิด. บัณฑิต

เหล่านั้นจึงทูลถามปัญหา แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ประทานโอกาสเพื่อ

ถามแก่คนเหล่าอื่นเลย ทรงแสดงธรรมแก่พวกที่เข้าเฝ้าอยู่ เหมือนอย่างที่

กล่าวว่าบัณฑิตเหล่านั้นปรุงแต่งปัญหาด้วยคิดว่า พวกเราจักเข้าเฝ้าพระ

สมณโคดมทูลถามปัญหานี้ ถ้าพระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้แล้ว จัก

พยากรณ์อย่างนี้แก่พวกเราไซร้ พวกเราจักยกวาทะของพระองค์เสียอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 798

แม้ถ้าพระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้แล้ว จักพยากรณ์อย่างนี้แก่พวกเราไซร้

พวกเราก็จักยกวาทะของพระองค์เสียแม้อย่างนี้ บัณฑิตเหล่านั้น เข้าไปเฝ้า

พระสมณโคดมถึงที่ประทับ พระสมณโคดมทรงชี้ชวน ปลุก ปลอบ

บัณฑิตเหล่านั้นด้วยธรรมมีกถา บัณฑิตเหล่านั้นที่พระสมณโคดมทรงชี้ชวน

ปลุกปลอบด้วยธรรมมีกถา ย่อมไม่ทูลถามปัญหากะพระสมณโคดมเลย

จักยกวาทะของพระองค์แค่ไหน ย่อมเป็นสาวกเลื่อมใสต่อพระสมณโคดม

โดยแท้ทีเดียว หากจะถามว่าเพราะเหตุไรจึงไม่ทูลถามปัญหา ได้ยินว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัยของบริษัทแสดงธรรมในท่ามกลาง

บริษัท ลำดับนั้นทรงทรามว่า บัณฑิตเหล่านี้มาทำปัญหามีรหัสลี้ลับเป็น

เครื่องผูกมัด บัณฑิตเหล่านั้นยังไม่ทันถามเลย พระองค์ทรงทราบว่า

ในการถามปัญหามีโทษเท่านี้ ในการวิสัชนามีโทษเท่านี้ ในอรรถ บท

อักษรมีโทษเท่านี้ และทรงทราบว่า เมื่อจะถามปัญหานี้ พึงถามอย่างนี้

เมื่อจะวิสัชนา พึงวิสัชชนาอย่างนี้ จึงทรงใส่ปัญหาทั้งหลายที่พวกบัณฑิต

นำมาทำเป็นเครื่องผูกมัดพระสงค์ เข้าไปในระหว่างธรรมกถา แสดงด้วย

ประการฉะนี้. บัณฑิตเหล่านั้นคิดว่า เป็นความประเสริฐของพวกเราหนอ

ที่พวกเราไม่ทูลถามปัญหาเหล่านี้ แม้ถ้าพวกเราทูลถาม พระสมณโคดม

พึงทำให้พวกเราตั้งตัวไม่ติดซัดทิ้งไป ดังนี้ ย่อมพากันดีใจ. อนึ่ง ธรรมดา

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อทรงแสดงธรรม ย่อมทรงแผ่พระเมตตาไปยัง

บริษัทมหาชน ย่อมมีจิตเลื่อมใสในพระทศพล ด้วยทรงแผ่พระเมตตา

ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยรูป สมบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 799

ด้วยทัศนะ มีพระสุรเสียงไพเราะ พระชิวหาอ่อน ริมฝีพระโอษฐ์สนิทดี

ตรัสพระธรรมเหมือนรดหทัยด้วยน้ำอมฤต. ในการนั้น พวกบัณฑิตผู้มีจิต

เลื่อมใสด้วยการแผ่พระเมตตาเหล่านั้น ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราจัก

ไม่อาจจับคู่เป็นข้าศึกกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสกถาไม่เป็นที่น่าสงสัย

กถาไม่เป็นโมฆะ กถาเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ เห็นปานนี้ จึงไม่ทูลถาม

ปัญหาด้วยความเลื่อมใสของตน ดังนี้แล.

บทว่า กถิตา จ วิสชฺชิตา จ ความว่า ปัญหาเหล่านั้นย่อมเป็น

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วทีเดียว ด้วยการเปล่งพระสุรเสียงถึงปัญหาที่

พวกบัณฑิตไม่ทูลถาม ว่า พวกท่านจงถามอย่างนี้ และปัญหาเหล่านั้น

ย่อมเป็นอันทรงวิสัชนาแล้วทีเดียวโดยประการที่ควรจะวิสัชนา.

บทว่า นิทฺทิฏการณา ความว่า ปัญหาเหล่านั้นย่อมมีเหตุที่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไขและทรงใส่เข้าแล้ว ด้วยทรงวิสัชนากระทำให้

มีเหตุอย่างนี้ว่า ด้วยการณ์นี้ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นอย่างนี้.

บทว่า เต ภควโต สมฺปชฺชนฺติ ความว่า พวกบัณฑิตผู้เป็น

กษัตริย์เป็นต้น ที่ถูกชักชวนเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมเป็นสาวก

เลื่อมใสบ้าง เป็นอุบาสกเลื่อมใสบ้าง ด้วยการวิสัชนาของพระผู้มีพระภาค

เจ้านั้นแล มีอธิบายว่า ย่อมถึงสมบัติของสาวกบ้าง สมบัติของอุบาสกบ้าง.

บทว่า อถ ลงในอรรถว่า ไม่มีระหว่าง. ความว่า ใกล้ที่สุดต่อ

สมบัติที่ทรงใส่เข้าแก่บัณฑิตเหล่านั้นทีเดียว.

บทว่า ตตฺถ ความว่า ในที่นั้นหรือในอธิการนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 800

บทว่า อติโรจติ ความว่า ย่อมทรงรุ่งเรืองสว่างไสวเหลือเกิน.

บทว่า ยทิท ปญฺาย ความว่า พระปัญญาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

นี้ใด ด้วยพระปัญญานั้น. อธิบายว่า และพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรง

รุ่งเรืองยิ่ง. อิติ ศัพท์ ลงในอรรถว่า เหตุ ความว่า เพราะเหตุนั้นคำ

ที่เหลือปรากฏแล้วในที่ทั้งปวงนั่นเทียวแล.

สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถามหานิทเทส

อรรถกถาปสูรสุตตนิทเทส

จบ สูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 801

มาคันทิยสุตตนิทเทสที่ ๙

ว่าด้วยเมถุนธรรม

[๓๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

แม้ความพอใจในเมถุนธรรมก็มิได้นี้ เพราะเห็น

นางตัณหา นางอรดี และนางราคาเลย ความพอใจใน

เมถุนธรรม ไฉนจักมีเพราะเห็นสรีระอันเต็มไปด้วยมูตร

และกรีสนี้เล่า เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องสรีระนั้นแม้ด้วย

เท้า.

[๓๒๒] คำว่า แม้ความพอใจในเมถุนธรรมก็มิได้มี เพราะ

เห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคาเลย มีความว่า ความพอใจก็

ดี ความกำหนัดก็ดี ความรักก็ดี ในเมถุนธรรม มิได้มีเพราะเห็น คือ

ประสบ มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า แม้ความพอใจในเมถุนธรรมก็มิได้มี เพราะเห็นนาง

ตัณหา นางอรดีและนางราคาเลย.

[๓๒๓] คำว่า ความพอใจในเมถุนธรรมไฉนจักมีเพราะเห็น

สรีระอันเต็มด้วยมูตรและกรีสนี้เล่า เราไม่ปรารถนาจะถูกต้อง

สรีระนั้นแม้ด้วยเท้า มีความว่า ความพอใจในเมถุนธรรมไฉนจักมี

เพราะเห็นสรีระนี้ อันเต็มด้วยมูตร เต็มด้วยกรีส เต็มด้วยเสมหะ เต็มด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 802

เลือด มีกระดูกเป็นโครง มีเส้นเอ็นเป็นเครื่องผูกพันไว้ มีเลือดและเนื้อ

เป็นเครื่องฉาบทา อันหนังหุ้มห่อไว้ อันผิวหนังปิดบังไว้ มีช่องน้อยและ

ช่องใหญ่ ไหลเข้าไหลออกเป็นปกติ อันหมู่หนอนอยู่อาศัย บริบูรณ์ด้วย

มลทินโทษต่าง ๆ เราไม่ปรารถนาจะเหยียบด้วยเท้า การสังวาสหรือ

สมาคมจักมีแต่ไหน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความพอใจในเมถุนธรรม

ไฉนจักมีเพราะเห็นสรีระอันเต็มไปด้วยมูตรและกรีสนี้เล่า เราไม่

ปรารถนาจะแตะต้องสรีระนั้นแม้ด้วยเท้า เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

แม้ความพอใจในเมถุนธรรมก็มิได้มีเพราะเห็นนาง

ตัณหา นางอรดี และนางราคาเลย ความพอใจในเมถุน-

ธรรมไฉนจักมีเพราะเห็นสรีระอันเต็มด้วยมูตรและกรีสนี้

เล่า เราไม่ปรารถนาจะแตะต้องสรีระนั้นแม้ด้วยเท้า.

[๓๒๔] มาคันทิยพราหมณ์ทูลถามว่า :-

ถ้าท่านไม่ปรารถนานารีผู้เป็นอิตถีรัตน์เช่นนี้ ที่

พระราชาเป็นอันมาก ผู้เป็นใหญ่กว่านรชนปรารถนากัน

แล้วไซร้ ท่านย่อมกล่าวทิฏฐิ ศีล พรต ชีวิต และอุบัติ

ภพว่าเป็นเช่นไร.

[๓๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนมาคันทิยะ

การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่นว่า

เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น และเราเห็นโทษใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 803

ทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ยึดถือ เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ได้เห็นแล้วซึ่ง

ความสงบภายใน.

[๓๒๖] คำว่า เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น มี

ความว่า คำว่า เรากล่าวสิ่งนี้ ความว่า เราย่อมกล่าวสิ่งนี้ คือ ย่อม

กล่าวสิ่งนั้น กล่าวเท่านั้น กล่าวโดยเหตุเท่านั้น กล่าวทิฏฐิว่า โลก

เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีก

ก็หามิได้.

คำว่า ย่อมไม่มีแต่เรานั้น ความว่า มิได้มีแก่เรา เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกพราหมณ์นั้น โดยชื่อว่า มาคันทิยะ.

คำว่า ภควา เป็นชื่อที่กล่าวโดยเคารพ ฯลฯ

คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า:- ดูก่อนมาคันทิยะ

ว่าด้วยทิฏฐิ ๖๒

[๓๒๗] คำว่า การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือ

มั่น มีความว่า คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ในทิฏฐิ ๖๒ คำว่า

ถึงความตกลง ความว่า ตัดสินแล้ว คือ ชี้ขาด ค้นหา แสวงหา เทียบ

เคียง ตรวจตรา สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้งแล้วจึงจับมั่น ยึดมั่น ถือมั่น

รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ คือ ความถือ ความยึดถือ ความยึดมั่น

ความถือมั่น ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้จริง แท้ แน่นอน เป็นตามสภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 804

มิได้วิปริต ดังนี้ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ เป็นธรรมอัน

พระตถาคตละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสีย

แล้วติดไฟคือญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า การถึงความตกลงในธรรม

ทั้งหลายแล้วถือมั่น.

[๓๒๘] คำว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ยืดถือ มี

ความว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมไม่ถือ คือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือ

มั่นซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น

ไม่พึงถือมั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และเราเห็นโทษในทิฏฐิ

ทั้งหลาย ไม่ยึดถือ.

อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐินี้ว่า โลกเที่ยง

สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ เป็นทิฏฐิรกเรี้ยว เป็นทิฏฐิเสี้ยนหนาม

เป็นทิฏฐิข้าศึก เป็นทิฏฐิดิ้นรน เป็นทิฏฐิเครื่องประกอบไว้ มีทุกข์ มี

ความลำบาก มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อ

หน่าย ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ไม่เป็น

ไปเพื่อความสงบ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้

ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน จึงไม่ถือ ไม่ลูบคลำ ไม่ยึดมั่นซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย

อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น

แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และเราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย

ไม่ยึดถือ.

อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐินี้ว่า โดยไม่

เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 805

สรีระก็เป็นอื่น สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่

ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อม

ไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่

เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ เป็นทิฏฐิรกเรี้ยว

เป็นทิฏฐิเสี้ยนหนาม เป็นทิฏฐิข้าศึก เป็นทิฏฐิดิ้นรน เป็นทิฏฐิเครื่อง

ประกอบไว้ มีทุกข์ มีความลำบาก มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน

ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไป

เพื่อความดับ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็น

ไปเพื่อความตรัสรู้. ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน จึงไม่ถือ ไม่ลูบคลำ ไม่ยึดมั่น

ซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น

ไม่พึงถือมั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และเราเห็นโทษในทิฏฐิ

ทั้งหลาย ไม่ยึดถือ.

อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐิเหล่านี้ อัน-

บุคคลถืออย่างนี้ ลูบคลำอย่างนี้ ย่อมมีคติอย่างนี้ มีภพหน้าอย่างนี้ จึง

ไม่ถือ ไม่ลูบคลำ ไม่ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้ง

หลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้

จึงชื่อว่า และเราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ยึดถือ.

อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐิเหล่านี้ เป็นไป

เพื่อให้เกิดในนรก เป็นไปเพื่อให้เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อ

ให้เกิดในเปรตวิสัย จึงไม่ถือ ไม่ลูบคลำ ไม่ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย

อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายเราไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่น แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 806

ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า และเราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ไม่

ยึดถือ.

อีกอย่างหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐิเหล่านี้ไม่เที่ยง

อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความ

เสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็น

ธรรมดา จึงไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายเรา

ไม่พึงถือ ไม่พึงลูบคลำ ไม่พึงยึดมั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า

และเราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ยึดถือ.

[๓๒๙] คำว่า เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ได้เห็นแล้ว ซึ่งความสงบ

ภายใน มีความว่า ซึ่งความสงบ ความเข้าไปสงบ ความดับ ความระงับ

ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่ ตีเสมอ ริษยา

ตระหนี่ ลวง โอ้อวด หัวดื้อ แข็งดี ถือตัว ดูหมิ่น มัวเมา ประมาท

กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน

ทั้งปวง ความเดือนร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง คำว่า เมื่อเลือก

เฟ้นอยู่ ความว่า เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ คือ ค้นหา แสวงหา เทียบเคียง

ตรวจตรา สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้งว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้ง

ปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็น

ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา คำว่า ได้เห็นแล้ว

ความว่า ได้เห็นแล้ว คือ ได้ประสบ พบเห็น แทงตลอด เพราะฉะนั้น

จึงซึ่งว่า เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ได้เห็นแล้วซึ่งความสงบภายใน เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :- ดูก่อนมาคันทิยะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 807

การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้ว ถือมั่นว่า

เรากล่าวสงนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น และเราเห็นโทษ

ในทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ยืดถือ เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ได้เห็นแล้ว

ซึ่งความสงบภายใน.

[๓๓๐] มาคันทิยะพราหมณ์ทูลถามว่า :-

ทิฏฐิเหล่าใดที่ตกลงใจดำริแล้ว ท่านมุนีไม่ถือมั่น

ทิฏฐิเหล่านั้น กล่าวอรรถใดว่า ความสงบภายในอรรถนั้น

ธีรชนทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ ?

[๓๓๑] คำว่า ทิฏฐิเหล่าใดที่ตกลงใจดำริแล้ว มีความว่า ทิฏฐิ

๖๒ ประการ เรียกว่า ทิฏฐิที่ตกลงใจ.

คำว่า ดำริแล้ว ได้แก่ กำหนดแล้ว ปรุงแต่งแล้ว ตั้งไว้ด้วยดี

แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดำริแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย ไม่

เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มี

ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็น

ธรรมดา มีความเปรปรวนเป็นธรรมดา แม้เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ดำริ

แล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ทิฏฐิเหล่าใดที่ตกลงใจดำริแล้ว.

ศัพท์ว่า อิติ ในบทว่า อิติ มาคนฺทิโย เป็นบทสนธิ ฯลฯ ศัพท์

ว่าอิติ นี้เป็นลำดับบท.

บทว่า มาคนฺทิโย เป็นนาม เป็นเครื่องนับ เป็นที่หมายรู้เป็น

เครื่องเรียกของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อิติ มาคนฺทิโย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 808

[๓๓๒] คำว่า ท่านเป็นมุนีไม่ถือมั่นทิฏฐิเหล่านั้น กล่าว

อรรถใดว่า ความสงบภายใน มีความว่า คำว่า ทิฏฐิเหล่านั้น

ได้แก่ทิฏฐิ ๖๒.

คำว่า มุนี ความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ได้แก่ปัญญา ความ

รู้ทั่ว ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง และตัณหาเพียงดังข่าย บุคคล

นั้นชื่อว่า มุนี

คำว่า ไม่ถือมั่น ความว่า ท่านรับรองว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิ

ทั้งหลาย จึงไม่ถือ ไม่ลูบคลำ ไม่ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย และกล่าวว่า

ความสงบภายใน.

คำว่า อรรถนั้นใด ได้แก่อรรถอย่างยิ่งใด เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

ท่านเป็นมุนีไม่ถือมั่นในทิฏฐิเหล่านั้น กล่าวอรรถใดว่า ความ

สงบภายใน.

[๓๓๓] คำว่า อรรถนั้น ธีรชนทั้งหลาย ประกาศไว้อย่าง

ไรหนอ มีความว่า คำว่า อย่างไรหนอ เป็นคำถามโดยสงสัย เป็น

คำถามโดยแคลงใจ เป็นคำถาม ๒ ทาง เป็นคำถามโดยส่วนเป็นอเนก

ว่าอย่างนั้น หรือหนอ ว่ามิใช่หรือหนอ ว่าเป็นอย่างไรหรือหนอ ว่าอย่าง

ไรเล่าหนอ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อย่างไรหนอ.

คำว่า ธีรชนทั้งหลาย ได้แก่ บัณฑิต บุคคลผู้มีปัญญา ผู้มี

ความรู้ ผู้มีญาณ ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ.

คำว่า ประกาศไว้ ได้แก่ กล่าว ประกาศ บอก แสดง บัญญัติ

แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 809

ว่าอรรถนั้น ธีรชนทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ เพราะเหตุนั้น พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มาคันทิยพราหมณ์ทูลถามว่า :-

ทิฏฐิเหล่าใดที่ตกลงใจดำริแล้ว ท่านเป็นมุนีไม่ถือ

มั่นทิฏฐิเหล่านั้น กล่าวอรรถใดว่า ความสงบภายในอรรถ

นั้น ธีรชนทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ ?

[๓๓๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :- ดูก่อนมาคันทิยพราหมณ์

บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยทิฏฐิไม่กล่าว

ความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วย

ญาณ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต บุคคล

ย่อมถึงความสงบภายในด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มี

สุตะด้วยความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มี

พรตก็หามิได้ บุคคลสละธรรมเหล่านั้นแล้ว ไม่ถือมั่น

เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึงหวังภพ.

[๓๓๕] คำว่า บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยทิฏฐิ

ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วย

ญาณมีความว่า บัณฑิตไม่กล่าว คือ ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่

แถลงซึ่งความหมดจด คือ ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความ

พ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ แม้ด้วยทิฏฐิ....แม้ด้วยสุตะ....แม้ด้วย

ทิฏฐิและสุตะ....แม้ด้วยญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บัณฑิตไม่กล่าว

ความหมดจดแม้ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยสุตะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 810

ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

พราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า มาคันทิยะ.

คำว่า ภควา เป็นชื่อที่กล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้เป็น

สัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า....พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อน

มาคันทิยะ.

[๓๓๖] คำว่า บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจด แม้ด้วยศีล

และพรต มีความว่า บัณฑิตไม่กล่าว คือ ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง

ไม่แถลง ซึ่งความหมดจด คือ ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ

ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ แม้ด้วยศีล....แม้ด้วยพรต

.....แม้ด้วยศีลและพรต เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บัณฑิตไม่กล่าวความ

หมดจดแม้ด้วยศีลและพรต.

[๓๓๗] คำว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน ด้วยความ

ไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วยความไม่มีญาณ ด้วยความไม่

มีศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ แม้ทิฏฐิพึง

ประสงค์เอาสัมมาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ ทานที่ให้แล้วย่อมมีผล การบูชาย่อม

มีผล การเช่นสรวงย่อมมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและกรรมที่ทำชั่วมีอยู่

โลกนี้มีอยู่ โลกหน้ามีอยู่ มารดามีอยู่ บิดามีอยู่ เหล่าสัตว์ที่เป็นโอปปาติกะ

มีอยู่ สมณพราหมณ์ที่ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ผู้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และ

โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศมีอยู่ในโลก. แม้สุตะพึงประสงค์

เอาเสียงแต่บุคคลอื่น คือ สุตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน

อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวลัลละ แม้ญาณพึงประสงค์เอากัมมัสส-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 811

กตาญาณ สัจจานุโลมิกญาณ อภิญญาญาณ สมาปัตติญาณ แม้ศีลพึงประสงค์

เอาปาติโมกขสังวรศีล แม้วัตรพึงประสงค์เอาธุดงค์ ๘ คือ อารัญญิกังคธุดงค์

ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ปังสุกูลิกังคธุดงค์ เตจีวริกังคธุดงค์ สปทานจาริ-

กังคธุดงค์ ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ เนสัชชิกังคธุดงค์ ยถาสันถติกังค-

ธุดงค์.

คำว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน ด้วยความไม่มีทิฏฐิ

ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วยความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วย

ความไม่มีพรต ก็หามิได้ ความว่า บุคคลเป็นผู้บรรลุถึงความสงบ

ภายใน ด้วยธรรมสักว่าสัมมาทิฏฐิ ก็หามิได้. ด้วยธรรมสักว่าการฟัง ก็

หามิได้. ด้วยธรรมสักว่าญาณ ก็หามิได้. ด้วยธรรมสักว่าศีล ก็หามิได้

ด้วยธรรมสักว่าพรต ก็หามิได้. ย่อมบรรลุถึงความสงบภายใน เว้นจาก

ธรรมเหล่านี้ ก็หามิได้. ก็เพราะธรรมเหล่านี้เป็นเครื่องอุดหนุน เพื่อถึง

บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้งซึ่งความสงบภายใน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

บุคคลย่อมถึงความสงบภายในด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่

มีสุตะ ด้วยความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มี

พรต ก็หามิได้.

[๓๓๘] คำว่า บุคคลสละธรรมเหล่านั้นแล้ว ไม่ถือมั่น มี

ความว่า การละโดยความกำจัดธรรมฝ่ายดำ ด้วยธรรมเหล่านี้ จำต้อง

ปรารถนา ความหมดตัณหาในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศลอันมีในไตรธาตุ จำ

ต้องปรารถนา ธรรมฝ่ายดำเป็นธรรมอันบุคคลละได้แล้ว ด้วยการละโดย

ความจำกัด มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึง

ความไม่มีภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา และความหมด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 812

ตัณหาในธรรมทั้งหลาย ฝ่ายกุศลอันมีในไตรธาตุ ย่อมมีได้โดยเหตุใด

บุคคลย่อมไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น แม้โดยเหตุเท่านั้น อีกอย่างหนึ่ง

ธรรมฝ่ายคำเหล่านั้น บุคคลไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่นแม้ด้วย

เหตุอย่างนี้จึงชื่อว่า บุคคลสละธรรมเหล่านั้นแล้ว ไม่ถือมั่น.

ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ เป็นกิเลสชาติอันบุคคลละได้แล้ว มีราก

อันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง

มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โดยเหตุใด บุคคลย่อมไม่ถือ ไม่ยึด

มั่น ไม่ถือมั่น แม้โดยเหตุเท่านั้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า

บุคคลสละธรรมเหล่านั้นแล้ว ไม่ถือมั่น.

ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เป็นสภาพอัน

บุคคลละได้แล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน

ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โดยเหตุใด

บุคคลย่อมไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น แม้โดยเหตุเท่านั้น แม้ด้วยเหตุ

อย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า บุคคลสละธรรมเหล่านั้นแล้ว ไม่ถือมั่น.

[๓๓๙] คำว่า เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึงหวังภพ มี

ความว่า คำว่า เป็นผู้สงบ ได้แก่ ชื่อว่า เป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ

ดับระงับแล้ว เพราะราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ

ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความ

โอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา

ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 813

ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือนร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง

สงบ ถึงความสงบ เข้าไปสงบ ไหม้แล้ว ระงับแล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

เป็นผู้สงบ.

นิสัย ในคำว่า ไม่อาศัยแล้ว มี ๒ อย่างคือ ตัณหานิสัย ๑

ทิฏฐินิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่า ตัณหานิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่าทิฏฐินิสัย บุคคล

ละตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัยเสียแล้ว ไม่อาศัย คือไม่ถือ ไม่ยึดมั่น

ไม่ถือมั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ

อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ

จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีต อันธาตุ ปัจจุบัน ธรรมที่ได้เห็น

ที่ได้ยิน ที่ทราบ ที่รู้แจ้ง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้สงบไม่อาศัย

แล้ว. คำว่า ไม่พึงหวังภพ ความว่า ไม่พึงหวัง ไม่พึงประสงค์ไม่

พึงปรารถนา ซึ่งกามภพ รูปภพ อรูปภพ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้

สงบ ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึงหวังภพ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค

เจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนมาคันทิยพราหมณ์

บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าว

ความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วย

ญาณ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต บุคคล

ย่อมถึงความสงบภายในด้วยความไม่มีสุตะ ด้วยความไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 814

มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้

บุคคลสละธรรมเหล่านั้นแล้ว ไม่ถือมั่น เป็นผู้สงบ ไม่

อาศัยแล้ว ไม่พึงหวังภพ.

[๓๔๐] มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า :-

ได้ยินว่า ถ้าบัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วย

ทิฏฐิไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมด

จดแม้ด้วยญาณ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต

บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน ด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วย

ความไม่มีสุตะ ด้วยความไม่มีญาณด้วยความไม่มีศีล ด้วย

ความไม่มีพรต ก็หามิได้ไซร้ ข้าพเจ้าย่อมสำคัญธรรมของ

ท่านว่า เป็นธรรมของคนโง่เขลาโดยแท้ เพราะสมณ-

พราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมดจดด้วยทิฏฐิ.

[๓๔๑] คำว่า ได้ยินว่า ถ้าบัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้

ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมด

จดแม้ด้วยญาณ มีความว่า บัณฑิตไม่กล่าว คือ ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง

ไม่แถลง ซึ่งความหมดจด คือ ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ

ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ แม้ด้วยทิฏฐิ....แม้ด้วยสุตะ....

แม้ด้วยทิฏฐิและสุตะ....แม้ด้วยญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ได้ยินว่า ถ้า

บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจด

แม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 815

ศัพท์ว่า อิติ ในบทว่า อิติ มาคนฺทิโย เป็นบทสนธิ ฯลฯ

ศัพท์ว่า อิติ นี้เป็นลำดับบท.

บทว่า มาคนฺทิโย เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

อิติ มาคนฺทิโย.

[๓๔๒] คำว่า บัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและ

พรต มีความว่า บัณฑิตไม่กล่าว คือ ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง

ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ แม้ด้วยศีล ซึ่ง

ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ แม้ด้วยวัตร ซึ่ง

ความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้น

วิเศษ ความพ้นรอบ แม้ด้วยศีลและพรต เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บัณฑิต

ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและพรต.

[๓๔๓] คำว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายในด้วยความไม่

มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วยความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มี

ศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ไซร้ มีความว่า ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า

แม้ทิฏฐิก็พึงประสงค์ แม้สุตะก็พึงประสงค์ แม้ญาณก็พึงประสงค์ แม้ศีลก็

พึงประสงค์ แม้พรตก็พึงประสงค์ ท่านไม่อาจอนุญาตโดยส่วนเดียว ท่าน

ไม่อาจห้ามโดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลย่อมถึงความสงบ

ภายใน ด้วยความไม่มีทิฏฐิ ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วยความไม่มี

ญาณ ด้วยความไม่มีศีล ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ไซร้.

[๓๔๔] คำว่า ข้าพเจ้าย่อมสำคัญธรรมของท่านว่าเป็นธรรม

ของคนโง่เขลาโดยแท้ มีความว่า ข้าพเจ้าย่อมสำคัญ คือ ย่อมรู้ทั่ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 816

ย่อมแทงตลอดอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านนี้เป็นธรรมของตนโง่เขลา คือ

เป็นธรรมของคนพาล เป็นธรรมของคนหลง เป็นธรรมของตนไม่มีความรู้

เป็นธรรมกวัดแกว่งไม่ตายตัว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ข้าพเจ้าย่อมสำคัญ

ธรรมของท่านว่าเป็นธรรมของคนโง่เขลาโดยแท้.

[๓๔๕] คำว่า เพราะสมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความ

หมดจดด้วยทิฏฐิ มีความว่า สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมด

จด คือความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ

ความพ้นรอบ ด้วยทิฏฐิ คือสมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมดจด

คือความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ

ความพ้นรอบ ด้วยทิฏฐิว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า

สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมดจด คือความหมดจดวิเศษ

ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยทิฏฐิว่า

โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก ก็หามิได้

ย่อมไม่เป็นอีก ก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้นจึง

ชื่อว่า เพราะสมณพราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมดจดด้วย

ทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น มาคันทิยพราหมณ์นั้นจึงทูลว่า :-

ได้ยินว่า ถ้าบัณฑิตไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วย

ทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยสุตะ ไม่กล่าวความ

หมดจดแม้ด้วยญาณ ไม่กล่าวความหมดจดแม้ด้วยศีลและ

พรต บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน ด้วยความไม่มีทิฏฐิ

ด้วยความไม่มีสุตะ ด้วยความไม่มีญาณ ด้วยความไม่มีศีล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 817

ด้วยความไม่มีพรต ก็หามิได้ไซร้ ข้าพเจ้าย่อมสำคัญธรรม

ของท่านว่า เป็นธรรมของตนโง่เขลาโดยแท้ เพราะสมณ-

พราหมณ์บางพวก ย่อมถึงความหมดจดด้วยทิฏฐิ.

[๓๔๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนมาคันทิยะ

ท่านอาศัยทิฏฐิทั้งหลายถามอยู่เนื่อง ๆ ได้ถึงความ

หลงใหลในทิฏฐิทั้งหลายที่ท่านยึดถือแล้ว และท่านไม่ได้

เห็นสัญญาแม้น้อยจากธรรมนี้ เพราะฉะนั้นท่านจึงประสบ

แต่ความหลง.

[๓๔๗] คำว่า ท่านอาศัยทิฏฐิทั้งหลายถามอยู่เนือง ๆ มี

ความว่า มาคันทิยพราหมณ์อาศัยทิฏฐิถามทิฏฐิ อาศัยความเกี่ยวข้องถาม

ความเกี่ยวข้อง อาศัยความผูกพันถามความผูกพัน อาศัยความกังวลถาม

ความกังวล.

คำว่า ถามอยู่เนือง ๆ ได้แก่ ถามอยู่บ่อย ๆ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

ท่านอาศัยทิฏฐิทั้งหลายถามอยู่เนือง ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์

นั้นโดยชื่อว่า มาคันทิยะ.

คำว่า ภควา เป็นชื่อที่กล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้

เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ดูก่อนมาคันทิยพราหมณ์

[๓๔๘] คำว่า ได้ถึงความหลงใหลในทิฏฐิทั้งหลายที่ท่าน

ยึดถือแล้ว มีความว่า ทิฏฐิใดอันท่านถือ คือ ยึดมั่น ถือมั่น ติดใจ

น้อมใจ เชื่อแล้ว ท่านเป็นผู้หลง หลงใหล ลุ่มหลง ถึงความหลง ถึง

ความหลงใหล ถึงความลุ่มหลง เป็นผู้แล่นไปสู่ที่มืดด้วยทิฏฐินั้นนั่นแหละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 818

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ได้ถึงความหลงใหลในทิฏฐิทั้งหลายที่ท่านยึด

ถือแล้ว.

[๓๔๙] คำว่า และท่านไม่ได้เห็นสัญญาแม้น้อยจากธรรมนี้

มีความว่า ท่านย่อมไม่ได้พบสัญญาอันควร สัญญาอันถึงแล้ว สัญญาใน

ลักษณะ สัญญาในการณะ หรือสัญญาในฐานะ จากธรรมนี้ คือจากความ

สงบภายใน จากความปฏิบัติ หรือจากธรรมเทศนา ท่านจักได้ญาณแต่ที่

ไหน แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้จึงชื่อว่า และท่านไม่ได้เห็นสัญญาแม้

น้อยจากธรรมนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านไม่ได้พบเบญจขันธ์อันไม่เที่ยงบ้าง ญาณอัน

อนุโลมแก่อนิจจสัญญาบ้าง เบญจขันธ์อันเป็นทุกข์บ้าง ญาณอันอนุโลม

แก่ทุกขสัญญาบ้าง เบญจขันธ์อันเป็นอนัตตาบ้าง ญาณอันอนุโลมแก่

อนัตตสัญญาบ้าง ธรรมสักว่าความเกิดขึ้นแห่งสัญญาบ้าง ธรรมเป็นนิมิต

แห่งสัญญาบ้าง ท่านจักได้ญาณแต่ที่ไหน แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า

และท่านไม่ได้เห็นสัญญาแม้น้อยจากธรรมนี้.

[๓๕๐] คำว่า เพราะฉะนั้นท่านจึงประสบแต่ความหลง

มีความว่า คำว่า เพราะฉะนั้น ได้แก่ เพราะฉะนั้น คือ เพราะ

การณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น ท่าน

จึงประสบคือ พบ เห็น แลเห็น เพ่งเห็น พิจารณาเห็นแต่ธรรม

ของคนหลงคือ ธรรมของคนพาล ธรรมของคนหลงใหล ธรรม

ของคนไม่มีความรู้ ธรรมอันกวัดแกว่งไม่ตายตัว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 819

เพราะฉะนั้นท่านจึงประสบแต่ความหลง เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :- ดูก่อนมาคันทิยะ

ท่านอาศัยทิฏฐิทั้งหลายถามอยู่เนือง ๆ ได้ถึงความ

หลงใหลในทิฏฐิทั้งหลายที่ท่านยึดถือแล้ว และท่านไม่ได้

เห็นสัญญาแม้น้อยจากธรรมนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงประสบ

แต่ความหลง.

[๓๕๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ผู้ใดย่อมสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือ

ว่าเราเลวกว่าเขา ผู้นั้นพึงวิวาทด้วยความถือตัวนั้น บุคคล

ไม่หวั่นไหวในความถือตัว ๓ อย่าง ความสำคัญว่า เรา

เสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลวกว่าเขา ย่อมไม่มี

แก่บุคคลนั้น.

[๓๕๒] คำว่า ผู้ใดย่อมสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา

หรือว่าเราเลวกว่าเขา ผู้นั้น พึงวิวาทด้วยความถือตัวนั้น มีความ

ว่าผู้ใดย่อมสำคัญว่า เราเป็นผู้เสมอเขาก็ดี เราเป็นผู้ดีกว่าเขาก็ดี เราเป็น

ผู้เลวกว่าเขาก็ดี ผู้นั้นพึงทำความทะเลาะ ทำความหมายมั่น ทำความแก่ง

แย่ง ทำความวิวาท ทำความมุ่งร้ายกัน ด้วยความถือตัวนั้นบ้าง ด้วยทิฏฐิ

นั้นบ้าง ด้วยบุคคลนั้นบ้างว่าท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ เรารู้ธรรมวินัยนี้ ท่าน

จักรู้ธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติชอบ คำของเรามี

ประโยชน์ คำของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวที

หลัง คำที่ควรกล่าวทีหลัง ท่านกล่าวก่อน คำที่คล่องแคล่วของท่านกลับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 820

ขัดข้องไป เราใส่โทษท่านแล้ว ท่านถูกเราปรามแล้ว ท่านจงเที่ยวไป

หรือแก้ไขเพื่อเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถเพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ใดย่อม

สำคัญว่า เราเสนอเขาเราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลวกว่าเขา ผู้นั้น

พึงวิวาทด้วยความถือตัวนั้น.

[๓๕๓] คำว่า บุคคลไม่หวั่นไหวในเพราะความถือตัว ๓

อย่างความสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลว

ว่าเขาย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น มีความว่า ความถือตัว ๓ อย่างนั้น

บุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผา

เสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียงไปใน

เพราะความถือตัว ๓ อย่าง ความสำคัญว่า เราเป็นผู้เสมอเขาก็ดี เราเป็น

ผู้ดีกว่าเขาก็ดี เราเป็นผู้เลวกว่าเขาก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว.

คำว่า ย่อมไม่มีแต่บุคคลนั้น ความว่า ย่อมไม่มีแก่เรา เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า บุคคลไม่หวั่นไหวในเพราะความถือตัว ๓ อย่าง ความ

สำคัญว่า เราเสนอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลว ว่าเขา ย่อม

ไม่มีแก่บุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ผู้ใดย่อมสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือ

ว่าเราเลวกว่าเขาผู้นั้นพึงวิวาทด้วยความถือตัวนั้น บุคคล

ไม่หวั่นไหวในเพราะความถือตัว ๓ อย่าง ความสำคัญว่า

เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา หรือว่าเราเลวกว่าเขา ย่อมไม่

มีแก่บุคคลนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 821

[๓๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงกล่าวสิ่งอะไรว่าจริง

เล่า หรือบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงโต้เถียงว่า สิ่งนั้น

เท็จ ด้วยความถือตัวอะไรเล่า. ความสำคัญว่าดีกว่าเขาก็ดี

ความสำคัญว่าเลวกว่าเขาก็ดี ย่อมไม่มีในพระอรหันตขีณา-

สพใด พระอรหันตขีณาสพนั้นจะพึงโต้ตอบวาทะด้วย

ความถือตัวอะไรเล่า.

[๓๕๕] คำว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงกล่าวสิ่งอะไร

ว่าจริงเล่า มีความว่า คำว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์ ความว่า ชื่อว่า

เป็นพราหมณ์ เพราะลอยเสียแล้วซึ่งธรรม ๗ ประการ ฯลฯ บุคคลนั้นอัน

ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว เป็นผู้คงที่ เรียกว่า เป็นพราหมณ์ เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงกล่าวสิ่งอะไรว่าจริง

เล่า. คำว่า พึงกล่าวสิ่งอะไร ความว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์พึงกล่าว

คือพึงบอก พูด แสดง สิ่งอะไรเล่า ว่าโลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่ง

อื่นเปล่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์พึงกล่าว คือ พึงบอก พูด แสดง แถลง

สิ่งอะไรเล่าว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก

ก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีก ก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงกล่าวสิ่งอะไรว่าจริง

เล่า.

[๓๕๖] คำว่า หรือบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงโต้เถียงว่า

สิ่งนั้นเท็จ ด้วยความถือตัวอะไรเล่า มีความว่า พราหมณ์พึงทำความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 822

ทะเลาะ ทำความหมายมั่น ทำความแก่งแย่ง ทำความวิวาท ทำความ

มุ่งร้าย ด้วยความถือตัวอะไรเล่า ด้วยทิฏฐิอะไรเล่า หรือด้วยบุคคลอะไร

เล่า ว่าคำของเราเท่านั้นจริง คำของท่านเท็จ ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ

หรือปลดเปลื้องวาทะถ้าท่านสามารถ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า หรือบุคคลผู้

เป็นพราหมณ์นั้น พึงโต้เถียงว่า สิ่งนั้นเท็จด้วยความถือตัวอะไร

เล่า.

[๓๕๗] คำว่า ความสำคัญว่าเสมอเขาก็ดี ความสำคัญว่าดี

กว่าเขาก็ดี ความสำคัญว่าเลวกว่าเขาก็ดี ย่อมไม่มีในพระอรหันต-

ขีณาสพใด มีความว่า ความถือตัวว่าเราเป็นผู้เสมอเขา ความถือตัวจัด

ว่าเราเป็นผู้ดีกว่าเขา ความถือตัวต่ำว่าเราเป็นผู้เลวกว่าเขา ย่อมไม่มี คือ

ย่อมไม่ปรากฏ ย่อมไม่เข้าไปได้ ในพระอรหันตขีณาสพใดคือ ย่อมเป็น

กิเลส อันพระอรหันตขีณาสพละแล้ว ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้

ไม่ควรเกิดขึ้นเผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความ

สำคัญว่าเสมอเขาก็ดี ความสำคัญว่าดีกว่าเขาก็ดี ความสำคัญว่า

เลวกว่าเขาก็ดี ย่อมไม่มีในพระอรหันตขีณาสพใด.

[๓๕๘] คำว่า พระอรหันตขีณาสพนั้น จะพึงโต้ตอบวาทะ

ด้วยความถือตัวอะไรเล่า มีความว่า พระอรหันตขีณาสพนั้น พึงโต้ตอบ

คือพึงโต้เถียงวาทะ ทำความทะเลาะ ทำความหมายมั่น ทำความแก่งแย่ง

ทำความวิวาท ทำความมุ่งร้ายกัน ด้วยความถือตัวอะไรเล่า ด้วยทิฏฐิ

อะไรเล่า หรือด้วยบุคคลไรเล่า ว่าท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ เพื่อปลด

เปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระอรหันตขีณา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 823

สพนั้นจะพึงโต้ตอบวาทะด้วยความถือตัวอะไรเล่า เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้น พึงกล่าวสิ่งอะไรว่าจริง

เล่า หรือบุคคลผู้เป็นพราหมณ์ พึงโต้เถียงว่า สิ่งนั้นเท็จ

ด้วยความถือตัวอะไรเล่า ความสำคัญว่าเสมอเขาก็ดี ความ

สำคัญว่าดีกว่าเขาก็ดี ความสำคัญว่าเลวว่าเขาก็ดี ย่อมไม่

มีในพระอรหันตขีณาสพใด พระอรหันตขีณาสพนั้นจะพึง

โต้ตอบวาทะด้วยความถือตัวอะไรเล่า.

[๓๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บุคคลที่อยู่แล้ว ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ มุนีไม่ทำ

ความเยื่อใยในกาม เปล่าจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งหมาย

อัตภาพต่อไป ไม่พึงทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชน.

[๓๖๐] ครั้งนั้นแล คหบดีชื่อหาลินทกานิ เข้าไปหาท่านพระมหา

กัจจานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าว

กะท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า ข้าแต่พระมหากัจจานะผู้เจริญ พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสพระพุทธภาษิตนี้ไว้ในมาคันทิยปัญหา อันมีมาในอัฏฐก-

วรรคว่า :-

บุคคลที่อยู่แล้ว ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ มุนีไม่ทำ

ความเยื่อใยในกาม เปล่าจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งหมาย

อัตภาพต่อไป ไม่พึงทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชน ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 824

ข้าแต่พระมหากัจจานะผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระพุทธภาษิตที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้โดยย่อนี้ จะพึงเห็นโดยพิสดารได้อย่างไร ?

ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า ดูก่อนคหบดี รูปธาตุเป็นที่อาศัยแห่ง

วิญญาณ ก็แหละวิญญาณที่ผูกพันไว้ด้วยราคะในรูปธาตุ เรียกว่า ท่อง

เที่ยวไปสู่ที่อยู่ ดูก่อนคหบดี เวทนาธาตุ....สัญญาธาตุ....สังขารธาตุเป็นที่

อาศัยแห่งวิญญาณ ก็แหละวิญญาณที่ผูกพันไว้ด้วยราคะในสังขารธาตุเรียกว่า

ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ ดูก่อนคหบดี บุคคลเป็นผู้ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่อย่างนี้แล.

ดูก่อนคหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิน ความปรารถนา

อุบายและอุปาทานอันเป็นเหตุยึดมั่นถือมั่น และนอนเนื่องแห่งจิตใดในรูป

ธาตุ ความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น อันพระตถาคตทรงละเสียแล้ว มีราก

อันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง

มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระ-

ตถาคตว่า ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่. ดูก่อนคหบดี ความพอใจ ความกำหนัด

ความเพลิน ความปรารถนา อุบายและอุปาทานอันเป็นเหตุยึดมั่นถือมั่น

และนอนเนื่องแห่งจิตใดในเวทนาธาตุ....ในสัญญาธาตุ.....ในสังขารธาตุ.....

ในวิญญาณธาตุความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น อันพระตถาคตทรงละเสียแล้ว

มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีใน

ภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียก

พระตถาคตว่า ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่. ดูก่อนคหบดีบุคคล เป็นผู้ไม่ท่อง

เที่ยวไปสู่ที่อยู่ อย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 825

ดูก่อนคหบดี ก็บุคคลเป็นผู้ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่อย่างไร ? ดูก่อนคหบดี

ความท่องเที่ยวไปและความผูกพันในที่อยู่คือรูปนิมิต สัททนิมิต คันธนิมิต

รสนิมิต โผฏฐัพพนิมิต ธรรมนิมิต เรียกว่า ความท่องเที่ยวไปในที่อยู่.

ดูก่อนคหบดี บุคคลเป็นผู้ท่องเที่ยวไปในที่อยู่อย่างนี้แล ดูก่อนคหบดี ก็

บุคคลเป็นผู้ไม่ท่องเที่ยวไปในที่อยู่อย่างไร ? ดูก่อนคหบดี ความท่องเที่ยว

ไปและความผูกพันในที่อยู่คือรูปนิมิต อันพระตถาคตทรงละเสียแล้ว มี

รากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภาย

หลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรม เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระ

ตถาคตว่า ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ ดูก่อนคหบดี ความท่องเที่ยวไปและ

ความผูกพันในที่อยู่คือสัททนิมิต คันธนิมิต รสนิมิต โผฏฐัพพนิมิต และ

ธรรมนิมิต อันพระตถาคตทรงละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้

ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อ

ไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระถตาคตว่า ไม่ท่องเที่ยว

ไปสู่ที่อยู่. ดูก่อนคหบดี บุคคลเป็นผู้ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ อย่างนี้แล.

ดูก่อนคหบดี ก็บุคคลเป็นผู้เกิดความเยื่อใยในกาม อย่างไร ? ดูก่อน

คหบดี ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์ทั้งหลาย

เพลินร่วมกัน โศกร่วมกัน เมื่อพวกคฤหัสถ์ถึงความสุข ก็สุขด้วย ถึง

ความทุกข์ ก็ทุกข์ด้วย เมื่อพวกคฤหัสถ์มีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ช่วยเหลือ

ด้วยตนเอง. ดูก่อนคหบดี ภิกษุเป็นผู้เกิดความเยื่อใยในกาม อย่างนี้แล.

ดูก่อนคหบดี ก็บุคคลเป็นผู้ไม่เกิดความเยื่อใยในกาม อย่างไร ? ดูก่อน

ก่อนคหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องกับพวกคฤหัสถ์ ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 826

เพลินร่วมกัน ไม่โศกร่วมกัน เมื่อพวกคฤหัสถ์ถึงความสุข ก็ไม่สุขด้วย

ถึงความทุกข์ ก็ไม่ทุกข์ด้วย เมื่อพวกคฤหัสถ์มีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ไม่

ช่วยเหลือด้วยตนเอง. ดูก่อนคหบดี ภิกษุเป็นผู้ไม่เกิดความเยื่อใยในกาม

อย่างนี้แล.

ดูก่อนคหบดี ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่เปล่าจากกามทั้งหลายอย่างไร ? ดูก่อน

คหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ความ

พอใจ ความรักใคร่ ความหวัง ความเร่าร้อน ความปรารถนาในกาม

ทั้งหลาย. ดูก่อนคหบดี ภิกษุเป็นผู้ไม่เปล่าจากกามทั้งหลาย อย่างนี้แล.

ดูก่อนคหบดี ก็ภิกษุเป็นผู้เปล่าจากกามทั้งหลายอย่างไร ? ดูก่อน

คหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ

ความรักใคร่ ความหวัง ความเร่าร้อน ความปรารถนา ในกามทั้งหลาย

ดูก่อนคหบดี ภิกษุเป็นผู้เปล่าจากกามทั้งหลาย อย่างนี้แล.

ดูก่อนคหบดี ก็ภิกษุเป็นผู้มุ่งหมายอัตภาพต่อไป อย่างไร ? ดูก่อน

คหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ในอนาคต

กาลขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ ถึงความเพลินในรูปนั้น มีความปรารถนาอย่าง

นี้ว่า ในอนาคตกาล ขอเราพึงมีเวทนาอย่างนี้....ขอเราพึงมีสัญญาอย่างนี้....

ขอเราพึงมีสังขารอย่างนี้....ขอเราพึงมีวิญญาณอย่างนี้ ถึงความเพลินใน

วิญญาณนั้น. ดูก่อนคหบดี ภิกษุเป็นผู้มุ่งหมายอัตภาพต่อไป อย่างนี้แล.

ดูก่อนคหบดี ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่มุ่งหมายอัตภาพต่อไป อย่างไร ? ดู

ก่อนคหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ในอนาคต

กาล ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ ไม่ถึงความเพลินในรูปนั้น ไม่มีความปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 827

อย่างนี้ว่า ในอนาคตกาล ขอเราพึงมีเวทนาอย่างนี้....ขอเราพึงมีสัญญา

อย่างนี้....ขอเราพึงมีสังขารอย่างนี้....ขอเราพึงมีวิญญาณอย่างนี้ ไม่ถึงความ

เพลินในวิญญาณนั้น. ดูก่อนคหบดี ภิกษุเป็นผู้ไม่มุ่งหมายอัตภาพต่อไป

อย่างนี้แล.

ดูก่อนคหบดี ก็ภิกษุเป็นผู้ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชน อย่างไร ?

ดูก่อนคหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า

ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่าน

สามารถ ดูก่อนคหบดี ภิกษุเป็นผู้ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชน อย่างนี้

แล.

ดูก่อนคหบดี ก็ภิกษุไม่เป็นผู้ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชน อย่างไร

ดูก่อนคหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้ทำถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า ท่าน

ไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ

ดูก่อนคหบดี ภิกษุไม่เป็นผู้ทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชน อย่างนี้แล.

ดูก่อนคหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธภาษิตใด ในมาคัน-

ทิยปัญหาอันมีมาในอัฏฐกวรรคว่า :-

บุคคลที่อยู่แล้ว ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ มุนีไม่ทำ

ความเยื่อใยในกาม เปล่าจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งหมาย

อัตภาพต่อไปไม่พึงทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชน ดังนี้.

ดูก่อนคหบดี เนื้อความแห่งพระพุทธภาษิตที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสแล้วโดยย่อนี้แล พึ่งเห็นโดยพิสดารอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 828

บุคคลละที่อยู่แล้ว ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ มุนีไม่

ทำความเยื่อใยในกาม เปล่าจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งหมาย

อัตภาพต่อไป ไม่พึงทำถ้อยคำแก่งแย่งกับด้วยชน.

[๓๖๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บุคคลชื่อว่านาค สงัดแล้วจากทิฏฐิเหล่าใด พึง

เที่ยวไปในโลก บุคคลถือว่านาค ไม่พึงยึดถือทิฏฐิเหล่า

นั้นกล่าว ดอกบัวมีก้านขรุขระ เกิดแต่อัมพุคือน้ำ อันน้ำ

และเปือกตมไม่เข้าไปติด ฉันใด มุนีผู้กล่าวความสงบ

ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในกามและในโลก ฉันนั้น.

[๓๖๒] คำว่า สงัดแล้วจากทิฏฐิเหล่าใด พึงเที่ยวไป

ในโลก มีความว่า คำว่า เหล่าใด ได้แก่ ทิฏฐิทั้งหลาย. คำว่า สงัด

แล้ว ความว่า สงัด ว่าง เปล่า จากกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

ราคะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง. คำว่า พึงเที่ยวไป ความว่า พึง

เที่ยวไปอยู่ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง ยังชีวิตให้เป็น

ไป. คำว่า ในโลก ได้แก่ ในมนุษยโลก เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

สงัดแล้วจากทิฏฐิเหล่าใด พึงเที่ยวไปในโลก.

[๓๖๓] คำว่า บุคคลชื่อว่านาค ไม่พึงยึดถือทิฏฐิเหล่านั้น

กล่าว มีความว่า คำว่า นาค ความว่า ชื่อว่า นาค เพราะอรรถ

ว่า ไม่ทำความชั่ว. ชื่อว่า นาค เพราะอรรถว่า ไม่ถึง. ชื่อว่า นาค

เพราะอรรถว่า ไม่มา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 829

บุคคลชื่อว่านาค เพราะอรรถว่า ไม่ทำความชั่ว อย่างไร ? ธรรม

ทั้งหลายที่เป็นบาปเป็นอกุศล ทำความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มี

ความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นปัจจัยแห่งชาติ ชรา และ

มรณะต่อไป เรียกว่า ความชั่ว สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

ดูก่อนสภิยะ

บุคคลไม่ทำความชั่วใด ๆ ในโลก สลัดกิเลสเป็น

เครื่องผูกในความประกอบทั้งปวง ไม่เกี่ยวข้องในธรรม

ทั้งปวง เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เป็นผู้คงที่ บัณฑิตกล่าวว่า

นาค เพราะเป็นผู้เที่ยงตรง.

บุคคลชื่อว่านาค เพราะอรรถว่า ไม่ทำความชั่ว อย่างนี้.

บุคคลชื่อว่านาค เพราะอรรถว่า ไม่ถึง อย่างไร ? บุคคลชื่อว่า

นาคย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ไม่

ถึงด้วยสามารถแห่งราคะ ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งโทสะ ไม่ถึงด้วยสามารถ

แห่งโมหะ ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งมานะ ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ ไม่

ถึงด้วยสามารถแห่งอุทธัจจะ ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งวิจิกิจฉา ไม่ถึงด้วย

สามารถแห่งอนุสัย ย่อมไม่ไป ดำเนินไป แล่นไป เพราะธรรมทั้งหลาย

อันทำความเป็นพวกบุคคลชื่อว่านาค เพราะอรรถว่า ไม่ถึง อย่างนี้.

บุคคลชื่อว่านาค เพราะอรรถว่า ไม่มา อย่างไร ? กิเลสเหล่าใด

อันบุคคลนั้นละได้แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค บุคคลนั้นย่อมไม่มา ไม่ย้อน

มาไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใดอันบุคคลนั้นละได้แล้วด้วย

สกทาคามิมรรค....ด้วยอนาคามิมรรค....ด้วยอรหัตตมรรค บุคคลนั้นย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 830

ไม่มา ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก บุคคลชื่อว่านาค เพราะ

อรรถว่า ไม่มา อย่างนี้.

คำว่า บุคคลถือว่านาค ไม่พึงยึดถือทิฏฐิเหล่านั้นกล่าว

ความว่า บุคคลชื่อว่านาค ไม่ถือ คือ ไม่พึงจับถือเอา ไม่ยึดมั่น ไม่

ถือมั่นทิฏฐิเหล่านั้น กล่าวคือ บอก พูด แสดง แถลงว่า โลกเที่ยง

โลกไม่เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก ก็หามิได้ ย่อม

ไม่เป็นอีก ก็หามิได้ สิ่งนี้ เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

บุคคลชื่อว่านาค ไม่พึงยึดถือทิฏฐิเหล่านั้นกล่าว.

[๓๖๔] คำว่า ดอกบัวมีก้านขรุขระ เกิดแต่อัมพุคือน้ำ

อันน้ำและเปือกตมไม่เข้าไปติด ฉันใด มีความว่า น่าเรียกว่าเอละ

น้ำเรียกว่าอัมพุ ดอกบัวเรียกว่าอัมพุชะ ก้านขรุขระเรียกว่าก้านมีหนาม

น้ำเรียกว่าวารี ดอกบัวที่เกิดแต่น้ำเป็นอยู่ในน้ำ อันน้ำและเปือกตมไม่ติด

ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไปติด คือเป็นของอันน้ำและเปือกตมไม่ติด ไม่ติด

พร้อมไม่เข้าไปติด ฉันใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดอกบัวมีก้านขรุขระ

เกิดแต่อัมพุคือน้ำ อันน้ำและเปือกตมไม่เข้าไปติด ฉันใด.

[๓๖๕] คำว่า มุนีผู้กล่าวความสงบ ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติด

ในกามและในโลก ฉันนั้น มีความว่า ศัพท์ว่า เอว เป็นอุปไมย

เครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อม. คำว่า มุนี ความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ

ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย บุคคลนั้นชื่อว่า

มุนี คำว่า ผู้กล่าวความสงบ ความว่า มุนี ผู้กล่าวธรรมสงบ กล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 831

ธรรมต้านทาน กล่าวธรรมที่หลีกเร้น กล่าวธรรมเป็นที่พึ่ง กล่าวธรรม

ที่ไม่มีภัย กล่าวธรรมที่ไม่เคลื่อน กล่าวธรรมที่ไม่ตาย กล่าวนิพพาน

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มุนีผู้กล่าวความสงบ....ฉันนั้น. คำว่า ไม่ติดพัน

ความว่าตัณหาเรียกว่า ความติดพัน ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัด

กล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ความติดพันนั้น อันมุนีใดละ ตัด

ขาดสงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว ด้วยไฟคือญาณ

มุนี นั้นเรียกว่า ผู้ไม่ติดพัน มุนีนั้น ไม่ติดพัน ไม่พัวพัน ไม่หมกมุ่น

ไม่ลุ่มหลง ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส

ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัช-

บริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญา-

ภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ

ปัญจโวการภพ อดีต อนาคต ปัจจุบัน ในธรรมที่ได้เห็น ที่ได้ยิน ที่

ทราบ ที่รู้แจ้ง คือ เป็นผู้มีความติดพันอันปราศจาก สละ คาย พ้น

ละ สละคืนแล้ว เป็นผู้มีความกำหนัดอันปราศจาก สละ คาย พ้น ละ

สละคืนแล้ว เป็นผู้ไม่หิว เป็นผู้ดับ เป็นผู้เย็น เป็นผู้มีตนอันประเสริฐ

เสวยสุขอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มุนีผู้กล่าวความสงบ ไม่ติดพัน......

ฉันนั้น.

คำว่า ไม่เข้าไปติดในกามและในโลก ความว่า กาม โดยหัว

ข้อมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯลฯ นี้เรียกว่าวัตถุกาม

ฯลฯ นี้เรียกว่ากิเลสกาม. คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษย์

โลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก คำว่า ความติด ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 832

ความติด ๒ อย่าง คือ ความติดด้วยตัณหา ๑ ความติดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ

นี้ชื่อว่าความติดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยทิฏฐิ มุนีละความ

ติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิแล้ว ย่อมไม่ติด ไม่ติดพร้อม

ไม่เข้าไปติด คือ เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่ติด ไม่ติดพร้อม ไม่เข้าไป

ติด ในกามและในโลก เป็นผู้ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง

มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มุนีผู้กล่าวความสงบ

ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในกามและในโลก ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

บุคคลชื่อว่านาค สงัดแล้วจากทิฏฐิเหล่าใด พึง

เที่ยวไปในโลก บุคคลชื่อว่านาค ไม่พึงยึดถือทิฏฐิเหล่านั้น

กล่าว ดอกบัวมีก้านขรุขระ เกิดแต่อัมพุคือน้ำ อันน้ำและ

เปือกตมไม่เข้าไปติด ฉันใด มุนีผู้กล่าวความสงบ ไม่

ติดพัน ไม่เข้าไปติดในกามและในโลกฉันนั้น.

[๓๖๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

มุนีผู้ถึงเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึงความ

ถือตัวด้วยอารมณ์ที่ทราบ มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีตัณหา อัน

ธรรมและเสียงที่ได้ยินไม่พึงนำไปได้ เป็นผู้อันตัณหาและ

ทิฏฐิไม่นำเข้าไปในที่อาศัยทั้งหลาย.

[๓๖๗] คำว่า มุนีผู้ถึงเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึง

ความถือตัวด้วยอารมณ์ที่ทราบ มีความว่า ศัพท์ว่า เป็นปฏิเสธ.

คำว่า ผู้ถึงเวท ความว่า ญาณในมรรค ๔ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 833

พละ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา วิปัสสนา สัมมา

ทิฏฐิ เรียกว่า เวท. มุนีนั้นเป็นผู้ถึงที่สุด บรรลุที่สุด ถึงส่วนสุด

บรรลุส่วนสุด ถึงที่สุดรอบ บรรลุที่สุดรอบ ถึงที่สิ้นสุด บรรลุที่สิ้นสุด

ถึงที่ป้องกัน บรรลุที่ป้องกัน ถึงที่หลีกเร้น บรรลุที่หลีกเร้น ถึงที่พึ่ง

บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่ไม่เคลื่อน บรรลุที่ไม่เคลื่อน

ถึงที่ไม่ตาย บรรลุที่ไม่ตาย ถึงนิพพาน บรรลุนิพพาน แห่งชาติ ชรา

และมรณะ ด้วยเวทเหล่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ชื่อว่าเวท เพราะอรรถว่า ถึงที่สุดด้วยเวท

ทั้งหลายบ้าง หรือเพราะเป็นผู้รู้แจ้งธรรม ๗ ประการ คือ รู้แจ้งสักกาย-

ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ มานะ เป็นผู้รู้

แจ้งซึ่งอกุศลธรรมอันลามก อันทำความเศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่

มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นปัจจัยแห่งชาติ ชรา และ

มรณะต่อไป สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :- ดูก่อนสภิยะ

บุคคลเลือกเฟ้นเวททั้งสิ้นของสมณพราหมณ์ทั้ง

หลายที่มีอยู่ เป็นผู้ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง ล่วง

เวททั้งปวงแล้วชื่อว่า เวทคู.

คำว่า ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ อันมุนีนั้นละ

ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ

มุนีนั้น ย่อมไม่ไป ไม่ดำเนินไป ไม่เลื่อนลอยไป ไม่แล่นไป ด้วยทิฏฐิ

ทั้งไม่ย้อน ไม่กลับมาสู่ทิฏฐินั้นโดยความเป็นสาระ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า

มุนีผู้ถึงเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 834

คำว่า ไม่ถึงความถือตัวด้วยอารมณ์ที่ทราบ ความว่า มุนีนั้น

ไม่ถึง ไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ซึ่งความถือ

ตัว ด้วยรูปที่ทราบก็ดี ด้วยเสียงแห่งผู้อื่นก็ดี ด้วยสมบัติแห่งมหาชนก็ดี

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มุนีผู้ถึงเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึง

ความถือตัวด้วยอารมณ์ที่ทราบ.

คำว่า มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีตัณหา ความว่า มุนี ย่อมเป็นผู้ไม่มี

ตัณหา คือ ไม่เป็นผู้มีตัณหาเป็นอย่างยิ่ง ไม่เป็นผู้มีตัณหาเป็นเบื้องหน้า

ด้วยสามารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ ตัณหา ทิฏฐิและมานะ

เป็นสภาพอันมุนีละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน

ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุ

เท่าใด มุนีนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีตัณหาเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีตัณหา

เป็นเบื้องหน้า ด้วยเหตุเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มี

ตัณหา.

[๓๖๘] คำว่า เป็นผู้อันธรรมและเสียงที่ได้ยินไม่พึงนำไป

ได้ มีความว่า คำว่า อันธรรม....ไม่ ความว่า มุนีนั้น ย่อมไม่ไป

ไม่ดำเนินไป ไม่เลื่อนลอยไป ไม่แล่นไป ด้วยปุญญาภิสังขารบ้าง อปุญญา

ภิสังขารบ้าง อาเนญชาภิสังขารบ้าง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันกรรม....ไม่,

คำว่า เป็นผู้อันเสียงที่ได้ยินไม่พึงนำไปได้ ความว่า มุนีย่อมไม่ไป

ไม่ดำเนินไป ไม่เลื่อนลอยไป ไม่แล่นไป ด้วยความหมดจดแห่งเสียงที่ได้

ยินก็ดี ด้วยเสียงแห่งผู้อื่นก็ดี ด้วยสมบัติแห่งมหาชนก็ดี เพราะฉะนั้นจึง

ชื่อว่า เป็นผู้อันกรรมและเสียงที่ได้ยินไม่พึงนำไปได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 835

[๓๖๙] คำว่า เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่นำเข้าไปในที่

อาศัยทั้งหลาย มีความว่า คำว่า ความนำเข้าไป ได้แก่ ความนำเข้า

ไป ๒ อย่าง คือ ความนำเข้าไปด้วยตัณหา ๑ ความนำเข้าไปด้วยทิฏฐิ ๑

ฯลฯ นี้ชื่อว่าความนำเข้าไปด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความนำเข้าไปด้วย

ทิฏฐิ มุนีนั้นละความนำเข้าไปด้วยตัณหา สละคืนความนำเข้าไปด้วยทิฏฐิ

แล้ว เพราะเป็นผู้ละความนำเข้าไปด้วยตัณหา สละคืนความนำเข้าไปด้วย

ทิฏฐิ มุนีนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่นำเข้าไป ไม่เข้าไปติด

ไม่เข้าถึง ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจ ออกไป สละแล้ว พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง

แล้ว มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้อันตัณหา

และทิฏฐิไม่นำเข้าไปในที่อาศัยทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

มุนีผู้ถึงเวรนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึงความ

ถือตัวด้วยอารมณ์ที่ทราบ มุนีนั้นเป็นผู้ไม่มีตัณหา อัน

ธรรมและเสียงที่ได้ยินไม่พึงนำไปได้ เป็นผู้อันตัณหาและ

ทิฏฐิไม่นำเข้าไปในที่อาศัยทั้งหลาย.

[๓๗๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด ย่อมไม่มีแก่มุนีผู้เว้นแล้ว

จากสัญญา โมหะย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา

ชนเหล่าใดยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้นกระทบ

กระทั่งกันอยู่ ย่อมเที่ยวไปในโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 836

[๓๗๑] คำว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด ย่อมไม่มีแก่มุนีผู้เว้น

แล้วจากสัญญา มีความว่า มุนีใดเจริญอริยมรรคมีสมถะเป็นเบื้องต้น

กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด เป็นสภาพอันมุนีนั้นข่มเสียแล้ว ตั้งแต่กาลเบื้อง

ต้นเมื่อมุนีนั้นถึงความเป็นพระอรหันต์แล้ว กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด โมหะ

นิวรณ์ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา และทิฏฐิสัญญา เป็น

สภาพอันพระอรหันต์ละเสียแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึง

ความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด ย่อมไม่มีแก่มุนีผู้เว้นแล้วจาก

สัญญา.

[๓๗๒] คำว่า โมหะย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา

มีความว่า มุนีใดเจริญอริยมรรคมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น โมหะเป็นสภาพ

อันมุนีนั้นข่มเสียแล้วตั้งแต่กาลเบื้องต้น เมื่อมุนีนั้นถึงความเป็นพระ

อรหันต์แล้ว โมหะ กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด นิวรณ์ กามสัญญา

พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา ทิฏฐิสัญญา เป็นสภาพอันพระอรหันต์ละเสีย

แล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความ

ไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นจึง

ชื่อว่า โมหะย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา.

[๓๗๓] คำว่า ชนเหล่าใดยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่า

นั้นกระทบกระทั่งกันอยู่ ย่อมเที่ยวไปในโลก มีความว่า ชนเหล่า

ใดยังถือสัญญา คือกามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหญิงสาสัญญา ชนเหล่านั้น

ย่อมกระทบกระทั่งกัน คือเบียดเบียนกัน ด้วยสามารถแห่งสัญญา แม้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 837

พระราชา ก็ย่อมวิวาทกับพวกพระราชา แม้เป็นกษัตริย์ ก็ย่อมวิวาทกับ

พวกกษัตริย์ แม้เป็นพราหมณ์ ก็ย่อมวิวาทกับพวกพราหมณ์ แม้เป็น

คหบดี ก็ย่อมวิวาทกับพวกคหบดี แม้มารดาก็ย่อมวิวาทกับบุตร แม้บุตร

ก็ย่อมวิวาทกับมารดา แม้บิดาก็ย่อมวิวาทกับบุตร แม้บุตรก็ย่อมวิวาทกับ

บิดา แม้พี่ชายน้องชายก็ย่อมวิวาทกับพี่ชายน้องชาย แม้พี่สาวน้องสาวก็

ย่อมวิวาทกับ พี่สาวน้องสาว แม้พี่ชายน้องชายก็ย่อมวิวาทกับพี่สาวน้องสาว

แม้พี่สาวน้องสาวก็ย่อมวิวาทกับพี่ชายน้องชาย แม้สหายก็ย่อมวิวาทกับ

สหาย ชนเหล่านั้นถึงความทะเลาะแก่งแย่งวิวาทกัน ย่อมทำร้ายกันและ

กันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง ใน

เพราะวิวาทกันนั้น ชนเหล่านั้น ย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์ปางตาย

บ้าง ในเพราะการทำร้ายกันนั้น ชนเหล่าใดยังถึงทิฏฐิว่า โลกเที่ยง ฯลฯ

หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หา

มิได้ ชนเหล่านั้น ย่อมกระทบกระทั่งกัน คือเบียดเบียนกันด้วยสามารถ

แห่งทิฏฐิ กล่าวคือ ย่อมกระทบกระทั่งศาสดาแต่ศาสดา ย่อมกระทบ

กระทั่งการบอกธรรมแก่การบอกธรรม ย่อมกระทบกระทั่งคณะแต่คณะ

ย่อมกระทบกระทั่งทิฏฐิแต่ทิฏฐิ ย่อมกระทบกระทั่งปฏิปทาแต่ปฏิปทา

ย่อมกระทบกระทั่งมรรคแต่มรรค.

อีกอย่างหนึ่ง ชนเหล่านั้นย่อมวิวาทกัน คือทำความทะเลาะกัน

ทำความหมายมั่นกัน ทำความแก่งแย่งกัน ทำความวิวาทกัน ทำความ

มุ่งร้ายกัน ว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้อง

วาทะ ถ้าท่านสามารถ ชนเหล่านั้นยังละอภิสังขารไม่ได้ เพราะยังละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 838

อภิสังขารไม่ได้ จึงกระทบกระทั่งกันในคติ คือย่อมกระทบกระทั่งกันใน

นรกย่อมกระทบกระทั่งกันในกำเนิดดิรัจฉาน ย่อมกระทบกระทั่งกันใน

เปรตวิสัย ย่อมกระทบกระทั่งกันในมนุษยโลก ย่อมกระทบกระทั่งกันใน

เทวโลกย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนคติด้วยคติ ย่อมกระทบกระทั่งเบียด

เบียนอุปบัติด้วยอุปบัติ ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนปฏิสนธิด้วยปฏิสนธิ

ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนภพด้วยภพ ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียน

สงสารด้วยสงสาร ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนวัฏฏะด้วยวัฏฏะ กระทบ

กระทั่งกันอยู่ย่อมเที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษาบำรุง

ยังชีวิตให้เป็นไป. คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก

เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชน

เหล่าใดยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้นกระทบกระทั่งกันอยู่

ย่อมเที่ยวไปในโลก เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด ย่อมไม่มีแก่มุนีผู้เว้นแล้ว

จากสัญญา โมหะย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา

ชนเหล่าใด ยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้นกระทบ

กระทั่งกันอยู่ย่อมเที่ยวไปในโลก.

จบ มาคันทิยสุตตนิทเทสที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 839

อรรถกถามาคันทิยสุตตนิทเทส

ในมาคันทิยสุตตนิทเทสที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ พึงทราบความใน

คาถาแรกก่อนว่า แม้เพียงความพอใจในเมถุนก็มิได้มี เพราะเห็นธิดามาร

คือนางตัณหา นางอรดี และนางราคา ผู้เนรมิตรูปต่าง ๆ มาอย่างใคร่จัด

ที่โคนไม้อชปาลนิโครธ แล้วเหตุไรความพอใจในเมถุนจักมีเพราะเห็นรูป-

นี้ที่เต็มไปด้วยมูตรและกรีสของทาริกานี้เล่า เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องรูป

นั้นด้วยประการทั้งปวงแม้ด้วยเท้า การอยู่ร่วมกับรูปนั้นจักมีแต่ไหน.

บทว่า มุตฺตปุณฺณ ความว่า เต็มด้วยมูตรที่ตั้งอยู่เต็มภายใน

กระเพาะปัสสาวะ ด้วยสามารถแห่งอาหารและฤดู.

บทว่า กรีสปุณฺณ ความว่า เต็มด้วยวัจจะที่ตั้งอยู่ปลายไส้ใหญ่

สูงขึ้นไปประมา ๘ องคุลี ระหว่างนาภีกับ กระดูกสันหลังส่วนล่าง กล่าว

คือกระเพาะอาหารเก่า.

บทว่า เสมฺหปุณฺณ ความว่า เต็มด้วยเสมหะประมาณแล่งหนึ่ง

ซึ่งตั้งอยู่ที่พื้นห้อง.

บทว่า รุหิรปุณฺณ ความว่า เต็มด้วยเลือด ๒ อย่าง กล่าวคือ

เลือดที่สั่งสมไว้ประมาณเต็มบาตรใบ ๑ เต็มส่วนล่างของตับแล้วค่อย ๆ

ไหลไปในหัวใจม้ามและปอด ทำม้ามหัวใจตับและปอดให้ชุ่มตั้งอยู่อย่าง

หนึ่งกล่าวคือเลือดเครื่องแล่นไป ซึ่งแผ่ไปทั่วร่างที่มีใจครอง โดยแล่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 840

ไปตามเส้นเลือด เว้นที่ผม ขน เล็บ ฟันพ้นจากเนื้อ และหนังด้าน

หนังแห้ง ตั้งอยู่อย่างหนึ่ง

บทว่า อฏฺิสงฺฆาต ความว่าเบื้องต่ำในสรีระทั้งสิ้นมีกระดูกกว่า

สามร้อยท่อนอยู่เบื้องบนกระดูกทั้งหลาย กระดูกเหล่านั้นติดต่อกัน.

บทว่า นหารุสมฺพนฺธ ความว่า ในสรีระทั้งสิ้นมีเส้นเอ็น ๙๐๐

ผูกพันกระดูกทั้งหลายไว้ ผูกพัน คือผูกรัดด้วยเส้นเอ็นเหล่านั้น.

บทว่า รุหิรมสเลปน ความว่า สรีระที่ฉาบด้วยเลือดเครื่องแล่น

ไป และด้วยชิ้นเนื้อเก้าร้อยชิ้นซึ่งตั้งฉานทาบกระดูกกว่า ๓๐๐ ท่อนไว้.

บทว่า จมฺมวินทฺธ ความว่า หนึ่งซึ่งตั้งอยู่ใต้ผิว บนพังผืดที่

ป่า ปกปิดสรีระทั้งสิ้น อันหนังนั้นหุ้มห่อไว้คือปกปิดไว้ บาลี

จมฺมาวนทธ ก็มี.

บทว่า ฉวิยา ปฏิจฺฉนฺน ความว่า อันผิวหนังที่ละเอียดยิ่งปิดบัง

คือปกปิดไว้.

บทว่า ฉิทฺทาวฉิทฺท ความว่า มีช่องไม่น้อย.

บทว่า อุคฺฆรึ ความว่า ไหลเข้าทางตาและปากเป็นต้น.

บทว่า ปคฺฆรึ ความว่า ไหลออกทางส่วนเบื้องต่ำ.

บทว่า กิมิสฆนิเสวิต ความว่า อันหมู่สัตว์ที่มีชาติเดียวกันต่าง ๆ

มีพวกปากเข็มเป็นต้นอาศัยแล้ว.

บทว่า นานากลิมลปริปูร ความว่า เต็มไปด้วยส่วนที่ไม่สะอาด

หลายอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 841

ลำดับนั้น มาคันทิยพราหมณ์กล่าวคาถาที่ ๒ เพื่อจะทูลถามว่า

ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลายละกามที่เป็นของมนุษย์แล้ว ย่อมบวชเพื่อต้อง

การ กามอันเป็นทิพย์ ก็สมณะนี้ไม่ปรารถนากามแม้เป็นทิพย์ แม้นี้ก็เป็น

อิตถีรัตน์ สมณะนี้มีทิฏฐิอย่างไรหนอ ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตาทิสญฺจ รตน พราหมณ์มาคันทิยะ

กล่าวหมายเอาอิตถีรัตน์ที่เป็นทิพย์.

บทว่า นารึ หมายเอาธิดาของตน.

บทว่า ทิฏฺิคต สีลพฺพต นุชีวิต ความว่าทิฏฐิ ศีล วัตร

และชีวิต.

บทว่า ภวูปปตฺติญฺจ วเทสิ กีทิส ความว่า หรือท่านกล่าว

อุบัติภพของตนว่าเป็นเช่นไร ?

คาถา ๒ คาถาต่อจากนี้ มีความเกี่ยวเนื่องปรากฏแล้วทีเดียว เพราะ

เป็นไปโดยนัยแห่งการวิสัชนาและปุจฉา บรรดาคาถา ๒ คาถาเหล่านั้น

คาถาแรกมีเนื้อความย่อว่า ดูก่อนมาคันทิยะการตกลงในธรรมคือทิฏฐิ

๖๒ แล้วถือมั่นว่า เรากล่าวสิ่งนี้อย่างนี้ว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า

ดังนี้ มีอยู่หามิได้ คือ ย่อมไม่มี ไม่ประสบแก่เรานั้น เพราะเหตุไร

เพราะเมื่อเราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ถือมั่นทิฏฐิอะไร ๆ เมื่อเลือก

เฟ้นสัจจะทั้งหลายอยู่ ได้เห็นนิพพานกล่าวคือความสงบภายใน เพราะ

ความที่กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นในภายในสงบแล้ว.

บทว่า อาทีนว ได้แก่ อันตราย.

บทว่า สทุกฺข ความว่า มีทุกข์ ด้วยทุกข์ทางกาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 842

บทว่า สิวฆาต ความว่า มีทุกข์ด้วยทุกข์ทางใจ.

บทว่า สอุปายส ความว่า ประกอบด้วยความคับแค้น.

บทว่า สปริฬาห ความว่า เป็นไปด้วยความกระวนกระวาย.

บทว่า น นิพฺพิทาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อต้องการความเบื่อ

หน่ายในวัฏฏะ.

บทว่า น วิราคาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อต้องการความคลาย

กำหนัดในวัฏฏะ.

บทว่า น นิโรธาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อดับวัฏฏะ.

บทว่า น อุปสมาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อเข้าไปสงบวัฏฏะ.

บทว่า น อภิญฺาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่งพระนิพพาน.

บทว่า น สมฺโพธาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อรู้แจ้งวัฏฏะด้วย.

บรรลุถึงความดับกิเลส.

บทว่า น นิพฺพานาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์คือ

อมตนิพพาน ก็บทว่า นิพฺพิทาย ในที่นี้ได้แก่ วิปัสสนา.

บทว่า วิราคาย ได้แก่มรรค.

บทว่า นิโรธาย อุปสมาย ได้แก่นิพพาน.

บทว่า อภิญฺาย สมฺโพธาย ได้แก่ มรรค.

บทว่า นิพฺพานาย ได้แก่นิพพานนั่นเอง. วิปัสสนาท่านกล่าวใน

ฐานะเดียว มรรคท่านกล่าวในฐานะ ๓ นิพพานท่านกล่าวในฐานะ ๓

ด้วยประการอย่างนี้แล. พึงทราบกถาว่าด้วยการกำหนดด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 843

ก็โดยปริยาย บทเหล่านี้แม้ทั้งหมด ย่อมเป็นไวพจน์ของมรรคบ้าง เป็น

ไวพจน์ของนิพพานบ้างนั่นแล.

บทว่า อชฺฌตฺต ราคสฺส สนฺตึ ความว่า ได้เห็นนิพพานกล่าว

คือความสงบภายในเพราะความที่ราคะภายในสงบแล้วดับแล้ว แม้ในบทว่า

โทสสฺส สนฺตึ เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

บทว่า ปจิน เป็นบทอุทเทสของบทที่จะต้องชี้แจง.

บทว่า วิจินนฺโต ความว่า ยังสัจจะทั้งหลายให้เจริญคือให้เป็น

แจ้ง.

บทว่า ปวิจินนฺโต ความว่ายังสัจจะเหล่านั้นนั่นแลให้เป็นแจ้ง

เฉพาะอย่าง อาจารย์บางพวกพรรณนาว่า แสวงหาอยู่.

บทว่า อทฺทส ความว่า แลดูแล้ว.

บทว่า อทฺทกฺขึ ความว่า แทงตลอดแล้ว.

บทว่า อผุสึ ความว่า ถูกต้องด้วยปัญญา.

บทว่า ปฏิวิชฺฌึ ความว่า ได้กระทำให้ประจักษ์ด้วยญาณ.

คาถาที่ ๒ มีเนื้อความย่อว่า ทิฏฐิเหล่านั้นใดที่มาคันทิยพราหมณ์

กล่าวว่า วินิจฺฉยา เพราะเหล่าสัตว์นั้น ๆ ตกลงใจถือเอาแล้ว. และว่า

ปกปฺปิตานิ โดยนัยมีภาวะอันปัจจัยทั้งหลายของตนปรุงแต่งเป็นต้น ท่าน

เป็นมุนีไม่ถือธรรมคือทิฏฐิเหล่านั้นเลย กล่าวคือบอกอรรถนั้นใดว่า ความ

สงบภายใน มาคันทิยพราหมณ์กล่าวแก่เราว่า ธีรชนทั้งหลายประกาศไว้

อย่างไรหนอ คืออรรถนั้นธีรชนทั้งหลายประกาศไว้อย่างไร นิทเทสแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 844

คาถานี้มีเนื้อความง่าย นอกจากบทที่เป็นปรมัตถ์. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า ย ปรมตฺถ ได้แก่ นิพพานอันสูงสุดใด.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงอุบายที่ธีรชนทั้งหลาย

ใช้เป็นเครื่องประกาศอรรถนั้นพร้อมทั้งธรรมที่เป็นฝ่ายตรงกันข้าม แก่

พราหมณ์นั้น จึงตรัสพระคาถาว่า น ทิฏฺิยา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธศีลและพรตภาย

นอกจากญาณที่ได้แต่สมาบัติ ด้วยพระดำรัสว่า น ทิฏฺิยา เป็นต้น

บัณฑิตพึงนำ ๓ บทแรกไปประกอบ อาห ศัพท์ ที่ตรัสไว้ในบทนี้ว่า

สุทฺธิมาห กับ อักษร ในที่ทุกแห่งแล้วพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า

ไม่กล่าว คือไม่บอกความหมดจดด้วยทิฏฐิ ก็ในบทนี้ฉันใด แม้ในบท

ต่อ ๆ ไปก็ฉันนั้น.

และในบทเหล่านั้น.

บทว่า อทิฏฺิยา นาห ความว่า ไม่กล่าวเว้นสัมมาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐.

บทว่า อสฺสุติยา ก็เหมือนกัน ความว่า ไม่กล่าวเว้นการฟัง.

บทว่า อาณา ความว่า เว้นกัมมัสสกตาญาณและสัจจานุโลมิกญาณ.

บทว่า อสีลตา ความว่า เว้นปาติโมกขสังวร.

บทว่า อพฺพตา ความว่า เว้นธุดงควัตร.

บทว่า โน ปิ เตน พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า เราไม่กล่าว

แม้ด้วยธรรมสักว่าทิฏฐิเป็นต้นแต่ละอย่างในบรรดาธรรมเหล่านั้น.

บทว่า เอเต จ นิสฺสชฺช อนุคฺคหาย ความว่า สละธรรมฝ่าย

ดำชนิดเป็นทิฏฐิเก่าเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยกระทำการถอนขึ้น และไม่ถือมั่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 845

แม้ธรรมฝ่ายขาวชนิดทิฏฐิเป็นต้นที่มีภายหลัง ด้วยการถึงความไม่ต้องถอน

ขึ้น.

บทว่า สนฺโต อนิสฺสาย ภว น ชปฺเป ความว่า เป็นผู้สงบ

ด้วยความเข้าไปสงบราคะเป็นต้น ด้วยการปฏิบัตินี้ ไม่อาศัยธรรมอะไร ๆ

ในจักษุเป็นต้น ไม่พึงหวังแม้ภพเดียว คือพึงเป็นผู้ไม่เริ่มตั้งใกล้เหตุ

อธิบายว่า นี้เป็นความสงบภายในของเขา.

บทว่า สวนมฺปิ อิจฺฉิตพฺพ ความว่า แม้การฟังด้วยสามารถแห่ง

สุตตะเป็นต้นก็พึงหวัง.

บทว่า สมฺภารา อิเม ธมฺมา ความว่า ธรรมเหล่านี้มีสัมมาทิฏฐิ

เป็นต้น เป็นสัมภาระ ด้วยอรรถว่าเป็นอุปการะ.

บทว่า กณฺหปกฺขิกาน ความว่า ไปในฝ่ายอกุศล.

บทว่า สมุคฺฆาตโต ปหาน อิจฺฉิตพฺพ ความว่า พึงหวังการ

ละโดยการกำจัดคือการถอนขึ้นโดยชอบ.

บทว่า เตธาตุเกสุ กุสเลสุ ธมฺเมสุ ความว่า ที่เกิดแต่ความ

ฉลาด เป็นไปในภูมิ ๓ กล่าวคือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ.

บทว่า อตมฺมยตา ได้แก่ ความปราศจากตัณหา.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว มาคันทิยพราหมณ์มิได้

กำหนดเนื้อความของพระดำรัสจึงกล่าวคาถาว่า โน เจ กิร เป็นต้น

อนึ่งพึงประกอบ อาห ศัพท์ กับ โน เจ กิร ศัพท์.

เห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า ถ้าบัณฑิตไม่กล่าว คือ ได้ยินว่า

ถ้าบัณฑิตไม่พูด ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 846

บทว่า โมมุห ได้แก่ ความหลงยิ่ง หรือความหลง.

บทว่า ปจฺเจนฺติ ความว่า ย่อมรู้. นิทเทสของคาถาแม้นี้ง่าย.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงอาศัยทิฏฐินั้น ปฏิเสธคำถาม

ของพราหมณ์นั้น จึงตรัสคาถาว่า ทิฏฺึ สุนิสฺสาย เป็นต้น คาถานั้น

มีเนื้อความว่า ดูก่อนมาคันทิยะ ท่านอาศัยทิฏฐิถามอยู่บ่อย ๆ ทิฏฐิเหล่าใด

ที่ท่านถอนขึ้นแล้ว ท่านมาสู่ความลุ่มหลงในทิฏฐิที่ท่านถอนขึ้นเหล่านั้น

นั่นแหละ ท่านไม่เห็นสัญญาที่ควรแม้น้อย แต่ธรรมนี้คือแต่ความสงบภาย

ในที่เรากล่าวแล้ว หรือแต่การปฏิบัติ หรือแต่ธรรมเทศนา เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงเห็นธรรมนี้แต่ความหลง.

บทว่า ลคฺคน นิสฺสาย ลคฺคน ความว่า ติดแน่นความเกี่ยว

ข้องทิฏฐิ.

บทว่า พนฺธน ได้แก่ ความผูกพันทิฏฐิ.

บทว่า ปลิโพธ ได้แก่ ความกังวลทิฏฐิ.

บทว่า อนุธการ ปกฺขนฺโตสิ ความว่า ท่านเป็นผู้เข้าไปแล้วสู่

ความมืดตื้อ.

บทว่า ยุตฺตสญฺ ความว่า สัญญาอันควรในสมณธรรม.

บทว่า ปตฺตสญฺ ความว่า สัญญาที่ได้เฉพาะแล้วในสมณธรรม.

บทว่า ลกฺขณสญฺ ความว่า สัญญาที่ให้รู้จัก.

บทว่า การณสญฺ ความว่า สัญญาในเหตุ.

บทว่า านสญฺ ความว่า สัญญาในการณ์.

บทว่า น ปฏิลภสิ ความว่า ย่อมไม่ประสบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 847

บทว่า กุโต าณ ความว่า ก็ท่านจักได้มรรคญาณด้วยเหตุอะไร.

บทว่า อนิจฺจ วา ความว่า เบญจขันธ์ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะ

อรรถว่า มีแล้วไม่มี.

บทว่า อนิจฺจสญฺานุโลม วา ความว่า สัญญาที่เกิดขึ้นว่า

เบญจขันธ์ทั้งหลายไม่เที่ยง ชื่อว่า อนิจจสัญญา ญาณที่อนุโลม คือไม่

ปฏิกูลแก่สัญญานั้น ชื่อว่า ญาณอันอนุโลมแก่อนิจจสัญญา ญาณนั้น คือ

อะไร ? คือ วิปัสสนาญาณ. แม้ญาณที่อนุโลมแก่ทุกขสัญญาและอนัตต-

สัญญา ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ก็และครั้นทรงแสดงการถึงความวิวาทด้วยความหลงใหลในทิฏฐิที่

ยึดถือไว้ แก่มาคันทิยพราหมณ์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงแสดงความที่พระองค์ผู้ปราศจากความลุ่มหลงในธรรมเหล่านั้น

และเหล่าอื่น เป็นผู้ไม่มีความวิวาท จึงตรัสคาถาว่า สโม วิเสสี เป็นต้น

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ผู้ใดย่อมสำคัญด้วยความถือตัวก็ตาม ด้วยทิฏฐิก็

ตามด้วยบุคคลก็ตาม โดยส่วน ๓ อย่างนั้น ผู้นั้นพึงวิวาทด้วยความถือตัว

นั้นด้วยทิฏฐินั้น หรือด้วยบุคคลนั้น แต่ผู้ใด อย่างตถาคต ไม่หวั่นไหว

ในเพราะความถือตัว ๓ อย่าง ความสำคัญว่า เราเสมอเขา เราดีกว่าเขา

หรือว่าเลวกว่าเขา ย่อมไม่มีแก่ผู้นั้น ปาฐะที่เหลือว่า น จ หีโน นิทเทส

ของคาถาแม้นี้ ก็ง่ายเหมือนกัน จะมีอะไรยิ่งขึ้นไป.

คาถาว่า สจฺจนฺติ โส เป็นต้นนั้น มีเนื้อความว่า บุคคลผู้เป็น

พราหมณ์โดยนัยมีความเป็นผู้ลอยบาปแล้วเป็นต้น นั้น คือ เห็นปานนั้น

คือ ละมานะและทิฏฐิได้แล้ว เช่น ตถาคต จะพึงกล่าวสิ่งอะไร คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 848

จะพึงพูดเรื่องอะไร หรือจะพึงพูดด้วยเหตุอะไร ว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง

หรือจะพึงวิวาท ด้วยมานะ ด้วยทิฏฐิ หรือด้วยบุคคลอะไร ว่า ของเรา

จริง ของท่านเท็จ ความสำคัญว่าเสมอเขา โดยเป็นไปว่า เราเสมอเขา

หรือความสำคัญว่าไม่เสมอเขา โดยเป็นไปด้วยความเป็น ๒ อย่างคือดีกว่า

เขาและเลวกว่าเขา นอกนี้ย่อมไม่มีในพระขีณาสพใด คือเช่นตถาคต

พระขีณาสพนั้นจะพึงโต้ตอบวาทะด้วยเหตุมีความเป็นผู้ถือตัวเป็นต้น

อะไรเล่า นิทเทสของคาถาแม้นี้ก็ง่าย.

บุคคลเห็นปานนี้ พึงทราบอย่างแน่ชัดทีเดียวมิใช่หรือ คาถาว่า

โอกมฺปหาย เป็นต้น พึงทราบดังต่อไปนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกมฺปหาย ความว่า รูปธาตุเป็นต้น

เป็นที่อยู่ของวิญญาณ ละทิ้งด้วยการละฉันทราคะในรูปธาตุเป็นต้นนั้น.

บทว่า อนิเกตสารี ความว่า ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่คือรูปนิมิต

เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งตัณหา.

บทว่า กาเม อกุพฺพ มุนิ สนฺถวานี ความว่า ไม่กระทำความ

เชยชิดอย่างคฤหัสถ์ในกาม.

บทว่า กาเมหิ ริตฺโต ความว่า เป็นผู้ว่างจากกามทั้งปวง เพราะ

ไม่มีฉันทราคะในกามทั้งหลาย.

บทว่า อปุเรกฺขราโน ความว่า ไม่ยังอัตภาพให้บังเกิดยิ่งต่อไป.

บทว่า กถนฺนุ วิคฺคยฺห ชเนน กยิรา ความว่า พึงกล่าวคำ

แก่งแย่งกับด้วยชน.

บทว่า หลิทฺทกานิ ความว่า คหบดีผู้มีชื่ออย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 849

บทว่า เยน ในประโยคว่า เยนายสฺมา มหากจฺจาโน เตนู-

ปสงฺกมิ เป็นตติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ เพราะฉะนั้น

พึงเห็นเนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า พระมหากัจจานะอยู่ในที่ใด คหบดีเข้าไป

หาในที่นั้น.

อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลายเข้าไปหาพระมหากัจจานะด้วยเหตุใด คหบดีก็เข้าไปหาด้วยเหตุนั้น

อีกอย่างหนึ่ง คหบดีเข้าไปหาพระมหากิจจานะด้วยเหตุอะไร ด้วย

ความประสงค์บรรลุคุณวิเศษมีประการต่าง ๆ เหมือนต้นไม้ใหญ่ที่ผลิตดอก

ผลเป็นนิจ อันฝูงนกทั้งหลายเข้าไปหาด้วยความประสงค์กินผลที่ดี.

บทว่า อุปสงฺกมิ มีอธิบายว่า เข้าไปใกล้.

บทว่า อุปสงฺกมิตฺวา เป็นบทแสดงความสิ้นสุดแห่งการเข้าไปหา

อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า ไปอย่างนั้น จากนั้นไปสู่ที่ระหว่างอาสนะ

กล่าวคือที่ใกล้พระมหากัจจานะ.

บทว่า อภิวาเทตฺวา ความว่า ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ บัดนี้

คหบดีประสงค์จะถามถึงประโยชน์ที่เป็นเหตุให้ตนมาสู่ที่บำรุงพระมหา-

กัจจานะ จึงนั่งประคองอัญชลีที่รุ่งเรื่องด้วยประชุมสิบนิ้วไว้เหนือศีรษะ

อยู่ ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง.

บทว่า เอกมนฺต เป็นภาวนปุงสกนิทเทส เหมือนในประโยคว่า

พระจันทร์พระอาทิตย์เวียนไปไม่พร้อมกัน เป็นต้น เพราะฉะนั้น พึงเห็น

เนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า นั่งอย่างไร ? นั่งที่แห่งหนึ่ง คือนั่งอย่างนี้ อีก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 850

อย่างหนึ่ง บทว่า เอกมนฺต นี้เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมี

วิภัตติ.

บทว่า นิสีทิ ความว่า สำเร็จการนั่ง จริงอยู่ เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิต เข้าไปหาผู้ที่เป็นที่ตั้งแห่งความเคารพ ย่อมนั่ง ณ

ที่ควรแห่งหนึ่ง ด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอาสนะและคหบดีนี้ก็เป็นคนหนึ่ง

ในบรรดาผู้ที่เป็นบัณฑิตเหล่านั้น ฉะนั้นจึงนั่ง ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง ก็นั่ง

อย่างไร ชื่อว่า นั่ง ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง เว้นโทษแห่งการนั่ง ๖ อย่าง คือ

ไกลเกินไป ๑ ใกล้เกินไป ๑ เหนือลม ๑ ที่สูง ๑ ตรงหน้าเกินไป ๑

ข้างหลังเกินไป ๑. นั่งไกลเกินไป ถ้าต้องการจะถาม จะต้องถามด้วยเสียง

ดัง, นั่งใกล้เกินไป จะทำการเสียดสี, นั่งเหนือลม จะเบียดเบียนหรือ

กลิ่นตัว, นั่งที่สูง ประกาศความไม่เคารพ นั่งตรงหน้าเกินไป ถ้าต้อง

การจะดู ก็จะต้องสวนตากัน, นั่งหลังเกินไป ถ้าต้องการจะดูก็จะต้องยื่น

คอดู, เพราะฉะนั้น คหบดีแม้นี้จึงนั่งเว้นโทษแห่งการนั่ง ๖ อย่าง เพราะ

เหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า เอกมนฺต นิสีทิ นั่ง ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า ได้กล่าวคำนี้ว่า วุตฺตมิท ภนฺเต

กจฺจาน ภควตา อฏฺกวคฺคิเย มาคนฺทิยปญฺเห ดังนี้ มาคันทิยปัญหา

มีอยู่ในปัญหานั้น อันมีมาในอัฏฐกวรรค.

บทว่า รูปธาตุ ประสงค์เอารูปขันธ์.

บทว่า รูปธาตุราควินิพนฺธ ความว่า ผูกพันไว้ด้วยราคะในรูป

ธาตุ.

บทว่า วิญฺาณ ได้แก่ กัมมวิญญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 851

บทว่า โอกสารี ความว่า ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่มีเรือนเป็นต้น. ถาม

ว่า ก็เหตุไรพระมหากัจจานะจึงไม่กล่าวในที่นี้ว่า วิญฺาณธาตุ โข

คหปติ ตอบว่า เพื่อกำจัดความหลงใหล.

ก็บทว่า โอโก โดยอรรถท่านกล่าวถึงปัจจัย กัมมวิญญาณที่เกิด

ก่อน ย่อมเป็นปัจจัยทั้งแก่กรรมวิญญาณ ทั้งแก่วิปากวิญญาณ ที่เกิดที่

หลัง และวิปากวิญญาณที่เกิดก่อน ย่อมเป็นปัจจัยทั้งแก่วิปากวิญญาณ

ทั้งแก่กัมมวิญญาณที่เกิดทีหลัง ฉะนั้น พึงมีความหลงใหลว่า วิญญาณใน

ที่นี้ ดวงไหนหนอ เพื่อกำจัดความหลงใหลนั้น พระมหากัจจานะจึงไม่

ถือเอาวิญญาณนั้นกระทำการแสดงไม่ให้ปนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าว

อภิสังขารและวิญญาณฐิติ ๔ ด้วยสามารถเป็นอารมณ์ของวิบาก แม้เพื่อ

แสดงอภิสังขารและวิญญาณฐิติเหล่านั้น จึงไม่เอาวิญญาณในที่นี้.

บทว่า อุปายุปาทานา ความว่า อุบาย ๒ ด้วยสามารถแห่งตัณหา

อุบายและทิฏฐิอุบาย อุปาทาน ๔ มีกามุปาทานเป็นต้น.

บทว่า เจตโส อธิฏานาภินิเวสานุสยา ความว่า เป็นเหตุยึด

มั่น เป็นเหตุถือมั่น และเป็นเหตุนอนเนื่อง แห่งอกุศลจิต.

บทว่า ตถาคตสฺส ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จริงอยู่ ความ

พอใจเป็นต้นเหล่านั้น อันพระขีณาสพทั้งหลายแม้ทั้งปวงละได้แล้วทีเดียว

แต่ความเป็นขีณาสพของพระศาสดาปรากฏยิ่งในโลก ฉะนั้น ท่านจึงกล่าว

คำว่า ตถาคต นี้โดยที่สุดเบื้องบน.

เพราะเหตุไร ? ท่านจึงถือเอาวิญญาณ ในบทว่า วิญฺาณธาตุยา นี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 852

เพื่อแสดงการละกิเลส เพราะในขันธ์ หรือขันธ์ ๕ ยังละกิเลสไม่ได้หมดที่

เดียว ฉะนั้น ท่านจึงถือเอาเพื่อแสดงการละกิเลส.

บทว่า เอว โข คหปติ อโนกสารี โหติ ความว่า พระตถาคต

ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่ด้วยกัมมวิญญาณ จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่ท่องเที่ยวไปสู่ที่อยู่

ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า รูปนิมิตฺตนิเกตสารวินิพนฺธา ความว่า รูปนั้นแลชื่อว่า

นิมิต ด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัยของกิเลสทั้งหลาย ชื่อว่าที่อยู่ ด้วยอรรถ

ว่า เป็นที่อยู่ กล่าวคือเป็นกิริยาแห่งอารมณ์ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ที่อยู่คือรูป

นิมิต ความท่องเที่ยวไปด้วย ความผูกพันด้วย ชื่อว่าความท่องเที่ยวไป

และความผูกพัน ท่านกล่าวความที่กิเลสทั้งหลายแผ่ไป และความผูกพัน

ของกิเลสทั้งหลาย แม้ด้วยบททั้งหลาย ความท่องเที่ยวไปและความผูกพัน

ในที่อยู่คือรูปนิมิต ชื่อว่า ความท่องเที่ยวไปและความผูกพันในที่อยู่คือ

รูปนิมิต เพราะฉะนั้น จึงเป็นความท่องเที่ยวไปและความผูกพันในที่อยู่

คือรูปนิมิต อธิบายว่า ด้วยความท่องเที่ยวไปของกิเลส และด้วยความ

ผูกพันของกิเลสที่เกิดขึ้นในที่อยู่คือรูปนิมิต.

บทว่า นิเกตสารีติ วุจฺจติ ความว่า เรียกว่า ความท่องเที่ยวไป

ในที่อยู่ ด้วยอรรถว่า เป็นที่อยู่อาศัย ด้วยสามารถแห่งการการทำอารมณ์.

บทว่า ปหีนา ความว่า ความท่องเที่ยวไปและผูกพันของกิเลส

ในที่อยู่คือรูปนิมิตเหล่านั้น พระตถาคตละได้แล้ว.

ก็เหตุไรในที่นี้ ท่านจึงเรียก เบญจขันธ์ ว่า โอก เรียกอารมณ์

๖ ว่า นิเกต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 853

ก็ในเพราะความวิเสสด้วยอรรถว่าอาลัย ของเบญจขันธ์และอารมณ์

เหล่านั้นแม้ที่มีอยู่เพราะฉันทราคะมีกำลังและมีกำลังน้อย ท่านจึงเรียกเรือน

ล้วน ๆ นั่นแหละว่า โอก โดยตรง.

บทว่า นิเกต ได้แก่ อุทยานเป็นที่อยู่อาศัยเป็นต้น ของผู้ที่

กำหนดหมายกันไว้ว่า วันนี้พวกเราจักเล่นในที่โน้น ในข้อนั้นฉันทราคะ

ในเรือนที่ประกอบ ด้วย บุตร ภรรยา และข้าวเปลือก ย่อมมีกำลัง

ฉันใด ในขันธ์ทั้งหลายที่เป็นไปในภายใน ก็ฉันนั้น เหมือนอย่างว่า

ฉันทราคะในที่อุทยานเป็นต้นมีกำลังน้อยกว่าฉันทราคะในเรือนนั้น ฉันใด

ในอารมณ์ ๖ ภายนอก ก็ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ท่านแสดง

เทศนาอย่างนี้เพราะความที่ฉันทราคะมีกำลังและมีกำลังน้อย.

บทว่า สุขิเตสุ สุขิโต ความว่า เมื่อพวกอุปัฏฐากมีความสุข

ด้วยสามารถแห่งทรัพย์ ข้าวเปลือก และลาภเป็นต้น ย่อมเป็นผู้มีความ

สุขด้วยความสุขอาศัยเรือนว่า บัดนี้ เราจักได้จีวรที่ชอบใจ โภชนะที่

ชอบใจเที่ยวเสวยสมบัติที่ถึงแล้วด้วยตนกับด้วยอุปัฏฐากเหล่านั้น.

บทว่า ทุกฺขิเตสุ ทุกฺขิโต ความว่า เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นแก่

อุปัฏฐากเหล่านั้นด้วยเหตุอะไร ๆ ก็ตาม ตนเองย่อมมีความทุกข์ถึง ๒ เท่า

บทว่า กิจฺจกรณีเยสุ ได้แก่ กรณียะกล่าวคือหน้าที่การงาน.

บทว่า โวโยค อาปชฺชติ ความว่า ตนเองย่อมถึงการบำเพ็ญ

ประโยชน์ คือความที่กิจเหล่านั้นอันตนพึงทำ,

บทว่า กาเมสุ ได้แก่ วัตถุกาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 854

บทว่า เอว โข คหปติ กาเมหิ อริตฺโต โหติ ความว่า

เป็นผู้ไม่เปล่าจากกิเลสกามทั้งหลาย คือไม่ว่าง เพราะมีกิเลสภายใน

อย่างนี้. ในฝ่ายขาว พึงทราบว่า เป็นผู้เปล่า คือว่าง เพราะไม่มีกิเลส

เหล่านั้น.

บทว่า ปุเรกฺขราโน ความว่า กระทำวัฏฏะไว้เบื้องหน้า.

บทว่า เอวรูโป สย เป็นต้น ความว่า ย่อมปรารถนาในรูปทั้ง

หลายมีรูป สูง ต่ำ ดำ ขาว เป็นต้น ว่าขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ ย่อม

ปรารถนาในเวทนาทั้งหลายมีสุขเวทนาเป็นต้น ว่า ขอเราพึงมีเวทนา

อย่างนี้ ย่อมปรารถนาในสัญญาทั้งหลาย มีนีลสัญญาเป็นต้น ว่า ขอเรา

พึงมีสัญญาอย่างนี้ ย่อมปรารถนาในสังขารทั้งหลายมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น

ว่า ขอเราพึงมีสังขารอย่างนี้ ย่อมปรารถนาในวิญญาณทั้งหลายมีจักษุ

วิญญาณเป็นต้นว่า ขอเราพึงมีวิญญาณอย่างนี้.

บทว่า อปุเรกฺขราโน ความว่า ไม่การทำวัฏฏะไว้เบื้องหน้า.

บทว่า สหิตมฺเม อสหิตนฺเต ความว่า คำของท่านไม่มีประโยชน์

ไม่สละสลวย คำของข้าพเจ้ามีประโยชน์ สละสลวย หวานเหมือนน้ำผึ้ง.

บทว่า อธิจิณฺณนฺเต วิปราวตฺต ความว่า คำใดที่ท่านสะสม

ฝึกฝนเป็นเวลานานคล่องแคล่วดี คำนั้นทั้งหมดเปลี่ยนแปลงกลับไปชั่วขณะ

เพราะอาศัยวาทะของเรา.

บทว่า อาโรปิโต เต วาโท ความว่า เรายกโทษของท่านขึ้น

แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 855

บทว่า จร วาทปฺปโมกฺขาย ความว่า ท่านจงเข้าไปหาอาจารย์

นั้น ๆ แสวงหาที่เก่ง ๆ เดินทางเที่ยวไปเพื่อเปลื้องวาทะนี้.

บทว่า นิพฺเพเธหิ วา สเจ ปโหสิ ความว่า ถ้าท่านสามารถ

เองทีเดียว ก็จงแก้ไขเสียในที่นี้นั่นแหละ คนแบบนี้นั้นน่าศึกษา.

คาถาว่า เยหิ วิวิตฺโต เป็นต้น พึงทราบดังต่อไปนี้ บรรดาบท

เหล่านั้น.

บทว่า เยหิ ความว่า จากทิฏฐิเป็นต้นเหล่าใด.

บทว่า วิวิตฺโต วิจเรยฺย ความว่า ว่างแล้วพึงเที่ยวไป.

บทว่า น ตานิ อคฺคยฺห วเทยฺย นาโค ความว่า บุคคลชื่อ

ว่านาคไม่พึงยึดถือทิฏฐิเหล่านั้นกล่าวโดยนัยว่า ไม่กระทำความชั่ว เป็นต้น.

บทว่า เอลมฺพุช ความว่า เกิดในน้ำกล่าวคือเอละ.

บทว่า กณฺฏกวาริช ความว่า ดอกบัวมีก้านเป็นหนาม มีอธิบาย

ว่า ปทุม.

บทว่า ยถา ชเลน ปงฺเกน จ นูปลิตฺต ความว่า ดอกบัวนั้น

อันน้ำเปือกตมไม่เข้าไปติด ฉันใด.

บทว่า เอว มุนิ สนฺติวโท อคิทฺโธ ความว่า มุนีผู้กล่าวความ

สงบภายใน ไม่ติดพัน เพราะไม่มีความติดพัน.

บทว่า กาเม จ โลเก จ อนูปลิตฺโต ความว่า เป็นผู้ไม่เข้า

ไปติดในกามแม้ ๒ อย่าง และในโลกมีอบายเป็นต้น ด้วยกิเลสทั้งหลาย ๒.

บทว่า อาคุ น กโรติ ความว่า ไม่การทำโทษมีอกุศลเป็นต้น.

บทว่า น คจฺฉติ ความว่า ย่อมไม่ถึงโทษด้วยอำนาจอคติ.

บทว่า นาคจฺฉติ ความว่า ไม่เข้าถึงกิเลสที่ละแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 856

บทว่า ปาปกา แปลด่า ลามก.

บทว่า อกุสลา ความว่า เกิดแต่ความเป็นผู้ไม่ฉลาด.

บทว่า เต กิเลเส น ปุเนติ ความว่า กิเลสเหล่าใด อันบุคคล

นั้นละได้แล้ว บุคคลนั้นย่อมไม่มาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก.

บทว่า น ปจฺเจติ ความว่า ไม่กลับเข้าถึง.

บทว่า น ปจฺจาคจฺฉติ ความว่า ไม่กลับมาอีก.

บทว่า ขรทณฺโฑ ความว่า ก้านของใบขรุขระ คือก้านหยาบ.

บทว่า จตฺตเคโธ ความว่า สละความติดพัน.

บทว่า วนฺตเคโธ ความว่า คายความติดพัน.

บทว่า มุตฺตเคโธ ความว่า ตัดความติดพันที่เป็นเครื่องผูกพัน.

บทว่า ปหีนเคโธ ความว่า ละความติดพัน.

บทว่า ปฏินิสฺสฏเคโธ ความว่า สละคืนความติดพันด้วยประ-

การที่ไม่งอกขึ้นสู่จิตอีก แม้ในบทว่าเป็นผู้มีความกำหนัดอันสละคืนแล้ว

เป็นต้น ต่อไปก็นัยนี้เหมือนกัน บทเหล่านั้นทั้งหมดนั่นแล เป็นไวพจน์

แสดงภาวะที่คุ้นเคยแห่ง คหิต ศัพท์ จะมีอะไรยิ่งขึ้นไป.

คาถาว่า น เวทคู เป็นต้น พึงทราบดังต่อไปนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เวทคู ทิฏฺิยา ความว่า มุนีผู้ถึง

เวทคือมรรค ๔ เช่นเราย่อมเป็นผู้ไม่ไปด้วยทิฏฐิ คือย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ

หรือไม่ย้อมมาสู่ทิฏฐินั้นโดยสาระ ในคำเหล่านั้นมีเนื้อความของคำ ดัง

ต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า ทิฏฺิยายก เพราะอรรถว่า ด้วยทิฏฐิ เป็นตติยาวิภัตติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 857

ชื่อว่า ทิฏฺิยายก เพราะอรรถว่า ไปสู่ทิฏฐิ เป็นทุติยาวิภัตติ.

แม้ที่เป็นฉัฏฐีวิภัตติ เป็น ทิฏฺิยา เพราะอรรถว่า การไปของ

ทิฏฐิ ก็มี.

บทว่า น มุติยา ส มานเมติ ความว่า มุนีนั้นย่อมไม่ถึงความ

ถือตัวแม้ด้วยอารมณ์ที่ทราบ ชนิดมีรูปที่เขาทราบเป็นต้น.

บทว่า น หิ ตมฺมโย โส ความว่า เป็นผู้ไม่มีตัณหา คือเป็นผู้

ไม่มีตัณหานั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ด้วยสามารถแห่งตัณหาและทิฏฐิ แต่

ผู้นี้ไม่เป็นเช่นนั้น.

บทว่า น กมฺมุนา นาปิ สุเตน เนยฺโย ความว่า มุนีนั้น

ย่อมไม่เป็นผู้อันกรรมมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น หรือเสียงที่ได้ยินมีความ

หมดจดที่ได้ยินเป็นต้น นำไปได้.

บทว่า อนูปนีโต ส นิเวสเนสุ ความว่า มุนีนั้นเป็นผู้อัน

ตัณหาและทิฏฐิไม่นำเข้าไปแล้วในที่อาศัย คือตัณหาและทิฏฐิทั้งปวง เพราะ

ละความนำเข้าไปทั้งสองได้แล้ว.

กลิ่น รส และโผฏฐัพพะชื่อว่ารูปที่เขาทราบแล้ว ในบทว่า มุตรูเปน

วา นี้.

บทว่า มาน เนติ ความว่า ย่อมไม่ถึงอัสมิมานะการถือเราถือเขา.

บทว่า น อุเปติ ความว่า ย่อมไม่มาสู่ที่ใกล้.

บทว่า น อุปคจฺฉติ ความว่า ย่อมไม่เข้าไปตั้งอยู่.

บทว่า ตมฺมโย ได้แก่ การทำความอิ่มใจ และแก่มุนีนั้นผู้เป็น

อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 858

คาถาว่า สญฺาวิรตฺตสฺส เป็นต้น พึงทราบดังต่อไปนี้ บรรดา

บทเหล่านั้น.

บทว่า สญฺาวิรตฺตสฺส ความว่า แก่มุนีผู้ละกามสัญญาเป็นต้น

ด้วยภาวนาซึ่งมีเนกขัมมสัญญาเป็นสภาพถึงก่อน ด้วยบทนี้ ท่านประสงค์

เอาผู้มีสมถะเป็นยานซึ่งเป็นอุภโตภาควิมุต.

บทว่า ปฺาวิมุตฺตสฺส ความว่า แก่มุนีผู้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง

ด้วยภาวนาซึ่งมีวิปัสสนาเป็นสภาพถึงก่อน ด้วยบทนี้ ท่านประสงค์เอา

ผู้เป็นสุกขวิปัสสก.

บทว่า สญฺญฺจ ทิฏฺิญฺจ เย อคฺคเหสุ เต ฆฏฺฏมานา

วิวทนฺติ โลเก ความว่า ก็ชนเหล่าใดยังถือสัญญามีกามสัญญาเป็นต้น

ชนเหล่านั้น โดยเฉพาะพวกคฤหัสถ์ยังถือทิฏฐิซึ่งมีกามเป็นเหตุนั่นแหละ

ชนเหล่านั้นโดยเฉพาะพวกบรรพชิต ย่อมกระทบกระทั่งวิวาทกันและกัน

มีธรรมเป็นเหตุ.

บทว่า โย สมถปุพฺพงฺคม อริยมคฺค ภาเวติ ความว่า บุคคล

ใดกระทำสมถะให้เป็นสภาพถึงก่อน คือให้เป็นปุเรจาริก เจริญอริยมรรค

พร้อมวิปัสสนา ยังสมาธิให้เกิดขึ้นก่อน ยังอริยมรรคพร้อมวิปัสสนาให้เกิด

ขึ้นภายหลัง.

บทว่า ตสฺส อาทิโต ความว่า อันบุคคลนั้นข่มเสียแล้วแต่ปฐม-

ฌานเป็นต้น.

บทว่า อุปาทาย ความว่า อิงแล้ว อาศัยแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 859

บทว่า คนฺถา วิกฺขมฺภิตา โหนฺติ ความว่า กิเลสเป็นเครื่อง

ร้อยรัด ย่อมเป็นของอันบุคคลนั้นกระทำให้ไกลแล้ว.

บทว่า อรหตฺตปฺปตฺเต บรรลุอรหัตตผล.

บทว่า อรหโต ความว่า ผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล กิเลสทั้งปวงมี

กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดและโมหะเป็นต้น ย่อมเป็นสภาพอันพระอรหันต์

ละเสียแล้ว.

บทว่า โย วิปสฺสนาปุพพงฺคม อริยมคฺค ภาเวติ ความว่า

บุคคลใดกระทำวิปัสสนาให้เป็นสภาพถึงก่อน คือให้เป็นปุเรจาริก เจริญ

อริยมรรค ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้นก่อน เจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอริยมรรค

ภายหลัง.

บทว่า ตสฺส อาทิโต อุปาทาย ความว่า อันบุคคลนั้นอาศัย

วิปัสสนาจำเดิมแต่เห็นแจ้ง.

บทว่า ภิกฺขมฺภิตา ในบทว่า โมหา วิกฺขมฺภิตา โหนฺติ นี้

ความว่า ให้ถึงที่ไกล.

บทว่า สญฺาวเสน ฆฏฺเฏนฺติ ความว่า ชนเหล่าใดยังถือกาม

สัญญาเป็นต้น ชนเหล่านั้นย่อมเบียดเบียนกันด้วยสามารถแห่งสัญญา.

บทว่า สงฺฆฏฺเฏนฺติ ความว่า ย่อมเบียดเบียนกันกว่านั้น ๆ.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงเหล่าชนที่เบียดเบียนกัน ท่านจึงกล่าวความ

พิสดาร โดยนัยว่า ราชาโนปิ ราชูหิ วิวทนฺติ เป็นต้น.

ในบทว่า อญฺมญฺ ปาณีหิปิ อุปกฺกมนฺติ ความว่า ย่อม

ประหารกันและกันด้วยมือทั้งสอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 860

บทว่า เลฑฺฑูหิ ได้แก่ ด้วยก้อนดิน.

บทว่า ทณฺเฑหิ ได้แก่ ด้วยไม้พอง.

บทว่า สตฺเถหิ ได้แก่ ด้วยศัสตราสองคม.

บทว่า อภิสงฺขาราน อปฺปหีนตฺตา ความว่า เพราะความที่ยัง

ละปุญญาภิสังขารเป็นต้นไม่ได้.

บทว่า คติยา ฆฏฺเฏนฺติ ความว่า ย่อมเบียดเบียนกัน คือ ย่อม

ถึงความกระทบกระทั่งกัน ในคติอันเป็นที่พึ่งซึ่งจะต้องไป แม้ในนรก

เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน คำที่เหลือในที่นี้ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าว

แล้ว.

สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถามหานิทเทส

อรรถกถา มาคันทิยสุตตนิทเทส

จบ สูตรที่ ๙