ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย ชาดก

เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปัญญาสนิบาตชาดก

๑. นฬินิกาบาตชาดก

ว่าด้วยราชธิดาทำลายตบะของดาบส

[๑] ชนบทเร่าร้อนอยู่ แม้รัฐก็จะพินาศ ดูก่อน

ลูกนฬินิกา มานี่เถิด เจ้าจงไปนำพราหมณ์ผู้นั้นมา

ให้เรา.

[๒] ข้าแต่พระราชบิดา หม่อมฉันทนความ

ลำบากไม่ได้ ทั้งไม่รู้จักหนทาง จะไปยังป่าที่ช้างอยู่

อาศัยได้อย่างไรเล่า เพคะ.

[๓] ดูก่อนลูกนฬินิกา เจ้าจงไปอยู่ชนบทที่

เจริญด้วยช้าง ด้วยรถ ด้วยยานที่ต่อด้วยไม้ เจ้าจง

ไปด้วยอาการอย่างนี้เถิดลูก เจ้าจงพากองช้าง กองม้า

กองรถ กองพลราบไปแล้ว จักนำพราหมณ์ผู้นั้นมา

สู่อำนาจได้ด้วยผิวพรรณ และรูปสมบัติของเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

[๔] อาศรมของอิสิสิงคดาบสนั้น ปรากฏด้วย

ธง คือ ต้นกล้วย แวดล้อมด้วยต้นสมอ เป็นที่น่า

รื่นรมย์ นั่นคือแสงไฟ นั่นคือควันเห็นปรากฏอยู่

อิสิสิงคดาบสผู้มีฤทธิ์มากเห็นจะไม่ทำให้ไฟเสื่อม.

[๕] อิสิสิงคดาบสเห็นพระราชธิดา ผู้สวมใส่

กุณฑลแก้วมณีเสด็จมาอยู่ กลัวแล้ว เข้าไปสู่อาศรม

ที่มุงด้วยใบไม้ ส่วนพระราชธิดาแสดงอวัยวะอันซ่อน

เร้น และอวัยวะที่ปรากฏ เล่นลูกข่างอยู่ที่ประตูอาศรม

ของดาบสนั้น ฝ่ายดาบสผู้อยู่ในบรรณศาลา เห็น

พระนางกำลังเล่นลูกข่างอยู่ จึงออกจากอาศรมแล้ว

ได้กล่าวคำนี้ว่า

[๖] ดูก่อนท่านผู้เจริญ ต้นไม้ของท่านที่มีผล

เป็นไปอย่างนี้ มีชื่อว่าอะไร แม่ท่านขว้างไปไกลก็

กลับมา มิได้ละท่านไป.

[๗] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ต้นไม้ที่มีผลเป็นไป

อย่างนี้นั้น มีอยู่มากที่เขาคันธมาทน์ ที่ใกล้อาศรม

ของข้าพเจ้า ผลไม้นั้นแกแม้ข้าพเจ้าว่างไปไปไกลกำลัง

มา ไม่ละข้าพเจ้าไปเลย.

[๘] เชิญท่านผู้เจริญจงเข้ามาสู่อาศรมนี้ จงบริ-

โภค จงรับน้ำมันและภักษา เราจักให้ นี้อาสนะ

เชิญท่านนั่งบนอาสนะนี้ เชิญบริโภคเหง้ามันและ

ผลไม้แต่ที่นี้เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

[๙] ที่ระหว่างขาอ่อนทั้งสองของท่านนี้เป็น

อะไร มีสัณฐานเรียบร้อย ปรากฏดุจสีดำ เราถาม

ท่านแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า อวัยวะ

ส่วนยาวของท่านเข้าไปอยู่ในฝักหรือหนอ.

[๑๐] ข้าพเจ้านี้เที่ยวแสวงหามูลผลาหารในป่า

ได้พบหมีมีรูปร่างน่ากลัวยิ่งนัก มันวิ่งไล่ข้าพเจ้ามา

โดยเร็ว มาทันเข้าแล้วทำให้ข้าพเจ้าล้มลงแล้วมันกัด

อวัยวะส่วนยาวของข้าพเจ้า แผลนั้นก็เหวอะหวะ และ

เกิดคันขึ้น ข้าพเจ้าไม่ได้ความสบายตลอดกาลทั้งปวง

ท่านคงสามารถกำจัดความคันนี้ได้ ข้าพเจ้าวิงวอนแล้ว

ขอท่านได้โปรดกระทำประโยชน์ให้แก่ข้าพเจ้าผู้เป็น

พราหมณ์เถิด.

[๑๑] แผลของท่านลึก มีสีแดง ไม่เน่าเปื่อย

มีกลิ่นเหม็น และเป็นแผลใหญ่ เราจะประกอบกระ-

สายยาหน่อยหนึ่งให้ท่าน ดามที่ท่านจะพึงมีความสุข

อย่างยิ่ง.

[๑๒] ดูก่อนท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ การ

ประกอบมนต์ก็ดี การประกอบกระสายยาก็ดี โอสถ

ก็ดี ย่อมแก้ไม่ได้ ขอท่านจงเอาองคชาตอันอ่อนนุ่ม

ของท่านเสียดสีกำจัดความคัน ตามที่ข้าพเจ้าจะพึงมี

ความสุขอย่างยิ่งเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

[๑๓] อาศรมของท่านอยู่ทางทิศไหนแต่ที่นี้หนอ

ท่านย่อมรื่นรมย์อยู่ในป่าแลหรือ มูลผลาหารของท่าน

มีเพียงพอแลหรือ สัตว์ร้ายไม่เบียดเบียนท่านแลหรือ.

[๑๔] แม่น้ำชื่อ เขมา ย่อมปรากฏแต่ป่าหิมพานต์

ในทิศเหนือตรงไปแต่ที่นี้ อาศรมอันน่ารื่นรมย์ของ

ข้าพเจ้าอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำนั้น ท่านควรไปดูอาศรมของ

ข้าพเจ้าบ้าง ต้นมะม่วง ต้นรัง ต้นหมากเม่า ต้นหว้า

ต้นราชพฤกษ์ ต้นแคฝอย มีดอกบานสะพรั่ง ท่าน

ควรไปดูอาศรมของข้าพเจ้าซึ่งมีกินนรขับร้องอยู่โดย

รอบ ต้นตาลมูลมัน ผลไม้ที่อาศรมของเรานั้น มีผล

ประกอบด้วยสีและกลิ่น ท่านควรไปดูอาศรมของ

ข้าพเจ้า อันประกอบด้วยภูมิภาคสวยงานนั้นบ้าง

ผลไม้เหง้าไม้ ที่อาศรมของข้าพเจ้ามีมาก ประกอบ

ด้วยสี กลิ่น และรส พวกพรานย่อมมาสู่ประเทศนั้น

อย่าได้มาลักมูลผลาหารไปจากอาศรมของข้าพเจ้านั้น

เลย.

[๑๕] บิดาของเราไปแสวงหามูลผลาหาร จะ

กลับมาในเย็นวันนี้ เราทั้งสองจะไปสู่อาศรมนั้นได้

ต่อเมื่อบิดากลับมาจากการแสวงหามูลผลาหาร.

[๑๖] พราหมณ์ ฤาษี และราชฤาษี ผู้มีรูปสวย

เหล่าอื่นเป็นอันมาก ย่อมอยู่ใกล้ทางโดยลำดับ ท่าน

พึงถามถึงอาศรมของข้าพเจ้ากะท่านพวกนั้นเถิด ท่าน

พวกนั้นจะพาท่านไปในสำนักของข้าพเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

[๑๗] ฟืนเจ้าก็ไม่หัก น้ำเจ้าก็ไม่ตัก แม้ไฟเจ้า

ก็ไม่ติด เจ้าอ่อนใจซบเซาอยู่ทำไมหนอ ดูก่อนเจ้าผู้

ประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อก่อนฟืนเจ้าก็หัก ไฟเจ้าก็

ติด แม้ไฟสำหรับผิงเจ้าก็จัดไว้ ตั่งเจ้าก็ตั้ง น้ำเจ้าก็

ตักไว้ไห้เรา วันอื่น ๆ เจ้าเป็นผู้ประเสริฐดีอยู่ วันนี้

เจ้าไม่หักฟืน ไม่ตักน้ำ ไม่ติดไฟ ไม่จัดเครื่องบริโภค

ไว้ ไม่ทักทายเรา ของอะไรของเจ้าหายไปหรือ หรือ

ว่าเจ้ามีทุกข์ในใจอะไร.

[๑๘] ชฎิลผู้ประพฤติพรหมจรรย์มาในอาศรมนี้

มีรูปร่างน่าดูน่าชม เอวเล็กเอวบาง ไม่สูงนัก ไม่ต่ำ

นัก รัศมีสวยงาม มีศีรษะปกคลุมด้วยผมอันดำเป็นเงา

งาม ไม่มีหนวด บวชไม่นาน มีเครื่องประดับเป็น

รูปเชิงบาตรอยู่ที่คอ มีปุ่มสองปุ่มงามเปล่งปลั่งดัง

ก้อนทองคำ เกิดดีแล้วที่อก หน้าของชฎิลนั้นน่าดูยิ่ง

นัก มีกรรเจียกจอนห้อยอยู่ที่หูทั้งสองข้าง กรรเจียก

เหล่านั้นย่อมแวววาว เมื่อชฎิลนั้นเดินไปมา สายพัน

ชฎาก็งามแพรวพราว เครื่องประดับเหล่าอื่นอีกสี่

อย่างของชฎิลนั้น มีสีเขียว เหลือง แดง และขาว

เมื่อชฎิลนั้นเดินไปมา เครื่องประดับเหล่านั้นย่อมดัง

กริ่งกร่างเหมือนฝูงนกติริฏิร้องในเวลาฝนตก ฉะนั้น

ชฎิลนั้นไม่ได้คาดเครื่องรัดเอวที่ทำด้วยหญ้าปล้อง ไม่

ได้นุ่งผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้ เหมือนของพวกเรา ผ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

เหล่านั้นพันอยู่ที่ระหว่างแข้งงามโชติช่วง ปลิวสะบัด

ดังสายฟ้าแลบอยู่ในอากาศ ข้าแต่ท่านพ่อ ชฎิลนั้น

มีผลไม่ไม่สุก ไม่มีขั้วติดอยู่ที่สะเอวภายใต้นาภี ไม่

กระทบกัน กระดกเล่นอยู่เป็นนิตย์ อนึ่ง ชฎิลนั้นมี

ชฎาน่าดูยิ่งนัก มีปลายงอนมากกว่าร้อย มีกลิ่นหอม

มีศีรษะอันแบ่งด้วยดีเป็นสองส่วน โอ ขอให้ชฎาของ

เราจงเป็นเช่นนั้นเถิดหนอ และในคราวใด ชฎิลนั้น

ขยายชฎาอันประกอบด้วยสี และกลิ่น ในคราวนั้น

อาศรมก็หอมฟุ้งไปเหมือนดอกอุบลเขียวที่ถูกลมรำเพย

พัด ฉะนั้น ผิวพรรณของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก ไม่เป็น

เช่นกับผิวพรรณที่กายของข้าพเจ้า ผิวกายของชฎิล

นั้นถูกลมรำเพยพัดแล้ว ย่อมหอมฟุ้งไป ดุจป่าไม้

อันมีดอกบานในปลายฤดูร้อน ฉะนั้น ชฎิลนั้นตีผลไม้

อันวิจิตรงามน่าดูลงบนพื้นดิน และผลไม่ที่ขว้างไป

แล้วย่อมกลับมาสู่มือของเขาอีก ข้าแต่ท่านพ่อ ผลไม้

นั้นชื่อผลอะไรหนอ อนึ่ง ฟันของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก

ขาวสะอาดเรียบเสมอกันดังสังข์อันขัดดีแล้ว เมื่อชฎิล

เปิดปากอยู่ย่อมยังใจให้ผ่องใส ชฎิลนั้น ไม่ได้เคี้ยวผัก

ด้วยฟันเหล่านั้นเป็นแน่ คำพูดของเขาไม่หยาบคาย

ไม่เคลื่อนคลาด ไพเราะ อ่อนหวาน ตรง ไม่ฟุ้งซ่าน

ไม่คลอนแคลน เสียงของเขาเป็นเครื่องฟูใจจับใจดัง

เสียงนกการเวก นำใจของข้าพเจ้าให้กำหนัดยิ่งนัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

เสียงของเขาหยดย้อย เป็นถ้อยคำไม่สะบัดสะบิ้ง ไม่

ประกอบด้วยเสียงพึมพำ ข้าพเจ้าปรารถนาจะได้เห็น

เขาอีก เพราะชฎิลนั้นเป็นมิตรของข้าพเจ้ามาก่อน

แผลที่ต่อสนิทดีเกลี้ยงเกลาในที่ทั้งปวงใหญ่ เกิดดีแล้ว

คล้ายกับกลีบบัว ชฎิลนั้นให้ข้าพเจ้าคร่อมตรงแผลนั้น

แหวกขาเอาแข้งบีบไว้ รัศมีซ่านออกจากกายของชฎิล

นั้น ย่อมเปล่งปลั่งสว่างไสวรุ่งเรือง ดังสายฟ้าอัน

แลบแปลบปลาบอยู่ในอากาศ ฉะนั้น อนึ่ง แขนทั้ง

สองของชฎิลนั้นอ่อนนุ่น มีขนเหมือนขนดอกอัญชัน

แม้มือทั้งสองของชฏิลนั้นก็ประกอบด้วยนิ้วมืออันเรียว

วิจิตรงดงาม ชฎิลนั้นมีอวัยวะไม่ระคาย มีขนไม่ยาว

เล็บยาว ปลายเป็นสีแดง ชฎิลนั้นมีรูปงาม กอดรัด

ข้าพเจ้าด้วยแขนทั้งสองอันอ่อนนุ่ม บำเรอให้รื่นรมย์

ข้าแต่ท่านพ่อ มือทั้งสองของชฏิลนั้นอ่อนนุ่มคล้าย

สำลี งามเปล่งปลั่ง พื้นฝ่ามือเกลี้ยงเกลาเหมือนแว่น

ทอง ชฎิลนั้นกอดรัดข้าพเจ้าด้วยมือทั้งสองนั้นแล้ว

ไปจากที่นี้ ย่อมทำให้ข้าพเจ้าเร่าร้อนด้วยสัมผัสนั้น

ชฎิลนั้นมิได้นำหาบมา มิได้หักฟืนเอง มิได้ฟันต้นไม้

ด้วยขวาน แม้มือทั้งสองของชฎิลนั้นก็ไม่มีความกระ-

ด้าง หมีได้กัดชฎิลนั้นเป็นแผล เธอจึงกล่าวกะข้าพเจ้า

ว่า ขอท่านช่วยทำให้ข้าพเจ้ามีความสุขเถิด ข้าพเจ้า

จึงช่วยทำให้เธอมีความสุข และความสุขก็เกิดมีแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

ข้าพเจ้าด้วย ข้าแต่ท่านผู้เป็นพรหม เธอได้บอก

ข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้ามีความสุขแล้ว ก็ที่อันปูลาดด้วย

ใบเถาย่างทรายของท่านนี้กระจุยกระจายแล้ว เพราะ

ข้าพเจ้าและชฎิลนั้น เราทั้งสองเหน็ดเหนื่อยแล้ว ก็

รื่นรมย์กันในน้ำแล้วเข้าสู่กุฎีอันมุงบังด้วยใบไม้บ่อยๆ

ข้าแต่ท่านพ่อ วันนี้มนต์ทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่

ข้าพเจ้าเลย การบูชาไฟข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย แม้การ

บูชายัญ ในที่นั้นข้าพเจ้าก็ไม่ชอบใจ ตราบใดที่

ข้าพเจ้ายังมิได้พบเห็นชฎิล ผู้ประพฤติพรหมจรรย์

ข้าพเจ้าจะไม่บริโภคมูลผลาหารของท่านพ่อเลย ข้าแต่

ท่านพ่อ แม้ท่านพ่อย่อมรู้เป็นแน่แท้ว่าชฎิลผู้ประพฤติ

พรหมจรรย์อยู่ทิศใด ขอท่านพ่อจงพาข้าพเจ้าไปให้

ถึงทิศนั้นโดยเร็วเถิด ข้าพเจ้าอย่าได้ตายเสียในอาศรม

ของท่านเลย ข้าแต่ท่านพ่อ ข้าพเจ้าได้ฟังถึงป่าไม้

อันวิจิตรมีดอกบาน กึกก้องไปด้วยเสียงนกร้อง มี

ฝูงนกอาศัยอยู่ ขอท่านพ่อช่วยพาข้าพเจ้าไปให้ถึงป่า

ไม้นั้นโดยเร็วเถิด ข้าพเจ้าจะต้องละชีวิตเสียก่อนใน

อาศรมของท่านพ่อเป็นแน่.

[๑๙] เราไม่ควรให้เจ้าผู้ยังเป็นเด็กเช่นนี้ ถึง

ความกระสันในป่าเป็นโชติรสนี้ ที่หมู่คนธรรพ์และ

เทพอัปสรส้องเสพเป็นที่อยู่อาศัยแห่งฤาษีทั้งหลาย ใน

กาลก่อน พวกมิตรย่อมีบ้าง ไม่มีบ้าง ชนทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

ย่อมทำความรักในพวกญาติและพวกมิตร กุมารใดย่อม

ไม่รู้ว่า เราเป็นผู้มาแต่ไหน กุมารนี้เป็นผู้ลามก อยู่

ในกลางวันเพราะเหตุอะไร มิตรสหายย่อมสนิทกัน

บ่อย ๆ เพราะความอยู่ร่วมกัน มิตรนั้นนั่นแหละย่อม

เสื่อมไป เพราะความไม่อยู่ร่วมของบุรุษที่ไม่สมาคม

ถ้าเจ้าได้เห็นพรหมจารี ได้พูดกับพรหมจารี เจ้าจัก

ละคุณคือตปธรรมนี้เร็วไว ดุจข้าวกล้าที่สมบูรณ์แล้ว

เสียไปเพราะน้ำมากฉะนั้น หากเจ้าได้เห็นพรหมจารี

อีก ได้พูดกับพรทมจารีอีก เจ้าจักละสมณเดชนี้เร็วไว

ดุจข้าวกล้าที่สมบูรณ์แล้วเสียไปเพราะน้ำมากฉะนั้น

ดูก่อนลูกรัก พวกยักษ์นั้นย่อมเที่ยวไปในมนุษยโลก

โดยรูปแปลก ๆ นรชนผู้มีปัญญาไม่พึงคบพวกยักษ์

นั้น พรหมจารีย่อมฉิบหายไป เพราะความเกาะเกี่ยว

กัน.

จบนฬินิกาชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

อรรถกถาปัญญาสนิบาต

อรรถกถานฬินิกาชาดก

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ-

ปรารภถึงการประเล้าประโลมของปุราณทุติยิกา จึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า

อุทฺทยฺหเต ชนปโท ดังนี้เป็นต้น.

ก็พระศาสดา เมื่อจะตรัสจึงถามภิกษุนั้นว่า เธอถูกใครทำให้เบื่อ-

หน่าย ? เมื่อภิกษุกราบทูลว่า ถูกภริยาเก่าเป็นผู้ทำให้เบื่อหน่าย ดังนี้ จึง

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ หญิงคนนี้แลเป็นผู้ทำความพินาศให้แก่เธอ (ในบัดนี้

เท่านั้น หามิได้) แม้ในกาลก่อน เธออาศัยผู้หญิงคนนี้แล้ว เสื่อมจากฌาน

เป็นผู้ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง ดังนี้ จึงทรงนำอดีตนิทานมาว่า

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติ ในกรุง-

พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ชื่อว่า อุทิจจะ

พอเจริญวัยแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะจนจบแล้ว บวชเป็นฤาษีทำฌานและ

อภิญญาให้บังเกิดขึ้นแล้ว ก็สำเร็จการอยู่อาศัยในหิมวันตประเทศ. เพราะ

อาศัยเหตุนั้น โดยนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ในอลัมพุสาชาดกนั้นนั่นแล นาง

เนื้อตัวหนึ่ง จึงตั้งท้องแล้วคลอดลูก. เขาได้มีชื่อว่า อิสิสิงโค เทียว.

ต่อมาบิดาได้ให้เขาผู้เจริญวัยแล้วบวช ศึกษาเล่าเรียนการบริกรรมกสิณ. มิช้า

มินานนัก เขาก็ทำฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้นได้ จึงได้เล่นอยู่ด้วยความสุข

อันเกิดแต่ฌาน ได้เป็นผู้มีตบะกล้าแข็ง มีตบะอย่างยอดเยี่ยม มีอินทรีย์อัน

ชนะอย่างดียิ่ง. เพราะเดชะแห่งศีลของดาบสนั้น ภพท้าวสักกเทวราชจึงหวั่นไหว

ท้าวสักกเทวราช ทรงใคร่ครวญดูก็ทราบถึงเหตุ คิดว่า เราจักใช้อุบาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

ทำลายศีลของดาบสนี้ให้ได้ จึงห้ามฝนไม่ให้ตก ในกาสิกรัฐทั้งหมดตลอด

๓ ปี. แว่นแคว้น ได้เป็นราวกะว่าถูกไฟแผดเผาแล้ว . เมื่อข้าวกล้าไม่สมบูรณ์

พวกมนุษย์ถูกทุพภิกขภัยเบียดเบียน จึงเรียกกันมาประชุมที่พระลานหลวง.

ลำดับนั้น พระราชาประทับยืนอยู่ที่ช่องพระแกล ตรัสถามคนเหล่านั้นว่า นั่น

อะไรกัน ? พวกมนุษย์ผู้ได้รับความทุกข์ พากันกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช-

เจ้า เมื่อฝนไม่ตกตลอด ๓ ปี แว่นแคว้นทั้งสิ้นก็เร่าร้อน แล้วกราบทูลอีกว่า

ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงให้ฝนตกเถิด. พระราชา แม้จะสมาทานศีล

เข้าจำอุโบสถ ก็ไม่ทรงสามารถจะให้ฝนตกลงมาได้. ในกาลนั้น ท้าวสักกะ

เสด็จเข้าไปยังห้องอันประกอบด้วยพระสิริของพระราชาพระองค์นั้น ในเวลา

เที่ยงคืน ทรงทำแสงสว่างครั้งหนึ่งแล้ว ได้ประทับยืนที่กลางเวหาส. พระราชา

ทอดพระเนตรเห็นแสงสว่างนั้นแล้ว ตรัสถามว่า ท่านเป็นใครกัน ? ท้าวสักกะ

ตรัสตอบว่า เราเป็นท้าวสักกะ. พระราชาตรัสถามว่า พระองค์เสด็จมาประสงค์

อะไรหรือ ? ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า มหาราชเจ้าเอย ! ฝนในแว่นแคว้นของ

พระองค์ตกบ้างไหม ? พระราชาตรัสว่า ไม่ตกเลย. ท้าวสักกะตรัสถามว่า

ก็พระองค์ทรงทราบเหตุที่ฝนไม่ตกหรือเปล่า ? พระราชาตรัสว่า ไม่ทราบเลย.

ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสชี้แจงว่า มหาราช ! ในหิมวันตประเทศ มีดาบสชื่อ

ว่าอิสิสิงคะอาศัยอยู่. พระดาบสนั้น มีตบะกล้าแข็ง มีอินทรีย์อันชนะอย่างดี

ยิ่ง เมื่อฝนตกลงมาเป็นนิตย์ ท่านโกรธแล้วเพ่งดูอากาศ เพราะฉะนั้น ฝน

จึงไม่ตก. พระราชาตรัสถามว่า บัดนี้ จะพึงทำอย่างไรดีในเรื่องนี้ ? ท้าวสักกะ

ตรัสว่า เมื่อทำลายตบะของพระดาบสนั้นได้ ฝนก็จักตก. พระราชาตรัสถาม

ว่า ก็ใครเล่าจะสามารถทำลายตบะของพระดาบสนั้นได้. ท้าวสักกะตรัสชี้แจงว่า

มหาราช ก็พระราชธิดาพระนามว่านฬินิกาของพระองค์นี้แหละจะเป็นผู้สามารถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

พระองค์จงให้คนเรียกเธอมาแล้วสั่งว่า ลูกจงไปยังสถานที่ชื่อโน้นแล้ว จง

ทำลายตบะของพระดาบสให้จงได้. ท้าวสักกเทวราช สั่งสอนพระราชาอย่าง

นั้นแล้ว ก็ได้เสด็จไปยังที่อยู่ของพระองค์ตามเดิม ในวันรุ่งขึ้น พระราชา

ทรงปรึกษากับพวกอำมาตย์แล้วตรัสสั่งให้เรียกพระราชธิดามาแล้ว ตรัสพระ

คาถาแรกว่า

ชนบทเร่าร้อนอยู่ แม้รัฐก็จะพินาศ ดูก่อนลูก

นฬินิกา มานี่เถิด เจ้าจงไปนำพราหมณ์ผู้นั้นมาให้เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ต เม ความว่า เจ้าจงนำพราหมณ์ผู้

ทำความพินาศให้แก่เราคนนั้นมาไว้ในอำนาจของตน คือ จงทำลายศีลของ

ดาบสนั้น ด้วยวิธีให้ยินดีในกิเลสเถิด.

พระราชธิดานั้นสดับคาถานั้นแล้ว จึงตรัสคาถาที่ ๒ ตอบว่า

ข้าแต่พระราชบิดา หม่อมฉันทนความลำบาก

ไม่ได้ ทั้งไม่รู้จักหนทาง จะไปยังป่าที่ช้างอยู่อาศัย

ได้อย่างไรเล่า เพคะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขกฺขมา ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

หม่อมฉันเป็นผู้อดทนต่อความทุกข์ไม่ได้ ทั้งหม่อมฉันก็ไม่รู้จักหนทาง

หม่อมฉันนั้นจักไปได้อย่างไรเล่า เพคะ.

ลำดับนั้น พระราชาจึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถาว่า

ดูก่อนลูกนฬินิกา เจ้าจงไปอยู่ชนบทที่เจริญด้วย

ช้าง ด้วยรถ ด้วยยานที่ต่อด้วยไม้ เจ้าจงไปด้วยอาการ

อย่างนี้เถิดลูก เจ้าจงพากองช้าง กองม้า กองรถ

กองพลราบไปแล้ว จักนำพราหมณ์ผู้นั้นมาสู่อำนาจ

ได้ด้วยผิวพรรณ และรูปสมบัติของเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทารุสงฺฆาฏยาเนน ความว่า แม่

นฬินิกา เจ้าจักไม่ต้องเดินไป แต่ว่า เจ้าไปสู่ชนบทที่เจริญ มีภิกษาหาได้

ง่าย อันเกษมของตนด้วยพาหนะช้าง ด้วยพาหนะรถทั้งหลายแล้ว ต่อจาก

สถานที่นั้นไปในที่โล่งแจ้ง จงไปด้วยยวดยานที่ปกปิดแล้วเป็นต้น ในทางน้ำ

จงไปด้วยเรือและแพ ด้วยยานที่ต่อทำด้วยไม้เถิด. บทว่า วณฺณรูเปน

ความว่า เจ้าไม่ต้องลำบากอย่างนั้น พอไปแล้ว ก็จักนำพราหมณ์นั้นมาสู่

อำนาจของตนได้ ด้วยผิวพรรณและด้วยรูปสมบัติของเจ้า.

พระราชาพระองค์นั้น ตรัสพระดำรัสที่ไม่ควรจะตรัสกับพระราชธิดา

อย่างนั้น ก็เพราะมุ่งอาศัยการที่จะรักษาแว่นแคว้น. แม้พระราชธิดานั้น ก็ทูล

รับสนองว่า ดีละ. ลำดับนั้น พระราชาได้ทรงพระราชทานสิ่งของที่ควร

พระราชทานทั้งหมดแก่อำมาตย์แล้ว ทรงส่งพระราชธิดาไปกับพวกอำมาตย์.

อำมาตย์ทั้งหลาย พาพระราชธิดาไปถึงปัจจันตชนบทแล้ว ให้ตั้งค่ายพักแรมใน

ชนบทนั้น ให้ยกพระราชธิดาขึ้นแล้ว. เข้าไปยังหิมวันตประเทศ โดยหนทาง

ที่พรานป่าชี้บอก ในเวลาเช้า ก็ถึงที่ใกล้อาศรมบทของดาบสนั้น.

ในขณะนั้น พระโพธิสัตว์ให้บุตรเฝ้าอยู่ที่อาศรมบท ตนเองเข้าไปสู่

ป่าเพื่อผลไม้น้อยใหญ่. พวกพรานป่า ไม่ไปยังอาศรมบทเอง แต่ยืนอยู่ที่ที่

อยู่ของดาบสนั้น เมื่อจะแสดงที่อยู่นั้นแก่พระนางนฬินิกา จึงกล่าวคำ ๒ คาถาว่า

อาศรมของอิสิสิงคดาบสนั้น ปรากฏด้วยธง คือ

ต้นกล้วย แวดล้อมด้วยต้นสมอ เป็นที่น่ารื่นรมย์ นั่น

คือแสงไฟ นั่นคือควันเห็นปรากฏอยู่ อิสิสิงคดาบส

ผู้มีฤทธิ์มาก เห็นจะไม่ทำให้ไฟเสื่อม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กทลิธชปญฺาโณ มีวิเคราะห์ว่า

ชื่อว่า กทลิธชปัญญาณะ เพราะอรรถว่า มีธงคือต้นกล้วยปรากฏอยู่. บทว่า

อกภุชิปริวาริโต ได้แก่ แวดล้อมด้วยป่าไม้สมอ. บทว่า สงฺขาโต ความว่า

นั่นคือแสงไฟลุกโพลงประจักษ์อยู่ ด้วยฌานของอิสิสิงคดาบสนั้น. บทว่า

มญฺเ โน อคฺคึ ความว่า เราย่อมสำคัญว่า อิสิสิงคดาบสจะไม่ทำไฟของ

พวกเราให้เสื่อม คือ ให้ลุกโพลง บำเรออยู่.

ฝ่ายพวกอำมาตย์ พากันแวดล้อมอาศรมในเวลาที่พระโพธิสัตว์เข้าไป

สู่ป่าทันที ก็พากันตั้งกองอารักขา ให้พระราชธิดาถือเพศเป็นฤาษี เอาผ้าใย

ไม้สีทองชนิดบางทำเป็นผ้านุ่งผ้าห่ม ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ

แล้ว ให้พระราชธิดาถือเอาลูกข่างอันวิจิตรผูกด้วยเส้นด้าย ส่งเข้าไปยังอาศรม-

บท พวกตนเองพากันยืนอารักขาอยู่ภายนอก. พระราชธิดานั้นเล่นลูกข่างนั้น

พลาง ก็ล่วงล้ำถึงที่สุดจงกรม. ในขณะนั้น อิสิสิงคดาบส กำลังนั่งอยู่แล้ว

บนแผ่นหินที่ใกล้ซุ้มประตูบรรณศาลา. พระดาบสนั้นมองเห็นหญิงนั้นกำลัง

เดินมา ตกใจกลัว ลุกขึ้นแล้วเข้าไปยังบรรณศาลา หยุดยืนอยู่. แม้พระราช

ธิดานั้น ก็ไปยังประตูบรรณศาลาของพระดาบสนั้นแล้ว ก็เล่น (ลูกข่าง)

ต่อไปอีก

ก็พระศาสดา เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้นให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก จึง

ได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถาว่า

อิสิสิงคดาบสเห็นพระราชธิดา ผู้สวมใส่กุณฑล

แก้วมณี เสด็จมาอยู่ กลัวแล้ว เข้าไปสู่อาศรมที่มุง

ด้วยใบไม้ ส่วนพระราชธิดาแสดงอวัยวะที่ซ่อนเร้น

และอวัยวะที่ปรากฏ เล่นลูกข่างอยู่ที่ประตูอาศรมของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

ดาบสนั้น ฝ่ายดาบสผู้อยู่ในบรรณศาลา เห็นพระนาง

กำลังเล่นลูกข่างอยู่ จึงออกจากอาศรมแล้วได้กล่าว

คำนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เคณฺฑุเกนสฺส ความว่า เล่นลูกข่าง

อยู่ที่ประตูอาศรม ของอิสิสิงคดาบสนั้น. บทว่า วิทสยนฺตี แปลว่า แสดง

อยู่. บทว่า คุยฺห ปกาสิตานิ จ ได้แก่ ประกาศแสดงอวัยวะที่ลับ และ

องคชาตของลับ และประกาศแสดงอวัยวะที่ปรากฏมีใบหน้าและมือเป็นต้น.

บทว่า อพรวิ ความว่า เล่ากันว่า พระดาบสนั้น ยืนอยู่ในบรรณศาลาแล้ว

คิดว่า ถ้าว่าคนคนนี้ จะพึงเป็นยักษ์ไซร้ ก็จะพึงเข้ามายังบรรณศาลาแล้ว

ฉีกเนื้อเราเคี้ยวกิน ผู้นี้เห็นจักไม่ใช่ยักษ์ คงเป็นดาบสแน่.

เพราะฉะนั้น จึงเล่าว่า อิลิสิงคดาบส ออก (จากอาศรม) แล้วกล่าว

คำนี้ว่า

ดูก่อนท่านผู้เจริญ ต้นไม้ของท่านที่มีผลเป็นรูป

อย่างนี้ มีชื่อว่าอะไร แม้ท่านขว้างไปไกลก็กลับมา

มิได้ละท่านไปเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส เตว คต ความว่า ต้นไม้ชนิด

ใดของท่านช่างมีผลอันน่าพึงใจเป็นไปอย่างนี้ ต้นไม้ชนิดนั้นชื่อว่าอะไรหนอ

คือ พระดาบสสำคัญลูกข่างอันวิจิตรที่ตนเองไม่ได้เคยเห็นมาแล้วในกาลก่อน

ว่า ลูกข่างนั้น พึงเป็นผลแห่งต้นไม้ จึงได้ถามอย่างนั้น.

ลำดับนั้น พระราชธิดานั้น เมื่อจะบอกจึงได้ตรัสคาถานี้แก่พระดาบส

นั้นว่า

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ต้นไม่ที่มีผลเป็นไปอย่างนี้

นั้น มีอยู่มากที่ภูเขาคันธมาทน์ ณ ที่ใกล้อาศรมของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

ข้าพเจ้า ผลไม้นั้น แม้ข้าพเจ้าขว้างไปไกลก็กลับมา

ไม่ละข้าพเจ้าไปเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมีเป คนฺธมาทเน ได้แก่ ที่ภูเขา

คันธมาทน์ ณ ที่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า. บทว่า ยสฺส เตว คต ได้แก่

ต้นไม้ที่มีผลเป็นไปอย่างนี้. ต อักษร กระทำการเชื่อมบทพยัญชนะ. พระ-

ราชธิดานั้น ได้กล่าวมุสาวาท ดังนี้แล.

ฝ่ายพระดาบสเชื่อแล้ว เมื่อจะทำการต้อนรับด้วยสำคัญว่า ท่านผู้นั้น

เป็นพระดาบส จึงกล่าวคาถานี้ว่า

เชิญท่านผู้เจริญ จงเข้ามาสู่อาศรมนี้ จงบริโภค

จงรับน้ำมันและภักษา เราจักให้ นี้อาสนะ เชิญท่าน

นั่งบนอาสนะนี้ เชิญบริโภคเหง้ามันและผลไม้แต่ที่นี้

เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสมิม ความว่า เชิญท่านผู้เจริญ

จงเข้ามาสู่อาศรมนี้เถิด. บทว่า อเทตุ ความว่า เชิญท่านบริโภคอาหารตาม

ที่เราได้ตระเตรียมไว้แล้วเถิด. บทว่า ปชฺช ได้แก่ น้ำมันสำหรับทาเท้า.

บทว่า ภกฺข ได้แก่ ผลไม้น้อยใหญ่อันมีรสอร่อย. บทว่า ปฏิจฺฉ แปลว่า

จงรับ. บทว่า อิทมาสน ความว่า พระดาบสกล่าวแล้วอย่างนั้น ในเวลา

ที่พระราชธิดาเข้าไปแล้ว.

บทว่า กินฺเต อิท ความว่า เมื่อพระราชธิดาพระองค์นั้น เข้าไป

ยังบรรณศาลา นั่งบนระหว่างไม้ เมื่อผ้าใยไม้ชนิดบางสีทอง แตกกลางเป็น

๒ แฉก สรีระที่ปกปิดก็เปิดเผย. พระดาบส พอเห็นอวัยวะส่วนที่ปกปิด

แห่งสรีระของมาตุคาม เพราะค่าที่ตนไม่เคยเห็นมาแต่ก่อน จึงสำคัญว่า นั่น

เป็นแผล แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

ในระหว่างขาอ่อนทั้งสองของท่าน นี้เป็นอะไร

มีสัณฐานเรียบร้อย ปรากฏดุจสีดำ เราถามท่านแล้ว

ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า อวัยวะส่วนยาว

ของท่าน เข้าไปอยู่ในฝักหรือหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุปิจฺฉิต ความว่า สัณฐานปากแผล

อันมีศิลปะ ถูกสัมผัสด้วยดี ในเวลาประชิดขาอ่อน ๒ ข้างเข้ากัน. จริงอยู่

ที่ตรงนั้นได้กลายเป็นหลุมบ่อ เพราะไม่ประกอบด้วยลักษณะที่งดงาม และมี

สัณฐานปากแผลอันมีศิลปะนูนขึ้นชัด เพราะประกอบด้วยลักษณะที่งดงาม.

บทว่า กณฺหรีวปฺปกาสติ ความว่า ปรากฏดุจสีดำที่ข้างทั้ง ๒. บทว่า

โกเส นุ เต อุตฺตมงฺค ปวิฏฺ ความว่า อวัยวะส่วนยาว คือ สัณฐานแห่ง

เพศของท่าน ย่อมไม่ปรากฏ คือ พระดาบสถามว่า อวัยวะส่วนยาว เข้า

ไปอยู่ในฝักคือสรีระของท่านหรือหนอ ?

ลำดับนั้น พระราชธิดานั้น เมื่อจะหลอกลวงพระดาบสนั้น จึงตรัส

คาถา ๒ คาถาว่า

ข้าพเจ้านี้ เที่ยวแสวงหามูลผลาหารในป่า ได้

พบหมีมีรูปร่างน่ากลัวยิ่งนัก มันวิ่งไล่ข้าพเจ้ามาโดย

เร็ว มาทันเข้าแล้ว ทำให้ข้าพเจ้าล้มลงแล้ว มันกัด

อวัยวะส่วนยาวของข้าพเจ้าเสีย แผลนั้นก็เหวอะหวะ

และเกิดคันขึ้น ข้าพเจ้าไม่ได้ความสบายตลอดกาลทั้ง

ปวง ท่านคงสามารถกำจัดความคันนี้ได้ ข้าพเจ้า

วิงวอนแล้ว ขอท่านได้โปรดกระทำประโยชน์ให้แก่

ข้าพเจ้า ผู้เป็นพราหมณ์เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสาทยึ ความว่า พบหมีกำลังวิ่งมา

จึงพยายามเอาก้อนดินขว้างปามัน . บทว่า ปติตฺวา แปลว่า วิ่งไล่มา. บทว่า

สหสฺชฌปฺปตฺโต ได้แก่ ถึงคือทันตัวข้าพเจ้าโดยเร็ว. บทว่า ปนุชฺช

ได้แก่ ทำให้ข้าพเจ้าล้มลงแล้ว. บทว่า อพฺพหิ ความว่า มันใช้ปากกัด

อวัยวะส่วนยาวของข้าพเจ้าแล้ว ก็หลีกหนีไป จำเดิมแต่นั้นมา ในที่ตรงนี้

แหละ จึงกลายเป็นแผล. บทว่า สฺวาย ความว่า จำเดิมแต่กาลนั้นมา

แผลของข้าพเจ้านี้นั้น จึงเหวอะหวะ และต้องทำการเกาเสมอ เพราะข้อนั้น

เป็นปัจจัยแล ข้าพเจ้าจึงไม่ได้รับความสุขทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ตลอด

กาลทั้งปวง. บทว่า ปโห แปลว่า สามารถ. บทว่า พฺราหฺมณตฺถ

ความว่า พระราชธิดากล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าวิงวอนแล้ว กรุณาช่วยทำ

ประโยชน์นี้แก่ข้าพเจ้าผู้เป็นพราหมณ์เถิด คือความทุกข์นี้ จักได้ไม่มีแก่

ข้าพเจ้า ได้แก่ จงช่วยนำไปเสีย.

พระดาบสนั้น เธอคำมุสาวาทของพระราชธิดานั้นว่า เป็นจริง จึง

คิดว่า ถ้าความสุขอย่างนั้น จะมีแก่ท่านไซร้ ข้าพเจ้าก็จักทำให้ดังนี้แล้ว ก็

มองดูส่วนตรงนั้นแล้ว กล่าวคาถาถัดไปว่า

แผลของท่านลึก มีสีแดง ไม่เน่าเปื่อย มีกลิ่น

เหม็น และเป็นแผลใหญ่ เราจะประกอบกระสายยา

หน่อยหนึ่งให้ท่านตามที่ท่านจะพึงมีความสุขอย่างยิ่ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สโลหิโต ได้แก่ มีสีแดง. บทว่า

อปูติโก ได้แก่ เว้นจากเนื้อเน่า. บทว่า ปกฺกคนฺโธ ได้แก่ มีกลิ่น

เหม็นนิดหน่อย. บทว่า กสายโยค ความว่า ข้าพเจ้าจักถือเอาน้ำฝาดจาก

ต้นไม้บางชนิดแล้ว ทำน้ำฝาดนั้นประกอบเป็นยาสมานแผลแก่ท่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

ลำดับนั้น พระนางนฬินิกา จึงตรัสคาถาว่า

ดูก่อนท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ การประกอบ

มนต์ก็ดี การประกอบกระสายยาก็ดี โอสถก็ดี ย่อม

แก้ไม่ได้ ขอท่านจงเอาองคชาตอันอ่อนนุ่มของท่าน

เสียดสีกำจัดความคัน ตามที่ข้าพเจ้าจะพึงมีความสุข

อย่างยิ่งเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมนฺติ ความว่า ดูก่อนท่านผู้ประพฤติ

พรหมจรรย์ผู้เจริญ การประกอบมนต์ก็ดี การประกอบกระสายยาก็ดี โอสถมี

ดอกและผลเป็นต้นก็ดี ที่แผลของข้าพเจ้านี้ ย่อมแก้ไม่ได้เลย คือการประกอบ

มนต์เป็นต้นเหล่านั้น ถึงจะทำแล้วหลาย ๆ ครั้ง ก็ไม่เป็นความผาสุกสบายแก่

แผลนั้นเลย แต่เมื่อท่านใช้องคชาตอันอ่อนนุ่มของท่านนั้น เสียดสีไปมาเท่า

นั้น ความคันก็จะไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ขอท่านช่วยเอาองคชาตนั้น กำจัด

ความคันให้ทีเถอะ.

พระดาบสนั้น กำหนดว่า คนคนนั้นพูดจริง ไม่รู้เลยว่า ศีลจะขาด

ฌานจะเสื่อม ด้วยเมถุนสังสัคคะ เมื่อพระราชธิดานั้นกล่าวว่า เภสัช ดังนี้

เพราะความไม่รู้จักเมถุนธรรม เหตุที่ตนไม่เคยเห็นมาตุคามมาก่อน จึงเสพ

เมถุนธรรม ในทันทีนั้น ศีลของดาบสนั้นก็ขาด ฌานก็เสื่อม. ดาบสนั้น

กระทำการร่วมสังวาส ๒, ๓ ครั้ง ก็เหนื่อยอ่อน จึงออกไปลงสู่สระอาบน้ำ

ระงับดับความกระวนกระวายแล้ว กลับมานั่ง ณ บรรณศาลา ถึงขนาดนั้น

ก็สำคัญคนคนนั้นว่า เป็นดาบสอยู่อีก เมื่อจะถามถึงที่อยู่ จึงกล่าวคาถาว่า

อาศมของท่านอยู่ทางทิศไหน แต่ที่นี้หนอ

ท่านย่อมรื่นรมย์อยู่ในป่าแลหรือ มูลผลาหารของท่าน

มีเพียงพอแลหรือ สัตว์ร้ายไม่เบียดเบียนท่านแลหรือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตเมน ได้แก่ อาศรมของท่านผู้เจริญ

อยู่ทางทิศไหนแต่ที่นี้. บทว่า ภว นี้ เป็นอาลปนะ.

ลำดับนั้น พระนางนฬินิกา ได้ตรัสคาถา ๔ คาถาว่า

แม่น้ำชื่อเขมาย่อมปรากฏแต่ป่าหิมพานต์ ในทิศ

เหนือตรงไปแต่ที่นี้ อาศรมอันน่ารื่นรมย์ของข้าพเจ้า

อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำนั้น ท่านควรไปดูอาศรมของข้าพเจ้าบ้าง

ต้นมะม่วง ต้นรัง ต้นหมากเน่า ต้นหว้า ต้นราชพฤกษ์

ต้นแคฝอย มีดอกบานสะพรั่ง ท่านควรไปดูอาศรม

ของข้าพเจ้า ซึงมีกินนรขับร้องอยู่โดยรอบ ต้นตาล

มูลมัน ผลไม้ที่อาศรมของเรานั้น มีผลประกอบด้วย

สีและกลิ่น ท่านควรไปดูอาศรมของข้าพเจ้า อัน

ประกอบด้วยภูมิภาคสวยงามนั้นบ้าง ผลไม้ เหง้าไม้

ที่อาศรมของข้าพเจ้ามีมาก ประกอบด้วยสี กลิ่น และ

รส พวกพรานย่อมมาสู่ประเทศนั้น อย่าได้มาลักมูล

ผลาหารไปจากอาศรมของข้าพเจ้านั้นเลย.

ื บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺตราย ได้แก่ ทิศเหนือ. บทว่า

เขมา ได้แก่ แม่น้ำที่มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า หิมวนฺตา ปภาติ ความว่า

ย่อมไหลมาแต่ป่าหิมพานต์. บทว่า อโห เป็นนิบาต ใช้ในอรรถแห่งความ

อ้อนวอน. บทว่า อุทฺทาลกา ได้แก่ ต้นไม้ที่ป้องกันลม. บทว่า กึปูริสาภิคีต

ได้แก่ ซึ่งมีพวกกินนรพากันแวดล้อมโดยรอบแล้ว ขับร้องอยู่ด้วยเสียงอัน

ไพเราะ. บทว่า ตาลา จ มูลา จ เมตฺถ ความว่า ต้นตาลอัน

น่ารัก โคนของต้นไม้เหล่านั้นนั่นแหละ มีลำต้นสมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

และผลของต้นไม้เหล่านั้นที่อาศรมของเรานั่น. บทว่า ปหูตเมตฺถ ได้แก่

ผลไม้นานาชนิด เถาและเหง้าของต้นไม้ ที่อาศรมของข้าพเจ้านั่นมีมาก. บทว่า

มา เม ตโต ความว่า พวกพรานจำนวนมาก ย่อมพากันมายังอาศรมของ

ข้าพเจ้านั้น ก็มูลผลาหารที่มีรสอร่อยมากมาย ที่ข้าพเจ้านำมาวางไว้ในที่นี้ ก็

มีอยู่ เมื่อข้าพเจ้ามัวแต่ชักช้า พวกพรานเหล่านั้น ก็จะพึงลักเอามูลผลาหาร

ไปเสีย ขอพวกพรานอย่าได้มาลักมูลผลาหารของข้าพเจ้าไปจากที่นั้นเลย เพราะ

ฉะนั้น พระราชธิดาจึงตรัสว่า แม้ถ้าท่านมีความประสงค์จะไปกับเราก็เชิญ

หากไม่มีความประสงค์จะไปไซร้ เราก็จักไปละ.

ดาบสได้สดับดังนั้นแล้ว เพื่อจะยับยั้งพระราชธิดาไว้ จนกว่าบิดา

ตนจะกลับมา จึงกล่าวคาถาว่า

บิดาของเราไปแสวงหามูลผลาหาร จะกลับมา

ในเย็นวันนี้ เราทั้งสองจะไปสู่อาศรมนั้นได้ ก็ต่อเมื่อ

บิดากลับมาจากการแสวงหามูลผลาหาร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุโภว คจฺฉามเส ความว่า เราทั้งสอง

คนแจ้งให้บิดาเราได้ทราบแล้ว จึงจักไปได้.

ลำดับนั้น พระราชธิดานั้น คิดแล้วว่า ดาบสนี้ ไม่รู้ว่าเราเป็นหญิง

เพราะค่าที่ท่านเจริญเติบโตมาในป่าเท่านั้น ตั้งแต่แรก แต่ดาของดาบสนั้น

พอเห็นเราเข้า ก็รู้ทันที คงถามว่า เจ้ามาทำอะไรในที่นี้ ? แล้วคงจะเอา

ปลายไม้คานตีเรา แม้ศีรษะของเราก็ต้องแตก เราควรจะไปเสีย ในเวลาที่

บิดาของเขายังไม่มาดีกว่า ถึงหน้าที่ในการมาของเรา ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว.

พระราชธิดานั้น เมื่อจะบอกอุบายแห่งการมาแก่ดาบสนั้น จึงกล่าวคาถานอก

นี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

พราหมณ์ ฤาษี และราชฤาษี ผู้มีรูปสวยเหล่า

อื่นเป็นอันมาก ย่อมอยู่ใกล้ทางโดยลำดับ ท่านพึง

ถามถึงอาศรมของข้าพเจ้ากะท่านพวกนั้นเถิด ท่าน

พวกนั้นจะพาท่านไปในสำนักของข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชีสโย ความว่า สหายเอย ! เรา

ไม่สามารถจะชักช้าอยู่ได้ เพราะพวกพราหมณ์ ฤาษี และพวกราชฤาษี ผู้มี

รูปร่างสวยงามเหล่าอื่น ย่อมอยู่ใกล้ทางโดยลำดับ คือ อยู่ใกล้ทางไปอาศรม

ของเรา เราบอกแก่เขาเหล่านั้นแล้วจักไป ท่านพึงถามเขาเหล่านั้นเถิด เขา

เหล่านั้น จักนำท่านไปสู่สำนักเราเอง.

พระราชธิดานั้น กระทำอุบายสำหรับที่ตนจะหนีไปอย่างนั้นแล้ว ออก

จากบรรณศาลาแล้ว กล่าวกะดาบสผู้กำลังมองดูอยู่นั่นแหละว่า ท่านกลับไป

เถอะ แล้วได้ไปยังสำนักของพวกอำมาตย์ โดยหนทางที่มานั่นแล. พวก

อำมาตย์เหล่านั้น ได้พาพระราชธิดานั้นไปยังค่ายพักแรมแล้ว ก็ไปถึงกรุง

พาราณสีโดยลำดับ. ในวันนั้นนั่นเอง แม้ท้าวสักกเทวราชก็ทรงดีใจ ยังฝน

ให้ตกชุ่มฉ่ำทั่วแว่นแคว้น. ต่อแต่นั้นมา ชนบทก็ได้มีภิกษาสมบูรณ์. พอ

พระราชธิดานั้น กลับไปแล้วเท่านั้น ความเร่าร้อนก็เกิดขึ้นในร่างกายแม้ของ

อิสิสิงคดาบส. ดาบสนั้นหวั่นไหวใจ เข้าไปยังบรรณศาลา เอาผ้าป่านคลุม

ร่างนอนเศร้าโศกอยู่แล้ว.

ในเวลาเย็น พระโพธิสัตว์กลับมามองไม่เห็นบุตร จึงคิดว่า เขาไป

เสียในที่ไหนหนอ แล้ววางหาบเข้าไปยังบรรณศาลา มองเห็นเขานอน จึง

ลูบหลังพลางถามว่า ลูกเอ่ย ! เจ้าทำอะไร ? แล้วได้กล่าวคาถา ๓ คาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

ฟืนเจ้าก็ไม่หัก น้ำเจ้าก็ไม่ตัก แม้ไฟเจ้าก็ไม่ติด

เจ้าอ่อนใจซบเซาอยู่ทำไมหนอ ดูก่อนเจ้าผู้ประพฤติ

พรหมจรรย์ เมื่อก่อนฟืนเจ้าหัก ไฟเจ้าก็ติด แม้ไฟ

สำหรับผิงเจ้าก็จัดได้ ตั่งเจ้าก็ตั้ง น้ำเจ้าก็ตักไว้ให้เรา

วันอื่น ๆ เจ้าเป็นผู้ประเสริฐดีอยู่ วันนี้เจ้าไม่หักฟืน

ไม่ตักน้ำ ไม่ติดไฟ ไม่จัดเครื่องบริโภคไว้ ไม่ทัก-

ทายเรา ของอะไรของเจ้าหายไปหรือ หรือว่าเจ้ามี

ทุกข์ในใจอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อินฺนานิ ได้แก่ ฟืนที่นำมาจากป่า

เจ้าก็ไม่หัก. บทว่า น หาสิโต ได้แก่ แม้ไฟเจ้าก็ไม่ให้ลุกโพลง. บทว่า

ภินฺทานิ ความว่า เมื่อก่อนเวลาที่เรามา เจ้าก็ได้หักฟืนไว้เรียบร้อยแล้ว.

บทว่า หุโต จ อคฺคิ ความว่า ไฟสำหรับบูชาเจ้าก็ติด. บทว่า ตปนี

ความว่า แม้ไฟลุ่น ๆ คือไฟสำหรับผิง เจ้าเองก็ตระเตรียมจัดแจงไว้. บทว่า

ปิ ความว่า และตั่งประจำสำหรับที่อยู่ของเรา เจ้าก็จัดตั้งไว้แล้วทีเดียว.

บทว่า อุทกญฺจ ความว่า แม้น้ำสำหรับล้างเท้า เจ้าก็ตักตั้งไว้เหมือนกัน.

บทว่า พฺรหฺมภูโต ความว่า ในวันอื่นจากวันนี้ แม้เจ้าเป็นผู้ประเสริฐ

รื่นรมย์อยู่ในอาศรมนี้. บทว่า อภินฺนกฏฺโสิ ได้แก่ วันนี้เจ้าไม่หักฟืน.

บทว่า อสิทฺธโภชโน ความว่า หัวเผือกหัวมัน หรือใบไม้อะไร ๆ ที่เจ้า

จะนึ่งไว้สำหรับเราไม่มีเลย. บทว่า มมชฺช ความว่า ลูกเอ๋ย ! วันนี้เจ้าไม่

ยอมทักทายพ่อเลย. บทว่า นฏฺ นุ กึ นี้ พระโพธิสัตว์ถามลูกดาบสว่า

ของอะไรของลูกหายไปหรือ หรือว่าลูกมีความทุกข์ในใจอะไรอยู่ รีบบอกเหตุ

แห่งการนอนซบเซามาให้พ่อทราบบ้างเถอะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

ดาบสนั้น ฟังคำของบิดาแล้ว เมื่อจะเล่าถึงเหตุการณ์นั้นให้ทราบ

จึงเรียนว่า

ชฎิลผู้ประพฤติพรหมจรรย์มาในอาศรมนี้ มีรูป

ร่างน่าดู น่าชม เอวเล็กเอวบาง ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก

รัศมีสวยงาม มีศีรษะปกคลุมด้วยผมอันดำเป็นเงางาม

ไม่มีหนวด บวชไม่นาน มีเครื่องประดับเป็นรูปเชิง

บาตรอยู่ที่คอ มีปุ่มสองปุ่มงามเปล่งปลั่งดังก้อนทองคำ

เกิดดีแล้วที่อก. หน้าของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก มีกรรเจียก

จอนห้อยอยู่ที่หูทั้งสองข้าง กรรเจียกเหล่านั้นย่อม

แวววาว เมื่อชฏิลนั้นเดินไปมา สายพันชฎาก็งาม

แพรวพราว เครื่องประดับเหล่าอื่นอีกสี่อย่างของชฏิล

นั้นมีสีเขียว เหลือง แดง และขาว เมื่อชฎิลนั้นเดิน

ไปมา เครื่องประดับเหล่านั้นย่อมดังกริ่งกร่าง เหมือน

ฝูงนกติริฏิร้องในเวลาฝนตก ฉะนั้น ชฎิลนั้นไม่ได้

คาดเครื่องรัดเอวที่ทำด้วยหญ้าปล้อง ไม่ได้นุ่งผ้าที่ทำ

ด้วยเปลือกไม้ เหมือนของพวกเรา ผ้าเหล่านั้นพันอยู่

ที่ระหว่างแข้งงามโชติช่วง ปลิวสะบัดดังสายฟ้าแลบ

อยู่ในอากาศ ข้าแต่ท่านพ่อ ชฎิลนั้นมีผลไม้ไม่สุก

ไม่มีขั้ว ติดอยู่ที่สะเอวภายใต้นาภี ไม่กระทบกัน

กระดูกเล่นอยู่เป็นนิตย์ อนึ่ง ชฎิลนั้นมีชฎาน่าดูยิ่งนัก

มีปลายงอนมากกว่าร้อย มีกลิ่นหอม มีศีรษะอันแบ่ง

ด้วยดีเป็นสองส่วน โอ ขอให้ชฎาของเรา จงเป็นเช่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

นั้นเถิดหนอ และในคราวใด ชฎิลนั้นขยายชฎาอัน

ประกอบด้วยสีและกลิ่น ในคราวนั้น อาศรมก็หอม

ฟุ้งไป เหมือนดอกอุบลเขียวที่ถูกลมรำเพยพัด ฉะนั้น

ผิวพรรณของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก ไม่เป็นเช่นกับผิว-

พรรณที่กายของข้าพเจ้า ผิวกายของชฎิลนั้น ถูกลม

รำเพยพัดแล้วย่อมหอมฟุ้งไป ดุจป่าไม้ อันมีดอกบาน

ในฤดูร้อน ฉะนั้น ชฎิลนั้นตีผลไม่อันวิจิตรงามน่าดู

ลงบนพื้นดิน และผลไม้ที่ขว้างไปแล้ว ย่อมกลับมา

สู่มือของเขาอีก ข้าแต่ท่านพ่อ ผลไม้นั้นชื่อผลอะไร

หนอ อนึ่ง ฟันของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก ขาวสะอาด

เรียบเสมอกันดังสังข์อันชัดดีแล้ว เมื่อชฎิลเปิดปากอยู่

ย่อมยังใจให้ผ่องใส ชฎิลนั้นคงไม่ได้เคี้ยวผักด้วยฟัน

เหล่านั้นเป็นแน่ คำพูดของเขาไม่หยาบคาย ไม่เคลื่อน

คลาด ไพเราะ อ่อนหวาน ตรง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่

คลอนแคลน เสียงของเขาเป็นเครื่องฟูใจ จับใจดัง

เสียงนกการเวก นำใจของข้าพเจ้าให้กำหนัดยิ่งนัก

เสียงของเขาหยดย้อย เป็นถ้อยคำไม่สะบัดสะบิ้ง ไม่

ประกอบด้วยเสียงพึมพำ ข้าพเจ้าปรารถนาจะได้เห็น

เขาอีก เพราะชฎิลนั้นเป็นมิตรของข้าพเจ้ามาก่อน

แผลที่ต่อสนิทดี เกลี้ยงเกลาในที่ทั้งปวงใหญ่ เกิดดี

แล้วคล้ายกับกลีบบัว ชฎิลนั้นให้ข้าพเจ้าคร่อมตรง

แผลนั้น แหวกขาเอาแข้งบีบไว้ รัศมีซ่านออกจาก

กายของชฎิลนั้น ย่อมเปล่งปลั่งสว่างไสวรุ่งเรือง ดัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

สายฟ้าอันแลบแปลบปลาบอยู่ในอากาศ ฉะนั้น อนึ่ง

แขนทั้งสองของชฎิลนั้นอ่อนนุ่ม มีขนเหมือนขนดอก

อัญชัน แม้มือทั้งสองของชฎิลนั้น ก็ประกอบด้วยนิ้ว

มืออันเรียววิจิตรงดงาม ชฎิลนั้นมีอวัยวะไม่ระคาย

มีขนไม่ยาว เล็บยาว ปลายเป็นสีแดง ชฎิลนั้นมีรูป

งาม กอดรัดข้าพเจ้าด้วยแขนทั้งสองอันอ่อนนุ่ม บำเรอ

ให้รื่นรมย์ ข้าแต่ท่านพ่อ มือทั้งสองของชฎิลนั้นอ่อน

นุ่มคล้ายสำลี งามเปล่งปลั่ง พื้นฝ่ามือเกลี้ยงเกลา

เหมือนแว่นทอง ชฎิลนั้นกอดรัดข้าพเจ้า ด้วยมือทั้ง

สองนั้นแล้ว ไปจากที่นี้ ย่อมทำให้ข้าพเจ้าเร่าร้อน

ด้วยสัมผัสนั้น ชฎิลนั้นมิได้นำหาบมา มิได้หักฟืนเอง

มิได้ฟันต้นไม้ด้วยขวาน แม้มือทั้งสองของชฎิลนั้นก็

ไม่มีความกระด้าง หมีได้กัดชฎิลนั้นเป็นแผล เธอจึง

กล่าวกะข้าพเจ้าว่าขอท่านช่วยทำให้ข้าพเจ้ามีความสุข

เถิด ข้าพเจ้าจึงช่วยทำให้เธอมีความสุข และความสุข

เถิดมีแก่ข้าพเจ้าด้วย ข้าแต่ท่านผู้เป็นพรหม เธอได้

บอกข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้ามีความสุขแล้ว ก็ที่อันปูลาด

ด้วยใบเถาย่างทรายของท่านนี้ กระจุยกระจายแล้ว

เพราะข้าพเจ้าและชฎิลนั้น เราทั้งสองเหน็ดเหนื่อยแล้ว

รื่นรมย์กันในน้ำ แล้วเข้าสู่กุฏิอันมุงบังด้วยใบไม้

บ่อย ๆ ข้าแต่ท่านพ่อ วันนี้มนต์ทั้งหลายย่อมไม่แจ่ม

แจ้งแก่ข้าพเจ้าเลย การบูชาไฟข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

แม้การบูชายัญ ในที่นั้นข้าพเจ้าก็ไม่ชอบใจ ตราบใด

ที่ข้าพเจ้า ยังมิได้พบเห็นชฎิล ผู้ประพฤติพรหมจรรย์

ข้าพเจ้าจะไม่บริโภคมูลผลาหารของท่านพ่อเลย ข้าแต่

ท่านพ่อ แม้ท่านพ่อย่อมรู้เป็นแน่แต่ว่า ชฎิลผู้ประพฤติ

พรหมจรรย์อยู่ทิศใด ขอท่านพ่อจงพาข้าพเจ้าไปให้

ลงทิศนั้นโดยเร็วเถิด ข้าพเจ้าอย่าได้ตายเสียในอาศรม

ของท่านเลย ข้าแต่ท่านพ่อ ข้าพเจ้าได้ฟังถึงป่าไม้

อันวิจิตรมีดอกบาน ถูกต้องไปด้วยเสียงนกร้อง มี

ฝูงนกอาศัยอยู่ ขอท่านพ่อช่วยพาข้าพเจ้าไปให้ถึงป่า

ไม้นั้น โดยเร็วเถิด ข้าพเจ้าจะต้องละชีวิตเสียก่อนใน

อาศรมของท่านพ่อเป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธาคมา ได้แก่ ข้าแต่ท่านพ่อ ชฎิล

ผู้ประพฤติพรหมจรรย์มายังอาศรมนี้. บทว่า สุทสฺสเนยฺโย ได้แก่ มีรูปร่าง

ควรดูด้วยดี. บทว่า สุตนู ได้แก่ มีรูปร่างบางกำลังดี ไม่ผอมนัก ไม่

อ้วนนัก. บทว่า วิเนติ ความว่า ย่อมยังอาศรมให้ถึง คือให้เต็มเปี่ยมด้วย

รัศมีกายของตน คล้ายกับว่าอาศรมมีแต่รัศมีอย่างเดียว. บทว่า สุกณฺหกณฺ-

หจฺฉทเนหิ โภโต ความว่า ข้าแต่ท่านพ่อ ศีรษะของท่านผู้เจริญนั้น มี

สีดำสนิทด้วยเส้นผมที่มีสีคล้ายแมลงภู่ เพราะปกคลุมด้วยสีดำเป็นเงางามย่อม

ปรากฏ คล้ายทำด้วยแก้วมณีที่ขัดสีดีแล้ว ฉะนั้น. บทว่า อมสฺสุชาโต

ได้แก่ ชฎิลนั้นยังเป็นหนุ่มแน่น หนวดของเขาจึงยังไม่ปรากฏก่อน. บทว่า

อปุราณวณฺณี ได้แก่ ยังบวชไม่นานนัก. บทว่า อาธารรูปญฺจ ปนสฺส

กณฺเ นี้ ท่านกล่าวหมายถึงแก้วมุกดาหารว่า ก็ชฎิลนั้นมีเครื่องประดับคล้าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

กับรูปเชิงบาตรสำหรับใช้วางภาชนะภิกษาของพวกเราอยู่ที่คอ. บทว่า คณฺฑา

นี้ ท่านกล่าวหมายถึงนมทั้งสองข้าง. บทว่า อุเร สุชาตา ได้แก่ เกิดดี

แล้วที่อก. ปาฐะว่า อุรโต ดังนี้ก็มี. บทว่า ปภสฺสรา ได้แก่ สมบูรณ์

ด้วยรัศมี. ปาฐะว่า ปภาสเร ดังนี้ก็มี ความว่า ย่อมส่องสว่าง. บทว่า

ภุสทสฺสเนยฺย แปลว่า น่าดูยิ่งนัก. บทว่า กุญฺจิตคฺคา นี้ ท่านกล่าว

หมายถึงกรรเจียกจอน บทว่า สุตฺตญฺจ ความว่า สายพันที่ชฎาของชฎิล

นั้น ย่อมส่องแสงแพรวพราว. ด้วยบทว่า สยมานิ จตสฺโส นี้ ท่านแสดง

ถึงเครื่องประดับ ๔ อย่างที่ทำด้วยแก้วมณี ทองคำ แก้วประพาฬ และเงิน.

บทว่า ตา สสเร ความว่า เครื่องประดับเหล่านั้นย่อมดังกริ่งกร่าง เหมือน

ฝูงนกติริฏิร้องในเวลาที่ฝนตก ฉะนั้น. บทว่า เมขล แปลว่า สายรัดเอว

สำหรับผู้หญิง. ปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน . คำนี้ท่านกล่าวหมายถึงผ้าไยไม้ชนิด

บางสำหรับนุ่ง. บทว่า น สนฺถเร ได้แก่ ไม่ใช่ผ้าเปลือกไม้. มีคำที่ท่าน

กล่าวอธิบายไว้ว่า ข้าแต่ท่านพ่อ ชฎิลนั้นมิได้ใช้ผ้าที่ทำด้วยหญ้าปล้อง หรือ

ที่ทำด้วยเปลือกไม้ เหมือนของพวกเราเลย แต่ชฎิลนั้นใช้ผ้าใยไม้ชนิดบาง

สีทอง. บทว่า อขิลกานิ ได้แก่ ไม่สุก ไม่มีขั้ว. บทว่า กฏิสโมหิตานิ

ได้แก่ ผูกติดอยู่สะเอว. บทว่า นิจฺจกีฬ กโรนฺติ ความว่า แม้จะไม่

กระทบกัน แต่ก็กระดกเล่นอยู่เป็นนิตย์. บทว่า หนฺตาต แปลว่า ข้าแต่

ท่านพ่อผู้เจริญ. บทว่า กึ รุกฺขผลานิ ตานิ นี้ ท่านกล่าวหมายถึงแก้วมณี

และผ้าพาดว่า ผลไม้เหล่านั้น เป็นผลไม้ชนิดไหน ที่ผูกด้ายเป็นปมติดอยู่ที่

สะเอวของมาณพนั้น. บทว่า ชฎา ท่านกล่าวหมายถึงมวยผมที่แซมเสียบติด

ด้วยรัตนะ โดยเป็นระเบียบวงรอบชฎา. บทว่า เวลฺลิตคฺคา แปลว่า มี

ปลายงอนขึ้น. บทว่า เทฺวธาสิโร ได้แก่ ศีรษะของชฎิลนั้น มีชฎาที่ผูก

แบ่งด้วยดีเป็นสองส่วน. บทว่า ตถา ความว่า ดาบสปรารถนาว่า ชฎาของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

ผม ท่านพ่อมิได้ผูกให้เหมือนชฎาของมาณพนั้นเลย โอ หนอ ขอให้ชฎาแม้

ของผมจงเป็นเช่นนั้นเถิด ดังนี้ จึงได้กล่าวไว้แล้ว . บทว่า อุเปตรูปา ได้แก่

ชฎามีสภาวะอันประกอบแล้ว . บทว่า วาตสเมริตว ความว่า กลิ่นหอม

ย่อมฟุ้งขจรไปในอาศรมไพรสณฑ์นี้ เหมือนดอกอุบลเขียวที่ถูกลมรำเพยพัด

ฟุ้งไป ฉะนั้น . บทว่า เนตาทิโส ความว่า ข้าแต่ท่านพ่อ ผิวพรรณที่

สรีระของชฎิลนั้นทั้งน่าดูยิ่งนัก ทั้งมีกลิ่นหอมด้วย ไม่เป็นเช่นกับผิวพรรณที่

กายของข้าพเจ้าเลย. บทว่า อคฺคคิมฺเห ได้แก่ ในสมัยต้นฤดูฝน. บทว่า

นิหนฺติ แปลว่า ย่อมตี. บทว่า กึ รุกฺขผล นุโข ต ได้แก่ ผลไม้นั้น

เป็นผลของต้นไม้อะไรหนอ. บทว่า สงฺขวรูปปนฺนา ได้แก่ มีส่วนเปรียบ

เสมอด้วยสังข์อันขัดดีแล้ว. บทว่า น นูน โส สากมขาทิ ความว่า มาณพ

นั้น ไม่ได้เคี้ยวผัก หัวมันและผลไม้ด้วยฟันเหล่านั้น เหมือนอย่างพวกเรา

เป็นแน่. ดาบสนั้นย่อมแสดงว่า เพราะเมื่อพวกเราพากันเคี้ยวผลไม้เหล่านั้น

อยู่ ฟันจึงมีสีเปลือกตมจับสนิท. บทว่า อกกฺกส ความว่า ข้าแต่ท่านพ่อ

คำพูดของดาบสนั้น แม้จะพูดอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่หยาบคาย ไม่เคลื่อนคลาด

อ่อนหวานเพราะไพเราะหวานสนิท เป็นคำตรงเพราะไม่หลงลืม เป็นคำสงบ

เรียบเพราะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นคำไม่คลอนแคลน. เพราะเป็นคำมั่นคงหลักฐาน.

บทว่า รุท ความว่า แม้เสียงร้องคือเสียงของเขาผู้พูดอยู่ ย่อมจับใจ เป็น

เสียงดี ไพเราะหวานดุจเสียงนกการเวก ฉะนั้น. บทว่า รญฺชยเตว ความ

ว่า ใจของข้าพเจ้า ย่อมกำหนัดยิ่งนัก. บทว่า พินฺทุสฺสโร ได้แก่ เสียง

ของเขาหยดย้อย. บทว่า มาณวาหุ ความว่า เพราะมาณพนั้นได้เป็นมิตร

ของข้าพเจ้ามาก่อน. บทว่า สุสนฺธิ สพฺพตฺถ วีมฏิม วณ ความว่า

ข้าแต่ท่านพ่อ แผลแผลหนึ่ง มีอยู่ที่ระหว่างขาอ่อนของมาณพนั้น แผลนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

มีรอยต่อสนิทดี สัมผัสดี เกลี้ยเกลาในที่ทั้งปวง คือ เกลี้ยงเกลาโดยรอบ

คล้ายกับปากแผลที่มีศิลปะ. บทว่า ปุถุ ได้แก่ ใหญ่. บทว่า สุชาต

ได้แก่ ดำรงอยู่เหมาะดี. บทว่า ขรปตฺตสนฺนิภ แปลว่า คล้ายกับกลีบ

ดอกบัว. บทว่า อุตฺตริยาน ได้แก่ คร่อม คือ ทับลง. บทว่า ปิฬยิ

แปลว่า บีบไว้. บทว่า ตปนฺติ ความว่า รัศมีมีสีดุจทองคำแผ่ซ่านออก

จากสรีระของมาณพนั้น ย่อมเปล่งปลั่งสว่างไสวและรุ่งเรือง. บทว่า พาหา

ได้แก่ แม้แขนทั้ง ๒ ข้างของชฎิลนั้น ก็อ่อนนุ่ม. บทว่า อญฺชนโลมสทิสา

ได้แก่ ประกอบพร้อมด้วยขนทั้งหลาย เช่นกับขนดอกอัญชัน. บทว่า วิจิตฺร-

วฏฺฏงฺคุลิกสฺส โสภเร ความว่า แม้มือทั้งสองข้างของชฎิลนั้น ก็ประกอบ

ด้วยนิ้วมืออันเรียวงดงาม มีลักษณะอันวิจิตร เช่นกับยอดผ้าขนสัตว์. บทว่า

อกกฺกสงฺโค ได้แก่ มีอวัยวะน้อยใหญ่ปราศจากโรคภัย มีโรคหิดที่เบียด-

เบียนเป็นต้น. บทว่า รมย อุปฏฺหิ ความว่า บำรุง บำเรอให้ข้าพเจ้า

รื่นรมย์. บทว่า ตูลูปนิภา ได้แก่ เป็นข้ออุปมาถึงความอ่อนนุ่ม. บทว่า

สุวณฺณกมฺพูตลวฏฺฏสุจฺฉวี ได้แก่ พื้นฝ่ามือกลมเกลี้ยง และมีผิวพรรณดี

คล้ายพื้นแว่นทองคำ อธิบายว่า มีพื้นกลมเกลี้ยง และมีผิวพรรณงดงาม.

บทว่า สผุสิตฺวา ได้แก่ สัมผัสด้วยดี คือ ใช้มือทั้งสองของตนสัมผัส

ทำให้สรีระของข้าพเจ้า ซาบซ่าน. บทว่า อิโต คโต ได้แก่ ทั้ง ๆ ที่

ข้าพเจ้ามองดูอยู่นั่นแหละ เธอก็จากที่นี้ไปเสียแล้ว . บทว่า เตน ม ทหนฺติ

ความว่า ด้วยการกอดรัดสัมผัสนั้นของเขา ทำให้ข้าพเจ้าเร่าร้อนอยู่จนถึงบัดนี้

แหละ อธิบายว่า ก็จำเดิมแต่กาลที่ชฎิลนั้นจากไปแล้วอย่างนั้น ความเร่าร้อน

ก็บังเกิดขึ้นในสรีระของข้าพเจ้า ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงถึงความโทมนัสนอน

ซมอยู่แล้ว. บทว่า ขาริวิธ ความว่า ข้าแต่ท่านพ่อ มาณพนั้นมิได้ยกหาบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

เที่ยวไปเป็นแน่. บทว่า ขีฬานิ ได้แก่ สิ้นความกระด้าง. อีกอย่างหนึ่ง

บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน บทว่า สุขฺย ได้แก่ ความสุข. บทว่า สนฺถตา

ได้แก่ อันปูลาด. บทว่า วิกิณฺณรูปา จ ความว่า ข้าแต่ท่านพ่อ ที่อัน

ปูลาดด้วยใบเถาย่างทรายของท่านนี้ กลายเป็นที่เปรอะเปื้อนอากูล ด้วยอำนาจ

การที่ข้าพเจ้าและชฎิลนั้นลูบคลำ สัมผัสทางเพศกันและกัน ในวันนี้ คล้าย

กระจุยกระจาย ด้วยการนอนพลิกไปพลิกมา ฉะนั้น. บทว่า ปุนปฺปุน

ปณฺณกุฏึ วชาม ความว่า ชฎิลนั้น พูดว่า ข้าแต่ท่านพ่อ ข้าพเจ้าและ

ชฎิลนั้นอภิรมย์กันแล้ว ก็เหน็ดเหนื่อย ออกจากบรรณศาลา พากันไปยัง

แม่น้ำ รื่นรมย์แล้ว พอปราศจากความกระวนกระวายแล้วก็กลับเข้าไปยังกุฎี

นี้นั่นแหละบ่อย ๆ. บทว่า มนฺตา ความว่า วันนี้ คือ ตั้งแต่กาลที่ชฎิล

นั้นจากข้าพเจ้าไปแล้ว มนต์ทั้งหลาย ย่อมไม่แจ่มแจ้ง คือ ย่อมไม่ปรากฏ

ได้แก่ ย่อมไม่ชอบใจข้าพเจ้าเลย. บทว่า น อคฺคิหุตฺต นปิ ยญฺ ตตฺร

ความว่า แม้กิริยาของยัญมีจุดไฟ (สุมไฟ) ในการสังเวยเป็นต้น ที่ควรทำ

เพื่อต้องการอ้อนวอนท้าวมหาพรหม ย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่

ชอบใจเลย. บทว่า น จาปิ เต ความว่า ข้าพเจ้าจะไม่ยอมบริโภค แม้

ซึ่งมูลผลาหารที่ท่านพ่อนำมาแล้ว. บทว่า ยสฺส ทิส แปลว่า ในทิศใด.

บทว่า วน ได้แก่ ป่าไม้ที่เกิดอยู่แวดล้อมอาศรมของมาณพนั้น.

เมื่อดาบสนั้น กำลังพร่ำเพ้ออยู่นั่นเอง พระมหาโพธิสัตว์ ได้ฟังคำ

พร่ำเพ้อนั้นแล้ว ก็ทราบว่า ศีลของดาบสนั้น เห็นทีจักถูกผู้หญิงคนหนึ่งทำลาย

ให้ขาดเสียแล้วเป็นแน่ ดังนี้ เมื่อจะกล่าวสอนดาบสนั้น จึงกล่าวคาถา ๖ คาถา

ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

เราไม่ควรให้เจ้าผู้ยังเป็นเด็กเช่นนี้ ถึงความ

กระสันในป่าโชติรส ที่หมู่คนธรรพ์และเทพอัปสร

ซ่องเสพ เป็นที่อยู่อาศัยแห่งฤาษีทั้งหลาย ในกาลก่อน

พวกมิตรย่อมมีบ้าง ไม่มีบ้าง ชนทั้งหลาย ย่อมทำ

ความรักในพวกญาติและพวกมิตร กุมารใดย่อมไม่รู้ว่า

เราเป็นผู้มาแต่ไหน กุมารนี้เป็นผู้ลามก อยู่ในกลางวัน

เพราะเหตุอะไร มิตรสหายย่อมสนิทกันบ่อย ๆ เพราะ

ความอยู่ร่วมกัน มิตรนั้นนั่นแหละย่อมเสื่อมไป เพราะ

ความไม่อยู่ร่วมของบุรุษที่ไม่สมาคม ถ้าเจ้าได้เห็น

พรหมจารี ได้พูดกับพรหมจารี เจ้าจักละคุณคือตป-

ธรรมนี้เร็วไว ดุจข้าวกล้าที่สมบูรณ์แล้ว เสียไปเพราะ

น้ำมาก ฉะนั้น หากเจ้าได้เห็นพรหมจารีอีก ได้พูด

กับพรหมจารีอีก เจ้าจักละสมณเดชนี้เร็วไว ดุจข้าว

ถ้าที่สมบูรณ์แล้ว เสียไปเพราะน้ำมาก ฉะนั้น

ดูก่อนลูกรัก พวกยักษ์นั้น ย่อมเที่ยวไปในมนุษยโลก

โดยรูปแปลก ๆ นรชนผู้มีปัญญา ไม่พึงคบพวกยักษ์

นั้น พรหมจารีย่อมฉิบหายไป เพราะความเกาะเกี่ยว

กัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิมสฺมา ได้แก่ อิมสฺมึ แปลว่า

(ในป่าอันเป็นโชติรส) นี้. คำว่า หิ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า โชติรเส

ได้แก่ ในป่าอันมีรัศมีโชติช่วงสว่างไสวปกคลุมทั่ว. บทว่า สนนฺตนมฺหิ

แปลว่า ในกาลก่อน. บทว่า ปาปุเณถ แปลว่า (ไม่) ควรให้ถึง. มีคำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

อธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า ลูกเอย ! กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตอยู่ในป่าเห็นปานนี้

ไม่ควรให้เจ้าผู้ยังเป็นเด็กเช่นนี้ ถึงความกระสันเลย อธิบายว่า ไม่ควรให้ถึง.

บทว่า ภวนฺติ ความว่า พระมหาโพธิสัตว์ กล่าวคาถานี้ เฉพาะคนที่อยู่

ภายในเท่านั้น. ความในคาถานั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ ธรรมดาว่าหมู่มิตร

ของปวงสัตว์ในโลก ย่อมมีบ้าง ไม่มีบ้าง ในบรรดาคนเหล่านั้น พวกที่เป็น

มิตร ย่อมทำความรักในพวกญาติและพวกมิตรของตน. บทว่า อยญฺจ ชมฺโม

ได้แก่ (กุมารนี้) เป็นมิคสิงคะ ผู้ลามก. บทว่า กิสฺส ทิวา นิวิฏฺโ

ความว่า เพราะค่าที่ตนเกิดในท้องของมิคีแล้วเติบโตในป่า ด้วยเหตุอะไร

กุมารนั้นจึงอยู่กับมาตุคาม โดยสำคัญว่าเป็นมิตรเล่า. บทว่า กุโตมิหิ

อาคโต ความว่า กุมารนั้น ย่อมไม่รู้ว่าคนมีฐานะมาอย่างไร จะป่วย

กล่าวไปไยถึงหมู่ญาติและมิตรเล่า. บทว่า ปุนปฺปุน ความว่า ลูกเอ๋ย !

ธรรมดาว่าหมู่มิตรย่อมสนิทสนมกัน ติดต่อกันบ่อย ๆ เพราะการอยู่ร่วมกัน

คือ คบหากัน. บทว่า เสฺวว มิตฺโต ความว่า มิตรนั้นนั่นแหละ ย่อม

เสื่อมไป คือย่อมพินาศไป เพราะการไม่อยู่ร่วมกล่าวคือการไม่สมาคมกันนั้น

ของบุรุษผู้ที่ไม่สมาคม. คำว่า สเจ ความว่า เพราะฉะนั้น ลูกเอ๋ย ! ถ้า

เจ้าได้เห็นพรหมจารีนั้นซ้ำอีก หรือว่าได้พูดกับพรหมจารีนั้น เจ้าก็จักละ

จักทำให้คุณ คือตปธรรมของตนนี้ เสื่อมไปเร็วไว ดุจข้าวกล้าที่เผล็ดผล

สมบูรณ์ดีแล้ว เสียไปเพราะน้ำมาก ฉะนั้น. บทว่า อุสฺมาคต แปลว่า

สมณเดช. บทว่า วิรูปรูเปน แปลว่า โดยรูปแปลก ๆ. มีคำที่ท่านกล่าว

อธิบายไว้ว่า พระโพธิสัตว์กล่าวสอนแล้วซึ่งบุตรอย่างนี้ว่า ดูก่อนลูกรัก ก็

ภูตคือพวกยักษ์เหล่านี้ ย่อมเที่ยวไปในมนุษยโลก โดยรูปร่างของตนปกปิด

รูปแปลก ๆ ไว้ ก็เพื่อเคี้ยวกินพวกคนที่ตกไปสู่อำนาจของตน นรชนผู้มีปัญญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

ไม่พึงคบหาพวกภูตคือยักษ์เหล่านั้น เพราะถึงความเกาะเกี่ยวกันเช่นนั้น การ

ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมฉิบหายไป เจ้าถูกนางยักษิณีนั้นพบเห็นแล้ว แต่

ยังไม่ถูกเคี้ยวกิน.

ดาบสนั้น ได้ฟังถ้อยคำของบิดาแล้วเกิดความกลัวขึ้นว่า เพิ่งทราบ

ว่า หญิงคนนั้นคือนางยักษิณี จึงกลับใจแล้ว ขอขมาคุณพ่อว่า คุณพ่อครับ

ผมจักไม่ขอไปจากที่นี้ พ่อยกโทษให้ผมเถอะ. แม้พระโพธิสัตว์นั้น ปลอบใจ

ให้ลูกสบายใจแล้ว จึงบอกถึงวิธีการเจริญพรหมวิหารว่า มาณพน้อย เอ๋ย !

เจ้ามานี่ซิ เจ้าจงเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาเถิด. ดาบสนั้น

ปฏิบัติตามอย่างนั้นแล้ว ก็ทำฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้นได้อีก.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ

ทั้งหลายแล้ว ทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ อุกกัณฐิตภิกษุ ดำรงอยู่

ในโสดาปัตติผล. พระราชธิดานฬินิกาในกาลนั้น ได้เป็นปุราณทุติยิกา.

อิสิสงคดาบส ได้เป็นอุกกัณฐิตภิกษุ ส่วนพระโพธิสัตว์ผู้เป็นบิดา

ก็คือเรานั่นเอง.

จบอรรถกถานฬินิกาชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

๒. อุมมาทันตีชาดก

ว่าด้วยเสนาบดีถวายนางอุมมาทันตีแด่พระราชา

[๒๐] ดูก่อนนายสุนันทสารถี นี่เรือนของใคร

หนอล้อมด้วยกำแพงสีเหลือง ใครหนอปรากฏอยู่ในที่

ไกล เหมือนเปลวไฟอันลุกโพลงอยู่บนเวหาสและ

เหมือนเปลวไฟบนยอดภูเขาฉะนั้น ดูก่อนนายสุนันท-

สารถี หญิงคนนี้เป็นธิดาของใครหนอเป็นลูกสะใภ้

หรือเป็นภรรยาของใคร ไม่มีผู้หวงแหนหรือ สามีของ

นางมีหรือไม่ เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกแก่เราโดยเร็ว.

[๒๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชานิกร ก็

ข้าพระองค์ย่อมรู้จักหญิงนั้นพร้อมทั้งมารดา บิดา

และสามีของนาง ข้าแต่พระจอมภูมิบาล บุรุษนั้นเป็น

ผู้ไม่ประมาทในประโยชน์ของพระองค์ทั้งกลางคืน

กลางวัน สามีของนางเป็นผู้มีอิทธิพลกว้างขวางและ

มั่งคั่งทั้งเป็นอำมาตย์คนหนึ่งของพระองค์ ข้าแต่

พระราชา หญิงนั้นเป็นภรรยาของอภิปารกเสนาบดี

มีชื่อว่า อุมมาทันตี พระเจ้าข้า.

[๒๒] ดูก่อนท่านผู้เจริญ ๆ ชื่อที่มารดาและ

บิดาตั้งให้หญิงนี้ เป็นชื่อเหมาะสมดี จริงอย่างนั้นเมื่อ

นางมองดูเรา ย่อมทำให้เราหลงใหลคล้ายคนบ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

[๒๓] ในคืนเดือนเพ็ญ นางผู้มีนัยน์ตาชม้าย

คล้ายเนื้อทราย ร่างกายมีสีเหมือนดอกบุณฑริกนั่งอยู่

ใกล้หน้าต่าง ในคืนนั้น เราได้เห็นนางนุ่งห่มผ้าสีแดง

เหมือนเท้านกพิราบ สำคัญว่าพระจันทร์ขึ้นสองดวง

ราวใด นางมีหน้ากว้าง ขาวสะอาด ประเล้า ประ-

ลมอยู่ด้วยอาการอันงดงาม ชม้อยชม้ายชำเลืองดู

รา ดังจะปล้นเอาดวงใจของเราไปเสียเลย เหมือน

นางกินนรเกิดบนภูเขาในป่า ฉะนั้น ก็คราวนั้น นาง

ผู้พริ้งเพรา มีตัวเป็นสีทอง สวมกุณฑลแก้วมณี ผ้า

นุ่งห่มท่อนเดียว ชำเลืองดูเราประดุจนางเนื้อทรายมอง

ดูนายพราน ฉะนั้น เมื่อไรหนอ นางผู้นี้เล็บแดง มี

ขนงาม มีแขนนุ่มนิ่ม ลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์ มีนิ้วมือ

กลมเกลี้ยง มีกระบวนชดช้อยงามตั้งแต่ศีรษะ จักได้

ยั่วยวนเรา เมื่อไรหนอ ธิดาของท่านเศรษฐีติรีฏิวัจฉะ

ผู้มีทับทรวงอันกระทำด้วยข่ายทอง เอวกลม จักกอด

รัดเราด้วยแขนทั้งสองอันนุ่มนิ่ม ประดุจเถาย่านทราย

รวมรัดต้นไม้ที่เกิดในป่าใหญ่ ฉะนั้น เมื่อไรหนอ

นางผู้มีผิวงามแดงดังน้ำครั่ง มีถันเป็นปริมณฑลดัง

ฟองน้ำ มีอวัยวะฉาบด้วยผิวหนังเปล่งปลั่งดังดอก

บุณฑริก จักจรดปากด้วยปากกะเรา เหมือนดังนักเลง

สุราจรดจอกสุราให้แก่นักเลงสุรา ฉะนั้น ในกาลใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

เราได้เห็นนางผู้มีร่างกายทุกส่วนอันน่ารื่นรมย์ใจยืนอยู่

ในกาลนั้น เราไม่รู้สึกอะไร ๆ แก่จิตของตนเลย

เราได้เห็นนางอุมมาทันตีผู้สวมสอดกุณฑลมณีแล้ว

นอนไม่หลับทั้งกลางวันและกลางคืนเหมือนแพ้ข้าศึก

มาตั้งพันครั้ง ถ้าท้าวสักกะพึงประทานพรให้แก่เรา

ขอให้เราพึงได้พรนั้นเถิด อภิปารกเสนาบดีพึงรื่นรมย์

อยู่กับนางอุมมาทันตีคืนหนึ่งหรือสองคืน ต่อจากนั้น

พระเจ้าสีวิราชพึงได้รื่นรมย์บ้าง.

[๒๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นภูตบดี เมื่อข้าพระ-

องค์นมัสการเทวดาทั้งหลายอยู่ เทวดามาบอกเนื้อ

ความนี้แก่ข้าพระองค์ว่า พระทัยของพระราชาใฝ่ฝัน

ในนางอุมมาทันตี ข้าพระองค์ขอถวายนางแด่พระองค์

ขอพระองค์จงให้นางบำเรอเถิด.

[๒๕] ก็เราพึงพรากเสียจากบุญและไม่เป็น

เทวดา อนึ่ง คนพึงรู้ความชั่วของเรานี้ และเมื่อท่าน

ให้นางอุมมาทันตีภรรยาสุดที่รักแล้วไม่เห็นนาง ความ

แค้นใจอย่างร้ายแรงจะพึงมีแก่ท่าน.

[๒๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชานิกร

ประชาชนแม้ทั้งสิ้น นอกจากข้าพระบาทและพระองค์

ไม่พึงรู้กรรมที่ทำกัน ข้าพระบาทยอมถวายนางอุมมา-

ทันตีแก่พระองค์ พระองค์จงทรงอภิรมย์อยู่กับนาง

เต็มพระหฤทัยปรารถนาแล้ว จงทรงสลัดเสีย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

[๒๗] มนุษย์ใดผู้กระทำกรรมอันลามก มนุษย์

นั้นย่อมสำคัญว่า คนอื่นไม่รู้การกระทำนี้ เพราะว่า

นรชนเหล่าใดประกอบแล้วบนพื้นปฐพี นรชนเหล่านั้น

ย่อมเห็นการกระทำนี้ คนอื่นใครเล่าในแผ่นดินนี้ทั้งโลก

พึงเชื่อท่านหรือว่า นางอุมมาทันตีไม่เป็นที่รักแห่งเรา

เมื่อท่านให้นางอุมมาทันตีภรรยายอดรักแล้ว ไม่เห็น

นางภายหลัง ความคับแค้นใจอย่างร้ายแรงจะพึงมีแก่

ท่าน.

[๒๘] ข้าแต่พระจอมประชาชน นางอุมมาทันตี

นั้นเป็นที่รักของข้าพระบาทโดยแท้ ข้าแต่พระภูมิบาล

นางไม่เป็นที่รักของข้าพระบาทก็หาไม่ ขอความเจริญ

มีแต่พระองค์ เชิญพระองค์เสด็จไปหานางอุมมาทันตี

เหมือนดังราชสีห์เข้าสู่ถ้ำศิลาเถิด.

[๒๙] นักปราชญ์ทั้งหลายถูกความทุกข์ของตน

บีบคั้นแล้ว ย่อมไม่ละกรรมที่มีผลเป็นสุข แม้จะเป็น

ผู้หลงมัวเมาด้วยความสุขก็ย่อมไม่ประพฤติบาปกรรม.

[๓๐] ก็พระองค์เป็นทั้งพระมารดาพระบิดา

เป็นผู้เลี้ยงดู เป็นเจ้านาย เป็นผู้พอกเลี้ยง และเป็น

เทวดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์พร้อมด้วยบุตรและ

ภรรยาเป็นทาสของพระองค์ ขอพระองค์ทรงบริโภค

กามตามความสุขเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

[๓๑] ผู้ใดย่อมทำบาปด้วยความสำคัญว่า เรา

เป็นผู้ยิ่งใหญ่ และครั้นกระทำแล้วก็ไม่สะดุ้งกลัวต่อ

ชนเหล่าอื่น ผู้นั้นย่อมไม่เป็นอยู่ตลอดอายุยืนยาวเพราะ

กรรมนั้น แม้เทวดาก็มองดูผู้นั้นด้วยนัยน์ตาอันเหยียด

หยาม.

[๓๒] ชนเหล่าใดตั้งอยู่ในธรรม ย่อมรับทาน

ที่เป็นของผู้อื่นอันเจ้าของมอบให้แล้ว ชนเหล่านั้น

เป็นผู้รับด้วย เป็นผู้ให้ในทานนั้นด้วย ได้ชื่อว่าทำ

กรรมอันมีผลเป็นสุขในเพราะทานนั้นแท้จริง.

[๓๓] คนอื่นใครเล่าในแผ่นดินทั้งโลก จะพึง

เชื่อท่านหรือว่า นางอุมมาทันตีไม่เป็นที่รักของเรา

เมื่อท่านให้นางอุมมาทันตีภรรยายอดรักแล้ว ไม่เห็น

นางภายหลัง ความคับแค้นใจอย่างร้ายแรงจะพึงมีแก่

ท่าน.

[๓๔] ข้าแต่พระจอมประชาชน นางอุมมาทันตี

นั้นเป็นที่รักของข้าพระบาทโดยแท้ ข้าแต่พระภูมิบาล

นางไม่เป็นที่รักของข้าพระบาทก็หาไม่ ข้าพระบาท

ยอมถวายนางอุมมาทันตีแก่พระองค์ พระองค์จงทรง

อภิรมย์อยู่กับนาง เต็มพระหฤทัยปรารถนาแล้ว จง

ทรงสลัดเสีย.

[๓๕] ผู้ใดก่อทุกข์ให้แก่ผู้อื่นด้วยทุกข์ของตน

หรือก่อความสุขของตนด้วยความสุขของผู้อื่น ผู้ใดรู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

อย่างนี้ว่า ความสุขและความทุกข์ของเราก็เหมือนของ

ผู้อื่น ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรม.

[๓๖] คนอื่นใครเล่าในแผ่นดินทั้งโลก จะพึง

เชื่อท่านหรือว่า นางอุมมาทันตีไม่เป็นที่รักของเรา เมื่อ

ท่านให้นางอุมนาทันตีภรรยายอดรักแล้ว ไม่เห็นนาง

ภายหลัง ความคับแค้นใจอย่างร้ายแรงจะพึงมีแก่ท่าน.

[๓๗] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมประชาชน พระองค์

ย่อมทรงทราบว่า นางอุมมาทันตีนี้เป็นที่รักของข้าพระ-

บาทข้าแต่พระจอมภูมิบาล นางนั้นไม่เป็นที่รักของข้า

พระบาทก็หาไม่ ข้าพระบาทขอถวายสิ่งอันเป็นที่รัก

ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผู้ให้สิ่งอันเป็นที่รัก ย่อม

ได้สิ่งอันเป็นที่รัก.

[๓๘] เรานั้นจักฆ่าตนอันมีกามเป็นเหตุโดยแท้

เราไม่อาจฆ่าธรรมด้วยอธรรมได้เลย.

[๓๙] ข้าแต่พระจอมประชาชน ผู้แกล้วกล้ากว่า

นรชน ผู้ประเสริฐ ถ้าพระองค์ไม่ต้องพระประสงค์นาง

อุมมาทันตีผู้เป็นของข้าพระบาทไซร้ ข้าพระบาทจะ

สละนางในท่ามกลางชนทั้งปวง พระองค์พึงตรัสสั่งให้

นำนางผู้พ้นจากข้าพระบาทแล้วมาจากที่นั้นเถิด พระ-

เจ้าข้า.

[๔๐] ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้กระทำประโยชน์

ถ้าท่านจะสละนางอุมมาทันตีผู้หาประโยชน์มิได้ เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

สิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่ท่าน ความค่อนว่าอย่างใหญ่

หลวงจะพึงมีแก่ท่าน อนึ่ง แม่การใส่ร้ายในพระนคร

ก็จะพึงมีแก่ท่าน.

[๔๑] ข้าแต่พระจอมภูมิบาล ข้าพระบาทจักอด

กลั้นคำค่อนว่า คำนินทา คำสรรเสริญ และคำติเตียน

นี้ทั้งหมด คำค่อนว่าเป็นต้นนั้นจงตกอยู่แก่ข้าพระบาท

ข้าแต่พระจอมแห่งชนชาวสีพี ขอพระองค์ทรงบริโภค

กามตามความสำราญเถิด ผู้ใดไม่ถือเอาความนินทา

ความสรรเสริญ ความติเตียน และแม้การบูชา สิริ

และปัญญาย่อมปราศจากผู้นั้น เหมือนดังน้ำฝนปราศ

ไปจากที่ดอน ฉะนั้น ข้าพระบาทจักยอมรับความทุกข์

ความสุข สิ่งที่ล่วงธรรมดาและความคับแค้นใจทั้ง

หมดเพราะเหตุแห่งการสละนี้ ด้วยอกเหมือนดังแผ่น

ดินรองรับสิ่งของทั้งของคนมั่นคงและคนสะดุ้ง ฉะนั้น.

[๔๒] เราไม่ปรารถนาสิ่งที่ล่วงธรรมดา ความ

คับแค้นใจและความทุกข์ของชนเหล่าอื่น เราแม่ผู้เดียว

จักเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมไม่ยังประโยชน์หน่อยหนึ่งให้

เสื่อม ข้ามภาระนี้ไป.

[๔๓] ข้าแต่จอมประชาชน บุญกรรมย่อมให้

เข้าถึงสวรรค์ พระองค์อย่าได้ทรงทำอันตรายแก่ข้า-

พระบาทเสียเลย ข้าพระบาทมีใจเลื่อมใสขอถวายนาง

อุมมาทันตีแด่พระองค์ ดังพระราชาทรงประทาน

ทรัพย์สำหรับบูชายัญแก่พราหมณ์ทั้งหลาย ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

[๔๔] ท่านเป็นผู้เกื้อกูลแก่เราในการกระทำ

ประโยชน์แน่แท้ นางอุมมาทันตีและพรหมทั้งหมด

เห็นความชั่วอันเป็นไปในภายหน้า พึงติเตียนได้.

[๔๕] ข้าแต่พระเจ้าสีวิราช ชาวนิคมและชาว

ชนบททั้งหมด ไม่พึงคัดค้านกรรมอันเป็นธรรมนั้น

เลย ข้าพระบาทขอถวายนางอุมมาทันตีแก่พระองค์

ขอพระองค์จงทรงอภิรมย์อยู่กับนางเต็มพระหฤทัย

ปรารถนาแล้ว จงทรงสลัดเสีย.

[๔๖] ท่านเป็นผู้เกื้อกูลแก่เราในการกระทำ

ประโยชน์แน่แท้ นางอุมมาทันตีและท่านเป็นสหาย

ของเรา ธรรมของสัตบุรุษที่ประกาศดีแล้ว ยากที่จะ

ล่วงละเมิดได้ เหมือนเขตแดนของสมุทร ฉะนั้น.

[๔๗] ข้าแต่พระราชา พระองค์เป็นผู้ควรของ

คำนับของข้าพระองค์ เป็นผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล เป็น

ผู้ทรงไว้ เป็นผู้ประทานความสุข และทรงรักษาความ

ปรารถนาไว้ ยัญที่บูชาในพระองค์ย่อมมีผลมาก ขอ

พระองค์ทรงรับนางอุมมาทันตีตามความปรารถนาของ

ข้าพระบาทเถิด.

[๔๘] ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้เป็นบุตรแห่ง

ท่านผู้กระทำประโยชน์ ท่านได้ประพฤติแล้วซึ่งธรรม

ทั้งปวงแก่เราโดยแท้ นอกจากท่าน มนุษย์อื่นใครเล่า

หนอจักเป็นผู้กระทำความสวัสดีในเวลาอรุณขึ้น ใน

ชีวโลกนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

[๔๙] พระองค์เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้ยอดเยี่ยม

พระองค์ทรงดำเนินโดยธรรม ทรงรู้แจ้งธรรม มีพระ

ปัญญาดี ขอพระองค์ผู้อันธรรมคุ้มครองแล้ว จงทรง

พระชนม์ยั่งยืนนาน ข้าแต่พระองค์ผู้รักษาธรรม ขอ

พระองค์โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด.

[๕๐] ดูก่อนอภิปารกเสนาบดี เชิญท่านฟังคำ

ของเราเถิด เราจักแสดงธรรมที่สัตบุรุษส้องเสพแก่

ท่าน พระราชาชอบใจธรรมจึงจะดีงาม นรชนผู้มี

ความไม่ประทุษร้ายต่อมิตรเป็นความดี การไม่กระทำ

บาปเป็นสุข มนุษย์ทั้งหลายพึงอยู่เป็นสุข ในแว่นแคว้น

ของพระราชาผู้ไม่ทรงกริ้วโกรธ ทรงตั้งอยู่ในธรรม

เหมือนเรือนของตนอันมีร่มเงาเย็นฉะนั้น เราย่อมไม่

ชอบใจกรรมที่ทำด้วยความไม่พิจารณาอันเป็นกรรมไม่

ดีนั้นเลย แม้พระราชาเหล่าใดทรงทราบแล้วไม่ทรง

ทำเอง เราชอบใจกรรมของพระราชาเหล่านั้น ขอ

ท่านจงพึงอุปมาของเราต่อไปนี้ เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟาก

ไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงว่ายไปคด โคทั้งหมดนั้นก็ว่าย

ไปคดในเมื่อโคนำฝูงว่ายคด ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็

ฉันนั้น ผู้ใดได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ประเสริฐ ถ้าผู้นั้น

ประพฤติอธรรมจะป่วยกล่าวไปไยถึงประชาชนนอกนี้

รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นทุกข์ ถ้าพระราชาไม่ทรงตั้งอยู่

ในธรรมเมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงว่ายไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

ตรง โคทั้งหมดนั้นก็ว่ายไปตรง ในเมื่อโคนำฝูงว่ายไป

ตรง ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับยกย่องว่า

เป็นผู้ประเสริฐ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรมจะป่วยกล่าวไป

ไยถึงประชาชนนอกนี้ รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นสุข ถ้า

พระราชาทรงตั้งอยู่ในธรรม ดูก่อนอภิปารกเสนาบดี

เราไม่พึงปรารถนาเพื่อความเป็นเทวดา และเพื่อครอบ

ครองแผ่นดินทั้งหมดนี้ โดยอธรรม รัตนะอย่างใด

อย่างหนึ่ง คือ โค ทาส เงิน ผ้า และจันทน์เทศ

มีอยู่ในมนุษย์นี้ เราจะไม่ประพฤติผิดธรรมเพราะ

ความปรารถนารัตนะเหล่านั้น บุคคลไม่พึงประพฤติ

ผิดธรรมเพราะเหตุแห่งสมบัตินั้น เป็นต้นว่าม้า หญิง

แก้วมณี หรือแม้พระจันทร์และพระอาทิตย์ที่รักษาอยู่

เราเป็นผู้องอาจ เกิดในท่ามกลางแห่งชาวสีพีทั้งหลาย

ฉะนั้น เราจะไม่ประพฤติผิดธรรมเพราะเหตุแห่ง

สมบัตินั้น เราจะเป็นผู้นำ จะเป็นผู้เกื้อกูล เป็นผู้

เฟื้องฟู ปกครองแว่นแคว้น จักเป็นผู้เคารพธรรม

ของชาวสีพี จะเป็นผู้คิดค้นซึ่งธรรม เพราะฉะนั้น เรา

จะไม่เป็นไปในอำนาจแห่งจิตของตน.

[๕๑] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ทรงประ-

พฤติธรรมอันไม่มีความฉิบหาย เป็นแดนเกษมอยู่เป็น

นิจแน่แท้ พระองค์จักดำรงราชสมบัติอยู่ยั่งยืนนาน

เพราะพระปัญญาของพระองค์เป็นเช่นนั้น พระองค์ไม่

ทรงประมาทธรรมใด ข้าพระองค์ขออนุโมทนาธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

นั้นของพระองค์ กษัตริย์เป็นอิสระทรงประมาทธรรม

แล้ว ย่อมเคลื่อนจากรัฐ ข้าแต่พระมหากษัตริย์ขัตติย-

ราช ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในพระชนนีและ

พระชนก ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้วจัก

เสด็จสู่สวรรค์ ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรม

ในพระราชบุตรและพระมเหสี ครั้นทรงประพฤติ

ธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ ขอพระองค์จง

ทรงประพฤติธรรมในมิตรและอำมาตย์...ในราชพา-

หนะและทแกล้วทหาร ...ในบ้านและนิคม ...ใน

แว่นแคว้นและชนบท... ในสมณะพราหมณ์ ...ใน

เนื้อและนกทั้งหลาย...ครั้นพระองค์ทรงประพฤติ

ธรรมในโลกนี้แล้วจักเสด็จสู่สวรรค์ ข้าแต่พระมหา-

ราชเจ้า ขอพระองค์จงประพฤติธรรมเถิด เพราะว่า

ธรรมที่ประพฤติแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ครั้นพระองค์

ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติ-

ธรรมเถิด ด้วยว่าพระอินทร์ เทวดา พร้อมทั้งพรหม

เป็นผู้ถึงทิพยสถานเพราะธรรมที่ประพฤติแล้ว ข้าแต่

พระราชา พระองค์อย่าทรงประมาทธรรมเลย.

จบอุมมาทันตีชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

อรรถกถาปัญญาสนิบาต

อรรถกถาอุมมาทันตีชาดก

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหารทรงพระปรารภ

อุกกัณฐิตภิกษุ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า นิเวสน กสฺส นุท สุนนฺท

ดังนี้เป็นต้น.

ได้ยินว่า วันหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ได้

มองเห็นหญิงคนหนึ่ง ซึ่งประดับตกแต่งร่างกาย มีรูปร่างงดงามอย่างยิ่ง เกิด

มีจิตปฏิพัทธ์ ไม่อาจจะกลับใจหักห้ามได้ มายังวิหาร จำเดิมแต่นั้น ก็เป็น

ผู้อ่อนแอเพราะโรค ดุจถูกลูกศรทิ่มแทงแล้ว มีส่วนเปรียบด้วยเนื้อที่วิ่งพล่าน

ไป ฝ่ายผอม ร่างกายมีเส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง กลายเป็นคนผอมเหลือง ไม่ยินดี

(ในพระศาสนา) เมื่อไม่ได้ความสบายใจ แม้ในอิริยาบถหนึ่ง จึงละเว้นวัตร

มีอาจริยวัตรและอุปัชฌายวัตรเป็นต้น อยู่ชนิดที่เว้นว่างจากการประกอบความ

เพียรในอุทเทส ปริปุจฉา และกัมมัฏฐาน. เธอถูกพวกเพื่อนภิกษุถามว่า

อาวุโส เมื่อก่อนท่านมีอินทรีย์เปล่งปลั่ง มีสีหน้าผ่องใส แต่เดี๋ยวนี้ หาได้เป็น

อย่างนั้นไม่ เพราะเหตุอะไรกันหนอ ? จึงตอบว่า อาวุโส ผมไม่ยินดียิ่ง

(ในพระศาสนา) เลย. ลำดับนั้น พวกเพื่อนภิกษุเหล่านั้น จึงกล่าวสอนเธอ

ว่า อาวุโสเอย ! ท่านจงยินดียิ่ง (ในพระศาสนา) เถิด ธรรมดาว่า การ

อุบัติเกิดแห่งพระพุทธเจ้า เป็นสภาวะที่ได้โดยยาก การได้ฟังพระสัทธรรม

และการได้อัตภาพเป็นมนุษย์ ก็เป็นสิ่งที่ได้โดยยากเหมือนกัน ท่านนั้นได้

อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว เมื่อปรารถนาจะทำที่สุดแห่งทุกข์ให้ได้ จึงละคนผู้

เป็นญาติมีน้ำตานองใบหน้าแล้ว บวชด้วยศรัทธา เพราะเหตุไร ท่านจึงตก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

ไปสู่อำนาจแห่งกิเลสเล่า ขึ้นชื่อว่า กิเลสเหล่านั้น มีทั่วไปแก่คนพาลทุก

จำพวก ตั้งแต่สัตว์มีชีวิตไส้เดือนขึ้นไป มีอุปมาเหมือนผลไม้ กิเลสเหล่านั้น

เป็นที่ตั้งแห่งวัตถุกาม กามแม้เหล่านั้น มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความ

คับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้น มีประมาณยิ่ง กามทั้งหลาย เปรียบเหมือน

ร่างกระดูก กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบ

เพลิงหญ้า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง กามทั้งหลายเปรียบ

เหมือนความฝัน กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ยืมเขามา กามทั้งหลาย

เปรียบเหมือนผลของต้นไม้ที่มีพิษ กามทั้งหลาย เปรียบเหมือนหอกและหลาว

กามทั้งหลาย เปรียบเหมือนหัวงู ธรรมดาว่าท่านบวชแล้ว ในพระศาสนาเห็น

ปานนี้ ยังตกไปสู่อำนาจของเหล่ากิเลส ซึ่งเป็นเหตุกระทำความพินาศถึงอย่าง

นั้นได้ดังนี้ เมื่อไม่สามารถจะให้ภิกษุนั้นรับเอาถ้อยคำของตนได้ จึงพากันนำ

ไปเข้าเฝ้าพระศาสดายังธรรมสภา เมื่อพระองค์ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอพาภิกษุผู้ไม่มีความปรารถนาจะมา ทำไม ? จึงพากันกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทราบว่าภิกษุรูปนี้ เป็นผู้มีความเบื่อหน่าย เจ้าข้า. พระ

ศาสดาตรัสถามว่า ที่เล่ามาเป็นความจริงหรือ เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า เป็น

ความจริง พระเจ้าข้า ดังนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ โปราณกบัณฑิตทั้งหลาย

แม้ตามพร่ำสอน ซึ่งพระราชาผู้ครอบครองราชสมบัติอยู่ จนไม่ตกไปสู่อำนาจ

กิเลสที่เกิดขึ้น ห้ามจิตเสียได้ ไม่ยอมทำสิ่งที่ไม่สมควร ดังนี้แล้ว ทรงนำ

อดีตนิทานมาตรัสว่า

ในอดีตกาล ในแคว้นสีวี พระราชาทรงพระนามว่า สีวี ทรงครอบ

ครองราชสมบัติ ในอริฏฐบุรีนคร. พระโพธิสัตว์ บังเกิดในพระครรภ์พระ

อัครมเหสีของพระราชาพระองค์นั้นแล้ว. พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลาย พากัน

ขนานพระนามพระราชโอรสนั้นว่า สีวิกุมาร. แม้บุตรของท่านเสนาบดี ก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

คลอดแล้ว. พวกหมู่ญาติ พากันค้างชื่อเด็กนั้นว่า อภิปารกะ. เด็กทั้งสองคน

นั้น เป็นสหายกัน พอเจริญวัยที่อายุได้ ๑๖ ปี ไปยังกรุงตักกศิลา พอเล่า

เรียนศิลปะจบแล้ว ก็พากันกลับมา. พระราชาได้ทรงพระราชทานพระราช-

สมบัติให้พระราชโอรสครอบครอง. แม้พระราชโอรสนั้น ก็ทรงแต่งตั้ง

อภิปารกะไว้ในตำแหน่งเสนาบดีแล้ว ทรงครอบครองราชสมบัติโดยธรรม.

ในพระนครนั้นนั่นเอง มีบุตรสาวของท่านติริฏิวัจฉเศรษฐี ผู้มีทรัพย์สมบัติ

ประมาณ ๘๐ โกฏิ เธอมีรูปร่างสวยยิ่งนัก เลอเลิศด้วยความงาม ประกอบ

ด้วยลักษณะอันงดงาม. ในวันตั้งชื่อ หมู่ญาติได้ตั้งชื่อเธอว่า อุมมาทันตี. ใน

เวลาเธอมีอายุได้ ๑๖ ปี เธอมีผิวพรรณเกินล้ำหมู่มนุษย์ งดงาม น่าดูน่าชม

ปานเทพยดาชั้นฟ้า. พวกปุถุชนที่พบเห็นเธอเข้าทุกคน ๆ คน ไม่สามารถจะ

ดำรงอยู่ได้โดยภาวะของตน เป็นผู้เมาแล้ว ด้วยความเมาคือกิเลส เหมือนเมา

แล้วด้วยน้ำเมา ฉะนั้น ชื่อว่า สามารถจะตั้งสติได้ ไม้ได้มีแล้ว. ครั้งนั้น

ท่านติริฏิวัจฉะผู้เป็นบิดาของนาง เข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้สมมติเทพ อิตถีรัตนะอันสมควรแด่พระเจ้าแผ่นดิน ได้บังเกิดขึ้น

แล้วในเรือนของข้าพระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดส่งพราหมณ์ผู้ท่านายลักษณะ

ทั้งหลายไป ให้พิจารณาอิตถีรัตนะนั้นแล้ว โปรดจงทำคามความพอพระทัย

เถิด. พระราชา ทรงรับคำแล้วทรงสั่งพราหมณ์ทั้งหลายไปแล้ว. พราหมณ์

เหล่านั้นไปยังเรือนของท่านเศรษฐีแล้ว ได้รับการต้อนรับด้วยสักการะและ

สัมมานะ พากันบริโภคข้าวปายาสแล้ว.

ในขณะนั้น นางอุมมาทันตี ผู้ประดับประดาด้วยเครื่องอลังการพร้อม

สรรพ ได้ไปสู่สำนักของพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว. พราหมณ์เหล่านั้น พอพบ

เห็นนางเข้าก็ไม่สามารถจะดำรงสติไว้ได้ เป็นผู้เมาด้วยความเมาคือกิเลส ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

ได้รู้เลยว่าตนกำลังบริโภคค้างอยู่. บางพวก ก็จับคำข้าวเอาวางไว้บนศีรษะ

ด้วยสำคัญว่าเราจะบริโภค. บางพวก ก็ยัดใส่ในระหว่างชอกรักแร้. บางพวก

ก็ทุบตีฝาเรือน. พวกพราหมณ์ได้กลายเป็นคนบ้าไปแม้ทั้งหมด. นางเห็น

พราหมณ์เหล่านั้นเข้า จึงกล่าวว่า ทราบว่าพราหมณ์เหล่านี้ จักตรวจดูลักษณะ

ของเรา ท่านทั้งหลาย จงลากคอพราหมณ์เหล่านั้นออกไปให้หมด ดังนี้แล้ว

ให้คนรับใช้นำพราหมณ์เหล่านั้นออกไป. พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ขวยเขิน

ไปยังพระราชนิเวศน์แล้ว โกรธต่อนางอุมมาทันตีจึงกราบทูลความเท็จว่า ขอ

เดชะ ผุ้หญิงคนนั้น เป็นหญิงกาลกรรณี มิได้สมควรแก่พระองค์เลยพระเจ้าข้า.

พระราชา ทรงทราบว่า หญิงคนนั้น เป็นกาลกรรณี จึงมิได้ทรงรับสั่งให้

นำหญิงนั้นมา. นางอุมมาทันตีได้ทราบเรื่องนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า พระราชาไม่

ทรงรับเราด้วยทรงสำคัญว่า ทราบว่าเราเป็นคนกาลกรรณี ขึ้นชื่อว่า หญิง

กาลกรรณี ย่อมไม่มีรูปร่างอย่างนี้เป็นแน่ ดังนี้ จึงผูกอาฆาตในพระราชา

พระองค์นั้นว่า ช่างเถอะ ก็ถ้าว่าเราจักได้เข้าเฝ้าพระราชา ก็จักรู้กัน. ครั้น

ต่อมา ท่านบิดา ได้มอบเธอให้แก่ท่านอภิปารกะ. นางได้เป็นที่รัก ที่ชอบ

ใจของท่านอภิปารกะเสนาบดี. ถามว่า ก็นางได้มีรูปร่างงดงามอย่างนี้ เพราะ

วิบากแห่งกรรมอะไร ? ตอบว่า ด้วยวิบากแห่งการถวายผ้าแดง.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี นางได้บังเกิดในตระกูลที่ขัดสน

ในวันมหรสพ เธอมองเห็นผู้หญิงทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยบุญ นุ่งผ้าที่ย้อมแล้ว

ด้วยดอกดำ ประดับประดาตกแต่งกำลังเล่นกันอยู่ เป็นเหตุให้เธอต้องการจะ

นุ่งผ้าเช่นนั้นเล่นกับเขาบ้าง จึงบอกให้มารดาบิดาได้ทราบ เมื่อท่านทั้ง ๒

นั้นกล่าวว่า ลูกเอ๋ย ! พวกเราเป็นคนจนขัดสน พวกเราจะได้ผ้าอย่างนั้น

แต่ที่ไหนเล่า ดังนี้ จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นท่านจงอนุญาตให้เรา ทำการรับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

จ้างในตระกูลมั่งคั่งแห่งหนึ่งเถิด พวกนายจ้างเหล่านั้น รู้คุณของเราแล้วก็คง

จักให้เอง ดังนี้ พอได้รับอนุญาตจากมารดาบิดาแล้ว จึงเข้าไปยิ่งตระกูลหนึ่ง

กล่าวว่า ดิฉันมาสมัครทำงานรับจ้าง เพื่อต้องการผ้าที่ย้อมด้วยดอกคำ.

ลำดับนั้น พวกนายจ้างกล่าวกะเธอว่า เมื่อเจ้าทำงานครบ ๓ ปีแล้ว พวกเรา

รู้คุณความดีของเจ้าแล้วจักให้แน่. นางรับคำแล้วเริ่มทำงาน พวกนายจ้าง.

เหล่านั้น รู้คุณความดีของนางแล้ว ในเมื่อยังไม่ครบ ๓ ปีบริบูรณ์ดีนั่นเอง

จึงได้มอบผ้าชนิดอื่นพร้อมกับผ้าที่ย้อมแล้วด้วยดอกดำชนิดเนื้อแน่น ให้แก่

นางแล้วสั่งนางว่า เธอจงไปอาบน้ำพร้อมกับพวกสหายของเธอเสร็จแล้ว จง

ลองนุ่งผ้า (นี้ดู). นางไปกับพวกหญิงสหายแล้ว วางผ้าที่ย้อมแล้วไว้บนฝั่ง

อาบน้ำแล้ว. ในขณะนั้น พระสาวกของพระทศพลทรงพระนามว่ากัสสปะ

รูปหนึ่ง มีจีวรถูกโจรชิงเอาไป นุ่งและห่มกิ่งไม้ที่หักได้ มาถึงยังที่นั้นแล้ว.

นางเห็นท่านแล้วคิดว่า ท่านผู้เจริญรูปนี้ เห็นที่จักถูกโจรชิงจีวรไปแล้ว ผ้า

นุ่งของเราเป็นของหาได้ยาก เพราะไม่ได้ให้ทานไว้แม้ในกาลก่อน จึงฉีกผ้า

นั้นออกเป็น ๒ ส่วน คิดว่า จักถวายส่วนหนึ่งแด่พระผู้เป็นเจ้า ดังนี้ ขึ้น

จากน้ำแล้ว นุ่งผ้านุ่งสำหรับส่วนตัวแล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์หยุดก่อน

เจ้าข้า จึงไปไหว้พระเถระแล้ว ฉีกผ้านั้นในท่ามกลาง ได้ถวายส่วนหนึ่งแก่

พระเถระนั้น. พระเถระนั้น ยืนอยู่ในที่กำบังส่วนหนึ่ง ทิ้งกิ่งไม้ที่หักได้เสีย

นุ่งผ้าผืนนั้นชายหนึ่ง ห่มชายหนึ่ง แล้วจึงออกไป. ลำดับนั้น เพราะรัศมี

แห่งผ้าอาบทั่วร่างพระเถระ ได้มีแสงรัศมีเป็นอันเดียวกัน ดุจดังพระอาทิตย์

ทอแสงอ่อน ๆ ฉะนั้น. นางมองดูพระเถรนั้นแล้ว คิดว่า ทีแรกพระผู้เป็น

เจ้าของเราไม่งามเลย บัดนี้งามรุ่งโรจน์ดุจพระอาทิตย์ทอแสงอ่อน ๆ ฉะนั้น

เราจักถวายแม้ผ้าท่อนนี้แก่พระผู้เป็นเจ้านี้แหละ. แล้วถวายผ้าส่วนที่สอง ได้

ตั้งความปรารถนาว่า ท่านผู้เจริญ ดิฉันเที่ยวไปในภพ พึงเป็นผู้ทรงไว้ซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

รูปอันงดงาม คนใดคนหนึ่ง พบเห็นดิฉันแล้ว อย่าได้อาจดำรงอยู่โดยภาวะ

ของตนเลย ผู้หญิงอื่น ที่ชื่อว่ามีรูปสวยงานเกินกว่าดิฉัน อย่าได้มีเลย แม้

พระเถระ กระทำอนุโมทนาแล้ว ก็หลีกไป. นางท่องเที่ยวไปในเทวโลก

บังเกิดในอริฏฐบุรีในกาลนั้นแล้ว ได้มีรูปร่างงดงาม เหมือนอย่างที่ได้ปรารถนา

ไว้แล้วนั้น.

ลำดับนั้น ในพระนครนั้น ประชาชนทั้งหลายได้โฆษณางานมหรสพ

ประจำเดือนกัตติกมาส (เดือน) ประชาชนทั้งหลายได้ตระเตรียมพระนครไว้

ในวันมหรสพ เพ็ญเดือนกัตติกมาสแล้ว. ท่านอภิปารกเสนาบดีเมื่อจะไปยัง

ที่รักษา (ที่ทำงาน) ของตน จึงเรียกภริยาสุดที่รักนั้นมาแล้วพูดว่า อุมมา-

ทันตี น้องรัก ! วันนี้ เวลาค่ำคืนแห่งกัตติกมาส จะมีมหรสพ พระราชา

จักทรงทำประทักษิณพระนคร เสด็จผ่านประตูเรือนของเรานี้เป็นเรือนแรก น้อง

อย่าปรากฏตัวให้พระราชาทรงเห็นนะ เพราะถ้าพระองค์เห็นน้องแล้ว จักไม่

อาจดำรงสติไว้ได้. นางอุมมาทันตีนั้นรับคำสามีว่า ไปเถอะ คุณพี่ (ถึงเวลา

นั้นแล้ว) ดิฉันจักรู้ ดังนี้ เมื่อสามีไปแล้ว จึงสั่งบังคับนางทาสีว่า ในเวลา

ที่พระราชาเสด็จมายังประตูเรือนของเรานี้ เจ้าจงบอกแก่เราให้ทราบด้วยนะ.

ลำดับนั้น เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว พระจันทร์เพ็ญลอยเด่นขึ้นแทนที่

พระนครที่ประดับประดาตกแต่งแล้ว ดูงดงามปานเทวนคร ประทีปลุกโพลง

สว่างไสวทั่วทุกทิศ พระราชาทรงประดับตกแต่งด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ

ทรงประทับบนรถม้าคันประเสริฐ แวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์ ทรงกระทำ

ประทักษิณพระนครด้วยยศใหญ่ เสด็จถึงประตูเรือนของท่านอภิปารกเสนาบดี

เป็นเรือนแรกทีเดียว. ก็เรือนหลังนั้น แวดล้อมด้วยกำแพงสีดังมโนศิลา มี

หอคอยอยู่ที่ซุ้มประตูอันประดับตกแต่งจนงามเลิศ น่าดูชม. ขณะนั้น นางทาสี

ได้เรียนแจ้งให้นางอุมมาทันตีทราบแล้ว. นางอุมมาทันนี้ให้นางทาสีถือพาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

ดอกไม้แล้ว ยืนพิงบานหน้าต่างด้วยลีลาอันงดงามดุจนางกินรี โปรยดอกไม้

ใส่พระราชา. พระราชาเหลือบแลดูนาง ทันทีก็เกิดความเมาด้วยความเมาคือ

กิเลส ไม่อาจจะดำรงสติไว้ได้ จนไม่สามารถจะจำได้ว่า เรือนหลังนี้ เป็น

ของท่านอภิปารกเสนาบดี.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสเรียกนายสารถีมาแล้ว เมื่อจะตรัสถาม จึง

ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถาว่า

ดูก่อนนายสุนันทสารถี นี่เรือนของใครหนอล้อม

ด้วยกำแพงสีเหลือง ใครหนอปรากฏอยู่ในที่ไกล

เหมือนเปลวไฟอันลุกโพลงอยู่บนเวหาส และเหมือน

เปลวไฟบนยอดภูเขา ฉะนั้น ดูก่อนนายสุนันทสารถี

หญิงคนนี้เป็นธิดาของใครหนอ เป็นลูกสะใภ้หรือเป็น

ภรรยาของใคร ไม่มีผู้หวงแหนหรือ สามีของนาง

หรือไม่ เราถามแล้วขอท่านจงบอกแก่เราโดยเร็ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺส นุท ตัดบทเป็น กสฺส นุ อิท

แปลว่า นี้ (เรือน) ของใครหนอ. บทว่า ปณฺฑุมเยน ได้แก่ อันสำเร็จ

ด้วยกำแพงอิฐสีแดง. บทว่า ทิสฺสติ ความว่า ปรากฏยืนอยู่ที่บานหน้าต่าง.

บทว่า อจฺจิ ได้แก่ กองไฟที่มีลมโหมลุกโพลง. บทว่า ธีตา นาย ตัด

บทเป็น ธีตา นุ อย เป็นธิดา (ของใคร) หนอ. บทว่า อวาวตา ได้แก่

ไม่มีผู้กีดกั้น คือ ไม่มีผู้หวงแหนหรือ. บทว่า ภตฺตา ความว่า สามีของ

นางมีหรือไม่ เจ้าจงบอกความนี้แก่เรา.

ลำดับนั้น นายสารถี เมื่อจะกราบทูลแจ้งเนื้อความแด่พระราชา จึง

ได้กราบทูลคาถา ๒ คาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชานิกร ก็ข้าพระ-

องค์ย่อมรู้จักหญิงนั้นพร้อมทั้งมารดา บิดา และสามี

ของนาง ข้าแต่พระจอมภูมิบาล บุรุษนั้นเป็นผู้ไม่

ประมาทในประโยชน์ของพระองค์ทั้งกลางคืนกลางวัน

สามีของนางเป็นผู้มีอิทธิพลกว้างขวางและมั่งคั่ง ทั้ง

เป็นอำมาตย์คนหนึ่งของพระองค์ ข้าแต่พระราชา

หญิงนั้น คือ ภรรยาของอภิปารกเสนาบดี เธอมีชื่อ

ว่า อุมมาทันตี พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มตฺยา จ ความว่า ข้าพระองค์ย่อมรู้

จักหญิงคนนั้นพร้อมทั้งมารดาและบิดา. ศัพท์ว่า อโถปิ นายสารถีกราบทูล

ว่า แม้สามีของนางข้าพระองค์ก็รู้จัก. บทว่า อิทฺโธ แปลว่า เป็นผู้ได้รับ

ความสำเร็จแล้ว. บทว่า ผีโต ได้แก่ พรั่งพร้อมด้วยผ้าและเครื่องอลังการ

ทั้งหลาย. บทว่า สุวฑฺฒิโต ได้แก่ เป็นผู้มั่งคั่งสมบูรณ์ดี. บทว่า นามเธยฺเยน

แปลว่า มีชื่อ. จริงอยู่ หญิงคนนี้ ย่อมทำบุรุษผู้ที่มองดูนางให้หลงใหลคล้าย

คนบ้า คือ ไม่ให้บุรุษนั้นดำรงสติอยู่ได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า

อุมมาทันตี ดังนี้.

พระราชาได้ทรงสดับคำทูลนั้นแล้ว เมื่อจะทรงชมเชยชื่อของนางนั้น

จึงตรัสคาถาติดต่อกันว่า

ดูก่อนท่านผู้เจริญ ๆ ชื่อที่มารดาและบิดาตั้งให้

หญิงคนนี้ เป็นชื่อเหมาะสมดีจริงอย่างนั้น เมื่อนาง

มองดูเรา ย่อมทำให้เราหลงใหลคล้ายคนบ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มตฺยา จ เปตฺยา จ แปลว่า ที่มารดา

และบิดา. บทว่า มยฺห เป็นสัมปทานะใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. บทว่า

อวโลกยนฺตี ความว่า เธอถูกเรามองดูแล้ว หันกลับมามองดูเราบ้าง ได้

ทำเราให้หลงใหลคล้ายคนบ้า.

แม้นางอุมมาทันตีนั้น ทราบว่า พระราชาพระองค์นั้นทรงหวั่นไหว

พระหทัยแล้ว จึงปิดหน้าต่างแล้ว ได้เข้าสู่ห้องอันประกอบด้วยสิริตามเดิม.

จำเดิมแต่กาลที่พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นนางแล้ว พระองค์ไม่ได้มี

พระหทัยที่จะทรงการทำประทักษิณพระนครเลย. พระราชาตรัสเรียกนายสารถี

มาแล้ว ตรัสว่า สุนันทะสหายเอ๋ย ! เจ้าจงกลับรถเถิด งานมหรสพนี้ไม่

สมควรแก่พวกเรา แต่สมควรแก่อภิปารกเสนาบดี ถึงพระราชสมบัติ ก็

สมควรแก่อภิปารกเสนาบดีนั้นเหมือนกัน ดังนี้ จึงให้นายสารถีกลับรถแล่น

ถึงสถานที่ เสด็จขึ้นพระปราสาทแล้ว ทรงบรรทมบ่นเพ้อบนที่บรรทมอัน

ประกอบด้วยสิริ ตรัสว่า

ในคืนเดือนเพ็ญ นางผู้มีนัยน์ตาชม้ายคล้ายเนื้อ

ทราย ร่างกายมีสีเหมือนดอกบุณฑริก นั่งอยู่ใกล้

หน้าต่าง ในคืนนั้น เราได้เห็นนางนุ่งห่มผ้าสีแดง

เหมือนเท้านกพิราบ สำคัญว่าพระจันทร์ขึ้นสองดวง

คราวใด นางมีหน้ากว้าง ขาวสะอาด ประเล้าประโลม

อยู่ด้วยอาการอันงดงาม ชม้อยชม้ายชำเลืองดูเราดัง

จะปล้นเอาดวงใจของเราไปเสียเลย เหมือนนางกินนร

เกิดบนภูเขาในป่า ฉะนั้น ก็คราวนั้น นางผู้พริ้งเพรา

มีตัวเป็นสีทอง สวมกุณฑลแก้วมณี ผ้านุ่งผ้าห่มท่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

เดียว ชำเลืองดูเราประดุจนางเนื้อทราย มองดูนาย

พราน ฉะนั้น เมื่อไรหนอ นางผู้มีเล็บแดง มีขนงาม

มีแขนนุ่มนิ่ม ลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์ มีนิ้วมือกลมเกลี้ยง

มีกระบวนชดช้อย งามตั้งแต่ศีรษะจักได้ยั่วยวนเรา

เมื่อไรหนอ ธิดาของท่านเศรษฐีติริฏิวัจฉะ ผู้มีทับ-

ทรวงอันกระทำด้วยข่ายทอง เอวกลม จักกอดรัดเรา

ด้วยแขนทั้งสองอันนุ่มนิ่ม ประดุจเถาย่านทราย รวบ

รัดต้นไม้ที่เกิดในป่าใหญ่ ฉะนั้น เมื่อไรหนอ นางผู้

มีผิวงามแดงดังน้ำครั่ง มีถันเป็นปริมณฑลดังฟองน้ำ

มีอวัยวะฉาบด้วยผิวหนังเปล่งปลั่งดังดอกบุณฑริก จัก

จรดปากด้วยปากกะเรา เหมือนดังนี้เลงสุราจรดจอก

สุราให้แก่นักเลงสุรา ฉะนั้น ในกาลใด เราได้เห็น

นางผู้มีร่างกายทุกส่วนอันน่ารื่นรมย์ใจยืนอยู่ ในกาล

นั้น เราไม่รู้สึกอะไร ๆ แก่จิตของตนเลย เราได้เห็น

นางอุมมาทันตีผู้สวมสอดกุณฑลมณีแล้วนอนไม่หลับ

ทั้งกลางวันและกลางคืนเหมือนแพ้ข้าศีลมาตั้งพันครั้ง

ถ้าท้าวสักกะพึงประทานพรให้แก่เรา ขอให้เราพึงได้

พรนั้นเถิด อภิปารกเสนานดีพึงรื่นรมย์อยู่กับนาง

อุมมาทันตีคืนหนึ่งหรือสองคืน ต่อจากนั้น พระเจ้า-

สีวิราช พึงได้รื่นรมย์บ้าง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุณฺณมาเส ได้แก่ ในคือพระจันทร์-

เพ็ญ. บทว่า นิคมนฺทโลจนา ความว่า ชื่อว่า มิคมันทโลจนา เพราะอรรถว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

มีนัยน์ตาชม้ายคล้ายนัยน์เนื้อทรายที่กำลังตกใจกลัวลูกศร วิ่งหนีไปยืนแอบอยู่

ในระหว่างป่าแล้วเหลือบแลดูนายพราน ฉะนั้น. บทว่า อุปาวิสี ความว่า

เธอนั่งใกล้หน้าต่าง เอาฝ่ามือสวยงามสีเหมือนดอกปทุม หยิบดอกไม้โปรยใส่

แล้วแลดูเรา. บทว่า ปุณฺฑรีกตฺตจงฺคี ได้แก่ ร่างกายมีสีเหมือนดอกปทุม

แดง. บทว่า เทฺว ปุณฺณมาโย ความว่า ในวันนั้น คือในวันงานมหรสพ

นั้น เราได้เห็นนางนุ่งห่มผ้าสีแดงเสมอสีเท้านกพิราบนั้นแล้ว แลดูความงาม

แห่งใบหน้าของนางอยู่ ได้สำคัญว่า พระจันทร์ขึ้นสองดวง เพราะความที่

พระจันทร์เพ็ญลอยเด่นขึ้นสองดวงคือ ดวงหนึ่งซึ่งมีประจำโลกขึ้นทางทิศ-

พระวันออก ดวงหนึ่งขึ้นในนิเวศน์ของอภิปารกเสนาบดี. บทว่า อฬารปมฺเหหิ

แปลว่า มีหน้ากว้าง. บทว่า สุเภหิ แปลว่า ขาวสะอา . บทว่า วคฺคูภิ

แปลว่า ด้วยอาการสวยงาม. บทว่า อุทิกฺขติ ได้แก่ ในขณะที่นางแลดูเรา

ด้วยนัยน์ตาทั้งสองเห็นปานนั้น. บทว่า ปพฺพเต ความว่า คล้ายจะปล้นเอา

ดวงใจของเราไปเสียเลย เหมือนนางกินรีเกิดบนภูเขาหิมวันต์ ในป่าที่มีดอก

ไม้บานสะพรั่ง อาศัยพิณซึ่งเทียบเสียงของตนกับเสียงสายพิณ ย่อมชักนำใจ

บุรุษมาได้ ฉะนั้น. บทว่า พฺรหตี คือนางผู้ประเสริฐ. บทว่า สามา คือ

ผู้มีตัวเป็นสีทองคำ. บทว่า เอกจฺจวสนา ได้แก่ อยู่ด้วยผ้าชิ้นเดียว อธิบาย

ว่า ผ้านุ่งห่มท่อนเดียว. บทว่า ภนฺตาวุทิกฺขติ พระราชาตรัสว่า หญิงผู้

สูงสุดคนนั้น มีเส้นผมละเอียด มีหน้าผากกว้าง มีคิ้วยาวเรียว มีนัยน์ตาโต

งาม มีจมูกโด่ง มีริมฝีปากแดง มีซี่ฟันทั้งหลายขาวสะอาด มีเขี้ยวคม มี

คอกลมเกลี้ยงดี มีแขนอ่อนนิ่ม มีนมตั้งเต่งสวยงาม มีเอวงามเหมือนนางเนื้อ

ทราย มีตะโพกใหญ่ มีรูปร่างเสมอเหมือนต้นกล้วยทองคำ ในขณะที่นางแล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

ดูเราพลางหนีเข้าป่าด้วยความกลัวแล้วหันมามองดูเราเหมือนนางเนื้อทรายหัน

กลับมามองดูนายพราน ฉะนั้น. บทว่า พาหามุทุ แปลว่า มีแขนนุ่มนิ่ม.

บทว่า สนฺนตธีรกุตฺติยา ได้แก่ มีกระบวนอันฉลาดชดช้อย บทว่า อุปญฺ-

ิสฺสติ ม ความว่า พระราชาทรงบ่นเพ้อปรารถนาว่า นารีผู้งดงามนั้น

มีเล็บทุกเล็บสีแดง มีกระบวนการอันฉลาดชดช้อยงามตั้งแต่ศีรษะ เมื่อไรหนอ

จึงจักยั่วยวนเรา. บทว่า กาญฺจุนชาลุรจฺฉทา ได้แก่ ผู้มีทับทรวงทำด้วย

ทองคำประดับตกแต่ง. บทว่า วิลากมชฺฌา ได้แก่ ร่างกายส่วนที่เป็นเอว.

บทว่า พฺรหาวเน แปลว่า ในป่าใหญ่. บทว่า รตฺตสุจฺฉวี ได้แก่ มีผิว

ดุจแก้วประพาฬงามแดงดังน้ำครั่ง ในที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ปลายเล็บ และเนื้อ

ริมฝีปาก. บทว่า พินฺทุตฺถนี ได้แก่ มีนมเป็นปริมณฑลดุจฟองน้ำ. บท

ว่า ตโต ความว่า จำเดิมแต่กาลที่เราได้เห็นนางยืนอยู่. บทว่า สกสฺส

จิตฺตสฺส อธิบายว่า เราไม่ได้มีความเป็นใหญ่ เกิดแก่จิตของตนเลย. บทว่า

กญฺจิ น อธิบายว่า พระราชาตรัสว่า เราไม่รู้จักนางนั้นว่าเป็นใคร คือไม่

รู้ว่า ผู้หญิงคนนี้ มีชื่อดังนั้น เราเกิดเป็นบ้าขึ้นเสียแล้ว. บทว่า ทิฏฺา

แปลว่า พอเห็นนางแล้ว. บทว่า น สุปฺปามิ ความว่า เราย่อมไม่ได้

ความหลับทั้งกลางคืนและกลางวัน. บทว่า โส จ ลเภถ ความว่า ขอให้

พรที่ท้าวสักกะประทานแก่เรา จงเป็นของเราเถิด คือเราพึงได้พรนั้นเถิด.

พวกราชบุรุษจึงพากันไปบอกแก่ท่านอภิปารกเสนาบดีว่า ข้าแต่นาย

ท่าน พระเจ้าแผ่นดินทรงกระทำประทักษิณพระนคร พอมาถึงประตูบ้านของ

ท่านแล้ว ก็เสด็จกลับวังขึ้นสู่ปราสาท. อภิปารกเสนาบดีนั้น จึงไปยังเรือน

ของตนแล้ว เรียกนางอุมมาทันตีออกมาถามว่า น้องรักของพี่ น้องแสดงตัว

ปรากฏแก่พระราชาหรือจ๊ะ. นางตอบว่า พี่จ๋า มีชายคนหนึ่ง ท้องใหญ่

เขี้ยวโต ยืนมาบนรถ ดิฉันไม่รู้จักชายคนนั้นว่า เป็นพระราชา หรือมิใช่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

พระราชา แต่เมื่อผู้คนเล่ากันว่า เป็นเอกบุรุษเป็นใหญ่ ดังนี้ ดิฉันยืนอยู่

ริมหน้าต่าง จึงได้โปรยดอกไม้ลงไป ชายผู้นั้น ยืนอยู่สักครู่หนึ่งแล้ว ก็กลับ

ไป. อภิปารกเสนาบดีได้สดับคำนั้นแล้วจึงกล่าวว่า น้องทำให้พี่ต้องฉิบหาย

เสียแล้วเป็นแน่ ดังนี้ ครั้นวันรุ่งขึ้น จึงรีบไปยังพระราชนิเวศน์แต่เช้าตรู่

ยืนอยู่ที่ประตูห้องอันเป็นสิริ ได้ยินเสียงพระราชาบ่นเพ้อถึงนางอุมมาทันตี จึง

คิดว่า พระราชาพระองค์นี้ มีจิตรักใคร่ผูกพันในน้องอุมมาทันตี ถ้าไม้ได้

นางคงจักสวรรคตเป็นแน่ เราควรจะช่วยปลดเปลื้องโทษอันมิใช่คุณทั้งของ

พระราชาและของเราเสีย แล้วถวายชีวิตแด่พระราชาพระองค์นี้เถิด จึงกลับไป

สู่เรือนของตนแล้ว สั่งให้เรียกคนใช้คนสนิทผู้หนึ่งมาสั่งว่า นี่แน่ะพ่อคุณเอ๋ย

ตรงที่โน้น มีต้นไม้ใหญ่ มีโพรงอยู่ต้นหนึ่ง ท่านอย่าให้ใคร ๆ รู้นะ พอพระ

อาทิตย์อัสดงคตแล้ว ท่านจงไปในที่นั้นแล้ว เข้าไปนั่งอยู่ภายในต้นไม้ เรา

จะทำพลีกรรมที่ต้นไม้นั้น พอไปถึงต้นไม้นั้นนมัสการเทวดาแล้ว จักวิงวอน

ว่า ข้าแต่เทวราชาผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อมหรสพมีในพระนคร พระราชาของพวก

ข้าพเจ้า ไม่ยอมทรงเล่น กลับเสด็จไปยังห้องอันเป็นสิริ ทรงบรรทมบ่นเพ้อ

พวกข้าพเจ้าไม่ทราบถึงเหตุในข้อนั้นเลย พระราชาทรงมีอุปการะมากมายแก่

พวกเทวดาฟ้าดิน ทรงสละทรัพย์พันหนึ่งให้กระทำพลีกรรมทุกกึ่งปี ขอพวก

ท่านจงบอกว่า พระราชาทรงเพ้อรำพันเพราะอาศัยเหตุชื่อนี้ ดังนี้ เราจัก

อ้อนวอนว่า จงให้ชีวิตทานแก่ราชาของพวกข้าพเจ้าด้วยเถิด ในขณะนั้น

ตัวท่านพึงเปลี่ยนเสียงแล้วกล่าวว่า ดูก่อนท่านเสนาบดี ขึ้นชื่อว่าความเจ็บไข้

มิได้มีแก่พระราชาของพวกท่านเลย แต่พระองค์มีจิตผูกพันรักใคร่ในนาง

อุมมาทันตีผู้เป็นภรรยาของท่าน หากพระองค์ได้นางก็จักดำรงชีวิตอยู่ได้ ถ้า

ไม่ได้ก็จักสวรรคตเป็นแน่ ถ้าท่านปรารถนาจะให้พระองค์ดำรงพระชนม์ชีพอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

ก็จงถวายนางอุมมาทันตีแด่พระองค์เถิด ดังนี้ เมื่อเสนาบดีให้คนใช้จำเอาถ้อย

คำอย่างนี้แล้วก็สั่งไป. คนใช้นั้นไปนั่งอยู่ในต้นไม้นั้น. ครั้นวันรุ่งขึ้น ท่าน

เสนาบดีไปยังสถานที่นั้นแล้ว จึงกล่าวคำอ้อนวอน. คนใช้ได้ทำตามคำสั่งทุก

ประการ. ท่านเสนาบดีกล่าวว่า ดี (ใช้ได้) แล้วไหว้เทวดาฟ้าดิน บอกให้

พวกอำมาตย์ทราบเรื่องแล้ว เข้าไปยังพระนคร ขึ้นไปบนราชนิเวศน์แล้ว

เคาะประตูห้องบรรทมอันประกอบด้วยสิริ. พอพระเจ้าแผ่นดินกลับได้สติ จึง

ตรัสถามว่า นั่นใคร. เขากราบทูลว่า ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

ข้าพระองค์คืออภิปารกเสนาบดี พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระราชาทรงเปิดพระ-

ทวาร (ประตู) ให้เขา. เขาจึงเข้าไปถวายบังคมแด่พระราชาแล้ว กล่าวคาถา

ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นภูตบดี (ผู้เป็นจอมแห่งหมู่

มนุษย์) เมื่อข้าพระองค์นมัสการเทวดาทั้งหลายอยู่

เทวดามาบอกเนื้อความนี้แก่ข้าพระองค์ว่า พระทัย

ของพระราชาคลุ้มคลั่งในนางอุมมาทันตี ข้าพระองค์

ขอถวายนางแด่พระองค์ ขอพระองค์ให้นางบำเรอเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า นมสฺสโต ได้แก่ เมื่อข้าพระองค์กระทำ

พลีกรรมบวงสรวงอยู่ เพื่อจะรู้ถึงเหตุแห่งการบ่นเพ้อรำพันของพระองค์.

บทว่า ต ความว่า ข้าพระองค์ขอถวายนางอุมมาทันดีนั้นให้เป็นบาทบริจาริกา

ประจำพระองค์.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามท่านเสนาบดีว่า ดูก่อนอภิปารกะผู้สหาย

แม้พวกเทวดารู้เรื่องที่เราบ่นเพ้อเพราะมีจิตรักใคร่ในนางอุมมาทันตีด้วยหรือ

เสนาบดีทูลตอบว่า เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า. พระราชาทรงดำริว่า ข่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

ความชั่วของเรา ชาวโลกทั้งหมดรู้กันแล้ว ดังนี้ จึงทรงดำรงอยู่ในธรรมคือ

ความตายแล้ว ตรัสคาถา ติดต่อกันไปว่า

ก็เราพึงพรากเสียจากบุญและไม่เป็นเทวดา อนึ่ง

คนพึงรู้ความชั่วของเรานี้ และเนื้อท่านให้นางอุมมา-

ทันตีภรรยาสุดที่รักแล้วไม่เห็นนาง ความแค้นใจอย่าง

อย่างร้ายแรง จะพึงมีแก่ท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิธเส ความว่า ดูก่อนอภิปารกเสนาบดี

ผู้สหายเอ่ย ! เมื่อเราบำเรออยู่กับนางด้วยอำนาจกิเลส พึงเสื่อมจากบุญ และ

จะไม่ได้เป็นเทวดาผู้สมมติเทพ เพราะเหตุเพียงการอยู่บำเรอกับนางนั้น อนึ่ง

มหาชนพึงทราบความชั่วช้าลามกนี้ ต่อแต่นั้นก็จะพึงติเตียนว่า พระราชาทรง

กระทำสิ่งที่ไม่สมควรเลย อนึ่ง ท่านให้นางผู้เป็นภรรยาสุดที่รักแก่เราแล้ว ภาย

หลังท่านไม่ได้เห็นภรรยา ความคับแค้นในใจ ก็จะพึงมีแก่ท่าน.

คาถาที่เหลือ ที่เป็นคำถามและคำตอบของตนแม้ทั้งสอง (คือของ

พระราชาและอภิปารกเสนาบดี) มีดังต่อไปนี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชานิกร ประชาชน

แม้ทั้งสิ้นนอกจากข้าพระบาทและพระองค์ ไม่พึงรู้

กรรมที่ทำกัน ข้าพระบาท ยอมถวายนางอุมมาทันตี

แก่พระองค์ พระองค์จงทรงอภิรมย์อยู่กับนางเต็มพระ

หทัยปรารถนาแล้ว จงทรงสลัดเสีย.

มนุษย์ใดกระทำกรรมอันลามก มนุษย์นั้นย่อม

สำคัญว่า คนอื่นไม่รู้การกระทำนี้เพราะว่านรชนเหล่า

ใดประกอบแล้ว บนพื้นปฐพี นรชนเหล่านั้น ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

เห็นการกระทำนี้ คนอื่นใครเล่าในแผ่นดินนี้ทั้งโลก

พึงเชื่อท่าน หรือว่า นางอุมมาทันตีไม่เป็นที่รักแห่ง

เรา เมื่อท่านให้นางอุมมาทันตีภรรยายอดรักแล้ว ไม่

เห็นนางภายหลัง ความคับแค้นใจอย่างร้ายแรง จะพึง

มีแก่ท่าน.

ข้าแต่พระจอมประชาชน นางอุมมาทันตีนั้นเป็น

ที่รักของข้าพระบาทโดยแท้ ข้าแต่พระภูมิบาล นางไม่

เป็นที่รักของข้าพระบาทก็หาไม่ ขอความเจริญจงมีแด่

พระองค์ เชิญพระองค์เสด็จไปหานางอุมมาทันตีเถิด

เหมือนดังราชสีห์ เข้าสู่ถ้ำศิลา ฉะนั้น.

นักปราชญ์ทั้งหลาย ถูกความทุกข์ของตนบีบคั้น

แล้วย่อมไม่ละกรรมที่มีผลเป็นสุข แม้จะเป็นผู้หลงมัว

มาด้วยความสุข ก็ย่อมไม่ประพฤติบาปกรรม.

พระองค์เป็นทั้งพระมารดาและบิดาเป็นผู้เลี้ยงดู

เป็นเจ้านายเป็นผู้พอกเลี้ยง และเป็นเทวดาของข้าพระ-

องค์ ข้าพระองค์พร้อมด้วยบุตรและภรรยาเป็นทาสของ

พระองค์ ขอพระองค์ทรงบริโภคกามตามความสุขเถิด.

ผู้ใดย่อมทำบาปด้วยคามสำคัญว่า เราเป็นผู้ยิ่ง

ใหญ่ และครั้นกระทำแล้ว ก็ไม่สะดุ้งกลัวต่อชนเหล่า

อื่น ผู้นั้นย่อมไม่เป็นอยู่ตลอดอายุยืนยาวเพราะกรรม

นั้น แม้เทวดาก็มองดูผู้นั้น ด้วยนัยน์ตาอันเหยียดหยาม.

ชนเหล่าใดตั้งอยู่ในธรรม ย่อมรับทานที่เป็นของ

ผู้อื่นอันเจ้าของมอบให้แล้ว ชนเหล่านั้นเป็นผู้รับด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

เป็นผู้ให้ในทานนั้นด้วย ได้ชื่อว่าทำกรรมอันมีผลเป็น

สุขในเพราะทานนั้นแท้จริง.

คนอื่นใครเล่า ในแผ่นดินทั้งโลก จะพึงเชื่อ

ท่านหรือว่า นางอุมมาทันตีไม่เป็นที่รักของเรา เมื่อ

ท่านให้นางอุมมาทันตีภรรยายอดรักแล้ว ไม่เห็นนาง

ภายหลัง ความคับแค้นใจอย่างร้ายแรง จะพึงมีแก่

ท่าน.

ข้าแต่พระจอมประชาชน นางอุมมาทันตีนั้น

เป็นที่รักของข้าพระบาทโดยแท้ ข้าแต่พระภูมิบาล

นางไม่เป็นที่รักของข้าพระบาทก็หาไม่ ข้าพระบาท

ยอมถวายนางอุมมาทันตีแก่พระองค์ พระองค์จงทรง

อภิรมย์อยู่กับนาง เต็มพระหทัยปรารถนาแล้ว จงทรง

สลัดเสีย.

ผู้ใดก่อทุกข์ให้แก่ผู่อื่นด้วยทุกข์ของตน หรือก่อ

ความสุขของตนด้วยความสุขของผู้อื่น ผู้ใดรู้อย่าง

นี้ว่า ความสุขและความทุกข์ของเรานี้ก็เหมือนของ

ผู้อื่น ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรม.

คนอื่นใครเล่า ในแผ่นดินทั้งโลก จะพึงเชื่อ

ท่านหรือว่า นางอุมมาทันตีไม่เป็นที่รักของเรา เมื่อ

ท่านให้นางอุมมาทันตีภรรยายอดรักแล้ว ไม่เห็นนาง

ภายหลัง ความคับแค้นใจอย่างร้ายแรง จะพึงมีแก่

ท่าน.

ข้าแต่พระองค์ผู้จอมประชาชน พระองค์ย่อม

ทรงทราบว่า นางอุมมาทันตีนี้เป็นที่รักของข้าพระบาท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

ข้าแต่พระจอมภูมิบาล นางนั้นไม่เป็นที่รักของข้าพระ-

บาทก็หาไม่ ข้าพระบาทขอถวายสิ่งอันเป็นที่รักแก่

พระองค์ด้วยสิ่งอันเป็นที่รัก ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ

ผู้ให้สิ่งอันเป็นที่รักย่อมได้สั่งอันเป็นที่รัก.

เรานั้นจักฆ่าตนอันมีกามเป็นเหตุโดยแท้ เราไม่

อาจฆ่าธรรมด้วยอธรรมได้เลย.

ข้าแต่พระจอมประชาชน ผู้แกล้วกล้าแก่นรชน

ประเสริฐ ถ้าพระองค์ไม่ต้องพระประสงค์นางอุมมา-

ทันตี ผู้เป็นของข้าพระบาทไซร้ ข้าพระบาทจะสละ

นางในท่ามกลางชนทั้งปวง พระองค์พึงตรัสสั่งให้นำ

นางผู้พ้นจากข้าพระบาทแล้วมาจากที่นั้นเถิด พระเจ้า

ข้า.

ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้กระทำประโยชน์ ถ้า

ท่านจะสละนางอุมมาทันตีผู้หาประโยชน์มิได้ เพื่อสิ่ง

อันไม่เป็นประโยชน์นี้แก่ท่าน ความค่อนว่าอย่างใหญ่

หลวง จะพึงมีแก่ท่าน อนึ่ง แม้การใส่ร้ายในพระนคร

ก็จะพึงมีแก่ท่าน.

ข้าแต่พระจอมภูมิบาล ข้าพระบาทจักอดกลั้น

คำค่อนว่า คำนินทา คำสรรเสริญ และคำติเตียน

นี้ทั้งหมด คำค่อนว่าเป็นต้นนั้นจงตกอยู่แก่ข่าพระบาท

ข้าแต่พระจอมแห่งชนชาวสีพี ขอพระองค์ทรงบริโภค

กามตามความสำราญเถิด. ผู้ใดไม่ถือเอาความนินทา

ความสรรเสริญ ความติเตียน และแม้การบูชา สิริ

และปัญญาย่อมปราศไปจากผู้นั้น เหมือนดังน้ำฝน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

ปราศไปจากที่ดอน ฉะนั้น ข้าพระบาทจักยอมรับ

ความทุกข์และความสุข สิ่งที่ล่วงธรรมดาและความ

คับแค้นใจทั้งหมด เพราะเหตุแห่งการสละนี้ ด้วยอก

เหมือนดังแผ่นดินรองรับสิ่งของทั้งของคนมั่นคง และ

คนสะดุ้ง ฉะนั้น.

เราไม่ปรารถนาสิ่งที่ล่วงธรรมดา ความคับแค้น

ใจและความทุกข์ของชนเหล่าอื่น เราผู้เดียวเท่านั้น

จักเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม ไม่ยังประโยชน์หน่อยหนึ่ง

ให้เสื่อม ข้ามภาระนี้ไป.

ข้าแต่จอมประชาชน บุญกรรมย่อมให้เข้าถึง

สวรรค์ พระองค์อย่าได้ทรงทำอันตรายแก่ข้าพระบาท

เสียเลย ข้าพระบาทมีใจเลื่อมใสขอถวายนางอุมมาทันตี

แต่พระองค์ ดังพระราชาทรงประทานทรัพย์สำหรับ

บูชายัญแก่พราหมณ์ทั้งหลาย ฉะนั้น.

ท่านเป็นผู้เกื้อกูลแก่เราในการกระทำประโยชน์

แน่แท้ นางอุมมาทันตีและท่านเป็นสหายของเรา

เทวดาและพรหมทั้งหมด เห็นความชั่วอันเป็นไปใน

ภายหน้า พึงติเตียนได้.

ข้าแต่พระเจ้าสีวิราช ชาวนิคมและชาวชนบท

ทั้งหมด ไม่พึงคัดค้านกรรมอันเป็นธรรมนั้นเลย ข้า-

พระบาทขอถวายนางอุมมาทันตีแด่พระองค์ พระองค์

จงทรงอภิรมย์ อยู่กับนางเต็มพระหทัยปรารถนาแล้ว

จงทรงสลัดเสีย.

ท่านเป็นผู้เกื้อกูลแก่เราในการกระทำประโยชน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

แน่แท้ นางอุมมาทันตีและท่านเป็นสหายของเรา ธรรม

ของสัตบุรุษที่ประกาศดีแล้ว ยากที่จะล่วงละเมิดได้

เหมือนเขตแดนของมหาสมุทร ฉะนั้น.

ข้าแต่พระราชา พระองค์เป็นผู้ควรของคำนับ

ของข้าพระองค์ เป็นผู้หวังประโยชน์นี้เกื้อกูล เป็นผู้

ทรงไว้ เป็นผู้ประทานความสุข และทรงรักษาความ

ปรารถนาไว้ ด้วยว่า ยัญที่บูชาในพระองค์ ย่อมมี

ผลมาก ขอพระองค์ทรงรับนางอุมมาทันตีตามความ

ปรารถนาของข้าพระบาทเถิด.

ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้เป็นบุตรแห่งท่านผู้กระ

ทำประโยชน์ ท่านได้ประพฤติแล้วซึ่งธรรมทั้งปวงแก่

เราโดยแท้ นอกจากท่าน มนุษย์อื่น ใครเล่าหนอ

จักเป็นผู้กระทำความสวัสดี ในเวลาอรุณขึ้น ในชีว

โลกนี้.

พระองค์เป็นผู้ประเสริฐเป็นผู้ยอดเยี่ยม พระองค์

ทรงดำเนินโดยธรรม ทรงรู้แจ้งธรรม มีพระปัญญาดี

ขอพระองค์ผู้อันธรรมคุ้มครองแล้ว จงทรงพระชนม์

ยั่งยืนนาน ข้าแต่พระองค์ผู้รักษาธรรม ขอพระองค์

โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด.

ดูก่อนอภิปารกเสนาบดี เชิญท่านฟังคำของเรา

เถิด เราจักแสดงธรรมที่สัตบุรุษส้องเสพแก่ท่าน พระ

ราชาชอบใจธรรมจึงจะดีงาม นรชนผู้มีความรู้รอบจึง

จะดีงาม ความไม่ประทุษร้ายต่อมิตรเป็นความดี การ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

ไม่กระทำบาปเป็นสุข มนุษย์ทั้งหลายพึงอยู่เป็นสุข

ในแว่นแคว้นของพระราชาผู้ไม่ทรงกริ้วโกรธ ทรงตั้ง

อยู่ในธรรม เหมือนเรือนของตนอันมีร่มเงาเย็น ฉะนั้น

เราย่อมไม่ชอบใจกรรมที่ทำด้วยความไม่พิจารณา อัน

เป็นกรรมไม่ดีนั้นเลย แม้พระราชาเหล่าใด ทรงทราบ

แล้วไม่ทรงทำเอง เราชอบใจ กรรมของพระราชาเหล่า

นั้น ขอท่านจงฟังอุปมาของเราต่อไปนี้

เมื่อฝูงโคข้ามฟากไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงว่าย

ไปคด โคทั้งหมดนั้นก็ว่ายไปนคด ในเมื่อโคตัวผู้

นำฝูงว่ายไปคด ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้

ใดได้รับยกย่องว่า เป็นผู้ประเสริฐ ถ้าผู้นั้นประพฤติ

อธรรม จะป่วยกล่าวไปไย ถึงประชาชนนอกนี้เล่า

รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นทุก ถ้าพระราชาไม่ทรงตั้งอยู่

ในธรรม เมื่อฝูงโค ข้ามฟากไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูง

ว่ายไปตรง โคทั้งหมดนั้นก็ว่ายไปตรง ในเมื่อโคตัวผู้

นำฝูงว่ายไปตรง ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้

ใดได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ประเสริฐ ถ้าผู้นั้นประพฤติ

ธรรม จะป่วยกล่าวไปไยถึงประชาชนนอกนี้ รัฐทั้ง

หมดย่อมอยู่เป็นสุข ถ้าพระราชาทรงตั้งอยู่ในธรรม

ดูก่อนอภิปารกเสนาบดี เราไม่พึงปรารถนาเพื่อความ

เป็นเทวดา และเพื่อครอบครองแผ่นดินทั้งหมดนี้โดย

อธรรม รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โค ทาส เงิน

ผ้า และจันทน์เทศ มีอยู่ในมนุษย์นี้ เราจะไม่ประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

ผิดธรรม เพราะความปรารถนารัตนะเหล่านั้น บุคคล

ไม่พึงประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งสมบัตินั้น

เป็นต้นว่า ม้า หญิง แก้วมณี หรือแม้พระจันทร์

และพระอาทิตย์ที่รักษาอยู่ เราเป็นผู้องอาจ เกิดใน

ท่ามกลางแห่งชาวสีพีทั้งหลาย ฉะนั้น เราจะไม่ประ-

พูดผิดธรรม เพราะเหตุแต่งสมบัตินั้น เราจะเป็น

ผู้นำ จะเป็นผู้เกื้อกูล เป็นผู้เฟื่องฟูปกครองแว่นแคว้น

จักเป็นผู้เคารพธรรมของชาวสีพี จะเป็นผู้คิดค้นซึ่ง

ธรรม เพราะฉะนั้น เราจะไม่เป็นไปในอำนาจแห่ง

จิตของตน.

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ทรงประพฤติ

ธรรมอันไม่มีความฉิบหาย เป็นแดนเกษมอยู่เป็นนิจ

แน่แท้ พระองค์จักดำรงราชสมบัติอยู่ยั่งยื่นนานเพราะ

พระปัญญาของพระองค์เป็นเช่นนั้น พระองค์ไม่ทรง

ประมาทธรรมใด ข้าพระองค์ขออนุโมทนาธรรมนั้น

ของพระองค์ กษัตริย์ผู้เป็นอิสระทรงประมาทธรรม

แล้ว ย่อมเคลื่อนจากรัฐ.

ข้าแต่พระมหากษัตริย์ขัตติยราช ขอพระองค์จง

ทรงประพฤติธรรมในพระชนนีและพระชน ครั้นทรง

ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้วจักเสด็จสู่สวรรค์. ขอพระ-

องค์ จงทรงประพฤติธรรมในพระราชบุตรและพระ-

มเหสี ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จ

สู่สวรรค์ ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในมิตรและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

อำมาตย์... ในราชพาหนะและทแกล้วทหาร... ใน

บ้านและนิคม...ในแว่นแคว้นและชนบท...ในสมณะ

และพราหมณ์... ในเนื้อและนกทั้งหลาย... ครั้นพระ-

องค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงประพฤติ

ธรรมเถิด เพราะว่าธรรมที่ประพฤติแล้ว ย่อมนำ

สุขมาให้ ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้

แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอ

พระองค์จงทรงประพฤติธรรมเถิด ด้วยว่าพระอินทร์

เทวดา พร้อมทั้งพรหม เป็นผู้ถึงทิพยสถานเพราะ

ธรรมที่ประพฤติแล้ว ข้าแต่พระราชา พระองค์อย่า

ทรงประมาทธรรมเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพาปิ ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เป็นจอมแห่งหมู่ชน ข้าพระองค์ผู้เดียวเท่านั้น จักปกปิดเรื่องนี้แล้ว นำนาง

(อุมมาทันตี) มาถวาย เพราะฉะนั้น เว้นจากพระองค์และข้าพระองค์เสียแล้ว

ประชาชนคนอื่นแม้ทั้งหมด ไม่พึงรู้ คือ จักไม่รู้แม้เพียงกิริยาอาการแห่ง

เรื่องที่ทำมาแล้วนี้. บทว่า ภุเสหิ อธิบายว่า ข้าพระองค์นำนางอุมมาทันตี

มาถวายพระองค์แล้ว ขอพระองค์จงทรงร่วมอภิรมย์กับนางเถิด จงทำกรรม

อันหยาบ คือ ตัณหาดุจต้นไม้ตั้งอยู่ในป่าของตน จงยังตัณหานั้นให้เจริญ

ได้แก่ จงทำความปรารถนาแห่งใจให้เต็มเปี่ยมเถิด. บทว่า สชาหิ ความว่า

ก็ครั้งพระองค์ทำความปรารถนาแห่งใจเต็มที่แล้ว หากนางไม่เป็นที่ถูกพระทัย

ของพระองค์ไซร้ ภายหลังพระองค์จะทอดทิ้งนางเสียก็ได้ ได้แก่ จงให้คืน

แก่ข้าพระองค์ตามเดิมเถิด. บทว่า กมฺม กร ความว่า ดูก่อนอภิปารก-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

เสนาบดีผู้เป็นสหาย มนุษย์ผู้ใดทำกรรมอันเป็นบาป ภายหลังมนุษย์ผู้นั้น

สำคัญคือคิดว่า ชนเหล่าอื่นในโลกนี้อย่าสำคัญคือ อย่ารู้กรรมอันเป็นบาปนี้

(ของเรา) เลย ความคิดของบุคคลนั้นเป็นความคิดที่ชั่วร้าย. ถามว่า เพราะ

เหตุไร ? ตอบว่า เพราะว่านรชนเหล่านั้น ย่อมเห็นการกระทำนี้ อธิบายว่า

ก็พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธบุตรทั้งหลาย เป็นผู้ประกอบ

แล้วด้วยฤทธิ์เหล่านั้น ย่อมเห็นการกระทำนั้นนั่นแล. บทว่า น เม ปิยา

ความว่า ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้สหายรัก คนอื่นใครเล่าในโลกนี้ คือใน

แผ่นดินทั้งสิ้น จะพึงเชื่อท่านอย่างนี้ว่า นางอุมมาทันตีมิได้เป็นที่รักของตัว.

บทว่า สีโหว เสลสฺส คุห ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ถ้าพระองค์

จะไม่ให้นำนางมาในที่นี้ไซร้ ขอพระองค์จงเสด็จไปยังที่อยู่ของนางนั้นเถิด

คือ จงทำความปรารถนาของพระองค์ให้สำเร็จบริบูรณ์ในที่นั้นเถิด เหมือน

ราชสีห์ เมื่อเกิดความเร่าร้อนแห่งกิเลสขึ้น ก็จะเข้าไปสู่ถ้ำแก้วอันเป็นที่อยู่

ของนางราชสีห์น้อย ฉะนั้น. บทว่า สุขปฺผล ความว่า ดูก่อนอภิปารก-

เสนาบดีผู้สหายรัก หมู่บัณฑิตถูกความทุกข์กระทบตนแล้ว ย่อมไม่ละกรรมที่

ให้ผลเป็นสุข หรือแม้ว่าจะเป็นผู้ลุ่มหลงแล้ว คือ หลงด้วยโมหะ มัวเมา

ด้วยความสุข ย่อมไม่ยอมประพฤติกรรมอันเป็นบาป. บทว่า ยถาสุข สีวิ

กโรหิ กาม ความว่า ข้าแต่พระเจ้าสีวิราชผู้เป็นใหญ่ ขึ้นชื่อว่า ความติเตียน

ย่อมไม่มีแก่นายผู้ใช้ให้ทาสีของตนบำรุงบำเรอเลย ขอพระองค์จงบริโภคกาม

ตามความสบายตามอัธยาศัย คือ จงทำความปรารถนาของพระองค์ให้บริบูรณ์

เถิด. บทว่า น เตน โส ชีวติ ความว่า ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้สหายรัก

ผู้ใดทำบาปด้วยสำคัญว่า เราเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ครั้น ทำแล้ว ก็มิได้สะดุ้งมิได้กลัว

ว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จักชี้แจงถึงกรรมนั้น เพราะกรรมนั้น ผู้นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

ย่อมไม่ดำรงชีพอยู่ได้ตลอดกาลนาน ย่อมตายเสียโดยฉับพลันทีเดียว อนึ่งแม้

เทวดาทั้งหลายก็ย่อมพากันแลดูด้วยสายตาอันเหยียดหยามว่า การที่บุคคลนั้น

เอาหม้อทรายผูกคอฆ่าตัวตายเสียยังประเสริฐกว่าการครองราชสมบัติของพระ-

ราชาผู้ลามกนี้ มิใช่หรือ. บทว่า อญฺาตก ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า

ทานที่เป็นของตนเหล่าอื่นอันเจ้าของเหล่านั้นมอบให้แล้ว ชนเหล่าใด ตั้งอยู่

ในธรรมของตนแล้ว ย่อมรับทานนั้น ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่าเป็นทั้ง

ผู้รับและเป็นทั้งผู้ให้ในทานนั้น ย่อมพากันทำแต่กรรมที่มีผลเป็นสุขอย่างเดียว

ก็เมื่อปฏิคาหกรับทานอยู่ ทานนั้นย่อมให้ผลเป็นอันมากแก่ทายก. คาถานั้นว่า

อญฺโ นุ ฯเปฯ อทฺธา ปิยา ฯเปฯ โย อตฺตทุกฺเขน ความว่า

ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้สหายรัก ผู้ใดตัวเองถูกความทุกข์บีบคั้นแล้ว ย่อม

ใส่ความทุกข์นั้นให้แก่ผู้อื่น คือนำความทุกข์ออกไปเสียจากสรีระของตัวแล้ว

ใส่ไปในสรีระของผู้อื่น หรือถือเอาความสุขของตนด้วยความทุกข์ของผู้อื่น คือ

เอาความสุขของผู้อื่นนั้นมาใส่ในตน ชื่อว่าย่อมทำผู้อื่นให้ถึงความทุกข์ ด้วย

สำคัญว่า เราจักนำความทุกข์ของตนออกไปเสีย ดังนี้ ชื่อว่าย่อมทำผู้อื่นให้

ถึงความทุกข์ ด้วยสำคัญว่า เราจักทำตัวเองให้มีความสุขสบาย ดังนี้ ชื่อว่า

ย่อมทำความสุขของตนอื่นให้พินาศ ด้วยสำคัญว่า เราจักทำตัวเองให้มีความ

สุขสบาย ดังนี้ บุคคลนั้นชื่อว่าย่อมไม่รู้ธรรม. ส่วนผู้ใดย่อมรู้อย่างนี้ว่า

ความสุขและความทุกข์ของเรานั้นเป็นฉันใด ของคนอื่นก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน

ดังนี้ ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรม คือรู้จักธรรม. บทว่า ปิเยน เต ทมฺม ความว่า

ข้าพระองค์ปรารถนาผลอันเป็นที่รัก ด้วยสิ่งอันเป็นที่รักซึ่งเป็นเหตุจึงได้ถวาย

แด่พระองค์. บทว่า ปิย ลภนฺติ ความว่า เมื่อยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ

ย่อมได้สิ่งอันเป็นที่รักเหมือนกัน . บทว่า กามเหตุก ความว่า ดูก่อน

อภิปารกเสนาบดีผู้สหายรัก เราเกิดความปริวิตกขึ้นว่า เราจักทำสิ่งอันไม่สมควร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

มีกามเป็นเหตุแล้ว จักฆ่าตนเสีย. บทว่า มยฺห สตึ ได้แก่ อันเป็นของมี

อยู่แก่ข้าพระองค์. ปาฐะว่า มยฺห สติ ดังนี้ก็มี อธิบายว่า พระองค์ทรง

สำคัญอยู่อย่างนี้ว่า นางอุมมาทันตีนั้นเป็นของข้าพระองค์ ถ้าพระองค์ไม่ทรง

ปรารถนานางแล้วไซร้. บทว่า สพฺพชนสฺส ความว่า ข้าพระองค์จักให้

เสนาทั้งหมดประชุมกันแล้ว สละแก่ชนทั้งหมดนั้นว่า หญิงคนนี้ไม่เป็นประ-

โยชน์แก่เราเลย ดังนี้ . บทว่า ตโต อวฺหเยสิ ความว่า พระองค์พึงนำ

นางมาจากที่นั้นเถิด เพราะไม่มีใครหวงแหน. บทว่า อทูสิย ได้แก่ ผู้ไม่

มีความผิด. พระราชาตรัสเรียกอภิปารกเสนาบดีนั้นโดยชื่ออื่นอีกว่า กัตตะ

ดังนี้ ด้วยว่าอภิปารกเสนาบดีนั้น ย่อมทำประโยชน์เกื้อกูลแด่พระราชา

เพราะฉะนั้น จึงเรียกกันว่า กัตตะ. บทว่า น จาปิ ตฺยสฺส ความว่า แม้

คนฝ่ายตรงกันข้ามใคร ๆ ในพระนคร ไม่พึงมีแก่ท่านว่า เสนาบดีทำการอัน

ไม่ใช่หน้าที่. บทว่า นินฺท ความว่า อภิปารกเสนาบดีกราบทูลว่า จะมีคำ

ค่อนว่าอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ หากแม้ใคร ๆ จักนินทาหรือสรรเสริญข้าพระ-

องค์ต่อหน้าก็ตาม จักยกโทษขึ้นติเตียนก็ตาม ข้าพระองค์จักอดกลั้นคำนินทา

คำสรรเสริญ และคำติเตียนนั้นทั้งหมด จงมาตกอยู่แก่ข้าพระองค์เถิด. บทว่า

ตมฺหา ความว่า ผู้ใดไม่ถือเอาคำนินทาเป็นต้นเหล่านี้ สิริคืออิสริยยศ และ

ลักขีคือปัญญา ย่อมไปปราศจากบุรุษนั้น คือ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เหมือนน้ำ

คือนำฝนไหลลงจากที่ดอน ฉะนั้น. บทว่า อิโต ความว่า จากเหตุที่ข้า-

พระองค์ได้เสียสละนางแล้วนี้. บทว่า ธมฺมาติสารญฺจ ความว่า สิ่งใดสิ่ง

หนึ่งที่เป็นอกุศลธรรม เป็นไปล่วงพ้นธรรมมีอยู่. บทว่า ปฏิจฺฉิสฺสามิ แปลว่า

จักรับเอาเฉพาะ. บทว่า ถาวราน ตสาน ความว่า อภิปารกเสนาบดี

ย่อมแสดงว่า มหาปฐพีจะไม่ยอมรับสิ่งใด ๆ ของพระขีณาสพทั้งหลาย และ

ของปูถุชนทั้งหลาย ก็หาไม่ คือย่อมอดกลั้นสิ่งทั้งหมดได้ ฉันใด แม้ข้า-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

พระองค์ก็ฉันนั้น จักยอมรับ จักอดกลั้นสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดให้ได้. บทว่า

เอโกปิม ความว่า แม้เราผู้เดียวเท่านั้น จักทำให้พ้น จักข้าม คือจักนำ

ไปซึ่งภาระคือความทุกข์ของตนนี้เสีย. บทว่า ธมฺเม ิโต ความว่า เป็นผู้

ตั้งอยู่ในธรรมเครื่องวินิจฉัย ในธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณี และในธรรม

คือสุจริต ๓ ประการ. บทว่า สคฺคูปค ความว่า ธรรมดาว่าบุญกรรมที่

เป็นเหตุให้ได้เป็นเทวดานี้ ย่อมเป็นเหตุให้เข้าถึงสวรรค์. บทว่า ยญฺ ธน.

ได้แก่ ทรัพย์ในการบูชายัญ. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า

สขา ได้แก่ แม้นางอุมมาทันตีก็เป็นสหายของเรา แม้ตัวท่านก็เป็นสหาย

ของเรา. บทว่า ปิตโร ได้แก่ พระพรหม. บทว่า สพฺเพ ความว่า

มิใช่แต่เทวดาและพระพรหมเท่านั้น แม้ประชาชนชาวเมืองทั้งหมด ก็จะพึง

พากันนินทาเราได้ว่า ชาวเราเอ๋ย ! พวกท่านจงดูเถิด หญิงผู้เป็นสหายได้

เป็นภรรยาของเสนาบดีที่เคยเป็นเพื่อนกันพระราชาพระองค์นี้ยังทำไว้ในเรือน

ได้ลงคอ. บทว่า นเหต ธมฺม ความว่า ชนทั้งหมดไม่พึงเว้นกรรมอัน

ประกอบด้วยธรรมนี้เลย. บทว่า ย เต มยา ความว่า เพราะข้าพระองค์

ถวายนางอุมมาทันตีแก่พระองค์ ฉะนั้น สิ่งนี้จึงไม่ปรากฏว่าเป็นอธรรมเลย.

บทว่า สต ความว่า ธรรมทั้งหลายคือความอดทนเมตตาภาวนาศีลและ

มรรยาท ของสัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น จัดว่าพรรณนาไว้ดีแล้ว.

บทว่า สมุทฺทเวลาว ทุรจฺจยานิ อธิบายว่า พระราชาตรัสว่า เพราะฉะนั้น

แม้เราก็จักไม่ก้าวล่วงขอบเขตแห่งศีล เหมือนมหาสมุทรไม่ล่วงล้นฝั่งอันเป็น

ขอบเขต ฉะนั้น. บทว่า อาหุเนยฺโย เมสิ ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

พระองค์เป็นผู้สมควรแก่ของคำนับของต้อนรับ และสักการะของข้าพระองค์.

บทว่า ธาตา วิธาตา จสิ กามปาโล ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ

พระองค์ชื่อว่าเป็นผู้ทรงไว้ เพราะทรงไว้ซึ่งข้าพระองค์ ชื่อว่าเป็นผู้ทรงไว้

อย่างพิเศษ เพราะทรงก่อให้เกิดความสุขในอิสริยยศ และทรงรักษาความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

ต้องการที่ข้าพระองค์อยากได้และปรารถนาแล้ว จึงชื่อว่า ผู้รักษาความ

ปรารถนา. บทว่า ตยี หุตา คือ นางที่ข้าพระองค์ถวายแด่พระองค์. บทว่า

กาเมน เม ความว่า ขอพระองค์จงทรงรับนางอุมมาทันตีตามความต้องการ

ของข้าพระองค์ คือ ตามความปรารถนาของข้าพระองค์เถิด. อภิปารกเสนาบดี

ถวายนางอุมมาทันตีแด่พระราชา ด้วยคำพูดอย่างนี้. พระราชาทรงปฏิเสธว่า

เราไม่ต้องการนาง. พระราชาและท่านเสนาบดีทั้ง ๒ คน ย่อมละทิ้งนางอุมมา-

ทันตี เหมือนบุคคลเอาหลังเท้าเตะรังนกตกอยู่บนพื้นดิน ให้ลอยไปตกใน

ดง ฉะนั้น.

บัดนี้ พระราชาเมื่อจะทรงคุกคามขู่ท่านเสนาบดีนั้น เพื่อจะไม่ให้

เขากล่าวต่อไปอีก จึงตรัสคาถาเริ่มต้นว่า อทฺธา หิ ดังนี้. บรรดาบทเหล่า

นั้น บทว่า กตฺตุปุตฺตา ความว่า แม้บิดาของท่านอภิปารกเสนาบดีนั้น ก็

มีชื่อว่า กัตตะ เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น พระราชาจึงตรัสเรียกเขาอย่างนั้น

มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พระราชาตรัสคุกคามขู่อภิปารกเสนาบดีนั้นว่า

แน่นอนละ เมื่อก่อนแต่นี้ ท่านได้ประพฤติธรรมทั้งหมดแก่เรา ได้บำเพ็ญ

ประโยชน์เกื้อกูล และความเจริญแก่เรา แต่มาบัดนี้ ท่านกลับกลายเป็น

ปฏิปักษ์ เอาแต่พูดถ้อยคำเป็นอันมาก ท่านอย่าบ่นเพ้ออย่างนี้เลย คนอื่นที่

จะให้แสงสว่างแก่ท่านมีอยู่หรือในชีวโลกนี้ ผู้ที่จะกระทำความสวัสดีให้ท่านใน

เวลาอรุณขึ้นมีอยู่หรือ ก็ถ้าจักได้มีพระราชาองค์อื่นมีจิตผูกพันรักใคร่ในภรรยา

ของท่านเหมือนอย่างเราแล้วไซร้ ก็จะพึงใช้ให้คนตัดศีรษะของท่านเสียภายใน

อรุณทีเดียว แล้วชิงนางมาไว้ในพระราชวังของพระองค์เป็นแน่ แต่เราไม่ยอม

กระทำอย่างนั้น เพราะกลัวต่ออกุศลกรรม ท่านจงนิ่งเฉยเสียเถิด เรามิได้มี

ความต้องการนางเลย. อภิปารกเสนาบดี พอได้สดับพระดำรัสนั้นแล้ว เมื่อ

ไม่อาจจะกราบทูลคำอะไร ๆ อีกได้ จึงกล่าวคาถาเริ่มต้นว่า ตฺว นุ ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

ด้วยมุ่งจะกล่าวชมเชยพระราชา. เนื้อความแห่งบาทคาถานั้นว่า ข้าแต่พระ-

มหาราชเจ้า พระองค์เท่านั้น เป็นพระราชาผู้ประเสริฐสูงสุดแก่พระราชาผู้

เป็นจอมแห่งประชาชนทั้งหมด ชนชมพูทวีปทั้งสิ้น พระองค์เป็นพระราชาผู้

อันธรรมคุ้มครองแล้ว เพราะทรงรักษาธรรมเป็นเครื่องวินิจฉัย ธรรมอัน

เกี่ยวเนื่องด้วยประเพณีและธรรมคือความสุจริต พระองค์เป็นพระราชาผู้รู้

แจ้งธรรม เพราะรู้แจ้งตลอดทั่วถึงธรรมเหล่านั้น พระองค์เป็นผู้มีปัญญาเฉียบ

แหลม พระองค์เป็นผู้อันธรรมที่รักษาไว้คุ้มครองแล้ว ขอพระองค์จงดำรง

พระชนมายุยั่งยืนยาวนานเถิด ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้รักษาคุ้มครอง

ธรรม ขอพระองค์จงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด.

ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสคาถาเริ่มต้นว่า

ตทิงฺฆ ดังนี้. ศัพท์ว่า อิงฺฆ ในคาถานั้น เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่าตักเตือน

อธิบายว่า เพราะท่านตักเตือนเรา ฉะนั้นท่านจงฟังคำของเรา. บทว่า สต

ได้แก่ ธรรมที่สัตบุรุษทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นซ่องเสพแล้ว. คำว่า

สาธุ คือ ความดีงาม คือ ความประเสริฐสุด. พระราชาทรงชื่อว่าเป็นผู้

ชอบใจในธรรม เพราะอรรถว่า ทรงพอพระหทัยในวินิจฉัยธรรม ประเพณี

ธรรม และสุจริตธรรม. จริงอยู่ พระราชาเช่นนั้นแม้จำต้องสละพระชนชีพ

ก็ไม่ยอมทรงทำกรรมอันมิใช่พระราชกรณียกิจ เพราะฉะนั้น จึงเป็นพระราชา

มีความดีงาม. บทว่า ปญฺาณวา คือถึงพร้อมด้วยญาณ. บทว่า มิตฺตาน

อทุพฺโภ คือ ความเป็นผู้ไม่ประทุษร้ายต่อมิตร. บทว่า ิตธมฺมสฺส คือ

มีธรรมทั้ง ๓ อย่างตั้งไว้ดีแล้ว. บทว่า อาเสถ คือ พึงนอนพึงนั่ง. จริง

อยู่ คำว่า พึงนอน นี้เป็นหัวข้อแห่งเทศนาเท่านั้น ก็ในข้อนี้ มีคำอธิบาย

ว่า พึงสำเร็จความสุขในอิริยาบถทั้ง ๔ ดังนี้. บทว่า สีตจฺฉายาย ได้แก่

เงาอันร่มเย็น ระหว่างบุตรภรรยา ญาติและมิตรทั้งหลาย. บทว่า สฆเร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

คือ สกฆเร ได้แก่ ในบ้านของตนเอง พระราชาทรงแสดงว่า พวกมนุษย์

ที่ไม่ถูกเบียดเบียนด้วยพลีกรรมและอาชญาอัน ไม่เป็นธรรมเป็นต้น พึงอยู่เป็น

สุข. บทว่า น จาหเมต ความว่า ดูก่อนอภิปารกะผู้สหาย กรรมอันใดที่

ทำแล้วไม่ดีโดยมิได้พิจารณาก่อนทำลงไป เราไม่ชอบใจกรรมนั้นเสียเลย. บท

ว่า ตฺวาน อธิบายว่า ก็เราชอบใจกรรมของพระราชาผู้ทรงรู้แล้ว คือ

พิจารณาใคร่ครวญแล้วตนเองไม่ยอมทำ. ก็ในคำว่า อิมา อุปมา นี้ มีความ

ว่า ขอท่านจงตั้งใจฟังคำอุปมา ๒ ประการนี้ของเราเถิด. บทว่า ชิมฺห แปล

ว่า ทางคด. บทว่า เนตฺเต ได้แก่ โคอุสภะตัวประเสริฐนำฝูงแม่โคไป.

คำว่า ปเคว ความว่า เมื่อพระราชาพระองค์นั้น ทรงประพฤติอธรรมอยู่

ประชาชนนอกนี้ก็ย่อมพากันประพฤติอธรรมไปด้วย คือ ยิ่งประพฤติทำการ

หนักขึ้น. บทว่า ธมฺมิโก ได้แก่ พระราชาทรงละการถึงอคติ ๔ ประการ

แล้ว เสวยราชสมบัติอยู่โดยธรรม. บทว่า อมรตฺต คือ ความเป็นเทพเจ้า.

บทว่า รตน ได้แก่ สวิญญาณกรัตนะและอวิญญาณกรัตนะ. บทว่า วตฺถิย

คือ ผ้ากาสิกพัสตร์. บทว่า อสฺสิตฺถิโย หมายถึงน้ำที่วิ่งไวเหมือนลมพัด

และหมายถึงผู้หญิงที่มีรูปสวยงดงามยิ่งนัก. บทว่า รตน มณิกญฺจ หมาย

ถึงแก้ว ๗ ประการและสิ่งของที่มีราคามากมาย. บทว่า อภิปาลยนฺติ ความ

ว่า ย่อมรักษาชาวโลกทำให้สว่างไสวอยู่. บทว่า น ตสฺส ความว่า บุคคล

ไม่ควรประพฤติความผิด แม้เพราะเหตุแห่งความเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น

เลย. บทว่า อุสภสฺมิ ความว่า เพราะเราเกิดเป็นพระราชาผู้ประเสริฐที่สุด

ในท่ามกลางประชาชนชาวสีพี ฉะนั้น เราจึงไม่ยอมประพฤติความผิดแม้เป็น

เหตุให้ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรติ. บทว่า เนตา ความว่า เราทำให้มหาชน

ตั้งอยู่ในกุศลกรรมแล้วนำไปยังเทวนครเป็นผู้ประกอบประโยชน์ เพราะทำ

ประโยชน์ให้แก่มหาชนนั้นเป็นผู้มีชื่อเสียงกระเดื่องเด่น เพราะมีประชาชนรู้จัก

ทั่วชมพูทวีปทั้งสิ้นว่า เขาลือกันว่า พระเจ้าสีวิราชเป็นผู้ทรงประพฤติธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

เป็นผู้ปกครองแว่นแคว้น เพราะทรงได้ปกครองแว่นแคว้นโดยความเป็นธรรม

สม่ำเสมอ. บทว่า อปจายมาโน คือ อ่อนน้อมต่อธรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วย

พระราชประเพณีของพระราชาแต่ครั้งโบราณกาล ของชนชาวสีพีทั้งหลาย.

บทว่า โส อธิบายว่า เรานั้นเป็นผู้เลือกเฟ้นธรรมนั้นอยู่ทีเดียว เพราะเหตุ

นั้น เราจึงไม่เป็นไปในอำนาจแห่งจิตของตัวเอง.

อภิปารกเสนาบดีพอได้สดับธรรมกถาของพระมหาสัตว์อย่างนั้นแล้ว

เมื่อจะทำความชมเชย จึงกล่าวคาถาเริ่มต้นว่า อทฺธา ดังนี้. บทว่า นปฺปมชฺ-

ชสิ ความว่า ไม่ทรงหลงลืมธรรมที่พระองค์ได้ตรัสไว้แล้ว คือ ทรงประพฤติ

ในธรรมนั้นเท่านั้น. บทว่า ธมฺม ปมชฺช ได้แก่ ทรงลืมธรรมเสียแล้ว

เป็นไปด้วยอำนาจอคติ อภิปารกเสนาบดีนั้น ครั้นทำความชมเชยพระมหาสัตว์

อย่างนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาสั่งสอน ๑๐ คาถาประกอบคำว่า ธมฺม จร ดังนี้

เป็นต้นให้ยิ่งขึ้นไปอีก. เนื้อความแห่งคาถาเหล่านั้น ได้พรรณนาไว้แล้ว ใน

เรื่องเตสกุณชาดก ในหนหลังแล.

เมื่ออภิปารกเสนาบดีแสดงธรรมแด่พระราชาอย่างนี้แล้ว พระราชาก็

ได้ทรงบันเทาพระทัยที่จะผูกพันรักใคร่ในนางอุมมาทันตีเสียได้สิ้น.

พระศาสดา ครั้นได้ทรงนำพระธรรมเทศนานั้นมาแล้ว จึงทรงประกาศ

สัจจะทั้งหลายแล้วประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุรูปนั้น ก็ดำรงอยู่ในโสดา

ปัตติผล สุนันทสารถีในกาลน้น ได้เป็นพระอานนท์ . อภิปารกเสนาบดี

ได้เป็นพระสารีบุตร นางอุมมาทันตี ได้เป็นนางอุบลวรรณา บริษัท

ที่เหลือเป็นพุทธบริษัท ส่วนพระเจ้าสีวิราช ก็คือเราตถาคตนั่นแล.

จบอรรถกถาอุมมาทันตีชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

๓. มหาโพธิชาดก

ว่าด้วยปฏิปทาของผู้นำ

[๕๒] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ เพราะเหตุไรหนอ

ท่านจึงรีบร้อนถือเอาไม้เท้า หนังสือ ร่ม รองเท้า

ไม้ขอ บาตร และผ้าพาด ท่านปรารถนาจะไปยังทิศ

ไหนหนอ.

[๕๓] ตลอดเวลา ๑๒ ปีที่อาตมภาพอยู่ในสำนัก

ของมหาบพิตรนี้ อาตมภาพไม่เคยรู้จักเสียงที่สุนัข สี่

เหลืองมันคำรามด้วยหูเลย สุนัขมันแยกเขี้ยวขาวเห่า

อยู่ คล้ายกับว่าไม่เคยรู้จักกัน เพราะมันได้ยินถ้อยคำ

ของมหาบพิตรกับพระชายาผู้ศรัทธาจึงกล่าวกะอาตม-

ภาพอย่างนี้.

[๕๔] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ โทษที่ข้าพเจ้าทำ

แล้วนั้น จริงตามที่ท่านกล่าว ข้าพเจ้านี้ย่อมเลื่อมใส

ยิ่งนัก ขอท่านจงอยู่เถิด อย่าเพิงไปเสียเลย ท่าน

พราหมณ์.

[๕๕] เมื่อก่อนข้าวสุกขาวล้วน ภายหลังก็มีสิ่ง

อื่นเจือปน บัดนี้แดงล้วน เวลานี้เป็นเวลาสมควรที่

อาตภาพจะหลีกไป อนึ่ง เมื่อก่อนอาสนะมีในภายใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

ต่อมามีในท่ามกลาง ต่อมามีข้างนอก ต่อมาก็ถูกขับ

ไล่ออกจากพระราชนิเวศน์ อาตมภาพจะของดเสียเอง

ละ บุคคลไม่ควรคบหาคนที่ปราศจากศรัทธาเหมือน

บ่อที่ไม่มีน้ำ ฉะนั้น ถ้าแม้บุคคลจะพึงขุดบ่อน้ำนั้น

บ่อนั้นก็จะมีน้ำที่มีกลิ่นโคลนตม บุคคลควรคบคนที่

เลื่อมใสเท่านั้น ควรเว้นคนที่ไม่เลื่อมใส ควรเข้าไป

นั่งใกล้คนที่เลื่อมใส เหมือนคนผู้ต้องการน้ำเข้าไปหา

ห้วงน้ำ ฉะนั้น ควรคบคนผู้คบด้วย ไม่ควรคบคนผู้ไม่

คบด้วย ผู้ใดไม่คบคนผู้คบด้วย ผู้นั้นชื่อว่ามีธรรมของ

อสัตบุรุษ ผู้ใดไม่คบคนผู้คบด้วย ไม่ซ่องเสพคนผู้

ซ่องเสพด้วย ผู้นั้นแล เป็นมนุษย์ชั่วช้าที่สุด เหมือน

ลิง ฉะนั้น มิตรทั้งหลายย่อมแหนงหน่ายกันด้วยเหตุ

๓ ประการนี้ คือ ด้วยการคลุกคลีกันเกินไป ๑ ด้วย

การไม่ไปมาหากัน ๑ ด้วยการขอในเวลาไม่สมควร ๑

เพราะฉะนั้น บุคคล จึงไม่ควรไปมาหากันให้พร่ำ

เพรื่อนัก ไม่ควรเหินห่างไปให้เนิ่นนาน และควรขอ

สิ่งที่ควรขอตามเหตุกาลที่สมควร ด้วยอาการอย่างนี้

มิตรทั้งหลายจึงจะไม่แหนงหน่ายกัน คนที่รักกันย่อม

ไม่เป็นที่รักกันได้เพราะการอยู่ร่วมกันนานเกินควร

อาตมภาพมิได้เป็นที่รักของมหาบพิตรมาก่อน เพราะ

ฉะนั้น อาตมภาพจึงขอลาไปก่อนละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

[๕๖] ถ้าพระคุณเจ้าไม่รับทราบอัญชลี ของ

สัตว์ผู้เป็นบริวารมาอ้อนวอนอยู่อย่างนี้ ไม่กระทำตาม

คำขอร้องของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าวิงวอนพระคุณเจ้าถึง

เพียงนี้ ขอพระคุณเจ้าโปรดกลับมาเยี่ยมอีก.

[๕๗] ดูก่อนมหาบพิตรผู้ผดุงรัฐ อันตรายจักไม่

มี แม้ไฉนเราทั้งหลายพึงเห็นการล่วงไปแห่งวันและ

คืนของมหาบพิตรและของอาตมภาพ.

[๕๘] ถ้าถ้อยคำของท่านเป็นไปตามคติที่ดีและ

ตามสภาพ สัตว์กระทำกรรมที่ไม่ควรทำบ้าง ที่ควร

ทำบ้าง เพราะความไม่ใคร่ในกรรมที่สัตว์กระทำ

สัตว์อะไรในโลกนี้จะเปื้อนด้วยบาปเล่าถ้าเนื้อความ

แห่งภาษิตของท่านนั้นเป็นอรรถเป็นธรรมและเป็น

ถ้อยคำงาม ไม่ชั่วช้า ถ้าถ้อยคำของท่านเป็นความจริง

ลิงก็เป็นอันเราฆ่าดีแล้ว ถ้าท่านรู้ความผิดแห่งวาทะ

ของตน ก็จะไม่พึงติเตียนเราเลย เพราะว่าวาทะของ

ท่านเป็นเช่นนั้น.

[๕๙] ถ้าว่าพระเป็นเจ้าสร้างชีวิต สร้างฤทธิ์

สร้างความพินาศ สร้างกรรมดีและกรรมชั่ว ให้แก่

โลกทั้งหมดไซร้ บุรุษผู้กระทำตามคำสั่งของพระเป็น

เจ้า ก็ย่อมทำบาปได้ พระเป็นเจ้าย่อมเปื้อนด้วยบาป

นั้นเอง ถ้าเนื้อควานแห่งภาษิตของท่านเป็นอรรถเป็น

ธรรม...เพราะว่าวาทะของท่านเป็นเช่นนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

[๖๐] ถ้าสัตว์ย่อมเข้าถึงสุขและทุกข์ เพราะเหตุ

แห่งกรรมที่กระทำไว้แล้วในปางก่อน กรรมเก่าที่กระ-

ทำไว้แล้ว เขาย่อมเปลื้องหนี้นั้นได้ ทางพ้นจากหนี้

เก่ามีอยู่ ใครเล่าในโลกนี้จะเปื้อนด้วยบาป ถ้าเนื้อ

ความแห่งภาษิตของท่าน เป็นอรรถเป็นธรรม...เพราะ

ว่าวาทะของท่านเป็นเช่นนั้น.

[๖๑] รูปของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นอยู่ได้เพราะ

อาศัยธาตุ ๔ เท่านั้น ก็รูปเกิดจากสิ่งใด ย่อมเข้าถึง

ในสิ่งนั้นอย่างเดิม ชีพย่อมเป็นอยู่ในโลกนี้เท่านั้น ละ

ไปแล้วย่อมพินาศในโลกหน้า โลกนี้ขาดสูญ เมื่อโลก

ขาดสูญอยู่อย่างนี้ ชนเหล่าใด ทั้งที่เป็นพาลทั้งที่เป็น

บัณฑิต ชนเหล่านั้นย่อมขาดสูญทั้งหมด ใครเล่าใน

โลกนี้จะเปื้อนด้วยบาป ถ้าเนื้อความแห่งภาษิตของ

ท่านเป็นอรรถเป็นธรรม...เพราะว่าวาทะของท่านเป็น

เช่นนั้น.

[๖๒] อาจารย์ทั้งหลายผู้มีวาทะว่า การฆ่ามารดา

บิดา เป็นกิจที่ควรทำ ได้กล่าวไว้แล้วในโลก พวกคน

พาลผู้สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต พึงฆ่ามารดา บิดา พึงฆ่า

พี่ ฆ่าน้อง ฆ่าบุตรและภรรยา ถ้าประโยชน์เช่นนั้น

พึงมี.

[๖๓] บุคคลพึงนั่งหรือนอนที่ร่มไม้ใด ไม่ควร

หักกิ่งไม้นั้น เพราะว่าผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลว-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

ทราม ถ้าเมื่อมีความต้องการเกิดขึ้นก็ควรถอนไปแม้

ทั้งราก แม้ประโยชน์ที่จะมีต่อเรามาก วานรเป็นอัน

เราฆ่าดีแล้ว ถ้าเนื้อความแห่งภาษิตของท่านเป็นอรรถ

เป็นธรรม เพราะวาทะของท่านเป็นเช่นนั้น.

[๖๔] บุรุษผู้มีวาทะว่าหาเหตุมิได้ ๑ ผู้มีวาทะ

ว่าพระเจ้าสร้างโลก ๑ ผู้มีวาทะว่าสุขและทุกข์เกิด

เพราะกรรมที่ทำมาก่อน ๑ ผู้มีวาทะว่าขาดสูญ ๑ คน

ที่มีวาทะว่าฆ่าบิดามารดาเป็นกิจที่ควรทำ ๑ ทั้ง ๕ คนนี้

เป็นอสัตบุรุษ เป็นคนพาล แต่มีความสำคัญว่าตนเป็น

บัณฑิตในโลก คนเช่นนั้นพึงกระทำบาปเองก็ได้ พึง

ชักชวนผู้อื่นให้กระทำก็ได้ ความคลุกคลีด้วยอสัตบุรุษ

มีทุกข์เป็นที่สุด มีผลเผ็ดร้อนเป็นกำไร.

[๖๕] ในปางก่อน นกยางตัวหนึ่งมีรูปเหมือน

แกะ พวกแกะไม่รังเกียจ เข้าไปยังฝูงแกะ ฆ่าแกะ

ทั้งตัวเมียตัวผู้ ครั้นฆ่าแล้ว ก็บินหนีไปด้วยอาการ

อย่างใด สมณพราหมณ์บางพวกก็มีอาการเหมือนอย่าง

นั้น กระทำการปิดบังตัว เที่ยวหลอกลวงพวกมนุษย์

บางพวกประพฤติไม่กินอาหาร บางพวกนอนบนแผ่น

ดิน บางพวกทำกิริยาขัดถูธุลีในตัว บางพวกตั้งความ

เพียรเดินกระโหย่งเท้า บางพวกงดกินอาหารชั่วคราว

บางพวกไม่ดื่มน้ำ เป็นผู้มีอาจาระเลวทราม เที่ยวพูด

อวดว่าเป็นพระอรหันต์ คนเหล่านี้เป็นอสัตบุรุษ เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

คนพาลแต่มีความสำคัญว่าตนเป็นบัณฑิต คนเช่นนั้น

พึงกระทำบาปเองก็ได้ พึงชักชวนผู้อื่นให้กระทำก็ได้

ความคลุกคลีด้วยอสัตบุรุษ มีทุกข์เป็นที่สุด มีผลเผ็ด

ร้อนเป็นกำไร.

พวกคนที่กล่าวว่าความเพียรไม่มี และพวกที่

กล่าวหาเหตุติเตียนการกระทำของผู้อื่นบ้าง กล่าว

สรรเสริญการกระทำของตนบ้าง และพูดเปล่า ๆ บ้าง

คนเหล่านี้เป็นอสัตบุรุษ เป็นคนพาล แต่มีความ

สำคัญตนว่า เป็นบัณฑิต คนเช่นนั้นพึงกระทำบาป

เองก็ได้ พึงชักชวนให้ผู้อื่นกระทำก็ได้ ความคลุกคลี

ด้วยอสัตบุรุษมีทุกข์เป็นที่สุด มีผลเผ็ดร้อนเป็นกำไร

ก็ถ้าความเพียรไม่พึงมี กรรมดีกรรมชั่วไม่มีไซร้

พระราชาก็จะไม่ทรงชุบเลี้ยงพวกช่างไม้ แม้นายช่าง

ก็ไม่พึงกระทำยนต์ทั้งหลาย แต่เพราะความเพียรมีอยู่

กรรมดีกรรมชั่วมีอยู่ ฉะนั้น นายช่างกระทำยนต์ทั้ง

หลายให้สำเร็จ พระราชาจึงทรงชุบเลี้ยงนายช่างไม้ไว้

ถ้าฝนไม่ตก น้ำค้างไม่ตกตลอดร้อยปี โลกนี้ก็พึงขาด

สูญ หมู่สัตว์ก็พึงพินาศ แต่เพราะฝนก็ตกและน้ำค้าง

ก็ยังโปรยอยู่ ฉะนั้น ข้าวกล้าจึงสุกและเลี้ยงชาวเมือง

ให้ดำรงอยู่ได้นาน ถ้าเมื่อฝูงโคข้ามฟากไปอยู่ โคผู้นำ

ฝูงไปคด เมื่อมีโคผู้นำฝูงไปคด โคเหล่านั้นทั้งหมด

ก็ย่อมไปคด ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ผู้ใดได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ถ้าผู้นั้นประ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

พฤติไม่เป็นธรรม จะป่วยกล่าวไปไยถึงประชาชนนอก

นี้ ชาวเมืองทั้งปวงย่อมอยู่เป็นทุกข์ ถ้าพระราชาไม่

ทรงดำรงอยู่ในธรรม ถ้าเมื่อฝูงโคข้ามฟากไปอยู่ โค

ผู้นำฝูงไปตรง เมื่อมีโคผู้นำฝูงไปตรง โคเหล่านั้น

ทั้งหมดก็ย่อมไปตรง ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ถ้า

แม้ผู้นั้นประพฤติเป็นธรรมไม่จำต้องกล่าวถึงประชาชน

นอกนี้ ชาวเมืองทั้งปวงย่อมอยู่เป็นสุข ถ้าพระราชา

ทรงดำรงอยู่ในธรรม เมื่อต้นไม้ใหญ่มีผล ผู้ใดเก็บ

ผลดิบมา ผู้นั้นย่อมไม่รู้รสแห่งผลไม้นั้น ทั้งพืชพันธุ์

แห่งต้นไม้นั้นก็ย่อมพินาศ รัฐเปรียบด้วยต้นไม่ใหญ่

พระราชาใดทรงปกครองโดยไม่เป็นธรรม พระราชา

นั้นย่อมไม่รู้จักรสแห่งรัฐนั้น และรัฐของพระราชานั้น

ก็ย่อมพินาศ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีผล ผู้ใดเก็บเอาผลสุก ๆ

มา ผู้นั้นย่อมรู้รสแห่งผลไม้นั้น และพืชพันธุ์แห่ง

ต้นไม้นั้นก็ไม่พินาศ รัฐเปรียบด้วยต้นไม่ใหญ่ พระ-

ราชาใดปกครองโดยธรรม พระราชานั้นย่อมทรงทราบ

รสแห่งรัฐนั้น และรัฐของพระราชานั้นก็ไม่พินาศ.

อนึ่ง ขัตติยราชพระองค์ใด ทรงปกครองชนบท

โดยไม่เป็นธรรม ขัตติยราชพระองค์นั้น ย่อมทรงคลาด

จากพระโอสถทั้งปวง อนึ่ง พระราชาพระองค์ใด ทรง

เบียดเบียนชาวนิคมผู้ประกอบการซื้อขาย กระทำการ

ถวายโอชะและพลีกรรม พระราชาพระองค์นั้นย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

คลาดจากส่วนพระราชทรัพย์ พระราชาพระองค์ใด

ทรงเบียดเบียนนายพรานผู้รู้เขตแห่งการประหารอย่าง

ดี และเบียดเบียนทหารผู้กระทำความชอบในสงคราม

เบียดเบียนอำมาตย์ผู้รุ่งเรือง พระราชาพระองค์นั้น

ย่อมคลาดจากพลนิกาย อนึ่ง กษัตริย์ผู้ไม่ประพฤติ

ธรรม เบียดเบียนบรรพชิตผู้แสวงหาคุณ ผู้สำรวม

ประพฤติพรหมจรรย์ กษัตริย์พระองค์นั้นย่อมคลาด

จากสวรรค์ อนึ่ง พระราชาผู้ไม่ดำรงอยู่ในธรรม ฆ่า

พระชายาผู้ไม่ประทุษร้าย ย่อมได้ประสบเหตุแห่งทุกข์

อย่างหนัก และย่อมผิดพลาดด้วยพระราชบุตรทั้งหลาย

พระราชาพึงประพฤติธรรมในชาวชนบท ชาวนิคม

พลนิกาย ไม่พึงเบียดเบียนบรรพชิต พึงประพฤติ

สม่ำเสมอในพระโอรสและพระชายา พระราชาผู้เป็น

ภูมิบดีเช่นนั้น เป็นผู้ปกครองบ้านเมือง ไม่ทรงพิโรธ

ย่อมทรงทำให้ผู้อยู่ใกล้เคียงหวั่นไหว เหมือนพระ-

อินทร์ผู้เป็นเจ้าแห่งอสูร ฉะนั้น.

จบมหาโพธิชาดกที่ ๓

จบปัญญาสนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

อรรกถามหาโพธิชาดก

พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง

พระปรารภพระปัญญาบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กินฺนุ

ทณฺฑ กิมาชิน ดังนี้.

เนื้อเรื่องนี้ จักมีแจ่มแจ้งในมหาอุมมังคชาดกข้างหน้า.

ก็ในกาลนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในกาล

บัดนี้เท่านั้น ถึงในกาลก่อน ตถาคตก็เป็นผู้มีปัญญาสามารถย่ำยีวาทะของคนอื่น

ได้เหมือนกัน ดังนี้ จึงทรงนำเอาอดีตนิทานมาตรัสดังนี้ว่า

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตทรงเสวยราชสมบัติ ในเมือง

พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลผู้สูงสุด มีทรัพย์

สมบัติประมาณได้ ๘๐ โกฏิ ในแคว้นกาสี. มารดาบิดาทำการตั้งชื่อพระโพธิสัตว์

นั้นว่า โพธิกุมาร. โพธิกุหารนั้นเมื่อเจริญวัยเติบโต ได้ศึกษาเล่าเรียน

ศิลปศาสตร์ในเมืองตักกศิลาจนจบ แล้วกลับมาตรอบครองเรือนอยู่ ในกาล

ต่อมา ได้ละความสุขอันเกิดแต่กามเสียแล้วเข้าไปยังหิมวันตประเทศ บวช

เป็นปริพาชก มีเหง้าไม้และผลไม้ในป่านั้นนั่นเองเป็นอาหาร อยู่ได้เป็นเวลานาน

พอถึงเวลาฤดูฝน จึงออกจากป่าหิมพานต์แล้ว เที่ยวจาริกไปจนได้ถึงกรุง

พาราณสีโดยลำดับ เข้าไปอยู่ในพระราชอุทยาน ในวันรุ่งขึ้นเที่ยวไปภิกขาจาร

ในพระนคร โดยความเหมาะสมแก่ปริพาชก จนถึงประตูพระราชนิเวศน์.

พระราชาประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชร ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์นั้น ทรง

เลื่อมใสในกิริยาอันสงบเสงี่ยมของท่านรูปนั้น จึงตรัสสั่งให้ราชบุรุษไปนิมนต์

ท่านเข้ามายังที่ประทับของพระองค์ ทรงกระทำปฏิสันถาร ได้ทรงสดับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

ธรรมกถาเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้ว ทรงถวายโภชนะมีรสชาติอันเลิศต่าง ๆ แล้ว.

พระมหาสัตว์รับภัตตาหารมาแล้ว คำนึงว่า ขึ้นชื่อว่า ราชสกุลนี้ มีความผิดมาก

(ที่จะเกิดแก่ตัวเรา) ทั้งหมู่ปัจจามิตรก็มีมากมาย ใครหนอจักช่วยบำบัดทุกข์ภัย

ที่จะเกิดขึ้นแก่ตัวเราได้. พระโพธิสัตว์นั้นได้มองเห็นสุนัขสีเหลืองตัวหนึ่ง

ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระราชา อยู่ในที่ใกล้ ๆ จึงหยิบข้าวสุกก้อนใหญ่

แสดงที่ท่าล่อจะให้สุนัขนั้น. พระราชาทรงทราบอาการนั้น จึงให้คนนำเอา

ภาชนะมาใส่ภัตรแล้วให้แก่สุนัขนั้น. แม้พระมหาสัตว์ก็ทำภัตกิจของพระราชา

พระองค์นั้น ให้สำเร็จลงแล้ว. แม้พระราชาทรงรับปฏิญญาของพระมหาสัตว์

นั้นเรียบร้อยแล้ว ให้ช่างสร้างบรรณศาลาไว้ในพระราชอุทยาน ภายใน

พระนครแล้ว ทรงถวายเครื่องบริขารสำหรับบรรพชิต นิมนต์ให้พระมหาสัตว์

นั้นอยู่ประจำในที่นั้น. ก็พระราชาได้เสด็จไปยังที่บำรุงของพระมหาสัตว์นั้น

วันละ ๒-๓ ครั้งทุก ๆ วัน. ก็พอถึงเวลาฉัน พระมหาสัตว์ขึ้นนั่งบนพระแท่น

สำหรับพระราชาแล้วฉันโภชนะของพระราชาอยู่เป็นประจำทีเดียว ทำอย่างนี้

จนเวลาล่วงไปได้ ๑๒ ปี จนพระราชาพระองค์นั้น มีอำมาตย์ ๕ คน ทำการ

สั่งสอนอรรถและธรรม.

บรรดาอำมาตย์ทั้ง ๕ คนนั้น คนหนึ่งเป็นอเหตุกวาที คนหนึ่ง

เป็นอิสรกรณวาที คนหนึ่งเป็นปุพเพกตวาที คนหนึ่งเป็นอุจเฉทวาที

และคนหนึ่งเป็นขัตตวิชชวาที. ในบรรดาอำมาตย์ทั้ง ๕ คนนั้น อำมาตย์ผู้เป็น

อเหตุกวาทีสั่งสอนมหาชนให้ถือเอาอย่างว่า สัตว์เหล่านี้เป็นผู้หมดจดในสงสาร.

อำมาตย์ผู้เป็นอิสรกรณวาที สั่งสอนมหาชนให้ถือเอาอย่างว่า โลกนี้ พระเจ้า

เป็นผู้สร้าง. อำมาตย์ผู้เป็นปุพเพกตวาที สั่งสอนให้มหาชนเอาอย่างว่า ความสุข

หรือความทุกข์ของสัตว์เหล่านี้ เนื้อจะเกิดขึ้นมา ย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุที่ตนทำ

ไว้ในปางก่อนนั่นแหละ. อำมาตย์ผู้เป็นอุจเฉทวาที สั่งสอนให้มหาชนเอาอย่าง

ว่า ขึ้นชื่อว่า บุคคลผู้จากโลกนี้ไปยังโลกหน้า ย่อมไม่มี โลกนี้ย่อมขาดสูญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

อำมาตย์ผู้เป็นขัตตวิชชวาที สั่งสอนให้มหาชนเอาอย่างว่า บุคคลควรฆ่ามารดา

บิดาแล้ว มุ่งทำประโยชน์ของตนเองถ่ายเดียวเถิด. อำมาตย์ทั้ง ๕ คนนั้น

ดำรงอยู่ในตำแหน่งผู้พิพากษาอรรถคดีแทนพระราชา แต่กลับพากันกินสินบน

ตัดสินความทำคนที่มิได้เป็นเจ้าของให้ได้เป็นเจ้าของ และทำคนที่เป็นเจ้าของ

ไม่ให้ได้เป็นเจ้าของ.

ครั้นวันหนึ่ง บุรุษคนหนึ่ง เป็นผู้แพ้คดีความ เพราะถูกโกง เห็น

พระมหาสัตว์เที่ยวภิกขาจารเข้าไปยังพระราชนิเวศน์ จึงไหว้พลางรำพันว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านมาฉันในพระราชนิเวศน์ เพราะเหตุไรจึงได้แต่แลดู

พวกอำมาตย์ผู้วินิจฉัยคดี รับสินบนทำชาวโลกให้ฉิบหายอยู่เล่า บัดนี้ ข้าพเจ้า

เป็นเจ้าของแท้ ๆ แต่กลับถูกพวกอำมาตย์ ๕ คน รับสินบนจากมือลูกความ

โกงแล้ว ทำให้ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นเจ้าของ. ด้วยอำนาจความสงสารในบุรุษคน

นั้น พระมหาสัตว์นั้นจึงไปยังโรงวินิจฉัยแล้ว ตัดสินความโดยชอบธรรม

ได้ทำคนที่เป็นเจ้าของให้กลับได้เป็นเจ้าของอีกเหมือนเดิม. มหาชนได้ให้

สาธุการด้วยเสียงอันดังขึ้นพร้อมกันทีเดียว. พระราชาได้ทรงสดับเสียงนั้นแล้ว

จึงตรัสถามว่า นี่เสียงอะไรกันนะ พอได้สดับข้อความนั้นแล้ว จึงเสด็จเข้าไป

นั่งใกล้พระมหาสัตว์ผู้ทำภัตกิจเสร็จแล้ว ตรัสถามว่า ท่านผู้เจริญ ทราบว่า

วันนี้ พระคุณเจ้าตัดสินคดีความเองหรือ ? พระมหาสัตว์ทูลว่า ขอถวายพระพร

มหาบพิตร. พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญ เนื้อพระคุณเจ้าทำการตัดสิน

คดีความเป็นประจำต่อไป ความเจริญจักมีแก่มหาชน จำเดิมแต่วันนี้ไป ขอ

พระคุณเจ้าจงช่วยตัดสินคดีให้ด้วยเถิด. พระมหาสัตว์ทูลว่า มหาบพิตร

อาตมภาพเป็นบรรพชิต การวินิจฉัยอรรถคดีนี้ มิใช่กิจของอาตมภาพเลย.

พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญ พระคุณท่านควรทำความกรุณาในมหาชนเถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

พระคุณเจ้าไม่ต้องวินิจฉัยตลอดทั้งวันก็ได้ คือ ในเวลาเช้าออกจากอุทยาน

ผ่านมาในที่นี้ กรุณาแวะเข้าไปยังโรงวินิจฉัยคดีแล้ว ทำการวินิจฉัยตัดสินความ

สัก ๔ เรื่อง พอฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จะกลับไปยังอุทยาน กรุณาช่วยทำ

การวินิจฉัยตัดสินความให้อีก ๔ เรื่อง ถ้าทำได้อย่างนี้ ความเจริญจักมีแก่

มหาชน. พระมหาสัตว์นั้น ถูกพระราชานั้นอ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ เข้า จึงยอม

รับว่า สาธุ ดังนี้. ตั้งแต่วันนั้นมา ก็ได้ทำอย่างนั้น. พวกลูกความโกงทั้งหลาย

ไม่ได้แล้วซึ่งโอกาส.

ฝ่ายพวกอำมาตย์ ๕ คนนั้นเล่า เมื่อไม่ได้สินบนก็กลับกลายเป็นผู้

ขัดสน จึงพากันปรึกษาว่า ตั้งแต่เวลาที่โพธิปริพาชกนาตัดสินความ พวก

เราไม่ได้อะไร ๆ เลย เอาเถอะ พวกเราจักหาเรื่องปริพาชกนั้นแล้ว ยุยง

พระราชาให้ตัดสิน ฆ่าปริพาชกนั้นให้ได้. พวกอำมาตย์นั้น พากันเข้าไปเฝ้า

พระราชาแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า (บัดนี้) โพธิปริพาชก

ปรารถนาจักทำความพินาศต่อพระองค์ เมื่อพระราชาไม่ทรงเชื่อ ตรัสว่า

โพธิปริพาชกนั้น เป็นผู้มีศีลมบูรณ์ด้วยความรู้ จักไม่ทำกรรมเห็นปานนั้น

เด็ดขาด จึงพากันกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ประชาชนชาวเมือง

ทั้งสิ้น ถูกโพธิปริพาชกนั้น ทำให้อยู่ในเงื้อมมือของตนเสียแล้ว แต่ยังไม่อาจ

ที่จะทำพวกข้าพระองค์ทั้ง ๕ คนนี้ได้เท่านั้น ถ้าพระองค์ไม่ทรงเชื่อถ้อยคำ

ของพวกข้าพระองค์ไซร้ ในเวลาที่โพธิปริพาชกนั้นมาในที่นี้ พระองค์พึง

ทอดพระเนตรดูบริษัทเถิด. พระราชาทรงรับว่า ดีละ ดังนี้แล้ว ประทับยืน

อยู่ที่สีหบัญชรทอดพระเนตรดูปริพาชกนั้นกำลังเดินมา ทรงเห็นบริวาร เพราะ

ค่าที่พระองค์ไม่รู้เท่าทัน จึงทรงเจ้าใจพวกมนุษย์ที่มาฟ้องคดีความว่า เป็น

บริวารของพระมหาสัตว์นั้น ทรงเชื่อแล้ว ตรัสสั่งให้พวกอำมาตย์นั้นเข้ามาเฝ้า

แล้ว ตรัสถามว่า พวกเราจะทำอย่างไรกัน ? พวกอำมาตย์เหล่านั้น กราบทูล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงมีรับสั่งให้จับปริพาชกนั้นเถิด พระเจ้าข้า. พระราชา

ตรัสว่า เมื่อเรายังมองไม่เห็นความผิดอันยิ่งใหญ่ จักสั่งให้จับเขาได้อย่างไร.

พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงมีรับสั่งให้ลดการอุปัฏฐาก

ที่เคยทำตามปกติแก่ปริพาชกนั้นลงเสียบ้าง ปริพาชกเป็นบัณฑิต พอเห็นการ

บำรุงนั้นค่อย ๆ ลดลง คงจักไม่ยอมบอกใคร ๆ แล้วแอบหนีไปเอง.

พระราชาตรัสว่า ดีละ แล้วตรัสสั่งให้ลดการบำรุงพระมหาสัตว์นั้นลง

โดยลำดับ. ในวันแรก เจ้าหน้าที่จัด ให้พระมหาสัตว์นั้นนั่งบนบัลลังก์เปล่าเป็น

ลำดับแรก. ท่านพอเห็นบัลลังก์เปล่าก็รู้ว่า พระราชาเสื่อมศรัทธาเราเสียแล้ว

ครั้นกลับไปยังอุทยานแล้ว แม้เป็นผู้มีความต้องการจะหลีกไปเสีย ในวันนั้น

ทีเดียว แต่ก็ (หักใจ) ไม่หลีกไปด้วยคิดว่า เราจักรู้ให้ถ่องแท้เสียก่อนแล้ว

จึงจักหลีกไป. ครั้น ในวันรุ่งขึ้น เมื่อพระมหาสัตว์นั้นนั่งบนบัลลังก์เปล่า

เจ้าหน้าที่ได้ถือเอาภัตตาหารธรรมดาและสิ่งอื่นมาแล้ว ได้ถวายภัตตาหารที่

คลุกปนกัน . ในวันที่ ๓ เจ้าหน้าที่ไม่ยอมให้เข้าไปสู่ห้องใหญ่ ให้พักอยู่ตรง

เชิงบันไดเท่านั้นแล้ว ได้ถวายภัตตาหารที่คลุกปนกัน. พระมหาสัตว์นั้น ถือ

เอาภัตตาหารนั้นไปยังอุทยานแล้ว ได้กระทำภัตกิจ. ในวันที่ ๔ เจ้าหน้าที่

ให้ยืนอยู่ที่ปราสาทชั้นล่างแล้ว ได้ถวายภัตที่หุงด้วยปลายข้าว. พระมหาสัตว์

นั้นรับภัตแม้นั้น กลับไปยังอุทยาน ได้กระทำภัตกิจแล้ว. พระราชาตรัส

ถามพวกอำมาตย์ว่า มหาโพธิปริพาชก แม้เมื่อสักการะเสื่อมสิ้นลงแล้ว

ก็ยังไม่ยอมหลีกไป พวกเราจะทำอย่างไรกันดี. พวกอำมาตย์กราบทูลแนะ

อุบายว่า ข้าแต่สมมุติเทพ เธอประพฤติเพื่อต้องการภัตก็หามิได้ แต่เธอ

ประพฤติเพื่อต้องการเศวตฉัตร หากเธอประพฤติเพื่อต้องการภัตจริง เธอ

ก็พึงหนีไปเสียแต่ในวันแรกนั่นแล. พระราชาตรัสถามว่า บัดนี้ เราจะทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

อย่างไรกันดี ? พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พรุ่งนี้

ขอพระองค์จะตรัสสั่งให้ฆ่าเขาเสียเถิด. ท้าวเธอรับว่า ดีละ แล้วทรงมอบดาบ

ไว้ในมือของอำมาตย์ทั้ง ๕ คนเหล่านั้น แล้วตรัสสั่งว่า พรุ่งนี้ พวกท่านจง

มายืนซุ้มอยู่ที่ระหว่างประตู พอปริพาชกนั้นเดินเข้ามา จงฟันศีรษะแล้วช่วย

กันสับให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย อย่าให้ใครรู้เรื่องอะไรแล้ว เอาไปทิ้งไว้ในหลุม

คูถ อาบน้ำแล้วพึงกลับมาเสีย. อำมาตย์เหล่านั้นรับว่าดีละ แล้วจึงนัดหมาย

กันและกันว่า วันพรุ่งนี้ พวกเราจึงจักทำการอย่างนั้น แล้วต่างก็พากันไปสู่

ที่อยู่ของตน. เวลาเย็น แม้พระราชาทรงเสวยโภชนะเสร็จแล้ว ทรงบรรทม

เหนือที่บรรทมอันประกอบด้วยสิริ ได้ทรงระลึกถึงคุณงามความดีของพระ-

มหาสัตว์. ในขณะนั้นนั่นเอง ความเศร้าโศกได้บังเกิดขึ้นแล้วแก่พระองค์.

พระเสโทหลั่งไหลออกจากพระสรีระ พระองค์ไม่ได้รับความเบิกบานสำราญ

พระหทัย ทรงกระสับกระส่ายไปมาบนพระที่บรรทม. ลำดับนั้น พระอัครมเหสี

ของพระองค์ บรรทมอยู่ใกล้ ๆ. ท้าวเธอไม่ยอมทำแม้เพียงการเจรจาปราศรัย

กับพระนางเลย. ลำดับนั้น พระนางจึงทูลถามท้าวเธอว่า ข้าแต่พระมหาราช

เพค่ะ ทำไมหนอ พระองค์จึงไม่ทรงทำแม้เหตุเพียงการสนทนาปราศรัย หรือว่า

หม่อมฉันมีความผิดอะไร ? พระราชาตรัสว่า ดูก่อนเทวี เธอไม่มีความผิด

อะไรดอก แต่ทราบข่าวว่า โพธิปริพาชกกลายเป็นศัตรูต่อพวกเราไป ดังนั้น

เราจึงสั่งให้อำมาตย์ ๕ คน จัดการเพื่อฆ่าเธอในวันพรุ่งนี้ อำมาตย์เหล่านั้น

จักฆ่าเธอฟันให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วทิ้งในหลุมคูถ ก็โพธิปริพาชกนั้น ได้

แสดงธรรมเป็นอันมากแก่พวกเราตลอดเวลา ๑๒ ปี แม้โทษสักนิดของเธอ

เราก็ไม่เคยเห็นประจักษ์ เป็นแต่เพียงได้รับคำบอกเล่าจากคนอื่น เราก็สั่งให้

ฆ่าเธอเสียแล้ว เพราะเหตุนั้น เราจึงเศร้าโศก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

ลำดับนั้น พระนางจึงปลอบพระทัยพระราชาว่า ข้าแต่สมมุติเทพ

หากว่าโพธิปริพาชกนั้นกลายเป็นศัตรูจริง เมื่อพระองค์รับสั่งให้ฆ่าเธอเสีย

ทำไม พระองค์จึงทรงเศร้าโศกเล่า ขึ้นชื่อว่า ศัตรูถึงจะเป็นลูกก็ต้องฆ่า เพื่อ

ความสวัสดิภาพแก่ตน พระองค์อย่าได้เศร้าโศกไปเลย. เพราะถ้อยคำของ

พระนาง ท้าวเธอจึงได้รับความเบาพระทัย บรรทมหลับไป. ในขณะนั้น สุนัข

ตัวสีเหลืองชื่อว่า โกไลยกะ ได้พึงถ้อยคำนั้น แล้ว จึงคิดว่า พรุ่งนี้เราควร

จะช่วยชีวิตโพธิปริพาชกนั้น ด้วยกำลังของตน ดังนี้ พอถึงวันรุ่งขึ้น จึงลง

จากปราสาทแต่เช้าตรู่แล้ว มายังพระทวารใหญ่ นอนเอาหัวพาดบนธรณีประตู

คอยมองดูหนทางที่พระมหาสัตว์จะเดินผ่านมา. ฝ่ายพวกอำมาตย์เหล่านั้นแล

ทุกคนต่างถือดาบเดินมายืนแอบอยู่ตรงที่ซอกประตูแต่เช้าตรู่. แม้พระโพธิสัตว์

กะว่าได้เวลาแล้ว จึงออกจากอุทยานมายังประตูวัง.

ลำดับนั้น สุนัขโกไลยกะพอเห็นพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว จึงอ้าปาก

แยกเขี้ยวทั้งสี่ ร้องขึ้นด้วยเสียงดังว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านไม่ได้ภิกษาที่

อื่นในพื้นชมพูทวีปแล้วหรือ พระเจ้าแผ่นดินของพวกเรา ทรงให้อำมาตย์

๕ คน ทุกคนมีดาบอยู่ในมือ ซุ่มตรงซอกประตู เพื่อต้องการจะฆ่า

ท่านเสีย ท่านอย่ามารับเอาความตายไว้ที่หน้าผากเลย จงรีบกลับไปเสีย

โดยเร็วเถิด. พระมหาสัตว์ รู้เนื้อความนั้นได้ เพราะคนเป็นผู้รู้สำเนียง

เสียงร้องของสัตว์ทุกชนิด จึงกลับจากที่ตรงนั้น ไปยังอุทยานถือเอาบริก-

ขาร เพื่อเตรียมตัวจะหลีกไปเสีย. ฝ่ายพระราชา ประทับยืนอยู่ที่

สีหบัญชร ทอดพระเนตรดูพระมหาสัตว์ทั้งเวลามาและเวลากลับไป จึงทรง

พระดำริว่า ถ้าโพธิปริพาชกนี้ พึงเป็นศัตรูต่อเราไซร้ เมื่อกลับไปยังสวน

ก็จักให้ประชุมหมู่พลตระเตรียมการงาน หากไม่เป็นเช่นนั้น ก็คงจักเก็บเอา

บริกขารของตนแล้วเตรียมตัวจะเดินทางไป ขั้นแรก เราจักรู้กิริยาของโพธิ-

ปริพาชกนั้น ดังนี้ จึงเสด็จไปสู่อุทยาน ทอดพระเนตรเห็นพระมหาสัตว์เดิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

ออกจากบรรณศาลา ถึงท้ายที่จงกรมด้วยคิดว่า เราจักถือเอาบริกขารของตน

แล้ว จักไป จึงนมัสการ ประทับยืน ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ตรัสคาถาว่า

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึง

รีบร้อนถือเอาไม้เท้า หนังเสือ ร่ม รองเท้า ไม้ขอ

บาตรและผ้าพาด ท่านปรารถนาจะไปยังทิศไหนหนอ.

ความแห่งบาทคาถานั้นว่า พระราชาตรัสถามว่า ท่านผู้เจริญ แต่ก่อน

ท่านมาสู่วังของเรา มิได้ถือไม้เท้าเป็นต้นมาเลย แต่ในวันนี้ เพราะเหตุไร

ท่านจึงได้รีบด่วนถือเอาเครื่องบริกขารเหล่านี้แม้ทั้งหมด คือ ไม้เท้า หนังเสือ

ร่ม รองเท้า หม้อดิน ย่าม ขอสำหรับสอยผลไม้ บาตรดินและผ้าพาดมาด้วยเล่า

ท่านปรารถนาทิศไหนหนอ คือ ท่านปรารถนาจะไปในที่ไหน.

พระมหาสัตว์ ได้ฟังคำนั้นแล้ว ก็เข้าใจว่า พระราชาองค์นี้ ยังไม่

รู้สึกถึงกรรมที่ตนเองได้ทำไว้ จึงคิดว่า เราจักให้ท้าวเธอรับรู้ จึงได้กล่าว

คาถา ๒ คาถาว่า

ตลอดเวลา ๑๒ ปี ที่อาตมภาพอยู่ในสำนักของ

มหาบพิตรนี้ อาตมภาพไม่เคยรู้จักเสียงที่สุนัขสีเหลือง

มันคำราม ด้วยหูเลย สุนัขมันแยกเขี้ยวขาวเห่าอยู่

คล้ายกับว่าไม่เคยรู้จักกัน เพราะมันได้ยินถ้อยคำของ

มหาบพิตรกับพระชายาผู้สิ้นศรัทธา จึงกล่าวกะอาตม-

ภาพอย่างนี้.

ความแห่งบาทคาถานั้นว่า พระมหาสัตว์กล่าวว่า บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า อภิกุชฺชิต ความว่า เราไม่เคยได้ยินเสียงที่สุนัขของพระองค์นี้ร้อง

ด้วยเสียงอันดังอย่างนี้เลย. บทว่า ทตฺโตว แปลว่า คล้ายไม่เคยรู้จักกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

บทว่า สภริยสฺส ความว่า เพราะมันได้ยินถ้อยคำของมหาบพิตรกับพระชายา

ตรัสบังคับให้อำมาตย์ ๕ คน เตรียมการเพื่อฆ่าอาตมภาพ จึงส่งเสียงเห่าอย่าง

เอ็ดอึง คล้ายกับว่าไม่เคยรู้จักกันว่า ท่านไม่ได้ภิกษาในที่อื่นหรือ พระราชา

ตรัสสั่งให้อำมาตย์ฆ่าท่าน ท่านอย่ามาในที่นี้เลย. บทว่า วีตสทฺธสฺส ม ปติ

ความว่า สุนัขนั้น ได้ฟังถ้อยคำของมหาบพิตร ผู้หมดศรัทธาในระหว่างตัวเรา

จึงกล่าวอย่างนี้.

ในลำดับนั้น พระราชาทรงยอมพระองค์รับผิด เมื่อจะทรงให้พระ-

มหาสัตว์นั้นยกโทษ จึงตรัสคาถาที่ ๔ ว่า

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ โทษที่ข้าพเจ้าทำแล้วนั้น

จริงตามที่ท่านกล่าว ข้าพเจ้านี้ ย่อมเลื่อมใสยิ่งนัก

ขอท่านจงอยู่เถิด อย่าเพิงไปเสียเลย ท่านพราหมณ์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิยฺโย ความว่า ข้าพเจ้าได้สั่งบังคับไว้

อย่างนี้เป็นความจริง นี้เป็นความผิดของข้าพเจ้า ก็ข้าพเจ้านี้ เลื่อมใสท่าน

เป็นอย่างยิ่งในบัดนี้ ขอท่านจงอยู่ในที่นี้เหมือนเดิมเถิด อย่าไปในที่อื่นเลย

นะพราหมณ์.

พระมหาสัตว์ ได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงทูลว่า ขอถวายพระพร ธรรมดาว่า

บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่อยู่ร่วมกับข้าศึกผู้ทำการงานโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบ

เช่นอย่างพระองค์ ดังนี้ เมื่อจะประกาศอนาจารแด่พระราชานั้น จึงกล่าวเป็น

คาถาว่า

เมื่อก่อนข้าวสุกขาวล้วนภายหลังก็มีสิ่งอื่นเจือปน

บัดนี้แดงแล้ว เวลานี้เป็นเวลาสมควรที่อาตมภาพจะ

หลีกไป อนึ่ง เมื่อก่อนอาสนะมีในภายใน ต่อมามีใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

ท่ามกลาง ต่อมามีข้างนอก ต่อมาก็จะถูกขับไล่ออกจาก

พระราชนิเวศน์ อาตมภาพของดเสียเองละ บุคคล

ไม่ควรคบหาคนที่ปราศจากศรัทธา เหมือนบ่อที่ไม่มี

นำ ฉะนั้น ถ้าแม้บุคคลจะพึงขุดบ่อน้ำนั้น บ่อนั้นก็

จะมีน้ำที่มีกลิ่นโคลนตม บุคคลควรคบคนที่เลื่อมใส

เท่านั้น ควรเว้นคนที่ไม่เลื่อมใส ควรเข้าไปนั่งใกล้

คนที่เลื่อมใส เหมือนคนผู้ต้องการน้ำ เข้าไปหาห้วงน้ำ

ฉะนั้น ควรคบคนผู้คบด้วย ไม่ควรคบคนผู้ไม่คบด้วย

ผู้ใดไม่คบคนผู้คบด้วย ผู้นั้นชื่อว่ามีธรรมของอสัต-

บุรุษ ผู้ใดไม่คบคนผู้คบด้วย ไม่ซ่องเสพคนผู้ซ่องเสพ

ด้วย ผู้นั้นแลเป็นมนุษย์ชั่วช้าที่สุด เหมือนเนื้ออาศัย

กิ่งไม้ (ลิง) ฉะนั้น มิตรทั้งหลายย่อมแหนงหน่ายกัน

ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้ คือ ด้วยการคลุกคลีกันเกินไป

ด้วยการไม่ไปมาหากัน ด้วยการขอในเวลาไม่สมควร

๑ เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรไปมาหากันให้พร่ำ-

เพรื่อนัก ไม่ควรเหินห่างไปให้เนิ่นนาน และควรขอ

สิ่งที่ควรขอตามเหตุกาลที่สมควร ด้วยอาการอย่างนี้

มิตรทั้งหลาย จึงจะไม่แหนงหน่ายกัน คนที่รักกัน

ย่อมไม่เป็นที่รักกันได้ เพราะการอยู่ร่วมกันนานเกิน-

ควร อาตมภาพนี้ได้เป็นที่รักของมหาบพิตรมาแต่ก่อน

เพราะฉะนั้น อาตมภาพจึงขอลาไปก่อนละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพเสโต ความว่า ขอถวายพระพร

เฉพาะในวันก่อน ๆ ข้าวสุกของอาตมภาพในนิเวศน์ของพระองค์มีสีขาวล้วน

พระองค์เสวยข้าวสุกชนิดใด ก็พระราชทานข้าวสุกชนิดนั้น (แก่อาตมภาพ).

บทว่า ตโต ความว่า ภายหลังจากนั้น คือ แม้ในกาลที่พระองค์ทรงหน่าย

แหนงในอาตมภาพ เพราะทรงเชื่อถ้อยคำของคนที่ยุยง ข้าวสุกจึงมีสิ่งอื่นคลุก

ระคนปนอยู่ด้วย. บทว่า อิทานิ คือ บัดนี้ ข้าวสุกเกิดกลายเป็นสีแดงล้วน.

บทว่า กาโล ได้แก่ คราวนี้เป็นเวลาที่อาตมภาพจะต้องไปจากสำนักของ

พระองค์ผู้โง่เขลา. บทว่า อพฺภนฺตร ความว่า ในครั้งแรก อาสนะของ

อาตมภาพมีอยู่ในภายใน คือ พวกเจ้าหน้าที่นิมนต์ให้อาตมภาพนั่งบนพระราช

บัลลังก์ ที่มีพื้นใหญ่อันประดับแล้ว มีเศวตฉัตรอันยกขึ้นแล้ว. บทว่า มชฺเฌ

คือ ที่เชิงบันได. บทว่า ปุรา นิทฺธมนา โหติ ความว่า จับคอเสือกไส

ออกไป. บทว่า อนุขเน ความว่า ถ้าบุรุษไปถึงหนองที่ไม่มีน้ำ เมื่อไม่

เห็นน้ำ จึงคุ้ยเปือกตมขุดขึ้น แม้จะทำถึงขนาดนั้น หนองนั้น ก็คงยังมีแต่

กลิ่นตมของน้ำ ดื่มกินไม่ได้ เพราะไม่เป็นที่ชอบใจ ฉันใด แม้ปัจจัยที่บุคคล

เข้าไปหาผู้ปราศจากศรัทธาแล้วได้มา จึงเป็นของน้อยและเศร้าหมอง ไม่เป็น

ที่น่าชอบใจ ไม่สมควรที่จะบริโภค. บทว่า ปสนฺน คือ มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว.

บทว่า. รหท คือ ห้วงน้ำใหญ่ที่ลึก. บทว่า ภชนฺต ความว่า บุคคลควร

คบผู้ที่คบตนเท่านั้น. บทว่า อภชนฺต คือ ผู้เป็นข้าศึก. บทว่า น ภชฺชเย

แปลว่า ไม่พึงคบหา. บทว่า น ภชฺชติ ความว่า บุรุษใดไม่คบหาบุคคล

ผู้คบตนซึ่งมีจิตคิดหวังประโยชน์ บุรุษนั้น ชื่อว่ามีธรรมของอสัตบุรุษ. บทว่า

มนุสฺสปาปิฏฺโ ได้แก่ มนุษย์ลามก มนุษย์ขี้ทูด คือ มนุษย์ชั้นต่ำ.

บทว่า สาขสฺสิโต คือ ลิง. บทว่า อจฺจาภิกฺขณสสคฺคา คือ ด้วยความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

คลุกคลีกันมากเกินไป. บทว่า อกาเล ความว่า มิตรทั้งหลาย ชื่อว่าย่อม

หน่ายแหนงกัน ด้วยการขอของรักของคนอื่น ในกาลที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร

เพราะการอยู่ร่วมกันนานเกินไป ถึงพระองค์ก็ยังหมดความเมตตาในอาตมภาพ.

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะมิตรทั้งหลาย ย่อมแตกแยกกันด้วยการคลุกคลี

กันเกินไป และด้วยการเหินห่างกัน ไป. คำว่า จิราจร ความว่า ไม่ปล่อย

เวลาให้ล่วงเลยไปเสียจนนานแล้ว จึงไปหากัน. บทว่า ยาจ ความว่า ไม่ควรขอ

สิ่งที่สมควรขอ ในเวลาอันไม่สมควร. บทว่า น ชีรเร ความว่า มิตรทั้งหลาย

ย่อมไม่แตกแยกกัน ด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า ปุรา เต โหม ความว่า

ตลอดเวลาที่เรามาแล้ว ยังไม่เป็นที่รักของท่าน เราก็จะขอไปอย่างนี้.

พระราชา ตรัสว่า

ถ้าพระคุณเจ้าได้รับทราบอัญชลี ของสัตว์ผู้เป็น

บริวารมานวอนอยู่อย่างนี้ ไม่กระทำตามคำขอร้อง

ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าวิงวอนพระคุณเจ้าถึงเพียงนี้ ขอ

พระคุณเจ้า โปรดกลับมาเยี่ยมอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาวพุาชฺฌสิ ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ถ้าท่านไม่ยอมรับรู้ คือ ไม่ยอมรับอัญชลีที่ข้าพเจ้าวิงวอนกระทำอยู่แล้วอย่างนี้.

บทว่า ปริยาย ความว่า พระราชา ตรัสวิงวอนว่า ขอท่านพึงหาโอกาสว่าง

สักครั้งหนึ่ง เพื่อมาเยี่ยมในที่นี้อีก.

พระโพธิสัตว์ ทูลว่า

ดูก่อนมหาบพิตรผู้ผดุงรัฐ ถ้าเมื่อเราทั้งหลายอยู่

อย่างนี้ อันตรายจักไม่มี แม้ไฉนเราทั้งหลาย พึงเห็น

การล่วงไปแห่งวันและคืนของมหาบพิตร และของ

อาตมภาพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวญฺเจ โน ความว่า พระโพธิสัตว์

แสดงว่า ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าว่าอันตรายจักไม่มีแก่เราทั้งสองผู้แยกกันอยู่

อย่างนี้ ชีวิตของพระองค์หรือของอาตมภาพก็จักยืนยาว. บทว่า ปสฺเสม

ความว่า พวกเราพึงเห็นโดยแท้.

พระมหาสัตว์ พอกล่าวอย่างนี้เสร็จแล้ว แสดงธรรมแก่พระราชาแล้ว

จึงทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร ขอพระองค์จงอย่าทรงประมาทเลย ดังนี้แล้ว

ออกจากอุทยานเที่ยวภิกขาจารไปในสถานที่อันมีส่วนเสมอกันแห่งหนึ่ง ออกจาก

เมืองพาราณสีแล้ว ถึงหิมวันตประเทศโดยลำดับ พักอยู่สิ้นกาลเล็กน้อยแล้ว

กลับมาอยู่ในป่าอาศัยบ้านปัจจันตคามแห่งหนึ่ง. นับแต่เวลาที่พระมหาสัตว์นั้น

ไปแล้ว พวกอำมาตย์เหล่านั้น ก็ได้พากันนั่ง ณ ที่โรงวินิจฉัยอีก กระทำการ

เบียดเบียน พากันคิดว่า ถ้ามหาโพธิปริพาชกจักกลับมาอีก ชีวิตของพวกเรา

คงไม่มีแน่ พวกเราควรทำเหตุที่จะให้ปริพาชกนั้นไม่กลับมาอีกอย่างไรดีหนอ.

ลำดับนั้น พวกเขาจึงปรึกษากันว่า ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมไม่

สามารถจะละถิ่นฐานที่ตนติดอยู่ได้ ถิ่นฐานที่มหาโพธิปริพาชกนั้น คิดอยู่ใน

ที่นี้คืออะไรหนอ. ต่อจากนั้น พวกอำมาตย์ก็ทราบได้ว่า คงเป็นพระอัคร-

มเหสีของพระราชาเป็นแน่ จึงปรึกษากันว่า ข้อที่มหาโพธิปริพาชกนั้น พึงมา

เพราะอาศัยพระอัครมเหสี นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ พวกเราจักรีบฆ่าพระอัครมเหสี

นั้นเสียโดยเร็ว. พวกอำมาตย์เหล่านั้น จึงพากันกราบทูลเนื้อความนี้แด่พระ-

ราชาว่า หลายวันมานี้ พวกข้าพระองค์ได้ยินเรื่องเรื่องหนึ่ง. พระราชาตรัส

ถามว่า เรื่องอะไรกัน ? พวกอำมาตย์ กราบทูลเท็จว่า เล่าลือกันว่า มหา-

โพธิปริพาชกและพระราชเทวี ส่งข่าวสาสน์โต้ตอบกันไปมาเสมอ. พระราชา

ตรัสถามว่า ข่าวสาสน์นั้นสั่งให้ทำอะไร ? พวกอำมาตย์ กราบทูลว่า ทราบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

มหาโพธิปริพาชกนั้น ส่งข่าวสาสน์มาถึงพระราชเทวีว่า เธออาจที่จะปลง

พระชนม์พระราชาให้ตายด้วยกำลังของตนแล้วยกเศวตฉัตรใให้แก่เราได้หรือไม่

ส่วนพระเทวีนั้นเล่า ก็ส่งข่าวสาสน์ตอบไปถึงมหาโพธิปริพาชกนั้นว่า การปลง

พระชนม์พระราชาเป็นภาระของฉัน ขอให้มหาโพธิปริพาชกรีบมาเร็วเถิด.

เมื่อพวกอำมาตย์เหล่านั้น กราบทูลอยู่บ่อย ๆ พระราชา ก็ทรงเชื่อ จึงตรัสสั่ง

ถามว่า บัดนี้ พวกเราจะพึงทำอย่างไรกันดี พวกอำมาตย์จึงกราบทูลว่าควร

ตรัสสั่งให้ปลงพระชนม์พระเทวีเสียดังนี้ ไม่ทันได้ทรงใคร่ครวญ ตรัสสั่งเวน

ว่า ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงฆ่าเธอเสีย แล้วสับให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย โยน

มันลงไปในหลุมคูถ. พวกอำมาตย์เหล่านั้น ทำการตามรับสั่งแล้ว. ความที่

พระราชเทวีถูกปลงพระชนม์ ได้ปรากฏเลื่องลือไปในพระนครทั้งสิ้น.

ครั้งนั้น พระราชโอรส ๔ พระองค์ของพระราชเทวีนั้น ทรงทราบว่า

พระบิดา มีรับสั่งให้ปลงพระชนม์พระมารดาของพวกเราผู้หาความผิดมิได้เสีย

ดังนี้ จึงได้เป็นศัตรูต่อพระราชา. พระราชาได้เป็นผู้ประสบภัยอย่างใหญ่หลวง.

พระมหาสัตว์ ได้ทราบเรื่องราวนั้น โดยเล่ากัน เป็นทอด ๆ มา จึงดำริว่า

เว้นจากเราเสียแล้ว คนอื่นชื่อว่าสามารถที่จะให้พระกุมารเหล่านั้นยินยอมให้

พระบิดาทรงอดโทษให้ ไม่มีเลย เราจักช่วยชีวิตพระราชา และจักเปลื้อง

พระกุมารให้พ้นจากบาป. ในวันรุ่งขึ้น ท่านจึงเข้าไปยังปัจจันตคาม ฉันเนื้อ

วานรที่พวกมนุษย์นำมาถวายแล้ว ขอหนังวานรนั้น นำเอามาตากแห้งไว้ที่

อาศรม ทำจนหมดกลิ่นแล้ว ใช้นุ่งบ้าง ห่มบ้าง พาดบ่าบ้าง. ถามว่า

การที่พระมหาสัตว์ทำดังนั้น เพราะเหตุไร ? ตอบว่า การที่ทำดังนั้น ก็เพราะ

เพื่อประสงค์จะตอบผู้คนว่า วานรตัวนี้ มีอุปการะมากแก่เรา. พระมหาสัตว์

ถือเอาหนังวานรนั้น ไปยังเมืองพาราณสีโดยลำดับ แล้วเข้าไปหาพระกุมาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

ทั้งหลาย ทูลตักเตือนว่า ขึ้นชื่อว่า กรรมคือการฆ่าพระบิดา เป็นกรรมที่

ร้ายแรงทารุณ พวกท่านไม่สมควรกระทำกรรมนั้นเลย ธรรมดาว่าสัตว์ที่จะ

ไม่แก่ไม่ตายเป็นไม่มี เรามาแล้ว (ในที่นี้) ก็ด้วยความหวังว่า จักไกล่เกลี่ย

ให้พวกท่านมีความสามัคคีกันและกันไว้ พอเราส่งข่าวสาสน์ไป พวกท่านพึง

พากันมา พอสอนพระกุมารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปสู่พระราชอุทยาน ภายใน

พระนคร ลาดหนังวานรลงแล้ว นั่งบนแผ่นหิน. ในขณะนั้น คนเฝ้าสวน

พอเห็นท่านก็รีบไปกราบทูลแด่พระราชา. พระราชา ทรงสดับข่าวนั้นแล้ว

ก็ทรงบังเกิดความโสมนัส จึงพาอำมาตย์ทั้ง ๕ คนนั้นไปในที่นั้น ทรงนมัสการ

พระมหาสัตว์แล้วประทับนั่ง ปรารภจะทำปฏิสันถาร. ส่วนพระมหาสัตว์ มิได้

รื่นเริงกับพระราชานั้น ลูบคลำหนังวานรเฉยเสีย. ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัส

กะพระมหาสัตว์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านไม่ยอมพูดจากับข้าพเจ้า มัว

ลูบคลำหนังวานรอยู่ได้ หนังวานรของท่านมีอุปการะมากกว่าข้าพเจ้าหรือ.

พระมหาสัตว์ ทูลว่า เป็นเช่นนั้น มหาบพิตร วานรนี้มีอุปการะมากแก่เรา

เรานั่งบนหลังของมันเที่ยวไป วานรนี้นำหม้อน้ำมาให้แก่เรา กวาดที่อยู่ให้เรา

ได้ทำอภิสมาจาริกวัตรปฏิบัติแก่เรา แต่เรากลับกินเนื้อของมันเสียแล้ว เอา

หนังตากให้แห้งไว้ปูนั่งบ้าง ปูนอนบ้าง เพราะว่าตนมีใจทุรพล วานรนี้มี

อุปการะมากแก่เราอย่างนี้. พระมหาสัตว์ ยกหนังวานรและวานรขึ้นกล่าวเป็น

โวหาร เพื่อต้องการจะทำลายวาทะของอำมาตย์เหล่านั้น อาศัยปริยายนั้น ๆ

จึงกล่าวถ้อยคำนี้ ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ พระมหาสัตว์นั้นกล่าวว่า เรา

นั่งบนหลังมันเที่ยวไป เพราะท่านเคยนุ่งห่มหนังของมัน . ท่านกล่าวว่า มันนำ

หม้อน้ำมาให้ เพราะท่านเอาหนังของมันพาดบนบ่าแล้วแบกหม้อน้ำมา. ท่าน

กล่าวว่า มันกวาดที่อยู่ให้ เพราะท่านเคยเอาหนังนั้นปัดพื้น. ท่านกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

มันทำวัตรปฏิบัติแก่เรา เพราะหลังถูกหนังนั้นในเวลานอน และถูกเท้าในเวลา

เหยียบ. ท่านกล่าวว่า แต่เรากลับกินเนื้อของมันเสีย เพราะตนมีใจทุรพล

เพราะท่านได้เนื้อของมันมาแล้วบริโภคในเวลาหิว.

พวกอำมาตย์เหล่านั้น ได้ฟังคำนั้นแล้ว มีความสำคัญว่าท่านกระทำ

ปาณาติบาตแล้ว จึงพากันปรบมือทำการหัวเราะเยาะว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ

พวกท่านจงดูกรรมของบรรพชิตเถิด ได้ยินแล้วใช่ไหมว่า บรรพชิตนี้ ฆ่าลิง

กินแล้ว ยังถือเอาหนังเที่ยวไป (อีก). พระมหาสัตว์ เห็นพวกอำมาตย์เหล่านั้น

กระทำการเช่นนั้น จึงคิดว่า พวกอำมาตย์เหล่านั้นยังไม่รู้ว่า เราเอาหนังวานรมา

เพื่อต้องการจะทำลายวาทะของตน เราจักให้พวกเขารู้เสียบ้าง ขั้นแรกจึงเรียก

อำมาตย์อเหตุกวาทีมาแล้ว ถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ท่านหัวเราะเยาะเรา

เพราะเหตุไร. เขาตอบว่า เพราะท่านการทำกรรมคือการประทุษร้ายต่อมิตร

และยังกระทำปาณาติบาตด้วย.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์คิดว่า บุคคลใดเชื่อถืออำมาตย์เหล่านั้น

ด้วยคติและด้วยทิฏฐิแล้วทำตามอย่างนั้น จะมีอะไรที่จะพึงกล่าวว่า บุคคลนั้น

การทำความชั่ว ดังนี้ เมื่อจะทำลายวาทะของอเหตุกวาทีของอำมาตย์นั้น จึง

กล่าวเป็นคาถาว่า

ถ้าถ้อยคำของท่านเป็นไปตามคติที่ดี และตาม

สภาพ สัตว์กระทำกรรม ที่ไม่ควรทำบ้าง ที่ควรทำบ้าง

เพราะความไม่ได้ใคร่ในกรรมที่สัตว์กระทำ สัตว์อะไร

ในโลกนี้ จะเปื้อนด้วยบาปเล่า ถ้าเนื้อความแห่งภาษิต

ของท่านนั้นเป็นอรรถเป็นธรรม และเป็นถ้อยคำงาม

ไม่ชั่วช้า ถ้าถ้อยคำของท่านเป็นความจริง ลิงก็เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

อันเราฆ่าดีแล้ว ถ้าท่านรู้ความผิดแห่งวาทะของตน

ก็จะไม่พึงติเตียนเราเลย เพราะว่าวาทะของท่านเป็น

เช่นนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทีรณา แปลว่า ถ้อยคำ. บทว่า

สงฺคตฺยา ได้แก่ ทางไปที่ดี คือด้วยการเข้าถึงอภิชาตินั้น ๆ ในบรรดาอภิชาติ

ทั้ง ๖ อย่าง. บทว่า ภาวายมนุวตฺตติ ความว่า ย่อมเป็นไปตามภาวะ

เป็นสัมปทานะ ใช้ในอรรถแห่งกรณะ. บทว่า อกามา คือ ไม่มีความปรารถนา

ไม่มีความอยากได้. บทว่า อกรณีย วา ได้แก่ ความชั่วเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ.

บทว่า กรณีย วา ได้แก่ กุศลเป็นสิ่งที่ควรทำ. บทว่า กุพฺพติ แปลว่า

ย่อมกระทำ. คำว่า กฺวิธ ตัดบทเป็น โก อิธ แปลว่า ใครในโลกนี้.

มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ท่านเป็นอเหตุวาที เป็นผู้มีความเห็นเป็นต้นว่า

ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ จึงกล่าวว่า

โลกนี้ ย่อมเปลี่ยนไป คือ ย่อมแปรไปตามคติที่ดี และตามสภาพ เสวยสุข

และทุกข์ในที่นั้น ๆ และสัตว์ผู้ไม่มีความใคร่ ย่อมทำบาปบ้าง บุญบ้าง ด้วยว่า

คำของท่านนี้ ถ้าเป็นเช่นนั้น เมื่อบาปที่สัตว์ทำด้วยไม่มีความใคร่ (ในบาป)

มีอยู่ หากเป็นไปอยู่ตามธรรมดาของตน สัตว์อะไร ในโลกนี้ ย่อมเปื้อน

ด้วยบาป. ก็ถ้าสัตว์ ย่อมเปื้อนด้วยบาปที่ตนมิได้กระทำแล้ว ใคร ๆ ไม่พึง

เปื้อนด้วยบาปไม่มีเลย. บทว่า โส เจ อธิบายว่า เนื้อความแห่งภาษิต

ของท่าน คือวาทะที่ว่าไม่มีเหตุนั้น ถ้าเป็นเนื้อความที่มีประโยชน์ ส่องถึง

ประโยชน์ เป็นธรรมเป็นเนื้อความที่ดีไม่ชั่วช้า ถ้าถ้อยคำของท่านผู้เจริญที่ว่า

สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ย่อมเศร้าหมองเอง ย่อมเสวยสุขและทุกข์เอง

นี้เป็นความจริง วานรก็เป็นอันเราฆ่าดีแล้ว โทษอะไรในข้อนี้จะพึงมีแก่เรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

บทว่า วิชานิย ความว่า ดูก่อนสหาย ก็ถ้าท่านพึงรู้ถึงความผิดแห่งวาทะ

ของตนไซร้ ท่านก็ไม่พึงติเตียนเรา. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะว่า

วาทะของท่านผู้เจริญเป็นเช่นนั้น เพราะฉะนั้น ท่านพึงสรรเสริญเราว่า ผู้นี้

ทำคามวาทะของเรา แต่เมื่อไม่รู้วาทะของตน ก็ย่อมติเตียนเรา.

พระมหาสัตว์ ข่มปราบอำมาตย์นั้น ได้ทำให้เป็นคนหมดปฏิภาณ

ด้วยประการฉะนี้. แม้พระราชาพระองค์นั้น ก็ทรงเก้อเขินในท่ามกลางบริษัท

ประทับนั่งพระศอตกอยู่. แม้พระมหาสัตว์ พอทำลายวาทะแห่งอเหตุวาทีอำมาตย์

นั้นแล้ว จึงเรียกอิสรกรณวาทีอำมาตย์มาแล้ว ซักถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

ท่านหัวเราะเยาะเรา เพราะเหตุไร ถ้าว่าท่านแสดงวาทะว่า สิ่งทั้งปวง พระ-

เป็นเจ้าสร้างให้โดยความเป็นสาระ ดังนี้แล้ว จึงกล่าวเป็นคาถาว่า

ถ้าว่าพระเป็นเจ้าสร้างชีวิต สร้างฤทธิ์ สร้างความ

พินาศ สร้างกรรมดี และกรรมชั่ว ให้แก่ชาวโลก

ทั้งหมดไซร้ บุรุษผู้กระทำตามคำสั่งของพระเป็นเจ้า

ย่อมทำบาปได้ พระเป็นเจ้าย่อมเปื้อนด้วยบาปนั้นเอง

ถ้าเนื้อควานแห่งภาษิต ของท่านเป็นอรรถเป็นธรรม

และเป็นถ้อยคำงาม ไม่ชั่วช้า ถ้าถ้อยคำของท่านเป็น

ความจริง ลิงก็เป็นอันเราฆ่าดีแล้ว ถ้าท่านรู้ความผิด

แห่งวาทะของตน ก็จะไม่พึงติเตียนเราเลย เพราะว่า

วาทะของท่านเป็นเช่นนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กปฺเปติ ชีวิต ความว่า ถ้าว่าพระพรหม

หรือพระเป็นเจ้าองค์อื่น จะจัดแจงตรวจตราชีวิตให้แก่ชาวโลกทั้งหมดอย่างนี้ว่า

ท่านจงเลี้ยงชีพด้วยการไถนา ท่านจงเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงโค ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

บทว่า อิทฺธึ พฺยสนภาวญฺจ อธิบายว่า ถ้าพระเป็นเจ้าสร้าง คือทำฤทธิ์

ต่างประเภท มีความเป็นใหญ่เป็นต้น สร้างความพินาศ มีความพินาศแห่ง

หมู่ญาติเป็นต้น และสร้างกรรมดีกรรมชั่วที่เหลือทั้งหมด. บทว่า นิทฺเทสการี

ความว่า ถ้าว่าบุรุษคนใดคนหนึ่งที่เหลือ กระทำตามคำสั่ง คือ คำบังคับ

ของพระเป็นเจ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ใคร ๆ ก็ย่อมทำบาปได้ พระเป็นเจ้า

เท่านั้น ย่อมรับบาปนั้นเสียเอง เพราะพระเป็นเจ้ากระทำบาปนั้น . คำที่เหลือ

พึงทราบโดยนัยก่อน. อนึ่ง พึงทราบข้อความในที่ทั้งหมดเหมือนในที่นี้เถิด.

พระมหาสัตว์ ครั้นทำลายอิสรกรณวาทะ ได้ด้วยอิสรกรณะนั้น

นั่นแล ดุจบุคคลเอากิ่งมะม่วงขว้างผลมะม่วงให้หล่นลงมาจากต้น ด้วยประการ

ฉะนั้นแล้ว จึงเรียกหาให้ปุพเพกตวาทีอำมาตย์เข้ามาแล้วกล่าวว่า ดูก่อนท่าน

ผู้มีอายุ ท่านหัวเราะเยาะเรา เพราะเหตุไร ถ้าท่านสำคัญว่า ปุพเพกตวาทะ

เป็นความจริง ดังนี้แล้ว จึงกล่าวเป็นคาถาว่า

ถ้าสัตว์ย่อมเข้าถึงความสุขและความทุกข์ เพราะ

เหตุแห่งกรรมที่กระทำไว้แล้วในปางก่อน กรรมเก่าที่

กระทำไว้แล้ว เขาย่อมเปลื้องหนี้นั้นได้ ทางพ้นจาก

หนี้เก่ามีอยู่ ใครเล่าในโลกนี้จะเปื้อนด้วยบาป ถ้า

เนื้อความแห่งภาษิตของท่าน เป็นอรรถเป็นธรรม

และเป็นถ้อยคำงาม ไม่ชั่วช้า ถ้าถ้อยคำของท่านเป็น

ความจริง ลิงก็เป็นอันเราฆ่าดีแล้ว ถ้าท่านรู้ความผิด

แห่งวาทะของตน ก็จะได้พึงติเตียนเราเลย เพราะว่า

วาทะของท่านเป็นเช่นนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพกตเหตุ ได้แก่ เพราะเหตุที่ได้

กระทำกรรมไว้ในปางก่อน คือ เพราะการกระทำกรรมที่ตนได้การทำไว้แล้ว

ในภพก่อนแน่นอน. บทว่า ตเมโส มุญฺจเต อิณ ความว่า ผู้ใดย่อมถึง

ความทุกข์ โดยการถูกฆ่าและถูกจองจำเป็นต้น ถ้าผู้นั้น ย่อมเปลื้องหนี้ คือ

บาปเก่าที่เขาได้ทำไว้แล้วนั้นในบัดนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เราก็มีทางพ้นจากหนี้

เก่านั้น ใครเล่า ในโลกนี้จะเปื้อนด้วยบาป เปรียบเหมือนเราเป็นลิง ถูกลิง

ตัวนั้นซึ่งเป็นปริพาชกมาก่อนฆ่ากินเสีย ปริพาชกนั้นกลับมาเป็นลิงในอัตภาพ

นี้ ก็จักถูกเราผู้กลับมาเป็นปริพาชกฆ่ากินเสียเหมือนกัน ฉะนั้น.

พระมหาสัตว์ ครั้นทำลายวาทะของปุพเพกตวาทีอำมาตย์ แม้นั้น

ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงเรียกอุจเฉทวาทีอำมาตย์มาตรงหน้าแล้ว กล่าวขู่ว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ท่านกล่าวคำเป็นต้นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ดังนี้

และยังสำคัญอยู่ว่า สัตว์ทั้งหลาย ย่อมขาดสูญในโลกนี้เท่านั้น ขึ้นชื่อว่า

สัตว์ผู้ไปสู่ปรโลกไม่มีเลย ท่านหัวเราะเยาะเรา เพราะเหตุไร ดังนี้แล้ว จึง

กล่าวเป็นคาถาว่า

รูปของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นอยู่ได้เพราะ

อาศัยธาตุ ๔ เท่านั้น ก็รูปเกิดจากสิ่งใด ย่อมเข้าถึง

ในสิ่งนั้นอย่างเดิม ชีพย่อมเป็นอยู่ในโลกนี้เท่านั้น

ละไปแล้ว ย่อมพินาศในโลกหน้า โลกนี้ขาดสูญ เมื่อ

โลกขาดสูญอยู่อย่างนี้ ชนเหล่าใด ทั้งที่เป็นพาล ทั้งที่

เป็นบัณฑิต ชนเหล่านั้น ย่อมขาดสูญทั้งหมด ใครเล่า

ในโลกนี้จะเปื้อนด้วยบาป ถ้าเนื้อความแห่งภาษิต

ของท่านเป็นอรรถเป็นธรรม และเป็นถ้อยคำงาม ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

ชั่วช้า ถ้าถ้อยคำของท่านเป็นความจริง ลิงก็เป็นอัน

เราฆ่าดีแล้ว ถ้าท่านระความผิดแห่งวาทะของตน ก็จะ

ไม่พึงติเตียนเราเลย เพราะว่าวาทะของท่านเป็น

เช่นนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุนฺน ได้แก่ ภูตรูปทั้ง ๔ มีปฐวีธาตุ

เป็นต้น. บทว่า รูป ได้แก่ รูปขันธ์. บทว่า ตตฺเถว ความว่า รูปนั้น

ย่อมเกิดขึ้นจากสิ่งใด แม้ในเวลาดับ ก็ย่อมกลับไปเป็นสิ่งนั้นอย่างเดิมแล.

พระมหาสัตว์ทำความเห็นของอุจเฉทวาทีอำมาตย์นั้น ให้ตั้งขึ้นอย่างนี้ว่า บุรุษ

ผู้ประกอบด้วยมหาภูตทั้ง ๔ นี้ กระทำกาละลงในเวลาใด ร่างกายที่เป็นส่วนดิน

ก็กลับกลายเป็นดินไป ส่วนที่เป็นน้ำก็กลายเป็นน้ำไป ส่วนที่เป็นไฟก็กลาย

เป็นไฟไป และร่างกายที่เป็นส่วนลมก็กลับกลายเป็นลมไป บุรุษทั้งหลายผู้มี

เก้าอี้ยาวเป็นที่ ๕ ย่อมถือเอาซากที่ตายแล้วล่วงอินทรีย์ทั้งหลาย กลับกลาย

เป็นอากาศหมด ตราบใดที่รองเท้าในป่าช้าปรากฏอยู่ กระดุกนกพิราบมีอยู่

ทานของชนเหล่านั้นมีเถ้าเป็นเครื่องบูชา อันพวกคนเซอะบัญญัติไว้ บุคคล

ที่กล่าววาทะว่า มี ชื่อว่าเป็นคนเปล่าแลกล่าวเท็จ จะเป็นพาลหรือเป็นบัณฑิต

ก็ตาม เมื่อกายแตกตายทำลายไป ก็ย่อมขาดสูญ คือ พินาศ ได้แก่ ไม่ปรากฏ

ตราบนั้น. บทว่า อิเธว ความว่า. ชีพย่อมเป็นอยู่ในโลกนี้เท่านั้น. บทว่า

เปจฺจ เปจฺจ วินสฺสติ ความว่า สัตว์ที่บังเกิดในปรโลก ก็มิได้กลับมา

ในโลกนี้อีกด้วยอำนาจแห่งคติ ย่อมพินาศขาดสูญไปในโลกนั้นทีเดียว เมื่อ

โลกขาดสูญอยู่อย่างนี้ ใครเล่าจะเปื้อนด้วยบาปในโลกนี้.

พระมหาสัตว์ ครั้นทำลายวาทะแม้แห่งอุจเฉทวาทีอำมาตย์นั้น ด้วย

ประการฉะนี้แล้ว จึงเรียกขัตตวิชชวาทีอำมาตย์เข้ามาแล้ว กล่าวว่า ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

ท่านผู้มีอายุ ท่านเที่ยวยกลัทธินี้ว่า บุคคลควรฆ่าแม้มารดาบิดาแล้ว ทำ

ประโยชน์แก่ตน ดังนี้ ท่านหัวเราะเยาะเรา เพราะเหตุไร ดังนี้แล้ว จึงกล่าว

เป็นคาถาว่า

อาจารย์ทั้งหลายผู้มีวาทะว่า การฆ่ามารดาบิดา

เป็นกิจที่ควรทำ ได้กล่าวไว้แล้วในโลก พวกคนพาล

สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต พึงฆ่ามารดา บิดา พึงฆ่าพี่

ฆ่าน้อง ฆ่าบุตรและภรรยา ถ้าว่าประโยชน์เช่นนั้น

พึงมี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตฺตวิธา ได้แก่ ผู้มีความรู้ว่าการฆ่า

มารดาบิดาเป็นสิ่งที่ควรทำ. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. คำว่า

ขตฺตวิชฺชา นี้ เป็นชื่อของอาจารย์ผู้มีความรู้ว่า การฆ่ามารดาบิดาเป็นสิ่งที่

ควรทำ. บทว่า พาลา ปณฺฑิตมานิโน ความว่า ชนทั้งหลายที่เป็นคนพาล

สำคัญอยู่ว่า พวกเราเป็นบัณฑิต จักประกาศว่าตนเป็นบัณฑิต เป็นผู้มีความ

สำคัญว่าเป็นบัณฑิต จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า อตฺโถ เจ ความว่า อาจารย์

กล่าวว่า ถ้าประโยชน์สักนิดหนึ่งมีรูปเห็นปานนั้น จะพึงมีแก่ตนไซร้ บุคคล

ไม่พึงเว้นอะไร ๆ ไว้เลย พึงฆ่าเสียทั้งหมด ดังนี้ แม้ท่านก็เป็นคนใดคนหนึ่ง

ในบรรดาอาจารย์ผู้มีวาทะเช่นนั้น .

พระมหาสัตว์ แสดงลัทธิของขัตตวิชชวาทีอำมาตย์นั้นอย่างนี้แล้ว

เมื่อจะประกาศลัทธิของตน จึงกล่าวเป็นคาถาว่า

บุคคลพึงนั่งหรือนอนที่ร่มไม่ใด ไม่ควรหักกิ่งไม่

นั้น เพราะว่าผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม ถ้า

เมื่อมีความต้องการเกิดขึ้น ก็ควรถอนไปแม้ทั้งราก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

แม้ประโยชน์ที่จะมีต่อเรามาก วานรเป็นอันเราฆ่าดี

แล้ว ถ้าเนื้อความแห่งภาษิตของท่านเป็นอรรถเป็น

ธรรม และเป็นถ้อยคำงาม ไม่ชั่วช้า ถ้าถอยคำของท่าน.

เป็นความจริง วานรเป็นอันเราฆ่าดีแล้ว ถ้าท่านรู้

ความผิดแห่งวาทะของตน ก็จะไม่พึงติเตียนเราเลย

เพราะว่าวาทะของท่านเป็นเช่นนั้น.

ในคาถานั้น มีอธิบายว่า ดูก่อนขัตติวิชชวาทีอำมาตย์ผู้เจริญ ก็อาจารย์

ของพวกเราพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า บุคคลไม่ควรหักกิ่งหรือใบของต้นไม้ที่ตน

ได้อาศัยร่มเงา. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะบุคคลผู้ประทุษร้าย

ต่อมิตรเป็นคนเลว แต่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าเมื่อมีความต้องการเกิดขึ้น ก็

ให้ถอนไปแม้กระทั่งราก ก็เราได้มีความต้องการเสบียง เพราะฉะนั้น ถึง

แม้ว่าเราฆ่าวานรนี้แล้ว ประโยชน์พึงมีแก่เรามากจริงอย่างนั้น วานรก็เป็น

อันเราฆ่าแล้วด้วยดี.

พระมหาสัตว์นั้น ได้ทำลายวาทะของขัตตวิชชวาทีอำมาตย์ แม้นั้น

อย่างนี้แล้ว เมื่ออำมาตย์ทั้ง ๕ คนเหล่านั้น หมดปฏิภาณนั่งนิ่งเฉยอยู่ จึง

เรียกพระราชามาแล้ว ทูลให้ทราบว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์ย่อมพาเอา

มหาโจรผู้ปล้นแว่นแคว้นทั้ง ๕ คนเหล่านี้ ตามเสด็จไป น่าอนาถใจจริง

พระองค์เป็นคนโง่เขลา ด้วยว่า บุรุษพึงถึงความทุกข์อย่างใหญ่หลวง ทั้งใน

ภพนี้และภพหน้า เพราะการคลุกคลีกับพวกคนพาลเห็นปานนี้ ดังนี้แล้ว เมื่อ

จะแสดงธรรมแก่พระราชา จึงกล่าวเป็นคาถาว่า

บุรุษผู้มีวาทะว่าหาเหตุมิได้ ๑ ผู้มีวาทะว่า

พระเจ้าสร้างโลก ๑ ผู้มีวาทะว่าสุขและทุกข์เกิดเพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

กรรมที่ทำมาก่อน ๑ ผู้มีวาทะว่าขาดสูญ ๑ คนที่มี

วาทะว่าฆ่ามารดาบิดาเป็นกิจที่ควรทำ ๑ คนทั้ง ๕

คนนี้ เป็นอสัตบุรุษ เป็นคนพาล แต่มีความสำคัญ

ว่าตนเป็นบัณฑิตในโลก คนเช่นนั้นพึงกระทำบาป

เองก็ได้ พึงชักชวนผู้อื่นให้กระทำก็ได้ ความคลุกคลี

อสัตบุรุษเป็นความชั่วร้าย มีผลเผ็ดร้อนเป็นกำไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาทิโส ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร

บุรุษผู้เช่นเดียวกันกับบุรุษผู้มีทิฏฐิและคติทั้ง ๕ คนเหล่านี้ พึงกระทำบาป

แม้ด้วยตนเองก็ได้ พึงทำการชักชวนคนอื่น ที่เชื่อฟังถ้อยคำของเขาให้ทำบาป

ก็ได้. บทว่า ทุกฺกโฏ ความว่า ความคลุกคลีกับอสัตบุรุษทั้งหลายเห็นปานนี้

ย่อมเป็นความชั่วร้าย และมีความเดือดร้อนเป็นกำไร ทั้งในโลกนี้ ทั้งใน

โลกหน้า. เพื่อจะประกาศเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้ง พึงนำพระสูตรเป็นต้นว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมเกิดขึ้น ภัยเหล่านั้น

ทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นจากคนพาล ดังนี้มาแสดง หรือพึงนำข้อความ เรื่อง

โคธชาดก สัญชีวชาดก และอกิตติชาดกเป็นต้นมาแสดงก็ได้.

บัดนี้ พระมหาสัตว์เมื่อจะเพิ่มพูนพระธรรมเทศนาให้เจริญ ด้วยมุ่ง

แสดงถึงข้ออุปมา จึงกล่าวเป็นคาถาว่า

ในปางก่อน มีนกยางตัวหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายแกะ

พวกและไม่รังเกียจ เข้าไปยังฝูงแกะ ฆ่าแกะทั้งตัว

เมียตัวผู้ ครั้นฆ่าแล้ว ก็บนหนีไปด้วยอาการอย่างใด

สมณพราหมณ์บางพวก ก็มีอาการเหมือนอย่างนั้น

กระทำการปิดบังตัว เที่ยวหลอกลวงพวกมนุษย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

บางพวกประพฤติไม่กินอาหาร บางพวกนอนบน

แผ่นดิน บางพวกทำกิริยาขัดถูธุลีในตัว บางพวกตั้ง

ความเพียรเดินกระโหย่งเท้า บางพวกงดการกินอาหาร

ชั่วคราว บางพวกไม่ดื่มน้ำเป็นผู้มีอาจาระอันเลวทราม

เที่ยวพูดอวดว่า เป็นพระอรหันต์.

คนเหล่านี้เป็นอสัตบุรุษ เป็นคนพาล แต่มีความ

สำคัญว่า ตนเป็นบัณฑิต คนเช่นนั้นพึงกระทำบาป

เองก็ได้ พึงชักชวนผู้อื่นให้กระทำบางก็ได้ ความ

คลุกคลีด้วยอสัตบุรุษเป็นความชั้วร้าย มีผลเผ็ดร้อน

เป็นกำไร.

พวกคนที่กล่าวว่า ความเพียรไม่มี และพวกที่

กล่าวหาเหตุติเตียนการกระทำของผู้อื่นบ้าง กล่าว

สรรเสริญการกระทำของตนบ้าง และพูดเปล่า ๆ บ้าง

คนเหล่านี้เป็นอสัตบุรุษ เป็นคนพาล แต่มีความ

สำคัญตนว่า เป็นบัณฑิต คนเช่นนั้นพึงกระทำบาป

เองก็ได้ พึงชักชวนให้ผู้อื่นกระทำบาปก็ได้ ความ

คลุกคลีด้วยอสัตบุรุษเป็นความชั่วร้าย มีผลเผ็ดร้อน

เป็นกำไร.

ถ้าความเพียรไม่พึงมี กรรมดีกรรมชั่วไม่มี

ไซร้ พระราชาก็จะไม่ทรงชุบเลี้ยงพวกช่างไม่ แม้

นายช่าง ก็ไม่พึงกระทำยนต์ทั้งหลายให้สำเร็จได้ แต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

เพราะความเพียรมีอยู่ กรรมดีกรรมชั่วมีอยู่ เพราะ

ฉะนั้น นายช่างทำยนต์ทั้งหลายให้สำเร็จ พระราชา

จึงทรงชุบเลี้ยงนายช่างไม้ไว้.

ถ้าฝนไม่พึงตก น้ำค้างไม่พึงตกตลอดร้อยปี

โลกนี้ก็พึงขาดสูญ หมู่สัตว์ก็พึงพินาศ แต่เพราะฝน

ก็ตก และน้ำค้างก็ยังโปรยอยู่ เพราะฉะนั้น ข้าวกล้า

จึงสุก และเลี้ยงชาวเมืองให้ดำรงอยู่ได้นาน.

ถ้าเมื่อฝูงโคข้ามฟากไปอยู่ โคผู้นำฝูงเดินไปคด

เมื่อมีโคผู้นำฝูงเดินไปคด โคเหล่านั้นทั้งหมด ก็ย่อม

เดินไปคด ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ผู้ใดได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ถ้าผู้นั้น

ประพฤติไม่เป็นธรรม จะป่วยกล่าวไปไยถึงประชาชน

นอกนี้เล่า ชาวเมืองทั้งปวงย่อมอยู่เป็นทุกข์ ถ้าพระ-

ราชาไม่ทรงดำรงอยู่ในธรรม.

ถ้าเมื่อฝูงโคข้ามฟากไปอยู่ โคผู้นำฝูงเดินไปตรง

เมื่อมีโคผู้นำฝูงเดินไปตรง โคเหล่านั้นทั้งหมด ก็ย่อม

เดินไปตรง ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ผู้ใดได้รับสมมุติว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ถ้าแม้ผู้นั้น

ประพฤติเป็นธรรม ไม่จำต้องกล่าวถึงประชาชนนอกนี้

ชาวเมืองทั้งปวงย่อมอยู่เป็นสุข ถ้าพระราชาทรงดำรง

อยู่ในธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

เมื่อต้นไม้ใหญ่มีผล ผู้ใดเก็บผลดิบมา ผู้นั้น

ย่อมไม่รู้รสแห่งผลไม้นั้น ทั้งพืชพันธุ์แห่งต้นไม้นั้น

ก็ย่อมพินาศไป รัฐเปรียบด้วยต้นไม้ใหญ่ พระราชา

พระองค์ใดทรงปกครองโดยไม่เป็นธรรม พระราชา

พระองค์นั้น ย่อมไม่รู้จักรสแห่งรัฐนั้น และรัฐของ

พระราชาพระองค์นั้น ก็ย่อมพินาศไป.

เมื่อต้นไม้ใหญ่มีผล ผู้ใดเก็บเอาผลสุก ๆ มา

ผู้นั้นย่อมรู้รสแห่งผลไม้นั้น และพืชพันธุ์แห่งต้นไม้นั้น

ก็ไม่พินาศไป รัฐเปรียบด้วยต้นไม้ใหญ่ พระราชา

พระองค์ใดปกครองโดยธรรม พระราชาพระองค์นั้น

ย่อมทรงทราบรสแห่งรัฐนั้น และรัฐของพระราชา

พระองค์นั้น ก็ไม่พินาศไป.

อนึ่ง ขัตติยราชพระองค์ใด ทรงปกครองชนบท

โดยไม่เป็นธรรม ขัตติยราชพระองค์นั้น ย่อมทรง

คลาดจากพระโอสถทั้งปวง.

อนึ่ง พระราชาพระองค์ใด ทรงเบียดเบียนชาว

นิคมผู้ประกอบการซื้อขาย กระทำการขวายโอชะและ

พลีกรรม พระราชาพระองค์นั้น ย่อมคลาดจากส่วน

พระราชทรัพย์ พระราชาพระองค์ใด ทรงเบียดเบียน

นายพรานผู้รู้เขตแห่งการประหารอย่างดี และเบียด-

เบียนทหารผู้กระทำความชอบในสงคราม เบียดเบียน

อำมาตย์ผู้รุ่งเรือง พระราชาพระองค์นั้น ย่อมคลาด

จากพลนิกาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

อนึ่ง กษัตริย์ผู้ไม่ประพฤติธรรม เบียดเบียน

บรรพชิตผู้แสวงหาคุณ ผู้สำรวมประพฤติพรหมจรรย์

กษัตริย์พระองค์นั้น ย่อมคลาดจากสวรรค์ อนึ่ง

พระราชาผู้ไม่ดำรงอยู่ในธรรม ฆ่าพระชายาผู้ไม่

ประทุษร้าย ย่อมได้ประสบบาปอย่างหนัก และย่อม

ผิดพลาดด้วยพระราชบุตรทั้งหลาย.

พระราชาพึงประพฤติธรรมในชาวชนบท ชาว-

นิคม พลนิกาย ไม่พึงเบียดเบียนบรรพชิต พึง

ประพฤติสม่ำเสมอในพระโอรส และพระชายา

พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินเช่นนั้น เป็นผู้ปกครอง

บ้านเมือง ไม่ทรงพิโรธ ย่อมทรงทำให้ผู้อยู่ใกล้เคียง

หวั่นไหว เหมือนพระอินทร์ผู้เป็นเจ้าแห่งอสูร ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พกาสุ ปุพฺเพ ได้แก่ ในปางก่อน

นกยาง. คำว่า อสุ นี้เป็นเพียงนิบาต. พระมหาโพธิปริพาชกกล่าวคำอธิบาย

ไว้ว่า ดูก่อนมหาบพิตร ในกาลก่อน มีนกยางตัวหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายแกะ

หางของมันยาวมาก และมันเอาหางนั้นซุกซ่อนไว้ในระหว่างขา เข้าไปต่อสู้กับ

ฝูงแกะด้วย รูปร่างคล้ายแกะ ไล่ฆ่าแกะทั้งตัวผู้และตัวเมียในที่นั้นแล้ว ก็บิน

หนีไปด้วยอาการอย่างใด. บทว่า ตถาวิเธเก ความว่า สมณะและพราหมณ์

ทั้งหลายบางพวก ก็มีอาการอย่างนั้น ทำการปกปิดคือปิดบังตัวเองด้วยเพศ

บรรพชิต ทำเป็นทีเหมือนหวังประโยชน์ เที่ยวหลอกลวงชาวโลกด้วยวาจาอัน

อ่อนหวานเป็นต้น. บทว่า อนาสกา เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ เพื่อจะแสดง

กิริยาอาการปกปิดของพวกสมณพราหมณ์เหล่านั้น. จริงอยู่ สมณพราหมณ์

บางพวกย่อมพากันหลอกลวงพวกมนุษย์ว่า พวกเราถือการไม่กินอาหารเป็นวัตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

จึงไม่ต้องให้พวกท่านไปนำอาหารอะไร ๆ มาเลย. บางพวกก็หลอกลวงว่า

พวกเราถือการนอนบนแผ่นดินเป็นวัตร. แต่สำหรับบางพวกก็ถือเอาการขัดฟอก

ธุลีเป็นเครื่องปิดบัง. บางพวกก็ถือการตั้งความเพียรด้วยการเดินกระโหย่งเท้า

เป็นวัตร, อธิบายว่า พวกเขาเหล่านั้น เมื่อเวลาเดินไปก็เขย่งตัวขึ้นแล้ว

กระโหย่งเท้าเดินไป. บางพวกปิดบังตัวด้วยการงดกินอาหารโดยปริยาย คือ

อดไป ๗ วันบ้าง ๑๐ วันบ้าง จึงบริโภคสักครั้งหนึ่งเป็นต้น. บางพวกเป็นผู้

ไม่ยอมดื่มน้ำ พากันกล่าวว่า พวกเราไม่ดื่มน้ำดอก. บทว่า อรหนฺโต วทานา

ความว่า บุคคลเหล่านั้น เป็นผู้มีความประพฤติเลวทราม พากันเที่ยวพูดอยู่ว่า

พวกเราเป็นพระอรหันต์. บทว่า เอเต ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร ชนทั้ง

๕ คนเหล่านั้น หรือชนเหล่าอื่นที่ชื่อว่ามีทิฏฐิและคติเหมือนอย่างนี้ ชนเหล่านี้

แม้ทั้งหมด ชื่อว่า เป็นอสัตบุรุษ. บทว่า ยมาหุ ตัดบทเป็น เย อาหุ

แปลว่า พวกคนที่กล่าวว่า. บทว่า สเจ หิ วิริย นาสฺส ความว่า

ดูก่อนมหาบพิตร หากว่าความเพียรที่เป็นไปทางกายและทางใจ อันสัมประยุต

ด้วยญาณไม่พึงมีไซร้ บทว่า กมฺม ความว่า ถ้าแม้กรรมดีและกรรมชั่ว

ไม่พึงมีไซร้. บทว่า น ภเร ความว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ พระราชา ไม่ควร

ทรงชุบเลี้ยงนายช่างไม้ หรือว่าพวกข้าราชการเหล่าอื่นไว้เลย. บทว่า นปิ

ยนฺตานิ ความว่า แม้นายช่างไม้ ก็ไม่พึงทำยนต์ทั้งหลายมีปราสาท ๗ ชั้น

เป็นต้น. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะไม่มีความเพียรและการงาน.

บทว่า อุจฺฉิชฺเชยฺย ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าว่าฝนไม่ตก น้ำค้าง

ก็ไม่ตกตลอดกาลเพียงเท่านี้ ถัดจากนั้น โลกนี้ก็พึงขาดสูญ ดุจกาลเป็นที่ตั้ง

แห่งกัป แต่ขึ้นชื่อว่า ความขาดสูญย่อมไม่มี โดยทำนองที่อุจเฉทวาทีอำมาตย์

กล่าวแล้ว. บทว่า ปาลยเต แปลว่า ย่อมเลี้ยง. พระมหาสัตว์กล่าวคาถา ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

คาถามีคำเริ่มต้นว่า ควญฺเจ ตรมานาน ดังนี้ ก็เพื่อจะแสดงธรรมแก่

พระราชาเท่านั้น. พระมหาสัตว์ กล่าวคาถามีคำเริ่มต้นว่า มหารุกฺขสฺส

ดังนี้เป็นอาทิ ก็เพื่อจะแสดงธรรมแก่พระราชาเหมือนกัน. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า มหารุกฺขสฺส ได้แก่ ต้นมะม่วงที่มีรสอร่อย. บทว่า อธมฺเมน

ได้แก่ โดยตั้งอยู่ในอคติ. บทว่า รสญฺจสฺส น ชานาติ ความว่า พระ-

ราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่รู้จักรส คือ โอชะแห่งรัฐ ได้แก่ ย่อมไม่

ได้ความสมบูรณ์ด้วยความเจริญ. บทว่า วินสฺสติ แปลว่า ย่อมขาดสูญไป.

มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมพากันทั้งบ้านและนิคมแล้วไปอาศัยสถานที่อันไม่ราบเรียบ

คือ ภูเขาอันตั้งอยู่ในที่สุดแดน. ทางแห่งความเจริญทั้งหมด ก็ย่อมขาดสูญไป.

บทว่า สพฺโพสธีภิ ความว่า พระราชา ย่อมทรงคลาดจากพระโอสถทั้งหมด

มีรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ และผลไม้เป็นต้น และพระโอสถมี

เนยใส และเนยข้นเป็นต้น ได้แก่ พระโอสถเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงพร้อม.

ด้วยว่า แผ่นดินของพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมเป็นแผ่นดินที่ปราศจาก

โอชะ. เพราะแผ่นดินนั้น ปราศจากโอชะเสียแล้ว โอชะแห่งโอสถทั้งหลาย

จึงไม่มี ได้แก่ โอสถเหล่านั้น ไม่อาจจะรักษาโรคให้หายได้. พระราชา

พระองค์นั้น ชื่อว่าเป็นผู้คลาดจากพระโอสถเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้. บทว่า

เนคเม ความว่า พระราชา ทรงเบียดเบียน คือ ทรงบีบคั้นพวกกุฏุมพีผู้อยู่

ในนิคม. บทว่า เย ยุตฺตา ความว่า อนึ่ง ทรงเบียดเบียนพวกพ่อค้า

ทางบก และพวกพ่อค้าทางน้ำ ผู้ประกอบการค้าขาย มุ่งหน้าสู่ความเจริญ

งอกงาม. บทว่า โอชทานพลีกาเร ความว่า ผู้กระทำการถวายโอชะด้วย

อำนาจการนำภัณฑะมา และการถวายส่วย แต่ชนบทนั้น ๆ และกระทำพลีกรรม

อันต่างชนิดเป็นต้นว่าแบ่งเป็น ๖ ส่วน และ ๑๐ ส่วน. บทว่า ส โกเสน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

ความว่า พระราชาพระองค์นั้น ทรงเบียดเบียนประชาชนเหล่านั้นอยู่ จึงชื่อว่า

เป็นพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ชื่อว่า ย่อมเสื่อมจากทรัพย์และธัญญาหาร

คลาดจากส่วนแห่งพระราชทรัพย์. บทว่า ปหารวรเขตฺตญฺญู ความว่า

นายขมังธนูผู้รู้เขตแห่งการประหารอย่างดีอย่างนี้ว่า ควรจะยิงไปในที่ตรงนี้

ดังนี้. บทว่า สงฺคาเม กตนิสฺสเม คือ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ทั้งหลาย

ผู้เสร็จจากการรบในยุทธภูมิ. บทว่า อุสฺสิเต คือ มหาอำมาตย์ผู้เลิศลอย

คือมีชื่อเสียงโด่งดัง. บทว่า หึสย ได้แก่ ทรงเบียดเบียนเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่น

เบียดเบียนก็ดี ซึ่งคนทั้งหลายเห็นปานนี้. บทว่า พเลน ได้แก่ หมู่แห่ง

กำลัง. จริงอยู่ เหล่าทหารแม้ที่เหลือก็ย่อมละทิ้งพระราชาผู้ทรงประพฤติอย่างนั้น

ด้วยคิดว่า พระราชาพระองค์นี้ ทรงเบียดเบียน แม้กระทั่งประชาชนผู้มอบ

ราชสมบัติให้แก่พระองค์ ซึ่งเป็นผู้มีอุปการะมากมาย ไฉนจะไม่ทรงเบียดเบียน

พวกเราเล่า. พระราชาพระองค์นั้น ชื่อว่า ย่อมผิดพลาดจากหมู่พลด้วยประการ

ฉะนี้. บทว่า ตเถว อิสโย หึส ความว่า พระราชาผ้ไม่ประพฤติธรรม ทรง

เบียดเบียนบรรพชิตผู้แสวงหาคุณงามความดี ด้วยการด่าและการประหาร

เป็นต้น เหมือนทรงเบียดเบียนชาวบ้านเป็นต้น ฉะนั้น เมื่อกายแตกตายไป

ย่อมเข้าถึงอบายแน่นอน คือ ไม่อาจจะไปบังเกิดในสวรรค์ได้ ดังนั้น พระราชา

พระองค์นั้นจึงชื่อว่า ย่อมคลาดจากสวรรค์ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ภริย

หนฺติ อทูสก ความว่า พระราชา ทรงเชื่อถ้อยคำของพวกโจรผู้เป็นมิตรเทียม

แล้วให้ฆ่าพระชายาผู้มีศีล ผู้เจริญพร้อมด้วยบุตรและธิดา ซึ่งเจริญแล้วใน

ร่มเงาแขนของตน. บทว่า ลุทฺท ปสวเต ปาป ความว่า พระราชา

พระองค์นั้นย่อมประสบ คือ ย่อมสำเร็จผลซึ่งการเข้าถึงนรกของตนเอง.

บทว่า ปุตฺเตหิ จ ความว่า พระราชาพระองค์นั้น ย่อมผิดพลาดจากพระโอรส

ทั้งหลายของพระองค์ในอัตภาพนี้ทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

พระมหาสัตว์นั้น กล่าวถึงเรื่องที่พระราชาพระองค์นั้นทรงเชื่อถือ

ถ้อยคำของชนทั้ง ๕ คนเหล่านั้น แล้วจึงให้ฆ่าพระเทวีเสีย และกล่าวถึงเรื่อง

ที่พระราชาพระองค์นั้น ทรงผิดพระทัยกับพระโอรสทั้งหลาย ในที่เฉพาะ

พระพักตร์ของพระราชาพระองค์นั้นอย่างนี้ เหมือนจับโจรที่มวยผม ฉะนั้น.

จริงอยู่ พระมหาสัตว์ หวังจะข่มขี่พวกอำมาตย์เหล่านั้น หวังจะแสดงธรรม

และหวังจะเปิดเผยเรื่องที่พระเทวีถูกพวกอำมาตย์เหล่านั้นฆ่าตาย จึงได้นำเอา

ถ้อยคำมาถือโอกาสกล่าวเป็นเนื้อความนี้ไว้โดยลำดับ. พระราชา ทรงได้สดับ

คำของพระมหาสัตว์นั้นแล้ว ก็ทรงทราบชัดถึงความผิดของพระองค์. ลำดับนั้น

พระมหาสัตว์ จึงได้ทูลพระราชาให้ทรงทราบว่า ดูก่อนมหาบพิตร ตั้งแต่

วันนี้ไป พระองค์อย่าได้ทรงเชื่อถ้อยคำของพวกคนชั่วพวกนี้แล้วกระทำอย่างนี้

อีกเลย ดังนี้ เมื่อจะกล่าวสอนพระราชา จึงกล่าวคาถาเป็นต้นว่า ธมฺมญฺจเร

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมญฺจเร ความว่า ธรรมดาว่า

พระราชาไม่ควรเบียดเบียนชาวชนบทด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม แต่ควร

ประพฤติธรรมในชาวชนบท ไม่ควรทำเจ้าของทรัพย์ ให้กลายเป็นคนไม่ใช่

เจ้าของทรัพย์ แต่พึงประพฤติธรรมในชาวบ้านทั้งหลาย ไม่ควรลำบากในที่

มิใช่ฐานะ แต่พึงประพฤติธรรมในหมู่พลทั้งหลาย ควรหลีกเว้นการฆ่า การ

จองจำ การด่า และการเสียดสี และให้แต่ปัจจัยแก่บรรพชิตเหล่านั้น ไม่ควร

เบียดเบียนบรรพชิตผู้แสวงหาคุณธรรม ควรสถาปนาพระธิดาไว้ในตำแหน่ง

ที่สมควร มุ่งให้พระโอรสทั้งหมดศึกษาเล่าเรียนสรรพศิลปะ ทรงอุปการะเลี้ยง

ดูโดยชอบธรรม ทรงอนุเคราะห์พระชายาด้วยการทรงมอบความเป็นใหญ่ให้

หาเครื่องประดับตกแต่งให้ และทรงยกย่องให้ทัดเทียมเป็นต้น พึงประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

ให้สม่ำเสมอ ทั้งในพระโอรสและในพระชายา. บทว่า ส ตาทิโส ความว่า

พระราชาผู้เป็นเช่นนั้น ไม่ยอมทำลายพระราชประเพณี เสวยพระราชสมบัติ

โดยธรรม ย่อมทำประชาชนผู้อยู่ใกล้เคียงให้หวั่นไหว ให้สะดุ้ง ให้สะเทือน

ด้วยพระราชอาชญา และพระเดชานุภาพของพระองค์. คำว่า อินฺโทว นี้

ท่านกล่าวไว้เพื่อเป็นคำอุปมา, อธิบายว่า พระราชาพระองค์นั้น ย่อมทำ

ประชาชนผู้อยู่ใกล้เคียงให้หวั่นไหวเหมือนพระอินทร์ผู้ถึงการนับว่า เป็นเจ้า

แห่งอสูรตั้งแต่เวลาที่ทรงรบชนะแล้วครอบครองพวกอสูรอยู่ ย่อมทำพวกอสูร

ผู้เป็นข้าศึกของพระองค์ให้หวั่นไหวอยู่ ฉะนั้น.

พระมหาสัตว์ ครั้นแสดงธรรมแก่พระราชาอย่างนั้นแล้ว จึงไปทูล

เชิญพระกุมารทั้ง ๔ พระองค์มาสั่งสอนแล้ว ประกาศถึงกรรมที่ทรงการทำแล้ว

แด่พระราชา ให้พระราชาทรงยกโทษให้แล้ว ถวายโอวาทแก่ชนทั้งหมดว่า

ดูก่อนมหาบพิตร จำเดิมแต่นี้ไป พระองค์ยังไม่ทันพิจารณาก่อนแล้ว อย่าได้

ทรงถือเอาถ้อยคำของพวกคนผู้มุ่งทำลาย แล้วทำกรรมอันสาหัสเห็นปานนี้

อีกเลย ดูก่อนพระกุมารทั้งหลาย แม้พวกท่านก็อย่าได้ประทุษร้ายต่อพระราชา

เลย. ลำดับนั้น พระราชา จึงตรัสกะพระมหาสัตว์ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า

ผิดในพวกพระโอรส และพระเทวี เพราะได้อาศัยอำมาตย์เหล่านี้ มัวแต่เชื่อฟัง

ถ้อยคำของพวกมัน จึงได้กระทำบาปกรรมถึงเพียงนี้ ข้าพเจ้าจะฆ่าอำมาตย์

ทั้ง ๕ คนเหล่านั้นเสีย. พระมหาสัตว์ ชี้แจงถวายว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์

อย่าได้กระทำถึงอย่างนั้นเลย. พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าจะให้

ตัดมือและเท้าของพวกมันเสีย. พระมหาสัตว์ทูลว่า แม้กรรมอย่างนี้ก็ไม่ควร

กระทำอีก. พระราชา ทรงรับว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ทรงรับสั่ง

ให้ริบทรัพย์สมบัติทั้งหมดเหล่านั้น แล้วทรงให้โกนผมเอาไว้แหยม ๕ แหยม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

จองจำด้วยขื่อคาและลาดด้วยโคมัยแล้ว ให้ขับไล่ออกไปจากแว่นแคว้น. แม้

พระโพธิสัตว์พักอยู่ในที่นั้นสองสามวันแล้ว ถวายโอวาทแด่พระราชาว่า

ขอพระองค์ จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ดังนี้แล้ว ก็กลับไปยังหิมวันต์ตามเดิม

ทำฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว เจริญพรหมวิหารอยู่จนตลอดชีวิต พอสิ้นชีพ

ก็ได้เข้าถึงพรหมโลก.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในปางก่อน ตถาคตก็เป็นผู้มีปัญญา

ย่ำยีเสียซึ่งถ้อยคำข่มขี่ของผู้อื่นเสียได้เหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า

อำมาตย์เจ้าความเห็นทั้ง ๕ คน ในกาลนั้น ได้เป็นปูรณกัสสปะ มักขลิโคสาละ

ปกุธกัจจานะ อชิตเกสกัมพล และนิครนถ์นาฏบุตรในกาลนี้ สุนัขสีเหลือง

ได้เป็นพระอานนท์, ส่วนพระมหาโพธิปริพาชก ก็คือเราตถาคตนั้นเอง

ฉะนี้แล.

จบอรรถกถามหาโพธิชาดก

จบอรรถกถาปัญญาสนิบาต ด้วยประการฉะนี้

รวมชาดกในปัญญาสนิบาตนั้นมี ๓ ชาดก คือ

๑. นฬินิกาชาดก ๒. อุมมาทันตีชาดก ๓. มหาโพธิชาดก

สุภกถาพระชินเจ้าตรัสแล้วเป็น ๓ ชาดก และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

สัฏฐินิบาตชาดก

๑. โสณกชาดก

ว่าด้วยพระราชาจะพระราชทานรางวัลแก่ผู้พบโสณกกุมาร

[๖๖] เราจะให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ใคร ๆ ผู้ได้

ยินข่าวแล้วมาบอกแก่เรา ไตรพบโสณกะผู้สหายเคย

เล่นมาด้วยกันแล้วบอกแก่เรา เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่ง

แก่ผู้ที่พบโสณกะนั้น ลำดับนั้น มาณพน้อยมีผม

ห้าแหยมได้กราบทูลพระราชาว่า พระองค์จงทรง

ประทานทรัพย์ร้อยหนึ่ง แก่ข้าพระองค์ผู้ได้ยินข่าว

แล้วมากราบทูล ข้าพระองค์พบโสณกะพระสหายเคย

เล่นมาด้วยกันแล้ว จึงกราบทูลแด่พระองค์ ขอ

พระองค์จงทรงประทานทรัพย์พันหนึ่งแก่ข้าพระองค์

ผู้พบโสณกะ.

[๖๗] โสณกกุมารนั้นอยู่ในชนบท แว่นแคว้น

หรือนิคมไหนท่านได้พบโสณกกุมาร ณ ที่ไหน เรา

ถามแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่เรา.

[๖๘] ขอเดชะ ต้นรังใหญ่หลายต้นมีลำต้นตรง

มีสีเขียวเหมือนเมฆ เป็นที่ชอบใจน่ารื่นรมย์ อันอาศัย

กันและกัน ตั้งอยู่ในภาคพื้นพระราชอุทยานใน

แว่นแคว้นของพระองค์นั้นเอง พระโสณกะเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

สัตวโลกมีความยึดมั่น เป็นผู้ไม่ยึดมั่น เมื่อสัตวโลก

ถูกไฟเผา เป็นคู่ดับแล้ว เพ่งฌานอยู่ที่โคนแห่งต้นรัง

เหล่านั้น.

[๖๙] ลำดับนั้นแล พระราชาตรัสสั่งให้ทำทาง

ให้ราบเรียบแล้ว เสด็จไปยังที่อยู่ของพระโสณกะ

พร้อมด้วยจาตุรงคเสนา เมื่อเสด็จประพาสไปใน

ไพรวันก็เสด็จถึงภูมิภาคแห่งอุทยาน ได้ทอดพระเนตร

เห็นพระโสณกะ ผู้นั่งอยู่เมื่อสัตวโลกถูกไฟเผา เป็น

ผู้ดับแล้ว.

[๗๐] ภิกษุนี้เป็นคนกำพร้าหนอ ศีรษะโล้น

ครองผ้าสังฆาฏิ ไม่มีมารดา ไม่มีบิดา นั่งเข้าฌาน

อยู่ที่โคนต้นไม้.

[๗๑] พระโสณกะได้ฟังพระดำรัสนี้แล้ว จึงได้

ทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลผู้ถูกต้องธรรมด้วย

นามกาย ไม่ชื่อว่าเป็นคนกำพร่า ผู้ใดในโลกนี้นำเสีย

ซึ่งธรรม ประพฤติตามอธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เป็นคน

กำพร้า เป็นคนลามก มีบาปกรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

ขอถวายพระพร.

[๗๒] มหาชนรู้จักนามของข้าพเจ้าว่า อรินทมะ

และรู้จักข้าพเจ้าว่า พระเจ้ากาสี ดูก่อนท่านโสณกะ

การอยู่เป็นสุข ย่อมมีแก่ท่านผู้อยู่ในที่นี้แลหรือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

[๗๓] ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่

มีเรือนทุกเมื่อ (คือ) ทรัพย์และข้าวเปลือก ย่อมไม่เข้า

ไปในฉาง ในหม้อและในกระเช้าของภิกษุเหล่านั้น

ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้แสวงหาอาหารอันสำเร็จแล้ว มีวัตร

อันงาม เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตนั้น

ข้อที่ ๒ ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มี

เรือน (คือ) ภิกษุพึงบริโภคบิณฑบาต ที่ไม่มีโทษ

และกิเลสอะไร ๆ ย่อมไม่ประทุษร้าย ข้อที่ ๓ ความ

เจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุ

พึงบริโภคบิณฑบาตอันดับแล้ว และกิเลสอะไรย่อม

ไม่ประทุษร้าย ข้อที่ ๔ ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้

ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ผู้หลุดพ้นแล้ว เที่ยวไปใน

แว่นแคว้น ไม่มีความข้อง ข้อที่ ๕ ความเจริญย่อม

มีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) เมื่อไฟไหม้

พระนครอยู่ อะไร ๆ สักหน่อยหนึ่งของภิกษุนั้นย่อม

ไม่ไหม้ ข้อที่ ๖ ความเจริญย่อมมี แก่ภิกษุผู้ไม่มี

ทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) เมื่อโจรปล้นแว่นแคว้นอะไร ๆ

สักหน่อยหนึ่งของภิกษุนั้นก็ไม่หาย ข้อที่ ๗ ความ

เจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุ

ผู้มีวัตรงามถือบาตรและจีวร ไปสู่หนทางที่พวกโจร

รักษาหรือไปสู่หนทางที่มีอันตรายอื่น ๆ ย่อมไปได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

โดยสวัสดี ข้อที่ ๘ ความเจริญย่อมมีแก้ภิกษุผู้ไม่มี

ทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุจะหลีกไปยังทิศใด ๆ

ก็ไม่มีห่วงใยไปยังทิศนั้น ๆ.

[๗๔] ข้าแต่ภิกษุ ท่านสรรเสริญความเจริญ

เป็นอันมากของภิกษุเหล่านั้น ส่วนข้าพเจ้ายังกำหนัด

ในกามทั้งหลาย จะกระทำอย่างไร กามทั้งหลายทั้งที่

เป็นของมนุษย์ ทั้งที่เป็นของทิพย์เป็นที่รักของข้าพเจ้า

เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าจะได้โลกทั้งสองด้วยเหตุไร

หนอ.

[๗๕] นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม

หมกมุ่นอยู่ในกาม กระทำบาปกรรมแล้วย่อมเข้าถึง

ทุคติ ส่วนนรชนเหล่าใด ละกามทั้งหลายออกไปแล้ว

เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ไหน ๆ บรรลุความที่จิตมีอารมณ์เป็น

หนึ่งเกิดขึ้น นรชนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคติ ดูก่อน

พระเจ้าอรินทมะ อาตมภาพจักแสดงอุปมาถวาย

มหาบพิตร ขอมหาบพิตรจงทรงสดับข้ออุปมานั้น

บัณฑิตบางพวกในโลกนี้ย่อมรู้เนื้อความได้ด้วยข้ออุปมา

มีกาตัวหนึ่งเป็นสัตว์มีปัญญาน้อยไม่มีความคิด เห็น

ซากศพช้างลอยอยู่ในห่วงน้ำใหญ่ในแม่น้ำคงคา จึง

คิดว่า เราได้ยานนี้แล้วหนอ และซากศพช้างนี้จักเป็น

อาหารจำนวนมิใช่น้อย ใจของกาตัวนั้นยินดีแล้วใน

ซากศพช้างนั้น ตลอดคืนและวัน เมื่อกาจิกกินเนื้อช้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

ดื่มน้ำมีรสเหมาะส่วน เห็นต้นไม้อันใหญ่ในป่า ก็ไม่

ยอมบินไป แม่น้ำคงคามีปกติไหลลงสู่มหาสมุทร

พัดเอากาตัวนั้นซึ่งประมาทยินดีในซากศพข้างไปสู่

มหาสมุทร ซึ่งเป็นที่ไปไม่ได้แห่งนกทั้งหลาย กานั้น

มีอาหารหมดแล้ว ตกลงในน้ำ ไปข้างหลัง ข้างหน้า

ข้างเหนือ ข้างใต้ไม่ได้ ไปไม่ถึงเกาะ สิ้นกำลังจมลง

ในท่ามกลางสมุทร อันเป็นที่ไปไม่ได้แห่งนกทั้งหลาย

ฝูงปลา จระเข้ มังกร และปลาร้าย ที่เกิดในมหาสมุทร

ก็ข่มเหง ฮุบกินกานั้นตัวมีปีกฉิบหายดิ้นรนอยู่ ดูก่อน

มหาบพิตร ฉันนั้นเหมือนกันแล พระองค์ก็ดี ชน-

เหล่าอื่นผู้ยังบริโภคกามก็ดี ถ้ายังกำหนัดในกามอยู่

ไม่ละทิ้งกามเสีย นักปราชญ์ทั้งหลายรู้ว่า ชนเหล่านั้น

มีปัญญาเสมอกับกา ดูก่อนมหาบพิตร อุปมานี้แสดง

อรรถอย่างชัดแจ้ง อาตมภาพแสดงถวายมหาบพิตร

แล้ว จักทรงทำหรือไม่ ก็จะปรากฏด้วยเหตุนั้น.

[๗๖] บุคคลผู้อนุเคราะห์พึงกล่าวตำหนึ่งหรือ

สองคำ ไม่พึงกล่าวยิ่งไปกว่านั้น เปรียบเหมือนทาสใน

สำนักแห่งนาย.

[๗๗] พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาอัน

บุคคลนับไม่ได้ ครั้นทูลดังนี้ แล้วพร่ำสอนบรมกษัตริย์

ในอากาศแล้วหลีกไป.

[๗๘] บุคคลผู้อภิเษกท่านผู้สมควรให้เป็น

กษัตริย์ เป็นรัชทายาท และบุคคลผู้ถึงความฉลาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

เหล่านี้อยู่ที่ไหน เราจักมอบราชสมบัติ เราไม่ต้องการ

ด้วยราชสมบัติ เราจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึง

รู้ความตายในวันพรุ่งนี้ เราจะไม่โง่เขลา ตกอยู่ใน

อำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา.

[๗๙] พระโอรสหนุ่มของพระองค์ ทรงพระนาม

ว่าทีฆาวุ จะทรงบำรุงรัฐให้เจริญได้มีอยู่ ขอพระองค์

ทรงอภิเษกพระโอรสนั้นไว้ในพระราชสมบัติ พระ-

ราชโอรสจักเป็นพระราชาของข้าพระบาททั้งหลาย.

[๘๐] ท่านทั้งหลาย จงรีบเชิญทีฆาวุกุมารผู้

บำรุงรัฐให้เจริญมาเถิด เราจักอภิเษกเธอไว้ในราช

สมบัติ เธอจักเป็นพระราชาของท่านทั้งหลาย.

[๘๑] ลำดับนั้น พวกอำมาตย์ได้ไปเชิญทีฆาวุ

ราชกุมารผู้บำรุงรัฐให้เจริญมาเฝ้า พระราชาทอด

พระเนตรเห็นเอกอัครโอรสผู้น่าปลื้มพระทัยนั้น จึง

ตรัสว่า ลูกรักเอ๋ย คามเขตหกหมื่นบริบูรณ์โดย

ประการทั้งปวง ลูกจงบำรุงเขา พ่อขอมอบราชสมบัติ

ให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความ

ตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลาตกอยู่

ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา ช้างหกหมื่น

เชือกประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มีสายรัดล้วน

ทองคำ เป็นช้างใหญ่มีร่างกายปกปิด ด้วยเครื่องคลุม

ล้วนทองคำ อันนายควาญช้างผู้ถือโตมรและขอขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

กำกับ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงช้างเหล่านั้น พ่อขอมอบ

ราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่า

จะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคน

โง่เขลาตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา ม้า

หกหมื่นตัว ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เป็น

ม้าสินธพอาชาไนยโดยกำเนิด เป็นพาหนะเร็ว อัน

นายสารถีผู้ถือแส้และธนู ขึ้นกำกับ ลูกรักเอ๋ย ลูกจง

บำรุงม้าเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อ

จักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวัน

พรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลาตกอยู่ในอำนาจ

แห่งกามทั้งหลายเหมือนกา รถหกหมื่นคัน หุ้มเกราะ

ไว้ดีแล้ว มีธงอันยกขึ้นแล้ว หุ้มด้วยหนังเสือเหลือง

ก็มี หุ้มด้วยหนังเสือโคร่งก็มี ประดับด้วยเครื่อง

อลังการทั้งปวง อันนายสารถีถือแล่งธนูสวมเกราะขึ้น

ประจำ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงรถเหล่านั้น พ่อขอมอบ

ราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่า

จะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่

เขลาตกอยู่ในอำนาจ แห่งกามทั้งหลาย เหมือนกา

โคนมหกหมื่นตัวมีสีแดง ประกอบด้วยโคจ่าฝูงตัว

ประเสริฐ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงโคเหล่านั้น พ่อขอ

มอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใคร

เล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็น

คนโง่เขลา ตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา

สตรีหมื่นหกพันนางประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

มีผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร สวมกุณฑลแก้วมณี ลูกรัก

เอ๋ย ลูกจงบำรุงสตรีเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติ

ให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้

ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจักไม่ยอมเป็นคนโง่เขลา

ตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา.

[๘๒] ข้าแต่พระบิดา หม่อมฉันได้สดับว่า

เมื่อหม่อมฉันเป็นเด็ก ๆ พระชนนีทิวงคต หม่อมฉัน

ไม่อาจจะเป็นอยู่ห่างพระบิดาได้ ลูกช้างย่อมติดตาม

หลังช้างป่าตัวเที่ยวอยู่ในที่มีภูเขาเดินลำบาก เสมอบ้าง

ไม่เสมอบ้าง ฉันใด หม่อมฉันจะอุ้มบุตรธิดาติดตาม

พระบิดาไปข้างหลัง จักเป็นผู้อันพระบิดาเลี้ยงง่าย

จักไม่เป็นผู้อันพระบิดาเลี้ยงยาก ฉันนั้น.

[๘๓] อันตรายทำเรือที่แล่นอยู่ในมหาสมุทร

ของพวกพ่อค้าผู้แสวงหาทรัพย์ ให้จมลงในมหาสมุทร

นั้น พวกพ่อค้าพึงถึงความพินาศ ฉันใด ลูกรักเอ๋ย

เจ้านี้เป็นผู้กระทำอันตรายให้แก่พ่อฉันนั้นเหมือนกัน.

[๘๔] ท่านทั้งหลาย จงพาราชกุมารนี้ไปให้ถึง

ปราสาทอันยังความยินดีให้เจริญเถิด พวกนางกัญญา

ผู้มีมือประดับด้วยทองคำ จักยังกุมารให้รื่นรมย์ใน

ปราสาทนั้น เหมือนนางเทพอัปสร ยังท้าวสักกะให้

รื่นรมย์ ฉะนั้น และกุมารนี้จักรื่นรมย์ด้วยนางกัญญา

เหล่านั้น.

[๘๕] ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลายจึงเชิญพระ-

ราชกุมารไปยังปราสาท อันยังความยินดีให้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

พวกนางกัญญาเห็นทีฆาวุกุมารผู้ยังรัฐให้เจริญนั้นแล้ว

จึงพากันทูลว่า พระองค์เป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือ

ว่าเป็นท้าวสักกปุรินททะ พระองค์เป็นใครหรือเป็น

โอรสของใคร หม่อมฉันทั้งหลายจะรู้จักพระองค์

ได้อย่างไร.

[๘๖] เราไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่

ท้าวสักกปุรินททะ เราเป็นโอรสของพระเจ้ากาสี

ชื่อทีฆาวุผู้ยังรัฐให้เจริญ เธอทั้งหลายจงบำเรอเรา

ขอความเจริญจงมีแก่เธอทั้งหลาย เราจะเป็นสามีของ

เธอทั้งหลาย.

[๘๗] พวกนางกัญญาในปราสาทนั้น ได้ทูลถาม

พระเจ้าทีฆาวุผู้บำรุงรัฐนั้นว่า พระราชาเสด็จไปถึง

ไหนแล้ว พระราชาเสด็จจากที่นี้ไปไหนแล้ว.

[๘๘] พระราชาทรงก้าวล่วงเสียซึ่งเปือกตม

ประดิษฐานอยู่บนบก เสด็จดำเนินไปสู่ทางใหญ่อัน

ไม่มีหนาม ไม่มีรกชัฏ ส่วนเรายังเป็นผู้ดำเนินไปสู้

ทางอันให้ถึงทุคติ มีหนาม รกชัฏ เป็นเครื่องไปสู่

ทุคติแห่งชนทั้งหลาย.

[๘๙] ข้าแต่พระราชา พระองค์เสด็จมาดีแล้ว

ดุจราชสีห์มาสู่ถ้ำ ฉะนั้น ข้าแต่พระมหาราชเจ้า

ขอพระองค์จงทรงอนุศาสน์พวกหม่อมฉัน ขอพระ-

องค์ทรงเป็นอิสราธิบดีของพวกหม่อมฉันทั้งปวงเถิด.

จบโสณกชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

อรรถกถาสัฏฐินิบาต

อรรถกถาโสณกชาดก

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ

ปรารภถึงเนกขัมมบารมี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กสฺส

สุตฺวา สต ทมฺมิ ดังนี้.

ความพิสดารว่า ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในท่ามกลาง

แห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้กำลังพรรณนาถึงเนกขัมมบารมี ณ โรงธรรมสภา ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตออกมหาภิเนษกรมณ์แต่ในกาลนี้เท่านั้นก็หาไม่

แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็ได้ออกมหาภิเนษกรมณ์แล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว

จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า

ในอดีตกาล พระเจ้าแผ่นดินแห่งแคว้นมคธ ทรงครอบครองราชสมบัติ

อยู่ ณ กรุงราชคฤห์. พระโพธิสัตว์ บังเกิดในพระครรภ์แห่งพระอัครมเหสี

ของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นแล้ว. ก็ในวันที่จะขนานพระนาม พระชนก

และพระชนนี ได้ทรงขนานพระนามพระโอรสนั้นว่า อรินทมกุมาร. แม้

บุตรของท่านปุโรหิต ก็ได้คลอดในวันที่พระราชกุมารนั้นประสูติแล้วเหมือนกัน

มารดาบิดาได้ตั้งชื่อบุตรนั้นว่า โสณกกุมาร. พระราชกุมารและกุมารทั้งสองนั้น

เจริญวัยขึ้นด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ครั้นเจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีรูปร่าง

อันสง่างดงาม เป็นผู้พิเศษด้วยรูป ได้ไปเมืองตักกศิลาเล่าเรียนศิลปศาสตร์

จนจบสิ้น แล้วออกจากเมืองตักกศิลานั้น พากันคิดว่า เราทั้งสองจักศึกษา

ให้รู้ถึงศิลปะในลัทธิทั้งหมด และการเที่ยวจาริกไปในประเทศ ดังนี้แล้ว จึงพา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

กันเทียวจาริกไปโดยลำดับ จนถึงเมืองพาราณสีแล้ว พักอยู่ในพระราชอุทยาน

พอวันรุ่งขึ้นจึงพากันเข้าไปยังพระนคร. ก็ในวันนั้น มนุษย์บางพวกพากันคิดว่า

พวกเราจักจัดทำสถานที่สวดมนต์ของพราหมณ์ จึงจัดแจงข้าวปายาส ปูลาด

เสนาสนะเห็นกุมารทั้งสองคนนั้นเดินมา จึงเชื้อเชิญให้เข้าไปในเรือนแล้ว

ให้นั่งบนอาสนะที่ตระเตรียมไว้. บนอาสนะทั้งสองนั้น เขาปูลาดผ้าที่ทำ

มาจากแคว้นกาสีขาวสะอาดบนอาสนะ. ที่ปูลาดไว้สำหรับพระโพธิสัตว์. ปูลาด

ผ้ากัมพลสีแดงไว้สำหรับโสณกกุมาร. กุมารนั้น มองดูเครื่องหมายก็รู้ว่า

ในวันนี้นั่นแหละ อรินทมกุมารสหายผู้เป็นที่รักของเรา จักได้เป็นพระราชา

ครอบครองพระนครพาราณสี จักพระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่เรา. กุมาร

แม้ทั้งสองคนนั้น การทำภัตกิจเสร็จแล้ว ก็ได้พากันไปยังอุทยานนั่นแหละ.

ในกาลนั้น เป็นวันที่พระเจ้ากรุงพาราณสีสวรรคตมาได้เป็นวันที่ ๗ ราชตระกูล

ไม่มีพระโอรส. ประชาชนทั้งหลายมีอำมาตย์เป็นหัวหน้า สนานศีรษะแล้ว

ประชุมกัน เทียมผุสยรถปล่อยไปด้วยคิดว่า ผุสยรถจักแล่นไปหาท่านผู้ควรแก่

พระราชสมบัติ. ผุสยรถนั้น ออกจากพระนครแล่นไปยังอุทยานโดยลำดับ

กลับที่ประตูอุทยาน แล้วหยุดเตรียมรับท่านผู้ควรครอบครองพระราชสมบัติให้

ขึ้นไป.

พระโพธิสัตว์ ได้นอนคลุมศีรษะอยู่บนแผ่นศิลาอันเป็นมงคลแล้ว.

โสณกกุมาร นั่งอยู่ใกล้พระโพธิสัตว์นั้นแล้ว. โสณกกุมารนั้น ได้ยินเสียงดนตรี

จึงดำริว่า ผุสยรถมาถึง อรินทมกุมาร วันนี้เธอจักเป็นพระราชา จักพระราชทาน

ตำแหน่งเสนาบดีให้แก่เรา แต่เราไม่ต้องการด้วยอิสริยยศเลย เมื่อพระกุมาร

นี้เสด็จไปแล้ว เราจักออกบวช ดังนี้ จึงได้ยืนแอบอยู่ในที่กำบังแห่งหนึ่ง.

ปุโรหิต เข้าไปยังอุทยานเห็นพระมหาสัตว์หลับอยู่ จึงได้ให้เจ้าพนักงานประโคม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

ดนตรีขึ้น. พระมหาสัตว์ตื่นนอนาขึ้นพลิกตัวกลับหลับต่ออีกหน่อยแล้วจึงลุกขึ้น

นั่งบนบัลลังก์ที่แผ่นศิลา. ลำดับนั้น ท่านปุโรหิตประคองอัญชลี กราบทูล

พระองค์ว่า ข้าแต่สมมุติเทพ พระราชสมบัติถึงแก่พระองค์แล. พระมหาสัตว์

ถามว่า ราชตระกูลไม่มีพระโอรสหรือ ? ปุโรหิตทูลว่า เป็นเช่นนั้น พระ-

พุทธเจ้าข้า. พระมหาสัตว์ ตอบรับว่า ถ้าอย่างนั้นก็ดี. ลำดับนั้น ประชาชน

ทั้งหลาย ก็พากันอภิเษกพระมหาสัตว์นั้น ในอุทยานนั้นทีเดียว แล้วเชิญเสด็จ

ให้ขึ้นรถ กลับเข้าสู่พระนครด้วยบริวารใหญ่. พระโพธิสัตว์นั้น ทรงกระทำ

ประทักษิณพระนครแล้ว เสด็จขึ้นสู่ปราสาท. พระองค์มิได้ทรงระลึกถึงโสณก

กุมาร เพราะความมีอิสริยยศใหญ่. ฝ่ายโสณกกุมารนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์นั้น

เสด็จเข้าไปสู่พระนครแล้ว ตนเองก็มานั่งที่แผ่นศิลา. ลำดับนั้น ใบไม้สีเหลือง

ของต้นสาละ. หลุดร่วงจากขั้วตกลงตรงหน้าของกุมารนั้น . เขาพอได้เห็นใบไม้

เหลืองนั้นแล้วจึงคิดว่า ใบไม้นั้นหล่นลงฉันใด แม้สรีระของเรา ก็จักถึง

ความชรา หล่นไปฉันนั้น ดังนี้แล้ว จึงเริ่มตั้งวิปัสสนาด้วยสามัญลักษณะมี

อนิจลักษณะเป็นต้น บรรลุปัจเจกโพธิญาณแล้ว. ในขณะนั้นนั่นเอง เพศ

คฤหัสถ์ของกุมารนั้น ก็อันตรธานไป. เพศบรรพชิต ก็ได้ปรากฏแทน.

พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เมื่อเปล่งอุทานว่า บัดนี้ ภพใหม่ของเราไม่มี ดังนี้แล้ว

จึงได้ไปยังเงื้อมเขาชื่อว่านันทมูลกะ.

ฝ่ายพระมหาสัตว์ ทรงระลึกถึงพระปักเจกพุทธเจ้านั้นได้ โดยล่วงไป

ประมาณ ๔๐ ปี แม้จะทรงระลึกถึงพระโสณกะบ่อย ๆ ว่า โสณกะสหายของเรา

ไปไหนหนอ ไม่ได้ข่าวที่ใครจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ยินข่าว หรือว่าข้าพเจ้า

ได้พบเห็น ประทับนั่งบนพระราชบัลลังก็มีพื้นกว้างใหญ่อันประดับประดาแล้ว

เป็นผู้อันเหล่าชนผู้ประโคมฟ้อนรำขับร้องเป็นต้นแวดล้อมแล้ว เสวยสมบัติอยู่

ทรงดำริว่า ผู้ใดได้ยินในสำนักแห่งใคร ๆ แล้วบอกแก่เราว่า โสณกกุมาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

อยู่ในที่ชื่อโน้น ดังนี้ เราจักให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ผู้นั้น ผู้ใดเห็นด้วยตัวเองแล้ว

บอกแก่เรา เราจักให้ทรัพย์พันหนึ่ง แก่ผู้นั้น ดังนี้แล้ว ทรงนิพนธ์อุทานขึ้น

บทหนึ่ง เมื่อจะทรงเปล่งด้วยทำนองเพลงขับ จึงตรัสเป็นคาถาที่ ๑ ว่า

เราจะให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ใคร ๆ ผู้ได้ยินข่าว

แล้วมาบอกแก่เรา ใครพะโสณกะผู้สหายเคยเล่นมา

ด้วยกันแล้ว บอกแก่เรา เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่

ผู้ที่พบโสณกะนั้น.

ลำดับนั้น หญิงนักฟ้อนนางหนึ่ง จำเอาอุทานนั้นได้ เหมือนถอด

ออกจากพระโอษฐ์ของพระราชานั้น จึงขับเป็นเพลงขับ. หญิงคนอื่น ๆ ก็ขับ

เพลงขับนั้นต่อ ๆ กันมาเป็นลำดับ จนถึงนางสนมทั้งหมด ก็ได้ขับเพลงขับนั้น

ด้วยพากันคิดว่า บทเพลงนี้ เป็นบทเพลงขับที่พระราชาของเราทรงโปรดปราน

ด้วยประการฉะนี้. แม้ชาวพระนครและชาวชนบท ก็ได้พากันขับเพลงขับนั้น

โดยลำดับเหมือนกัน . แม้พระราชา ก็ทรงขับเพลงขับนั้นอยู่บ่อยๆเช่นเดียวกัน

ก็โดยล่วงไปเป็นเวลาประมาณ ๕๐ ปี พระราชาพระองค์นั้น ได้มีพระโอรส

และพระธิดาเป็นอันมาก. พระโอรสองค์ใหญ่มีพระนามว่า ทีฆาวุกุมาร. ใน

กาลนั้น พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้า ปรารถนาจะพบเห็นพระเจ้าอรินทมราช

จึงคิดว่า เราจะไปแสดงถึงโทษในกาม และอานิสงส์ในการออกบวชแล้ว จะ

ชี้ช่องให้พระราชานั้นทรงออกผนวช ดังนี้ จึงเหาะมาโดยอากาศด้วยฤทธิ์แล้ว

นั่งในอุทยาน. ในกาลนั้น เด็กชายมีผม ๕ แหยม อายุ ๗ ขวบคนหนึ่ง ถูก

มารดาใช้ให้ไปหาฟืนในป่าใกล้อุทยาน ก็ขับเพลงขับนั้นบ่อย ๆ อย่างนั้น.

ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงเรียกกุมารนั้นมาถามว่า ดูก่อนกุมารเอ๋ย ทำไม

เจ้าจึงไม่ขับเพลงอื่นบ้างเล่า ขับร้องแต่เพลงนี้เพลงเดียวเท่านั้น เจ้าจำเพลงอื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

ไม่ได้บ้างหรือ. กุมารนั้นตอบว่า จำได้ขอรับ แต่บทเพลงนี้เป็นเพลงที่

โปรดปรานแห่งพระราชาของพวกผม เพราะฉะนั้น ผมจึงขับร้องเพลงนั้น

บ่อย ๆ. พระปัจเจกพุทธเจ้าถามว่า ก็เจ้าเคยเห็นใคร ๆ ขับร้องตอบเพลงนี้

บ้างหรือไม่. กุมารนั้นตอบว่า ไม่เคยเห็นเลยขอรับ. พระปัจเจกพุทธเจ้า

กล่าวว่า เราจักสอนให้เจ้าเรียนเพลงขับตอบนั้น เจ้าจักอาจไปยังสำนักของ

พระราชาแล้วขับตอบหรือ. กุมารนั้นตอบว่า ได้ขอรับ. ลำดับนั้น พระโสณก

ปัจเจกพุทธเจ้านั้น เมื่อจะบอกเพลงขับตอบแก่กุมารนั้น จึงกล่าวคาถาว่า

มยฺห สุตฺวา ดังนี้เป็นต้น. ก็แลครั้นให้เรียนแล้ว จึงส่งกุมารนั้นไปด้วย

คำว่า ดูก่อนกุมาร เจ้าจงไป จงขับร้องเพลงขับตอบนี้กับพระราชา พระราชา

จักพระราชทานอิสริยยศใหญ่ให้แก่เจ้า เจ้าจะต้องการอะไรด้วยฟืนจงรีบไปเถิด.

กุมารนั้นรับว่า ดีแล้ว เรียนเพลงขับตอบแล้ว ไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้า

กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอยู่ในที่นี้จนกว่าผมจะพาพระราชามา

ดังนี้แล้ว รีบไปหามารดากล่าวว่า คุณแม่ครับ แม่จงอาบน้ำให้ผมแล้ว รีบ

แต่งตัวให้ผมเร็ว วันนี้ผมจะเปลื้องแม่ให้พ้นจากความยากจน ครั้นมารดา

อาบน้ำแต่งตัวให้แล้ว จึงมายังประตูวังแล้วกล่าวว่า นายประตูขอรับ ขอท่าน

จงกราบทูลแด่พระราชาว่า มีเด็กคนหนึ่งมากล่าวว่า ผมจะขับเพลงขับตอบ

กับพระองค์ ยืนคอยอยู่ที่ประตูวัง. นายประตูรีบไปกราบทูลแด่พระราชา.

พระราชาตรัสสั่งให้เรียกเด็กมาว่า จงมาเถิด แล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าจัก

ขับเพลงขับตอบกับเราหรือ. เด็กนั้นกราบทูลว่า เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงขับเถิด. เด็กนั้นกราบทูลว่า ขอเดชะ

ข้าพระองค์ขับในที่นี้ไม่ได้ ก็แต่ว่า พระองค์จงให้พวกราชบุรุษเที่ยวตีกลอง

ป่าวประกาศในเมืองแล้ว ให้มหาชนประชุมกัน ข้าพระองค์จักขับในท่ามกลาง

มหาชน. พระราชาให้ทำตามที่กุมารนั้นกล่าว เสด็จประทับนั่งในท่ามกลาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

ราชบัลลังก์ ในมณฑปที่เขาประดับประดาแล้ว สั่งให้พระราชทานอาสนะที่

สมควรแก่เด็กคนนั้นแล้ว ตรัสว่า บัดนี้ เจ้าจงขับเพลงขับของเจ้าได้แล้ว.

กุมารนั้นจึงกราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์จงขับก่อน. ข้าพระองค์จักขับตอบ

ในภายหลัง. ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะทรงขับก่อน จึงตรัสคาถาว่า

เราจะให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ใคร ๆ ผู้ได้ยินข่าว

แล้วมาบอกแก่เรา ใครพบโสณกะผู้สหายเคยเล่นมา

ด้วยกันแล้ว บอกแก่เรา เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่ง แก่ผู้

ที่พบโสณกะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุตฺวา ความว่า เราจะให้ทรัพย์ร้อยหนึ่ง

แก่ใคร ๆ ที่ได้ยินที่อยู่ของโสณกะนั้นแล้วมาบอกว่า โสณกะสหายที่รักของ

ท่านอยู่ในที่ชื่อโน้น . บทว่า ทิฏฺ ความว่า เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ใคร ๆ

ที่พบเห็นโสณกะแล้วมาบอกว่า ข้าพเจ้าพบเห็นโสณกะในที่ชื่อโน้น ดังนี้.

เมื่อพระราชาทรงขับอุทานคาถาแรกอย่างนี้แล้ว พระศาสดาผู้ตรัสรู้

เองโดยเฉพาะ เมื่อจะทรงประกาศคาถาที่เด็กผู้มีผม ๕ แหยมขับตอบ จึงได้

ตรัสคาถา ๒ คาถานี้ว่า

ลำดับนั้น มาณพน้อยผู้มีผม ๕ แหยม ได้

กราบทูลพระราชาว่า พระองค์จงทรงพระราชทาน

ทรัพย์ร้อยหนึ่ง แก่ข้าพระองค์ผู้ได้ยินข่าวแล้วมา

กราบทูล ข้าพระองค์พบเห็นโสณกะ พระสหายเคย

เล่นมาด้วยกันแล้ว จึงกราบทูลแด่พระองค์ ขอ

พระองค์จงพระราชทานทรัพย์พันหนึ่ง แก่ข้าพระองค์

ผู้พบเห็นโสณกะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

ก็เนื้อความแห่งคาถาที่กุมารนั้นกล่าวแล้ว มีอรรถาธิบาย ดังต่อไปนี้

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ทรงรับสั่งว่า เราจะให้ทรัพย์แก่ผู้ที่ได้ยินข่าว

นั้นแล้วมาบอกแก่เรา ดังนี้ ขอพระองค์จงพระราชทานทรัพย์นั้นแก่ข้าพระองค์

ทีเดียว อนึ่ง พระองค์ตรัสว่า เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ผู้ที่พบเห็นแล้วกลับ

มาบอก ดังนี้ ขอพระองค์จงพระราชทานทรัพย์แม้นั้น แก่ข้าพระองค์ด้วย

ข้าพระองค์พบเห็นสหายที่รักของพระองค์แล้ว จึงได้ทูลพระองค์ว่า บัดนี้

ข้าพระองค์ได้เห็นโสณกะผู้นี้แล้ว. เนื้อความต่อแต่นี้ไป บัณฑิตพึงเข้าใจ

ได้โดยง่ายทีเดียว. บัณฑิตพึงทราบพระคาถาของพระสัมพุทธเจ้า โดยนัย

พระบาลีนั่นแล.

พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงตรัสถามว่า

โสณกกุมารนั้น อยู่ในชนบท แว่นแคว้นหรือ

นิคมไหน ท่านได้พบเห็นโสณกกุมาร ณ ที่ไหน

เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่เราเถิด.

กุมารกราบทูลว่า

ขอเดชะ ต้นรังใหญ่หลายต้นมีลำต้นตรง มีสีเขียว

เหมือนเมฆ เป็นที่ชอบใจน่ารื่นรมย์ อันอาศัยกัน

และกัน ตั้งอยู่ในภาคพื้นพระราชอุทยานในแว่นแคว้น

ของพระองค์นั่นเอง พระโสณกะ เมื่อสัตวโลกมี

ความยึดมั่น เป็นผู้ไม่ยึดมั่น เมื่อสัตวโลกถูกไฟเผา

เป็นผู้ดับแล้ว เพ่งฌานอยู่ที่โคนแห่งต้นรังเหล่านั้น.

ลำดับนั้นแล พระราชาตรัสสั่งให้ทำทางให้

ราบเรียบแล้ว เสด็จไปยังที่อยู่ของพระโสณกะพร้อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

ด้วยจาตุรงคเสนา เมื่อเสด็จประพาสไปในไพรวัน

ก็เสด็จถึงภูมิภาคแห่งอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็น

พระโสณกะ ผู้นั่งอยู่เมื่อสัตว์โลกถูกไฟเผาเป็นผู้ดับ

แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุชุวสา ได้แก่ มีลำต้นตั้งตรง. บทว่า

มหาสาลา ได้แก่ ต้นไม้ใหญ่. บทว่า เมฆสมานา คือ เช่นกับเมฆสีดำ.

บทว่า รมฺนา คือเป็นที่น่ายินดี. บทว่า อญฺโญฺนิสฺสิตา ได้แก่ กิ่ง

กับกิ่งเกี่ยวเกาะกันอยู่ รากกับรากเกี่ยวพันกันอยู่. บทว่า เตส ได้แก่ ภาคใต้

พฤกษาในป่า อันเป็นอุทยานของพระองค์เห็นปานน นเหล่านั้น. บทว่า ฌายติ

ความว่า เพ่งอยู่ด้วยฌานทั้ง ๒ คือ ลักขณูปนิชฌาน และอารัมมณูปนิชฌาน.

บทว่า อนุปาทโน คือ เป็นผู้เว้นจากความยึดมั่นในกาม. บทว่า ทยฺหมาเนสุ

คือ เมื่อสัตว์ทั้งหลายถูกไฟ ๑๑ กองเผาอยู่. บทว่า นิพฺพุโต ความว่า พระ-

โสณกะผู้เป็นสหายของพระองค์นี้ ทำไฟทุกกองเหล่านั้นให้ดับได้แล้ว เพ่งอยู่

ด้วยหทัยอันเย็น นั่งอยู่บนแผ่นหิน ณ ที่โคนไม้รังอันเป็นมงคล ในอุทยาน

ของพระองค์ ท่านงดงามเปรียบปานรูปทอง ฉะนั้น. คำว่า ตโต จ อธิบายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในลำดับนั้น พระเจ้าอรินทมะนั้น พอได้ทรงสดับคำ

ของกุมารนั้นแล้ว จึงทรงพระดำริว่า เราจักพบเห็นพระโสณกปัจเจกพุทธเจ้า

ดังนี้แล้ว เสด็จออกไปพร้อมด้วยจตุรงคเสนา. บทว่า วิจรนฺโต ความว่า

เสด็จมาตามหนทางตรงทีเดียว เมื่อเสด็จประพาสไปในชัฏป่าใหญ่นั้นแล้ว จึง

เสด็จไปยังสำนักของพระโสณกะ ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านกำลังนั่งอยู่

พระราชานั้น ทรงนมัสการพระโสณกะนั้นแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร

ข้างหนึ่ง เมื่อทรงสำคัญซึ่งพระโสณกะนั้นว่า เป็นคนกำพร้า เพราะว่าพระองค์

ยังทรงยินดีในกิเลสอยู่ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

ภิกษุนี้เป็นคนกำพร้าหนอ ศีรษะโล้น ครองผ้า

สังฆาฏิ ไม่มีมารดา ไม่มีบิดา นั่งเข้าฌานอยู่ที่โคน

ต้นไม้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฌายติ ความว่า เป็นผู้ไม่มีมารดา ไม่มี

บิดา ถึงความกรุณาแล้ว (น่าสงสาร) จึงนั่งเข้าฌานอยู่.

พระโสณกะได้ฟังพระดำรัสนี้แล้ว จึงได้ทูลว่า

ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลของธรรมด้วยนามกาย

ไม่ชื่อว่าเป็นคนกำพร้า ผู้ใดในโลกนี้ นำเสียซึ่งธรรม

ประพฤติตามอธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เป็นคนกำพร้า เป็น

คนลามก มีบาปกรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ขอถวาย

พระพร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิม ความว่า พระโสณกะได้สดับคำ

ติเตียนถึงเรื่องการบรรพชานี้ ของพระราชานั้นผู้ทรงยินดียิ่งในกิเลส ไม่ทรง

พอพระทัยการบรรพชา. บทว่า เอตทพฺรวี ความว่า พระโสณกะเมื่อจะ

ประกาศถึงคุณในการบรรพชา จึงได้กล่าวคำนี้. บทว่า ผสฺสย คือถูกต้องอยู่.

พระโสณกะเมื่อจะแสดงว่า บุคคลผู้ต้องอริยมรรคธรรมนั้นด้วยกาย ย่อมไม่

ชื่อว่า เป็นคนกำพร้า ดังนี้ จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า นิรกตฺวา ได้แก่

นำออกจากอัตภาพ. บทว่า ปาโป ปาปปรายโน ความว่า ชื่อว่าเป็นคน

ลามก เพราะตนเองกระทำแต่ความชั่ง ชื่อว่า เป็นผู้มีบาปกรรมเป็นที่ไปใน

เบื้องหน้า เพราะเป็นที่พึ่งแก่ชนเหล่าอื่นผู้กำลังทำบาป.

พระโสณกะนั้น ติเตียนพระโพธิสัตว์ด้วยถ้อยคำอย่างนี้. พระโพธิสัตว์

ทรงทำเป็นเหมือนไม่ทรงทราบว่า พระโสณกะติเตียนพระองค์ ทรงบอกนาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

และโคตรของพระองค์ เมื่อจะทรงทำปฏิสันถารกับพระโสณกะนั้น จึงตรัส

คาถาว่า

มหาชนรู้จักนามของข้าพเจ้าว่า อรินทมะ และ

รู้จักข้าพเจ้าว่า พระเจ้ากาสี ดูก่อนท่านโสณกะ การ

อยู่เป็นสุข ย่อมมีแก่ท่านผู้อยู่ในที่นี้แลหรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กจฺจิ ความว่า พระราชาตรัสถามว่า

ความไม่สบายน้อยหนึ่ง ย่อมไม่มีแก่ข้าพเจ้าก่อน แต่ความอยู่เป็นสุขย่อมมี

แก่พระคุณเจ้าผู้ถึงแล้วในที่นี้ คือผู้อยู่ในอุทยานนี้แลหรือ.

ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า จึงทูลตอบพระราชานั้นว่า ขอถวาย

พระพร ขึ้นชื่อว่าความไม่สำราญ ย่อมไม่มีแก่อาตมภาพผู้อยู่ในอุทยานนี้เท่านั้น

ก็หามิได้ แม้อาตมภาพจะอยู่ในที่อื่น ๆ ก็ยังไม่มีเลย ดังนี้แล้ว จึงเริ่มคาถา

แสดงความเจริญของสมณะแด่พระราชาพระองค์นั้นว่า

(ข้อที่ ๑) ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์

ไม่มีเรือนทุกเมื่อ (คือ)ทรัพย์และข้าวเปลือกย่อมไม่เข้า

ไปในฉางในหม้อและในกระเช้าของภิกษุเหล่านั้น ภิกษุ

ทั้งหลายเป็นผู้แสวงหาอาหารอันสำเร็จแล้ว มีวัตร

อันงามเยียวยาอัตภาพให้เป็นไป ด้วยบิณฑบาตนั้น.

ข้อที่ ๒ ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์

ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุพึงบริโภคบิณฑบาต ที่ไม่มีโทษ

และกิเลสอะไร ๆ ย่อมไม่ประทุษร้าย.

ข้อที่ ๓ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์

ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุพึงบริโภคบิณฑบาตอันดับแล้ว

และกิเลสอะไรย่อมไม่ประทุษร้าย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

ข้อที่ ๔ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุไม่มีทรัพย์

ไม่มีเรือน (คือ) ผู้หลุดพ้นแล้ว เที่ยวไปในแว่นแคว้น

ไม่มีความข้อง.

ข้อที่ ๕ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์

ไม่มีเรือน (คือ) เมื่อไฟไหม้พระนครอยู่ อะไร ๆ

ก็หน่อยหนึ่งของภิกษุนั้น ย่อมไม่ไหม้.

ข้อที่ ๖ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์

ไม่มีเรือน (คือ) เมื่อโจรปล้นแว่นแคว้น อะไร ๆ

สักหน่อยหนึ่งของภิกษุนั้นก็ไม่หาย.

ข้อที่ ๗ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์

ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุผู้มีวัตรงาม ถือบาตรและจีวร

ไปสู่ทนทางทิพวกโจรรักษา หรือไปสู่หนทางที่มีอัน-

ตรายอื่น ๆ ย่อมไปได้โดยสวัสดี.

ข้อที่ ๘ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์

ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุจะหลีกไปยังทิศใด ๆ ก็ไม่มี

ห่วงใยไปยังทิศนั้น ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนาคารสฺส ความว่า ขอถวายพระพร

ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีความกังวล ไม่มีทรัพย์ ละเพศฆราวาสเสียแล้ว

ถึงความเป็นผู้ไม่มีเรือนตลอดกาลทั้งปวง. บทว่า น เตส ความว่า มหา-

บพิตร ความเจริญข้อแรก คือ ทรัพย์และข้าวเปลือกทั้งหลาย ย่อมไม่เข้า

ไปในเรือนคลัง ไม่เข้าไปในหม้อข้าว ไม่เข้าไปในกระเช้า ของภิกษุทั้งหลาย

ผู้ไม่มีทรัพย์เหล่านั้น เพราะภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีวัตรอันงาม. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

ปรินิฏิิต ความว่า ห่มผ้าสังฆาฏิแล้ว ถือบาตร (กระเบื้อง) แสวงหา

อาหารที่เขาหุงไว้สุกแล้ว ในเรือนของชนเหล่าอื่น ตามลำดับเรือน พิจารณา

อาหารนั้น ด้วยอำนาจความเป็นของปฏิกูล ๙ อย่างแล้วจึงบริโภค ย่อมยัง

ความเป็นอยู่แห่งชีวิตให้เป็นไป ด้วยบิณฑบาตที่ได้แล้วจากการแสวงหานั้น.

บทว่า อนวชฺชปิณฺโฑ โภตฺตพฺโพ ความว่า ปัจจัย ๔ ที่เกิดขึ้นด้วย

การแสวงหาไม่สมควรมีเวชกรรม เป็นต้น หรือด้วยอาชีพที่ผิดเห็นปานนี้

คือ การกล่าวโกหกหลอกลวง การเป็นหมอดู การรับใช้คฤหัสถ์ การบริโภค

ลาภด้วยลาภก็ดี แม้ที่เกิดขึ้นโดยธรรม ภิกษุไม่พิจารณาเสียก่อนแล้วบริโภค

ชื่อว่า บิณฑบาตมีโทษ ปัจจัย ๔ ที่ภิกษุละการแสวงหาอันไม่สมควร เว้น

อาชีพที่ผิดเสียแล้ว ให้ปัจจัยเกิดขึ้นโดยชอบธรรม ภิกษุพิจารณาโดยนัยดัง

กล่าวแล้วว่า เราพิจารณาแล้วโดยแยบคาย จึงใช้สอยจีวร ดังนี้เป็นต้นแล้ว

จึงบริโภค ชื่อว่า บิณฑบาตไม่มีโทษ ภิกษุพึงบริโภคบิณฑบาตที่ไม่มีโทษ

เช่นนี้ทีเดียว เมื่อภิกษุบริโภคบิณฑบาตที่ไม่มีโทษอยู่อย่างนี้ กิเลสแม้มี

ประมาณน้อยหนึ่ง ก็ย่อมไม่เบียดเบียน คือ ย่อมไม่บีบคั้น เพราะอาศัย

ปัจจัยทั้งหลาย ความเจริญแม้ที่สอง ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน

นั้น ฉะนี้แล.

บทว่า นิพฺพุโต ความว่า แม้บิณฑบาตที่เกิดขึ้นโดยชอบ

ธรรมของภิกษุผู้เป็นปุถุชน ภิกษุพิจารณาแล้วจึงบริโภค ชื่อว่า บิณฑบาต

ดับแล้ว ส่วนบิณฑบาตของพระขีณาสพ ชื่อว่า บิณฑบาตดับแล้วโดยส่วน

เดียว ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะว่าในบรรดาการบริโภค ๔

อย่างเหล่านี้คือ ไถยบริโภค ลักขโมยเขาบริโภค อิณบริโภค บริโภคอย่าง

คนที่เป็นหนี้เขา ทายัชชบริโภค บริโภคโดยได้รับมรดก สามิบริโภค บริโภค

โดยความเป็นเจ้าของ พระขีณาสพนั้นย่อมบริโภคบิณฑบาตนั้น ด้วยอำนาจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

แห่งสามิบริโภค. ท่านเป็นเจ้าของ บริโภคบิณฑบาต โดยพ้นจากความเป็น

ทาสแห่งตัณหา กิเลสแม้มีประมาณน้อยหนึ่ง ย่อมไม่เบียดเบียนท่าน เพราะ

การบริโภคเช่นนั้น เป็นปัจจัย. บทว่า มุตฺตสฺส รฏฺเ จรโต ความว่า

เมื่อภิกษุไม่ข้องอยู่ในตระกูลอุปัฏฐากเป็นต้น ประหนึ่งท้องฟ้าไม่มีเมฆ หรือ

เหมือนกับดวงจันทร์ที่ผ่องอำไพ พ้นจากปากราหู ฉะนั้น เที่ยวไปในบ้าน

แลนิคมเป็นต้น บรรดาความข้องมีราคะเป็นต้น ความข้องแม้สักอย่างหนึ่ง

ย่อมไม่มี จริงอยู่ บุคคลบางคนคลุกคลีอยู่กับสกุลทั้งหลาย พลอยร่วมโศก

เศร้าและพลอยร่วมยินดีอยู่กับเขา. บุคคลบางคนมีใจไม่ข้องอยู่ แม้ในมารดา

บิดา อยู่คนเดียว เหมือนเด็กหนุ่มชาวบ้านโกรุนคร ฉะนั้น . แม้ปุถุชนผู้เป็น

แบบนี้ ก็ย่อมมีความเจริญเหมือนกัน . บทว่า นาสฺส กิญฺจิ ความว่า

จริงอยู่ ภิกษุรูปใดเป็นผู้มีบริขารมาก ภิกษุรูปนั้น คิดว่า โจรทั้งหลายอย่า

ลักบริขารของเราไปเลย ดังนี้ จึงเก็บบริขารทั้งหลาย มีผ้าจีวรเป็นต้นที่เหลือ

ใช้ไว้ในตระกูลอุปัฏฐากภายในเมือง ต่อมาเมื่อไฟไหม้ในเมือง พอทราบข่าวว่า

ต้นเพลิงเกิดขึ้นที่ตระกูลโน้น ก็เศร้าโศก ทุกข์ใจ. ขึ้นชื่อว่า ความเจริญ

ย่อมไม่มีแก่ภิกษุเช่นนี้เลย ดูก่อนมหาบพิตร ส่วนภิกษุใด บำเพ็ญวัตรของ

สกุณชาติให้เต็มบริบูรณ์ คือมีแต่บริขารที่ติดกายเท่านั้น บริขารอะไร ๆ ของ

ภิกษุเช่นนั้น ย่อมไม่ถูกไฟไหม้ แม้ความเจริญข้อที่ห้า ย่อมมีแก่ภิกษุนั้นด้วย

ประการนั้นแล.

บทว่า วิลุปฺปมานมฺหิ ได้แก่ พากันปล้น อีกอย่างหนึ่ง

บาลี ก็ได้รูปอย่างนี้เหมือนกัน . บทว่า อหาริถ ความว่า เมื่อพวกโจรออก

จากชัฏภูเขาเป็นต้น พากันมาปล้นแว่นแคว้น มีโจรคนหนึ่งแย่งเอาบริขาร

ของภิกษุผู้มีบริขารมากซึ่งฝากเก็บไว้ภายในบ้าน ฉันใด โจรย่อมลักเอาบริขาร

อะไร ๆ ของภิกษุผู้มีแต่บริขารที่ติดกาย ไม่มีทรัพย์ ฉันนั้นไม่ได้เลย แม้

ความเจริญอันเป็นข้อที่หก ก็ย่อมมีแก่ภิกษุนั้นเหมือนกันแล. บทว่า เย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

จญฺเ ปริปนฺถิกา ความว่า ไปสู่หนทางที่พวกโจรตั้งด่านรักษาคุ้มครอง

เพื่อเก็บภาษีคนเหล่าอื่นในที่นั้น ๆ. บทว่า ปตฺตจีวร ความว่า ภิกษุกระทำ

บริขาร ๘ แม้ทั้งหมด คือ บาตรดิน ผ้าบังสุกุลจีวรที่เย็บย้อมเรียบร้อยแล้ว

ประคดเอว ผ้ากรองน้ำ กล่องเข็ม มีด ถลกบาตร ซึ่งมีราคาน้อย ไม่มี

ประโยชน์แก่พวกโจร ไม่เหมาะที่จะเป็นค่าภาษีแก่คนผู้เก็บภาษี มีแต่บริขาร

ติดกายเดินไปตามหนทาง ใคร ๆ ก็ไม่เบียนเบียด ย่อมไปได้โดยสวัสดี. บทว่า

สุพฺพโต ความว่า จริงอยู่ โจรทั้งหลายเห็นจีวรเป็นต้น ทำให้เกิดความ

โลภ ย่อมลักไปก็มี นายด่านภาษีคิดว่า อะไรหนอที่มีอยู่ในมือของภิกษุรูปนี้

แล้วจึงทำการตรวจค้นถลกบาตรเป็นต้น ส่วนภิกษุผู้มีวัตรอันงาม เมื่อชน

เหล่านั้นเห็นเธอผู้มีความประพฤติเบาพร้อม ย่อมไปได้สะดวก แม้ความเจริญ

ข้อที่ ๗ ก็ย่อมมีแก่ภิกษุนั้น ด้วยประการฉะนี้แล ความเจริญที่ ๘ คือ

ภิกษุไม่ต้องเหลียวแลที่อยู่ เพราะไม่มีบริขารอะไร ๆ ที่ตนเก็บไว้ในวิหาร

เกินกว่าบริขารที่เนื่องในกาย จะต้องไปสู่ทิศใด ก็ไปสู่ทิศนั้นได้ อย่างไม่ต้อง

ห่วงใย เหมือนกุลบุตรทั้ง ๒ ผู้บวชแล้วในถูปาราม บรรพชิตรูปที่แก่กว่าออก

จากเมืองอนุราธบุรีแล้วเดินทางไป ฉะนั้น.

พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้า แสดงความเจริญแห่งสมณะ ๘ อย่าง

ด้วยประการฉะนี้ แต่แท้ที่จริงท่านเป็นผู้สามารถจะแสดงความเจริญแห่งสมณะ

ให้ยิ่งกว่านั้นได้ ตั้งร้อย ตั้งพัน จนหาประมาณมิได้ ฝ่ายพระราชา ทรงละ

เลยซึ่งถ้อยคำของพระโสณกะนั้น เพราะทรงยินดียิ่งในกาม จึงตรัสว่า ข้าพ-

เจ้ามิได้มีความต้องการด้วยความเจริญแห่งสมณะ เมื่อจะทรงประกาศความที่

พระองค์มีพระทัยน้อมไปในกาม จึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

ข้าแต่ภิกษุ ท่านสรรเสริญความเจริญ เป็นอัน

มากของภิกษุเหล่านั้น ส่วนข้าพเจ้า ยังกำหนัดในกาม

ทั้งหลาย จะทำอย่างไร กามทั้งหลายที่เป็นของมนุษย์

ทั้งที่เป็นของทิพย์ เป็นที่รักของข้าพเจ้า เมื่อเป็นเช่น

นั้น ข้าพเจ้าจักได้โลกทั้งสองด้วยเหตุไรหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วณฺเณน ได้แก่ เหตุ.

ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า จึงทูลกะพระราชานั้นว่า

นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่น

อยู่ในกาม กระทำบาปกรรมแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ

ส่วนนรชนเหล่าใด ละกามทั้งหลายออกไปแล้ว เป็น

ผู้ไม่มีภัยแต่ไหน ๆ ย่อมบรรลุถึงความที่จิตมีอารมณ์

เป็นหนึ่งเกิดขึ้น นรชนเหล่านั้น ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ

ดูก่อนพระเจ้าอรินทมะ อาตมภาพจักแสดงอุปมา

ถวายมหาบพิตร ขอมหาบพิตร จงทรงสดับข้ออุปมา

นั้น บัณฑิตบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้เนื้อความได้ด้วย

ข้ออุปมา มีกาตัวหนึ่ง เป็นสัตว์มีปัญญาน้อย ไม่มี

ความคิด เห็นซากศพช้างลอยอยู่ในห่วงน้ำใหญ่ ใน

แม่น้ำคงคา จึงคิดว่า เราได้ยานนี้แล้วหนอ และซาก

ศพช้างนี้ จักเป็นอาหารจำนวนมิใช่น้อย ใจของกา

ตัวนั้น ยินดีแล้วในซากศพช้างนั้น ตลอดทั้งคืนทั้งวัน

เมื่อกาจิกกินเนื้อช้าง ดื่มน้ำมีรสเหมาะส่วน เห็นต้น

ไม่อันใหญ่ในป่า ก็ไม่ยอมบินไป แม่น้ำคงคามีปกติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

ไหลลงสู่มหาสมุทร พัดเอากาตัวนั้น ตัวประมาทยินดี

ในซากศพช้าง ไปสู่มหาสมุทร ซึ่งเป็นที่ไปไม่ได้

แห่งนกทั้งหลาย กานั้นหมดอาหารแล้ว ตกลงในน้ำ

ไปข้างหลัง ข้างหน้า ข้างซ้าย ข้างขวาไม่ได้ ไปไม่

ถึงเกาะ สิ้นกำลังจมลงในท่ามกลางทะเล อันเป็นที่

ไปไม่ได้แห่งนกทั้งหลาย ฝูงปลา จระเข้ มังกร และ

ปลาร้ายที่เกิดในมหาสมุทร ก็ข่มเหงรุมกินกานั้น ตัว

มีปีกอันใช้การไม่ได้ดิ้นรนอยู่ ฉันใด ดูก่อนมหา-

บพิตร พระองค์ก็ดี ชนเหล่าอื่นผู้ยังบริโภคก็ดี ถ้า

ยังกำหนัดในกามอยู่ ไม่ละทิ้งตามเสีย นักปราชญ์ทั้ง

หลายรู้ว่า ชนเหล่านั้น เป็นอยู่ด้วยปัญญาเสมอกับกา

ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูก่อนมหาบพิตร อุปมาข้อนี้

อาตมภาพแสดงอรรถอย่างชัดแจ้ง ถวายมหาบพิตร

แล้ว พระองค์จักทรงทำหรือไม่ ก็จะปรากฏด้วยเหตุ

นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปานิ ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร

พระองค์และนรชนทั้งหลายผู้ยินดีในการอาศัยกามทั้งหลาย ทำแต่บาปกรรม

มีการประพฤติชั่วด้วยกายเป็นต้น ย่อมเข้าถึงทุคติ เพราะกามทั้งหลายอันเป็น

ทิพย์แลเป็นของมนุษย์ ย่อมไม่ได้แม้ในความฝัน. บทว่า ปหนฺตฺวาน

ได้แก่ ละกามเสียได้ ดุจบ้วนก้อนเขฬะทิ้งฉะนั้น. บทว่า อกุโตภยา ได้แก่

ไม่มีภัยมาจากที่ไหน ๆ ในบรรดากิเลสมีราคะเป็นต้น . บทว่า เอโกทิภาวา-

ชิคตา ได้แก่ ถึงความที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือความเป็นผู้มีธรรมเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

อยู่อย่างเอก. บทว่า น เต ความว่า บุคคลเหล่านั้น คือบรรพชิตเหล่านั้น

ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ. บทว่า อุปมนฺเต ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพ

จักทำการเปรียบเทียบสักตัวอย่างหนึ่ง ถวายแด่พระองค์ผู้มีความปรารถนาใน

กามที่เป็นทิพย์และเป็นของมนุษย์ ที่ไม่ต่างอะไรกับกาตัวมีใจผูกพันอยู่ใน

ซากศพช้าง ฉะนั้น ขอพระองค์จงทรงสดับข้ออุปมานั้นเถิด. บทว่า กุณป

แปลว่า ซากศพของช้าง. บทว่า มหณฺณเว ได้แก่ ในน้ำทั้งลึกทั้งกว้าง.

คำว่า กุณป นั้นท่านกล่าวหมายถึงว่า มีช้างใหญ่ตัวหนึ่ง เที่ยวอยู่ตามริมฝั่ง

แม่น้ำคงคา ตกลงไปในแม่น้ำคงคาไม่สามารถจะขึ้นได้ ถูกกระแสแม่น้ำพัด

ตายไปในแม่น้ำนั้นนั่นแล.

บทว่า วายโส ได้แก่ มีกาตัวหนึ่งบินมาโดยอากาศ. บทว่า

ยานญฺจ วติท ความว่า กาตัวนั้นครั้นคิดดีอย่างนี้แล้วจึงจับอยู่ที่ศพ

ช้างนั้น ได้กระทำความตกลงใจว่า เราได้ยานคือช้างนี้แล้วเราจับอยู่บน

ยานคือช้างนี้ จักเที่ยวไปได้อย่างสบาย อนึ่ง ช้างนี้แหละจักเป็นอาหาร

ได้อย่างมากมาย บัดนี้เราไม่ควรที่จะไปในที่อื่น. บทว่า ตตฺถ รตฺตึ

ความว่า กาตัวนั้นมีใจยินดียิ่งในศพช้างนั้นนั่นแล ตลอดทั้งคืนและวัน. บทว่า

น ปเลตฺถ ความว่า กาตัวนั้น ไม่ยอมบินหลีกไป. บทว่า โอตรณี

ได้แก่ แม่น้ำคงคานั้นมีปกติไหลลงสู่มหาสมุทร. บาลีว่า โอหาริณี ดังนี้ก็มี

อธิบายว่า แม่น้ำคงคามีปกติไหลลงพัดพาเอากานั้นไปสู่มหาสมุทร. บทว่า

อคติ ยตฺถ นั้น ท่านกล่าวหมายถึงท่ามกลางมหาสมุทร. บทว่า โอตรณี

ได้แก่ หมดอาหาร. บทว่า อุปฺปติตฺวา ความว่า เมื่อหนังและเนื้อของช้าง

นั้นหมดไปแล้ว โครงกระดูกก็ถูกกำลังคลื่นพัดจนหักจมลงในน้ำ อธิบายว่า

ลำดับนั้น กาตัวนั้น เมื่อไม่สามารถจะอยู่ในน้ำได้ จึงกระโดดบินขึ้นรูปครั้น

บินไปอย่างนี้แล้ว. บทว่า อคติ ยตฺถ ปกขิน ความว่า ก็กาตัวนั้นบิน

ไปยังทิศประจิม เมื่อไม่ได้ที่จับในทิศนั้น บินจากทิศประจิมนั้นไปยังทิศบูรพา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

บินจากทิศบูรพานั้นไปยังทิศอุดร บินจากทิศอุดรนั้นไปยังทิศทักษิณ บินไป

ยังทิศทั้ง ๔ ด้วยอาการอย่างนี้ ก็ยังไม่บรรลุถึงที่สำหรับจับของตน ในท่ามกลาง

มหาสมุทร อันเป็นสถานที่ไปไม่ถึงแห่งพวกนกทั้งหลายนั้น . บัณฑิตพึงเห็น

เนื้อความอย่างนี้ทีเดียวว่า ลำดับนั้น กาบินไปอย่างนี้แล้ว ได้บินไปแต่ละทิศ

ในบรรดาทิศมีทิศประจิมเป็นต้น แต่ก็บินไปไม่ถึงเกาะ. บทว่า ปาปตฺถ คือ

จมลงแล้ว. บทว่า ยถา ทุพฺพลโก ได้แก่ จมลงเหมือนอย่างคนหมดกำลัง

จมลง ฉะนั้น. บทว่า สุสู ได้แก่ เหล่าปลาร้ายชนิดที่มีชื่อว่า สุสุ. บทว่า

ปสยฺหการา ความว่า ฮุบกินกาตัวนั้น ซึ่งไม่ปรารถนาอยู่นั่นแหละโดยพลการ.

บทว่า วิปกฺขิก ได้แก่ กาตัวที่มีขนปีกฉิบหายใช้การไม่ได้. บทว่า คิทฺธี

เจ น วมิสฺสนฺติ ความว่า พระองค์ก็ดี ชนเหล่าอื่นก็ดี ถ้ายังเป็นผู้ยินดี

ในกาม ไม่ยอมสละละทิ้งกามเสียให้ได้. บทว่า กากปญฺาย เต ความว่า

นักปราชญ์ทั้งหลาย ผู้เป็นบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมรู้แจ้ง ย่อมรู้ชัดว่า

ชนเหล่านั้นมีปัญญาเสมอกับปัญญาของกา ฉะนั้น. บทว่า อตถสนฺทสฺสนี

กตา ได้แก่ อาตมภาพได้ประกาศเนื้อความให้ชัดแจ้งแล้ว. บทว่า ตฺวญฺจ

ปญฺายเส ได้แก่ พระองค์จักทรงรู้แจ้งเอง. มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า

ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพเป็นผู้มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูล จึงได้ถวายโอวาท

แด่พระองค์ ก็ถ้าพระองค์จักทรงทำตามโอวาทนั้นไซร้ พระองค์ก็จักทรงบังเกิด

ในเทวโลก หากพระองค์จักไม่ทรงทำตามโอวาทนั้น พระองค์จักจมอยู่ใน

เปือกตมคือกาม ในกาลที่สุดแห่งพระชนมชีพจักบังเกิดในนรก. พระองค์เอง

จักทรงทราบสวรรค์หรือนรกด้วยเหตุนั้นอย่างนี้ ส่วนอาตมภาพพ้นแล้วจากภพ

ทั้งปวง ไม่ต้องถือปฏิสนธิอีกต่อไป ก็พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ถวายโอวาทนี้แด่

พระราชาพระองค์นั้น ได้แสดงถึงแม่น้ำแล้ว แสดงถึงซากศพช้างที่ถูกน้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

พัดพาลอยไปในแม่น้ำคงคา แสดงถึงกาตัวจิกกินซากศพ แสดงถึงการที่จิกกิน

ซากศพแล้วดื่มน้ำของกาตัวนั้น แสดงถึงการที่มองดูไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์ใจ

แสดงถึงการเข้าไปสู่มหาสมุทรของซากศพที่ลอยไปในแม่น้ำ แสดงถึงการที่

ไม่ได้ที่จับอาศัยบนซากช้างแล้ว ถึงความพินาศไปในท่ามกลางมหาสมุทรของ

กา. บรรดาสิ่งเหล่านั้น สงสารอันหาเบื้องต้นและที่สุดมิได้ บัณฑิตพึงเห็นว่า.

เปรียบเหมือนแม่น้ำ. กามคุณ ๕ อย่างในสงสารเปรียบเหมือนซากศพช้างที่

ลอยอยู่ในแม่น้ำ ปุถุชนที่เป็นคนพาล เปรียบเหมือนกา. กาลแห่งปุถุชนผู้

บริโภคกามคุณแล้วเกิดโสมนัส เปรียบเหมือนกาลที่กาจิกกินซากศพแล้วดื่มน้ำ.

การเห็นอารมณ์ ๓๘ ประการ ด้วยอำนาจการสดับฟังของปุถุชนผู้ติดข้องอยู่ใน

กามคุณทั้งหลาย เปรียบเหมือนการเห็นไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์ใจของกา ตัว

ติดข้องอยู่ในซากศพนั่นแล. ท่านผู้เป็นบัณฑิตพึงเห็นการถึงความพินาศใน

มหานรก ของปุถุชนผู้เป็นคนพาล ผู้ยินดีในกามคุณ มีความชั่วเป็นที่ไปใน

เบื้องหน้า ไม่สามารถจะได้ที่ตั้งอาศัยในกุศลธรรมว่าเปรียบเหมือนกาลที่กา

เมื่อซากศพเข้าไปสู่มหาสมุทรแล้ว ไม่สามารถจะได้ที่จับอาศัย ก็ถึงความ

พินาศไปฉะนั้น.

พระปัจเจกพุทธเจ้า ถวายโอวาทแด่พระราชาพระองค์นั้น ด้วยข้อ

อุปมานี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้หวังจะทำโอวาทนั่นแหละ ให้ตั้งอยู่อย่างมั่นคง

จึงกล่าวคาถานี้ว่า

บุคคลผู้อนุเคราะห์พึงกล่าวเพียงคำเดียว หรือ

สองคำ ไม่พึงกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น เปรียบเหมือน

ทาสที่อยู่ในสำนักแห่งเจ้านาย ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ภาเสยฺย ความว่า บุคคลผู้กล่าว

ให้ยิ่งไปกว่าประโยชน์เกื้อกูลแก่บุคคลผู้ไม่เชื่อถือถ้อยคำ ย่อมเป็นเหมือนทาส

ในสำนักของเจ้านายฉะนั้น. ด้วยว่า ทาส แม้เจ้านายจะเชื่อถือถ้อยคำหรือไม่

เชื่อถือก็ตาม ต้องกล่าวอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ตตุตฺตรึ น ภาเสยฺย ไม่พึงกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น ดังนี้.

พระปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเหาะขึ้นไปด้วยฤทธิ์ แล้ว

สั่งสอนพระราชาว่า ถ้าพระองค์จักทรงผนวชหรือไม่ทรงผนวชก็ตาม อาตมภาพ

ก็ได้ถวายโอวาทแด่พระองค์แล้ว ดูก่อนมหาบพิตร ขอพระองค์จงเป็นผู้ไม่

ประมาทเถิด ดังนี้แล้ว จึงไปสู่เงื้อมภูเขาชื่อนันทมูลกะตามเดิม.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาอันบุคคล

นับไม่ได้ ครั้นทูลดังนี้แล้ว พร่ำสอนบรมกษัตริย์ใน

อากาศแล้วหลีกไป.

คาถานี้ จัดเป็นอภิสัมพุทธคาถา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิท วตฺวาน อธิบายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลายพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เป็นผู้มีปัญญาอันบุคคลนับไม่ได้ ด้วยปัญญา

เป็นเครื่องตรัสรู้อันเป็นโลกุตระที่ใคร ๆ นับไม่ได้ พอท่านกล่าวคำนี้แล้ว

ก็เหาะขึ้นไปด้วยฤทธิ์ พร่ำสอนบรมกษัตริย์อย่างนี้ว่า ถ้าพระองค์จักทรงผนวช

ก็เป็นเรื่องของพระองค์ผู้เดียว หรือถ้าพระองค์จักไม่ทรงผนวช ก็เป็นเรื่องของ

พระองค์อีกเช่นกัน อาตมภาพถวายโอวาทแด่พระองค์แล้ว ขอพระองค์จงเป็น

ผู้ไม่ประมาทเถิด ดังนี้แล้วหลีกไป.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ประทับยืนทอดพระเนตรดูพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น

ผู้ไปอยู่โดยอากาศ เพียงเท่าที่จะมองเห็นได้ ครั้นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นลับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

สายพระเนตรไปแล้ว จึงกลับได้ความสลดพระทัย ทรงพระดำริว่า พราหมณ์นี้

มีชาติต่ำ โปรยธุลีละอองเท้าลงบนศีรษะของเราผู้เกิดแล้ว ในวงศ์กษัตริย์

อันมิได้ปะปนระคนด้วยวงศ์อื่น เขาเหาะขึ้นสู่อากาศไปแล้ว แม้ตัวเราก็ควร

จะออกบวชให้ได้ในวันนี้ทีเดียว. ท้าวเธอทรงปรารถนาที่จะมอบราชสมบัติ

แล้วทรงผนวช จึงตรัสคาถา ๒ คาถาว่า

บุคคลผู้อภิเษก ท่านผู้สมควรให้เป็นกษัตริย์

เป็นรัชทายาท และบุคคลผู้ถึงความฉลาด เหล่านี้

อยู่ที่ไหน เราจักมอบราชสมบัติ เราไม่ต้องการด้วย

ราชสมบัติ เราจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่า จะพึงรู้

ความตายในวันพรุ่งนี้ เราจะไม่โง่เขลาตกอยู่ในอำนาจ

แห่งกามทั้งหลายเหมือนกา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นุเม ได้แก่ ท่านเหล่านี้อยู่ที่ไหน.

บทว่า ราชกตฺตาโร ความว่า บุคคลผู้อภิเษก ท่านผู้สมควรเป็นพระราชา

แล้ว ทำให้เป็นพระราชาอย่างสมบูรณ์. บทว่า สูตา เวยฺยตฺติมาคตา

ความว่า รัชทายาท และบุคคลผู้ถึงความเป็นผู้ฉลาด คือ รอบรู้มงคลโดย

คล่องปากเหล่าอื่น บทว่า รชฺเชน มตฺถิโก คือควานต้องการด้วยราชสมบัติ.

บทว่า โก ชญฺา มรณ สุเว ความว่า เพราะว่าใครที่จะมีความสามารถ

รู้ถึงเหตุนี้ได้ว่า ความตาย จักมีมาในวันนี้ หรือพรุ่งนี้กันแน่.

เมื่อพระราชาทรงมอบราชสมบัติอยู่อย่างนี้ พวกอำมาตย์ได้สดับแล้ว

จึงกราบทูลว่า

พระโอรสหนุ่มของพระองค์ ทรงพระนานว่า

ทีฆาวุ จะทรงบำรุงรัฐให้เจริญได้ อยู่ ขอพระองค์จง

ทรงอภิเษกพระโอรสนั้นไว้ในพระราชสมบัติ พระ-

โอรสนั้นจักได้เป็นพระราชาของข้าพระบาททั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

เบื้องหน้าแต่นั้น บัณฑิตพึงทำคาถาที่พระราชาตรัสแล้ว ให้เป็น

ตัวอย่างแล้ว พึงทราบคาถาสันพันธ์ด้วยอุทาน โดยนัยพระบาลีนั้นแล.

พระราชาตรัสว่า

ท่านทั้งหลาย จงรีบเชิญทีฆาวุกุมาร ผู้บำรุงรัฐ

ให้เจริญมาเถิด เราจักอภิเษกเธอไว้ในราชสมบัติ เธอ

เป็นพระราชาของท่านทั้งหลาย.

พวกอำมาตย์สดับพระดำรัสของพระเจ้าแผ่นดินแล้ว จึงพากันไปเชิญ

เสด็จทีฆาวุราชกุมารมา. แม้พระราชาก็ทรงมอบพระราชสมบัติแก่พระราชกุมาร

นั้นแล้ว.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

ลำดับนั้น พวกอำมาตย์ได้ไปเชิญทีฆาวุราชกุมาร

ผู้บำรุงรัฐให้เจริญมาเฝ้า พระราชาทอดพระเนตรเห็น

เอกอัครโอรส ผู้น่าปลื้มพระทัยนั้น จึงตรัสว่าลูกรักเอ๋ย

คามเขตของเราหกหมื่น บริบูรณ์โดยประการทั้งปวง

ลูกจงบำรุงเขา พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจัก

บวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตายในวัน

พรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลาตกอยู่ในอำนาจ

แห่งกามทั้งหลายเหมือนกับกา.

ช่างหกหมื่นเชือกประดับด้วยเครื่องอลังการทั้ง

ปวง มีสายรัดล้วนทองคำ เป็นช้างใหญ่มีร่างกายปกปิด

ด้วยเครื่องคลุมล้วนทองคำอันนายควาญช้างผู้ถือโตมร

และขอขึ้นกำกับ ลูกรักเอ๋ยลูกจงบำรุงช้างเหล่านั้น พ่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

ขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใคร

เล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคน

โง่เขลาตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกับกา.

ม้าหกหมื่นตัวประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง

เป็นม้าสินธพ เป็นม้าอาชาไนยโดยกำเนิด เป็นพาหนะ

เร็ว อันนายสารถีผู้ถือแส้และธนูขึ้นกำกับ ลูกรักเอ๋ย

ลูกจงบำรุงม้าเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก

พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตาย

ในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลาตกอยู่ใน

อำนาจแห่งกามทั้งทลายเหมือนกับกา.

รถหกหมื่นคัน หุ้มเกราะไว้ดีแล้ว มีธงอันยกขึ้น

แล้ว หุ้มด้วยหนึ่งเสือเหลืองก็มี หุ้มด้วยหนึ่งเสือโคร่ง

ก็มี ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง อันนายสารถีถือ

แล่งธนูสวมเกราะขึ้นประจำ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงรถ

เหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชใน

วันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตายในวันพรุ่งนี้

พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลาตกอยู่ในอำนาจแห่งกาม

ทั้งหลายเหมือนกับกา.

แม่โคนมหกหมื่นตัว มีสีแดง ประกอบด้วยโคจ่า

ฝูงตัวประเสริฐ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงโคเหล่านั้น พ่อ

ขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ

ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอม

เป็นคนโง่เขลา อยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือน

กับกา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

สตรีหมื่นหกพันนาง ประดับด้วยเครื่องอลังการ

ทั้งปวง ผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร สวนกุณฑลแก้วมณี

ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงสตรีเหล่านั้น พ่อขอมอบราช-

สมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึง

รู้ถึงความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจักไม่ยอมเป็นคน

โง่เขลาตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกับกา.

ลำดับนั้น พระกุมารจึงกราบทูลพระองค์ว่า

ข้าแต่พระบิดา หม่อมฉันได้สดับว่า เมื่อ

หม่อมฉันเป็นเด็ก ๆ พระชนนีทิวงคต หม่อมฉันไม่

อาจจะเป็นอยู่ห่างพระบิดาได้ ลูกช้างย่อมติดตามหลัง

ช้างป่า ตัวเที่ยวอยู่ในที่มีภูเขา เดินลำบาก เสมอบ้าง

ไม่เสมอบ้าง ฉันใด หม่อมฉันจะอุ้มบุตรธิดา ติดตาม

พระบิดาไปข้างหลัง จักเป็นผู้อันพระบิดาเลี้ยงง่าย

จักไม่เป็นผู้อันพระบิดาเลี้ยงยาก ฉันนั้น.

พระราชาตรัสตอบว่า

อันตราย ทำเรือที่แล่นอยู่ในมหาสมุทร ของ

พวกพ่อค้าผู้แสวงหาทรัพย์ ให้จมลงในมหาสมุทรนั้น

พวกพ่อค้าพึงถึงความพินาศ ฉันใด ลูกรักเอ๋ย เจ้านี้

เป็นผู้กระทำอันตรายให้แก่พ่อ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระราชกุมารไม่อาจจะกราบทูลถ้อยคำอะไร ๆ อีกได้. ลำดับนั้น

พระราชาเมื่อจะทรงบังคับพวกอำมาตย์ จึงตรัสว่า

ท่านทั้งหลาย จงพาราชกุมารนี้ไปให้ถึงปราสาท

อันยังความยินดีให้เจริญเถิด พวกนางกัญญาผู้มีมือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

ประดับด้วยทองคำ จักยังกุมารให้รื่นรมย์ในปราสาท

นั้น เหมือนนางเทพอัปสร ยังท้าวสักกะให้รื่นรมย์

ฉะนั้น และกุมารนี้จักรื่นรมย์ ด้วยนางกัญญาเหล่านั้น.

ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลาย จึงเชิญพระราชกุมาร

ไปยังปราสาทอันยังความยินดีให้เจริญ พวกนางกัญญา

เห็นทีฆาวุกุมาร ผู้ยังรัฐให้เจริญนั้นแล้ว จึงพากกัน

ทูลว่า พระองค์เป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือว่าเป็น

ท้าวสักกปุรินททะ พระองค์เป็นใครหรือเป็นพระราช

โอรสของใคร หม่อมฉันทั้งหลายจะรู้จักพระองค์ได้

อย่างไร.

ทีฆาวุราชกุมาร จึงตรัสตอบว่า

เราไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าว-

สักกปุรินททะ เราเป็นโอรสของพระเจ้ากาสี ชื่อทีฆาวุ

ผู้ยังรัฐให้เจริญ เธอทั้งหลายจงบำเรอเรา ขอความ

เจริญจงมีแก่เธอทั้งหลาย เราจะเป็นสามีของเธอ

ทั้งหลาย.

พวกนางกัญญาในปราสาทนั้น ได้ทูลถาม

พระเจ้าทีฆาวุผู้บำรุงรัฐนั้นว่า พระราชาเสด็จไปถึง

ไหนแล้ว พระราชาเสด็จจากที่นี้ไปไหนแล้ว.

ทีฆาวุราชกุมารตรัสตอบว่า

พระราชาทรงก้าวล่วงเสียซึ่งเปือกตม ประดิษ-

ฐานอยู่บนบก เสด็จดำเนินไปสู่ทางใหญ่อันไม่มีหนาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

ไม่มีรกชัฏ ส่วนเรายังเป็นผู้ดำเนินไปสู่ทางอันให้ถึง

ทุคติ มีหนาม รกชัฏ เป็นเครื่องไปสู่ทุคติแห่งชน

ทั้งหลาย.

นารีทั้งหลายจึงกราบทูลว่า

ข้าแต่พระราชา พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ดุจ

ราชสีห์มาสู่ถ้ำฉะนั้น ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอ

พระองค์จงทรงอนุศาสน์ พวกหม่อมฉันขอพระองค์

ทรงเป็นอิสราธิบดี ของพวกหม่อมฉันทั้งปวงเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขิปฺป ความว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่าน

จงรีบนำมาเถิด. บทว่า อาลปิ ความว่า พระราชาตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า

คามเขตของเรามีหกหมื่น ดังนี้ จึงค่อยทรงทักทายแล้ว. บทว่า สพฺพาลงฺ-

การภูสิตา อธิบายว่า ช้างเหล่านั้น ตกแต่งแล้วด้วยเครื่องอลังการมีเครื่อง

ประดับสำหรับสวมหัวเป็นต้นทั้งปวง. บทว่า เหมกปฺปนวาสสา ความว่า

มีสรีระอันปกปิดด้วยเครื่องคลุมที่ขจิตด้วยทองคำ. บทว่า คามณีเยภิ คือ

พวกนายหัตถาจารย์. บทว่า อาชานียา จ ได้แก่ เป็นม้าที่รู้จักเหตุและมิใช่

เหตุมาตั้งแต่เกิดทีเดียว. ม้าที่เกิดริมฝั่งแม่น้ำสินธพ ในแคว้นสินธพเรียกว่า

ม้าสินธพ. บทว่า คามณีเยภิ คือ อิสสาจารย์. บทว่า อินฺทิยาจาปธาริภิ

คือทรงไว้ซึ่งอาวุธคือเขน และอาวุธคือแล่งธนู. บทว่า ทีปา อโถปิ

เวยฺยคฺฆา ได้แก่ มีหนังเสือเหลือง และหนังเสือโคร่งเป็นเครื่องปกคลุม.

บทว่า คามณีเยภิ หมายเอาผู้ขับรถ. บทว่า จมฺมิภิ คือมีเกราะอันสวม

สอดไว้แล้ว. บทว่า โรหญฺา คือมีสีตัวแดง. บทว่า ปุงฺควูสภา ได้แก่

ประกอบด้วยโคเพศผู้ตัวประเสริฐกล่าว คือ โคอุสภะ บทว่า ทหรสฺเสว เม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

อธิบายว่า ลำดับนั้น พระราชกุมารกราบทูลพระบิดาว่า ข้าแต่พระบิดา เมื่อ

หม่อมฉันยังเป็นเด็กอยู่นั่นแหละ หม่อมฉันได้สดับว่า พระชนนีสิ้นพระชนม์

แล้ว หม่อมฉันนั้นจักไม่อาจจะมีชีวิตอยู่. โดยปราศจากพระองค์ได้. บทว่า

โปโต ได้แก่ ลูกช้างรุ่น ๆ. บทว่า เชสฺสนฺต คือเที่ยวสัญจรไปอยู่. บทว่า

สามุทฺทิก ได้แก่ เรือที่แล่นไปในมหาสมุทร. บทว่า ธเนสิน ได้แก่

ผู้แสวงหาอยู่ซึ่งทรัพย์. บทว่า โวหาโร ความว่า ปลาร้ายก็ดี ผีเสื้อน้ำก็ดี

น้ำวนก็ดี อันคอยฉุดคร่าอยู่ภายใต้ ชื่อว่าอันตรายเครื่องนำลงอย่างวิจิตร.

บทว่า ตตฺถ คือ ในมหาสมุทรนั้น. บทว่า พาณิชา พฺยสนี สิยา ความว่า

ลำดับนั้น พ่อค้าเหล่านั้น ก็จะฉิบหาย คือ พึงถึงความพินาศ. อีกอย่างหนึ่ง

บาลีว่า สิยุ ก็มี. บทว่า ปุตฺตกลิ ได้แก่ ลูกเลว คือลูกกาลกรรณี.

พระกุมารไม่อาจที่จะกราบทูลอะไร ๆ อีกต่อไป. ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะ

ทรงบังคับพวกอำมาตย์ จึงตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า กุมารนี้ ดังนี้. บทว่า

ตตฺถ กมฺพุสหตฺถาโย ความว่า สุวรรณเรียกกันว่า ทองคำ อธิบายว่า

มีมือตกแต่งด้วยเครื่องอาภรณ์ทองคำ. คำว่า ยถา ความว่า นารีเหล่านั้น

ย่อมกระทำตามที่ตนปรารถนา.

พระมหาสัตว์ ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงรับสั่งให้อภิเษกทีฆาวุราช

กุมารนั้นในที่นั้นนั่นเอง แล้วให้กลับเข้าไปสู่พระนคร. ส่วนพระองค์ผู้เดียว

เท่านั้น เสด็จออกจากพระราชอุทยาน เข้าไปป่าหิมวันต์ สร้างบรรณศาลาที่

ภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ แล้วทรงผนวชเป็นฤาษี มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็น

อาหาร ยังอัตภาพให้เป็นไป. ฝ่ายมหาชนก็เชิญเสด็จพระกุมารไปยังกรุง

พาราณสี. พระกุมารนั้น ทรงกระทำประทักษิณพระนคร แล้วเสด็จขึ้นสู่

ปราสาท. บทว่า ต ทิสฺวา อวจุ กญฺา ความว่า พวกนางฟ้อนเหล่านั้น

เห็นพระกุมารนั้น เสด็จมาแล้วด้วยสิริโสภาคมีบริวารเป็นอันมาก ยังไม่รู้จักว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

พระกุมารนี้มีพระนามชื่อโน้น จึงได้พากันทูลถาม. บทว่า มม ภรถ ความว่า

นางทั้งหลายจงปรารถนาเฉพาะเรา. บทว่า ปงฺก ได้แก่ เปือกตมคือกิเลส

มีราคะเป็นต้น. บทว่า ถเล ได้แก่ การบรรพชา. บทว่า อกณฺฏก ได้แก่

ปราศจากหนามคือราคะเป็นต้น . ชื่อว่า ไม่รกชัฏ เพราะเครื่องรกชัฏ คือกิเลส

เหล่านั้นแล. บทว่า มหาปถ ได้แก่ ดำเนินไปสู่ทางใหญ่ อันจะเข้าถึงสวรรค์

และนิพพาน. บทว่า เยน พระกุมารตรัสว่า ชนทั้งหลายย่อมดำเนินไปสู่ทุคติ

โดยทางผิดอันใด เราดำเนินไปแล้วสู่ทางผิดอันนั้น. ลำดับนั้น พวกนางฟ้อน

เหล่านั้น จึงพากันคิดว่า พระราชาทรงละทิ้งพวกเรา เสด็จออกบรรพชาเสีย

ก่อนแล้ว ถึงพระกุมารนี้เล่า ก็เป็นผู้มีพระหฤทัยกำหนัดในกามทั้งหลาย ถ้า

พวกเราจักไม่ยอมอภิรมย์กับพระองค์ พระองค์ก็จะพึงเสด็จออกบรรพชาเสียอีก

พวกเราจักกระทำอาการคือการอภิรมย์แก่พระองค์. ลำดับนั้น พวกนางฟ้อน

เมื่อจะให้พระกุมารรื่นรมย์ด้วย จึงได้กราบทูลคาถาสุดท้ายแล้ว. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า คิริพฺพช ความว่า การเสด็จมาของพระองค์นั้น นับว่า

เป็นการเสด็จมาดีแล้ว ดุจการที่พระยาไกรสรราชสีห์มาสู่ถ้ำทองอันเป็นสถานที่

อยู่ของราชสีห์ตัวลูกน้อย ฉะนั้น. บทว่า ตฺว โน ความว่า ขอพระองค์จง

เป็นพระสวามีผู้เป็นใหญ่ของพวกหม่อมฉันแม้ทั้งหมด.

พวกนารีเหล่านั้น ครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ก็ประโคมดุริยดนตรี

ทั้งปวงขึ้น ทำการฟ้อนรำขับร้องมีประการต่าง ๆ ให้เป็นไปแล้ว เกียรติยศ

ได้ยิ่งใหญ่ขึ้นแล้ว. ทีฆาวุราชกุมารนั้น เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยเกียรติยศ ก็

มิได้ทรงระลึกถึงพระบิดาเลย ได้เสวยราชสมบัติโดยธรรม เป็นไปตาม

ยถากรรมแล้ว. แม้พระโพธิสัตว์ได้ทรงกระทำฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้น

แล้ว ในที่สุดแห่งพระชนมชีพ ก็ได้ไปบังเกิดในพรหมโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตออกมหาภิเนษกรมณ์แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้ใน

กาลก่อน ก็ได้เคยออกมหาภิเนษกรมณ์แล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้วจึงได้ทรง

ประชุมชาดกว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ปรินิพพานแล้วในกาลนั้น ทีฆาวุกุมาร

ในกาลนั้น ได้เป็นราหุลกุมาร บริษัทที่เหลือในกาลนั้น ได้เป็นพุทธบริษัท

ส่วนพระเจ้าอรินทมะในกาลนั้น ก็คือเราตถาคตแล.

จบอรรถกถาโสณกชาดก

๒. สังกิจจชาดก

ว่าด้วยสังกิจจฤาษีแสดงธรรมและอธรรมแก่พระเจ้าพรหมทัต

[๙๐] ลำดับนั้น คนเฝ้าสวนเห็นพระเจ้า-

พรหมทัต จอมทัพ ประทับนั่งอยู่ ได้กราบทูลแด่

ท้าวเธอว่า สังกิจจฤาษีที่พระองค์ทรงพระกรุณา ซึ่ง

ยกย่องกันว่าได้ดีแล้วในหมู่ฤาษีทั้งทลายมาถึงแล้ว

ขอเชิญพระองค์รีบเสด็จออกไปพบท่านผู้แสวงหาคุณ

อันยิ่งใหญ่โดยเร็วเถิด ก็ลำดับนั้น พระราชาผู้จอมทัพ

อันหมู่มิตรและอำมาตย์ล้อมแล้ว เสด็จขึ้นรถอันเทียม

ด้วยม้าอาชาไนยรีบเสด็จไป พระราชาผู้ทรงบำรุง

แคว้นของชาวกาสีให้เจริญ ทรงเปลื้องเครื่องราช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

กกุธภัณฑ์ ๔ อย่าง คือ พัดวาลวีชนี อุณหิส พระขรรค์

เศวตฉัตรและฉลองพระบาททรงเก็บวางไว้แล้ว เสด็จ

ลงจากรถ ทรงดำเนินเข้าไปหาสังกิจจฤาษี ผู้นั่งอยู่

ในพระราชอุทยานอันมีนามว่าทายปัสสะ ครั้นเสด็จ

เข้าไปหาแล้ว ก็ทรงบันเทิงอยู่กับฤาษ ครั้นทรง

สนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ประทับนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น ประทับนั่งแล้ว ลำดับนั้น

ได้ทรงสำคัญกาลอยู่ แต่นั้นทรงปฏิบัติเพื่อจะตรัสถาน

กรรมอันเป็นบาป. จึงตรัสว่า ข้าพเจ้าขอถามท่าน

สังกิจจฤาษีผู้ได้รับยกย่องว่า ได้ดีแล้วในหมู่ฤาษี

ทั้งหลาย อันหมู่ฤาษีทั้งหลายห้อมล้อมนั่งอยู่ ในทาย

ปัสสะอุทยานว่า นรชนผู้ประพฤติล่วงธรรม (เหมือน)

ข้าพเจ้าประพฤติล่วงธรรมแล้วไปสู่คติอะไรในปรดโลก

ข้าพเจ้าถามแล้ว ได้โปรดบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า

เถิด.

[๙๑] สังกิจจฤาษี ได้ทูลตอบพระราชาผู้บำรุง

แคว้นของชาวกาสีให้เจริญ ประทับนั่งอยู่ในทายปัสสะ

อุทยานว่า ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรทรงฟัง

อาตมภาพ ถ้าเมื่อบุคคลเว้นทางผิด ทำตามคำของ

บุคคลผู้บอกทางถูกให้ โจรผู้เป็นดุจเสี้ยนหนามก็ไม่

พึงพบหน้าของบุคคลนั้น เมื่อบุคคลปฏิบัติอธรรม

แต่ถ้ากระทำตามคำของบุคคลผู้พร่ำสอนธรรม บุคคล

นั้นไม่พึงไปสู่ทุคติเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

[๙๒] ขอถวายพระพร ธรรมเป็นทางถูก ส่วน

อธรรมเป็นทางผิด อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรม

ย่อมให้ถึงสุคติ นรชนผู้ประพฤติอธรรม มีความ

เป็นอยู่ไม่สม่ำเสมอ ละโลกนี้แล้ว ย่อมไปสู่คติใด

อาตมภาพจะกล่าวคติ คือ นรกเหล่านั้น ขอพระองค์

ทรงสดับคำของอาตมภาพเถิด นรก ๘ ขุมนี้ คือ

สัญชีวนรก ๑ กาฬสุตตนรก ๑ สังฆาฏนรก ๑ โรรุว-

นรก ๑ มหาโรรุวนรก ๑ ต่อมาถึงมหาอเวจีนรก ๑

ตาปนนรก ๑ ปตาปนนรก ๑ อันบัณฑิตทั้งหลาย

กล่าวไว้แล้ว ก้าวล่วงได้ยาก เกลื่อนกล่นไปด้วย

เหล่าสัตว์ ผู้มีกรรมหยาบช้าเฉพาะขุมหนึ่ง ๆ มี

อุสสทนรก ๑๖ ขุมเป็นที่ทำบุคคลผู้กระด้างให้เร่าร้อน

น่ากลัว มีเปลวเพลิงรุ่งโรจน์ มีภัยใหญ่ขนลุกขนพอง

น่าสะพรึงกลัว มีภัยรอบข้าง เป็นทุกข์ มี ๔ มุม ๔

ประตู จัดแบ่งไว้เป็นส่วน ๆ มีกำแพงเหล็กกั้นโดย

รอบ มีฝาเหล็กครอบ ภาคพื้นของนรกเหล่านั้นล้วน

แต่เป็นเหล็กแดงลุกโพลง ประกอบด้วยเปลวไฟลุก

แผ่ไปตลอดที่ ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ.

สัตว์ทั้งหลายมีเท้าในเบื้องบนมีศีรษะในเบื้องต่ำ

ตกลงไปในนรกนั้น สัตว์เหล่าใดกล่าวล่วงเกินฤาษีทั้ง

หลายผู้สำรวมแล้ว ผู้มีตบะสัตว์เหล่านั้นผู้มีความเจริญ

อันขจัดแล้ว ย่อมหมกไหม้อยู่ในนรก เหมือนปลาที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

ถูกเฉือนให้เป็นส่วน ๆ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายผู้มีปกติ

กระทำกรรมอันหยาบช้า มีตัวถูกไฟไหม้ทั้งข้างใน

ข้างนอกเป็นนิตย์ แสวงหาประตูออกจากนรก ก็ไม่

พบประตูที่จะออกตลอดปีนับไม่ถ้วน สัตว์เหล่านั้นวิ่ง

ไปทางประตูข้างหน้า จากประตูด้านหน้าวิ่งกลับมา

ทางประตูข้างหลัง วิ่งไปทางประตูด้านซ้าย จากประตู

ด้านซ้ายวิ่งกลับมาทางประตูด้านขวา วิ่งไปถึงประตู

ใด ๆ ประตูนั้น ๆ ก็ปิดเสีย สัตว์ทั้งหลายผู้ไปสู่นรก

ย่อมประคองแขนคร่ำครวญเสวยทุกข์มิใช่น้อย นับได้

แสนปีเป็นอันมาก เพราะเหตุนั้น บุคคลไม่ควรรุกราน

ท่านที่เป็นคนดี ผู้สำรวม มีตบธรรม ซึ่งเป็นดัง

อสรพิษมีเดชกำเริบร้ายล่วงได้ยากฉะนั้น.

พระเจ้าอัชชุนะ ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นเกตกะ มี

พระกายกำยำเป็นนายขมังธนู มีพระหัตถ์ตั้งพัน มี

มูลอันขาดแล้วเพราะประทุษร้ายพระฤาษีโคตมโคตร

พระเจ้าทัณฑกีได้เอาธุลีโปรยรดกีสวัจฉฤๅษี ผู้หา

ธุลีมิได้ พระราชานั้นถึงแล้วซึ่งความพินาศ ดุจตน

ตาลขาดแล้วจากรากฉะนั้น พระเจ้าเมชฌะคิดประ-

ทุษร้ายในมาตังคฤาษีผู้เรืองยศ รัฐมณฑลของพระเจ้า

เมชฌะ พร้อมด้วยบริษัทก็สูญสิ้นไปในครั้งนั้น ชาว

เมืองอันธกวินทัย ประทุษร้ายกัณหทีปายนฤๅษี โดย

ช่วยกันเอาไม้พลองรุมตีจนตาย ก็ไปเกิดในยมสาธน

นรก ส่วนพระเจ้าเจติยราชนี้ ได้ประทุษร้ายกปิลดาบส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

แต่ก่อนเคยเหาะเหินเดินอากาศได้ ภายหลังเสื่อมฤทธิ์

ลูกแผ่นดินสูบถึงมรณกาล เพราะเหตุนั้นแล บัณฑิตทั้ง

หลายจึงไม่สรรเสริญการลุอำนาจแห่งฉันทาคติเป็นต้น

บุคคลไม่ควรเป็นผู้มีจิตประทุษร้าย พึงกล่าววาจาอัน

ประกอบด้วยสัจจะ ถ้าว่านรชนผู้ใดดีใจประทุษร้าย

เพ่งเล็งท่านผู้รู้ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ นรชน

ผู้นั้นก็ไปสู่นรกเบื้องต่ำ ชนเหล่าใดพยายามกล่าววาจา

หยาบคาย บริภาษบุคคลผู้เจริญทั้งหลาย ชนเหล่านั้น

ไม่ใช่เหล่ากอ ไม่ใช่ทายาท เป็นเหมือนต้นตาลมีราก

อันขาดแล้ว.

อนึ่ง ผู้ใดฆ่าบรรพชิต ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว ผู้แสวง

หาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้นั้นจะต้องหมกไหม้อยู่ในกาฬ-

สุตตนรกตลอดกาลนาน อนึ่ง พระราชาพระองค์ใด

ตั้งอยู่ในอธรรม กำจัดชาวแว่นแคว้น ทำชาวชนบท

ให้เดือดร้อน สิ้นพระชนม์ไปแล้ว จะต้องหมกไหม้

อยู่ในตาปนนรกในโลกหน้า และพระราชาพระองค์

นั้นจะต้องหมกไหม้อยู่ตลอดแสนปีทิพย์ อันกองเพลิง

ห้อมล้อมเสวยทุกขเวทนา เปลวไฟมีรัศมีซ่านออก

จากกายของสัตว์นั้น สรรพางค์กายพร้อมทั้งปลายขน

และเล็บ ของสัตว์ผู้มีไฟเป็นภักษา มีเปลวไฟเป็นอัน

เดียวกัน สัตว์นรกมีตัวถูกไฟไหม้ ทั้งข้างในข้างนอก

อยู่เป็นนิตย์ เป็นผู้อันทุกข์เบียดเบียนร้องไห้คร่ำครวญ

อยู่ เหมือนช้างถูกนายหัตถาจารย์แทงด้วยขอ ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

ผู้ใดเป็นคนต่ำช้า ฆ่าบิดาเพราะความโลภหรือ

เพราะความโกรธ ผู้นั้นต้องหมกไหม้อยู่ในกาฬสุตต

นรกสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ฆ่าบิดาเช่นนั้น ต้องหมก

ไหม้อยู่ในโลกหกุมภีนรก นายนิรยบาลทั้งหลายเอา

หอกแทงสัตว์นรกนั้น ผู้ถูกไฟไหม้อยู่จนไม่มีหนัง

ทำให้ตาบอด ให้กินมูตรกินคูถ กดสัตว์นรกเช่นนั้นให้

จมลงในน้ำแสบ นายนิรยบาลทั้งหลาย ให้สัตว์นรก

กินก้อนคูถที่ร้อนจัด และก้อนเหล็กแดงอันลุกโพลง

ให้ถือผาลทั้งยาวทั้งร้อนสิ้นกาลนาน งัดปากให้อ้า

แล้วเอาเชือกผูกไว้ ยัดก้อนเหล็กแดงเข้าไปในปาก

ฝูงสุนัขแดง ฝูงสนัขด่าง ฝูงแร้ง ฝูงกา และฝูงนก

ตระกรุม ล้วนมีปากเป็นเหล็ก มากลุ้มรุมจิกกัดลิ้น

ให้ขาด แล้วกินลิ้นอันมีเลือดไหล เหมือนกินของ

อันเป็นเดนเต็มไปด้วยเลือด ฉะนั้น นายนิรยบาลเที่ยว

เดินทุบตีสัตว์นรกผู้ฆ่าบิดานั้น ซึ่งมีร่างกายอันแตก

ไปทั่ว เหมือนผลตาลที่ถูกไฟไหม้ จริงอยู่ ความ

ยินดีของนายนิรยบาลเหล่านั้น เป็นการเล่นสนุก แต่

สัตว์นรกต้องได้รับทุกข์ คนผู้ฆ่าบิดาเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ในโลกนี้ ต้องอยู่ในนรกเช่นนั้น.

ก็บุตรฆ่ามารดาจากโลกนี้แล้ว ต้องไปสู่ที่อยู่

แห่งพระยายม ย่อมเข้า ถึงความทุกข์อย่างยิ่ง ด้วยผล

แห่งกรรมของตน พวกนายนิรยบาลที่ร้ายกาจ ย่อมบีบ

คั้นสัตว์ผู้ฆ่ามารดาด้วยผาลเหล็กแดงบ่อย ๆ ให้สัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

นรกดื่มกินโลหิตที่เกิดแต่ตน อันไหลออกจากกายของ

ตน ร้อนประหนึ่งทองแดงที่ละลายคว้างบนแผ่นดิน

สัตว์นรกนั้นลงไปสู่ห้วงน้ำเช่นกับหนองและเลือด น่า

เกลียดดังซากศพเน่า มีกลิ่นเหม็นดุจก้อนคูถ หมู่

หนอนในห้วงน้ำนั้นมีกายใหญ่ มีปากเป็นเหล็กแหลม

ทำลายผิวหนังชอนไชไปในเนื้อและเลือด กัดกินสัตว์

นรกนั้น ก็สัตว์นั้นถึงนรกนั้นแล้ว จมลงไปประมาณ

ชั่วร้อยบุรุษศพเน่าเหม็นฟุ้งไปตลอดร้อยโยชน์โดยรอบ

จริงอยู่ แม้จักษุของคนผู้มีจักษุย่อมคร่ำคร่าเพราะกลิ่น

นั้น ดูก่อนพระเจ้าพรหมทัต บุคคลผู้ฆ่ามารดา ย่อมได้

รับทุกข์เห็นปานนี้.

พวกหญิงรีดลูกย่อมก้าวล่วงลำธารนรกอันขรุขระ

ที่ก้าวล่วงได้แสนยากดุจคมมีดโกน แล้วตกไปสู่แม่น้ำ-

เวตรณีที่ไปได้ยาก ต้นงิ้วทั้งหลายล้วนแต่เป็นเหล็ก

มีหนาม ๑๖ องคุลี มีกิ่งห้อยย้อยปกคลุมแม่น้ำเวตรณี

ที่ไปได้ยากทั้งสองฟาก สัตว์นรกเหล่านั้นมีตัวสูง

โยชน์หนึ่ง ถูกไฟที่เกิดเองแผดเผามีเปลวรุ่งเรืองยืน

อยู่ ดุจกองไฟตั้งอยู่ที่ไกล ฉะนั้น.

หญิงผู้ประพฤตินอกใจสามีก็ดี ชายที่คบหา

ภรรยาผู้อื่นก็ดี ต้องตกอยู่ในนรกอันเร่าร้อนมีหนาม

คม สัตว์นรกเหล่านั้น ถูกนายนิรยบาลทิ่มแทงด้วยอาวุธ

กลับเอาศีรษะลงตกลงมานอนอยู่ ถูกทิ่มแทงด้วยหลาว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

เป็นอันมาก ตื่นอยู่ตลอดกาลทุกเมื่อ ครั้นพอรุ่งสว่าง

นายนิรยบาลก็ให้สัตว์นรกนั้นเข้าไปสู่โลหกุมภีอันใหญ่

เปรียบดังภูเขามีน้ำเสมอ ด้วยไฟอันร้อน บุคคลผู้ทุศีล

ถูกโมหะครอบงำ ย่อมเสวยกรรมของตน ที่ตนกระทำ

ชั่วไว้ในปางก่อน ตลอดวันตลอดคืนด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ภริยาใดที่เขาช่วยมาด้วยทรัพย์ ย่อมดูหมิ่น

สามีแม่ผัวพ่อผัว หรือพี่ผัวน้องผัว นายนิรยบาลเอาเบ็ด

มีสายเกี่ยวปลายลิ้นของหญิงนั้นคร่ามา สัตว์นรกนั้น

เห็นลิ้นของตนยาวประมาณ ๑ วา เต็มไปด้วยหมู่หนอน

ไม่อาจอ้อนวอนนายนิรยบาล ตายไปหมกไหม้ใน

ตาปนนรก.

พวกคนฆ่าแกะ ฆ่าสุกร ฆ่าปลา ดักเนื้อ พวก

โจร คนฆ่าโค พวกพราน พวกคนผู้กระทำคุณ

ในเหตุมิใช่คุณ (คนส่อเสียด) ถูกนายนิรยบาล

เบียดเบียนด้วยหอกเหล็ก ฆ้อนเหล็ก ดาบและลูกศร

มีหัวลง ตกลงสู่แม่น้ำแสบ คนทำคดีโกง ถูกนาย

นิรยบาลทุบตีด้วยฆ้อนเหล็ก ทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า

แต่นั้นย่อมกินอาเจียนของสัตว์นรกเหล่าอื่นผู้ได้รับ

ความทุกข์ทุกเมื่อ ฝูงกาบ้าน ฝูงสุนัข ฝูงแร้ง ฝูง

กาป่า ล้วนมีปากเหล็กต่างพากันรุมกัดกินสัตว์นรก

ผู้กระทำกรรมหยาบช้า ดิ้นรนอยู่ ชนเหล่าใดเป็น

อสัตบุรุษ อันธุลีปกปิด ให้เนื้อชนกันตายก็ดี ให้นก

ตีกันตายก็ดี ชนเหล่านั้นต้องไปตกอุสสทนรก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

[๙๓] สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไปสู่เบื้องบน เพราะ

กรรมที่ตนประพฤติดีแล้วในโลกนี้ ขอเชิญพระองค์

ทอดพระเนตรผลของกรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว

เทพเจ้าทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พระพรหมมีอยู่

ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นอธิบดีแห่งรัฐ เพราะเหตุนั้น

อาตมภาพขอทูลมหาบพิตร ขอมหาบพิตรจงทรง

ประพฤติธรรม ดูก่อนพระราชา ขอเชิญพระองค์ทรง

ประพฤติธรรม เหมือนอย่างธรรมที่บุคคลประพฤติดี

แล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง ฉะนั้น.

จบสังกิจจชาดกที่ ๒

จบสัฏฐินิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

อรรถกถาสังกิจจชาดก

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในชีวกัมพวนาราม ทรงพระปรารภ

ปิตุฆาตกรรม ของพระเจ้าอชาตศัตรู จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีพระ

ดำรัสเริ่มต้นว่า ทิสฺวา นิสินฺน ราชาน ดังนี้.

ความพิสดารว่า พระเจ้าอชาตศัตรูนั้น อาศัยพระเทวทัต ได้ให้

ปลงพระชนม์พระบิดาตามคำของพระเทวทัตแล้ว ได้ทรงสดับว่า พระเทวทัต

มีบริษัทแตกกัน ในกาลที่สุดแห่งการทำลายสงฆ์ เมื่อมีโรคเกิดขึ้น จึงคิดว่า

เราจักยังพระตถาคตเจ้าให้ยกโทษให้แก่เรา ดังนี้แล้ว จึงไปสู่กรุงสาวัตถีด้วย

เตียงคานหาม ถูกแผ่นดินสูบที่ใกล้ประตูพระเชตวันมหาวิหาร จึงทรงรำพึงว่า

พระเทวทัตเป็นปฏิปักษ์ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เข้าไปสู่แผ่นดินมีอเวจีมหา-

นรกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า แม้ตัวเรา ได้ให้ปลงพระชนม์พระบิดา ผู้เป็น

พระธรรมราชาตั้งอยู่ในธรรม ก็เพราะอาศัยพระเทวทัตนั้น ก็ตัวเราจักถูก

แผ่นดินสูบหรือไม่หนอ ดังนี้แล้ว จึงกลัว ไม่ได้ความสบายใจในสิริราชสมบัติ

ทรงคิดว่า เราจักนอนหลับสักหน่อย พอจะเคลิ้มหลับเท่านั้น ก็ปรากฏคล้าย

กับว่า นายนิรยบาล มาผลักให้ตกไปในแผ่นดินเหล็กหนา ๙ โยชน์ แล้วทิ่ม

แทงด้วยหลาวเหล็ก หรือมีอาการคล้ายกับว่าถูกสุนัขทั้งหลายแทะเนื้อกินอยู่

จึงทรงเปล่งพระสุรเสียงด้วยสำเนียงอันน่ากลัวแล้ว เสด็จลุกขึ้น.

ครั้นในวันต่อมา เมื่อวันเพ็ญแห่งเดือนที่ ๔ ซึ่งเป็นที่เบ่งบานแห่ง

ดอกโกมุท (คือวันเพ็ญกัตติกมาส) พระเจ้าอชาตศัตรูมีหมู่อำมาตย์แวดล้อม

แล้ว ทอดพระเนตรเห็นอิสริยยศของพระองค์ จึงทรงดำริว่า อิสริยยศแห่ง

พระบิดาของเรายิ่งใหญ่กว่านี้ เราสั่งให้ปลงพระชนม์พระองค์ผู้เป็นธรรมราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

ชื่อเห็นปานนั้นเสีย เพราะอาศัยพระเทวทัต. เมื่อพระองค์ทรงดำริอยู่อย่างนี้

นั่นแหละ ความเร่าร้อนก็บังเกิดขึ้นในพระวรกายแล้ว พระสุรีระทุกส่วน

ก็ชุ่มไปด้วยเหงื่อ. ในลำดับนั้น ท้าวเธอจึงทรงดำริว่า ใครหนอแล จักสามารถ

บรรเทาภัยอันนี้ของเราได้ ดังนี้แล้ว ทรงทราบว่า บุคคลอื่นเว้นพระทศพล

เสียแล้ว ย่อมไม่มี จึงทรงดำริว่า เราเป็นผู้มีความผิดอย่างใหญ่หลวงต่อพระ

ตถาคตเจ้า ใครเล่าหนอ จักพาเราไปเฝ้าพระองค์ได้ ทรงกำหนดมั่นหมายว่า

ใครอื่นนอกจากหมอชีวก เป็นไม่มีแน่ ทรงถือเอาการตกลงพระทัยนั้น ทรง

ทำอุบายที่จะเสด็จไป เปล่งอุทานว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ราตรีค่ำคืนนี้มี

ดวงจันทร์แจ่มกระจ่างน่ารื่นรมย์เสียจริง ๆ หนอ แล้วตรัสว่า วันนี้เราควร

ไปหาสมณะหรือพราหมณ์ที่ไหนดีหนอ เมื่อเสวกามาตย์ผู้เป็นสาวกของท่าน

ปูรณกัสสปะเป็นต้น กล่าวพรรณนาคุณของครูทั้ง ๖ มีปูรณกัสสปะเป็นต้น

ให้สดับ ก็ไม่ทรงเธอถ้อยคำของคนเหล่านั้น กลับตรัสถามถึงหมอชีวก ถึง

หมอชีวกนั้นก็กล่าวสรรเสริญพระคุณของพระตถาคตเจ้าก่อนแล้ว กราบทูลว่า

พระองค์ผู้ประเสริฐ จงเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นเถิด ดังนี้

พระองค์จึงตรัสสั่งให้ตระเตรียมยานพาหนะ คือช้างแล้วเสด็จไปยังชีวกัมพวัน

เข้าไปเฝ้าพระตถาคตเจ้าพระองค์นั้น ถวายบังคมแล้ว ทรงได้รับการปฏิสันถาร

จากพระตถาคตเจ้าแล้ว จึงทูลถามถึงสามัญญผลอัน จะพึงเห็นด้วยตนเอง ได้

ทรงสดับพระธรรมเทศนาว่าด้วยสามัญญผลอันไพเราะของพระตถาคตเจ้าแล้ว

ในเวลาจบการแสดงสามัญญผลสูตร ได้ทรงประกาศพระองค์เป็นอุบาสกให้

พระตถาคตเจ้าทรงอดโทษแล้ว จึงเสด็จกลับไป. จำเดิมแต่นั้นมา ท้าวเธอ

ก็ทรงถวายทาน รักษาศีล ทรงทำการสมาคมกับพระตถาคต ทรงสดับธรรม-

กถาอันไพเราะ เพราะได้คบกับกัลยาณมิตร จึงทรงละความหวาดกลัวเสียได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

โลมชาติชูชันหวั่นไหวก็หายไป กลับได้แต่ความสบายพระทัย สำเร็จพระ-

อิริยาบถทั้ง ๔ ด้วยความสุขสำราญ.

ครั้นต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายพากันสนทนาในโรงธรรมสภาว่า

แน่ะอาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าอชาตศัตรูทรงทำปิตุฆาตกรรมแล้ว ทรงสะดุ้ง

หวาดกลัวต่อภัย ไม่ได้ความสบายพระทัยเพราะอาศัยสิริราชสมบัติ ทรงเสวย

แต่ความทุกข์ในทุก ๆ อิริยาบถ บัดนี้ท้าวเธอมาอาศัยพระตถาคตเจ้า กลับหาย

สะดุ้งกลัวได้ เพราะการสมาคมกับกัลยาณมิตร จึงได้เสวยความสุขในอิสริย-

สมบัติ. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทบแล้ว จึง

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าอชาตศัตรูกระทำปิตุฆาตกรรมแล้ว อยู่

เป็นสุขสบาย เพราะอาศัยเราตถาคตแต่เฉพาะในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ ถึงใน

กาลก่อน เธอก็ทำปิตุฆาตกรรมแล้ว อยู่อย่างเป็นสุขสบาย เพราะอาศัยเรา

เหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงชักนำอดีตนิทานมาตรัสว่า

ในอดีตกาล พระเจ้าพรทมทัตเสวยราชสมบัติในเมืองพาราณสี

มีพระโอรสทรงพระนามว่า พรหมทัตตกุมาร ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์

ถือปฏิสนธิในเรือนของปุโรหิต. เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นเกิดแล้ว มารดาบิดาได้

ตั้งชื่อว่า สังกิจจกุมาร. พรหมทัตตกุมารและสังกิจจกุมารแม้ทั้งสองนั้น

เจริญเติบโตด้วยกันมาในราชนิเวศน์. ทั้งสองคนได้เป็นสหายกัน ครั้นเจริญวัย

จึงได้พากันไปเรียนศิลปะยังกรุงตักกศิลา เรียนศิลปะทั้งหมดจบแล้วจึงกลับมา.

อยู่ต่อมา พระราชาทรงพระราชทานฐานันดรศักดิ์ที่อุปราชแก่พระโอรส. แม้

พระโพธิสัตว์ ก็ได้อยู่ในสำนักท่านอุปราชเหมือนกัน. ภายหลังต่อมา ท่าน

อุปราช ได้ทอดพระเนตรเห็นอิสริยยศอันยิ่งใหญ่ของพระบิดา ผู้เสด็จประพาส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

เล่นในพระอุทยาน ก็บังเกิดความโลภในราชสมบัตินั้นขึ้น จึงทรงดำริวางแผน

ว่า พระบิดาของเราก็เหมือนกับพระภาดาของเรา ถ้าเราจะรออยู่จนพระบิดา

นี้สวรรคต เราก็จักได้ราชสมบัติ เมื่อเวลาแก่ ราชสมบัติที่เราได้ในเวลาแก่นั้น

จะมีประโยชน์อะไร เราจักให้ปลงพระชนม์พระบิดาเสียแล้ว จึงยึดเอาราช-

สมบัติ ดังนี้แล้วบอกเนื้อความนั้นให้พระโพธิสัตว์ทราบ. พระโพธิสัตว์จึงทูล

ห้ามว่า ข้าแต่ท่านสหาย ธรรมดาว่าปิตุฆาตกรรมเป็นกรรมหนัก เป็นทาง

แห่งนรก ใคร ๆ ไม่อาจจะทำกรรมอันนี้ได้ ขอพระองค์อย่าได้ทรงการทำเลย.

ท่านอุปราชนั้น ตรัสอุบายวิธีนั้นบ่อย ๆ เข้า ก็ถูกพระโพธิสัตว์ทูลทัดทานไว้

ถึง ๓ ครั้ง จึงเปลี่ยนไปปรึกษากับพวกคนรับใช้ใกล้ชิด. คนเหล่านั้น ทูล

รับรองแล้ว ก็คอยมองหาอุบายที่จะลอบปลงพระชนม์พระราชา. พระโพธิสัตว์

ทราบถึงพฤติการณ์นั้นจึงได้แต่คิดว่า เราจักไม่อยู่ร่วมเป็นอันเดียวกับคนพาล

นี้เด็ดขาด ดังนี้แล้ว จึงมิได้อำลามารดาบิดาเลย ออกไปทางประตูใหญ่แล้ว

เข้าไปยังป่าหิมวันต์ บวชเป็นฤาษี บำเพ็ญฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้นแล้ว

มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร เป็นอยู่อย่างผาสุก. ในขณะเดียวกันนั้น

ทางฝ่ายพระราชกุมารก็ใช้ให้ตนฆ่าพระบิดาแล้ว เสวยอิสริยยศอันยิ่งใหญ่.

พวกกุลบุตรทั้งหลายเป็นอันมาก พอทราบข่าวว่า สังกิจจกุมารบวช

เป็นฤาษีแล้ว จึงพากันออกบวชในสำนักแห่งสังกิจจดาบสนั้น. พระสังกิจจฤาษี

นั้น มีหมู่ฤๅษีเป็นอันมากแวดล้อมแล้ว อยู่ในหิมวันตประเทศนั้น . แม้ดาบส

ทั้งหมด ก็พลอยได้สมบัติด้วยเหมือนกัน. ฝ่ายพระราชา ครั้นให้คนฆ่าพระบิดา

แล้ว ก็เสวยความสุขสบายในราชสมบัติตลอดกาลเวลามีประมาณเล็กน้อยเท่านั้น

ต่อแต่นั้นมาก็สะดุ้งหวาดกลัวไม่ได้ความสบายพระทัย ได้เป็นเหมือนถึงกรรม-

กรณ์ในนรก. ท้าวเธอทรงระลึกถึงพระโพธิสัตว์แล้ว ทรงดำริว่า สหายของ

เราได้ห้ามปรามแล้วว่า ปิตุฆาตกรรมเป็นกรรมอันหนักมาก เมื่อเขาไม่สามารถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

จะให้เราเชื่อถือถ้อยคำของตนได้ จึงแสดงตนให้หมดโทษแล้วหลบไปเสีย ถ้า

เขาจักอยู่ในที่นี้ไซร้ คงจักไม่ยอมให้เรากระทำปิตุฆาตกรรมเป็นแน่ พึงนำ

ภัยแม้นี้ของเราไปเสีย เดี๋ยวนี้เขาอยู่ในที่ไหนหนอ ถ้าเรารู้ที่อยู่ของเขาก็จะ

ได้ให้คนไปเรียกมา ใครกันหนอ จะพึงบอกที่อยู่ของเขาให้แก่เราได้. ตั้งแต่

บัดนั้นมา ท้าวเธอก็ตรัสสรรเสริญคุณของพระโพธิสัตว์แต่อย่างเดียว ทั้งภายใน.

พระราชวังและในราชสภา. ครั้นกาลล่วงไปนานแล้วอย่างนั้น พระโพธิสัตว์

นั้นจึงคิดว่า พระราชาทรงระลึกถึงเรา เราควรไปในราชสำนักนั้นแล้วแสดง

ธรรมแก่ท้าวเธอ ทำท้าวเธอให้หายหวาดกลัว ดังนี้แล้วอยู่ในหิมวันต์ได้ ๕๐ ปี

มีพระดาบส ๕๐๐ เป็นบริวาร พากันมาโดยทางอากาศ ลงในอุทยานชื่อ

ทายปัสสะ มีหมู่ฤาษีเป็นบริวารนั่งอยู่ ณ แผ่นศิลา. คนเฝ้าสวนเห็นหมู่ฤาษี

นั้นจึงถามว่า ท่านผู้เจริญขอรับ ก็ท่านผู้เป็นศาสดาของคณะมีนามว่ากระไร

พอเขาได้ฟังว่า ชื่อว่า สังกิจจบัณฑิต ดังนี้ แม้ตัวเขาเองก็จำได้ จึงได้เรียน

ให้ทราบว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงรออยู่ในที่นี้จนกว่าข้าพเจ้าจะทูลเชิญพระ

ราชาให้เสด็จมา พระราชาของพวกข้าพเจ้า ทรงมีพระประสงค์จะพบพระคุณ-

เจ้า ดังนี้ ไหว้แล้วจึงรีบเข้าไปยังพระราชวัง กราบทูลแด่พระราชาว่า พระ

โพธิสัตว์นั้นมาแล้ว. พระราชาเสด็จไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์นั้น ทรงกระ

ทำสักการะบูชาอันเหมาะสมที่พระองค์จะพึงทำถวายแล้ว จึงตรัสถามปัญหา.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

ลำดับนั้น คนเฝ้าสวนเห็นพระเจ้าพรหมทัต

ผู้เป็นจอมทัพประทับนั่งอยู่ ได้กราบทูลท้าวเธอว่า

พระสังกิจจฤๅษีที่พระองค์ทรงพระกรุณา ซึ่งยกย่อง

กันว่า ได้ดีแล้วในหมู่ฤๅษีทั้งหลาย มาถึงแล้ว ขอเชิญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

พระองค์รีบเสด็จออกไปพบท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง-

ใหญ่โดยเร็วเถิด ก็ลำดับนั้น พระราชาผู้จอมทัพ อัน

หมู่มิตรและอำมาตย์แวดล้อมแล้ว เสด็จขึ้นรถอันเทียม

ด้วยม้าอาชาไนยรีบเสด็จไป พระราชาผู้ทรงบำรุง

แว่นแคว้นของชาวกาสีให้เจริญ ทรงเปลื้องเครื่อง

ราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่างคือ พัดวาลวีชนี อุณหิส พระ

ขรรค์ เศวตฉัตร และฉลองพระบาท ทรงเก็บวาง

ไว้แล้ว เสด็จลงจากรถ ทรงดำเนินเข้าไปหาท่าน

สังกิจจฤาษี ผู้นั่งอยู่ในพระราชอุทยานอันมีนามว่า

ทายปัสสะ ครั้นเสด็จเข้าไปหาแล้วก็ทรงบันเทิงอยู่กับ

ฤาษี ครั้น ทรงสนทนาปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไป

แล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นประทับ

นั่งแล้ว ลำดับนั้น ได้ทรงสำคัญกาลอยู่ แต่นั้นทรง

ปฏิบัติ เพื่อจะตรัสถามถึงกรรมอันเป็นบาป จึงตรัสว่า

ข้าพเจ้าขอถามท่านสังกิจจฤาษี ผู้ได้รับยกย่องว่า ได้

ดีแล้วในหมู่ฤาษีทั้งหลาย อันหมู่ฤาษีทั้งหลายห้อม

ล้อมนั่งอยู่ ในทายปัสสะอุทยานว่า นรชนผู้ประพฤติ

ล่วงธรรม (เหมือน) ข้าพเจ้าประพฤติล่วงธรรมแล้ว

จะไปสู่คติอะไรในปรโลก ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้

โปรดบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวา ความว่า พระศาสดาตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คนเฝ้าสวนนั้นเห็นพระราชาประทับนั่งในราชสภา จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

กราบทูลให้พระองค์ได้ทรงทราบแล้ว. บทว่า ยสฺสาสิ ความว่า กราบทูล

ให้ทรงทราบถึงผู้ที่พระองค์ทรงรำพันถึง. บทว่า ยสฺสาสิ ความว่า ข้าแต่

มหาราชเจ้า พระองค์ทรงเอ็นดู มีพระหฤทัยอ่อนโยนแก่ท่านผู้ใด อธิบายว่า

พระองค์ทรงรำพันถึงคุณของท่านผู้ใดอยู่เนือง ๆ ท่านผู้นั้น คือ สังกิจจฤาษี

นี้ที่ยกย่องกันว่า เป็นผู้ได้ดีแล้วในหมู่ฤาษีทั้งหลาย มาถึงแล้วโดยลำดับ มี

หมู่ฤาษีห้อมล้อมนั่งอยู่บนแผ่นศิลา ในพระราชอุทยานของพระองค์ ดูงดงาม

เปรียบปานรูปทองคำ ฉะนั้น. บทว่า ตรมานรูโป ความว่า ข้าแต่มหา-

ราชเจ้า ธรรมดาว่า บรรพชิตทั้งหลาย เป็นผู้ไม่คลุกคลีในตระกูล หรือว่า

ในหมู่คณะ เมื่อพระองค์เสด็จไปยังมิทันได้ถึง ก็เกรงว่าจะหลีกไปเสียก่อน

เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงรีบเสด็จออกไปพบท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

เพราะท่านแสวงหาคุณมีศีลเป็นต้นอันใหญ่ยิ่ง. บทว่า ตโต ความว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นั้น พอได้ทรงสดับถ้อยคำของคนเฝ้าสวน

นั้นแล้ว ก็ทรงรีบร้อนเสด็จไปในลำดับแห่งคำกราบทูลของตนเฝ้าสวนนั้นทัน

ที. บทว่า นิกฺขิปฺป ความว่า ได้ยินว่า พระราชาพระองค์นั้น พอเสด็จ

ถึงประตูพระราชอุทยานก็ทรงฉุกคิดขึ้นว่า ธรรมดาว่า บรรพชิตทั้งหลาย เป็น

ผู้ตั้งอยู่ในฐานะที่ควรเคารพ เราไม่ควรไปยังสำนักของท่านสังกิจจดาบส ด้วย

ทั้งเพศที่สูงสุด ท้าวเธอจึงได้นำออกเสียซึ่งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง

เหล่านั้น คือ พัดวาลวีชนี มีด้ามเป็นทองคำประดับด้วยแก้วมณี ๑ แผ่น

อุณหิสที่ทำด้วยทองคำ ๑ พระขรรค์มงคลที่หุ้มห่อไว้ดีแล้ว ๑ เศวตฉัตร ๑

ฉลองพระบาททองคำ ๑ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทรงเปลื้องแล้ว. บทว่า

ปฏิจฺฉท ความว่า ทรงเก็บเครื่องราชกกุธภัณฑ์นั้นนั่นแลเสีย คือ ทรงมอบ

ไว้ในมือของผู้รักษาเรือนคลัง. บทว่า ทายปสฺสสฺมึ ได้แก่ ในอุทยานอัน

มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า อถ กาล อมญฺถ ความว่า ลำดับนั้น พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

ทรงทราบว่า บัดนี้เป็นเวลาที่จะถามปัญหาได้ แต่ในบาลีว่า ยถาถาล ดังนี้

อธิบายว่า พระองค์ทรงสำคัญการถามปัญหา โดยสมควรแก่กาลที่พระองค์

เสด็จมาแล้ว. บทว่า ปฏิปชฺชถ คือ ปฏิบัติแล้ว . บทว่า เปจฺจ ความว่า

ละไปแล้ว อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ละไปแล้วนั้นเป็นชื่อของปรโลก เพราะฉะนั้น

ท่านทั้งหลายถึงปรโลก. บทว่า มยา ความว่า พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ประพฤติล่วงสุจริตธรรมแล้ว คือได้กระทำปิตุฆาต-

กรรมแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิดว่า บุคคลผู้ฆ่าบิดา

ย่อมไปสูคติอะไร คือ ย่อมไหม้ในนรกขุมไหน.

พระโพธิสัตว์ ได้สดับคำนั้นแล้วจึงทูลว่า ขอถวายพระพร ถ้าอย่าง

นั้น ขอพระองค์จงตั้งพระทัยสดับเถิด แล้วจึงได้ถวายโอวาทเป็นอันดับแรก.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

สังกิจจฤาษี ได้กล่าวตอบพระราชา ผู้ทรงบำรุง

แว่นแคว้นของชาวกาสีให้เจริญ ประทับนั่งอยู่ในทาย-

ปัสสะอุทยานว่า ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรทรง

ฟังอาตมภาพ ถ้าเมื่อบุคคลเว้นทางผิด ทำตามคำของ

บุคคลผู้บอกกทางถูกให้ โจรผู้เป็นดุจเสี้ยนหนาม ก็ไม่

พึงพบหน้าของบุคคลนั้น. เมื่อบุคคลปฏิบัติอธรรม แต่

ถ้ากระทำตามคำของบุคคลผู้พร่ำสอนธรรม บุคคล

นั้นไม่พึงไปสู่ทุคติเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปเถน ได้แก่ หนทางที่พวกโจร

ซ่องสุมกันอยู่. บทว่า มคฺคมนุสาสติ ความว่า บอกหนทางอันเกษมให้.

บทว่า นาสฺส มคฺเคยฺย กณฺฏโก ความว่า หนามคือพวกโจร ไม่พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

เห็นหน้าของบุรุษผู้ทำตามโอวาทนั้นตามหนทางเลย. บทว่า โย ธมฺม คือ

ผู้บอกสุจริตธรรมให้. บทว่า น โส ความว่า บุรุษนั้นไม่พึงถึงทุคติชนิด

ต่าง ๆ มีนรกเป็นต้น ดูก่อนมหาบพิตร จริงอยู่ อธรรมเป็นเช่นกับหนทาง

ที่ผิด สุจริตธรรมเป็นเช่นกับหนทางอันเกษม ก็พระองค์ เมื่อกาลก่อนได้

รับสั่งแก่อาตมภาพว่า เราจักปลงพระชนม์พระบิดาแล้ว จักเป็นพระราชาเอง

ถึงถูกอาตมภาพคัดค้านห้ามไว้แล้ว ก็มิได้เชื่อถ้อยฟังคำของอาตมภาพเลย ฆ่า

พระบิดาแล้ว ทรงเศร้าโศกอยู่ในบัดนี้ ธรรมดาว่า บุคคลผู้ไม่ทำตามโอวาท

ของบัณฑิตทั้งหลาย ก็เหมือนบุคคลผู้ดำเนินไปในหนทางที่มีโจร ย่อมถึงความ

พินาศอย่างใหญ่หลวงแล.

พระโพธิสัตว์ ครั้นได้ถวายโอวาทแด่พระราชาพระองค์นั้นอย่างนี้

แล้ว เมื่อจะแสดงธรรมชั้นสูงขึ้นไป จึงทูลว่า

ขอถวายพระพร ธรรมเป็นทางถูก ส่วนอธรรม

เป็นทางผิด อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมส่งให้

ถึงสุคติ นรชนผู้ประพฤติอธรรม มีความเป็นอยู่ไม่

สม่ำเสมอ ละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่คติใด อาตมภาพ

จะกล่าวคติคือนรกเหล่านั้น ขอพระองค์ทรงสดับคำ

ของอาตมภาพเถิด.

นรก ๘ ขุมเหล่านี้ คือ สัญชีวนรก ๑ กาฬ-

สุตตนรก ๑ สังฆาฏนรก ๑ โรรุวนรก ๑ มหา

โรรุวนรก ๑ ต่อมาก็ถึงมหาอเวจีนรก ๑ ตาปนนรก

๑ ปตาปนนรก ๑ อันบัณฑิตทั้งหลายกล่าวไว้แล้ว

ก้าวล่วงได้ยาก เกลื่อนกล่นไปด้วยเหล่าสัตว์ ผู้มี

กรรมหยาบช้า ก็เฉพาะนรกขุมหนึ่ง ๆ มีอุสสทนรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

๑๖ ขุม เป็นที่ทำบุคคลผู้กระด้างให้เร่าร้อนน่ากลัว

มีเปลวเพลิงรุ่งโรจน์ มีภัยใหญ่ ขนลุกขนพองน่า-

สะพรึงกลัว มีภัยรอบข้าง เป็นทุกข์ มี ๔ มุม

๔ ประตู จัดแบ่งไว้เป็นส่วน ๆ มีกำแพงเหล็กกั้น

โดยรอบ มีฝาเหล็กครอบ ภาคพื้นของนรกเหล่านั้น

ล้วนแต่เป็นเหล็กแดงลุกโพลง ประกอบด้วยเปลวไฟ

ลุกแผ่ไปตลอดที่ ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ.

สัตว์ทั้งหลายมีเท้าในเบื้องบน มีศีรษะในเบื้องต่ำ

ตกลงไปในนรกนั้น สัตว์เหล่าใดกล่าวล่วงเกินฤๅษี

ทั้งหลายผู้สำรวมแล้ว ผู้มีตบะ สัตว์เหล่านั้น ผู้มีความ

เจริญอันขจัดแล้ว ย่อมหมกไหม้อยู่ในนรก เหมือน

ปลาที่ถูกเฉือนให้เป็นส่วน ๆ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย

ผู้มีปกติกระทำกรรมอันหยาบช้า มีตัวถูกไฟไหม้ทั้ง

ข้างในข้างนอกเป็นนิตย์ แสวงหาประตูออกจากนรก

ก็ไม่พบประตูที่จะออก ตลอดปีนับไม่ถ้วน สัตว์เหล่า

นั้นวิ่งไปทางประตูด้านหน้า จากประตูด้านหน้าวิ่ง

กลับมาทางประตูด้านหลัง วิ่งไปทางประตูด้านซ้าย

จากประตูด้านซ้าย วิ่งกลับมาทางประตูด้านขวา วิ่ง

ไปถึงประตูใด ๆ ประตูนั้นก็ปิดเสีย สัตว์ทั้งหลายผู้

ไปสู่นรก ย่อมประคองแขนคร่ำครวญเสวยทุกข์มิใช่

น้อย นับเป็นหลาย ๆ พันปี เพราะเหตุนั้น บุคคล

ไม่ควรรุกรานท่านที่เป็นคนดี ผู้สำรวม มีตบธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

ซึ่งเป็นดุจอสรพิษมีเดชกำเริบร้ายล่วงได้ยา ฉะนั้น.

พระเจ้าอัชชุนะ ผู้เป็นใหญ่ในแว่นแคว้นเกตกถะ

มีพระกายกำยำ เป็นนายขมังธนู มีพระหัตถ์ตั้งพัน มี

มูลอันขาดแล้ว เพราะประทุษร้ายพระฤๅษีโคตมโคตร

ฝ่ายพระเจ้าทัณฑกีได้เอาธุลีโปรยลงรดกีสวัจฉฤาษี ผู้

หาธุลีมิได้ พระราชาพระองค์นั้น ถึงแล้วซึ่งความ

พินาศ ดุจต้นตาลขาดแล้วจากราก ฉะนั้น พระเจ้า

เมชฌะคิดประทุษร้าย ในมาตังคฤาษีผู้เรืองยศ รัฐ-

มณฑลของพระเจ้าเมชฌะ พร้อมด้วยบริษัทก็สูญ

สิ้นไปในครั้งนั้น ชาวเมืองอันธกวินทัย ประทุษร้าย

กัณหทีปายนฤาษี โดยช่วยกันเอาไม้พลองรุมตีจนตาย

ไปเกิดในยมสาธนนรก ส่วนพระเจ้าเจติยราชนี้ ได้

ประทุษร้ายกปิลดาบส แต่ก่อนเคยเหาะเหินเดินอากาศ

ได้ ภายหลังเสื่อมสิ้นฤทธ์ ถูกแผ่นดินสูบ ถึงมรณกาล

เพราะเหตุนั้นแล บัณฑิตทั้งหลายจึงไม่สรรเสริญการ

ลุอำนาจแห่งฉันทาคติเป็นต้น บุคคลไม่ควรเป็นผู้มีจิต

ประทุษร้าย พึงกล่าววาจาอันประกอบด้วยสัจจะ ถ้าว่า

นรชนผู้ใดมีใจประทุษร้าย เพ่งเล็งท่านผู้รู้ ผู้ถึงพร้อม

ด้วยวิชชาและจรณะ นรชนผู้นั้น ย่อมไปสู่นรกเบื้องต่ำ.

ชนเหล่าใดพยายามกล่าววาจาหยาบคาย บริภาษ

บุคคลผู้เจริญทั้งหลาย ชนเหล่านั้น ไม่ใช่เหล่ากอ

ไม่ใช่ทายาท เป็นเหมือนต้นตาลมีรากอันขาดแล้ว

อนึ่ง ผู้ใดฆ่าบรรพชิตผู้ทำกิจเสร็จแล้ว ผู้แสวงหาคุณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

อันยิ่งใหญ่ ผู้นั้นจะต้องหมกไหม้อยู่ในกาฬสุตตนรก

ตลอดกาลนาน.

อนึ่ง พระราชาพระองค์ใด ตั้งอยู่ในอธรรม

กำจัดชาวแว่นแคว้น ทำชาวชนบทให้เดือดร้อนสิ้น

พระชนม์ไปแล้ว จะต้องหมกไหม้อยู่ในตาปนนรก

ในโลกหน้า และพระราชาพระองค์นั้น จะต้องหมก-

ไหม้อยู่ตลอดแสนปีทิพย์ อันกองเพลิงห้อมล้อมเสวย

ทุกขเวทนา เปลวไฟมีรัศมีซ่านออกจากกายของสัตว์

นั้น สรรพางค์กายพร้อมทั้งปลายขนและเล็บของสัตว์

ผู้มีไฟเป็นภักษา มีเปลวไฟเป็นอันเดียวกัน สัตว์นรก

มีตัวถูกไฟไหม้ ทั้งข้างในและข้างนอกอยู่เป็นนิตย์

เป็นผู้อันทุกข์เบียดเบียน ร้องไห้คร่ำครวญอยู่เหมือน

ช้างลูกนายหัตถาจารย์แทงด้วยขอ ฉะนั้น.

ผู้ใดเป็นคนต่ำช้า ฆ่าบิดาเพราะความโลภหรือ

เพราะความโกรธผู้นั้นต้องหมกไหม้อยู่ในกาฬสุตตนรก

สิ้นกาลนาน บุคคลผู้ฆ่าบิดาเช่นนั้น ต้องหมกไหม้อยู่ใน

โลหกุมภีนรก นายนิรยบาลทั้งหลายเอาหอกแทงสัตว์

นรกนั้นผู้ถูกไฟไหม้อยู่จนไม่มีหนัง ทำให้ตาบอด ให้

กินมูตรกินคูถ กดสัตว์นรกเช่นนั้น ให้จมลงในน้ำแสบ

นายนิรยบาลทั้งหลายให้สัตว์ นรกกินก้อนคูถที่ร้อนจัด

และก้อนเหล็กแดงอันลุกโพลง ให้ถือผาลทั้งยาวทั้ง-

ร้อนสิ้นกาลนาน งัดปากให้อ้าแล้วเอาเชือกผูกไว้

ยัดก้อนเหล็กแดงเข้าไปในปาก ฝูงสุนัขแดง ฝูงสุนัข

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

ด่าง ฝูงแร้ง ฝูงกา และฝูงนกตระกรุม ล้วนมีปาก

เป็นเหล็ก ต่างมารุมจิกกัดลิ้นให้ขาดแล้ว กินลิ้นอัน

มีเลือดไหล เหมือนก็ของอันเป็นเดนเต็มไปด้วย

เลือด ฉะนั้น นายนิรยบาลเที่ยวเดินทุบตีสัตว์นรกผู้ฆ่า

บิดานั้น ซึ่งมีร่างกายอันแตกไปทั่ว เหมือนผลตาลที่

ถูกไฟไหม้ จริงอยู่ ความยินดีของนายนิรยบาลเหล่านั้น

เป็นการเล่นสนุก แต่สัตว์นรกต้องได้รับทุกข์ คนผู้

ฆ่าบิดาเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้ ต้องอยู่ในนรก

เช่นนั้น.

ก็บุตรฆ่ามารดาจากโลก นี้แล้ว ต้องไปสู่ที่อยู่

แต่งพระยายม ย่อมเข้าถึงความทุกข์อย่างยิ่ง ด้วยผล

แห่งกรรมของตน พวกนายนิรยบาลที่ร้ายกาจ ย่อม

บีบคั้นสัตว์ผู้ฆ่ามารดา ด้วยผาลเหล็กแดงบ่อย ๆ ให้

สัตว์นรกดื่มกินโลหิตที่เกิดแต่ตน อันไหลออกจาก

กายของตน ร้อนดุจทองแดงที่ละลายคว้างบนแผ่นดิน

สัตว์นรกนั้นลงไปสู่ห้วงน้ำเช่นกับหนองและเลือด

น่าเกลียดดังซากศพเน่า มีกลิ่นเหม็นดุจก้อนคูถ หมู่

หนอนในห้วงน้ำนั้น มีกายใหญ่ มีปากเป็นเหล็กแหลม

ทำลายผิวหนัง ชอนไชไปในเนื้อและเลือด กัดกิน

สัตว์นรกนั้น ก็สัตว์นั้นถึงนรกนั้นแล้ว จมลงไปประ

มาณชั่วร้อยบุรุษ ศพเน่าเหม็นฟุ้งไปตลอดร้อยโยชน์

โดยรอบ จริงอยู่ แม้จักษุของตนผู้มีจักษุ ย่อมคร่ำคร่า

เพราะกลิ่นนั้น ดูก่อนพระเจ้าพรหมทัต บุคคลผู้ฆ่า

มารดา ย่อมได้รับทุกข์เห็นปานนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

พวกหญิงผู้รีดลูกย่อมก้าวล่วงลำธารนรกอันคม

แข็ง ที่ก้าวล่วงได้แสนยาก ดุจคมมีดโกน แล้ว

ตกไปสู่แม่น้ำเวตรณีที่ไปได้ยาก ต้นงิ้วทั้งหลาย ล้วน

แต่เป็นเหล็กมีหนาน ๑๖ องคุลี มีกิ่งห้อยย้อยปก-

คลุมแม่น้ำเวตรณี ที่ไปได้ยากทั้ง ๒ ฟาก สัตว์นรก

เหล่านั้น มีตัวสูงโยชน์หนึ่งลูกไฟที่เกิดเองแผดเผา

มีเปลวรุ่งเรืองยืนอยู่ ดุจกองไฟ ตั้งอยู่ที่ไกล ฉะนั้น.

หญิงผู้ประพฤตินอกใจสามีก็ดี ชายที่คบหาภรร-

ยาผู้อื่นก็ดี ต้องตกอยู่ในนรกอันเร่าร้อนมีหนามคม

สัตว์นรกเหล่านั้น ลูกนายนิรยบาลทิ่มแทงด้วยอาวุธ

กลับเอาศีรษะลง ลงมานอนอยู่ ถูกทิ่มแทงด้วย

หลาวเป็นอันมาก ตื่นอยู่ตลอดกาลทุกเมื่อ ครั้นพอ

รุ่งสว่าง นายนิรยบาล ก็ให้สัตว์นรกนั้นเข้าไปสู่

โลหกุมภีอันใหญ่ เปรียบดังภูเขามีน้ำเสมอด้วยไฟอัน

ร้อน บุคคลผู้ทุศีล ถูกโมหะครอบงำ ย่อมเสวย

กรรมของตน ที่ตนเองกระทำชั่วไว้ในปางก่อน ตลอด

วันตลอดคืน ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ภรรยาใดที่เขาช่วยมาด้วยทรัพย์ ย่อมดู

หมิ่นสามี แม่ผัวพ่อผัว หรือพี่ผัวน้องผัว นายนิรย-

บาล เอาเบ็ดมีสายเกี่ยวปลายลิ้นของหญิงนั้นฉุดคร่า

มา สัตว์นรกนั้นเห็นลิ้นของตนซึ่งยาวประมาณ ๑ วา

เต็มไปด้วยหมู่หนอน ไม่อาจอ้อนวอนนายนิรยบาล

ย่อมตายไปหมกไหม้ในตาปนนรก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

พวกคนฆ่าแกะ ฆ่าสุกร ฆ่าปลาดักเนื้อ พวกโจร

คนฆ่าโค พวกพราน พวกคนผู้กระทำคุณในเหตุมิใช่

คุณ (คนส่อเสียด) ลูกนายนิรยบาลเบียดเบียนด้วย

หอกเหล็ก ฆ้อนเหล็ก ดาบและลูกศร พุ่งหัวให้ตก

ลงสู่แม่น้ำแสบ คนทำคดีโกง ถูกนายนิรยบาลทุบตี

ด้วยฆ้อนเหล็ก ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า แต่นั้น ย่อมกิน

อาเจียนของสัตว์นรกเหล่าอื่น ผู้ได้รับความทุกข์ทุกๆ

เมื่อ ฝูงกาบ้าน ฝูงสุนัข ฝูงแร้ง ฝูงกาป่า ล้วนมีปาก

เหล็ก ต่างพากันรุมจิกกัดกินสัตว์นรก ผู้กระทำกรรม

อันหยาบช้า ดิ้นรนอยู่ ชนเหล่าใดเป็นอสัตบุรุษ อัน

ธุลีปกปิดให้เนื้อชนกันจนตายก็ดี ให้นกตีกันจนตาย

ก็ดี ชนเหล่านั้น ต้องไปตกอุสสทนรก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ปโถ ความว่า ธรรมคือกุศล

กรรมบถ ๑๐ ประการ เป็นทางที่ดำเนินไปสู่สุคติ เป็นทางเกษม ไม่มีภัย

เฉพาะหน้า. บทว่า วิสมชีวิใน คือ สำเร็จการเลี้ยงชีพโดยอธรรม. บทว่า

นิรเย ความว่า อาตมภาพจะกล่าวนรกที่บังเกิดแก่สัตว์เหล่านี้แด่พระองค์.

บทว่า สุโณหิ เม ความว่า พระมหาสัตว์แม้ถูกพระราชาตรัสถามถึงนรกที่

พวกชนผู้ฆ่าบิดาบังเกิดเกล้า ก็มิได้แสดงนรกนั้นก่อนแล้วจึงกล่าวอย่างนี้ เพื่อจะ

แสดงมหานรก ๘ ขุม และอุสสทนรก ๑๖ ขุม. ถามว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า

เพราะเมื่อพระมหาสัตว์แสดงถึงนรกที่ตรัสถามนั้นก่อน พระราชาพึงมีพระ-

หฤทัยแตกสวรรคตเสียในที่นั้นเป็นแน่แท้ ก็พระราชาทอดพระเนตรเห็นสัตว์

ทั้งหลายผู้ไหม้อยู่ในนรกเหล่านี้ ย่อมจะถือเอาไว้เป็นตัวอย่าง ทรงมีอุปัตถัม-

ภกกรรมอันเกิดพร้อมแล้ว ด้วยทรงเข้าพระทัยว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นก็มีกรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

อันชั่วช้าเลวทรามมากเหมือนกับตัวเรา เราจักต้องหมกไหม้ในระหว่างแห่งนรก

เหล่านี้ ดังนี้แล้ว ก็จักเป็นผู้หาพระโรคคือความกลัวมิได้ ก็เมื่อพระมหาสัตว์

แสดงนรกเหล่านั้น ทำแผ่นดินให้แยกออกเป็น ๒ ภาค ด้วยกำลังแห่งฤทธิ์

ก่อนแล้ว จึงแสดงภายหลัง เนื้อความแห่งคำเหล่านั้น มีดังต่อไปนี้ สัตว์นรก

ทั้งหลาย อันนายนิรยบาลถืออาวุธต่าง ๆ อันลุกโพลงแล้ว ตัดให้เป็นท่อนน้อย

ท่อนใหญ่ ย่อมมีชีวิตอยู่บ่อย ๆ (คือตายแล้วก็เกิดมารับกรรมอีก) ในนรกนี้

เหตุนั้น นรกนั้นจึงชื่อว่า สัญชีวะ. นายนิรยบาลทั้งหลาย พากันบันลือ

โห่ร้องติดกันไม่ขาดระยะ ถืออาวุธต่างชนิดที่ไฟลุกโพลง ติดตามไล่ฆ่าสัตว์นรก

ทั้งหลาย ผู้กำลังวิ่งหนีไป ๆ มา ๆ อยู่บนเหนือแผ่นดินโลหะอันลุกโพลงด้วย

ไฟ เมื่อสัตว์ล้มลงบนแผ่นดินที่ลุกเป็นไฟแล้ว จึงขึงสายบรรทัดอันลุกโชน

ด้วยไฟ แล้วถือขวานที่ไฟกำลังติด พากันโห่ร้องทำสัตว์นรกผู้คร่ำครวญอยู่

ด้วยเสียงอันน่าเวทนาเป็นอย่างมากให้เป็น ๘ ส่วนบ้าง ๑๖ ส่วนบ้าง เป็นไป

อยู่ในนรกนี้ เหตุนั้น นรกนั้นจึงชื่อว่า กาฬสุตตะ. ภูเขาเหล็กลุกเป็นไฟทั้งหลาย

ลูกใหญ่ ๆ หลายลูก กระทบสัตว์อยู่ในนรกนี้ เหตุนั้น นรกนั้น จึงชื่อว่า

สังฆาฏะ ได้ยินว่า นายนิรยบาลทั้งหลาย ให้สัตว์นรกะข้าไปในแผ่นดินเหล็ก

ที่ลุกโพลง ได้ ๙ โยชน์เพียงเอว แล้วกระทำไม่ให้หวั่นไหวในนรกนั้น ลำดับนั้น

ภูเขาเหล็กอันลุกโพลง ลูกใหญ่ ๆ เกิดขึ้นแต่ด้านทิศบูรพา ครางกระหึ่มอยู่

เหมือนเสียงอสนีบาต กลิ้งมาบดสัตว์เหล่านั้น ราวกะว่าบดงากระทำให้เป็นผง

แล้วไปตั้งอยู่ในทิศปัจฉิม แม้ภูเขาเหล็กที่ตั้งขึ้นแต่ทิศปัจฉิม ก็กลิ้งไปเหมือน

อย่างนั้นนั่นแล แล้ว ตั้งอยู่ในทิศบูรพา อนึ่ง ภูเขาทั้ง ๒ ลูกนั้นได้กลิ้งมา

ปะทะกันแล้ว บดขยี้สัตว์นรก ดุจบีบลำอ้อยในเครื่องยนตร์สำหรับบีบอ้อย

ฉะนั้น สัตว์นรกทั้งหลาย ย่อมเสวยทุกข์ในสังฆาฏนรกนั้น ตลอดหลายแสนปี

เป็นอันมาก ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

บทว่า เทฺว จ โรรุวา ความว่า โรรุวนรก ๒ คือ ชาลโรรุวะ ๑

ธูมโรรุวะ ๑. บรรดาโรรุวนรกทั้ง ๒ นั้น ชาลโรรุวะเต็มไปด้วยเปลวไฟอัน

แสดงคล้ายเลือด ดำรงอยู่ตลอดกัป. ธูมโรรุวะเต็มไปด้วยควันอันแสบ. ใน

โรรุวนรกทั้ง ๒ นั้น เปลวไฟจะแทรกเข้าไปตามปากแผลทั้ง ๙ ของพวก

สัตว์นรกผู้หมกไหม้อยู่ในชาลโรรุวะแล้ว จึงเผาสรีระ. ควันแสบแทรกเข้าไป

ตามปากแผลทั้ง ๙ ของเหล่าสัตว์นรกผู้ไหม้อยู่ในธูมโรรุวะ แล้วจึงค่อยทำ

สรีระให้เป็นผงไหลออกมาคล้ายดังแป้ง ฉะนั้น . สัตว์นรกผู้หมกไหม้อยู่ในนรก

แม้ทั้ง ๒ นั้น ย่อมร้องดัง ท่านจึงเรียกนรกแม้ทั้ง ๒ นั้นว่า โรรุวะ. ความ

ว่างเปล่า คือระหว่างคั่นของเปลวไฟ สัตว์ผู้หมกไหม้อยู่ และทุกข์ของสัตว์

เหล่านั้น ย่อมไม่มีในนรกนี้ เหตุนั้น นรกนั้นจึงชื่อว่า อวิจิ. อวีจินรกเป็น

สถานที่ใหญ่ จึงได้ชื่อว่า มหาอวีจิ. จริงอยู่ ในมหาอวิจินรกนั้น เปลวไฟ

ทั้งหลาย ตั้งขึ้นแต่ฝาด้านทิศบูรพาเป็นต้นแล้ว กลับมากระทบในฝาด้านทิศ

ปัจฉิมเป็นต้น ทะลุฝาก่อนแล้วจับข้างหน้าได้ ๑๐๐ โยชน์ เปลวไฟที่ตั้งขึ้น

ในเบื้องต่ำย่อมกระทบเบื้องบน เปลวไฟที่ตั้งขึ้นเบื้องบนย่อมกระทบในเบื้องต่ำ

ขึ้นชื่อว่า เปลวไฟทั้งหลาย ในอวีจิมหานรกนี้ ย่อมไม่มีระหว่างอย่างนี้

นั่นแหละ ก็สถานที่มีประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ภายในมหานรกนั้น เต็มไปด้วย

สัตว์ทั้งหลายหาระหว่างคั่นไม่ได้เลย ประดุจดังทะนานเต็มไปด้วยน้ำนมและ

แป้ง ฉะนั้น ประมาณของเหล่าสัตว์ผู้หมกไหม้อยู่ ย่อมไม่มีด้วยอิริยาบถทั้ง ๔

และสัตว์เหล่านั้น ย่อมไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ย่อมไหม้อยู่ในที่เฉพาะ

ของตนเท่านั้น. ขึ้นชื่อว่า ระหว่างแห่งสัตว์ทั้งหลายในมหานรกนี้ ย่อมไม่มี

ด้วยประการฉะนี้. อุเบกขาอันเป็นอกุศลวิบาก ๖ อย่างที่เหลือ ย่อมเป็น

อัพโภหาริก เพราะความที่ทุกข์ในมหานรกนั้นมีกำลัง เผาอยู่เนือง ๆ เปรียบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

เหมือนหยาดแห่งน้ำผึ้ง ๖ หยาดในปลายลิ้น ย่อมเป็นอัพโภหาริก เพราะ

ความที่หยาดของทองแดงอันเป็นส่วนที่ ๗ เป็นของมีกำลังเผาอยู่เนืองๆ ฉะนั้น.

ทุกข์เท่านั้น ย่อมปรากฏ คือ ย่อมปรากฏหาระหว่างมิได้. ขึ้นชื่อว่าระหว่าง

แห่งความทุกข์ในมหานรกนี้ ย่อมไม่มีด้วยประการฉะนี้. อวีจิมหานรกนี้นั้น

รวมทั้งฝาทั้งหลาย วัดโดยผ่ากลางได้ ๓๑๘ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๙๕๔ โยชน์

รวมทั้งอุสสทนรกด้วยเป็นหมื่นโยชน์. บัณฑิตพึงทราบความที่อวีจิมหานรกนั้น

เป็นสถานที่ใหญ่ถึงเพียงนี้.

นรกใดเผาสัตว์ทั้งหลายไม่ให้กระดิกได้ เพราะฉะนั้น นรกนั้นจึงชื่อว่า

ตาปนะ. นรกใดย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้เร่าร้อนอย่างเหลือเกิน เพราะฉะนั้น

นรกนั้นจึงชื่อว่า ปตาปนะ. นายนรยบาลทั้งหลาย ย่อมให้สัตว์นั่งบนหลาว

เหล็กที่ลุกโพลง มีประมาณเท่าลำตาล ในตาปนนรกนั้น แผ่นดินภายใต้แต่

ที่นั้น ย่อมลุกโพลง ส่วนหลาวไม่ติดไฟ สัตว์ทั้งหลายย่อมลุกเป็นเปลวเพลิง

นรกนั้น ย่อมเผาสัตว์ไม่ให้กระดิกได้ ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง นายนิรยบาล

ย่อมประหารสัตว์ผู้เกิดในนรกนอกนี้ ด้วยอาวุธทั้งหลายที่กำลังลุกโชนแล้ว

ให้ขึ้นสู่ภูเขาเหล็กมีไฟโพลง. ในเวลาที่สัตว์เหล่านั้น ยืนอยู่บนยอดภูเขา ลม

อันมีกรรมเป็นปัจจัย ย่อมประหารสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นไม่อาจจะทรงตัว

อยู่ได้บนภูเขานั้น ก็มีเท้าในเบื้อง มีศีรษะในเบื้องต่ำตกลงมา. ลำดับนั้น

หลาวเหล็กลุกเป็นไฟ ย่อมตั้งขึ้นแต่แผ่นดินเหล็กเบื้องต่ำ. สัตว์นรกเหล่านั้น

ก็เอาศีรษะกระแตกหลาวเหล็กเหล่านั้นทีเดียว มีร่างกายทะลุเข้าไปในหลาว

เหล็กเหล่านั้นลุกโพลงไหม้อยู่. นรกนั้น ย่อมเผาสัตว์ให้เร่าร้อนเหลือเกิน

ด้วยประการฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

ก็พระโพธิสัตว์ เมื่อจะแสดงนรกเหล่านั้นให้ปรากฏ จึงแสดงถึงสัญชีว-

นรกก่อน เพราะได้เห็นสัตว์นรกทั้งหลายผู้หมกไหม้อยู่ในสัญชีวนรกนั้น

มหาชนจึงเกิดความหวาดกลัวขึ้นเป็นอย่างมากแล้ว จึงให้สัญชีวนรกนั้น

อันตรธานหายไป ทำแผ่นดินให้แยกออกเป็น ๒ ส่วนอีกครั้งหนึ่งแล้ว จึง

แสดงกาฬสุตตนรก. พอเมื่อความหวาดกลัวเป็นอย่างมากเกิดขึ้นแก่มหาชน

เพราะได้เห็นสัตว์ทั้งหลายหมกไหม้อยู่ในกาฬสุตตนรกเช่นนั้น จึงบันดาลให้

กาฬสุตตนรกนั้นอันตรธารหายไป. พระโพธิสัตว์แสดงนรกโดยลำดับอย่างนี้

ด้วยประการฉะนี้. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงเชิญเสด็จพระราชามาแล้ว ทูลว่า

ขอถวายพระพร พระองค์ควรจะได้ทอดพระเนตรสัตว์ทั้งหลายผู้หมกไหม้อยู่

ในมหานรกทั้ง ๘ ขุมเหล่านี้บ้าง จะได้ทรงบำเพ็ญความไม่ประมาท ดังนี้แล้ว

หวังจะกล่าวถึงหน้าที่แห่งมหานรกเหล่านั้น ซ้ำอีกครั้ง จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า

นรก ๘ ขุม ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺขาตา ความว่า นรกทั้ง ๘ ขุมที่

อาตมภาพทูลแล้วแก่พระองค์นี้ บัณฑิตทั้งหลาย ในกาลก่อนก็ได้เคยกล่าวไว้

แล้วเหมือนกันนะ. บทว่า อากิณฺณา คือ บริบูรณ์. บทว่า ปจฺเจกา

โสฬสุสฺสทา ความว่า มหานรกทั้ง ๘ ชุมเหล่านี้ แต่ละขุม ๆ มีประอยู่

๔ ประตู แต่ละประตูมีอุสสทนรกประตูละ ๔ มหานรกแห่งหนึ่ง ๆ จึงได้มี

อุสสทนรกแห่งละ ๑๖ ขุม รวมอุสสทนรกทั้งหมดเป็น ๑๒๘ (เป็นนรกย่อย)

รวมกับมหานรกอีก ๘ ขุม จึงเรียกว่านรก ๑๓๖ ขุม ด้วยประการฉะนี้

(๘ x ๔ = ๓๒ x ๔ = ๑๒๘ + ๘= ๑๓๖). บทว่า กทริยตาปนา ความว่า

นรกเหล่านี้แม้ทั้งหมด เป็นสถานที่ทำคนผู้แข็งกระด้างให้เร่าร้อน น่ากลัว

เพราะมีความทุกข์เป็นกำลัง มีเปลวไฟ เพราะมีเปลวไฟเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

ตลอดกัป มีภัยมากมาย เพราะมีความน่ากลัวอยู่อย่างมาก มีรูปร่างน่าขนลุก

ขนพอง เพราะพอบุคคลเห็นเข้าก็ขนลุกขนพอง ดูพิลึก เพราะน่าเกลียดน่ากลัว

มีภัยรอบด้านเพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภัย มีความลำบาก เพราะหาความสุขไม่

ได้เลย. บทว่า จตุกฺโกณา ได้แก่ นรกแม้ทั้งหมดก็เป็นเช่นกับหีบ ๔ เหลี่ยม.

บทว่า วิภตฺตา คือ แบ่งไว้เป็นประตูทั้ง ๔ ด้าน. บทว่า ภาคโส มิตา

คือ นับตั้งไว้เป็นส่วน ๆ ด้วยสามารถทางประตูทั้งหลาย. บทว่า อยสา

ปฏิกชฺชิตา ความว่า นรกแม้ทั้งหมดถูกปิดแล้ว ด้วยกระเบื้องเหล็กประมาณ

๙ โยชน์. บทว่า ผุฏา ติฏฺนฺติ ความว่า นรกแม้ทั้งหมด แผ่ไปตั้งอยู่ตลอด

เนื้อที่ประมาณเพียงเท่านี้. บทว่า อุทฺธปาทา อวสิรา อธิบายว่า พระ-

โพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้ หมายถึงสัตว์ผู้กลิ้งเกลือกตกไปอยู่ ในนรกนั้นบ่อย ๆ.

บทว่า อติวตฺตาโร ความว่า สัตว์ที่กล่าวล่วงเกินด้วยวาจาหยาบคายทั้งหลาย.

ได้ยินมาว่า สัตว์ทั้งหลายผู้กระทำความผิด ในสมณพราหมณ์ผู้ดำรงอยู่ในธรรม

ย่อมหมกไหม้อยู่ในมหานรกโดยมาก็เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า

เต ภูนหนา อธิบายว่า สัตว์ผู้กล่าวล่วงเกินพระฤๅษีเหล่านั้น เป็นผู้มีความ

เจริญอันถูกกำจัดแล้ว เพราะกำจัดความเจริญของตนเอง ย่อมหมกไหม้อยู่

คล้ายกับปลาที่เขาทำให้เป็นชิ้น ๆ. บทว่า อสงฺเขยฺเย ความว่า ใคร ๆ ไม่

สามารถจะนับได้. บทว่า กิพฺพิสการิโน คือ ผู้มีปกติการทำกรรมอันทารุณ

โหดร้าย. บทว่า นิกฺขมเนสิโน ความว่า สัตว์เหล่านั้น แม้จะค้นหา

แสวงหาหนทางออกจากนรก ก็มิได้ถึงประตูทางออกเลย. บทว่า ปุรตฺถิเมน

ความว่า ในเวลาที่ประตูยังไม่ปิด สัตว์เหล่านั้นก็จะพากันมุ่งหน้าวิ่งไปยังประตู

นั้น. อวัยวะมีผิวพรรณเป็นต้นของสัตว์เหล่านั้น ก็จะถูกไหม้ไฟในที่นั้นเอง.

พอเมื่อสัตว์เหล่านั้นวิ่งไปใกล้จะถึงประตู ประตูก็ปิดเสีย ประตูข้างหลังก็ปรากฏ

คล้ายเหมือนว่าถูกเปิดแล้ว. แม้ในประตูด้านอื่น ๆ ทั้งหมดก็นัยนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

บทว่า น สาธุรูเป ความว่า บุคคล (อย่า) พึงเข้าไปเบียดเบียนพระฤาษี

ผู้มีรูปดีดุจดังงูมีประการดังกล่าวแล้ว ด้วยที่นั่ง ด้วยคำหยาบ หรือด้วยกายกรรม

ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะจะต้องได้เสวยความทุกข์อย่างใหญ่-

หลวง ในมหานรกทั้ง ๘ ขุม เหตุกระทบกระทั่งท่านผู้สำรวมแล้ว และมี

ตบธรรม.

บัดนี้ พระโพธิสัตว์หวังจะแสดงถึงพระราชา ผู้ทรงกระทบกระเทียบ

พระฤๅษีเห็นปานนั้นแล้ว ประสบความทุกข์นั้น ๆ จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า

อติกาโย ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติกาโย ได้แก่ มีพระวรกาย

ใหญ่โต สมบูรณ์ด้วยกำลัง. บทว่า มหิสฺสาโส ได้แก่ ผู้ถือธนู. บทว่า

สหสฺสพาหุ ความว่า มีแขนพันหนึ่ง เพราะสามารถยกธนูได้ด้วยแขนพันแขน

ที่ต้องใช้บุคคลผู้ถือธนู ๕๐๐ คน ถึงจะยกขึ้นได้. บทว่า เกกกาธิโป คือ

ผู้เป็นใหญ่ในเกกกรัฐ. บทว่า วิภวงฺคโต ได้แก่ ถึงความพินาศ. เรื่อง

ทั้งหลายมีพิสดารแล้วในสรภังคชาดก. บทว่า อุปหจฺจ มน ได้แก่ ทำจิต

ของตนให้ประทุษร้าย. บทว่า มาตงฺคสฺมึ คือ ในมาตังคบัณฑิต. เรื่อง

ได้เล่าไว้แล้วในมาตังคชาดก. บทว่า กณฺหทีปายนาสชฺช คือ ทำร้าย

พระดาบสผู้มีชื่อว่า กัณหทีปายนะ. บทว่า ยมสาธน ได้แก่ นรก. เรื่องมี

พิสดารแล้วในฆฏชาดก. บทว่า อิสินา ได้แก่ พระดาบสชื่อว่า กปิละ.

บทว่า ปาเวกฺขี ได้แก่ เข้าไปแล้ว. บทว่า เจจฺโจ ได้แก่ พระเจ้าเจติยราช.

บทว่า หีนตฺโต ได้แก่ มีอัตภาพอันเสื่อมไปรอบแล้ว คือ หมดฤทธิ์. บทว่า

กาลปริยาย ได้แก่ ถึงเวลาตายโดยปริยาย. เรื่องกล่าวไว้แล้วในเจติยชาดก.

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่บุคคลผู้เป็นไปในอำนาจแห่งจิต ผิดใน

ฤๅษีทั้งหลายแล้ว ย่อมหมกไหม้อยู่ในมหานรกทั้ง ๘. บทว่า ตสฺมา หิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

ฉนฺทาคมน ความว่า บัณฑิตย่อมไม่สรรเสริญการถึงอคติแม้ทั้ง ๔ อย่างมี

ฉันทาคติเป็นต้น. บทว่า ปทุฏฺเน คือ โกรธแล้ว. บทว่า คนฺตฺวา โส

นิรย อโธ ความว่า บุคคลผู้นั้น ย่อมไปสู่นรกเบื้องต่ำนั้นแล ด้วยผลกรรม

ที่ตนควรไปสู่เบื้องต่ำนั้น . แต่ในพระบาลีท่านเขียนไว้เป็น นิรยุสฺสท ดังนี้.

ความข้อนั้นหมายถึงว่า ย่อมไปสู่อุสสทนรก. บทว่า วุฑฺเฒ ได้แก่ ท่าน

ผู้เจริญโดยวัย และท่านผู้เจริญโดยคุณ. บทว่า อนปจฺจา ความว่า คน

เหล่านั้น ย่อมไม่ได้เหล่ากอหรือทายาท แม้ในระหว่างแห่งภพ. บทว่า

ตาลวตฺถุ ความว่า คนเหล่านั้น ย่อมถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง แม้ใน

ทิฏฐธรรมคล้ายต้นตาลที่มีรากอันขาดแล้วฉะนั้น แล้วไปบังเกิดในนรกทั้งหลาย.

บทว่า หนฺติ ได้แก่ ทำให้ตาย. บทว่า จิร รตฺตาย ได้แก่ ตลอดกาล

ยาวนาน.

พระมหาสัตว์ ครั้นแสดงนรกที่พวกคนผู้เบียดเบียนฤๅษีทั้งหลายหมก

ไหม้อยู่ อย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงนรกที่พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมหมกไหม้

อยู่ต่อไป จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า โย จ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

รฏฺ วิทฺธสโน ได้แก่ เป็นผู้ถึงอคติด้วยอำนาจฉันทาคติเป็นต้นแล้ว กำจัด

ชาวแว่นแคว้นเสีย. บทว่า อจฺจิสงฺฆปเรโต โส ได้แก่ พระราชาพระองค์

นั้น เป็นผู้อันกลุ่มแห่งเปลวไฟโหมล้อมแล้ว. บทว่า เตโชภกฺขสฺส ได้แก่

เคี้ยวกินไฟอยู่ทีเดียว. บทว่า คตฺตานิ ได้แก่ องค์อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหมด

ในสรีระ ในที่ประมาณ ๓ คาวุต คือ เปลวไฟเป็นกลุ่มเดียวกันทั้งหมด

มีพร้อมกับอวัยวะเหล่านี้ คือ ปลายขนและเล็บ. บทว่า ตุณฺฑทฺทิโต ความว่า

สัตว์นรกนั้น ย่อมคร่ำครวญ คล้ายช้างที่นายหัตถาจารย์แทงแล้ว ด้วยขอ

กระทำให้มีอาการไม่หวั่นไหว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

พระมหาสัตว์ ครั้นแสดงนรกที่พวกพระราชา ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม

หมกไหม้อยู่อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงถึงนรกที่พวกบุคคลผู้ฆ่าบิดาเป็นต้น

หมกไหม้อยู่ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า โย โลภา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า โลภา ได้แก่ เพราะความโลภในยศและในทรัพย์. บทว่า โทสา

ได้แก่ เพราะตนมีจิตอันโทสะประทุษร้ายแล้ว. บทว่า นิตฺตจ ความว่า

นายนิรยบาล นำคนผู้ฆ่าบิดานั้น ซึ่งหมกไหม้อยู่ในโลหกุมภี ตลอดหลายพัน

ปีออกมาแล้ว ทำสรีระซึ่งสูง ๓ คาวุตของสัตว์นั้น ไม่ให้มีหนัง (ลอกหนัง

ออก) แล้วผลักให้ล้มลงบนแผ่นดินโลหะอันไฟลุกโพลง ทิ่มแทงด้วยหลาว

เหล็กอันคม จนละเอียดเป็นผุยผง. บทว่า อนฺธ กริตฺวา ความว่า พระ

โพธิสัตว์ ทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร นายนิรยบาลทั้งหลาย ทรมานคนผู้ฆ่าบิดา

นั้น ให้ล้มหงายลงบนแผ่นดินโลหะที่ไฟกำลังลุกโพลง แล้วเอาหลาวเหล็กที่

ติดไฟลุกโพลง ทิ่มแทงนัยน์ตาทั้ง ๒ ข้างให้บอดสนิท แล้วเอามูตร และ

กรีสอันร้อนยัดใส่เข้าไปในปาก แล้วหมุนเวียนสัตว์นั้น ไป คล้ายตั่งที่ทำด้วย

ฟาง แล้วกดให้จมลงในน้ำโลหะอันแสบ ซึ่งตั้งอยู่โดยตลอดกัป. บทว่า

ตตฺต ปกฺกุฏฺิตมโยคุฬญฺจ ความว่า นายนิรยบาลทั้งหลายให้สัตว์นรก

นั้นเคี้ยวกินเปือกตม คือคูถอันเดือดพล่านแล้ว และก้อนเหล็กอันลุกโชนอีก

ด้วย ก็สัตว์นรกนั้น พอเห็นคูถและก้อนเหล็กที่นายนิรยบาล นำนาอยู่นั้นแล้ว

ก็ปิดปากเสีย ลำดับนั้น นายนิรยบาล จึงเอาผาลไถยาวมีปลายร้อนยิ่งนัก ลุก

เป็นเปลวไฟ งัดปากของสัตว์นรกนั้นให้อ้าออกแล้ว ใส่เบ็ดเหล็กที่ผูกสายเชือก

เข้าไปเกี่ยวเอาลิ้นออกมา แล้วยัดใส่ก้อนเหล็กนั้นลงไปในปากที่อ้าอยู่นั้น.

บทว่า รกฺขสา ได้แก่ นายนิรยบาล. บทว่า สามา จ ความว่า พระ

โพธิสัตว์ทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร ฝูงสุนัขแดง ฝูงสุนัขมีสีด่าง ฝูงแร้งมีปาก

เป็นโลหะ ฝูงกาป่าและฝูงนกนานาชนิด เหล่าอื่น ก็พากันมาชุมนุมฉุดกระชาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

ลากเอาลิ้นของบุคคลผู้ฆ่าบิดานั้นออกมาด้วยเบ็ด แล้วกัดลิ้นที่นำออกไว้บน

แผ่นดิน ด้วยขอเหล็กหลายอัน คล้ายกะเอาอาวุธมาตัดทำให้เป็นส่วน ๆ โดย

อาการเหมือนกากบาท. บทว่า วิปฺผนฺทมาน ความว่า ฝูงสัตว์เหล่านั้น

ย่อมพากันเคี้ยวกินสัตว์นรกทั้งหลาย เหมือนเคี้ยวกินของอันเป็นเดนที่มีเลือด

ออก ฉะนั้น. บทว่า ต ทฑฺฒกาฬ ความว่า นายนิรยบาลเที่ยวเดินทุบ

ตีสัตว์นรกผู้ฆ่าบิดานั้น ซึ่งมีสรีระอัน ไฟไหม้แล้วลุกโพลงอยู่ ประดุจดังผล

กะเบาอันไฟไหม้อยู่ ฉะนั้น. บทว่า ปริภินฺนคตฺต ได้แก่ มีตัวอันแตก

แล้วในที่นั้น ๆ. บทว่า นิปิโปถยนฺตา ได้แก่ เอาค้อนเหล็กที่ไฟลุกโพลง

ทุบตี. บทว่า รตี หิ เตส ความว่า ความยินดีนั้น ย่อมเป็นความสนุก

สนานของพวกนายนิรยบาลเหล่านั้น. บทว่า ทุกฺขิโน ปนีตเร ความว่า

ส่วนสัตว์นรกนอกนี้ ย่อมเป็นผู้ได้รับความทุกข์. บทว่า เปตฺติฆาฏิโน คือ

ผู้ฆ่าบิดา พระราชา ครั้นทอดพระเนตรเห็นนรกที่บุคคลผู้ฆ่าบิดาทั้งหลาย

หมกไหม้อยู่นี้ ได้เป็นผู้สะดุ้งกลัวแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ ครั้นได้ปลอบพระราชาพระองค์นั้นแล้ว

จึงแสดงนรกที่บุคคลผู้ฆ่ามารดาทั้งหลายหมกไหม้อยู่. บทว่า ยมกฺขย คือ

ที่อยู่ของพระยายม ได้แก่ นรก. บทว่า อตฺตกมฺมผลูปโค ได้แก่ เข้า

ถึงแล้วด้วยผลกรรมของตน. บทว่า อมนุสฺสา ได้แก่ พวกนายนิรยบาล.

บทว่า หนฺตาร ชนยนฺติยา คือ ผู้ฆ่ามารดา. บทว่า พาเลหิ ความว่า

นายนิรยบาลพันด้วยผาลผูกด้วยขอเหล็ก และบีบคั้นอยู่ด้วยยนต์เหล็ก. บทว่า

ต คือบุคคลผู้ฆ่ามารดานั้น. บทว่า ปาเยนฺตี ความว่า ก็เมื่อสัตว์นรกนั้น

ถูกบีบคั้นอยู่ โลหิตย่อมไหลออกจนเต็มกระเบื้องเหล็ก ลำดับนั้น พวกนาย

นิรยบาล ย่อมนำสัตว์นรกนั้นออกมาจากเครื่องยนต์ สรีระของสัตว์นรกนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

ย่อมกลับเป็นปกติตามเดิม ในขณะนั้นทีเดียว พวกนายนิรยบาล จึงให้สัตว์

นรกนั้น นอนหงายบนแผ่นดิน แล้วให้ดื่มโลหิตที่กำลังเดือดพล่าน ดุจทอง

แดงที่กำลังละลายอยู่ ฉะนั้น. บทว่า โอคฺคยฺห ติฏฺติ ความว่า นาย

นิรยบาลทั้งหลาย บีบสัตว์นรกนั้นด้วยยนต์เหล็ก แล้วโยนลงไปในบ่อตม คือ

คูถอันมากมายน่าเกลียด และปฏิกูลด้วยกลิ่นเหม็นฟุ้งตลอดหลายพันปี. สัตว์

นรกนั้น ดิ่งลงสู่ห้วงน้ำนั้นอยู่. บทว่า อติกายา คือ มีสรีรูประมาณเท่า

เรือโกลนลำหนึ่ง. บทว่า อโยมุขา คือมีปากเป็นเหล็กแหลม. บทว่า ฉวึ

เภตฺวาน ความว่า ทำลายตั้งแต่ผิวหนังไปจนกระทั่งกระดูก บางทีก็กินเข้า

ไปถึงเหยื่อในกระดูก. บทว่า ปคิทฺธา คือ เลื้อยไต่ไป. ก็หมู่หนอนเหล่า

นั้น ย่อมกัดกินอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ยังจะได้เข้าไปทางปากล่างเป็นต้น

ออกทางปากบนเป็นต้น เข้าไปทางข้างเบื้องซ้ายเป็นต้นแล้ว ออกจากทางข้าง

เบื้องขวาเป็นต้น ย่อมทำสรีระทุกส่วนให้เป็นช่องน้อยช่องใหญ่ สัตว์นรกนั้น

ได้รับความลำบากเป็นอย่างยิ่งร้องไห้คร่ำครวญหมกไหม้อยู่ในนรกนั้น. บทว่า

โส จ ความว่า บุคคลผู้ฆ่ามารดานั้น ตกสู่นรกมีประมาณลึกได้ร้อยชั่วบุรุษ

นั้นแล้ว ย่อมจมลงไปจนมิดศีรษะทีเดียว ก็ซากศพนั้น ย่อมเน่าเปื่อยส่งกลิ่น

ฟุ้งตลบไปจนตลอดที่ร้อยโยชน์โดยรอบ. บทว่า มาตุฆาฏี คือผู้ฆ่ามารดา.

พระมหาสัตว์ ครั้นได้แสดงนรกที่บุคคลผู้ฆ่ามารดาหมกไหม้อยู่อย่าง

นี้แล้ว เมื่อจะแสดงถึงนรกที่พวกหญิงผู้ทำสัตว์เกิดในครรภ์ ให้ตกไปไหม้อยู่

จึงกล่าวคาถาต่อไปอีก. บทว่า ขุรธารมนุกฺกมฺมา ได้แก่ ก้าวล่วงนรกที่

มีคมประดุจมีดโกน ได้ยินว่า. นายนิรยบาลทั้งหลายในนรกนั้น ย่อมถือเอา

มีดโกนที่คมเล่นใหญ่ ๆ แล้ววางไว้เบื้องบน แต่นั้น หญิงเหล่าใด ดื่มกิน

ยาร้อนที่ทำครรภ์ตกไปเป็นต้นแล้ว ทำครรภ์ให้ตกไป นายนิรยบาลก็ติด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

ตามโบยตีหญิงผู้ที่ทำครรภ์ให้ตกไปเหล่านั้น ด้วยอาวุธทั้งหลายที่มีไฟลุกโพลง

หญิงเหล่านั้น ก็ขาดออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย บนคมแห่งมีดโกนที่คมกริบ ลุก

ขึ้นบ่อย ๆ ก้าวล่วงซึ่งนรกมีคมแห่งมีดโกนอันก้าวล่วงได้ยากอย่างยิ่งนั้น ครั้น

ล่วงพ้นไปแล้ว ก็ยังถูกนายนิรยบาลไล่ติดตาม ย่อมตกลงไปสู่แม่น้ำเวตรณี

อันไม่เสมอข้ามไปได้ยาก เหตุแห่งกรรมในนรกนั้น ๆ จักมีแจ้งในเนมิชาดก.

พระมหาสัตว์ ครั้นได้แสดงนรกแห่งพวกหญิงผู้ทำครรภ์ให้ตกไป

อย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงถึงนรกไม้งิ้วมีหนามแหลม ที่พวกบุรุษผู้ผิดในภริยา

ของคนอื่น และพวกหญิงผู้ประพฤตินอกใจสามีหมกไหม้อยู่นั้น จึงกล่าวคำ

เป็นต้นว่า อโยมยา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุภโต มภิลมฺพนฺติ

ความว่า กิ่งของไม้งิ้วเหล่านั้น ห้อยลงมาริมฝั่งแห่งแม่น้ำเวตรณีทั้ง ๒ ฟาก.

สัตว์ทั้งหลายผู้มีสรีระที่ไฟลุกโพลงอยู่เหล่านั้น เป็นผู้มีเปลวไฟตั้งอยู่. บทว่า

โยชน ความว่า สัตว์เหล่านั้นมีสรีระสูง ๓ คาวุต แต่ย่อมเป็นผู้สูงถึงโยชน์หนึ่ง

กับเปลวไฟที่ตั้งขึ้นแต่สรีระ. บทว่า เอเต สชนฺติ ความว่า สัตว์ทั้งหลาย

ผู้ผิดในภริยาของตนเหล่าอื่นนั้น ถูกนายนิรยบาลทิ่มแทงด้วยอาวุธนานาชนิด

ต้องขึ้นอยู่ในนรกไม้งิ้วเหล่านั้น. บทว่า เต ปตนฺติ ความว่า สัตว์นรก

เหล่านั้น ติดอยู่ที่ค่าคบแห่งต้นไม้ ไหม้อยู่หลายพันปี ถูกนายนิรยบาลเอา

อาวุธทิ่มแทงเข้าอีก ก็กลิ้งเอาศีรษะลงเบื้องต่ำ ตกลงมา. บทว่า ปุถู คือ

มากมาย. บทว่า วินิวทฺธงฺคา ความว่า ในเวลาที่สัตว์นรกเหล่านั้น ตกลง

จาต้นงิ้วนั้น หลาวทั้งหลายแทงขึ้นแต่แผ่นดินเหล็กในภายใต้ คอยรับศีรษะ

ของสัตว์เหล่านั้นพอดี หลาวเหล่านั้น ย่อมแทงทะลุออกทางเบื้องต่ำของ

สัตว์เหล่านั้น . สัตว์นรกเหล่านั้น ถูกหลาวอันเป็นอาวุธทีมแทงเอาแล้วอย่างนี้

ย่อมนอนอยู่ตลอดกาลนาน. บทว่า ทีฆ ความว่า เมื่อไม่ได้การนอนหลับ

จึงตื่นอยู่ตลอดกาลยืดยาว. บทว่า ตโต รตฺยา วิวสเน ความว่า โดยล่วง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

กาลนานในเวลาที่ล่วงไปแห่งราตรีทั้งหลาย. บทว่า ปวชฺชนฺติ ความว่า

สัตว์นรกเหล่านั้น ถูกนายนิรยบาลจับโยนเข้าไปยังโลหกุมภี อันไฟลุกโพลง

มีเนื้อที่ประมาณ ๖๐ โยชน์ คือโลหกุมภีที่เต็มไปด้วยน้ำทองแดงอันไฟลุกโพลง

อยู่ ตั้งอยู่ตลอดกัปแล้ว ไหม้อยู่ในโลหกุมภีนั้น. บทว่า ทุสฺสีลา ได้แก่

ผู้ประพฤติผิดในภริยาของคนอื่น.

พระมหาสัตว์ ครั้นได้แสดงนรกไม้งิ้วที่พวกบุรุษผู้ปรารถนาผิดใน

ภริยาของคนอื่น และพวกหญิงผู้ประพฤตินอกใจสามี หมกไหม้อยู่อย่างนี้แล้ว

เบื้องหน้าแต่นี้ไป เมื่อจะประกาศถึงสถานที่ของพวกหญิงผู้ไม่บำเพ็ญวัตรใน

สามี และวัตรในพ่อผัวเป็นต้น พากันหมกไหม้อยู่ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า

ยา จ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติมญฺติ ความว่า หญิงผู้ทำ

ซึ่งสามิกวัตรดังที่กล่าวไว้แล้วในภิงสชาดก ล่วงละเมิดดูหมิ่นสามี. บทว่า

เชฏฺ วา ได้แก่ พี่ชายของสามี. บทว่า นนนฺทน ได้แก่ น้องสาวของ

สามี. จริงอยู่ ภริยาไม่บำเพ็ญวัตรต่าง ๆ ชนิดเป็นต้นว่า การนิ้วมือนวดเท้า

นวดหลัง ให้อาบน้ำ ให้บริโภคอาหาร แก่ชนเหล่านี้แม้แต่คนใดคนหนึ่งให้

บริบูรณ์ ไม่ตั้งหิริและโอตตัปปะในชนเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมดูหมิ่นชนเหล่านั้น

แม้หญิงนั้น ก็ไปบังเกิดในนรก. บทว่า วงฺเกน ความว่า ก็เมื่อหญิงนั้น

ไม่บำเพ็ญสามิกวัตรเป็นต้นให้บริบูรณ์ ด่าบริภาษสามีเป็นต้น บังเกิดในนรก

นายนิรยบาลทั้งหลายจับหญิงนั้น ให้นอนลงบนแผ่นดินโลหะแล้ว เอาขอเหล็ก

งัดปากให้อ้าแล้ว เอาเบ็ดเกี่ยวปลายลิ้น ฉุดกระชากลากออกมาพร้อมทั้งสาย

เชือกที่ผูกไว้. บทว่า กิมิน คือเต็มไปด้วยหมู่หนอน ท่านกล่าวคำอธิบาย

ไว้ว่า ดูก่อนมหาบพิตร สัตว์นรกนั้น ถูกกระชากมาแล้วอย่างนี้ ย่อมมอง

เห็นปลายลิ้นยาวประมาณวาหนึ่ง โดยวาของตนนั้น เต็มไปด้วยหนอนทั้งหลาย

ตัวโตประมาณเท่าเรือโกลนลำใหญ่ อันเกิดขึ้นในที่ที่ถูกทุบด้วยอาวุธ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

วิญฺาเปต. น สกฺโกติ ความว่า แม้ต้องการจะอ้อนวอนนายนิรยบาล

ก็ไม่อาจจะกล่าวถ้อยคำอะไร ๆ ได้. บทว่า ตาปเน ความว่า หญิงนั้น

ไหม้อยู่ในตาปนนรกนั้นตั้งหลายพันปีอย่างนี้แล้ว ยังจะต้องถูกหมกไหม้อยู่ใน

มหานรกชื่อตาปนะอีก.

พระมหาสัตว์ ครั้นได้แสดงถึงมหานรกที่พวกหญิงผู้ไม่บำเพ็ญวัตรใน

สามี และวัตรในแม่ผัวพ่อผัวเป็นต้นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงถึงนรกที่พวกคน

ผู้ฆ่าสุกรเป็นต้น หมกไหม้อยู่ในบัดนี้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า โอรพฺภิกา

ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวณฺเณ วณฺณการกา ได้แก่ ผู้ทำการ

ส่อเสียด. บทว่า ขารนทึ ความว่า บุคคลผู้ฆ่าแกะเป็นต้นเหล่านี้ ถูกเบียด

เบียนด้วยอาวุธทั้งหลายเหล่านี้มีหอกเป็นต้น ย่อมตกลงไปสู่แม่น้ำเวตรณี.

สถานที่ที่พวกฆ่าแกะเป็นต้นหมกไหม้ที่เหลือ จักมีแจ้งในเนมิชาดก. บทว่า

กูฏการี ท่านกล่าวหมายถึงบุคคลผู้ทำการตัดสินคดีโกง และผู้ทำการโกงด้วย

ตราชั่งเป็นต้น ในข้อนั้น นรกที่พวกผู้ตัดสินคดีโกง พิจารณาคดีโกง และ

โกงด้วยราคา หมกไหม้อยู่ จักมีแจ้งในเนมิชาดก. บทว่า วนฺต คือ สิ่งที่

สำรอกออกมา. บทว่า ทุรตฺตาน ได้แก่ มีอัตภาพอันเป็นไปได้ยาก.

ข้อนี้ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ดูก่อนมหาบพิตร สัตว์ผู้มีอัตภาพอันถึงความ

ลำบากเหล่านั้น เมื่อศีรษะถูกทุบด้วยฆ้อนเหล็ก ก็ย่อมอาเจียนออกมา แต่นั้น

ย่อมใส่สิ่งอาเจียนออกมานั้นเข้าไปในปาก ของสัตว์บางพวก ในบรรดาสัตว์

เหล่านั้น ด้วยกระเบื้องเหล็กอันไฟลุกโพลง. สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าย่อมบริโภค

สิ่งที่สัตว์เหล่าอื่นอาเจียนออกมา ด้วยประการฉะนี้. บทว่า เภรณฺฑกา

ได้แก่ สุนัขจิ้งจอก. บทว่า วิปฺผนฺทมาน ความว่า ถูกจับให้นอนคว่ำหน้า

และดึงเอาลิ้นออกมา ดิ้นรนไปมาข้างโน้นข้างนี้. บทว่า มิเคน คือ เนื้อที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

เที่ยวหากินน้ำ. บทว่า ปกฺขินา คือนกชนิดนั้นนั่นเอง. บทว่า คนฺตฺวา เต

ได้แก่ คนเหล่านั้นไปแล้ว. บทว่า นิรยุสฺสท ได้แก่ อุสสทนรก แต่ใน

บาลีท่านเขียนไว้ว่า นรกเบื้องต่ำ. ก็นรกนั้น จักมีแจ้งในเนมิชาดกแล.

พระมหาสัตว์ ครั้นได้แสดงถึงนรกมีประมาณเท่านี้ ด้วยประการฉะนี้

แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทำการเปิดเทวโลกแด่พระราชาแล้ว แสดงเทวโลกแด่

พระราชา จึงทูลว่า

สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไปสู่เบื้องบน เพราะ

กรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว ในโลกนี้ ขอเชิญพระองค์

ทอดพระเนตรผลของกรรม ที่บุคคลประพฤติดีแล้ว

เทพเจ้าทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พระพรหมมีอยู่

ดูก่อนมหาบพิตร ผู้เป็นอธิบดีแห่งรัฐ เพราะเหตุนั้น

อาตมภาพขอทูลมหาบพิตร ขอมหาบพิตร จงทรง

ประพฤติธรรม ดูก่อนพระราชา ขอเชิญพระองค์ทรง

ประพฤติธรรม เหมือนอย่างธรรมที่บุคคลประพฤติ

ดีแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺโต ได้แก่ ผู้เข้าไปสงบระงับทวาร

๓ มีกายทวารเป็นต้น . บทว่า อุทฺธ ได้แก่ เทวโลก. บทว่า สหินฺทา

ได้แก่ พร้อมด้วยพระอินทร์ทั้งหลายในเทวโลกนั้น ๆ. จริงอยู่ พระมหาสัตว์

เมื่อจะแสดงถึงหมู่เทวดาทั้งหลาย อันประกอบด้วยเทวดาชั้นจาตุมหาราชแด่

พระราชาพระองค์นั้น จึงทูลว่า ขอถวายพระพร ขอพระองค์จงทอดพระเนตร

เทวดาชั้นจาตุมหาราชทั้งหลาย จงทอดพระเนตรท้าวมหาราชทั้ง ๔ จงทอด

พระเนตรเทวดาชั้นดาวดึงส์ จงทอดพระเนตรท้าวสักกะเถิด ดังนี้ เมื่อจะ

แสดงเทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์และพระพรหม แม้ทั้งหมดเหล่านั้น

อย่างนี้ จึงแสดงต่อไปว่า นี้เป็นผลของกรรมที่ประพฤติดีแล้ว แม้นี้ก็เป็นผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

ของกรรมที่ประพฤติดีแล้วเช่นเดียวกัน. บทว่า ตนฺต พฺรูมิ ความว่า

เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจะขอทูลกะพระองค์. บทว่า ธมฺม ความว่า ตั้งแต่

วันนี้ไป ขอพระองค์จงงดเว้นเวรทั้ง ๕ มีปาณาติบาตเป็นต้น แล้วจงบำเพ็ญ

บุญทั้งหลายมีทานเป็นต้นเถิด. บทว่า ยถา ต สุจิณฺณ นานุตปฺเปยฺย

ความว่า ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมนั้นให้เป็นอันประพฤติดีแล้ว คือ

จงทำบุญให้มาก โดยประการที่บุญกรรมมีทานเป็นต้นนั้น อันบุคคลประ-

พฤติดีแล้ว กรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วนั้น ย่อมไม่ตามเดือดร้อนในภายหลัง

เพราะสามารถปกปิดเสียได้ซึ่งความเดือดร้อนมีปิตุฆาตกรรมเป็นต้นเหตุ.

พระราชาพระองค์นั้น ครั้นได้ทรงสดับธรรมกถาของพระมหาสัตว์แล้ว

ตั้งแต่นั้นมา ก็ทรงได้รับความปลอดโปร่งพระหฤทัย ฝ่ายพระโพธิสัตว์อาศัย

อยู่ในพระราชอุทยานนั้นสิ้นกาลเล็กน้อยแล้ว ก็กลับไปยังสถานที่อยู่ของตน

ตามเดิมแล.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย จะใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้ในกาลก่อนพระเจ้าอชาตศัตรู

พระองค์นี้ ก็ได้เราตถาคตทำให้ทรงสบายพระหฤทัยแล้ว เหมือนกัน ดังนี้แล้ว

ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในกาลครั้งนั้น ได้เป็น พระเจ้าอชาตศัตรู

หมู่ฤาษีได้เป็นพุทธบริษัท ส่วนสังกิจจบัณฑิตก็คือเราตถาคต นั่นแล.

จบอรรถกถาสังกิจจชาดก

จบอรรถกถาสัฏฐินิบาต ด้วยประการฉะนี้แล

รวมชาดกในสัฏฐินิบาต

เชิญท่านทั้งหลายพึงภาษิตของข้าพเจ้าในสัฏฐินิบาต (ในนิบาตนี้)

มี ๒ ชาดก คือ โสณกชาดก ๑ สังกิจชาดก ๑ และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

สัตตตินิบาตชาดก

๑. กุสชาดก

ว่าด้วยพระเจ้ากุสราชลุ่มหลงรูปโฉมของนางประภาวดี

[๙๔] รัฐของพระองค์นี้ มีทรัพย์ มียาน

มีเครื่องราชกกุธภัณฑ์ สมบูรณ์ด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา

ทั้งปวง ข้าแต่พระมารดา ขอพระองค์จงทรงปกครอง

ราชสมบัติของพระองค์นี้ หม่อนฉันจะขอทูลลาไปยัง

เมืองสาคละ ซึ่งเป็นที่สถิตแห่งพระนางประภาวดี

ที่รัก.

[๙๕] พระองค์ทรงนำหาบใหญ่มาด้วยพระทัย

อันไม่ซื่อตรง จักต้องทรงสวยทุกข์ใหญ่ทั้งกลางวัน

และกลางคืน ขอเชิญพระองค์เสด็จกลับไปยังกุสาวดี

นครเสียโดยเร็วเถิด หม่อมฉันไม่ปรารถนาให้พระองค์

ซึ่งมีผิวพรรณชั่วอยู่ในที่นี้.

[๙๖] ประภาวดีเอ๋ย พี่ติดใจในผิวพรรณของ

เธอ จึงจะจากที่นี้ไปยังเมืองกุสาวดีไม่ได้ พี่ยินดีใน

การเห็นเธอ ได้ละทิ้งบ้านเมืองมารินรมย์อยู่ในพระ-

ราชนิเวศน์อันน่ารื่นรมย์ของพระเจ้ามัททราช ดูก่อน

น้องประภาวดี พี่ติดใจในผิวพรรณของเธอจนลุ่มหลง

เที่ยวไปยังพื้นแผ่นดิน พี่ไม่รู้จักทิศว่า คนมาแล้วจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

ที่ไหน พี่หลงไหลในตัวเธอ ผู้มีดวงเนตรอันแจ่มใส

เหมือนดวงตามฤค ผู้ทรงผ้ากรองทอง ดูก่อนพระน้อง

ผู้มีตะโพนอันผึ่งกาย พี่ปรารถนาแต่ตัวเธอ พี่ไม่ต้อง

การด้วยราชสมบัติ.

[๙๗] ดูก่อนพระเจ้ากุสราช ผู้ใดปรารถนาคน

ที่เขาไม่ปรารถนาตน ผู้นั้นย่อมมีแต่ความไม่เจริญ

หม่อมฉันไม่รักพระองค์ พระองค์ก็จะให้หม่อมฉันรัก

เมื่อเขาไม่รัก พระองค์ก็ยังปรารถนาให้เขารัก.

[๙๘] นรชนใดได้คนที่เขาไม่รักตัว หรือที่รัก

ตัวมาเป็นที่รัก เราสรรเสริญการได้ในสิ่งนี้ ความไม่

ได้ในสิ่งนั้นเป็นความชั่วช้า.

[๙๙] พระองค์ทรงปรารถนา ซึ่งหม่อมฉันผู้ไม่

ปรารถนา เปรียบเหมือนพระองค์เอาไม่กรรณิการ์มา

แคะเอาเพชรในหิน หรือเหมือนเอาตาข่ายมาดักลม

ฉะนั้น.

[๑๐๐] หินคงฝังอยู่ในหฤทัยมีลักษณะอ่อน

ละมุนละไม ของเธอเป็นเเน่ เพราะตั้งแต่ฉันมาจาก

ชนบทภายนอก ยังไม่ได้ความชื่นชมจากเธอเลย

พระราชบุตรียังทำหน้านิ่วคิ้วขมวด มองดูฉันอยู่ตราบ

ใด ฉันก็คงต้องเป็นพนักงาน เครื่องต้นภายในบุรีของ

พระเจ้ามัททราชอยู่ตราบนั้น ต่อเมื่อใดพระราชบุตร

ยิ้มแย้มแจ่มใสมองดูฉัน ฉันก็จะเลิกเป็นพนักงาน

เครื่องต้น กลับเป็นพระเจ้ากุสราชเมื่อนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

[๑๐๑] ก็ถ้าถ้อยคำของโหรทั้งหลายจักเป็นจริง

ไซร้ พระองค์คงไม่ใช่พระสวามีของหม่อนฉันแน่แท้

เขาเหล่านั้นคงจะบั่นเราออกเป็นเจ็ดท่อนแน่.

[๑๐๒] ก็ถ้าถ้อยคำของโหรเหล่าอื่นหรือของ

หม่อมฉันจักเป็นจริงไซร้ พระสวามีของเธอ นอกจาก

พระเจ้ากุสราชผู้มีพระเสียงดังราชสีห์ จะเป็นคนอื่น

ไม่มีเลย.

[๑๐๓] แน่ะนางขุชชา เรากลับไปถึงกรุงกุสาวดี

แล้ว จักให้นายช่างทำเครื่องประดับคอทองคำให้แก่เจ้า

ถ้าเจ้าทำให้พระนางประภาวดีผู้มีขาอ่อนงามดังงวงช้าง

แลดูเราได้... ถ้าเจ้าทำพระนางประภาวดีผู้มีขาอ่อนงาม

ดังงวงช้างให้เจรจาแก่เราได้...ถ้าเจ้าทำพระนางประภา-

วดีผู้มีขาอ่อนงามดังงวงช้างให้ยิ้มแย้มแก่เราได้... ถ้า

เจ้าทำพระนางประภาวดีผู้มีขาอ่อนงามดังงวงช้าง ให้

หัวเราะร่าเริงแก่เราได้ แน่ะนางขุชชา เรากลับไป ถึง

กรุงกุสาวดีแล้ว จักให้นายช่างทำเครื่องประดับคอ

ทองคำให้แก่เจ้า ถ้าเจ้าทำพระนางประภาวดีผู้มีขา-

อ่อนงามดังงวงช้าง มาลูบคลำจับตัวเรา ด้วยมือของ

เธอได้.

[๑๐๔] พระราชบุตรีนี้ คงไม่ได้ประสบแม้ความ

สำราญในสำนักแห่งพระเจ้ากุสราชเสียเลยเป็นแน่

พระนางจึงไม่ทรงกระทำแม้เพียงการปฏิสันถาร ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

บุรุษผู้เป็นพนักงานเครื่องต้น เป็นคนรับใช้ ไม่ต้อง

การด้วยค่าจ้าง.

[๑๐๕] นางขุชชานี้ เห็นจะไม่ต้องถูกตัดลิ้น

ด้วยมีดอันคมเป็นแน่ จึงมาพูดคำหยาบช้าอย่างนี้.

[๑๐๖] ข้าแต่พระนางประภาวดี พระนางอย่า

ทรงเทียบพระเจ้ากุสราชนั้น ด้วยพระรูปอันเลอโฉม

ของพระนางซิ ข้าแต่พระนางผู้มีความรุ่งเรือง

พระนางจงกระทำไว้ในพระทัยว่า พระเจ้ากุสราช

พระองค์นั้นทรงมีพระอิสริยยศใหญ่ แล้วจงกระทำ

ความรักในพระเจ้ากุสราช ผู้มีความงามอันนี้ ข้าแต่

พระนางประภาวดี พระนางอย่าทรงเทียบพระเจ้า

กุสราชพระองค์นั้นด้วยพระรูปอันเลอโฉมของพระนาง

ซิ ข้าแต่พระนางผู้มีความรุ่งเรือง พระนางจงกระทำ

ไว้ในพระทัยว่า พระเจ้ากุสราชพระองค์นั้นทรงมี

พระราชทรัพย์เป็นอันมาก... มีทแกล้วทหาร. . มี

พระราชอาณาจักรสว่างใหญ่... เป็นพระมหาราชา

มีพระสุรเสียงเหมือนเสียงราชสีห์... มีพระสุรเสียง

ไพเราะ ... มีพระสุรเสียงหยดย้อย ... มีพระสุรเสียง

กลมกล่อม ... มีพระสุรเสียงล่อนหวาน... ทรง

ชำนาญศิลป์ตั้งร้อยอย่าง... เป็นกษัตริย์... พระแม่เจ้า

ประภาวดี พระนางอย่าเทียบพระเจ้ากุสราชนั้นด้วย

พระรูปอันเลอโฉมของพระนางซิ พระนางจงกระทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

ไว้ในพระทัยว่า พระราชาพระองค์นั้น มีพระนาม

เหมือนกับหญ้าคาที่ท้าวสักกะทรงประทาน แล้วจง

กระทำความรักในพระเจ้ากุสราชผู้มีความงามอันนี้.

[๑๐๗] ช้างเหล่านี้ทั้งหมดเป็นสัตว์แข็งกระด้าง

ตั้งอยู่เหมือนจอมปลวก จะพากันพังกำแพงเข้ามา

เสียก่อน ขอพระองค์ส่งข่าวแก่พระราชาเหล่านั้นว่า

เชิญเสด็จมานำเอานางประภาวดีนี้ไปเถิด.

[๑๐๘] เราจะบั่นนางประภาวดีนี้ออกเป็นเจ็ด-

ท่อน แล้วจักให้แก่กษัตริย์ผู้เสด็จมา ณ ที่นี้เพื่อจะ

ฆ่าเรา.

[๑๐๙] พระราชบุตรผู้มีผิวผ่องดังทองคำ ทรง

ผ้าโกไสยพัสตร์ มีพระเนตรนองด้วยน้ำตา อันหมู่

ทาสีแวดล้อม เสด็จไปยังห้องพระมารดา.

[๑๑๐] ข้าแต่พระมารดา หน้าของลูกอันผัดแล้ว

ด้วยแป้ง ส่องแล้วที่กระจกเงา งดงาม มีดวงเนตร

คมคาย ผุดผ่องเป็นนวลใย จักถูกกษัตริย์ทั้งหลาย

โยนทิ้งเสียในป่าเป็นแน่แล้ว ฝูงแร้งก็จะพากันเอาเท้า

ยื้อแย่งผมของลูกอันดำ มีปลายงอน ละเอียดอ่อน

ลูบไล้ด้วยน้ำมันหอมแก่นจันทน์ ในท่ามกลางป่าช้า

อันเปรอะเปื้อนเป็นแน่ แขนอ่อนนุ่มทั้งสองของลูก

อันมีเล็บแดง มีขนละเอียด ลูบไล้ด้วยจุรณจันทน์

ก็จะถูกกษัตริย์ทั้งหลายตัดทิ้งเสียในป่า และฝูงกาก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

จะโฉบคาบเอาไปตามความปรารถนาเป็นแน่ สุนัข

จิ้งจอกมาเห็นถันทั้งสองของลูกเช่นกับผลตาลอันห้อย

อยู่ ซึ่งลูบไล้ด้วยกระแจะจันทน์แคว้นกาสี ก็จะยืน

คร่อมที่ถันทั้งสองของลูกเป็นแน่ เหมือนลูกอ่อนที่

เกิดแต่ตนของมารดา ตะโพนอันกลมผึ่งผายของลูก

ผูกรัดด้วยสร้อยสะอิ้งทอง ก็จะถูกกษัตริย์ทั้งหลายตัด

เป็นชิ้น ๆ แล้วโยนทิ้งไปในป่า ฝูงสุนัขจิ้งจอกก็จะ

พากันมาฉุดคร่าไปกิน ฝูงสุนัขป่า ฝูงกา ฝูงสุนัข-

จิ้งจอกและสัตว์ที่มีเขี้ยวเหล่าอื่นซึ่งมีอยู่ ได้กินนาง

ประภาวดีแล้ว คงไม่รู้จักแก่กันเป็นแน่ ข้าแต่พระ-

มารดา ถ้ากษัตริย์ทั้งหลายผู้มาแต่ที่ไกลได้นำเอาเนื้อ

ของลูกไปหมดแล้ว พระมารดาได้ทรงโปรดขอเอา

กระดูกมาเผาเสียในระหว่างทางใหญ่ พระมารดา

ได้สร้างสวนดอกไม้แล้ว จงปลูกต้นกรรณิการ์ในสวน

เหล่านั้น ข้าแต่พระมารดา ในกาลใด ดอกกรรณิการ์

เหล่านั้นบานแล้วในเวลาหิมะตกในฤดูเหมันต์ ใน

กาลนั้น ขอพระมารดาพึงรำลึกถึงลูกว่า ประภาวดีมี

ผิวพรรณอย่างนี้.

[๑๑๑] พระมารดาของพระนางประภาวดีเป็น

ขัตติยานี มีพระฉวีวรรณดังเทพอัปสรได้ประทับยืน

อยู่แล้ว ทอดพระเนตรเห็นดาบและธนูวางอยู่ตรง

พระพักตร์พระเจ้ามัททราช ภายในบุรี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

[๑๑๒] จึงทรงพิลาปรำพันว่า พระองค์จะทรง

ฆ่าธิดาของหม่อมฉัน บั่นให้เป็นท่อน ๆ ด้วยดาบนี้

แล้วจะประทานแก่กษัตริย์ทั้งหลาย แน่หรือเพค๊ะ.

[๑๑๓] ลูกน้อยเอ๋ย พระบิดาไม่ทรงกระทำตาม

คำของแม่ใคร่ประโยชน์ เจ้านั้นเปรอะเปื้อนโลหิต

ไปสู่สำนักพระยายมในวันนี้ ถ้าบุรุษผู้ใดไม่ทำตามคำ

ของบิดามารดาผู้เกื้อกูลมองเห็นประโยชน์ บุรุษนั้น

ย่อมได้รับโทษอย่างนี้ และจะต้องเข้าถึงโทษที่ลามก

กว่า ในวันนี้ถ้าลูกจะทรงไว้ซึ่งกุมารทรงโฉมงดงาม

ดังสีทอง เป็นกษัตริย์เกิดกับพระเจ้ากุสราช สวม

สร้อยสังวาลย์แก้วมณีแกมทอง อันหมู่พระญาติบูชา

แล้วไซร้ ลูกก็จะไม่ต้องไปยังสำนักพระยายม ลูกหญิง

เอ๋ย เสียงกลองชัยเภรีดังอยู่อึ่งมี่ และเสียงช้างร้องก้อง

อยู่ในตระกูลแห่งกษัตริย์ทั้งหลายใด ลูกเห็นอะไร

เล่าหนอที่มีควานสุขยิ่งกว่าตระกูลนั้น จึงได้มาเสีย

เสียงม้าศึกคะนองร้องคำรนอยู่ที่ประตู เสียงกุมาร

ร้องรำทำเพลงอยู่ในตระกูลกษัตริย์ทั้งหลาย ลูกเห็น

อะไรเล่าหนอที่มีความสุขยิ่งไปกว่าตระกูลนั้น จึงได้

มาเสีย ในตระกูลแห่งกษัตริย์ทั้งหลาย มีนกยูง นก-

กระเรียนและนกดุเหว่าส่งเสียงร้องก้องเสนาะเพราะ

จับใจ ลูกเห็นอะไรเล่าหนอที่จะมีความสุขยิ่งไปกว่า

ตระกูลนั้น จึงได้มาเสีย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

[๑๑๔] พระเจ้ากุสราชพระองค์ใด ผู้มีพระปรีชา

อย่างยอดเยี่ยม ผู้ย่ำยีกษัตริย์ทั้งเจ็ดพระนคร ทรง

ปราบปรามแคว้นอื่นให้พ่ายแพ้ พึงทรงปลดเปลื้อง

เราทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์ได้ พระเจ้ากุสราชพระองค์

นั้นประทับอยู่ที่ไหนหนอ.

[๑๑๕] พระเจ้ากุสราชพระองค์ใดผู้มีพระปรีชา

อย่างยอดเยี่ยม ผู้ย่ำยีกษัตริย์ทั้งเจ็ดพระนคร ทรง

ปราบปรามแคว้นอื่นให้พ่ายแพ้ จักทรงกำจัดกษัตริย์

เหล่านั้นทั้งหมดได้ พระเจ้ากุสราชพระองค์นั้น

ประทับอยู่ที่นี่แหละเพค้ะ.

[๑๑๖] เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรือจึงได้พูดอย่างนี้

หรือว่าเจ้าเป็นอันธพาล จึงได้พูดอย่างนี้ ถ้าพระเจ้า

กุสราชพึงเสด็จมาจริง ทำไมพวกเราจะไม่รู้จัก

พระองค์เล่า.

[๑๑๗] พระเจ้ากุสราชนั้นทรงปลอมพระองค์

เป็นบุรุษพนักงานเครื่องต้น ทรงพระภูษาหยักรั้งมั่นคง

กำลังก้มพระองค์ล้างหม้ออยู่ ในระหว่างพระตำหนัก

ของพระกุมารีทั้งหลายเพค้ะ.

[๑๑๘] เจ้าเป็นหญิงชั่วช้าจัณฑาลหรือ หรือว่า

เจ้าเป็นหญิงประทุษร้ายตระกูล เจ้าเกิดแล้วในตระกูล

พระเจ้ามัททราช เหตุใดจึงกระทำพระสวามีให้เป็น

ทาส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

[๑๑๙] หม่อมฉันไม่ได้เป็นหญิงชั่วช้าจัณฑาล

ไม่ใช่เป็นหญิงประทุษร้ายตระกูล นั่นพระเจ้ากุสราช

โอรสของพระเจ้าโอกกากราช ขอความเจริญจงมีแด่

พระมารดา แต่พระมารดาทรงเข้าพระทัยว่าเป็นทาส.

[๑๒๐] ขอความเจริญจงมีแด่พระมารดา พระ-

ราชาพระองค์ใด ทรงเชื้อเชิญพราหมณ์สองหมื่นคน

ให้บริโภคภัตตาหารในกาลทุกเมื่อ พระราชาพระองค์

นั้น คือ พระเจ้ากุสราชพระโอรสแห่งพระเจ้าโอก-

กากราช แต่พระมารดาเข้าพระทัยว่าเป็นทาส เจ้า

พนักงานเตรียมช้างไว้สองหมื่นเชือก. . . เตรียมม้า

สองหมื่นตัว... ขอความเจริญจงมีแด่พระมารดา เจ้า

พนักงานรีดนมโคสองหมื่นตัว ในกาลทุกเมื่อเพื่อพระ

ราชาพระองค์ใด พระราชาพระองค์นั้น คือ พระเจ้า

กุสราชโอรสของพระเจ้าโอกกากราช แต่พระมารดา

เข้าพระทัยว่าเป็นทาส.

[๑๒๑] ดูก่อนเจ้าผู้เป็นพาล เจ้ากระทำกรรม

อันชั่วร้ายเหลือเกิน ที่เจ้าไม่บอกพ่อว่า พระเจ้ากุส-

ราชผู้เป็นกษัตริย์มีทแกล้วทหารมาก ผู้เป็นพระยาช้าง

มาด้วยเพศแห่งกบ.

[๑๒๒] ข้าแต่พระมหาราชผู้จอมทัพ ขอพระ

องค์ได้ทรงพระกรุณา โปรดงดโทษแก่หม่อมฉัน ที่

ไม่ทราบว่าพระองค์เสด็จมาในที่นี้ด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้

จักด้วยเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

[๑๒๓] คนเช่นหม่อนฉันมิได้ปกปิดเลย หม่อม

ฉันนั้นเป็นพนักงานเครื่องต้น พระองค์เท่านั้นทรง

เลื่อมใสแก่หม่อมฉัน ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ แต่

พระองค์ไม่มีกรรมชั่วช้า ที่หม่อมฉันจะต้องอดโทษ.

[๑๒๔] ดูก่อนเจ้าคนพาล เจ้าจงไปขอขมาโทษ

พระเจ้ากุสราชผู้มีกำลังมากเสีย พระเจ้ากุสราชที่เจ้า

ขอขมาแล้ว จักประทานชีวิตให้เจ้า.

[๑๒๕] พระนางประภาวดีผู้มีผิวพรรณดังเทพ-

ธิดา ทรงรับพระดำรัสของพระบิดาแล้ว ได้ซบพระ

เศียรลงกอดพระบาทพระเจ้ากุสราช ผู้มีพระกำลัง

มาก.

[๑๒๖] ราตรีเหล่านี้ที่ล่วงไป เว้นจากพระองค์

นั้นเพียงใด หม่อมฉัน ขอถวายบังคมพระยุคลบาท

ของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า เพียงนั้น ของพระองค์

โปรดอย่าทรงพิโรธหม่อมฉันเลย หม่อมฉันขอตั้ง

สัตย์ปฏิญาณแก่พระองค์ โปรดทรงสดับหม่อมฉัน

เถิดเพค้ะ หม่อมฉันจะไม่พึงทำความชิงชังแก่พระ-

องค์อีกต่อไปละ ถ้าพระองค์จะไม่ทรงโปรดกระทำ

ตามคำของหม่อมฉันผู้ทูลวิงวอนอยู่อย่างนี้ พระบิดา

คงเข่นฆ่าหม่อมฉัน แล้วทรงประทานแก่กษัตริย์ทั้ง-

หลาย ณ กาลบัดนี้เป็นแน่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

[๑๒๗] เมื่อพระน้องอ้อนวอนอยู่อย่างนี้ ไฉน

พี่จะไม่ทำตามคำของพระน้องเล่า พี่ไม่โกรธพระน้อง

เลยนะคนงาม อย่ากลัวเลยประภาวดี พี่ขอตั้งสัตย์

ปฏิญาณต่อพระน้อง โปรดขอจงทรงฟังพี่เถิดนะ

พระราชบุตรี พี่จะไม่พึงกระทำความเกลียดชังแก่พระ

น้องนางอีกต่อไปละ ดูก่อนน้องประภาวดีผู้ตะโพก

อันผึ่งผาย พี่สามารถจะทำลายตระกูลกษัตริย์มัททราช

มากมายแล้วนำพระน้องนางไปได้ แต่เพราะความรัก

พระน้องนาง พี่จึงสู้ยอมทนทุกข์มากมายได้.

[๑๒๘] เจ้าพนักงานทั้งหลาย จงตระเตรียมรถ

และม้า อันวิจิตรด้วยเครื่องอลังการต่าง ๆ ทั้งมั่นคง

แข็งแรง ท่านทั้งหลายจงเห็นความพยายามของเราผู้

กำจัดศัตรูทั้งหลายให้พ่ายแพ้ไปในบัดนี้ ก็นารีทั้ง-

หลายภายในพระราชวังของพระเจ้ามัททราชนั้น พา

กันมองดูพระโพธิสัตว์ ผู้เสด็จเยื้องกรายดุจราชสีห์

ทรงปรบพระหัตถ์เสวยพระกระยาหารถึงสองเท่าพระ-

องค์นั้น.

[๑๒๙] ก็พระเจ้ากุสราช ครั้นเสด็จขึ้นประทับ

บนคอช้างสาร โปรดให้นางประภาวดีประทับเบื้อง

หลังแล้ว เสด็จเข้าสู่สงคราม ทรงบันลือพระสุรสีห-

นาท กษัตริย์เจ็ดพระนคร ทรงสดับพระสุรสีหนาท

ของพระเจ้ากุสราช ผู้บันลืออยู่ ถูกความกลัว แต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

เสียงของพระเจ้ากุสราชคุกคามแล้ว พากันแตกหนีไป

เหมือนดังฝูงมฤคได้ยินเสียงแห่งราชสีห์ก็พากันหนีไป

ฉะนั้น พวกพลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า ผู้

อันความกลัวแต่เสียงพระเจ้ากุสราชคุกคามแล้ว ก็พา

กันแตกตื่นเหยียบย่ำกันและกัน ท้าวสักกะจอมเทพ

ได้ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ ทรงมีชัยในท่าม

กลางสงครามนั้น มีพระทัยชื่นชมยินดี ทรงพระราช

ทานแก้วมณีอันรุ่งโรจน์ดวงหนึ่ง แก่พระเจ้ากุสราช

พระเจ้ากุสราชทรงชนะสงคราม ได้แก้วมณีอันรุ่ง-

โรจน์ แล้วเสด็จประทับบนคอช้างสารเสด็จเข้าสู่พระ

นคร ตรัสสั่งให้จับกษัตริย์เจ็ดพระนครทั้งเป็น ให้มัด

นำเข้าถวายพระสัสสุระ ทูลว่า ขอเดชะ กษัตริย์เหล่า

นี้เป็นศัตรูของพระองค์ ศัตรูทั้งหมดซึ่งคิดจะกำจัด

พระองค์เสียนี้ ตกอยู่ในอำนาจของพระองค์แล้ว เชิญ

ทรงกระทำตามพระประสงค์เถิด พระองค์ทรงกระทำ

กษัตริย์เหล่านั้นให้เป็นทาสแล้ว จะทรงปล่อยหรือจะ

ทรงประหารเสียตามแต่พระทัยเถิด.

[๑๓๐] กษัตริย์เหล่านี้เป็นศัตรูของพระองค์ มิ

ได้เป็นศัตรูของหม่อนฉัน ข้าแต่พระมหาราช พระองค์

เป็นใหญ่กว่าหม่อมฉัน จะทรงปล่อยหรือจะทรง

ประหารศัตรูเหล่านั้นก็ตามเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

[๑๓๑] พระราชธิดาของพระองค์ ล้วนทรง

งดงามดังเทพกัญญา มีอยู่ถึง ๗ พระองค์ ขอพระองค์

โปรดพระราชทานแก่กษัตริย์ทั้ง ๗ นั้นองค์ละองค์

ขอกษัตริย์เหล่านั้นจงเป็นพระชามาดา ของพระองค์

เถิด.

[๑๓๒] ข้าแต่พระมหาราช พระองค์เป็นใหญ่

กว่าหม่อมฉันทั้งหลาย และกว่าพวกลูกของหม่อมฉัน

ทั้งหมด เชิญพระองค์นั่นแหละทรงพระราชทานพวก

ลูกของหม่อมฉันแก่กษัตริย์เหล่านั้น ตามพระราช

ประสงค์เถิด.

[๑๓๓] ในกาลนั้น พระเจ้ากุสราชผู้มีพระสุร-

เสียงดังเสียงราชสีห์ ได้ทรงยกพระราชธิดาของเจ้า

มัททราช ประทานให้แก่กษัตริย์ พระองค์นั้นองค์

ละองค์ กษัตริย์ทั้ง ๗ พระองค์ทรงอิ่มพระทัยด้วยลาภ

นั้น ทรงขอบพระคุณพระเจ้ากุสราชผู้มีพระสุรเสียง

ดังเสียงราชสีห์แล้วพากันเสด็จกลับไปยังนครของตน ๆ

ในขณะนั้นทีเดียว ฝ่ายพระเจ้ากุสราชผู้มีพระกำลัง

มาก ทรงพาพระนางประภาวดีและดวงแก้วมณีอันงาม

รุ่งโรจน์เสด็จกลับยังกรุงกุสาวดี เมื่อพระเจ้ากุสราช

และพระนางประภาวดีทั้ง ๒ พระองค์นั้น ประทับอยู่

ในพระราชรถคันเดียวกัน เสด็จเข้ากรุงกุสาวดี มี

พระฉวีวรรณและพระรูปพระโฉมทัดเทียมกัน มิได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

ทรงงดงามยิ่งหย่อนกว่ากันเลย พระมารดาของพระ

มหาสัตว์และพระชยัมบดีราชกุมารทั้ง ๒ พระองค์ได้

เสด็จไปต้อนรับถึงนอกพระนคร แล้วเสด็จกลับ

พระนครพร้อมด้วยพระราชโอรส ในกาลนั้น พระเจ้า

กุสราชและพระนางประภาวดี ก็ทรงสมัครสมานกัน

ได้ทรงปกครองราชอาณาจักรกุสาวดีให้รุ่งเรือง

ตลอดมา.

จบกุสชาดกที่ ๑

อรรถกถาสัตตตินิบาต

อรรถกถากุสชาดก

พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ

ปรารภภิกษุผู้ไม่ยินดีในพระธรรมวินัยมีใจคิดจะสึกรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรม

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อิทนฺเต รฏฺ ดังนี้.

ได้ยินว่า กุลบุตรชาวกรุงสาวัตถีคนหนึ่ง ได้ถวายชีวิตในพระศาสนา

บรรพชาแล้ว. วันหนึ่ง เธอเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เห็นสตรีนางหนึ่ง

ซึ่งแต่งกายงดงาม มองดูด้วยอำนาจถือเอานิมิตอันงาม ถูกกิเลสเข้าครอบงำ

จนหมดความยินดียิ่งอยู่แล้ว. เธอมีผมและเล็บงอกยาวขึ้น มีจีวรเศร้าหมอง

มีตัวผอมเหลืองเกิดแล้ว มีกายอันสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น. มีอุปมาเหมือนอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

บุพนิมิต ๕ ประการที่ปรากฏแก่เทวบุตรทั้งหลาย ผู้มีอันจะต้องจุติเป็นธรรมดา

ในเทวโลก คือ พวงมาลัย ย่อมเหี่ยวแห้ง ๑ ผ้านุ่งห่มเศร้าหมอง ๑ ผิวกาย

อันเศร้าหมอง ย่อมก้าวลงในสรีระ ๑ เหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง ๑

เทวดาไม่รื่นรมย์ในทิพยอาสน์ ๑ ฉันใด บุพนิมิต ๕ ประการก็ย่อมปรากฏ

แก่ภิกษุผู้ไม่ยินดีในพระธรรมวินัยมีใจคิดจะสึก ผู้จะต้องเคลื่อนจากศาสนา

เป็นธรรมดา ได้แก่ ดอกไม้คือศรัทธา ย่อมเหี่ยวแห้งไป ๑ ผ้าคือศีลย่อม

เศร้าหมอง ๑ ผิวพรรณอันเศร้าหมอง ย่อมก้าวลงในสรีระ ด้วยความเป็นผู้

เก้อเขิน และด้วยอำนาจแห่งความไม่มียศ ๑ เหงื่อคือกิเลสทั้งหลาย ย่อม

ไหลออก ๑ ภิกษุนั้น ย่อมไม่ยินดีในป่า ที่โคนต้นไม้ในเรือนอันว่างเปล่า

ฉันนั้นเหมือนกัน. นิมิตทั้งหลายปรากฏแล้วแก่ภิกษุนั้น. ลำดับนั้น ภิกษุ

ทั้งหลาย จึงได้นำเธอเข้าไปในสำนักของพระศาสดาแล้ว แสดงให้ทรงทราบว่า

ภิกษุรูปนี้ คิดต้องการจะสึก พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ได้ยินว่า เธอคิดจะสึกจริงหรือ เมื่อภิกษุรูปนั้นกราบทูลตามความเป็นจริงแล้ว

จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธออย่าตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลสเลย ธรรมดาว่า

มาตุคามนี้เป็นข้าศึก (ต่อการประพฤติพรหมจรรย์) เธอจงหักห้ามจิตที่คิด

รักใคร่เยื่อใยในมาตุคามนั้นเสีย จงยินดีในพระศาสนาเถิด จริงอยู่ บัณฑิต

ครั้งโบราณทั้งหลาย แม้จะเป็นผู้มีเดช ย่อมต้องเสื่อมไปได้ เพราะเป็นผู้มีจิต

คิดรักใคร่ในมาตุคาม และเป็นผู้หมดเดชถึงความพินาศย่อยยับเพราะมาตุคาม

ดังนี้แล้ว ได้ทรงนิ่งเฉยอยู่ ได้รับการอาราธนาจากภิกษุเหล่านั้น จึงทรงนำ

อดีตนิทานมาตรัสว่า

ในอดีตกาล พระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้า

โอกกากราช ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม ในราชธานีชื่อกุสาวดี ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

แว่นแคว้นมัลละ. ท้าวเธอมีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่า สีลวดี ซึ่ง เป็น

ใหญ่กว่านางสนมจำนวน ๑๖,๐๐๐ นาง. พระนางสีลวดีนั้น หามีพระโอรส

และพระธิดาไม่ ลำดับนั้น ชาวเมืองและชาวแว่นแคว้นทั้งหลายจึงพากันมา

ประชุมที่พระทวารพระราชนิเวศน์แล้ว ร้องเรียนแด่พระราชาพระองค์นั้นว่า

บ้านเมืองจักพินาศ บ้านเมืองจักฉิบหาย พระราชาทรงให้เปิดสีหบัญชรออก

แล้วตรัสถามว่า เมื่อเราครองรัฐอยู่ ขึ้นชื่อว่าการกระทำสิ่งอันไม่เป็นธรรม

ย่อมไม่มี พวกท่านจะมาร้องเรียกทำไมกัน. พวกประชาชนกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้ประเสริฐ เป็นความจริง ขึ้นชื่อว่าการกระทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรมมิได้

มีเลย ก็แต่ว่าพระโอรสผู้จะสืบวงศ์ของพระองค์ ยังไม่มี ชนเหล่าอื่นจักช่วงชิง

เอาพระราชสมบัติแล้ว ทำบ้านเมืองให้พินาศล่มจม เพราะฉะนั้น ขอพระองค์

จงทรงปรารถนาพระโอรสผู้สามารถ จะปกครองพระราชสมบัติโดยธรรมเถิด

พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า เราก็ต้องการปรารถนาพระโอรสอยู่ แต่จะทำ

อย่างไรดี. ประชาชนกราบทูลวิธีการว่า ขอเดชะ ขั้นแรก ขอพระองค์จงทรง

ปล่อยนางฟ้อนรุ่นเล็กสักนางหนึ่ง กระทำให้เป็นนางฟ้อนโดยธรรมไปสัก ๗

วันก่อน ถ้านางได้บุตรก็เป็นการดี ถ้าไม่ได้ ต่อจากนั้น ขอให้ทรงปล่อย

นางฟ้อนชั้นกลาง แต่นั้นขอให้ทรงปล่อยนางฟ้อนชั้นสูง บรรดานางสนมมี

ประมาณเท่านี้ นางสนมผู้มีบุญคนหนึ่งจักได้พระโอรสเป็นแน่แท้ พระราชา

ทรงกระทำตามถ้อยคำของชาวเมืองเหล่านั้นทุกอย่าง ทรงอภิรมย์ตามความสุข

สบายตลอด ๗ วัน จึงตรัสถามนางสนมที่พากันกลับมาแล้วว่า พวกเธอพอจะ

ให้บุตรได้บ้างไหม ? หญิงทั้งหมดกราบทูลว่า ขอเดชะ หม่อนฉันทั้งหลาย

ให้ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า พระราชาทรงเสียพระทัยว่า โอรสจักไม่เกิดแก่เรา

เป็นแน่. ชาวเมืองทั้งหลายก็พากันร้องเรียนขึ้นเหมือนอย่างนั้นซ้ำอีก พระ-

ราชาตรัสว่า พวกท่านทั้งหลาย จะพากันมาร้องเรียนเอาอะไรกัน เราได้ปล่อย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

พวกนางฟ้อนไปตามคำของพวกท่านแล้ว จนถึงเหลือนางคนหนึ่ง ก็ยังไม่ได้

บุตร บัดนี้เราจะกระทำการอย่างไรกัน. พวกชาวเมืองกราบทูลว่า ขอเดชะ

นางเหล่านั้น จักเป็นผู้ทุศีล ไม่มีบุญ นางเหล่านี้ ไม่มีบุญสำหรับจะได้บุตร

เมื่อนางสนมเหล่านี้ไม่ได้บุตร พระองค์ก็อย่าทรงถอยพระอุตสาหะเสียเลย

พระนางเจ้าสีลวดีพระอัครมเหสีของพระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยศีล ขอพระองค์

จงทรงปล่อยพระนางไปเสียเถิด พระนางจักได้พระโอรสเป็นแน่แท้ ท้าวเธอ

ทรงรับรองว่า ดีละ ดังนี้แล้วจึงรับสั่งให้คนเที่ยวตีกลองเป่าประกาศว่า ข่าวดี

ในวันที่ ๗ แต่วันนี้ไป พระราชา จะทรงนำพระนางเจ้าสีลวดี ให้เป็นนาง

ฟ้อนรำโดยธรรมแล้วปล่อยไป บรรดาผู้ชายทั้งหลาย จงมาประชุมกัน ครั้น

พอถึงวันที่ ๗ จึงให้ตกแต่งประดับประดาพระนางเจ้าแล้ว ให้ลงจากพระราช-

นิเวศน์ปล่อยไป. ด้วยเดชะแห่งศีลของพระนาง พิภพของท้าวสักกะก็แสดง

อาการเร่าร้อนขึ้น. ท้าวเธอจึงทรงใคร่ครวญว่า เกิดเหตุอะไรขึ้นหนอ ก็ทรง

ทราบว่า พระนางเจ้าปรารถนาพระโอรส จึงทรงพระดำริว่า เราควรจะให้

พระโอรสแก่พระนางนี้ จึงทรงใคร่ครวญต่อไปว่า พระโอรสที่สมควรแก่

พระนางนี้ ในเทวโลกมีอยู่หรือไม่หนอ ก็ได้ทรงเห็นพระโพธิสัตว์.

ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์นั้น สิ้นอายุในภพชั้นดาวดึงส์ ในกาลนั้น

และเป็นผู้ใคร่จะได้เสด็จไปบังเกิดในเทวโลกเบื้องบนต่อไป ท้าวสักกเทวราช

จึงเสด็จไปยังประตูวิมานของพระโพธิสัตว์นั้น ตรัสว่า ดูก่อนท่านผู้เช่นเรา

ท่านควรจะไปยังมนุษยโลกแล้ว ถือปฏิสนธิในครรภ์พระอัครมเหสี ของ

พระเจ้าโอกกากราช ให้พระโพธิสัตว์ยอมรับแล้ว จึงตรัสกะเทพบุตรอีกคน

หนึ่งว่า ถึงท่านก็จักต้องเป็นโอรสของพระนางนี้ แล้วได้เสด็จไปยังประตู

พระราชนิเวศน์ ของพระราชาด้วยเพศแห่งพราหมณ์แก่ ด้วยทรงพระดำริว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

ก็ใคร ๆ จงอย่าได้ทำลายศีลของพระนางนี้เสียเลย. แม้มหาชนอาบน้ำตกแต่ง

ร่างกายแล้ว ก็ไปประชุมที่ประตูพระราชนิเวศน์ด้วยคิดว่า เราจักรับเอาพระ-

เทวี ครั้นเห็นท้าวสักกะจึงได้กระทำการเยาะเย้ยว่า ท่านผู้เฒ่าจะมาทำไม.

ท้าวสักกะตรัสว่า ท่านทั้งหลาย จะติเตียนเราทำไม ถึงแม้ว่าร่างกายของเรา

จะแก่เฒ่าก็จริง แต่ความกระชุ่มกระชวย ก็ยังไม่หมดสิ้นไป เรามาด้วยคิดว่า

ถ้าเราจักได้พระนางสีลวดีก็จะพาพระนางไป ดังนี้แล้ว จึงได้เสด็จเข้าไปยืน

คอยอยู่ข้างหน้า ใคร ๆ ทั้งหมดด้วยอานุภาพของตน. คนอื่นไม่อาจยืนบังหน้า

ได้เลย ด้วยเดชแห่งท้าวสักกะนั้น. พอพระนางเจ้าประดับด้วยเครื่องอลังการ

ทั้งปวง เสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ ท้าวเธอก็คว้าที่พระหัตถ์แล้ว ก็พา

หลีกไป. ลำดับนั้น ประชาชนทั้งหลายผู้อยู่ ณ ที่นั้นจึงพากันติเตียนพระนางว่า

ดูเอาเถิดท่านผู้เจริญ พราหมณ์แก่ พาเอาพระเทวีผู้ทรงไว้ซึ่งพระรูปโฉมอัน

อุดมถึงเพียงนี้ไป ตาแกช่างไม่รู้จักสิ่งที่เหมาะสมแก่ตนเสียเลย แม้พระเทวี

ก็มิได้ทรงขวยเขินละอายพระทัยว่า พราหมณ์แก่พาเราไป. แม้พระราชา

ประทับยืนใกล้ช่องพระแกล ก็ทรงคอยดูอยู่ว่า ใครหนอจะพาพระเทวีไป

ครั้นได้เห็นพราหมณ์แก่นั้น ก็ทรงเสียพระทัย. ท้าวสักกะทรงพาพระนาง

ออกจากประตูพระนคร ทรงเนรมิตเรือนหนหลังหนึ่ง ใกล้กับประตูเมือง

ทำการเปิดบานประตูไว้ และจัดแจงเครื่องลาดที่ทำด้วยไม้ไว้แล้ว. ลำดับนั้น

พระนางจึงตรัสถามท้าวเธอว่า นี่เรือนของท่านหรือค่ะ ? ท้าวเธอจึงตรัสตอบว่า

ใช่แล้วน้องนาง แต่กาลก่อนพี่อยู่คนเดียว บัดนี้พี่กับเธออยู่ด้วยกัน ๒ คน

แล้ว พี่จักต้องท่องเที่ยวไปหาข้าวสารเป็นต้นมาไว้ เชิญน้องนางนอนพักผ่อน

เสียบนเครื่องลาดไม้นี้ก่อนเถิด แล้วทรงเอาพระหัตถ์อันอ่อนนุ่มค่อยลูบคลำ

พระนาง ทรงบันดาลให้ทิพยสัมผัสแผ่ซ่านไปทั่ว ให้พระนางบรรทมหลับใน

ที่นั้น. ด้วยความแผ่ซ่านแห่งทิพยสัมผัส พระนางจึงหมดความรู้สึก (หลับไป).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจึงทรงอุ้มเอาพระนางไปยังพิภพชั้นดาวดึงส์ ด้วยอานุภาพ

ของตน ให้พระนางทรงบรรทมเหนือทิพยไสยาสน์ ในวิมานอันประดับประดา

แล้ว. ในวันที่ ๗ พระนางจึงตื่นจากบรรทมแล้ว ทอดพระเนตรเห็นสมบัตินั้น

ก็ทรงทราบได้ว่า พราหมณ์คนนั้นคงไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา เห็นทีจักเป็นท้าว

สักกะแน่นอน.

ในสมัยนั้น แม้ท้าวสักกเทวราช ทรงมีนางฟ้อนชั้นทิพย์แวดล้อม

ประทับนั่งที่โคนไม้ปาริฉัตตกะ. พระนางทรงเห็นท้าวสักกะนั้นแล้ว จึงเสด็จ

ลุกออกจากที่บรรทม เสด็จเข้าไปหาท้าวเธอ ถวายบังคมแล้ว ประทับยืนอยู่

ส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น ท้าวสักกะจึงตรัสกะพระนางว่า พระเทวีน้องรัก

ที่จะให้พรแก่เธอสักอย่างหนึ่ง ขอเธอจงเลือกรับเอาเถิด. พระนางทูลว่า

ขอเดชะ ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงประทานโอรสแก่หม่อมฉันสักพระองค์

หนึ่งเถิด. ท้าวสักกะตรัสว่า ดูก่อนพระเทวี จะว่าแต่พระโอรสคนหนึ่งเลย

พี่จะให้พระโอรสสัก ๒ พระองค์แก่เธอ แต่ว่าในพระโอรสทั้ง ๒ พระองค์นั้น

พระองค์หนึ่ง ทรงมีปัญญาแต่รูปร่างไม่สวยงาม พระองค์หนึ่งรูปร่างสวยงาม

แต่หาปัญญามิได้ ในพระโอรสทั้ง ๒ พระองค์นั้น เธอจะปรารถนาต้องการ

คนไหนก่อน. พระนางทูลตอบว่า ขอเดชะ หม่อมฉันปรารถนาอยากได้พระ-

โอรสที่มีปัญญาก่อน. ท้าวสักกเทวราชนั้นตรัสรับว่า ดีละ ดังนี้แล้ว ทรง

ประทานสิ่งของ ๕ สิ่งอันได้แก่ หญ้าคา ๑ ผ้าทิพย์ ๑ จันทน์ทิพย์ ๑ ดอก

ปาริฉัตตก์ทิพย์ ๑ พิณชื่อโกกนท ๑ แก่พระนางแล้ว ทรงพาพระนางเหาะ

เข้าไปยังห้องบรรทมของพระราชา ให้พระนางบรรทมบนพระยี่ภู่ร่วมพระแท่น

ที่เดียวกันกับพระราชา ทรงบรรจงลูบพระนาภีของพระนางด้วยพระอังคุฏฐะ

(นิ้วหัวแม่มือ). ในขณะนั้น พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

พระนาง แม้ท้าวสักกะ ก็เสด็จไปยังสถานที่อยู่ของพระองค์ตามเดิม. พระเทวี

ทรงทราบว่า พระองค์ทรงตั้งพระครรภ์ เพราะพระนางเป็นบัณฑิต. ลำดับนั้น

พระราชา ทรงตื่นจากพระบรรทม ทอดพระเนตรเห็นพระนาง จึงตรัสถามว่า

ดูก่อนพระเทวี นี่ใครนะพาเธอมา. พระเทวีทูลว่า ท้าวสักกะเพค่ะ พระราชา

ตรัสว่า ฉันได้เห็นประจักษ์แก่สายตาว่า ตาพราหมณ์แก่คนหนึ่ง ได้พาเธอ

ไป ทำไม เธอจึงมาหลอกลวงฉัน. พระเทวีทูลว่า ขอพระองค์จงทรงเชื่อเถิด

เพค่ะ ท้าวสักกะพาหม่อมฉันไป ได้พาไปถึงเทวโลก. พระราชาตรัสว่า ฉัน

ไม่เชื่อเลย พระเทวี. ลำดับนั้น พระนางจึงได้แสดงหญ้าคาที่ท้าวสักกะ ทรง

ประทานไว้แก่พระราชานั้น ทูลว่า ขอพระองค์ทรงเชื่อเถิด. พระราชาตรัสว่า

นั่นเรียกชื่อว่า หญ้าคา ที่ไหน ๆ ใคร ๆ ก็หาเอามาได้ ดังนี้ จึงไม่ทรงเชื่อ.

ลำดับนั้น พระนางจึงทรงนำเอาสิ่งของ ๔ สิ่งมีผ้าทิพย์เป็นต้นแสดงแก่ท้าวเธอ

พระราชาพอได้ทอดพระเนตรเห็นสิ่งของเหล่านั้นแล้ว จึงยอมเชื่อ แล้วตรัส

ถามว่า ดูก่อนพระนางผู้เจริญ เรื่องท้าวสักกะนำพาเธอไป จงพักไว้ก่อน

ก็แต่ว่าเธอได้บุตรหรือไม่เล่า. พระเทวีทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า หม่อมฉัน

ได้พระโอรสแล้ว บัดนี้หม่อมฉันกำลังตั้งครรภ์ ท้าวเธอได้ทรงสดับถ้อยคำ

แล้ว ก็ทรงดีพระทัย จึงทรงพระราชทานเครื่องบริหารพระครรภ์แก่พระนาง

พอได้ถ้วนกำหนดทศมาส พระนางเจ้าก็ประสูติพระราชโอรส. พระชนกและ

พระชนนีมิได้ทรงขนานพระนามอย่างอื่นแก่พระราชโอรสนั้น ทรงขนาน

พระนามว่า กุสติณราชกุมาร. ในกาลที่พระกุสติณราชกุมารเสด็จย่างพระบาท

ไปได้ เทพบุตรอีกองค์หนึ่ง ก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอีก. พอ

ได้ครบ ๑๐ เดือนเต็ม พระนางก็ประสูติพระโอรสอีกพระองค์หนึ่ง. พระชนก

และพระชนนี ได้ทรงขนานพระนามพระกุมารที่ประสูติใหม่นั้นว่า ชยัมบดี-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

ราชกุมาร. พระราชกุมารทั้ง ๒ พระองค์นั้น ทรงเจริญพระชันษาด้วยพระ

อิสริยยศอันยิ่งใหญ่. พระโพธิสัตว์เจ้าทรงมีปัญญา ไม่ต้องทรงศึกษาเล่าเรียน

ศิลปศาสตร์อะไร ๆ ในสำนักของพระอาจารย์ ก็ทรงถึงความสำเร็จใน

ศิลปศาสตร์ทั้งหมดได้ ด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง.

ลำดับนั้น ในกาลที่พระโพธิสัตว์เจ้านั้น ทรงเจริญพระชนมายุได้

๑๖ พระชันษา พระราชาทรงปรารถนาจะมอบพระราชสมบัติให้ จึงรับสั่งให้

พระเทวีมา แล้วตรัสว่า ดูก่อนพระเทวีผู้เจริญ ฉันจะมอบราชสมบัติให้แก่

พระโอรสองค์ใหญ่ของเธอแล้ว จักให้นางฟ้อนทั้งหลายบำรุงบำเรอ ขณะที่เรา

ทั้ง ๒ ยังมีชีวิตอยู่นี่แหละ จักได้เห็นลูกของเราครอบครองราชสมบัติ ก็ลูก

ของเราจะชอบใจพระราชธิดาของกษัตริย์พระองค์ใด ในชมพูทวีปทั้งสิ้น เรา

จะได้นำพระราชธิดานั้นมาสถาปนาให้เป็นอัครมเหสีของลูก เธอจงรู้จิตใจของ

ลูกว่า จะชอบพระราชธิดาองค์ไหนกัน. พระนางรับว่า ดีละ แล้วทรงส่งนาง

บริจาริกาคนหนึ่งไป ด้วยพระดำรัสว่า เจ้าจงไปบอกเรื่องนี้แก่กุมารแล้ว จง

รู้จิตใจ. นางบริจาริกานั้นไป ทูลเรื่องนั้น แก่พระกุมารนั้นแล้ว. พระมหาสัตว์

ได้สดับถ้อยคำนั้นแล้ว จึงคิดว่า เรามีรูปร่างไม่สะสวยงดงาม พระราชธิดา

ผู้สมบูรณ์ด้วยรูป แม้ถูกนำตัวมาพอเห็นเรา ก็จักหนีไปด้วยคิดว่า เราจะมี

ประโยชน์อะไร ด้วยกุมารผู้มีรูปร่างน่าเกลียด ความอับอายก็จะพึงมีแก่เรา

ด้วยประการฉะนี้ ประโยชน์อะไร เราจะอยู่เป็นฆราวาส เราบำรุงมารดาบิดา

ผู้ยังทรงพระชนม์ไปก่อน พอท่านทั้งสองนั้นสวรรคตแล้ว ก็จักออกบวช.

พระองค์จึงตรัสบอกว่า เราไม่มีความต้องการด้วยพระราชสมบัติ ไม่ต้องการ

ด้วยหมู่นางฟ้อน พอพระชนกและพระชนนีสวรรคตไปแล้ว เราก็จักบวช.

นางบริจาริกานั้น สดับพระดำรัสแล้ว จึงกลับมากราบทูลพระดำรัสของพระ-

กุมารนั้นแด่พระเทวี. แม้พระเทวีก็กราบทูลแด่พระราชาแล้ว พระราชาทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

สดับถ้อยคำทูลนั้นแล้ว ก็ทรงเสียพระทัย พอล่วงผ่านไป ๒ - ๓ วัน ก็ทรง

ส่งข่าวสาส์นไปอีก แม้พระกุมารนั้น ก็คัดค้านอีกเหมือนเดิม. พระกุมารทรง

คัดค้านอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง ในครั้งที่ ๔ จึงทรงดำริว่า ธรรมดาว่าลูกจะขัดขืน

คัดค้านมารดาบิดาอยู่ร่ำไป ก็ไม่เหมาะสมเลย เราจักกระทำอุบายสักอย่างหนึ่ง.

พระกุมารนั้น จึงเสด็จไปเรียกหัวหน้าช่างทองคนหนึ่งมาแล้ว พระราชทาน

ทองคำไปเป็นอันมาก รับสั่งว่า ท่านจงทำรูปผู้หญิงให้สักรูปหนึ่งเถิด แล้ว

ทรงส่งนายช่างทองนั้นไป เมื่อนายช่างทองนั้นไปแล้ว จึงทรงเอาทองคำส่วน

อื่นมาทำเป็นรูปผู้หญิงด้วยพระองค์เอง. ก็ธรรมดาว่า ความประสงค์ของพระ-

โพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมสำเร็จตลอดไป. รูปทองที่พระโพธิสัตว์ทรงกระทำขึ้น

เองนั้น ช่างงดงามเสียเหลือล้น จนไม่มีถ้อยคำจะรำพันด้วยลิ้นได้. ลำดับนั้น

พระมหาสัตว์จึงทรงแต่งตัวรูปหญิงนั้น ให้นุ่งผ้าโขมพัสตร์แล้ว ทรงให้วางไว้

ในห้องอันเป็นสิริ. พระมหาสัตว์นั้น ครั้นทรงเห็นรูปผู้หญิงที่หัวหน้าช่างทอง

นำมา จึงทรงติรูปนั้นแล้ว ตรัสว่า เธอจงไปนำเอารูปหญิงที่ตั้งอยู่ในห้องอัน

เป็นสิริของเรามาเทียบดูซิ นายช่างทองนั้นเข้าไปยังห้องอันเป็นสิริ มองเห็น

รูปหญิงนั้นแล้ว สำคัญว่านางเทพอัปสรนางหนึ่ง มาร่วมอภิรมย์กับพระกุมาร

จึงไม่อาจจะเหยียดมือไปจับ กลับออกมากราบทูลว่า พระแม่เจ้าพระองค์ไร

ประทับอยู่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ในห้องอันเป็นสิริ ข้าพระองค์ไม่อาจจะ

เข้าไปได้. พระราชกุมารตรัสว่า ดูก่อนพ่อ ท่านจงไปนำมาเถิด รูปทองคำ

นี้เราทำขึ้นมาเอง แล้วทรงส่งไปอีก. นายช่างทองนั้นจึงกลับเข้าไปยกออกมา.

พระราชกุมารให้เก็บรูปที่ช่างทองทำมานั้น ไว้เสียในห้องสำหรับเก็บทอง

แล้วให้คนตกแต่งรูปที่พระองค์ทรงกระทำ แล้วทรงให้ยกขึ้นวางบนรถ ส่งไป

ยังสำนักของพระมารดา ด้วยพระดำรัสว่า ถ้าผู้หญิงงดงามเหมือนอย่างรูปนี้

มีอยู่ หม่อมฉันจักอยู่ครอบครองเรือน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

พระเทวีนั้น รับสั่งให้เรียกพวกอำมาตย์มาแล้ว ตรัสว่า ท่านทั้งหลาย

พระโอรสของเรามีบุญมาก เป็นพระโอรสที่ท้าวสักกะประทานให้ อยากได้

นางกุมาริกาที่รูปสวยเหมือนรูปนี้ พวกท่านได้หญิงมีรูปร่างเห็นปานนี้ จงพามา

จงตั้งรูปนี้ไว้บนยานอันปกปิดแล้ว เที่ยวไปตลอดชมพูทวีปทั้งสิ้น ถ้าได้พบ

พระธิดาของพระราชาพระองค์ใด มีรูปร่างงดงามเห็นปานรูปนี้ไซร้ ก็จงถวาย

รูปทองนั้นแด่พระราชาพระองค์นั้นนั่นแล แล้วกราบทูลว่า พระเจ้าโอกกากราช

จักกระทำอาวาหวิวาหมงคลกับพระองค์ ทูลกำหนดนัดวันแล้ว จงรีบ

กลับมา. อำมาตย์เหล่านั้น รับพระราชเสาวนีย์แล้ว นำรูปนั้นออกจากเมือง

พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก เที่ยวเสาะแสวงหาไปถึงราชธานีใด ก็สังเกตว่า

ในสถานที่ที่มหาชนมาประชุมกัน ในเวลาเย็นในราชธานีนั้น ก็ตกแต่งรูป

หญิงนั้นด้วยเครื่องประดับ อันประกอบด้วยผ้าและดอกไม้ ยกขึ้นตั้งบนวอ

ทองคำแล้ว ตั้งไว้ที่ริมหนทางที่จะไปยังท่าน้ำ ส่วนพวกตนต่างพากันหลบไป

ยืนอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่ง เพื่อคอยสดับฟังถ้อยคำของมหาชนผู้มาแล้วและมาแล้ว

ฝ่ายมหาชนครั้นมองดูรูปหญิงนั้น ไม่เข้าใจว่าเป็นรูปทองคำ จึงชวนกัน

ชมเชยว่า หญิงนี้แม้เป็นเพียงหญิงมนุษย์ ก็ยังสวยงามอย่างที่สุด เปรียบ

ประดุจนางเทพอัปสร ทำไมจึงมายืนอยู่ในที่นี้ หรือว่ามาจากไหน หญิงงาม

เห็นปานนี้ ในเมืองของพวกเราไม่เคยมีเลย ดังนี้แล้วก็พากันหลีกไป. พวก

อำมาตย์ได้ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว จึงปรึกษากันว่า ถ้านางทาริกางามปานรูปนี้

พึงมีในเมืองนี้ไซร้ ชนทั้งหลายพึงกล่าวว่า นางคนนี้เหมือนกับพระราชธิดา

องค์โน้น นางคนนี้เหมือนธิดาของอำมาตย์คนโน้น ในเมืองนี้คงไม่มีนางงาม

คล้ายกับรูปนี้เป็นแน่แท้ จึงถือเอารูปหญิงนั้นไปยังเมืองอื่น ๆ ต่อไปอีก.

พวกอำมาตย์เหล่านั้นเที่ยวไปอย่างนี้ จนถึงเมืองสาคละ ในแคว้นมัททะ

โดยลำดับ. ก็พระเจ้ามัททราช ในเมืองสาคละนี้ มีพระธิดาอยู่ ๘ พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

ทรงพระรูปพระโฉมงดงามสูงสุดเปรียบประดุจนางฟ้า พระราชธิดาผู้เป็น

พระพี่ใหญ่กว่าพระธิดาเหล่านั้นทั้งหมด มีพระนามว่า ประภาวดี เพราะมี

พระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระสรีระของพระนาง คล้ายแสงดวงอาทิตย์อันอ่อน.

แม้ในเวลากลางคืน ในห้องอันมีเนื้อที่กว้างประมาณ ๔ ศอก ก็ไม่ต้องทำการ

ตามประทีปโคมไฟ. บริเวณห้องนั้นทั้งหมด จะมีแสงสว่างเสมอเป็นอันเดียว

กันทีเดียว. ก็และพระนางประภาวดีนั้น มีพระพี่เลี้ยงคนหนึ่งเป็นหญิงค่อม

พิการ นางพี่เลี้ยงนั้น พอให้พระนางประภาวดีเสวยเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงจะ

ให้นางวรรณทาสี ๘ คนถือหม้อน้ำจำนวน ๘ หม้อ ไปยังท่าน้ำในเวลาเย็น

เพื่อตักน้ำไปสรงสนานพระนาง ครั้นมองเห็นรูปทองคำที่ตั้งไว้ข้างริมทางที่จะ

เดินไปยังท่าน้ำนั้น จึงเข้าใจไปว่า เป็นพระนางประภาวดี พากันโกรธว่า

พระนางนี้ช่างว่ายากเสียจริง ๆ ตรัสว่า เราจักสรงสนานน้ำแล้ว ส่งพวกเรามา

ตักน้ำ กลับมายืนดักอยู่ที่หนทางจะไปสู่ท่าน้ำก่อนหน้าเรา แล้วจึงพากันกล่าว

ว่า ข้าแต่พระนางเจ้าผู้ทำสกุลให้ได้รับความละอาย ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง

ที่พระนางจะมายืนอยู่ในที่นี้ก่อนกว่าพวกหม่อมฉัน ถ้าพระเจ้าแผ่นดินจักทรง

ทราบไซร้ ก็คงจักทำพวกหม่อมฉันให้พินาศเป็นแน่ ดังนี้แล้ว จึงเอามือแตะ

ที่ข้างแก้มของรูปเทียมนั้น. ฝ่ามือก็คล้ายกับว่าจะแตกออกไป. ลำดับนั้น นาง

จึงรู้ว่าเป็นรูปทองคำ หัวเราะขบขันอยู่ จึงไปหาพวกนางวรรณทาสีแล้วกล่าว

ว่า พวกเธอจงมาดูการทำของฉัน ฉันได้แตะต้องด้วยสำคัญผิดว่า รูปนี้ คือ

พระนางเจ้าของเรา รูปเปรียบนี้ จะมีค่าราคาอะไร ในสำนักแห่งพระธิดา

ของเรา เพียงแต่ให้มือของเราได้รับความเจ็บไปอย่างเดียว.

ลำดับนั้น พวกราชทูตจึงพากันถือเอารูปหญิงนั้นแล้ว ถามนางพี่เลี้ยง

นั้นว่า ท่านกล่าวว่า ธิดาของเราสวยงามกว่ารูปเทียมนี้ ท่านกล่าวหมายถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

ใครกัน นางพี่เลี้ยงตอบว่า พระธิดาของพระเจ้ามัททราช ทรงพระนามว่า

ประภาวดี รูปเปรียบนี้มีราคาไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของพระนางเลย. พวกอำมาตย์

เหล่านั้นพากันดีใจ ไปยังพระทวารพระราชวัง สั่งให้กราบทูลว่า พวกราชทูต

ของพระเจ้าโอกกากราชมาคอยเฝ้าอยู่ที่พระทวาร พระเจ้าข้า. พระราชาเสด็จ

ลุกจากอาสนะ ประทับยืนแล้วตรัสสั่งว่า พวกท่านจงเรียกเขาเข้ามาเถิด. พวก

ราชทูตเหล่านั้นเข้าไปแล้ว ถวายบังคมพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่

มหาราชเจ้า พระราชาของพวกข้าพระองค์ ตรัสถามว่า พระองค์ทรงพระสำราญ

ดีหรือ พระเจ้าข้า พระราชาทรงกระทำสักการะและต้อนรับแล้ว ตรัสถาม

พวกอำมาตย์ว่า พวกท่านมานี่เพื่อประสงค์อะไร พวกอำมาตย์จึงกราบทูลว่า

พระราชาของข้าพระองค์ มีพระโอรสพระนามว่า กุสกุมาร มีพระสุรเสียง

ก้องกังวานคล้ายกับเสียงราชสีห์ พระราชาทรงมีพระประสงค์จะมอบพระราช

สมบัติให้แก่พระโอรสนั้น จึงส่งพวกข้าพระองค์มาเฝ้าถวายบังคมพระองค์

นัยว่า พระองค์จงพระราชทานพระนางประภาวดีพระธิดาของพระองค์ แก่

พระโอรสนั้นเถิดพระเจ้าข้า และขอจงทรงรับไทยธรรมพร้อมด้วยรูปทองคำ

นี้เถิด พอกราบทูลเสร็จแล้วจึงได้น้อมถวายรูปทองคำนั้น แด่พระราชา

พระองค์นั้น. แม้พระเจ้ามัททราชนั้น ก็ทรงดีพระทัย ทรงยอมรับด้วยทรง

พระดำริว่า จักมีวิวาหมงคลกับพระราชาผู้ใหญ่เห็นปานนี้. ลำดับนั้น พวกทูต

จึงกราบทูลท้าวเธอว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่อาจจะรอช้าอยู่ได้ จัก

ต้องรีบไปกราบทูลการได้พบพระราชธิดาแด่พระราชาให้ทรงทราบ เพื่อว่า

พระองค์จักได้เสด็จมารับพระนางไป. พระเจ้ามัททราชพระองค์นั้น ทรงรับว่า

ดีละ แล้วทรงจัดแจงเครื่องทำสักการะแก่พวกทูตเหล่านั้น. พวกทูตเหล่านั้น

กลับไปยังกรุงกุสาวดีแล้ว กราบทูลเรื่องราวนั้นแด่พระราชาและพระเทวีให้

ทรงทราบ. พระราชาเสด็จออกจากกุสาวดีนคร พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

เสด็จถึงเมืองสาคละโดยลำดับ . ฝ่ายพระเจ้ามัททราช ก็ทรงกระทำการต้อนรับ

ให้ท้าวเธอเสด็จเข้าไปสู่พระนครแล้ว ได้ทรงกระทำสักการะอย่างใหญ่ยิ่ง.

โดยล่วงไปวันหนึ่ง สองวัน และสามวัน พระนางสีลวดีทรงพระดำริว่า ใคร่

จะรู้ว่า พระราชธิดานั้นจักเป็นอย่างไร เพราะความที่พระนางเจ้าเป็นบัณฑิต

จึงกราบทูลพระเจ้ามัททราชว่า หม่อมฉันใคร่จะได้เห็นพระสุณิสา (ในอนาคต)

เพคะ. ท้าวเธอทรงรับว่า ดีละ แล้วรับสั่งให้เรียกพระราชธิดาประภาวดีมาเฝ้า.

พระราชธิดาประภาวดี ทรงตกแต่งพระองค์ด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ์

แวดล้อมไปด้วยหมู่พระพี่เลี้ยงนางนมเสด็จออกมาไหว้แม่ผัว. พระนางสีลวดี

นั้น ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นพระนาง จึงทรงพระดำริว่า ราชธิดาองค์นี้

เป็นหญิงมีรูปร่างงดงามมากนัก ส่วนโอรสของเรามีรูปร่างไม่งดงาม ถ้าพระราช

ธิดาองค์นี้ ได้ทอดทัศนาการเห็นโอรสของเราเข้า แม้วันเดียวก็คงจะไม่อยู่

ร่วมด้วยเด็ดขาด คงจะรีบหนีไปเป็นแน่แท้ เห็นทีเราจักต้องทำกลอุบาย.

พระนางสีลวดี จึงให้เชิญเสด็จพระเจ้ามัททราชมาแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช

เพคะ พระสุณิสาสมควรแก่พระโอรสของหม่อมฉัน ก็แต่ว่าจารีตอันสืบมาจาก

ประเพณีแห่งสกุลของหม่อมฉันมีอยู่ ถ้าพระราชธิดาองค์นี้จักประพฤติตาม

จารีตประเพณีนี้ได้ หม่อมฉันก็จักรับ พระราชธิดาองค์นี้ไว้. พระราชาตรัสว่า

ก็จารีตประเพณีของพระองค์เป็นอย่างไรละ พระนางสีลวดีตรัสตอบว่า ประเพณี

ในราชวงศ์ของหม่อมฉันมีอยู่ว่า พระวรชายาจะพบหน้าพระราชสวามีในเวลา

กลางวันไม่ได้ จนกว่าจะทรงตั้งพระครรภ์เสียก่อน จึงจะพบหน้ากันได้ หากว่า

พระราชธิดาประภาวดีพระองค์นี้ จักทรงทำตามประเพณีนี้ได้ หม่อมฉันจึงจะ

รับพระนางไว้. พระราชา จึงตรัสถามพระธิดาว่า ดูก่อนแม่ แม่จักประพฤติ

ตามอย่างที่ว่านั้นได้หรือไม่เล่า. พระราชธิดาประภาวดีนั้น จึงทูลว่า ได้เพคะ

เสด็จพ่อ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

ลำดับนั้น พระเจ้าโอกกากราช จึงได้ถวายพระราชทรัพย์เป็นอันมาก

แด่พระเจ้ามัททราช แล้วทรงรับพระนางประภาวดีนั้นเสด็จกลับไป. แม้พระ-

เจ้ามัททราช ก็ทรงส่งพระราชธิดาไปด้วยบริวารใหญ่. พระโอกกากราช

เสด็จกลับกรุงกุสาวดีแล้ว มีพระบรมราชโองการให้ตกแต่งพระนคร ปล่อย

นักโทษทั้งหมด ทรงกำหนดการอภิเษกพระราชโอรส ทรงสถาปนาพระนาง

ประภาวดีให้เป็นอัครมเหสีแล้ว ทรงให้ราชบุรุษเที่ยวตีกลองประกาศว่า บัดนี้

ราชอาณาจักรเป็นของพระเจ้ากุสราชแล้ว. พระราชาทั้งหลายในพื้นชมพูทวีป

ทั้งหมด พระองค์ใดมีพระราชธิดา พระราชาพระองค์นั้น ขอทรงส่งพระราช

ธิดาไปถวายแด่พระเจ้ากุสราช พระราชาเหล่านั้นได้มีพระราชโอรส พระราชา

เหล่านั้น ทรงหวังความเป็นมิตรไมตรีกับพระเจ้ากุสราชนั้น ก็ทรงส่งพระราช

โอรสของพระองค์ไปเป็นพระราชอุปัฏฐาก. พระโพธิสัตว์เจ้า ทรงมีพระนาง

สนมเป็นบริวารมากมาย ทรงปกครองพระราชสมบัติด้วยพระอิสริยยศอันใหญ่

ยิ่งเกรียงไกร. ฝ่ายพระนางประภาวดี ย่อมไม่ได้เพื่อจะเห็นพระโพธิสัตว์เจ้านั้น

ในเวลากลางวันเลย แม้พระโพธิสัตว์เจ้าก็ไม่ได้เห็นพระนางในเวลากลางวัน

เหมือนกัน. พระราชาและพระราชินีทั้ง ๒ พระองค์ เห็นกันก็แต่เฉพาะเวลา

กลางคืนเท่านั้น. แม้รัศมีที่ฉายออกจากพระสรีระของพระนางประภาวดีในเวลา

กลางคืนนั้น ก็ไม่สามารถจะส่องให้เห็นพระพักตร์ชัดถนัดได้. พระโพธิสัตว์เจ้า

เสด็จออกจากห้องที่ประทับเฉพาะในเวลากลางคืนเท่านั้น. พอ ๒, ๓ วันผ่าน

พ้นไป พระโพธิสัตว์เจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงมีความปรารถนาจะได้เห็นพระ-

พักตร์พระนางประภาวดีในเวลากลางวัน จึงทูลพระมารดาให้ทรงทราบ. พระ

มารดาก็ทรงห้ามเสียว่า อย่าชอบใจไปนักเลยพ่อ (อย่าทุรนทุรายใจไปนักเลย)

ขอจงรอไปจนกว่าจะได้พระโอรสสักพระองค์หนึ่งก่อนเถิด. พระโพธิสัตว์เจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

นั้น ก็ทรงอ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ. ลำดับนั้น พระเทวีจึงมีพระกระแสรับสั่งกะ

พระโพธิสัตว์เจ้านั้นว่า ถ้าอย่างนั้น พ่อจงไปยังโรงช้างแล้วยืนอยู่ด้วยเพศ

แห่งคนเลี้ยงช้าง แม่จะพาพระนางประภาวดีไปในที่ตรงนั้น ขอเชิญพ่อจงดู

นางเสียให้เต็มเนตร แต่อย่าให้นางรู้จักพ่อได้เป็นเด็ดขาด. พระโพธิสัตว์เจ้า

นั้นจึงรับว่า ดีละ แล้วได้เสด็จไปยังโรงช้าง. ลำดับนั้น พระมารดาของพระ

โพธิสัตว์เจ้านั้น จึงมีพระดำรัสตรัสสั่งให้คนตกแต่งโรงช้างแล้วตรัสชักชวน

พระนางประภาวดีว่า มาเถิดลูก เราทั้ง ๒ คนไปดูช้างต้นของพระภัสดากันเถิด

แล้วจึงเสด็จไปยังโรงช้างนั้น ทรงชี้แสดงแก่พระนางประภาวดีว่า ช้างเชือกนี้

มีชื่อว่าอย่างโน้น ดังนี้. พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นนางเสด็จดำเนินไป

ข้างพระมารดา จึงทรงหยิบเอาขี้ช้างก้อนหนึ่งขว้างไปที่หลังพระนางด้วยการ

ปลอมตัวเป็นคนเลี้ยงช้างทีเดียว. พระนางประภาวดีทรงกริ้วโกรธเป็นอย่างมาก

จึงมีพระกระแสรับสั่งว่า เราจักให้พระราชาทรงตัดมือของเจ้าเสีย แล้วทูล

พระเทวีให้ลงโทษ. ฝ่ายพระราชมารดา ก็ทรงปลอบประโลมเอาพระทัยว่า

อย่าทรงกริ้วโกรธไปเลยแม่เจ้า แล้วทรงลูบหลังให้. ต่อมาพระราชาทรงต้อง-

การที่จะได้เห็นพระนางซ้ำอีก จึงเสด็จไปทอดพระเนตรพระนางที่โรงม้า ด้วย

การปลอมตัวเป็นคนเลี้ยงม้า แล้วทรงเอาก้อนขี้ม้าขว้างไปเหมือนเดิมนั้นอีก.

แม้ในกาลนั้น พระนางก็ได้ทรงกริ้วใหญ่ พระสัสสุ (แม่ผัว) ก็ต้องทรงปลอบ

ประโลมอีก.

ในวันต่อมา พระนางประภาวดี ทรงใคร่จะได้เห็นพระมหาสัตว์เจ้า

จึงทูลบอกแก่พระสัสสุ แต่ก็ถูกพระสัสสุทรงห้ามว่า อย่าเลย แม่อย่าชอบใจเลย

ดังนี้ ก็ทูลอ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ แล้ว. ลำดับนั้น พระเทวี จึงตรัสกะพระนางว่า

ถ้าอย่างนั้น ในวันพรุ่งนี้ ลูกชายของฉันจักกระทำประทักษิณพระนคร แม่จง

เปิดสีหบัญชรคอยดูเขาเถิด. ก็ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ในวันรุ่งขึ้น จึงมีพระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

กระแสรับสั่งให้คนตกแต่งพระนครแล้ว โปรดให้พระชยัมบดีราชกุมาร

(น้องชายพระเจ้ากุสราช) ทรงเครื่องต้นอย่างกษัตริย์ ให้ประทับนั่งบนหลัง

ช้างแล้ว ให้พระโพธิสัตว์เจ้าประทับนั่งบนอาสนะข้างหลัง ให้กระทำประทักษิณ

พระนคร แล้วทรงพาพระนางประภาวดีไปประทับยืนที่สีหบัญชร ตรัสว่า

แม่จงดูความเลิศด้วยความงามแห่งพระสิริของสามีแม่เถิด. พระนางประภาวดี

ทรงสำคัญว่า เราได้พระสวามีที่มีความสมควรกันแล้ว ดังนี้แล้ว ก็ทรงมีพระทัย

โสมนัสเป็นอย่างยิ่ง. ก็ในวันนั้น พระมหาสัตว์เจ้าปลอมพระองค์เป็นนาย

ควาญช้าง ประทับนั่งบนอาสน์ข้างหลัง ของพระชยัมบดีราชกุมาร ก็ได้ทอด

พระเนตรดูพระนางประภาวดี สำเร็จตามพระประสงค์ ได้ทรงแสดงอาการ

ยั่วเย้า ตามความพอพระทัยด้วยอำนาจการทำมือให้ขวักไขว่แปลก ๆ เป็นต้น.

เมื่อช้างพระที่นั่งคล้อยผ่านไปแล้ว พระราชมารดาจึงตรัสถามพระนางประภาวดี

ว่า แม่เห็นพระภัสดาของแม่แล้วหรือ พระนางทูลว่า เห็นแล้วเพคะท่านแม่

แต่นายควาญช้าง ผู้นั่งอยู่บนอาสนะหลังของพระภัสดานั้น ช่างเป็นคนที่ดื้อ

สอนยากเสียเหลือเกิน แสดงการทำมือขวักไขว้ให้แปลก ๆ เป็นต้นแก่หม่อมฉัน

เพราะเหตุไร เขาจึงจัดให้คนผู้ไม่มีสง่าราศีเช่นเจ้าคนนั้น ขึ้นไปนั่งบนอาสน์

ข้างหลังพระเจ้าแผ่นดินได้. พระเทวีจึงตรัสว่า ดูก่อนแม่ ธรรมดาว่าการ

ระวังภัยบนอาสน์ด้านหลังของพระราชา อันบุคคลพึงปรารถนา. พระนาง

ประภาวดี จึงทรงดำริว่า ควาญช้างคนนี้ ช่างได้อภัยเป็นพิเศษเสียเหลือเกิน

ไม่เคยสำคัญพระราชาว่า เป็นพระราชาเสียบ้างเลย หรือว่าควาญช้างคนนี้เป็น

พระเจ้ากุสราชกันแน่ ก็พระเจ้ากุสราชนี้ คงจักมีรูปร่างน่าเกลียดอย่างเหลือเกิน

เป็นแน่ทีเดียว เพราะฉะนั้น เขาจึงไม่ยอมแสดงองค์พระเจ้ากุสราชนั้นแก่เรา.

พระนางประภาวดีจึงทรงกระซิบกะนางค่อมที่ใกล้หูว่า ดูก่อนแม่ค่อม เธอจง

ไปดูให้รู้ทีหรือว่า พระเจ้ากุสราชประทับบนอาสน์ข้างหน้า หรือว่าประทับบน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

อาสน์ข้างหลังกันแน่. หญิงค่อมจึงทูลถามว่า ก็หม่อมฉันจักทราบได้อย่างไร

เล่าเพคะ. พระนางจึงตรัสว่า ถ้าแม้ว่านายควาญช้างคนนั้นจักเป็นพระราชาไซร้

ก็จักเสด็จลงจากหลังช้างก่อน เธอจงรู้ด้วยสัญญา (วิธี) อย่างนี้. นางค่อม

นั้นได้มายืนดูอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่งแล้วมองเห็นพระมหาสัตว์เจ้าลงมาก่อน

มองเห็นพระชยัมบดีราชกุมารเสด็จลงมาทีหลัง. แม้พระมหาสัตว์เจ้าทรงมองไป

ข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง ก็ได้ทอดพระเนตรเห็นนางค่อม ก็ทรงทราบว่า

นางค่อมนี้จักมาเพราะเหตุชื่อนี้ จึงรับสั่งให้เรียกนางค่อมมาแล้ว ตรัสกำชับ

อย่างกวดขันว่า เธออย่าได้บอกเรื่องนี้แก่พระนางประภาวดีเป็นเด็ดขาด แล้ว

ทรงส่งไป. นางค่อมนั้นกลับไปก็กราบทูลพระนางประภาวดีว่า พระเจ้ากุสราช

ผู้เสด็จประทับอยู่บนอาสนะข้างหน้าเสด็จลงก่อน. พระนางประภาวดี ก็ทรง

เชื่อถ้อยคำ ของนางค่อมนั้น. ในวันต่อมา พระราชาทรงมีพรูประสงค์จะได้

ทอดพระเนตรเห็นพระนางประภาวดีอีก จึงทรงทูลอ้อนวอนพระราชมารดา

แล้ว พระราชมารดาไม่อาจจะทรงห้ามได้ จึงตรัสสั่งว่า ถ้าอย่างนั้น พ่อจง

ปลอมเพศไม่ให้ใคร ๆ รู้จักแล้ว จงไปยังอุทยาน. พระราชาเสด็จไปยังอุทยาน

แล้วทรงยืนแช่น้ำอยู่ ในสระโบกขรณีประมาณแค่คอ ทรงเอาใบบัวปกปิด

พระเศียร ทรงยืนเอาดอกบัวที่บานบังพระพักตร์ไว้. แม้พระราชมารดาของ

พระโพธิสัตว์เจ้านั้น ก็ทรงพาพระนางประภาวดีไปยังพระราชอุทยาน ทรงชี้

ชวนให้ชมอยู่ว่า แม่จงดูพฤกษาเหล่านี้ จงดูหมู่สกุณา จงดูหมู่มิคะเป็นต้น

ได้เสด็จมาถึงฝั่งแห่งสระโบกขรณี.

พระนางประภาวดีนั้น ทอดพระเนตรเห็นสระโบกขรณีอันดาดาษไป

ด้วยดอกบัว ๕ ชนิด ทรงปรารถนาจะเสด็จลงสรง จึงเสด็จลงสู่สระโบกขรณี

พร้อมด้วยนางบริจาริกาทั้งหลาย ทรงเล่นอยู่ครั้นพอทอดพระเนตรเห็นดอกบัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

ที่พระโพธิสัตว์เจ้าซ่อนอยู่นั้น ทรงใคร่จะเก็บ จึงทรงเอื้อมพระหัตถ์ออกไป.

ลำดับนั้น พระราชา จึงทรงเปิดใบบัวออกแล้ว เข้าคว้าพระนางด้วยพระหัตถ์

พลางร้องว่า เราคือพระเจ้ากุสราช. พระนางพอได้ทอดพระเนตรเห็นพระ-

พักตร์ของพระโพธิสัตว์เจ้านั้นแล้ว ทรงร้องขึ้นด้วยสำคัญว่า ยักษ์จับเรา

แล้วทรงถึงวิสัญญีภาพ สิ้นพระสติสมฤดีอยู่ ในที่ตรงนั้นเอง. ลำดับนั้น

พระราชา จึงทรงปล่อยพระหัตถ์ละจากพระนาง. ครั้นพอพระนาง ทรงรู้สึก

พระองค์ได้แล้ว จึงทรงดำริว่า ได้ยินว่า พระเจ้ากุสราช ทรงจับมือเรา ก็เรา

ถูกพระเจ้ากุสราชนี้ ขว้างด้วยก้อนคูถช้างที่โรงช้าง แล้วขว้างด้วยก้อนคูถม้าที่

โรงม้า ก็พระเจ้ากุสราชนี้แล ประทับนั่งบนอาสน์หลังช้างทรงเกี้ยวเรา เรา

ไม่มีความต้องการพระภัสดาผู้มีพักตร์อันน่าเกลียดถึงขนาดนี้ เราจักทิ้งพระ-

ภัสดานี้เสีย เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็จักได้สามีคนอื่น ดังนี้แล้ว จึงให้คนเรียกพวก

อำมาตย์ที่ตามเสด็จมากับพระนางแล้ว ตรัสว่า พวกท่านจงทำการตระเตรียม

ยานพาหนะให้เรา เราจักไปในวันนี้แหละ. พวกอำมาตย์เหล่านั้นจึงกราบทูล

แด่พระราชาให้ทรงทราบ. พระราชาจึงทรงพระดำริว่า ถ้าพระนางไม่ได้เพื่อ

จะกลับไป ดวงหทัยของพระนางคงจักแตกเป็นแน่ ขอให้พระนางกลับไปก่อน

เถิด เราจักนำพระนางกลับมาด้วยกำลังของตนเองอีกครั้ง พอทรงดำริแล้ว

ต่อนั้นมาจึงทรงอนุญาตให้พระนางประภาวดีนั้นเสด็จกลับไป. พระนางเสด็จ

กลับไปยังเมืองของพระราชบิดาตามเดิม. แม้พระมหาสัตว์เจ้า ก็เสด็จออกจาก

พระราชอุทยานเข้าไปสู่พระนคร เสด็จขึ้นสู่พระปราสาทอันประดับแล้ว. จริงอยู่

พระนางมิได้ทรงมีความยินดีพระโพธิสัตว์เจ้า ด้วยอำนาจการที่ได้ทรงตั้งความ

ปรารถนาไว้ในปางก่อน. แม้พระโพธิสัตว์เจ้านั้น ที่มีพระรูปกายไม่งดงาม

ก็ด้วยอำนาจบุรพกรรมขอพระองค์เอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

ได้ยินว่า ในอดีตกาล มีหมู่บ้านอันตั้งอยู่ข้างประตูเมืองพาราณสี

ตระกูล ๒ ตระกูล คือ ตระกูลที่อาศัยอยู่ข้างถนน หน้าหมู่บ้านตระกูล ๑

อาศัยอยู่ข้างถนนหลังหมู่บ้านตระกูล ๑. ตระกูลหนึ่งมีลูกชาย ๒ คน ตระกูล

หนึ่งมีลูกสาว ๑ คน ในบรรดาบุตรชายทั้ง ๒ คนนั้น พระโพธิสัตว์เป็น

น้องชาย. มารดาบิดาได้ไปขอนางกุมาริกานั้น มาให้แก่พี่ชาย. พระโพธิสัตว์

ผู้เป็นน้องชาย ยังไม่มีภริยา จึงอาศัยอยู่ในบ้านของพี่ชาย. อยู่มาวันหนึ่ง

พี่สะใภ้ได้ทอดขนมที่มีรสชาติอร่อยยิ่งนัก ในเรือนนั้น. แต่พระโพธิสัตว์ได้

ไปป่าเสีย พี่สะใภ้จึงได้แบ่งขนมไว้ให้แก่พระโพธิสัตว์นั้นส่วนหนึ่ง ส่วนที่

เหลือนั้นก็แจกกันบริโภคจนหมด. ในขณะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าได้มาถึง

ประตูเรือนเพื่อภิกษา พี่สะใภ้ของพระโพธิสัตว์ จึงคิดว่า เราจักค่อยทำขนม

ให้น้องผัวใหม่ ดังนี้แล้ว จึงถือเอาขนมส่วนที่เก็บไว้ให้พระโพธิสัตว์นั้น ไป

ถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าเสีย. แม้พระโพธิสัตว์นั้น ก็กลับมาจากป่าใน

ขณะนั้นพอดี. ตอนนั้น นางจึงพูดกับพระโพธิสัตว์นั้นว่า น้องชายเอ๋ย จง

ทำจิตใจให้ผ่องใสเถิดหนา ขนมอันเป็นส่วนของน้อง พี่ได้ถวายแด่พระปัจเจก

พุทธเจ้าแล้ว. พระโพธิสัตว์นั้นกลับโกรธว่า เจ้ากินขนมอันเป็นส่วนของเจ้า

หมดแล้ว กลับมาเอาขนมอันเป็นส่วนของข้าไปถวายพระชิชะ แล้วข้าจักกิน

อะไรเล่า จึงรีบตามพระปัจเจกพุทธเจ้าไปเอาขนมจากบาตรกลับคืนมา.

ที่สะใภ้นั้น จึงรีบไปยังเรือนมารดาแล้ว นำเอาเนยใสที่ยังใหม่และใสสะอาด

มีสีคล้ายดอกจำปามาแล้ว ใส่บาตรจนเต็มถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าแทน.

เนยใสนั้นได้แผ่เป็นรัศมีออกไปแล้ว. นางพอได้เห็นรัศมีนั้นแล้ว จึงตั้งความ

ปรารถนาไว้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในที่ที่ดิฉันจะเกิดแล้วข้างหน้า ขอให้

ร่างกายของดิฉันจงเกิดมีรัศมีเปล่งปลั่ง และมีรูปร่างสดสวยงดงามเป็นอย่างยิ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

เถิด อนึ่ง ขออย่าให้ดิฉันได้อยู่ร่วมในที่แห่งเดียวกันกับคนที่เป็นอสัตบุรุษ

ดังน้องผัวของดิฉันคนนี้เลย. พระนางประภาวดี มิได้ทรงยินดีชอบใจพระ-

โพธิสัตว์เจ้านั้น ก็ด้วยอำนาจความปรารถนา ที่ทรงตั้งไว้แล้วในกาลก่อน

ด้วยประการฉะนี้. แม้พระโพธิสัตว์ ก็ใส่ขนมนั้นลงในบาตรที่เต็มด้วยเนยใส

แล้วตั้งความปรารถนาไว้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พี่สะใภ้ของข้าพเจ้าคนนี้ แม้

จะอยู่ในที่ไกลแสนไกลตั้งร้อยโยชน์ก็ตาม ขอให้ข้าพเจ้าพึงมีความสามารถไป

นำมาเป็นบาทบริจาริกาของข้าพเจ้าให้จงได้เถิด. ด้วยอำนาจแห่งบุรพกรรมที่

พระโพธิสัตว์นั้นโกรธ แล้วเอาขนมกลับคืนมานั้น พระโพธิสัตว์เจ้าจึงได้เป็น

ผู้มีรูปร่างอันไม่งดงาม น่าเกลียดแล้วแล.

ฝ่ายพระนางประภาวดีนั้น ก็มิได้ทรงปรารถนาพระโพธิสัตว์นั้นเลย.

พระโพธิสัตว์เจ้านั้น เมื่อพระนางประภาวดีเสด็จไปแล้ว ก็ทรงเศร้าโศกเสีย

พระทัย. แม้เหล่านางบริจาริกาทั้งหลายจะพากันบำรุงบำเรออยู่โดยประการ

ต่าง ๆ ก็ตาม แต่หญิงที่เหลือทั้งหลาย ก็ไม่อาจที่จะให้พระโพธิสัตว์เจ้านั้น

เหลียวมองดูตนได้เลย. ก็เมื่อพระราชาพระองค์นั้น ทรงพรากเว้นจากพระนาง

ประภาวดีเสียแล้ว พระราชนิเวศน์แม้ทั้งหมดของพระองค์ ก็เงียบสงัดคล้าย

เหมือนว่างเปล่า. ท้าวเธอทรงรำพันว่า บัดนี้ นางคงไปถึงเมืองสาคละแล้ว

ดังนี้ พอใกล้รุ่งก็เสด็จไปเฝ้าพระมารดา กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านแม่ ลูกจัก

ไปตามพระนางประภาวดีมา ขอท่านแม่จงครอบครองราชสมบัติแทนด้วยเถิด

ดังนี้ จึงตรัสปฐมคาถาว่า

รัฐของพระองค์นี้ มีทรัพย์ มียาน มีเครื่อง-

ราชกกุธภัณฑ์ สมบูรณ์ด้วยสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งปวง

ข้าแต่พระมารดา ขอพระองค์จงทรงปกครองราช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

สมบัติของพระองค์นี้ หม่อมฉันจะขอทูลลาไปยังเมือง

สาคละ ซึ่งเป็นที่สถิตแห่งพระนางประภาวดีที่รัก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สโยคฺค ได้แก่ พรั่งพร้อมไปด้วยเครื่อง

ประกอบเช่นช้างเป็นต้น. บทว่า สกายุร ได้แก่ มีเครื่องราชกกุธภัณฑ์

๕ อย่างพร้อมบริบูรณ์. บทว่า อนุสาส อมฺม ความว่า ได้ยินว่า พระราชา

พระองค์นั้น ทรงพระดำริว่า ขึ้นชื่อว่าการมอบราชสมบัติให้แก่ผู้ชายครอบครอง

รองจากตน เป็นการไม่สมควร จึงไม่ทรงมอบ (ราชสมบัติ) ให้แก่พระบิดา

หรือพระอนุชา เมื่อจะทรงมอบให้แก่พระมารดา จึงได้ตรัสไว้อย่างนี้.

พระราชมารดานั้น ทรงได้สดับพระราชดำรัสนั้นแล้ว จึงทรงมี

รับสั่งว่า ดูก่อนลูก ถ้าอย่างนั้น ลูกจงเป็นผู้ไม่ประมาท เพราะขึ้นชื่อว่า

มาตุคามมีใจไม่บริสุทธิ์ ดังนี้แล้ว ทรงเอาโภชนะมีรสอันเลิศต่าง ๆ บรรจุใส่

ภาชนะทองคำจนเต็มแล้ว ทรงรับสั่งว่า ลูกพึงบริโภคโภชนะนี้ ในระหว่าง

เดินทาง แล้วทรงส่งไป. พระราชาพระองค์นั้น ทรงรับภาชนะนั้นแล้ว ถวาย-

บังคมพระมารดา ทรงทำประทักษิณ ๓ ครั้ง แล้วกราบทูลว่า เมื่อหม่อมฉัน

ยังมีชีวิตอยู่ คงจะได้กลับมาเห็นพระมารดาอีก ดังนี้แล้ว จึงเสด็จเข้าสู่ห้อง

อันเป็นสิริ ทรงเหน็บพระแสงอาวุธ ๕ อย่าง ทรงหยิบกหาปณะพันหนึ่ง

บรรจุลงในย่าม พร้อมทั้งภาชนะพระกระยาหาร ทรงถือพิณโกกนุท เสด็จ

ออกจากพระนคร ทรงดำเนินไปตามบรรดา ทรงมีพระกำลังมาก มีเรี่ยวแรง

เข้มแข็งเพียงเช้าชั่วเที่ยง ก็ทรงดำเนินไปได้ถึงตั้ง ๕๐ โยชน์ เสวยพระ-

กระยาหารแล้ว ทรงดำเนินต่อไปอีก ๕๐ โยชน์ โดยส่วนแห่งวันที่เหลือเท่านั้น

ก็ทรงเดินทางไปได้สิ้นทางระยะถึง ๑๐๐ โยชน์ ในเวลาเย็นเสด็จพักสรงน้ำแล้ว

เสด็จเข้าถึงเมืองสาคละ. เมื่อพระองค์พอได้เสด็จเข้าไปแล้วเท่านั้น ด้วยเดช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

แห่งพระโพธิสัตว์ พระนางประภาวดีจะทรงบรรทมอยู่บนพระที่มิได้ ต้อง

เสด็จลงมาบรรทมเหนือภาคพื้น. พระโพธิสัตว์มีพระอินทรีย์อันเหน็ดเหนื่อย

ทรงดำเนินมาตามถนน ผู้หญิงคนหนึ่งแลเห็นพระองค์เข้า จึงให้เรียกมาแล้ว

เชิญให้ประทับนั่ง ให้ล้างพระบาทจัดที่บรรทมถวาย. พระโพธิสัตว์เจ้านั้น

มีพระวรกายเหน็ดเหนื่อยมา พอบรรทมก็หลับสนิท. ลำดับนั้น หญิงคนนั้น

พอเมื่อพระโพธิสัตว์เจ้าบรรทมหลับแล้ว ก็จัดแจงโภชนะมีรสอันเลิศต่าง ๆ

เสร็จแล้ว จึงปลุกพระโพธิสัตว์ให้ตื่นบรรทม แล้วเชิญให้เสวยพระกระยาหาร

พระโพธิสัตว์เจ้าทรงขอบพระทัย ได้พระราชทานกหาปณะพันหนึ่งกับภาชนะ

ทองคำแก่หญิงคนนั้น. ท้าวเธอทรงเก็บพระแสงเบญจาวุธไว้ที่บ้านของหญิง

คนนั้นนั่นแล แล้วรับสั่งว่า เรายังมีสถานที่ควรจะไปอีก ดังนี้แล้ว ทรงถือ

เอาพิณเสด็จไปยังโรงช้าง ตรัสว่า ขอท่านจงให้ข้าพเจ้าพักอยู่ ณ ที่นี้สัก

วันหนึ่งเถิด ข้าพเจ้าจะทำการขับร้องเพลงให้พวกท่านได้ฟัง ดังนี้ พอเมื่อ

ได้รับอนุญาตจากคนเลี้ยงช้างแล้ว ก็บรรทมหลับอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่งได้สักครู่

พอระงับหายความเหน็ดเหนื่อยกระวนกระวายแล้ว ก็ทรงลุกออกมาแก้ห่อพิณ

ทรงดีดพิณขับร้องประสานเสียง ด้วยทรงพระดำริว่า ชนชาวนครสาคละ จง

ฟังเสียงพิณนี้.

พระนางประภาวดี ทรงบรรทมบนภาคพื้น พอได้ทรงสดับเสียนั้น

ก็ทรงทราบได้ทีเดียวว่า เสียงพิณนี้มิใช่เสียงพิณของคนอื่น พระเจ้ากุสราช

ต้องเสด็จมาเพื่อจะเอาตัวเรากลับไปโดยมิต้องสงสัย. แม้พระเจ้ามัททราชทรง

สดับเสียงนั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า ใครนะช่างขับร้องเพลงไพเราะเหลือเกิน

พรุ่งนี้เราจะให้คนเรียกคนผู้นั้นมาทำการขับร้องให้เราฟัง. พระโพธิสัตว์เจ้า

ทรงพระดำริว่า เราอยู่ในที่นี้ไม่อาจจะได้เห็นพระนางประภาวดี สถานที่นี้ดู

ไม่เหมาะเสียเลย จึงได้เสด็จออกไปแต่เช้าตรู่ทีเดียว ไปเสวยพระกระยาหาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

เช้าที่ในเรือนของหญิงที่พระองค์ได้เสวยแล้ว ในเวลาเย็นวันแรกนั่นแล ทรง

เก็บพิณไว้แล้ว เสด็จไปยังสำนักนายช่างหม้อของพระราชาแล้ว เข้าขอฝากตัว

เป็นศิษย์ของนายช่างหม้อคนนั้น เพียงวันเดียวเท่านั้น ก็ทรงขนเอาดินมาจน

เต็มเรือน แล้วบอกว่า ท่านอาจารย์ขอรับ ผมจะทำภาชนะให้ เมื่อนายช่างหม้อ

พูดว่า ดีซิ จงทำเถิด จึงทรงวางก้อนดินก้อนหนึ่งลงบนไม้แป้นแล้ว ทรง

ปั้นหมุนไม้แป้น. พระองค์ทรงปั้นหนเดียวเท่านั้น แป้นก็หมุนอยู่ตั้งแต่เช้า

จนเลยเที่ยง. พระองค์ทรงปั้นภาชนะเล็กบ้างใหญ่บ้างหลายชนิดหลากสี เมื่อ

จะทรงปั้นภาชนะเพื่อประโยชน์แก่พระนางประภาวดี ได้ทรงกระทำให้มี

ลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า ความประสงค์ของพระโพธิสัตว์

ทั้งหลาย ย่อมสำเร็จได้. พระองค์ทรงอธิษฐานว่า ขอให้พระนางประภาวดี

จงได้เห็นรูปเหล่านั้น แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น. พระองค์ทรงผึ่งภาชนะ

ทั้งหมดให้แห้งแล้ว ทรงเผาเสร็จแล้ว เก็บไว้จนเต็มเรือน. นายช่างหม้อนำ

ภาชนะเหล่านั้นไปยังราชตระกูล. พระเจ้ามัททราชทอดพระเนตรเห็นภาชนะ

เหล่านั้นแล้ว ตรัสถามว่า ภาชนะเหล่านั้นใครทำ. นายช่างหม้อกราบทูลว่า

ข้าพระองค์เองพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ภาชนะที่เจ้าได้เคยทำมาแล้ว

เราจำได้เป็นอย่างดี เจ้าจงบอกมานะว่า ภาชนะเหล่านั้นใครทำ. นายช่างหม้อ

กราบทูลว่า ศิษย์ของข้าพระองค์ทำพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ผู้นั้นไม่

สมควรเป็นศิษย์ของเจ้า ผู้นั้นจงเป็นอาจารย์ของเจ้า เจ้าจงศึกษาศิลปะใน

สำนักของเขาเถิด และจำเดิมแต่วันนี้ไป ขอให้เขาทำภาชนะทั้งหลาย สำหรับ

ธิดาของเราทุก ๆ องค์ และเจ้าจงให้ทรัพย์พันหนึ่งนี้แก่เขาด้วย ดังนี้ ให้

พระราชทานทรัพย์พันหนึ่งแล้ว ตรัสว่า เจ้าจงนำภาชนะเล็ก ๆ เหล่านั้นไปให้

พระธิดาทั้งหลายของเราด้วย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

นายช่างหม้อคนนั้น นำเอาภาชนะเหล่านั้นไปยังตำหนักของพระราช-

ธิดาเหล่านั้นแล้ว กราบทูลว่า ภาชนะเล็ก ๆ เหล่านี้ข้าพระองค์ขอถวายไว้

เพื่อสำหรับพระนางได้ทรงเล่น. พระราชธิดาเหล่านั้นทั้งหมดเสด็จมาแล้ว.

นายช่างหม้อก็ได้ถวายภาชนะที่พระมหาสัตว์การทำไว้เพื่อประโยชน์แก่พระ

นางประภาวดี เฉพาะพระนางทีเดียว. พระนางทรงรับภาชนะนั้นมาแล้ว

ทรงเห็นพระรูปของพระองค์พระรูปของพระมหาสัตว์ และรูปของหญิงค่อม

ในภาชนะนั้นทีเดียว ก็ทรงทราบว่า ภาชนะนี้ไม่ใช่คนอื่นทำ พระเจ้า

กุสราชนั่นแล ทรงกระทำ ทรงแค้นเคืองแล้ว ขว้างของเหล่านั้นลงบน

ภาคพื้น แล้วตรัสว่า เราไม่มีความต้องการด้วยของสิ่งนี้ ใครอยากได้

ท่านจงเอาไปให้เขาเถิด. ลำดับนั้น พระราชธิดาผู้เป็นพระภคินีทั้งหลายของ

พระนาง ทรงทราบว่า พระนางทรงกริ้ว ก็พากันทรงยิ้มว่า พระพี่เข้าพระทัยว่า

ภาชนะเล็ก ๆ นี้ พระเจ้ากุสราชทรงกระทำกระมัง ภาชนะนี้ ไม่ใช่พระเจ้า

กุสราชนั้นทรงกระทำหรอก ช่างหม้อเขากระทำต่างหาก พระพี่นางจงรับเอา

ไว้เถิด พระนางก็มิได้ตรัสบอก ถึงเรื่องที่พระเจ้ากุสราชนั้น ทรงกระทำ

ภาชนะและเรื่องที่พระเจ้ากุสราชนั้น เสด็จมาถึงแล้ว แก่พวกพระภคินีเหล่านั้น

นายช่างหม้อได้ให้กหาณะพันหนึ่งแก่พระโพธิสัตว์แล้ว กล่าวว่า นี่แน่ะพ่อเอ๋ย

พระราชาทรงชอบใจเจ้า ได้ยินว่าจำเดิมแต่นี้ไป เจ้าพึงกระทำภาชนะสำหรับ

พระราชธิดาทุก ๆ พระองค์ เราจักนำไปถวายแด่พระราชธิดาเหล่านั้นเอง

พระโพธิสัตว์เจ้านั้น จึงตรัสว่า ท่านพ่อครับ ผมจักไม่การทำเพื่อพระราชธิดา

เหล่านั้น พระโพธิสัตว์เจ้านั้น ทรงพระราชดำริว่า เราขืนอยู่ในที่นี้ เห็นจะ

ไม่อาจที่จะได้เห็นพระนางประภาวดีได้ จึงพระราชทานทรัพย์พันหนึ่งนั้นแก่

นายช่างหม้อนั้นทีเดียว แล้วจึงเสด็จไปยังสำนักของนายช่างสาน ผู้เป็นอุปัฏฐาก

ของพระราชา ขอสมัครเป็นศิษย์ของนายช่างสานนั้น แล้วทรงกระทำใบตาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

เพื่อประโยชน์แก่พระนางประภาวดีแล้ว แสดงรูปต่าง ๆ คือ รูปเศวตฉัตร

สถานที่สำหรับดื่ม พระนางประภาวดี ทรงยืนจับผ้าเป็นต้นในใบตาลนั้น นาย

ช่างสานได้ถือเอาใบตาลนั้นและของอย่างอื่นอีก ที่พระโพธิสัตว์นั้น ทรงกระทำ

แล้ว นำไปยังราชตระกูล พระราชา ทอดพระเนตรเห็นตรัสถามว่า สิ่งของ

เหล่านั้นใครทำ นายช่างสาน กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ทำเองพระเจ้า

ข้า พระราชาตรัสว่า เราจำของที่เจ้าทำได้ดี จงบอกมาเถิดว่าของเหล่านั้นใคร

ทำกันแน่ นายช่างสานกราบทูลว่า ขอเดชะ ศิษย์ของข้าพระองค์กระทำพระ

เจ้าข้า พระราชาทรงรับสั่งว่า ผู้นั้นไม่สมควรเป็นศิษย์ เขาจงเป็นอาจารย์

ของเจ้าจึงเหมาะ เจ้าจงศึกษาศิลปะในสำนักของเขาและจำเดิมแต่วันนี้ไป ขอ

ให้เขาทำสิ่งของอย่างนี้ แก่พวกธิดาของเรา และเจ้าจงให้ทรัพย์พันหนึ่งนี้แก่

เขาด้วย ดังนี้แล้ว ทรงพระราชทานทรัพย์พันหนึ่งแล้วตรัสว่า เจ้าจงนำเอา

สิ่งของเครื่องประดับเหล่านั้น ไปให้พวกธิดาของเราด้วย.

แม้นายช่างสานั้น ก็ได้ถวายใบตาลที่พระโพธิสัตว์ ทรงกระทำเพื่อ

ประโยชน์แก่พระนางประภาวดีเฉพาะพระนางทีเดียว ชนอื่น ย่อมไม่เห็นรูป

ทั้งหลายในใบตาลนั้น ฝ่ายพระนางประภาวดี พอได้ทอดพระเนตรเห็น ก็ทรง.

ทราบว่า พระเจ้ากุสราชทรงกระทำ ก็ทรงกริ้วขว้างลงบนพื้นแล้วรับสั่งว่า

ใครอยากได้ ก็จงเอาไปเถิด ลำดับนั้น พวกพระภคินีที่เหลือ ก็ทรงหัวเราะ

เยาะพระนาง นายช่างสาน ถือเอาทรัพย์พันหนึ่ง ไปให้พระโพธิสัตว์แล้วบอก

เรื่องราวนั้นให้ทราบ พระโพธิสัตว์เจ้านั้น ยังทรงดำริว่า แม้ที่นี้ก็ไม่ใช่สถาน

ที่ที่เราควรจะอยู่ จึงมอบทรัพย์พันหนึ่งคืนให้นายช่างสานนั้นแล้ว เสด็จไปยัง

สำนักของนายช่างร้อยดอกไม้ของพระราชา แจ้งความประสงค์ขอเป็นศิษย์

ทรงร้อยพวงมาลาแปลก ๆ หลายอย่างหลายชนิด ได้กระทำทรงเทริดอันหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

ซึ่งวิจิตรด้วยรูปต่าง ๆ เพื่อประโยชน์แก่พระนางประภาวดี นายมาลาการ

ถือเอาพวงมาลาทั้งหมดนั้น ไปยังราชตระกูล พระราชาทอดพระเนตรเห็น

จึงตรัสถามว่า ดอกไม้เหล่านี้ ใครร้อยเป็นพวงมาลา นายมาลาการ กราบ

ทูลว่า ข้าพระองค์ร้อยเองพระเจ้าข้า พระราชาตรัสว่า ดอกไม้ที่เจ้าเคยร้อย

แล้ว เราจำได้ดี จงบอกมานะว่า ดอกไม้เหล่านี้ใครร้อย นายมาลาการกราบทูล

ว่า ศิษย์ของข้าพระองค์ร้อยเป็นพวงมาลา พระเจ้าข้า พระราชาตรัสว่า ผู้นั้น

ไม่สมควรเป็นศิษย์ของเจ้า เขาจงเป็นอาจารย์ของเจ้าเถิด เจ้าจงเรียนศิลปะ

ในสำนักของเขา และจำเดิมแต่วันนี้ไป ขอให้เขาได้ร้อยดอกไม้ให้พวกธิดา

ของเราเถิด และเจ้าจงให้ทรัพย์พันหนึ่งนี้แก่เขา ดังนี้แล้ว จึงพระราชทาน

ทรัพย์พันหนึ่งแล้วรับสั่งว่า เจ้าจงนำเอาดอกไม้เหล่านั้นไปให้พวกธิดาของเรา

ด้วย.

แม้ช่างร้อยดอกไม้นั้น ก็ได้ถวายทรงเทริดที่พระมหาสัตว์ ทรงกระทำ

เพื่อประโยชน์แก่พระนางประภาวดี เฉพาะพระหัตถ์พระนางที่เดียว พระนาง

ทรงเห็นรูปต่าง ๆ ของพระองค์และของพระราชาพร้อมทั้งรูปอื่น ๆ อีกเป็น

อันมาก ในทรงเทริดนั้นก็ทรงทราบว่า พระเจ้ากุสราชนั้น ทรงการทำ จึง

ทรงกริ้วแล้วขว้างลงบนภาคพื้น พวกภคินีที่เหลือ พากันหัวเราะเยาะพระนาง

เหมือนอย่างนั้นทีเดียว แม้นายมาลาการ ก็ได้นำทรัพย์มาให้พระโพธิสัตว์เจ้า

บอกเรื่องนั้นให้ทราบแล้ว พระโพธิสัตว์เจ้านั้น จึงทรงพระดำริว่า แม้สถานที่

นี้ ก็ไม่ใช่ที่ที่เราจะอยู่ได้ จึงคืนทรัพย์พันหนึ่ง ให้แก่นายมาลาการนั้น แล้ว

เสด็จไปยังสำนักของเจ้าพนักงานห้องเครื่องต้นของพระราชา ขอฝากตัวเป็น

ศิษย์ ภายหลังวันหนึ่ง เจ้าพนักงานเครื่องต้นไปถวายแด่พระราชา ก็ได้ให้

ชิ้นเนื้อติดกระดูกชิ้นหนึ่ง แก่พระโพธิสัตว์เจ้า เพื่อให้ปิ้งเป็นประโยชน์ส่วนตัว

พระโพธิสัตว์เจ้า ทรงปิ้งเนื้อนั้นให้มีกลิ่นหอมตลบฟุ้งไป จนทั่วพระนคร

ทั้งหมด พระราชา ทรงได้กลิ่นเนื้อนั้น จึงตรัสถามว่า เจ้าปิ้งเนื้อส่วนอื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

ของเจ้าไว้ในห้องเครื่องต้นหรือ เจ้าพนักงานเครื่องต้น กราบทูลว่า ไม่มีเลย

พระเจ้าข้า ก็แต่ว่าข้าพระองค์ ได้ให้ชิ้นเนื้อติดกระดูกแก่ลูกมือของข้าพระองค์

เพื่อให้ปิ้งบริโภค กลิ่นนั้นเห็นจะเป็นกลิ่นของเนื้อนั้นนั่นเองพระเจ้าข้า พระ

ราชา ทรงรับสั่งให้นำเนื้อนั้นมาแล้ว ทรงแตะวางที่ปลายพระชิวหาหน่อยหนึ่ง

จากเนื้อชิ้นนั้น ในขณะนั้นทีเดียวรสแห่งชิ้นเนื้อนั้น ก็แผ่ซาบซ่านไปทั่ว

ประสาท สำหรับรสถึงเจ็ดพัน พระราชา ทรงติดใจในรสตัณหา จึงทรง

พระราชทานทรัพย์พันหนึ่ง แก่เจ้าพนักงานเครื่องต้นนั้น แล้วทรงรับสั่งว่า

จำเดิมแต่นี้ไป เจ้าจงให้ลูกมือของเจ้าปรุงภัตตาหารให้ แก่พวกธิดาของเรา

และแก่เราด้วยแล้ว เจ้าจงนำมาให้เรา ส่วนลูกมือของเจ้านั้น จงนำไปให้พวก

ธิดาของเรา.

เจ้าพนักงานเครื่องต้นไปบอกแก่พระโพธิสัตว์นั้น ให้ทราบแล้ว

พระโพธิสัตว์เจ้านั้น จึงทรงพระดำริว่าบัดนี้ ความปรารถนาแห่งใจของเราถึง

ที่สุดแล้ว เราจักได้เห็นพระนางประภาวดีในบัดนี้แน่ จึงทรงดีพระทัยแล้ว

คืนทรัพย์พันหนึ่งนั้นให้แก่เจ้าพนักงานเครื่องต้นนั้น ในวันรุ่งขึ้น ทรงจัดแจง

เครื่องเสวยเสร็จแล้ว ส่งเครื่องต้นของพระราชาไปแล้ว ส่วนพระองค์เอง

ทรงหาบกระเช้าเครื่องเสวยของพวกพระราชธิดา เสด็จขึ้นไปยังปราสาท ที่

ประทับของพระนางประภาวดี พระนางได้ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์เจ้า

นั้น ทรงหาบกระเช้าเครื่องกระยาเสวย เสด็จขึ้นปราสาทมา จึงทรงพระดำริ

ว่า พระเจ้ากุสราชนี้ มากระทำการงาน ที่พวกทาสและกรรมกรจะพึงกระทำ

ช่างไม่สมควรแก่พระองค์เลย ก็ถ้าเราจักนิ่งเฉยเสียสัก ๒, ๓ วัน เธอก็จะ

มีความสำคัญว่า บัดนี้ พระนางประภาวดีนี้ปรารถนาเรา ก็จะไม่ไปไหน มอง

ดูแต่เรา จักอยู่ในที่นี้ทีเดียว บัดนี้ เราจักด่าว่าพระองค์เสียเลยไม่ให้อยู่ในที่นี้

แม้แต่เพียงชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักให้ทรงหนีไป พระนางทรงเปิดพระทวารแง้ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

ไว้ครึ่งหนึ่ง ทรงเอาพระหัตถ์ข้างหนึ่งยึดบานประตูไว้ อีกบานหนึ่ง ทรงใส่

ลิ่มเสียแล้ว ตรัสพระคาถาที่ ๒ ว่า

พระองค์ทรงนำหาบใหญ่ มาด้วยพระทัยอันไม่

ซื่อตรง จักต้องทรงเสวยทุกข์มาก ทั้งกลางวันและ

กลางคืน ขอเชิญพระองค์เสด็จกลับไป ยังกุสาวดีนคร

เสียโดยเร็วเถิด หม่อมฉันไม่ปรารถนาให้พระองค์ ผู้

มีผิวพรรณชั่วอยู่ในที่นี้.

เนื้อความแห่งคาถานั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ ข้าแต่มหาราชเจ้า พระ

องค์เป็นผู้ปรุงภัตตาหาร มิได้ทรงทำการงานนี้ แม้แก่บุคคลผู้ตีศีรษะของ

พระองค์ให้แตก ด้วยจิตอันซื่อตรง แต่ทรงนำหาบให้หาบหนึ่งมาเพื่อ

ประโยชน์แก่เรา ด้วยจิตอันไม่ซื่อตรง จักเสวยความทุกข์ใหญ่ทั้งกลางวัน

กลางคืน และในกาลอันเป็นส่วนแห่งราตรี จะมีประโยชน์อะไรด้วยความ

ลำบากที่ท่านได้รับอยู่นั้น ขอเชิญท่านกลับไปยังเมืองกุสาวดี อันเป็นเมือง

ของพระองค์เสียเถิด ขอจงไปสถาปนานางยักษิณี ซึ่งมีหน้าและทรวดทรง

คล้ายกับขนมเบื้องเสมอเช่นกันกับพระองค์แล้ว ทรงเสวยราชสมบัติเถิด ส่วน

ตัวหม่อมฉัน ไม่ปรารถนาที่จะให้ท่านผู้มีผิวพรรณอันชั่วช้า ผู้มีทรวดทรงอัน

ไม่งดงามอยู่ในที่นี้ต่อไป.

พระโพธิสัตว์เจ้านั้น ทรงดีพระทัยว่า เราได้รับถ้อยคำจากสำนักของ

พระนางประภาวดีแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถา ๓ พระคาถาว่า

ประภาวดีเอ๋ย พี่ติดใจในผิวพรรณของเธอ จึง

จะจากที่นี้ไปยังเมืองกุสาวดีไม่ได้ พี่มีความพอใจใน

การเห็นเธอ จึงได้ละทิ้งบ้านเมืองมารื่นรมย์อยู่ในพระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

ราชนิเวศน์ อันน่ารื่นรมย์ของพระเจ้ามัททราช ดูก่อน

น้องประภาวดี พี่ติดใจในผิวพรรณของเธอจนลุ่มหลง

เที่ยวไปยังพื้นแผ่นดิน พี่ไม่รู้จักทิศว่า พี่มาแล้วจาก

ที่ไหน พี่หลงใหลในตัวเธอ ผู้มีดวงเนตรอันแจ่มใส

ดุจดวงตามฤค ผู้ทรงภูษากรองทอง และห้อยสังวาลย์

ทอง ดูก่อนพระน้องนางผู้มีตะโพกอันผึ่งผาย พี่มี

ความต้องการ แต่ตัวเธอเท่านั้น พี่ไม่ต้องการด้วย

พระราชสมบัติเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รมามิ คือยินดียิ่ง แต่มิได้กระสัน.

บทว่า สนฺมุฬฺหรูโป ได้แก่ เป็นผู้ลุ่มหลงเพรียบด้วยกิเลส. บทว่า ตยิมฺหิ

มตฺโต ความว่า พี่เป็นผู้มัวเมาในตัวเธอ คือเป็นผู้เมาจนทั่วในตัวเธอ.

บทว่า โสวณฺณจีรวสเน คือผู้นุ่งผ้าอันขจิตด้วยทอง. บทว่า นาห รชฺ-

เชน มตฺถิโก ความว่า จะมีความต้องการด้วยราชสมบัติก็หามิได้.

เมื่อพระโพธิสัตว์เจ้านั้น ตรัสอย่างนี้แล้ว พระนางเจ้าจึงทรงพระดำริ

ว่า เราคำว่าพระเจ้ากุสราช ด้วยหวังว่าจักให้เธอเจ็บแสบ แต่พระเจ้ากุสราช

พระองค์นี้ กลับพูดเกี่ยวพันอีก ก็ถ้าเธอจักบอกกล่าวขึ้นว่า เราเป็นพระเจ้า

กุสราช แล้วเข้ามาจับมือเรา ใครจะห้ามเธอได้ ครจะพึงได้ยินถ้อยคำของเรา

ทั้งสองนี้ได้ จึงทรงปิดพระทวารใส่ลิ่มแล้ว เสด็จเช้าข้างใน. ส่วนพระโพธิสัตว์

เจ้านั้น ก็ทรงหาบกระเช้าเครื่องเสวยไปเที่ยวแจกภัตตาหาร ให้พระราชธิดา

ทั้งหลายได้เสวยแล้ว. พระนางประภาวดี ทรงส่งนางค่อมไปด้วยพระดำรัสว่า

เธอจงไปนำเอาภัตรที่พระเจ้ากุสราชปรุงแล้วมา. นางค่อมนั้น นำมาแล้ว

กราบทูลว่า ขอพระแม่เจ้าจงเสวยเถิด. พระนางตรัสว่า ฉันจะไม่ขอยอม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

บริโภคภัตรที่พระเจ้ากุสราชนั้นปรุงแล้ว เธอจงบริโภคเสียเองเถิด จงนำเอา

ผักที่ตนได้มาแล้ว จัดแจงหุงต้มภัตร นำมาให้เราแทน และเรื่องที่พระเจ้า

กุสราชติดตามมา เธออย่าไปบอกแก่ใคร ๆ นะ.

จำเดิมแต่นั้นมา นางค่อมก็นำเอาเครื่องเสวยอันเป็นส่วนของพระนาง

เจ้า มาบริโภคเสียเอง นำเอาอาหารที่เป็นส่วนของตน น้อมเข้าไปถวายพระ

นางแทน. จำเดิมแต่นั้นมา แม้พระเจ้ากุสราช ก็มิได้ทรงทอดพระเนตร

เห็นพระนางอีกเลย จึงทรงพระราชดำริว่า พระนางประภาวดี ยังมีความ

เสน่หาในตัวเรา หรือว่าไม่มีกันหนอ จำเราจักทดลองดูพระนาง.

พระโพธิสัตว์เจ้านั้น ครั้นทรงให้พระราชธิดาทุกพระองค์เสวยเสร็จแล้ว

จึงหาบกระเช้าเครื่องเสวยออกมา พอมาถึงประตูพระตำหนักของพระนาง

ก็ทรงกระทืบพื้นปราสาทด้วยพระบาท กระแทกภาชนะทั้งหลายทรงทอด

ถอนพระทัยใหญ่ ทำเป็นประหนึ่งว่าถึงวิสัญญีสลบ ทรงคู้งอพระองค์ล้ม

กลิ้งลงไป ด้วยเสียงที่พระโพธิสัตว์เจ้านั้นทรงทอดถอนพระทัยใหญ่ พระ-

นางจึงทรงเปิดพระทวารออกมา ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์นั้นถูกไม้คาน

หาบเครื่องเสวยทับเอา จึงทรงดำริว่า พระเจ้ากุสราชนี้ เป็นพระราชาผู้เลิศ

ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ได้ทรงเสวยความลำบากทั้งกลางคืนและกลางวัน เพราะ

อาศัยเรา และเพราะพระองค์เป็นสุขุมาลชาติ จึงถูกหาบเครื่องเสวยทับเอาแล้ว

ล้มลง พระองค์ยังมีพระชนม์อยู่หรือสิ้นพระชนม์เสียแล้วหนอ. พระนางจึง

เสด็จออกจากพระตำหนัก ทรงก้มพระศอลงดูพระพักตร์ เพื่อจะตรวจพระวาโย

ที่ช่องพระนาสิกของพระเจ้ากุสราชนั้น . พระเจ้ากุสราชนั้น ทรงอมพระเขฬะ

ไว้เต็มพระโอฐ แล้วถ่มรดไปที่พระสรีระของพระนาง. พระนางกริ้วต่อพระเจ้า

กุสราชนั้นมาก ทรงด่าพระองค์แล้ว เสด็จเข้าไปยังพระตำหนัก ทรงปิดพระ

ทวารเสียครั้งหนึ่งแล้ว ประทับยืนอยู่ ตรัสพระคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

ดูก่อนพระเจ้ากุสราช ผู้ใดปรารถนาคนที่เข้าไม่

ปรารถนาตน ผู้นั้นย่อมมีแต่ความไม่เจริญ หม่อมฉัน

ไม่รักพระองค์ พระองค์ก็จะให้หม่อมฉันรัก เมื่อเขา

ไม่รัก พระองค์ยังปรารถนาให้เขารัก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภูติ หมายถึงความไม่เจริญ.

ฝ่ายพระเจ้ากุสราชนั้น แม้จะถูกพระนางคำว่า ก็มิได้ทรงทำความ

เดือนร้อนใจให้บังเกิดขึ้นเสีย เพราะเหตุพระทัยปฏิพัทธ์ในพระนาง จึงตรัส

พระคาถาอันเป็นลำดับต่อไปว่า

นรชนใด ได้คนที่เขาไม่รักตัว หรือคนที่รักตัว

มาเป็นที่รัก เราสรรเสริญการได้ในสิ่งนี้ ความไม่ได้

ในสิ่งนั้นเป็นความชั่วช้า.

เมื่อพระเจ้ากุสราชตรัสอยู่อย่างนี้ก็ตาม พระนางก็มิได้ทรงลดละ

กลับตรัสพระวาจาแข็งกระด้างยิ่งขึ้น ทรงปรารถนาที่จะให้พระเจ้ากุสราชนั้น

เสด็จหนีไปเสียให้พ้น จึงตรัสพระคาถาอันเป็นลำดับต่อไปว่า

พระองค์ทรงปรารถนาซึ่งหม่อมฉัน ผู้ไม่ปรา-

รถนา เปรียบเหมือนพระองค์เอาไม้กรรณิการ์มาแคะ

เอาเพชรในหิน หรือเหมือนเอาตาข่ายมาดักลมฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กณิการสฺส ทารุนา คือไม้แห่งต้น

กรรณิการ์. บทว่า พาเธสิ คือปิด ได้แก่ บังลม.

พระราชา ได้ทรงสดับพระดำรัสนั้นแล้ว จึงตรัสพระคาถา ๓ คาถาว่า

หินคงฝังอยู่ในหฤทัยอันมีลักษณะอ่อนละมุน

ละไม ของเธอเป็นแน่ เพราะตั้งแต่ฉันมาจากชนบท

ภายนอก ยังไม่ได้ความชื่นชมจากเธอเลย แม่ราชบุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

ยังทำหน้านิ่วคิ้วขมวดมองดูฉันอยู่ตราบใด ฉันก็คง

ต้องเป็นพนักงานเครื่องต้นภายในบุรี ของพระเจ้า

มัททราชอยู่ตราบนั้น ต่อเมื่อใดแม่ราชบุตรียิ้มแย้ม

แจ่มใส มองดูฉัน ฉันก็จะเลิกเป็นพนักงานเครื่องต้น

กลับไปเป็นพระเจ้ากุสราชเมื่อนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า. มุทุลกฺขเณ ได้แก่ หฤทัยของเธอ

ประกอบด้วยลักษณะแห่งหญิงผู้อ่อนโยน. บทว่า โย คือ โย อห. บทว่า

ติโรชนปทาคโต ความว่า ตั้งแต่ฉันมาจากแว่นแคว้นภายนอกอยู่ในวังของ

เธอ ยังไม่ได้ความชื่นชมแม้แต่เพียงการต้อนรับเลย ฉันจึงเข้าใจอย่างนี้ว่า

เธอคงเอาหินเข้าไปวางไว้ในหัวใจของเธอเป็นแน่ เพราะเธอห้ามการบังเกิด

ขึ้นแห่งความรักในตัวฉันเสียได้. บทว่า ภูกุฏึ กตฺวา ได้แก่ ทำหน้าผาก

ยืนยู่ยี่เหมอนเถาวัลย์ด้วยความโกรธ. บทว่า อาฬาริโก ความว่า พระเจ้า

กุสราชตรัสว่า ในขณะนั้น ฉันก็คงเป็นพนักงานเครื่องต้น คล้ายกับทาสผู้

ปรุงภัตรในภายในบุรี ของพระเจ้ามัททราช ฉะนั้น. บทว่า อุมฺหายมานา

ได้แก่ แสดงอาการร่าเริง คือยิ้มแย้มแจ่มใส. บทว่า ราชา โหม ความว่า

ในขณะนั้น ฉันก็จะเป็นเหมือนพระราชาผู้เสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครกุสาวดี

เพราะเหตุไร น้องจึงหยาบคายอย่างนี้ ดูก่อนพระนางผู้เจริญ ทั้งแต่นี้ต่อไป

ขอพระน้องนางอย่าได้ทรงกระทำแบบนี้อีกเลยนะ.

พระนางได้ทรงสดับพระดำรัสของพระเจ้ากุสราชนั้นแล้ว จึงทรงดำริ

ว่า พระเจ้ากุสราชนี้ยิ่งพูดยิ่งติดแน่นหนักขึ้น เราจักพูดมุสาวาท ให้ท้าวเธอ

หนีไปเสียจากที่นี้โดยอุบาย จึงตรัสคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

ก็ถ้าถ้อยคำของโหรทั้งหลาย จักเป็นจริงไซร้

พระองค์คงไม่ใช่พระสวามีของหม่อมฉันแน่แท้ เขา

เหล่านั้น คงจะบั่นเราออกเป็น ๗ ท่อนแน่.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น มีอธิบายว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวก

หมอดูเป็นอันมาก เมื่อถูกถามว่า พระเจ้ากุสราชเป็นพระสวามีของฉันหรือ

ไม่เป็น ดังนี้ พวกหมอดูเหล่านั้น ก็จะทำนายว่า ทราบว่าท่านทั้งหลาย

จงบั่นเราออกเป็น ๗ ท่อนเถิด ท่านจักไม่เป็นพระสวามีของฉันเป็นแน่แท้.

พระราชา ได้ทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว เมื่อจะทรงคัดค้านพระนาง

จึงตรัสว่า ดูก่อนพระนางผู้เจริญ หากว่าฉันจะถามหมอดูในบ้านเมืองของฉัน

บ้าง พวกหมอดูเหล่านั้นต้องพยากรณ์ว่า ขึ้นชื่อว่า พระสวามีของเธอ นอกจาก

พระเจ้ากุสราช ผู้มีพระสุรเสียงดุจราชสีห์แล้ว จะเป็นคนอื่นไปไม่มีเลย แม้

ฉันเอง ก็ต้องกล่าวกะพวกญาติและมิตรของฉันอย่างนี้เหมือนกัน ดังนี้แล้ว

จึงตรัสพระคาถาต่อไปอีกว่า

ก็ถ้าถ้อยคำของโหรเหล่าอื่น หรือของหม่อมฉัน

จักเป็นจริงไซร้ พระสวามีของเธอ นอกจากพระเจ้า

กุสราช ผู้มีพระสุรเสียงดุจราชสีห์ จะเป็นคนอื่นไป

ไม่มีเลย.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น มีอธิบายว่า ก็ถ้าถ้อยคำของพวกหมอดู

เหล่าอื่นเป็นความจริง ขึ้นชื่อว่า พระสวามีของเธอจะเป็นคนอื่นไปไม่ได้เลย.

พระนางทรงสดับถ้อยคำของพระเจ้ากุสราชนั้นแล้ว จึงทรงดำริว่า

เราไม่สามารถที่จะให้พระเจ้ากุสราชนี้ ทรงละอายหรือหนีพ้นไปได้เลย พระเจ้า

กุสราชนี้ จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา จึงทรงปิดพระทวาร ไม่ทรงแสดง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

พระองค์. แม้พระเจ้ากุสราชนั้น ก็ทรงหาบกระเช้าเครื่องเสวยกลับลงมาแล้ว

ตั้งแต่นั้น ก็ไม่ได้ทรงพบเห็นพระนางได้อีกเลย. พระองค์ทรงการทำการงาน

หน้าที่ผู้จัดแจงภัตร แสนจะสำบากเป็นอย่างยิ่ง เสวยภัตตาหารเช้าแล้ว ต้อง

ทรงผ่าฟืน ล้างภาชนะใหญ่น้อยเสร็จแล้ว เสด็จไปตักน้ำด้วยหาบ เมื่อจะ

บรรทมก็บรรทมที่ข้างหลังรางน้ำ ตื่นบรรทมก็ตื่นแต่เช้าตรู่ทีเดียว ทรงต้ม

ข้าวยาคูเป็นต้น ทรงหาบไปเองให้พระราชธิดาทั้งหลายเสวย แต่พระองค์

ต้องทรงเสวยทุกข์อย่างสาหัสเช่นนี้ ก็เพราะอาศัยความกำหนัด ด้วยอำนาจ

ความเพลิดเพลินติดใจในกามารมณ์. วันหนึ่งพระองค์ทอดพระเนตรเห็นนาง

ค่อมเดินไปข้างประตูห้องเครื่อง จึงตรัสเรียกมา แต่นางค่อมนั้นก็ไม่อาจจะ

ไปเฝ้าพระองค์ได้ เพราะเธอกลัวพระนางประภาวดี จึงรีบเดินหนีไป. ลำดับนั้น

พระองค์จึงรีบเสด็จติดตามไปทัน แล้วตรัสทักนางค่อมนั้นว่า ค่อมเอ๋ย. นาง

ค่อมนั้นเหลียวกลับมายืนอยู่แล้ว ถามว่า นั่นใคร แล้วทูลว่า หม่อมฉันไม่ทัน

ได้ยินว่าเป็นพระสุรเสียงของพระองค์. ลำดับนั้น พระเจ้ากุสราชจึงตรัสกะนาง

ค่อมนั้นว่า แน่ะค่อมเอ่ย แหม ! นายของเจ้าช่างจิตใจแข็งเหลือเกินนะ เรา

มาอยู่ในพระราชวังของพวกเจ้าตลอดกาลเพียงเท่านี้ ยังไม่ได้แม้เพียงการถาม

ข่าวถึงความไม่มีโรคเลย เรื่องอะไรจักให้ไทยธรรม ข้อนั้นจงยกไว้ก่อนเถิด

ก็แต่ว่าเจ้าควรจักกระทำพระนางประภาวดีของเราให้ใจอ่อนแล้ว ให้ได้พบกับ

เราบ้างเถิด. นางค่อมรับพระราชดำรัสแล้ว. ลำดับนั้น พระเจ้ากุสราชจึงตรัส

หยอกเย้านางค่อมว่า ถ้าเจ้าสามารถที่จะให้เราได้พบพระนางประภาวดีนั้นได้

เราจักทำความค่อมของเจ้าให้ตรงแล้ว จักให้สายสร้อยคอเส้นหนึ่ง ดังนี้แล้ว

จึงตรัสพระคาถา ๕ พระคาถา ดังต่อไปนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

แน่ะนางขุชชา เรากลับไปถึงกรุงกุสาวดีแล้ว

จักให้นายช่างทำเครื่องประดับคอทองคำให้แก่เจ้า ถ้า

เจ้าทำให้พระนางประภาวดีผู้มีขาอ่อนงามดังงวงช้าง

ให้แลดูเราได้ แน่ะนางขุชชา เรากลับไปถึงกรุงกุสาวดี

แล้ว จักให้นายช่างทำเครื่องประดับคอทองคำให้แก่เจ้า

ถ้าเจ้าทำพระนางประภาวดีผู้มีขาอ่อนงามดังงวงช้าง

ให้เจรจากับเราได้ แน่ะนางขุชชา เรากลับไปถึงกรุง

กุสาวดีแล้ว จักให้นายช่างทำเครื่องประดับคอทองคำ

ให้แก่เจ้า ถ้าเจ้าทำพระนางประภาวดีผู้มีขาอ่อนงาม

ดังงวงช้างให้ยิ้มแย้มแก่เราได้ แน่ะนางขุชชา เรากลับ

ไปถึงกรุงกุสาวดีแล้ว จักให้นายช่างทำเครื่องประดับ

คอทองคำให้แก่เจ้า ถ้าเจ้าทำพระนางประภาวดีผู้มี

ขาอ่อนงามดังงวงช้างให้หัวเราะร่าเริงแก่เราได้ แน่ะ

นางขุชชา เรากลับไปถึงกรุงกุสาวดีแล้ว จักให้นาย

ช่างทำเครื่องประดับคอทองคำให้แก่เจ้า ถ้าเจ้าทำ

พระนางประภาวดีผู้มีขาอ่อนงามดังงวงช้าง ให้มา

ลูบคลำจับตัวเรา ด้วยมือของเธอได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนกฺข คีวนฺเต ความว่า เราจักให้

ช่างทำคอของเจ้า ให้เป็นทองคำทั้งหมดทีเดียว. บาลีว่า เราจักทำทองคำที่คอ

ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า เราจักประดับเครื่องประดับอันสำเร็จด้วยทองคำที่คอของ

เจ้า. บทว่า โอโลเกยฺย ความว่า ถ้าพระนางประภาวดี พึงแลดูเราตาม

คำพูดของเจ้า คือ ถ้าเจ้าจักสามารถให้พระนางมองดูเราได้. แม้ในบทเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

ว่า พึงให้พระนางเจรจากับเราได้ ก็มีนัยเหมือนกันนี้ทีเดียว. ส่วนในบทว่า

อุมฺหาเยยฺย ความว่า พึงหัวเราะด้วยการหัวเราะเบา ๆ. บทว่า ปมฺหาเยยฺย

ความว่า พึงหัวเราะด้วยการหัวเราะดัง ๆ.

นางค่อมนั้น ได้ฟังถ้อยคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว จึงทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอเชิญพระองค์เสด็จกลับไปเถิด อีกประมาณสัก ๒-๓

วัน หม่อมฉันจักกระทำพระนางให้อยู่ในอำนาจของพระองค์ พระองค์คอย

ทอดพระเนตรความพยายามของหม่อมฉันเถิด ดังนี้แล้ว จึงตรวจตราดูหน้าที่

การงานของคนนั้นเสร็จแล้ว จึงไปยังพระตำหนักของพระนางประภาวดี ทำที่

เหมือนว่าปัดกวาดห้องที่ประทับของพระนาง เก็บแม้ก้อนดินที่พอจะใช้ขว้าง

ได้ไม่ให้เหลือเลย โดยที่สุดแม้กระทั่งรองเท้า ก็นำออกไปแล้วเก็บกวาดห้อง

ทั้งหมด จัดตั้งที่นั่งสูงคร่อมระหว่างธรณีประตูห้อง ลาดตั่งต่ำอันหนึ่งเพื่อ

พระนางประภาวดี แล้วทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า เชิญพระแม่เจ้าเสด็จมาเถิด

หม่อมฉันจักหาเหาบนศีรษะของพระแม่เจ้าให้ แล้วเชิญให้พระนางประทับนั่ง

บนตั่งต่ำนั้น วางศีรษะของพระนางไว้ในระหว่างแห่งขาของตนแล้ว เลือกหา

ไข่เหาสักประเดี๋ยวหนึ่งก็ทูลว่า ตายจริง บนศีรษะของพระแม่เจ้านี้ มีเหา

มากมายเหลือเกิน แล้วหยิบเอาเหาจากศีรษะของตน ออกมาวางไว้บนพระหัตถ์

ของพระนาง แล้วทูลด้วยถ้อยคำอันเป็นที่รักว่า ขอพระแม่เจ้าจงทอดพระ-

เนตรเหาบนศีรษะของพระแม่เจ้าซิว่า มีประมาณเท่าไร เมื่อจะกล่าวถึงคุณงาม

ความดีของพระมหาสัตว์เจ้า (พระเจ้ากุสราช) จึงกราบทูลเป็นคาถาว่า

พระราชบุตรพระองค์นี้ คงไม่ได้ประสบแม้

ความสำราญในสำนักแห่งพระเจ้ากุสราชเสียเลยเป็นแน่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

พระนางจึงไม่ทรงกระทำ แม้เพียงการปฏิสันถาร ใน

บุรุษผู้เป็นเจ้าพนักงานเครื่องต้น เป็นคนรับใช้ที่ไม่

ต้องการด้วยค่าจ้าง.

เนื้อความแห่งคาถานั้น มีอธิบายว่า พระราชบุตรีพระองค์นี้ ย่อม

ไม่ได้ความสุขสำราญแม้มีประมาณเล็กน้อย ด้วยเครื่องระเบียบดอกไม้ของหอม

เครื่องลูบไล้ ผ้า และเครื่องประดับจากในพระราชวังของพระเจ้ากุสราช ผู้

เป็นจอมแห่งประชาชน ในพระนครกุสาวดี ในกาลก่อนแม้สักอย่างเดียวเลย

แม้วัตถุเพียงว่าหมากพลูที่พระเจ้ากุสราช จะพระราชทานแก่พระนางนี้ ก็คง

จักไม่เคยมีเลย. เพราะเหตุไร ? เพราะธรรมดาว่าผู้หญิงทั้งหลาย ย่อมไม่

อาจที่จะทำลายหัวใจ ในสามีผู้นอนทับอวัยวะแม้ในวันหนึ่งได้. ส่วนพระราช

บุตรีนี้ ย่อมไม่การทำแม้เพียงว่าการปฏิสันถาร ในบุรุษผู้เป็นพนักงานเครื่อง

ต้น ผู้รับจ้าง คือในบุรุษคนหนึ่ง ผู้เข้าถึงความเป็นผู้จัดแจงภัตร แสดงถึง

ว่าเป็นคนรับจ้าง แต่ไม่มีความต้องการแม้ด้วยราคาค่าจ้าง ละราชสมบัติมา

ยอมเสวยทุกข์อยู่อย่างนี้ เพราะอาศัยพระแม่เจ้าผู้เดียวเท่านั้น ข้าแต่พระแม่เจ้า

ถ้าแม้พระแม่เจ้าไม่มีความรัก ในพระเจ้ากุสราชนั้น พระราชาผู้เลิศเด่นใน

ชมพูทวีปทั้งหมด ก็จะทรงลำบากเพราะอาศัยพระแม่เจ้า เพราะฉะนั้น ขอ

พระแม่เจ้าควรจะพระราชทานอะไร ๆ สักเล็กน้อยแด่พระเจ้ากุสราชนั้นบ้างเถิด.

พระนางประภาวดี ได้ทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว ก็ทรงโกรธกริ้วต่อ

นางค่อม. ลำดับนั้น นางค่อมจึงคว้าพระนางที่พระศอจับเหวี่ยงเข้าไปในห้อง

ส่วนตนยืนอยู่ข้างนอกปิดประตูแล้ว ฉุดเชือกสำหรับชักลูกดาลมาเก็บไว้.

พระนางประภาวดีไม่อาจจะทรงจับเชือกนั้นได้ ประทับยืนอยู่ที่ใกล้พระทวาร

เมื่อไม่อาจจะทรงเปิดประตูได้ จึงตรัสพระคาถานอกนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

นางขุชชานี้ เห็นจะไม่ต้องถูกตัดลิ้นด้วยมีดอัน

คมเป็นแน่ จึงมาพูดคำหยาบช้าอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุนิสิเตน ได้แก่ ด้วยมีดอันคมกริบ

ที่ลับไว้แล้ว เป็นอย่างดี. บทว่า เอว ทุพฺภาสิต ความว่า นางชุชชานี้

มากล่าวอยู่ซึ่งถ้อยคำอันเป็นทุพภาษิต ไม่สมควรที่ใคร ๆ จะพึงฟังได้อย่างนี้.

ลำดับนั้น นางค่อมก็ยังคงถือเชือกสำหรับชักดาลยืนอยู่นั่นแลทูลว่า

ข้าแต่แม่เจ้าผู้หาบุญมิได้ ผู้ว่ายาก รูปร่างของท่านจักกระทำอะไรได้ เรา

ทั้งหลายจักกินรูปร่างของท่านเลี้ยงชีวิตได้หรือ เมื่อจะประกาศคุณงามความดี

ของพระโพธิสัตว์เจ้า ด้วยคาถา ๑๓ คาถา จึงกล่าวคาถาอันมีนามว่า ขุชชา

ครรชิต (ถ้อยคำข่มขู่ของนางค่อม) ดังต่อไปนี้

ข้าแต่พระนางประภาวดี พระนางอย่าทรงเทียบ

พระเจ้ากุสราชนั้น ด้วยพระรูปอันเลอโฉมของ

พระนางซิ ข้าแต่พระนางผู้มีความรุ่งเรือง พระนาง

จงกระทำไว้ในพระทัยว่า พระเจ้ากุสราชพระองค์นั้น

ทรงมีพระอิสริยยศอันเกรียงไกร แล้วจงกระทำความ

รักในพระเจ้ากุสราช ผู้มีความงามชนิดนี้ ข้าแต่

พระนางประภาวดี พระนางอย่าทรงเทียบพระเจ้า

กุสราชพระองค์นั้น ด้วยพระรูปอันเลอโฉมของพระ-

นางซิ ข้าแต่พระนางผู้มีความรุ่งเรือง พระนางจง

กระทำไว้ในพระทัยว่า พระเจ้ากุสราชพระองค์นั้น

ทรงมีพระราชทรัพย์เป็นอันมาก ข้าแต่พระนาง

ประภาวดี พระนางอย่าทรงเทียบพระเจ้ากุสราช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

พระองค์นั้น ด้วยพระรูปอันเลอโฉมของพระนางซิ

ข้าแต่พระนางผู้มีความรุ่งเรือง พระนางจงกระทำไว้

ในพระทัยว่า พระเจ้ากุสราชนั้นทรงมีทแกล้วทหาร

มาก...ทรงมีพระราชอาณาจักรกว้างใหญ่...ทรงเป็น

พระมหาราช ... ทรงนี้พระสุรเสียงเหมือนเสียงราชสีห์

...ทรงมีพระสุรเสียงไพเราะ. ...ทรงมีพระสุรเสียง

หยดย้อย ... ทรงมีพระสุรเสียงกลมกล่อม ... ทรงมี

พระสุรเสียงอ่อนหวาน... ทรงชำนาญทางศิลปะตั้งร้อย

อย่าง... ทรงเป็นกษัตริย์ ... พระแม้เจ้าประภาวดี

พระนางอย่าทรงเทียบพระเจ้ากุสราชพระองค์นั้น ด้วย

พระรูปอันเลอโฉมของพระนางซิ พระนางจงกระทำ

ไว้ในพระทัยว่า พระราชาพระองค์นั้น มีพระนาม

เหมือนกับหญ้าคา ที่ท้าวสักกะทรงประทานแล้ว จง

กระทำความรักในพระเจ้ากุสราช ผู้มีความงามอันนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา น รูเปน ปาเมสิ อาโรเหน

ปภาวติ ความว่า แน่ะพระนางประภาวดี แม่อย่าได้เปรียบเทียบพระเจ้า

กุสราช ผู้เป็นจอมแห่งชนด้วยความเลอเลิศ และความเสื่อมโทรม ด้วยพระรูป

ของตนอย่างนี้ คือว่า จงถือเอาประมาณอย่างนี้. บทว่า มหายโส ความว่า

แม่จงทำไว้ในพระทัยอย่างนี้ว่า พระเจ้ากุสราชพระองค์นั้น ทรงมีอานุภาพ

มาก. บทว่า รุจิเร ได้แก่ ในการเห็นสิ่งอันเป็นที่รัก. บทว่า กรสฺสุ

ความว่า นางค่อมกล่าวว่า แม่เจ้าจงกระทำตัวให้เป็นที่รักแก่พระเจ้ากุสราชนั้น.

ในข้อความทั้งหมดก็มีนัยเหมือนกันนี้ทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า มหายโส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

ได้แก่ มีบริวารมากมาย. บทว่า มหทฺธโน ได้แก่ มีโภคะมากมาย. บทว่า

มหพฺพโล ได้แก่ มีเรี่ยวแรงมาก. บทว่า มหารฏฺโ ได้แก่ มีรัฐไพบูลย์.

บทว่า มหาราชา ได้แก่ เป็นพระราชาผู้เลิศเด่นในชมพูทวีปทั้งสิ้น. บทว่า

สีหสฺสโร ได้แก่ มีเสียงเสมอด้วยเสียงแห่งราชสีห์. บทว่า วคฺคุสฺสโร

ได้แก่ มีเสียงประกอบด้วยลีลาศ. บทว่า พินฺทุสฺสโร ได้แก่ มีเสียงกลม

ไม่แตก. บทว่า มญฺชุสฺสโร ได้แก่ มีเสียงดี. บทว่า มธุรสฺสโร ได้แก่

มีเสียงอันประกอบด้วยความอ่อนหวาน. บทว่า สตสิปฺโป ได้แก่ พระองค์

ที่ศิลปะตั้งหลายร้อยอย่าง ซึ่งมิได้ทรงศึกษาในสำนักของชนเหล่าอื่น สำเร็จ

ขึ้นเองโดยกำลังความสามารถของพระองค์เอง. บทว่า ขตฺติโย ได้แก่ เป็น

กษัตริย์ผู้บริสุทธิ์ไม่ได้เจือปน เกิดแล้วในเชื้อสายแห่งพระเจ้าโอกกากราช.

บทว่า กุสราชา ได้แก่ พระองค์เป็นพระราชามีพระนามเสมอด้วยหญ้าคา

ที่ท้าวสักกเทวราชประทาน. จริงอยู่ นางค่อมกล่าวว่า ขอพระนางจงรู้เถิดว่า

ขึ้นชื่อว่าพระราชาองค์อื่น ผู้มีรูปเห็นปานนี้ไม่มีเลย ดังนี้แล้ว จงกระทำ

ความรักแก่พระเจ้ากุสราชนี้ แล้วกล่าวถ้อยคำพรรณนาคุณงามความดีของ

พระเจ้ากุสราชนั้น ด้วยคาถาทั้งหลายมีประมาณเท่านี้.

พระนางประภาวดี ทรงได้สดับคำของนางค่อมนั้นแล้ว จึงทรงตวาด

นางค่อมว่า แน่ะแม่ค่อม เจ้าออกจะข่มขู่เกินไปแล้ว เราถึงอยู่ด้วยมือจักให้

รู้ความที่เจ้ามีสามี แม้นางค่อมนั้นข่มขู่พระนางแล้ว ด้วยเสียงอันดังว่า หม่อม

ฉันรักษาพระนางอยู่ มิได้กราบทูลว่าพระเจ้ากุสราชเสด็จมา แก่พระราชบิดา

ของพระนาง เอาละ ถึงอย่างไร ในวันนี้หม่อมฉันจักกราบทูลให้พระราชา

ทรงทราบ แม้พระนางทรงดำริว่า ใคร ๆ พึงได้ยิน จึงตกลงยินยอมนางค่อม.

ลำดับนั้น แม้พระโพธิสัตว์เจ้า เมื่อไม่ได้เห็นพระนาง ทรงลำบากอยู่

ด้วยพระกระยาหารที่ไม่ดี ด้วยการบรรทมอย่างลำบาก จึงทรงดำริว่า นางค่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

นี้ จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา เราอยู่มาตั้ง ๗ เดือนแล้ว ยังไม่ได้เห็นพระ

นางเลย นางค่อมนี้ ช่างหยาบคายร้ายกาจเสียเหลือเกิน เราจักไปเยี่ยมพระราช

มารดาและพระราชบิดาละ ในขณะนั้นท้าวสักกเทวราช ทรงรำพึงอยู่ ก็ทรง

ทราบว่า พระโพธิสัตว์นั้นทรงเบื่อหน่ายระอาพระทัย จึงทรงดำริว่า พระราชา

ไม่ได้เห็นพระนางประภาวดีมาถึง ๗ เดือน เราจักทำให้พระราชาได้เห็นสม

ประสงค์ จึงทรงเนรมิตบุรุษทั้งหลาย ให้เป็นทูตไปยังพระราชา ๗ พระนคร

ทรงส่งข่าวสาสน์ไปเฉพาะแก่พระราชาแต่ละองค์ว่า พระนางประภาวดี ทรง

ละทิ้งพระเจ้ากุสราชกลับมาแล้ว ถ้าพระองค์มีพระประสงค์ ก็จงเสด็จมารับ

เอาพระนางประภาวดีไปเถิด พระราชาทั้ง ๗ พระนครเหล่านั้น จึงพากัน

มาพร้อมด้วยบริวารใหญ่ เสด็จถึงกรุงสาคละต่างก็มิได้ทรงทราบถึงเหตุที่ต่าง

ฝ่ายต่างมาของกันและกัน พระราชาเหล่านั้น ต่างตรัสถามกันว่า พระองค์เสด็จ

มาทำไม ครั้นทรงทราบเรื่องราวนั้น ต่างองค์ก็ทรงพิโรธพระเจ้ามัททราช

พระองค์นั้น ตรัสกันว่า ได้ยินว่า พระเจ้ามัททราช จักยกลูกสาวคนเดียวให้

แก่พระราชา ๗ พระนคร ท่านทั้งหลายจงดูความประพฤติอันไม่สมควรของ

พระราชานั้น พระองค์ช่างมาเยาะเย้ยพวกเราได้ เราทั้งหลายจงช่วยกันจับท้าว

เธอให้ได้เถิด ดังนั้น ทุก ๆ พระองค์จึงส่งพระราชสาสน์เข้าไปว่า พระเจ้า

มัททราช จงให้พระนางประภาวดีแก่พวกเรา หรือว่าจะต่อยุทธ์ แล้วยกพล

ล้อมพระนครเข้าไว้ พระเจ้ามัททราช ทรงสดับพระราชสาสน์ ก็ตกพระทัย

พระกายสั่น จึงตรัสเรียกอำมาตย์ทั้งหลายมาตรัสถามว่า เราจะทำอย่างไรกันดี

ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลาย จึงกราบทูลพระองค์ว่า ขอเดชะ พระราชาแม้ทั้ง

๗ พระองค์ เสด็จมาเพราะอาศัยพระนางประภาวดี ต่างพระองค์ก็ตรัสว่า

ถ้าพระเจ้ามัททราชไม่ให้พระนาง เราทั้งหลายจักพังกำแพงเมืองเข้ามาสู่พระ-

นคร จักยังพระเจ้ามัททราชนั้น ให้ถึงความสิ้นชีวิตแล้ว จักพาเอาพระนาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

ประภาวดีนั้นไป ดังนั้นเมื่อกำแพงยังไม่ทันจะพังนี้แหละ พวกเราควรจะรีบ

ส่งพระนางประภาวดีไปให้กษัตริย์เหล่านั้นเสียก่อน ดังนี้แล้ว จึงกราบทูลคาถา

นี้ว่า

ช้างเหล่านี้ทั้งหมด เป็นสัตว์แข็งกระด้างตั้งอยู่

เหมือนจอมปลวก จะพากันพังกำแพงเข้ามาเสียก่อน

ขอพระองค์จงส่งข่าว แก่พระราชาเหล่านั้นว่า เชิญ

เสด็จนานำเอาพระนางประภาวดีนี้ไปเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปถทฺธา ได้แก่ เป็นสัตว์เข้มแข็งยิ่งนัก.

บทว่า อาเนเตต ปภาวติ ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์

จงส่งพระราชสาสน์นี้ไปว่า เชิญเสด็จมารับพระนางประภาวดีนี้ไปเถิด เพราะ

ฉะนั้น ขอพระองค์จงรีบส่งพระนางประภาวดีไปถวายพระราชาเหล่านั้นเสีย

ก่อน ที่ช้างเหล่านั้น ยังไม่ทำลายกำแพงเมืองเข้ามา.

พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า ถ้าเราส่งนางประภาวดีไป

ให้แก่กษัตริย์องค์หนึ่ง กษัตริย์ที่เหลือ ก็จักกระทำการรบ เราไม่อาจที่จะให้

แก่กษัตริย์เมืองเดียวได้ ก็นางประภาวดีนี้ทิ้งพระราชาผู้เลิศในชมพูทวีปทั้งสิ้น

มาเสีย ด้วยรังเกียจว่า เป็นผู้มีรูปร่างน่าเกลียด บัดนี้จงรับผลของการกลับ

มานั้นเถิด เราจักฆ่านางเสียแล้วตัดออกเป็น ๗ ท่อน ส่งไปให้แก่พระราชา

๗ พระองค์ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถาเป็นลำดับต่อไปว่า

เราจะบั่นนางประภาวดีนี้ออกเป็นเจ็ดท่อน แล้ว

จักให้แก่กษัตริย์ผู้เสด็จมา ณ ที่นี้เพื่อจะฆ่าเรา.

ถ้อยคำของพระเจ้ามัททราชนั้น ได้ปรากฏไปทั่วพระราชนิเวศน์ทั้งสิ้น

นางบริจาริกาทั้งหลาย ก็เข้าไปทูลแด่พระนางประภาวดีว่า ได้ยินว่า พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

จะทรงบั่นพระแม่ออกเป็น ๗ ท่อนแล้ว ส่งไปให้พระราชา ๗ พระนคร,

พระนางทรงสดับคำนั้นแล้ว ก็ทรงหวาดกลัวย่อมรณภัย เสด็จลุกจากที่ประทับ

มีพระภคินีทั้งหลายแวดล้อมแล้ว เสด็จไปยังพระตำหนักของพระมารดา.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระราชบุตร ผู้มีผิวผ่องดังทองคำ ทรงผ้าโก-

ไสยพัสตร์ มีพระเนตรนองด้วยน้ำตา อันหมู่ทาสีแวด

ล้อม เสด็จไปยังพระตำหนักของพระมารดา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สามา ได้แก่ มีผิวพรรณดุจทองคำ.

บทว่า โกเสยฺยวาสินี ได้แก่ นุ่งผ้าที่ทอด้วยไหมอนแซมขจิตด้วยทองคำ.

พระนางเสด็จไปเฝ้าพระมารดาแล้ว ถวายบังคมพระมารดา ทรง

กำสรวลสะอึกสะอื้น กราบทูลว่า

ข้าแต่พระมารดา หน้าของลูกอันผัดแล้วด้วย

แป้ง ส่องแล้วที่กระจกเงา งดงาม มีดวงเนตรคมคาย

ผุดผ่องเป็นนวลใย จักถูกกษัตริย์ทั้งหลาย โยนทิ้งเสีย

ในป่าเป็นแน่แล้ว ฝูงแร้ง ก็จะพากันเอาเท้ายื้อแย่ง

ผมของลูกอันดำ มีปลายงอน ละเอียดอ่อน ลูบไล้

ด้วยน้ำมันหอมแก่นจันทน์ ในท่ามกลางป่าช้าอัน

เปรอะเปื้อนเป็นแน่. แขนอ่อนนุ่นทั้งสองของลูกอันมี

เล็บแดง มีขนละเอียด ลูบไล้ด้วยจุณจันทน์ ก็จะถูก

กษัตริย์ทั้งหลาย ตัดทิ้งเสียในป่า และฝูงกาก็จะโฉบ

คาบเอาไปตามความปรารถนาเป็นแน่ สุนัขจิ้งจอกมา

เห็นถันทั้งสองของลูก เช่นกับผลตาลอันห้อยอยู่ ซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

ลูบไล้ด้วยกระแจะจันทน์แคว้นกาสี ก็จะยืนคร่อมที่

ถันทั้งสองของลูกเป็นแน่ เหมือนลูกอ่อนที่เกิดแต่ตน

ของมารดา ตะโพกอันกลมผึ่งผายของลูก ผูกรัดด้วย

สร้อยสะอิ้งทอง ก็จะถูกกษัตริย์ทั้งหลายตัดเป็นชิ้น ๆ

แล้วโยนทิ้งไปในป่า ฝูงสุนัขจิ้งจอก ก็จะพากันมาฉุด

คร่าไปกิน ฝูงสุนัขป่า ฝูงกา ฝูงสุนัขจิ้งจอกและสัตว์

ที่มีเขี้ยวเหล่าอื่น ซึ่งมีอยู่ได้กินนางประภาวดีแล้ว คง

ไม่รู้จักแก่กันเป็นแน่ ข้าแต่พระมารดา ถ้ากษัตริย์

ทั้งหลายผู้มาแต่ที่ไกล ได้นำเอาเนื้อของลูกไปหมด

แล้ว พระมารดาได้ทรงโปรดขอเอากระดูกมาเผาเสีย

ในระหว่างทางใหญ่ ขอพระมารดาได้สร้างสวนดอก

ไม้แล้ว จงปลูกต้นกรรณิการ์ในสวนเหล่านั้น ข้าแต่

พระมารดา ในกาลใด ดอกกรรณิการ์เหล่านั้นเบ่ง

บานแล้ว ในเวลาหิมะตกในฤดูเหมันต์ ในกาลนั้น

ขอพระมารดา พึงระลึกถึงลูกว่า ประภาวดีมีผิวพรรณ

อย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กกฺกูปนิเสวิต ความว่า ผัดแล้วด้วย

แป้งสำหรับผัดหน้า ๕ อย่างเหล่านี้คือ สาสปกักกะ แป้งที่ทำด้วยเมล็ดพันธุ์

ผักกาด ๑ โลณกักกะ แป้งที่ทำด้วยเกลือ ๑ มัตติกกักกะ แป้งที่ทำด้วยดิน ๑

ติลกักกะ แป้งที่ทำด้วยเมล็ดงา ๑ หลิททกักกะ แป้งที่ทำด้วยขมิ้น ๑. บทว่า

อาทาสทนฺตาถรุปจฺจเวกฺขิต ได้แก่ ส่องแล้วที่กระจกมีด้ามอันทำด้วยงา

คือ มองดูที่กระจกนั้นแล้วแต่งตัว. บทว่า สุภ ได้แก่ มีใบหน้าอันงดงาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

บทว่า วิรช ได้แก่ ปราศจากละออง คือหมดมลทินเครื่องเศร้าหมอง. บทว่า

อนงฺคณ ได้แก่ เว้นจากโทษมีฝีและสิวเป็นต้น. บทว่า ฉุฑฺฑ ความว่า

ข้าแต่พระมารดา ใบหน้าของลูกสวยออกอย่างนี้ คงจะถูกพวกกษัตริย์ทั้งหลาย

โยนทิ้งเสียในบัดนี้เป็นแน่. บทว่า วเน คือ ในราวป่า. พระนางคร่ำครวญว่า

หน้าของพระนางจักทิ้งอยู่ในป่า. บทว่า อสิเต ได้แก่ ดำเป็นมันขลับ. บทว่า

เวลฺลิตคฺเค ได้แก่ มีปลายงอนขึ้นข้างบน. บทว่า สีวถิกาย คือในสุสาน.

บทว่า ปริกฑฺฒยนฺติ ความว่า พวกแร้งทั้งหลาย ที่ชอบเคี้ยวกินเนื้อมนุษย์

ก็จะเอาเท้าทั้ง ๒ ตะกุยยื้อแย่งผมของลูกซึ่งงามถึงเพียงนี้เป็นแน่. บทว่า คยฺห

ธโก คจฺฉติ เยน กาม ความว่า ข้าแต่พระมารดา นกชื่อว่า ธังกะ

จักโฉบเอาแขนของลูกที่สวยออกอย่างนี้ไปจิกกินแล้ว จักบินไปตามความ

ปรารถนา. บทว่า ตาลูปนิเภ ได้แก่ คล้ายกับผลตาลมีสีเหลืองดุจทอง.

บทว่า กาสิกจนฺทเนน ได้แก่ ลูบไล้แล้วด้วยจุณไม้จันทน์มีเนื้ออันละเอียด.

บทว่า ถเนสุ เม ความว่า ข้าแต่พระมารดา สุนัขจิ้งจอกมาเห็นนมทั้ง ๒

ข้างของลูกงามออกอย่างนี้ ซึ่งตกอยู่ในสุสาน ก็จะเอาปากกัดคร่อมลงที่นมทั้ง

๒ ข้าง ของลูกนั้นเป็นแน่แท้ ประดุจลูกอ่อนของมารดาผู้เกิดแต่ตนของตน

ฉะนั้น. บทว่า โสณี คือ แผ่นสะเอว. บทว่า สุโกฏฺฏิต ได้แก่ ที่บุคคล

เอาไม้คางโคทุบแต่งจนงามดี. บทว่า อวตฺถ คือทิ้งแล้ว. บทว่า ภกฺขยิตฺวา

ความว่า ข้าแต่พระมารดา สัตว์ทั้งหลายมีจำนวนเท่านี้เหล่านี้ เคี้ยวกินเนื้อ

ของลูกแล้ว จักไม่แก่เป็นแน่แท้. บทว่า สเจ มสานิ หาเรสุ ความว่า

ข้าแต่พระมารดา ถ้าพวกกษัตริย์เหล่านั้น ยังมีจิตปฏิพัทธ์ผูกพันในลูก พึง

แล่เนื้อของลูกออก เมื่อเป็นเช่นนั้น พระมารดาจงขอเอากระดูกมา. บทว่า

อนุปนฺเถ ทหาถ น ความว่า พระนางประภาวดีทูลว่า ขอพระมารดา

พึงเผาลูกเลีย ในระหว่างแห่งทางเล็กและทางใหญ่. บทว่า เขตฺตานิ ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

ข้าแต่พระมารดา ขอให้พระมารดาจงสร้างสวนดอกไม้ขึ้น ในบริเวณสถานที่

ที่เผาศพของลูกแล้ว. บทว่า เอตฺถ ความว่า พึงปลูกต้นกรรณิการ์ทั้งหลาย

ในบริเวณเนื้อที่เหล่านั้นด้วย. บทว่า หิมจฺจเย ได้แก่ ในเดือน ๔ ที่พ้น

จากหิมะตกแล้ว. บทว่า สเรยฺยาถ ความว่า พระมารดาพึงเอาดอกไม้

เหล่านั้นบรรจุจนเต็มผอบแล้ว วางไว้ ณ พระเพลา แล้วพึงระลึกว่า ประภาวดี

ลูกของเรา มีผิวพรรณดังดอกกรรณิการ์ ดังนี้.

พระนางประภาวดีนั้นถูกมรณภัยคุกคามแล้ว จึงทรงบ่นเพ้ออยู่บน

พระตำหนักของพระมารดา ด้วยประการฉะนี้. ฝ่ายพระเจ้ามัททราชก็ตรัสสั่ง

อำมาตย์ให้ถือขวานและระฆังแล้ว ทรงบังคับว่า นายเพชฌฆาตผู้ฆ่าโจร จง

มาในที่นี้เดี๋ยวนี้ การที่นายเพชฌฆาตนั้นเข้ามา ก็ปรากฏทั่วไปในเรือนหลวง

ทั้งสิ้น. ลำดับนั้น พระมารดาของพระนางประภาวดีทรงสดับว่า นาย

เพชฌฆาตนั้นมาแล้ว ก็เสด็จลุกจากอาสนะ ทรงเพรียบพร้อมด้วยความ

เศร้าโศก ได้เสด็จไปยังพระสำหนักของพระราชา.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระมารดาของพระนางประภาวดีเป็นขัตติยานี

มีพระฉวีวรรณดุจดังเทพอัปสร ได้ประทับยืนอยู่แล้ว

ทอดพระเนตรเห็นดาบและธนู วางอยู่ตรงพระพักตร์

พระเจ้ามัททราชภายในบุรี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทฏฺฐาสิ ความว่า พระนางเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ

เสด็จไปยังพระตำหนักของพระราชาแล้ว ประทับยืนอยู่. บทว่า ทิสฺวา

อสิญฺจ สูณญฺจ ความว่า พระนางทอดพระเนตรเห็นขวานและธนู ที่เขา

วางไว้บนพื้นใหญ่ข้างพระพักตร์พระราชา อันประดับประดาแล้ว ณ ภายในบุรี

จึงทรงรำพันอยู่ตรัสพระคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

พระองค์จะทรงฆ่าพระธิดาของหม่อมฉัน บั่น

ให้เป็นท่อน ๆ ด้วยดาบนี้ แล้วจะประทานแก่กษัตริย์

ทั้งหลาย แน่หรือเพค่ะ.

คำว่า ดาบ ในคาถานั้น พระองค์ตรัสประสงค์ถึงขวาน. จริงอยู่

ขวานนั้นชื่อว่าดาบ ในที่นี้. บทว่า สุสญฺ ตนุมชฺฌิม ได้แก่ ฟันให้

เป็นท่อนถึงกลางตัว.

ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะทรงให้พระเทวีนั้นรู้สำนึก จึงตรัสว่า

ดูก่อนพระเทวี ท่านพูดอะไร ก็พระธิดาของท่านมาทอดทิ้งพระราชาผู้เลิศใน

ชมพูทวีปทั้งสิ้น ด้วยรังเกียจว่า มีรูปร่างชั่วช้า เมื่อหนทางที่มายังไม่พินาศ

ทีเดียว ก็พาเอาความตายมาโดยหน้าผาก บัดนี้ จงรับผลแห่งความเป็นอิสระ

เพราะอาศัยรูปของตนเถิด. พระนางได้ทรงสดับพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว

จึงเสด็จไปยังพระตำหนักของพระธิดา ทรงรำพันเพ้อตรัสว่า

พระลูกน้อยเอ๋ย พระราชบิดาไม่ทรงกระทำตาม

คำของแม่ผู้ใคร่ประโยชน์ เจ้านั้นจะเปรอะเปื้อนโลหิต

ไปสู่สำนักพระยายมในวันนี้ ถ้าบุรุษผู้ใดไม่ทำตามคำ

ของบิดามารดาผู้เกื้อกูลมองเห็นประโยชน์ บุรุษผู้นั้น

ย่อมได้รับโทษอย่างนี้ และจะต้องเข้าถึงโทษที่ลามก

กว่า ในวันนี้ ถ้าลูกจะทรงไว้ซึ่งกุมาร ทรงโฉมงดงาม

ดังสีทอง เป็นกษัตริย์เกิดกับพระเจ้ากุสราช สวม

สร้อยสังวาลย์แก้วมณีแกมทอง อันหมู่พระญาติบูชา

แล้วไซร้ ลูกก็จะไม่ต้องไปยังสำนักของพระยายม

ลูกหญิงเอ๋ย เสียงกลองชัยเภรีดังอยู่อึงมี่ และเสียง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

ช้างร้องก้องอยู่ ในตระกูลแห่งกษัตริย์ทั้งหลายใด

ลูกเห็นอะไรเล่าหนอที่มีความสุขยิ่งกว่าตระกูลนั้น จึง

ได้มาเสีย เสียงม้าศึกคึกคะนอง ร้องคำรนอยู่ที่ประตู

เสียงกุมารร้องรำทำเพลงอยู่ ในตระกูลกษัตริย์ทั้งหลาย

ลูกเห็นอะไรเล่าหนอ ที่มีความสุขยิ่งไปกว่าตระกูลนั้น

จึงได้มาเสีย ในตระกูลแห่งกษัตริย์ทั้งหลาย มีนกยูง

นกกระเรียนและนกดุเหว่า ส่งเสียงร้องก้องเสนาะ

ไพเราะจับใจ ลูกเห็นอะไรเล่าหนอที่จะมีความสุขยิ่ง

ไปกว่าตระกูลนั้น จึงได้มาเสีย.

ในคาถานั้น พระเทวีตรัสเรียกพระนางประภาวดีนั้นว่า ดูก่อนลูกน้อย

ดังนี้. คำนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ ในวันนี้เจ้าจะกระทำอะไรในที่นี้ เข้าไปใน

วังของสามี ย่อมมัวเมาด้วยความเมาในรูป. เพราะฉะนั้น พระราชบิดาจึงไม่

ยอมกระทำตามคำของแม่ แม้จะอ้อนวอนอยู่อย่างนี้ ในวันนี้ เจ้านั้นจะต้อง

เปื้อนด้วยโลหิตไปสู่สำนักพระยายม คือไปสู่ภพแห่งพระยามัจจุราช. บทว่า

ปาปิยญฺจ ได้แก่ ย้อมเข้าถึงโทษอันชั่วช้ากว่าโทษที่ได้รับอยู่นี้อีกด้วย. บทว่า

สเจว อชฺช ธาเรสิ ความว่า แน่ะแม่ ถ้าเจ้าไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งจิตใจ

ก็จะได้พระโอรส มีรูปโฉมงดงามดังสีทองเหมือนกับรูปร่างของตัว ซึ่งได้แล้ว

เพราะอาศัยพระเจ้ากุสราชผู้เป็นจอมแห่งชน. บทว่า ยมกฺขย ความว่า แม้

เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้าก็จะไม่ต้องไปสู่นิเวศน์แห่งพระยายม. บทว่า ตโต ความว่า

ในตระกูลแห่งกษัตริย์ใด มีความสนุกสนานเพลิดเพลินถึงเพียงนี้ เจ้าเห็น.

อะไรเล่า ที่มีความสุขยิ่งไปกว่าสถานที่เช่นนั้น คือแต่ราชตระกูลกุสาวดี ที่

ครึกครื้นอยู่ด้วยเสียงแห่งกลองชัย และเสียงคึกคะนองร้องคำรนแห่งช้างและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

นกกระเรียนในระหว่างทาง จึงได้มาเสียในที่นี้. บทว่า หสิสติ แปลว่า

ร้องดังก้อง. บทว่า กุมาโร ได้แก่ กุมารคนธรรพ์นักฟ้อนรำ ซึ่งศึกษา

ชำนาญดีแล้ว. บทว่า อุปโรทติ ได้แก่ ถือเอาดนตรีชนิดต่าง ๆ แล้วทำ

การขับร้อง. บทว่า โกกิลาภินิกุชฺชิเต ความว่า ในตระกูลแห่งพระเจ้า-

กุสราช มีพวกนกกาเหว่าทั้งหลายร้องระงมอยู่ ประหนึ่งเซ็งแซ่ไปด้วยการ

บำรุงบำเรอด้วยการฟ้อนรำขับร้องประโคม อันเป็นไปตลอดเวลาเย็น และ

เวลาเช้า.

พระเทวีนั้น ทรงเจรจากับพระนางประภาวดี ด้วยคาถามีประมาณ

เท่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงทรงดำริว่า ถ้าในวันนี้ พระเจ้ากุสราชผู้เป็น

จอมแห่งชน พึงประทับอยู่ในที่นี้ไซร้ ก็จะทรงออกตีพระราชาทั้ง ๗ พระนคร

เหล่านี้ ให้แตกหนีไป พึ่งเปลื้องเสียซึ่งพระลูกของเรา ให้พ้นจากความทุกข์

แล้ว พึงพาลูกของเรากลับไป แล้วตรัสคาถาว่า

พระเจ้ากุสราชพระองค์ใด ผู้มีพระปรีชาอย่าง

ยอดเยี่ยม ผู้ย่ำยีกษัตริย์ทั้ง ๗ พระนคร ทรงปราบปราม

แคว้นอื่นให้พ่ายแพ้ พึงทรงปลดเปลื้องเราทั้งหลาย

ให้พ้นจากทุกข์ได้ พระเจ้ากุสราชพระองค์นั้น

ประทับ อยู่ที่ไหนหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสฬารปญฺาโณ ได้เก่ ผู้มีปัญญายิ่ง.

ในลำดับนั้น พระนางประกาศจึงทรงดำริว่า เมื่อมารดาของเรา

พรรณนาคุณของพระเจ้ากุสราชอยู่ ปากย่อมไม่เพียงพอ เราจักบอกว่าพระเจ้า

กุสราชนั้นทรงทำการงาน ในหน้าที่พนักงานห้องเครื่องต้น ประทับอยู่ในที่นี้

นั่นแหละ แด่พระมารดานั้นก่อน จึงทูลเป็นคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

พระเจ้ากุสราชพระองค์ใด ผู้มีพระปรีชาอย่าง

ยอดเยี่ยม ผู้ย่ำยีกษัตริย์ทั้ง ๗ พระนคร ทรงปราบ-

ปราบแคว้นอื่นให้พ่ายแพ้ จักทรงกำจัดกษัตริย์เหล่านั้น

ทั้งหมดได้ พระเจ้ากุสราชพระองค์นั้น ประทับอยู่

ที่นี่แหละเพค้ะ.

ลำดับนั้น พระมารดาของพระนางประภาวดีนั้น จึงทรงดำริว่า ลูกเรา

คนนี้ เห็นจะหวาดกลัวต่อมรณภัย จึงละเมอเพ้อไป ดังนี้แล้ว จึงตรัสเป็น

พระคาถาว่า

เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรือไร จึงได้พูดอย่างนี้ หรือ

ว่าเจ้าเป็นอันธพาล จึงได้พูดอย่างนี้ ถ้าพระเจ้ากุสราช

พึงเสด็จมาจริง ทำไมพวกเราจะไม่รู้จักพระองค์เล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลา ได้แก่ เป็นผู้โง่เขลาไม่มีความรู้.

บทว่า กึ น ชาเนมุ ความว่า เพราะเหตุไร แม่จึงไม่รู้จักพระองค์. ด้วยว่า

พระเจ้ากุสราชพระองค์นั้น เพียงแต่ได้เสด็จมาถึงกลางทางเท่านั้น ก็จะต้อง

ส่งพระราชสาส์นมาถึงยังพวกเรา เสนาประกอบไปด้วยองค์ทั้ง ๔ มีธงชักขึ้น-

ไสว ก็ต้องปรากฏ ก็ลูกกล่าวถึงพระเจ้ากุสราชพระองค์นั้น เพราะกลัวตาย

กระมัง.

เมื่อพระมารดาตรัสอย่างนี้ พระนางประภาวดีจึงทรงดำริว่า พระ-

มารดาของเราไม่ยอมเชื่อ และไม่ทรงทราบว่าพระเจ้ากุสราชพระองค์นั้น

เสด็จมาประทับอยู่ในที่นี้ถึง ๗ เดือนแล้ว เราจักแสดงพระเจ้ากุสราชนั้นแก่

พระมารดา จึงจับพระหัตถ์พระมารดา ทรงเปิดบานพระแกล ทรงยื่นพระหัตถ์

ออกไปแล้ว ทรงชี้ให้ทอดพระเนตร พร้อมกราบทูลเป็นพระคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

พระเจ้ากุสราชนั้น ทรงปลอมพระองค์เป็นบุรุษ

พนักงานเครื่องต้น ทรงพระภูษาหยักรั้งมั่นคง กำลัง

ก้มพระองค์ล้างหม้ออยู่ ในระหว่างพระตำหนักของ

พระกุมารทั้งหลายเพค้ะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุมารีปุรมนฺตเร ความว่า จงประทับ

ยืนที่หน้าต่าง ทอดพระเนตรไปในระหว่างพระตำหนักของเหล่ากุมารีผู้เป็น

พระราชธิดาของพระองค์เถิด. บทว่า สเวล ความว่า กำลังนุ่งหยักรั้ง

ล้างหม้ออยู่.

ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เจ้าทรงพระดำริว่า วันนี้ ความ

ปรารถนาของเราคงถึงที่สุด พระนางประภาวดีกลัวตายหนักเข้า คงทูลพระ

มารดาและพระบิดาให้ทรงทราบว่า เรามาอยู่ที่นี่เป็นแน่แท้ เราจะจัดแจงล้าง

ถ้วยชามแล้ว จักเก็บไว้ ดังนี้แล้ว จึงเสด็จไปตักน้ำมาแล้ว ก็ลงมือล้างถ้วย

ชามทั้งหลายอยู่ ลำดับนั้นพระมารดาจึงบริภาษพระนาง ตรัสเป็นพระคาถาว่า

เจ้าเป็นหญิงชั่วช้าจัณฑาลหรือ หรือว่าเจ้าเป็น

หญิงประทุษร้ายตระกูล เจ้าเกิดแล้วในตระกูลพระเจ้า

มัททราช เหตุใดจึงทำพระสวามีให้เป็นทาส.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวณี ได้แก่ ช่างถาก. บทว่า อาทูสิ

กุลคนฺธินี ได้แก่ หรือว่าเจ้าเป็นหญิงประทุษร้ายตระกูล. บทว่า กามุก

ความว่า เจ้าเกิดในตระกูลเห็นปานนี้ เหตุไรจึงได้ทำพระสวามีของตนให้เป็น

ทาสเล่า.

ในลำดับนั้น พระนางประภาวดี ทรงพระดำริว่า พระมารดาของเรา

เห็นจะไม่ทรงทราบว่า พระเจ้ากุสราชนี้ เสด็จมาประทับอย่างนี้ เพราะอาศัย

เรา จึงทูลคาถานอกนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

หม่อมฉันไม่ได้เป็นหญิงชั่วช้าจัณฑาล ไม่ใช่

เป็นหญิงประทุษร้ายตระกูล นั่นพระเจ้ากุสราช พระ

โอรสของพระเจ้าโอกกากราช ขอความเจริญจงมีแด่

พระมารดา แต่พระมารดาทรงเข้าพระทัยว่า เป็นทาส.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺกากปุตฺโต ความว่า ข้าแต่พระ

มารดา นั่นคือพระโอรสแห่งพระเจ้าโอกกากราช แต่พระแม่เจ้าทรงเข้าพระ

ทัยว่าเป็นทาส หย่อมฉันจะเรียกพระเจ้ากุสราชนั้นว่า เป็นทาสเพราะเหตุอะไร.

บัดนี้ พระนางประภาวดี เมื่อจะทรงพรรณนาถึงพระเกียรติยศของพระเจ้า

กุสราชพระองค์นั้น จึงทูลว่า

ขอความเจริญจงมีแด่พระมารดา พระราชาพระ

องค์ใด ทรงเชื้อเชิญพราหมณ์สองหมื่นคน ให้บริโภค

ภัตตาหาร ในกาลทุกเมื่อ พระราชาพระองค์นั้น คือ

พระเจ้ากุสราชพระโอรสแห่งพระเจ้าโอกกากราช แต่

ว่าพระมารดาเข้าพระทัยว่าเป็นทาส ขอความเจริญจง

มีแด่พระมารดา เจ้าพนักงานทั้งหลาย เตรียมช้างไว้

สองหมื่นเชือก ในกาลทุกเมื่อ เพื่อพระราชพระองค์

ใด พระราชาพระองค์นั้น คือพระโอรสของพระเจ้า

โอกกากราช แต่ว่าพระมารดาเข้าพระทัยว่าเป็นทาส

ขอความเจริญจงมีแด่พระมารดา เจ้าพนักงานทั้งหลาย

เตรียมรถไว้สองหมื่นคัน ในกาลทุกเมื่อ เพื่อพระราชา

พระองค์ใด พระราชาพระองค์นั้น คือพระโอรสของ

พระเจ้าโอกกากราช แต่ว่าพระมารดาเข้าพระทัยว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

เป็นทาส ขอความเจริญจงมีแด่พระมารดา เจ้าพนัก

งานทั้งหลาย เตรียมรีดนมโคไว้สองหมื่นตัว ในกาล

ทุกเมื่อ เพื่อพระราชาพระองค์ใด พระราชาพระองค์

นั้น คือพระโอรสของพระเจ้าโอกกากราช แต่ว่าพระ

มารดาเข้าพระทัยว่า เป็นทาส.

ก็เมื่อพระนางประภาวดีนั้น ทรงพรรณนาถึงพระอิสริยยศ ของพระ

มหาสัตว์ด้วยคาถา ๕ คาถาอย่างนี้แล้ว ลำดับนั้น พระมารดาของพระนาง

ก็ทรงเชื่อ ด้วยทรงพระดำริว่า ลูกสาวของเราคนนี้ กล่าวถ้อยคำย่างไม่

สะทกสะท้าน ถ้อยคำนี้คงเป็นอย่างนี้แน่ จึงรีบเสร็จไปยังพระตำหนักของพระ

ราชา กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ ท้าวเธอก็เสด็จไปยังพระตำหนักของ

พระนางประภาวดีโดยด่วน ตรัสถามว่า เป็นความจริงหรือลูก ได้ยินว่า พระ

เจ้ากุสราช เสด็จมาในที่นี้ พระนางประภาวดี กราบทูลว่า เป็นความจริงเช่น

นั้น ข้าแต่พระบิดา พระเจ้ากุสราชพระองค์นั้น ทรงทำหน้าที่พนักงานเครื่อง

ต้นแก่พระธิดาทั้งหลายของพระองค์ ถึงวันนี้ล่วงไปได้ ๗ เดือนแล้ว ท้าว

เธอยังไม่ทรงเธอพระนาง จึงตรัสถามนางค่อม นางก็กราบทูลตามความเป็น

จริงทุกประการ พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว เมื่อจะทรงติเตียนพระธิดา จึง

ตรัสพระคาถาว่า

ดูก่อนเจ้าผู้เป็นพาล เจ้ากระทำกรรมอันชั่วร้าย

เหลือเกิน ที่เจ้าไม่บอกพ่อว่า พระเจ้ากุสราชผู้เป็น

กษัตริย์ มีทแกล้วทหารมาก ผู้เป็นพระยาช้าง มาด้วย

เพศแห่งกบ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ คือ โดยส่วนเดียวเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

พระราชาพระองค์นั้น ครั้นทรงติเตียนพระธิดาแล้ว ก็รีบเสด็จไปยัง

สำนักของพระโพธิสัตว์นั้นโดยด่วน ทรงมีปฏิสันถารอันพระโพธิสัตว์ทรงกระ-

ทำแล้ว จึงทรงประคองอัญชลี เมื่อจะทรงแสดงโทษของพระองค์ จึงตรัส

พระคาถาว่า

ข้าแต่พระมหาราชผู้จอมทัพ ขอพระองค์ได้ทรง

พระกรุณาโปรดงดโทษแก่หม่อมฉันด้วย ที่ไม่ทราบ

ว่าพระองค์เสด็จมาในที่นี้ ด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จักด้วย

เถิด.

พระมหาสัตว์เจ้า ทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงทรงพระดำริว่า ถ้าเราจัก

กล่าวคำตัดพ้อต่อว่าขึ้น หัวใจของท้าวเธอ ก็จักแตกเสียในที่นี้เป็นแน่ เราควร

จักเอาใจท้าวเธอไว้ ประทับยืนอยู่ในระหว่างภาชนะทีเดียว ตรัสคาถานอกนี้ว่า

คนเช่นหม่อมฉัน มิได้ปกปิดเลย หม่อมฉันนั้น

เป็นพนักงานเครื่องต้น พระองค์เท่านั้นทรงเลื่อมใส

แก่หม่อมฉัน ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ แต่พระองค์

ไม่มีกรรมชั่วช้า ที่หม่อมฉันจะต้องอดโทษ.

พระราชา ทรงได้รับปฏิสันถารจากสำนักของพระโพธิสัตว์เจ้านั้นแล้ว

จึงเสด็จขึ้นสู่ปราสาท รีบตรัสสั่งให้หาพระนางประภาวดีมาเฝ้า ทรงหวังจะส่ง

ไปเพื่อต้องการให้อดโทษ จึงตรัสคาถาว่า

ดูก่อนเจ้าคนพาล เจ้าจงไปขอขมาโทษพระเจ้า

กุสราช ผู้มีกำลังมากเสียเถิด พระเจ้ากุสราชที่เจ้าขอ

มาแล้ว จักประทานชีวิตให้เจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

พระนางประภาวดีนั้น ได้สดับพระดำรัสของพระบิดาแล้ว จึงพร้อม

ด้วยพระภคินีทั้งหลาย และพวกนางบริจาริกาเป็นจำนวนมาก เสด็จไปยังสำนัก

ของพระโพธิสัตว์นั้น ฝ่ายพระโพธิสัตว์เจ้านั้น ประทับยืนด้วยเพศแห่งคน

ล้างหม้อเช่นนั้นแล ทรงทราบว่า พระนางประภาวดีนั้น เสด็จมายังสำนักของ

พระองค์ จึงทรงพระดำริว่า วันนี้เราจักทำลายมานะของแม่ประภาวดี ให้นาง

หมอบลงในโคลนใกล้เท้าของเราให้จงได้ จึงทรงราดน้ำที่พระองค์ตักมาทั้ง

หมด ทรงเหยียบย่ำที่ประมาณเท่ามณฑลแห่งลานนวดข้าว ทำให้เป็นโคลน

ไปหมด พระนางประภาวดีนั้น เสด็จไปยังสำนักของพระเจ้ากุสราชผู้พระโพธิ-

สัตว์นั้น ทรงมอบลงที่ใกล้พระบาทของพระองค์ ประทับนั่งที่โคลนแล้ว

ทรงขอโทษพระโพธิสัตว์นั้น.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระนางประภาวดี ผู้มีผิวพรรณดังเทพธิดา ทรง

รับพระดำรัสของพระบิดาแล้ว ได้ซบพระเศียรลง

กอดพระบาทพระเจ้ากุสราช ผู้มีพระกำลังมาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิรสา ความว่า พระนางประภาวดี

ทรงหมอบพระเศียรลง แล้วทรงจับพระเจ้ากุสราชที่พระบาท ก็แล ครั้นทรง

จับแล้ว เมื่อจะยังพระโพธิสัตว์เจ้านั้น ให้ทรงอดโทษ จึงได้ภาษิตพระคาถา

๓ คาถาว่า

ราตรีเหล่านี้ที่ล่วงไป เว้นจากพระองค์นั้นเพียง

ใด หม่อมฉัน ขอถวายบังคมพระยุคลบาท ของพระ

องค์ด้วยเศียรเกล้าเพียงนั้น ขอพระองค์โปรดอย่าทรง

พิโรธหม่อมฉันเลย หม่อมฉัน ขอตั้งสัตว์ปฏิญาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

แก่พระองค์ โปรดทรงสดับหม่อมฉันเถิด เพค่ะ

หม่อมฉันจะไม่พึงทำความชิงชัง แก่พระองค์อีกต่อ

ไปละ ถ้าพระองค์จะไม่ทรงโปรดกระทำตามคำของ

หม่อมฉัน ผู้ทูลวิงวอนอยู่เช่นนี้ พระบิดาคงเข่นฆ่า

หม่อม แล้วทรงประทานแก่กษัตริย์ทั้งหลาย ณ

กาลบัดนี้เป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รตฺยา ได้แก่ ทั้งกลางคืนและกลางวัน

บทว่า ตา อิมา ได้แก่ ราตรีเหล่านี้นั้นทั้งหมด ล่วงไปแล้วเว้นจากพระ

องค์. บทว่า สจฺจนฺเต ปฏิชานามิ ความว่า ข้าแต่พระมหาราช หม่อมฉัน

กระทำการเกลียดชังพระองค์ ตลอดกาลมีประมาณเพียงเท่านี้ บัดนี้หม่อนฉัน

จะขอปฏิญาณคำสัตย์อย่างนี้แก่พระองค์ พระองค์จงสดับถ้อยคำอื่นอีก จำ

เดิมแต่นี้ไป หม่อมฉัน จักไม่กระทำการเกลียดชังพระองค์อีกต่อไป. บทว่า

เอวญฺเจ ความว่า ถ้าพระองค์ไม่ทรงทำตามถ้อยคำของหม่อมฉัน ผู้วิงวอน

อยู่อย่างนี้.

พระราชา ได้ทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงทรงพระดำริว่า ถ้าเราจักพูด

ว่า เธอคนเดียวเท่านั้น จักรู้เรื่องนี้ ดังนี้ หัวใจของนางก็จักแตก เราจัก

ปลอบใจเธอ แล้วจึงตรัสว่า

เมื่อพระน้องรักอ้อนวอนอยู่อย่างนี้ ไฉนพี่จัก

ไม่ทำตามคำของพระน้องเล่า พี่ไม่โกรธพระน้องเลย

นะคนงาม อย่ากลัวเลยประภาวดี พี่ขอตั้งสัตย์ปฏิ-

ญาณต่อพระน้อง โปรดขอจงทรงฟังพี่เถิดนะ พระ

ราชบุตร พี่จะไม่พึงกระทำความเกลียดชัง แก่พระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

น้องนางอีกต่อไปละ ดูก่อนน่องประภาวดี ผู้มีตะโพกอัน

กลมผึ่งผาย พี่สามารถจะทำลายตระกูลกษัตริย์มัททราช

มากมายแล้ว นำพระน้องนางไปได้ แต่เพราะความ

รักพระน้องนาง พี่จึงสู้ยอมทนทุกข์มากมาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ น กาหามิ ความว่า เพราะเหตุไร

เราจึงจะไม่ทำตามคำของเธอเล่า. บทว่า วิกุทฺโธ ตฺยสฺมิ ความว่า เราไม่

มีความโกร ไม่มีความแค้นเคืองต่อเธอเลย. บทว่า สจฺจนฺเต ความว่า

เราจักขอให้ปฏิญาณคำสัตย์นี้แก่เธอสัก ๒ ข้อ คือ จะไม่ขอโกรธเคือง ๑

ไม่ทำความเกลียดชัง ๑. บทว่า ตว กามา ความว่า เพราะรักใคร่ คือ

ปรารถนาเธอ. บทว่า ติติกฺขิสฺส แปลว่า อดทน. บทว่า พหุมทฺทกุล

หนฺตฺวา ความว่า เราสามารถที่จะฆ่าตระกูลพระเจ้ามัททราชแล้ว นำเอาเธอ

ไปโดยพลการก็ได้.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์เจ้านั้น ทอดพระเนตรเห็นพระนางประภาวดี

พระอัครมเหสีของพระองค์ ประหนึ่งว่า เทพกัญญาผู้เป็นบริจาริกาของท้าว

สักกเทวราช ก็ทรงยังขัตติยมานะให้บังเกิดขึ้น ทรงพระดำริว่า ได้ทราบว่า

เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ทั้งคน พระราชาทั้งหลายเหล่าอื่น จักมาแย่งเอาพระอัคร-

มเหสีของเราไปเชียวหรือ จึงทรงแสดงท่าทางอันสง่าเสด็จลงไปยังพระลาน

หลวง ประดุจราชสีห์ ทรงประกาศบันลือเปล่งเสียงโห่ร้องคบพระหัตถ์อยู่

เอ็ดอึงว่า ชาวเมืองทั้งสิ้น จงทราบเถิดว่า เรามาแล้ว ตรัสสั่งว่า บัดนี้

เราจักจับกษัตริย์ทั้ง ๗ พระนครเหล่านั้น จับให้ได้ทั้งเป็น ท่านทั้งหลายจง

จัดแจงเทียมรถเป็นต้นมาให้เรา แล้วตรัสคาถาอันเป็นลำดับไปว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

เจ้าพนักงานทั้งหลาย จงตระเตรียมรถและม้า

อันวิจิตรด้วยเครื่องอลังการต่าง ๆ ให้มั่นคงแข็งแรง

ท่านทั้งหลายจงเห็นความพยายามของเรา ผู้กำจัดศัตรู

ทั้งหลายให้พ่ายแพ้ไปในบัดนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นานาจิตฺเต ได้แก่ วิจิตรด้วยเครื่อง

อลังการต่าง ๆ. บทว่า สมาหิเต นี้ ท่านกล่าวหมายถึงม้าทั้งหลาย อธิบายว่า

ม้าที่ฝึกหัดมาดีแล้ว ไม่พยศ. บทว่า อถ ทกฺขถ เม เวค ความว่า

ท่านทั้งหลายจักได้เห็นความหาญศึกของเราในกาลนี้.

พระโพธิสัตว์เจ้านั้น ทรงส่งพระเจ้ามัททราชไปด้วยพระดำรัสว่า ขึ้น

ชื่อว่า การจับพระราชาทั้ง ๗ พระนคร เป็นหน้าที่ของหม่อมฉันเอง พระองค์

จงเสด็จไปสรงสนาน ทรงประดับร่างกายแล้ว เสด็จขึ้นไปยังปราสาทเถิด.

ฝ่ายพระเจ้ามัททราช ก็ได้ทรงส่งพวกอำมาตย์ไป เพื่อทำการอุปัฏฐากพระ-

โพธิสัตว์เจ้านั้น. พวกอำมาตย์เหล่านั้น พากันจัดแจงกั้นพระวิสูตรล้อมรอบ

ที่ประตูห้องเครื่องต้นนั้นทีเดียว แล้วให้พวกเจ้าพนักงานช่างกัลบก เข้าไป

ตัดพระเกศา ปลงพระมัสสุพระโพธิสัตว์เจ้านั้น. พระองค์ทรงใช้ช่างทำการ

ปลงพระมัสสุเสร็จแล้ว ทรงสรงสนานชำระพระเศียรเกล้า ทรงประดับเครื่อง

แต่งตัวสำหรับกษัตริย์ทั้งหมด มีอำมาตย์ทั้งหลายห้อมล้อมเป็นบริวาร เสด็จ

ขึ้นสู่ปราสาท ทอดพระเนตรดูไปรอบ ๆ ทุกทิศแล้ว ทรงปรบพระหัตถ์อยู่

ฉาดฉาน. สถานที่ที่พระองค์ทรงมองดูแล้วก็หวั่นไหว. พระองค์จึงตรัสว่า

ท่านทั้งหลายจงคอยดูการบุกเข้าต่อสู้กับข้าศึกของเราในบัดนี้.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

ก็นารีทั้งหลาย ภายในพระราชวัง ของพระเจ้า

มัททราชนั้น พากันมองดูพระโพธิสัตว์เจ้า ผู้เสด็จ

เยื้องกรายดุจราชสีห์ ทรงปรบพระหัตถ์เสวยพระกระ-

ยาหารถึงสองเท่าพระองค์นั้น.

คำอันเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า ก็พวกหญิงพากันเปิดหน้าต่าง ใน

ภายในบุรีแห่งพระราชาแล้ว มองดูพระโพธิสัตว์เจ้านั้น ผู้ทรงเยื้องกรายและ

ปรบพระหัตถ์อยู่ในที่นั้น.

ลำดับนั้น พระเจ้ามัททราช ทรงส่งช้างตัวประเสริฐ อันประดับแล้ว

มีควาญช้างประจำพร้อมเสร็จไปถวาย. ท้าวเธอเสด็จขึ้นประทับบนคอช้างซึ่งมี

เศวตฉัตรอันยกขึ้นแล้ว ตรัสว่า พวกท่านทั้งหลายจงพาพระนางประภาวดี

มาเถิด แล้วให้พระนางประทับนั่ง ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ อันจตุรงคินีเสนา

แวดล้อมเป็นกระบวนทัพ เสด็จออกทางประตูด้านทิศปราจีน ทอดพระเนตร

เห็นกองทัพของข้าศึก จึงเปล่งพระสุรสีหนาทขึ้น ๓ ครั้งว่า เราคือพระเจ้า

กุสราช ใครรักชีวิต ก็จงยอมอ่อนน้อมกับเราเสียเถิด แล้วได้ทรงกระทำการ

ปราบปรามกษัตริย์ทั้ง ๗ พระนคร.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระเจ้ากุสราช ครั้นเสด็จขึ้นประทับบนคอ

ช้างสาร โปรดให้พระนางประภาวดีประทับเบื้องหลัง

แล้ว เสด็จเข้าสู่สงคราม ทรงบันลือพระสุรสีหนาท

กษัตริย์ ๗ พระนคร ทรงสดับพระสุรสีหนาทของ

พระเจ้ากุสราช ผู้บันลืออยู่ ถูกความกลัวแต่เสียง

ของพระเจ้ากุสราชคุกคามแล้ว พากันแตกหนีไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

เหมือนดังฝูงมฤค พอได้ยินเสียงของราชสีห์ ก็พากัน

หนีไป ฉะนั้น พวกพลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า

ผู้อันความกลัวแต่เสียงพระเจ้ากุสราชคุกคามแล้ว ก็พา

กันแตกตื่นเหยียบย่ำกันและกัน ท้าวสักกะจอมเทพ

ได้ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ ทรงมีชัยในท่าม

กลางสงครามนั้น มีพระทัยชื่นชมยินดี ทรงพระราช-

ทานแก้วมณี อันรุ่งโรจน์ดวงหนึ่งแก่พระเจ้ากุสราช

พระเจ้ากุสราชทรงชนะสงคราม ได้แก้วมณีอันรุ่งโรจน์

แล้ว เสด็จประทับบนคอช้างสาร เสด็จเข้าสู่พระนคร

รับสั่งให้จับกษัตริย์ ๗ พระนครทั้งเป็น ให้มัดนำเข้า

ถวายพระสัสสุระ ทูลว่า ขอเดชะ กษัตริย์เหล่านี้

เป็นศัตรูของพระองค์ ศัตรูทั้งหมด ซึ่งคิดจะกำจัด

พระองค์เสียนี้ ตกอยู่ในอำนาจของพระองค์แล้ว เชิญ

ทรงกระทำตามพระประสงค์เถิด พระองค์ทรงกระทำ

กษัตริย์เหล่านั้นให้เป็นทาสแล้ว จะทรงปล่อย หรือจะ

ทรงประหารเสีย ตามแต่พระทัยเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปลายึสุ ความว่า กษัตริย์เหล่านั้น

ไม่อาจจะตั้งสติได้ เป็นผู้มีจิตวิปลาสแตกกระจัดกระจายไป. บทว่า กุสสทฺ

ทภยฏฺฏิตา ความว่า เป็นผู้ถูกภัยอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยเสียงแห่งพระเจ้า

กุสราชกระทบโสตประสาทแล้ว จึงเป็นผู้มีจิตอันหลงลืม. บทว่า อญฺมญฺ

สฺส ฉินฺทนฺติ ความว่า ฆ่าฟันเหยียบย่ำกันเอง. บาลีว่า ภินฺทึสุ ดังนี้ก็มี.

บทว่า ตสฺมึ ความว่า ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นการบุกรบข้าศึกจนมีชัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

ของพระมหาสัตว์นั้น ในสงครามครั้งสำคัญ จนแตกไปด้วยอำนาจแห่งเสียง

ของพระโพธิสัตว์อย่างนี้ ก็มีพระทัยยินดี จึงพระราชทานแก้วมณีดวงหนึ่ง

ชื่อว่า เวโรจนะ แก่พระมหาสัตว์เจ้านั้น . คำว่า พระนคร หมายเอาบุรีคือ

พระนคร บทว่า พนฺธิตฺวา ได้แก่ ใช้ผ้าสาฎกของพวกกษัตริย์เหล่านั้น

นั่นเองมัดกษัตริย์เหล่านั้นเอาแขนไว้ข้างหลัง. บทว่า กาม กโรหิ เต ตฺยา

ความว่า พระมหาสัตว์เจ้าทูลว่า ขอพระองค์จงทรงการทำตามความต้องการ

ความปรารถนา ความชอบใจของพระองค์เถิด ด้วยว่ากษัตริย์เหล่านั้น พระองค์

กระทำให้เป็นทาสแล้ว.

พระราชา ตรัสว่า

กษัตริย์เหล่านี้ เป็นศัตรูของพระองค์ มิได้เป็น

ศัตรูของหม่อมฉัน ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์

(เป็นใหญ่) ว่าหม่อมฉัน จะทรงปล่อย หรือจะทรง

ประหารศัตรูเหล่านั้นก็ตามเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวญฺเว โน ความว่า ข้าแต่พระ

มหาราชเจ้า พระองค์ผู้เดียวเท่านั้น ทรงเป็นใหญ่กว่าพวกหม่อมฉัน.

เมื่อพระเจ้ามัททราชตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์จึงทรงพระดำริว่า

ประโยชน์อะไร เราจะฆ่าพวกกษัตริย์เหล่านี้ การมาของกษัตริย์ทั้ง ๗ พระนคร

เหล่านั้น อย่าได้เปล่าจากประโยชน์เสียเลย พระธิดาของพระเจ้ามัททราช

ซึ่งเป็นพระกนิษฐภคินีของพระนางประภาวดี ก็มีอยู่ถึง ๗ พระองค์ เราจักยก

พระนางให้แก่กษัตริย์ทั้ง ๗ พระนครเหล่านั้น ดังนี้แล้ว จึงตรัสคาถาว่า

พระราชธิดาของพระองค์ ล้วนทรงงดงามดังเทพ

กัญญา มีอยู่ถึง ๗ พระองค์ ขอพระองค์โปรดพระราช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

ทานแก่กษัตริย์ทั้ง ๗ นั้นองค์ละองค์ ขอกษัตริย์เหล่า

นั้น จงเป็นพระชามาดาของพระองค์เถิด.

พระเจ้ามัททราชทรงสดับคำนั้นแล้ว ก็เต็มพระทัยที่จะพระราชทาน

พระธิดาทั้งหลายของพระองค์ จึงตรัสคาถาว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์เป็นใหญ่กว่า

หม่อมฉันทั้งหลาย และแก่พวกลูกของหม่อมฉัน

ทั้งหมด เชิญพระองค์นั่นแหละ ทรงพระราชทาน

พวกลูกของหม่อมฉัน แก่กษัตริย์เหล่านั้นตามพระราช

ประสงค์เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตฺว โน สพฺเพส ความว่า ข้าแต่

มหาราชเจ้า ผู้เป็นจอมแห่งชนชาวแคว้นกุสะ พระองค์พูดอะไร พระองค์

ผู้เดียวเป็นใหญ่เหนือพวกหม่อมฉันทั้งหมด คือ พระราชาทั้ง ๗ พระนคร

เหล่านี้ด้วย เหนือหม่อมฉันด้วย และเหนือพวกลูก ๆ ของหม่อมฉันเหล่านั้น

ด้วย. บทว่า ยทิจฺฉสิ ความว่า พระองค์ทรงประสงค์พระธิดาพระองค์ใด

เพื่อกษัตริย์พระองค์ใด ก็จงประทานพระธิดาองค์นั้น แก่กษัตริย์พระองค์

นั้นเถิด.

พระมหาสัตว์เจ้า จึงตรัสสั่งให้พวกเจ้าพนักงานตกแต่งพระธิดาของ

พระเจ้ามัททราชทั้ง ๗ พระองค์เหล่านั้น แล้วพระราชทานแก่พระราชาทั้ง ๗

พระองค์นั้น องค์ละองค์.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงได้ทรงภาษิตพระ-

คาถา ๕ พระคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

ในกาลนั้น พระเจ้ากุสราชผู้มีพระสุรเสียงดัง

เสียงราชสห์ ได้ทรงยกพระราชธิดาของพระเจ้ามัทท-

ราช ประทานให้แก่กษัตริย์ ๗ พระองค์นั้นองค์ละองค์

กษัตริย์ทั้ง ๗ พระองค์ ทรงอิ่มพระทัยด้วยลาภนั้น

ทรงขอบพระคุณพระเจ้ากุสรา ผู้มีพระสุรเสียงดัง

เสียงราชสีห์แล้วพากันเสด็จกลับไปยัง พระนครของ

ตน ๆ ในขณะนั้นทีเดียว ฝ่ายพระเจ้ากุสราช ผู้มี

พระกำลังมาก ทรงพาพระนางประภาวดี และดวง

แก้วมณีอันงามรุ่งโรจน์ เสด็จกลับยังกรุงกุสาวดี เมื่อ

พระเจ้ากุสราชและพระนางประภาวดีทั้ง ๒ พระองค์

นั้น ประทับอยู่ในพระราชรถคันเดียวกัน เสด็จเข้า

กรุงกุสาวดี มีพระฉวีวรรณและพระรูปพระโฉมทัด

เทียมกัน มิได้ทรงงดงามยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย

พระมารดาของพระมหาสัตว์ และพระชยัมบดีราช-

กุมารทั้ง ๒ พระองค์ ได้เสด็จไปต้อนรับถึงนอก

พระนคร แล้วเสด็จกลับพระนคร พร้อมด้วยพระราช

โอรส ในกาลนั้น พระเจ้ากุสสราชและพระนางประภาวดี

ก็ทรงสมัครสมานกัน ได้ทรงปกครองราชอาณาจักร

กุสาวดี ให้รุ่งเรืองตลอดมา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปีณิตา ได้แก่ ทรงเอิบอิ่ม. บทว่า

ปายึสุ ความว่า กษัตริย์เหล่านั้น เมื่อพระโพธิสัตว์ผู้เป็นจอมแห่งชนชาว

กุสะ ประทานโอวาทว่า บัดนี้ ท่านทั้งหลายพึงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ดังนี้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

ก็พากันกลับไป. บทว่า อคมาสิ ความว่า ฝ่ายพระเจ้ากุสราช เสด็จพักอยู่

ประมาณ ๒-๓ วัน ก็ทูลลาพระสัสสุระว่า หม่อมฉันจักกลับไปยังพระนครของ

หม่อมฉัน แล้วก็เสด็จกลับ. บทว่า เอกรเถ ยนฺตา ได้แก่ พระเจ้ากุสราช

และพระนางประภาวดีแม้ทั้ง ๒ พระองค์ เสด็จขึ้นสู่ราชรถคันเดียวกันเสด็จไป.

บทว่า สมานา วณฺณรูเปน ความว่า ทรงทัดเทียมเสมอกันด้วยผิวพรรณ

และพระรูปโฉม. บทว่า นาญฺมญฺมติโรจยุ ความว่า องค์หนึ่งจะงดงาม

กว่าองค์หนึ่งก็หามิได้. ได้ยินว่า พระมหาสัตว์มีพระรูปโฉมงดงาม มีผิวพรรณ

ดุจดังสีทอง ถึงความเป็นผู้ล้ำเลิศด้วยความงาม เพราะอานุภาพของแก้วมณี.

บทว่า สคญฺฉิ ความว่า ลำดับนั้น พระมารดาของพระมหาสัตว์เจ้านั้น

ทรงสดับว่า พระมหาสัตว์เสด็จกลับมา จึงให้พวกราชบุรุษตีกลองป่าวร้องไป

ทั่วพระนคร แล้วทรงถือเครื่องบรรณาการเป็นอันมาก เสด็จออกไปต้อนรับ

แล้วเสด็จกลับมาด้วยกัน. ก็พระเจ้ากุสราชพระองค์นั้น ทรงกระทำประทักษิณ

พระนครพร้อมกับพระชนนี ตรัสให้เล่นการมหรสพสมโภช ๗ วัน แล้วเสด็จ

ขึ้นสู่พื้นปราสาทอันประดับประดาแล้ว. พระภัสดาและพระชายาแม้ทั้ง ๒ พระ

องค์นั้น ก็ได้มีความสามัคคีกัน. ตั้งแต่นั้นมา พระเจ้ากุสราชและพระนาง

ประภาวดี ก็ทรงสมัครสมานสามัคคีกัน ทรงรื่นเริงบันเทิงอยู่ ทรงปกครอง

แผ่นดินให้รุ่งเรืองสุขสำราญ ตลอดพระชนมายุทั้ง ๒ พระองค์ ด้วยประการ

ฉะนี้.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศ

สัจจะทั้งหลาย ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้เบื่อหน่ายในธรรมวินัยรูปนั้น ก็บรรลุ

โสดาปัตติผล แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระชนนีและพระชนกนาถของ

พระเจ้ากุสราช ในกาลนั้น คือตระกูลมหาราชในบัดนี้ ชยัมบดีราช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

กุมารผู้เป็นอนุชาของพระเจ้ากุสราช ในกาลนั้น คือพระอานนท์

ในบัดนี้ นางค่อมคือนางขุชชุตตราอุบาสิกา ในบัดนี้ พระนาง

ประภาวดี คือพระมารดาของพระราหุล ในบัดนี้ บริษัทที่เหลือใน

กาลนั้นได้เป็นพุทธบริษัท ส่วนพระเจ้ากุสราชก็คือเราตถาคต อร-

หันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล.

จบอรรถกถากุสชาดก

๒. โสณนันทชาดก

ว่าด้วยพระราชาไปขอขมาโทษโสณดาบส

[๑๓๔] พระผู้เป็นเจ้าเป็นเทวดา เป็นคนธรรพ์

เป็นท้าวสักกปุรินททะ หรือว่าเป็นมนุษย์ผู้มีฤทธิ์

ข้าพเจ้าทั้งหลายจะรู้จักพระผู้เป็นเจ้าได้อย่าไร.

[๑๓๕] อาตมภาพไม่ใช่เป็นเทวดา ไม่ใช่เป็น

คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ อาตมภาพเป็น

มนุษย์ผู้มีฤทธิ์ ดูก่อนภารถะ มหาบพิตรจงทราบ

อย่างนี้.

[๑๓๖] ความช่วยเหลืออันมิใช่น้อยนี้ เป็นกิจที่

พระผู้เป็นเจ้ากระทำแล้ว คือ เมื่อฝนตก พระผู้เป็นเจ้า

ก็ได้ทำไม่ให้มีฝน แต่นั้น เมื่อลมจัดและแดดร้อน

พระผู้เป็นเจ้าก็ได้ทำให้มีเงาบังร่มเย็น แต่นั้น พระผู้

เป็นเจ้าได้ทำการป้องกันลูกศรในท่ามกลางแห่งศัตรู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

แต่นั้น พระผู้เป็นเจ้าได้ทำบ้านเมืองอันรุ่งเรืองและ

ชาวเมืองเหล่านั้นให้ตกอยู่ในอำนาจ ของข้าพเจ้า

แต่นั้น พระผู้เป็นเจ้าได้ทำกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ให้

เป็นผู้ติดตามของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอขอบคุณ พระ-

ผู้เป็นเจ้ายิ่งนัก พระผู้เป็นเจ้าจะปรารถนาสิ่งที่จะให้

จิตชื่นชม คือ ยานอันเทียมด้วยช้าง รถอันเทียมด้วย

ม้า และสาวน้อยทั้งหลายที่ประดับประดาแล้ว หรือ

รมณียสถานอันเป็นที่อยู่อาศัยอันใด ขอพระผู้เป็นเจ้า

จงเลือกเอาสิ่งนั้นตามประสงค์เถิด ข้าพเจ้าขอถวาย

แก่พระผู้เป็นเจ้า หรือว่าพระผู้เป็นเจ้าจะปรารถนา

แคว้นอังคะหรือแคว้นมคธ ข้าพเจ้าก็ขอถวายแก่

พระผู้เป็นเจ้า หรือว่าพระผู้เป็นเจ้าปรารถนาแคว้น

อัสสกะหรือแคว้นอวันตี ข้าพเจ้าก็มีใจยินดีขอถวาย

แคว้นเหล่านั้นให้แก่พระผู้เป็นเจ้า หรือแม้พระผู้-

เป็นเจ้าปรารถนาราชสมบัติกึ่งหนึ่งไซร้ ข้าพเจ้าก็ขอ

ถวายแก่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระคุณเจ้ามีความต้องการ

ด้วยราชสมบัติทั้งหมด ข้าพเจ้าก็ขอถวาย พระคุณเจ้า

ปรารถนาสิ่งใด ขอพระคุณเจ้าบอกมาเถิด.

[๑๓๗] อาตมภาพไม่มีความต้องการด้วยราช-

สมบัติ บ้านเมือง ทรัพย์ หรือแม้ชนบท อาตมภาพ

ไม่มีความต้องการเลย.

[๑๓๘] ในแว่นแคว้นอาณาเขตของมหาบพิตร

มีอาศรมอยู่ในป่า มารดาและบิดาทั้งสองท่านของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

อาตมภาพ อยู่ในอาศรมนั้น อาตมภาพอยู่ในอาศรม

นั้น อาตมภาพไม่ได้เพื่อทำบุญในท่านทั้งสอง ผู้เป็น

บุรพาจารย์นั้น อาตมภาพขอเชิญมหาบพิตรผู้ประเสริฐ

ยิ่งไปขอขมาโทษโสณดาบสเพื่อสังวรต่อไป.

[๑๓๙] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าจะขอทำ

ตามคำที่พระคุณเจ้ากล่าวกะข้าพเจ้าทุกประการ ก็แต่

ว่า บุคคลผู้จะอ้อนวอนขอโทษมีประมาณเท่าใด ขอ

พระคุณเจ้าจงบอกบุคคลมีประมาณเท่านั้น.

[๑๔๐] ชาวชนบทมีประมาณหนึ่งร้อยเศษ

พราหมณ์มหาศาลก็เท่ากัน กษัตริย์ผู้เป็นอภิชาตผู้

เรืองยศเหล่านี้ทั้งหมด มหาบพิตรซึ่งทรงพระนาม

ว่าพระเจ้ามโนชะ บุคคลผู้จะอ้อนวอนขอโทษประมาณ

เท่านี้ก็พอแล้ว ขอถวายพระพร.

[๑๔๑] เจ้าพนักงานทั้งหลายจงเตรียมช้าง จง

เตรียมม้า นายสารถีท่านจงเตรียมรถ ท่านทั้งหลาย

จงถือเอาเครื่องผูก จงยกธงชัยขึ้นที่คันธงทั้งหลาย

เราจะไปยังอาศรมอันเป็นที่อยู่ของโกสิยดาบส.

[๑๔๒] ก็ลำดับนั้น พระราชาพร้อมด้วย

จาตุรงคเสนา ได้เสด็จไปยังอาศรมอันน่ารื่นรมย์ ซึ่ง

เป็นที่อยู่ของโกสิยดาบส.

[๑๔๓] ไม้คานอันทำด้วยไม้กระทุ่มของใคร ผู้

ไปเพื่อหาบน้ำ ลอยมายังเวหาสมิได้ถูกบ่า ห่าง

ประมาณ ๔ องคุลี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

[๑๔๔] ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพชื่อว่าโสณะ

เป็นดาบสมีวัตรอันสมาทานแล้ว มิได้เกียจคร้าน

เลี้ยงดูมารดาบิดาอยู่ทุกคืนทุกวัน ดูก่อนมหาบพิตรผู้

เป็นเจ้าแห่งทิศ อาตมภาพระลึกถึงอุปการคุณที่ท่าน

ทั้งสองได้กระทำแล้ว ในกาลก่อน จึงนำผลไม้ป่าและ

เผือกมันมาเลี้ยงดูมารดาบิดา.

[๑๔๕] ข้าพเจ้าทั้งหลาย ปรารถนาจะไปยัง

อาศรมซึ่งเป็นที่อยู่ของโกสิยดาบส ข้าแต่ท่านโสณะ

ขอท่านได้โปรดบอกทางจะไปยังอาศรมนั้นแก่ข้าพเจ้า

ทั้งหลายเถิด.

[๑๔๖] ดูก่อนมหาบพิตร ทางนี้เป็นทางสำหรับ

เดินคนเดียว ขอเชิญมหาบพิตรเสด็จไปยังป่าอัน

สะพรั่งไปด้วยต้นทองหลาง มีสีเขียวชอุ่มดังสีเมฆ

โกสิยดาบสอยู่ในป่านั้น.

[๑๔๗] โสณมหาฤๅษีครั้นกล่าวคำนี้แล้ว ได้

พร่ำสอนกษัตริย์ทั้งหลาย ณ กลางหาว แล้วรีบหลีกไป

ยังสระอโนดาต แล้วกลับมาปัดกวาดอาศรมแต่งตั้ง

อาสนะแล้ว เข้าไปสู่บรรณศาลาแจ้งให้ดาบสผู้เป็น

บิดาทราบว่า ข้าแต่ท่านมหาฤๅษี พระราชาทั้งหลายผู้

อภิชาตเรืองยศเหล่านี้เสด็จมาหา ขอเชิญบิดาออกไป

นั่งนอกอาศรมเถิด มหาฤๅษีได้ฟังคำของโสณบัณฑิต

นั้นแล้ว รีบออกจากอาศรมมานั่งอยู่ที่ประตูของตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

[๑๔๘] โกสิยดาบสได้เห็นพระเจ้ามโนชะนั้น

ซึ่งมีหมู่กษัตริย์ห้อมล้อมเป็นกองทัพ ประหนึ่งรุ่งเรือง

ด้วยเดช เสด็จมาอยู่ จึงกล่าวคาถานี้ความว่า กลอง

ตะโพน สังข์ บัณเฑาะว์ และมโหระทึก ยังพระราชา

ผู้เป็นจอมทัพให้ร่าเริงอยู่ ดำเนินไปแล้วข้างหน้าของ

ใคร หน้าผากของใครสวมแล้วด้วยแผ่นทองอันหนา

มีสีดุจสายฟ้า ใครกำลังหนุ่มแน่น ผูกสอดด้วยกำ

ลูกศร รุ่งเรืองด้วยสิริ เดินมาอยู่ อนึ่ง หน้าของใคร

งานผุดผ่อง ดุจทองคำอันละลายคว้างที่ปากเบ้า มีสี

ดังถ่านเพลิง ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริกำลังเดินมาอยู่

ฉัตรพร้อมด้วยคันน่ารื่นรมย์ใจ สำหรับกั้นแสงอาทิตย์

อันบุคคลกางแล้วเพื่อใคร ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ

กำลังเดินมาอยู่ ชนทั้งหลายถือพลัดวาลวีชนีเครื่องสูง

เดินเคียงองค์ของใคร ผู้มีบุญอันประเสริฐ มาอยู่โดย

คอช้างเศวตฉัตร ม้าอาชาไนย และทหารสวมเกราะ

เรียงรายอยู่โดยรอบของใคร ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ

กำลังเดินมาอยู่ กษัตริย์ ๑๐๑ พระนครผู้เรืองยศ เป็น

อนุยนต์เดินแวดล้อมตามอยู่โดยรอบของใคร ใครหนอ

รุ่งเรืองด้วยสิริกำลังเดินมาอยู่ จาตุรงคเสนา คือ พลช้าง

พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า เดินแวดล้อมตามอยู่

โดยรอบของใคร ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริกำลังเดินมา

อยู่ เสนาหมู่ใหญ่นี้นับไม่ถ้วน ไม่มีที่สุดดุจคลื่นใน

มหาสมุทร กำลังห้อมล้อมตามหลังใครมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

[๑๔๙] กษัตริย์ที่กำลังเสด็จมานั้น คือ พระเจ้า

มโนชราชาธิราชเป็นเพียงดังพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่กว่า

เทวดาชั้นดาวดึงส์ เข้าถึงความเป็นบริษัทของนันท-

ดาบส กำลังมาสู่อาศรมอันเป็นที่ประพฤติพรหมจรรย์

เสนาหมู่ใหญ่นี้นับไม่ถ้วน ไม่มีที่สุด ดุจคลื่นใน

มหาสมุทร กำลังตามหลังพระเจ้ามโนชะนั้นมา.

[๑๕๐] พระราชาทุกพระองค์ ทรงลูบไล้ด้วย

จันทน์หอม ทรงผ้ากาสิกพัสตร์อย่างดี ทุกพระองค์

ทรงประคองอัญชลีเข้าไปยังสำนักของฤๅษีทั้งหลาย.

[๑๕๑] พระคุณเจ้าผู้เจริญไม่มีโรคพาธดอกหรือ

พระคุณเจ้าสุขสำราญดีอยู่หรือ พระคุณเจ้าพอยังอัต-

ภาพให้เป็นไปได้สะดวกด้วยการแสวงหามูลผลาหาร

แลหรือ เหง้ามันและผลไม้มีมากแลหรือ เหลือบ ยุง

และสัตว์เลื้อยคลานมีน้อยแลหรือ ในป่าอันเกลื่อน-

กล่นไปด้วยพาฬมฤค ไม่มีมาเบียดเบียนบ้างหรือ.

[๑๕๒] ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพทั้งหลาย

ไม่มีโรคาพาธ มีความสุขสำราญดี เยียวยาอัตภาพ

ได้สะดวกด้วยการแสวงหามูลผลาหาร ทั้งมูลมันผลไม้

ก็มีมาก เหลือบ ยุงและสัตว์เลื้อยคลานมีน้อย ในป่า

อันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาฬมฤคไม่มีมาเบียดเบียนอาต-

มภาพ เมื่ออาตมภาพได้อยู่ในอาศรมนี้หลายปี มาแล้ว

อาตมภาพไม่รู้สึกอาพาธอันไม่เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

เกิดขึ้นเลย ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาดีแล้ว

เสด็จมาถึงแล้ว ขอจงตรัสบอกสิ่งที่ทรงชอบพระหฤทัย

ซึ่งมีอยู่ ณ ที่นี้เถิด ขอเชิญมหาบพิตรเสวยผลมะพลับ

ผลมะหาด ผลมะซาง และผลหมากเม่า อันเป็นผลไม้

มีรสหวานน้อย ๆ เชิญเลือกเสวยแต่ผลที่ดี ๆ เถิด

น้ำนี้เย็นนำมาแต่ซอกเขา ขอเชิญมหาบพิตรดื่มเถิด

ถ้าพระองค์ทรงปรารถนา.

[๑๕๓] สิ่งใดที่พระคุณเจ้าให้ ข้าพเจ้าขอรับสิ่ง

นั้น พระคุณเจ้ากระทำให้ถึงแก่ข้าพเจ้าทั้งปวง ขอ

พระคุณเจ้าจงเงี่ยโสตสดับคำของนันทดาบสติท่านจะ

กล่าวนั้นเถิด ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นบริษัทของนันทดา-

บส มาแล้วสู่สำนักของพระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าโปรด

สดับคำของข้าพเจ้า ของนันทดาบสและของบริษัทเถิด.

[๑๕๔] ชาวชนบทร้อยเศษ พราหมณ์มหาศาล

ประมาณเท่านั้น กษัตริย์อภิชาตผู้เรืองยศทั้งหมดนี้

และพระเจ้ามโนชะผู้เจริญ จงเข้าใจคำของข้าพเจ้า

ยักษ์ทั้งหลายภูตและเทวดาทั้งหลายในป่า เหล่าใด

ซึ่งมาประชุมกันอยู่ในอาศรมนี้ ขอจงฟังคำของข้าพ-

เจ้า ข้าพเจ้าขอกระทำความนอบน้อมแก่เทวดาทั้ง-

หลายแล้วจักกล่าวกะฤๅษีผู้มีวัตรอันงาม ข้าพเจ้านั้น

ชาวโลกสมมติแล้วว่าเป็นชาวโกสิยโคตรร่วมกับท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

จึงนับว่าเป็นแขนขวาของท่าน ข้าแต่ท่านโกสิยะผู้มี

ความเพียร เมื่อข้าพเจ้าเป็นผู้ประสงค์จะเลี้ยงดูมารดา

บิดาของข้าพเจ้า ฐานะนี้ชื่อว่าเป็นบุญ ขอท่านอย่า

ได้ห้ามข้าพเจ้าเสียเลย จริงอยู่ การบำรุงมารดาบิดานี้

สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว ขอท่านจงอนุญาตการ

บำรุงมารดาบิดานี้แก่ข้าพเจ้า ท่านได้กระทำกุศลมา

แล้วสิ้นกาลนาน ด้วยการลุกขึ้นทำกิจวัตรและการบีบ

นวด บัดนี้ข้าพเจ้าปรารถนาจะทำบุญในมารดาและ

บิดา ขอท่านจงให้โลกสวรรค์แก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าแต่

พระฤๅษี มนุษย์ทั้งหลายซึ่งมีอยู่ในบริษัทนี้ ทราบบท

แห่งธรรมในธรรมว่าเป็นทางแห่งโลกสวรรค์ เหมือน

ดังท่านทราบ ฉะนั้น การบำรุงมารดาบิดาด้วยการ

อุปัฏฐากและการบีบนวดชื่อว่านำความสุขมาให้ ท่าน

ห้ามข้าพเจ้าจากบุญนั้น ชื่อว่าเป็นอันห้ามทางอัน

ประเสริฐ.

[๑๕๕] ขอมหาบพิตรผู้เจริญทั้งหลาย ผู้เป็น

บริษัทของนันทะ จงสดับถ้อยคำของอาตมภาพ ผู้ใด

ยังวงศ์ตระกูลแต่เก่าก่อนให้เสื่อม ไม่ประพฤติธรรม

ในบุคคลผู้เจริญทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมเข้าพึงนรก ดูก่อน

ท่านผู้เป็นใหญ่ในทิศ ส่วนชนเหล่าใดเป็นผู้ฉลาดใน

ธรรมอันเป็นของเก่า และถึงพร้อมด้วยจารีต ชนเหล่า

นั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคติ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

พี่สาวน้องสาว ญาติและเผ่าพันธุ์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด

ย่อมเป็นภาระของพี่ชายใหญ่ ขอพระองค์ทรงทราบ

อย่างนี้เถิด มหาบพิตร ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นจอมทัพ

ก็อาตมภาพเป็นพี่ชายใหญ่ จึงต้องรับภาระอันหนัก

ทั้งสามารถจะปฏิบัติท่านเหล่านั้นได้ เหมือนนายเรือ

รับภาระอันหนัก สามารถจะนำเรือไปได้โดยสวัสดี

ฉะนั้น เหตุนั้น อาตมภาพจึงไม่ละลืมธรรม.

[๑๕๖] ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ไปแล้วในความมืด

วันนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายเกิดความรู้ขึ้นแล้ว ท่านโกสิย

ฤๅษีได้แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เหมือนส่องแสง

อันรุ่งเรืองจากไฟ ฉะนั้น พระอาทิตย์เป็นเทพเจ้าแห่ง

แสง มีรัศมีเจิดจ้า เมื่ออุทัย ย่อมแสดงรูปดีและรูปชั่ว

ให้ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านโกสิยฤๅษีก็

แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๕๗] ถ้าพี่จะไม่รับอัญชลีของข้าพเจ้าผู้วิง-

วอนอยู่อย่างนี้ ข้าพเจ้า จักดำเนินไปตามถ้อยคำของ

พี่ จักบำรุงบำเรอพี่ผู้อยู่ด้วยความไม่เกียจคร้าน.

[๑๕๘] ดูก่อนนันทะ เธอรู้แจ้งสัทธรรมที่สัต-

บุรุษทั้งหลายแสดงแล้วเป็นแน่ เธอเป็นคนงาม มี

มารยาทอันงดงาม พี่ชอบใจเป็นยิ่งนัก พี่จะกล่าวกะ

มารดาบิดาว่า ขอท่านทั้งสองจงฟังคำของข้าพเจ้า

ภาระนี้หาใช่เป็นภาระเพียงชั่วครั้งชั่วคราวของข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

ไม่ การบำรุงที่ข้าพเจ้าบำรุงแล้วนี้ ย่อมนำความสุข

มาให้แก่มารดาบิดาได้ แต่นันทะย่อมกระทำการ

ขอร้องอ้อนวอนเพื่อบำรุงท่านทั้งสองบ้าง บรรดาท่าน

ทั้งสองผู้สงบระงับ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ หากว่า

ท่านใดปรารถนา ข้าพเจ้าจะบอกกะท่านนั้น ขอให้

ท่านทั้งสองผู้หนึ่งจงเลือกนันทะตามความปรารถนา

เถิด นันทะจะบำรุงใครในท่านทั้งสอง.

[๑๕๙] ดูก่อนพ่อโสณะ เราทั้งสองคนอาศัย

เจ้าอยู่ ถ้าเจ้าอนุญาต แม่ก็จะพึงได้จุมพิตลูกนันทะผู้

ประพฤติพรหมจรรย์ที่ศีรษะ.

[๑๖๐] ใบอ่อนของต้นอัสสัตถพฤกษ์ เมื่อลม

รำเพยพัดต้องแล้ว ย่อมหวั่นไหวไปมา ฉันใด หัวใจ

ของแม่ก็หวั่นไหว เพราะนาน ๆ จึงได้เห็นลูกนันทะ

ฉันนั้น เมื่อใด เมื่อแม่หลับแล้วฝันเห็นลูกนันทะมา

แม่ก็ดีใจอย่างล้นเหลือว่าลูกนันทะของแม่นี้มาแล้ว

แต่เมื่อใด ครั้นแม่ตื่นขึ้นแล้ว ไม่ได้เห็นลูกนันทะ

ของแม่มา ความเศร้าโศกและความเสียใจมิใช่น้อย

ก็ทับถมยิ่งนัก วันนี้ แม่ได้เห็นลูกนันทะผู้จากไปนาน

กลับมาแล้ว ขอลูกนันทะจงเป็นที่รักของบิดาเจ้าและ

ของแม่เอง ขอลูกนันทะจงเข้าไปสู่เรือนของเราเถิด

ดูก่อนพ่อโสณะ ลูกนันทะเป็นที่แสนรักของบิดา

ลูกนันทะยังไม่ได้เข้าไปสู่เรือนใด ขอให้ลูกนันทะจง

ได้เรือนนั้น ขอลูกนันทะจงบำรุงแม่เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

[๑๖๑] ดูก่อนฤาษี มารดาเป็นผู้อนุเคราะห์ เป็น

ที่พึ่งและเป็นผู้ให้ขีรรสแก่เราก่อน เป็นทางแห่งโลก-

สวรรค์ มารดาปรารถนาเจ้า มารดาเป็นผู้ให้ขีรรส

ก่อน เป็นผู้เลี้ยงดูเรามา เป็นผู้ชักชวนเราในบุญกุศล

เป็นทางแห่งโลกสวรรค์ มารดาปรารถนาเจ้า.

[๑๖๒] มารดาหวังผลคือบุตร จึงนอบน้อมแก่

เทวดา และไต่ถามถึงฤกษ์ ฤดูและปีทั้งหลาย เมื่อ

มารดานั้นมีระดู ความก้าวลงแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์

ก็ย่อมมี เพราะสัตว์เกิดในครรภ์นั้น มารดาจงแพ้ท้อง

เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า เป็นผู้มี

ใจดี มารดาบริหารครรภ์อยู่หนึ่งปีหรือหย่อนกว่าปีแล้ว

จึงคลอด เหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า ชนยันตี

และชเนตตี ผู้ยังบุตรให้เกิด มารดาย่อมปลอบบุตร

ผู้ร้องไห้อยู่ให้รื่นเริง ด้วยการให้ดื่มน้ำนมบ้าง ด้วย

การขับกล่อมบ้าง ด้วยการอุ้มแนบไว้กับอกบ้าง

เหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า ปลอบบุตรให้

รื่นเริง ต่อแต่นั้น มารดาเห็นบุตรผู้ยังเป็นเด็กอ่อน

ไม่รู้จักเดียงสา เล่นอยู่ท่ามกลางสายลมและแสงแดด

อันกล้าก็เข้ารับขวัญ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียก

มารดานั้นว่า โปเสนตี ผู้เลี้ยงดูบุตร มารดาย่อม

คุ้นครองทรัพย์แม้ทั้งสองฝ่าย คือ ทรัพย์ของมารดา

และทรัพย์ของบิดา เพื่อบุตรนั้น ด้วยตั้งใจว่า ทรัพย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

ทั้งสองฝ่ายพึงเป็นของบุตรแห่งเรา มารดายังบุตรให้

ศึกษาดังนี้ว่า อย่างนี้ซิลูก อย่างโน้นซิลูก ย่อมลำบาก

เมื่อบุตรกำลังรุ่นหนุ่มคะนอง มารดาย่อมคอยมองดู

บุตรผู้หลงเพลิดเพลินในภรรยาผู้อื่น จนพลบค่ำก็ยัง

ไม่กลับมา ย่อมเดือดร้อนด้วยประการฉะนี้.

บุตรผู้อันมารดาเลี้ยงดูมาแล้ว ด้วยความลำบาก

อย่างนี้ ไม่บำรุงมารดา บุตรนั้นชื่อว่าประพฤติผิดใน

มารดาย่อมเข้าถึงนรก บุตรผู้อันบิดาเลี้ยงมาแล้วด้วย

ความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุงบิดา บุตรนั้นชื่อว่าประ-

พฤติผิดในบิดา ย่อมเข้าถึงนรก เราได้สดับมาว่า

เพราะไม่บำรุงมารดา แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้

ปรารถนาทรัพย์ย่อมฉิบหาย หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึง

ความยากแค้น เราได้สดับมาว่า เพราะไม่บำรุงบิดา

แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาทรัพย์ ย่อม

ฉิบหาย หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น ความ

รื่นเริง ความบันเทิง และความหัวเราะเล่นหัวกันทุก

เมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงมารดา ความ

รื่นเริง ความบันเทิง และความหัวเราะเล่นหัวกันทุก

เมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงบิดา สังคห-

วัตถุ ๔ ประการนี้ คือทาน การให้ ๑ ปิยวาจา เจรจา

คำน่ารัก ๑ อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ ๑

สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

ตามสมควรในที่นั้น ๆ ๑ ย่อมมีในโลกนี้ เหมือน

เพลารถย่อมมีแก่รถที่กำลังแล่นไป ฉะนั้น ถ้าว่า

สังคหวัตถุเหล่านี้ไม่พึงมีไซร้ มารดาก็จะไม่พึงได้รับ

ความนับถือหรือการบูชา เพราะเหตุแห่งบุตร หรือ

บิดาก็จะไม่พึงได้ความนับถือหรือการบูชา เพราะเหตุ

แห่งบุตร ก็เพราะบัณฑิตทั้งหลายย่อมพิจารณาเห็น

สังคหวัตถุนี้ ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านั้นย่อมถึงความ

เป็นผู้ประเสริฐ และเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์พึง

สรรเสริญ มารดาและบิดาบัณฑิตเรียกว่า เป็นพรหม

ของบุตร เป็นบุรพาจารย์ของบุตร เป็นผู้ควรรับของ

คำนับของบุตร และว่าเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร เพราะ

เหตุนั้นแล บุตรผู้เป็นบัณฑิต พึงนอบน้อมและ

สักการะมารดาบิดาทั้ง ๒ นั้นด้วย ข้าว น้ำ ผ้านุ่ง

ผ้าห่ม ที่นอน การขัดสี การให้อาบน้ำ และการ

ล้างเท้า บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุตรนั้น ด้วย

การบำรุงในมารดาบิดาในโลกนี้ ครั้นบุตรนั้นละโลก

นี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์.

จบโสณนันทชาดกที่ ๒

จบสัตตตินิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

อรรถกถาโสณนันทชาดก

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ

ปรารภภิกษุผู้เลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

เทวตา นุสิ ดังนี้.

เนื้อเรื่องของชาดกนี้ คล้ายกับเรื่องในสุวรรณสามชาดกทีเดียว.

ก็ในกาลนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธออย่าติเตียน

ภิกษุรูปนี้เลย บัณฑิตแต่ปางก่อนทั้งหลาย แม้ได้ราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น

ก็ยังไม่ยอมรับเอาราชสมบัตินั้น ย่อมเลี้ยงแต่มารดาบิดาถ่ายเดียว แล้วทรงนำ

อตีตนิทานมา ตรัสว่า

ในอดีตกาล กรุงพาราณสี ได้เป็นพระนครที่มีชื่อว่า พรหมวัธน์.

พระราชาทรงมีพระนามว่า มโนชะ เสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครนั้น. มี

พราหมณ์มหาศาลผู้หนึ่ง มีทรัพย์สมบัติประมาณ ๘๐. โกฏิ แต่หาบุตรมิได้

อาศัยอยู่ในพระนครนั้น. นางพราหมณีผู้เป็นภริยาของพราหมณ์นั้น เมื่อ

พราหมณ์ผู้สามีนั้นกล่าวว่า นางผู้เจริญ เธอจงปรารถนาบุตรเถิด ดังนี้ ก็ได้

ปรารถนาแล้ว. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เสด็จจุติจากพรหมโลก ทรงถือปฏิสนธิ

ในครรภ์ของนางพราหมณีนั้น. เมื่อกุมารนั้นเกิดแล้ว มารดาบิดาจึงตั้งชื่อว่า

โสณกุมาร ในกาลเมื่อโสณกุมารนั้นเดินได้ แม้สัตว์อื่น ก็จุติจากพรหมโลก

ถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางพราหมณีนั้นอีก มารดาบิดาตั้งชื่อกุมารนั้นว่า

นันทกุมาร เมื่อกุมารทั้ง ๒ คนนั้นเรียนพระเวท จนจบการศึกษาศิลปศาสตร์

ทั้งหมดแล้ว พราหมณ์ผู้บิดามองเห็นรูปสมบัติอันเจริญวัย จึงเรียกนางพราหมณี

มา แล้วพูดว่า แน่ะนางผู้เจริญ เราจักผูกพันโสณกุมารลูกชายของเราไว้ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

เครื่องผูกคือเรือน นางรับว่า ดีละ แล้วบอกเนื้อความนั้นแก่บุตรให้ทราบ.

โสณกุมารนั้น จึงพูดว่า อย่าเลยแม่ เรื่องการอยู่ครองเรือนสำหรับฉัน ฉัน

จะปฏิบัติคุณพ่อและคุณแม่จนกว่าชีวิตจะหาไม่ เมื่อคุณพ่อและคุณแม่ล่วงไป

แล้ว ก็จะเข้าป่าหิมพานต์บวช. นางพราหมณี จึงบอกเนื้อความนั้นแก่พราหมณ์

ให้ทราบ. คนทั้ง ๒ คนนั้น แม้กล่าวอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่ได้ความยินยอมพร้อมใจ

จากโสณกุมารนั้น จึงเรียกนันทกุมารมาแล้วพูดว่า ลูกเอ๋ย ถ้าอย่างนั้น เจ้าจง

ครอบครองทรัพย์สมบัติเถิด เมื่อนันทกุมารพูดว่า ฉันจะยื่นศีรษะออกไปรับ

ก้อนเขฬะ ที่พี่ชายถ่มทิ้งแล้วไม่ได้แน่ ก็ตัวฉันเองเมื่อพ่อแม่ถึงแก่กรรมแล้ว

ก็จะออกบวชพร้อมกับพี่ชายเหมือนกัน ฟังคำของลูกชายทั้งสองคนนั้นแล้ว

จึงพากันคิดว่า ลูกชายทั้งสองคนนี้กำลังหนุ่มอยู่อย่างนี้ ก็ยังละกามารมณ์

ทั้งหลายเสียได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงเราทั้งสองคนเล่า พวกเราพากันบวชเสีย

ให้หมดเถิด จึงพูดกะบุตรทั้งสองคนว่า ลูกเอ๋ย เมื่อแม่และพ่อหาชีวิตไม่แล้ว

การบวชของเจ้าทั้ง ๒ จะมีประโยชน์อะไร เราทั้งหมดจักออกบวชพร้อมกัน

เสียในบัดนี้เถิด แล้วกราบทูลแด่พระราชา สละทรัพย์ทั้งหมดลงในทางทาน

กระทำชนผู้เป็นทาสให้เป็นไท ให้ส่งของที่สมควรให้แก่หมู่ญาติ พร้อมกัน

ทั้ง ๔ คนด้วยกัน ออกจากนครพรหมวัธน์ สร้างอาศรมอยู่ในชัฏป่าอันน่า

รื่นรมย์ใจ อาศัยสระอันดารดาษไปด้วยดอกปทุมเบญจวรรณ ในหิมวันต-

ประเทศ แล้วบรรพชาอาศัยอยู่ในอาศรมนั้น. แม้พระโสณะและพระนันทะ

ทั้ง ๒ นั้น ก็ช่วยกันปฏิบัติมารดาบิดา ตื่นเช้าก็จัดไม้สำหรับชำระฟันและน้ำ

ล้างหน้าให้แก่ท่านทั้ง ๒ แล้วไปกวาดบรรณศาลาและบริเวณอาศรม ตั้งน้ำฉัน

ไว้เสร็จแล้ว พากันไปเลือกผลไม้น้อยใหญ่ ซึ่งมีรสอันอร่อยมาจากป่า นำมา

ให้มารดาบิดาได้บริโภค ถึงยามร้อนก็หาน้ำเย็นมาให้อาบ คอยชำระสะสาง

มวยผมให้สะอาด กระทำการบีบนวดเป็นต้น แก่มารดาบิดาทั้งสองคนนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

ด้วยการปฏิบัติอยู่อย่างนี้ เวลาล่วงไปนาน คราวหนึ่ง นันทบัณฑิต

ดำริว่า เราจะให้มารดาบิดาได้บริโภคผลไม้น้อยใหญ่ที่เราหามาได้ก่อน. เธอ

จึงรีบไปล่วงหน้าพี่ชายแต่เช้าตรู่ หาผลไม้ลูกเล็กลูกใหญ่ เท่าที่พอจะหาได้

มาจากที่ที่ตนเคยเก็บเมื่อวานบ้าง วานซืนบ้าง แล้วรีบนำมาให้มารดาบิดา

บริโภคก่อน. มารดาบิดาบริโภคผลไม้แล้ว บ้วนปากสมาทานอุโบสถ. ส่วน

โสณบัณฑิตไปยังที่ไกล ๆ เลือกหาผลไม้น้อยใหญ่ ที่มีรสอันอร่อยกำลังสุกงอมดี

แล้วนำเข้าไปให้. ลำดับนั้น มารดาบิดาจึงกล่าวกะโสณบัณฑิตนั้นว่า ลูกเอ๋ย

เราได้บริโภคผลไม้ที่น้องชายของเจ้าหามาให้เรียบร้อยแล้วแต่เช้าตรู่ (เดี๋ยวนี้)

สมาทานอุโบสถแล้ว บัดนี้เราไม่มีความต้องการ. ผลไม้ดี ๆ ของโสณดาบส

นั้น ไม่มีใครได้บริโภคเลย ก็จะเน่าเสียไปด้วยประการฉะนี้. แม้ในวันต่อ ๆ มา

ก็เป็นเช่นนั้นอีกเหมือนกัน. พระโสณดาบสนั้น สามารถจะไปยังสถานที่ไกล ๆ

แล้วนำผลไม้มาได้ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะท่านได้อภิญญา ๕ ประการ. แต่

มารดาบิดา ก็มิได้บริโภค. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงคิดว่า มารดาบิดา

ของเราเป็นสุขุมาลชาติ น้องนันทะไปหาผลไม้ลูกเล็กลูกใหญ่ดิบบ้างสุกบ้าง

มาให้ท่านบริโภค เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านทั้งสองนี้ ก็จะไม่เป็นอยู่เช่นนี้ได้ตลอด

กาลนาน เราจักห้ามเธอเสีย. ลำดับนั้น โสณบัณฑิต จึงเรียกน้องชายนั้นมา

แล้วบอกว่า ดูก่อนน้อง จำเดิมแต่นี้ไปเมื่อน้องหาผลไม้มาได้แล้ว จงรอให้

พี่กลับมาเสียก่อน เราทั้งสองคนจักให้มารดาบิดาบริโภคพร้อม ๆ กัน . แม้เมื่อ

พระมหาสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระนันทะ ก็มุ่งหวังแต่ความดีของตนอย่างเดียว

จึงมิได้กระทำตามคำของพี่ชาย. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์คิดว่า น้องนันทะ

ไม่กระทำตามคำของเรา กระทำหน้าที่อันไม่สมควร จะต้องขับไล่เธอไปเสีย

แต่นั้น เราผู้เดียวเท่านั้นจะปฏิบัติมารดาบิดา จึงดีดนิ้วมือขู่ขับนันทดาบสด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

วาจาว่า ดูก่อนนันทะ เจ้าเป็นคนที่ไม่อยู่ในถ้อยคำ ไม่กระทำตามคำของ

บัณฑิตทั้งหลาย เราเป็นพี่ชายของเจ้า มารดาบิดาจงเป็นหน้าที่รับผิดชอบ

ของเราผู้เดียว เราผู้เดียวเท่านั้นจักปฏิบัติมารดาบิดา เจ้าจักไม่ได้เพื่อจะอยู่

ในที่นี้ จงไปในที่อื่น. นันทบัณฑิตนั้น ถูกพระโสณบัณฑิตพี่ชายนั้นขับไล่

ไม่อาจจะอยู่ในสำนักของพี่ชายได้ จึงไหว้พี่ชายแล้วเข้าไปหามารดาบิดา. เล่า

ความนั้นให้ฟัง ไหว้มารดาบิดาแล้ว เข้าไปสู่บรรณศาลาของตน เพ่งดูกสิณ

เป็นอารมณ์ ในวันนั้นนั่นเอง ก็ทำอภิญญา ๕ และสมาบัติให้บังเกิดขึ้นได้แล้ว

คิดว่า เราจะนำทรายแก้วมาแต่เชิงเขาสิเนรุ โปรยลงในบริเวณบรรณศาลาแห่ง

พี่ชายของเรา ก็เป็นการเพียงพอที่จะให้พี่ชายอภัยโทษเราได้ แม้การกระทำ

อย่างนี้จักยังไม่งดงาม เราก็จะไปนำน้ำมาจากสระอโนดาต รดลงในบริเวณ

บรรณศาลาแห่งพี่ชายของเรา ก็จะพอยังพี่ชายให้อภัยโทษเราได้ แม้อย่างนี้

ก็จักยังไม่งดงาม ถ้าเราพึงทำพี่ชายของเราให้อภัยโทษเราได้ ด้วยอำนาจเทวดา

ทั้งหลาย เราก็จะนำท้าวมหาราชทั้ง ๔ และท้าวสักกะมาก็พอจะยังพี่ชายให้

อภัยโทษได้ แม้อย่างนี้จักยังไม่งดงาม เราจักไปนำพระราชาทั้งหลาย มีพระเจ้า

มโนชะผู้เป็นพระราชาล้ำเลิศ ในชมพูทวีปทั้งสิ้นนี้ไปเป็นประธาน ก็พอจะให้

พี่ชายอภัยโทษเราได้ เมื่อเป็นเช่นนี้คุณงามความดีแห่งพี่ชายของเรา ก็จะแผ่

ตลบทั่วไปในชมพูทวีปทั้งสิ้น จักปรากฏประดุจพระจันทร์และพระอาทิตย์

ฉะนั้น.

ขณะนั้น พระนันทดาบสนั้น ก็เหาะไปด้วยฤทธิ์ ลงที่ประตูพระราช

นิเวศน์ของพระราชานั้น ในพรหมวัธนนคร สั่งให้ราชบุรุษกราบทูลแด่พระ

ราชาว่า ได้ยินว่า พระดาบสองค์หนึ่ง ต้องการจะเข้าเฝ้าพระองค์. พระราชา

ทรงดำริว่า เราเห็นบรรพชิตจะได้ประโยชน์อะไร ชะรอยว่าบรรพชิตรูปนั้น

คงจักมาเพื่อต้องการอาหารเป็นแน่ จึงจัดส่งภัตตาหารไปถวาย. พระดาบส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

ไม่ปรารถนาภัตร. พระองค์จึงทรงส่งข้าวสารไปถวาย พระดาบสนั้น ก็มิได้

ปรารถนาข้าวสาร. จึงทรงส่งผ้าไปถวาย พระดาบสก็มิได้รับผ้า. จึงทรงส่ง

หมากพลูไปถวาย. พระดาบสนั้น ก็มิได้รับหมากพลู. ลำดับนั้น พระองค์

จึงทรงส่งทูตไปยังสำนักของพระดาบสนั้นว่า พระผู้เป็นเจ้ามาแล้ว เพื่อประสงค์

อะไรกัน พระดาบสเมื่อถูกทูตถามจึงบอกว่า เรามาเพื่อบำรุงพระราชา. พระ

ราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงรับสั่งให้คนไปบอกว่า พวกคนอุปัฏฐากของเรา

มีอยู่มากมายแล้ว ท่านดาบสจงบำเพ็ญหน้าที่ดาบสของตนเถิด. พระดาบสฟัง

คำนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า เราจักถือเอาราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ด้วยกำลัง

ของเราแล้ว ถวายแก่พระราชาของท่านทั้งหลาย. พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว

จึงทรงพระดำริว่า ธรรมดาว่า บรรพชิตทั้งหลายเป็นบัณฑิต คงจักทราบ

อุบายอะไรบ้างกระมัง จึงรับสั่งให้นิมนต์พระดาบสนั้นเข้ามา ให้นั่งบนอาสนะ

ทรงไหว้แล้ว ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ได้ยินว่า พระผู้เป็นเจ้า

จะถือเอาราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้นแล้ว ยกให้แก่ข้าพเจ้าหรือ. พระดาบส

ทูลว่า เป็นเช่นนั้นมหาบพิตร พระราชาตรัสถามว่า พระผู้เป็นเจ้าจักถือเอา

ได้อย่างไร. พระดาบสทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพจะมิต้องให้โลหิต

แม้มาตรว่าแมลงวันตัวน้อย ดื่มกินได้ โดยกำหนดอย่างต่ำให้บังเกิดขึ้นแก่

ใคร ๆ เลย ทั้งไม่กระทำความสิ้นเปลืองแห่งพระราชทรัพย์ของพระองค์ด้วย

จักถือเอาด้วยฤทธิ์ของอาตมภาพแล้ว ยกถวายแด่พระองค์ ก็แต่ว่า ไม่ควรจะ

การทำความชักช้าอย่างเดียว รีบเสด็จออกเสียในวันนี้แหละ. พระราชาทรง

เชื่อถ้อยคำของนันทดาบสนั้น แวดล้อมไปด้วยหมู่เสนางคนิกร เสด็จออกจาก

พระนคร ผิว่าความร้อนเกิดขึ้นแก่หมู่เสนา นันทบัณฑิตก็เนรมิต ให้มีเงา

กระทำให้ร่มเย็นด้วยฤทธิ์ของตน เมื่อฝนตก ก็มิได้ตกลงในเบื้องบนหมู่เสนา

ห้ามความร้อนและความหนาวเสียได้ บันดาลให้อันตรายทั้งหมดเป็นต้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

ขวากหนาม และตอไม้ในระหว่างทาง ให้อันตรธานสูญหายไปหมด กระทำ

หนทางให้ราบเรียบดุจมณฑลแห่งกสิณ แม้ตนเองปูแผ่นหนังนั่งบนบัลลังก์

มีหมู่เสนาแวดล้อม แล้วเหาะลอยไปในอากาศ.

พระนันทบัณฑิตนั้น พาหมู่เสนาไปด้วยอาการอย่างนี้ ลุถึงแคว้น

โกศลเป็นครั้งแรก จึงสั่งให้หยุดกองทัพตั้งค่ายไม่ไกลเมือง แล้วส่งทูตเข้าไป

ทูลพระเจ้าโกศลราชว่า จะให้การยุทธ์แก่พวกเราหรือว่าจะให้เศวตฉัตร.

พระเจ้าโกศลราชนั้น ได้ทรงสดับถ้อยคำของทูตก็ทรงพิโรธตรัสว่า เราไม่ใช่

พระราชาหรืออย่างไร เราจะให้การรบ ทรงกระทำเสนาข้างหน้าเสด็จยกพล

ออกไป. เสนาทั้งสองฝ่ายเริ่มจะรบกัน. ลำดับนั้น นันทบัณฑิตจึงเนรมิต

หนังเสือเหลือง ซึ่งเป็นอาสนะที่นั่งของตนให้ใหญ่โต ขึงไว้ในระหว่างกองทัพ

ทั้ง ๒ แล้วคอยรับลูกศรที่พวกเสนาทั้ง ๒ ฝ่าย ต่างยิงกันไปมาด้วยแผ่นหนัง

นั้นทีเดียว. เสนาแม้สักคนหนึ่ง ใคร ๆ ที่ชื่อว่าถูกลูกศรแทงแล้ว ไม่ได้มีเลย.

กองทัพแม้ทั้ง ๒ นั้น ก็หมดความอุตสาหะ ลงยืนเฉยอยู่ เพราะลูกศรที่อยู่

ในมือหมดด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย. นันทบัณฑิตจึงไปยังสำนักของพระเจ้ามโนชราช

ทูลปลอบเอาพระทัยว่า พระองค์อย่าทรงวิตกไปเลย มหาบพิตร แล้วไปยัง

สำนักของพระเจ้าโกศลราชทูลว่า พระองค์อย่าทรงวิตกไปเลย มหาบพิตร

อันตรายจักไม่มีแก่พระองค์ ราชสมบัติของพระองค์ก็จักคงยังเป็นของพระองค์

อยู่ทีเดียว ขอให้พระองค์ทรงอ่อนน้อมแก่พระเจ้ามโนชราชอย่างเดียวเท่านั้น.

พระเจ้าโกศลราชทรงเชื่อนันทบัณฑิตนั้น ก็ทรงรับว่าดีละ ดังนี้. ลำดับนั้น

นันทบัณฑิตจึงนำเสด็จท้าวเธอไปยังสำนักของพระเจ้ามโนชราช แล้วทูลว่า

ดูก่อนมหาบพิตร พระเจ้าโกศลราชทรงยอมอ่อนน้อมต่อพระองค์ แต่ขอให้

ราชสมบัติของพระเจ้าโกศลราชนี้ จงยังคงเป็นของท้าวเธออยู่ตามเดิมเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

พระเจ้ามโนชราชทรงรับว่าดีละ ทรงกระทำพระเจ้าโกศลราชพระองค์นั้น ให้

อยู่ในอำนาจของพระองค์แล้ว ยกพลเสนาทั้ง ๒ กองทัพเสด็จไปยังแคว้นอังคะ

ได้แคว้นอังคะแล้ว ต่อจากนั้น ก็ไปยังแคว้นมคธ ได้แคว้นมคธ โดยอุบาย

อย่างนี้ ทรงกระทำพระราชาทั้งหลาย ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ให้ตกอยู่ในอำนาจ

ของพระองค์ได้ทั้งหมด แต่นั้น ก็เป็นผู้มีพระราชาเหล่านั้น เป็นบริวาร เสด็จ

ไปยังพรหมวัธนนครทีเดียว. ก็พระเจ้ามโนชราชนี้ ทรงถือเอาราชสมบัติอยู่

ถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วันจึงเสร็จเรียบร้อย. พระเจ้ามโนชราชนั้น รับสั่งให้

พระราชาเหล่านั้นนำของเคี้ยวและของบริโภคมีประการต่าง ๆ จากราชธานีของ

คนทุก ๆ พระนคร ทรงพาพระราชาทั้ง ๑๐๑ พระองค์เหล่านั้น ชวนกันดื่ม

เครื่องดื่มเป็นการใหญ่กับพระราชาเหล่านั้นตลอดถึง ๗ วัน.

นันทบัณฑิตดาบสคิดว่า พระราชายังเสวยความสุขที่เกิดแต่ความเป็น

ใหญ่อยู่ตราบใด เราจักไม่แสดงตนแก่ท้าวเธอตราบนั้น จึงเที่ยวไปบิณฑบาต

ในอุตตรกุรุทวีปแล้ว ไปอยู่ที่ปากถ้ำทองในหิมวันตประเทศ ๗ วัน. แม้

พระเจ้ามโนชราช ในวันที่ ๗ ทรงแลดูสิริราชสมบัติอันยิ่งใหญ่ของพระองค์

ก็ทรงระลึกถึงนันทบัณฑิตดาบสว่า อิสริยยศทั้งหมดนี้ มารดาบิดาของเรามิ

ได้ให้ ชนเหล่าอื่นก็มิได้ให้แก่เรา บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยนันทบัณฑิตดาบส

ก็เราไม่ได้เห็นท่านเลยถึง ๗ วันเข้าวันนี้แล้ว บัดนี้ท่านผู้ให้อิสริยยศแก่เรา

อยู่ที่ไหนหนอ. นันทบัณฑิตนั้นได้ทราบว่า ท้าวเธอระลึกถึงตน จึงเหาะมา

ยืนอยู่บนอากาศตรงพระพักตร์พระราชา. พระราชานั้นทอดพระเนตรเห็น

นันทดาบสมายืนอยู่ จึงทรงพระดำริอย่างนี้ว่า เรายังไม่ทราบว่า พระดาบส

นี้จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ก็ถ้าเธอเป็นมนุษย์ เราจักยกราชสมบัติในชมพูทวีป

ทั้งหมดให้แก่เธอทีเดียว ถ้าเธอเป็นเทวดา เราจักกระทำเครื่องสักการะสำหรับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

เทวดาแก่เธอ. พระราชาพระองค์นั้น เมื่อจะทรงสอบถามนันทบัณฑิตนั้นให้

ทราบชัด จึงตรัสพระคาถาเป็นปฐมว่า

พระผู้เป็นเจ้าเป็นเทวดา เป็นคนธรรพ์ เป็นท้าว

สักกปุรินททะ หรือว่าเป็นมนุษย์ผู้มีฤทธิ์ ข้าพเจ้าทั้ง-

หลายจะรู้จักพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร.

นันทดาบสนั้นสดับคำของพระราชานั้นแล้ว เมื่อจะทูลบอกตามความ

จริง จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า

อาตมภาพไม่ใช่เป็นเทวดา ไม่ใช่เป็นคนธรรพ์

ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ อาตมภาพเป็นมนุษย์ผู้มีฤทธิ์

ดูก่อนภารถะ มหาบพิตร จงทราบอย่างนี้เถิด.

นันทบัณฑิตเรียกพระราชาพระองค์นั้นอย่างนี้ว่า ภารถ ดังนี้ ใน

คาถานั้น เพราะพระองค์เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งภาระของรัฐ.

พระราชาทรงได้สดับคำนั้นแล้ว จึงทรงพระดำริว่า ได้ยินว่า พระดาบส

นี้เป็นมนุษย์ เธอมีอุปการะมากถึงเพียงนี้แก่เรา เราจักให้เธออิ่มหนำด้วย

อิสริยยศ จึงตรัสว่า

ความช่วยเหลืออันมิใช่น้อยนี้ เป็นกิจที่พระผู้

เป็นเจ้ากระทำแล้ว คือ เมื่อฝนตกพระผู้เป็นเจ้าก็ได้

ทำไม่ให้มีฝน แต่นั้น เมื่อลมจัดและแดดร้อน พระ

ผู้เป็นเจ้าก็ได้ทำให้มีเงาบังร่มเย็น แต่นั้น พระผู้เป็น

เจ้าได้ทำการป้องกันลูกศร ในท่ามกลางแห่งศัตรู

แต่นั้น พระผู้เป็นเจ้าได้ทำบ้านเมืองอันรุ่งเรืองและ

และชาวเมืองเหล่านั้นให้ตกอยู่ในอำนาจ ของข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

แต่นั้นพระผู้เป็นเจ้าได้ทำกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ ให้

เป็นผู้ติดตามของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอขอบคุณพระผู้

เป็นเจ้ายิ่งนัก พระผู้เป็นเจ้าจะปรารถนาสิ่งที่จะให้จิต

ชื่นชม คือ ยานอันเทียมด้วยช้าง รถอันเทียมด้วยม้า

และสาวน้อยทั้งหลายที่ประดับประดาแล้ว หรือรมณีย-

สถานอันเป็นที่อยู่อาศัย อันใด ขอพระผู้เป็นเจ้า จง

เลือกเอาสิ่งนั้นตามประสงค์เถิด ข้าพเจ้าขอถวายแก่

พระผู้เป็นเจ้า หรือว่าพระผู้เป็นเจ้าจะปรารถนาแคว้น

อังคะหรือแคว้นมคธ ข้าพเจ้าก็ขอถวายแก่พระผู้เป็น

เจ้า หรือว่าพระผู้เป็นเจ้าปรารถนาแคว้นอัสสกะ หรือ

แคว้นอวันตี ข้าพเจ้าก็มีใจยินดีขอถวายแคว้นเหล่านั้น

ให้แก่พระผู้เป็นเจ้า หรือแม้พระผู้เป็นเจ้าปรารถนา

ราชสมบัติกึ่งหนึ่งไซร้ ข้าพเจ้าก็ขอถวายแก่พระผู้เป็น

เจ้า ถ้าพระคุณเจ้ามีความต้องการด้วยราชสมบัติทั้ง-

หมด ข้าพเจ้าก็ขอถวาย พระคุณเจ้าปรารถนาสิ่งใด

ขอพระคุณเจ้าบอกมาเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตรูปมิท ได้แก่ มีสภาพอันพระคุณเจ้า

กระทำแล้ว . บทว่า เวยฺยาวจฺจ ได้แก่ การงานที่ช่วยเหลือกันทางกาย.

บทว่า อโนวสฺส ได้แก่ มิให้ฝนตก. อธิบายว่า พระคุณเจ้าได้กระทำโดย

ประการที่ฝนจะไม่ตกลงมา. บทว่า สีตจฺฉาย ได้แก่ มีเงาอันร่มเย็น. บทว่า

วสิโน เต ได้แก่ พระคุณเจ้าได้กระทำประชาชนชาวแคว้นเหล่านั้น ให้

อยู่ในอำนาจของข้าพเจ้า. บทว่า ขตฺเย ได้แก่ กษัตริย์ทั้งหลาย. แม้ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

อรรถกถาท่านก็กล่าวไว้อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ปติตาสฺสุ มย ได้แก่

ข้าพเจ้ายินดียิ่งนัก. บทว่า วร ต ภุญฺชมิจฺฉสิ ความว่า คำว่า ภุญชะนี้

เป็นชื่อของรัตนะ (สิ่งที่ทำให้เกิดความยินดี) อธิบายว่า ข้าพเจ้าจะให้พร

แก่ท่าน ท่านปรารถนารัตนะอันใด ท่านจงเลือกเอารัตนะอันนั้นเถิด. พระ-

ราชาทรงแสดงรัตนะนั้น โดยรวบยอดด้วย คำว่า หตฺถิยาน ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า อสฺสกาวนฺตี ได้แก่ แคว้นอัสสกะ หรือแคว้นอวันตี. ด้วยบทว่า

รชฺเชน นี้ พระราชาทรงแสดงว่า ถ้าแม้พระคุณเจ้ามีความปรารถนาราชสมบัติ

ในชมพูทวีปทั้งหมด ข้าพเจ้าก็จะให้ราชสมบัตินั้นแก่พระคุณเจ้า แล้วจักมี

มือถือโล่และอาวุธ วิ่งไปข้างหน้ารถของพระคุณเจ้า ดังนี้. บทว่า ยทิจฺฉสิ

ความว่า พระคุณเจ้าปรารถนาสิ่งใด ทุกอย่างที่ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วเหล่านี้

ก็จงบอกคือจงสั่งสิ่งนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด.

นันทบัณฑิตดาบส ได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว เมื่อจะชี้แจงความ

ประสงค์ของตนให้แจ่มแจ้ง จึงทูลว่า

อาตมภาพ ไม่มีความต้องการด้วยราชสมบัติ

บ้านเมือง ทรัพย์ หรือแม้ชนบท อาตมภาพไม่มีความ

ต้องการเลย.

นันทบัณฑิตทูลต่อไปว่า ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าพระองค์มีความรัก

ในอาตมภาพ ขอได้ทรงกระทำตามคำของอาตมาภาพสักอย่างหนึ่ง แล้วทูล

เป็นคาถาว่า

ในแว่นแคว้นอาณาเขตของมหาบพิตร มีอาศรม

อยู่ในป่า มารดาและบิดาทั้งสองท่านของอาตมภาพ

อยู่ในอาศรมนั้น อาตมภาพอยู่ในอาศรมนั้น อาตม-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

ภาพไม่ได้เพื่อทำบุญในท่านทั้งสอง ผู้เป็นบุรพาจารย์

นั้น อาตมภาพขอเชิญมหาบพิตร ผู้ประเสริฐยิ่งไป

ขอขมาโทษโสณดาบส เพื่อสังวรต่อไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รฏฺเ ได้แก่ ในความเป็นพระราชา.

บทว่า วิชิเต ได้แก่ สถานที่ที่พระองค์แผ่ราชอาญาไป. บทว่า อสฺสโม

ได้แก่ ในป่าแห่งหิมวันตประเทศนั้น มีอาศรมอยู่แห่งหนึ่ง. บทว่า สมฺมนฺติ

ได้แก่ อยู่ในอาศรมนั้น. บทว่า เตสาห ตัดบทเป็น เตสุ อห แปลว่า

อาตมภาพมิได้กระทำบุญในบุรพาจารย์ทั้ง ๒ นั้น. บทว่า กาตเว ความว่า

อาตมาภาพไม่ได้กระทำบุญ กล่าวคือวัตรปฏิบัติและการนำผลไม้น้อยใหญ่มา

เพราะว่าพี่ชายของอาตมภาพชื่อโสณบัณฑิต ได้ขับไล่อาตมภาพ เพราะความ

ผิดอย่างหนึ่งของอาตมภาพว่า เจ้าจงอย่าอยู่ในที่นี้เลย. บทว่า อชฺฌาวร

ความว่า อาตมภาพจะขออัญเชิญพระองค์ผู้ประเสริฐยิ่ง พร้อมด้วยบริวาร

เสด็จไปขอขมาโทษโสณบัณฑิต คือ อาตมภาพจะขอสำรวมต่อไป. บาลีว่า

ยาเจมิ ม วร แปลว่า อาตมภาพจะขอพรอันนี้ ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า

อาตมภาพจะไปอ้อนวอนพระโสณะให้ยกโทษพร้อมกับพระองค์ คือ อาตมภาพ

จะรับเอาพรอันนี้จากสำนักของพระองค์.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะนันทดาบสนั้นว่า

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าจะขอทำตามคำที่

พระคุณเจ้ากล่าวกะข้าพเจ้าทุกประการ ก็แต่ว่า บุคคล

ผู้จะอ่อนวอนขอโทษมีประมาณเท่าใด ขอพระคุณเจ้า

จงบอกบุคคลมีประมาณเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กโรมิ ความว่า พระราชารับสั่งว่า

ข้าพเจ้าจะให้ราชสมบัติในชนพูทวีปทั้งหมด จักมิได้กระทำกรรมอะไรมี

ประมาณเพียงเท่านี้ ข้าพเจ้าก็จะกระทำตามคำของท่าน. บทว่า กึวนฺโต

ได้แก่ มีประมาณเท่าใด.

นันทบัณฑิตทูลว่า

ชาวชนบทมีประมาณหนึ่งร้อยเศษ พราหมณ์

มหาศาลก็เท่ากัน กษัตริย์ผู้เป็นอภิชาต ผู้เรืองยศเหล่า

นี้ทั้งหมด ทั้งมหาบพิตรซึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้า

นโนชะ บุคคลผู้จะอ้อนวอนขอโทษ ประมาณเท่านี้

ก็พอแล้ว ขอถวายพระพร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชานปทา ได้แก่ คฤหบดีมหาศาล.

บทว่า พฺราหฺมณา ได้แก่ พราหมณ์ผู้จบพระเวทประมาณร้อยเศษเท่ากัน.

บทว่า อล เหสฺสนฺติ ความว่า จักเป็นการเพียงพอแล้ว . บทว่า ยาจกา

ได้แก่ บุคคลที่จะไปขอร้องให้โสณบัณฑิตยกโทษ เพื่อประโยชน์แก่อาตมภาพ.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะนันทบัณฑิตนั้นว่า

เจ้าพนักงานทั้งหลาย จงเตรียมช้าง จงเตรียมม้า

นายสารถี ท่านจงเตรียมรถ ท่านทั้งหลายจงถือเอา

เครื่องผูก จงยกธงชัยขึ้นที่คันธงทั้งหลาย เราจะไปยัง

อาศรมอันเป็นที่อยู่ของโกสิยดาบส.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยเชนฺตุ ความว่า นายควาญช้างทั้งหลาย

จงจัดเตรียมช้าง และนายควาญม้าทั้งหลาย จงจัดเตรียมม้า. บทว่า รถ

สนฺนยฺห สารถิ ความว่า ดูก่อนสารถีผู้เป็นสหาย แม้ตัวท่านก็จงผูกสอด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

รถนั้น. บทว่า อาพนฺธนานิ ความว่า ท่านทั้งหลาย จงถือเอาเครื่องที่

สำหรับจะผูกทั่ว ๆ ไป ในช้าง ม้าและรถทั้งหลาย. บทว่า ปาเทสุสฺสารยทฺธเช

ความว่า จงยกคือให้ยกธงที่คันธงซึ่งตั้งอยู่บนรถ. บทว่า โกสิโย ความว่า

พระราชาตรัสว่า พระดาบสผู้โกสิยโคตร อยู่ในอาศรมใด ดังนี้.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

ก็ลำดับนั้น พระราชาพร้อมด้วยจาตุรงคเสนา

ได้เสด็จไปยังอาศรมอันน่ารื่นรมย์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของ

โกสิยดาบส.

นี้เป็นคาถาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเพิ่มเข้ามา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต จ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระราชาพระองค์นั้น ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ในลำดับนั้น จึงทรงพากษัตริย์

๑๐๑ พระองค์ แวดล้อมด้วยเสนาหมู่ใหญ่ ให้พระดาบสนันทบัณฑิตนำหน้า

เสด็จออกจากพระนคร. บทว่า จตุรงฺคินี ความว่า เสด็จไปยังอาศรมพร้อม

ด้วยจตุรงคเสนา. แม้กำลังเสด็จประทับอยู่ในระหว่างทาง ท่านก็กล่าวไว้อย่าง

นี้ เพราะจะต้องเสด็จไปอย่างแน่นอน นันทบัณฑิตดาบส เดินทางไปพร้อม

ด้วยหมู่พลเสนาประมาณได้ ๒๔ อักโขภิณี เนรมิตทางที่กว้างได้ ๘ อุสภะ

ให้ราบเรียบ ด้วยอานุภาพแห่งฤทธิ์ แล้วลาดแผ่นหนังในอากาศทีเดียว นั่ง

ขัดสมาธิบนแผ่นหนังนั้น มีเสนาแวดล้อมแล้ว กล่าวถ้อยคำอันประกอบด้วย

ธรรมะ กับพระราชาผู้ประทับนั่งบนคอช้าง ทำประทับแล้ว เสด็จไปด้วยกัน

ห้ามเสียซึ่งอันตรายมีความเย็นและความร้อนเป็นต้น ได้ไปแล้ว.

ในวันเมื่อพระนันทดาบสนั้นมาถึงอาศรม โสณบัณฑิตดาบส รำพึงว่า

น้องชายของเราออกไปเสียนานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วันแล้ว จึงเล็งแล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

ดูด้วยทิพยจักษุญาณว่า บัดนี้เธอไปอยู่ที่ไหนหนอ ก็เห็นว่า น้องชายของเรา

กำลังพาพระราชา ๑๐๑ พระองค์ พร้อมด้วยบริวารประมาณ ๒๔ อักโข-

ภิณีมา เพื่อจะให้เรายกโทษเป็นแน่แท้ จึงดำริต่อไปว่า กษัตริย์เหล่านั้น พร้อม

ทั้งบริษัทได้เห็นปาฏิหาริย์ของน้องชายเราเป็นอันมาก แต่ยังมิได้ทราบอานุภาพ

ของเรา ก็จะพากันมาเจรจาข่มขู่ดูหมิ่นเราว่า ผู้นี้แหละเป็นชฏิลโกง ช่างไม่รู้

จักประมาณตนเองเสียเลย จะมาต่อยุทธ์กับพระผู้เป็นเจ้าของเราทั้งหลาย ดังนี้

ทั้งหมดก็จะพึงมีนรกอเวจีเป็นที่เป็นไปในเบื้องหน้า เราจักแสดงอิทธิปาฏิหาริย์

แก่พวกกษัตริย์และบริษัทเหล่านั้น พระโสณบัณฑิตดาบสนั้น จึงวางไม้คาน

สำหรับทาบน้ำในอากาศ โดยมิให้ถูกบ่าห่างประมาณ ๔ องคุลี แล้วเหาะไป

ทางอากาศ ในที่ไม่ไกลแต่พระราชา เพื่อจะนำเอาน้ำมาจากสระอโนดาด

นันทบัณฑิตดาบส พอเห็นพี่ชายเหาะมา ไม่อาจจะแสดงตนได้ จึงอันตรธาน

ไปในที่นั่งนั้นทีเดียว หนีเข้าไปยังป่าหิมวันต์ พระเจ้ามโนชราช ทอดพระเนตร

เห็นพระโสณบัณฑิตดาบสนั้น เหาะมาด้วยเพศฤาษีอันน่าเลื่อมใส จึงตรัสพระ

คาถาว่า

ไม้คานอันทำด้วยไม้กระทุ่มของใคร ผู้ไปเพื่อ

หาบน้ำ ลอยมายังเวหาสมิได้ลูกบ่า ห่างประมาณ

๔ องคุลี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาพมฺพโย ได้แก่ ทำด้วยไม้กระทุ่ม.

บทว่า อส อสผุส เอติ ความว่า ไม้คานนี้มิได้ถูกต้องบ่า ลอยมาอยู่.

บทว่า อุทกาหารสฺส ความว่า ไม้คานนี้ของใคร ผู้ไปอยู่เพื่อนำน้ำมา คือ

ท่านชื่ออะไร หรือว่า ท่านมาจากไหนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

แม้เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพชื่อว่า โสณะ เป็น

ดาบสมีวัตรอันสมาทานแล้ว มิได้เกียจคร้านเลี้ยงดู

มารดาบิดาอยู่ทุกคืนทุกวัน ดูก่อนมหาบพิตร ผู้เป็น

เจ้าแห่งทิศ อาตมภาพระลึกถึงอุปการคุณ ที่ท่านทั้ง

สองได้กระทำแล้ว ในกาลก่อน จึงนำผลไม้ป่าและ

เผือกมันมาเลี้ยงดูมารดาบิดา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหิตพฺพโต ความว่า พระโสณบัณฑิต

ดาบสนั้นกล่าวว่า อาตมภาพเป็นดาบสองค์หนึ่ง เป็นผู้มีวัตรอันสมาทานแล้ว

คือเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและมารยาท. บทว่า ภรามิ แปลว่า เลี้ยงดูประจำ.

บทว่า อตนฺทิโต ได้แก่ เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน. บทว่า ปุพฺเพกตมนุสฺสร

ความว่า อาตมภาพระลึกถึงอยู่ซึ่งบุญคุณ ที่มารดาและบิดาทั้งสองนั้นได้

กระทำไว้แล้วแก่อาตมภาพในกาลก่อน.

พระราชา ได้ทรงสดับคำนั้นแล้ว มีพระประสงค์ใคร่จะทอดพระเนตร

อาศรม พร้อมด้วยพระโพธิสัตว์นั้น จึงได้ตรัสคาถาอันเป็นลำดับต่อไปว่า

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ปรารถนาจะไปยังอาศรม ซึ่ง

เป็นที่อยู่ของโกสิยดาบส ข้าแต่ท่านโสณะ ขอท่านได้

โปรดบอกทาง ที่จะไปยังอาศรมนั้น แก่ข้าพเจ้าทั้ง

หลายเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสม ความว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย

ปรารถนาจะไปยังอาศรมบทของท่านทั้งหลาย.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ จึงเนรมิตหนทางสำหรับไปยังอาศรมบท

ด้วยอานุภาพของตน แล้วทูลกะพระเจ้ามโนชราชนั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

ดูก่อนมหาบพิตร หนทางนี้เป็นหนทางสำหรับ

เดินคนเดียว ขอเชิญมหาบพิตร เสด็จไปยังป่าอัน

สะพรั่งไปด้วยต้นทองหลาง มีสีเขียวชอุ่มดังสีเมฆ

โกสิยดาบสอยู่ในป่านั้น.

เนื้อความแห่งคำอันเป็นคาถานั้น มีดังต่อไปนี้ ดูก่อนมหาบพิตร

หนทางนี้เป็นหนทางเท้าสำหรับเดินไปได้เพียงคนเดียว ขอเชิญพระองค์เสด็จ

ไป โดยทิศาภาคที่หมู่ไม้อันสะพรั่งไปด้วยต้นทองหลาง มีดอกอันเบ่งบาน

ดีแล้ว มีสีเหมือนเมฆปรากฏอยู่นี้. บิดาของอาตมภาพผู้โกสิยโคตร อยู่ใน

อาศรมนี้ นั่นคืออาศรมแห่งบิดาของอาตมภาพ.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

โสณมหาฤๅษี ครั้นกล่าวคำนี้แล้ว ได้พร่ำสอน

กษัตริย์ทั้งหลาย ณ กลางหาวแล้วรีบหลีกไปยัง

สระอโนดาต แล้วกลับมาปัดกวาดอาศรม แต่งตั้ง

อาสนะแล้ว เข้าไปสู่บรรณศาลา แจ้งให้ดาบสผู้เป็น

บิดาทราบว่า ข้าแต่ท่านมหาฤๅษี พระราชาทั้งหลาย

ผู้เป็นอภิชาตเรืองยศเหล่านี้ เสด็จมาหา ขอเชิญบิดา

ออกไปนั่งนอกอาศรมเถิด มหาฤๅษี ได้ฟังคำของ

โสณบัณฑิตนั้นแล้ว รีบออกจากอาศรมมานั่งอยู่ที่

ประตูของตน.

นี้เป็นพระคาถาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเพิ่มขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกฺกามิ ได้แก่ ไปยังสระอโนดาต.

บทว่า อสฺสม ปริมชฺชิตฺวา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฤๅษีนั้นรีบไป

ยังสระอโนดาตโดยเร็วพลัน แล้วตักน้ำดื่มมา เมื่อพระราชาเหล่านั้น ยังไม่

ทันถึงอาศรมนั่นแล ก็กลับมาก่อนจัดแจงตั้งหม้อน้ำดื่มไว้ในโรงน้ำ แล้วอบน้ำ

ด้วยดอกไม่ในป่าทั้งหลาย ด้วยคิดว่า มหาชนจักได้ดื่มน้ำ แล้วถือเอาไม้กวาด

มากวาดอาศรม จัดแจงแต่งตั้งอาสนะของบิดาไว้ที่ประตูบรรณศาลาแล้ว เข้า

ไปบอกให้บิดาได้ทราบ. บทว่า อุปาวิสิ ได้แก่ นั่งบนอาสนะสูง.

ส่วนมารดาของพระโพธิสัตว์ นั่งบนอาสนะต่ำกว่าบิดา ซึ่งตั้งอยู่

ข้างหลัง. พระโพธิสัตว์นั่งอยู่บนอาสนะต่ำ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

ฝ่ายนันทบัณฑิตดาบส ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ไปตักน้ำดื่มมาจากสระ

อโนดาต กลับมายังอาศรมแล้ว จึงไปยังสำนักของพระราชา ให้หยุดพัก

กองทัพไว้ ณ ที่ใกล้อาศรม. ลำดับนั้น พระเจ้ามโนชราชทรงสรงสนาน

ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มีกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ ห้อมล้อมเป็น

บริวาร พานันทบัณฑิตเสด็จเข้าไปยังอาศรม ด้วยความเป็นผู้เลิศด้วยความงาม

แห่งสิริอันยิ่งใหญ่ เพื่อจะขอให้พระโพธิสัตว์ยกโทษ. ลำดับนั้น บิดาพระ-

โพธิสัตว์เห็นพระราชานั้นเสด็จมาดังนั้น จึงถามพระโพธิสัตว์. แม้พระโพธิสัตว์

ก็ได้เล่าถึงความเป็นไปทั้งหมดให้บิดาได้ทราบ.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

โกสิยดาบสได้เห็นพระเจ้ามโนชะนั้น ซึ่งมีหมู่

กษัตริย์ห้อมล้อมเป็นกองทัพ ประหนึ่งรุ่งเรืองด้วยเดช

เสด็จมาอยู่ จึงกล่าวคาถานี้ความว่า กลอง ตะโพน

สังข์ บัณเฑาะว์ และมโหระทึก ยังพระราชาผู้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

จอมทัพให้ร่าเริงอยู่ ดำเนินไปแล้วข้างหน้าของใคร

หน้าผากของใครสวมแล้วด้วยแผ่นทองอันหนามีสีดุจ

สายฟ้า ใครกำลังหนุ่มแน่นผูกสอดด้วยกำลูกศร รุ่ง-

เรืองด้วยสิริ เดินมาอยู่ อนึ่งหน้าของใครงามผุดผ่อง

ดุจทองคำอันละลายคว้างที่ปากเบ้า มีสีดังถ่านเพลิง

ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ กำลังเดินมาอยู่ ฉัตรพร้อม

ด้วยคันน่ารื่นรมย์ใจ สำหรับกั้นแสงอาทิตย์ อันบุคคล

กางแล้วเพื่อใคร ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ กำลังเดิน

มาอยู่ ชนทั้งหลาย ถือพัดวาลวีชนีเครื่องสูง เดินเคียง

องค์ของใคร ผู้มีบุญอันประเสริฐ มาอยู่โดยคอช้าง

เศวตฉัตร ม้าอาชาไนย และทหารสวมเกราะ

เรียงรายอยู่โดยรอบของใคร ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ

กำลังเดินมาอยู่ กษัตริย์ ๑๐๑ พระนครผู้เรืองยศเสด็จ

พระราชดำเนินแวดล้อมตามอยู่โดยรอบของใคร ใคร

หนอรุ่งเรืองด้วยสิริ กำลังเดินมาอยู่ จาตุรงคเสนา

คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า เดิน

แวดล้อมตามอยู่โดยรอบของใคร ใครหนอรุ่งเรือง

ด้วยสิริ กำลังเดินมาอยู่ เสนาหมู่ใหญ่นี้นับไม่ถ้วน

ไม่มีที่สุดดุจคลื่นในมหาสมุทรกำลังห้อมล้อมตามหลัง

ใครมา.

พระมหาสัตว์ เมื่อจะบอกพระนามของพระเจ้ามโนชราชนั้น จึงได้

กล่าวคาถา ๒ คาถาเหล่านี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

กษัตริย์ที่กำลังเสด็จมานั้น คือ พระเจ้ามโนราชา-

ราช เป็นเพียงดังพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่กว่าเทวดาชั้น

ดาวดึงส์ เข้าถึงความเป็นบริษัทของนันทดาบส กำลัง

มาสู่อาศรม อันเป็นที่ประพฤติพรหมจรรย์ เสนาหมู่

ใหญ่นี้ นับไม่ถ้วน ไม่มีที่สุด ดุจคลื่นในมหาสมุทร

กำลังตามหลังพระเจ้ามโนชะนั้นมา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชลนฺตริว แปลว่า ราวกะรุ่งเรืองอยู่.

บทว่า ปฏิปนฺนานิ ความว่า เครื่องดนตรีเหล่านี้มาข้างหน้าของใคร. บทว่า

ทาสยนฺตา ได้แก่ ให้ยินดีอยู่. บทว่า กญฺจนปฏฺเฏน ความว่า พระดาบส

ผู้เป็นบิดา ถามว่า ลูกเอ๋ย ที่สุดแห่งหน้าผากของใครสวมแล้ว ด้วยแผ่นทอง

คืออุณหิสอันทำด้วยทองคำ มีสีประดุจสายฟ้า. บทว่า ยุวา ได้แก่ กำลัง

รุ่นหนุ่ม. บทว่า กลาปสนฺนทฺโธ ได้แก่ มีแล่งลูกศรอันผูกสอดเสร็จแล้ว.

บทว่า อุกฺกามุขปหฏฺว ได้แก่ ประดุจทองคำที่กำลังคว้างอยู่ในเตาของ

นายช่างทอง. บทว่า ขทิรงฺคารสนฺนิภ ได้แก่ มีสีคล้ายถ่านเพลิงของไม้

ตะเคียนที่เขาถากไว้ดีแล้ว. บทว่า อาทิจฺจรสาวรณ ได้แก่ สำหรับกั้น

รัศมีทั้งหลายแห่งดวงอาทิตย์. บทว่า องฺค ปริคฺคยฺห ความว่า เดินล้อมรอบ

คือเดินแวดล้อมองค์. บทว่า วาลวีชนิมุตฺตม ได้แก่ พัดวาลวีชนีอันเป็น

เครื่องสูงสุดชนิดหนึ่ง. บทว่า จรนฺติ แปลว่า เดินไปพร้อม ๆ กัน. บทว่า

ฉตฺตานิ ได้แก่ ฉัตรที่พวกทหารห่มเกราะนั่งบนหลังม้าถือไว้. บทว่า

ปริกิรนฺติ ความว่า ยืนเรียงรายกันอยู่ ในทิศาภาคทั้งหมดโดยรอบของใคร.

บทว่า จตุรงฺคินี ความว่า เสนาอันประกอบด้วยองค์ ๔ มีช้างเป็นต้นเหล่านั้น.

บทว่า อกฺโขภินี ได้แก่ ไม่อาจจะนับได้ บทว่า สาครสฺเสว ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

หาที่สุดมิได้ประดุจลูกคลื่นในมหาสมุทรฉะนั้น . บทว่า ราชาภิราชา ความว่า

ชื่อว่าเป็นพระราชาภิราช เพราะเป็นผู้อันพระราชาทั้ง ๑๐๑ พระองค์บูชาแล้ว

หรือว่าเป็นพระราชาที่ยิ่งกว่าพระราชาเหล่านั้น. บทว่า ชยต ปติ ความว่า

เป็นผู้เจริญที่สุดกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งหลายผู้ถึงความชนะแล้ว. บทว่า

อชิฌาวร ความว่า พระราชาพระองค์นั้น เข้าถึงความเป็นบริษัทของนันท-

ดาบสมาอยู่ เพื่อให้ลูกยกโทษ.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระราชาทุกพระองค์ ทรงลูบไล้ด้วยจันทน์หอม

ทรงผ้ากาสิกพัสตร์อย่างดี ทุกพระองค์ทรงประคอง

อัญชลีเข้าไปยังสำนักของฤาษีทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌุปาคมุ ความว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พระราชาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ทรงลูบไล้ด้วยผงจันทน์อันมีกลิ่นหอม

ทรงผ้าซึ่งมาจากแคว้นกาสีอย่างดีเลิศ ทรงยกอัญชลีขึ้นบนพระเศียร เข้าไป

ยังสำนักของฤาษีทั้งหลาย.

ลำดับนั้น พระเจ้ามโนชราช ทรงนมัสการบิดาของพระโพธิสัตว์

นั้นแล้ว ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อจะทรงกระทำปฏิสันถารจึงตรัส

คาถา ๒ คาถาว่า

พระคุณเจ้าผู้เจริญไม่มีโรคาพาธดอกหรือ พระ-

คุณเจ้าสุขสำราญดีอยู่หรือ พระคุณเจ้าพอยังอัตภาพ

ให้เป็นไปได้สะดวก ด้วยการแสวงหามูลผลาหาร

แลหรือ เหง้ามันและผลไม้มีมากแลหรือ เหลือบ ยุง

และสัตว์เลื้อยคลานมีน้อยแลหรือ ในป่าอันเกลื่อนกล่น

ไปด้วยพาฬมฤค ไม่มีมาเบียดเบียนบ้างหรือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

ต่อไปนี้เป็นคาถาที่พระดาบสบิดาของพระโพธิสัตว์ และพระเจ้า

มโนชราชกล่าวถามและตอบกัน ๒ คนว่า

ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพทั้งหลายไม่มีโรคา-

พาธ มีความสุขสำราญดี เยียวยาอัตภาพได้สะดวก

ด้วยการแสวงหามูลผลาหาร ทั้งมูลมัน ผลไม้ก็มีมาก

เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานมีน้อย ในป่าอัน

เกลื่อนกล่นไปด้วยพาฬมฤค ไม่มีมาเบียดเบียนอาตม-

ภาพ เมื่ออาตมภาพได้อยู่ในอาศรมนี้หลายปีมาแล้ว

อาตมภาพไม่รู้สึกอาพาธ อันไม่เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ

เกิดขึ้นเลย ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาดีแล้ว

และพระองค์ไม่ได้เสด็จมาร้าย พระองค์ผู้เป็นอิสระ

เสด็จมาถึงแล้ว ขอจงตรัสบอกสิ่งที่ทรงชอบพระ-

หฤทัย ซึ่งมีอยู่ ณ ที่นี้เถิด ขอเชิญมหาบพิตรเสวย

ผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง และผลหมากเม่า

อันเป็นผลไม้มีรสหวานน้อย ๆ เชิญเลือกเสวยแต่ผลที่

ดี ๆ เถิด น้ำนี้เย็น นำมาแต่ซอกเขา ขอเชิญมหาบ-

พิตรดื่มเถิด ถ้าพระองค์ทรงปรารถนา.

สิ่งใดที่พระคุณเจ้าให้ ข้าพเจ้าขอรับเอาสิ่งนั้น

พระคุณเจ้ากระทำให้ถึงแก่ข้าพเจ้าทั้งปวง ขอพระ-

คุณเจ้าจงเงี่ยโสตสดับคำของนันทดาบส ที่ท่านจะ

กล่าวนั้นเถิด ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นบริษัทของนันทดา-

บสมาแล้วสู่สำนักของพระคุณเจ้าขอพระคุณเจ้าโปรด

สดับคำของข้าพเจ้า ของนันทดาบสและของบริษัท

เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

คาถาเหล่านี้ มีข้อความเกี่ยวเนื่องกันชัดแล้ว โดยส่วนมากทีเดียว.

ส่วนในที่นี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวเฉพาะคำที่ยังไม่ชัดเจนเท่านั้น. บทว่า ปเวทย

ความว่า พระดาบสทูลว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกสิ่งนั้นที่มีอยู่ในที่นี้ ซึ่งเป็น

ที่ชอบพระทัยของพระองค์ แก่อาตมภาพเถิด. บทว่า ขุทฺทกปฺปานิ ความว่า

ผลไม้ต่าง ๆ เหล่านั้นมีรสหวาน มีส่วนเปรียบด้วยรสหวานนิดหน่อย. บทว่า

วร วร ความว่า ของพระองค์จงเลือกเอาผลไม้ที่ดี ๆ จากผลไม้เหล่านี้แล้ว.

เชิญเสวยเถิด. บทว่า คิริคพฺภรา ได้แก่ จากสระอโนดาต. บทว่า สพฺพสฺส

อคฺฆิย ความว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถามแล้วด้วยสิ่งใด สิ่งนั้นชื่อว่าเป็นอัน

ข้าพเจ้าทั้งหลายรับแล้ว อนึ่งชื่อว่า สิ่งนั้นเป็นของอันพระคุณเจ้าให้แล้วทีเดียว

อธิบายว่า พระคุณเจ้ากระทำให้เป็นของถึงแก่ชนนี้ทั้งหมด ด้วยการกระทำ

มีประมาณเพียงเท่านี้ คือ กระทำสิ่งทั้งหมดแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายก่อน บทว่า

นนฺทสฺสาปิ ความว่า พระคุณเจ้ากระทำสิ่งทั้งหมดแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายก่อน

แล้ว บัดนี้ นันทบัณฑิต ปรารถนาจะกล่าวถ้อยคำเล็กน้อย ขอพระคุณเจ้า

จงฟังคำของเธอก่อน. บทว่า อชฺฌาวรมฺหา ความว่า พระราชาตรัสว่า

ข้าพเจ้าทั้งหลายมาแล้วด้วยเหตุอื่นก็หาไม่ ก็ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นบริษัทของ

นันทบัณฑิตมาแล้ว เพื่อจะยังท่านทั้งหลายให้ยกโทษ. บทว่า ภว ความว่า

พระคุณเจ้าผู้มีชื่อว่า โสณบัณฑิต จงสดับเถิด.

เมื่อพระเจ้ามโนชราชตรัสอย่างนี้แล้ว นันทบัณฑิตจึงลุกจากอาสนะ

ไหว้มารดาบิดาและพี่ชาย เมื่อจะเจรจากับบริษัท จึงกล่าวว่า

ชาวชนบทร้อยเศษ พราหมณ์มหาศาลประมาณ

เท่านั้น กษัตริย์อภิชาตผู้เรืองยศทั้งหมดนี้ และพระเจ้า

มโนชะผู้เจริญ จงเข้าใจคำของข้าพเจ้า ยักษ์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

ภูตและเทวดาทั้งหลายในป่า เหล่าใด ซึ่งมาประชุมกัน

อยู่ในอาศรมนี้ ขอจงฟังคำของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอ

กระทำความนอบน้อมแก่เทวดาทั้งหลายแล้ว จักกล่าว

กะฤๅษีผู้มีวัตรอันงาม ข้าพเจ้านั้นชาวโลกสมมติแล้ว

ว่า เป็นชาวโกสิยโคตรร่วมกับท่าน จึงนับว่าเป็น

แขนขวาของท่าน ข้าแต่ท่านโกสิยะผู้มีความเพียร

เมื่อข้าพเจ้าเป็นผู้ประสงค์จะเลี้ยงดูมารดาบิดาของ

ข้าพเจ้า ฐานะนี้ชื่อว่าเป็นบุญ ขอท่านอย่าได้ห้าม

ข้าพเจ้าเสียเลย จริงอยู่ การบำรุงมารดาบิดานี้ สัต-

บุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว ขอท่านจงอนุญาตการ

บำรุงมารดาบิดานี้แก่ข้าพเจ้า ท่านได้กระทำกุศลมา

แล้วสิ้นกาลนาน ด้วยการลุกขึ้นทำกิจวัตรและการ

บีบนวด บัดนี้ ข้าพเจ้าปรารถนาจะทำบุญในมารดา

และบิดา ขอท่านจงให้โลกสวรรค์แก่ข้าพเจ้าเถิด

ข้าแต่พระฤๅษี มนุษย์ทั้งหลายซึ่งมีอยู่ในบริษัทนี้

ทราบบทแห่งธรรมในธรรมว่าเป็นทางแห่งโลกสวรรค์

เหมือนดังท่านทราบ ฉะนั้น การบำรุงมารดาบิดาด้วย

การอุปัฏฐากและการบีบนวด ชื่อว่านำความสุขมาให้

ท่านห้ามข้าพเจ้าจากบุญนั้น ชื่อว่า เป็นอันห้ามทาง

อันประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุมญฺนฺตุ ความว่า จงรู้ คือ จง

กระทำให้ดีให้ประจักษ์. บทว่า สมิตาโร ได้แก่ มาประชุมกันอยู่พร้อมแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

บทว่า อรญฺเ ภูตภพฺยานิ ความว่า ภูตทั้งหลายด้วย เทวดาทั้งหลาย

ผู้ถึงแล้วซึ่งแดนแห่งความเจริญด้วย และเทวดาหนุ่ม ๆ ทั้งหลายด้วยเหล่าใด

ในป่าหินวันตประเทศนี้ เทวดาเหล่านั้นทั้งหมด จงฟังคำของข้าพเจ้า. บทว่า

นโม กตฺวาน ความว่า พระนันทบัณฑิตนั้น ครั้นให้สัญญานี้แก่บริษัทแล้ว

กระทำการนอบน้อมแก่เทวดาทั้งหลาย ผู้เกิดแล้วในชัฏแห่งป่านั้นนั่นแล จึง

ได้กล่าวแล้ว. เนื้อความแห่งคำนั้น มีอธิบายว่า ในวันนี้แหละเทวดาผู้อยู่ใน

หิมวันตประเทศทั้งหลายเป็นอันมาก พึงมาประชุมกันเพื่อจะฟังธรรมกถาของ

พี่ชายเรา เพราะฉะนั้น นันทบัณฑิตจึงได้กล่าวว่า ก็ความนอบน้อมนี้ เป็น

ความนอบน้อมแก่ท่านทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงเป็นสหายของข้าพเจ้า.

นันทบัณฑิตนั้นประคองอัญชลีแก่เทวดาทั้งหลาย ยังบริษัทให้ทราบแล้ว จึง

กล่าวคำเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าจักกล่าวกะพระฤๅษี ดังนี้. คำว่า อิสึ ในคาถา

นั้น ท่านกล่าวหมายถึงโสณบัณฑิต. บทว่า สมฺมโต ความว่า ธรรมดาว่า

พี่ชายทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้เสมอด้วยร่างกาย เพราะฉะนั้น พระนันทบัณฑิตนั้น

จึงสมมติเอาว่า ข้าพเจ้าเท่ากับเป็นแขนขวาของท่าน จึงแสดงว่า ท่านทั้งหลาย

จึงควร เพื่อจะยกโทษให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเหตุนั้น. บทว่า วีร ได้แก่ ข้าแต่พี่

ผู้มีความพยายาม ผู้มีความบากบั่นมาก. บทว่า ปุญฺญมิท าน ความว่า

นันทบัณฑิตกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าการบำรุงมารดาบิดานี้ เป็นบุญ คือ เป็นเหตุที่

จะยังหมู่สัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อบังเกิดในสวรรค์ เพราะฉะนั้น ท่านอย่าได้

ห้ามข้าพเจ้าผู้จะทำบุญนั้นเลย. บทว่า สพฺภิเหต ความว่า จริงอยู่ ธรรมดาว่า

การบำรุงมารดาบิดานี้ บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญแล้ว คือเข้าไปรู้แล้วและ

พรรณนาแล้ว. บทว่า มเมต อุปนิสฺสช ความว่า ขอท่านจงอนุญาต คือ

จงสละ จงให้การบำรุงมารดาบิดานี้แก่ข้าพเจ้าเถิด. บทว่า อุฏฺานปาทจริยาย

ได้แก่ ด้วยความเพียรเป็นเหตุให้ลุกขึ้น และด้วยการบำเรอเท้า. บทว่า กต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

ได้แก่ ท่านกระทำกุศลไว้แล้วสิ้นกาลนาน. บทว่า ปุญฺานิ ความว่า บัดนี้

ข้าพเจ้าใคร่จะทำบุญในมารดาบิดาทั้ง ๒. บทว่า มม โลกทโท ความว่า

นันทบัณฑิตกล่าวว่า ขอท่านจงให้โลกสวรรค์แก่ข้าพเจ้านั้น ด้วยว่า ข้าพเจ้า

กระทำวัตรคือการบำรุงมารดาบิดาทั้ง ๒ นั้น จักได้อิสริยยศหาประมาณมิได้

ในเทวโลก ขอท่านจงเป็นทายกของข้าพเจ้านั้นเถิด. บทว่า ตเถว ความว่า

ท่านย่อมรู้ด้วยประการใด แม้ชนเหล่าอื่นที่มีอยู่ในบริษัทนี้ ชนเหล่านั้น

ย่อมกล่าวซึ่งธรรมทั้งหลายมีประการต่าง ๆ คือส่วนแห่งธรรม กล่าวคือความ

เป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อบุคคลผู้เจริญที่สุดนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน. ถามว่า

ชนเหล่านั้นกล่าวว่าอย่างไร ? ตอบว่า ชนเหล่านั้นกล่าวว่า ธรรมคือการบำรุง

มารดาบิดานี้ เป็นทางแห่งโลกสวรรค์. บทว่า สุขาวห ความว่า นำความสุข

มาให้แก่มารดาบิดา ด้วยการลุกขึ้นและด้วยการบำเรอ. บทว่า ต ม ความว่า

โสณบัณฑิตผู้เป็นพี่ชาย ย่อมห้ามคือกีดกันข้าพเจ้านั้น แม้ผู้ปฏิบัติชอบอย่างนี้

เสียจากบุญนั้น. บทว่า อริยมคฺคาวโร ความว่า ย่อมห้ามเสียซึ่งอริยมรรค.

นระนั้นห้ามอยู่ซึ่งบุญอย่างนี้ คือ นระนี้ชื่อว่าย่อมเป็นผู้ห้ามเสียซึ่งหนทางแห่ง

เทวโลกกล่าวคืออริยะ เพื่อจะแสดงซึ่งความรักแก่ข้าพเจ้า.

เมื่อนันทบัณฑิตกล่าวอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์จึงประกาศว่า ท่าน

ทั้งหลายได้สดับถ้อยคำของนันทบัณฑิตนี้ก่อนแล้ว บัดนี้ ขอเชิญสดับถ้อยคำ

ของข้าพเจ้าบ้าง ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า

ขอมหาบพิตรผู้เจริญทั้งหลาย ผู้เป็นบริษัทของ

น้องนันทะ จงสดับถ้อยคำของอาตมภาพ ผู้ใดยัง

วงศ์ตระกูลแต่เก่าก่อนให้เสื่อม ไม่ประพฤติธรรมใน

บุคคลผู้เจริญทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

ท่านผู้เป็นใหญ่ในทิศ ส่วนชนเหล่าใด เป็นผู้ฉลาด

ในธรรมอันเป็นของเก่า และถึงพร้อมด้วยจารีต ชน

เหล่านั้น ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย

พี่สาว น้องสาว ญาติและเผ่าพันธุ์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด

ย่อมเป็นภาระของพี่ชายใหญ่ ขอพระองค์ทรงทราบ

อย่างนี้เถิดมหาบพิตร ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นจอมทัพ

ก็อาตมภาพเป็นพี่ชายใหญ่ จึงต้องรับภาระอันหนัก

ทั้งสามารถจะปฏิบัติท่านเหล่านั้นได้ เหมือนนายเรือ

รับภาระอันหนัก สามารถจะนำเรือไปได้โดยสวัสดี

ฉะนั้น เหตุนั้น อาตมภาพจึงไม่ละลืมธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาตุรชฺฌาวรา มม ความว่า ท่าน

ผู้เจริญทั้งหลาย คือพระราชาทั้งหลายทั้งหมด ซึ่งเป็นบริษัทแห่งน้องชายของ

ข้าพเจ้าพากันมาแล้ว จงฟังถ้อยคำของข้าพเจ้าก่อนบ้าง. บทว่า ปริหาปย

ได้แก่ ให้เสื่อมรอบอยู่. บทว่า ธมฺมสฺส ได้แก่ ธรรมคือความประพฤติ

อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ คือธรรมอันเป็นประเพณี. บทว่า กุสลา ได้แก่

เฉียบแหลม. บทว่า จาริตฺเตน จ ได้แก่ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยมารยาทและ

ศีล. บทว่า ภารา ความว่า ชนเหล่านั้นทั้งหมด อันพี่ชายใหญ่พึงนำไป

คือพึงปฏิบัติ เพราะฉะนั้น ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่าเป็นภาระของพี่ชายใหญ่นั้น.

บทว่า นาวิโก วิย ความว่า เหมือนอย่างว่า นายเรือรับภาระหนัก บรรทุก

ลงในเรือแล้ว ก็ต้องอุตสาหะพยายามที่จะนำเรือไปในท่ามกลางมหาสมุทรด้วย

ความสวัสดี สินค้าและชนทั้งหมดพร้อมทั้งเรือ ย่อมเป็นภาระของนายเรือนั้น

คนเดียว ฉันใด ญาติทั้งหมด ย่อมเป็นภาระของข้าพเจ้าผู้เดียว และข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

อาจสามารถที่จะปฏิบัติเลี้ยงดูชนเหล่านั้นได ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพเจ้าจึง

ไม่ละเลยเชฏฐาปจายนธรรมนั้น อนึ่ง ข้าพเจ้าเป็นพี่ชายใหญ่ ของชนเพียงนี้

เท่านั้นก็หาไม่ ข้าพเจ้ายังเป็นพี่ชายใหญ่ของชาวโลกแม้ทั้งสิ้นอีกด้วย เพราะ

ฉะนั้น ข้าพเจ้าแล จึงสมควรแล้วที่จะปฏิบัติมารดาบิดาพร้อมทั้งน้องนันทะด้วย.

พระราชาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ได้ทรงสดับคำนั้นแล้ว ก็พากันดี

พระทัยตรัสว่า เราทั้งหลายรู้แล้วในวันนี้เองว่า ได้ยินว่า หน้าที่คือการปฏิบัติ

มารดาบิดาทั้งหลายที่เหลือ ย่อมเป็นหน้าที่ของพี่ชายใหญ่ จึงพากันทอดทิ้ง

นันทบัณฑิต เข้าไปอาศัยพระมหาสัตว์ เมื่อจะทรงกระทำความชมเชยพระ-

มหาสัตว์นั้น จึงตรัสคาถา ๒ คาถาว่า

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้ไปแล้วในความมืด วันนี้

ข้าพเจ้าทั้งหลาย เกิดความรู้ขึ้นแล้ว ท่านโกสิยฤๅษี

ได้แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เหมือนส่องแสง

อันรุ่งเรืองจากไฟ ฉะนั้น พระอาทิตย์เป็นเทพเจ้าแห่ง

แสง มีรัศมีเจิดจ้าเมื่ออุทัย ย่อมแสดงรูปดีและรูปชั่ว

ให้ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านโกสิยฤๅษี

แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิคตมฺหา ความว่า ในกาลก่อนแต่นี้

ข้าพเจ้าทั้งหลายตกอยู่ในความมืดอันปกปิดเสียซึ่งเชฏฐาปจายนธรรม จึงไม่รู้

จักธรรมนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายได้เกิดความรู้ขึ้นในวันนี้เอง เหมือนแสงประทีป

ส่องสว่างอยู่ฉะนั้น. บทว่า เอวเมว โน ความว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่บนยอดเขา

อันมืดทึบ ส่องแสงสว่างอยู่โดยรอบ ย่อมแสดงรูปทั้งหลายให้ปรากฏได้ฉันใด

พระฤาษีโกสิยโคตรผู้เจริญ ก็แสดงธรรมแก่พวกเราฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

วาสุเทโว ความว่า เทวดาผู้เป็นเจ้าแห่งแสง เป็นผู้ส่องแสงสว่าง และเป็น

ผู้ประกาศธรรม.

พระมหาสัตว์ ทำลายความเลื่อมใสในนันทบัณฑิตนั้นแล้ว ยังพระ-

ราชาเหล่านั้น ซึ่งมีพระทัยเลื่อมใสในเธอ เพราะได้เห็นปาฏิหาริย์ทั้งหลาย

ของนันทบัณฑิตตลอดกาลเพียงเท่านี้ ให้กลับมาถือเอาถ้อยคำของตนแล้ว

ได้ทำให้พระราชเหล่านั้นทั้งหมดนั่นแล ต่างจ้องดูหน้าของตน ด้วยกำลังแห่ง

ญาณของตน ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น นันทบัณฑิต คิดว่า พี่ชายของเราเป็นบัณฑิต เป็น

ธรรมกถึกอย่างเฉียบแหลม ได้แยกพระราชาของเราแม้ทั้งหมด กระทำให้เป็น

ฝักฝ่ายของตนได้ เว้นพี่ชายของเรานี้เสียแล้ว คนอื่นที่จะเป็นที่พึ่งของเราได้

ไม่มีเลย จำเราจักต้องอ้อนวอนพี่ชายของเรานี้ผู้เดียวเถิด จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ถ้าพี่จะไม่รับอัญชลีของข้าพเจ้า ผู้วิงวอนอยู่

อย่างนี้ ข้าพเจ้าก็จักดำเนินไปตามถ้อยคำของพี่ จัก

บำรุงบำเรอพี่ ผู้อยู่ด้วยความไม่เกียจคร้าน.

เนื้อความแห่งคำอันเป็นคาถานั้น มีดังต่อไปนี้ ถึงแม้ว่าพี่จะไม่ยอมรับ

คือ ไม่รับอัญชลีของข้าพเจ้า ผู้วิงวอนอยู่อย่างนี้ ซึ่งข้าพเจ้าประคองอยู่เพื่อ

ต้องการให้พี่ยกโทษ พี่จงบำรุงมารดาบิดาเถิด ส่วนข้าพเจ้า ก็จะประพฤติ

ตามถ้อยคำของพี่ คือจักเป็นผู้กระทำตามถ้อยคำ จะตั้งใจบำรุงด้วยความเป็น

ผู้ไม่เกียจคร้าน ทุกคืนทุกวัน คือข้าพเจ้าจักปฏิบัติบำรุงพี่.

แม้ตามปกติพระมหาสัตว์ จะมิได้ถือโทษหรือผูกเวรในนันทบัณฑิต

เลยก็ตาม แต่เมื่อนันทบัณฑิตนั้น กล่าวถ้อยคำอันกระด้างกระเดื่องเป็นอย่างยิ่ง

จึงได้กระทำดังนั้น ก็เพื่อจะข่มให้เธอลดละมานะเสีย ครั้นมาบัดนี้ได้สดับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

ถ้อยคำของเธอ จึงมีจิตยินดีเกิดความเลื่อมใสในเธอ กล่าวว่า นันทะน้องเอ๋ย

บัดนี้พี่ยกโทษให้แก่เธอแล้ว และเธอจักได้ปฏิบัติมารดาบิดา เมื่อจะประกาศ

คุณของนันทบัณฑิตนั้น จึงกล่าวว่า

ดูก่อนนันทะ เธอรู้แจ้งสัทธรรมที่สัตบุรุษ

ทั้งหลายแสดงแล้วเป็นแน่ เธอเป็นคนดี มีมารยาท

อันงดงาม พี่ขอบใจเป็นยิ่งนัก พี่จะกล่าวกะมารดา

บิดาว่า ขอท่านทั้งสองจงฟังคำของข้าพเจ้า ภาระนี้

หาใช่เป็นภาระเพียงชั่วครั้งชั่วคราวของข้าพเจ้าไม่

การบำรุงที่ข้าพเจ้าบำรุงแล้วนี้ ย่อมนำความสุขมาให้

แก่มารดาบิดาได้ แต่นันทะย่อมทำการขอร้องอ้อนวอน

เพื่อบำรุงท่านทั้งสองบ้าง บรรดาท่านทั้งสองผู้สงบ

ระงับ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ หากว่าท่านใดปรารถนา

ข้าพเจ้าจะบอกกะท่านนั้น ขอให้ท่านทั้งสองผู้หนึ่งจง

เลือกนันทะตามความปรารถนาเถิด นันทะจะบำรุง

ใครในท่านทั้งสอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริโย ได้แก่ เป็นคนดี. บทว่า

อริยสมาจาโร ได้แก่ เธอเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย. บทว่า พาฬฺห

ความว่า บัดนี้เธอย่อมเป็นที่ชอบใจแก่พี่ยิ่งนัก. บทว่า สุณาถ ความว่า

ข้าแต่มารดาและบิดา ขอท่านจงฟังคำของข้าพเจ้า. บทว่า นาย ภาโร ความว่า

ภาระคือการปฏิบัติมารดาบิดานี้ จะว่าเป็นเพียงภาระของข้าพเจ้า ในกาลบาง-

ครั้งบางคราวก็หาไม่. บทว่า ต ม ความว่า ท่านทั้งหลาย ได้สำคัญว่าการ

บำรุงมารดาบิดานั้นเป็นภาระข้าพเจ้าคนเดียว ก็เลี้ยงดูท่านทั้งหลายได้. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

อุปฏฺานาย ยาจติ ความว่า นันทะได้มาอ้อนวอนเรา เพื่อจะขอบำรุง

ท่านทั้งสองบ้าง. บทว่า โย เจ อิจฺฉติ ความว่า ด้วยว่าข้าพเจ้าไม่สมควร

จะพูดว่า เธอจงบำรุงมารดาหรือบิดาของพี่ แต่บรรดาท่านทั้งสอง ผู้สงบระงับ

แล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ถ้าท่านผู้ใดใครผู้หนึ่งปรารถนา ข้าพเจ้าจะบอก

กะท่านผู้นั้น บรรดาท่านทั้งสอง ขอให้ท่านเลือกเอานันทะตามความปรารถนา

เถิด ท่านทั้งหลายย่อมชอบใจนันทะน้องชายของข้าพเจ้านั้น ในบรรดาท่าน

ทั้งสอง นันทะนี้สมควรจะบำรุงใคร ด้วยว่าเราทั้งสองคน ต่างก็เป็นบุตรของ

ท่านด้วยกันนั่นแล.

ลำดับนั้น มารดาจึงลุกขึ้นจากอาสนะกล่าวว่า พ่อโสณบัณฑิตเอ๋ย

น้องชายของพ่อจากไปเสียนานแล้ว แม้เธอมาแล้ว จากที่ไกลอย่างนี้ แม่ก็ไม่

อาจจะอ้อนวอนได้ ด้วยว่าเราทั้งสองคน ได้อาศัยพ่ออยู่แล้ว แต่บัดนี้พ่อ

อนุญาตแล้ว แม่ก็จักได้กอดรัดลูกนันทะ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์นี้ ด้วยแขน

ทั้งสองแล้ว พึงได้การจูบศีรษะ เมื่อจะประกาศเนื้อความนี้ จึงกล่าวคาถาว่า

ดูก่อนพ่อโสณะ เราทั้งสองคนอาศัยเจ้าอยู่ ถ้า

เจ้าอนุญาต แม่ก็จะพึงได้จุมพิตลูกนันทะผู้ประพฤติ

พรหมจรรย์ที่ศีรษะ.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ พูดว่า ข้าแต่แม่ ถ้าอย่างนั้นลูกยอมอนุญาต

แม่จงไปสวมกอดนันทะลุกชายของแม่แล้วจงจูบและจุมพิตที่ศีรษะนันทะ จงทำ

ความเศร้าโศกภายในใจของแม่ให้ดับไปเสียเถิด. มารดาพระโพธิสัตว์นั้น จึง

ไปหานันทะนั้นแล้วสวมกอดนันทบัณฑิต ในท่ามกลางบริษัททีเดียว แล้วจูบ

และจุมพิตนันทะนั้น ที่ศีรษะดับความเศร้าโศกในควงใจเสียให้หายแล้ว เมื่อจะ

เจรจากับพระมหาสัตว์ จึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

ใบอ่อนของต้นอัสสัตถพฤกษ์ เมื่อลมรำเพยพัด

ต้องแล้ว ย่อมหวั่นไหวไปมา ฉันใด หัวใจของแม่ก็

หวั่นไหว เพราะนาน ๆ จึงได้เห็นลูกนันทะ ฉันนั้น

เมื่อใด เมื่อแม่หลับแล้วฝันเห็นลูกนันทะมา แม่ก็ดีใจ

อย่างล้นเหลือว่า ลูกนันทะของแม่นี้มาแล้ว แต่เมื่อใด

ครั้นแม่ตื่นขึ้นแล้ว ไม่ได้เห็นลูกนันทะของแม่มา

ความเศร้าโศกและความเสียใจมิใช่น้อย ก็ทับถมยิ่งนัก

วันนี้ แม่ได้เห็นลูกนันทะผู้จากไปนาน กลับมาแล้ว

ขอลูกนันทะ จงเป็นที่รักของบิดาเจ้าและของแม่เอง

ขอลูกนันทะ จงเข้าไปสู่เรือนของเราเถิด ดูก่อนพ่อ

โสณะเอ๋ยลูกนันทะเป็นที่แสนรักยิ่งของบิดา ลูกนันทะ

ยังไม่ได้เข้าไปสู่เรือนใด ขอให้ลูกนันทะจงได้เรือนนั้น

ขอลูกนันทะจงบำรุงแม่เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาลุเตริต ความว่า มารดาของพระ-

มหาสัตว์กล่าวว่า ใบของต้นอัสสัตถพฤกษ์ถูกลมพัดแล้ว ย่อมโยกไหวไปมา

ฉันใด ในวันนี้หัวใจของแม่ ก็ย่อมหวั่นไหว เพราะได้พบเห็นลูกนันทะ ซึ่ง

จากไปนานฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า สุตฺตา ความว่า ดูก่อนพ่อโสณะเอ๋ย

คราวใดเมื่อแม่หลับแล้วฝันเห็นนันทะมา แม้ในคราวนั้น แม่ก็ดีใจเหลือเกิน.

บทว่า ภตฺตุ จ ได้แก่ ย่อมเป็นที่รักแห่งพ่อและแม่. บทว่า นนฺโท โน

ปาวิสี ฆร ความว่า ดูก่อนพ่อโสณะเอ๋ย นันทะลูกชายของแม่จงเข้าไปสู่

บรรณศาลา บทว่า ย ความว่า เพราะเหตุที่นันทะนั้น ย่อมเป็นที่รักอย่าง

สนิทแท้ของบิดา เพราะฉะนั้น นันทะนั้น จึงไม่ต้องจากเรือนนี้ไปอีก. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

นนฺโท ต ความว่า ดูก่อนพ่อโสณะเอ๋ย นันทะปรารถนาสิ่งใด จงได้สิ่ง

นั้นเถิด. บทว่า ม นนฺโท ความว่า ดูก่อนพ่อโสณะเอ๋ย พ่อจงบำรุงบิดา

ของพ่อเถิด ส่วนนันทะจงบำรุงแม่.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์รับคำของมารดาว่า จงเป็นไปตามคำพูดของ

แม่อย่างนี้เถิด ดังนี้แล้ว จึงกล่าวสอนน้องชายว่า ดูก่อนน้องนันทะ น้องได้

ส่วนปันของพี่แล้ว ธรรมดาว่ามารดาเป็นผู้กระทำคุณไว้เป็นยิ่งนัก น้องอย่า

ประมาทพึงตั้งใจปฏิบัติท่านเถิด เมื่อจะประกาศคุณของมารดา จึงได้กล่าว

คาถา ๒ คาถาว่า

ดูก่อนฤๅษี มารดาเป็นผู้อนุเคราะห์ เป็นที่พึ่ง

และเป็นผู้ให้ขีรรสแก่เราก่อนเป็นทางแห่งโลกสวรรค์

มารดาปรารถนาเจ้า มารดาเป็นผู้ให้ขีรรสก่อน เป็น

ผู้เลี้ยงดูเรามา เป็นผู้ชักชวนเราในบุญกุศล เป็นทาง

แห่งโลกสวรรค์ มารดาปรารถนาเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุกมฺปกา ได้แก่ เป็นผู้มีจิตใจ

อ่อนโยน. บทว่า ปุพฺเพ รสทที ได้แก่ เป็นผู้ให้รสคือนำนมของตนเป็น

ครั้งแรกทีเดียว. บทว่า มาตา ต ความว่า มารดาของเราไม่ปรารถนาเรา

ท่านเลือกเจ้า คือปรารถนาเจ้า. บทว่า โคตฺตี ได้แก่ เป็นผู้ปกครองดูแล.

บทว่า ปุญฺญูปสญฺหิตา ได้แก่ เป็นที่อยู่อาศัยแห่งบุญ เป็นผู้ให้ซึ่งบุญ.

พระมหาสัตว์ ครั้นได้พรรณนาคุณงามความดีของมารดาด้วยคาถา

๒ คาถาอย่างนี้แล้ว พอมารดากลับมานั่ง ณ อาสนะเดิม จึงกล่าวสอนน้อง

อีกว่า ดูก่อนน้องนันทะเอ๋ย น้องได้มาราดาผู้ทำกิจที่ทำได้ยากไว้แล้ว แม้เรา

ทั้งสองคน มารดาท่านก็ได้ประคับประคองมาโดยยากลำบาก บัดนี้น้องอย่าได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

ประมาทนะ จงพยายามปฏิบัติมารดาท่านเถิด น้องอย่าให้ท่านบริโภคผลไม้

น้อยใหญ่ทั้งหลายที่ไม่อร่อยอีกนะ เมื่อจะประกาศว่ามารดาได้เป็นผู้กระทำกิจ

อันแสนยากที่คนอื่นจะทำได้ ในท่ามกลางบริษัทนั่นแล จึงกล่าวว่า

มารดาหวังผลคือบุตร จึงนอบน้อมแก่เทวดา

และไต่ถามถึงฤกษ์ ฤดูและปีทั้งหลาย เมื่อมารดานั้น

มีระดู ความก้าวลงแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ก็ย่อมมี

เพราะสัตว์เกิดในครรภ์นั้น มารดาจึงแพ้ท้อง เพราะ

เหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า เป็นผู้มีใจดี

มารดาบริหารครรภ์อยู่หนึ่งปี หรือหย่อนกว่าปีแล้วจึง

คลอด เหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียนมารดานั้นว่า ชนยันตี

และชเนตตี ผู้ยังบุตรให้เกิด มารดาย่อมปลอบบุตร

ผู้ร้องไห้อยู่ให้รื่นเริงด้วยการให้ดื่มน้ำนมบ้างด้วยการ

ขับกล่อมบ้าง ด้วยการอุ้มแนบไว้กับอกบ้าง เหตุนั้น

บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า ปลอบบุตรให้รื่นเริง ต่อ

แต่นั้น มารดาเห็นบุตรผู้ยังเป็นเด็กอ่อน ไม่รู้จักเดียงสา

เล่นอยู่ท่ามกลางสายลมและแสงแดดอันกล้า ก็เข้ารับ

ขวัญ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า

โปเสนตี ผู้เลี้ยงดูบุตร มารดาย่อมคุ้มครองทรัพย์แม้

ทั้งสองฝ่าย คือทรัพย์ของมารดา และทรัพย์ของบิดา

เพื่อบุตรนั้น ด้วยตั้งใจว่า ทรัพย์ทั้งสองฝ่ายพึงเป็น

ของบุตรแห่งเรา มารดายังบุตรให้ศึกษาดังนี้ว่า อย่างนี้

ซิลูก อย่างโน้นซิลูก ย่อมลำบาก เมื่อบุตรกำลังรุ่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

หนุ่มคะนอง มารดาย่อมคอยมองดูบุตร ผู้หลงเพลิด-

เพลินในภรรยาผู้อื่น จนพลบค่ำก็ยังไม่กลับมา ย่อม

เดือดร้อนด้วยประการฉะนี้.

บุตรผู้อันมารดาเลี้ยงดูมาแล้ว ด้วยความลำบาก

อย่างนี้ ไม่บำรุงมารดา บุตรนั้นชื่อว่า ประพฤติผิด

ในมารดา ย่อมเข้าถึงนรก บุตรผู้อันบิดาเลี้ยงมาแล้ว

ด้วยความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุงบิดา บุตรนั้นชื่อ

ว่าประพฤติผิดในบิดา ย่อมเข้าถึงนรก เราได้สดับ

มาว่า เพราะไม่บำรุงมารดา แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตร

ทั้งหลาย ผู้ปรารถนาทรัพย์ย่อมฉิบหายหรือบุตรนั้น

ย่อมเข้าถึงความยากแค้น เราได้สดับมาว่า เพราะไม่

บำรุงบิดา แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลาย ผู้ปรารถนา

ทรัพย์ ย่อมฉิบหาย หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความ

ยากแค้น ความรื่นเริง ความบันเทิงและความหัว-

เราะเล่นหัวกันทุกเมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะ

การบำรุงมารดา ความรื่นเริง ความบันเทิงและ

ความหัวเราะเล่นหัวกันทุกเมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึง

ได้เพราะการบำรุงบิดา สงคหวัตถุ ๔ ประการนี้ คือ

ทาน การให้ ๑ ปิยวาจา เจรจาคำน่ารัก ๑ อัตถจริยา

การประพฤติประโยชน์ ๑ สมานัตตตา ความเป็นผู้มี

ตนเสมอในธรรมทั้งหลายตามสมควรในที่นั้น ๆ ๑

ย่อมมีในโลกนี้ เหมือนเพลารถ ย่อมมีแก่รถที่กำลัง

แล่นไป ฉะนั้น ถ้าสังคหวัตถุเหล่านี้ ไม่พึงมีไซร้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

มารดาก็จะไม่พึงได้รับความนับถือหรือการบูชา เพราะ

เหตุแห่งบุตร หรือบิดาก็จะไม่พึงได้ความนับถือหรือ

การบูชา เพราะเหตุแห่งบุตร ก็เพราะบัณฑิตทั้งหลาย

ย่อมพิจารณาเห็นสังคหวัตถุนี้ ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านั้น

ย่อมถึงความเป็นผู้ประเสริฐ และเป็นผู้อันเทวดาและ

มนุษย์พึงสรรเสริญ มารดาและบิดา บัณฑิตเรียกว่า

เป็นพรหมของบุตร เป็นบุรพาจารย์ของบุตร เป็นผู้

ควรรับของคำนั้นจากบุตร และว่าเป็นผู้อนุเคราะห์

บุตร เพราะเหตุนั้นแล บุตรผู้เป็นบัณฑิตพึงนอบน้อม

และสักการะมารดาบิดาทั้ง ๒ นั้นด้วย ข้าว น้ำ ผ้านุ่ง

ผ้าห่ม ที่นอน การขัดสี การให้อาบน้ำ และการ

ล้างเท้า บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญบุตรนั้น ด้วย

การบำรุงในมารดาบิดาในโลกนี้ ครั้นบุตรนั้นละโลกนี้

ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺตผล แปลว่า ผลคือบุตร. บทว่า

เทวตาย นมสฺสติ ความว่า ย่อมทำการนอบน้อมบวงสรวงเทวดาว่า ขอ

ให้บุตรจงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้าเถิด. บทว่า นกฺขตฺตานิ จ ปุจฺฉติ ความว่า

และย่อมถามถึงนักขัตฤกษ์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า บุตรผู้เกิดแล้วโดยฤกษ์ยามไหน

จึงจะมีอายุยืนยาวนาน เกิดฤกษ์ยามไหนมีอายุสั้น. บทว่า อุตฺสวจฺฉรานิ จ

ความว่า อนึ่ง มารดาย่อมถามถึงฤดูและปีทั้งหลายอย่างนี้ว่า บุตรที่เกิดในฤดู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

ไหน ในบรรดาฤดูทั้ง ๖ จึงจะมีอายุยืนยาวนาน เกิดในฤดูไหนจึงจะมีอายุ

สั้น หรือเมื่อมารดามีอายุเท่าไร บุตรเกิดมาจึงจะมีอายุยืน เมื่อมารดามีอายุ

เท่าไร บุตรเกิดมาจึงจะมีอายุสั้น. บทว่า อุตุสิ นหาตาย ได้แก่ เมื่อระดู

เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า อาบในเพราะระดู (มารดาชื่อว่ามีระดู). บทว่า อวกฺกโม

ความว่า การตั้งครรภ์ย่อมมีเพราะการประชุมพร้อมแห่งเหตุ ๓ ประการ

ครรภ์จึงตั้งขึ้นในท้อง. บทว่า เตน ความว่า มารดานั้นย่อมแพ้ท้องเพราะ

ครรภ์นั้น. บทว่า เตน ความว่า ในกาลนั้นมารดาจึงเกิดความรักในบุตรธิดา

ซึ่งเป็นประชาเกิดขึ้นต้องของตน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า สุหทา

หญิงมีใจดี. บทว่า เตน ความว่า เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ชน-

ยันตีบ้าง ชเนตตีบ้าง แปลว่าผู้ยังบุตรให้เกิด. บทว่า องฺคปาวุรเณนจ

ความว่า ด้วยการให้บุตรนอนในระหว่างนมทั้ง ๒ ยังสัมผัสแห่งสรีระให้แผ่

ไปทั่วแล้ว จึงให้อบอุ่นด้วยเครื่องคลุมคืออวัยวะนั่นแล. บทว่า โตเสนฺตี

ได้แก่ ให้รู้สึก ให้ร่าเริง. บทว่า มมฺม กตฺวา อุทิกฺขติ ความว่า มารดา

ทำการรับขวัญอย่างนี้ว่า โอ้หนอ ลมพัดแดดแผดเผาในเบื้องบนบุตรของเรา

ย่อมมองดูด้วยน้ำใจอันรักใคร่. บทว่า อุภยมฺเปตสฺส ความว่า มารดาย่อม

ไม่ต้องการจะให้ทรัพย์แม้ทั้ง ๒ ฝ่ายนี้ แก่ชนเหล่าอื่น จะเก็บรักษาไว้ในห้อง

อันมั่นคงเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่บุตรนี้. บทว่า เอว ปุตฺต อทุ ปุตฺต

๑. เหมหฺโต สิสิรมุตู ฉ วา วสนฺโต คิมฺหวสฺสานา สรโทติ กมา มาสา เทฺว เทฺว วุตฺตา-

นุสาเรน ฤดูทั้ง ๖ คือ เหมันตะ ฤดูหิมะ สิสิร ฤดูหนาว วสันตะ ฤดูใบไม้ผลิ คิมหะ

ฤดูร้อน วัสสานะ ฤดูฝน สรทะ ฤดูอบอ้าว ฤดูละ ๒ เดือน ๆ เรียงลำดับนับตามข้อที่กล่าว

แล้วนั้น (จากอภิธานัปปทีปิกา ข้อที่ ๗๙)

๒. เหตุแห่งการตั้งครรภ็มี ๓ ประการคือ มาตาปิตโร จ สนฺนิปติตา โหนฺติ มารดาบิดาอยู่

ร่วมกัน ๑ มาตา จ อุตุนี โหติ มารดามีระดู ๑ คพฺโภ จ ปจฺจปฏฺิโต โหติ สัตว์ผู้จะ

เกิดถือปฏิสนธิในท้องมารดานั้น ๑ (มหาตัณหาสังขยสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

ความว่า มารดาให้บุตรศึกษาอยู่เป็นนิตย์ว่า โอ่ลูกน้อยเอ๋ย เจ้าจงเป็นผู้ไม่

ประมาท ในราชสกุลเป็นต้นอย่างนี้ อนึ่ง เจ้าจงกระทำกรรมอย่างโน้น มารดา

ย่อมลำบาก ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อิติ มาตา วิหญฺติ ได้แก่ ย่อม

เหน็ดเหนื่อย. บทว่า ปตฺตโยพฺพเน ความว่า เมื่อบุตรถึงความเป็นหนุ่ม

หรือเป็นสาว กำลังคะนอง มารดารู้ว่า บุตรนั้นมัวเมาในภรรยาผู้อื่นจนมืดค่ำ

ก็ยังไม่กลับมา จึงจ้องมองดูลูกอยู่ด้วยนัยน์ตาอันเปียกชุ่มด้วยน้ำตา. บทว่า

วิหญฺติ แปลว่า เหน็ดเหนื่อย. บทว่า กิจฺฉาภโต ได้แก่ บุตรที่มารดา

เลี้ยงดูมา คือ ทะนุบำรุงมาด้วยความยากลำบาก. บทว่า มิจฺฉาจริตฺวาน

ได้แก่ ไม่ปฏิบัติมารดา. บทว่า ธนาปิ คือ ทรัพย์สมบัติทั้งหมด. อีกอย่างหนึ่ง

บาลีก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน. มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า

แม้ทรัพย์ที่บังเกิดขึ้นแก่บุตรผู้อยากได้ทรัพย์ แต่มิได้ปฏิบัติมารดา ย่อมพินาศ

ฉิบหายไป. บทว่า กิจฺฉ วา โส ความว่า ทรัพย์ของเขาย่อมพินาศไปบ้าง

เขาย่อมเข้าถึงความลำบากเองบ้าง ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ลพฺภเมต

ความว่า ความสุขมีความบันเทิงเป็นต้น ในโลกนี้และในโลกหน้า บัณฑิต

ผู้รู้แจ้งจะพึงได้เพราะการบำรุงมารดา คือบัณฑิตผู้เช่นนั้นอาจจะได้. บทว่า

ทานญฺจ ความว่า บุตรพึงให้ทานแก่มารดาบิดาทั้ง ๒ พึงเจรจาถ้อยคำอัน

เป็นที่รัก พึงประพฤติประโยชน์ ด้วยอำนาจการกระทำหน้าที่ ที่บังเกิดขึ้นแล้ว

ให้เสร็จไป. บทว่า ธมฺเมสุ ความว่า ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรม คือ

ความเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อบุคคลผู้เจริญ อันบุตรพึงกระทำในที่นั้น ๆ

คือ ในท่ามกลางบริษัทหรือในที่ลับ ด้วยอำนาจการกราบไหว้เป็นต้น บุตร

จะทำการอภิวาทเป็นต้นในที่ลับแล้ว ไม่ยอมกระทำในบริษัทไม่สมควรเลย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

พึงเป็นผู้ประพฤติเสมอในที่ทั้งหมดทีเดียว. บทว่า เอเต จ สงฺคหา นาสฺสุ

ความว่า ถ้าว่าสังคหวัตถุทั้ง ๔ ประการเหล่านั้น จะไม่พึงมีไซร้. บทว่า

สมเปกฺขนฺติ ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมเล็งเห็นโดยนัย โดยเหตุ

โดยชอบ. บทว่า มหตฺต แปลว่า ความเป็นผู้ประเสริฐ. บทว่า พฺรหฺมา

ได้แก่ มารดาบิดาทั้งหลาย เป็นผู้สูงสุด เป็นผู้ประเสริฐสุด เสมอด้วยพระ-

พรหมของพวกบุตร. บทว่า ปุพฺพาจริยา ได้แก่ เป็นอาจารย์คนแรก.

บทว่า อาหุเนยฺยา ได้แก่ เป็นผู้ควรรับของคำนับ คือเป็นผู้สมควรแก่สักการะ

ทุกอย่าง บทว่า อนฺเนน อโถ ได้แก่ ทั้งข้าว ทั้งน้ำ. บทว่า เปจฺจ

ความว่า ในที่สุดแห่งการทำกาลกิริยา (ตาย) บุตรนั้นไปจากโลกนี้แล้ว ย่อม

บันเทิงอยู่ในโลกสวรรค์.

พระมหาสัตว์ ได้แสดงพระธรรมเทศนาจบลง ประดุจว่าพลิกภูเขา

สิเนรุขึ้น ด้วยประการฉะนี้. พระราชาเหล่านั้น และหมู่พลนิกายแม้ทั้งหมด

ได้สดับพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ต่างก็พากันเลื่อมใสแล้ว. ลำดับนั้น พระ-

มหาสัตว์ จึงแนะนำพระราชาเหล่านั้น ให้ตั้งอยู่ในศีลห้า แล้วสั่งสอนว่า ขอ

มหาบพิตรทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาทในบุญมีทานเป็นต้นเถิด แล้วส่งเสด็จ

พระราชาเหล่านั้นกลับไป. พระราชาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ทรงปกครองราช

สมบัติโดยธรรม ในเวลาสิ้นพระชนมายุ ก็ทรงกระทำเทพนครให้เต็ม.

โสณบัณฑิต และนันทบัณฑิตดาบส ๒ พี่น้อง ได้ปฏิบัติบำรุงมารดาบิดา

ตราบจนถึงสิ้นอายุ ก็ได้ไปบังเกิดในพรหมโลก.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศ

สัจจะทั้งหลาย ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้เลี้ยงมารดาบิดาได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

แล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า มารดาบิดาของเราในกาลนั้น ได้มาเป็นตระกูล

มหาราชในบัดนี้ พระเจ้ามโนชราชในกาลนั้น ได้มาเป็นพระสารีบุตร.

พระราชา ๑๐๑ พระองค์ ได้มาเป็นพระอสีติมหาเถระ และมาเป็นพระสาวก

อื่น ๆ. หมู่พลนิกาย ๒๔ อักโขภิณี ก็ได้มาเป็นพุทธบริษัท. นันทบัณฑิต

ได้มาเป็นพระอานนท์ ส่วนโสณบัณฑิต ก็คือเราตถาคตนั่นเอง ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาโสณนันทชาดก

จบอรรถกถาสัตตตินิบาต ด้วยประการฉะนี้

รวมชาดกในสัตตตินิบาตนั้น มี ๒ ชาดก คือ

กุสชาดก ๑ โสณนันทชาดก ๑ ชาดกทั้งสองนี้ปรากฏอยู่ในสัตตติ-

นิบาต และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

อสีตินิบาตชาดก

๑. จุลลหังสชาดก

ว่าด้วยพญาหงส์ติดบ่วง

[๑๖๓] ดูก่อนสุมุขะ ฝูงหงส์พากันบินหนีไป

ไม่เหลียวหลัง แม้ท่านก็จงไปเสียเถิด อย่าหวังอยู่ใน

ที่นี้เลย ความเป็นสหายในเราผู้ติดบ่วงย่อมไม่มี.

[๑๖๔] ข้าพระองค์จะพึงไปหรือไม่พึงไป ความ

ไม่ตาย ก็ไม่พึงมี เพราะการไปหรือการไม่ไปนั้น เมื่อ

พระองค์มีความสุขจึงอยู่ใกล้ เมื่อพระองค์ได้รับทุกข์

จะพึงละไปอย่างไรได้ ความตาย พร้อมกับพระองค์

หรือว่าความเป็นอยู่เว้นจากพระองค์ ความตายนั้นแล

ประเสริฐกว่า เว้นจากพระองค์แล้ว พึงเป็นอยู่จะ

ประเสริฐอะไร ข้าแต่พระมหาราชผู้เป็นจอมหงส์

ข้าพระองค์พึงละทั้งพระองค์ผู้ทรงถึงทุกข์อย่างนี้ ข้อ

นี้ไม่เป็นธรรมเลย คติของพระองค์ ข้าพระองค์ย่อม

ชอบใจ.

[๑๖๕] คติของเราผู้ติดบ่วงจะเป็นอื่นไปอย่าง-

ไรเล่า นอกจากเข้าโรงครัวใหญ่ คตินั้นย่อมชอบใจ

แก่ท่านผู้มีความคิดผู้พ้นแล้วอย่างไร ดูก่อนหงส์สุมุขะ

ท่านจะพึงเห็นประโยชน์อะไร ในการสิ้นชีวิตของเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

และของท่านทั้งสอง หรือของพวกญาติที่เหลือ ดูก่อน

ท่านผู้มีปีกทั้งสองดังสีทอง เมื่อท่านยอมสละชีวิตใน

เพราะคุณอันไม่ประจักษ์ ดังคนตาบอดกระทำแล้ว

ในที่มืด จะพึงยังประโยชน์อะไรให้รุ่งเรืองได้.

[๑๖๖] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าฝูงหงส์

ทั้งหลาย ทำไมหนอพระองค์จึงไม่ทรงรู้อรรถในธรรม

ธรรมอันบุคคลเคารพแล้ว ย่อมแสดงประโยชน์แก่

สัตว์ทั้งหลาย ข้าพระองค์นั้นเพ่งเล็งอยู่ซึ่งธรรมและ

ประโยชน์อันตั้งขึ้นจากธรรม ทั้งเห็นพร้อมอยู่ซึ่ง

ความกักดีในพระองค์ จึงมิได้เสียดายชีวิต ความที่

มิตรเมื่อระลึกถึงธรรมไม่พึงทอดทิ้งมิตรในยามทุกข์

แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต นี้เป็นธรรมของสัตบุรุษ

ทั้งหลายโดยแท้.

[๑๖๗] ธรรมนี้นั้นท่านประพฤติแล้ว และความ

ภักดีในเราก็ปรากฏแล้ว ท่านจงทำตามความปรารถนา

ของเรานี้เถิด ท่านเป็นอันเราอนุมัติแล้ว จงไปเสีย

เถิด ดูก่อนท่านผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ก็แลเมื่อกาล

ล่วงไปอย่างนี้ คือ เมื่อเราติดบ่วงอยู่ในที่นี้ ท่านพึง

กลับไป ปกครองหมู่ญาติทั้งหลายของเราให้จงดีเถิด.

[๑๖๘] เมื่อสุวรรณหงส์ตัวประเสริฐ ประพฤติ

ธรรมอันประเสริฐ กำลังโต้ตอบกันอยู่ด้วยประการฉะนี้

นายพรานได้ปรากฏแล้ว เหมือนดังมัจจุราชปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

แก่บุคคลผู้ป่วยหนัก ฉะนั้น สุวรรณหงส์ทั้งสอง

เกื้อกูลกันมาสิ้นกาลนานนั้น เห็นศัตรูเดินมาแล้ว ก็

นิ่งเฉยมิได้เคลื่อนจากที่ ฝ่ายนายพรานผู้เป็นศัตรู

ของพวกนก เห็นพญาหงส์ธตรฐซึ่งเป็นจอมหงส์

กำลังเดินส่ายไปมาแต่ที่นั้น ๆ จึงรีบเดินเข้าไป ก็นาย

พรานนั้นครั้นรีบเดินเข้าไปแล้ว เกิดความสงสัยขึ้นว่า

หงส์ทั้งสองนั้นติดบ่วงหรือไม่ จึงค่อยลดความเร็วลง

ค่อย ๆ เดินเข้าไปให้ใกล้สุวรรณหงส์ทั้งสอง ได้เห็น

ตัวหนึ่งติดบ่วง อีกตัวหนึ่งไม่ติดบ่วง แต่มายืนอยู่

ใกล้ตัวติดบ่วง จึงเพ่งดูตัวที่ติดบ่วงผู้เป็นโทษ ลำดับ

นั้น นายพรานนั้นเป็นผู้มีความสงสัย จึงได้กล่าวถาม

สุมุขหงส์ตัวมีผิวพรรณเหลือง มีร่างกายใหญ่ เป็น

ใหญ่ในหมู่หงส์ ซึ่งยืนอยู่ว่า เพราะเหตุไรหนอ

พญาหงส์ตัวที่ติดบ่วงใหญ่ ย่อมไม่กระทำซึ่งทิศ

เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านผู้ไม่ติดบ่วงเป็นผู้มี

กำลัง จึงไม่บินหนีไป พญาหงส์ตัวนี้เป็นอะไรกับ

ท่านหรือ ท่านพ้นแล้วทำไมจึงยังเฝ้าหงส์ตัวติดบ่วงอยู่

หงส์ทั้งหลายพากันละทิ้งหนีไปหมด เพราะเหตุไร

ท่านจึงยังอยู่ตัวเดียว.

[๑๖๙] ดูก่อนนายพรานนก พญาหงส์นั้นเป็น

ราชาของเรา ทั้งเป็นเพื่อนเสมอด้วยชีวิตของเราด้วย

เราจึงไม่ละท่านไป จนกว่าจะถึงที่สุดแห่งกาละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

[๑๗๐] ก็ไฉนพญาหงส์นี้จึงไม่เห็นบ่วงที่ดักไว้

ความจริงการรู้อันตรายของตน เป็นเหตุของบุคคล

ผู้ใหญ่ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ใหญ่เหล่านั้น

ควรรู้อันตราย.

[๑๗๑] เมื่อใดมีความเสื่อม เมื่อนั้น สัตว์แม้

เข้าใกล้ข่ายหรือบ่วงก์ไม่รู้สึก ในเมื่อถึงคราวจะสิ้น

ชีวิต.

[๑๗๒] ดูก่อนท่านผู้มีปัญญามาก ก็แลบ่วง

ทั้งหลายที่เขาดักไว้มีมากอย่าง สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้า

มาติดบ่วงที่เขาดักอำพรางไว้ ในเมื่อถึงคราวจะสิ้น

ชีวิตอย่างนี้.

[๑๗๓] เออก็การอยู่ร่วมกันกับท่านนี้ พึงมีสุข

เป็นกำไรหนอ และขอท่านอนุญาตแก่ข้าพเจ้าทั้งสอง

เถิด และขอท่านพึงให้ชีวิตแก่ข้าพเจ้าทั้งสองด้วยเถิด.

[๑๗๔] เรามิได้ผูกท่านไว้ และไม่ปรารถนาจะ

ฆ่าท่าน เชิญท่านรีบไปจากที่นี้ตามความปรารถนา

แล้วจงอยู่เป็นสุขตลอดกาลนานเถิด.

[๑๗๕] ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ โดย

เว้น จากชีวิตของพญาหงส์นี้ ถ้าท่านยินดีเพียง

ตัวเดียว ขอให้ท่านปล่อยพญาหงส์นี้ และจงกิน

ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นผู้เสมอกัน ด้วยรูปทรง

สัณฐานและวัย ท่านไม่เสื่อมแล้วจากลาภ ขอท่านจง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

เปลี่ยนข้าพเจ้ากับพญาหงส์นี้เถิด เชิญท่านพิจารณา

ดูในข้าพเจ้าทั้งสอง เมื่อท่านมีความปรารถนาเฉพาะ

ตัวเดียว จงเอาบ่วงผูกข้าพเจ้าไว้ก่อน จงปล่อย

พญาหงส์ในภายหลัง ถ้าท่านทำตามที่ข้าพเจ้าขอร้อง

ลากของท่านก็คงมีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน ทั้งท่าน

จะได้เป็นมิตรกับฝูงหงส์ธตรฐจนตลอดชีวิต.

[๑๗๖] มิตรอำมาตย์ ทาส ทาสี บุตร ภรรยา

และพวกพ้องหมู่ใหญ่ทั้งหลาย จงดูพญาหงส์ธตรฐ

พ้นจากที่นี้ไปได้เพราะท่าน บรรดามิตรทั้งหลาย

เป็นอันมาก มิตรเช่นท่านนั้นหามีในโลกนี้ เหมือน

ท่านผู้เป็นเพื่อนร่วมชีวิต ของพญาหงส์ธตรฐไม่

เรายอมปล่อยสหายของท่าน พญาหงส์จงบินตาม

ท่านไปเถิด ท่านทั้งสองจงรีบไปจากที่นี้ตามความ

ปรารถนา จงรุ่งเรืองอยู่ในท่ามกลางหมู่ญาติ.

[๑๗๗] สุมุขหงส์มีความเคารพนาย มีความ

ปลื้มใจ เพราะพญาหงส์ตัวเป็นนายหลุดพ้นจากบ่วง

เมื่อจะกล่าววาจาอันรื่นหูได้กล่าวว่า ดูก่อนนายพราน

ขอให้ท่านพร้อมด้วยหมู่ญาติทั้งปวงจงเบิกบานใจ

เหมือนข้าพเจ้าเบิกบานใจในวันนี้ เพราะได้เห็น

พญาหงส์พ้นจากบ่วงฉะนั้น.

[๑๗๘] เชิญท่านมานี่ เราจักบอกท่านถึงวิธีที่

ท่านจักได้ทรัพย์เป็นลาภของท่าน พญาหงส์ธตรฐ

นี้ย่อมไม่มุ่งร้ายอะไร ๆ ท่านจงรีบไปภายในบุรี จง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

แสดงข้าพเจ้าทั้งสองซึ่งไม่ติดบ่วงเป็นอยู่ตามปกติ จับ

อยู่ที่กระเช้าทั้งสองข้าง แก่พระราชาว่า ข้าแต่พระ-

มหาราช หงส์ธตรฐทั้งสองนี้เป็นอธิบดีแห่งหงส์

ทั้งหลาย เพราะว่าหงส์ตัวนี้เป็นราชาของหงส์ทั้งหลาย

ส่วนหงส์ตัวนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี พระราชาจอม

ประชาชนทอดพระเนตรเห็นพญาหงส์นี้แล้ว ก็จะ

ทรงปลาบปลื้มพระหฤทัย จักพระราชทานทรัพย์เป็น

อันมากแก่ท่านโดยไม่ต้องสงสัย.

[๑๗๙] นายพรานได้สดับคำของหงส์สุมุขะ

ดังนั้นแล้ว จัดแจงการงานเสร็จแล้ว รีบเข้าไปภาย

ในบุรี แสดงหงส์ทั้งสองที่มิได้ติดบ่วง เป็นอยู่ตาม

ปกติ จับอยู่ที่กระเช้าทั้งสองข้าง แก่พระราชาว่า

ข้าแต่มหาราช หงส์ธตรฐทั้งสองนี้ เป็นอธิบดีแห่ง

หงส์ทั้งหลาย เพราะว่าหงส์ตัวนี้เป็นราชาของหงส์

ทั้งหลาย ส่วนหงส์ตัวนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี.

[๑๘๐] ก็หงส์ทั้งสองนี้มาอยู่ในเงื้อมมือของท่าน

ได้อย่างไร ท่านเป็นพราน นำหงส์ซึ่งเป็นใหญ่กว่า

หงส์ใหญ่ทั้งหลายมาในที่นี้ได้อย่างไร.

[๑๘๑] ข้าแต่พระจอมประชานิกร ข้าพระองค์

ดักบ่วงเหล่านี้ไว้ที่เปือกตม ซึ่งเป็นที่ ๆ ข้าพระองค์

เข้าใจว่า จะกระทำความสิ้นชีวิตแก่นกทั้งหลายได้

พญาหงส์ได้มาติดบ่วงเช่นนั้น ส่วนหงส์ตัวนี้มิได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

ติดบ่วงของข้าพระองค์ แต่เข้ามาจับอยู่ใกล้ ๆ พญา-

หงส์นั้น ได้กล่าวกะข้าพระองค์ หงส์นี้ประกอบ

แล้วด้วยธรรม ได้กระทำกรรมอันแสนยากที่บุคคล

ผู้มิใช่พระอริยะจะพึงทำได้ ประกาศภาวะอันสูงสุด

ของตน พยายามในประโยชน์ของนาย หงส์นี้ควร

จะมีชีวิตอยู่ ยอมสละชีวิตของตน มายืนสรรเสริญคุณ

ของนาย ร้องขอชีวิตของนาย ข้าพระองค์ได้สดับคำ

ของหงส์นี้แล้ว เกิดความเลื่อมใส จึงปล่อยพญาหงส์

นั้นจากบ่วง และอนุญาตให้กลับได้ตามสบาย สุมุข-

หงส์ตัวมีความเคารพนาย มีความปลื้มใจ เพราะ

พญาหงส์ตัวเป็นนายหลุดพ้นจากบ่วง เมื่อจะกล่าว

วาจาอันรื่นหู ได้กล่าวว่า ดูก่อนนายพราน ขอให้

ท่านพร้อมด้วยหมู่ญาติทั้งปวงจงเบิกบานใจ เหมือน

ข้าพเจ้าเบิกบานใจในวันนี้ เพราะได้เห็นพญาหงส์

พ้นจากบ่วง ฉะนั้น เชิญท่านมานี่ เราจักบอกท่าน ถึง

วิธีที่ท่านจักได้ทรัพย์อันเป็นลาภของท่าน พญาหงส์

ธตรฐนี้ย่อมไม่มุ่งร้ายอะไร ๆ ท่านจงรีบเข้าไปภาย

ในบุรี จงแสดงข้าพเจ้าทั้งสองซึ่งไม่ติดบ่วง เป็นอยู่

ตามปกติ จับอยู่ที่กระเช้าทั้งสองข้าง แก่พระราชาว่า

ข้าแต่พระมหาราช หงส์ธตรฐทั้งสองนี้เป็นอธิบดีแห่ง

หงส์ทั้งหลาย เพราะว่าหงส์ตัวนี้เป็นราชาของหงส์

ทั้งหลาย ส่วนหงส์ตัวนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

ผู้เป็นจอมประชาชน ทอดพระเนตรเห็นพญาหงส์นี้

แล้ว จะทรงปราโมทย์ปลาบปลื้มพระหฤทัย จัก

พระราชทานทรัพย์เป็นอันมากแก่ท่าน โดยไม่ต้อง

สงสัย ข้าพระองค์จึงนำหงส์ทั้งสองนี้มา ตามคำของ

หงส์ตัวนี้อย่างนี้ และหงส์ทั้งสองนี้ ข้าพระองค์

อนุญาตให้ไปยังเขาจิตตกูฏนั้นแล้ว หงส์ตัวนี้ เป็นสัตว์

ประกอบด้วยธรรมอย่างยิ่ง ตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู

อย่างนี้ ได้ทำให้นายพรานเช่นข้าพระองค์ เกิดความ

เป็นผู้มีใจอ่อนโยน ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ

ข้าพระองค์ ไม่เห็นเครื่องบรรณาการอย่างอื่นนอก

จากนี้ ที่จะนำมาถวายแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้

เป็นจอมมนุษย์ ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตรดูเครื่อง

บรรณาการนั้น ณ บ้านพรานนกทั้งปวง.

[๑๘๒] พญาหงส์เห็นพระราชาประทับนั่งบน

ตั่งทองอันงดงาม เมื่อจะกล่าววาจาอันรื่นหู จึงได้ทูล

ว่า พระองค์ไม่มีโรคาพาธหรือ ทรงสุขสำราญดีอยู่

หรือ พระองค์ทรงปกครองรัฐมณฑลอันสมบูรณ์นี้

โดยธรรมหรือ.

[๑๘๓] ดูก่อนพญาหงส์ เราไม่มีโรคาพาธ เรา

สุขสำราญดี อนึ่ง เราปกครองรัฐมณฑลอันสมบูรณ์

นี้โดยธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

[๑๘๔] โทษอะไร ๆ ย่อมไม่มีในหมู่อำมาตย์

ของพระองค์แลหรือ อำมาตย์เหล่านั้น ย่อมไม่ห่วงใย

ชีวิต เพราะประโยชน์ของพระองค์แลหรือ.

[๑๘๕] โทษอะไร ๆ ย่อมไม่มีในหมู่อำมาตย์

ของเรา และอำมาตย์เหล่านั้น ย่อมไม่ห่วงใยชีวิต

เพราะประโยชน์ของเรา.

[๑๘๖] พระอัครมเหสีของพระองค์ เป็นผู้มี

พระชาติเสมอกัน ทรงเชื่อฟัง มีปกติตรัสวาจาอันน่า

รัก ทรงประกอบด้วยพระโอรส พระรูปโฉม และ

อิสริยยศ ทรงคล้อยตามพระราชอัธยาศัย ของพระองค์

แลหรือ.

[๑๘๗] พระอัครมเหสีของเรา เป็นผู้มีพระชาติ

เสมอกัน ทรงเชื่อฟัง มีปกติตรัสวาจาอันน่ารัก ทรง

ประกอบด้วยพระโอรส พระรูปโฉม และอิสริยยศ

ทรงคล้อยตามอัธยาศัยของเรา.

[๑๘๘] ท่านตกอยู่ในเงื้อมมือของมหาศัตรู ได้

รับทุกข์ใหญ่หลวงไม่เบื้องต้น พึงได้รับทุกข์นั้นบ้าง

แลหรือ นายพรานวิ่งเข้าไปโบยตีท่านด้วยท่อนไม้แล

หรือ เพราะว่าปกติของคนหยาบช้าเหล่านี้ ย่อมมี

เป็นประจำอย่างนั้น.

[๑๘๙] ข้าแต่พระมหาราช ในยามมีทุกข์อย่างนี้

ต้องมีความปลอดโปร่งใจ จริงอยู่ นายพรานนี้ มิได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

ทำอะไร ๆ ในข้าพระองค์ทั้งสองเหมือนศัตรู นาย-

พรานค่อย ๆ เดินเข้าไปและได้ปราศรัยขึ้นก่อน ใน

กาลนั้น สุมุขหงส์บัณฑิตนี้ได้กล่าวตอบ นายพราน

ได้ฟังคำของสุมุขหงส์นั้นแล้ว ก็เกิดความเสื่อมใส

ปล่อยข้าพระองค์จากบ่วงนั้น และอนุญาตให้ข้าพระ-

องค์กลับได้ตามสบาย สุมุขหงส์ปรารถนาทรัพย์เพื่อ

นายพรานนี้ จึงคิดชวนกันมาในสำนักของพระองค์

เพื่อประโยชน์แก่นายพรานนี้.

[๑๙๐] ก็การที่ท่านทั้งสองมาในที่นี้ เป็นการมา

ดีแล้ว และเราก็มีความปราโมทย์เพราะได้เห็นท่านทั้ง

สอง แม้นายพรานนี้ก็จะได้ทรัพย์อันมากมายตามที่

เขาปรารถนา.

[๑๙๑] พระราชาผู้เป็นจอมมนุษย์ ทรงยังนาย-

พรานให้เอิบอิ่มด้วยโภคสมบัติทั้งหลาย พญาหงส์ได้

กล่าววาจาอันรื่นหู อนุโมทนา.

[๑๙๒] ได้ยินว่า อำนาจของเราผู้ทรงธรรม

ย่อมเป็นไปในที่เท่าใด ที่เท่านั้นมีประมาณน้อย ความ

เป็นใหญ่ในที่ทั้งปวงจงมีแก่ท่าน ขอท่านจงปกครอง

ตามปรารถนาเถิด ทานวัตถุก็ดี เครื่องอุปโภคก็ดีและ

สิ่งอื่นใดที่เข้าไปสำเร็จประโยชน์ เราขอยกสิ่งนั้น ๆ

ซึ่งล้วนเป็นของปลื้มใจให้แก่ท่าน และขอสละความ

เป็นใหญ่ให้แก่ท่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

[๑๙๓] ก็ถ้าว่า สุมุขหงส์บัณฑิตนี้สมบูรณ์ด้วย

ปัญญา พึงเจรจาแก่เราตามปรารถนา ข้อนั้นพึงเป็นที่

รักอย่างยิ่งของเรา.

[๑๙๔] ข้าแต่มหาราช ได้ยินว่า ข้าพระองค์

หาอาจจะพูดสอดขึ้นในระหว่าง เหมือนพญานาคเลื้อย

เข้าไปภายในศิลาฉะนั้นไม่ ข้อนั้นไม่เป็นวินัยของ

ข้าพระองค์ พญาหงส์ประเสริฐกว่าข้าพระองค์ และ

พระองค์ก็สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งหลาย เป็นพระเจ้าแผ่นดิน

จอมมนุษย์ ทั้งสองพระองค์ควรแก่การบูชาด้วยเหตุ

มากมาย ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมมนุษย์ เมื่อพระองค์

ทั้งสองกำลังตรัสกันอยู่ เมื่อการวินิจฉัยกำลังเป็นไป

อยู่ ข้าพระองค์ผู้เป็นสาวก ไม่พึงพูดสอดขึ้นใน

ระหว่าง.

[๑๙๕] ได้ยินว่า นายพรานกล่าวโดยความจริง

ว่า สุมุขหงส์เป็นบัณฑิต เพราะว่านัยเช่นนี้ไม่พึงมี

แก่บุคคลผู้ไม่ได้รับอบรมเลย ความมีปกติอันเลิศ

และสัตว์อันอุดมอย่างนี้ มีเพียงเท่าที่เราเห็นแล้ว เรา

ไม่ได้ดีเห็นผู้อื่นเป็นเช่นนี้ เราจึงยินดีด้วยปกติและ

วาจาอันไพเราะของท่านทั้งสอง ก็การที่เราพึงเห็นท่าน

ทั้งสองได้นาน ๆ เช่นนี้ เป็นความพอใจของเราโดยแท้.

[๑๙๖] กิจใดที่บุคคลพึงกระทำในมิตร กิจนั้น

พระองค์ทรงกระทำแล้ว ในข้าพระองค์ทั้งสอง ข้า-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

พระองค์ทั้งสอง ย่อมเป็นผู้อันพระองค์คงปล่อยด้วย

ความภักดีในข้าพระองค์ทั้งสอง โดยไม่ต้องสงสัย

ก็ความทุกข์คงเกิดขึ้นในหมู่หงส์เป็นอันมากโน้นเพราะ

มิได้เห็นข้าพระองค์ทั้งสอง ในระหว่างญาติหมู่ใหญ่

เป็นแน่ ข้าแต่พระองค์ผู้ปราบปรามศัตรู ข้าพระองค์

ทั้งสอง อันพระองค์ทรงอนุญาต กระทำประทักษิณ

พระองค์แล้ว พึงไปพบญาติทั้งหลาย เพื่อกำจัดความ

เศร้าโศกของหงส์เหล่านั้น ข้าพระองค์ย่อมจะได้ปีติ

อันไพบูลย์ เพราะได้มาเฝ้าพระองค์ผู้ทรงพระเจริญ

โดยแท้ การสงเคราะห์ญาตินี้เป็นประโยชน์อันใหญ่

หลวงแท้.

[๑๙๗] พญาหงส์ธตรฐ ครั้นกราบทูลพระเจ้า

สาคลราชผู้เป็นจอมประชาชนเช่นนี้แล้ว ได้เข้าไปหา

หมู่ญาติ เพราะอาศัยเชาวน์อันสูงสุด หงส์เหล่านั้น

เห็นหงส์ทั้งสองผู้ยิ่งใหญ่มิได้ป่วยเจ็บกลับมา ต่างก็ส่ง

เสียงว่า เกเก เกิดเสียงอื้ออึงทั่วไป หงส์ที่เคารพนาย

ได้ที่พึ่งเหล่านั้น ต่างก็โสมนัสยินดี เพราะนายรอด

พ้นภัย พากันห้อมล้อมนายโดยรอบ ๆ.

[๑๙๘] ประโยชน์ทั้งปวง ของชนทั้งหลายผู้ถึง

พร้อมด้วยกัลยาณมิตร ย่อมสำเร็จผลเป็นสุข เปรียบ

เหมือนหงส์ธตรฐทั้งสองได้กลับมาอยู่ใกล้หมู่ญาติ

ฉะนั้น.

จบจุลลหังสชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

อรรถกถาอสีตินิบาต

อรรถกถาจุลลหังสชาดก

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภ

การเสียสละชีวิตของท่านพระอานนทเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี

คำเริ่มต้นว่า สุมุข ดังนี้.

ความพิสดารว่า บรรดาพวกนายขมังธนู ที่พระเทวทัตเสี้ยมสอนให้

ไปปลงพระชนม์พระตถาคตเจ้าเหล่านั้น คนที่ถูกส่งไปก่อนเขาทั้งหมดกลับมา

รายงานว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมไม่อาจที่จะปลงพระชนม์พระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้นได้เลย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมี

ฤทธานุภาพใหญ่หลวงยิ่งนัก พระเทวทัตนั้นจึงกล่าวว่า เออช่างเถอะ เจ้าไม่

ต้องปลงพระชนม์พระสมณโคดมดอก เราจักปลงพระชนม์พระสมณโคดม

เอง เมื่อพระตถาคตเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ ณ ร่มเงาเบื้องหลังแห่งภูเขาคิชฌกูฏ

ตนจึงขึ้นไปบนภูเขาคิชฌกูฏเอง แล้วกลิ้งศิลาก้อนใหญ่ด้วยกำลังแห่งเครื่อง

ยนตร์ ด้วยคิดว่า เราจักปลงพระชนม์พระสมณโคดมด้วยศิลาก้อนนี้. ในกาล

นั้น ยอดเขาสองยอดก็รับเอาศิลาที่กลิ้งตกลงไปนั้นไว้ได้. แต่สะเก็ดศิลาที่

กะเทาะจากศิลาก้อนนั้น กระเด็นไปต้องพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำพระ-

โลหิตให้ห้อขึ้นแล้ว เวทนามีกำลังเป็นไปทั่วแล้ว . หมอชีวกกระทำการผ่า

พระบาทของพระคถาคตเจ้าด้วยศัสตรา เอาเลือดร้ายออก นำเนื้อร้ายออกจน

หมด ชำระล้างแผลสะอาดแล้ว ใส่ยากระทำให้พระองค์หายจากพระโรค. พระ-

ศาสดาทรงหายเป็นปกติดีแล้ว มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อมเป็นบริวาร เสด็จ

เข้าไปยังพระนครด้วยพระพุทธลีลาใหญ่ทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

ลำดับนั้น พระเทวทัตมองเห็นดังนั้น จึงคิดว่า ใคร ๆ เห็นพระสรีระ

อันถึงแล้ว ซึ่งส่วนอันเลิศด้วยพระรูปพระโฉมของพระสมณโคดม ถ้าเป็น

มนุษย์ ก็ไม่อาจที่จะเข้าไปทำร้ายได้ ก็ช้างของพระราชาชื่อว่า นาลาคิรี มีอยู่

ช้างนั้นเป็นช้างที่ดุร้ายกาจ ฆ่ามนุษย์ได้ เมื่อไม่รู้จักคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม

และพระสงฆ์ จักยังพระสมณโคดมนั้นให้ถึงความสิ้นชีวิตได้ เธอจึงไปทูลเนื้อ

ความนั้นแด่พระเจ้าอชาตศัตรูราช พระราชาทรงรับรองว่าดีละ ดังนี้แล้วรับสั่ง

ให้เรียกหานายหัตถาจารย์มาแล้ว ทรงพระบัญชาว่า แน่ะเจ้า พรุ่งนี้เจ้าจงมอม

ช้างนาลาคิรีให้มึนเมาแล้วจงปล่อยไปบนถนน ที่พระสมณโคดมเสด็จมา แต่

เช้าทีเดียว แม้พระเทวทัตก็ถามนายหัตถาจารย์นั้นว่า ในวันอื่น ๆ ช้างนาลาคิรี

ดื่มสุรากี่หม้อ เมื่อเขาบอกให้ทราบว่า ๘ หม้อ พระคุณเจ้าผู้เจริญจึงกำชับว่า

พรุ่งนี้ท่านจงให้ช้างนั้นดื่มเพิ่มขึ้นเป็น ๑๖ หม้อแล้ว พึงกระทำให้มีหน้าเฉพาะ

ในถนนที่พระสมณโคดมเสด็จผ่านมา. นายหัตถาจารย์นั้น ก็รับรองเป็นอันดี

พระราชาให้ราชบุรุษเที่ยวตีกลองประกาศไปทั่วพระนครว่า พรุ่งนี้นายหัตถา-

จารย์จักมอมช้างนาลาคิรีให้มึนเมาแล้ว จักปล่อยในนคร ชาวเมืองทั้งหลาย

พึงรีบกระทำกิจที่จำต้องกระทำเสียให้เสร็จแต่เช้าทีเดียว แล้วอย่าเดินระหว่าง

ถนน. แม้พระเทวทัตลงจากพระราชนิเวศน์แล้วก็ไปยังโรงช้าง เรียกคนเลี้ยง

ช้างมาสั่งว่า ดูก่อนพนายทั้งหลาย เราสามารถจะลดคนมีตำแหน่งสูงให้ต่ำและ

เลื่อนคนมีตำแหน่งต่ำให้สูงขึ้น ถ้าพวกเจ้าต้องการยศ พรุ่งนี้เช้า จงช่วยกัน

เอาเหล้าอย่างแรง กรอกช้างนาลาคิรีให้ได้ ๑๖ หม้อ ถึงเวลาพระสมณโคดม

เสด็จมา จงช่วยกันแทงช้างด้วยปลายหอกซัด ยั่วยุให้มันอาละวาดให้ทำลายโรง

ช้าง ช่วยกันล่อให้หันหน้าตรงไปในถนนที่พระสมณโคดมเสด็จมา แล้วให้

พระสมณโคดมถึงความสิ้นชีวิต. พวกคนเลี้ยงช้างเหล่านั้น พากันรับรอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

เป็นอันดี. พฤติการณ์อันนั้นได้เซ็งแซ่ไปทั่วพระนคร. เหล่าอุบาสกผู้นับถือ

พระพุทธเจ้า. พระธรรม พระสงฆ์ ได้ทราบข่าวนั้น ก็พากันไปเข้าเฝ้าพระ-

ศาสดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเทวทัตสมคบกันกับพระเจ้า

อชาตศัตรูราช ให้ปล่อยช้างนาลาคิรีในหนทางที่พระองค์จะเสด็จไปในวันพรุ่ง

นี้ เพราะฉะนั้นในวันพรุ่งนี้ ขอพระองค์อย่าได้เสด็จเข้าไปบิณฑบาตเลย จง

ประทับอยู่ในที่นี้เถิด พวกข้าพระองค์ จักถวายภิกษา แก่ภิกษุสงฆ์มีพระ

พุทธองค์เป็นประมุขในวิหารนี้แล. พระศาสดามิได้ตรัสรับคำว่า พรุ่งนี้เราจัก

ไม่เข้าไปบิณฑบาต ทรงพระดำริว่า ในวันพรุ่งนี้ เราจักทรมานช้างนาลาคิรี

กระทำปาฏิหาริย์ทรมานพวกเดียรถีย์ จักเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์. มี

ภิกษุแวดล้อมเป็นบริวาร ออกจากพระนครไปยังพระเวฬุวันมหาวิหารทีเดียว.

พวกชนชาวเมืองราชคฤห์ จักถือเอาภาชนภัตเป็นอันมากมายังวิหารเวฬุวัน

เหมือนกัน พรุ่งนี้ โรงภัตจักมีในวิหารทีเดียว แล้วทรงรับอาราธนาแก่พวก

อุบาสกเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ พวกอุบาสกเหล่านั้นทราบความว่า ทรงรับอาราธนา

ของพระตถาคตเจ้าแล้ว จึงพากันกล่าวว่า พวกเราจักนำภาชนภัตมาถวายทาน

ในวิหารทีเดียว แล้วหลีกไป.

แม้พระศาสดาทรงแสดงธรรมในปฐมยาม ทรงแก้ปัญหาของเทวดา

ในมัชฌิมยาม ทรงสำเร็จสีหไสยาสน์ในส่วนแรกแห่งปัจฉิมยาม ทรงเข้าผล

สมาบัติในส่วนที่ ๒ แห่งปัจฉิมยาม ในส่วนที่ ๓ แห่งปัจฉิมยาม ทรงเข้า

พระกรุณาสมาบัติ ทรงตรวจดูเหล่าเวไนยสัตว์อันมีอุปนิสัยที่จะได้ตรัสรู้ธรรม

พิเศษ ทอดพระเนตรเห็นการตรัสรู้ธรรมของสัตว์ ๘,๔๐๐ ในเวลาการทรง

ทรมานช้างนาลาคิรี ครั้นราตรีกาลสว่างไสวแล้ว ก็ทรงกระทำการชำระพระ-

สรีระแล้ว ตรัสเรียกพระอานนท์ผู้มีอายุมาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

บอกแก่ภิกษุแม้ทั้งหมดในมหาวิหาร ๑๘ แห่ง อันตั้งเรียงรายอยู่ในเมือง

ราชคฤห์เพื่อให้เข้าไปในเมืองราชคฤห์พร้อมกันกับเรา. พระเถระได้กระทำตาม

พระพุทธฎีกาแล้ว. พวกภิกษุทั้งหมดมาประชุมกันในพระเวฬุวัน พระศาสดา

มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อมเป็นบริวาร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังเมืองราชคฤห์.

ลำดับนั้น พวกคนเลี้ยงช้างก็ปฏิบัติตามพระเทวทัตสั่ง. สมาคมใหญ่ได้มีแล้ว

พวกมนุษย์ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธากล่าวกันว่า ได้ยินว่า ในวันนี้ พระพุทธเจ้า

ผู้มหานาคกับช้างนาลาคิรีซึ่งเป็นสัตว์ดิรัจฉาน จักกระทำสงครามกัน พวกเรา

จักได้เห็นการทรมานช้างนาลาคิรีด้วยพุทธลีลา อันหาที่เปรียบมิได้ จึงพากัน

ขึ้นสู่ปราสาทห้องแถวและหลังคาเรือนแล้วยืนดู. ฝ่ายพวกมิจฉาทิฏฐิผู้หาศรัทธา

มิได้ก็พากันกล่าวว่า ช้างนาลาคิรีเชือกนี้ดุร้ายกาจ ฆ่ามนุษย์ได้ไม่รู้จักคุณ

แห่งพระพุทธเจ้าเช่นกัน วันนี้ช้างเชือกนั้น จักขยี้สรีระอันมีพรรณดุจทองคำ

ของพระโคดม จักให้ถึงความสิ้นชีวิต พวกเราจักได้เห็นหลังปัจจามิตรในวัน

นี้ทีเดียว แล้วได้พากันขึ้นไปยืนดูบนต้นไม้และปราสาทเช่นกัน . แม้ช้าง

นาลาคิรีพอเหลือบเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา จึงยังมนุษย์ทั้งหลายให้สะดุ้ง

กลัว ทำลายบ้านเรือนเป็นอันมาก ขยี้บดเกวียนเสียแหลกละเอียดเป็นหลายเล่น

ยกงวงขึ้นชู มีหูกางหางชี้ วิ่งรี่ไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า ประหนึ่งว่า

ภูเขาเอียงเข้าทับพระพุทธองค์ ฉะนั้น. ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้น จึงกราบทูล

เนื้อความนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างนาลาคิรีเชือก

นี้ ดุร้ายกาจฆ่ามนุษย์ได้ วิ่งตรงมานี่ ก็ช้างนาลาคิรีนี้มิได้รู้จักพระพุทธคุณ

เป็นต้นแล ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จกลับเถิด พระเจ้าข้า ขอพระสุคตเจ้า

จงเสด็จกลับเสียเถิด. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่า

ได้กลัวไปเลย เรามีกำลังสามารถพอที่จะทรมานช้างนาลาคิรีเชือกนี้ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ ทูลขอโอกาสกะพระศาสดาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมดาว่ากิจที่บังเกิดขึ้นแก่บิดา ย่อมเป็นภาระของ

บุตรคนโต ข้าพระองค์ผู้เดียวจะขอทรมานช้างเชือกนี้. ลำดับนั้น พระศาสดา

จึงตรัสห้ามพระสารีบุตรนั้น ว่าดูก่อนสารีบุตร ขึ้นชื่อว่า กำลังแห่งพระพุทธเจ้า

เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนกำลังของพวกสาวกเป็นอีกอย่างหนึ่ง เธอจงยับยั้งอยู่เถิด.

พระเถระผู้ใหญ่ ๘๐ โดยมากต่างก็พากันทูลขอโอกาสอย่างนี้เหมือนกัน.

พระศาสดาตรัสห้ามพระมหาเถระเหล่านั้นแม้ทั้งหมด. ลำดับนั้น ท่าน

พระอานนท์ ไม่สามารถจะทนดูอยู่ได้ ด้วยความรักมีกำลังในพระศาสดาจึง

คิดว่า ช้างเชือกนี้ จงฆ่าเราเสียก่อนเถิด ดังนี้แล้ว ยอมสละชีวิตเพื่อประโยชน์

แก่พระตถาคตเจ้า ได้ออกไปยืนอยู่เบื้องพระพักตร์แห่งพระศาสดา. ลำดับนั้น

พระศาสดาจึงตรัสกะท่านว่า อานนท์ เธอจงหลีกไป อานนท์ เธอจงหลีกไป

เธออย่ามายืนขวางหน้าตถาคต. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างเชือกนี้ดุร้ายกาจ

ฆ่ามนุษย์ได้ เป็นเช่นกับไฟบรรลัยกัลป์ จงฆ่าข้าพระองค์เสียก่อนแล้ว จึงมา

ยังสำนักของพระองค์ในภายหลัง. พระอานนทเถระ แม้ถูกพระศาสดาตรัสห้าม

อยู่ถึง ๓ ครั้ง ก็ยังคงยืนอยู่อย่างนั้นทีเดียวมิได้ถอยกลับมา. ลำดับนั้น

พระศาสดาจึงให้พระอานนท์ถอยกลับมาด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ แล้วประทับยืนอยู่

ในระหว่างภิกษุทั้งหลาย. ในขณะนั้น หญิงคนหนึ่งเห็นช้างนาลาคิรี มีความ

สะดุ้งกลัวย่อมรณภัย จึงวิ่งหนี ทิ้งทารกที่ตนอุ้มเข้าสะเอวไว้ในระหว่างกลาง

แห่งช้างและพระตถาคตเจ้า แล้ววิ่งหนีไป. ช้างวิ่งไล่ตามหญิงนั้นแล้วกลับมา

ยังที่ใกล้ทารก. ทารกจึงร้องเสียงดัง พระศาสดาทรงแผ่เมตตาไปยังช้างนาลาคิรี

ทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะยิ่งนักดุจเสียงพรหม รับสั่งร้องเรียกว่า แน่ะ

เจ้าช้างนาลาคิรีที่เจริญ เขาให้เจ้าดื่มเหล้าถึง ๑๖ หม้อ มอมเมาเสียจนมึนมัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

ใช่ว่าเขากระทำเจ้าด้วยประสงค์ว่า จักให้จับคนอื่นก็หาไม่ แต่เขากระทำด้วย

ประสงค์จะให้จับเรา เจ้าอย่าเที่ยวอาละวาดให้เมื่อยขาโดยใช่เหตุเลย จงมานี่เถิด

ช้างนาลาคิรีเชือกนั้น พอได้ยินพระดำรัสของพระศาสดา จึงลืมตาขึ้นดูพระรูป

อันเป็นสิริของพระผู้มีพระภาคเจ้า กลับได้ความสังเวชใจ หายเมาสุราด้วยเดช

แห่งพระพุทธเจ้า จึงห้อยงวงและลดหูทั้งสองข้าง ไปหมอบอยู่แทบพระบาท

ทั้งสองของพระตถาคตเจ้า.

ลำดับนั้น พระศาสดาจึงตรัสกะช้างนาลาคิรีนั้นว่า ดูก่อนเจ้าช้าง

นาลาคิรี เจ้าเป็นช้างสัตว์ดิรัจฉาน เราเป็นพุทธะเหล่าช้างตัวประเสริฐ ตั้งแต่

นี้ไป เจ้าจงอย่าดุร้าย อย่าหยาบคาย อย่าฆ่ามนุษย์ จงได้เฉพาะจึงเมตตาจิต

ทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาออกไปลูบที่กระพองแล้ว ตรัสพระคาถาว่า

เจ้าช้างมีงวง เจ้าอย่าเบียดเบียนช้างตัวประเสริฐ

(หมายถึงพระตถาคตเจ้า) แน่ะเจ้าช้างมีงวง เพราะว่า

การเบียดเบียนช้างตัวประเสริฐ เป็นเหตุนำความทุกข์

มาให้ แน่ะเจ้าช้างมีงวง ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาจนกาล

บัดนี้ ผู้ฆ่าช้างตัวประเสริฐ ย่อมไม่ได้พบสุคติเลย

เจ้าอย่าเมา เจ้าอย่าประมาท ด้วยว่าผู้ประมาทแล้ว

ย่อมไปสู่สุคติไม่ได้ เจ้าจงกระทำหนทางที่จะพาตัวเจ้า

ไปสู่สุคติเถิด.

พระศาสดาทรงแสดงธรรมด้วยประการฉะนี้ สรีระทั้งสิ้นของช้างนั้น

ได้เป็นร่างกายมีปีติถูกต้องแล้วหาระหว่างคั่นมิได้. ถ้าไม่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน

ก็จักได้บรรลุโสดาปัตติผล. มนุษย์ทั้งหลายเห็นปาฏิหาริย์นั้น ต่างพากันส่งเสียง

ปรบมืออยู่อื้ออึง พวกที่เกิดความโสมนัสยินดีก็โยนเครื่องอาภรณ์ต่าง ๆ ไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

เครื่องอาภรณ์เหล่านั้น ก็ไปปกคลุมสรีระของช้าง. ตั้งแต่วันนั้นมา ช้าง

นาลาคิรีก็ปรากฏนามว่า ธนปาลกะ ก็ในขณะนั้น สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ในสมาคม

แห่งช้างธนปาลกะก็ได้ดื่มน้ำอมฤต. พระศาสดาทรงให้ช้างธนปาลกะตั้งอยู่ใน

ศีล ๕ ประการ ช้างนั้นก็เอางวงดูดละอองธุลีพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วเอาโปรยลงบนหัวของตน ย่อตัวถอยหลังออกมายืนอยู่ในที่อุปจาร พอ

แลเห็นถวายบังคมพระทศพลกลับเข้าไปยังโรงช้าง. ตั้งแต่วันนั้นมา ช้าง

นาลาคิรีนั้น ก็กลายเป็นช้างที่ได้รับการฝึกแล้วเชือกหนึ่ง ในบรรดาช้างที่ได้

รับการฝึกแล้วทั้งหลายอย่างนี้ ไม่เคยเบียดเบียนใครให้เดือดร้อนอีกต่อไปเลย.

พระศาสดาทรงสำเร็จสมดังมโนรถแล้ว ทรงอธิษฐานว่า ทรัพย์สิ่งของอันใด

อันผู้ใดทิ้งไว้แล้ว ทรัพย์สิ่งของอันนั้นจงเป็นของผู้นั้นตามเดิม แล้วทรง

พระดำริว่า วันนี้เราได้กระทำปาฏิหาริย์อย่างใหญ่แล้ว การเที่ยวจาริกไปเพื่อ

บิณฑบาตในพระนครนี้ไม่สมควร ทรงทรมานพวกเดียรถีย์แล้ว มีภิกษุสงฆ์

แวดล้อมเป็นบริวาร ประดุจกษัตริย์ที่มีชัยชนะแล้วเสด็จออกจากพระนคร

ทรงดำเนินไปยังพระวิหารเวฬุวันทีเดียว. แม้พวกชนชาวเมืองก็พากันถือเอา

ข้าวน้ำและของเคี้ยวเป็นอันมากไปยังวิหาร ยังมหาทานให้เป็นไปทั่วแล้ว ใน

เวลาเย็นวันนั้น ภิกษุทั้งหลายประชุมกันเต็มธรรมสภาสนทนากันว่า ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย พระอานนทเถระเจ้าผู้มีอายุ ได้ยอมเสียสละชีวิตของท่านเพื่อ

ประโยชน์แก่พระตถาคตเจ้า ชื่อว่ากระทำกรรมที่กระทำได้ยาก ท่านเห็นช้าง

นาลาคิรีแล้ว แม้ถูกพระศาสดาตรัสห้ามอยู่ถึง ๓ ครั้ง ก็ยังไม่ถอยไป ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย น่าสรรเสริญพระอานนท์เถรเจ้าผู้มีอายุ กระทำสิ่งซึ่งยากที่จะ

กระทำได้. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำสรรเสริญเกียรติคุณของ

พระอานนท์นั้น ด้วยโสตธาตุเพียงดังทิพย์ จึงทรงพระดำริว่า ถ้อยคำสรรเสริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

เกียรติคุณของอานนท์กำลังเป็นไปอยู่ เราควรจะไปในที่นั้น จึงเสด็จออกจาก

พระคันธกุฎี เสด็จไปยังโรงธรรมสภาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันนี้

พวกเธอกำลังสนทนากันด้วยเรื่องอะไรเล่าหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้

ทรงทราบว่า เรื่องชื่อนี้พระพุทธเจ้าข้า จึงตรัสว่า ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่

ถึงเมื่อกาลก่อน ครั้งอานนท์เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ก็ได้เคยสละชีวิตเพื่อ

ประโยชน์แก่ (เรา) ตถาคตแล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้วได้ทรงนิ่งเฉยอยู่ เมื่อ

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอาราธนา จึงได้ทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า สาคละ

สวยราชสมบัติอยู่โดยธรรมในสาคลนคร ในแคว้นมหิสกะ. ในกาลนั้น ใน

หมู่บ้านนายพรานแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ไกลจากพระนคร มีนายพรานคนหนึ่งเอา

บ่วงดักนกมาเที่ยวขายในพระนครเลี้ยงชีวิตอยู่. ก็ในที่ไม่ไกลจากพระนคร มี

สระบัวหลวงอยู่สระหนึ่งชื่อมานุสิยะ สระกว้างยาวประมาณ ๑๒ โยชน์ สระนั้น

ดาดาษไปด้วยดอกบัว ๕ ชนิด. มีหมู่นกต่างเพศต่างพรรณมาลงที่สระนั้น

นายพรานนั้นดักบ่วงไว้ โดยมิได้เลือกว่าเป็นนกชนิดไร. ในกาลนั้น พญาหงส์

ธตรฐ มีหงส์เก้าหมื่นหกพันตัวเป็นบริวารอาศัยอยู่ในถ้ำทองใกล้ภูเขาจิตตกูฏ.

มีหงส์ตัวหนึ่งชื่อ สุมุขะ ได้เป็นเสนาบดีของพญาหงส์นั้น กาลครั้งนั้น หงส์ทอง

๒ - ๓ ตัวจากฝูงหงส์นั้น บินไปยังมานุสิยสระ เที่ยวไปในสระนั้น ซึ่งมีที่หากิน

อย่างพอเพียงตามความสบาย แล้วกลับมายังภูเขาจิตตกูฏ บอกแก่พญาหงส์

ธตรฐว่า ข้าแต่มหาราช มีสระบัวแห่งหนึ่ง ชื่อมานุสิยะ อยู่ในถิ่นของมนุษย์

มีที่เที่ยวแสวงหาอาหารอย่างสมบูรณ์ พวกข้าพเจ้าจะไปหาอาหารในสระนั้น

พญาหงส์นั้นจึงห้ามว่า ขึ้นชื่อว่าถิ่นของมนุษย์ ย่อมเป็นที่น่ารังเกียจ มาก

ไปด้วยภัยเฉพาะหน้า อย่าได้ชอบใจแก่พวกเจ้าเลย ถูกหงส์เหล่านั้นรบเร้าอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

บ่อย ๆ จึงกล่าวว่า ถ้าสระนั้น ย่อมเป็นที่ถูกใจของพวกท่าน เราก็จะไป

ด้วยกัน จึงพร้อมด้วยบริวารได้ไปยังสระนั้น พญาหงส์ธตรฐนั้น พอร่อนลง

จากอากาศ ก็เอาเท้าถลำเข้าไปติดบ่วงอยู่ทีเดียว. ลำดับนั้น บ่วงของนายพราน

นั้น ก็รัดเท้าเอาไว้แน่น ดุจถูกรัดด้วยซี่เหล็กฉะนั้น. ลำดับนั้นพญาหงส์จึง

ฉุดบ่วงมาด้วยคิดว่า เราจักทำบ่วงให้ขาด ครั้งแรกหนึ่งถลอกปอกหมด

ครั้งที่สองเนื้อขาด ครั้งที่สามเอ็นขาด ในครั้งทีสี่บ่วงนั้นเข้าไปถึงกระดูก

โลหิตไหลนอง เวทนามีกำลังเป็นไปทั่วแล้ว. พญาหงส์นั้น จึงคิดว่า ถ้าเรา

ร้องว่าติดบ่วง พวกญาติของเราก็จะพากันสะดุ้งตกใจกลัว ไม่ทันได้กินอาหาร

ถูกความหิวแผดเผาแล้ว ก็จะหนีไปตกลงในมหาสมุทรเพราะหมดกำลัง.

พญาหงส์นั้นพยายามอดใจทนต่อทุกขเวทนา จนถึงเวลาพวกหงส์ที่เป็นญาติ

ทั้งหลายกินอาหารอิ่มแล้ว กำลังเล่นเพลินอยู่ จึงร้องขึ้นด้วยเสียงอันดังว่า

ติดบ่วง. หงส์ทั้งหลายได้ยินเสียงดังนั้น มีความกลัวต่อมรณภัยเป็นกำลัง

ต่างก็คุมกันเป็นพวก ๆ บ่ายหน้าไปยังภูเขาจิตตกูฏบินไปโดยเร็ว เมื่อหงส์

เหล่านั้นพากันกลับไปหมดแล้ว สุมุขหงส์ที่เป็นเสนาบดีคิดว่า ภัยนี้บังเกิดขึ้น

แก่มหาราชของเราหรือไม่หนอ เราจักทราบถึงเรื่องนั้น จึงบินไปโดยเร็วไว

มองไม่เห็นพระมหาสัตว์ ในระหว่างหมู่หงส์ที่ไปอยู่ข้างหน้า จึงมาค้นดูฝูงกลาง

ก็มิได้เห็นพระมหาสัตว์แม้ในที่นั้น จึงตรวจค้นฝูงสุดท้ายก็มิได้เห็นพระ-

มหาสัตว์ แม้ในที่นั้นอีก จึงแน่ใจว่า ภัยนั้นบังเกิดขึ้นแก่พญาหงส์นั้น โดย

ไม่ต้องสงสัยทีเดียว จึงรีบกลับมายังที่เดิมเห็นพระมหาสัตว์ติดบ่วงยืนเกาะอยู่

บนหลังตม มีโลหิตไหลนองทนทุกขเวทนาอย่างสาหัส จึงบอกว่า ข้าแต่มหาราช

ขอพระองค์อย่าได้กลัวไปเลย แล้วกล่าวว่า ข้าพระองค์จักสละชีวิตของข้าพระองค์

จักยังพระองค์ให้หลุดจากบ่วง จึงบินร่อนลงมาปลอบพระมหาสัตว์เกาะอยู่บน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

หลังตม. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะทดลองใจสุมุขหงส์นั้น จึงกล่าว

คาถาเป็นปฐมว่า

ดูก่อนสุมุขะ ฝูงหงส์พากันบินหนีไปไม่เหลียว-

หลัง แม้ท่านก็จงไปเสียเถิด อย่าหวังอยู่ในที่นี้เลย

ความเป็นสหายในเราผู้ติดบ่วง ย่อมไม่มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุวิจินนฺตา ได้แก่ ไม่ห่วงใยด้วย

ความรัก คือด้วยความอาลัย. บทว่า ปกฺกมนฺติ ความว่า พญาหงส์นั้น

กล่าวว่า ฝูงหงส์ทั้งหลายซึ่งล้วนเป็นหมู่ญาติของเรา เป็นจำนวนหงส์มีประมาณ

เก้าหมื่นหกพันตัวเหล่านั้น มิได้มองดูเราด้วยอำนาจความอาลัยรัก ทิ้งเราแล้ว

บินหนีไปหมด ถึงตัวท่านก็จงรีบหนีไปเสียเถิด อยู่หวังการอยู่ในที่นี้เลย

ด้วยว่า ขึ้นชื่อว่า ความเป็นสหายในตัวเรา ย่อมไม่มีผลเพราะการติดบ่วงอย่างนี้

อธิบายว่า บัดนี้เราไม่อาจที่จะกระทำกิจด้วยความเป็นสหายสักน้อยหนึ่งแก่ท่าน

ได้เลย เราไม่สามารถจะกระทำอุปการะได้ จะมีประโยชน์อะไรแก่ท่าน ท่าน

อย่าชักช้าเลย จงรีบบินหนีไปเสียเถิดนะ.

เบื้องหน้าแต่นั้น สุมุขหงส์กล่าวว่า

ข้าพระองค์จะพึงไปหรือไม่พึงไป ความไม่

ตายก็ไม่พึงมี เพราะการไปหรือการไม่ไปนั้น เมื่อ

พระองค์มีความสุขจึงอยู่ใกล้ เมื่อพระองค์ได้รับความ

ทุกข์จะพึงละไปอย่างไรได้ ความตายพร้อมกับพระองค์

หรือว่าความเป็นอยู่เว้นจากพระองค์ ความตายนั้นแล

ประเสริฐกว่า เว้นจากพระองค์แล้ว จะพึงเป็น

อยู่ประเสริฐอะไร ข้าแต่พระมหาราชจอมหงส์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

ข้าพระองค์พึงละทิ้งพระองค์ซึ่งทรงถึงทุกข์อย่างนี้ ข้อ

นี้ไม่เป็นธรรมเลย คติของพระองค์ ข้าพระองค์ย่อม

ชอบใจ.

ในลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า

คติของเราผู้ติดบ่วงจะเป็นอื่นไปอย่างไรเล่า

นอกจากเข้าโรงครัวใหญ่ คตินั้นย่อมชอบใจ แก่

ท่านผู้มีความคิด ผู้พ้นแล้วอย่างไร ดูก่อนสุมุขหงส์

ท่านจะพึงเห็นประโยชน์อะไร ในการสิ้นชีวิตของเรา

และของท่านทั้งสอง หรือของพวกญาติที่เหลือ ดูก่อน

ท่านผู้มีปีกทั้งสองดังสีทอง เมื่อท่านยอมสละชีวิตใน

เพราะคุณอันไม่ประจักษ์ ดังคนตาบอดกระทำแล้วใน

ที่มืด จะพึงยังประโยชน์อะไรให้รุ่งเรืองได้.

สุมุขหงส์กล่าวตอบว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าฝูงหงส์ทั้งหลาย

ทำไมหนอ พระองค์จึงไม่ทรงรู้อรรถในธรรม

ธรรมอันบุคคลเคารพแล้ว ย่อมแสดงประโยชน์แก่

สัตว์ทั้งหลาย ข้าพระองค์นั้นเพ่งเล็งอยู่ ซึ่งธรรมและ

ประโยชน์อันตั้งจากธรรม ทั้งเห็นพร้อมอยู่ ซึ่งความ

ภักดีในพระองค์ จึงมิได้เสียดายชีวิต ความที่มิตร เมื่อ

ระลึกถึงธรรม ไม่พึงทอดทิ้งมิตรในยามทุกข์ แม้

เพราะเหตุแห่งชีวิต นี้เป็นธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย

โดยแท้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวว่า

ธรรมนี้นั้นท่านประพฤติแล้ว และความภักดี

ในเราก็ปรากฏแล้ว ท่านจงทำตามความปรารถนา

ของเรานี้เถิด ท่านเป็นอันเราอนุมัติแล้ว จงไปเสีย

เถิด ดูก่อนท่านผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ก็แลเมื่อกาล

ล่วงไปอย่างนี้ คือ เมื่อเราติดบ่วงอยู่ในที่นี้ ท่านพึง

กลับไปปกครองหมู่ญาติทั้งหลายของเราให้จงดีเถิด.

เมื่อสุวรรณหงส์ตัวประเสริฐ ประพฤติธรรม

อันประเสริฐ กำลังโต้ตอบฉันอยู่ด้วยประการฉะนี้

นายพรานได้ปรากฏแล้ว เหมือนดังมัจจุราชปรากฏ

แก่บุคคลผู้ป่วยหนัก ฉะนั้น สุวรรณหงส์ทั้งสอง

เกื้อกูลกันมาสิ้นกาลนานนั้น เห็นศัตรูเดินมาแล้ว ก็

นิ่งเฉยมิได้เคลื่อนจากที่ ฝ่ายนายพราน ผู้เป็นศัตรู

ของพวกนก เห็นพญาหงส์ธตรฐจอมหงส์กำลัง

เดินส่ายไปมาแต่ที่นั้น ๆ จึงรีบเดินเข้าไป ก็นาย

พรานนั้นครั้นรีบเดินเข้าไปแล้ว เกิดความสงสัยขึ้นว่า

หงส์ทั้งสองนั้นติดบ่วงหรือไม่ จึงค่อยลดความเร็วลง

ค่อย ๆ เดินเข้าไปให้ใกล้สุวรรณหงส์ทั้งสอง ได้เห็น

ตัวหนึ่งติดบ่วง อีกตัวหนึ่งไม่ติดบ่วง แต่มายืนอยู่ใกล้

ตัวที่ติดบ่วง จึงเพ่งดูตัวที่ติดบ่วงที่เป็นโทษ ลำดับนั้น

นายพรานนั้นเป็นผู้มีความสงสัย จึงได้กล่าวถามสุมุข-

หงส์ตัวมีผิวพรรณเหลือง มีร่างกายใหญ่ เป็นใหญ่ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

หมู่หงส์ ซึ่งยืนอยู่ว่า เพราะเหตุไรหนอ พญาหงส์

ที่ติดบ่วงใหญ่ ย่อมไม่กระทำซึ่งทิศ เมื่อเป็นเช่นนั้น

เพราะเหตุไร ท่านผู้ไม่ติดบ่วง เป็นผู้มีกำลัง จึงไม่บิน

หนีไป พญาหงส์นี้เป็นอะไรกับท่านหรือ ท่านพ้น

แล้วทำไมจึงยังเฝ้าหงส์ตัวติดบ่วงอยู่ หงส์ทั้งหลายพา

กันละทิ้งหนีไปหมด เพราะเหตุไร ท่านจึงยังอยู่ตัวเดียว.

สุมุขหงส์จึงกล่าวตอบว่า

ดูก่อนนายพรานนก พญาหงส์นั้นเป็นราชา

ของเรา ทั้งเป็นเพื่อนเสมอด้วยชีวิตของเราด้วย เรา

จึงไม่ละท่านไปจนกว่าจะถึงที่สุดแต่งกาละ

นายพราน จึงกล่าวว่า

ก็ไฉนพญาหงส์นี้ จึงไม่เห็นบ่วงที่ดักไว้

ความจริงการรู้อันตรายของตน เป็นเหตุของบุคคล

ผู้ใหญ่ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ใหญ่เหล่านั้น

ควรรู้อันตราย.

สุมุขหงส์ จึงกล่าวตอบว่า

เมื่อใดมีความเสื่อม เมื่อนั้น สัตว์แม้เข้าไป

ในข่ายหรือบ่วงก็ไม่รู้สึก ในเมื่อถึงคราวจะสิ้นชีวิต.

นายพราน จึงกล่าวว่า

ดูก่อนท่านผู้มีปัญญามาก ก็แลบ่วงทั้งหลาย

ที่เขาดักไว้มีมากอย่าง สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้ามาติด

บ่วงที่เขาดักอำพรางไว้ ในเมื่อถึงคราวจะสิ้นชีวิต

อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

เนื้อความแห่งคาถาเหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยอันมาแล้วในบท

บาลีทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คจฺเฉ วา ความว่า สุมุขหงส์นั้นกล่าวว่า

ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์พึงไปจากที่นี้หรือไม่ไปก็ตามเถิด แต่ที่ข้าพระองค์

จะพึงไม่ตายเพราะการไปหรือการไม่ไปนั้นไม่มีเลย เพราะว่าข้าพระองค์ ถึงจะ

ไปจากที่นี้หรือไม่ไปคงไม่พ้นจากความตายไปได้เป็นแน่แท้ ก็ในกาลก่อนแต่

นี้ พระองค์มีความสุข ข้าพระองค์ก็ได้อยู่ใกล้ชิด บัดนี้พระองค์กำลังได้รับทุกข์

ข้าพระองค์จะทอดทิ้งไปเสียอย่างไรได้. บทว่า มรณ วา ความว่า เมื่อ

ข้าพระองค์ไม่ไป พึงตายเสียพร้อมกับพระองค์อย่างหนึ่ง หรือเมื่อข้าพระองค์

ไป แต่มีชีวิตอยู่เว้นจากพระองค์อย่างหนึ่ง ในสองอย่างนี้ การตายเสียพร้อม

กันกับพระองค์นั้นแล เป็นของประเสริฐของข้าพระองค์ยิ่งนัก ส่วนการที่

ข้าพระองค์จะพึงมีชีวิตอยู่เว้นเสียจากพระองค์นั้น ไม่เป็นของประเสริฐแก่ข้า-

พระองค์เลย. บทว่า รุจฺจเต ความว่า ความสำเร็จนั้นแล ย่อมเป็นที่ชอบใจ

ของข้าพระองค์. บทว่า สา กถ ความว่า ดูก่อนสุมุขหงส์ผู้เป็นสหาย เมื่อ

เราติดบ่วงที่ทำด้วยหนังสัตว์ร้ายอย่างมั่นคงไปแล้วในมือของบุคคลอื่น คตินั้น

จึงเป็นที่ชอบใจก่อน แต่เมื่อท่านมีความคิดมีปัญญาพ้นจากบ่วงแล้ว ยังเป็น

ที่ชอบใจอยู่อย่างไร. บทว่า ปกฺขิมา ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยขนปีก. บทว่า

อภินฺน ความว่า เมื่อเราแม้ทั้งสองสิ้นชีวิตไปแล้ว ท่านยังจะเห็นประโยชน์

อะไรของเรา ของท่านหรือของพวกญาติที่เหลือ. อักษร ในคำว่า ยนฺน นี้

ใช้ในความอุปมา. บทว่า กญฺจนเทปิจฺฉ ได้แก่ มีขนปีกทั้งสองประดุจสีทอง

อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน ความว่า มีปีกทั้งสองข้างเช่นกับทอง.

บทว่า ตมสา ได้แก่ ในความมืด อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.

อักษร ข้างต้นเชื่อมความกับบทนี้. บทว่า กต ความว่า ประหนึ่งว่ากระทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

แล้ว มีคำกล่าวอธิบายว่า เมื่อท่านจะยอมสละชีวิตก็ตาม ชีวิตของเราก็ไม่

รอดแน่ การสละชีวิตของท่านนั้น จึงชื่อว่าไม่ประจักษ์คุณเพราะไม่ได้รับ

ประโยชน์แม้สักน้อยหนึ่งเลย เปรียบเหมือนคนตาบอด กระทำในที่มืด. ท่าน

มายอมเสียสละชีวิตในการเสียสละอันไม่ประจักษ์คุณของท่านเช่นนี้ จะพึงยัง

ประโยชน์อะไรให้รุ่งเรืองได้. บทว่า ธมฺโม อปจิโต สนฺโต ความว่า ธรรม

ที่บุคคลบูชาแล้ว นับถือแล้ว เคารพแล้ว. บทว่า อตฺถ ทสฺเสติ ได้แก่

แสดงถึงความเจริญ. บทว่า อเปกฺขาโน คือพิจารณาอยู่. บทว่า ธมฺมา จตฺถ

ความว่า อนึ่งข้าพระองค์เห็นอยู่ ซึ่งประโยชน์อันตั้งขึ้นแล้วจากธรรม. บทว่า

ภตฺตึ คือความรักเยื่อใย. บทว่า สต ธมฺโม คือเป็นสภาวะของบัณฑิตทั้ง

หลาย. บทว่า โย มิตฺโต ความว่า มิตรใดไม่พึงทอดทิ้งมิตรในเวลาได้รับ

อันตราย ธรรมนี้แลชื่อว่าเป็นสภาพของมิตรผู้ไม่ทอดทิ้งอยู่นั้น ธรรมของ

สัตบุรุษทั้งหลายแจ่มแจ้งแล้ว คือปรากฏแล้วโดยแท้. บทว่า กาม กรสฺสุ

ความว่า ท่านจงกระทำตามความปรารถนาของเรา คือตามถ้อยคำของเราที่

เราปรารถนาไว้นี้. บทว่า อปิเตฺวว คเต กาเล ความว่า ก็แลเมื่อกาล

เวลาผ่านไปแล้วอย่างนี้ คือเมื่อเราติดบ่วงอยู่ในที่นี้. บทว่า ปรมสวุต คือ

พึงระแวดระวังอย่างแข็งแรง.

บทว่า อิจฺเจว มนฺตยนฺตาน ได้แก่ กำลังกล่าวขอร้องกันอยู่อย่างนี้

ว่า ท่านจงไป เราไม่ไป ดังนี้. บทว่า อริยาน คือเป็นผู้ประเสริฐด้วยความ

ประพฤติ. บทว่า ปจฺจนิสฺสถ ความว่า นายพรานนุ่งผ้าย้อมฝาดประดับ

พวงมาลาสีแดง ถือค้อนกำลังเดินมาอยู่ทีเดียว ปรากฏขึ้นแก่หงส์ทั้ง ๒. บทว่า

อาตุราน คือ ประดุจดังพระยามัจจุราชปรากฏแก่คนไข้ทั้งหลาย ฉะนั้น.

บทว่า อภิสิญฺจิกฺข ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุวรรณหงส์แม้ทั้งสอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

เหล่านั้นเห็นศัตรูเดินมาอยู่. บทว่า หิตา ได้แก่ เป็นผู้อุดหนุนกัน มีจิต

รักใคร่สนิทสนมซึ่งกันและกันมาเป็นเวลาช้านาน. บทว่า น จลญฺเจสุ ได้แก่

มิได้เคลื่อนจากที่ คงเกาะอยู่ตามเดิมทีเดียว. ด้วยว่า สุมุขหงส์คิดว่า นายพราน

นี้มาแล้ว ถ้าต้องการประหารก็จงประหารเราก่อน จึงนั่งเกาะบังพระมหาสัตว์

ไว้เบื้องหลัง. บทว่า ธตรฏฺเ หมายเอาหมู่หงส์ธตรฐทั้งหลาย. บทว่า

สมุฑฺเฑนฺเต ความว่า นายพรานเห็นหงส์นั้นกำลังเดินกลับไปกลับมาข้างโน้น

ข้างนี้เพราะกลัวตาย. บทว่า อาสชฺช ได้แก่ เข้าไปจนใกล้หงส์ทั้งสองนอกนี้.

บทว่า ปจฺจกมฺปิตฺถ ได้แก่ นายพรานคิดใคร่ครวญอยู่ว่า หงส์นั้นติดบ่วง

หรือยังไม่ติด จึงค่อย ๆ ย่อง คือลดความเร็วเสียแล้วได้ค่อย ๆ เดินไป. บทว่า

อาสชฺช พนฺธ ความว่า นายพรานเห็นสุมุขหงส์เกาะอยู่ใกล้พระมหาสัตว์

ซึ่งติดบ่วงอยู่. บทว่า อาทีนว ได้แก่ นายพรานเห็นพระมหาสัตว์ซึ่งเป็น

โทษทีเดียวมองดูอยู่. บทว่า วิมโต ความว่า นายพรานนั้นเกิดความสงสัย

ขึ้นว่า เหตุไรหนอ หงส์ตัวทีไม่ติดบ่วงจึงได้เกาะอยู่ใกล้ชิดกับตัวที่ติดบ่วง

เราจักถามดูให้รู้เหตุ. บทว่า ปณฺฑเร หมายเอาสุมุขหงส์นั้น อีกอย่างหนึ่ง

อธิบายว่า เป็นสัตว์บริสุทธิ์ปราศจากเครื่องเศร้าหมอง คือ มีสีเหมือนทองที่เขา

หลอมไว้ดีแล้ว. บทว่า ปวฑฺฒกาเย ได้แก่ มีร่างกายอันเติบโตแล้วมี

ร่างกายใหญ่โต. คำว่า ยนฺนู หมายเอาหงส์ตัวที่ติดบ่วงใหญ่นี้. บทว่า ทิส

น กุรุเต อธิบายว่า ไม่ยอมคบแม้สักทิศหนึ่ง การกระทำดังนั้นเป็นการ

สมควรแล้ว. บทว่า พลี คือเป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยกำลัง. นายพรานย่อมเรียก

หงส์นั้นว่า สัตว์มีปีก. บทว่า โอหาย คือทิ้งไปแล้ว. บทว่า ยนฺติ ความว่า

ฝูงหงส์ที่เหลือพากันบินไปหมด. บทว่า อวหียสิ แปลว่า เหลืออยู่. บทว่า

ทิชามิตฺต คือ ไม่เป็นมิตรแก่พวกนกทั้งหลาย. บทว่า ยาว กาลสฺส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

ปริยาย ได้แก่ จนกว่าวาระสุดท้ายแห่งความตายจะมาถึง. บทว่า กถ ปนาย

ความว่า ท่านกล่าวว่า พญาหงส์นั้นเป็นพระราชาของท่าน ธรรมดาว่าพระราชา

ทั้งหลายย่อมเป็นบัณฑิต ก็พระราชาของท่านเป็นบัณฑิต แม้ด้วยประการฉะนี้

เพราะเหตุไร จึงมิได้เห็นบ่วงที่ดักไว้ เพราะว่าธรรมดาอันนี้ ย่อมเป็นบท

อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า ความรู้สึกในอันตรายของตน ย่อมเป็นบท คือเป็นเหตุ

ของบุคคลทั้งหลาย ผู้ถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ใหญ่ด้วยยศ หรือความเป็นผู้ใหญ่

ด้วยความรู้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตเหล่านั้น จึงควรรู้ถึงอันตราย. บทว่า

ปราภโว คือ ความไม่เจริญ. บทว่า อาสชฺชาปิ คือ ถึงหากจะเข้าไปจน

ใกล้ชิดก็ไม่รู้สึกตัว. บทว่า ตตา คือ ล่อไว้ ซุ่มไว้. บทว่า คุยฺหมาสชฺช

ความว่า บรรดาบ่วงเหล่านั้น บ่วงใดที่อำพรางไว้คือลวงไว้ สัตว์ทั้งหลาย

เข้าใกล้บ่วงนั้น ย่อมถูกรัดรึง. บทว่า อเถว ความว่า เมื่อถึงคราวสิ้นชีวิต

อย่างนี้ สัตว์ทั้งหลายย่อมถูกรึงรัดติดอยู่เป็นแน่แท้ทีเดียว.

สุมุขหงส์นั้น กระทำนายพรานให้เป็นผู้มีน้ำใจอ่อน ด้วยการเจรจา

ปราศรัยด้วยประการฉะนี้แล้ว เพื่อจะขอชีวิตของพระมหาสัตว์ จึงกล่าวคาถาว่า

เออก็การอยู่ร่วมกันกับท่านนี้ พึงมีสุขเป็นกำไร

หนอ และขอท่านอนุญาต แก่ข้าพเจ้าทั้งสองเถิด แล

ขอท่านพึงให้ชีวิตแก่ข้าพเจ้าทั้งสองด้วยเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ นาย ตัดบทเป็น อปิ นุ อย.

บทว่า สุขุทฺรโย คือมีผลเป็นสุข. บทว่า อปิ โน อนุมญฺาสิ ความว่า

ขอท่านพึงอนุญาตให้ข้าพเจ้าทั้งสองกลับไปยังภูเขาจิตตกุฏเพื่อเยี่ยมญาติทั้งหลาย

เถิด. บทว่า อปี รน ซีวิต ทเท ความว่า อนึ่ง ท่านมีความคุ้นเคยบังเกิด

แล้วด้วยถ้อยคำนี้ จึงอยู่พึงฆ่าข้าพเจ้าทั้งสองเสียเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

นายพรานถูกจรึงด้วยถ้อยคำอันอ่อนหวานของสุมุขหงส์นั้น จึงกล่าว

คาถาว่า

เรามิได้ผูกท่านไว้ และไม่ปรารถนาจะฆ่าท่าน

เชิญท่านรีบไปจากที่นี้ตามความปรารถนา แล้วจงอยู่

เป็นสุขตลอดกาลนานเถิด.

ลำดับนั้น สุมุขหงส์จึงกล่าวคาถา ๔ คาถาว่า

ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ โดยเว้นจาก

ชีวิตของพญาหงส์นี้ ถ้าท่านยินดีเพียงตัวเดียว ขอ

ให้ท่านปล่อยพญาหงส์นี้ และจงกินข้าพเจ้า ข้าพเจ้า

ทั้งสองเป็นผู้เสมอกัน ด้วยรูปทรงสัณฐานและวัย

ท่านไม่เสื่อมแล้วจากลาก ขอท่านจงเปลี่ยนข้าพเจ้า

กับพญาหงส์นี้เถิด เชิญท่านพิจารณาดูในข้าพเจ้า

ทั้งสอง เมื่อท่านมีความปรารถนาเฉพาะตัวเดียว จง

เอาบ่วงผูกข้าพเจ้าไว้ก่อน จงปล่อยพญาหงส์ใน

ภายหลัง ถ้าท่านทำตามที่ข้าพเจ้าขอร้อง ลาภของท่าน

ก็คงมีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน ทั้งท่านจะได้เป็น

มิตรกับฝูงหงส์ธตรฐจนตลอดชีวิตด้วย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอต ความว่า ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาความ

เป็นอยู่ของข้าพเจ้าโดยปราศจากชีวิตของพญาหงส์นี้เลย. บทว่า ตุลฺยสฺมา

ได้แก่ ข้าพเจ้าทั้งสองย่อมเป็นผู้สม่ำเสมอกัน. บทว่า นิมินา ตุว คือ

ท่านจงแลกเปลี่ยนตัวกันเสียเถิด. บทว่า ตวสฺมสุ ความว่า สุมุขหงส์นั้น

กล่าวว่า ท่านมีความปรารถนาในข้าพเจ้าทั้งสอง ท่านจะประโยชน์อะไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

ด้วยพญาหงส์นี้ จงยังความโลภให้เกิดในข้าพเจ้า. บทว่า ตาวเทว คือ

เพียงเท่านั้นแล. บทว่า ยาจนาย จ ได้แก่ คำขอร้องของข้าพเจ้าอันใด

ขอท่านพึงกระทำตามคำขอร้องนั้นเถิด.

นายพรานก็มีใจอ่อนลงอีก เพราะการแสดงธรรมนั้น ประดุจปุยนุ่น

ที่เขาใส่ลงในน้ำมัน ฉะนั้น เมื่อจะยกพระมหาสัตว์ให้เป็นรางวัลแก่สุมุขหงส์

นั้น จึงกล่าวเป็นคาถาว่า

มิตร อำมาตย์ ทาส ทาสี บุตร ภรรยา และ

พวกพ้องหมู่ใหญ่ทั้งหลาย จงดูพญาหงส์ธตรฐ

พ้นจากที่นี้ไปได้เพราะท่าน บรรดามิตรทั้งหลายเป็น

อันมาก มิตรเช่นท่านนั้นหามีในโลกนี้ เหมือนท่าน

ผู้เป็นเพื่อนร่วมชีวิต ของพญาหงส์ธตรฐไม่ เรา

ยอมปล่อยสหายของท่าน พญาหงส์จงบินตามท่าน

ไปเถิด ท่านทั้งสองจงรีบไปจากที่นี้ตามความปรารถนา

จงรุ่งเรืองอยู่ในท่ามกลางหมู่ญาติเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โน เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ตยา มุตฺต

ความว่า จริงอยู่ ท่านตัวเดียวชื่อว่า ย่อมปล่อยพญาหงส์นี้ เพราะฉะนั้น หมู่

ญาติอันใหญ่ทั้งหลาย และเป็นมิตรกันเหล่านั้น จงดูพญาหงส์นี้ที่ท่านปล่อย

แล้ว จึงไปสู่ภูเขาจิตตกูฏจากที่นี้. คำว่า พวกพ้อง ในคาถานี้ หมายเอา

บุคคลที่เกี่ยวข้องกันทางสายโลหิตอันเดียวกัน. บทว่า วิชฺชเร คือ ไม่เคยมี.

บทว่า ปาณสาธารโณ คือ มีชีวิตร่วมกัน มีชีวิตที่แยกออกจากกันไม่ได้.

อธิบายว่า ท่านเป็นสหายของพญาหงส์นี้ด้วยประการใด แม้ชนทั้งหลายมาก

ด้วยกันเหล่าอื่น ชนที่ชื่อว่าเป็นมิตรเช่นท่านนี้ ย่อมไม่มีด้วยประการนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

บทว่า ตวานุโค ความว่า ท่านจงพาพญาหงส์ซึ่งกำลังได้รับความลำบากนี้

บินไปข้างหน้า พญาหงส์นี้จงบินติดตามท่านไปข้างหลังเถิด.

บุตรของนายพราน ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเดินเข้าไปใกล้พระ-

มหาสัตว์ด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตา ตัดบ่วงออกแล้วสวมกอดอุ้มออกจาก

สระ ให้จับอยู่ที่พื้นหญ้าแพรกอ่อนใกล้ขอบสระ ค่อย ๆ แก้บ่วงที่รัดเท้าออก.

ด้วยจิตอันอ่อนโยน ขว้างทิ้งเสียในที่ไกล เกิดมีความรักใคร่ในพระมหาสัตว์

อย่างเหลือกำลัง จึงไปตักน้ำมาล้างเลือดให้แล้ว ลูบคลำอยู่บ่อย ๆ ด้วยเมตตา

จิต. ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาจิตของบุตรนายพรานนั้น เอ็นกับเอ็น เนื้อกับเนื้อ

หนังกับหนังที่เท้าของพระโพธิสัตว์ก็ติดสนิทหายเป็นปกติดีอย่างเดิมในขณะนั้น

ทีเดียว ข้อเท้าของพระมหาสัตว์ก็งอกขึ้นเต็ม มีผิวงดงามผ่องใส มีขนงอกงาม

เกิดขึ้นเหมือนอย่างเดิมเหมือนกับเท้าไม่เคยถูกบ่วงรัดมาแต่ก่อนเลย. พระ-

โพธิสัตว์ได้รับความสุขอยู่โดยความเป็นปกติทีเดียว. ลำดับนั้น สุมุขหงส์ได้

ทราบว่า พระมหาสัตว์มีความสุขสบายเพราะอาศัยตน ก็เกิดความโสมนัสยินดี

ได้กระทำการชมเชยนายพรานแล้ว.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

สุมุขหงส์มีความเคารพนาย มีความปลื้มใจ

เพราะพญาหงส์เป็นนายหลุดพ้นจากบ่วง เมื่อจะ

กล่าววาจาอันรื่นหูได้กล่าวว่า ดูก่อนนายพราน ขอให้

ท่านพร้อมด้วยหมู่ญาติทั้งปวงจงเบิกบานใจเหมือน

ข้าพเจ้าเบิกบานใจในวันนี้ เพราะได้เห็นพญาหงส์

พ้นจากบ่วง ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วงฺกงฺโค ได้แก่ น้อมคอลงเคารพ.

บทว่า เอว ลุทฺทก ความว่า สุมุขหงส์กระทำความชมเชยนายพรานอย่างนี้

แล้ว ได้ทูลพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า นายพรานนี้กระทำอุปการะ

อย่างใหญ่แก่เราทั้งสอง ด้วยว่า นายพรานนี้ไม่กระทำตามคำของข้าพระองค์แล้ว

กระทำเราทั้งสองไว้ในหงส์กีฬาแล้ว ให้แก่อิสรชนทั้งหลาย จึงจะพึงได้รับ

ทรัพย์เป็นอันมาก หรือว่าฆ่าเราทั้งสองเสียแล้วเอาเนื้อขาย ก็ย่อมได้รับทรัพย์

เป็นอันมากเหมือนกัน แต่ขามิได้เห็นแก่ชีวิตของตัว จึงได้กระทำตามคำของ

ข้าพระองค์ เราทั้งสองควรนำนายพรานไปยังสำนักของพระราชา แล้วกระทำ

ชีวิตของเขาให้เป็นสุข. พระมหาสัตว์ก็เห็นด้วย สุมุขหงส์ กล่าวกับพระมหา-

สัตว์ด้วยภาษาของตนแล้ว จึงเรียกบุตรนายพรานมาถามด้วยภาษาของมนุษย์อีก

ว่า แน่ะสหาย ท่านดักบ่วงเพื่ออะไร เมื่อได้รับคำตอบว่า เพื่อต้องการทรัพย์

จึงกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจงพาเราทั้งสองเข้าไปยังพระนครแล้วแสดง

แก่พระราชา ข้าพเจ้าทั้งสองจักยังพระราชาให้พระราชทานทรัพย์เป็นจำนวน

มากแก่ท่าน แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

เชิญท่านมานี่เถิด เราจักบอกท่านถึงวิธีที่ท่าน

จักได้ทรัพย์ เป็นลาภของท่าน พญาหงส์ธตรฐนี้

ย่อมไม่มุ่งร้ายอะไร ๆ ท่านจงรีบไปภายในบุรี จง

แสดงข้าพเจ้าทั้งสองซึ่งไม่ติดบ่วง เป็นอยู่ตามปกติ จับ

อยู่ที่กระเช้าทั้งสองข้าง แก่พระราชาว่า ข้าแต่พระ-

มหาราชเจ้า หงส์ธตรฐทั้งสองนี้เป็นอธิบดีแห่งหงส์ทั้ง

หลาย เพราะว่าหงส์ตัวนี้เป็นราชาของหงส์ทั้งหลาย

ส่วนหงส์ตัวนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี พระราชาจอม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

ประชาชนทอดพระเนตรเห็นพญาหงส์นี้แล้ว ก็จะ

ทรงปลาบปลื้มพระหฤทัย จักพระราชทานทรัพย์เป็น

อันมาก. แก่ท่านโดยไม่ต้องสงสัย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุสิกฺขามิ แปลว่า แนะนำ. บทว่า

ปาป คือ ลามก. บทว่า รญฺโญ ทสฺเสหิ โน อุโภ ความว่า ท่านจงแสดง

ข้าพเจ้าแม้ทั้งสองนี้แด่พระราชา. สุมุขหงส์กล่าวอย่างนี้ด้วยเหตุ ๔ ประการ

คือ แสดงอานุภาพแห่งปัญญาพระโพธิสัตว์ ๑ เพื่อยังมิตรธรรมของตนให้

ปรากฏแจ่มแจ้ง ๑ เพื่อให้นายพรานได้ทรัพย์ ๑ เพื่อยังพระราชาให้ตั้งอยู่ใน

ศีล ๑. บทว่า ธตรฏฺา ความว่า ก็แลครั้นท่านนำข้าพเจ้าทั้งสองไปแล้ว

จงกราบทูลแด่พระราชาอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า หงส์ตัวเป็นอธิบดีของ

หงส์ทั้งหลาย ทั้งสองนี้เกิดในตระกูลธตรฐ บรรดาหงส์ทั้งสองตัวเหล่านี้ ตัว

นี้เป็นพระราชา ตัวนอกนี้เป็นเสนาบดี ท่านจงยังพระราชานั้นให้สำเหนียกรู้

ด้วยประการฉะนั้น . คำแม้ทั้ง ๓ มีคำว่า ปติโต ดังนี้เป็นต้น เป็นคำที่แสดง

อาการดีพระทัยทีเดียว.

เมื่อสุมุขหงส์กล่าวอย่างนี้แล้ว นายพรานจึงกล่าวว่า ข้าแต่นาย ท่าน

ทั้งสองอย่าได้ชอบใจการเข้าไปเฝ้าพระราชาเลย ธรรมดาว่า พระราชาทั้งหลาย

มีพระทัยกลับกลอก พึงกระทำท่านไว้ในหังสกีฬา หรือมิฉะนั้น ก็จะฆ่าท่านทั้ง

สองเสีย เมื่อสุมุขหงส์กล่าวว่า ดูก่อนสหาย ท่านอย่ากลัวเลย แม้บุคคลที่มีน้ำใจ

เหี้ยมโหดเป็นนายพราน มีฝ่ามือเปื้อนเลือดเช่นอย่างท่าน ข้าพเจ้ายังทำให้ใจ

อ่อนลงแล้วหมอบอยู่แทบเท้าทั้ง ๒ ของข้าพเจ้าได้ด้วยธรรมกถา ธรรมดาว่า

พระราชาทั้งหลาย เป็นผู้มีพระปัญญาและมีบุญย่อมทรงรู้จักด้วยถ้อยคำอันเป็น

พุทธภาษิต ขอท่านจงรีบนำข้าพเจ้าทั้งสองไปแสดงแก่พระราชาเถิด จึงกล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

ว่า ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งสองอย่าโกรธเรานะ เราจะนำไปตามความประสงค์ของ

ท่านทั้งสองเท่านั้น แล้วจึงอุ้มสุวรรณหงส์ทั้งสอง ใส่ลงในกระเช้านำไปยัง

ราชตระกูลแสดงแก่พระราชา เมื่อพระราชาตรัสถามก็กราบทูลเรื่องราวตาม

ความเป็นจริงให้ทรงทราบทุกประการ.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

นายพรานได้สดับคำของสุมุขหงส์ ดังนั้น

แล้ว จัดแจงการงานเสร็จแล้ว รีบเข้าไปภายใน

บุรี แสดงหงส์ทั้งสองที่มิได้ติดบ่วง เป็นอยู่ตามปกติ

จับ อยู่ที่กระเช้าทั้งสองข้างแก่พระราชาว่า ข้าแต่มหา-

ราช หงส์ธตรฐทั้งสองนี้ เป็นอธิบดีแห่งหงส์ทั้งหลาย

เพราะว่าหงส์ตัวนี้เป็นราชาของหงส์ทั้งหลาย ส่วน

หงส์ตัวนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี.

พระราชาทรงสดับคำนั้น จึงตรัสถามว่า

ก็หงส์ทั้งสองนี้มาอยู่ในเงื้อมมือของท่านได้

อย่างไร ท่านเป็นพรานนำหงส์ซึ่งเป็นใหญ่ แก่หงส์

ใหญ่ทั้งหลายมาในที่นั้นได้อย่างไร.

นายพราน จึงกราบทูลว่า

ข้าแต่พระจอมประชากร ข้าพระองค์ดักบ่วง

เหล่านี้ไว้ที่เปือกตม ซึ่งเป็นที่ ๆ ข้าพระองค์เข้าใจว่า

จะกระทำความสิ้นชีวิตแก่นกทั้งหลายได้ พญาหงส์

ได้มาตดบ่วงเช่นนั้น ส่วนหงส์ตัวนั้นได้ติดบ่วงของ

ข้าพระองค์ แต่เข้ามาจับอยู่ใกล้ ๆ พญาหงส์นั้น ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

กล่าวกะข้าพระองค์ หงส์นี้ประกอบแล้วด้วยธรรม ได้

กระทำกรรมอันแสนยากที่บุคคล ผู้มิใช่พระอริยจะพึง

ทำได้ ประกาศภาวะอันสูงสุดของตนพยายามใน

ประโยชน์ของนาย หงส์นี้ควรจะมีชีวิตอยู่ ยอมสละ

ชีวิตของตนมายืนสรรเสริญคุณของนาย ร้องขอชีวิต

ของนาย ข้าพระองค์ได้สดับคำของหงส์นี้แล้วเกิด

ความเลื่อมใส จึงปล่อยพญาหงส์นั้นจากบ่วง และ

อนุญาตให้กลับได้ตามสบาย สุมุขหงส์มีความเคารพ

นาย มีความปลื้มใจ เพราะพญาหงส์ตัวเป็นนายหลุด

พ้นจากบ่วง เมื่อจะกล่าววาจาอันรื่นหู ได้กล่าวว่า

ดูก่อนนายพราน ขอให้ท่านพร้อมด้วยหมู่ญาติทั้งปวง

จงเบิกบานใจ เหมือนข้าพเจ้าเบิกบานใจในวันนี้

เพราะได้เห็นพญาหงส์พ้นจากบ่วง ฉะนั้น เชิญท่าน

มานี่ เราจักบอกท่าน ถึงวิธีที่ท่านจักได้ทรัพย์อันเป็น

ลาภของท่าน พญาหงส์ธตรฐนี้ ย่อมไม่มุ่งร้ายอะไร ๆ

ท่านจงรีบเข้าไปภายในบุรี จงแสดงข้าพเจ้าทั้งสองซึ่ง

ไม่ติดบ่วง เป็นอยู่ตามปกติ จับอยู่ที่กระเช้าทั้งสอง

ข้าง แก่พระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช หงส์ธตรฐทั้ง

สองนี้ เป็นอธิบดีแห่งหงส์ทั้งหลาย เพราะว่าหงส์ตัว

นี้เป็นราชของหงส์ทั้งหลาย ส่วนหงส์ตัวนี้เป็นอัคร-

มหาเสนาบดี พระราชาผู้เป็นจอมประชาชน ทอดพระ

เนตรเห็นพญาหงส์นี้แล้ว จะทรงปราโมทย์ปลาบ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

ปลื้มพระหฤทัย จักพระราชทานทรัพย์เป็นอันมาก

แก่ท่าน โดยไม่ต้องสงสัย ข้าพระองค์จึงนำหงส์

ทั้งสองนี้มา ตามคำของหงส์ตัวนี้อย่างนี้ และหงส์

ทั้งสองนี้ ข้าพระองค์อนุญาตให้ไปยังเขาจิตตกูฏ

นั้นแล้ว หงส์ตัวนี้ เป็นสัตว์ประกอบด้วยธรรมอย่างยิ่ง

ตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูอย่างนี้ ได้ทำให้นายพราน

เช่นกับข้าพระองค์เกิดความเป็นผู้มีใจอ่อนโยน ข้าแต่

พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่เคยเห็นเครื่อง

บรรณาการอย่างอื่นนอกจากนี้ ที่จะนำมาถวายแด่

พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมมนุษย์ ขอพระองค์

ทรงทอดพระเนตรดูเครื่องบรรณาการการนั้น ณ บ้าน

พรานนกทั้งปวง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺมุนา อุปทายิ ความว่า สุมุขหงส์

นั้นได้กล่าวคำใด นายพรานก็ได้กระทำตามคำนั้นให้สำเร็จด้วยกายกรรม. บทว่า

คนฺตฺวา อธิบายว่า นายพรานจัดแจงกระทำกระเช้าทางด้านที่พญาหงส์จับ

ให้สูง กระทำกระเช้าทางด้านที่หงส์ที่เป็นเสนาบดีจับให้ต่ำลงเล็กน้อยแล้ว อุ้ม

เอาหงส์ทั้งสองนั้นใส่ลงในกระเช้า ยังมหาชนให้แตกตื่นกันมาดูด้วยคำว่า

พญาหงส์และหงส์ที่เป็นเสนาบดีจะไปเฝ้าพระราชา ท่านทั้งหลายจงคอยดูเถิด

เมื่อมนุษย์ทั้งหลายพากันร่าเริงอยู่ว่า พญาหงส์ตัวมีสีเหมือนทอง ถึงความเป็น

เลิศด้วยความงามเห็นปานนี้ พวกเรายังไม่เคยเห็นเลย ดังนี้ ก็รีบเข้าไปภาย

ในเมือง บทว่า อทสฺสยิ ความว่า นายพรานให้ราชบุรุษเข้าไปกราบทูล

แด่พระราชาว่า พญาหงส์นาเฝ้าพระองค์ เมื่อพระราชามีพระทัยยินดีตรัสสั่ง

ให้เรียกมาว่า จงเข้ามาเถิด จึงรีบนำเข้าไปแสดง. บทว่า หตฺถตฺถ ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

กล่าวอธิบายไว้ว่า มาแล้วคือถึงแล้วในมือ. บทว่า มหานฺตาน ความว่า

พระราชาตรัสถามว่า ตัวท่านเป็นนายพราน ได้บรรลุถึงความเป็นนายผู้ใหญ่

ของเหล่าหงส์ธตรฐ ซึ่งมีผิวพรรณดังทอง ถึงแล้วซึ่งความเป็นใหญ่ด้วยยศ

ได้อย่างไร. พระบาลีว่า ท่านถึงความเป็นใหญ่ในที่นี้ ดังนี้ก็มี อธิบายว่า

ท่านได้ถึงความเป็นผู้ยิ่งใหญ่แก่หงส์ทั้งสองนี้ได้อย่างไร. บทว่า วิหิตา คือ

ประกอบแล้ว. บทว่า ย ยทายตน มญฺเ ความว่า ข้าแต่มหาราช ข้า

พระองค์ย่อมสำคัญสถานที่อันเป็นที่ประชุมใด ๆ ซึ่งเป็นที่รัดรึงชีวิตแห่งนกทั้ง

หลาย คือเป็นที่กระทำความสิ้นไปแห่งชีวิตไว้ ข้าพระองค์ก็ดักบ่วงทั้งหลาย

ในเปือกตมทั้งหลายในที่นั้น ๆ. บทว่า ตาทิส ได้แก่ พญาหงส์นาติดเครื่อง

รัดรึงชีวิตอย่างนั้น ซึ่งข้าพระองค์ดักไว้ในสระชื่อมานุสิยะ. บทว่า ปาส คือ

บ่วงที่ผูกไว้ในสระนั้น. บทว่า อุปาสีโน คือมิได้คิดถึงชีวิตของตัวเข้าไปจับ

อยู่ใกล้ ๆ. บทว่า มมาย ความว่า หงส์ที่เป็นเสนาบดีนี้ได้ปราศรัยกับข้า

พระองค์ คือได้กล่าวกับข้าพระองค์. บทว่า สุทุกฺกร ความว่า หงส์นี้ได้

กระทำกรรมที่บุคคลผู้มิใช่อริยะ เช่นพวกเรากระทำได้โดยแสนยาก. บทว่า

ทหเต ภาวมุตฺตม ความว่า หงส์นั้นย่อมประกาศ คือเปิดเผยอัธยาศัยอันสูง

สุดของตน. บทว่า อตฺตโนย ตัดบทเป็น อตฺตโน อย. บทว่า อนุตฺถุนนฺโต

ความว่า พรรณนาคุณของนายแล้วกล่าวอ้อนวอนข้าพระองค์ว่า ขอท่านจงให้

ชีวิตแก่พญาหงส์นี้เสียเถิด. บทว่า ตสฺส ความว่า เนื้อหงส์นั้นพูดอ้อน

วอนอยู่อย่างนี้ ข้าพระองค์ก็ได้อนุญาตว่า ท่านจงกลับไปยังภูเขาจิตตกูฏตาม

สบาย จงเห็นหมู่ญาติเถิด. บทว่า เอติเถว หิ ความว่า ก็หงส์ทั้งสองนี้ ข้า-

พระองค์ได้อนุญาตให้กลับไปยังภูเขาจิตตกูฏใกล้มานุสิยสระนี้ทีเดียว. บทว่า

เอว คโต คือตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูอย่างนี้. ชนเยยฺยาถ มทฺทว ความ

ว่า กระทำให้เกิดเมตตาจิตในตน. บทว่า อุปยาน. ได้แก่ เครื่องบรรณาการ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 362

บทว่า สพฺพสากุณิกคาเม ความว่า ข้าพระองค์ไม่เห็นเครื่องบรรณาการ

อย่างอื่นในบ้านพรานนก แม้ทั้งหมด คือไม่เห็นเครื่องบรรณาการเห็นปานนี้

สำหรับพระองค์ คือยังไม่เห็นเครื่องบรรณาการที่นายพรานนกนั้น เคยนำมา

ถวายพระองค์. บทว่า ต ปสฺส ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งมนุษย์

เชิญพระองค์ทอดพระเนตรเครื่องบรรณาการ ที่ข้าพระองค์นำมาถวายนั้นเถิด.

นายพรานยืนกราบทูลสรรเสริญคุณของสุมุขหงส์อยู่ ด้วยประการฉะนี้

ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสสั่งให้จัดอาสนะ มีราคาเป็นอันมาก ประทานแก่

พญาหงส์ และให้จัดตั่งอันเจริญ กระทำด้วยทองคำ ประทานแก่สุมุขหงส์

เมื่อหงส์ทั้งสองเกาะอยู่ในที่นั้นแล้ว จึงรับสั่งให้นำเอาภาชนะทองมาใส่ข้าวตอก

น้ำผึ้งและน้ำอ้อยปนกันประทาน เมื่อเสร็จกิจแห่งการบริโภคแล้ว ทรงประคอง

อัญชลีอาราธนา ให้พระมหาสัตว์แสดงธรรมกถาแล้ว ประทับนั่ง ณ ตั่งทองคำ.

พระมหาสัตว์นั้น เมื่อพระราชาตรัสอาราธนา จึงได้กระทำการปฏิสันถารแล้ว.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

พญาหงส์เห็นพระราชาประทับนั่งบนตั่งทอง

อันงดงาม เมื่อจะกล่าววาจาอันรื่นหู จึงได้ทูลว่า

พระองค์ไม่มีโรคาพาธหรือ ทรงสุขสำราญดีอยู่หรือ

พระองค์ทรงปกครองรัฐมณฑลอันสมบูรณ์นี้โดยธรรม

หรือ.

พระราชาตรัสตอบว่า

ก่อนพญาหงส์ เราไม่มีโรคาพาธ เราสุข-

สำราญดี อนึ่ง เราปกครองรัฐมณฑลอันสมบูรณ์นี้

โดยธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 363

พระมหาสัตว์ทูลถามว่า

โทษอะไร ๆ ย่อมไม่มีในหมู่อำมาตย์ของพระองค์

แลหรือ อำมาตย์เหล่านั้นย่อมไม่ห่วงใยชีวิต เพราะ

ประโยชน์ของพระองค์แลหรือ.

พระราชาตรัสตอบว่า

โทษอะไร ๆ ย่อมไม่มีในหมู่อำมาตย์ของเรา

และอำมาตย์เหล่านั้น ย่อมไม่ห่วงใยชีวิต เพราะ

ประโยชน์ของเรา.

พระมหาสัตว์ทูลถามว่า

พระอัครมเหสีของพระองค์ เป็นผู้มีพระชาติ

เสมอกัน ทรงเชื่อฟัง มีปกติตรัสวาจาอันน่ารัก ทรง

ประกอบด้วยพระโอรส พระรูปโฉม และอิสริยยศ

ทรงคล้อยตามพระราชอัธยาศัย ของพระองค์แลหรือ.

พระราชาตรัสตอบว่า

พระอัครมเหสีของเรา เป็นผู้มีพระชาติเสมอกัน

ทรงเชื่อฟัง มีปกติตรัสวาจาอันน่ารัก ทรงประกอบ

ด้วยพระโอรส พระรูปโฉม และอิสริยยศ ทรงคล้อย

ตามอัธยาศัยของเรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชาน ได้แก่ พระเจ้าสาคลราช. บทว่า

วงฺกงฺโค ได้แก่ พญาหงส์ธตรฐ. บทว่า ธมฺเมน มนุสาสสิ ความว่า

สั่งสอนโคตรรม. บทว่า โทโส ได้แก่ ความผิด. บทว่า ตวตฺเถสุ ได้แก่

ในประโยชน์ทั้งหลายมีการรบเป็นต้น ของพระองค์ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 364

นาวกงฺขนฺติ ความว่า อำมาตย์เหล่านั้นให้ชีวิตเสียสละอยู่ ย่อมไม่ปรารถนา

ชีวิตของตนแม้น้อยหนึ่ง คือ สละชีวิตกระทำประโยชน์เพื่อพระองค์ผู้เดียว.

บทว่า สาทิสี ได้แก่ เป็นผู้มีชาติเสมอกัน. บทว่า อสฺสวา ได้แก่ เป็น

ผู้รับเอาซึ่งถ้อยคำ. บทว่า ปุตฺตรูปยสูเปตา ได้แก่ เป็นผู้เข้าถึงแล้วด้วย

พระโอรสทั้งหลาย ด้วยพระรูปโฉมทั้งหลายและด้วยยศทั้งหลาย. บทว่า ตว

ฉนฺทวสานุคา ความว่า พญาหงส์ทูลถามว่า พระเทวียังเป็นไปตาม

พระราชอัธยาศัยของพระองค์ คืออยู่ในอำนาจของพระองค์หรือ อธิบายว่า

ย่อมไม่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งจิตของตนหรือ.

เมื่อพระโพธิสัตว์กระทำปฏิสันถารด้วยประการฉะนี้แล้ว พระราชา

เมื่อจะตรัสถ้อยคำกับพญาหงส์นั้นอีก จึงตรัสว่า

ท่านตกอยู่ในเงื้อมมือของมหาศัตรู ได้รับทุกข์

ใหญ่หลวงในเบื้องต้น พึงได้รับทุกข์นั้นบ้างแลหรือ

นายพรานวิ่งเข้าไปโบยตีท่าน ด้วยท่อนไม้แลหรือ

เพราะว่าปกติของคนหยาบช้าเหล่านี้ ย่อมมีเป็นประจำ

อย่างนั้น.

พญาหงส์ทูลตอบว่า

ข้าแต่พระมหาราช ในยามมีทุกข์อย่างนี้ ต้อง

มีความปลอดโปร่งใจ จริงอยู่ นายพรานนี้มิได้ทำ

อะไร ๆ ในข้าพระองค์ทั้งสองเหมือนศัตรู นายพราน

ค่อย ๆ เดินเข้าไป และได้ปราศรัยขึ้นก่อน ในกาลนั้น

สุมุขหงส์บัณฑิตมิได้กล่าวตอบ นายพรานได้ฟังคำ

ของสุมุขหงส์นั้นแล้ว ก็เกิดความเลื่อมใส ปล่อยข้า-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 365

พระองค์จากบ่วงนั้น และอนุญาตให้ข้าพระองค์กลับ

ได้ตามสบาย สุมุขหงส์ปรารถนาทรัพย์เพื่อนายพรานนี้

จึงคิดชวนกันมาในสำนักของพระองค์ เพื่อประโยชน์

แก่นายพรานนี้.

พระราชาจึงตรัสว่า

ก็การที่ท่านทั้งสองมาในที่นี้ เป็นการมาดีแล้ว

และเราก็มีความปราโมทย์ เพราะได้เห็นท่านทั้งสอง

แม้นายพรานนี้ก็จะได้ทรัพย์อันมากมายตามที่เขา

ปรารถนา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาสตฺตุหตฺถตฺถต คโต ได้แก่

ไปแล้วในเงื้อมมือของศัตรูผู้ใหญ่. บทว่า อาปติตฺวาน ได้แก่ รีบวิ่งตรง

เข้าไป. บทว่า ปาติก ได้แก่ ตามธรรมดา. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็เป็นอย่างนี้

เหมือนกัน. มีคำกล่าวอธิบายว่า บุคคลผู้หยาบช้าเหล่านี้ ย่อมมีปกติเป็น

อย่างนี้เหมือนกันหมด เขาทุบตีนกทั้งหลายด้วยท่อนไม้ เขาทำให้ตายแล้ว

ก็ได้ค่าจ้าง. บทว่า กิญฺจิรสฺมาสุ ได้แก่ มิได้ล่วงเกินอะไร ๆ ในข้าพระองค์

ทั้งสอง. บทว่า สตฺตูว ได้แก่ ประหนึ่งว่าศัตรู. บทว่า ปจฺจกมฺปิตฺถ

ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า นายพรานนี้เห็นข้าพระองค์แล้ว ย่องเข้าไป

หน่อยหนึ่งด้วยสำคัญว่าติดบ่วง. บทว่า ปุพฺเพว ได้แก่ นายพรานนี้แล

ได้ปราศรัยกะข้าพระองค์ก่อน. บทว่า ตทา ได้แก่ ในกาลนั้น. บทว่า

เอตทตฺถาย ได้แก่ คิดกันแล้วเพื่อประโยชน์แก่บุตรนายพรานนี้. บทว่า

ธนมิจฺฉตา ความว่า สุมุขหงส์นั้นปรารถนาอยู่ซึ่งทรัพย์เพื่อนายพรานนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 366

จึงคิดชักชวนกันมายังสำนักของพระองค์. บทว่า สฺวาคตญฺเจวิท ความว่า

ท่านผู้เจริญทั้งสองอย่าคิดไปเลย การมาในที่นี้ของท่านผู้เจริญทั้งสองนี้ เป็น

การมาดีแล้ว. บทว่า ลภต แปลว่า จงได้.

ก็พระราชาครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ก็ทรงมองดูอำมาตย์คนใดคนหนึ่ง

เมื่ออำมาตย์นั้นทูลว่า พระองค์จะต้องพระประสงค์อะไร พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า

เจ้าจงพานายพรานนี้ไปให้ช่างกัลบกตัดผม โกนหนวด ให้อาบน้ำลูบไล้ด้วย

ของหอมแล้ว ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เมื่ออำมาตย์นำนายพรานมา

จัดทำตามรับสั่งแล้ว พากลับมาเฝ้าแล้ว จึงทรงยกบ้านส่วย ซึ่งเก็บส่วยได้

แสนกหาปณะในปีหนึ่ง ประทานแก่เขาแล้ว ได้ประทานหญิง ๒ คน เรือน

หลังใหญ่ รถอันประเสริฐและเงินทองอย่างอื่นอีกเป็นอันมาก.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระราชาผู้เป็นจอมมนุษย์ ทรงยังนายพรานให้

เอิบอิ่มด้วยโภคสมบัติทั้งหลาย พญาหงส์ได้กล่าว

วาจาอันรื่นหูอนุโนทนา.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงแสดงธรรมแก่พระราชา ท้าวเธอทรงสดับ

ธรรมกถาของพระมหาสัตว์นั้นแล้ว ก็ทรงดีพระทัย ทรงพระดำริว่า เราจัก

กระทำสักการะแก่พญาหงส์ผู้แสดงธรรม จึงทรงประทานเศวตฉัตรแก่

พญาหงส์นั้น เมื่อจะให้พญาหงส์รับราชสมบัติ จึงตรัสว่า

ได้ยินว่า อำนาจของเราผู้ทรงธรรม ย่อมเป็น

ไปในที่เท่าใด ที่เท่านั้นมีประมาณน้อย ความเป็น

ใหญ่ในที่ทั้งปวงจงมีแก่ท่าน ขอท่านจงปกครองตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

ปรารถนาเถิด ทานวัตถุก็ดี เครื่องอุปโภคก็ดี และสิ่ง.

อื่นใดที่เข้าไปสำเร็จประโยชน์ เราขอยกสิ่งนั้น ๆ ซึ่ง

ล้วนเป็นของปลื้มใจให้แก่ท่าน และขอสละความเป็น

ใหญ่ให้แก่ท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วโส วตฺตติ ความว่า อำนาจของเรา

เป็นไปในสถานที่เท่าใด. บทว่า กิญฺจิ น คือ สถานที่นั้นมีประมาณเล็กน้อย

ยิ่งนัก. บทว่า สพฺพตฺถิสฺสริย ความว่า สมบัติทั้งหมดและความเป็นใหญ่

นั้นแล จงมีแก่ท่านเถิด. บทว่า ยญฺจญฺมุปกปฺปติ ความว่า สิ่งของ

เครื่องบำเพ็ญทานเพราะความเป็นผู้ใคร่ในบุญก็ดี การยกเศวตฉัตรขึ้นเสวย

ราชสมบัติก็ดี หรือของสิ่งอื่นใด ย่อมเป็นที่ชอบใจแก่ท่าน ขอเชิญท่านจง

กระทำสิ่งนั้นเถิด. บทว่า เอต ททามิ โว วิตฺต ความว่า เราสละความ

เป็นใหญ่อันเป็นของของเราพร้อมด้วยเศวตฉัตรให้แก่ท่าน

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้มอบเศวตฉัตรที่พระราชาประทานให้แก่ตน

ถวายกลับคืนพระองค์อีกทีเดียว พระราชาทรงพระดำริว่า เราได้ฟังธรรมกถา

ของพญาหงส์ก่อนแล้ว ก็แต่ว่าบุตรของนายพรานสรรเสริญยกย่องสุมุขหงส์

นี้เป็นนักหนาว่า มีถ้อยคำไพเราะยิ่งนัก เราจักฟังธรรมกถาของสุมุขหงส์นี้

บ้าง ท้าวเธอเมื่อจะทรงสนทนากับสุมุขหงส์นั้น จึงตรัสคาถาอันเป็นลำดับ

ต่อไปว่า

ก็ถ้าว่า สุมุขหงส์บัณฑิตนี้สมบูรณ์ด้วยปัญญา

พึงเจรจาแก่เราตามปรารถนา ข้อนั้นพึงเป็นที่รัก

อย่างยิ่งของเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 368

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา แปลว่า ถ้าว่า. มีคำที่ท่านกล่าว

อธิบายไว้ว่า ถ้าว่าสุมุขหงส์นั้นเป็นบัณฑิต ถึงพร้อมแล้วด้วยความรอบรู้

ก็พึงเจรจาแก่เราตามความปรารถนา คือตามความพอใจของตน ข้อนั้นจะพึง

เป็นที่รักอย่างยิ่งของเรา.

ลำดับนั้น สุมุขหงส์จึงทูลว่า

ข้าแต่มหาราช ได้ยินว่า ข้าพระองค์หาอาจจะ

พูดสอดขึ้นในระหว่าง เหมือนพญานาคเลื้อยเข้าไป

ภายในศิลา ฉะนั้นไม่ ข้อนั้นไม่เป็นวินัยของข้า-

พระองค์ พญาหงส์ประเสริฐกว่าข้าพระองค์ และ

พระองค์ก็สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งหลาย เป็นพระเจ้าแผ่นดิน

จอมมนุษย์ ทั้งสองพระองค์ควรแก่การบูชา ด้วยเหตุ

มากมาย ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมมนุษย์ เมื่อพระองค์

ทั้งสองกำลังตรัสกันอยู่ เมื่อการวินิจฉัยกำลังเป็นไปอยู่

ข้าพระองค์ผู้เป็นสาวก ไม่พึงพูดสอดขึ้นในระหว่าง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาคราชาริวนฺตร ได้แก่ ประหนึ่ง

พญานาคที่จะเลื้อยเข้าไปในระหว่างแห่งศิลา ฉะนั้น. บทว่า ปฏิวตฺถุ

ความว่า ข้าพระองค์ไม่อาจที่จะพูดสอดขึ้นในระหว่างพระองค์ทั้งสองได้. บทว่า

น เม โส ความว่า ถ้าข้าพระองค์พึงกล่าวสอดขึ้นไซร้ การกระทำเช่นนั้น

มิใช่วินัยของข้าพระองค์เลย. บทว่า อมฺหากญฺเจว ได้แก่ พญาหงส์

ประเสริฐกว่าข้าพระองค์ และหงส์อีกเก้าหมื่นหกพัน. บทว่า อุตฺตมสตฺตโว

คือเป็นสัตว์ที่สูงสุด. บทว่า ปูชา ความว่า พระองค์ทั้งสองเป็นผู้ควรแก่การบูชา

และควรแก่การสรรเสริญของข้าพระองค์ด้วยเหตุมากมาย. บทว่า เปสฺเสน

คือเป็นเสวกผู้การทำการขวนขวาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 369

พระราชาทรงสดับคำของสุมุขหงส์นั้น ก็ทรงเบิกบานพระทัยแล้ว

ตรัสว่า บุตรนายพรานกล่าวสรรเสริญท่านว่า บุคคลอื่นที่จะแสดงธรรมไพเราะ

เช่นกับท่านไม่พึงมี และได้ตรัสต่อไปว่า

ได้ยินว่า นายพรานกล่าวโดยความจริงว่า

สุมุขหงส์เป็นบัณฑิต เพราะว่านัยเช่นนี้ ไม่พึงมีแก่

บุคคลผู้ไม่ได้รับการอบรมเลย ความมีปกติอันเลิศ

และสัตว์อันอุดมอย่างนี้ มีเพียงเท่าที่เราเห็นแล้ว เรา

ไม่ได้เห็นผู้อื่นเป็นเช่นนี้ เราจึงยินดีด้วยปกติและ

วาจาอันไพเราะของท่านทั้งสอง ก็การที่เราพึงเห็น

ท่านทั้งสองได้นาน ๆ เช่นนี้ เป็นความพอใจของเรา

โดยแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน คือ โดยสภาพ โดยเหตุการณ์.

บทว่า อกตตฺตสฺส คือ บุคคลที่มีอัตภาพยังมิได้ปรับปรุง คือ ยังประทุษ-

ร้ายมิตร. บทว่า นโย หมายเอาปัญญา. บทว่า อคฺคปกติมา คือ มีสภาพ

อันเลิศ. บทว่า อุตฺตมสตฺตโว คือเป็นสัตว์ที่สูงสุด บทว่า ยาวตตฺถิ มยา

ได้แก่ ชื่อว่าที่เราเห็นแล้วมีอยู่ประมาณเท่าใด. บทว่า นาญฺ ความว่า

เราย่อมไม่เห็นคนอื่น แม้เห็นปานนี้ในสถานที่ที่เราเห็นแล้วนั้น. บทว่า

ตุฏฺโสฺมิ โว ปกติยา ความว่า ดูก่อนพญาหงส์ผู้เป็นสหาย เราดีใจ

เพราะได้เห็นท่านทั้งสองตามปกติก่อนทีเดียว. บทว่า วากฺเยน ความว่า แต่

บัดนี้เราได้ดีใจเพราะถ้อยคำอันไพเราะของเธอทั้งสอง. บทว่า จิร ปสฺเสยฺย

โว ความว่า พระราชาตรัสว่า เราให้ท่านอยู่ในที่นี้แล ไม่อยากให้ท่านจากไป

แม้ชั่วครู่หนึ่ง จะได้เห็นท่านเป็นเวลานาน ๆ การเห็นนี้เป็นความพอใจของเรา

ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 370

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะสรรเสริญพระราชา จึงทูลว่า

กิจใดที่บุคคลพึงกระทำในมิตร กิจนั้นพระองค์

ทรงกระทำแล้วในข้าพระองค์ทั้งสอง ข้าพระองค์

ทั้งสอง ย่อมเป็นอันพระองค์ปล่อยด้วยความภักดีใน

ข้าพระองค์ทั้งสอง โดยไม่ต้องสงสัย ก็ความทุกข์

คงเกิดขึ้นในหมู่หงส์เป็นอันมากโน้น เพราะมิได้เห็น

ข้าพระองค์ทั้งสอง ในระหว่างญาติหมู่ใหญ่เป็นแน่

ข้าแต่พระองค์ผู้ปราบปรามศัตรู ข้าพระองค์ทั้งสอง

อันพระองค์ทรงอนุญาต กระทำประทักษิณพระองค์

แล้ว พึงไปพบญาติทั้งหลาย เพื่อกำจัดความเศร้าโศก

ของหงส์เหล่านั้น ข้าพระองค์ย่อมจะได้ปีติอันไพบูลย์

เพราะได้มาเฝ้าพระองค์ ผู้ทรงพระเจริญโดยแท้

การสงเคราะห์ญาตินี้เป็นประโยชน์อันใหญ่หลวงแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตรสฺมาสุ ได้แก่ พระองค์ได้กระทำกิจ

ทุกอย่างในข้าพระองค์. บทว่า จตฺตา นิสฺสสย ตฺยมฺหา ได้แก่ ข้าพระองค์

ทั้งสองย่อมเป็นอันพระองค์ทรงปล่อยแล้วทีเดียว โดยมิต้องสงสัยเลย บทว่า

ภตฺติรสฺมาสุ ยา ตว ความว่า พระมหาสัตว์แสดงว่า ความภักดีในข้าพระองค์

ทั้งสองของพระองค์อันใด ข้าพระองค์ย่อมเป็นอันพระองค์ทรงปล่อยแล้ว

โดยไม่ต้องสงสัยเพราะความภักดีนั้น อนึ่ง ข้าพระองค์ทั้งสองพลัดพรากแล้ว

แม้อยู่ปราศแล้ว ชื่อว่าอยู่ร่วมกันก็หาไม่. บทว่า อสฺมาก ความว่า

ความทุกข์บังเกิดขึ้นแล้วในหงส์ทั้งหลายเป็นอันมาก เพราะไม่ได้เห็นข้า-

พระองค์ทั้งสอง. บทว่า ปสฺเสมุรินฺทม แปลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ปราบข้าศึก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 371

ให้ราบคาบ ข้าพระองค์ทั้งสองพึงได้เห็น. บทว่า ภวต คือ ข้าพระองค์ได้

มาเฝ้าพระองค์ผู้ทรงพระเจริญ. บทว่า เอโส วาปิ มหาอตฺโถ ความว่า

ความคุ้นเคยกับหมู่ญาติกล่าวคือการสงเคราะห์ญาตินี้ เป็นความประสงค์อย่าง

ใหญ่หลวงของข้าพระองค์อย่างแท้จริง.

เมื่อพระมหาสัตว์ทูลอย่างนี้แล้ว พระราชาก็ได้ทรงอนุญาตให้หงส์

ทั้งสองนั้นกลับไป แม้พระมหาสัตว์ก็ทูลแสดงโทษในการประพฤติชั่ว ๕ อย่าง

และแสดงอานิสงส์ในศีลแด่พระราชาแล้ว ถวายโอวาทว่า ขอพระองค์จงรักษา

ศีลนี้ จงเสวยราชสมบัติโดยธรรม จงสงเคราะห์มหาชนด้วยสังคหวัตถุ ๔

ประการ แล้วได้ทูลลาบินกลับไปยังภูเขาจิตตกูฏ.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

พญาหงส์ธตรฐ ครั้นกราบทูลพระเจ้าสาคล-

ราชผู้เป็นจอมประชาชนเช่นนี้แล้ว ได้เข้าไปหาหมู่

ญาติ เพราะอาศัยเชาวน์อันสูงสุด หงส์เหล่านั้นเห็น

หงส์ทั้งสอง ซึ่งยิ่งใหญ่มิได้ป่วยเจ็บกลับมา ต่างก็พา

กันส่งเสียงว่า เกเก เกิดเสียงอื้ออึงทั่วไป หงส์เคารพ

นายได้ที่พึงเหล่านั้น ต่างก็โสมนัสยินดี เพราะนาย

รอดพ้นภัย พากันห้อมล้อมนายโดยรอบ ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปาคมุ ความว่า พญาหงส์ธตรฐ

และสุมุขหงส์ที่เป็นเสนาบดีทั้งสองนั้น ครั้นได้เวลาอรุณขึ้นแล้ว ก็บริโภค

น้ำผึ้งข้าวตอกและน้ำอ้อยเป็นต้น อันพระราชาและพระเทวีทรงยกขึ้นด้วย

ใบตาลทองสองใบแล้ว กระทำสักการะด้วยของหอม และระเบียบดอกไม้

เป็นต้นแล้ว ลงจากใบตาลทองนั้น กระทำประทักษิณพระราชาบินขึ้นไปสู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

เวหาส เมื่อพระราชาทรงประคองอัญชลีตรัสว่า ดูก่อนนายเอ๋ย ท่านทั้งสอง

จงพากันไปดีเถิด จึงออกโดยสีหบัญชรบินไปหาหมู่ญาติของตน ด้วยความเร็ว

อันสูงสุด. บทว่า ปรเม แปลว่า สูงสุด. บทว่า เกเก ความว่า ได้ส่งเสียง

ร้องว่า เกเก ด้วยเสียงร้องตามสภาพของตน. บทว่า ภตฺตุนา ภตฺตุคารวา

ได้แก่ มีความเคารพนายเหล่านั้น. บทว่า ปริกรึสุ ความว่า หงส์ทั้งหลาย

ต่างก็พากันดีใจเพราะนายพ้นภัยกลับมา จึงพากันแวดล้อมอยู่รอบข้าง. บทว่า

ลทฺธปจฺจยา คือ เป็นผู้ได้ที่พึ่งพำนักแล้ว.

ครั้นหงส์เหล่านั้นเข้าล้อมหงส์ทั้งสองอย่างนี้แล้ว จึงทูลถามพญาหงส์

ว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์รอดพ้นมาได้อย่างไร พระมหาสัตว์จึงเล่าเรื่องที่ตน

รอดพ้นมาได้ เพราะอาศัยสุมุขหงส์ และกิจการที่พระเจ้าสาคลราชและบุตร

นายพรานกระทำ หมู่หงส์ทั้งหลายได้ยินดังนั้น ก็พากันดีใจกล่าวชมเชยให้

พรว่า ขอให้สุมุขหงส์ที่เป็นเสนาบดี และบุตรนายพรานพร้อมทั้งพระราชา

จงมีความสุข ปราศจากทุกข์ จงมีชีวิตอยู่ตลอดกาลนาน.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

ประโยชน์ทั้งปวง ของตนทั้งหลายผู้ถึงพร้อม

ด้วยกัลยาณมิตร ย่อมสำเร็จผลเป็นสุขเปรียบเหมือน

หงส์ธตรฐทั้งสอง ได้กลับมาอยู่ใกล้หมู่ญาติ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิตฺตวต ได้แก่ ถึงพร้อมแล้วด้วย

กัลยาณมิตร. บทว่า ปทกฺขิณา ได้แก่ สำเร็จเป็นความสุข ประกอบด้วย

ความเจริญ. บทว่า ธตรฏฺา ความว่า เหล่าหงส์ธตรฐ คือพญาหงส์

และสุมุขหงส์แม้ทั้งสองเหล่านั้น ถึงพร้อมด้วยกัลยาณมิตรทั้งสอง คือ

พระราชาและบุตรนายพราน จึงเจริญด้วยความสุขอย่างนี้ ฉันใด. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

าติสงฺฆมุปาคมุ ความว่า ประโยชน์ กล่าวคือการเข้าถึงหมู่แห่งญาติของ

เหล่าหงส์ธตรฐนั้น สำเร็จความสุขเกิดแล้ว ฉันใด ประโยชน์ทั้งหมดแม้ของ

ชนเหล่าอื่นผู้ถึงพร้อมด้วยกัลยาณมิตร ย่อมสำเร็จผลเป็นสุขฉันนั้นเหมือน

กันแล.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ ถึงเมื่อกาลก่อน อานนท์นี้ก็ได้

สละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่ตถาคตแล้วเหมือนกัน แล้วทรงประมวลชาดกว่า

นายพรานในครั้งนั้น ได้เป็นฉันนภิกษุในบัดนี้ พระราชานานว่า สาคละใน

ครั้งนั้น ได้เป็นสารีบุตร สุมุขหงส์ที่เป็นเสนาบดี เป็นอานนท์ หมู่หงส์

เก้าหมื่นหกพันเป็นพุทธบริษัท พญาหงส์ธตรฐ เป็นเราตถาคตผู้โลกนาถ

เธอทั้งหลายจงทรงจำชาดกไว้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาจุลลหังสชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 374

๒. มหาหังสชาดก

ว่าด้วยหงส์ชื่อสุมุขะ ไม่ละทิ้งพญาหงส์ติดบ่วง

[๑๙๙] หงส์เหล่านั้นถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อม

บินหนีไป ดูก่อนสุมขะ ผู้มีขนเหลือง มีผิวพรรณ

ดังทอง ท่านจงบินหนีไปตามความปรารถนาเถิด

หมู่ญาติละทิ้งเราซึ่งตกอยู่ในอำนาจบ่วงตัวเดียว บิน

หนีไปไม่เหลียวหลังเลย ท่านจะอยู่ผู้เดียวทำไม ดูก่อน

สุมุขะผู้ประเสริฐกว่าหงส์ทั้งหลาย ท่านจงกลับไป

เสียเถิด ความเป็นสหายในเราผู้ติดบ่วงย่อมไม่มี ท่าน

อย่าคลายความเพียรเพื่อความไม่มีทุกข์ จงหนีไปเสีย

ตามความปรารถนาเถิด.

[๒๐๐] ข้าแต่พญาหงส์ธตรฐ ก็ข้าพระองค์แม้

มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ก็จะไม่ละทิ้งพระองค์เลย

ความเป็นอยู่หรือความตายของข้าพระองค์ จักมีพร้อม

กับพระองค์ ข้าแต่พญาหงส์ธตรฐ ก็ข้าพระองค์

แม่มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าก็จะไม่ละทิ้งพระองค์เลย

พระองค์ไม่ควรจะชักชวนข้าพระองค์ให้ประกอบ ใน

กรรมอันประกอบด้วยความไม่ประเสริฐเลย ข้าแต่

พระองค์ผู้ประเสริฐสุดกว่าหงส์ทั้งหลาย ข้าพระ-

องค์เป็นสหายสหชาติของพระองค์ เป็นผู้ดำรงอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

ในจิตของพระองค์ ใคร ๆ ก็รู้ว่า ข้าพระองค์เป็น

เสนาบดีของพระองค์ ข้าพระองค์ไปจากที่นี่แล้ว จะ

กล่าวอวดอ้างในท่ามกลางหมู่ญาติได้อย่างไร ข้าแต่

พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าหงส์ทั้งหลาย ข้าพระองค์

ละทิ้งพระองค์ไปจากที่นี่แล้ว จะกล่าวกะฝูงหงส์

เหล่านั้นได้อย่างไร ข้าพระองค์จักยอมสละชีวิตไว้ใน

ที่นี้ ไม่สามารถจะทำกิจอันไม่ประเสริฐได้.

[๒๐๑] ดูก่อนสุมุขะ ท่านไม่อาจจะละทิ้งเราซึ่ง

เป็นทั้งนายทั้งสหาย ชื่อว่าตั้งอยู่ในทางอันประเสริฐ

นี้แลเป็นธรรมเนียมของโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย จริง

อยู่ เมื่อเรายังเห็นท่าน ความกลัวย่อมไม่เกิดขึ้นเลย

ท่านจักให้เราเป็นอยู่อย่างนี้รอดชีวิตได้.

[๒๐๒] เมื่อสุวรรณหงส์ทั้งสองที่ประเสริฐ ซึ่ง

ประพฤติธรรมอันประเสริฐ กำลังโต้ตอบกันด้วย

ประการฉะนี้ นายพรานถือท่อนไม้กระชับแน่นรีบ

เดินเข้ามา สุมุขหงส์เห็นนายพรานนั้นกำลังเดินมา จึง

ได้ร้องเสียงดังยืนอยู่ข้างหน้าพญาหงส์ ปลอบพญา-

หงส์ตัวหวาดกลัวให้เบาใจด้วยคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

ประเสริฐกว่าหงส์ทั้งหลาย อย่าทรงกลัวเลย ด้วยว่า

บุคคลทั้งหลายเช่นกับพระองค์ย่อมไม่กลัว ข้าพระองค์

จะประกอบความเพียรอันสมควร ประกอบด้วยธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

พระองค์จะพ้นจากบ่วงด้วยความเพียรอันผ่องแผ้วนั้น

ได้โดยพลัน.

[๒๐๓] นายพรานได้ฟังคำสุภาษิตของสุมุขหงส์

นั้น แล้วขนลุกชูชัน นอบน้อมอัญชลีแก่สุมุขหงส์

แล้วถามว่า เราไม่เคยได้ฟัง หรือไม่เคยได้เห็นนกพูด

ภาษามนุษย์ได้ ท่านแม้จะเป็นนกก็พูดภาษาอัน

ประเสริฐ เปล่งวาจาจากภาษามนุษย์ได้ พญาหงส์ตัว

นี้เป็นอะไรกับท่านหรือ ท่านพ้นแล้วทำไมจึงเฝ้าหงส์

ตัวติดบ่วงอยู่ หงส์ทั้งหลายพากันละทิ้งไปหมด เพราะ

เหตุใดท่านจึงยังอยู่ตัวเดียว.

[๒๐๔] ดูก่อนนายพรานผู้เป็นศัตรูของนก

พญาหงส์นั้นเป็นราชาของข้าพเจ้า ทรงตั้งข้าพเจ้าให้

เป็นเสนาบดี ข้าพเจ้าไม่สามารถจะละทิ้งพระองค์ซึ่ง

เป็นอธิบดีของหงส์ ในคราวมีอันตรายได้ พญาหงส์

นี้เป็นนายของหมู่หงส์เป็นอันมาก และของข้าพเจ้า

อย่าให้พระองค์ผู้เดียวพึงถึงความพินาศเสียเลย ดูก่อน

นายพรานผู้สหาย เพราะเหตุที่พญาหงส์นี้เป็นนายของ

ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงยินดีรื่นรมย์อยู่.

[๒๐๕] ดูก่อนหงส์ ท่านย่อมนอบน้อมก้อน

อาหาร ชื่อว่ามีความประพฤติธรรมอันประเสริฐ

ข้าพเจ้าจะปล่อยนายของท่าน ท่านทั้งสองจงไปตาม

สบายเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 377

[๒๐๖] ดูก่อนสหาย ถ้าท่านดักหงส์และนกทั้ง

หลายด้วยประโยชน์ของตน ข้าพเจ้าจะขอรับทักษิณา

อภัยของท่านนี้ ดูก่อนนายพราน ถ้าท่านไม่ได้ดัก

หงส์และนกทั้งหลายด้วยประโยชน์ของตน ท่านไม่มี

อิสระ ถ้าท่านปล่อยเราทั้งสองเสีย ท่านก็ชื่อว่ากระทำ

ความเป็นขโมย.

[๒๐๗] ท่านเป็นคนรับใช้ของพระราชาพระองค์

ใด จงนำข้าพเจ้าไปให้ถึงพระราชาพระองค์นั้น ตาม

ปรารถนาเถิด พระเจ้าสังยมนะจักทรงกระทำตาม

พระประสงค์ ในพระราชนิเวศน์นั้น.

[๒๐๘] นายพรานอันสุมุขหงส์กล่าวด้วยประ-

การอย่างนี้แล้ว จึงเอามือทั้งสองประคองพญาหงส์ทอง

ตัวมีสีดังทองคำ ค่อย ๆ วางลงในกรง นายพรานพา

พญาหงส์ทั้งสอง ตัวมีผิวพรรณอันผุดผ่องคือ สุมุขหงส์

และพญาหงส์ธตรฐซึ่งอยู่ในกรงหลีกไป.

[๒๐๙] พญาหงส์ธตรฐอันนายพรานนำไปอยู่ได้

กล่าวกะสุมุขหงส์ว่า ดูก่อนสุมุขะ เรากลัวนก ด้วย

นางหงส์ตัวมีผิวพรรณดังทองคำ มีขาได้ลักษณะ นาง

รู้ว่าเราถูกฆ่า ก็จักฆ่าตนเสียโดยแท้ ดูก่อนสุมุขะ ก็

ราชธิดาของพญาปากหงส์ นามว่าสุเหมา มีผิวงามดัง

ทองคำจักร่ำไห้อยู่ เหมือนนางนกกระเรียนตัวกำพร้า

ร่ำไห้อยู่ที่ริมฝั่งสมุทรฉะนั้นเป็นแน่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 378

[๒๑๐] การที่พระองค์เป็นใหญ่กว่าโลกคือ หงส์

ใคร ๆ ไม่สามารถจะประมาณคุณได้ เป็นครูของหมู่

คณะใหญ่ พึงตามเศร้าโศกถึงหญิงคนเดียวอย่างนี้

เหมือนไม่ใช่ความประพฤติของผู้มีปัญญา ลมย่อมพัด

พานทั้งกลิ่นหอมและกลิ่นเหม็น เด็กอ่อนย่อมเก็บผล

ไม้ทั้งดิบทั้งสุก คนตาบอดผู้โลกในรสย่อมถือเอา ฉัน

ใด ธรรมดาหญิงก็ฉันนั้น พระองค์ไม่รู้จักตัดสินใจ

ในเหตุทั้งหลายปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนคนเขลา

พระองค์จะถึงมรณกาลแล้ว ยังไม่ทรงทราบกิจที่ควร

และไม่ควร พระองค์เห็นจะเป็นกึ่งคนบ้า บ่นเพ้อไป

ต่าง ๆ ทรงสำคัญหญิงว่าเป็นผู้ประเสริฐ แท้จริงหญิง

เหล่านี้ เป็นของทั่วไปแก่คนเป็นอันมาก เหมือนโรง

สุราเป็นสถานที่ทั่วไปแก่พวกนักเลงสุราฉะนั้น อนึ่ง

หญิงเหล่านี้มีมารยาเหมือนพยับแดด เป็นเหตุแห่งความ

เศร้าโศกเป็นเหตุเกิดโรคและอันตราย อนึ่ง หญิง

เหล่านี้เป็นคนหยาบคาย เป็นเครื่องผูกมัด เป็นบ่วง

เป็นถ้ำที่อยู่ของมัจจุราชบุรุษใดพึงหลงระเริงใจในหญิง

เหล่านั้น บุรุษนั้นชื่อว่าเป็นคนเลวทรามในหมู่นระ.

[๒๑๑] วัตถุใด อันท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้จักดี

แล้ว ใครควรจะติเตียนวัตถุนั้นเล่า ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้ง

หลายมีคุณมาก เกิดแล้วในโลก ความคะนองอัน

บุคคลตั้งไว้แล้วในหญิงเหล่านั้น ความยินดีอันบุคคล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 379

ตั้งเฉพาะไว้แล้วในหญิงเหล่านั้น พืชทั้งหลาย (มี

พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวกและ

พระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น) ย่อมงอกขึ้นในหญิงเหล่า

นั้น สัตว์เหล่านั้นพึงเจริญ บุรุษไรมาเกี่ยวข้องชีวิต

หญิงด้วยชีวิตของตนแล้ว พึงเบื่อหน่ายในหญิงเหล่า

นั้น ดูก่อนสุมุขะ ท่านนั่นแหละ ไม่ต้องคนอื่นละ ก็

ประกอบในประโยชน์ของหญิงทั้งหลาย เมื่อภัยเกิด

ขึ้นแก่ท่านในวันนี้ ความคิดเกิดขึ้นเพราะความกลัว

จริงอยู่ บุคคลทั้งปวงผู้ถึงความสงสัยในชีวิต มีความ

หวาดกลัว ย่อมอดกลั้นความกลัวไว้ได้ เพราะว่า

บัณฑิตทั้งหลายเป็นผู้ดำรงอยู่ในฐานะอันใหญ่ ย่อม

ประกอบในประโยชน์อันมากที่จะประกอบได้ พระ-

ราชาทั้งหลาย ย่อมทรงปรารถนาความกล้าหาญของ

มนตรีทั้งหลาย เพื่อทรงประสงค์ที่จะได้ความกล้า-

หาญนั้น ป้องกันอันตรายและสามารถป้องกันพระ

องค์เองด้วย วันนี้ท่านจงกระทำด้วยประการที่พวก

พนักงานเครื่องต้นของพระราชา อย่าเชือดเฉือนเรา

ทั้งสองในโรงครัวใหญ่เถิด จริงอย่างนั้น สีแห่งขน

ปีกทั้งหลายจะฆ่าท่านเสีย เหมือนขุยไม้ไผ่ ฉะนั้น

ท่านแม้นายพรานจะปล่อย แล้วไม่ปรารถนาจะบินหนี

ไป ยังเข้ามาใกล้บ่วงเองอีกทำไมเล่า วันนี้ ท่านถึง

ความสงสัยในชีวิตแล้ว จงถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์

อย่ายื่นปากออกไปเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 380

[๒๑๒] ท่านนั้นจงประกอบความเพียร ที่สม-

ควรอันประกอบด้วยธรรม จงประพฤติการแสวงหาทาง

ที่จะช่วยให้เรารอดชีวิต ด้วยความเพียรอันผ่องแผ้ว

ของท่านเถิด.

[๒๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่านกทั้ง

หลาย อย่าทรงกลัวเลย ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยญาณวิริยะเช่น

พระองค์ย่อมไม่กลัวเลย ข้าพระองค์จักประกอบความ

เพียรที่สมควรอันประกอบด้วยธรรม พระองค์จะหลุด

พ้นจากบ่วง ด้วยความเพียรอันผ่องแผ่วของข้าพระ-

องค์ โดยเร็วพลัน.

[๒๑๔] นายพรานนั้น เข้าไปยังประตูพระราช-

วังพร้อมด้วยหาบหงส์แล้ว จึงส่งนายประตูว่า ท่านจง

ไปกราบทูลถึงเราแด่พระราชาว่า พญาหงส์ธตรฐนี้

มาแล้ว.

[๒๑๕] ได้ยินว่า พระเจ้าสัญญมนะทอดพระ-

เนตรเห็นหงส์ทองทั้งสองตัวรุ่งเรืองด้วยบุญ หมายรู้

ด้วยลักษณะ แล้วตรัสสั่งกะพวกอำมาตย์ว่า ท่านทั้ง

หลายจงให้ผ้า ข้าว น้ำ และเครื่องบริโภค แก่นาย

พราน เงินเป็นสิ่งกระทำความปรารถนาแก่เขา เขา

ประมาณเท่าใด ท่านทั้งหลายจงให้แก่เขาประมาณ

เท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 381

[๒๑๖] พระเจ้ากาสีทอดพระเนตรเห็นนาย

พรานผู้มีความผ่องใส แล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนเขมกะผู้

สหาย ก็สระโบกขรณีนี้เต็มไปด้วยฝูงหงส์ ตั้งอยู่ (น้ำ

เต็มเปี่ยม) อย่างไรท่านจึงถือบ่วงเดินเข้าไปใกล้พญา

หงส์ซึ่งอยู่ในท่ามกลางฝูงหงส์ ที่น่าชอบใจเกลื่อน

กล่นไปด้วยฝูงหงส์ที่เป็นญาติ ซึ่งมิใช่หงส์ชั้นกลางได้

และจับเอามาได้อย่างไร.

[๒๑๗] วันนี้เป็นราตรีที่ ๗ ของข้าพระองค์

ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท แอบอยู่ในตุ่ม คอยติด

ตามรอยเท้าของพญาหงส์นี้ ซึ่งกำลังเข้าไปยังที่ถือ

เอาเหยื่อ ลำดับนั้น ข้าพระองค์ได้เห็นรอยเท้าของ

พญาหงส์นั้น ซึ่งกำลังเที่ยวแสวงหาเหยื่อ จึงดักบ่วง

ลงในที่นั้น ข้าพระองค์จับพญาหงส์นั้นมาได้ด้วย

อุบายอย่างนี้ พระเจ้าข้า.

[๒๑๘] ดูก่อนนายพราน หงส์นี้มีอยู่สองตัว

ไฉนท่านจึงกล่าวว่ามีตัวเดียว จิตของท่านวิปริตไป

แล้วหรือ หรือว่าท่านคิดจะหาประโยชน์อะไร.

[๒๑๙] หงส์ตัวที่มีพื้นแดง มีสีงดงามดุจทองคำ

กำลังหลอม รอบ ๆ คอจรดทรวงอกนั้น ข้ามาติด

บ่วงของข้าพระองค์ แต่หงส์ตัวที่ผุดผ่องนี้มิได้ติดบ่วง

เมื่อจะกล่าวถ้อยคำเป็นภาษามนุษย์ ได้ยืนกล่าวถ้อยคำ

อันประเสริฐกะพญาหงส์ที่ติดบ่วง ซึ่งกระสับ-

กระส่ายอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

[๒๒๐] ดูก่อนสุมุขหงส์ เหตุไรหนอท่านจึงยืน

ขบคางอยู่ในบัดนี้ หรือว่าท่านมาถึงบริษัทของเราแล้ว

กลัวภัย จึงไม่พูด.

[๒๒๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชนชาวกาสี

ข้าพระองค์เข้าสู่บริษัทของพระองค์แล้ว จะกลัวภัยก็

หาไม่ ข้าพระองค์จักไม่พูดเพราะกลัวภัยก็หาไม่ แต่

เมื่อประโยชน์เช่นนั้นเกิดขึ้นแล้ว ข้าพระองค์จึงจัก

พูด.

[๒๒๒] เราไม่เห็นบริษัทผู้ยิ่งใหญ่ พลรถ พล

เดินเท้า เกราะ โล่ และนายขมังธนูผู้สวมเกราะของ

ท่านเลย ดูก่อนสุมุขหงส์ ท่านอาศัยสิ่งใดหรือว่าเข้าไป

ในสถานที่ใดแล้วไม่กลัวสิ่งที่จะพึงกลัว เราไม่เห็นสิ่ง

นั้น หรือสถานที่นั้นแม้เป็นเงิน ทองหรือนครที่สร้าง

ไว้อย่างดีซึ่งมีคูรายรอบ ยากที่จะไปได้ มีหอรบและ

เชิงเทินอันมั่นคงเลย.

[๒๒๓] ข้าพระองค์ไม่ต้องการด้วยบริษัทผู้ยิ่ง

ใหญ่หรือนครหรือทรัพย์ เพราะข้าพระองค์ไปสู่ทาง

โดยสถานที่มิใช่ทาง ข้าพระองค์เป็นสัตว์เที่ยวไปใน

อากาศ ก็พระองค์ทรงสดับข่าวว่า ข้าพระองค์เป็น

บัณฑิต และเป็นผู้ละเอียดคิดข้ออรรถ ถ้าพระองค์

ทรงดำรงมั่นอยู่ในความสัตย์ไซร้ ข้าพระองค์จะพึง

กล่าววาจาอันมีอรรถด้วยคำที่ข้าพระองค์กล่าวแล้วแม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

จะเป็นสุภาษิต ก็จักทำอะไรแก่พระองค์ผู้หาความสัตย์

มิได้ ผู้ไม่ประเสริฐ มักตรัสคำเท็จ ผู้หยาบช้า.

[๒๒๔] พระองค์ได้ตรัสสั่งให้ขุดสระชื่อว่าเขมะ

นี้ตามถ้อยคำของพวกพราหมณ์ และพระองค์ตรัสสั่ง

ให้ประกาศอภัยทั่วสิบทิศ หงส์เหล่านั้นจึงได้พากัน

บินลงสู่สระโบกขรณี อันมีน้ำใสสะอาด ในสระโบก-

ขรณีนั้นมีอาหารอย่างเพียงพอและไม่มีการเบียดเบียน

นกทั้งหลายเลย พวกข้าพระองค์ได้ยินคำประกาศนี้

แล้ว จึงพากันบินมาในสระของพระองค์ พวกข้า-

พระองค์นั้น ๆ ก็ถูกบ่วงรัดไว้ นี่เป็นคำตรัสเท็จของ

พระองค์ บุคคลกระทำมุสาวาท และความโลภคือ

ความอยากได้ อันลามกเป็นเบื้องหน้าแล้ว ก้าวล่วง

ปฏิสนธิในเทวโลกและมนุษยโลกทั้งสอง ย่อมเข้าถึง

นรกอันไม่เพลิดเพลิน.

[๒๒๓] ดูก่อนสุมุขหงส์ เรามิได้ทำผิด ทั้งมิ

ได้จับท่านมาด้วยความโลก ก็เราได้สดับมาว่า ท่าน

ทั้งหลายเป็นบัณฑิตเป็นผู้ละเอียดและคิดข้ออรรถ ทำ

ไฉนท่านทั้งหลายจึงจะมากล่าววาจาอันอาศัยอรรถใน

ที่นี้ ดูก่อนสุมุขหงส์ผู้สหาย นายพรานผู้นี้เราส่งไป

จึงไปจับเอาท่านมาด้วยความประสงค์นั้น.

[๒๒๖] ข้าแต่พระจอมแห่งชนชาวกาสี เมื่อ

ชีวิตน้อมเข้าไปใกล้ความตายแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 384

ถึงมรณกาลแล้ว จะไม่พึงกล่าววาจาอันมีเหตุเลย ผู้

ใดฆ่าเนื้อด้วยเนื้อต่อ ฆ่านกด้วยนกต่อ หรือดักผู้เลื่อง

ลือด้วยเสียงที่เลื่องลือ จะมีอะไรเป็นเลวทราม

ยิ่งกว่าความเลวทรามของผู้นั้น ก็ผู้ใดพึงกล่าววาจา

อันประเสริฐแต่ประพฤติธรรมไม่ประเสริฐ ผู้นั้น

ย่อมพลาดจากโลกทั้งสอง คือโลกนี้และโลกหน้า

บุคคลได้รับยศแล้วไม่พึงมัวเมา ถึงความทุกข์อัน

เป็นเหตุสงสัยในชีวิตแล้ว ไม่พึงเดือดร้อน พึง

พยายามในกิจทั้งหลายร่ำไป และพึงปิดช่องทั้งหลาย

ชนเหล่าใดเป็นผู้เจริญ ถึงเวลาใกล้ตาย ไม่ล่วงเลย

ประโยชน์อย่างยิ่ง ประพฤติธรรมในโลกนี้ ชนเหล่า

นั้นย่อมไปสู่ไตรทิพย์ด้วยประการอย่างนี้ ข้าแต่

พระจอมแต่งชนชาวกาสี พระองค์ทรงสดับคำนี้แล้ว

ขอจงทรงรักษาธรรมในพระองค์ และได้ทรงโปรด

ปล่อยพญาหงส์ธตรฐที่ประเสริฐสุดกว่าหงส์ทั้งหลาย

เถิด พระเจ้าข้า.

[๒๒๗] ชาวพนักงานทั้งหลาย จงนำน้ำ น้ำมัน

ทาเท้าและอาสนะอันมีค่ามากนาเถิด เราจะปล่อยพญา-

หงส์ธตรฐ ซึ่งเรืองยศออกจากกรง และสุมุขหงส์

เสนาบดีตัวมีปัญญา เป็นผู้ละเอียดคิดอรรถที่ยากได้ง่าย

ผู้ใดเมื่อพระราชามีสุขก็สุขด้วย เมื่อพระราชามีทุกข์

ก็ทุกข์ด้วย ผู้เช่นนี้แลย่อมสมควรเพื่อจะบริโภคก้อน

ข้าวของนายได้ เหมือนสุมุขหงส์เป็นราชสหายทั่วไป

แก่สัตว์มีชีวิต ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 385

[๒๒๘] พญาหงส์ธตรฐเข้าไปเกาะตั่ง อันล้วน

แล้วไปด้วยทองคำมี ๘ เท้า น่ารื่นรมย์ใจ เกลี้ยงเกลา

ลาดด้วยผ้าแคว้นกาสี สุมุขหงส์เข้าไปเกาะเก้าอี้อัน

ล้วนแล้วไปด้วยทองคำ หุ้มด้วยหนังเสือโคร่ง ใน

ลำดับแห่งพญาหงส์ธตรฐ ชนชาวกาสีเป็นอันมาก

ต่างถือเอาโภชนะอันเลิศที่เขาส่งไปถวายพระราชา นำ

เข้าไปให้แก่พญาหงส์ทั้งสองนั้น ด้วยภาชนะทองคำ.

[๒๒๙] พญาหงส์ธตรฐผู้ฉลาด เห็นโภชนะอัน

เลิศที่เขานำมาให้ อันพระเจ้ากาสีประทานส่งไป จึง

ได้ถามธรรมเนียม เครื่องปฏิสันถารในกาลเป็นลำดับ

นั้นว่า พระองค์ไม่มีพระโรคาพาธแลหรือ ทรงสำราญ

ดีอยู่หรือ ทรงปกครองรัฐมณฑลอันสมบูรณ์นี้โดย

ธรรมหรือ.

[๒๓๐] ดูก่อนพญาหงส์ เราไม่มีโรคาพาธ

อนึ่ง เรามีความสำราญดีและเราก็ปกครองรัฐมณฑล

อันสมบูรณ์นี้โดยธรรม.

[๒๓๑] โทษอะไร ๆ ไม่มีในหมู่อำมาตย์ของ

พระองค์แลหรือ และอำมาตย์เหล่านั้น ไม่อาลัยชีวิต

ในประโยชน์ของพระองค์แลหรือ.

[๒๓๒] โทษอะไรๆไม่มีในหมู่อำมาตย์ของเรา

และอำมาตย์เหล่านั้น ไม่อาลัยชีวิตในประโยชน์ของ

เรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 386

[๒๓๓] พระมเหสีซึ่งมีพระชาติเสมอกัน ทรง

เชื่อฟัง มีพระเสาวนีย์อันน่ารัก ทรงประกอบด้วยพระ-

โอรส พระรูป พระโฉม และพระยศ เป็นไปตาม

พระราชอัธยาศัยของพระองค์ แลหรือ.

[๒๓๔] พระมเหสีซึ่งมีพระชาติเสมอกัน ทรง

เชื่อฟัง มีพระเสาวนีย์อันน่ารัก ทรงประกอบด้วยพระ-

โอรส พระรูป พระโฉม และพระยศเป็นไปตาม

อัธยาศัยของเรา.

[๒๓๕] พระองค์มิได้ทรงเบียดเบียนชาวแว่น

แคว้น ทรงปกครองให้ปราศจากอันตรายแต่ที่ไหน ๆ

โดยความไม่เกรี้ยวกราดโดยธรรม โดยความสม่ำเสมอ

แลหรือ.

[๒๓๖] เรามิได้เบียดเบียนชาวแว่นแคว้น ปก

ครองให้ปราศจากอันตรายแต่ที่ไหน ๆ โดยความไม่

เกรี้ยวกราด โดยธรรม โดยความสม่ำเสมอ.

[๒๓๗] พระองค์ทรงยำเกรงสัตบุรุษ ทรงเว้น

อสัตบุรุษแลหรือ พระองค์ไม่ทรงละทิ้งธรรม ไม่ทรง

ประพฤติคล้อยตามอธรรมแลหรือ.

[๒๓๘] เรายำเกรงสัตบุรุษ เว้นอสัตบุรุษ

ประพฤติคล้อยตามธรรมละทิ้งอธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 387

[๒๓๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์ พระองค์

ทรงพิจารณาเห็นชัดซึ่งพระชนมายุอันเป็นอนาคตยัง

ยืนยาวอยู่หรือ พระองค์ทรงมัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้ง

แห่งความมัวเมา ไม่สะดุ้งกลัวปรโลกหรือ.

[๒๔๐] ดูก่อนพญาหงส์ เราพิจารณาเห็นชัด

ซึ่งอายุอันเป็นอนาคตยังยืนยาวอยู่ เราตั้งอยู่แล้วใน

ธรรม ๑๐ ประการ จึงไม่สะดุ้งกลัวปรโลก เราเห็น

กุศลธรรมที่ดำรงอยู่ในตนเหล่านี้ คือ ทาน ศีล การ

บริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความ

ไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน และความ

ไม่พิโรธ แต่นั้นปีติและโสมนัสไม่ใช่น้อย ย่อมเกิด

แก่เรา ก็สุมุขหงส์นี้ไม่ทันคิดถึงคุณสมบัติของเรา ไม่

ทราบความประทุษร้ายแห่งจิต จึงเปล่งวาจาอันหยาบ

คาย ย่อมกล่าวถึงโทษที่ไม่มีอยู่ในเรา คำของสุมุข-

หงส์นี้ ย่อมไม่เป็นเหมือนคำของคนมีปัญญา.

[๒๔๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ ความ

พลั้งพลาดนั้นมีแก่ข้าพระองค์โดยความรีบร้อน ก็เมื่อ

พญาหงส์ธตรฐติดบ่วง ข้าพระองค์มีความทุกข์มากมาย

ขอพระองค์ได้ทรงโปรดเป็นที่พึ่ง ของข้าพระองค์

เหมือนบิดาเป็นที่พึ่งของบุตร และดุจแผ่นดินเป็นที่

พึ่งของหมู่สัตว์ฉะนั้นเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นราช-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 388

กุญชร ขอพระองค์ได้ทรงโปรดงดโทษแก่ข้าพระองค์

ผู้ถูกความผิดครอบงำเถิด.

[๒๔๒] เราย่อมอนุโมทนาแก่ท่านด้วยอาการ

อย่างนี้ เพราะท่านไม่ปกปิดความในใจ ดูก่อนหงส์

ท่านซื่อตรง จงทำลายความข้องใจเสียเถิด.

[๒๔๓] ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่ง

มีอยู่ในนิเวศน์ของเราผู้เป็นพระเจ้ากาสี คือ เงิน ทอง

แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์อันมากมาย แก้วมณี สังข์

ไข่มุก ผ้า จันทน์แดง และเหล็กอีกมาก เราขอให้

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจทั้งหมดนี้แก่ท่าน และขอสละ

ความเป็นใหญ่ให้แก่ท่าน.

[๒๔๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ข้าพระ-

องค์ทั้งสองเป็นอันพระองค์ทรงยำเกรง และทรง

สักการะโดยแท้ ขอพระองค์ทรงเป็นพระอาจารย์ของ

ข้าพระองค์ทั้งสอง ซึ่งประพฤติอยู่ในธรรมทั้งหลาย

เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นอาจารย์ ผู้ปราบปรามข้าศึก

ข้าพระองค์ทั้งสองอันพระองค์ทรงยอมอนุญาตแล้ว จัก

กระทำประทักษิณพระองค์แล้ว จักกลับไปหาหมู่ญาติ.

[๒๔๕] พระเจ้ากาสีทรงดำริ และทรงปรึกษา

ข้อความที่ได้กล่าวมาตลอดราตรีทั้งปวง แล้วทรง

อนุญาตพญาหงส์ทั้งสอง ซึ่งประเสริฐสุดกว่าหงส์

ทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

[๒๔๖] เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคต เมื่อราตรี

สว่างจ้า พญาหงส์ทั้งสองก็พากันบินไปจากพระราช-

นิเวศน์ของพระเจ้ากาสี.

[๒๔๗] หงส์เหล่านั้น เห็นพญาหงส์ทั้งสองที่

ยิ่งใหญ่ไม่มีโรคกลับมาถึง จึงพากันส่งเสียงว่า เกเก

ได้เกิดเสียงอื้ออึงขึ้น หงส์มีความเคารพนายเหล่านั้น

ได้ปัจจัยมีปีติโสมนัส เพราะนายหลุดพ้นกลับมา พา

กันกระโดดโลดเต้น เข้าไปห้อมล้อมโดยรอบ.

[๒๔๘] ประโยชน์ทั้งปวง ของบุคคลผู้สมบูรณ์

ด้วยกัลยาณมิตรย่อมให้สำเร็จความสุขความเจริญ

เหมือนพญาหงส์ธตรฐและสุมุขหงส์ สมบูรณ์ด้วย

กัลยาณมิตร เกิดประโยชน์ ให้สำเร็จความสุขความ

เจริญกลับมายังหมู่ญาติ ฉะนั้น.

จบมหาหังสชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 390

อรรถกถามหาหังสชาดก

พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

พระปรารภการสละชีวิตของพระอานนท์เถระทีเดียว ตรัสพระธรรมเทศนา

นี้มีคำเริ่มต้นว่า เอเต หสา ปกฺกมนฺติ ดังนี้.

ส่วนเรื่องราวก็คงเหมือนกับเรื่องที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.

ก็ในวันหนึ่ง พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย พระอานนท์ผู้มีอายุสละชีวิตของตนเพื่อประโยชน์แก่พระตถาคต

กระทำกิจอันยากที่ผู้อื่นจะกระทำได้ ท่านเห็นช้างนาลาคิรีแล้ว แม้ถูกพระ-

ศาสดาตรัสห้ามอยู่ถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ยอมกลับเลยทันที น่าชมเชยพระอานนทเถระ

ผู้มีอายุ กระทำกิจที่ผู้อื่นกระทำได้ยาก. พระศาสดาทรงพระดำริว่า ถ้อยคำ

สรรเสริญคุณของพระอานนท์กำลังเป็นไปอยู่ เราควรไปในที่นั้น จึงเสด็จ

ออกจากพระคันธกุฎี เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่ง

สนทนากันด้วยเรื่องอะไร ในบัดนี้ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว

จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่บัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ ถึงในกาลก่อน

อานนท์แม้บังเกิดแล้ว ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ก็ได้ยอมเสียสละชีวิตของตน

เพื่อประโยชน์แก่ตถาคตแล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว จึงทรงดุษณีภาพ เมื่อภิกษุ

เหล่านั้นทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล ในเมืองพาราณสี พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงพระนามว่า

สังยมะ* มีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่า เขมา. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์มี

หมู่หงส์เก้าหมื่นหกพันแวดล้อมเป็นบริวาร อาศัยอยู่ ณ ภูเขาจิตตกูฏ. อยู่มา

* บาลีเป็นสังยมนะบ้าง สัญญมนะบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 391

วันหนึ่ง พระนางเขมาเทวีได้ทรงพระสุบินนิมิตในเวลาใกล้รุ่งว่า มีพญา-

หงส์ทอง ๒ ตัว มาจับอยู่ที่พระราชบัลลังก์ แล้วแสดงธรรมกถาด้วยเสียงอัน

ไพเราะ เมื่อพระนางเทวีประทานสาธุการทรงสดับธรรมกถาอยู่ ยังมิทันเอิบอิ่ม

ในการสดับธรรมทีเดียว ราตรีก็สว่างเสียแล้ว พญาหงส์ทั้งสอง ครั้นแสดง

ธรรมแล้ว จึงพากันบินออกไปทางช่องพระแกล แม้พระนางก็รับสั่งว่า ท่าน

ทั้งหลายจงรีบลุกขึ้น ช่วยกันจับ ช่วยกันจับหงส์ที่กำลังบินหนีไป กำลังเหยียด

พระหัตถ์อยู่นั่นแล ก็ตื่นจากพระบรรทม เหล่านางกำนัลได้ยินพระราชเสาวนีย์

ของพระนาง ก็พากันแย้มสรวลเล็กน้อยว่า หงส์ที่ไหนกัน พระนางจึงทรงทราบ

ในขณะนั้นว่า ทรงสุบินนิมิตไป จึงทรงดำริว่า สิ่งที่ไม่เป็นความจริง เราจะ

ไม่ฝันเห็น พญาหงส์ที่มีสีประดุจทองคำคงจักมีอยู่ในโลกนี้เป็นแน่แท้ แต่

ถ้าเราจักทูลพระราชาว่า หม่อมฉันใคร่จะฟังธรรมของพญาหงส์ทองทั้งหลาย

พระองค์จะตรัสว่า ขึ้นชื่อว่าหงส์ทองทั้งหลาย เรายังไม่เคยเห็นเลย และ

ธรรมดาว่าหงส์ทั้งหลาย จะกล่าวถ้อยคำได้ ก็ไม่เคยมีมาเลย ดังนี้ ก็จักเป็น

ผู้ไม่ทรงขวนขวายให้ แต่เมื่อเราทูลว่า เราตั้งครรภ์มีอาการแพ้ต้องแล้ว

พระองค์คงจักทรงสืบเสาะแสวงหาโดยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง ความปรารถนา

ของเราจักสำเร็จสมดังมโนรถ ด้วยอาการอย่างนี้ พระนางจึงแสร้งแสดงอาการ

ประชวร ให้สัญญาแก่เหล่านางกำนัล ทรงบรรทมนิ่งอยู่ พระราชาประทับนั่ง

ณ พระราชอาสน์ มิได้ทอดพระเนตรเห็นพระนางในเวลาที่พระนางเคยเข้าเฝ้า

จึงตรัสถามนว่า พระนางเขมาไปไหน ทรงสดับว่า ประชวร จึงเสด็จไปยัง

สำนักของพระนาง ประทับนั่ง ณ ประเทศส่วนหนึ่ง ข้างที่พระบรรทม ทรง

ลูบพระปฤษฎางค์ตรัสถามว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เธอไม่สบายเป็นอะไรไปหรือ.

พระนางทูลตอบว่า ขอเดชะ ความไม่สบายอย่างอื่นมิได้มี แต่อาการทรงครรภ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 392

บังเกิดขึ้นแก่หม่อมฉัน. พระราชาตรัสว่า ดูก่อนพระนาง ถ้าเช่นนั้นจงบอก

นาเถิด เธอปรารถนาสิ่งใด เราจะน้อมนำสิ่งนั้นมาให้เธอโดยเร็ว พระนาง

ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า หม่อมฉันปรารถนาจะทำการบูชาด้วยของหอมและ

ระเบียบดอกไม้เป็นต้น แก่พญาหงส์ทองตัวหนึ่ง ซึ่งจับอยู่ที่ราชบัลลังก์ มี

เศวตฉัตรอันยกขึ้นไว้แล้ว ให้สาธุการสดับธรรมกถา (ของพญาหงส์นั้น)

ถ้าหม่อมฉันได้อย่างนี้ การได้ด้วยประการดังนี้นั้นเป็นการดี ถ้าหากไม่ได้

ชีวิตของหม่อนฉันก็จะไม่มี. ลำดับนั้น พระราชาจึงทรงปลอบเอาพระทัย

พระนางว่า ถ้าสุพรรณหงส์มีอยู่ในมนุษยโลก เธอก็คงจักได้สมประสงค์ อย่า

เสียใจไปเลย แล้วเสด็จออกจากห้องอันมีสิริ ตรัสปรึกษากับพวกอำมาตย์ว่า

ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระนางเขมาเทวีตรัสกะเราว่า หม่อมฉันได้สดับ

ธรรมกถาของพญาหงส์ทองจึงจะมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าไม่ได้แล้วชีวิตของหม่อมฉัน

ก็จะไม่มี หงส์ที่มีสีดุจทองคำยังมีอยู่บ้างหรือ. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ขอเดชะ

ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เคยเห็น ทั้งไม่เคยได้ยินเลย พระเจ้าข้า. พระราชา

ตรัสถามว่า ก็มีใครจะพึงรู้จักบ้าง. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า พวกพราหมณ์

พระเจ้าข้า.

พระราชาตรัสสั่งให้เชิญพราหมณ์ทั้งหลายมา ทรงกระทำสักการะแล้ว

ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ทั้งหลาย หงส์ที่มีสีดังทองคำยังมีอยู่บ้างหรือ.

พวกพราหมณ์ทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่มหาราชเจ้า สัตว์ดิรัจฉาน ๖ จำพวก

เหล่านี้ คือ ปลา ปู เต่า เนื้อ นกยูง หงส์ มีมาในมนต์ของข้าพเจ้า

ทั้งหลายว่า มีสีดุจทองคำ บรรดาสัตว์ทั้ง ๖ จำพวกนี้ ขึ้นชื่อว่าเหล่าหงส์ที่

เกิดในตระกูลธตรฐ เป็นสัตว์ฉลาดประกอบด้วยความรู้ นับทั้งพวกมนุษย์ด้วย

ย่อมเป็นสัตว์ที่มีพรรณประหนึ่งทองคำ รวมเป็น ๗ จำพวก ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 393

พระราชาทรงดีพระทัยตรัสถามว่า เหล่าหงส์ที่เกิดในตระกูลธตรฐนั้นอยู่ที่

ไหนเล่า ท่านอาจารย์. พวกพราหมณ์ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์

ไม่ทราบพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า มีใครรู้จักพวกหงส์เหล่านั้นบ้าง

เมื่อพวกพราหมณ์ทูลว่า พวกบุตรนายพรานจักทราบ จึงตรัสสั่งให้เรียกพวก

นายพราน ในแคว้นของพระองค์มาประชุมกันทั้งหมด แล้วตรัสถามว่า

ดูก่อนพ่อ ชื่อว่าหงส์ตระกูลธตรฐมีสีดังทองคำ อยู่ ณ ที่ไหน. ลำดับนั้น

นายพรานคนหนึ่งจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ได้ทราบมาว่า

ตระกูลแห่งญาติทั้งหลายกล่าวสืบ ๆ กันมาว่า หงส์เหล่านั้นอยู่ ณ ภูเขาจิตตกูฏ

ในประเทศหิมวันต์. พระราชาตรัสถามว่า ก็ท่านพอจะรู้อุบายที่จะจับหงส์

เหล่านั้นได้หรือ. พวกนายพรานกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ไม่ทราบ

พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า ก็ชนเหล่าไหนจักทราบเล่า. พวกนายพราน

กราบทูลว่า พวกพราหมณ์ พระเจ้าข้า. ท้าวเธอจึงรับสั่งให้เรียกพราหมณ์ที่

เป็นบัณฑิตมาแล้ว ตรัสบอกความที่พวกหงส์มีพรรณดังทองคำ มีอยู่ ณ

ภูเขาจิตตกูฏแล้ว ตรัสถามว่า ท่านทั้งหลายยังจะรู้จักอุบายที่จะจับหงส์เหล่านั้น

หรือ. พวกพราหมณ์ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ประโยชน์อะไรที่จะต้องไปจับ

หงส์เหล่านั้น ถึงภูเขาจิตตกูฏนั้น ข้าพระองค์จักนำหงส์เหล่านั้นมาสู่ที่ใกล้

พระนครแล้ว จักจับเอาด้วยอุบาย. พระราชาตรัสถามว่า ก็อุบายอะไรเล่า.

พวกพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์จงตรัสสั่งให้ขุดสระใหญ่

ชื่อว่าเขมะ ประมาณ ๓ คาวุตทางทิศเหนือแต่พระนคร ให้เต็มด้วยน้ำแล้ว

ปลูกธัญชาติต่าง ๆ กระทำให้ดารดาษไปด้วยดอกบัวเบญจพรรณ ให้นาย-

พรานผู้ฉลาดคนหนึ่งอยู่ประจำรักษา อย่าให้หมู่มนุษย์เข้าไปใกล้ ให้คนอยู่

๔ มุมสระคอยประกาศอภัย สกุณชาติต่าง ๆ ก็จักลงจากทิศทั้งหลายซึ่งเห็นได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 394

หงส์เหล่านั้นได้สดับว่า สระนั้นเป็นที่เกษมสำราญ โดยที่เล่าลือกันสืบ ๆ มา

ก็จักพากันมา เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์พึงให้ดักด้วยบ่วงอันทำด้วยขนสัตว์

แล้วจับเอาหงส์เหล่านั้นเถิด.

พระราชาทรงสดับคำนั้น จึงให้สร้างสระมีประการดังกล่าวแล้ว ใน

ประเทศที่พวกพราหมณ์เหล่านั้นทูลบอก แล้วตรัสสั่งให้เรียกนายพรานผู้ฉลาด

มา ทรงปลอบประโลมนายพรานนั้นว่า จำเดิมแต่นี้ไป ท่านจงเลิกกระทำการ

งานของตนเสียเถิด เราจักเลี้ยงดูบุตรและภรรยาของท่านเอง ท่านเป็นผู้ไม่

ประมาทแล้ว พึงรักษาสระเขมะ ให้พวกมนุษย์ถอยกลับแล้ว ประกาศอภัย

ในมุมสระทั้ง ๔ พึงบอกถึงฝูงนกที่มาแล้วและมาแล้วแก่เรา. เมื่อสุวรรณหงส์

ทั้งหลายมาแล้ว ท่านจักได้สักการะใหญ่ แล้วให้รักษาสระเขมะ. จำเดิมแต่

นั้นมา นายพรานนั้นก็ปฏิบัติอยู่ในที่นั้น โดยนัยที่พระราชาตรัสสั่งไว้ทีเดียว.

ก็นายเนสาทนั้นปรากฏชื่อว่า นายเขมเนสาท ดังนี้ทีเดียว เพราะรักษาสระเขมะ.

และจำเดิมแต่นั้นมา สกุณชาติทั้งหลายต่าง ๆ ชนิดก็พากันลงสู่สระนั้น. พวก

หงส์ต่าง ๆ พากันมาด้วยเสียงประกาศชักชวนกันต่อ ๆ มาว่า เขมสระไม่มีภัย.

ทีแรกพวกติณหงส์มาก่อน แล้วพวกบิณฑุหงส์ก็พากันมาด้วยเสียงประกาศของ

พวกติณหงส์เหล่านั้น แล้วพวกมโนศิลาวรรณหงส์ ก็พากันมาด้วยเสียงประกาศ

ของพวกบัณฑุหงส์ แล้วเสตหงส์ก็พากันมาด้วยเสียงประกาศของพวกมโนศิลา

วรรณหงส์นั้น ต่อจากนั้นพวกปากหงส์ก็พากันมาด้วยเสียงประกาศของเสตหงส์

เหล่านั้น ครั้นพวกหงส์เหล่านั้นมาแล้ว นายเขมเนสาทจึงได้มาเฝ้ากราบทูล

แด่พระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ หงส์มากินอาหารในสระถึง ๕

ประเภทแล้ว พวกหงส์มีสีดังทองคำ ก็คงจักมาใน ๒-๓ วันนี้เป็นแน่ เพราะ

พวกปากหงส์มาแล้ว ขอพระองค์อย่าได้ทรงวิตกไปเลย พระเจ้าข้า พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 395

ทรงสดับคำนั้น จึงให้ราชบุรุษเที่ยวตีกลสองประกาศทั่วไปในพระนครว่า บุคคล

อื่นอย่าพึงเข้าไปในเขมสระนั้น บุคคลผู้ใดเข้าไป บุคคลผู้นั้นจักถึงการตัดมือ

และเท้าและถูกริบเรือนด้วย. จำเดิมแต่วันนั้นมา ใคร ๆ ก็ไม่อาจเข้าไปใน

สระนั้น ก็พวกปากหงส์ทั้งหลายอาศัยอยู่ในถ้ำทอง ใกล้ภูเขาจิตตกูฏ แม้

ปากหงส์เหล่านั้นเป็นสัตว์มีกำลังมาก อนึ่ง วรรณะแห่งสรีระของพวกปากหงส์

เหล่านั้น ก็มิได้ผิดแปลกกับหงส์ตระกูลธตรฐ ก็ธิดาแห่งพญาหงส์ปากราช

มีวรรณะประดุจทองคำ พญาปากหงส์นั้น ดำริว่า ธิดาของเรานี้ สมควรแก่

ธตรฐราชหงส์ที่มีความยิ่งใหญ่ จึงส่งนางไปให้เป็นบาทบริจาริกาของพญา-

หงส์ธตรฐนั้น นางได้เป็นที่รักทำเจริญของพญาหงส์ธตรฐนั้น เพราะเหตุ

นั้นแล ตระกูลหงส์ทั้งสองนั้น จึงได้เกิดมีความคุ้นเคยกันอย่างสนิทสนม.

อยู่มาวันหนึ่ง พวกหงส์ที่เป็นบริวารของพระโพธิสัตว์ถามพวกปากหงส์

ว่า ทุก ๆ วันนี้ พวกท่านไปเที่ยวหาอาหารกินที่ไหน. พวกเราไปหาอาหารกิน

ในเขมสระใกล้เมืองพาราณสี. ก็พวกท่านไปเที่ยวหากินที่ไหนเล่า. เมื่อพวก

หงส์เหล่าธตรฐบอกว่า พวกเราไปหาอาหารกินในที่โน้น ๆ พวกปากหงส์จึง

กล่าวพรรณนาคุณเขมสระว่า ทำไมพวกท่านจึงไม่ไปยังสระเขมะ ด้วยว่าสระ

นั้นเป็นที่น่ารื่นรมย์ เกลื่อนกลาดไปด้วยสกุณชาติต่าง ๆ ชนิด ดารดาษไป

ด้วยดอกบัวเบญจพรรณ สมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหารและผลไม้ต่าง ๆ

มีหมู่ภมรต่าง ๆ ชนิดบินว่อนอยู่อึงมี่ ในมุมสระทั้ง ๔ มีเสียงประกาศอภัยเป็น

ไปอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ไม่ว่ามนุษย์ไร ๆ ไม่สามารถที่จะเข้าไปใกล้ได้เลย

จะป่วยกล่าวไปไยถึงการกระทำอันตรายอย่างอื่น ๆ เล่า สระมีคุณเห็นปานนี้แล

พวกเหล่าหงส์ธตรฐเหล่านั้น ได้สดับคำของพวกปากหงส์แล้ว จึงพากันไป

บอกแก่สุมุขหงส์ว่า ได้ยินว่า มีสระ สระหนึ่งชื่อเขมะ มีคุณภาพเห็นปานนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 396

อยู่ใกล้เมืองพาราณสี พวกปากหงส์ไปเที่ยวหาอาหารกินในสระนั้น แม้ท่านก็

จงบอกแก่พญาหงส์ธตรฐที่มีความเป็นใหญ่ยิ่ง ถ้าพระองค์อนุญาต แม้พวก

ข้าพเจ้าก็จะพึงไปหาอาหารในที่นั้นบ้าง สุมุขหงส์จึงบอกแก่พญาหงส์ แม้

พญาหงส์นั้นก็คิดว่า ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ทั้งหลายมีเล่ห์เหลี่ยมมาก มีความคิด

แหลม ฉลาดในอุบาย น่าจะมีเหตุในที่นั้น ขึ้นชื่อว่าสระย่อมไม่มีในที่นั้น

ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ บัดนี้ชะรอยจะมีใครมาขุดไว้ และจักขุดไว้เพื่อคอย

ดักจับพวกเราเป็นแน่ พญาหงส์จึงกล่าวกะสุมุขหงส์ว่า ท่านอย่าพอใจไปใน

ที่นั้นเลย สระนั้นพวกมนุษย์เหล่านั้นมิได้ขุดไว้ตามธรรมดาของตน คงจะขุดไว้

เพื่อต้องการจับพวกเรา ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ทั้งหลาย มีเล่ห์เหลี่ยมมากมาย มี

ความคิดแหลม ฉลาดในอุบาย ท่านทั้งหลายจงเที่ยวไปในที่โคจรของตนตาม

เดิมเถิด พวกหงส์ทองก็ได้บอกแก่สุมุขหงส์ว่า พวกเราใคร่จะไปยังเขมสระ

ดังนี้ ถึงสองครั้งสามครั้ง สุมุขหงส์จึงบอกความที่พวกหงส์เหล่านั้นใคร่จะไป

ในสระนั้นแก่พระมหาสัตว์. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า พวกญาติ

ทั้งหลายของเรา จงอย่าได้ลำบากเพราะอาศัยเราเลย ถ้ากระนั้น เราทั้งหลาย

จะไปด้วยกัน มีหงส์เก้าหมื่นหกพันแวดล้อมเป็นบริวาร พากันไปหากินใน

สระนั้น เล่นหงสกีฬาแล้วบินกลับมายังเขาจิตตกูฏ. ฝ่ายนายพรานเขมกะใน

เวลาที่หงส์เหล่านั้นมาเที่ยวบินกลับไปแล้ว จึงไปกราบทูลแด่พระราชาว่า

พวกหงส์ทองเหล่านั้นพากันมาแล้ว พระราชาทรงดีพระทัยตรัสสั่งว่า ดูก่อน

สหายเขมกะ ท่านจงพยายามจับหงส์ทองนั้นไปให้สักตัวหนึ่งหรือสองตัว เรา

จักให้ยศใหญ่แก่ท่าน แล้วจึงประทานเครื่องเสบียงส่งนายพรานนั้นไป นาย

เขมกเนสาทนั้นไปถึงที่สระนั้นแล้ว จีนนั่งนิ่งอยู่ในเรือนกรงที่มีสัณฐานดังตุ่ม

พิจารณาดูทำเลหากินของพวกหงส์ ธรรมดาว่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มี

ปกติไม่ประพฤติมักได้ เพราะเหตุนั้น พระมหาสัตว์จึงจิกกินข้าวสาลีไป โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 397

ลำดับจำเดิมแต่ที่ที่ตนร่อนลง. ฝ่ายหงส์นอกนั้นเที่ยวจิกกินข้างโน้นบ้าง ข้างนี้

บ้าง ลำดับนั้น บุตรนายพราน จึงคิดว่า หงส์ตัวนี้มีปกติไม่ประพฤติมักได้

เราควรดักหงส์ตัวนี้เถิด ในวันรุ่งขึ้น เมื่อหงส์ทั้งหลายยังไม่ทันร่อนลงมาสู่

สระนั่นแล จึงนั่งในเรือนกรงที่มีสัณฐานดังตุ่มนั้นแล้ว ค่อย ๆ กระเถิบไปสู่

ที่นั้น แล้วจึงซ่อนตัวอยู่ในพงหญ้าในที่ไม่ไกลนักแลดูอยู่ตามช่อง.

ในขณะนั้น พระมหาสัตว์มีหงส์เก้าหมื่นหกพันเป็นเบื้องหน้า ร่อนลง

ในสถานที่ที่ตนเอยร่อนลงแล้วในวันวานนั่นเอง จับอยู่ที่แอ่งจิกกินข้าวสาลี

ไปพลาง. นายเนสาทแลดูตามช่องลูกกรง เห็นอัตภาพของพระโพธิสัตว์นั้น

ถึงแล้วซึ่งส่วนอันงามเลิศด้วยรูปร่าง จึงคิดว่า หงส์ตัวนี้ มีร่างกายโตเท่า

ดุมเกวียน มีพรรณาดุจทองคำ มีรอยแดง ๓ รอยคาดอยู่ที่คอ มีรอยพาดลงไป

ทางลำคอไปโดยระหว่างท้อง ๓ รอย มีรอยแล่นไปตลอดโดยส่วนแห่งเบื้อง

หางอีก ๓ รอย ย่อมรุ่งเรืองประดุจลิ่มทองคำที่บุคคลวางไว้บนกลุ่มไหม-

กัมพลแดง หงส์ตัวนี้คงเป็นพญาแห่งหงส์เหล่านั้นเป็นแน่แท้ เราจักจับหงส์

ตัวนี้แหละ. แม้พญาหงส์เที่ยวหาอาหารได้เป็นอันมาก เล่นกีฬาในนำ มี

ฝูงหงส์แวดล้อมกลับไปยังเขาจิตตกูฏทีเดียว พระโพธิสัตว์เที่ยวหากินอาหาร

โดยทำนองนี้ตลอดกาลประมาณ ๕-๖ วัน. ในวันที้ ๗ นายพรานเขมกะ

ขวั้นเชือกเส้นใหญ่ที่ทำด้วยขนหางม้าสีดำให้มั่นคง กระทำให้เป็นบ่วงมีคัน

ทราบโดยถ่องแท้ว่า ในวันพรุ่งนี้ พญาหงส์จักร่อนลงในที่นี้ จึงดักบ่วงไว้

ใต้น้ำ. ในวันรุ่งขึ้นพญาหงส์เมื่อโผลงมา จึงเอาเท้าถลำลงไปในบ่วง.

ทันใดนั้น บ่วงของนายพรานนั้นก็รวบรัดเท้าไว้ เหมือนมีใครมาฉุดคร่าด้วย

ลวดเหล็ก. พญาหงส์นั้นจึงคิดว่า เราจักกระตุกบ่วงนั้นให้ขาด จึงรวบรวม

กำลังฉุดคร่ามาแล้วให้ตกลงไป. ในครั้งแรก หนังอันมีสีประดุจทองคำก็ขาดไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 398

ในครั้งที่สอง เนื้อซึ่งมีสีประดุจผ้ากัมพลก็ขาดไป. ในครั้งที่สาม เส้นเอ็นก็ได้

ขาดไปจนจรดกระดูก. พระโพธิสัตว์ดำริว่า ในครั้งที่สี่เท้าคงขาดแน่. ธรรมดา

ว่าพระราชาเป็นผู้มีอวัยวะอันเลวทราม ไม่เหมาะสมเลย จึงมิได้กระทำความ

พยายามอีกต่อไป. ทุกขเวทนาได้แผ่ซ่านไปอย่างแรงกล้า พระโพธิสัตว์จึง

ดำริว่า ถ้าเราร้องแสดงอาการว่าติดบ่วง พวกญาติของเราก็จักตกใจไม่ทันได้

กินอาหาร บินหนีไปทั้งที่ตนกำลังหิวจัดอยู่ทีเดียว ก็จักตกลงไปในท่ามกลาง

มหาสมุทร พระองค์จึงทรงอดกลั้นต่อทุกขเวทนา แม้ตกอยู่ในอำนาจบ่วงก็

ทำทีเป็นเหมือนจิกกินข้าวสาลีอยู่ ในเวลาที่หงส์เหล่านั้นกินอาหารอิ่มหนำแล้ว

เล่นหงสกีฬาอยู่ จึงร้องขึ้นด้วยเสียงอันดังว่าติดบ่วง. หงส์ทั้งหลายได้ยินเสียง

นั้น ต่างก็กลัวตายเป็นกำลัง จึงมุ่งหน้าตรงไปยังเขาจิตตคกูฏเป็นพวก ๆ บิน

หนีไปโดยนัยก่อนนั่นแล.

สุมุขหงส์ที่เป็นเสนาบดีคิดว่า ภัยนี้บังเกิดขึ้นแก่มหาราชบ้างหรือไม่

หนอ เราจักทราบเหตุนั้น จึงรีบบินไปค้นหาในระหว่างแห่งหมู่หงส์ที่บินไป

ข้างหน้า โดยนัยดังกล่าวแล้วแต่หนหลังทีเดียว มิได้เห็นพระมหาสัตว์ในหมู่

แม้ทั้งสามหมู่ คิดว่า ภัยนี้บังเกิดขึ้นแก่มหาราชของเรานี้เป็นแน่แท้ทีเดียว

จึงหวนกลับมาก็ได้เห็นพระมหาสัตว์บ่วง มีร่างกายเปื้อนโลหิตเร่าร้อนอยู่

ด้วยความทุกข์จับอยู่บนหลังเปือกตมจึงกล่าวว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์อย่า

กลัวเลย ข้าพระองค์จะสละชีวิตของข้าพระองค์ให้นายพรานปล่อยพระองค์เสีย

ร่อนลงมาปลอบประโลมพระมหาสัตว์ จับอยู่บนหลังเปือกตม. ลำดับนั้น พระ-

มหาสัตว์ดำริว่า เมื่อหงส์เก้าหมื่นหกพันทิ้งเราหนีไป สุมุขหงส์นี้กลับมาแต่

ตัวเดียว เธอจักทิ้งเราหนีไปในเวลาที่บุตรนายพรานมาแล้วหรือไม่หนอ เป็น

สัตว์มีกายเปื้อนด้วยโลหิตห้อยอยู่ที่ปลายบ่วงทีเดียว ได้กล่าวคาถา ๓ คาถาด้วย

สามารถจะทดลองใจว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 399

หงส์เหล่านั้น ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมบินหนีไป

ดูก่อนสุมุขะผู้มีขนเหลือง มีผิวพรรณดังทองคำ ท่าน

จงบินหนีไปตามความปรารถนาเถิด หมู่ญาติละทิ้งเรา

ซึ่งตกอยู่ในอำนาจบ่วงตัวเดียว บินหนี้ไปไม่

เหลียวหลังเลย ท่านจะอยู่ผู้เดียวทำไม ดูก่อนสุมุขะ

ผู้ประเสริฐกว่าหงส์ทั้งหลาย ท่านจงกลับไปเสียเถิด

ความเป็นสหายในเราผู้ติดบ่วงย่อมไม่มีท่านอย่าคลาย

ความเพียรเพื่อความไม่มีทุกข์ จงหนีไปเสียตามความ

ปรารถนาเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภยเมริตา ความว่า ถูกภัยรุกราน ถูก

ภัยคุกคาม คือหวั่นไหวด้วยภัย. คำว่า หริ และคำว่า เหม ในบทที่สาม

เป็นชื่อของทองคำเหมือนกันนั่นแหละ. แม้หงส์นั้นมีพรรณเหมือนทองคำ

เพราะมีหนังเป็นสีทอง เพราะเหตุนั้น พญาหงส์จึงเรียกสุมุขหงส์นั้นอย่างนี้.

คำว่า สุมุข คือ ดูก่อนพ่อผู้มีหน้าตาดี. บทว่า อนเปกฺขมานา ได้แก่

พวกญาติเหล่านั้น มิได้แลดูหมดความห่วงใย. บทว่า ปเตว ได้แก่ พ่อจง

บินกลับไปเสียเถิด. บทว่า อนีฆาย ความว่า พ่ออย่าได้คลายความเพียร

เพราะความหมดทุกข์อันจะพึงถึง เพราะไปเสียจากที่นี่.

สุมุขหงส์เสนาบดีสดับคำนั้น จึงคิดว่า พญาหงส์นี้ยังไม่รู้จักว่าเรา

เป็นมิตรแท้ ย่อมกำหนดเราว่าเป็นมิตรไม่มีความรักใคร่ เราจักแสดงความรัก

แก่พญาหงส์นี้ ดังนี้ ได้กล่าวคาถา ๔ คาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 400

ข้าแต่พญาหงส์ธตรฐ ก็ข้าพระองค์แม้มีความ

ทุกข์เป็นเบื้องหน้า ก็จะไม่ละทิ้งพระองค์เลย ความ

เป็นอยู่หรือความตายของข้าพระองค์ จักมีพร้อมกับ

พระองค์ ข้าแต่พญาหงส์ธตรฐ ก็ข้าพระองค์ แม้มี

ความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ก็จะไม่ละทิ้งพระองค์เลย

พระองค์ไม่ควรจะชักชวนข้าพระองค์ให้ประกอบ

ในกรรมอันประกอบด้วยความอันไม่ประเสริฐเลย

ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐสุดกว่าหงส์ทั้งหลาย ข้า-

พระองค์เป็นสหายสหชาติของพระองค์ เป็นผู้ดำรงอยู่

ในจิตของพระองค์ ใคร ๆ ก็รู้ว่า ข้าพระองค์เป็น

เสนาบดีของพระองค์ ข้าพระองค์ไปจากที่นี่แล้ว จะ

กล่าวอวดอ้างในท่ามกลางหมู่ญาติได้อย่างไร ข้าแต่

พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าหงส์ทั้งหลาย ข้าพระองค์

ละทิ้งพระองค์ไปจากที่นี่แล้ว จะกล่าวกะฝูงหงส์

เหล่านั้นได้อย่างไร ข้าพระองค์จักยอมสละชีวิตไว้ใน

ที่นี้ ไม่สามารถจะทำกิจอันไม่ประเสริฐได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาห ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระ-

องค์แม้อันความทุกข์ทางกายและความทุกข์ทางใจถูกต้องแล้ว ก็ไม่ยอมละทิ้ง

พระองค์. บทว่า อนริยสยุตฺเต ได้แก่ ประกอบพร้อมแล้วด้วยความอันไม่

ประเสริฐ เพราะเป็นกรรมที่บุคคลผู้ประทุษร้ายมิตรทั้งหลาย ผู้ไม่ประเสริฐพึง

กระทำ. บทว่า กมฺเม ได้แก่ กรรมที่จะต้องละทิ้งพระองค์ไป. บทว่า

สกุมาโร ได้แก่ เป็นเด็กเสมอกัน อธิบายว่า เป็นกุมารที่ถือปฏิสนธิในวัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 401

เดียวกัน ทำลายฟองไข่ในวันเดียวกันแล้วเติบโตเจริญมาด้วยกัน . บทว่า สขา

ตฺยมฺหิ ได้แก่ ข้าพระองค์เป็นสหายที่รักเสมอด้วยดวงตาข้างขวาของพระองค์.

บทว่า สจิตฺเต ได้แก่ ข้าพระองค์ตั้งอยู่ในจิตของพระองค์ ย่อมเป็นไปใน

อำนาจของพระองค์ อธิบายว่า เมื่อพระองค์ยังมีชีวิตอยู่ ข้าพระองค์ก็มีชีวิตอยู่

เมื่อพระองค์สิ้นชีวิตข้าพระองค์ก็สิ้นชีวิตเหมือนกัน. บาลีเป็น สจิตฺเต ดังนี้

ก็มี อธิบายว่า ข้าพระองค์ดำรงอยู่ในจิตของพระองค์ ตั้งอยู่ด้วยดีแล้ว. บทว่า

าโต ได้แก่ รู้จักกันทั่วไป ปรากฏในระหว่างหงส์ทั้งหมด. บทว่า วิกตฺถิสฺส

ความว่า ข้าพระองค์ถูกหงส์เหล่านั้นถามว่า พญาหงส์ไปไหน จักบอกว่า

อย่างไร. บทว่า กินฺเต วกฺขามิ ความว่า ข้าพระองค์จักกล่าวกะหมู่หงส์ที่ถาม

ถึงข่าวคราวของพระองค์ เหล่านั้นว่าอย่างไร.

เมื่อสุมุขหงส์บันลือสีหนาทด้วยคาถา ๔ คาถาอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์

เมื่อจะพรรณนาคุณของสุมุขหงส์นั้นจึงกล่าวว่า

ดูก่อนสุมุขะ ท่านไม่อาจจะละทิ้งเราผู้เป็นทั้งนาย

ทั้งสหาย ชื่อว่าตั้งอยู่ในทางอันประเสริฐนี้แล เป็น

ธรรมเนียมของโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย จริงอยู่ เมื่อ

เรายังเห็นท่าน ความกลัวย่อมไม่เกิดขึ้นเลย ท่านจัก

ให้เราผู้เป็นอยู่อย่างนี้รอดชีวิตได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอโส ธมฺโม ได้แก่ นี้แลเป็นสภาพของ

บัณฑิตในปางก่อนทั้งหลาย. บทว่า ภตฺตาร สขาร ม ได้แก่ เป็นทั้งนาย

ด้วย เป็นทั้งเพื่อนด้วย. บทว่า ภย ได้แก่ ความสะดุ้งตกใจกลัว ย่อมไม่เกิด

แก่เรา เหมือนกับว่าเราอยู่ในท่ามกลางหมู่หงส์ บนภูเขาจิตตกูฏฉะนั้น. บทว่า

มยฺห ได้แก่ พ่อจักให้เรารอดชีวิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 402

เมื่อหงส์ทั้งสองนั้นกำลังพูดกันอยู่อย่างนี้ทีเดียว นายลุททบุตรยืนอยู่

ที่ขอบสระ เห็นหงส์บินหนีไปถึง ๓ หมู่แล้ว จึงมองดูสถานที่ที่ตนดักบ่วงไว้

ว่า เป็นอย่างไรหนอ เห็นพระโพธิสัตว์ห้อยอยู่ที่คันบ่วงมีความโสมนัสเกิดขึ้น

แล้ว เหน็บชายกระเบนหยักรั้งถือไม้ค้อนลุยลงไปดังว่าไฟบรรลัยกัลป์ เสือก

ศีรษะในเบื้องบนไปยังเลนที่จะต้องเหยียบด้วยเท้า พุ่งตัวไปข้างหน้ารีบเข้าไป

จนใกล้.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

เมื่อสุวรรณหงส์ทั้งสองที่ประเสริฐซึ่งประพฤติ

ธรรมอันประเสริฐ กำลังโต้ตอบกันด้วยประการฉะนี้

นายพรานถือท่อนไม้กระชับแน่นรีบเดินเข้ามา สุมุข-

หงส์เห็นนายพรานนั้นกำลังเดินมา จึงได้ร้องเสียงดัง

ยืนอยู่ข้างหน้าพญาหงส์ ปลอบพญาหงส์ที่หวาดกลัว

ให้เบาใจด้วยคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่า

หงส์ทั้งหลาย อย่าทรงกลัวเลย ด้วยว่าบุคคลทั้งหลาย

เช่นกับพระองค์ย่อมไม่กลัว ข้าพระองค์จะประกอบ

ความเพียรอันสมควร ประกอบด้วยธรรม พระองค์จะ

พ้นจากบ่วงด้วยความเพียร อันผ่องแผ้วนั้นได้โดย

พลัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริยวุตฺติน ได้แก่ ประพฤติอยู่ในคลอง

ธรรมอันประเสริฐ. บทว่า ภุส ได้แก่ มีกำลังมั่นคงแข็งแรง. บทว่า อปริพฺ-

รูหยิ ความว่า สุมุขหงส์เมื่อจะกล่าวคำว่า พระองค์อย่ากลัวเลย ดังนี้เป็นต้น

อันมาแล้วในคาถาอันเป็นลำดับต่อไป ได้ร้องเสียงดัง คือได้ส่งเสียงดัง. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 403

อฏฺาสิ ความว่า สุมุขหงส์นั้นโดยยอมสละชีวิตแล้วยืนข้างหน้าพญาหงส์

ด้วยคิดว่า ถ้านายพรานจักประหารพญาหงส์ เราก็จักรับการประหารนั้นเสีย

เอง. บทว่า วิสฺสาชย คือให้โล่งใจให้คล่องใจ. บทว่า พฺยถ ได้แก่ พญา-

หงส์ตัวหวาดกลัวแล้ว สุมุขหงส์ได้ปลอบพญาหงส์ให้เบาใจด้วยคำว่า มา ภายิ

นี้. บทว่า ตาทิสา ได้แก่ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความเพียรเช่นกับ

พระองค์. บทว่า โยค คือประกอบด้วยญาณวิริยะ. บทว่า ยุตฺต คือเหมาะ

สม. บทว่า ธมฺมูปสญฺหิต คืออาศัยเหตุ. บทว่า เตน ปริยาปทาเนน คือ

ด้วยความเพียรเป็นเครื่องประกอบอันบริสุทธิ์ ดังที่ข้าพระองค์ได้กล่าวแล้วนั้น.

บทว่า ปโมกฺขสิ แปลว่า พระองค์จักหลุดพ้น.

สุมุขหงส์ปลอบพระมหาสัตว์ให้เบาใจอย่างนี้แล้ว จึงไปยังที่ใกล้นาย-

ลุททบุตร เปล่งวาจาภาษามนุษย์อันไพเราะว่า ดูก่อนสหาย ท่านชื่อไร เมื่อ

นายพรานตอบว่า ดูก่อนพญาหงส์ ตัวมีผิวพรรณดังทอง เรามีชื่อว่า เขมกะ

จึงกล่าวว่า ดูก่อนเขมกะผู้เป็นสหาย ท่านอย่าได้กระทำความสำคัญว่า หงส์ที่

ติดในบ่วงอันท่านดักไว้นั้นเป็นหงส์ธรรมดาสามัญ หงส์ที่ติดบ่วงของท่านนี้ คือ

พญาหงส์ธตรฐประเสริฐกว่าหงส์เก้าหมื่นหกพัน ถึงพร้อมด้วยญาณและ

ศีลาจารวัตร ดำรงอยู่ในฝ่ายแห่งความสรรเสริญ หงส์นี้ไม่สมควรที่ท่านจะฆ่า

เสียเลย ข้าพเจ้าจักกระทำกิจที่ควรกระทำด้วยสรีระนี้แก่ท่าน แม้พญาหงส์นี้

มีพรรณประดุจทองคำ ถึงตัวข้าพเจ้าก็มีพรรณดุจทองคำเช่นเดียวกัน แต่

ข้าพเจ้าจักยอมสละชีวิตของตน เพื่อประโยชน์แก่พญาหงส์นี้ หากว่าท่าน

ประสงค์จะเอาขนปีกทั้งหลายของพญาหงส์นี้ ก็จงเอาขนปีกของข้าพเจ้าเถิด

ถ้าแม้ว่าท่านประสงค์จะเอาหนังเนื้อเอ็นกระดูกอย่างหนึ่ง ก็จงเอาจากสรีระของ

ข้าพเจ้าผู้เดียว หรือถ้าท่านประสงค์จะกระทำพญาหงส์นั้นให้เป็นหงสกีฬา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 404

(หงส์เต้นระบำ) ก็จงกระทำข้าพเจ้าผู้เดียว ถ้าท่านประสงค์จะให้บังเกิดทรัพย์

ก็จงเอาพญาหงส์นั้นขายทั้งเป็น ๆ กระทำทรัพย์ให้บังเกิดขึ้น ขอท่านอย่าได้

ฆ่าพญาหงส์ตัวประกอบด้วยคุณมีญาณเป็นต้นนี้เสียเลย เพราะถ้าท่านจักฆ่า

พญาหงส์นั้น ท่านจักไม่พ้นจากอบายมีนรกเป็นต้น สุมุขหงส์กล่าวคุกคาม

นายพรานนั้นด้วยภัยในอบายมีนรกเป็นต้น ให้เชื่อถือถ้อยคำอันไพเราะของตน

แล้วกลับไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์อีก ปลอบประโลมพระองค์ให้เบาใจแล้ว

ยืนอยู่ นายเนสาทสดับคำของสุมุขหงส์นั้น จึงคิดว่า หงส์นี้แม้เป็นสัตว์ดิรัจฉาน

ยังกระทำมิตรธรรมเห็นปานนี้ อันไม่น่าจะกระทำกับมนุษย์เลย แท้จริง แม้

พวกมนุษย์ด้วยกัน ก็ยังไม่อาจจะกระทำมิตรธรรมได้อย่างนี้ ดูช่างน่าอัศจรรย์

พญาหงส์นี้เป็นสัตว์ถึงพร้อมด้วยปัญญา กล่าววาจาไพเราะชื่อว่าเป็นผู้แสดงธรรม

ย่อมกระทำสรีระทั้งสิ้นของเราให้เต็มไปด้วยปีติและโสมนัส เขามีโลมชาติชูชัน

ทิ้งท่อนไม้ตั้งอัญชลีไว้เหนือศีรษะ ประหนึ่งว่านอบน้อมนมัสการพระอาทิตย์

ยืนกล่าวสรรเสริญคุณของสุมุขหงส์อยู่.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

นายพรานได้ฟังคำสุภาษิตของสุมุขหงส์นั้นแล้ว

ขนลุกชูชันนอบน้อมอัญชลีแก่สุมุขหงส์แล้วถามว่า เรา

ไม่เคยได้ฟังหรือไม่เคยได้เห็นนกพูดภาษามนุษย์ได้

ท่านแม้จะเป็นนก ก็พูดภาษาอันประเสริฐเปล่งวาจา

ภาษามนุษย์ได้ พญาหงส์ตัวนี้เป็นอะไรกับท่านหรือ

ท่านพ้นแล้วทำไมจึงเฝ้าหงส์ตัวติดบ่วงอยู่ หงส์ทั้งหลาย

พากันละทิ้งไปหมด เพราะเหตุใด ท่านจึงยังอยู่ตัวเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 405

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺชลิสฺสูปนามยิ ความว่า นายพราน

นั้นน้อมอัญชลีแก่สุมุขหงส์นั้น คือกระทำการชมเชยสุมุขหงส์นั้นด้วยคาถาอัน

เป็นลำดับต่อไป. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มานุสึ ได้แก่ ภาษาอันเป็น

ของมนุษย์. บทว่า อริย ได้แก่ ดี ไม่มีโทษ. บทว่า จชนฺโต คือ กล่าวอยู่.

มีคำที่ท่านอธิบายไว้ว่า ดูก่อนสหาย ท่านแม้เป็นนก ก็ได้กล่าววาจาภาษา

มนุษย์กับเราในวันนี้ กล่าววาจาอันไม่มีโทษ เปล่งวาจาภาษามนุษย์ เราเห็น

แล้วโดยประจักษ์ เพราะว่าสิ่งอัศจรรย์นี้เราไม่เคยได้ยินมา ไม่เคยได้เห็นมา

ในกาลก่อนแต่นี้เลย. บทว่า กินฺนุ ตาย ความว่า ท่านเข้าไปใกล้นกใด

นกนั้นย่อมเป็นอะไรกับท่าน.

สุมุขหงส์ถูกนายพรานผู้มีจิตชื่นชมไต่ถามด้วยถ้อยคำอย่างนี้แล้วจึงดำริ

ว่า นายพรานนี้ เป็นผู้มีใจอ่อนเกิดแล้ว บัดนี้เราจักแสดงคุณของเราเพื่อให้

นายพรานนี้มีใจอ่อนยิ่งขึ้นรูปอีกทีเดียว จึงกล่าวว่า

ดูก่อนนายพรานผู้เป็นศัตรูของนก พญาหงส์

เป็นราชาของข้าพเจ้า ทรงตั้งข้าพเจ้าให้เป็นเสนาบดี

ข้าพเจ้าไม่สามารถจะละทิ้งพระองค์ซึ่งเป็นอธิบดีของ

หงส์ ในคราวมีอันตรายได้ พญาหงส์นี้เป็นนายของ

หมู่หงส์เป็นอันมากและของข้าพเจ้า อย่าให้พระองค์

พึงถึงความพินาศเสียเลย ดูก่อนนายพรานผู้สหาย

เพราะเหตุที่พญาหงส์นี้เป็นนายของข้าพเจ้า ข้าพเจ้า

จงยินดีรื่นรมย์อยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นุสฺสเห ได้แก่ ไม่สามารถจะทิ้งไปได้.

บทว่า มหาคณาย ได้แก่ แม้ของหมู่หงส์ใหญ่. บทว่า มา เกโก ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 406

เมื่ออำมาตย์ราชเสวกเช่นข้าพเจ้ายังมีอยู่ ขอพระองค์อย่าได้ถึงความพินาศแต่ผู้

เดียวเลย บทว่า ยถา ต ได้แก่ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ฉันใด ก็ฉันนั้นแล. บทว่า

สมฺม คือผู้เป็นมิตรที่รัก. บทว่า ภตฺตาย อภิรโต รเม ความว่า พระองค์

เป็นนาย ข้าพเจ้าจึงยินดียิ่งแด่พระองค์ รื่นรมย์อยู่ในที่ใกล้ไม่เบื่อหน่าย.

นายเนสาทสดับถ้อยคำอันไพเราะ ทั้งอาศัยธรรมของสุมุขหงส์นั้นแล้ว

ก็เกิดความโสมนัสยินดี มีโลมชาติชูชัน คิดว่า ถ้าเราจักฆ่าพญาหงส์ที่

ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้นเช่นนี้ คงจักไม่พ้นจากอบายทั้ง ๔ ไปได้ พระราชา

ทรงพระประสงค์จะกระทำเราอย่างใด ก็จงทรงกระทำอย่างนั้นเถิด เราจะ

กระทำพญาหงส์นี้ ให้เป็นรางวัลแก่สุมุขหงส์แล้วจักปล่อยไป จึงได้กล่าว

คาถาว่า

ดูก่อนหงส์ ท่านย่อมนอบน้อมก้อนอาหาร

ชื่อว่า มีความประพฤติธรรมอันประเสริฐ ข้าพเจ้าจะ

ปล่อยนายของท่าน ท่านทั้งสองจงไปตามสบายเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริยวุตฺติ ได้แก่ เป็นผู้ประกอบแล้ว

ด้วยวัตรของท่านผู้ประเสริฐด้วยอาจาระทั้งหลาย กล่าวคือการรักษามิตรธรรม.

บทว่า โย ปิณฺฑมปจายสิ ความว่า ท่านใดบูชาก้อนอาหารที่ได้แล้วจาก

สำนักของนาย. บทว่า คจฺฉถูโภ ความว่า ท่านแม้ทั้งสอง จงยังหมู่ญาติ

ซึ่งมีหน้าอันชุ่มด้วยน้ำตาให้ร่าเริงอยู่ จงไปตามความสบายเถิด.

ก็นายเนสาทครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเข้าไปใกล้พระมหาสัตว์ด้วยจิต

อันอ่อนโยนแล้ว โน้นคันบ่วงลงมาให้จับอยู่ที่หลังเปือกตม แก้พระมหาสัตว์นั้น

ออกจากคันบ่วง อุ้มขึ้นนำออกจากสระ ให้จับอยู่บนลานหญ้าแพรกอ่อน

ค่อย ๆ แก้บ่วงที่รัดเท้าทั้งสองออก เข้าไปตั้งไว้ซึ่งความรักในพระมหาสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 407

อย่างแรงกล้า ไปตักน้ำมาล้างเลือดลูบคลำอยู่ไปมาด้วยเมตตาจิต. ขณะนั้น

ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาของนายเนสาทนั้น เส้นเอ็นกับเส้นเอ็น เนื้อกับเนื้อ

หนึ่งกับหนัง ก็ติดต่อสนิทกัน เท้าก็หายเป็นปกติ มิได้มีส่วนผิดแปลกกับอวัยวะ

ส่วนอื่น ๆ เลย. พระโพธิสัตว์ถึงความสุขสบายแล้ว จับอยู่โดยความ

เป็นปกติทีเดียว. สุมุขหงส์เห็นพญาหงส์ ได้รับความสบายเพราะอาศัยตน

ก็เกิดความโสมนัสยินดี จึงคิดว่า นายเนสาทชื่อว่าได้กระทำอุปการะไว้แก่เรา

เป็นอันมากมีอยู่ ส่วนเรายังไม่มีอุปการะแก่เขาเลย ก็ถ้านายเนสาทนี้จับเอา

เราไป เพื่อประโยชน์แก่พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น นำ

ไปยังสำนักของอิสรชนเหล่านั้น จักได้ทรัพย์มาก ถ้าเขาจับเอาไปเพื่อ

ประโยชน์แก่ตน ขายเราแล้วจักได้ทรัพย์เหมือนกัน เราจักถามเขาดูก่อน

ลำดับนั้น สุมุขหงส์ เมื่อจะกล่าวถามนายเนสาทนั้น เพราะความที่ตนใคร่ที่จะ

กระทำอุปการะ จึงกล่าวคาถาว่า

ดูก่อนสหาย ถ้าท่านดักหงส์และนกทั้งหลาย

ด้วยประโยชน์ของตน ข้าพเจ้าจะขอรับทักษิณาอภัย

ของท่านนี้ ดูก่อนนายพราน ถ้าท่านไม่ได้ดักหงส์

และนกทั้งหลายด้วยประโยชน์ของตน ท่านไม่มีอิสระ

ถ้าท่านปล่อยเราทั้งสองเสีย ท่านก็ชื่อว่ากระทำความ

เป็นขโมย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ ความว่า ดูก่อนนายเนสาทผู้เป็นสหาย

ถ้าท่านดักบ่วงหงส์และนกอันเหลือทั้งหลายด้วยประโยชน์ของตน คือเพื่อ

ประโยชน์แก่ตน. บทว่า อนิสฺสโร ความว่า ท่านเป็นผู้ไม่มีอิสระที่จะปล่อย

ข้าพเจ้าเสีย จงไปยังสำนักของผู้ที่บังคับท่านนั้นเถิด พึงกระทำการลักแต่อย่า

การทำหนี้เลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 408

นายเนสาทสดับคำนั้น จึงกล่าวว่า เรามิได้จับท่านทั้งหลายเพื่อ

ประโยชน์แก่ตนเลย แต่พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงพระนามว่า สังยมะ มีรับสั่ง

ให้เราจับ แล้วจึงเล่าเรื่องทั้งหมด จำเดิมแต่กาลที่พระนางเทวีทรงเห็นสุบิน-

นิมิต จนกระทั่งถึงพระราชาทรงทราบความที่พวกหงส์ทองเหล่านั้นมาแล้ว จึง

ตรัสสั่งว่า ดูก่อนเขมกะผู้เป็นสหาย ท่านจงพยายามจับหงส์สักตัวหนึ่งหรือสอง

ตัวให้ได้ เราจักให้ยศแก่ท่าน แล้วประทานเสบียงส่งไป สุมุขหงส์สดับเรื่อง

ราวนั้นแล้ว จึงคิดว่า นายเนสาทนี้ มิได้เห็นแก่ชีวิตของตน ปล่อยเราไปเสีย

ชื่อว่าการทำกิจอันยากที่คนอื่นจะกระทำได้ ถ้าเราจักไปยังภูเขาจิตตกูฏจากที่นี่

อานุภาพแห่งบุญบารมีของพญาหงส์ธตรฐ ก็จะไม่ปรากฏ และมิตรธรรม

ของเราก็จักไม่ปรากฏ ทั้งบุตรนายพรานก็จักไม่ได้ยศใหญ่ พระราชาก็จักมิได้

ตั้งอยู่ในศีล ๕ ความปรารถนาของพระเทวีก็จักไม่ถึงที่สุด จึงกล่าวว่า ดูก่อน

สหาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจะปล่อยข้าพเจ้ายังไม่ได้ ท่านต้องแสดงข้าพเจ้า

แก่พระราชา ท้าวเธอจักทรงกระทำข้าพเจ้าตามพอพระทัย.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

ท่านเป็นคนรับใช้ของพระราชาพระองค์ใด จง

นำข้าพเจ้าไปให้ถึงพระราชาพระองค์นั้นตามปรารถนา

เถิด พระเจ้าสังยมนะจักทรงกระทำตามพระประสงค์

ในพระราชนิเวศน์นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺเสว ความว่า ท่านจงนำข้าพเจ้าไป

ยังสำนักของพระเจ้าสังยมราชนั้นเถิด. บทว่า ตตฺถ คือ ในพระราชนิเวศน์นั้น.

บทว่า ยถาภิญฺ ความว่า พระองค์จักทรงกระทำตามพระราชประสงค์ คือ

ตามความพอพระทัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 409

นายเนสาทสดับคำนั้นจึงกล่าวว่า ดูก่อนท่านที่เจริญ ท่านอย่าพอใจ

ให้พระราชาทอดพระเนตรเลย ขึ้นชื่อว่าพระราชาทั้งหลายเป็นที่น่าเกรงกลัว

พึงกระทำท่านให้เป็นหงส์ระบำ หรือไม่ก็พึงฆ่าท่านเสีย. ลำดับนั้นสุมุขหงส์

จึงกล่าวกะนายเนสาทนั้นว่า ดูก่อนนายพรานผู้สหายผู้ให้ชีวิต ท่านอย่าได้คิด

ถึงข้าพเจ้าเลย ข้าพเจ้าได้ทำคนหยาบช้าเช่นท่านให้อ่อนโยนด้วยธรรมกถา

ไฉนจักทำพระราชาให้เกิดความอ่อนโยนบ้างไม่ได้ ด้วยว่าพระราชาทั้งหลาย

เป็นผู้ฉลาดรู้จักวาจาที่เป็นสุภาษิตหรือทุพภาษิต ท่านจงนำข้าพเจ้าทั้งสองไป

ยังสำนักของพระราชาโดยเร็วเถิด แต่เมื่อจะนำไป อย่านำไปด้วยการผูกมัด

จงยังข้าพเจ้าให้เกาะในกรงดอกไม้นำไป อนึ่ง เมื่อท่านจะกระทำกรงดอกไม้

ท่านจงกระทำกรงของพญาหงส์ธตรฐให้ใหญ่ คาดด้วยดอกบัวสีขาว ส่วนของ

ข้าพเจ้าจงกระทำให้เล็ก คาดด้วยดอกบัวสีแดง แล้วจงพาพญาหงส์ธตรฐไป

ข้างหน้า พาข้าพเจ้าไปข้างหลัง กระทำให้ต่ำเล็กน้อย แล้วจงนำไปแสดงแด่

พระราชาเถิด. นายพรานนั้นสดับคำของสุมุขหงส์นั้นแล้ว จึงคิดว่า สุมุขหงส์

คงจะปรารถนาเฝ้าพระราชา ให้ประทานยศใหญ่แก่เรา ก็เกิดความโสมนัสยินดี

เอาเถาวัลย์อ่อน ๆ มากระทำให้เป็นกรง คาดด้วยดอกปทุมแล้ว ได้พาไป

โดยนัยดังกล่าวแล้วทีเดียว.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

นายพรานอันสุมุขหงส์กล่าวด้วยประการอย่างนี้

แล้ว จึงเอามือทั้งสองประคองพญาหงส์ทองตัวมีสีดัง

ทองคำ ค่อย ๆ วางลงในกรง นายพรานพาพญาหงส์

ทั้งสอง ซึ่งมีผิวพรรณอันผุดผ่อง คือ สุมุขหงส์และ

พญาหงส์ธตรฐซึ่งอยู่ในกรงหลีกไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 410

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌโวทหิ คือวางลงไว้แล้ว. บทว่า

ภสฺสรวณฺณิเน คือมีพรรณอันถึงพร้อมด้วยรัศมี.

ในเวลาที่นายลุททบุตรพาหงส์ทั้งสองไปด้วยอาการอย่างนี้ พญาหงส์

ธตรฐระลึกถึงพระราชธิดาของพญาปากหงส์ ซึ่งเป็นภรรยาของตน จึงเรียก

สุมุขหงส์แล้วพร่ำรำพันด้วยอำนาจกิเลส.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

พญาหงส์ธตรฐ อันนายพรานนำไปอยู่ ได้

กล่าวกะสุมุขหงส์ว่า ดูก่อนสุมุขะ เรากลัวนัก ด้วย

นางหงส์ที่มีผิวพรรณดังทองคำ มีขาได้ลักษณะ นาง

รู้ว่าเราถูกฆ่า ก็จักฆ่าตนเสียโดยแท้ ดูก่อนสุมุขะ

ก็ราชธิดาของพญาปากหงส์ นามว่าสุเหมา ซึ่งมีผิว

งามดังทองคำจักร่ำไห้อยู่ เหมือนนางนกกระเรียนที่

กำพร้า ร่ำไห้อยู่ที่ริมฝั่งสมุทรฉะนั้นเป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภายามิ ความว่า เรากลัวย่อมรณภัย.

บทว่า สามาย แปลว่า ด้วยนางที่มีผิวพรรณดังทองคำ. บทว่า ลกฺขณูรุยา

แปลว่า มีขาอันถึงพร้อมด้วยลักษณะ. บทว่า วธมญฺาย ความว่า เมื่อ

นางรู้ว่าเราถูกฆ่า คือเป็นผู้มีความสำคัญว่า สามีอันเป็นที่รักของเราถูกฆ่าตาย

เสียแล้ว. บทว่า วธิสฺสติ ความว่า จักฆ่าตัวตายด้วยคิดว่า เมื่อสามีอันเป็น

ที่รักของเราตายแล้ว ประโยชน์อะไรที่เราจะมีชีวิตอยู่. บทว่า ปากหสา

คือ ราชธิดาของพญาปากหงส์. บทว่า สุเหมา คือ ราชธิดาที่มีพระนาม

อย่างนี้. บทว่า เหมสุตฺตจา คือ มีผิวหนังงดงามดุจทองคำ. บทว่า

โกญฺจีว ความว่า นางคงจักร้องไห้คร่ำครวญอยู่เป็นแน่แท้ เสมือนหนึ่งนาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

นกกระเรียน เมื่อผัวจมลงสู่สมุทรกล่าวคือน้ำเค็ม ตายเสียแล้ว ก็ย่อมว้าเหว่

คร่ำครวญอยู่ฉะนั้นแล.

สุมุขหงส์ได้สดับคำนั้นแล้ว จึงคิดว่า พญาหงส์นี้เป็นผู้สมควรที่จะ

สั่งสอนผู้อื่น มาพร่ำรำพันไปด้วยอำนาจกิเลส เพราะอาศัยมาตุคาม เกิด

เป็นประหนึ่งเวลาที่น้ำมีอาการร้อน และเป็นประหนึ่งเวลาที่นาอันไม่มีรั้งล้อม

กั้น ถ้ากระไรเราพึงประกาศโทษมาตุคาม ด้วยกำลังแห่งญาณของตน พึงยัง

พญาหงส์นี้ให้รู้สึก จึงได้กล่าวคาถาว่า

การที่พระองค์เป็นใหญ่กว่าโลกคือหงส์ ใคร ๆ

ไม่สามารถจะประมาณคุณได้ เป็นครูของหมู่คณะใหญ่

พึงตามเศร้าโศกถึงหญิงคนเดียวอย่างนี้ เหมือนไม่ใช่

ความประพฤติของผู้มีปัญญา ลมย่อมพัดพานทั้งกลิ่น

หอมและกลิ่นเหม็น เด็กอ่อนย่อมเก็บผลไม้ทั้งดิบ

ทั้งสุก คนตาบอดผู้โลภในรสอาหาร ย่อมถือเอาอาหาร

ฉันใด ธรรมดาหญิงก็ฉันนั้น พระองค์ไม่รู้จักตัดสินใจ

ในเหตุทั้งหลาย ปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนคนเขลา

พระองค์จะถึงมรณกาลแล้ว ยังไม่ทรงทราบถึงกิจที่

ควรและไม่ควร พระองค์เห็นจะเป็นกึ่งคนบ้า บ่นเพ้อ

ไปต่าง ๆ ทรงสำคัญหญิงว่าเป็นผู้ประเสริฐ แท้จริง

หญิงเหล่านี้ เป็นของทั่วไปแก่คนเป็นอันมาก เหมือน

โรงสุราเป็นสถานที่ทั่วไปแก่พวกนักเลงสุรา ฉะนั้น

อนึ่ง หญิงเหล่านี้มีมารยาเหมือนพยับแดด เป็นเหตุ

แห่งความเศร้าโศก เป็นเหตุเกิดโรคและอันตราย อนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 412

หญิงเหล่านี้เป็นคนหยาบคาย เป็นเครื่องผูกมัด เป็น

บ่วง เป็นถ้ำ ที่อยู่ของมัจจุราช บุรุษใดพึงหลงระเริงใจ

ในหญิงเหล่านั้น บุรุษนั้นชื่อว่าเป็นคนเลวทรามในหมู่

นระ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหนฺโต คือเป็นผู้ยิ่งใหญ่. บทว่า

โลกสฺส คือแก่โลกของหมู่หงส์. บทว่า อปฺปเมยฺโย ได้แก่ ใคร ๆ ไม่

พึงอาจจะประมาณด้วยคุณทั้งหลายได้. บทว่า มหาคณี ได้แก่ เป็นครูของ

คณะอันประกอบแล้วด้วยคณะใหญ่. บทว่า เอกิตฺถึ ความว่า ท่านผู้เจริญ

เห็นปานนี้ พึงตามเศร้าโศกถึงหญิงคนเดียว ความตามเศร้าโศกนี้ ประหนึ่ง

มิใช่ของผู้มีปัญญาเลย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงมีความสำคัญพระองค์ว่า

เป็นผู้โง่เขลาในวันนี้เอง. บทว่า อาเทติ คือย่อมถือเอา. บทว่า เฉกปาปก

คือที่ดีทั้งชั่ว. บทว่า อามกปกฺก คือดิบด้วยสุกด้วย. บทว่า โลโล คือ

โลภในรส. มีคำที่ท่านอธิบายไว้ว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมดาว่าลมย่อมพัดสระ-

ดอกปทุมเป็นต้น ซึ่งมีกลิ่นหอม และพัดสถานที่อันเต็มไปด้วยกองหยาก

เหยื่อเป็นต้นซึ่งมีกลิ่นเหม็น ย่อมพัดเอากลิ่นทั้งหอมทั้งเหม็นทั้งสองอย่างด้วย

ประการฉะนี้ฉันใด อนึ่ง เด็กเล็ก ๆ นั่งอยู่ใต้ต้นมะม่วงและต้นหว้าทั้งหลาย

เอื้อมมือออกไปเก็บผลทั้งที่ยังดิบและสุก ซึ่งหล่นลงมาแล้วเคี้ยวกินฉันใด อนึ่ง

คนตาบอดผู้โลภในรสอาหาร เมื่อเขายกภัตรเข้ามาให้ ย่อมถือเอาอาหารทั้งที่

มีแมลงและไม่มีแมลงทุกอย่างฉันใด ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลาย ย่อมถือเอา คือ

ย่อมคบแม้คนตาบอด คนเข็ญใจ คนมีตระกูลสูง คนไม่มีตระกูล คนรูปสวย

คนรูปชั่ว ทั้งหมด ด้วยอำนาจกิเลสฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่มหาราช พระองค์

มาบ่นรำพันเพราะเหตุแห่งหญิงทั้งหลาย ผู้มีธรรมอันลามกเช่นกับลมและเด็ก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 413

เล็ก ๆ และคนตาบอด. บทว่า อตฺเถสุ หมายเอาทั้งเหตุและมิใช่เหตุ. บทว่า

มนฺโท คืออันธพาล. บทว่า ปฏิภาสิ ม คือย่อมตั้งขึ้นเฉพาะข้าพเจ้า.

บทว่า กาลปริยาย ความว่า พระองค์ถึงเวลาใกล้มรณะเห็นปานนี้แล้ว ยัง

ไม่รู้สึกอีกว่า สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ ในเวลานี้ สิ่งนี้ควรกล่าว สิ่งนี้ไม่

ควรกล่าวในกาลนี้. บทว่า อฑฺฒุมฺมตฺโต ได้แก่ ชะรอยว่าเป็นบ้าไปครึ่ง

หนึ่ง. บทว่า อุทีเรสิ ความว่า พระองค์บ่นรำพันเพ้อ เหมือนบุรุษที่ดื่มสุรา

แล้ว แต่ไม่เมามายจนเกินไป บ่นถึงสิ่งโน้นบ้าง สิ่งนี้บ้างต่าง ๆ นานา. บทว่า

เสยฺยา คือเลิศสูงสุด. บรรดาบททั้งหลาย บทว่า มายา เป็นต้น ความว่า

ขึ้นชื่อว่าผู้หญิงทั้งหลาย เป็นผู้มีมารยาด้วยอรรถว่า หลอกลวง เปรียบเหมือน

พยับแดดด้วยอรรถว่า เป็นสิ่งที่ใคร ๆ เข้าไปจับต้องถือเอาไม่ได้ เป็นผู้มี

ความเศร้าโศกเพราะเป็นปัจจัยแห่งความเศร้าโศกเป็นต้น เป็นผู้มีโรค และมี

อันตรายเป็นอเนกประการ ทั้งชื่อว่าเป็นคนหยาบคาย เพราะกระด้างกระเดื่อง

ด้วยกิเลสมีความโกรธเป็นต้น อนึ่ง ขึ้นชื่อว่าหญิงเหล่านั้นเป็นเครื่องผูกมัด

เพราะบุคคลถูกผูกมัดด้วยเครื่องจำมีขื่อคาเป็นต้น ก็เพราะอาศัยหญิงเหล่านั้น

อนึ่ง หญิงเหล่านั้นแหละชื่อว่า เป็นพระยามัจจุราช อันสิงอยู่ในถ้ำ คือ สรีระ

ก็พระราชาทั้งหลายจับโจรได้แล้ว ก็ตัดศีรษะเสียด้วยขวานอันคมแล้วเสียบไว้ที่

ปลายหลาว ก็เพราะโจรพวกนี้อาศัยกามเป็นเหตุ มีกามเป็นแดนมอบให้ซึ่งผล

มีกามเป็นอธิกรณ์ทีเดียว.

ลำดับนั้น พญาหงส์ธตรฐ แสดงว่า พ่อยังไม่รู้จักคุณของมาตุคาม

พวกบัณฑิตเท่านั้นจึงจะรู้จัก ใคร ๆ ไม่ควรติเตียนหญิงเหล่านี้เลย เพราะ

ความที่ตนเป็นผู้มีจิตหลงใหลไฝ่ฝันในมาตุคามจึงกล่าวคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 414

วัตถุใด ชนท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้จักดีแล้ว ใคร

ควรจะติเตียนวัตถุนั้นเล่า ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลาย มี

คุณมาก เกิดแล้วในโลก ความคะนองอันบุคคลตั้งไว้

แล้วในหญิงเหล่านั้น ความยินดีอันบุคคลตั้งเฉพาะไว้

แล้วในหญิงเหล่านั้น พืชทั้งหลาย (มีพระพุทธเจ้า

พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวก และพระเจ้าจักร-

พรรดิเป็นต้น) ย่อมงอกขึ้นในหญิงเหล่านั้น สัตว์

เหล่านั้นพุงเจริญ บุรุษไรมาเกี่ยวของชีวิตหญิงด้วย

ชีวิตของตนแล้ว พึงเบื่อหน่ายในหญิงเหล่านั้น ดูก่อน

สุมขะ ท่านนั่นแหละ ไม่ต้องคนอื่นละ ประกอบ

ในประโยชน์ของหญิงทั้งหลาย เมื่อภัยเกิดขึ้นแก่ท่าน

ในวันนี้ เพราะคิดจึงเกิดขึ้น เพราะความกลัว จริงอยู่

บุคคลทั้งปวงถึงความสงสัยในชีวิตมี ความหวาดกลัว

ย่อมอดกลั้นความกลัวไว้ได้ เพราะว่าบัณฑิตทั้งหลาย

เป็นผู้ดำรงอยู่ในฐานะอันใหญ่ ย่อมประกอบใน

ประโยชน์อันมากที่ประกอบได้ พระราชาทั้งหลาย

ย่อมทรงปรารถนาความกล้าหาญของมนตรีทั้งหลาย

เพ่อทรงประสงค์ที่จะได้ความกล้าหาญนั้น ป้องกัน

อันตรายและสามารถป้องกันพระเองด้วย วันนี้ท่าน

จงกระทำด้วยประการที่พวกพนักงานเครื่องต้น ของ

พระราชา อย่าเชือกเฉือนเราทั้งสองในโรงครัวใหญ่

เถิด จริงอย่างนั้น สีแห่งขนปีกทั้งหลาย จะฆ่าท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 415

เสีย เหมือนขุยไม้ไผ่ ฉะนั้น ท่านแม้นายพรานจะ

ปล่อยแล้ว ก็ไม่ปรารถนาจะบินหนีไป ยังเข้ามาใกล้

บ่วงเองอีกทำไมเล่า วันนี้ ท่านถึงความสงสัยในชีวิต

แล้วจงถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ อย่ายื่นปากออกไปเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย ความว่า วัตถุกล่าวคือมาตุคามใด

อันท่านผู้เจริญด้วยปัญญาทั้งหลายบัญญัติแล้ว คือปรากฏแก่ท่านเหล่านั้นที

เดียว มิได้ปรากฏแก่พวกชนพาล. บทว่า มหาภูตา ได้แก่ มีคุณมากคือ

มีอานิสงส์มาก. บทว่า อุปปชฺชิสุ ความว่า บังเกิดก่อน เพราะเพศหญิง

ปรากฏเป็นครั้งแรกในกาลแห่งปฐมกัลป์. บทว่า ตาสุ ความว่า ดูก่อนพ่อ

สุมุขะ ความคะนองกายและความคะนองวาจา อันบุคคลตั้งมั่น คือตั้งลงฝั่งไว้

ในหญิงเหล่านั้น และความยินดีในกามคุณก็ตั้งอยู่เฉพาะในหญิงเหล่านั้นด้วย.

บทว่า วีชานิ ความว่า พืชเป็นต้นว่าพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า

พระอริยสาวกและพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ย่อมงอกขึ้นในหญิงเหล่านั้น. บทว่า

ยทิท คือสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น แม้ทั้งหมด. บทว่า ปชายเร ความว่า พญา-

หงส์ย่อมแสดงว่า ย่อมเจริญพร้อมแล้วในท้องของหญิงเหล่านั้นแล. บทว่า

นิพฺพิเช แปลว่า หมดความอาลัยใยดี. บทว่า ปาณมาสชฺช ปาณิภิ

ความว่า ใคร ๆ ที่เอาชีวิตของตนเข้าคลุกเคล้ากับชีวิตของหญิงเหล่านั้น ถึง

กับสละชีวิตของตน จึงได้หญิงนั้นมาแล้ว จะพึงเบื่อหน่ายเสียได้เล่า. บทว่า

นาญฺโ ความว่า ดูก่อนพ่อสุมุขะ ไม่ต้องกล่าวถึงคนอื่นละ เมื่อเราอยู่ใน

ท่ามกลางหมู่หงส์ที่พื้นภูเขาจิตตกูฏ มองไม่เห็นพ่อ จึงถามว่า สุมุขหงส์ไป

ไหน หงส์ทั้งหลายตอบว่า สุมุขหงส์นี้พามาตุคามไปเสวยความยินดีอย่างสูงสุด

อยู่ในถ้ำทอง พ่อนั่นแล ย่อมประกอบในประโยชน์ของหญิงอย่างนี้ คือเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 416

ผู้ประกอบแล้วประกอบทั่วแล้วทีเดียว ไม่ต้องกล่าวถึงคนอื่น. บทว่า ตสฺส

ตฺยชฺช ความว่า พญาหงส์นั้นกล่าวดังนี้ด้วยหมายความว่า เมื่อความกลัว

ตาย บังเกิดขึ้นแก่พ่อในวันนี้ ชะรอยว่าพ่อจะกลัวมรณภัยนี้ จึงเกิดความคิด

อันละเอียดซึ่งแสดงถึงโทษของนาตุคามนี้ขึ้น. บทว่า สพฺโพ หิ คือผู้ใดผู้

หนึ่ง บทว่า สสยปฺปตฺโต คือผู้ที่ถึงความสงสัยในชีวิต. บทว่า ภีรุ ได้แก่

แม้เป็นผู้มีความหวาดสะดุ้งกลัว ก็ระงับความกลัวไว้ได้. บทว่า มหนฺตาโน

ความว่า ส่วนชนเหล่าใดย่อมเป็นบัณฑิตด้วย ตั้งอยู่ในฐานะใหญ่ด้วย เพราะ

ฉะนั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้ดำรงอยู่ในฐานะใหญ่. บทว่า อตฺเถ ยุญฺชนฺติ ทุยฺยุเช

ความว่า ชนเหล่านั้น ย่อมประกอบ คือ สืบต่อพยายามในประโยชน์นั้นให้เกิด

ความอุตสาหะว่า อย่ากลัวเลยพ่อ พ่อจงเป็นนักปราชญ์เถิด จึงได้กล่าวไว้

อย่างนี้. บทว่า อาปท ความว่า คนกล้าหาญย่อมป้องกันเสียได้ซึ่งอันตราย

อันจะมีมาถึงนาย เพราะฉะนั้น พระราชาทั้งหลาย จึงทรงปรารถนาความ

กล้าหาญของเหล่ามนตรี เพื่อประโยชน์อย่างนี้แล. บทว่า อตฺตปริยาย

อธิบายว่า อีกอย่างหนึ่ง คนกล้านั้นย่อมอาจที่จะกระทำการคุ้มครองตนเองได้

ด้วย. บทว่า วิกนฺติสุ แปลว่า เชือดแล้ว. มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า

ดูก่อนสหายสุมุขะ เราตั้งพ่อไว้ในตำแหน่งอันเป็นลำดับกับตัวเราเอง

เพราะฉะนั้น พ่อครัวของพระราชา อย่าได้เชือดเฉือดเราทั้งสองในวันนี้

เพื่อต้องการเนื้อโดยประการใด ท่านจงกระทำโดยประการนั้นเถิด เพราะ

ว่าสีแห่งขนปีกของเราทั้งหลายซึ่งเป็นเช่นนั้น จะฆ่าพ่อเสีย. บทว่า ต วธิ

ความว่า พญาหงส์กล่าวอย่างนี้ ด้วยความประสงค์ที่จะให้เข้าใจว่า สีอย่างนี้

สีอย่างนี้นั้นจะฆ่าพ่อเสีย เหมือนขุยไผ่ที่อาศัยต้นไผ่เกิดขึ้น ก็ย่อมจะฆ่าไม้ไผ่

เสียฉะนั้น คือสีอย่างนี้อย่าฆ่าท่านและเราเสียเลย. บทว่า มุตฺโตสิ ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 417

พ่อเป็นผู้อันนายลุททบุตร ปล่อยแล้วคือสละแล้วพร้อมกับเราด้วยคำอย่างนี้ว่า

ท่านจงกลับไปยังเขาจิตตกูฏตามสบายเถิด ดังนี้แล้ว อย่าปรารถนาที่จะติดบ่วง

อีกเลย. บทว่า สย อธิบายว่า พ่อปรารถนาจะเฝ้าพระราชา ชื่อว่าเข้าถึงการ

ถูกฆ่าเองทีเดียว ภัยของเราทั้งสองนี้มาแล้ว เพราะอาศัยพ่ออย่างนี้. บทว่า

โสสชฺช ความว่า ในวันนี้พ่อถึงความสงสัยในชีวิตแล้ว. บทว่า อตฺถ

คณฺหาหิ มา มุข ความว่า พ่อจงถือเอาเหตุที่จะให้ปล่อยพวกเราในบัดนี้เถิด

คือว่า เราทั้งสองจะหลุดพ้นได้โดยประการใด ก็จงพยายามโดยประการนั้น

เถิด พ่อกล่าวคำเป็นต้นว่า ลมย่อมพัดกลิ่นหอมและเหม็นฉันใด ดังนี้ ขอ

อย่าได้ยื่นปากออกเพื่อประสงค์จะติเตียนหญิงเลย.

พระมหาสัตว์ ครั้นสรรเสริญมาตุคามอย่างนี้แล้ว กระทำให้สุมุขหงส์

หมดคำพูดที่จะโต้ตอบได้ ทราบว่า สุมุขหงส์นั้นมีความเสียใจ เพื่อจะกล่าว

ยกย่องสุมุขหงส์ในกาลบัดนี้ จึงกล่าวคาถาว่า

ท่านนั้นจงประกอบความเพียร ที่สมควรอัน

ประกอบด้วยธรรม จงประพฤติการแสวงหาทางที่จะ

ช่วยให้เรารอดชีวิต ด้วยความเพียรอันผ่องแผ้วของ

ท่านเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ความว่า ดูก่อนสุมุขะผู้เป็นสหาย

พ่อนั้น. บทว่า โยค ความว่า บัดนี้ พ่อจงประกอบความเพียรที่เราเคยประกอบ

ไว้ในกาลก่อน จงประพฤติการแสวงหาให้เรารอดชีวิต. บทว่า ตว ปริยา-

ปทาเนน คือ ด้วยความเพียรเครื่องประกอบอันบริสุทธิ์ของพ่อนั้น. บาลีว่า

ปริโยทาเตน ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า ด้วยการป้องกัน อธิบายว่า อันเป็นของ

ของพ่อเพราะพ่อกระทำเอง จงประพฤติหาช่องทางให้เรารอดชีวิตด้วยเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 418

สุมุขหงส์ได้สดับคำนั้นจึงคิดว่า พญาหงส์กลัวต่อมรณภัยยิ่งนัก

ไม่รู้จักกำลังของเรา เราจักเฝ้าพระราชาได้สนทนากันบ้างเล็กน้อยแล้วจักทราบ

เราจักให้พญาหงส์นี้เบาใจเสียก่อน จึงกล่าวคาถาว่า

ข้าแต่พระองค์ที่ประเสริฐกว่านกทั้งหลาย อย่า

ทรงกลัวเลย ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยญาณวิริยะเช่นพระองค์

ย่อมไม่กลัว ข้าพระองค์จักประกอบความเพียรที่

สมควรอันประกอบด้วยธรรม พระองค์จะหลุดพ้น

จากบ่วง ด้วยความเพียรอันผ่องแผ้วของข้าพระองค์

โดยเร็วพลัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาสา ได้แก่ บ่วงคือความทุกข์.

เมื่อพญาหงส์ทั้งสองนั้น สนทนากันอยู่ด้วยภาษาของนกฉะนี้ นาย

ลุททบุตรมิได้รู้เรื่องอะไรด้วยเลย ได้แต่พาเอาพญาหงส์ทั้งสองนั้นไปด้วย

หาบแล้ว ก็เข้าไปยังกรุงพาราณสีอย่างเดียว นายพรานนั้นถูกมหาชนผู้มีความ

แปลกประหลาด อันเกิดแต่ความอัศจรรย์ที่ไม่เคยมีติดตามไปอยู่ ก็ไปถึงประตู

พระราชวัง กราบทูลความที่ตนมาถึงแล้ว แด่พระราชา.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

นายพรานนั้น เข้าไปยังประตูพระราชวัง

พร้อมด้วยหาบหงส์แล้ว จึงสั่งนายประตูว่า ท่านจง

ไปกราบทูลถึงเราแด่พระราชาว่า พญาหงส์ธตรฐนี้

มาแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิเวเทถ ม ความว่า นายพรานเข้า

ไปสั่งนายประตูว่า ท่านทั้งสองจงกราบทูลถึงเราแด่พระราชาอย่างนี้ว่า นาย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 419

พรานเขมกะกลับมาแล้ว. บทว่า ธตรฏฺาย ความว่า จงกราบทูลให้ทรงทราบ

ต่อไปว่า พญาหงส์ธตรฐนี้ก็มาถึงแล้ว .

นายประตูรีบไปกราบทูลตามคำสั่ง พระราชาทรงปลื้มพระทัยตรัสสั่งว่า

จงมาเร็ว ๆ ทรงแวดล้อมไปด้วยหมู่อำมาตย์ ประทับนั่งบนราชบัลลังก์อันมี

เศวตฉัตรยกชั้นไว้แล้ว ทอดพระเนตรเห็นนายพรานเขมกะนำเอาพญาหงส์

ขึ้นนาสู่พระลานหลวง ทรงมองดูพญาหงส์ทั้งสองตัวมีสีดุจทองคำ จึงทรงพระ

ดำริว่า ความปรารถนาของเราสำเร็จสมประสงค์แล้ว จึงทรงบังคับอำมาตย์

ทั้งหลายถึงกิจที่ควรกระทำแก่นายพรานนั้น.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

ได้ยินว่า พระเจ้าสังยมนะทอดพระเนตรเห็น

หงส์ทอง ทั้งสองตัว รุ่งเรืองด้วยบุญ หมายรู้ด้วย

ลักษณะ แล้วตรัสรับสั่งกะพวกอำมาตย์ว่า ท่าน

ทั้งหลายจงให้ผ้า ข้าว น้ำ และเครื่องบริโภคแก่

นายพราน เงินเป็นสิ่งกระทำความปรารถนาแก่เขา

เขาปรารถนาประมาณเท่าใด ท่านทั้งหลายจงให้แก่เขา

ประมาณเท่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุญฺสงฺกาเส ได้แก่ มีบุญเช่นเดียว

กับตน. บทว่า ลกฺขณสมฺมเต ได้แก่ สมมติกันว่าประเสริฐรู้กันโดยทั่ว ๆ

ไปแล้ว. บทว่า ขลุ เป็นนิบาต เชื่อมข้อความด้วยบทเบื้องต้นว่า ได้ยินว่า

พระราชาทรงทอดพระเนตรหงส์ทั้งสองนั้น ดังนี้. บทว่า เทถ ความว่า

พระราชาเมื่อจะทรงกระทำอาการคือความเลื่อมใสให้ปรากฏเป็นต้น. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า กามงฺกโร หิรญฺสฺส ความว่า เงินทองย่อมเป็นกิริยา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 420

แห่งความใคร่ของเขา. บทว่า ยาวนฺต ความว่า นายพรานนี้ประสงค์ทรัพย์สิน

สักเท่าใด ๆ ท่านทั้งหลายก็จงให้เงินมีประมาณเท่านั้นแก่เขาเถิด.

พระราชาตรัสสั่งให้กระทำอาการคือความเลื่อมใสอย่างนี้ ทรงบันเทิง

ด้วยความปีติและโสมนัส รับสั่งกะพวกอำมาตย์ว่า ท่านทั้งหลายจงไปเถิด

จงไปตบแต่งประดับนายพรานนี้แล้วนำกลับมา. ลำดับนั้น พวกอำมาตย์จึงพา

เขาลงจากพระราชนิเวศน์ ให้ช่างกัลบกตัดผมโกนหนวด แล้วอาบน้ำลูบไล้

ทาตัวประดับด้วยเครื่องอลังการ เสร็จแล้วจึงนำกลับมาเฝ้าพระราชา. ลำดับนั้น

พระราชาจึงตรัสสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงให้หมู่บ้าน ๑๒ หมู่ที่เก็บส่วยได้แสน

กหาปณะในปีหนึ่ง รถที่เทียมม้าอาชาไนย และเรือนหลังใหญ่ที่ตบแต่งไว้แล้ว

ได้ประทานยศใหญ่แก่นายพรานเขมกะนั้น นายพรานนั้นครั้นได้ยศใหญ่แล้ว

ปรารภที่จะประกาศการงานของตน จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ

หงส์สองตัวที่ข้าพระองค์นำมาถวายพระองค์นี้ มิใช่หงส์ธรรมดาสามัญ ด้วยว่า

หงส์มีชื่อว่าธตรฐเป็นพระราชาแห่งหมู่หงส์เก้าหมื่นหกพัน ตัวนี้มีชื่อว่าสุมุขะ

เป็นเสนาบดี ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามนายพรานนั้นว่า ดูก่อนสหาย

หงส์ทองสองตัวนี้ ท่านจับมาได้อย่างไร.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระเจ้ากาสีทอดพระเนตรเห็นนายพรานผู้มี

ความผ่องใส แล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนเขมกะผู้สหาย ก็

สระโบกขรณีนี้เต็มไปด้วยฝูงหงส์ตั้งอยู่ (น้ำเต็มเปี่ยม)

อย่างไรท่านจึงถือบ่วงเดินเข้าไปใกล้พญาหงส์ ซึ่งอยู่

ในท่ามกลางฝูงหงส์ ที่น่าชอบใจเกลื่อนกล่นไปด้วย

ฝูงหงส์ที่เป็นญาติ ซึ่งมิใช่หงส์ชั้นกลางได้และจับเอา

มาได้อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 421

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสนฺนตฺต ได้แก่ ผู้มีภาวะผ่องใส คือ

ถึงความโสมนัสยินดีแล้ว. บทว่า ยทาย ความว่า ดูก่อนเขมกะสหายที่รัก

ถ้าหากว่าสระโบกขรณีของเรานี้ เต็มไปด้วยฝูงหงส์ตั้งเก้าหมื่นหกพันตั้งอยู่ไซร้.

บทว่า กถ รุจี มชฺฌคต ความว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านถือเอาบ่วงเดินเข้าไป

ใกล้พญาหงส์ที่สูงสุด ซึ่งมิใช่หงส์ชั้นกลาง และมิใช่หงส์ชั้นเล็ก ซึ่งอยู่ใน

ท่านกลางฝูงหงส์ทั้งหลายอันน่ารักน่าดู น่าพึงพอใจเหล่านั้นได้อย่างไร และ

ท่านจับเอามาได้อย่างไร.

นายเขมกะสดับถ้อยคำของพระราชานั้น จึงกราบทูลว่า

วันนี้เป็นราตรีที่ ๗ ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์

เป็นผู้ไม่ประมาท แอบอยู่ในตุ่ม คอยติดตามรอยเท้า

ของพญาหงส์นี้ ซึ่งกำลังเข้าไปยังที่ถือเอาเหยื่อ

ลำดับนั้น ข้าพระองค์ได้เห็นรอยเท้าของพญาหงส์

นั้น ซึ่งกำลังเที่ยวแสวงหาเหยื่อ จึงดักบ่วงลงในที่นั้น

ข้าพระองค์จับพญาหงส์นั้นมาได้ด้วยอุบายอย่างนี้

พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทานานิ ความว่า ที่สำหรับยึดเอา

เป็นที่หากิน. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า อุปาสโต คือ

เข้าไปใกล้. บทว่า ปท คือ รอยเท้าที่พญาหงส์เหยียบลงในพื้นที่สำหรับ

หากิน. บทว่า ฆฏสฺสิโต คือ อาศัยอยู่ในกรุงที่ทำคล้าย ๆ ตุ่ม บทว่า

อถสฺส ความว่า ลำดับนั้น ครั้นถึงวันที่ ๖ ข้าพระองค์ก็ได้เห็นรอยเท้าของ

พญาหงส์นี้ซึ่งเที่ยวแสวงหาที่ถือเอาอาหาร. บทว่า เอวนฺต อธิบายว่า นาย

พรานนั้นกราบทูลอุบายที่ตนจับพญาหงส์ทั้งหมดด้วยคำว่า ข้าพระองค์จับ

พญานกนั้นมาได้ด้วยวิธีอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 422

พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงทรงพระดำริว่า นายพรานผู้นี้ แม้

ยืนกราบทูลอยู่ที่ประตูวัง ก็กราบทูลถึงการมาของพญาหงส์ธตรฐตัวเดียว แม้

บัดนี้ก็ยังกราบทูลอยู่อีกว่า ขอพระองค์จงทรงรับพญาหงส์ธตรฐนี้ตัวเดียว

เถิด เหตุอะไรจะพึงมีในข้อนี้หนอ จึงตรัสคาถาว่า

ดูก่อนนายพราน หงส์นี้มีอยู่สองตัว ไฉนท่าน

จึงกล่าวว่ามีตัวเดียว จิตของท่านวิปริตไปแล้วหรือไร

หรือว่าท่านคิดจะหาประโยชน์อะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปลฺวฏฺ คือ ความแปรปรวน. บทว่า

อาทู กินฺนุ ชิคึสสิ ความว่า หรือว่าท่านคิดเห็นอย่างไรหนอ พระราชา

ตรัสถามว่า ท่านปรารถนาจะถือเอาพญาหงส์ที่เหลืออยู่อีกตัวหนึ่งนี้ไปให้คน

อื่น จึงคิดหรือ.

ลำดับนั้น นายเนสาทจึงกราบทูลว่า ขอเดชะ จิตของข้าพระองค์จะได้

วิปริตก็หาไม่ ข้าพระองค์มิได้ปรารถนาที่จะให้หงส์ที่เหลืออีกตัวหนึ่งนี้แก่ผู้อื่น

ด้วยว่า เมื่อข้าพระองค์ดักบ่วงไว้ หงส์ตัวเดียวเท่านั้นติดบ่วง เมื่อจะกระทำ

เนื้อความให้แจ่มแจ้ง จึงทูลว่า

หงส์ตัวที่มีพื้นแดง มีสีงดงามดุจทองคำกำลัง

หลอม รอบ ๆ คอจรดทรวงอกนั้น เข้ามาติดบ่วงของ

ข้าพระองค์ แต่หงส์ตัวที่ผุดผ่องนี้มิได้ติดบ่วง เมื่อ

จะกล่าวถ้อยคำเป็นภาษามนุษย์ ได้ยืนกล่าวถ้อยคำอัน

ประเสริฐกะพญาหงส์ที่ติดบ่วง ซึ่งกระสับกระส่ายอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลหิตกา ตาลา ได้แก่ พื้นมีสีแดง

คือมีรอยแดง ๓ รอย. บทว่า อุร สหจฺจ ได้แก่ รอยแดง ๓ รอยนี้พาดลง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 423

ไปทางลำคอจนจรดทรวงอก มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ข้าแต่มหาราช

พญาหงส์ตัวที่มีรอยแดง ๓ รอย มีรัศมีงดงามประดุจทองคำมีสีสุกเหล่านี้

วงล้อมรอบคอลากไปถึงทรวงอกตั้งอยู่นั้น ตัวเดียวเท่านั้นเข้าไปติดในบ่วงของ

ข้าพระองค์. บทว่า ภสฺสโร คือบริสุทธิ์ ถึงพร้อมแล้วด้วยรัศมี. บทว่า

อาตุร คือเป็นไข้ กำลังได้รับทุกข์. บทว่า อฏฺาสิ ความว่า ส่วนพญาหงส์

นี้ ครั้นทราบว่าพญาหงส์ธตรฐติดบ่วง จึงบินกลับมาปลอบเอาใจพญาหงส์

ธตรฐนี้ แต่กระทำการต้อนรับในเวลาที่ข้าพระองค์ไปถึง กระทำการปฏิสันถาร

ด้วยถ้อยคำอันไพเราะกับข้าพระองค์ในท่ามกลางอากาศทีเดียว กล่าวสรรเสริญ

คุณของพญาหงส์ธตรฐด้วยถ้อยคำเป็นภาษามนุษย์มากมาย กระทำใจของ

ข้าพระองค์ให้อ่อนโยนแล้ว ได้ยืนอยู่ข้างหน้าพญาหงส์อีกทีเดียว ข้าแต่

พระองค์ผู้ประเสริฐ ลำดับนั้น ข้าพระองค์ได้สดับถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของ

สุมุขหงส์ เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส จึงได้ปล่อยพญาหงส์ธตรฐไป พญาหงส์

ธตรฐพ้นจากบ่วงด้วยประการฉะนี้ อันการที่ข้าพระองค์นำเอาพญาหงส์ทั้ง

สองตัวนี้ มาในที่นี้นั้น สุมุขหงส์ตัวเดียวได้กระทำขึ้น.

นายเขมกเนสาทนั้น กราบทูลสรรเสริญคุณของสุมุขหงส์อย่างนี้.

พระราชาทรงสดับคำนั้น จึงมีพระประสงค์ใคร่จะสดับธรรมกถาของสุมุขหงส์

เมื่อพระองค์ทรงกระทำสักการะแก่นายลุททบุตรอยู่ทีเดียว พระอาทิตย์อัสดงคต

แล้วแสงประทีปสว่างไสวอยู่ทั่วไป อิสรชนมีกษัตริย์เป็นต้นมาประชุมกันเป็น

อันมาก แม้พระนางเขมาเทวี ทรงแวดล้อมด้วยนางฟ้อนต่าง ๆ ประทับนั่งข้าง

พระปรัศว์เบื้องขวาของพระราชา. ในขณะนั้น พระราชาทรงพระประสงค์จะ

ให้สุมุขหงส์แสดงธรรมกถาจึงตรัสคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 424

ดูก่อนสุมุขหงส์ เหตุไรหนอ ท่านจึงยืนขบคาง

อยู่ในบัดนี้ หรือว่าท่านมาถึงบริษัทของเราแล้ว กลัว

ภัย จึงไม่พูด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หนุ สหจฺจ ความว่า ได้ยินว่า ท่าน

มีถ้อยคำอันไพเราะ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรท่านจึงยืนปิดปากเสียในกาลนี้.

บทว่า อาทู คือ บางครั้ง. บทว่า ภยา ภีโต ได้แก่ หรือว่าท่านกลัวภัย

อันเกิดจากอำนาจราชศักดิ์ในบริษัทจึงไม่พูด.

สุมุขหงส์ได้สดับคำนั้นแล้ว เมื่อจะแสดงความที่ตนมิได้เกรงกลัวภัย

จึงกล่าวคาถาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชนชาวกาสี ข้า-

พระองค์เข้ามาสู่บริษัทของพระองค์แล้ว จะกลัวภัยก็

หาไม่ ข้าพระองค์จักไม่พูดเพราะกลัวภัยก็หาไม่ แต่

เมื่อประโยชน์เช่นนั้นเกิดขึ้นแล้ว ข้าพระองค์จึงจัก

พูด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาทิเส ความว่า ก็แต่ว่า ข้าพระองค์

นั่งคอยโอกาสที่จะพูดอยู่ด้วยคิดว่า เมื่อประโยชน์เห็นปานนั้นบังเกิดขึ้น เรา

จึงจักพูด.

พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว เมื่อจะทรงกระทำความแย้มสรวล

เพราะทรงประสงค์จะให้สุมุขหงส์นั้นกล่าวถ้อยคำเพิ่มเติมขึ้นอีก จึงตรัสว่า

เราไม่เห็นบริษัทผู้ยิ่งใหญ่ พลรถ พลเดินเท้า

เกราะ โล่ และนายขมังธนูผู้สวมเกราะของท่านเลย

ดูก่อนสุมุขหงส์ ท่านอาศัยสิ่งใดหรือว่าเข้าไปใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 425

สถานที่ใดแล้ว ไม่กลัวสิ่งที่จะพึงกลัว เราไม่เห็นสิ่ง

นั้น หรือสถานที่นั้น แม้เป็นเงิน ทอง หรือนครที่

สร้างไว้อย่างดี ซึ่งมีคูรายรอบ ยากที่จะไปได้ มีหอ

รบและเชิงเทิน อันมั่นคงเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิสฺสร ความว่า เรายังมองไม่เห็น

บุคคลผู้ถืออาวุธยืนแวดล้อม เพื่อต้องการรักษาในที่สุดบริษัทของท่านเลย.

บทว่า อสฺส ในบทว่า นาสฺส นั่นเป็นเพียงนิบาต. บทว่า จมฺม ได้แก่

หนังสำหรับป้องกันตัว. บทว่า กีต วา ได้แก่ แผ่นโลหะ บางทีท่านกล่าวว่า

เป็นแผ่นจานกระเบื้องก็มี. พระราชาทรงแสดงว่า แม้ผู้ที่ถือจานกระเบื้องก็ยัง

ไม่มีในสำนักของท่านเลย. บทว่า วมฺมิเน ได้แก่ ผูกสอดแล้วด้วยเกราะ.

บทว่า น หิรญฺ ความว่า ท่านอาศัยสิ่งใด จึงไม่มีความกลัวภัย เรายัง

มองไม่เห็นสิ่งนั้นแม้จะเป็นเงินในสำนักของท่านเลย.

สุมุขหงส์ เมื่อถูกพระราชาตรัสถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุที่ท่านไม่

กลัว เมื่อจะบอกถึงเหตุนั้น จึงกราบทูลคาถาต่อไปว่า

ข้าพระองค์ไม่ต้องการด้วยบริษัทผู้ยิ่งใหญ่ หรือ

นคร หรือทรัพย์ เพราะข้าพระองค์ไปสู่ทางโดยสถาน

ที่มิใช่ทาง ข้าพระองค์เป็นสัตว์เที่ยวไปในอากาศ ก็พระ-

องค์ทรงสดับข่าวว่า ข้าพระองค์เป็นบัณฑิตและเป็น

ละเอียดคิดข้ออรรถ ถ้าพระองค์ทรงดำรงมันอยู่ใน

ในความสัตย์ไซร้ ข้าพระองค์จะพึงกล่าววาจาอันมี

อรรถ ด้วยว่าคำที่ข้าพระองค์กล่าวแล้ว แม้จะเป็น

สุภาษิต ก็จักทำอะไรแก่พระองค์ผู้หาความสัตย์มิได้

ผู้ไม่ประเสริฐ มักตรัสคำเท็จ ผู้หยาบช้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 426

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิสฺสเรน ได้แก่ บริวารผู้รักษา. บทว่า

อตฺโถ ความว่า ข้าพระองค์ไม่มีกิจด้วยสิ่งนี้ เพราะอะไร เพราะข้าพระองค์

สร้างหนทางไปโดยสถานที่อันมิใช่ทาง คือ โดยอันที่ไม่ใช่ทางของบุคคลผู้เช่นกับ

พระองค์ เพราะว่าข้าพระองค์เที่ยวไปในอากาศ. บทว่า ปณฺฑิตาตฺยมฺหา

ความว่า ได้ยินว่า พระองค์ทรงสดับว่า ข้าพระองค์เป็นบัณฑิต พระองค์มี

พระประสงค์จะใคร่สดับธรรมจากสำนักของข้าพระองค์ จึงให้จับข้าพระองค์ทั้ง

สองมาด้วยเหตุนั้นแล บทว่า สจฺเจ จสฺสุ ความว่า ก็ถ้าพระองค์เป็นผู้ดำรงอยู่

ในความสัตย์ไซร้ ข้าพระองค์จะพึงกล่าววาจาอาศัยเหตุ. บทว่า อสจฺจสฺส ความ

ว่า คำที่ข้าพระองค์กล่าว ถึงจะเป็นสุภาษิตก็จะกระทำอะไรแก่พระองค์ ผู้เว้น

ขาดแล้วจากวจีสัจจะได้ ประดุจเข็มที่ทำด้วยงา ย่อมไม่มีประโยชน์แก่สมณะ

ฉะนั้น.

พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าว

กะเราว่า เราเป็นผู้กล่าวเท็จ มิใช่ผู้ประเสริฐ เรากระทำอะไรไว้เล่า. ลำดับ

นั้น สุมุขหงส์จึงกราบทูลกะพระองค์ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ถ้าอย่างนั้นพระองค์

จงทรงสดับเถิด แล้วกราบทูลว่า

พระองค์ได้ตรัสสั่งให้ขุดสระชื่อว่า เขมะนี้ ตาม

ถ้อยคำของพวกพราหมณ์ และพระองค์รับสั่งให้

ประกาศอภัยทั่วสิบทิศ หงส์เหล่านั้น จึงได้พากันบินลง

สู่สระโบกขรณี อันมีน้ำใสสะอาด ในสระโบกขรณี

นั้นมีอาหารอย่างเพียงพอ และไม่มีการเบียดเบียนนก

ทั้งหลายเลย พวกข้าพระองค์ได้ยินคำประกาศนี้แล้ว

จึงพากันบินมาในสระของพระองค์ พวกข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 427

นั้น ๆ ก็ถูกบ่วงรัดไว้ นี่เป็นคำตรัสเท็จของพระองค์

บุคคลกระทำมุสาวาท และความโลภคือความอยากได้

อันลามก เป็นเบื้องหน้าแล้ว ก้าวล่วงปฏิสนธิในเทว-

โลกและมนุษยโลกทั้งสอง ย่อมเข้าถึงนรกอันไม่น่า

เพลิดเพลิน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ต ได้แก่ ตฺว ตัวพระองค์เอง. บทว่า

เขม ได้แก่ สระโบกขรณีซึ่งมีชื่ออย่างนี้. บทว่า ฆุฏฺ ได้แก่ พระองค์รับ

สั่งให้บุคคลยืนประกาศอยู่ ที่มุมสระทั้ง ๔ มุม. บทว่า ทสธา ได้แก่ พระองค์

ประกาศอภัยนั้นในทิศทั้งสิบเหล่านั้น. บทว่า โอคฺคยฺห ได้แก่ จากสำนักของ

หงส์ที่บินลงแล้ว จึงมาแล้ว. บทว่า ปหูต ขาทน ได้แก่ มีอาหารสำหรับ

กินเป็นต้นว่า ดอกปทุม ดอกอุบล และข้าวสาลีอย่างเพียงพอ. บทว่า อิท

สุตฺวา ความว่า ได้ยินอภัยโทษนี้ จากสำนักของหงส์เหล่านั้นซึ่งบินลงยัง

สระโบกขรณีของพระองค์แล้ว จึงกลับมาแล้ว. บทว่า ตวนฺติเก ความว่า

ข้าพระองค์จึงพากันมายังสระโบกขรณีที่พระองค์ได้ขุดขึ้นในสำนักของพระองค์.

บทว่า เต เต ได้แก่ พวกข้าพระองค์นั้น ๆ ก็ได้พากันติดบ่วงของพระองค์.

บทว่า ปุรกฺเขตฺวา ได้แก่ กระทำไว้ข้างหน้า. บทว่า อิจฺฉาโลภ ได้แก่

ความโลภอันลามกกล่าวคือความอยากได้. บทว่า อุโภสนฺธึ ความว่า บุคคล

ผู้ประพฤติธรรมอันลามกเหล่านี้ กระทำไว้ในเบื้องหน้า ย่อมก้าวล่วงปฏิสนธิ

ในเทวโลกและมนุษยโลก ชื่อว่า ย่อมก้าวล่วงปฏิสนธิอันเป็นสุคติ. บทว่า

อสาต ได้แก่ ย่อมเข้าถึงนรก.

สุมุขหงส์ กระทำพระราชาให้ขวยเขินพระทัยในท่ามกลางบริษัทอย่าง

นี้ทีเดียว ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามสุมุขหงส์นั้นว่า ดูก่อนสุมุขหงส์ ใช่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 428

ว่าเรามีความประสงค์ จะไปจับท่านมาฆ่ากินเนื้อก็หาไม่ แต่เราทราบว่า ท่าน

เป็นบัณฑิต ประสงค์จะพึงถ้อยคำอันเป็นสุภาษิต จึงได้ให้จับท่านมา เมื่อจะ

ทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

ดูก่อนสุมุขหงส์ เรามิได้ทำผิด ทั้งมิได้จับท่าน

มาด้วยความโลภ ก็เราได้สดับมาว่า ท่านทั้งหลาย

เป็นบัณฑิต เป็นผู้ละเอียด และคิดข้ออรรถ ทำไฉน

ท่านทั้งหลายจึงจะมากล่าววาจาอันอาศัยอรรถในที่นี้

ดูก่อนสุมุขหงส์ผู้สหาย นายพรานผู้นี้เราสั่งไป จึงไป

จับเอาท่านมา ด้วยความประสงค์นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาปรชฺฌาม ความว่า เราฆ่าท่านเสีย

จึงจะชื่อว่าประพฤติผิด แต่เรามิได้ฆ่าท่านเลย. บทว่า โลภาย มคฺคหึ ความ

ว่า ทั้งเราประสงค์จะกินเนื้อท่านจึงได้จับท่านมา ด้วยความโลภก็หาไม่. บทว่า

ปณฺฑิตาตฺยตฺถ ความว่า แต่เราได้ยินว่าท่านเป็นบัณฑิต. บทว่า อตฺถจินฺ-

ตกา ได้แก่ จะคิดค้นข้อความอันลี้ลับได้. บทว่า อตฺถวตึ ได้แก่ ถ้อยคำ

อันอาศัยเหตุ. บทว่า ตถา แปลว่า ด้วยเหตุนั้น. บทว่า วุตฺโต แปลว่า เป็น

ผู้อันเรากล่าวแล้ว. บทว่า สุมุข มคฺคหิ คือร้องเรียกว่า ดูก่อนสุมุขะเอ๋ย

อักษร กระทำการเชื่อมบท. บทว่า อคฺคหิ ความว่า เราจับมาเพื่อให้แสดง

ธรรมต่างหาก.

สุมุขหงส์ ได้สดับคำนั้นแล้ว จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระ-

องค์มีประสงค์เพื่อจะทรงสดับคำอันเป็นสุภาษิต ทรงกระทำกิจอันไม่สมควร

เสียแล้ว แล้วกราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 429

ข้าแต่พระจอมแห่งชนชาวกาสี เมื่อชีวิตน้อมเข้า

ไปใกล้ความตายแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลาย ถึงมรณ-

กาลแล้ว จะไม่พึงกล่าววาจาอันมีเหตุเลย ผู้ใดฆ่าเนื้อ

ด้วยเนื้อต่อ ฆ่านกด้วยนกต่อ หรือดักผู้เลื่องลือด้วย

เสียงที่เลื่องลือ จะมีอะไรเป็นความเลวทรามยิ่งกว่า

ความเลวทรามของผู้นั้น ก็ผู้ใดพึงกล่าววาจาอัน

ประเสริฐ ผู้นั้นย่อมพลาดจากโลกทั้งสอง คือโลกนี้

และโลกหน้า บุคคลได้รับยศแล้วไม่พึงมัวเมา ถึง

ความทุกข์อันเป็นเหตุสงสัยในชีวิตแล้ว ไม่พึงเดือด

ร้อน พึงพยายามในกิจทั้งหลายร่ำไป และพึงปิดช่อง

ทั้งหลาย ชนเหล่าใดเป็นผู้เจริญ ถึงเวลาใกล้ตายไม่

ล่วงเลยประโยชน์อย่างยิ่ง ประพฤติธรรมในโลกนี้ ชน

เหล่านั้นย่อมไปสู่ไตรทิพย์ด้วยประการอย่างนี้ ข้าแต่

พระจอมแห่งชนชาวกาสี พระองค์ทรงสดับคำนี้แล้วขอ

จงทรงรักษาธรรมในพระองค์ และได้ทรงโปรดปล่อย

พญาหงส์ธตรฐ ซึ่งประเสริฐสุดกว่าหงส์ทั้งหลายเถิด

พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปนีตสฺมิ ได้แก่ น้อมเข้าไปใกล้

ความตาย. บทว่า กาลปริยาย ความว่า พระองค์ถึงวาระใกล้มรณกาลแล้ว

จักไม่กล่าวอะไรเลย พระองค์ผูกมัดผู้ที่จะแสดงธรรมกถาแล้ว ขู่ให้กลัวด้วย

มรณภัย คิดว่าเราจักฟังธรรมดังนี้ ชื่อว่า กระทำกรรมอันไม่สมควรแล้ว.

บทว่า มิเคน ได้แก่ เนื้อที่ได้รับการฝึกหัดไว้เป็นอย่างดีแล้ว. บทว่า หนฺติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 430

ก็คือ หนติ (เป็นเอกวจนะ) แปลว่า ย่อมฆ่า. บทว่า ปกฺขินา ได้แก่ นกที่

นำมาล่อนั่นแหละ. บทว่า สุเตน วา ได้แก่ สระดอกปทุม เช่นเดียว

กับเนื้อและนกต่ออันปรากฏเสียงลือกันว่า เขมสระไม่มีภัย. บทว่า สุต ได้แก่

ผู้แสดงธรรมที่เลื่องลือกันอย่างนี้ว่า ท่านผู้เป็นบัณฑิต มีปกติกล่าวถ้อยคำอัน

วิจิตร. บทว่า กีเลฺย ความว่า ผู้ใดดักผู้เลื่องลือ คือพึงเบียดเบียนทำให้เดือด

ร้อน ด้วยเครื่องผูกคือบ่วงด้วยคิดว่า เราจักฟังธรรม. บทว่า ตโต ความว่า

สิ่งอะไรอย่างอื่นที่จะเลวทรามของชนเหล่านั้นยังมีอยู่อีกเล่า. บทว่า อริยรุท

ความว่า ผู้ใดกล่าวคำอันประเสริฐ คือถ้อยคำอันดีแต่ปาก. บทว่า ธมฺม-

วสฺสิโต ได้แก่ อาศัยธรรมอันเลวทรามนั้นด้วยการกระทำ. บทว่า อุโภ คือ

จากโลกทั้งสองคือเทวโลกและมนุษยโลก. บทว่า อิธ เจว ความว่า บุคคล

นี้แม้บังเกิดในโลกนี้บังเกิดในโลกหน้า คือบุคคลเห็นปานนี้ชื่อว่า กำจัดเสีย

จากโลกแห่งสุคติทั้งสองเสียแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกอย่างเดียว. บทว่า ปตฺตสสย

ได้แก่ บุคคลแม้ถึงความสงสัยในชีวิตคือถึงความทุกข์แล้วก็ไม่พึงลำบาก. บทว่า

สวเร วิวรานิ จ ความว่า พึงปิดพึงกั้นเสียซึ่งช่องทะลุของตน. บทว่า วุฑฺฒา

ได้แก่เป็นบัณฑิตผู้เจริญด้วยคุณ. บทว่า สมฺปตฺตา กาลปริยาย ได้แก่

เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งเวลาใกล้มรณกาล ไม่ล่วงพ้นไปได้แล้ว. บทว่า เอเวเต ตัด

บทเป็น เอว เอเต บทว่า อิท ได้แก่ ถ้อยคำอันอาศัยเหตุที่ข้าพระองค์

กราบทูลไว้แล้วนี้. บทว่า ธมฺม ได้แก่ ทั้งธรรมที่เป็นประเพณีทั้งธรรมที่

เป็นสุจริต.

พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า

ชาวพนักงานทั้งหลาย จงนำน้ำ น้ำมันทาเท้า

และอาสนะอันมีค่ามากมาเถิด เราจะปล่อยพญาหงส์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 431

ธตรฐ ซึ่งเรืองยศออกจากกรง และสุมุขหงส์เสนาบดี

ที่มีปัญญา เป็นผู้ละเอียดคิดอรรถที่ยากได้ง่าย ผู้ใด

เมื่อพระราชามีสุขก็สุขด้วย เมื่อพระราชามีทุกข์ก็ทุกข์

ด้วย ผู้เช่นนี้แลย่อมสมควรเพื่อจะบริโภคก้อนข้าวของ

นายได้ เหมือนสุมุขหงส์เป็นราชสหายทั่วไปแก่สัตว์

มีชีวิต ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทก ได้แก่ น้ำสำหรับล้างเท้า. บทว่า

ปชฺช ได้แก่ น้ำมันชโลมเท้า. บทว่า สุเข ได้แก่ เมื่อทรงสำราญอยู่.

พวกชาวพนักงานมีอำมาตย์เป็นต้น ได้ฟังรับสั่งของพระราชาแล้ว จึง

นำอาสนะมาเพื่อพญาหงส์ทั้งสองนั้น แล้วจึงล้างเท้าของพญาหงส์ทั้งสอง

นั้น ซึ่งจับอยู่บนอาสนะด้วยน้ำหอม ชโลมด้วยน้ำมันที่เคี่ยวให้เดือดแล้วตั้ง

ร้อยครั้ง.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

พญาหงส์ธตรฐเข้าไปเกาะตั่ง อันล้วนแล้วไป

ด้วยทองคำมี ๘ เท้า น่ารื่นรมย์ใจ เกลี้ยงเกลา ลาด

ด้วยผ้าแคว้นกาสี สุมุขหงส์เข้าไปเกาะเก้าอี้ อันล้วน

แล้วไปด้วยทองคำ หุ้มด้วยหนังเสือโคร่ง ในลำดับ

แห่งพญาหงส์ธตรฐ ชนชาวกาสีเป็นอันมาก ต่าง

ถือเอาโภชนะอันเลิศที่เขาส่งไปถวายพระราชา นำเข้า

ไปให้แก่พญาหงส์ทั้งสองนั้น ด้วยภาชนะทองคำ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏฺ ได้แก่ เป็นตั่งที่สำเร็จขึ้นด้วย

การกระทำ. บทว่า กาสิกวตฺถิน ได้แก่ เป็นตั่งที่ปูลาดด้วยผ้าอันมาจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 432

แคว้นกาสี. บทว่า โกจฺฉ ได้แก่ ตั่งที่เขาสานไว้ในท่ามกลาง. บทว่า

เวยฺยคฺฆปริสิพฺพิต ได้แก่ ตั่งสำหรับเป็นที่ประทับนั่งของพระอัครมเหสี

ในวันมงคล หุ้มด้วยหนึ่งเสือโคร่ง. กาญฺจนปตฺเตหิ ได้แก่ ภาชนะทองคำ.

บทว่า ปุถู ได้แก่ เป็นจำนวนมาก. บทว่า กาสิโย ได้แก่ ชนผู้อยู่ใน

แคว้นกาสี. บทว่า อภิหาเรสุ คือ น้อมเข้าไป. บทว่า อคฺค รญฺโ

ปวาสิต ความว่า ชนชาวกาสีเป็นอันมาก นำเอาโภชนะมีรสอันเลิศต่าง ๆ

ที่พวกเขาใส่ไว้ในจานทอง ๑๐๘ ใบ สำหรับส่งไปถวายพระราชา เข้าไปเพื่อ

ประโยชน์เป็นบรรณาการแก่พญาหงส์.

ก็เมื่ออำมาตย์น้อมนำโภชนะนั้นเข้าไปอย่างนี้แล้ว พระเจ้ากาสิกราช

ทรงรับภาชนะทองคำจากมือของพวกอำมาตย์เหล่านั้น ด้วยพระหัตถ์แล้ว จึง

ทรงน้อมนำเข้าไปด้วยพระองค์เองเพื่อจะทรงยกย่อง พญาหงส์ทั้งสองนั้น จึง

จิกกินข้าวตอกอันระคนด้วยน้ำผึ้งจากภาชนะนั้น และจึงดื่มน้ำหวาน. ลำดับนั้น

พระมหาสัตว์เห็นอาการที่นำมาล้วนแต่ของดีเลิศ และความเลื่อมใสของพระ-

ราชาจึงได้กระทำปฏิสันถาร.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

พญาหงส์ธตรฐที่ฉลาด เห็นโภชนะอันเลิศที่

เขานำมาให้ อันพระเจ้ากาสีประทานส่งไป จึงได้ถาม

ธรรมเนียม เครื่องปฏิสันถารในกาลเป็นลำดับนั้นว่า

พระองค์ไม่มีพระโรคาพาธแลหรือ ทรงสำราญดีอยู่

หรือ ทรงปกครองรัฐมณฑลอันสมบูรณ์นี้โดยธรรม

หรือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

พระราชาตรัสว่า

ดูก่อนพญาหงส์ เราไม่มีโรคาพาธ อนึ่ง เรามี

ความสำราญดี และเราก็ปกครองรัฐมณฑลอันสมบูรณ์

นี้โดยธรรม.

พระมหาสัตว์ทูลถามว่า

โทษอะไร ๆ ไม่มีในหมู่อำมาตย์ของพระองค์

แลหรือ และอำมาตย์เหล่านั้น ไม่อาลัยชีวิตในประโยชน์

ของพระองค์แลหรือ.

พระราชาตรัสตอบว่า

โทษอะไร ๆ ไม่มีในหมู่อำมาตย์ของเรา และ

อำมาตย์เหล่านั้นไม่อาลัยชีวิตในประโยชน์ของเรา.

พระมหาสัตว์ทูลถามว่า

พระมเหสีซึ่งมีพระชาติเสมอกัน ทรงเชื่อฟัง มี

พระเสาวนีย์อันน่ารัก ทรงประกอบด้วยพระโอรส

พระรูป พระโฉม และพระยศ เป็นไปตามพระราช

อัธยาศัยของพระองค์แลหรือ.

พระราชาตรัสตอบว่า

พระมเหสีซึ่งมีพระชาติเสมอกัน ทรงเชื่อฟัง

มีพระเสาวนีย์อันน่ารัก ทรงประกอบด้วยพระโอรส

พระรูป พระโฉม และพระยศ เป็นไปตามอัธยาศัย

ของเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 434

พระมหาสัตว์ทูลถามว่า

พระองค์มิได้ทรงเบียดเบียนชาวแว่นแคว้น ทรง

ปกครองให้ปราศจากอันตรายแต่ที่ไหน ๆ โดยความ

ไม่เกรี้ยวกราด โดยธรรม โดยความสม่ำเสมอแลหรือ.

พระราชาตรัสตอบว่า

เรามิได้เบียดเบียนชาวแว่นแคว้น ปกครองให้

ปราศจากอันตรายแต่ที่ไหน ๆ โดยความไม่เกรี้ยวกราด

โดยธรรม โดยความสม่ำเสมอ.

พระมหาสัตว์ทูลถามว่า

พระองค์ทรงยำเกรงสัตบุรุษ ทรงเว้นอสัตบุรุษ

แลหรือ พระองค์ไม่ทรงละทิ้งธรรม ไม่ทรงประพฤติ

คล้อยตามอธรรมแลหรือ.

พระราชาตรัสตอบว่า

เรายำเกรงสัตบุรุษ เว้นอสัตบุรุษ ประพฤติคล้อย

ตามธรรม ละทิ้งอธรรม.

พระมหาสัตว์ทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์ พระองค์ทรง

พิจารณาเห็นชัดซึ่งพระชนมายุ อันเป็นอนาคตยังยืน

ยาวอยู่หรือ พระองค์ทรงมัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้ง

แห่งความมัวเมา ไม่สะดุ้งกลัวปรโลกหรือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 435

พระราชาตรัสตอบว่า

ดูก่อนพญาหงส์ เราพิจารณาเห็นชัดซึ่งอายุ

อันเป็นอนาคตยังยืนยาวอยู่ เราตั้งอยู่แล้วในธรรม

๑๐ ประการ จึงไม่สะดุ้งกลัวปรโลก เราเห็นกุศลธรรม

ที่ดำรงอยู่ในตนเหล่านี้ คือ ทาน ศีล การบริจาค

ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่

โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน และความ

ไม่พิโรธ แต่นั้นมีปีติและโสมนัสไม่ใช่น้อย ย่อมเกิด

แก่เรา ก็สุมุขหงส์นี้ ไม่ทันคิดถึงคุณสมบัติของเรา

ไม่ทราบความประทุษร้ายแห่งจิต จึงเปล่งวาจาอัน

หยาบคาย ย่อมกล่าวถึงโทษที่ไม่มีอยู่ในเรา คำของ

สุมุขหงส์นี้ ย่อมไม่เป็นเหมือนคำของคนมีปัญญา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวา ได้แก่ มองเห็นเครื่องดื่มและ

เครื่องบริโภคอันเลิศมากมายเหล่านั้น. บทว่า เปสิต ได้แก่ ที่พระราชาให้

นำมาแล้วทรงน้อมเข้าไปให้. บทว่า ขตฺตธมฺมาน ได้แก่ ธรรมสำหรับ

กระทำปฏิสันถาร ในบุคคลผู้กระทำคราวแรก. บทว่า โต ปุจฺฉิ อนนฺตรา

คือในกาลนั้น. บทว่า กจฺจิ นุ โภโต ความว่า คาถา ๖ คาถาที่พญาหงส์

ธตรฐทูลถามตามลำดับ ล้วนมีเนื้อความกล่าวไว้แล้วแต่หนหลังทีเดียว. บทว่า

อนุปฺปีฬ ได้แก่ พญาหงส์ธตรฐทูลถามว่า พระองค์มิได้ทรงบีบคั้นชาว

เมือง เหมือนบุคคลบีบอ้อยด้วยเครื่องยนต์บ้างหรือ. บทว่า อกุโตจิอุปทฺทว

ได้แก่ หาอันตรายจากที่ไหน ๆ มิได้เลย. บทว่า สเมน อนุสาสสิ ได้แก่

พระองค์ทรงปกครองแคว้นนี้ โดยธรรม โดยสม่ำเสมออยู่หรือ. บทว่า สนฺโต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 436

ได้แก่ ท่านผู้เป็นสัปบุรุษซึ่งประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น. บทว่า นิรงฺกตฺวา

คือไม่ละทิ้งธรรม. บทว่า อนาคต ทีฆ ได้แก่ พระองค์ทรงเห็นชัดพระ-

ชนมายุของพระองค์อันเป็นอนาคตว่า ยังเป็นไปยั่งยืนอยู่หรือ. บทว่า สมเวกฺ-

ขสิ ความว่า พญาหงส์ธตรฐทูลถามว่า พระองค์ทรงทราบว่า อายุสังขาร

เป็นของน้อยหรือ. บทว่า มทนีเย คือในอารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่นำความ

มึนเมามา. บทว่า น สนฺตสิ คือไม่ทรงหวาดกลัว. มีคำที่ท่านกล่าวอธิบาย

ไว้ว่า พระองค์เป็นผู้ไม่ประมาทแล้วในกามคุณทั้งหลายมีรูปเป็นต้น มิได้ทรง

สะดุ้งกลัวต่อปรโลก เพราะทรงกระทำกุศลมีทานเป็นต้นหรือ. บทว่า ทสสุ

หมายเอาราชธรรม ๑๐ ประการ. เจตนาที่เป็นไปในทานเป็นต้น ชื่อว่า ทาน

ศีล ๕ และศีล ๑๐ เป็นต้น ชื่อว่า ศีล การบริจาคไทยธรรม ชื่อว่า บริจาค ความ

เป็นผู้ซื่อตรง ชื่อว่าความซื่อตรง ความเป็นผู้อ่อนโยน ชื่อว่าความอ่อนโยน

กรรมคือการรักษาอุโบสถ ชื่อว่า ตบะ ส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา ชื่อว่า ความ

ไม่โกรธ ส่วนเบื้องต้นแห่งกรุณา ชื่อว่า ความไม่เบียดเบียน ความอดกลั้น

ชื่อว่าความอดทน ความไม่ขัดเคือง ชื่อว่า ความไม่พิโรธ. บทว่า อจินฺเตตฺวา

ได้แก่ ไม่ทันคิดถึงคุณสมบัติของเราเหล่านั้น. บทว่า ภาวโทส คือโทษที่เกิด

แก่จิต. บทว่า อนญฺาย แปลว่า ไม่รู้. บทว่า อสฺมาก ความว่า ขึ้นชื่อว่า

โทษที่เกิดขึ้นแก่จิตของเรา ย่อมไม่มี หงส์สุขุมะนี้มิได้ทราบถึงสิ่งที่ตัวควรจะ

รู้นั้น จึงได้กล่าววาจาหยาบคายออกมา. บทว่า อโยนิโส คือโดยมิใช่อุบาย.

บทว่า ยานสฺมาสุ ความว่า หงส์สุขุมะนี้ย่อมกล่าวถึงโทษที่ไม่มีอยู่ในเรา.

บทว่า นยิท ตัดบทเป็น น อิท อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คำของสุมุขหงส์นี้

จึงเหมือนคำของผู้มีปัญญาก็หาไม่ คือด้วยเหตุนี้แล สุมุขหงส์ จึงปรากฏแก่เรา

เหมือนมิใช่เป็นบัณฑิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 437

สุมุขหงส์ ได้สดับคำนั้นแล้ว จึงคิดว่า พระราชาทรงประกอบไปด้วย

คุณอันใหญ่ ถูกเรารุกราน และโกรธเคืองพระองค์ เราจักขอขมาโทษพระองค์

เสียเถิด จึงกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ ความพลั้ง

พลาดนั้น มีแก่ข้าพระองค์โดยความรีบร้อน ก็เมื่อ

พญาหงส์ธตรฐติดบ่วง ข้าพระองค์มีความทุกข์มาก

มาย ขอพระองค์ได้ทรงโปรดเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์

เหมือนบิดาเป็นที่พึ่งของบุตร และดุจแผ่นดินเป็นที่

พึ่งของหมู่สัตว์ฉะนั้นเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นราช

กุญชร ขอพระองค์ได้ทรงโปรดงดโทษให้แก่ข้า-

พระองค์ผู้ถูกความผิดครอบงำด้วยเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติสาร ได้แก่ ความพลาดพลั้งทุกอย่าง.

บทว่า เวเคน ได้แก่ ข้าพระองค์เมื่อจะกราบทูลข้อความนี้ ได้กราบทูลไป

โดยความรีบร้อน คือโดยความผลุนผลัน. บทว่า ทุกฺข ได้แก่ ความทุกข์

อันเป็นไปทางจิต ได้มีแก่ข้าพระองค์มากมาย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงได้

กราบทูลคำนั้น ออกไปด้วยอำนาจความโกรธ ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์

จงทรงอดโทษนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด. บทว่า ปุตฺตาน ได้แก่ พระองค์เปรียบ

เหมือนเป็นบิดาของบุตรทั้งหลาย. บทว่า ธรณีริว ได้แก่ อนึ่งเล่า ขอพระองค์

จงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์ เหมือนแผ่นดินเป็นที่พำนักอาศัยของเหล่าสัตว์

ฉะนั้น. บทว่า อธิปนฺนาน ได้แก่ ข้าพระองค์ผู้กำลังถูกโทษ คือความผิด

ท่วมทับแล้ว . บทว่า ขมสฺสุ ความว่า สุมุขหงส์นั้นลงจากอาสนะ ประคอง

อัญชลีด้วยปีกทั้งสองข้างแล้ว จึงกราบทูลคำนี้ไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 438

ลำดับนั้น พระราชาจึงทรงสวมกอดสุมุขหงส์นั้นแล้ว ทรงพาไปให้

เกาะบนตั่งทองคำ เมื่อจะทรงรับการแสดงโทษ จึงตรัสว่า

เราย่อมอนุโมทนาแก่ท่านด้วยอาการอย่างนี้

เพราะท่านไม่ปกปิดความในใจ ดูก่อนหงส์ ท่าน

ซื่อตรง จงทำลายความข้องใจเสียเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุโมทาม ความว่า เรายอมอดโทษ

นั้นแก่ท่าน บทว่า ย ความว่า เพราะเหตุที่ท่านมิได้ซ่อนเร้นสิ่งที่ควรจะปิด

บังในใจของตน. บทว่า ขีล ได้แก่ เสาเขื่อนแห่งจิต คือ หลักตอแห่งจิต

ก็พระราชาครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ทรงเลื่อมใสธรรมกถาของพระมหา-

สัตว์และความซื่อตรงของสุมุขหงส์ จึงทรงพระดำริว่า ธรรมดาผู้มีความเลื่อม

ใส ต้องกระทำอาการแสดงความเลื่อมใส เมื่อจะทรงมอบสิริราชสมบัติของ

พระองค์ แก่พญาหงส์ทั้งสองนั้น จึงตรัสคาถาว่า

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอยู่ใน

นิเวศน์ของเรา ผู้เป็นพระเจ้ากาสี คือ เงิน ทอง

แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์อันมากมาย แก้วมณี สังข์

ไข่มุก ผ้า จันทน์แดง และเหล็กอีกมาก เราขอให้

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจทั้งหมดนี้แก่ท่าน และขอสละความ

เป็นใหญ่ให้แก่ท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ คือที่เก็บเอาไว้. บทว่า มุตฺตา

ได้แก่ แก้วมุกดาทั้งที่เจียระไนแล้ว และยังมิได้เจียระไน. บทว่า มณโย ได้

แก่ เครื่องใช้ที่ทำด้วยแก้วมณีทั้งหลาย. บทว่า สงฺมุตฺตญฺจ ได้แก่ แก้ว

สังข์ทักษิณาวัฏ และแก้วไข่มุกดีกลมประดุจผลมะขามป้อม. บทว่า วตฺถิก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 439

ได้แก่ ผ้าเนื้อละเอียดซึ่งนำมาจากแคว้นกาสี. บทว่า อชิน ได้แก่ หนังมฤค

เหลือง. บทว่า โลห กาฬายส ได้แก่ โลหะมีสีแดงและโลหะมีสีดำ. บทว่า

อิสฺสริย ความว่า เราขอสละราชสมบัติในพระนครพาราณสี มีอาณาเขตกว้าง

ยาว ๑๒ โยชน์กับเศวตฉัตรประดับมาลาทองให้แก่ท่าน.

ก็พระราชาครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงทรงบูชาพญาหงส์แม้ทั้งสองนั้น

ด้วยเศวตฉัตร มอบราชสมบัติให้. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะสนทนากับ

พระราชา จึงกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ข้าพระองค์ทั้งสอง

เป็นอันพระองค์ทรงยำเกรง และทรงสักการะโดยแท้

ขอพระองค์ทรงเป็นพระอาจารย์ ของข้าพระองค์ทั้ง

สอง ซึ่งประพฤติอยู่ในธรรมทั้งหลายเถิด ข้าแต่

พระองค์ผู้เป็นอาจารย์ผู้ปราบปรามข้าศึก ข้าพระองค์

ทั้งสองอันพระองค์ทรงยอมอนุญาตแล้วจักกระทำประ-

ทักษิณพระองค์แล้ว จักกลับไปหาหมู่ญาติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมสุ ได้แก่ ธรรมคือกุศลกรรมบถ

๑๐ ประการ. บทว่า อาจริโย ความว่า พระองค์เป็นผู้ฉลาดกว่าข้าพระองค์ทั้ง

สอง เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงเป็นอาจารย์ของข้าพระองค์เถิด. อีกอย่างหนึ่ง

พระมหาสัตว์ทูลว่า อนึ่ง พระองค์จงเป็นอาจารย์ของข้าพระองค์ทั้งสองเถิด

เพราะพระองค์ตรัสราชธรรม ๑๐ ประการ และเพราะพระองค์ทรงแสดงโทษ

แก่สุมุขหงส์แล้ว ทรงกระทำการงดโทษ เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงเป็น

อาจารย์ของข้าพระองค์ทั้งสอง ด้วยเหตุที่ให้ศึกษามรรยาท แม้ในวันนี้เถิด.

บทว่า. ปสฺเสมุรินฺทม ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ย่ำยี่ซึ่งข้าศึก ข้าพระองค์

จักเห็นหมู่ญาติทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 440

พระราชาประทานอนุญาตให้พญาหงส์ทั้งสองนั้นกลับไป. แม้เมื่อ

พระโพธิสัตว์แสดงธรรมอยู่ทีเดียว อรุณขึ้นมาแล้ว.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระเจ้ากาสีทรงดำริ และทรงปรึกษาข้อความ

ตามที่ได้กล่าวมาตลอดราตรีทั้งปวง แล้วทรงอนุญาต

พญาหงส์ทั้งสอง ซึ่งประเสริฐสุดกว่าหงส์ทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถากถ ความว่า พระเจ้ากาสิราชทรง

พระดำริถึงเนื้อความอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่พระองค์ควรจะดำริและทรงปรึกษา

กับพญาหงส์ทั้งสองนั้น. บทว่า อนุญฺสิ ได้แก่ พระองค์ทรงอนุญาตว่า

ท่านทั้งสองจงพากันกลับไปเถิด.

พระโพธิสัตว์อันพระราชานั้นทรงอนุญาตอย่างนี้แล้ว จึงทูลถวาย

โอวาทพระราชาว่า ขอพระองค์อย่าได้ทรงประมาท จงเสวยราชสมบัติโดยชอบ

ธรรมเถิด แล้วให้พระราชาประดิษฐานอยู่ในศีล ๕ ประการ พระราชาทรง

น้อมข้าวตอกอันระคนด้วยน้ำผึ้ง และน้ำหวานเข้าไปให้แก่พญาหงส์ทั้งสอง

นั้นด้วยภาชนะทองคำ ในเวลาที่เสร็จอาหารกิจแล้ว จึงทรงบูชาด้วยของหอม

และระเบียบดอกไม้เป็นต้น ทรงเอาผอบทองคำประคองพระโพธิสัตว์ยกขึ้น

ด้วยพระองค์เอง ฝ่ายพระนางเขมาเทวี ทรงยกสุมุขหงส์ขึ้น. ลำดับนั้น ท้าว

เธอทั้งสองจึงให้เผยสีหบัญชรแล้วตรัสว่า ดูก่อนนาย ท่านทั้งสองจงกลับไป

ในเวลามีอรุณขึ้นเถิด แล้วทรงปล่อยพญาหงส์นั้น.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสว่า

เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคต เมื่อราตรีสว่างจ้า

พญาหงส์ทั้งสอง ก็พากันบินไปจากพระราชนิเวศน์

ของพระเจ้ากาสี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 441

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิคาหิสุ ได้แก่ แล่นขึ้นไปสู่อากาศ.

พระมหาสัตว์บินขึ้นไปจากผอบทองคำ แล้วประเล้าประโลมพระ-

ราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์อย่าได้เสียพระทัยไปเลย พระองค์พึงเป็น

ผู้ไม่ประมาท ทรงประพฤติในโอวาทของข้าพระองค์เถิด ดังนี้แล้ว จึงพาสุมุข

หงส์บินไปยังภูเขาจิตตกูฏทีเดียว ฝ่ายหงส์เก้าหมื่นหกพัน แม้เหล่านั้นแล พา

กันบินออกจากถ้ำทอง จับอยู่บนพื้นภูเขา เห็นพญาหงส์นั้นบินกลับมา จึงบิน

ไปต้อนรับห้อมล้อมแล้ว หงส์ทั้งสองนั้นแวดล้อมไปด้วยหมู่ญาติเข้าไปยังภูเขา

จิตตกูฏ.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

หงส์เหล่านั้น เห็นพญาหงส์ทั้งสองที่ยิ่งใหญ่

ไม่มีโรคกลับมาถึง จึงพากันส่งเสียงว่า เกเก ได้เกิด

เสียงอื้ออึงขึ้น หงส์มีความเคารพนายเหล่านั้น ได้

ปัจจัยมีปีติโสมนัส เพราะนายหลุดพ้นกลับมา พากัน

กระโดดโลดเต้น เข้าไปห้อมล้อมโดยรอบ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกรุ ได้แก่ ได้เปล่งเสียงดังลั่นเซ็งแซ่

ไปหมด. บทว่า ปรเม คือสูงสุด. บทว่า เกเก ความว่า พวกหงส์

เหล่านั้น ได้กระทำเสียงว่า เกเก. ด้วยเสียงร้องตามภาษาของตน. บทว่า ภตฺ-

ตุคารวา ได้แก่ เต็มไปด้วยความเคารพในพญาหงส์ที่เป็นนาย. บทว่า

ปริกรึสุ ความว่า หงส์เหล่านั้นมีความยินดีด้วยเหตุที่นายพ้นจากภัยมาได้ จึง

พากันเข้าไปห้อมล้อมนายนั้นอยู่โดยรอบ. บทว่า ลทฺธปจฺจยา ได้แก่

ได้ที่พึ่งพำนักแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 442

พวกหงส์เหล่านั้น ครั้นห้อมล้อมอยู่อย่างนี้แล้ว จึงพากันไต่ถามว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์พ้นมาได้อย่างไร. พระมหาสัตว์จึงเล่าถึงความที่ตน

พ้นมาได้ เพราะอาศัยสุมุขหงส์ และเล่าถึงกิจการที่กระทำกันในราชตระกูล

และกิจการที่นายลุททบุตรกระทำ ให้พวกหงส์เหล่านั้นฟัง ฝูงหงส์ได้สดับ

เรื่องราวนั้นแล้ว จึงกล่าวอวยพรอีกว่า สุมุขหงส์เสนาบดี และนายพราน

จงเป็นผู้มีความสุขนิราศทุกข์ มีชีวิตอยู่ยืนยาวนานเถิด.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า

ประโยชน์ทั้งปวง ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยกัล-

ยาณมิตร ย่อมให้สำเร็จความสุขความเจริญ เหมือน

พญาหงส์ธตรฐ และสุมุขหงส์สมบูรณ์ด้วยกัลยาณ-

มิตร เกิดประโยชน์ให้สำเร็จความสุขความเจริญกลับ

มายังหมู่ญาติ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิตฺตวต ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยกัลยาณ-

มิตร. บทว่า ปทกฺขิณา ได้แก่ ย่อมสำเร็จความสุขและประกอบไปด้วยความ

เจริญ. บทว่า ธตรฏฺา ความว่า เปรียบเหมือนพญาหงส์เหล่าธตรฐแม้

ทั้งสองนั้น คือพญาหงส์และสุมุขหงส์เสนาบดี สมบูรณ์ด้วยกัลยาณมิตรทั้ง

สอง คือพระราชาและนายลุททบุตร. บทว่า าติสงฺฆมุปาคมุ ความว่า

ประโยชน์ของหงส์ทั้งสองนั้น กล่าวคือ การได้กลับมาถึงหมู่ญาติ ย่อมประกอบ

ไปด้วยความสุขความเจริญเกิดแล้ว คือว่าประโยชน์ทั้งหลายของผู้สมบูรณ์ ด้วย

กัลยาณมิตรแม้เหล่าอื่น ก็ย่อมประกอบไปด้วยความสุขความเจริญอย่างนี้

เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 443

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ใช่ว่าอานนท์จะสละชีวิตเพื่อเราตถาคตในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้

ถึงเมื่อก่อน อานนท์ก็ได้สละชีวิตเพื่อตถาคตแล้วเหมือนกัน แล้วจึงทรง

ประมวลชาดกว่า นายพรานในกาลนั้น ได้มาเป็นภิกษุชื่อว่าฉันนะในกาลนี้

พระนางเขมาเทวีได้มาเป็นภิกษุณีชื่อว่าเขมา พระราชาได้มาเป็นสารีบุตร

สุมุขหงส์เสนาบดี ได้มาเป็นภิกษุชื่อว่าอานนท์ บริษัทนอกนั้นได้มาเป็น

พุทธบริษัท ส่วนพญาหงส์ธตรฐได้มาเป็นเราตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล.

จบอรรถกถามหาหังสชาดก

๓. สุธาโภชนชาดก

ว่าด้วยอาหารเป็นทิพย์

[๒๔๙] ข้าพเจ้าไม่ซื้อ ไม่ขาย อนึ่ง แม้ความ

สั่งสมของข้าพเจ้า ก็ไม่มีในที่นี้ ภัตนี้มีนิดหน่อยทั้ง

หาได้แสนยาก ข้าวสุกแล่งหนึ่งนี้หาพอแก่เราสองคน

ไม่.

[๒๕๐] บุคคลควรแบ่งของน้อยให้ตามน้อย

ควรแบ่งของส่วนกลางให้ตามส่วนกลาง ควรแบ่งของ

มากให้ตามมาก การไม่ให้ย่อมไม่ควร ดูก่อนโกสิย-

เศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอกล่าวกะท่าน ท่าน

จงขั้นสู่ทางของพระอริยเจ้า จงให้ทานและจงบริโภค.

เพราะว่าผู้บริโภคคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 444

[๒๕๑] ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว บริโภคโภชนะ

ผู้เดียว พลีกรรมของผู้นั้นย่อมไร้ผล ทั้งความเพียร

แสวงหาทรัพย์ของผู้นั้นก็ไร้ประโยชน์ ดูก่อนโกสิย-

เศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอกล่าวกะท่าน ท่าน

จงขึ้นสู่ทางแห่งพระอริยเจ้า จงให้ทานและจงบริโภค

เพราะว่าผู้บริโภคคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข.

[๒๕๒] ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว ไม่บริโภคโภชนะ

แต่ผู้เดียว พลีกรรมของผู้นั้นย่อมมีผลจริง ทั้งความ

เพียรแสวงหาทรัพย์ของผู้นั้นก็มีประโยชน์จริง ดูก่อน

โกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอกล่าวกะท่าน

ท่านจงขึ้นสู่ทางของพระอริยเจ้า จงให้ทานและจง

บริโภค เพราะว่าผู้บริโภคคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข.

[๒๕๓] บุรุษเข้าไปสู่สระแล้ว บูชาที่แม่น้ำชื่อ

พหุกาก็ดี ที่สระชื่อคยาก็ดี ที่ท่าน้ำชื่อโทณะก็ดี ที่ท่า

น้ำชื่อติมพรุก็ดี ที่ห้วงน้ำใหญ่ มีกระแสเชี่ยวก็ดี การ

บูชา และความเพียรของเขาในที่นั้น ๆ ย่อมมีผล ผู้

ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว ไม่บริโภคโภชนะแต่ผู้เดียว จะ

กล่าวว่าไร้ผลนั้นไม่ได้ ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุ

นั้น ข้าพเจ้าขอกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่ทางของ

พระอริยเจ้า จงให้ทานและจงบริโภค เพราะว่าผู้บริ-

โภคคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

[๒๕๔] ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว บริโภคโภชนะ

แต่ผู้เดียว ผู้นั้นเปรียบเหมือน กลืนเบ็ดอันมีสายยาว

พร้อมทั้งเหยื่อ ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น

ข้าพเจ้าขอกล่าวกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่ทางของพระ-

อริยเจ้า จงให้ทานและจงบริโภค เพราะว่าผู้บริโภค

คนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข.

[๒๕๕] พราหมณ์เหล่านี้มีผิวพรรณงามจริง

หนอ เพราะเหตุไร สุนัขของท่านนี้จึงเปล่งรัศมีต่างๆ

ได้ ข้าแต่พราหมณ์ ท่านทั้งหลายใครเล่าหนอจะบอก

แก่ข้าพเจ้าได้.

[๒๕๖] ท่านทั้งสองนี้ คือ จันทเทพบุตรและ

สุริยเทพบุตร ส่วนผู้นี้คือ มาตลีเทพสารถี ส่วนเราเป็น

ท้าวสักกะจอมเทพชาวไตรทศ และสุนัขตัวนี้เรียกว่า

ปัญจสิขเทพบุตร.

[๒๕๗] ฉิ่ง ตะโพน และเปิงมาง ย่อมปลุกเทพ

บุตรผู้หลับแล้วให้ตื่นและตื่นแล้วย่อมเพลิดเพลินใจ.

[๒๕๘] ชนเหล่าใด เหล่าหนึ่ง มีความตระหนี่

เหนียวแน่น มักบริภาษสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ชน

เหล่านั้นทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้แล้ว เมื่อตายแล้ว

ย่อมไปสู่นรก ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งหวังสุคติตั้งอยู่ใน

ธรรม คือ ความสำรวมและการแจกทาน ชนเหล่านั้น

ทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้แล้ว เมื่อตายไป ย่อมไป

สู่สุคติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 446

[๒๕๙] ท่านนั้นชื่อโกสิยเศรษฐี มีความตระ-

หนี่มีธรรมอันลามก ในชาติก่อนเป็นญาติของพวกเรา

พวกเรามาแล้วในที่นี้ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเท่านั้น

ด้วยคิดว่า โกสิยะนี้อย่าได้มีธรรมอันลามกไปนรกเลย.

[๒๖๐] ก็ท่านเหล่านั้น เป็นผู้ใคร่ประโยชน์แก่

ข้าพเจ้าโดยแท้ เพราะมาพร่ำสอนข้าพเจ้าอยู่เนือง ๆ

ข้าพเจ้านั้นจักทำ ตามคำที่ท่านทั้งหลายผู้แสวงหา

ประโยชน์กล่าวแล้วทุกประการ ข้าพเจ้านั้นจักของด

เว้นจากความเป็นคนตระหนี่เสียในวันนี้แหละ อนึ่ง

ข้าพเจ้าจะไม่พึงทำบาปกรรมอะไร ๆ ขึ้น ชื่อว่าการไม่

ให้อะไร ๆ จะไม่มีแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายังไม่ได้ให้

แล้วจะไม่ขอดื่มน้ำ ข้าแต่ท้าววาสวะ ก็เมื่อข้าพเจ้า

ให้อยู่อย่างนี้ตลอดกาลทั้งปวง แม้โภคสมบัติของ

ข้าพเจ้าจักสิ้นไป แต่นั้นข้าพเจ้าจักละกามทั้งหลาย

ตามส่วนที่มีอยู่แล้วจักบวช.

[๒๖๑] เทพธิดาเหล่านั้น อันท้าวสักกะผู้

ประเสริฐกว่าเทวดารักษาแล้ว ย่อมบันเทิงอยู่ ณ ภูเขา

คันธมาทน์อันเป็นภูเขาประเสริฐสุด ครั้งนั้นนารท

ดาบสผู้ประเสริฐ ว่าฤาษี ผู้ไปได้ในโลกทั้งปวง ได้มา

ถือเอากิ่งไม้อันประเสริฐ มีดอกบานดีแล้ว ดอกไม้นั้น

สะอาด มีกลิ่นหอม เทพยดาชาวไตรทศกระทำสักการะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 447

เป็นดอกไม้สูงสุด อันท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าอมรเทพ

เสพแล้ว แต่พวกมนุษย์และพวกอสูรไม่ได้ เว้นไว้แต่

พวกเทวดา เป็นดอกไม้มีประโยชน์ สมควรแก่เทวดา

เหล่านั้น ลำดับนั้น นางเทพนารี ๔ องค์ คือ นาง

อาสา นางศรัทธา นางศิริ และนางหิริ ผู้มีผิวพรรณ

เปรียบด้วยทองคำ เป็นใหญ่กว่านางเทพนารีผู้รื่นเริง

ต่างลุกขึ้นกล่าวกะนารทมุนี ผู้เป็นพราหมณ์ผู้ประเสริฐ

ว่า ข้าแต่ท่านมหานุนีผู้ประเสริฐ ถ้าดอกปาริฉัตตะนี้

พระคุณเจ้าไม่เจาะจงแล้ว ก็ขอจงให้แก่พวกดีฉันเถิด

คติทั้งปวงจงสำเร็จแก่พระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าจงให้

แก่พวกดีฉัน เหมือนท้าววาสวะฉะนั้นเถิด นารทดาบส

เห็นนางเทพธิดาทั้ง ๔ มาขอดอกไม้ จึงกล่าวว่า ท่าน

พูดด้วยคำชวนทะเลาะ เราไม่มีความต้องการด้วยดอก

ไม้เหล่านี้สักน้อยหนึ่ง บรรดาเจ้าทั้งสี่ ผู้ใดประเสริฐ

กว่า ผู้นั้นจงประดับดอกไม้นั้นเถิด.

[๒๖๒] ข้าแต่ท่านนารทะผู้อุดม พระคุณเจ้า

นั่นแลจงพิจารณาดูพวกดิฉัน พระคุณเจ้าปรารถนา

ให้แก่นางใด ก็จงให้แก่นางนั้น ก็บรรดาพวกดิฉัน

พระคุณเจ้าจักให้แก่นางใด นางนั้นแหละ จักเป็นผู้

อันดีฉันทั้งหลายยกย่องว่าประเสริฐสุด.

[๒๖๓] ดูก่อนนางผู้มีกายงาม คำนี้ไม่สมควร

ใครเป็นพราหมณ์ ใครกล่าวการทะเลาะ เพราะฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 448

ท่านทั้งหลายจงไปทูลถามท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งภูต

เถิด ถ้าท่านทั้งหลายไม่ทราบในที่นี้ว่า ตนสูงสุดหรือ

ว่าธรรมสูงสูด.

[๒๖๔] นางเทพธิดาเหล่านั้น อันนารทดาบส

กล่าวแล้ว เป็นผู้โกรธแค้นอย่างยิ่ง เป็นผู้มัวเมาใน

ผิวพรรณ พากันไปสู่สำนักของท้าวสหัสนัยน์ แล้ว

ทูลถามท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งภูตว่า ใครหนอเป็นผู้

ประเสริฐ.

[๒๖๕] ท้าวปุรินททะผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ผู้

อันเทวดากระทำอัญชลี ทรงเห็นนางเทพธิดาทั้ง ๔ นั้น

ผู้มีใจริษยา จึงตรัสว่า ดูก่อนเจ้าผู้งามเลิศ เจ้าทั้งปวง

เป็นเช่นเดียวกัน จงยกไว้ก่อน ใครเล่าหนอได้กล่าว

การทะเลาะขึ้น.

[๒๖๖] ท่านนารทมหามุนีใด ผู้เที่ยวไปในโลก

ทั้งปวง ผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีความบากบั่นอย่างแท้จริง

ท่านนั้นได้กล่าวกะพวกหม่อมฉัน ณ ภูเขาคันธมาทน์อัน

เป็นภูเขาประเสริฐว่า ท่านทั้งหลายจงไปทูลถามท้าว-

สักกะผู้เป็นจอมแห่งภูตเถิด ถ้าท่านทั้งหลายไม่ทราบ

ในที่นี้ว่า ตนประเสริฐหรือธรรมประเสริฐ.

[๒๖๗] ดูก่อนเจ้าผู้มีกายงาม ท่านมหามุนีมี

นามว่าโกสิยะ อยู่ในป่าใหญ่โน้น ท่านไม่ให้ก่อนแล้ว

ย่อมไม่บริโภคภัต ท่านพิจารณาเสียก่อนแล้วจึงให้ทาน

ถ้าท่านจักให้แก่นางใด นางนั้นแลเป็นผู้ประเสริฐ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 449

[๒๖๘] ก็ท่านโกสิยดาบสนั้นอยู่ในทิศทักษิณ

ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ข้างหิมะวันตบรรพตโน้น ท่านหา

น้ำและโภชนะได้โดยยาก ดูก่อนเทพสารถี ท่านจง

นำสุธาโภชน์ไปถวายท่าน.

[๒๖๙] มาตลีเทพสารถีนั้น อันท้าวสักกะผู้-

ประเสริฐกว่าเทวดารับสั่งให้แล้ว ได้ขึ้นรถเทียมด้วย

ม้าพันตัว เข้าไปยังอาศรมโดยเร็วพลัน เป็นผู้มีกาย

ไม่ปรากฏ ได้ถวายสุธาโภชน์แก่มุนี.

[๒๗๐] ก็เมื่อเราบำเรอไฟที่เราบูชาแล้ว ยืนอยู่

ใกล้พระอาทิตย์อันมีแสงสว่าง บรรเทาความมืดใน

โลกอันสูงสุดเสียได้ ท้าววาสวะผู้ครอบงำภูตทั้งปวง

หรือว่าใครหนอมาวางภัต อันขาวสะอาดลงในฝ่ามือ

ของเรา ภัตนี้ขาวเปรียบดังสังข์ ไม่มีสิ่งอื่นเปรียบปาน

น่าดู สะอาด มีกลิ่นหอมน่ารัก ยังไม่เคยมีเลย เรายัง

ไม่เคยเห็นด้วยตาตนเองเลย เทวดาองค์ไหน เอา

สุธาโภชน์มาวางบนฝ่ามือของเรา.

[๒๗๑] ข้าแต่มหามุนีผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

ข้าพเจ้าอันท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพทรงใช้แล้ว จึงได้

รีบนำเอาสุธาโภชน์มาถวาย พระคุณเจ้าจงรู้จักข้าพเจ้า

ว่ามาตลีเทพสารถี นิมนต์พระคุณเจ้าบริโภคภัตอัน

อุดม อย่าห้ามเสียเลย ก็สุธาโภชน์ที่บริโภคแล้วนั้น

ย่อมขจัดบาปธรรมได้ ๒ ประการ คือ ความหิว ๑

ความระหาย ๑ ความไม่ยินดี (กระสัน) ๑ ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 450

กระวนกระวาย ๑ ความเหน็ดเหนื่อย ๑ ความโกรธ ๑

ความเข้าไปผูกโกรธ ๑ ความวิวาท ความส่อเสียด ๑

ความหนาว ๑ ความร้อน ๑ ความเกียจคร้าน ๑

สุธาโภชน์นี้มีรสสูงสุด.

[๒๗๒] ดูก่อนมาตลี การที่ยังไม่ให้ก่อนแล้ว

บริโภค ไม่สมควรแก่เรา วัตรของเราดังนี้เป็นวัตร

อันอุดม อนึ่ง การบริโภคคนเดียวพระอริยเจ้าไม่บูชา

และบุคคลผู้มิได้แบ่งให้ ย่อมไม่ได้ประสบความสุข.

[๒๗๓] ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้ฆ่าหญิง

คบหาภรรยาของชายอื่น ประทุษร้ายต่อมิตร และด่า

สมณพราหมณ์ผู้มีวัตรดีงาม ชนเหล่านั้นทั้งปวงทีเดียว

มีความตระหนี่เป็นที่ ๕ เป็นคนเลวทราม เพราะเหตุนั้น

อาตมาไม่ได้ให้ก่อนแล้ว ไม่ดื่มแม้กระทั่งน้ำ อาตมา

จักให้ทานที่ท่านผู้รู้สรรเสริญแล้ว แก่หญิงหรือชาย

เพราะว่าท่านเทล่านั้นเป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์

ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่ บัณฑิตยกย่องว่า

เป็นผู้สะอาด และมีความสัตย์ในโลกนี้.

[๒๗๔] ลำดับนั้น นางเทพกัญญา ๔ องค์ คือ

นางอาสา นางศรัทธา นางสิริ และนางหิริ ผู้มีผิว-

พรรณเปรียบดังทองคำ ซึ่งท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่า

เทวดาทรงอนุมัติส่งไปแล้ว ได้ไปยังอาศรมอันเป็นที่

อยู่ของโกสิยดาบส โกสิยดาบสได้เห็นนางเทพกัญญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 451

ทั้งปวงนั้น ผู้บันเทิงอย่างยิ่ง มีผิวพรรณงามดังเปลว

เพลิงจึงได้กล่าวกะนางเทพกัญญาทั้ง ๔ ในทิศทั้ง ๔

ต่อหน้ามาตลีเทพสารถีว่า ดูก่อนเทวดาในบุรพทิศ

ท่านผู้ประดับประดาแล้ว งดงามดังดวงดาวประกาย-

พรึกอันประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย ท่านมีชื่อว่า

อย่างไร จงบอกไป ดูก่อนเทวดาผู้มีร่างกายคล้ายกับ

รูปทองคำ อาตมาขอถามท่าน ท่านจงบอกแก่อาตมา

ท่านเป็นเทวดาอะไร.

[๒๗๕] ดิฉันชื่อว่าสิริเทวี ได้รับการบูชาใน

หมู่มนุษย์ เป็นผู้ไม่เสพสัตว์ลามกทุกเมื่อ มาสู่สำนัก

ของพระคุณเจ้าเพราะความทะเลาะกันด้วยสุธาโภชน์

ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้มีปัญญาอันประเสริฐ ขอพระคุณเจ้า

จงแบ่งสุธาโภชน์นั้นให้ดิฉันบ้าง ข้าแต่ท่านมหามุนี

ผู้สูงสุดกว่าผู้บูชาทั้งหลาย ดิฉันปรารถนาความสุขแก่

นรชนใด นรชนนั้นย่อมบันเทิงด้วยกามคุณารมณ์

ทั้งปวง ขอพระคุณเจ้าจงรู้จักดิฉันว่า สิริ ข้าแต่

พระคุณเจ้าผู้มีปัญญาอันประเสริฐ ขอได้โปรดแบ่ง

สุธาโภชน์นั้นให้ดิฉันบ้าง.

[๒๗๖] นรชนทั้งหลายผู้ประกอบด้วยศิลปะ

วิทยา จรณะ ความรู้ และการงานของตน มีความเพียร

เป็นผู้ที่ท่านละทิ้งเสียแล้ว ย่อมไม่ได้ประโยชน์อะไร

ความขาดแคลนที่ท่านทำแล้วนั้นไม่ดีเลย อาตมาเห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 452

นรชนผู้เป็นคนเกียจคร้านบริโภคมาก ทั้งมีตระกูลต่ำ

มีรูปแปลก ดูก่อนนางสิริ บุคคลผู้มีโภคทรัพย์มี

ความสุข ย่อมใช้สอยนรชนที่ท่านตามรักษาไว้ แม้จะ

สมบูรณ์ด้วยชาติ ให้เป็นเหมือนทาส เพราะฉะนั้น

อาตมารู้จักท่าน (ว่าเป็น) ผู้ไม่มีสัจจะ ไม่รู้สิ่งที่ควร

และไม่ควร แล้วคบคนผู้สมบูรณ์ด้วยศิลปะเป็นต้น

เป็นผู้หลง นำผู้รู้ให้ตกไปตาม นางเทพกัญญาเช่นท่าน

ย่อมไม่สมควรอาสนะและน้ำ ที่ไหนสุธาโภชน์จะ

สมควรเล่า เชิญไปเสียเถิด อาตมาไม่ชอบใจท่าน.

[๒๗๗] ใครเป็นผู้มีฟันขาว สวมกุณฑล มี

ร่างกายอันวิจิตร ทรงเครื่องประดับอันเกลี้ยงเกลา

ทำด้วยทองคำ นุ่งห่มผ้ามีสีดังสายน้ำหยด ทัดช่อ

ดอกไม้สีแดงดังเปลวไฟไหม้หญ้าคา ย่อมงดงาม ท่าน

เป็นเหมือนนางเนื้อทรายที่นายพรานยิงผิดแล้ว มองดู

อยู่เหมือนดังเขลา ฉะนั้น ดูก่อนท่านผู้มีดวงตาอ่อน-

หวาน ในที่นี้ใครเป็นสหายของท่าน ท่านอยู่ในป่า

แต่ผู้เดียว ไม่กลัวหรือ.

[๒๗๘] ข้าแต่ท่านโกสิยดาบส ในที่นี้ ดิฉัน

ไม่มีสหาย ดิฉันเป็นเทวดาชื่อว่า อาสา เกิดในดาวดึงส์

พิภพ มายังสำนักของพระคุณเจ้าเพราะหวังจะขอ

สุธาโภชน์ ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้มีปัญญาอันประเสริฐ

ขอได้โปรดแบ่งสุธาโภชน์นั้นให้ดิฉันบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 453

[๒๗๙] พ่อค้าทั้งหลายผู้แสวงหาทรัพย์ ย่อม

ขึ้นเรือแล่นไปในทะเลด้วยความหวัง พ่อค้าเหล่านั้น

ย่อมจมลงในทะเลนั้น ในกาลบางครั้ง เขาสิ้นทรัพย์

ทั้งทรัพย์อันเป็นต้นทุนก็สูญหายแล้วกลับมา ชาวนา

ทั้งหลายย่อมไถนาด้วยความหวัง หว่านพืชก็กระทำ

โดยแยบคาย เขาไม่ได้ประสบผลอะไร ๆ จากข้าวกล้า

นั้น เพราะเพลี้ยลงบ้าง เพราะฝนแล้งบ้าง อนึ่ง

นรชนทั้งหลายผู้แสวงหาความสุข มุ่งหวังเป็น

เบื้องหน้า ย่อมกระทำการงานของตนเพื่อนาย นรชน

เหล่านั้นอันศัตรูเบียดเบียนแล้ว ไม่ได้ประโยชน์

อะไร ๆ ย่อมพากันหนีไปสู่ทิศทั้งหลายก็เพื่อประโยชน์

แก่นาย สัตว์ทั้งหลายผู้แสวงหาความสุข เป็นผู้ใคร่

จะไปสวรรค์ ละทิ้งธัญญาติ ทรัพย์และหมู่ญาติแล้ว

บำเพ็ญตบะอันเศร้าหมองอยู่ตลอดกาลนาน เดินทาง

ผิด ย่อมไปสู่ทุคติเพราะความหวัง เพราะฉะนั้น

ความหวังเหล่านี้ เขาสมมติว่าทำให้เคลื่อนคลาดจาก

ความจริง ดูก่อนนางอาสา ท่านจงนำความหวัง

สุธาโภชน์ในตนออกเสียเถิด นางเทพกัญญา เช่นท่าน

ย่อมไม่สมควรอาสนะและน้ำ ที่ไหนสุธาโภชน์จะ

สมควรเล่า เชิญไปเสียเถิด อาตมาไม่ชอบใจท่าน.

[๒๘๐] ท่านรุ่งเรืองด้วยยศ มียศ เขาเรียกโดย

ชื่ออันน่าเกลียดเป็นเจ้าทิศ ดูก่อนนางผู้มีร่างกายคล้าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 454

ทองคำ อาตมาขอถามท่าน ขอท่านจงบอกอาตมา

ท่านเป็นเทวดาอะไร.

[๒๘๑] ดิฉันชื่อว่าศรัทธาเทวี ได้รับการบูชาใน

หมู่มนุษย์ เป็นผู้ไม่คบสัตว์ลามกทุกเมื่อ มายังสำนัก

ของพระคุณเจ้า เพราะวิวาทกันด้วยสุธาโภชน์ ข้าแต่

พระคุณเจ้าผู้มีปัญญาอันประเสริฐ ขอพระคุณเจ้า

โปรดแบ่งสุธาโภชน์นั้นให้ดิฉันบ้าง.

[๒๘๒] ก็ในกาลบางคราว มนุษย์ทั้งหลายถือ

เอาทานการให้บ้าง ทมะ การฝึกฝนบ้าง จาคะ การ

บริจาคบ้าง สัญญมะ ความสำรวมบ้าง แล้วกระทำ

ด้วยศรัทธา แต่มนุษย์พวกหนึ่งกระทำโจรกรรมบ้าง

พูดเท็จบ้าง ล่อลวงบ่าง ส่อเสียดบ้าง ท่านอย่า

ประกอบต่อไป บุรุษผู้มีความเพ่งเล็งในภรรยาทั้งหลาย

ผู้สม่ำเสมอกัน ผู้ประกอบด้วยศีล ผู้มีวัตรในการ

ปฏิบัติสามีดี ย่อมนำความพอใจในกุลสตรี ออกเสีย

กลับไปทำความเชื้อตามคำของนางกุมภทาสี ดูก่อน

นางศรัทธา ท่านนั่นแล เป็นผู้ให้ชายอื่นคบหาภรรยา

ของผู้อื่น ท่านย่อมทำบาป ละทิ้งกุศล นางเทพกัญญา

เช่นท่านย่อมไม่สมควรอาสนะและน้ำ ที่ไหนสุธาโภชน์

จะสมควรแก่ท่านเล่า เชิญท่านไปเสียเถิด อาตมาไม่

ชอบใจท่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 455

[๒๘๓] เมื่ออรุณขึ้นไปในที่สุดแห่งราตรี นาง

เทพธิดาใด เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งรูปอันอุดมปรากฏอยู่

ดูก่อนเทวดา ท่านเปรียบเหมือนนางเทพธิดานั้น จะ

พูดกะอาตมาหรือ ขอท่านจงบอกกะอาตมา ท่านเป็น

นางอัปสรอะไร ท่านมีชื่อว่าอะไร ยืนอยู่ดังเถาวัลย์ดำ

ในฤดูร้อน และดังเปลวไฟอันห้อมล้อมด้วยใบไม้

สีแดงถูกลมพัดดูงาม ฉะนั้น ท่านดูเหมือนจะพูดแต่

มิได้เปล่งถ้อยคำออกมา แลดูอยู่ดังนางเนื้อเขลา

ฉะนั้น.

[๒๘๔] ดิฉันชื่อหิริเทวี ได้รับการบูชาในหมู่

มนุษย์ไม่เสพสัตว์ลามกทุกเมื่อ มายังสำนักของพระ-

คุณเจ้า เพราะวิวาทกันด้วยสุธาโภชน์ ดิฉันนั้นไม่

อาจจจะอสุธาโภชน์กับพระคุณเจ้า เพราะการขอของ

หญิง ดูเหมือนจะเป็นกิริยาที่น่าละอาย.

[๒๘๕] ดูก่อนท่านผู้มีร่างกายอันงดงาม ท่าน

จักได้ตามอุบายที่ชอบ นี้เป็นธรรมทีเดียว ท่านจะได้

สุธาโภชน์เพราะการขอก็หาไม่ เพราะฉะนั้น อาตมา

พึงเชื้อเชิญท่านผู้มีได้ขอสุชาโภชน์ใด ๆ อาตมาจะให้

สุธาโภชน์แม้นั้น ๆ แก่ท่าน ดูก่อนท่านผู้มีร่างกายอัน

งดงามคล้ายทองคำ วันนี้ อาตมาขอเชิญท่านไปใน

อาศรมของอาตมา อาตมาจะบูชาท่านด้วยรสทุกอย่าง

ครั้นบูชาแล้วจึงจักให้บริโภคสุธาโภชน์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 456

[๒๘๖] นางหิริเทพธิดานั้น ผู้ไม่คบสัตว์ลามก

ในกาลทุกเมื่อ อันโกสิยดาบสผู้มีความรุ่งเรืองอนุมัติ

แล้ว ได้เข้าไปสู่อาศรมอันน่ารื่นรมย์ สมบูรณ์ด้วย

น้ำและผลไม้ อันท่านผู้ประเสริฐบูชาแล้ว ณ ที่ใกล้

อาศรมนั้น มีรุกขชาติเป็นอันมาก กำลงผลิดอกออก

ผล คือ มะม่วง มะหาด ขนุน ทองกวาว มะรุม

อีกทั้งต้นโลท บัวบก การะเกด จันทน์กระพ้อ หมาก

หอมควาย กำลังออกดอกสะพรั่ง ในที่ใกล้อาศรมนั้น

มากไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ๆ คือ ต้นสาละ ต้นกุ่ม ต้นหว้า

ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นมะซาง ไม้ย่างทราย ราชพฤกษ์

แคฝอย ต้นจิก ต้นลำเจียก มีกิ่งก้านห้อยย้อยลงมา

กำลังส่งกลิ่นหอมน่ายวนใจ ถั่วแระ อ้อยแขม ถั่วป่า

ต้นมะพลับ ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ถั่วเหลืองเมล็ดเล็ก

กล้วยไม่มีเมล็ด ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ราชดัด ข้าวสาร

ที่เกิดเองมีอยู่เป็นอันมากที่อาศรมนั้น มีสระโปกขรณี

ที่เกิดเอง งดงามไม่ขุ่น มีท่าราบเรียบ น้ำใสจืดสนิท

ไม่มีกลิ่นเหม็น อนึ่ง ในสระโปกขรณีนั้น มีปลา

ต่าง ๆ ชนิด คือ ปลาดุก ปลากระทุงเหว ปลากราย

กุ้ง ปลาตะเพียน ปลาฉลาด ปลากา ว่ายอยู่คลาคล่ำ

ในสระโปกขรณีอันมีขอบคัน เป็นปลาที่ปล่อย มีเหยื่อ

มากชนิด มีนกต่าง ๆ ชนิด คือ หงส์ นกกระเรียน

นกยูง นกจากพราก นกออก นกกระเหว่าลาย นก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 457

เงือก นกโพระดก มีอยู่มากมาย มีขนปีกอันวิจิตร

พากันจับอยู่อย่างสบาย ปลอดภัย มีอาหารมาก มีสัตว์

และหมู่เนื้อนานาชนิดมากมาย คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง

ช้าง หมี เสือปลา เสือดาว แรด โคลาน กระบือ

ละมั่ง กวาง เนื้อทราย หมูป่า ระมาด หมูบ้าน

กวางทอง แมว กระต่าย วัวกระทิง มีอยู่มาก พื้นดิน

หินเขา ดาดาษงามวิจิตรด้วยดอกไม้ ทั้งฝูงนกก็ส่ง

เสียงร้องกึกก้อง เป็นที่อยู่อาศัยของหมู่ปักษี.

[๒๘๗] นางหิริเทพธิดานั้น ผู้มีผิวพรรณงดงาม

ทัดดอกไม้เขียว เดินเข้าไปยังอาศรม ดังสายฟ้าแลบ

ในก่อนเมฆใหญ่ โกสิยดาบสได้จัดตั่งอันมีพนักที่ถัก

ไว้เรียบร้อย สำเร็จด้วยหญ้าคาสะอาด มีกลิ่นหอม

ลาดด้วยหนังชะมด เพื่อนางหิริเทพธิดานั้น แล้วได้

กล่าวว่า ดูก่อนนางงาม เชิญนั่งทีอาสนะนี้ตามสบาย

เถิด ในกาลนั้น เมื่อนางหิริเทพธิดานั่งลงบนตั่งแล้ว

โกสิยมหามุนีผู้ทรงชฎาอันรุ่งเรือง ได้รีบนำสุธาโภชน์

มาพร้อมกับน้ำด้วยใบบัวใหม่ ๆ ด้วยตนเอง เพื่อจะให้

พอความประสงค์ นางหิริเทพธิดามีความปลื้มใจ รับ

สุธาโภชน์ด้วยมือทั้งสอง แล้วได้กล่าวกะโกสิยดาบสผู้

ทรงชฎาว่า ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ เอาละ ดิฉันเป็น

ผู้อันพระคุณเจ้าบูชาแล้ว ได้ชัยชนะแล้ว จะพึงไปสู่

ไตรทิพย์ในบัดนี้ นางหิริเทพธิดานั้น เป็นผู้มัวเมาแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 458

ด้วยความเมาในผิวพรรณ อันโกสิยดาบสกล่าวอนุญาต

แล้ว ได้กลับไปในสำนักของท้าวสหัสนัยน์ แล้ว

กราบทูลว่า ข้าแต่ท้าววาสวะ นี่สุธาโภชน์ ขอพระองค์

จงพระราชทานชัยชนะแก่หม่อมฉัน แม้ท้าวสักกะก็

ได้ทรงบูชานางหิริเทพธิดาในกาลนั้น เทวดาพร้อม

ด้วยพระอินทร์ ได้พากันบูชานางสุกัญญาผู้อุดม นาง

หิริเทพธิดานั้นเข้าไปนั่งบนตั่งใหม่ในกาลใด ในกาล

นั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประคองอัญชลีบูชา

แล้ว.

[๒๘๘] ท้าวสหัสนัยน์ผู้เป็นจอมแห่งชาวไตรทศ

ตรัสกะมาตลีเทพสารถีนั้นต่อไปว่า ท่านจงไปถามท่าน

โกสิยดาบสตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่านโกสิยะ เว้น

นางอาสาเทพธิดา นางศรัทธาเทพธิดา และนางสิริ-

เทพธิดา นางหิริเทพธิดาผู้เดียวได้สุธาโภชน์เพราะเหตุ

อะไร.

[๒๘๙] มาตลีเทพสารถี ขึ้นรถอันเลื่อนลอยไป

ตามสบาย รุ่งเรืองเช่นกับเครื่องใช้สอย มีงอนอันแล้ว

ไปด้วยทองชมพูนุทมีสีแดงคล้ายทองคำ ประดับ

ประดาแล้ว ประกอบไปด้วยเครื่องลาดทองคำงาม-

วิจิตร ในรถนี้มีภาพมากมาย คือรูปพระจันทร์ รูป

ช้าง รูปใด รูปม้า รูปกินนร รูปเสือโคร่ง รูปเสือ-

เหลือง รูปเนื้อทราย ล้วนแล้วไปด้วยทองคำ และมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 459

รูปนกทั้งหลาย อันล้วนแล้วด้วยรัตนะต่าง ๆ ดุจ

กระโดดโลดเต้นอยู่ รูปเนื้อในรถนั้นจัดไว้เป็นหมู่ ๆ

ล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ เทพบุตรทั้งหลายเทียมม้า

อัศวราชมีสีเหลืองดังทองคำ ประมาณพันตัว คล้าย

ดังช้างหนุ่มมีกำลังประดับประดาแล้ว มีเครื่องทับ

ทรวงล้วนแล้วด้วยข่ายทองคำ มีภู่ห้อยหู ไปโดยเสียง

ปกติไม่ขัดข้อง มาตลีเทพสารถีขึ้นสู่ยานอันประเสริฐ

นั้นแล้ว บันลือแล้วตลอดสิบทิศนี้ ยังท้องฟ้าภูเขาและ

ต้นไม้ใหญ่อันเป็นเจ้าไพร พร้อมทั้งสาคร ตลอดทั้ง

เมทนีดล ให้หวั่นไหว มาตลีเทพสารถีนั้น รีบเข้า

ไปในยาศรมอย่างนี้แล้ว กระทำผ้าทิพประพารเฉวียง

ป่าข้างหนึ่งแล้วกล่าวกะท่านโกสิยดาบส ผู้เป็นพหูสูต

ผู้เจริญ มีวัตรอันแนะนำดีแล้ว ผู้เป็นพราหมณ์ ผู้

ประเสริฐว่า ข้าแต่ท่านโกสิยดาบส เชิญท่านฟังพระ

ดำรัสของพระอินทร์ ข้าพเจ้าเป็นทูต ท้าวปุรินททะ

ตรัสถามท่านว่า ข้าแต่ท่านโกสิยดาบส เว้นนางอาสา

เทพธิดา นางศรัทธาเพทธิดาและนางสิริเทพธิดา นาง

หิริเทพธิดาผู้เดียวได้สุธาโภชน์ เพราะเหตุอะไร.

[๒๙๐] ดูก่อนมาตลีเทพสารถี นางสิริเทพธิดา

ตอบอาตมาว่า "แน่" ส่วนนางศรัทธาเทพธิดาตอบ

อาตมาว่า "ไม่เที่ยง" นางอาสา อาตมาเข้าใจว่าเป็นผู้

กล่าวเคลื่อนคลานจากความจริง ส่วนนางหิริเทพธิดา

ตั้งอยู่ในคุณอันประเสริฐ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 460

[๒๙๑] นางกุมารีก็ดี หญิงที่สกุลรักษาแล้วก็ดี

หญิงหม้ายก็ดี หญิงมีสามีก็ดี รู้ฉันทราคะ ที่เกิดแรง

กล้าในบุรุษทั้งหลาย แล้วห้ามกันจิตของตนได้ด้วยหิริ

เปรียบเหมือนบรรดาพวกนักรบผู้แพ้ในสนานรบ ที่ต่อ

สู้กันด้วยลูกศรและหอกแล้วล้มลงและกำลังหนีไป

นักรบเหล่าใดยอมสละชีวิตกลับมาได้ด้วยหิริ นักรบ

เหล่านั้นเป็นของคนละอายใจ ย่อมมารับนายอีก

ฉะนั้น นางหิริเทพธิดานี้ เป็นผู้ห้ามนรชนเสียจาก

บาป เปรียบเหมือนทำนบเป็นที่กั้นกระแสน้ำเชี่ยวไว้

ได้ ฉะนั้น ดูก่อนเทพสารถี เพราะเหตุนั้น ท่านจง

กราบทูลแด่พระอินทร์ว่า นางหิริเทพธิดานั้น อันท่าน

ผู้ประเสริฐ บูชาแล้วในโลกทั้งปวง.

[๒๙๒] ข้าแต่ท่านโกสิยดาบสผู้แสวงหาคุณอัน

ยิ่งใหญ่ ท้าวมหาพรหม ท้าวมหินทร์ หรือท้าวปชาบดี

ใครเล่าเข้าใจความเห็นนั้นของพระคุณเจ้า นางหิริเทพ.

ธิดานี้เป็นธิดาของท่าวมหินทร์ ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้

ประเสริฐสุดแม้ในเทวดาทั้งหลาย.

[๒๙๓] ขอเชิญพระคุณเจ้ามาขึ้นรถอันเป็นของ

ข้าพเจ้านี้ ไปสู่ไตรทิพย์ในกาลบัดนี้เถิด ข้าแต่ท่านผู้

มีโคตรเสมอด้วยพระอินทร์ ทั้งพระอินทร์ก็ทรงหวัง

พระคุณเจ้าอยู่ ขอพระคุณเจ้าจงถึงความเป็นสหายกับ

พระอินทร์ในวันนี้เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 461

[๒๙๔] สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่กระทำบาปกรรมย่อม

หมดจดได้ด้วยอาการอย่างนี้ อนึ่ง ผลของกรรมที่

บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมไม่เสื่อมสูญ สัตว์เหล่าใด

เหล่าหนึ่งได้เห็นสุธาโภชน์แล้ว สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด

ทีเดียว ถึงความเป็นสหายกับพระอินทร์.

[๒๙๕] นางหิริเทพธิดาเป็นนางอุบลวรรณา

โกสิยดาบสเป็นภิกษุเจ้าของทาน ปัญจสิขเทพบุตร

เป็นพระอนุรุทธะ มาตลีเทพสารถีเป็นพระอานนท์

สุริยเทพบุตรเป็นพระกัสสป จันทเทพบุตรเป็นพระ-

โมคคัลลานะ นารทดาบส เป็นพระสารีบุตร ท้าว

วาสวะเป็นพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนี้แล.

จบสุธาโภชนชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 462

อรรถกถาสุธาโภชนชาดก

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภ

ภิกษุผู้มีอัธยาศัยในการบำเพ็ญทานรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม

ต้นว่า นคุตฺตเม คิริวเร คนฺธมาทเน ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้นเป็นกุลบุตรคนหนึ่งในเมืองสาวัตถี ได้ฟัง

พระธรรมเทศนาของพระศาสดา จิตเลื่อมใสแล้ว จึงออกบวชกระทำศีลให้

บริบูรณ์ประกอบด้วยธุดงคคุณ มีเมตตาจิตแผ่ไปในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย

เป็นผู้ไม่ประมาทในการบำรุงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ วันละ

๓ ครั้ง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยมรรยาท มีอัธยาศัยชอบในการให้ทานได้บำเพ็ญ

สาราณียธรรมจนครบบริบูรณ์แล้ว ภิกษุรูปนั้นเมื่อปฏิคาหกทั้งหลายยังมีอยู่

ย่อมให้สิ่งของที่ตนได้แล้วจนหมดสิ้น แม้ตนเองถึงกับอดอาหาร เพราะฉะนั้น

เธอจึงได้ปรากฏในหมู่ภิกษุว่า เป็นผู้มีอัธยาศัยในการจำแนกทาน ยินดียิ่งในทาน.

ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย ภิกษุชื่อโน้นเป็นผู้มีอัทธยาศัยในการจำแนกทาน ยินดียิ่งแล้วในทาน

ตัดความโลภเสียได้แล้ว มีน้ำประมาณเพียงซองมือหนึ่งที่ตนได้มา ก็ถวาย

แก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายจนหมด เธอมีอัธยาศัยดุจพระโพธิสัตว์ พระ-

ศาสดาทรงได้ยินถ้อยคำนั้นด้วยพระโสตธาตุเพียงดังทิพย์ จึงเสด็จออกจาก

พระคันธกุฎีเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุม

สนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึง

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เมื่อชาติก่อน เป็นผู้ไม่ให้ทานเป็นประจำ

เป็นผู้ตระหนี่ ไม่ให้ของอะไร ๆ แก่ใคร ๆ แม้หยาดน้ำมันด้วยปลายหญ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 463

ต่อมาเราได้ทรมานเธอกระทำให้หมดพยศ พรรณนาผลแห่งทาน ให้ตั้งอยู่ใน

ทานแล้ว เธอได้รับพรในสำนักแห่งเราว่า แม้ได้น้ำมาเล็กน้อยเพียงซองมือ

หนึ่ง ยังมิได้ให้ทานแล้ว ก็จักไม่ดื่มน้ำนั้น ด้วยผลแห่งการที่ได้รับพรในสำนัก

ของเรานี้ เธอจึงเป็นผู้มีอัธยาศัยในการจำแนกทาน เป็นผู้ยินดียิ่งแล้วในทาน

ครั้นตรัสฉะนี้แล้ว ทรงดุษณีภาพนิ่งอยู่ เมื่อพวกภิกษุผู้ฉลาดด้วยอนุสนธิใน

เรื่องเทศนาเหล่านั้น กราบทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ในพระนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นคฤหบดีคนหนึ่ง เป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก

มีโภคสมบัติประมาณ ๘๐ โกฏิ ภายหลังพระราชาได้ทรงพระราชทานตำแหน่ง

เศรษฐีแก่พระโพธิสัตว์นั้น เศรษฐีนั้นได้เป็นผู้อันพระราชาทรงบูชาแล้ว

และอันชาวเมืองชาวชนบทนับถือบูชาแล้ว วันหนึ่ง เธอแลดูสมบัติของตนแล้ว

คิดว่า ยศนี้เรามิได้นอนหลับอยู่ได้แล้ว หรือว่าเราทำกายที่จริตเป็นต้นไว้ใน

อดีตภพแล้วได้มาก็หามิได้ เขาบำเพ็ญกายสุจริตเป็นต้นให้บริบูรณ์แล้วจึง

ได้มา แม้ในอนาคตกาลเล่า เราก็ควรจะกระทำที่พึ่งของเรา เธอจึงไปยังสำนัก

ของพระราชากราบทูลว่า ขอเดชะ ทรัพย์ในเรือนของข้าพระองค์มีอยู่ถึง ๘๐

โกฏิ ขอพระองค์จงรับทรัพย์นั้นไว้ เมื่อพระราชาตรัสสั่งว่า เราไม่มีความ

ต้องการทรัพย์ของท่าน ทรัพย์ของเราก็มากมายอยู่แล้ว ตั้งแต่นี้ไป ท่าน

ปรารถนาสิ่งใด ก็จงถือเอาสิ่งนั้นเถิด จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์

จะได้ให้ทรัพย์ของข้าพระองค์เป็นประโยชน์อย่างไรดีหนอ ลำดับนั้น พระราชา

จึงตรัสว่า ท่านจงกระทำตามความพอใจเถิด ดังนี้ เธอจึงให้สร้างศาลาทาน

ขึ้น ๖ แห่ง คือที่ประตูพระนคร ๔ แห่ง ที่ท่ามกลางพระนคร ๑ แห่ง และ

ที่ประตูเรือนของตน ๑ แห่ง กระทำการบริจาคทรัพย์วันละหกแสน บำเพ็ญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 464

มหาทานอยู่ทุก ๆ วัน เธอให้ทานอยู่อย่างนี้จนตลอดชีวิต แล้วสั่งสอนพวก

ลูก ๆ ว่า เจ้าอย่าได้ตัดทานวงศ์นี้ของเราเสีย ครั้นสิ้นชีวิตแล้วได้ไปบังเกิด

เป็นท้าวสักกเทวราช แม้บุตรของเศรษฐีนั้นก็ให้ทานเหมือนบิดาฉะนั้น ครั้น

ทำลายขันธ์ก็ไปบังเกิดเป็นพระจันทเทพบุตร บุตรของพระจันทเทพบุตรก็

บำเพ็ญทานเหมือนบิดา ได้บังเกิดเป็นสุริยเทพบุตรแล้ว บุตรแห่งสุริยเทพบุตร

นั้นบำเพ็ญทานเหมือนบิดาก็ได้บังเกิดเป็นพระมาตลีเทพบุตร บุตรแห่งพระ-

มาตลีก็บำเพ็ญทานเหมือนบิดา บังเกิดเป็นปัญจสิขเทพบุตร.

ส่วนบุตรคนที่ ๖ แห่งปัญจสิขเทพบุตรนั้นได้เป็นเศรษฐีมีนามว่า

มัจฉริยโกสิยะ มีทรัพย์สมบัติถึง ๘๐ โกฏิ เศรษฐีนั้นเป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น

มานึกว่า บิดาและปู่ของเราเป็นคนพาล ทิ้งทรัพย์ที่แสวงหามาด้วยความลำบาก

เสียแล้ว ส่วนเราจักรักษาทรัพย์ไว้ จักไม่ให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ เลย จึงให้รื้อ

โรงทานทั้ง ๖ แห่งนั้นเผาไฟเสียสิ้น ลำดับนั้น พวกยาจกมาประชุมกันที่ประตู

เรือนของเศรษฐีนั้น ยกแขนทั้งสองขึ้นร้องคร่ำครวญด้วยเสียงอันดังว่า ข้าแต่

มหาเศรษฐีขอท่านจงอย่ากระทำทานวงศ์แห่งบิดาและปู่ของตนให้ฉิบหายเสียเลย

ท่านจงให้ทานเถิด มหาชนได้ยินก็พากันติเตียนเศรษฐีนั้นว่า มัจฉริยโกสิยเศรษฐี

ตัดทานวงศ์ของตนเสียแล้ว เศรษฐีนั้นก็มีความละอายได้ตั้งคนรักษาไว้เพื่อคอย

ห้ามยาจกผู้มาที่ประตูเรือน พวกยาจกเหล่านั้นหมดที่พึ่งก็มิได้มองดูประตูเรือน

ของเศรษฐีนั้นอีกเลย จำเดิมแต่นั้นมา เขาก็รวบรวมทรัพย์เองทีเดียว ไม่บริโภค

ด้วยตนเอง ทั้งไม่ให้บุตรและภรรยาเป็นต้นบริโภคอีกด้วย ตนเองบริโภค

ข้าวปลายเกรียนปนรำ มีน้ำส้มพะอูมเป็นกับข้าว นุ่งผ้าเนื้อหยาบที่ช่างหูกทอ

สักว่าเป็นดังรากไม้ผลไม้ กั้นร่มใบตาล ใช้รถเก่าคร่ำคร่าเทียมด้วยโคแก่เป็น

ยานพาหนะ ทรัพย์อันเป็นของเศรษฐีผู้เป็นอสัตบุรุษนั้นได้เป็นดังสุนัขได้ผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 465

มะพร้าวด้วยประการฉะนี้.

วันหนึ่ง มัจฉริยโกสิยเศรษฐีนั้น เมื่อจะไปสู่ที่เฝ้าพระราชาคิดว่า

เราจะไปชวนอนุเศรษฐีไปด้วย จึงได้ไปยังเรือนของอนุเศรษฐีนั้น ใน

ขณะนั้น อนุเศรษฐีแวดล้อมด้วยบุตรธิดา กำลังบริโภคข้าวปายาสที่ปรุง

ด้วยของที่เจือด้วยเนยใสใหม่ น้ำผึ้งสุกและน้ำตาลกรวด อนุเศรษฐีนั้น

ครั้นเห็นมัจฉริยโกสิยเศรษฐีมาจึงลุกจากอาสนะ กล่าวว่า เชิญท่านมหาเศรษฐี

มานั่งที่บัลลังก์นี้ เชิญบริโภคข้าวปายาสด้วยกัน มหาเศรษฐีพอเห็นข้าวปายาส

นั้นก็เกิดน้ำลายไหล อยากจะใคร่บริโภคบ้าง แต่มาคิดอย่างนี้ว่า ถ้าเราบริโภค

เราก็จะต้องกระทำสักการะตอบแทนในเวลาที่อนุเศรษฐีไปยังเรือนของเรา เมื่อ

เป็นเช่นนี้ทรัพย์ของเราก็จักพินาศ เราจักไม่บริโภคละ ลำดับนั้นมหาเศรษฐี

แม้ถูกอนุเศรษฐีอ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ จึงกล่าวกะอนุเศรษฐีนั้นว่า เราพึ่งบริโภค

มาเดี๋ยวนี้เอง เรายังอิ่มอยู่ แล้วมิได้ปรารถนาจะบริโภค แต่เมื่ออนุเศรษฐี

บริโภคอยู่ มหาเศรษฐีนั่งมองดูอยู่มีน้ำลายไหลออกจากปาก เมื่อเสร็จภัตกิจ

ของอนุเศรษฐี จึงไปยังพระราชนิเวศน์ด้วยกัน กลับจากพระราชนิเวศน์มาถึง

เรือนของตน ถูกความอยากในรสแห่งข้าวปายาสบีบคั้นอยู่ จึงคิดว่า ถ้าเรา

จักพูดว่า เราอยากบริโภคข้าวปายาส มหาชนก็จะพลอยอยากบริโภคกับเราด้วย

สิ่งของเป็นอันมากมีข้าวสารเป็นต้นก็จักหมดเปลืองไป เราจักไม่บอกแก่ใคร ๆ

มหาเศรษฐีนั้นคิดถึงแต่ข้าวปายาสอยู่อย่างเดียว ทำคืนและวันให้ล่วงไป มิได้

บอกแก่ใคร ๆ เพราะกลัวทรัพย์จะหมด อดกลั้นความอยากไว้ เมื่อไม่อาจจะ

อดกลั้นโดยลำดับได้ ก็เป็นผู้มีโรคผอมเหลืองเกิดขึ้น แม้เมื่อเป็นเช่นนี้

มหาเศรษฐีก็ไม่บอกใครเพราะกลัวทรัพย์จะหมดไป ในเวลาต่อมาก็เป็นผู้หมด

กำลัง จึงเข้าไปสู่ที่นอนแล้วแอบซ่อนนอนอยู่.

ลำดับนั้น ภรรยาจึงเข้าไปใกล้มหาเศรษฐีนั้นแล้วเอามือบีบนวดพลาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 466

ถามว่า ข้าแต่นาย ท่านไม่สบายเป็นอะไรไปหรือ. ไม่เป็นอะไรหรอกนาง

ผู้เจริญ. ความไม่สบายในร่างกายของท่านเองมีอยู่หรือ. ความไม่สบาย

ในร่างกายของเราก็ไม่มี. ข้าแต่นาย ท่านเป็นผู้ผอมเหลืองเกิดขึ้นแล้ว

ท่านมีความคิดอะไรบ้างหรือ หรือว่าพระราชากริ้วท่านหรือพวกลูก ๆ

กระทำการดูหมิ่น หรือความอยากอะไรบังเกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน. เออความ

อยากเกิดขึ้นแล้วแก่เรา. ถ้าเช่นนั้นขอท่านจงบอกมาเถิด. ท่านจักอาจรักษา

ถ้อยคำของเราไว้ได้หรือ. ถ้าเป็นวาจาที่ข้าพเจ้าควรจะรักษา ข้าพเจ้าก็

จักรักษาไว้ แม้เมื่อภรรยากล่าวรับรองอยู่อย่างนี้ มหาเศรษฐีก็ไม่อาจจะ

บอกได้เพราะกลัวเสียทรัพย์ ครั้นถูกภรรยารบเร้าอยู่บ่อย ๆ จึงได้บอกว่า

ดูก่อนนางผู้เจริญ วันหนึ่ง เราเห็นอนุเศรษฐีบริโภคข้าวปายาสที่ปรุงด้วยของ

อันเจือด้วยเนยใสใหม่น้ำผึ้งน้ำตาลกรวด จำเดิมแต่วันนั้นมา ก็เกิดอยากจะ

บริโภคข้าวปายาสอย่างนั้นบ้าง. ดูก่อนท่านผู้เป็นอสัตบุรุษ ตัวท่านยากจน

นักหรือ ข้าพเจ้าจักหุงข้าวปายาสให้เพียงพอแก่ชาวพระนครทั้งสิ้น. คราวนั้น

ได้เป็นดุจดังว่ากาลที่มหาเศรษฐีถูกตีที่ศีรษะด้วยท่อนไม้ เขาโกรธภรรยามาก

กล่าวว่า เรารู้อยู่ว่าท่านเป็นผู้มีทรัพย์มาก ถ้าว่าทรัพย์ที่นำมาจากเรือนสกุล

ของท่านมีอยู่ ท่านจงหุงข้าวปายาสแจกแก่ชาวเมืองทั้งหลายเถิด. ถ้าเช่นนั้น

ข้าพเจ้าจะหุงให้พอแก่ชาวบ้านผู้อยู่ในถนนเดียวกัน. ประโยชน์อะไรด้วยชน

เหล่านั้นแก่ท่าน พวกเขาก็จงกินของของตนเองซิ. ถ้าอย่างนั้นข้าพเจ้าจะหุง

ให้พอแก่ชนผ้อยู่รอบเรือนข้างละเจ็ด ๆ ตั้งแต่เรือนนี้ไป. ท่านจะประโยชน์

อะไรด้วยชนเหล่านั้น . ถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าจะหุงให้เฉพาะท่านและข้าพเจ้าเพียง

สองคนเท่านั้น. ตัวท่านเป็นอะไรเล่า ข้าวปายาสนี้ไม่สมควรแก่ท่าน. ครั้น

ภรรยากล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าจะหุงให้พอแก่ท่านคนเดียวเท่านั้น.

มหาเศรษฐีจึงกล่าวว่า ก็ถ้าท่านจะหุงเฉพาะเราคนเดียวแล้ว จงอย่าหุง

ในเรือนนี้เลย ด้วยว่าเมื่อท่านหุงในเรือนนี้ ชนมากมายก็คอยหวังจะบริโภค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 467

ก็ท่านจงเอาแป้งข้าวสารของเราแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน น้ำตาลกรวดสักหยิบมือ

หนึ่ง นมเนยและน้ำผึ้งอย่างละขวดกับภาชนะสำหรับหุงใบหนึ่งให้แก่เรา เราจัก

เข้าไปสู่ป่า หุงในที่นั้นแล้วบริโภค ภรรยาได้กระทำตามคำสั่งทุกประการ เศรษฐี

ให้คนใช้เอาผ้าห่อของนั้นทั้งหมดแล้วให้ถือไปส่ง แล้วกล่าวว่า เจ้าจงไปยืน

อยู่ในที่โน้น ส่งคนใช้ไปข้างหน้าแล้วไปแต่ผู้เดียว เอาผ้าคลุมแปลงเพศไม่ให้

ใครรู้จักไปถึงที่ป่านั้น ให้คนใช้ทำเตาที่โคนกอไม้แห่งหนึ่งริมแม่น้ำ ให้หา

ฟืนและน้ำมาแล้วบอกว่า เจ้าจงไปยืนอยู่ที่หนทางแห่งหนึ่ง ถ้าเห็นใคร ๆ มา

พึงให้สัญญาแก่เรา อนึ่ง เมื่อเวลาที่เราร้องเรียกเจ้าจึงค่อยมา ส่งคนใช้ไปแล้ว

จึงคิดไฟหุงข้าวปายาส.

ในขณะนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงทอดพระเนตรสิริสมบัติของ

พระองค์อย่างนี้คือ เทพนครอันประดับแล้วประมาณหมื่นโยชน์ ถนนแล้ว

ด้วยทองคำหกสิบโยชน์ เวชยันตปราสาทสูงพันโยชน์ สุธรรมาสภากว้างห้า

ร้อยโยชน์ อาสน์หินอ่อนมีสีเหลืองดุจผ้ากัมพลเหลืองกว้างใหญ่หกสิบโยชน์

เศวตฉัตรมีพวงดอกไม้ทองเวียนรอบห้าร้อยโยชน์ นางเทพอัปสรนับได้สอง-

โกฏิครึ่ง และอัตภาพอันประดับตกแต่งแล้ว ครั้นทรงเห็นฉะนี้จึงใคร่ครวญว่า

ยศนี้เราได้มาเพราะกระทำอะไรหนอ จึงได้ทรงเห็นทานที่พระองค์บำเพ็ญให้

เป็นไป เมื่อเป็นเศรษฐีในเมืองพาราณสี ในลำดับนั้น จึงทรงตรวจดูต่อไปว่า

ชนทั้งหลายมีบุตรของเราเป็นต้นเกิดแล้วในที่ไหน ได้ทอดพระเนตรเห็นที่เกิด

ของชนทั้งปวงคือ บุตรของเราได้เกิดเป็นจันทเทพบุตร บุตรของจันท

เทพบุตรเกิดเป็นสุริยะ บุตรของสุริยะเกิดเป็นมาตลี บุตรของมาตลีเกิดเป็น

ปัญจสิขคันธัพพเทพบุตร จึงทรงตรวจดูต่อไปว่า บุตรของปัญจสิขเทพบุตร

เป็นเช่นไร ก็ได้ทรงเห็นบุตรของปัญจสิขเทพบุตรเป็นผู้เข้าไปตัดวงศ์ทานของ

พระองค์เสีย ลำดับนั้น พระองค์จึงทรงปริวิตกว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 468

ตระหนี่ มิได้บริโภคด้วยตนเอง ทั้งไม่ให้แก่ชนเหล่าอื่นด้วย เข้าไปตัดทานวงศ์

ของเราเสีย ทำกาลกิริยาแล้วจักไปบังเกิดในนรก เราจักให้โอวาทแก่เขา จัก

ให้ประดิษฐานทานวงศ์ของเราต่อไป จักทำเหตุอันจะให้เขามาเกิดในเทพนครนี้

ท้าวเธอจึงให้เรียกจันทเทพบุตรเป็นต้นมา แล้วจึงมีบัญชาสั่งว่า เธอทั้งหลาย

จงมา เราจักไปยังมนุษยโลกด้วยกัน มัจฉริยโกสิยเศรษฐีเข้าไปตัดวงศ์ของพวก

เราเสียแล้ว ให้เผาโรงทานเสียสิ้น ตนเองก็ไม่บริโภค พวกชนเหล่าอื่นก็ไม่

ให้เขาเลย ก็บัดนี้เขาเป็นผู้ใคร่จะบริโภคข้าวปายาส คิดว่า เมื่อหุงข้าวปายาส

ในเรือนก็จะต้องให้ข้าวปายาสแก่คนอื่นบ้าง จึงเข้าป่าหุงกินแต่คนเดียว เราจัก

ทรมานเศรษฐีนี้ กระทำให้รู้จักผลของทานแล้วจักกลับมา ก็แต่ว่าเศรษฐีนี้

เมื่อถูกพวกเราทั้งหมดขออยู่พร้อม ๆ กัน ก็จะพึงตายเสียในที่นั้นทีเดียว ใน

เวลาที่เราไปขอข้าวปายาสนั่งอยู่ก่อนแล้ว พวกท่านพึงแปลงเป็นพราหมณ์ไปขอ

โดยลำดับเถิด ครั้นสั่งแล้วท้าวเธอก็เนรมิตเพศเป็นพราหมณ์เข้าไปหาเศรษฐี

นั้นก่อน แล้วถามว่า หนทางที่จะไปยังเมืองพาราณสีไปทางไหน ท่านผู้เจริญ.

ลำดับนั้น มัจฉริยโกสิยเศรษฐีจึงกล่าวกะท้าวเธอว่า ท่านเป็นคนบ้า

หรือ จึงไม่รู้จักแม้จนกระทั่งทางไปเมืองพาราณสี จะมาทำอะไรทางนี้เล่า

จงไปทางโน้นซิ ท้าวสักกะทรงสดับถ้อยคำของเขาแล้ว ทำเป็นเหมือนไม่ได้ใน

ตรัสถามว่า ท่านพูดว่าอย่างไร แล้วก็เดินกระเถิบเข้าไปใกล้เขาอีก แม้เศรษฐี

นั้นก็ร้องตะโกนว่า แน่ะพราหมณ์หูหนวกคนร้าย ท่านจะมาทำไมทางนี้เล่า จง

ไปข้างหน้าซิ ลำดับนั้นท้าวสักกะจงกล่าวกะเขาว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่าน

ร้องเอะอะทำไม ควันและไฟยังปรากฏอยู่ ท่านคงหุงข้าวปายาสสุกแล้ว ชะรอย

ว่าคงจะนิมนต์พราหมณ์ทั้งหลายมาฉันในที่นี้ ในเวลาที่พวกพราหมณ์ฉันแล้ว

แม้ข้าพเจ้าก็จักพลอยได้บริโภคสักหน่อยหนึ่ง ท่านไม่นิมนต์ข้าพเจ้าบ้างหรือ

เศรษฐีตอบว่า การนิมนต์พวกพราหมณ์ในที่นี้ไม่มีเลย ท่านจงไปข้างหน้าเถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 469

ท้าวสักกะจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นท่านโกรธข้าพเจ้าทำไม ในเวลาที่ท่านบริโภค

แล้ว ข้าพเจ้าก็คงจักได้บริโภคบ้างสักเล็กน้อย ลำดับนั้นเศรษฐีหมายเอาอาหาร

ที่ตนขอภรรยาได้มาแล้ว จึงกล่าวกะท้าวสักกะนั้นว่า ข้าพเจ้าจักไม่ให้แม้เพียง

เมล็ดเดียวแก่ท่าน ภัตนี้มีน้อยพอข้าพเจ้าบริโภคเพียงคนเดียวเท่านั้น อนึ่ง

ก็ภัตนี้ข้าพเจ้าก็ต้องขอเขาจึงได้มา ท่านจงแสวงหาอาหารของท่านจากที่อื่น

เถิด แล้วกล่าวคาถาว่า

ข้าพเจ้าจะไม่ซื้อ จะไม่ขาย อนึ่ง แม้ความสั่ง

สมของข้าพเจ้า ในที่นี้ก็ไม่มีเลย ภัตนมีนิดหน่อย

ทั้งหาได้แสนยากยิ่งนัก ข้าวสุกแล่งหนึ่งนิทาพอแก่เรา

สองคนไม่.

ท้าวสักกะได้ทรงสดับคำนั้น จึงรับสั่งว่า ข้าพเจ้าจักกล่าวโศลกสักบท

หนึ่งด้วยเสียงอันไพเราะให้ท่าน ขอท่านจงฟังโศลกคาถาสรรเสริญคุณนั้น เมื่อ

เศรษฐีนั้นกำลังคัดค้านห้ามปรามอยู่ที่เดียวว่า ข้าพเจ้ามิได้มีความต้องการด้วย

โศลกคาถาสรรเสริญของท่าน ท้าวเธอก็ได้กล่าวคาถาสองคาถาว่า

บุคคลควรแบ่งของน้อยให้ตามน้อย ควรแบ่ง

ของส่วนกลางให้ตามส่วนกลาง ควรแบ่งของมากให้

ตามมาก การไม่ให้เสียเลยหาควรไม่ ดูก่อนโกสิย-

เศรษฐี เพราะเหตุฉะนั้น ข้าพเจ้าจะบอกกะท่าน ท่าน

จงขึ้นสู่หนทางของพระอริยเจ้า จงให้ทานและจง

บริโภค เพราะผู้บริโภคคนเดียวหาได้ความสุขไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุมชฺฌโต มชฺฌก ความว่า แม้

ของมีประมาณน้อย บุคคลควรแบ่งออกในท่ามกลางกระทำให้เป็นสองส่วน

ให้ทานเสียส่วนหนึ่ง แม้ส่วนที่เหลืออยู่จากส่วนที่ให้ทานไปแล้วนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 470

พึงแบ่งออกในท่ามกลาง แม้จากส่วนกลางอันน้อยนั้นอีกครั้งหนึ่ง พึงให้ส่วน

หนึ่งทีเดียว. บทว่า อทาน นูปปชฺชติ ความว่า สิ่งที่ให้ทานนั้นจะน้อย

หรือมากก็ตาม ก็เป็นอันได้ชื่อว่าให้แล้ว ขึ้นชื่อว่าการไม่ให้เสียเลยย่อมไม่ควร

ทานแม้นั้นย่อมมีผลมากทีเดียว.

มัจฉริยโกสิยเศรษฐี สดับคำของท้าวสักกะนั้นแล้วจึงกล่าวว่า ดูก่อน

พราหมณ์ ท่านพูดจาน่าพอใจมาก เมื่อข้าวปายาสสุกแล้ว ท่านจักได้หน่อยหนึ่ง

ท่านจงนั่งลงเถิด ท้าวสักกะจึงนั่งลง ณ สถานที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท้าว

สักกะนั่งแล้ว จันทเทพบุตรจึงเข้าไปใกล้เศรษฐีโดยทำนองนั้นทีเดียว ยังถ้อย

คำให้เป็นไปเหมือนอย่างนั้น เมื่อเศรษฐีนั้นคัดค้านห้ามปรามอยู่ ได้กล่าว

คาถาสองคาถาว่า

บุคคลใด เมื่อแขกนั่งแล้ว บริโภคโภคชนะอยู่แต่

ผู้เดียว พลีกรรมของบุคคลผู้นั้นย่อมไร้ผล ทั้งความ

เพียรแสวงหาทรัพย์ก็ไร้ประโยชน์ ดูก่อนโกสิยเศรษฐี

เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจะขอบอกกะท่าน ท่านจงขึ้น

สู่หนทางของพระอริยเจ้า จงให้ทานและบริโภค

เพราะผู้บริโภคคนเดียวหาได้ความสุขไม่.

คำว่า ความเพียรแสวงหาทรัพย์ ในคาถานั้น หมายเอาความเพียร

ที่ให้เกิดทรัพย์.

เศรษฐีฟังคำของจันทเทพบุตรนั้นแล้ว ก็ได้กล่าวถ้อยคำอย่างนั้น

เหมือนกัน แล้วจึงพูดด้วยความลำบากยากแค้นว่า ถ้าอย่างนั้นท่านจงนั่ง

ลงเถิด ท่านจักได้หน่อยหนึ่ง จันทเทพบุตรไปนั่งในสำนักของท้าวสักกะ

ในลำดับนั้น สุริยเทพบุตรจึงเข้าไปบอกเศรษฐีนั้นโดยทำนองนั้นเหมือนกัน

แล้วจึงกล่าวเหมือนอย่างนั้น เมื่อเศรษฐีนั้นกำลังคัดค้านห้ามปรามอยู่ทีเดียว

ได้กล่าวคาถาสองคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 471

ผู้ใดเมื่อแขกนั่งแล้ว มิได้บริโภคโภชนะแต่ผู้

เดียว พลีกรรมของผู้นั้นย่อมมีผลจริง ทั้งความเพียร

แสวงทาทรัพย์ก็ย่อมมีประโยชน์โดยแท้ ดูก่อนโกสิย-

เศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจะขอกล่าวกะท่าน ท่าน

จงขึ้นสู่หนทางของพระอริยเจ้า จงให้ทานและจง

บริโภค เพราะผู้บริโภคคนเดียวหาได้ความสุขไม่.

เศรษฐีได้สดับคำของสุริยเทพบุตรนั้นแล้ว จึงพูดด้วยความลำบากยาก

เย็นว่าถ้าอย่างนั้นท่านจงนั่งลงเถิด จักได้หน่อยหนึ่ง สุริยเทพบุตรนั้นจึงไปนั่ง

ในสำนักจันทเทพบุตร ลำดับนั้น มาตลีเทพบุตร จึงเข้าไปหาเศรษฐีนั้นโดย

อุบายอย่างเดียวกันนั้นแล แล้วกล่าวถ้อยคำเหมือนอย่างนั้น เมื่อเศรษฐีนั้น

กำลังคัดค้านห้ามปรามอยู่ทีเดียว ก็ได้กล่าวคาถาเหล่านั้นว่า

ก็บุรุษไปสู่สระแล้วบูชาที่แม่น้ำชื่อพหุกาก็ดี ที่

สระชื่อคยาก็ดี ที่ท่าชื่อโทณะก็ดี ที่ท่าชื่อติมพรุก็ดี

ที่ห้วงน้ำใหญ่ มีกระแสอันเชี่ยวก็ดี การบูชาและความ

เพียรของเขาในที่นั้น ๆ ย่อมมีผลมีกำไรได้ ผู้ใดเมื่อ

แขกนั่งแล้ว ไม่บริโภคโภชนะแต่คนเดียว จะกล่าว

ว่าไร้ผลนั้นไม่ได้ ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น

ข้าพเจ้าจะขอพูดกะท่าน ท่านจงขึ้นสู่หนทางของพระ

อริยเจ้าจงให้ทานด้วย จงบริโภคด้วย เพราะผู้กินคน

เดียวหาได้ความสุขไม่.

เนื้อความแห่งคาถาเหล่านั้นว่า บุรุษใดคิดว่าเราจักกระทำพลีกรรมแก่

นาคและยักษ์เป็นต้น จึงเข้าไปสู่สระแห่งใดแห่งหนึ่ง ในบรรดาสมุทร แอ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 472

และสระโบกขรณีเป็นต้นแล้วบูชาอยู่ กระทำพลีกรรมอยู่ในที่นั้น ๆ อนึ่ง บุคคล

บูชาอยู่ที่แม่น้ำชื่อพหุกา ที่สระโบกขรณีชื่อคยา หรือที่ท่าโทณะก็ดี ที่ท่าชื่อ

ติมพรุก็ดี หรือที่ห้วงน้ำใหญ่มีกระแสอันเชี่ยวก็ดี. บทว่า อตฺร จสฺส ความว่า

ถ้าว่าการบูชาและความเพียรของบุรุษนั้นใน. คือนั้น ๆ คือในสระเป็นต้นเหล่านั้น

ย่อมมี คือมีผลกำไรถึงพร้อมอยู่ไซร้ คำที่บุคคลจะพึงกล่าวในคำนี้ว่า ผู้ใดเมื่อ

แขกนั่งแล้ว ไม่บริโภคโภชนะแต่คนเดียวย่อมไร้ผลดังนี้ ก็จะไม่มีเลย ดูก่อน

โกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจะขอบอกกะท่าน ท่านจงให้ทาน ด้วย จง

บริโภคเองด้วย ท่านจงขึ้นสู่ทางของพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

ผู้ยินดียิ่งแล้วในทาน เพราะว่า ผู้กินคนเดียว คือผู้บริโภคอยู่แต่เพียงคนเดียว

ย่อมไม่ได้รับความสุขเลย.

เศรษฐีสดับคำของมาตลีเทพบุตรนั้นแล้ว ประหนึ่งถูกยอดภูเขาทับ

จึงพูดด้วยความลำบากใจว่า ถ้าอย่างนั้นท่านจงนั่งลงเถิด จักได้หน่อยหนึ่ง

มาตลีเทพบุตรจึงไปนั่งในที่ใกล้กับสุริยเทพบุตร ในลำดับนั้น ปัญจสิขเทพ

บุตรจึงเข้าไปหาเศรษฐีโดยทำนองนั้นอีก แล้วกล่าวถ้อยคำเหมือนอย่างนั้น

เมื่อเศรษฐีกำลังคัดค้านห้ามปรามอยู่ทีเดียว จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

ผู้ไดเมื่อแขกนั่งแล้ว บริโภคโภชนะอยู่แต่ผู้เดียว

ผู้นั้นเท้ากับกลืนกินเบ็ดอันมีสายยาวพร้อมทั้งเหยื่อ

ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าขอบอกกะ

ท่านท่านจงขึ้นสู่หนทางของพระอริยเจ้า จงให้ทานด้วย

จงบริโภคด้วย เพราะผู้กินคนเดียวหาได้ความสุขไม่.

มัจฉริยโกสิยเศรษฐีได้สดับคำนั้น ทอดถอนใจอยู่ด้วยกำลังแห่งความ

ทุกข์ทีเดียว กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงนั่งลงเถิด จักได้หน่อยหนึ่ง ปัญจสิข-

เทพบุตรจึงไปนั่งในที่ใกล้มาตลีเทพบุตร เมื่อพราหมณ์ทั้ง ๕ คนเหล่านั้นพอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 473

นั่งพร้อมกันเท่านั้น ข้าวปายาสก็สุกพอดีด้วยประการฉะนี้ ลำดับนั้นโกสิยเศรษฐี

จึงยกข้าวปายาสนั้นลงจากเตาแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงนำใบไม้มาไม้เราเถิด

พราหมณ์เหล่านั้นมิได้ลุกขึ้น นั่งอยู่ในที่เดิมนั่นแลเหยียดมือไปนำใบย่างทราย

มาจากป่าหิมวันต์ โกสิยเศรษฐีเห็นใบไม้ใหญ่นัก จึงพูดว่า ข้าวปายาสนี้

เราควรจะให้แก่ท่านในใบไม้เหล่านั้นไม่มี ท่านจงนำใบตะเคียนเป็นต้นมา

พราหมณ์เหล่านั้นก็นำเอาใบไม้ทั้งหลายมาแล้ว ใบไม้แต่ละใบที่นำมานั้นใหญ่

ประมาณเท่าโล่ของทหาร โกสิยเศรษฐีนั้นจึงเอาทัพพีทักข้าวปายาสให้แก่

พราหมณ์ทั้งหมดคนละทัพพี แม้ในเวลาที่ให้แก่พราหมณ์ปัญจสิขอันเป็นคน

สุดท้ายกว่าพราหมณ์ทั้งหมด ข้าวปายาสนั้นก็หาปรากฏว่าพร่องลงไปถึงก้นหม้อ

ไม่.

เศรษฐีนั้นครั้นให้แก่พราหมณ์ทั้ง ๕ คนแล้ว ส่วนตนนั่งจับหม้อไว้

ในขณะนั้น ปัญจสิขเทพบุตรจึงลุกขึ้นแปลงร่างเป็นสุนัขเข้าไปยืนข้างหน้า

พราหมณ์เหล่านั้นถ่ายปัสสาวะแล้วก็ไป พวกพราหมณ์เอามือปิดข้าวปายาสของ

คนไว้หยาดน้ำปัสสาวะกระเซ็นถูกหลังมือของโกสิยเศรษฐี พวกพราหมณ์จึงเอา

เต้าน้ำไปตักน้ำเอามาเกลี่ยข้าวปายาส กระทำประดุจจะบริโภค โกสิยเศรษฐี

จึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงให้น้ำแก่ข้าพเจ้าบ้าง ข้าพเจ้าล้างมือแล้วจักบริโภค.

ท่านจงนำน้ำของท่านมาล้างมือแล้วบริโภคเองเถิด. ข้าพเจ้าให้ข้าวปายาสแก่

พวกท่านแล้ว ท่านจงให้น้ำแก่ข้าพเจ้าสักหน่อยหนึ่งเถิด. พวกเราชื่อว่าย่อม

ไม่กระทำกรรมคือการให้ก้อนข้าวตอบก้อนข้าว (ท่านให้ก้อนข้าวเราและเรา

ให้ก้อนข้าวตอบ). เศรษฐีกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงช่วยดูหม้อข้าว

นี้ เราไปล้างมือแล้วจักกลับมา แล้วจึงลงไปสู่แม่น้ำ ในขณะนั้น สุนัขจึงถ่าย

ปัสสาวะลงไว้จนเต็มหม้อข้าว เศรษฐีนั้นกลับมาเห็นสุนัขกำลังถ่ายปัสสาวะ

จึงถือเอาท่อนไม้ใหญ่มาขู่ตวาดสุนัขนั้นอยู่ สุนัขนั้นกลับเป็นสัตว์ใหญ่โต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 474

ประมาณเท่าม้าอาชาไนยไล่ติดตามเศรษฐีนั้น แล้วแปลงร่างเป็นสัตว์มีสีต่าง ๆ

เป็นสีดำบ้าง สีขาวบ้าง สีคล้ายทองคำบ้าง ด่างบ้าง ต่ำบ้าง สูงบ้าง เป็น

สัตว์มีสีต่าง ๆ อย่างนี้ ไล่ติดตามมัจฉริยโกสิยเศรษฐีไป เศรษฐีมีความกลัว

ต่อมรณภัย จึงเข้าไปหาพวกพราหมณ์ แม้พวกพราหมณ์เหล่านั้นก็พากันเหาะ

ขึ้นไปยืนอยู่บนอากาศ เศรษฐีเห็นอิทธิฤทธิ์ของพวกพราหมณ์เหล่านั้น จึง

กล่าวคาถาว่า

พราหมณ์เหล่านี้มีผิวพรรณงามจริงหนอ เหตุ

ไฉน สุนัขของท่านนี้จึงเปล่งรัศมีสีต่าง ๆ ได้ ข้าแต่

พราหมณ์ พวกท่านใครเล่าจะบอกข้าพเจ้าได้.

ท้าวสักกเทวราชทรงสดับคำนั้น จึงตรัสคาถาว่า

ผู้นี้คือจันทเทพบุตร ผู้นี้คือสุริยเทพบุตร และ

ผู้นี้คือมาตลีเทพสารถีมาแล้วในที่นี้ เราคือท้าวสักกะ

เป็นจอมของเทวดาพวกไตรทศ ส่วนสุนัขแลเราเรียก

ปัญจสิขเทพบุตร.

ท้าวสักกเทวราชครั้นตรัสคาถานี้แล้ว เมื่อจะทรงชมเชยยศของปัญจสิข

เทพบุตร นั้นจึงตรัสคาถาว่า

ฉิ่ง ตะโพน และเปิงมาง ย่อมปลุกเทพบุตรผู้

หลับแล้วนั้นให้ตื่นและตื่นขึ้นแล้วย่อมเพลิดเพลินใจ.

เศรษฐีได้สดับคำของท้าวสักกะนั้น จึงถามว่า ข้าแต่ท้าวสักกะ ปัญจสิข

เทพบุตรนี้ได้ทิพยสมบัติเห็นปานนี้ เพราะทำกรรมอะไรไว้ เมื่อท้าวสักกะจะ

ทรงแสดงว่าบุคคลผู้ไม่ให้ทานเป็นปกติ มีกรรมอันเป็นบาป มีความตระหนี่

จะไปเทวโลกไม่ได้ ย่อมไปเกิดในนรก จึงตรัสคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 475

ชนเหล่าใด ผู้มีความตระหนี่เหนียวแน่น มัก

บริภาษสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ชนเหล่านั้นทอดทิ้ง

สรีระร่างกายไว้ในโลกนี้แล้ว เมื่อกายแตกย่อมไปสู่

นรก.

ท้าวสักกะครั้นตรัสคาถานี้แล้ว หวังจะทรงแสดงการได้เฉพาะซึ่งเทว-

โลกของบุคคลทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในธรรม จึงตรัสคาถาว่า

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งหวังสุคติ ตั้งอยู่แล้วในธรรม

คือความสำรวมและความจำแนก ชนเหล่านั้นทอดทิ้ง

สรีระร่างกายไว้ในโลกนี้แล้ว เมื่อกายแตกย่อมไปสู่

สุคติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสีสมานา ความว่า ชนเหล่าใด

เหล่าหนึ่งเมื่อจะหวัง ย่อมหวังสุคติ ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ตั้งอยู่แล้วใน

ธรรมคือศีล ๑๐ ประการ ที่นับว่าความสำรวมอย่างหนึ่ง ในธรรมคือการให้

ทานที่มีแต่การจำแนกอย่างหนึ่ง ทอดทิ้งร่างกายกล่าวคือสรีระไว้ในโลกนี้ที

เดียว เพราะการแตกกายของเขา ย่อมเข้าถึงสุคติ.

ท้าวสักกะครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว หวังจะทรงประกาศแก่เศรษฐีนั้นว่า

ดูก่อนโกสิยเศรษฐี พวกเรามายังสำนักของท่านเพื่อต้องการข้าวปายาสก็หาไม่

แต่พวกเราเอ็นดูท่านจึงพากันมาด้วยความกรุณา จึงตรัสคาถาว่า

ตัวท่านนั้นชื่อโกสิยะ มีความตระหนี่ มีธรรม

อันลามก เป็นญาติของเราทั้งหลายในชาติก่อน เรา

ทั้งหลายพากันมาในที่นี้เพื่อประโยชน์นี้แก่ท่านผู้เดียว

ด้วยคิดว่า โกสิยะนี้อย่าได้มีธรรมอันลามกไปนรกเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 476

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ความว่า ท่านนั้นเป็นญาติของ

พวกเรา. บทว่า มา ปาปธมฺโม ความว่า เราพากันนาด้วยคิดอย่างนี้ว่า เศรษฐี

เป็นญาติของเรา อย่าได้เป็นผู้มีธรรมอันลามกไปนรกเสียเลย.

โกสิยเศรษฐีสดับคำนั้น มีจิตยินดีว่า ได้ยินว่าเทพบุตรเหล่านั้นใคร่ประ-

โยชน์แก่เราปรารถนาจะยกเราขึ้นจากนรก ให้ประดิษฐานบนสวรรค์ จึงกล่าว

คาถาว่า

ก็ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ใคร่ประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

โดยแน่แท้ เพราะเหตุที่มาตามพร่ำสอนข้าพเจ้าอยู่

เนือง ๆ ข้าพเจ้านั้นจักกระทำตามคำทั้งหมดที่ท่านผู้

แสวงหาประโยชน์กล่าวแล้วทุกประการ.

ข้าพเจ้านั้น จะเว้นจากความเป็นคนตระหนี่เสีย

ในวันนี้แหละ อนึ่ง ข้าพเจ้าจะไม่พึงกระทำบาปอะไร ๆ

อนึ่ง ชื่อว่าการไม่ให้ของอะไร ๆ จะไม่มีแก่ข้าพเจ้า

อีก อนึ่ง ข้าพเจ้ายังไม่ให้แล้ว จะไม่ดื่มแม้จนกระ-

ทั่งน้ำ ข้าแต่ท้าววาสวะ ก็เมื่อข้าพเจ้าให้อยู่อย่างนี้

ตลอดกาลทั้งปวง แม้โภคทรัพย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า

จักหมดไป ข้าแต่ท้าวสักกะ แต่นั้นข้าพเจ้าจักละกาม

ทั้งหลายที่ยังคงมีอยู่อย่างนี้ไปแล้วจักบวช.

ในคาถานั้นมีอรรถาธิบายว่า คำว่า แก่ข้าพเจ้า หมายเอาแก่ตัวข้าพเจ้า

เองคำว่า ท่าน หมายเอาท่านทั้งหลาย. คำว่า ข้าพเจ้า อธิบายว่า ท่านทั้งหลาย

มาตามพร่ำสอนข้าพเจ้าอยู่ด้วยเหตุใด ท่านทั้งหลายก็ย่อมเป็นผู้ใคร่ประโยชน์

แก่ข้าพเจ้าด้วยเหตุนั้น. คำว่าทุกประการ อธิบายว่า ท่านกล่าวอย่างใด ข้าพเจ้า

จักกระทำอย่างนั้นทุกประการ. คำว่า เว้น คือ ข้าพเจ้าจะเว้นจากความเป็นคน

ตระหนี่. คำว่า การไม่ให้จะไม่มี อธิบายว่า อนึ่ง จ่าเดิมแต่นี้ไป ขึ้นชื่อว่าการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 477

ไม่ให้แม้ประมาณสักว่าครึ่งหนึ่งแห่งคำข้าวของข้าพเจ้า จะไม่มีอีกต่อไปเลย.

คำว่า อนึ่ง ยังไม่ให้ อธิบายว่า อนึ่ง ข้าพเจ้าได้น้ำมาแม้ประมาณเพียงซองมือ

หนึ่งถ้ายังมิให้ทานก่อนแล้ว จะไม่ดื่มกินน้ำนั้นเลย. คำว่า จักหมดไป คือจัก

สิ้นไป. คำว่า ยังคงมีอยู่อย่างนี้ อธิบายว่า ข้าพเจ้าจักละกามอันมีส่วนตามที่

ยังเหลืออยู่ด้วยอำนาจวัตถุกามและกิเลสกามทีเดียว.

ท้าวสักกะทรงทรมานมัจฉริยโกสิยเศรษฐี กระทำให้หมดพยศ ให้

รู้จักผลแห่งทาน ให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ ด้วยธรรมเทศนาแล้ว จึงพากันเสด็จ

กลับเทพนครของพระองค์พร้อมด้วยเทพบุตรเหล่านั้น ฝ่ายมัจฉริยโกสิย

เศรษฐีเข้าไปยังพระนคร ขอพระบรมราชานุญาตแล้ว ให้ทรัพย์แก่ยาจก

ทั้งหลาย ด้วยคำว่า ท่านทั้งหลายจงถือเอาทรัพย์จนเต็มภาชนะที่ตนถือมา

แล้ว ๆ นั้นเถิด แล้วออกจากเรือนไปในขณะนั้น ไปสร้างบรรณศาล

ในระหว่างแม่น้ำคงคาและชาตสระแห่งหนึ่ง ที่ข้างทิศทักษิณ แต่หิมวันต

ประเทศแล้วจึงบรรพชา มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร ได้อยู่ในที่นั้น

เป็นเวลานานตลอดกาลถึงชรา.

ในกาลนั้นธิดาของท้าวสักกะมีอยู่ ๔ นาง คือ นางอาสา นางศรัทธา

นางสิริ นางหิริ นางทั้ง ๔ นั้นถือเอาของหอมและระเบียบดอกไม้ อันเป็น

ทิพย์มากมายไปยังสระอโนดาตเพื่อประสงค์จะเล่นน้ำ ครั้นเล่นน้ำในสระนั้น

แล้วจึงพากันนั่งอยู่บนพื้นมโนศิลา ในขณะนั้น พราหมณ์ดาบสชื่อนารทะ

ไปยังพิภพดาวดึงส์ เพื่อต้องการจะพักผ่อนในกลางวันจึงกระทำที่อยู่ในกลางวัน

ในสวนนันทนวันและสวนจิตรลดาวัน แล้วถือเอาดอกปาริฉัตตกะเพื่อบังเงา

ประหนึ่งร่ม ไปยังกาญจนคูหาอันเป็นที่อยู่ของตน โดยที่สุดแห่งพื้นมโนศิลา

ลำดับนั้น พวกนางเทพธิดาทั้ง ๔ เห็นดอกไม้ในมือของดาบสนั้นจึงพากันขอ

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 478

นางเทพธิดาเหล่านั้น อันท้าวสักกะผู้ประเสริฐ

กว่าเทวดารักษาแล้ว บันเทิงอยู่ ณ ภูเขาคันธมาทน์

ซึ่งเป็นภูเขาสูงสุด ในกาลนั้น นารทดาบสผู้

ประเสริฐกว่าฤาษี ผู้สามารถไปตลอดโลกทั้งปวง ได้

มาถือเอากิ่งไม้อันประเสริฐมีดอกบานงามดีแล้ว

ดอกไม้นั้นสะอาดมีกลิ่นหอม เทพยดาชั้นดาวดึงส์พา

กันกระทำสักการะ เป็นดอกไม้สูงสุด ท้าวสักกะผู้

ประเสริฐกว่าเทวดาทั้งหลายได้เสพแล้ว ส่วนพวก

มนุษย์เหล่าอื่น หรือพวกอสูรไม่ได้แล้ว เว้นไว้แต่พวก

เทวดา เป็นดอกไม้ที่มีประโยชน์อันสมควรแก่พวก

เทวดาเหล่านั้น ในลำดับนั้น นางเทพนารีทั้ง ๔ คือ

นางอาสา นางศรัทธา นางสิริ และนางหิริ ผู้มี

ผิวพรรณประหนึ่งทองคำ เป็นใหญ่กว่านางเทพธิดา

ผู้รื่นเริง ลุกาขึ้นกล่าวกะนารทมุนีผู้เป็นพราหมณ์

ประเสริฐกว่าพวกเทวดามากว่า ข้าแต่มหามุนีผู้

ประเสริฐ ถ้าดอกปาริฉัตตกะนี้ พระผู้เป็นเจ้าไม่เจาะ

จงแล้ว ก็จงให้แก่พวกข้าพเจ้าเถิด คติทั้งปวงจงสำเร็จ

แก่พระผู้เป็นเจ้า ขอพระผู้เป็นเจ้าจงให้แก่พวกข้าพ-

เจ้าดุจท้าววาสวะฉะนั้นเถิด นารทดาบสเห็นนาง

เทพธิดาทั้ง ๔ พากันขอดอกไม้นั้น จึงกล่าวว่า ท่าน

พูดถ้อยคำชวนทะเลาะ เราหามีความต้องการด้วย

ดอกไม้เหล่านี้สักน้อยหนึ่งไม่ บรรดาพวกเจ้าทั้ง ๔

นางใดประเสริฐกว่า นางนั้นก็จงประดับดอกไม้นั้นเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 479

ในคาถาเหล่านั้นมีอรรถาธิบายว่า คำว่า เป็นภูเขาอันประเสริฐ นี้

เป็นไวพจน์ของคำแรกที่ว่าเป็นภูเขาสูงสุด. คำว่า ท้าวสักกเทวราชผู้ประเสริฐ

กว่าเทวดาทรงรักษาแล้ว คือนางเทพธิดาทั้ง ๔ นั้นเป็นผู้อันท้าวสักกะทรง

รักษาแล้ว. คำว่า สามารถไปตลอดโลกทั้งปวง อธิบายว่า เป็นผู้สามารถ

ที่จะไปได้ในโลกทั้งหมด คือทั้งในเทวโลกทั้งในมนุษยโลก. คำว่า ถือเอา

กิ่งไม้อันประเสริฐ อธิบายว่า ถือเอาดอกไม้มีชื่ออันได้แล้วว่า ทุมวร-

สาขะ เพราะดอกไม้นี้เกิดจากกิ่ง. คำว่า พากันทำสักการะ คือมี

สักการะอันกระทำแล้ว. คำว่า ผู้ประเสริฐกว่าหมู่อมร ดังนี้ พระศาสดา

ตรัสหมายเอาท้าวสักกะ. คำว่า เว้นไว้แต่พวกเทวดา อธิบายว่า นอก

จากพวกเทวดาและท่านผู้มีฤทธิ์แล้ว พวกมนุษย์หรือพวกอมนุษย์มียักษ์

เป็นต้นเหล่าอื่นไม่ได้แล้ว. คำว่า มีประโยชน์อันสมควรแก่พวกเทวดา

เหล่านั้น อธิบายว่า เป็นประโยชน์คือสมควรเหมาะแก่พวกเทวดาเหล่านั้น

ทีเดียว. คำว่า ผู้มีผิวพรรณประหนึ่งทองคำ อธิบายว่า มีผิวหนัง

ประดุจทองคำ. คำว่า ลุกขึ้น อธิบายว่า นางเทพนารีเหล่านั้นปรึกษากันว่า

พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้เว้นขาดแล้วจากระเบียบดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้

เป็นต้น คงจักไม่ประดับดอกไม้ จักทิ้งเสียในประเทศแห่งหนึ่ง เราจักขอ

กะท่านแล้วจักประดับดอกไม้ เมื่อจะเหยียดมือออกไปขอ จึงลุกขึ้นพร้อมกัน

ทีเดียว. คำว่า เป็นใหญ่กว่านางเทพธิดาผู้รื่นเริง คือเป็นผู้สูงสุดกว่านางผู้

รื่นเริงทั้งหลาย. คำว่า มุนี หมายเอาฤาษี. คำว่า ไม่เจาะจง คือไม่เจาะจง

ว่า เราจักให้ดอกไม้นี้แก่ชนชื่อโน้น. คำว่า คติทั้งปวงจงสำเร็จแด่พระผู้

เป็นเจ้า อธิบายว่า นางเทพธิดาเหล่านั้น กล่าวถ้อยคำอันเป็นมงคลแก่

นารทมุนีนั้นว่า ขอคติแห่งใจของพระผู้เป็นเจ้าทั้งหมดจงสำเร็จเถิด ขอ

พระผู้เป็นเจ้าจงเป็นผู้ได้สิ่งที่ตนปรารถนาแล้วและปรารถนาแล้วเถิด. คำว่า

ดุจท้าววาสวะฉะนั้น อธิบายว่า ท้าววาสวะผู้เป็นบิดาของหม่อมฉันทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 480

ประทานสิ่งที่หม่อมฉันปรารถนาแล้ว อยากได้แล้ว ฉันใด แม้พระผู้เป็นเจ้า

ก็จงให้แก่พวกหม่อมฉันเหมือนกันฉันนั้นเถิด. คำว่า นั้น หมายเอาดอกไม้

นั้น. คำว่า เห็น คือมองเห็น. คำว่า ชวนทะเลาะ อธิบายว่า ท่านกล่าว

ถ้อยคำมีการถือเอาต่าง ๆ ก่อให้เกิดความทะเลาะวิวาท คำว่า เหล่านี้

อธิบายว่า เราไม่มีความต้องการด้วยดอกไม้เหล่านี้ นารทมุนีแสดงว่า

เราเป็นผู้เว้นขาดแล้วจากการทัดทรงประดับดอกไม้. คำว่า บรรดาพวกท่าน

นางใดประเสริฐกว่า อธิบายว่า นางใดเป็นผู้เจริญที่สุดในระหว่างท่านทั้งหลาย.

คำว่า นางนั้นจงประดับ อธิบายว่า นางนั้นจงประดับดอกไม้นี้.

แม้นางเทพนารีทั้ง ๔ นั้น ครั้นได้สดับคำของดาบส จึงกล่าวคาถาว่า

ข้าแต่นารทดาบสผู้สูงสุด พระผู้เป็นเจ้านั่นแล

จงพิจารณาดูพวกข้าพเจ้า ปรารถนาจะให้แก่นาง

ใด จงเริ่มให้แก่นางนั้น ก็บรรดาพวกข้าพเจ้า

พระผู้เป็นเจ้าจักให้แก่นางใด นางนั้นแล พวกข้าพเจ้า

สมมุติว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด.

คำว่า ผู้สูงสุด ในคาถานั้น มีอธิบายว่า ข้าแต่มหามุนีผู้อุดม

พระผู้เป็นเจ้านั่นแล จงใคร่ครวญดูพวกข้าพเจ้า. นารทดาบสสดับคำของ

นางทั้ง ๔ นั้น เมื่อจะเจรจากะนางเหล่านั้น จึงกล่าวคาถาว่า

ดูก่อนนางผู้มีกายอันงาม คำนี้ไม่สมควร ใครเล่า

เป็นพราหมณ์ ใครกล่าวการทะเลาะ ถ้าพวกท่านยัง

ไม่ทราบในที่นี้ว่า ตนประเสริฐหรือธรรมประเสริฐ ก็

จงไปทูลถามท่าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 481

อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า ดูก่อนนางผู้มีกายอันงามผู้เจริญ คำที่

พวกท่านกล่าวแล้วนี้ไม่สมควรแก่เรา ด้วยว่าเนื้อเป็นอย่างนี้ เมื่อเรากระทำนาง

หนึ่งในบรรดาพวกท่านให้เป็นผู้ประเสริฐ นางที่เหลือให้เป็นคนเลวแล้ว ความ

ทะเลาะวิวาทก็จะพึงมีขึ้น ใครจะเป็นพราหมณ์ผู้ลอยบาป ใครพึงกล่าวการ

ทะเลาะคือพึงทำความทะเลาะให้เจริญ ด้วยว่าการทำความทะเลาะให้เกิดขึ้น

ย่อมไม่สมควรแก่เราผู้มีรูปเห็นปานนี้ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงไปจาก

ที่นี้แล้ว จงถามท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งหลายซึ่งเป็นบิดาของตนเอาเอง

เถิด ถ้าพวกท่านยังไม่ทราบว่าคนประเสริฐหรือธรรมประเสริฐ.

ลำดับนั้น พระศาสดา ตรัสพระคาถาว่า

นางเทพธิดาเหล่านั้น ที่นารทดาบสได้กล่าว

ขึ้น เป็นผู้มีความโกรธแค้นอย่างยิ่ง เป็นผู้มัวเมาแล้ว

ด้วยความเมาในผิวพรรณ จึงไปสู่สำนักแห่งท้าว-

สหัสนัยน์ แล้วทูลถามท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งภูตว่า

บรรดาพวกหม่อมฉัน ใครเล่าเป็นผู้ประเสริฐกว่ากัน.

ในคาถานั้น มีอธิบายว่า คำว่า มีความโกรธแค้นอย่างยิ่ง คือ

นางทั้ง ๔ นั้น เมื่อนารทดาบสไม่ให้ดอกไม้ ก็เป็นผู้มีความโกรธยิ่งนักหนา.

คำว่า ได้กล่าวขึ้น คือ เมื่อนารทดาบสกล่าวว่า พวกท่านจงไปถามท้าวสักกะ

ผู้เป็นจอมแห่งภูตเอาเองเถิด. คำว่า ท้าวสหัสนัยน์ คือไปสู่สำนักของท้าวสักกะ.

คำว่า ใครเล่า อธิบายว่า นางเทพธิดาทั้ง ๔ ทูลถามว่า ในระหว่างข้าพระองค์

ทั้งหลาย ใครคนไหนเล่าเป็นผู้สูงสุด.

นางเทพธิดาทั้ง ๘ ยืนทูลถามดังนั้นแล้ว. (พระศาสดา จึงตรัสพระ

คาถาว่า)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 482

ท้าวปุรินททะผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ผู้อันเทวดา

กระทำอัญชลีแล้ว ทรงเห็นพระธิดาทั้ง ๔ นั้น มีใจ

พะวักพะวงอยู่ จึงตรัสว่า ดูก่อนธิดาผู้งามเลิศ พวกเจ้า

ทั้งปวงเป็นผู้เช่นเดียวกัน จงยกไว้ก่อน ในที่นี้ใคร

เล่าหนอ ได้กล่าวการทะเลาะขึ้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตา ทิสฺวา ความว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ท้าวสักกเทวราชเห็นนางเทพธิดาทั้ง ๔ ซึ่งมายังสำนักของตน.

บทว่า อายตฺตมนา ความว่า มีใจหงุดหงิดมีจิตฟุ้งซ่าน. บทว่า กตญฺชลี

ความว่า ผู้อันเทวดาทั้งหลายนอบน้อมอยู่กระทำอัญชลีแล้ว. บทว่า สาทิสี

ความว่า พวกเจ้าทั้งหมดเป็นผู้เหมือนกันจงยกไว้ก่อน. บทว่า โกเนธ

ความว่า ก็ใครเล่าหนอ ในที่นี้. บทว่า กลห อุทีรเย ความว่า กล่าว

การทะเลาะวิวาทนี้ขึ้น คือทำความทะเลาะให้เกิดขึ้น.

ลำดับนั้น นางเทพนารีทั้ง ๔ เมื่อจะกราบทูลแด่ท้าวสักกะนั้นจึงกล่าว

คาถาว่า

นารทมหามุนีใด ผู้เที่ยวไปยังโลกทั้งปวงดำรงอยู่

ในธรรม มีความเพียร บากบั่นนั่นอยู่ในความสัตย์

อย่างแท้จริง ท่านนั้นได้บอกแก่พวกหม่อมฉัน ณ

ที่ภูเขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็นภูเขาอันประเสริฐว่า ถ้า

พวกท่านยังไม่ทราบในที่นี้ว่า ตนประเสริฐหรือธรรม

ประเสริฐ ก็จงไปทูลถามท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่ง

ภูตเอาเองเถิด.

คำว่า มีความเพียร ในคาถานั้น หมายเอามีความบากบั่นเป็นเครื่อง

ก้าวไปข้างหน้าอย่างแท้จริง.

ท้าวสักกเทวราชทรงสดับดังนั้น จึงทรงพระดำริว่า นางทั้ง ๔ นี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 483

ล้วนเป็นธิดาของเราทั้งหมด ถ้าเราจักกล่าวนางคนหนึ่ง ในบรรดานางเหล่านี้

ว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณ เป็นผู้สูงสุดแล้วไซร้ นางที่เหลือก็จักโกรธ เรา

ไม่อาจตัดสินความเรื่องนี้ได้ เราจักส่งธิดาของเราทั้ง ๔ เหล่านี้ ไปยังสำนัก

ของโกสิยดาบส ในหิมวันตประเทศ เธอจักวินิจฉัยความเรื่องนี้แก่นางเหล่านั้น

เอง จึงตรัสบอกว่า พ่อจะตัดสินความของเจ้าทั้งหลายไม่ได้ ในหิมวันต-

ประเทศมีดาบสองค์หนึ่งชื่อว่า โกสิยะ พ่อจักมอบสุธาโภชน์ไปถวายแก่เธอ

เธอยังไม่ให้แก่ผู้อื่นก่อนแล้ว จักไม่บริโภค ก็เมื่อจะให้เธอ จะใคร่ครวญเสีย

ก่อนแล้ว จึงให้แก่บุคคลผู้มีคุณ ในบรรดาเจ้าทั้งหลาย นางคนใดได้รับภัต

จากมือของเธอ นางคนนั้นจักเป็นผู้สูงสุด แล้วจึงตรัสคาถาว่า

ดูก่อนเจ้าผู้มีกายอันงดงาม มหามุนีผู้อยู่ใน

ป่าใหญ่โน้น ยังมิได้ให้ก่อนแล้ว หาบริโภคภัตไม่

เมื่อโกสิยดาบสจะให้ก็พิจารณาเสียก่อนแล้วจึงให้

ถ้าเธอจักให้แก่นางคนใด นางคนนั้นแลเป็นผู้ประเสริฐ.

คำว่า ผู้อยู่ในป่าใหญ่ ในคาถานั้น หมายเอาผู้มีปกติอยู่ในราวป่า

อันใหญ่.

ท้าวสุกกะส่งนางทั้ง ๔ ไปยังสำนักของดาบส ด้วยประการฉะนี้

แล้วให้เรียกมาตลีเทพบุตรมา เมื่อจะส่งไปยังสำนักของดาบสนั้น จึงตรัสคาถา

ติดต่อกันไปว่า

ก็โกสิยดาบสนั้นอยู่ในทิศทักษิณ ริมฝั่งแม่น้ำ

คงคา ข้างหิมวันตบรรพตโน้น โกสิยดาบสนั้น

มีน้ำดื่มและโภชนะหาได้ยาก ดูก่อนเทพสารี ท่าน

จงนำสุธาโภชน์ไปให้ถึงเธอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 484

บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อยู่ หมายเอาอาศัยอยู่. คำว่า ทิศทักษิณ

ได้แก่ ทิศทักษิณ ของภูเขาหิมวันท์. คำว่า ข้าง คือข้างภูเขาหิมวันต์.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสว่า

มาตลีเทพสารถีนั้น อันท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่า

เทวดาใช่ให้ไปแล้ว จึงขึ้นรถเทียมด้วยม้าพันตัว ไป

ยังอาศรมบทโดยรวดเร็วอย่างนี้ เป็นผู้มีร่างกายอันไม่

ปรากฏ ได้ถวายสุธาโภชน์แก่มุนี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทิสฺสมาโน ความว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย มาตลีนั้นรับคำสั่งของท้าวสักกเทวราชแล้ว ก็ไปยังอาศรมบทนั้น

มีกายอันมิได้ปรากฏให้เห็น ได้ถวายสุธาโภชน์แก่ดาบสนั้น ก็เมื่อจะถวาย

ได้วางถาดสุธาโภชน์ลงในมือของเธอ ผู้ประกอบความเพียรอยู่ตลอดราตรี

บำเรอไฟในเวลาใกล้รุ่ง เมื่อราตรีสว่างแล้ว ยืนนอบน้อมนมัสการพระอาทิตย์

ซึ่งกำลังขึ้นสู่ท้องฟ้า.

โกสิยดาบสรับโภชนะนั้นแล้ว ยืนกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

ก็เมื่อเราบำเรอไฟที่เราบูชาแล้ว ยืนอยู่ใกล้

พระอาทิตย์ซึ่งแรกขึ้น มีแสงสว่าง บรรเทาความมืดใน

โลกอันสูงสุดเสียได้ ท้าววาสวะผู้ครอบงำภูตทั้งหมด

หรือว่าใครเล่ามาวางภัตขาวสะอาดลงในฝ่ามือของเรา

ภัตนี้ขาวสะอาด มีพรรณขาวประดุจสังข์ขาวน่าดูยิ่ง

กว่าปุยนุ่น สะอาดมีกลิ่นหอมน่ารักใคร่ ยังไม่เคยมี

เลย แม้เราเองก็ยังไม่เคยเห็นมาก่อน ด้วยชาตจักษุ

ของเรา เทวดาองค์ไหนเล่ามาวางไว้ในฝ่ามือของเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 485

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทคฺคิหุตฺต ความว่า เมื่อเราบำเรอ

ไฟที่เราบูชาแล้ว ออกจากโรงไฟยืนอยู่ที่ประตูบรรณศาลา ยืนอยู่ใกล้ดวง

อาทิตย์ซึ่งมีแสงสว่าง บรรเทาความมืดในโลกอันสูงสุดเสียได้ ท้าววาสวะผู้

ครอบงำก้าวล่วงเสียซึ่งภูตทั้งหมดเป็นไปอยู่ หรือมิใช่หนอ มาวางภัตอันขาว

สะอาดลงบนมือของเราอย่างนี้ โกสิยดาบสนั้นเป็นผู้ยืนอยู่ทีเดียว ได้กล่าว

สรรเสริญสุธาโภชน์อันวิเศษด้วยคำเป็นต้นว่า มีพรรณขาวประดุจสังข์ ดังนี้.

ลำดับนั้น มาตลีเทพสารถีจึงตอบว่า

ข้าแต่มหามุนี ผู้แสวงทาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าพ-

เจ้าถูกท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดา ใช้ให้นำ

สุธาโภชน์มาโดยด่วน พระคุณเจ้าจงรู้จักข้าพเจ้าว่า

ชื่อมาตลีเทพสารถี และจงบริโภคภัตอันอุดม อย่า

ห้ามเสียเลย เพราะสุธาโภชน์ที่บริโภคแล้วนั้น ย่อม

ขจัดบาปธรรมได้ถึง ๑๒ ประการ คือ ความหิว ๑

ความกระหาย ๑ ความกระสัน ๑ ความกระวนกระวาย

๑ ความเหน็ดเหนื่อย ๑ ความโกรธ ๑ ความเข้าไป

ผูกโกรธ ๑ ความวิวาท ความส่อเสียด ๑ ความ

หนาว ๑ ความร้อน ๑ ความเกียจคร้าน ๑ ภัตนี้มีรส

อันสูงสุด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุธาภิหาสึ ความว่า ข้าพเจ้านำสุธาโภชน์

นี้มาเฉพาะพระคุณเจ้า. บทว่า ชานาสิ ม ความว่า ขอพระคุณเจ้าจงรู้จัก-

ข้าพเจ้าว่า ผู้นี้คือเทพสารถีมีนามว่า มาตลี. บทว่า มาภิวารยิ ความว่า

ขอพระคุณเจ้า อย่าได้ห้ามเสียเลยว่า เราจักไม่บริโภคภัตนี้ดังนี้ จงฉันเถิด

อย่ากระทำความชักช้าเลย. บทว่า ปาปเก ความว่า ด้วยว่าสุธาโภชน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 486

ที่บุคคลบริโภคแล้วนี้ ย่อมขจัดเสียได้ซึ่งธรรมอันลามกถึง ๑๒ ประการ คือ

ย่อมขจัดความหิวเป็นที่ ๑ ก่อน ขจัดความกระหายน้ำเป็นที่ ๒ ความกระสัน

เป็นที่ ๓ ความกระวนกระวายกายเป็นที่ ๔ ความเหน็ดเหนื่อยเป็นที่ ๕

ความโกรธเป็นที่ ๖ ความเข้าไปผูกโกรธเป็นที่ ๗ ความวิวาทเป็นที่ ๘

ความส่อเสียดเป็นที่ ๙ ความหนาวเป็นที่ ๗ ความร้อนเป็นที่ ๑๑ ความ

เกียจคร้านเป็นที่ ๑๒ สุธาโภชน์มีรสอันสูงสุด คือมีรสอันอุดมถึงเพียงนี้

ย่อมขจัดบาปธรรม ๑๒ ประการเหล่านี้เสียได้.

โกสิยดาบสดับคำนั้นแล้ว เมื่อจะกระทำให้แจ้งซึ่งการสมาทานวัตร

ของตน จึงกล่าวคาถาว่า

ดูก่อนมาตลีเทพสารถี เรายังไม่ได้ให้ก่อนแล้ว

บริโภคย่อมไม่สมควร วัตรของเรานี้เป็นวัตรอันอุดม

อนึ่ง การบริโภคคนเดียว พระอริยเจ้าไม่บูชาแล้ว ก็

ชนผู้มิได้แบ่งบริโภคเสียแต่ผู้เดียว ย่อมไม่ประสบ

ความสุขเลย.

โกสิยดาบสครั้นกล่าวคาถาแล้ว ผู้อันมาตลีถามว่า ข้าแต่พระ-

คุณเจ้าผู้เจริญ พระคุณเจ้าเห็นโทษอะไรในการไม่ให้คนอื่นเสียก่อนแล้ว

บริโภค จึงได้สมาทานวัตรนี้ จึงตอบว่า

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ฆ่าหญิง คบหา

ภรรยาของชายอื่น ประทุษร้ายต่อมิตร อนึ่ง ย่อมฆ่า

สมณพราหมณ์ ผู้มีวัตรอันดีงาม ชนเหล่านั้นทั้งหมด

ทีเดียว มีความตระหนี้เป็นที่ห้า ชื่อว่าเป็นผู้เลวทราม

เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าไม่ให้ก่อนแล้วจึงไม่ดื่มแม้จน

กระทั่งน้ำ ข้าพเจ้านั้น จักให้ทานแก่หญิงหรือชาย ที่ผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 487

รู้สรรเสริญแล้ว เพราะท่านเหล่านั้นเป็นผู้มีศรัทธา รู้

ถ้อยคำที่ปฏิคาหกขอ ปราศจากความตระหนี่ สมมติ

ว่าเป็นผู้สะอาดและมีความสัตย์ในโลกนี้.

ในคาถานั้นมีคำอรรถาธิบายว่า คำว่า ก่อน คือไม่ให้ก่อนแล้ว

อย่างหนึ่ง โกสิยดาบสแสดงว่า วัตรนี้เป็นวัตรอันอุดมของเรามาก่อน คือเรา

สมาทานวัตรนี้มาก่อนด้วยประการฉะนี้แล. คำว่า การบริโภคคนเดียว

คือการกินของบุคคลคนเดียว พระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

ไม่บูชาแล้ว. คำว่า ความสุข คือย่อมไม่ได้รับความสุขทั้งที่เป็นทิพย์และ

เป็นของมนุษย์.

คำว่า ฆ่าหญิง ได้แก่ ฆ่าสตรี. คำว่า เหล่าใด คือเหล่าใดเหล่าหนึ่ง.

คำว่า ด่า คือ ย่อมด่า. คำว่า ผู้มีวัตรอันดีงาม หมายเอาสมณพราหมณ์ผู้

ประกอบในธรรม. คำว่า มีความตระหนี่เป็นที่ห้า อธิบายว่า ความตระหนี่

เป็นที่ห้าของชนเหล่านั้น เหตุนั้น ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่ามีความตระหนี่เป็นที่ห้า. คำว่า

เลวทราม คือ ธรรมทั้ง ๕ ประการเหล่านี้จึงชื่อว่า อธรรม. คำว่า เพราะเหตุนั้น

เราจึงสมาทานวัตรนี้ว่า ถ้ายังมิได้ให้ก่อนแล้ว จักไม่บริโภคแม้น้ำดังนี้ เพราะ

กลัวความเป็นอธรรมที่ห้า. คำว่า ข้าพเจ้านั้น อธิบายว่า ข้าพเจ้านั้นจักให้

ทานแก่หญิงหรือ. คำว่า ผู้รู้สรรเสริญแล้ว หมายเอาผู้รู้ซึ่งได้แก่บัณฑิตมี

พระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว. คำว่า สมมติ เป็นผู้สะอาดแล้วมีความ

สัตย์ อธิบายว่า บุรุษทั้งหลายเหล่านั้นเป็นผู้ประกอบไปด้วยศรัทธาอันหยั่งลง

เชื่อมั่น เป็นผู้รู้ถ้อยคำปราศจากความตระหนี่ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้สะอาดและสมมติ

ว่าสูงสุด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 488

มาตลีสดับคำนั้น จึงยืนแสดงกายให้ปรากฏ. ในขณะนั้น นางเทพ-

กัญญาทั้ง ๔ เหล่านั้น ได้มายืนอยู่ในทิศทั้ง ๔ คือนางสิริยืนอยู่ในทิศปราจีน

นางอาสายืนอยู่ในทิศทักษิณ นางศรัทธายืนอยู่ในทิศประจิม นางหิริ ยืนอยู่

ในทิศอุดร.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสคาถาว่า

ลำดับนั้น นางเทพกัญญาทั้ง ๔ คือนางอาสา

นางศรัทธา นางสิริ และนางหิริ ผู้มีผิวพรรณประดุจ

ทองคำ ซึงท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าเทวดาทั้งหลาย

อนุมัติส่งไปแล้ว ได้ไปยังอาศรมซึ่งเป็นที่อยู่ของ

โกสิยดาบสนั้น โกสิยดาบสได้เห็นนางเทพกัญญา

ทั้งปวงนั้น มีผิวพรรณอันงามประดุจเปลวเพลิง เป็น

บันเทิงอย่างยิ่ง จึงได้กล่าวกับนางเทพกัญญาทั้ง ๔

ในทิศทั้ง ๔ ต่อหน้ามาตลีว่า ดูก่อนเทวดาใน

บูรพาทิศ ท่านมีชื่อว่าอย่างไร จงบอกไป ท่านเป็นผู้

มีสรีระอันประดับแล้ว งดงามดุจดาวประกายพรึก

อันประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย ดูก่อนท่านผู้มีร่างกาย

คล้ายกับรูปทองคำ เราถามท่าน ท่านจงบอกแก่เราว่า

ท่านเป็นเทวดาอะไร.

นางสิริได้สดับคำดังนั้นแล้ว เมื่อจะกระทำตนให้ปรากฏ จึงกล่าวคาถาว่า

ข้าพเจ้ามีสิริชื่อว่า นางสิริเทวี เป็นผู้ไม่เสพคบหา

สัตว์ลามกอันหมู่มนุษย์บูชาแล้วทุกเมื่อ มาสู่สำนักของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 489

ท่านเพราะความทะเลาะกันด้วยเรื่องสุธาโภชน์ ข้าแต่

ท่านผู้มีปัญญาอันประเสริฐ ขอท่านจงแบ่งสุธาโภชน์

นั้นให้ข้าพเจ้าบ้าง.

ข้าแต่มหามุนี ผู้สูงสุดกว่าผู้บูชาทั้งหลาย

ข้าพเจ้าปรารถนาควานสุขแก่นรชนใด นรชนนั้นบัน-

เทิงอยู่ด้วยสรรพกามสมบัติทั้งหลาย ท่านจงรู้จัก

ข้าพเจ้าว่า สิรี ข้าแต่ท่านผู้มีปัญญาอันประเสริฐ ขอ

ท่านจงแบ่งสุธาโภชน์ให้ข้าพเจ้าบ้างเถิด.

ในคาถานั้นมีคำอธิบายว่า คำว่า ลำดับนั้น คือ ในกาลนั้น. คำว่า

อนุมัติ คือ รับรู้แล้ว อธิบายว่า เป็นผู้อันท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าเทวดา

ทั้งหลาย อนุมัติแล้วด้วย ส่งไปแล้วด้วยในกาลนั้น. คำว่า เป็นผู้บันเทิง

อย่างยิ่ง อธิบายว่า เป็นผู้รื่นเริงอย่างยิ่ง ทุกนางมิได้มีเหลือเลย พระบาลี

บางฉบับเป็น สาม แปลว่า เอง อธิบายว่า ก็โกสิยดาบสนั้นเห็นนางเทพ-

กัญญาเหล่านั้นเองทีเดียว. คำว่า ๔ หมายเอานางเทพกัญญาทั้ง ๔ อีกอย่าง

หนึ่ง พระบาลีเป็นจตุราก็มี อธิบายว่า ประกอบพร้อมด้วยทิศทั้ง ๔. คำว่า

ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย คือ ประเสริฐกว่าดวงดาราทั้งหมด. คำว่า

มีร่างกายคล้ายรูปทองคำ คือมีสรีระเหมือนกับรูปเปรียบทองคำ. คำว่า

ข้าพเจ้ามีชื่อว่า นางสิรี คือ ข้าพเจ้ามีนามว่า สิรี. คำว่า มาสู่สำนัก

ของท่าน คือมายังสำนักของพระผู้เป็นเจ้า. คำว่า จงแบ่ง คือ แบ่งให้

ข้าพเจ้าได้ด้วยประการใด. ขอท่านจงทำด้วยประการนั้นเถิด อธิบายว่า จงให้

สุธาโภชน์แก่ข้าพเจ้าบ้าง. คำว่า จงรู้ คือจงรู้จัก. คำว่า สูงสุดกว่าผู้บูชาทั้ง

หลาย คือเป็นผู้อุดมกว่าผู้บูชาอยู่ซึ่งไฟ.

โกสิยดาบสสดับคำนั้น จึงกล่าวคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 490

นรชนทั้งหลายผู้มีความเพียรประกอบด้วยศิลปะ

วิทยาและความประพฤติดี ความรู้และการงานของตน

เป็นผู้ท่านละทิ้งเสียแล้ว ย่อมไม่ได้ประโยชน์อะไร

กิจทีมีความขาดแคลนอันใดที่ท่านทำแล้ว กิจนั้นไม่ดี

เลย. เราเห็นนรชนผู้เป็นบุรุษเกียจคร้าน บริโภคมาก

ทั้งมีตระกูลต่ำมีรูปแปลก ดูก่อนนางสิรี นรชนที่ท่าน

รักษาไว้แม้สมบูรณ์ด้วยชาติผู้มีโภคทรัพย์ มีความสุข

ย่อมใช้เหมือนทาส. เพราะฉะนั้น เรารู้จักท่านเป็นผู้

ไม่มีสัจจะ ไม่รู้สิ่งที่ควรและไม่ควรแล้ว และเสพคบ

หาเป็นผู้หลงนำผู้รู้ให้ตกไปตาม นางเทพธิดาเช่นท่าน

ย่อมไม่สมควรอาสนะและน้ำ สุธาโภชน์จักมีแต่ไหน

เล่า จงไปเสียเถิด ท่านไม่ชอบใจแก่เรา.

ในคาถานั้นมีอรรถาธิบายว่า คำว่า ศิลปะ คือประกอบด้วยศิลปะ

มีศิลปะที่เกี่ยวกับช้างม้ารถและธนูเป็นต้น . คำว่า วิทยาและความประพฤติดี

หมายเอาวิชาที่นับเอาพระเวททั้ง ๓ และศีล. คำว่า ความรู้และการงานของ

ตน คือเป็นผู้ประกอบด้วยความเพียรแห่งบุรุษของตน. คำว่า อะไร คือ

ว่า ย่อมไม่ได้ยศหรือความสุข แม้มีประมาณเล็กน้อย. คำว่า กิจนั้น คือ

ความกังวลอันใดที่ท่านกระทำแล้ว แก่บุคคลผู้เรียนศิลปะทั้งหลายแล้วเที่ยวไป

เมื่อต้องการความเป็นใหญ่กิจนั้นไม่ดีเลย. คำว่า มีรูปแปลก คือมีรูปผิดปกติ.

คำว่า ที่ท่านรักษาไว้ คือที่ท่านตามรักษาไว้แล้ว. คำว่า สมบูรณ์ด้วยชาติ

คือถึงพร้อมแล้วด้วยชาติบ้าง ถึงพร้อมแล้วด้วยศิลปะวิทยาความประพฤติและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 491

การงานอันประกอบด้วยปัญญาบ้าง. คำว่า ย่อมใช้ คือย่อมกระทำการใช้สอย.

คำว่า เพราะฉะนั้น คือเหตุนั้น. คำว่า ไม่มีสัจจะ คือท่านไม่มีสัจจะ เพราะ

ไม่ประพฤติอยู่ในสัจจะที่นับว่า สภาวะ คือเว้นจากความเป็นผู้สูงสุด. คำว่า

ไม่รู้และเสพคบหา คือไม่แบ่งไม่รู้จักสิ่งที่ควรและไม่ควร เสพอยู่ซึ่งนรชน

นอกนี้แม้ถึงพร้อมแล้วด้วยศิลปะเป็นต้น. คำว่า ทำผู้รู้ให้ตกไปตาม คือทำ

บัณฑิตให้ตกไปตาม คือทำบัณฑิตให้ตกไปแล้วเที่ยวเบียดเบียนอยู่. คำว่า

สุธาโภชน์จักมีแต่ที่ไหนเล่า อธิบายว่า สุธาโภชน์ของท่านผู้มีคุณเลวทราม

เช่นนั้นจะมีแต่ที่ไหน ท่านย่อมไม่ชอบใจเรา ท่านจงกลับไปเสีย อย่าอยู่ในที่นี้

เลย.

นางสิรีเทพธิดานั้น ครั้นถูกโกสิยดาบสนั้นห้ามแล้ว ก็อันตรธาน-

หายไปในที่นั้นนั่นเอง ลำดับนั้น โกสิยดาบสนั้นเมื่อจะเจรจากับนางอาสา

เทพธิดา จึงกล่าวคาถาต่อไปว่า

ใครนั่นเป็นผู้มีฟันขาว สวมกุณฑลมีร่างกาย

อันวิจิตร ทรงเครื่องประดับเกลี้ยงเกลาทำด้วยทองคำ

นุ่งห่มผ้ามีสีดังสายน้ำหยด ย่อมงดงามเหมือนดัง

ประดับช่อดอกไม้มีสีแดงดุจเปลวไฟไหม้หญ้าคา

ฉะนั้น. ท่านเป็นเหมือนนางเนื้อทรายคะนอง ที่นาย

ขมังธนูยิงผิดแล้ว มองดูอยู่ดุจทำเขลา ฉะนั้น ดูก่อน

นางเทพธิดาผู้มีดวงตาอันขาว ในที่นี้ ใครเป็นสหาย

ของท่าน ท่านอยู่ในป่าใหญ่ แต่ผู้เดียวไม่กลัวหรือ.

ในคาถานั้นมีอธิบายว่า คำว่า มีร่างกายอันวิจิตร คือประกอบด้วย

องค์อวัยวะอันวิจิตร. คำว่า ทรงเครื่องประดับเกลี้ยงเกลาทำด้วยทองคำ

คือทรงเครื่องอลังการทองคำอันเกลี้ยงเกลา อันสำเร็จขึ้นจากการกระทำ. คำว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 492

มีสีดังสายน้ำหยด คือ นุ่งห่มผ้าทุกูลพัสตร์อันเป็นทิพย์ มีสีดุจสายน้ำที่หยด

ลงแล้ว คำว่า นุ่งห่ม คือทั้งนุ่งแล้วด้วย ห่มแล้วด้วย. คำว่า แดงดุจ

เปลวไฟไหม้หญ้าคา คือ มีสีแดงเหมือนเปลวแห่งไฟที่กำลังไหม้หญ้าคา.

คำว่า ประดับช่อดอกไม้ มีคำอธิบายว่า ประดับช่อดอกไม้ เช่นช่อดอกอโศก

ที่หูทั้งสองข้าง. คำว่า นายขมังธนู หมายเอานายพราน. คำว่า ยิงผิด

คือ ยิงพลาดไป. คำว่า ดุจทำเขลา อธิบายว่า นางเนื้อนั้นกลัวแล้ว จึง

ยืนอยู่ในระหว่างป่ามองดูนายพรานนั้นดุจทำเป็นเขลา ฉันใด ท่านก็แลดูเรา

ฉันนั้นเหมือนกัน.

ในลำดับนั้น นางอาสา จึงตอบว่า

ข้าแต่โกสิยดาบส ในที่นี้สหายของข้าพเจ้า

ย่อมไม่มี ข้าพเจ้าเป็นเทวดามีชื่อว่า อาสา เกิดใน

ดาวดึงส์พิภพ มาสู่สำนักของท่านเพราะหวังสุธาโภชน์

ข้าแต่ท่านผู้มีปัญญาอันประเสริฐ ท่านจงแบ่งสุธา

โภชน์นั้นให้แก่ข้าพเจ้าบ้าง.

คำว่า เกิดในดาวดึงส์พิภพ ในคาถานั้น หมายความว่า เป็นผู้เกิด

พร้อมแล้วในพิภพชั้นดาวดึงส์.

โกสิยดาบสสดับคำนั้น เมื่อจะแสดงว่า ท่านให้ความหวังด้วยความ

สำเร็จผลแห่งความหวังแก่บุคคลที่ท่านชอบใจ หาให้แก่ผู้ที่ท่านไม่ชอบใจไม่

ความพินาศแห่งความปรารถนาที่ท่านตั้งใจไว้โดยชอบมิได้มี ดังนี้ ได้กล่าว

เป็นคาถาว่า

พ่อค้าทั้งหลาย มีความหวังแสวงหาทรัพย์ ย่อม

ขึ้นเรือแล่นไปในทะเล อนึ่ง พ่อค้าเหล่านั้น ย่อมจม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 493

ในท่ามกลางมหาสมุทรนั้น ในกาลบางครั้ง เขามี

ทรัพย์สิ้นไป ทั้งทรัพย์อันเป็นต้นทุนก็สูญหายไปแล้ว

ก็กลับมา ชาวนาทั้งหลาย ย่อมไถนาด้วยความหวัง

หว่านพืชก็กระทำโดยแยบคาย เขาไม่ได้ประสบผล

อะไร ๆ จากข้าวกล้านั้น เพราะเพลี้ยตกลงบ้าง เพราะ

ฝนแล้งบ้าง ในภายหลัง นรชนทั้งหลายผู้แสวงหา

ความสุข ทำความหวังข้างหน้า ย่อมทำการงานของตน

เพื่อนาย นรชนเหล่านั้น ถูกศัตรูเบียดเบียนแล้ว ไม่

ได้ประโยชน์อะไร ๆ ย่อมหนีไปสู่ทิศทั้งหลาย เพื่อ

ประโยชน์แก่นายอีก สัตว์ผู้แสวงหาความสุขเหล่านี้

เป็นผู้ใคร่จะไปสวรรค์ ละทิ้งธัญชาติทรัพย์และหมู่

ญาติเสียแล้ว ย่อมทำความเพียรอันเศร้าหมองตลอด

กาลนาน เดินทางผิดย่อมไปสู่ทุคติเพราะความหวัง

เพราะฉะนั้น ท่านชื่อว่า อาสา ที่เขาสมมติว่า เป็นผู้

มักกล่าวให้เคลื่อนคลาดจากความจริง ดูก่อนนางอาสา

ท่านจงนำความหวังในสุธาโภชน์ในตนออกเสีย นาง

เทพธิดาเช่นท่าน ยังไม่สมควรอาสนะและนำสุธาโภชน์

จักมีแต่ที่ไหนเล่า ท่านจงไปเสียเถิด ท่านไม่เป็นที่

ชอบใจของเรา.

ในคาถานั้นมีอธิบายว่า คำว่า แล่นไป คือ แล่นเรือไป. คำว่ามีทรัพย์

สิ้นไป คือ ทรัพย์สูญไปแล้ว โกสิยดาบสกล่าวอธิบายไว้ว่า ชนเหล่าหนึ่ง

ย่อมอิ่มเอิบด้วยอำนาจของท่าน และชนอีกพวกหนึ่งก็เสื่อมโทรมด้วยอำนาจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 494

ของท่าน ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น คนที่มีธรรมอันลามกเหมือน

อย่างท่านจึงไม่มี. คำว่า ทำโดยแยบคาย คือ ย่อมกระทำกิจนั้น ๆ

โดยอุบาย. คำว่า เพราะเพลี้ยตกลงบ้าง อธิบายว่า เพราะอันตราย

ที่เกิดแก่ข้าวกล้าทั้งหลาย มีฝนตกไม่เสมอกันและสัตว์จำพวกหนู มอด หมู

และสัตว์พวกแมลงต่าง ๆ และโรคเกิดจากข้าวสาลีเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง

ตกลง. คำว่า นั้น อธิบายว่า โกสิยดาบสกล่าวว่า ชาวนาเหล่านั้น

ย่อมไม่ประสบผลอะไร ๆ จากข้าวกล้านั้น ท่านผู้เดียวย่อมกระทำกรรมคือ

การตัดความหวังของชาวนาแม้เหล่านั้น. คำว่า ในภายหลัง กระทำการงาน

ของตน อธิบายว่า กระทำความบากบั่นของบุรุษในยุทธภูมิทั้งหลาย. คำว่า

กระทำความหวังข้างหน้า คือ กระทำความหวังที่จะเป็นใหญ่ข้างหน้า.

คำว่า เพื่อประโยชน์แก่นาย คือ เพื่อความต้องการของนาย. คำว่า ถูก

ศัตรูเบียดเบียน คือ เป็นผู้ถูกข้าศึกทั้งหลายเบียดเบียนแล้ว มีทรัพย์สมบัติ

ก็ถูกยื้อแย่งแล้ว มีเสนาและพาหนะถูกกำจัดแล้ว . คำว่า หนีไป คือ ย่อม

หนีไป. คำว่า ไม่ได้ประโยชน์อะไร ๆ คือ ไม่ได้ความเป็นใหญ่

โกสิยดาบสกล่าวว่า ท่านผู้เดียวย่อมกระทำให้ชนแม้เหล่านี้ ไม่ได้ความเป็น

ใหญ่ด้วยประการฉะนี้. คำว่า ผู้ใคร่จะไปสวรรค์ คือ เป็นผู้ปรารถนาจะ

ไปยังสวรรค์. คำว่า เศร้าหมอง หมายเอาความลำบากกายมีความเพียร

๕ อย่าง ซึ่งหมดโอชะแล้วเป็นต้น. คำว่า ตลอดกาลนาน ได้แก่ สิ้น

กาลนานยิ่งนัก. คำว่า ท่านชื่อ อาสา ที่เขาสมมติว่าเป็นผู้มักกล่าวให้

คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง อธิบายว่า สัตว์เหล่านั้นย่อมไปสู่ทุคติเพราะ

ความหวังอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ท่านมีชื่อว่า อาสา เป็นผู้ที่เขาสมมติแล้วว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 495

เป็นผู้มักกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความจริง คือถึงการนับว่าเป็นผู้กล่าวให้

คลาดเคลื่อนจากความจริง โกสิยดาบสย่อมเรียกนางเทพธิดานั้นว่า ดูก่อน

อาสา ดังนี้.

แม้นางอาสานั้น ครั้นถูกโกสิยดาบสห้ามเสียแล้ว จึงอันตรธาน

หายไป. ในลำดับนั้น โกสิยดาบสเมื่อจะเจรจากับนางศรัทธา จึงกล่าวคาถาว่า

ท่านผู้มียศ รุ่งเรื่องอยู่ด้วยยศ ยืนอยู่เป็นเจ้า

ในทิศ เราเรียกโดยชื่ออันน่าเกลียด ดูก่อนนางผู้มี

ร่างกายคล้ายทองคำ เราขอถามท่าน ท่านจงบอกเรา

ว่า ท่านเป็นเทวดาอะไร.

ในคาถานั้นคำว่า รุ่งเรือง คือ รุ่งโรจน์อยู่. คำว่า เราเรียกโดยชื่ออัน

น่าเกลียด อธิบายว่า เราเรียกอยู่โดยชื่ออันน่าเกลียดคือลามกอย่างนี้ว่า นาง

อื่นอีกบ้าง นางคนหลังบ้าง. คำว่า เป็นเจ้าในทิศ ได้แก่ ท่านยืนรุ่งเรืองอยู่.

ลำดับนั้น นางศรัทธาจึงกล่าวคาถาว่า

ข้าพเจ้ามีชื่อว่า ศรัทธาเทวี ที่มนุษย์บูชาแล้วเป็น

ผู้ไม่เสพคบสัตว์ผู้ลามกในกาลทุกเมื่อ มาสู่สำนัก

ของท่าน เพราะวิวาทด้วยสุธาโภชน์ ข้าแต่ท่านผู้มี

ปัญญาอันประเสริฐ ท่านจงแบ่งสุธาโภชน์นั้นให้

ข้าพเจ้าบ้างเถิด.

ในคาถานั้นมีคำอธิบายว่า คำว่า ศรัทธา ได้แก่ การเชื่อถ้อยคำของ

บุคคลคนใดคนหนึ่ง มีโทษก็มี ไม่มีโทษก็มี. คำว่า บูชา คือ บูชาแล้ว

ด้วยอำนาจแห่งส่วนอันไม่มีโทษ. คำว่า ไม่เสพคบสัตว์ผู้ลามกในกาลทุก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 496

เมื่อ อธิบายว่า เป็นผู้มีศรัทธาอันหาโทษมิได้ จริงอยู่ คำว่า ศรัทธา นี้

เป็นชื่อของเทวดาผู้สามารถตบแต่งจัดแจง แม้ในบุคคลอื่นมีการจัดแจงโดย

ส่วนเดียวเป็นสภาพ.

ลำดับนั้น โกสิยดาบสจึงกล่าวว่ากะนางศรัทธานั้นว่า

ก็บางคราวมนุษย์ทั้งหลาย ถืออาการให้บ้าง

การฝึกฝนบ้าง การบริจาคบ้าง การสำรวมบ้าง

ย่อมกระทำด้วยความเชื่อ แต่มนุษย์พวกหนึ่งกระทำ

โจรกรรมบ้าง พูดเท็จบ้าง ล่อลวงบ้าง กล่าวส่อเสียด

บ้าง ท่านอย่าประกอบต่อไปเลย.

บุรุษผู้มีความเพ่งเล็งในภรรยาทั้งหลาย ผู้

ประกอบด้วยศีล ผู้มีวัตรในการปฏิบัติสามีดีแล้ว และ

เป็นผู้เสมอกัน ย่อมนำความพอใจในนางกุลธิดาออก

เสีย เพราะเขาทำความเชื่อตามคำของนางกุมกทาสีอีก

ดูก่อนนางศรัทธา ตัวท่านนั่นแล ให้ชนอื่นเสพคบ

ภรรยาของผู้อื่น ท่านย่อมทำบาป ละทิ้งกุศลเสีย นาง

เช่นท่านไม่สมควรแก่อาสนะและน้ำ สุธาโภชน์จักมี

แต่ไหนเล่า ท่านจงไปเสีย ท่านไม่เป็นที่ชอบใจ

ของเรา.

ก็ดาบสนั้น กล่าวกะนางเทพธิดาผู้มีชื่อว่า ศรัทธานั้นว่า สัตว์เหล่า

นี้เชื่อถ้อยคำของผู้ใดผู้หนึ่งแล้ว ย่อมกระทำกรรมนั้น ๆ เขาย่อมทำกรรมซึ่งไม่

สมควรกระทำให้มากกว่ากรรมที่ควรกระทำเสียอีก กรรมนั้นทั้งหมด ย่อม

ชื่อว่า เป็นกรรมที่ท่านใช้ให้เขาทำแล้วทุกอย่าง ดังนี้ กล่าวไว้แล้ว ด้วยความ

มุ่งหมายอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 497

ในคาถานั้นมีคำอธิบายว่า ก็การให้ที่ประกอบด้วยเจตนามีวัตถุ ๑๐

ประการ ชื่อว่าทาน. การฝึกอินทรีย์ ชื่อว่าการฝึกฝน การบริจาคไทย-

ธรรม ชื่อว่าการบริจาค ศีล ชื่อว่าการสำรวม. คำว่า ถือเอาด้วยความเชื่อ

อธิบายว่า แม้ถือเอาแล้ว ก็ย่อมกระทำตามคำของบุคคลผู้กล่าวอยู่ว่า การ

ให้ทานเป็นต้นเหล่านี้ มีอานิสงส์มาก ท่านพึงกระทำเถิด ดังนี้ เพราะความ

เชื่อ. คำว่า ล่อลวง ความว่า มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมกระทำกรรมมีการโกง

ด้วยตาชั่งเป็นต้น หรือกรรมมีการโกงชาวบ้านเป็นต้น. คำว่า แต่มนุษย์พวก

หนึ่ง มีอธิบายว่า ฝ่ายมนุษย์อีกพวกหนึ่งเชื่อถ้อยคำของชนบางพวกว่า ท่าน

พึงกระทำโจรกรรมเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่คนเหล่านั้นด้วยเหล่านี้ด้วย ใน

กาลทั้งหลายซึ่งเห็นปานนี้ ดังนี้ แล้วกระทำกรรมแม้เหล่านี้. คำว่า ท่านอย่า

ประกอบต่อไป อธิบายว่า แม้ชนเหล่าอื่นไม่เชื่อถ้อยคำของบุคคลผู้กล่าวอยู่

ว่า กรรมเหล่านั้น เต็มไปด้วยโทษมีทุกข์เป็นผล ท่านไม่ควรทำดังนี้ ก็ยัง

ขืนกระทำ กรรมนั้น ท่านอย่าได้ชักชวนต่อไป เพราะกรรมที่บุคคลกระทำ

ด้วยอำนาจของท่านนั้น มีโทษก็มี ไม่มีโทษก็มี ด้วยประการฉะนี้. คำว่า

เสมอกัน คือเป็นผู้เสมอกันด้วยชาติ โคตรและศีลเป็นต้น. คำว่า เพ่งเล็ง

อธิบายว่า ตัณหา ท่านกล่าวว่าความเพ่งเล็ง อธิบายว่า เป็นผู้มีความห่วงใย

ยังมีตัณหา. คำว่า ความพอใจ ได้แก่ เป็นผู้มีจิตรักใคร่แล้ว ย่อมกระทำ

ความกำหนดด้วยสามารถแห่งความพอใจ. คำว่า ความเชื่อ ได้แก่ ย่อม

กระทำความเชื่อตามถ้อยคำแม้ของนางกุมภทาสี จริงอยู่ เมื่อนางกุมภทาสีนั้น

กล่าวอยู่ว่า ดิฉันจักกระทำอุปการะชื่อนี้แก่ท่าน ดังนี้ บุรุษนั้นเชื่อแล้วก็ทิ้งแม้

หญิงผู้มีตระกูลเสีย กลับมาเห็นกับนางทาสีนั้นแล. อนึ่ง บุรุษกระทำความเชื่อ

ตามถ้อยคำของนางกุมภทาสีว่า หญิงมีชื่อนั้น มีจิตรักใคร่ในตัวท่าน ดังนี้แล้ว

ย่อมเสพภรรยาของชนอื่น. คำว่า ดูก่อนนางศรัทธา ตัวท่านนั่นแลให้ชนอื่น

เสพในภรรยาของผู้อื่น มีอธิบายว่า เพราะเหตุที่ชนทั้งหลายเชื่อฟังคำนั้น ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 498

จึงเสพภรรยาของชนอื่นกระทำกรรมอันเป็นบาปละกุศลเสีย เพราะอำนาจของ

ท่าน เพราะฉะนั้น ตัวท่านนั่นแล ชื่อว่าเป็นผู้เสพซึ่งภรรยาของชนอื่น ท่าน

ย่อมกระทำกรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย ย่อมละทิ้งกุศลเสีย บุคคลที่มีธรรมอัน

ลามก ผู้ทำโลกให้ฉิบหายเหมือนกับท่านไม่มีอีกแล้ว ท่านจงไปเสียเถิด ท่าน

ไม่เป็นที่ชอบใจแก่เรา.

นางศรัทธานั้น ก็ได้อันตรธานหายไปในที่นั้นเอง. ฝ่ายโกสิยดาบส

เมื่อจะเจรจากับนางหิรีผู้ยืนอยู่ด้านทิศอุดร จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

เมื่ออรุณขึ้นไปในที่สุดแห่งราตรี นางเทพธิดา

ใด เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งรูปอันงดงามปรากฏอยู่ ดูก่อน

เทวดา ท่านเปรียบเหมือนนางเทพธิดานั้น จะพูดกะ

เราหรือ ท่านจงบอกแก่เราว่าท่านเป็นนางอัปสรอะไร

ท่านมีชื่อว่าอย่างไร ยืนอยู่ประดุจเถาวัลย์ดำในฤดูร้อน

และประดุจเปลวไฟที่ห้อมล้อมอยู่ด้วยใบไม้สีแดง ถูก

ลมพัดแล้วดูงามฉะนั้น ท่านเป็นผู้ราวกะว่าจะพูดแต่

มิได้เปล่งวาจาออกมา แลดูอยู่เหมือนนางเนื้อเขลา

ฉะนั้น.

ในคาถานั้นมีคำอธิบายว่า คำว่า ในที่สุดแต่งราตรี หมายถึงราตรี

อันเป็นที่สุดท้าย อธิบายว่า กาลเป็นที่สุดแห่งกลางคืน. คำว่า ขึ้นไป คือเมื่อ

อรุณขึ้นไปแล้ว. คำว่า ใด อธิบายว่า นางเทพธิดาใดเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งรูปอันงด-

งาม เพราะมีผิวพรรณดังทองคำปรากฏอยู่ทางด้านทิศบูรพาในเวลากลางคืน.

คำว่า ประดุจเถาวัลย์ดำในฤดูร้อน คือประหนึ่งว่า เถาวัลย์มีสีดำในสมัย

แห่งฤดูร้อน ฉะนั้น. คำว่า ประดุจเปลวไฟ ได้แก่ ประดุจเปลวเพลิง แม้

นางเทพธิดานั้น ยืนอยู่ประดุจเถาวัลย์คำที่งอกขึ้นอ่อน ๆ มีสีแดงดีในนาที่ไฟ

ไหม้แล้วใหม่ ๆ. คำว่า ห้อมล้อมอยู่ด้วยใบไม้สีแดง คือมีใบไม้ต่าง ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 499

ซึ่งมีสีแดงแวดล้อมแล้ว. คำว่า ท่านมีชื่อว่าอย่างไรยืนอยู่ อธิบายว่า

เถาวัลย์คำอ่อนนั้น ถูกลมพัดแล้วไหวไปมาอยู่ดูงดงามตั้งอยู่ด้วยประการใด

ท่านมีชื่อว่าอย่างไร ยืนอยู่ด้วยประการนั้น. คำว่า ราวกะว่าจะพูด อธิบาย

ว่า ท่านได้เป็นผู้ราวกะว่าปรารถนาจะพูดกับเรา แต่หาเปล่งถ้อยคำไม่.

ลำดับนั้น นางหิรีเทพธิดานั้น จึงกล่าวคาถาว่า

ข้าพเจ้ามีชื่อว่านางหิรีเทวี ได้รับการบูชาแล้ว

ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่เสพสัตว์ผู้ลามกใน

กาลทุกเมื่อ มายังสำนักของท่าน เพราะวิวาทกันด้วย

เรื่องสุธาโภชน์ ข้าพเจ้านั้น มิอาจที่จะขอสุธาโภชน์

กะท่านได้ เพราะการขอของหญิงดูเหมือนจะเป็นของ

น่าละอาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิราห คือ ข้าพเจ้าชื่อหิรี. บทว่า สุธปิ

ความว่า ข้าพเจ้านั้นไม่อาจแม้เพื่อขอสุธาโภชน์กะท่าน. เพราะเหตุไร บทว่า

โกปินรูปาวิย ยาจนิตฺถิยา ความว่า เพราะการขอของหญิงดูเหมือนจะ

เป็นของน่าละอาย เป็นเช่นกับการเปิดเผยอวัยวะลับ เป็นเหมือนปราศจาก

ความละอาย.

โกสิยดาบสได้สดับคำนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

ดูก่อนนางผู้มีกายงดงาม ท่านจักได้ตามธรรม

ตามอุบายที่ชอบ นี้เป็นธรรมดาทีเดียว ก็สุธาโภชน์นั้น

ท่านจะได้เพราะการขอก็หาไม่ เพราะฉะนั้น เราพึง

เชื้อเชิญท่านผู้มิได้ขอสุราโภชน์นั้น ท่านต้องการสุธา-

โภชน์ใด ๆ เราจะให้สุธาโภชน์นั้น ๆ แก่ท่าน. ดูก่อน

นางผู้มีสรีระคล้ายทองคำ วันนี้เราขอเชิญท่านไปใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 500

อาศรมของเรา เราจะบูชาท่านด้วยสรรพรส ครั้นบูชา

ท่านแล้ว จึงจักบริโภคสุธาโภชน์.

ในคาถานั้นมีคำอธิบายว่า คำว่า ตามธรรม คือตามสภาพ. คำว่า ตาม

อุบายที่ชอบ คือตามเหตุ. คำว่า สุธาโภชน์นั้นท่านจะได้เพราะการขอก็

หาไม่ อธิบายว่า สุธาโภชน์นี้ ท่านจะไม่ได้เพราะการขอเลย นางเทพธิดาทั้ง

๓ นอกนี้ ไม่ได้แล้วเพราะเหตุนั้นแล. คำว่า เพราะฉะนั้น คือเพราะเหตุนั้น.

คำว่า ท่านต้องการสุธาโภชน์ใดๆ อธิบายว่า เรามิได้เชื้อเชิญท่านแต่อย่าง

เดียวเท่านั้น ก็ท่านปรารถนาสุธาโภชน์ชนิดใด เราจะให้สุธาโภชน์แม้นั้นแก่

ท่าน. คำว่า นางผู้มีสรีระคล้ายทองคำ คือนางผู้มีสรีระเต็มไปด้วยสิริประดุจ

กองแห่งทองคำ. คำว่า บูชาแล้ว อธิบายว่า เรามิได้บูชาท่านด้วยสุธาโภชน์

อย่างเดียวเท่านั้น ท่านยังเป็นผู้สมควรที่เราควรจะบูชาด้วยสรรพรส แม้เหล่า

อื่นอีกด้วย. คำว่า จักบริโภค อธิบายว่า เราบูชาท่านแล้ว ส่วนที่เหลือ

ของสุธาโภชน์จักมี เราจักบริโภคส่วนที่เหลือนั้น.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

ในกาลนั้น นางหิรีเทพธิดาผู้ไม่ข้องเกี่ยวกับ

สัตว์ผู้ลามกในกาลทุกเมื่อนั้น เป็นผู้อันดาบสชื่อ

โกสิยะ ผู้มีความรุ่งเรืองยอมให้เข้าไปสู่อาศรมอันน่า

รื่นรมย์ มีน้ำและผลไม้สมบูรณ์อันท่านผู้ประเสริฐ

บูชาแล้ว ณ ที่ใกล้อาศรมสถานนั้นมากไปด้วยหมู่รุกขะ

ชาตินานาชนิด อันผลิดอกออกผล มีทั้งมะม่วง

มะหาด ขนุน ทองกวาว มะรุม อีกทั้งต้นโลท และ

บัวบก การะเกด จันทน์กะพ้อ และหมากหอมแก่ ล้วน

กำลังออกดอกบานสะพรั่ง. ในที่นั้นมากไปด้วยต้นไม้

ชนิดใหญ่ ๆ คือต้นรัง ต้นกุ่ม ต้นหว้า ต้นโพธิ์ ต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 501

ไทร อีกทั้งมะซาง ราชพฤกษ์ แคฝอย ไม้ย่างทราย

ไม้จิก และลำเจียก ต่างก็มีกิ่งอันห้อยย้อยลงมา กำลัง

ส่งกลิ่นหอมฟุ้งน่ายวนใจนัก ถั่วแระ อ้อยแขม ถั่วป่า

ตะโก ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ถั่วขาวเล็ก กล้วยมีเมล็ด

กล้วยไม่มีเมล็ด ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ราชดัด และ

ข้าวสารอันเกิดเอง ก็มีอยู่ในอาศรมนั้นมากมาย ก็

เบื้องหน้าด้านทิศอุดรแห่งอาศรมสถานนั้น มีสระ

โบกขรณีอันงามราบรื่น มีพื้นท่าขึ้นลงเรียบเสมอกันมี

น้ำใสจืดสนิทไม่มีกลิ่นเหม็น อนึ่ง ในสระโบกขรณีนั้น

มีปลาต่างชนิด คือ ปลาดุก ปลากะทุงเหว ปลา

กราย กุ้ง ปลาตะเพียน ปลาฉลาด ปลากา ว่าย

เกลื่อนกลาดไปในสระโบกขรณีที่มีขอบคัน พากัน

แหวกว่ายอย่างสบายทั้งเหยื่อก็มาก และที่ใกล้เคียง

สระโบกขรณีนั้น มีนกต่างชนิด คือหงส์ นกกระเรียน

นกยูง นกจากพราก นกออก กระเหว่าลาย นกยูง

ทอง นกพริกและนกโพระดกมากมาย ล้วนมีขนปีก

อันงดงาม พากันจับอยู่อย่างสบาย ทั้งอาหารก็มีมาก

ในที่ใกล้เคียงสระโบกขรณีนั้น มีปาณชาติและหมู่เนื้อ

ต่าง ๆ มากมาย คือราชสีห์ เสือโคร่ง ช้าง หมี เสือ

ปลา เสือดาว แรดและโคลาน กระบือ ละมั่ง กวาง

เนื้อทราย หมูป่า ระมาด หมูบ้าน กวางทอง แมว

กระต่าย วัวกระทิง เป็นอันมากล้วนงามวิจิตรหลาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 502

หลาย พื้นดินและหินเขาดารดาษงามวิจิตรไปด้วยดอก

ไม้ ทั้งฝูงนกก็ส่งเสียงร้องกึกก้อง เป็นที่อาศัยของหมู่

ปักษี.

ในคาถาเหล่านั้น มีอรรถาธิบายว่า คำว่า ผู้มีความรุ่งเรือง คือ

เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอานุภาพ. คำว่า ให้เข้าไปสู่อาศรม คือ เชิญให้

เข้าไปยังอาศรมบท. อักษรเป็นพยัญชนะสนธิ. คำว่า มีน้ำ คือ สมบูรณ์

ด้วยน้ำในที่นั้น ๆ ผลไม้ คือ สมบูรณ์ด้วยผลไม้มากมาย. คำว่า พระอริยะ

บูชาแล้ว คือ พระอริยะทั้งหลาย ผู้มีปกติได้ฌาน ผู้เว้นแล้วจากโทษคือ

นิวรณ์ บูชาแล้วคือสรรเสริญแล้ว. คำว่า หมู่รุกขชาติ หมายถึงหมู่ไม้ที่

กำลังผลิดอกออกผล. คำว่า มะรุม ก็คือต้นมะรุม. คำว่า อีกทั้งต้นโลท

และบัวบก คือ ต้นโลทด้วย ต้นบัวบกด้วย. คำว่า การะเกด และจันทน์-

กะพ้อ คือ ต้นไม้ที่มีชื่ออย่างนั้นทีเดียว. คำว่า กุ่ม ก็คือต้นกุ่มนั่นแล.

คำว่า ราชพฤกษ์ คือ ต้นราชพฤกษ์ (ต้นคูน). คำว่า ไม้จิกและลำเจียก

ได้แก่ ต้นจิกและลำเจียก ๕ ชนิด. คำว่า ถั่วแระ หมายถึงอปรัณชาติ

ชนิดหนึ่ง. คำว่า อ้อยแขม ได้แก่ ต้นอ้อย. คำว่า ถั่วป่า ก็คือถั่วราชมาษ

กล้วยมีเมล็ดเรียกว่า โมจะ คำว่า ข้าวสาลี คือ ข้าวสาลีต่าง ๆ ชนิด ซึ่ง

อาศัยชาตสระเกิดแล้วมีประการต่าง ๆ. คำว่า ข้าวเปลือก ได้แก่ ข้าวเปลือก

ต่างชนิด. คำว่า ราชดัด คือต้นราชดัด (ต้นสมอ). คำว่า ข้าวสาร หมายถึง

รวงข้าวสารอันเกิดขึ้นเอง ไม่มีรำและแกลบ. คำว่า อาศรมสถานนั้น

อธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในส่วนแห่งทิศอุดรของอาศรมนั้น. คำว่า

สระโบกขรณี หมายถึงสระโบกขรณีที่เกิดขึ้นเอง ดารดาษไปด้วยดอกบัว

๕ ชนิด. คำว่า ราบรื่น คือ เว้นจากของโสโครกมีดีปลา และสาหร่ายเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 503

คำว่า มีท่าเรียบ คือ มีท่าเรียบเสมอกัน มีพื้นที่มิได้ขาด. คำว่า ไม่มี

กลิ่นเหม็น คือ ประกอบด้วยน้ำ มีกลิ่นอันไม่น่ารังเกียจคือมีกลิ่นหอม.

คำว่า นั้น หมายถึงในสระโบกขรณีนั้น. คำว่า สบาย คือไม่มีภัย. คำว่า

ปลาดุก นี้เป็นชื่อของปลาจำพวกนั้น . คำว่า กระเหว่าลาย หมายถึง

จำพวกนกดุเหว่า. คำว่า งดงาม คือมีขนปีกอันงดงาน. คำว่า นกยูงทอง

ได้แก่ นกยูงที่มีหงอนตั้งขึ้น. อีกอย่างหนึ่ง แม้นกเหล่าอื่นที่มีหงอนงอกขึ้น

บนหัว ก็เรียกว่า สิขิณฑะเหมือนกัน. คำว่า มีปาณชาติ คือเหล่าสัตว์ที่มี

ชีวิตทั้งหลายพากันมา. คำว่า แรด หมายถึงพวกแรดต่าง ๆ. คำว่า โคลาน

ได้แก่ พวกโคลานทั้งหลาย. คำว่า ระมาด หมายถึงสัตว์ที่มีหูเหมือนโค.

คำว่า วัวกระทิง หมายถึงเนื้อที่มีเขาแหลม. คำว่า พื้นดินและหินเขา

อธิบายว่า หลังแผ่นหินมีพื้นเรียบเสมอพื้นดิน ดารดาษด้วยดอกไม้อันงาม

วิจิตร. คำว่า ทั้งฝูงนกก็ส่งเสียงร้องกึกก้อง อธิบายว่า ภาคพื้นและ

ภูเขาในที่นั้นมีรูปเห็นปานนี้ อันฝูงนกทั้งหลายร้องกึกก้องไปทั่วแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงพรรณนาอาศรมของโกสิยดาบสอย่าง

นี้แล้ว บัดนี้ พระองค์หวังจะทรงแสดงอาการ ที่นางหิรีเข้าไปในอาศรมนั้น

เป็นต้น จึงตรัสว่า

นางหิรีเทพธิดานั้นมีผิวพรรณงาม ทัดดอกไม้

เขียว เดินเข้าไปยังอาศรมประหนึ่งมหาเมฆ ขณะ

เมื่อฟ้าแลบสว่าง ฉะนั้น โกสิยดาบสได้พูดคำนี้

กะนางหิรีเทพธิดา ผู้ผูกข้องผมเรียบร้อยดีแล้วด้วย

หญ้าคาอันสะอาด มีกลิ่นหอม มีเก้าอี้นั่งตั้งไว้ที่ประตู

บรรณศาลา ใช้ลาดด้วยหนังเสืออชินะ เพื่อนางหิรี

นั้นว่า ดูก่อนนางงาม เชิญท่านนั่งบนอาสนะนี้ตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 504

สบายเถิด ในกาลนั้น เมื่อนางนั่งเก้าอี้แล้ว โกสิย

ดาบสมหามุนี ผู้ทรงชฎาอันรุ่งเรืองได้รีบนำสุธา-

โภชน์มาพร้อมกับน้ำ ด้วยใบบัวใหม่เอง เพื่อจะให้

เพียงพอตามความประสงค์ นางหิรีเทพธิดานั้น

เป็นผู้นีใจเบิกบาน รับสุธาโภชนีนั้นด้วยมือทั้งสอง

แล้ว จึงกล่าวกะโกสิยฤๅษีผู้ทรงชฎาว่า ข้าแต่

มุนีผู้ประเสริฐ เอาเถิด ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ชัยชนะที่

พระผู้เป็นเจ้าบูชาแล้ว จะพึงไปสู่ไตรทิพยสถานใน

บัดนี้ นางหิรีเทพธิดานั้น เป็นผู้มัวเมาแล้วด้วยความ

เมาในผิวพรรณ เป็นผู้อันโกสิยดาบส ผู้มีความรุ่งเรือง

กล่าวอนุมัติแล้ว กลับไป ณ สำนักของท้าวสหัสนัยน์

ทูลว่า ข้าแต่ท้าววาสวะ สุธาโภชน์นี้โกสิยดาบส

ให้แล้ว ขอพระบิดาจงประโยคทานความชำนะให้แก่

หม่อมฉันเถิด แม่ท้าวสักกะ ก็ได้ทรงบูชานางหิรีนั้น

ในกาลนั้น เทวดาทั้งหลายพร้อมด้วยพระอินทร์ ได้

พากันบูชานางสุรกัญญาผู้สูงสุด นางหิรีเทพธิดานั้น

ท้าวสักกะให้นั่งบนเก้าอี้ทองคำอันใหม่ ในกาลใด

เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ด้วยการ

ประนมหัตถ์ในกาลนั้น.

ในคาถานั้นมีอรรถาธิบายว่า คำว่า มีผิวพรรณงาม คือมีผิวดี. คำว่า

ทัดดอกไม้เขียว ความว่า ห้อยดอกไม้สีเขียว ลูบคลำกิ่งไม้เขียวนั้น ๆ. คำว่า

ประหนึ่งมหาเมฆ อธิบายว่า นางหิรีเทพธิดานั้น เป็นผู้อันโกสิยดาบสนั้น

เชื้อเชิญแล้ว จึงเดินเข้าไปสู่อาศรมของท่าน ประหนึ่งสายฟ้าแลบในระหว่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 505

มหาเมฆฉะนั้น. คำว่า นั้น คือ เพื่อนางหิรีเทพธิดานั้น. คำว่า ผู้ผูกช้องผม

เรียบร้อยดีแล้ว คือ ผู้มีศีรษะอันผูกไว้ดีแล้ว. คำว่า หญ้าคา คือ สำเร็จ

ด้วยหญ้าคา เจือด้วยหญ้าไทรเป็นต้น . คำว่า มีกลิ่นหอม คือ มีกลิ่นหอม

เพราะเจือด้วยหญ้าไทรและหญ้าที่มีกลิ่นหอมอย่างอื่น. คำว่า ลาดด้วยหนัง

เสือ ได้แก่ ใช้หนังเสืออชินะปูไว้ข้างบน. คำว่า มีเก้าอี้นั่ง คือ ลาด

เก้าอี้เห็นปานนี้ ไว้ที่ประตูบรรณศาลา. คำว่า นั่งบนอาสนะนี้ตามสบาย

มีอธิบายว่า ท่านจงนั่งบนอาสนะนี้ตามความสุขสบายเถิด. คำว่า เพื่อจะให้

เพียงพอตามความประสงค์ อธิบายว่า นางปรารถนาอยู่ซึ่งสุธาโภชน์พออิ่ม.

คำว่า ด้วยใบบัวใหม่ ได้แก่ ด้วยใบบัวอันสดที่นำมาจากสระโบกขรณีใน

ขณะนั้นเอง. คำว่า เอง คือด้วยมือของตนเอง. คำว่า พร้อมกับน้ำ คือ

ประกอบด้วยน้ำทักษิณา. คำว่า นำสุธาโภชน์มา คือ นำสุธาโภชน์มา

เฉพาะแล้ว. คำว่า รีบ คือรีบนำมาด้วยกำลังแห่งความโสมนัส. คำว่า เอาเถิด

นี้เป็นนิบาตใช้ในข้อความเป็นอุปสรรค. คำว่า ผู้ได้ชัยชนะ คือเป็นผู้ถึง

แล้วซึ่งความชนะ. คำว่า อนุมัติแล้ว คือ อนุญาตแล้วว่า ท่านจงไปตาม

ความพอใจ ณ บัดนี้เถิด. คำว่า ทูล ความว่า นางหิรีนั้นกลับไปยังไตรทศบุรี

แล้ว กล่าวในสำนักของท้าวสักกะว่า สุธาโภชน์นี้โกสิยดาบสให้แล้ว. คำว่า

นางสุรกัญญา หมายถึงนางเทพธิดา. คำว่า สูงสุด คือ ประเสริฐ. คำว่า

นางเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้วด้วยประนมหัตถ์ อธิบายว่า

เป็นผู้อันเทวดาทั้งหลายด้วย อันมนุษย์ทั้งหลายด้วย บูชาแล้ว ด้วยยกมือ

ประนม. คำว่า ในกาลนั้น อธิบายว่า นางเข้าไปยังเก้าอี้ กล่าวคือตั่งทองคำ

ใหม่ที่ท้าวสักกะประทานแล้ว เพื่อต้องการนั่งในกาลใด ในกาลนั้น ท้าวสักกะ

และเทวดาที่เหลือจึงพากันบูชานางผู้นั่งบนตั่งนั้น ด้วยดอกปาริฉัตตกะเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 506

ท้าวสักกะครั้นบูชานางอย่างนี้แล้ว จึงทรงดำริว่า เพราะเหตุอะไร

เล่าหนอ โกสิยดาบสจึงไม่ให้แก่นางเทพธิดาที่เหลือ ได้ให้สุธาโภชน์แก่

นางหิรีนี้ผู้เดียว ท้าวเธอจึงส่งมาตลีเทพสารถีไปอีกครั้งหนึ่ง เพื่อต้องการจะรู้

เหตุนั้น.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

ท้าวสหัสนัยน์ผู้เป็นจอมแห่งชาวไตรทศ ได้ตรัส

กะมาลีนั้นต่อไปอีกว่า ท่านจงไปถามโกสิยดาบส

ตามคำของเราว่า ข้าแต่โกสิยดาบส เว้นนางอาสา

นางศรัทธา และนางสิริเสีย นางหิรีผู้เดียวได้สุธาโภชน์

แล้ว เพราะเหตุอะไร.

ในคาถานั้นมีคำอธิบายว่า คำว่า ตรัส คือได้ตรัสไว้แล้ว. คำว่า ตาม

คำของเรา คือท่านจงกล่าวคำพูดของเรากะโกสิยดาบส. คำว่า นางอาสา

นางศรัทธา และนางสิรี ความว่า เว้นจากนางอาสา นางศรัทธาและนางสิรี

เสีย นางหิรีผู้เดียวเท่านั้นได้สุธาโภชน์แล้ว เพราะเหตุอะไร.

มาตลีเทพสารถีนั้น รับคำของท้าวสักกะนั้นแล้ว จงได้ขึ้นรถ

ไพชยนต์ไป.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

มีตลีขึ้นรถนั้น เลื่อนลอยไปตามสบายรุ่งเรือง

อยู่ เช่นกับด้วยเครื่องใช้สอย มีงอนรถสำเร็จ

ไปด้วยทองชมพูนุท มีสีแดงคล้ายทองวิเศษ มีเครื่อง

ลาดวิจิตรด้วยทองคำอันประดับแล้ว รูปทั้งหลายมีอยู่

มากมายในรถนั้น คือ รูปพระจันทร์ ช้าง โค ม้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 507

กินนร เสือโคร่ง เสือเหลือง เนื้อทราย ล้วนสำเร็จ

ด้วยทองคำ นกทั้งหลายในรถนั้น ทำด้วยรัตนะต่างๆ

ดุจกระโดดโลดเต้นอยู่ หมู่มฤคในรถนั้น จัดไว้ตามฝูง

ล้วนสำเร็จด้วยแก้วไพฑูรย์ พวกเทพบุตรได้เทียม

พระยาม้าอัศวราช ซึ่งมีสีดังทองคำในรถนั้น คล้าย

ช้างหนุ่มมีกำลัง ประมาณพันตัว อันประดับแล้ว

มีเครื่องประดับทับทรวง อันทำด้วยข่ายทองคำ ทั้ง

ห้อยเครื่องประดับหู ไปโดยเสียงปกติไม่ขัดข้อง

มาตลีขึ้นสู่ยานอันประเสริฐนั้น บันลือแล้วตลอด

ทิศทั้งสิบเหล่านี้ ให้ท้องฟ้าภูเขาและต้นไม้ใหญ่อัน

เป็นเจ้าแห่งไพร พร้อมทั้งสาครตลอดทั้งเมทนีดลให้

สนั่นหวั่นไหวทั่วไป.

มาตลีนั้นเข้าไปยังอาศรมโดยเร็วพลันอย่างนี้

กระทำผ้าทิพยปาวารเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กระทำอัญชลี

แล้ว กล่าวกะโกสิยดาบสผู้เป็นพราหมณ์ประเสริฐ

กว่าหมู่เทวดา ผู้เป็นพหูสูตผู้เจริญ ผู้มีวัตรอันฝึกหัด

ดีแล้วว่า ข้าแต่โกสิยดาบส ท่านจงฟังถ้อยคำ

ของพระอินทร์ ข้าพเจ้าเป็นทูตท้าวปุรินททเทวราช

ตรัสถามท่านว่า ข้าแต่โกสิยดาบส ยกเว้นนาง

อาสานางศรัทธา นางสิรีเสีย เพราะเหตุไร นางหิรีจึง

ได้สุธาโภชน์แต่ผู้เดียว.

ในคาถานั้นมีอรรถาธิบายว่า คำว่า เลื่อนลอยไปตามสบาย ความว่า

มาตลีขึ้นรถไฟชยนต์นั้นเลื่อนลอยไปตามสบาย. คำว่า ขึ้น คือ ขึ้นสู่รถนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 508

ได้แก่ ได้กระทำการตระเตรียมจะเหาะไป. คำว่า เช่นกับด้วยเครื่องใช้สอย

คือ เช่นกับด้วยภัณฑะเครื่องอุปกรณ์ทั้งหลาย. คำว่า รุ่งเรือง อธิบายว่า

รถนี้รุ่งเรืองแล้วเหมือนเครื่องอุปกรณ์ อันมีสีเสมอด้วยเปลวไฟของมาตลี

นั้นรุ่งเรืองอยู่ฉะนั้น. คำว่า แล้วไปด้วยทองคำชมพูนุท อธิบายว่า มี

งอนรถสำเร็จไปด้วยทองคำมีสีแดง กล่าวคือทองชมพูนุท. คำว่า มีเครื่อง

ลาดอันวิจิตรด้วยทองคำ คือประกอบแล้วด้วยเครื่องลาดอันเป็นมงคล อัน

วิจิตรด้วยรัตนะ ๗ ประการ สำเร็จด้วยทอง. คำว่า รูปพระจันทร์ อธิบายว่า

รูปพระจันทร์อันสำเร็จไปด้วยทองคำมีอยู่ในรถนั้น. คำว่า ช้าง คือ รูปช้าง

อันสำเร็จด้วยทองคำ สำเร็จด้วยเงินและสำเร็จด้วยแก้วมณี แม้ในคำว่า โค

เป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกันทีเดียว. คำว่า นกทั้งหลายในรถนั้นดุจกระโดด

โลดเต้นอยู่ อธิบายว่า แม้ฝูงนกอันสำเร็จด้วยรัตนะต่าง ๆ กำลังกระโดด

โลดเต้นอยู่ในรถนั้นตามลำดับทีเดียว. คำว่า จัดไว้ตามฝูง อธิบายว่า

ประกอบแล้วกับฝูงของตน ๆ แสดงไว้แล้ว. คำว่า พระยาม้าอัศวราชมีสี

ดังทองคำ ได้แก่พระยาม้าอัศวราชมโนมัยมีสีทอง. คำว่า คล้ายช้างหนุ่ม

มีกำลัง คือเช่นกับช้างรุ่นหนุ่มอันถึงพร้อมด้วยกำลัง. คำว่า มีเครื่อง

ประดับทับทรวงอันกระทำด้วยข่ายทองคำ คือประกอบด้วยเครื่องอลัง

การทับทรวงอันแล้วด้วยข่ายทองคำ. คำว่า ห้อยเครื่องประดับหู ได้แก่

ประกอบด้วยเครื่องประดับหู กล่าวคือพวงระย้า. คำว่า ไปโดยเสียงปกติ

คือมีการวิ่งไปเป็นปกติ ด้วยอาการสักว่าเสียงเท่านั้น ปราศจากการประหาร

ด้วยปฏัก. คำว่า ไม่ขัดข้อง อธิบายว่า พวกเทพบุตรเทียมพระยาม้า

อัศวราชเห็นปานนี้ จึงไม่มีความขัดข้องวิ่งไปเร็วในรถนั้น. คำว่า บันลือ

มีอธิบายว่า มาตลีได้กระทำการบันลือเป็นอันเดียวกันด้วยเสียงแห่งยาน.

คำว่า เจ้าแห่งไพร อธิบายว่า เป็นเจ้าแห่งป่า และชัฏป่า. คำว่า ให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 509

สนั่นหวั่นไหว คือให้สะเทือนสะท้านทั่วไป บัณฑิตพึงทราบความหวั่นไหว

ด้วยความหวั่นไหวแห่งวิมาน อันตั้งอยู่ในอากาศในรถนั้น. คำว่า กระทำ

ผ้าทิพยปาวารเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง อธิบายว่า มีผ้าทิพยปาวารกระทำเฉลียง

บ่าไว้ข้างหนึ่ง. คำว่า ผู้เจริญ คือเจริญด้วยคุณ. คำว่า มีวัตรอันฝึกหัด

ดีแล้ว คือประกอบด้วยวัตร ได้แก่มารยาทอันฝึกหัดไว้ดีแล้ว . คำว่า กล่าว

ความว่า มาตลีหยุดรถนั้นในอากาศแล้ว จึงลงไปกล่าวอย่างนี้. คำว่า

ผู้เป็นพราหมณ์ประเสริฐกว่าหมู่เทวดา อธิบายว่า ผู้เป็นพราหมณ์

ประเสริฐแก่เทวดาทั้งหลาย.

โกสิยดาบสสดับคำของมาตลีนั้นแล้ว จึงได้กล่าวคาถาว่า

ดูก่อนมาตลีเทพสารถี นางสิรีเทพธิดากล่าวตอบ

ข้าพเจ้าว่า แน่ ส่วนนางศรัทธากล่าวตอบข้าพเจ้าว่า

ไม่เที่ยง แต่นางอาสาเราสมมติว่า เป็นผู้กล่าวให้

คลาดเคลื่อนจากความจริง ส่วนนางหิรีเป็นผู้ตั้งอยู่

ในคุณอันประเสริฐ.

ในคาถานั้น มีคำอธิบายว่า นางสิรีตอบกะเราว่าแน่ เพราะคบชนที่ถึง

พร้อมแล้ว ด้วยศิลปศาสตร์เป็นต้นบ้าง ชนที่ไร้จากคุณเช่นนั้นบ้าง ส่วนนาง

ศรัทธาตอบกะเราว่า ไม่เที่ยง เพราะบุคคลละวัตถุนั้น ๆ แล้ว จึงไปบังเกิดขึ้นใน

ที่อื่น เพราะอาการที่มีแล้วกลับไม่มี ฝ่ายนางอาสาพูดตอบกะเราว่า พวกชน

ผู้มีความต้องการด้วยทรัพย์ แล่นเรือไปยังมหาสมุทร พอขาดทุนหมดแล้วจึง

กลับ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้พูดให้ผิด ส่วนนางหิรีเป็นผู้ตั้งอยู่ในคุณอัน

บริสุทธิ์ และในคุณอันประเสริฐ กล่าวคือเป็นผู้มีหิรีและโอตตัปปะเป็นปกติ.

เมื่อโกสิยดาบสจะพรรณนาคุณของนางหิรีนั้นในบัดนี้ จึงกล่าว

คาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 510

นางกุมารีก็ดี หญิงที่สกุลรักษาแล้วก็ดี หญิงแก่

ที่ไม่มีสามีก็ดี หญิงมีสามีก็ดี เหล่านี้ได้รู้ฉันทราคะที่

เกิดขึ้นแรงกล้าในบุรุษทั้งหลายแล้ว ห้ามกันจิตของตน

เสียได้ด้วยความละอายใจ เปรียบเหมือนนักรบเหล่าใด

ที่ต้องสละชีวิตในสนานรบ อันกำลังต่อสู้ด้วยลูกศรและ

หอก เมื่อพวกนักรบแพ้แล้วในระหว่างผู้ที่ล้มไปอยู่

และหนีไป ย่อมกลับมาด้วยความละอายใจ พวกนัก

ที่แพ้สงครามเหล่านั้น เป็นผู้มีใจละอาย ย่อมมารับ

นายอีกฉะนั้น. นางหิรีนี้เป็นผู้มีปกติห้ามชนเสียจาก

บาป เหมือนทำนบเป็นสถานที่กั้นกระแสน้ำเชี่ยวไว้

ได้ ฉะนั้น ดูก่อนเทพสารถี เพราะฉะนั้น ท่านจง

ทูลตามคำที่เรากล่าวแล้วนั้นแด่พระอินทร์ว่า นางหิรี

นั้น อันท่านผู้ประเสริฐบูชาแล้วในโลกทั้งปวง ฉะนั้น.

ในคาถาเหล่านั้น มีคำอธิบายว่า คำว่า หญิงแก่ หมายถึง

หญิงหม้าย. คำว่า หญิงมีสามี หมายถึงหญิงรุ่นสาวที่มีสามี. คำว่า

ของตน อธิบายว่า หญิงเหล่านั้นแม้ทั้งหมด รู้สึกมีความกำหนัดด้วย

สามารถแห่งความพอใจของ คนบังเกิดขึ้นแล้วในบุรุษอื่น ย่อมห้ามกันจิต

ของคนเสียได้ คือไม่กระทำกรรมอันลามก เพราะความละอายว่า กรรมนี้ไม่

สมควรแก่เรา. คำว่า ล้มไปอยู่และหนีไป อธิบายว่า ในระหว่างแห่งผู้

ที่ล้มไปอยู่ด้วย ผู้หนีไปอยู่ด้วย. คำว่า สละชีวิต อธิบายว่า นักรบเหล่าใด

ย่อมเป็นผู้มีใจละอาย ยอมสละชีวิตของตนแล้วกลับมาด้วยความละอาย ก็แล

ครั้นกลับมาแล้วอย่างนี้ นักรบเหล่านั้น จึงเป็นผู้มีใจละอาย ย่อมรับนายของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 511

ตนอีก. คือแก้ไขนายให้พ้นจากเงื้อมมือของศัตรูแล้วรับเอาไป. คำว่า ห้าม

ชนเสียจากบาป อธิบายว่า นางหิรีนั้นเป็นผู้มีปกติห้ามชนเสียจากกรรมอัน

ลามก อีกอย่างหนึ่ง พระบาลีเป็น ปาปโต ชน นิวาริณี ดังนี้ก็มี. คำว่า

นั้น หมายถึงนางหิรีนั้น. คำว่า อันท่านผู้ประเสริฐบูชาแล้ว อธิบายว่า

อันท่านผู้ประเสริฐทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นบูชาแล้ว. คำว่า ท่านจง

ทูลตามคำที่เรากล่าวแล้วนั้นแด่พระอินทร์ อธิบายว่า เพราะเหตุที่นาง

หิรีมีคุณมาก มีเพศที่ท่านผู้ประเสริฐบูชาแล้วอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจง

ไปบอกแก่พระอินทร์ว่า นางหิรีนั้นมีเพศอันสูงสุดอย่างนี้.

มาตลีสดับคำนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ข้าแต่โกสิยะผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ท้าว-

มหาพรหม ท้าวมหินทรเทวราชหรือท้าวปชาบดี ใคร

เล่าจะเข้าใจความเห็นข้อนี้ของท่าน นางหิรีนี้ เป็น

ธิดาของท้าวมหินทรเทวราช ย่อมได้สมมติว่าเป็นผู้

ประเสริฐที่สุดแม่ในหมู่เทวดาทั้งหลาย.

ในคาถานั้น มีคำอธิบายว่า คำว่า ความเห็น. ได้แก่ ใครเล่าจะ

เข้าใจความเห็นว่า ขึ้นชื่อว่า นางหิรีนี้เป็นผู้มีคุณมาก อันท่านผู้ประเสริฐบูชา

แล้ว. คำว่า เข้าใจ คือให้เข้าไปในน้ำใจ. คำว่า สมมติว่าประเสริฐที่

สุด อธิบายว่า นางหิรีนั้น นับจำเดิมแต่ได้สุธาโภชน์ในสำนักของท่านแล้ว

ก็ได้เสนาสนะทองคำในสำนักของพระอินทร์อีก เป็นผู้เทพยดาทั้งปวงบูชาอยู่

ย่อมได้รับสมมติว่าเป็นผู้สูงสุด.

เมื่อมาตลีกำลังกล่าวอยู่อย่างนี้ทีเดียว ธรรมคือความเสื่อมได้บัง

เกิดขึ้นแล้ว แก่โกสิยดาบสในขณะนั้นนั่นเอง ลำดับนั้น มาตลีจึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 512

ข้าแต่โกสิยะ ท่านปลงอายุสังขารเสียได้แล้ว แม้ธรรมคือการเคลื่อนก็ถึง

พร้อมแก่ท่านแล้ว ท่านจะประโยชน์อะไรด้วยมนุษยโลก เราจะไปยังเทวโลก

ด้วยกันเถิด ดังนี้ เป็นผู้ปรารถนาจะนำโกสิยดาบสนั้นไปในเทวโลกนั้น จึง

กล่าวคาถาว่า

เชิญเถิด ท่านจงมา จงขึ้นรถคันนี้อันเป็นของ

ข้าพเจ้าไปสู่ไตรทิพย์ ในกาลบัดนี้เถิด ข้าแต่ท่านผู้

มีโคตรเสมอด้วยพระอินทร์ ทั้งพระอินทร์ก็ทรงหวัง

ท่านอยู่ ท่านจงถึงความเป็นสหายกับพระอินทร์ในวัน

ทีเดียว.

ในคาถานั้น มีอธิบายว่า คำว่า เป็นของข้าพเจ้า คือเป็นสิ่งที่น่า

รักน่าพอใจ. คำว่า ผู้มีโคตรเสมอด้วยพระอินทร์ อธิบายว่า ผู้มีโคตร

เสมอกับพระอินทร์ในภพก่อน. คำว่า หวัง ได้แก่ ทั้งพระอินทร์ ก็ทรง

ปรารถนาหวังให้ท่านมาอยู่.

เมื่อมาตลีนั้นกำลังพูดอยู่กับโกสิยดาบสด้วยประการฉะนี้ทีเดียว

โกสิยดาบสก็จุติจากอัตภาพนั้น บังเกิดเป็นอุปปาติกเทพบุตรขึ้นยืนอยู่บน

ทิพยรถ ลำดับนั้น มาตลีจึงนำท่านไปยังสำนักของท้าวสักกะ ท้าวสักกะ

พอเห็นท่าน ก็มีพระทัยยินดี ได้ประทานนางหิรีเทวี ซึ่งเป็นธิดาของ

พระองค์ให้เป็นอัครมเหสีของท่านแล้ว โกสิยเทพบุตรนั้น ได้มีอิสริยยศมาก

มายหาประมาณมิได้.

พระศาสดาทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงตรัสว่า ขึ้นชื่อว่ากรรมของ

สัตว์ผู้มีคุณไม่ทราม ย่อมหมดจดได้อย่างนี้ แล้วจึงตรัสพระคาถาสุท้ายว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 513

สัตว์ทั้งหลาย ผู้ไม่กระทำกรรมอันเป็นบาป ย่อม

หมดจดได้ด้วยอาการอย่างนี้ อนึ่ง ผลของกรรมที่บุคคล

ประพฤติดีแล้ว ย่อมไม่เสื่อมสูญไป สัตว์เหล่าใด

เหล่าหนึ่ง ได้เห็นสุธารโภชน์แล้ว สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด

ทีเดียว ถึงความเป็นสหายกับพระอินทร์แล้ว.

ในคาถานั้น มีคำอธิบายว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ได้กระทำกรรมอันลามก

ย่อมบริสุทธิ์อย่างนี้ สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้เห็นสุธาโภชน์ที่-

โกสิยดาบสให้แก่นางหิรีเทพธิดาในประเทศหิมวันต์นั้น ในกาลนั้น สัตว์

เหล่านั้น แม้ทั้งหมดอนุโนทนาทานนั้นแล้ว กระทำจิตให้เลื่อมใสในทานนั้น

แล้ว ถึงความเป็นสหายของพระอินทร์.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ ถึงเมื่อก่อน ตถาคตก็ได้ทรมานภิกษุ

ผู้ไม่ยินดียิ่งแล้วในการให้ทาน ผู้มีความตระหนี่อันกระด้างนี้แล้วเหมือนกัน

แล้วทรงประมวลชาดกว่า นางเทพธิดาชื่อว่า หิรีในกาลนั้นได้เป็นนางอุบล-

วรรณา โกสิยดาบสได้เป็นภิกษุเจ้าของทาน ปัญจสิขเทพบุตรเป็น

อนุรุทธะ มาตลีเทพสารถีเป็นอานนท์ สุริยเทพบุตรเป็นกัสสป จันท

เทพบุตรเป็นโมคคัลลานะ นารทดาบสได้เป็นสารีบุตร ส่วนท้าว-

สักกเทวราชได้เป็นเราตถาคตเอง ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาสุธาโภชนชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 514

๔. กุณาลชาดก

ว่าด้วยนกดุเหว่า

[๒๙๖] เล่ากันมาอย่างนี้ ได้ยินมาอย่างนี้ ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย

ได้ยินว่า ที่ภูเขาหิมพานต์ อันทรงไว้ซึ่งแผ่นดินที่มีโอสถทุกชนิด ดาดาษ

ไปด้วยดอกไม้และของหอมมากมายหลายพันธุ์ เป็นที่สัญจรไปมาแห่งช้าง โค

กระบือ กวางทอง จามรี เนื้อฟาน แรด ระมาด ราชสีห์ เสือโคร่ง

เสือเหลือง หมี หมาไน เสือดาว นาก ชะมด เสือปลา กระต่ายและวัว

กระทิง เป็นที่อยู่อาศัยแห่งหมู่ช้างใหญ่ ช้างตระกูลอันประเสริฐ เกลื่อนกล่น

อยู่ทั่วปริมณฑลอันราบเรียบ มีต่าง ลิง อีเห็น ละมั่ง เนื้อสมัน เนื้อฟาน

ม้าและลา กินนร ยักษ์และรากษสอยู่อาศัย ดาดาษไปด้วยหมู่ไม้นับไม่ถ้วน

ทรงไว้ซึ่งดอกตูมและก้าน มีดอกบานตลอดปลาย มีนกเขา นกโพระโดก

นกหัสดีลิงค์ นกยูง นกพิราบ นกพริก นกกระจาบ นกยาง นกแขกเต้า

และนกการเวกส่งเสียงร้องกึกก้องไพเราะ เป็นประเทศที่ประดับไปด้วยแร่ธาตุ

หลายร้อยชนิด เป็นต้นว่าอัญชัน มโนศิลา หรดาล มหาหิงค์ ทอง เงิน

และทองคำ เป็นไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์เห็นปานนี้ มีนกดุเหว่าชื่อกุณาละ

มีตัว ปีก และขนงดงามยิ่งนัก อาศัยอยู่ และนกดุเหว่าชื่อกุณาละนั้น มีนาง

นกดุเหว่าเป็นนางบำเรอ ประมาณ ๓,๕๐๐ ตัว นางนกดุเหว่าสองตัวเอาปาก

คาบท่อนไม้ให้นกดุเหว่าชื่อกุณาละนั้นจับตรงกลางแล้วพาบินไป ด้วยความ

ประสงค์ว่า นกดุเหว่ากุณาละนั้น อย่าได้มีความเหน็ดเหนื่อยในหนทางไกลเลย

นางนกดุเหว่า ๕๐๐ ตัว บินไปเบื้องค่ำ ด้วยความประสงค์ว่า ถ้านกกุณาละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 515

นี้จะตกจากคอน พวกเราจะเอาปีกรับไว้ นางนกดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว บินไป

ข้างบนด้วยความประสงค์ว่า แดดอย่าได้ส่องถูกนกกุณาละเลย นางนกดุเหว่า

บินไปโดยช้างทั้งสองข้างละ ๕๐๐ ตัว ด้วยความประสงค์ว่า ความหนาว

ความร้อน หญ้า ละออง ลม หรือน้ำค้าง อย่าได้ถูกนกกุณาละนี้เลย นาง

นกดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว บินไปข้างหน้าด้วยความประสงค์ว่า คนเลี้ยงโค คน

เลี้ยงปศุสัตว์ คนเกี่ยวหญ้า คนหาฟืน หรือคนทำการงานในป่าอย่าได้ขว้างปา

นกกุณาละนั้นด้วยท่อนไม้ กระเบื้อง ก้อนหิน ก้อนดิน กระบอง ศาสตรา

หรือก้อนกรวดเลย นกกุณาละนี้อย่าได้กระทบด้วยกอไม้ เครือเถา ต้นไม้

กิ่งไม้ เสา หิน หรือพวกนกที่มีกำลังกว่าเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว

บินไปข้างหลังเจรจาด้วยถ้อยคำอันเกลี้ยงเกลา อ่อนหวาน ไพเราะจับใจ ด้วย

ความประสงค์ว่า นกกุณาละนี้ อย่าได้เงียบเหงาอยู่บนคอนนี้เลย นางนก

ดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว บินไปยังทิศานุทิศ นำผลไม้นานาชนิดจากต้นไม้ต่าง ๆ

มาให้ด้วยความประสงค์ว่า นกกุณาละนี้อย่าได้ลำบากเพราะความหิวเลย

ได้ยินว่า นางนกดุเหว่าเหล่านั้นพานกกุณาละนั้นจากป่านี้ไปสู่ป่าโน้น จาก

สวนนี้ไปสู่สวนโน้น จากท่าน้ำนี้ไปสู่ท่าน้ำโน้น จากยอดเขานี้ไปสู่ยอดเขาโน้น

จากสวนมะม่วงนี้ไปสู่สวนมะม่วงโน้น จากสวนชมพูนี้ไปสู่สวนชมพู่โน้น จาก

สวนขนุนสำมะลอนี้ไปสู่สวนขนุนสำมะลอโน้น จากสวนมะพร้าวนี้ไปสู่สวน

มะพร้าวโน้นโดยรวดเร็ว เพื่อต้องการให้ร่าเริง ยินดี นกกุณาละอันนางนก

ดุเหว่าเหล่านั้นบำเรออยู่ทุก ๆ วันอย่างนี้ ยังรุกรานอย่างนี้ว่า อีถ่อยฉิบหาย

อีถ่อยละลาย อีนางโจร อีนางนักเลง อีเผอเรอ อีใจง่าย อีไม่ระจักคุณคน

อีไปตามใจเหมือนลม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 516

[๒๙๗] ดูก่อนท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ณ ด้านทิศบุรพาแห่งขุนเขา

หิมพานต์ มีแม่น้ำอันไหลมาแต่ซอกเขาอันละเอียดสุขุม มีสีเขียว ณ ภูเขา

หิมพานต์อันเป็นประเทศที่น่ารื่นเริงบันเทิงใจด้วยกลิ่นหอม อันเกิดเดี๋ยวนั้น

จากดอกอุบล ดอกปทุม ดอกโกมุท ดอกบัวขม ดอกบัวผัน ดอกจงกลนี

และดอกบัวเผื่อน เป็นป่าทึบมากไปด้วยไม้ต่าง ๆ ชนิด คือไม้โกฏดำ ไม้จิก

ไม้เกด ไม้ย่างทราย ไม้อ้อยช้าง ต้นบุนนาค ต้นพิกุล ต้นหมากหอม ต้น

ประยงค์ ต้นขมิ้น ต้นสาละ ต้นสน ต้นจำปา ต้นอโศก ต้นกากะทิง

ต้นหงอนไก่ ต้นราชดัด ต้นโลดทะนง และต้นจันทน์ เป็นราวป่าที่สล้างไป

ด้วยต้นกฤษณาดำ ต้นปทุม ต้นประยงค์ ต้นเทพทาโรและต้นกล้วย ทรงไว้

ซึ่งต้นรกฟ้า ต้นมวกเหล็ก ต้นปรู ต้นซาก ต้นกรรณิการ์ ต้นชบา ต้น

ว่านหางช้าง ต้นทองหลาง ต้นทองกวาว ต้นคัดเค้า ต้นมะลิป่า ต้นแก้ว

ต้นซึกและต้นขานางอันงามยิ่งนัก และมีไม้ดอกสำหรับร้อยเป็นพวงมาลัย

ดาดาษไปด้วยดอกมะลิ ว่านเปราะหอม ต้นคนทา ต้นกำยาน ต้นแฝกหอม

ต้นกระเบาและไม้กอ เป็นประเทศอันประดับไปด้วยลดาวัลย์ ดาดาษยิ่งนัก

มีหมู่หงส์ นกนางนวล นกกาน้ำและนกเป็ดน้ำ ส่งเสียงร้องกึกก้อง เป็นที่

สถิตอยู่แห่งหมู่ฤๅษีสิทธิ์วิทยาธรสมณะและดาบส เป็นประเทศที่ท่องเที่ยวไป

แห่งหมู่มนุษย์ เทพยดา ยักษ์ รากษส ทานพ คนธรรพ์ กินนรและ

พญานาค เป็นไพรสณฑ์ที่น่ารื่นรมย์เห็นปานนี้ มีนกดุเหว่าขาวชื่อ ปุณณมุขะ

มีถ้อยคำอันไพเราะยิ่งนัก มีนัยน์ตาแดงดังนัยน์ตาคนเมาสอดส่ายไปมา อาศัย

อยู่ ได้ยินว่า พญานกปุณณมุขะนี้ มีนางนกดุเหว่าบำเรอ ๓๕๐ ตัว เล่ากัน

มาว่า นางนกดุเหว่า ๒ ตัว เอาปากดาบท่อนไม้ให้พญานกปุณณมุขะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 517

จับตรงกลางพาบินไป ด้วยความประสงค์ว่า พญานกปุณณมุขะนั้นอย่าได้มี

ความเหน็ดเหนื่อยในหนทางไกลเลย นางนกดุเหว่า ๕๐ ตัว บินไปเบื้องต่ำ

ด้วยความประสงค์ว่า ถ้าพญานกปุณณมุขะนี้จักพลาดจากคอน พวกเราจัก

เอาปีกทั้งสองรับไว้ นางนกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินขึ้นไปข้างบนด้วยความ

ประสงค์ว่า แสงแดดอย่าได้แผดเผานกดุเหว่าชาวชื่อปุณณมุขะนั้นเลย นาง

นกดุเหว่าบินไปโดยข้างทั้งสองข้างละ ๕๐ ตัว ด้วยความประสงค์ว่า ความหนาว

ความร้อน หญ้า ธุลีหรือน้ำค้าง อย่าได้ตกต้องนกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะ

นั้นเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินขึ้นไปช้างหน้าด้วยความประสงค์ว่า

คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ คนเกี่ยวหญ้า คนหาฟืน หรือคนทำงานในป่า

อย่าได้ขว้างปานกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะนั้นด้วยท่อนไม้ กระเบื้อง ก้อนหิน

ก้อนดิน ไม้ค้อน ศาสตรา หรือก้อนกรวดเลย และนกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะ

นี้ อย่าได้กระทบกับกอไม้ เถาวัลย์ ต้นไม้ กิ่งไม้ เสา หิน หรือกับนก

ที่มีกำลังมากกว่าเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินไปข้างหลังเจรจาด้วยวาจา

อันเกลี้ยงเกลา อ่อนหวาน ไพเราะจับใจ ด้วยความประสงค์ว่า นกดุเหว่า

ขาวชื่อปุณณมุขะนี้อย่าเงียบเหงาบนคอนเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินไป

ยังทิศานุทิศ นำเอาผลไม้นานาชนิดจากต้นไม้ต่าง ๆ มาให้ด้วยความประสงค์

ว่า นกดุเหว่าชื่อปุณณมุขะนี้ อย่าได้ลำบากเพราะความหิวเลย ได้ยินว่า

นางนกดุเหว่าเหล่านั้น พานกดุเหว่าชาวชื่อปุณณมุขะนั้น จากป่านี้ไปสู่ป่าโน้น

จากสวนนี้ไปสู่สวนโน้น จากท่าน้ำนี้ไปสู่ท่าน้ำโน้น จากยอดเขานี้ไปสู่ยอดเขา

โน้น จากสวนมะม่วงนี้ไปสู่สวนมะม่วงโน้น จากสวนชมพู่นี้ไปสู่สวนชมพู่โน้น

จากสวนขนุนสำมะลอนี้ไปสู่สวนขนุนสำมะลอโน้น จากสวนมะพร้าวนี้ไปสู่

สวนมะพร้าวโน้น โดยรวดเร็ว เพื่อต้องการให้ร่าเริง ได้ยินว่า นกดุเหว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 518

ขาวชื่อปุณณมุขะ อันนางนกดุเหว่าเหล่านั้นบำเรออยู่ทุกวัน ๆ ย่อมสรรเสริญ

อย่างนี้ว่า ดีละ ๆ น้องหญิงทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายบำรุงบำเรอสามีอย่างนี้

สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลธิดา.

[๒๙๘] ได้ยินว่า ในกาลต่อมา นกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะได้เข้า

ไปหาพญานกกุณาละถึงที่อยู่ พวกนางนกดุเหว่าบริจาริกาของพญานกกุณาละ

ได้เห็นพญานกปุณณมุขะนั้นกำลังบินมาแต่ไกล จึงพากันเข้าไปหา แล้วพูด

กะพญานกปุณณมุขะนั้นว่า ดูก่อนสหายปุณณมุขะ พญานกกุณาละนี้เป็น

นกหยาบช้า มีวาจาหยาบคายเหลือเกิน แม้ไฉน พวกเราจะพึงได้วาจาอัน

น่ารักเพราะอาศัยท่านบ้าง พญานกปุณณมุขะจึงตอบว่า บางทีจะได้กระมัง

น้องหญิงทั้งหลาย แล้วเข้าไปหาพญานกกุณาละกล่าวสัมโมทนียกถากับ

พญานกกุณาละแล้ว สถิตอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพญานก

ปุณณมุขะได้กล่าวกะพญานกกุณาละว่า ดูก่อนสหายกุณาละ เพราะเหตุไร

ท่านจึงปฏิบัติผิดต่อนางนกทั้งหลายที่มีชาติเสมอกัน เป็นลูกของผู้มีสกุล ซึ่ง

ปฏิบัติดีต่อท่านเล่า ดูก่อนสหายกุณาละ นางนกทั้งหลายถึงเขาจะพูดไม่ถูกใจ

เราก็ควรจะพูดให้ถูกใจ จะป่วยกล่าวไปไยถึงนางนกที่พูดถูกใจเล่า เมื่อพญา

นกปุณณมุขะกล่าวอย่างนี้แล้ว พญานกกุณาละได้รุกรานพญานกปุณณมุขะ

อย่างนี้ว่า แนะสหายลามกชั่วถ่อย เจ้าฉิบหาย เจ้าละลาย ใครจะเป็น

ผู้ฉลาดด้วยการชนะเมียยิ่งไปกว่าเจ้า ก็แหละพญานกปุณณมุขะถูกรุกรานอย่าง

นี้แล้ว ก็กลับไปเสียจากที่นั้น.

[๒๙๙] ได้ยินว่า สมัยต่อมา โดยกาลล่วงไปไม่นานนัก อาพาธ

อันแรงกล้าเกิดขึ้นแก่พญานกปุณณมุขะ คือ ลงเป็นโลหิต เกิดเวทนากล้าแข็ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 519

จวนจะตาย ครั้งนั้น พวกนางนกดุเหว่า ที่เป็นบริจาริกาของพญานกปุณณมุขะ

เกิดความปริวิตกว่า พญานกปุณณมุขะนี้ อาพาธหนักนกแล ไฉนจะพึงหายจาก

อาพาธนี้หนอ นางนกดุเหว่าเหล่านั้น ละทิ้งพญานกปุณณมุขะไว้แต่ตัวเดียว

ไม่มีเพื่อนสอง พากันเข้าไปหาพญานกกุณาละ พญานกกุณาละได้เห็นนางนก

ดุเหว่าเหล่านั้นพากันมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าวกะนางนกดุเหว่านั้นว่า พวก

อีถ่อย ผัวของเจ้าไปไหนเสียเล่า นางนกดุเหว่าเหล่านั้นจึงตอบว่า ท่านสหาย

กุณาละ พญานกปุณณมุขะอาพาธหนักนักแล ไฉนจะพึงหายจากอาพาธหนักนั้น

เมื่อนางนกดุเหว่าเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว พญานกกุณาละได้รุกรานนางนก

ดุเหว่าเหล่านั้นอย่างนี้ว่า อีถ่อยฉิบหาย อีถ่อยละลาย อีนางโจร อีนางนักเลง

อีเผอเรอ อีใจง่าย อีไม่รู้จักคุณคน อีไปตามใจเหมือนลม ครั้นกล่าวรุกราน

แล้ว ได้เข้าไปหาพญานกปุณณมุขะ แล้วร้องเรียกว่า เฮ้ยสหายปุณณมุขะ

พญานกปุณณมุขะขานรับว่า อ้าสหายกุณาละ ได้ยินว่า พญานกกุณาละเข้าไป

ประคบประหงมพญานกปุณณมุขะด้วยปีกและจะงอยปาก พอให้ลุกขึ้นได้แล้ว

ให้ดื่มยาต่าง ๆ อาพาธของพญานกปุณณมุขะก็สงบระงับ.

[๓๐๐] ได้ยินว่า พญานกกุณาละได้กล่าวกะพญานกปุณณมุขะที่หาย

จากไข้ยังไม่นานนักว่า ดูก่อนสหายปุณณมุขะ เราเห็นมาแล้ว นางกัณหา

สองพ่อ นางมีผัว ๕ คน ยังมีจิตปฏิพัทธ์ในบุรุษคนที่ ๖ ซึ่งเป็นคนเปลี้ย

เหมือนศพศีรษะขาด.

และในเรื่องนี้มีคำเป็นยาถาอีกส่วนหนึ่งว่า

ครั้งนั้น นางคนหนึ่งล่วงละเมิดสามี ๕ คนคือ

พระเจ้าอัชชุนะ พระเจ้านกุละ พระเจ้าภีมเสน พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 520

เจ้ายุธิษฐิล และพระเจ้าสหเทพ แล้วได้กระทำลามก

กับบุรุษเปลี้ยแคระ.

ดูก่อนสหายปุณณมุขะ เราเห็นนาแล้ว นางสมณีชื่อปัญจตปาวี อยู่

ในท่ามกลางป่าช้า อดอาหาร ๔ วันจึงบริโภคครั้งหนึ่ง ได้กระทำกรรมอัน

ลามกกับนักเลงสุรา ดูก่อนสหายปุณณมุขะ เราเห็นมาแล้ว นางเทวีนามว่า

กากวดี อยู่ในท่ามกลางสมุทร เป็นภรรยาของพญาครุฑชื่อว่าท้าวเวนไตย

ได้กระทำกรรมอันลามกกับกุเวรผู้เจนจบในการฟ้อน ดูก่อนสหายปุณณมุขะ

เราเห็นมาแล้ว นางขนงามนามว่า กรุงคเทวี รักใคร่ได้เสียกับเอฬกกุมาร

ได้กระทำกรรมอันลามกกับธนันเตวาสีผู้เป็นคนใช้ของฉฬังคกุมาร เป็นความ

จริง เราได้รู้มาอย่างนี้แล พระมารดาของพระเจ้าพรหมทัต ทรงทอดทิ้ง

พระเจ้าโกศลราช ได้ทรงกระทำกรรมอันลามกกับพราหมณ์ชื่อปัญจาลจัณฑะ

หญิง ๕ คนนี้ก็ดี หญิงอื่นก็ดี ได้กระทำมาแล้ว

ซึ่งกรรมอันลามก เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่วิสาสะ

ไม่สรรเสริญหญิงทั้งหลาย มหาปฐพีอันทรงไว้ซึ่ง

สรรพสัตว์ ยินดีเสมอกัน เป็นที่รับรองสิ่งดีและ

สิ่งชั่ว ทนทานได้หมด ไม่ดิ้นรน ไม่หวั่นไหว ฉันใด

หญิงทั้งหลายก็เหมือนกัน นรชนจึงไม่ควรวิสาสะกับ

หญิงเหล่านี้ ราชสีห์ซึ่งเป็นสัตว์ดุร้าย กินเนื้อและ

เลือดเป็นอาหาร มีอาวุธ ๕ อย่าง เป็นสัตว์หยาบช้า

ยินดีในการเบียดเบียนสัตว์อื่น ข่มขี่สัตว์ทั้งหลายกิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 521

ฉันใด หญิงทั้งหลายก็ฉันนั้น นรชนจึงไม่ควรวิสาสะ

กับหญิงเหล่านั้น.

ดูก่อนปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงทั้งหลายไม่ใช่แพศยา ไม่ใช่นางงาม

ไม่ใช่หญิงสัญจร ชื่อทั้ง ๓ นี้ ไม่ใช่ชื่อโดยกำเนิด หญิงเหล่านี้คือ แพศยา

นางงาม หญิงสัญจร เป็นชื่อผู้ฆ่า หญิงทั้งหลายมุ่นมวยผมเหมือนพวก

โจรประทุษร้ายให้เป็นพิษเหมือนสุราเจือยาพิษ พูดโอ้อวดเหมือนคนขายของ

ตลบตะแลง พลิกแพลงเหมือนเขาเนื้อ สองลิ้นเหมือนงู ปกปิดเหมือนหลุมคูถ

ที่ปิดด้วยกระดาน ให้เต็มได้ยากเหมือนไฟ ให้ยินดีได้ยากเหมือนรากษส นำไป

โดยส่วนเดียวเหมือนพญายม กินทุกอย่างเหมือนไฟ พัดพาไปทุกอย่างเหมือน

แม่น้ำ ประพฤติตามปรารถนาเหมือนลม ไม่ทำอะไรให้วิเศษเหมือนเขาเมรุมาศ

ผลิตผลเป็นนิตย์เหมือนต้นไม้มีพิษ.

และในเรื่องนี้มีคำกล่าวเป็นคาถาไว้อีกส่วนหนึ่งว่า

หญิงทั้งหลายมุ่นมวยผมเหมือนโจร ประทุษร้าย

เหมือนสุราเจือยาพิษ พูดโอ้อวดเหมือนคนขายของ

ตะแลงพลิกแพลงเหมือนเขาเนื้อ สองลิ้นเหมือน

งู ปกปิดเหมือนหลุมคูถที่ปิดด้วยกระดาน ให้เต็ม

ได้ยากเหมือนไฟ ให้ยินดีได้ยากเหมือนรากษส นำไป

ส่วนเดียวเหมือนพญายม กินทุกอย่างเหมือนไฟ พัด

พาไปทุกอย่างเหมือนแม่น้ำ ประพฤติตามปรารถนา

เหมือนลม ไม่ทำอะไรให้วิเศษเหมือนเขาเมรุมาศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 522

ผลิตผลเป็นนิตย์เหมือนต้นไม้มีพิษ หญิงทั้งหลายเป็น

ผู้กำรัตนะไว้ในมือจนนับไม่ถ้วน ทำโภคสมบัติใน

เรือนให้พินาศ.

[๓๐๑] ดูก่อนปุณณมุขะ ทรัพย์ ๔ อย่างนี้ คือ โคผู้ โคนม ยาน

ภรรยา ไม่ควรให้อยู่ในสกุลอื่น บัณฑิตไม่พึงรักษาทรัพย์ ๔ อย่างนี้ให้อยู่

พรากจากเรือน.

คนฉลาดย่อมไม่ฝากทรัพย์ ๔ อย่างนี้ คือ โคผู้ ๑

โคนม ๑ ยานพาหนะ ๑ ภรรยา ๑ ไว้ในตระกูลญาติ

เพราะว่าคนที่ไม่มียานพาหนะ ย่อมใช้รถที่ฝากไว้

ย่อมฆ่าโคผู้เสีย เพราะใช้ลากเข็นเกินกำลัง ย่อมฆ่า

ลูกโคเพราะรีดนม ภรรยาย่อมประทุษร้ายในตระกูล

ญาติ.

[๓๐๒] ดูก่อนสหายปุณณมุขะ สิ่งของ ๖ อย่างนี้ เมือกิจธุระเกิดขึ้น

ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ คือ

ธนูไม่มีสาย ๑ ภรรยาอยู่ในตระกูลญาติ ๑

เรือที่ฝั่งโน้น ๑ ยานพาหนะที่เพลาหัก ๑ มิตรอยู่ไกล

๑ สหายลามก ๑ สิ่งของทั้ง ๖ นี้ เมื่อกิจธุระเกิดขึ้น

ใช่ประโยชน์ไม่ได้.

[๓๐๓] ดูก่อนสหายปุณณมุขะ หญิงย่อมดูหมิ่นสามีเพราะเหตุ ๘

ประการ คือ เพราะสามีเป็นคนจน ๑ เพราะสามีเจ็บกระเสาะกระแสะ ๑

เพราะสามีเป็นคนแก่ ๑ เพราะสามีเป็นนักเลงสุรา ๑ เพราะสามีเป็นคนโง่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 523

เพราะสามีเป็นคนมัวเมา ๑ เพราะคล้อยตามในกิจทุกอย่าง ๑ เพราะไม่ก่อ

ให้ทรัพย์ทุกอย่างเกิดขึ้น ๑ ดูก่อนสหายปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงย่อมดูหมิ่น

สามีด้วยเหตุ ๘ ประการนี้.

และในเรื่องนี้มีถ้อยคำเป็นคาถาอีกส่วนหนึ่งว่า

หญิงย่อมดูหมิ่นสามีด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ

ความจน ๑ เจ็บกระเสาะกระแสะ ๑ เป็นคนแก่ ๑

เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นคนโง่ ๑ เป็นคนมัวเมา ๑

คล้อยตามในกิจทุกอย่าง ไม่ก่อสิ่งปรารถนาทุกอย่าง

ให้เกิดขึ้น ๑.

[๓๐๔] ดูก่อนสหายปุณณมุขะ หญิงย่อมนำความประทุษร้ายมาให้

สามี ด้วยเหตุ ๙ ประการ คือ หญิงเป็นคนมักไปป่า ๑ มักไปสวน ๑ มักไป

ท่าน้ำ ๑ มักไปหาตระกูลญาติ ๑ มักไปหาตระกูลอื่น ๑ มักชอบใช้กระจกและ

ชอบประดับด้วยผ้า ๑ มักดื่มน้ำเมา ๑ มักเยี่ยมมองหน้าต่าง ๑ มักยืนแอบ

ประตู ๑ ดูก่อนสหายปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงย่อมนำความประทุษร้ายมาให้

สามีเพราะเหตุ ๙ ประการนี้แล.

และในเรื่องนี้มีถ้อยคำกล่าวเป็นคาถาไว้อีกส่วนหนึ่งว่า

หญิงย่อมนำความประทุษร้ายมาให้สามีด้วยเหตุ

๙ ประการนี้ คือ มักไปป่า ๑ มักไปสวน ๑ มักไป

ท่าน้ำ ๑ มักไปหาตระกูลญาติ ๑ มักไปหาตระกูลอื่น ๑

มักชอบใช้กระจกและชอบประดับด้วยผ้า ๑ มักดื่ม

น้ำเมา ๑ มักเยี่ยมมองหน้าต่าง ๑ มักยืนแอบประตู ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 524

[๓๐๕] ดูก่อนสหายปุณณมุขะ หญิงย่อมยั่วยวนชายด้วยเหตุ ๔๐

ประการ คือ ดัดกาย ก้มตัว กรีดกราย ทำอาย แกะเล็บ เอาเท้า

เหยียบกัน เอาไม้ขีดแผ่นดิน ทำกระโดดเอง ให้เด็กกระโดด เล่นเอง ให้

เด็กเล่น จุมพิตเด็ก ให้เด็กจุมพิต กินเอง ให้เด็กกิน ให้ของแก่เด็ก

ขอของจากเด็ก ทำตามที่เด็กกระทำ พูดเสียงสูง พูดเสียงต่ำ พูดเปิดเผย

พูดกระซิบ ทำซิกซี้ด้วยการฟ้อน การขับ การประโคม ร้องไห้ กรีดกราย

ด้วยการแต่งกาย ทำปิ่ง ยักเอว ส่ายผ้าที่ปิดของลับ เลิกขา ปิดขา ให้เห็นนม

ให้เห็นรักแร้ ให้เห็นท้องน้อย หลิ่วตา เลิกคิ้ว เม้มปาก แลบลิ้น ขยายผ้า

กลับนุ่งผ้า สยายผม มุ่นผม ดูก่อนสหายปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงย่อม

ยั่วยวนชายด้วยเหตุ ๔๐ ประการนี้แล.

[๓๐๖] ดูก่อนสหายปุณณมุขะ พึงทราบเถิดว่า หญิงเป็นคนประทุษ-

ร้ายสามีด้วยเหตุ ๒๕ ประการ คือ ย่อมพรรณนาการไปแรมคืนของสามี

ย่อมไม่ระลึกถึงสามีที่ไปแรมคืน ย่อมไม่ยินดีกะสามีที่มาแล้ว ย่อมกล่าวโทษ

สามี ไม่กล่าวคุณแห่งสามี ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สามี ย่อม

ไม่ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สามี ย่อมการทำกิจที่ไม่สมควรแก่สามี ย่อม

ไม่กระทำกิจที่สมควรแก่สามี ย่อมคลุมหัวนอน นอนเบือนหน้าไปทางอื่น

ย่อมนอนพลิกกลับไปมา ย่อมทำวุ่นวายนอนถอนหายใจยาว ย่อมทำระทม

ทุกข์ ย่อมไปอุจจาระปัสสาวะบ่อย ๆ ย่อมประพฤติตรงกันข้าม ได้ยินเสียง

ชายอื่นย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมล้างผลาญทรัพย์สมบัติ ย่อมทอดสนิทชิดชอบกับชาย

ผู้คุ้นเคย ย่อมออกนอกบ้านเสมอ ประพฤติผิดจากความดี ย่อมประพฤติ

นอกใจไม่เคารพในสามี มีใจประทุษร้าย ย่อมยืนอยู่ที่ประตูเนือง ๆ ย่อมทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 525

ให้เห็นรักแร้ นม ย่อมไปเพ่งดูทิศต่าง ๆ ดูก่อนสหายปุณณมุขะ พึงทราบ

เถิดว่า หญิงเป็นคนประทุษร้ายสามีด้วยเหตุ ๒๕ ประการนี้แล.

และในเรื่องนี้มีคำกล่าวเป็นคาถาอีกส่วนหนึ่งว่า

หญิงย่อมพรรณนาการไปแรมทางไกลของสามี

ย่อมไม่เศร้าโศกถึงการไปของสามี ครั้นเห็นสามีกลับ

มาก็ไม่แสดงความยินดี ย่อมไม่กล่าวคุณแห่งสามีใน

กาลไหน ๆ อาการเหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้

ประทุษร้าย หญิงผู้ไม่สำรวม ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่

เป็นประโยชน์แก่สามี ย่อมทำประโยชน์ของสามีไม่

เสื่อม ย่อมกระทำกิจที่ไม่สมควรแก่สามี ย่อมคลุม

หัวนอน นอนเปื้อนหน้าไปทางอื่น อาการเหล่านี้เป็น

ลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงย่อมนอนพลิก

กลับไปมา ย่อมทำวุ่นวาย นอนถอนหายใจยาว ย่อม

ทำระทมทุกข์ ย่อมไปอุจจารปัสสาวะบ่อย ๆ อาการ

เหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงย่อม

ประพฤติตรงกันข้าม ไม่กระทำกิจที่สมควรแก่สามี

ย่อมเงี่ยหูฟังเมื่อชายอื่นพูด ล้างผลาญโภคสมบัติ

กระทำความสนิทสนมชมชอบกับชายอื่น อาหารเหล่า

นี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงย่อมทำ

ทรัพย์สมบัติที่สามีได้มาโดยความลำบาก หามาได้โดย

ฝืดเคือง เก็บสะสมไว้ได้ด้วยความยากแค้นให้พินาศ

อนึ่ง ย่อมกระทำความสนิทสนมชมชอบกับชายที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 526

คุ้นเคยกัน อาการเหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้

ประทุษร้าย หญิงออกนอกบ้านเสมอ ประพฤติผิด

จากความดี มีใจคิดประทุษร้ายในสามีอยู่เป็นนิตย์

เป็นผู้ประพฤตินอกใจ ปราศจากความเคารพ อาการ

เหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงย่อม

ยินอยู่ที่ใกล้ประตูเนือง ๆ แสดงนมบ้าง รักแร้บ้าง

ให้เห็น มีจิตวอกแวกเพ่งดูทิศต่าง ๆ อาการเหล่านี้

เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย แม่น้ำทั้งปวงมีทาง

คดเคี้ยว และป่าทั้งปวงรกเรี้ยวด้วยต้นไม้ ฉันใด

หญิงทั้งปวงเมื่อได้ช่อง (ที่ลับ ) พึงกระทำกรรมอัน

ลามก ฉันนั้น ถ้าว่าพึงได้โอกาส ที่ลับ หรือพึงได้

ช่องเช่นนั้น หญิงทั้งปวงพึงกระทำกรรมอันลามก

เป็นแน่ ไม่ได้ชายที่สมบูรณ์อื่น ก็ยอมทำกับคนเปลี้ย

ในพวกนารีที่หลายใจ เป็นผู้กระทำความยั่วยวนแก่

ชายทั้งหลาย ไม่มีใครข่มขี่ได้ ถ้านารีเหล่าใดแม้จะ

ทำให้พอใจโดยประการทั้งปวง ก็ไม่ควรวางใจในนารี

เหล่านั้น เพราะว่า นารีเหล่านั้นเสมอด้วยท่าน้ำ.

[๓๐๗] บัณฑิตได้เห็นเรื่องอย่างไร ของพระเจ้า

กินนรและพระนางกินรีเทวี แล้วพึงรู้เถิดว่า หญิง

ทั้งปวงย่อมไม่ยินดีในเรือนของตน พระนางกินรีเทวี

ทรงเห็นบุรุษอื่นแม้จะเป็นคนง่อยเปลี้ย ยังละทิ้ง

พระราชสวามีเช่นพระเจ้ากินนร ไปทำกรรมอันลามก

กับบุรุษเปลี้ยนั้นได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 527

[๓๐๘] พระเจ้าพกะและพระเจ้าพาวรีย์ ทรง

หมกมุ่นอยู่ในกามเกินส่วน พระมเหสียังประพฤติ

อนาจารกับคนใช้ใกล้ชิด ซ้ำตกอยู่ในอำนาจ พึงมี

หรือที่หญิงจะไม่ประพฤติล่วงชายอื่น นอกจากคนนั้น.

[๓๐๙] พระนางปิงคิยานีพระมเหสีที่รักของ

พระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง ได้ประพฤติ

อนาจารกับคนเลี้ยงม้าผู้ใกล้ชิด และเป็นไปในอำนาจ

พระนางปิงคิยานีผู้ใคร่กามนั้น ไม่ได้ประสบความใคร่

ทั้งสองราย.

[๓๑๐] บุรุษผู้ไม่ถูกผีสิง ไม่ควรเชื่อหญิง

ทั้งหลายผู้หยาบช้า ใจเบา อกตัญญู ประทุษร้ายมิตร

หญิงเหล่านั้นไม่รู้จักสิ่งที่กระทำแล้ว สิ่งที่ควรกระทำ

ไม่รู่จักมารดาบิดาหรือพี่น้อง ไม่มีล0ะอาย ล่วงเสีย

ซึ่งธรรม ย่อมเป็นไปตามอำนาจจิตของตน เมื่อมี

อันตราย และเมื่อกิจเกิดขึ้น ย่อมละทิ้งสามแม้จะอยู่

ด้วยกันมานาน เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่อนุเคราะห์

แม่เสมอกับชีวิต เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่วิสาสะกับ

หญิงทั้งหลาย จริงอยู่ จิตของหญิงเหมือนจิตของวานร

ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เหมือนเงาไม้ หัวใจของหญิงไหวไป

ไหวมา เหมือนล้อรถที่กำลังหมุน เมื่อใด หญิงทั้งหลาย

ผู้มุ่งหวัง เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรจะถือเอาได้ เมื่อนั้น

ก็ใช้วาจาอ่อนหวานชักนำบุรุษไปได้ เหมือนชาว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 528

กัมโพชลวงม้าด้วยสาหร่าย ฉะนั้น เมื่อใด หญิง

ทั้งหลายผู้มุ่งหวัง ไม่เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรถือเอา

ได้ เมื่อนั้น ย่อมละทิ้งบุรุษนั้นไปเหมือนคนข้ามฟาก

ถึงฝั่งโน้นแล้วละทิ้งแพไป ฉะนั้น หญิงทั้งหลาย

เปรียบด้วยเครื่องผูกรัด กินทุกอย่างเหมือนเปลวไฟ

มีมายากล้าแข็ง เหมือนแม่น้ำมีกระแสเชี่ยว ย่อมคบ

บุรุษได้ทั้งที่น่ารักทั้งที่ไม่น่ารัก เหมือนเรือจอดไม่

เลือกฝั่งนี้และฝั่งโน้น ฉะนั้น หญิงทั้งหลายไม่ใช่ของ

บุรุษคนเดียวหรือสองคน ย่อมรับรองทั่วไปเหมือน

ร้านตลาด ผู้ใดสำคัญมั่นหมายหญิงเหล่านั้นว่าของเรา

ก็เท่ากับดักลมด้วยตาข่าย แม่น้ำ หนทาง ร้านเหล้า

สภาและบ่อน้ำ ฉันใด หญิงในโลกก็ฉันนั้น เขตแดน

ของหญิงเหล่านั้น ไม่มี หญิงทั้งหลายเสมอด้วยไฟ

กินเปรียง เปรียบด้วยงูเห่า ย่อมเลือกคบแต่บุรุษที่มี

ทรัพย์ เหมือนโคเลือกกินหญ้าที่ดี ๆ ในภายนอก

ฉะนั้น ไฟกินเปรียง ๑ ช้างสาร ๑ งูเห่า ๑ พระราชา

ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ๑ หญิงทั้งปวง ๑ สิ่งทั้ง ๕ นี้

นรชนพึงคบด้วยความระวังเป็นนิตย์ เพราะสิ่งทั้ง ๕ นี้

มีความแน่นอนที่รู้ได้ยากแท้ หญิงที่งามเกินไป ๑

หญิงที่คนหมู่มากรักใคร่ ๑ หญิงที่เหมือนมือขวา ๑

หญิงที่เป็นภรรยาคนอื่น ๑ หญิงที่คบหาด้วยเพราะเหตุ

แห่งทรัพย์ ๑ หญิง จำพวกนี้ ไม่ควรคบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 529

[๓๑๑] ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พญาแร้งชื่ออานนท์ รู้แจ้งซึ่งคาถา

ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของพญานกกุณาละแล้ว ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้

ในเวลานั้นว่า

ถ้าบุรุษจะพึงให้แผ่นดินอันเต็มด้วยทรัพย์นี้ แก่

หญิงที่ตนนับถือไซร้ หญิงนั้นได้โอกาส ก็จะพึงดู-

หมิ่นบุรุษนั้น เราจึงไม่ยอมตกอยู่ในอำนาจของพวก

หญิงเผอเรอ เมื่อมีอันตรายและเมื่อกิจธุระเกิดขึ้น

หญิงย่อมละทิ้งผัวหนุ่มผู่หมั่นขยัน มีความประพฤติ

ไม่เหลาะแหละ เป็นที่รักเป็นที่พอใจ เพราะฉะนั้น

เราจึงไม่วิสาสะกับหญิงทั้งหลาย บุรุษไม่ควรวางใจว่า

หญิงคนนี้ปรารถนาเรา ไม่ควรวางใจว่า หญิงคนนี้

ร้องไห้กระซิกกระซี้เรา เพราะว่า หญิงทั้งหลาย

ย่อมคบได้ทั้งบุรุษที่น่ารักทั้งบุรุษที่ไม่น่ารัก เหมือน

เรือจอดได้ทั้งฝั่งโน้นฝั่งนี้ฉะนั้น ไม่ควรวิสาสะกะ

ใบไม้ลาดที่เก่า ไม่ควรวิสาสะกะมิตรเก่าที่เป็นโจร

ไม่ควรวิสาสะกะพระราชาว่าเป็นเพื่อนของเรา ไม่ควร

วิสาสะกะหญิงแม่จะมีลูก ๑๐ คนแล้ว ไม่ควรวิสาสะ

ในหญิงที่กระทำความยินดีให้ เป็นผู้ล่วงศีล ไม่สำรวม

ถึงแม้ภรรยาจะพึงเป็นผู้มีความรักแน่นแฟ้น ก็ไม่ควร

วางใจ เพราะว่าหญิงทั้งหลายเสมอกับท่าน้ำ หญิง

ทั้งหลายพึงฆ่าชายก็ได้ พึงตัดเองก็ได้ พึงใช้ให้ผู้อื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 530

ตัดก็ได้ พึงตัดคอแล้วดื่มเลือดกินก็ได้ อย่าพึงกระทำ

ความสิเนหาในหญิงผู้มีความรักใคร่อันเลวทราม ผู้ไม่

สำรวม ผู้เปรียบเทียบด้วยท่าน้ำ คำเท็จของหญิง

เหมือนคำจริง คำจริงของหญิงเหมือนคำเท็จ หญิง

ทั้งหลายย่อมเลือกคบแต่ชายที่มีทรัพย์ ดังโคเลือกกิน

หญ้าที่ดี ๆ ในภายนอก หญิงทั้งหลายย่อมประเล้า

ประโลมชายด้วยการเดิน การจ้องดู ยิ้มแย้ม นุ่งผ้า

หลุด ๆ ลุ่ย ๆ และพูดไพเราะ หญิงทั้งหลายเป็นโจร

หัวใจแข็ง ดุร้าย เป็นน้ำตาลกรวด ย่อมไม่รู้อะไร ๆ

ว่า เป็นเครื่องล่อลวงในมนุษย์ ธรรมดาหญิงในโลก

เป็นคนลามก ไม่มีเขตแดน กำหนัดนักทุกเมื่อและ

คะนอง กินไม่เลือก เหมือนเปลวไฟไหม้เชื้อทุกอย่าง

บุรุษชื่อว่าเป็นที่รักของหญิงไม่มี ไม่เป็นที่รักก็ไม่มี

เพราะหญิงทั้งหลาย ย่อมคบบุรุษได้ทั้งที่รักทั้งที่ไม่รัก

เหมือนเรือจอดได้ทั้งฝั่งนี้และฝั่งโน้น บุรุษชื่อว่าเป็น

ที่รักของหญิงไม่มี ไม่เป็นที่รักก็ไม่มี หญิงย่อมผูก

พันชายเพราะต้องการทรัพย์ เหมือนเถาวัลย์พันไม้

หญิงทั้งหลายย่อมติดตามชายที่มีทรัพย์ ถึงจะเป็นคน

เลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า เลี้ยงโค คนจัณฑาล สัปเหร่อ

คนเทหยากเยื่อก็ช่าง หญิงทั้งหลาย ย่อมละทิ้งชายผู้

มีตระกูลแต่ไม่มีอะไร เหมือนซากศพ แต่ติดตาม

ชายเช่นนั้นได้เพราะเหตุแห่งทรัพย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 531

[๓๑๒] ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พราหมณ์ผู้ประเสริฐชื่อนารทะรู้ชัด

ซึ่งคาถาทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของพญาแร้งอานนท์แล้ว ได้กล่าวคาถา

เหล่านั้นในเวลานั้นว่า

ดูก่อนพญานก ท่านทั้งหลายจงพึงข้าพเจ้ากล่าว

มหาสมุทร ๑ พราหมณ์ ๑ พระราชา ๑ หญิง ๑ สี่-

อย่างนี้ย่อมไม่เต็ม แม่น้ำสายใดสายหนึ่งอาศัยแผ่นดิน

ไหลไปสู่มหาสมุทร แม่น้ำเหล่านั้นก็ยังมหาสมุทรให้

เต็มไม่ได้ เพราะฉะนั้น มหาสมุทรชื่อว่าไม่เต็ม เพราะ

ยังพร่อง ส่วนพราหมณ์เรียนเวทอันมีการบอกเป็นที่

ห้าได้แล้ว ยังปรารถนาการเรียนเวทอันไปอีก เพราะ

ฉะนั้น พราหมณ์จึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง

พระราชาทรงชนะแผ่นดินทั้งหมด อันบริบูรณ์ด้วย

รัตนะนับไม่ถ้วน พร้อมทั้งมหาสมุทรและภูเขา ครอบ-

ครองอยู่ ก็ยังปรารถนามหาสมุทรฝั่งโน้นอีก เพราะ

ฉะนั้น พระราชาจึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง หญิง

คนหนึ่ง ๆ มีสามีคนละ ๘ คน สามีล้วนเป็นคนแกล้ว

กล้า มีกำลังสามารถนำมาซึ่งกามรสทุกอย่าง หญิงยัง

กระทำความพอใจในชายคนที่ ๙ อีก เพราะฉะนั้น

หญิงจึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง หญิงทุกคนกิน

ทุกอย่างเหมือนเปลวไฟ พาไปได้ทุกอย่างเหมือนแม่-

น้ำ เหมือนกิ่งไม้มีหนาม ย่อมละชายไปเพราะเหตุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 532

แห่งทรัพย์ ชายใดพึงวางความรักทั้งหมดในหญิง

ชายนั้นเหมือนดักลมด้วยตาข่าย เหมือนตักน้ำใส่

มหาสมุทรด้วยมือข้างเดียว จะพึงได้ยินแต่เสียงมือ

ของตน ภาวะของหญิงที่เป็นโจร รู้มาก หาความจริง

ได้ยาก เป็นอาการที่ใคร ๆ รู้ได้ยาก เหมือนรอยทาง

ปลาในน้ำฉะนั้น หญิงไม่มีความพอ อ่อนโยน พูด

ไพเราะ ให้เต็มได้ยากเสมอแม่น้ำ ทำให้ล่มจม บุคคล

รู้ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล หญิงเป็นเหมือน

น้ำวน มีมายามาก ทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ ทำให้

ล่มจม บุคคลรู้ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เมื่อ

หญิงคบบุรุษใด เพราะความพอใจ หรือเพราะเหตุแห่ง

ทรัพย์ ย่อมเผาบุรุษนั้นโดยพลัน เหมือนไฟป่าเผา

สถานที่เกิดของตนฉะนั้น.

[๓๑๓] ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พญานกกุณาละ รู้แจ้งแล้วซึ่งเบื้องต้น

ท่ามกลางและที่สุดแห่งคาถาของนารทพราหมณ์ผู้ประเสริฐ จึงได้ภาษิตคาถา

เหล่านั้นในเวลานั้นว่า

บัณฑิตพึงเจรจากับบุรุษผู้ถือดาบอย่างคมกล้า

พึงเจรจากับปีศาจผู้ดุร้าย แม้จะพึงเข้าไปนั่งใกล้งูพิษ

ร้าย แต่ไม่ควรเจรจากับหญิงตัวต่อตัว เพราะว่าหญิง

เป็นผู้ย่ำยีจิตของโลก ถืออาวุธ คือ การฟ้อนรำ

ขับร้องและการเจรจา ย่อมเบียดเบียนบุรุษผู้ไม่ตั้งสติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 533

ไว้เหมือนหมู่รากษสที่เกาะเบียดเบียนพวกพ่อค้าฉะนั้น

หญิงไม่มีวินัย ไม่มีสังวร ยินดีในน้ำเมาและเนื้อสัตว์

ไม่สำรวม ผลาญทรัพย์ที่บุรุษหามาได้โดยยากให้ฉิบ-

หาย เหมือนปลาติมิงคละกลืนกินมังกรในทะเลฉะนั้น

หญิงมีกามคุณ ๕ อันน่ายินดีเป็นทำเลหากิน เป็นคน

หยิ่ง จิตไม่เที่ยงตรง ไม่สำรวม ย่อมเข้าไปหาชาย

ผู้ประมาทเหมือนแม่น้ำทั้งหลาย อันไหลไปสู่มหา-

สมุทรฉะนั้น หญิงได้ชื่อว่าฆ่าชายด้วยราคะและโทสะ

เข้าไปหาชายคนใด เพราะความพอใจ เพราะความ

กำหนัด หรือเพราะต้องการทรัพย์ ย่อมเผาชายเช่น

นั้นเสีย เช่นดังเปลวไฟ หญิงรู้ว่าชายมั่งคั่ง มีทรัพย์

มาก ย่อมเข้าไปหาชาย ยอมให้ทั้งทรัพย์และตนเอง

ย่อมเกาะชายที่มีจิตถูกราคะย่อมเหมือนเถาย่านทราย

เกาะไม้สาละในป่าฉะนั้น หญิงประดับร่างกายหน้าตา

ให้สวย เข้าไปหาชายด้วยความพอใจมีประการต่าง ๆ

ทำยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ ใช้มารยาตั้งร้อย เหมือนดังคน

เล่นกลและอสุรินทรราหู หญิงประดับประดาด้วยทอง

แก้วมณีและมุกดาถึงจะมีคนสักการะและรักษาไว้ใน

ตระกูลสามี ก็ยังประพฤตินอกใจสามี ดังหญิงที่อยู่

ในทรวงอก ประพฤตินอกใจทานพฉะนั้น จริงอยู่

นรชนผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา แม้จะมีเดช มีมหาชน

สักการะบูชา ถ้าตกอยู่ในอำนาจของหญิงแล้ว ย่อม

ไม่รุ่งเรือง เหมือนพระจันทร์ถูกราหูจับฉะนั้น โจร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 534

ผู้มีจิตโกรธ คิดประทุษร้าย พึงกระทำแก่โจรอื่นซึ่ง

เป็นข้าศึกที่มาประจัญหน้า ส่วนผู้ตกอยู่ในอำนาจของ

หญิง ไม่มีอุเบกขา ย่อมเข้าถึงความพินาศยิ่งกว่านั้นอีก

หญิงถึงจะถูกชายฉุดกระชากลากผมและหยิกข่วนด้วย

เล็บ คุกคามทุบตีด้วยเท้า ด้วยมือและท่อนไม้ ก็กลับ

วิ่งเข้าหา เหมือนหมู่แมลงวันที่ซากศพฉะนั้น บุรุษ

ผู้มีจักษุคือปัญญา ปรารถนาความสุขแก่ตน พึงเว้น

หญิงเสียเหมือนกับบ่วงและข่ายที่ดักไว้ในสกุลในถนน

สายหนึ่ง ในราชธานี หรือในนิคม ผู้ใดสละเสียแล้ว

ซึ่งตบะคุณอันเป็นกุศล ประพฤติจริตอันมิใช่ของ

พระอริยะ ผู้นั้นต้องกลับจากเทวโลกไปคลุกเคล้าอยู่

กับนรก เหมือนพ่อค้าซื้อหม้อแตกฉะนั้น บุรุษผู้ตก

อยู่ในอำนาจของหญิง ย่อมถูกติเตียนทั้งในโลกนี้และ

โลกหน้า กรรมของตนกระทบแล้ว เป็นคนโง่เขลา

ย่อมไปพลั้ง ๆ พลาด ๆ โดยไม่แน่นอน เหมือนรถที่

เทียมด้วยลาออกถึงย่อมไปผิดทางฉะนั้น ผู้ตกอยู่ในอำนาจ

ของหญิง ย่อมเข้าถึงนรกเป็นที่เผาสัตว์ให้รุ่มร้อนและ

นรกอันมีป่าไม่งิ้ว มีหนามแหลมดังหอกเหล็ก แล้ว

มาในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ย่อมไม่พ้นจากวิสัยเปรต

และอสุรกาย หญิงย่อมทำลายความเล่นหัว ความยินดี

ความเพลิดเพลินอันเป็นทิพย์ และจักรพรรดิสมบัติ

ในมนุษย์ของชายผู้ประมาทให้พินาศ และยังทำชาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 535

นั้นให้ถึงทุคติอีกด้วย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง

ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้การเล่นหัว

ความยินดีอันเป็นทิพย์จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ และ

นางเทพอัปสรอันอยู่ในวิมานทอง โดยไม่ยากเลย ชาย

เหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชาย

เหล่านั้นพึงได้คิดที่ก้าวล่วงเสียซึ่งกามธาตุ รูปธาตุ

สมภพ และคติที่เข้าถึงวิสัยความปราศจากราคะ โดย

ไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติ

พรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นเป็นผู้ดับแล้ว สะอาด พึง

ได้นิพพานอันเกษม อันก้าวล่วงเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง

ล่วงส่วนไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่ง โดยไม่ยาก

เลย.

[๓๑๔] พญานกกุณาละในครั้งนั้นเป็นเรา พญา

นกดุเหว่าขาวเป็นพระอุทายี พญาแร้งเป็นพระอานนท์

นารทฤาษีเป็นพระสารีบุตร บริษัททั้งหลายเป็นพุทธ-

บริษัทเธอทั้งหลายจงทรงจำกุณาลชาดกไว้อย่างนี้แล.

จบกุณาลชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 536

อรรถกถากุณาลชาดก

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ ริมสระชื่อกุณาละ ทรงพระปรารภ

ภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งถูกความเบื่อหน่ายอยากจะสึกบีบคั้นแล้ว จึงตรัสพระธรรม

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เอวมกฺขายติ ดังนี้.

ลำดับเรื่องในกุณาลชาดกนั้นดังนี้

ดังได้สดับมาว่า ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์ กับเมืองโกลิยะทั้งสอง

เมืองนี้ มีแม่น้ำชื่อว่า โลหินี สายเดียวเท่านั้นไหลผ่านลงมา ชนชาวสากิยะ

และชนชาวโกลิยะจึงทำทำนบกั้นน้ำนั้นร่วมอันเดียวกันแล้วจึงตกกล้า. ครั้งหนึ่ง

ในต้นเดือน ๗ ข้าวกล้าเฉาลง พวกกรรมกรของชนชาวนครทั้งสองนั้นจึง

ประชุมกัน บรรดากรรมกรทั้งสองเมืองนั้น พวกกรรมกรชาวเมืองโกลิยะ

กล่าวขึ้นก่อนว่า น้ำที่ปิดกั้นไว้นี้ ถ้าจะไขเข้านาทั้งสองฝ่าย ก็ไม่พอเลี้ยง

ต้นข้าวของพวกเราและพวกท่าน ก็ข้าวกล้าของพวกเราจักสำเร็จเพราะน้ำ

คราวเดียวเท่านั้น พวกท่านจงให้น้ำนี้แก่พวกเราเถิด แม้พวกกรรมกรชาว

เมืองกบิลพัสดุ์ก็พูดขึ้นว่า เมื่อพวกท่านได้ข้าวกล้าเอาบรรจุไว้ในฉางจนเต็ม

แล้วตั้งปิ่งอยู่ พวกเราไม่อาจที่จะถือเอากหาปณะทองคำ เงิน นิล มณี

สัมฤทธิ์ แบกกระเช้ากระสอบเป็นต้น เที่ยวไปขอซื้อตามประตูเรือนของท่านได้

แม้ข้าวกล้าของพวกเราก็จักสำเร็จได้เพราะน้ำคราวเดียวเท่านั้นเหมือนกัน ขอ

พวกท่านจงให้น้ำนี้แก่พวกเราเถิด ทั้งสองฝ่ายต่างก็ขึ้นเสียงเถียงกันว่า พวกเรา

จักไม่ให้ แม้พวกเราก็จักไม่ยอมให้เหมือนกัน ดังนี้ ครั้นพูดกันมากขึ้น ๆ

อย่างนี้ กรรมกรคนหนึ่งก็ลุกขึ้น ตีเอาคนหนึ่งเข้า แม้คนที่ถูกตีนั้น ก็ตีคน

อื่น ๆ ต่อไป ต่างฝ่ายต่างตีกันอย่างนี้ ก็เกิดทะเลาะกระทบชาติแห่งราชตระกูล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 537

พวกกรรมกรชาวโกลิยะกล่าวขึ้นก่อนว่า พวกมึงจงพาพวกเด็ก ๆ สากิยะซึ่งอยู่

ในเมืองกบิลพัสดุ์ไปเถิด อ้ายพวกสังวาสกับน้องสาวของตัวเองเหมือนสัตว์

เดียรัจฉาน มีหมาบ้านและหมาป่าเป็นต้น ถึงจะมีกำลังเป็นต้นว่า ช้าง ม้า โล่

และอาวุธ ก็จักกระทำอะไรแก่พวกกูได้ แม้พวกกรรมกรชาวสากิยะก็กล่าว

ตอบว่า พวกมึงก็เหมือนกันจงพาเด็กขี้เรื้อนไปเสียในบัดนี้ อ้ายพวกอนาถา

หาที่ไปไม่ได้ เที่ยวอาศัยอยู่ในโพรงไม้กระเบาเหมือนสัตว์เดียรัจฉาน ถึงจะมี

โยธาหาญเป็นต้นว่าช้าง ม้า โล่และอาวุธ ก็จักกระทำอะไรแก่พวกกูได้ ชน

เหล่านั้นต่างฝ่ายต่างก็ไปร้องเรียนอำมาตย์ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในการนั้น พวก

อำมาตย์จึงเสนอเรื่องราวแก่ราชตระกูลต่อไป ในลำดับนั้น พวกกษัตริย์สากิยะ

ทั้งหลายจึงตรัสว่า พวกเราจะสำแดงเรี่ยวแรงและกำลังของตนที่สังวาสกับ

น้องสาวให้ดู แล้วตระเตรียมการรบยกออกไป แม้กษัตริย์พวกโกลิยะก็ตรัสว่า

พวกเราก็จะสำแดงให้เห็นเรี่ยวแรงและกำลังของคนที่อาศัยอยู่ในต้นกระเบา

แล้วตระเตรียมการรบยกออกไปเหมือนกัน.

เรื่องที่วิวาทกันนี้บางอาจารย์กล่าวว่า พวกทาสีของชาวสากิยะและชาว

โกลิยะไปสู่แม่น้ำเพื่อตักน้ำ ต่างปลดเอาเทริดลงวางไว้ที่พื้นดินแล้ว นั่งพักผ่อน

สนทนากันอยู่อย่างสบาย ทาสีคนหนึ่งหยิบเอาเทริดของตนหนึ่งไปด้วยเข้าใจว่า

เป็นของตน อาศัยเทริดนั้นเป็นเหตุ จึงเกิดทะเลาะกันขึ้นว่า เทริดของกู

เทริดของมึง ดังนี้ ครั้นแล้วชนชาวนครทั้งสอง เริ่มแต่ทาสกรรมกรโดยลำดับ

มาจนถึงเสวกนายบ้าน อำมาตย์อุปราชและพระราชาทั้งหมดต่างฝ่ายต่างก็เตรียม

ออกไปทำสงครามกัน แต่นัยก่อนจากนัยนี้มีมาในอรรถกถามากแห่งด้วยกัน

และรูปเครื่องก็เหมาะสม เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงควรถือเอาเรื่องที่วิวาทกัน

เพราะแย่งน้ำนั้นแล ก็กษัตริย์สากิยะและโกลิยะทั้งสองฝ่ายนั้น ครั้นเตรียมรบ

พร้อมแล้ว ก็ยกออกไปในเวลาเย็นด้วยประการฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 538

ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เมืองสาวัตถี

ทรงทอดพระเนตรดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่งทีเดียว ได้ทอดพระเนตรเห็นกษัตริย์

ทั้งสองพระนครเหล่านี้ มีการตระเตรียมรบแล้วยกกองทัพออกไปอย่างนี้ เมื่อ

ทอดพระเนตรเห็นแล้วจึงทรงใคร่ครวญต่อไปว่า เมื่อเราไปห้ามการทะเลาะนี้

จักระงับหรือไม่หนอ ก็ทรงเห็นว่า เราไปในที่นั้นแล้ว จักแสดงชาดก ๓ เรื่อง

เพื่อระงับการทะเลาะวิวาท การทะเลาะวิวาทก็จักระงับลงในขณะนั้น ครั้นแล้ว

เราจักแสดงชาดกอีก ๒ เรื่องเพื่อต้องการจะให้แสดงความสามัคคีนั้น แล้วจัก

แสดงอัตตทัณฑสูตรต่อไป กษัตริย์ผู้อยู่ในพระนครทั้งสอง เมื่อได้ฟังเทศนา

ของเราแล้ว ก็จักให้พระราชกุมารฝ่ายละ ๒๕๐ พระองค์ เราจักให้พระราชกุมาร

เหล่านี้บรรพชา สมาคมใหญ่จักมีด้วยประการฉะนี้ ครั้นตกลงพระหฤทัยดังนี้

แล้ว พอรุ่งเช้าก็ทรงกระทำการชำระพระสรีระ เสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตในเมือง

สาวัตถี เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ถึงเวลาเย็นก็เสด็จออกจากพระคันธกุฎี

มิได้ตรัสบอกแก่ใคร ๆ เลย ทรงถือเอาบาตรแลจีวรด้วยพระองค์เอง ทรงคู้

บัลลังก์ประทับนั่งในอากาศระหว่างเสนาทั้งสองฝ่าย ทรงเปล่งพระรัศมีออกจาก

พระเกศ ทำให้เกิดความมืดในเวลากลางวัน เพื่อให้เกิดความท้อใจแก่พวก

นักรบเหล่านั้น ลำดับนั้น เมื่อพวกนักรบเหล่านั้นเกิดความท้อใจแล้ว พระองค์

จึงทรงแสดงพระองค์ให้ปรากฏ ทรงเปล่งพระพุทธรัศมีมีพรรณ ๖ ประการ

ฝ่ายเหล่ากษัตริย์สากิยะชาวเมืองกบิลพัสดุ์ครั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงดำริว่า

ญาติผู้ประเสริฐของพวกเราเสด็จมาแล้ว ชะรอยพระองค์คงจะได้ทรงทราบว่า

พวกเรากระทำการทะเลาะวิวาทกัน จึงพากันวางเครื่องอาวุธเสียด้วยตกลงใจว่า

ก็เมื่อพระศาสดาเสด็จมาแล้ว พวกเราไม่อาจที่จะให้อาวุธตกต้องร่างกายของ

ผู้อื่นได้ พวกชาวเมืองโกลิยะจะฆ่าจะแกงพวกเราเสียก็ตามทีเถิด แม้พวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 539

กษัตริย์ชาวเมืองโกลิยะก็คิดและกระทำอย่างนั้นเหมือนกัน ลำดับนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงเสด็จลงมาประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์อันประเสริฐ ซึ่งพวก

กษัตริย์จัดถวายบนเนินทรายในประเทศอันรื่นรมย์ ทรงรุ่งเรืองอยู่ด้วยพระ-

พุทธสิริอันงดงามหาสิ่งเปรียบมิได้ แม้พระราชาทั้งสองฝ่ายนั้น ก็พากันถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งอยู่.

ลำดับนั้น พระศาสดาแม้ทรงทราบเรื่องอยู่ แต่ก็ได้ตรัสถามพวก

กษัตริย์เหล่านั้นอีกว่า ดูก่อนมหาราชทั้งหลาย พวกท่านมา ณ ที่นี้ทำไม

กษัตริย์เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันทั้งปวงมา ณ ที่นี้

เพื่อต้องการจะดูแม่น้ำก็หามิได้ เพื่อต้องการจะเที่ยวเล่นก็หามิได้ เพื่อต้องการ

จะดูภาพอันน่ารื่นรมย์ในป่าดงก็หามิได้ ก็แต่ว่าหม่อมฉันมา ณ ที่นี้ เพราะการ

เริ่มสงครามกันขึ้น. ดูก่อนมหาราช พวกเธอเกิดทะเลาะวิวาทกันด้วยเรื่อง

อะไรเล่า. เพราะเรื่องน้ำพระเจ้าข้า. ดูก่อนมหาราช น้ำมีราคาเท่าไร. น้ำราคา

เล็กน้อย พระเจ้าข้า. ดูก่อนมหาราช ก็แผ่นดินราคาเท่าไร. แผ่นดินมีราคา

ประมาณมิได้ พระเจ้าข้า. ดูก่อนมหาราช ก็กษัตริย์เล่ามีราคาเท่าไร. กษัตริย์

ก็มีราคาประมาณมิได้เหมือนกันพระเจ้าข้า. พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อน

มหาราชทั้งหลาย ไฉนพวกท่านจึงจะยังกษัตริย์ทั้งหลายซึ่งหาค่ามิได้ให้พินาศ

ไป เพราะอาศัยน้ำซึ่งมีราคาเพียงเล็กน้อยเล่า ครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงตรัส

เทศนาผันทนชาดกความว่า ดูก่อนมหาราชทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าการหายใจคล่อง

เพราะเหตุทะเลาะวิวาทกันนั้นไม่มีเลย ด้วยว่ารุกขเทวดาคนหนึ่งกับหมีตัวอาฆาต

กัน เพราะเหตุทะเลาะวิวาทกัน เวรนั้นก็ตกตามอยู่ตลอดกัปนี้ทั้งสิ้น ลำดับต่อ

นั้นไป ได้ตรัสเทศนาทุททภชาดกความว่า ดูก่อนมหาราชทั้งหลาย เกิดมา

เป็นคนไม่ควรหันไปตามเหตุที่ถึงของบุคคลอื่น (คือไม่ควรเก็บเอาเรื่องของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 540

คนอื่นมาคิด) จะเล่าให้ฟัง พวกสัตว์จตุบทในประเทศหิมวันต์ซึ่งกว้างประมาณ

๓,๐๐๐ โยชน์ ยึดถือเรื่องของคนอื่น พากันวิ่งจะไปลงทะเล เพราะฟังคำของ

กระต่ายตัวหนึ่ง เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรยึดถือเอาเรื่องของคนอื่น ต่อจาก

นั้นพระองค์ตรัสเทศนาลฏุกิกชาดกความว่า ดูก่อนมหาราชทั้งหลาย บางคราว

ผู้ที่มีกำลังน้อยก็หาช่องทำลายผู้มีกำลังมากได้ บางคราวผู้มีกำลังมากก็ได้ช่อง

ทำแก่ผู้มีกำลังน้อย แม้แต่นางนกไซ้ยังฆ่าพญาช้างตัวประเสริฐได้ สมเด็จ

พระบรมศาสดาตรัสเทศนาชาดก ๓ เรื่อง เมื่อทรงพระประสงค์จะระงับการ

ทะเลาะวิวาทดังนี้แล้ว จึงตรัสเทศนาชาดกอีก ๒ เรื่อง เพื่อแสดงสามัคคีธรรม

เหมือนดังนั้นอีก คือตรัสเทศนารุกขธรรมชาดกว่า ดูก่อนมหาราชทั้งหลาย

ก็เมื่อบุคคลพร้อมเพรียงกันอยู่แล้ว ใคร ๆ ก็ไม่อาจหาช่องทำร้ายได้ แล้วตรัส

เทศนาวัฏฏกชาดกความว่า ดูก่อนมหาราชทั้งหลาย เมื่อฝูงนกกระจาบพร้อม

เพรียงกันอยู่ นายพรานก็ไม่อาจหาช่องทำร้ายได้ ต่อเมื่อใดฝูงนกกระจาบเกิด

แก่งแย่งกันขึ้น เมื่อนั้นบุตรนายพรานคนหนึ่ง จึงทำลายชีวิตเอานกกระจาบ

เหล่านั้นไปเสีย ขึ้นชื่อว่าความหายใจคล่องในการทะเลาะวิวาทย่อมไม่มีเลย

พระศาสดาตรัสชาดก ๕ เรื่องเหล่านี้อย่างนี้แล้ว ในที่สุดจึงตรัสเทศนาอัตต-

ทัณฑสูตร.

พระราชาแม้ทั้งหมดสดับพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ก็ทรงเลื่อมใส

ปรึกษากันว่า ถ้าหากว่าพระศาสดาไม่เสด็จมา พวกเราก็จักฆ่าฟันซึ่งกันและกัน

จนเลือดไหลนองเป็นแม่น้ำ พวกเราได้ชีวิตเพราะอาศัยพระศาสดา ก็ถ้าพระ

ศาสดาจักทรงครอบครองฆราวาส ราชสมบัติในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อย

๒,๐๐๐ เป็นบริวารก็จะตกอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์ และพระองค์จักมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 541

พระราชโอรสกว่าพัน แต่นั้นก็จักมีกษัตริย์เป็นบริวารเสด็จเที่ยวไป ก็แต่ว่า

พระองค์ทรงสละราชสมบัติเช่นนั้นเสียแล้ว เสด็จออกบรรพชาจนได้บรรลุ

พระสัมมาสัมโพธิญาณ ถึงอย่างนั้นเดี๋ยวนี้ พระองค์ก็ควรมีกษัตริย์เป็นบริวาร

เสด็จเที่ยวไป ครั้นปรึกษากันดังนี้แล้ว กษัตริย์ทั้งสองพระนครนั้นจึงถวาย

พระราชกุมารฝ่ายละ ๒๕๐ องค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงให้พระราชกุมาร

เหล่านั้นบรรพชาแล้ว เสด็จไปสู่มหาวัน จำเดิมแต่วัน รุ่งขึ้นเป็นต้นไป พระผู้มี-

พระภาคเจ้ามีภิกษุราชกุมารเหล่านั้นแวดล้อมเป็นบริวารเสด็จเที่ยวบิณฑบาต

ไปในพระนครทั้งสอง คือบางคราวก็เสด็จไปเมืองกบิลพัสดุ์ บางคราวก็เสด็จ

ไปเมืองโกลิยะ แม้ชาวพระนครทั้งสองก็กระทำสักการะใหญ่แก่พระองค์ ฝ่าย

พวกภิกษุราชกุมารเหล่านั้น บวชด้วยความเคารพในสมเด็จพระบรมครู หา

ได้บวชด้วยความเต็มใจของตนไม่ จึงได้เกิดความกระสันอยากจะสึก ใช่แต่

เท่านั้นพวกภรรยาเก่าของภิกษุเหล่านั้น ยังกล่าวถ้อยคำและส่งข่าวสาสน์ไป

ยั่วยวนชวนให้เกิดความเบื่อหน่ายอีก ภิกษุราชกุมารเหล่านั้นก็ยิ่งเบื่อหน่าย

หนักขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาดูก็ทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นเกิด

ความเบื่อหน่ายขึ้นแล้ว จึงทรงใคร่ครวญว่า ภิกษุเหล่านั้นอยู่ร่วมกับพระพุทธ-

เจ้าเช่นเรายังมีความเบื่อหน่ายอีก ธรรมกถาเช่นไรหนอ จึงเป็นที่สบาย

ของภิกษุเหล่านี้ได้ ก็ทรงเห็นว่ากุณาลธรรมเทศนาเป็นที่สบาย ลำดับนั้น

พระองค์จึงทรงตรึกต่อไปว่า เราจักพาภิกษุเหล่านั้นไปยังประเทศหิมวันต์ ประ-

กาศโทษของมาตุคามตามถ้อยคำของนกดุเหว่าชื่อกุณาละให้ภิกษุเหล่านั้นได้ฟัง

กำจัดความเบื่อหน่ายเสียแล้ว จักแสดงพระโสดาปัตติมรรคแก่เธอ ครั้นเวลา

รุ่งเช้า พระองค์จึงทรงนุ่งห่มถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาต ณ เมือง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 542

กบิลพัสดุ์ พอเวลาปัจฉาภัตรก็เสด็จกลับจากบิณฑบาต รับสั่งให้หาภิกษุ

ประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้นมาในเวลาเสร็จภัตกิจแล้ว ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พวกเธอเคยเห็นหิมวันตประเทศอันเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์แล้วหรือ

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังไม่เคยเห็นเลย พระเจ้าข้า จึงตรัสถามว่า ก็พวก

เธอจักไปเที่ยวยังประเทศหิมวันต์ไหมเล่า กราบทูลว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย

ไม่มีฤทธิ์ จักไปอย่างไรได้เล่า พระเจ้าข้า ตรัสว่า ถ้าใครคนใดคนหนึ่งจะพา

พวกเธอไป เธอจะไปหรือไม่เล่า พระภิกษุเหล่านั้นก็กราบทูลว่า ข้าพระองค์

จักไป พระเจ้าข้า.

สมเด็จพระบรมศาสดาจึงทรงพาภิกษุเหล่านั้น แม้ทั้งหมดไปด้วยฤทธิ์

ของพระองค์ ทรงเหาะไปในอากาศจนถึงป่าหิมวันต์ ประทับยืนอยู่บนท้องฟ้า

ทรงชี้ให้ชมภูเขา ๗ ลูกต่าง ๆ กัน คือ ภูเขาทอง ภูเขาเงิน ภูเขาแก้วมณี

ภูเขาหรดาล ภูเขามอ ภูเขาโล้น ภูเขาแก้วผลึก แล้วทรงชี้ให้ดูแม่น้ำใหญ่

ทั้ง ๕ สาย คือ คงคา ยมนา อจิรวดี สรภู มหี แล้วทรงชี้ให้ดูสระทั้ง

๗ แห่ง คือ สระชื่อกัณณมุณฑะ รถาการ มัณฑากิณี สีหปบาต ฉัททันต์

อโนดาต กุณาละ ภูเขาที่ได้ชื่อว่าหิมวันต์นั้นสูงถึง ๕๐๐ โยชน์ กว้าง ๓,๐๐๐

โยชน์ พระศาสดาทรงชี้สถานอันน่ารื่นรมย์นี้ ซึ่งเป็นเพียงบางส่วนของภูเขา

หิมวันต์นั้น ด้วยอานุภาพของพระองค์ แล้วทรงชี้ถึงสัตว์ ๔ เท้าเป็นต้นว่า

ราชสีห์ เสือโคร่ง ตระกูลช้าง และสัตว์ ๒ เท้า มีนกดุเหว่าเป็นต้น ซึ่ง

อาศัยอยู่ที่ภูเขาหิมวันต์นั้น แต่บางส่วนอีก ต่อจากนั้นทรงชี้ถึงป่าอันเป็นที่

รื่นรมย์ราวกะว่า สวนที่ประดับตกแต่งไว้ มีทั้งพรรณไม้อันมีดอกออกผล

เกลื่อนกล่นด้วยหมู่นกนานาชนิด ทั้งดอกไม้น้ำและดอกไม้บก ด้านทิศ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 543

ตะวันออกของภูเขาหิมวันต์นั้นมีพื้นแผ่นสุวรรณ ด้านทิศตะวันตกมีพื้นหรดาล

จำเดิมแต่กาลที่ภิกษุเหล่านั้น เห็นสถานที่และวัตถุอันน่ารื่นรมย์เหล่านี้ แล้ว

ความกำหนัดยินดีในชายาก็เสื่อมหายไป. ลำดับนั้น พระศาสดาจึงทรงพาภิกษุ

เหล่านั้นลงจากอากาศ เสด็จประทับนั่งบนอาสนะมโนศิลาอันมีปริมณฑลได้

๓ โยชน์ ภายใต้ต้นรังอันตั้งอยู่ตลอดกัป ซึ่งมีปริมณฑลได้ ๗ โยชน์ ขึ้นอยู่

บนพื้นมโนศิลาอันกว้างใหญ่ประมาณ ๖๐ โยชน์ อยู่ด้านทิศตะวันตกแห่ง

ภูเขาหิมวันต์ เมื่อภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมพร้อมกันแล้ว จึงทรงเปล่งพระรัศมี

มีพรรณ ๖ ประการ ดุจดวงสุริยะอันชัชวาลย์ส่องสว่างกลางท้องมหาสมุทร

ทำทะเลให้กระเพื่อมขึ้นลงฉะนั้น แล้วทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะตรัสเรียก

ภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งอันใดที่พวกเธอไม่เคยเห็นในเขา

หิมวันต์นี้ ก็จงถามเราเถิด ในขณะนั้น นางนกดุเหว่าสวยงาม ๒ ตัว คาบ

ท่อนไม้ที่ปลายทั้งสองข้าง ให้นกตัวเป็นสามีของตนจับตรงกลาง แล้วมีนางนก

ดุเหว่าบินไปข้างหน้า ๘ ตัว ข้างหลัง ๘ ตัว ข้างซ้าย ๘ ตัว ข้างขวา ๘ ตัว

ข้างล่าง ๘ ตัว ข้างบนบินบังเป็นเงา ๘ ตัว พวกนางนกดุเหว่าเหล่านั้นบิน

แวดล้อมนกดุเหว่านั้น บินไปในอากาศโดยอาการอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นเห็น

ฝูงนกทั้งหมด จึงทูลถามพระศาสดาว่า ฝูงนกเหล่านี้ชื่อนกอะไร พระเจ้าข้า

พระศาสดาตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นวงศ์เก่าของเรา เราได้ตั้ง

ประเพณีนี้ไว้ แต่ก่อนนางนกดุหว่าทั้งหลาย ก็ได้บำเรอเราอย่างนี้มาเหมือน

กัน แต่คราวนั้นฝูงนกนี้ยังเป็นฝูงใหญ่ นางนกที่บินตามแวดล้อมเรามีประมาณ

ถึง ๓,๕๐๐ ตัว. ในกาลต่อมาก็ร่วงโรยลงโดยลำดับ จนเวลานี้เหลืออยู่เพียง

เท่าที่เห็นอยู่นี้ พวกภิกษุจึงทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางนกเหล่านี้

ได้เคยบำเรอพะองค์มาในป่าชัฏเห็นปานนี้อย่างไร พระเจ้าข้า ลำดับนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 544

พระศาสดาจึงตรัสแก่พวกภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น

เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังถ้อยคำของเราเถิด แล้วทรงดำรงพระสติ เมื่อจะทรง

นำอดีตนิทานมาแสดง จึงมีพระพุทธกีฎาว่า

เล่ากันมาอย่างนี้ ได้ยินมาอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ที่

ภูเขาหิมพานต์อันทรงไว้ซึ่งแผ่นดินมีโอสถทุกชนิด ดารดาษไปด้วยดอกไม้และ

ของหอมทุกชนิด เป็นที่สัญจรเที่ยวไปแห่งช้าง โค กระบือ กวาง เนื้อทราย

จามรี กวาง แรด ละมาด ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาไน

เสือดาว นาก ชะมด แมว กระต่าย วัวกระทิง เป็นที่อาศัยอยู่แห่งช้างใหญ่

และช้างตระกูลอันประเสริฐเกลื่อนกล่นอยู่ทั่วปริมณฑลอันราบเรียบมี ค่าง ลิง

อีเห็น ละมั่ง เนื้อลาย เนื้อสมัน เนื้อกระ หน้าม้า กินนร ยักษ์รากษสอาศัยอยู่

มากมายดารดาษไปด้วยหมู่ไม้เป็นอเนก ทรงไว้ ซึ่งดอกตูมและก้านมีดอกอัน

แย้มบานตลอดปลาย มีฝูงนกออก นกโพระดก นกหัสดีลิงค์ นกยูง นกพิราบ

นกพริก นกกระจาบ นกยาง นกแขก นกการเวก ส่งเสียงร้องก้องระงมไพร

มาตรว่าฝูงละร้อย ๆ เป็นภูมิประเทศที่ประดับด้วยแร่ธาตุหลายร้อยชนิดเป็นต้น

ว่า อัญชัน มโนศิลา หรดาล มหาหิงค์ ทอง เงิน ทองคำ เป็นป่าชัฏอัน

น่ารื่นรมย์เห็นปานนี้ มีนกดุเหว่าตัวหนึ่งชื่อกุณาละ มีตัวปีกและขนงดงาม

ยิ่งนักอาศัยอยู่ และนกดุเหว่าชื่อกุณาละนั้น มีนางนกดุเหว่าเป็นบริวาร สำหรับ

บำเรอถึง ๓,๕๐๐ ตัว นางนก ๒ ตัวเอาปากคาบท่อนไม้ให้นกกุณาละนั้น

จับตรงกลางพาบินไป ด้วยประสงค์ว่า นกกุณาละนั้นอย่าได้มีความเหน็ดเหนื่อย

ในหนทางไกลเลย เหล่านางนกดุเหว่า ๕๐๐ ตัวบินไปเบื้องต่ำ ด้วยประสงค์ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 545

ถ้านกกุณาละนี้ตกจากที่เกาะแล้ว พวกเราก็จะเอาปีกรับไว้ นางนกอีก ๕๐๐

คอยบินไปข้างบนด้วยคิดว่า แสงแดดอย่าได้ส่องถูกพญานกกุณาละนี้เลย

นางนกบินไปข้าง ๆ ทั้งสองอีกข้างละ ๕๐๐ ด้วยประสงค์ว่า พญานกกุณาละนี้

อย่าได้ถูกความหนาว ความร้อน หญ้า ละออง ลมและน้ำค้างเลย นางนก

อีก ๕๐๐ บินไปข้างหน้า ด้วยประสงค์ว่า เด็กเลี้ยงโค เด็กเลี้ยงสัตว์ คน

เกี่ยวหญ้า คนหักฟืน คนทำงานในป่า อย่าได้ขว้างปานกกุณาละนั้นด้วย

ท่อนไม้ กระเบื้อง เครื่องมือ หิน ก้อนดิน ไม้กระบอง ศาสตรา หรือก้อนกรวด

เลย นางนกอีก ๕๐๐ บินไปข้างหน้าด้วยประสงค์ว่า นกกุณาละนี้ อย่าได้ถูกกอไม้

เครือเถา ต้นไม้ กิ่งไม้ เสาหรือหิน หรือนกที่มีทำลังมากกว่าเลย นางนก

อีก ๕๐๐ บินไปข้างหลังเจรจาด้วยถ้อยคำที่ละเอียดอ่อนหวานไพเราะ ด้วย

ประสงค์ว่า นกกุณาละนี้อย่าได้เงียบเหงาอยู่บนที่จับเลย ยังมีนางนกอีก ๕๐๐

บินไปในทิศานุทิศ นำผลไม้อันอร่อยจากต้นไม้หลายชนิดมาให้ ด้วยประสงค์

ว่า นกกุณาละนี้อย่าได้ลำบากด้วยความหิวในระหว่างทางเลย ได้ยินว่า นางนก

เหล่านั้น พานกกุณาละนั้นเข้าป่า ออกป่าเข้าสวน ท่าน้ำ ซอกภูเขา สวนมะม่วง

สวนชมพู่ สวนขนุนสำมะลอ สวนมะพร้าว โดยรวดเร็ว เพื่อต้องการให้

รื่นเริง ได้ยินว่า เมื่อนางนกเหล่านั้นบำเรออยู่ครบถ้วนเช่นนี้ พญานกกุณาละ

ก็ยังรุกรานเอาพวกนางนกเหล่านั้นว่า อีถ่อยฉิบหาย อีถ่อยละลาย อีโจร

อีนักเลง อีเผอเรอ อีใจง่าย อีไม่รู้จักคุณของตน อีตามใจคนเหมือนลม.

มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินมีอย่างนี้ ได้

ฟังมาอย่างนี้ว่า ชัฏแห่งป่านนี้เป็นสถานที่เต็มไปด้วยโอสถทุกชนิด มีเนื้อความ

พิสดารว่า คำว่า ทรงไว้ซึ่งแผ่นดินมีโอรสทั้งหมด มีอธิบายว่า ประกอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 546

ด้วยภาคพื้นดินทรงไว้ซึ่งโอสถทั้งหมด มีรากไม้เปลือกไม้ใบไม้และดอกไม้

เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง คือเป็นประเทศที่ทรงไว้ซึ่งภาคพื้นอันประกอบด้วย

โอสถทั้งหมด ด้วยว่าประเทศนั้น เป็นประเทศที่ทรงไว้ซึ่งแผ่นดินอันประกอบ

ไปด้วยโอสถทั้งหมด เพราะฉะนั้น จึงกล่าวกันมาอย่างนี้ และได้ยนกันมา

อย่างนี้ มีคำกล่าวอธิบายว่า ในชัฏแห่งป่านั้นมีแผ่นดินที่มีเครื่องยาทั้งหมด

แม้ในการประกอบบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกันทีเดียว. คำว่า ดารดาษด้วย

ดอกไม้และของหอมมิใช่น้อย อธิบายว่า ดารดาษแล้วด้วยดอกไม้ที่เกิด

ขึ้นเพื่อเป็นผลและระเบียบดอกไม้สำหรับเป็นเครื่องประดับมิใช่น้อย. คำว่า

กวาง หมายถึงจำพวกเนื้อที่มีสีเป็นทอง. คำว่า นาก หมายถึงจำพวกนาก.

คำว่า แมว หมายเอาแมวตัวใหญ่ ๆ มณฑลแห่งช้างรุ่นเรียกว่ามณฑลอัน

ราบรื่น. คำว่า ช้างใหญ่ หมายถึงช้างขนาดใหญ่ มีอธิบายว่า มีสกุลช้าง

ตัวประเสริฐ ๑๐ ตระกูล ซึ่งเป็นช้างใหญ่มีมณฑลอันราบเรียบและฝูงช้างรุ่น

อาศัยอยู่. คำว่า อิสสมฤค หมายถึงราชสีห์ดำ. คำว่า เนื้อสมัน หมายถึง

เนื้อสมันตัวใหญ่ ๆ. คำว่า เนื้อกระ หมายถึงเนื้อลาย. คำว่า หน้าม้า

หมายถึงนางยักษิณีที่มีหน้าคล้ายม้า. คำว่า กินนร ได้แก่ พวกกินนรต่าง

ประเภทเป็นต้นว่า เทพกินนร จันทกินนร ทุมกินนร (คือกินนรบนต้นไม้)

นกต้อยตีวิดมานพ นกกระเรียน กินนรมีผ้าห้อยหูเป็นต้น . คำว่า ดารดาษ

ด้วยหมู่ไม้เป็นอเนกทรงไว้ซึ่งดอกตูมและก้านมีดอกอันแย้มบาน

ตลอดปลาย อธิบายว่า ดารดาษด้วยหมู่ไม้เป็นอันมาก ล้วนแต่ทรงไว้ซึ่ง

ดอกตูมและทรงก้าน มีดอกอันบานดีแล้ว บานตลอดถึงปลาย นกหัสดีลิงค์

ชื่อว่า อารณะ นกเหล่านี้บางทีเรียกว่า เจลาวกะก็มี. คำว่า เทพและกนก

ทั้งสองนั้น หมายถึงสุพรรณชาติอย่างเดียว อธิบายว่า เป็นประเทศที่ประดับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 547

ด้วยธาตุหลายร้อยชนิดมีอัญชันเป็นต้นเหล่านี้ และกองแห่งธาตุซึ่งมีสีเป็นอัน

มาก. คำว่า ท่านผู้เจริญ นี้เป็นคำทักทายโดยธรรม. คำว่า งดงาม คือ

งามตั้งแต่จะงอยปากตลอดถึงภายใต้ส่วนแห่งท้อง. คำว่า ๓,๕๐๐ คือ ๔,๐๐๐

หย่อน ๕๐๐ หมายความว่า ๓,๕๐๐ นั่นเอง. คำว่า ในหนทางไกล คือใน

ทางที่จะไป คือระยะทางอันไกล. คำว่า เบียดเบียน คือบีบคั้นหรือท่วมทับ.

คำว่า ถูก อธิบายว่า ความหนาวเป็นต้น อย่าได้เข้าไปกระทบเลย. คำว่า

ขว้างปา นี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความว่า เด็กเลี้ยงโคเป็นต้น อย่าได้ขว้างปา

พญานกนั้นเลย. คำว่า ถูกต้อง คือพญานกนั้นอย่าได้ถูกกอไม้เป็นต้นเลย.

คำว่า ละเอียด คือกลมเกลี้ยง. คำว่า อ่อนคือน่ารัก. คำว่า หวาน คือ

ไม่หยาบคาย. คำว่า ไพเราะ หมายถึงวาจาที่เปล่งด้วยเสียงอันไพเราะ. คำว่า

เจรจา คือบำเรออยู่ด้วยสามารถกระทำการฟ้อนรำขับร้อง. คำว่า ผลไม้อัน

อร่อยจากต้นไม้หลายชนิด หมายถึงผลไม้มีรสแปลก ๆ ต่าง ๆ ชนิด. คำว่า

เข้าป่าออกป่า อธิบายว่า บรรดาป่าดอกไม้เป็นต้น นางนกเหล่านั้นได้นำ

พญานกเข้าไปยังป่านี้ โดยป่าแห่งใดแห่งหนึ่งทีเดียว แม้ในคำว่าสวนเป็นต้น

ก็มีนัยเหมือนกัน. คำว่า สวนมะพร้าว หมายถึงสวนมะพร้าวแห่งอื่นจาก

สวนมะพร้าวนั้น. คำว่า พา หมายความว่า นางนกเหล่านั้นพาพญานกไป

อย่างนี้ เข้าไปถึงสถานที่นั้นโดยเร่งรีบ เพื่อต้องการให้รื่นเริง. คำว่า บำรุง

บำเรออยู่ตลอดวันยังค่ำ อธิบายว่า บำเรออยู่ทั้งวัน. คำว่า รุกราน

อธิบายว่า ได้ยินว่า นางนกเหล่านั้นบำรุงบำเรอพญานกนั้นตลอดวันอย่างนี้

ให้ลงจากต้นไม้ที่อยู่ จับอยู่ที่กิ่งไม้เป็นต้น ปรารถนาอยู่ว่า ไฉนหนอ เราพึง

ได้ถ้อยคำอันไพเราะบ้าง ในเวลาที่พญานกบอกให้กลับ คิดว่า พวกเรา

จักไปยังที่อยู่ของตนแล้ว ก็พักอยู่. ส่วนพญานกกุณาละ เมื่อจะส่งพวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 548

นางนกเหล่านั้นให้กลับไป ได้รุกรานด้วยคำว่า อีฉิบหายเป็นต้น . คำว่า

อีฉิบหาย ในข้อความนั้น หมายความว่า พวกเจ้าจงกลับไป. คำว่า อีถ่อยละ

ลาย หมายความว่า จงฉิบหายโดยประการทั้งปวง อธิบายว่า พญานกกล่าวว่า

อีโจร เพราะนำทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้นในเรือนให้พินาศ เรียกว่า อีนักเลง

เพราะมีมายามาก เรียกว่า อีเผอเรอ เพราะไม่มีสติ เรียกว่า อีใจง่าย

เพราะมีใจโลเล เรียกว่า อีไม่รู้จักคุณคน เพราะทำลายมิตร กระทำความ

พินาศให้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงตรัสต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย แม้เมื่อเราเป็นสัตว์ดิรัจฉาน . ก็ย่อมรู้ว่า หญิงทั้งหลายเป็นคนอกตัญญู

เป็นคนมีมายามาก เป็นคนประพฤติอนาจาร เป็นคนทุศีล ด้วยประการฉะนี้

แม้ในคราวนั้น เราก็มิได้อยู่ในอำนาจของหญิงเหล่านั้น กลับให้หญิงเหล่านั้น

อยู่ในอำนาจของตน พระองค์ทรงนำเสียซึ่งความเบื่อหน่ายของภิกษุเหล่านั้น

ออกไป ด้วยพระธรรมกถาอย่างนี้แล้ว ก็ทรงดุษณีภาพนิ่งอยู่ ในขณะนั้น

มีนางนกดุเหว่าดำ ๒ ตัว ให้นกสามีจับตรงกลางท่อนไม้แล้วคาบบินมา แม้ใน

ส่วนเบื้องต่ำเป็นต้นก็มีนางนกประจำข้างละ ๔ ตัว ๆ ได้มาถึงประเทศนั้น ภิกษุ

เหล่านั้น เห็นนกเหล่านั้นจึงทูลถามพระศาสดา พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย แต่ปางก่อนมีนกดุเหว่าขาวตัวหนึ่งชื่อปุณณมุขะ เป็นสหายของเรานี้

เป็นวงศ์ของนกดุเหว่าปุณณมุขะนั้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลถามโดยนัยก่อนทีเดียว

จึงตรัสว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ข้างทิศตะวันออกแห่งภูเขาหิมพานต์นั้น

มีแม่น้ำอันไหลมาแต่ซอกเขาอันละเอียดสุขุมดียิ่งนัก มีสีเขียว.

อธิบายว่า ซอกเขาอันละเอียดสุขุมดี เพราะมีน้ำอันใสสะอาดดีเป็นที่เกิด

ของแม่น้ำเหล่านี้ เพราะฉะนั้น แม่น้ำเหล่านั้นจึงได้ชื่อว่ามีซอกเขาอันละเอียด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 549

สุขุมดีเป็นแดนเกิด แม่น้ำที่ไหลผ่านจากเขาหิมพานต์นั้น มีสีเขียวเพราะมี

ห้วงน้ำเจือด้วยหญ้าเขียว ไหลผ่านมาลงสระกุณาละ แม่น้ำทั้งหลายซึ่งมีซอกเขา

อันละเอียดสุขุมเป็นแดนเกิดมีสีเขียวไหลผ่านไปเห็นปานนี้ ย่อมไหลไปในที่ใด

บัดนี้ พระศาสดา เมื่อจะทรงพรรณนาดอกไม้ทั้งหลายในสระชื่อกุณาละซึ่ง

แม่น้ำเหล่านั้นไหลลงมา จึงได้ตรัสว่าเป็นประเทศที่น่ารื่นเริงบันเทิงใจด้วย

กลิ่นหอมอันเกิดในบัดนั้นจากดอกอุบล ดอกปทุม ดอกกุมุท ดอกนลิน

บัวผัน จงกลนี บัวเผื่อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ดอกอุบล หมายถึงดอกอุบลเขียว. คำว่า

ดอกนลิน หมายถึงบัวขาว. คำว่า บัวผัน หมายถึงมีดอกบัวทุกชนิดครบ

บริบูรณ์. คำว่า ในบัดนั้น ได้แก่ ดอกไม้เหล่านี้งอกงามขึ้นในบัดนั้น คือ

เกิดขึ้นใหม่ ๆ ภูเขาหิมพานต์นั้นประกอบด้วยประเทศที่มีกลิ่นหอมมีกลิ่นเป็นที่

ฟูใจ และเป็นที่รื่นเริงใจ เพราะสามารถที่จะผูกน้ำใจไว้ได้.

บัดนี้ พระศาสดาเมื่อจะทรงพรรณนาถึงต้นไม้เป็นต้นในสระนั้น จึง

ตรัสเนื้อความดังต่อไปนี้.

ดูก่อนท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ณ ภูเขาหิมพานต์ซึ่งเป็นป่าอันเป็น

ทิวแถวประกอบด้วยพรรณไม้ต่างชนิด คือบัวต่าง ๆ พรรณและพรรณต้นไม้

คือไม้จิก ไม้เกด ไม้ย่างทราย ซึ่งมีกิ่งห้อยย้อยลงมา ไม้อ้อยช้าง ต้นบุนนาค

ต้นพิกุล ต้นงา ต้นประยงค์ ต้นขมิ้น ต้นรัง ต้นจำปา ต้นอโศก ต้นนาก

ต้นหงอนไก่ ต้นเสม็ด ต้นโลท ต้นจันทน์ ซึ่งมีกิ่งเห็นแผ่ก่ายกัน อันเป็น

ป่าชัฏซึ่งเต็มไปด้วยต้นกระทำพัก ต้นปทุม ต้นประยงค์ ต้นเทพทาโร

ต้นกล้วย ทรงไว้ซึ่งต้นไม้รกฟ้า ต้นมวกเหล็ก ต้นประดู่ ต้นสัก นี้

กรรณิการ์ ต้นกัณณวิรา ต้นหางช้าง ต้นทองหลาง ต้นทองกวาว ต้นคัดเค้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 550

ต้นมะลิป่า ต้นแก้ว ต้นซึกอันไม่มีโทษ ต้นขานางซึ่งงดงามดียิ่งนัก และ

ดอกไม้สำหรับร้อยเป็นพวงมาลัยต่าง ๆ พรรณ ดารดาษไปด้วยกอมะลิและ

นมแมว ลำเจียก กฤษณา แฝก ซึ่งล้วนมีดอกตูมอ่อนสะพรั่ง เป็นประเทศ

ที่มีพรรณไม้ดอกงอกงามขึ้นเป็นพุ่ม และดารดาษประดับด้วยเครือวัลย์ ได้ยิน

เสียงหมู่หงส์ นกนางนวล นกกาน้ำ นกเป็ดน้ำ ร้องก้องระงมไพร เป็นที่

สถิตอยู่แห่งหมู่วิทยาธรฤษีสิทธิสมณดาบส เป็นประเทศที่ประชุมอยู่ของหมู่

มนุษย์ เทพยดา ยักษ์ รากษส ทานพ คนธรรพ์ กินนร พญานาค ใน

ไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์สำราญเห็นปานนี้ มีนกดุเหว่าขาว มีถ้อยคำอัน

อ่อนหวานยิ่งนัก มีตาแดงดังนัยน์ตาคนเมาสอดส่ายไปมาอาศัยอยู่. ดูก่อนท่าน

ผู้เจริญ ได้ยินว่า นกดุเหว่าชื่อปุณณมุขะนั้น มีนางนกดุเหว่าเป็นนางบำเรอ

๓๕๐ ตัว กล่าวกันว่า นางนกดุเหว่า ๒ ตัวคาบท่อนไม้ตัวละข้างให้พญานก

ปุณณมุขะจับที่ตรงกลางพาบินไป ด้วยความประสงค์จะมิให้พญานกปุณณมุขะ

นั้นเหน็ดเหนื่อยในหนทางยืดยาว นางนกอีก ๕๐ ตัวบินไปในเบื้องต่ำด้วย

ประสงค์ว่า ถ้าพญานกปุณณมุขะพลาดจากที่จับแล้วจะได้เอาปีกทั้งสอง

ประคองรับไว้ นางนกอีก ๕๐ ตัวบินไปในเบื้องบน ด้วยประสงค์จะป้องกัน

มิให้แดดส่องต้องพญาปุณณมุขะได้ นางนกอีก ๑๐๐ ตัวบินไปข้างซ้ายและ

ข้างขวาข้างละ ๕๐ ตัว ด้วยประสงค์มิให้หนาวร้อน หญ้า ละออง ลมและน้ำค้าง

ตกต้องพญานกปุณณมุขะนั้น นางนกอีก ๕๐ ตัวบินไปข้างหน้าด้วยประสงค์

จะป้องกันพวกเลี้ยงโค พวกเลี้ยงสัตว์ คนหาหญ้า คนหาฟืน คนทำงานในป่า

มิให้ประหารด้วยไม้ ด้วยกระบอง ด้วยเครื่องมือ ด้วยก้อนหิน ไม้ค้อน ศัสตรา

และก้อนกรวด. นางนกอีก ๕๐ ด้วยบินไปเบื้องหลัง ด้วยประสงค์มิให้พญา-

นกปุณณมุขะกระทบกอไม้เครือเถา ต้นไม้ กิ่งไม้ เสาหิน และนกมีกำลัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 551

มากกว่า ยังมีนางนกอีก ๕๐ ตัว เปล่งเสียงอันละเอียดอ่อนหวานไพเราะจับใจ

บินตามไปข้างหลัง ด้วยประสงค์มิให้พญานกปุณณมุขะ ซึ่งจับอยู่บนคอน

มีความเงียบเหงา ยังมีนางนกอีก ๕๐ ตัวบินไปในที่ต่าง ๆ นำผลไม้มีรสอัน

อร่อยมากมายมาให้ ด้วยประสงค์จะมิให้พญานกปุณณมุขะหิวโหย ในระหว่าง

ทาง ดูก่อนท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า นางนกทิชกัญญาเหล่านั้นพาพญานกปุณณมุขะ

เข้าป่าออกป่า เข้าสวนออกสวนไปยังท่าน้ำ ยอดภูเขา สวนมะม่วง สวนชมพู่

สวนขนุนสำมะลอ สวนมะพร้าว โดยรวดเร็ว เพื่อให้มีความรื่นเริงยินดี

ได้ยินว่า เมื่อนางนกทั้งหลายบำเรออยู่อย่างนี้ตลอดวัน พญานกปุณณมุขะ

ย่อมสรรเสริญอย่างนี้ว่า ดีมาก ๆ น้องหญิงทั้งหลาย การปฏิบัติผัวอย่างนี้

สมควรแก่พวกเจ้าผู้เป็นลูกเหล่าตระกูล. ดูก่อนผู้เจริญ ได้ยินว่าในกาลต่อมา

พญานกปุณณมุขะดุเหว่าขาว ได้ไปหาพญานกกุณาละ พวกนางนกดุเหว่า

บริจาริกาของพวกพญานกกุณาละเห็นพญานกปุณณมุขะแต่ไกล จึงออกไปหา

แล้วพูดกะพญานกดุเหว่าปุณณมุขะนั้นว่า ข้าแต่สหายปุณณมุขะ พญากุณาละ

นี้หยาบช้า มีวาจาหยาบคาย พวกเราจะได้ฟังวาจาอันเป็นที่รัก เพราะอาศัย

ท่านได้บ้างหรือไม่หนอ พญานกปุณณมุขะจึงตอบว่า บางทีจะได้บ้างกระมัง

น้องหญิงทั้งหลาย แล้วก็พาไปหาพญากุณาละ กล่าวสัมโมทนียกถากับพญา

กุณาละแล้ว ก็สถิตอยู่ ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง ครั้นเรียบร้อยแล้ว พญานก

ปุณณมุขะก็กล่าวกะพญานกกุณาละนั้นว่า ดูก่อนสหายกุณาละ เพราะเหตุไร

ท่านจึงปฏิบัติผิดต่อหญิงทั้งหลายที่เป็นลูกเหล่าตระกูล มีชาติเสมอกัน ซึ่งนาง

ปฏิบัติดีต่อท่าน ดูก่อนสหายกุณาละ ได้ยินเขาว่ากันว่า หญิงทั้งหลายที่

บริบูรณ์ด้วยมารยาทถึงจะพูดไม่ถูกใจเรา เราก็ควรพูดให้ถูกใจเขา ก็จะป่วย

กล่าวไปไยถึงหญิงที่มีมารยาทดี พูดถูกใจเราและเราจะไม่พูดให้ถูกใจเขาเล่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 552

เมื่อพญานกปุณณมุขะกล่าวอย่างนี้ พญานกกุณาละจึงรุกรานเอาพญานก

ปุณณมุขะว่า ดูก่อนสหายลามกชั่วช้า ใครเขาจะฉลาดผจญเมียยิ่งไปกว่าเธอเล่า

พญานกปุณณมุขะถูกพญานกกุณาละรุกรานเอาก็กลับจากที่นั้น.

ได้ยินว่า ต่อมาโดยสมัยอื่นอีก อาพาธอันแรงกล้าได้เกิดขึ้นแก่พญา-

นกปุณณมุขะโดยกาลไม่นานทีเดียว คือลงเป็นโลหิต เกิดเวทนากล้าแข็งจวน

ตาย. ลำดับนั้น นางนกดุเหว่าซึ่งเป็นบริจาริกาของพญานกปุณณมุขะก็เกิดความ

ปริวิตกว่า พญานกปุณณมุขะนี้เกิดอาพาธหนักแล้ว จะหายหรือไม่หายจาก

โรคนี้ก็ไม่รู้ได้ คิดแล้วก็ทั้งพญานกปุณณมุขะไว้แต่เพียงตัวเดียว ไม่มีเพื่อน

พากันเข้าไปหาพญานกกุณาละ ฝ่ายพญานกกุณาละ ได้เห็นนางนกเหล่านั้น

บินมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้วจึงได้กล่าวกะพวกนางนกเหล่านั้นว่า ดูก่อนพวก

อีถ่อย ก็ผัวของเจ้าไปเสียไหนเล่า. นางนกทั้งหลายจึงตอบว่า ข้าแต่สหาย

กุณาละเอ๋ย พญานกปุณณมุขะดุเหว่าขาวเจ็บหนัก จะหายจากอาพาธนั้นหรือ

ไม่หายก็ไม่รู้ได้ เมื่อนางนกทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว พญานกกุณาละก็รุกราน

เอาพวกนางนกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนอีถ่อย พวกเจ้าจงฉิบหาย ดูก่อนอีถ่อย

พวกเจ้าจงพินาศ อีพวกโจร อีพวกนักเลง อีเผอเรอ อีใจง่าย อีไม่รู้จัก

คุณคน อีตามใจตนเหมือนลม ครั้นรุกรานแล้ว จึงเข้าไปหาพญานกปุณณมุขะ

ดุเหว่าขาวแล้วร้องเรียกว่า นี่แน่ะสหายปุณณมุขะเอ๋ย. พญานกปุณณมุขะก็

ตอบรับว่า อะไรนะสหายกุณาละ ครั้นแล้วพญานกกุณาละก็ประคบประหงม

พญานกปุณณะด้วยปีกและจะงอยปาก พอให้ลุกขึ้นได้แล้ว ก็ให้ดื่มยาต่าง ๆ

อาพาธของพญานกปุณณมุขะก็หายลงในขณะนั้นทีเดียว.

พระอรรถกถาจารย์กล่าวอธิบายไว้ว่า คำว่า ดอกประยงค์ หมายถึง

จำพวกดอกไม้ขาว. อักษรในคำว่า หสนา นั้นเป็นบทสนธิ. แท้จริงเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 553

อสนา เท่านั้น. คำว่า ติริฏิ หมายถึงรุกขชาติชนิดหนึ่ง. คำว่า ต้นจันทน์

หมายถึงต้นจันทน์แดง. คำว่า ในป่าอันเป็นทิวแถว คือในป่าอันประกอบ

ด้วยทิวแถวของหมู่ไม้เหล่านี้. คำว่า อันเป็นป่าชัฏซึ่งเต็มไปด้วยต้น

เทพทาโรและต้นกล้วย หมายถึงป่าต้นเทพทาโรและป่ากล้วยทั้งหลาย. คำว่า

ต้นสัก คือรุกขชาติชนิดหนึ่ง. คำว่า กรรณิการ์ หมายถึงต้นกรรณิการ์

ซึ่งมีดอกใหญ่. คำว่า กัณณวิรา หมายถึงต้นกรรณิการ์ที่มีดอกเล็ก. คำว่า

ทองกวาว หมายถึงต้นราชพฤกษ์ก็ได้. คำว่า ต้นคัดเค้า หมายถึงต้น

โยธกาก็ได้. คำว่า ทรงไว้ซึ่งต้นมะลิป่า ต้นแก้ว ต้นซึกอันไม่มีโทษ

ต้นขานางซึ่งงามดียิ่งนัก และดอกไม้สำหรับร้อยเป็นพวงมาลัยต่าง ๆ พรรณ

อธิบายว่า ทรงไว้ซึ่งดอกไม้ทั้งหลายแห่งต้นมะลิป่า ต้นแก้ว ต้นไม้ที่ไม่มีโทษ

ต้นซึก ต้นไม้ที่งดงาม ต้นขานางซึ่งร้อยเป็นมาลัยได้. คำว่า นมแมว

หมายถึงต้นคนทาก็ได้. คำว่า ลำเจียก หมายถึงทั้งต้นทั้งใบของลำเจียก.

คำว่า ดารดาษไปด้วยกอ หมายถึงกอไม้ที่เกิดในน้ำ และกอไม้ที่เกิดบน

ภูเขา ดารดาษไปด้วยดอกมะลิเป็นต้นเหล่านี้. คำว่า เป็นพุ่มและประดับ

ด้วยเครือวัลย์ หมายถึงประเทศที่ดารดาษและประดับด้วยพรรณไม้ต่างชนิด

มีไม้ดอกเป็นต้น และเครือวัลย์ต่าง ๆ ชนิด ซึ่งยกขึ้นเป็นพุ่มอย่างดีในที่นั้น ๆ.

คำว่า มีหมู่สถิตอยู่ อธิบายว่า มีหมู่พวกวิทยาธรเป็นต้นสถิตอยู่ในที่นั้น.

คำว่า พญานกปุณณมุขะ อธิบายว่า นกที่ได้ชื่อว่าปุณณมุขะ เพราะมี

หน้าเต็ม และได้ชื่อว่าเป็นนกดุเหว่าขาว เพราะสิ่งเหล่าอื่นถูกต้อง. คำว่า

มีนัยน์ตาสอดส่าย คือมีนัยน์ตาส่ายไปส่ายมา. คำว่า มีตาเหมือนคนเมา

อธิบายว่า มีตาแดงเหมือนตาของคนเมา อนึ่ง มีตาประกอบด้วยประมาณ.

คำว่า น้องหญิงทั้งหลาย เป็นคำร้องเรียกด้วยโวหารอันประเสริฐ. คำว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 554

ปฏิบัติ คือพึงรับใช้ตลอดวันยังค่ำ พญานกปุณณมุขะกล่าวด้วยคำอันเป็นที่รัก

แล้วจึงส่งพวกนางนกเหล่านั้นไป ด้วยประการฉะนี้ ก็ในกาลบางครั้ง พญานก

กุณาละพร้อมด้วยบริวารได้ไปหาพญานกปุณณมุขะ บางครั้งพญานกปุณณมุขะ

ก็มาหาพญานกกุณาละ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อน

ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่าในกาลบางครั้ง ดังนี้เป็นต้น . คำว่า สหาย หมายเอา

เพื่อนที่รักใคร่กัน. คำว่า อาศัย ได้แก่ ตั้งใจเข้าไปอาศัย. คำว่า พึงได้

อธิบายว่า พวกเราพึงได้ด้วยคำอันเป็นที่รักจากสำนักของพญานกกุณาละ. คำว่า

บ้างกระมัง อธิบายว่า พึงได้บ้างเป็นแน่ เราจักลองพูดกะพญานกกุณาละดู.

คำว่า มีชาติเสมอกัน คือมีชาติร่วมกัน. คำว่า จงฉิบหาย คือ จงปราศจาก

ไป. คำว่า ลามก คือ เลวทราม. คำว่า ฉลาด อธิบายว่า คนอื่นใครเล่า

ที่เขาจะฉลาดเหมือนอย่างท่านยังจะมีอยู่. คำว่า ชายาชิเนน หมายความว่า

เมียเอาชนะตัว อีกอย่างหนึ่ง บาลีเป็น ชายาชิเตน ดังนี้เลยก็มี อธิบายว่า

พญานกกุณาละได้รุกรานพญานกปุณณมุขะว่า ขึ้นชื่อว่าใครที่จะฉลาดเหมือน

อย่างท่าน ที่ถูกหญิงให้ท่านแพ้แล้วยังมีอยู่ ดังนี้ เพื่อต้องการจะมิให้กล่าว

ถ้อยคำเช่นนั้นอีกต่อไป. คำว่า จากที่นั้น อธิบายว่า พญานกปุณณมุขะ

คิดว่า พญานกกุณาละโกรธเราแล้ว จึงกลับจากที่นั้นทีเดียว พร้อมด้วยบริวาร

กลับไปยังที่อยู่ของตนทีเดียว. คำว่า ไม่รู้ นี้เป็นคำแสดงถึงความวิตกด้วย

ความสงสัย พวกนกเหล่านั้นคิดกันอย่างนี้ว่า พญานกปุณณมุขะนี้ จะพึงหาย

จากการเจ็บไข้นี้ หรือไม่หายก็ไม่รู้ ดังนี้ จึงพากันละทิ้งพญานกปุณณมุขะ

นั้นแล้วหลีกไป. คำว่า ของเจ้า หมายเอาผัวของพวกเจ้า. คำว่า ก็ไม่รู้

อธิบายว่า พวกนางนกเหล่านั้นกล่าวว่า พญานกปุณณมุขะนี้จะหายจากการ

เจ็บไข้นั้นหรือไม่หายก็ไม่รู้ได้ ในเวลาที่พวกข้าพเจ้าไปแล้ว เธอคงจักตายแน่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 555

ด้วยว่าพวกข้าพเจ้ารู้ว่า พญานกปุณณมุขะนี้จักตายในบัดนี้ จึงได้พากันมา

เพื่อจะเป็นบาทบริจาริกาของท่าน. คำว่า ไปหา อธิบายว่า พญานกกุณาละ

คิดว่าพวกนางนกเหล่านี้คิดว่า พวกเราจักพากันมาในเวลาที่สามีตายแล้ว ก็จัก

ดูน่าเกลียด จึงพากันละทิ้งพญานกปุณณมุขะนั้นแล้วพากันมา ส่วนเราจะไป

จัดแจงยาต่าง ๆ มีดอกไม้และผลไม้เป็นต้น กระทำสหายของเราให้หายโรค

ครั้นคิดดังนี้แล้ว พระมหาสัตว์ซึ่งมีกำลังดุจพญาช้างสาร จึงบินไปในอากาศ

เข้าไปหาพญานกปุณณมุขะโดยทิศาภาคที่เธออยู่. คำว่า ห เป็นนิบาต พญานก

กุณาละเมื่อจะถามว่า ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือสหาย จึงได้กล่าวอย่างนี้ แม้

พญานกปุณณมุขะนอกนี้ กล่าวตอบพญานกกุณาละว่า เออ เรายังมีชีวิตอยู่

สหายเอ๋ย. คำว่า ให้ดื่ม คือให้ดื่มยาต่าง ๆ ชนิด. คำว่า หาย อธิบายว่า

โรคของพญานกปุณณมุขะก็สงบลงในขณะนั้น.

ฝ่ายนางนกดุเหว่าทั้งหลายแม้เหล่านั้น พอพญานกปุณณมุขะหายเจ็บ

ก็พากันกลับมา. พญานกกุณาละหาผลไม้น้อยใหญ่มาให้พญานกปุณณมุขะกินอยู่

สองสามวัน พอพญานกปุณณมุขะมีกำลังดีแล้ว จึงกล่าวว่า สหายเอ๋ย บัดนี้

ท่านก็หายจากโรคแล้ว จงอยู่กับนางบริจาริกาของท่านเถิด เราจักไปยังที่อยู่

ของเรา ลำดับนั้น พญานกปุณณมุขะจึงกล่าวว่า นางนกบริจาริกาเหล่านั้นพากัน

ละทิ้งเราเมื่อไข้หนัก หนีไปเสีย เราไม่ต้องการอยู่กับอีพวกนักเลงเหล่านี้

ต่อไป พระมหาสัตว์ได้สดับคำนั้นจึงกล่าวว่า ดูก่อนสหาย ถ้าเช่นนั้นเราจะ

กล่าวความลามกของหญิงทั้งหลายให้ท่านได้ฟัง ว่าแล้วก็พาพญานกปุณณมุขะ

ไปยังพื้นมโนศิลาข้างเขาหิมพานต์ พักอยู่ที่มโนศิลาโคนไม้รั้งอันมีปริมณฑล

๗ โยชน์ พญานกปุณณมุขะกับบริวารก็พากันสถิตอยู่ในที่ควรข้างหนึ่ง. ฝ่าย

เทวดาก็เที่ยวป่าวร้องไปทั่วหิมพานต์ว่า วันนี้พญานกกุณาละจะแสดงธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 556

ด้วยพุทธลีลาที่พื้นมโนศิลา ขอให้ท่านทั้งหลายไปฟัง เทวดาในกามาวจรทั้ง

๖ ได้รู้ เพราะการร้องป่าวประกาศต่อ ๆ ไป ก็พากันมาประชุมในที่นั้นเป็น

อันมาก ใช่แต่เท่านั้น พวกนาค ยักษ์ รากษส สุบรรณ วิชาธร แร้ง

และเทวดาที่อาศัยอยู่ในดงก็โฆษณาเนื้อความนั้นต่อ ๆ ไป. คราวนั้นพญาแร้ง

ชื่อว่าอานนท์ มีแร้งหมื่นหนึ่งเป็นบริวารอาศัยอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เมื่อได้ยินเสียง

ป่าวร้องเป็นโกลาหล ก็พาบริวารมาอยู่ข้างหนึ่ง ด้วยความประสงค์จะฟังธรรม

นารทฤๅษีผู้สำเร็จอภิญญา ๕ มีดาบสบริษัทหมื่นหนึ่ง อยู่ในหิมวันตประเทศ

ได้ยินเสียงป่าวร้องก็คำนึงว่า ได้ยินว่า พญานกกุณาละสหายของเราจะชี้

โทษของหญิงทั้งหลาย จักมีสมาคมใหญ่ ควรเราจักไปฟังเทศนาของพญา

นกกุณาละ คิดแล้วก็พาดาบสหมื่นหนึ่งมาด้วยฤทธิ์ ครั้นถึงก็สถิต ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระมหาสัตว์อ้างพญานกปุณณมุขะเป็นพยานแล้วก็

แสดงเหตุที่ตนได้เห็นมาแล้วในอดีตภพ ซึ่งประกอบด้วยโทษแห่งหญิงโดยชาติ

สรญาณ (ญาณที่ระลึกชาติได้).

เมื่อพระศาสดา จะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า ได้ยินว่า

พญานกกุณาละได้กล่าวกับพญานกปุณณมุขะดุเหว่าขาว ซึ่งหายจากไข้และหาย

ยังไม่นานว่า ดูก่อนสหายปุณณมุขะ เราเคยเห็นมาแล้ว นางกัณหา ๒ พ่อ

นางมีผัว ๕ คน ยังมีจิตปฏิพัทธ์ผูกพันในบุรุษที่ ๖ ซึ่งเป็นคนเปลี้ยหลังโกง

โค้งงอ คอก้มลงมาถึงท้องเหมือนคนศีรษะขาด และเรื่องนี้มีคำกล่าวเป็นคาถา

อีกส่วนหนึ่งว่า

ครั้งนั้น นางคนหนึ่ง ล่วงละเมิดสามี ๕ คน คือ

พระเจ้า อัชชุนะ พระเจ้า นกุล พระเจ้า ภีมเสน

พระเจ้า ยุธิษฐิล พระเจ้าสหเทพ แล้วทำลามกกับ

บุรุษเปลี้ยเตี้ยแคระอีก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 557

ดูก่อนสหายปุณณมุขะ เรายังได้เคยเห็นอีก นางสมณีชื่อว่าปัญจตปาวี

อาศัยอยู่ในท่ามกลางป่าช้า ถือพรตยอมอดอาหาร ๔ วันจึงบริโภคครั้งหนึ่ง

ได้กระทำกรรมอนลามกกับพวกนักเลงสุรา ดูก่อนสหายปุณณมุขะ เรายังได้

เคยเห็นมาแล้วอีก นางเทวีมีนามว่า กากวันตี อยู่ในท่ามกลางสมุทร เป็น

ภรรยาของท้าวเวนไตยพญาครุฑ ได้กระทำกรรมอันลามกกับ กุเวรผู้เจนในการ

ฟ้อน ดูก่อนสหายปุณณมุขะ เราเคยเห็นมาแล้ว นางขนงาม ชื่อว่ากุรุงคเทวี

รักใคร่ได้เสียอยู่กินกับเอฬกกุมารได้กระทำกรรมอันลามกกับฉพังคกุมารเสนา-

บดี และธนันเตวาสีคนใช้ของฉฬังคกุมารอีก เป็นความจริงเราได้รู้มาอย่างนี้

แหละ แม้พระมารดาของพระเจ้าพรหมทัต ก็ได้ทรงทอดทิ้งพระเจ้าโกศลราช

กระทำกรรมอันลามกกับพราหมณ์ชื่อว่า ปัญจาลจัณฑะ พญานกกุณาละกล่าว

เป็นคาถาต่อไปว่า

หญิงทั้งหลายที่กล่าวมาแล้วนั้นก็ดี หญิงอื่นก็ดี

ได้กระทำมาแล้วซึ่งกรรมอันลามก เพราะเหตุนั้น เรา

จึงไม่วิสสาสะ ไม่สรรเสริญหญิงทั้งหลาย แผ่นดิน

อันทรงไว้ซึ่งสรรพแก้วยินดีเสมอกัน รับรองสิ่ง

ที่ดีและชั่ว ทนทานได้หมด ไม่ดิ้นรน ไม่หวั่น-

ไหวฉันใด หญิงทั้งหลายก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น

ไม่ควรวิสสาสะกับหญิงทั้งหลาย อนึ่ง ราชสีห์พาฬ-

มฤคดุร้าย บริโภคเนื้อเลือดเป็นอาหาร ยินดีในการ

ที่จะเบียดเบียนสัตว์ ใช้อาวุธ ๕ (คือปาก ๑ เท้า ๔)

ข่มขี่สัตว์ทั้งหลายกินฉันใด หญิงทั้งหลายย่อมใช้อาวุธ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 558

๕ อย่าง (คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) เหมือนกัน

ฉันนั้น เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรวิสสาสะกับหญิงทั้งหลาย

เหล่านั้น.

ดูก่อนสหายปุณณมุขะ หญิงทั้งหลายไม่ใช่แพศยา ไม่ใช่นางงาม

ไม่ใช่หญิงสัญจร ชื่อทั้ง ๓ นี้ไม่ใช่ชื่อโดยกำเนิด หญิงเหล่านี้ คือแพศยา

นางงาม หญิงสัญจร ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่า หญิงทั้งหลายมุ่นมวยผมเหมือนพวกโจร

ประทุษร้ายให้เป็นพิษเหมือนสุราเจือยาพิษ พูดโอ้อวดเหมือนคนขายของ

ตลบตะแลงพลิกพลิ้วเหมือนเขาเนื้อ สองลิ้นเหมือนงู ปกปิดความชั่วเหมือนเอา

แผ่นกระดานปิดหลุมคูถไว้ บรรทุกให้เต็มยากเหมือนบาดาล ทำให้ยินดีได้ยาก

เหมือนรากษส กวาดไปไม่มีเหลือเหมือนพระยม กินไม่เลือกเหมือนไฟ พัด

พาไปไม่เลือกเหมือนแน่น้ำ ประพฤติตามอำเภอใจตัวเหมือนลม ไม่ทำอะไร

ให้พิเศษเหมือนเขาพระเมรุมาศ (อธิบายว่า สัตว์เข้าไปที่ภูเขาพระเมรุแล้วจะ

มีสีเป็นทองเหมือนกันไปหมด) ผลิตผลเป็นนิตย์เหมือนต้นไม้มีพิษ มีคาถา

กล่าวความเหล่านี้ไว้อีกส่วนหนึ่งว่า

หญิงทั้งหลายเกล้าผมเหมือนโจร ประทุษร้าย

เหมือนสุรามีพิษ พูดโอ้อวดเหมือนคนขายของ ตลบ-

ตะแลงเหมือนเขาเนื้อ สองลิ้นเหมือนงู ปิดความชั่ว

เหมือนปิดหลุมคูถ ทำให้เต็มได้ยากเหมือนบาดาล

ทำให้ยินดีได้ยากเหมือนรากษส นำไปอย่างเดียว

เหมือนพระยม กินไม่เลือกเหมือนไฟ พัดให้ลอยไป

ไม่เลือกเหมือนแม่น้ำ ประพฤติตามใจตัวเหมือนลม

ไม่ทำอะไรให้วิเศษเหมือนเขาเมรุมาศ ผลิตผลเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 559

นิตย์เหมือนต้นไม้มีพิษ หญิงทั้งหลายเป็นผู้กอบกำ

รัตนะทั้งหลายไว้ในมือจนนับไม่ถ้วน ทำโภคสมบัติ

ในเรือนให้พินาศ.

คำว่า ซึ่งหายจากไข้ อธิบายว่า เป็นไข้มาก่อนแล้วจึงหายใน

ภายหลัง. คำว่า เราเคยเห็นมาแล้วดังนี้ พระอรรถกถาจารย์นำเรื่องพิสดาร

มาสาธกไว้ว่า ได้ยินว่า ในกาลอันล่วงมาแล้ว พระเจ้าพรหมทัต ผู้เป็นพระราชา

ในแคว้นกาสี เสด็จไปที่ได้ราชสมบัติในแคว้นโกศลเพราะพระองค์มีพลพาหนะ

อันมากมาย ฆ่าพระเจ้าโกศลเสียแล้ว พาพระอัครมเหสีของพระเจ้าโกศลราช

ซึ่งกำลังทรงพระครรภ์อ่อน ๆ มาด้วย เสด็จไปยังเมืองพาราณสี ทรงตั้งให้

เป็นพระอัครมเหสีของพระองค์ ไม่ช้านางก็ประสูติพระธิดา โดยปกติพระเจ้า

พรหมทัตมิได้มีพระโอรสพระธิดา ท้าวเธอจึงทรงยินดีมากถึงกับออกพระโอฐ

ว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เราจะให้พร พระอัครมเหสีก็ทรงยึดเป็นคำมั่นสัญญาไว้

พระประยูรญาติทั้งหลาย ถวายพระนามพระราชกุมารีนั้นว่า นางกัณหา เมื่อ

นางเจริญวัยแล้ว พระมารดาจึงบอกว่า พระราชบิดาของเจ้า พระราชทานพรไว้

แม่ได้ถือเป็นคำมั่นสัญญาไว้แล้ว เจ้าจงเลือกตามความพอใจของเจ้าเถิด นาง

กัณหาทูลว่า ทรัพย์สมบัติใด ๆ ของหม่อมฉัน ซึ่งจะไม่มีนั้นหามิได้ ขอ

อนุญาตให้หม่อมฉันเลือกสามีได้ตามความชอบใจเถิด ที่นางหมดความอาย

ความกลัวทูลพระราชมารดาได้ดังนั้น ก็เพราะกิเลสแรงกล้า พระมารดาจึง

นำความกราบทูลต่อพระเจ้าพรหมทัต ๆ ตรัสรับว่าดีแล้ว จึงป่าวร้องบุรุษ

มาแล้ว ให้ธิดาเลือกตามความชอบใจ พวกบุรุษทั้งหลายก็พากันประดับประดา

ด้วยเครื่องอลังการมาประชุมพร้อมหน้ากันที่หน้าพระลาน นางกัณหาถือผอบ

ดอกไม้ยืนอยู่ที่ช่องพระแกลอันสูงแลดูบุรุษเหล่านั้นก็มิได้ชอบใจสักคนหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 560

คราวนั้นมีราชกุมาร ๕ พระองค์ เป็นราชบุตรแห่งพระเจ้าบัณฑุราช

องค์หนึ่งมีพระนามว่าอัชชุน องค์หนึ่งมีพระนามว่านกุล องค์หนึ่งมีพระนามว่า

ภีมเสน องค์หนึ่งมีพระนามว่ายุธิษฐิล องค์หนึ่งมีพระนามว่าสหเทพ พากัน

ไปเล่าเรียนศิลปศาสตร์ ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมืองตักกศิลา สำเร็จแล้ว

ใคร่จะทราบถึงจารีตในประเทศต่าง ๆ จึงพากันไปเที่ยวถึงเมืองพาราณสีได้ยิน

เขาวุ่นวายกันในเมืองจึงเข้าไปถาม ครั้นทราบความแล้วก็ปรึกษากันว่าจะไป

บ้าง กุมารทั้ง ๕ องค์นั้นมีรูปร่างงามผ่องใสคล้าย ๆ กัน ต่างก็พากันไปยืนอยู่

ต่อ ๆ กัน. ฝ่ายนางกัณหานั้นเห็นราชกุมารทั้ง ๕ ก็มีความสิเนหาทุก ๆ องค์

จึงโยนพวงมาลัยไปคล้องให้ทั้ง ๕ แล้วกราบทูลพระมารดาว่า หม่อมฉันเลือก

เอาคนทั้ง ๕ คนนี้ พระมารดาก็ไปกราบทูลพระเจ้าพรหมทัต ๆ ไม่พอพระทัย

แต่ไม่อาจตรัสว่าไม่ได้ เพราะพระราชทานพรไว้เสียแล้ว จึงตรัสถึงชาติตระกูล

และนามบิดา ครั้นทรงทราบว่า เป็นราชกุมารของพระเจ้าบัณฑุราช ก็พระ-

ราชทานราชสักการะแล้ว ยกนางกัณหาให้เป็นบริจาริกาพระราชกุมารทั้ง ๕

องค์ นางกัณหาก็บำเรอราชกุมารทั้ง ๕ ด้วยสามารถกิเลสอยู่บนปราสาท ๗ ชั้น

และนางกัณหานั้นมีบุรุษคอยรับใช้อยู่คนหนึ่ง เป็นคนเปลี้ยค่อม เมื่อนางกัณหา

บำเรอราชกุมารที่ ๕ ด้วยกิเลสแล้ว พอราชกุมารนั้นออกไปภายนอก นางมี

เวลาว่าง เมื่อกิเลสลุกลามขึ้นก็ทำความชั่วกับบุรุษเปลี้ย เมื่อนางเจรจากับบุรุษ

เปลี้ยนั้นได้กล่าวว่า คนอื่นซึ่งเป็นที่รักของเรายิ่งกว่าท่านไม่มี เราจักฆ่าพระราช

กุมารทั้ง ๕ เสีย เอาเลือดในลำคอมาล้างเท้าท่านดังนี้ ถึงพระราชกุมารทั้ง ๕ นาง

ก็พูดอย่างนี้ คือ เวลาคลอเคลียอยู่กับราชกุมารพี่ชายใหญ่ นางก็พูดว่าหม่อมฉัน

รักพระองค์ยิ่งกว่าพระราชกุมารทั้ง ๔ ชีวิตของหม่อมฉันสละถวายพระองค์แล้ว

ถ้าบิดาของหม่อมฉันทิวงคต หม่อมฉันจะให้เขาถวายราชสมบัติแก่พระองค์ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 561

เวลานางคลอเคลียอยู่กับราชกุมารองค์อื่นอีก นางก็กล่าวอย่างนี้ทั้ง ๔ พระองค์

พระราชกุมารทั้ง ๕ องค์ก็ทรงยินดีด้วยนางกัณหายิ่งนัก ด้วยใส่ใจว่า นางกัณหา

รักตนและอิสริยยศจะเกิดกับตนก็เพราะอาศัยนางกัณหา ต่อมาภายหลังวันหนึ่ง

นางกัณหาประชวรไข้ พระราชกุมารทั้ง ๕ ก็ไปนั่งแวดล้อม องค์หนึ่งนวดฟั้น

ศีรษะ อีก ๔ องค์นวดมือและเท้าทั้ง ๔ เจ้าเปลี้ยนั่งอยู่ใกล้เท้า. ส่วนนาง

กัณหาก็ให้อาณัติสัญญาอย่างรวม ๆ แก่พระอัชชุนผู้เป็นเชษฐาด้วยศีรษะ เป็น

เชิงแสดงให้รู้ว่า คนอื่นซึ่งเป็นที่รักของหม่อมฉันยิ่งกว่าพระองค์ไม่มี เมื่อ

หม่อมฉันมีชีวิตอยู่ก็จักมีชีวิตอยู่สำหรับพระองค์ ถ้าพระราชบิดาทิวงคตแล้วจะ

ให้เขาถวายราชสมบัติแก่พระองค์ ส่วนราชกุมารอีก ๘ องค์ นางก็ให้อาณัติ

สัญญาด้วยมือและเท้าตามทิศที่นั่ง แสดงเลศนัยอย่างเดียวกัน ใช่แต่เท่านั้น

ยังทำลิ้นให้อาณัติสัญญาแก่บุรุษเปลี้ยตามถ้อยคำที่เคยพูด คือว่า เจ้าคนเดียว

เท่านั้นเป็นที่รักของข้า ข้าจักมีชีวิตอยู่สำหรับเจ้า ทุก ๆ คนเห็นอาณัติสัญญา

แล้วก็รู้เนื้อความ เพราะนางเคยพูดมาแต่ก่อนเนือง ๆ แต่อัชชุนกุมารสังเกตเห็น

อาการเคลื่อนไหวมือเท้าและลิ้นของนางก็ดำริว่า นางกัณหาให้อาณัติสัญญาแก่

เราฉันใด ชะรอยจะให้แก่ผู้อื่นฉันนั้น เห็นจะทำความรักใคร่ชิดชมกับอ้ายเปลี้ย

ด้วย โดยไม่ต้องสงสัย ดำริแล้วจึงพาน้องชายออกไปข้างนอกแล้วไต่ถามว่า

นาง ๕ ผัวแสดงท่าด้วยศีรษะให้เรา เจ้าเห็นหรือไม่ พระราชกุมาร

๔ องค์ก็รับว่าเห็น อัชชุนกุมารจึงถามว่า เจ้ารู้เท่าทันหรือไม่ พระราชกุมาร

ทั้ง ๔ ตอบว่า ไม่รู้ อัชชุนกุมารจึงถามว่า ก็ที่นางทำอาณัติสัญญาให้เจ้าทั้ง

๔ ด้วยมือ และเท้าทั้ง ๔ นั้นเจ้ารู้หรือไม่เล่า. พระราชกุมารทั้ง ๔ ตอบว่ารู้.

อัชชุนกุมารตรัสว่า นางให้สัญญาแก่พวกเราด้วยเรื่องอย่างเดียวกันนั่นแหละ

แล้วถามต่อไปว่า ที่นางแสดงกิริยาพิรุธด้วยลิ้นแก่อ้ายเปลี้ยนั้น เจ้ารู้เท่าทัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 562

หรือไม่เล่า พระราชกุมารทั้ง ๔ ก็ตอบว่าไม่รู้ ลำดับนั้น อัชชุนกุมารจึงบอก

แก่น้องชายว่า ชะรอยนางนี่จะได้ประพฤติชั่วกับอ้ายเปลี้ยด้วยอีกคนหนึ่งเป็น

แน่ เมื่อเห็นว่าน้องชายทั้ง ๔ ไม่เชื่อ จึงเรียกให้บุรุษเปลี้ยเข้ามาถาม บุรุษ

เปลี้ยก็ยอมรับสารภาพทั้งหมดสิ้น พระราชกุมารทั้ง ๕ ได้ฟังแล้วก็หมดความ

ยินดีรักใคร่ ติเตียนมาตุคามโดยอเนกปริยายว่า น่าสลดใจนัก ขึ้นชื่อว่า

มาตุคามแล้วลามกทุศีล มาสละละคนที่บริบูรณ์ด้วยชาติและสวยงามเช่นพวกเรา

เสีย แล้วไปประพฤติลามกกับด้วยอ้ายเปลี้ยอันน่าเกลียดปฏิกูลได้ ก็ใครเล่าที่

เขาเป็นนักปราชญ์จะพึงรื่นรมย์ยินดีกับด้วยหญิงทั้งหลาย ผู้หาความละอายมิได้

มีแต่ธรรมลามก เมื่อติเตียนแล้ว พระราชกุมารทั้ง ๕ ก็ตกลงใจกันว่า ไม่

ต้องการอยู่เป็นฆราวาสจึงพากันเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์ ถือเพศบรรพชา กระทำ

กสิณบริกรรม เมื่อสิ้นอายุแล้วก็ได้ไปตามยถากรรม.

ก็ในกาลนั้น พญานกกุณาละเกิดเป็นอัชชุนกุมาร ฉะนั้นเมื่อแสดง

เหตุที่ตนได้เห็นมาจึงกล่าวว่า เราได้เห็นมาแล้ว ดังนี้.

คำว่า สองพ่อ ในพระพุทธพจน์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

หมายถึงพระเจ้ากรุงโกศลกับพระเจ้ากาสิกราช. คำว่า มีผัว ๕ คน หมาย

ความว่า ผัวของนางมีถึง ๕ คน. อักษรเป็นเพียงนิบาตที่แทรกเข้ามา.

คำว่า ยังมีจิตปฏิพัทธ์ คือมีจิตผูกพันอยู่. คำว่า ถึงท้อง อธิบายว่า

ได้ยินว่า คอของชายเปลี้ยนั้นโค้งลงมาตลอดหน้าอกถึงท้อง เพราะฉะนั้น เขา

จึงปรากฏเหมือนมีศีรษะขาด. คำว่า ล่วงละเมิดสามี ๕ คน อธิบายว่า นาง

ล่วงละเมิดสามีทั้ง ๕ คนเหล่านั้นเสียแล้ว. คำว่า กับบุรุษเปลี้ย อธิบายว่า

นางทำกรรมอันลามกกับบุรุษเปลี้ยเตี้ยแคระ. พญานกกุณาละครั้นกล่าวเรื่องนี้

จบลงแล้ว เมื่อจะแสดงเรื่องที่ตนเคยเห็นมา เรื่องอื่นอีกจึงกล่าวต่อไปว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 563

ดูก่อนสหายปุณณมุขะ ยังมีอีกเราได้เห็นมาแล้ว นางสมณี ชื่อปัญจตปาวีอาศัย

อยู่ในป่าช้า ถือพรตอดอาหาร ๔ วัน จึงบริโภคครั้งหนึ่ง นางได้ทำกรรม

ลามกกับนักเลงสุรา บรรดาเรื่องเหล่านั้น เรื่องที่หนึ่งนี้ พระอรรถกถาจารย์

นำเอานิทานพิสดารมาสาธกว่า ดังได้ยินมา ในอดีตกาล ยังมีนางสมณีนุ่งขาว

รูปหนึ่งชื่อปัญจตปาวีอาศัยอยู่ในเมืองพาราณสี นางให้ทำบรรณศาลาอาศัยอยู่

ในป่าช้า นางถือพรตอดอาหารข้ามเวลาถึง ๔ วัน จึงฉันครั้งหนึ่ง จนเกียรติคุณ

ปรากฏดุจกับพระจันทร์และพระอาทิตย์ถึงกับพวกชาวพาราณสีไอจามหรือพลาด

หกล้ม ก็เปล่งเสียงนมัสการนางปัญจตปาวี. ต่อมาภายหลัง ครั้งหนึ่งเป็นเวลา

นักขัตฤกษ์ วันแรกพวกช่างทองก็ชักชวนพวกไปสร้างปรำขึ้นหลังหนึ่ง แล้ว

จัดหาของต่าง ๆ เป็นต้นว่า ปลา เนื้อ สุรา ของหอม นั่งล้อมกันจะเสพสุรา

เวลานั้นช่างทองคนหนึ่งทำกระติกเหล้าตกลง ก็ตกใจเปล่งเสียงนมัสการนาง

ปัญจตปาวี ในที่นั้นมีชายฉลาดคนหนึ่งพูดขึ้นว่า ท่านนี้เขลานัก ไฉนจึง

นอบน้อมไหว้ผู้หญิงซึ่งมีจิตกลับกลอกเล่า ช่างทองนั้นตอบว่า ดูก่อนสหายเอ๋ย

ท่านอย่าพูดอย่างนี้ อย่าทำกรรมที่จะนำไปตกนรกเลย บุรุษผู้ฉลาดจึงตอบว่า

ท่านนี้งมงายหาปัญญามิได้ มาพนันกันพันหนึ่งหรือ ต่อไปนี้อีก ๗ วัน เราจะ

ไปพานางปัญจตปาวีมาให้แต่งตัวงดงามแล้วให้มานั่งที่นี่ ให้ถือกระติกเหล้า

รินให้เรากินให้ได้ ขึ้นชื่อว่ามาตุคามแล้ว ที่จะมีศีลยั่งยืนนั้นไม่มีเลย ช่างทอง

คนนั้นก็ตอบว่า เป็นไปไม่ได้ จึงพนันกับบุรุษผู้เป็นบัณฑิตพันหนึ่ง.

บุรุษบัณฑิตนั้นระบุเรื่องการพนันให้ช่างทองอื่น ๆ ฟังแล้วครั้นรุ่งขึ้น

เวลาเช้าก็เข้าไปในป่าช้า นั่งนมัสการพระอาทิตย์อยู่ใกล้กับที่อยู่ของนางปัญจต-

ปาวี เมื่อนางปัญจตปาวีเข้าไปเที่ยวภิกขาจารในพระนคร กลับมาพบบุรุษนั้น

แล้วก็คิดว่า ดาบสรูปนี้เห็นจะมีฤทธิมากมาย เราอยู่ริมป่าช้านี่เข้ามาอยู่กึ่งกลาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 564

เห็นจะมีสัปบุรุษธรรมอยู่ในภายใน จำเราจักเข้าไปทำความเคารพ คิดแล้ว

นางก็เข้าไปไหว้ ดาบสปลอมแกล้งนิ่งเฉย มิได้เหลียวดูและไม่ทุกทาย วันที่

๒ ก็ทำอย่างนั้นอีก พอถึงวันที่ ๓ เมื่อนางปัญจตปาวีไหว้เเล้ว ดาบสปลอม

ก้มหน้าพูดว่า ไปเถอะ ครั้นวันที่ ๔ จึงทักทายปราศรัยว่า ท่านไม่ลำบากด้วย

ภิกขาหารดอกหรือ นางปัญจตปาวีดีใจมากที่ได้รับคำปฏิสันถาร ครั้นวันที่ ๕

นางได้รับคำปฏิสันถารมากขึ้นอีก ถึงต้องนั่งอยู่หน่อยหนึ่งจึงลุกไป ครั้นวันที่

๖ พอนางมานั่งไหว้ ดาบสปลอมก็ถามว่า น้องหญิงวันนี้เสียงขับร้องเอิกเกริก

ในเมืองพาราณสีทำไมกันหนอ นางปัญจตปาวีตอบว่า พระผู้เป็นเจ้าไม่รู้

ดอกหรือ เขาเล่นมหรสพกันกึกก้องในพระนคร นั่นเป็นเสียงนักเล่นมหรสพ

ดาบสปลอมแกล้งทำเป็นไม่รู้ว่าเสียงอะไร แกล้งถามเรื่องอื่นต่อไปว่า เจ้ามา

ประพฤติพรตอยู่นี้เว้นอาหารเท่าไร นางตอบว่าเว้น ๔ วัน แล้วย้อนถามว่า

ก็พระผู้เป็นเจ้าเว้นเท่าไรเล่า ดาบสปลอมตอบว่า เว้น ๗ วัน ที่แท้ก็เท็จทั้งนั้น

เว้นแต่กลางวัน กลางคืนกินทุกคืน แล้วดาบสปลอมถามต่อไปว่า น้องหญิง

เจ้าบวชมากี่ปีแล้ว ครั้นนางบอกว่า ๑๒ ปี แล้วย้อนถามบ้างว่า พระผู้เป็นเจ้า

เล่าบวชมากี่ปีแล้ว จึงตอบว่า ๖ ปีแล้ว แล้วถามต่อไปว่าเจ้าได้บรรลุธรรม

เครื่องระงับแล้วหรือ ครั้นนางปฏิเสธว่าไม่ได้บรรลุและย้อนถามบ้าง ดาบส

ปลอมก็บอกว่า ยังไม่ได้บรรลุเหมือนกัน ต่อนั้นก็รำพันเป็นเชิงชวนให้

เกิดความต้องการดังนี้ว่า น้องหญิงเอ๋ย เราทั้งสองนี้มิได้รับความสุขทั้ง ๒ อย่าง

ทางกามโภคีสำหรับผู้ครองเรือนที่จะเป็นสุขด้วยทรัพย์สมบัติก็ไม่ได้ เนกขัมมสุข

เครื่องระงับทางใจก็ไม่เกิดขึ้น ไฟนรกมันจะร้อนแต่เราสองคนเท่านั้นหรือ

ถ้าเราจักประพฤติอย่างมหาชนคนหมู่มากเขาทำกัน ข้าเห็นจะทนทุกข์เช่นนี้อยู่

อีกไม่ได้ จักต้องสึกเป็นคฤหัสถ์ ทรัพย์สมบัติของแม่ก็ยังมีอยู่บ้าง พอจะก่อร่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 565

สร้างตัวต่อไป นางปัญจตปาวีได้ฟังคำเช่นนั้นก็เกิดความกำหนัดรักใคร่ จึง

ปฏิญาณความในใจออกมาว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เรื่องนี้เป็นหัวอกอันเดียวกัน

แต่จนใจที่มิรู้จะหันหน้าไปหาใคร ถ้าท่านจะไม่ทอดทิ้งข้าพเจ้าแล้วไซร้ ข้าพ-

เจ้าจะยอมเป็นน้องสาวสึกไปอยู่รับใช้ท่าน ดาบสปลอมจึงตอบว่า ถ้าปลงใจ

เช่นนั้นก็มาเถิด พี่จะไม่ทอดทิ้ง จะเลี้ยงเจ้าเป็นภรรยา ว่าแล้วก็พากันไปใน

เมือง อยู่สมัครสังวาสอย่างสามีภรรยาทั้งหลายแล้ว ก็ให้นางถือกระดิกสุรา

พากันไปสู่ปรำสุราบาน นั่งดื่มสุราอยู่. ฝ่ายนายช่างทองก็แพ้เสียเงินพันหนึ่ง

นางปัญจตปาวีก็เกิดบุตรธิดาด้วยนักเลงสุรานั้นหลายคน. ในคราวนั้น พญานก

กุณาละเกิดเป็นนักเลงสุรา เมื่อนำเหตุนั้นมาแสดงจึงได้กล่าวว่า เราได้เห็น

มาแล้วดังนี้.

อดีตนิทานในเรื่องที่ ๒ มีพรรณนาไว้แล้วในอรรถกถาแห่งกากวันตี

ชาดก ในจตุกนิบาต ในกาลนั้นพญานกกุณาละเกิดเป็นพญาครุฑ เพราะฉะนั้น

เมื่อจะประกาศเหตุที่ตนประสบมาแล้วจึงได้กล่าวว่า เราได้เห็นมาแล้ว ดังนี้.

ในเรื่องที่ ๓ นี้ พระอรรถกถาจารย์นำเรื่องพิสดารมาสาธกไว้ว่า ใน

อดีตกาล พระเจ้าพรหมทัตปลงพระชนม์พระเจ้าโกศลราช ทรงริบเอาราชสมบัติ

แล้ว พาพระอัครมเหสีของพระเจ้าโกศลไปสู่เมืองพาราณสี แม้ทรงทราบอยู่ว่า

นางนั้นมีครรภ์ ก็ยังทรงตั้งนางนั้นเป็นพระอัครมเหสี ครั้นนางมีครรภ์แก่แล้ว

ก็ประสูติพระราชบุตรอันงดงามดุจดังทองคำ. นางจึงดำริว่า เมื่อกุมารนี้เติบโต

พระเจ้าพาราณสีก็จักให้ฆ่าทิ้งเสีย ด้วยทรงเห็นว่าเป็นบุตรของข้าศึก ไม่ต้อง

พระประสงค์จะเลี้ยงไว้ อย่าให้บุตรของเราตายด้วยมือคนอื่นเลย. นางดำริ

แล้วจึงสั่งนางนมว่า เจ้าจงเอาผ้าเก่า ๆ ห่อทารกนี้แล้ว จงนำไปทิ้งเสียที่ป่าช้า

ผีดิบ นางนมทำตามสั่งอาบน้ำชำระเกล้าแล้วจึงกลับมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 566

ฝ่ายพระเจ้าโกศลราชทิวงคตแล้วไปเกิดเป็นรุกขเทวดา จึงบันดาล

ด้วยอานุภาพของตนให้คนเลี้ยงแพต้อนแพะไปสู่ประเทศนั้น นางแพะตัวหนึ่ง

ไปพบทารกนั้นเข้าก็เกิดความสิเนหา จึงให้ทารกนั้นดื่มกินน้ำนมแล้ว ก็เที่ยว

ไปแล้วกลับมาให้กินอีก ๓-๔ ครั้ง. คนเลี้ยงแพะเห็นกิริยาของนางแพะนั้น

จึงเข้าไปดู เห็นทารกนั้นแล้วก็เกิดความรักใคร่เหมือนบุตร จึงอุ้มมาให้ภรรยา

ของตน. ภรรยาของคนเลี้ยงแพะไม่มีบุตร ก็ไม่มีนมจะให้กิน จึงให้ทารก

กินนมแพะตัวนั้น. แต่วันนั้นมา นางแพะก็ตายลง ๒ ตัว ๓ ตัวทุกวัน คน

เลี้ยงแพะจึงคิดว่า ถ้าเรายังเลี้ยงเด็กคนนี้ไว้ นางแพะก็คงจะตายหมดแน่ จะ

เลี้ยงมันไว้ทำไม จึงเอาทารกนั้นวางลงในภาชนะดินใบหนึ่ง แล้วเอาอีกใบหนึ่ง

คว่ำปิดลง เอาแป้งถั่วมายาปิดปากไม่ให้มีช่องแล้ว ปล่อยให้ลอยน้ำไป. มีคน

จัณฑาลผัวเมียซึ่งเป็นคนซ่อมของเก่าในพระราชนิเวศน์ ลงไปล้างปอที่ท่า

ข้างใต้ เห็นภาชนะลอยมาก็รีบว่ายไปพาขึ้นมาบนฝั่ง พอเปิดขึ้นก็ได้เห็นทารก

รูปงดงาม. ภรรยาของคนจัณฑาลไม่มีบุตรก็มีความรักใคร่ทารกเหมือนดังบุตร

จึงนำไปเลี้ยงไว้ที่เรือน พอทารกนั้นเจริญวัยได้ ๗ ปี เมื่อบิดามารดาไปสู่

ราชตระกูล ก็พากันไปด้วย พอทารกนั้นเจริญวัยได้ ๑๖ ปี ก็ได้ไปช่วยทำ

การปฏิสังขรณ์ของเก่าในราชตระกูล ก็พระอัครมเหสีของพระเจ้าพรหมทัตนั้น

มีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง พระนามว่า กุรุงคเทวี มีรูปร่างงดงาม ตั้งแต่

นางกุรุงคเทวีได้เห็นกุมารนั้น ก็มีจิตผูกพันรักใคร่ ไม่ยินดีในผู้อื่น. นาง-

เสด็จไปที่ทำการของกุมารนั้นเนือง ๆ เมื่อพบกันบ่อย ๆ เข้า ทั้งสองก็มีจิต

ผูกพันรักใคร่กัน ลอบประพฤติสังวาสกันในที่ลับในราชตระกูลนั่นเองนาน ๆ

เข้า พวกเหล่าบริจาริกาก็รู้เรื่องนั้น จึงนำความกราบทูลพระเจ้าพรหมทัต

พระเจ้าพรหมทัตทรงพระพิโรธ จึงให้ประชุมอำมาตย์ทั้งหลาย ตรัสปรึกษา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 567

โทษว่า ลูกคนจัณฑาลทำอย่างนี้ ท่านทั้งหลายจงวางบทกำหนดโทษตามควร

แก่โทษเถิด. อำมาตย์ทั้งหลายก็กราบทูลว่า โทษผิดใหญ่หลวงควรทำโทษ

ทรมานก่อนแล้ว จึงฆ่าในภายหลัง.

ในขณะนั้น รุกขเทวดาผู้เป็นบิดาของกุมารนั้น จึงมาเข้าสิงนาง

อัครมเหสีผู้เป็นมารดา นางก็เข้าไปเฝ้าพระเจ้าพรหมทัต ด้วยอานุภาพแห่ง

เทวดาแล้วทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า กุมารนี้ไม่ใช่ลูกคนจัณฑาล กุมารนี้เกิด

ในครรภ์ของหม่อมฉัน เป็นบุตรพระเจ้าโกศลราช หม่อมฉันได้ทูลมุสาวาท

แก่พระองค์ว่า พระโอรสตายแล้ว ด้วยคิดว่าเป็นบุตรของพระราชาผู้เป็นข้าศึก

ของพระองค์ จึงมอบให้นางนมเอาไปทิ้งเสียในป่าช้าผีดิบ คนเลี้ยงแพะคนหนึ่ง

จึงรับปฏิบัติต่อมา ครั้นเกิดเหตุแม่แพะตายขึ้นหลายตัว คนเลี้ยงแพะก็เอา

ไปลอยน้ำเสีย. คนจัณฑาลซึ่งเป็นผู้ซ่อมของเก่าในราชตระกูลของพระองค์

พบกุมารนี้ลอยน้ำมาจึงเอาเลี้ยงไว้ ถ้าพระองค์ไม่ทรงเธอจงให้หาเขาเหล่านั้น

มาตรัสถามดูเถิด. พระเจ้าพรหมทัตตรัสให้หาคนเหล่านั้น ตั้งต้นแต่นางนม

เข้ามาตรัสถาม เขาเหล่านั้นก็ทูลความตั้งแต่ต้นจนอวสาน. พระเจ้าพรหมทัตก็

ทรงยินดีว่า กุมารประกอบด้วยชาติ จึงให้สรงสนานแต่งเครื่องอลังการแล้ว

พระราชทานราชธิดาให้ และคนทั้งหลายขนานนามว่า เอฬกกุมาร ถือเอาเหตุ

ที่แพะตาย ต่อมาพระเจ้าพรหมทัตจึงพระราชทานเสนา พาหนะแก่เอฬกกุมาร

แล้วส่งให้ไปปกครองราชสมบัติของบิดา เอฬกกุมารก็พานางกุรุงคเทวีไป

ครองราชสมบัติ ภายหลังพระเจ้าพรหมทัตทรงดำริเห็นว่า เอฬกกุมารมิได้

ศึกษาศิลปศาสตร์ จึงทรงตั้งฉฬังคกุมารเป็นเสนาบดี ด้วยเห็นว่าเป็นอาจารย์

ของพระองค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 568

ต่อมาภายหลัง นางกุรุงคเทวีลอบลักประพฤติอนาจารกับฉฬังคกุมาร.

ฉฬังคกุมารมีคนใช้คนหนึ่งชื่อธนันเตวาสี ฉฬังคกุมารเคยใช้ให้นำสิ่งของเป็น

ต้นว่า ผ้าและเครื่องประดับไปให้นางกุรุงคเทวี นางกุรุงคเทวีก็ประพฤติลามก

กับคนใช้นั้นอีก.

เมื่อพญานกกุณาละนำเอาเหตุนี้มาแสดง จึงได้กล่าวว่า เราได้เห็น

มาแล้ว. คำว่า นางขนงาม ในพระบาลีนั้น ท่านกล่าวหมายถึงนางผู้มีท้อง

อันประดับด้วยขนเป็นแถว ๆ. คำว่า กับ ฉฬังคกุมารเสนาบดีและธนันเตวาสี

อธิบายว่า แม้นางปรารถนาอยู่กับเอฬกกุมาร ก็ได้กระทำกรรมอันลามกกับ

ฉฬังคกุมารเสนาบดีและธันนเตวาสีคนใช้ของเสนาบดีนั้นอีกด้วย พญานก

กุณาละกล่าวว่า หญิงทั้งหลายมีความประพฤติเลวทรามอย่างนี้ เป็นผู้ทุศีล

มีธรรมอันลามกด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่สรรเสริญหญิงเหล่านั้นเลย พระมหาสัตว์

นำอดีตนิทานนี้มาแสดงแล้ว ก็ในกาลนั้น เธอได้เป็นฉฬังคกุมาร เพราะฉะนั้น

จึงนำเหตุที่ตนเห็นมากล่าวให้ฟัง.

แม้ในเรื่องที่ ๔ พระอรรถกถาจารย์นำเรื่องพิสดารมาสาธกไว้ว่า ใน

กาลอันล่วงมาแล้ว พระเจ้าโกศลราชยึดราชสมบัติเมืองพาราณสีได้ จึงทรงตั้ง

พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ซึ่งทรงครรภ์อยู่แล้ว ให้เป็นอัครมเหสี

ของพระองค์ ต่อมาไม่ช้านัก พระอัครมเหสีนั้นก็ประสูติพระราชโอรส ส่วน

พระเจ้าโกศลราชก็ทรงเลี้ยงไว้ด้วยความรักใคร่ เหมือนโอรสของพระองค์

เหตุพระองค์หาพระโอรสมิได้ ครั้นพระกุมารนั้นทรงเจริญก็ให้ศึกษาศิลปศาสตร์

แล้ว ส่งไปให้ครองเมืองพระชนก พระราชกุมารก็ไปเสวยสมบัติอยู่ในเมือง

พาราณสี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 569

ต่อมาภายหลัง พระมารดาของพระเจ้าพาราณสีจึงเข้าไปทูลลา

พระเจ้าโกศลราชว่าจะไปเยี่ยมพระราชบุตร แล้วนางก็พาบริวารเป็นอันมาก

ไปสู่เมืองพาราณสี หยุดพักอาศัยในนิคมหนึ่งอันอยู่ในระหว่างแคว้นทั้งสอง

มีพราหมณ์กุมารคนหนึ่งชื่อปัญจาลจัณฑะ รูปร่างสะสวยอยู่ที่นิคมนั้น ได้นำ

เครื่องบรรณาการมาถวายพระนาง. พระนางพอเห็นก็มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ลอบ

ทำลามกกับพราหมณ์ผู้นั้น พักอยู่ ๒ - ๓ วัน แล้วจึงไปยังเมืองพาราณสี พบ

กับพระราชบุตรแล้วก็รีบกลับมาพักที่นิคมนั้นอีก ลอบประพฤติอนาจารกับ

พราหมณ์นั้นอีก ๒-๓ วันแล้ว จึงไปยังเมืองโกศล ตั้งแต่นั้นมาไม่ช้านานนัก

นางก็เข้าไปทูลลาพระเจ้าโกศล อ้างเหตุไปเยี่ยมพระราชโอรสอีก เวลาไป

และกลับก็ไปพักพระพฤติอนาจารกับพราหมณ์ที่นิคมนั้นอยู่ตั้งครึ่งเดือน.

ดูก่อนสหายปุณณมุขะเอ๋ย ขึ้นชื่อว่าหญิงเหล่านี้ เป็นผู้ทุศีล มีปกติ

ชอบกล่าวคำเท็จ. พระมหาสัตว์แสดงอดีตนิทานเรื่องนี้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า

เป็นความจริงเราเห็นมาอย่างนี้ พระอรรถกถาจารย์กล่าวคำอธิบายในพระบาลี

นั้นว่า คำว่า พระมารดาของพระเจ้าพรหมทัต หมายถึงพระชนนีของ

พรหมทัตกุมาร ซึ่งได้เสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี ได้ยินว่า ในกาลนั้น

พญานกกุณาละได้เป็นพราหมณ์ ชื่อปัญจาลจัณฑะ เพราะฉะนั้น เมื่อจะ

แสดงเหตุที่ตนได้รู้มานั้น จึงได้กล่าวอย่างนี้.

คำว่า หญิงที่กล่าวมาแล้วนี้ อธิบายว่า ดูก่อนสหายปุณณมุขะเอ๋ย

ก็หญิงทั้ง ๕ คนนี้ ได้กระทำกรรมอันลามกแล้ว ท่านจงอย่าได้สำคัญว่า

หญิงเหล่าอื่นจะไม่กระทำ หญิงเหล่านี้ก็ดี หญิงเหล่าอื่นอีกมากมายก็ดี ได้

กระทำกรรมอันลามกในกาลทุกเมื่อแล เราอยู่ในที่นี้ จะพึงกล่าวถึงเรื่องของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 570

หญิงที่ประพฤตินอกใจได้ทั้งโลก. คำว่า สัตวโลก อธิบายว่า แผ่นดิน

เมทนีดล วสุนธรา ปฐพี กล่าวคือโลกย่อมรับรองทั้งสิ่งดีและชั่ว ฉันใด

คำว่า สรรพแก้วยินดีเสมอกัน อธิบายว่า ชื่อว่า ยินดีเสมอกัน

ในสิ่งทั้งหมดด้วยภาวะแม้รับรอง ด้วยว่า แผ่นดินนั้นเป็นที่รับรองทุกสิ่ง

ทุกอย่างทั้งดีและชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นที่รับรองสิ่งที่สูงที่สุดและต่ำ

ที่สุด แม้หญิงทั้งหลายก็เหมือนกัน ย่อมเป็นที่รับรองของสิ่งที่ดีที่สุดและชั่ว

ที่สุดทุกชนิดด้วยอำนาจกิเลส จริงอยู่ หญิงทั้งหลายเมื่อได้โอกาส ชื่อว่า

จะไม่กระทำกรรมอันลามกกับบุรุษไร ๆ ย่อมไม่มีเลย. คำว่า ทนทานได้หมด

อธิบายว่า ธรรมดาว่า แผ่นดินย่อมทนทานได้ทั้งหมดทีเดียว คือไม่สะทก

สะท้าน ไม่ดิ้นรน ไม่หวั่นไหว ฉันใด หญิงทั้งหลายก็เหมือนกัน ย่อมทนทาน

ได้ในบุรุษทั้งหมด ด้วยอำนาจความยินดีในโลก ถ้าหากว่า ชายคนใดเป็นที่

ถูกใจนาง นางย่อมไม่ดิ้นรนและไม่กระทำความโกลาหล เพราะจะรักษาชายนั้น

อนึ่ง แผ่นดินย่อมไม่สะเทือนไม่หวั่นไหว ฉันใด แม้หญิงทั้งหลายก็ฉันนั้น

เมถุนธรรมสะเทือน ไม่หวั่นไหวด้วยเมถุนธรรม คือไม่อาจที่จะให้เต็มด้วย

เมถุนธรรมนั้นได้. คำว่า พาฬมฤค หมายถึงเนื้อร้าย. คำว่า มีอาวุธ ๕

อย่างนี้ ท่านกล่าวหมายถึงปากและเล็บเท้าทั้ง ๔. คำว่า ร้ายกาจ คือ

หยาบช้าโหดร้ายทารุณ. คำว่า หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน อธิบายว่า

ราชสีห์มีอาวุธ ๕ อย่าง คือ ปาก ๑ และมีเท้าอีก ๔ ฉันใด หญิงทั้งหลาย

ก็เหมือนกัน มีอาวุธ ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ราชสีห์นั้น

เมื่อจะถือเอาอาหารของตน ย่อมถือเอาด้วยอาวุธ ๕ อย่างนั้น ฉันใด แม้

พวกหญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน เมื่อจะถือเอาอาหารคือกิเลส ย่อมประหารด้วย

อาวุธมีรูปเป็นต้น แล้วจึงถือเอา ราชสีห์นั้นดุร้าย ข่มขี่สัตว์จับกินเป็นอาหาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 571

ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน หยาบช้า ข่มขี่กิน จริงอย่างนั้น หญิง

ทั้งหลายย่อมกระทำอาการคือความข่มขี่ในบุรุษผู้มีศีลอย่างเคร่งครัดด้วยกำลัง

ของตน ให้ถึงความพินาศแห่งศีลเสียได้ ราชสีห์ย่อมยินดีแต่ที่จะเบียดเบียน

สัตว์อื่นฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน ยินดีในการเบียดเบียนผู้อื่นด้วย

อำนาจกิเลส. คำว่า หญิงเหล่านั้น อธิบายว่า หญิงผู้ไม่ประกอบด้วยคุณ-

สมบัติอย่างนี้ นรชนไม่ควรวิสาสะเลย. คำว่า สัญจร หมายถึงหญิงโสเภณี

มีคำกล่าวอธิบายว่า ดูก่อนสหายปุณณมุขะเอ๋ย ชื่อของหญิงทั้งหลายเป็นต้นว่า

แพศยาเหล่านี้เป็นชื่อเดิมของพวกนางก็หาไม่ หญิงเหล่านั้นมีชื่อว่า แพศยา ชื่อ

ว่านารี ชื่อว่าสัญจร ชื่อว่าเกี่ยวพันธ์ก็หาไม่ แต่หญิงเหล่านั้นโดยชื่อเดิมแล้ว

เรียกว่าผู้ฆ่า หญิงเหล่านั้นเรียกกันต่าง ๆ ว่า แพศยา นารี สัญจร. คำว่า

ผู้ฆ่า หมายความว่า ฆ่าสามี ข้อความอันนี้ บัณฑิตพึงแสดงด้วยเรื่องมหา-

หังสชาดก. จริงอยู่ ท่านกล่าวไว้ในชาดกนั้นว่า

อนึ่ง หญิงนี้มีมารยาเหมือนพยับแดด เป็นวัตถุ

ที่ตั้งแห่งความเศร้าโศก โรคและอุปัทวันตราย และ

หญิงนี้เป็นคนหยาบนัก เป็นเครื่องผูกมัด เป็นบ่วง

เป็นถ้ำ และเป็นที่อยู่ของพญามัจจุราช บุรุษใดระเริง

ใจในหญิงเหล่านั้น บุรุษนั้นนับว่าเป็นคนอธรรมใน

นรชนทั้งหลาย.

คำว่า เกล้ามวยผม คือ มีมวยผมเกล้าไว้แล้ว. จริงอยู่ พวกโจร

ที่อยู่ในดง ย่อมผูกมวยผมแล้วจึงแย่งชิงทรัพย์ฉันใด แม้พวกหญิงเหล่านี้ก็

เหมือนกัน นำเอาพวกบุรุษไปสู่อำนาจกิเลสแล้วปล้นทรัพย์. คำว่า ประทุษร้าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 572

ให้เป็นพิษเหมือนสุราเจือยาพิษ คือ เหมือนสุราที่เจือด้วยยาพิษ ฉะนั้น

อธิบายว่า สุราที่เจือยาพิษแสดงอาการที่แปลก ๆ ฉันใด แม้หญิงเหล่านี้ก็

เหมือนกัน เป็นผู้มีความกำหนัดในบุรุษทั้งหลายอื่น ไม่รู้จักกิจน้อยใหญ่ เมื่อ

กระทำกิจในบุรุษอื่นแล้วกระทำกะบุรุษอื่นต่อไปอีก ชื่อว่าย่อมแสดงอาการ

แปลก ๆ. คำว่า พูดโอ้อวด อธิบายว่า คนขายของย่อมกล่าวอวดคุณภาพ

แห่งสินค้าของตน ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน ปิดบังโทษอันมิใช่คุณ

ของตนเสียแล้ว ประกาศแต่คุณอย่างเดียว. คำว่า ตลบตะแลง อธิบายว่า

เขาของเนื้อบิดไปบิดมา ฉันใด พวกหญิงเหล่านี้ ก็ตลบตะแลงพลิกไปพลิกมา

เพราะความที่ตนมีจิตเบาฉันนั้นเหมือนกัน. คำว่า เหมือนงู อธิบายว่า

หญิงทั้งหลายชื่อว่ามีสองลิ้นเหมือนงู เพราะเป็นคนมักกล่าวเท็จเสมอ ๆ. คำว่า

เหมือนบ่อคูถ อธิบายว่า บ่อคูถย่อมถูกปิดด้วยไม้กระดานฉันใด แม้หญิง

ทั้งหลายก็ปกปิดร่างกายด้วยผ้าและเครื่องอาภรณ์เที่ยวไปฉันนั้นเหมือนกัน

อีกอย่างหนึ่ง บ่อที่ปกปิดด้วยหยากเยื่อเป็นต้น เมื่อเหยียบลงไปย่อมให้เกิด

ความลำบากแก่เท้าฉันใด แม้หญิงเหล่านี้ก็เหมือนกัน เมื่อใครเข้าไปคบหา

ด้วย ก็ให้เกิดทุกข์แก่ผู้นั้น. คำว่า เหมือนบาดาล อธิบายว่า บาดาลใน

มหาสมุทร ย่อมทำให้เต็มได้ยากฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน ย่อมทำ

ให้เต็มได้ยากด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ ด้วยเมถุน ๑ ด้วยการตลอด ๑ ด้วย

การแต่งตัว ๑ เพราะเหตุนั้นแล สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย หญิงทุกคนไม่อิ่มด้วยธรรม ๓ ประการ คือ ด้วยเมถุนธรรม ๑ ด้วย

การตลอด ๑ ด้วยการแต่งตัว ๑ ย่อมกระทำกาละดังนี้เป็นต้น. คำว่า เหมือน

รากษส อธิบายว่า ธรรมดาว่ารากษส ใคร ๆ ไม่อาจจะให้ยินดีด้วยทรัพย์ได้

เพราะตนอยากกินเนื้ออย่างเดียว รากษสนั้น ย่อมห้ามทรัพย์แม้เป็นจำนวน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 573

มากเสียแล้ว ปรารถนาแต่เนื้ออย่างเดียว ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน

ย่อมไม่ยินดีด้วยทรัพย์แม้มาก เพราะตนปรารถนาเมถุน หญิงเหล่านั้นย่อม

ไม่รับทรัพย์ ปรารถนาเมถุนอย่างเดียว. คำว่า เหมือนพระยม อธิบายว่า

พระยมมีแต่นำไปโดยส่วนเดียว มิได้ยกเว้นใคร ๆ ไว้เลย ฉันใด แม้หญิง

เหล่านี้ก็เหมือนกัน ย่อมไม่เหลือใคร ๆ ไว้เลย ในบรรดาบุคคลที่สมบูรณ์

ด้วยชาติเป็นต้น นางย่อมให้ถึงความพินาศแห่งศีลด้วยอำนาจกิเลสทั้งหมด

ในวาระแห่งจิตดวงที่ ๒ ก็ย่อมนำไปสู่นรก. คำว่า เปรียบเหมือนไฟ

อธิบายว่า ธรรมดาว่าเปลวไฟย่อมกินสิ่งทั้งหมด แม้สะอาดหรือไม่สะอาด

ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน ย่อมเสพสิ่งทั้งหมดตั้งแต่เลวจนถึงดีที่สุด

แม้ในข้อความที่เปรียบด้วยแม่น้ำ ก็มีนัยเหมือนกันทีเดียว. คำว่า ตามใจตัว

อธิบายว่า หญิงเหล่านั้น ย่อมมีความรักใคร่ในสถานทีใด ก็ย่อมวิ่งไปในสถาน

ที่นั้นทันที. คำว่า เหมือนเขาพระสุเมรุ อธิบายว่า ในป่าหิมพานต์มี

ภูเขาทองอยู่ลูกหนึ่ง แม้กาซึ่งมีสีดำแก่พอเข้าไปใกล้ภูเขานั้น ก็กลับกลายเป็น

สีทอง ภูเขานั้นมีอุปมาฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน มิได้กระทำสิ่งใด

ให้วิเศษเลย ย่อมมองเห็นชายที่เข้าไปใกล้ตนเหมือนเป็นคนเดียวกันหมด.

คำว่า เหมือนต้นไม้มีพิษ อธิบายว่า ต้นไม้ที่มีผลสุก เช่นกับมะม่วงนั้น

ย่อมผลิตผลเป็นนิจ และย่อมเป็นผลที่ไม่สมบูรณ์ด้วยสีเป็นต้น บุคคลไม่มี

ความสงสัยบริโภคผลไม้นั้น ย่อมตายฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน ย่อม

ปรากฏเหมือนเป็นที่น่ารื่นรมย์ด้วยอำนาจรูปเป็นต้น เพราะผลิตผลเป็นนิจ

ก็เมื่อผู้ใดเสพอยู่ ย่อมนำผู้นั้นให้เกิดความประมาทแล้ว ฉุดให้ตกลงไปในอบาย

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 574

ผู้ใดเสพถามเพราะไม่รู้จักโทษ กามก็ย่อมฆ่า

ผู้นั้นเสีย เหมือนบริโภคผลไม้ที่มีพิษ ฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ต้นไม้มีพิษย่อมนำความพินาศมาให้ในกาลทุกเมื่อ

เพราะมีผลเป็นนิจ ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน ย่อมนำความฉิบหาย

มาให้ในกาลทุกเมื่อ ด้วยอำนาจความพินาศแห่งคุณมีศีลเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง

ราก เปลือก ใบ ดอก ผลของต้นไม้มีพิษนั้นย่อมเป็นพิษ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่ามีผลเป็นนิจฉันใด แม้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส แม้ทั้ง ๕ อย่าง

ของหญิงเหล่านั้น ก็เป็นพิษเหมือนกันฉันนั้น เพราะฉะนั้น หญิงเหล่านั้น

จึงชื่อว่าเผล็ดผลเป็นนิจ ประหนึ่งต้นไม้มีพิษ ฉะนั้น. คำว่า มีคาถากล่าว

ความนี้ไว้อีกส่วนหนึ่ง อธิบายว่า พญานกกุณาละกล่าวอย่างนี้ เพื่อจะ

กระทำเนื้อความนั้นให้ปรากฏยิ่งขึ้น ด้วยคำอันประพันธ์ขึ้นเป็นคาถา. คำว่า

หญิงทั้งหลาย เป็นผู้กอบกำเอารัตนะไว้ในมือจนนับไม่ถ้วน อธิบายว่า

หญิงทั้งหลาย เป็นผู้กระทำอันตรายแก่รัตนะทั้งหลายที่สามีหามาได้ ด้วยความ

เหนื่อยยาก นำเอารัตนะแม้เหล่านั้นไปให้ชายเหล่าอื่น ย่อมประพฤติอนาจาร.

เบื้องหน้าแต่นี้ไป พญานกกุณาละเมื่อจะแสดงกถาอันสละสลวยของ

คนโดยประการต่าง ๆ จึงกล่าวว่า ดูก่อนสหายปุณณมุขะเอ๋ย ทรัพย์ ๔ อย่างนี้

คือ โคผู้ โคนม ยาน ภริยา ไม่ควรให้อยู่ในตระกูลอื่น ผู้เป็นบัณฑิต

ย่อมไม่ยอมให้ทรัพย์ ๔ อย่างนี้อยู่พรากจากเรือน.

พญานกกุณาละ กล่าวคาถาแสดงถึงเหตุผลแห่งทรัพย์ ๔ อย่างนั้น

ต่อไปว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 575

คนฉลาด ย่อมไม่ให้ทรัพย์ ๔ อย่างอยู่ในตระกูล

ญาติ คือ โคผู้ ๑ โคนม ๑ ยานพาหนะ ๑ ภริยา ๑

เพราะเหตุว่า คนทั้งหลายที่ไม่มียานย่อมใช้รถที่ฝากไว้

ย่อมฆ่าโคตัวผู้เสีย เพราะใช้ลากเข็ญเกินกำลัง และ

ย่อมฆ่าลูกโคเพราะรีดนมแม่โคจนหมด ภริยาย่อม

ประทุษร้ายตระกูลญาติ.

ดูก่อนสหายปุณณมุขะเอ๋ย ของ ๖ อย่างนี้ เมื่อเกิดธุระจำเป็นขึ้นแล้ว

ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลย อันได้แก่

ธนูไม่มีสาย ๑ ภริยาอยู่ในตระกูลญาติ ๑ เรืออยู่

ฝั่งโน้น ๑ รถเพลาหัก ๑ มิตรอยู่ไกล ๑ สหายชั่ว ๑

ทั้ง ๖ ประการนี้ เมื่อเกิดธุระขึ้นแล้ว ใช้ประโยชน์

อะไรไม่ได้เลย.

ดูก่อนสหายปุณณมุขะเอ๋ย หญิงย่อมดูหมิ่นสามีด้วยฐานะ ๘ อย่าง คือ

ดูหมิ่นเพราะความจน ๑ เพราะความเจ็บกระเสาะกระแสะ ๑ เพราะความชรา ๑

เพราะเป็นนักเลงสุรา ๑ เพราะโง่เซอะ ๑ เพราะมัวเมา ๑ เพราะหมุนตาม

การงานไม่ทัน ๑ เพราะทำให้ทรัพย์เกิดขึ้นไม่ได้ ๑ ต่อไปนี้เป็นคาถาอีก

ส่วนหนึ่ง อันแสดงถึงเหตุแห่งวัตถุทั้ง ๘ นั้นว่า

หญิงทั้งหลาย ย่อมดูหมิ่นสามีด้วยเหตุ ๘ ประการ

คือ ความจน ๑ เจ็บกระเสาะกระแสะ ๑ แก่ชรา ๑

เป็นนักเลงสุรา ๑ โล่เซอะ ๑ มัวเมา ๑ หมุนตาม

การงานไม่ทัน ๑ ทำทรัพย์ให้เกิดขึ้นเพื่อให้สำเร็จ

ความปรารถนาทั้งหมดไม่ได้ ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 576

ดูก่อนสหายปุณณมุขะเอ๋ย หญิงทั้งหลายย่อมนำความประทุษร้ายมาให้

สามีด้วยฐาน ๙ อย่าง คือมักไปเที่ยวสถานที่รื่นรมย์ ๑ มักไปเที่ยวอุทยาน ๑

มักไปเที่ยวตามท่าน้ำ ๑ มักไปหาตระกูลญาติ ๑ มักไปหาตระกูลผู้อื่น ๑

มักใช้กระจกและประดับด้วยผ้า ๑ มักดื่มน้ำเมา ๑ มักเยี่ยมมองหน้าต่าง ๑ มัก

ยืนแอบประตู ๑ ต่อไปนี้เป็นคาถาประพันธ์อีกส่วนหนึ่ง แสดงฐานะทั้ง ๙

นั้นว่า

หญิงทั้งหลาย ย่อมนำความประทุษร้ายมาด้วย

ฐานะ ๙ ประการเหล่านี้ คือ มักไปเที่ยวตามสถาน

รื่นรมย์ ๑ ไปเที่ยวสวน ๑ ไปสู่แม่น้ำ ๑ ไปหาตระกูล

ญาติ ๑ ไปหาตระกูลอื่น ๑ มักประดับด้วยผ้า ๑ มัก

ดื่มน้ำเมา ๑ มักมองหน้าต่าง ๑ มักแอบประตู ๑.

ดูก่อนสหายปุณณมุขะเอ๋ย หญิงย่อมยั่วยวนชายด้วยฐานะ ๔๐ อย่าง

คือ ทำดัดกาย ทำท่าก้ม ทำกรีดกราย ทำอาย ทำทีแกะเล็บ ทำท่าเอาเท้า

เหยียบกัน ทำท่าเอาไม่ขีดแผ่นดิน ทำท่ากระโดดเอง ทำท่าให้เด็กกระโดด

ทำท่าวิ่ง ให้เด็กวิ่ง เล่นกับเด็ก ให้เด็กเล่น จูบเด็ก ให้เด็กจูบ กินเอง

ให้เด็กกิน ให้ของแก่เด็ก ทำทีขอคืน ทำท่าวอนขอ เลียนแบบเด็ก ทำ

เสียงสูง ทำเสียงต่ำ ทำพูดเปิดเผย ทำพูดกระซิบ ทำซิกซี้ ฟ้อน ขับ เป่า

ร้องให้ คร่ำครวญ กรีดกราย แต่งกาย ทำปึ่ง ทำยักเอว ทำส่ายผ้าที่ปิด

ของลับ ทำเลิกขา ทำปิดขา ทำท่าให้เห็นนม ทำให้เห็นรักแร้ ทำให้เห็น

ท้องน้อย ทำหลิ่วตา ทำเลิกคิ้ว ทำเม้มปาก ทำแลบลิ้น ทำขยายผ้าและ

กลับนุ่งผ้า ทำสยายและมุ่นผม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 577

ดูก่อนสหายปุณณมุขะเอ๋ย นักปราชญ์พึงทราบเถิดว่า หญิงเป็นคน

ประทุษร้ายด้วยฐานะ ๒๕ อย่าง คือ ย่อมพรรณนาการไปแรมคืนของสามี

ย่อมไม่แสดงความยินดีต่อสามีที่กลับมาถึง ย่อมกล่าวโทษสามี ย่อมไม่กล่าว

คุณงามความดีแห่งสามี ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สามี ย่อมไม่

ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสามี ย่อมกระทำกิจที่ไม่สมควรแก่สามี ย่อมไม่

ทำกิจที่สมควรแก่สามี ย่อมคลุมหัวนอนเบือนหน้าหนี ย่อมนอนพลิกกลับไป

กลับมา ย่อมนอนถอนใจยาวทำวุ่นวาย ย่อมทำระทมทุกข์ ย่อมไปถ่ายอุจจาระ

ปัสสาวะบ่อย ๆ ย่อมประพฤติตรงกันข้าม ย่อมเงี่ยหูฟัง เพราะได้ยินคนอื่นพูด

ย่อมล้างผลาถะทรัพย์สมบัติ ย่อมทำทอดสนิทชิดชมกับชายผู้คุ้นเคย ย่อมออก

นอกบ้านเสมอ ย่อมประพฤติผิดจากความดี ย่อมประพฤตินอกใจไม่เคารพใน

สามีและคิดประทุษร้าย ย่อมยืนที่ประตูเนือง ๆ ย่อมทำให้ชายอื่นเห็นรักแร้

ย่อมทำให้ชายอื่นเห็นนม ย่อมไปเพ่งมองดูทิศต่าง ๆ ดูก่อนสหายปุณณมุขะ

บัณฑิตพึงทราบเถิดว่า หญิงเป็นคนประทุษร้ายด้วยฐานะ ๒๕ อย่างเหล่านี้

มีคาถาประพันธ์กล่าวฐานะ ๒๕ อย่างเหล่านี้ไว้อีกส่วนหนึ่งว่า

หญิงย่อมเป็นคนประทุษร้ายด้วยฐานะ ๒๕ อย่าง

คือ ย่อมพรรณนาการไปแรมทางไกลของสามี เมื่อ

สามีไปแล้วก็ไม่เศร้าโศกถึง ครั้นเห็นสามีกลับมาก็ไม่

แสดงความยินดี ย่อมไม่กล่าวถึงคุณงามความดีของ

สามีในกาลไหน ๆ เลย เหล่านี้เป็นลักษณะองหญิง

ผู้ประทุษร้ายสามี หญิงเป็นผู้ไม่สำรวม ย่อมประพฤติ

สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สามี ย่อมทำประโยชน์ของ

สามีให้เสื่อม ย่อมกระทำกิจที่ไม่สมควรแก่สามี ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 578

คลุมหัวนอนเบือนหน้าไปทางอื่น เหล่านี้เป็นลักษณะ

ของหญิงผู้ประทุษร้ายสามี ย่อมนอนพลิกกลับไป

กลับมา นอนถอนหายใจทำวุ่นวาย ย่อมทำระทมทุกข์

ย่อมไปอุจจาระปัสสาวะบ่อย ๆ เหล่านี้เป็นลักษณะ

ของหญิงผู้ประทุษร้ายสามี ย่อมประพฤติตรงกันข้าม

ไม่กระทำกิจที่สมควรทำแก่สามี ย่อมเงี่ยหูฟังเมื่อผู้อื่น

พูด ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ กระทำความสนิทสนม

กับชายอื่น เหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย

สามี ย่อมกระทำทรัพย์สมบัติที่สามีได้มาโดยความยาก

ลำบาก ทำมาได้โดยฝืดเคือง เก็บสะสมไว้ได้ด้วย

ความยากแค้นให้พินาศไป อนึ่ง ย่อมกระทำความ

สนิทสนมกับชายอื่นที่คุ้นเคยกัน เหล่านี้เป็นลักษณะ

ของหญิงผู้ประทุษร้ายสามี ย่อมออกนอกบ้านเสมอ

ประพฤติผิดจากความดี มีจิตคิดประทุษร้ายในสามีอยู่

เป็นนิตย์ เป็นผู้ประพฤตินอกใจไม่เคารพ เหล่านี้

เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้ายสามี นางย่อมยืนอยู่

ที่ใกล้ประตูเนือง ๆ แสดงนมบ้าง รักแร้บ้าง มีจิต

วอกแวกเพ่งดูทิศต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นลักษณะของ

หญิงผู้ประทุษร้ายสามี แม่น้ำทั้งปวงมีทางไปอัน

คดเคี้ยว และป่ารกเรี้ยวด้วยต้นไม้ ฉันใด หญิงทั้งปวง

เมื่อได้ช่องที่ลับ ก็ย่อมทำกรรมอันลามกได้ฉันนั้น

ถ้าว่าได้โอกาส ได้ที่ลับ หรือได้ช่องเช่นนั้นแล้ว ที่

หญิงทั้งปวงจะไม่ทำลามกไม่มีเลย ไม้ได้คนอื่นก็ทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 579

กับคนเปลี้ย ในจำพวกนารีที่หลายใจ ไม่มีใครข่มขี่ได้

เป็นผู้กระทำให้เกิดความยั่วยวนแก่ชายทั้งหลาย หาก

นารีพวกใดถึงจะทำให้เกิดปีติได้โดยประการทั้งปวงก็ดี

ก็ไม่ควรระเริงด้วย เพราะว่านารีเหล่านั้นเสมอด้วย

ท่าน้ำ.

พระอรรถกถาจารย์กล่าวอธิบายไว้ว่า คำว่า โคผู้ โคนม ท่าน

กล่าวไว้ด้วยอำนาจลิงควิปลาส. คำว่า ภริยาย่อมประทุษร้ายตระกูลญาติ

อธิบายว่า นางเป็นผู้ไม่มีความกลัว ย่อมประพฤติอนาจารแม้กับพวกทาส

เป็นต้นที่คุ้นเคยกัน ในตระกูลญาตินั้นจำเดิมแต่กาลที่ตนเป็นเด็กทีเดียว ถึง

พวกญาติจะรู้ ก็มิได้กระทำการข่มขี่ ปิดบังเสียซึ่งโทษอันมิใช่เกียรติของตน

ย่อมทำเป็นเหมือนไม่รู้. คำว่า ใช้ประโยชน์ไม่ได้ อธิบายว่า หวัง

ประโยชน์ไม่ได้ ไม่พึงได้ประโยชน์เลย คือกระทำกิจไม่ได้. คำว่า ไม่มีสาย

คือธนูที่ปราศจากสาย. คำว่า สหายลามก หมายถึงมิตรชั่ว. คำว่า เพราะ

ความจน คือ เพราะความขัดสน แม้ในบททั้งหมดก็มีนัยเหมือนกัน อธิบาย

ความในคาถานั้นว่า สามีที่ยากจน ย่อมไม่อาจที่จะช่วยเหลือตนได้ด้วยกิเลส

เพราะเครื่องประดับเป็นต้นไม่มี เพราะฉะนั้น ภรรยาจึงดูหมิ่นสามีด้วยประการ

ฉะนี้ แม้สามีที่เจ็บป่วย ก็ไม่อาจจะช่วยเหลืออะไรได้ด้วยวัตถุกามและกิเลส

กาม สามีที่แก่เฒ่าชรา ก็ไม่สามารถที่จะหยอกเย้าและทำความยียวนให้เกิดขึ้น

ได้ทั้งทางกายและทางจิต สามีที่เป็นนักเลงสุรา ก็มักพาเอาเครื่องประดับมี

สร้อยข้อมือของนางเป็นต้น เข้าไปยังโรงสุราเสียด้วย. คำว่า โง่ อธิบายว่า

สามีที่เป็นอันธพาล ย่อมไม่ฉลาดในการยียวน. คำว่า มัวเมา อธิบายว่า สามี

ที่เป็นนักเลงย่อมอภิรมย์กับพวกทาสีในเรือนของตน และย่อมคำว่าภรรยา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 580

ภรรยาจึงดูหมิ่นสามีด้วยเหตุนั้นแล ภรรยาย่อมด่าว่าสามีผู้ไม่อนุวัตรตามใน

กิจการทั้งปวงว่า สามีของเรานี้หมดเดชเสียแล้ว จึงอนุวัตรตามการงานไม่ทัน

เราเลย. ส่วนสามีคนใดมอบทรัพย์ทั้งหมดให้ปกครองสมบัติ ภรรยาก็ย่อมยึด

เอาธนสารสมบัติทั้งหมดไว้ในเงื้อมมือ ดูหมิ่นสามีประดุจทาส ปรารถนาสมบัติ

ก็ฉุดคร่าไล่สามีออกไปเสียนอกบ้านด้วยคำว่า ประโยชน์อะไรด้วยตัวท่าน.

คำว่า ถึงความโง่เซอะ คือความเป็นผู้โง่เขลา. คำว่า ผู้มัวเมา คือ

เลินเล่อ. คำว่า หญิงทั้งหลายย่อมนำความประทุษร้ายมาให้สามี

อธิบายว่า ภรรยาย่อมนำความประทุษร้ายมาให้สามี ประทุษร้ายสามีคือกระทำ

กรรมอันลามกแก่สามี. คำว่า มักไปเที่ยวตามสถานที่รื่นรมย์ อธิบายว่า

ภรรยาบอกลาสามีบ้าง ไม่บอกบ้าง ไปเที่ยวยังสวนดอกไม้เป็นต้นแห่งใด

แห่งหนึ่งเนือง ๆ ประพฤติอนาจารในสวนนั้น กล่าวหลอกลวงสามีผู้โง่เขลา

ให้เชื่อว่า วันนี้เราจะไปกระทำพลีกรรมแก่รุกขเทวดาในสวนดังนี้เป็นต้น.

ฝ่ายสามีที่เป็นคนฉลาดย่อมฉลาดย่อมรู้ทันว่า หญิงคนนี้คงจะไปประพฤติ

อนาจารในที่นั้นเป็นแน่แล้วไม่ให้นางไปอีก ในบททั้งหมด บัณฑิตพึงทราบ

ขอความอย่างนี้เหมือนกัน. คำว่า ตระกูลผู้อื่น หมายถึงบ้านเรือนของคน

ที่เคยเห็นกันและเคยคบกันเป็นต้น นางกล่าวกะสามีเป็นต้นว่า กำไรที่เรา

ประกอบขึ้นไว้ในตระกูลโน้นมีอยู่ ทรัพย์ที่ให้เป็นของขอยืมในตระกูลโน้น

มีอยู่ เราจะไปจัดแจงเรื่องนั้นให้สำเร็จดังนี้แล้วก็ไป คำว่า มักเยี่ยมมอง

หน้าต่าง อธิบายว่า ชอบมองตามช่องมีช่องหน้าต่างเป็นต้น. คำว่า มักยืน

แอบประตู อธิบายว่า ยืนอยู่ที่ประตูแสดงรูปร่างทรวดทรงของตน. คำว่า

ยั่วยวน คือ กล่าวยียวนสามี อธิบายว่า หญิงผู้อยู่ในสำนักของสามีแล้ว

แสดงนิมิตแก่ชายอื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 581

คำว่า ดัดกาย อธิบายว่า กระทำความสังเกตไว้ก่อนทีเดียวว่า

ท่านพึงรู้ว่าโอกาสมีหรือไม่มี ด้วยความสำคัญว่า เราเห็นเขาแล้ว

จักทำการดัดกาย แม้มิได้กระทำความสังเกต ยืนอยู่ข้างหลังสามี ย่อมทำ

ดัดกายคือแสดงอาการดัดกาย ด้วยคิดว่า ชายคนนี้จักไฝ่ฝั่นถึงเราอย่างนี้.

คำว่า ทำก้ม อธิบายว่า แกล้งทำวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งให้ตกลงบนพื้น ทำ

เป็นเหมือนก้มลงเก็บของนั้นแสดงหลัง. คำว่า ทำกรีดกราย อธิบายว่า

แสดงอาการกรีดกราย ด้วยอิริยาบถทั้งหลายมีการเดินเป็นต้น หรือด้วยเครื่อง

ประดับ. คำว่า ทำอาย อธิบายว่า ทำเป็นอายแล้วปกปิดสรีระด้วยผ้า หรือ

แอบอยู่ตามบานประตูหรือฝา. คำว่า ทำแกะเล็บ อธิบายว่า เอาเล็บเท้า

กับเล็บเท้า เอาเล็บมือกับเล็บมือครูดสีกัน. คำว่า ไม้ หมายถึงท่อนไม้.

คำว่า เด็ก อธิบายว่า จับบุตรของตนเองบ้าง บุตรของคนอื่นบ้าง แล้วยก

ชูขึ้นเองบ้าง ให้คนอื่นยกชูขึ้นบ้าง. คำว่า เล่น อธิบายว่า เล่นเองบ้าง

ให้เด็กเล่นบ้าง แม้ในการจูบเป็นต้นก็มีนัยเหมือนกัน . คำว่า ให้ อธิบายว่า

ให้ผลไม้บ้าง ใบไม้ ดอกไม้บ้างอย่างใดอย่างหนึ่งแก่เด็กนั้น. คำว่า ขอ

คือขอคืนสิ่งเหล่านั้นแล. คำว่า ทำเอาอย่าง คือทำตามอย่างที่เด็กทำ. คำว่า

สูง หมายถึงเสียงสูงด้วยอำนาจ ทำเสียงดังหรือชมเชย. คำว่า ต่ำ หมายถึง

เสียงต่ำ ด้วยอำนาจทำเสียงเล็ก ด้วยอำนาจการกล่าวคำที่ไม่พอใจหรือด้วย

อำนาจการกล่าวคำหมิ่นประมาท. คำว่า พูดเปิดเผย หมายถึงพูดไม่ปกปิด

ในท่ามกลางชนหมู่มาก. คำว่า พูดกระซิบ หมายถึงพูดปกปิดในที่ลับ.

คำว่า ฟ้อน หมายถึงกระทำนิมิตด้วยการฟ้อนเป็นต้นเหล่านี้. คำว่า ร้องไห้

คือกระทำนิมิตด้วยเหตุแห่งการร้องไห้ บัณฑิตพึงกล่าวถึงเรื่องของนางพราหมณี

ของปุโรหิตที่เศรษฐีบุตร อุ้มขึ้นสู่ข้างทางหน้าต่าง ในคืนวันฝนตกคืนหนึ่ง

พามาแล้ว นำมาเป็นตัวอย่าง. คำว่า ทำซิกซี้ หมายถึงหัวเราะด้วยเสียง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 582

อันดัง หญิงย่อมกระทำนิมิตแม้ด้วยอาการอย่างนี้. คำว่า รักแร้ หมายถึง

รักแร้ทั้งสองข้าง. คำว่า ปาก หมายถึงริมปากข้างบน. คำว่า เม้ม คือ

เอาฟันเม้ม. คำว่า ผม หมายถึงมวยผม อธิบายว่า หญิงย่อมการทำนิมิต

แก่ชายอื่นแม้ด้วยการสยายและนุ่นผมอย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง นางกระทำด้วย

คิดว่าใคร ๆ จักกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ตามแล้วจักกำหนัด.

คำว่า พึงทราบเถิดว่าหญิงเป็นคนประทุษร้าย อธิบายว่า บัณฑิต

พึงทราบไว้เถิดว่า หญิงนี้ประทุษร้ายในเราคือโกรธเรา ครั้นโกรธแล้วจักการทำ

อนาจาร. คำว่า แรมคืน อธิบายว่า หญิงกล่าวคำเป็นต้นว่า ทรัพย์ที่เราประกอบ

ขึ้นไว้ในบ้านโน้นจักฉิบหาย ท่านจงไปจัดแจงทรัพย์นั้นให้สำเร็จดังนี้ เมื่อสามี

ไปแล้ว ปรารถนาจะกระทำอนาจารจึงพรรณนาการไปแรมคืน. คำว่า สิ่งที่ไม่

เป็นประโยชน์ หมายถึงสิ่งทีมิใช่ความเจริญ. คำว่า มิใช่กิจ คือ มิใช่กิจที่

ควรกระทำ. คำว่า คลุมหัว คือนุ่งอย่างมั่นคง. คำว่า พลิกกลับไปกลับมา

อธิบายว่า พลิกไปข้างโน้นทีข้างนี้ที. คำว่า ทำวุ่นวาย คือทำให้เกิดความโก-

ลาหลแกล้งปลุกคนใช้ที่นอนอยู่ใกล้เท้าให้จุดไฟ กระทำความอึกกระทึกครึก-

โครมมีประการต่าง ๆ ย่อมยังความรื่นรมย์ทางกิเลสของสามีนั้นให้พินาศขาดไป.

คำว่า ทำระทมทุกข์ คือนางกล่าวคำเป็นต้นว่า เราปวดศีรษะเหลือเกิน.

คำว่า ตรงกันข้าม อธิบายว่า ย่อมเป็นผู้มีปกติประพฤติเป็นข้าศึก ด้วย

อำนาจแห่งอาการต่าง ๆ เป็นต้นว่า เมื่อสามีต้องการอาหารเย็น ก็ให้อาหาร

ร้อนดังนี้. คำว่า ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ อธิบายว่า ทำโภคสมบัติที่สามี

หามาได้ด้วยความเหนื่อยยาก ให้ฉิบหายไปด้วยความเป็นคนเกะกะเพราะสุรา

เป็นต้น. คำว่า ความสนิทชิดชม ได้แก่ ทำความสนิทสนมด้วยอำนาจ

กิเลส. คำว่า ออกนอกบ้านเสมอ อธิบายว่า ออกนอกบ้านเพื่อเลือกหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 583

ชายชู้. คำว่า ในสามี ได้แก่ ย่อมเป็นผู้ประพฤตินอกใจด้วยความไม่เคารพ

ในสามี และเป็นผู้มีจิตคิดประทุษร้าย. คำว่า หญิงทั้งปวง อธิบายว่า

เว้นเสียจากหญิงผู้ทำกิเลสให้เบาบางด้วยวิปัสสนาแล้ว หญิงที่เหลือย่อมกระทำ

บาปทั้งหมด. คำว่า เมื่อได้ คือเมื่อมีโอกาส. คำว่า ช่อง อธิบายว่า เมื่อได้

ที่ลับพอจะปรึกษากันและพอจะร่วมกันได้. คำว่า คราวหรือที่ลับ อธิบายว่า

พึงกระทำโอกาสหรือที่ลับ เพื่อต้องการกระทำบาป. คำว่า โน เป็นเพียง

นิบาต. คำว่า ได้ หมายความว่า ได้แล้ว. อีกอย่างหนึ่ง บาลีเป็น อลทฺธา

ดังนี้ก็มี อธิบายว่า เมื่อไม่ได้บุรุษที่สมบูรณ์คนอื่น ก็พึงการทำกรรมอันเป็น

บาปแม้กับชายเปลี้ย หรือกับชายที่มีรูปร่างน่าเกลียดยิ่งกว่านั้น. คำว่า ทำให้

เกิดปีติ คือทำให้เกิดความยินดียิ่งกว่านั้น. คำว่า ข่มขี่ อธิบายว่า ไม่อาจที่จะ

แนะนำด้วยการข่มขี่ได้. คำว่า เสมอด้วยแม่น้ำ อธิบายว่า ท่าน้ำมิได้

หวงห้ามใคร ๆ ในบรรดาคนที่สูงสุด และต่ำที่สุดผู้ลงไปอาบน้ำ ฉันใด แม้

หญิงเหล่านั้นเมื่อมีที่ลับ หรือคราวหรือช่อง ก็ย่อมไม่ห้ามบุรุษใด ๆ เหมือนกัน

ฉะนั้น.

ต่อไปนี้ พระอรรถกถาจารย์นำเรื่องต่างๆ มาสาธกไว้ว่าในอดีตกาลมี

พระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า กินนร เสวยราชย์อยู่ในเมืองพาราณสี

มีพระรูปโฉมงามยิ่งนัก อำมาตย์พันหนึ่งย่อมนำหีบเครื่องหอมมาถวายทุก ๆ วัน

เมื่อประพรมเครื่องหอมในพระราชนิเวศน์ทั่วแล้ว ก็ผ่าหีบทำเป็นไม้ฟืนหอม

หุงพระกระยาหารถวาย พระเจ้ากินนรมีปุโรหิตมีปัญญาหลักแหลมผู้หนึ่งชื่อ

ปัญจาลจัณฑะ มีชนมายุเท่ากับพระองค์ ก็ที่ต่อกับปราสาทของพระเจ้ากินนร

นั้น มีต้นหว้าต้นหนึ่งอยู่ในกำแพงวัง กิ่งหว่าทอดข้ามกำแพงออกไป มีบุรุษ

เปลี้ยคนหนึ่ง รูปร่างชั่วช้าน่าเกลียด อาศัยอยู่ที่ร่มไม้หว้า. อยู่มาวันหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 584

นางกินรีเทวีเยี่ยมมองไปตามช่องหน้าต่าง เห็นบุรุษเปลี้ยนั้นแล้ว ก็ผูกพัน

รักใคร่ เวลาราตรี ยังพระเจ้ากินนรให้ทรงยินดีด้วยกิเลสแล้ว และบรรทม

หลับไป นางจึงค่อย ๆ ลุกขึ้นจัดอาหารอันประณีตมีรสอร่อย ใส่ขันทองห่อไว้

ที่ชายพก แล้วก็ไต่เชือกลงทางหน้าต่าง ปีนขึ้นบนต้นหว้าไต่ลงมาตามกิ่ง

เชิญบุรุษเปลี้ยให้กินอาหาร แล้วทำการอันลามกกับบุรุษเปลี้ยสำเร็จแล้ว ก็

กลับขึ้นปราสาทตามทางเดิม ประพรมสรีระกายด้วยของหอมแล้วก็เข้าไปนอน

กับพระเจ้ากินนร พระพฤติลามกอย่างนี้เสมอมา พระเจ้ากินนรก็มิได้ทรงทราบ

จนอยู่มาวันหนึ่งเสด็จประทักษิณพระนคร เวลาเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ ได้

ทอดพระเนตรเห็นบุรุษเปลี้ยมีอาการน่ากรุณาอย่างยิ่ง จึงตรัสถามปุโรหิตว่า

เห็นมนุษย์เปรตนั่นหรือไม่ ครั้นปุโรหิตรับพระราชโองการว่าเห็นแล้ว จึง

ตรัสถามต่อไปว่า บุรุษที่มีรูปร่างน่าเกลียดเห็นสภาวะปานฉะนี้ จะมีหญิงคบหา

ด้วยอำนาจฉันทราคะบ้างหรือไม่ บุรุษเปลี้ยได้ฟังพระราชดำรัสดังนั้นก็เกิด

มานะขึ้นมา พระเจ้าแผ่นดินพูดอะไรเช่นนี้ ชะรอยจะไม่รู้ว่าเทวีของตัวมาหาเรา

คิดแล้วก็ประนมมือไหว้ต้นหว้ากล่าววาจาค่อย ๆ ว่า เชิญเทพยดาซึ่งเป็นเจ้า

สิ่งอยู่ที่ต้นหว้าฟังเราเถิด คนอื่น ๆ นอกจากท่านแล้วก็ไม่มีใครรู้.

ปุโรหิตเห็นกิริยาของบุรุษเปลี้ยจึงคิดว่า พระอัครมเหสีของพระราชา

คงได้ไต่ต้นหว้ามาทำลามกกับบุรุษเปลี้ยนี้เป็นแน่แล้ว คิดแล้วจึงทูลถามว่า ขอ

พระราชทาน ในเวลาราตี พระองค์ทรงสัมผัสสรีระกายแห่งพระเทวี เป็นเช่น

ไรบ้าง พระเจ้ากินนรตรัสตอบว่า สิ่งอื่นก็ไม่แลเห็น เป็นแต่เวลาเที่ยงคืนสรี-

ระกายของนางเย็น ปุโรหิตจึงทูลว่า ขอพระราชทาน ถ้ากระนั้นหญิงอื่นยกไว้

ก่อนเถิด พระนางกินรีอัครมเหสีของพระองค์ได้ประพฤติแล้วซึ่งกรรมอัน

ลามกกับบุรุษเปลี้ยนี้ พระเจ้ากินนรตรัสตอบว่า สหายพูดอะไรกัน นางกินรี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 585

สมบูรณ์ด้วยรูปร่างอันอุดมเห็นปานนั้น จะมาร่วมอภิรมย์กับบุรุษเปลี้ยอันน่า

เกลียดอย่างยิ่งนี้ได้. ขอพระราชทาน ถ้ากระนั้นพระองค์จงสะกดรอยตามคอยจับ

ดูเถิด. พระเจ้ากินนรก็ทรงรับ ครั้นเสวยอาหารเย็นแล้ว ก็เข้าบรรทมกับนางกินรี

ตั้งพระหฤทัยคอยสะกดจับ พอถึงเวลาเคยบรรทมหลับตามปกติ ก็ทรงแสร้งทำ

เหมือนหลับไป ฝ่ายนางกินรีก็ลุกขึ้นตามเคย พระเจ้ากินนรก็สะกดรอยตาม

ไปยืนอยู่ที่เงาต้นหว้า วันนั้นบุรุษเปลี้ยโกรธขู่ตะคอกว่า ทำไมถึงมาช้า แล้วเอา

มือตบเข้าที่กกหูนางเทวี นางเทวีก็ร้องขอโทษว่า นายอย่าเพิ่งโกรธเลย ข้าพเจ้า

รอให้พระราชาหลับจึงมาได้ ว่าแล้วก็ประพฤติปฏิบัติบุรุษเปลี้ยเหมือนหญิง

บำเรอในเรือน เมื่อบุรุษเปลี้ยตบหูนางกินรีนั้น กุณฑลหน้าราชสีห์หลุดจากหู

กระเด็นไปอยู่ใกล้พระบาทพระเจ้ากินนร พระเจ้ากินนรเห็นสมควรจึงเก็บ

เอาไปเป็นพยานก็ทรงเก็บเอาไป ฝ่ายนางกินรีประพฤติอนาจารกับบุรุษเปลี้ย

นั้นแล้วก็กลับไปโดยนัยหนหลัง เริ่มจะนอนด้วยพระราชสามี.

พระเจ้ากินนรก็ทรงห้ามเสีย พอรุ่งขึ้น จึงรับสั่งให้คนไปบอกว่า ให้

นางกินรีเทวีประดับเครื่องอลังการที่เราให้ทั้งหมดเข้ามาเฝ้า. นางกินรีก็สั่งให้ทูล

ว่า กุณฑลหน้าราชสีห์ส่งไปไว้ที่ช่างทองเสียแล้ว นางก็มิได้มาเฝ้า ครั้นพระเจ้า

กินนรรับสั่งให้หาอีก นางก็ประดับกุณฑลข้างเดียวเข้าไปเฝ้า พระเจ้ากินนรตรัส

ถามว่ากุณฑลไปไหน นางก็ทูลว่า ส่งไปที่ช่างทอง. พระเจ้ากินนรจึงรับสั่งให้หา

ช่างทองมีแล้วตั้งกะทู้ถามว่า ทำไมเจ้าจึงไม่ให้กุณฑลแก่นางกินรี ช่างทอง

ก็ทูลว่า มิได้รับเลาไว้เลย พระเจ้ากินนรก็ทรงพระพิโรธตรัสว่า เฮ้ย อีนาง

จัณฑาล คนอย่างกูนี้แหละจะเป็นช่างทองของมึงละ ตรัสแล้วก็ขว้างกุณฑล

ลงไปตรงหน้านางกินรีแล้ว หันมาตรัสกับปุโรหิตว่า สหายพูดจริงทีเดียว จงไป

สั่งไปตัดหัวอีนี่เสีย ปุโรหิตก็พานางกินรีไปซ่อนไว้ในที่แห่งหนึ่งภายในพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 586

ราชวังนั้น แล้วกลับไปเฝ้ากราบทูลว่า ขอพระราชทาน อย่าได้ทรงกริ้วนาง

กินรีเลย หญิงทั้งปวงย่อมเหมือนกันอย่างนี้ทั้งหมด ถ้าไม่ทรงเชื่อ ต้องพระ

ประสงค์ทรงทราบเรื่องทุศีลของหญิงทั้งหลายแล้ว ข้าพระองค์จะสำแดงให้ดู

ความลามกความมีมายาของหญิงทั้งหลาย เชิญเสด็จปลอมพระองค์ประพาสไป

ในชนบทด้วยกันเถอะ พระเจ้ากินนรก็ทรงรับ ทรงมอบราชสมบัติให้พระ-

มารดาแล้ว ก็เสด็จซอกซอนไปกับปุโรหิต.

เมื่อพระเจ้ากินนรกับปุโรหิตไปได้ประมาณโยชน์หนึ่งแล้ว พักนั่ง

อยู่ข้างบนหนทางใหญ่ มีกุฎุมพีคนหนึ่งกระทำวิวาหมงคลกันเพื่อบุตรชาย

ให้นางกุมารีคนหนึ่งนั่งอยู่ในยานกำบัง แล้วพาผ่านมาด้วยบริวารเป็นอัน

มาก ปุโรหิตได้เห็นแล้วจึงทูลว่า ขอพระราชทาน ถ้าต้องพระประสงค์

ข้าพระองค์สามารถจะให้นางกุมารีคนนี้ทำลามกกับพระองค์ได้ พระเจ้ากินนร

ตรัสว่า เพื่อนพูดอะไร เขามากับบริวารเป็นอันมาก ท่านไม่สามารถ

จะทำได้ ปุโรหิตจึงทูลว่า ขอพระราชทาน ถ้าฉะนั้นก็คอยทอดพระเนตร

ทูลแล้วก็ลอบไปข้างหน้า วงม่านเข้าใกล้ ๆ หนทาง ให้พระเจ้ากินนร

ประทับในม่าน แล้วตนก็ไปนั่งร้องให้อยู่ข้างทาง พอกุฎุมพีนั้นเห็นเข้า

ก็ถามว่า พ่อนั่งร้องไห้ทำไม จึงตอบว่า ข้าแต่นาย ภริยาของข้าครรภ์แก่ ข้า

พาเดินทางมาหวังจะไปยังตระกูลของเขา พอมาถึงกลางทาง นางก็เจ็บท้อง

ทนลำบากอยู่ในม่าน เพื่อนหญิงสักคนหนึ่งก็ไม่มี ตัวข้าก็ไม่กล้าเข้าไป ไม่รู้

ว่าจะเป็นอะไรต่อไป ถ้าได้หญิงสักคนหนึ่งจะค่อยยังชั่ว กุฎุมพีนั้นจึงตอบว่า

ถ้ากระนั้นก็อย่าร้องไห้ไปเลย พวกหญิงของเราที่มาด้วยกันมีเป็นอันมาก พอ

จะไปช่วยได้สักคนหนึ่ง ปุโรหิตจึงกล่าวว่า ถ้ากระนั้นขอให้นางกุมารีคนนี้

แหละไป จักได้เป็นสวัสดิมงคลแก่เขา กุฎุมพีนั้นคิดเห็นว่า ชายผู้นั้นพูดถูก

แล้ว สวัสดิมงคลจักมีแก่สะใภ้ของเราเป็นแน่ และด้วยนิมิตนี้ สะใภ้ของเราจัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 587

เจริญด้วยบุตรและธิดา คิดแล้วจึงส่งนางกุมารีคนนั้นไป นางกุมารีนั้นก็เข้าไป

ในม่าน พอเห็นพระเจ้ากินนรเข้าก็เกิดรักใคร่ ได้ประพฤติลามกด้วยกันแล้ว

พระราชาทรงถอดพระธำมรงค์พระราชทาน พอสำเร็จกิจ นางกุมารีนั้นกลับมา

ชนทั้งหลายก็ถามว่า เขาคลอดลูกเป็นชายหรือหญิง นางก็ตอบว่าเป็นชาย

งามเหมือนดังทอง. กุฎุมพีก็พานางกุมารีไป ฝ่ายปุโรหิตก็กลับมาเฝ้าพระเจ้า

กินนรแล้วทูลว่า ขอพระราชทาน พระองค์ได้ทอดพระเนตรแล้ว นางกุมารี

รุ่นสาวยังลามกถึงเพียงนี้ ก็จะประสาอะไรถึงหญิงพวกอื่น อ้อ พระองค์

ประทานอะไรแก่นางไปบ้างหรือเปล่า พระเจ้ากินนรตรัสว่า เราให้แหวนที่

ติดมือมาแก่นางไป ปุโรหิตจึงทูลว่า พระองค์ประทานมันทำไม ว่าแล้วก็วิ่ง

ไปยึดยานไว้ ครั้นคนทั้งหลายถามว่าอะไรกัน ก็ตอบว่า นางกุมารีคนนี้หยิบ

เอาแหวนที่วางไว้ข้างศีรษะของนางพราหมณีภรรยาของข้ามา ขอแหวนให้ข้า

เถิดแม่ นางก็มารียื่นมือออกไปหยิกมือปุโรหิต ตะคอกว่า ตาโจร เอาของ

แกไปเถิด แล้วส่งแหวนคืนให้. ปุโรหิตสำแดงหญิงที่ประพฤตินอกใจผัว

หลายคนถวายพระเจ้ากินนร ด้วยอุบายต่าง ๆ อย่างอื่นแล้วทูลว่า ขอพระ

ราชทาน ที่นี่เท่านี้ก็พอแล้ว ขอเชิญเสด็จไปที่อื่นบ้างเถิด พระเจ้ากินนรตรัสว่า

ถึงจะเที่ยวไปให้ทั่วชมพูทวีป หญิงทั้งปวงก็จักเป็นเช่นเดียวกันหมด เราจะ

ต้องการดูอะไรมันอีกเล่า กลับเถิด ตรัสแล้วก็เสด็จกลับเมืองพาราณสี. ปุโรหิต

จึงทูลขอประทานโทษนางกินรีว่า ขอพระราชทาน ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลายแล้ว

ย่อมลามกอย่างนี้ ปกติของเขาเป็นอย่างนี้เอง พระองค์จงงดโทษนางกินรี

เสียเถิด พระเจ้ากินนรก็ทรงยกโทษให้รับสั่งให้ไล่ไปเสียจากพระราชนิเวศน์

เมื่อทรงขับไล่จากตำแหน่งแล้ว ก็ทรงตั้งหญิงอื่นเป็นอัครมเหสี แล้วรับสั่งให้

ไล่บุรุษเปลี้ยเสียจากที่นั้นและให้ตัดกิ่งต้นหว้าเสีย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 588

ในคราวนั้น พญานกกุณาละเกิดเป็นปัญจาลจัณฑปุโรหิต เมื่อนำเหตุ

ที่ตนได้เห็นมาแสดงจึงกล่าวว่า

บัณฑิตได้เห็นแล้วซึ่งเรื่องอะไร ของพระเจ้า

กินนรและนางกินรี ก็พึงรู้เถิดว่า หญิงทั้งปวงย่อม

ไม่ยินดีในเรือนของตน ภรรยาไปเห็นบุรุษอื่นแม้เป็น

ง่อยเปลี้ย ยังทิ้งเสียซึ่งสามีอย่างกับพระเจ้ากินนรได้.

อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า บัณฑิตเห็นเหตุแห่งความหน่ายแหนง

ชองกินนรและนางกินรีเหล่านี้ คือ พระราชาผู้เป็นกินนรและนางกินรีเทวี

แล้วก็พึงรู้เถิดว่า หญิงทั้งปวงย่อมไม่ยินดีในเรือนแห่งสามีของตน. จริงอย่าง

นั้น นางกินรีเทวีผู้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้ากินนร เห็นบุรุษเปลี้ยคนอื่น

ยังยอมสละพระราชาพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้มีความฉลาดในการอภิรมย์เช่นนั้น

เสียแล้ว กระทำกรรมอันเป็นบาปกับมนุษย์เปรตนั้นได้.

เรื่องอื่นยังมีอีก ในอดีตกาล พระเจ้าพาราณสีทรงพระนามว่า พกะ

เสด็จทรงราชย์โดยธรรม ยังมีหญิงชื่อปัญจปาปี เป็นธิดาของคนยากไร้คนหนึ่ง

ซึ่งอยู่ในบ้านข้างประตูตะวันออกเมืองพาราณสี เล่ากันมาว่า เมื่อชาติก่อน

นางเกิดเป็นธิดาของคนยากไร้คนหนึ่ง นั่งขยำดินทาฝาเรือนอยู่ เวลานั้นมี

พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งคำนึงว่า จักหาดินละเอียดที่ไหนหนอ มาฉาบทา

เงื้อมฝาที่อยู่อาศัย ครั้นตกลงใจว่า อาจหาได้ในเมืองพาราณสีดังนี้แล้ว จึง

ห่มคลุมถือบาตรเข้าไปในเมือง ไปยืนอยู่ใกล้หญิงนั้น นางแลเห็นพระปัจเจก

พุทธเจ้าแล้วก็โกรธ จึงพูดขึ้นด้วยใจร้ายว่า ชิ้นดินก็ขอ. พระปัจเจกพุทธเจ้า

ก็นิ่งมิได้หวั่นไหว นางเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ามิได้หวั่นไหว ก็เกิดมีใจเลื่อมใส

อีกจึงกล่าวว่า สมณะ ท่านจักได้ดินเหนียวหรือ ว่าแล้วก็ยกดินเหนียวก้อนใหญ่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 589

ใส่ลงในบาตร. พระปัจเจกพุทธเจ้าก็เอาไปฉาบทาเงื้อมฝาที่อาศัย ไม่ช้านัก

หญิงคนนั้นก็จุติจากอัตภาพนั้น ไปถือปฏิสนธิในท้องหญิงทุคตะ ชาวบ้าน

ใกล้ประตูนอกเมืองนั้น เมื่อครบ ๑๐ เดือนแล้วนางก็คลอด ด้วยผลที่ได้ถวาย

ดินเหนียว ร่างกายของนางจึงประกอบด้วยสัมผัสดียิ่งนัก แต่เพราะวิบากที่

แลดูพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยความโกรธ มือ เท้า ปาก ตา จมูก ๕ แห่ง

จึงวิกลวิปริตไป ดังนั้น เขาจึงพากันตั้งชื่อให้ว่า นางปัญจปาปี.

วันหนึ่ง พระเจ้าพาราณสีจึงทรงปลอมพระองค์เที่ยวตรวจพระนครไป

ถึงประเทศที่นั้นเข้า. นางปัญจปาปีเล่นอยู่กับด้วยนางทาริกาเพื่อนบ้าน ไม่

รู้จักพระเจ้าพาราณสีก็เอามือคว้าพระหัตถ์เข้า พระเจ้าพาราณสีถูกสัมผัสมือ

ของนางปัญจปาปีก็ดำรงพระองค์ไว้ไม่อยู่ ดุจดังสัมผัสทิพย์เกิดกำหนัดยินดีใน

สัมผัสยิ่งนัก จึงเอาพระหัตถ์จับนางปัญจปาปี ซึ่งมีรูปวิกลถึงปานนั้นแล้วตรัส

ถามว่า เจ้าเป็นลูกสาวของใคร ครั้นนางตอบว่า เป็นลูกสาวชาวบ้านที่ประตู

จึงทรงซักถามได้ความว่า ยังไม่มีสามี ก็ตรัสว่า เรานี้แหละจะเป็นสามีของเจ้า

เจ้าจงไป ขออนุญาตต่อบิดามารดา. นางปัญจปาปีก็เข้าไปหาบิดามารดาแล้ว

บอกว่า ชายคนหนึ่งเขาต้องการข้า บิดามารดาคิดเห็นว่า ชายคนนั้นเห็นจะ

ไม่ใช่คนทุคตะจึงกล่าวว่า ถ้าเขาอยากได้คนอย่างเองก็ดีแล้ว. นางจึงกลับมา

บอกว่า บิดามารดาอนุญาตแล้ว. พระเจ้าพาราณสีก็อยู่กับนางปัญจปาปีที่เรือน

นั้น จนรุ่งเช้าจึงเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ ตั้งแต่นั้นมา พระเจ้าพาราณสีก็ทรง

ปลอมพระองค์ไปหานางปัญจปาปีเสมอ ไม่ทรงปรารถนาจะเหลียวแลหญิง

คนอื่นเลย.

ต่อมาวันหนึ่ง บิดาของนางปัญจปาปีบังเกิดโรคลงโลหิต ยาที่จะรักษา

โรคนั้นก็คือ ข้าวปายาสอันปรุงด้วยนมสดล้วน กับเนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลกรวด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 590

เป็นต้น แต่คนปานนั้นขัดสน จึงไม่สามารถจะหามาได้. ลำดับนั้น มารดา

ของนางปัญจปาปีจึงพูดกะลูกสาวว่า ผัวของเจ้าสามารถหาข้าวปายาสได้หรือไม่

เล่า. นางปัญจปาปีจึงตอบว่า ผัวของข้าเห็นจะจนกว่าบ้านเรา แต่เอาเถอะ

จะลองถามเขาดูก่อน อย่าวิตกไปเลย ว่าดังนี้แล้ว นางปัญจปาปีก็วางกิริยา

ท่าทางว่าทุกข์ร้อน นั่งคอยท่ารอเวลาที่พระเจ้าพาราณสีเคยเสด็จมา ครั้นพอ

พระเจ้าพาราณสีเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า เจ้าเสียใจอะไร ทรงสดับความนั้น

แล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนน้องหญิง ยาขนานนี้เป็นยาสำหรับท่านผู้เป็นใหญ่

เราจะได้มาแต่ที่ไหน ตรัสดังนี้ แล้วทรงติดต่อไปอีกว่า เราไม่สามารถ

เที่ยวไปมาอย่างนี้ได้ น่าจะต้องประสบอันตรายตามหนทางแน่ ก็แต่ว่า

ถ้าจะพานางปัญจปาปีเข้าไปไว้ในวัง ชนทั้งหลายที่ไม่รู้ว่านางนี้มีสมบัติคือ

สัมผัสดี ก็จักพากันหัวเราะเยาะเย้ยว่า พระเจ้าแผ่นดินของเราไปพาเอานาง

ยักษิณีที่ไหนมา จำเราจักทำให้ชาวพระนครเขารู้สัมผัสของนางเสียก่อนเถิด

จึงจะปลดเปลื้องข้อครหานินทาได้.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะนางว่า เจ้าอย่าวิตกไปเลย ข้าจะหา

ข้าวปายาสมาให้บิดาของเจ้า ครั้นทรงอภิรมย์กับนางปัญจปาปีแล้ว ก็เสด็จ

กลับพระราชนิเวศน์. พอวันรุ่งขึ้น จึงตรัสสั่งให้หุงข้าวปายาสอย่างว่า

ให้เอาใบไม้มาทำห่อเป็นสองห่อ บรรจุข้าวปายาสลงแล้ว ก็ใส่พระจุฬามณี

ลงไปในห่อหนึ่งผูกเสียให้ดี พอเวลาราตรี ก็เสด็จไปส่งห่อข้าวให้แล้ว

กำชับว่า เราเป็นคนจนเท่านี้ก็หาได้โดยยาก เจ้าจงบอกับบิดาว่า วันนี้

จงกินข้าวปายาสห่อนี้ พรุ่งนี้จึงค่อยกินอีกห่อหนึ่ง. นางปัญจปาปีก็ทำตามสั่ง

พอบิดานางปัญจปาปีบริโภคเข้าไปหน่อยหนึ่ง ก็อิ่มหนำสำราญมีความสุขสบาย

เพราะข้าวปายาสนั้นมีรสโอชายิ่งนัก. นางปัญจปาปีก็นำเอาข้าวปายาสที่เหลือ

ให้มารดา แล้วจึงบริโภคเองในภายหลัง ก็พออิ่มทั้ง ๓ คน. ส่วนห่อข้าวที่มี

จุฬามณีก็เก็บไว้เพื่อวันต่อไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 591

ครั้นพระเจ้าพาราณสีเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ สรงพระพักตร์เสร็จ

แล้ว จึงตรัสสั่งให้พนักงานนำจุฬามณีมาถวาย เมื่อเจ้าพนักงานทูลว่า หาไม่พบ

ก็ตรัสสั่งว่า ค้นให้ทั่วพระนคร. เขาพากันค้นจนทั่วแล้วก็หาไม่ได้ จึงตรัสสั่ง

ต่อไปว่าให้ค้นด้านนอกพระนคร ที่สุดจนห่อเข้าของในเรือนคนทุคตะก็อย่า

เว้น ราชบุรุษทั้งหลายก็พากันเที่ยวค้น จึงไปพบจุฬามณีในเรือนนางปัญจปาปี

ก็พากันผูกมัดเอาบิดามารดาหาว่าเป็นโจร ชนทั้งสองจึงร้องว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่

โจร คนอื่นนำมาให้ ครั้นเขาชักไซ้ว่าใคร ก็บอกว่าลูกเขย ครั้นเขาถามหา

ตัวว่าไปไหนก็ซัดว่า ลูกสาวรู้แล้ว บิดาจึงหันมาพูดกับลูกสาวว่า เจ้ารู้จัก

ผัวเจ้าหรือไม่. นางก็ตอบว่า ไม่รู้จัก. บิดาก็กล่าวว่า ถ้ากระนั้นชีวิตของเรา

ก็ไม่มี. นางปัญจปาปีจึงกล่าวว่า ผัวของข้ามาในเวลามืดแล้ว ก็กลับไปใน

เวลามืด ข้าจึงไม่รู้ว่ารูปร่างเขาเป็นอย่างไร แต่ถ้าถูกมือแล้วก็รู้ได้ แล้วนาง

ก็บอกแก่ราชบุรุษทั้งหลายเช่นนั้น ราชบุรุษทั้งหลายจึงนำความมากราบทูล.

พระเจ้าพาราณสีทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น จึงตรัสสั่งว่า ถ้าเช่นนั้นจงให้หญิงคนนั้น

นั่งอยู่ในม่านที่หน้าพระลาน แล้วเจ้าช่องม่านพอมือลอดได้ สั่งชาวเมืองมา

ประชุมให้หญิงนั้นจับโจรให้ได้ด้วยสัมผัสมือ ราชบุรุษทั้งหลายก็ทำตามรับสั่ง

พากันไปยังสำนักของนางปัญจปาปี แลดูรูปร่างแล้วก็เกิดเดือดร้อนเกลียดชังว่า

ถุย ถุย อีปีศาจ ต่างไม่อาจถูกต้องได้ ครั้นพานางมาแล้วก็ให้นั่ง ในม่าน

ที่หน้าพระลาน จัดการให้ชาวพระนครทั้งหมดมาประชุมพร้อมกัน นาง-

ปัญจปาปีก็จับ มือบุรุษที่มาแล้วและยื่นเข้าไปในช่องม่าน บอกขานเรื่อยไปว่า

ไม่ใช่สามี บุรุษทั้งหลายที่ได้สัมผัสถูกต้อง ก็ติดข้องในสัมผัสแห่งนางอย่าง

สัมผัสทิพย์ ต่างคนก็คิดในใจว่า ถ้าหญิงคนนี้ควรแก่สินไหม เราจะยอมหาให้

ถึงจะตายเป็นทาสกรรมกรก็ไม่ว่า จะพาไปเลี้ยงไว้ในเรือน ต่างคนต่างไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 592

สามารถจะหลีกไปได้ จนราชบุรุษทั้งหลาย โบยด้วยไม้จึงได้หนีไป คนทั้งปวง

ตั้งแต่อุปราชลงไปก็มีอาการปานกับจะเป็นบ้า พอหมดคนอื่นแล้ว พระเจ้า

พาราณสีตรัสว่า จะเป็นเราเองบ้างกระมัง จึงยื่นพระหัตถ์เข้าไป พอนางจับ

พระหัตถ์ก็ร้องเสียงดังลั่นว่า จับโจรได้แล้ว พระเจ้าพาราณสีจึงตรัสถามราช

บุรุษทั้งหลายว่า เมื่อนางนี้จับมือเข้า พวกเจ้ามีความคิดอะไรบ้าง. ราชบุรุษ

ทั้งหลายก็กราบทูลตามความเป็นจริง.

ลำดับนั้น พระเจ้าพาราณสีจึงตรัสว่า ที่เราให้ทำอย่างนี้ก็เพื่อจะนำ

หญิงนี้มาไว้ในวัง แต่ยังคิดเห็นว่า เมื่อท่านทั้งหลายไม่รู้สัมผัสของหญิงนี้

ก็จะหมิ่นประมาทเราได้ เพราะฉะนั้น จึงให้เจ้าทั้งหลายรู้ไว้ จงว่าไปดูที หญิงนี้

จะสมควรอยู่ในเรือนใคร ราชบุรุษทั้งหลายก็กราบทูลว่า สมควรอยู่ในวังของ

พระองค์ ครั้นแล้วพระเจ้าพาราณสี ก็พระราชทานอภิเษกตั้งให้เป็นพระ-

อัครมเหสี และพระราชทานอิสริยยศแก่บิดามารดาของนาง. ตั้งแต่นั้นมา

พระเจ้าพาราณสี ก็ทรงมัวเมาด้วยนางปัญจปาปี จนไม่เอาพระทัยใส่ในอันที่

จะตัดสินความของราษฎร และไม่ทรงเหลียวแลหญิงอื่น พวกนางนักสนม

ทั้งหลายจึงคอยจ้องหาโทษใส่.

ต่อมาวันหนึ่ง นางปัญจปาปีฝันเห็นเป็นนิมิตที่ตนจะได้เป็นอัครมเหสี

พระเจ้าแผ่นดิน ๒ พระองค์ นางจึงกราบทูลให้ทรงทราบ พระเจ้าพาราณสี

จึงรับสั่งให้หาผู้มาทำนายฝันเข้ามาเฝ้าตรัสถามว่า ฝันเห็นอย่างนี้จะมีผลเป็น

อย่างไร พวกทำนายฝันได้สินบนจากนางสนมอื่น ๆ แล้วจึงทูลทำนายว่า ขอ

พระราชทานโอกาส การที่พระราชเทวีทรงสุบินว่า ได้นั่งบนคอช้างเผือกนั้น

เป็นบุรพนิมิตนำมรณะมาสู่พระองค์ ที่พระนางทรงสุบินว่า นั่งอยู่บนคอช้าง

แล้วลูบคลำพระจันทร์เล่นนั้น เป็นบุรพนิมิตที่นำพระราชาข้าศึกมาสู่พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 593

ครั้น พระเจ้าพาราณสีทรงซักว่า ถ้าฉะนั้นจะควรทำอย่างไร จึงกราบทูลว่า

ขอพระราชทานโอกาส ไม่ควรจะให้สำเร็จโทษพระนางเสีย ควรใส่เรือปล่อย

ลอยไปตามแม่น้ำ พระเจ้าพาราณสี จึงให้นางปัญจปาปีลงในเรือพร้อมทั้งอาหาร

และเครื่องอลังการ พอเวลาราตรีก็ปล่อยลอยไปในแม่น้ำ เรือนางปัญจปาปี

ลอยไปตามน้ำ ก็ไปจนถึงหน้าฉาน พระเจ้าพาวรีย์ซึ่งทรงลงเล่นเรืออยู่ข้างใต้น้ำ

เสนาบดีของพระเจ้าพาวรีย์แลเห็นเรือจึงร้องว่า เรือนั้นเป็นของเรา พระเจ้า

พาวรีย์ตรัสว่าของในเรือเป็นของเรา พอเรือมาถึงเข้าได้ทอดพระเนตรเห็นนาง

ปัญจปาปี จึงตรัสถามว่า นางนี่ชื่อไร รูปร่างคล้ายปีศาจ. นางปัญจปาปี

ยิ้มแล้ว ทูลความว่า ตนเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าพกะ และทูลเล่าเหตุทั้งปวง

ให้ทรงทราบ ก็นางปัญจปาปีนั้นมีชื่อเสียงปรากฏตลอดชมพูทวีป พระเจ้า

พาวรีย์ จึงทรงจับมือจูงขึ้นจากเรือ พอจับเข้าก็เกิดกำหนัดยินดีในสัมผัสจน

ไม่รู้สึกว่า หญิงอื่นมี จึงทรงตั้งนางปัญจปาปีไว้ในที่อัครมเหสี นางก็เป็น

ที่รักเสมอพระชนมชีพ พระเจ้าพกะทรงทราบข่าวก็ทรงดำริว่า เราจักไม่ยอม

ให้พระเจ้าพาวรีย์ตั้งนางปัญจปาปีเป็นอัครมเหสี จึงรวบรวมเสนาเสด็จเป็น

กระบวนทัพไปตั้งพักอยู่ที่ท่าน้ำ แล้วส่งราชสาส์นไปว่า ให้พระเจ้าพาวรีย์คืน

ภริยาให้หรือจะรบกันก็ตามที พระเจ้าพาวรีย์จึงตอบไปว่า เรายอมรบไม่ยอม

ให้ภริยา แล้วทรงตระเตรียมการรบ พวกอำมาตย์ทั้งสองฝ่ายจึงปรึกษากันว่า

ที่จะพากันมาตายเพราะเหตุแห่งมาตุคามนั้นไม่สมควรเลย นางปัญจปาปี ควร

ได้แก่พระเจ้าพกะ เพราะได้เคยเป็นสามีมาก่อน แต่ก็ควรได้แก่พระเจ้าพาวรีย์

เพราะทรงเก็บได้ในเรือ ต่างก็กราบทูลพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองให้ทรงสัญญา

พระราชาทั้งสองพระองค์ก็ตกลงพระหฤทัยสั่งให้สร้างพระนครขึ้นฝั่งนครแล้ว

เสด็จประทับอยู่ นางปัญจปาปีทำหน้าที่เป็นอัครมเหสีของสองพระราชา คืออยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 594

ประจำฝ่ายละ ๗ วัน เมื่อนางลงไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง นางได้ทำลามกกับชาว

ประมงค่อมคนหนึ่งซึ่งเป็นคนขับเรือในกลางแม่น้ำ.

คราวนั้น พญานกกุณาละเกิดเป็นพระเจ้าพกะ เพราะเหตุนั้น เมื่อ

จะนำเรื่องที่ตนได้ทราบมาแล้วมาแสดง จึงกล่าวว่า

พระเจ้าพกะและพระเจ้าพาวรีย์หมกมุ่นอยู่ใน

กามเกินส่วนแล้ว ภริยาของท่านยังประพฤติล่วงกับ

คนใช้ใกล้ชิดและอยู่ในอำนาจอีก มีหรือที่หญิงจะไม่

ประพฤติล่วงคนอื่นนอกจากคนนั้นอีก.

คำว่า หมกมุ่นอยู่ในกามเกินส่วนแล้ว อธิบายว่า หมกมุ่นอยู่

ในกามเกินประมาณอยู่แล้ว. คำว่า ประพฤติล่วง หมายถึงประพฤติอนาจาร.

คำว่า ใกล้ชิดและอยู่ในอำนาจ อธิบายว่า ประพฤติล่วงในสำนักแห่งชาย

ผู้กระทำการรับใช้ของตนซึ่งอยู่ใกล้ชิดและเป็นไปในอำนาจของตน มีคำกล่าว

อธิบายว่า ได้กระทำกรรมอันชั่วร้ายกับคนใช้นั้น. คำว่า คนอื่นนอกจาก

คนนั้น อธิบายว่า ไฉนเล่าหญิงจะไม่ประพฤติล่วงกับชายอื่นนอกจากชาย

คนนั้นอีก.

ยังมีเรื่องอื่นอีก ในอดีตกาล อัครมเหสีพระเจ้าพรหมทัตมีนามว่า

ปิงคิยานี เปิดสีหบัญชรแลดูไปเห็นคนเลี้ยงม้ามงคล ก็มีจิตปฏิพัทธ์ ครั้นเมื่อ

พระเจ้าพรหมทัตบรรทมหลับ ก็ลอบลงทางหน้าต่าง ประพฤติล่วงกับคน

เลี้ยงม้าแล้วกลับขึ้นปราสาท ประพรมสรีระด้วยของหอมแล้ว ก็เข้าไปนอน

กับพระเจ้าพรหมทัต ต่อมาพระเจ้าพรหมทัดทรงดำริว่า เพราะเหตุอะไรหนอ

เวลาเที่ยงคืนสรีระของพระเทวีจึงเย็นเสมอ เห็นที่จะต้องสะกดรอยดู วันหนึ่ง

ทรงแสร้งทำอาการเหมือนหลับ พอนางลุกไปพระองค์ก็เสด็จตามไปข้างหลัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 595

ทอดพระเนตรเห็นนางประพฤติล่วงกับคนเลี้ยงม้า แล้วก็เสด็จกลับขึ้นสู่ที่

บรรทม ส่วนปิงคิยานีประพฤติล่วงแล้วก็กลับมานอนอยู่ที่นอนน้อย รุ่งเช้า

พระเจ้าพรหมทัตให้หานางปิงคิยานีมาแล้ว ทรงชี้โทษให้เห็นแจ้งแล้วตรัสว่า

หญิงทั้งปวง ย่อมมีธรรมดาลามกดังนี้แล้ว พระองค์ทรงงดโทษฆ่า จองจำ ตัด

ทำลายให้เป็นแต่ถอดออกจากตำแหน่งแล้ว ทรงตั้งหญิงอื่นเป็นพระอัครมเหสี

ต่อไป.

คราวนั้น พญานกกุณาละเกิดเป็นพระเจ้าพรหมทัต เพราะเหตุนั้น

เมื่อจะแสดงถึงเหตุที่ตนเห็นมาเอง จึงกล่าวว่า

นางปิงคิยานีภรรยาที่รักของพระเจ้าพรหมทัต ผู้

เป็นใหญ่แห่งปวงสัตวโลก ได้ประพฤติล่วงแก่คน

เลี้ยงม้าผู้ใกล้ชิด และเป็นไปในอำนาจแล้ว นางผู้ใคร่

ต่อกามนั้น ก็ไม่ได้ประสบกับความใคร่ทั้งสองราย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ต วาปิ ความว่า นางพระพฤตินอก

ใจอย่างนี้ ก็ไม่ได้ประสบกับสิ่งทั้งสองคือ คนเลี้ยงม้านั้น หรือตำแหน่ง

อัครมเหสีนั้น คือ ได้เป็นผู้พลาดแล้วทั้งสองอย่าง. บทว่า กามกามินี

ความว่า ผู้ปรารถนากาม.

พญานกกุณาละกล่าวโทษหญิงทั้งหลายว่า มีธรรมอันลามกอย่างนี้

อย่างนี้ ดังกับเรื่องอดีตที่ได้พรรณนามาแล้ว เมื่อจะกล่าวโทษแห่งหญิงทั้งหลาย

โดยปริยายอื่นอีก จึงกล่าวว่า

บุรุษผู้ไม่ถูกผีสิง ไม่ควรเชื่อหญิงทั้งหลายผู้

หยาบช้า ใจเบา อกตัญญู ประทุษร้ายมิตร หญิง

เหล่านั้นไม่รู้จักสิ่งที่กระทำแล้ว สิ่งที่ควรกระทำ ไม่รู้

จักมารดาบิดาหรือพี่น้อง ไม่มีความละอาย ล่วงเสีย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 596

ซึ่งธรรม ย่อมเป็นไปตามอำนาจจิตของตน เมื่อมี

อันตราย และเมื่อกิจเกิดขึ้น ย่อมละทิ้งสามีแม้จะอยู่

ด้วยกันมานาน เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่อนุเคราะห์

แม้เสมอกับชีวิต เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่วิสาสะกับ

หญิงทั้งหลาย จริงอยู่ จิตของหญิงเหมือนจิตของวานร

ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เหมือนเงาไม่ หัวใจของหญิงไหวไป

ไหวมา เหมือนล้อรถที่กำลังหมุน เมื่อใด หญิงทั้ง-

หลายผู้มุ่งหวัง เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรจะถือเอาได้

เมื่อนั้น ก็ใช้วาจาอ่อนหวานาชักนำบุรุษไปได้ เหมือน

ชาวกัมโพชลวงม้าด้วยสาหร่าย ฉะนั้น เมื่อใด หญิง

ทั้งหลายผู้มุ่งหวังไม่เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรถือเอาได้

เมื่อนั้น ย่อมละทิ้งบุรุษนั้นไป เหมือนคนข้ามฟากถึง

ฝั่งโน้นแล้วละทิ้งแพไป ฉะนั้น หญิงทั้งหลายเปรียบ

ด้วยเครื่องผูกรัด กินทุกอย่างเหมือนเปลวไฟ มีมายา

กล้าแข็งเหมือนแม่น้ำมีกระแสเชี่ยว ย่อมคบบุรุษได้

ทั้งที่น่ารักทั้งที่ไม่น่ารัก เหมือนเรือจอดไม่เลือกฝั่งนี้

และฝั่งโน่น ฉะนั้น หญิงทั้งหลายไม่ใช่ของบุรุษคน

เดียวหรือสองคน ย่อมรับรองทั่วไปเหมือนร้านตลาด

ผู้ใดสำคัญมั่นหมายหญิงเหล่านั้นว่า ของเรา ก็เท่ากับ

ดักลมด้วยตาข่าย แม่น้ำ หนทาง ร้านเหล้า สภา

และบ่อน้ำ ฉันใด หญิงในโลกก็ฉันนั้น เขตแดนของ

หญิงเหล่านั้นไม่มี หญิงทั้งหลายเสมอด้วยไฟกินเปรียง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 597

เปรียบด้วยงูเห่า ย่อมเลือกคบแต่บุรุษที่มีทรัพย์ เหมือน

โคเลือกกินหญ้าที่ดี ๆ ในภายนอก ฉะนั้น ไฟกินเปรียง

๑ ช้างสาร ๑ งูเห่า ๑ พระราชาผู้ได้รับมูรธาภิเษก

แล้ว ๑ หญิงทั้งปวง ๑ สิ่งทั้ง ๕ นี้ นรชนพึงคบด้วย

ความระวังเป็นนิตย์ เพราะสิ่งทั้ง ๕ นี้ มีความแน่นอน

ที่รู้ได้ยากแท้ หญิงที่งามเกินไป ๑ หญิงที่คนหมู่มาก

รักใคร่ ๑ หญิงที่เหมือนมือขวา ๑ หญิงที่เป็นภรรยา

คนอื่น ๑ หญิงที่คบหาด้วยเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ๑

หญิง จำพวกนี้ ไม่ควรคบ.

ในคาถาเหล่านั้นมีอรรถาธิบายว่า คำว่า หยาบช้า หมายความว่าร้าย

กาจ. คำว่า หยาบช้า นี้ ท่านกล่าวหมายถึงหญิงที่มีความกำหนัดรักใคร่ แม้ใน

โจรที่เขาผูกนำไปฆ่า ดุจในเรื่องกณเวรชาดกฉะนั้น. คำว่า ใจเบา อธิบายว่า

เพียงชั่วครู่เดียวเท่านั้น ก็มีใจเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เรื่องหญิงใจเบานี้ บัณฑิตพึง

แสดงด้วยเรื่องจุลลธนุคคหชาดก ส่วนความเป็นผู้ไม่รู้จักคุณคน ของพวก

หญิงเหล่านี้ บัณฑิตพึงแสดงด้วยเรื่องตักการิยชาดก ในเอกนิบาต. คำว่า

ไม่ถูกผีสิง อธิบายว่า บุรุษที่ไม่ถูกเทวดาเข้าสิง หรือไม่ถูกยักษ์เข้าสิง

หรือไม่ถูกภูตผีเข้าสิงไม่ควรเชื่อหญิงผู้มีวาทะว่าตนเป็นผู้มีศีลพรตเลย ส่วน

บุรุษที่ถูกภูตเข้าสิงจึงควรเชื่อ. คำว่า สิ่งที่ทำแล้ว หมายถึงอุปการคุณที่คนอื่น

ทำแล้วแก่ตน. คำว่า สิ่งที่ควรทำ หมายถึงกิจที่ตนควรทำ. คำว่า ไม่รู้

จักมารดา อธิบายว่า หญิงเหล่านั้นละทิ้งญาติแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ย่อมไม่รู้จัก

แม้มารดาเป็นต้น เพราะคอยติดตามบุรุษที่คนมีจิตรักใคร่ผู้เดียวเท่านั้น ดุจ

มารดาของมหาปันถกุฎุมพี. คำว่า เป็นคนเลว ได้แก่ ไม่มียางอาย. คำว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 598

ของตน หมายถึงใจของตัวเอง. คำว่า เมื่อมีอันตราย หมายถึงอันตราย

ทุกชนิด. คำว่า กิจ หมายถึงหน้าที่ที่ควรกระทำนั้น ๆ. คำว่า ลุ่ม ๆ ดอน ๆ

คือ ขึ้น ๆ ลง ๆ เหมือนอย่างว่าเงาไม้ในประเทศที่มีพื้นที่ไม่เสมอกัน ย่อมลง

ไปสู่ที่ลุ่มบ้าง ขึ้นไปสู่ที่คอนบ้าง ฉันใด แม้ใจของหญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน

ย่อมไม่เลือกว่าใคร ๆ ทั้งสูงสุดและต่ำสุด. คำว่า ไหวไปไหวมา คือไม่

ตั้งอยู่ในที่เดียว. คำว่า ล้อรถ อธิบายว่า ใจของหญิงย่อมหมุนไปเหมือน

กงล้อที่หมุนไปตามเกวียนฉะนั้น. คำว่า ที่ควรจะถือเอาได้ หมายถึงทรัพย์

อันเป็นวัตถุที่ตนควรจะถือเอาได้. คำว่า ทรัพย์ หมายถึงทรัพย์ทุกชนิด.

คำว่า ชักพาไป คือ นำพาไปสู่อำนาจของตน.

คำว่า ด้วยสาหร่าย หมายถึงสาหร่ายที่เกิดในน้ำ ได้ยินว่า

เมื่อชาวกัมโพชทั้งหลายปรารถนาจะจับม้าจากป่า จึงกั้นคอกลงในที่แห่งหนึ่ง

ตกแต่งประตูแล้วเอาน้ำผึ้งทาสาหร่ายที่ลอยอยู่บนน้ำ ที่พวกม้าป่าเคยกิน

แล้ว ทอดหญ้าบนฝั่งให้ต่อเนื่องกับสาหร่ายต่อ ๆ ไปจนถึงประตูคอกทา

น้ำผึ้งตลอดมา พวกม้าป่าลงไปดื่มน้ำแล้วเที่ยวกินหญ้าทาน้ำผึ้ง ด้วยคิด

ใจในรส ก็ย่อมเข้าไปสู่ที่นั้นโดยลำดับ. พวกชาวกัมโพชเหล่านั้น

ล่อม้าด้วยสาหร่ายนำไปสู่อำนาจได้ ฉันใด แม้หญิงเหล่านี้เห็นทรัพย์

แล้วย่อมชักนำบุรุษไปสู่อำนาจ ด้วยถ้อยคำอันละเอียดอ่อนหวานเพราะ

ต้องการจะเอาทรัพย์นั้นด้วยประการฉะนี้. คำว่า แพ หมายถึงสิ่งที่

ผูกมัดกันเข้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ยึดถือเอาเมื่อต้องการจะข้ามฟาก. คำว่า

อุปมาเหมือนเครื่องผูกมัด อธิบายว่า เช่นกับเครื่องผูกรัด เพราะผูกใจ

บุรุษทั้งหลายไว้. คำว่า มีมายากล้าแข็ง คือมีมายาหลักแหลม มีมายาเร็ว.

คำว่า เหมือนแม่น้ำ อธิบายว่า หญิงทั้งหลายมีมายาเร็วพลัน เหมือนแน่น้ำ

ซึ่งมีน้ำตกลงมาจากภูเขา ย่อมมีกระแสน้ำเชี่ยว ฉะนั้น. คำว่า เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 599

ร้านตลาด อธิบายว่า ร้านตลาดที่เขาวางของขาย ย่อมมีอุปการะแก่ทรัพย์

ที่มีมูลค่าเหล่านั้น ฉันใด แม้พวกหญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน . คำว่า ผู้ใด

อธิบายว่า บุรุษผู้ใดสำคัญว่าหญิงเหล่านั้นเป็นของตน. คำว่า ดัก อธิบายว่า

บุรุษนั้นพึงดักลมด้วยตาข่าย. คำว่า ฝั่งฝาของเขาไม่มีเลย อธิบายว่า

สถานที่มีแม่น้ำเป็นต้นเหล่านี้ ย่อมไม่มีความขีดคั้นว่า จะพึงไปได้ในที่นี้ ใน

เวลาโน้นเท่านั้น บุคคลพึงเข้าไปได้ในขณะที่ตนปรารถนาแล้ว ๆ ทั้งกลางคืน

ทั้งกลางวันไม่มีกำหนดว่า คนชื่อโน้นเท่านั้นจึงจะเข้าไปได้ ผู้มีความประสงค์

จะเข้าไป ก็ย่อมเข้าไปได้ทุกคนฉันใด แม้ความขีดคั้นของพวกหญิงเหล่านั้น

ก็ย่อมไม่มีฉันนั้นเหมือนกัน .

คำว่า เสมอด้วยไฟอันกินเปรียง อธิบายว่า ไฟย่อมไม่อิ่ม

ด้วยเธอ ฉันใด แม้หญิงเหล่านี้ ก็ย่อมไม่อิ่มด้วยความยินดีในกิเลส

ฉันนั้นเหมือนกัน. คำว่า อุปมาเหมือนหัวงูเห่า อธิบายว่า หญิง

ทั้งหลายเช่นกับหัวงูเห่า ด้วยเหตุ ๕ ประการเหล่านี้ คือ เป็นผู้มักโกรธ ๑

มีพิษร้าย ๑ ผูกโกรธไว้ ๑ มีลิ้นชั่ว ๑ มักจะประทุษร้ายมิตร ๑ บรรดาเหตุ

ทั้ง ๕ อย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มีพิษร้ายเพราะมีความกำหนัดมาก มี

ลิ้นชั่ว เพราะกล่าวคำส่อเสียดประทุษร้ายมิตร เพราะมักประพฤตินอกใจสามี.

คำว่า เหมือนโคที่เลือกกินหญ้าในภายนอก อธิบายว่า โคทั้งหลายละทิ้ง

สถานที่ซึ่งตนเคยหากินแล้ว เลือกกินแต่หญ้าที่อร่อย ๆ ที่ตนชอบใจในภายนอก

ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน ย่อมละทิ้งบุรุษที่หมดทรัพย์สิน แล้วคบ

กับชายที่มีทรัพย์คนอื่นต่อไปอีก. คำว่า ได้มูรธาภิเษก หมายถึงพระเจ้า-

แผ่นดิน. คำว่า หญิง หมายถึงหญิงทั้งหมด. คำว่า นี้ หมายถึงชนทั้ง ๕

จำพวกเหล่านี้ . คำว่า ด้วยความระวังเป็นนิตย์ อธิบายว่า นรชนพึงเป็น

ผู้มีความระวังอยู่เป็นนิตย์ มีสติตั้งอยู่อย่างมั่นคง คือ เป็นผู้ไม่ประมาท. คำว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 600

รู้ได้ยาก คือรู้ได้แสนจะลำบาก. คำว่า สภาพที่แน่นอน หมายถึงอัธยาศัย

อธิบายว่า จริงอยู่ ไฟถึงจะบำเรออยู่นาน ถ้าเผลอก็ไหม้เอาได้ ช้างสารที่

คุ้นเคยกันมานานก็ยังฆ่าคนเลี้ยงได้ งูเห่าแม้เลี้ยงไว้จนเชื่อง ถ้าประมาทก็กัด

คนเลี้ยงได้ พระราชาแม้จะทรงโปรดปราน ถ้าพลั้งก็ถึงชีวิต หญิงทั้งหลาย

ก็เหมือนกัน ถึงจะคลุกคลีกันมาเป็นเวลาสักเพียงไร ถ้าเกิดไม่พอใจ ก็อาจจะ

ฆ่าให้ถึงตายได้. คำว่า หญิงที่งามเกิน อธิบายว่า หญิงที่สวยงามเกินไป

ผู้ชายไม่ควรคบหาด้วย. คำว่า หญิงที่คนหมู่มากรักใคร่ หมายถึงหญิง

อันเป็นที่รักใคร่ เป็นที่ชอบใจของชายเป็นอันมาก ประหนึ่งหญิงงามเมือง ที่

คนพอใจตั้งครึ่งแคว้นกาสี ชายไม่ควรคบ. คำว่า หญิงที่เหมือนมือขวา

หมายถึงหญิงที่สันทัดในการฟ้อนรำและการขับร้อง จริงอยู่ หญิงเช่นนั้นย่อม

มีคนปรารถนามาก มีเพื่อนมาก เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรคบ. คำว่า หญิงที่

เห็นแก่ทรัพย์ อธิบายว่า หญิงใดคบชายเพราะเห็นแก่ทรัพย์อย่างเดียว

หญิงนั้นแม้ไม่มีใครหวงแหน ชายก็ไม่ควรคบหา ด้วยว่าหญิงชนิดนั้น เมื่อ

ไม่ได้ทรัพย์ย่อมเกรี้ยวกราด.

เมื่อพญานกกุณาละกล่าวอย่างนี้แล้ว มหาชนได้ฟังคาถาอันไพเราะ

ของมหาสัตว์ ก็ให้สาธุการว่า น่าชมเชย ท่านกล่าวดีจริง ๆ. แม้พญานก

กุณาละนั้นได้กล่าวโทษของหญิงทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล้วก็นิ่งอยู่

พญาแร้งชื่อว่า อานนท์ ได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ดูก่อนพญานกกุณาละ

ผู้เป็นสหาย แม้ข้าพเจ้าก็จักขอกล่าวโทษของพวกหญิงตามกำลังความรู้ของ

ข้าพเจ้าบ้าง ว่าแล้วก็ปรารภกถาแสดงโทษต่อไป.

พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงเรื่องราวที่พญาแร้งปรารภกถาแสดงโทษ

ของหญิงนั้น จึงตรัสว่าได้ยินว่าในครั้งนั้น พญาแร้งชื่ออานนท์ รู้แจ้งซึ่งคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 601

เบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลายของพญานกกุณาละแล้ว จึงได้ภาษิตคาถา

เหล่านั้นในเวลานั้นว่า

ถ้าบุรุษจะพึงให้แผ่นดินอันเต็มด้วยทรัพย์นี้ แก่

หญิงที่ตนนับถือไซร้ หญิงนั้นได้โอกาสก็จะพึงดูหมิ่น

บุรุษนั้น เราจึงไม่ยอมตกอยู่ในอำนาจของพวกหญิง

เผอเรอ เมื่อมีอันตรายและเมื่อกิจธุระเกิดขึ้น หญิง

ย่อมละทิ้งผัวหนุ่มผู้หมั่นขยัน มีความประพฤติไม่

เหลาะแหละ เป็นที่รักเป็นที่พอใจ เพราะฉะนั้น เรา

จึงไม่วิสาสะกับหญิงทั้งหลาย บุรุษไม่ควรวางใจว่า

หญิงคนนี้ปรารถนาเรา ไม่ควรวางใจว่า หญิงคนนี้

ร้องไห้กระซิกกระซี้เรา เพราะว่า หญิงทั้งหลายย่อม

คบได้ทั้งบุรุษที่น่ารัก ทั้งบุรุษที่ไม่น่ารัก เหมือนเรือ

จอดได้ทั้งฝั่งโน้นฝั่งนี้ ฉะนั้น ไม่ควรวิสาสะละใบไม้

ลาดที่เก่า ไม่ควรวิสาสะกะมิตรเก่าที่เป็นโจร ไม่ควร

วิสาสะกะพระราชาว่า เป็นเพื่อนของเรา ไม่ควร

วิสาสะกะหญิงแม้จะมีลูก ๑๐ คนแล้ว ไม่ควรวิสาสะ

ในหญิงที่กระทำความยินดีให้ เป็นผู้ล่วงศีลไม่สำรวม

ถึงแม้ภรรยาจะพึงเป็นผู้มีความรักแน่นแฟ้น ก็ไม่ควร

วางใจ เพราะว่าหญิงทั้งหลายเสมอกับท่าน้ำ หญิง

ทั้งหลายพึงฆ่าชายก็ได้ พึงตัดเองก็ได้ พึงใช้ให้ผู้อื่น

ตัดก็ได้ พึงตัดคอแล้วดื่มเลือดกินก็ได้ อย่าพึงกระทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 602

ความสิเนหาในหญิงผู้มีความรักใคร่อันเลวทราม ผู้ไม่

สำรวม ผู้เปรียบเหมือนด้วยท่าน้ำ.

คำเท็จของหญิงเหมือนคำจริง คำจริงของหญิง

เหมือนคำเท็จ หญิงทั้งหลายย่อมเลือกคบแต่ชายที่มี

ทรัพย์ ดังโคเลือกกินหญ้าที่ดี ๆ ในภายนอก หญิง

ทั้งหลายย่อมประเล้าประโลมชายด้วยการเดิน การ

จ้องดู ยิ้มแย้ม นุ่งผ้าหลุด ๆ ลุ่ย ๆ และพูดเพราะ

หญิงทั้งหลายเป็นโจรหัวใจแข็งดุร้าย เป็นนำตาลกรวด

ย่อมไม่รู้อะไร ๆ ว่าเป็นเครื่องล่อลวงในมนุษย์ ธรรมดา

หญิงในโลกเป็นคนลามก ไม่มีเขตแดน กำหนัดนัก

ทุกเมื่อและคะนองกินไม่เลือก เหมือนเปลวไฟไหม้

เชื้อทุกอย่าง บุรุษชื่อว่าเป็นที่รักของหญิงไม่มี ไม่เป็น

ที่รักก็ไม่มี.

เพราะหญิงทั้งหลายย่อมคบบุรุษได้ทั้งที่รักทั้งที่

ไม่น่ารักเหมือนเรือจอดได้ทั้งฝั่งนี้และฝั่งโน้น.

บุรุษชื่อว่าเป็นที่รักของหญิงไม่มี ไม่เป็นที่รักก็

ไม่มี หญิงย่อมผูกพันชายเพราะต้องการทรัพย์ เหมือน

เถาวัลย์พันไม้ หญิงทั้งหลายย่อมติดตามชายที่มีทรัพย์

ถึงจะเป็นคนเลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า เลี้ยงโค คนจัณฑาล

สัปเหร่อ คนเทหยากเยื่อก็ช่าง หญิงทั้งหลายย่อม

ละทิ้งชายผู้มีตระกูลแต่ไม่มีอะไร เหมือนซากศพ แต่

ติดตามชายเช่นนั้นได้ เพราะเหตุแห่งทรัพย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 603

ในคาถาเหล่านั้นมีอรรถาธิบายว่า คำว่า เบื้องต้นท่ามกลางและ

เบื้องปลาย คือ พญาแร้งรู้แจ้งซึ่งเบื้องต้น ท่ามกลางและเบื้องปลายแห่งคาถา

คำว่า ได้ช่อง คือได้โอกาส. คำว่า อยากได้เรา อธิบายว่า บุรุษไม่พึงวิสาสะ

กับหญิงทั้งหลายด้วยคิดว่า หญิงนี้อยากได้เรา. คำว่า ใบไม้ลาดที่เก่า อธิบาย

ว่า บุรุษไม่พึงวิสาสะกับใบไม้ลาดซึ่งเก่าที่เขาลาดไว้แล้ว เมื่อวานนี้ หรือใน

วันก่อน ๆ เมื่อยังมิได้ลองตบ ๆ ดูก่อน หรือยังมิได้พิจารณาแล้ว ไม่พึงใช้สอย

ด้วยว่าสัตว์เลื้อยคลานพึงเข้าไปอาศัยอยู่ หรือว่าศัตรูพึงซุกศาสตราไว้ในเครื่อง

ลาดนั้น. คำว่า เพื่อนเก่าที่เป็นโจร อธิบายว่า โจรซึ่งซุ่มอยู่ในที่ที่คอย

ประทุษร้ายคนเดินทาง บุคคลไม่ควรวิสาสะว่าเป็นมิตรเก่าของเรา เพราะ

ธรรมดาว่า โจรทั้งหลายย่อมฆ่าคนที่รู้จักตัวเสียทีเดียว. คำว่า เป็นเพื่อน

ของเรา อธิบายว่า ด้วยว่า พระราชานั้นมักกริ้วโกรธได้อย่างรวดเร็ว เพราะ

ฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรวิสาสะกับพระราชาว่า เป็นเพื่อนของเรา. คำว่า มีลูก

สิบคน อธิบายว่า บุรุษไม่พึงวิสาสะด้วยคิดว่า หญิงนี้แก่แล้ว บัดนี้คงจะ

ไม่ประพฤตินอกใจ จักรักษาตนดังนี้. คำว่า ทำความยินดี อธิบายว่า

กระทำความยินดีแก่พวกชนพาล. คำว่า เป็นผู้ล่วงศีล คือเป็นผู้ก้าวล่วงศีล

เสียแล้ว. คำว่า มีความรักอันฝังแน่น อธิบายว่า ถึงแม้ว่าหญิงจะมีความรัก

ฝังแน่น แม้เป็นเช่นนั้นบุคคลก็ไม่พึงวิสาสะกับหญิงนั้น ถามว่า เพราะ

เหตุไร ? ตอบว่า เพราะหญิงทั้งหลายเสมอด้วยแม่น้ำ อธิบายว่า ธรรมดา

หญิงย่อมเป็นของทั่วไป แก่ชายทั้งหมดเปรียบเหมือนท่าน้ำ. คำว่า พึงฆ่า

อธิบายว่า หญิงทั้งหลายที่โกรธสามี หรือมีความรักใคร่ชายอื่น พึงกระทำ

การฆ่าเป็นต้นนี้ทั้งหมด. คำว่า มีความรักใคร่อันเลวทราม คือมีอัธยาศัย

อันเลว. คำว่า ความรักใคร่ อธิบายว่า อย่าได้ทำความสิเนหาในพวกหญิง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 604

เห็นปานนี้. คำว่า เสมอด้วยท่าน้ำ คือเช่นกับท่าน้ำ ด้วยอรรถว่าทั่วไป

แก่หมู่ชนทั้งหมด.

คำว่า เท็จ คือคำมุสาวาทของหญิงเหล่านั้น เช่นกับคำจริง

ทีเดียว. คำว่า ด้วยการเดินเป็นต้น อธิบายว่า บัณฑิตพึงแสดงอุมมา-

ทันตีชาดก ด้วยการจ้องดู และการเล้าโลม พึงแสดงเรื่องนฬินิกาชาดก ด้วย

การนุ่งผ้าไม่มิดชิด พึงแสดงเรื่องของพระนันทเถระมีคำเป็นต้นว่า ข้าแต่บุตร

แห่งเจ้า ขอท่านพึงรีบมาไว ๆ เถิดดังนี้ ด้วยการพูดไพเราะ. คำว่า เป็นโจร

คือหญิงทั้งหลายเป็นโจรด้วยนำทรัพย์ที่สามีหามาได้ให้พินาศไป. คำว่า หัวใจ

แข็ง คือมีดวงใจอันแข็งกระด้าง. คำว่า ดุร้าย คือ มีใจคิดประทุษร้าย

อธิบายว่า มักโกรธด้วยเหตุเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น. คำว่า บ่นเป็นน้ำ-

ตาลกรวด คือเป็นประดุจน้ำตาลกรวดด้วยการบ่นแต่ถ้อยคำที่หาประโยชน์

มิได้. คำว่า ลามก คือเป็นผู้หาความยั้งคิดมิได้ เป็นผู้เลวทราม. คำว่า

ย้อมด้วยกิเลส อธิบายว่า เป็นผู้มีความกำหนัดในกาลทุกเมื่อ. คำว่า คะนอง

คือเป็นผู้คะนองด้วยความคะนองกายเป็นต้น. คำว่า เหมือนเปลวไฟ อธิบายว่า

เปลวไฟย่อมกินเธอทั้งหมดไม่เลือกฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน ย่อม

กินทุกอย่างไม่เลือกฉันนั้น. คำว่า ย่อมคลุกคลี อธิบายว่า กระเสือกกระสน

เคล้าคลึงพัวพัน. คำว่า เหมือนเถาวัลย์ อธิบายว่า เถาวัลย์ย่อมพันต้นไม้

ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้น ถึงจะเกาะชาย ชื่อว่าย่อมเกาะทรัพย์. คำว่า เป็นคน

เลี้ยงช้าง อธิบายว่า บรรดาคนเลี้ยงช้างเป็นต้น คนเลี้ยงโคเรียกกันว่าโค

บุรุษ. คำว่า สัปเหร่อ หมายถึงคนเผาศพ อธิบายว่า คนเฝ้าป่าช้า. คำว่า

เทหยากเยื่อ ได้แก่บุคคลที่ทำความสะอาดในสถานที่อันสกปรก. คำว่า มีทรัพย์

อธิบายว่า บรรดาบุคคลเหล่านี้ทั้งหมด หญิงย่อมคิดวามชายที่มีทรัพย์. คำว่า

ไม่มีอะไร หมายถึงไม่มีทรัพย์. คำว่า เช่นว่า คือเช่นกับคนจัณฑาลที่กิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 605

เนื้อหมา หญิงทั้งหลายย่อมถึง คือย่อมคบบุรุษแม้ไม่มีคุณวิเศษด้วยทรัพย์นั้น

เพราะฉะนั้น หญิงทั้งหลายจึงโดดติดตามชาย เพราะเหตุแห่งทรัพย์.

พญาแร้ง ชื่อว่าอานนท์ ดำรงอยู่ในความรู้ของตนกล่าวโทษ แห่ง

หญิงทั้งหลายอย่างนี้แล้วก็นิ่งอยู่ นารทฤษีได้ฟังคำของพญาแร้งอานนท์นั้น

แล้ว ก็ดำรงอยู่ในญาณของตน กล่าวโทษแห่งหญิงเหล่านั้น บ้าง.

พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงถึงเรื่องนารทฤษี กล่าวโทษแห่งหญิงจึง

ตรัสว่า ได้ยินว่า ครั้งนั้นพราหมณ์ฤษีชื่อว่านารทะ รู้แจ้งชัดซึ่งเบื้องต้น ท่าม

กลางและเบื้องปลายแห่งคาถาของพญาแร้ง ชื่อว่าอานนท์แล้ว จึงกล่าวคาถา

เหล่านั้นในเวลานั้นว่า

ดูก่อนพญานกทิชัมบดี ท่านทั้งหลายจงพึงข้าพเจ้า

กล่าว มหาสมุทร ๑ พราหมณ์ ๑ พระราชา ๑ หญิง ๑ ทั้ง

๔ อย่างนี้ย่อมไม่เต็มแม่น้ำสายใดสายหนึ่งอาศัยแผ่นดิน

ไหลไปสู่มหาสมุทร แม่น้ำเหล่านั้นก็ยังมหาสมุทรให้

เต็มไม่ได้ เพราะฉะนั้น มหาสมุทรชื่อว่าไม่เต็ม เพราะ

ยังพร่อง ส่วนพราหมณ์เรียนเวทอันมีการบอกเป็นที่ ๕

ได้แล้ว ยังปรารถนาการเรียนยิ่งขึ้นไปอีก เพราะ

ฉะนั้น พราหมณ์จึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง

พระราชาทรงชนะแผ่นดินทั้งหมด อันบริบูรณ์ด้วย

รัตนะนับไม่ถ้วน พร้อมทั้งมหาสมุทรและภูเขา ครอบ

ครองอยู่ ก็ยังปรารถนามหาสมุทรฝั่งโน้นอีก เพราะ

ฉะนั้น พระราชาจึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง หญิง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 606

คนหนึ่ง ๆ มีสามีคนละ ๘ คน สามีล้วนเป็นคนแกล้ว-

กล้า มีลำลังสามารถนำมาซึ่งกามรสทุกอย่าง หญิงยัง

กระทำความพอใจในชายคนที่ ๙ อีก เพราะฉะนั้น

หญิงจึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง.

หญิงทุกคนกินทุกอย่างเหมือนเปลวไฟ พาไปได้

ทุกอย่างเหมือนแม่น้ำ เหมือนกิ่งไม้มีหนาม ย่อมละชาย

ไปเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ชายใดพึงวางความตรัสทั้งหมด

ในหญิง ชายนั้น เหมือนดักลมด้วยตาข่าย เหมือนตัก

น่าใส่มหาสมุทรด้วยมีอย่างเดียว จะพึงได้ยินแต่เสียง

มือของตน.

ภาวะของหญิงที่เป็นโจร รู้มาก หาความจริงได้

ยาก เป็นอาคารที่ใคร ๆ รู้ได้ยาก เหมือนรอยทางปลา

ในน้ำ ฉะนั้น หญิงไม่มีความพอ อ่อนโยน พูดเพราะ

เต็มได้ยากเสมอแม่น้ำ ทำให้ล่มจม บุคคลรู้ดังนี้แล้ว

พึงเว้นเสียให้ห่างไกล หญิงเป็นเหมือนน้ำวน มีมายา

มา ทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ ทำให้ล่มจม. บุคคลรู้

ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เมื่อหญิงคบบุรุษใด

เพราะความพอใจ หรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ย่อมเผา

บุรุษนั้น โดยพลัน เหมือนไฟป่าเผาสถานที่เกิดของตน

ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 607

ในคาถาเหล่านั้น มีอรรถาธิบายว่า นารทฤษีเรียกพญานกกุณาละตัว

ประเสริฐกว่าพวกนกว่า ทิชัมบดี. คำว่า ไหลซ่านเป็นต้น ท่านกล่าวไว้แล้ว

เพื่อแสดงถึงภาชนะแห่งเหมืองที่ตั้งอยู่แล้ว. คำว่า เพราะยังพร่องอยู่ คือยัง

พร่องอยู่ทีเดียว เพราะสมุทรนั้นเป็นที่ขังน้ำไว้มากมาย. คำว่า เรียนเวท หมาย

ถึง ท่องพระเวทแล้ว. คำว่ามีการบอกเป็นคำรบที่ ๕ หมายถึงพระเวททั้ง ๔

หมวด มีอิติหาสเป็นที่ ๕. คำว่า พร่อง อธิบายว่า ด้วยว่าพราหมณ์นั้น

ชื่อว่าย่อมไม่เต็มเปี่ยมด้วยพระเวทที่คนพึงศึกษา เพราะคนมีอัธยาศัยอันกว้าง

ขวาง. คำว่า ประกอบด้วยรัตนะ คือประกอบบริบูรณ์ด้วยรัตนะต่าง ๆ.

คำว่า พร่อง อธิบายว่า เพราะพระราชานั้นย่อมไม่เต็ม เพราะตนมีความ

อยากมาก. คำว่า มี หมายความว่า มีผัว อีกอย่างหนึ่ง บาลีเป็นสิยาดังนี้ก็มี.

คำว่า นำมาซึ่งรสในกามทั้งปวง คือ นำรสแห่งกามมาครบทุกอย่าง. คำว่า

คนที่ ๙ นี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อจะแสดงภาวะที่ล่วงมาแล้ว ถึง ๘ คน แม้หญิง

คนนั้น ก็ย่อมกระทำความพอใจแม้ในชายคนที่ ๑๐ คนที่ ๒๐ หรือในคนที่ยิ่ง

ไปกว่านั้นได้. คำว่า พร่อง อธิบายว่า แม้หญิงคนนั้นก็ย่อมไม่เต็มเพราะ

มีกามตัณหามาก. คำว่า เหมือนกิ่งไม่ที่มีหนาม คือเช่นกับด้วยกิ่งไม้ที่มี

หนามในหนทางอันคับแคบ จริงอยู่ หนามนั้น ย่อมคล้องเกี่ยวมาได้ฉันใด แม้

หญิงเหล่านี้ก็ย่อมคล้องเกี่ยวเอาชายนาด้วยรูปเป็นต้นฉันนั้น อนึ่ง กิ่งไม้คำที่

อวัยวะมีมือเป็นต้น ย่อมทำให้เกิดความทุกข์ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็ฉันนั้น

เหมือนกัน แต่พอถูกตัวเท่านั้น ก็เกี่ยวเอาด้วยสัมผัสแห่งสรีระ ย่อมให้ถึง

ความพินาศอย่างใหญ่หลวง. คำว่า ไป คือไปตามติดตามชายอื่น. คำว่า ดัก

ได้แก่ จับ. คำว่า ตักน้ำ อธิบายว่า บุคคลลงสู่แม่น้ำเพื่อจะอาบน้ำแล้ว

ตักน้ำในสมุทรทั้งสิ้นด้วยมือข้างเดียววักเอา ๆ แล้วก็ทิ้งไป. คำว่า ของตน

อธิบายว่า บุคคลเอามือข้างเดียวของคนประหารมือนั้น ก็ย่อมทำให้เกิดเสียง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 608

คำว่า ความรักทั้งปวง อธิบายว่า บุรุษผู้ใดเมื่อหญิงบอกว่า ท่านคนเดียว

เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพึงพอใจดังนี้เชื่อมั่นอยู่ว่า คำนี้เป็นความจริง

อย่างนี้แล้ว พึงวางอัธยาศัยของตนทั้งหมดไว้ในหญิงทั้งหลาย บุรุษผู้นั้น ชื่อว่า

การทำการดักลมเป็นต้นด้วยตาข่ายเป็นต้น . คำว่า ไป หมายถึงการว่ายไป

ของพวกปลา. คำว่า ไม่มีพอ คือเว้นขาดจากคำว่าเพียงพอด้วยคำของคฤหัสถ์.

คำว่า เต็มได้ยาก อธิบายว่า แม่น้ำใหญ่เต็มได้ยากด้วยน้ำฉันใด แม้หญิง

ก็เต็มได้ยากด้วยความยินดีในกิเลสฉันนั้น เหมือนกัน. คำว่า น ในข้อความ

ที่ว่า สีทนฺติ น วิทิตฺวาน นี้ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า บุคคลรู้แล้วว่า

หญิงทั้งหลายย่อมทำให้ล่มจมลงไปในอบายทั้ง ๔ ด้วยการแน่ะนำพูดจา. คำว่า

เหมือนน้ำวน อธิบายว่า น้ำวนก็ดี มายาก็ดี ย่อมทำหัวใจของตนให้หลงใหล

ให้เป็นไปในอำนาจของตนได้ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน. คำว่า

ให้กำเริบ อธิบายว่า ทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ ด้วยอรรถว่า ให้พินาศและ

ด้วยอรรถว่าถือเอา. คำว่า ด้วยความพอใจ คือด้วยการอยู่ร่วมกันด้วยความ

รักใคร่. คำว่า หรือเพราะอยากได้ทรัพย์ คือหรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์.

คำว่า ที่เกิดของตน อธิบายว่า ไฟป่าไหม้ไปยังประเทศใด ๆ ก็เผาประเทศ

นั้น ๆ ซึ่งเป็นที่เกิดของคนฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็ฉันนั้น คบกับบุรุษใด ๆ

ด้วยอำนาจกิเลส ก็ตามเผาบุรุษนั้น ๆ คือไปถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง.

เมื่อนารทฤษีประกาศโทษของหญิงทั้งหลายอย่างนี้แล้ว พระมหา-

สัตว์ก็ประกาศโทษของหญิงเหล่านั้นให้วิเศษขึ้นไปอีก.

พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงการที่พญานกกุณาละประกาศโทษของหญิง

โดยพิเศษนั้น จึงตรัสว่า ได้ยินว่า ครั้งนั้นพญานกกุณาละรู้แจ้งแล้วซึ่งเบื้องต้น

ท่ามกลางและที่สุดแห่งคาถาของนารทพราหมณ์ จึงภาษิตคาถาทั้งหลายนี้

ในเวลานั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 609

บัณฑิตพึงเจรจากับบุรุษผู้ถือดาบอย่างคมกล้า

พึงเจรจากับปีศาจผู้ดุร้าย แม้จะพึงเข้าไปนั่งใกล้งู-

พิษร้าย แต่ไม่ควรเจรจากับหญิงตัวต่อตัว เพราะว่า

หญิงเป็นผู้ย่ำยีจิตของโลก ถืออาวุธ คือ การฟ้อนรำ

ขับร้องและการเจรจา ย่อมเบียดเบียนบุรุษผู้ไม่ตั้งสติ

ไว้ เหมือนหมู่รากษสที่เกาะเบียดเบียนพวกพ่อค้า

ฉะนั้น หญิงไม่มีวินัย ไม่มีสังวร ยินดีในน้ำเมา

และเนื้อสัตว์ ไม่สำรวม ผลาญทรัพย์ที่บุรุษหามาได้

โดยยากให้ฉิบหาย เหมือนปลาติมิงคละกลืนกินมังกร

ในทะเลฉะนั้น หญิงมีกามคุณ ๕ อันน่ายินดีเป็นทำเล

หากิน เป็นคนหยิ่ง จิตไม่เที่ยงตรง ไม่สำรวม ย่อม

เข้าไปหาชายผู้ประมาทเหมือนแม่น้ำทั้งหลาย อันไหล

ไปสู่มหาสมุทร ฉะนั้น หญิงได้ชื่อว่าฆ่าข่ายด้วยราคะ

และโทสะ เข้าไปหาชายคนใด เพราะความพอใจ

เพราะความกำหนัด หรือเพราะต้องการทรัพย์ ย่อม

เผาชายเช่นนั้นเสีย เช่นดังเปลวไฟ หญิงรู้ว่าชายมั่งคั่ง

มีทรัพย์มาก ย่อมเข้าไปหาชาย ยอมให้ทั้งทรัพย์และ

ตนเอง ย่อมเกาะชายที่มีจิตถูกราคะย้อม เหมือนเถา

ย่านทรายเกาะไม้สาละในป่า ฉะนั้น หญิงประดับ

ร่างกายหน้าตาให้สวย เข้าไปหาชายด้วยความพอใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 610

มีประการต่าง ๆ ทำยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ ใช้มารยาตั้งร้อย

เหมือนดังคนเล่นกลและอสุรินทราหู หญิงประดับ

ประดาด้วยทอง แก้วมณี และมุกดาถึงจะมีคนสักการะ

และรักษาไว้ในตระกูลสาม ก็ยังประพฤตินอกใจสามี

ดังหญิงที่อยู่ในทรวงอกประพฤตินอกใจทานพ ฉะนั้น

จริงอยู่ นรชนผู้มีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา แม้จะ

มีเดช มีมหาชนสักการะบูชา ถ้าตกอยู่ในอำนาจของ

หญิงแล้ว ย่อมไม่รุ่งเรือง เหมือนพระจันทร์ถูกราหูจับ

ฉะนั้น โจรผู้มีจิตโกรธคิดประทุษร้าย พึงกระทำแก่

โจรอื่น ซึ่งเป็นข้าศึกที่มาประจัญหน้า ส่วนผู้ตกอยู่

ในอำนาจของหญิง ไม่มีอุเบกขา ย่อมเข้าถึงความ

พินาศยิ่งกว่านั้นอีก หญิงถึงจะถูกชายฉุดกระชาก

ลากผม และหยิกข่วนด้วยเล็บ คุกคามทุบตีด้วยเท้า

ด้วยมือ และท่อนไม้ กลับวิ่งเข้ามาหา เหมือนหมู่

แมลงวันที่ซากศพฉะนั้น บุรุษผู้มีจักษุคือปัญญา

ปรารถนาความสุขแก่ตน พึงเว้นหญิงเสีย เหมือนกับ

บ่วงและข่ายที่ดักไว้ในสกุล ในถนนสายหนึ่ง ใน

ราชธานี หรือในนิคม ผู้ใดสละเสียแล้วซึ่งตบะคุณ

อันเป็นกุศล ประพฤติจริตอันมิใช่ของพระอริยะ ผู้นั้น

ต้องกลับจากเทวโลกไปคลุกเคล้าอยู่กับนรก เหมือน

พ่อค้าซื้อหม้อแตก ฉะนั้น บุรุษผู้ตกอยู่ในอำนาจของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 611

หญิง ย่อมถูกติเตียนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า กรรม

ของตนกระทบแล้ว เป็นคนโง่เขลา ย่อมไปพลั้ง ๆ

พลาด ๆ โดยไม่แน่นอน เหมือนรถที่เทียมด้วยลาโกง

ย่อมไปผิดทาง ฉะนั้น ผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง

ย่อมเข้าถึงนรกเป็นที่เผาสัตว์ให้รุ่มร้อน และนรกอัน

มีป่าไม้งิ้ว มีหนามแหลมดังหอกเหล็ก แล้วมาใน

กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ย่อมไม่พ้นจากวิสัยเปรต และ

อสุรกาย หญิงย่อมทำลายความเล่นหัว ความยินดี

ความเพลิดเพลินอันเป็นทิพย์ และจักรพรรดิสมบัติ

ในมนุษย์ของชายผู้ประมาทให้พินาศ และยังทำชาย

นั้นให้ถึงทุคติอีกด้วย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง

ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้การเล่นหัว

ความยินดีอันเป็นทิพย์ จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์

และนางเทพอัปสรอันอยู่ในวิมานทอง โดยไม่ยากเลย

ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชาย

เหล่านั้นพึงได้คติที่ก้าวล่วงเสียซึ่งกามธาตุ รูปธาตุ

สมภพ และคติที่เข้าถึงวิสัยความปราศจากราคะโดย

ไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติ

พรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นเป็นผู้ดับแล้ว สะอาดพึงได้

นิพพานอันเกษม อันก้าวล่วงเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง ล่วง

ส่วน ไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่ง โดยไม่ยากเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 612

ในคาถาเหล่านั้นมีอรรถาธิบายว่า คำว่า พึงเจรจา อธิบายว่า บัณฑิต

พึงเจรจาแม้กับบุรุษผู้ยืนถือดาบกล่าวว่า ถ้าท่านเจรจากับเรา เราจักตัดศีรษะ

ท่านเสียดังนี้ อนึ่ง บัณฑิตพึงเจรจากับปีศาจที่กำลังโกรธจัดยืนกล่าวอยู่ว่า เรา

จักกินท่านเสียในขณะที่ท่านพูดทีเดียว จักทำให้ท่านถึงความพินาศแห่งชีวิต

อนึ่ง พึงเข้าไปนั่งใกล้งูที่มีเดชสูงซึ่งกล่าวว่า เราจักกัดท่านผู้เข้ามาใกล้แล้วทำ

ให้พินาศ แต่เมื่ออยู่คนเดียวแล้ว อย่าได้เจรจากับหญิงในที่ลับสองต่อสอง

เป็นอันขาด. คำว่า เป็นผู้ย่ำยีจิตของสัตวโลก อธิบายว่า หญิงทั้งหลาย

เป็นผู้เหยียบย่ำจิตของสัตวโลก คือบีบคั้นจิตของชาวโลก. คำว่า เหมือน

หมู่นางรากษส อธิบายว่า หมู่นางรากษสอาศัยอยู่ที่เกาะกลางสมุทรนิมิตเพศ

เป็นหญิงมนุษย์ มาล่อลวงพวกพ่อค้าพาไปไว้ในอำนาจของตนแล้วเคี้ยวกินเสีย

ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็ฉันนั้น กระทำสัตวโลกไว้ในอำนาจขอนตนด้วยกามคุณ

ทั้ง ๕ มีรูปเป็นต้น แล้วให้ถือความพินาศอย่างใหญ่หลวง. คำว่า วินัย

หมายถึงความประพฤติ. คำว่า สังวร หมายถึงมรรยาท. คำว่า หามาได้

อธิบายว่า หญิงทั้งหลายย่อมกลืนกิน คือ ย่อมทำทรัพย์ที่สามีหามาได้ด้วย

ความเหนื่อยยากให้พินาศไป. คำว่า ไม่เที่ยงตรง คือมีจิตไม่แน่นอน. คำว่า

ไหลไปสู่สมุทร คือไหลไปสู่น้ำเค็มได้แก่สมุทรนั่นเอง. คำว่า แม่น้ำ

หมายถึงแม่น้ำทุกสาย. อีกอย่างหนึ่ง พระบาลีเป็น นทิโย เลยดังนี้ก็มี อธิบาย

ว่า แม่น้ำทั้งหลาย ย่อมไหลลงสู่สมุทรฉันใด หญิงทั้งหลายย่อมซ่านไปหาชาย

ผู้ประมาท. ด้วยความประมาทฉันนั้นเหมือนกัน. คำว่า ความพอใจ หมายถึง

ความรัก. คำว่า ความกำหนัด หมายถึงความยินดีในกามคุณทั้ง ๕. คำว่า

เห็นแก่ทรัพย์ หมายถึงว่า หรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์. คำว่า ดังเปลวไฟ

อธิบายว่า ประดุจไฟที่ลุกโพลงแล้ว เพราะความถึงพร้อมแห่งโทษ. คำว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 613

ฆ่าชายด้วยราคะ โทสะ อธิบายว่า เป็นผู้ฆ่าด้วยกามราคะ และโทสะ

อีกอย่างหนึ่ง บาลีเป็น ราคโทสคติโย ดังนี้ก็มี. คำว่า ย่อมซ่านไปหา

อธิบายว่า เข้าไปผูกพันชายนั้น ด้วยถ้อยคำอันไพเราะ. คำว่า มีทรัพย์มาก

หมายถึงมีเงินมีทองมาก. บาลีเป็น สธนา ดังนี้ก็มี อธิบายว่า แม้ให้ทรัพย์

ของตนอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วก็ยังซ่านไปหาเพื่อต้องการผ้าและเครื่องประดับ.

คำว่า พร้อมทั้งตน อธิบายว่า ย่อมเป็นเหมือนเสียสละตัวของตัวด้วยตัวเอง

แก่ชายนั้นผู้เดียว. คำว่า เกาะแน่น อธิบายว่า พัวพันบีบคั้นอย่างเหลือเกิน

เพื่อต้องการเอาทรัพย์. คำว่า ด้วยความพอใจมีประการต่าง ๆ คือด้วย

อาการหลายอย่าง. คำว่า ประดับร่างกายหน้าตาให้วิจิตร คือ มีร่างกาย

อันงดงาม และมีหน้างดงามด้วยสามารถแห่งเครื่องประดับ.

คำว่า ยิ้มใหญ่ ได้แก่ หัวเราะด้วยเสียงดัง. คำว่า ยิ้มน้อย คือหัวเราะ

ด้วยเสียงค่อย. คำว่า ดังคนเล่นกลและอสุรินทราหู หมายถึงบุรุษผู้กระทำ

การล่อลวงและท้าวอสุรินท์. คำว่า เหมือนหญิงที่อยู่ในทรวงอกประพฤติ

ล่วงทานพ อธิบายว่า มีเรื่องกล่าวไว้ในกรัณฑชาดกว่า ทานพตนหนึ่งให้

ภรรยานั่งในผอบแล้วกลืนเข้าไว้ในท้อง วันหนึ่งไปคายผอบออกชมเชยกันแล้ว

ลงอาบน้ำในสระ วิชาธรตนหนึ่งเหาะมาเห็นภรรยาทานพก็ลงไปทำชู้ด้วย พอ

ทานพขึ้นจากน้ำ นางก็เอาวิชาธรอมไว้เสีย ทานพก็เอาภรรยาซึ่งอมชู้ใส่ไว้ใน

ผอบอมไปอีก พระอรรถกถาจารย์แสดงว่า หญิงที่อยู่ในทรวงอกแม้ถูกกลืน

เก็บไว้ในท้องยังทิ้งทานพเสีย ประพฤติล่วงกับวิชาธรตนอื่น ดังในเรื่อง

กรัณฑชาดก มีคำเป็นต้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านไปไหนกันมาตั้ง ๓ คน

เล่าหนอดังนี้ หญิงทั้งหลายย่อมประพฤตินอกใจอย่างนี้ จะป่วยกล่าวไปไยถึง

หญิงเหล่านี้ ที่มิได้มีใครดูแลรักษา. คำว่า ไม่รุ่งเรือง อธิบายว่า ย่อมไม่

รุ่งโรจน์ เหมือนพระเจ้าหาริต พระเจ้าโสมกัสสปะ และพระเจ้ากุสราช ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 614

คำว่า ยิ่งกว่านั้น อธิบายว่า ย่อมถึงความพินาศยิ่งกว่าความพินาศที่ศัตรู

การทำไปนั้นอีก. คำว่า ไม่มีอุเบกขา หมายถึงยังมีความอยาก. คำว่า

ฉุดกระชากลากผมหยิกข่วนด้วยเล็บ อธิบายว่า มีผมอันถูกฉุดกระชาก

มีตัวถูกข่วนด้วยเล็บถูกคุกคามแล้ว. คำว่า ทุบตี อธิบายว่า และถูกทุบตี

ด้วยอวัยวะมีเท้าเป็นต้น ชายใดย่อมการทำอาการแปลก ๆ เหล่านี้ ด้วยอำนาจ

กลีโทษ หญิงทั้งหลายย่อมเข้าไปหาชายผู้เลวทรามเช่นนั้นแล้วอภิรมย์ด้วย.

ถามว่า นางย่อมประคับประคองชายที่มีอาการวิปริตเหล่านั้น ย่อมไม่รื่นรมย์

ชายที่มีความประพฤติเรียบร้อย เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะหมู่แมลงวัน

ย่อมชอบศพ. คำว่า หมู่แมลงวันที่ซากศพ อธิบายว่า ถ้าชายชั่วทำ

เช่นนั้น หญิงย่อมอยู่ด้วย เหมือนแมลงวันชอบอยู่ในซากศพช้างเป็นต้น

อันน่าเกลียดฉะนั้น.

คำว่า เป็นเหมือนบ่วง อธิบายว่า พึงเว้นหญิงพวกเหล่านี้

เสีย โดยที่แท้บุรุษผู้มีจักษุด้วยปัญญาจักษุ ผู้มีความต้องการด้วยความ

สุขอันเป็นทิพย์ และความสุขอันเป็นของมนุษย์ สำคัญอยู่ว่าหญิงนั้น

เป็นประดุจบ่วงแห่งเทพยดา ผู้เป็นเจ้าแห่งความรัก กล่าวคือ กิเลสมาร

ในที่เหล่านี้พึงเว้นเสีย เหมือนเนื้อและนกเว้นบ่วงและตาข่ายที่พวกนายพราน

ดักไว้เพื่อจะจับฉะนั้น. คำว่า สละเสีย คือ ทิ้งเสียซึ่งคุณคือตบะอันสามารถ

ได้ซึ่งสมบัติอันยิ่งใหญ่ในสวรรค์และมนุษย์. คำว่า ผู้ใด อธิบายว่า บุรุษ

ผู้ใดมาประพฤติซึ่งจริตกล่าวคือความยินดีในกามคุณ ในกามคุณทั้งหลายอัน

ไม่ประเสริฐไม่บริสุทธิ์. คำว่า จักเคลื่อนจากเทวดาไปคลุกเคล้าอยู่กับ

นรก อธิบายว่า บุรุษผู้นั้นจักกลับจากเทวโลกแล้วมาถือเอากำเนิดในนรก.

คำว่า เหมือนพ่อค้าซื้อหม้อน้ำอันแตก อธิบายว่า พ่อค้าโง่ให้สิ่งของ

มีราคามาก แลกเอาหม้อน้ำที่แตกไปฉันใด บุรุษนี้เป็นเหมือนอย่างนั้นแล.

คำว่า บุรุษนั้น หมายถึงบุรุษผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิงทั้งหลาย. คำว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 615

โดยไม่แน่นอน คือไม่แน่นอนก็จักไหม้อยู่ในอบายทั้งหลาย ตลอดกาลมี

ประมาณเพียงเท่านี้. คำว่า พลั้ง ๆ พลาด ๆ อธิบายว่า พลาดจากเทวโลก

หรือมนุษยโลกแล้ว ย่อมไปสู่อบายอย่างเดียว ถามว่า เปรียบเหมือนอะไร ?

ตอบว่า เปรียบเหมือนรถที่ลาโกงพาไปผิดทางฉะนั้น อธิบายว่า รถที่เทียม

ด้วยลาโกง ย่อมแวะออกจากทางไปนอกทางฉันใด บุรุษผู้ลุอำนาจแห่งหญิง

ก็ฉันนั้น. คำว่า มีป่าไม้งิ้วมีหนามแหลมเป็นหอกเหล็ก อธิบายว่า

นรกนั้น มีป่าไม้งิ้วเป็นเหล็กประกอบด้วยหนามเหมือนหอก. คำว่า วิสัยเปรต

อสุรกาย หมายเอาวิสัยแห่งเปรตและวิสัยแห่งกาลกัญชิกอสูร.

คำว่า ผู้ประมาท คือ ผู้เลินเล่อ จริงอยู่ ชายเหล่านั้นเป็น

ผู้ประมาทแล้วในหญิงทั้งหลาย ย่อมไม่กระทำคุณงามความดีอันเป็นมูลราก

แห่งสมบัติเหล่านั้น หญิงเหล่านั้นทั้งหมดชื่อว่า ย่อมทำบุรุษผู้ประมาทแล้ว

เหล่านั้น ให้พินาศไปด้วยประการฉะนี้. คำว่า ทำบุรุษผู้นั้นให้ตกไป

อธิบายว่า หญิงเหล่านั้นย่อมยังบุรุษเห็นปานนั้นให้กระทำแต่อกุศลกรรม

ด้วยสามารถแห่งความประมาท ชื่อว่าย่อทำบุรุษนั้นให้ตกไปยังทุคติ.

คำว่า อยู่วิมานทอง คือมีปกติอยู่ในวิมานอันสำเร็จด้วยทองคำ. คำว่า

ไม่ต้องการด้วยหญิง อธิบายว่า ชายเหล่าใดเป็นผู้ไม่มีความต้องการ

ด้วยหญิงทั้งหลายแล้ว ย่อมประพฤติพรหมจรรย์. คำว่า ก้าวล่วงเสียซึ่ง

กามธาตุ หมายถึงหนทางดำเนิน เพราะก้าวล่วงกามธาตุเสียได้. คำว่า รูป

ธาตุสมภพ หมายถึงความมีพร้อมแห่งธาตุ กล่าวคือทางดำเนินที่ก้าวล่วง

กามธาตุ ย่อมเป็นของหาได้ไม่ยาก แก่ชนเหล่านั้นเลย. คำว่า คติที่เข้าถึง

ความปราศจากราคะ อธิบายว่า การบังเกิดในเทวโลกชั้นสุทธาวาสในวิสัย

แห่งบุคคลผู้ปราศจากราคะแม้นั้น ก็เป็นของหาได้ไม่ยากแก่ชนเหล่านั้น. คำว่า

ล่วงส่วน อธิบายว่า ไม่เป็นไปล่วงคือเป็นธรรมที่ไม่ถึงความพินาศ. คำว่า

ไม่หวั่นไหว คือไม่กระทบกระเทือนด้วยกิเลสทั้งหลาย. คำว่า ดับแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 616

คือมีกิเลสอันดับแล้ว. คำว่า สะอาด คือพระนิพพานเห็นปานนี้ อันท่าน

ผู้บริสุทธิ์สะอาดทั้งหลายจะพึงได้โดยไม่ยากเลย.

พระมหาสัตว์ ยังเทศนาให้จบลงจนถึงอมตมหานิพพานอย่างนี้แล้ว

สัตว์ทั้งหลายเป็นต้นว่า กินนรและพระยานาคในป่าหิมพานต์และเทวดาที่อยู่ใน

อากาศก็พากันให้สาธุการว่า น่าอัศจรรย์จริง พญานกกุณาละกล่าวอย่างลีลาของ

พระพุทธเจ้าดีมาก.

พญาแร้งชื่อว่า อานนท์ พราหมณ์ฤาษีชื่อนารทะ และพญานกปุณณ-

มุขะดุเหว่า ก็พาบริวารของตน ๆ ไปสู่ที่อยู่เดิม แท้พระมหาสัตว์ก็กลับไป

ยังที่อยู่ของตนเช่นเดียวก้น ฝ่ายพวกที่กล่าวมาแล้วนอกนี้ ย่อมไปมาหาสู่กันเสมอ

และตั้งอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์ ก็ย่อมมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว เมื่อจะทรงประชุม

ชาดก จึงตรัสคาถาที่สุดว่า

พญานกกุณาละในครั้งนั้นเป็นเรา พญานก

ดุเหว่าขาว เป็นพระอุทายี พญาแร้งเป็นพระอานนท์

นารทฤาษีเป็นพระสารีบุตร บริษัททั้งหลายเป็นพุทธ-

บริษัท เธอทั้งหลายจงทรงจำกุณาลชาดกไว้อย่างนี้แล.

ฝ่ายพระภิกษุราชกุมารทั้งหลาย เวลาจะไปก็ไปด้วยอานุภาพของพระ

ศาสดา แต่เวลามานั้น มาด้วยอานุภาพของตน คือ พระศาสดาทรงแสดง

กัมมัฏฐานให้ภิกษุเหล่านั้นในป่ามหาวัน พระภิกษุเหล่านั้น ได้บรรลุพระ

อรหัตในวันนั้นเอง และได้มีเทวดาสมาคมใหญ่. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทรงแสดงมหาสมัยสูตร เมื่อจบลง เทวดาทั้งหลายได้บรรลุมรรคผลมีพระ

โสดาบันเป็นต้น.

จบอรรถกถากุณาลชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 617

๕. มหาสุตโสมชาดก

ว่าด้วยพระเจ้าสุตโสมทรงทรมานพระยาโปริสาท

[๓๑๕] ดูก่อนพ่อครัว เพราะเหตุไรจึงทำกรรม

อันร้ายกาจเช่นนี้ ท่านเป็นคนหลง ฆ่าหญิงและชาย

ทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งเนื้อหรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์.

[๓๑๖] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มิใช่เพราะเหตุแห่ง

ตน ทรัพย์ ลูกเมีย สหายและญาติ แต่พระจอมภูมิบาล

ผู้เป็นนายข้าพเจ้า พระองค์เสวยมังสะเช่นนี้.

[๓๑๗] ถ้าท่านขวนขวายในกิจของเจ้านาย ทำ

กรรมอันร้ายกาจเช่นนี้ เวลาเช้าท่านเข้าไปถึงภายใน

พระราชวังแล้ว พึงแถลงเหตุนั้น แก่เราเฉพาะ

พระพักตร์พระราชา.

[๓๑๘] ข้าแต่ท่านกาฬหัตถี ข้าพเจ้าจักกระทำ

ตามที่ท่านสั่ง เวลาเช้าข้าพเจ้าเข้าไปถึงภายในพระ

ราชวังแล้ว จะแถลงเหตุนั้น แก่ท่านเฉพาะพระพักตร์

พระราชา.

[๓๑๙] ครั้นราตรีสว่างแล้ว พระอาทิตย์อุทัย

กาฬหัตถีเสนาบดีได้พาคนทำเครื่องต้นเข้าเฝ้าพระราชา

แล้ว ได้ทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ได้ทราบ

ด้วยเกล้าว่า พระองค์ทรงใช้พนักงานวิเศษให้ฆ่าหญิง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 618

และชาย พระองค์เสวยเนื้อมนุษย์เป็นความจริงหรือ

พระเจ้าข้า.

[๓๒๐] จริงอย่างนั้นแหละ ท่านกาฬหัตถี เรา

ใช้พนักงานวิเศษ เมื่อเขาทำกิจเพื่อเรา ท่านบริภาษเขา

ทำใน.

[๓๒๑] ปลาอานนท์ซึ่งติดอยู่ในรสของปลา

ทุกชนิด กินปลาจนหมด เมื่อบริษัทหมดไป กิน

ตัวเองตาย พระองค์เป็นผู้ประมาทแล้ว ยินดีหนักใน

รส ถ้ายังเป็นพาลไม่ทรงรู้สึกต่อไป จำจะต้องละทิ้ง

พระโอรส พระมเหสี และพระประยูรญาติ กับเสวย

พระองค์เอง เหมือนปลาอานนท์ฉะนั้น เพราะได้

ทรงสดับเรื่องนี้ ขอความพอพระทัยของพระองค์จง

คลายไป ข้าแต่พระราชาผู้เป็นใหญ่ ว่ามนุษย์ อย่า

ได้โปรดเสวยเนื้อมนุษย์เลย อย่าได้ทรงทำแว่นแคว้น

นี้ให้ว่างเปล่าเหมือนปลาฉะนั้นเลย.

[๓๒๒] กุฎุมพีนามว่าสุชาต โอรสผู้เกิดแต่ตน

ของเขาไม่ได้ชื่นชมพู่ เขาตายเพราะชิ้นชมพู่สินไป

ฉันใด ดูก่อนท่านกาฬหัตถี เราก็ฉันนั้น ได้บริโภค

อาหารอันมีรสสูงสุดแล้ว ไม่ได้เนื้อมนุษย์ เห็นจัก

ต้องละชีวิตเป็นแน่.

[๓๒๓] ดูก่อนมาณพ เจ้าเป็นผู้มีรูปงาม เกิด

ในตระกูลพราหมณ์โสตถิยะ เจ้าไม่ควรกินสิ่งที่ไม่

ควรกินนะพ่อ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 619

[๓๒๔] บรรดารสทั้งหลาย ปานะนี้ก็เป็นรส

อย่างหนึ่ง เพราะเหตุไร คุณพ่อจึงห้ามผม ผมจักไป

ในสถานที่ที่ผมจักได้รสเช่นนี้ ผมจักออกไปจักไม่อยู่

ในสำนักของคุณพ่อ เพราะผมเป็นผู้ที่คุณพ่อไม่ยินดี

จะเห็นหน้า.

[๓๒๕] ดูก่อนมาณพ ข้าจักได้บุตรที่เป็นทายาท

แม้เหล่าอื่นเป็นแน่ แน่ะเจ้าคนต่ำทราม เจ้าจงพินาศ

เจ้าจงไปเสียในสถานที่ที่ข้าจะไม่พึงได้ยิน.

[๓๒๖] ข้าแต่พระราชาผู้เป็นจอมประชาชน

พระองค์ก็เหมือนกัน ขอเชิญสดับถ้อยคำของข้า.

พระองค์ เขาจักเนรเทศพระองค์เสีย จากแว่นแคว้น

เหมือนอย่างมาณพนักดื่มสุราฉะนั้น.

[๓๒๗] สาวกของพวกฤาษีผู้มีตนอันอบรมแล้ว

นามว่าสุชาต เขาปรารถนานางอัปสรจนไม่กินไม่ดื่ม

กามของมนุษย์ในสำนักถามอันเป็นทิพย์ เท่ากับเอา

ปลายหญ้าคาจุ่มน้ำมาเทียบกับน้ำในมหาสมุทร ดูก่อน

ท่านกาฬหัตถี เราได้บริโภคของกินที่มีรสอย่างสูงสุด

แล้ว ไม่ได้เนื้อมนุษย์ เห็นจักต้องละทิ้งชีวิตไปฉะนั้น.

[๓๒๘] เปรียบเหมือนพวกหงส์ธตรฐสัญจรไป

ทางอากาศ ถึงความตายทั้งหมดเพราะบริโภคอาหาร

ที่ไม่ควร ฉันใด ข้าแต่พระราชาผู้เป็นจอมประชาชน

พระองค์ก็ฉันนั้นแลโปรดทรงสดับถ้อยคำของข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 620

พระองค์ พระองค์เสวยมังสะที่ไม่ควร เหตุนั้นเขา

จัดเนรเทศพระองค์.

[๓๒๙] ท่านอันเราห้ามว่าจงหยุด ก็เดินไม่

เหลียวหลัง ดูก่อนท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ท่าน

ไม่ได้หยุด แต่กล่าวว่าหยุด ดูก่อนสมณะ นี้ควร

แก่ท่านหรือ ท่านสำคัญดาบของเราว่า เป็นขนปีกนก

ตะกรุมหรือ.

[๓๓๐] ดูก่อนพระราชา อาตมาเป็นผู้หยุดแล้ว

ในธรรมของตน ไม่ได้เปลี่ยนนามและโคตร ส่วน

โจรบัณฑิตกล่าวว่าไม่หยุดในโลก เคลื่อนจากโลกนี้

แล้วต้องเกิดในอบายหรือนรก ดูก่อนพระราชา ถ้า

มหาบพิตรทรงเชื่ออาตมา มหาบพิตรจงจับพระเจ้า

สุตโสมผู้เป็นกษัตริย์ มหาบพิตรทรงบูชายัญด้วย

พระเจ้าสุตโสมนั้น จักเสด็จไปสวรรค์ ด้วยประการ

อย่างนี้.

[๓๓๑] ชาติภูมิของท่านอยู่ถึงในแคว้นไหน

ท่านมาถึงในพระนครนี้ด้วยประโยชน์อะไร ดูก่อน

ท่านพราหมณ์ ขอท่านจงบอกประโยชน์นั้นแก่ข้าพเจ้า

ท่านปรารถนาอะไร ข้าพเจ้าจะให้ตามที่ท่านปรารถนา

ในวันนี้.

[๓๓๒] ข้าแต่พระจอมธรณี คาถา ๔ คาถา มี

อรรถอันลึกประเสริฐนัก เปรียบด้วยสาคร หม่อมฉัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 621

มาในพระนครนี้เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ ขอพระองค์

โปรด ทรงสดับ คาถาอันประกอบด้วยประโยชน์อย่าง

ยอดเยี่ยมเถิด.

[๓๓๓] ชนเหล่าใดมีความรู้ มีปัญญา เป็น

พหูสูต คิดเหตุการณ์ได้มาก ชนเหล่านั้น ย่อมไม่

ร้องไห้ การที่บัณฑิตทั้งหลายเป็นผู้บรรเทาความ

เศร้าโศก ดูก่อนได้นี้แหละ เป็นที่พึ่งอย่างยอดเยี่ยมของ

นรชน ดูก่อนท่านสุตโสม พระองค์ทรงเศร้าโศกถึง

อะไร พระองค์เอง พระประยูรญาติ พระโอรส

พระมเหสี ข้าวเปลือก ทรัพย์ หรือเงินทอง ดูก่อน

ท่านโกรัพยะผู้ประเสริฐสุด หม่อมฉันขอฟังพระดำรัส

ของพระองค์.

[๓๓๔] หม่อมฉันมิได้เศร้าโศกถึงตน โอรส

มเหสี ทรัพย์และแว่นแคว้น แต่ธรรมของสัตบุรุษที่

ประพฤติมาแต่เก่าก่อน หม่อมฉันผัดเพี้ยนไว้ต่อ

พราหมณ์ หม่อมฉันเศร้าโศกถึงการผัดเพี้ยนนั้น

หม่อมฉันดำรงอยู่ในความเป็นใหญ่ในแว่นแคว้นของ

ตน ได้ทำการผัดเพี้ยนไว้กับพราหมณ์ (ถ้าพระองค์

ทรงปล่อยหม่อมฉัน ไป หม่อมฉันได้ฟังธรรมนั้นแล้ว)

จักเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา.

[๓๓๕] คนมีความสุขหลุดพ้นจากปากของ

มฤตยูแล้ว จะพึงกลับมาสู่เงื้อมมือของศัตรูอีก ข้อนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 622

หม่อมฉันยังไม่เชื่อ ดูก่อนท่านโกรัพยะผู้ประเสริฐสุด

พระองค์จะไม่เสด็จเข้าใกล้หม่อมฉันละซิ พระองค์

ทรงพ้นจากเงื้อมมือของโปริสาท เสด็จไปถึงพระราช

มณเฑียรของพระองค์แล้ว จะมัวทรงเพลิดเพลินกาม

คุณารมณ์ ทรงได้พระชนมชีพอันเป็นที่รักแสนหวาน

ที่ไหนจักเสด็จกลับมายังสำนักของหม่อมฉันเล่า.

[๓๓๖] ผู้มีศีลบริสุทธิ์พึงปรารถนาความตาย ผู้

มีธรรมลามก ที่นักปราชญ์ติเตียน ไม่พึงปรารถนาชีวิต

นรชนใดพึงกล่าวเท็จ เพราะเหตุเพื่อประโยชน์แก่คน

ใด เหตุเพื่อประโยชน์แก่ตนนั้น ย่อมไม่รักษานรชน

นั้นจากทุคติได้เลย ถ้าแม้ลมจะพึงพัดเอาภูเขามาได้

ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์จะพึงตกลงมา ณ แผ่นดิน

ได้ และแม่น้ำทุกสายจะพึงไหลทวนกระแสได้ถึงอย่าง

นั้น หม่อมฉันก็ไม่พึงพูดเท็จเลยพระราชา.

[๓๓๗] ฟ้าพึงแตกได้ ทะเลพึงแห้งได้ แผ่นดิน

อันทรงไว้ซึ่งภูติพึงพลิกได้ เมรุบรรพตจะพึงเพิกถอน

ได้พร้อมทั้งราก ถึงอย่างนั้น หย่อมฉันก็จะไม่กล่าว

เท็จเลย.

[๓๓๘] ดูก่อนพระสหาย หม่อมฉันจะจับดาบ

และหอกจะทำแม้การสาบานแก่พระองค์ก็ได้ หม่อม

ฉันอันพระองค์ทรงปล่อยแล้ว เป็นผู้ใช้หนี้หมดแล้ว

จักเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 623

[๓๓๙] การผัดเพี้ยนอันใด อันพระองค์ทรง

ดำรงอยู่ในความเป็นใหญ่ ในแว่นแคว้นของพระองค์

ทรงทำไว้กับพราหมณ์ การผัดเพี้ยนนั้นต่อพราหมณ์

ผู้ประเสริฐ พระองค์จงทรงรักษาความสัตย์เสด็จกลับ

มา.

[๓๔๐] การผัดเพี้ยนอันใด อันหม่อมฉันผู้ดำรง

อยู่ในความเป็นใหญ่ ในแว่นแคว้นของตน ได้ทำไว้

กับพราหมณ์ การผัดเพี้ยนนั้น ต่อพราหมณ์ผู้ประเสริฐ

หม่อมฉันจักรักษาความสัตย์กลับมา.

[๓๔๑] ก็พระเจ้าสุตโสมนั้น ทรงพ้นจาก

เงื้อมมือของเจ้าโปริสาทแล้ว ได้เสด็จไปตรัสกะ

พราหมณ์นั้นว่า ดูก่อนท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าขอฟัง

สตารหาคาถาซึ่งได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์

แก่ข้าพเจ้า.

[๓๔๒] ข้าแต่ท่านสุตโสม การสมาคมกับสัต-

บุรุษคราวเดียวเท่านั้น การสมาคมนั้นย่อมรักษาผู้นั้น

ไว้ การสมาคมกับอสัตบุรุษ แม้มากครั้งก็รักษาไม่ได้

พึงอยู่ร่วมกับสัตบุรุษ พึงกระทำความสนิทสนมกับ

สัตบุรุษ เพราะรู้ทั่วถึงสัทธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมีแต่

ความเจริญ ไม่มีความเสื่อม ราชรถอันวิจิตรตระการตา

ยังคร่ำคร่าได้ และแม่สรีระก็เข้าถึงชราโดยแต่ ส่วน

ธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า สัตบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 624

กับสัตบุรุษเท่านั้นรู้กันได้ ฟ้าและแผ่นดินไกลกัน ฝั่ง

ข้างโน้นของมหาสมุทรเขากล่าวกันว่าไกล ข้าแต่พระ

ราชา ธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ นัก-

ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ไกลยิ่งกว่านั้น.

[๓๔๓] คาถาเหล่านี้ชื่อสาหัสสิยา ควรพัน มิใช่

ชื่อสตารหา ควรร้อย ดูก่อนพราหมณ์ เชิญท่านรีบมา

รับเอาทรัพย์สี่พันเถิด.

[๓๔๔] คาถาควรแปดสิบและควรเก้าสิบ แม้

ควรร้อยก็มี ดูก่อนพ่อสุตโสม พ่อจงรู้ด้วยตนเอง

คาถาชื่อสาหัสสิยา ควรพันมีที่ไหน.

[๓๔๕] หม่อมฉันปรารถนาความเจริญทางศึกษา

ของตน สัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบพึงคบหาหม่อมฉัน ข้า

แต่ทูลกระหม่อม หม่อมฉันไม่อิ่มด้วยสุภาษิต เหมือน

ดังมหาสมุทรไม่อิ่มด้วยแม่น้ำฉะนั้น ข้าแต่พระราชา

ผู้ประเสริฐสุด ไฟไหม้หญ้าและไม้ย่อมไม่อิ่ม เเละ

สาครก็ไม่อิ่มด้วยแม่น้ำทั้งหลาย ฉันใด แม่บัณฑิต

เหล่านั้นฉันนั้น ได้ฟังคำสุภาษิตแล้ว ย่อมไม่อิ่ม

ด้วยสุภาษิต ข้าแต่พระทูลกระหม่อมจอมประชาชน

เมื่อใดหม่อมฉันฟังคาถาทีมีประโยชน์ต่อทาสของตน

เมื่อนั้น หม่อมฉันย่อมตั้งใจฟังคาถานั้นโดยเคารพ ข้า-

แต่พระทูลกระหม่อม หม่อมฉันไม่มีความอิ่มในธรรม

เลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 625

[๓๔๖] รัฐมณฑลของทูลกระหม่อมนี้ บริบูรณ์

ด้วยสิ่งที่น่าปรารถนาทุกอย่างพร้อมทั้งทรัพย์ ยวดยาน

และพระธำมรงค์ ทูลกระหม่อมทรงบริภาษหม่อมฉัน

เพราะเหตุแห่งถามทำไม หม่อมฉันขอทูลลาไปใน

สำนักโปริสาท ณ บัดนี้.

[๓๔๗] กองทัพช้าง กองทัพม้า กองทัพรถ

และกองราบ ล้วนแต่เชี่ยวชาญการธนูพอที่จะรักษา

ตัวได้ เราจะยกทัพไปจับศัตรูฆ่าเสีย.

[๓๔๘] โปริสาทได้ทำกิจที่ทำได้แสนยาก จับ

หม่อมฉันได้ทั้งเป็นแล้วปล่อยมา หม่อมฉันระลึกถึง

บุรพกิจเช่นนั้นอยู่ ข้าแต่พระทูลกระหม่อมจอมประ-

ชาชน หม่อมฉันจะประทุษร้ายต่อโปริสาทนั้นได้

อย่างไร.

[๓๔๙] พระเจ้าสุตโสมถวายบังคมพระราชบิดา

และพระราชมารดาทรงอนุศาสน์พร่ำสอนชาวนิคม

และพลนิกรแล้ว เป็นผู้ตรัสคำสัตย์ ทรงรักษาความ

สัตย์ ได้เสด็จไปในสำนักของโปริสาท.

[๓๕๐] หม่อมฉันผู้ดำรงอยู่ในความเป็นใหญ่ใน

แว่นแคว้นของตน ได้ทำการผัดเพี้ยนไว้กับพราหมณ์

การผัดเพี้ยนนั้น ต่อพราหมณ์ผู้ประเสร็ฐ หม่อมฉัน

เป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมาแล้ว ดูก่อนท่านโปริสาท

เชิญท่านบูชายัญกินเราเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 626

[๓๕๑] การกินของหม่อมฉัน ย่อมไม่หายไปใน

ภายหลัง จิตกาธารนี้ก็ยังมีควันอยู่ เนื้อที่สุกบนถ่าน

อันไม่มีควัน ชื่อว่าสุกดีแล้ว หม่อมฉันจะขอฟังสตาร-

หาคาถาเสียก่อน.

[๓๕๒] ดูก่อนท่านโปริสาท พระองค์เป็นผู้ทรง

ประพฤติไม่ชอบธรรม ต้องพลัดพรากจากรัฐมณฑล

เพราะเหตุแห่งท้อง ส่วนคาถานี้ย่อมกล่าวสรรเสริญ

ธรรม ธรรมและอธรรมจะลงรอยกันได้ที่ไหน คนผู้

ประพฤติไม่ชอบธรรม หยาบช้า มีฝ้ามือชุ่มด้วยเลือด

เป็นนิตย์ย่อมไม่มีสัจจะ ธรรมจักมีแต่ที่ไหน พระองค์

จักทรงทำประโยชน์อะไรด้วยการสดับเล่า.

[๓๕๓] ผู้ใดเที่ยวล่าเนื้อเพราะเหตุแห่งมังสะ

หรือผู้ใดฆ่าคนเพราะเหตุแห่งตน แม้คนทั้งสองนั้น

ย่อมเสมอกันในโลกเบื้องหน้า เพราะเหตุไรหนอพระ

องค์จึงประณามเฉพาะหม่อมฉันว่า ประพฤติไม่ชอบ

ธรรม.

[๓๕๔] เนื้อสัตว์ ๑๐ ชนิด อันกษัตริย์ผู้รู้ขัตติย-

ธรรมไม่ควรเสวย ดูก่อนพระราชา พระองค์เสวยเนื้อ

มนุษย์ซึ่งเป็นเนื้อที่ไม่ควรเสวยเพราะฉะนั้น พระองค์

จึงชื่อว่าประพฤติไม่ชอบธรรม.

[๓๕๕] พระองค์พ้นจากเงื้อมมือของโปริสาท

เสด็จไปถึงพระราชมณเฑียรของพระองค์แล้ว ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 627

เพลิดเพลินในกามคุณารมฌ์ ยังเสด็จกลับมาสู่เงื้อมมือ

ของหม่อมฉันผู้เป็นศัตรูอีก พระองค์เป็นผู้ไม่ฉลาด

ในขัตติยธรรมเลยนะ พระราชา.

[๓๕๖] ชนเหล่าใดเป็นผู้ฉลาดในขัตติยธรรม

ชนเหล่านั้นต้องตกนรกโดยมาก พระฉะนั้นหม่อม

ฉันจึงละขัตติยธรรมเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา ดู-

ก่อนท่านโปริสาท เชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉัน

เถิด.

[๓๕๗] ปราสาทราชมณเฑียร แผ่นดิน โค

ม้า หญิงที่น่ารักใคร่ ผ่าแคว้นกาสี และแก่นจันทน์

พระองค์ทรงได้ทุกสิ่งทุกอย่างในพระนครนั้น เพราะ

พระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงเห็นอานิสงส์อะไร

ด้วยความสัตย์.

[๓๕๘] รสเหล่าใดมีอยู่ในแผ่นดิน สัจจะเป็น

รสที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสเหล่านั้น เพราะว่า

สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในสัจจะย่อมข้ามพ้นฝั่งแห่งชาติ

และมรณะได้.

[๓๕๙] พระองค์พ้นจากเงื้อมมือของโปริสาท

เสด็จไปถึงพระราชมณเฑียรของพระองค์แล้ว ทรง

เพลิดเพลินในกามคุณารมณ์ยังเสด็จกลับ มาสู่เงื้อมมือ

ของหม่อมฉันผู้เป็นศัตรูอีก ข้าแต่พระจอมประชาชน

พระองค์ไม่ทรงกลัวความตายแน่ละหรือ พระองค์ผู้

ตรัสคำสัตย์ไม่มีพระทัยท้อแต่ละหรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 628

[๓๖๐] หม่อมฉันได้ทำกัลยาณธรรมหลายอย่าง

ได้บูชายัญอันไพบูลย์ที่บัณฑิตสรรเสริญ ได้ชำระทาง

ปรโลกบริสุทธิแล้ว ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะกลัว

ตาย หม่อมฉันได้ทำกัลยาณธรรมหลายอย่าง ได้บูชา

ยัญอันไพบูลย์ที่บัณฑิตสรรเสริญ หม่อมฉันไม่เดือด-

ร้อนที่จักไปยังปรโลก ดูก่อนท่านโปริสาท เชิญพระ-

องค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด.

หม่อมฉันได้บำรุงพระชนกและพระชนนีแล้ว

ได้ปกครองราชสมบัติโดยธรรม ได้ชำระทางปรโลก

บริสุทธิ์แล้ว ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะกลัวตาย

หม่อมฉัน ได้บำรุงพระชนกและพระชนนีแล้ว ได้

ปกครองราชสมบัติโดยธรรม จึงไม่เดือดร้อนที่จัก

ไปยังปรโลก ดูก่อนท่านโปริสาท เชิญพระองค์

บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด.

หม่อมฉัน ได้กระทำอุปการกิจในพระประยูรญาติ

และมิตร แล้วได้ปกครองราชสมบัติโดยธรรม ได้

ชำระทางปรโลกบริสุทธิแล้ว ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่า

จะกลัวตาย หม่อมฉันกระทำอุปการกิจในพระประยูร

ญาติและมิตรแล้ว ได้ปกครองราชสมบัติโดยธรรม

จึงไม่เดือดร้อนที่จักไปยังปรโลก ดูก่อนท่านโปริสาท

เชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด.

หม่อมฉันได้ให้ทานโดยอาการเป็นอันมาก แก่ชน

เป็นอันมาก ได้อุปถัมภ์สมณพราหมณ์ให้อิ่มหนำสำราญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 629

ได้ชำระทางปรโลกให้บริสุทธิ์ ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใคร

เล่าจะกลัวตาย หม่อมฉันได้ให้ทานโดยอาการเป็นอัน

มาก แก่ชนเป็นอันมาก ได้อุปถัมภ์สมณพราหมณ์ ให้

อิ่มหนำสำราญ จึงไม่เดือดร้อนที่จักไปยังปรโลก ดู

ก่อนโปริสาท เชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด.

[๓๖๑] บุรุษรู้อยู่จะพึงกินยาพิษ หรือจับอสร-

พิษที่มีฤทธิ์ร้ายแรง มีเดชกล้าได้หรือ ผู้ได้พึงกินคน

ผู้กล่าวคำสัตย์เช่นพระองค์ ศีรษะของผู้นั้นพึงแตก

๗ เสี่ยง.

[๓๖๒] นรชนได้ฟังธรรมแล้ว ย่อมรู้แจ้งบุญ

และบาป ใจของหม่อมฉันจะยินดีในธรรม เพราะได้

ฟังคาถาบ้างกระมัง.

[๓๖๓] ดูก่อนมหาราช การสมาคมกับสัตบุรุษ

แม้คราวเดียวเท่านั้น การสมาคมนั้นย่อมรักษาผู้นั้นไว้

การสมาคมกับอสัตบุรุษแม้มากครั้ง ก็รักษาไม่ได้ พึง

อยู่ร่วมกับสัตบุรุษ. พึงกระทำความสนิทสนมกับสัต-

บุรุษ เพราะรู้ทั่วถึงสัทธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมีแต่

ความเจริญ ไม่มีความเสื่อม ราชรถอันวิจิตรตระการตา

ยังคร่ำคร่าได้ และแม้สรีระก็เข้าถึงชราโดยแท้ ส่วน

ธรรมของสัตบุรุษุ ย่อมไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า สัตบุรุษ

เท่านั้น ย่อมรู้กันได้ ฟ้าและแผ่นดินไกลกัน ฝั่งข้าง

โน้นของมหาสมุทร เขาก็กล่าวกันว่าไกลกัน ธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 630

ของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ นักปราชญ์ทั้ง-

หลายกล่าวว่าไกลกันยิ่งกว่านั้น.

[๓๖๔] ดูก่อนพระสหายผู้จอมประชาชน คาถา

เหล่านี้มีอรรถมีพยัญชนะดี พระองค์ตรัสไพเราะ

หม่อมฉันได้สดับแล้ว เพลิดเพลินปลื้มใจ ชื่นใจ

อิ่มใจ หม่อมฉันขอถวายพร ๔ ประการแก่พระองค์.

[๓๖๕] ดูก่อนท่านผู้มีธรรมอันลามก พระองค์

ไม่รู้สึกความตายของพระองค์ ไม่รู้สึกประโยชน์และ

มิใช่ประโยชน์ นรกและสวรรค์ เป็นผู้คิดในรส ตั้งมั่น

ในทุจริต จะให้พรอะไร หม่อมฉันพึงทูลพระองค์ว่า

ขอให้ทรงประทานพร แม้พระองค์ประทานแล้ว จะ

กลับไม่ประทานก็ได้ ความทะเลาะวิวาทนี้ อันพระ-

องค์จะพึงเห็นเอง ใครจะเข้ามาเป็นบัณฑิตวินิจฉัย

ความทะเลาะวิวาทนี้.

[๓๖๖] คนเราให้พรใดแล้วจะกลับไม่ให้ ย่อม

ไม่ควรให้พรนั้น ดูก่อนพระสหาย ขอพระองค์จง

ทรงมั่นพระทัยรับพรเถิด แม้ชีวิตหม่อมฉัน ก็จะสละ

ถวายได้.

[๓๖๗] ศักดิ์ของพระอริยะย่อมเสมอกับศักดิ์

พระอริยะ ศักดิ์ของผู้มีปัญญาย่อมเสมอกับศักดิ์ผู้มี

ปัญญา หม่อมฉันพึงเห็นพระองค์เป็นผู้หาโรคมิได้

ตลอด ๑๐๐ ปี นี้เป็นพรข้อที่ ๑ หม่อมฉันปรารถนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 631

[๓๖๘] ศักดิ์ของพระอริยะ ย่อมเสมอกับศักดิ์

พระอริยะ ศักดิ์ของผู้มีปัญญา ย่อมเสมอกับศักดิ์ผู้มี

ปัญญา พระองค์พึงเห็นหม่อมฉันผู้หาโรคมิได้ตลอด

๑๐๐ ปี นี้เป็นพรที่ ๑ หม่อมฉันขอถวาย.

[๓๖๙] พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นกษัตริย์ ได้นาม

บัญญัติว่ามูรธาภิสิตเหล่าใด ในชมพูทวีปนี้ พระองค์

อย่าได้เสวยพระเจ้าแผ่นดินเหล่านั้น นี้เป็นพรข้อที่ ๒

หม่อมฉันปรารถนา.

[๓๗๐] พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นกษัตริย์ ได้นาม

บัญญัติว่ามูรธาภิสิตเหล่าใด ในชมพูทวีปนี้ หม่อมฉัน

จะไม่กินพระเจ้าแผ่นดินเหล่านั้น นี้เป็นพรข้อที่ ๒

หม่อมฉันขอถวาย.

[๓๗๑] กษัตริย์ร้อยเอ็ดพระองค์ ที่พระองค์

ทรงจับร้อยพระหัตถ์ไว้ทรงกันแสง พระพักตร์ชุ่ม

ด้วยพระอัสสุชล ขอพระองค์ได้ทรงโปรดปล่อยกษัตริย์

เหล่านั้น ให้กลับไปในแคว้นของตน ๆ นี้เป็นพรข้อ

ที่ ๓ หม่อมฉันปรารถนา.

[๓๗๒] กษัตริย์ร้อยเอ็ดพระองค์ ที่หม่อมฉัน

ทรงจับร้อยพระหัตถ์ไว้ทรงกันแสง พระพักตร์ชุ่ม

พระอัสสุชล หม่อมฉันจะปล่อยกษัตริย์เหล่านั้น ให้

กลับไปยังแว่นแคว้นของตน ๆ นี้เป็นพรข้อที่ ๓

หม่อมฉันขอถวาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 632

[๓๗๓] รัฐมณฑลของพระองค์เป็นช่อง เพราะ

นรชนเป็นอันมากหวาดเสียวเพราะความกลัว หนีเข้า

หาที่ซ่อนเร้น ขอพระองค์โปรดทรงงดเว้นเนื้อมนุษย์

เถิดพระราชา นี้เป็นพรข้อที่ ๔ หม่อมฉันปรารถนา.

[๓๗๔] นั่นเป็นอาหารที่ชอบใจของหม่อมฉัน

มานานแล้ว หม่อมฉันเข้าป่าก็เพราะเหตุแห่งอาหารนี้

หม่อมฉันจะพึงงดอาหารนี้ได้อย่างไร ขอพระองค์

ทรงเลือกพรข้อที่ ๔ อย่างอื่นเถิด.

[๓๗๕] ดูก่อนพระจอมประชาชน คนเช่น

พระองค์มัวพะวงอยู่ว่า นี้เป็นที่รักของเรา ทำตนให้

เหินห่างจากความดี ย่อมไม่ได้ประสบสิ่งที่รักทั้งหลาย

ตนแลประเสริฐที่สุด ประเสริฐอย่างยอดเยี่ยม ด้วยว่า

ผู้มีตนอันอบรมแล้วจะพึงได้สิ่งที่รักในภายหลัง.

[๓๗๖] เนื้อมนุษย์เป็นที่รักของหม่อมฉัน ดูก่อน

พระเจ้าสุตโสม โปรดทรงทราบอย่างนี้ หม่อมฉันไม่

สามารถจะงดเว้นได้ เชิญพระองค์ทรงเลือกพรอย่างอื่น

เถิด พระสหาย.

[๓๗๗] ผู้ใดแล มัวรักษาของรักว่า นี่เป็นของ

รักของเรา ทำตนให้เหินห่างจากความดี เสพของรัก

ทั้งหลายอยู่ เหมือนนักเลงสุราดื่มสุราเจือยาพิษฉะนั้น

ผู้นั้นย่อมได้รับทุกข์ในโลกหน้า เพราะกรรมอันลามก

นั้น ส่วนผู้ใดในโลกนี้ พิจารณาแล้วละของรักได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 633

เสพอริยธรรมทั้งหลายแม้ด้วยความยาก เหมือนคน

เป็นไข้ดื่มยาฉะนั้น ผู้นั้นย่อมได้รับความสุขในโลกหน้า

เพราะกัลยาณกรรมนั้น.

[๓๗๘] หม่อมฉันสู้ละทิ้งพระชนก และพระ

ชนนี ตลอดทั้งเบญจกามคุณที่น่าเพลิดเพลินเจริญใจ

เข้าป่าก็เพราะเหตุแห่งเนื้อมนุษย์ หม่อมฉันจะถวาย

พรข้อนั้นแก่พระองค์ได้อย่างไร.

[๓๗๙] บัณฑิตทั้งหลายไม่กล่าววาจาเป็นสอง

สัตบุรุษทั้งหลายย่อมมีปฏิญาณเป็นสัตย์โดยแท้ พระ-

องค์ได้ตรัสกะหม่อมฉันว่า เชิญรับพรเถิดพระสหาย

พระองค์ได้ตรัสไว้อย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระดำรัสที่

พระองค์ตรัสย่อมไม่สมกัน.

[๓๘๐] หม่อมฉันเข้าถึงการได้บาป ความเสื่อม

ยศ เสื่อมเกียรติ บาป ทุจริต ความเศร้าหมองเป็น

อันมาก เพราะเนื้อมนุษย์เป็นเหตุ หม่อมฉันจะพึง

ถวายพรนั้น แก่พระองค์ได้อย่างไร.

[๓๘๑] คนเราให้พรใดแล้ว จะกลับไม่ให้ ย่อม

ไม่ควรให้พรนั้น ดูก่อนพระสหาย ขอพระองค์ทรงมั่น

พระทัยรับพรเถิด แม้ชีวิตของหม่อมฉันก็ยอมสละ

ถวายได้.

[๓๘๒] การสละชีวิตได้นี้เป็นธรรมของสัตบุรุษ

สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมมีปฏิญาณเป็นสัจจะโดยแท้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 634

พรที่พระองค์ได้ประทานไว้แล้ว ขอได้โปรดประทาน

เสียโดยพลันเถิด ดูก่อนพระราชาผู้ประเสริฐสุด

พระองค์จงทรงสมบูรณ์ด้วยธรรมข้อนั้นเถิด นรชนพึง

สละทรัพย์เพราะเหตุแห่งอวัยวะอันประเสริฐ เมื่อจะ

รักษาชีวิตไว้ พึงสละอวัยวะ เมื่อระลึกถึงธรรม พึง

สละทั้งอวัยวะ ทั้งทรัพย์ และแม้ชีวิตทั้งหมด.

[๓๘๓] บุรุษพึงรู้แจ้งธรรมจากผู้ใด และชน

เหล่าใด เป็นสัตบุรุษกำจัดความสงสัยของบุรุษนั้นได้

ข้อนั้น เป็นที่พึงที่พำนักของบุรุษนั้น ผู้มีปัญญาไม่พึง

ทำลายไมตรีจากบุคคลนั้น.

[๓๘๔] นั่นเป็นอาหารที่ชอบใจของหม่อมฉัน

มานานแล้ว หม่อมฉันข้าพเจ้าก็เพราะเหตุแห่งอาหารนี้

ดูก่อนพระสหาย ถ้าหาก พระองค์ตรัสขอเรื่องนี้

กะหม่อมฉัน หม่อมฉันยอมถวายพรข้อนี้แด่พระองค์.

[๓๘๕] พระองค์เป็นศาสดาของหม่อมฉัน และ

เป็นพระสหายของหม่อมฉันด้วย ดูก่อนพระสหาย

หม่อมฉันได้กระทำตามพระดำรัสของพระองค์ แม้

พระองค์ก็ขอได้ทรงโปรดกระทำตามคำของหม่อมฉัน

เราทั้งสองจะไปปลดปล่อยด้วยกัน.

[๓๘๖] หม่อมฉัน เป็นศาสดาของพระองค์ และ

เป็นพระสหายของพระองค์ด้วย ดูก่อนพระสหาย

พระองค์ได้ทรงกระทำตามคำของหม่อมฉัน แม้หม่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 635

ฉันก็จะทำตามพระดำรัสของพระองค์ เราทั้งสองจะ

ไปปลดปล่อยด้วยกัน.

[๓๘๗] พระองค์ทั้งหลาย ไม่พึงประทุษร้ายแก่

พระราชานี้ ด้วยความแค้นว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ถูก

เจ้ากัมมาสบาท ผู้มีเท้าด่างเบียดเบียน ถูกร้อยฝ่ามือ

ร้องไห้หน้าชุ่มด้วยน้ำตา ขอพระองค์ทั้งหลายจงทรง

รับสัจจปฏิญาณต่อหม่อมฉัน.

[๓๘๘] หม่อมฉันทั้งหลายจะไม่ประทุษร้ายแก่

พระราชานี้ ด้วยความแค้นว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ถูก

เจ้ากัมมาสบาทเบียดเบียน ถูกร้อยฝ่ามือร่องไห้หน้าชุ่ม

ด้วยน้ำตา หม่อมฉันทั้งหลายขอรับสัจจปฏิญาณต่อ

พระองค์.

[๓๘๙] บิดาหรือมารดาเป็นผู้มีความกรุณา

ปรารถนาประโยชน์แก่บุตร ฉันใด แม่พระราชา

พระองค์นี้ก็จงเป็นเหมือนพระชนกชนนีของท่าน

ทั้งหลาย และท่านทั้งหลายก็จงเป็นเหมือนโอรส

ฉันนั้น.

[๓๙๐] บิดาหรือมารดาเป็นผู้มีความกรุณา

ปรารถนาประโยชน์แก่บุตร ฉันใด แม่พระราชา

พระองค์นี้ ขอจงเป็นเหมือนพระชนกชนนีของหม่อม

ฉันทั้งหลาย แม่หม่อมฉันทั้งหลายก็จะเป็นเหมือน

โอรส ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 636

[๓๙๑] พระองค์เคยเสวยกระยาหารอันโอชารส

ล้วนแต่เนื้อสัตว์ ๔ เท้าและนก ที่พวกวิเศษปรุงให้

สำเร็จเป็นอย่างดี ดังท้าวสักกรินท์เทวราชเสวยสุธา-

โภชน์ฉะนั้น ไฉนจะทรงละไป ยินดีอยู่ในป่าแต่

พระองค์เดียวเล่า นางกษัตริย์เหล่านั้น ล้วนแต่เอวบาง

ร่างเล็กสะโอดสะองประดับประดาแล้ว แวดล้อม

บำเรอพระองค์ให้เบิกบานพระทัย ดังเทพอัปสร

แวดล้อมพระอินทร์ในทิพยสถานฉะนั้น ไฉนจะทรง

ละไปยินดีอยู่ในป่าแต่พระองค์เดียวเล่า พระแท่น

บรรทมพนักแดง โดยมากปูลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ล้วน

ลาดด้วยเครื่องลาดอันงดงาม ประดับด้วยเครื่อง

อลังการอันวิจิตร พระองค์เคยทรงบรรทมสำราญ

พระทัยบนท่ามกลางพระแท่นบรรทมเช่นนั้น ไฉนจะ

ทรงละไปยินดีอยู่ในป่าแต่พระองค์เดียวเล่า เวลา

พลบค่ำมีการฟ้อนรำส่งสำเนียงเสียงตะโพนสำทับ

ดนตรี รับประสานเสียงล้วนแต่สตรีไม่มีบุรุษเจือปน

การขับและการประโคมก็ล้วนแต่ไพเราะ ไฉนจะทรง

ละไปยินดีอยู่ในป่าแต่พระองค์เดียวเล่า พระราช

อุทยานนามว่า มิคชินวัน บริบูรณ์ด้วยบุบผชาติเป็น

อันมาก พระนครของพระองค์ประกอบด้วยพระราช

อุทยานเช่นนี้ เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจยิงนัก ทั้งสมบูรณ์

ด้วยม้า รถและคชสาร ไฉนจะทรงละไปยินดีอยู่ในป่า

แต่พระองค์เดียวเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 637

[๓๙๒] ในกาฬปักษ์ พระจันทร์ย่อมเสื่อมลง

ทุกวัน ๆ ฉันใด ดูก่อนพระราชา การคบอสัตบุรุษ

ย่อมเปรียบเหมือนกาฬปักษ์ฉะนั้น หม่อมฉันก็เหมือน

กัน อาศัยคนครัวเครื่องต้นเป็นคนชั่วเลวทราม ได้ทำ

บาปกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติ ในศุกลปักษ์

พระจันทร์ย่อมเจริญขึ้น ทุกวัน ๆ ฉันใด การคบ

สัตบุรุษย่อมเปรียบเหมือนศุกลปักษ์ฉะนั้น ข้าแต่

พระเจ้าสุตโสม ขอจงทรงทราบว่า หม่อมฉันก็เหมือน

กัน อาศัยพระองค์จักกระทำกุศลกรรมอันเป็นเหตุให้

ไปสู่สุคติ ข้าแต่พระจอมประชาชน น้ำฝนตกลงใน

ที่ดอนย่อมไม่คงที่ ไม่ขังอยู่ได้นาน ฉันใด แม้การ

คบอสัตบุรุษของหม่อมฉันก็ย่อมไม่คงที่ เหมือนน้ำใน

ที่ดอนฉันนั้น ข้าแต่พระจอมประชาชน ผู้เป็นนระ

ผู้กล้าหาญอย่างประเสริฐสุด น้ำฝนตกลงในสระย่อม

ขังอยู่ได้นาน ฉันใด แม่การสมาคมกับสัตบุรุษของ

หม่อมฉัน ก็ย่อมตั้งอยู่ได้นานเหมือนน้ำในสระ

ฉันนั้น การสมาคมกับสัตบุรุษย่อมไม่รู้จักเสื่อม ย่อม

เป็นอยู่อย่างนั้น แม้ตลอดเวลาที่ชีวิตยังตั้งอยู่ ส่วน

การสมาคมกับอสัตบุรุษย่อมเสื่อมเร็ว เพราะเหตุนั้น

ธรรมของสัตบุรุษย่อมไกลจากอสัตบุรุษ.

[๓๙๓] พระราชาใดชนะคนที่ไม่ควรชนะ

พระราชานั้นไม่ชื่อว่าเป็นพระราชา ผู้ใดเอาชนะเพื่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 638

ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นเพื่อน ภรรยาใดย่อมไม่กลัวเกรง

สามี ภรรยานั้นไม่ชื่อว่าเป็นภรรยา บุตรเหล่าใดไม่

เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่แล้ว บุตรเหล่านั้น ไม่ชื่อว่าเป็น

บุตร ในที่ประชุมใดไม่มีสัตบุรุษ ที่ประชุมนั้นไม่

ชื่อว่าสภา ชนเหล่าใดไม่พูดเป็นธรรม ชนเหล่านั้น

ไม่ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ คนผู้ละราคะ โทสะ โมหะ

ได้แล้วพูดเป็นธรรมนั้นแล ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษบัณฑิต

ผู้อยู่ปะปนกับคนพาล เมื่อไม่พูดใคร ๆ ก็ไม่รู้ว่าเป็น

บัณฑิต แต่ว่าบัณฑิตเมื่อพูดแสดงอมตธรรม ใคร ๆ

จึงจะรู้ว่าเป็นบัณฑิต เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงกล่าว

ธรรมให้กระจ่าง พึงยกธงของพวกฤๅษี ฤๅษีทั้งหลาย

มีคำสุภาษิตเป็นธง ธรรมแลเป็นธงของฤๅษีทั้งหลาย.

จบมหาสุตโสมชาดกที่ ๕

จบอสีตินิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 639

อรรถกถามหาสุตโสมชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภ

พระอังคุลิมาลเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า กสฺมา ตุว รสก

อีทิสานิ ดังนี้.

การบังเกิดและการบรรพชาของพระอังคุลิมาลเถระนั้น บัณฑิตพึง

ทราบโดยพิสดาร ตามนัยที่ท่านพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถา

อังคุลิมาลสูตร ในเรื่องนี้จะได้กล่าวความตั้งแต่พระอังคุลิมาลเถระนั้น ได้กระทำ

ความสวัสดีแก่หญิงผู้มีครรภ์หลงด้วยทำความสัตย์แล้ว จำเดิมแต่นั้นมาก็ได้

อาหารสะดวกขึ้นเจริญวิเวกอยู่ ในกาลต่อมาก็ได้บรรลุพระอรหัน เป็นพระ

อรหันต์มีชื่อปรากฏนับเข้าในภายในพระมหาเถระ ๘๐ องค์ ในกาลนั้น ภิกษุ

ทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์

จริง ๆ หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรมานพระองคุลิมาล ผู้เป็นมหาโจร

มีฝ่ามืออันชุ่มด้วยเลือดร้ายกาจเห็นปานนั้น โดยไม่ต้องใช้ทัณฑะหรือศัสตรา

ทำให้หมดพยศได้ ทรงกระทำกิจที่ทำได้โดยยาก ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้กระทำกิจที่ทำได้ยากอย่างน่าอัศจรรย์ พระศาสดาประทับ

อยู่ในพระคันธกุฎี ได้ทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้น ด้วยทิพโสดก็ทรง

ทราบว่า เราไปวันนี้จักมีอุปการะมาก พระธรรมเทศนาจักเป็นไปอย่างใหญ่

หลวงดังนี้ จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จไปยังธรรมสภาด้วยพุทธลีลา

อันหาที่เปรียบมิได้ ประทับนั่งบนอาสนะอันประเสริฐ ที่พวกภิกษุจัดไว้ถวาย

แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไร

เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 640

เราผู้ได้บรรลุปรมาภิสมโพธิญาณ ทรมานพระองคุลิมาลได้ในบัดนั้น ไม่น่า

อัศจรรย์เลย เมื่อครั้งเรายังบำเพ็ญบุรพจริยาแม้ตั้งอยู่ในประเทศญาณก็ทรมาน

พระองคุลิมาลนี้ได้ ตรัสดังนี้แล้วทรงดุษณีภาพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูล

อาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า โกรัพยะ เสวยราชสมบัติโดย

ธรรม ในพระนครอินทปัต แคว้นกุรุ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้ง

หลายเสด็จอุบัติในพระครรภ์ ของพระอัครมเหสีแห่งพระเจ้าโกรัพยะนั้น ก็เพราะ

พระราชกุมารนั้นมีพระพักตร์ดังดวงจันทร์ และมีนิสัยชอบในการศึกษา ชน

ทั้งหลายจึงพากันเรียกเธอว่า สุตโสม พระราชาทรงเห็นพระกุมารนั้นเจริญวัย

แล้ว จึงพระราชทานทองลิ่มชนิดเนื้อดี ราคาพันหนึ่ง ส่งไปยังเมืองตักกศิลา

เพื่อให้ศึกษาศิลปศาสตร์ ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ สุตโสมรับทรัพย์อัน

เป็นส่วนของอาจารย์ แล้วออกเดินทางไป แม้พรหมทัตกุมาร พระโอรสของ

พระเจ้ากาสิกราชในพระนครพาราณสี พระบิดาก็รับสั่งอย่างเดียวกันแล้ว

ส่งไปจึงเดินไปยังหนทางนั้น. ลำดับนั้น สุตโสมกุมารเดินทางไปถึงแล้ว จึงนั่ง

พักที่แผ่นกระดานในศาลาใกล้ประตูเมือง แม้พรหมทัตกุมารไปถึงแล้ว ก็นั่งบน

แผ่นกระดานแผ่นเดียวกัน กับสุตโสมกุมารนั้น. ลำดับนั้น สุตโสม จึงกระทำ

ปฏิสันถารแล้ว ถามพรหมทัตกุมารนั้นว่า ดูก่อนสหาย ท่านเดินทางมาเหน็ด-

เหนื่อย ท่านมาจากไหน. พรหมทัตกุมารตอบว่า ข้าพเจ้ามาจากเมืองพาราณสี.

ท่านเป็นบุตรของใคร. ข้าพเจ้าเป็นโอรสของพระเจ้ากาสี. ท่านชื่อไร. ข้าพเจ้า

ชื่อพรหมทัตกุมาร. ท่านมาที่นี่ด้วยเหตุไร. พรหมทัตกุมารตอบว่า ข้าพเจ้ามา

เพื่อเรียนศิลปศาสตร์ แล้วถามสุตโสมกุมารโดยนัยนั้นเหมือนกันว่า แม้ตัวท่าน

ก็เดินทางเหน็ดเหนื่อยมา ท่านมาจากไหน. แม้สุตโสมก็บอกแก่พรหมทัตกุมาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 641

ทุกประการ แม้สองราชกุมารนั้นจึงกล่าวแก่กันว่า เราทั้งสองเป็นกษัตริย์ จงไป.

ศึกษาศิลปศาสตร์ในสำนักท่านอาจารย์คนเดียวกันเถิด การทำมิตรภาพแก่กัน

และกันแล้ว จึงเข้าไปสู่พระนคร ไปหาสกุลอาจารย์ ไหว้อาจารย์แล้วแจ้งชาติ

ของตน แถลงความที่ตนทั้งสองมาเพื่อจะศึกษาศิลปะ อาจารย์จึงรับว่า ดีละ

สองราชกุมารจึงให้ทรัพย์อัน เป็นส่วนค่าเล่าเรียนกับ อาจารย์แล้วเริ่มเรียนศิลปะ.

เวลานั้นไม่ใช่แค่สองราชกุมารเท่านั้น แม้พระราชบุตรอื่น ๆ ในชมพู-

ทวีปประมาณ ๑๐๑ พระองค์ ก็เรียนศิลปะอยู่ในสำนักของอาจารย์นั้น สุตโสม-

กุมารได้เป็นอันเตวาสิกผู้เจริญที่สุดกว่าราชบุตรเหล่านั้น เล่าเรียนศิลปศาสตร์อยู่

อย่างขะมักเขม้น ไม่นานเท่าไรนักก็ถึงความสำเร็จ. สุตโสมกุมารมิได้ไปยังสำนัก

ของราชกุมารเหล่าอื่น ไปหาแต่พรหมทัตกุมารผู้เดียวด้วยคิดว่า กุมารนี้เป็น

สหายของเรา เป็นครูผู้ช่วยแนะนำภายหลังของพรหมทัตกุมารนั้น สอนให้สำเร็จ

การศึกษาได้โดยรวดเร็ว ศิลปะแม้ของราชกุมารนอกนี้ก็สำเร็จโดยลำดับกันมา

พวกราชกุมารเหล่านั้นให้เครื่องคำนับไหว้อาจารย์แล้ว แวดล้อมสุตโสมออกเดิน

ทางไป ลำดับนั้น สุตโสมจึงพักยืนอยู่ในระหว่างทางที่จะแยกกัน เมื่อจะส่ง

ราชบุตรเหล่านั้นกลับจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายแสดงศิลปะแก่พระราชมารดา

บิดาของตนแล้ว จักตั้งอยู่ในราชสมบัติ ครั้นตั้งอยู่ในราชสมบัติแล้ว พึงกระทำ

ตามโอวาทของเรา. ทำอย่างไรท่านอาจารย์. ท่านทั้งหลายจงรักษาอุโบสถทุกวัน

ครึ่งเดือน อย่าได้กระทำการเบียดเบียน ราชบุตรเหล่านั้น รับคำเป็นอันดี

แม้พระโพธิสัตว์ก็ทรงทราบล่วงหนา อยู่แล้วว่า มหาภัยจักเกิดพ้นในพระ-

นครพาราณสี เพราะอาศัยพรหมทัตกุมาร ดังนี้ เพราะปรากฏในองค์

วิทยา จึงได้ให้โอวาทแก่พวกราชกุมารเหล่านั้นแล้วส่งไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 642

ราชบุตรเหล่านั้นทุก ๆ พระองค์ ไปถึงชนบทของตน ๆ แล้วแสดง

ศิลปะแก่พระราชมารดาบิดาของตนแล้ว ตั้งอยู่ในราชสมบัติแล้วต่างส่งราชสาส์น

พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการเพื่อให้ทราบความที่ตนตั้งอยู่ในราชสมบัติแล้ว

และประพฤติอยู่ในโอวาทด้วย พระมหาสัตว์ได้ทรงทราบข่าวสาส์นนั้น แล้ว

ทรงตอบพระราชสาส์นไปว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ในบรรดา

พระราชาเหล่านั้น พระเจ้าพาราณสีเว้นมังสะเสียแล้วเสวยอาหารไม่ได้ แม้

ในวันอุโบสถพวกห้องเครื่องต้นก็ต้องเก็บมังสะไว้ถวายท้าวเธอ อยู่มาวันหนึ่ง

เนื้อที่เก็บไว้อย่างนั้น พวกโกไลยสุนัข ในพระราชวังกินเสียหมด เพราะความ

เลินเล่อของคนทำเครื่องต้น คนทำเครื่องต้นไม่เห็นมังสะ จึงถือกหาปณะ

กำมือหนึ่งเที่ยวไป ก็ไม่อาจจะหามังสะได้ จึงดำริว่า ถ้าหากเราจักตั้งเครื่อง

เสวยไม่มีมังสะ เราก็จะไม่มีชีวิต จักทำอย่างไรเล่าหนอ ครั้นนึกอุบายได้ใน

เวลาค่ำจึงไปสู่ป่าช้าผีดิบ ตัดเอาเนื้อตรงขาของบุรุษที่ตายเมื่อครู่หนึ่งนั้น นำมา

ทำให้สุกดีแล้ว หุงข้าวจัดแจงตั้งเครื่องเสวย พร้อมด้วยมังละ พอพระราชาวาง

ชิ้นมังสะลง ณ ปลายพระชิวหา ชิ้นมังสะนั้น ก็แผ่ไปสู่เส้นประสาทที่รับรสทั้ง

๗ พัน ซาบซ่านไปทั่วพระสรีระ มีคำถามสอดเข้านาว่า ที่เป็นดังนี้ เพราะเหตุไร

เฉลยว่า เพราะเคยเสวยมาก่อนแล้ว.

ได้ยินว่า ในอัตภาพต่อกันที่ล่วงไปแล้ว ท้าวเธอเกิดเป็นยักษ์กิน

เนื้อมนุษย์เสียเป็นอันมาก เพราะฉะนั้น เนื้อมนุษย์จึงได้เป็นสิ่งที่โปรด

ปรานของพระองค์ ท้าวเธอทรงพระดำริว่า ถ้าเราจักนิ่งเสียแล้วบริโภค

คนทำเครื่องนี้ก็จักไม่บอกเนื้อชนิดนี้ แก่เรา จึงแกล้งถ่มให้ตกลงบนภาค

พื้นพร้อมด้วยพระเขฬะ เมื่อคนทำเครื่องต้นกราบทูลว่า ขอเดชะ มังสะ

นี้หาโทษมิได้ เชิญพระองค์เสวยเถิด จึงทรงรับสั่งให้ราชเสวกออกไป

เสียแล้ว ตรัสถามคนทำเครื่องต้นว่า เราเองก็ทราบว่าเนื้อนี้หาโทษมิได้ แต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 643

เนื้อนี้เรียกว่าเนื้ออะไร. ขอเดชะ เนื้อที่พระองค์เคยเสวยในวันก่อน ๆ ในวัน

อื่น เนื้อนี้ ไม่มีรสอย่างนั้นมิใช่หรือ ขอเดชะ. พึงทำได้ดีในวันนี้เอง แม้

เมื่อก่อน เจ้าก็ทำอย่างนี้มิใช่หรือ. ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงทราบว่า คนทำ

เครื่องต้นนั้นนิ่งอยู่ จึงรับสั่งต่อไปว่า จงบอกมาตามความจริงเถิด ถ้าเจ้า

ไม่บอก เจ้าจะไม่มีชีวิต คนทำเครื่องต้นจึงทูลขอพระราชทานอภัยแล้ว ก็

กราบทูลตามความเป็นจริง พระราชารับสั่งว่า เจ้าอย่าเอ็ดไป เจ้าจงกินมังสะ

ที่ทำตามธรรมดา แล้วจงนำเนื้อมนุษย์ให้แก่เราอย่างเดียว คนทำเครื่องต้น

ทูลถามว่า ขอเดชะ ทำได้ยากมิใช่หรือ อย่ากลัวเลย ไม่ใช่ของยาก คนทำ

เครื่องต้นจึงทูลถามว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์จักได้มาจากไหนเป็นนิตย์เล่า.

ตนในเรือนจำมีอยู่มากมายมิใช่หรือ.

จำเดิมแต่นั้น เขาก็ได้กระทำตามพระราชบัญชาทุกประการ ครั้น

ต่อมาพวกนักโทษในเรือนจำหมด คนทำเครื่องต้นจึงกราบทูลว่า. บัดนี้

ข้าพระองค์จักกระทำอย่างไรต่อไป เจ้าจงทิ้งถุงทรัพย์พันหนึ่งไว้ที่ระหว่าง

ทาง คนใดหยิบเอาถุงทรัพย์นั้น จงจับคนนั้น โดยตั้งข้อหาว่า เป็นโจร

แล้วฆ่าทิ้งเสีย เขาได้กระทำตามพระราชบัญชานั้นแล้ว ครั้นต่อมาไม่พบ

แม้คนที่มองดูถุงทรัพย์พันหนึ่งนั้น เพราะความกลัว จึงทูลถามว่าขอเดชะ

บัดนี้ข้าพระองค์จักการทำอย่างไรต่อไป ในเวลาตีกลองยามเที่ยงคืนพระนคร

ย่อมเกิดความอลหม่าน เวลานั้นเจ้าจงยืนดักอยู่ที่ตรอกบ้านหรือถนนหรือ

หนทางสี่แพร่งแห่งหนึ่ง จงฆ่ามนุษย์เอาเนื้อมา จำเดิมแต่นั้นมา เขาก็

ได้ทำอย่างนั้นเอาเนื้อที่ล่ำ ๆ ไป ซากศพปรากฏอยู่ในที่นั้น ๆ พระนครก็อากูล

ไปด้วยซากศพ ได้ยินเสียงประชาชนคร่ำครวญว่า มารดาของเราหายไป

บิดาของเราหายไป พี่ชาย น้องชายของเราหายไป พี่สาว น้องสาวของเรา

หายไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 644

ชาวนครทั้งกลัวทั้งหวาดเสียว ปรึกษากันว่า คนเหล่านั้นถูกราชสีห์กิน

หรือถูกเสือกิน หรือถูกยักษ์กินหนอ เมื่อตรวจดูก็เห็นปากแผลที่ท้องประหาร

จึงสันนิษฐานกันว่า เห็นจะเป็นโจรมนุษย์คนหนึ่ง กินคนเหล่านั้นเป็นแน่

มหาชนจึงประชุมกันร้องทุกข์ที่พระลานหลวง พระราชาตรัสถามว่า อะไร

กันพ่อ ขอเดชะ ในพระนครนี้เกิดมีโจรกินคนขึ้นแล้ว ขอพระองค์จงรับสั่งให้

จับโจรกินคนนั้นเสียเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า เราจักรู้ได้อย่างไรเล่า

เราเป็นคนรักษาพระนครเที่ยวไปตรวจดูหรือ มหาชนปรึกษากันว่า พระราชา

ไม่ทรงเป็นธุระทางการเมือง เพราะฉะนั้น พวกเราจักพากันไปแจ้งแก่ท่าน

กาฬหัตถีเสนาบดีเถิด จึงพากันไปบอกเนื้อความนั้น แก่ท่านเสนาบดี กราบ

เรียนว่า ควรจะสืบจับตัวผู้ร้ายให้ได้ ท่านเสนาบดีมีบัญชาว่า พวกท่านจง

รออยู่สัก ๗ วันก่อน เราจักสืบจับตัวผู้ร้ายเอามาให้พวกท่านคะจงได้ แล้วส่ง

มหาชนกลับไป.

ท่านเสนาบดีบังคับพวกบุรุษว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เขาลือกันว่า

โจรกินคนมีอยู่ในพระนคร พวกท่านจงไปซุ่มอยู่ในที่นั้น ๆ จับเอาตัว

มันมาให้ได้ พวกบุรุษเหล่านั้นรับคำสั่งแล้ว ตั้งแต่นั้นมา ก็คอยสอดแนม

พระนครอยู่เสมอ. แม้คนทำเครื่องต้นแอบอยู่ที่ตรอกบ้านแห่งหนึ่ง ฆ่าหญิง

คนหนึ่งได้แล้ว ปรารภจะเอาเนื้อตรงที่ล่ำ ๆ บรรจุลงในกระเช้า ทันใดนั้น

พวกบุรุษเหล่านั้น จึงจับคนทำเครื่องต้นนั้นโบยแล้วมัดมือไพล่หลัง ร้อง

ประกาศดัง ๆ ว่า พวกเราจับโจรกินคนได้แล้ว ประชาชนพากันห้อมล้อมคน

ทำเครื่องต้นนั้น ขณะนั้นบุรุษทั้งหลายมัดเขาไว้อย่างมั่นคงแล้วผูกกระเช้าเนื้อ

ไว้ที่คอเอาตัวไปแสดงแก่ท่านเสนาบดี. ลำดับนั้น ท่านเสนาบดี ครั้นพอได้

เห็นคนนำเครื่องต้นนั้นแล้ว จึงดำริว่า คนผู้นี้กินเนื้อนี้เอง หรือเอาไปปน

กับเนื้ออื่นแล้วจำหน่าย หรือว่าฆ่าตามพระราชบัญชา เนื้อจะถามเนื้อความนั้น

จึงกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 645

ดูก่อนคนทำเครื่องต้น ทำไมเจ้าจึงทำกรรมอัน

ร้ายกาจเช่นนี้ได้ เจ้าเป็นคนหลง ฆ่าหญิงและชาย

ทั้งหลายได้ เพราะเหตุแห่งเนื้อ หรือ เพราะเหตุแห่ง

ทรัพย์.

ในคาถานั้น ท่านเสนาบดีเรียกคนทำเครื่องต้นว่า รสกะ ต่อนี้ไป

บัณฑิตพึงทราบข้อความที่เกี่ยวเนื่องกันอย่างง่าย ๆ ด้วยอำนาจพระบาลีที่เป็น

คำถามและคำโต้ตอบกัน.

ลำดับนั้น คนทำเครื่องต้นจึงกล่าวกะท่านเสนาบดีนั้นว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มิใช่เพราะเหตุแห่งตน มิใช่

เพราะเหตุแห่งทรัพย์ มิใช่เพราะเหตุแห่งลูกเมียหรือ

สหายและญาติ เป็นด้วยพระจอมภูมิบาลนายข้าพเจ้า

พระองค์เสวยมังสะนี้นะท่าน.

ลำดับนั้น ท่านเสนาบดีจึงกล่าวกะคนทำเครื่องต้นนั้นว่า

ถ้าเจ้าขวนขวายในกิจของเจ้านาย กระทำกรรม

อย่างร้ายกาจเช่นนี้ เวลาเช้าเจ้าไปถึงภายในพระราวัง

แล้ว พิงแถลงเหตุนั้นต่อเราในที่เฉพาะพระพักตร์

พระเจ้าอยู่หัว.

ลำดับนั้น คนทำเครื่องต้นจึงกล่าวกะท่านเสนาบดีนั้นว่า

ข้าแต่ท่านกาฬหัตถีผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักกระทำ

ตามคำสั่งสอนของท่าน เวลาเช้าข้าพเจ้าไปถึงภายใน

พระราชวังแล้ว จักแถลงถึงเหตุนั้น ต่อท่านเฉพาะ

พระพักตร์พระเจ้าอยู่หัว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 646

คำว่า ภควา ในคาถานั้นเป็นคำกล่าวแสดงถึงความเคารพ ท่าน

เสนาบดีเพื่อจะทดลองดูว่า คนทำเครื่องต้นนี้พูดความจริงหรือว่าพูดเท็จเพราะ

กลัวตาย จึงได้กล่าวอย่างนี้. คำว่า กรรมอย่างร้ายกาจ หมายถึงกรรม

คือการฆ่ามนุษย์. คำว่า เฉพาะพระพักตร์ หมายความว่า เจ้าจงไปยืนอยู่

ในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ คนทำเครื่องต้นนั้น เมื่อจะรับคำ

จึงได้กล่าวคาถาด้วยประการนั้นแล.

ลำดับนั้น ท่านเสนาบดีจึงสั่งให้มัดจำคนทำเครื่องต้นนั้นไว้ให้มั่นคง

เมื่อราตรีสว่างแล้ว จึงปรึกษากับพวกอำมาตย์และชาวเมือง เมื่อร่วมฉันทะกัน

ทั้งหมดแล้ว วางอารักขาในที่ทุกแห่ง การทำพระนครให้อยู่ในเงื้อมมือ ผูก

กระเช้าเนื้อไว้ที่คอคนทำเครื่องต้น นำตัวเข้าไปยังพระราชนิเวศน์ ได้เกิด

เสียงเซ็งแซ่ขึ้นทั่วพระนครแล้ว วันวานนี้ พระราชาเสวยพระกระยาหารเช้า

แล้ว ยังมิได้เนื้อในเวลาเย็น จึงประทับนั่งรอท่าด้วยหมายพระทัยว่า คนทำ

เครื่องต้นจักมาในบัดนี้ ประทับรออยู่จนตลอดคืนยังรุ่ง แม้วันนี้คนทำเครื่อง

ต้นก็ยังไม่มา ครั้นได้ทรงสดับ เสียงเซ่งแซ่ของชาวเมือง จึงทรงดำริว่า นั่น

เรื่องอะไรกันหนอ ทอดพระเนตรโดยช่องพระแกล ก็ได้ทรงเห็นคนทำ

เครื่องต้น ถูกเขานำมาด้วยอาการอย่างนั้น ทรงพระดำริว่า เหตุนี้ปรากฏขึ้น

แล้ว ทรงตั้งพระสติมั่นคงประทับนั่งบนบัลลังก์ แม้กาฬหัตถีเสนาบดี เข้าไป

เฝ้าพระองค์ทูลไต่สวนข้อความ พระองค์จึงทรงแถลงแก่เสนาบดีนั้น.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

ครั้นราตรีสว่างแล้ว พระอาทิตย์อุทัย กาฬ-

เสนาบดีได้นำตัวคนทำเครื่องต้นเข้าเฝ้าพระราชา

ครั้นเฝ้าพระราชาแล้วจึงกราบทูลคำนี้ว่า ข้าแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 647

มหาราชเจ้า ได้ยินว่า คนทำเครื่องต้นถูกพระองค์ใช้

ให้ไปฆ่าหญิงและชายเป็นอันมาก พระองค์เสวยเนื้อ

มนุษย์เป็นความจริงแลหรือ.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสตอบว่า

ดูก่อนท่านกาฬะ อย่างนั้น ๆ เป็นความจริง

คนทำเครื่องต้นนั้น เราได้ใช่มัน ไปเอง เมื่อมันทำกิจ

ของเรา ท่านบริภาษมันทำไมกัน.

คำว่า กาฬะ ในคาถานั้น หมายถึงท่านกาฬหัตถีเสนาบดี พระราชา

ถูกเสนาบดีผู้มีเดชไต่สวน ไม่อาจจะทรงให้การเท็จได้ จึงตรัสอย่างนี้ว่า

อย่างนั้น ๆ เป็นความจริง. คำว่า เป็นความจริง ในคาถานั้นเป็นคำขยาย.

ความของคำข้างหน้า. คำว่า กิจของเรา คือความเจริญของเรา. คำว่า ทำ

คือกระทำอยู่. คำว่า ทำไม อธิบายว่า ท่านบริภาษนั้นเพราะเหตุไร.

ลำดับนั้น พระราชาจึงรับสั่งว่า ท่านทำราชกิจยากที่คนอื่นจะทำได้

น่าชมเชยจริงนะ แล้วตรัสขู่เสนาบดีให้กลัวว่า ดูก่อนท่านกาฬหัตถี โจรอื่น

ท่านไม่จับ ให้จับคนใช้ของเรา เสนาบดีได้สดับคำนั้นดำริว่า พระราชาทรง

รับสารภาพด้วยพระโอษฐ์ของพระองค์เอง เธอร้ายกาจน่าสยดสยอง เธอกิน

เนื้อมนุษย์มาตลอดกาลถึงเพียงนี้ เราจักลองทูลห้ามเธอดู ดังนี้แล้วกราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์อย่าได้ทรงทำอย่างนี้อีกต่อไปเลย อย่าเสวย

เนื้อมนุษย์เลย. พระราชาตรัสว่า ดูก่อนท่านกาฬหัตถี ท่านพูดอะไร เราไม่

อาจจะอดเนื้อมนุษย์ได้. ขอเดชะ ถ้าพระองค์อดไม่ได้ พระองค์เองจักทำ

พระองค์และบ้านเมืองให้พินาศ. แม้เราจักต้องพินาศด้วยอาการอย่างนี้ เราก็

ไม่อาจที่จะอดเนื้อมนุษย์นั้นได้. ลำดับนั้น เสนาบดีประสงค์จะให้ท้าวเธอรู้สึก

พระองค์ จึงนำเอาเรื่องมาเล่าถวายดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 648

ในอดีตกาล หาสมุทรแห่งหนึ่งมีปลาใหญ่อยู่ ๖ ตัว ชื่ออานนท์

ตัวหนึ่ง ชื่ออุปนันทะตัวหนึ่ง ชื่ออัชโฌหารตัวหนึ่ง ปลาใหญ่ทั้ง ๓ ตัวนี้

ยาวถึง ๕๐๐ โยชน์ ชื่อติมิงคละตัวหนึ่ง ชื่อคิมิรมิงคละตัวหนึ่ง ชื่อมหาติมิร

มิงคละตัวหนึ่ง ปลาใหญ่ ๓ วันยาว ๑,๐๐๐ โยชน์ ปลาใหญ่ทั้ง ๖ ตัวนั้น

แม้ทั้งหมดมีหินและสาหร่ายเป็นภักษาหาร บรรดาปลาทั้ง ๖ ตัวนั้น ปลา

อานนท์อยู่ในส่วนช้างหนึ่งแห่งมหาสมุทร ฝูงปลาเป็นอันมากพากัน เข้าไปหา

ปลาอานนท์นั้น. วันหนึ่ง ปลาเหล่านั้นคิดกันว่า พระราชาของสัตว์สองเท้า

และสัตว์สี่เท้าทั้งหมด ย่อมปรากฏ แต่พระราชาของพวกเรายังไม่มี พวกเรา

จักกระทำปลาตัวหนึ่งให้เป็นพระราชา ปลาทั้งหมดได้รวมกันเป็นเอกฉันท์

ยกปลาอานนท์ขึ้นเป็นพระราชา จำเดิมแต่นั้นมา ปลาเหล่านั้นก็ไปบำรุงปลา

อานนท์นั้นทุกเวลาเย็นและเวลาเช้า.

อยู่มาวันหนึ่ง ปลาอานนท์กินหินและ สาหร่ายอยู่ ณ ภูเขาแห่ง

หนึ่ง กินปลาตัวหนึ่งโดยไม่รู้สึกว่าเป็นปลา สำคัญว่าเป็นสาหร่าย เนื้อ

ปลานั้นแผ่ไปทั่วสรีระของมัน มันคิดว่า นี้อะไรหนอช่างอร่อยเหลือเกิน

จึงคายออกมาดูเห็นเป็นชิ้นปลา คิดว่า เราไม่รู้จักกินมานาน ถึงเพียงนี้

จำเดิมแต่นั้นก็คิดต่อไปว่า พวกปลามาสู่ที่บำรุงของเราทั้งเวลาเช้าและเวลา

เย็น เวลากลับ ไป เราจะกินมันตัวหนึ่งหรือสองตัว แต่เมื่อจะกินมันโดย

เปิดเผย ปลาแม้ตัวหนึ่งก็จักไม่เข้าใกล้เรา จักพากันหนีไปเสียหมด เราจัก

ต้องทำอย่างแนบเนียน เราจักจับตัวที่โค้งคำนับเราหลังที่สุดกิน ดังนี้แล้ว

ได้กระทำตามที่ตนดำริไว้ทุกประการ ปลาเหล่านั้น ถึงความสิ้นไปโดยลำดับ

จึงคิดกันว่า ภัยเกิดขึ้นแก่พวกญาติของเราจากที่ไหนหนอ ลำดับนั้น ปลาฉลาด

ตัวหนึ่งคิดว่า กิริยาของปลาอานนท์ไม่ชอบใจเราเลย เราจักคอยจับกิริยา

ของเขา เมื่อฝูงปลาไปสู่ที่บำรุงแล้ว ได้แฝงตัวอยู่ในหูของปลาอานนท์ ปลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 649

อานนท์ส่งฝูงปลาไปแล้ว กินตัวที่ไปที่หลังเสีย ปลาฉลาดตัวนั้นเห็นการกระทำ

อย่างนั้น จึงไปบอกแก่พวกของตน ปลาเหล่านั้น ตกใจกลัวพากันหนีไปจนหมด.

จำเดิมแต่วันนั้นมา ปลาอานนท์มิได้กินอาหารอย่างอื่นเลย เพราะคิดรสใน

เนื้อปลา มันถูกความหิวบีบคั้นมากขึ้นมีความลำบากอยู่ คิดว่า ปลาเหล่านั้น

ไปแอบช่อนอยู่ที่ไหนหนอ เนื้อเที่ยวหาปลาเหล่านั้น เห็นภูเขาลูกหนึ่ง คิดว่า

ชะรอยมันจะอาศัยภูเขาลูกนี้อยู่เพราะกลัวเรา เพราะฉะนั้น เราจะลองโอบภูเขา

ตรวจดู จึงเอาหางและหัวโอบภูเขาไว้โดยรอบทั้งสองข้าง. ลำดับนั้น มันดำริ

ต่อไปว่า ปลาจักอยู่ในที่นี้ทั้งหมด จักหนีไปทางไหนได้ แล้วโอบภูเขาเข้าไว้

มองเห็นหางของตนเองเข้า ก็โกรธด้วยสำคัญว่า ปลาตัวนี้มันลวงเราอาศัย

ภูเขาแอบอยู่ จึงชุบทางของตนเองประมาณ ๕๐ โยชน์ไว้มั่นคง ด้วยสำคัญว่า

ปลาอื่น แล้วเคี้ยวกินเสียอย่างเอร็ดอร่อย จนเถิดทุกขเวทนาขึ้น พวกปลา

มาประชุมกัน เพราะกลิ่นเลือดฟุ้ง จึงดึงมากินตลอดถึงศีรษะ ปลาอานนท์ไม่

อาจกลับตัวได้เพราะตัวใหญ่ ได้ถึงความสิ้นชีวิตในที่นั้นเอง กองกระดูกได้เป็น

เหมือนภูเขาใหญ่ ดาบสและปริพาชกผู้เที่ยวทางอากาศได้มาเล่าให้พวกมนุษย์

ฟัง พวกมนุษย์ในชมพูทวีปจึงรู้กันทั้งหมด.

กาฬหัตถีเสนาบดีเมื่อจะนำเรื่องนั้นมาแสดง ได้กล่าวคาถาว่า

ปลาอานนท์ตัวติดอยู่ในรสของปลาทุกชนิด กิน

ปลาพวกเดียวกัน เมื่อบริษัทหมดไป กินตัวเองตาย

ไปแล้ว พระองค์เป็นผู้ประมาทแล้ว ยินดีในการ

เสพรส ถ้ายังเป็นพาลไม่รู้สึกต่อไป จำจะต้องทิ้ง

พระโอรสพระธิดาและพระประยูรญาติกลับมาเสวย

พระองค์เอง เหมือนอย่างปลาอานนท์ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 650

ขอให้ความพอพระทัยของพระองค์จงจืดจางลง

เพราะได้ทรงสดับเรื่องนี้ ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์

อย่าได้เสวยเนื้อมนุษย์เลยนะ ข้าแต่พระองค์ผู้ปกครอง

ประชาชน ขอพระองค์อย่าได้ทรงทำแคว้นทั้งมวลนี้

ให้ว่างเปล่าเหมือนอย่างปลาฉะนั้น เลย.

มีอรรถาธิบายว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ในกาลนานมาแล้ว ที่มหาสมุทร

มีปลาใหญ่ตัวหนึ่งชื่อว่า อานนท์ ตัวยาวประมาณ ๕๐๐ โยชน์ เป็นพระราชา

ของพวกปลาทั้งหมด อาศัยอยู่ในข้างแห่งหนึ่งของมหาสมุทร ปลาอานนท์นั้น

เป็นสัตว์คิดอยู่ในรสของปลาที่เป็นชาติเดียวกับนี้ กินปลาทั้งหลายที่เป็นชาติ

เดียวกัน เมื่อบริษัทปลาถึงความสิ้นไปแล้ว ไม่จับอาหารอย่างอื่น โอบภูเขา

ไว้และเคี้ยวกินท่อนหางของตนเอง ซึ่งยาวประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ด้วยสำคัญว่า

เป็นปลา ตายแล้วคือถึงความตาย บัดนี้กองกระดูกประมาณเท่าภูเขามีอยู่ใน

มหาสมุทร. พระองค์เป็นผู้ติดอยู่ในตัณหา ทรงประมาทแล้ว คือถึงความ

เป็นผู้ประมาท ยินดีแล้วคือมีพระทัยยินดียิ่งในการเสพรสของเนื้อมนุษย์ ถ้า

พระองค์ยังเป็นพาลมีปัญญาทราม มิได้รู้สึกคือไม่ทรงทราบความทุกข์ ซึ่งจะ

บังเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป พระองค์ก็จำจะต้องทิ้งพระโอรสพระชายาพระ

ประยูรญาติ และพระสหาย เมื่อไม่ได้อาการอย่างอื่น ถูกควานหิวบีบคั้นดิ้น

กระเสือกกระสนอยู่ทั่วพระนคร ครั้นไม่ได้เนื้อมนุษย์ก็จะกินตนเอง ชื่อว่า

ย่อมกินตนเองเหมือนอย่างปลาใหญ่มีชื่อว่า อานนท์ฉะนั้น. ข้าแต่มหาราชเจ้า

พระองค์ทรงสดับอุทาหรณ์ที่ข้าพระองค์นำมาเล่าความนี้แล้ว ขอให้ความพอ

พระทัยของพระองค์จงเสื่อมคลายหายไปเสียเถิด ข้าแต่พระราชา พระองค์

อย่าได้เสวยเนื้อมนุษย์อีกเลย ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้เป็นใหญ่กว่าประชาชนผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 651

เป็นสัตว์ ๒ เท้าผู้เจริญ พระองค์อย่าได้ทรงกระทำพระนครคือแคว้นกาสีของ

พระองค์ให้ว่างเปล่าไปจริง ๆ เหมือนปลาอานนท์กระทำมหาสมุทรให้ว่างเปล่า

ฉะนั้นเลย.

พระราชทรงสดับคำนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนท่านกาฬหัตถีผู้เจริญ ท่าน

รู้เรื่องเปรียบเทียบผู้เดียวหรือ แม้ถึงตัวเราก็คงไม่รู้บ้างละซินะ โดยที่พระองค์

ทรงติดอยู่ในเนื้อมนุษย์ จึงนำเรื่องเก่าแก่มาแสดงตรัสคาถาว่า

กุฎุมพีนามว่า สุชาต โอรสเกิดแก่ตัวของเขา

ไม่ได้ชิ้นชมพู่ เขาตายเพราะสิ้นไปแต่งชิ้นชมพู่ฉันใด

ดูก่อนท่านกาฬะ แม้ตัวเราก็ฉันนั้นเคยบริโภคอาหาร

มีรสอันสูงสุดแล้ว เมื่อไม่ได้เนื้อมนุษย์ก็เห็นจะไม่มี

ชีวิตอยู่ได้เป็นแน่.

คำว่า เขา ในคาถานั้น หมายถึงกุฎุมพีสุชาต.

เรื่องมีว่า ในอดีตกาล กุฎุมพีชื่อว่าสุชาต ในพระนครพาราณสี เห็น

ฤาษี ๕๐๐ ผู้มาแต่ป่าหิมพานต์ เพื่อต้องการจะได้ฉันรสเค็มและเปรี้ยว นิมนต์

ฤาษีเหล่านั้นให้อยู่ในสวนของตนบำรุงอย่างดี ในเรือนของกุฎุมพีนั้นได้จัด

ภิกษา ๕๐๐ ไว้เป็นนิตย์ แต่ดาบสเหล่านั้น บางคราวก็ไปเทียวภิกษาใน

ชนบท นำชิ้นชมพู่ใหญ่มาฉันเสียบ้าง เวลาที่ดาบสเหล่านั้นนำชิ้นชมพู่

มาฉัน สุชาตคิดว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่มา ๓ - ๔ วันเข้าวันนี้ ท่านไป

ไหนหนอ เขาให้บุตรจับนิ้วมือของตน จูงไปในสำนักของดาบสเหล่านั้น

ในเวลาที่ท่านกำลังฉัน เวลานั้นดาบสที่เป็นนวกะที่สุดให้น้ำบ้วนปากแก่ดาบส

ผู้ใหญ่ทั้งหลายแล้วฉันชิ้นชมพู่อยู่ สุชาตไหว้พวกดาบสแล้วนั่งถามว่า พระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 652

ผู้เป็นเจ้าฉันอะไร. พวกดาบสตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราฉันชิ้นชมพู่ใหญ่

กุมารได้ยินดังนั้นเกิดความอยากขึ้น. ลำดับนั้น ท่านเจ้าคณะจึงสั่งให้ ให้กุมาร

นั้นหน่อยหนึ่ง เขากินชิ้นชมพู่นั้น แล้วคิดอยู่ในรส รบเร้าขออยู่บ่อย ๆ ว่า พ่อ

จงให้ชิ้นชมพู่แก่ฉัน พ่อจงให้ชิ้นชมพู่แก่ฉันบ้าง ดังนี้ กุฎุมพีกำลังฟังธรรม

พูดลวงบุตรว่า อย่าร้องไปเลยลูก เจ้ากลับบ้านแล้วจักได้กิน ดำริว่า พระผู้

เป็นเจ้าทั้งหลายจักรำคาญ เพราะอาศัยบุตรของเรานี้ ปลอบบุตรอยู่ไม่ทัน

บอกลาพวกฤๅษีไปบ้าน ตั้งแต่ไปถึงบ้านแล้ว บุตรของเขาก็รบเร้าว่า พ่อจง

ให้ชิ้นชมพู่แก่ฉัน พวกฤๅษีกล่าวว่า เราอยู่ในที่นี้มานานแล้ว จึงพากันกลับ

ไปป่าหิมพานต์ กุฎุมพีไม่พบฤๅษีในอารามได้ให้ชิ้นผลไม้มีมะม่วง ชมพู่ ขนุน

และกล้วยเป็นต้น คลุกด้วยน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดแก่บุตร แต่ชิ้นผลไม้เหล่านั้น

พอถูกปลายลิ้นของเขาก็เป็นเหมือนยาพิษที่ร้ายแรง เขาอดอาหารอยู่ ๗ วัน

ถึงความสิ้นชีวิตแล้ว พระราชาเนื้อทรงนำเหตุนี้มาแสดง จึงได้กล่าวถ้อยคำ

อย่างนี้ว่า ท่านกาฬะ เรากินรสที่สูง ไม่ได้เนื้อมนุษย์เห็นจักต้องตายเหมือน

อย่างบุตรของสุชาตนั้นแล อธิบายว่า บุตรของสุชาตไม่กินอาหารอย่างอื่นตาย

แล้ว เพราะสิ้นไปแห่งชิ้นชมพู่นั้น. คำว่า อาหาร หมายถึงขาทนียะ. คำว่า

มีรสสูงสุด คือ มีรสอันอุดม. คำว่า ละ คือ จักละชีวิต พระบาลีเป็น

หิสฺสามิ ดังนี้ก็มี.

ในลำดับนั้น กาฬหัตถีเสนาบดีคิดว่า พระราชานี้คิดอยู่ในรสเสีย

เหลือเกิน เราจักนำอุทาหรณ์อื่น ๆ นาแสดงแก่พระองค์อีก แล้วทูลว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงงดเสียเถิด พระราชาตรัสว่า เราไม่อาจจะ

งดเว้น เนื้อมนุษย์ได้ ขอเดชะ ถ้าพระองค์ไม่งด พระองค์จะต้องเสื่อมจาก

พระญาติวงศ์และสิริราชสมบัติ แล้วเล่าเรื่องถวายดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 653

ข้าแต่มหาราชเจ้า ในอดีตกาล ในเมืองพาราณสีนี้มีสกุลเศรษฐี

รักษาศีล ๕ อยู่สกุลหนึ่ง สกุลนั้นมีบุตรคนหนึ่ง เป็นทีรักใคร่ชอบใจของ

มารดาบิดา เป็นคนฉลาดเรียนจบไตรเพท มาณพนั้นได้ไปเที่ยวกับพวกเพื่อน

ที่หนุ่ม ๆ มีวัยรุ่นราวคราวเดียวกัน พวกเพื่อนเหล่านั้น กินปลาและเนื้อเป็นต้น

ดื่มสุรากันทั้งนั้น แต่มาณพไม่กินเนื้อเป็นต้น ไม่ดื่มสุรา พวกเพื่อนเหล่านั้น

จึงคิดว่า มาณพนี้ไม่ดื่มสุราจักไม่ออกค่าสุราให้แก่พวกเรา พวกเราจักหาอุบาย

ให้เขาดื่มสุราให้จงได้ พวกเพื่อนเหล่านั้น จึงประชุมกันพูดกะเขาว่า ดูก่อนเพื่อน

พวกเราจักเล่นมหรสพในสวน. ดูก่อนเพื่อน พวกท่านดื่มสุรา เราไม่ดื่ม

พวกท่านจงไปกันเถิด. ดูก่อนเพื่อนพวกเราจักให้เอาน้ำนมไปสำหรับให้ท่าน

ดื่ม. มาณพนั้น จึงรับว่าจะไปด้วย. พวกนักเลงไปถึงสวนแล้วห่อสุราอย่างแรง

วางไว้หลายห่อ. ลำดับนั้น ครั้นถึงเวลาที่พวกเขาจะดื่มสุรา เขาจึงส่งน้ำนม

ให้มาณพ นักเลงคนหนึ่งพูดขึ้นว่า เพื่อนเอ๋ย ท่านจงเอาน้ำผึ้งใบบัวมาให้เรา

ให้พวกเพื่อนนำห่อสุรานั้นมาแล้ว จับห่อใบบัวเจาะให้เป็นช่องในข้างให้ เอา

นิ้วมืออุดที่ปากช่องแล้วยกมาดื่น แม้พวกเพื่อนพวกนี้ก็ได้นำมาดื่มอย่างนั้น

มาณพถามว่า นั่นห่ออะไร. นี้เรียกว่า โบกขรมธุ น้ำผึ้งใบบัว. ขอให้ฉัน

ลองดูหน่อยเถิด พวกนักเลงเหล่านั้นพูดว่า ให้แกลองดหน่อยแล้วส่งให้.

มาณพนั้นดื่มสุราด้วยความสำคัญว่า น้ำผึ้งใบบัว. ลำดับนั้นพวกเพื่อนได้ให้

เนื้อปิ้งแก่เมา มาณพได้กินเนื้อปิ้งนั้นแล้ว เมื่อมาณพนั้นดื่มอย่างนี้บ่อย ๆ

เข้าก็เมา ในเวลาที่เขาเมาแล้ว พวกเพื่อน ๆ จึงบอกว่า นั่นไม่ใช่น้ำผึ้งใบบัว

นั่นแหละสุราละ. มาณพนั้นจึงกล่าวว่า เราไม่รู้จักรสอร่อยอย่างนี้มาเป็นเวลา

นานถึงเพียงนี้ ท่านผู้เจริญจงนำสุรามาให้อีก. พวกนักเลงเหล่านั้นก็ได้ให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 654

สุราอีก มาณพนั้นได้เป็นผู้อยากดื่มมาก ครั้นตัวขอเขาบ่อย ๆ เขตก็ตอบว่า

หมดแล้ว. มาณพนั้นจึงส่งแหวนให้กล่าวว่า จงไปเอาสุรามาเถิดเพื่อน เขาดื่ม

กับพวกเพื่อนตลอดวันยังค่ำ เมาจนตาแดง ตัวสั่นพูดอ้อแอ้ ไปถึงบ้านแล้ว

ก็นอน. ลำดับนั้น บิดาของเขาทราบว่า ลูกชายดื่มสุรา เมื่อลูกสร่างเมาแล้ว

จึงพูดว่า ลูกเอ๋ย เจ้าเกิดมาในตระกูลเศรษฐี ทำอย่างนี้ไม่เหมาะนะ เจ้าอย่า

ประพฤติอย่างนี้อีกเลย. เขาย้อนถามว่า คุณพ่อครับ ผมมีความผิดอย่างไร.

พ่อตอบว่า เจ้ามีความผิดเพราะเจ้าดื่มสุรา ลูกย้อนว่า คุณพ่อพูดอะไร รสอร่อย

เช่นนี้ ผมไม่เคยได้ดื่มมาเป็นเวลานานถึงเพียงนี้. พราหมณ์ผู้บิดาจึงขอร้อง

อยู่บ่อย ๆ แม้มาณพนั้น ก็ดังกล่าวยืนคำเดิมอยู่ว่า ผมไม่อาจจะงดการดื่มลง

ได้. ลำดับนั้น พราหมณ์จึงคิดว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ วงศ์สกุลของเราคงจักขาด

สูญเป็นแน่ อีกทั้งทรัพย์ก็จักพลอยพินาศไปด้วย แล้วกล่าวคาถาว่า

ดูก่อนมาณพเอ๋ย เจ้าเป็นผู้มีรูปร่างงาม เข้าเถิด

มาในตระกูลพราหมณ์ เจ้าไม่ควรในสิ่งที่ไม่ควรกิน

นะลูก.

คำว่า ไม่ควรกินสิ่งที่ไม่ควรกิน ในคาถานั้น หมายถึงเจ้าไม่

สมควรที่จะกินสิ่งที่เจ้าไม่น่าจะกินเลย.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว บิดาจึงกล่าวต่อไปว่า งดเสียเถิดพ่อ ถ้า

เจ้าไม่งด เจ้าของออกจากสมบัติและเรือนนี้ ข้าจักเนรเทศเจ้าออกจากแคว้น

มาณพกล่าวว่า แม้คุณพ่อจักลงโทษถึงอย่างนี้ ผมก็จักออกไป ผมไม่อาจจะ

ละสุราได้ดังนี้ แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

ข้าแต่คุณพ่อ บรรดารสทั้งหลาย ปานะนี้นับ

ว่าเป็นรสอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำไมคุณพ่อจึงต้องห้ามผม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 655

ผมจักไปในสถานที่ที่ผมได้รสเช่นนี้ ผมเป็นลุกที่

คุณพ่อไม่อยากจะเห็นหน้า ผมจักออกจากบ้านไป

จักไม่อยู่ในสำนักของคุณพ่อ.

คำว่า รส ในคาถานั้น อธิบายว่า รสทั้ง ๗ อย่างบรรดามี กล่าวคือ

รสเค็ม รสเปรี้ยว รสขม รสเผ็ด รสขื่น รสหวาน รสฝาดนั้น ขึ้นชื่อว่า

น้ำเมานี้ จัดว่าเป็นรสอันหนึ่ง. คำว่า ผม หมายถึงตัวผมผู้เดียวเท่านั้น.

คำว่า จักออก คือ จักออกไปจากบ้าน.

ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว มาณพจึงกล่าวต่อไปว่า ผมจักไม่งดจากการ

ดื่มสุรา คุณพ่อจะกระทำอย่างใดก็จงกระทำตามความพอใจของคุณพ่อเถิด

พราหมณ์กล่าวว่า เมื่อเจ้าทิ้งข้าได้ แม้ข้าก็จักทิ้งเจ้าได้เหมือนกันแหละ แล้ว

กล่าวคาถาว่า

พ่อมาณพเอ๋ย ข้าจักได้บุตรที่เป็นทายาทแม้

เหล่าอื่นอีกอย่างเป็นแน่ แน่ะเจ้าคนชาติชั่ว จงพินาศ

เจ้าจงไปในสถานที่ที่ข้าไม่ได้ยินชื่อของเจ้า.

คำว่า เจ้าจงไป ในคาถานั้น มีอธิบายว่า เจ้าจะไปอยู่ในที่ใด

เราไม่ได้ยินว่า เจ้าไปอยู่ ณ ที่โน้น เจ้าจงไป ณ ที่นั้น.

ลำดับนั้น พราหมณ์ผู้บิดาจึงนำตัวมาณพนั้นไปยังศาล กระทำไม่ให้

เป็นลูกกัน ไล่ออกไป. มาณพนั้น ครั้นต่อมาก็กลายเป็นคนกำพร้า หาที่พึ่ง

มิได้ นุ่งผ้าขี้ริ้ว ถือกระเบื้องเที่ยวขอทาน อาศัยฝาเรือนแห่งใดแห่งหนึ่ง

ตายแล้ว. กาฬหัตถีเสนาบดีนำเอาเหตุนี้มาแสดงแก่พระราชาแล้ว กราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า ถ้าพระองค์ไม่ทรงการทำตามถ้อยคำของพวกข้าพระองค์

พวกชาวเมืองก็จะกระทำการเนรเทศพระองค์เสียเป็นแน่ แล้วกล่าวคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 656

ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้เป็นจอมประชาชน พระองค์

ก็เหมือนกัน จงทรงสดับถ้อยคำของข้าพระองค์ ข้า

พระองค์จักเนรเทศพระองค์เสียจากแว่นแคว้น เหมือน

อย่างมาณพนักดื่ม ฉะนั้น.

แม้กาฬหัตถีเสนาบดีได้นำเอาเรื่องอุปมาต่าง ๆ มาเล่าถวายอย่างนี้

พระราชาก็ไม่อาจจะอดเนื้อนั้นได้ ตรัสแสดงตัวอย่างเทียม แม้อย่างอื่นอีกต่อไป

โดยคาถาว่า

สาวกของพวกฤๅษีผู้มีตนอันอบรมแล้ว นามว่า

สุชาต เขาอยากได้นางอัปสรจนไม่กินไม่ดื่มกามของ

มนุษย์ในสำนักกามอันเป็นทิพย์ เท่ากับเอาน้ำด้วย

ปลายหญ้าคา มาเทียบกับน้ำในมหาสมุทร.

ท่านกาฬะ เราได้บริโภคของกินที่มีรสอย่างสูง

แล้วไม่ได้เนื้อมนุษย์ เห็นจักต้องละชีวิตเหมือนอย่าง

สุชาต ฉะนั้นแล.

ก็นิทานแห่งคาถานี้ ตอนต้นเหมือนกับเรื่องที่กล่าวไว้แล้วคราวก่อน.

คำว่า ผู้มีตนอันอบรมแล้ว หมายถึงฤๅษีทั้ง ๕๐๐ เหล่านั้น ผู้ได้อบรมตน

มาแล้ว. คำว่า อยากได้นางอัปสร มีเรื่องเล่าไว้ว่า ได้ยินว่า ในเวลาที่

พวกฤๅษีเหล่านั้นฉันชิ้นชมพู่ใหญ่ สุชาตทราบว่าท่านไม่มาแน่ จึงคิดว่า ท่าน

ไม่มาด้วยเหตุไรหนอ ถ้าท่านไปไหน เราจักทราบ ถ้าท่านไม่ได้ไป เราจัก

ได้ฟังธรรมในสำนักของท่าน แล้วไปสู่สวนไหว้เท้าของฤๅษีทั้งหลายแล้ว นั่ง

ฟังธรรมอยู่ในสำนักของเจ้าคณะ เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว ท่านเจ้าคณะ

บอกให้กลับ จึงกล่าวว่า วันนี้ข้าพเจ้าจักพักแรมอยู่ในสวนนี้ ไหว้พวกฤๅษี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 657

แล้วเข้าไปยังบรรณศาลานอนแล้ว ครั้นพอเวลากลางคืน ท้าวสักกเทวราชมี

หมู่นางอัปสรแวดล้อมแล้ว เสด็จมาไหว้พวกฤๅษีพร้อมด้วยนางบริจาริกาของ

ตน อารามทั้งสิ้นได้มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน สุชาตคิดว่า นั่นอะไรกันหนอ

จึงลุกขึ้นมองดูทางช่องบรรณศาลา มองเห็นท้าวสักกะมาไหว้พวกฤๅษี มีนาง

เทพอัปสรแวดล้อมอยู่ เกิดความกำหนัด ด้วยอำนาจราคะพร้อมกับที่ได้เห็นพวก

นางอัปสร ท้าวสักกะประทับนั่งสดับธรรมกถาแล้ว เสด็จกลับยังพิภพของ

พระองค์ ส่วนกุฎุมพี ครั้นวันรุ่งขึ้นไหว้พวกฤๅษีแล้วถามปัญหาผู้ที่มาไหว้ท่าน

ทั้งหลายเมื่อคืนนี้เป็นใครขอรับ. พวกฤาษีตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุนั่นแหละ

พระอินทร์ละ. เขาถามต่อไปว่า ผู้ที่นั่งแวดล้อมพระอินทร์อยู่นั่นเป็นอะไร.

ตอบว่า นั่นแหละนางเทพอัปสร. เขาไหว้พวกฤๅษีแล้วกลับไปบ้าน ตั้งแต่

กาลที่เขาไปถึงบ้านแล้ว ก็พูดเพ้ออยู่ว่า ท่านจงให้นางอัปสรแก่เรา ท่านจง

ให้นางอัปสรแก่เราเถิด. ลำดับนั้น พวกญาติจึงห้อมล้อมเขา สำคัญว่า ถูก

ผีเข้าสิงดังนี้ จึงดีดนิ้วมือ กุฎุมพีนั้นกล่าวว่า เรามิได้พูดถึงอัปสรนี้ แก่เรา

พูดถึงเทพอัปสร. พวกญาติเหล่านั้นจึงแต่งตัวภรรยา และหญิงแพศยาพามา

แสดงว่า นี้ไงนางอัปสร. เขาแลดูแล้วพูดว่า นี่ไม่ใช่นางอัปสร นี้เป็นนาง

ยักษิณี แล้วบ่นเพ้อต่อไปว่า จงให้นางเทพอัปสรแก่เรา อดอาหารถึงความ

สิ้นชีวิตในเรือนของตนนั่นเอง เพราะฉะนั้น พระราชาจึงตรัสว่า

สุชาตนั้น อยากได้นางอัปสร จนไม่ยอมกินไม่

ยอมดื่มเท่ากับเอาน้ำด้วยปลายหญ้าคามาเทียบกับน้ำใน

มหาสมุทร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมุทฺเท อุทก มิเน ความว่า

ดูก่อนท่านกาฬหัตถีผู้เป็นสหาย บุคคลใดถือเอาน้ำด้วยปลายหญ้าคานำมา

เทียบกับน้ำในมหาสมุทรว่า น้ำในมหาสมุทรมีประมาณเพียงเท่านี้ ดังนี้ บุคคล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 658

นั้นพึงเปรียบเทียบได้อย่างเดียว. ด้วยว่าน้ำในปลายหญ้าคามีประมาณน้อย

เหลือเกิน ถ้าจะเปรียบเทียบกามของมนุษย์ในสำนักของกามทิพย์ ก็เป็นเช่น

เดียวกันฉันนั้น เพราะฉะนั้น สุชาตนั้นจึงไม่แลดูหญิงอื่น ปรารถนานางเทพ-

อัปสรอย่างเดียว จึงตาย. พระราชาตรัสว่า สุชาตนั้นเมื่อไม่ได้กามอันเป็น

ทิพย์ก็ละชีวิตไปแล้วฉันใด แม้ตัวเราก็ฉันนั้น เมื่อไม่ได้เนื้อมนุษย์ซึ่งมีรส

อันสูงสุด ก็จักละชีวิตเหมือนกันฉันนั้นแล.

ท่านกาฬหัตถีได้สดับดังนั้น จึงติดว่า พระราชาพระองค์นี้ ทรงติดอยู่

ในรสอย่างมากมาย จักทูลเตือนให้พระองค์ทรงรู้สึก เมื่อจะแสดงเรื่องเปรียบ

เทียบว่าแม้สุพรรณหงส์ตัวเที่ยวบินไปทางอากาศ กินเนื้อสัตว์ชาติเดียวกันกับตน

ก็พินาศมาแล้วเหมือนกัน แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

เหมือนอย่างพวกหงส์ชาติธตรฐ เป็นสัตว์สัญจร

ไปทางอากาศ ได้ถึงความพินาศด้วยกันทั้งหมดเพราะ

บริโภคอาหารที่ไม่สมควร.

ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้เป็นจอมแต่งประชาชน ถึง

พระองค์ก็เหมือนกัน จงทรงสดับถ้อยคำของข้าพระ-

องค์ เพราะพระองค์เสวยมังสะที่ไม่ควรจะเสวย ฉะนั้น

เขาจักเนรเทศพระองค์.

อธิบายความในคาถานั้นว่า พวกหงส์ชาติธตรฐ ได้ถึงความตายด้วย

กันทั้งหมด เพราะบริโภคอาหารที่มิใช่อาชีพของตน.

มีเรื่องเล่าไว้ว่า ได้ยินว่า ในอดีตกาล หงส์เก้าหมื่นตัวกินข้าวสาลี

อยู่ในสุวรรณคูหาเขาจิตตกูฏ หงส์เหล่านั้น ไม่ยอมออกนอกถ้ำตลอด ๔ เดือน

ในฤดูฝน ถ้าออกไปปีกจะเต็มด้วยน้ำไม่อาจจะบินขึ้นได้ ต้องตกลงในมหาสมุทร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 659

แน่ เพราะฉะนั้น จึงไม่ยอมออกนอกถ้า เมื่อจวนจะถึงฤดูฝน นำข้าวสาลีที่

เกิดเองตามธรรมชาติมาจากชาตสระจนเต็มถ้ำ กินข้าวสาลีนั้น อยู่ด้วยกัน และ

ในเวลาที่หงส์เหล่านั้นเข้าไปถ้ำแล้ว แมลงมุมตัวหนึ่งตัวมันเท่ากับล้อรถ ขึงใย

ไว้ที่ประตูถ้ำเดือนละเส้น ๆ ใยของมันเส้นหนึ่ง ๆ เท่าเชือกผูกโค. พวกหงส์

จึงคิดจะทำลายใยแมลงมุมนั้น ให้อาหารแก่หงส์หนุ่มตัวหนึ่งสองส่วน หงส์

หนุ่มตัวนั้น เมื่อสิ้นฤดูฝนจึงออกนำหน้าทำลายใยนั้นออกไป หงส์นอกนั้น

ก็เดินตามไปทางนั้น. ครั้นสมัยหนึ่ง ฤดูฝนล่าไปถึง ๕ เดือน หงส์เหล่านั้น

ก็หมดอาหาร ปรึกษากันว่า จะทำอย่างไรหนอ ตกลงกันว่า เมื่อเราทั้งหลาย

ยังมีชีวิตอยู่ จักได้ไข่ แล้วจึงกินไข่เสียก่อน แล้วกินลูกหงส์ กินหงส์แก่

เป็นลำดับมา เมื่อฤดูฝนถึง ๕ เดือน แมลงมุมขึงใยได้ ๕ เส้น พวกหงส์กิน

เนื้อพวกเดียวกันเป็นสัตว์มีกำลังน้อย. หงส์หนุ่มที่ได้อาหารสองส่วน ตีขาดได้

เพียง ๔ เส้น ตีเส้น ที่ ๕ ไม่ขาด ติดอยู่ตรงนั้นเอง ถูกแมลงมุมเจาะศีรษะ

ดื่มเลือดกินเสีย แม้ตัวอื่นมาตีอีกก็ติดอยู่ในเส้นนั้น อีกโดยทำนองนี้ถูกแมลงมุม

ดื่มเลือดกินจนหมด. เขากล่าวกันว่า ตระกูลธตรฐสูญในคราวนั้น เพราะ

ฉะนั้น ท่านกาฬหัตถีเสนาบดีจึงกล่าวว่า หงส์เหล่านั้นถึงความพินาศด้วยกัน

ทั้งหมด.

ในคาถาที่สองมีอธิบายว่า หงส์เหล่านั้น กินเนื้อของสัตว์ชาติเดียวกัน

ซึ่งไม่ควรจะบริโภค ฉันใด แม้พระองค์ก็บริโภคเนื้อที่ไม่สมควรบริโภคฉันนั้น

เหมือนกัน ในขณะนี้พระนครทั้งสิ้นเกิดภัยขึ้นแล้ว ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอ

พระองค์จงงดเว้นเสียเถิด เพราะเหตุที่พระองค์ เสวยเนื้อมนุษย์ชาติเดียวกัน

ซึ่งมิใช่เป็นอาหารที่ควรจะบริโภค. เพราะฉะนั้น ชาวเมืองเหล่านั้นจักพากัน

เนรเทศพระองค์เสียจากแว่นแคว้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 660

แม้พระราชาก็ทรงมีพระประสงค์ จะทรงนำเรื่องอื่นมาเปรียบเทียบอีก

แต่ชาวเมืองลุกขึ้นร้องว่า ท่านเสนาบดีทำอะไร จะเอาโจรกินเนื้อมนุษย์ไว้

ทำใน ถ้าเธอจักไม่ยอมอด จงเนรเทศเธอเสียจากแคว้นก็แล้วกัน ไม่ให้ตรัส

ได้ต่อไป. พระราชาได้ทรงสดับ ถ้อยคำของตนหมู่มาก ตกพระทัยไม่อาจจะ

ตรัสอะไรต่อไปได้ ท่านเสนาบดีกราบทูลต่อไปอีกว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

พระองค์อาจงดได้หรือไม่ เมื่อพระราชาตรัสตอบว่า ไม่อาจ จึงจัดพระสนม

กำนัลในทุกหมู่เหล่า ทั้งพระโอรสพระธิดา ล้วนประดับประดาด้วยเครื่อง

อลังการ ให้มาเฝ้าอยู่พร้อมพรั่งข้างพระองค์ กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

ขอพระองค์จงทอดพระเนตรพระญาติพระวงศ์หมู่อำมาตย์และสิริราชสมบัตินี้

พระองค์อย่าได้ทรงพินาศ ต้องพลัดพรากจากสิ่งเหล่านั้น จงงดจากการเสวยเนื้อ

มนุษย์เสียเถิด. พระราชาตรัสว่า คนและสมบัติเหล่านั้น มิได้เป็นที่รักของเรา

ยิ่งไปกว่าเนื้อมนุษย์ เมื่อเสนาบดีกราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้น พระองค์ต้องเสด็จ

ออกจากพระนครและแคว้นนี้ จึงตรัสว่า ท่านกาฬหัตถีเสนาบดี ประโยชน์

ด้วยราชสมบัติของเราไม่มี เรายอมออกจากพระนคร แต่จงให้ดาบเล่มหนึ่ง

คนทำกับข้าวคนหนึ่ง ภาชนะใบหนึ่งแก่เรา. ครั้นนั้น ชาวพระนคร ให้ยกดาบ

เล่มหนึ่ง ภาชนะที่สำหรับทำเนื้อมนุษย์ให้สุกใบหนึ่ง กระเช้าและคนทำเครื่อง

ต้นนั้นมาถวายพระราชานั้น แล้วกระทำการเนรเทศพระองค์เสียจากแคว้น

เธอถือดาบพาคนทำเครื่องต้น ออกจากพระนครเข้าป่า ทำที่อยู่ที่ใต้ต้นไทร

แห่งหนึ่งอยู่ในที่นั้น ได้ไปตักอยู่ที่ทางดง ฆ่าคนไปมาแล้ว นำมาให้คนทำ

เครื่องต้น คนทำเครื่องต้นนั้นได้ทำเนื้อให้สุกแล้ว ถวายพระราชาเป็นอยู่อย่าง

นี้ทั้งสองคน เมื่อเธอร้องว่า เราเป็นโจรกินคนชื่อโปริสาท แล้ววิ่งไป ใครๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 661

ไม่อาจจะดำรงอยู่โดยสภาพของตนได้ ล้มลง ณ ภาคพื้นทั้งหมด ในคนเหล่านั้น

เธอปรารถนาคนใด ก็กระทำคนนั้นให้มีเท้าในเบื้องบน ให้มีศีรษะในเบื้องล่าง

นำมาให้แก่คนทำเครื่องต้น วันหนึ่งไม่ได้เนื้อกลับมา เมื่อคนทำเครื่องต้นทูล

ถามว่า จะทำอย่างไร พระเจ้าข้า. ก็ตรัสว่า ยกหม้อขึ้นตั้งบนเขาเถิด. คนทำ

เครื่องต้นถามว่า เนื้อที่ไหนพระเจ้าข้า. ตรัสตอบว่า เราจักได้เนื้อ. คนทำ

เครื่องต้น ตัวสั่นด้วยมั่นใจว่า ชีวิตของเราคงไม่รอดเป็นแน่ ถวายบังคม

พระราชาแล้วร้องไห้พลางก่อไฟยกหม้อขึ้นตั้งบนเตา. ครั้นนั้นพระเจ้าโปริสาท

จึงประหารคนทำเครื่องต้นนั้นด้วยดาบ ฆ่าให้ตายแล้วจัดทำเนื้อให้สุกดีด้วย

พระองค์เองเสร็จแล้วก็เสวย ตั้งแต่นั้นมาก็อยู่เพียงพระองค์เดียว ได้มนุษย์ใด ๆ

มาต้องทำกินเอง เรื่องพระเจ้าโปริสาทดักทางมนุษย์ ได้กระฉ่อนเลื่องลือไป

ทั่วชมพูทวีปแล้วแล. จบปัพพชนียกัณฑ์.

ครั้นนั้น พราหมณ์คนหนึ่งมีสมบัติบริบูรณ์ ประกอบพาณิชยกรรม

ด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม เดินทางจากต้นดงถึงปลายดงเสมอ เขาคิดว่า เขาเล่าลือ

กันว่า โจรโปริสาทฆ่ามนุษย์เดินทางเสียเป็นอันมาก เราจักจ้างคนให้นำข้ามดง

นั้น แล้วให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่พวกปากดง กล่าวว่า ท่านจงช่วยนำเราให้เดินพ้น

ดงไปทีเถิด แล้วเดินทางไปกับคนพวกนั้น ให้พวกเกวียนไปข้างหน้าทั้งหมด

ส่วนตัวเองอาบน้ำลูบไล้เป็นอย่างดีแล้วก็ประดับประดาด้วยเครื่องอลังการทั้ง-

ปวง นั่งบนยานน้อยที่สบายเทียมด้วยโคเผือก มีพวกนำข้ามดงแวดล้อมไป

ข้างหลังเขาทั้งหมด ขณะนั้นเจ้าโปริสาทขึ้นบนต้นไม้มองดู ไม่พอใจในคน

อื่น ๆ ด้วยคิดว่า เราจะกินพวกเขาเหล่านี้ทำไมกัน พอเห็นพราหมณ์ก็อยากกิน

จนน้ำลายไหล เมื่อพราหมณ์นั้นเข้ามาใกล้ จึงลงจากต้นไม้ประกาศชื่อว่า เฮ้ย

กูนี่แหละคือโจรโปริสาท ดังนี้ ๓ ครั้งแล้ว วิ่งแกว่งดาบดุจทำดวงตาของตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 662

เหล่านั้นให้เต็มด้วยทราย ไม่มีใครแม้สักคนเดียวที่สามารถจะทรงตนอยู่ได้

หมอบลงราบพื้นดินทั้งหมด เจ้าโปริสาทจับพราหมณ์ผู้นั่งบนยานนั้นที่เท้า ทำ

ศีรษะให้ห้อยลงในเบื้องต่ำ ประหารศีรษะด้วยข้อเท้าแล้วแบกไป พวกรับอาสา

นำทางลุกขึ้นได้ จึงกล่าวว่า เฮ้ย พวกเรารับเอากหาปณะพันหนึ่งจากมือของ

พราหมณ์ การทำงานแห่งลูกผู้ชายของพวกเรา อาจหรือไม่อาจ อย่างไรก็ตาม

ลองช่วยกันติดตามดูหน่อยเถิด ว่าแล้วก็พากันติดตามไป. ส่วนเจ้าโปริสาท

เมื่อกลับเหลียวหลังดูไม่พบใคร ๆ จึงค่อยเดินไป. ขณะนั้น บุรุษผู้กล้าหาญ

สมบูรณ์ด้วยกำลังคนหนึ่ง วิ่งตามไปโดยเร็ว ทันเจ้าโปริสาท เจ้าโปริสาท

เห็นบุรุษนั้น จึงกระโดดข้ามรั้ว แห่งหนึ่ง เผอิญเท้ากระทบกับตอตะเคียน

ถูกตอคะเคียนแทงทะลุหลังเท้า เลือดไหลฉูดเดินเขยกไป ครั้นบุรุษนั้นเห็น

อาการเช่นนั้น จึงร้องว่า มันถูกเราแทงแล้วโว้ย พวกเราจงตามมาเร็ว ๆ เถิด

จับมันให้ได้ คนเหล่านั้นรู้ว่า เจ้าโปริสาททุพลภาพลงจึงติดตามไปพร้อมกัน

เจ้าโปริสาทก็รู้ว่า พวกเขากำลังติดตามมา จึงปล่อยพราหมณ์เอาตัวรอดไป

พวกคนรับอาสานำทางเมื่อได้พราหมณ์มาแล้ว ก็กล่าวว่า ธุระอะไรของพวก

เราด้วยการจับโจร จึงพากันกลับเพียงแค่นั้นเอง. ส่วนเจ้าโปริสาท พอไปถึง

โคนต้นไทรของตนแล้ว เข้านอนอยู่ภายในย่านนั้น ได้ทำพิธีบวงสรวงว่า

ข้าแต่เจ้ารุกขเทวดา ถ้าท่านสามารถทำแผลของข้าพเจ้า ให้หายได้ภายใน ๗ วัน

นี้ ข้าพเจ้าจักล้างลำต้นของท่านด้วยเลือดในลำคอของกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์

ในชมพูทวีปทั้งหมด จักแวดวงด้วยลำไส้ของกษัตริย์เหล่านั้น จักกระทำ

พลีกรรมด้วยเนื้อมีรส ๕ ดังนี้ เมื่อเขาไม่ได้มังสะและข้าวน้ำ ร่างกายซูบซีดลง

แผลได้หายภายใน ๗ วันนั้นเอง. เขาจึงสำคัญไปว่า เป็นด้วยอานุภาพของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 663

เทวดา ครั้นได้กินเนื้อมนุษย์ ๒ - ๓ วัน ได้มีกำลังดีแล้ว จึงคิดอย่างนี้ว่า

เทวดามีอุปการะแก่เรามากมาย เราจักแก้บนแก่ท่าน แล้วถือคาบออกจากโคน

ต้นไม้ ด้วยหวังใจว่า จักนำพระราชามาให้ได้.

ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เป็นสหายกินเนื้อด้วยกัน ครั้งที่เจ้าโปริสาทเคยเป็น

ยักษ์ในภพก่อน เที่ยวอยู่ตามถิ่นนั้น พบเจ้าโปริสาทจำได้ว่า นี้เป็นสหายของ

เราในภพอดีต จึงถามว่า จำเราได้ไหมเพื่อน เจ้าโปริสาทตอบว่า จำไม่ได้.

เขาจึงได้เล่าเรื่องเหตุการณ์ที่ได้เคยร่วมกันมา ครั้งที่เจ้าโปริสาทเป็นยักษ์ เมื่อ

ภพก่อนให้เจ้าโปริสาทฟัง. เจ้าโปริสาทจำยักษ์นั้นได้ จึงกระทำการต้อนรับ.

ยักษ์ถามว่า ท่านเกิดที่ไหน เจ้าโปริสาทได้แจ้งสถานที่ที่ตนเกิดแล้ว และ

เหตุการณ์ที่ต้องถูกเนรเทศจากแคว้น และสถานที่ที่อยู่ในบัดนี้ เหตุที่ถูกต่อไม้

แทงแล้ว เหตุที่จะไปเพื่อแก้บนแก่เทวดา ให้ทราบทุกประการแล้วกล่าวว่า

นี่หน้าที่ของเรา ท่านต้องช่วยด้วยนะ. เราทั้งสองไปด้วยกันเถิดเพื่อน. ยักษ์

ตอบว่า เพื่อนเอ๋ย เรายังไปร่วมด้วยไม่ได้ เพราะกิจอย่างหนึ่งของเรายังมีอยู่.

แต่เรารู้มนต์ชื่อปทลักขณะ หาค่ามิได้ มนต์นั้นทำให้มีกำลัง ให้วิ่งได้เร็ว และ

มีเดชสูง เธอจงเรียนมนต์นี้ไปเถิด เมื่อเจ้าโปริสาทรับคำแล้ว ยักษ์จึงให้มนต์

นั้นแก่เจ้าโปริสาทแล้วหลีกไป. เจ้าโปริสาทตั้งแต่ได้มนต์แล้วก็วิ่งได้เร็วเหมือน

ลมพัด กล้าหาญมาก มีกำลังและความเพียรมาก ได้พบพระราชา ๑๐๑ พระ

องค์ซึ่งกำลังเสด็จประพาสพระราชอุทยานเป็นต้น วิ่งไปด้วยกำลังดุจลมประกาศ

นามแล้วคำรามบันลือลั่น ให้กษัตริย์เหล่านั้นตกพระทัยแล้ว จับพระบาทให้มี

เศียรในเบื้องต่ำ ประหารศีรษะด้วยส้น นำไปด้วยกำลังดุจลม ทำช่องที่ฝ่า

พระหัตถ์ของกษัตริย์เหล่านั้นแล้วร้อยด้วยเชือกผูกแขวนไว้ที่ต้นไทร จับได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 664

หมดภายใน ๗ วันนั้นเอง. พระราชาเหล่านั้นทั้งหมด ปลายนิ้วพระบาทพอ

จรดพื้น ห้อยกวัดแกว่งอยู่ดุจพวงดอกหงอนไก่ ที่เหี่ยวในเมื่อลมพัดต้องอยู่

ดูช่างน่าสังเวช ส่วนพระเจ้าสุตโสม เจ้าโปริสาทมิได้จับไปเพราะเห็นว่าเป็น

พระอาจารย์ในหนหลังของตน และเกรงว่าถ้าขืนจับเอาไป ชมพูทวีปก็จัก

ว่างเปล่าจากกษัตริย์ เธอตั้งใจจะกระทำพลีกรรม ก่อไฟแล้วนั่งถากหลาวอยู่

รุกขเทวดาเห็นการกระทำของเธอคิดว่า เจ้าโปริสาทจักทำพลีกรรมแก่เรา

ความผาสุกแม้สักหน่อยหนึ่งในแผลของเขา เรามิได้กระทำให้ บัดนี้ความ

ผาสุกของเขานั้น จักทำความพินาศใหญ่ให้แก่พระราชาเหล่านั้น เราจะทำอย่าง

ไรหนอ ครั้นเห็นว่าตนไม่อาจจะห้ามได้ จึงไปยังสำนักท้าวมหาราชทั้ง ๔

เล่าความนั้นให้ฟังแล้วกล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงช่วยห้ามเขาด้วย เมื่อท้าว

มหาราชตอบว่า แม้พวกเราก็ไม่อาจจะห้ามเขาได้ จึงเข้าไปเฝ้าท้าวสักกเทวราช

ทูลเล่าความนั้นให้ทรงทราบแล้ว กราบทูลว่า ขอพระองค์ได้โปรดห้ามเขาด้วย

แม้ท้าวสักกเทวราชก็ตรัสว่า เราก็ไม่อาจจะห้ามเขาได้ แต่เราจะออกอุบาย

อย่างหนึ่งให้ เมื่อรุกขเทวดานั้นทูลถามว่า อุบายนั้นเป็นอย่างไร. ท้าวสักก-

เทวราชตรัสว่า คนอื่นในโลกทั้งเทวดาที่จะเสนอเหมือนไม่มี ผู้นั้นคือราชโอรส

ของพระเจ้าโกรัพยะ ในพระนครอินทปัต แคว้นกุรุ พระนามว่าสุตโสม จะ

ทรมานเจ้าโปริสาทนั้นให้หายพยศได้ และจักพระราชทานชีวิตแก่พระราชา

ทั้งหลายด้วย ทั้งจักให้เจ้าโปริสาทนั้น งดจากการกินเนื้อมนุษย์ได้ด้วย จักโสต

สรงชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นดุจน้ำอมฤต ถ้าเธอใคร่จะให้ชีวิตแก่พระราชาทั้งหลาย

จงกล่าวกะเจ้าโปริสาทนั้นว่า การทำพลีกรรมนั้นต้องนำพระเจ้าสุตโสมมาด้วย

รุกขเทวดารับเทวบัญชาแล้ว จึงรีบมาแปลงเพศเป็นบรรพชิตไปสถิตอยู่ ณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 665

ที่ใกล้เจ้าโปริสาท. ส่วนเจ้าโปริสาท ได้ยินเสียงเท้าสำคัญว่าพระราชาบางองค์

จักหนีไป ครั้นได้เห็นรุกขเทวดานั้น จึงคิดว่า ธรรมดาว่าบรรพชิตย่อมเป็น

กษัตริย์ทั้งนั้น เราจักจับบรรพชิตนี้ทำพลีกรรมให้เต็มจำนวน ๑๐๑ ดังนี้ แล้ว

จึงลุกขึ้นถือดาบติดตามไป แม้ติดตามไปถึง ๓ โยชน์ก็ไม่อาจจะทันได้ เหง อ

ไหลจนโซมตัว คิดว่า เมื่อก่อนช้างก็ดี ม้าก็ดี รถก็ดี วิ่งแล่นไปอยู่ เรา

ยังวิ่งไล่ตามจับมาได้ทั้งนั้น วันนี้แม้เราวิ่งอยู่จนสุดกำลัง ก็ยังไม่อาจ้จะจับ

บรรพชิต ผู้เดินไปอยู่โดยปกติของตนได้ มีเหตุอะไรหนอ เธอดำริต่อไปว่า

ขึ้นชื่อว่า บรรพชิผู้กระทำตามถ้อยคำ เราจักบังคับให้เธอหยุด เธอหยุด

แล้วจึงจับดังนี้ แล้วกล่าวว่า หยุดก่อนสมณะ. รุกขเทวดาตอบว่า เราหยุด

อยู่ก่อนแล้ว ท่านนั่นแหละจงพยายามหยุดบ้างเถิด. ลำดับนั้น เจ้าโปริสาท

จึงกล่าวกะรุกขเทวดานั้นว่า ท่านผู้เจริญ ธรรมดาว่าบรรพชิต ย่อมไม่พูดเท็จ

แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ส่วนท่านพูดเท็จดังนี้ แล้วกล่าวคาถาว่า

ท่านเมื่อเรากล่าวว่า จงหยุด ก็ยังเดินไม่เหลียว

หลัง ดูก่อนพรหมจารี ท่านไม่ได้หยุดกล่าวว่า หยุด

แล้ว ดูก่อนสมณะ ท่านประพฤติอย่างนี้สมควรแล้ว

หรือ ดาบของเรา ท่านเข้าใจว่าเป็นขนนกกระสาหรือ.

คาถานี้มีอธิบายว่า ดูก่อนสมณะ ท่านนั้นเมื่อเรากล่าวคำว่า จงหยุด

ดังนี้ ก็ยังเดินไปมิได้เหลียวหลัง ดูก่อนพรหมจารี ท่านมิได้หยุดแต่กล่าวว่า

หยุดแล้ว ก็ท่านสำคัญว่าดาบของเราเป็นขนนกกระสาหรือ.

ในลำดับนั้น เทวดาจึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 666

ดูก่อนพระราชา อาตมภาพเป็นผู้หยุดก่อนแล้ว

ในธรรมของตน ไม่ได้เปลี่ยนนามและโคตร ส่วนโจร

นักปราชญ์ ท่านกล่าวว่า ไม่หยุดในโลก เพราะเคลื่อน

จากโลกนี้แล้ว ต้องไปเกิดในอบายหรือในนรกแน่.

ดูก่อนพระราชา ข้าพระองค์ทรงเชื่ออาตมภาพ

ต้องจับพระเจ้าสุตโสมผู้เป็นกษัตริย์มาด้วย พระองค์

บูชายัญด้วยพระเจ้าสุตโสมนั่นแล จักไปสวรรค์แล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สธมฺเมสุ ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร

อาตมภาพเป็นผู้หยุดแล้วในกรรมของตนกล่าวคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ

เมื่อก่อนพระองค์เป็นพระราชาทรงพระนามว่า พรหมทัต ละพระนามนั้น

เสียแล้วเปลี่ยนมาชื่อว่า โปริสาท บัดนี้มีนามว่ากัมมาสบาท แม้อุบัติ

ในขัตติยสกุล ก็ยังกินเนื้อมนุษย์ซึ่งเป็นของไม่สมควรกิน ท่านเปลี่ยน

นามและโคตรของตน ฉันใด อาตมามิได้เปลี่ยนนามและโคตรเหมือนอย่าง

นั้นเลย ส่วนโจรนักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่าไม่ตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถ ๑๐

ประการ เคลื่อนจากโลกนี้แล้วต้องไปเกิด ในอบายหรือนรก และโจร

นั้นเมื่อตกนรกแล้วย่อมไม่ได้ที่พึ่งสำนักแห่งตนดังนี้แล. คำว่า สุตะ ใน

คาถานั้น หมายถึงพระเจ้าสุตโสม อธิบายว่า ดูก่อนเจ้าโปริสาทผู้เจริญ

ท่านนั่นแลกล่าวมุสาวาท เพราะท่านกล่าวปฏิญาณแก่เราว่า จักนำพระราชา

ในชมพูทวีปทั้งหมดมากระทำพลีกรรม บัดนี้ ท่านนำพระราชาสามัญธรรมดา

ผู้มีกำลังทุรพลมาเช่นนั้น ส่วนพระเจ้าสุทโสมมหาราชผู้เป็นใหญ่ในพื้นชมพู-

ทวีปทั้งหมดท่านมิได้นำมา ถ้อยคำของท่านชื่อว่าเป็นคำเท็จ เพราะฉะนั้น

จงไปจับพระเจ้าสุตโสมมาด้วย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 667

เทวดากล่าวอย่างนี้แล้ว ก็บันดาลให้เพศบรรพชิตสูญหายไป กลับ

กลายร่างเป็นเพศของตน ยืนโชติช่วงอยู่ดุจดวงอาทิตย์ในอากาศ เจ้าโปริสาท

ได้สดับถ้อยคำและเห็นรูปเทวดานั้นแล้ว ถามว่า ท่านเป็นใครกัน เทวดาตอบว่า

เราเป็นเทวดาอยู่ที่ต้นไม้นี้เอง เจ้าโปริสาทดีใจว่า เราได้เห็นเทวดาโดยประ-

จักษ์ กล่าวว่า เทวราชเจ้าอย่าได้วิตกเพราะเหตุพระเจ้าสุตโสมเลย เชิญเสด็จ

เข้าต้นไม้ของตนเสียเถิด. เทวดาเข้าสู่ต้นไม้ในขณะที่เจ้าโปริสาทกำลังแลดูอยู่

ขณะนั้นดวงอาทิตย์ก็อัสดงคต ดวงจันทร์ขึ้นปรากฏแล้ว เจ้าโปริสาทเป็นนัก

ปราชญ์ทางเวทางคศาสตร์ฉลาดรอบรู้นักษัตรโคจร เธอแหงนดูต้องฟ้า คำริว่า

พรุ่งนี้จะเป็นผุสสนักษัตร พระเจ้าสุตโสมจักเสด็จสรง ณ พระราชอุทยาน

เราจักจับเธอที่นั่น แต่การรักษาของพระองค์จักเป็นการใหญ่ ชาวพระนคร

ทั้งสิ้นจักเที่ยวรักษาตลอด ๓ โยชน์โดยรอบ เราจักต้องไปยังมิคาจิรวันราช

อุทยาน ลงสู่มงคลโบกขรณี ซ้อนตัวอยู่เสียแต่ปฐมยาม เมื่อการรักษายังมิได้

ทันจัดแจง แล้วได้ไปยังพระราชอุทยานนั้น ลงสู่สระโบกขรณียืนปกศีรษะ

ด้วยใบบัว ด้วยเดชของเจ้าโปริสาทนั้น สัตว์น้ำมีปลาและเต่าเป็นต้น ได้คอย

ออกไปว่ายอยู่รอบนอกเป็นฝูง ๆ มีคำถามสอดเข้ามาว่า เดชนี้เจ้าโปริสาทได้

เพราะอะไร มีคำแก้ว่าเธอได้ด้วยอำนาจบุญที่ได้บำเพ็ญไว้ในชาติก่อน แท้ที่

จริง เมื่อศาสนกาลของพระทศพลทรงพระนามว่า กัสสป เธอได้เป็นผู้ริเริ่ม

สลากภัตรน้ำนมสด เธอจึงมีกำลังมากมายด้วยเหตุนั้น เธอได้สร้างโรงไฟแล้ว

ถวายไฟ ฟืน มีดเกลียกฟืนและขวานเพื่อบรรเทาความหนาวแก่ภิกษุสงฆ์

เธอจึงได้มีเดชด้วยเหตุนั้น เมื่อเจ้าโปริสาทไปอยู่ภายในพระราชอุทยานอย่างนี้

แล้ว เจ้าพนักงานได้จัดการอารักขาในที่ประมาณ ๓ โยชน์โดยรอบ ส่วน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 668

พระเจ้าสุตโสมเสวยอาหารเช้าแต่เช้าทีเดียว เสด็จขึ้นทรงมงคลหัตถีที่เขา

ประดับประดาไว้อย่างดีแล้ว แวดล้อมไปด้วยจตุรงคินีเสนาเสด็จออกจาก

พระนคร.

ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อว่านันทะ นำเอาคาถาชื่อว่า สตารหา ๔ คาถา

ล่วงหนทาง ๑๒๐โยชน์ แต่พระนครตักกศิลา ถึงพระนครนั้นแล้ว พักอยู่ที่

บ้านใกล้ประตูพระนคร เนื้อดวงอาทิตย์อุทัยเข้าไปสู่พระนคร เห็นพระราชา

เสด็จออกทางประด้านทิศตะวันออก. จึงเหยียดมือออกถวายชัยมงคล พระราชา

เสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตรทิศอยู่ ได้ทอดพระเนตรเห็นมือที่เหยียด

ออกของพราหมณ์ผู้ยืนอยู่ ณ ประเทศอันสูง ทรงไสพระยาช้างเสด็จเข้าไปใกล้

พราหมณ์ เมื่อจะตรัสถาม ได้ตรัสพระคาถาว่า

ชาติภูมิของท่านอยู่แคว้นแดนไหน ข้าพเจ้าขอ

ถามท่านพราหมณ์ ท่านมาถึงพระนครนี้ด้วยต้องการ

ประโยชน์อะไร ท่านพราหมณ์จงบอกความประสงค์

นั้นแก่ข้าพเจ้า ท่านปรารถนาอะไร ข้าพเจ้าจักให้สิ่ง

ที่ท่านปรารถนาในวันนี้.

ลำดับนั้น พราหมณ์นั้นจึงทูลท้าวเธอเป็นคาถาว่า

ข้าแต่พระจอมธรณีมหิศร พระคาถา ๔ พระคาถา

มีอรรถอันลึกวิเศษนัก เปรียบประดุจสาคร ข้าพเจ้า

มาในพระนครนี้ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ ขอพระ-

องค์จงทรงสดับพระคาถาอันประกอบด้วยประโยชน์

อย่างยอดเยี่ยม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 669

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธรณีมหิสฺสรา มีอรรถาธิบายว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ผู้คุ้มครองแผ่นดิน พระคาถา ๔

พระคาถาเกิดขึ้นแล้วอย่างไร มีข้อความอันลึกซึ้งประเสริฐยิ่งนัก เปรียบ

ด้วยสาคร ข้าพระองค์มายังสถานที่นี้ ก็เพื่อประโยชน์ของพระองค์เอง ขอ

พระองค์จงทรงสดับคาถาอันควรแก่ค่าราคาร้อยหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยประ-

โยชน์อย่างยิ่ง อันพระกัสสปทศพลทรงแสดงไว้แล้วนี้เถิด.

พราหมณ์ทูลดังนั้นแล้ว ทูลต่อไปว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า คาถาชื่อว่า

สตารหา ๔ พระคาถานี้ พระกัสสปทศพลทรงแสดงไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับว่า

พระองค์ทรงโปรดปรานในการศึกษา จึงมาเพื่อแสดงแก่พระองค์ พระราชามี

พระหฤทัยโสมนัส ตรัสว่า ท่านอาจารย์ ท่านมาดีแล้ว แต่ข้าพเจ้าไม่อาจจะ

กลับจากที่นี่ได้ วันนี้ข้าพเจ้าจักมาสรงเศียรโดยคลองแห่งผุสสนักษัตรฤกษ์

เพราะฉะนั้น. ข้าพะเจ้าจักมาฟังในวันพรุ่งนี้ ขอท่านอย่าได้หน่ายแหนงไปเลย

แล้วตรัสสั่งอำมาตย์ว่า ท่านทั้งหลายจงไปจัดที่นอนให้แก่พราหมณ์ ที่เรือน

หลังโน้น จงจัดอาหารและผ้านุ่งด้วย แล้วเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระราช-

อุทยาน พระราชอุทยานนั้นแวดล้อมด้วยกำแพงสูง ๑๘ ศอก ช้างยืนเรียง

ต่อ ๆ กัน แวดวงเป็นหลั่น ๆ ไป ต่อนั้นออกไปเป็นขบวนม้า ต่อออกไปก็

เป็นขบวนรถ ถัดไปเป็นขบวนนายขมังธนู ถัดไปเป็นขบวนคนเดินเท้า ตั้ง

ล้อมวงเป็นลำดับกันดังนี้แล พลนิกายได้บันลือลั่นดุจมหาสมุทรที่กำเริบฉะนั้น

พระราชาทรงเปลื้องเครื่องราชอิสริยาภรณ์แล้ว ให้ทำมัสสุกรรม มีพระสรีระ

อันฟอกแล้วด้วยจุณสำหรับสนาน เสด็จสรงภายในมงคลสระโบกขรณี ตาม

พระราชประเพณีแล้ว เสด็จขึ้นทรงพระภูษาซับพระองค์ประทับ ยืนอยู่.

ลำดับนั้น เจ้าพนักงานทูลเกล้าถวายพระภูษาของหอมดอกไม้และเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 670

อลังการ ขณะนั้นเจ้าโปริสาทคิดว่า พระราชานี้ เวลาแต่งพระองค์แล้วจักหนัก

เราจักจับในเวลาที่ยังเบา ดังนี้แล้ว โผล่ขึ้นจากน้ำวางนิ้วไว้ ณ หน้าผาก

ดวงดาบบนกระหม่อม ดุจพญามัจจุราช บันลือลั่นประเทศว่า เฮ้ย กูนี่แหละ

ซึ่งโจรโปริสาท พวกราชบริพารได้ยินเสียงเธอแล้ว ที่ขึ้นช้างก็ล้มลงอยู่กับช้าง

ที่ขึ้นม้าก็ล้มลงอยู่กับม้า ที่ในรถก็ล้มอยู่กับรถ พลนิกายทิ้งอาวุธหมอบราบ

ลงกับพื้น เจ้าโปริสาทจับพระเจ้าสุตโสมยกขึ้น เวลาที่เธอจับพระราชาอื่น ๆ

จับพระบาทกระทำให้มีเศียรในเบื้องต่ำ ประหารศีรษะด้วยส้น. ส่วนพระ

โพธิสัตว์ เธอน้อมตัวเข้าไปยกขึ้นให้นั่งบนบ่า คิดว่า เราไปทางประตูจะเป็น

การเนิ่นช้า เมื่อไม่เห็นทางที่จะไป จึงกระโดดขึ้นกำแพงอันสูงถึง ๑๘ ศอก

ที่ตรงหน้านั่นเอง และแล้วกระโดดเหยียบกระพองพญาช้างซับมัน แล้วเหยียบ

หลังม้าต่อ ๆ ไป ด้วยกำลังอันรวดเร็วดุจสายลม ประหนึ่งว่ากระโดดเหยียบ

ยอดเขาตั้งอยู่เรียงรายกันไปฉะนั้น เหยียบแอกรถงอนรถวิ่งไปโดยเร็ว เป็น

ประหนึ่งว่า หมุนไปเป็นวงกลมของลูกข่าง และย่ำใบไทรที่สะพรั่งด้วยผลเขียว

ฉะนั้นพักเดียวก็ล่วงหนทางได้ ๓ โยชน์ ดำริว่า มีใครตามมาช่วยท่านสุตโสมบ้าง

หรือเปล่า เหลียวดูไม่เห็นใคร จึงค่อย ๆ เดินไปเห็นหยาดน้ำแต่ปลายพระเกศา

ของพระเจ้าสุตโสมตกลงมาที่อกของตน ดำริว่า ขึ้นชื่อว่า สัตว์ที่จะไม่กลัว

ความตายไม่มี แม้พระเจ้าสุตโสมก็เห็นจะร้องไห้เพราะกลัวต่อความตาย แล้ว

กล่าวคาถาว่า

ท่านผู้มีความรู้ มีปัญญาเป็นพหูสูต คิดเหตุการณ์

ได้มากย่อมไม่ร้องไห้ การที่พวกบัณฑิตเป็นผู้บรรเทา

ความเศร้าโศกผู้อื่นได้ นี่แหละเป็นที่พึ่ง อย่างยอดเยี่ยม

ของนรชน เหมือนอย่างเกาะเป็นที่พำนักของคนที่ต้อง

เรือแตกในมหาสมุทร ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 671

ท่านสุตโสม พระองค์คิดถึงอะไร ตนหรือญาติ

หรือลูกเมีย หรือข้าวเปลือกทรัพย์สิน เงินทอง ท่าน

โกรัพยะผู้ประเสริฐสุด หม่อมฉันขอฟังถ้อยคำของ

พระองค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย ปณฺฑิตา ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย

เช่นพระองค์เป็นผู้บรรเทาความเศร้าโศกของตนเหล่าอื่นเสียได้ การบรรเทา

ความเศร้าโศกนี้แล ย่อมเป็นที่พึ่งอย่างดีเยี่ยมของชนเหล่าอื่น เปรียบเหมือน

เกาะเป็นที่พำนักของคนที่เรือแตกในมหาสมุทร ฉะนั้น เพราะฉะนั้น ท่านผู้มี

ความรู้เช่นพระองค์ย่อมไม่ร้องไห้ ดูก่อนสุตโสมผู้เป็นสหาย เมื่อคนเช่นท่าน

ร้องไห้อยู่เพราะกลัวความตาย คนอันธพาลเหล่าอื่นจักกระทำอย่างไรเล่า

ข้าพเจ้าขอถามท่าน ดูก่อนท่านสุตโสม ในบรรดาปิยชนมีตัวเองเป็นต้นเหล่านี้

พระองค์คิดถึงอะไร พระองค์ทรงเศร้าโศกรำพึงถึงอะไรเล่า.

พระเจ้าสุตโสมตรัสคาถาว่า

เรามิได้คิดถึงตัวเอง มิได้คิดถึงลูกเมีย มิได้คิด

ถึงทรัพย์สมบัติ มิได้คิดถึงบ้านเมือง แต่ธรรมของ

สัตบุรุษที่ท่านประพฤติกันครั้งโบราณ เราผัดต่อ

พราหมณ์ไว้คิดถึงเรื่องธรรมข้อนั้นแล.

การนัดหมาย เราตั้งอยู่ในฐานะเป็นพระเจ้า

แผ่นดินได้ทำไว้กับพวกพราหมณ์ในแคว้นของตน

การนัดหมายนั้นต่อพราหมณ์ผู้ประเสริฐ เราจักเป็น

ผู้รักษาความสัตย์กลับมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 672

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุตฺถุนาบิ ความว่า พระเจ้า

สุตโสมตรัสว่า ข้าพเจ้ามิได้ร้องไห้ มิได้เศร้าโศกเลย มิได้คิดถึง มิได้

เศร้าโศกเพื่อประโยชน์แก่ตนเองเป็นต้น แม้เหล่านั้นเลย. ก็แต่ว่าธรรมของ

สัตบุรุษผู้เป็นบัณฑิตที่ท่านประพฤติมาแล้ว ครั้งโบราณมีอยู่. ขึ้นชื่อว่า

ความสัตย์เพราะกระทำการนัดแน่ะอันใดไว้ ข้าพเจ้าเศร้าโศกถึงการนัดแน่.

ไว้กับพราหมณ์นั้น. คำว่า จักเป็นผู้รักษาความสัตย์ ในคาถานั้น

หมายความว่า ข้าพเจ้าจักเป็นผู้รักษาคำสัตย์ไว้ ด้วยว่าพราหมณ์นั้นนำ

เอาคาถา ๔ คาถา ที่พระกัสสปทศพล ทรงแสดงแล้วมาจากเมืองตักกศิลา

ข้าพเจ้าได้สั่งให้กระทำอาคันตุกวัตรแก่พราหมณ์นั้น แล้วจึงมาอาบน้ำ ข้าพเจ้า

ได้กระทำการนัดหมายกับพราหมณ์ไว้ว่า ข้าพเจ้าจักฟังคาถานั้น ขอให้ท่าน

พราหมณ์จงรออยู่จนกว่าข้าพเจ้าจะกลับมา ดังนี้แล้วจึงมา แต่ท่านมิได้ให้

ข้าพเจ้าฟังคาถานั้น จับเอาข้าพเจ้ามาเสียก่อน ถ้าท่านปล่อยข้าพเจ้าไป ข้าพเจ้า

ฟังธรรมแล้ว จักเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา.

ครั้งนั้น เจ้าโปริสาททูลพระเจ้าสุตโสมว่า

คนผู้มีความสุข หลุดออกจากปากของมัจจุแล้ว

จะมาสู่มือของศัตรูอีก ข้อนี้ข้าพเจ้ายังเชื่อไม่ได้หรอก

ข้าแต่ท่านโกรัพยะผู้ประเสริฐสุด พระองค์จะไม่เข้า

ใกล้ข้าพเจ้าอีกกระมัง.

พระองค์พ้นจากมือของโปริสาท เสด็จไปถึง

พระราชมนเทียรของพระองค์ เพลิดเพลินด้วยกาม

คุณารมณ์ พระองค์ได้ชีวิตอันเป็นที่รักจิตสนิทใจ

พระองค์จักกลับมาหาข้าพเจ้าได้อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 673

ในคาถาเหล่านั้น บทว่า สุขี ความว่า บุคคลที่ถึงความสุขแล้ว.

บทว่า มจฺจุมุขา ปมุตฺโต ความว่า หลุดออกจากปากของความตาย

เพราะพ้นจากเงื้อมมือของโจรเช่นข้าพเจ้าแล้ว จะพึงกลับมาอีก ถ้อยคำนี้

ข้าพเจ้ายังไม่ยอมเชื่อเลย ข้าแต่ท่านโกรัพยะผู้ประเสริฐสุด พระองค์จะไม่มา

ยังสำนักของหม่อมฉันอีกกระมัง ดูก่อนท่านสุตโสม ท่านพ้นจากเงื้อมมือของ

เจ้าโปริสาทแล้ว เสด็จไปยังพระราชมณเฑียร. บทว่า สก มนฺทิร ได้แก่

ราชธานี. บทว่า กามกามี ความว่า พระองค์ทรงเพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณ

จักกลับมายังสำนักของข้าพเจ้าได้อย่างไร.

พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น เป็นดุจพระยาไกรสรราชสีห์ ไม่

หวาดหวั่น ตรัสตอบว่า

คนที่มีศีลบริสุทธิ์ มุ่งปรารถนาความตาย คนผู้มี

ธรรมลามกที่นักปราชญ์ติเตียน ไม่พึงปรารถนาชีวิต

นรชนคนใดพึงกล่าวคำเท็จ เพราะเหตุแม้แห่งของรัก

อันใด ของรักอันนั้น ไม่รักษานรชนคนนั้นจากทุคติ

ได้เลย.

แม้ถึงลมจะพึงพัดภูเขามาได้ ดวงจันทรและ

ดวงอาทิตย์จะพึงตกในแผ่นดินได้ แม่น้ำทั้งหมดจะ

พึงไหลทวนกระแสได้ ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้าก็พูดเท็จ

ไม่ได้จริง ๆ นะพระราชา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มต วเรยฺย ความว่า ดูก่อนเจ้าโปริสาท

นรชนคนใด มีศีลบริสุทธิ์ พึงมุ่งปรารถนาความตาย อธิบายว่า จงต้องการ

จงปรารถนาความตาย. บทว่า น ชีวิต ความว่า ส่วนบุคคลผู้มีธรรมอันลามก

ที่นักปราชญ์ติเตียน ไม่พึงปรารถนาคือไม่ต้องการชีวิต เพราะชีวิตของเขา

ไม่มีราคา เพราะไม่ทำความเจริญอะไรต่อไป. บทว่า ยสฺส ความว่า คนทุศีล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 674

พึงกล่าวคำเท็จเพื่อประโยชน์แก่ตนใด วัตถุมีตัวเองเป็นต้นนั้น ย่อมไม่รักษา

บุรุษนั้น จากทุคติได้เลย.

บทว่า คิริมาวเหยฺย ความว่า ดูก่อนเจ้าโปริสาทผู้เป็นสหาย ท่าน

ก็เป็นสหายผู้สนิท เคยเล่าเรียนในสำนักอาจารย์เดียวกันกับข้าพเจ้าถึงเพียงนี้

ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวคำเท็จเพราะเหตุแห่งชีวิตเลย ถึงแม้ว่าลมต่างชนิดมีลมในทิศ

บูรพาเป็นต้น จะพึงพัดภูเขาใหญ่มาในอากาศ ประดุจปุยนุ่นได้ แม้เหตุนั้นก็พึง

เธอถือได้ แต่ท่านพึงเธอคำนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่พึงกล่าวคำเท็จ ดังนี้ได้ ยิ่งกว่า

เหตุนั้น ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์จะพึงตกในแผ่นดินพร้อมด้วยวิมานของตนแม้

แม่น้ำทุกสายจะพึงไหลทวนกระแสได้ ดูก่อนเจ้าโปริสาทผู้เจริญ ถ้อยคำอย่างนี้

ถ้ามีใครกล่าวขึ้น ก็พึงเธอได้ ส่วนคำที่ว่า ข้าพเจ้าพึงพูดเท็จนี้ ถ้าชนทั้งหลาย

กล่าวแก่ท่านแล้ว คำนั้น ท่านไม่พึงเชื่อเลย.

ฟ้าจะพึงแตกได้ ทะเลจะพึงแห้งได้ แผ่นดิน

อันทรงไว้ซึ่งภูตจะพึงพลิกได้ เมรุบรรพตจะพึงเพิก

ถอนได้ตลอดราก ข้าพเจ้าก็พูดเท็จไม่ได้เลยนะราชา.

แม้พระโพธิสัตว์ตรัสอย่างนี้แล้ว เจ้าโปริสาทก็ยังไม่ยอมเชื่อ. ลำดับนั้น

พระโพธิสัตว์จึงทรงดำริว่า เจ้าโปริสาทนี้ไม่ยอมเชื่อเรา เราจักให้เธอยอมเชื่อ

ด้วยคำสาบาน แล้วตรัสว่า ดูก่อนสหายโปริสาท ท่านจงให้ข้าพเจ้าลงจาก

บ่าก่อน ข้าพเจ้าจะทำสาบานให้ท่าน ครั้นพอเจ้าโปริสาทเอาลงวางไว้ ณ

ภาคพื้นแล้ว เมื่อจะทรงทำการสาบาน ได้ตรัสพระคาถาว่า

ข้าพเจ้าจักจับดาบและหอก จะทำแม้ซึ่งการ

สาบานแก่ท่านก็ได้นะสหาย ข้าพเจ้าพ้นจากท่านไป

แล้ว เป็นผู้หาหนี้มิได้ จักเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 675

ความแห่งคาถานั้นมีอธิบายว่า ดูก่อนเจ้าโปริสาทผู้เป็นสหาย ถ้าท่าน

ปรารถนา ข้าพเจ้าก็จะจับดาบและหอกสาบานว่า ขออย่าให้ข้าพเจ้าได้บังเกิด

ในตระกูลกษัตริย์ ซึ่งมีการรักษาอันกวดขันเป็นอย่างดี ด้วยอาวุธเห็นปานนี้

ดูก่อนสหาย หรือว่าท่านปรารถนาคำสาบานอย่างอื่นอีก ข้าพเจ้าก็จะทำการ

สาบานให้แก่ท่านอีกก็ได้ เราพ้นจากท่านแล้ว ก็จะไปหาพราหมณ์ กระทำตน

ไม่ให้มีหนี้สินแก่พราหมณ์แล้ว ก็จักเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา.

ในลำดับนั้น เจ้าโปริสาท คิดว่า เจ้าสุตโสมนี้การทำการสาบานซึ่ง

พวกกษัตริย์ไม่ควรการทำ จะประโยชน์อะไรด้วยเจ้าสุตโสมนี้แก่เรา เธอจะ

กลับมาหรือไม่กลับก็ตามที แม้ตัวเราก็เป็นขัตติยราช จักถือเอาเลือดในลำแขน

ของเรากระทำพลีกรรมแก่เทวดา ท่านสุตโสมลำบากใจนัก แล้วกล่าวคาถาว่า

การนัดหมายอันใด อันพระองค์ผู้ดำรงอยู่ใน

ฐานะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ได้ทรงทำไว้กับพราหมณ์

ในแคว้นของตน การนัดหมายอันนั้นต่อพราหมณ์

ประเสริฐ พระองค์จงเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา.

คำว่า กลับมา ในคาถานั้น หมายถึงว่า พระองค์พึงเสด็จมาอีก.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนสหายโปริสาท ท่านอย่าได้

วิตกไปเลย ข้าพเจ้าได้สดับสตารหคาถา ๔ คาถาแล้ว ให้เครื่องบูชาแก่ธรรม

กถึกแล้ว จักมาแต่เช้าทีเดียว แล้วตรัสคาถาว่า

การนัดหมายอันใด ที่ข้าพเจ้าผู้ตั้งอยู่ในฐานะ

เป็นพระเจ้าแผ่นดินได้ทำไว้กับพราหมณ์ในแคว้นของ

ตน การนัดหมายอันนั้นต่อพราหมณ์ผู้ประเสริฐ

ข้าพเจ้าจักเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 676

คำว่า กลับมา ในคาถานั้น หมายถึงว่า ข้าพเจ้าจะย้อนกลับมาอีก.

ลำดับนั้น เจ้าโปริสาทจึงทูลเจ้าสุตโสมว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์

ทรงกระทำการสาบานที่พวกกษัตริย์ไม่ควรทำแล้ว จงทรงระลึกถึงพระดำรัสที่

ได้ทรงปฏิญาณนั้นไว้ ครั้นพระมหาสัตว์ตรัสให้เธอด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อน

สหายโปริสาท ท่านรู้จักข้าพเจ้าตั้งแต่เวลายังเยาว์ คำเท็จข้าพเจ้าไม่เคยพูดเลย

แม้แต่การล้อเลียน ข้าพเจ้าจักพูดเท็จได้หรือ บัดนี้ข้าพเจ้าดำรงอยู่ในราชสมบัติ

แล้ว รู้จักถูกและผิด จักพูดเท็จได้หรือ ท่านจงเชื่อข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจัก

กลับมาให้ทันพลีกรรมของท่านในวันพรุ่งนี้ เจ้าโปริสาทจึงกล่าวว่า ข้าแต่

มหาราช ถ้าเช่นนั้น ขอเชิญพระองค์เสด็จเถิด เมื่อพระองค์ไม่เสด็จมา จัก

ไม่เป็นพลีกรรมเพราะเทวดาเว้น พระองค์จักไม่รับ ขอพระองค์อย่าทำอันตราย

แก่พลีกรรมของข้าพเจ้า แล้วส่งพระมหาสัตว์ไป พระมหาสัตว์เป็นดุจพระจันทร์

พ้นแล้วจากปากแห่งราหู พระองค์มีกำลังดุจพญาช้างสมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรงได้

เสด็จถึงพระนครโดยฉับพลัน.

ลำดับนั้น แม้เสนาของพระเจ้าสุตโสมนั้น ก็ยังตั้งขบวนอยู่นอก

พระนคร เพราะดำริว่า พระเจ้าสุตโสมมหาราชเจ้า พระองค์เป็นบัณฑิต

ทรงแสดงธรรมไพเราะ เมื่อได้ตรัสกถาเรื่องหนึ่งหรือสองเรื่อง จักทรมาน

เจ้าโปริสาทได้แล้วกลับมา ดุจพญาช้างซับมันตัวประเสริฐพ้นแล้วจากปากแห่ง

สีหะฉะนั้น และเกรงชาวพระนครจะติได้ว่าให้พระราชาแก่เจ้าโปริสาทแล้ว

มาเสีย ครั้นเห็นพระโพธิสัตว์เสด็จมาแต่ไกล จึงพากันลุกขึ้นต้อนรับ ถวาย

คำนับแล้วกราบทูลปฏิสันถารว่า พระมหาราชเจ้า ถูกเจ้าโปริสาททำให้ลำบาก

อย่างไรบ้าง เมื่อตรัสตอบว่า เจ้าโปริสาทได้ทำกิจที่มารดาบิดาทำได้ยากแก่เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 677

เธอดุร้ายสาหัสเช่นนั้น ได้สดับธรรมกถาของเราแล้วปล่อยเราดังนี้ จึงแต่งองค์

เจ้าสุตโสมเชิญเสด็จขึ้นคอช้างพระที่นั่ง แวดล้อมเข้าสู่พระนคร ชาวเมืองได้เห็น

ดังนั้นก็ชื่นชมทั่วหน้ากัน พระโพธิสัตว์ เพราะว่าพระองค์มีความเคารพธรรม

เป็นนักธรรมะ ไม่ทันได้เฝ้าพระราชมารดาบิดา ตั้งพระหฤทัยว่าจักเฝ้าทีหลัง

จึงเสด็จเข้าพระราชนิเวศน์ประทับนั่ง ณ พระราชอาสน์รับสั่งให้เรียกหาพราหมณ์

มา และตรัสสั่งให้ทำอุปัฏฐานกิจมีการแต่งหนวดเป็นต้น แก่พราหมณ์นั้นด้วย

เวลาที่เจ้าพนักงานแต่งหนวดพราหมณ์แล้ว ให้อาบน้ำลูบไล้ด้วยของหอม

ประดับด้วยผ้าและเครื่องอลังการแล้วนำเฝ้า พระองค์เสด็จสรงทีหลังพระราช-

ทานโภชนะของพระองค์แก่พราหมณ์นั้น เมื่อพราหมณ์บริโภคแล้ว พระองค์

เสวยแล้ว เชิญพราหมณ์ให้นั่ง ณ บัลลังก์ควรบูชา พระองค์ประทับนั่ง ณ

อาสนะต่ำ พอบูชาพราหมณ์ด้วยสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น เพราะ

ทรงเคารพในธรรม ตรัสอาราธนาว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าขอฟังคาถาชื่อว่า

สตารหาที่ท่านนำมาเพื่อข้าพเจ้า.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสเป็นคาถาว่า

ก็พระโพธิสัตว์นั้น ครั้นพ้นจากเงื้อมมือของเจ้า

โปริสาทแล้ว ได้เสด็จไปตรัสกะพราหมณ์นั้นดังนี้ว่า

ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้าขอสดับคาถา ชื่อว่า สตารหา

ซึ่งได้สดับแล้วจะพึงเป็นประโยชน์แก่ข้าพเจ้า.

คำว่า ตรัสดังนี้ว่า ในคาถานั้น หมายความว่า ได้ตรัสคำนี้.

ลำดับนั้น ในเวลาที่พระโพธิสัตว์อาราธนาแล้ว พราหมณ์จึงฟอกมือ

ทั้งสองด้วยของหอม นำเอาคัมภีร์อันเป็นที่น่ารื่นรมย์ ออกจากถุง จับขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 678

สองมือแล้วทูลว่า บัดนี้ชอมหาบพิตรจงทรงสดับคาถาชื่อว่าสตารหา ๔ คาถา

ตามที่พระกัสสปทศพลทรงแสดงไว้ อันจะถอนความเมามีความเมาด้วยราคะ

เป็นต้นให้สร่าง ให้สำเร็จอมตมหานิพพานนี้แล้ว ดูคัมภีร์กล่าวคาถาว่า

ข้าแต่ท่านสุตโสมมหาราช การสมาคมกับสัต-

บุรุษคราวเดียวเท่านั้น การสมาคมนั้น ย่อมรักษา

ผู้สมาคมนั้น การสมาคมกับอสัตบุรุษแม้มากก็รักษา

ไม่ได้ พึงคบกับสัตบุรุษ พึงกระทำความสนิทสนมกับ

สัตบุรุษ เพราะรู้สัตธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมีความเจริญ

ไม่มีความเสื่อม ราชรถที่เขาให้วิจิตรเป็นอันดี ยัง

คร่ำคร่าได้แล.

แม้สรีระก็เข้าถึงความชราได้เหมือนกัน ส่วน

ธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เข้าถึงความชรา สัตบุรุษกับ

สัตบุรุษด้วยกัน ย่อมรู้กันได้.

ฟ้าและแผ่นดินไกลกัน ฝั่งข้างโน้นของมหา-

สมุทร เขาก็กล่าวกันว่าไกล ข้าแต่พระราชา ธรรม

ของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษทั้งสองนี้ ท่าน

กล่าวว่าไกลกันยิ่งกว่านั้นแล.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า คราวเดียวเท่านั้น หมายถึงสิ้นวาระเดียว

เท่านั้น. คำว่า สัตบุรุษ หมายถึงสัตบุรุษทั่ว ๆ ไป. คำว่า ผู้สมาคมนั้น

อธิบายว่า การสังคมคือการสมาคมกับพวกสัตบุรุษนั้น ไม้เป็นไปแล้วเพียง

ครั้งเดียว ก็ย่อมอภิบาลรักษาคุ้มครองบุคคลนั้นได้. คำว่า อสัตบุรุษ อธิบายว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 679

ส่วนการสมาคมกับอสัตบุรุษแม้บุคคลกระทำไว้แล้ว มากคือกระทำไว้เป็นเวลา

นาน ได้แก่ การอยู่ในที่เดียวกันก็รักษาไม่ได้ คือย่อมนำความพินาศมาให้.

คำว่า พึงคบ คือ พึงนั่งใกล้ อธิบายว่า พึงคลุกคลีอยู่กับท่านบัณฑิตเหล่านั้น

ตลอดทุกอิริยาบถ. คำว่า ความสนิทสนม หมายถึงความสนิทสนมกันด้วย

ไมตรี. คำว่า สัทธรรมของสัตบุรุษ หมายถึงสัทธรรมคือโพธิปักขิยธรรม

๓๗ ประการ ของบัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. คำว่า ความเจริญ

อธิบายว่า เพราะรู้ธรรมนี้แล้ว มีแต่ความเจริญอย่างเดียว ขึ้นชื่อว่าความเสื่อม

ย่อมไม่มีเลย. คำว่า ราชรถ หมายถึงรถทรงของพระราชาทั้งหลาย. คำว่า

ให้วิจิตรเป็นอันดี หมายความว่าที่เขากระทำบริกรรมไว้อย่างดี. คำว่า กับ

สัตบุรุษนั้นแล รู้กันได้ อธิบายว่า สัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

ย่อมรู้จักพระนิพพาน อันงดงามสูงสุดถึงการนับว่าสัตบุรุษ ธรรมของสัตบุรุษ

ทั้งหลาย กล่าวคือ พระนิพพานนั้นย่อมไม่เข้าถึงชรา คือ ย่อมไม่แก่. คำว่า

ฟ้า หมายถึงอากาศ. คำว่า ไกลกัน อธิบายว่า แผ่นดินตั้งอยู่คงที่ อากาศ

มิได้ต่ำลงมาและไม่ได้ตั้งอยู่คงที่. ของทั้งสองอย่างนี้ แม้จะเนื่องเป็นอันเดียวกัน

ด้วยประการฉะนี้ก็ตามที แต่ก็ย่อมชื่อว่าอยู่ไกลกัน เพราะมิได้เกี่ยวเนื่องและ

ติดต่อกันโดยเฉพาะ. คำว่า ฝั่ง คือ จากฝั่งข้างนี้ ไปยังฝั่งข้างโน้น. คำว่า

ท่านกล่าว อธิบายว่า ธรรมของสัตบุรุษกับของอสัตบุรุษนั้นไกลกันยิ่งกว่านั้น.

พราหมณ์กล่าวคาถา ชื่อว่า สตารหา ๔ คาถา ตามที่พระกัสสปทศพล

ทรงแสดงไว้อย่างนี้แล้ว ได้นั่งนิ่งอยู่ พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น มี

พระหฤทัยโสมนัสว่า การมาของเรามีผลหนอ ทรงพระดำริว่า คาถาเหล่านี้

ไม่ใช่ภาษิตของพระสาวก ไม่ใช่ภาษิตของฤๅษี ไม่ใช่ภาษิตของกวี แต่เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 680

ภาษิตของพระสัพพัญญู จะควรค่าเท่าไรหนอ ทรงพระดำริต่อไปว่า แม้เรา

จักให้จักรวาลทั้งสิ้น กระทำให้เต็มด้วยรัตนะ ๗ ตลอดถึงพรหมโลก ก็ไม่

อาจจะทำให้สมควร ส่วนเราพอที่จะให้ราชสมบัติในพระนครอินทปัตประมาณ

๗ โยชน์ ในกุรุรัฐประมาณ ๓๐๐ โยชน์แก่พราหมณ์นี้ โชคที่จะได้ราชสมบัติ

ของพราหมณ์นี้มีอยู่หรือหนอ ทรงตรวจดูด้วยอานุภาพแห่งองค์วิทยาไม่เห็นมี

ทรงตรวจถึงฐานันดร มีตำแหน่งเสนาบดีเป็นต้น ไม่ทรงเห็นโชคฐานันดร

แม้เพียงนายบ้านหมู่หนึ่ง เมื่อทรงตรวจถึงโชคลาภ ทรงตรวจตั้งแต่ทรัพย์

โกฏิหนึ่ง ทรงเห็นโชคลาภเพียงสี่พันกหาปณะตกลงพระทัยว่าจักบูชาพราหมณ์

นั้น ด้วยทรัพย์เท่านี้ รับสั่งให้พระราชทานทรัพย์ถุงละพันกหาปณะ รวมสี่ถุง

ตรัสถามว่า ท่านอาจารย์แสดงคาถานี้แก่พวกกษัตริย์อื่น ๆ ได้ทรัพย์เท่าไร

พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ได้คาถาละร้อยกหาปณะ เพราะฉะนั้น

คาถาเหล่านี้ จึงได้นามว่า สตารหา. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสกะพราหมณ์นั้น

ต่อไปว่า ท่านอาจารย์ไม่รู้ราคาของภัณฑะที่ตนถือเที่ยวไป ตั้งแต่นี้ คาถาเหล่า

นี้จงซื่อว่าสหัสสารหา ดังนี้ แล้วตรัสพระคาถาว่า

คาถาเหล่านี้ซื่อว่า สหัสสารหา ควรพัน ไม่ได้

ชื่อว่า สตารหา ควรร้อย ท่านจงรับทรัพย์สี่พันโดยเร็ว

เถิดพราหมณ์.

ครั้นแล้วพระหหาสัตว์ จึงพระราชทานยานน้อยที่เป็นสุขคันหนึ่ง

ตรัสสั่งราชบุรุษว่า จงส่งพราหมณ์ให้ถึงบ้านโดยสวัสดี แล้วทรงส่งพราหมณ์

นั้นไป ขณะนั้นได้เกิดเสียงสาธุการใหญ่ว่า คาถาชื่อสตารหา พระเจ้าสุตโสม

ทรงเปลี่ยนเป็นสหัสสารหา ทรงบูชาแล้ว สาธุ สาธุ พระราชมารดาบิดาของ

พระโพธิสัตว์ ได้ทรงสดับเสียงนั้น ตรัสถามว่า นั่นเสียงอะไร ได้ทรงทราบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 681

ตามความเป็นจริง กริ้วพระมหาสัตว์เพราะเสียดายทรัพย์ ส่วนพระมหาสัตว์

ทรงส่งพราหมณ์แล้ว เสด็จไปเฝ้าพระราชมารดาบิดา ถวายบังคมประทับยืน

อยู่ ครั้งนั้น พระราชบิดาไม่ทรงกระทำ แม้สักว่าปฏิสันถารว่า เจ้าพ้นจาก

มือโจร ผู้ร้ายกาจเห็นปานนั้นมาได้อย่างไรพ่อ โดยเหตุที่ทรงเสียดายทรัพย์

ตรัสถามว่า ได้ยินว่า เจ้าฟังคาถา ๔ คาถา ให้สี่พันจริงหรือ เมื่อพระมหาสัตว์

กราบทูลว่า จริง ตรัสพระคาถาว่า

คาถาควรแปดสิบหรือเก้าสิบ แม้ร้อยก็ควร

พ่อสุตโสมเอ๋ย เจ้าจงรู้ด้วยตนเอง คาถาควรพันมีที่

ไหน.

คำว่า ด้วยตนเอง ในคาถานั้น อธิบายว่า เจ้าจงรู้ด้วยตัวของเจ้าเอง

ทีเดียว. คำว่า มีที่ไหน อธิบายว่า คาถาที่ควรราคาถึงพันนั้นมีอยู่ ณ ที่

ไหนกัน.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะกราบทูลพระราชบิดานั้น ให้ทรงทราบว่า

ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาความเจริญทางทรัพย์เท่านั้น ย่อมปรารถนาความเจริญ

ทางการศึกษาด้วย ได้ตรัสคาถาดังต่อไปนี้ว่า

ข้าพระองค์ปรารถนาความเจริญของตนทางการ

ศึกษา พวกสัตบุรุษผู้สงบจึงคบข้าพระองค์ ข้าพระองค์

ไม่อิ่มด้วยสุภาษิต ดุจมหาสมุทรไม่อิ่มด้วยแม่น้ำ

ฉะนั้น พระทูลกระหม่อม.

ไฟที่ไหม้หญ้าและไม่ย่อมไม่อิ่ม และสาครไม่

อิ่มด้วยแม่น้ำทั้งหลาย ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้

ประเสริฐสุด แต่บัณฑิตทั้งหลายได้สดับถ้อยคำของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 682

ข้าพระองค์ ย่อมไม่อิ่มด้วยสุภาษิตเหมือนกัน ฉะนั้น

พระทูลกระหม่อมผู้เป็นจอมประชาชน เวลาใด

ข้าพระองค์จะต้องเรียนคาถาที่นี้ประโยชน์ต่อทาสของ

ตน เวลานั้นข้าพระองค์ต้องเรียนโดยเคารพเหมือนกัน

ความอิ่มในธรรมของข้าพระองค์ไม่มีเลย พระทูล-

กระหม่อม.

คำว่า โว ในคาถานั้น เป็นนิบาตสำหรับลงแทรกในระหว่างคำ.

คำว่า พวกสัตบุรุษ อธิบายว่า ข้าพระองค์ปรารถนาว่า พวกสัตบุรุษเหล่านี้แล

พึงคบข้าพระองค์. คำว่า แม่น้ำ หมายถึงแม่น้ำทุกสาย. คำว่า ของตน

อธิบายว่า นันทพราหมณ์จงยกไว้ก่อนเถิด เวลาใดข้าพระองค์จะต้องฟัง

ธรรมกถาแม้จากทาสของคนเอง เวลานั้นข้าพระองค์ก็ต้องฟังธรรมกถาโดย

ความเคารพ.

ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระเจ้าสุตโสมจึงทูลต่อไปว่า ข้าแต่พระ-

ทูลกระหม่อม พระองค์อย่าทรงบริภาษข้าพระองค์เพราะทรัพย์ ข้าพระองค์

ให้ปฏิญาณต่อโปริสาทไว้ว่า ฟังธรรมแล้วจักกลับ บัดนี้ข้าพระองค์จักไปยัง

สำนักของโปริสาท ขอพระทูลกระหม่อมจงทรงรับราชสมบัตินี้เถิด เมื่อจะกราบ

ทูลมอบราชสมบัติ ได้ตรัสพระคาถาว่า

แว่นแคว้นของพระองค์นี้ บริบูรณ์ด้วยสมบัติ

ทั้งปวง ทั้งทรัพย์ทั้งยานทั้งพระธำมรงค์ พระองค์จะ

บริภาษข้าพระองค์เพราะเหตุแห่งกามทำไม ข้าพระองค์

ขอทูลลาไปในสำนักโปริสาทในบัดนี้.

คำว่า สำนัก ในคาถานั้น หมายถึงที่อยู่ของเจ้าโปริสาท.

ในสมัยนั้น พระหฤทัยของพระราชบิดาร้อนขึ้นทันที ท้าวเธอตรัสว่า

พ่อสุตโสม ทำไมจึงพูดอย่างนี้ บิดาจักจับโจรด้วยจตุรงคเสนาแล้วตรัสคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 683

ทัพช้าง ทัพรถ ทัพเดินเท่า ทัพม้า ล้วนแต่

ได้ศึกษาเชี่ยวชาญในการธนูทุกหมู่เหล่า พอที่จะรักษา

ตัวได้ เราจะยกทัพจับศัตรูฆ่าเสีย.

ในคาถาเหล่านั้น บทว่า หนาม อธิบายว่า ถ้าเสนาที่เราเตรียมไว้

อย่างนี้ อาจที่จะจับโจรนั้นได้ ลำดับนั้น เราจะพาชนชาวแคว้นทั้งหมดไป

จับโจรนั้น แล้วฆ่าทิ้งเสีย คือจะฆ่าศัตรูซึ่งเป็นปัจจามิตรของพวกเรา.

ลำดับนั้น พระราชมารดาบิดา มีพระพักตร์นองด้วยอัสสุชล ทรง

กันแสงพิไรร่ำรำพันอยู่ว่า อย่าไปนะพ่อ ไปไม่ได้นะพ่อ ทั้งพระสนม

กำนัลจำนวนหมื่นหกพันนาง ทั้งราชบริพารนอกจากนี้ ก็ปริเวทนาว่า

พระองค์จะเสด็จไปไหน ทิ้งพวกข้าพระองค์ไว้ให้อนาถา แม้ใคร ๆ ใน

พระนครทั้งสิ้น ก็ไม่อาจดำรงอยู่โดยภาวะของตนได้ ได้เกิดโกลาหลเป็น

อันเดียวกันทั่วพระนครว่า ได้ยินว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงรับปฏิญาณพระเจ้า

โปริสาทมา บัดนี้ ได้ทรงสดับ สตารหาคาถา ๔ คาถา ทรงทำสักการะแก่

พราหมณ์ธรรมกถึก ถวายบังคมลาพระราชมารดาบิดาแล้ว จักเสด็จไปสู่สำนัก

โจรอีกดังนี้ ส่วนพระมหาสัตว์ได้ทรงสดับพระดำรัสพระราชมารดาบิดาแล้ว

ตรัสพระคาถาว่า

โปริสาทได้ทำกิจที่ทำได้แสนยากจับข้าพระองค์

ได้ทั้งเป็นแล้วปล่อยมา ข้าพระองค์ยังนึกถึงบุรพกิจ

เช่นนั้นอยู่ ข้าแต่พระทูลกระหม่อม ผู้เป็นจอม

ประชาชน ข้าพระองค์จะพึงประทุษร้ายเขาได้อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 684

คำว่า จับได้ทั้งเป็น ในคาถานั้นมีอธิบายว่า จับได้ทั้งกำลังที่มีชีวิต

อยู่. คำว่า เช่นนั้น คือบุรพกิจเห็นปานนั้นที่เขากระทำไว้แล้ว. คำว่า

บุรพกิจ หมายถึงอุปการะซึ่งมีมาแล้วในกาลก่อน พระเจ้าสุตโสมทรงเรียก

พระบิดาว่า พระทูลกระหม่อมผู้เป็นจอมประชาชน.

พระเจ้าสุตโสมทูลอนุศาสน์พระราชมารดาบิดาแล้ว กราบทูลต่อไปว่า

ขอพระราชมารดาบิดาอย่าได้วิตกถึงข้าพระองค์เลย ข้าพระองค์มีกัลยาณธรรม

ได้กระทำไว้แล้ว ความเป็นอิสระในฉกามาวจร ของข้าพระองค์ไม่เป็นผล

ที่จะพึงได้ด้วยยาก แล้วถวายบังคมพระราชมารดาบิดาทูลลาแล้ว ตรัสสั่งชน

อื่น ๆ ที่เหลือแล้วเสด็จไป.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระโพธิสัตว์ ถวายบังคมพระราชบิดาและพระ-

ราชมารดา ตรัสสั่งชาวนิคมและพลนิกรแล้ว พระองค์

เป็นผู้ตรัสคำสัตย์ รักษาความสัตย์ ได้เสด็จไปยังสำนัก

ของโปริสาทแล้ว.

คำว่า รักษาความสัตย์ ในคาถานั้น มีอธิบายว่า พระโพธิสัตย์

ทรงรักษาคำสัตย์อย่างมั่นคง ได้เสด็จไปแล้ว.

พระอรรถกถาจารย์พรรณนาว่า ในคืนนั้นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ใน

พระราชนิเวศน์ รุ่งขึ้นเข้าพอได้อรุณก็ถวายบังคมลาพระราชมารดาพระราช

บิดา ตรัสสั่งนิกรชนทั่วกันแล้ว อันมหาชนมีพวกฝ่ายในเป็นต้น มีหน้า

นองด้วยน้ำตา คร่ำครวญอยู่เซ็งแซ่ พากันไปส่งเสด็จ พระองค์เสด็จ

ออกจากพระนคร เมื่อไม่อาจให้มิตรชนเหล่านั้นกลับได้ จึงทำขีดขวาง

ด้วยท่อนไม้ในหนทางให้ตรัสว่า ถ้ามีความรักใครในเรา อย่าล่วงขีดนี้มา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 685

มหาชนไม่อาจล่วงขีดอาชญาของพระโพธิสัตว์ผู้มีศีลมีเดช คร่ำครวญอยู่

ด้วยเสียงอันดัง และดูพระโพธิสัตว์ ผู้มีอาการอันองอาจดุจราชสีห์เสด็จ

ไปอยู่ เมื่อพระมหาสัตว์ล่วงลับสายตาแล้ว ร้องเซ่งแซ่ขึ้นพร้อมกัน

กลับเข้าพระนครแล้ว ฝ่ายพระโพธิสัตว์เสด็จไปยังสำนักของเจ้าโปริสาท

โดยหนทางที่เสด็จมา เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า พระโพธิสัตว์ไปยัง

สำนักของเจ้าโปริสาทนั้นแล้วแล. จบธรรมสวนกัณฑ์.

ตั้งแต่พระโพธิสัตว์เสด็จไป เจ้าโปริสาทคิดว่า ถ้าท่านสุตโสมสหาย

ของเราต้องการจะมา ก็จงมา ถ้าไม่ต้องการจะมา ก็อย่ามา รุกขเทวดาจง

ลงโทษแก่เราตามความปรารถนา เราจักฆ่าพระราชาเหล่านี้แล้ว จักทำพลีกรรม

ด้วยมังสะมีรส ๕ เวลาที่เจ้าโปริสาททำจิตกาธาร ก่อไฟขึ้นลุกโพลง นั่งถาก

หลาวรอเวลาจะให้เป็นถ่านเสียก่อน พระโพธิสัตว์ก็เสด็จไปถึง เจ้าโปริสาท

ครั้นได้เห็นพระโพธิสัตว์ก็มีจิตโสมนัส ทูลถามว่า สหายเอ๋ย ท่านเสด็จไป

ทรงทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้วหรือ. พระมหาสัตว์ตอบว่า ใช่แล้วมหาราช

คาถาอันพระกัสสปทศพลทรงแสดงไว้ เราได้สดับแล้วและการสักการะ สำหรับ

พราหมณ์ธรรมกถึก เราได้การทำเสร็จแล้ว เพราะฉะนั้นเป็นอันว่า เราได้ไป

ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว จึงตรัสคาถาว่า

การนัดหมาย อันเราผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นพระเจ้า

แผ่นดิน ได้ทำไว้กับพราหมณ์ในแคว้นของตน การ

นัดหมายนั้นต่อพราหมณ์ผู้ประเสริฐ เราเป็นผู้รักษา

ความสัตย์กลับมาแล้ว ดูก่อนท่านโปริสาท เชิญท่าน

บูชายัญกินเราเถิด.

คำว่า จงบูชายัญ ในคาถานั้น มีอธิบายว่า ขอเชิญท่านฆ่าข้าพเจ้า

เสียแล้วจงบูชายัญแก่เทวดา หรือจงเคี้ยวกินเนื้อของข้าพเจ้า ก็เชิญตามสบาย

เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 686

เจ้าโปริสาทได้สดับดังนั้น จึงคิดว่า พระราชานี้ไม่กลัว เป็นผู้องอาจ

ไม่หวาดหวั่นต่อมรณภัยตรัสได้อย่างนี้ นี่อานุภาพของอะไรหนอ จึงสันนิษฐาน

ว่า สิ่งอื่นไม่มี พระเจ้าสุตโสมนัสตรัสว่า เราได้สดับ คาถาที่พระกัสสปทศพล

ทรงแสดงแล้ว นั่นพึงเป็นอานุภาพของคาถาเหล่านั้น เราจะให้เธอตรัสฟังคาถา

คงจักเป็นผู้หาความกลัวมิได้อย่างนี้ แล้วกล่าวคาถาว่า

การกินของข้าพเจ้าที่มีหวังได้ไม่หายไปไหนเสีย

ทั้งจิตถาธารนี้ก็ยังมีควันอยู่ มังสะที่ให้สุกบนถ่านที่

หมดควันชื่อว่า ให้สุกดี ข้าพเจ้าขอสดับคาถาชื่อว่า

สตารหาเสียก่อน.

ในคาถานั้น คำว่า การกิน หมายถึงการเคี้ยวกิน อธิบายว่า การกิน

ตัวท่านเสียนั้น สำหรับข้าพเจ้าจะกินก่อนหรือหลังก็ได้ มิได้หายไปไหน แต่ว่า

ข้าพเจ้าจะพึงกินท่านในภายหลัง. คำว่า ให้สุก อธิบายว่า เนื้อที่ให้สุกใน

ไฟที่ไม่มีควัน คือ ไม่มีเปลว ย่อมชื่อว่าเป็นเนื้อที่สุกดี.

พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น จึงทรงดำริว่า โปริสาทนี้เป็นคนมี

ธรรมอันลามก เราจะข่มเธอหน่อยหนึ่งให้เกิดความละอายแก่ใจ แล้วจึงจะ

แสดงให้ฟัง แล้วตรัสคาถาว่า

ดูก่อนท่านโปริสาท ท่านเป็นคนประพฤติไม่-

ชอบธรรม ต้องจำจากแคว้น เพราะเหตุแห่งท้อง

ส่วนคาถาเหล่านี้ ย่อมกล่าวสรรเสริญธรรม ธรรมและ

อธรรมจะลงรอยกันได้ที่ไหน.

คนที่ประพฤติไม่ชอบธรรม ทำกรรมที่ร้ายแรง

มีฝ่ามือนองด้วยเลือดเป็นนิจ ย่อมหาสัจจะมิได้ ธรรม

จักมีแต่ที่ไหน ท่านจะทำอะไรด้วยการสดับ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 687

คำว่า ธรรม ในคาถานั้น มีอธิบายว่า ส่วนคาถาเหล่านั้นกล่าว

สรรเสริญโลกุตรธรรม ๙ ประการ. คำว่า จะลงรอยกันได้ที่ไหน อธิบายว่า จะ

มารวมกันได้อย่างไร ด้วยว่า ธรรมยังสัตว์ให้ถึงสุคติหรือนิพพาน ส่วนอธรรม

ยังสัตว์ให้ไปถึงทุคติ. คำว่า สัจจะ อธิบายว่า แม้เพียงว่า วาจาสัตย์ยัง

ไม่มี แล้วธรรมะจะมีแต่ที่ไหน. คำว่า จะทำอะไรด้วยการสดับ มีอธิบายว่า

ท่านจักทำอะไรด้วยการสดับนี้ เพราะท่านไม่ใช่ภาชนะของธรรมเป็นดุจภาชนะ

ดิน ไม่ใช่ภาชนะสำหรับใส่มันเหลวสีหะฉะนั้น.

แม้เมื่อพระโพธิสัตว์ตรัสอย่างนี้ เจ้าโปริสาทก็ไม่โกรธ เพราะเหตุไร

เพราะพระมหาสัตว์เป็นผู้ประเสริฐด้วยเมตตาภาวนา. ลำดับนั้น เจ้าโปริสาท

จึงทูลว่า พระสหายสุตโสม ข้าพเจ้าเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรมคนเดียวละหรือ

แล้วกล่าวคาถาว่า

คนใดเที่ยวป่าฆ่ามฤค เพราะเหตุมังสะ หรือ

คนใดฆ่าคนเพราะเหตุตน ทั้งสองคนนั้นเป็นผู้เสมอกัน

ในโลกเบื้องหน้า ทำไมหนอพระองค์จึงตรัส ถึงข้าพเจ้า

ว่าเป็นคนประพฤติไม่ชอบธรรม.

ในคาถานั้น บทว่า กสฺมา โน ความว่า เจ้าโปริสาททูลว่า

พวกพระราชาในพื้นชมพูทวีป. แต่งตัวประดับประดาแล้ว มีพลนิกรเป็นบริวาร

ใหญ่ ทรงรถอย่างดี เที่ยวประพาสป่าที่สำหรับล่าฆ่ามฤค แทงมฤคด้วย

ลูกศรที่คม ๆ ฆ่าจนให้ตาย ทำไมพระองค์จึงไม่ตรัสว่าพระราชาเหล่านั้น

ตรัสว่าข้าพเจ้าเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรมแต่คนเดียว ถ้าเขาไม่มีโทษ แม้

ข้าพเจ้าก็ไม่มีโทษเหมือนกันแหละ.

พระมหาสัตว์ทรงสดับดังนั้น เมื่อจะทรงแก้ลัทธิของเจ้าโปริสาทนั้น

จึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 688

เนื้อสัตว์ ๑๐ ชนิด อันกษัตริย์ผู้รู้จักขัตติยธรรม

ไม่ควรบริโภค ท่านบริโภคเนื้อมนุษย์ซึ่งไม่ควรบริ-

โภค เพราะฉะนั้น ท่านเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม.

คาถานั้นมีอธิบายว่า ดูก่อนสหายโปริสาท ธรรมดากษัตริย์ผู้รู้จัก

ธรรมของกษัตริย์ ไม่ควรบริโภคเนื้อสัตว์มีเนื้อช้างเป็นต้น ๕ ชนิด สองหน

รวมเป็น ๑๐ ชนิด ซึ่งเป็นมังสะที่ไม่ควรบริโภคเลย. คำว่า น ขา ในคาถานั้น

บาลีบางฉบับเป็น น โข ดังนี้ก็มี. อีกนัยหนึ่ง มีอธิบายว่า กษัตริย์ผู้รู้จัก

ขัตติยธรรมควรบริโภคเนื้อสัตว์ ๕ ชนิด คือ กระต่าย เม่น เหี้ย หมู เต่า

ในบรรดาสัตว์ที่มี ๕ เล็บเหล่านั้นเป็นภักษาหาร ไม่ควรบริโภคเนื้อชนิดอื่น

ส่วนท่านบริโภคเนื้อมนุษย์ ซึ่งมิใช่เป็นเนื้อที่ควรบริโภคเลย เพราะฉะนั้น

ท่านจึงเป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม.

เจ้าโปริสาทถูกพระมหาสัตว์ตรัสข่มขี่อย่างนี้ มองไม่เห็นอุบายที่จะ

โต้ตอบนั้นอย่างอื่นได้ เมื่อจะให้พระมหาสัตว์รับบาปบ้าง จึงได้กล่าวคาถาว่า

พระองค์พ้นจากมือของโปริสาทแล้ว ไปถึง

พระราชมณเฑียรของตน ทรงอภิรมย์ด้วยกามคุณแล้ว

ยังมาถึงมือของโปริสาทผู้เป็นศัตรูอีก พระองค์เป็นผู้

ไม่ฉลาดในขัตติยธรรมเสียเลยนะพระราชา.

ในคาถานี้มีอธิบายว่า เจ้าโปริสาทนั้นกล่าวว่า พระองค์ไม่ฉลาดใน

คัมภีร์นิติศาสตร์ ส่วนที่เป็นขัตติยธรรม พระองค์ไม่รู้จักความเจริญและความ

พินาศของตน เกียรติของพระองค์เลื่องลือระบือไปในโลกว่าเป็นบัณฑิต โดย

หาเหตุมิได้เลย ส่วนข้าพเจ้าไม่เห็นเลยว่า พระองค์เป็นบัณฑิต เห็นแต่เพียงว่า

พระองค์เป็นคนโง่มากที่สุด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 689

พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น ตรัสว่า ดูก่อนสหายอันคนที่ฉลาดใน

ขัตติยธรรม ควรเป็นเช่นตัวเรานี้แหละ เพราะเรารู้จักขัตติยธรรม แต่มิได้

ปฏิบัติอย่างที่ท่านกล่าว แล้วตรัสคาถาว่า

ชนเหล่าใดเป็นผู้ฉลาดในขัตติยธรรม ชนเหล่า

นั้นต้องตกนรกเสียโดยมาก เพราะฉะนั้น เราจึงละ

ขัตติยธรรมเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมาแล้ว ดูก่อน

ท่านโปริสาท ท่านจงบูชายัญกินเราเสียเถิด.

ในคาถานั้น คำว่า เป็นผู้ฉลาด คือฉลาดในการปฏิบัติเพื่อความ

เป็นอย่างนั้น. คำว่า โดยมาก อธิบายว่า ชนเหล่านั้นโดยมากต้องตกนรก

ส่วนชนเหล่าใดมิได้บังเกิดในนรกนั้น ชนเหล่านั้นก็ย่อมบังเกิดในอบายที่เหลือ.

เจ้าโปริสาทกล่าวว่า

ปราสาทราชมณเฑียร แผ่นดิน โค และม้า

สตรีที่น่าอภิรมย์ทั้งกาสิกพัสตร์ และแก่นจันทน์ พระ-

องค์ยังได้ในพระนครนั้นทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะเป็น

พระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงเห็นอานิสงส์อะไรด้วย

ความสัตย์.

ในคาถานั้น บทว่า ปาสาทวาสา อธิบายว่า ดูก่อนสหายสุตโสม

ปราสาทที่ประทับ ๓ หลังสร้างขึ้นประดุจดังทิพยวิมานของพระองค์ เหมาะ

แก่ฤดูทั้ง ๓. บทว่า ปวีควสฺสา ได้แก่ แผ่นดิน โค และม้า. บทว่า

กามิตฺถิโย คือสตรีอันเป็นวัตถุแห่งกามารมณ์. บทว่า กาสิกจนฺทนญฺจ

ได้แก่ ทั้งผ้ากาสิกพัสตร์และแก่นจันทน์แดง. บทว่า สพฺพ ตห ความว่า

เครื่องเหล่านี้ แสะเครื่องอุปโภคบริโภคอย่างอื่น พระองค์ย่อมได้ในพระนคร

ของพระองค์นั้นทุกอย่าง เพราะทรงเป็นเจ้าของ เมื่อทรงเป็นเจ้าของแล้วจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 690

ปรารถนาสิ่งใด ก็ย่อมได้บริโภคสิ่งนั้นทุก ๆ อย่างทุก ๆ ประการ พระองค์

ละสิ่งนั้นทั้งหมด เป็นผู้รักษาความสัตย์เสด็จมาในที่นี้ ทรงเห็นอานิสงส์อะไร

ด้วยความสัตย์.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสพระคาถาว่า

รสเหล่าใดบรรดาที่มีอยู่ในแผ่นดิน ความสัตย์

ย่อมดีกว่ารสเหล่านั้น เพราะสมณพราหมณ์ที่ตั้งอยู่ใน

ความสัตย์ ย่อมข้ามฝั่งแห่งชาติและมรณะเสียได้.

ในคาถานั้น บทว่า สาธุตร อธิบายว่า เพราะเหตุที่รสแม้ทั้งหมด

ย่อมเป็นของประณีตแก่สัตว์ทั้งหลาย ในกาลทุกเมื่อทีเดียว เพราะฉะนั้น

ความสัตย์จึงดีกว่ารสเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่บุคคลตั้งอยู่ใน

วิรัติสัตย์ และวจีสัตย์แล้ว ย่อมข้ามฝั่งแห่งเตภูมิกวัฏ กล่าวคือ ชาติและ

มรณะเสียได้ คือถึงพระอมตมหานิพพานได้ เพราะฉะนั้น ความสัตย์จึงดี

กว่ารสเหล่านั้น.

พระมหาสัตว์ ตรัสอานิสงส์ในความสัตย์แก่เจ้าโปริสาทด้วยประการ

ฉะนี้แล้ว ลำดับนั้น เจ้าโปริสาทแลดูพระพักตร์ของพระมหาสัตว์ ซึ่งคล้ายกับ

ดอกบัวที่แย้มแล้ว และพระจันทร์เต็มดวง ทรงดำริว่า ท่านสุตโสมนี้ แม้

เห็นถ่านและกองเพลิง แม้เห็นเราผู้ถากหลาวอยู่ อาการของเธอแม้สักว่า

ความหวาดเสียวก็ไม่มี นี้เป็นอานุภาพแห่งสตารหาคาถาหรือของความสัตย์

หรืออะไรอย่างอื่นหนอ จะถามเธอดูก่อน เมื่อจะถามได้กล่าวคาถาว่า

พระองค์พ้นจากมือของโปริสาทแล้ว เสด็จไป

ถึงพระราชมณเฑียรของพระองค์ ทรงอภิรมย์ด้วย

กามคุณแล้ว ยังกลับมาสู่มือของโปริสาทผู้เป็นศัตรูอีก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 691

ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งประชาชน ความ

กลัวตายของพระองค์ไม่มีแน่ละหรือ และพระองค์ผู้

ตรัสซึ่งความสัตย์ไม่มีพระทัยท้อแท้บ้างเทียวหรือ.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะตรัสแจ้งแก่เจ้าโปริสาทนั้น จึงตรัส

เป็นคาถาว่า

กัลยาณธรรมหลายอย่าง เราได้ทำแล้ว ยัญที่

ไพบูลย์บัณฑิตสรรเสริญ เราก็ได้บูชาแล้ว ทางปรโลก

เราก็ได้ชำระให้บริสุทธิแล้ว ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรมใครเล่า

จะกลัวตาย. กัลยาณธรรมหลายอย่าง เราได้ทำแล้ว

ยัญที่ไพบูลย์ บัณฑิตสรรเสริฐ เราได้บูชาแล้ว เราไม่

เดือดร้อนที่จะไปสู่ปรโลก ดูก่อนท่านโปริสาท เชิญ

ท่านจงบูชายัญกินเราเสียเถิด.

พระชนกและพระชนนี เราก็ได้บำรุงแล้ว ความ

เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เราก็ได้ปกครองแล้วโดยธรรม

ทางปรโลกเราก็ได้ชำระให้บริสุทธิ์แล้ว คนที่ตั้งอยู่ใน

ธรรม ใครเล่าจะกลัวความตาย. พระชนกและพระชนนี

เราก็ได้บำรุงแล้ว ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เราก็ได้

ปกครองแล้วโดยชอบธรรม เราไม่เดือดร้อนที่จะไป

สู่ปรโลก ดูก่อนท่านโปริสาท เชิญท่านบูชายัญกิน

เราเสียเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 692

อุปการกิจในพวกญาติและมิตร เราก็ได้กระทำ

แล้ว ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เราก็ได้ปกครองแล้ว

โดยธรรม ทางปรโลก เราก็ได้ชำระให้บริสุทธิ์แล้ว

คนที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะกลัวต่อความตาย.

อุปการกิจในพวกญาติและมิตร เราก็ได้กระทำแล้ว

ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เราก็ได้ปกครองแล้วโดย

ธรรม เราไม่ให้เดือดร้อนที่จะไปสู่ปรโลก ดูก่อน

ท่านโปริสาท ท่านจงบูชายัญกินเราเสียเถิด.

ทานเราก็ได้ให้แล้วเป็นอันมากแก่คนจำนวนมา

สมณพราหมณ์ เราก็ได้อุปถัมภ์ให้อิ่มหนำแล้ว ทาง

ปรโลกเราก็ชำเราให้บริสุทธิ์แล้ว คนที่ตั้งอยู่ในธรรม

ใครเล่าจะกลัวต่อความตาย. ทานเราก็ได้ให้แล้วเป็น

อันมากแก่คนจำนวนมาก สมณพราหมณ์ เราก็ได้

อุปถัมภ์ให้อิ่มหนำแล้ว เราไม่เดือดร้อนที่จะไปสู่ปร

โลก ดูก่อนท่านโปริสาท ท่านจงบูชายัญกินเราเสีย

เถิด.

ในคาถานั้นมีอธิบายว่า คำว่า กัลยาณธรรมหลายอย่าง หมายถึง

กัลยาณธรรมอันมากอย่างด้วยกัน ด้วยอำนาจของกินมีข้าวเป็นต้น. คำว่า

ยัญ อธิบายว่า อนึ่ง ยัญอันไพบูลย์ยิ่งที่พวกบัณฑิตสรรเสริญแล้ว เราก็ได้

บูชาแล้ว คือไห้เป็นไปแล้ว ด้วยอำนาจแห่งการบริจาคทานวัตถุ ๑๐ อย่าง.

คำว่า ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม อธิบายว่า บุคคลที่ตั้งอยู่ในธรรมเช่นกับตัวเรา

ใครเล่าจะพึงกลัวต่อความตาย. คำว่า ไม่เดือดร้อน คือ ไม่ได้มีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 693

เดือดร้อนเลย . คำว่า ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เราก็ได้ปกครองแล้ว

โดยธรรม อธิบายว่า ราชสมบัติเราก็ได้ปกครองแล้วโดยธรรมที่เดียว เพราะ

เรามิได้ยังราชธรรม ๑๐ ประการให้กำเริบ. คำว่า อุปการกิจเราก็ได้กระทำ

แล้ว หมายถึงกิจของญาติเราก็ได้กระทำแล้วในญาติทั้งหลาย และกิจของมิตร

เราก็ได้กระทำแล้วในมิตรทั้งหลาย. คำว่า ทาน หมายถึงเจตนาพร้อมด้วย

วัตถุ. คำว่า เป็นอันมาก คือโดยอาการมากมาย. คำว่า แก่คนจำนวน

มาก อธิบายว่า เราให้ทานแก่คนเพียง ๕ คน ๑๐ คนเท่านั้นก็หาไม่ เราได้

ให้แล้วแก่คนตั้งร้อยตั้งพันทีเดียว. คำว่า ให้อิ่มหนำแล้ว อธิบายว่า เรา

การทำภาชนะสำหรับใส่ให้เต็มแล้วจึงให้อิ่มหนำเป็นอย่างดีแล้ว .

เจ้าโปริสาทได้สดับดังนั้น ตกใจกลัวว่า พระเจ้าสุตโสมมหาราชนี้

เป็นสัตบุรุษพร้อมด้วยความรู้ แสดงธรรมอันไพเราะ ถ้าเราจะกินเธอเสีย

แม้ศีรษะของเราก็จะต้องแตกออกเป็น ๗ เสียง หรือแผ่นดินพึงให้ช่องแก่เรา

(ถูกแผ่นดินสูบ) แล้วทูลว่า ข้าแต่พระสหายสุตโสมเอ๋ย พระองค์เป็นคนที่

ข้าพเจ้าไม่ควรกิน แล้วกล่าวคาถาว่า

บุรุษผู้รู้อยู่ จะพึงกินยาพิษ หรือจับอสรพิษที่มี

ฤทธิ์รุ่งโรจน์ มีเดชกล้าได้หรือ บุคคลใดพึงกินคน

ที่กล่าวคำสัตย์เช่นกับพระองค์ ศีรษะของบุคคลนั้น

จะต้องแตกออกเป็น ๗ เสี่ยงแน่.

คำว่า ยาพิษ หมายถึงยาพิษชนิดที่ร้ายแรง สามารถจะทำผู้ดื่มกิน

ให้ตายได้กินที่นั้นทันที. คำว่า รุ่งโรจน์ อธิบายว่า ก็หรือบุคคลนั้นพึงจับ

อสรพิษที่คออันรุ่งโรจน์อยู่ด้วยพิษของตน มีเดชร้ายแรง ด้วยเดชแห่งพิษนั้น

เหมือนกันนั้นแหละ ซึ่งเที่ยวไปอยู่ประดุจกองไฟ ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 694

เจ้าโปริสาทนั้นทูลพระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่พระสหาย พระองค์เป็น

เหมือนพาพิษที่ร้ายแรง ใครจักกินพระองค์ด้วยประการฉะนี้ แล้วใคร่จะ

สดับคาถา จึงทูลพระมหาสัตว์ แม้จะถูกพระมหาสัตว์ตรัสห้ามว่า พระองค์.

ไม่ใช่ภาชนะของคาถาที่หาโทษมิได้เห็นปานนี้ เพื่อจะให้เกิดความเคารพใน

ธรรม ดำริว่า ตนในชมพูทวีปทั้งสิ้น ชื่อว่าเป็นบัณฑิตเช่นกับท่านสุตโสมนี้

ไม่มี เธอพ้นจากมือเราไปแล้ว ได้สดับคาถาเหล่านั้น ทำสักการะแก่ธรรมกถึก

แล้ว ยังเอามัจจุติดหน้าผากกลับมาอีกได้ พระคาถาจักสำเร็จประโยชน์อย่าง

ศักดิ์สิทธิ์ แล้วเกิดความเคารพในการฟังธรรมหนักขึ้น เมื่อจะทูลอ้อนวอน

พระมหาสัตว์ จึงได้กล่าวคาถาว่า

นรชนได้ฟังธรรมย่อมรู้จักบุญและบาป ใจของ

ข้าพเจ้าได้ฟังคาถาจะยินดีในธรรมได้บ้าง.

คาถานั้นมีอธิบายว่า ข้าแต่สหายสุตโสม ธรรมดาว่า นรชนทั้งหลาย

ได้สดับธรรมแล้ว ย่อมรู้จักบุญบ้าง บาปบ้าง แม้ใจของข้าพเจ้าได้ฟังคาถา

นั้นแล้ว จะพึงยินดีในธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการได้บ้างเป็นแน่.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า บัดนี้เจ้าโปริสาทต้องการจะฟัง

ธรรม เราจะแสดงดังนี้แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนสหาย ถ้าเช่นนั้นท่านจงตั้งใจสดับ

ให้ดี ครั้นเตือนเจ้าโปริสาทให้เงี่ยโสตสดับแล้ว ตรัสสรรเสริญพระคาถา

อย่างเดียวกันกับที่นันทพราหมณ์กล่าวแล้ว เมื่อพวกเทวดาในชั้นกามาวจรทั้ง

๖ ให้สาธุการเสียงโกลาหลเป็นอันเดียวกัน ทรงแสดงธรรมแก่เจ้าโปริสาท

ตรัสพระคาถาว่า

ดูก่อนมหาราช การสมาคมกับสัตบุรุษคราว

เดียวเท่านั้น การสมาคมนั้น ย่อมรักษาผู้สมาคมนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 695

การสมาคมกับอสัตบุรุษแม้มากครั้ง ก็รักษาไม่ได้

พึงคบกับสัตบุรุษ พึงทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ

เพราะรู้สัทธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมีความเจริญไม่มี

ความเสื่อม.

ราชรถที่เขาทำให้วิจิตรเป็นอย่างดี ยังคร่ำคร่า

ได้แล แม่สรีระก็เข้าถึงความชราได้เหมือนกัน ส่วน

ธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เข้าถึงความชรา สัตบุรุษ

สัตบุรุษด้วยกันนั่นแลย่อมรู้กันได้.

ฟ้าและแผ่นดินไกลกัน ฝั่งข้างโน้นของมหา

สมุทร เขาก็กล่าวว่าไกลกัน ดูก่อนพระราชา ธรรม

ของสัตบุรุษและของอสัตบุรุษ ท่านก็กล่าวว่าไกลกัน

ยิ่งกว่านั้นอีก.

เมื่อเจ้าโปริสาทคิดอยู่ว่า คาถาทีพระโพธิสัตว์ตรัสนั้น เป็นประหนึ่งว่า

พระสัพพัญญูพุทธเจ้าตรัสแล้ว เพราะตรัสไว้ไพเราะ ทั้งพระองค์เป็นบัณฑิต

ด้วย สรีระทั้งสิ้นก็เต็มไปด้วยปีติ มีวรรณะ ๕ ประการ เธอได้เป็น

ผู้มีจิตอ่อนในพระโพธิสัตว์ สำคัญพระโพธิสัตว์เป็นดุจพระชนกผู้ประทาน

เศวตฉัตร ฉะนั้น เธอดำริว่า เราไม่เห็นเงินทองอะไร ๆ ที่จะพึงถวายพระเจ้า

สุตโสมได้ แต่เราจะถวายพระพรคาถาละพร แล้วกล่าวคาถาว่า

ข้าแต่พระสหาย ผู้เป็นจอมประชาชน คาถา

เหล่านี้มีประโยชน์ มีพยัญชนะดี พระองค์ตรัสไพเราะ

ข้าพเจ้าได้สดับแล้วเพลิดเพลินปลื้มใจ ชื่นชม อิ่มใจ

ข้าพเจ้าขอถวายพระพร ๔ อย่างแด่พระองค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 696

ในคาถานั้น คำว่า เพลิดเพลิน ได้แก่ เกิดความเพลิดเพลินขึ้นแล้ว.

คำว่า ปลื้มใจ ชื่นใจ อิ่มใจ นอกนี้ก็เป็นคำอธิบายขยายความของคำว่าเพลิด

เพลินนั่นแล แท้จริงคำทั้ง ๔ คำนี้ ก็คือเป็นคำที่แสดงถึงอาการร่าเริงยินดีนั่นเอง.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า ท่านจักให้พรอะไร เมื่อจะตรัส

รุกรานเจ้าโปริสาทได้ตรัสพระคาถาว่า

ดูก่อนพระสหายผู้มีธรรมอันลามก พระองค์ไม่

รู้สึกถึงความตายของพระองค์ ไม่รู้สึกถึงสิ่งที่เป็น

ประโยชน์และหาประโยชน์มิได้ ทั้งนรกและสวรรค์

เป็นผู้ติดอยู่ในรส ตั้งอยู่ในทุจริต จักให้พรอะไร.

ข้าพเจ้าพึงบอกพระองค์ว่า จงให้พร แม่พระองค์

ให้พรแล้ว จะกลับไม่ให้ก็ได้ ความทะเลาะวิวาทนี้

อยู่ในอำนาจของพระองค์ ใครจะเข้ามาเป็นบัณฑิต

วินิจฉัยชี้ขาดได้.

ในคาถานั้น บทว่า โย อธิบายว่า พระองค์ไม่รู้สึก คือไม่รู้ถึง

ความตายแม้ของพระองค์เองว่า ตัวเรานี้ก็มีความตายเป็นธรรมดา จึงได้ประ-

กอบกรรมอันลามกอย่างเดียว. บทว่า หิตาหิต ความว่า พระองค์ไม่รู้จักว่า

กรรมนี้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา กรรมนี้หามีประโยชน์ไม่ กรรมนี้จักนำไป

สู่นรก กรรมนี้จักน่าไปสู่สวรรค์. บทว่า รเส ได้แก่ ในรสแห่งเนื้อมนุษย์.

บทว่า วชฺช แปลว่า พึงกล่าว. บทว่า อวากเรยฺย ความว่า พระองค์

ให้พรด้วยวาจา แม้ข้าพเจ้ากล่าวอยู่ว่า พระองค์จงให้พรนั้นแก่ข้าพเจ้า

พระองค์ จะกลับไม่ให้เสียก็ได้. บทว่า อุปพฺพเชยฺย ความว่า ใครจะมา

เป็นบัณฑิตวินิจฉัยการทะเลาะนี้ได้.

ลำดับนั้น เจ้าโปริสาทดำริว่า ท่านสุตโสมนี้ไม่เชื่อเรา เราจะให้เธอ

เธอให้ได้ แล้วกล่าวคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 697

คนเราให้พรใดแล้วจะกลับไม่ให้ ไม่ควรให้พร

นั้น ดูก่อนสหาย ขอให้พระองค์จงทรงมั่นพระทัย

รับพรเถิด แม้ชีวิตของหม่อมฉันก็จะสละถวายได้.

คำว่า จงทรงมั่นพระทัย ในคาถานั้น หมายความว่า จงมีพระทัย

อันแน่วแน่มั่นคงเถิด.

ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ทรงพระดำริว่า เจ้าโปริสาทกล้าพูดหนักอยู่

เธอจักทำตามถ้อยคำของเรา เราจักรับพร แต่เราจักขอพรว่า ท่านอย่ากิน

เนื้อมนุษย์เป็นข้อแรก เธอจักลำบากเกินไป เราจักรับพร ๓ อย่างอื่นก่อน

ภายหลังจึงรับพรข้อนี้ แล้วตรัสพระคาถาว่า

พระอริยะกับพระอริยะ ย่อมมีศักดิ์ศรีเสมอกัน

ผู้มีปัญญากับผู้มีปัญญา ย่อมมีศักดิศรีเสมอกัน ข้าพเจ้า

พึงเห็นท่านเป็นผู้หาโรคมิได้ตลอดร้อยปี นี้เป็นพรข้อ

ที่หนึ่ง หม่อนฉันปรารถนา.

ในคาถานั้น คำว่า อริยะ หมายถึงความประเสริฐด้วยมรรยาท. คำว่า

ศักดิ์ศรี หมายถึงศักดิธรรม คือ มิตรธรรม. คำว่า ผู้มีปัญญา หมายถึงผู้ถึง

พร้อมแล้วด้วยความรู้. คำว่า เสมอกัน คือย่อมเปรียบเทียบกันได้ เหมือนน้ำ

คงคากับน้ำยมุนา ฉะนั้น จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมเปรียบเทียบกันได้โดยธาตุ.

คำว่า พึงเห็นท่าน อธิบายว่า พระเจ้าสุตโสมทรงทำเป็นเหมือนปรารถนาให้

เจ้าโปริสาทมีชีวิตยืนยาว จึงขอพรคือชีวิตอันประเสริฐข้อแรกก่อน จริงอยู่

ธรรมดาว่านักปราชญ์ไม่ควรจะพูดว่าท่านจงให้ชีวิตแก่เรา เจ้าโปริสาทฟังคำ

นั้น คิดว่า เจ้าสุตโสมปรารถนาความไม่มีโรคแก่เราผู้เดียว จึงกล่าวอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 698

ส่วนเจ้าโปริสาทได้ฟังคำนั้น มีใจชื่นบานว่า เจ้าสุตโสมนี้ยังปรารถนา

ความเป็นอยู่ของเรา ผู้เป็นมหาโจร กำจัดตนออกจากอิสรภาพ ใคร่จะกินเนื้อ

อยู่ ณ บัดนี้ ผู้กระทำความพินาศใหญ่อย่างนี้ ท่านต้องการประโยชน์แก่เรา

น่าสรรเสริญยิ่งนัก เมื่อจะถวายพระพรยอมตามที่พระมหาสัตว์ตรัสลวงแล้ว

รับพรอยู่นั้น จึงกล่าวคาถาว่า

อริยะกับอริยะ ย่อมมีศักดิ์ศรีเสมอกัน ผู้มีปัญญา

กับผู้มีปัญญาย่อมมีศักดิ์ศรีเสมอกัน พระองค์พึงเห็น

หม่อมฉันผู้หาโรคมิได้ตลอดร้อยปี หม่อมฉันขอถวาย

พระพรข้อต้นนี้ตามประสงค์แล.

คำว่า พร ในคาถานั้น หมายถึงพรข้อที่หนึ่งในบรรดาพร ๔ ประการ

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงตรัสต่อไปว่า

พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นกษัตริย์ ได้นามบัญญัติว่า

มุทธาภิสิตเหล่าใดในชมพูทวีปนี้ พระองค์อย่ากิน

พระเจ้าแผ่นดินเหล่านั้น นี่เป็นพรข้อที่สอง หม่อมฉัน

ปรารถนา.

คำว่า ได้นามบัญญัติ ในคาถานั้น อธิบายว่า ผู้มีพระนามาภิไธย

อันกระทำแล้วว่า มุทธาภิสิต ดังนี้ เพราะทรงอภิเษกบนพระเศียรเกล้า. คำว่า

พระเจ้าแผ่นดินเหล่านั้น อธิบายว่า พระองค์อย่าได้เสวยกษัตริย์ที่ได้รับ

มูรธาภิเษกเหล่านั้นเลย.

พระมหาสัตว์เมื่อจะทรงรับพรข้อที่สอง ได้ทรงรับพร คือชีวิตของ

พวกกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ด้วยประการฉะนี้ แม้เจ้าโปริสาทเมื่อจะถวายพระพร

แด่พระโพธิสัตว์นั้น จึงกล่าวคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 699

พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นกษัตริย์ ได้นามบัญญัติว่า

มุทธาภิสิตเหล่าใดในชมพูทวีปนี้ หม่อมฉันจะไม่กิน

พระเจ้าแผ่นดินเหล่านั้น นี้เป็นพระพรข้อที่สอง

หม่อมฉันยอมถวาย.

มีคำถามสอดเข้ามาว่า กษัตริย์เหล่านั้นได้ยินพระสุรเสียงของสอง

กษัตริย์ทั่วกันหรือไม่ ? ตอบว่า ไม่ได้ยินทั่วกันหมด พระเจ้าโปริสาทก่อไฟ

ห่างออกไป เพราะกลัวเปลวควันจะเป็นอันตรายต่อต้นไม้ พระมหาสัตว์

ประทับนั่งตรัสกับเจ้าโปริสาทในระหว่างกองไฟกับต้นไม้ เพราะฉะนั้น กษัตริย์

เหล่านั้นจึงไม่ได้ยินทั้งหมด ได้ยินว่า ครั้งหนึ่ง กษัตริย์เหล่านั้นตรัสปลอบ

กันว่า พระเจ้าสุตโสมจักทรงทรมานเจ้าโปริสาทในบัดนี้ อย่ากลัวไปเลย ใน

ขณะนั้น พระมหาสัตว์ตรัสคาถานี้ว่า

กษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ ที่ถูกพระองค์จับร้อย

พระหัตถ์ไว้ มีพระพักตร์นองด้วยพระอัสสุชลกันแสง

อยู่นั้น ขอพระองค์จงปล่อยให้กลับไปสู่แคว้นของ

ตนๆ นี้เป็นพรข้อที่สาม หม่อมฉันปรารถนา.

คำว่า ร้อยเอ็ด ในคาถานั้น หมายถึงจำนวนเกินร้อย. คำว่า ที่ถูก

พระองค์จับไว้ คือที่พระองค์ได้จับไว้แล้ว. คำว่า ร้อยพระหัตถ์ไว้ คือ

จับร้อยไว้ที่ฝ่ามือ.

เมื่อพระมหาสัตว์เจ้าทรงรับพรข้อที่สาม ได้ทรงรับพรคือขอให้มอบ

แคว้นของตน ๆ แก่กษัตริย์เหล่านั้นด้วยประการฉะนี้. มีคำถามสอดเข้ามาว่า

ทรงรับพรนี้เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เจ้าโปริสาทแม้จะไม่กิน แต่ก็อาจจะให้

กษัตริย์ทั้งหมดอยู่เป็นทาสในป่านั้นก็เป็นได้ หรืออาจจะฆ่าทิ้งเสียก็ได้ หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 700

อาจจะนำไปจำหน่ายเสีย ณ ชนบทก็เป็นได้ เพราะฉะนั้น พระมหาสัตว์จึง

ทรงรับพร คือขอให้มอบแคว้นของตน ๆ แก่กษัตริย์เหล่านั้น ส่วนเจ้าโปริสาท

เมื่อจะถวายพระพรแด่พระมหาสัตว์ จึงได้กล่าวคาถาว่า

กษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ ที่หม่อมฉันร้อยพระหัตถ์

ไว้ พระพักตร์นองด้วยพระอัสสุชลกันแสงอยู่นั้น

หม่อมฉันจะปล่อยให้กลับไปสู่แคว้นของตน ๆ นี้เป็น

พระพรข้อที่สาม หม่อมฉันยอมถวาย.

ครั้นเมื่อพระโพธิสัตว์จะทรงรับพรข้อที่สี่ จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

รัฐมณฑลของพระองค์เป็นช่อง เพราะนรชน

เป็นอันมาก หวาดเสียวเพราะภัย หนีเข้าที่ซ่อนเร้น

ขอพระองค์จงเว้นจากเนื้อมนุษย์เสียเถิด นี้เป็นพรข้อ

ที่สี่ หม่อนฉันปรารถนา.

ในคาถานั้นมีอรรถาธิบายว่า แคว้นของพระองค์ที่อยู่กันเป็นปึกแผ่น

กลายเป็นช่อง เพราะบ้านเป็นต้นตั้งอยู่ในแคว้นนั้น ๆ ต้องทิ้งบ้านช่องแตก

กระจายไป. บทว่า พฺยถิตา ภยา หิ ความว่า นรชนทั้งหลายหวาดเสียว

เพราะความกลัวท่านว่า เจ้าโปริสาทจักมาในบัดนี้. บทว่า เลณมนุปฺปวิฏฺ-

า ความว่า พากันอุ้มลูกจูงหลาน หนีเข้าไปหาที่ซ่อนเร้นมีชัฏหญ้าเป็นต้น.

บทว่า มนุสฺสมส ความว่า ขอพระองค์ละเว้นเนื้อมนุษย์ ซึ่งเป็นของปฏิ-

กูลน่าเกลียด มีกลิ่นเหม็นเสียเถิด คือจงเว้นขาดจากเนื้อมนุษย์เสียเถิด.

เมื่อพระโพธิสัตว์ตรัสอย่างนี้แล้ว เจ้าโปริสาทปรบมือหัวเราะทูลว่า

พระสหายสุตโสมพูดถึงเรื่องนี้ละหรือ พระพรนี้เท่ากับชีวิต หม่อมฉันจักถวาย

แด่พระองค์อย่างไรได้ ถ้าพระองค์ใคร่จะรับ จงรับพรอย่างอื่นเถิด แล้วกล่าว

คาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 701

นั่นเป็นอาหารที่ชอบใจของหม่อมฉันมานานแล้ว

หม่อมฉันเข้าป่าก็เพราะเหตุอาหารนี้ หม่อมฉันจะพึง

งดอาหารนี้เสียอย่างไร ขอพระองค์จงทรงเลือกพระพร

ที่สี่อย่างอื่นเถิด.

คำว่า ป่า ในคาถานั้น หมายความว่า หม่อมฉันยอมสละราชสมบัติ

แล้วเข้าสู่ป่านี้.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงตรัสว่า พระองค์กล่าวว่าไม่อาจงดได้

เพราะเป็นของรักอย่างยิ่ง ก็ผู้ใดทำบาปเพราะเหตุของรัก ผู้นี้เป็นอันธพาล

แล้วตรัสพระคาถาว่า

ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน คนเช่น

พระองค์มัวคิดอยู่ว่า นี้เป็นที่รักของเรา ทำตนให้เห็น

ห่างจากความดี จะไม่ได้ประสบสิ่งที่รักทั้งหลาย ตน

แลประเสริฐที่สุด ประเสริฐอย่างยอดเยี่ยมทีเดียว

เพราะคนมีตนอบรมแล้ว ภายหลังจะพึงได้สิ่งที่รัก

ทั้งหลาย.

ในคาถานั้น บทว่า ตาทิโส ความว่า ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นจอม

แห่งชน คนเช่นพระองค์ยังเป็นหนุ่ม มีรูปงาม มียศใหญ่ กระทำตนให้

เหินห่างจากความดี ด้วยความโลภในวัตถุอันเป็นที่รักว่า ขึ้นชื่อว่าสิ่งนี้ ย่อม

เป็นที่รักของเรา เคลื่อนจากสุคติทั้งหมดและวิสัยแห่งความสุข ตกลงในนรก

อย่างเดียว ชื่อว่าย่อมไม่ได้เสพสิ่งนั้นอันเป็นที่รักทั้งหลาย. บทว่า ปรมาว

เสยฺโย ความว่า ด้วยว่าตนของบุรุษนั่นแหละประเสริฐกว่าวัตถุอันเป็นที่รัก

อย่างอื่น. ถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะคนมีตนอันอบรมแล้วจะพึง

ได้สิ่งอันเป็นที่รักทั้งหลาย อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า สิ่งอันเป็นที่รักทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 702

บุคคลผู้มีตนอันอบรมแล้ว และมีตนอันเจริญแล้ว ด้วยอำนาจแห่งวิสัยอันเป็น

ที่รักและบุญ กระทำสมบัติในเทวดาและมนุษย์แล้ว ก็อาจที่จะได้ในทิฏฐธรรม

หรือในโลกเบื้องหน้า.

เมื่อพระโพธิสัตว์ตรัสอย่างนี้แล้ว เจ้าโปริสาทหวาดหวั่น ดำริว่า

เราไม่อาจให้ท่านสุตโสมปล่อยพรนี้เสียได้ละกระมัง แม้เนื้อมนุษย์เราก็ไม่อาจ

อดได้ จักทำอย่างไรดีหนอ ถ้าเธอตรัสขอพรที่สี่อย่างอื่นจักถวายเธอทันที

เราจักเป็นอยู่อย่างไร มีเนตรนองด้วยอัสสุชล กล่าวคาถาว่า

เนื้อมนุษย์เป็นที่รักของหม่อมฉัน ดูก่อนท่าน

สุตโสม ขอท่านจงทราบความจำเป็น หม่อมฉันไม่อาจ

งดเว้นได้ ดูก่อนพระสหาย ขอท่านจงเลือกพระพร

อย่างอื่นเถิด.

คำว่า จงทราบ ในคาถานั้น หมายความว่า ขอพระองค์จงรู้ไว้เถิด.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

คนใดมัวรักษาของรักอยู่ว่า นี่เป็นที่รักของเรา

ทำตนให้เหินห่างจากความดีแล้ว เสพของรักทั้งหลาย

อยู่ เหมือนนักเลงดื่มสุราที่เจือด้วยยาพิษฉะนั้น คนนั้น

จะได้ทุกข์ในเบื้องหน้า เพราะความประพฤตินั่นแล.

ส่วนบุคคลใดในโลกนี้ รู้สึกตัวละของรักได้

เสพอริยธรรมแม้ด้วยความฝืนใจ เหมือนคนเป็นไข้

ดื่มโอสถ ฉะนั้น บุคคลนั้นจะได้สุขในเบื้องหน้า

เพราะความประพฤตินั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 703

ในคาถานั้น บทว่า โย เว มีอธิบายว่า ดูก่อนสหายโปริสาท

บุรุษใดกระทำตนให้เหินห่างจากความดีด้วยการกระทำบาปว่า สิ่งนี้เป็นที่รัก

แก่เราแล้วเสพของรักอยู่ บุรุษนั้นย่อมได้รับความทุกข์ในอบายมีนรกเป็นต้น

ในเบื้องหน้า เพราะกรรมอันเป็นบาปนั้น เปรียบดังนักเลงสุราดื่มสุราอัน

เจือยาพิษ เพราะว่าตนชอบสุรา ฉะนั้น. คำว่า รู้สึกตัว หมายถึงรู้ตัว

พิจารณาตัวเองได้. คำว่า ละของรักได้ อธิบายว่า ละทิ้งของรักอัน

ประกอบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรมเสียได้.

เมื่อพระโพธิสัตว์ตรัสอย่างนี่แล้ว เจ้าโปริสาทคร่ำครวญรำพันอยู่

กล่าวคาถาว่า

หม่อมฉันทิ้งพระชนกพระชนนี ทั้งเบญจกาม-

คุณที่น่าเพลิดเพลินเจริญใจเข้าป่า ก็เพราะเหตุแห่ง

เนื้อมนุษย์ หม่อมฉันจะถวายพระพรนั้นแก่พระองค์

อย่างไรได้.

ในคาถานั้น เจ้าโปริสาทแสดงเนื้อมนุษย์ด้วยคำว่า เพราะเหตุแห่ง

เนื้อมนุษย์นี้. คำว่า อย่างไรได้ อธิบายว่า หม่อมฉันจะกระทำอย่างไร

จึงจะถวายพระพรนี้แก่พระองค์ได้.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

พวกบัณฑิตไม่กล่าววาจาเป็นสอง พวกสัตบุรุษ

ย่อมมีปฏิญาณเป็นสัตย์ทีเดียว ท่านได้กล่าวกับ

ข้าพเจ้าว่า พระสหายจงรับพร ท่านได้กล่าวไว้อย่างนี้

ที่ท่านกล่าวในบัดนี้จึงไม่สมกัน.

ในคาถานั้น บทว่า ทิคุณ อธิบายว่า ดูก่อนสหายโปริสาท ธรรมดา

ว่าบัณฑิต พูดคำหนึ่งแล้วไม่ทำคำนั้นให้คลาดเคลื่อนอีก ย่อมไม่กล่าวคำที่สอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 704

ท่านได้กล่าวกะข้าพเจ้าไว้แล้วอย่างนี้ว่า ดูก่อนสหายสุตโสม พระองค์จงรับ

พรเถิด. บทว่า อิจฺจพฺรวิ ความว่า เพราะฉะนั้น คำใดท่านกล่าวไว้แล้ว

ด้วยประการฉะนี้ คำนั้นย่อมไม่สมกับคำของท่านในบัดนี้เลย.

เจ้าโปริสาทร้องไห้อีก กล่าวคาถาอย่างนี้ว่า

หม่อมฉันเข้าถึงบาปทุจริต ความเศร้าหมอง

มาก หาบุญลาภนี้ได้ เสื่อมยศ เสื่อมเกียรติ ก็เพราะ

เนื้อมนุษย์เป็นเหตุ หม่อมฉันจะพึงถวายพระพรนั้น

แก่พระองค์อย่างไรได้.

ในคาถานั้น คำว่า บาป คือยังไม่ถึงกรรมบถ. คำว่า ทุจริต คือถึง

กรรมบถแล้ว. คำว่า ความเศร้าหมอง หมายถึงความลำบาก. คำว่า เพราะ

เนื้อมนุษย์เป็นเหตุคือ เพราะเหตุแห่งเนื้อมนุษย์. คำว่า เข้าถึง คือ หม่อม

ฉันเป็นผู้เข้าถึงแล้ว. บทว่า ตนฺเต ความว่า เจ้าโปริสาทกล่าวว่า หม่อมฉัน

ถวายพระพรนั้นแก่พระองค์อย่างไรได้ พระองค์อย่าได้ห้ามหม่อมฉันเสียเลย

จงทรงกระทำความอนุเคราะห์ ความกรุณาในหม่อมฉันเถิด จงทรงรับพร

อย่างอื่นเถิด.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสกะเธออีกว่า

คนเราให้พรใดแล้วกลับไม่ให้ ไม่ควรจะให้พร

นั้น ขอพระสหายจงมั่นพระทัยรับพรเถิด แม้ชีวิต

ของหม่อมฉันก็จักสละถวายแล.

เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงนำคาถาที่เจ้าโปริสาทนั้นกล่าวไว้ก่อนแล้ว มา

แสดงอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงสนับสนุนให้เข้าโปริสาทอาจหาญในการให้พร

จึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 705

การเสียสละชีวิตได้ นั่นเป็นธรรมของสัตบุรุษ

สัตบุรุษย่อมมีปฏิภาณเป็นสัตย์ทีเดียว พรอันพระองค์

ประทานไว้แล้ว จงประทานเสียฉับพลัน ดูก่อนพระองค์

ผู้เป็นพระราชาอันประเสริฐสุด พระองค์จงสมบูรณ์

ด้วยธรรมของสัตบุรุษนั้นเถิด.

นรชนพึงสละทรัพย์ เพราะเหตุแห่งอวัยวะอัน

ประเสริฐ เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะเมื่อนึกถึงธรรม

พึงสละอวัยวะทรัพย์แม้ชีวิตทั้งหมดเถิด.

ในคาถานั้น คำว่า ชีวิต หมายถึงละชีวิตได้ อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า สัต-

บุรุษทั้งหลายย่อมละชีวิตได้โดยแท้ พระองค์จงประทานพรเสียโดยฉับพลัน คือ

จงประทานแก่เราเสียโดยเร็วในที่นี้เถิด. คำว่า ด้วยธรรมของสัตบุรุษนั้น

คือเป็นผู้สมบูรณ์ถึงพร้อม เข้าถึงแล้วด้วยธรรมและความสัตย์นี้ พระโพธิสัตว์

ทรงยกย่องเจ้าโปริสาทนั้น จึงทรงเรียกว่า ผู้เป็นพระราชาอันประเสริฐสุด.

คำว่า พึงสละทรัพย์ อธิบายว่า ดูก่อนสหายโปริสาท บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เนื้อ

อวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้นยังมีอยู่ พึงสละทรัพย์แม้มาก เมื่อต้องการจะรักษา

อวัยวะนั้น. คำว่า เมื่อนึกถึงธรรม อธิบายว่า เมื่อนึกถึงธรรนอยู่อย่างนี้

ว่า แม้เราจะต้องสละอวัยวะทรัพย์และชีวิต ก็ไม่ยอมล่วงธรรมของสัตบุรุษ.

พระมหาสัตว์ตรัสชักนำให้เจ้าโปริสาทนั้นตั้งอยู่ในความสัตย์ด้วยเหตุผล

เหล่านี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้จักยกความที่พระองค์เป็นครูขึ้นสนับสนุน จึงตรัส

พระคาถาว่า

บุรุษรู้ธรรมจากบุคคลใด และบุคคลเหล่าใดเป็น

สัตบุรุษ บันเทาความสงสัยของบุรุษนั้นได้ ข้อนั้น

เป็นที่พึงพำนักของบุรุษนั้นได้ เป็นบัณฑิตไม่พึงทำ

ลายไมตรีจากจากบุคคลนั้นเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 706

ในคาถานั้น คำว่า ใด หมายถึงจากบุรุษผู้ใด. คำว่า ธรรม หมายถึง

เหตุที่สำหรับส่องกุศลและอกุศลธรรม. คำว่า รู้ คือ พึงรู้ชัด. คำว่า ข้อนั้น

อธิบายว่า บุคคลผู้เป็นอาจารย์นั้น. ชื่อว่าเป็นที่พึ่ง เพราะอรรถว่าเป็นที่

พึ่งของบุคคลนั้น และชื่อว่าเป็นที่พำนัก เพราะอรรถว่าเป็นสถานที่บุคคลนั้น

พึงไปหาในเมื่อมีภัยเกิดขึ้น. คำว่า ไม่พึงทำลายไมตรีจากบุคคลนั้น อธิบาย

ว่า บุคคลผู้เป็นบัณฑิตไม่พึงทำลายไมตรี ด้วยเหตุแม้อย่างใดอย่างหนึ่งกับ

บุคคลผู้เป็นอาจารย์นั้น คือไม่พึงทำไมตรีนั้นให้พินาศไป.

ก็พระโพธิสัตว์ ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงตรัสต่อไปว่า ดูก่อนสหาย

โปริสาท ขึ้นชื่อว่าถ้อยคำของอาจารย์ผู้มีคุณ ไม่ควรจะทำลาย เราเป็น

ปฤษฎาจารย์ของพระองค์ ให้พระองค์ศึกษาศิลปะเป็นอันมาก แม้ในเวลาที่ยัง

ทรงพระเยาว์ บัดนี้ได้กล่าวสตารหคาถาด้วยพุทธลีลาแก่พระองค์ เพราะฉะนั้น

พระองค์ควรจะทำตามถ้อยคำของเรา.

เจ้าโปริสาทได้สดับดังนั้น จึงดำริว่า ท่านสุตโสมเป็นอาจารย์ของเรา

และพรเราก็ได้ถวายแก่พระองค์ เราอาจจะทำอะไรได้ อันธรรมดาความตาย

ในอัตภาพหนึ่ง ย่อมเป็นของแน่นอน เราจักไม่กินเนื้อมนุษย์ เราจะถวาย

พระพร ดังนี้ มีสายอัสสุชลนองหน้า ลุกขึ้นถวายบังคมพระบาทพระเจ้าสุตโสม

จอมนรินทร์ เมื่อจะถวายพระพรนั้น จึงได้กล่าวคำนี้ว่า

นั่นเป็นอาหารที่ชอบใจของหม่อมฉันมานาน

ทีเดียว หม่อมฉันเข้าป่าก็เพราะเหตุแห่งอาหารนี้ แต่

ถ้าพระสหายตรัสขอหม่อมฉันในเรื่องนี้ หม่อมฉันก็

ยอมถวายพระพรนี้แด่พระองค์ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 707

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนสหาย คนที่ตั้งอยู่ในศีลถึงจะตาย

ก็ประเสริฐ เราขอรับพรที่ท่านประทาน และท่านได้ตั้งอยู่ในทางของพระอริยะ

ตั้งแต่วันนี้แล้ว แม้ถึงอย่างนั้น เราต้องทูลขอท่าน ถ้าความรักในตัวเราของท่าน

ยังมีอยู่ ขอท่านจงรับศีล ๕ เถิดนะมหาราช. เจ้าโปริสาททูลว่า ดีละสหาย

ขอพระองค์จงประทานศีล ๕ แก่หม่อมฉัน พระมหาสัตว์ตรัสว่า เชิญรับเถิด

มหาราช. เจ้าโปริสาทถวายบังคมพระมหาสัตว์ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นั่ง ณ

ที่ควรข้างหนึ่ง. พระมหาสัตว์ได้ให้เจ้าโปริสาทตั้งอยู่ในศีล ๕ แล้ว. ฉะนั้น

ภุมเทวดาผู้ประชุมกันในสถานที่นั้น เกิดความชื่นบานในพระมหาสัตว์ ได้

กระทำสาธุการยังพนมวันให้มีเสียงสนั่นโกลาหลว่า คนอื่นตั้งแต่อเวจีตลอดถึง

ภวัครพรหม ชื่อว่าสามารถจะห้ามเจ้าโปริสาทจากเนื้อมนุษย์ได้เป็นไม่มี พระ-

เจ้าสุตโสม ได้ทำกิจที่บุคคลอื่นทำได้อย่างแสนยาก น่าอัศจรรย์ เทพยดาชั้น

จาตุมหาราช ได้สดับต่อภุมเทวดาเหล่านั้น ก็กระทำสาธุการบันลือลั่นต่อ ๆ

กันไปอย่างนี้ ได้เกิดโกลาหลเป็นอันเดียวกันตลอดพรหมโลก แม้พระราชาที่

ถูกแขวนอยู่ ณ ต้นไม้ ก็พลอยได้ยินเสียงสาธุการของเทพยดาเหล่านั้นด้วย

แม้พวกรุกขเทวดาผู้อยู่ในวิมานนั้น ๆ ก็ให้สาธุการ การให้สาธุการของเทพยดา

อย่างนี้ ได้ยินแต่เสียง ไม่เห็นตัวเทพยดา พวกพระราชาได้ทรงสดับเสียง

สาธุการของพวกเทพยดา จึงทรงดำริว่า พวกเราได้ชีวิตเพราะอาศัยพระเจ้า

สุตโสม พระเจ้าสุตโสมทรงทรมานเจ้าโปริสาทได้ นับว่าชื่อว่าทำกิจที่คนอื่น

ทำได้แสนยาก แล้วพากันสรรเสริญพระโพธิสัตว์. ฝ่ายเจ้าโปริสาทถวายบังคม

พระบาทยุคลของพระมหาสัตว์แล้ว ยืนอยู่ส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์

ตรัสกะเจ้าโปริสาทว่า ดูก่อนพระสหาย ท่านจงปลดปล่อยกษัตริย์เหล่านี้เสีย

เถิด. เจ้าโปริสาทดำริว่า เราเป็นศัตรูของกษัตริย์เหล่านี้ กษัตริย์เหล่านี้

เมื่อเราปลดปล่อยไปแล้ว จะช่วยกันจับเราว่าเป็นศัตรูของตนแล้วจักเบียดเบียน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 708

แม้เราจะต้องเสียชีวิต ก็ไม่อาจจะทำลายศีลที่เรารับจากสำนักท่านสุตโสม เรา

จักไปปลดปล่อยด้วยกันกับท่านสุตโสม อย่างนี้จักไม่เป็นภัยแก่เรา แล้วถวาย

บังคมพระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่ท่านสุตโสม เราทั้งสองจะไปปลดปล่อยกษัตริย์

ทั้งหลายด้วยกัน แล้วกล่าวคาถาว่า

พระองค์เป็นศาสดาของหม่อมฉันและเป็นสหาย

ด้วย หม่อมฉันได้ทำตามถ้อยคำของพระองค์ แม้

พระองค์ก็จงกระทำตามถ้อยคำของหม่อมฉัน เราทั้ง-

สองจะไปปลดปล่อยพวกษัตริย์ด้วยกัน.

คำว่า เป็นศาสดา ในคาถานั้น หมายถึงเป็นศาสดาเพราะได้แสดง

ทางสวรรค์ และเป็นสหายกันมาจำเดิมตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงตรัสกะเจ้าโปริสาทนั้นว่า

เราเป็นศาสดาของพระองค์ และเป็นสหายด้วย

พระองค์ได้ทำตามถ้อยคำของเรา แม้เราก็จะทำตาม

ถ้อยคำของพระองค์ เราทั้งสองจงไปปลดปล่อยพวก

กษัตริย์ด้วยกันเถิด.

ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระโพธิสัตว์จึงเสด็จไปหากษัตริย์เหล่านั้นแล้ว

ตรัสพระคาถาว่า

พวกท่านอย่าคิดประทุษร้ายแก่พระราชานี้ด้วย

ความแค้นว่า ถูกเธอผู้ได้นามว่า กัมมาสบาท (เท้าด่าง

เพราะถูกตอไม้แทง) เบียดเบียนร้อยฝ่ามือ ต้องร้องไห้

น้ำตานองหน้า ดังนี้เป็นอันขาด จงรับสัจปฏิญาณ

ต่อหม่อมฉัน ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 709

ในคาถานั้น บทว่า กมฺมาสปาเทน อธิบายว่า พระมหาสัตว์ทรงรับ

คำเจ้าโปริสาทว่า แม้เราทั้งสองจงไปปลดปล่อยพวกกษัตริย์ด้วยกันดังนี้แล้ว

ทรงดำริว่า ธรรมดากษัตริย์เป็นผู้กระด้างด้วยมานะ พอหลุดได้อาจจะโบย หรือ

ฆ่าเจ้าโปริสาทเสียด้วยความอาฆาตว่า พวกเราถูกเจ้าโปริสาทนี้ เบียดเบียน

แล้วดังนี้ก็ได้ แต่เจ้าโปริสาทจะไม่ประทุษร้ายกษัตริย์เหล่านั้นเป็นแน่ เราแต่

เพียงผู้เดียวจะไปรับปฏิญาณต่อกษัตริย์เหล่านั้นก่อน แล้วเสด็จไปในสำนัก

กษัตริย์เหล่านั้น ทรงเห็นกษัตริย์เหล่านั้นถูกร้อยฝ่าพระหัตถ์แขวนอยู่ที่กิ่งไม้

ปลายนิ้วพระบาทพอจรดพื้นดินดิ้นรนอยู่ ดุจพวงดอกหงอนไก่ ซึ่งเขาห้อยไว้

ที่ไม้เต้าในเวลาที่ต้องลม. แม้กษัตริย์เหล่านั้น พอได้เห็นพระโพธิสัตว์แล้ว

ร้องขึ้นพร้อมกันว่า พวกเราหาโรคมิได้ในบัดนี้แล้ว. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์

ตรัสปลอบกษัตริย์เหล่านั้นว่า อย่ากลัวเลย แล้วตรัสว่า พวกท่านได้รับอภัยโทษ

จากเจ้าโปริสาทแล้ว แต่พวกท่านต้องทำตามถ้อยคำของหม่อมฉันด้วย แล้ว

จึงตรัสพระคาถาดังกล่าวมาแล้วในเบื้องต้น. คำว่า เป็นอันขาด ในคาถานั้น

อธิบายว่า พวกท่านอย่าคิดประทุษร้ายโดยส่วนเดียวเท่านั้น.

กษัตริย์เหล่านั้น ตรัสตอบเป็นพระคาถาว่า

พวกหม่อมฉันจะไม่คิดประทุษร้ายต่อพระราชานี้

ด้วยความแค้นว่า ถูกเธอผู้ได้นามว่า กัมมาสบาท

เบียดเบียนร้อยฝ่ามือไว้ ต้องร้องไห้น้ำตานองหน้า

ดังนี้เป็นอันขาด หม่อมฉันขอรับสัจปฏิญาณต่อ

พระองค์ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 710

ในคาถานั้น บทว่า ปฏิสุโณม ความว่า กษัตริย์เหล่านั้นทูลพระมหา-

สัตว์ว่าหม่อมฉันรับปฏิญาณอย่างนี้ ก็แต่ว่าพวกหม่อมฉันกำลังเหน็ดเหนื่อย

เมื่อยล้าไม่สามารถจะเรียบเรียงคำปฏิญาณได้ดี ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแก่

บรรดาสัตว์ทั้งปวงเถิด พระองค์จงเรียงคำปฏิญาณให้ด้วย พวกหม่อมฉันได้

สดับคำของพระองค์แล้วจักให้คำปฏิญาณ.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงตรัสกะพวกกษัตริย์เหล่านั้นว่า ถ้าเช่นนั้น

พวกท่านจงให้ปฏิญาณ แล้วตรัสพระคาถาว่า

บิดาหรือมารดา ย่อมมีความกรุณาปรารถนา

ความเจริญแก่ประชาคือบุตร ฉันใด แม้พระราชานี้

ก็จงเป็นเหมือนอย่างนั้นแก่พวกท่าน และพวกท่าน

ก็จงเป็นเหมือนอย่างบุตรทั้งหลาย ฉะนั้น.

แม้กษัตริย์เหล่านั้น ก็รับคำปฏิญาณอยู่ ได้กล่าวคาถานี้ว่า

บิดาหรือมารดา ย่อมมีความกรุณาปรารถนา

ความเจริญแก่ประชาคือบุตร ฉันใด แม้พระราชานี้

จงเป็นเหมือนอย่างนั้นแก่พวกหม่อนฉัน แม่พวก

หม่อมฉันก็จะเป็นเหมือนอย่างบุตรทั้งหลาย ฉะนั้น.

โว อักษรในคำว่า ตุมฺเห จ โว ในคาถานั้น เป็นเพียงนิบาต

พระมหาสัตว์ทรงรับปฏิญญาของกษัตริย์เหล่านั้นอย่างนี้แล้ว ทรง

เรียกเจ้าโปริสาท ตรัสว่า จงมาเถิดสหาย จงมาปลดปล่อยกษัตริย์เหล่านี้เถิด

เจ้าโปริสาทจับดาบตัดเชือกที่ผูกพระราชาองค์หนึ่งแล้ว พระราชานั้นอดอาหาร

ได้รับทุกขเวทนามาถึง ๗ วันแล้ว สลบล้มลง ณ ภาคพื้น พร้อมกับความขาด

แห่งเชือกที่ผูก พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น มีความกรุณา ตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 711

ดูก่อนสหายโปริสาท ท่านอย่าตัดอย่างนั้นเลย คราวนี้เราทั้งสองจะจับพระราชา

องค์หนึ่งไว้ให้มั่น ทำเธอไว้ ณ เบื้องอกแล้วจึงตัดเชือกที่ผูก เมื่อเจ้าโปริสาท

ตัดเชือกด้วยพระขรรค์ พระมหาสัตว์รับพระราชานั้นให้นอน ณ พระอุระ

เพราะพระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยพระกำลัง ประคองให้นอนลง ณ ภาคพื้น

ด้วยพระหฤทัย ประกอบไปด้วยเมตตา คล้ายกับประคองบุตรที่เกิดแต่อก

ฉะนั้น ทรงประคองพระราชาเหล่านั้น ทุกพระองค์ ให้นอนลงบนภาคพื้น

อย่างนี้แล้ว ทรงชะแผล ค่อย ๆ ดึงเชือกออก ดุจดึงด้ายเส้นน้อยออกจากหู

ของเด็ก ฉะนั้น ล้างหนองและเลือดแล้ว ทำแผลให้จนสะอาด ตรัสว่า

ดูก่อนสหายโปริสาท ท่านจงฝนเปลือกไม้นี้ที่หินแล้วนำเอามา ครั้นให้นำมา

แล้ว จึงทรงตั้งสัตย์อธิษฐาน ทาที่ฝ่าพระหัตถ์ของกษัตริย์เหล่านั้น แผลนั้น

หายในขณะนั้นทันที เจ้าโปริสาทเอาข้าวสารมาต้มเป็นน้ำใส ๆ แม้กษัตริย์

ทั้งสองนั้น ได้ให้กษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ได้ดื่มน้ำข้าวต้มแล้ว.

เมื่อพระโพธิสัตว์ และเจ้าโปริสาทให้กษัตริย์เหล่านั้นอิ่มหนำทั่วทุก

พระองค์ ดังนี้แล้ว ก็พอพระอาทิตย์อัสดงคต แม้วันรุ่งขึ้นก็ให้ดื่มอย่างนั้น

ทั้งในเวลาเช้าเวลาเที่ยงและเวลาเย็น วันที่ ๓ ให้ดื่มยาคูมีเมล็ดปฏิบัติอย่างนี้

จนกษัตริย์เหล่านั้นหาโรคมิได้ ครั้งนั้น พระมหากษัตริย์ตรัสถามกษัตริย์

เหล่านั้นว่า พวกท่านอาจจะกลับไปได้หรือยัง เมื่อกษัตริย์เหล่านั้นกราบทูลว่า

ไปได้. ตรัสว่า ดูก่อนสหายโปริสาท เชิญเสด็จเถิด เราทั้งหลายจงกลับไปยัง

แคว้นของตนเถิด. เจ้าโปริสาทได้สดับดังนั้น ก็ร้องไห้ฟุบอยู่แทบบาทยุคล

ของพระมหาสัตว์ทูลว่า พระสหายจงพาพระราชาทั้งหลายเสด็จไปเถิด หม่อมฉัน

จะกินรากไม้ผลไม้อยู่ในป่านี้. พระมหาสัตว์ตรัสว่า สหายจักทำอะไรในป่านี้

แคว้นของพระองค์น่ารื่นรมย์ จงเสด็จไปเสวยราชสมบัติ ณ พระนครพาราณสี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 712

นั้นเถิดนะ. เจ้าโปริสาททูลว่า พระสหายตรัสอะไร หม่อมฉันไม่อาจไปใน

พระนครพาราณสี เพราะชาวพระนครทั้งหมด เป็นศัตรูของหม่อมฉัน จักด่า

บริภาษหม่อมฉันว่า กินมารดาของเขา กินบิดาของเขา ดังนี้เป็นต้นแล้ว

จักพากันจับหม่อมฉันโดยตั้งข้อหาว่า เป็นโจร จักปลงชีวิตหม่อมฉันด้วย

ท่อนไม้หรือก้อนดิน ไม้ ค้อน หอก หรือขวาน ส่วนหม่อมฉันรับศีลใน

สำนักของพระองค์แล้ว หย่อมฉันไม่อาจจะฆ่าเขา แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต

เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่ไป หม่อมฉันเมื่อเว้นจากเนื้อมนุษย์เสียแล้ว

จักเป็นอยู่นานสักเท่าไร คราวนี้การเห็นพระองค์ของหม่อมฉันไม่มีอีก. เจ้า-

โปริสาทกล่าวดังนี้แล้ว ก็ร้องไห้ทูลว่า เชิญพระองค์เสด็จเถิด. ครั้งนั้นพระ

มหาสัตว์ทรงลูบหลังเจ้าโปริสาท ตรัสว่า พระสหายโปริสาทเอ๋ย หม่อมฉัน

ชื่อสุตโสม คนหยาบช้าสาหัสเช่นพระองค์ยังฝึกได้ คนชาวพระนครพาราณสี

จะเป็นไรไปเล่า หม่อมฉันจักให้พระองค์เสด็จเป็นพระราชา ในพระนคร

พาราณสีนั้นอีก เมื่อไม่อาจสามารถ ก็จักแบ่งราชสมบัติของหม่อมฉันออกเป็น

สองส่วน ถวายพระองค์ส่วนหนึ่ง เมื่อเจ้าโปริสาททูลว่า แม้ในพระนครของ

พระองค์ ศัตรูของหม่อมฉันก็ยังมีอยู่เหมือนกัน แล้วทรงดำริว่า เจ้าโปริสาท

นี้ทำตามถ้อยคำของเรา นับว่าเราทำกิจที่คนอื่นทำได้ยากนัก เราจะให้เธออยู่

ในพระราชอิสริยยศตามเดิม โดยอุบายวิธีบางอย่าง เมื่อจะทรงพรรณนาถึง

สมบัติของพระนคร เพื่อปลอบโยนเจ้าโปริสาทให้เกิดความพอใจ จึงได้ตรัส

พระคาถาว่า

พระองค์เคยเสวยพระกระยาหารอันโอชารส

ล้วนแต่เนื้อสัตว์ ๔ เท้า และนกอันพวกห้องเครื่องผู้

ฉลาดปรุงทำให้สุกเป็นอย่างดี ดุจท้าวโกสีย์จอมเทวดา

เสวยสุธาโภชน์ ฉะนั้น ไฉนจะทิ้งไว้ ชอบใจอยู่

ในป่าแต่พระองค์เดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 713

นางกษัตริย์ล้วนแต่เอวบางร่างเล็กสะโอดสะอง

ประดับประดาด้วยผ้าและเครื่องอาภรณ์ชั้นดี เคย

แวดล้อมบำเรอพระองค์ให้ชื่นบาน ดุจเทพอัปสร

แวดล้อมพระอินทร์ ณ เมืองสวรรค์ ไฉนจะทิ้งไว้

ชอบใจอยู่ในป่าแต่พระองค์เดียว.

พระแท่นที่บรรทมพนักแดง โดยมากปูลาดด้วย

ผ้าโกเชาว์ ล้วนลาดด้วยเครื่องลาดที่งดงาม ประดับ

ด้วยเครื่องอลังการน่าตระการตา พระองค์เคยบรรทม

เป็นสุข ในท่ามกลางพระแท่นที่บรรทมเช่นนั้น ไฉน

จะทิ้งไว้เล่า ชอบใจอยู่ในป่าแต่พระองค์เดียว.

เวลาพลบค่ำ มีการฟ้อนรำส่งสำเนียงเสียงตะโพน

สำทับ ดนตรีรับประสานเสียง ล้วนแต่สตรีไม่มีบุรุษ

เจือปน การขับการประโคมก็ล้วนแต่ไพเราะเสนาะ

โสต ไฉนจะทิ้งไว้ ชอบใจอยู่ในป่าแต่พระองค์เดียว.

พระราชอุทยานนานว่า มิคาชินวัน บริบูรณ์ด้วย

บุปผชาตินานาพรรณ พระนครนั้นประกอบด้วย

พระราชอุทยานเช่นนี้ น่ายินดีเพลิดเพลินเจริญใจ ทั้ง

มั่งคั่งด้วยม้า รถ คชสาร ไฉนจะทิ้งไว้เล่า ชอบใจ

อยู่ในป่าแต่พระองค์เดียว.

ในคาถานั้น คำว่า ปรุงทำให้สุกเป็นอันดี คือ กระทำอย่างดีโดย

ประการต่าง ๆ. บทว่า สุนิฏฺิต ความว่า ทำให้สำเร็จด้วยดีด้วยการประกอบ

เครื่องต่าง ๆ ชนิด. คำว่า ไฉนจะทิ้งไว้ ชอบใจอยู่ในป่าแต่พระองค์เดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 714

อธิบายว่า พระองค์เสวยรากไม้และผลไม้เป็นต้น จักชอบอย่างไร ดูก่อนมหา-

ราช ขอเชิญเสด็จเถิด เราทั้งสองจักไปด้วยกัน. คำว่า เอวบางร่างเล็กสะโอด

สะอง อธิบายว่า มีรัศมีดุจกองทองแท่งที่กำลังร้อน และมีเอวบางร่างสูงโปร่ง.

คำว่า ในเมืองสวรรค์ อธิบายว่า ในกาลก่อนพวกนางกษัตริย์แวดล้อม ทำให้

ชื่นบานอยู่ในเมืองพาราณสี อันเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ดุจเทพอัปสรแวดล้อม

พระอินทร์ในเทวโลก ฉะนั้น ไฉนพระองค์จึงจะทิ้งพวกนางกษัตริย์เหล่านั้นเสีย

แล้วจักกระทำอะไรอยู่ในป่านี้ ดูก่อนสหาย เชิญเสด็จกลับเถิด เราทั้งสองจะ

ไปด้วยกัน. คำว่า พนักแดง คือ พระแท่นที่บรรทมมีพนักเป็นสีแดง. คำว่า

พระแท่นที่บรรทม หมายถึงพระแท่นบรรทมที่ปูลาดไว้ด้วยเครื่องลาด

ทั้งหมด. คำว่า ประดับ อธิบายว่า พระองค์เคยบรรทมบนพระแท่นนั้น

ซึ่งประกอบด้วยเครื่องอลังการน่าตระการตา แสดงถึงชั้นเป็นอันมาก. คำว่า

เป็นสุข อธิบายว่า พระองค์เคยบรรทมเป็นสุข ในท่ามกลางพระแท่นที่

บรรทมเช่นนั้น บัดนี้ไฉนจักยินดีในป่าเล่า ดูก่อนสหาย ขอเชิญท่านเสด็จเถิด

เราทั้งสองจะไปด้วยกัน . คำว่า เวลาพลบค่ำ หมายถึงในกาลเป็นส่วนแห่ง

กลางคืน. คำว่า ทิ้งไว้ คือทั้งสมบัติเห็นปานนี้. คำว่า อุทยานบริบูรณ์

ด้วยบุปผชาติต่าง ๆ พรรณ อธิบายว่า ดูก่อนมหาราช พระราชอุทยาน

ของพระองค์ สมบูรณ์ด้วยดอกไม้ต่าง ๆ ชนิด. คำว่า น่ายินดี อธิบายว่า

พระราชอุทยานนั้นมีนามว่า มิคาชินวัน เป็นสถานที่น่าเพลิดเพลิน น่ายินดี

สมกับชื่อ. คำว่า ทิ้ง อธิบายว่า ทิ้งนครอันน่าเพลิดเพลินเจริญใจเห็นปานนี้

ไปได้.

พระมหาสัตว์ตรัสอย่างนี้แล้ว หวังพระทัยว่า ไฉนเจ้าโปริสาทจะนึก

ถึงรสของเครื่องอุปโภคบริโภคที่เคยเสวย จะพึงเกิดความอยากที่จะกลับไปสู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 715

พระนคร จึงตรัสประโลมด้วยโภชนะเป็นข้อต้น ด้วยอำนาจกิเลสเป็นที่สอง

ด้วยที่บรรทมเป็นที่สาม ด้วยการเต้นรำการขับร้อง และการประโคมเป็นที่สี่

ด้วยพระราชอุทยานและพระนครเป็นที่ ๕ ครั้นตรัสประโลมเช่นนี้แล้ว ตรัส

ต่อไปว่า ดูก่อนมหาราช เชิญเสด็จเถิด เราจะพาพระองค์ไปดำรงราชย์ใน

พระนครพาราณสีแล้ว ภายหลังจึงจะไปสู่แคว้นของเรา ถ้าจะได้ได้ราชสมบัติ

ในพระนครพาราณสี จักถวายราชสมบัติของหม่อมฉันแก่พระองค์ครึ่งหนึ่ง

ประโยชน์อะไรของพระองค์ด้วยการอยู่ป่า จงทำตามถ้อยคำของเราเถิด เจ้า

โปริสาทได้สดับถ้อยคำของพระมหาสัตว์เกิดความอยากที่จะกลับไปสู่พระนคร

ดำริว่า ท่านสุตโสมทรงพระกรุณาปรารถนาความเจริญแก่เรา ตั้งเราไว้ใน

กัลยาณธรรมแล้ว บัดนี้ยังตรัสว่า จักสถาปนาในอิสริยยศตามเดิมอีก และ

พระองค์ก็อาจสถาปนาได้ด้วย เราควรจะไปกับพระองค์ ประโยชน์อะไรของ

เราด้วยการอยู่ในป่า ได้มีจิตชื่นบานประสงค์จะพรรณนามิตรธรรมอิงคุณของ

พระมหาสัตว์ จึงกราบทูลว่า พระสหายสุตโสม อะไร ๆ ที่จะดียิ่งไปกว่าการ

คบหากัลยาณมิตรไม่มี อะไร ๆ ที่จะลามกยิ่งไปกว่าการคบบาปมิตรไม่มีเลย

แล้วกล่าวคาถาว่า

พระจันทร์ในวันข้างแรมย่อมเสื่อมลงทุกวัน ๆ

ฉันใด การคบอสัตบุรุษ ย่อมเป็นเหมือนวันข้างแรม

ฉะนั้นแหละ พระราชา. หม่อมฉันก็เหมือนกัน อาศัย

เจ้าคนครัวผู้ทำกับข้าว เป็นคนลามกเลวทราม ได้ทำ

บาปกรรมอันเป็นทางจะไปสู่ทุคติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 716

พระจันทร์ในวันข้างขึ้น ย่อมเจริญขึ้นทุกวัน ๆ

ฉันใด การคบสัตบุรุษ ย่อมเป็นเหมือนวันข้างขึ้น

ฉันนั้นแหละ พระราชา. หม่อมฉันก็เหมือนกัน ขอ

ท่านสุตโสมจงทราบว่าอาศัยพระองค์ จักได้ทำกุศล-

กรรมอันเป็นทางที่จะไปสู่สุคติ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน น้ำตกในที่

ดอน ย่อมไม่คงที่ ไม่อยู่ได้นานฉันใด แม้การคบ

อสัตบุรุษของหม่อมฉันก็เหมือนกัน ไม่คงที่เหมือนน้ำ

ในที่ดอน ฉะนั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนระที่กล้าหาญ

อย่างประเสริฐสุด น้ำตกในสระ ย่อมอยู่ได้นานฉันใด

การคบสัตบุรุษของหม่อมฉัน ก็เหมือนกัน ย่อมตั้งอยู่

ได้นานเหมือนน้ำในสระฉะนั้น.

การคบสัตบุรุษเป็นคุณไม่เสื่อมทราม ย่อมเป็น

อยู่อย่างนั้นแม้ตลอดเวลาที่ชีวิตตั้งอยู่ ส่วนการคบ

อสัตบุรุษย่อมเสื่อมเร็ว เพราะฉะนั้น ธรรมของสัต-

บุรุษกับธรรมของอสัตบุรุษ จงไกลกันแล.

ในคาถานั้น คำว่า ทุกวัน ๆ คือในวันหนึ่งๆ. คำว่า ไม่อยู่ได้นาน

คือไม่ควรที่จะอยู่นานได้. คำว่า สระ หมายถึงสมุทร. คำว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เป็นนระที่กล้าหาญอย่างประเสริฐสุด คือ ผู้ประเสริฐสุดกว่านรชน. คำว่า

เหมือนน้ำในสระ คือเหมือนน้ำที่ตกลงในสมุทร. คำว่า ไม่เสื่อมทราม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 717

คือไม่ทรุดโทรม. คำว่า แม้ตลอดเวลาที่ชีวิตตั้งอยู่ อธิบายว่า ชีวิตยัง

ตั้งอยู่ตลอดกาลเพียงใด การคบสัตบุรุษก็ย่อมเป็นอยู่ตลอดกาลเพียงนั้น ความ

เป็นมิตรไมตรีกับพวกสัตบุรุษไม่มีเสื่อมเลย.

เจ้าโปริสาทพรรณนาถึงคุณของพระมหาสัตว์ ๗ คาถา ด้วยประการ

ฉะนี้ พระมหาสัตว์ได้ทรงพาเจ้าโปริสาทและพระราชา ๑๐๑ พระองค์เสด็จไป

ถึงปัจจันตคาม ชาวบ้านนั้นเห็นพระมหาสัตว์แล้ว ไปแจ้งความที่เมือง. พวก

อำมาตย์ได้พาหมู่พลนิกายไปเฝ้ารับ พระมหาสัตว์ได้เสด็จไปยังพระนคร

พาราณสีด้วยบริวารนั้น ในระหว่างทางพวกชาวชนบทถวายเครื่องบรรณาการ

แล้วตามเสด็จ พระมหาสัตว์ได้มีบริวารมาก เสด็จถึงพระนครพาราณสีกับ

บริวารนั้น เวลานั้นพระโอรสของพระเจ้าโปริสาทเป็นพระราชา ท่านกาฬหัตถี

ยังคงเป็นเสนาบดีอยู่เช่นเดิม ชาวเมืองกราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ได้ยินว่า

พระเจ้าสุตโสมทรงทรมานเจ้าโปริสาทได้แล้ว กำลังพาเสด็จมาในพระนครนี้

พวกข้าพระองค์จักไม่ให้เข้าพระนครดังนี้ แล้วรีบปิดประตูพระนคร จับอาวุธ

อยู่พร้อมกัน พระมหาสัตว์ทรงทราบว่าเขาปิดประตู จึงพักเจ้าโปริสาทและ

พระราชา ๑๐๑ พระองค์ไว้ เสด็จเข้าไปใกล้ประตูกับอำมาตย์ ๒-๓ คน ตรัสว่า

เราคือมหาราชชื่อว่าสุตโสม จงเปิดประตู. พวกราชบุรุษไปกราบทูลพระราชา

พระราชาตรัสว่า พระเจ้าสุตโสมมหาราชเป็นบัณฑิต เป็นพระเจ้าทรงธรรม

ตั้งอยู่ในศีล ภัยไม่มีแก่พวกเราอย่างแน่นอน แล้วรับสั่งให้เปิดประตูพระนคร

ทันที. พระมหาสัตว์เสด็จเข้าพระนคร พระราชาและท่านกาฬหัตถีเสนาบดี

ไปรับเสด็จพระมหาสัตว์ นำเสด็จขึ้นปราสาท พระมหาสัตว์ประทับ ณ พระ-

ราชอาสน์แล้ว รับสั่งให้หาพระอัครมเหสี และพวกอำมาตย์ของเจ้าโปริสาท

มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนท่านกาฬหัตถี เหตุไรจึงไม่ให้พระราชาเข้าพระนคร

ท่านกาฬหัตถีกราบทูลว่า เมื่อท้าวเธอทรงราชย์ได้กินเนื้อมนุษย์ในพระนครนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 718

เป็นจำนวนมากคน ทรงการทำกรรมที่กษัตริย์ไม่สมควรทำเลย ได้ทำช่องใน

ชมพูทวีปทั้งสิ้น ท้าวเธอมีธรรมอันลามกเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น เขาจึงไม่ให้

พระองค์เข้าพระนคร. พระมหาสัตว์ตรัสว่า บัดนี้พวกท่านอย่าวิตกเลยว่าเธอ

จักทำเช่นนั้นอีก เราทรมานเธอให้ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เธอจักไม่เบียดเบียนใคร ๆ

แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ภัยแต่เธอไม่มีแก่พวกท่าน ท่านทั้งหลายอย่าทำอย่างนี้

ขึ้นชื่อว่าบุตรและธิดาต้องปฏิบัติมารดาและบิดา ท่านที่เลี้ยงมารดาบิดานั่นแหละ

จะไปสวรรค์ คนที่ไม่เลี้ยงมารดาบิดาจะไปนรก.

พระมหาสัตว์ประทานพระโอวาทแก่พระราชโอรสผู้ประทับนั่ง ณ

อาสนะต่ำอย่างนี้แล้ว ตรัสสอนเสนาบดีว่า ดูก่อนท่านกาฬหัตถี ท่านเป็น

สหายและเสวกของพระราชา แม้พระราชาก็ได้ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งอัน

สูงศักดิ์ แม้ท่านก็ควรจะประพฤติเป็นประโยชน์แก่พระราชา แล้วประทาน

โอวาทแม้แก่พระเทวีว่า ดูก่อนพระเทวี แม้เธอก็มาจากเรือนตระกูล ได้รับ

ตำแหน่งอัครมเหสีในสำนักของพระราชา ถึงความเจริญด้วยพระโอรสและ

พระธิดา แม้เธอก็ควรประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่พระราชา เมื่อจะทรง

แสดงธรรมให้ความนั้นถึงที่สุด จึงได้ตรัสพระคาถาว่า

พระราชาที่เอาชนะคนซึ่งไม่ควรชนะ ไม่ชื่อว่า

เป็นพระราชา เพื่อนที่เอาชนะเพื่อนไม่ชื่อว่าเป็น

เพื่อน ภรรยาที่ไม่กลัวเกรงสามีไม่ชื่อว่าเป็นภรรยา

บุตรที่ไม่เลี้ยงมารดาบิดาผู้แก่แล้วไม่ชื่อว่าเป็นบุตร.

ที่ประชุมไม่มีสัตบุรุษไม่ชื่อว่าเป็นสภา คนพูดไม่

เป็นธรรมไม่ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ คนที่ละราคะ โทสะ

โมหะ พูดเป็นธรรมนั่นแลชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 719

บัณฑิตอยู่ปะปนกับพวกคนพาล เมื่อไม่พูด ก็รู้

ไม่ได้ว่าเป็นบัณฑิต แม้พูดก็ต้องแสดงอมตธรรม จึง

จะรู้ได้ว่าเป็นบัณฑิต.

พึงกล่าวธรรมให้กระจ่าง พึงยกธงของพวกฤาษี

พวกฤาษีมีสุภาษิตเป็นธง ธรรมแลเป็นธงของพวก

ฤาษี.

ในคาถานั้น คำว่า คนซึ่งไม่ควรชนะ อธิบายว่า มารดาบิดา

ชื่อว่าบุคคลที่ไม่ควรเอาชนะ พระราชาที่เอาชนะมารดาบิดาทั้งสองนั้น ย่อม

ไม่ชื่อว่าเป็นพระราชา ถ้าหากว่าพระองค์ได้ราชสมบัติซึ่งรับรัชทายาทมาจาก

บิดาของพระองค์ ก็ได้ชื่อว่าเป็นศัตรูของบิดา ชื่อว่าทรงกระทำกิจที่ไม่ควร

กระทำ. คำว่า เอาชนะเพื่อน มีอธิบายว่า เอาชนะด้วยคดีโกง ดูก่อน

ท่านกาฬหัตถี ถ้าท่านไม่ได้บำเพ็ญมิตรธรรมกับพระราชา ก็ได้ชื่อว่าไม่เป็น

ผู้ตั้งอยู่ในธรรม จักบังเกิดในนรก. คำว่า ไม่กลัว คือไม่กลัวเกรง ถ้าท่าน

ไม่กลัวเกรงพระราชา ท่านก็จักได้ชื่อว่าเป็นภรรยาที่ไม่ตั้งอยู่ในธรรม. คำว่า

แก่ คือแก่หง่อม จริงอยู่บุตรที่ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดาในเวลาเช่นนั้น ย่อมไม่

ชื่อว่าเป็นบุตร. คำว่า สัตบุรุษ หมายเอาบัณฑิต. คำว่า ธรรม อธิบายว่า

บุคคลผู้ใด เมื่อถูกเขาถามแล้ว ไม่บอกตามความเป็นจริง บุคคลผู้นั้นไม่

ชื่อว่าเป็นบัณฑิต. คำว่า พูดเป็นธรรม มีอธิบายว่า บุคคลเหล่านี้ ละราคะ

เป็นต้นได้แล้ว เป็นผู้อนุเคราะห์ประโยชน์เกื้อกูลแก่บุคคลอื่น กล่าวแต่

ความจริง ย่อมชื่อว่าเป็นบัณฑิต. คำว่า เมื่อไม่พูด คือมิได้พูดอะไรออกมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 720

เลย. คำว่า อมตธรรม คือ บุคคลผู้แสดงอยู่ซึ่งอมตมหานิพพาน จึงจะรู้

จักว่าเป็นบัณฑิต เพราะเหตุนั้นแล เจ้าโปริสาทได้สดับธรรมเทศนาแล้วจึงมี

จิตเลื่อมใส ให้พร ๔ ประการ ประดิษฐานอยู่ในศีล ๕ ประการแล้ว. คำว่า

พึงกล่าว อธิบายว่า เพราะเหตุนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิต พึงกล่าวธรรม คือ

พึงสอดส่องยังธรรมให้สว่างไสว จริงอยู่ ฤาษีทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

เพราะเหตุที่ธรรมเป็นธงของพวกฤาษีเหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่ามีสุภาษิต

เป็นธง ยกย่องสุภาษิต ส่วนคนพาล ชื่อว่า ยกย่องสุภาษิตไม่มีเลย.

พระราชาและเสนาบดี ได้สดับธรรมกถาของพระโพธิสัตว์แล้ว เกิด

ปีติโสมนัส ปรึกษากันที่จะไปเชิญเสด็จพระราชา จึงสั่งให้คนตีกลองเที่ยวไป

ในพระนคร ให้ชาวเมืองประชุมกัน แล้วประกาศให้ทราบว่า ท่านทั้งหลาย

อย่ากลัวเลย ได้ยินว่า พระราชาเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมแล้ว จงพากันมาเถิด

พวกเราจักไปนำพระราชานั้นมา จึงพามหาชนไป กระทำพระมหาสัตว์ให้เป็น

ประมุขไปยังสำนักของพระราชาถวายบังคมแล้ว ให้เจ้าพนักงานช่างกัลบกแต่ง

พระเกศาและพระมัสสุแล้ว ให้สรงสนานพระองค์ด้วยเครื่องสุคนธ์ แต่งพระ-

องค์ด้วยพระภูษาอาภรณ์ ตามขัตติยราชประเพณีแล้ว เชิญเสด็จขึ้นกองแก้ว

เป็นราชบัลลังก์ อภิเษกแล้วเชิญเสด็จเข้าสู่พระนคร พระเจ้าโปริสาทได้ทรง

ทำสักการะแก่กษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ และพระมหาสัตว์เป็นการใหญ่ เกิดความ

โกลาหลใหญ่ทั่วชมพูทวีปว่า ได้ยินว่า จอมนรินทร์สุตโสมได้ทรงทรมาน

เจ้าโปริสาทแลได้ให้ประดิษฐานอยู่ในราชสมบัติแล้ว แม้ประชาชนชาวนคร

อินทปัต ก็ได้ส่งทูตไปเชิญเสด็จพระมหาสัตว์กลับพระนคร พระมหาสัตว์

ประทับ อยู่ในพระนครพาราณสีนั้น ประมาณเดือนครึ่ง ตรัสสอนพระเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 721

โปริสาทว่า ดูก่อนสหาย เราจะลากลับละนะ พระองค์ จงอย่าได้เป็นผู้ประมาท

จงให้สร้างโรงทาน ๕ แห่ง คือ ทำที่ประตูพระนคร ๔ แห่ง และที่ประตู

พระราชวัง ๑ แห่ง จงทรงบำเพ็ญทาน จงทรงประพฤติราชธรรม ๑๐ ประการ

อย่าให้กำเริบ จงทรงละการถึงอคตินะมหาราช พลนิกายจากราชธานี ๑๐๑

ได้มาประชุมกันมากมาย พระมหาสัตว์มีพลนิกายเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว เสด็จ

ออกจากพระนครพาราณสี แม้พระเจ้าโปริสาท ก็ได้เสด็จออกจากพระนคร

เมื่อเสด็จส่งถึงครึ่งหนทางก็เสด็จกลับ พระมหาสัตว์ประทานพาหนะแก่พวก

พระราชาที่ไม่มีพาหนะ ทรงส่งพระราชาเหล่านั้นทุกพระองค์ แม้พระราชาเหล่า

นั้นก็แสดงควานชื่นบานกับพระมหาสัตว์ ได้กระทำกิจมีการถวายบังคมและ

การเจรจาเป็นต้นตามสมควร แล้วได้เสด็จกลับไปยังชนบทของตน ๆ แม้

พระมหาสัตว์เสด็จเข้าสู่พระนครที่พวกประชาชนชาวเมืองอินทปัต ตกแต่งไว้ดี

แล้วประหนึ่งเทพนคร ถวายบังคมพระราชมารดาบิดา ทรงกระทำปฏิสันถาร

อันอ่อนน้อมแล้ว เสด็จขึ้นสู่ท้องพระโรง.

ฝ่ายพระเจ้าโปริสาทเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติโดยธรรม ทรงดำริว่า

รุกขเทวดามีอุปการะแก่เราเป็นอันมาก เราจักกระทำลาภ คือ พลีกรรมแก่ท่าน

ท้าวเธอรับสั่งให้สร้างสระใหญ่ใกล้กับต้นไทรทรงส่งตระกูลไปเป็นอันมาก ตั้ง

เป็นตำบลบ้านขึ้น บ้านนั้นได้เป็นบ้านใหญ่ประดับด้วยหนทาง และร้านตลาด

ถึงแปดหมื่น ส่วนต้นไทรนั้น ตั้งแต่ที่สุดกิ่งเข้ามา โปรดให้ปราบพื้นที่ให้ราบ

เรียบเสมอกัน ให้สร้างกำแพงมีแท่นบูชาและมีเสาระเนียดเป็นประตูแวดล้อม

เทวดาชื่นบานเป็นอย่างยิ่ง บ้านนั้นได้ชื่อว่ากัมมาสบาทนิคม เพราะเป็น

สถานที่ทรมานเจ้ากัมมาสบาทและเป็นที่อยู่ของท้าวเธอด้วย พระราชาเหล่า

นั้น ๆ ตั้งอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์ได้ทรงทำบุญมีทานเป็นต้น บำเพ็ญ

ทางสวรรค์ให้บริบูรณ์แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 722

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศ

อริยสัจ แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้ทรมานพระอังคุลิมาลใน

บัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็ได้ทรมานเธอแล้วเหมือนกัน แล้ว

ทรงประชุมชาดกว่า พระเจ้าโปริสาทในกาลนั้น ได้เป็นอังคุลิมาล กาฬ-

หัตถีเสนาบดีได้เป็นสารีบุตร นันทพราหมณ์ได้เป็นอานนท์ รุกขเทวดา

ได้เป็นกัสสป ท้าวสักกะได้เป็นอนุรุทธะ พระราชา ๑๐๑ พระองค์ที่เหลือ

ได้เป็นพุทธบริษัท พระราชมารดาบิดาได้เป็นมหาราชตระกูล ส่วน

พระเจ้าสุตโสมคือเราตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถามหาสุตโสมชาดก

จบอรรถกถาอสีตินิบาตด้วยประการฉะนี้

รวมชาดกที่มีในอสีตินิบาตนี้ คือ

๑. จุลลหังสชาดก ๒. มหาหังสชาดก ๓. สุธาโภชนชาดก

๔. กุณาลชาดก ๕. มหาสุตโสมชาดก และอรรถกถา