ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย ชาดก

เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๕

ขอนอบน้อมแด่

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

ฉักกนิบาตชาดก

๑. อาวาริยวรรค

๑. อาวาริยชาดก

ว่าด้วยการกระทำที่ไม่เจริญด้วยโภคะ

[๘๓๑] ข้าแต่มหาบพิตรผู้ทรงเป็นใหญ่ในแผ่น

ดิน ขอมหาบพิตรอย่าทรงพิโรธเลย ข้าแต่

มหาบพิตรผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พระราชา

ผู้ไม่ทรงพิโรธตอบผู้ที่โกรธแล้ว ประชาชน

ของรัฐ ราษฎรบูชาแล้ว อาตมาภาพขอถวาย

๑. บาลีเล่มที่ ๒๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 2

อนุศาสน์ในที่ทุกสถาน จะเป็นในบ้าน ในป่า

ที่ดอนหรือที่ลุ่มก็ตาม ข้าแต่มหาบพิตรผู้ทรง

พระคุณอันประเสริฐ ขอพระองค์อย่าทรง

พิโรธ.

[๘๓๒] ที่แม่น้ำคงคาได้มีคนแจวเรือจ้าง ข้อว่า

อาวาริยปิตา เขาส่งคนข้ามฟากก่อนแล้ว จึง

ขอรับค่าจ้างภายหลัง เพราะเหตุนั้นเขาจึงมี

การทุ่มเถียงกัน และไม่เจริญด้วยโภคทรัพย์.

[๘๓๓] ดูก่อนโยมชาวเรือ โยมจงขอค่าจ้างกะคน

ที่ยังไม่ข้ามไปฝั่งโน้นก่อนสิ เพราะว่าจิตใจ

ของคนที่ข้ามฟากแล้วเป็นอย่างหนึ่ง ของคนที่

ต้องการจะข้ามฟากยังไม่ได้ข้าม ก็เป็นอีกอย่าง

หนึ่งไม่เหมือนกัน.

[๘๓๔] อาตมาจักตามสอนโยมทุกหนทุกแห่ง ทั้ง

ในบ้านทั้งในป่า, ทั้งในที่ดอนหรือที่ลุ่ม ดูก่อน

โยมชาวเรือ ขอโยมอย่าโกรธนะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 3

[๘๓๕] พระราชาได้พระราชทานหมู่บ้านชั้นดีแก่

ดาบส เพราะอนุศาสนีบทใด เพราะอนุศาสนี

บทนั้นนั่นเอง คนแจวเรือได้ตบปากดาบส.

[๘๓๖] ถาดข้าวก็แตก ภรรยาก็ถูกตบ และเด็ก

ในครรภ์ก็ตกฟากลงที่พื้นดิน เขาไม่อาจจะให้

ประโยชน์งอกเงยขึ้น เพราะโอวาทนั้น เหมือน

เนื้อไม่อาจจะให้ประโยชน์เกิดขึ้น เพราะทอง-

คำฉะนั้น.

จบ อาวาริยชาดกที่ ๑

อรรถกถาชาดก

ฉักกนิบาต

อรรถกถาอาวาริยวรรคที่ ๑

อรรถกถาอาวาริยชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ติตถนาวิกคนแจวเรือประจำท่าคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า

มาสุ กุชฺฌ ภูมิปติ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 4

ได้ยินว่า เขาเป็นคนโง่ไม่รู้อะไร ไม่รู้คุณของพระรัตนตรัย มี

พระพุทธเจ้าเป็นต้นเลย ไม่รู้คุณของบุคคลอื่น ๆ ด้วยเป็นคนดุร้าย

หยาบคาย ผลุนผลันพลันแล่น. ภายหลังภิกษุชาวชนบทรูปหนึ่ง มา

ด้วยความตั้งใจว่า เราจักทำการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ถึงท่าน้ำแม่น้ำ

อจิรวดี ได้พูดกับนายติตถวานิกอย่างนี้ว่า :-

ดูก่อนอุบาสก อาตมาจักข้ามฟาก ขอโยมจงให้เรืออาตมภาพ

เถิด.

นายติตถวานิก ตอบว่า:-

ท่านครับ บัดนี้นอกเวลาแล้ว ขอให้ท่านอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่งใน

ที่นี้.

ภิ. ดูก่อนอุบาสก อาตมาจักอยู่ที่ไหนในที่นี้ ขอจงรับอาตมา

ไปส่งเถิด.

เขาโกรธพูดว่า มาที่นี่โว้ยสมณะ เราจะนำไปส่ง แล้วได้ให้

พระเถระลงเรือ ไม่ตรงไปส่ง แต่พายเรือไปข้างล่าง ทำให้เรือโคลง

บาตรและจีวรของท่านเปียกน้ำไปถึงฝั่งโดยลำบาก ส่งขึ้นฝั่งเวลามืดค่ำ.

ต่อมาท่านได้ไปถึงวิหาร วันนั้นไม่ได้โอกาสอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า รุ่งขึ้น

จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 5

ผู้ที่พระศาสดาทรงทำการปฏิสันถารแล้ว เมื่อถูกพระศาสดาตรัสถามว่า

เธอมาถึงเมื่อไร ? ทูลว่า เมื่อวานนี้พระเจ้าข้า เมื่อพระองค์ตรัสถามว่า

เหตุไฉน จึงมาที่อุปัฏฐาก ในวันนี้ ? ได้กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรง

ทราบ. พระศาสดาครั้นทรงสดับเรื่องนั้นแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ไม่ใช่เพียงบัดนี้เท่านั้น ถึงในชาติก่อน นายคนนี้ก็ดุร้าย ยาบคาย

เหมือนกัน. อนึ่ง เขาไม่ใช่ให้เธอลำบาก แต่ในชาติปัจจุบันนี้ แม้

ในชาติก่อน ก็ทำให้บัณฑิตลำบากมาแล้ว ถูกภิกษุนั้นทูลอ้อนวอน จึง

ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี พระโพธิสัตว์กำเนิดในสกุลพราหมณ์เจริญวัยแล้ว ได้เรียน

ศิลปศาสตร์ทุกอย่าง ที่ตักกศิลา แล้วบวชเป็นฤษี เลี้ยงอัตภาพด้วย

ผลไม้น้อยใหญ่ ในป่าหิมพานต์เป็นเวลาช้านาน เพื่อต้องการลิ้มรสเค็ม

และรสเปรี้ยว จึงไปเมืองพาราณสี พักอยู่ที่พระราชอุทยาน รุ่งขึ้นจึง

เข้าไปสู่พระนครเพื่อภิกษา. ครั้งนั้น พระราชาได้ทอดพระเนตรเห็น

ท่านมาถึงพระลานหลวง เลื่อมใสในอิริยาบถของท่าน จึงทรงนำเข้าไป

ภายในเมืองให้ฉันเสร็จ ทรงรับปฏิญญาแล้วให้ท่านอยู่ในพระราชอุท-

ยาน ได้เสด็จไปยังที่อุปัฏฐากวันละครั้ง. พระโพธิสัตว์เมื่อทูลถวายโอวาท

พระราชานั้นทุกวันว่า ขอถวายพระพรมหาราช ธรรมดาพระราชาควร

เว้นการลุอำนาจอคติทั้ง ๔ เป็นผู้ไม่ประมาท สมบูรณ์ด้วยพระขันติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 6

พระเมตตา และพระกรุณาธรรม ครองราชสมบัติโดยธรรม จึงถวาย

พระพรคาถา ๒ คาถา ว่า:-

ข้าแต่มหาบพิตร ผู้ทรงเป็นใหญ่ในแผ่น-

ดิน ขอมหาบพิตรอย่าทรงพิโรธเลย ข้าแต่

มหาบพิตรผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พระราชา

ผู้ไม่ทรงพิโรธตอนผู้ที่โกรธแล้ว ประชาชน

ของรัฐ ราษฎรบูชาแล้ว. อาตมภาพขอถวาย

อนุศาสน์ในที่ทุกสถาน จะเป็นในบ้าน ในป่า

หรือที่ดอนที่ลุ่มก็ตาม ข้าแต่มหาบพิตรผู้ทรง

พระคุณอันประเสริฐ ขอพระองค์อย่าทรงพิโรธ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รฏฺสฺส ปูชิโต มีเนื้อความว่า

พระราชาแบบนี้ เป็นผู้ที่ประชาชนของรัฐบูชาแล้ว. บทว่า สพฺพตฺถ-

มนุสาสามิ ความว่า ข้าแต่มหาราช อาตมภาพเมื่ออยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง

บรรดาบ้านเป็นต้นเหล่านี้ ก็จะถวายอนุศาสน์พระองค์ ด้วยข้ออนุศาสน์

ข้อนี้นั่นแหละ คือว่า จะถวายอนุศาสน์ในที่ใดที่หนึ่ง บรรดาบ้าน

เป็นต้นเหล่านี้ จะเป็นที่บ้านหลังเดียวก็ตาม สัตวโลกตัวเดียวก็ตาม

บทว่า มาสุ กุชฺฌ รเถสภ ความว่า อาตมภาพ ถวายอนุศาสน์

พระองค์อยู่อย่างนี้นั่นแหละ ธรรมดาพระราชา ไม่ควรจะพิโรธ. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 7

เหตุไร ? เพราะว่าธรรมดาพระราชาทั้งหลาย มีพระบรมราชโองการ

เป็นอาวุธ คนมากมายถึงความสิ้นชีวิตด้วยเหตุเพียงพระบรมราชโอง-

การ ของพระราชาเหล่านั้น ผู้ทรงพิโรธแล้ว เท่านั้น.

ในทุกวันที่พระราชาเสด็จมา พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาเหล่านี้

ถวายอย่างนี้. พระราชามีพระราชหฤหัยเลื่อมใส ได้พระราชทานหมู่

บ้านชั้นดีให้ ๑ ตำบลเก็บส่วยได้ ๑ แสนกหาปณะ แก่พระมหาสัตว์.

พระมหาสัตว์ทูลปฏิเสธ. ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้อยู่ ณ ที่นั้นแห่งเดียวเป็น

เวลา ๑๒ ปี ดำริว่า เราอยู่ที่นี้มานานนักหนาแล้ว เราจักไปเที่ยวจาริก

ชนบทก่อนแล้วจึงจะมา ไม่ทูลลาพระราชาเลย เรียกคนเฝ้าสวนมาสั่ง

ว่า อาตมาจักไปจาริกชนบท แล้วจึงจะมา ขอให้ท่านทูลให้พระราชา

ทรงทราบด้วย แล้วก็หลีกไปถึงท่าเรือที่แม่น้ำคงคา. ที่ท่านั้นมีคนแจว

เรือจ้าง ชื่อ อาวาริยปิตา. เขาเป็นคนพาลไม่รู้จักคุณของผู้มีคุณเลย

ทั้งไม่รู้จักอุบายเพื่อตนเองด้วย. เขาสั่งคนที่ต้องการข้ามแม่น้ำคงคา ข้าม

ก่อนแล้วจึงขอค่าจ้างภายหลัง เมื่อทะเลาะกับคนที่ไม่ให้ค่าจ้าง ก็ใช้วิธี

ด่าและทุบตีกันเท่านั้น จึงจะได้ค่าจ้างมาก. พระศาสดาทรงเป็นผู้รู้ยิ่ง

ได้ตรัสพระคาถาที่ ๓ ไว้ ทรงหมายถึงนายอาวาริยปิตานั้น ผู้มีลาภน้อย

เป็นอันธพาลอย่างนี้ ว่า:-

ที่แม่น้ำคงคาได้มีคนแจวเรือจ้าง ชื่อ

อาวาริยปิตา เขาส่งคนข้ามฟากก่อน แล้วจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 8

ขอรับค่าจ้างภายหลัง เพราะเหตุนั้น เขาจึงมี

การทุ่มเถียงกัน และไม่เจริญด้วยโภคทรัพย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาวาริยปิตา ความว่า เขามีธิดา

ชื่อว่า อาวาริยา ด้วยอำนาจของธิดานั้น เขาจึงกลายเป็นผู้มีชื่อว่า

อาวาริยปิตาพ่อของอาวาริยา. บทว่า เตนสฺส ภณฺฑน ความว่า

เพราะเหตุนั้น เขาจึงได้มีการทุ่มเถียงกัน. อีกอย่างหนึ่ง เขาได้มีการ

ทุ่มเถียงกับคน ๆ นั้น ที่ถูกขอค่าจ้างภายหลัง.

พระโพธิสัตว์เข้าไปหาคนแจวเรือจ้างคนนั้น แล้วพูดว่า ขอจง

นำอาตมภาพข้ามฟากเถิด. เขาครั้นได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงตอบว่า:-

ท่านสมณะ ท่านจักให้ค่าจ้างเรือผมเท่าไร.

พ. โยม ธรรมดาอาตมภาพจักบอกความเจริญแห่งโภคทรัพย์

ความเจริญแห่งอรรถ และความเจริญแห่งธรรมให้.

คนแจวเรือจ้างครั้นได้ฟังคำนั้นแล้ว เข้าใจว่า สมณะรูปนี้จัก

ให้อะไรแก่เราแน่นอน จึงนำท่านข้ามฟาก แล้วกล่าวว่าขอพระคุณเจ้า

จงให้ค่าจ้างเรือแก่ผมเถิด. พระโพธิสัตว์นั้นตอบว่าดีแล้วโยม เมื่อจะ

บอกความเจริญแห่งโภคะแก่เขาก่อน จึงกล่าวคาถาว่า:-

ดูก่อนโยมชาวเรือ โยมจงขอค่าจ้างกะ

คนที่ยังไม่ข้ามไปฝั่งโน้นก่อนสิ เพราะว่าจิตใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 9

ของคนที่ข้ามฟากแล้ว เป็นอย่างหนึ่ง ของ

คนที่ต้องการจะข้ามฟากยังไม่ได้ข้าม ก็เป็น

อีกอย่างหนึ่งไม่เหมือนกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปาร ความว่า ดูก่อนโยมชาวเรือ

โยมจงขอค่าจ้างกะคนที่ยังไม่ข้ามฟาก ยังยืนอยู่ฝั่งนี้เท่านั้น และรับเอา

ค่าจ้างที่ได้จากเขา เก็บไว้ในที่ ๆ คุ้มครองรักษาแล้วจึงนำคนส่งข้ามฟาก

ภายหลัง อย่างนี้โยมก็จักเจริญด้วยโภคทรัพย์. บทว่า อญฺโ หิ

ติณฺณสฺส มโน ความว่า ดูก่อนโยมชาวเรือ เพราะว่าจิตใจของคน

ที่ข้ามฟากไปแล้วเป็นอย่างหนึ่ง คือไม่อยากจะให้ จะไปถ่ายเดียว แต่

ธรรมดาว่า ผู้ใดจะข้ามฟาก คือจะข้ามฝั่ง ได้แก่ ประสงค์จะไปฝั่งข้าง

หน้า ผู้นั้นอยากจะไป แม้เกินราคาค่าจ้างก็ให้ได้ ก็ใจของผู้ต้องการ

ข้ามฟาก ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ดังที่กล่าวมานี้ เพราะฉะนั้นโยมควรขอ

กะผู้ยังไม่ข้ามฟากเท่านั้นดังนี้ ชื่อว่า ความเจริญแห่งโภคทรัพย์ทั้งหลาย

ของโยมก่อนดังนี้แล.

คนแจวเรือได้ฟังคำนั้นแล้ว คิดว่า เราจักมีโอวาทนี้ก่อน แต่

บัดนี้ สมณะนี้ จักให้อะไรอื่นแก่เราอีก. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้

กล่าวกะเขาว่า โยมนี้เป็นความเจริญแห่งโภคทรัพย์ของโยมก่อน บัดนี้

โยมจงฟังความเจริญแห่งอรรถและธรรม เมื่อให้โอวาทเขา จึงได้กล่าว

คาถาไว้ว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 10

อาตมาจะตามสอนโยมทุกหนทุกแห่ง ทั้ง

ในบ้านทั้งในป่า ทั้งในที่ลุ่มและที่ดอน ดูก่อน

โยมชาวเรือ ขอโยมจงอย่าโกรธนะ.

พระโพธิสัตว์ ครั้นบอกความเจริญแห่งอรรถและธรรม ด้วย

คาถานี้ แก่เขาแล้ว จึงกล่าวว่า นี้เป็นความเจริญแห่งอรรถและความ

เจริญแห่งธรรมของโยม. แต่เขาเป็นคนดุ ไม่สำคัญโอวาทนั้นว่าเป็น

อะไร จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านสมณะ นี้หรือคือค่าจ้างเรือที่ท่านให้ผม

พระโพธิสัตว์ ถูกแล้วโยม.

คนแจวเรือ ผมไม่มีงานตามค่าจ้างนี้.

พระโพธิสัตว์ โยมนอกจากโอวาทนี้แล้ว อาตมาไม่มีอย่างอื่น

คนแจวเรือกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร? ท่านจึงลงเรือ

ผม แล้วผลักดาบสให้ล้มลงที่ฝั่งแม่น้ำคงคา นั่งทับอกแล้วตบปากท่าน

ทีเดียว.

พระศาสดาครั้นตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดาบสได้ถวาย

โอวาทพระราชา แล้วจึงได้รับพระราชทานหมู่บ้านชั้นดี ในราชสำนัก

แต่ได้บอกโอวาทนั้นนั่นเอง แก่คนแจวเรือจ้างอันธพาล กลับประสบ

การตบปากด้วยประการดังนี้. เพราะฉะนั้น ผู้จะให้โอวาทควรให้แก่คน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 11

ที่เหมาะสม ไม่ควรให้แก่คนที่ไม่เหมาะสม ดังนี้แล้ว ทรงเป็นผู้ตรัสรู้

ยิ่งแล้ว ลำดับต่อจากนั้นได้ตรัสพระคาถาว่า :-

พระราชาได้พระราชทานหมู่บ้านชั้นดีแก่

ดาบส เพราะอนุศาสนีบทใด เพราะอนุศาสนี

บทนั้นนั่นเอง คนแจวเรือได้ตบปากดาบส.

เมื่อคนแจวเรือนั้นกำลังตบอยู่นั่นแหละ. ภรรยาถืออาหารมา

เห็นดาบสเข้า จึงบอกว่า พี่ ดาบสนี้เป็นชีต้นประจำราชตระกูล พี่

อย่าตีท่าน เขาโกรธแล้วพูดว่า แกนี่แหละ ไม่ให้ข้าตีดาบสขี้โกงคนนี้

แล้วลุกขึ้นตบภรรยานั้นให้ล้มลงไป. เมื่อเป็นเช่นนั้น ถาดข้าวก็ตกแตก

และเด็กในท้องของภรรยาท้องแก่ ได้คลอดออกตกลงที่พื้นดิน. ครั้นนั้น

มนุษย์ทั้งหลายจึงพากันมาล้อมดู แล้วจับเขามัดด้วยความเข้าใจว่า เป็น

โจรฆ่าคน แล้วนำไปมอบถวายพระราชา. พระราชาทรงวินิจฉัยแล้ว

ลงพระราชอาญาแก่เขา.

พระศาสดาทรงเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว เมื่อจะทรงประกาศข้อความ

นั้น จึงได้ตรัสพระคาถาสุดท้ายไว้ว่า:-

ถาดข้าวก็แตก ภรรยาก็ถูกตบ และเด็ก

ในครรภ์ก็ตกลงที่พื้นดิน เขาไม่อาจจะให้ประ-

โยชน์งอกเงยขึ้น เพราะโอวาทนั้น เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 12

เนื้อไม่อาจจะให้ประโยชน์เกิดขึ้นเพราะทองคำ

ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภตฺต ภินฺน ความว่า ถาดข้าวก็

ตกแตกแล้ว. บทว่า หตา ได้แก่ ตบแล้ว. บทว่า ฉมา ได้แก่ ที่

พื้นดิน. บทว่า มิโคว ชาตรูเปน มีอธิบายว่า เนื้อเหยียบย่ำทอง

เงินหรือแก้วมุกดา แก้วมณีเป็นต้นไปบ้าง นอนที่บ้าง ไม่สามารถ

จะใช้ทองคำนั้น เพิ่มพูน คือให้เกิดประโยชน์แก่ตนได้ฉันใด คน

อันธพาลนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงฟังโอวาทที่บัณฑิตให้แล้ว ก็ไม่

สามารถเพิ่มพูน คือให้เกิดประโยชน์แก่ตนได้.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจจะแล้วทรงประชุมชาดก ในเวลาจบสัจธรรม ภิกษุนั้นดำรงอยู่แล้ว

ในโสดาปัตติผล. คนแจวเรือครั้งนั้นคือคนแจวเรือเวลานี้นั่นเอง พระ-

ราชา ได้แก่พระอานนท์ ส่วนดาบส ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอาวาริยชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 13

๒. เสตเกตุชาดก

ว่าด้วยคนที่ได้ชื่อว่าเป็นทิศ

[๘๓๗] พ่อเอ๋ย พ่ออย่าโกรธเลย เพราะความ

ความโกรธไม่ดี ทิศที่เจ้ายังไม่เห็นและยังไม่

ได้ยินมีเป็นอันมา พ่อเสตเกตุเอ๋ย มารดา

บิดาก็เป็นทิศ ๆ หนึ่ง บัณฑิตทั้งหลายสรร-

เสริญอาจารย์ เรียกว่าเป็นทิศ ๆ หนึ่ง.

[๘๓๘] คฤหัสถ์ทั้งหลายเป็นผู้ถวายข้าวน้ำและ

ผ้านุ่งห่ม ส่วนสมณะพราหณ์ทั้งหลาย เป็นผู้

เรียกร้อง บัณฑิตทั้งหลายเรียกสมณะและ

พราหมณ์แม้นั้นว่าเป็นทิศ ๆ หนึ่ง พ่อเสตเกตุ

เอ๋ย ทิศนี้เป็นยอดทิศ เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มี

ทุกข์ไปถึงแล้ว จะมีความสุข.

[๘๓๙] ชฎิลเหล่าใด ผู้นุ่งหนังสัตว์ที่แข็งกระด้าง

มีฟันสกปรก มีรูปร่างเศร้าหมอง ร่ายมนต์อยู่

ชฎิลเหล่านั้น ดำรงอยู่ในความเพียรของมนุษย์

รู้โลกนี้แล้ว จะพ้นจากอบายหรือไม่หนอ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 14

[๘๔๐] ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้ใดเป็นพหูสูตคงแก่

เรียน แต่ทำบาปธรรมไว้ ไม่ประพฤติธรรมเลย

ผู้นั้นถึงจะมีเวทมนต์ตั้งพัน อาศัยเวทมนต์นั้น

แต่ไม่ถึงจรณะ ก็ไม่พ้นทุกข์.

[๘๔๑] คนแม้มีเวทมนต์ตั้งพัน อาศัยเวทมนต์

นั้น แต่ยังไม่ถึงจรณะ ยังไม่พ้นทุกข์

อาตมาภาพเข้าใจว่า พระเวททั้งหลายเป็นสิ่ง

ที่ไร้ผล จรณะคือการสำรวมอย่างดีเท่านั้น

แหละ เป็นของจริง.

[๘๔๒] พระเวทไม่ใช่เป็นสิ่งที่ไม่มีผลเลย จรณะ

คือการสำรวมระวังเท่านั้น เป็นของจริงก็หา

มิได้ คนอาศัยพระเวทแล้ว ได้รับเกียรติก็มี

ผู้ฝึกตนแล้วด้วยจรณะ จะบรรลุความสงบได้.

จบ เสตเกตุชาดกที่ ๒

อรรถกถาเสตเกตุชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ

ภิกษุผู้โกหก จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า มา ตาต กุชฺฌิ น หิ สาธุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 15

โกโธ ดังนี้. เรื่องปัจจุบันจักมีชัดในกุททาลชาดก.

ได้ยินว่า เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ในนครพาราณสี

สอนมนต์มาณพ ๕๐๐ คน. หัวหน้ามาณพเหล่านั้นชื่อว่า เสตเกตุ

เป็นมาณพเกิดในสกุลอุททิจพราหมณ์. เขาได้มีมานะมาก เพราะอาศัย

ชาติตระกูล. อยู่มาวันหนึ่ง เขาออกจากพระนครไปพร้อมกับมาณพอื่น ๆ

ได้เห็นจัณฑาลคนหนึ่ง กำลังเข้าพระนคร จึงถามว่า เจ้าเป็นใคร ?

เมื่อเขาตอบว่า เป็นจัณฑาล จึงพูดว่า ฉิบหาย ไอ้จัณฑาล กาลกรรณี

เอ็งจงไปใต้ลมดังนี้ เพราะกลัวลมที่พัดผ่านตัวของเขาจะมากระทบร่าง

ของตน แล้วได้ไปเหนือลมโดยเร็ว. แต่คนจัณฑาลเดินเร็วกว่า จึงได้

ไปยินเหนือลมเขา. เมื่อมีเหตุการณ์อยู่หมั้น มาณพนั้น ก็ได้ด่าแช่ง

เขาอย่างหนักว่า ฉิบหาย ไอ้ถ่อย กาลกรรณี. คนจัณฑาล ครั้นได้

ฟังคำนั้นแล้ว จึงถามว่า คุณเป็นใคร ?

พ. ฉันเป็นพราหมณมาณพสิ

จ. เป็นพราหมณ์ ก็เป็นไม่ว่า แต่คุณสามารถจะตอบปัญหา

ที่ผมถามได้ไหม ?

พ. เออได้ซิ

จ. ถ้าแม้ว่าคุณไม่สามารถตอบได้ไซร้ ผมจะให้คุณลอดหว่าง

ขาผม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 16

เขาตรึกตรองดูตัวเองแล้ว พูดว่า แกถามได้

บุตรคนจัณฑาล ให้บริษัทเพื่อนของมาณพนั้น. ยึดถือถ้อยคำ

สัญญานั้นแล้ว ถามปัญหาว่า ข้าแต่ท่านมาณพ ธรรมดาทิศมีเท่าไร ?

พ. ธรรมดาทิศมี ๔ มีทิศตะวันออกเป็นต้น.

คนจัณฑาลพูดว่า ผมไม่ได้ถามคุณถึงทิศนั้น แม้เท่านี้คุณก็ไม่รู้

ยังรังเกียจลมที่พัดผ่านตัวผม. แล้วจับคอเขาโน้มลงมาลอดหว่างขาของ

ตน. มาณพทั้งหลายได้บอกพฤติการณ์นั้นแก่อาจารย์. อาจารย์ครั้นได้

ฟังคำนั้นแล้ว จึงถามเขาว่า พ่อเสตเกตุ จริงไหม ? ได้ทราบว่าเจ้า

ถูกคนจัณฑาลให้ลอดหว่างขา.

มาณพตอบว่า จริงอาจารย์ ลูกของอีทาสีจัณฑาลนั้นว่าผมว่า

แม้เพียงแต่ทิศคุณก็ไม่รู้ แล้วให้ผมลอดหว่างขาของตน ทีนี้ผมเห็นมัน

แล้ว จักแก้แค้นมัน. โกรธแล้ว ด่า แช่ง ลูกคนจัณฑาล. ครั้งนั้น

อาจารย์ เมื่อโอวาทเขาว่า พ่อเสตเกตุเอ๋ย เจ้าอย่าโกรธเขา ลูกคน

จัณฑาลเป็นบัณฑิต เขาไม่ได้ถามเจ้าถึงทิศนั้น แต่เขาถามถึงทิศอื่น ก็

ทิศที่เจ้ายังไม่เห็นไม่ได้ยินและยังไม่รู้นั่นแหละ มีมากกว่าทิศที่เจ้าได้

เห็นได้ยินและได้รู้มาแล้ว. ดังนี้แล้วจึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาไว้ว่า:-

พ่อเอ๋ย พ่ออย่าโกรธเลย เพราะความ

โกรธไม่ดี ที่เจ้ายังไม่เห็นและยังไม่ได้ยินมี

เป็นอันมาก พ่อเสตเกตุเอ๋ย มารดาบิดาก็เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 17

ทิศ ๆ หนึ่ง บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญอาจารย์

เรียกว่าเป็นทิศ ๆ หนึ่ง คฤหัสถ์ทั้งหลายเป็น

ผู้ถวายข้าว น้ำและผ้านุ่งห่ม ส่วนสมณะ

พราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้เรียกร้อง บัณฑิตทั้ง

หลายเรียกสมณะและพราหมณ์ แม้นั้นว่าเป็น

ทิศ ๆ หนึ่ง พ่อเสตเกตุเอ๋ย ทิศนี้เป็นยอดทิศ

เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีทุกข์ไปถึงแล้วจะมีความ

สุข.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น หิ สาธุ โกโธ ความว่า ธรรมดา

ความโกรธเมื่อเกิดขึ้น ย่อมไม่ให้รู้คำสุภาษิตและพุทธภาษิต ประโยชน์

และมิใช่ประโยชน์ ความเกื้อกูลและไม่เกื้อกูล เพราะฉะนั้น ความโกรธ

จึงไม่ดีเลย. บทว่า พหุมฺปิ เต อทิฏฺ ความว่า อาจารย์กล่าวว่า ทิศที่

เจ้ายังไม่เห็นด้วยตา และยังไม่ได้ยินด้วยหูยังมีมากกว่า. ทิศเหล่านั้นคือ

มารดาบิดา ผู้ชื่อว่ากลายเป็นทิศเบื้องหน้าคือตะวันออก เพราะเกิดก่อน

กว่าบุตรทั้งหลาย. บทว่า อาจริยมาหุ ทิสต ปสฏฺา ความว่า พระ-

อริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวแล้วคือบอก ได้แก่แสดง

หรือพูดว่า แต่อาจารย์ทั้งหลาย ผู้ถูกสรรเสริญว่าเป็นทิศ ๆ หนึ่ง คือเป็น

ทิศเบื้องขวา เพระเป็นผู้ควรแก่ทักษิณาคือการเคารพ. บทว่า อคาริโน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 18

ได้แก่คฤหัสถ์นั่นเอง บทว่า อนฺนปานวตฺถทา ได้แก่ เป็นผู้ให้ข้าว

เป็นผู้ให้น้ำและเป็นผู้ให้ผ้านุ่งห่ม. บทว่า อวฺหายิกา ได้แก่เป็นผู้ร้อง

นิมนต์ว่า นิมนต์มาเถิด นิมนต์รับไทยธรรม. บทว่า ตมฺปิ ทิส วทนฺติ

ความว่า พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เรียกแม้ผู้นั้นว่า

เป็นทิศนั้นทิศหนึ่ง. ด้วยบทนี้ อาจารย์แสดงว่า คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้ถวาย

ปัจจัย ๔ ชื่อว่าเป็นทิศนั้นเพราะเป็นผู้ที่สมณะพราหมณ์ทั้งหลายผู้ทรง

ธรรม จะต้องเข้าไปหาโดยเรียกร้องปัจจัย ๔. อีกนัยหนึ่ง สมณะ

พราหมณ์ทั้งหลายผู้ทรงธรรม ชื่อว่าผู้เรียกร้องคืออวหายิกะ เพราะเรียก

ร้องคุณความดีสูง ๆ ขึ้นไปมาให้โดยความหมายว่า เป็นผู้ให้ซึ่งสวรรค์

สมบัติในฉกามาวจรแก่คฤหัสถ์ทั้งหลายเหล่านั้น ผู้ถวายข้าว น้ำและ

ผ้านุ่งห่ม. ด้วยบทว่า ตมฺปิ ทิส วทนฺติ ท่านอาจารย์แสดงว่า พระ-

อริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เรียกแม้สมณะพราหมณ์ผู้ทรง

ธรรมนั้นว่า ชื่อว่าเป็นทิศเบื้องบน. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสไว้ว่า :-

มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า - ตะวันออก

อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวาขวา - ใต้ บุตรภรรยาเป็น

ทิศเบื้องหลัง - ตะวันตก มิตรและอำมาตย์เป็น

ทิศเบื้องซ้าย - เหนือ ทาสและกรรมกรเป็นทิศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 19

เบื้องล่าง สมณะพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน

คฤหัสถ์ในตระกูลผู้ไม่ประมาท ควรนมัสการ

ทิศเหล่านี้.

ก็คำว่า เอสา ทิสา นี้ อาจารย์กล่าวหมายเอาพระนิพพาน.

เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายผู้เป็นทุกข์ เพราะทุกข์นานัปปการมีความเกิดเป็น

ต้น บรรลุพระนิพพานนั้นแล้ว จะหมดทุกข์ คือเป็นผู้มีความสุข. และ

ทิศนั่นเอง คือพระนิพพาน ชื่อว่าเป็นทิศที่สัตว์ทั้งหลายไม่เคย ไปแล้ว.

อนึ่ง ด้วยคำว่า เอสา ทิสา นั้นนั่นเอง อาจารย์จึงกล่าวถึงพระนิพพาน

ว่า เป็นทิศชั้นยอด. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า :-

บุคคลผู้ประสงค์จะไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป

คือพระนิพพาน ต้องตามรักษาจิตของตน

เหมือนคนประคองภาชนะน้ำมันที่เต็มเสมอ

ขอบปาก ไม่มีพร่องไว้ฉะนั้น.

พระมหาสัตว์ บอกทิศทั้งหลายแก่มาณพด้วยอาการอย่างนี้. แต่

มาณพคิดเสียใจว่า เราถูกคนจัณฑาลให้ลอดหว่างขา ละอายเพื่อน จึง

ไม่อยู่ในที่นั้น ไปยังเมืองตักกศิลา เรียนศิลปทุกอย่าง ในสำนักของ

อาจารย์ทิศาปาโมกข์ จบแล้วอาจารย์อนุญาตให้ไป จึงออกจากเมือง

ตักกศิลา เที่ยวหาเรียนศิลปะของทุกลัทธิ. เข้าไปถึงบ้านชายแดนแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 20

หนึ่ง อาศัยบ้านนั้นอยู่ เห็นดาบส ๕๐๐ รูป จึงบวชในสำนักของท่าน

แล้วเรียนศิลปะบ้าง มนต์บ้าง จรณะบ้าง ที่ท่านเหล่านั้นรู้ ได้เป็น

หัวหน้าคณะ มีดาบสเหล่านั้นห้อมล้อมไปยังนครพาราณสี รุ่งขึ้นไป

เที่ยวภิกขาจาร ได้ไปถึงพระลานหลวง. พระราชาทรงเลื่อมใสในอิริยา-

บถของดาบสทั้งหลาย นิมนต์ให้ฉันภายในพระนิเวศน์ แล้วทรงให้ท่าน

เหล่านี้พำนักอยู่ในพระราชอุทยานของพระองค์. อยู่มาวันหนึ่ง พระ-

องค์ทรงอังคาสดาบสทั้งหลายแล้วตรัสว่า วันนี้เวลาเย็นโยมจะไปพระ-

ราชอุทยาน ไหว้พระคุณเจ้าทั้งหลาย. เสตเกตุดาบส ไปยังพระราช-

อุทยานแล้ว ประชุมดาบสพูดว่า ดูก่อนสหายร่วมชีวิตทั้งหลาย วันนี้

พระราชาจักเสด็จมา. ท่านชี้แจงว่า ธรรมดาพระราชาทั้งหลายทรงโปรด

ปรานครั้งเดียว ก็สามารถให้คนดำรงชีพอยู่เป็นได้ชั่วอายุ วันนี้ขอให้

พวกเราบางพวกเดินเป็นกลุ่ม ๆ ไป บางพวกนอนบนหนาม บางพวก

บำเพ็ญตบะ ๕ อย่าง บางพวกประกอบความเพียรวิธีกระโหย่งเท้า

บางพวกลงน้ำ บางพวกสาธยายมนต์ ดังนี้แล้วตัวท่านเอง นั่งบนตั่งที่ไม่

มีพนักพิง ที่ประตูบรรณศาลาวางคัมภีร์ ๑ คัมภีร์ ที่รุ่งเรืองด้วยรงค-

เบญจวรรณแวววาว ไว้บนกากะเยียที่มีสีงดงาม แล้วแก้ปัญหาที่มาณพ

สี่ ห้า คนซักถามมา. ขณะนั้นพระราชาเสด็จมา ทอดพระเนตรเห็น

ดาบสเหล่านั้นบำเพ็ญมิจคฉาตบะ คือตบะผิดพอพระราชหฤทัย จึงเสด็จ

เข้าไปหาเสตเกตุดาบส ทรงไหว้แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 21

เมื่อทรงปราศัยกับท่านปุโรหิต จึงได้ตรัสคาถาที่ ๓ ว่า :-

ชฎิลเหล่าใด ผู้นุ่งหนังสัตว์ที่แข็งกระด้าง

มีพื้นสกปรก มีรูปร่างเศร้าหมอง ร่ายมนต์อยู่

ชฎิลเหล่านั้น ดำรงอยู่ในความเพียรของมนุษย์

รู้โลกนี้แล้ว จะพ้นจากอบายหรือไม่หนอ ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขราชินา ได้แก่ ผู้นุ่งห่มหนังสัตว์

ที่มีกีบเล็บ. บทว่า ปงฺกทนฺตา ได้แก่ มีฟันมีขี้ฟันเขลอะ เพราะไม่

ได้สีฟัน. บทว่า ทุมุกฺขรูปา ได้แก่ มีผ้านุ่งผ้าห่มปอน ไม่ได้ซัก

ไม่ได้ตกแต่ง คือเว้นจากระเบียบของหอมและเครื่องลูบไล้. มีอธิบายว่า

ได้แก่ มีรูปร่างมอมแมม. บทว่า เยเม ชปนฺติ ความว่า ชฎิลเหล่านี้

ได้ร่ายมนต์อยู่. บทว่า มานุสิเก ปโยเค ความว่า ดำรงอยู่แล้ว

ความเพียรที่คนทั้งหลายต้องทำกัน. บทว่า อิท วิทู ปริมุตฺตา อปายา

ความว่า ถามว่า ฤษีเหล่านั้น ครั้นตั้งอยู่ในความเพียรรู้โลกนี้แล้ว

คือทำให้ปรากฏแล้ว จะพ้นจากอบายทั้ง ๔ ได้หรือไม่หนอ ?

ปุโรหิตฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ได้ทูลคาถาที่ ๔ ว่า :-

ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้ใดเป็นพหูสูต คงแก่

เรียน แต่ทำบาปกรรมไว้ ไม่ประพฤติธรรมเลย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 22

ผู้นั้นถึงจะมีเวทมนต์ตั้งพัน อาศัยเวทมนต์นั้น

แต่ไม่ถึงจรณะ ก็ไม่พ้นทุกข์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กริตฺวา ได้แก่ กตฺวา แปลว่าทำแล้ว

บทว่า จรณ ได้แก่สมาบัติ ๘ พร้อมด้วยศีล. มีคำอธิบายไว้ว่า ข้าแต่

มหาราชเจ้าผู้ใดสำคัญว่า เราเป็นพหูสูต แม้มีความรู้ตั้งพันแต่ไม่

ประพฤติสุจริต ๓ อย่าง ทำแต่บาปอย่างเดียว ผู้นั้นครั้นทำบาปกรรม

เหล่านั้นแล้ว อาศัยความเป็นพหูสูตนั้น แต่ไม่บรรลุจรณะ กล่าวคือ

ศีลและสมาบัติ ก็คงไม่พ้นทุกข์ คือไม่พ้นจากอบายทุกข์ไปได้เลย.

พระราชาครั้นทรงสดับคำนั้นแล้ว ทรงนำไปแล้วซึ่งความเลื่อม

ใสในดาบสทั้งหลาย ลำดับนั้น เสตเกตุดาบส จึงคิดว่าพระราชานี้ได้

เกิดความเลื่อมใสในดาบสทั้งหลายแล้ว. แต่ปุโรหิตคนนี้บั่นทอนความ

เลื่อมใสนั้น เหมือนเอามีดฟัน เราควรจะทูลกับพระราชานั้น.

ท่านเมื่อทูลกับพระราชา ได้ถวายพระพรคาถาที่ ๕ ว่า :-

คนแม้มีเวทมนต์ตั้งพันอาศัยเวทมนต์นั้น

แต่ยังไม่ถึงจรณะ ยังไม่พ้นทุกข์ อาตมภาพ

เข้าใจว่า พระเวททั้งหลาย เป็นสิ่งที่ไร้ผล

จรณะคือการสำรวมอย่างดีเท่านั้นแหละ เป็น

ของจริง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 23

คาถานั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ว่า แม้ผู้มีเวทมนต์ตั้งพันบทอาศัย

ความเป็นพหูสูตนั้น แต่ยังไม่บรรลุจรณะ ก็จะเปลื้องตนออกจากทุกข์

ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น อาตมภาพจึงเข้าใจว่า พระเวท ๓ คัมภีร์

เป็นสิ่งที่ไร้ผล จรณะที่มีศีลอิงสมาบัติ ๘ เท่านั้นเป็นของจริง.

ปุโรหิตได้ฟังคำนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถาที่ ๖ ว่า :-

พระเวทไม่ใช่เป็นสิ่งที่ไม่มีผลเลย จรณะ

คือการสำรวมระวังเท่านั้น เป็นของจริงก็หามิ

ได้ คนอาศัยพระเวทแล้ว ได้รับเกียรติก็มี ผู้

ฝึกตนแล้วด้วยจรณะ จะบรรลุความสงบได้.

คาถานั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ คือ ไม่ใช่พระเวท ๓ อย่างไม่มี

ผล ไม่เฉพาะจรณะ คือ การสำรวมระวังเท่านั้นเป็นของจริง คือดีกว่า

ได้แก่สูงสุด หมายความว่าประเสริฐ. เพราะเหตุไร ? เพราะคนอาศัย

พระเวท คืออาศัยพระเวท ๓ อย่าง ได้รับเพียงเกียรติ เพียงยศ เพียง

ลาภเท่านั้น ไม่มีอย่างอื่นยิ่งกว่านี้ เพราะฉะนั้น พระเวทเหล่านั้นจึง

ชื่อว่า ไม่มีผล. บทว่า สนฺต ปุเนติ จรเณน ทนฺโต ได้แก่ผู้ฝึก

ตนด้วยจรณะแล้วจะบรรลุความสงบได้ ความว่า ผู้ตั้งอยู่ในศีลแล้วให้

สมาบัติเกิดขึ้น เจริญวิปัสสนามีสมาบัติ เป็นปทัฏฐาน ย่อมบรรลุความ

สงบโดยส่วนเดียว คือธรรมอย่างเอกที่มีชื่อว่าพระนิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 24

ปุโรหิตหักล้างคำของท่านเสตเกตุดาบสอย่างนี้แล้ว ได้ทำดาบส

เหล่านั้นทั้งหมดให้เป็นคฤหัสถ์ คือให้สึก ให้ถือโล่และอาวุธ จักให้

เป็นการกชนเป็นทหารหมู่ใหญ่ ให้ทำการบำรุงพระราชา. ได้ทราบว่า

นี้คือวงศ์ของการกชนหมู่ใหญ่.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า เสตเกตุดาบสในครั้งนั้น ได้แก่ภิกษุผู้โกหกในบัดนี้ บุตรของ

คนจัณฑาลในครั้งนั้น ได้แก่พระสารีบุตรในบัดนี้ ส่วนปุโรหิตได้แก่

เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาเสตเกตุชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 25

๓. ทรีมุขชาดก

ว่าด้วยโทษของกาม

[๘๔๓] กามทั้งหลายเหมือนหล่ม กามทั้งหลาย

เหมือนพุ ก็อาตมภาพได้ทูลถึงภัยนี้ ว่ามี

มูล ๓ ธุลีและควัน อาตมภาพก็ได้ถวาย

พระพรแล้ว ข้าแต่มหาบพิตรพรหมทัต ขอ

พระองศ์จงทรงละสิ่งเหล่านั้น แล้วเสด็จออก

ผนวชเถิด.

[๘๔๔] ดูก่อนพราหมณ์ โยมทั้งกำหนัด ทั้งยินดี

ทั้งสยบ อยู่ในกามทั้งหลาย ต้องการมีชีวิตอยู่

ไม่อาจละกามนั้น ที่มีรูปสะพึงกลัวได้ แต่โยม

จักทำบุญมิใช่น้อย.

[๘๔๕] ผู้ที่ถูกผู้มุ่งประโยชน์ อนุเคราะห์ด้วย

ประโยชน์เกื้อกูล กล่าวสอนอยู่ แต่ไม่ทำ

ตามคำสอน เป็นคนโง่ สำคัญว่า สิ่งนี้เท่านั้น

ประเสริฐ ว่าสิ่งอื่น จะเข้าถึงครรภ์สัตว์ แล้ว ๆ

เล่า ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 26

[๘๔๖] เขาจะเข้าถึงนรกชนิดร้ายกาจ. เหล่า

สัตว์ที่ยังไม่ปราศจากราคะ ในกามทั้งหลาย

ติดแล้วในกายของตน ยังละไม่ได้ ซึ่งที่ที่ไม่

สะอาด ของผู้สะอาดทั้งหลาย ที่เดิมไปด้วย

มูตรและคูถ.

[๘๔๗] สัตว์ทั้งหลายเลอะอุจจาระ เปื้อนเลือด

เลอะไขออกมา เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายถูกต้อง

สิ่งใด ๆ ด้วยกายอยู่ในขณะใด ในขณะนั้น

เอง ก็สัมผัสผองทุกข์ล้วน ๆ ที่ไม่มีความ

แช่มชื่นเลย.

[๘๔๘] อาตมภาพเห็นแล้ว จึงได้ทูลถวายพระ

พร, ไม่ได้ฟังจากผู้อื่น ทูลถวายพระพร แต่

อาตมกาพระลึกถึงขันธ์ ที่เคยอยู่อาศัยมาเป็น

จำนวนมาก.

จบ ทรีมุขชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 27

อรรถกถาทรีมุขชาดกที่ ๓

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ

มหาภิเนษกรมณ์ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปงฺโกว กาม ดังนี้

เรื่องในปัจจุบันได้กล่าวไว้แล้ว ในหนหลัง.

ได้ยินว่า พระราชาทรงพระนามว่า มคธราช ครองราช

สมบัติที่อยู่ในนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ ได้ถือกำเนิดใน

พระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระองค์. พระญาติทั้งหลายได้ถวาย

พระนามพระองค์ว่า พรหมทัตกุมาร. ในวันที่พระราชกุมารประสูติ

นั่งเอง ฝ่ายบุตรของปุโรหิต ก็เกิด. ใบหน้าของเด็กนั้น สวยงามมาก

เพราะเหตุนั้นญาติของเขา จึงได้ตั้งชื่อของเด็กนั้นว่า ทรีมุข. กุมาร

ทั้ง ๒ นั้น เจริญเติบโตแล้ว ในราชตระกูลนั้นเอง. ทั้งคู่นั้น

เป็นสหายรักของกัน เวลามีชนมายุ ๑๖ ชันษา ได้ไปยังเมืองตักกศิลา

เรียนศิลปะทุกอย่างแล้ว พากันเที่ยวไปในตามนิคมเป็นต้น ด้วยความ

ตั้งใจว่า จักพากันศึกษาลัทธิทุกลัทธิ และจักรู้จารีตของท้องถิ่นด้วย

ถึงเมืองพาราณสี พักอยู่ที่ศาลเจ้า รุ่งเช้าพากันเข้าไปเมืองพาราณสี

เพื่อภิกษา. ตนในตระกูล ๆ หนึ่ง ในเมืองพาราณสีนั้น ตั้งใจว่า พวก

เราจักเลี้ยงพราหมณ์ แล้วถวายเครื่องบูชา จึงหุงข้าวปายาส แล้วปู

อาสนะไว้. คนทั้งหลายเห็นคนทั้ง ๒ นั้น กำลังเที่ยวภิกขาจาร เข้า

ใจว่า พราหมณ์มาแล้ว จึงให้เข้าไปในบ้าน ปูผาขาวไว้สำหรับพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 28

มหาสัตว์ ปูผ้ากัมพลแดงไว้สำหรับทรีมุขกุมาร. ทรีมุขกุมารเห็นนิมิตร

นั้นแล้ว รู้ชัดว่า วันนี้สหายของเราจักเป็นพระเจ้าพาราณสี ส่วนเรา

จักเป็นเสนาบดี. ทั้ง ๒ ท่านบริโภค ณ นั้น แล้วรับเอาเครื่องบูชา

กล่าวมงคลแล้วออกไป ได้พากันไปถึงพระราชอุทยานนั้น. ในจำนวน

คนทั้ง ๒ นั้น พระมหาสัตว์บรรทมแล้ว บนแผ่นศิลามงคล ส่วน

ทรีมุขกุมารนั่งนวดพระบาทของพระมหาสัตว์นั้น วันนั้น เป็นวันที่ ๗

แห่งการสวรรคตของพระเจ้าพาราณสี. ปุโรหิต ถวายพระเพลิงพระศพ

แล้ว ได้เสี่ยงบุษยราชรถในวันที่ ๗ เพราะราชสมบัติไม่มีรัชทายาท.

กิจเกี่ยวกับบุษยราชรถ จักมีแจ้งชัด ในมหาชนกชาดก. บุษยราชรถ

ออกจากพระนครไป มีจตุรงคเสนาห้อมล้อม พร้อมด้วยดุริยางค์หลาย

ร้อย ประโคมขัน ถึงประตูพระราชอุทยาน. ครั้งนั้น ทรีมุขกุมาร

ได้ยินเสียงดุริยางค์ แล้วคิดว่า บุษยราชรถมาแล้ว เพื่อสหายของเรา

วันนี้สหายของเราจักเป็นพระราชา แล้วประทานตำแหน่งเสนาบดี

แก่เรา เราจักประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือน เราจักออกบวช ดังนี้

แล้ว จึงไม่ทูลเชิญพระโพธิสัตว์ เลยไปยังที่สมควรข้างหนึ่ง แล้วได้

ยืนอยู่ในที่กำบัง. ปุโรหิตหยุดรถที่ประตูพระราชอุทยาน แล้วเข้าไปยัง

พระราชอุทยาน เห็นพระโพธิสัตว์บรรทมบนแผ่นศิลามงคล ตรวจดู

ลักษณะที่เท้าลายพระบาท แล้วทราบว่า เป็นคนมีบุญ สามารถครอง

ราชสมบัติ สำหรับมหาทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒ พันเป็นบริวารได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 29

แต่คนเช่นนี้ คงเป็นคนมีปัญญาเครื่องทรงจำ จ่งได้ประโคมดุริยางค์

ทั้งหมดขึ้น. พระโพธิสัตว์ตื่นบรรทมแล้ว ทรงนำผ้าสาฎกออกจาก

พระพักตร์ ทรงทอดพระเนตรเห็นมหาชน แล้วทรงเอาผ้าสาฎกปิด

พระพักตร์อีก บรรทมหน่อยหนึ่ง ระงับความกระวนกระวาย แล้ว

เสด็จลุกขึ้นประทับนั่งขัดสมาธิบนแผ่นศิลา. ปุโรหิตคุกเข่าลงแล้ว

ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ราชสมบัติ กำลังตกถึงพระองค์.

พ. ราชสมบัติไม่มีรัชทายาทหรือ ?

ปุ. ไม่มีพระพุทธเจ้าข้า.

พ. ถ้าอย่างนั้น ก็ดีแล้ว จึงทรงรับไว้.

ประชาชนเหล่านั้น ได้พากันทำการอภิเษก พระโพธิสัตว์นั้น

ที่พระราชอุทยานนั่นอง. พระองค์มิได้ทรงรำลึกถึงทรีมุขกุมาร เพราะ

ความมียศมา. พระองค์เสด็จขึ้นพระราชรถ มีบริวารห้อมล้อม เข้า

ไปสู่พระนคร ทรงการทำปทักษิณ แล้วประทับยืนที่ประตูพระราช-

นิเวศน์นั่นเอง ทรงพิจารณาถึงฐานันดรของอำมาตย์ทั้งหลาย แล้ว

เสด็จขึ้นสู่ปราสาท. ขณะนั้น ทรีมุขกุมาร คิดว่า บัดนี้ พระราชอุทยาน

ว่างแล้ว จึงมานั่งที่ศิลามงคล. ลำดับนั้น ใบไม้เหลืองได้ร่วงลงมา

ข้างหน้าของเขา. เขาเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมไป ในใบไม้เหลือง

นั้นนั่นเอง พิจารณาไตรลักษณ์ให้แผ่นดินกึกก้องไป พร้อมกับให้พระ-

ปัจเจกโพธิญาณเกิดขึ้น ในขณะนั้นนั่นเอง เพศคฤหัสถ์ของท่าน ก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 30

อันตรธานไป. บาตรจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ ก็ล่องลอยมาจากอากาศ

สวมที่สรีระของท่าน. ทันใดนั้นนั่นเอง ท่านก็เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งบริขาร ๘

สมบูรณ์ด้วยอิริยาบท เป็นเหมือนพระเถระผู้มีพรรษาร้อยพรรษา เหาะ

ไปในอากาศด้วยฤทธิ์ ได้ไปยังเงื้อมนันทมูลกะในท้องถิ่นป่าหิมพานต์.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็เสวยราชสมบัติโดยธรรม. แต่เพราะเป็นผู้มียศมาก

จึงทรงเป็นผู้มัวเมาด้วยยศ ไม่ทรงรำลึกถึงทรีมุขกุมาร เป็นเวลาถึง

๔๐ ปี. แต่เมื่อเวลาเลย ๔๐ ปี ผ่านไปแล้ว พระองค์ทรงรำลึกถึงเขา

แล้ว จึงตรัสว่า ฉันมีสหายอยู่คนหนึ่ง ชื่อว่า ทรีมุข เขาอยู่ที่ไหน

หนอ ? ดังนี้แล้ว มีพระราชประสงค์จะพบพระสหายนั้น. จำเดิมแต่

นั้นมา พระองค์ก็ตรัสถามหา ภายในเมืองบ้าง ท่ามกลางบริษัทบ้าง

ว่า ทรีมุขกุมาร สหายของฉันอยู่ที่ไหน ? ผู้ใดบอกที่อยู่ของเขาแก่ฉัน

ฉันจะให้ยศสูงแก่ผู้นั้น. เมื่อพระองค์ทรงระลึกถึงเขาอยู่บ่อย ๆ อย่างนี้

นั่นแหละ ปีอื่น ๆ ได้ผ่านไปถึง ๑๐ ปี. โดยเวลาผ่านไปถึง ๕๐ ปี

แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทรีมุข ทรงรำลึกถึงอยู่ ก็ทรง

ทราบว่า สหายรำลึกถึงเราอยู่แล แล้วทรงดำริว่า บัดนี้ พระโพธิสัตว์

นั้น ทรงพระชรา จำเริญด้วยพระโอรสพระธิดา เราจักไปแสดงธรรม

ถวายให้พระองค์ทรงผนวช ดังนี้แล้ว จึงได้เสด็จมาทางอากาศ ด้วย

ฤทธิ์ ลงที่พระราชอุทยาน นั่งบนแผ่นศิลา เหมือนพระพุทธรูปทองคำ

ก็ปานกัน. เจ้าหน้าที่รักษาพระราชอุทยาน เห็นท่านแล้ว เข้าไปเฝ้า

ทูลถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านมาจากที่ไหน ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 31

พระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสตอบว่า มาจากเงื้อมเขานันทมูลกะ

จ. ท่านเป็นใคร ?

พ. อาตมภาพ คือพระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า ทรีมุข โยม.

จ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงรู้จักในหลวงของข้า

พระองค์ทั้งหลายไหม ?

พ. รู้จักโยม เวลาเป็นคฤหัสถ์ พระองค์ทรงเป็นสหายของ

อาตมา.

จ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในหลวงมีพระราชประสงค์จะพบ

พระองค์ ข้าพระองค์ จักทูลบอกว่า พระองค์เสด็จมาแล้ว.

พ. เชิญโยม ไปทูลบอกเถิด.

จ. รับพระบัญชาแล้ว รีบด่วนไปทีเดียว ทูลในหลวงถึงความ

ที่พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่แผ่นศิลาแล้ว.

ในหลวงตรัสว่า ได้ทราบว่า พระสหายของฉันมาแล้ว ฉันจัก

ไปเยี่ยมท่าน แล้วเสด็จขึ้นรถไปยังพระราชอุทยาน พร้อมด้วยข้าราช-

บริพารจำนวนมาก ไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้า ทำการปฏิสันถาร แล้ว

นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงทำ

ปฏิสันถารกะพระองค์ พลางทูลคำมีอาทิว่า ขอถวายพระพร พระเจ้า

พรหมทัต พระองค์ทรงเสวยราชสมบัติโดยธรรมอยู่หรือ ? ไม่ทรงลุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 32

อำนาจอคติหรือ ? ไม่ทรงเบียดเบียนประชาสัตว์ เพื่อต้องการทรัพย์

หรือ ? ทรงบำเพ็ญบุญ มีทานเป็นต้นอยู่หรือ ? ดังนี้แล้ว ทูลว่า

ขอถวายพระพรพระเจ้าพรหมทัต พระองค์ทรงพระชราภาพแล้ว บัดนี้

เป็นสมัยของพระองค์ที่จะทรงละกาม เสด็จออกผนวชแล้ว. เมื่อจะทรง

แสดงธรรมถวายพระองค์ จึงได้ทูลคาถาที่ ๑ ว่า :-

กามทั้งหลายเหมือนหล่ม กามทั้งหลาย

เหมือนพุ ก็อาตมาภาพได้ทูลภัยนี้ไว้ว่ามีมูล ๓

ธุลีและควัน อาตมาภาพก็ได้ถวายพระพรแล้ว

ข้าแต่พระเจ้าพรหมทัตมหาบพิตร ขอพระองค์

จงทรงละสิ่งเหล่านั้น เสด็จออกผนวชเถิด.

บรรดาบสเหล่านั้น บทว่า ปงฺโก พระปัจเจกพุทธเจ้า ตรัส

หมายถึง พืชทั้งหลาย มีหญ้า สาหร่าย ไม้อ้อและกอหญ้าเป็นต้น

ที่เกิดขึ้นในน้ำ. อุปมาเหมือนหนึ่งว่า พืชเหล่านั้น ยังมีกำลังน้ำ ให้

ติดอยู่ฉันใด เบญจกามคุณทั้งหลาย หรือว่า วัตถุกามและกิเลสกาม

ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปลัก คือปังกะ ด้วยอำนาจยังพระโยคาวจร

ผู้กำลังข้ามสงสารสาคร ให้ติดข้องอยู่. เพราะว่า เทวดาก็ตาม มนุษย์

ก็ตาม สัตว์เดียรฉานทั้งหลายก็ตาม ผู้ข้องแล้ว ติดแล้ว ในปลักนั้น

จะลำบาก ร้องไห้ คร่ำครวญอยู่. ที่หล่มใหญ่ พระปัจเจกพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 33

ตรัสเรียกว่า พุ คือปลิปะ ในคำว่า ปลิโปว กามา ซึ่งสัตว์ทั้งหลาย

มีสุกรและเนื้อเป็นต้นก็ตาม สิ่งโตก็ตาม ช้างก็ตาม ที่ติดแล้ว ไม่

สามารถจะถอนตนขึ้น แล้วไปได้, ก็วัตถุกามและกิเลสกามทั้งหลาย

ท่านเรียกว่า ปลิปะ เพราะเป็นเสมือนกับพุนั้น. เพราะว่า สัตว์

ทั้งหลาย ถึงจะมีบุญก็ไม่สามารถทำลายกามเหล่านั้น รีบลุกขึ้น แล้ว

เข้าไปสู่การบรรพชาที่ไม่มีกังวล ไม่มีปลิโพธ เป็นที่รื่นรมย์ ได้เริ่มต้น

แต่เวลาติดอยู่คราวเดียว ในกามทั้งหลายเหล่านั้น. บทว่า ภยญฺจ เมต

ได้แก่ ภยญฺจ เอต และอาตมาภาพได้กล่าวภัยนี้ อักษร ท่าน

กล่าวไว้ ด้วยสามารถแห่งการต่อบท ด้วยพยัญชนะ. บทว่า ติมูล

ความว่า ไม่หวั่นไหว เหมือนตั้งมั่นอยู่ด้วยราก ๓ ราก. คำนี้ เป็นชื่อ

ของภัยที่มีกำลัง. บทว่า ปวุตฺต ความว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร

ขึ้นชื่อว่า กามเหล่านี้ ทั้งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพุทธ-

สาวกทั้งหลาย ทั้งพระโพธิสัตว์ ผู้เป็นสัพพัญญูทั้งหลาย ตรัสแล้ว

คือทรงบอกแล้ว อธิบายว่า ทรงแสดงไว้แล้วว่า ชื่อว่าเป็นภัยมี

กำลัง เพราะหมายความว่า เป็นปัจจัยแห่งภัย ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน

และสัมปรายิกภพ มีภัยคือการติเตียนตนเองเป็นต้น และที่เป็นไปแล้ว

ด้วยสามารถแห่งกรรมกรณ์ ๓๒ ประการ และโรค ๗๘ ชนิด. อีก

อย่างหนึ่ง. บทว่า ภยญฺจ เมต ความว่า ก็อาตมาภาพได้ทูลภัยนี้ไว้ว่า

มีมูล ๓ พึงทราบเนื้อความในบทนี้ ดังที่พรรณนามานี้นั่นเอง. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 34

รโช จ ธูโม จ ความว่า กามทั้งหลาย อาตมาภาพประกาศไว้แล้วว่า

เป็นธุลีด้วย เป็นควันด้วย เพราะเป็นเช่นกับด้วยธุลีและควัน. อุปมา

เหมือนหนึ่งว่า ร่างกายของชายที่อาบน้ำสะอาดแล้ว ลูบไล้และตกแต่ง

ดีแล้ว แต่มีฝุ่นที่ละเอียดตกลงที่ร่างกาย จะมีสีคล้ำ ปราศจากความ

งาม ทำให้หม่นหมอง ฉันใด พระโยคาวจรทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือน

กัน แม้มาแล้ว โดยทางอากาศเหาะได้ ด้วยกำลังฤทธิ์ ปรากฏแล้ว

ในโลก เหมือนพระจันทร์และพระอาทิตย์ ก็มีสีมัวหมอง ปราศจาก

ความงาม เป็นผู้เศร้าหมองแล้ว เริ่มแต่เวลาที่ธุลี คือกามตกลงไป

ในภายในครั้งเดียว เพราะคุณความดี คือสี คุณความดี คือความงาม

และคุณความดี คือความบริสุทธิ์ ถูกขจัดแล้ว. อนึ่ง คนทั้งหลาย

แม้จะสะอาด ดีแล้ว ก็จะมีสีดำเหมือนฝาเรือน เริ่มต้นแต่เวลา ถูก

ควันรม ฉันใด พระโยคาวจรทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้มีญาณ

บริสุทธิ์เหลือเกิน ก็จะปรากฏเป็นเหมือนคนผิวดำ ท่ามกลางมหาชน

ทีเดียว เพราะถึงความพินาศแห่งคุณความดี เริ่มต้นแต่เวลาที่ถูกควัน

คือกามารมณ์ ดังนั้น กามเหล่านี้ อาตมภาพ จึงประกาศแก่มหาบพิตร

ว่า เป็นทั้งธุลี เป็นทั้งควัน เพราะเป็นเช่นกับด้วยธุลีและควัน

เพราะฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า จึงทรงให้พระราชาทรงเกิดอุตสาหะ

ในการบรรพชา ด้วยพระดำรัสว่า ข้าแต่มหาบพิตร พระราชสมภาร

พรหมทัตเจ้า ขอพระองค์ จงทรงละกามเหล่านี้ ทรงผนวชเถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 35

พระราชา ครั้นทรงสดับคำนั้นแล้ว เมื่อจะตรัสบอกความที่

พระองค์ทรงคิดอยู่ ด้วยกิเลสทั้งหลาย จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนพราหมณ์ โยมทั้งกำหนัด ทั้ง

ยินดี ทั้งสยบอยู่ในกามทั้งหลาย ต้องการมี

ชีวิตอยู่ ไม่อาจละกามนั้น ที่มีรูปสะพึงกลัว

ได้ แต่โยมจักทำบุญไม่ใช่น้อย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เคธิโต ได้แก่ ถูกกายคันถะ คือ

อภิชฌาผูกมัดไว้. บทว่า รตฺโต ได้แก่ ถูกราคะย้อมใจแล้ว. บทว่า

อธิมุจฺฉิโต ได้แก่ สลบไสลไปมากเหลือเกิน. บทว่า กาเมสฺวาห

ความว่า โยมยังติดอยู่ในกามทั้ง ๒. พระราชาตรัสเรียก พระทรีมุข-

ปัจเจกพุทธเจ้าว่า พราหมณ์. บทว่า ภึสรูป ได้แก่ มีรูปมีพลัง.

บทว่า ต นุสฺสเห ความว่า โยมไม่อาจ คือไม่สามารถละกามทั้ง ๒

อย่างนั้นได้. ด้วยคำว่า ชีวิกตฺโก ปาหาตุ พระราชาตรัสว่า โยมยัง

ต้องการความเป็นอยู่นี้ จึงไม่อาจละกามนั้นได้. บทว่า กาหามิ

ปุญฺานิ ความว่า แต่โยมจักทำบุญ คือทานศีลและอุโบสถกรรม

ไม่น้อย คือมาก ดังนี้. ขึ้นชื่อว่า บุคคลผู้มีกิเลสกามอย่างนี้ ไม่สามารถ

จะนำออกไปจากใจได้ เริ่มต้นตั้งแต่เวลาที่ติดอยู่คราวเดียว พระมหา-

บุรุษผู้มีจิตเศร้าหมองแล้ว เพราะกิเลสอันใดเล่า แม้เมื่อพระปัจเจก-

พุทธเจ้า ตรัสถืงคุณของบรรพชาแล้ว ก็ยังตรัสว่า โยมไม่สามารถจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 36

บวชได้ พระเจ้าพรหมทัตพระองค์นี้ใด เมื่อทรงตรวจตราดูพุทธการก-

ธรรม ด้วยพระญาณที่เกิดขึ้นในพระองค์ แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้า

ทรงพระนามว่า ทีปังกร ทรงเห็นเนกขัมมบารมีที่ ๓ แล้ว จึงทรง

สรรเสริญคุณในเนกขัมมะอย่างนี้ว่า :-

ถ้าพระองค์ปรารถนาบรรลุโพธญาณไซร้

พระองค์จงสมาทานบารมีที่ ๓ นี้ไว้ให้มั่นคง

ก่อน แล้วจึงไปสู่เนกขัมมบารมี. คนที่อยู่

ในเรือนจำมานาน ๆ ถึงความทุกข์ จะไม่ให้

ความยินดีเกิดขึ้นในเรือนจำนั้น จะแสวงหา

ทางพ้นทุกข์อย่างเดียวฉันใด พระองค์ก็เช่น

นั้นเหมือนกัน จงเห็นภพทั้งหมดเหมือนเรือน-

จำ เป็นผู้บ่ายหน้าสู่เนกขัมมะแล้ว จักบรรลุ

สัมมาสัมโพธิญาณ.

พระเจ้าพรหมทัตนั้น แม้เป็นผู้ที่พระปัจเจกพุทธเจ้า ตรัส

สรรเสริญการบรรพชา แล้วถวายพระพรว่า ขอมหาบพิตร จะทรง

ทอดทิ้งกิเลสทั้งหลาย แล้วทรงเป็นสมณะเถิด. จึงตรัสว่า โยมไม่

อาจจะทอดทิ้งกิเลสเป็นสมณะได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 37

ได้ทราบว่าคนบ้าในโลกนี้มี ๘ จำพวก เพราะฉะนั้นโบราณา-

จารย์ จึงได้กล่าวไว้ว่า คนที่ได้สัญญาว่าเป็นบ้ามี ๘ จำพวก คือ :-

๑. บ้ากาม (กามุมฺมตฺตโก) มัวเมาในกาม คือ :-

- ตกอยู่ใต้อำนาจจิต (จิตฺตวสงฺคโต) ของผู้อื่น

- ตกอยู่ใต้อำนาจความโลภ (โลภวสงฺคโต)

๒. บ้าโกรธผู้อื่น (โกธุมฺมตฺตโก) คือ :-

- ตกอยู่ใต้อำนาจวิหึสา (วิหึสาวสงฺคโต) คนอื่น

๓ บ้าความเห็น (ทิฏฺฐุมฺมตฺตโก) บ้าทฤษฎีหรือบ้าลัทธิ

- ตกอยู่ใต้อำนาจความเข้าใจผิด (วิปลฺลาสวสงฺคโต)

๔ บ้าความหลง (โมหุมฺมตฺตโก) คือ :-

- ตกอยู่ในอำนาจความไม่รู้

๕ บ้ายักษ์ (ยกฺขุมฺมตฺตโก) คือ :-

- ตกอยู่ในอำนาจยักษ์ (ยกฺขวสงฺคโต)

๖ บ้าดีเดือด (ปิตฺตุมฺมตฺตโก) คือ :-

- ตกอยู่ในอำนาจของดี (ปิตฺตวสงฺคโต)

๗ บ้าสุรา (สุรุมฺมตฺตโก) คือ :-

- ตกอยู่ใต้อำนาจการดื่ม (ปานนวสงฺคโต)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 38

๘. บ้าเพราะความสูญเสีย (พฺยสมุมฺมตฺตโก) คือ :-

- ตกอยู่ใต้อำนาจของความเศร้าโศก (โสกวสฺคโต)

ในจำนวนบ้า ๘ จำพวกเหล่านี้ พระมหาสัตว์ ในชาดกนี้เป็น

ผู้บ้ากามตกอยู่ใต้อำนาจความโลภ จึงไม่รู้คุณของบรรพชา. ถามว่า

ก็โลภะนี้ ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ทำลายคุณความดี ด้วยประการ

ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ แต่เหุตุไฉนสัตว์ทั้งหลาย จึงไม่อาจหลุดพ้นไปได้.

ตอบว่า เพราะความโลภนั้นเจริญมาแล้ว โดยรวมกันเป็นเวลาหลาย

แสนโกฏิกัปป์ ในสงสารที่ไม่มีใครตามพบเงื่อนต้นแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้

แล้ว บัณฑิตทั้งหลาย จึงละด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาหลายอย่าง

มีอาทิว่า กามทั้งหลายมีความชื่นใจน้อย.

แม้เมื่อพระมหาสัตว์นั้นนั่นเอง ตรัสว่า โยมไม่อาจจะบวชได้

พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า ก็ไม่ทรงทอดธุระ เมื่อจะถวายพระโอวาท

ให้ยิ่งขึ้นไป จึงตรัสคาถา ๒ คาถาไว้ว่า :-

ผู้ที่ถูกผู้มุ่งประโยชน์ อนุเคราะห์ด้วย

ประโยชน์เกื้อกูล กล่าวสอนอยู่ แต่ไม่ทำ

ตามคำสอน เป็นคนโง่ สำคัญว่าสิ่งนี้เท่านั้น

ประเสริฐกว่าสิ่งอื่น จะเข้าถึงครรภ์สัตว์ แล้ว ๆ

เล่า ๆ จะเข้าถึงนรก ชนิดร้ายกาจ เหล่าสัตว์

ที่ยังไม่ปราศจากราคะ ในกามทั้งหลายติดแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 39

ในกายของตนละยังไม่ได้ ซึ่งที่ที่ไม่สะอาด

ของผู้สะอาดทั้งหลาย ที่เต็มไปด้วยมูตร

และคูถ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถกามสฺส ความว่า ผู้มุ่งความ

เจริญ. บทว่า หิตานุกมฺปิโน ความว่า ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์

เกื้อกูล คือด้วยจิตอ่อนโยน. บทว่า โอวชฺชมาโน ได้แก่ ถูกกล่าว

ตักเตือนอยู่. บทว่า อิทเมว เสยฺโย ความว่า สำคัญสิ่งที่ตนยึดถือ

ที่เป็นสิ่งไม่ประเสริฐกว่าทั้งไม่สูงสุด ว่าสิ่งนี้เท่านั้น เป็นสิ่งประเสริฐ

กว่าสิ่งอื่น. บทว่า มนฺโท ความว่า ผู้นั้นจะเป็นคนไม่มีความรู้ จะ

ก้าวล่วงการอยู่ในครรภ์มารดาไปไม่ได้ อธิบายว่า จะเข้าถึงครรภ์แล้ว ๆ

เล่า ๆ นั่นเอง. บทว่า โส โฆรรูป ความว่า ขอเจริญพรมหาบพิตร

คนโง่นั้น เมื่อเข้าถึงครรภ์มารดานั้น ชื่อว่า เข้าถึงนรกชนิดร้ายกาจ

คือที่ทารุณโดยกำเนิด อธิบายว่า ท้องของมารดาพระปัจเจกพุทธเจ้า

ตรัสเรียกว่า นรก คือตรัสเรียกว่า จตุกุฏฏิกนรก คือด้านแคบ ๆ

๔ ด้าน. ในพระคาถานี้ เพราะหมายความว่า หมดความชื่นใจ.

ธรรมดาว่า จตุกุฏฏิกนรก เมื่อถูกถามว่า เป็นอย่างไร ? ควรบอกว่า

คือท้องมารดานั่นเอง. เพราะว่า สัตว์ที่เกิดแล้ว ในอเวจีมหานรก

มีการวิ่งพล่านและวิ่งรอบไป ๆ มา ๆ ได้ทีเดียว เพราะฉะนั้น อเวจี

มหานรกนั้น จะเรียกว่า จตุกุฏฏิกนรกไม่ได้. แต่ว่า ในท้องมารดา

สัตว์ที่เกิดในครรภ์ไม่อาจจะวิ่งไปตามข้างทั้ง ๔ และทางโน้นทางนี้ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 40

ตลอดเวลา ๙ หรือ ๑๐ เดือน. จำต้องประสงค์เป็น ๔ ด้าน คือเป็น ๔

มุม ในโอกาสอันคับแคบ เพราะฉะนั้น นรกนั้นจึงเรียกกันว่า

จตุกุฏฏิกนรก. บทว่า สุภาสุภ ได้แก่ที่ ๆ ไม่สะอาด สำหรับ

พระโยคาวจรผู้สะอาดทั้งหลาย. อธิบายว่า ท้องมารดาสมมุติว่าเป็นที่

ไม่สะอาดโดยส่วนเดียว สำหรับผู้งดงามทั้งหลาย คือพระโยคาวจร

กุลบุตรทั้งหลายผู้กลัวสงสาร. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า :-

น่าตำหนิโดยแท้ สำหรับผู้ไม่เห็นรูปที่

ไม่น่าดู ว่าได้แก่ที่น่าดู ที่ไม่สะอาดแต่สมมติ

ว่าสะอาด ที่บริบูรณ์ด้วยซากศพต่าง ๆ แต่

ว่าเป็นรูปน่าดู. ไม่เห็นกายที่เปื่อยเน่า ที่

กระสับกระส่ายนี้ ที่มีกลิ่นเหม็นไม่สะอาด

มีการเจ็บไข้เป็นธรรมดา เป็นที่ยังทางเพื่อการ

เกิดในสุคติ ให้เสื่อมหายไปแห่งเหล่าประชา

ผู้ประมาทแล้ว สลบไสลอยู่แล้ว.

บทว่า สตฺตา ได้แก่ ผู้เกาะเกี่ยว คือส่ายไปหา หมายความว่า

ติด อธิบายว่า ข้องแล้ว. บทว่า สกาเย น ชหนฺติ ความว่า ยังไม่ละทิ้ง

ท้องมารดานั้น. บทว่า คิทฺธา ได้แก่ กำหนดแล้วนั่นเอง. บทว่า เย

โหนฺติ ความว่า เหล่าชนผู้ไม่ปราศจากราคะในกามทั้งหลาย จะไม่

ละทิ้งการอยู่ในครรภ์มารดานั้นไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 41

พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงทุกข์ ทั้งที่มีการ

ก้าวลงสู่ครรภ์เป็นมูลฐาน ทั้งที่มีการบริหารเป็นมูลฐานแล้ว บัดนี้

เพื่อจะทรงแสดงถึงทุกข์ที่มีการออกจากครรภ์เป็นมูลฐาน จึงได้ตรัส

คาถาหนึ่งกับถึงคาถาไว้ว่า :-

สัตว์ทั้งหลายเลอะอุจจาระ เปื้อนเลือด

เลอะไขออกมา เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายถูกต้อง

สิ่งใด ๆ ด้วยกายอยู่ในขณะใด ในขณะนั้น

เองก็สัมผัสผองทุกข์ล้วน ๆ ที่ไม่มีความแช่ม

ชื่นเลย. อาตมาภาพเห็นแล้ว จึงได้ทูลถวาย

พระพร ไม่ได้ฟังจากผู้อื่นทูลถวายพระพร

แต่อาตมาภาพระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยมา

เป็นจำนวนมาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิฬฺเหน ลิตฺตา ความว่า ขอถวาย

พระพรมหาบพิตร สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้เมื่อคลอดจากท้องมารดาไม่ได้

ลูบไล้ด้วยคันธชาติทั้ง ๔ ไม่ได้ประดับประดาดอกไม้ที่หอมหวลออกมา

แต่เป็นผู้เปื้อนเปรอะ คือเลอะเทอะคูถเก่าเน่าออกมา. บทว่า รุหิเรน

มกฺขิตา ความว่า ไม่ใช่เป็นเสมือนชะโลมด้วยจันทน์แดงออกมา แต่

เปื้อนด้วยโลหิตแดงออกมา. บทว่า เสมฺเหน ลิตฺตา ความว่า ไม่ใช่

ลูบไล้ด้วยจันทน์ขาวออกมา แต่เป็นผู้เปื้อนไขเหมือนนุ่นหนา ๆ ออกมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 42

เพราะในเวลาผู้หญิงทั้งหลายคลอด ของไม่สะอาดทั้งหลายจะออกมา.

บทว่า ตาวเท ความว่า ในสมัยนั้น. มีอธิบายว่า ขอถวายพระพร

มหาบพิตร สัตว์เหล่านี้ในเวลาที่ออกจากท้องมารดานั้น เปื้อนคูถ

เป็นต้น ออกมาอย่างนี้ กระทบช่องคลอดหรือมืออยู่ ย่อมชื่อว่า

สัมผัสทุกข์นั้นทั้งหมดล้วน ๆ คือที่เจือด้วยของไม่สะอาด ไม่เป็นที่

ยินดี คือไม่แช่มชื่น ชั้นชื่อว่าความสุขจะไม่มีแก่สัตว์เหล่านั้น

ในสมัยนั้น. บทว่า ทิสฺวา วทามิ น หิ อญฺโต สว ความว่า

ขอถวายพระพรมหาบพิตร อาตมภาพ เมื่อทูลถวายพระพรเท่านี้

ไม่ได้ฟังมาจากที่อื่น คือไม่ได้สดับคำนั้นของสมณะหรือพราหมณ์คนอื่น

ทูลถวาย อธิบายว่า แต่อาตมภาพเห็นแล้ว คือแทงตลอดแล้ว ได้แก่

ทำให้ประจักษ์แล้วด้วยปัจเจกโพธิญาณของตน แล้วจึงทูลถวายพระพร.

บทว่า ปุพฺเพนิวาส พหุก ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อจะ

ทรงแสดงถึงอานุภาพของตน จึงทูลถวายพระพรคำนี้. มีอธิบายว่า

ขอถวายพระพรมหาบพิตร ส่วนอาตมภาพระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัย

มา กล่าวคือ ขันธ์ที่อยู่อาศัยมาตามลำดับในชาติก่อนมากมาย คือระลึก

ได้ถึง ๒ อสงไขยเศษแสนกัปป์.

บัดนี้ พระศาสดาผู้ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่ง ครั้นตรัสว่า พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้านั้น ทรงสงเคราะห์พระราชาด้วยพระคาถาสุภาษิต

อย่างนี้แล้ว ได้ตรัสกึ่งคาถาไว้ในตอนสุดท้ายว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 43

พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า ทรงยังพระ-

ราชาผู้ทรงมีพระปัญญาให้ทรงรู้พระองค์ ด้วย

พระคาถาทั้งหลาย ที่เป็นภาษิตมีเนื้อความ

วิจิตรพิสดาร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺราหิ ความว่า อาศัยเนื้อความ

หลายหลาก. บทว่า สุภาสิตาหิ ได้แก่ ที่ตรัสไว้ดีแล้ว. บทว่า

ทรีมุโข นิชฺฌาปยี สุเมธ. ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระทรีมุข-

ปัจเจกพุทธเจ้านั้น ทรงให้พระราชานั้นผู้ทรงมีพระปัญญา คือทรงมี

ปัญญาดี ได้แก่ มีความสามารถรู้เหตุและมิใช่เหตุ ให้ทรงรู้พระองค์

คือให้ทรงสำนึกได้ อธิบายว่า ให้ทรงทำตามถ้อยคำของตน.

พระปัจเจกพุทธเจ้า ครั้นทรงแสดงโทษในกามทั้งหลาย ทรง

ยังพระราชาให้ทรงถือเอาถ้อยคำของตนอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า ขอถวาย

พระพรมหาบพิตร บัดนี้ พระองค์จะทรงผนวชหรือไม่ทรงผนวชก็ตาม

แต่ว่า อาตมาภาพได้แสดงโทษในกามทั้งหลายและอานิสงส์ในการบวช

ถวายมหาบพิตรแล้ว ขอมหาบพิตรจงอย่าทรงประมาท ดังนี้แล้ว ได้

ทรงเหาะไปในอากาศ ทรงเหยียบกลีบเมฆเสด็จไปยังเงื้อมเขานันท-

มูลกะนั่นเอง เหมือนพระยาหงส์ทองฉะนั้น. พระมหาสัตว์ทรงประคอง

อัญชลีที่รุ่งโรจน์ รวมทั้ง ๑๐ นิ้ว ไว้บนพระเศียรนมัสการอยู่ เมื่อ

พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นพ้นทัศนวิสัยไปแล้ว จึงตรัสสั่งให้หาพระราช-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 44

บุตรพระองค์ใหญ่ คือเจ้าฟ้าใหญ่มาเฝ้า ทรงมอบราชสมบัติให้ แล้ว

เมื่อมหาชนกำลังร้องไห้คร่ำครวญกันอยู่ ได้ทรงละกามทั้งหลาย เสด็จ

ไปสู่ป่าหิมพานต์ ทรงสร้างบรรณศาลา ผนวชเป็นฤาษี ไม่นานเลย

ก็ได้ทรงยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดขึ้น ในเวลาสิ้นพระชนมายุก็ได้

ทรงเข้าถึงพรหมโลก.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาประกาศสัจจ-

ธรรม แล้วทรงประชุมชาดกไว้. ในเวลาจบสัจจธรรม คนทั้งหลาย

ได้เป็นพระโสดาบันเป็นต้นมากมาย. พระราชาในครั้งนั้น ก็คือเรา

ตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาทรีมุขชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 45

๔. เนรุชาดก

ว่าด้วยอานุภาพของเนรุบรรพต

[๘๔๙] กาป่าก็ดี ฝูงกาธรรมดาก็ดี และพวกเรา

ผู้ประเสริฐกว่านกทั้งหลายก็ดี มาถึงภูเขาลูกนี้

แล้ว เป็นเหมือนกันหมด คือมีสีเหมือนกัน

หมด.

[๘๕๐] ทั้งสิงห์โต ทั้งเสือ ทั้งนก หมาไน ก็

เป็นเหมือนกันหมด ภูเขานี้ชื่ออะไร ?

[๘๕๑] คนทั้งหลายรู้จักภูเขาลูกนี้ว่า ชื่อว่า เนรุ

เป็นภูเขาชั้นยอดของภูเขาทั้งหลาย สัตว์ทุก

ชนิดอยู่ในภูเขานี้สีสวยหมด.

[๘๕๒] ณ ที่ใดมีแต่ความไม่นับถือกัน การดูหมิ่น

สัตบุรุษ หรือการนับถือคนเลว ณ ที่นั้นคนมี

อำนาจไม่ควรอยู่.

[๘๕๓] แต่ในภูเขาใด เขาบูชาทั้งคนเกียจคร้าน

ทั้งคนขยัน คนกล้าหาญ ทั้งคนขลาด สัตบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 46

ทั้งหลาย จะไม่อยู่บนภูเขานั้นที่ไม่ทำให้แตก-

ต่างกัน.

[๘๕๔] เขาเนรุนี้จะไม่คบคนที่เลว คนชั้นสูง

แต่คนขนาดกลาง เขาเนรุทำให้สัตว์ไม่แตก

ต่างกัน เชิญเถิดพวกเราจะละทิ้งเขาเนรุนั้น

เสีย.

จบ เนรุชาดกที่ ๔

อรรถกถาเนรุชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า กาโกลา กากสงฺฆา จ

ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้นเรียนพระกรรมฐาน ในสำนักของพระ-

ศาสดา แล้วได้ไปยังหมู่บ้านชนบทตำบลหนึ่ง. คนทั้งหลายเลื่อมใส

ในอิริยาบทของท่าน ให้ท่านฉันแล้ว รับปฏิญญาท่าน สร้างบรรณศาลา

ในป่าให้ท่านอยู่ที่บรรณศาลานั้น และพากันถวายสักการะท่านอย่าง

เหลือเฟือ. ครั้งนั้น ภิกษุอื่นซึ่งเป็นพวกสัตตวาทะได้มา ณ ที่นั้น.

คนเหล่านั้นได้ฟังคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว พากันสละเถรวาททิ้ง เชื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 47

ถือสัสสตวาท ถวายสักการะท่านเหล่านั้นเท่านั้น. ต่อมาพวกอุจเฉทวาท

มา. พวกเขาก็พากันสละสัสสตวาททิ้งเชื่อถืออุจเฉทวาท. ต่อมาพวกอื่น

ที่เป็นอเจลกวาทมา. พวกเขาก็พากันสละอุจเฉทวาททิ้ง เธอถือ

อเจลกวาท. ท่านอยู่อย่างไม่สบายในสำนักของพวกคนเหล่านั้น ผู้ไม่

รู้จักคุณและมิใช่คุณ ออกพรรษาปวารนาแล้ว จึงไปยังสำนักของ

พระศาสดา เป็นผู้ที่พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารแล้ว เมื่อพระองค์

ตรัสถามว่า เธอจำพรรษาที่ไหน ? ทูลว่า อาศัยหมู่บ้านชายแดน

พระเจ้าข้า. ถูกตรัสถามว่า อยู่สบายดีหรือ ? จึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์อยู่อย่างเป็นทุกข์ในสำนักของผู้ไม่รู้คุณและไม่ใช่

คุณ. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บัณฑิตทั้งหลาย ในสมัยก่อน

แม้เกิดในกำเนิดเดียรฉาน แม้เพียงวันเดียวก็ไม่อยู่กับคนทั้งหลายผู้ไม่

รู้คุณและมิใช่คุณ เหตุไฉนเธอจึงอยู่ในสำนักของตนที่ไม่รู้จักคุณและ

มิใช่คุณของตน. ทรงเป็นผู้ที่ภิกษุนั้นทูลอ้อนวอน จึงทรงนำเอาเรื่อง

ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ อยู่ในนคร-

พาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดสุวรรณหงส์ แม้พี่ ๆ น้อง ๆ ของ

เขาก็มี. พวกเขาพากันอยู่ที่เขาจิตกูฏ จิกกินข้าวสาลีที่เกิดเอง ในท้องที่

หิมพานต์. อยู่มาวันหนึ่ง พวกเขาพากันเที่ยวไปในท้องถิ่นหิมพานต์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 48

แล้วกำลังกลับมายังเขาจิตกูฏ เห็นภูเขาทองลูกหนึ่ง ชื่อว่า เนรุ ใน

ระหว่างทางจึงได้พากันเกาะอยู่บนยอดเขานั้น. แต่สัตว์ที่อาศัยอยู่ภูเขา

นั้นมีทั้งนก ทั้งกระต่าย แต่สัตว์ ๔ เท้านานาชนิดในทำเลหากิน

ตั้งแต่เวลาเข้าไปสู่ภูเขาจะกลายเป็นมีสีเหมือนทอง เพราะต้องแสงภูเขา

นั้น. พวกสุวรรณหงส์พากันเห็นแล้ว น้องสุดท้องของพระโพธิสัตว์

ไม่รู้เหตุนั้น สงสัยว่านั่นเป็นเหตุอะไรหนอ ? เมื่อจะสนทนากับพี่ชาย

จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

กาป่าก็ดี ฝูงกาธรรมดาก็ดี และพวกเรา

ผู้ประเสริฐ ว่านี้ทั้งหลายก็ดี มาถึงภูเขานี้

แล้ว เป็นเหมือนกันหมด ทั้งสิงห์โต ทั้งเสือ

ทั้งนก ทั้งหมาไน ก็เป็นเหมือนกันหมด

ภูเขานี้ชื่ออะไร ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาโกลา ได้แก่ กาป่า นกกาเหว่า.

บทว่า กากสงฺฆา ความว่า หรือฝูงกาปกติ. บทว่า ปตฺต วรา

ความว่า ประเสริฐสุดกว่านกทั้งหลาย. บทว่า สทิสา โหม ความว่า

เป็นผู้มีสีเหมือนกัน.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 49

คนทั้งหลายรู้จักภูเขาลูกนี้ว่า ชื่อว่า เนรุ

เป็นภูเขาชั้นยอดกว่าภูเขาทั้งหลาย สัตว์ทุก

ชนิดอยู่ในภูเขานี้สีสวยหมด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ วณฺเณน ความว่า สัตว์

ทั้งหลายในเนรุบรรพตนี้ เป็นผู้มีสีสวย เพราะรัศมีภูเขา .

น้องชายได้ยินคำนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-

ณ ที่ใดมีแต่ความไม่นับถือกัน การ

ดูหมิ่นสัตบุรุษ หรือการนับถือคนเลว ณ ที่นั้น

คนมีอำนาจไม่ควรอยู่. แต่ในที่ใดเขาบูชาทั้ง

คนเกียจคร้าน ทั้งคนขยัน ทั้งคนกล้าหาญ

ทั้งคนขลาด สัตบุรุษทั้งหลาย จะไปอยู่ใน

ที่นั้นที่ไม่ทำให้ไม่แปลกกัน. เขาเนรุนี้ จะไม่

คบคนที่เลว คนชั้นสูง และคนขนาดกลาง

เขาเนรุทำให้สัตว์ไม่แตกต่างกัน เชิญเถิด

พวกเราจะละทิ้งเขาเนรุนั้นเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น คาถาที่หนึ่งมีเนื้อความว่า ณ ที่ใดมีทั้งการ

ไม่นับถือ ทั้งการดูหมิ่น หรือการปราศจากความนับถือ ด้วยอำนาจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 50

การดูหมิ่นเพราะไม่มีความนับถือ สัตบุรุษ คือ บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

หรือมีการนับถือคนเลวหรือคนทุศีล ที่นั้นผู้มีอำนาจไม่ควรอยู่. บทว่า

ปูชิยา ความว่า คนเหล่านี้เป็นผู้ที่เขาบูชาแล้ว ด้วยการบูชาที่เป็น

เช่นเดียวกันคือได้สักการะเสมอกันในที่นั้น. บทว่า หีนฺมุกฺกฏฺมชฺฌิเม

ความว่า ผู้นี้จะไม่คบทั้งคนเลว ทั้งคนปานกลาง และคนชั้นสูง โดย

ชาติ โคตร ตระกูล ท้องถิ่น ศีล อาจาระ และญาณเป็นต้น. ศัพท์ว่า

หนฺท เป็นนิบาตใช้ในอรรถแห่งอุปสรรค. บทว่า ชหามเส ความว่า

ย่อมสลัดทิ้ง.

ก็แลหงส์ทั้ง ๒ ตัวนั้นครั้นพูดกันอย่างนี้แล้ว ได้พากันบินไป

ยังเขาจิตกูฏนั่นเอง.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจจะแล้วทรงประชุมชาดกไว้. ในที่สุดแห่งสัจจะ ภิกษุนั้นได้ดำรงอยู่

ในโสดาปัตติผล. หงส์ตัวน้องในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้

ส่วนหงส์ตัวพี่ คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาเนรุชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 51

๕. อาสังกชาดก

ว่าด้วยเรื่องความหวัง

[๘๕๕] เถาวัลย์ชื่ออาสาวดี เกิดในส่วนจิตรลดา-

วัน พันปีมันจึงจะออกผล ๆ หนึ่ง.

[๘๕๖] เมื่อมีผลระยะไกลถึงเพียงนั้น ทวยเทพ

ก็ยังพากันไปเยือนมันอยู่บ่อย ๆ ข้าแต่พระราชา

ขอพระองค์จงทรงจำนงหวังไว้เถิด เพราะว่า

ความหวังที่มีผลเป็นเหตุให้เกิดความสุข.

[๘๕๗] ปักษีนั้นหวังอยู่นั่นเอง นกนั้นหวังอยู่

นั่นเอง ความหวังของมันมีอยู่ไกลถึงเพียงนั้น

ก็ยังสำเร็จได้ ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์จง

ทรงจำนงหวังไว้ เพราะว่าความหวังที่มีผล

เป็นเหตุให้เกิดความสุข.

[๘๕๘] เธอให้ฉันเอิบอิ่มด้วยวาจา แต่หาให้

เอิบอิ่มด้วยสิ่งที่ควรทำไม่ เหมือนดอกหงอน

ไก่มีสีสวย แต่ไม่มีกลิ่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 52

[๘๕๙] ผู้ใดไม่ให้ปันไม่เสียสละโภคะ พูดแต่

คำอ่อนหวานที่ไร้ผลในมิตรทั้งหลาย ความ

สัมพันธ์กับมิตรนั้น ของผู้นั้น จะจืดจางไป.

[๘๖๐] เพราะว่า คนควรพูดแต่สิ่งที่จะต้องทำ

ไม่ควรพูดถึงสิ่งที่ไม่ต้องทำ บัณฑิตทั้งหลาย

รู้จักคนไม่ทำดีแต่พูด.

[๘๖๑] ก็แหละกำลังพลของเราร่อยหรอแล้ว และ

สะเบียงก็ไม่มี เราสงสัยในความสิ้นชีวิตของ

ตน เชิญเถิด เราจะไปเดี๋ยวนี้แหละ.

[๘๖๒] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ

สิ่งใดมีอยู่ในชื่อ สิ่งนั้นนั่นแหละเป็นชื่อของ

หม่อมฉัน ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์

จงทรงรอก่อน หม่อมฉันจะขอบอกลาบิดา.

จบ อาสังกชาดกที่ ๕

อรรถกาอาสังกชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

การหลอกลวงของภรรยาเก่า จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อาสาวตี

นาน ลตา ดังนี้. เรื่องนี้จักมีแจ้งชัดในอินทริยชาดกข้างหน้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 53

แต่ในที่นี้ พระศาสดา ตรัสกะภิกษุนั้นว่า ได้ทราบว่า คุณจะ

สึกจริงหรือ ?

ภิ. จริงพระพุทธเจ้าข้า.

พ. อะไรทำให้เธอสึก ?

ภิ. ภรรยาเก่า พระพุทธเจ้าข้า.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ หญิงนี้ทำความพินาศย่อยยับ

ให้เธอ ไม่เฉพาะในชาตินี้เท่านั้น แม้ในชาติก่อน เธอก็อาศัยหญิงนี้

ละทิ้งจตุรงคเสนา เสวยทุกข์ขนาดหนักอยู่ในท้องที่ป่าหิมพานต์ เป็น

เวลา ๓ ปี แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดในสกุลพราหมณ์ ที่บ้านกาสิกะ

เติบใหญ่แล้วได้รับการศึกษาที่เมืองตักกศิลา บวชเป็นฤาษี มีหัวมันและ

ผลไม้ในป่าเป็นอาหาร ให้อภิญญาและสมาบัติ เกิดขึ้นแล้วอยู่ในท้องถิ่น

ป่าหิมพานต์. เวลานั้นสัตวโลกตนหนึ่งถึงพร้อมด้วยบุญ จุติจากดาวดึงส-

พิภพ เกิดเป็นเด็กหญิงที่กลีบบัวกลีบหนึ่งในสระบัว ณ ที่นั้น เมื่อดอก

บัวเหลืองเหี่ยวร่วงโรยลงไป ดอกบัวดอกนั้น ยังกลีบพองท้องป่องอยู่

นั่นแหละไม่โรย. ท่านดาบสได้มายังสระบัวนั้น เพื่ออาบน้ำ เห็นดอก

บัวดอกนั้น คิดว่า เมื่อดอกบัวดอกอื่นๆ ร่วงโรยไปแล้ว แต่ดอกนี้ยัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 54

คงกลีบพองท้องป่องอยู่ จะมีเหตุอะไรหนอ ? แล้วผลัดผ้าอาบน้ำลงไป

เปิดดูดอกบัวดอกนั้น เห็นเด็กหญิงคนนั้นแล้ว เกิดความสำคัญขึ้นว่า

เป็นลูกสาว นำมายังบรรณศาลาเลี้ยงดูไว้. ต่อมานางอายุได้ ๑๖ ขวบ

มีรูปร่างสวยงามเลอโฉมเกินผิวพรรณมนุษย์ แต่ไม่ถึงผิวพรรณเทวดา.

ครั้งนั้น ท้าวสักกะได้เสด็จมาสู่ที่อุปฐากพระโพธิสัตว์. ท้าวเธอทอด-

พระเนตรเห็นนาง จึงตรัสถามว่า หญิงนี้มาจากไหน ? ทรงสดับทำ-

นองที่ได้มาแล้วตรัสถามว่า ควรจะได้อะไรสำหรับหญิงนี้ ? ท่านดาบส

ทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า ควรจะได้เนรมิตรปราสาท

แก้วผลึกเพื่อเป็นที่อยู่ และการจัดแจงที่นอนทิพย์ เครื่องประดับประดา

วัตถาภรณ์ และโภชนะอันเป็นทิพย์ให้. ท้าวสักกะทรงสดับคำนั้นแล้ว

ตรัสว่า ดีแล้วพระคุณเจ้า แล้วได้ทรงเนรมิตรปราสาทแก้วผลึกให้เป็น

ที่อยู่ของนาง เสร็จแล้วทรงเนรมิตรที่นอนทิพย์ เครื่องประดับประดา

วัตถาภรณ์ และข้าวน้ำอันเป็นทิพย์ให้. ปราสาทนั้น เวลานางขึ้น ก็

ลดต่ำลงมาสถิตอยู่ที่พื้นดิน แต่เวลานางลงแล้ว ก็เลื่อนขึ้นไปลอยอยู่

บนอากาศ. นางทำวัตรปฏิบัติพระโพธิสัตว์อยู่ในปราสาท. พรานป่า

คนหนึ่ง เห็นนางเข้าจึงเรียนถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หญิงคนนี้เป็น

อะไรของพระคุณเจ้า. ได้ทราบว่าเป็นธิดา จึงไปยังเมืองพาราณสี ทูล

ในหลวงว่า ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้า

พระพุทธเจ้าได้เห็นธิดาของดาบสรูปหนึ่ง มีรูปร่างอย่างนี้ คือสวยงาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 55

ในท้องที่ป่าหิมพานต์. พระองค์ทรงสดับคำนั้นแล้ว ทรงสนพระทัย

เพราะเกี่ยวข้องกับการได้ทรงสดับข่าวนั่นเอง จึงให้พรานป่าเป็นผู้นำ

ทางเสด็จไปยังที่นั้น ด้วยจตุรงคเสนา ทรงตั้งค่ายไว้แล้ว ทรงพาพราน

ป่าไป มีหมู่อำมาตย์ห้อมล้อม เสด็จเข้าไปยังอาศรมบท ทรงไหว้พระ

มหาสัตว์แล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง ตรัสว่า ข้าแต่พระคุณ-

เจ้าผู้เจริญ ขึ้นชื่อว่าหญิง เป็นมลทินของพรหมจรรย์ โยมจะเลี้ยงดู

ธิดาของพระคุณเจ้า.

ส่วนพระโพธิสัตว์ได้ตั้งชื่อให้กุมาริกานั้นว่า อาสังกากุมารี

เพราะว่าท่านแคลงใจว่า อะไรหนออยู่ในดอกบัวนั้น แล้วจึงลงน้ำไป

เอาขึ้นมา.

ท่านไม่ทูลพระราชานั้นตรง ๆ ว่า มหาบพิตรจงรับเอานางนี้ไป

แต่ทูลว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร พระองค์เมื่อทรงทราบชื่อของ

กุมาริกาคนนี้แล้วจงทรงรับเอาไปเถิด.

พระองค์ทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

เมื่อพระคุณเจ้าบอกโยมก็จักรู้.

พระโพธิสัตว์ ทูลว่า อาตมาภาพจะไม่ทูลบอกมหาบพิตร ขอให้

มหาบพิตรทรงทราบนามด้วยกำลังพระปัญญาของมหาบพิตรเอง แล้ว

ทรงรับเอาไปเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 56

พระราชาทรงรับคำท่านแล้ว จำเดิมแต่นั้นมา จึงทรงใคร่ครวญ

ดูชื่อของนางพร้อมด้วยอำมาตย์ทั้งหลายว่า หญิงนี้ชื่ออะไรหนอ ?

พระองค์ทรงกำหนดชื่อไว้หลายชื่อที่รู้กันยาก แล้วตรัสบอกกับ

พระโพธิสัตว์ว่า จักเป็นชื่อโน้น จักเป็นชื่อโน้น. พระโพธิสัตว์ทรง

สดับคำนั้นแล้ว ก็ปฏิเสธว่า ไม่ใช่ชื่ออย่างนี้. ลำดับนั้น เมื่อ

พระราชาทรงใคร่ครวญดูชื่ออยู่นั่นแหละ กาลเวลาได้ล่วงไป ๑ ปีแล้ว.

ครั้งนั้น สัตว์ร้ายทั้งหลายมีสิงห์โตเป็นต้น ตระครุบช้าง ม้า และ

มนุษย์ทั้งหลายกิน. อันตรายจากสัตว์เลื้อยคลานก็มี. อันตรายจาก

เหลือบก็มี. คนทั้งหลายลำบากเพราะตายกันไปมาก. จึงพระราชาทรง

กริ้วแล้วคิดว่า เราจักมีความต้องการทำไม ด้วยหญิงนี้. ตรัสบอกพระ-

โพธิสัตว์แล้วก็เสด็จไป. วันนั้นอาสังกากุมาริกา เปิดหน้าต่างแก้วผลึก

แล้วได้ยืนแสดงตัวให้เห็น. พระราชาทอดพระเนตรเห็นนางแล้วตรัสว่า

เราไม่อาจจะรู้จักชื่อของเธอได้ เธอจงอยู่ที่ป่าหิมพานต์ไปเถิดนะ พวก

ฉันจักไปละ. นางจึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์จะเสด็จไปที่ไหนจึงจะ

ได้ผู้หญิงเช่นหม่อมฉัน ขอพระองค์ทรงสดับคำของหม่อมฉัน เถาวัลย์

ชื่ออาสาวดี มีอยู่ที่จิตรลดาวัน ในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ น้ำทิพย์เกิดขึ้น

ภายในผลของมัน เทพยดาทั้งหลายดื่มน้ำนั้นครั้งเดียว นอนเมาอยู่บน

ที่นอนทิพย์ถึง ๔ เดือน แต่เถาอาสาวดีนั้น หนึ่งพันปี จึงจะออกผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 57

พวกเทพบุตรที่เป็นนักเลงสุรา คิดว่า พวกเราจักได้ผลจากเถาอาสาวดีนี้

จึงยับยั้งความกระหายในการดื่มน้ำทิพย์ไว้ พากันไปดูเถานั้นเนือง ๆ ว่า

ยังปลอดภัยอยู่หรือ ? ตลอดพันปี. ส่วนพระองค์ปีเดียวเท่านั้นเอง ก็ท้อ

พระราชหฤทัยเสียแล้ว ธรรมดาความหวังที่มีผล คือความสมหวัง

เป็นเหตุให้เกิดความสุข ขอพระองค์อย่าทรงท้อพระราชหฤทัยเลย ดังนี้

แล้วกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-

เถาวัลย์ชื่ออาสาวดี เกิดในสวนจิตรลดา-

วัน พันปีมันจึงจะออกผล ๆ หนึ่ง เมื่อมีผล

ระยะไกลถึงเพียงนั้น ทวยเทพยังพากันไป

เยือนมันอยู่บ่อย ๆ ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์

จงทรงจำนงหวังไว้เถิด เพราะความหวังที่มีผล

เป็นเหตุให้เกิดความสุข. นกนั้นหวังอยู่นั่นเอง

ความหวังของมัน มีอยู่ไกลถึงเพียงนั้น ก็ยัง

สำเร็จได้. ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์จงทรง

จำนงหวังไว้เถิด เพราะความหวังที่มีผล เป็น

เหตุให้เกิดความสุข.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสาวตี ได้แก่ เถาวัลย์ที่มีชื่อ

อย่างนี้ อธิบายว่า เถาวัลย์นั้นได้ชื่อนี้ เพราะเทวดาเกิดความหวังใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 58

ผลของมัน. บทว่า จิตฺตลตาวเน ความว่า ในสวนที่มีชื่ออย่างนี้. ได้

ทราบว่า ในสวนนั้น รัศมีของต้นไม้และเถาวัลย์ ทำสีของร่างกายเทวดา

ทั้งหลายผู้เข้าไปใน วันนั้นให้วิจิตรงดงาม ด้วยเหตุนั้น สวนนั้นจึงเกิด

มีชื่อว่า จิตรลดาวัน. บทว่า ปยิรุปาสนฺติ ความว่า ไปเยือนบ่อย ๆ.

บทว่า อาสึเสว ความว่า จงทรงจำนงหวังเถิด คือทรงปรารถนาทีเดียว

ได้แก่ จงอย่าทำกรรมคือการตัดความหวังทิ้ง.

พระราชาทรงสนพระทัยในถ้อยคำของนาง จึงทรงประชุมอำ-

มาตย์ทั้งหลาย ทรงแสวงหาชื่อของนางโดยทรงตั้งชื่อ ๑๐ ชื่อ ได้ประ-

ทับอยู่อีกหนึ่งปี. ในชื่อทั้ง ๑๐ นั้นไม่มีชื่อของนาง เมื่อพระราชดำรัส

ว่า ชื่อนี้ พระโพธิสัตว์ปฏิเสธเหมือนกัน. พระราชาจึงทรงม้าเสด็จ

ออกไปอีก ด้วยทรงดำริว่า เราจักมีความต้องการทำไมด้วยหญิงคนนี้.

ส่วนนางก็ยืนที่หน้าต่างแสดงตัวให้เห็นอีก. พระราชาทรงเห็นนางแล้ว

ได้ตรัสว่า พวกเราไม่สามารถรู้จักชื่อเธอ เธอจงอยู่ที่ป่าหิมพานต์ไปเถิด

พวกฉันจักกลับละ

อา. ข้าแต่มหาราช เหตุไหนพระองค์จึงจะเสด็จไปเสีย ?

รา. ฉันไม่สามารถจะรู้จักชื่อของเธอ.

นางทูลว่า ข้าแต่มหาราช เหตุไฉน ? พระองค์จักไม่ทรงรู้จัก

ชื่อ ธรรมดาความหวังที่จะไม่ให้สำเร็จตามประสงค์ไม่มี ขอพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 59

จงทรงสดับคำของหม่อมฉันก่อน ได้ทราบว่านกยางตัวหนึ่งเกาะอยู่บน

ยอดเขา แต่ก็ได้รับสิ่งที่ตนปรารถนา เหตุไฉนพระองค์จักไม่ได้รับ

ข้าแต่พระมหาราช ขอพระองค์จงทรงยับยั้งอยู่เถิดพระเจ้าข้า. เล่าต่อ

กันมาว่า นกยางตัวหนึ่งบินไปคาบเอาเหยื่อที่สระบัวแห่งหนึ่ง แล้ว

กลับมาซ่อนอยู่บนยอดเขา มันอยู่ที่นั้นนั่นแหละ ตลอดวันนั้น รุ่งขึ้น

จึงคิดว่า เราได้เกาะอยู่อย่างสบายบนยอดเขาลูกนี้ ถ้าหากเราจะไม่

เคลื่อนย้ายไปจากที่ตรงนี้ เจ้าอยู่ที่ตรงนี้เท่านั้น คาบเอาเหยื่อดื่มน้ำแล้ว

อยู่ตลอดวันนี้ คงจะเจริญหนอ. จึงในวันนั้นนั่นเอง ท้าวสักกเทวราช

ทรงทำการย่ำยีพวกอสูร ได้ความเป็นใหญ่ในเทวโลก ในดาวดึงส์พิภพ

แล้วทรงดำริว่า ก่อนอื่นมโนรถ คือความต้องการของเราได้ถึงที่สุดแล้ว

มีอยู่หรือไม่ ใครอื่นที่มีมโนรถยังไม่ถึงที่สุด. ท้าวเธอทรงใคร่ครวญอยู่

ก็ทรงเห็นนกยางตัวนั้น จึงทรงดำริว่า เราจักให้มโนรถของมันถึงที่สุด.

แล้วได้ทรงบันดาลให้แม่น้ำสายหนึ่ง ที่อยู่ไม่ไกลจากที่ที่นกยางนั้นเกาะ

อยู่ เต็มไปด้วยห้วงน้ำแล้วส่งน้ำไปทางยอดเขา. นกยางเกาะอยู่ยอดเขา

นั้นนั่นแหละ จิกกินปลาดื่มน้ำแล้วอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเอง ตลอดวันนั้น

ภายหลังแม่น้ำก็เหือดหายไป. ข้าแต่มหาราช นกยางยังได้รับผล เพราะ

ความหวังของตนอย่างนี้ก่อน เหตุไร ? พระองค์จักไม่ทรงได้รับดังนี้

แล้วได้กล่าวคาถาว่า อาสึสเถว ดังนี้เป็นต้น

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสึสเถว ความว่า จงหวังเถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 60

คือจงปรารถนาเถิด. บทว่า ปกฺขี ความว่า นกชื่อว่า ปักขี เพราะ

ประกอบด้วยปีก. ชื่อว่า ทิช เพราะเกิด ๒ ครั้ง. บทว่า ตาว

ทูรคตา สติ ความว่า ขอพระองค์จงทรงดูเถิด ความที่ปลาและน้ำมี

อยู่ใกล้จากยอดเขา แต่ความหวังของนกยางนั้น มีไปในระยะไกล

อย่างนี้ ก็ยังเต็มได้เหมือนกัน ด้วยอานุภาพของท้าวสักกะ.

ครั้งนั้น พระราชาได้ทรงสดับคำของนางแล้ว ทรงติดพระทัย

ในรูป ทรงข้องพระทัยอยู่ในถ้อยคำของนาง ไม่อาจจะเสด็จไปได้ ทรง

ประชุมอำมาตย์ทั้งหลาย ตั้งชื่อ ๑๐๐ ชื่อ. เมื่อพระองค์ทรงแสวงหาชื่อ

๑๐๐ ชื่ออยู่ ก็ล่วงไปอีกปีหนึ่ง. ท้าวเธอเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ โดย

เวลาล่วงเลยไป ๓ ปี ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางจักมี

ชื่อโน้น จักมีชื่อนี้. ตามอำนาจของชื่อ ๑๐๐ ชื่อ. พระโพธิสัตว์ทูลว่า

ขอถวายพระพรมหาบพิตร พระองค์ไม่ทรงรู้จักชื่อของนาง. ท้าวเธอ

ตรัสว่า บัดนี้พวกกระผมจักลาไปละ. ทรงไหว้พระโพธิสัตว์แล้วเสด็จ

ออกไป. อาสังกากุมาริกา ก็ได้ยืนพิงประตูหน้าต่างแก้วผลึก อีกนั่น

แหละ. พระราชาทอดพระเนตรเห็นนางแล้ว ตรัสว่า เธอจงอยู่ไปเถิด

พวกเราจักไปละ. นางทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช เหตุไร? พระองค์จึง

จักเสด็จไปเสียล่ะ. พระราชาตรัสว่า เธอให้เราอิ่มเอิบด้วยคำพูดอย่าง

เดียว แต่ไม่ให้อิ่มเอิบด้วยความยินดีในกาม. ๓ ปีได้ผ่านไปแล้ว สำหรับ

เราผู้ติดใจถ้อยคำที่อ่อนหวานของเจ้า บัดนี้ฉันจักไปละ แล้วได้ตรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 61

พระคาถาเหล่านี้ว่า :-

เธอให้ฉันเอิบอิ่มด้วยวาจา แต่หาให้เอิบ-

อิ่มด้วยสิ่งที่ควรทำไม่ เหมือนดอกหงอนไก่

มีสีสวยแต่ไม่มีกลิ่น ผู้ใดไม่ให้ปันไม่เสียสละ

โภคะ พูดแค่คำอ่อนหวานที่ไร้ผล ในมิตร

ทั้งหลาย ความสัมพันธ์กับมิตรนั้น ของผู้นั้น

จะจืดจางไป. เพราะว่าคนควรพูดแต่สิ่งที่จะ

ต้องทำ ไม่ควรพูดถึงสิ่งที่ไม่ต้องทำ บัณฑิต

ทั้งหลายรู้จักคนไม่ทำ ดีแต่พูด. ก็แหละกำลัง

พลของเราร่อยหลอแล้ว และสะเบียงก็ไม่มี

เราสงสัยในความสิ้นชีวิตของตน เชิญเถิด

เราจะไปเดี๋ยวนี้แหละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺเปสิ ได้แก่ ให้อิ่มเอิบ คือให้

เอิบอิ่ม. คำว่า มาลา โสเรยฺยกสฺเสว นี้เป็นเพียงหัวข้อเทศนา ของ

หญ้าหางช้างในกระถาง แต่พระราชาตรัสหมายถึงดอกไม้ แม้อื่น ๆ ทุก

อย่างนั่นแหละ ที่มีสีสวย แต่ไม่มีกลิ่นเช่นดอกคำ ดอกว่านหางช้าง

และดอกชะบาเป็นต้น. ด้วยคำว่า วณฺณวนฺตา อคนฺธิกา พระราชา

ทรงแสดงว่าดอกของต้นโสเรยยกะเป็นต้น ให้คนอิ่มเอิบด้วยการดู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 62

เพราะมีสีสวย แต่ไม่ให้อิ่มเอิบด้วยกลิ่น เพราะไม่มีกลิ่นฉันใด เธอก็

ฉันนั้น ให้เราอิ่มเอิบด้วยการทัศนา และถ้อยคำที่น่ารัก แต่ไม่ให้อิ่ม-

เอิบด้วยสิ่งที่ควรทำ. บทว่า อทท ความว่า น้องนางเอ๋ย ผู้ใดพูด

ด้วยคำหวานว่า ผมจักให้โภคทรัพย์ชื่อนี้แก่คน. แต่ไม่ให้ไม่สละโภคะ

นั้น ชื่อว่า สร้างคำหวานอย่างเดียวเท่านั้น มิตรสัมพันธ์ของเขากับผู้

นั้นจะเสื่อมทรุด คือต่อไม่ติดด้วยมิตรสันถวะ. บทว่า ปาเกยฺยญฺจ

ความว่า น้องนางเอ๋ย เมื่อฉันติดใจคำหวานของเธออยู่ที่นี่เท่านั้น เป็น

เวลา ๓ ปี ทั้งกำลังพล กล่าวคือช้างม้ารถ และพลเดินเท้า ทั้งสะเบียง

กล่าวคืออาหารและเบี้ยเลี้ยงคนเล่าก็ไม่มี. บทว่า สงฺเก มานุปโรธาย

ความว่า เรานั้นสงสัยถึงความพินาศแห่งชีวิตของตนในที่นี้นั่นเอง เชิญ

เถิด ฉันจักไปเดี๋ยวนี้ ดังนี้.

อาสังกากุมาริกา ได้ฟังพระราชดำรัสแล้ว เมื่อจะทูลปราศรัย

กับพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงทรงทราบชื่อของหม่อม-

ฉันเถิด ชื่อของหม่อมฉัน พระองค์ตรัสอยู่แล้วนั่นแหละ ขอพระองค์

จงทรงบอกชื่อนี้แก่บิดาของหม่อมฉัน แล้วรับเอาหม่อมฉันไปเถิด ดังนี้

แล้ว ได้ทูลว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ

สิ่งใดมีอยู่ในชื่อ สิ่งนั้นแหละเป็นชื่อของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 63

หม่อมฉัน. ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จง

ทรงรอก่อน หม่อมฉันจะขอบอกลาบิดา.

คาถานั้น มีเนื้อความว่า พระราชาตรัสคำใดกะหม่อมฉัน คำว่า

อาสงกานั้นนั่นแหละ เป็นชื่อของหม่อมฉัน.

พระราชา ครั้นทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงได้เสด็จไปยังสำนัก

ของท่านดาบสทรงไหว้แล้ว ตรัสว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ธิดาของ

พระคุณเจ้า ชื่อว่า อาสงกา. พระมหาสัตว์ ครั้นได้ฟังคำนั้นแล้ว

จึงทูลว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร เริ่มแต่เวลาที่มหาบพิตร ทรงรู้

จักชื่อแล้ว ขอมหาบพิตรจงทรงรับนางไปเถิด. พระองค์ทรงสดับคำ

นั้นแล้ว ทรงไหว้พระมหาสัตว์เสด็จมายังวิมานแก้วผลึก ตรัสว่า น้อง

นางเอ๋ย วันนี้บิดาได้ให้น้องแก่พี่แล้ว มาเถิด เราจักไปกันเดี๋ยวนี้.

นางได้ฟังดังนี้แล้ว จึงทูลว่า ข้าแต่มหาราชจงทรงรอก่อน หม่อมฉัน

ขอบอกบิดาก่อน แล้วลงจากปราสาทไหว้พระมหาสัตว์ ร่ำไห้ขอขมา-

โทษแล้วได้ไปยังราชสำนัก. พระราชาทรงพานางเสด็จไปนครพาราณสี

ประทับอยู่ครองกันด้วยความรัก ทรงจำเริญด้วยพระราชโอรสและพระ-

ราชธิดา. พระโพธิสัตว์ไม่เสื่อมจากฌาน คือมรณภพแล้วเกิดใน

พรหมโลก.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจจะแล้วทรงประชุมชาดกไว้. ในเวลาจบสัจธรรม ภิกษุผู้กระสันจะสึก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 64

ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. นางอาสังกากุมาริกาในครั้งนั้น ได้แก่

ภรรยาเก่าในปัจจุบันนี้ พระราชา ได้แก่ภิกษุผู้กระสันจะสึก ส่วน

ดาบส ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอาสังกชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 65

๖. มิคาโลปชาดก

ว่าด้วยโทษของคนหัวดื้อ

[๘๖๓] ดูก่อนพ่อมิคาโลปะ. พ่อไม่มีความพอใจ

ที่เจ้าบินไปอย่างนั้น ลูกเอ๋ยเจ้าบินสูงมาก เจ้า

คบหาที่ไม่ใช่ถิ่นลูกเอ๋ย.

[๘๖๔] แผ่นดินปรากฏแก่เจ้า เป็นเสมือนนา

แปลง ๔ เหลี่ยมเมื่อใด เมื่อนั้นเจ้าจงกลับลง

มา อย่าบินเลยนี้ขึ้นไป.

[๘๖๕] นกแม้เหล่าอื่นที่มีปีกเป็นยานพาหนะ

บินไปในอากาศมีอยู่ พวกมันถูกกำลังแรงของ

ลมพัดไป สำคัญตนว่า เป็นเสมือนสิ่งที่ยั่งยืน

ทั้งหลาย ได้พินาศไปแล้วมากต่อมาก.

[๘๖๖] แร้งมิคาโลปะ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของแร้ง

แต่ชื่ออปรัณผู้เป็นพ่อ บินเลยลมกาลวาตไป

ตกอยู่ในอำนาจของลมเวรัมภวาต.

[๘๖๗] เมื่อแร้งมิคาโลปะ. ไม่ปฏิบัติตามโอวาท

ทั้งลูกทั้งเมียของมันและแร้งอัน ๆ ที่เป็นลูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 66

น้องทั้งหมด ถึงความพินาศแล้ว.

[๘๖๘] ผู้ไม่สำนึกถึงคำสอนของผู้เฒ่าทั้งหลาย

ฉันนั้นเหมือนกัน ประพฤติเลยขอบเขตก็

เดือดร้อน ทุกคนไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระ

พุทธเจ้า จะถึงความพินาศเหมือนแร้ง

ที่ฝ่าฝืนคำสอนของพ่อ ฉะนั้น.

จบ มิคาโลปชาดกที่ ๖

อรรถกถามิคาโลปชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า น เม รุจิ ดังนี้.

ครั้งนั้น พระศาสดาได้ตรัสเรียกภิกษุนั้นมา แล้วตรัสถามว่า

จริงหรือภิกษุ ได้ทราบว่าเธอเป็นผู้ว่ายาก ? เมื่อเธอทูลว่า จริงพระ-

เจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ไม่ใช่บัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนเธอก็เป็น

คนว่ายากเหมือนกัน. ก็เพราะอาศัยความเป็นผู้ว่ายาก เธอไม่เชื่อฟังคำ

ของบัณฑิตทั้งหลายจึงถึงความย่อยยับ ในช่องทางของลมเวรัมภะ. คือ

ลมงวง. แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในกำเนิดแร้ง ได้มีชื่อว่าแร้งอปรัณ มันมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 67

หมู่แร้งห้อมล้อมอาศัยอยู่บนเขาคิชฌกูฏ. ส่วนลูกของมันชื่อมิคาโลปะ มี

กำลังสมบูรณ์. มันบินสูงมาก เลยแดนของแร้งตัวอื่น ๆ ไปแร้งทั้งหลาย

บอกแก่พระยาแร้งว่า ลูกของท่านบินไปไกลเหลือเกิน. แร้งอปรัณได้

ฟังดังนั้นแล้ว จึงเรียกลูกมาถามว่า ลูกเอ๋ย ได้ยินว่าเจ้าบินสูงมาก

ผู้บินสูงมากจักถึงความสิ้นชีวิต แล้วได้กล่าวคาถา ๓ คาถาไว้ว่า :-

ดูก่อนพ่อมิคาโลปะ พ่อไม่มีความพอใจ

ที่เจ้าบินไปอย่างนั้น ลูกเอ๋ยเจ้าบินสูงมาก เจ้า

คบหาที่ไม่ใช่ถิ่นลูกเอ๋ย. แผ่นดินปรากฏแก่

เจ้า เป็นเสมือนนาแปลง ๔ เหลี่ยม เมื่อใด

เมื่อนั้นเจ้าจงกลับลงมา อย่าบินเลยนี้ขึ้นไป.

นกแม้เหล่าอันที่มีปีกเป็นยานพาหนะ บินไป

ในอากาศมีอยู่ พวกมันถูกกำลังแรงของลมพัด

ไปสำคัญตนว่า เป็นเสมือนสิ่งที่ยั่งยืนทั้งหลาย

ได้พินาศไปแล้วมากต่อมาก.

พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น แร้งพ่อเรียกลูกโดยชื่อว่ามิค-

โลปะ. บทว่า อตุจฺจ ตาต คจฺฉสิ ความว่า ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าบิน

สูงจนเลยแดนของแร้งเหล่าอื่น. แร้งพ่อบอกแดนแก่ลูก ด้วยคำนี้ว่า

จตุกฺกณฺณว เกทาร คือ เหมือนนาแปลง ๔ เหลี่ยม. มีอธิบายไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 68

ลูกเอ๋ย เมื่อผืนแผ่นดินใหญ่นี้เป็นเสมือนนาแปลง ๔ เหลี่ยมสำหรับเจ้า

คือปรากฏเป็นเหมือนขนาดเล็กอย่างนั้น เมื่อนั้นเจ้าควรกลับ จากที่

ประมาณเท่านี้ อย่าไปเลยนี้. บทว่า สนฺติ อญฺเปิ เป็นต้น ความว่า

แร้งพ่อแสดงว่า ไม่ใช่เจ้าตัวเดียวเท่านั้นไม่ไป แม้แร้งตัวอื่น ๆ ก็ทำ

อย่างนี้มาแล้ว. บทว่า อุกฺขิตฺตา ความว่า แม้พวกเขาบินเลยแดนของ

พวกเราไป ถูกแรงลมตีสาบสูญไปแล้ว. บทว่า สสฺสตีสมา มีอธิบายว่า

พวกมันสำคัญตนว่า เป็นผู้เสมอด้วยแผ่นดินและภูเขาทั้งหลายที่ยั่งยืน

แม้อายุของตนมีประมาณพันปี ยังไม่เต็มบริบูรณ์ ก็พินาศไปแล้ว ใน

ระหว่าง.

ฝ่ายมิคาโลปะไม่ทำตามโอวาท ไม่เชื่อฟังคำพ่อบินทะยานขึ้นเห็น

เขตแดนตามที่พ่อบอกไว้แล้ว แต่ก็บินเลยเขตแดนนั้นไปให้ลมกาลวาต

สิ้นไปทะลุลมแม้เหล่านั้น แล่นเข้าสู่ปากทางลมเวรัมภวาต. จึงถูก

เวรัมภวาตตีมัน. มันเพียงแต่ถูกลมเหล่านั้น ก็แหลกเป็นชิ้นเล็กชิ้น

น้อย อันตรธานไปในอากาศนั่นเอง. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า:-

แร้งมิคาโลปะ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ

แร้งแก่ชื่ออปรัณผู้เป็นพ่อ บินเลยลมกาลวาต

ไป ตกอยู่ในอำนาจของลมเวรัมภวาต. เมื่อ

แร้งมิคาโลปะไม่ปฏิบัติตามโอวาท ทั้งลูกทั้งเมีย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 69

ของมันและแร้งอื่น ๆ ที่เป็นลูกน้องทั้งหมดถึง

ความพินาศแล้ว. ผู้ไม่สำนึกถึงคำสอนของผู้

เฒ่าทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ประพฤติเลย

ขอบเขต ก็เดือดร้อน ทุกคนไม่ปฏิบัติตามคำ

สอนของพระพุทธเจ้า จะถึงความพินาศ

เหมือนแร้งที่ฝ่าฝืนคำสอนของพ่อฉะนั้น.

๓ คาถานี้ เป็นพระคาถาของท่านผู้รู้ยิ่งแล้ว

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุชีวิโน ได้แก่แร้งทั้งหลายที่

อาศัยแร้งมิคาโลปะนั้นเกิดภายหลัง. บทว่า อโนวาทเร ทิเช ความว่า

เมื่อแร้งมิคาโลปะแม้นั้น ไม่ทำตามโอวาท แร้งเหล่านั้นบินไปกับแร้ง

มิคาโลปะนั้นเลยเขตแดนไป พากันถึงความพินาศทั้งหมด. บทว่า

เอวมฺปิ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แร้งนั้นถึงความพินาศแล้วฉันใด

แม้ผู้ใดใครอื่น จะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ไม่เชื่อถือพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ทรงอนุ-

เคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล แม้ผู้นั้นก็จะถึงความพินาศเหมือนแร้ง

ตัวนี้ ที่เที่ยวไปเลยเขตแดน เป็นผู้เดือดร้อน คือลำบากแล้วฉะนั้น.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาประกาศสัจธรรม

แล้ว ทรงประมวลชาดกไว้ว่า แร้งมิคาโลปะ ได้แก่ภิกษุผู้ว่ายาก ส่วน

แร้งอปรัณ ได้แก่เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถามิคาโลปชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 70

๗. สิริกาลกรรณิชาดก

ว่าด้วย สิริ กับ กาลกรรณี

[๘๖๙] ใครมีผิวดำ และเขาก็ไม่น่ารักและไม่น่า

ทัศนา เราจะรู้จักเจ้าได้อย่างไร ? ว่าเจ้าเป็น

ใคร ? เป็นธิดาของใคร ?

[๘๗๐] ดิฉันเป็นธิดาของท้าววิรูปักษ์มหาราช

เป็นผู้โหดเหี้ยม ดิฉันคือนางกาลีผู้ไร้ปัญญา

เทพทั้งหลายรู้จักดิฉันว่า ชื่อกาลกรรณี ท่าน

ผู้ที่ดิฉันขอโอกาสแล้ว ดิฉันจะขอพักอยู่ใน

สำนักของท่าน.

[๘๗๑] เจ้าปลงใจในชายผู้มีปกติอย่างไร มีความ

ประพฤติเสมออย่างไร ? ดูก่อนแม่กาลี เจ้า

ถูกฉันถามแล้ว จงบอกฉัน ฉันจะพึงรู้จักเจ้า

ได้อย่างไร ?

[๘๗๒] ชายใดลบหลู่คุณท่าน ตีตนเสมอ แข่งดี

ริษยาเขา ตระหนี่และโอ้อวด ชายใดได้ทรัพย์

มาแล้วย่อมพินาศไป ชายนั้นเป็นที่รักของ

ดิฉัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 71

[๘๗๓] คนมักโกรธ มักผูกโกรธ พูดส่อเสียด

ทำลายความสามัคคี มีวาจาเป็นเสี้ยนหนาม

หยาบคาย เขาเป็นที่รักใคร่ของดิฉันมากกว่า

นั้นอีก.

[๘๗๔] ชายผู้นั้น ไม่เข้าใจประโยชน์ของตนว่า

ควรทำวันนั้น พรุ่งนี้ ถูกตักเตือนอยู่ก็โกรธ

ดูหมิ่นความดีของผู้อื่น.

[๘๗๕] ชายผู้ที่ถูกความคนองรบเร้า พรากจาก

มิตรทั้งหมดเป็นที่รักของดิฉัน ดิฉันไม่มี

ความทุกข์ร้อนในเขา.

[๘๗๖] นางกาลีเอ๋ย เจ้าจงออกไปจากที่นี้ การ

ทำความรักของเจ้านี้หามีในเราไม่ เจ้าจงไป

ชนบทอื่น นิคม และราชธานีอื่นเถิด.

[๘๗๗] เรื่องนั้นฉันเองก็รู้ว่า เรื่องนั้นหามีใน

พวกท่านไม่ คนไม่มีบุญมีอยู่ในโลก เขา

รวบรวมทรัพย์ไว้มาก เราทั้ง ๒ คือทั้งฉัน

ทั้งเทพผู้เป็นพี่ชายของฉัน พากันผลาญทรัพย์

นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 72

[๘๗๘] ใครหนอมีผิวพรรณเป็นทิพย์ ยืนเรียบ

ร้อยอยู่ที่พื้นดิน ฉันจะรู้จักเจ้าได้อย่างไร

ว่าเจ้าเป็นใคร ? เป็นธิดาของใคร ?

[๘๗๙] ดิฉันเป็นธิดาของท้าวธตรฐมหาราชผู้มีสิริ

ดิฉันชื่อสิริลักษมิ์ เทพทั้งหลายรู้จักดิฉันว่า

เป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ท่านเป็นผู้ที่ดิฉัน

ขอโอกาสแล้ว ขอจงให้ดิฉันพักอยู่ในสำนัก

ของท่าน.

[๘๘๐] เจ้าปลงใจในชายที่มีปกติอย่างไร มีความ

ประพฤติเสมออย่างไร ? เจ้าเป็นผู้ที่เราถาม

แล้ว จงบอกเรา โดยที่เราควรรู้จักเจ้า.

[๘๘๑] ชายใดครอบงำความหนาว หรือความ

ร้อน ลม แดด เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลาน

ทั้งความหิวและความระหายได้, ชายใดประ-

กอบการงานทุกอย่างเนือง ๆ ตลอดทั้งวันทั้ง

คืน ไม่ยังประโยชน์ที่มาถึงตามกาล ให้เสื่อม

ไปด้วย ชายนั้นเป็นที่ชอบใจของดิฉัน และ

ดิฉันก็ปลงใจเขาจริง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 73

[๘๘๒] ชายใด ไม่โกรธ มีมิตร มีการเสียสละ

รักษาศีล ไม่โอ้อวด เป็นคนซื่อตรง เป็นผู้

สงเคราะห์ผู้อื่น มีวาจาอ่อนหวาน มีคำพูด

ไพเราะ แม้จะเป็นใหญ่ ก็มีความประพฤติ

ถ่อมตน. ดิฉันพอใจในบุรุษนั้นเป็นอย่างมาก

ดุจคลื่นทะเลปรากฏแก่คนที่มองดูสีน้ำทะเล

เหมือนมีมาก ฉะนั้น.

[๘๘๓] อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดให้สังคหธรรมเป็นไป

อยู่ ในบุคคลทั้งที่เป็นมิตร ทั้งที่เป็นศัตรู

ทั้งเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ทั้งที่ต่ำทราม ประพฤติ

ประโยชน์หรือสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ทั้งใน

ที่ลับทั้งในที่แจ้ง ไม่กล่าวคำหยาบในกาล

ไหน ๆ ผู้ตายแล้วและยังมีชีวิตอยู่ดิฉันก็คบ.

[๘๘๔] ผู้ใดได้อย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาความดี

เหล่านี้แล้ว เป็นผู้มีปัญญาน้อย มัวเมาสิริ

อันเป็นที่น่าใคร่ ดิฉันต้องเว้นผู้นั้น ผู้มีรูป

ลักษณะร้อน ประพฤติไม่สม่ำเสมอเหมือนคน

เว้นหลุมคูถ ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 74

[๘๘๕] คนสร้างโชคด้วยตนเอง สร้างเคราะห์

ด้วยตนเอง ผู้อื่นจะสร้างโชคหรือเคราะห์ให้

ผู้อื่นไม่ได้เลย.

จบ สิริกาลกรรณิชาดกที่ ๗

อรรถกถาสิริกาลกรรณิชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

อนาปิณฑิกเศรษฐี จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า กา นุ กาเลน

วณฺเณน ดังนี้

ความย่อว่า ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีนั้น จำเดิมแต่เวลาได้

ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้วรักษาศีล ๕ ไม่มีขาด. ทั้งภรรยา ทั้งบุตร

ธิดา ทั้งทาส ทั้งกรรมกรผู้ทำงานรับจ้างของท่าน ก็พากันรักษาศีล

เหมือนกันหมดทุกคน. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายตั้งเป็นเรื่องขึ้นใน

ธรรมสภาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อนาถปิณฑิกเศรษฐีทั้งตนเองก็สะอาด

ทั้งบริวารก็สะอาดประพฤติธรรมอยู่. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร-

หนอ ? เมื่อภิกษุกราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่เพียงเดี๋ยวนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนโบราณก-

บัณฑิตทั้งหลาย ก็ได้เป็นผู้สะอาดเอง ทั้งเป็นผู้มีบริวารสะอาดด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 75

ดังนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นพากันทูลขอ จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไป :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นเศรษฐี ได้ถวายทาน รักษาศีล รักษา

อุโบสถ ฝ่ายภริยาของท่านก็รักษาศีล ๕ ถึงบุตรและธิดา แม้ทาส

กรรมกรและชายชาติทั้งหลาย ก็พากันรักษา. ท่านจึงปรากฏว่าเป็น

เศรษฐีผู้มีบริวารสะอาดทีเดียว. อยู่มาวันหนึ่ง ท่านคิดว่า ถ้าหากใคร

เป็นผู้มีบริวารสะอาดเป็นปกติจักมาหาไซร้ เราไม่ควรให้แท่นสำหรับนั่ง

หรือที่นอนสำหรับนอนของเราแก่เขา. เราควรให้ที่นั่งที่นอนที่เปรอะ

เปื้อนที่ยังไม่ได้ใช้แก่เขา. เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านจึงให้เขาปูที่นั่งและที่

นอนที่ยังไม่ได้ใช้ไว้ข้างหนึ่ง ในที่สำหรับเฝ้าปรนนิบัติตน. สมัยนั้น

ธิดา ๒ ตนเหล่านี้ คือ ธิดาของท้าววิรูปักข์มหาราช ชื่อกาลกรรณี ๑

ธิดาของท้าวธตรฐมหาราช ชื่อสิริ ๑ ในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา

ถือของหอมและดอกไม้จำนวนมาก พากันมายังท่าน้ำสระอโนดาดด้วย

หมายใจว่า พวกเราจักเล่นน้ำในสระอโนดาด.

ก็ในสระอโนดาดนั้น มีท่าน้ำหลายท่าด้วยกัน ในจำนวนท่าน้ำ

เหล่านั้น ที่ท่าสำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าเท่านั้นทรง

สรงสนาน ที่ท่าสำหรับปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เฉพาะปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้งหลายทรงสรงสนาน ที่ท่าสำหรับภิกษุทั้งหลาย ก็เฉพาะภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 76

ทั้งหลายพากันสรงน้ำ ที่ท่าสำหรับดาบสทั้งหลาย ก็เฉพาะดาบสทั้งหลาย

อาบกัน ที่ท่าสำหรับเทพบุตรทั้งหลายในสวรรค์ ๖ ชั้น มีชั้นจาตุม

มหาราชิกาเป็นต้น เทพบุตรทั้งหลายเท่านั้นสรงสนานกัน ที่ท่าสำหรับ

เทพธิดาทั้งหลาย ก็เฉพาะเทพธิดาทั้งหลายสรงสนานกัน.

ในจำนวนเทพธิดาเหล่านั้น เทพธิดาทั้ง ๒ ตนนี้ทะเลาะกัน

ด้วยต้องการท่าน้ำว่า ฉันจักอาบก่อน ฉันก่อนดังนี้. กาลกรรณีเทพธิดา

พูดว่า ฉันรักษาโลก เที่ยวตรวจดูโลก เพราะฉะนั้น ฉันควรจะได้

อาบก่อน. ฝ่ายสิริเทพธิดาพูดว่า ฉันดำรงอยู่ในข้อปฏิบัติชอบ ที่จะ

อำนวยอิสริยยศแก่มหาราช เพราะฉะนั้น ฉันควรจะได้อาบก่อน.

พวกเขาเข้าใจว่า ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จักรู้ว่า ในจำนวนเราทั้ง ๒ นี้

ใครสมควรจะอาบได้ก่อนหรือไม่สมควร. จึงพากันไปยังสำนักของ

ท้าวมหาราชเหล่านั้น แล้วทูลถามว่า บรรดาหม่อมฉันทั้ง ๒ ใคร

สมควรจะอาบน้ำในสระอโนดาดก่อนกัน. ท้าวธตรัฐและท้าววิรูปักข์

บอกว่า พวกเราไม่อาจจะวินิจฉัยได้ จึงได้ยกให้เป็นภาระของท้าว

วิรุฬหกและท้าวเวสสุวรรณ. ท่านทั้ง ๒ นั้น บอกว่า ถึงพวกเราก็ไม่

อาจวินิจฉัยได้ จักส่งไปแทบบาทมูลของท้าวสักกะ แล้วได้ส่งเธอทั้ง ๒

ไปยังสำนักของท้าวสักกะ. ท้าวสักกะทรงสะดับคำของเธอทั้ง ๒ แล้ว

ทรงดำริว่า เธอทั้ง ๒ นี้ก็เป็นธิดาของบริษัทของเราเหมือนกัน เรา

ไม่อาจวินิจฉัยคดีนี้ได้. ครั้งนั้น ท้าวสักกะได้ตรัสว่า ในนครพาราณสี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 77

มีเศรษฐีชื่อว่าสุจิปริวาระ ในบ้านของเขาปูอาสนะที่ไม่เปรอะเปื้อนและ

ที่นอนที่ไม่เปรอะเปื้อนไว้. เทพธิดาตนใดได้นั่งหรือได้นอนบนที่นั่ง

ที่นอนนั้น เทพธิดานั้นควรได้อาบน้ำก่อน กาลกรรณีเทพธิดาได้

สดับเทวโองการแล้ว ในขณะนั้นนั่นเอง ได้นุ่งห่มผ้าสีเขียวลูบไล้

เครื่องลูบไล้สีเขียว ประดับเครื่องประดับแก้วมณีสีเขียวลงจากเทวโลก

เหมือนหินยนต์ ได้เปล่งรัศมีลอยอยู่บนอากาศในที่ไม่ไกลที่นอน ใกล้

ประตู เป็นที่เฝ้าปรนนิบัติแห่งปราสาทของท่านเศรษฐีในระหว่างมัชฌิม-

ยามนั่นเอง. เศรษฐีแลดูได้เห็นนาง พร้อมกับการเห็นนั่นเอง นางไม่

ได้เป็นที่รัก ไม่ได้เป็นที่พอใจของเศรษฐีนั้นเลย. ท่านเมื่อจะเจรจา

กับนาง จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ใครมีผิวดำ และเขาก็ไม่น่ารักและไม่น่า

ทัศนา เราจะรู้จักเจ้าได้อย่างไร ? ว่าเจ้าเป็น

ใคร ? เป็นธิดาของใคร ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเลน ได้แก่สีเขียว. บทว่า

วณฺเณน ความว่า ด้วยสีของร่างกายและสีของผ้าและอาภรณ์. ด้วยบทว่า

น จาสิ ปิยทสฺสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายท่องเที่ยวไปโดยทาส และเทพธิดาตนนี้ไม่มี

มารยาท คืออาจาระ เป็นผู้ทุศีล เพราะฉะนั้น เธอจึงไม่เป็นที่รัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 78

ของท่านเศรษฐี พร้อมกับด้วยการเห็นนั่นเอง ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ

ท่านจึงกล่าวว่า เธอเป็นใคร ? อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า กา จ ตฺว

ได้แก่เจ้าเป็นใครล่ะ ? นี้นั่นแหละเป็นปาฐะบาลีเดิม.

กาลกรรณีเทพธิดาได้ยินคำนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ดิฉันเป็นธิดาของท้าววิรูปักษ์มหาราช

เป็นผู้โหดเหี้ยม ดิฉันคือนางกาลีผู้ไร้ปัญญา

เทพทั้งหลายรู้จักดิฉันว่า ชื่อกาลกรรณี ท่าน

เป็นผู้ที่ดิฉันขอโอกาสแล้ว ขอจงให้ดิฉัน

ขอพักอยู่ในสำนักของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จณฺฑิยา คือมักโกรธ อธิบายว่า

คนทั้งหลายตั้งชื่อดิฉันว่า จัณฑี เพราะเป็นคนมักโกรธ. บทว่า

อลกฺขิกา ได้แก่ผู้ไม่มีปัญญา. บทว่า ม วิทู ความว่า เทพทั้งหลาย

ในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา รู้จักดิฉันด้วยประการอย่างนี้. บทว่า

วเสมุ ความว่า วันนี้ดิฉันขออยู่ในสำนักของท่านคืนหนึ่ง ขอท่านจง

ให้โอกาสแก่ดิฉันในการนั่งและนอนบนที่ที่ไม่เปรอะเปื้อนแห่งหนึ่งเถิด

ดังนี้.

พระโพธิสัตว์ ครั้นได้ยินคำนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 79

เจ้าปลงใจในชายผู้มีปกติอย่างไร มีความ

ประพฤติเสมออย่างไร ? ดูก่อนแม่กาลี เจ้า

ถูกฉันถามแล้ว จงบอกฉัน. พวกฉันจะพึง

รู้จักเจ้าได้อย่างไร ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิวิสเส ความว่า ตั้งลง คือ

ประดิษฐานอยู่ในใจของเจ้า.

ลำดับนั้น นางเมื่อจะกล่าวถึงคุณของตน จึงกล่าวคาถาที่ ๔

ว่า :-

ชายใดลบหลู่คุณท่าน ตีตนเสมอ แข่งดี

ริษยาเขา ตระหนี่และโอ้อวด ชายใดได้

ทรัพย์มาแล้วย่อมพินาศไป ชายนั้นเป็นที่

รักใคร่ของดิฉัน.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ชายใดไม่รู้จักคุณที่ผู้อื่นทำแล้วแก่ตน

เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน เมื่อเขากล่าวถึงเหตุอะไร ๆ ของตน ก็ยืดถือเป็น

คู่แข่งว่า ฉันไม่รู้จักสิ่งนั้นหรือ ? เห็นอะไรที่คนเหล่าอื่นทำแล้ว ก็ทำ

เหตุให้เหนือขึ้นไปกว่า ด้วยอำนาจแห่งการแข่งดี เมื่อคนอื่นได้ลาภ

ไม่ยินดีด้วย ปรารถนาว่า คนอื่นอย่ามีความเป็นใหญ่กว่าเรา ขอความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 80

เป็นใหญ่จงเป็นของเราคนเดียว หวงแหนสมบัติของตนไม่ได้แก่ผู้อื่น

แม้หยดน้ำมันด้วยปลายหญ้า เป็นผู้ประกอบด้วยลักษณะของฝ่ายคน

เกเร ไม่ให้สิ่งของ ๆ ตนแก่ผู้อื่น กินของ ๆ คนอื่นอย่างเดียวด้วยอุบาย

วิธีนั้น ๆ ทรัพย์หรือข้าวเปลือกที่ชายใดได้มาแล้ว ย่อมพินาศไปไม่คง

อยู่ คือชายใดเป็นนักเลงสุราบ้าง เป็นนักเลงการพนันบ้าง เป็นนักเลง

หญิงบ้าง ยังทรัพย์ที่ได้มาแล้วให้พินาศไปถ่ายเดียว ชายคนนี้นั้น

ผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ เป็นที่ใคร่ คือเป็นที่รักได้แก่เป็นที่ชอบ

ใจของฉัน ฉันให้คนแบบนี้ให้ตั้งอยู่ในดวงใจของฉัน.

ลำดับนั้น นางจึงได้กล่าวคาถาที่ ๕ ที่ ๖ และที่ ๗ ด้วยตน

นั่นแหละว่า :-

คนมักโกรธ มักผูกโกรธ พูดส่อเสียด

ทำลายความสามัคคี มีวาจาเป็นเสี้ยนหนาม

หยาบคาย เขาเป็นที่รักใคร่ของดิฉันยิ่งกว่า

นั้นอีก. ชายผู้ไม่เข้าใจประโยชน์ของตนว่า

ทำวันนี้ พรุ่งนี้ ถูกตักเตือนอยู่ก็โกรธ ดูหมิ่น

ความดีของผู้อื่น. ชายผู้ที่ถูกความคะนองรบเร้า

พรากจากมิตรทั้งหมด เป็นที่รักใคร่ของดิฉัน

ดิฉันไม่มีความทุกข์ร้อนในเขา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 81

คาถาเหล่านั้นควรให้พิศดารโดยนัยนี้เถิด. แต่ในที่นี้พึงทราบ

เนื้อความแต่โดยย่อ. บทว่า โกธโน ได้แก่เป็นผู้โกรธแม้ด้วยเหตุเพียง

เล็กน้อย. บทว่า อุปนาหี ได้แก่เก็บความผิดของผู้อื่นไว้ในใจแล้ว

ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่ให้มีประโยชน์แม้นานเท่านาน. บทว่า

ปิสุโณ ได้แก่เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด บทว่า วเภทโก ได้แก่เป็นผู้ทำ

ฝ่ายมิตร แม้ด้วยเหตุเพียงเล็กน้อย. บทว่า กณฺกวาโจ ได้แก่เป็น

ผู้มีวาจาเป็นไปกับด้วยโทสะ. บทว่า ผรุโส ได้แก่เป็นผู้มีวาจาหยาบ

คาย. บทว่า กนฺตตโร ความว่า ชายนั้นเป็นที่ใคร่คือเป็นที่รักของ

ฉันมากกว่าชายแม้คนก่อน. บทว่า อชฺช สุเว ความว่า ชายใดไม่

เข้าใจคือไม่รู้จักประโยชน์ของตนคือกิจการของตนอย่างนี้ว่า กิจการนี้

ควรทำในวันนี้ กิจการนี้ควรทำพรุ่งนี้ กิจการนี้ควรทำในวันที่ ๓

คือมะรืนเป็นต้น. บทว่า โอวชฺชมาโน ได้แก่ถูกกล่าวตักเตือนอยู่.

บทว่า เสยฺยโส อติมญฺติ ความว่า ดูหมิ่นคนที่ยิ่งกว่า คือบุคคล

ที่สูงสุดโดยชาติ โคตร ตระกูล ถิ่นที่อยู่และคุณคือศีลและอาจาระว่า

แกจะพอมือข้าหรือ ? บทว่า ทวปฺปลุทฺโธ ความว่า ถูกความคะนอง

ไม่ขาดระยะในกามคุณทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น เล้าโลมแล้ว ครอบ

งำแล้ว ได้แก่ตกอยู่ในอำนาจกามคุณแล้ว. บทว่า ธสติ ความว่า

เขากล่าวว่า แกจะทำอะไรฉันดังนี้เป็นต้น แล้วพลัดพรากคือเสื่อม

จากมิตรทั้งหมดทีเดียว. บทว่า อนามยา ความว่า ดิฉันคิดว่าบุคคล

ผู้ประกอบด้วยคุณธรรมเหล่านี้ จะเป็นผู้ไม่มีทุกข์ไม่มีโศก ได้เขาแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 82

จะหมดอาลัยในคนอื่นอยู่ดังนี้.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะตำหนิเขา จึงได้กล่าวคาถาที่ ๘

ว่า:-

นางกาลีเอ๋ย เจ้าจงออกไปจากที่นี้ การ

ทำความรักของเจ้านี้ หามีในเราไม่ เจ้าจงไป

ชนบทอื่น นิคม และราชธานีอื่นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเปหิ ความว่า จงหลีกไป. บทว่า

เนต อมฺเหสุ ความว่า การทำความรักของเจ้ามีการลบหลู่คุณท่าน

เป็นต้น นี้หามีในพวกเราไม่ คือไม่มี. ด้วยบทว่า นิคเม ราชธานิโย

พระมหาสัตว์แสดงว่า เจ้าจงไปนิคมอื่นบ้าง ราชธานีอื่นบ้าง ในที่อื่น

คือจงไปในที่ที่ฉันจะไม่เห็นเจ้า.

นางกาลกรรณีได้ฟังดังนั้นแล้ว ผ่านคำนั้นไปได้ จึงกล่าวคาถา

ติดกันไปว่า :-

เรื่องนั่นฉันเองก็รู้ว่า เรื่องนั้นหามีใน

พวกท่านไม่ คนไม่มีบุญมีอยู่ในโลก เขา

รวบรวมทรัพย์ไว้มาก เราทั้ง ๒ คือทั้งฉัน

ทั้งเทพผู้เป็นพี่ชายของฉัน พากันผลาญทรัพย์

นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 83

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนต ตุมฺเหสุ ความว่า ฉันเอง

ก็รู้ข้อนี้ว่า การทำความรักอันใดของฉัน มีการลบหลู่คุณท่านเป็นต้น

ฉันประกอบด้วยการทำความรักอันใดมีการลบหลู่คุณที่คุณเป็นต้น แม้

ด้วยตนเอง การทำความรักเป็นต้นนั้น ไม่มีในท่านทั้งหลาย. บทว่า

สนฺติ โลเก อลกฺขิกา ความว่า แต่คนเหล่าอื่นที่เป็นคนโง่ เป็นผู้

ไม่มีศีล ไม่มีปัญญายังมีอยู่ในโลก. บทว่า สงฺฆรนฺติ ความว่า

คนเหล่านั้นผู้ไม่มีศีล แม้ปัญญาก็ไม่มี รวบรวมทรัพย์ไว้มากมาย

คือเก็บกำไว้เป็นกลุ่มก้อน ด้วยเหตุเหล่านี้ มีการลบหลู่คุณท่านเป็นต้น.

บทว่า อุโภ น ความว่า แต่เราทั้ง ๒ คน คือทั้งตัวฉันและเทพบุตร

ชื่อว่า เทพผู้เป็นพี่ชายของฉันนั่นเอง รวมหัวกันผลาญทรัพย์นั้นที่คน

เหล่านั้นรวบรวมเก็บไว้. อนึ่ง เทพธิดานั้นกล่าวว่า ในเทวโลกพวกฉัน

ก็มีเครื่องบริโภคที่เป็นทิพย์อยู่มาก ท่านจะให้ที่นอนทิพย์หรือไม่ให้

ก็ตาม ท่านจะมีประโยชน์อะไรเล่าสำหรับฉัน ดังนี้แล้วหลีกไป.

ในเวลาที่กาลกรรณีเทพธิดานั้นหลีกไปแล้ว สิริเทพธิดามีของ

หอมและเครื่องประเทืองผิวสีเหมือนทองคำ มีเครื่องตกแต่งทองคำ

มาแล้วเปล่งรัศมีสีเหลืองที่ประตูซึ่งสถิตอยู่ใกล้ ๆ มีความเคารพได้ยืน

เอาเท้าที่เสมอกันวางบนพื้นดินที่เสมอกัน. พระมหาสัตว์ครั้นเห็นนาง

แล้ว จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ใครหนอมีผิวพรรณเป็นทิพย์ ยืนเรียบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 84

ร้อยอยู่ที่พื้นดิน เราจะรู้จักเจ้าได้อย่างไร ?

ว่าเจ้าเป็นใคร ? เป็นธิดาของใคร ?

บรรดาบท เหล่านั้น บทว่า ทิพฺเพน ความว่า ประเสริฐคือ

สูงสุด.

สิริเทพธิดาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า:-

ดิฉันเป็นธิดาของท้าวธตรฐมหาราชผู้มีสิริ

ดิฉันชื่อสิริลักษมิ์ เทพทั้งหลายรู้จักดิฉันว่า

เป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ท่านเป็นผู้ที่ดิฉันขอ

โอกาสแล้ว ขอจงให้ดิฉันขอพักอยู่ในสำนัก

ของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิริ จ ลกฺขี จ ความว่า ดิฉัน

ผู้มีนามอย่างนี้ว่า สิริลักษมิ์ไม่ใช่คนอื่น. บทว่า ภูริปญฺาติ ม วิทู

ความว่า เทพทั้งหลายรู้จักดิฉันในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกาว่า เป็น

ผู้ประกอบด้วยปัญญาไพบูลย์ เสมอด้วยแผ่นดิน. บทว่า วเสมุ ตว

สนฺติเก ความว่า ดิฉันขออาศัยคืนหนึ่งบนที่นั่งที่ไม่เปรอะเปื้อนและ

ที่นอนที่ไม่เปรอะเปื้อน ขอท่านจงให้โอกาสแก่ดิฉัน.

ต่อจากนั้นพระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 85

เจ้าปลงใจในชายที่มีศีลอย่างไร มีอาจาระ

อย่างไร ? เจ้าเป็นผู้ที่เราถามแล้ว จงบอกเรา

โดยที่เราควรรู้จักเจ้า. ชายใดครอบงำความ

หนาว หรือความร้อน ลม แดด เหลือบ และ

สัตว์เลื้อยคลาน ทั้งความหิวและความระหาย

ได้ ชายใดประกอบการงานทุกอย่างเนือง ๆ

ตลอดทั้งวันทั้งคืน ไม่ยังประโยชน์ที่มาถึงตาม

กาลให้เสื่อมเสียไปด้วย ชายนั้นเป็นที่ชอบใจ

ของดิฉัน และดิฉันก็ปลงใจเขาจริง ๆ. ชายใด

ไม่โกรธ มีมิตร มีการเสียสละ รักษาศีล

ไม่โอ้อวด เป็นคนซื่อตรง เป็นผู้สงเคราะห์

ผู้อื่น มีวาจาอ่อนหวาน มีคำพูดไพเราะ แม้

จะเป็นใหญ่ ก็มีความประพฤติถ่อมตน. ดิฉัน

พอใจในบุรุษนั้นเป็นอย่างมาก ดุจคลื่นทะเล

ปรากฏแก่คนที่มองดูสีน้ำทะเลเหมือนมีมาก.

อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดให้สังคหธรรมให้เป็นไป

อยู่ในบุคคลทั้งที่เป็นมิตร ทั้งที่เป็นศัตรูทั้งที่

ประเสริฐที่สุด ทั้งที่เสมอกัน ทั้งที่ต่ำทราม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 86

ประพฤติประโยชน์หรือสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

ทั้งในที่ลับทั้งในที่แจ้ง ไม่กล่าวคำหยาบใน

กาลไหน ๆ. ผู้นั้นตายแล้วและยังมีชีวิตอยู่

ดิฉันก็คบ. ผู้ใดได้อย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา

คุณความดีเหล่านั้นแล้ว เป็นผู้มีปัญญาน้อย

มัวเมาสิริอันเป็นที่น่าใคร่ ดิฉันต้องเว้นผู้นั้น

ผู้มีรูปลักษณะร้อนรน ประพฤติไม่สม่ำเสมอ

เหมือนคนเว้นคูถฉะนั้น. คนสร้างโชคด้วย

ตนเอง สร้างเคราะห์ด้วยตนเอง ผู้อันจะสร้าง

โชคหรือเคราะห์ให้ผู้อื่นไม่ได้เลย.

คำถามเป็นของเศรษฐี. ส่วนคำตอบเป็นของสิริเทพธิดา

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า ฑสสิรึสเป จ เหลือบเขาเรียกว่า

ฑสะ อีกอย่างหนึ่ง กำเนิดแมลงวันทุกชนิด เทพธิดาประสงค์เอาว่า

ฑสะ ในที่นี้. กำเนิดสัตว์เลื้อยคลานเรียกว่า สิรึสปะ. ทิ้งเหลือบ

ทั้งสัตว์เลื้อยคลาน ชื่อว่า ฑสสิรึสปะ ในเหลือบและสัตว์เลื้อยคลาน

นั้น. มีคำอธิบายไว้ว่า ชายมหาเศรษฐีคนใด เมื่อมีความหนาว ความ

ร้อน ลม แดด หรือเหลือบและสัตว์เลื้อยคลานถึงถูกอันตรายเหล่านี้

มีความหนาวเป็นต้นเบียดเบียนอยู่ ก็ครอบงำคือย่ำยี อันตรายแม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 87

ทั้งหมดนี้ คืออันตรายแม้เหล่านี้มีความหนาวเป็นต้น และความ

กระหายมากไว้ได้ ได้แก่ไม่คำนึงถึงอันตรายนี้ เหมือนหญ้าแล้ว

ประกอบ คือประกอบตนเป็นไปในกรรมของตนเนือง ๆ มีกสิกรรมและ

พาณิชยกรรมเป็นต้น และในทานและศีลเป็นต้นทั้งคืนทั้งวัน. บทว่า

กาลาคตญฺจ ความว่า ไม่ให้กิจทั้งหลายมีกิจกรรมเป็นต้นเสื่อมเสีย.

ไปในเวลาทำกสิกรรมเป็นต้น และไม่ให้เสื่อมเสียประโยชน์ ที่จะนำ

ความสุขมาให้ในปัจจุบันและภายภาคข้างหน้า แยกประเภทเป็นการ

บริจาคทรัพย์เป็นต้น ในกาลทั้งหลายมีการบริจาคทรัพย์ การรักษาศีล

และการฟังธรรมเป็นต้น คือทำงานในเวลาที่ควรทำนั่นเอง. ชาย

เศรษฐีคนนั้นเป็นที่พอใจของดิฉันและดิฉันจะอยู่ประจำกับชายคนนั้น.

บทว่า อกฺโกธโน ได้แก่ผู้ประกอบด้วยอธิวาสนขันติ คือความอดทนที่

ยับยั้งอารมณ์ไว้ได้. บทว่า มิตฺตวา ได้แก่ผู้ประกอบด้วยกัลยาณมิตร.

บทว่า จาควา ได้แก่ผู้ประกอบด้วยการบริจาคทรัพย์. บทว่า สงฺคาหโก

ได้แก่ผู้ทำการสงเคราะห์มิตร การสงเคราะห์ด้วยอามิสและการสงเคราะห์

ด้วยธรรม. บทว่า สขิโล ได้แก่เป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน. บทว่า

สณฺหวาโจ ได้แก่เป็นผู้มีถ้อยคำสละสลวย. บทว่า มหตฺตปตฺโตปิ

นิวาตวุตฺติ ความว่า ถึงแม้จะดำรงตำแหน่งใหญ่คืออิสริยยศที่กว้าง

ขวาง แต่ก็ไม่ผยองด้วยยศ ถ่อมตนทำตามโอวาทของบัณฑิต. บทว่า

ตสฺสาห โปเส ความว่า ดิฉันเป็นคนกว้างขวางสำหรับชายคนนั้น.

บทว่า วิปุลา ภวามิ ความว่า เราไม่ใช่คนเล็ก ความจริงชายนั้นเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 88

พื้นฐานของสิริอันยิ่งใหญ่ บทว่า อุมฺมี สมุทฺทสฺส ยถาปิ วณฺณ

ส่องความว่าอุปมาเสมือนหนึ่งว่า ลูกคลื่นที่ทยอยกันมาจะปรากฏแก่

คนที่มองดูสีของมหาสมุทร เหมือนกะใหญ่โต ฉันใด ดิฉันก็ฉันนั้น

เป็นเสมือนใหญ่โตในเพราะคน ๆ นั้น. บทว่า อาวี รโห ความว่า

ทั้งต่อหน้าทั้งลับหลัง. บทว่า สงฺคหเมว วตฺเต ความว่า เขาให้

สังคหธรรมทั้ง ๔ อย่างนั่นแหละเป็นไป คือเป็นไปคือทั่วถึงในบุคคล

นั้น แยกประเภทเป็นมิตรเป็นต้น. บทว่า น วชฺชา ความว่า ผู้ใด

ครั้งไร คือในกาลไหนไม่พึงกล่าวคำหยาบ คือเป็นผู้มีถ้อยคำไพเราะ

เท่านั้น. บทว่า มตสฺส ชีวสฺส ความว่า บุคคลนั้นตายแล้วก็ตาม

มีชีวิตอยู่ก็ตามดิฉันก็ภักดีต่อ. สิริเทพธิดาแสดงว่า ดิฉันคบหาคน

เช่นนั้นทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกหน้า. บทว่า เอเตส โย ความว่า บุคคล

ใดประมาทคือลืมคุณความดีแม้อย่างเดียว บรรดาคุณความดีเหล่านี้ คือ

คุณความดีที่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังมีการครอบงำความหนาวได้เป็น

ต้น อธิบายว่า ไม่เพียรประกอบบ่อย ๆ ซึ่งคุณนั้น. บทว่า สิริ มี

ปาฐะถึง ๓ อย่าง คือ กนฺตา สิรี, กนฺตสิริ และ กนฺต สิริ แปลว่า

สิริที่น่าใคร่. ด้วยอำนาจปาฐะทั้ง ๓ เหล่านั้น มีการประกอบเนื้อความ

ดังต่อไปนี้ บุคคลใดได้สิริแล้ว คิดว่า สิริของเราที่น่าใคร่ ดำรงอยู่

แล้วตามฐานะ ย่อมประมาทคือลืมคุณความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา

คุณความดีเหล่านี้. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลใดปรารถนาสิริเหมือนคนที่มี

สิริที่น่าใคร่ ได้คุณความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาคุณความดีเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 89

แล้วจึงประมาท. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลใดได้สิริน่าใคร่ น่าชอบใจแล้ว

จึงประมาท คุณความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาคุณความดีเหล่านี้.

บทว่า อปฺปปญฺโ ได้แก่ไม่มีปัญญา. บทว่า ต ทิตฺตรูป วิสเม จรนฺต

ความว่า ดิฉันเว้นคนที่มีสภาพร้อนรนประพฤติไม่สม่ำเสมอ มีกาย

ทุจริตเป็นต้น เป็นประเภทเหมือนมนุษย์หรือบุคคลผู้มีความสะอาด

โดยกำเนิด เว้นหลุมคูถแต่ไกลฉะนั้น. บทว่า อญฺโ อญฺสฺส

การโก ความว่า เป็นเช่นนี้ ชายที่ชื่อว่า สร้างโชคสร้างเคราะห์ให้คน

อื่นไม่มี ผู้ใดผู้หนึ่งก็สร้างโชคหรือเคราะห์ให้แก่ตนดังนี้.

พระมหาสัตว์ครั้นกล่าวถามอย่างนี้ และได้ฟังคำตอบของ

สิริเทพธิดาแล้วชื่นชม จึงได้กล่าวว่า แท่นเตียงนอนนี้เหมาะสมสำหรับ

เธอและที่นั่งก็เหมาะสมสำหรับเธอทีเดียว เพราะฉะนั้น ขอเชิญนั่งบน

ที่นั่งและนอนบนแท่นเถิด. นางอยู่ ณ ที่นั้นแล้วรุ่งเช้าก็ออกไปที่

เทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา ได้อาบน้ำที่สระอโนดาดก่อน. ที่นอน

แม้แห่งนั้นจึงเกิดมีชื่อว่า สิริสยนะ เพราะว่านางสิริเทพธิดาใช้นอน

ก่อนคนอื่น. นี้คือวงศ์ประวัติของสิริสยนะ คือที่นอนที่เป็นมิ่งขวัญ.

ด้วยเหตุนี้เขาจึงเรียกกันว่าสิริสยนะ ที่นอนที่เป็นมิ่งขวัญมาจนตราบ

เท่าทุกวันนี้.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประมวล

ชาดกไว้ว่า สิริเทพธิดาในครั้งนั้น ได้แก่พระอุบลวรรณา ในบัดนี้

ส่วนสุจิปริวารเศรษฐีคือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสิริกาลกรรณิชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 90

๘. กุกกุฏชาดก

ว่าด้วยผลของการไม่เชื่อง่าย

[๘๘๖] ดูก่อนพ่อนกน้อยสีแดง ผู้ปกคลุมด้วย

ขนที่สวยงาม เจ้าจงลงมาจากกิ่งไม้เถิด เรา

จะเป็นภรรยาของท่านเปล่า ๆ.

[๘๘๗] เจ้าเป็นสัตว์ ๔ เท้าที่สวยงาม ส่วนฉัน

เป็นสัตว์ ๒ เท้า เนื้อกับนกจะร่วมกันไม่ได้

ในอารมณ์เป็นที่รื่นรมย์ใจ เจ้าจงไปแสวงหา

ผู้อื่นเป็นสามีเถิด.

[๘๘๘] ฉันจักเป็นภรรยาสาวผู้สวยงาม ร้องไพ-

เราะของคุณ คุณจะพบฉันผู้เป็นพรหมจารินี ที่

สวยงาม ด้วยการเสวยอารมณ์อย่างใด คือสุข-

เวทนา.

[๘๘๙] ดูก่อนเจ้าผู้กินซากศพ ผู้ดื่มโลหิต ผู้

เป็นโจรปล้นไก่ เจ้าไม่ต้องการให้ฉันเป็นผัว

ด้วยการเสวยอารมณ์อย่างดี คือสุขเวทนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 91

[๘๙๐] หญิง ๔ คนเห็นนรชนผู้ประเสริฐ แม้

อย่างนี้แล้ว ชักนำด้วยวาจาอ่อนหวาน เหมือน

นางแมวชักนำไก่ ฉะนั้น.

[๘๙๑] ก็ผู้ใดรู้ไม่เท่าทัน เหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับ-

พลัน ผู้นั้นจะตกอยู่ในอำนาจของศัตรู และ

เดือดร้อนภายหลัง.

[๘๙๒] ส่วนผู้ใดรู้ทันเหตุที่เกิดขึ้น โดยฉับพลัน

ผู้นั้นจะพ้นจากเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่

พ้นจากนางแมว ฉะนั้น.

จบ กุกกุฏชาดกที่ ๘

อรรถกถากุกกุฏชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ

ผู้กระสันจะสึกรูปหนึ่ง ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สุจิตฺตปตฺตจฺฉาทน

ดังนี้

ความย่อว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า เหตุไฉน ? เธอ

จึงกระสันอยากสึก. เมื่อเธอทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

เห็นหญิงคนหนึ่ง ผู้ประดับประดาตกแต่งตัวแล้ว จึงกระสันอยากสึก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 92

ด้วยอำนาจกิเลสดังนี้. แล้วตรัสว่า ธรรมดาผู้หญิงลวงให้ชายลุ่มหลง

แล้วให้ถึงความพินาศ ในเวลาชายตกอยู่ในอำนาจของตนเป็นเหมือน

แมวตัวเหลวไหล แล้วได้ทรงนิ่ง. เมื่อถูกภิกษุนั้นทูลอ้อนวอน จึงทรง

นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในกำเนิดไก่ในป่า มีไก่หลายร้อยตัวเป็น

บริวารอยู่ในป่า. ฝ่ายนางแมวตัวหนึ่ง ก็อาศัยอยู่ในที่ไม่ไกลพระโพธิ-

สัตว์นั้น. มันใช้อุบายลวงกินไก่ที่เหลือ เว้นแต่ไก่โพธิสัตว์. พระโพธิ-

สัตว์ไม่ไปสู่ป่าชัฏของมัน. มันคิดว่า ไก่ตัวนี้อวดดีเหลือเกิน ไม่รู้ว่าเรา

เป็นผู้โอ้อวด และเป็นผู้ฉลาดในอุบาย เราควรจะเล้าโลมไก่ตัวนี้ว่า

จักเป็นภรรยาของมัน แล้วกินในเวลามันตกอยู่ในอำนาจของตน. มัน

จึงไปยังควงไม้ที่ไก่นั้นเกาะอยู่ เมื่อขอร้องไก่นั้นด้วยวาจา ที่มีภาษิต

สรรเสริญนำหน้า จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ดูก่อนพ่อนกน้อยสีแดง ผู้ปกคลุมด้วย

ขนที่สวยงาม เจ้าจงลงมาจากกิ่งไม้เถิด เรา

จะเป็นภรรยาของท่านเปล่า ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุจิตฺตปตฺตจฺฉาทน ความว่า ผู้

มีเครื่องห่อหุ้มที่ทำด้วยขนอันสวยงาม. บทว่า มุธา ความว่า เราจะ

เป็นภรรยาของท่าน โดยปราศจากมูลค่า คือโดยไม่รับเอาอะไรเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 93

พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำนั้นแล้ว คิดว่า แมวตัวนี้กัดกินญาติของ

เราหมดไปแล้ว บัดนี้มันประสงค์จะล่อลวงกินเรา. เราจักขับส่งมันไป

แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

เจ้าเป็นสัตว์ ๔ เท่าที่สวยงาม ส่วนฉัน

เป็นสัตว์ ๒ เท้า เนื้อกับนกจะร่วมกันไม่ได้ใน

อารมณ์ เป็นที่รื่นรมย์ใจ เจ้าจงไปแสวงหาผู้

อื่นเป็นสามีเถิด.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้นต่อไป พระโพธิสัตว์ กล่าวว่า มิคี

หมายเอาแมว. ด้วยบทว่า อสยุตฺตา พระโพธิสัตว์แสดงว่าแมวกับไก่

ร่วมกันไม่ได้สัมพันธ์กันไม่ได้ เพื่อเป็นผัวเมียกัน สัตว์ทั้ง ๒ เหล่านั้น

ไม่มีความสัมพันธ์เช่นนี้.

นางแมวนั้น ได้ฟังคำนั้นแล้ว ลำดับนั้น จึงคิดว่า ไก่ตัวนี้

โอ้อวดเหลือเกิน เราจักใช้อุบายอย่างใดอย่างหนึ่งลวงกินมันให้ได้. แล้ว

ได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

ฉันจักเป็นภรรยาสาวผู้สวยงาม ร้องไพ-

เราะเพื่อคุณ คุณจะพบฉัน ผู้เป็นพรหมจารินี

ที่สวยงาม ด้วยการเสวยอารมณ์อย่างดี คือ

สุขเวทนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 94

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้น ด้วยบทว่า โกมาริกา นางแมว

กล่าวว่า ฉันไม่รู้จัก ชายอื่นตลอดเวลานี้ ฉันจักเป็นภรรยาสาวของคุณ.

บทว่า มญฺชุกา ปิยภาณินี ความว่า เราจักเป็นผู้มีถ้อยคำไพเราะ

พูดคำน่ารักเป็นปกติ ต่อคุณที่เดียว. บทว่า วินฺท ม ความว่า คุณจะ

กลับได้ฉัน. บทว่า อริเยน เวเทน ความว่า ด้วยการกลับได้ที่ดี.

นางแมวพูดว่า เพราะว่าฉันเองก่อนแต่นี้ไม่รู้จักสัมผัสตัวผู้ ถึงคุณก็ยัง

ไม่รู้จักการสัมผัสตัวเมีย ฉะนั้น คุณจะได้ฉันผู้เป็นพรหมจารินีตามปกติ

ด้วยการได้ที่ไม่มีโทษ คุณต้องการฉัน ถ้าไม่เชื่อถ้อยคำของฉันก็ให้ตี

กลองประกาศในนครพาราณสีชั่ว ๑๒ โยชน์ว่า นางแมวนี้เป็นทาสของ

ฉัน คุณจงรับฉันให้เป็นทาสของตนเถิด.

พระโพธิสัตว์ได้ยินคำนั้นแล้ว ถัดนั้นไปก็คิดว่า ควรที่เราจะขู่

แมวตัวนี้ให้หนีไปเสีย แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

ดูก่อนเจ้าผู้กินซากศพ ผู้ดื่มโลหิต ผู้

เป็นโจรปล้นไก่ เจ้าไม่ต้องการให้ฉันเป็นผัว

ด้วยการเสวยอารมณ์ที่ดี คือสุขเวทนา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตว อริเยน ความว่า พระ

โพธิสัตว์ กล่าวว่า เจ้าไม่ประสงค์ให้ข้าเป็นผัว ด้วยลาภที่ประเสริฐ

คือการอยู่ประพฤติเหมือนพรหม แต่เจ้าต้องการลวงกินฉัน. ดูก่อนเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 95

ผู้ลามก เจ้าจงฉิบหาย ดังนี้แล้ว ให้แมวนั้นหนีไปแล้ว.

ส่วนแมวนั้นหนีไปแล้ว ไม่อาจแม้เพื่อจะมองดูอีก เพราะฉะนั้น

พระศาสดา จึงได้ตรัสอภิสัมพุทธคาถาเหล่านี้ ว่า :-

หญิง ๔ คนเห็นนรชนผู้ประเสริฐ แม้

อย่างนี้แล้ว ชักนำด้วยวาจาอ่อนหวาน เหมือน

นางแมวชักนำไก่ ฉะนั้น. ก็ผู้ใดรู้ไม่เท่าทัน

เหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ผู้นั้นจะตกอยู่ใน

อำนาจของศัตรู และจะเดือดร้อนภายหลัง.

ส่วนผู้ใดรู้ทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน. ผู้นั้น

จะพ้นจากการเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่

พ้นจากนางแมว ฉะนั้น.

คาถาเหล่านี้ เป็นพระคาถาของท่านผู้รู้ยิ่งแล้ว คือคาถาของ

ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุรา คือผู้ประกอบหญิงจำนวน

๔ คน. บทว่า นารี ได้แก่ หญิงทั้งหลาย. บทว่า เนนฺติ ความว่า

นำเข้าไปสู่อำนาจของตน. บทว่า วิลารี วิย ความว่า นางแมวนั้น

พยายามชักนำไก่นั้น ฉันใด หญิงเหล่าอื่น ก็ชักนำภิกษุนั้น ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 96

เหมือนกัน. บทว่า อุปฺปติต อตฺถ ความว่า เหตุการณ์บางอย่าง

นั่นเอง ที่เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า น พุชฺฌติ ความว่า ไม่รู้ตามภาพ

ความจริง และจะเดือดร้อนภายหลัง. บทว่า กุกฺกุโฏว มีเนื้อความว่า

ภิกษุนั้น พ้นจากการเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่ตัวที่ถึงพร้อมด้วย

ความรู้ พ้นจากแมวฉะนั้น.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรมประมวลชาดกไว้. ในที่สุดแห่งสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึก ตั้ง

อยู่แล้วในโสดาปัตติผล ก็พระยาไก่ในครั้งนั้น ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้

แล.

จบ อรรถกถากุกกุฏชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 97

๙. ธัมมัทธชชาดก

ว่าด้วยพูดอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง

[๘๙๓] ดูก่อนญาติทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพา

กันประพฤติธรรม เธอทั้งหลายจงพากันประ-

พฤติธรรม ความเจริญจักมีแก่พวกเธอ เพราะ

ว่า มีผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งใน

โลกนี้และโลกหน้า.

[๘๙๔] จำเริญหนอนกตัวนี้ นกผู้ประพฤติธรรม

ยืนขาเดียว พร่ำสอนธรรมอย่างเดียว.

[๘๙๕] กาตัวนั้นไม่มีศีล สูเจ้าทั้งหลาย จงรู้ไว้

เถิด เพราะไม่รู้จึงพากันสรรเสริญมัน มันกิน

ทั้งไข่ทั้งลูกอ่อน แล้วพูดว่าธรรม ๆ.

[๘๙๖] มันพูดอย่างหนึ่งด้วยวาจา แต่ทำอย่าง

หนึ่งด้วยกาย พูดแต่ปากไม่ทำด้วยกาย ไม่ตั้ง

อยู่ในธรรมนั้น.

[๘๙๗] มันเป็นผู้อ่อนหวานทางวาจา แต่เป็นผู้มี

ใจร้ายกาจ คือปากปราศรัยแต่หัวใจเชือดคอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 98

มันเป็นผู้ยกธรรมขึ้นเป็นธงชัย ซ่อนตัวไว้

เหมือนงูเห่าหม้อซ่อนตัวอาศัยอยู่ในรู ฉะนั้น.

กาตัวนี้ ถูกสมมติว่าเป็นสัตว์ ในบ้านและ

นิคมทั้งหลาย คนโง่รู้ได้ยาก

[๘๙๘] สูเจ้าทั้งหลายจงใช้จะงอยปาก ปีกและ

เท้าจิกตีกาตัวนี้ สูเจ้าทั้งหลายจงให้กาชั่วตัวนี้

พินาศ กาตัวนี้ไม่ควรอยู่ร่วม.

จบ ธัมมัทธชชาดกที่ ๙

อรรถกถาธัมมัทธชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ

ผู้โกหกรูปหนึ่งแล้ว จึงได้ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ธมฺม จรถ

าตโย ดังนี้.

ความย่อว่า ในครั้งนั้นพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุนี้ไม่ใช่โกหกเฉพาะในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนก็

โกหกเหมือนกัน แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้:-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในกำเนิดนก เติบโตแล้วมีฝูงนกห้อมล้อม

อาศัยอยู่ที่เกาะกลางมหาสมุทร. ครั้งนั้น พ่อค้าชาวกาสิกรัฐกลุ่มหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 99

พากันแล่นเรือไปยังมหาสมุทร โดยเอากาบอกทิศไปด้วย. เรือแตกท่าม

กลางมหาสมุทร. กาบอกทิศนั้นไปถึงเกาะนั้นแล้ว คิดว่า นกฝูงนี้เป็น

ฝูงใหญ่ เราควรทำการโกหกแล้วกินไข่และลูกอ่อนของนกฝูงนี้อร่อย ๆ.

มันบินร่อนลงแล้ว ยืนขาเดียวอ้าปากอยู่ที่พื้นดินท่ามกลางฝูงนก. มัน

ถูกนกทั้งหลายถามว่า ท่านเป็นใครครับนาย ? ก็บอกว่า ฉันเป็นผู้

ประพฤติธรรม.

นก. เหตุไฉน ท่านจึงยืนขาเดียว ?

กา. เมื่อฉันเหยียบ ๒ ขา แผ่นดินก็ไม่สามารถจะทนทานได้.

นก. เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไฉน ท่านจึงยืนอ้าปาก ?

กา. ฉันไม่กินอาหารอื่น กินแต่ลมเท่านั้น.

ก็แล ครั้นมันตอบอย่างนั้นแล้ว จึงเรียกนกเหล่านั้นมาเตือน

ว่า ฉันจักให้โอวาทเธอทั้งหลาย ขอจงพากันมาฟังโอวาทนั้น แล้วได้

กล่าวคาถาที่ ๑ เป็นการให้โอวาทนกเหล่านั้นว่า :-

ดูก่อนญาติทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพา

กันประพฤติธรรม เธอทั้งหลายจงพากันประ-

พฤติธรรม ความเจริญจักมีแก่พวกเธอ เพราะ

ว่าผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้

และโลกหน้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 100

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺม จรถ ความว่า เธอทั้งหลาย

จงพากันประพฤติธรรม แยกประเภทเป็นกายทุจริตเป็นต้น. ลาบอก

ทิศเรียกนกเหล่านั้นว่าญาติทั้งหลาย. บทว่า ธมฺม จรถ ภทฺท โว

ความว่า เธอทั้งหลายอย่าพากันย่อท้อ จงประพฤติธรรมบ่อย ๆ เถิด

ความเจริญจักมีแก่เธอทั้งหลาย. คำว่า สุข เสติ นี้ เป็นเพียงหัวข้อ

เทศนา. กานั้นแสดงว่าผู้ประพฤติธรรม ยืน นั่ง เดิน นอน ก็เป็น

สุขอย่างยิ่ง เป็นสุขทุกอิริยาบถ.

นกทั้งหลายไม่รู้ว่า กาตัวนี้พูดอย่างนี้ เพื่อจะโกหกกินไข่นก.

เมื่อจะพรรณนาความที่ทุศีลนั้น จึงได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

จำเริญหนอนกตัวนี้ นกผู้ประพฤติธรรม

ยืนขาเดียว พร่ำสอนธรรมอย่างเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมเมว ได้แก่สภาวธรรมนั่นเอง.

บทว่า อนุสาสติ ได้แก่บอกสอน.

นกทั้งหลายเชื่อฟังกาทุศีลนั้นแล้วบอกว่า นายครับ ได้ทราบว่า

ท่านไม่หาเหยื่ออย่างอื่นกินลมเท่านั้น ถ้ากระนั้นขอให้ท่านคอยดูไข่และ

ลูกอ่อนของพวกฉันด้วย แล้วไปหาเหยื่อกัน. กาลามกตัวนั้น เวลา

นกเหล่านั้นไปแล้ว ก็จิกกินไข่และลูกอ่อนขอนกเหล่านั้น เต็มท้อง

แต่เวลานกเหล่านั้นกลับมา ก็สงบเสงี่ยมยืนขาเดียวอ้าปากอยู่ นกทั้ง-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 101

หลายมาแล้วไม่เห็นลูกน้อยของตน. ร้องดังลั่นว่า ใครหนอกินลูกเรา

ไม่ทำแม้ความสงสัยในกาตัวนั้น เพราะคิดว่ากาตัวนี้ประพฤติธรรม. อยู่

มาวันหนึ่ง พระมหาสัตว์คิดว่า เมื่อก่อนที่นี่ไม่มีอันตรายอะไร จำเดิม

แต่กาตัวนี้มาแล้วอันตรายจึงเกิด เราควรซุ่มจับกาตัวนี้. พระมหาสัตว์

นั้นทำเหมือนไปหาเหยื่อกับนกทั้งหลาย แต่ก็กลับมาเกาะอยู่ในที่กำบัง.

ฝ่ายกาเข้าใจว่า นกทั้งหลายไปแล้ว ไม่มีความสงสัยลุกไปหากินไข่นก

และลูกอ่อน แล้วกลับมายืนขาเดียวอ้าปากอยู่. พระยานก เมื่อนก

ทั้งหลายมาแล้ว จึงเรียกให้ฝูงนกทั้งหมดมาประชุมกันเตือนฝูงนกว่า

วันนี้ฉันซุ่มจับอันตรายของลูกสูเจ้าทั้งหลาย ได้เห็นกาลามกตัวนี้กินลูก

สูเจ้าอยู่ มาเถิดสูเจ้าทั้งหลายพวกเราจงจับมันไว้ แล้วให้ล้อมกานั้นไว้

สั่งว่า ถ้าหากมันจะหนีไปไซร้ สูเจ้าทั้งหลายจงพากันจับมันไว้. แล้ว

ได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-

กาตัวนั้นไม่มีศีล สูเจ้าทั้งหลายจงรู้ไว้

เถิด เพราะไม่รู้จึงพากันสรรเสริญมัน. มันกิน

ทั้งไข่ทั้งลูกอ่อน แล้วพูดว่า ธรรม ๆ. มัน

พูดอย่างหนึ่งด้วยวาจา แต่ทำอย่างหนึ่งด้วย

กาย. พูดแต่ปาก แต่ไม่ทำด้วยกาย ไม่ตั้งอยู่

ในธรรมนั้น. มันเป็นผู้อ่อนหวานทางวาจา แต่

เป็นผู้มีใจร้ายกาจ คือปากปราศรัยหัวใจเชือด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 102

คอ มันเป็นผู้ยกธรรมขึ้นเป็นธงชัย ซ่อนตัว

ไว้ เหมือนงูเห่าหม้อ ซ่อนตัวอาศัยอยู่ในรู

ฉะนั้น. กาตัวนี้ ถูกสมมติว่าเป็นสัตว์ ใน

บ้านและนิคมทั้งหลาย คนโง่รู้ได้ยาก. สูเจ้า

ทั้งหลาย จงใช้จะงอยปาก ปีกและเท้า จิกตี

กาตัวนี้. สูเจ้าทั้งหลาย จงให้กาชั่วช้าตัวนี้

พินาศ กาตัวนี้ไม่ควรอยู่ร่วม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาสฺส สีล ความว่า มันไม่มีศีล.

บทว่า อนญฺาย ความว่า ไม่รู้. บทว่า ภุตฺวา จิกกิน. บทว่า

วาจาย โน จ กาเยน ความว่า เพราะว่ากาตัวนี้ ประพฤติธรรม

ด้วยคำพูดเท่านั้น แต่ไม่ทำด้วยกายเลย. บทว่า น ต ธมฺม อธิฏฺิโต

ความว่า เพราะฉะนั้น ควรทราบมันไว้ว่า กาตัวนี้พูดธรรมอย่างใด

ไม่อธิษฐานธรรม คือไม่ตั้งอยู่ในธรรมนั้น. บทว่า วาจาย สขิโล

ความว่า เป็นผู้อ่อนโยนด้วยวาจา. บทว่า มโนปวิทุคฺโค ความว่า

ถึงการรู้ทั่ว คือประกาศให้รู้ว่าชั่วด้วยใจ. บทว่า ปฏิจฺฉนฺโน ความว่า

มันนอนอยู่ในรูใด ถูกรูนั้นปิดบังไว้. บทว่า กูปสฺสโย ความว่า มี

รูเป็นที่อยู่อาศัย. บทว่า ธมฺมทฺธโช ความว่า ชื่อว่ามีธรรมเป็นธง

เพราะทำสุจริตธรรมให้เป็นธงเที่ยวไป. บทว่า คามนิคมาสุ สาธุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 103

ความว่า เป็นผู้ดีทั้งในบ้านทั้งในนิคมทั้งหลาย. บทว่า สมฺมโต ความว่า

ถูกยกย่องว่าเป็นผู้เจริญ. บทว่า ทุชฺชาโน ความว่า คนแบบนี้เป็น

คนทุศีล มีการงานปกปิด คนโง่คือผู้ไม่รู้ไม่อาจรู้ได้. บทว่า ปาทา-

หิม ความว่า และจิกตีกาตัวนี้ด้วยเท้าของตน ๆ. บทว่า วิเหถ

ความว่า จงตี. บทว่า ฉว ได้แก่ลามก. บทว่า นาย เป็นต้น ความว่า

กาตัวนี้ไม่ควรอยู่ร่วมในที่เดียวกันกับพวกเรา ดังนี้.

ก็แล หัวหน้านกครั้นพูดอย่างนี้แล้ว ตนเองก็โดดขึ้น ใช้จะ-

งอยปากจิกหัวของกานั้น. นกที่เหลือก็พากันใช้จะงอยปากบ้าง เล็บบ้าง

แข้งบ้าง ปีกบ้าง จิกตี. มันก็ถึงความสิ้นชีวิต ณ ที่นั้นนั่นเอง.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประมวล

ชาดกไว้ว่า กาโกหกในครั้งนั้น คือภิกษุผู้โกหกในบัดนี้ ส่วนพระยา-

นก ได้แก่เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาธัมมัทธชชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 104

๑๐. นันทิยมิคราชชาดก

ว่าด้วยพระยาเนื้อนันทิยะ

[๘๙๙] ข้าแต่พราหมณ์ ถ้าหากท่านไปป่าอัญชัน

เมืองสาเกตไซร้ ท่านจงบอกลูกผู้เกิดแต่อก

ของฉันชื่อนันทิยะว่า พ่อแม่ของเจ้าแก่แล้ว

และพวกเขาอยากจะพบเจ้า.

[๙๐๐] เรากินอาหาร กินน้ำ และกินหญ้าของ

พระราชาแล้ว ข้าแต่ท่านพราหมณ์ เราจะไม่

พยายามกินอาหารพระราชทานนั้นเปล่า ๆ.

[๙๐๑] เราจักเอียงข้างให้พระราชา ผู้ทรงมีธนูใน

พระหัตถ์ ทรงยิงเมื่อใด เมื่อนั้น เราจะพ้นภัย

เป็นสุขใจ คงเห็นแม่บ้าง.

[๙๐๒] ในเมืองใกล้ที่ประทับของพระเจ้าโกศล

ได้มีสัตว์ ๔ เท้า มีรูปร่างงดงามโดยชื่อว่า

นันทิยะ.

[๙๐๓] พระเจ้าโกศลทรงคาดศรแล้ว ได้เสด็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 105

มาที่ป่าพระราชทานชื่ออัญชัน แล้วทรงโก่งธนู

เพื่อจะทรงยิงเรานั้น.

[๙๐๔] ปางเมื่อเราเอียงข้างให้พระราชาพระองค์

นั้น ผู้ทรงมีศรในพระหัตถ์ ทรงยิงเราพ้นจาก

ภัยแล้ว มีความสุขใจ ได้มาพบแม่.

จบ นันทิยมิคราชชาดกที่ ๑๐

อรรถกถานันทิยมิคราชชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ

ผู้เลี้ยงมารดาจึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สเจ พฺราหฺมณ คจฺฉสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า จริงหรือภิกษุ

ได้ทราบว่า เธอเลี้ยงคฤหัสถ์หรือ ? เมื่อเธอกราบทูลว่า จริงพระพุทธเจ้า.

ข้า เมื่อพระองค์ตรัสถามว่า เป็นอะไร กับเธอ ? เมื่อเธอทูลว่า เป็น

มารดาบิดาของข้าพระองค์พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดีแล้วดีแล้วภิกษุ เธอ

รักษาวงศ์ของโบราณกบัณฑิตทั้งหลายไว้ เพราะว่าโบราณกบัณฑิตทั้ง

หลาย แม้เกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน ก็ได้ให้แม้ชีวิตแก่มารดาบิดาทั้ง

หลาย แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าโกศลครองราชสมบัติอยู่ในสาเกตนคร

แคว้นโกศล พระโพธิสัตว์เกิดในกำเนิดเนื้อ เติบโตแล้วมีชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 106

นันทิยมฤค ถึงพร้อมด้วยศีลและอาจาระ เลี้ยงมารดาบิดา. ครั้งนั้น

พระเจ้าโกศลได้เป็นกษัตริย์ ที่มีพระทัยฝักใฝ่กับการล่าเนื้อเท่านั้น. ก็

พระองค์ไม่โปรดให้คนทั้งหลายทำกสิกรรมเป็นต้น ทรงมีบริวารมาก

เสด็จไปล่าเนื้อทุกวัน. คนทั้งหลายจึงประชุมปรึกษากันว่า พ่อคุณเอ๋ย

พระราชาพระองค์นี้ ทรงทำการงดงานของพวกเรา แม้การครองเรือน

ก็จะล่มจม ถ้ากระไรแล้ว พวกเราควรล้อมสวนป่าอัญชัน สร้างประตู

ขุดสระโบกขรณีไว้ปลูกต้นไม้ แล้วมีมือถือไม้ค้อนและกระบองเป็นต้น

เข้าป่าไปฟาดพุ่มไม้ต้อนเนื้อมาล้อมไว้ ให้เข้าอยู่คอกในสวนเหมือนวัว

แล้วปิดประตูไว้จึงไปกราบทูลพระราชาให้ทรงทำงานของพระองค์. ทุก

คนมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า นั้นเป็นอุบายที่ดีในเรื่องนี้ พากันจัด

เตรียมสวนไว้แล้วเข้าป่าไปล้อมสถานที่ไว้ประมาณโยชน์หนึ่ง. ขณะนั้น

เนื้อชื่อนันทิยะตัวหนึ่ง พาพ่อแม่ไปนอนอยู่ที่พื้นดินในป่าดอนเล็ก ๆ

แห่งหนึ่ง. คนทั้งหลายมีมือถือโล่และอาวุธเป็นต้น พากันล้อมดอนนั้น

โดยเอาแขนเกี่ยวแขนกัน คือจับมือกัน. ได้มองเห็นเนื้อฝูงหนึ่งจึงพา

กันเข้าไปดอนนั้น. เนื้อนันทิยะเห็นพวกเขาแล้วคิดว่า วันนี้เราควรจะ

สละชีพให้ชีวิตเป็นทานเพื่อพ่อแม่ แล้วลุกขึ้นไหว้พ่อแม่ แล้วขอขมา

พ่อแม่ว่า ข้าแต่พ่อและแม่ ถ้าคนเหล่านี้เข้ามาดอนนี้แล้ว จักเห็นพวกเรา

ทั้ง ๓ ท่านทั้ง ๒ คงอยู่ได้ด้วยอุบายอย่างหนึ่ง การอยู่ได้ชีวิตของ

ท่านเป็นสิ่งประเสริฐ ลูกจักให้ทานชีวิต เพื่อพ่อเพื่อแม่ พอคนทั้งหลาย

ยืนที่ชายดอนฟาดพุ่มไม้เท่านั้น ก็จะออกไป ครานั้นพวกเขาจะเข้าใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 107

ว่า ในดอนเล็ก ๆ นี้ คงจักมีเนื้อตัวเดียวเท่านั้น ไม่พากันเข้าไปดอน

ขอพ่อแม่จงอย่าประมาทเถิด. ดังนี้แล้วได้เป็นผู้เตรียมพร้อมจะไปยืนอยู่

แล้ว. พอคนทั้งหลายยืนที่ชายดอนโห่แล้วตีพุ่มไม้เท่านั้น เขาก็ออก

จากดอนนั้นไป. คนเหล่านั้นเข้าใจว่า ในดอนนี้คงจักมีเนื้อตัวเดียว

เท่านี้แหละ จึงไม่พากันเข้าดอน. ครั้งนั้นนันทิยะได้ไปเข้าอยู่ใน

ระหว่างเนื้อทั้งหลาย. คนทั้งหลายได้พากันต้อนเนื้อทุกตัวเข้าสวนแล้ว

กันประตูไว้ ทูลให้พระราชาทรงทราบแล้วไปสู่ที่ของตน ๆ. ต่อแต่นั้นมา

พระราชาก็เสด็จโดยลำพังพระองค์เอง หรือทรงส่งอำมาตย์คนหนึ่งไป

นำเอาเนื้อมีด้วยพระดำรัสว่า เจ้าจงไปยิงเนื้อตัวหนึ่งแล้วเอามันมา

ดังนี้. จึงเนื้อทั้งหลายพากันตั้งวาระกันไว้. เนื้อตัวที่ถึงวาระ จะ

ยืนอยู่ที่เหมาะสมแห่งหนึ่ง. คนทั้งหลายจะยิงเนื้อนั้นแล้วเอามา. ฝ่าย

นันทิยะก็ดื่มน้ำในสระโบกขรณี และกินหญ้าในสวนนั้น ตลอดเวลา

ที่วาระของเขายังไม่ถึง. ครั้งนั้น โดยเวลาล่วงไปหลายวัน พ่อแม่ของ

เขาอยากจะพบเขา คิดว่านันทิยะมฤคราชลูกเรามีพลังเหมือนช้าง

สมบูรณ์ด้วยกำลัง ถ้าหากยังมีชีวิตอยู่ คงจักกระโดดข้ามรั้วมาเยี่ยม

พวกเราแน่นอน เราทั้งหลายจักส่งข่าวไปหาเขา แล้วยืนที่ใกล้ทาง

เห็นพราหมณ์คนหนึ่ง จึงถามเขาด้วยคำพูดของตนว่า พ่อคุณ ท่าน

จะไปไหน ? เมื่อเขาตอบว่า เมืองสาเกต ดังนี้แล้ว เมื่อจะส่งข่าวไปหาลูก

จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 108

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ถ้าหากท่านไป ป่าอัญชัน

เมืองสาเกตไซร้ ท่านจงบอกลูก ผู้เกิดแต่อก

ของฉัน ชื่อนันทิยะว่า พ่อแม่ของเจ้าแก่แล้ว

และพวกเขาอยากจะพบเจ้า.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ท่านพราหมณ์ ถ้าหากท่านไปเมือง

สาเกตไซร้. ในเมืองสาเกตมีสวนชื่อว่าอัญชนวัน ในสวนนั้น มีเนื้อ

ชื่อว่านันทิยะผู้เป็นบุตรของฉัน ท่านพึงบอกเขาว่า มารดาบิดาของเจ้า

แก่แล้วอยากจะพบเจ้า ตลอดเวลาที่ยังไม่ตาย.

เขารับคำว่า ดีแล้ว ไปถึงเมืองสาเกต แล้วรุ่งขึ้นก็เข้าสวนถาม

ว่า ใครชื่อว่านันทิยมฤค. เนื้อมาแล้วยืนอยู่ใกล้พราหมณ์นั้น บอกว่า

ข้าพเจ้า

พราหมณ์บอกเรื่องนั้นให้ทราบแล้ว. นันทิยะได้ยินคำนั้นแล้ว

เมื่อจะประกาศเนื้อความนี้ว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าจะต้องไปแต่

จะไม่กระโดดข้ามรั้วไป เพราะข้าพเจ้ากินเหยื่อกินน้ำและหญ้า ที่เป็น

ของพระราชาแล้ว เหยื่อเป็นต้นนั้นตั้งอยู่ในฐานะเป็นหนี้สำหรับข้าพ-

เจ้า ทั้งข้าพเจ้าก็อยู่ในท่ามกลางหมู่เนื้อเหล่านี้มานานแล้ว. ขึ้นชื่อ

ว่าการไปโดยไม่ได้แสดงกำลังของตน ไม่ทำความสวัสดีให้พระราชานั้น

และเนื้อทั้งหลายเหล่านั้น ไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า แต่เมื่อถึงวาระของตน

แล้ว ข้าพเจ้าจักทำความสวัสดีแก่ท่านเหล่านั้นสุขสบาย แล้วจึงจะมาดังนี้

ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 109

เรากินอาหารกินน้ำและหญ้าของพระราชา

แล้ว ข้าแต่ท่านพราหมณ์ เราจะไม่พยายาม

กินอาหารพระราชทานนั้นเปล่า ๆ เราจักเอียง

ข้างให้พระราชาผู้ทรงมีธนูในพระหัตถ์ ทรงยิง

เมื่อใด เมื่อนั้น เราจะพ้นภัยเป็นสุขใจ คง

เห็นแม่บ้าง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิวาปานิ ได้และเหยื่อที่ล้อมไว้ใน

ที่นั้น ๆ บทว่า ปานโภชน ได้แก่น้ำและหญ้าที่เหลือ. บทว่า ต ราชปิณฺฑ

ความว่า น้ำและหญ้านั้นชื่อว่าปิณฑะ เพราะหมายความว่า หาเอาของ

หลวงมารวมไว้. บทว่า อวภุตฺตุ ความว่า เพื่อกินเสียเปล่า ๆ. อธิบาย

ว่า เนื้อนันทิยะกล่าวว่า ผู้กินแล้ว เมื่อไม่ยังราชกิจให้สำเร็จ ชื่อว่า

กินเหยื่อนั้นเสียเปล่า ข้าพเจ้านั้นไม่พยายามจะกินให้เสียเปล่าอย่างนั้น.

คำว่า หฺราหฺมณ ในคำว่า พฺราหฺมณมุสฺสเห เป็นคำร้องเรียก ส่วน ม

อักษรกล่าวไว้ด้วยอำนาจบทสนธิ การเชื่อมบท. บทว่า โอทหิสฺสามห

ปสฺส ขุรปาณิสฺส ราชิโน ความว่า ข้าแต่พราหมณ์เมื่อถึงวาระของ

ตนแล้ว ข้าพเจ้าจักออกจากฝูงเนื้อมายืนอยู่ที่เหมาะสมแห่งหนึ่งกราบ

ทูลพระราชาผู้ทรงผูกสอดลูกธนูแล้วเสด็จมาว่า ขอเดชะข้าแต่มหาราช

ขอพระองค์จงทรงยิงข้าพระพุทธเจ้า แล้วเอียงข้างที่อ้วนพีของตนให้

เป็นเป้า. บทว่า สุขิโต มุตฺโต ความว่า เมื่อนั้นข้าพเจ้าจะเป็นผู้พ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 110

แล้วจากภัยคือความตาย มีความสุข ไม่มีทุกข์ พระราชาทรงอนุญาต

แล้ว คงเห็นแม่บ้าง.

พราหมณ์ได้ฟังคำนั้นแล้วก็หลีกไป ในเวลาต่อมาในวันที่เป็น

วาระของเนื้อนันทิยะ. พระราชาได้เสด็จมายังสวนพร้อมด้วยข้าราช

บริพารจำนวนมาก. ฝ่ายเนื้อมหาสัตว์ ได้ยืนอยู่ ณ ที่เหมาะสมแห่ง

หนึ่ง. พระราชาทรงโก่งลูกธนูด้วยหมายพระทัยว่า เราจักยิงเนื้อ.

มหาสัตว์ไม่หนีไปเหมือนสัตว์ทั้งหลาย ที่ถูกมรณภัยคุกคามแล้วหนีไป

เป็นเหมือนไม่มีภัย ทำเมตตาให้เป็นปุเรจาริกแล้ว ได้ยืนเอียงข้างที่อ้วน

พีให้เป็นเป้า ไม่กระดิกเลย. พระราชาไม่อาจปล่อยลูกศรออกไปได้ด้วย

อำนาจของเมตตานั้น. พระมหาสัตว์จึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์

ทรงปล่อยลูกศรไม่ออกหรือ. ขอพระองค์จงทรงปล่อยเถิด.

ร. ดูก่อนมฤคราช เราไม่สามารถปล่อยออกไปได้.

ม. ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น พระองค์ก็ทรงรู้คุณธรรมของผู้มี

คุณธรรม. ครั้งนั้นพระราชาทรงเลื่อมใสพระโพธิสัตว์ ทรงทิ้งธนูแล้ว

ตรัสว่า แม้ท่อนไม้ท่อนนี้ไม่มีจิตใจ ก็ยังรู้คุณธรรมของท่านก่อน ฝ่าย

ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์มีจิตใจหารู้ไม่ ขอจงให้อภัยฉัน ฉันให้อภัยเจ้า.

ม. ข้าแต่มหาราช พระองค์ทรงพระราชทานอภัยแก่ข้าพระ-

พุทธเจ้าก่อน ส่วนฝูงเนื้อในอุทยานนี้จักทำอย่างไร ?

ร. แม้สัตว์เหล่านี้ เราก็ให้อภัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 111

มหาสัตว์ครั้นให้พระราชทานอภัยแก่เนื้อในป่า นกที่บินอยู่ใน

อากาศ และปลาที่แหวกว่ายอยู่ในน้ำทุกตัวอย่างนี้แล้ว ได้ให้พระราชา

ทรงประดิษฐานอยู่ในศีล ๕ แล้วทูลว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมดาพระ-

ราชาควรทรงละการลุอำนาจอคติ ไม่ทรงยังทศพิธราชธรรมให้กำเริบ

ครองราชย์ โดยธรรม โดยสม่ำเสมอ ดังนี้. พระมหาสัตว์ได้แสดง

ราชธรรมที่กล่าวไว้อย่างนี้ โดยผูกเป็นคาถาไว้ทีเดียวว่า :-

ขอพระองค์จงทรงตรวจดูกุศลธรรมเหล่านั้น

ที่สถิตอยู่แล้วในพระองค์คือ ทาน ศีล การ

บริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความ

เคร่งครัด ความไม่พิโรธ การไม่เบียดเบียน

ความอดทน ความไม่ผิดพลาด.

ต่อแต่นั้นไป ปีติและโสมนัสจะเกิดแก่พระองค์หาน้อยไม่ ดังนี้

แล้ว พักอยู่ในราชาสำนัก ๒ - ๓ วัน จึงทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช

ขอพระองค์จงทรงโปรดให้ราชบุรุษตีสุวรรณเภรีเดินไปประกาศ การ

พระราชาทานอภัยแก่บรรพสัตว์ ในพระนคร อย่าได้ทรงประมาท ดังนี้

แล้วจึงไปเยี่ยมพ่อแม่. คาถาดังต่อไปนี้ เป็นคาถาของท่านผู้รู้ยิ่งแล้ว.

ในเมืองใกล้ที่ประทับของพระเจ้าโกศล

ได้มีสัตว์ ๔ เท้า มีรูปร่างงดงาม โดยชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 112

นันทิยะ พระเจ้าโกศลทรงคาดศรแล้ว ได้

เสด็จมาที่ป่าพระราชทาน ชื่ออัญชันแล้ว ทรง

โก่งธนูเพื่อจะทรงยิงเรานั้น. ปางเมื่อเราเอียง

ข้างให้พระราชาพระองค์นั้น ผู้ทรงมีศรในพระ-

หัตถ์ทรงยิง เราพ้นจากภัยแล้วมีความสุขใจ

ได้มาพบแม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกสลสฺส นิเกตเว ความว่า ใกล้

ราชสำนักคือที่ประทับของพระเจ้าโกศล อธิบายว่า ในป่าใกล้ราชสำนัก

นั้น. บทว่า ทายสฺมึ ความว่า ในสวนที่พระราชทานเพื่อประโยชน์

ให้เป็นที่อยู่ของเนื้อทั้งหลาย. บทว่า อารชฺช กตฺวาน มีเนื้อความว่า

ยกขึ้นรวมเข้ากันกับสาย คือโก่งธนู. บทว่า สนฺธาย ความว่า ทรง

พาดคือประกอบ คือลูกศร. บทว่า โอทหึ ความว่า เอียงให้ คือตั้ง

ให้เป็นเป้า. คำว่า มาตร ทฏฺฐุมาคโต นี้เป็นเพียงหัวข้อเทศนา อธิบาย

ว่า ข้าพเจ้าครั้นแสดงธรรมถวายพระราชาแล้ว ได้ทูลพระราชาให้ตี

สุวรรณเภรีประกาศ เพื่อต้องการพระราชทานอภัยแก่มวลสัตว์แล้ว

จึงได้มาหาพ่อแม่.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาประกาศสัจธรรม

ทั้งหลาย แล้วทรงประมวลชาดกไว้ ในที่สุดแห่งสัจธรรม ภิกษุผู้เลี้ยง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 113

มารดาบิดา ดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล พ่อแม่ คือพระยามฤค ใน

ครั้งนั้น ได้แก่ ตระกูลมหาราช พราหมณ์ ได้แก่พระสารีบุตร พระราชา

ได้แก่ พระอานนท์ ส่วนนันทิยมฤคราช ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถานันทิยมิคราชชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ :-

๑. อาวาริยชาดก ๒. เสตเกตุชาดก ๓. ทรีมุขชาดก ๔. เนรุ-

ชาดก ๕. อาสังกชาดก ๖. มิคาโลปชาดก ๗. สิริกาลกรรณิชาดก

๘. กุกกุฏชาดก ๙. ธัมมัทธชชาดก ๑๐. นันทิยมิคราชชาดก.

จบ อาวาริยวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 114

๒. ขุรปุตตวรรค

๑. ขุรปุตตชาดก

ว่าด้วยทำตนให้ไร้ประโยชน์

[๙๐๕] ได้ทราบว่าเป็นความจริง ที่บัณฑิต

ทั้งหลายพูดถึงแพะว่า โง่อย่างนี้ ดูเถิดสัตว์

ที่โง่ไม่รู้จักกรรมที่ควรทำในที่ลับและกรรม

ที่ควรทำในที่แจ้ง.

[๙๐๖] สหายเอ๋ย แกนั่นแหละโง่ ดูก่อนเจ้าลูก

ลา แกจงรู้ตัวเถิด แกถูกเชือกรัดคอไว้ มี

ริมฝีปากเบี้ยว มีเชือกมัดปากไว้.

[๙๐๗ ] สหายเอ๋ย ความโง่แม้อย่างอื่นของแก

คือ ที่แกถูกปลดจากแอกแล้ว แต่ไม่หนี

สหายเอ๋ย พระเจ้าเสนกะแกลากไปนั่น

แหละโง่กว่าแก.

[๙๐๘ ] สหายอชราชเอ๋ย ข้าโง่เพราะเหตุใดหนอ

เหตุนั้นแกก็รู้ แต่พระเจ้าเสนกะโง่เพราะเหตุ

ใด เจ้าถูกข้าถามแล้ว จงบอกเหตุนั้นแก่ข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 115

[๙๐๙] ผู้ใดได้มนต์ชั้นยอดแล้ว จักให้แก่ภรรยา

เพราะการให้นั้น ผู้นั้นจะสละตนทิ้งเสีย และ

เขาก็จักไม่มีภรรยาคนนั้น.

[๙๑๐] ข้าแต่จอมนรชน ผู้เช่นกับด้วยพระองค์

ทรงทอดอาลัยตน ไม่คบหาของรักทั้งหลาย

ว่า สิ่งนี้เป็นที่รักของเรา ตนเท่านั้นประเสริฐ

กว่าสิ่งที่ประเสริฐอย่างยิ่งทีเดียว ผู้มีตนสั่ง

สมบุญไว้แล้ว จะพึงได้หญิงที่รักในกายหลัง.

จบ ขุรปุตตชาดกที่ ๑

อรรถกถาขุรปุตตวรรคที่ ๒

อรรถกถาขุรปุตตชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุผู้ถูกภรรยาเก่าโลมเล้า จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า สจฺจ

กิเรวมาหสุ ดังนี้.

ความย่อว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า จริงหรือภิกษุ

ได้ทราบว่าเธอกระสันอยากสึก เมื่อเธอทูลว่า จริงพระเจ้าข้า เมื่อถูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 116

ตรัสถามอีกว่า เธอกระสันอยากสึก เพราะเหตุอะไร ? เมื่อเธอทูลว่า

เพราะภรรยาเก่า พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ หญิงนี้ทำสิ่งที่ไม่เป็น

ประโยชน์แก่เธอไม่เฉพาะในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เธอกำลัง

จะกระโดดเข้าไฟตายเพราะอาศัยหญิงนี้ แต่อาศัยบัณฑิตจึงได้ชีวิต

ไว้ดังนี้แล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระราชาทรงพระนามว่า เสนกะ ครอง-

ราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ให้พระองค์ทรงทำความ

เคารพ. ครั้งนั้น พระเจ้าเสนกะทรงมีความรักใคร่กับด้วยนาคราช

ตัวหนึ่ง. ได้ทราบว่า นาคราชนั้นออกจากนาคพิภพเที่ยวหาจับเหยื่อ

บนบกบิน. ครั้งนั้น เด็กชาวบ้านเห็นมันแล้ว บอกกันว่านี้งู แล้ว

พากันเอาก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้นตี. พระราชาเสด็จสำราญที่พระ-

ราชอุทยาน ทรงเห็นแล้ว ตรัสถามว่า เด็กเหล่านั้นทำอะไรกัน ? ทรง

ทราบว่า พากันฆ่างูตัวหนึ่ง. จึงตรัสสั่งว่า พวกเอ็งอย่าฆ่า จงให้มัน

หนีไป แล้วทรงให้นาคราชนั้นหนีไปแล้ว. นาคราชได้ชีวิตแล้ว ได้

ไปยังนาคพิภพ ถือเอารัตนะมากมาย ครั้นเวลาเที่ยงคืน จึงเข้าไปยัง

พระที่นั่งสำหรับพระราชาบรรทม ทูลเกล้าถวายรัตนะเหล่านั้น แล้ว

ทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าอาศัยพระองค์แล้วได้ชีวิตมา แล้วได้ทำมิตรภาพ

กับพระราชา จึงไปเฝ้าพระราชาบ่อย ๆ. นาคราชนั้นได้ตั้งนาค-

มาณวิกานางหนึ่ง ผู้ไม่อิ่มในกามคุณ ในบรรดานางนาคมาณวิกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 117

ทั้งหลายของตนไว้ประจำราชสำนัก เพื่อประโยชน์แก่การรักษา. เขา

ทูลว่า เมื่อใดพระองค์ไม่ทรงเห็นนาคมาณวิกาคนนั้น เมื่อนั้นพระองค์

พึงทรงร่ายมนต์บทนี้ แล้วได้ถวายมนต์บทหนึ่งแด่พระองค์. อยู่มา

วันหนึ่ง พระองค์เสด็จพระราชอุทยาน ทรงเล่นน้ำในสระโบกขรณี

กับนางนาคมาณวิกา. นางนาคมาณวิกาเห็นงูน้ำตัวหนึ่ง จึงเปลี่ยนแปลง

อัตภาพเป็นงู เสพอสัทธรรมกับงูตัวนั้น. พระราชาเมื่อไม่ทรงเห็น

นาคมาณวิกานั้น ทรงสงสัยว่า เธอไปไหนหนอ จึงทรงร่ายมนต์

แล้วทรงเห็นนางกำลังทำอนาจาร จึงทรงตีด้วยซีกไม้ไผ่. นางโกรธ

จึงออกจากพระราชอุทยานนั้น ไปยังนาคพิภพ ถูกนาคราชถามว่า

เหตุไฉนเจ้าจึงมา ? ทูลว่า สหายของพระองค์ตีหลัง คือเฆี่ยน

หม่อมฉันผู้ไม่เชื่อถือถ้อยคำของตน แล้วแสดงการตีให้ดู. นาคราช

ไม่ทราบตามความจริงเลย จึงเรียกนาคมาณพ ๔ ตนมา ส่งไปโดย

ดำรัสว่า สูเจ้าทั้งหลายจงไป จงพากันเข้าไปยังพระที่นั่งบรรทมของ

พระเจ้าเสนกะ แล้วทำลายพระที่นั่งนั้นให้เป็นเหมือนแกลบ ด้วยลม

จมูกการพ่นพิษนั่นเอง. นาคมาณพเหล่านั้นพากันไปแล้ว ได้เข้าไป

ยังห้องในเวลาที่พระราชาทรงบรรทมบนพระยี่ภู่ที่สง่างาม. ในเวลาที่

นาคมาณพเหล่านั้นเข้าไปนั่นเอง พระราชาได้ตรัสถามพระราชเทวีว่า

ดูก่อนน้องนางผู้เจริญ เธอรู้ไหมที่ที่นางนาคมาณวิกาไป ? พระราช-

เทวีทูลว่า หม่อมฉันไม่รู้เพคะ. พระราชาตรัสว่า วันนี้นาคมาณวิกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 118

นั้นได้ละอัตภาพของตน แล้วทำอนาจารกับงูน้ำตัวหนึ่ง ในเวลา

เล่นน้ำในสระโบกขรณีของเรา เมื่อเป็นเช่นนั้นฉัน จึงได้เอาซีกไม้ไผ่

ตีเขา เพื่อต้องการให้สำเนียกว่า เจ้าอย่าทำอย่างนี้. เขาไปยังนาคพิภพ

คงบอกอะไรอย่างอื่นแก่สหายของเรา แล้วทำลายมิตรภาพเสีย ภัยจัก

เกิดขึ้นแก่เรา. นาคมาณพทั้งหลายได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงพากันกลับ

ออกไปจากพระที่นั่งบรรทมนั้น แล้วไปยังนาคพิภพทูลเนื้อความนั้น

แก่นาคราช. ท้าวเธอถึงความสังเวช แล้วได้เสด็จมายังพระที่นั่งบรรทม

ของพระราชา ทูลให้ทราบเนื้อความนั้น ขอขมาพระองค์ แล้วได้

ถวายมนต์ ชื่อว่า สรรพรุตชนนะ คือมนต์รู้เสียงร้องของสัตว์ทุกชนิด

โดยมุ่งหมายว่า นี้เป็นทัณฑกรรมของเรา แล้วทูลว่า ข้าแต่มหาราช

มนต์นี้หาค่าบ่มิได้ ถ้าหากพระองค์จะได้ประทานมนต์นี้แก่ผู้อื่นไซร้

ครั้นทรงประทานแล้วต้องทรงกระโดดเข้ากองไฟสวรรคต. พระราชา

ทรงรับคำว่าดีแล้ว. ต่อแต่นั้นมา แม้เสียงมดแดงพระองค์ก็ทรงทราบ.

วันหนึ่งเมื่อพระองค์ประทับนั่งที่ท้องพระโรง เสวยของเคี้ยวจิ้มน้ำผึ้งน้ำ

อ้อย น้ำผึ้ง น้ำอ้อยหยดหนึ่งและขนมชิ้นหนึ่งตกลงที่พื้น. มดแดงตัวหนึ่ง

เห็นหยดน้ำผึ้งเป็นต้นนั้น เที่ยวร้องบอกกันว่า ถาดน้ำผึ้งของหลวง

แตกที่ท้องพระโรง หม้อน้ำอ้อย หม้อขนมคว่ำ ท่านทั้งหลายจงกิน

น้ำผึ้งน้ำอ้อยและขนม. พระราชาทรงสดับเสียงร้องบอกของมดแดงแล้ว

ทรงพระสรวล. พระราชเทวีประทับที่ใกล้เคียงพระราชา ทรงดำริว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 119

พระราชาทรงเห็นอะไรหนอ จึงทรงพระสรวล ? เมื่อพระราชานั้น

เสวยของเคี้ยวทรงสรงสนานแล้ว ประทับนั่งบนพระราชบัลลังก์

แมลงวันตัวผู้พูดกับแมลงวันตัวเมีย ตัวหนึ่งว่ามาเถิดน้องเอ๋ย พวกเรา

มาอภิรมย์กันด้วยความยินดีด้วยกิเลส. ลำดับนั้น แมลงวันตัวเมียพูด

กับแมลงวันตัวผู้นั้นว่า คอยก่อนเถอะพี่นาย นัดนี้ ราชบุตรจะนำ

ของหอมมาถวายพระราชา เมื่อพระองค์ทรงลูบไล้ผงของหอมจักตกลง

แทบบาทมูล ฉันจักร่อนกถาไป ณ ที่นั้นแล้วจะมีกลิ่นหอม ต่อจากนั้น

เราก็จักนอนอภิรมย์กัน เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระราชา. พระราชา

ทรงสดับเสียงแม้นั้นแล้ว ก็ทรงพระสรวล. ฝ่ายพระเทวีก็ทรงดำริอีก

ว่า พระราชาทรงเห็นอะไรหนอ จึงทรงพระสรวล เมื่อพระราชาทรง

เสวยพระกระยาหารเย็นอีก ภัตพิเศษก้อนหนึ่งหล่นที่พื้น. มดแดง

ทั้งหลายก็ร้องบอกกันว่า หม้อพระกระยาหารในราชตระกูลแตกแล้ว

ขอท่านทั้งหลายจงพากันไปรับประทานภัตตาหารเถิด. พระราชาครั้น

ได้ทรงสดับคำนั้นแล้ว ก็ทรงพระสรวลอีก. ฝ่ายพระราชเทวี ทรงถือ

เอาช้อนทองอังคาสพระราชาอยู่ จึงทรงพระวิตกว่า พระราชาทรงเห็น

อะไรหนอ จึงทรงพระสรวล ? ในเวลาเสด็จขึ้นแท่นพระบรรทมกับ

พระราชา พระนางทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ทรงพระสรวล

เพราะเหตุอะไร ? พระองค์ตรัสว่า จะมีประโยชน์อะไรสำหรับเธอ

เพราะเหตุที่ฉันหัวเราะ แล้วถูกพระนางรบเร้าให้ตรัสบอกบ่อย ๆ.

ภายหลังจึงทูลพระองค์ว่า ขอพระองค์จงประทานมนต์ที่ทำให้รู้เสียง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 120

สัตว์ของพระองค์แก่หม่อมฉัน แม้ถูกพระราชาทรงห้ามว่า ไม่อาจให้ได้

ก็ทรงรบเร้าบ่อย ๆ. พระราชาจึงตรัสว่า ถ้าหากฉันจักให้มนต์นี้แก่เธอ

ไซร้ ฉันก็จักตาย. พระนางทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ถึงพระองค์จะ

สิ้นพระชนม์ ก็จงประทานแก่หม่อมฉัน. เพราะพระราชาเป็นผู้ชื่อว่า

ตกอยู่ในอำนาจมาตุคาม จึงทรงรับคำว่า ดีละ แล้วทรงตัดสินพระทัย

ว่า เราจักให้มนต์แต่พระราชเทวี แล้วจึงจะเข้ากองไฟ ดังนี้แล้วได้

เสด็จเข้าไปยังพระราชอุทยานด้วยราชรถ. ขณะนั้นท้าวสักกะทรงตรวจดู

สัตวโลกอยู่ ทรงเห็นเหตุการณ์นี้ แล้วทรงดำริว่า พระราชาเขลา

องค์นี้อาศัยมาตุคาม เสด็จไปด้วยหมายพระทัยว่า จักเข้ากองไฟ เรา

จักให้ชีวิตแก่เขา แล้วทรงพาเอาอสุรกัญญา ทรงพระนามว่า สุชา

มายังกรุงพาราณสี ทรงทำให้นางสุชาเป็นแพะตัวเมีย พระองค์เอง

เป็นแพะตัวผู้ แล้วทรงอธิษฐานว่า ขออย่าให้มหาชนเห็น แล้วได้อยู่

ข้างหน้าราชรถ. พระราชาได้ทอดพระเนตรเห็นแพะนั้น และม้าที่

เทียมรถก็เห็นด้วย. แต่ใครคนอื่นไม่เห็น. แพะตัวผู้ทำท่าจะเสพเมถุน

กับแพะตัวเมีย เพื่อจะสร้างเรื่องราวขึ้น. ม้าเทียมรถตัวหนึ่ง เห็นแพะ

นั้น จึงพูดว่า เจ้าเพื่อนแพะเอ๋ย เมื่อก่อนพวกเราได้ยินเขาเล่ากันว่า

พวกแพะโง่ ไม่มีความละอาย และไม่เห็นเรื่องนั้น แต่แกทำอนาจาร

ที่จะต้องทำในที่ลับ ซึ่งเป็นสถานที่ปกปิดต่อหน้าพวกเรามีจำนวนเท่านี้

ที่กำลังดูอยู่นั่นเอง แกไม่ละอาย คำที่พวกข้าพเจ้าได้ยินมาแต่ก่อนนั้น

สมกับเหตุการณ์ที่ได้เห็นอยู่นี้ แล้วได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 121

ได้ทราบว่า เป็นความจริงที่บัณฑิต

ทั้งหลายพูดถึงแพะโง่ว่าอย่างนี้ ดูเถิดสัตว์

ที่โง่ ไม่รู้จักธรรมที่ควรทำในที่ลับและกรรม

ที่ควรทำในที่แจ้ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กลก ได้แก่ แพะ. บทว่า ปณฺฑิตา

ความว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยญาณพูดถึงแพะนั้นว่าโง่ ได้ทราบว่าพูดจริง.

บทว่า ปสฺส เป็นคำเรียกเตือน ความหมายว่า จงดูเถิด. บทว่า

น พุชฺฌติ ความว่า ไม่รู้ว่าการกระทำนั้นไม่ควร.

แพะได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

สหายเอ๋ย แกนั่นแหละโง่ ดูก่อนเจ้า

ลูกลาแกจงรู้ตัวเถิด แกถูกเชือกรัดคอไว้

มีริมฝีปากเบี้ยว มีเชือกมัดปากไว้ สหาย

เอ๋ย ความโง่แม้อย่างอื่นของแก คือ ที่แก

ถูกปลดจากแอกแล้ว แต่ไม่หนีไป สหาย

เอ๋ย พระเจ้าเสนกะที่แกลากไปนั่นแหละโง่

กว่าแก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตฺว นุ โข สมฺม ความว่า สหาย

สินธพเอ๋ย แกโง่กว่าฉันมาก. บทว่า ขุรปุตฺต ความว่า ได้ทราบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 122

ม้านั้นเป็นชาติของลา เพราะเหตุนั้น แพะจึงได้กล่าวกะม้านั้นอย่างนี้.

บทว่า วิชานหิ ความว่า แกจงรู้เถิดว่า เรานั่นแหละโง่. บทว่า

ปริกฺขิตฺโต ความว่า แกถูกเขาเอาเชือกรัตคอไว้กับแอก. บทว่า

วงฺโกฏฺโ ได้แก่ มีริมฝีปากเบี้ยว. บทว่า โอหิโตมุโข ได้แก่ มีปาก

ถูกเชือกมัดปากปิดไว้. บทว่า มุตฺโต น ปลายสิ ความว่า การที่เจ้า

พ้นจากรถ แล้วหนี้เข้าป่าไปไม่ได้ ในเวลาพ้นแล้วไม่หนีไปเป็นคนโง่

แม้อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า โส จ พาลตโร ความว่า พระเจ้าเสนกะ

ผู้ที่แกลากไปนั้น โง่กว่าแกอีก

พระราชาทรงเข้าพระทัยถ้อยคำของสัตว์ทั้ง ๒ ตัวนั้น เพราะ

ฉะนั้น เมื่อทรงสดับคำนั้น จึงทรงให้ขับรถไปค่อย ๆ. ฝ่ายม้าสินธพ

ได้ฟังคำของแพะแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

สหายอชราชเอ๋ย ข้าโง่ด้วยเหตุใดหนอ

เหตุนั้นแกก็รู้ แต่พระเจ้าเสนกะโง่ เพราะ

เหตุใด แถถูกข้าถามแล้ว จงบอกเหตุนั้น

แก่ข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย เป็นปฐมาวิภัติใช้ในความหมาย

ของตติยาวิภัติ. บทว่า นุ เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่าตามฟัง.

มีคำอธิบายไว้ว่า ดูก่อนสหายอชราช ก่อนอื่นฉันโง่ เพราะเหตุ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 123

ความเป็นสัตว์เดียรัจฉานอันใด แกรู้เหตุอันนั้น ข้อนี้แกอาจรู้ได้

เพราะว่าฉันเป็นผู้โง่เขลา เพราะเป็นสัตว์เดียรัจฉานนั่นเอง เพราะ

ฉะนั้น แกเมื่อกล่าวว่า ลูกลาเป็นต้นกะฉัน ก็ชื่อว่ากล่าวดีถูกต้อง

แต่พระเจ้าเสนกะนี้โง่ เพราะเหตุอะไร ? แกถูกข้าถามแล้ว จงบอก

ข้อนั้นแก่ข้า ดังนี้.

แพะเมื่อจะบอกเหตุนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๕ ว่า :-

ผู้ใดได้มนต์ชั้นยอดแล้วจักให้แก่ภรรยา

เพราะการให้นั้น ผู้นั้นจะสละตนทิ้งเสีย และ

เขาก็จักไม่มีภรรยานั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺตมตฺถ ได้แก่ มนต์เป็นเหตุ

รู้เสียงร้องของสัตว์ทุกชนิด. บทว่า เตน ความว่า เพราะเหตุ กล่าวคือ

การให้มนต์แก่ภรรยานั้น เขาครั้นให้มนต์นั้นแล้ว ก็จักสละตนทิ้งกระ-

โดดเข้ากองไฟ เขาก็จักไม่มีภรรยาคนนั้นเลย เพราะฉะนั้น ผู้นั้นคือ

พระเจ้าเสนกะผู้ไม่สามารถรักษายศที่ได้แล้วไว้ได้ จึงเป็นผู้โง่กว่าแก

ดังนี้.

พระราชา ครั้นทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า อชราชเอ๋ย

ก็เจ้าแม้เมื่อจะทำความสวัสดีแก่เรา จักทำสิ่งนั้น ก่อนอื่นขอเจ้าจงบอก

๑. ปาฐะว่า เยน ตาว ติรจฺฉานคโต ภทฺเรน การเณน อห พาโล ต ตว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 124

สิ่งที่ควรแก่สิ่งที่จะต้องทำแก่เรา. ครั้งนั้น อชราชจึงทูลกะพระราชา

นั้นว่า ข้าแต่มหาราชไม่มีผู้อื่นที่ชื่อว่า เป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลาย

เหล่านี้ยิ่งกว่าตน. คนไม่ควรให้ตนพินาศ ไม่ควรละทิ้งยศที่ได้แล้ว

เพราะอาศัยของรักอย่างเดียวดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาที่ ๖ ว่า :-

ข้าแต่จอมนรชน ผู้เช่นนับด้วยพระองค์

ทรงทอดอาลัยตน ไม่คบหาของรักทั้งหลายว่า

สิ่งนี้เป็นที่รักของเรา ตนเท่านั้นประเสริฐกว่า

สิ่งที่ประเสริฐอย่างยิ่งทีเดียว ผู้มีตนสั่งสม

บุญไว้แล้ว จะพึงได้หญิงที่รักในภายหลัง.

พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้นต่อไป บทว่า ปิยมฺเม ตัดบท

เป็น ปิย เม คือเป็นที่รักของเรา ปาฐะเป็นอย่างนี้ทีเดียวก็มี. มีคำ

อธิบายว่า ข้าแต่จอมนรชนบุคคลผู้ดำรงอยู่ในความยิ่งใหญ่ด้วย เช่น

พระองค์ ทอดอาลัยตน คือทอดทิ้งตน ไม่คบหาของรักเหล่านั้นเลยว่า

สิ่งนี้เป็นที่รักของเรา เพราะอาศัยหญิงที่เป็นภัณฑะที่รักคนหนึ่ง.

เพราะเหตุไร ? เพราะตนเองประเสริฐกว่าคนที่ประเสริฐอย่างยอด

อธิบายว่า เพราะเหตุที่ตนเองประเสริฐ คือล้ำเลิศ ได้แก่สูงสุดกว่า

สิ่งที่ประเสริฐอย่างยิ่ง คือเป็นภัณฑะเป็นที่รักกว่าอย่างอื่น ที่ยอดเยี่ยม

คือสูงสุด โดยการคูณด้วยร้อย คูณด้วยพัน. จริงอยู่ แม้ อักษร

ในคำว่า อตฺตาว นี้ พึงเห็นว่า เป็นนิบาตใช้ในความหมายว่าเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 125

บทว่า ลพฺภา ปิยา โอจิตตฺเตน ปจฺฉา ความว่า เพราะว่าธรรมดา

ว่าบุรุษผู้มีตนสั่งสมบุญไว้แล้ว คือมีตนเจริญแล้วอาจได้หญิงที่รักใน

ภายหลัง บุคคลไม่ควรให้ตนฉิบหายไป เพราะเหตุแห่งหญิงที่รักนั้น

ดังนี้.

พระมหาสัตว์ได้ถวายโอวาทแด่พระราชา ด้วยประการอย่างนี้.

พระราชาทรงพอพระทัย แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนอชราช ท่านมาจาก

ที่ไหน ?.

ท้าวสักกะตรัสตอบว่า ข้าแต่มหาราช เราคือท้าวสักกะมาด้วย

ความอนุเคราะห์ท่าน เพื่อจะปลดเปลื้องท่านจากความตาย.

รา. ข้าแต่เทวราช ข้าพระองค์ได้ลั่นวาจาออกไปแล้วว่า ข้า-

พระองค์จักให้มนต์แก่พระเทวี บัดนี้ ข้าพระองค์จะกระทำอย่างไร ?

สัก. ดูก่อนมหาราช ภารกิจด้วยความพินาศจะไม่มีแก่ท่าน

ทั้ง ๒ ถ้าท่านกล่าวว่า อุปจารแห่งศิลปะมีอยู่ แล้วให้คนคนหนึ่ง

เฆี่ยนพระราชเทวี ๒ - ๓ ครั้ง ด้วยอุบายนี้ นางจักไม่เรียน. พระราชา

ทรงรับเทพดำรัสว่า ดีแล้ว. พระมหาสัตว์ถวายโอวาทพระราชาแล้ว

ได้เสด็จไปยังสถานที่ของพระองค์นั่นเอง. พระราชาเสด็จไปถึงพระ-

ราชอุทยานแล้ว ตรัสสั่งให้หาพระราชเทวีมา แล้วตรัสถามว่า น้อง

นางเอ๋ย เธอจักเรียนมนต์หรือ. พระนางทูลว่า เพคะ ข้าแต่สมมติ

เทพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 126

รา. ถ้ากระนั้น เราจะทำอุปจาระแห่งศิลปะ.

เท. อุปจาระเป็นอย่างไร ?

รา. เมื่อเฆี่ยนที่หลัง ๑๐๐ ครั้ง เธอไม่ควรส่งเสียงร้อง.

พระนางทรงรับพระราชดำรัสว่า สาธุ เพราะอยากได้มนต์.

พระราชาตรัสสั่งให้เรียกเจ้าหน้าที่ฆ่าโจร คือเพชฌฆาตมาแล้ว

ให้รับเอาหวายไปเฆี่ยนทั้ง ๒ ข้าง. พระนางทรงทนทานการเฆี่ยน

๒ - ๓ ครั้งได้ ต่อจากนั้นไป ทรงร้องว่า หม่อมฉันไม่ต้องการมนต์.

ครั้งนั้นพระราชา จึงตรัสกะพระนางว่า เธอประสงค์จะเรียนมนต์

โดยให้ฉันตายไป แล้วทรงให้ถลกหนังที่พระขนองทิ้งออกไป. จำเดิม

แต่นั้นมา พระนางไม่อาจกราบทูลอีก.

พระราชา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ทรงประกาศ

สัจธรรมทั้งหลาย แล้วทรงประมวลชาดกลงไว้. ในที่สุดแห่งสัจธรรม

ภิกษุผู้กระสันอยากสึก ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. พระราชาในครั้ง

นั้น ได้เป็นภิกษุผู้กระสันอยากสึกในบัดนี้ พระราชเทวีเป็นภรรยาเก่า

ของภิกษุนั้น ม้าเป็นพระสารีบุตร ส่วนท้าวสักกเทวราชเป็นเราตถาคต

นั่นเอง ดังนี้แล.

จบ อรรถกถาขุรปุตตชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 127

๒. สูจิชาดก

ว่าด้วยเห็น

[๙๑๑] ใครต้องการซื้อเข็มที่ไม่ขรุขระ. ไม่หยาบ

ขัดด้วยหินแข็ง มีรูสำหรับร้อยด้ายดี ทั้งเล่ม

เล็ก ทั้งปลายคม.

[๙๑๒] ใครต้องการซื้อเข็มที่ขัดดีแล้ว มีรูร้อย

ด้ายเรียบร้อย ที่ให้เป็นไปดีแล้วตามลำดับ ที่

กัดทั่งทะลุและแข็งแกร่ง.

[๙๑๓] เดี๋ยวนี้ เข็มและเบ็ดทั้งหลายเป็นสินค้า

ออกไปจากบ้านนี้ นี้ใครต้องการขายเข็ม ใน

หมู่บ้านช่างเหล็ก ?

[๙๑๔] ศัสตราทั้งหลายไปจากหมู่บ้านนี้. การ

งานมากอย่างต่าง ๆ ชนิด เป็นไปในหมู่บ้านนี้

นี้ใครควรจะขายเข็มในหมู่บ้านช่างเหล็ก.

[๙๑๕] ผู้ฉลาดจะต้องขายเข็มในหมู่บ้านช่าง-

เหล็ก อาจารย์ช่างทั้งหลาย จึงจะเข้าใจงาน

ว่าทำดีหรือไม่ดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 128

[๙๑๖] น้องนางเอ๋ย บิดาของเธอคงรู้เข็มเล่มนี้

ที่เราทำ และคงจะเชื่อเชิญเราด้วยตัวเธอ และ

ทรัพย์อย่างอื่นที่มีอยู่ในเรือน.

จบ สูจิชาดกที่ ๒

อรรถกถาสูจิชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ปัญญาบารมีแล้ว จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อกกฺกส ดังนี้. เรื่อง

จักมีแจ้งชัดในมหาอุมมังคชาดก.

ก็ในคราวครั้งนั้น พระศาสดาได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้ว

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เฉพาะแต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาล

ก่อน ตถาคตก็เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ฉลาดในอุบายทีเดียว. แล้วได้ทรง

นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดในตระกูลช่างเหล็ก ในแคว้นกาสี

เติบใหญ่แล้วได้เป็นผู้สำเร็จศิลปะ. แต่มารดาบิดาของท่านเป็นคนยาก

จน. ในที่ไม่ไกลจากบ้านของมารดาบิดาของท่านนั้น มีหมู่บ้านช่าง-

เหล็กหมู่อื่นพันหลังคาเรือน ช่างเหล็กผู้เป็นหัวหน้าช่างเหล็กพันหลัง-

คาเรือนในหมู่บ้านนั้น เป็นราชวัลลภผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก. เขามีธิดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 129

คนหนึ่ง มีรูปโฉมสวยสุด เทียมสาวสวรรค์ ประกอบด้วยลักษณะของ

นางงามชนบท. คนทั้งหลายในหมู่บ้านรอบ ๆ บ้านพากันมาถึงหมู่บ้าน

นั้น เพื่อต้องการจ้างตีมีดตีขวาน และหล่อผาลไถนา โดยมากก็เห็น

หญิงสาวคนนั้น. พวกเขากลับไปบ้านของตน ๆ แล้วสรรเสริญรูปโฉม

ของนาง ในที่นั่งและที่ยืนเป็นต้น. พระโพธิสัตว์ได้ยินคำชมนั้นแล้ว

ติดใจ เพราะเกี่ยวข้องกับการได้ยิน จึงคิดว่า เราจักเอานางกุมาริกา

นั้นมาเป็นบาทบริจาริกา คือภริยา. แล้วได้เอาเหล็กเนื้อดีที่สุด ทำให้

เป็นเล่มเข็มเล็ก สุขุมเล่มหนึ่ง เจาะห่วงก้นเข็ม แล้วถ่วงไว้ในน้ำ ทำ

กลักเข็มนั้นแบบเข็มนั่นแหละ อีกอันหนึ่งเจาะห่วงไว้ ได้ทำกลักเข็มนั้น

โดยทำนองนี้ ๗ ชั้น. ไม่ควรพูดว่า ทำได้อย่างไร ? ด้วยว่าเหตุการณ์

สำเร็จได้ เพราะพระโพธิสัตว์มีความรู้มาก. พระโพธิสัตว์นั้น สอด

เข็มนั้นไว้ในตลับ เก็บไว้ในชายพกแล้วไปหมู่บ้านนั้น ถามถึงถนน

ที่อยู่ของหัวหน้าช่างเหล็ก ไปถึงที่นั้นแล้วยืนที่ประตู กล่าวว่า ใคร

ต้องการซื้อเข็มที่มีรูปร่างอย่างนี้ จากมือของข้าพเจ้าด้วยมูลค่าดังนี้. เมื่อ

จะพรรณนาถึงเข็ม จึงได้ยินใกล้ประตูเรือนหัวหน้าช่างเหล็กแล้วกล่าว

คาถาที่ ๑ ว่า :-

ใครต้องการซื้อเข็มที่ไม่ขรุขระ ไม่หยาบ

ขัดด้วยหินแข็ง มีรูสำหรับร้อยด้ายดี ทั้งเล่ม

เล็ก ทั้งมีปลายคม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 130

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ใครต้องการซื้อเข็มของเรา ที่ชื่อว่าไม่

ขรุขระ เพราะไม่มีปม ไฝฝ้าหรือรอย. ชื่อว่า ไม่หยาบ เพราะเกลี้ยง-

เกลา. ชื่อว่า ขัดด้วยของแข็ง เพราะขัดแล้วด้วยของแข็ง คือของที่

แก่น ได้แก่หิน. ชื่อว่า มีรูสำหรับร้อยด้วยดี เพราะประกอบด้วยห่วง

คือรูร้อยที่ดีงาม คือหมดจดดี ชื่อว่า เล็ก เพราะละเอียด ชื่อว่า มี

ปลายคม เพราะคมที่ปลาย จากมือของเราโดยให้มูลค่าราคา.

ก็แล ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อจะพรรณนาถึงเข็มนั้นอีก จึง

ได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ใครต้องการซื้อเข็ม ที่ขัดดีแล้ว มีรูร้อย

ด้ายเรียบร้อย ที่ให้เป็นไปดีแล้วตามลำดับ ที่

กัดทั่งทะลุและแข็งแกร่ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุมชฺช ความว่า ที่ขัดแล้วด้วยดี

ด้วยผงที่ได้จากแคว้นกุรุ. บทว่า สุปาส ความว่า ชื่อว่า มีห่วง คือ

รูก้นเข็มดี เพราะเจาะด้วยสว่านเจาะรูที่ละเอียด. บทว่า ฆนฆาติม

ความว่า เข็มที่ถูกตีทะลุทั่งเข้าไปตามลำดับ นี้เรียกว่า ฆนหาติมา

อธิบายว่า เป็นเช่นนั้น. บทว่า ปฏิตฺถทฺธ ความว่า แข็ง คือ ไม่อ่อน.

ขณะนั้น นางกุมาริกานั้น กำลังใช้พัดใบตาลพัดบิดา ผู้รับ-

ประทานอาหารเช้าแล้วนอนอยู่บนที่นอนเล็ก เพื่อระงับความไม่สบาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 131

ได้ยินเสียงที่ไพเราะของพระโพธิสัตว์ เหมือนเอาก้อนเนื้อสดฟาดหัวใจ

และเหมือนถูกดับด้วยความร้อนอบอ้าว ด้วยน้ำพันหม้อ สงสัยว่า นั่น

ใครหนอร้องขายเข็มที่หมู่บ้านเป็นที่อยู่ของช่างเหล็ก ด้วยเสียงไพเราะ

นัก ? เขามาด้วยกิจกรรมอะไรหนอ ? เราจักรู้จักเขา แล้ววางพัดใบตาล

ไว้ ออกจากบ้านไปยืนที่เฉลียงข้างนอก พูดกับพระโพธิสัตว์นั้น. ตาม

ธรรมดาความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย. เพราะว่า

ท่านมาหมู่บ้านนั้น ก็เพื่อความต้องการหญิงสาวคนนั้นนั่นเอง. นาง

นั่นแหละ เมื่อจะพูดกับพระโพธิสัตว์นั้น จึงพูดว่า ข้าแต่มาณพ ชาว

รัฐทั่ว ๆ ไป มาหมู่บ้านนี้เพื่อต้องการเข็มเป็นต้น แต่คุณมาเพื่อจะขาย

เข็มในบ้านช่างเหล็ก เพราะความโง่ ถ้าแม้นว่า คุณกล่าวสรรเสริญ

เข็มตลอดทั้งวันไซร้ ก็จักไม่มีใครรับเอาเข็มนั้นจากมือของคุณ ถ้าหาก

คุณอยากได้มูลค่าไซร้ ก็จงไปหมู่บ้านอื่น แล้วได้กล่าวคาถา ๒ คาถา

เดี๋ยวนี้ เข็มและเบ็ดทั้งหลายเป็นสินค้า

ออกไปจากบ้านนี้ นี้ใครต้องการขายเข็ม ใน

หมู่บ้านช่างเหล็ก ศัสตราทั้งหลายไปจากหมู่

บ้านนี้ การงานมากอย่างต่าง ๆ ชนิด เป็นไป

ในหมู่บ้านนี้ นี้ใครควรจะขายเข็มในหมู่บ้าน

ช่างเหล็ก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 132

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิโต ทานิ ความว่า เข็ม เบ็ด

และเครื่องอุปกรณ์อื่น ๆ ในรัฐนี้ ในขณะนี้ออกไปจากหมู่บ้านช่างเหล็ก

นี้. บทว่า ปตายนฺติ ความว่า ออกไป คือแผ่ไปตลอดวันนั้น ๆ. บทว่า

โกย ความว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครต้องการจะขายเข็มที่หมู่บ้านช่าง

เหล็กนี้. บทว่า สตฺถานิ ความว่า แม้ศัสตรานานาชนิด ที่มาสู่เมือง

พาราณสี ก็ไปจากหมู่บ้านนี้นั่นเอง. บทว่า วิวิธา ปุถู ความว่า

การงานนานาประการตั้งมากมาย เป็นไปอยู่ เพราะเครื่องอุปกรณ์ทั้ง-

หลายที่ผู้อยู่ในรัฐทั้งสิ้น เอามาจากหมู่บ้านนี้เอง.

พระโพธิสัตว์ได้ยินคำของนางแล้ว จึงกล่าวว่า น้องนางเอ๋ย

น้องไม่รู้ เพราะไม่รู้จึงพูดอย่างนี้ แล้วได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ผู้ฉลาดจะต้องขายเข็ม ในหมู่บ้านช่าง-

เหล็ก อาจารย์ช่างทั้งหลาย จึงจะเข้าใจงาน

ว่าทำดีหรือไม่ดี. น้องนางเอ๋ย บิดาของเธอ

คงรู้เข็มเล่มนี้ที่เราทำแล้ว และคงจะเชื้อเชิญ

เราด้วยตัวเธอ และทรัพย์อย่างอื่นที่มีอยู่ใน

เรือน.

ศัพท์ว่า สูจึ ในคาถานั้น ท่านกล่าววิภัติคลาดเคลื่อน คือ

กล่าวปฐมาวิภัติเป็นทุติยาวิภัติไป. มีคำอธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า เข็ม ต้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 133

คนฉลาด คือเป็นบัณฑิต จึงจะขายในหมู่บ้านช่างเหล็กได้นั้นแหละ.

เพราะเหตุไร ? บทว่า อาจริยา ปชานนฺติ กมฺม สุกตทุกฺกฏ ความ

ว่า ก็อาจารย์ช่างศิลปประเภทนั้น จึงจะรู้งานที่ทำดีหรือไม่ดีในศิลป

ประเภทนั้น ๆ ถ้าหากเรานั้นไปบ้านคฤหบดีทั้งหลาย ผู้ไม่รู้งานของช่าง

เหล็ก จักให้เขารู้ได้อย่างไรว่าเราทำเข็มดีหรือไม่ดี ? แต่ในบ้านนี้

ฉันจักให้ช่างทั้งหลายรู้กำลังของฉัน. พระโพธิสัตว์พรรณนากำลังของ

ตนด้วยคาถานี้อย่างนี้. บทว่า ตยา จ ม นิมนฺเตยฺย ความว่า

น้องนางเอ๋ย ถ้าบิดาของเธอพึงรู้เข็มเล่มที่ฉันทำนี้ว่า เข็มชนิดนี้ หรือ

เล่มนี้เป็นอย่างนี้แล้วไซร้ ท่านคงจะเชิญฉันด้วยตัวเธออย่างนี้ว่า ฉัน

จะให้ธิดาคนนี้เป็นบาทบริจาริกาของคุณ ขอจงรับเอานาง ดังนี้ด้วย.

บทว่า ยญฺจตฺกญฺ ฆเร ธน ความว่า ทรัพย์อย่างอื่นอันใดที่มี

วิญญาณก็ตาม ไม่มีวิญญาณก็ตาม มีอยู่ในเรือน บิดาของเธอคงเชื้อเชิญ

ฉันด้วยทรัพย์นั้นด้วย. ปาฐะว่า. ยญฺจสฺสญฺ บ้าง ดังนี้ก็มี มีความ

หมายว่า ทรัพย์อย่างอื่นในเรือนของเขามีอยู่.

หัวหน้าช่างเหล็กได้ยินถ้อยคำของคนทั้ง ๒ นั้นแล้ว จึงร้องเรียก

ธิดาว่า แม่หนู ๆ แล้วถามว่า หนูเจรจากับใคร ?

พ่อ หนูเจรจากับชายคนหนึ่งที่ขายเข็ม ธิดาตอบ.

ลูกจงเรียกเขามาหาพ่อ พ่อสั่ง นางจึงไปเรียก พระโพธิสัตว์นั้น

จึงเข้าไปในบ้าน ไหว้หัวหน้าช่างเหล็กแล้วได้ยืนอยู่. ลำดับนั้น หัวหน้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 134

ช่างเหล็กนั้น จึงถามว่า พ่อคุณเป็นคนชาวบ้านไหน ?

ผมเป็นคนชาวบ้านโน้น เป็นลูกของช่างเหล็กชื่อโน้น พระ-

โพธิสัตว์ตอบ.

เหตุไฉนคุณจึงมาที่นี้ หัวหน้าช่างเหล็กซัก.

มาเพื่อขายเข็มครับ พระโพธิสัตว์ตอบ.

ขอดูเข็มของคุณซิ หัวหน้าช่างเหล็กพูด.

พระโพธิสัตว์ต้องการจะประกาศคุณของตน ท่ามกลางช่างทั้ง-

หมด จึงถามว่า การดูท่ามกลางช่างทั้งหมดดีกว่าดูเป็นคน ๆ ไปไม่ใช่

หรือครับ ? หัวหน้าช่างเหล็กตอบว่า ดีแล้วคุณ จึงสั่งให้ช่างเหล็กทั้ง-

หมดมาประชุมกัน มีช่างเหล่านั้นแวดล้อมแล้วพูดว่า เอาออกมาเถอะ

คุณ พวกผมจะดูเข็มของคุณ. พระโพธิสัตว์ขอร้องว่า อาจารย์ครับ

ขอให้นำทั้งมา ๑ อันกับถาดสัมฤทธิ์มีน้ำเต็มมา ๑ ใบ เขาก็ให้คนนำมา

ให้. พระโพธิสัตว์จึงนำ ตลับเข็มออกมาจากชายพกแล้ว ได้มอบให้ไป.

หัวหน้าช่างเหล็กนำเข็มออกจากตลับนั้นแล้ว ถามว่า พ่อคุณ นี้หรือ

เข็ม ? นี้ไม่ใช่เข็มนั้นเป็นกลักเข็ม พระโพธิสัตว์ตอบ. เขาพิจารณา

ดูแล้วไม่เห็นก้นไม่เห็นปลายเข็มเลย. พระโพธิสัตว์จึงให้นำมาแล้วเอา

เล็บแคะกลักออกไป แสดงให้มหาชนเห็นว่า นี้เข็ม นี้กล่องเข็ม แล้ว

วางเข็มไว้ที่มือของอาจารย์ วางกล่องไว้ใกล้เท้า. ท่านถูกอาจารย์นั้น

ถามอีกว่า นี้เห็นจะเป็นเข็มนะพ่อคุณ จึงบอกว่า นี้ก็ไม่ใช่เข็ม เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 135

กลักเข็มเหมือนกัน แล้วพลางเอาเล็บสะกิดออกวางกลักเข็ม ๖ กลักไว้

ใกล้เท้าของช่างเหล็กตามลำดับแล้ว จึงวางเข็มไว้บนมือเขาโดยบอกว่า

นี้เข็ม. ช่างเหล็กพันคนพากันดีดนิ้วปรบมือ ? การชูผ้า เป็นไปแล้ว

คือโบกผ้า. ลำดับนั้น หัวหน้าช่างเหล็ก จึงได้ถามพระโพธิสัตว์นั้นว่า

เข็มนี้มีกำลังอย่างไร ?

พระโพธิสัตว์ ข้าแต่ท่านอาจารย์ ขอให้ท่านใช้ให้ผู้ชายที่มีกำลัง

ยกทั่งขึ้นแล้วให้วางถาดน้ำไว้ใต้ทั่งแล้วตอกเข็มนี้ลงกลางทั่งเถิด. เขาให้

คนทำอย่างนั้นแล้วตอกปลายเข็มลงกลางทั้ง. เข็มนั้นทะลุทั่งลงไป วาง

ขวางอยู่เหนือหลังน้ำ ไม่สูงไม่ต่ำ แม้ประมาณเท่าปลายผม. ช่างเหล็ก

ทั้งหมดพูดว่า ชั่วเวลาถึงปานนี้พวกเราไม่เคยได้ยินได้ฟังเลยว่า ขึ้น

ชื่อว่าช่างเหล็กทั้งหลาย เช่นนี้มีอยู่ แล้วพากันปรบมือ ชูผ้าขึ้นเป็น

พัน ๆ. หัวหน้าช่างเหล็กเรียกธิดาให้มาหา และประกาศท่ามกลางบริษัท

นั้นเองว่า กุมาริกานี้สมควรแก่คุณเท่านั้น แล้วได้หลั่งน้ำใส่มือมอบให้.

ในเวลาต่อมาพระโพธิสัตว์นั้น ได้เป็นหัวหน้าช่างเหล็กแทนในหมู่บ้าน

นั้น โดยที่หัวหน้าช่างเหล็กล่วงลับไปแล้ว.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจจะแล้วทรงประชุมชาดกว่า ธิดาของหัวหน้าช่างเหล็กในกาลครั้งนั้น

ได้เป็นมารดาพระราหุลในบัดนี้ ส่วนหัวหน้า คือเราตถาคต. ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสูจิชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 136

๓. ตุณฑิลชาดก

ว่าด้วยธรรมเหมือนน้ำ บาปธรรมเหมือนเหงื่อไคล

[๙๑๗] บัดนี้ วันนี้ แม่เราให้อาหารสำหรับขุน

ใหม่ รางอาหารนี้เต็ม นายแม่ยืนใกล้ราง

อาหาร คนหลายคนมีมือถือบ่วง อาหารนั้น

ไม่แจ่มชัดสำหรับฉัน เพื่อจะกินอาหาร.

[๙๑๘] เจ้าสะดุ้ง เจ้าหัวหมุนไปไย ? เจ้า

ประสงค์จะหลีกหนีไป เจ้าไม่มีผู้ต้านทาน จัก

ไปไหน ? น้องตุณฑิละเอ๋ย เจ้าจงเป็นผู้ขวน-

ขวายแต่น้อย กินไปเถิด พวกเราถูกขุนเพื่อ

ต้องการเนื้อ.

[๙๑๙] เจ้าจงลงสู่ห้วงน้ำ ที่ไม่มีโคลนตม ชำระ.

ล้างเหงื่อไคลทั้งหมด แล้วถือเอาเครื่องลูบไล้

ใหม่ ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมา มีกลิ่นหอมไม่ขาด

สาย.

[๙๒๐] ห้วงน้ำอะไรหนอที่ไม่มีโคลนตม ? อะไร

หนอเรียกว่าเหงื่อไคล ? อะไรเรียกว่าเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 137

ลูบไล้ใหม่ ? กลิ่นอะไรไม่ขาดหาย มาแต่ไหน

แต่ไร ?

[๙๒๑] ห้วงน้ำคือพระธรรม ไม่มีโคลนตม. บาป

เรียกว่าเหงื่อไคล และศีลเรียกว่าเครื่องลูบไล้

ใหม่ แต่ไหนแต่ไรมา กลิ่นของศีลนั้นไม่เคย

ขาดหายไป.

[๙๒๒] เหล่าชน ผู้ไม่รู้ ผู้ฆ่าสัตว์กิน เป็นปกติ

จะเพลิดเพลินใจ ส่วนผู้รักษาชีวิตสัตว์ ไม่

ฆ่าสัตว์ เป็นปกติ จะไม่เพลิดเพลินใจ เมื่อ

วันเดือนเพ็ญมีพระจันทร์เต็มดวงแล้ว เหล่า

ชนผู้รื่นเริงใจอยู่เท่านั้น จึงจะสละชีพได้.

จบ ตุณฑิลชาดกที่ ๓

อรรถกถาตุณฑิลชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุผู้กลัวตายรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า นวจฺฉทฺทเก ดังนี้.

ได้ยินว่า กุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีนั้น บวชในพระศาสนาแต่ได้

เป็นผู้กลัวตาย. เธอได้ยินเสียงกิ่งไม้สั่นไหว. ท่อนไม้ตก. เสียงนก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 138

หรือสัตว์สี่เท้า แม้เพียงเล็กน้อย คือเบา ๆ หรือเสียงอย่างอื่นแบบนั้น

ก็จะเป็นผู้ถูกภัยคือความตายขู่ เดินตัวในรูปเหมือนกระต่ายถูกแทงที่

ท้องฉะนั้น. ภิกษุทั้งหลายพากันตั้งคาถา คือเรื่องสนทนา ขึ้นในธรรม

สภาว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุชื่อโน้นกลัวตาย ได้ยินเสียงแม้เพียง

เล็กน้อย ก็ร้องพลางวิ่งพลางหนีไป ควรจะมนสิการว่า ก็ความตาย

ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้เท่านั้นเป็นของเที่ยง แต่ชีวิตไม่เที่ยง ดังนี้.

พระศาสดาเสด็จมาถึง ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่งสนทนากัน

ด้วยเรื่องอะไรนะ เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ ดังนี้แล้ว

ตรัสสั่งให้หาภิกษุนั้นมา แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ทราบว่า เธอ

กลัวตายจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นทูลรับว่า ถูกแล้วพระเจ้าข้า ดังนี้ จึง

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เฉพาะในปัจจุบันนี้เท่านั้น แม้ในชาติ

ก่อน ภิกษุนี้ก็กลัวตายเหมือนกัน แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา

สาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์ ได้ถือปฏิสนธิในท้องของแม่สุกร. แม่สุกร

ท้องแก่ครบกำหนดแล้ว คลอดลูก ๒ ตัว. อยู่มาวันหนึ่งมันพาลูก

๒ ตัวนั้นไปนอนที่หลุมแห่งหนึ่ง. กาละครั้งนั้น หญิงชราคนหนึ่งมี

ปกติอยู่บ้านใกล้ประตูนครพาราณสี เก็บฝ้ายได้เต็มกระบุงจากไร่ฝ้าย

เดินเอาไม้เท้ายันดินมา. แม่สุกรได้ยินเสียงนั้นแล้ว ทิ้งลูกน้อยหนีไป

เพราะกลัวตาย. หญิงชราเห็นลูกสุกรกลับได้ความสำคัญว่าเป็นลูก จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 139

เอาใส่กระบุงไปถึงเรือน แล้วตั้งชื่อตัวพี่ว่า มหาตุณฑิละ ตัวน้องว่า

จุลตัณฑิละ เลี้ยงมันเหมือนลูก. ในเวลาต่อมามันเติบโตขึ้น ได้มีร่าง

กายอ้วน. หญิงชราถึงจะถูกทาบทามว่า จงขายหมูเหล่านี้ให้พวกฉัน

เถิด ก็บอกว่า ลูกของฉัน แล้วไม่ให้ใคร. ภายหลังในวันมหรสพ

วันหนึ่งพวกนักเลงดื่มสุรา เมื่อเนื้อหมดก็หารือกันว่า พวกเราจะได้

เนื้อจากที่ไหนหนอ ทราบว่า ที่บ้านหญิงชรามีสุกร จึงพากันถือเหล้า

ไปที่นั้น พูดว่า คุณยายครับ ขอให้คุณยายรับเอาราคาสุกรแล้วให้สุกร

ตัวหนึ่งแก่พวกผมเถิด. หญิงชรานั้น แม้จะปฏิเสธว่า อย่าเลยหลาน

เอ๋ย สุกรนั้นเป็นลูกฉัน ธรรมดาคนจะให้ลูกแก่คนที่ต้องการจะกิน

เนื้อไม่มีหรอก. พวกนักเลงแม้จะอ้อนวอนแล้วอ้อนวอนเล่าว่า ขึ้นชื่อ

ว่าหมูจะเป็นลูกของคนไม่มีนะ ให้มันแก่พวกผมเถิด ก็ไม่ได้สุกร จึง

ให้หญิงชราดื่มสุรา เวลาแกเมาแล้วก็พูดว่า ยาย ยายจะทำอะไรกับหมู ?

ยายเอาราคาหมูนี้ไปไว้ทำเป็นค่าใช้จ่ายเถิด แล้ววางเหรียญกระษาปณ์

ไว้ในมือหญิงชรา. หญิงชรารับเอาเหรียญกระษาปณ์ พูดว่า หลายเอ๋ย

ยายไม่อาจจะให้สุกรชื่อมหาตุณฑิกะได้ แก่จงพากันเอาจุลตุณฑิละไป.

มันอยู่ที่ไหน ? นักเลงถาม.

ที่กอไม้กอโน้น หญิงชราตอบ.

ยายให้เสียง เรียกมันสิ นักเลงสั่ง.

ฉันไม่เห็นอาหาร หญิงชราตอบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 140

นักเลงทั้งหลายจึงให้ค่าอาหารให้ไปนำข้าวมา ๑ ถาด. หญิงชรา

รับเอาค่าอาหารนั้น จัดชื้อข้าว เทให้เต็มรางหมูที่วางไว้ใกล้ประตูแล้ว

ได้ยืนอยู่ใกล้ ๆ ราง. นักเลงประมาณ ๓. คน มีบ่วงในมือ ได้ยืน

อยู่ ณ ที่นั้นนั่นเอง. หญิงชราได้ให้เสียงร้องเรียกหมูว่า ลูกจุลตุณ-

ฑิละมาโว้ย. มหาตุณฑิละได้ยินเพียงนั้นแล้วรู้แล้วว่า ตลอดเวลา

ประมาณเท่านี้ แม่เราไม่เคยให้เสียงแก่จุลตุณฑิละ ส่งเสียงถึงเราก่อน

ทั้งนั้น วันนี้คงจักมีภัยเกิดขึ้นแก่พวกเราแน่แท้. มหาตุณฑิละ จึง

เรียกจุลตุณฑิละมาแล้วบอกว่า น้องเอ๋ย แม่ของเราเรียกเจ้า เจ้าลงไป

ให้รู้เรื่องก่อน. จุลตุณฑิละ. ก็ออกจากกอไม้ไปเห็นว่านักเลงเหล่านั้น

ยืนอยู่ใกล้รางข้าวก็รู้ว่า วันนี้ความตายจะเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ถูกมรณภัย

คุกคามอยู่ จึงหันกลับตัวสั่นไปหาพี่ชายไม่อาจจะยืนอยู่ได้ตัวสั่นหมุนไป

รอบ ๆ. มหาตุณฑิละเห็นเขาแล้วจึงถามว่า น้องเอ๋ย ก็วันนี้เจ้าสั่นเทา

ไป เห็นสถานที่เป็นที่เข้าไปแล้ว เจ้าทำอะไรนั่น. มันเมื่อจะบอกเหตุ

ที่ตนได้เห็นมา จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า:-

บัดนี้ วันนี้แม่เราให้อาหารสำหรับขุนใหม่

รางอาหารนี้เต็ม นายแม่ยืนใกล้รางอาหาร คน

หลายคนมีมือถือบ่วง อาหารนั้นไม่แจ่มชัด

สำหรับฉัน เพื่อกินอาหาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 141

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นวจฺฉทฺทเก ทานิ ทิยฺยติ ความว่า

พี่ เมื่อก่อนแม่ให้ข้าวต้มที่ปรุงด้วยรำหรือข้าวสวย ที่ปรุงด้วยข้าว

ตังแก่พวกเรา แต่วันนี้ให้อาหารสำหรับขุนใหม่ คือทานมีอาหารใหม่.

บทว่า ปุณฺณาย โทณิ ความว่า รางอาหารของพวกเรานี้ เต็มไป

ด้วยข้าวสวยล้วน ๆ. บทว่า สุวามินี ิตา ความว่า ฝ่ายนายแม่ของ

พวกเรา ก็ได้ยืนอยู่ใกล้ ๆ รางอาหารนั้น. บทว่า พหุโก ชโน ความ

ว่า มิใช่แต่นายแม่ยืนอย่างเดียวเท่านั้น แม้คนอื่นอีกหลายคน ได้ยืน

มีมือถือบ่วงอยู่. บทว่า โน จ โข เม ปฏิภาติ ความว่า แม้ภาวะที่คน

เหล่านี้ ยืนอยู่แล้วอย่างนี้ ไม่แจ่มกระจ่างสำหรับฉัน อธิบายว่า ฉันไม่

ชอบใจ แม้เพื่อจะกินข้าวนี้.

มหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว พูดว่า น้องจุลตุณฑิละเอ๋ย ได้ทราบว่า

ธรรมดาแม่ของเรา เมื่อเลี้ยงสุกรไว้ในที่นี้นั่นเอง ย่อมเลี้ยงเพื่อ

ประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้นของท่านถึงที่สุดแล้วในวันนี้ น้อง

อย่าคิดเลย เมื่อจะแสดงธรรมโดยลีลาพระพุทธเจ้า ด้วยเสียงที่ไพเราะ

จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

เจ้าสะดุ้ง เจ้าหัวหมุนรูปไปไย ? เจ้าประสงค์

จะหลีกหนีไป เจ้าไม่มีผู้ต้านทานจักไปไหน ?

น้องตุณฑิละเอ๋ยเจ้าจงเป็นผู้ขวนขวายแต่น้อย

กินไปเถิด พวกเราถูกเขาขุนเพื่อต้องการเนื้อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 142

เจ้าจงลงสู่ห่วงน้ำที่ไม่มีโคลนตม ชำระล้าง

เหงื่อไคลทั้งหมด แล้วถือเอาเครื่องลูบไล้ใหม่

ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมา มีกลิ่นหอมไม่ขาดสาย.

เมื่อมหาตุณฑิละมหาสัตว์นั้น รำลึกถึงบารมีทั้งหลาย แล้วทำ

เมตตาบารมีให้เป็นปุเรจาริก ออกหน้า ยกบทแรกมาเป็นตัวอย่างอยู่

นั่นเอง เสียงได้ดังไปท่วมนครพาราณสี ที่กว้างยาวทั้งสิ้น ๑๒ โยชน์.

ในขณะที่คนทั้งหลายได้ยิน ๆ นั่นแหละ ชาวนครพาราณสี ตั้งต้นแต่

พระราชา และพระอุปราชเป็นต้น ได้พากันมาตามเสียง. ฝ่ายผู้ไม่

ได้มาอยู่ที่บ้านนั่นเองก็ได้ยิน. ราชบุรุษทั้งหลายพากันถางพุ่มไม้ ปราบ

พื้นที่ให้เสมอแล้วเกลี่ยทรายลง. ผู้ให้สุราแก่นักเลงทั้งหลายก็งดให้.

พวกนักเลงพากันทิ้งบ่วงแล้วได้ยินฟังธรรมกันทั้งนั้น. ฝ่ายหญิงชราก็

หายเมา. มหาสัตว์ได้กล่าวปรารภเทศนาแก่จุลตุณฑิละท่ามกลางมหาชน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสสิ ภมสิ ความว่า หวาดสะดุ้ง

เพราะกลัวตาย เมื่อลำบากด้วยความหวาดสะดุ้ง เพราะความกลัวตาย

นั้นนั่นแหละ เธอจึงหัวหมุน. บทว่า เลณมิจฺฉสิ ได้แก่มองหาที่พึ่ง

บทว่า อตาโณสิ ความว่า น้องเอ๋ย เมื่อก่อนมารดาของเราเป็นที่พึ่ง

ที่ระลึกได้ แต่วันนี้ท่านหมดอาลัยทอดทิ้งเราแล้ว บัดนี้เจ้าจักไปไหน.

บทว่า โอคาห ได้แก่ลงไปอยู่. อีกอย่างหนึ่งปาฐะว่าอย่างนี้เหมือนกัน

บทว่า ปวาหย ได้แก่ให้เหงื่อไคลทั้งหมดลอยไป. บทว่า น ฉิชฺชติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 143

ได้แก่ไม่หายไป. มีอธิบายว่า ถ้าหากเจ้าสะดุ้งกลัวความตายไซร้

ก็จงลงสู่สระโบกขรณีที่ไม่มีโคลนตม ชำระล้างเหงื่อและไคลทั้งหมด

ในตัวของเจ้า แล้วลูบไล้ด้วยเครื่องลูบไล้ที่หอมฟุ้งอยู่เป็นนิตย์.

จุลตุณฑิละได้ยินคำนั้นแล้วคิดว่า พี่ชายของเราพูดอย่างนี้ วงศ์

ของพวกเราไม่มีการลงสระโบกขรณี แล้วอาบน้ำชำระล้างเหงื่อไคล

ออกจากสรีระร่าง การนำเอาเครื่องลูบไล้เก่าออกไปแล้วเอาเครื่องลูบไล้

ใหม่ที่มีกลิ่นหอมฟุ้งลูบไล้ไม่มีในกาลไหนเลย พี่ชายของเราพูดอย่าง

นี้ หมายถึง อะไรกันหนอ ดังนี้แล้ว เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถาที่ ๘ ว่า :-

ห้วงน้ำอะไรหนอที่ไม่มีโคลนตม ? อะไร

หนอ เรียกว่าเหงื่อไคล ? อะไรเรียกว่าเครื่อง

ลูบไล้ใหม่ ? กลิ่นอะไรไม่ขาดหายมาแต่ไหน

แต่ไร ?

พระมหาสัตว์ได้ยินคำตอบนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นเธอจง

เงี่ยโสตฟัง เมื่อจะแสดงธรรมด้วยพุทธลีลา ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า:-

ห้วงน้ำคือพระธรรมไม่มีโคลนตม บาป

เรียกว่าเหงื่อไคล และศีลเรียกว่าเครื่องลูบไล้

ใหม่ แต่ไหนแต่ไรมา กลิ่นของศีลนั้นไม่ขาด

หายไป เหล่าชน ผู้ไม่รู้ ผู้ฆ่าสัตว์กิน เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 144

ปกติ จะเพลิดเพลินใจ ส่วนผู้รักษาชีวิตสัตว์

ไม่ฆ่าสัตว์ เป็นปกติ จะไม่เพลิดเพลินใจ เมื่อ

วันเดือนเพ็ญ มีพระจันทร์เต็มดวงแล้ว เหล่า

ชนผู้รื่นเริงใจอยู่เท่านั้น จึงจะสละชีพได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ความว่า ธรรมะแม้ทั้งหมด

นี้ คือศีล ๕ ศีล ๑๐ สุจริต ๓ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และ

อมตมหานิพพาน ชื่อว่า ธรรม. บทว่า อกทฺทโม ความว่า ชื่อว่าไม่

มีโคลนตม เพราะไม่มีโคลนตมคือกิเลส ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ

มานะ และทิฐิ. ด้วยบทนี้ มหาตุณฑิละ งดธรรมที่เหลือไว้แสดงพระ-

นิพพานเท่านั้น เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมทั้งหลายมีปัจจัย. ปรุงแต่งก็ดีงาม ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งก็ตาม มี

ประมาณเท่าใด วิราคธรรมท่านกล่าวว่าล้ำเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น ได้

แก่ธรรมให้สร่างเมา. ปราศจากความหิวระหาย. ถอนอาลัยออกได้

ตัดวัฏฏะได้ เป็นที่สิ้นตัณหา วิราคะ คือคลายกำหนัด นิโรธ คือดับ

ตัณหาไม่มีเหลือ นิพพาน คือดับกิเลสและทุกข์หมด. นัยว่าพระโพธิ-

สัตว์ เมื่อจะแสดงพระนิพพานนั้นนั่นแหละ จึงกล่าวอย่างนี้ ด้วย

อำนาจอุปนิสสัยปัจจัยว่า น้องจุลตุณฑิละเอ๋ย เราเรียกสระคือพระ-

นิพพานว่า ห้วงน้ำ เพราะในพระนิพพานนั้นนั่นเอง ไม่มีชาติ ชรา

พยาธิ และมรณทุกข์เป็นต้น แม้ว่าหากจะมีผู้ประสงค์จะพ้นจากมรณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 145

ก็จงเรียนข้อปฏิบัติที่จะให้ถึงพระนิพพาน. บทว่า ปาป เสทมล ความ

ว่า น้องจุลตุณฑิละเอ๋ย บัณฑิตในสมัยก่อนทั้งหลายเรียกบาปว่าเป็น

เหงื่อไคล เพราะเป็นเช่นกับเหงื่อไคล. ก็บาปนี้นั้นมีอย่างเดียวคือ

กิเลสเครื่องประทุษร้ายใจ บาปมี ๒ อย่างคือ ศีลที่เลวทรามกับทิฐิที่

เลวทราม. บาปมี ๓ อย่าง คือ ทุจริต ๓. บาปมี ๔ อย่าง คือ การลุ

อำนาจอคติ ๔ อย่าง. บาปมี ๕ อย่าง คือ สลักใจ ๕ อย่าง. บาปมี

๖ อย่าง คือ อคารวะ ๖ อย่าง. บาปมี ๗ อย่าง คือ อสัทธรรม ๗

ประการ. บาปมี ๘ อย่าง คือ ความเป็นผิด ๘ ประการ. บาปมี ๙ อย่าง

คือ เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความอาฆาต ๙ อย่าง. บาปมี ๑๐ อย่าง คือ

อกุศลธรรมบถ ๑๐. บาปมีมากอย่าง คือ อกุศลธรรมทั้งหลายที่ทรงจำ-

แนกออกไป โดยเป็นธรรมหมวด ๑ หมวด ๒ และหมวด ๓ เป็นต้น

อย่างนี้ คือ ราคะ โทสะ โมหะ. บทว่า ศีลได้แก่ศีล ๕ ศีล ๑๐ และ

ปาริสุทธศีล ๔. น้องเอ๋ย บัณฑิตทั้งหลาย เรียกศีลนี้ว่าเป็นเสมือน

เครื่องลูบไล้ใหม่. บทว่า ตสฺส ความว่า กลิ่นของศีลนั้น แต่ไหน

แต่ไรมา ไม่ขาดหายไปในวัยทั้ง ๓ คือไม่แผ่ไปทั่วโลก.

กลิ่นดอกไม้จะไม่หอมทวนลมไป กลิ่น

จันทน์กฤษณา หรือดอกมะลิก็ไม่หอมทวนลม

ไป แต่กลิ่นของสัตบุรุษหอมทวนลมไป สัต-

บุรุษฟุ้งขจรไปทั่วทุกทิศ. กลิ่นศีลหอมยิ่งกว่า

คันธชาติเหล่านี้ คือจันทน์กฤษณะ ดอกอุบล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 146

หรือดอกมะลิ. เพราะกลิ่นกฤษณาและจันทน์

นี้หอมน้อย ส่วนกลิ่นของผู้มีศีลทั้งหลาย

หอมมากฟุ้งขจรไปในเทวโลกและมนุษยโลก.

บทว่า นนฺทนฺติ สรีรฆาติโน ความว่าน้องจุลตุณฑิละเอ๋ย คน

ผู้ไม่มีความรู้ทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อทำปาณาติบาต จะเพลิดเพลินคือพอ

ใจว่า พวกเราจักกินเนื้ออร่อยบ้าง จักให้ลูกเมียกินบ้าง คือไม่รู้โทษ

ของปาณาติบาตเป็นต้นนี้ว่า ปาณาติบาตที่ประพฤติจนชินอบรมมาทำ

ให้มากแล้ว จะเป็นเพื่อให้เกิดในนรก จะเป็นไปเพื่อให้เกิดในกำเนิด

เดียรัจฉาน ฯลฯ จะเป็นไปเพื่อให้เกิดในเปรตวิสัย วิบากของปาณาติ-

บาตที่เบากว่าวิบากทั้งหมด จะเป็นไปเพื่อให้ผู้เกิดเป็นมนุษย์มีอายุน้อย

ดังนี้ เมื่อไม่รู้ก็จะเป็นผู้สำคัญบาปว่าเป็นน้ำผึ้ง ตามพระพุทธภาษิตว่า :-

คนโง่ย่อมสำคัญบาปว่าเป็นเหมือนน้ำผึ้ง

ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ให้ผล แต่เมื่อใดบาป

ให้ผล เมื่อนั้นคนโง่ก็จะเข้าถึงทุกข์.

ไม่รู้แม้เหตุมีประมาณเท่านี้ว่า :-

คนเขลา เบาปัญญา เที่ยวทำบาปกรรม

ซึ่งมีผลเผ็ดร้อนด้วยตนเอง ที่เป็นเหมือนศัตรู

กรรมที่มีผลเผ็ดร้อน ทำให้คนมีน้ำตานองหน้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 147

ร้องไห้ไปพลางเสวยผลกรรมไปพลาง ทำแล้ว

ไม่ดี.

บทว่า น จ นนฺทนฺติ สรีรธาริโน ความว่า น้องจุลตุณฑิละ

เอ๋ย สัตว์เหล่านั้นใด ผู้รักษาชีวิตสัตว์ไว้ ไม่ฆ่าสัตว์เป็นปกติ สัตว์

เหล่านั้น เหลือ ตั้งต้นแต่พระโพธิสัตว์ไป เว้นไว้แต่มฤคราชสีห์ ช้าง

อาชาไนย ม้าอาชาไนยและพระขีณาสพ เมื่อความตายมาถึงตน ชื่อว่า

ไม่กลับไม่มี.

สัตว์ทั้งหลายสะดุ้งต่ออาชญากันหมด

เพราะชีวิตเป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น

คนควรเอาตนเป็นเครื่องเปรียบเทียบแล้ว ไม่

เบียดเบียน ไม่ฆ่ากัน.

บทว่า ปุณฺณาย ความว่า เต็มด้วยคุณค่า.บทว่า ปุณฺณมาสิยา

ความว่า เมื่อเดือนประกอบด้วยจันทร์เพ็ญ สถิตอยู่เต็มดวงแล้ว. ได้

ทราบว่า เมื่อนั้นเป็นวันอุโบสถที่มีพระจันทร์เต็มดวง. บทว่า รมมานา-

ว ชหนฺติ ชีวิต ความว่า น้องจุลตุณฑิละเอ๋ย เธออย่าเศร้าโศก อย่า

ร้องไห้ ขึ้นชื่อว่าความตายไม่ใช่เฉพาะเราเท่านั้น แม้สัตว์ที่เหลือทั้ง

หลายก็มีความตาย สัตว์ผู้ไม่มีคุณมีศีลเป็นต้น อยู่ในภายในย่อมจะกลัว

แต่พวกเราผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและอาจาระ เป็นผู้มีบุญ คือจะไม่กลัว

เพราะฉะนั้นสัตว์ที่เช่นกับเรา จะยินดีสละชีวิตทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 148

มหาสัตว์แสดงด้วยเสียงอันไพเราะ ด้วยพุทธลีลาอย่างนี้แล้ว.

ชุมนุมชนมีการปรบมือและการชูผ้าจำนวนพันเป็นไปแล้ว. ท้องฟ้าได้

เต็มไปด้วยเสียงสาธุการ. พระเจ้าพาราณสี ทรงบูชาพระโพธิสัตว์ด้วย

ราชสมบัติ ประทานยศแก่หญิงชรา ทรงรับเอาสุกรทั้ง ๒ ตัวไว้ ทรง

ให้อาบด้วยน้ำหอม ให้ห่มผ้า ให้ไล้ทาด้วยของหอมเป็นต้น ให้ประดับ

แก้วมณีที่คอ แล้วทรงนำเข้าไปสู่พระนคร สถาปนาไว้ในตำแหน่ง

ราชบุตร ทรงประคับประคองด้วยบริวารมาก. พระโพธิสัตว์ได้ให้ศีล ๕

แก่ข้าราชบริพาร. ชาวนครพาราณสีและชาวกาสิกรัฐพากันรักษาศีล ๕

ศีล ๑๐ ทุกคน. ฝ่ายมหาสัตว์ได้แสดงธรรมแก่ชนเหล่านั้นทุกวันปักษ์

นั่งในที่วินิจฉัยศาลพิจารณาคดี เมื่อมหาสัตว์นั้นยังมีชีวิตอยู่ ขึ้นชื่อ

ว่าการโกงไม่มีแล้ว. ในกาลต่อมาพระราชาสวรรคต. ฝ่ายมหา-

สัตว์ให้ประชาชนถวายพระเพลิงพระสรีระพระองค์ แล้วให้จารึก

คัมภีร์วินิจฉัยคดีไว้แล้วบอกว่า ท่านทั้งหลายต้องดูคัมภีร์นี้พิจารณา

คดี แล้วแสดงธรรมแก่มหาชน โอวาทด้วยความไม่ประมาทแล้วเข้า

ป่าไปพร้อมกับจุลตุณฑิละทิ้ง ๆ ที่คนทั้งหมดพากันร้องไห้และคร่ำครวญ

อยู่นั่นเอง. โอวาทของพระโพธิสัตว์ครั้งนั้น เป็นไปถึง ๖ หมื่นปี.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจจะแล้วทรงประชุมชาดกไว้ ในที่สุดแห่งสัจจธรรมภิกษุผู้กลัวตายนั้น

ดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล. พระราชาในครั้งนั้นได้แก่พระอานนท์ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 149

บัดนี้ จุลตุณฑิละ ได้แก่ภิกษุผู้กลัวตาย บริษัทได้แก่พุทธบริษัท

ส่วนมหาตุณฑิละ คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาตุณฑิลชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 150

๔. สุวรรณกักกฏกชาดก

ว่าด้วยปูตัวฉลาด

[๒๒๓] มฤคสิงคี คือปูมีตาโปน มีกระดองแข็ง

อาศัยน้ำ ไม่มีขน ฉันถูกมันหนีบ จะร้องไห้

อย่างคนที่ควรกรุณา เฮ้ย เพื่อนแกจะหนีบ

ฉันไปเพื่อประโยชน์อะไร ?

[๙๒๔] งูที่เป็นเพื่อนนั้น เมื่อจะทัดทานเพื่อน

ของตนไว้ จึงแผ่พังพานใหญ่ไปพลาง พ่นพิษ

ไปพลาง ได้มาถึงตัวปู ปูก็ได้หนีบงูไว้.

[๙๒๕] ปูไม่ต้องการกินกา ไม่ต้องการกินพระยา

งู แต่หนีบไว้ เจ้าปูตาโปนเอ๋ย ข้าขอถามแก

เหตุไรแกจึงหนีบข้าทั้ง ๒ ไว้.

[๙๒๖] ชายคนนี้ที่จับข้านำไปที่น้ำ เป็นผู้หวัง

ความเจริญแต่ข้า เมื่อเขาตาย ข้าจะมีความ

ทุกข์หาน้อยไม่ เราทั้ง ๒ คือข้าและคน ๆ นั้น

จะไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 151

[๙๒๗] อนึ่ง คนทุกคน เห็นข้าผู้มีร่างกายเติบ-

โตแล้ว ต้องการเบียดเบียน คือกินเนื้อที่ทั้ง

อร่อย ทั้งอวบ ทั้งนุ่ม ฝ่ายกาเห็นข้าแล้ว ก็

คงจะเบียดเบียน.

[๙๒๘] ถ้าหากข้าถูกหนีบ เพราะแห่งชายคนนั้น

ไซร้ ข้าจะดูดพิษกลับ ชายคนนี้ลุกขึ้นได้

แกจงปล่อยทั้งข้าทั้งกาโดยเร็ว ก่อนที่พิษร้าย.

แรงจะเข้าไปสู่ชายคนนี้.

[๙๒๙] ข้าจะปล่อยงู แต่ยังไม่ปล่อยกาก่อน

เพราะกาจะเป็นตัวประกันไว้ก่อน. ต่อเมื่อเห็น

ชายคนนี้มีความสุขสบายปลอดภัยแล้ว ข้าจึง

จะปล่อยกาไปเหมือนปล่อยงู ฉะนั้น.

[๙๓๐] กาในครั้งนั้น ได้แก่เทวทัตในบัดนี้ ส่วน

งูเห่าหม้อ ได้แก่ช้างนาฬาคิรี ปูได้แก่พระ-

อานนท์ผู้เจริญ ส่วนตถาคตผู้เป็นศาสดา ได้

แก่พราหมณ์ ในครั้งนั้น.

จบ สุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 152

อรรถกถาสุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการ

เสียสละชีพของพระอานนทเถระเพื่อพระองค์ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่ม

ต้นว่า สิงฺคมิโค ดังนี้.

เรื่องแต่ต้นจนถึงการประกอบนายขมังธนู ตรัสแล้วในกัณ-

ฑหาลชาดก การปล่อยช้างธนบาล ตรัสไว้แล้วในจุลลหังสชาดก.

ความย่อว่า ในครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายตั้งเรื่องกันขึ้นในธรรมสภา

ว่า พระอานนทเถระผู้เป็นคลังพระธรรม เป็นผู้บรรลุเสขปฏิสัมภิทา

เมื่อช้างธนบาลกำลังวิ่งมา ก็ได้สละชีวิตถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

พระศาสดาเสด็จมาถึงแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวก

เธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

ด้วยเรื่องชื่อนี้. จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น

แม้ในชาติก่อนพระอานนท์ก็สละชีวิตเพื่อเราเหมือนกัน ดังนี้แล้ว จึง

ได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล ด้านทิศอิสาณของกรุงราชคฤห์ ได้มีบ้านพราหมณ์

ชื่อว่า หลินทิยะ. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลกาสิกพราหมณ์

ในหมู่บ้านนั้น เติบโตแล้วดำรงทรัพย์สมบัติไว้ให้คนทำกสิกรรม ประ-

มาณ ๘ หมื่น ในนามคธแห่งหนึ่ง ด้านทิศอิสาณของหมู่บ้านนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 153

วันหนึ่ง เขาไปนาพร้อมกับคนทั้งหลายผู้เป็นบริวาร สั่งบังคับกรรมกร

ทั้งหลายว่า สูเจ้าทั้งหลายจงพากันทำงานเถิด แล้วเข้าไปหนองน้ำใหญ่

ปลายนา เพื่อต้องการล้างหน้า. ก็แหละในหนองน้ำนั้น มีปูตัวหนึ่ง

มีสีเหมือนสีทอง มีรูปงามน่าเลื่อมใสอาศัยอยู่. พระโพธิสัตว์เคี้ยวไม้

ชำระฟันแล้ว จึงลงไปหนองน้ำนั้น ในเวลาพระโพธิสัตว์นั้นล้างหน้า

ปูได้มาใกล้พระโพธิสัตว์. ครั้งนั้น ท่านได้ยกมันขึ้นมาจับให้นอนอยู่

ในระหว่างผ้าห่มของตนแล้ว เมื่อไปทำกิจที่ตนจะต้องทำในนา จึงวาง

มันลงไปในหนองนั้นแล้วได้ไปบ้าน. ต่อแต่นั้นมาพระโพธิสัตว์ เมื่อ

มาถึงนาจะไปหนองน้ำนั้นก่อน ให้ปูนอนในระหว่างผ้าห่มแล้ว จึง

ตรวจดูการงานภายหลัง. ด้วยประการยังนี้ ความคุ้นเคยกันระหว่าง

พระโพธิสัตว์กับปูนั้นจึงได้มั่นคง. พระโพธิสัตว์ก็มานาเนืองนิตย์. ก็

แหละประสาทในนัยน์ตาของพระโพธิสัตว์นั้นปรากฏเป็นวงกลม ๓ ชั้น

ใสแจ๋ว. ครั้งนั้น กาตัวเมียที่รังกาบนต้นตาลต้นหนึ่ง ที่ปลายนาของ

พระโพธิสัตว์นั้นเห็นนัยน์ตาของท่านแล้วอยากจะกิน จึงบอกกาตัวผู้ว่า

พี่ ฉันเกิดแพ้ท้องแล้ว.

กาตัวผู้ ธรรมดาการแพ้ท้องเป็นอย่างไร ?

กาตัวเมีย ฉันอยากกินนัยน์ตาของพราหมณ์คนนั้น.

กาตัวผู้ แกเกิดแพ้ท้องที่เลวร้าย ใครจักสามารถนำนัยน์ตา

เหล่านั้นมาได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 154

กาตัวเมีย เจ้าไม่สามารถหรือ ?

กาตัวผู้ ข้าไม่สามารถ.

กาตัวเมีย ฉันรู้เรื่องนี้ ก็ที่จอมปลวกนั่นในที่ไม่ไกลต้นตาลมีงู

เห่าหม้ออาศัยอยู่ เจ้าจงปรนนิบัติงูเห่านั้น พราหมณ์นั้นถูกงูนั้นกัดแล้ว

จักตาย เมื่อเป็นเช่นนั้น เจ้าก็จักจิกเอานัยน์ตาของเขามาได้. กาตัวผู้

รับคำว่าดีแล้ว จำเดิมแต่นั้นมาก็ปรนนิบัติ งูเห่าหม้อ. ในเวลาที่ข้าวกล้า

ที่พระโพธิสัตว์หว่านไว้ตั้งท้อง ปูก็ได้เติบโตขึ้น. อยู่มาวันหนึ่ง งูพูด

กะกาว่า สหายเอ๋ย ท่านปรนนิบัติเราเนืองนิตย์ เพราะเหตุอะไร. เรา

จะทำอะไรให้ท่านได้. กาบอกว่า นาย ทาสีของท่าน คือภรรยาของ

ฉันเกิดแพ้ท้องอยากกินนัยน์ตาของเจ้าของนานั่น เรานั้นจักได้นัยน์ตา

ของเจ้าของนานั้น ด้วยอานุภาพของท่าน เพราะฉะนั้น เราจึงปรน-

นิบัติท่าน. งูบอกให้กานั้นเบาใจว่า เรื่องนี้ยกไว้เถอะไม่ใช่เรื่องหนัก-

หนา ท่านจักได้แน่. ในวันรุ่งขึ้นจึงอาศัยคันนาเอาหญ้าปิดไว้ที่ทางมา

นอนดูการมาของเขา. พระโพธิสัตว์ เมื่อมาจะลงไปหนองน้ำล้างหน้า

ยังความเสน่หาให้เกิดขึ้น สวมกอดปูทอง ให้นอนอยู่ในระหว่างผ้าห่ม

ก่อนแล้วจึงเข้าไปนา. งูเห็นพระโพธิสัตว์นั้นกำลังมา ก็เลื้อยไปโดยเร็ว

กัดเนื้อปลีแข้ง คือน่องให้ล้มลงไปในที่นั้นนั่นเอง แล้วจึงหนีไปหมาย

จอมปลวกเป็นปลายทาง. การล้มของพระโพธิสัตว์ก็ดี การกระโดด

ออกไปจากระหว่างผ้าสาฎกของปูก็ดี การมาเกาะบนที่อกพระโพธิสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 155

ก็ดี ได้มีไม่ก่อนไม่หลังกัน. กาเกาะแล้วจะใช้จะงอยปากจิกนัยน์ตา.

ปูคิดว่า ภัยเกิดขึ้นแก่สหายของเราแล้ว เพราะอาศัยกาตัวนี้ เมื่อเรา

จับกาตัวนี้ไว้ได้ งูก็จักกลับมา จึงอ้าก้ามหนีบคอกาไว้แน่นเหมือนเอา

คีมคีบไว้ให้มันล้าแล้วจึงได้ทำให้หย่อนไว้หน่อยหนึ่ง คือลาก้ามลง. กา

เมื่อจะเรียกงูว่า สหายเอ๋ย สหายจะทั้งเราไปเพื่อประโยชน์อะไร ? ปู

ตัวนี้หนีบฉัน ฉันจะยังไม่ตายจนกว่าเพื่อนจะมา จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า:-

มฤคสิงคี คือปูมีตาโปน มีกระดองแข็ง

อาศัยน้ำ ไม่มีขน ฉันถูกมันหนีบ จะร้องไห้

อย่างคนที่ควรกรุณา เฮ้ย เพื่อนแกจะหนีฉัน

ไปเพื่อประโยชน์อะไร ?

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้น ดังต่อไปนี้. ปูเขาเรียกว่า สิงคมิคะ

เพราะมีสีเหมือนสีทองสิงคี หรือเพราะมีเขากล่าว คือก้าม. บทว่า

อายตจฺขุเนตฺโต ได้แก่ ประกอบด้วยตากล่าวคือจักษุยาว. กระดอง

คือกระดูกของปูนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้นปูนั้นจึงชื่อว่า มีกระดองแข็ง

อฏฺิตฺตโจ. คำว่า หเร สขา เป็นคือร้องเรียก ความหมายว่า

ดูก่อนสหายผู้เจริญ.

งูได้ฟังคำนั้นแล้ว ได้แผ่พังพานพ่นพิษร้ายมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 156

พระศาสดาเมื่อทรงแสดงเนื้อความนั้น ได้ตรัสอภิสัมพุทธคาถา

ที่ ๒ ว่า :-

งูที่เป็นเพื่อนนั้น เมื่อจะทัดทานเพื่อน

ของตนไว้ จึงแผ่พังพานใหญ่ไปพลาง พ่นพิษ

ไปพลาง ได้มาถึงตัวปู ปูก็ได้หนีบงูไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กกฺกฏกชฺฌปตฺโต ความว่า ถึงที่

ใกล้ปู. บทว่า สขา สขาร ความว่า ผู้เป็นเพื่อนจะป้องกันเพื่อนของ

ตน. ปาฐะว่า สกขาร ดังนี้บ้าง. ความหมายก็ว่าสหายของตน. บทว่า

ปริตายมาโน ความว่า เมื่อจะรักษา. บทว่า อคฺคเหสิ ความว่า

ปูเอาก้ามที่ ๒ หนีบคอไว้แน่น ภายหลังให้มันล้าแล้วจึงได้ทำให้หย่อน

ลงหน่อยหนึ่ง คือลาก้ามลง.

ลำดับนั้น งูคิดว่า ธรรมดาปูจะไม่กินเนื้อกาเลยและไม่กินเนื้องู

ด้วย เพราะเหตุอะไรหนอ ปูตัวนี้จึงหนีบพวกเราไว้ เมื่อจะถามปูนั้น

จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ไว้ว่า :-

ปูไม่ต้องการกินกา ไม่ต้องการกินพระ-

ยางู แต่หนีบไว้ เจ้าปูตาโปนเอ๋ย ข้าขอถาม

เจ้า เหตุไร แกจึงหนีบข้าทั้ง ๒ ไว้ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 157

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆาสตฺถิโก ความว่า เป็นผู้ต้อง

การอาหาร. บทว่า อาเทยฺย ความว่า หนีบไว้ อธิบายว่า หนีบไว้

ประกอบด้วยโภชนะก็หาไม่.

ปูได้ฟังคำนั้นแล้ว เมื่อจะบอกถึงเหตุที่หนีบไว้ จึงได้กล่าวคาถา

๒ คาถาว่า :-

ชายคนนี้ที่จับข้านำไปที่น้ำ เป็นผู้หวัง

ความเจริญแก่ข้า. เมื่อเขาตาย ข้าจะมีความ

ทุกข์หาน้อยไม่ เราทั้ง ๒ คือข้าแลคน ๆ นั้น

จะไม่มี. อนึ่ง คนทุกคนเห็นข้า ผู้มีร่างกาย

เติบโตแล้ว ต้องการเบียดเบียน คือกินเนื้อ

ที่ทั้งอร่อย ทั้งอวบ ทั้งนุ่ม ฝ่ายกาเห็นฉันแล้ว

คงจะเบียดเบียน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อย บ่งถึงพระโพธิสัตว์. บทว่า

อตฺถกาโม หมายความว่า มุ่งประโยชน์เกื้อกูล. ด้วยบทว่า อุทกาย

เนติ ปูแสดงว่า ผู้ใดรักฉัน เอาผ้าห่มห่อฉันไปที่น้ำ คือให้ฉันถึงที่

อยู่ของตน. บทว่า ตสฺมึ มเต ความว่า ถ้าหากเขาจะตายในที่นี้ไซร้

เมื่อคน ๆ นี้ตายแล้ว ฉันจักมีทุกข์กายแจะทุกข์ใจมากมาย. บทว่า อุโภ

น โหม ความว่า เราทั้ง ๒ คน ก็จักไม่มี. คาถาว่า มมจ ทิสฺวาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 158

มีเนื้อความดังต่อไปนี้ว่า ข้อนี้ก็เป็นเหตุแม้ข้ออื่นก็เป็นเหตุ คือเมื่อคน ๆ

นี้ตายแล้ว คนทุกคนเห็นฉันเข้าผู้หมดที่พึ่ง ไม่มีปัจจัย แต่มีร่างกาย

เติบโตแล้ว คงจะต้องการฆ่าเราโดยเห็นว่า เนื้อของปูตัวนี้ทั้งอร่อยทั้ง

หนาทั้งนิ่ม ไม่ใช่แต่คนอย่างเดียวเท่านั้นจักต้องการ แม้กาทั้งหลายที่

เป็นสัตว์เดียรัจฉาน เห็นฉันเข้าก็คงจะเบียดเบียน คือคงจะฆ่าให้ตาย.

งูได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงคิดว่า เราจักลวงปูตัวนี้ด้วยอุบายอย่างหนึ่ง

แล้วให้ปล่อยทั้งกาทั้งตนเองไป. ลำดับนั้น งูเมื่อจะลวงปูนั้น จึงกล่าว

คาถาที่ ๖ ว่า :-

ถ้าหากข้าทั้ง ๒ ถูกหนีบเพราะเหตุแห่ง

ชายคนนั้นไซร้ ข้าจะดูดพิษกลับ ชายคนนี้

ลุกขึ้นได้ แกจงปล่อยทั้งข้าทั้งกาโดยเร็ว ก่อน

ที่พิษร้ายแรงจะเข้าไปสู่ ชายคนนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ ตสฺส เหตุ ความว่า ถ้า

หากว่า เพราะเหตุแห่งชายคนนี้ไซร้. บทว่า อุฏฺาตุ ความว่า จง

เป็นผู้ปราศจากพิษ. บทว่า วิสมาวมามิ ความว่า ข้าจะถอนพิษของ

ชายคนนั้นออก จะทำให้เขาเป็นผู้ไม่มีพิษอีก. บทว่า ปุเร วิส คาฬฺ-

หมุเปติ มจฺจ ความว่า เพราะว่าพิษที่ข้ายังไม่ดูดกลับจะเป็นพิษที่มี

กำลังร้ายแรง พึงเข้าไปสู่ชายคนนี้ ตราบใดพิษนั้นยังไม่เข้าไป ตราบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 159

นั้นนั่นแหละ แกจงปล่อยข้าทั้ง ๒ คนไป.

ปูได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงคิดว่า งูตัวนี้ต้องการจะใช้อุบายอย่างหนึ่ง

ให้เราปล่อยทั้ง ๒ ตัวแล้วหนีไป มันไม่รู้ความฉลาดในอุบายของเรา.

บัดนี้เราจะทำก้ามของเราให้หย่อน คือลาก้ามลง พอให้งูจะสามารถเลื้อย

ไปได้ แต่เราจักไม่ปล่อยกาเลย ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถา

ที่ ๗ ว่า :-

ข้าจะปล่อยงู แต่ยังไม่ปล่อยกาก่อน

เพราะกาจะเป็นตัวประกันไว้ก่อน ต่อเมื่อเห็น

ชายคนนี้ มีความสุขสบายปลอดภัยแล้ว ข้า

จึงจะปล่อยกาไปเหมือนปล่อยงู ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิพทฺธโก ได้แก่ เป็นตัวประกัน.

บทว่า ยเถว สปฺป ความว่า ข้าจะปล่อยงูตัวเจริญฉันใด แม้กาข้า

ก็จะปล่อยฉันนั้น แกจงดูดพิษออกจากร่างกายของพราหมณ์คนนี้อย่าง

นี้โดยเร็ว.

ก็แหละ ปูครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ได้ลาก้ามลงเพื่อให้งูนั้น

เลื้อยไปสะดวก. งูดูดพิษออกแล้ว ได้ทำร่างกายของพระมหาสัตว์ให้

หมดพิษ พระมหาสัตว์นั้นมีทุกข์ จึงลุกขึ้นยืนด้วยรูปพรรณปกตินั่น

เอง. ปูคิดว่า ถ้าหากสัตว์ทั้ง ๒ ตัวนี้จักปลอดภัยไซร้ ขึ้นชื่อว่า ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 160

เจริญ ก็จักไม่มีแก่สหายของเรา เราจักให้มันพินาศไป ดังนี้แล้วได้เอา

ก้ามหนีบศีรษะของสัตว์ทั้ง ๒ ตัว เหมือนเอาไม้เท้ากดกลีบบัว แล้วให้

ถึงความสิ้นชีวิต. ฝ่ายกาตัวเมียก็ได้หนีไปจากที่นั้น. พระโพธิสัตว์

เอาร่างงูพันที่ท่อนไม้แล้วโยนไปหลังพุ่มไม้ ปล่อยปูสีทองที่หนองน้ำ

แล้ว ไปบ้านหลินทิยะนั่นเอง. จำเดิมแต่นั้นมา ความคุ้นเคยระหว่าง

พระโพธิสัตว์นั้นกับปูได้มียิ่งกว่าแต่ก่อน.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. จึงได้ตรัสคาถาสุดท้ายไว้ว่า :-

กาในครั้งนั้น ได้แต่พระเทวทัตในบัดนี้

ส่วนงูเห่าหม้อ ได้แก่ช้างนาฬาคิรี ปูได้แก่

พระอานนท์ผู้เจริญ เราตถาคตผู้เป็นศาสดา

ได้แก่พราหมณ์ ในครั้งนั้น.

ในเวลาจบสัจธรรม คนได้เป็นพระโสดาบันมากมาย. ส่วนกา

ตัวเมียไม่ได้ตรัสไว้ในพระคาถา. มันก็ได้แก่นางจิญจมานวิกา.

จบ อรรถกถาสุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 161

๕. มัยหกสกุณชาดก

ว่าด้วยการใช้ทรัพย์ให้เป็นประโยชน์

[๙๓๑] นกชื่อมัยหกะ นกเขา บินไปที่ไหล่เขา

และซอกเขา เกาะต้นเลียบที่มีผลสุก ร้องว่า

ของกู ๆ.

[๙๓๒] เมื่อมันร้องอยู่อย่างนี้ ฝูงนกที่นั้นมารวม

กัน พากันกินผลเลียบแล้วบินหนี มันก็ยังร้อง

อยู่นั่นเอง ฉันใด.

[๙๓๓] บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือน

กัน รวบรวมทรัพย์ไว้มากมาย ตนเองก็ไม่ได้

ใช้สอยเลย ไม่มอบส่วนแบ่งแก่ญาติทั้งหลาย

ด้วย.

[๙๓๔] เขาไม่ได้ใช้สอยผ้านุ่ง ผ้าห่ม ไม่รับ-

ประทานภัตตาหาร ไม่ทัดทรงดอกไม้ ไม่ลูบไล้

เครื่องลูบไล้ ไม่ใช้อะไรสักครั้งเดียว และ

ไม่สงเคราะห์ญาติทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 162

[๙๓๕] เมื่อบ่นเพ้ออยู่อย่างนี้ว่า ของกู ๆ หวง-

แหนไว้ภายหลังพระราชาบ้าง โจรบ้าง ทายาท

ผู้ไม่เป็นที่รักบ้าง เอาทรัพย์ไป คนนั้นก็จะบ่น

เพ้ออยู่นั่นแหละ.

[๙๓๖] ส่วนผู้มีปรีชาใช้เองด้วย สงเคราะห์ญาติ

ทั้งหลายด้วย เขาจะได้รับเกียรติ เพราะการ

สงเคราะห์นั้น ละโลกนี้ไปแล้ว ก็จะบรรเทิง

ในสวรรค์.

จบ มัยหกสกุณชาดกที่ ๕

อรรถกถามัยหกสกุณชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

อาคันตุกเศรษฐี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า สถุโณ มยฺหโห นาม

ดังนี้.

ความพิสดารว่า ที่นครสาวัตถี ได้มีเศรษฐีชื่ออาคันตุกะ เป็นคน

มั่งคั่งมีทรัพย์มาก. แต่เขาไม่ใช้สอยโภคทรัพย์ด้วยตนเองเลย และไม่ได้

ให้แก่คนอื่น. เมื่อเขานำโภชนะที่ประณีตมีรสอร่อยต่าง ๆ มาให้ เขาจะ

ไม่รับประทานโภชนะนั้น รับประทานแต่ปลายข้าว มีกับ คือน้ำผักดอง

๒ อย่างเท่านั้น. เมื่อเขานำผ้าจากแคว้นกาสีที่เขารีดแล้ว อบแล้วมาให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 163

ก็ให้เขานำออกไป นุ่งห่มแต่ผ้าเนื้อหยาบแข็งกระด้าง เมื่อเขานำรถที่

ตระการไปด้วยแก้วแกมทอง เทียมด้วยม้ามาให้ ก็ให้นำรถนั้นออกไป

ไปด้วยรถเล็กที่ทำด้วยไม้ธรรมดา เมื่อเขากั้นฉัตรทองให้ ก็ให้เขานำ

ฉัตรนั้นออกไป กั้นด้วยฉัตรที่ทำด้วยใบไม้. ตลอดชีวิตเขาไม่ทำบุญ

แม้แต่อย่างเดียว ในจำนวนบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ถึงแก่กรรมแล้ว

จึงเกิดในโรรุวนรก. พระราชาทรงให้ขนสมบัติที่ไม่มีบุตรรับมรดกของ

เศรษฐีนั้น เข้าไปในราชตระกูล เป็นเวลา ๗ วัน. เมื่อให้ขนสมบัติ

นั้นเสร็จแล้ว พระราชาทรงเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ได้เสด็จไป

พระวิหารเชตวัน ทรงไหว้พระศาสดา แล้วประทับนั่ง เมื่อพระศาสดา

ตรัสว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร พระองค์ไม่ทรงทำพุทธอุปฐากหรือ ?

จึงทูลถามพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เศรษฐีชื่อว่า อาคันตุกะ

ในนครสาวัตถีถึงแก่กรรมแล้ว เมื่อให้คนขนทรัพย์ ไม่มีเจ้าของของ

เศรษฐีนั้น มาที่พระราชวังอยู่นั่นเอง วันเวลาได้ผ่านไปถึง ๗ วัน.

ก็เศรษฐีนั้นแม้ได้ทรัพย์มีประมาณเท่านี้ ก็ไม่ได้ใช้สอยด้วยตนเอง

เลย และไม่ได้ให้คนอื่นด้วย ทรัพย์ของเขาจึงได้เป็นเสมือนสระโบก.

ขรณีที่ผีเสื้อหวงแหนไว้ วันเดียวเขาก็ไม่ได้เสวยรสโภชนะอันประณีต

ตนเข้าไปสู่ปากมัจจุราชเสียแล้ว คนผู้ไม่มีบุญมีความตระหนี่อย่างนี้

ทำกรรมอะไรไว้จึงได้รับทรัพย์ประมาณเท่านี้ และด้วยเหตุอะไรจิตของ

เขาจึงไม่ยินดีในโภคทรัพย์ในการใช้สอย ? พระศาสดาตรัสว่า ขอ

ถวายพระพรมหาบพิตร เศรษฐีคนนั้นนั่นเอง ทำเหตุที่ให้ได้ทรัพย์ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 164

ภาวะที่ได้ทรัพย์มาแล้วไม่ใช้สอย ๑ ดังนี้แล้ว เป็นผู้อันพระราชาทูล

ขอแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี ได้มีเศรษฐีเมืองพาราณสี ไม่มีศรัทธามีความตระหนี่

ไม่ให้อะไรแก่ใคร ไม่สงเคราะห์ใคร วันหนึ่ง เขากำลังเดินไปเฝ้า

พระราชา เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ตครสิขี กำลัง

เดินไปบิณฑบาต ไหว้แล้ว ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์

ได้ภิกษาแล้วหรือ ? เมื่อพระองค์ตรัสว่า ท่านมหาเศรษฐี อาตมภาพ

กำลังเดินไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่หรือ ? จึงสั่งบังคับชายคนหนึ่งว่า ไปเถิด

เจ้าจงนำพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ไปบ้านพวกเรา ให้ท่านประทับนั่งบนแท่น

เรา แล้วให้บรรจุภัตตาหารที่เขาเตรียมไว้สำหรับพวกเราให้เต็มบาตร

แล้วถวายไป. เขานำพระปัจเจกพุทธเจ้าไปเรือน แล้วให้ประทับนั่ง

บอกให้ภรรยาเศรษฐีทราบ ให้บรรจุภัตตาหารที่มีรสเลิศนานาชนิดให้.

เต็มบาตร แล้วได้ถวายพระองค์ไป. พระองค์ทรงรับภัตตาหารแล้ว ได้

เสด็จออกจากนิเวศน์ของท่านเศรษฐี แล้วเสด็จดำเนินไปในระหว่าง

ถนน. เศรษฐีกลับจากพระราชวังแล้ว เห็นพระองค์ไหว้แล้ว ทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ได้รับภัตตาหารแล้วหรือ ? ได้แล้ว

ท่านมหาเศรษฐี พระองค์ตรัสตอบ. เศรษฐีนั้นแลดูบาตรแล้วไม่อาจ

ให้จิตเลื่อมใสได้ คิดว่า ภัตตาหารของเรานี้ ทาสหรือกรรมกรทั้งหลาย

กินแล้วคงทำงานแม้ที่ทำได้ยาก น่าเสียดายหนอ ! เราได้มีความเสื่อมเสีย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 165

เสียทรัพย์สินแล้ว ดังนี้ ไม่สามารถทำอปรเจตนาให้บริบูรณ์ได้.

ธรรมดาทาน เมื่อบุคคลสามารถทำเจตนาทั้ง ๓ ให้บริบูรณ์เท่านั้น

จึงจะมีผลมาก. ก่อนแต่ให้ทาน เราทั้งหลายจงเป็นผู้ใจดี แม้เมื่อให้

ก็จงเป็นผู้เต็มใจจริง ๆ ครั้นให้แล้วก็ไม่สอดแคล้วอาลัยภายหลังเลย

เพราะฉะนั้นแล คนหนุ่มคนสาวของเราทั้งหลาย จะไม่ตายคือไม่เสื่อม

จากสมบัติ. คนก่อนแต่ให้ก็มีใจดี เมื่อกำลังให้ก็ให้จิตใจเลื่อมใส ครั้น

ให้แล้วก็ดีใจ นี่เป็นความถึงพร้อมแห่งบุญ.

ขอถวายพระพรมหาบพิตร อาคันตุกเศรษฐีได้รับทรัพย์มาก

เพราะปัจจัยที่ได้ถวายแก่พระตครสิขีปัจเจกพุทธเจ้า แต่ไม่อาจใช้สอย

โภคทรัพย์ได้ เพราะไม่สามารถทำอปรเจตนา คือเจตนาดวงหลัง ให้

ประณีตได้ ด้วยประการดังนี้แล.

พระราชาทูลถามว่า ก็เหตุไฉนเขาจึงไม่ได้บุตรพระพุทธเจ้าข้า

พระศาสดาตรัสตอบว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร แม้เหตุแห่งการ

ไม่ได้บุตร เศรษฐีนั้นก็ทำไว้เหมือนกัน ถูกพระราชาทูลอ้อนวอนแล้ว

จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตตรองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลเศรษฐีผู้มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ เติบ

ใหญ่แล้ว มารดาบิดาล่วงลับไปแล้ว เมื่อตรวจตราดูสมบัติแล้ว จะมัด

จิตใจน้องชายไว้ จึงให้สร้างโรงทานไว้ที่ประตูเรือน ให้มหาทานไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 166

ครองเรือนไป. ต่อมาบุตรของท่านคนหนึ่ง ก็คลอดออกมา. ในเวลา

ลูกนั้นเดินได้ ท่านเห็นโทษในกามทั้งหลาย เห็นอานิสงส์ในการออก

บวช จึงมอบสมบัติในเรือนทั้งหมดให้น้องชายพร้อมทั้งลูกเมีย ให้

โอวาทว่า จงอย่าประมาท ให้ทานเป็นไปเถิด แล้วบวชเป็นฤษี ยัง

ฌานและอภิญญาให้เกิดขึ้น แล้วอยู่ที่ท้องถิ่นป่าหิมพานต์. ฝ่ายน้องชาย

ของท่านก็ได้ลูก ๑ คน. เขาเห็นเด็กนั้นเติบโตขึ้น จึงคิดว่า เมื่อลูก

พี่ชายของเรายังมีชีวิตอยู่ สมบัติจักแบ่งเป็น ๒ ส่วน เราจักฆ่าบุตร

ของพี่ชายเสีย. จึงอยู่มาวันหนึ่ง เขาได้ฆ่าเด็กนั้นถ่วงน้ำ. ภรรยาของ

พี่ชายถามถึงลูกนั่นกะเขาผู้อาบน้ำ แล้วมาว่าลูกของฉันไปไหน ? เขา

ตอบว่า มันเล่นน้ำในแม่น้ำ ต่อมาฉันค้นหามันก็ไม่พบ นางได้ร้องไห้

แล้วนิ่งเฉย. พระโพธิสัตว์ทราบเหตุนั้น แล้วคิดว่า เราจักทำกิจนี้ให้

ปรากฏ แล้วมาทางอากาศลงที่นครพาราณสี นุ่งห่มผ้าเรียบร้อยแล้ว

ยืนที่ประตูเรือนของน้องชายนั้น ไม่เห็นโรงทาน จึงคิดว่า แม้โรงทาน

อสัตบุรุษคนนี้ก็ให้พินาศไปแล้ว. ฝ่ายน้องชายของท่านได้ทราบว่าท่าน

มาแล้ว ก็มาหาไหว้พระมหาสัตว์แล้วให้ขึ้นปราสาท ให้ฉันโภชนะอัน

ประณีต. ในที่สุดแห่งภัตกิจฉันเสร็จ ท่านนั่งอย่างสบาย ถามว่า เด็ก

ไม่ปรากฏ เขาไปไหนหนอ.

ตายแล้วครับ ท่าน น้องชายตอบ.

ตายด้วยเหตุอะไร ฤาษีซัก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 167

ผมไม่ทราบว่า ด้วยเหตุ ชื่อโน้น ในสถานที่เล่นน้ำ น้องชาย

ตอบ.

อสัตบุรุษเอ๋ย เจ้าไม่รู้หรือว่า กิจที่เจ้าทำไปแล้ว ปรากฏแก่

ฉันแล้ว เจ้าฆ่าเด็กนั้นด้วยเหตุชั่วนี้ มิใช่หรือ ? เราจักสามารถรักษา

ทรัพย์ที่กำลังสูญหายไป ด้วยอำนาจพระราชาเป็นต้น ได้หรือไม่หนอ ?

นกเขากับเจ้ามีอะไรที่ทำให้แตกต่างกัน ฤาษีกล่าวตัดพ้อ.

ลำดับนั้น มหาสัตว์เมื่อจะแสดงธรรมแต่เขา ด้วยพุทธลีลา

จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า:-

นกชื่อว่ามัยหกะ นกเขา บินไปที่ไหล่

เขาและซอกเขาเกาะต้นเลียบที่มีผลสุก ร้องว่า

ของกู ๆ. เมื่อมันร้องอยู่อย่างนี้ ฝูงนกที่บินมา

รวมกัน พากันกินผลเลียบแล้วบินหนี มันก็

ยังร้องอยู่นั่นเอง ฉันใด. บุคคลบางคนในโลก

นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน รวบรวมทรัพย์ไว้มา

มาย ตนเองก็ไม่ได้ใช้สอยเลย ไม่มอบส่วน

แบ่งแก่ญาติทั้งหลายด้วย. เขาไม่ใช้สอยผ้านุ่ง

ผ้าห่ม ไม่รับประทานภัตตาหาร ไม่ทัดทรง

ดอกไม้ ไม่ลูบไล้ เครื่องลูบไล้ ไม่ใช้อะไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 168

สักครั้งเดียว และไม่สงเคราะห์ญาติทั้งหลาย

เมื่อบ่นเพ้ออยู่อย่างนี้ว่า ของกู ของกู หวงแหน

ไว้ภายหลัง พระราชาบ้าง โจรบ้าง ทายาท

ผู้ไม่เป็นที่รักบ้าง เอาทรัพย์ไป คนนั้นก็จะบ่น

เพ้ออยู่นั่นแหละ ส่วนผู้มีปรีชาใช้เองด้วย

สงเคราะห์ญาติทั้งหลายด้วย ด้วยการสงเคราะห์

นั้น เขาจะได้รับเกียรติ ละโลกนี้ไปแล้วจะ

บรรเทิงในสวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มยฺหโก ความว่า ที่ได้ชื่ออย่างนี้

เพราะอำนาจการร้องว่า ของกู ของกู. บทว่า คิริสานุทรีจโร ความว่า

นกนั้นที่ชื่อว่า คิริสานุทรีจโร เพราะบินไปที่ไหล่เขาและซอกเขา.

บทว่า ปกฺก ปิปฺผลึ ความว่า ต้นเลียบต้นหนึ่งที่มีผลเต็มต้น ใน

ดินแดนหิมพานต์. บทว่า กนฺทติ ความว่า มันจะบินร้องห้ามฝูงนก

ที่ห้อมล้อมต้นไม้นั้น กินผลที่สุก ๆ อยู่. บทว่า ตสฺเสว วิลปนฺตสฺส

ความว่า เมื่อมันร่ำร้องอยู่อย่างนี้นั่นแหละ บทว่า ภุตฺวาน ปิปฺผลึ

ยนฺติ ความว่า กินผลเลียบนั้น แล้วบินไปต้นอื่นที่มีผลสมบูรณ์.

บทว่า วิลปเตว ความว่า ส่วนนกนั้นก็ยังร้องอยู่นั่นเอง. บทว่า

ยโถธึ ความว่า ตามส่วน อธิบายว่า ไม่ได้ส่วนที่จะต้องได้ ด้วยอำนาจ

เครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภคของมารดาบิดา พี่ชายพี่สาว น้องชาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 169

น้องสาวและบุตรธิดาเป็นต้น. บทว่า สกึ ความว่า ไม่ได้ใช้สอย

แม้แต่ครั้งเดียว อธิบายว่า ไม่ได้ใช้ของตนบ้าง. บทว่า น สงฺคณฺหาติ

ความว่า ไม่ได้สงเคราะห์ด้วยอำนาจการให้ภัตตาหาร เครื่องนุ่ง พืช

พันธุ์และไถเป็นต้น. บทว่า วิลปเตว โส นโร ความว่า เมื่อพระราชา

เป็นต้นเหล่านั้น เอาทรัพย์ไป คน ๆ นั้นก็จะบ่นเพ้ออยู่นั่นแหละ.

บทว่า ธีโร ได้แก่บัณฑิต. บทว่า สงฺคณฺหาติ ความว่า ย่อมสงเคราะห์

ญาติทั้งหลายที่เขากำลังทำมาหากิน ที่มาสู่สำนักตนด้วยการให้ภัตตาหาร

เครื่องนุ่งห่ม พืชพันธุ์และไถเป็นต้น. บทว่า เตน ความว่า สัตบุรุษนั้น

จะได้รับเกียรติและการสรรเสริญตนในท่ามกลางษริษัท ครั้นละโลกนี้

ไปแล้วก็จะปลื้มใจในเทพนคร ด้วยการสงเคราะห์ญาตินั้น.

พระมหาสัตว์ ครั้นแสดงธรรมแก่น้องชายอย่างนี้ แล้วก็ให้เขา

ทำโรงทานที่เขางดไป แล้วให้เป็นไปตามปกติ แล้วได้ไปยังแดน

หิมพานต์ มีฌานไม่เสื่อมถึงแก่กรรมแล้ว ได้เข้าถึงพรหมโลก.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า

ขอถวายพระพรมหาบพิตร อาคันตุกเศรษฐี ไม่ได้บุตร ไม่ได้ธิดาเลย

เพราะฆ่าบุตรพี่ชาย ด้วยเหตุดังนี้แล แล้วทรงประชุมชาดกไว้ว่า

น้องชายในครั้งนั้น ได้แก่ อาคันตุกเศรษฐี ในบัดนี้ ส่วนพี่ชาย

ได้แก่ เราตถาคตนั่นเอง.

จบ อรรถกถามัยหกสกุณชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 170

๖. ปัพพชิตวิเหฐกชาดก

ว่าด้วยกราบไหว้ผู้ควรกราบไหว้

[๙๓๗] เธอมีรูปร่างงาม แต่ให้สมณะรูปร่างขี้เหร่

อยู่ข้างหน้า ประคองอัญชลีนมัสการ สมณะ

รูปนั้นดีกว่าเธอหรือเสมอกับเธอ ขอจงบอก

ทั้งชื่อของตนทั้งชื่อผู้อื่น คือสมณะ.

[๙๓๘] ข้าแต่มหาราช ทวยเทพอุปัตติเทพ จะ

ไม่เอ่ยชื่อและโคตรของเทพทั้งหลาย ผู้พร้อม

เพรียงกัน ผู้ปฏิบัติตรง คือวิสุทธิเทพ แต่

ข้าพเจ้าจะบอกข้อของข้าพเจ้าแก่ท่าน ข้าพเจ้า

คือท้าวสักกะรู้เป็นจอมทวยเทพชาวไตรทศ.

[๙๓๙] ผู้ใดเห็นภิกษุผู้เข้าถึงจรณะ ให้ท่านอยู่

ข้างหน้า ประคองอัญชลีนมัสการ ข้าแต่เทว-

ราช ข้าพระองค์ขอถามข้อความนี้กะพระองค์

ผู้นั้นละโลกนี้ไปแล้วจะได้ความสุขอะไร ?

[๙๔๐] ผู้ใดเห็นภิกษุผู้เข้าถึงจรณะ ให้ท่านอยู่

ข้างหน้า แม้ประคองอัญชลีนมัสการอยู่ ผู้นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 171

จะได้รับการสรรเสริญในปัจจุบัน และจะไป

สวรรค์ เพราะร่างกายแตกดับไป.

[๙๔๑] วันนี้ บุญได้เกิดขึ้นแต่ข้าพเจ้าแล้วหนอ

ที่ข้าพระองค์ได้พบเห็น พระผู้เป็นเจ้าวาสวะ,

ข้าแต่ท้าวสักกะ ข้าพระองค์เห็นพระภิกษุและ

พระองค์แล้ว จะทำบุญหาน้อยไม่.

[๙๔๒] ควรคบหาผู้มีปัญญา เป็นพหูสูต คิดถึง

เหตุการณ์มากมายโดยแน่แท้แล ดูก่อนพระ-

ราชา พระองค์เห็นภิกษุและหม่อมฉันแล้ว

จงทำบุญหาน้อยไม่.

[๙๔๓] ผู้ไม่มักโกรธ มีจิตเลื่อมใสเนืองนิตย์

เป็นผู้ควรแก่การขอของแขกทุกคน ข้าแต่ท่าน

จอมเทพ ข้าพระองค์สดับสุภาษิตแล้ว จักทำ

ลายมานะ กราบไหว้ท่านผู้นั้น.

จบ ปัพพชิตวิเหฐกชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 172

อรรถกถาปัพพชิตวิเหฐกชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการ

บำเพ็ญประโยชน์เพื่อชาวโลก จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทุพฺพณฺณ-

รูป ดังนี้. เรื่องนี้จักมีแจ้งในกัณหชาดก.

ก็ในคราวครั้งนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่

ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น แม้ในชาติก่อนตถาคตก็บำเพ็ญประโยชน์แก่โลก

เหมือนกัน แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นท้าวสักกะ. ครั้งนั้น. วิชาธรคนหนึ่ง

ร่ายเวทย์มนต์แล้ว เข้าไปในห้องมิ่งขวัญในเวลาเที่ยงคืน ประพฤติ

ล่วงเกินกับพระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี. ฝ่ายข้าหลวงของพระ-

นาง ได้กราบทูลแด่พระราชา. พระนางจึงเสด็จเฝ้าพระราชาเสียเอง

ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชายคนหนึ่งเข้ามาในห้องมิ่งขวัญ ในเวลาเที่ยง

คืนข่มขืนหม่อมฉัน.

พระราชา ก็เธอจะสามารถทำเครื่องหมาย คือสัญญาณอะไรไว้

ที่มันได้ไหม ?

พระอัครมเหสี สามารถพระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 173

พระนางทรงให้นำถาดใส่ชาด คือชาติหิงคุมาได้ เมื่อเวลาชาย

คนนั้นมาในเวลากลางคืน ร่วมอภิรมย์แล้วจะไป ทรงประทับนิ้วทั้ง ๕

ไว้ที่หลัง แล้วได้กราบทูลพระราชาแต่เช้าทีเดียว. พระราชาตรัสสั่งบังคับ

คนทั้งหลายว่า สูเจ้าทั้งหลายจงไป จงพากันตรวจดูทั่วทุกทิศแล้วจับ

ชายคนที่มีรอยชาดอยู่บนหลัง. ฝ่ายวิชาธร เมื่อทำอนาจารในเวลา

กลางคืนแล้ว กลางวันก็ยืนขาเดียวนมัสการพระอาทิตย์อยู่ที่สุสาน.

ราชบุรุษทั้งหลายเห็นเขาแล้วจึงพากันล้อมไว้. เขารู้ว่า กรรมของเรา

ปรากฏแล้ว จึงร่ายเวทย์เหาะไปทางอากาศ. พระราชาทรงเห็นชายคน

นั้นแล้ว จึงตรัสถามราชบุรุษทั้งหลายที่มาแล้วว่า เธอทั้งหลายได้เห็น

ไหม ?

ราชบุรุษ ได้เห็นพระพุทธเจ้าข้า.

พระราชา มันชื่ออะไรล่ะ คือใคร.

ราชบุรุษ เป็นบรรพชิต พระพุทธเจ้าข้า.

เพราะว่าเวลากลางคืนเขาทำอนาจาร แต่เวลากลางวันเขาอยู่โดย

เพศบรรพชิต. พระราชาทรงกริ้วบรรพชิตทั้งหลายว่า บรรพชิตเหล่านี้

กลางวันประพฤติโดยเพศสมณะ แต่กลางคืนทำอนาจาร แล้วทรงยืดถือ

ผิดๆ จึงทรงให้ตีกลองประกาศว่า สูเจ้าทั้งหลายจักต้องปฏิบัติตามพระ-

ราชโองการ ในที่ ๆ ตนได้เห็นแล้ว เห็นแล้วว่า บรรพชิตทั้งหมด จง

หนีไปจากอาณาจักรของเรา. บรรพชิตทั้งหมด จึงหนีไปจากแคว้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 174

กาสีที่มีที่ ๓๐ โยชน์ได้พากันไปยังราชธานีอื่น ๆ. สมณะพราหมณ์ผู้ทรง

ธรรม แม้คนเดียวที่จะให้โอวาทแก่คนทั้งหลายทั่วแคว้นกาสีก็ไม่มี.

คนทั้งหลายที่ไม่ได้รับโอวาท ได้เป็นคนหยาบคาย. คนทั้งหลายที่

ปล่อยปละละเลยทานและศีลเป็นต้น ตายไปแล้วโดยมาก. ก็เกิดใน

นรก. ขึ้นชื่อว่าจะเกิดในสวรรค์ไม่มีแล้ว. ท้าวสักกะเมื่อไม่ทรงเห็น

เทพบุตรใหม่ จึงทรงรำลึกว่า มีเหตุอะไรหนอแล ? แล้วก็ทรงทราบว่า

พระเจ้าพาราณสีทรงพิโรธ เพราะอาศัยวิชาธร ทรงไล่บรรพชิตออก

จากแว่นแคว้น เพราะทรงเชื่อถือผิด จึงทรงดำริว่า คนอื่นนอกจาก

เรา ที่จะสามารถทำลายความเธอถือผิดของพระราชาพระองค์นี้ไม่มี และ

เราจักเป็นที่พึ่งของพระราชาและราษฎรทั้งหลาย แล้วได้เสด็จไปสำนัก

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายที่เงื้อมแห่งภูเขาชื่อว่า นันทมูลกะทรงไหว้

แล้วทูลว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ชื่อพระคุณเจ้าทั้งหลาย จงให้พระ

ปัจเจกพุทธเจ้าผู้เฒ่าองค์หนึ่งแก่กระผม กระผมจักให้ราษฎรชาวกาสี

เลื่อมใส. ท้าวเธอได้พระสังฆเถระทีเดียว. จึงท้าวเธอทรงรับเอาบาตร

และจีวรของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ให้ท่านอยู่ข้างหน้าพระองค์เองอยู่

ข้างหลัง ทรงแปลงเพศเป็นมาณพรูปหล่อ วางอัญชลีไว้เหนือเศียร

นมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า เสด็จเที่ยวไปทางเบื้องบนพระนครทั้งหมด

๓ เที่ยว มาถึงประตูพระราชวัง ได้ประทับยืนอยู่บนอากาศ. อำมาตย์

ทั้งหลายได้กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพมาณพรูปงามคนหนึ่ง

นำเอาสมณะรูปหนึ่งมายืนอยู่บนอากาศตรงประตูพระราชวัง. พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 175

จึงเสด็จลุกจากราชอาสน์ ประทับยืนที่ช่องพระแกล เมื่อทรงเจรจากับ

ด้วยท้าวสักกะนั้นว่า ดูก่อนมาณพ เธอเป็นผู้มีรูปร่างงาม แต่เหตุไฉน

จึงยืนถือบาตรและจีวรของสมณะผู้มีรูปร่างขี้เหร่พลางนมัสการอยู่ดังนี้

ได้ตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-

เธอผู้มีรูปร่างงาม แต่ให้สมณะรูปร่างขี้เหร่

อยู่ข้างหน้า ประคองอัญชลีนมัสการ สมณะ

รูปนั้นคือว่าเธอหรือเสมอกันกับเธอ ขอจง

บอกทั้งข้อของคนทั้งชื่อของผู้อื่น คือสมณะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริยวณฺณี ได้แก่ รูปร่างสวยงาม.

บทว่า เสยฺโย นุ เต โส ความว่า บรรพชิตรูปร่างขี้เหร่รูปนั้นดียิ่ง

กว่าเธอหรือเสมอกับเธอ. บทว่า ปรสฺสตฺตโน จ ความว่า พระราชา

ตรัสถามว่า เธอจงบอกชื่อของผู้อื่นนั้นและของตนเถิด.

ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสกะพระราชานั้นว่า ข้าแต่

มหาราช ขึ้นชื่อว่าสมณะทั้งหลายย่อมเป็นผู้ควรเคารพ เพราะเหตุนั้น

ข้าพเจ้าจึงไม่ได้เพื่อเรียกชื่อของท่าน แต่ข้าพเจ้าจักบอกชื่อข้าพเจ้าแก่

ท่าน แล้วตรัสคาถาที่ ๒ ว่า.

ข้าแต่มหาราช ทวยเทพอุปัตติเทพ จะ

มีเอ่ยชื่อและโคตรของเทพทั้งหลาย ผู้พร้อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 176

เพรียงกัน ผู้ปฏิบัติตรงคือวิสุทธิเทพ แต่

ข้าพเจ้าจะบอกชื่อของข้าพเจ้าแก่ท่าน ข้าพเจ้า

คือท้าวสักกะผู้เป็นจอมทวยเทพชาวไตรทศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมคฺคตานุชฺชุคคาน เทวา ความ

ว่า อุปปัตติเทพทั้งหลาย จะไม่แตะต้องชื่อและโคตรของพระมหาขีณาสพ

ทั้งหลายผู้ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว เพราะพิจารณาสังขารทั้งมวลด้วย

อำนาจแห่งกิจตามความเป็นจริงแล้ว บรรลุอรหัตผลที่เป็นผลเลิศ และ

ผู้ชื่อว่าดำเนินไปตรงแล้ว เพราะดำเนินไปสู่พระนิพพานด้วยมรรค

มีองค์ ๘ ที่ตรง ผู้เป็นวิสุทธิเทพยอดเยี่ยมกว่าอุปปัตติเทพทั้งหลาย.

มีบทว่า อหญฺ จ เต นามเธยฺย ความว่า ก็แต่ว่าข้าพเจ้าจักบอกชื่อ

ของตนแต่ท่าน.

พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว ได้ทูลถามถึงอานิสงส์ การนมัส-

การภิกษุด้วยคาถาที่ ๓ ว่า :-

ผู้ใดเห็นภิกษุผู้เข้าถึงจรณะ ให้ท่านผู้อยู่

ข้างหน้าประคองอัญชลีนมัสการ ข้าแต่เทวราช

ข้าพระองค์ขอถามข้อความนี้กะพระองค์ ผู้นั้น

จุติจากโลกนี้ไปแล้ว จะได้รับความสุขอะไร ?

ท้าวสักกะตรัสตอบด้วยคาถาที่ ๔ ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 177

ผู้ใดเห็นภิกษุผู้เข้าถึงจรณะ ให้ท่านอยู่

ข้างหน้า แม้ประคองอัญชลีนมัสการอยู่ ผู้นั้น

จะได้รับการสรรเสริญในปัจจุบัน และจะไป

สวรรค์ เพราะร่างกายแตกดับไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขุ ได้แก่ บุคคลผู้บริสุทธิ์เพราะ

ทำลายกิเลสได้แล้ว. บทว่า จรณูปปนฺน ความว่า ผู้เข้าถึงด้วยศีล

และจรณะ. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม ความว่า ไม่ใช่ว่า จุติจากโลกนี้

อย่างเดียวเท่านั้นจึงจะไปสวรรค์ ถึงในอัตภาพนี้ เขาก็ได้รับการสรร-

เสริญ คือประสบความสุขจากการสรรเสริญ.

พระราชา ทรงสดับเทวคาถาเรื่องของท้าวสักกะแล้ว ทำลายการ

เธอถือผิดได้ พอพระราชหฤทัย ได้ตรัสคาถาที่ ๕ ว่า :-

วันนี้บุญได้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์แล้วหนอ

ที่ข้าพระองค์ได้พบเห็นพระผู้เป็นเจ้า วาสวะ

ข้าแต่ท้าวสักกะข้าพระองค์เห็นพระภิกษุ และ

พระองค์แล้ว จะทำบุญหาน้อยไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลกฺขี คือบุญ ได้แก่ มิ่งขวัญ มี

คำอธิบายไว้ว่า วันนี้ปัญญาที่รู้วิบากของกุศลและอกุศล เกิดขึ้นแล้ว

แก่ข้าพระองค์ผู้ฟังพระดำรัสของพระองค์อยู่นั่นแหละ. บทว่า ย เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 178

เพียงนิบาต. บทว่า ภูตปติมทฺทส ความว่า ข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้

เป็นเจ้า.

ท้าวสักกะทรงสดับคำนั้นแล้ว เมื่อจะทรงสดุดีบัณฑิต จึงตรัส

คาถาที่ ๖ ว่า:-

ควรคบหาผู้มีปัญญา เป็นพหูสูต คิดถึง

เหตุการณ์มากมายโดยแน่แท้แล ดูก่อนพระ-

ราชา พระองค์เห็นภิกษุและหม่อมฉันแล้ว จง

ทรงทำบุญหาน้อยไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า านจินฺติตา ความว่า ผู้สามารถ

คิดถึงเหตุการณ์ได้มากมาย.

พระราชา ทรงสดับเทวดำรัสนั้นแล้ว จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า :-

ผู้ไม่มักโกรธ มีจิตเลื่อมใสเนืองนิตย์

เป็นผู้ควรแก่การขอของแขกทุกคน ข้าแต่

จอมเทพ ข้าพระองค์สะดับสุภาษิตแล้ว จัก

ทำลายมานะ กราบไหว้ท่านผู้นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพาติถียาจโยโค ความว่า

บรรดาแขกทั้งหลายคืออาคันตุกะทั้งหลายที่มาแล้วทั้งหมด คนเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 179

ของสิ่งใด ๆ เขาก็เป็นผู้เหมาะคือสมควรแก่สิ่งนั้น ๆ อธิบายว่า ให้อยู่ทุก

สิ่งที่ชนเหล่านั้นขอแล้ว ขอแล้ว. บทว่า สุตฺวาน เทวินฺท สุภาสิตานิ

ความว่า พระราชาทูลว่า ข้าพระองค์ฟังสุภาษิตของพระองค์แล้ว จัก

เป็นคนแบบนี้.

ก็แหละ พระราชาครั้นตรัสอย่างนี้ ก็เสด็จลงจากปราสาท ทรง

ไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วได้ประทับยืน ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า ทรงนั่งคู้บัลลังก์ที่อากาศ แล้วทรงโอวาทพระราชาว่า

ขอถวายพระพรมหาบพิตร วิชาธรนั้นไม่ใช่สมณะ ต่อแต่นี้ไปขอ

พระองค์จงทรงทราบไว้ว่าโลกไม่ว่างเปล่า ยังมีสมณะพราหมณ์ผู้ทรงศีล

อยู่แล้วทรงอวยทาน ทรงศีล ทรงอุโบสถกรรมเถิด ฝ่ายท้าวสุกกะ

ประทับยืนอยู่ที่อากาศ ด้วยอานุภาพของท้าวสักกะประทานโอวาทแก่

ทวยนครว่า ต่อแต่นี้ไปสูเจ้าทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด แล้วทรง

ให้ตีกลองป่าวประกาศว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้หนีไปแล้ว จงกลับ

มา. จึงท่านทั้ง ๒ คือท้าวสักกะและพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้เสด็จไปยังที่

ของตน. พระราชาทรงตั้งอยู่โนเทวโอวาทของท้าวสักกะนั้น แล้วได้

ทรงทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกไว้ว่า. พระปัจเจกพุทธเจ้า ครั้งนั้นได้ปรินิพพานแล้ว พระราชา

ได้แก่พระอานนท์ ส่วนท้าวสักกะ ได้แก่เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาปัพพชิตวิเหฐกชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 180

๗. อุปนิสงฆบุปผชาดก

ว่าด้วยคนดีไม่ควรทำชั่ว แม้นิดหน่อย

[๙๔๔] ดูก่อนท่านผู้เป็นกับด้วยเรา ท่านดม

ดอกไม้ที่เกิดในน้ำ คือดอกบัว ที่เขาไม่ได้

ให้นี้ใด การดมนี้นั้นเป็นองค์ หนึ่งของ

การขโมย ท่านเป็นผู้ขโมยกลิ่น.

[๙๔๕] เราไม่ลัก เราไม่เด็ดดอกบัว แต่เรายืน

ดมอยู่ไกล ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไฉนหนอ

จึงกล่าวหาว่าเป็นผู้ขโมยกลิ่น ?

[๙๔๖] ชายคนนี้ใด ขุดเหง้าบัว เด็ดดอกบุณ-

ฑริก ชายคนนี้นั้น ผู้มีการงานเลอะเทอะ

อย่างนี้ เหตุไรจึงไม่มีใครว่า ?

[๙๔๗] ชายผู้มีกรรมบาปดาดดื่นแล้ว เปรอะ

เปื้อนบาป เหมือนผ้าอ้อม ข้าพเจ้าจึงไม่มีคำ

พูดอะไรในเรื่องนั้น และข้าพเจ้าควรเพื่อจะว่า

กล่าวเขาได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 181

[๙๔๘] สำหรับคนผู้ไม่มีกิเลสดุจเนิน มีปกติ

แสวงหาความสะอาดเป็นนิจ บาปประมาณเท่า

ปลายขนทราย จะปรากฏแก่เขา ประมาณเท่า

กลีบเมฆทีเดียว.

[๙๔๙] ข้าแต่ท่านผู้ควรบูชายักษ์ ท่านรู้จัก

ข้าพเจ้าแน่นอน และท่านอนุเคราะห์ข้าพเจ้า

ข้าแต่ท่านผู้ควรบูชายักษ์ ท่านจงตำหนิอีก

เมื่อท่านเห็นโทษชนิดนี้ของเรา.

[๙๕๐] ข้าพเจ้าไม่ได้อาศัยสิ่งนั้นเลี้ยงชีพเลย ทั้ง

เราไม่ได้เป็นลูกจ้างท่าน ข้าแต่ภิกษุ ตัวท่าน

เอง ควรรู้กรรม ที่เป็นเหตุให้ไปสู่สุคติ.

จบ อุปสิงฆบุปผชาดกที่ ๗

อรรถกถาอุปสิงฆบุปผชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยเมต ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้น เมื่อออกจากพระวิหารเชตวันไปอาศัย

อยู่ป่าแห่งใดแห่งหนึ่ง ในโกศลรัฐ วันหนึ่ง ลงไปสู่สระบัวเห็นดอกบัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 182

บานงามจึงไปยืนดมดอกไม้อยู่ใต้ลม. ลำดับนั้นเทวดาผู้สิงอยู่ที่ไพรสณฑ์

นั้น จึงให้ท่านสลดใจว่า ข้าแต่ท่านผู้เช่นกับด้วยเรา ท่านชื่อว่าเป็น

ผู้ขโมยกลิ่น ความคิดว่าดังนี้เป็นสิ่งประเสริฐ เป็นองค์ ๑ ของการขโมย.

เธอเป็นผู้ที่เทวดานั้นให้สลดใจแล้ว จึงมาที่พระเชตวันอีก ถวายบังคม

พระศาสดาแล้วนั่งอยู่ ถูกพระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุเธออยู่ที่

ไหน. ทูลว่า อยู่ที่ไพรสณฑ์ชื่อโน้น เทวดาที่ไพรสณฑ์นั้นนั่นเอง

ให้ข้าพระองค์สลดใจอย่างนี้. ครั้งนั้นพระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดู

ก่อนภิกษุ ไม่ใช่แต่เธอเท่านั้นที่ดมดอกไม้อยู่ ถูกเทวดาให้สลดใจ แม้

บัณฑิตในกาลก่อนทั้งหลาย เทวดาก็เคยให้สลดใจมาแล้วเหมือนกัน

เป็นผู้ที่ภิกษุนั้นทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ที่หมู่บ้านในแคว้นกาสี

ตำบลหนึ่ง เติบโตแล้วได้เรียนศิลปะในเมืองตักกศิลา ต่อมาได้บวชเป็น

ฤาษี เข้าไปอาศัยสระบัวแห่งหนึ่งอยู่ วันหนึ่งลงไปสระนั้น ได้ยืนดม

ดอกบัวที่บานงดงาม. ครั้งนั้นเทพธิดาตนหนึ่งสถิตอยู่ที่ลำต้นต้นไม้เมื่อ

จะให้ทานสลดใจ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ดูก่อนท่านผู้เช่นกับด้วยเรา ท่านดม

ดอกไม้ที่เกิดในน้ำ ดอกบัวที่เขาไม่ได้ให้นี้ใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 183

การดมนี้นั้นเป็นองค์ ๆ หนึ่ง ของการขโมย

ท่านเป็นผู้ขโมยกลิ่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกงฺคเมต ความว่า นั้นเป็นส่วน

ส่วนหนึ่ง.

ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า:-

เราไม่ลัก เราไม่เด็ดดอกบัว แต่เรายืน

ดมอยู่ไกล ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรหนอ ?

จึงกล่าวหาว่าเราเป็นผู้ขโมยกลิ่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารา สิงฺฆามิ ความว่า เรายืน

ดมอยู่ไกล ๆ. บทว่า วณฺเณน ได้แก่เหตุ.

ขณะนั้นชายคนหนึ่งขุดเหง้าบัวและเด็ดดอกบุณฑริก ในสระนั้น.

พระโพธิสัตว์เห็นเขาแล้ว เมื่อจะเจรจากับเทพธิดานั้นว่า ท่านกล่าวหา

เราผู้ยืนดมอยู่แต่ไกลว่าเป็นโจร แต่เหตุไร จึงไม่ว่าชายคนนั้น ? จึง

กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า:-

ชายคนนี้ใด ขุดเหง้าบัว เด็ดดอกบุณฑ-

ริก ชายคนนี้นั้น ผู้มีการงานเลอะเทอะอย่างนี้

แต่เหตุไรจึงไม่มีใครว่า ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 184

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อากิณฺณกมฺมนฺโต ได้แก่มีการงาน

หยาบ คือมีการงานทารุณ.

ลำดับนั้นเทวดา เมื่อจะบอกเหตุแห่งการพูด แก่พระโพธิสัตว์

นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ที่ ว่า :-

ชายผู้มีธรรมหยาบดาดดินแล้ว เปรอะ

เปื้อนบาป เหมือนผ้าอ้อม ข้าพเจ้าจึงไม่มีคำ

พูดอะไรในเรื่องนั้น แล้วข้าพเจ้าควรเพื่อจะว่า

กล่าวเขาได้ สำหรับคนผู้ไม่มีกิเลสดุจเนิน มี

ปกติแสวงหาความสะอาดเป็นนิจ บาปประ-

มาณเท่าปลายขนทราย จะปรากฏแก่เขาประ-

มาณเท่ากลีบเมฆทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธาติโจลว ความว่า คนนี้จะเป็น

ผู้เปื้อนไปด้วยบาปทีเดียว เหมือนกะผ้านุ่งของพี่เลี้ยง ที่เปื้อนน้ำลาย

น้ำมูก มูตรและคูถ เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงไม่มีการว่าอะไรในเรื่องนั้น.

บทว่า ตญฺจารหามิ ความว่า แต่สมณะทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักเป็น

ผู้ใคร่ต่อโอวาท ข้าแต่สมณะ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงควรเพื่อจะ

ว่ากล่าวเขาผู้ทำสิ่งที่ไม่สมควรแม้มีประมาณน้อย. บทว่า อนงฺคณสฺส ได้

แก่ ผู้เช่นกับท่านผู้หาโทษมิได้. บทว่า อพฺภามตฺตว ขายติ ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 185

บาปจะปรากฏเป็นสิ่งมีประมาณเท่าเมฆก้อนใหญ่. บัดนี้ เหตุไฉนท่าน

จึงจะทำโทษและนี้ให้เป็นอัพโภหาริก เป็นเหมือนไม่มีโทษไป.

ส่วนพระโพธิสัตว์ผู้ถูกเทวดาให้สลดใจ ได้ถึงความสังเวชแล้ว

จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้ควรบูชายักษ์ ท่านรู้จักข้าพ-

เจ้าแน่นอน และท่านอนุเคราะห์ข้าพเจ้า ข้า

แต่ท่านผู้ควรบูชายักษ์ ท่านจงตำหนิอีก เมื่อ

ท่านเห็นโทษชนิดนี้ของเรา.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้นต่อไป พระโพธิสัตว์ร้องเรียกเทวดา

ว่ายักษ์. บทว่า วชฺชาสิ ความว่า ท่านพึงว่ากล่าว. บทว่า ยทา

ปสฺสสิ เอทิส ความว่า พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เมื่อใดท่านเห็นโทษ

แบบนี้ของข้าพเจ้า เมื่อนั้นท่านพึงว่ากล่าวอย่างนี้ทีเดียว.

ลำดับนั้นเทพธิดา จึงกล่าวคาถาที่ ๗ แก่พระโพธิสัตว์ว่า:-

ข้าพเจ้าไม่ได้อาศัยสิ่งนั้นเลี้ยงชีพเลย ทั้ง

เราไม่ได้เป็นลูกจ้างท่าน ข้าแต่ภิกษุ ตัวท่าน

เองควรรู้กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสุคติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภตฺติกมฺหเส ความว่า เทพธิดา

แสดงว่าข้าพเจ้าไม่เป็นลูกจ้างของท่าน คือไม่เป็นแม้ผู้ทำงานเพื่อสินจ้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 186

ของท่าน ข้าพเจ้าจักเทียวพิทักษ์รักษาท่านทุกเวลาด้วยเหตุอะไร.

บทว่า เยน คจฺเฉยฺย ความว่า ข้าแก่ภิกษุ ท่านจะพึงไปสู่สุคติด้วย

กรรมอันใด ท่านนั่นแหละพึงรู้.

เทวดาครั้นให้โอวาทแก่พระโพธิสัตว์อย่างนี้แล้ว ก็กลับเข้าสู่

วิมานของตน. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ยังฌานให้เกิด แล้วได้เป็นผู้มีพรหม-

โลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรมทั้งหลายแล้วทรงประชุมชาดกไว้. ในที่ชุดแห่งสัจธรรม ภิกษุ

นั้นดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล. เทพธิดาในครั้งนั้น ได้แก่พระ-

อุบลวรรณาเถรีในบัดนี้ ส่วนดาบสได้แก่เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาอุปสิงฆบุปผชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 187

๘. วิฆาสาทชาดก

ว่าด้วยการกินของที่เป็นเดน

[๙๕๑] เหล่าชนผู้กินเดนทั้งหลาย พากันอยู่อย่าง

สบายดีจริงหนอ ในปัจจุบันก็น่าสรรเสริญ

และในสัมปรายภพ ก็จะมีสุคติ.

[๙๕๒] ดูก่อนท่านบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อนกแก้ว

พูดอยู่ ท่านทั้งหลายก็ไม่สงบใจฟัง. ดูก่อน

ท่านพี่น้องร่วมท้องทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย

จงฟังคำนี้ นกแก้วนี้กำลังสรรเสริญเราทีเดียว

[๙๕๓] ดูก่อนท่านผู้กินซากศพทั้งหลาย ข้าพ-

เจ้าไม่สรรเสริญท่านทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย

จงฟังข้าพเจ้า ท่านทั้งหลายเป็นผู้กินของเหลือ

เป็นปกติ แต่ท่านทั้งหลายไม่เป็นผู้กินเดน

เป็นปกติ.

[๙๕๔] พวกเราบวชได้ ๗ พรรษาแล้ว เป็น

เหมือนนกยูงอยู่กลางป่า เลี้ยงชีพด้วยอาหาร

ที่เป็นเดนเท่านั้น ถ้าหากจะเป็นผู้ที่ท่านผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 188

ควรตำหนิไซร้ ใครหนอจะเป็นผู้ที่ท่านผู้เจริญ

ควรสรรเสริญ ?

[๙๕๕] ของที่เหลือของราชสีห์ เสือโคร่งและ

สัตว์ร้ายทั้งหลายมีอยู่ ท่านทั้งหลายเลี้ยงชีพ

ด้วยอาหารที่เหลือนั้นนั่นเอง พวกเราสำคัญว่า

ท่านทั้งหลายเป็นผู้กินเดนเป็นปกติ.

[๙๕๖] ชนเหล่าใดให้ทานแก่สมณะพราหมณ์

และวณิพกอื่นแล้ว จึงบริโภคส่วนที่เหลือ

ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้กินเดน.

จบ วิฆาสาทชาดกที่ ๘

อรรถกถาวิฆาสาทชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ บุปผาราม ทรงปรารภภิกษุผู้มี

ศีลน่าเยาะเย้ย แล้วตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สุสุข วต ชีวนฺติ

ดังนี้.

ความย่อว่า เมื่อภิกษุเหล่านั้นให้พระมหาโมคคัลลานเถระ

ยังปราสาทให้สั่นสะเทือนแล้วพากันสังเวชใจอยู่ ภิกษุทั้งหลายพากันนั่ง

กล่าวโทษที่ไม่ใช่คุณของภิกษุเหล่านั้น ในโรงธรรมสภา. พระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 189

เสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายนั่งสนทนา

กันด้วยเรื่องอะไร ในบัดนี้ ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้

จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่ในแต่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน

ภิกษุเหล่านี้ ก็เป็นผู้มีศีลเป็นที่เยาะเย้ยเหมือนกัน จึงทรงนำเอาเรื่องใน

อดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นท้าวสักกะ. ในครั้งนั้น พี่น้อง ๗ คน

ในหมู่บ้านกาสิกคาม ตำบลใดตำบลหนึ่ง เห็นโทษในกามทั้งหลาย

พากันออกบวชเป็นฤาษีอยู่ท่ามกลางป่า ไม่ทำความเพียรในโยคะ เป็น

ผู้มากไปทางร่างกายแข็งแรง เที่ยวเล่นกีฬานานัปการ. ท้าวสักกะ

เทวราชทรงดำริว่า เราจักให้ภิกษุเหล่านี้ สลดใจ แล้วทรงปลอมพระองค์

เป็นนกแก้ว เสด็จมาถึงที่อยู่ของภิกษุเหล่านั้น แอบอยู่ที่ต้นไม้ต้นหนึ่ง

เมื่อจะให้ภิกษุเหล่านั้นสลดใจ จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

เหล่าชนผู้กินเดนทั้งหลายพากันอยู่อย่าง

สบายดีจริงหนอ ทั้งในปัจจุบันก็น่าสรรเสริญ

ทั้งในสัมปรายภพก็จะมีสุคติ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้นต่อไป นกแก้วกล่าวหมายถึงพวกคน

ที่กินอาหารที่เหลือจากผู้อื่นกินแล้ว. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม ความว่า

เหล่าชนแบบนี้ในปัจจุบันนี้ก็ควรสรรเสริญทีเดียว และในสัมปรายภพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 190

คนเหล่านั้นก็จะมีสุคติ คือนกแก้วกล่าวโดยอธิบายว่า เขาเหล่านั้นจะ

เกิดในสวรรค์.

ลำดับนั้น บรรดาฤาษีเหล่านั้น ฤาษีตนหนึ่งได้ยินคำของนกแก้ว

นั้นแล้ว จึงเรียกคนที่เหลือมา แล้วจึงได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนท่านบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อนกแก้ว

พูดอยู่ ท่านทั้งหลายก็ไม่สงบใจฟัง ดูก่อน

ท่านพี่น้องร่วมท้องทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย

จงฟังคำนี้ นกแก้วนี้กำลังสรรเสริญเราทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาสมานสฺส ความว่า เมื่อนกแก้ว

พูดอยู่ด้วยถ้อยคำของมนุษย์. บทว่า นิสาเมถ ได้แก่ไม่ฟัง บทว่า

อิท สุณาถ ความว่า ขอท่านทั้งหลายจงฟังคำนี้ของนกแก้วนั้น.

เขาร้องเรียกคนเหล่านั้นว่าโสทริยา คือพี่น้องร่วมอุทร เพราะความ

เป็นผู้อยู่แล้ว ในอุทรเสมอกัน.

ครั้งนั้นนกแก้วเมื่อจะห้ามคนเหล่านั้น จึงได้กล่าวคาถาที่ ๓

ว่า :-

ดูก่อนท่านผู้กินซากศพทั้งหลาย ข้าพ-

เจ้าไม่สรรเสริญท่านทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย

จงฟังข้าพเจ้า ท่านทั้งหลายเป็นผู้กินของเหลือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 191

เป็นปกติ แต่ท่านทั้งหลายไม่เป็นผู้กินเดน

เป็นปกติ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้นต่อไป นกแก้วร้องเรียกคนเหล่านั้น

ว่า กุณปาทา ความว่า ผู้กินซากศพ.

คนเหล่านั้นได้ยินคำนั้นแล้วทั่วทั้งหมด ได้พากันกล่าวคาถา

ที่ ๔ ว่า :-

พวกเราบวชได้ ๗ พรรษาแล้ว เป็น

เหมือนนกยูงอยู่กลางป่า เลี้ยงชีพด้วยอาหาร

ที่เป็นเดนเท่านั้น ถ้าหากจะเป็นผู้ที่ท่านผู้เจริญ

ควรตำหนิไซร้ ใครหนอจะเป็นผู้ที่ท่านผู้เจริญ

สรรเสริญ ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิขณฺฑิโน ความว่า ประกอบ

ด้วยหงอน. บทว่า วิฆาเสเนว ความว่า พวกเขาเมื่อเลี้ยงชีวิตด้วย

อาหารที่เป็นเดนของราชสีห์และเสือโคร่งอย่างเดียวถึง ๗ ปี ตลอดกาล

เท่านี้ ถ้าหากเป็นผู้ที่ท่านผู้เจริญพึงตำหนิไซร้ ก็ใครเล่าจะเป็นผู้ที่ท่าน

ผู้เจริญควรสรรเสริญ.

พระมหาสัตว์เมื่อให้คนเหล่านั้นสลดใจอยู่ จึงได้กล่าวคาถาที่ ๕

ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 192

ของที่เหลือของราชสีห์ เสือโคร่งและ

สัตว์ร้ายทั้งหลายมีอยู่ ท่านทั้งหลายเลี้ยงชีพ

ด้วยอาหารที่เหลือนั้นนั่นเอง พวกเราสำคัญว่า

ท่านทั้งหลายเป็นผู้กินเดนเป็นปกติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลานญฺจาวสิฏฺก ของที่เหลือ

คือโภชนะที่เหลือของสัตว์ร้ายทั้งหลายด้วย.

ดาบสทั้งหลายได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ถ้าหากพวกเราไม่

เป็นผู้กินเดนไซร้ ถ้าอย่างนั้นท่านตำหนิใครล่ะ ? ใครเป็นผู้กินเดน.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์นั้นเมื่อจะบอกข้อความนั้นแก่ดาบส

เหล่านั้น จึงได้กล่าวคาถาที่ ๖ ว่า :-

ชนเหล่าใดให้ทานแก่สมณะพราหมณ์

และวณิพกอื่นแล้ว จึงบริโภคส่วนที่เหลือ

ชนเหล่านั้นเป็นผู้กินเดน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วณิพฺพิโน ได้แก่ผู้ขอสิ่งของนั้น ๆ

พระมหาสัตว์ครั้นให้ดาบสเหล่านั้นสลดใจแล้ว จึงไปที่อยู่ของตนนั่น

เอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 193

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุม

ชาดกไว้ว่า พี่น้องชาย ๗ คน ในครั้งนั้น ได้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีล

น่าเยาะเย้ยเหล่านี้ในบัดนี้ ส่วนท้าวสักกะ ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาวิฆาสาทชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 194

๙. วัฏฏกชาดก

ว่าด้วยการทำให้เกิดความสุข

[๙๕๗] พ่อลุงกา ลุงกินอาหารประณีตกับเนยใส

แลน้ำมัน แต่เหตุไรเล่าหนอ ลุงจึงผอม ?

[๙๕๘] เมื่อกาอยู่ในท่ามกลางศัตรู แสวงหาเหยื่อ

ในหมู่อมิตร มีจิตใจหวาดระแวงเป็นนิตย์ จะ

มีความมั่นคง ความอ้วนมาแต่ไหน.

[๙๕๙] กาทั้งหลายหวาดระแวงอยู่เป็นนิตย์ ก้อน

ข้าวที่กาได้มาด้วยกรรมอันเลวทราม ไม่ยังกา

ให้เอิบอิ่ม ดูก่อนนกกระจาบ ด้วยเหตุนั้นเรา

จึงผอม.

[๙๖๐] ดูก่อนนกกระจาบ ส่วนเจ้ากินแต่หญ้า

และพืชที่หยาบ ๆ มีรสอร่อยน้อย แต่เหตุไร

เล่าหนอ เจ้าจึงอ้วน ?

[๙๖๑] ลุงกา ข้าพเจ้ายังอัตภาพให้เป็นไป เลี้ยง

ชีพด้วยเหยื่อนั้น ที่ได้มาแล้ว เพราะมักน้อย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 195

คิดน้อย และไปหากินไม่ไกล จึงอ้วน.

[๙๖๒] เพราะว่าคนผู้มักน้อย มีความสุขแบบ

พระอริยเจ้า ผู้คิดน้อย มีประมาณอาหารที่รับ

พอดีแล้ว ย่อมมีพฤติกรรมที่อวดอ้างได้ดี.

จบ วัฏฏกชาดกที่ ๙

อรรถกถาวัฏฏกชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุเหลวไหลรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปณีต ดังนี้.

พระศาสดาตรัสถามเธอว่า ได้ทราบว่า เธอเป็นคนเหลวไหล

จริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระพุทธเจ้าค่ะ จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุ ไม่ใช่เฉพาะเวลานี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนเธอก็เป็นคนเหลว

ไหลเหมือนกัน ก็แหละเพราะเป็นผู้เหลวไหลนั่นเอง เธอไม่อิ่มใน

ซากศพช้าง ซากศพโค ซากศพม้า และซากศพคนทั้งหลายในเมือง

พาราณสี จึงเข้าไปสู่ป่า ด้วยคิดว่า เราจักได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ดังนี้แล้ว

จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในกำเนิดนกกระจาบมีหญ้าและพืชที่หยาบ ๆ

เป็นอาหาร อาศัยอยู่ในป่า. ครั้งนั้น ในเมืองพาราณสีมีกาเหลวไหล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 196

ตัวหนึ่ง ไม่อิ่มด้วยซากศพมีช้างเป็นต้น คิดว่า เราจักได้รับอาหารมาก

ยิ่งไปกว่านี้ จึงเข้าป่าไปกินผลไม้น้อยใหญ่ เห็นพระโพธิสัตว์ คิดว่า

นกกระจาบตัวนี้มีร่างอวบอ้วนเหลือเกิน เห็นจะกินเหยื่ออร่อย เราจัก

ถามถึงเหยื่อของนกกระจาบตัวนั้น กินเหยื่อนั้นแล้วจะได้อ้วน แล้ว

จึงเกาะอยู่ที่กิ่งไม้เบื้องบนพระโพธิสัตว์ แล้วถามพระโพธิสัตว์ว่า เจ้า

นกกระจาบผู้จำเริญ เจ้ากินอาหารที่ประณีตหรือไร จึงได้มีร่าง

อวบอ้วน ? พระโพธิสัตว์ถูกกาเหลวไหลถาม เมื่อจะทำปฏิสันถารกับ

กานั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

พ่อลุงกา ลุงกินอาหารประณีตกับเนยใส

และน้ำมัน แต่เหตุไรเล่าหนอ ลุงจึงผอม ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภตฺต ได้แก่ ภัตที่เขาเตรียมไว้

ตามทำนองโภชนะของคนทั้งหลาย . พระโพธิสัตว์ร้องเรียกกานั้นว่า

มาตุละ ด้วยการร้องเรียกด้วยความรัก. บทว่า กิโส คือผอม ได้แก่

มีเนื้อและเลือดน้อย.

กาได้ฟังคำของนกกระจาบนั้นแล้ว จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา

ว่า :-

นกกระจาบเมื่อกาอยู่ในท่ามกลางศัตรู

แสวงหาเหยื่อในหมู่มิตร มีจิตใจหวาดระแวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 197

เป็นนิตย์ จะมีความอ้วนมาจากไหน กาทั้ง

หลายหวาดระแวงอยู่เป็นนิตย์ ก้อนข้าวที่กา

ได้มาด้วยกรรมอันเลวทราม ไม่ยังกาให้เอิบอิ่ม

ด้วยเหตุนั้น เราจึงผอม.

ดูก่อนนกกระจาบ ส่วนเจ้ากินแต่หญ้า

และพืชที่หยาบ ๆ มีรสอร่อยน้อย แต่เหตุไร

เล่าหนอ เจ้าจึงอ้วน ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฬฺหิย ความว่า สำหรับเราผู้

เป็นกาจะมีความมั่นคงมาจากไหน อธิบายว่า จะอ้วนมาจากไหน. บทว่า

อุพฺพิคฺคิโน ได้แก่ หวาดระแวงอยู่. คำว่า ธงฺโก เป็นชื่อของกา

ทั้งหลายนั่นเอง. บทว่า ปาเปน กมฺมุนา ลทฺโธ ความว่า ก้อนข้าว

ที่กาได้มาด้วยกรรมที่เลวทราม คือแย่งชิงเอาของผู้อื่นมา. บทว่า

ปิเณติ ความว่า ไม่เอิบอิ่ม. บทว่า เตนสฺมิ ความว่า เพราะเหตุนั้น

ข้าพเจ้าจึงผอม. บทว่า อปฺปเสฺนหานิ ได้แก่ มีโอชะหย่อน. กา

แม้เป็นผู้สำคัญว่า นกกระจาบกินเหยื่อประณีต เมื่อจะถามถึงเหยื่อ

ตามปกติของนกกระจาบทั้งหลาย กะพระโพธิสัตว์ จึงกล่าวคำนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 198

พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำนั้นแล้ว เมื่อจะบอกเหตุที่ตนอ้วน จึงได้

กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

ลุงกา ข้าพเจ้ายังอัตภาพให้เป็นไป

เลี้ยงชีพด้วยเหยื่อนั้น ที่ได้ได้มาแล้ว เพราะ

มักน้อย คิดน้อย และไปหากินไม่ไกล จึง

อ้วน เพราะว่า คนผู้มักน้อย มีความสุขแบบ

พระอริยเจ้าผู้คิดน้อย มีประมาณอาหารที่รับ

พอดีแล้ว ย่อมมีพฤติกรรมที่ควรอวดอ้างได้ดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปิจฺฉา ความว่า เพราะมีความ

มักน้อยในอาหารทั้งหลาย คือเพราะไม่มีตัณหา อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า

เพราะต้องการอาหาร โดยยังอัตภาพให้เป็นไปอย่างเดียว. บทว่า อปฺ-

ปจินฺตาย ความว่า เพราะไม่มีความคิดถึงอาหารอย่างนี้ว่า วันนี้เรา

จักได้อาหารที่ไหน พรุ่งนี้ที่ไหน. บทว่า อวิทูรคมเนน จ ความว่า

และเพราะการไปในที่ไม่ไกล โดยคิดว่า เราจักได้อาหารอร่อย ในที่

ชื่อโน้น. บทว่า ลทฺธาลทฺเธน ความว่า ด้วยอาหารที่ได้แล้วนั้น

แหละ จะเลวหรือประณีตก็ไม่ว่า. บทว่า ถูโล เตนสฺมิ ความว่า

ข้าพเจ้าอ้วนด้วย เพราะเหตุ ๔ อย่างนั้น. พระโพธิสัตว์ร้องเรียกกาว่า

วายสะ. บทว่า อปฺปจินฺตี มีวิเคราะห์ว่า ความสุขของพระอริยเจ้า

ทั้งหลาย ผู้เว้นจากความคิดมากเกินไปในอาหาร ชื่อว่า ผู้มีความคิดน้อย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 199

มีอยู่แก่ผู้นั้น เหตุนั้นผู้นั้นจึงชื่อว่า มีความสุขแบบพระอริยเจ้าผู้คิดน้อย

ของผู้ประกอบด้วยความสุขเช่นนั้นนั้น. บทว่า สุสงฺคหิตปฺปมาณสฺส

ความว่า ผู้มีประมาณแห่งอาหารที่รับไว้ด้วยดีแล้วอย่างนี้ว่า เรากินแล้ว

จักสามารถย่อยได้ตลอดเวลาเพียงเท่านี้. บทว่า วุตฺตี สุสมุทานิยา

ความว่า ความเป็นไปแห่งชีวิตของบุคคลนี้ สามารถเพื่อจะอวดอ้างได้

คือเป็นไปได้ด้วยดีทีเดียว หมายความว่า เพื่อเกิดขึ้นโดยง่ายดาย.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรมทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกไว้ ในที่สุดแห่งสัจธรรม

ภิกษุผู้เหลวไหลตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. กาในครั้งนั้น ได้แก่ ภิกษุ

ผู้เหลวไหลในบัดนี้ ส่วนนกกระจาบ ได้แก่ เราตถาคตนั่นเอง.

จบ อรรถกถาวัฏฏกชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 200

๑๐. มณิชาดก

ว่าด้วยแก้วมณี

[๙๖๓] เป็นเวลานานหนอ เราจึงจะเห็นสหาย

ทัดทรงแก้วมณี สหายของเรางามจริง เพราะ

การแต่งขนที่ช่างตกแต่งดีแล้ว.

[๙๖๔] เราเป็นผู้ขวนขวายในการงานทั้งหลาย จึง

มีขนแข็งคล้ายเล็บงอกขึ้นใต้ปีก นาน ๆ จึงจะ

ได้ช่างกัลบก วันนี้ได้ให้ช่างถอนขนออกแล้ว.

[๙๖๕] เธอได้ช่างกัลบกที่หาได้ยากมาแล้ว ได้

ให้เขาถอนออกไปโดยวิธีใดหนอ เธอจงให้

ช่างถอนออกโดยวิธีนั้นเถิด สหาย ก็เมื่อเป็น

เช่นนั้น อะไรเล่าห้อยย้อยอยู่คอของเธอ ?

[๙๖๖] แก้วมณีห้อยอยู่ที่คอมนุษย์ พวกสุขุ-

มาลชาติทั้งหลาย เราเลียนแบบมนุษย์เหล่านั้น

เธออย่าสำคัญว่าทำเล่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 201

[๙๖๗] ดูก่อนสหาย ถ้าแม้ว่า เธอชอบใจการ

แต่งขนที่ตกแต่งดีแล้วนี้ไซร้ เราจะให้ช่างทำ

ให้เธอ และแม้แก้วมณีเราก็จะให้เธอ.

[๙๖๘] เธอเท่านั้นแหละเหมาะกับแก้วมณี และ

ขนที่ตกแต่งดีแล้ว เราบอกเธอแล้วก็จะไปละ

การเห็นเธอเป็นที่รักของฉัน.

จบมณิชาดกที่ ๑๐

อรรถกถามณิชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุผู้เหลวไหล จึงได้ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า จิรสฺส วต

ปสฺสามิ ดังนี้. เรื่องปัจจุบันมีนัยดังกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.

พระองค์ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นนกพิราบอาศัยอยู่ที่รังนก บนโรงครัวหลัง

ใหญ่ ของเศรษฐีเมืองพาราณสี. ฝ่ายกาทำความคุ้นเคยกับนกพิราบ

นั้นแล้วอยู่ ณ ที่นั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเรื่องทั้งหมดควรให้พิสดาร

เถิด. พ่อครัวถอนขนปีกของกาออกแล้วเอาแป้งทาปีกไว้ เจาะชิ้นกระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 202

เบื้องชิ้นหนึ่งสวมไว้ที่คอแล้วใส่ไว้ในรัง. พระโพธิสัตว์มาจากป่าเห็นมัน

แล้ว เมื่อจะทำการเยาะเย้ย จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า:-

เป็นเวลานานหนอ เราจึงจะเห็นสหาย

ทัดทรงแล้วมณี สหายของเรางามจริง เพราะ

การแต่งขนที่ช่างตกแต่งดีแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มสฺสุกุตฺติยา ความว่า เพราะการ

ตกแต่งขนนี้.

กาได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

เราเป็นผู้ขวนขวายในการงานทั้งหลาย จึง

มีขนแข็งคล้ายเล็บงอกขึ้นใต้ปีก นาน ๆ จึง

จะได้ช่างกัลบก วันนี้ได้ให้ช่างถอนแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺเม สุพฺยาวโฏ ความว่า กา

กล่าวว่า ดูก่อนสหายเราเป็นผู้ขวนขวายในงานราชการทั้งหลาย เมื่อไม่

ได้โอกาสถอน จึงได้มีขนแข็งเหมือนเล็บงอกขึ้นใต้ปีกคือรักแร้. บทว่า

อหารยิ ความว่า วันนี้เราได้ให้ช่างถอนขนออกแล้ว.

ในลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

เธอได้ช่างกัลบกที่หาได้ยากแล้ว ได้ให้

เขาถอนขนออกไปโดยวิธีใดหนอ เธอจงให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 203

เขาถอนออกโดยวิธีนั้นเถิด สหาย เมื่อเป็น

เช่นนั้น อะไรเล่าห้อยย้อยอยู่ที่คอของเธอ ?

คาถานั้นมีเนื้อความว่า เจ้าได้ช่างกัลบกที่หาได้ยาก แล้วได้ให้

เขาถอนขนออกโดยวิธีใด เจ้าชอบใจวิธีนี้นั้น ฉันจักให้เขาทำการตก

แต่งขนเคราให้ เจ้าจงให้เขาถอนขนนั้นออกไปเถิด หายเอ๋ย นี้อะไร

เล่าห้อยระย้าอยู่ที่คอของเจ้า ?

ลำดับนั้น กาได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

แก้วมณีห้อยอยู่ที่คอของมนุษย์ พวก

สุขุมาลชาติทั้งหลาย เราเลียนแบบมนุษย์เหล่า

นั้น เธออย่าสำคัญว่าทำเล่น.

ดูก่อนสหาย ถ้าแม้ว่า เธอชอบใจการ

แต่งขนที่ตกแต่งดีแล้วนี้ไซร้ เราจะให้ช่างทำ

ให้เธอ และแม้แก้วมณีเราก็จะให้เธอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มณี ความว่า รัตนมณีดวงหนึ่ง ห้อยอยู่

ที่คอของคนทั้งหลายแบบนั้น. บทว่า เตสาห ตัดบทเป็น เตส อห

แปลว่า ข้าเลียนแบบพวกเขา. บทว่า มา ตว มญฺเ ความว่า แต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 204

เจ้าอย่าสำคัญว่า สิ่งนั่นข้าทำเล่น. บทว่า ปิหยสิ ความว่า ถ้าหากเจ้า

ต้องการแบบขน ที่ข้าแต่งดีแล้วไซร้.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า

เธอเท่านั้นแหละเหมาะกับแก้วมณี และ

ขนที่ตกแต่งดีแล้ว เราบอกเธอแล้วก็จะไปละ

การเห็นเธอเป็นที่รักของฉัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มณินา ความว่า สำหรับแก้วมณี.

ปาฐะเป็นอย่างนี้ทีเดียวก็มี. มีคำอธิบายไว้ว่า สหายกาเอ๋ย เจ้าเท่านั้น

แหละเหมาะสำหรับแก้วมณีนี้ และขนที่ตกแต่งแล้วนี้. แต่การเห็นเธอ

นั่นเองเป็นที่รักของฉัน เพราะฉะนั้นฉันบอกเธอแล้วก็จะไป. ก็แหละ

นกพิราบครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็บินหนีเข้าป่าไป. ส่วนกาถึงการสิ้น

ชีวิต ณ ที่นั้นนั่นเอง.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ทรงประกาศสัจ-

ธรรมทั้งหลาย แล้วจึงทรงประชุมชาดกไว้ ในที่สุดแห่งสัจธรรม ภิกษุ

ผู้เหลวไหล ดำรงอยู่แล้วในอนาคามิผล. กาในครั้งนั้น ได้แก่ภิกษุผู้

เหลวไหลในบัดนี้ ส่วนนกพิราบ ได้แก่เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถามณิชาดกที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 205

รวมชาดกที่มีในขุรปุตวรรคนี้มี ๑๐ คือ :-

๑. ขุรปุตชาดก ๒. สูจิชาดก ๓. ตุณฑิลชาดก ๔. สุวรรณ-

กักกฏกชาดก ๕. มัยหกสกุณชาดก ๖. ปัพพชิตวิเหฐกชาดก ๗. อุป

สิงฆบุปผชาดก ๘. วิฆาสาทชาดก ๙. วัฏฏกชาดก ๑๐. มณิชาดก.

จบ ขุรปุตวรรคที่ ๒

อรรถกถาชาดกนี้ ชื่อว่า อรรถกถาฉักกนิบาต ประดับด้วย

ชาดก ๒๐ ชาดก จบบริบูรณ์แล้วด้วยประการฉะนี้. ปกรณ์นี้ที่พระ-

โอรสองค์เล็กของพระเจ้าอภัยสังคหะ. ผู้มีพระทัยน้อมไปในการบรรพชา

ตั้งแต่เวลามีพระชนม์ ๗ พรรษา มีพระหฤทัยผ่องใส ทรงผนวชแล้ว

โดยพระนามฉายาว่า อคฺคาณะ ทรงมีพรรษา ๒ ตั้งแต่ทรงผนวช

มาสมมุติกันว่าเป็นศิษย์เอกของพระเถระ ชาวบ้านมณีหริตคิรีคาม ผู้

เป็นพระราชาคณะพระนามว่า พระสีลสัมบันตรีปิฎกธร อรรถธรรม

โกศลสาสน์ ทรงลิขิตไว้สำเร็จเสร็จสิ้นในเวลาบ่ายวันที่ ๗ ขึ้น ๑๐ ค่ำ

ศุกรปักษ์ เดือนอ้าย.

รวมวรรคที่มีอยู่ในฉักกนิบาตนี้ ๒ วรรค คือ :-

๑. อาวาริยวรรค ๒. ขุรปุตวรรค

จบ ฉักกนิบาตชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 206

สัตตกนิบาตชาดก

๑. กุกกุวรรค

๑. กุกกุชาดก

ว่าด้วยปฏิปทาของพระราชาผู้เป็นบัณฑิต

[๙๖๙] ยอดโดมสูงศอกครึ่ง จันทันประมาณ

๘ คืบ ยันยอดโดมนั้นไว้ ยอดโดมนั้นทำด้วย

ไม้แก่นไม่มีกระพี้ ทรงตัวอยู่ได้อย่างไร จึง

ไม่ตกลงจากข้างบน.

[๙๗๐] จันทัน ๓๐ ตัว ทำด้วยไม้แก่นไม่มีกระพี้

เหล่าใดวางเรียงยันกันไว้ ยอดโดมที่จันทัน

เหล่านั้นยึดไว้ดีแล้ว และถูกกำลังจันทันบีบ

บังคับวางขนาบไว้ จึงไม่ตกไปจากข้างบน

ฉันใด.

[๙๗๑] แม้พระราชาผู้ทรงเป็นบัณฑิต ก็ฉันนั้น

ที่เหล่าองคมนตรีผู้เป็นมิตรมั่นคง มีรูปแบบ

ไม่แตกแยกกัน มีความสะอาด ยึดเหนี่ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 207

กันไว้ดีแล้ว ก็ไม่ทรงพลาดไปจากสิริเหมือน

กับยอดโดมที่แบกภาระของจันทันไว้ฉะนั้น.

[๙๗๒] ผู้มีมีด แม้ไม่ปอกเปลือกผลมะงั่วที่มี

เปลือกแข็งออกจะทำให้มีรสขม. ข้าแต่

พระราชา บุคคลเมื่อปอกเปลือกเป็น จะทำ

ให้มีรสอร่อย เมื่อปอกแต่เปลือกบาง ๆ ออก

ก็คงทำให้รสไม่อร่อยฉันใด.

[๙๗๓] ฝ่ายพระราชาผู้ทรงพระปรีชา ก็ฉันนั้น

ไม่ทรงเร่งรัดเก็บทรัพย์ที่ควรตำหนิ คือไม่ขูด

รีดภาษี ทรงคล้อยตามธรรมะปฏิบัติอยู่ ควร

ทรงทำความสุขสำราญแก่ราษฎร ไม่ทรง

เบียดเบียนผู้อื่น.

[๙๗๔] ดอกบัวหลวงมีรากขาว ผุดขึ้นจากน้ำที่

ไม่สะอาด เกิดในสระโบกขรณี บานเพราะ

พระอาทิตย์มีแสงเหมือนแสงไฟ โคลนตม

ไม่เปื้อน ผงธุลีก็ไม่เลอะ น้ำก็ไม่เปียกมัน

ฉันใด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 208

[๙๗๕] พระราชาผู้เช่นนั้นก็ฉันนั้น กรรมกิเลส

จะไม่เปรอะเปื้อนพระองค์ ผู้มีพระราชวินิจฉัย

สะอาด ไม่ทรงผลุนผลัน มีพระราชกิจบริสุทธิ์

ทรงปราศจากกรรมที่เป็นบาป เหมือนดอกบัว

ที่เกิดในสระโบกขรณีทั้งหลายฉะนั้น.

จบ กุกกุชาดกที่ ๑

อรรถกถาสัตตกนิบาตชาดก

อรรถกถากุกกุวรรคที่ ๑

อรรถกถากุกกุชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

พระราโชวาท ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า ทิยฑฺฒกุกฺกุ ดังนี้. เรื่อง

ปัจจุบันจักมีแจ้งในเตสกุณชาดก.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์ ผู้ถวายอรรถธรรมแด่พระองค์

พระราชาทรงดำรงอยู่ในการลุอำนาจอคติ ทรงครองราชย์โดยไม่เป็น

ธรรม รีดนาทาเร้นชนบทเก็บทรัพย์อย่างเดียว. พระโพธิสัตว์ประสงค์

จะถวายพระโอวาทพระราชา เดินพิจารณาหาอุบายข้อหนึ่งไป. อนึ่ง

ในพระราชอุทยานมีพระตำหนักประทับผิดปกติ มุงหลังคายังไม่เสร็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 209

เพียงแต่ยกยอดโดมไม้ขึ้น แล้วเอาจันทันสอดพาดไว้. พระราชาเสด็จ

ไปพระราชอุทยาน เพื่อต้องการทรงกรีฑา เสด็จดำเนินไปทั่วทุกแห่ง

ในพระราชอุทยานนั้นแล้วเสด็จเข้าพระตำหนักนั้น เมื่อทอดพระเนตร

เห็นยอดโดม จึงเสด็จออกมาประทับยืนข้างนอก เพราะทรงกลัว

จะตกลงเบื้องบนพระองค์ ทรงตรวจดูอีก ทรงดำริว่า ยอดโดม

วางอยู่ได้เพราะอาศัยอะไรหนอ จันทันวางอยู่ได้เพราะอาศัยอะไร

เมื่อจะตรัสถานพระโพธิสัตว์ จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ยอโดมสูงศอกครึ่ง จันทันประมาณ

๘ คืบ ยันยอดโดมนั้นไว้ ยอดโดมนั้นทำด้วย

ไม้แก่นไม่มีกระพี้ ทรงตัวอยู่ได้อย่าง จึง

ไม่ตกลงจากข้างบน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิยฑฺฒกุกกุ ความว่า ศอกครึ่ง.

บทว่า อุทเยน ความว่า โดยส่วนสูงกว่า. บทว่า ปริกฺขิปนฺติ

ความว่า จันทัน คือ ๘ คืบ ยันยอดโดมนี้นั้นไว้ อธิบายว่า ประมาณ

๘ คืบ โดยใช้ยันไว้. บทว่า กุหึ ิตา ความว่า เป็นสิ่งที่ถูกวางไว้

ที่ไหน บทว่า น ธสติ ความว่า ไม่ตกไป.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระราชาดำรัสนั้นแล้ว คิดว่า บัดนี้เราได้

อุบายเพื่อจะถวายพระโอวาทพระราชาแล้ว จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ถวาย

ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 210

จันทัน ๓๐ ตัว ทำด้วยไม้แก่น ไม่มี

กระพี้เหล่าใดวางเรียงยันกันไว้ ยอดโดมที่

จันทันเหล่านั้นยึดไว้ดีแล้ว และถูกกำลัง

บีบบังคับวางขนาบไว้ จึงไม่ตกไปจากข้างบน

ฉันใด. แม้พระราชาผู้ทรงเป็นบัณฑิต ก็

ฉันนั้น ที่เหล่าองคมนตรีผู้เป็นมิตรมั่นคง มี

รูปแบบไม่แตกกัน มีความสะอาด ยึด

เหนี่ยวกันไว้ดีแล้ว ก็ไม่ทรงพลาดไปจากสิริ

เหมือนกับยอดโดมที่แบกภาระของจันทันไว้

ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยา ตึสติ สารมยา ความว่า

จันทัน ๓๐ ตัวเหล่าใดทำด้วยไม้แก่น. บทว่า ปฏิกิริย ความว่า

พยุงไว้. บทว่า สมฏฺิตา ความว่า วางเรียงไว้เสมอกัน. บทว่า

พลสา จ ปีฬิตา ความว่า ที่จันทันเหล่านั้น ๆ และกำลังของมันบีบ

บังคับยึดกันไว้อย่างดี คือติดเนื่องเป็นอันเดียวกัน. บทว่า ปณฺฑิโต

ได้แก่พระราชาผู้ทรงปรีชา. บทว่า สุจีหิ ความว่า อันกัลยาณมิตร

ทั้งหลาย ผู้มีความประพฤติสะอาดเสมอ. บทว่า มนฺติภิ ความว่า

ผู้ฉลาดเพราะความรู้. บทว่า โคปาณสีภารวหาว กณฺณิกา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 211

ยอดโดมแบกภาระจันทันทั้งหลายไว้ไม่ตกฉันใด แม้พระราชาก็ฉันนั้น

เป็นผู้ที่องค์มนตรีทั้งหลายมีประการดังนี้กล่าวแล้ว มีจิตใจไม่แตกแยก

กัน จะไม่ทรงพลาด คือไม่ตกไปได้แก่ไม่ขาดหายไปจากสิริ.

พระราชา เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดดู

พระราชกิริยาของพระองค์แล้ว จึงทรงทราบว่า เมื่อยอดโดมไม่มี จันทัน

ทั้งหลายก็วางอยู่ไม่ได้. ยอดโดมที่จันทันไม่ยึดรั้งไว้ก็ตั้งอยู่ไม่ได้. เมื่อ

จันทันแยกกันยอดโดมก็หล่นฉันใด พระราชาผู้ไม่ทรงธรรมก็ฉันนั้น

เหมือนกัน เมื่อไม่ทรงยึดเหนี่ยวใจมิตรอำมาตย์ กำลังพลของตนและ

พราหมณ์คหบดีทั้งหลายไว้ เมื่อคนเหล่านั้นแตกแยกกัน ไม่พากัน

ยึดเหนี่ยวพระทัยพระองค์ไว้ก็จะเสื่อมจากอิสริยยศ ธรรมดาพระราชา

ควรจะเป็นผู้ทรงธรรม ดังนี้. จึงในขณะนั้น คนทั้งหลายได้นำผลมะงั่ว

มา เพื่อต้อนการเป็นบรรณาการทูลเกล้าถวายพระองค์. พระราชา

จึงตรัสกะพระโพธิสัตว์ว่า สหายเอ๋ย เชิญรับประทานผลมะงั่วนี้เถิด.

พระโพธิสัตว์รับเอาผลมะงั่วนั้นแล้ว เมื่อทูลแสดงอุบายรวบรวมทรัพย์

คือการเก็บภาษีถวายพระราชาด้วยอุปมานี้ว่า ข้าแต่มหาราช คนทั้งหลาย

ไม่รู้การกินผลมะงั่วนี้จะทำให้มีแต่รสขม ส่วนผู้ฉลาดรู้รสเปรี้ยวนำแต่

รสขมออกไป ไม่นำรสเปรี้ยวออก ไม่ให้รสมะงั่วเสีย ภายหลังจึงรับ

ประทานดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า :-

ผู้มีมีด แม้เมื่อไม่ปอกเปลือกผลมะงั่วที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 212

มีเปลือกแข็งออกจะทำให้มีรสขม ข้าแต่

พระราชา บุคคลเมื่อปอกเปลือกเป็น จะทำ

ให้มีรสอร่อย เมื่อปอกแต่เปลือกบาง ๆ ออก

คงทำให้รสไม่อร่อยฉันใด. ฝ่ายพระราชา

ผู้ทรงพระปรีชา ก็ฉันนั้น ไม่ทรงเร่งรัดเก็บ

ทรัพย์ที่ควรตำหนิ คือขูดรีดภาษี ควรทรง

ปฏิบัติคล้อยตามธรรมะ ทำความสุขสำราญ

แก่ราษฎร ไม่ทรงเบียดเบียนผู้อื่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขรตฺตจ ได้แก่มีเปลือกแข็ง. บทว่า

เพลฺล ได้แก่ผลมะงั่ว. ปาฐะว่า พาล ก็มี. ความหมายก็เป็นอย่างนี้

เหมือนกัน. บทว่า สตฺถวา ความว่า ผู้มีศัสตราเล็ก คือมีดในมือ.

บทว่า อโนมสนฺโต ความว่า เมื่อปอกเปลือกเป็น คือเมื่อเฉือน

เปลือกนอกออกและไม่นำรสเปรี้ยวออกไปทำให้รสอร่อย. พระโพธิสัตว์

เรียกพระราชาว่า ปตฺถวา. บทว่า ตนุพนฺธมุทฺธร ความว่า แต่ว่า

ปอกแต่เปลือกบาง ๆ ออกไป คงทำให้ผลมะงั่วนั้นอร่อยไม่ได้เลย เพราะ

ไม่ได้นำรสขมออกไปให้หมดสิ้น. บทว่า เอว ความว่า ฝ่ายพระราชา

ผู้ทรงพระปรีชาพระองค์นั้นก็ฉันนั้น ไม่ทรงเร่งรัด คือไม่ลุอำนาจตัณหา

ที่ผลุนผลัน ทรงละการลุอำนาจอคติ ไม่ทรงเบียดเบียนราษฎร ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 213

เก็บเงินภาษีโดยทำนองปลวกทั้งหลายพัฒนา คือก่อจอมปลวก และ

โดยทำนองผึ้งทั้งหลายที่เคล้าเอาเกษรมาทำน้ำผึ้ง เป็นผู้ทรงคล้อยตาม

ธรรมะปฏิบัติอยู่โดยการคล้อยตามราชธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ คือ :-

ทาน ๑ ศีล ๑ การบริจาค ๑ ความ

ซื่อตรง ๑ ความอ่อนโยน ๑ ความเคร่งครัด ๑

ความไม่โกรธ ๑ ความไม่เบียดเบียน ๑

ความอดทน ๑ ความไม่ผิด ๑.

ควรทรงทำความสำราญ คือความเจริญให้ตนเองและผู้อื่น

ไม่เบียดเบียนผู้อื่นเลย.

พระราชาทรงปรึกษากับพระโพธิสัตว์ไปพลาง เสด็จดำเนินไป

พลางถึงฝั่งสระโบกขรณี ทอดพระเนตรเห็นดอกบัวที่บานงามอยู่ในสระ

นั้น แต่ไม่เปียกน้ำมีสีเหมือนแสงพระอาทิตย์อ่อน ๆ จึงตรัสว่า สหาย

ดอกบัวนี้เกิดในน้ำนั่นแหละ แต่อยู่ได้ไม่เปียกน้ำ. ลำดับนั้น

พระโพธิสัตว์ เมื่อทูลโอวาทพระราชานั้นว่า ถึงพระราชาก็ควรเป็น

แบบนี้เหมือนกัน จึงได้ทูลคาถาว่า :-

ดอกบัวหลวงมีเง่าขาว ผุดขึ้นจากน้ำที่

สะอาด เกิดในสระโบกขรณี บานเพราะ

พระอาทิตย์ มีแสงเหมือนแสงไฟ โคลนตม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 214

ก็ไม่เปื้อน ผงธุลีก็ไม่เลอะ น้ำก็ไม่เปียกมัน

ฉันใด. พระราชาผู้เช่นนั้น ก็ฉันนั้น กรรม

กิเลสจะไม่เปรอะเปื้อนพระองค์ ผู้มีพระราช

วินิจฉัยสะอาด ไม่ทรงผลุนผลัน มีพระราชกิจ

บริสุทธิ์ ทรงปราศจากกรรมที่เป็นบาป เหมือน

ดอกบัวที่เกิดในสระโบกขรณีทั้งหลายฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอทาตมูล ได้แก่มีเง่าขาว. คำว่า

อัมพุช เป็นไวพจน์ของดอกบัวนั่นเอง. บทว่า อคฺคินิภาสิผาลิม

ความว่า บานแล้ว อธิบายว่า แย้มบานแล้ว เพราะพระอาทิตย์มีแสง

เหมือนแสงไฟ. บทว่า น กทโม น รโช น วาริ ลิปฺปติ ความว่า

โคลนตม ก็ไม่เปื้อน ผงธุลีก็ไม่เลอะ น้ำก็ไม่เปียก อธิบายว่า ไม่

เปรอะเปื้อน. ปาฐะ บาลีว่า ลิมปติ ก็มี. อึกอย่างหนึ่ง บทเหล่านั้น

เป็นปฐมาวิภัติใช้ในความหมายสัตมีวิภัติ. ความหมายก็ว่า ไม่แปดเปื้อน

คือไม่ผิดอยู่ในโคลนตมเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า โวหารสุจึ ความว่า

ทรงเป็นผู้สะอาดในเพราะการทรงตัดสินคดีตามกฏหมาย ที่พระราชา

ทั้งหลายผู้ทรงธรรมเก่าก่อนทรงตราไว้ อธิบายว่า ผู้ทรงละการลุอำนาจ

อคติทำการวินิจฉัยโดยธรรม. บทว่า อสาหส ความว่า ชื่อว่าทรง

เว้นจากพระราชกิริยาที่หุนหันพลันแล่น เพราะเหตุที่ทรงดำรงอยู่ใน

พระราชวินิจฉัยที่ชอบธรรมนั่นเอง. บทว่า วิสุทฺธกมฺม ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 215

ชื่อว่า ทรงมีพระราชกิจบริสุทธิ์ คือมีปกติตรัสคำจริง ได้แก่ไม่ทรง

พิโรธ มายความว่า ทรงเป็นกลาง เท่ากับว่าทรงเป็นเหมือนตราชู

เพราะเหตุที่พระองค์ไม่ทรงผลุนผลันนั้นนั่นเอง บทว่า อเปตปาปก

ได้แก่ทรงปราศจากบาปกรรม. บทว่า น ลิมฺปติ กมฺมกิเลส ความว่า

กรรมกิเลสนี้ คือ ปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ๑

มุสาวาท ๑ ไม่ติดเปื้อนพระวาชานั้น. เพราะเหตุไร ? เพราะพระราชา

ผู้เช่นนั้นก็เหมือนดอกบัวที่เกิดแล้วในสระโบกขรณี. อธิบายว่า ข้าแต่

มหาราช พระราชาผู้เช่นนั้นทรงเป็นผู้ชื่อว่าอันอะไรไม่เปื้อนเปรอะ

แล้ว เหมือนดอกปทุมที่เกิดแล้วในสระโบกขรณี อันอะไรไม่เปื้อน

เปรอะแล้ว.

พระราชาทรงดำรงอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์แล้ว จำเดิม

แต่นั้นมา ก็ทรงครองราชย์โดยธรรม ทรงบำเพ็ญบุญทั้งหลายมีทาน

เป็นต้น แล้วได้ทรงเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ได้ทรงประชุม

ชาดกไว้ว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้แก่พระอานนท์ในบัดนี้ ส่วนอำมาตย์

ผู้เป็นบัณฑิต คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากุกกุชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 216

๒. มโนชชาดก

ว่าด้วยคบคนชั่วไม่ได้ความสุขยั่งยืน

[๙๗๖] เพราะเหตุที่ธนูโก่ง และสายธนูสะบัด

ฉะนั้น มโนชะมฤคราชสหายของเรา ถูกฆ่า

แน่นอน.

[๙๗๗] ช่างเถอะ เราจะหลีกเข้าป่าที่เร้นลับไป

ตามสบาย เพื่อนเช่นนี้จะไม่มี เรายังมีชีวิต

อยู่คงได้เพื่อนอีก.

[๙๗๘] ผู้คบหาคนเลวตามปกติ จะไม่ประสบ

ความสุขโดยส่วนเดียว จงดูมโนชะผู้นอนอยู่

เถิด ผู้เชื่อฟังอนุสาสนีของสุนัขจิ้งจอกชื่อ

คิริยะ.

[๙๗๙] แม่จะไม่บันเทิงใจ เพราะลูกมีเพื่อนที่

เลวทราม จงดูมโนชะผู้นอนจมกองเลือดของ

ตนอยู่เถิด.

[๙๘๐] คนผู้ที่ไม่ทำตามถ้อยคำของผู้เกื้อกูล ผู้ชี้

ประโยชน์ให้ จะประสบอย่างนี้ และจะพบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 217

เพื่อนที่เลวทรามกว่า.

[๙๘๑] เมื่อเป็นเช่นนั้น คนผู้ที่สูงส่ง แต่คบหา

คนที่ต่ำทราม จะเป็นคนเลว ว่าคนนั้นที่เดียว

จงดูพระยาเนื้อ คือมโนชะผู้สูงส่ง แต่คบหา

สัตว์ต่ำช้า คือสุนัขจิ้งจอก ถูกกำจัดด้วยกำลัง

ลูกศร.

[๙๘๒] คนผู้คบหาคนเลวทรามเป็นปกติ จะ

เสื่อมเสีย แค่ผู้คบหาคนเสมอกันเป็นปกติ

จะไม่เสื่อมเสียในกาลไหน ๆ ส่วนผู้คบหาคน

ที่ประเสริฐที่สุดอยู่ จะเข้าถึงเขาโดยเร็ว ด้วย

คุณความดี เพราะฉะนั้น คนควรคบแต่คนที่

สูงกว่าตน.

จบ มโนชชาดกที่ ๒

อรรถกถามโนชชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ทรงปรารภภิกษุ

ผู้คนหาสมาคมฝ่ายที่ผิดแล้ว จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยถา จาโป

นินฺนมติ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 218

ความพิสดารว่า ในมหิฬามุขชาดกในหนหลัง. แต่ครั้งนั้น

พระศาสดาตรัสว่า ไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในปางบรรพ์ภิกษุนั้น

ก็เป็นผู้ซ่องเสพฝ่ายที่ผิดเหมือนกัน แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา

สาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นสิงห์โตตัวผู้ อยู่กับสิงห์โตตัวเมีย ได้ลูก

๒ ตัว คือลูกตัวผู้ ๑ ตัว ตัวเมีย ๑ ตัว. ลูกตัวผู้ได้มีชื่อว่า มโนชะ.

มันเติบโตแล้ว รับเอาลูกสิงห์โตตัวหนึ่งมาเป็นเมีย. ดังนั้นสิงห์โต

เหล่านั้น จึงมีรวมกัน ๕ ตัว. สิงห์โตมโนชะ ได้ฆ่ากระบือเป็นต้น

ในป่า นำเนื้อมาเลี้ยงพ่อแม่น้องสาวและเมีย. อยู่มาวันหนึ่งมันเห็น

สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง ชื่อคิริยะที่ถิ่นหากินเหยื่อหนีไม่ทัน ได้นอนหมอบ

ลง จึงถามว่า สหายเอ๋ยอะไรกัน เมื่อสุนัขจิ้งจอกบอกว่า ข้าแต่นาย

ฉันประสงค์จะปรนนิบัตินาย จึงรับมันไว้แล้วนำมายังถ้ำซึ่งเป็นที่อยู่

ของตน. พระโพธิสัตว์เห็นพฤติการณ์นั้นแล้ว แม้ห้ามอยู่ว่า ลูกมโนชะ

เอ๋ย ธรรมดาสุนัขจิ้งจอกทั้งหลาย ทุศีล มีบาปธรรม ประกอบสิ่งที่

ไม่ใช่กิจ เจ้าอย่าเอาสุนัขจิ้งจอกนั้นไว้ในสำนักของตน ดังนี้ ก็ไม่อาจ

จะห้ามได้. อยู่มาวันหนึ่งสุนัขจิ้งจอกอยากจะกินเนื้อม้า จึงพูดกะมโนชะ

ว่า ข้าแต่นาย ขึ้นชื่อว่าเนื้ออย่างอื่นเว้นไว้แต่เนื้อม้า ที่พวกเราไม่

เคยกินไม่มี พวกเราจักตระครุบม้ากันเถอะ. มโนชะถามว่า ม้ามีที่ไหน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 219

นะ ? สุนัขจิ้งจอกตอบว่า ที่ฝั่งแม่น้ำเมืองพาราณสี. มโนชะรับคำ

สุนัขจิ้งจอกแล้ว ไปกับมันในเวลาที่ม้าทั้งหลายพากันอาบน้ำในแม่น้ำ

ตะครุบม้าได้ตัวหนึ่ง ยกขึ้นหลังมาถึงประตูถ้ำของตนทีเดียว ด้วยกำลัง

สิงห์โต. ลำดับนั้น พ่อของเขากัดกินเนื้อม้าแล้ว จึงพูดว่า ธรรมดา

ม้าเป็นสัตว์สำหรับใช้สอยของหลวง. และพระราชาทั้งหลาย ก็ทรงมี

มายามากมาย ตรัสสั่งให้พวกนายขมังธนูผู้ฉลาด คือแม่นธนูยิง. ขึ้น

ชื่อว่าสิงห์โตที่กินเนื้อม้า ที่จะอายุยืนไม่มี ต่อแต่นี้ไปเจ้าอย่าตะครุบ

ม้ามากิน. มโนชะไม่ทำตามคำพ่อยังตะครุบอยู่นั่นแหละ. พระราชา

ทรงสดับว่า สิงห์โตตะครุบม้ากิน จึงทรงให้สร้างสระโบกขรณี สำหรับ

ม้าไว้ภายในพระนครนั่นเอง. แม้จากสระโบกขรณีนั้น สิงห์โตก็ยังมา

ตะครุบเอาเหมือนกัน. พระราชาจึงทรงให้สร้างโรงม้า แล้วให้หญ้าและ

น้ำแก่ม้าในภายในโรงนั้นเอง. สิงห์โตก็ไปทางด้านบนกำแพง ตะครุบ

เอาจากภายในโรงนั่นแหละ. พระราชาตรัสสั่งนายขมังธนูยิงเร็ว คือยิง

ไม่ขาดระยะ คนหนึ่งมา แล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าจักอาจยิงสิงห์โต

ได้ไหม ? เขาทูลว่า ได้พระพุทธเจ้าข้า แล้วได้ให้คนสร้างป้อมไว้ชิด

กำแพงใกล้ทางสิงห์โตมาแล้วได้ยืนบนนั้น. สิงห์โตมาแล้วให้สุนัขจิ้งจอก

ยืนอยู่นอกป่าช้า แล้ววิ่งเข้าพระนคร เพื่อจะตะครุบม้า. ฝ่ายนายขมัง

ธนู เวลาสิงห์โตมา คิดว่า สิงห์โตมีความรวดเร็วมาก จึงยังไม่ยิง

แต่เวลามันตะครุบม้าแล้วเดินไป จึงยิงสิงห์โต ที่ลดความเร็วลงแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 220

เพราะแบกหนัก ด้วยลูกศรที่แหลมคมที่ด้านหลัง. ลูกศรทะลุออกทาง

ด้านหน้าแล้ว วิ่งไปในอากาศ. สิงห์โตร้องว่า ข้าถูกยิงแล้ว. นาย

ขมังธนูยิงสิงห์โตนั้น สะบัดสายดังเหมือนสายฟ้า สุนัขจิ้งจอกได้ยิน

เสียงสิงห์โตและเสียงสายธนูแล้ว คิดว่า สหายของเราจักถูกนายขมัง

ธนูยิงให้ตายแล้ว ธรรมดาว่าความคุ้นเคยกับสัตว์ทั้งหลายที่ตายแล้ว

ย่อมไม่มี บัดนี้ เราจักไปที่อยู่ของเราตามปกตินั่นแหละ. เมื่อจะเจรจา

กับตัวเอง จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

เพราะเหตุที่ธนูโก่ง และสายธนูสะบัด

ฉะนั้น มโนชะมฤคราชสหายของเรา ถูกฆ่า

แน่นอน. ช่างเถอะ วันนี้เราจะหลีกเข้าป่าที่

เร้นลับไปตามสบาย เพื่อนเช่นนี้จะไม่มี เรา

ยังมีชีวิตอยู่ คงได้เพื่อนอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา ความว่า ธนูโก่ง เพราะ

เหตุใด. บทว่า หญฺเต นูน ความว่า ถูกฆ่าแน่. บทว่า เนตาทิสา

ความว่า ธรรมดาสหายแบบนี้ คือสู้ตายแล้ว จะไม่มี. บทว่า ลพฺภา

ความว่า ธรรมดาว่าสหาย เรามีชีวิตอยู่อาจหาได้อีก.

ฝ่ายสิงห์โดยวิ่งไปด้วยความเร็วอย่างเอกทีเดียว สลัดให้ม้าตกลง

ที่ประตูถ้ำ แล้วตนเองก็ล้มลงตาย. ภายหลังญาติของมันพากันออกไปดู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 221

ได้เห็นมันเปื้อนเลือด มีเลือดไหลออกจากปากแผลที่ถูกยิง ถึงความสิ้น

ชีวิต เพราะคบสัตว์เลว. พ่อ แม่ น้องสาวและเมียของมัน ได้พากัน

กล่าวคาถา ๔ คาถา ตามลำดับว่า :-

ผู้คบสัตว์เลวตามปกติ จะไม่ประสบ

ความสุขโดยส่วนเดียว จงดูมโนชะผู้นอนอยู่

เถิด ผู้เชื้อฟังอนุสาสนี ของสุนัขจิ้งจอกชื่อ

คิริยะ. แม่จะไม่บันเทิงใจ เพราะลูกมีเพื่อน

ที่เลวทราม จงดูมโนชะผู้นอนจมกองเลือด

ของตนอยู่เถิด. คนผู้ที่ไม่ทำตามถ้อยคำคนที่

เกื้อกูล ผู้ชี้ประโยชน์ให้ จะประสบอย่างนี้

และจะพบเพื่อนที่เลวทรามกว่า. เมื่อเป็นเช่น

นั้น คนผู้ที่สูงส่ง แต่คบหาคนที่ต่ำทราม จะ

เป็นคนเลวกว่าคนนั้นทีเดียว. จงดูพระยาเนื้อ

คือมโนชะผู้สูงส่ง แต่คบหาสัตว์ต่ำช้า คือ

สุนัขจิ้งจอก ถูกกำจัดด้วยกำลังลูกศร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺจนฺต สุขเมธติ ความว่า ไม่

ได้ความสุขตลอดกาลนาน. บทว่า คิริยสฺสานุสาสนี ความว่า พระ-

โพธิสัตว์ผู้เป็นพ่อ กล่าวตำหนิว่า นี้เป็นอนุสาสนีของสุนัขจิ้งจอกชื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 222

คิริยะมีรูปอย่างนี้. บทว่า ปาปสมฺปวงฺเกน ความว่า มีเพื่อนที่เลว

ทราม. บทว่า อจฺฉนฺต ได้แก่จมลง. บทว่า ปาปิโย จ นิคจฺฉติ

ความว่า จะพบเพื่อนที่เลวทราม. บทว่า หิตาน ความว่า ผู้มุ่งประ-

โยชน์เกื้อกูล. บทว่า อตฺถทสฺสิน ความว่า ผู้ชี้แนะประโยชน์อนาคต

บทว่า ปาปิโย ได้แก่เลวกว่า. บทว่า อธมชนูปเสวี ความว่า คบ

หาคนชั่วช้า. บทว่า อุตฺตม ความว่า ผู้เจริญ ที่สุด ด้วยกำลังร่างกาย

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสอภิสัมพุทธคาถาหลังสุดว่า :-

คนผู้คบหาคนเลวทรามเป็นปกติ จะ

เสื่อมเสีย แต่ผู้คบหาคนเสมอกันเป็นปกติ

จะไม่เสื่อมเสียในกาลไหน ๆ ส่วนผู้คบหาคนที่

ประเสริฐที่สุดอยู่ จะเข้าถึงเขาโดยเร็ว. เพราะ

นั้น คนควรคบแต่คนที่สูงกว่าตน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิหียติ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-

หลาย ธรรมดาว่าผู้คบคนเลว ย่อมเสื่อมไป คือเสียหาย ได้แก่ถึงความ

พินาศ. บทว่า ตุลฺยเสวี ความว่า ผู้คบหาคนผู้เช่นกับด้วยตน ด้วย

คุณความดีทั้งหลาย มีศีลเป็นต้นอยู่ จะไม่เสื่อมเสีย. แต่เขาจะมีความ

เจริญอย่างเดียว. บทวา เสฏฺมุปคม ความว่า เมื่อเข้าไปหาคนที่สูง ๆ

ว่าตน ด้วยคุณความดีมีศีลเป็นต้นนั่นแหละ. บทว่า อุเทติ ขิปฺป

ความว่า จะเข้าถึงเขาด้วยคุณความดีมีศีลเป็นต้น โดยเร็วทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 223

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรมทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกไว้ ในที่สุดแห่งสัจจะ ภิกษุ

ผู้คบหาฝ่ายผิด ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. หมาจิ้งจอกในครั้งนั้น ได้

แก่พระเทวทัตในบัดนี้ มโนชะ ได้แก่ภิกษุผู้คบฝ่ายผิด น้องสาว ได้แก่

พระอุบลวรรณาเถรี เมีย ได้แก่พระเขมาภิกษุณี แม่ ได้แก่มารดา

พระราหุล ส่วนพ่อ ได้แก่เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถามโนชชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 224

๓. สุตนชาดก

ว่าด้วยเสียเพื่อได้

[๙๘๓] ดูก่อนมฆเทพ ผู้สิงสถิตอยู่ ณ ต้นไทรนี้

พระราชาทรงส่งภัตตาหารเจือด้วยเนื้อสะอาด

มาให้ท่าน ขอท่านจงออกมารับประทานเถิด.

[๙๘๔] มาเถิดมาณพ จงถือเอาภัตตาหารผสม-

ด้วยกับข้าว จงมาเถิดมาณพ ท่านจงกินเถิด

ทั้ง ๒ คน คือเราและท่านจักกินกัน.

[๙๘๕] ดูก่อนยักษ์ ท่านจักละทิ้งประโยชน์มาก

มาย เพราะเหตุเล็กน้อย คนทั้งหลายผู้ระแวง

ความตาย จักไม่นำภิกษาหารมาให้ท่าน.

[๙๘๖] ดูก่อนยักษ์ ภัตตาหารที่เรานำมานี้ เป็นของ

ดี เป็นภักษาหารประจำของท่าน เป็นของ

สะอาด ประณีต ประกอบด้วยรสอร่อย ถ้า

เมื่อท่านกินเราแล้วไซร้ คนที่จะนำอาหารมา

ให้ท่าน จะหาได้ยากในที่นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 225

[๙๘๗] ดูก่อนสุตนะ ประโยชน์ตามที่ท่านพูดถึง

ย่อมเจริญแก่เราทีเดียว เราอนุญาตแล้ว ท่าน

จงไปหามารดาโดยสวัสดีเถิด.

[๙๘๘] ดูก่อนมาณพ ท่านจงเอาพระขรรค์, ฉัตร

และฉลองพระบาทไปเถิด มารดาของท่าน ก็จง

เห็นท่าน และท่านก็จงเห็นมารดา โดยสวัสดี

เถิด.

[๙๘๙] ดูก่อนยักษ์ ขอท่านจงเป็นผู้มีความสุข

พร้อมกับญาติทั้งหมดเหมือนกัน เราได้ทั้ง

ทรัพย์ ทั้งได้ปฏิบัติตามพระราชดำรัส.

จบ สุตนชาดกที่ ๓

อรรถกถาสุตนชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุผู้เลี้ยงมารดา จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ราชา เต ภตฺต ดังนี้.

เรื่องจักมีชัดใน ๓ ชาดก. แต่ในที่นี้มีดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลคหบดีผู้ตกยาก. ญาติทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 226

ได้ขนานนามให้ท่านว่า สุตนะ. ท่านเติบโตแล้วได้รับจ้างเลี้ยงบิดา

มารดา เมื่อบิดาถึงแก่กรรมแล้ว ก็เลี้ยงมารดา. แต่ในเวลานั้น พระเจ้า-

พาราณสีได้ทรงเป็นผู้มีพระทัยฝักใฝ่ในการล่าเนื้อ. อยู่มาวันหนึ่ง

พระองค์เสด็จไปป่าไกลประมาณ ๑ โยชน์ พร้อมด้วยบริวารจำนวนมาก

ตรัสสั่งให้บอกแก่ทุกคนว่า ถ้าเนื้อหนีออกไปทางที่ผู้ใดยืนอยู่ ผู้นั้น

ถูกปรับสินไหม ชื่อนี้. อำมาตย์ทั้งหลายได้พากันกั้นซุ้มถวายพระราชา

ในที่ที่เป็นทางเดิน. บรรดาเนื้อทั้งหลายที่ถูกพวกมนุษย์ล้อมที่อยู่ของ

เนื้อ ไล่ให้ลุกออกไปด้วยก้อนดินและท่อนไม้ ละมั่งตัวหนึ่ง วิ่งไปที่ที่

พระราชาประทับยืน. พระราชาหมายพระทัยว่า เราจักยิงมัน แล้วได้

ทรงยิงลูกศรไป. แต่เนื้อได้ศึกษามารยามาแล้ว รู้ลูกศรที่บ่ายหน้ามา

อย่างสบายมาก. จึงทำเป็นเหมือนต้องลูกศรล้มกลิ้งลง. พระราชาทรง

เข้าพระทัยว่า เนื้อถูกเรายิงแล้ว จึงทรงวิ่งไปเพื่อต้องการจับ. แต่เนื้อ

ลุกขึ้นวิ่งหนีไปโดยเร็วเหมือนลม. พวกอำมาตย์เป็นต้น ได้พากัน

เยาะเย้ยพระราชา. พระองค์จึงทรงติดตามเนื้อไปทัน ในเวลามันล้า

ทรงใช้พระขรรค์ฟันออกเป็น ๒ ท่อน คล้องไว้ที่ท่อนไม้ท่อนหนึ่ง

เป็นเหมือนคานหามเสด็จมา ทรงแวะเข้าไปต้นไทรที่อยู่ใกล้ทาง ด้วย

พระดำริว่า เราจักพักผ่อนหน่อยหนึ่ง แล้วทรงม่อยหลับไป ก็ยักษ์

ชื่อมรรคเทพเกิดที่ต้นไทรนั้น ได้สิทธิที่จะกินสัตว์ตัวที่เข้าไปใต้ต้นไม้

นั้น จากสำนักท้าวเวสสุวัณ. มันจับพระหัตถ์พระราชาผู้ทรงลุกขึ้น

แล้วกำลังจะเสด็จไปไว้ โดยขู่ว่า หยุด หยุด ท่านเป็นภักษาหารของ

เราแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 227

พระราชาตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร ?

เราเป็นยักษ์ผู้เกิดขึ้นที่นี้ ได้สิทธิกินคนและสัตว์ผู้เข้ามาในที่นี้

ยักษ์ตอบ.

พระราชาทรงตั้งพระสติ แล้วตรัสถามว่า เจ้าจักกินเฉพาะวันนี้

หรือ ๆ จักกินเป็นประจำ.

เมื่อได้ก็จักกินเป็นประจำ มันตอบ.

พระราชาตรัสว่า วันนี้เจ้าจงกินเนื้อนี้ แล้วปล่อยเราไป ตั้งแต่

พรุ่งนี้ไป เราจะส่งคนมาให้ท่าน ๑ คน พร้อมกับสำรับอาหาร ๑ สำรับ.

ถ้าอย่างนั้นท่านอย่าลืมในวันที่ท่านไม่ได้ส่งคนมา ข้าพเจ้าจะ

กินตัวท่านเอง ยักษ์พูดย้ำ เราเป็นราชาเมืองพาราณสี ขึ้นชื่อว่า สิ่งไม่มี

ไม่มีสำหรับเรา พระราชาตรัสรับรอง.

ยักษ์รับปฏิญญา แล้วได้ปล่อยพระองค์ไป. พระองค์เสด็จเข้า

พระนคร แล้วตรัสบอกข้อความนั้นแก่อำมาตย์ ผู้แจ้งความ คือโฆษก

คนหนึ่ง แล้วตรัสถามว่า บัดนี้ เราควรจะทำอย่างไร ?

อำ. ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ทรงทำการกำหนดวันหรือไม่ ?

รา. ไม่ได้ทำ.

อำ. พระองค์ทรงทำสิ่งที่ไม่สมควร แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น

พระองค์อย่าได้ทรงคิด คนในเรือนจำมีอยู่มาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 228

รา. ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงทำงานนั้น เจ้าจงให้ชีวิตฉันไว้.

อำมาตย์รับใส่เกล้าใส่กระหม่อมว่า สาธุ แล้วเบิกคนจากเรือนจำ

ให้แบกกับข้าวไปส่งยักษ์ทุกวัน โดยไม่ให้รู้เรื่องอะไรเลย. ยักษ์กิน

ภัตตาหาร แล้วก็กินคนด้วย. ต่อมาเรือนจำทั้งหลายเกิดไม่มีคน คือ

นักโทษ. พระราชา เมื่อไม่ได้คนนำสำรับกับข้าวไป ก็ทรงหวาดหวั่น

เพราะทรงกลัวความตาย. ลำดับนั้น อำมาตย์เมื่อจะทรงปลอบพระทัย

พระองค์ จึงทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ คนมีความหวังในทรัพย์มีมากกว่า

คนมีความหวังชีวิต ข้าพระองค์จักให้วางห่อเงินพันกหาปณะไว้บนคอ

ช้าง แล้วให้เที่ยวตีกลองประกาศว่า ใครจักรับเอาทรัพย์นี้ แล้วถือเอา

ภัตตาหารไปให้ยักษ์ แล้วก็ให้ทำอย่างนั้น. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์

ได้ยินคำนั้นแล้ว คิดว่า เราเก็บรวบรวมเงินจากค่าจ้างได้มาสก ๑ บ้าง

ครึ่งมาสกบ้าง เลี้ยงมารดาโดยยากลำบาก เราจักรับเอาทรัพย์นี้ให้มารดา

แล้วจักไปสำนักของยักษ์ ถ้าหากเราจักอาจทรมานยักษ์ได้ไซร้ ข้อนี้

จะเป็นกุศล แต่ถ้าจักไม่อาจไซร้ มารดาของเราก็จักมีชีวิตอยู่อย่างสบาย.

เขาทำความตกลงใจ แล้วจึงบอกข้อความนั้นให้มารดาทราบ ถูกมารดา

ห้ามถึง ๒ ครั้งว่า อย่าเลยลูก แม่ไม่ต้องการทรัพย์ ครั้งที่ ๓ ไม่บอก

กล่าวมารดาเลย บอกอำมาตย์ว่า นำมาเถิดพ่อมหาจำเริญ ทรัพย์ ๑ พัน

ข้าพเจ้าจักนำภัตตาหารไปให้ยักษ์ ให้ทรัพย์แก่มารดา แล้วพูดว่า แม่

แม่อย่าคิดอะไร ผมจะทรมานยักษ์ ทำความสวัสดีแก่มหาชน แล้วจัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 229

กลับมา. ให้ดวงหน้าของคุณแม่ที่เปียกน้ำตา ยิ้มแย้ม ในวันนี้ทีเดียว

ไหว้แม่ให้เบาใจ แล้วไปราชสำนักกับราชบุรุษ ถวายบังคมแล้ว ได้ยืน

อยู่. ต่อแต่นั้น ตัวเขา เมื่อพระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าหรือ

จักนำภัตตาหารไป ? จึงทูลว่า ใช่แล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

รา. เธอควรจะได้อะไร ?

โพ. ข้าแต่สมมติเทพ ฉลองพระบาททองคำของใต้ฝ่าละออง

ธุลีพระบาท.

รา. เพราะเหตุไร ?

โพ. ข้าแต่สมมติเทพ ยักษ์นั้น จะได้กินเฉพาะคนที่ยืนอยู่บน

พื้นที่ภายใต้ควงไม้ของตน ข้าพระพุทธเจ้าจะไม่ยืนบนพื้นที่ที่เป็นของ

ยักษ์นั้น แต่จักยืนอยู่บนฉลองพระบาท.

รา. ควรจะได้อะไร อย่างอื่นอีก ?

โพ. ฉัตรพระพุทธเจ้าข้า.

รา. ฉัตรนี้ เพื่อประโยชน์อะไร ?

โพ. ข้าแต่สมมติเทพ ยักษ์นั้น จะได้กินเฉพาะคนที่ยืนอยู่ภายใต้

ร่มไม้ของตน ข้าพระพุทธเจ้าจะไม่ยืนอยู่ภายใต้ร่มไม้ แต่จักยืนอยู่

ภายใต้ร่มฉัตร.

รา. ควรจะได้อะไรอย่างอื่นอีก ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 230

โพ. ข้าแต่สมมติเทพ พระขรรค์ของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท.

รา. จักมีประโยชน์อะไรด้วยพระขรรค์นี้ ?

โพ. ข้าแต่สมมติเทพ ยักษ์ทั้งหลายกลัวพระขรรค์ แม้มนุษย์

ทั้งหลาย ก็กลัวพระขรรค์เหมือนกัน.

รา. ควรจะได้อะไรอย่างอื่นอีก ?

โพ. ข้าแต่สมมติเทพ เครื่องต้นเต็มพระสุวรรณภาชน์ของ

พระองค์.

รา. เพราะเหตุไร พ่อคุณ.

โพ. ข้าแต่สมมติเทพ เพราะว่า ธรรมดาการนำโภชนาหาร

ที่เลว ๆ บรรจุถาดดิน คือกระเบื้องไป ไม่สมควรแก่ชายชาติบัณฑิต

ผู้เช่นกับข้าพระพุทธเจ้า.

พระราชาตรัสสั่งว่าแล้ว พ่อคุณ ทรงประทานทุกอย่าง แล้ว

ทรงมอบให้คนรับใช้พระโพธิสัตว์ไป. พระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่สมมติ-

เทพ ขอพระองค์อย่าทรงกลัว วันนี้ข้าพระพุทธเจ้าจักทรมานยักษ์

ทำความสวัสดีแต่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท แล้วจึงจะมา. ถวายบังคม

พระราชา แล้วให้คนถือเครื่องอุปกรณ์ไป ณ ที่นั้น ให้คนทั้งหลาย

ยืนอยู่ไม่ไกลต้นไม้ สวมฉลองพระบาททองคำขัดพระขรรค์ กั้น

เศวตรฉัตรบนศีรษะ ถือภัตตาหารบรรจุถาดทองคำไปยังสำนักของยักษ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 231

ยักษ์มองดูทาง เห็นพระโพธิสัตว์นั้น แล้วจึงคิดว่า ชายคนนี้ไม่มา

โดยทำนองการมาในวันอื่น ๆ จักมีเหตุอะไรหนอ ? พระโพธิสัตว์ไป

ใกล้ต้นไม้ เอาปลายดาบผลักถาดภัตตาหารเข้าไปภายในร่มไม้ ตนเอง

ยืนอยู่สุดร่มไม้นั่นเอง กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ดูก่อนมีเทพ ผู้สิงสถิตอยู่ ณ ต้นไทรนี้

พระราชาทรงส่งภัตตาหารเจือด้วยเนื้อสะอาด

มาให้ท่าน ขอท่านจงออกมารับประทานเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเหสิ ความว่า ทรงส่งมา.

บทว่า มฆเทวสฺมึ อธิวตฺเถ ความว่า ต้นไทร เขาเรียกว่า มฆเทพ

พระโพธิสัตว์เรียกเทวดาว่า ท่านผู้สิงอยู่ในต้นไทรนั้น.

ยักษ์ได้ฟังคำนั้นแล้ว คิดว่า เราจักลวงชายคนนี้ให้เข้ามา

ภายในร่มไม้ แล้วจึงจะกิน ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

มาเถิดมาณพ จงถือเอาภัตตาหารผสม-

ด้วยกับข้าว จงมาเถิดมาณพ ท่านจงกินเถิด

เราทั้ง ๒ จักกินด้วยกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺข ได้แก่ ภัตตาหารประจำ.

บทว่า สูปิต ความว่า ถึงพร้อมด้วยกับข้าว.

ต่อจากนั้น พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 232

ดูก่อนยักษ์ ท่านจักละทิ้งประโยชน์มาก

มาย เพราะเหตุเล็กน้อย คนทั้งหลาย

ผู้ระแวงความตาย จักไม่นำภิกษาหาร มาให้

ท่าน ดูก่อนยักษ์ ภัตตาหารที่เรานำมานี้ เป็น

ของดี เป็นภัตตาหารประจำของท่าน เป็น

ของสะอาด ประณีต ประกอบด้วยรสอร่อย

ถ้าเมื่อท่านกินเราแล้วไซร้ คนที่จะนำภัตตาหาร

มาให้ท่าน จะหาได้ยากในที่นี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ถูลฺลมตฺถ ความว่า พระโพธิสัตว์

แสดงว่า ท่านจักละประโยชน์มากมาย เพราะเหตุประมาณเล็กน้อย.

บทว่า นาหริสฺสนฺติ ความว่า จำเดิมแต่นี้ไป คนทั้งหลายผู้ระแวง

ความตาย จักไม่นำภัตตาหารมาให้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านก็จักเป็นผู้

ไม่มีอาหาร มีกำลังน้อยเหมือนต้นไม้ ที่มีกิ่งเหี่ยวแห้งแล้วดังนี้. บทว่า

ลทฺธาย ความว่า เป็นของดี คือเป็นของที่มาดี มีอธิบายว่า สหาย

ยักษ์ วันนี้เราภิกษาหารมา ภิกษาหารที่เรานำมานี้ เป็นภิกษาหาร

ประจำของท่าน เป็นของสะอาด ประณีต ประกอบด้วยรสที่ยอดเยี่ยม

เป็นสิ่งที่มาดี คือจักมาหาท่านทุกวัน. บทว่า อาหริโย ได้แก่

เป็นผู้นำมา มีอธิบายว่า ถ้าหากท่านจะกินเรา ผู้ถือภิกษาหารนี้มาให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 233

ไซร้ ภายหลังเมื่อเราถูกกินอย่างนี้ แล้วคนอื่นผู้จะนำภิกษาหารมาให้

ท่าน จักหาได้ยากมากในที่นี้. เพราะเหตุไร ? เพราะคนอื่นที่เป็นคน

ฉลาดเช่นกับเรา ในเมืองพาราณสีไม่มี. แต่เมื่อเราถูกกินแล้ว คน

ทั้งหลายก็จะพูดว่า ยักษ์กินคนชื่อสุตนะ มันไม่ละอายใจต่อใครคนอื่น

เลย. ท่านก็จักไม่ได้คนนำภัตตาหารมาให้. เมื่อเป็นเช่นนั้น เริ่มต้น

แต่นี้ไป โภชนาหารจักเป็นสิ่งที่หาได้ยากสำหรับท่าน. ฝ่ายท่านก็จัก

จับพระราชาของเราไม่ได้. เพราะเหตุไร ? เพราะการยืนอยู่นอกต้นไม้

แต่ถ้าท่านรับประทานภัตตาหารนี้ แล้วจักส่งเราไปไซร้ เราก็จักทูล

พระราชาให้ทรงสั่งภัตตาหารประจำแก่ท่าน. เราแม้ตนเองก็จักไม่ให้

ท่านกิน. เพราะว่า เราจักไม่ยืนอยู่ในสำนักของท่าน จักยืนบนฉลอง

พระบาท ทั้งจักไม่ยืนใต้ร่มไม้ของท่าน. เราจักยืนใต้ร่มฉัตรของตน

เท่านั้น. แต่ถ้าท่านจักต่อสู้กับเรา เราก็จักใช้พระขรรค์นี้ ฟันท่าน

ออกเป็น ๒ ท่อน เพราะวันนี้ เราเป็นผู้เตรียมตัวแล้ว จึงมาเพื่อ

ประโยชน์นี้เท่านั้น. ได้ทราบว่า พระมหาสัตว์ขู่ยักษ์นั้นอย่างนี้.

ยักษ์สังเกตเห็นว่า มาณพพูดถูกแบบ มีจิตเลื่อมใส ได้กล่าว

คาถา ๒ คาถา ว่า :-

ดูก่อนสุตนะ ประโยชน์ตามที่ท่านพูดถึง

ย่อมเจริญแก่เราทีเดียว เราอนุญาตแล้ว ท่าน

จงไปหามารดาโดยสวัสดีเถิด ดูก่อนมาณพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 234

ท่านเอาจงพระขรรค์, ฉัตรและฉลองพระบาท

ไปเถิด มารดาของท่านก็จงเห็นท่าน และท่าน

ก็จงเห็นมารดา โดยสวัสดีเถิด.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้น. ยักษ์เรียกพระโพธิสัตว์ว่า สุตนะ.

บทว่า ยถา ภาสสิ ความว่า ประโยชน์ของเรานั่นเอง ตามที่ท่าน

พูดถึง ย่อมเจริญแก่เราทีเดียว.

พระโพธิสัตว์ได้ยินคำของยักษ์นั้น แล้วปลื้มใจว่า งานของเรา

สำเร็จแล้ว ยักษ์เราทรมานได้แล้ว เราได้ทรัพย์จำนวนมาก ทั้งได้

ปฏิบัติตามพระราชดำรัสแล้ว เมื่อจะทำการอนุโมทนา จึงได้กล่าวคาถา

สุดท้าย ว่า :-

ดูก่อนยักษ์ ขอท่านจงเป็นผู้มีความสุข

พร้อมกับญาติทั้งหมดเหมือนกัน. เราได้ทั้ง

ทรัพย์ ทั้งได้ปฏิบัติตามพระราชดำรัส.

ก็แหละพระโพธิสัตว์ ครั้นกล่าวคาถาแล้ว ก็เรียกยักษ์มา แล้ว

บอกอานิสงส์ศีลและโทษทุศีลว่า ดูก่อนสหาย เมื่อก่อนท่านทำอกุศล-

กรรมไว้ จึงเกิดเป็นคนกักขละหยาบคาย มีเนื้อเลือดผู้อื่นเป็นภักษา-

หาร ต่อแต่นี้ไป ท่านอย่าได้ทำอกุศลกรรม มีปาณาติบาตเป็นต้น

แล้วให้ยักษ์ตั้งอยู่ในศีล ๕ กล่าวว่า ท่านจะมีประโยชน์อะไรด้วยการ

อยู่ในป่า มาเถิด เราจะให้ท่านนั่งที่ประตูพระนคร แล้วทำให้มีลาภ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 235

มีภัตตาหารที่เลิศเป็นต้น ออกไปกับยักษ์ ให้ยักษ์นั่นแหละถือพระขรรค์

เป็นต้น ได้ไปเมืองพาราณสี. อำมาตย์ทั้งหลายพากันกราบทูลพระราชา

ว่า สุตนมาณพพายักษ์มา. พระราชามีหมู่อำมาตย์ห้อมล้อม ทำการ

ต้อนรับ. พระโพธิสัตว์ ให้ยักษ์นั่งที่ประตูนคร ทำให้เขามีลาภ มีภัตตาหาร

ที่เลิศเป็นต้น แล้วเสด็จเข้าพระนคร ทรงให้ตึกลองเที่ยวประกาศ

ให้ชาวพระนครประชุมกัน ตรัสบอกคุณงามความดีของพระโพธิสัตว์

แล้วโปรดเกล้า ๆ พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่พระโพธิสัตว์ และ

พระองค์เองก็ทรงดำรงอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ทรงทำบุญทั้งหลาย

มีทานเป็นต้น แล้วได้ทรงมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาทรงประกาศ

สัจธรรมทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกไว้ ในที่สุดแห่งสัจธรรม

พระภิกษุผู้เลี้ยงมารดาได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. ยักษ์ในครั้งนั้น ได้แก่

พระองคุลิมาลในบัดนี้ พระราชา ได้แก่ พระอานนท์ ส่วนมาณพ

ได้แก่ เราตถาคตฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาสุตนชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 236

๔. คิชฌชาดก

ว่าด้วยเมื่อถึงคราวพินาศความคิดย่อมวิบัติ

[๙๙๐] ท่านเหล่านั้น พ่อแม่ของเราแก่เฒ่าแล้ว

อาศัยอยู่ที่ซอกเขาจักทำอย่างไรหนอ เราก็ติด

บ่วง ตกอยู่ในอำนาจของนายพรานนิลิยะ.

[๙๙๑] แร้ง เจ้าโอดครวญทำไม การโอด

ครวญของเจ้าจะมีประโยชน์อะไรเล่า ข้าไม่

เคยได้ยินหรือไม่เคยเห็นนกพูดภาษาคนได้

เลย.

[๙๙๒] เราเลี้ยงพ่อแม่ผู้แก่เฒ่า แล้วอาศัยอยู่ที่

ซอกเขา ท่านจักทำอย่างไรหนอ เมื่อเราตก

อยู่ในอำนาจของท่านแล้ว.

[๙๙๓] ชาวโลกพูดกันว่า แร้งมองเห็นซากศพ

ไกลถึงร้อยโยชน์ เหตุไฉนเจ้าแม้เข้าไปใกล้

ข่ายและบ่วงแล้ว จึงไม่รู้จัก.

[๙๙๔] เมื่อใดความเสื่อมจะมี และสัตว์จะมี

ความสิ้นชีวิต เมื่อนั้นเขาแม้จะเข้าไปใกล้

ตาข่ายและบ่วง แล้วก็ไม่รู้จัก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 237

[๙๙๕] เจ้าจงไปเลี้ยงพ่อแม่ผู้แก่เฒ่า ที่อาศัยอยู่

ที่ซอกเขาเถิด ข้าอนุญาตเจ้าแล้ว เจ้าจะไป

พบญาติทั้งหลาย โดยสวัสดี.

[๙๙๖] ดูก่อนนายพราน เจ้าก็จงบรรเทิงใจพร้อม

ด้วยญาติทั้งมวลเหมือนกันเถิด เราก็จักเลี้ยง

พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า แล้วอาศัยอยู่ที่ซอกเขา.

จบ คิชฌชาดกที่ ๔

อรรถกถาคิชฌชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุผู้เลี้ยงมารดา จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า เต กถ นุ กริสฺสนฺติ

ดังนี้. เรื่องจักมีชัดแจ้งในสามชาดก.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในกำเนิดแร้ง เติบโตแล้วให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า

ตาเสื่อมคุณภาพแล้ว สถิตอยู่ที่ถ้ำเขาคิชฌกูฏ นำเนื้อโคเป็นต้นมาเลี้ยง.

เวลานั้นในเมืองพาราณสี นายพรานคนหนึ่งดักบ่วงแร้งโดยไม่กำหนด

เวลาไปดูไว้ที่ป่าช้า อยู่มาวันหนึ่งพระโพธิสัตว์ เมื่อแสวงหาเนื้อโค

ได้เข้าไปป่าช้า เขาติดบ่วงไม่ได้คิดถึงตน ระลึกถึงแต่พ่อแม่ผู้แก่เฒ่าแล้ว

บ่นไปว่า พ่อแม่ของเราจักอยู่ไปได้อย่างไรหนอ ? ไม่รู้ว่าเราติดบ่วงเลย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 238

หมดที่พึ่งขาดอาหารปัจจัย เห็นจักผอมตายที่ถ้ำในภูเขานั่นเอง ดังนี้

กล่าวคาถาที่ ๑ ไปพลางว่า :-

ท่านเหล่านั้น พ่อแม่ของเราแก่เฒ่าแล้ว

อาศัยอยู่ที่ซอกเขา จักทำอย่างไรหนอ เราก็

ติดบ่วงตกอยู่ในอำนาจของนายพรานนิลิยะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิลิยสฺส ได้แก่บุตรของนายพราน

ที่มีชื่ออย่างนี้ บุตรของนายพรานได้ยินคำโอดครวญของแร้งนั้นแล้ว

จึงกล่าวว่า :-

แร้ง เจ้าโอดครวญทำไม การโอด

ครวญของเจ้าจะมีประโยชน์อะไรเล่า ข้าไม่

เคยได้ยินหรือไม่เคยเห็นนกพูดภาษาคนได้เลย

ว่า เราเลี้ยงพ่อแม่ผู้แก่เฒ่าแล้ว อาศัยอยู่ที่

ซอกเขา ท่านจักทำอย่างไรหนอ ? เมื่อเราตก

อยู่ในอำนาจของท่านแล้ว ชาวโลกพูดกันว่า

แร้งมองเห็นซากศพไกลถึงร้อยโยชน์ เหตุไฉน

เจ้าแม้เข้าไปใกล้ตาข่ายและบ่วงแล้วจึงไม่รู้

จัก เมื่อใดความเสื่อมจะมี และสัตว์จะมี

ความสิ้นชีวิต เมื่อนั้นเขาแม้จะเข้าไปใกล้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 239

ตาข่ายและบ่วงแล้วก็ไม่รู้จัก เจ้าจงไปเลี้ยง

พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า แล้วอาศัยอยู่ในซอกเขาเถิด

ข้าอนุญาตเจ้าแล้ว เจ้าจงไปพบญาติทั้งหลาย

โดยสวัสดี ดูก่อนนายพราน เจ้าจงบรรเทิงใจ

พร้อมด้วยญาติทั้งมวลเหมือนกันเถิด เราก็จัก

เลี้ยงพ่อแม่ผู้แก่เฒ่า แล้วอาศัยอยู่ที่ซอกเขา.

คาถาเหล่านี้คือ คาถาที่ ๒ นายพรานกล่าว คาถาที่ ๓ แร้ง

กล่าวแล้วตามลำดับ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยนฺนุ ความว่า ชาวโลกกล่าวคำ

นี้ใดไว้นะ. บทว่า คิชฺโฌ โยชนสต กุณปานิ อุเปกฺขติ ความว่า

แร้งมองเห็นซากศพที่วางอยู่เกินร้อยโยชน์ ถ้าหากชาวโลกกล่าวถ้อยคำ

นั้นไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไฉนแร้งแม้เข้าไปใกล้ข่ายและบ่วงจึงไม่

รู้จัก คือ แม้มาถึงที่แล้วก็ไม่รู้จัก. บทว่า ปราภโว ได้แก่ ความพินาศ.

บทว่า ภรสฺสุ ความว่า นายพรานนั้น ครั้นได้ฟังธรรมกถาของพระ-

โพธิสัตว์นี้แล้วคิดว่า พระยาแร้งผู้ฉลาด เมื่อโอดครวญก็ไม่โอดครวญ

เพื่อตน แต่โอดครวญเพื่อพ่อแม่ พระยาแร้งนี้ไม่ควรตาย แล้วได้

กล่าวยินดีต่อพระโพธิสัตว์นั้น ก็แหละครั้นกล่าวแล้วก็แก้บ่วงออกด้วย

จิตใจรักใคร่อ่อนโยน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 240

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์พ้นจากมรณทุกข์มีความสุขใจแล้ว เมื่อ

จะทำอนุโมทนาแก่นายพรานนั้น จึงกล่าวคาถาสุดท้ายแล้ว ได้คาบเอา

เนื้อเต็มปากไปให้พ่อแม่.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ประกาศสัจธรรม

ทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกไว้ ในที่สุดแห่งสัจธรรม ภิกษุผู้เลี้ยง

มารดาได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล บุตรนายพรานในครั้งนั้น ได้แก่

พระฉันนเถระ ในบัดนี้ พ่อแม่ได้แก่ราชตระกูลใหญ่ ส่วนพระยาแร้ง

ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาคิชฌชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 241

๕. ทัพพปุปผชาดก

ว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน

[๙๙๗] สหายนากผู้เที่ยวหากินตามฝั่ง ขอ

ท่านจงมีความเจริญ จงตามฉันมาเถิด ฉันจับ

ปลาตัวใหญ่ได้แล้ว มันลากฉันไปด้วยกำลัง

เร็ว.

[๙๙๘] นากผู้เที่ยวหากินในน้ำลึก ขอท่านจง

มีความเจริญ ท่านจงคาบไว้ให้มั่นด้วยกำลัง

เราจักยกปลานั้นขึ้น เหมือนครุฑยกนาคขึ้น

ฉะนั้น.

[๙๙๙] สหายทรรพบุบผา พวกเราเกิดทะเลาะ

กันขึ้น ขอท่านจงฟังเรา ดูก่อนสหาย ขอจง

ระงับความบาดหมางกัน ขอให้ข้อพิพาท จง

สงบลง.

[๑๐๐๐] เราเป็นผู้พิพากษามาก่อน ได้พิจารณา

คดีมาแล้วมากมายสหาย เราจะระงับความ

บาดหมางกัน ข้อพิพาทจะสงบลง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 242

[๑๐๐๑] สหายผู้เที่ยวหากินตามฝั่ง ท่อนหาง

จักเป็นของเจ้า แต่ท่อนหัวจักเป็นของผู้เที่ยว

หากินในน้ำลึก ส่วนอีกท่อนกลางนี้ จักเป็น

ของผู้ตัดสิน.

[๑๐๐๒] ถ้าเราไม่วิวาทกันไซร้ ท่อนกลางก็จัก

เป็นอาหารไปได้นานวัน แต่เพราะวิวาทกัน

สุนัขจิ้งจอกจึงนำเอาปลาตะเพียนแดง ที่ไม่ใช่

หัวไม่ใช่หางไป คือท่อนกลาง.

[๑๐๐๓] วันนี้ฉันเห็นผัวมีอาหารเต็มปาก จึงชื่น

ใจเหมือนกษัตริย์ได้ราชสมบัติ เป็นพระราชา

แล้วพึงทรงชื่นชมก็ปานกัน.

[๑๐๐๔] พี่เป็นสัตว์เกิดบนบก ไฉนหนอ จึงจับ

ปลาในน้ำได้ ดูก่อนพี่ร่วมชีวิต พี่ถูกฉันถาม

แล้ว ขอจงบอกฉันว่าพี่ได้มาอย่างไร ?

[๑๐๐๕] คนทั้งหลายผ่ายผอม เพราะวิวาทกัน

มีความสิ้นทรัพย์ก็เพราะวิวาทกัน นาก ๒ ตัว

พลาดปลาชิ้นนี้ เพราะทะเลาะกัน แม่งามงอน

เจ้าจงกินปลาตะเพียนแดงเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 243

[๑๐๐๖] ในหมู่มนุษย์ ข้อพิพาทกันเกิดขึ้น ณ ที่

ใด พวกเขาจะวิ่งหาผู้พิพากษา เพราะผู้พิพาก-

ษาเป็นผู้แนะนำพวกเขา ฝ่ายพวกเขาก็จะเสีย

ทรัพย์ ณ ที่นั้น เหมือนนาก ๒ ตัวนั่นเอง แต่

คลังหลวงเจริญขึ้น.

จบ ทัพพปุปผชาดกที่ ๕

อรรถกถาทัพพปุปผชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

พระอุปนันทศากยบุตร แล้วจึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อนุตีรจารี

ภทฺทนฺเต ดังนี้.

ดังจะกล่าวโดยย่อ ท่านบวชในพระศาสนาแล้ว ละคุณธรรมมี

ความปรารถนาน้อยเป็นต้น ได้เป็นผู้มีความทะยานอยากมาก. ในวันเข้า

พรรษาท่านยึดครองวัดไว้ ๒, ๓ วัด คือวางร่มหรือรองเท้าไว้วัดหนึ่ง ไม้-

เท้าคนแก่หรือหม้อน้ำไว้อีกวัดหนึ่ง ตนเองก็อยู่วัดหนึ่ง. ท่านจำพรรษาที่

วัดในชนบทวัดหนึ่ง สอนปฏิปทาอันเป็นวงศ์ของพระอริยเจ้า ที่แสดง

ถึงความสันโดษในปัจจัย แก่ภิกษุทั้งหลายแจ่มชัดเหมือนยกพระจันทร์

ขึ้นในอากาศก็ปานกันว่า ธรรมดาภิกษุควรเป็นผู้มักน้อย. ภิกษุทั้งหลาย

ได้ฟังคำนั้นแล้ว พากันทิ้งบาตรและจีวรที่น่าชอบใจ รับเอาบาตรดิน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 244

เหนียวและผ้าบังสุกุล. ท่านให้ภิกษุทั้งหลาย วางของเหล่านั้นไว้ ณ ที่

อยู่ท่าน ออกพรรษาปวารณาแล้ว บรรทุกเต็มเกวียนไปพระเชตวัน-

มหาวิหาร ถูกเถาวัลย์เกี่ยวเท้า ที่ด้านหลังวัดป่าแห่งหนึ่งในระหว่างทาง

ข้าใจว่า จักต้องมีของอะไรที่เราควรได้ในวัดนี้แน่นอน แล้วจึงแวะวัด

นั้น. ในวัดนั้นภิกษุแก่ คือหลวงตา จำพรรษาอยู่ ๒ รูป. ท่านได้

ผ้าสาฎกเนื้อหยาบ ๒ ผืนและผ้ากัมพล เนื้อละเอียดผืนหนึ่ง ไม่อาจจะ

แบ่งกันได้ เห็นท่านมาดีใจว่า พระเถระจักแบ่งให้พวกเราได้แน่ จึง

พากันเรียนท่านว่า ใต้เท้าขอรับ พวกกระผมไม่สามารถแบ่งผ้าจำนำ

พรรษานี้ได้ พวกกระผมจะมีการวิวาทกัน เพราะผ้าจำนำพรรษานี้ ขอใต้

เท้า จงแบ่งผ้านี้ให้แก่พวกกระผม. ท่านรับปากว่า ดีแล้ว ผมจักแบ่งให้

แล้วได้แบ่งผ้าสาฎกเนื้อหยาบให้ภิกษุ ๒ รูป บอกว่า ผืนนี้คือผ้ากัมพล

ตกแก่ผมผู้เป็นพระวินัยธร แล้วก็หยิบเอาผ้ากัมพล หลีกไป. พระเถระ

แม้เหล่านั้น ยังมีความอาลัยในผ้ากัมพล จึงพากันไปเชตวันมหาวิหาร

พร้อมกับท่านอุปนันทะนั้นนั่นแหละ ได้บอกเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้ง-

หลายผู้เป็นพระวินัยธร แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญมีหรือไม่หนอ

การที่พระวินัยธรทั้งหลาย กินของที่ริบมาได้อย่างนี้. ภิกษุทั้งหลายเห็น

กองบาตรและจีวร. ที่พระอุปนันทะนำมาแล้ว พูดว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านมี

บุญมากหรือ ? ท่านจึงได้บาตรและจีวรมาก. ท่านบอกทุกอย่างว่า ท่าน

ผู้มีอายุผมจักมีบุญแต่ที่ไหน ? บาตรและจีวรนี้ผมได้มาด้วยอุบายนี้. ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 245

ทั้งหลายพากันตั้งเรื่องขึ้นในธรรมสภาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ท่านอุป-

นันทะ ศากยบุตรมีตัณหามาก มีความโลภมาก. พระศาสดาเสด็จมาถึง

แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งสนทนากัน

ด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ ตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย พระอุปนันทะ ไม่ทำสิ่งที่เหมาะสมแก่ปฏิปทา ธรรมดา

ว่าภิกษุ เมื่อจะบอกปฏิปทาแก่ผู้อื่น ควรจะทำให้เหมาะสมแก่ตนก่อน

แล้วจึงให้โอวาทผู้อื่นในภายหลัง ครั้นทรงแสดงธรรม ด้วยคาถาใน

ธรรมบทนี้ว่า :-

คนควรตั้งตนเองไว้ในที่เหมาะสมก่อน

ภายหลังจึงพร่ำสอนผู้อื่น ผู้ฉลาดไม่ควรจะ

มัวหมอง.

แล้วตรัสว่า พระอุปนันทะ ไม่ใช่มีความโลภมากแต่ในบัดนี้

เท่านั้น แม้เมื่อแต่ก่อนเธอก็มีความโลภมากเหมือนกัน และก็ไม่ใช่แต่

ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อน เธอก็ริบสิ่งของของภิกษุเหล่านี้ เหมือนกัน

แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นรุกขเทวดาที่ฝั่งแม่น้ำ. ครั้งนั้นสุนัข

จิ้งจอกตัวหนึ่ง ชื่อมายาวี คือเจ้าเล่ห์ พาเมียไปอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง

ใกล้ฝั่งแม่น้ำ. อยู่มาวันหนึ่ง สุนัขจิ้งจอกตัวเมียพูดกับตัวผู้ว่า พี่ฉัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 246

เกิดแพ้ท้องแล้วฉันอยากกินเนื้อที่ยังมีเลือดสด ๆ อยู่. สุนัขจิ้งจอกตัวผู้

บอกว่า น้องอย่าท้อใจ พี่จักนำมาให้น้องให้ได้ จึงเดินไปริมฝั่งน้ำ

ถูกเถาวัลย์คล้องขา จึงได้เดินไปตามฝั่งนั่นเอง. ขณะนั้น นาก ๒ ตัว

คือตัวหนึ่งเที่ยวหากินน้ำลึกเป็นปกติ ส่วนตัวหนึ่งเที่ยวหากินตามฝั่งเป็น

ปกติ กำลังเสาะแสวงหาปลา ได้หยุดยืนอยู่ที่ตลิ่ง. บรรดานาก ๒

ตัวนั้น ตัวเที่ยวหากินน้ำลึก เห็นปลาตะเพียนแดงตัวใหญ่ จึงดำน้ำไป

โดยเร็วคาบทางปลาไว้ได้. แต่ปลาแรงมากฉุดนากไป. นากตัวที่เที่ยว

หากินน้ำลึกจึงเจรจาตกลงกับนากอีกตัวหนึ่งว่า ปลาตัวใหญ่จักพอกิน

สำหรับเราทั้ง ๒ มาเถอะ จงเป็นสหายผู้ร่วมงานของเรา แล้วกล่าว

คาถาที่ ๑ ว่า :-

ดูก่อนสหายนาก ผู้เที่ยวหากินตามฝั่ง ขอ

ท่านจงมีความเจริญ จงตามฉันมาเถิด ฉันคาบ

ปลาตัวใหญ่ไว้ แล้วมันลากฉันไปด้วยกำลัง

เร็ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหายมนุธาว ม ความว่า สหาย

จงตามฉันมา. อักษรท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจสนธิ. มีคำอธิบายว่า

ขอสหายจงตามฉันมาคาบท่อนหางไว้ เหมือนฉันไม่ท้อถอยเพราะ

การจับปลาตัวนี้ ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 247

นากอีกตัวหนึ่ง ได้ยินคำนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนนากผู้เที่ยวหากินในน้ำลึก ขอท่าน

จงมีความเจริญ ท่านจงคาบไว้ให้มั่น ด้วย

กำลัง เราจักยกปลานั้นขึ้นเหมือนครุฑยกนาค

ขึ้น ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ถามสา ความว่า ด้วยกำลัง. บทว่า

อุทฺธริสฺสามิ ความว่า จักนำออกไป. บทว่า สุปณฺโณ อุรคมฺมิว

ความว่า เหมือนครุฑยกงูขึ้น ฉะนั้น.

ลำดับนั้น นากทั้ง ๒ ตัวนั้น ร่วมกันนำปลาตะเพียนแดงออก

มาได้ วางให้ตายอยู่บนบกเกิดการทะเลาะกันว่า แบ่งสิแกแบ่งสิ แล้ว

ไม่อาจแบ่งกันได้ จึงหยุดนั่งกันอยู่. ขณะนั้น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเข้า

มาถึงที่นั้น. นากเหล่านั้นเห็นแล้ว ทั้ง ๒ ตัว จึงพากันต้อนรับแล้ว

พูดว่า สหายทรรพบุบผา ปลาตัวนี้ พวกเราจับได้ร่วมกัน เมื่อพวก

เราไม่สามารถจะแบ่งกันได้ จึงเกิดขัดแย้งกันขึ้น ขอเชิญท่านแบ่งปลา

ให้พวกเราเท่า ๆ กันเถิด แล้วได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

สหายทรรพบุบผา พวกเราเกิดทะเลาะ

กันขึ้น ขอท่านจงฟังเรา ดูก่อนสหาย ขอจง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 248

ระงับความบาดหมางกัน ขอให้ข้อพิพาทจง

สงบลง.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้น นากเรียกสุนัขจิ้งจอกว่า ทรรพบุบผา

เพราะมันมีสีเหมือนดอกหญ้าคา. บทว่า เมธค ได้แก่การทะเลาะกัน.

สุนัขจิ้งจอกได้ยินถ้อยคำของนากเหล่านี้ แเล้ว เมื่อจะแสดงถึง

ปรีชาสามารถของตน จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

เราเป็นผู้พิพากษามากก่อน ได้พิจารณา

คดีมาแล้วมากมายสหาย เราจะระงับความ

บาดหมางกัน ข้อพิพาทจงสงบลง.

สุนัขจิ้งจอกครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว เมื่อจะแบ่งปลา จึงกล่าวคาถา

นี้ว่า :-

สหายผู้เที่ยวหากินตามฝั่ง ท่อนหาง

จักเป็นของเจ้า แต่ท่อนหัวจักเป็นของผู้เที่ยว

หากินในน้ำลึก ส่วนอีกท่อนกลางนี้ จักเป็น

ของผู้ตัดสิน.

บรรดาคาถาทั้ง ๒ นั้น คาถาที่ ๑ มีเนื้อความดังนี้. เราเคย

เป็นผู้พิพากษาของพระราชาทั้งหลายมาก่อน เรานั้นนั่งในศาลพิจารณา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 249

คดีมามากทีเดียว คือคดีมากมาย ของพราหมณ์และคหบดีทั้งหลายเหล่า

นั้นๆ เราพิจารณา คือวินิจฉัยมาแล้ว เรานั้นจักไม่อาจพิจารณาคดี

ของสัตว์ ๔ เท้าทั้งหลาย ผู้มีชาติเสมอกัน เช่นท่านทั้งหลายได้อย่างไร

เราจะระงับความร้าวรานของท่านทั้งหลาย สหาย ความวิวาทบาด

หมางกัน จงสงบคือระงับไป เพราะอาศัยเรา. ก็แหละ ครั้นกล่าว

อย่างนี้แล้ว มันก็แบ่งปลาเป็น ๓ ส่วนแล้วบอกว่า. ดูก่อนนากตัวเที่ยว

หากินตามฝั่ง เจ้าจงคาบเอาท่อนหาง ท่อนหัวจงเป็นของตัวเที่ยวหากิน

ในน้ำลึก. บทว่า อจฺจาย มชฺฌิโม ขณฺโฑ ความว่า อีกส่วนท่อน

กลางนี้. อีกอย่างหนึ่งบทว่า อจฺจ ความว่า เลยไป คือท่อนที่อยู่เลย

ส่วนทั้ง ๒ นี้ไป ได้แก่ท่อนกลางนี้ จักเป็นของผู้พิพากษา คือนายผู้

วินิจฉัยคดี.

สุนัขจิ้งจอกครั้นแบ่งปลาอย่างนี้แล้ว ก็บอกว่า เจ้าทั้งหลายอย่า

ทะเลาะกันแล้วพากันกินท่อนหางและท่อนหัวเถิด แล้วก็เอาปากคาบเอา

ท่อนกลางหนีไปทั้ง ๆ ที่นาก ๒ ตัวนั้นเห็นอยู่นั่นแหละ. นาก ๒ ตัวนั้น

นั่งหน้าเสียเหมือนแพ้ตั้งพันครั้ง แล้วได้กล่าวคาถาที่ ๖ ว่า :-

ถ้าเราไม่วิวาทกันไซร้ ท่อนกลางก็จัก

เป็นอาหารไปได้นานวัน แต่เพราะวิวาทกัน

สุนัขจิ้งจอกจึงนำเอาปลาตะเพียนแดงที่ไม่ใช่

หัวไม่ใช่หางไป คือท่อนกลาง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 250

ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกดีใจว่า วันนี้เราจักให้เมียกินปลาตะเพียนแดง

แล้วได้มาที่สำนักของเมียนั้น. นางเมียเห็นผัวกำลังมาดีใจเป็นอย่างยิ่ง

จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า :-

วันนี้ฉันเห็นผัวมีอาหารเต็มปาก จึงชื่น

ใจเหมือนกษัตริย์ได้ราชสมบัติเป็นพระราชา

แล้ว พึงทรงชื่นพระทัย ก็ปานกัน.

ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว เมื่อถามถึงอุบายที่ได้อาหารมา จึงกล่าว

คาถานี้ว่า :-

พี่เป็นสัตว์เกิดบนบก ไฉนหนอ จึงจับ

ปลาในน้ำได้ ดูก่อนพี่ร่วมชีวิต พี่ถูกฉันถาม

แล้ว ขอจงบอกฉันว่า พี่ได้มาอย่างไร ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กถนฺนุ ความว่า เมื่อสุนัขจิ้งจอก

ผัวบอกว่า จงกินเถิดน้อง แล้ววางชิ้นปลาไว้ข้างหน้า สุนัขจิ้งจอก

ตัวเป็นเมีย จึงถามว่า พี่เป็นสัตว์เกิดบนบก แต่จับปลาในน้ำมาได้

อย่างไร ?

สุนัขจิ้งจอกตัวเป็นผัว เมื่อจะบอกอุบายที่ได้ปลานั้นมา จึงกล่าว

คาถาติดต่อกันไปว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 251

คนทั้งหลายผ่ายผอม เพราะวิวาทกัน มี

ความสิ้นทรัพย์ ก็เพราะวิวาทกัน นาก ๒ ตัว

พลาดปลาชิ้นนี้ เพราะทะเลาะกัน แม่งามงอน

เจ้าจงกินปลาตะเพียนแดงเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิวาเทน กิสา โหนฺติ ความว่า

น้องนางผู้เจริญเอ๋ย สัตว์เหล่านี้ เมื่อทำการวิวาทกัน อาศัยการวิวาท

จะฝ่ายผอม คือมีเนื้อและโลหิตน้อย. บทว่า วิวาเทน ธนกฺขยา

ความว่า ถึงความสิ้นทรัพย์ทั้งหลาย มีเงินและทองเป็นต้น ก็มี เพราะ

การวิวาทกันนั่นเอง. เมื่อคนทั้ง ๒ วิวาทกัน คนหนึ่งแพ้ เพราะแพ้

จึงถึงความสิ้นทรัพย์ เพราะให้ส่วนแห่งความชนะแก่ผู้พิพากษา. บทว่า

ชินา อุทฺทา ความว่า นาก ๒ ตัวพลาดปลาชิ้นนี้ไป เพราะวิวาทกัน

นั่นเอง เพราะฉะนั้น เธออย่าถามถึงเหตุแห่งปลาชิ้นนี้ที่เรานำมาแล้ว

ดูก่อนน้อง เธอจงกินปลาตะเพียนแดงชิ้นนี้อย่างเดียว.

คาถาบอกนี้ เป็นคาถาของ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว

ว่า ดังนี้ :-

ในหมู่มนุษย์ ข้อพิพาทกันเกิดขึ้น ณ ที่ใด

พวกเขาจะวิ่งหาผู้พิพากษา เพราะผู้พิพากษา

เป็นผู้แนะนำพวกเขา ฝ่ายพวกเขาก็จะเสีย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 252

ทรัพย์ ณ ที่นั้น เหมือนนาก ๒ ตัวนั้นเอง แต่

คลังหลวงเจริญขึ้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวเมว ความว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย นาก ๒ ตัวนั้น พลาดไปแล้วฉันใด ถึงในหมู่มนุษย์ก็เช่นนั้น

เหมือนกัน ณ ที่ใด เกิดการวิวาทกันขึ้น ณ ที่นั้น คนทั้งหลายจะวิ่งหา

ผู้พิพากษา คือเข้าไปหาเจ้านายผู้ตัดสิน. เพราะเหตุไร ? เพราะว่า ท่าน

เป็นผู้แนะนำพวกเขา อธิบายว่า เป็นผู้จะให้ข้อพิพาทของพวกเขา ที่

ทะเลาะกันสงบลงได้. บทว่า ธนาปิ ตตฺถ ความว่า พวกเขาผู้วิวาท

กันจะเสื่อมแม้จากทรัพย์ ณ ที่นั้น อธิบายว่า จะเสื่อมจากของที่มีอยู่

ของตน. แต่คลังหลวงจะเจริญขึ้น เพราะสินไหม และเพราะรับส่วน

แบ่งจากชัยชนะ.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกไว้ว่า สุนัขจิ้งจอกในครั้งนั้น ได้แก่พระอุปนันทะในบัดนี้ นาก

๒ ตัว ได้แก่ภิกษุแก่ ๒ รูป ส่วนรุกขเทวา ผู้ทำเหตุนั้นให้เห็นประจักษ์

ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาทัพพปุปผชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 253

๖. ทสัณณกชาดก

ว่าด้วยให้แล้วไม่เดือดร้อนภายหลังทำได้ยาก

[๑๐๐๗] ชายคนนี้กลืนดาบทสรรณกะ ที่มีคมอัน

คมกริบ ดื่มเลือดผู้อื่นที่กระทบแล้ว ฟันแล้ว

ในท่ามกลางบริษัท ยังมีไหม สิ่งที่ทำได้ยาก

กว่าการกลืนดาบนี้ ท่านถูกเราถามแล้วจงบอก

เหตุอย่างอื่นที่ทำได้ยากกว่าแก่เรา.

[๑๐๐๘] ก็ผู้ใดฟังกล่าวว่า เราจะให้การกล่าวของ

ผู้นั้น ทำได้ยากกว่าการกลืนดาบ ที่ดื่มโลหิต

ของผู้อื่นที่กระทบเข้าแล้ว ของชายคนนั้น

เพราะความโลภ เหตุอย่างอื่นทุกอย่าง เป็นส่ง

ที่ทำได้ง่าย ข้าแต่พระเจ้ามคธ ขอพระองค์

โปรดทรงทราบอย่างนี้เถิด.

[๑๐๐๙] อายุรบัณฑิตผู้ฉลาดในธรรม กล่าวแก้

ข้อความแห่งปัญญาแล้ว บัดนี้เราจะขอถาม

ปุกกุสบัณฑิตว่า สิ่งที่ทำได้ยากกว่าการบอกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 254

เราจะให้นั้นยังมีอยู่หรือ ท่านถูกเราถามแล้ว

จงบอกเหตุอย่างอื่นที่ทำได้ยากกว่าแก่เรา.

[๑๐๑๐] คนทั้งหลายไม่รักษาคำที่พูดไว้ คำที่พูด

ที่เปล่งออกไปนั้นก็ไม่มีผล ก็ผู้ใดให้ปฏิญญา

ไว้แล้ว ก็ตัดทอนความโลภได้ การบั่นทอน

ความโลภของผู้นั้นนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ว่า

การกลืนดาบและกว่าการให้ปฏิญญานั้น เหตุ

อย่างอันทุกอย่างเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย. ข้าแต่

พระเจ้ามคธ ขอพระองค์โปรดทรงทราบอย่าง

นี้เถิด.

[๑๐๑๑] ปุกกุสบัณฑิตผู้ฉลาดในธรรม กล่าวแก้

ข้อความแห่งปัญหาแล้ว บัดนี้ เราจะถามเสนก-

บัณฑิตกว่า สิ่งที่ทำได้ยากว่าการให้สิ่งของนั้น

ยังมีอยู่หรือ ท่านถูกเราถามแล้ว ขอจงบอก

เหตุอย่างอื่นที่ทำได้ยากกว่าแก่เรา.

[๑๐๑๒] คนควรให้ทาน จะน้อยหรือมากก็ไม่ว่า

แต่ผู้ใดครั้นให้แล้วไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง

การไม่เดือดร้อนใจนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 255

การกลืนดาบ กว่าการพูดว่าจะให้สิ่งของและ

กว่าการให้สิ่งของที่รักนั้น. เหตุอย่างอื่นทั้ง

หมดเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ข้าแต่พระเจ้ามคธ ขอ

พระองค์โปรดทรงทราบอย่างนี้.

[๑๐๑๓] อายุรบัณฑิตแก้ปัญหาแล้ว และปุกกุส-

บัณฑิต ก็แก้ปัญหาแล้ว ส่วนเสนกบัณฑิต

ครอบงำปัญหาหมดทุกข้อว่า คนให้ทานแล้วไม่

ควรร้อนใจภายหลัง อย่างที่เสนกบัณฑิตพูด.

จบ ทสัณณกชาดกที่ ๖

อรรถกถาทสัณณกชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

การยั่วยวนของภรรยาเก่า จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทสณฺณก

ติขิณธาร ดังนี้.

ดังจะกล่าวโดยย่อ พระศาสดาตรัสถาม ภิกษุนั้นว่า ได้ทราบว่า

เธอกระสันอยากสึกจริงหรือ ? เมื่อเธอทราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า ตรัส

ถามต่อว่า ใครยั่วให้กระสัน ? เมื่อเธอทูลว่า ภรรยาเก่าพระเจ้าข้า

จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ หญิงนี้ทำอนัตถะให้เธอ ไม่เฉพาะในบัดนี้ แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 256

ในชาติก่อน เธออาศัยหญิงนี้กำลังจะตายเพราะโรคเจตสิก ได้อาศัย

บัณฑิตจึงได้ชีวิตไว้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้:-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์กำเนิดในตระกูลพราหมณ์. ญาติทั้งหลายได้ตั้ง

ชื่อเขาว่า เสนกกุมาร. เขาเติบโตแล้วได้เรียนศิลปะทุกชนิด ในเมือง

ตักกศิลาจบแล้วก็กลับเมืองพาราณสี ได้เป็นอำมาตย์ ผู้ถวายอรรถธรรม

พระเจ้ามัทวะ. ท่านถูกคนทั้งหลายเรียกว่า เสนกบัณฑิต รุ่งโรจน์ทั่ว

ทั้งนคร เหมือนดวงจันทร์และดวงอาทิตย์. ครั้งนั้น บุตรของราชปุโรหิต

มาเฝ้าในหลวง เห็นอัครมเหสีของพระราชา ผู้ทรงพระรูปโฉมสูงส่ง

ทรงประดับเครื่องทรงครบถ้วน มีจิตปฏิพัทธ์ไปบ้านแล้วนอนอดอาหาร

ถูกเพื่อนฝูงถามจึงบอกเนื้อความนั้น. พระราชาตรัสถามว่า ไม่เห็นบุตร

ของปุโรหิต ไปไหนเล่า ? ได้ทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงตรัสสั่งให้

เขาเข้าเฝ้า แล้วตรัสว่า ฉันจะมอบให้ท่าน ๗ วัน จะเอาพระอัครมเหสี

นี้ไปไว้ที่บ้าน ๗ วัน ในวันที่ ๘ จึงนำมาส่ง. เขารับพระบรมราช-

โองการแล้ว นำอัครมเหสีไปบ้านร่วมอภิรมย์กับพระนาง. บุตรปุโรหิต

และอัครมเหสีนั้น ต่างก็มีจิตรักใคร่กันพากันหนีไปทางประตูยอดนั้น

เอง โดยไม่ให้ใครรู้ ได้ไปที่แว่นแคว้นของพระราชาองค์อื่น. ใคร ๆ

ก็ไม่รู้ที่ที่คนทั้ง ๒ ไปแล้ว ไม่มีร่องรอย เป็นเสมือนทางที่เรือผ่านไป

แล้วฉะนั้น. ถึงพระราชาทรงให้ตีกลองป่าวประกาศไปในพระนคร

ค้นหาโดยประการต่าง ๆ ก็ไม่รู้ที่ที่เขาไป. ต่อมาพระองค์ทรงเกิดความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 257

เศร้าโศกเป็นกำลังเพราะอาศัยเขา. พระหทัยร้อน พระโลหิตไหลออก.

ได้มีพระพยาธิขนาดหนัก. หมอหลวง มากมาย ก็ไม่สามารถจะเยียว

ยาได้. พระโพธิสัตว์รู้ว่า พระราชานี้ ไม่มีพระพยาธิอะไร แต่พระองค์

ไม่ทรงเห็นพระมเหสี จึงถูกพระโรคจิตกระทบ เราจักใช้อุบายแก้ไข

พระองค์ แล้วจึงเรียกอำมาตย์ผู้เป็นราชบัณฑิต ๒ คนคือ อายุรอำมาตย์

๑ ปุกกุสอำมาตย์ ๑ มาหาแล้วบอกว่า พระราชาไม่ทรงมีพระโรคอื่น

เว้นไว้แต่พระโรคจิต เพราะไม่ทรงเห็นพระราชเทวี พระราชาทรงมี

พระอุปการะแก่เรามาก เพราะฉะนั้น พวกเราจะใช้อุบายแก้ไขพระ-

องค์ คือจักให้คนแสดงการเล่นที่พระลานหลวงแล้วจะให้ผู้รู้วิธีกลืนดาบ

กลืนดาบให้พระราชาประทับยืนทอดพระเนตรการเล่นที่ช่องพระแกล.

พระราชาทรงทอดพระเนตรคนกลืนดาบแล้ว ก็จักตรัสถามปัญหาว่า ยัง

มีบ้างไหมสิ่งอื่นที่ทำได้ยากกว่านี้ ? สหายอายุระ เธอควรทูลแก้ปัญหา

นั้นว่า การพูดว่า เราจะให้ของชื่อนี้ เป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่านี้ สหาย

ปุกกุส ต่อนั้นไป พระองค์ก็จะตรัสถามเธอ เธอควรทูลแก้ถวายพระ-

องค์ว่า เมื่อคนพูดว่าจะให้แต่ไม่ให้ วาจานั้นไร้ผล คนบางเหล่าหา

เข้าถึงวาจาชนิดนั้นดำรงชีวิตอยู่ไม่ ไม่เคี้ยวกิน ไม่ดื่ม ซึ่งไม่ทำให้

เหมาะสมแก่ถ้อยคำนั้น ส่วนการให้ประโยชน์ตามที่ปฏิญญาไว้นั่นแหละ

การให้ของผู้นั้น ทำได้ยากกว่า การพูดว่าจะให้. ต่อจากนั้นไป ผมก็

จักรู้เหตุอื่นที่จะต้องทำแก้ปัญหา ดังนี้แล้วได้ให้แสดงการเล่น. ลำดับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 258

นั้นบัณฑิตทั้ง ๓ เหล่านั้น พากันไปราชสำนัก กราบทูลว่า ขอเดชะ

ผ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ที่พระลานหลวงการเล่น

กำลังแสดง เมื่อคนทั้งหลายดูการเล่นอยู่. แม้ทุกข์ก็ไม่เป็นทุกข์ ขอ

ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงเสด็จเถิด ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะไปดู แล้ว

ได้นำพระราชาไปเปิดช่องพระแกลให้พระองค์ทอดพระเนตรการเล่น

คนจำนวนมากต่างพากันแสดงศิลปะที่ตนรู้ ๆ. ชายคนหนึ่งกลืนดาบแก้ว

ที่มีคมคมกริบ ยาว ๓๓ นิ้ว. พระราชาทอดพระเนตรชายคนนั้นแล้ว

ทรงดำริว่า ชายคนนี้กลืนดาบอย่างนี้ เราจักถามบัณฑิตเหล่านี้ว่า มี

อยู่หรือไม่การเล่นอย่างอื่นที่ทำได้ยากกว่านี้ แล้วเมื่อตรัสถามอายุร-

บัณฑิต จึงตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-

ชายคนนี้กลืนดาบทสรรณกะ ที่มีคมอันคม

กริบ ดื่มเลือดผู้อื่นที่กระทบแล้ว ฟันแล้วใน

ท่ามกลางบริษัทยังมีไหม สิ่งที่ทำได้ยากกว่า

การกลืนดาบนี้ ท่านถูกเราถามแล้ว จงบอก

เหตุอย่างอื่นที่ทำได้ยากกว่าแก่เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสณฺณก ความว่า เกิดขึ้นที่แคว้น

ทสัณณกะ. บทว่า สุมฺปนฺนปายิน ความว่า ที่ดื่มเลือดผู้อื่น ที่กระทบ

เข้าแล้ว. บทว่า ปริสาย ความว่า ชายคนนี้กลืนดาบที่ท่ามกลางบริษัท

เพราะอยากได้ทรัพย์. บทว่า ยทญฺ ความว่า สิ่งอื่นใด คือเหตุอื่นใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 259

ที่ทำได้ยากกว่าการกลืนดาบนี้มีอยู่ ท่านถูกเราถามแล้ว จงบอกเหตุนั้น

แก่เรา.

ลำดับนั้นอายุรบัณฑิต เมื่อทูลบอกพระราชา จึงกล่าวคาถา

ที่ ๒ ว่า :-

ก็ผู้ใดพึงกล่าวว่า เราจะให้การกล่าวของ

เขานั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่า การกลืนดาบที่

ดื่มโลหิตของผู้อื่นที่กระทบเข้าแล้ว ของชาย

คนนั้น เพราะความโลภ เหตุอย่างอื่นทุกอย่าง

เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ข้าแต่พระเจ้ามคธ ขอ

พระองค์โปรดทรงทราบอย่างนี้เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วชฺชา ความว่า พึงกล่าว. บทว่า ต

ทุกฺกรตร ความว่า การพูดว่า เราจักให้นั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่านั้น.

บทว่า สพฺพญฺ ความว่า เหตุอย่างอื่นแม้ทุกอย่างเว้นไว้แต่การพูด

ว่า เราจักให้ของชื่อนี้แก่ท่าน เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย. อายุรบัณฑิตร้องเรียก

พระราชาโดยพระโคตรว่า พระเจ้ามคธ.

เมื่อพระราชาทรงสดับคำของอายุรบัณฑิตแล้ว ทรงพิจารณา

ถ้อยคำนั้นนั่นแหละว่า ได้ทราบว่า การพูดว่า เราจะให้สิ่งของชื่อนี้เป็น

สิ่งที่ทำได้ยากกว่าการกลืนดาบ และเราก็ได้พูดออกไปแล้วว่า เราจักให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 260

พระราชเทวีแก่บุตรของปุโรหิต เราทำกรรมที่ทำได้ยากแล้วหนอ ความ

เศร้าโศกในพระราชหฤทัยเบาบางไปแล้วหน่อยหนึ่ง พระองค์ทรงดำริว่า

แต่กรรมอย่างอื่นที่ทำได้ยากกว่าการพูดว่า เราจะให้ของสิ่งนี้แก่ผู้อื่นนั้น

ยังมีอยู่หรือไม่หนอ เมื่อทรงปราศรัยกับปุกกุสบัณฑิต จึงตรัสคาถา

ที่ ๓ ว่า :-

อายุรบัณฑิตผู้ฉลาดในธรรม กล่าวแก้

ข้อความแห่งปัญหาแล้ว. บัดนี้ เราจะขอถาม

ปุกกุสบัณฑิตว่า สิ่งที่ทำได้ยากกว่า การบอก

ว่าเราจะให้นั้นยังมีอยู่หรือ มีเหตุอย่างอื่นใด

ที่ทำได้ยาก ท่านผู้ถูกเราถามแล้ว จงบอกเหตุ

นั้นแก่เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺห อตฺถ มีคำอธิบายว่า กล่าว

แก้ข้อความแห่งปัญหาแล้ว. บทว่า ธมฺมสฺส โกวิโท ได้แก่ผู้ฉลาด

ในอรรถที่ส่องถึงข้อความของธรรมะนั้น. บทว่า ตโต ความว่า สิ่งที่

ทำได้ยากกว่าการพูดนั้นมีอยู่หรือ.

ลำดับนั้นปุกกุสบัณฑิต เมื่อจะทูลแก้ปัญหาถวายพระองค์ จึง

กล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 261

คนทั้งหลายไม่รักษาคำที่พูดไว้ คำที่พูด

ที่เปล่งออกไปนั้นไม่มีผล และผู้ใดให้ปฏิญ-

ญาไว้แล้ว ก็บั่นทอนความโลภได้ การบั่นทอน

ความโลภของผู้นั้นนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่า

การกลืนดาบและการให้ปฎิญญานั้น เหตุอย่าง

อันทุกอย่างเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ข้าแต่พระเจ้า

มคธ ขอพระองค์โปรดทรงทราบอย่างนี้เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทตฺวา ความว่า ให้ปฏิญญาไว้ว่า

เราจะให้สิ่งของชื่อโน้น. บทว่า อวากยิรา มีคำอธิบายไว้ว่า บุคคลเมื่อ

ให้ข้อความที่ได้ปฏิญญาไว้แล้วนั้น บั่นทอนคือทำลายความโลภทิ้งใน

เพราะปฏิญญานั้น และพึงให้สิ่งของนั้น. บทว่า ตโต ความว่า การ

บั่นทอนคือการให้สิ่งของนั้นนั่นแหละ ทำได้ยากกว่าการกลืนดาบและ

การพูดว่าจะให้สิ่งของชื่อนั้นแก่ท่านนั้น.

แม้เมื่อพระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว ทรงปริวิตกอยู่ว่า เราพูด

ก่อนแล้วว่า เราจะให้พระเทวีแก่บุตรปุโรหิต ก็ได้ให้พระเทวี ทำให้

สมแก่การพูดแล้ว เราได้ทำกรรมที่ทำได้ยากแล้วหนอ ความเศร้าโศก

เบาบางลงกว่าเดิม. ลำดับนั้น พระองค์ได้มีพระปริวิตกว่า คนอื่นที่ชื่อ

ว่าเป็นผู้ฉลาดกว่าเสนกบัณฑิตไม่มี เราจักถามปัญหานี้กะเสนกบัณฑิต

นั่น. ลำดับนั้น พระองค์เมื่อตรัสถามปัญหา จึงตรัสคาถาที่ ๕ ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 262

ปุกกุสบัณฑิตผู้ฉลาดในธรรม กล่าวแก้ข้อ

ความแห่งปัญหาแล้ว บัดนี้ เราจะถามเสนก

บัณฑิตว่า สิ่งที่ทำได้ยากกว่าการให้สิ่งของนั้น

ยังมีอยู่หรือ เหตุอย่างอื่นใดที่ทำได้ยากยังมี

อยู่ ท่านถูกเราถามแล้ว ขอจงบอกเหตุอื่นที่

ทำได้ยากกว่าแก่เรา.

เสนกบัณฑิต เมื่อจะทูลแก้ปัญหาถวายพระองค์ จึงกล่าวคาถา

ที่ ๖ ว่า :-

คนควรให้ทานจะน้อยหรือมากก็ไม่ว่า แต่

ผู้ใดครั้นให้แล้ว ไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง

การไม่เดือดร้อนใจนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่า

การกลืนดาบกว่าการพูดว่าจะให้สิ่งของ และ

กว่าการให้สิ่งของที่รักนั้น. เหตุอย่างอื่นทั้ง

หมด เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ข้าแต่พระเจ้ามคธ

ขอพระองค์โปรดทรงทราบอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นานุตปฺเป ความว่า ผู้ใดครั้นให้

ของรัก ที่ตนรักใคร่ ที่ตนชอบใจอย่างยิ่งแก่ผู้อื่นแล้ว ไม่ปรารภถึงของ

รักนั้น เดือดร้อนใจภายหลัง คือไม่เศร้าโศกอย่างนี้ว่า เราให้ของสิ่งนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 263

เพื่ออะไร การไม่เศร้าโศกนี้ เป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่า การกลืนดาบ กว่า

การพูดว่าเราจะให้สิ่งของชื่อนี้แก่ท่าน และกว่าการให้สิ่งของนั้น พระ-

มหาสัตว์กราบทูลให้พระราชาทรงรับทราบด้วยประการอย่างนี้. เพราะ

ว่า ครั้นให้ทานแล้ว เจตนาในกาลต่อมาจะเป็นสิ่งที่ควรแก่ความเชื่อ

ได้ยาก ความที่อปรเจตนานั้นควรแก่ความเชื่อได้ยาก เป็นของทำได้ยาก

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้แล้ว แม้ในเวสสันดร. สมจริงตามที่

ตรัสไว้ว่า :-

พระมหาสัตว์ทรงถือธนู แล้วทรงคาด

พระขรรค์ไว้เบื้องซ้าย ทรงนำพระราชโอรส

และพระราชบิดา ของพระองค์ออกไป เพราะ

ว่า คนฆ่าบุตรก็เป็นทุกข์ ข้อที่พระราชกุมาร

และพระราชบิดาทั้งหลาย เดือดร้อนมีทุกข์

เป็นรูป นั้นไม่ใช่ฐานะที่เป็นไปได้. และใครรู้

ธรรมของสัตบุรุษแล้ว แต่ให้ทานแล้วก็เดือด

ร้อนในภายหลัง.

ฝ่ายพระราชาแล ครั้นทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์แล้ว ทรง

กำหนดว่า เราให้พระราชเทวีแก่บุตรปุโรหิต ด้วยดวงใจของตนนั่นเอง

แต่ไม่อาจจะทรงไว้ซึ่งดวงใจของตนได้ เศร้าใจ ลำบากใจอยู่ ข้อนี้ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 264

สมควรแก่เรา ถ้าหากพระราชเทวีนั้น พึงมีความเสน่หาในเราไชร้ เธอ

คงไม่ทอดทิ้งอิสริยยศนี้หนีไป. แต่เมื่อเธอไม่ทำความเสน่หาในเราหนี

ไปแล้ว เราจักมีประโยชน์อะไร. เมื่อพระองค์ทรงดำริถึงข้อนี้อยู่ ความ

เศร้าโศกทั้งหมดก็กลับหายไป เหมือนหยดน้ำที่กลิ้งตกไปจากใบบัว

ฉะนั้น. ในทันใดนั่นเองพระนาภีของพระองค์ก็หยุดนิ่ง พระองค์ทรง

ไร้พระโรคทรงพระเกษมสำราญ เมื่อจะทรงทำการสดุดีพระโพธิสัตว์

จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า :-

อายุรบัณฑิตแก้ปัญหาแล้ว และปุกกุสุ-

บัณฑิตก็แก้ปัญหาแล้ว ส่วนเสนกบัณฑิต

ครอบปัญหาหมดทุกข้อว่า คนให้ทานแล้ว ไม่

ควรเดือดร้อนใจ ภายหลัง อย่างที่เสนกบัณฑิต

พูด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา ภาสติ ความว่า ธรรมดาว่า

ทานนั้น คนให้แล้วไม่ควรเดือดร้อนใจ ๆ ภายหลัง เหมือนที่เสนกบัณฑิต

พูดนั้นแหละ.

ก็พระราชาครั้นทรงทำการสดุดีแล้ว ทรงพอพระราชหฤทัยแล้ว

ได้พระราชทานทรัพย์เป็นอันมากแก่เสนกบัณฑิตนั้น.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ทรงประกาศสัจ-

ธรรมทั้งหลายแล้ว ทรงประชุมชาดกไว้ ในที่สุดแห่งสัจธรรม ภิกษุผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 265

กระสันจะสึกนั้น ตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล พระราชมเหสีในครั้งนั้น

ได้แก่ภรรยาเก่าในบัดนี้ พระราชาได้แก่ภิกษุผู้กระสันจะสึก อายุร-

บัณฑิต ได้แก่พระโมคคัลลานเถระ ปุกกุสบัณฑิต ได้แก่พระสารีบุตร

เถระ ส่วนเสนกบัณฑิต ได้แก่เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาทสัณณกชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 266

๗. เสนกชาดก

ว่าด้วยผู้มีปัญญาช่วยคนอื่นได้

[๑๐๑๔] ท่านหัวเสีย มีอินทรีย์ คือนัยตาโรยแล้ว

น้ำตาไหลจากตาของท่านทั้ง ๒ ข้าง ท่านสูญ

เสียอะไรไปหรือ ก็ท่านต้องการอะไรจึงมา

ที่นี่ เชิญเถิด เชิญบอกให้เราทราบเถิด.

[๑๐๑๕] ยักษ์รุกขเทวดาบอกว่า วันนี้เมื่อข้าพเจ้า

ไปถึงบ้านเมียของข้าพเจ้าจะตาย แต่ถ้าข้าพเจ้า

ไปไม่ถึงก็จะมีความตายเอง. ข้าพเจ้าหวาดหวั่น

เพราะทุกข์นั้น ข้าแต่ท่านเสนกะ ขอท่านจง

บอกเหตุนั้นแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด.

[๑๐๑๖] เราคิดค้นหาเหตุหลายอย่าง บรรดาเหตุ

เหล่านี้ เหตุที่เราจะบอกนั่นแหละเป็นของจริง

ดูก่อนพราหมณ์ เราเข้าใจว่า งูเห่าหม้อตัวหนึ่ง

ได้เลื้อยเข้าไปอยู่ในไถ้ข้าวตูของท่านผู้ไม่รู้สึก.

[๑๐๑๗] ท่านจงเอาท่อนไม้เคาะไถ้ดูเถิด จะเห็น

งูมีลิ้น ๒ แฉก พ่นพิษเลื้อยออกมา ท่านจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 267

สิ้นความเคลือบแคลงสงสัย วันนี้แหละ ท่าน

จงแก้ไถ้เถิด ท่านจะเห็นงู.

[๑๐๑๘] พราหมณ์นั้นสลดใจ ทิ้งไถ้ข้าวตูลง

ท่ามกลางบริษัท ลำดับนั้น งูพิษที่มีพิษร้าย

ได้แผ่แม่เบี้ยเลื้อยออกมา.

[๑๐๑๙] เป็นการได้ลาภที่ดีของพระเจ้าชนก ที่

ทรงเห็นเสนกบัณฑิตผู้มีปัญญาดี ท่านเป็นผู้

เปิดเครื่องปิดบังออกได้หรืออย่างไร จึงเห็น

ของทุกอย่าง ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ญาณของ

ท่านเป็นญาณที่น่าพิศวงนัก ทรัพย์เหล่านั้นของ

ข้าพเจ้ามีอยู่ ๗๐๐ กหาปณะ ขอท่านจงรับเอา

ทั้งหมดเถิด ข้าพเจ้าขอมอบให้ท่าน เพราะว่า

วันนั้นข้าพเจ้าได้ชีวิตไว้ เพราะท่าน อีกโสดหนึ่ง

ท่านก็ได้ทำความสวัสดีให้แก่ภรรยาของข้าพ-

เจ้าด้วย.

[๑๐๒๐] บัณฑิตทั้งหลายจะไม่รับค่าจ้าง เพราะ

คาถาทั้งหลายที่ไพเราะที่ตนกล่าวดีแล้ว ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 268

พราหมณ์ ที่ตนจงให้ทรัพย์ของท่านได้แต่

เพียงนี้ วางใกล้เท้า แล้วจงรับเอาไปยังที่อยู่

ของท่านเถิด.

จบ เสนกชาดกที่ ๗

อรรถกถาเสนกชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

พระปัญญาบารมีของพระองค์ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า วิพฺภนฺต-

จิตฺโต ดังนี้. เรื่องปัจจุบันจักมีแจ่มแจ้งในอุปมังคชาดก.

ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า ชนก ครองราชสมบัติ

อยู่ในนครพาราณสี. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์.

เหล่าญาติได้ขนานนามท่านว่า เสนกะ. ท่านเติบโต แล้วเรียนศิลปะ

ทุกอย่างที่เมืองตักกศิลา แล้วกลับมาเฝ้าพระราชาที่นครพาราณสี. พระ-

ราชาทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งอำมาตย์ และทรงเพิ่มยศยิ่งใหญ่

ให้ท่าน. ท่านได้ถวายอรรถธรรมแก่พระราชาเนื่อง ๆ. ท่านเป็นผู้สอน

ธรรมที่มีถ้อยคำไพเราะ ให้พระราชาทรงดำรงอยู่ในเบญจศีล แล้วให้

ทรงดำรงอยู่ในปฏิปทาที่ดีงามนี้ คือในทาน ในอุโบสถกรรม และใน

ศีลธรรมบถ ๑๐ ข้อ. สมัยนั้น ได้เป็นเหมือนเวลาที่พระพุทธเจ้า

เสด็จอุบัติขึ้นในสากลรัฐ. พระมหาสัตว์ไปที่ท่ามกลางแท่นที่อบอวล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 269

ไปด้วยของหอม ในธรรมสภาที่เขาเตรียมไว้แล้ว ก็แสดงธรรมด้วย

พุทธลีลา. ธรรมกถาของท่านเป็นเช่นกับธรรมกถาของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายก็ปานกัน. ลำดับนั้น พราหมณ์ชราคนหนึ่งเที่ยวหาขอเงิน

ได้เงินพันกหาปณะ เก็บฝากไว้ที่ตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง แล้ว

คิดว่า เราจะเที่ยวขออีก ดังนี้ แล้วก็ไป. ในเวลาพราหมณ์นั้นไปแล้ว

ตระกูลนั้นใช้กหาปณะหมด. พราหมณ์นั้นกลับมา แล้วขอกหาปณะ

คืน. พราหมณ์ไม่อาจจะให้กหาปณะคืนได้ จึงได้ให้ธิดาของตนให้เป็น

นางบำเรอบาท คือเมียของพราหมณ์นั้น. พราหมณ์พานางไปอยู่กินกัน

ที่หมู่บ้านตำบลหนึ่ง ไม่ไกลจากนครพาราณสี. คราที่นั้น ภรรยา

ของเขาผู้ไม่อิ่มในกาม เพราะยังสาว จึงประพฤติมิจฉาจาร คือเป็นชู้

กับพราหมณ์หนุ่มคนหนึ่ง. เพราะว่า ขึ้นชื่อว่าของที่ไม่รู้จักอิ่มมี

๑๖ อย่าง คือ :-

๑. มหาสมุทรไม่อิ่มด้วยน้ำที่ไหลมาทุกทิศทุกทาง.

๒. ไฟไม่อิ่มด้วยเชื้อ.

๓. พระราชาไม่ทรงอิ่มด้วยราชสมบัติ.

๔. คนพาลไม่อิ่มด้วยบาป.

๕. หญิงไม่อิ่มด้วยของ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ เมถุนธรรม ๑

เครื่องประดับ ๑ การคลอดบุตร ๑.

๖. พราหมณ์ไม่อิ่มด้วยมนต์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 270

๗. ผู้ได้ฌานไม่อิ่มด้วยวิหารสมาบัติ คือการเข้าฌาน.

๘. พระเสขบุคคลไม่อิ่มด้วยการหมดเปลืองในการให้ทาน.

๙. ผู้มักน้อยไม่อิ่มด้วยธุดงค์คุณ.

๑๐. ผู้เริ่มความเพียรแล้วไม่อิ่มด้วยการปรารภความเพียร.

๑๑. ผู้แสดงธรรม คือนักเทศน์ไม่อิ่มด้วยการสนทนาธรรม.

๑๒. ผู้กล้าหาญไม่อิ่มด้วยบริษัท.

๑๓. ผู้มีศรัทธาไม่อิ่มด้วยการอุปัฏฐากพระสงฆ์.

๑๔. ทายกไม่อิ่มด้วยการบริจาค.

๑๕. บัณฑิตไม่อิ่มด้วยการฟังธรรม.

๑๖. บริษัท ๔ ไม่อิ่มในการเฝ้าพระพุทธเจ้า.

ถึงนางพราหมณีนั้น ก็ไม่อิ่มด้วยเมถุนธรรม ต้องการจะสลัด

พราหมณ์นั้นให้ออกไป แล้วทำบาปกรรม วันหนึ่ง นอนกลุ้มใจอยู่

เมื่อพราหมณ์ถามว่า แม่มหาจำเริญ มีเรื่องอะไรหรือ ? จึงพูดว่า

พราหมณ์เจ้าขา ฉันไม่อาจจะทำงานในบ้านของท่าน คือทำไม่ไหว

ขอท่านจงไปนำเอาทาสหญิง ทาสชายมา.

พราหมณ์ แม่มหาจำเริญ ทรัพย์ของเราไม่มี ฉันจะให้

อะไรเขา แล้วจึงจะนำทาสหญิงทาสชายมาได้.

พราหมณ์ เที่ยวขอเสาะหาทรัพย์ แล้วนำมาสิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 271

พราหมณ์ แม่มหาจำเริญ ถ้าอย่างนั้น เธอจงเตรียมสะเบียง

ให้ฉัน.

นางจึงเตรียมข้าวตูก้อนข้าวตูผง บรรจุเต็มไถ้หนังแล้ว ได้มอบ

ให้พราหมณ์ไป. ฝ่ายพราหมณ์เมื่อเที่ยวไปในหมู่บ้านนิคมและราชธานี

ทั้งหลาย ได้เงิน ๗๐๐ กหาปณะ เห็นว่า พอแล้ว เงินเท่านี้สำหรับเรา

เพื่อเป็นค่าทาสชายและทาสหญิง แล้วก็กลับมาบ้านของตน มาถึงที่

แห่งหนึ่ง เป็นสถานที่มีน้ำสะดวกสบาย จึงแก้ไถ้ออกกินข้าวตู แล้ว

ไม่ได้ผูกปากไถ้เลย ลงไปดื่มน้ำ. งูเห่าหม้อตัวหนึ่ง ได้กลิ่นข้าวตู จึง

เลื้อยเข้าขดตัวนอนกินข้าวตูอยู่. พราหมณ์มาแล้ว ไม่ได้มองดูภายใน

ไถ้ ผูกไถ้แล้วแบกขึ้นบ่าไป. เทวดาผู้เกิดบนต้นไม้ต้นหนึ่ง ในระหว่าง

ทางยืนอยู่ที่ค่าคบต้นไม้ พูดว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าท่านพักระหว่างทาง

ท่านจักตายเอง แต่ถ้าวันนี้ ท่านไปถึงบ้าน ภรรยาของท่านจักตาย

แล้วก็หายไป. เขามองดูอยู่ไม่เห็นเทวดา กลัวถูกภัย คือความตาย

คุกคาม จึงร้องไห้คร่ำครวญไปถึงประตูพระนครพาราณสี. ก็วันนั้น

เป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ เป็นวันที่พระโพธิสัตว์นั่งแสดงธรรมบน

ธรรมาสน์ที่เขาตกแต่งแล้ว มหาชนพากันถือของหอมและดอกไม้เดิน

ไปฟังธรรมกถากันเป็นพวก ๆ. พราหมณ์เห็นเขา จึงถามว่า ท่าน

ทั้งหลายไปไหนกัน พ่อคุณ ? เมื่อเขาบอกว่า ดูก่อนพราหมณ์ วันนี้

เสนกบัณฑิตจะแสดงธรรมด้วยเสียงไพเราะตามพุทธลีลา ท่านไม่รู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 272

หรือ ? จึงคิดว่า ได้ทราบว่า ท่านผู้แสดงธรรม ธรรมกถึกเป็นบัณฑิต

ส่วนเราถูกมรณภัยคุกคาม ก็แหละผู้เป็นบัณฑิตอาจจะบรรเทาความโศก

ตั้งมากมายได้. แม้เราก็ควรไปฟังธรรม ณ ที่นั้น. เขาจึงไปที่นั้นกับ

มหาชนนั้น กลัวความตาย ได้ยินร้องไห้อยู่ท้ายบริษัทที่มีพระราชา

นั่งห้อมล้อมพระมหาสัตว์อยู่แล้วไม่ไกลจากธรรมาสน์ ทั้ง ๆ ที่ไถ้

ข้าวตูยังพาดอยู่ที่ต้นคอ. พระมหาสัตว์แสดงธรรมเหมือนกับให้ข้าม

อากาศคงคาและเหมือนกับหลั่งฝนอมฤตลง. มหาชนเกิดความโสมนัส

ให้สาธุการได้ฟังธรรมกันแล้ว. ก็ธรรมดาบัณฑิตทั้งหลาย เป็นผู้มองดู

ทิศทาง ในขณะนั้น พระมหาสัตว์ลืมตาที่มีประสาททั้ง ๕ ผ่องใสขึ้น

ดูบริษัทโดยรอบ เห็นพราหมณ์นั้น จึงคิดว่า บริษัทจำนวนเท่านี้

เกิดความโสมนัสให้สาธุการฟังธรรมกัน. แต่พราหมณ์คนนี้คนเดียว

ถึงความโทมนัสร้องไห้. พราหมณ์นั้นต้องมีความเศร้าโศกอยู่ในภายใน

ที่สามารถให้น้ำตาเกิดขึ้นแน่ ๆ. เราจักพลิกใจพราหมณ์ผู้มืดมนต์ แสดง

ธรรมให้เขาไม่มีความโศกให้พอใจในเรื่องนี้ทีเดียว เหมือนสนิมทอง-

แดงหลุดออกไปเพราะขัดด้วยของเปรี้ยว และเหมือนหยดน้ำกลิ้งออก

ไปจากใบบัวฉะนั้น. ท่านได้เรียกพราหมณ์นั้นมาหา เมื่อเจรจากับ

พราหมณ์นั้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราชื่อว่า เสนกบัณฑิต เราจักทำ

ให้ท่านไม่มีความเศร้าโศก ขอท่านจงวางใจ แล้วบอกมาเถิด จึงกล่าว

คาถาแรกว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 273

ท่านหัวเสีย มีอันทรีย์ คือนัยตาโรยแล้ว

น้ำตาไหลจากตาของท่านทั้ง ๒ ข้าง. ท่านสูญ

เสียอะไรไป ก็ท่านต้องการอะไร จึงมาที่นี่

เชิญเถิด. เชิญบอกให้เราทราบเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุปิตินฺทฺริโยสิ ความว่า พระ-

มหาสัตว์พูดว่า ท่านมีอินทรีย์โรยแล้ว หมายถึงจักขุนทรีย์นั่นเอง.

ศัพท์ว่า อิงฺฆ เป็นนิบาต ใช้ในความหมายตักเตือน. จริงอยู่ พระ-

มหาสัตว์ เมื่อจะตักเตือนพราหมณ์นั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อน

พราหมณ์ ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายเศร้าโศกคร่ำครวญกัน เพราะเหตุ

๒ ประการ คือ เมื่อสูญเสียญาติที่รักบางคน ในบรรดาสัตว์และสังขาร

ทั้งหลายนั่นเอง หรือปรารถนาญาติที่รักบางคนนั่นเอง แต่ไม่ได้ดัง

ต้องการ. ในจำนวน ๒ อย่างนั้น ท่านสูญเสียอิฏฐผลข้อไหน ก็ท่าน

ปรารถนาอะไร จึงมาที่นี่ ? ขอจงบอกเรื่องนี้แก่เราโดยเร็วเถิด.

ลำดับนั้น พราหมณ์เมื่อจะบอกเหตุแห่งความโศกของตนแก่

พระมหาสัตว์ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ยักษ์รุกขเทวดาบอกว่า วันนี้ เมื่อข้าพเจ้า

ไปถึงบ้านเมียของข้าพเจ้าจะตาย แต่ถ้าข้าพเจ้า

ไปไม่ถึงก็จะมีความตายเอง. ข้าพเจ้าหวาดหวั่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 274

เพราะทุกข์นั้น ข้าแต่ท่านเสนกะ ขอท่านจง

บอกเหตุนั้นแต่ข้าพเจ้าด้วยเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วชโต ความว่า ไปถึงเรือน. บทว่า

อคจฺฉโต ความว่า เมื่อไปไม่ถึง. บทว่า ยกฺโข ความว่า พราหมณ์

กล่าวว่า รุกขเทวดาตนหนึ่ง ในระหว่างทาง กล่าวอย่างนี้. ได้ทราบว่า

เทวดานั้น ควรจะบอกว่า พราหมณ์ ในไถ้ของท่านมีงูเห่าหม้อ

แต่ไม่บอก เพื่อจะประกาศอานุภาพญาณของพระโพธิสัตว์. บทว่า

เอเตน ทุกฺเขน ความว่า ข้าพเจ้าหวาดหวั่น ดิ้นรน หวั่นไหว

เพราะเหตุนั้น คือ เพราะทุกข์เกิดจากความตายของภรรยา เมื่อไปถึง

บ้าน และทุกข์ คือความตายของตน เมื่อไปไม่ถึงบ้าน. บทว่า เอตมตฺถ

มีอธิบายว่า ขอท่านจงบอกข้าพเจ้าถึงเหตุนั้น คือเหตุที่เป็นเหตุให้

ภรรยาของข้าพเจ้ามีความตาย เมื่อข้าพเจ้าไปถึงบ้าน และที่เป็นเหตุ

ทำให้ตนมีความตาย เมื่อไปไม่ถึงบ้าน.

พระมหาสัตว์ได้ฟังคำของพราหมณ์ แล้วจึงแผ่ข่ายญาณไป

เหมือนเหวี่ยงแหลงในน่านน้ำทะเล คิดแล้วว่า เหตุแห่งการตายของ

สัตว์เหล่านี้มีมาก คือจมทะเลไปบ้าง ถูกปลาร้ายในทะเลนั้นคาบไปบ้าง

ตกลงไปในน้ำบ้าง ถูกจระเข้ในแม่น้ำนั้นคาบไปบ้าง ตกต้นไม้บ้าง ถูก

หนามแทงบ้าง ถูกประหารด้วยอาวุธนานาประการบ้าง กินยาพิษเข้า

ไปบ้าง ปีนขึ้นภูเขาแล้วตกลงไปในเหวบ้าง หรือถูกโรคนานาประการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 275

มีหนาวจัดเป็นต้น เบียดเบียนบ้าง ตายเหมือนกันทั้งนั้น. เมื่อเหตุแห่ง

การตายมีมากอย่างนี้. ด้วยเหตุอะไรหนอแล วันนี้พราหมณ์นั้น เมื่อ

อยู่ระหว่างทางจึงจักตายเอง แต่เมื่อไปถึงบ้านภรรยาของเขาจักตาย.

และเมื่อกำลังคิดอยู่ได้มองเห็นไถ้อยู่บนคอของพราหมณ์ ก็รู้ได้ด้วย

ญาณ คือความฉลาดในอุบายว่า ในไถ้นี้คงมีงูตัวหนึ่งเลื้อยเข้าไปอยู่

ข้างใน. ก็แหละเมื่อจะเลื้อยเข้าไป มันคงจะเลื้อยเข้าไปเพราะกลิ่น

ข้าวตู ในเมื่อพราหมณ์คนนี้กินข้าวตู ในเวลาอาหารเช้าไม่ได้ผูกปาก

ไถ้ไว้เลย แล้วไปดื่มน้ำ. พราหมณ์ดื่มน้ำ แล้วมาไม่ทราบว่างูเข้าไป

อยู่ในไถ้แล้ว คงจักผูกปากไถ้แล้วก็แบกเอาไป. พราหมณ์นี้นั้น เมื่อ

พักอยู่ระหว่างทาง ก็จักแก้ไถ้สอดมือเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เราจักกิน

ข้าวตู สถานที่พักในเวลาเย็น เมื่อเป็นเช่นนั้นงูก็จะกัดมือเขาให้ถึง

ความสิ้นชีวิต นี้คือเหตุแห่งการตายของพราหมณ์ผู้พักอยู่ระหว่างทาง.

แต่ถ้าพราหมณ์ไปถึงบ้านไซร้ ไถ้จักตกถึงมือของภรรยา นางก็จักแก้ไถ้

เอามือล้วง ด้วยตั้งใจว่า จักดูของอยู่ข้างใน. เมื่อเป็นเช่นนั้น งูก็จัก

กัดนางให้ถึงความสิ้นชีพ นี้คือเหตุแห่งการตายของภรรยาของเขาผู้ไป

ถึงเรือนในวันนี้. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้มีความดำรินี้ว่า งูเห่าหม้อ

ตัวนี้กล้าหาญควรปลอดภัย เพราะว่างูตัวนี้ แม้จะกระทบสีข้างใหญ่ของ

พราหมณ์ ก็ไม่แสดงความหวั่นไหวหรือความดิ้นรนของตน. ถึงใน

ท่ามกลางบริษัทชนิดนี้ ก็ไม่แสดงความมีอยู่ของตน. เพราะฉะนั้น

งูเห่าหม้อตัวนี้ที่กล้าหาญ จึงควรปลอดภัย. แม้เหตุการณ์ดังที่ว่ามานี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 276

พระมหาสัตว์ก็ได้รู้ด้วยญาณ คือความเป็นผู้ฉลาดในอุบายนั่นเอง

เหมือนเห็นด้วยทิพพจักขุ. เมื่อเป็นเช่นนี้ พระมหาสัตว์กำหนดด้วยญาณ

คือความเป็นผู้ฉลาดในอุบายนั่นเอง เหมือนคนยืนดูงูที่กำลังเลื้อยเข้า

ไปในไถ้ ท่ามกลางบริษัทที่มีพระราชา เมื่อจะแก้ปัญหาของพราหมณ์

จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

เราคิดค้นหาเหตุหลายอย่าง บรรดาเหตุ

เหล่านี้ เหตุที่เราจะบอกนั่นแหละเป็นของจริง

พราหมณ์ เราเข้าใจว่า งูเห่าหม้อตัวหนึ่ง

ได้เลื้อยเข้าไปอยู่ในไถ้ข้าวตูของท่านผู้ไม่รู้สึก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหูนิ านานิ ได้แก่เหตุหลาย

อย่าง บทว่า วิจินฺตยิตฺวา ความว่า เป็นเสมือนบรรลุปฏิเวธ ด้วย

สามารถแห่งการคิดทะลุปรุโปร่ง. บทว่า ยเมตฺถ วกฺขามิ ความว่า

บรรดาเหตุเหล่านั้น เราจะบอกเหตุอันใดอย่างหนึ่งแก่ท่าน. ด้วยบทว่า

ตเทว สจฺจ พระมหาสัตว์แสดงว่า เหตุนั้นนั่นแหละเป็นเรื่องแท้

คือจักเป็นเช่นกับเรื่องที่เห็นด้วยทิพพจักขุ. แล้วจึงบอก. บทว่า มญฺามิ

ความว่า กำหนด. บทว่า สตฺตุภสฺต ได้แก่ ไถ้ข้าวตู. บทว่า อชานโต

ความว่า เราเข้าใจว่า เมื่อท่านไม่รู้อยู่นั่นแหละ งูเห่าหม้อตัวหนึ่ง

เข้าไปแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 277

ก็แหละพระมหาสัตว์ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงถามว่า พราหมณ์

มีไหมข้าวตูในไถ้ของท่านนั้น ?

พ. มี ท่านบัณฑิต

ม. วันนี้ เวลาอาหารเช้า ท่านนั่งกินข้าวตูละสิ ?

พ. ใช่ ท่านบัณฑิต

ม. นั่ง ที่ไหนล่ะ ?

พ. ที่ควงไม้ ในป่า

ม. ท่านกินข้าวตูแล้ว เมื่อไปดื่มน้ำ ไม่ได้ผูกปากไถ้ล่ะสิ ?

พ. ไม่ได้ผูก ท่านบัณฑิต

ม. ท่านดื่มน้ำแล้วมา ไม่ได้ตรวจดูได้ผูกเลยสิ ?

พ. ไม่ได้ดู ผูกเลย ท่านบัณฑิต

ม. พราหมณ์ เราเข้าใจว่า ในเวลาท่านไปดื่มน้ำ งูเข้าไป

ในไถ้แล้ว เพราะได้กลิ่นข้าวตูของท่าน ผู้ไม่รู้ตัวเลย. ท่านได้มาที่นี้

อย่างนี้แล้ว เพราะฉะนั้น ให้ยกไถ้ลงวางไว้ท่ามกลางบริษัท แก้ปาก

ไถ้ออก แล้วเลี่ยงไปยืนอยู่ห่างพอควร ถือไม้ท่อนหนึ่งเคาะไถ้ก่อน

ต่อจากนั้น ก็จักเห็นงูเห่าหม้อ แผ่แม่เบี้ย เห่าฟ่อ ๆ เลื้อยออกมา

แล้วหายสงสัย ดังนี้ แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 278

ท่านจงเอาท่อนไม้เคาะไถ้ดูเถิด จะเห็น

งูมีลิ้น ๒ แฉก พ่นพิษเลื้อยออกมา ท่านจะ

สิ้นความเคลือบแคลงสงสัย ในวันนี้แหละ

ท่านจงแก้ไถ้เถิด ท่านจะเห็นงู.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริสุมฺภ ความว่า จงเคาะ. บทว่า

ปสฺเสลมูค ความว่า ท่านจะเห็นงูมีลิ้น ๒ แฉก พ่นพิษทางปากที่มี

น้ำลายไหลออกมา. บทว่า ฉินฺทชฺช กงฺข วิจิกิจฺฉิตานิ ความว่า

วันนี้ท่านจะตัดความเคลือบแคลงและความสงสัยที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ว่า ใน

ไถ้มีงูหรือไม่มีหนอ เชื่อเราเถิด เพราะคำพยากรณ์ของเราไม่ผิดพลาด

ท่านจะเห็นงูเลื้อยออกมาเดี๋ยวนี้แหละ จงแก้ไถ้เถิด.

พราหมณ์ได้ฟังคำของพระมหาสัตว์ แล้วสลดใจถึงความกลัว

ได้ทำตามนั้น. ฝ่ายงูพอถูกไม้เคาะขนดก็เลื้อยออกจากปากไถ้ เห็นผู้คน

มากมาย จึงได้หยุดอยู่.

พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๕

ว่า :-

พราหมณ์นั้นสลดใจ ทิ้งไถ้ข้าวตูลง

ท่ามกลางบริษัท ลำดับนั้น งูพิษที่มีพิษร้าย

ได้แผ่แม่เบี้ยเลื้อยออกมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 279

ในเวลางูแผ่แม่เบี้ยออกมา คำพยากรณ์ของพระมหาสัตว์ได้เป็น

เหมือนคำพยากรณ์ของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า. มหาชนพากันชูผ้าขึ้น

เป็นจำนวนพัน. ยกนิ้วขึ้นดีดหมุนไปรอบ ๆ เป็นพัน ๆ ครั้ง. ฝนแก้ว

๗ ประการตกลงมา เหมือนลูกเห็บตก. สาธุการก็เป็นไปเป็นจำนวน

พัน ๆ. เสียงดังปานประหนึ่งมหาปฐพีจะถล่มทะลาย. ก็ธรรมดาการแก้

ปัญหาแบบนี้ด้วยพุทธลีลานี้ ไม่ใช่เป็นพลังของชาติ ไม่ใช่เป็นพลัง

ของโคตร ของตระกูล ของประเทศ ของยศและของทรัพย์ทั้งหลาย

แต่เป็นพลังของอะไรหรือ เป็นพลังของปัญญา. ด้วยว่าบุคคลผู้มีปัญญา

เจริญวิปัสสนา แล้วจะเปิดประตูอริยมรรคเข้าอมตมหานิพพานได้ ทะลุ

ทะลวงสาวกบารมีบ้าง ปัจเจกโพธิญาณบ้าง สัมมาสัมโพธิญาณบ้าง.

เพราะว่าบรรดาธรรมทั้งหลายที่จะให้บรรลุอมตมหานิพพาน ปัญญา

เท่านั้นประเสริฐที่สุด ธรรมทั้งหลายที่เหลือเป็นเพียงบริวารของปัญญา.

เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสไว้ว่า :-

ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาแล

ประเสริฐที่สุด เหมือนดวงจันทร์ประเสริฐกว่า

ดวงดาวทั้งหลาย ฉะนั้น ศีลก็ดี แม้สิริก็ดี

ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายก็ดี เป็นสิ่งคล้อย

ตามผู้มีปัญญา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 280

ก็แล เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวแก้ปัญหาอย่างนี้ แล้วหมองูคนหนึ่ง

ก็ใส่กุญแจปากงู แล้วก็จับงูไปปล่อยในป่า. พราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระราชา

ให้พระองค์ทรงมีชัย แล้วประคองอัญชลี เมื่อจะสดุดีพระราชา จึงกล่าว

คาถากึ่งคาถาว่า.

เป็นการได้ลาภที่ดีของพระเจ้าชนก ที่

ทรงเห็นเสนกบัณฑิตผู้มีปัญญาดี.

คาถานั้นมีอรรถอธิบายว่า พระชนกพระองค์ใดทรงลืมพระนคร

แล้วได้ทรงเห็นเสนกบัณฑิตผู้มีปัญญาดี คือมีปัญญาสูงสุด ด้วยพระเนตร

ที่น่ารักทุกขณะที่ทรงปรารถนาจะเห็น การได้ทอดพระเนตรเห็นทุก

ขณะที่ทรงพระประสงค์เหล่านั้น ของพระเจ้าชนกนั้น เป็นลาภที่

พระองศ์ทรงได้แล้วดีจริง ๆ คือบรรดาลาภทั้งหมดที่พระเจ้าชนกนั้นทรง

ได้แล้ว ลาภเหล่านั้นเท่านั้น. ชื่อว่าเป็นลาภที่ทรงได้มาดีแล้ว.

ก็แหละ ครั้นถวายสดุดีพระราชา แล้วพราหมณ์ได้หยิบเอาเงิน

๗๐๐ กหาปณะออกมาจากไถ้ ประสงค์จะสดุดีพระมหาสัตว์ให้ความชื่น-

ชม จึงกล่าวคาถา ๑ กับครั้งคาถาว่า :-

ท่านเป็นผู้เปิดเครื่องปิดบังออกได้หรือ

อย่างไร จึงเห็นของทุกอย่าง ข้าแต่ท่าน

พราหมณ์ ญาณของท่านเป็นญาณที่น่าพิศวงนัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 281

ทรัพย์เหล่านี้ของข้าพเจ้ามีอยู่ ๗๐๐ กหาปณะ

ขอท่านจงรับเอาทั้งหมดเถิด ข้าพเจ้าขอมอบ

ให้ท่าน เพราะว่า วันนี้ข้าพเจ้าได้ชีวิตไว้ เพราะ

ท่าน อีกโสดหนึ่ง ท่านก็ได้ทำความสวัสดี

ให้แก่ภรรยาของข้าพเจ้าด้วย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิวฏฺฏจฺฉโท นุ สิ สพฺพทสฺสี

ความว่า พราหมณ์ถามด้วยอำนาจการสดุดีว่า ท่านเป็นสัพพัญญูพุทธ-

เจ้าผู้ทรงเปิดเครื่องปกปิดในอาการของธรรมทุกอย่าง คือทรงเป็นผู้มี

ธรรมที่ควรรู้ อันเปิดเผยแล้วหรืออย่างไร บทว่า าณ นุ เต

พฺราหมฺมณ ภึสรูป ความว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์ เมื่อท่านเป็นผู้รู้

ทุกสิ่ง ญาณของท่านเป็นญาณที่พิลึกเหลือเกิน คือมีกำลังเหมือน

สัพพัญญุตญาณ. บทว่า ตยา หิ เม ความว่า วันนี้ข้าพเจ้าได้ชีวิต

มา เพราะท่านให้. บทว่า อโถปิ ภริยายมกาสิ โสตฺถึ ความว่า

อีกโสดหนึ่ง ท่านเองก็ได้ทำความสวัสดีแก่ภรรยาของผม. พราหมณ์

นั้น ครั้นพูดอย่างนี้แล้ว ก็อ้อนวอนพระโพธิสัตว์แล้วอ้อนวอนอีกว่า

ถ้าหากมีทรัพย์แสนหนึ่งไซร้ ข้าพเจ้าก็ต้องให้ทีเดียว. แต่ทรัพย์ของ

ข้าพเจ้ามีเพียงเท่านี้เท่านั้น ขอท่านจงรับทรัพย์ ๗๐๐ กหาปณะเหล่านี้

เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 282

พระโพธิสัตว์ ครั้นได้ยินคำนั้น แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๘ ว่า :-

บัณฑิตทั้งหลายจะไม่รับค่าจ้าง เพราะ

คาถาทั้งหลายที่ไพเราะที่ตนกล่าวดีแล้ว ดูก่อน

พราหมณ์ ท่านจงให้ทรัพย์ของท่านได้แต่

เพียงนี้ วางใกล้เท้า แล้วจงรับเอาไปยังที่อยู่

ของตนเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวตฺตน ได้แก่ สินจ้าง. อีก

อย่างหนึ่ง ปาฐะก็เป็น เวตน นี้เหมือนกัน. บทว่า อิโตปิ เต พฺราหฺมณ

ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงให้ทรัพย์ของท่านแต่แทบเท้าของเรา.

บทว่า วิตฺต อาทาย ตฺว คจฺฉ มีเนื้อความว่า ท่านจงถือเอาทรัพย์

จำนวนอื่นอีก ๓๐๐ กหาปณะจากทรัพย์จำนวน ๗๐๐ นี้ รวมเป็น

๑,๐๐๐ กหาปณะ แล้วไปที่อยู่ของตนเถิด.

ก็แหละ พระมหาสัตว์ครั้นพูดอย่างนี้ แล้วก็ให้กหาปณะแก่

พราหมณ์เต็มพันแล้วถามว่า พราหมณ์ ใครส่งท่านมาหาขอทรัพย์ ?

พ. ภรรยาของผม ท่านบัณฑิต.

ม. ก็ภรรยาของท่าน แก่หรือสาว ?

พ. สาว ท่านบัณฑิต.

ม. ถ้าอย่างนั้น เขาคงประพฤติอนาจารกับชายอื่น จึงส่งท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 283

ไป ด้วยหมายใจว่า จักได้ประพฤติอนาจารปลอดภัย พระมหาสัตว์

บอกว่า ถ้าหากท่านนำกหาปณะเหล่านี้ไปถึงเรือนแล้วไซร้ นางจักให้

กหาปณะที่ท่านได้มาด้วยความลำบากแก่ชู้ของตน. เพราะฉะนั้น ท่าน

อย่าตรงไปบ้านทีเดียว ควรเก็บกหาปณะไว้ที่ควงไม้หรือที่ใดที่หนึ่งนอก

บ้าน แล้วจึงเข้าไป ดังนี้ แล้วจึงส่งเขาไป. พราหมณ์นั้นไปใกล้บ้าน

แล้วเก็บกหาปณะไว้ใต้ควงไม้ต้นหนึ่ง แล้วจึงได้ไปบ้านในเวลาเย็น.

ขณะนั้น ภรรยาของเขาได้นั่งอยู่กับชายชู้. พราหมณ์ยืนที่ประตู แล้ว

กล่าวว่า น้องนาง. นางจำเสียงเขาได้จึงดับไฟปิดประตู เมื่อพราหมณ์

เข้าข้างใน แล้วจึงนำชู้ออกไป ให้ยืนอยู่ริมประตู แล้วก็เข้าบ้าน ไม่

เห็นอะไรในไถ้ จึงถามว่า ท่านพราหมณ์ ท่านไปเที่ยวขอได้อะไรมา.

พ. ได้กหาปณะพันหนึ่ง.

ภ. เก็บไว้ที่ไหน ?

พ. เก็บไว้ที่โน้น พรุ่งนี้เช้าจึงจักเอามา อย่าคิดเลย.

นางไปบอกชายชู้. เขาจึงออกไปหยิบเอาเหมือนของที่ตนเก็บไว้

เอง. ในวันรุ่งขึ้นพราหมณ์ไปแล้วไม่เห็นกหาปณะ จึงไปหาพระโพธิ-

สัตว์ เมื่อถูกถามว่า เรื่องอะไร พราหมณ์ ? จึงบอกว่า ข้าพเจ้าไม่เห็น

กหาปณะ ท่านบัณฑิต.

ม. ก็ท่านบอกภรรยาของท่านละสิ.

พ. ถูกแล้ว ท่านบัณฑิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 284

พระมหาสัตว์ก็รู้ว่า นางนั้นบอกชายชู้จึงถามว่า ดูก่อนพราหมณ์

ก็ภรรยาของท่าน มีพราหมณ์ประจำตระกูลไหม ?

พ. มี ท่านบัณฑิต.

ม. ฝ่ายท่านล่ะ มีไหม.

พ. มี ท่านบัณฑิต.

จึงพระมหาสัตว์ได้ให้พราหมณ์ถวายเสบียงอาหารแก่พราหมณ์

ประจำตระกูลนั้น เป็นเวลา ๗ วัน แล้วบอกว่า ไปเถิดท่าน วันแรก

จงเชื้อเชิญพราหมณ์มารับประทาน ๑๔ คน คือ ฝ่ายท่าน ๗ คน

ฝ่ายภรรยา ๗ คน ตั้งแต่วันรุ่งขึ้นเป็นต้นไป ให้ลดลงวันละ ๑ คน

ในวันที่ ๗ จึงเชื้อเชิญ ๒ คน คือ ฝ่ายท่าน ๑ คน ฝ่ายภรรยาของ

ท่าน ๑ คน จงรู้ไว้ จำไว้ว่า พราหมณ์คนที่ภรรยาของท่าน เชื้อเชิญ

มาตลอด ๗ วัน มาเป็นประจำ แล้วบอกข้าพเจ้า. พราหมณ์ทำตามนั้น

แล้วจึงบอกแก่พระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่ท่านบัณฑิต ข้าพเจ้ากำหนด

พราหมณ์ผู้มารับประทานเป็นนิจไว้แล้ว. พระโพธิสัตว์ส่งบุรุษไปกับ

พราหมณ์นั้น ให้นำพราหมณ์คนนั้นมา แล้วถามว่า ท่านเอากหาปณะ

พันหนึ่งที่เป็นของพราหมณ์คนนี้ไปจากควงไม้ต้นโน้นหรือ ? พราหมณ์

คนนั้นปฏิเสธว่า ผมไม่ได้เอาไป ท่านบัณฑิต. พระโพธิสัตว์บอกว่า

ท่านไม่รู้จักว่าเราเป็นเสนกบัณฑิต. เราจักให้ท่านนำกหาปณะมาคืน.

เขากลัว จึงรับว่า ผมเอาไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 285

ม. ท่านเอาไปเก็บไว้ที่ไหน.

พ. เก็บไว้ ณ ที่นั้นนั่นเอง ท่านบัณฑิต.

พระโพธิสัตว์ จึงถามพราหมณ์ผู้เป็นสามีว่า พราหมณ์ หญิง

คนนั้นนั่นเอง เป็นภรรยาของท่านหรือ ? หรือจักรับเอาคนอื่น

พ. เขานั่นแหละเป็นของผม ท่านบัณฑิต.

พระโพธิสัตว์ส่งคนไป ให้นำกหาปณะของพราหมณ์และนาง

พราหมณีมา แล้วบังคับให้รับกหาปณะจากมือของพราหมณ์ผู้เป็นโจรแก่

พราหมณ์ ให้ลงพระราชอาชญาแก่พราหมณ์ผู้เป็นโจร เนรเทศออก

จากพระนครไป และให้ลงพระราชอาชญาแก่พราหมณี ให้ยศใหญ่

แก่พราหมณ์ แล้วให้อยู่ในสำนักของตนนั่นเอง.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ทรงประกาศ

สัจธรรมทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกไว้ ในที่สุดแห่งสัจธรรม คน

จำนวนมากได้ทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล. พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้แก่

พระอานนท์ ในบัดนี้ รุกขเทวดา ได้แก่ พระสารีบุตร บริษัท ได้แก่

พุทธบริษัท ส่วนเสนกบัณฑิต ได้แก่ เราตถาคตฉะนี้แล

จบ อรรถกถาเสนกชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 286

๘. อัฏฐิเสนชาดก

ว่าด้วยการขอ

[๑๐๒๑] ข้าแต่ท่านอัฏฐิเสนะ พวกวณิพกทั้งหลาย

ที่โยมไม่รู้จัก พากันมาหาโยมแล้ว ขอสิ่งที่

ต้องการกัน แต่เหตุไฉน พระคุณเจ้าจึงไม่

ขออะไรกะโยม.

[๑๐๒๒] เพราะผู้ขอ ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ให้

ส่วนผู้ให้ เมื่อไม่ให้สิ่งที่เขาขอ ก็ไม่เป็นที่รัก

ของผู้ขอ เพราะฉะนั้นอาตมภาพ จึงไม่ขอ

อะไรกะมหาบพิตร.

[๑๐๒๓] ก็ผู้ใดเลี้ยงชีพด้วยการขอ แต่ไม่ขอสิ่ง

ที่ควรขอในเวลาที่ควรขอ ผู้นั้นย่อมขจัดผู้อื่น

จากบุญด้วย ทั้งตนเองก็เลี้ยงชีพอยู่ไม่ได้ด้วย.

[๑๐๒๔] ส่วนผู้ใด เลี้ยงชีพด้วยการขอ ขอสิ่งที่

ควรขอ ทั้งขอในเวลาที่ควรขอ ผู้นั้นย่อมให้ผู้

อื่นได้บุญด้วย ทั้งตนเองก็เลี้ยงชีพอยู่ได้ด้วย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 287

[๑๐๒๕] ผู้มีปัญญาทั้งหลาย เห็นผู้ขอมาแล้ว ไม่

ขึ้งเคียดเลย. ข้าแต่ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์

พระคุณเจ้าเป็นที่รักของโยม พระคุณเจ้าต้อง

ประสงค์อะไรที่ควรบอก ขอพระคุณเจ้าจงบอก.

[๑๐๒๖] ผู้มีปัญญาทั้งหลายจะไม่ออกปากขอเลย

ธีรชนควรรู้ไว้ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ยืน

เจาะจงอยู่ที่ใด นั่นคือการขอของพระอริยเจ้า

ทั้งหลาย.

[๑๐๒๗] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ โยมขอถวายโคนม

สีแดงพันตัวพร้อมกับโคตัวผู้แก่พระคุณเจ้า

เพราะผู้มีอาจาระอันประเสริฐ ได้ฟังคาถาที่

ประกอบด้วยธรรมของท่านแล้ว เหตุไฉนจะ

ไม่ถวายทานแก่ท่านผู้มีอาจาระอันประเสริฐ.

จบ อัฏฐิเสนชาดกที่ ๘

อรรถกถาอัฏฐิเสนชาดกที่ ๘

พระศาสดาทรงอาศัยเมืองอาฬาวี เสด็จประทับอยู่ ณ อัคคาฬว-

เจดีย์ ทรงปรารภกุฏิการสิกขาบท จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า เย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 288

เม อห น ชานามิ ดังนี้. เรื่องปัจจุบันเป็นเช่นกับที่กล่าวมาแล้วใน

มณิกัณฐกชาดก ในหนหลังนั่นเอง.

ก็พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยก่อนเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น บัณฑิต

สมัยก่อน ได้บรรพชาในพาหิรกลัทธิ แม้พระราชาทรงปวารณาแล้ว

ก็ไม่ทูลขออะไร โดยคิดว่า ขึ้นชื่อว่าการขอของรัก ย่อมไม่เป็นที่รัก

ไม่เป็นที่พอใจของชนเหล่าอื่น ดังนี้แล้ว ได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา

สาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้อุบัติในกระกูลพราหมณ์ในนิคมหนึ่ง. พวก

ญาติได้ตั้งชื่อท่านว่า อัฏฐิเสนกุมาร. ท่านเจริญวัยแล้ว ได้เล่าเรียนศิลปะ

ทุกอย่าง ในเมืองตักกศิลา ต่อมาเห็นโทษในกามทั้งหลาย แล้วได้ออก

จากฆราวาสบวชเป็นฤาษี ให้ฌานสมาบัติ และอภิญญาสมาบัติ เกิดขึ้น

แล้วอยู่ที่ถิ่นหิมพานต์เป็นเวลานาน ดำเนินไปสู่วิถีทางของมนุษย์ เพื่อ

ต้องการลิ้มรสเค็มและรสเปรี้ยว ถึงเมืองพาราณสีโดยลำดับ พักอยู่ที่

พระราชอุทยาน รุ่งเช้าได้เที่ยวไปภิกขาจารถึงพระลานหลวง. พระราชา

ทรงเลื่อมใสในอาจาระและวิหารธรรมของท่าน จึงให้ราชบุรุษเรียก

นิมนต์ท่านมา ให้นั่งที่พื้นปราสาท แล้วให้ฉันโภชนะอย่างดี ทรง

สดับอนุโมทนากถา ในเวลาฉันเสร็จแล้ว ทรงเลื่อมใส จึงทรงรับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 289

ปฏิญญา ให้พระมหาสัตว์พักอยู่ที่พระราชอุทยาน และได้เสด็จไปอุปัฏฐาก

วันละ ๒, ๓ ครั้ง. วันหนึ่งพระองค์ทรงเลื่อมใสในธรรมกถา จึงทรง

ปวารณาว่า พระคุณเจ้าต้องการสิ่งใด ตั้งต้นแต่ราชสมบัติ ขอพระคุณ-

เจ้าจงบอกสิ่งนั้นเถิด. พระโพธิสัตว์ไม่ถวายพระพรว่า ขอพระองค์จง

พระราชทานสิ่งนี้แก่อาตมภาพ ขอพระองค์จงพระราชทานสิ่งนี้แก่

อาตมภาพ. ผู้ขอเหล่าอื่น จะทูลขอสิ่งที่ตนปรารถนาต้องการว่า ขอ

พระองค์จงพระราชทานสิ่งนี้ ขอพระองค์จงพระราชทานสิ่งนี้. พระ-

ราชาจะพระราชทานไม่ทรงขัดข้อง. อยู่มาวันหนึ่ง พระองค์ทรงดำริว่า

ยาจกและวณิพกเหล่าอื่น ขอกะเราว่า ขอพระองค์จงพระราชทานสิ่งนี้

และสิ่งนี้แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย แต่พระคุณเจ้าอัฏฐิเสนะนี้ ตั้งแต่เรา

ปวารณามาแล้วไม่ขออะไรเลย ก็พระคุณเจ้านี้เป็นผู้มีปัญญาจริงเป็นผู้

ฉลาดในอุบาย เราจักเรียนถามท่าน. อยู่วันหนึ่ง พระองค์เสวยพระ-

กระยาหารเช้าแล้วได้เสด็จไปอุปัฏฐากฤาษี ทรงไหว้แล้ว ประทับนั่ง ณ

ที่สมควรข้างหนึ่ง เมื่อจะตรัสถามถึงเหตุแห่งการขอของยาจกเหล่าอื่น

และเหตุแห่งการไม่ขอของท่านจึงตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-

ข้าแต่ท่านอัฏฐิเสนะ พวกวณิพกทั้งหลาย

ที่โยมไม่รู้จัก พากันมาหาโยมแล้ว ขอสิ่งที่

ต้องการกัน แต่เหตุไฉน พระคุณเจ้าจึงไม่

ขออะไรกะโยม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 290

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วินิพฺพเก ได้แก่ผู้ขอ. บทว่า

สงฺคมฺม ความว่า พากันมาหา. มีคำอธิบายว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าอัฏฐิ-

เสนะ วณิพกเหล่านี้ใด ข้าพเจ้าไม่รู้จักแม้ว่า คนเหล่านี้ชื่อนี้ โดยชื่อ

โคตรตระกูลและประเทศ วณิพกเหล่านั้นพากันมาหา แล้วขอสิ่งที่ตน

ต้องการ แต่เหตุไฉน พระคุณเจ้าจึงไม่ขออะไรกะโยม.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า.

เพราะผู้ขอ ย่อมไม่เป็นที่รัดของผู้ให้

ส่วนผู้ให้ เมื่อไม่ให้สิ่งที่เขาขอ ก็ไม่เป็นที่รัก

ของผู้ขอ เพราะฉะนั้นอาตมภาพ จึงไม่ขอ

อะไรกะมหาบพิตร ขอความบาดหมางใจอย่า

ได้มีแก่อาตมภาพเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาจโก อปฺปิโย โหติ ความว่า

ขอถวายพระพรมหาบพิตร ก็บุคคลผู้ที่ขอว่า ขอจงให้สิ่งนี้แก่ข้าพเจ้า

ขอจงให้สิ่งนี้แก่ข้าพเจ้า ย่อมไม่เป็นที่รัก. ไม่เป็นที่พอใจ ของมารดา

บิดาบ้าง ขอมิตรและอำมาตย์เป็นต้นบ้าง ความที่เขาไม่เป็นที่รักนั้น

ควรแสดงโดยมณิกัณฐกชาดก. บทว่า ยาจ ได้แก่สิ่งของที่เขาขอ. มี

คำอธิบายว่า ฝ่ายบุคคลผู้ไม่ให้นับแต่มารดาบิดาเป็นต้นไป ซึ่งไม่ให้

สิ่งของที่เขาขอ ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ขอ. บทว่า ตสฺมา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 291

เพราะเหตุที่ผู้ขอก็ไม่เป็นที่รักของผู้ให้ ทั้งผู้ให้ เมื่อไม่ให้สิ่งของที่เขา

ขอ ก็ไม่เป็นที่รักของผู้ขอ ฉะนั้น อาตมาภาพจึงไม่ขออะไร กะมหา-

บพิตร. ได้ว่า มา เม วิทฺเทสนา อหุ ความว่า ถ้าหากอาตมภาพ

จะพึงขอพระราชทานทีเดียวไซร้ มหาบพิตรก็คงพระราชทานสิ่งนั้น

แต่อาตมภาพคงเป็นที่บาดหมางพระทัยของมหาบพิตร ความบาดหมาง

ใจที่เกิดขึ้นจากสำนักมหาบพิตรนั้นก็จะมีแก่อาตมภาพ ถ้าแม้นว่ามหา-

บพิตรจะไม่พึงพระราชทานไซร้ มหาบพิตรก็คงเป็นที่บาดหมางใจของ

อาตมภาพ และอาตมภาพก็จะมีความบาดหมางใจในมหาบพิตร เมื่อเป็น

เช่นนั้น อาตมภาพอย่าได้มีความบาดหมางใจแม้ในที่ทุกแห่ง คือไมตรี

ระหว่างมหาบพิตรกับอาตมภาพทั้ง ๒ อย่าได้แตกกันเลย อาตมภาพ

เมื่อเล็งเห็นประโยชน์นี้ จึงไม่ขออะไรกะมหาบพิตร.

ลำดับนั้น พระราชาครั้นทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงได้ตรัสคาถา

๓ คาถาว่า :-

ก็ผู้ใดเลี้ยงชีพด้วยการขอ แต่ไม่ขอสิ่ง

ที่ควรขอในเวลาที่ควรขอ ผู้นั้นย่อมขจัดผู้อื่น

จากบุญด้วย ทั้งตนเองก็เลี้ยงชีพอยู่ไม่ได้ด้วย.

ส่วนผู้ใด เลี้ยงชีพด้วยการขอ ขอสิ่งที่ควรขอ

ทั้งในเวลาที่ควรขอ ผู้นั้นย่อมให้ผู้อื่นได้บุญ

ด้วย ทั้งตนเองก็เลี้ยงชีพอยู่ได้ด้วย. ผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 292

ปัญญาทั้งหลาย เห็นผู้ขอมาแล้ว ไม่ขึ้งเคียด

เลย. ข้าแต่ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ พระ-

คุณเจ้าเป็นที่รักของโยม พระคุณเจ้าต้องประ-

สงค์อะไร ที่ควรบอกขอพระคุณเจ้าจงบอก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาจนชีวาโน ได้แก่ผู้มีชีวิตอยู่ด้วย

การขอ. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะ ก็เป็น ยาจนชีวาโน นี้เหมือนกัน. มีคำ

อธิบายว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าอัฏฐิเสนะ ผู้ใดประพฤติดำรงชีพด้วยการขอ

จะเป็นสมณะก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม ขออะไร ๆ ที่ควรขอในเวลา

ที่สมควรก็หาไม่ ผู้นั้นย่อมขจัดผู้อื่นที่เป็นผู้ให้ คือยังเขาให้เสื่อมไป

จากบุญด้วย ทั้งตนเองก็มีชีวิตอยู่ไม่เป็นสุขด้วย. บทว่า ปุญฺ

ลเภติ ความว่า. แต่เมื่อขอสิ่งที่ควรขอในเวลาที่ควรขอ ยังผู้อื่นให้

ได้บุญด้วย ทั้งตนเองก็มีชีวิตอยู่เป็นสุขด้วย ด้วยบทว่า น เว ทุสฺสนฺติ

พระราชาทรงแสดงว่า พระคุณเจ้ากล่าวคำใดว่า ขอความบาดหมางใจ

อย่าได้มีแก่อาตมภาพเลย เหตุไฉน พระคุณเจ้าจึงกล่าวคำนั้น ? เพราะ

ว่า ผู้มีปัญญาทั้งหลาย คือเหล่าบัณฑิตผู้รู้ทั้งทานและผลของทาน เห็น

ยาจกผู้มาแล้ว ไม่ขึ้งเคียด คือไม่โกรธ แต่เป็นผู้บันเทิงใจโดยแท้.

อักษรในคำว่า ยาจกมาคเต ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจพยัญชนสนธิ.

ความหมายก็คือ ยาจเก อาคเต ยาจกผู้มาแล้ว. บทว่า พฺรหฺมจารี

ปิโย เมสิ ความว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าอัฏฐิเสนะ ผู้ประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 293

บริสุทธิ์ ผู้มีปัญญามาก พระคุณเจ้า เป็นที่รักของอาตมภาพเหลือเกิน

เพราะฉะนั้น ขอให้พระคุณเจ้าบอก คือขอพรทีเดียวกะโยม. บทว่า

ภญฺิตมิจฺฉสิ ความว่า พระคุณเจ้าต้องประสงค์สิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่ควร

พูดขอ โยมจะถวายทุกอย่างทีเดียว แม้แต่ราชสมบัติ.

พระราชาทรงปวารณาแม้ด้วยราชสมบัติอย่างนี้ พระโพธิสัตว์

ก็ไม่ทูลขออะไร ๆ เลย.

ก็เมื่อพระราชาตรัสถามถึงอัธยาศัยของตนอย่างนี้แล้ว ฝ่ายพระ-

มหาสัตว์ เมื่อจะแสดงปฏิปทาของนักบวชถวายว่า ขอถวายพระพร

บพิตรมหาราช ขึ้นชื่อว่าการขอนี้ เป็นของที่พวกคฤหัสผู้บริโภคกาม

ประพฤติมาชินแล้ว ไม่ใช่พวกบรรพชิต ส่วนบรรพชิต ตั้งแต่เวลาบวช

แล้ว ควรเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ด้วยการสังวรด้วยทวารทั้ง ๓ เพื่อแสดง

ถึงบรรพชิตปฏิบัติ จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ถวายว่า :-

ผู้มีปัญญาทั้งหลายจะไม่ออกปากขอเลย

ธีรชนควรรู้ไว้ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ยืน

เจาะจงอยู่ที่ใด นั่นคือการขอของพระอริยเจ้า

ทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สปฺปญฺา เป็นต้น ความว่า

พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี พุทธสาวกทั้งหลายก็ดี พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 294

ผู้บวชเป็นฤาษี ปฏิบัติเพื่อโพธิญาณก็ดี แม้ทั้งหมดชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญา

ด้วย เป็นผู้มีศีลด้วย ท่านเหล่านั้น เป็นผู้มีปัญญา เห็นปานนี้ จะ

ไม่ขอว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้สิ่งนี้และสิ่งนี้ แก่อาตมภาพทั้งหลาย.

บทว่า ธีโร เวทิตุมรหติ ความว่า ส่วนธีรชน คือบัณฑิตผู้อุปัฏฐาก

ควรรู้ คือทราบความต้องการทุกอย่างของท่านเอาเองทั้งในเวลาอาพาธ

และในเวลาไม่อาพาธ. บทว่า อุทฺทิสฺส อริยา ติฏฺนฺติ ความว่า

ส่วนพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีความต้องการสิ่งใด จะไม่เปล่งวาจาขอ แต่

จะยืนอยู่เฉพาะ ณ ที่นั้น ด้วยภิกขาจารวัตรอย่างเดียวเท่านั้น คือไม่

ให้องค์คือกายและองค์คือวาจาไหว เพราะว่า เพื่อแสดงกายวิกาล ทำ

เครื่องหมายให้รู้ ก็ชื่อว่า ให้องค์คือกายไหว เมื่อทำการเปล่งวาจา

ก็ชื่อว่า ให้องค์คือวาจาไหว พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

จะไม่ทำทั้ง ๒ อย่างนั้นยืนอยู่เฉย ๆ. บทว่า เอสา อริยาน ยาจนา

ความว่า การไม่ให้องค์คือวาจาไหว ยืนอยู่เพื่อภิกษานี้ ชื่อว่า เป็นการ

ขอของพระอริยเจ้าทั้งหลาย.

พระราชาทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์แล้ว เมื่อตรัสว่า ข้าแต่

พระคุณเจ้า ถ้าหากว่า อุปัฏฐากผู้มีปัญญา รู้ด้วยตนเองแล้วไซร้ ก็จะ

ถวายสิ่งที่ควรถวายแก่กุลบุตร ฝ่ายโยมก็จะถวายสิ่งนี้และสิ่งนี้แก่ท่าน

ทั้งหลาย ดังนี้ จึงตรัสคาถาที่ ๗ ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 295

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ โยมขอถวายโคนม

สีแดงพันตัวพร้อมกับโคตัวผู้แก่พระคุณเจ้า

เพราะผู้มีอาจาระอันประเสริฐ ได้ฟังคาถาที่

ประกอบด้วยธรรมของท่านแล้ว เหตุไฉนจะ

ไม่ถวายทานแก่ท่านผู้มีอาจาระอันประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โรหินีน ความว่า มีสีแดง. บทว่า

คว สหสฺส ความว่า โยมจะถวายโคชนิดนี้พันตัวแด่พระคุณเจ้า

เพื่อประโยชน์แก่การดื่มรสนมสดและนมเปรี้ยวเป็นต้น ขอพระคุณเจ้า

จงรับโคนั้นของโยม. บทว่า อริโย ได้แก่ผู้มีอาจาระประเสริฐ. บทว่า

อริยสฺส ความว่า แก่ท่านผู้มีอาจาระประเสริฐ. บทว่า กถ น ทชฺชา

ความว่า เหตุไร จึงจะไม่ถวาย.

เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว พระโพธิสัตว์ ก็ทูลปฏิเสธว่า

มหาบพิตร ธรรมดาบรรพชิต ไม่มีความกังวลอะไร อาตมา-

ภาพไม่มีความต้องการด้วยแม่โคทั้งหลาย. พระราชาทรงดำรงอยู่แล้ว

ในโอวาทของพระโพธิสัตว์นั้น ทรงบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น ได้เป็นผู้

มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ฝ่ายพระโพธิสัตว์มีฌานไม่เสื่อมเกิดขึ้น

แล้วในพรหมโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 296

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรมทั้งหลาย ทรงประชุมชาดกไว้ว่า. ในที่สุดแห่งสัจธรรม คน

จำนวนมากบรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น. พระราชาในครั้งนั้น ได้แก่

พระอานนท์ในบัดนี้ ส่วนอัฏฐิเสนฤษี ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอัฏฐิเสนชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 297

๙. กปิชาดก

ว่าด้วยคุณธรรมของผู้บริหารคณะ

[๑๐๒๘] ผู้จองเวรอยู่ ณ ที่ใด บัณฑิตไม่ควรอยู่

ณ ที่นั้น ในที่มีคนจองเวร อยู่คืนเดียวหรือ

๒ คืน ก็เป็นทุกข์.

[๑๐๒๙] คนที่เป็นหัวหน้าใจเบา เมื่อคนใจเบา

คล้อยตามจะทำหน้าที่จองเวร เพราะเหตุแห่ง

กระบี่ตัวเดียว เขาได้ทำความย่อยยับให้กระบี่

ทั้งฝูง.

[๑๐๓๐] ก็คนพาลแต่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิตบริ-

หารหมู่คณะลุอำนาจความคิดของตน คงนอน

ตายเหมือนกระบี่ตัวนี้ฉะนั้น.

[๑๐๓๑] คนโง่แต่มีกำลังบริหารหมู่คณะก็ไม่ดี ไม่

เป็นประโยชน์แก่เหล่าญาติเหมือนนกต่อ ไม่

เป็นประโยชน์แก่นกทั้งหลายฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 298

[๑๐๓๒] ส่วนคนฉลาด มีกำลังบริหารหมู่คณะดี

เป็นประโยชน์แก่เหล่าญาติ เหมือนท้าววาสวะ

เป็นประโยชน์แก่ทวยเทพชาวไตรทศฉะนั้น.

[๑๐๓๓] อนึ่ง ผู้ใดเห็นศีล ปัญญาและสุตะ มี

ในตน ผู้นั้นย่อมประพฤติประโยชน์แก่คนทั้ง

๒ ฝ่าย คือทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น.

[๑๐๓๔] เพราะฉะนั้น ธีรชนควรชั่งใจดูตัวเอง

เหมือนชั่งใจดูศีล ปัญญาและสุตะฉะนั้นแล้ว

จึงบริหารหมู่คณะบ้าง อยู่คนเดียวเว้นการ

บริหารบ้าง.

จบ กปิชาดกที่ ๙

อรรถกถาปิชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

แผ่นดินสูบพระเทวทัตแล้ว จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยตฺถ เวรี

นิวสติ ดังนี้.

ดังจะกล่าวโดยย่อ เมื่อพระเทวทัตเข้าไปสู่แผ่นดินแล้ว ภิกษุทั้ง-

หลายพากันตั้งเรื่องนี้ขึ้นสนทนากันในธรรมสภาว่า พระเทวทัตพินาศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 299

แล้ว พร้อมกับบริษัท. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องไรหนอ ? เมื่อภิกษุ

ทั้งหลาย กราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระ-

เทวทัตพร้อมด้วยบริษัท ไม่ใช่พินาศในแต่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน

พินาศเหมือนกัน แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในกำเนิดกระบี่ มีกระบี่ ๕๐๐ ตัวเป็นบริวาร

อาศัยอยู่ที่พระราชอุทยานฝ่ายพระเทวทัตก็เกิดในกำเนิดกระบี่ มีกระบี่

๕๐๐ ตัวเป็นบริวาร อาศัยอยู่ในพระราชอุทยานนั้นเหมือนกัน. อยู่มา

วันหนึ่ง เมื่อปุโรหิตไปอุทยานอาบน้ำแต่งตัวแล้วออกไป กระบี่เกเรตัว

หนึ่งเดินไปก่อน นั่งเจ่าอยู่บนยอดเขาซุ้มประตูอุทยาน ถ่ายอุจจาระรด

ศีรษะของท่านปุโรหิต เมื่อท่านมองดูข้างบนก็ถ่ายรดหน้าอีก. ท่านหัน

กลับมาขู่พวกกระบี่ว่า เอาไว้ก่อนเถอะ ข้า ฯ จักแก้มือพวกแกภายหลัง

แล้วอาบน้ำอีก จึงได้หลีกไป. พวกกระบี่ได้บอกพระโพธิสัตว์ ถึงการที่

ปุโรหิตนั้นผูกเวรแล้วขู่พวกกระบี่. พระโพธิสัตว์ได้บอกให้กระบี่ตั้งพัน

ทราบว่า ขึ้นชื่อว่า ในสถานที่อยู่ของคู่เวรไม่ควรอยู่ ฝูงกระบี่ทั้งหมด

จงพากันหนีไปในที่อื่นเถิด. ฝ่ายกระบี่หัวดื้อพาเอากระบี่ที่เป็นบริวารของ

ตนไปไม่หนีโดยคิดว่า ภายหลังเราจักรู้เองจึงจะไป. ส่วนพระโพธิสัตว์

พาเอาบริวารของตนเข้าป่าไป. อยู่มาวันหนึ่ง แพะตัวหนึ่งกินข้าวเปลือก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 300

ที่นางทาสีคนหนึ่งผึ่งแดดไว้ ถูกตีด้วยดุ้นไฟมีไฟไหม้ที่ตัววิ่งหนีไปถูตัว

ที่ยอดกระท่อมหญ้าหลังหนึ่งชิดโรงช้าง. ไฟนั้นติดกระท่อมหญ้า. ลาม

จากกระท่อมหญ้าไปติดโรงช้าง. ลามจากโรงช้าง ก็ไหม้หลังช้าง. หมอ

รักษาช้าง ก็รักษาพยาบาลช้าง. ฝ่ายปุโรหิตกำลังพิจารณาหาอุบายจับ

วานรอยู่. ครั้นพระราชาตรัสสั่งถามท่านที่มาเฝ้าว่า อาจารย์ ช้างของ

เราเป็นแผลเปื่อยกันหลายเชือก หมอรักษาช้างไม่รู้จักการรักษา อาจารย์

รู้ยาอะไรบ้างหรือไม่ ?

ปุโรหิตทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์รู้

รา. อะไรล่ะ ?

ปุ. ข้าแต่มาหาราช มันเหลวของวานร พระพุทธเจ้าข้า-

รา. เราจักได้ที่ไหน ?

ปุ. ที่พระราชอุทยานมีวานรมากมิใช่หรือ พระพุทธเจ้าข้า

รา. ท่านทั้งหลาย จงฆ่าวานรที่พระราชอุทยาน นำเอามัน

เหลวมา.

คนแม่นธนูจึงพากันไปยิงวานรทั้ง ๕๐๐ ตัวให้ตายหมด. แต่

หัวหน้าวานรตัวเดียวหนีไปได้ ถึงถูกยิงด้วยลูกศร แต่ก็ไม่ล้มตาย ณ

ที่นั้นทีเดียว ไปถึงที่อยู่ของพระโพธิสัตว์แล้ว จึงล้มตาย. พวกวานร

บอกพระโพธิสัตว์ถึงการที่มันได้ถูกยิงว่า หัวหน้าวานรมาถึงที่อยู่ของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 301

พวกเราแล้วก็ตาย. พระโพธิสัตว์มานั่งที่ท่ามกลางฝูงวานรพูดว่า ธรรม-

ดาว่าพวกไม่เชื่อโอวาทของบัณฑิตทั้งหลาย อยู่ในที่อยู่ของคู่เวร จัก

พินาศอย่างนี้ แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ด้วยสามารถแห่งการตักเตือนฝูง

วานรว่า:-

ผู้จองเวรอยู่ ณ ที่ใด บัณฑิตไม่ควรอยู่

ณ ที่นั้น ในที่มีคนจองเวร อยู่คืนเดียวหรือ

๒ คืน ก็เป็นทุกข์. คนที่เป็นหัวหน้าใจเบา

เมื่อคนใจเบาคล้อยตาม เขาจะทำหน้าที่จองเวร

เพราะเหตุแห่งกระบี่ตัวเดียว เขาได้ทำความ

ย่อยยับให้กระบี่ทั้งฝูง. ก็คนพาลสำคัญตนว่า

เป็นบัณฑิต บริหารหมู่คณะลุอำนาจความคิด

ของตน คงนอนตายเหมือนวานรตัวนี้ฉะนั้น.

คนโง่แต่มีกำลังบริหารหมู่คณะก็ไม่ดี ไม่เป็น

ประโยชน์แต่เหล่าญาติ เหมือนนกต่อ ไม่เป็น

ประโยชน์แก่นกทั้งหลายฉะนั้น. ส่วนคน

ฉลาดมีกำลังบริหารหมู่คณะดี เป็นประโยชน์

แก่เหล่าญาติ เหมือนท้าววาสวะ เป็นประโยชน์

แก่ทวยเทพชาวไตรทศฉะนั้น. อนึ่ง ผู้ใดเห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 302

ศีล ปัญญาและสุตะ มีในตน ผู้นั้นย่อม

ประพฤติประโยชน์แก่คนทั้ง ๒ ฝ่าย คือทั้ง

แก่ตนเองและผู้อื่น. เพราะฉะนั้น ธีรชนควร

ชั่งใจดูตัวเองเหมือนชั่งใจดูศีล ปัญญาและ

สุตะฉะนั้นแล้ว จึงบริหารหมู่คณะบ้าง อยู่คน

เดียวเว้นการบริหารบ้าง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลหุจิตฺตสฺส ความว่า พึงเป็นผู้มี

ใจเบา มีคำอธิบายว่า คนใดคล้อยตาม คืออนุวัตรตามมิตรหรือญาติ

ผู้ใจเบา เมื่อคนนั้นคล้อยตาม เขาก็จะเป็นหัวหน้าใจเบา ทำหน้าที่

ของผู้จองเวร. บทว่า เอกสฺส กปิโน ความว่า สูเจ้าทั้งหลายจงดู

เถิด เพราะเหตุกระบี่ใจเบาคือเป็นอันธพาลตัวเดียว เขาได้ทำความย่อย-

ยับ คือความไม่เจริญ ได้แก่ความพินาศใหญ่หลวงนี้ให้แก่กระบี่สิ้นทั้ง

ฝูง. บทว่า ปณฺฑิตมานี มีเนื้อความว่า ผู้ใดรู้ตนเองเป็นคนโง่ แต่

สำคัญตนว่า เราเป็นผู้ฉลาด ไม่ทำตามโอวาทของท่านผู้ฉลาด ตกอยู่

ในอำนาจความคิดของตน ผู้นั้นจะลุอำนาจความคิดของตนแล้ว คงนอน

เหมือนกะบี่หัวดื้อตัวนี้แหละนอนตายอยู่. บทว่า น สาธุ ความว่า

ธรรมดาคนโง่ แต่มีกำลังพร้อมบริหารหมู่คณะ ย่อมไม่ดี คือไม่ปลอด-

ภัย เพราะเหตุไร เพราะเขาไม่มีประโยชน์สำหรับเหล่าญาติ คือนำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 303

ความพินาศมาให้อย่างเดียว. บทว่า สกุณานว เจกโต ความว่า

อุปมาเสมือนหนึ่งว่า บรรดานกกระทาทั้งหลาย นกกระทำที่เป็นนกต่อ

ขันทั้งวัน ก็ไม่ทำให้นกชนิดอื่นตาย ทำให้พวกพ้องของตนเท่านั้น

แหละตาย ฉันใด คนโง่ก็ไม่มีประโยชน์แก่หมู่คณะเหล่านั้นเลย อธิ-

บายว่า ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า หิโต ภวติ ความว่า ธีรชน เป็น

ผู้ทำประโยชน์เกื้อกูลแก่เหล่าญาตินั่นเอง ด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง.

บทว่า อุภินฺนมตฺถ จรติ ความว่า คนในโลกนี้ ผู้ที่มองเห็นคุณ-

ธรรมเหล่านั้นมีศีลเป็นต้นในตนรู้ว่า อาจาระและศีลของเราก็มี ปัญญา

ก็มี การศึกษาเล่าเรียนก็มี ทราบตามความจริงแล้วบริหารหมู่คณะ

ชื่อว่าประพฤติประโยชน์ถ่ายเดียวแก่คนทั้ง ๒ ฝ่าย คือทั้งแก่ตนและผู้

อื่น ได้แก่เหล่าญาติผู้เที่ยวห้อมล้อมตน. บทว่า ตุเลยฺยมตฺตาน ตัด

บทเป็น ตุเลยฺย อตฺตาน คือชั่งใจดูตัวเองแล้ว. บทว่า ตุเลยฺย

ได้แก่ ตุเลตฺวา คือชั่งใจดูตัวเองแล้ว. บทว่า สีล ปญฺ สุตปิว ความว่า

พิจารณาดูคุณธรรมทั้งหลาย มีศีลเป็นต้นในตนอยู่ ชื่อว่าประพฤติ

ประโยชน์แก่คนทั้ง ๒ ฝ่าย ฉะนั้น ธีรชนควรชั่งใจดูตนเอง เหมือน

บัณฑิตชั่งใจดูคุณธรรมมีศีลเป็นต้นเหล่านั้น คือ พิจารณาดูว่าเราดำรง

อยู่แล้วในศีล ในปัญญา ในสุตะหรือไม่ ? ทำความที่ตนดำรงอยู่ใน

คุณธรรมเหล่านั้นให้ประจักษ์แล้ว จึงบริหารหมู่คณะบ้าง อยู่คนเดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 304

ใน ๔ อิริยาบถ เว้นการบริหาร คือเปลี่ยนแปลงบ้าง เพราะว่าผู้จะ

ให้บริษัทอุปัฏฐากบำรุงก็ดี ผู้ประพฤติวิเวกก็ดี ควรจะประกอบด้วย

คุณธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ทีเดียว.

พระมหากษัตริย์เป็นถึงขุนกระบี่ คือพระยาวานร จึงบอกหน้าที่

เกี่ยวกับวินัยและการศึกษาเล่าเรียนได้.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกไว้ว่า วานรหัวดื้อในครั้งนั้น ได้แก่พระเทวทัตในบัดนี้ ฝ่าย

บริวารของวานรหัวดื้อ ได้แก่บริวารของพระเทวทัต ส่วนขุนกระบี่ผู้

ฉลาดได้แก่เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถากปิชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 305

๑๐. พกพรหมชาดก

ว่าด้วยศีลและพรตของพกพรหม

[๑๐๓๕] ข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์มี ๗๒

คน ล้วนได้ทำบุญมาแล้ว มีอำนาจแผ่ไป

ล่วงความเกิดและความแก่ไปได้ การเกิดเป็น

พรหมนี้. เป็นอันติมชาติ ชาติสุดท้าย จบ

ไตรเพทแล้ว คนจำนวนมากเอ่ยถึงพวกข้า

พระองค์.

[๑๐๓๖] ดูก่อนพรหม ความจริงอายุของท่านนี้

น้อยไม่มากเลย แต่ท่านสำคัญว่าอายุของท่าน

มาก จำนวนแสนนิรัพพุทะ ดูก่อนพรหม เรา

ตถาคตรู้อายุท่าน.

[๑๐๓๗] ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ตรัส

ว่า เราตถาคตเป็นผู้เห็นไม่มีที่สิ้นสุด สัพพัญญู

ก้าวล่วงชาติชราและความโศกแล้ว ขอพระ-

องค์จงตรัสบอก การสมาทานพรต ศีลและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 306

วัตร จรณะ ของข้าพระองค์แต่ก่อนว่าเป็น

อย่างไร ซึ่งข้าพระองค์ควรจะทราบ.

[๑๐๓๘] ท่านได้ช่วยมนุษย์จำนวนมาก ผู้เดือด-

ร้อนปางตายกระหายน้ำจัดให้ได้ดื่มน้ำอันใดไว้

เราตถาคตระลึกถึงพรต ศีลและจรณะเก่า ของ

ท่านอันนั้นได้ เหมือนนอนหลับฝันไปแล้ว

ตื่นขึ้น ระลึกถึงฝันได้ ฉะนั้น.

[๑๐๓๙] ท่านได้ช่วยฝูงชนใดที่ถูกโจรจับเป็นชะ-

เลย นำมาให้รอดพ้นได้ ที่ริมฝั่งแม่น้ำเอณิ

เราตถาคตระลึก ถึงพรต ศีลและจรณะเก่าของ

ท่านนั้นได้ เหมือนนอนหลับฝันไปแล้วตื่นขึ้น

ระลึกถึงความฝันได้ ฉะนั้น.

[๑๐๔๐] ท่านได้ทุ่มกำลังช่วยคนทั้งหลาย ผู้ไป

เรือในกระแสแม่น้ำคงคา ให้พ้นจากพระยา

นาคตัวร้ายกาจอันใด เราตถาคตระลึกพรต ศีล

และอาจาระเก่าของท่านนั้นได้ เหมือนนอน

หลับฝันไปแล้วตื่นขึ้น ระลึกถึงฝันได้ ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 307

[๑๐๔๑] อนึ่ง เราตถาคตได้มีชื่อว่ากัปปะ เป็นอัน-

เตวาสิกของท่านได้รู้แล้วว่า ท่านเป็นดาบสผู้

มีปัญญาดีมีพรตอันใด เราตถาคตระลึกพรต

ศีลและจรณะเก่าของท่านได้ เหมือนนอนหลับ

ฝันไปตื่นขึ้นแล้ว ระลึกถึงฝันได้ ฉะนั้น.

[๑๐๔๒ ] พระองค์ทรงทราบอายุของข้าพระองค์

นั้นได้แน่นอน แม้สิ่งอื่นพระองค์ก็ทรงทราบ

เพราะพระองค์ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแท้จริง.

จริงอย่างนั้น พระรัศมีอันรุ่งโรจน์ของพระองค์

นี้ จึงส่องพรหมโลกให้สว่างไสวอยู่.

จบ พกพรหมชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาพกพรหมชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

พกพรหมแล้ว จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทฺวาสตฺตติ ดังนี้.

ความพิสดารว่า ท่านพกพรหมเกิดความเห็นขึ้นอย่างนี้ว่า สิ่ง

นี้เที่ยง ยั่งยืน สืบเนื่อง ๆ กันไป ไม่มีการเคลื่อนธรรดา สิ่งอื่น

นอกจากนี้ ที่ชื่อว่าพระนิพพานเป็นที่ออกไปของสัตวโลกไม่มี ได้ยินว่า

พระพรหมองค์นี้เกิดภายหลัง เมื่อก่อนบำเพ็ญฌานมาแล้ว จึงมาเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 308

ในชั้นเวหัปผลา. ท่านให้อายุประมาณ ๕๐๐ กัปป์สิ้นไปในชั้นเวหัปผลา

นั้นแล้ว จึงเกิดในชั้นสุภกิณหาสิ้นไป ๖๔ กัปป์แล้ว จุติจากชั้นนั้น

จึงไปเกิดในชั้นอาภัสรา มีอายุ ๘ กัปป์ ในชั้นอาภัสรานั้น ท่านได้

เกิดความเห็นขึ้นอย่างนี้ เพราะท่านระลึกถึงการจุติจากพรหมโลกชั้นสูง

ไม่ได้เลย ระลึกถึงการเกิดขึ้นในพรหมโลกชั้นนั้นก็ไม่ได้. เมื่อไม่เห็น

ทั้ง ๒ อย่าง ท่านจึงยึดถือความเห็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ทราบความปริวิตกแห่งจิตของพกพรหมนั้น ด้วยเจโตปริยญาณแล้ว

จึงทรงหายพระองค์ไปจากพระเชตวันมหาวิหาร ปรากฏพระองค์บน

พรหมโลก อุปมาเหมือนหนึ่ง คนมีกำลังแข็งแรงเหยียดแขนออกไปแล้ว

คู้แขนที่เหยียดออกไปแล้วเข้ามาก็ปานกัน ครั้งนั้น พระพรหมเห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงทูลว่า มาเถิดท่านสหาย ท่านมาดีแล้วท่าน

สหาย นานนักท่านสหาย ท่านจึงจะได้ทำปริยายนี้ คือการมาที่นี้

เพราะสถานที่นี้เป็นสถานที่เที่ยง เป็นสถานที่ยั่งยืน เป็นสถานที่สืบ

เนื่องกันไป เป็นสถานที่ไม่มีการเคลื่อนเป็นธรรมดา เป็นสถานที่มั่นคง

ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แต่ว่าสถานที่อื่นที่ชื่อว่า เป็น

ที่ออกไปจากทุกข์ ยิ่งกว่านี้ไม่มี. เมื่อพกพรหมทูลอย่างนี้แล้ว พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสคำนี้กะพกพรหมว่า พกพรหมผู้เจริญ ตกอยู่

ในอำนาจของอวิชชาแล้วหนอ พกพรหมผู้เจริญ ตกอยู่ในอำนาจของ

อวิชชาแล้วหนอ เพราะได้พูดถึงสิ่งที่ไม่เที่ยงนั่นแหละว่าเป็นของเที่ยง

และได้พูดถึงธรรมที่สงบอย่างอื่น ว่าเป็นธรรมเป็นที่ออกไปจากทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 309

อันยิ่งยวดไม่มีธรรมอื่นที่เป็นธรรมเป็นที่ออกไปจากทุกข์ยิ่งกว่า พระ-

พรหมได้ฟังคำนั้นแล้วคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า นี่ จะอนุวัตรคล้อย

ตามเราด้วยประการอย่างนี้ว่า ท่านกล่าวอย่างนี้ถูกแล้ว แต่เกรงกลัวการ

อนุโยคย้อนของ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำนองเดียวกับโจรผู้ด้อยกำลัง

ได้รับการตีเล็กน้อย ก็บอกเพื่อนฝูงทุกคนว่า ฉันคนเดียวหรือเป็นโจร ?

คนโน้นก็เป็นโจร คนโน้นก็เป็นโจร เมื่อจะบอกเพื่อนฝูงของตนแม้

คนอื่น ๆ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์มี ๗๒

คน ล้วนได้ทำบุญมาแล้ว มีอำนาจแผ่ไป

ล่วงความเกิดและความแก่ไปได้ การเกิดเป็น

พรหมนี้ เป็นอันติมชาติ ชาติสุดท้าย จบ

ไตรเพทแล้ว คนจำนวนมากเอ่ยถึงพวกข้า

พระองค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฺวาสตฺตติ ความว่า ข้าแต่พระ-

โคดมไม่ใช่เพียงแต่ข้าพระองค์คนเดียวเท่านั้น โดยที่แท้แล้ว พวกข้า-

พระองค์ ๗๒ คน ในพรหมโลกนี้ เป็นผู้ล้วนได้ทำบุญมาแล้ว เป็นผู้แผ่

อำนาจไป โดยการแผ่อำนาจของตนไปเหนือคนเหล่าอื่น และได้ล่วงเลย

ความเกิดและความแก่ไปแล้ว การเกิดเป็นพรหมนี้ชื่อว่าถึงพระเวทแล้ว

เพราะพวกข้าพระองค์ถึงแล้วด้วยพระเวททั้งหลาย ข้าแต่ พระโคดม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 310

การเกิดเป็นพรหมนี้ เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย คือการถึงส่วนหลังที่สุด

ได้แก่การเข้าถึงความเป็นผู้ประเสริฐที่สุด. บทว่า อสฺมาภิชปฺปนฺติ

ชนา อเนกา ความว่า คนอื่นมากมายพากันทำอัญชลี พวกข้าพระองค์

กล่าวคำมีอาทิว่า นี้แลคือพระพรหมพระมหาพรหมผู้เจริญ นมัสการคือ

ปรารภ ได้แก่กระหยิ่มอยู่ อธิบายว่า ปรารถนาอยู่ว่าอัศจรรย์หนอ !

เราทั้งหลายควรจะเป็นแบบนี้.

พระศาสดา ครั้นทรงสดับถ้อยคำของพกพรหมนั้นแล้ว จึงตรัส

คาถาที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนพรหม ความจริงอายุของท่านนี้

น้อยไม่มากเลย แต่ท่านสำคัญว่าอายุของท่าน

มา จำนวนแสนนิรัพพุทะ ดูก่อนพรหม เรา

ตถาคตรู้อายุของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สต สหสฺสาน นิรพฺพุทาน ความว่า

การนับกล่าวคือนิรัพพุทะ มีหลายแสน. อธิบายว่า สิบสิบปีเป็นร้อย

สิบร้อยเป็นพัน. ร้อยพันเป็นแสน. ร้อยแสนชื่อว่าโกฏิ. ร้อยแสน

โกฏิชื่อว่าปโกฏิ. ร้อยแสนปโกฏิชื่อว่าโกฏิปโกฏิ. ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ

ชื่อว่า ๑ นหุต. ร้อยแสนนหุตชื่อว่า ๑ นินนหุต. นักคำนวณที่ฉลาด

สามารถนับได้เพียงเท่านี้ ขึ้นชื่อว่าการนับต่อจากนี้ไป เป็นวิสัยของพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 311

พุทธเจ้าทั้งหลาย. บรรดาการนับเหล่านั้น ร้อยแสนนินนหุต เป็น ๑

อัพพุทะ. ๒๐ อัพพุทะเป็น ๑ นิรัพพุทะ. ร้อยแสนนิรัพพุทะเหล่านั้น

ชื่อว่า ๑ อหหะ. จำนวนเท่านี้ปีเป็นอายุของพกพรหมที่เหลืออยู่ในภพ

นี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาอายุนั้นจึงได้ตรัสอย่างนี้.

พกพรหมได้สดับพระพุทธพจน์นั้นแล้ว จึงได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า:-

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ตรัส

ว่า เราตถาคตเป็นผู้เห็นไม่มีที่สิ้นสุด สัพพัญญู

ก้าวล่วงชาติชราและความโศกแล้ว ขอพระ-

องค์จงตรัสบอกการสมาทานพรต ศีลและ

วัตรจรณะของข้าพระองค์ แต่ก่อนว่าเป็นอย่าง

ไร ซึ่งข้าพระองค์ควรจะทราบ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภควา ความว่า ข้าแต่พระผู้มี

พระภาคเจ้า พระองค์เมื่อตรัสว่า เราตถาคตรู้อายุของท่าน ชื่อ ตรัสว่า

เราตถาคต เห็นไม่มีที่สิ้นสุด เป็นสัพพัญญู ก้าวล่วงชาติชราและความ

โศกได้แล้ว. บทว่า วตสีลวตฺต ได้แก่การสมาทานพรต ทั้งศีลและ

วัตร. มีคำอธิบายไว้ว่า ถ้าหากพระองค์ทรงเป็นสัพพัญญูพุทธะไซร้

เมื่อเป็นเช่นนั้น อะไรคือพรต ศีลและจรณะเก่าของข้าพระองค์ ขอ

พระองค์จงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ควรรู้ตามความเป็น

จริง ที่พระองค์ตรัสบอก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 312

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงนำเรื่องอดีตทั้งหลาย

มาตรัสบอกแก่พกพรหม จึงได้ตรัสคาถา ๔ คาถาว่า :-

ท่านได้ช่วยมนุษย์จำนวนมากผู้เดือดร้อน

ปางตาย กระหายน้ำจัด ให้ได้ดื่มน้ำอันใดไว้

เราตถาคตระลึกถึงพรต ศีลและจรณะเก่าของ

ท่านอันนั้นได้ เหมือนนอนหลับฝันไปแล้ว

ตื่นขึ้น ระลึกถึงความสิ้นได้ฉะนั้น. ท่านได้

ช่วยฝูงชนใด ที่ถูกโจรจับเป็นเชลยนำมาให้

รอดพ้นได้ที่ริมฝั่งแม่น้ำเอณิ เราตถาคตระลึก

ถึงพรต ศีลและจรณะเก่าของท่านนั้นได้

เหมือนนอนหลับฝันไปแล้วตื่นขึ้น นึกถึงฝัน

ได้ ฉะนั้น. ท่านได้ทุ่มกำลังช่วยคนทั้งหลาย

ผู้ไปเรือในกระแสแม่น้ำคงคา ให้พ้นจากพญา-

นาคตัวร้ายกาจ อันใดเราตถาคตระลึกถึงพรต

ศีลและจรณะเก่าของท่านนั้นได้ เหมือนนอน

หลับแล้วตื่นขึ้น นึกถึงฝันได้ ฉะนั้น. อนึ่ง

เราตถาคตได้มีชื่อว่ากัปปะ เป็นอันเตวาสิก

ของท่าน ได้รู้แล้วว่า ท่านเป็นดาบสผู้มีปัญญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 313

ดี มีพรต อันใด เราตถาคตระลึกถึงพรต ศีล

และจรณะเก่าของท่านนั้นได้ เหมือนนอน

หลับแล้วตื่นขึ้น ระลึกถึงฝันได้ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปาเยสิ ความว่า ให้ดื่มแล้ว.

บทว่า ฆมฺมนิ สปฺปเรเต ความว่า ผู้ปางตายเพราะความร้อน คือ

ลำบากเพราะความร้อนแผดเผาเหลือเกิน. บทว่า สุตฺตปฺปพุทฺโธว

ความว่าระลึกถึงพรตเป็นต้น ได้เหมือนนอนหลับไปในเวลาย่ำรุ่งฝัน

เห็นแล้วตื่นขึ้น ระลึกถึงความฝันนั้น ฉะนั้น.

ได้ยินว่า พกพรหมนั้นในกัปป์ ๆ หนึ่ง เป็นดาบส อยู่ที่

ทะเลทรายกันดารน้ำ ได้นำน้ำดื่มมาให้คนจำนวนมากที่เดินทางกันดาร.

อยู่มาวันหนึ่ง พ่อค้าพวกหนึ่ง เดินทางไปถึงทะเลทรายที่กันดารน้ำ

ด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม คนทั้งหลายไม่สามารกำหนดทิศทางได้ เดิน

ทางไป ๗ วัน สิ้นฟืนสิ้นน้ำ หมดอาหาร ถูกความอยากครอบงำ คิดว่า

บัดนี้ พวกเราไม่มีชีวิตแล้ว พากันพักเกวียนเป็นวงรอบแล้ว ต่างก็

ปล่อยโคไปแล้วก็พากันนอนอยู่ใต้เกวียนของตน. ครั้งนั้น ดาบสรำลึก

ไปเห็นพ่อค้าเหล่านั้นแล้วคิดว่า เมื่อเราเห็นอยู่ขอคนทั้งหลายจงอย่า

พินาศเถิด จึงได้บันดาลให้กระแสน้ำคงคาเกิดขึ้น เฉพาะหน้าของพวก

พ่อค้าด้วยอานุภาพฤทธิ์ของตน. และได้เนรมิตไพรสณฑ์แห่งหนึ่งไว้ใน

ที่ไม่ไกล. พวกมนุษย์ได้ดื่มน้ำและอาบน้ำให้โคทั้งหลายอิ่มหนำสำราญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 314

แล้ว จึงพากันไปเกี่ยวหญ้า เก็บฟืนจากไพรสณฑ์ กำหนดทิศได้แล้ว

ข้ามทางกันดารไปได้โดยปลอดภัย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคำว่า

ย ตฺว ฯเปฯ อนุสุสรามิ นั่นทรงหมายเอาดาบสนั้น.

บทว่า เอณิกูลสฺมึ ความว่า ใกล้ฝั่งแม่น้ำชื่อว่าเอณิ. บทว่า

คยฺหก นียมาน ความว่า ที่กำลังถูกจับเป็นชะเลยแล้วนำมา.

เล่ากันมาว่าดาบสนั้น ในกาลต่อมาได้อาศัยบ้านชายแดนตำบล

หนึ่งพักอยู่ที่ไพรสณฑ์แห่งหนึ่งใกล้ฝั่งแม่น้ำ. ครั้นวันหนึ่ง พวกโจร

ชาวเขาลงมาปล้นบ้านนั้น จับเอาคนจำนวนมากให้ขึ้นไปบนเขา วาง

คนสอดแนมไว้ที่ระหว่างทาง เข้าไปสู่ซอกเขาแล้วให้นั่งหุงต้มอาหาร

ดาบสได้ยินเสียงร้องครวญครางของสัตว์มีโคและกระบือเป็นต้น และ

ของคนทั้งหลายมีเด็กชายและเด็กหญิงเป็นต้นคิดว่า เมื่อเราเห็นอยู่ ขอ

เขาทั้งหลายจงอย่าพินาศเถิด แล้วจึงละอัตภาพ เป็นพระราชาแวดล้อม

ด้วยเสนามีองค์ ๔ ได้ให้ตีกลองศึกไป ณ ที่นั้น. พวกคนสอดแนม

เห็นดาบสนั้นแล้วได้บอกแก่พวกโจร. พวกโจรคิดว่า ขึ้นชื่อว่าการ

ทะเลาะกับพระราชาไม่สมควรแล้ว จึงพากันทิ้งเชลยไว้ไม่กินอาหาร

หนีไปแล้ว ดาบสนำคนเหล่านั้นให้กลับไปอยู่บ้านของตนหมดทุกคน

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคำว่า ย เอณิกูลสฺมึ ฯเปฯ อนุสฺสรามิ

นั่นไว้ทรงหมายเอาดาบสนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 315

บทว่า คหิตนาว ได้แก่เรือที่พ่วงขนานกัน. บทว่า ลุทฺเธน

ความว่า ผู้หยาบคาย. บทว่า มนุสฺสกปฺปา ความว่า เพราะต้องการ

ให้พวกมนุษย์พินาศ. บทว่า พลสา ความว่า ด้วยกำลัง บทว่า

ปสยฺห ความว่า ข่มขู่.

ในกาลต่อมา ดาบสพักอยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา ครั้งนั้นคนทั้ง

หลายพากันผูกเรือขนาน ๒ - ๓ ลำติดกัน แล้วสร้างมณฑปดอกไม้ไว้

ที่ยอดเรือขนาน นั่งกินนั่งดื่มอยู่ในเรือขนาน แล่นไปที่ฝั่งสมุทร พวก

เขาพากันเทสุราที่เหลือจากดื่ม ข้าวปลาเนื้อและหมากพลูเป็นต้น ที่

เหลือจากที่กินและเหลือจากที่ขบเคี้ยวแล้วลงแม่น้ำคงคานั่นเอง. พญา-

นาคชื่อว่าคังเคยยะโกรธว่า คนพวกนี้โยนของที่เหลือกินลงเบื้องบน

เรา หมายใจว่า เราจักรวบคนเหล่านั้นให้จมลงในแม่น้ำคงคาหมดทุกคน

แล้วเนรมิตอัตภาพใหญ่ประมาณเท่าเรือโกลนลำหนึ่ง แหวกน้ำขึ้นมา

แผ่พังพานลอยน้ำไปตรงหน้าคนเหล่านั้น. พวกเขาพอเห็นพญานาค

เท่านั้น ก็ถูกมรณภัยคุกคามส่งเสียงร้องลั่นขึ้นพร้อมกันที่เดียว. ดาบส

ได้ยินเสียงคร่ำครวญของพวกเขา ก็รู้ว่าพญานาคโกรธ คิดว่า เมื่อ

เราเห็นอยู่ขอคนทั้งหลายจงอย่าพินาศเถิด แล้วได้รีบเนรมิตอัตภาพ

เป็นเพศครุฑบินไปด้วยอานุภาพของตน โดยติดต่อกันโดยพลัน. พญา-

นาคเห็นครุฑนั้นแล้ว หวาดกลัวความตายจึงดำลงไปในน้ำ. พวก

มนุษย์ถึงความสวัสดีแล้วจึงได้ไปกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคำว่า

คงฺคาย โสตสฺมึ ฯ เป ฯ อนุสฺสรามิ นั่นทรงหมายเอาดาบสนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 316

บทว่า ปตฺถจโร ได้แก่อันเตวาสิก. บทว่า สมฺพุทฺธิวนฺต วติ

โส อมญฺ ความว่า เรารู้จักท่านว่า เป็นดาบสผู้เพียบพร้อมด้วยปัญญา

ทั้งถึงพร้อมด้วยวัตร. ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้อย่าง

ไร ทรงแสดงไว้ว่า ดูก่อนท้าวมหาพรหม. ในอดีตกาลในเวลาท่าน

เป็น เกสวดาบส เราตถาคต เป็นคนรับใช้ใกล้ชื่อว่า กัปปะ เมื่อ

ท่านถูกอำมาตย์ชื่อ นารทะ นำมาป่าหิมพานต์ จากเมืองพาราณสี ได้ให้

โรคสงบไป. ลำดับนั้น นารทะ อำมาตย์มาเยี่ยมท่านครั้งที่ ๒ เห็น

หายจากโรค จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า :-

ท่านเกสีผู้มีโชค ไยเล่าจึงละทิ้งจอมคน

ผู้ให้ความต้องการทุกอย่างสำเร็จได้ มายินดีใน

อาศรมของท่านกัปปะ.

ท่านได้กล่าวคำนี้กะอำมาตย์ นารทะ นั่นนั้นว่า:-

ดูก่อนท่านนารทะ สิ่งที่ดีน่ารื่นรมย์ใจมี

อยู่ ต้นไม้ทั้งหลาย ที่รื่นเริงใจก็ยังมี ถ้อยคำ

ที่เป็นสุภาษิตของกัสสป ให้อาตมารื่นเริงใจได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงถึงความที่โรคของท่าน เกสี

ดาบส นี้ เป็นสิ่งที่พระองค์ผู้ทรงเป็นอันเตวาสิกให้สงบได้ด้วยประการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 317

อย่างนี้แล้ว จึงได้ตรัสอย่างนี้. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อจะให้มหาพรหมทั้ง

หมด กำหนดรู้กรรมที่พรหมนั้น พกพรหม ทำไว้ในมนุษยโลกนั่นเอง

จึงตรัสคำนี้ไว้.

พกพรหม นั้น ระลึกถึงกรรมที่ตนได้ทำไว้ ตามพระดำรัสของ

พระศาสดาได้แล้ว เมื่อจะทำการสดุดีพระตถาคต จึงได้กล่าวคาถา

สุดท้ายไว้ว่า :-

พระองค์ทรงทราบอายุของข้าพระองค์นั่น

ได้แน่นอนแม้สิ่งอื่นพระองค์ก็ทรงทราบเพราะ

พระองค์ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแท้จริง จริงอย่าง

นั้น พระรัศมีอันรุ่งโรจน์ของพระองค์นี้ จึง

ส่องพรหมโลกให้สว่างไสวอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตถา หิ พุทโธ ความว่า เพราะว่า

พระองค์ทรงเป็น พระพุทธเจ้า แท้จริง อันธรรมดาว่า พระะพุทธเจ้า

ทั้งหลายจะไม่มีสิ่งที่ไม่ทรงรู้ด้วยว่าท่านเท่านั้นชื่อว่าพุทธะ เพราะตรัสรู้

ธรรมทุกอย่างนั่นเอง. บทว่า ตถา หิ ตาย ความว่า ก็อีกอย่างหนึ่ง

เพราะทรงเป็น พระพุทธเจ้า นั่นเอง พระรัศมีจากพระสรีระของพระ-

องค์ที่รุ่งโรจน์. บทว่า โอภาสย ติฏฺติ ความว่า พระรัศมีจากพระ-

สรีระนี้ จึงส่องพรหมโลก แม้ทั้งหมดนี้ให้สว่างไสวอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 318

พระศาสดา เมื่อทรงให้พกพรหมรู้พระพุทธคุณของพระองค์ไป

พลางทรงแสดงธรรมไปพลาง จึงทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย ในที่สุด

แห่งสัจธรรม จิตของพระพรหมประมาณหมื่นองค์พ้นจากอาสวะทั้งหลาย

แล้ว เพราะไม่ยึดมั่น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นที่พึ่งของพระ-

พรหมทั้งหลายด้วยประการอย่างนี้ ได้เสด็จจากพรหมโลกมาพระเชตวัน

วิหาร แล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยทำนองที่

ได้ทรงแสดงแล้ว ในพรหมโลกนั้น แล้วทรงประชุมชาดกไว้ว่า เกสว-

ดาบสในครั้งนั้น ได้แก่พระพรหม ในบัดนี้ ส่วนกัปปมาณพได้แก่เรา

ตถาคตนั่นเอง ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาพกพรหมชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุกกุชาดก ๒. มโนชชาดก ๓. สุตนชาดก ๔. ธาตุโปสก-

คิชฌชาดก ๕. ทัพพปุปผชาดก ๖. ทสัณณกชาดก ๗. เสนกชาดก

๘. อัฏฐิเสนชาดก ๙. กปิชาดก ๑๐. พกพรหมชาดก

จบ กุกกุวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 319

๒. คันธารวรรค

๑. คันธารชาดก

ว่าด้วยพูดคำมีประโยชน์เขาโกรธไม่ควรกล่าว

[๑๐๔๓] ท่านทิ้งหมู่บ้านที่บริบูรณ์ ๑๖,๐๐๐ หมู่

และคลังที่เดิมด้วยทรัพย์มาแล้ว บัดนี้ยังจะทำ

การสะสมอยู่อีก.

[๑๐๔๔] ท่านละทิ้งที่อยู่คือคันธารรัฐ หนีจาก

การปกครองในราชธานี ที่มีทรัพย์พอเพียงแล้ว

บัดนี้ยังจะปกครองในที่นี้อีก.

[๑๐๔๕] ดูก่อนท่านวิเทหะ เรากล่าวธรรมะ

ความจริง เราไม่ชอบธรรมความไม่จริง เมื่อ

เรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่ บาปก็ไม่เปรอะเปื้อน

เรา.

[๑๐๔๖] คนอื่นได้รับความแค้นเคือง เพราะคำ

พูดอย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงแม้ว่าคำพูดนั้นจะมี

ประโยชน์มาก บัณฑิตก็ไม่ควรพูด.

[๑๐๔๗] ผู้ถูกตักเตือน จะแค้นเคืองหรือไม่แค้น

เคืองก็ตามเถิด จะเขี่ยทิ้งเหมือนโปรยแกลบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 320

ทิ้งก็ตาม เมื่อเขากล่าวคำเป็นธรรมอยู่ ขึ้นชื่อ

ว่าบาปย่อมไม่เปรอะเปื้อน.

[๑๐๔๘] ถ้าสัตว์เหล่านั้น ไม่มีปัญญาของตนเอง

หรือวินัยที่ศึกษาดีแล้วไซร้ คนจำนวนมากก็

จะเที่ยวไปเหมือนกระบือตาบอดเที่ยวไปในป่า

[๑๐๔๙] แต่เพราะเหตุที่ธีรชนบางเหล่าศึกษาดี

แล้ว ในสำนักอาจารย์ ฉะนั้นธีรชนผู้มีวินัย

ที่ได้แนะนำแล้ว จึงมีจิตตั้งมั่นเที่ยวไปอยู่.

จบ คันธารชาดกที่ ๑

อรรถกถาคันธารวรรคที่ ๒

อรรถกถาคันธารชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

เภสัชชสันนิธิการสิกขาบท สิกขาบทว่าด้วยการทำการสะสมเภสัช แล้ว

จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า หิตฺวา คามสหสฺสานิ ดังนี้

ก็เรื่องเกิดขึ้นแล้วที่กรุงราชคฤห์. ความพิสดารว่า เมื่อท่าน

ปิลินทวัจฉะไปพระราชวังเพื่อปล่อยคนตระกูลผู้รักษาอาราม แล้วสร้าง

ปราสาททองถวายพระราชาด้วยกำลังฤทธิ์ คนทั้งหลายเลื่อมใสพากัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 321

ส่งเภสัชทั้ง ๕ ไปถวายพระเถระ. ท่านแจกจ่ายเภสัชเหล่านั้นแด่บริษัท

แต่บริษัทของท่านมีมาก พวกเขาเก็บของที่ได้ ๆ มาไว้เต็มกระถางบ้าง

หม้อบ้าง ถลกบาตรบ้าง. คนทั้งหลายเห็นเข้าพากันยกโทษว่า สมณะ

เหล่านี้มักมาก เป็นผู้รักษาคลังภายใน. พระศาสดาทรงสดับความเป็น

ไปนั้นแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ก็แลเภสัชที่เป็นของควรลิ้มของ

ภิกษุผู้เป็นไข้เหล่านั้นใดดังนี้เป็นต้น ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บัณฑิตสมัยก่อน เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ บวชเป็นนักบวชใน

ลัทธิภายนอก แม้รักษาเพียงศีล ๕ ก็ไม่เก็บก้อนเกลือไว้ เพื่อประโยชน์

ในวันรุ่งขึ้น ส่วนเธอทั้งหลายบวชในศาสนา ที่นำออกจากทุกข์เห็น

ปานนี้ เมื่อพากันทำการสะสมอาหารไว้ เพื่อประโยชน์แก่วันที่ ๒ วัน

ที่ ๓ ชื่อว่าทำสิ่งที่ไม่สมควร แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าคันธาระ

ในคันธารรัฐ เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ โดยพระราชบิดาทิวงคตแล้ว

ทรงครองราชย์โดยธรรม. แม้ในมัชฌิมประเทศ พระเจ้าวิเทหะก็ทรง

ครองราชย์ในวิเทหรัฐ. พระราชาทั้ง ๒ พระองค์นั้น ทรงเป็นพระ-

สหายที่ไม่เคยเห็นกัน แต่ก็ทรงมีความคุ้นเคยกันอย่างมั่นคง. คนสมัย

นั้นมีอายุยืนดำรงชีวิตอยู่ได้ถึง ๓ แสนปีดังนั้นในวันอุโบสถกลางเดือน

พระจ้าคันธาระก็ทรงสมาทานศีลเป็นครั้งคราว แล้วเสด็จไปประทับบน

พระบวรบัลลังก์ภายในชั้นที่โอ่โถง ทรงตรวจดูโลกธาตุด้านทิศตะวันออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 322

ทางสีหปัญชรที่เปิดไว้ ตรัสถ้อยคำที่ประกอบด้วยธรรมแก่เหล่าอำมาตย์

ขณะนั้นพระราหูได้บดบังดวงจันทร์เต็มดวง เหมือนกระโดดโลดเต้นไป

ในท้องฟ้า. แสงจันทร์อันตรธานหายไป. อำมาตย์ทั้งหลายไม่เห็น

แสงพระจันทร์ จึงทูลพระราชาถึงภาวะที่ดวงจันทร์ถูกราหูยึดไว้

พระราชาทรงทอดพระเนตรพระจันทร์ ทรงพระดำริว่า พระจันทร์นี้

เศร้าหมองอับแสงไปเพราะสิ่งเศร้าหมองที่จรมา. แม้ข้าราชบริพารนี้ก็

เป็นเครื่องเศร้าหมองสำหรับเราเหมือนกัน แต่การที่เราจะเป็นผู้หมดสง่า

ราศรีเหมือนดวงจันทร์ที่ถูกราหูยึดไว้นั้น ไม่สมควรแก่เราเลย. เราจักละ

ราชสมบัติออกบวช เหมือนดวงพระจันทร์สัญจรไปในท้องฟ้าที่บริสุทธิ์

ฉะนั้น. จะมีประโยชน์อะไรด้วยผู้อื่นที่เราตักเตือนแล้ว เราจักเป็น

เสมือนผู้ไม่ข้องอยู่ด้วยตระกูลและหมู่คณะ ตักเตือนตัวเองเท่านั้นเที่ยวไป

นี้เป็นสิ่งที่เหมาะสำหรับเรา แล้วทรงมอบราชสมบัติให้แก่เหล่าอำมาตย์

ด้วยพระดำรัสว่า ท่านทั้งหลายจงพากันแต่งตั้งผู้ที่ท่านทั้งหลายต้อง

ประสงค์ให้เป็นพระราชาเถิด. พระราชาในคันธารรัฐนั้นทรงสละราช-

สมบัติเสด็จออกทรงผนวชเป็นฤๅษี ยังฌานและอภิญญาให้เกิดขึ้นแล้ว

ทรงเอิบอิ่มด้วยความยินดีในฌาน สำเร็จการอยู่ในท้องถิ่นดินแดนหิม-

พานต์. ฝ่ายพระเจ้าวิเทหะตรัสถามพวกพ่อค้าทั้งหลายว่า พระราชา

พระสหายของเราสบายดีหรือ ? ทรงทราบว่าพระองค์เสด็จออกทรง

ผนวชแล้วทรงดำริว่า เมื่อสหายของเราทรงผนวชแล้ว เราจักทำอย่างไร

กับราชสมบัติ แล้วจึงทรงสละราชสมบัติในมิถิลนครกว้างยาว ๗ โยชน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 323

คลังที่เต็มเพียบอยู่ในหมู่บ้าน ๑๖,๐๐๐ หมู่บ้าน ในวิเทหรัฐประมาณ

๓๐๐ โยชน์และหญิงฟ้อน ๑๖,๐๐๐ นาง ไม่ทรงคำนึงถึงพระราชโอรส

และพระราชธิดา เสด็จสู่ท้องถิ่นดินแดนหิมพานต์ทรงผนวชแล้ว เสวย

ผลไม้ตามที่มี ประทับอยู่ไม่เป็นประจำเที่ยวสัญจรไป. ทั้ง ๒ ท่านนั้น

ประพฤติพรตและอาจาระสม่ำเสมอ ภายหลังได้มาพบกันแต่ก็ไม่รู้จักกัน

ชื่นชมกันประพฤติพรตและอาจาระสม่ำเสมอกัน. ครั้งนั้นวิเทหะดาบส

ทำการอุปัฏฐากท่านคันธารดาบส ในวันเพ็ญวันหนึ่ง เมื่อท่านทั้ง ๒

นั้น นั่งกล่าวกถาที่ประกอบด้วยธรรมกัน ณ ควงไม้ต้นใดต้นหนึ่ง

พระราหูบดบังดวงจันทร์ ที่ลอยเด่นอยู่ท้องฟ้า. ท่านวิเทหดาบสคิดว่า

แสงพระจันทร์หายไปเพราะอะไรหนอ จึงมองดูเห็นพระจันทร์ถูกราหูยึด

ไว้ จึงเรียนถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์อะไรหนอนั้น ได้บดบังพระจันทร์

ทำให้หมดรัศมี. ท่านคันธารดาบสตอบว่า ดูก่อนอันเตวาสิก นี้ชื่อว่า

ราหูเป็นเครื่องเศร้าหมองอย่างหนึ่งของพระจันทร์ ไม่ให้พระจันทร์ส่อง

แสงสว่าง แม้เราเห็นดวงจันทร์ถูกราหูบังแล้ว คิดว่า ดวงจันทร์ที่

บริสุทธิ์นี้ ก็กลายเป็นหมดแสงไป เพราะเครื่องเศร้าหมองที่จรมา

ราชสมบัตินี้ก็เป็นเครื่องเศร้าหมองแม้สำหรับเรา เราจักบวชอยู่จน

กระทั้งราชสมบัติ จะไม่ทำให้เราอับแสง เหมือนราหูบังดวงจันทร์ แล้ว

ทำดวงจันทร์ที่ถูกราหูบังนั่นเองให้เป็นอารมณ์ ทอดทิ้งราชสมบัติใหญ่

หลวงบวชแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 324

วิเทหดาบสถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านเป็นพระเจ้าคันธาระ

หรือ ? คันธารดาบส ถูกแล้วผมเป็นพระเจ้าคันธาระ.

วิ. ข้าแต่ท่านอาจารย์ กระผมเองก็ชื่อว่าพระเจ้าวิเทหะ ใน

มิถิลนครในวิเทหรัฐ พวกเราเป็นสหายที่ยังไม่เคยเห็นกันมิใช่หรือ ?

คัน. ก็ท่านมีอะไรเป็นอารมณ์ จึงออกบวช ?

วิ. กระผมได้ทราบว่าท่านบวชแล้ว คิดว่า ท่านคงได้เห็นคุณ

มหันต์ของการบวชแน่นอน จึงทำท่านนั่นแหละให้เป็นอารมณ์ แล้ว

สละราชสมบัติออกบวช.

ตั้งแต่นั้นมาดาบสทั้ง ๒ นั้น สมัครสมานกันชื่นชมกันเหลือ

เกิน เป็นผู้มีผลไม้เท่าที่หาได้เป็นโภชนาหาร ท่องเที่ยวไป. ก็แหละ

ทั้ง ๒ ท่านอยู่ด้วยกัน ณ ที่นั้นมาเป็นเวลานาน จึงพากันลงมาจากป่า

หิมพานต์ เพื่อต้องการลิ้มรสเค็มรสเปรี้ยว ลุถึงชายแดนตำบลหนึ่ง

คนที่ทำลายเลื่อมใสในอิริยาบถของท่าน ถวายภิกษารับปฏิญญาแล้ว

พากันสร้างที่พักกลางคืนเป็นต้นให้ท่านอยู่ในป่า แม้ในระหว่างทางก็

พากันสร้างบรรณศาลาไว้ในที่ ๆ มีน้ำสะดวกเพื่อต้องการให้ท่านทำภัตกิจ

ท่านพากันเที่ยวภิกขาจารที่บ้านชายแดนนั้นแล้ว นั่งฉันที่บรรณศาลา

หลังนั้นแล้ว จึงไปที่อยู่ของตน. คนแม้เหล่านั้นเมื่อถวายอาหาร

ท่าน บางครั้งก็ถวายเกลือใส่ลงในบาตร บางคราวก็ห่อใบตองถวาย

บางคราวก็ถวายอาหารที่มีรสไม่เค็มเลย. วันหนึ่งพวกเขาได้ถวายเกลือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 325

จำนวนมาก ในห่อใบตองแก่ท่านเหล่านั้น. วิเทหดาบสถือเอาเกลือไป

ด้วย เวลาภัตกิจของพระโพธิสัตว์ก็ถวายจนพอ ฝ่ายตนเองก็หยิบเอา

ประมาณพอควร ที่เกินต้องการก็ห่อใบตองแล้วเก็บไว้ที่ต้นหญ้า ด้วย

คิดว่า จักใช้ในวันที่ไม่มีเกลือ อยู่มาวันหนึ่งเมื่อได้อาหารจืด ท่าน

วิเทหดาบสถวายภาชนะภิกษาแก่ท่านคันธาระแล้ว นำเกลือออกมาจาก

ระหว่างต้นหญ้าแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ นิมนต์ท่านรับเกลือ.

คันธารดาบสถามว่า วันนี้คนทั้งหลายไม่ได้ถวายเกลือ ท่านได้มาจาก

ไหน ?

วิ. ข้าแต่ท่านอาจารย์ ในวันก่อนคนทั้งหลายได้ถวายเกลือมาก

กระผมจึงเก็บเกลือที่เกินความต้องการไว้ด้วยตั้งใจว่า จักใช้ในวันที่

อาหารมีรสจืด.

พระโพธิสัตว์จึงต่อว่า วิเทหดาบสว่า โมฆบุรุษเอ๋ย ท่านละทิ้ง

วิเทหรัฐประมาณ ๓ ร้อยโยชน์มาแล้ว ถึงความไม่มีกังวลอะไร บัดนี้

ยังเกิดความทะยานอยากในก้อนเกลืออีกหรือ เมื่อจะตักเตือนท่าน จึง

ได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ท่านละทิ้งหมู่บ้านที่บริบูรณ์ ๑๖,๐๐๐ หมู่

และคลังที่เต็มด้วยทรัพย์มาแล้ว บัดนี้ยังจะทำ

การสะสมอยู่อีก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 326

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกฏฺาคารานิ ได้แก่คลังทองคลัง

เงินคลังแก้วมีแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น ทั้งคลังผ้าและคลังข้าว

เปลือก. บทว่า ผีตานิ ความว่า เต็มแล้ว. บทว่า สนฺนิธินฺทานิ

กุพฺพสิ ความว่า บัดนี้ ท่านยังจะทำการสะสมเพียงเกลือ ด้วยคิดว่า

จักใช้พรุ่งนี้ จักใช้วันที่ ๓.

วิเทหดาบส ถูกตำหนิอยู่อย่างนี้ ทนคำตำหนิไม่ได้ กลาย

เป็นปฏิปักษ์ไป เมื่อจะแย้งว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านไม่เห็นโทษของ

ตัวเอง เห็นแต่โทษของผมอย่างเดียว ท่านดำริว่า เราจะประโยชน์อะไร

ด้วยคนอื่นที่ตักเตือนเรา เราจักเตือนตัวเราเอง ทอดทิ้งราชสมบัติออก

บวชแล้ว แต่วันนี้เหตุไฉนท่านจึงตักเตือนผม จึงได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า:-

ท่านละทิ้งอยู่คือคันธารรัฐ หนีจากการ

ปกครอง ในราชธานีที่มีทรัพย์พอเพียงแล้ว

บัดนี้ ยังจะปกครองในที่นี้อีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสาสนิโต ความว่า จากการ

ตักเตือนและการพร่ำสอน. บทว่า อิธ ทานิ ความว่า เหตุไฉน บัดนี้

ท่านจึงตักเตือนในที่นี้ คือในป่าอีก.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

ดูก่อนท่าน วิเทหะ เรากล่าวธรรม

ความจริง เราไม่ชอบอธรรมความไม่จริง เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 327

เรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่ บาปก็ไม่เปรอะเปื้อน

เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺม ได้แก่สภาวะความเป็นเอง

คือเหตุที่บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงพรรณนาสรรเสริญ

แล้ว. บทว่า อธมฺโม เม น รุจฺจติ ความว่า ธรรมดาอธรรมไม่ใช่

สภาวะความเป็นเอง เราก็ไม่ชอบใจแต่ไหนแต่ไรมา. บทว่า

ปาปมุปลิมฺปติ ความว่าเมื่อเรากล่าวสภาวะนั่นเองหรือเหตุนั่นแหละอยู่

ขึ้นชื่อว่าบาปจะไม่ติดอยู่ในใจ. ธรรมดาการให้โอวาทนี้เป็นประเพณี

ของพระพุทธเจ้า พระปักเจกพุทธเจ้าและพระสาวกและโพธิสัตว์ทั้ง

หลาย. ถึงคนพาลจะไม่รับเอาโอวาทที่ท่านเหล่านั้นให้แล้ว แต่ผู้ให้

โอวาทก็ไม่มีบาปเลย. เมื่อจะแสดงอีกจึงกล่าวคาถาว่า :-

ผู้มีปัญญา คนใดมักชี้โทษมักพูดบำราบ

คนควรมองให้เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ ควรคบ

บัณฑิตเช่นนั้น เพราะว่า เมื่อคบบัณฑิตเช่น

นั้น จะมีแต่ความดีไม่มีความชั่ว คนควรตัก

เตือน ควรพระสอนและควรห้ามเขาจากอสัต-

บุรุษ เพราะและเป็นที่รักของเหล่าสัตบุรุษ

ไม่เป็นที่รักของเหล่าอสัตบุรุษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 328

วิเทหดาบสฟังถ้อยคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว กล่าวว่า ข้าแต่

ท่านอาจารย์ บุคคลแม้เมื่อกล่าวถ้อยคำที่อิงประโยชน์ ก็ไม่ควรกล่าว

กระทบเสียดแทงผู้อื่น ท่านกล่าวคำหยาบคายมาก เหมือนโกนผม

ด้วยมีดโกนไม่คม แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

คนอื่นได้รับความแค้นเคือง เพราะคำพูด

อย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงแม้ว่าคำนั้นจะมีประโยชน์

มาก บัณฑิตก็ไม่ควรพูด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยนเกนจิ ความว่า ด้วยเหตุ แม้

ประกอบด้วยธรรม. บทว่า ลภติ รุปฺปน ความว่า ได้รับความกระทบ

กระทั่ง ความแค้นเคืองคือความเดือดดาล. บทว่า นต ภาเสยฺย มี

เนื้อความว่า เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรกล่าววาจาที่เป็นเหตุให้

ประทุษร้ายบุคคลอื่นนั้นที่มีประโยชน์มาก คือแม้ที่อิงอาศัยประโยชน์

ตั้งมากมาย.

ลำดันนั้น พระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถาที่ ๕ แก่วิเทหดาบสนั้น

ว่า :-

ผู้ถูกตักเตือน จะแค้นเคืองหรือไม่แค้น

เคืองก็ตามเถิด หรือจะเขี่ยทิ้งเหมือนโปรย

แกลบทิ้งก็ตาม เมื่อเรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่

ขึ้นชื่อว่าบาป ย่อมไม่เปรอะเปื้อนเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 329

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาม ความว่า. โดยส่วนเดียว. มี

คำอธิบายว่า บุคคลผู้ทำกรรมไม่สมควร เมื่อถูกตักเตือนว่า ท่านทำกรรม

ไม่ควรแล้ว จะโกรธโดยส่วนเดียวก็ตาม หรือไม่โกรธก็ตาม. อีก

อย่างหนึ่งเขาจะเขี่ยทิ้งเหมือนกำแกลบหว่านทิ้งก็ตาม แต่ว่าเมื่อเรากล่าว

คำเป็นธรรมอยู่ ขึ้นชื่อว่าบาปย่อมไม่มี.

ก็แหละพระโพธิสัตว์ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ได้ดำรงอยู่ในข้อ

ปฏิบัติที่สมควรแก่โอวาทของพระสุคตนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ เราตถาคต

จักไม่ทะนุถนอมเลย เหมือนช่างหม้อทะนุถนอมภาชนะดินเหนียวที่

ยังดิบ ๆ ฉะนั้น เราตถาคตจักบำราบเอาบำราบเอา ผู้ใดหนักแน่นเป็น

สาระ ผู้นั้นก็จักดำรงอยู่ได้ เมื่อจะตักเตือนวิเทหดาบสอีก เพื่อแสดง

ให้เห็นว่า ท่านตักเตือนบำราบแล้ว ตักเตือนบำราบอีก จึงรับบุคคล

ทั้งหลายผู้เช่นกับภาชนะดินที่เผาสุกแล้วไว้ เหมือนช่างหม้อเคาะดูแล้ว

เคาะดูอีก ไม่รับเอาภาชนะดินที่ยังดิบไว้ รับเอาเฉพาะภาชนะดินที่เผา

สุกแล้วเท่านั้นไว้ฉะนั้นดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาไว้ว่า :-

ถ้าสัตว์เหล่านี้ไม่มีปัญญาของตนเอง หรือ

วินัยที่ศึกษาดีแล้วไซร้ คนจำนวนมากก็จะ

เที่ยวไป เหมือนกระบือตาบอดเที่ยวไปในป่า

ฉะนั้น แต่เพราะเหตุที่ธีรชนบางเหล่า ศึกษาดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 330

แล้วในสำนักอาจารย์ฉะนั้น ธีรชนผู้มีวินัยที่

ได้แนะนำแล้ว จึงมีจิตตั้งมั่นเที่ยวไปอยู่.

คาถานี้มีเนื้อความว่า ดูก่อนสหายวิเทหะ เพราะว่าถ้าหากสัตว์

เหล่านี้ ไม่มีปัญญาหรือไม่มีวินัยคืออาจารบัญญัติ ที่ศึกษาดีแล้วเพราะ

อาศัยเหล่าบัณฑิตผู้ให้โอวาทไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้คนเป็นอันมาก ก็จะ

เป็นเช่นท่านเที่ยวไป เหมือนกระบือตาบอด ไม่รู้ที่ ๆ เป็นที่โคจรหรือ

อโคจร มีสิ่งที่น่ารังเกียจหรือไม่มีสิ่งที่น่ารังเกียจ เที่ยวไปในพงหญ้า

และเถาวัลย์เป็นต้น แต่เพราะเหตุที่สัตว์ บางพวกในโลกนี้ ที่

ปราศจากปัญญาของตนศึกษาดีแล้ว ด้วยอาจารบัญญัติในสำนักอาจารย์

เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามีวินัยที่แนะนำแล้ว เพราะตนเป็นผู้ที่

อาจารย์แนะนำแล้ว ด้วยวินัยที่เหมาะสม คือเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว

ได้แก่เป็นผู้มีจิตเป็นสมาธิเที่ยวไปดังนี้. ด้วยคาถานี้ท่านคันธารดาบส

แสดงคำนี้ไว้ว่า จริงอยู่ คนนี้เป็นคฤหัสถ์ ก็ศึกษาสิกขาที่สมควรแก่

ตระกูลของตน เป็นบรรพชิตก็ศึกษาสิกขาที่สมควรแก่บรรพชิต อธิบาย

ว่า ฝ่ายคฤหัสถ์เป็นผู้ศึกษาดีในกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น ที่

เหมาะสมแก่ตระกูลของตนแล้วเที่ยว ก็จะเป็นผู้มีความเป็นอยู่สมบูรณ์

มีใจมั่นคงเที่ยวไป. ส่วนบรรพชิต เป็นผู้ศึกษาดีในอาจาระมีการก้าวไป

ข้างหน้าและการถอยกลับเป็นต้น และในอธิสีลสิกขา อธิจิตสิกขาและ

อธิปัญญาสิกขาทั้งหลายที่เหมาะสมแก่บรรพชิต ที่น่าเลื่อมใสแล้วก็เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 331

ผู้ปราศจากความฟุ้งซ่านมีจิตตั้งมั่นเที่ยวไป. เพราะว่าในโลกนี้ :-

ความเป็นพหูสูต ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑

วาจาที่เป็นสุภาษิต ๑ สามอย่างนี้เป็นมงคลอัน

สูงสุดดังนี้.

วิเทหดาบสได้ฟังคำนั้นแล้ว ไหว้ขอขมาพระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่

ท่านอาจารย์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอท่านจงตักเตือนจงพร่ำสอนเราเถิด

เรากล่าวกะท่านเพราะความเป็นผู้ไม่มีความยับยั้งใจโดยกำเนิด ขอท่าน

จงให้อภัยแก่เราเถิด. ท่านทั้ง ๒ นั้นอยู่สมัครสมานกันแล้วได้พากันไปป่า

หิมพานต์อีกนั่นแหละ ณ ที่นั้นพระโพธิสัตว์ได้บอกกสิณบริกรรมแก่

วิเทหดาบส. ท่านสดับแล้วยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดขึ้น. ทั้ง ๒

ท่านนั้นเป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมแล้ว ได้เป็นผู้มีพรหมโลก เป็นที่ไปใน

เบื้องหน้า.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกไว้ว่า วิเทหราชาในครั้งนั้น ได้แก่พระอานนท์ในบัดนี้ ส่วน

คันธารราชา ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาคันธารชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 332

๒. มหากปิชาดก

ว่าด้วยคุณธรรมของหัวหน้า

[๑๐๕๐] ดูก่อนขุนกระบี่ ท่านได้ทอดตัวเป็น

สะพานให้เหล่าวานรข้ามไปโดยสวัสดี ท่าน

เป็นอะไรกับวานรเหล่านั้น และวานรเหล่านั้น

เป็นอะไรกับท่าน ?

[๑๐๕๑] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงปราบข้าศึก ข้าพระ-

องค์เป็นพญาวานรผู้เป็นใหญ่ ปกครองฝูง

วานรเหล่านั้น เมื่อพวกเขาถูกความโศก

ครอบงำ หวาดกลัวพระองค์.

[๑๐๕๒] ข้าพระองค์ได้ทะยานพุ่งตัว ที่มีเครื่องผูก

คือเถาวัลย์ผูกสะเอาไว้แน่น ไปจากต้นไม้ต้น

นั้นชั่วระยะร้อยคันธนูที่ปลดสายแล้ว.

[๑๐๕๓] กลับมาถึงต้นไม้ เหมือนเมฆถูกลม

หอบไปฉะนั้น แต่ข้าพระองค์ไปไม่ถึงต้นไม้

นั้น จึงได้ใช้มือจับกิ่งไม้ไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 333

[๑๐๕๔] พวกวานรได้พากันเอาเท้าเหยียบข้าพระ-

องค์นั้น ผู้ถูกกิ่งไม้และเถาวัลย์รั้งไว้ จนตึง

เหมือนสายพิณ แต่ไปโดยสวัสดี.

[๑๐๕๕] การผูกมัดไว้ จึงไม่เผาลนข้าพระองค์ให้

เดือดร้อน ผู้ฆ่าก็จักไม่ให้ข้าพระองค์เดือดร้อน

เพราะข้าพระองค์ได้นำความสุขมาให้เหล่าวานร

ที่ให้ข้าพระองค์ครองความเป็นใหญ่.

[๑๐๕๖] ข้าแต่พระราชาผู้ทรงปราบข้าศึก ข้าพระ-

องค์จะยกอุปมาถวายพระองค์ ขอพระองค์จง

ทรงสดับข้ออุปมานั้น ธรรมดากษัตริย์ผู้เป็น

พระราชา ทรงพระปรีชาสามารถ ควรแสวง

หาความสุขให้แก่รัฐ ยวดยานพาหนะ กำลัง

พล และนิคมทั่วหน้ากัน.

จบ มหากปิชาดกที่ ๒

อรรถกถามหากปิชาดก ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ญาตัตถจริยา คือการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อพระญาติ แล้วจึงตรัสเรื่องนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 334

มีคำเริ่มต้นว่า อตฺตาน สงฺกม กตฺวา ดังนี้. เรื่องจักมีแจ่มชัด

ในภัททสาลชาดก.

ก็ในกาลครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายตั้งเรื่องสนทนากันขึ้นในธรรม

สภาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงบำเพ็ญ

ญาตัตถจริยา. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบัด

นี้เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องราวอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบ

ทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ ดังนี้แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เฉพาะ

ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนตถาคตก็บำเพ็ญญาตัตถจริยาเหมือนกัน

แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในกำเนิดกระบี่ เติบโตแล้วถึงพร้อมด้วยส่วน

ยาวและส่วนกว้างสูงล่ำสัน มีกำลังวังชามาก มีพละกำลังเท่ากับช้าง ๕

เชือก มีฝูงกระบี่ ๘ หมื่นตัวเป็นบริวาร อาศัยอยู่ที่ถิ่นดินแดนหิมพานต์

ณ ที่นั้นได้มีต้นอัมพะ คือมะม่วง ที่คนทั้งหลายเรียกว่า ต้นนิโครธ

มีกิ่งก้านสาขาแผ่กว้าง มีใบดกหนา ร่มเงาหนา สูงเทียมยอดเขา อาศัย

ฝั่งแม่คงคา. ผลของมันหวานหอมคล้ายกับกลิ่นและรสผลไม้ทิพย์ ผล

ใหญ่มาก ประมาณเท่าหม้อใบใหญ่ ๆ. ผลของกิ่ง ๆ หนึ่งของมันหล่นลง

บนบก อีกกิ่งหนึ่งหล่นลงน้ำที่แม่คงคา. ส่วนผลของ ๒ กิ่งหล่นลงที่

ท่ามกลางใกล้ต้น. พระโพธิสัตว์เมื่อพาฝูงกระบี่ไปกินผลไม้ที่ต้นนั้นคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 335

สักเวลาหนึ่งภัยจักเกิดขึ้นแก่พวกเรา เพราะอาศัยผลไม้ต้นนี้ที่หล่นลง

ในน้ำ แล้วจึงให้ฝูงกระบี่กินผลของกิ่งบนยอดที่ทอดไปเหนือน้ำด้วย

ไม่ให้เหลือแม้แต่ผลเดียว ตั้งแต่เวลาผลเท่าแมลงหวี่ ในเวลาออกช่อ.

แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ผลสุกผลหนึ่งที่ซ่อนอยู่ในรังมดแดง ฝูงวานร

แปดหมื่นตัวมองไม่เห็น หล่นลงไปในน้ำ ติดที่ข่ายด้านบน ของพระ-

เจ้าพาราณสี ผู้ทรงให้ขึงไว้ทั้งด้านบนและด้านล่าง แล้วทรงกีฬาน้ำ.

ในเวลาที่พระราชาทรงเล่นตอนกลางวันแล้วตอนเย็นเสด็จกลับ พวก

ชาวประมงพากันกู้ข่าย เห็นผลไม้สุกผลนั้น แล้วไม่รู้ว่าผลไม้นี้มีชื่อ

โน้น จึงนำไปถวายพระราชาให้ทอดพระเนตร.

พระราชาตรัสถามว่า นี่ผลอะไรกัน ?

ชาวประมง ข้าพระพุทธเจ้าไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า.

พระราชา ใครจักทราบ ?

ชาวประมง พรานไพร พระพุทธเจ้าข้า.

พระราชารับสั่งให้เรียกพรานไพรมา ตรัสถามแล้ว ก็ทรงทราบ

ว่า เป็นผลมะม่วงสุก แล้วทรงใช้พระแสงกริชเฉือน ให้พรานไพร

รับประทานก่อน ภายหลังก็เสวยด้วยพระองค์เอง. พระราชทานให้พระ-

สนมบ้าง อำมาตย์บ้างรับประทานกัน. รสของผลมะม่วงสุก แผ่ซาบซ่าน

ไปทั่วพระสรีระทั้งสิ้นของพระราชา. พระราชานั้นทรงติดพระทัยใน

ความยินดีชอบใจในรส ได้ตรัสถามพวกพรานไพรถึงที่อยู่ของต้นไม้นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 336

เมื่อพวกเขาทูลว่า ที่ฝั่งแม่น้ำในท้องถิ่นดินแดนแห่งหิมพานต์ จึงรับ

สั่งให้คนจำนวนมากต่อเรือขนานแล้วได้เสด็จทวนกระแสน้ำขึ้นไป ตาม

ทางที่พวกพรานไพรทูลชี้แนะ. แต่พวกพรานไม่ได้ทูลบอกกำหนดว่า สิ้น

เวลาเท่านี้วัน. ถึงที่นั้นตามลำดับแล้ว พวกพรานไพรจึงทูลพระราชาว่า

นี่คือต้นไม้ที่ประเสริฐ พระพุทธเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้จอดเรือไว้

ที่แม่น้ำแล้ว มีมหาชนห้อมล้อมเสด็จดำเนินไป ณ ที่นั้นด้วยพระบาท

ทรงให้ปูบรรทมที่ควงไม้ เสวยผลมะม่วงสุก แล้วเสวยพระกระยาหาร

มีรสเลิศนานาชนิดเสร็จแล้วก็บรรทม. ราชบุรุษทั้งหลายวางยามแล้ว

ก่อกองไฟไว้ทุกทิศ. เมื่อมนุษย์ทั้งหลายหลับกันแล้ว พระมหาสัตว์จึง

ได้ไปกับด้วยบริษัทในเวลาเที่ยงคืน. วานร ๘๐,๐๐๐ ตัวพากันไต่ไปกิน

ผลมะม่วงสุกจากกิ่งหนึ่งไปยังกิ่งหนึ่ง. พระราชาทรงตื่นบรรทม ทรง

เห็นฝูงกระบี่ จึงทรงปลุกให้คนทั้งหลายตื่นขึ้น แล้วรับสั่งให้เรียกพวก

แม่นธนูมา แล้วตรัสว่า พรุ่งนี้สูเจ้าทั้งหลายจงพากันล้อมยิงพวกวานร

เหล่านั้น ที่กินผลไม้โดยไม่ให้มันหนีไป. พรุ่งนี้ฉันจะกินผลมะม่วง

และเนื้อวานร. พวกแม่นธนูทูลรับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ แล้ว

พากันยินล้อมต้นไม้แล้วขึ้นลูกศรไว้. พวกวานรได้เห็นพวกเขากลัวภัย

คือความตาย ไม่อาจหนีไปได้ จึงพากันเข้าไปหาพระมหาสัตว์ ยืนสั่น

สะท้านอยู่พลางถามว่า ข้าแต่สมมุติเทพ พวกคนแม่นธนูยืนล้อมต้นไม้

ด้วยหมายใจว่า พวกเราจักยิงลิงตัวที่หนีไป พวกเราจักทำอย่างไรกัน ?

พระโพธิสัตว์ปลอบใจฝูงวานรว่า สูเจ้าทั้งหลายอย่ากลัว ฉันจักให้ชีวิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 337

แก่พวกเธอ แล้วได้วิ่งขึ้นกิ่งไม้กิ่งที่ชี้ไปตรง ๆ แล้วไต่กิ่งที่ชี้ไปตรงหน้า

แม่น้ำคงคา กระโดดจากปลายกิ่งนั้น เลยที่ประมาณชั่วร้อยคันธนูไป

ตกลงที่ยอดพุ่มไม้พุ่มหนึ่ง ลงจากพุ่มไม้นั้นแล้ว กำหนดอากาศระยะทาง

ไว้ว่า ที่ ๆ เรามาประมาณเท่านี้ แล้วกัดเครือหวายเถาหนึ่งที่โคนแกะ

กาบออกแล้ว กะช่วงระยะไว้ ๒ ช่วงนี้ คือ ช่วงระยะเท่านี้ จักผูกต้นไม้

ช่วงระยะเท่านี้ จักขึงไปในอากาศ แต่ไม่ได้กะช่วงระยะสำหรับผูก

สะเอวของตน. เขาลากเอาเครือหวายเถานั้นไปผูกเส้นหนึ่งไว้ที่ต้นไม้ที่

ขึ้นอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ผูกเส้นหนึ่งไว้ที่สะเอวของตน กระโดดไปสู่

สถานที่ประมาณชั่วร้อยคันธนูโดยเร็วเหมือนเมฆถูกลมพัดหอบไปฉะนั้น

เพราะไม่ได้กะช่วงระยะที่ผูกสะเอวไว้ จึงไม่อาจจะขึงต้นไม้ได้จึงเอามือ

ทั้ง ๒ ยึดกิ่งมะม่วงไว้ให้แน่นแล้ว ได้ให้สัญญาณแก่ฝูงวานรว่า สูเจ้า

ทั้งหลายจงเหยียบหลังฉันไต่ไปอย่างปลอดภัย ตามเครือหวายโดยเร็ว.

วานร ๘ หมื่นตัวไหว้ขอขมาพระมหาสัตว์แล้ว ไต่ไปอย่างนั้น. ฝ่าย

พระเทวทัตครั้งนั้นเป็นลิงอยู่ในจำนวนลิงเหล่านั้น คิดว่า นี้เป็นเวลา

ที่จะได้เห็นหลังศัตรูของเราแล้ว จึงขึ้นกิ่งไม้สูง ให้เกิดกำลังเร็วแล้ว

ตกลงบนหลังของพระมหาสัตว์ กระโดดลงเหยียบหลังพระมหาสัตว์ด้วย

กำลังเร็วหัวใจของพระมหาสัตว์แตก. เกิดเวทนามีกำลังแรงกล้าขึ้น.

ฝ่ายลิงเทวทัตนั้น ทำพระมหาสัตว์นั้นให้ได้รับเวทนาแล้ว ก็หลีกไป

พระมหาสัตว์ได้อยู่ลำพังตัวเดียว. พระราชาบรรทมยังไม่หลับ ทอด

พระเนตรเห็นกิริยาที่พวกวานร และพระมหาสัตว์กระทำทุกอย่างแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 338

ทรงบรรทมพลางดำริว่า วานรตัวนี้เป็นสัตว์เดียรฉาน ได้ทำความสวัสดี

แก่บริษัททีเดียว โดยมิได้คำนึงถึงชีวิตของตน. เมื่อสว่างแล้วพระองค์

ทรงพอพระทัยต่อพระมหาสัตว์ ทรงดำริว่า เราไม่ควรให้ขุนกระบี่นี้

พินาศไป เราจักให้เอาขุนกระบี่นั้นลงมาปฏิบัติรักษา แล้วได้รับสั่งให้

จอดเรือขนานไว้ภายในแม่น้ำคงคา ทรงให้ผูกกรงไว้บนนั้นแล้วให้ค่อย

ยกขุนกระบี่ลงมา แล้วรับสั่งให้คลุมผ้ากาสาวพัสตร์บนหลัง ให้อาบน้ำ

ในแม่น้ำคงคา ให้ดื่มน้ำอ้อย ให้เอาน้ำมันที่เจียวแล้วพันครั้ง ชะโลม

บนหลัง ให้ปูหนังแพะบนที่นอนแล้ว. ทรงให้ขุนกระบี่นั้นนอนบนที่

นอนนั้น พระองค์เองประทับนั่งบนอาสนะต่ำ ได้ตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-

ดูก่อนขุนกระบี่ ท่านได้ทอดตัวเป็น

สะพานให้เหล่าวานรข้ามไปโดยสวัสดี ท่าน

เป็นอะไรกับวานรเหล่านั้น และวานรเหล่านั้น

เป็นอะไรกับท่าน ?

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ดูก่อนขุนกระบี่ผู้เจริญท่านทำตนให้เป็น

สะพานคอยกตนให้เป็นคาน แล้วสละชีพให้ฝูงวานรเหล่านี้ข้ามไปโดย

สวัสดี คือให้ข้ามไปโดยเกษม. ท่านได้เป็นอะไรกับพวกเขาหรือพวก

เขาเหล่านี้ ได้เป็นอะไรกับท่าน หรือวานรเหล่านี้ เป็นอะไรกับเรา.

พระโพธิสัตว์ได้สดับคำนั้นแล้ว เมื่อจะตักเตือนเพราะราชา จึง

กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 339

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงปราบข้าศึก ข้าพระ-

องค์เป็นพญาวานรผู้เป็นใหญ่ ปกครองฝูง

วานรเหล่านั้น เมื่อพวกเขาถูกความโศก

ครอบงำ หวาดกลัวพระองค์. ข้าพระองค์ได้

ทะยานพุ่งตัว ที่มีเครื่องผูก คือเถาวัลย์ผูก

สะเอวไว้แน่น ไปจากต้นไม้ต้นนั้น ชั่วระยะ

ร้อยคันธนูที่ปลดสายแล้ว. กลับมาถึงต้นไม้

เหมือนเมฆถูกลมหอบไปฉะนั้น แต่ข้าพระ-

องค์นั้นไปไม่ถึงต้นไม้นั้น จึงได้ใช้มือจับกิ่ง

ไม้ไว้. พวกวานรได้พากันเอาเท้าเหยียบข้า-

พระองค์นั้น ผู้ถูกกิ่งไม้และเถาวัลย์รั้งไว้จนตึง

เหมือนสายพิณที่ขึงตึง แล้วไต่ไปโดยสวัสดี.

การผูกมัดไว้ จึงไม่เผาลนข้าพระองค์ให้เดือด

ร้อน ผู้ฆ่าก็จักไม่ให้ข้าพระองค์เดือดร้อน

เพราะข้าพระองค์ได้นำความสุขมาให้เหล่าวานร

ที่ให้ข้าพระองค์ครองความเป็นใหญ่. ข้าแต่

พระราชาผู้ทรงปราบข้าศึก ข้าพระองค์จะยก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 340

อุปมาถวายพระองค์ ขอพระองค์จงทรงสดับ

ข้ออุปมานั้น ธรรมดากษัตริย์ผู้เป็นพระราชา

ทรงพระปรีชาสามารถ ควรแสวงหาความสุข

ให้แก่รัฐ ยวดยานพาหนะ กำลังพล และ

นิคมทั่วหน้ากัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตส ได้แก่วานร ๘ หมื่นตัวเหล่า

นั้น. บทว่า ภีตานนฺเต ความว่า ผู้หวาดกลัวพระองค์ผู้ทรงประทับ

ยืนสั่งการให้ยิง. พระยาวานรร้องเรียกพระราชาว่า อรินทมะ. บทว่า

วิสฺสฏฺธนุโน สต ความว่า ผู้กระโดดพุ่งตัวไปในอากาศถึงที่ประมาณ

ชั่วร้อยคันธนูที่ยกขึ้นวัด. บทว่า. ตโต ความว่า จากต้นไม้ต้นนี้ คือ

จากที่ที่กระโดดไป. บทว่า อปรปาเทสุ ความว่า ที่เบื้องหลังเท้า. คำว่า

อปรปาเทสุ นี้ ท่านกล่าวหมายถึงบั้นเอว. เพราะว่าพระโพธิสัตว์ผูก

เถาวัลย์นั้นไว้ที่บั้นเอวให้มั่นแล้ว ยันพื้นดินด้วยเท้าหลังทยานไปสู่

อากาศด้วยกำลังเร็วของลม. บทว่า นุณฺโณ รุกฺขมุปาคมึ ความว่า

ข้าพระองค์พุ่งไปด้วยลมของตนที่ให้เกิดกำลังเร็ว เหมือนกับก้อนเมฆถูก

ลมหอบไปฉะนั้น คือเป็นผู้พุ่งไปด้วยกำลังเร็วของตน เหมือนก้อนเมฆ

ที่ถูกลมหอบลอยไปตามลมฉะนั้น แล้วได้กลับมาถึงต้นมะม่วงนี้. บทว่า

อปฺปภว มีเนื้อความว่า ข้าพระองค์นั้นไปไม่ถึงต้นไม้ยังขาดอยู่ประมาณ

ช่วงตัว จึงใช้มือจับกิ่งไม้นั้นไว้. บทว่า วีณายต ความว่า ข้าพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 341

องค์มีร่างกายถูกกิ่งไม้และเครือหวายเหนี่ยวรั้งไว้ เหมือนสายพิณที่ขึง

จนตึงฉะนั้น. บทว่า สมนุกฺกมนฺตา ความว่า เหล่าวานรที่ข้าพระ -

องค์อนุญาตแล้ว ไหว้ข้าพระองค์ขอขมาแล้ว ใช้เท้าไต่ คือเหยียบไป

โดยสวัสดี ไม่มีขาดเลย. บทว่า ต ม น ตปฺปตี พนฺโธ ความว่า

การผูกด้วยเถาวัลย์นั้น ก็ไม่ทำให้ข้าพระองค์เดือดร้อนเลย ถึงบัดนี้

ความตายก็ไม่ทำให้ข้าพระองค์เดือดร้อน. เพราะเหตุไร ? บทว่า สุข-

มาหริต เตส ความว่า ข้าแต่มหาราช เพราะเหตุที่ วานรเหล่านั้น

พูดว่า ท่านผู้นี้จักบำบัดทุกข์แม้ที่เกิดขึ้นแก่พวกเราแล้วบำรุงสุขให้ได้

แล้วจึงได้พากันแต่งตั้งให้ข้าพระองค์เป็นใหญ่. ฝ่ายข้าพระองค์ก็พูด

เหมือนกันว่า เราจักบำบัดทุกข์ที่เกิดขึ้นให้สูเจ้าทั้งหลาย แล้วจึงได้

กลายเป็นหัวหน้า คือ พญาของวานรเหล่านั้น. วันนี้ข้าพระองค์ได้

บำบัดมรณทุกข์นั้น แล้วนำความสุขมาให้พวกวานรเหล่านั้นแล้ว ด้วย

เหตุนั้น การผูกมัดไว้จึงไม่เผารนข้าพระองค์ให้เดือดร้อน เพชฌฆาตคือ

มรณะก็จักไม่ยังข้าพระองค์ให้เดือดร้อน. บทว่า เอสา เต อุปมา

ความว่า ข้าแต่มหาราช นี้คือข้ออุปมาการกระทำที่ข้าพระองค์จะได้ถวาย

แก่พระองค์. บทว่า ต สุณาหิ ความว่า เพราะเหตุนั้น ขอพระ-

องค์จงทรงสดับคำตักเตือน ที่ข้าพระองค์กำลังถวายพระองค์โดยทรง

เทียบเคียงกับอุปมานี้. บทว่า รญฺา รฏฺสฺส มีอธิบายว่า ข้าแต่

มหาราช ธรรมดาพระราชาผู้ไม่ทรงบีบคั้นแว่นแคว้นราษฎรเหมือนหีบ

อ้อยเลย ทรงละการลุอำนาจอคติ ผูกใจเขาอยู่ด้วยสังคหวัตถุธรรม ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 342

อย่าง ทรงดำรงอยู่ในราชธรรม ๑๐ ประการ แล้วทรงสละชีวิตของตน

เหมือนข้าพระองค์ แล้วควรแสวงหา คือเสาะหาความสุขเท่านั้น แก่

แว่นแคว้นทั้งสิ้น ยานพาหนะที่เทียมแล้วมีรถและเกวียนเป็นต้นที่ชื่อว่า

ยวดยานกำลังพล กล่าวคือพลเดินเท้า และแก่นิคม กล่าวคือนิคมและ

ชนบททั่วหน้ากันด้วยพระดำริว่า เราจักมีประโยชน์อะไรสำหรับท่าน

ราษฎรทั้งหลาย ปราศจากความหวาดกลัว หน้าร้อนเปิดประตูได้ ญาติ

และมิตรทั้งหลายห้อมล้อมแล้ว ให้บุตรหลานชื่นใจ ลมเย็นโชยมา

รับประทานอาหารซึ่งเป็นของตนตามชอบใจ ควรเป็นผู้พร้อมพรั่งด้วย

ความสุขกายสบายใจ. บทว่า ขตฺติเยน ปชานตา ความว่า ก็พระ-

ราชานี้ผู้ได้พระนามว่า กษัตริย์ เพราะทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งเกษตร คือ

เจ้าของที่นา ควรเป็นผู้ทรงปรีชา คือทรงสมบูรณ์ด้วยพระปรีชาญาณ

เกินคนที่เหลือ.

มหาสัตว์เมื่อตักเตือนและพร่ำสอนพระราชาอย่างนี้อยู่ก็ได้ถึงแก่

กรรม. พระราชาตรัสเรียกอำมาตย์มา. แล้วตรัสว่าเธอทั้งหลายจงทำ

สรีรกิจของขุนกระบี่นี้ให้เหมือนสรีรกิจของพระราชา แม้ในฝ่ายใน อิตฺ-

ถาคารปิ คือเรือนนางสนม ห้องพระมเหสี ก็ทรงบังคับว่า เธอทั้งหลาย

จงพากันนุ่งห่มผ้าแดง ยายผม มีหัตถ์ถือประทีปด้าม ห้อมล้อมขุน-

กระบี่ไปป่าช้า. อำมาตย์ทั้งหลายตั้งเชิงตะกอนด้วยฟืนเท่าลำเกวียน เผา

ศพมหาสัตว์ ทำนองเดียวกับถวายพระเพลิงพระราชา. แล้วได้ถือกระ-

โหลกศีรษะไปสู่สำนักพระราชา. พระราชาทรงให้สร้างเจดีย์ไว้ที่ป่าช้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 343

ของมหาสัตว์ให้ตามประทีป บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้ว

ทรงให้เลี่ยมกระโหลกศีรษะด้วยทองคำ วางไว้ที่ปลายหลาว ให้สร้างไว้

ข้างหน้าทรงบูชาอยู่ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น จึงเสด็จไปเมื่อ

พาราณสี ให้ตั้งไว้ที่ประตูพระราชวัง แล้วทรงให้ตระเตรียมพระนคร

กระทำการบูชาธาตุตลอด ๗ วัน. ต่อมาพระองค์ก็ทรงให้รับเอาธาตุนั้น

มาสร้างเจดีย์ไว้ บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ตลอดพระชนม์-

ชีพ ทรงดำรงอยู่ในโอวาทของพระโพธสัตว์ บำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น

ครองราชสมบัติโดยธรรม แล้วได้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรมทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกไว้ว่า. พระราชาในครั้งนั้น ได้

แก่พระอานนท์ในบัดนี้ ลิงวายร้าย ได้แก่พระเทวทัต บริษัททั้งหลาย

ได้แก่พุทธบริษัท ส่วนขุนกระบี่ได้แก่เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถามหากปิชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 344

๓. กุมภการชาดก

ว่าด้วยเหตุให้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร

[๑๐๕๗] อาตมภาพได้เห็นต้นไม้มะม่วงที่งอกงาม

ออกผลเขียวไปทั้งต้น ในระหว่างป่ามะม่วง

เมื่อกลับออกมา ได้เห็นมะม่วงต้นนั้นหักย่อย

ยับ เพราะผลของมันเป็นเหตุ ครั้นเห็นแล้ว

อาตมภาพจึงได้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร.

[๑๐๕๘] หญิงสาวคนหนึ่งสวมกำไลแขนหินหยก

เกลี้ยงกลมคู่หนึ่ง ที่นายช่างผู้ชำนาญเจียรไน

แล้ว ไม่มีเสียงดังแต่เพราะอาศัยกำไลแขน

ทั้ง ๒ จึงมีเสียงดังขึ้น อาตมภาพได้เห็น

เหตุนั้นแล้ว จึงได้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร.

[๑๐๕๙] นกจำนวนมากพากันบินตามรุมล้อม ตี

จิกนกตัวหนึ่งที่กำลังนำก้อนเนื้อมา เพราะ

อาหารเป็นเหตุ อาตมภาพได้เห็นเหตุนั้นแล้ว

จึงได้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 345

[๑๐๖๐] อาตมภาพได้เห็นวัว ผู้ตัวหนึ่ง ท่าน

กลางฝูงมีหนอกขึ้นเปลี่ยว ประกอบด้วยสีสวย

และมีกำลังมาก ได้เห็นมันขวิดวัวตัวหนึ่งตาย

เพราะกามเป็นเหตุ ครั้นได้เห็นเหตุนั้นแล้ว

จึงได้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร.

[๑๐๖๑] พระราชาเหล่านี้คือ พระเจ้ากรัณฑกะ

ของชาวกลิงคะ ๑ พระเจ้านัคคชิของชาวคัน-

ธาระ ๑ พระเจ้านิมิราชของชาววิเทหะ ๑

พระเจ้าทุมมุขะของชาวปัญจาละ ๑ ทรงละ

แว่นแคว้นออกผนวช หาความห่วงใยมิได้.

[๑๐๖๒] พระราชาเหล่านี้ แม้ทุกพระองค์ เสมอ

ด้วยเทพเจ้าเสด็จมาพบกันย่อมสง่างามเหมือน

ไฟลุกฉะนั้น ดูก่อนนางผู้มีโชค แม้เราก็

ละกามทั้งหลายทิ้งแล้ว ดำรงอยู่ตามแนวทาง

ของตนเที่ยวไปคนเดียว.

[๑๐๖๓] เวลานี้เท่านั้น เวลาอันนอกจากนี้จะไม่

มีเลย ภายหลังคงไม่มีผู้สอนฉัน ข้าแต่ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 346

ผู้มีโชค ฉันเองก็จักพ้นจากมือชายเที่ยวไป

คนเดียว เหมือนนางนกพ้นจากข้อง ฉะนั้น.

[๑๐๖๔] เด็กทั้งหลายรู้จักดิบรู้จักสุก รู้จักเค็ม

และจืด ฉันเห็นข้อนั้นแล้วจึงบวช เธอจง

เที่ยวไปเพื่อภิกษาเถิด ฉันจะเที่ยวไปเพื่อ

ภิกษา.

จบ กุมภการชาดกที่ ๓

อรรถกถากุมภการชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

การข่มกิเลสแล้ว ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า อมฺพาหมทฺท วนมนฺตรสฺมึ

ดังนี้. เรื่องจักมีแจ้งในปัญญาสชาดก.

ก็กาลครั้งนั้น ที่นครสาวัตถี สหาย ๕๐๐ คน บวชแล้ว

พักอยู่ภายในโกฏิสัณฐาร ในเวลาเที่ยงคืนได้ตรึกถึงเรื่องกามวิตก.

พระศาสดา ทรงตรวจดูสาวกของพระองค์ทั้งคืนทั้งวัน ๖ ครั้ง คือ

กลางคืน ๓ ครั้ง กลางวัน ๓ ครั้ง ทรงพิทักษ์รักษาเหมือนนกกะต้อยติวิด

รักษาไข่ จามรีรักษาขนหาง มารดารักษาลูกน้อยที่น่ารัก และเหมือน

คนตาข้างเดียว รักษาตาที่เหลืออยู่ ฉะนั้นเพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรง

ข่มกิเลสที่เกิดขึ้นของสาวกทั้งหลายในขณะนั้น. วันนั้น เวลาเที่ยงคืน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 347

พระองค์กำหนดตรวจดูพระเชตวันอยู่ ทรงทราบวิตกของภิกษุเหล่านั้น

ฟุ้งขึ้น ทรงดำริว่า กิเลสนี้เมื่อฟุ้งขึ้นในภายในของภิกษุเหล่านี้. จักทำ

ลายเหตุแห่งอรหัตผลเสีย เราตถาคตจักข่มกิเลสแล้วมอบให้ซึ่งอรหัตผล

แก่ภิกษุเหล่านั้นเดี๋ยวนี้แหละ. แล้วเสด็จออกจากพระคันธกุฎี รับสั่งให้

หาพระอานนท์เถระมาแล้วตรัสสั่งให้ประชุมว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจง

ให้ภิกษุผู้อยู่ภายในโกฏิสัณฐารทั้งหมดประชุมกัน. เสด็จประทับนั่งบน

พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ควร

เป็นไปในอำนาจของกิเลสที่เป็นไปแล้วในภายใน ด้วยว่ากิเลสเมื่อเจริญ

ขึ้น ย่อมให้ถึงความพินาศมา เหมือนปัจจามิตร. ธรรมดาภิกษุ กิเลส

แม้มีประมาณเล็กน้อยก็ควรข่มไว้. บัณฑิตในกาลก่อน เห็นอารมณ์

ประมาณเล็กน้อย ก็ข่มกิเลสที่เป็นไปแล้วในภายในไว้ให้ปัจเจกโพธิ-

ญาณเกิดขึ้น แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดในตระกูลช่างหม้อ ในหมู่บ้านใกล้

ประตูนครพาราณสี เจริญวัยแล้วได้ครอบครองสมบัติ มีบุตรชาย

๑ คน บุตรหญิง ๑ คน เลี้ยงบุตรภรรยาโดยอาศัยการทำหม้อ. ใน

กาลครั้งนั้น พระราชาทรงพระนามว่า กรกัณฑะ ในทันตปุรนคร

แคว้นกลิงคะมีพระราชบริพารมาก เมื่อเสด็จไปพระราชอุทยาน ทอด.

พระเนตรเห็นต้นมะม่วงใกล้ประตูพระราชอุทยาน มีผลน่าเสวย เต็มไป

ด้วยผลเป็นพวง ประทับบนคอช้างต้นนั้นเอง ทรงเหยียดพระหัตถ์ออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 348

ไปเก็บผลมะม่วงพวกหนึ่ง แล้วเสด็จเข้าไปพระราชอุทยาน ประทับนั่ง

บนมงคลสิลาอาสน์ พระราชทานแก่คนที่ควรพระราชทาน แล้ว

จึงเสวยผลมะม่วง. จำเดิมแต่เวลาที่พระราชาทรงเก็บผลมะม่วงแล้ว

ตามธรรมดาคนที่เหลือทั้งหลาย ก็ต้องพากันเก็บเหมือนกัน ดังนั้น

อำมาตย์บ้าง พราหมณ์และคหบดีบ้าง จึงพากันเขย่าผลมะม่วงให้หล่น

แล้วรับประทานกัน. ผู้ที่มาหลัง ๆ ก็ขึ้นต้นใช้ไม้ค้อนฟาดทำให้กิ่งหัก

ทะลายลงกินกัน แม้แต่ผลดิบ ๆ ก็ไม่เหลือ. ฝ่ายพระราชาทรงกรีฑา

ในพระราชอุทยานตลอดทั้งวันแล้ว ตอนเย็นเมื่อทรงประทับนั่งบน

คอช้างต้นที่ตกแต่งแล้ว เสด็จไปทอดพระเนตรเห็นต้นมะม่วงนั้นจึง

เสด็จลงจากคอช้างแล้วเสด็จไปที่โคนต้นมะม่วง ทรงมองดูลำต้นพลาง

ทรงดำริว่า ต้นมะม่วงต้นนั้นเมื่อเช้านี้เอง เต็มไปด้วยผลเป็นพวงสง่างาม

ทำความอิ่มตาให้แก่ผู้ดูทั้งหลายยืนต้นอยู่ บัดนี้ เขาเก็บผลหมดแล้ว

หักห้อยรุ่งริ่งยืนต้นอยู่ไม่งาม เมื่อทรงมองดูต้นอื่นอีกได้ทรงเห็นต้น

มะม่วงต้นอื่นที่ไม่มีผลแล้ว ประทับยืนที่ควงไม้นั่นเอง ทรงทำต้นมะม่วง

มีผลให้เป็นอารมณ์ว่า ต้นไม้ต้นนั้นยืนต้นสง่างามเหมือนภูเขาแก้วมณี-

โล้น เพราะตัวเองไม่มีผล ส่วนมะม่วงต้นนี้ถึงความย่อยยับอย่างนี้เพราะ

ออกผล แม้ท่ามกลางเรือนนี้ ก็เช่นกันกับต้นมะม่วงที่ออกผล ส่วนการ

บรรพชาเป็นเช่นกับต้นไม้ที่ไม่มีผล ผู้มีทรัพย์นั้นแหละมีภัย ส่วนผู้ไม่

มีทรัพย์ไม่มีภัย แม้เราก็ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีผลดังนี้แล้ว ทรง

กำหนดการลักษณ์เจริญวิปัสสนายังปัจเจกโพธิญาณให้เกิดขึ้นแล้ว ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 349

รำลึกอยู่ว่า บัดนี้ เราทำลายกระท่อมคือท้องของมารดาแล้ว. การปฏิสนธิ

ในภพทั้ง ๓ เราตัดขาดแล้ว. ส้วมแหล่งอุจจาระ คือสงสารเราล้างแล้ว.

ทะเลน้ำตาเราวิดแห้งแล้ว. กำแพงกระดูกเราพังแล้ว. เราจะไม่มีการ

ปฏิสนธิอีกดังนี้ ได้ทรงแต่งองค์ด้วยเครื่องประดับทั้งหมดประทับยืนอยู่

แล้ว. จึงอำมาตย์ทั้งหลายได้ทูลพระองค์ว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์

เสด็จประทับยืนนานเกินไปแล้ว.

รา. เราไม่ใช่พระราชา แต่เราเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า.

อำ. ข้าแต่สมมติเทพ ธรรมดา พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

จะไม่เป็นเช่นกับด้วยพระองค์.

รา. ถ้าเช่นนั้นเป็นอย่างไร ?

อำ. โกนผมโกนหนวด ปกปิดร่างกายด้วยผ้ากากาวพัสตร์มี

ส่วนเปรียบเทียบด้วยดวงจันทร์ที่พ้นจากปากพระราหู พำนักอยู่ที่เงื้อม

นันทมูลในป่าหิมพานต์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นนี้.

ในขณะนั้น พระราชาทรงยกพระหัตถ์ขึ้นลูบพระเกษา. ในทัน

ทีนั้นเอง เพศคฤหัสถ์ก็อันตรธานไป เพศสมณะก็ปรากฏขึ้น สมณ-

บริขารทั้งหลายที่พระองค์ตรัสถึงอย่างนี้ว่า :-

ไตรจีวร บาตร มีดโกน เข็ม รัดประคตพร้อมด้วยกระบอก

กรองน้ำ ๘ อย่างเหล่านี้ เป็นบริขารของภิกษุผู้ประกอบความเพียร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 350

ได้ปกปิดพระกายของพระองค์ทันที. พระองค์ประทับที่อากาศประทาน

พระโอวาทแก่มหาชนแล้ว ได้เสด็จไปสู่เงื้อมนันทมูลนั่นแหละ.

ฝ่ายพระราชาทรงพระนามว่านัคคชิ ในนครตักกศิลา ที่

แคว้นคันธาระ เสด็จไปที่ท่ามกลางพระราชบัลลังก์ เบื้องบนปราสาท

ทอดพระเนตรเห็นหญิงคนหนึ่ง ในมือแต่ละข้างประดับกำไลแก้วมณี

คือหยก ข้างละอันนั่งบดของหอมอยู่ไม่ไกล ประทับนั่งทอดพระเนตร

พลางดำริว่า กำไลแก้วมณี คือหยกเหล่านั้นไม่กระทบกัน ไม่มีเสียงดัง

เพราะเป็นข้างละอัน คือแยกกันอยู่. ภายหลังนางเอากำไลแขนจาก

ข้างขวามาสวมไว้ที่ข้างซ้ายรวมกัน แล้วเริ่มเอามือขวาดึงของหอมมาบด.

กำไลแก้วมณีคือหยกที่มือซ้ายมากระทบกำไลข้างที่ ๒ จึงมีเสียงดังขึ้น.

พระราชาทอดพระเนตรเห็นกำไลแขนทั้ง ๒ ข้างเหล่านั้นกระทบกัน

อยู่มีเสียงดัง จึงทรงดำริว่า กำไลแขนนี้เวลาอยู่ข้างละอันไม่กระทบกัน

แต่อาศัยข้างที่ ๒ กระทบกันก็มีเสียงดังฉันใด แม้สัตว์ทั้งหลายเหล่า

นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แต่ละคน ๆ ไม่กระทบกัน ก็ไม่ส่งเสียง แต่พอ

มี ๒, ๓ คนขึ้นไปก็กระทบกันทำการทะเลาะกัน. ส่วนเราวิจารณ์

ราษฎรในราชสมบัติ ๒ แห่ง ในกัสมิระและคันธาระ เราควรจะเป็น

เหมือนกำไลแขนข้างเดียว ไม่วิจารณ์คนอื่น วิจารณ์ตัวเองเท่านั้น

อยู่ ดังนี้แล้ว ทรงทำการกระทบกันแห่งกำไลให้เป็นอารมณ์แล้ว

ทั้ง ๆ ที่ทรงนั่งอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 351

แล้วยังปัจเจกโพธิญาณให้เกิด. ข้อความที่เหลือเป็นเช่นกับข้อความแต่

ก่อนนั่นแหละ.

ที่มิถิลานครในวิเทหรัฐ พระเจ้านิมิราช เสวยพระกระยาหาร

เช้าแล้ว มีคณะอำมาตย์แวดล้อม ได้ประทับยืนทอดพระเนตรระหว่าง

ถนน ทางสีหบัญชรที่เปิดไว้. ครั้งนั้น เหยี่ยวตัวหนึ่ง คาบเอาชิ้นเนื้อ

จากเขียงที่ตลาดแล้วบินขึ้นฟ้าไป. นกทั้งหลายมีแร้งเป็นต้น บินล้อม

เหยี่ยวตัวนั้น ข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง ใช้จะงอยปากจิกใช้ปีกตี ใช้

เท้าเฉี่ยวไป เพราะเหตุแห่งอาหาร. มันทนการรังแกตนไม่ไหว จึงทิ้ง

ก้อนเนื้อก้อนนั้นไป. นกตัวอื่นก็คาบเอาเนื้อก้อนนั้นไป. นกเหล่าอื่น

ก็พากันละเหยี่ยวตัวนี้ติดตามนกตัวนั้นไป. ถึงนกตัวนั้นปล่อยแล้ว

ตัวอื่นก็คาบไป นกทั้งหลายก็พากันรุมตีนกแม้ตัวนั้นอย่างนั้นเหมือนกัน

พระราชาทรงเห็นนกเหล่านั้นแล้ว ทรงดำริว่า นกตัวใด ๆ คาบก้อนเนื้อ

นกตัวนั้น ๆ นั่นแหละมีความทุกข์ ส่วนนกตัวใด ๆ ทิ้งสละก้อนเนื้อนั้น

ทิ้ง นกตัวนั้น ๆ นั่นแหละมีความสุข. แม้กามคุณทั้ง ๕ เหล่านี้ ผู้ใด ๆ

ยึดถือไว้ ผู้นั้น ๆ นั่นแหละ มีความทุกข์ ส่วนผู้ไม่ยึดถือนั่นแหละ

มีความสุข เพราะว่ากามเหล่านี้ เป็นของสาธารณะสำหรับคนจำนวนมาก.

ก็แล เรามีหญิงหมื่นหกพันนาง เราควรจะละกามคุณทั้ง ๕ แล้วเป็น

สุขเหมือนเหยี่ยวตัวที่ทิ้งก้อนเนื้อฉะนั้น. พระองค์ทรงมนสิการโดย

แยบคายอยู่ทั้ง ๆ ที่ทรงนั่งอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดไตรลักษณ์ เจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 352

วิปัสสนาแล้วยังปัจเจกโพธิญาณให้เกิดขึ้น. ข้อความที่เหลือเป็นเช่นกับ

ข้อความแต่ก่อนนั่นแหละ.

แม้ในแคว้นอุตตรปัญจาละในกปิลนคร พระราชาทรงพระนามว่า

ทุมมุขะ เสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ทรงประดับเครื่องอลังการ

พร้อมสรรพ มีหมู่อำมาตย์ห้อมล้อม ได้ประทับยืนทอดพระเนตรพระ

ลานหลวงทางสีหบัญชรที่เปิดไว้. ในขณะนั้นคนเลี้ยงวัวทั้งหลายต่าง

ก็เปิดประตูคอกวัว. พวกวัวตัวผู้ออกจากคอก แล้วก็ติดตามวัวตัวเมียตัว

หนึ่งด้วยอำนาจกิเลส. ในจำนวนวัวเหล่านั้น โคถึกใหญ่ตัวหนึ่งเขาคม

เห็นวัวตัวผู้อื่นกำลังเดินมา มีความเห็นแก่ตัว คือหึงด้วยอำนาจกิเลส

ครอบงำจึงใช้เขาแหลมขวิดที่ระหว่างขา. ไส้ใหญ่ทั้งหลายของวัวตัวนั้น

ทะลักออกมาทางปากแผล มันถึงความสิ้นชีวิต ณ ที่นั้นนั่นเอง พระราชา

ทรงเห็นเหตุการณ์นั้นแล้ว ทรงดำริว่า สัตวโลกทั้งหลายตั้งต้นแต่สัตว์

เดียรัจฉานไปถึงทุกข์ด้วยอำนาจกิเลส วัวผู้ตัวนี้อาศัยกิเลสถึงความสิ้น

ชีวิต สัตว์แม้เหล่าอื่นก็หวั่นไหว เพราะกิเลสทั้งหลายนั่นเอง เราควร

จะประหารกิเลสที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายหวั่นไหว. พระองค์ประทับ

ยืนอยู่นั่นแหละ ทรงกำหนดไตรลักษณ์เจริญวิปัสสนา แล้วยังปัจเจก

โพธิญาณให้เกิดขึ้น. ข้อความที่เหลือ เหมือนกับข้อความในตอนก่อน

นั่นเอง.

อยู่มาวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๔ องค์เหล่านั้นกำหนด

เวลาภิกขาจารแล้ว ก็เสด็จออกจากเงื้อมนันทมูลทรงเคี้ยวไม้ชำระฟัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 353

นาคลดา ที่สระอโนดาด ทรงทำการชำระพระวรกายแล้ว ประทับยืน

บนพื้นมโนศิลา ทรงนุ่งสบงแล้วถือเอาบาตรและจีวร เหาะขึ้นไปบน

อากาศด้วยฤทธิ์ ทรงย่ำเมฆ ๕ สีไปแล้ว เสด็จลง ณ ที่ไม่ไกล

หมู่บ้านใกล้ประตูนครพาราณสี ทรงห่มจีวรในที่สำราญแห่งหนึ่ง ทรง

ถือบาตรเสด็จเข้าไปในหมู่บ้านใกล้ประตูเมือง เที่ยวบิณฑบาต ลุถึงประตู

บ้านพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เห็นพระปัจเจกเหล่านั้นแล้วดีใจ

นิมนต์ให้ท่านเข้าไปในบ้านให้นั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว ถวายทักขิโนทก

อังคาสด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่งไหว้พระ

สังฆเถระแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบรรพชาของ

พระองค์ทั้งหลายงามเหลือเกิน อินทรีย์ทั้งหลายของพระองค์ผ่องใส

ฉวีวรรณก็ผุดผ่อง พระองค์ทรงเห็นอารมณ์อะไรหนอจึงทรงเข้าถึง

การบรรพชาด้วยอำนาจภิกขาจารวัตร และได้เข้าไปทูลถามพระเถระแม้

ที่เหลือเหมือนทูลถามพระสังฆเถระ. จึงท่านทั้ง ๔ เหล่านั้น ได้ตรัส

บอกเรื่องการออกบวชของตน ๆ แก่พระโพธิสัตว์นั้นโดยนัยมีอาทิว่า

อาตมภาพเป็นพระราชาชื่อโน้น ในนครโน้น ในแคว้นโน้น แล้ว

ได้ตรัสคาถาองค์ละ ๑ คาถาว่า :-

อาตมภาพได้เห็นต้นมะม่วง ที่งอกงาม

ออกผลเขียวไปทั้งต้น ในระหว่างป่ามะม่วง

เมื่อกลับออกมา ได้เห็นมะม่วงต้นนั้นหักย่อย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 354

ยับ เพราะผลของมันเป็นเหตุ ครั้นเห็นแล้ว

อาตมภาพจึงได้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร.

หญิงสาวคนหนึ่งสวมกำไลแขนหินหยก

เกลี้ยงกลมคู่หนึ่ง ที่นายช่างผู้ชำนาญเจียรไน

แล้ว ไม่มีเสียงดัง แต่เพราะอาศัยกำไลแขน

ข้างทั้ง ๒ จึงมีเสียงดังขึ้น อาตมภาพได้เห็น

เหตุนั้นแล้ว จึงได้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร.

นกจำนวนมากพากันบินตามรุมล้อม ตี

จิกนกตัวหนึ่งที่กำลังนำก้อนเนื้อมา เพราะ

อาหารเป็นเหตุ อาตมภาพได้เห็นเหตุนั้นแล้ว

จึงได้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร.

อาตมภาพได้เห็นวัวตัวผู้ตัวหนึ่ง ท่าม

กลางฝูงมีหนอกขึ้นเปลี่ยว ประกอบด้วยสีสวย

และมีกำลังมาก ได้เห็นมันขวิดวัวตัวหนึ่งตาย

เพราะกามเป็นเหตุ ครั้นได้เห็นเหตุนั้นแล้ว

จึงได้ประพฤติภิกขาจาริยวัตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 355

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมฺพาหมทฺท ความว่า อาตมภาพ

ได้เห็นต้นมะม่วงแล้ว. บทว่า วนมนฺตรสฺมึ ความว่า ในระหว่าง

ป่า อธิบายว่า ท่ามกลางป่ามะม่วง. บทว่า สวิรูฬฺห ความว่า เจริญ

ดีแล้ว. บทว่า ตมทฺทส ความว่า เมื่อออกไปจากพระราชอุทยาน

อาตมภาพได้เห็นมะม่วงต้นนั้นอีกหักย่อยยับ เพราะผลเป็นต้นเหตุ.

บทว่า ต ทิสฺวา ความว่า ครั้นเห็นมะม่วงต้นนั้นหักย่อยยับ เพราะผลเป็น

ต้นเหตุแล้ว อาตมภาพได้ความสังเวชใจ ยังปัจเจกโพธิญาณให้เกิดขึ้น

แล้วได้เข้าถึงการบรรพชา ด้วยอำนาจภิกขาจาริยวัตร เพราะฉะนั้น

อาตมภาพจึงประพฤติภิกขาจาริยวัตร. ท่านบอกวารจิตทุกอย่างนี้ จำเดิม

แต่การเห็นต้นมะม่วงหักย่อยยับ เพราะผลเป็นเหตุ. แม้ในคำตอบของ

พระปัจเจกพุทธเจ้าที่เหลือ ก็มีนัยนั้นเหมือนกัน. แต่ในคำตอบนี้

มีอรรถกถาคำที่ยาก ดังต่อไปนี้. บทว่า เสล ได้แก่กำไลแขนแก้วมณี

หยก. บทว่า นรวีรุนิฏฺิต ความว่า ที่นรชนผู้ประเสริฐ คือช่างทั้งหลาย

เจียระไนแล้ว. อธิบายว่า ที่คนผู้ฉลาดทั้งหลายทำแล้ว. บทว่า ยุค

ได้แก่กำไลแขนคู่หนึ่งโดยทำข้างละอัน. บทว่า ทิชา ทิช ความว่า

นกที่เหลือก็รุมจิกตีนกตัวที่คาบชิ้นเนื้อไป. บทว่า กุณปมาหรนฺต ความว่า

นำเอาก้อนเนื้อไป. บทว่า สเมจฺจ ความว่า มารวมกัน คือชุมนุมกัน.

บทว่า ปริปาตยึสุ ความว่า ติดตามจิกตี. บทว่า อุสภาหมทฺท

ความว่า อาตมภาพได้เห็นอสุภะ. บทว่า วลกฺกกุ ได้แก่มีหนอก

สวยงาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 356

พระโพธิสัตว์ครั้นได้สดับคาถาแต่ละคาถา ได้ทำการสดุดีพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอ

โอกาส อารมณ์นั่นเหมาะสมสำหรับเหล่าข้าพระองค์ทีเดียว. ก็แล

พระโพธิสัตว์ครั้นสดับธรรมกถานั้น ที่ท่านทั้ง ๔ ทรงแสดงแล้ว เป็น

ผู้ไม่มีเยื่อใยในฆราวาส เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จไปแล้ว

รับประทานอาหารเช้าแล้ว นั่งสำราญอยู่ ได้เรียกภรรยามาพูดว่า

พระปัจเจกพุทธเจ้า ๔ องค์นี้ สละราชสมบัติออกผนวชไม่มีกังวล ไม่มี

ห่วงใยให้กาลเวจาล่วงไปด้วยความสุขเกิดจากการบรรพชา ส่วนเราเลี้ยง

ชีพด้วยค่าจ้าง เราจะประโยชน์อะไรด้วยการครองเรือน เธอจง

สงเคราะห์คือเลี้ยงดูลูกอยู่ในบ้านเกิด แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

พระราชาเหล่านี้คือ พระเจ้ากรกัณฑะ

ของชาวคลิงคะ ๑ พระเจ้านัคคชิของชาว

คันธาร ๑ พระเจ้านิมิราชของชาววิเทหะ ๑

พระเจ้าทุมมุขะของชาวปัญจาละ ๑ ทรงละ

แว่นแคว้นออกผนวช หาความห่วงใยมิได้.

พระราชาเหล่านี้ แม้ทุกพระองค์ เสมอ

ด้วยเทพเจ้าเสด็จมาพบกัน ย่อมสง่างามเหมือน

ไฟลุกฉะนั้น ดูก่อนนางผู้มีโชค แม้เราก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 357

ละกามทั้งหลายทิ้งแล้ว ดำรงอยู่ตามส่วนของ

ตนเที่ยวไปคนเดียว.

คาถาเหล่านั้นมีเนื้อความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระปัจเจก-

พุทธเจ้าผู้เป็นสังฆเถระนั้น เป็นพระราชาแห่งชนบทของชาวคันธาระ

ทรงพระนามว่า กรกัณฑะในนครชื่อว่า ทันตปุระ องค์ที่ ๒ เป็น

พระราชาแห่งชนบทของชาวคันธาระ ทรงพระนามว่า นัคคชิ ใน

ตักกศิลานคร องค์ที่ ๓ เป็นพระราชาแห่งชนบทของชาววิเทหะ ทรง

พระนามว่านิมิราชา ในนครมิถิลา องค์ที่ ๔ เป็นพระราชาแห่งชนบท

ของชาวอุตตรปัญจาละ ทรงพระนามว่า ทุมมุขะ ในนครกบิล. พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ทรงละแคว้นทั้งหลายเห็นปานนี้แล้วเป็นผู้ไม่

มีความห่วงใยทรงผนวชแล้ว. บทว่า สพฺเพปิเม ความว่า ก็

พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ แม้ทั้งหมด ทรงเป็นผู้เสมอด้วยพระปัจเจก

พุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนผู้เป็นวิสุทธิเทพ เสด็จมารวมกันแล้ว.

บทว่า อคฺคี ยถา ความว่า ไฟที่ลุกโชนแล้ว ย่อมสง่างามฉันใด.

บทว่า ตเถวิเม ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแม้เหล่านี้ ย่อม

สง่างามด้วยคุณธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ฉันนั้นเหมือนกัน อธิบายว่า

แม้เราก็จักบวชเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น. นาย

ช่างหม้อเรียกภรรยาว่า ภัคควี. บทว่า หิตฺวาน กามานิ ความว่า

ละวัตถุกามทั้งหลายมีรูปเป็นต้น. บทว่า ยโถธิกานิ ความว่า ดำรง

อยู่แล้วด้วยสามารถแห่งแนวทางของตน ๆ มีคำอธิบายว่า แม้เราครั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 358

ละวัตถุกามทั้งหลาย ตามที่ตั้งอยู่นั่นเอง ด้วยสามารถแห่งส่วนมีรูป

เป็นต้น แล้วก็จักบวชเที่ยวไปผู้เดียว. ปาฐะว่า ยโตธิกานิ ดังนี้ก็มี

เนื้อความของปาฐะนั้นว่า กามทั้งหลายมีส่วนที่สำรวมแล้ว คือเว้นแล้ว

ได้แก่มีส่วนที่เว้นแล้ว. บทว่า ปพฺพชิสฺสามิ ความว่า เพราะว่า

ส่วน ๆ หนึ่งแห่งกิเลสกามทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นสิ่งที่เว้นแล้ว จำเดิมแต่

เวลาที่คิดแล้ว. แม้ส่วนของกามที่เป็นวัตถุของเขาที่ดับไปแล้ว ก็เป็น

อันเขาเว้นแล้วเหมือนกัน.

ภรรยานั้นครั้นได้ฟังถ้อยคำของเขาแล้ว จึงพูดว่า ข้าแต่นาย

ตั้งแต่เวลาได้ฟังธรรมกถาของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว แม้ฉันเองใจก็

ไม่สถิตอยู่ในบ้าน แล้วได้กล่าวคาถานี้ว่า :-

เวลานี้เท่านั้น เวลาอื่นนอกจากนี้จะไม่

มีเลย ภายหลังคงไม่มีผู้พร่ำสอนฉัน ข้าแต่

ท่านผู้มีโชค ฉันเองก็จักพ้นจากมือชายเที่ยว

ไปคนเดียว เหมือนนางนกพ้นจากข้อง ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุสาสิโต เม น ภเวยฺย ปจฺฉา

ความว่า ภรรยาชี้แจงว่า ผู้พร่ำสอนคือผู้ตักเตือนคงไม่มี เพราะผู้

ตักเตือนหาได้ยาก เพราะฉะนั้น เวลานี้เท่านั้นเป็นเวลาบวช เวลาอื่น

ไม่มีแล้ว. บทว่า สกุณีว มุตฺตา ความว่า เมื่อนางนกทั้งหลายถูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 359

พรานนกจับได้ โยนใส่ข้องนก นางนกตัวหนึ่งที่หลุดจากมือของพราน

นกตัวนั้นจะเผ่นออกไปกลางหาวไปสู่ที่ตามชอบใจ แล้วบินไปตามลำพัง

ตัวเดียวฉันใด แม้ฉันก็ฉันนั้น พ้นจากมือของท่านแล้ว จักเที่ยวไปคน

เดียว เพราะฉะนั้น นางเป็นผู้ประสงค์จะบวชเอง จึงได้กล่าวอย่างนี้.

พระโพธิสัตว์ครั้นได้ฟังคำของนางแล้ว ได้นิ่งอยู่. ส่วนนางประสงค์

จะลวงพระโพธิสัตว์แล้วบวชก่อน จึงกล่าวว่า ข้าแต่นาย ฉันจักไปท่า-

น้ำดื่ม ขอให้ท่านจงดูเด็ก คือลูกไว้ แล้วจึงถือเอาหม้อน้ำที่ทำเป็นเหมือน

เดินไปท่าน้ำแล้วหนีไป ถึงสำนักของพวกดาบสที่ใกล้นครแล้วก็บวช.

พระโพธิสัตว์ทราบว่า นางไม่มาจึงเลี้ยงเด็กเอง. ต่อมาเมื่อเด็กเหล่านั้น

เติบโตขึ้นหน่อยหนึ่ง ถึงความเป็นผู้สามารถรู้ความเจริญ เละความเสื่อม

ของตน คือดีชั่วแล้ว เพื่อจะทดลองเด็กเหล่านั้น วันหนึ่งพระโพธิสัตว์

เมื่อหุงข้าวสวย ได้หุงดิบไปหน่อย วันหนึ่งแฉะไปหน่อย วันหนึ่งไหม้

วันหนึ่งปรุงอาหารจืดไป วันหนึ่งเค็มไป. เด็กทั้งหลายพูดว่า วันนี้

ข้าวดิบ วันนี้แฉะ วันนี้ไหม้ วันนี้จืด วันนี้เค็มไป. พระโพธิสัตว์

พูดว่า ลูกเอ๋ยวันนี้ข้าวดิบ แล้วคิดว่า บัดนี้ เด็กเหล่านี้รู้จักดิบ สุก

จืดและเค็มจัดแล้ว จักสามารถเลี้ยงชีพตามธรรมดาของตน เราควรจะ

บวชละ. ต่อมาท่านได้มอบเด็กเหล่านั้นให้พวกญาติพูดว่า ดูก่อนพ่อและ

แม่ ขอจงเลี้ยงเด็กเหล่านี้ให้ดีเถิด แล้วเมื่อพวกญาติกำลังโอดครวญอยู่

นั่นเองได้ออกจากพระนครไปบวชเป็นฤาษีอยู่ใกล้ ๆ พระนครนั่นเอง.

อยู่มาวันหนึ่ง นางปริพาชิกา คือภริยาเก่า ได้เห็นท่านกำลังเที่ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 360

ภิกขาจารในนครพาราณสี ไหว้แล้วจึงพูดว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า ท่าน

เห็นจะให้เด็กคือลูกทั้งหลายพินาศแล้ว. พระมหาสัตว์ ตอบว่า เราไม่

ได้ให้เด็ก คือลูกพินาศ ออกบวชในเวลาที่พวกเขาสามารถรู้ความเจริญ

และความเสื่อม คือดีชั่วของตนแล้ว เธออย่าคิดถึงพวกเขา จงยินดี

ในการบวชเถิด แล้วได้กล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-

เด็กทั้งหลายรู้จักดิบ รู้จักสุก รู้จักเค็ม

และจืด ฉันเห็นข้อนั้นแล้วจึงบวช เธอจง

เที่ยวไปเพื่อภิกษาเถิด ฉันก็จะเที่ยวไปเพื่อ

ภิกษา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมห ความว่า เราเห็นกิริยาของ

เด็กเหล่านั้นแล้วจึงบวช. บทว่า เจเรว ตฺว จรามิห ความว่า แม้ท่าน

ก็จงเที่ยวไปเพื่อภิกขาจารเถิด ข้าพเจ้าก็จักเที่ยวไปเพื่อภิกขาจาร.

พระโพธิสัตว์ตักเตือนปริพาชิกา ด้วยประการอย่างนี้แล้ว ก็ส่ง

ตัวไป. ฝ่ายปริพาชิการับโอวาทไหว้พระมหาสัตว์แล้ว จึงไปสู่สถานที่

ตามที่ชอบใจ. ได้ทราบว่านอกจากวันนั้นแล้ว ทั้ง ๒ ท่านนั้นก็ไม่ได้

พบเห็นกันอีก. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ให้ฌานและอภิญญาเกิดขึ้นแล้ว ได้

เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 361

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ได้ทรงประ-

กาศสัจธรรมทั้งหลายประชุมชาดกไว้ว่า ในที่สุดแห่งสัจธรรม ภิกษุ

๕๐๐ รูป ดำรงอยู่แล้วในอรหัตผล. ธิดาในครั้งนั้นได้แก่ อุบลวรรณา-

เถรีในบัดนี้ บุตรได้แก่พระราหุลเถระ ปริพาชิกา ได้แก่มารดาพระ-

ราหุลเถระ ส่วนปริพาชก คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถากุมภการชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 362

๔. ทัฬหธัมมชาดก

ว่าด้วยความกตัญญู

[๑๐๖๕] ก็ฉันเมื่อนำพาราชกิจของพระเจ้าทัฬห-

ธรรม ได้คาดลูกศรไว้ที่หน้าอก มีปกติประ

พฤติความกล้าหาญในการรบ ก็ไม่ยังพระองค์

ให้โปรดปรานได้.

[๑๐๖๖] พระราชาไม่ทรงทราบความเพียรของลูก

ผู้ชายของฉันและการสื่อสาร ที่ฉันทำได้อย่างดี

ในสงคราม เป็นแน่.

[๑๐๖๗] ฉันนั้นไม่มีพวกพ้อง ไม่มีที่พึ่ง จักตาย

แน่ ๆ มีหนำซ้ำพระราชายังได้พระราชทานฉัน

แก่ช่างหม้อ ให้เป็นผู้ขนมูลสัตว์โคมัย.

[๑๐๖๘] คนยังมีหวังอยู่ตราบใด ตราบนั้นก็ยัง

คบหากันอยู่ เมื่อเขาเสื่อมจากประโยชน์ คน

โง่ทั้งหลาย ก็จะทอดทิ้งเขา เหมือนขัตติยราช

ทรงทอดทิ้งช้างพังต้นฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 363

[๑๐๖๙] ผู้ใดที่ผู้อันทำความดีให้ก่อน สำเร็จประ-

โยชน์ที่ต้องการแล้วย่อมไม่รู้คุณ ประโยชน์

ทั้งหลายที่เขาปรารถนา แล้วของผู้นั้นจะเสื่อม

สลายไป.

[๑๐๖๖] ส่วนผู้ใด ที่คนอื่นทำความดีให้แล้ว

สำเร็จประโยชน์ที่ต้องการแล้วยังรู้คุณ ประ

โยชน์ทั้งหลายที่เขาปรารถนา ของผู้นั้นจะ

เพิ่มพูนขึ้น.

[๑๐๗๑] เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอบอกท่านทั้ง-

หลาย ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย มี

จำนวนที่มาประชุมกัน ณ ที่นี่ ขอท่านทุกคน

จงเป็นผู้รู้คุณที่ผู้อื่นทำแล้วแก่ตน ท่านทั้ง-

หลายจะสถิตอยู่ในสวรรค์ ตลอดกาลนาน.

จบ ทัฬหธัมมชาดกที่ ๔

อรรถกถาทัฬหธัมมชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยเมืองโกสัมพี ประทับอยู่ ณ

โฆสิตาราม ทรงปรารภช้างพังต้นชื่อภัททวดีของพระเจ้าอุเทน แล้วจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 364

ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อหญฺจ ทฬฺหธมฺมสฺส ดังนี้. ส่วนวิธี

ที่พระเจ้าอุเทนทรงได้ช้างพังต้นตัวนั้นก็ดี ราชวงศ์ของพระเจ้าอุเทนก็ดี

จักมีแจ้งในมาตังคชาดก.

ก็วันหนึ่ง ช้างพังต้นเดินออกจากพระนครไป ได้เห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้า มีหมู่พระอริยห้อมล้อม เสด็จเข้าไปในพระนคร

ด้วยพุทธสิริ หาที่เปรียบมิได้เพื่อบิณฑบาตแต่เช้า จึงหมอบลงแทบบาท

มูลของ พระพุทธเจ้า ทูลขอ พระผู้มีพระภาคเจ้า โอดครวญไปพลาง

ว่า ข้าแต่พระสรรเพชญผู้ทรงภาคยธรรม ผู้ทรงช่วยเหลือสัตวโลกทั้ง

มวล. พระเจ้าอุเทนทรงโปรดปรานหม่อมฉัน ในเวลาที่หม่อมฉันยัง

สามารถช่วยราชการได้ ในเวลายังรุ่นโดยทรงเห็นว่า ตนเองได้ชีวิตได้

ราชสมบัติและพระราชเทวีมา โดยอาศัยหม่อมฉัน จึงได้พระราชทาน

การเลี้ยงดูมากมาย ทรงตกแต่งที่อยู่ประดับประดาด้วยเครื่องอลังการ

ทั้งหลาย รับสั่งให้ทำการประพรมด้วยของหอม ทรงให้ติดเพดานประ-

ดับดาวทองไว้เบื้องบนให้กั้นม่านที่วิจิตรไว้โดยรอบ ให้ตามประทีปด้วย

น้ำมันเจือด้วยของหอม ให้ตั้งกระถางอบควันไว้ ไห้วางกระถางทองไว้

ในที่สำหรับเทคูถแล้วให้หม่อมฉันยืนอยู่บนแท่นที่มีเครื่องลาดอันวิจิตร

และได้พระราชทาน เครื่องกินที่มีรสเลิศนานาชนิดแก่หม่อมฉัน. แต่

บัดนี้เวลาหม่อมฉันไม่สามารถช่วยราชการได้ในเวลาแก่ พระองค์ทรง

งดการบำรุงนั้นทุกอย่าง. หม่อมฉันไม่มีที่พึ่ง เป็นผู้ไม่มีปัจจัยเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 365

อาศัย หากินต้นลำเจียกในป่าเลี้ยงชีพ หม่อมฉันไม่มีที่พึ่งอย่างอื่น ข้า

แต่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงทรงให้พระเจ้าอุเทนทรงรำลึก

ถึงคุณความดีของหม่อมฉัน แล้วทรงกระทำการบำรุงอย่างเดิม กลับ

เป็นปกติแก่หม่อมฉัน. พระศาสดาตรัสว่า เจ้าจงไปเถิด เราตถาคต

จักทูลพระราชาแล้วแต่งตั้งยศให้กลับเป็นปกติ แล้วได้เสด็จไปประตู

พระราชนิเวศน์. พระราชได้ให้พระตถาคตเจ้าเสด็จเข้าไปในพระราช-

นิเวศน์ของพระองค์แล้ว ทรงถวายมหาทาน แด่พระสงฆ์มี พระพุทธ-

เจ้า เป็นประมุข. พระศาสดา เมื่อทรงทำอนุโมทนาในเวลาเสร็จภัตกิจ

แล้วได้ตรัสถามว่า ดูก่อนบพิตรมหาราช พังต้นภัททวดีอยู่ที่ไหน ? พระ

ราชาทูลว่า ไม่ทราบพระพุทธเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถึงคุณความดีของ

พังภัตทวดีว่า ดูก่อนบพิตรมหาราช ขึ้นชื่อว่าการพระราชทานยศแก่ผู้

มีอุปการคุณแล้วทรงทอดทิ้งในเวลาแก่ ย่อมไม่ควร ควรจะเป็นผู้มี

กตัญญูกตเวที. พังต้นภัตทวดี บัดนี้แก่ทรุดโทรมมาก เป็นสัตว์อนาถา

หากินต้นลำเจียกในป่าประทังชีวิตอยู่ การทำให้เขาไร้ที่พึ่งในเวลาแก่

ไม่เหมาะสมแก่พระองค์แล้วตรัสว่า ขอพระองค์จงทรงทำการบำรุงอย่าง

เดิมทุกอย่างให้เป็นปกติ ดังนี้แล้วจึงเสด็จหลีกไป. พระราชาได้ทรง

กระทำอย่างนั้น. เสียงเล่าลือได้กระจายไปทั่วพระนครว่า ได้ทราบว่า

พระตถาคตเจ้าตรัส ถึงคุณความดีของพังต้นภัททวดีแล้วทรงให้พระราชา

แต่งตั้งยศเก่าให้กลับคืนตามปกติ. แม้ในหมู่พระสงฆ์ประวัตินั้นก็ปรากฏ

ขึ้น. จึงภิกษุทั้งหลายพากันตั้งเรื่องสนทนากันในธรรมสภาว่า ท่านผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 366

มีอายุได้ทราบว่า พระศาสดาตรัสถึงคุณความดีของพังต้นภัททวดี แล้ว

ทรงให้พระเจ้าอุเทนทรงแต่งตั้งยศเก่าให้กลับคืนตามปกติ. พระศาสดา

เสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งสน-

ทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ด้วยเรื่อง

ชื่อนี้ แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายไม่ใช่ในเวลานี้เท่านั้น แม้ใน

กาลก่อนตถาคต ก็กล่าวถึงคุณความดีของพังต้นภัททวดีนี้ แล้วให้พระ-

ราชาทรงแต่งตั้งยศตามปกติเหมือนกัน ดังนี้. แล้วได้ทรงนำเอาเรื่อง

ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า ทัฬหธรรม เสวยราช.

สมบัติในนครพาราณสี. ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ ถือกำเนิดในตระกูล

อำมาตย์เติบโตแล้วได้รับใช้เป็นมหาดเล็ก พระราชาพระองค์นั้น. ท่าน

ได้ยศสูงได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งรัตนอำมาตย์ จากราชสำนักนั้น. กาล

ครั้งนั้น พระราชาพระองค์นั้นทรงมีช้างพังต้นเชือกหนึ่ง ชื่อโอฏฐิพยาธิ

มีกำลังวังชามาก. วันหนึ่งเดินทางได้ร้อยโยชน์. ทำหน้าที่นำสิ่งของที่

ต้องส่งไปถวายพระราชา คือสื่อสาร. ในสงครามทำยุทธหัตถี ทำการ

ย่ำยีศัตรู. พระราชาทรงดำริว่า ช้างพังเชือกนี้มีอุปการะแก่เรามาก จึง

พระราชทานเครื่องอลังการ คือคชาภรณ์ทุกอย่าง แก่พังต้นเชือกนั้น

แล้วได้พระราชทานการบำรุงทุกอย่าง เช่นกับที่พระเจ้าอุเทนพระราช-

ทานแก่พังต้นภัททวดี. ภายหลังเวลาพังต้นโอฏฐิพยาธินั้นแก่แล้วหมด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 367

กำลัง ทรงยึดยศทุกอย่างคืน. ต่อแต่นั้นมา มันก็กลายเป็นช้างอนาถา

หากินหญ้าและใบไม้ในป่าประทังชีวิตอยู่. อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อภาชนะ

ไม่พอใช้ในราชตระกูล จึงรับส่งให้หาช่างหม้อเข้าเฝ้าแล้วตรัสว่า ได้

ทราบว่าภาชนะไม่พอใช้ ช่างจึงทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์

หาโคเทียมเกวียนเข็นโคมัยไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาทรงสดับ

คำของช่างแล้ว จึงตรัสถามว่า พังต้นโอฏฐิพยาธิของเราอยู่ที่ไหน ?

อำมาตย์จึงทูลว่า เที่ยวไปตามธรรมดาของตนพระพุทธเจ้าข้า. พระ-

ราชาได้พระราชทานพังต้นเชือกนั้น แก่ช่างหม้อด้วยพระดำรัสว่า ต่อ

แต่นี้ไปจงเทียมพังต้นเชือกนั้นเข็นโคมัย. ช่างหม้อรับพระดำรัสว่า ดี

แล้ว พระพุทธเจ้าข้า แล้วได้ทำอย่างนั้น. อยู่มาวันหนึ่ง มันออกจาก

พระนครไปเห็นพระโพธิสัตว์กำลังเข้าพระนคร จบแล้วหมอบแทบเท้า

ของท่าน โอดครวญพลางกล่าวว่า ข้าแต่นาย พระราชาทรงกำหนดรู้

ฉันว่ามีอุปการะมาก. ในเวลายังรุ่น ได้พระราชทานยศสูง แต่บัดนี้ เวลา

ฉันแก่ งดหมดทุกอย่าง ไม่ทรงทำแม้แต่การคิดถึงฉัน ฉันไม่มีที่พึ่ง

จึงเที่ยวหากินหญ้าและใบไม้ประทังชีวิตอยู่ บัดนี้ได้พระราชทานฉันผู้

ตกยากอย่างนี้ให้ช่างหม้อ เพื่อเทียมยานน้อย. เว้นท่านแล้วผู้อื่นที่

จะเป็นที่พึ่งของฉันไม่มี ท่านรู้อุปการะที่ฉันทำแก่พระราชาแล้ว ได้

โปรดเถิด ขอท่านจงทำยศของฉันที่เสื่อมไปแล้วไห้กลับคืนมาตามปกติ

เถิด แล้วได้กล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 368

ก็ฉันเมื่อนำพาราชกิจของพระเจ้าทัฬห-

ธรรม ได้คาดลูกศรไว้ที่หน้าอก มีปกติประ-

พฤติความกล้าหาญในการรบ ก็ไม่ยังพระองค์

ให้โปรดปรานได้. พระราชาไม่ทรงทราบความ

เพียรของลูกผู้ชายของฉัน และการสื่อสาร ที่

ฉันทำได้อย่างดีในสงความ เป็นแน่. ฉันนั้น

ไม่มีพวกพ้อง ไม่มีที่พึง จักตายแน่ ๆ มิหนำซ้ำ

พระราชายังได้พระราชทานฉันแก่ช่างหม้อ ให้

เป็นผู้ขนมูลสัตว์โคมัย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วหนฺตี ความว่า เมื่อทำลายการ

นำสาร คือคลังแห่งกำลังในสงคราม ชื่อว่านำพาคือช่วยเหลือราชกิจ

นั้นๆ. บทว่า นุทนฺตี อุรสิ สลฺล ความว่า นำดาบหรือหอกที่ผูก

ไว้ที่หน้าอกไปเฉพาะเบื้องบนศัตรูทั้งหลายในเวลารบ. บทว่า วิกฺกนฺต-

จารินี ความว่า ถึงความเป็นผู้กล้าหาญในการรบเป็นปกติด้วยการทำ

ความกล้าหาญ แล้วพิชิตกำลังของฝ่ายปรปักษ์. มีคำอธิบายว่า ข้าแต่

นาย ถ้าหากฉันทำราชกิจเหล่านี้อยู่ ก็ไม่ยังพระราชหฤทัยของพระเจ้า

ทัฬหธรรมให้ยินดีได้ คือไม่ให้พระองค์พอพระราชหฤทัยแล้วไซร้ บัดนี้

ใครคนอื่นจักยังพระราชหฤทัยของพระองค์ให้ทรงยินดี. บทว่า มม

วิกฺกมโปริส ได้แก่ความบากบั่นของบุรุษที่ฉันได้ทำแล้ว บทว่า สุก-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 369

ตนฺตานิ ความว่า ทำเรียบร้อยแล้ว. ราชกิจทั้งหลายที่ทำเรียบร้อย

แล้วนั่นแหละ ที่เรียก สุกตนฺตานิ คือทำดีแล้ว ในที่นี้เหมือนงาน

ทั้งหลายนั่นแหละ เขาเรียกว่า กมฺมนฺตานิ คือการงานและเหมือน

ป่านั่นแหละ เขาเรียกว่า วนนฺตานิ. บทว่า ทูตวิปฺปหิตานิ จ

ความว่า การส่งสารที่ฉันผู้ที่เขาผูกหนังสือไว้ที่คอแล้วส่งไปโดยบอกว่า

จงถวายแก่พระราชาชื่อโน้น แล้วก็เดินไปวันเดียวเท่านั้นตั้งร้อยโยชน์.

บทว่า น นูน ราชา ชานาติ ความว่า พระราชานั้นไม่ทรงทราบ

ราชกิจทั้งหลายเหล่านั้นที่ฉันทำถวายพระองค์แน่นอน. บทว่า อปรายินี

ความว่า ไม่มีที่พึ่งที่ระลึก. บทว่า ตทา หิ ได้แก่ ตถา หิ คือจริง

อย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า ตถา หิ นี้เหมือนกัน. บทว่า ทินฺนา

ความว่า เพราะฉันเป็นผู้ที่พระราชาพระราชทานแก่ช่างหม้อ ทำให้

เป็นผู้ขนมูลสัตว์แล้ว.

พระโพริสัตว์สดับถ้อยคำของเขาแล้วจึงปลอบใจว่า เจ้าอย่าโศก

เศร้าไปเลย ฉันจักทูลพระราชาแล้วให้พระราชทานยศตามปกติ แล้วเข้า

ไปพระนคร รับประทานอาหารเช้าแล้วไปราชสำนักยกเรื่องขึ้นทูลถาม

ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ทรงมีช้างพังต้นชื่อโอฏฐิพยาธิ มิใช่หรือ ?

เขาผูกหลาวไว้ที่หน้าอกแล้วช่วยสงครามในที่โน้นและในที่โน้น วันโน้น

ถูกผูกหนังสือ คือสารที่คอแล้วส่งไปสื่อสาร ได้เดินทางไปร้อยโยชน์.

ฝ่ายพระองค์ก็ได้พระราชทานยศแก่เขามาก บัดนี้ เขาอยู่ที่ไหน ? พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 370

ราชาตรัสตอบว่า เราได้ให้เขาแก่ช้างหม้อ เพื่อเข็นโคมัยแล้ว. ลำดับนั้น

พระโพธิสัตว์จึงทูลพระองค์ว่า ข้าแต่มหาราช การพระราชทานแก่ช่าง

หม้อ เพื่อให้เทียมล้อ ที่พระองค์ทรงทำแล้วไม่สมควรเลย. แล้วได้

ภาษิตคาถา ๔ คาถา โดยการถวายโอวาทพระราชาว่า :-

คนยังมีหวังอยู่ตราบใด ตราบนั้นก็ยัง

คบหากันอยู่ เมื่อเขาเสื่อมจากประโยชน์ คน

โง่ทั้งหลาย ก็จะทอดทิ้งเขา เหมือนขัตติยราช

ทรงทอดทิ้งช้างพังต้นฉะนั้น. ผู้ใดที่ผู้อื่นทำ

ความดีให้ก่อน สำเร็จประโยชน์ที่ต้องการแล้ว

ย่อมไม่รู้คุณ ประโยชน์ทั้งหลายที่เขาปรารถนา.

แล้วของผู้นั้นจะเสื่อมสลายไป. ส่วนผู้ใด ที่

คนอื่นทำความดีให้แล้ว สำเร็จประโยชน์ที่

ต้องการแล้ว ก็ยังรู้คุณ ประโยชน์ทั้งหลาย

ที่เขาปรารถนาแล้ว ของผู้นั้นจะเพิ่มพูนขึ้น.

เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอบอกท่านทั้งหลาย

ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย มีจำนวน

ที่มาประชุมกัน ณ ที่นี้. ขอท่านทุกคนจงเป็น

ผู้รู้คุณที่ผู้อันทำแล้วแก่ตน ท่านทั้งหลายจัก

สถิตอยู่ในสวรรค์ ตลอดกาลนาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 371

บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาที่ ๑ มีเนื้อความว่า คนบางตนใน

โลกนี้เป็นชาติแห่งผู้ไม่รู้ คือโง่ก่อน. บทว่า ยาวตาสึสตี ความว่า

ตราบใดเขายังหวังอยู่ว่า คนนี้จักอาจกระทำสิ่งนี้แก่เรา ตราบนั้นเขา

ก็ยังคบหาสมาคมคนคนนั้นอยู่ แต่ในเวลาเขาเสื่อมประโยชน์แล้ว คือ

ในเวลาไม่ถึงความเจริญแล้ว ได้แก่เวลาเสื่อมเสียแล้ว คนโง่บางจำพวก

ก็จะละทิ้งคน ๆ นั้น ผู้ดำรงอยู่แล้วในกิจนานาชนิด เหมือนขัตติยราช-

พระองค์นี้ ทรงละทิ้งช้างพังโอฏฐิพยาธิตัวนี้ ฉะนั้น. บทว่า กตกลฺ-

ยาโณ ความว่า ผู้มีกัลยาณธรรมที่ผู้อื่นทำแล้วแก่ตน. บทว่า กตตฺโถ

ความว่า ผู้สำเร็จกิจแล้ว. บทว่า นาวพุชฺฌติ ความว่า ไม่ระลึกถึง

อุปการะนั้น ที่คนอื่นทำแล้ว ในเวลาเขาแก่แล้ว คือยึดเอายศแม้ที่ตน

ให้แล้วอีกคืน. บทว่า ปลุชฺชนฺติ ความว่า หักสะบั้นไปคือพินาศไป.

ด้วยบทว่า เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา พระโพธิสัตว์แสดงว่า ขึ้นชื่อว่าคน

โง่บางพวกที่ปรารถนาแล้ว จะพินาศทั้งหมด. เพราะว่า ความปรารถนา

นั้นของบุคคลผู้ประทุษร้ายต่อมิตรจะพินาศไป เหมือนพืชที่วางไว้ใกล้

ไฟฉะนั้น. บทว่า กตตฺโถ มนุพุชฺฌติ ท่านรับเอาแล้วด้วยสามารถ

แห่งพยัญชนะสนธิ. บทว่า ต โว วทามิ ความว่า เพราะเหตุนั้น

ข้าพเจ้าขอกล่าวกะท่านทั้งหลาย. บทว่า สฺสถ ความว่า ท่านทั้งหลาย

เป็นคนกตัญญูจักเสวยทิพยสมบัติสถิตอยู่ในสวรรค์ตลอดกาลนาน.

พระมหาสัตว์ได้ให้โอวาทแก่คนทั้งหมด ตั้งต้นแต่พระราชาที่

มาประชุมกันแล้ว. พระราชาทรงสดับโอวาทนั้นแล้ว ได้ทรงแต่งตั้งยศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 372

ให้ช้างพังต้นโอฏฐิพยาธิ ตามปกติ. พระองค์ทรงดำรงอยู่ในโอวาทของ

พระโพธิสัตว์แล้ว ทรงบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น ตลอดกาลนานแล้ว

ได้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกไว้ว่า ช้างพังต้นชื่อโอฏฐิพยาธิในครั้งนั้น ได้แก่พังภัททวดีในบัดนี้

พระราชา ได้แก่พระอานนท์ ส่วนอำมาตย์ ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาทัฬหธัมมชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 373

๕. โสมทัตตชาดก

ว่าด้วยความเศร้าโศกถึงผู้เป็นที่รัก

[๑๐๗๒] โสมทัตตมาตังคะ ซึ่งในวันก่อนมาต้อน

รับเราไกลถึงป่าเป็นเวลานาน เราไม่เห็น ไปที่

ไหนเสียแล้ว.

[๑๐๗๓] นี้เองคือช้างโสมทัตตเชือกนั้น นอนตาย

แล้ว มันนอนตายอยู่เหนือพื้นดิน เหมือน

ยอดเถาย่านทราย ที่ถูกเด็ดทิ้งแล้ว. โสมทัตต

กุญชรได้ตายไปแล้วหนอ.

[๑๐๗๔] เมื่อท่านเป็นอนาคาริก หลุดพ้นไปแล้ว

การที่ท่านโศกเศร้าถึงสัตว์ที่ตายไปแล้ว ไม่

เป็นการดีสำหรับท่านผู้เป็นสมณะ.

[๑๐๗๕] ข้าแต่ท้าวสักกะ ความรักใคร่ย่อมเกิด

ขึ้นแก่ดวงใจของมนุษย์หรือมฤค เพราะการ

อยู่ด้วยกันโดยแท้ อาตมภาพจึงไม่อาจไม่

เศร้าโศกถึงสัตว์ที่เป็นที่รักได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 374

[๑๐๗๖] เหล่าสัตว์ผู้ร้องไห้คร่ำครวญ ก็ร้องไห้

ถึงสัตว์ผู้ตายไปแล้วและจักตาย เพราะฉะนั้น

ท่านฤๅษีท่านอย่าได้ร้องไห้เลย เพราะสัต-

บุรุษทั้งหลายเรียกการร้องไห้ว่าเป็นโมฆะ.

[๑๐๗๗] ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ ถ้าคนที่ตายแล้ว

ล่วงลับไปแล้ว จึงกลับฟื้นขึ้นมาไซร้ พวก

เราทุกคน ก็จงมาชุมนุมกันร้องไห้ถึงญาติของ

กันและกันเถิด.

[๑๐๗๘] อาตมภาพถูกไฟ คือความโศกแผดเผา

แล้วหนอ มหาบพิตรทรงช่วยดับความร้อนรน

ทุกอย่างให้หายไป เหมือนเอาน้ำดับไฟที่ไหม้

เปรี้ยงก็ปานกัน มหาบพิตร ได้ทรงถอนลูกศร

คือความโศกอันปักอยู่ที่หัวอกของอาตมาภาพ

ออกไปแล้ว เมื่ออาตมภาพถูกความโศก

ครอบงำ มหาบพิตรได้ทรงบรรเทาความโศก

ถึงบุตรนั้นเสียได้ ข้าแต่ท้าวสักกะ อาตมภาพ

นั้นเป็นผู้มีลูกศรคือความโศก อันมหาบพิตร

ทรงถอนออกแล้ว หายโศกแล้ว ใจก็ไม่ขุ่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 375

มัว ทั้งจะไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ต่อไป เพราะ

ได้ฟังเทพดำรัสของมหาบพิตรแล้ว.

จบ โสมทัตตชาดกที่ ๕

อรรถกถาโสมทัตตชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

หลวงตารูปหนึ่ง แล้วจึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า โย ม ปุเร

ปจจุเทติ ดังนี้.

ได้ยินว่า หลวงตานั้นบวชสามเณรรูปหนึ่ง. สามเณรนั้นเป็น

ผู้อุปัฏฐากท่าน ได้มรณภาพ ด้วยโรคชนิดนั้น. เมื่อสามเณรนั้น

มรณภาพหลวงตาเดินร้องไห้คร่ำครวญไปพลาง. ภิกษุทั้งหลายเห็นท่าน

แล้วตั้งเรื่องขึ้นสนทนากันในธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโส หลวงตารูป

โน้นเดินร้องไห้คร่ำครวญไปพลาง เพราะการมรณภาพของสามเณร

ท่านเห็นจะเว้นจากกรรมฐาน ข้อมรณานุสสติ. พระศาสดาเสด็จมาถึงตรัส

ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร

หรือ ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ แล้วได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เฉพาะแต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เมื่อ

สามเณรมรณภาพแล้ว หลวงตานั้นก็ร้องไห้เหมือนกัน. เป็นผู้ที่ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 376

ทั้งหลายทูลอ้อนวอนแล้ว จึงได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อ

ไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์ เสวยชาติเป็นท้าวสักกะ. ครั้งนั้น พราหมณ์

มหาศาล ชาวกาสีนิคมคนหนึ่ง ละทิ้งกามทั้งหลายออกไปป่าหิมพานต์

บวชเป็นฤาษี มีหัวมันและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อยู่โดยการประพฤติ

ด้วยการแสวงหา. วันหนึ่ง ท่านไปเพื่อต้องการผลไม้น้อยใหญ่ เห็น

ลูกช้างเชือกหนึ่ง จึงนำมาอาศรมของตน ให้ดำรงอยู่ในฐานเป็นบุตร

ตั้งชื่อมันว่า โสมทัตตะ เลี้ยงดูไว้ให้กินหญ้าและใบไม้. มันเติบโตขึ้นมี

ร่างกายใหญ่ วันหนึ่ง กินเหยื่อมากไปได้อ่อนกำลังลง เพราะไม่ย่อย

ดาบสให้มันอยู่ใกล้อาศรม แล้วไปเพื่อต้องการผลไม้น้อยใหญ่. เมื่อท่าน

ยังไม่มานั่นเอง ลูกช้างได้ล้ม. ดาบสถือเอาผลไม้น้อยใหญ่มา สงสัยว่า

ในวันอื่น ๆ ลูกของเราทำการต้อนรับ วันนี้ไม่เห็นไปไหนหนอ ? เมื่อ

คร่ำครวญได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

โสมทัตตมาตังคะ ซึ่งในวันก่อนมาต้อน

รับเราไกลถึงในป่าเป็นเวลานาน เราไม่เห็น

ไปที่ไหนเสียแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุเร ความว่า ก่อนแต่วันนี้. บทว่า

ปจฺจุเทติ ความว่า ออกมาต้อนรับ. บทว่า อรญฺเ ทูร ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 377

ต้อนรับเราไกลถึงในป่า ที่ไม่มีคนนี้. บทว่า อายติ ความว่า ถึงพร้อม

ด้วยกาลที่ยาวนาน.

ดาบสเดินมาพลางคร่ำครวญไปพลางอย่างนี้ เห็นลูกช้างนั้นล้ม

อยู่ที่จงกรมแล้ว เมื่อจับคอคร่ำครวญอยู่ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

นี้เองคือช้างโสมทัตตเชือกนั้น นอนตาย

แล้ว มันนอนตายอยู่ที่พื้นดิน เหมือนยอด

เถาย่านทราย ที่ถูกเด็ดทิ้งแล้ว โสมทัตตกุญชร

ได้ตายไปแล้วหนอ.

วา ศัพท์ ในคำว่า อย วา ในคาถานั้น มีความหมายว่า ทำ

ให้แจ่มชัด. ดาบสเมื่อจะให้เรื่องนั้นชัดแจ้งว่า ช้างเชือกนี้เอง คือช้าง

โสมทัตตนั้น ไม่ใช่เชือกอื่น. บทว่า อลฺลปิต ได้แก่ ปลายหน่อของเถา

ย่านทราย. บทว่า วิจฺฉิโต ความว่า เด็ดขาดแล้ว มีอธิบายว่า เหมือน

หน่อเถาย่านทราย ที่เขาเอาเล็บเด็ดทิ้งลงที่เนินทรายร้อน ๆ ในกลางฤดู

ร้อน. บทว่า. ภุมฺยา ได้แก่ ภูมิย คือบนพื้นดิน. บทว่า อมรา วต

ความว่า ตายแล้วหนอ. ปาฐะว่า อมรี ก็มี.

ในขณะนั้น ท้าวสักกะกำลังตรวจดูสัตว์โลก ทรงเห็นเหตุการณ์

นั้น ทรงดำริว่า ดาบสนี้ละทิ้งลูกเมียไปบวชแล้ว บัดนี้ยังมาสร้างความ

สำคัญในลูกช้างว่าเป็นลูกคร่ำครวญอยู่ เราจักให้ท่านสลดใจแล้วได้สติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 378

ดังนี้แล้ว จึงมายังอาศรมบทของท่านสถิตอยู่ที่อากาศนั่นเอง กล่าวคาถา

ที่ ๓ ว่า :-

เมื่อท่านเป็นอนาคาริก หลุดพ้นไปแล้ว

การที่ท่านโศกเศร้าถึงสัตว์ที่ตายไปแล้ว ไม่

เป็นการดีสำหรับท่านผู้เป็นสมณะ.

ดาบสครั้นได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงได้กล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

ข้าแต่ท้าวสักกะ ความรักใคร่ย่อมเกิด

ขึ้นในดวงใจของมนุษย์หรือมฤค เพราะการ

อยู่ร่วมกันโดยแท้ อาตมภาพจึงไม่อาจจะไม่

เศร้าโศกถึงสัตว์ที่เป็นที่รักได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคสฺสวา ความว่า ในที่นี้ท่าน

เรียกสัตว์เดียรฉานทั้งหมดว่า มฤค. บทว่า ต โยค ปิยายิต สตฺติ

คือสัตว์ที่เป็นที่รัก.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะเมื่อจะโอวาท ท่านได้ภาษิตคาถา ๒ คาถา

ว่า:-

เหล่าสัตว์ผู้ร้องไห้คร่ำครวญ ก็ร้องไห้

ถึงสัตว์ผู้ตายไปแล้วและจักตาย เพราะฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 379

ท่านฤษี ท่านอย่าได้ร้องไห้เลย เพราะสัต-

บุรุษทั้งหลายเรียกการร้องไห้ว่าเป็นโมฆะ. ข้า

แต่ท่านผู้ประเสริฐ ถ้าคนที่ตายแล้ว ล่วงลับ

ไปแล้ว พึงกลับฟื้นขึ้นมาไซร้ พวกเราทุกคน

ก็จงมาชุมนุมกันร้องไห้ถึงญาติของกันและกัน

เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย รุทนฺติ ลปนฺติ จ ความว่า

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ เหล่าชนผู้ต้องให้คร่ำครวญทุกคน ย่อมร้องไห้ถึง

คนที่ตายไปแล้วนั้นแหละและจักตาย. เมื่อพวกเขาพากันร้องไห้อยู่อย่าง

นี้ ก็ไม่มีเวลาน้ำตาจะเหือดหน้า เพราะฉะนั้น ท่านฤษี ท่านอย่า

ร้องไห้ไปเลย. เพราะเหตุไร ? บทว่า โรทิต โมฆมาหุ สนฺโต

ความว่า เพราะบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า การร้องไห้เป็นสิ่งไร้ผล. บทว่า

มโต เปโต ความว่า ถ้าหากคนที่ตายแล้วนั้นถึงการนับว่า เป็นผู้

ล่วงลับไปแล้ว จะพึงฟื้นขึ้นมาเพราะการร้องไห้ไซร้. เมื่อเป็นเช่นนั้น

พวกเราแม้ทุกคน ก็จงไปชุมนุมกันร้องให้ถึงญาติของกันและกันเถิด.

พวกเราจงออกไปเถิดเฝ้ากันอยู่ทำไม.

ดาบสได้ฟังคำนั้นแล้ว กลับได้สติ ปราศจากความเศร้าโศกเช็ด

น้ำตาแล้วได้กล่าวคาถาที่เหลือ ด้วยการสดุดีท้าวสักกะว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 380

อาตมภาพถูกไฟ คือความโศกแผดเผา

แล้วหนอ. มหาบพิตรทรงช่วยดับความร้อนรน

ทุกอย่างให้หายไป เหมือนเอาน้ำดับไฟที่ไหม้

เปรียงก็ปานกัน มหาบพิตร ได้ทรงถอนลูกศร

คือความโศก อันปักอยู่ที่หัวอกของอาตมภาพ

ออกไปแล้ว เมื่ออาตมภาพถูกความโศก

ครอบงำ มหาบพิตรได้ทรงบรรเทาความโศก

ถึงบุตรนั้นเสียได้ ข้าแต่ท้าวสักกะ อาตมภาพ

นั้นเป็นผู้มีลูกศรคือความโศก อันมหาบพิตร

ทรงถอนออกแล้ว หายโศกแล้ว. ใจก็ไม่ขุ่น

มัว ทั้งจะไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ต่อไป เพราะ

ได้ฟังเทพดำรัสของมหาบพิตรแล้ว.

ท้าวสักกะครั้นทรงโอวาทดาบสอย่างนี้แล้ว ได้เสด็จไปสู่ที่ประ-

ทับของพระองค์นั่นเอง.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาประกาศสัจธรรมทั้ง

๔ แล้ว ทรงประชุมชาดกไว้ว่า ลูกช้างในครั้งนั้น ได้แก่สามเณรใน

บัดนี้ ดาบส ได้แก่หลวงตา ส่วนท้าวสักกะ ได้แก่เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาโสมทัตตชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 381

๖. สุสีมชาดก

ว่าด้วยพระเจ้าสุสีมะออกบวช

[๑๐๗๙] เมื่อก่อนผมสีดำ เกิดบนศีรษะของเจ้า

ตามที่ของมันแล้ว เจ้าสุสิมะ วันนี้เจ้าเห็น

เส้นผมเหล่านั้นมีสีขาวแล้ว จงประพฤติธรรม

เถิด เวลานี้เป็นเวลาแห่งการประพฤติพรหม.

จรรย์แล้ว.

[๑๐๘๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผมหงอกของ

หม่อมฉันเอง ไม่ใช่ของพระองค์ ผมหงอก

งอกขึ้นบนศีรษะบนกระหม่อมของหม่อมฉัน

เอง หม่อมฉันได้ทูลคำเท็จ โดยตั้งใจว่า จัก

ทำประโยชน์ให้ตน ขอพระองค์ทรงโปรด

พระราชทานอภัยโทษหม่อมฉันสักครั้ง ๑ เถิด

เพคะ.

[๑๐๘๑] ข้าแต่มหาราช พระองค์ยังทรงหนุ่ม มี

พระโฉมน่าทัศนายังทรงอยู่ในปฐมวัย เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 382

ตองกล้วยแรกผลิ ฉะนั้น ข้าแต่พระทูล

กระหม่อมจอมคน ขอพระองค์ทรงเสวยราช-

สมบัติ ทรงดูแลหม่อมฉันเถิด และอย่าทรง

ทะยานไปสู่พรหมจรรย์ที่ให้ผลตามกาลเวลา.

[๑๐๘๒] เราเห็นกุมารีรุ่นสาว ผู้มีรูปร่างสวยงาม

มีผิวพรรณเกลี้ยงเกลา มีทรวดทรงเฉิดฉาย

อ่อนละมุนละไมเหมือนเถากาลวัลลี ต้องลม

โชย เอนตัวเข้าใกล้ชายเหมือนยั่วยวนชายอยู่

ฉะนั้น.

[๑๐๘๓] ต่อมาเราได้เห็นนารีคนนั้น มีความชรา

มีอายุล่วงไป ๘๐ ปี ๙๐ ปี ถือไม้เท้าสั่นงกงัน

มีร่างกายโค้งค้อมลงเหมือนกลอนเรือนเดินไป.

[๑๐๘๔] เราครุ่นคิดถึงคุณและโทษของรูปนั้นอยู่

นั่นเอง จึงนอนอยู่กลางที่นอนแต่คนเดียว

เราเมื่อพิจารณาเห็นว่า ถึงเราก็จะเป็นอย่างนี้

จึงไม่ยืนดีในเรือน เวลานี้เป็นเวลาแห่งการ

ประพฤติพรหมจรรย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 383

[๑๐๘๕] ความยินดีของผู้อยู่ครองเรือนนี่แหละ.

เป็นเสมือนเชือกผูกเหนี่ยวไว้ ธีรชนตัดเชือก

นี้ได้แล้ว ไม่อาลัยไยดี จะละกามสุข แล้วหลีก

เว้นหนี้.

จบ สุสีมชาดกที่ ๖

อรรถกถาสุสีมชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

มหาภิเนษกรมณ์ แล้วตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กาฬานิ เกสานิ ปุเร

อเหสุ ดังนี้.

ในสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายพากันนั่งที่ธรรมสภา พรรณนาถึง

การเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ของพระทศพล. พระศาสดาเสด็จมาถึง แล้ว

ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่อง

อะไรหนอ ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ แล้วตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่เราตถาคตผู้บำเพ็ญบารมีเต็มแล้วมากมาย

หลายแสนโกฏิกัปป์ออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์ แม้

ในกาลก่อนเราตถาคตก็ทอดทิ้งราชสมบัติ ในกาสิกรัฐประมาณสาม-

ร้อยโยชน์ออกสู่อภิเนษกรมณ์เหมือนกัน แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องใน

อดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 384

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดในท้องของภรรยาหลวงของปุโรหิต

ของพระองค์. ในวันที่พระโพธิสัตว์เกิดนั่นเอง ฝ่ายพระราชโอรสของ

พระเจ้าพาราณสีก็ประสูติ. ในวันขนานนามและพระนามของกุมาร

และพระราชกุมารเหล่านั้น พวกปุโรหิตขนานนามพระมหาสัตว์นั้นว่า

สุสีมกุมาร ส่วนพระนามของพระราชบุตรว่า พรหมทัตกุมาร. พระเจ้า

พาราณสีทรงดำริว่า สุสีมกุมารเกิดวันเดียวกันกับบุตรของเรา จึงมี

พระบรมราชโองการไปยังพระโพธิสัตว์ พระราชทานพี่เลี้ยง ทรงให้

เจริญวัยพร้อมกับพระราชกุมารนั้น. กุมารแม้ทั้ง ๒ นั้น จำเริญวัยแล้ว

เป็นผู้มีรูปร่างสวยงาม มีผิวพรรณเหมือนเทพกุมาร เรียนศิลปะทุกอย่าง

ที่เมืองตักกสิลา สำเร็จแล้วก็กลับมา. พระราชบุตรทรงเป็นอุปราช

ทรงเสวย ทรงดื่ม ประทับนั่ง ประทับบรรทมอยู่ร่วมกับพระโพธิสัตว์

โดยสิ้นรัชกาลพระชนก ก็เสวยราชย์แทน พระราชทานยศสูงแก่

พระมหาสัตว์ ทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งปุโรหิต วันหนึ่งรับสั่งให้เตรียม

พระนคร แล้วทรงแต่งพระองค์เหมือนท้าวสักกเทวราช ประทับนั่งบน

คอช้างต้นที่เมามัน มีส่วนเปรียบด้วยช้างเอฬาวรรณที่ตบแต่ง แล้ว

ทรงให้มหาสัตว์นั่งบนหลังช้าง ณ ที่นั่งด้านหลัง ทรงทำปทักษิณ

พระนคร. ฝ่ายสมเด็จพระราชชนนีประทับยืนที่ช่องพระแกล ด้วย

พระดำริว่า เราจักมองดูลูก ทอดพระเนตรเห็นปุโรหิตนั่งอยู่เบื้อง

พระปฤษฎางค์ของพระราชานั้นผู้ทรงทำปทักษิณพระนครแล้วเสด็จมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 385

ทรงมีพระทัยปฏิพัทธ์ จึงเสด็จเข้าห้องบรรทม ทรงงดพระกระยาหาร

แล้วเสด็จบรรทมด้วยหมายพระทัยว่า เราเมื่อไม่ได้ปุโรหิตนี้ก็จักตาย

ณ ที่นี้นั่นเอง. พระราชาเมื่อไม่ทรงเห็นพระราชชนนี จึงตรัสถามว่า

แม่ของฉันไปไหน ? ทรงสดับว่า ประชวร จึงเสด็จไปถึงที่ประทับ

ของพระราชชนนี ทรงถวายบังคม แล้วตรัสถามว่า เสด็จแม่พระเจ้าข้า

เสด็จแม่ประชวรเป็นอะไร ? พระนางไม่ตรัสบอกพระองค์ เพราะทรง

ละอาย. พระองค์จึงเสด็จไปประทับนั่งบนพระราชบัลลังก์ รับสั่งให้

เรียกพระมเหสีของพระองค์มา ทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า เธอจงไป

แล้วทราบการประชวรของเสด็จแม่. พระนางเสด็จไป แล้วทรงนวด

พระปฤษฎางค์ไปพลางทูลถามไปพลาง. ธรรมดาผู้หญิงทั้งหลายจะไม่

ซ่อนความลับต่อผู้หญิงด้วยกัน. พระราชชนนีนั้น ตรัสบอกเนื้อความ

นั้น. ฝ่ายพระราชินีทรงสดับคำนั้น แล้วจะเสด็จไปทูลพระราชา.

พระราชารับสั่งว่า เรื่องนั้นยกไว้เถอะ เธอจงไป จงให้เสด็จแม่เบา

พระทัย ฉันจักตั้งปุโรหิตให้เป็นพระราชา แล้วตั้งเสด็จแม่ให้เป็น

อัครมเหสี. พระนางจึงได้เสด็จไป แล้วทรงให้พระราชชนนีเบาพระทัย.

ฝ่ายพระราชารับสั่งให้ปุโรหิตเข้าเฝ้า แล้วตรัสบอกเนื้อความนั้น แล้ว

รับสั่งว่า สหายเอ๋ย ขอสหายจงให้ชีวิตแก่เสด็จแม่ สหายจงเป็น

พระราชา เสด็จแม่จะเป็นพระมเหสี เราจะเป็นอุปราช. ปุโรหิตนั้น

ทูลคัดค้านว่า ข้าพระองค์ไม่อาจทำอย่างนั้นได้ แต่เมื่อพระองค์ทรง

รบเร้าบ่อย ๆ ก็รับ. พระราชาได้ทรงอภิเษกปุโรหิตให้เป็นพระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 386

พระราชชนนีให้เป็นอัครมเหสี ส่วนพระองค์ทรงเป็นอุปราช. เมื่อ

ทั้ง ๒ พระองค์นั้น ทรงประทับอยู่สมัครสมานกัน ในกาลต่อมาพระ-

โพธิสัตว์ ทรงระอาพระทัยในท่ามกลางเรือน การครองเรือน ทรง

ละกามทั้งหลาย แล้วทรงมีพระทัยน้อมไปในการบรรพชา ไม่ทรงอาลัย

ไยดีถึงความยินดีด้วยอำนาจกิเลส ประทับยืน ประทับนั่ง เสด็จบรรทม

แต่ลำพังพระองค์เดียวได้เป็นเสมือนถูกจองจำอยู่ที่เรือนจำ และเป็น

เสมือนไก่ถูกขังไว้ในกรง. ลำดับนั้น พระมเหสีของพระองค์ ทรงดำริ

ว่า พระราชาพระองค์นี้ ไม่ทรงอภิรมย์กับเรา ประทับยืน ประทับนั่ง

และทรงบรรทมแต่ลำพังพระองค์เดียว แต่พระราชาพระองค์นี้ เป็นคน

หนุ่ม ส่วนเราเป็นคนแก่ผมหงอกปรากฏบนศีรษะของเรา ถ้ากะไรแล้ว

เราควรจะสร้างความเท็จขึ้นว่า ข้าแต่สมมติเทพ บนพระเศียรของ

พระองค์ปรากฏพระเกษาหงอก ดังนี้ ให้พระราชาทรงยอมรับ แล้ว

ทรงอภิรมย์กับเราด้วยอุบายนั้น วันหนึ่ง จึงทรงทำเป็นเสมือนหาเหา

บนพระเศียรของพระราชา ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรง

ชราแล้ว บนพระเศียรของพระองค์ปรากฏพระเกษาหงอกเส้นหนึ่ง

เพคะ. พระราชาตรัสว่า ข้าแต่นางผู้เจริญ ถ้ากระนั้น ขอเธอจงถอน

ผมหงอกเส้นนั้นมาวางไว้บนมือของฉัน. พระนางจึงทรงถอนพระเกษา

เส้น ๑ จากพระเศียรของพระราชาทิ้งมันไป แล้วทรงหยิบเอาพระ-

เกษาหงอกเส้น ๑ จากพระเศียรของตน แล้ววางบนพระหัตถ์ของพระ-

ราชานั้น โดยทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ นี้พระเกษาหงอกของพระองค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 387

พระเสโทไหลออกจากพระนลาฏ ที่เสมือนกับแผ่นทองของพระโพธิสัตว์

ผู้ทรงสะดุ้ง เพราะทรงเห็นพระเกษาหงอกเท่านั้น แล้วก็ทรงกลัว.

พระองค์เมื่อทรงโอวาทตน ทรงดำริว่า ดูก่อนสุสีมะ เจ้าเป็นคนหนุ่ม

แต่กลายเป็นคนแก่ไปแล้ว เจ้าจมอยู่ในเปือกตม คือกาม เหมือนหมู

บ้านจมอยู่แล้วในเปือกตม คือคูถ ฉะนั้น ไม่สามารถถอนตนขึ้นได้

บัดนี้เป็นเวลาของเจ้าที่จะละกามทั้งหลายเข้าสู่ป่าหิมพานต์บวช แล้ว

ประพฤติพรหมจรรย์มิใช่หรือ ? ดังนี้ แล้วจึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

เมื่อก่อนผมสีดำ เกิดบนศีรษะของเจ้า

ตามที่ของมันแล้ว สุสีมะเจ้า วันนี้เจ้าเห็น

เส้นผมเหล่านั้นมีสีขาว แล้วจงประพฤติธรรม

เถิด เวลานี้เป็นเวลาแห่งการประพฤติพรหม

จรรย์แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาปเทเส ความว่า พระโพธิสัตว์

ตรัสว่า ก่อนแต่นี้ ผมทั้งหลายมีสีเหมือนแมลงภู่และดอกอัญชัญ ได้

เกิดแล้วบนศีรษะของเจ้า ซึ่งเป็นถิ่นที่เหมาะแก่ผมทั้งหลายในที่นั้น ๆ

บทว่า ธมฺม จร ความว่า พระโพธิสัตว์ทรงบังคับตนเองว่า เจ้าจง

ประพฤติธรรม คือกุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า พฺรหฺมจริยสฺส มีเนื้อ

ความว่า เป็นเวลาแห่งเมถุนวิรัติของเจ้าแล้ว. เมื่อพระโพธิสัตว์พรรณนา

คุณการประพฤติพรหมจรรย์อย่างนี้แล้ว พระราชินีทรงสะดุ้งพระทัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 388

เพราะทรงกลัวว่า เราตั้งใจว่าจะทำการมัดพระทัยพระราชาไว้ แต่กลาย

เป็นทำการสละไปเสีย จึงทรงดำริว่า เราจักสรรเสริญพระฉวีวรรณ

แห่งพระสรีระ เพื่อต้องการไม่ให้พระราชาพระองค์นี้เสด็จออกผนวช

จึงได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถาว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผมหงอกของ

หม่อมฉันเอง ไม่ใช่ของพระองค์ ผมหงอก

งอกขึ้นบนศีรษะ บนกระหม่อมของหม่อมฉัน

เอง หม่อมฉันได้ทูลคำเท็จ โดยตั้งใจว่า จัก

ทำประโยชน์ให้ตน ขอพระองค์ทรงโปรด

พระราชทานอภัยโทษหม่อมฉันสักครั้งหนึ่งเถิด

เพคะ ข้าแต่มหาราช พระองค์ยังทรงหนุ่ม มี

พระโฉมน่าทัศนา ยังทรงอยู่ในปฐมวัยเหมือน

ตองกล้วยแรกผลิฉะนั้น ข้าแต่พระทูลกระ-

หม่อมจอมคน ขอพระองค์ทรงเสวยราชสมบัติ

ทรงดูแลหม่อมฉันเถิด และอย่าทรงทะยานไป

สู่การประพฤติพรหมจรรย์ที่ให้ผลตามกาลเวลา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มเมว สีส ความว่า พระราชินี

ทรงแสดงว่า ผมหงอกงอกขึ้นบนศีรษะของหม่อมฉันเอง. คำว่า อุตฺต-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 389

มงฺค เป็นไวพจน์ของคำว่า สีส นั่นเอง. บทว่า อตฺถ ความว่า

หม่อมฉันทูลคำเท็จด้วยหวังว่า จักทำความเจริญแก่ตนเอง. บทว่าเอกา-

ปราธ ความว่า โทษผิดอย่างหนึ่งของข้าพระองค์นี้. บทว่า ปมุคฺคโต

ความว่า เจริญขึ้นโดยปฐมวัย. บทว่า โหหิ ได้แก่ โหสิ เป็นผู้

อธิบายว่า ดำรงอยู่แล้วในปฐมวัย. ปาฐะว่า โหสิ เยว ก็ดี. บทว่า

ยถา กลีโร ความว่า พระราชินีทรงชี้แจงว่า ตองกล้วยอ่อนมีผิวนวล

ต้องลมอ่อนพัดโชยย่อมพริ้วงามฉันใด พระองค์ก็มีพระรูปโฉมฉันนั้น.

ปาฐะว่า ปมุคฺคโต โหสิ ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้นก็มีเนื้อความว่า หน่อ

ของไม้อ่อนแรกขึ้น น่าทัศนาฉันใด พระองค์ก็น่าทัศนาฉันนั้น. บทว่า

มมญฺจ ปสฺส ความว่า ขอพระองค์จงทรงดูแลหม่อมฉันด้วยเถิด.

อธิบายว่า โปรดอย่าทรงกระทำให้หม่อมฉันเป็นหม้ายไม่มีที่พึ่งเลย.

บทว่า กาลิก ความว่า พระนางทูลว่า ธรรมดาการประพฤติพรหม-

จรรย์ ที่ชื่อว่าให้ผลตามกาลเวลา เพราะจะให้ผลในอัตภาพที่ ๒ ที่ ๓

ส่วนราชสมบัติ ชื่อว่า ให้ผลไม่เลือกกาลเวลา เพราะอำนวยความสุข

คือกามคุณในอัตภาพนี้ทีเดียว พระองค์นั้นอย่าทรงละราชสมบัติที่ให้ผล

ไม่เลือกกาลเวลา แล้วทรงโลดแล่นไปตามการประพฤติพรหมจรรย์ที่ให้

ผลตามกาลเวลาเลย.

พระโพธิสัตว์ ครั้นทรงสดับคำนั้น แล้วตรัสว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ

เธอพูดถ้อยคำนั้นที่ควรเป็นไปได้ เพราะว่า เมื่อวัยของเราที่มีความ

เปลี่ยนแปลงเป็นที่สุด ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ผมสีดำทั้งหลายเหล่านี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 390

ก็ต้องเปลี่ยนเป็นสีขาวเหมือนใยป่านไปหมด. จริงอยู่ เมื่อวัยของกุมาร

ทั้งหลายที่เช่นกับพวงดอกไม้ มีดอกอุบลเขียวเป็นต้น และของขัตติย-

กัญญาเป็นต้น ผู้เปรียบปานกับด้วยรูปทอง อุดมสมบูรณ์ด้วยความ

หนุ่มสาวและความสง่างาม มีความเปลี่ยนแปลงเป็นที่สุด ได้เปลี่ยน

แปลงไปแล้ว เราจะเห็นทั้งสิ่งที่น่าตำหนิทั้งความชำรุดแห่งสรีระของ

คนทั้งหลาย ผู้ถึงความชราแล้ว ดูก่อนนางผู้เจริญ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้

โลกของสัตว์ผู้มีชีวิตนั้น ก็มีความวิบัติเป็นจุดจบ ดังนี้แล้ว เมื่อทรง

แสดงธรรมด้วยพุทธลีลาในเบื้องสูง จึงได้กล่าวคาถาทั้ง ๒ ว่า :-

เราเห็นกุมารีรุ่นสาว ผู้มีรูปร่างสวยงาม

มีผิวพรรณเกลี้ยงเกลา มีทรวดทรงเฉิดฉาย

อ่อนละมุนละไมเหมือนเถากาลวัลลี ต้องลม

โชย เอนตัวเข้าใกล้ชายเหมือนยั่วยวนชายอยู่

ฉะนั้น ต่อมาเราได้เห็นนารีคนนั้น มีความชรา

มีอายุล่วงไป ๘๐ ปี ๙๐ ปี ถือไม้เท้าสั่นงกงัน

มีร่างกายโค้งค้อมลงเหมือนกลอนเรือนเดินไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โว เป็นเพียงนิบาต. บทว่า สา-

มฏฺปสฺส ความว่า มีต้นแขนเกลี้ยงเกลา อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็เป็น

สมฏฺปสฺส นั่นแหละ. อธิบายว่า มีผิวพรรณเกลี้ยงเกลาที่ต้นแขน

ทั้งหมด. บทว่า สุตนุ ได้แก่ มีรูปร่างสวยงาม. บทว่า สุมชฺฌ ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 391

มีลำตัวได้สัดส่วนทรวดทรงดี. บทว่า กาลปฺปลฺลวาว ปเวลฺลมานา

ความว่า อุปมาเหมือนหนึ่งว่า เถากาลวัลลี เถาหญ้านาง ที่ขึ้นดี ๆ งาม ๆ

ในเวลายังเล็ก ยังเป็นยอดอ่อนอยู่ทีเดียว ต้องลมโชยเบา ๆ ก็โอนเอน

ไปมาทางโน้นทางนี้ฉันใด หญิงสาวนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เอนตัว

เข้าไปทำร้ายความสง่างามของหญิง. บทว่า ปโลภยนฺตีว นเรสุ คจฺฉติ

เป็นสัตตมีวิภัติลงในอรรถว่าใกล้. หญิงสาวนั้นไปใกล้สำนักชายทั้งหลาย

เป็นเหมือนยั่วยวนชายเหล่านั้นอยู่. บทว่า ตเมน ปสฺสามิ ปเรน นารึ

ความว่า สมัยต่อมาเราเห็นหญิงคนนี้นั้นถึงความชรา คือความ สวยงาม

แห่งรูปที่หายไปแล้วหมดความสวยงาม. พระโพธิสัตว์กล่าวถึงคุณของ

รูปด้วยคาถาที่ ๑ บัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงโทษ จึงได้กล่าวอย่างนี้. บทว่า

อาสีติก นาวุติกญฺจ ชจฺจา ความว่า ๘๐ ปี หรือ ๙๐ ปี แต่เกิดมา

บทว่า โคปาณสีภคฺคสม มีเนื้อความว่า มีร่างกายคดค้อมเหมือน

กลอนเรือน คือมีสรีระคดโค้งเหมือนกลอนเรือน เดินหลังค่อมเหมือน

กับหาเก็บเงินกากณึกหนึ่งที่หายไป. ก็ขึ้นชื่อว่า หญิงที่พระโพธิสัตว์

เคยเห็นเมื่อเวลายังสาว แล้วได้เห็นอีกในเวลาอายุ ๙๐ ปี ไม่มีก็จริงแล

แต่ว่า คำนี้ ท่านกล่าวหมายเอาภาวะของหญิงที่เห็นได้ด้วยญาณ.

พระมหาสัตว์ ครั้นทรงแสดงโทษของรูปด้วยคาถานี้ โดย

ประการอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงประกาศความเบื่อหน่ายของตน

ในการครองเรือน จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถาไว้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 392

เราครุ่นคิดถึงคุณและโทษของรูปนั้นอยู่

นั่นเอง จึงนอนอยู่กลางที่นอนแต่คนเดียว

เราเมื่อพิจารณาเห็นว่า ถึงเราก็จะเป็นอย่างนี้

จึงไม่ยินดีในเรือน เวลานี้เป็นเวลาแห่งการ

ประพฤติพรหมจรรย์ ความยินดีของผู้อยู่ครอง

เรือนนี้แหล เป็นเหมือนเชือกผูกเหนี่ยวไว้

ธีรชนตัดเชือกนี้ได้แล้ว ไม่อาลัยใยดี จะละ

กามสุข แล้วหลีกเว้นหนี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสห ตัดบทเป็น โส อห ความว่า

เรานั้น บทว่า ตเมวานุวิจินฺตยนฺโต ความว่า ครุ่นคิดถึงคุณและโทษ

ของรูปทั้งหลายนั้นนั่นเอง. บทว่า เอว อิติ เปกฺขมาโน ความว่า

พิจารณาเห็นอยู่ว่า หญิงนี้เปลี่ยนแปลงไปแล้วฉันใด ถึงฉันก็เป็นฉัน

นั้น คือจักถึงความชรา มีสรีระคดค้อมลงไป. บทว่า เคเห น รเม

ความว่า เราไม่ยินดีในเรือน. บทว่า พฺรหฺมจริยสฺส กาโล ความว่า

พระโพธิสัตว์ทรงแสดงว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เวลานี้เป็นเวลาการ

ประพฤติพรหมจรรย์ของเรา เพราะฉะนั้น เราจักออกบวช. อักษร

ในคำว่า รชฺชุ วาลมฺพนี เจสา เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า สิ่งนี้

เป็นเสมือนเครื่องผูกเหนี่ยวไว้. สิ่งนี้คืออะไร คือความยินดีของผู้อยู่

ในเรือนใด. อธิบายว่า ความยินดีด้วยอำนาจของกามในอารมณ์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 393

มีรูปเป็นต้น ของผู้ครองเรือนใด. ด้วยบทนี้ พระโพธิสัตว์ทรงแสดง

ถึงความที่กามทั้งหลายมีคุณน้อย. ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ บุรุษ

ผู้ป่วยไม่สามารถพลิกตัวได้ด้วยกำลังของตนเอง ผู้พยาบาลต้องผูกเชือก

สำหรับเหนี่ยวไว้ โดยบอกว่า จงเหนี่ยวเชือกนี้พลิกตัว. เมื่อเขาเหนี่ยว

เชือกนั้นพลิกตัว ก็คงมีความสุขกายและความสุขใจหาน้อยไม่ฉันใด

เมื่อสัตว์ทั้งหลายผู้เร่าร้อนเพราะกิเลส ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่สามารถ

จะพลิกใจได้ ด้วยสามารถแห่งความสุขเกิดแต่วิเวก ปรารภอารมณ์มีรูป

เป็นต้น ที่สถิตอยู่ท่ามกลางเรือน ด้วยอำนาจการซ่องเสพเมถุนธรรม

ในเวลาพวกเขาเร่าร้อนเพราะกิเลส พลิกไปพลิกมาอยู่ ความยินดีใน

กาม ได้แก่ ความสุขกาย สุขใจ เมื่อเกิดขึ้นชั่วครู่เท่านั้น ก็มีประมาณ

เพียงเล็กน้อย กามทั้งหลาย ชื่อว่า มีคุณมากอย่างนี้. บทว่า เอตปิ

เฉตฺวาน ความว่า ก็เพราะเหตุที่กามทั้งหลาย มีทุกข์มาก มีความ

คับแค้นมาก. ในกามนี้ยิ่งมีโทษ ฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลายเห็นโทษนั้น

อยู่ จึงทอดทิ้งราชสมบัติ ไม่อาลัยใยดีเหมือนบุรุษจมหลุมคูถแล้วละทิ้ง

ไม่อาลัย ฉะนั้น ละกามสุขที่มีประมาณเพียงเล็กน้อย แต่มีทุกข์มาก

อย่างนี้ แล้วเว้นหนีไป. ครั้นออกไป แล้วก็ถือบวชอันเป็นที่รื่นรมย์ใจ.

พระมหาสัตว์ ครั้นทรงแสดงธรรมด้วยพุทธลีลา ชี้ให้เห็นคุณ

และโทษในกามทั้งหลายอย่างนี้ แล้วตรัสสั่งให้เรียกสหายมา ทรงมอบ

ราชสมบัติให้ เมื่อญาติมิตรและสหายผู้มีใจดีทั้งหลาย คร่ำครวญกลิ้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 394

เกลือกไปมาอยู่นั่นเอง ทรงทอดทิ้งสิริราชสมบัติ แล้วบวชเป็นฤษี

ยังฌานและอภิญญาให้เกิดขึ้น ได้เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประกาศ

สัจธรรมทั้งหลาย ในที่สุดแห่งสัจธรรมยังชนจำนวนมากให้ได้ดื่มน้ำ

อัมฤต แล้วทรงประชุมชาดกไว้ว่า พระอัครมเหสีในครั้งนั้น ได้แก่

มารดาพระราหุลในบัดนี้ พระราชาผู้เป็นพระสหาย ได้แก่ พระอานนท์

ส่วนพระเจ้าสุสีมะ ได้แก่ เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาสุสีมชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 395

๗. โกฏสิมพลิชาดก

ว่าด้วยการระวังภัยที่ยังไม่มาถึง

[๑๐๘๖] เราเอาพญานาคยาวตั้งพันวามาแล้ว

ท่านทรงพญานาคนั้น และเราอยู่ได้ไม่สั่น

สะท้าน.

[๑๐๘๗] ดูก่อนโกฏสิมพลีเทพบุตร ก็เพราะ

เหตุอะไร ? ท่าน เมื่อทรงนกตัวเล็ก ๆ นี้ ที่

มีเนื้อน้อยกว่าเรา จึงกลัวตัวสั่นสะท้านไป.

[๑๐๘๘] ดูก่อนพญาครุฑ ท่านมีเนื้อเป็นภัก-

ษาหาร นกตัวนี้มีผลไม้เป็นภักษาหาร นกตัวนี้

จักจิกกินลูกนิโครธ ลูกกร่าง ลูกมะเดื่อ และ

ลูกโพธิ์ แล้วมาถ่ายรดลำต้นไม้ของเรา.

[๑๐๘๙] ต้นไม้เหล่านั้นจะเติบโตขึ้น พวกมัน

เกิดในที่อับลมไม่มีอากาศ ที่ข้างเราจักปกคลุม

เรา ที่เราไม่ให้เป็นต้นไม้.

[๑๐๙๐] ต้นไม้ต้นอื่น ๆ เป็นหมู่ไม้มีรากมีลำต้น

ที่มีอยู่ ก็จะถูกสกุณชาติตัวนี้ทำลายไป โดย

การนำพืชผลมากิน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 396

[๑๐๙๑] เพราะว่าต้นไม้ทั้งหลายที่งอกขึ้น จะ

เจริญเติบโตขึ้นเลยต้นไม้เจ้าป่า ที่มีลำต้นใหญ่

ไป. ข้าแต่ พญาครุฑ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า

มองเห็นภัยที่ยังไม่มาถึง จึงสั่นสะท้านอยู่.

[๑๐๙๒] ธีรชนควรระแวงภัยที่ควรระแวง ควร

ระวังภัยที่ยังไม่มาถึง ธีรชนย่อมพิจารณาเห็น

โลกทั้ง ๒ เพราะภัยในอนาคต.

จบ โกฏสิมพลิชาดกที่ ๗

อรรถกถาโกฏสิมพลิชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

การข่มกิเลสแล้ว จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อห ทสสตพฺยาม

ดังนี้ เรื่องจักมีแจ้งชัดในปัญญาสชาดก.

แต่ในที่นี้ พระศาสดาทรงเห็นภิกษุทั้งหลายประมาณ ๕๐๐ รูป

ถูกกามวิตกครอบงำ ภายในโกฏิสัณฐารกะ จึงทรงประชุมสงฆ์ ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า ถึงที่ควรระแวง ก็ควรระแวง ขึ้นชื่อว่า

กิเลสทั้งหลาย เมื่อเจริญขึ้นก็ย่อมทำลายเรา เหมือนต้นไทรเป็นต้น

เมื่อเติบโตขึ้น ก็ทำลายต้นไม้ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น ในปางบรรพ์เทวดา

ผู้เกิดที่โกฏสิมพลีงิ้วใหญ่ เห็นนกตัว ๑ กินลูกนิโครธ ถ่ายอุจจาระรด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 397

กิ่งต้นไม้ของตน ได้ประสบความกลัวว่า ต่อแต่นี้ไปวิมานของเราจักมี

ความพินาศ ดังนี้. แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์ ถือกำเนิดเป็นรุกขเทวดาที่โกฏสิมพลี

ภายหลังพญาครุฑตัวหนึ่งเนรมิตอัตภาพ ๑๕๐ โยชน์ ใช้ลม

ปีกพัดน้ำในทะเลแหวกออกเป็น ๒ ส่วน แล้วเฉี่ยวเอานาคราชตัวหนึ่ง

ยาวพันวาที่หางให้ขยอกเหยื่อที่พญานาคนั้นใช้ปากคาบไว้ทิ้ง บินไป

ทางยอดป่า มุ่งหมายโกฏสิมพลี. นาคราชเมื่อห้อยหัวลง จึงคิดว่า เรา

จักสลัดตัวให้หลุด จึงสอดขนดเข้าไปที่ต้นนิโครธต้น ๑ พันต้นนิโครธ

ยึดไว้. ต้นนิโครธก็ถอนขึ้น เพราะความแรงของพญาครุฑและพญา

นาคร่างใหญ่. พญานาคก็ไม่ปล่อยต้นไม้เลย. ครุฑจึงเฉี่ยวเอา

พญานาคพร้อมกับต้นนิโครธไปถึงโกฏสิมพลี แล้วให้พญานาคนอนบน

ด้านหลังของลำต้นไม้ ฉีกท้องกินมันข้นของพญานาคแล้วทิ้งซากที่เหลือ

ลงทะเลไป ก็บนต้นนิโครธนั้นมีนกตัวเมียตัวหนึ่ง เมื่อพญานาคทิ้ง

ต้นนิโครธแล้ว มันก็บินไปเกาะอยู่ระหว่างกิ่งของต้นโกฏสิมพลี. รุกข-

เทวดาเห็นมันแล้วสะดุ้งกลัวตัวสั่นไปโดยคิดว่า นกตัวเมียตัวนี้จักถ่าย

อุจจาระรดลำต้นไม้ของเรา ต่อนั้นไปพุ่มไทรหรือพุ่มไม้ป่า ก็จะขึ้นท่วม

ทับถมต้นไม้ทั้งสิ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นวิมานของเรา ก็จักพินาศ. เมื่อ

รุกขเทวดาสั่นสะท้านอยู่ โกฏสิมพลี ก็สั่นไปถึงโคน พญาครุฑ

เห็นรุกขเทวดาสั่นสะท้านอยู่ เมื่อจะถามถึงเหตุ จึงได้กล่าวคาถาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 398

เราได้เอาพญานาคยาวตั้งพันวามาแล้ว

ท่านทรงพญานาคนั้น และเราอยู่ได้ไม่สั่น

สะท้าน. ดูก่อนโกฏสิมพลีเทพบุตร ก็เพราะ

เหตุอะไร ? ท่านเมื่อทรงนกตัวเล็ก ๆ นี้ ที่มีเนื้อ

น้อยกว่าเรา จึงกลัวตัวสั่นสะท้านไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสสตพยาม ความว่า ยาวพันวา

บทว่า อุรคมาทาย อาคโต ความว่า เราเอางูตัวใหญ่มา ณ ที่นี้อย่างนี้.

บทว่า ตญฺจ มญฺจ ความว่า ทั้งงูตัวใหญ่ทั้งฉัน. บทว่า ธารย

ได้แก่ ธารยมาโพ คือทรงไว้อยู่. บทว่า พฺยถสิ ความว่า สั่นเทิ้ม

อยู่. บทว่า กิมตฺถ ความว่า พญาครุฑถามว่า ประโยชน์อะไร

คือเพราะเหตุอะไร ? พญาครุฑเรียกเทพบุตรตามนามของต้นไม้ว่า

โกฏสิมพลี. เพราะว่าต้นสิมพลี คือต้นงิ้วต้นนั้น ได้ชื่อว่า โกฏสิมพลี

เพราะมีลำต้นและกิ่งก้านใหญ่ แม้เทพบุตรผู้สิงอยู่บนต้นโกฏสิมพลีนั้น

ก็ได้ชื่ออย่างนั้นเหมือนกัน.

ลำดับนั้น เทพบุตรเมื่อจะกล่าวถึงเหตุแห่งการสั่นสะท้านนั้น

จึงได้กล่าวคาถา ๔ คาถาว่า :-

ดูก่อนพญาครุฑ ท่านมีเนื้อเป็นภัก-

ษาหาร นกตัวนี้มีผลไม้เป็นภักษาหาร นกตัวนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 399

จักจิกกินลูกนิโครธ ลูกกร่าง ลูกมะเดื่อ และ

ลูกโพธิ์ แล้วมาถ่ายรดลำต้นไม้ของเรา. ต้น

ไม้เหล่านั้นจะเติบโตขึ้น พวกมันเกิดในที่อับ

ลมไม่มีอากาศที่ข้างเรา จักปกคลุมเรา ทำเรา

ไม่ให้เป็นต้นไม้. ต้นไม้ต้นอื่น ๆ เป็นหมู่ไม้

มีรากมีลำต้นที่มีอยู่ ก็จะถูกสกุณชาติตัวนี้

ทำลายไป โดยการนำพืชผลมากิน. เพราะว่า

ต้นไม้ทั้งหลายที่งอกขึ้น จะเจริญเติบโตขึ้น

เลยต้นไม้เจ้าป่า ที่มีลำต้นใหญ่ไป ข้าแต่พญา

ครุฑ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้ามองเห็นภัยที่ยัง

ไม่มาถึง จึงสั่นสะท้านอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอทหิสฺสติ ความว่า จักถ่ายอุจ-

จาระรด บทว่า เต รุกฺขา ความว่า ต้นไม้ทั้งหลายมีต้นไทรเป็นต้น

เกิดขึ้นแล้ว. จากพืชผลเหล่านั้น. บทว่า สวิรูหนฺติ ความว่า จัก

งอกงามขึ้น คือจักเจริญเติบโตขึ้น. บทว่า มม ปสฺเส ความว่า ใน

ระหว่างกิ่งเป็นต้นของเรา. บทว่า นิวาตชา ความว่า เกิดแล้วในที่อับ

ลม เพราะลมถูกบังไว้. บทว่า ปริโยนทฺธิสฺสนฺติ ความว่า ต้นไม้

เหล่านั้น เติบโตขึ้นอย่างนี้แล้วจักปกคลุมเราไว้. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 400

ก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า กริสฺสเร ความว่า ภายหลังครั้น

ปกคลุมอย่างนี้แล้ว ก็จักทำเราไม่ให้เป็นต้นไม้เลย คือจักทำลายโดย

ประการทั้งปวง. บทว่า รุกฺขาเส ได้แก่ต้นไม้. บทว่า มูลิโน ขนฺธิโน

ความว่า ทั้งมีรากสมบูรณ์ ทั้งมีกิ่งสมบูรณ์. คำว่า ทุมา เป็นคำที่เป็น

ไวพจน์ของคำว่า รุกขานั่นเอง. บทว่า วีชมาหริตฺวา ความว่า นำพืชผล

มาแล้ว บทว่า หตา ความว่า ต้นไม้ในป่านี้แม้ต้นอื่น ๆ ที่ถูกให้

พินาศไปแล้วมีอยู่. บทว่า อชฺฌารูหา หิ วฑฺฒนฺติ ความว่า รุกข-

เทพบุตรแสดงว่า เพราะว่า ต้นไม้ทั้งหลายมีต้นนิโครธเป็นต้น เป็น

ต้นไม้ขึ้นคลุมแล้วก็จักเติบโตเลยต้นไม้เจ้าป่า แม้ต้นใหญ่ ๆ ต้นอื่น

ไป ก็ในบทว่า วนปฺปตึ นี้มีปาฐะถึง ๓ อย่างทีเดียวคือ วเนปติ

วนสฺส ปติ วนปฺปติ. รุกขเทพบุตรเรียกครุฑว่า ราชา.

ครุฑครั้นได้ฟังคำของรุกขเทวดาแล้ว จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-

ธีรชนควรระแวงภัยที่ควรระแวง ควร

ระวังภัยที่ยังไม่มาถึง ธีรชนย่อมพิจารณาเห็น

โลกทั้ง ๒ เพราะภัยในอนาคต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนาคต ภย ความว่า ธีรชน

เมื่อเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่าระวังรักษาภัยที่เป็นไปในปัจจุบัน

บ้าง ที่เป็นในภายภาคหน้า คืออนาคตบ้างไว้. และเมื่อไม่เข้าไป

คบหาบาปมิตร และคนที่เป็นคู่เวรกันก็ชื่อว่าระวังภัยที่ยังไม่มาถึง. ควร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 401

ระวังภัยที่ยังไม่มาถึงอย่างนี้. บทว่า อนาคตภยา ความว่า เพราะเหตุ

แห่งภัยในอนาคต. ธีรชนเมื่อพิจารณาเห็นภัยนั้น ชื่อว่าเล็งเห็น คือ

มองเห็นทั้งโลกนี้และโลกหน้า.

ก็แล ครุฑครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงให้นกนั้นหนีไปจากต้นไม้

นั้นด้วยอานุภาพของตน.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า เธอ

ทั้งหลายควรระแวงสิ่งที่ควรระแวงดังนี้. ทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย

แล้วทรงประชุมชาดกไว้. ในที่สุดแห่งสัจธรรม ภิกษุประมาณ ๕๐๐

รูป ดำรงอยู่แล้วในอรหัตผล. พญาครุฑ ในครั้งนั้น ได้แก่พระ-

สารีบุตรในบัดนี้ ส่วนรุกขเทวดา ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกาโกฏสิมพลิชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 402

๘. ธูมการิชาดก

ว่าด้วยความเศร้าโศกเพราะได้ใหม่ลืมเก่า

[๑๐๙๓] พระเจ้ายุธิฏฐิละผู้ทรงใคร่ในธรรม ได้

ตรัสถามวิธูรบัณฑิตแล้วว่า ดูก่อนพราหมณ์

ท่านรู้บ้างไหม ? ใครคนหนึ่งกำลังเศร้าโศกมาก.

[๑๐๙๔] พราหมณ์วาเสฏฐะผู้มีฟืนมาก อยู่ในป่า

กับฝูงแพะไม่เฉื่อยชา ได้ก่อไฟให้เกิดควันทั้ง

กลางคืนทั้งกลางวัน.

[๑๐๙๕] ชะมดทั้งหลายถูกยุงรบกวน ได้พากัน

เข้าไปอาศัยอยู่ในสำนักของพราหมณ์นั้นตลอด

ฤดูฝนเพราะกลิ่นควันนั้น.

[๑๐๙๖] พราหมณ์นั้นเอาใจใส่ชะมด ไม่เอาใจใส่

แพะทั้งหลายว่า จะมาเข้าคอกหรือจะไปป่า

แพะเหล่านั้นของเขาจึงหายไปแล้ว.

[๑๐๙๗] แต่ในสารทกาล ในป่าที่ยุงซาลงแล้ว

ชะมดทั้งหลายก็ไปสู่ยอดเขา และที่ที่เป็นต้น

น้ำลำธาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 403

[๑๐๙๘] พราหมณ์เห็นชะมดทั้งหลายไปแล้ว และ

แพะทั้งหลายถึงความวิบัติแล้ว ก็ซูบผอมมีผิว

พรรณซีด และเป็นโรคผอมเหลือง.

[๑๐๙๙] ผู้ใดละทิ้งคนของตน ทำคนที่มาใหม่ให้

เป็นที่รักอย่างนี้ ผู้นั้นคนเดียวจะเศร้าโศกมาก

เหมือนพราหมณ์ธูมการีเศร้าโศกอยู่ฉะนั้น

จบ ธนูการิชาดกที่ ๘

อรรถกถาธูมการิชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

การทรงสงเคราะห์อาคันตุกะของพระเจ้าโกศลแล้ว จึงตรัสเรื่องนี้มีคำ

เริ่มต้นว่า ราชา อปุจฺฉิ วิธูร ดังนี้.

ได้ยินว่า สมัยหนึ่งพระเจ้าโกศลนั้น ไม่ได้ทรงสงเคราะห์ทหาร

เก่าที่มาเฝ้าตามประเพณี แต่ได้ทรงทำสักการะสัมมานะ แก่ทหารผู้เข้า

มาใหม่ ๆ ยังเป็นแขก ภายหลังเมื่อพระองค์เสด็จไปเพื่อทรงปราบปัจ-

จันตชนบทที่ก่อการร้าย ทหารเก่าก็ไม่สู้รบโดยคิดว่า ทหารใหม่ที่เป็น

แขกผู้ได้สักการะจักสู้รบ ส่วนทหารใหม่ที่เป็นแขกก็ไม่สู้รบโดยคิดว่า

ทหารเก่าจักสู้รบ. โจรเลยชนะพระราชา. พระราชาทรงปราชัยแล้ว

ทรงทราบความที่ตนปราชัย เพราะโทษคือการทรงสงเคราะห์ทหารใหม่

ที่เป็นแขก เสด็จกลับพระนครสาวัตถี ทรงดำริว่า เราคนเดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 404

หรืออย่างไรทำอย่างนี้แล้วแพ้ หรือว่าพระราชาแม้เหล่าอื่น ก็เคยแพ้

ดังนี้ เสวยพระกระยาหารเช้าแล้วเสด็จไปยังพระเชตวัน ถวายนมัส-

การพระศาสดาแล้ว จึงทูลถามข้อความนั้น. พระศาสดาตรัสตอบว่า

ขอถวายพระพรมหาบพิตรมหาราช ใช่จะมีแต่มหาบพิตรพระองค์เดียว

เท่านั้นก็หาไม่ แม้พระราชาในสมัยโบราณ ทรงทำการสงเคราะห์ทหาร

ใหม่ ผู้เป็นแขกแล้วทรงปราชัยก็มี เป็นผู้อันพระราชาทูลอ้อนวอนแล้ว

ได้ทรงน้ำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระเจ้าโกรัพยะทรงพระนามว่า ธนญชัย ยุธิฏ-

ฐิลโคตร เสวยราชสมบัติในอินทปัตถนครในแคว้นกุรุ. ครั้งนั้น พระ-

โพธิสัตว์ถือกำเนิดในตระกูลปุโรหิตของพระเจ้าธนญชัย เติบใหญ่แล้ว

ได้รับการศึกษาศิลปทุกชนิดที่เมืองตักกศิลา กลับมาที่อินทปัตถนครแล้ว

ได้รับตำแหน่งปุโรหิตเป็นผู้ถวายอรรถธรรมแด่พระราชา แทนบิดาที่

ล่วงลับไปแล้ว. คนทั้งหลายได้ขนานนามท่านว่าวิธูรบัณฑิต. ครั้งนั้น

พระเจ้าธนญชัย ไม่ทรงคำนึงถึงทหารเก่า ได้ทรงทำการสงเคราะห์ทหาร

ที่เป็นแขกใหม่เท่านั้น. เมื่อพระองค์เสด็จไปปราบปัจจันตชนบทที่ก่อ

การร้าย ทหารเก่าไม่รบโดยคิดว่า ทหารใหม่ที่เป็นแขกจักรู้หน้าที่.

ทหารใหม่ที่เป็นแขกก็ไม่รบโดยคิดว่า ทหารเก่าจักรู้หน้าที่ ตกลงว่า

ทั้งทหารเก่าทั้งทหารใหม่ไม่รบเลย. พระราชาทรงปราชัยแล้ว เสด็จกลับ

อินทปัตถนครทันที ทรงดำริว่า เราปราชัยเพราะเราทำการสงเคราะห์

ทหารใหม่ที่เป็นแขก. อยู่มาวันหนึ่งพระองค์ทรงดำริว่า เราจักถาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 405

วิธูรบัณฑิตว่า มีเราคนเดียวหรืออย่างไร ทำการสงเคราะห์ทหารใหม่ที่

เป็นแขกแล้วปราชัย หรือพระราชาแม้องค์อื่น ๆ ที่เคยปราชัยมาแล้ว

ก็มี แล้วตรัสถามข้อความนั้น กะวิธูรบัณฑิตผู้มาถึงที่เฝ้าพระราชาแล้ว

นั่ง. จึงพระศาสดาเมื่อจะทรงไขอาการที่ตรัสถามของพระราชานั้น ให้

แจ้งชัด ได้ตรัสกึ่งคาถาว่า :-

พระเจ้ายุธิฏฐิละผู้ทรงใคร่ในธรรม ได้

ตรัสถามวิธูรบัณฑิตแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมกาโม ได้แก่ ทรงมีสุจริต

ธรรมเป็นที่รัก.

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านรู้บ้างไหม ? ใคร

คน ๑ กำลังเศร้าโศกมาก.

ส่วนกึ่งคาถาที่เหลือมีเนื้อความดังต่อไป ดูก่อนพราหมณ์

ธรรมดาท่านรู้บ้างไหม ว่าใครคน ๑ ในโลกนี้เศร้าโศกมาก คือเศร้า

โศกโดยอาการต่าง ๆ.

พระโพธิสัตว์ครั้นสดับคำนั้นแล้ว เมื่อทรงนำอุทาหรณ์นี้มาแสดง

ว่า ข้าแต่มหาราช ความโศกของพระองค์ ชื่อว่าเป็นความโศกหรือ

ในกาลก่อนพราหมณ์เลี้ยงแพะคน ๑ ชื่อว่าธูมการี ต้อนแพะฝูงใหญ่

ไปทีเดียวสร้างคอกไว้ในป่า พักแพะไว้ในคอกนั้น ก่อไฟและควันปฏิ-

บัติฝูงแพะบริโภคนมเป็นต้นพักอยู่. แล้วเขาเห็นชะมดทั้งหลายที่มา ณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 406

ที่นั้นมีสีเหมือนสีทองแล้วทำความเสน่หาในชะมดเหล่านั้น กระทำ

สักการะแพะให้แก่ชะมดทั้งหลายโดยไม่คำนึงแพะ เมื่อเหล่าชะมดหนีไป

ป่าหิมพานต์ในสารทกาล และเมื่อแพะทั้งหลายหายไปแล้วไม่เห็นชะมด

จึงเป็นโรคผอมเหลือง เพราะความโศกถึงความสิ้นชีวิตแล้ว. พราหมณ์

คนนี้ทำการสงเคราะห์สัตว์ที่จรมา จึงเศร้าโศกลำบากถึงความพินาศ

มากกว่าพระองค์ร้อยเท่าพันเท่า ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

พราหมณ์วาเสฏฐะผู้มีฟืนมากอยู่ในป่า

กับฝูงแพะไม่เฉื่อยชา ได้ก่อไฟให้เกิดควัน

ทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน. ชะมดทั้งหลายถูกยุง

รบกวน ได้พากันเข้าไปอาศัยอยู่ในสำนักของ

พราหมณ์นั้นตลอดฤดูฝน เพราะกลิ่นควันนั้น.

พราหมณ์นั้นเอาใจใส่ชะมด ไม่เอาใจใส่แพะ

ทั้งหลายว่า จะมาเข้าคอกหรือจะไปป่า แพะ

เหล่านั้นของเขาจึงหายไปแล้ว. แต่ในสารทกาล

ในป่าที่ยุงซาลงแล้ว ชะมดทั้งหลายก็ไปสู่ยอด

เขาและที่ที่เป็นต้นน้ำลำธาร. พราหมณ์เห็น

ชะมดทั้งหลายไปแล้ว และแพะทั้งหลายถึง

ความวิบัติแล้ว ก็ซูบผอมมีผิวพรรณซีด และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 407

เป็นโรคผอมเหลือง. ผู้ใดละทิ้งคนของตน ทำ

คนที่มารหมู่ให้เป็นที่รักอย่างนี้ ผู้นั้นคนเดียว

จะเศร้าโศกมาก เหมือนพราหมณ์ธูมการีเศร้า

โศกอยู่ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุเตนฺโท ความว่า ผู้มีเชื้อเพลิง

เพียงพอ. บทว่า ธูม อกาสิ ความว่า ได้ก่อขึ้นทั้งไฟทั้งควัน เพื่อ

ประโยชน์แก่การนำไปซึ่งอันตรายคือแมลงวัน. คำว่า วาเสฏฺโ เป็น

โคตร คือนามสกุลของเขา. บทว่า อตนฺทิโต ได้แก่เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน

บทว่า ตธูมคนฺเธน ความว่า เพราะกลิ่นควันนั้น. บทว่า สรภา ได้แก่

มฤคคือชะมด. บทว่า มกสทฺทิตา ความว่า ถูกยุงทั้งหลายรบกวน

คือเบียดเบียนแล้ว. แม้แมลงวันที่เหลือก็เป็นอันถือเอาแล้วด้วย มกส

ศัพท์นั่นเอง. บทว่า วสฺสาวาส ความว่า อยู่แล้วตลอดราตรีแห่งกาล

ฝน ในสำนักของพราหมณ์นั้น. บทว่า มน กตฺวา ความว่า ให้เกิด

ความเสน่หาขึ้น. บทว่า นาวพุชฺฌถ ความว่า ไม่รู้ว่าแพะทั้งหลาย

ออกจากป่ากำลังมาเข้าคอก ออกจากคอกกำลังไปป่า และมาแล้วจำนวน

เท่านี้ ยังไม่มาจำนวนเท่านี้. บทว่า ตสฺส ตา วิน สุ ความว่า เมื่อ

เขาไม่ได้ตรวจตราดูแพะเหล่านั้นอยู่อย่างนี้ แพะทั้งหลาย ที่เขาไม่ได้

รักษาอยู่จากอันตรายมีสิงห์โตเป็นต้น พินาศไปแล้วเพราะอันตรายมี

สิงห์โตเป็นต้น หรือแพะทั้งหมดพินาศไปแล้ว. บทว่า นทีน ปภวานิ จ

ความว่า เข้าไปแล้วสู่ที่เป็นที่แรกเกิดของแม่น้ำทั้งหลายที่เกิดแต่ภูเขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 408

ด้วย. บทว่า วิภว ได้แก่ความไม่เจริญเห็น คือรู้แพะทั้งหลายที่ถึงความ

พินาศแล้ว. บทว่า กีโสจวิวณฺโณ ความว่า พราหมณ์ละทิ้งแพะ

ทั้งที่ให้น้ำนมเป็นต้น แล้วสงเคราะห์ชะมดทั้งหลาย เมื่อไม่เห็นสัตว์

ทั้ง ๒ ชนิดนั้น ก็เป็นผู้เสื่อมจากสัตว์ทั้ง ๒ พวก ถูกความโศกครอบงำ

แล้วจึงได้เป็นคนซูบผอมและมีผิวพรรณซูบซีด. บทว่า เอว โย สนฺนิรงฺ

กตฺวา ความว่า เมื่อเป็นอย่างนี้นั้นแหละ ผู้ใดนำคนภายในของตน

ซึ่งเป็นคนเก่าแก่ออกไป คือละทิ้งแล้วทำความรักใคร่คนที่มาใหม่ โดย

ไม่คำนึงถึงใคร ๆ อีกเลย ผู้นั้นเป็นคนเดียวเช่นกับพระองค์ย่อมเศร้า

โศกมาก เหมือนพราหมณ์ธูมการีที่ข้าพระองค์ ทูลแสดงถวายพระองค์

แล้วฉะนั้น.

พระมหาสัตว์ ทูลพระราชาให้ทรงรู้สึกพระองค์อย่างนี้แล้ว. ฝ่าย

พระราชาทรงทำความรู้สึกพระองค์แล้ว ทรงเลื่อมใสแล้วได้พระราช-

ทานทรัพย์จำนวนมากแก่พระโพธิสัตว์นั้น. จำเดิมแต่นั้นมา พระองค์

ก็ทรงทำการสงเคราะห์คนภายในอยู่เท่านั้น ทรงบำเพ็ญบุญทั้งหลายมี

ทานเป็นต้นแล้ว ได้ทรงเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในภายภาคหน้า.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกไว้ว่า พระเจ้าโกรัพยะในครั้งนั้น ได้แก่พระอานนท์ ในบัดนี้

พราหมณ์ธูมการี ได้แก่ พระเจ้าปเสนทิโกศล ส่วนวิธูรบัณฑิต ได้แก่

เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาธูมการิชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 409

๙. ชาครชาดก

ว่าด้วยผู้หลับและผู้ตื่น

[๑๑๐๐] เมื่อคนทั้งหลายในโลกนี้ตื่นอยู่ ใคร

เป็นผู้หลับแล้ว แต่เมื่อคนทั้งหลายในโลกนี้

หลับแล้ว ใครเป็นผู้ตื่น ใครเข้าใจปัญหา

ข้อนี้ของเรา ใครจะแก้ปัญหาข้อนี้ของเรา

ได้.

[๑๑๐๑] เมื่อพระอริยเจ้าทั้งหลายตื่นอยู่ ข้าพเจ้า

เป็นผู้หลับแล้ว แต่เมื่อคนทั้งหลายหลับแล้ว

ข้าพเจ้าเป็นผู้ตื่น ข้าพเจ้าเข้าใจปัญหาข้อนั้น

ข้าพเจ้าจะแก้ปัญหาของท่านได้.

[๑๑๐๒] เมื่อคนทั้งหลายตื่นอยู่ ท่านจะเป็นผู้

หลับได้อย่างไร เมื่อคนทั้งหลายหลับแล้ว

ท่านจะเป็นผู้ตื่นได้อย่างไร ท่านเข้าใจปัญหา

ข้อนี้อย่างไร ท่านจะแก้ปัญหาของข้าพเจ้า

อย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 410

[๑๑๐๓] ดูก่อนเทวดา ชนเหล่าใดไม่รู้ธรรม คือ

สัญญมะและทมะ เมื่อชนเหล่านั้นหลับแล้ว

เพราะประมาท ข้าพเจ้าตื่นอยู่.

[๑๑๐๔] พระอริยเจ้าเหล่าใดสำรอกราคะโทสะ

และอวิชชาออกแล้ว เมื่อพระอริยเจ้าเหล่านั้น

ตื่นอยู่ ข้าพเจ้าก็เป็นผู้หลับแล้ว ท่านเทวดา.

[๑๑๐๕] เมื่อพระอริยบุคคลทั้งหลายตื่นอยู่ ข้าพเจ้า

ชื่อว่า เป็นผู้หลับแล้วอย่างนี้ แต่เมื่อคน

ทั้งหลายหลับแล้ว ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้ตื่นอย่าง

นี้ ข้าพเจ้าเข้าใจปัญหาข้อนี้อย่างนี้ ข้าพเจ้า

แก้ปัญหาของท่านอย่างนี้.

[๑๑๐๖] ถูกแล้ว เมื่อพระอริยเจ้าทั้งหลายตื่นอยู่

ท่านเป็นผู้หลับแล้ว แต่เมื่อคนทั้งหลายหลับ

แล้ว ท่านเป็นผู้ตื่นดีแล้ว ท่านเข้าใจปัญหา

ของข้าพเจ้าข้อนี้ดีแล้ว ท่านตอบปัญหาของ

ข้าพเจ้าถูกต้องแล้ว.

จบ ชาครชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 411

อรรถกถาชาครชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ

อุบาสกคนใดคนหนึ่ง แล้วตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า โกธ ชาครต

สุตฺโต ดังนี้.

ความพิสดารว่า อุบาสกคนนั้น เป็นอริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน

เดินทางกันดารไปกับพ่อค้าเกวียน. นายกองเกวียน คือหัวหน้าพ่อค้า

ปลาเกวียน ๕๐๐ เล่มไว้ ณ ที่แห่งหนึ่งในทางกันดารนั้น เป็นสถานที่

หาน้ำได้สะดวก จัดแจงเคี้ยวของกินแล้ว ก็เข้าที่พักผ่อน. คนเหล่านั้น

พากันนอน ณ ที่นั้น ๆ แล้วก็หลับไป. ส่วนอุบาสกตั้งใจเดินจงกรม

ที่ควงต้นไม้ต้นหนึ่ง ใกล้ ๆ นายกองเกวียน. ลำดับนั้น พวกโจร ๕๐๐

คน ผู้ต้องการจะปล้นพ่อค้านั้น ได้พากันถืออาวุธนานาชนิดมายืนล้อม

พ่อค้านั้นไว้. พวกเขาเห็นอุบาสกนั้นกำลังจงกรมอยู่ คิดว่า พวกเรา

จักปล้นเวลาอุบาสกคนนี้หลับ แล้วได้พากันอยู่ ณ ที่นั้น ๆ. ฝ่ายอุบาสก

ก็ได้จงกรมอยู่ตลอดราตรี ๓ ยามทีเดียว. เวลาย่ำรุ่ง พวกโจรพากัน

ทิ้งก้อนหินและไม้ค้อนเป็นต้น ที่ถือมาแล้ว พูดว่า นายกองเกวียน

ผู้เจริญ ท่านได้ชีวิตแล้วเกิดเป็นเจ้าของของสิ่งที่มีอยู่ของท่าน เพราะ

อาศัยบุรุษคนนี้ผู้ตื่นอยู่ เพราะความไม่ประมาท ท่านควรทำสักการะ

บุรุษคนนี้ ดังนี้แล้ว จึงหลีกหนีไป. คนทั้งหลายลุกขึ้นตามเวลานั่นเอง

เห็นก้อนหินและไม้ค้อนเป็นต้น ที่พวกโจรเหล่านั้นทิ้งไว้ แล้วพูดว่า

พวกเราได้ชีวิตเพราะอาศัยอุบาสกคนนี้ แล้วได้พากันทำสักการะอุบาสก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 412

ฝ่ายอุบาสกไปสู่ที่ที่ตนต้องการทำกิจเสร็จแล้ว กลับมากรุงสาวัตถีอีกได้ไป

สู่พระวิหารเชตวัน บูชาพระตถาคต ถวายนมัสการแล้วนั่ง เมื่อพระองค์

ตรัสถามว่า ดูก่อนอุบาสก ท่านไม่ปรากฏตัวหรือ ? แล้วจึงกราบทูล

เนื้อความนั้น. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก ก็ท่านเองไม่หลับนอน

ปฏิบัติอยู่แต่ไม่ได้คุณพิเศษเลย ฝ่ายบัณฑิตในปางก่อน เมื่อปฏิบัติ

ก็ได้คุณพิเศษ ดังนี้ แล้วถูกอุบาสกทูลขอร้อง จึงทรงนำเอาเรื่องใน

อดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ เติบโตแล้ว เรียน

ศิลปะทุกอย่างที่เมืองตักกศิลาจบ กลับมาอยู่ที่ท่ามกลางเรือน ในเวลา

ต่อมาก็ออกบวชเป็นฤาษี ไม่นานเท่าไร ก็ยังฌานและอภิญญาให้เกิดขึ้น

เป็นผู้มีอิริยาบถยืนจงกรมอยู่ในถิ่นป่าหิมพานต์ ไม่เข้าถึงการนอน.

จงกรมอยู่ตลอดทั้งคืน. ลำดับนั้น เทวดาผู้เกิดบนต้นไม้ใกล้ที่จงกรม

ของท่านดีใจ ยืนอยู่ที่ค่าคบต้นไม้ เมื่อจะถามปัญหา จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑

ว่า :-

เมื่อคนทั้งหลายในโลกนี้ตื่นอยู่ ใคร

เป็นผู้หลับแล้ว แต่เมื่อคนทั้งหลายในโลกนี้

หลับแล้ว ใครเป็นผู้ตื่น ใครเข้าใจปัญหา

ข้อนี้ของเรา ใครจะแก้ปัญหาข้อนั้นของเรา

ได้ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 413

บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า โกธ ตัดบทเป็น โก อิธ ความว่า

ในโลกนี้ใคร. บทว่า โก เมต ความว่า เทวดาถามว่า ใครรู้ชัดปัญหา

ข้อนี้ของเรา. บทว่า โก ต ปฏิภณ ความว่า ใครจะตอบปัญหาที่เรา

ถามข้อนั้น ๆ ของเราได้ คือว่าใครจักสามารถกล่าวแก้ปัญหาได้.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

เมื่อพระอริยเจ้าทั้งหลายตื่นอยู่ ข้าพเจ้า

เป็นผู้หลับแล้ว แต่เมื่อคนทั้งหลายหลับแล้ว

ข้าพเจ้าเป็นผู้ตื่น ข้าพเจ้าเข้าใจปัญหาข้อนั้น

ข้าพเจ้าจะแก้ปัญหาของท่านได้.

ดังนี้แล้ว ถูกเทวดานั้น ถามคาถานี้ว่า :-

เมื่อคนทั้งหลายตื่นอยู่ ท่านจะเป็นผู้

หลับได้อย่างไร เมื่อคนทั้งหลายหลับแล้ว

ท่านจะเป็นผู้ตื่นได้อย่างไร ท่านเข้าใจปัญหา

ข้อนี้อย่างไร ท่านจะแก้ปัญหาของข้าพเจ้า

อย่างไร ? ดังนี้

เมื่อจะพยากรณ์เนื้อความนั้น จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

ดูก่อนเทวดา ชนเหล่าใดไม่รู้ธรรม คือ

สัญญมะและทมะ เมื่อชนเหล่านั้นหลับแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 414

เพราะประมาท ข้าพเจ้าตื่นอยู่. พระอริยเจ้า

เหล่าใดสำรอกราคะโทสะและอวิชชาออกแล้ว

เมื่อพระอริยเจ้าเหล่านั้นตื่นอยู่ ข้าพเจ้าเป็นผู้

หลับแล้ว ท่านเทวดา. เมื่อพระอริยเหล่า-

นั้นตื่นอยู่ ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้หลับแล้วอย่างนี้

แต่เมื่อคนทั้งหลายหลับแล้ว ข้าพเจ้าชื่อว่า

เป็นผู้ตื่นอย่างนี้ ข้าพเจ้าเข้าใจปัญหาข้อนี้

อย่างนี้ ข้าพเจ้าแก้ปัญหาของท่านอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กถ ชาครต สุตฺโต ความว่า

ท่านชื่อว่าเป็นผู้ตื่นแล้ว ในระหว่างสัตว์ทั้งหลายผู้ตื่นอยู่อย่างไร ? ใน

ทุกบทก็มีนัยนี้. บทว่า เย ธมฺม ความว่า สัตว์เหล่าใดไม่รู้ชัด

โลกุตตรธรรมทั้ง ๙ อย่าง. บทว่า สญฺโมติ ทโมติ จ ความว่า

และไม่รู้ทั้งศีล ทั้งอินทรีย์สังวร ที่มาแล้วโดยมรรคอย่างนี้ว่า นี้สัญญมะ

นี้ทมะ. จริงอยู่อินทรีย์สังวรท่านเรียกว่า ทมะ เพราะข่มอินทรีย์

ทั้งหลาย มีใจเป็นที่ ๖ ไว้. บทว่า เตสุ สุตฺตปฺปมาเทสุ ความว่า

เมื่อสัตว์เหล่านั้นหลับแล้ว ด้วยอำนาจกิเลสข้าพเจ้าก็ตื่น ด้วยอำนาจ

แห่งความไม่ประมาท. คาถาว่า เยส ราโค จ เป็นต้น มีเนื้อความว่า

กิเลสเหล่านี้ คือราคะ กล่าวคือ ความโลภ ๑,๕๐๐ ที่ท่านแสดงไว้

ด้วยสตบท โทสะที่มีอาฆาตวัตถุ ๙ ประการเป็นสมุฏฐาน และอวิชชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 415

ที่เป็นความไม่รู้ในวัตถุ ๘ ประการ มีทุกข์เป็นต้น อันพระมหาขีณาสพ

เหล่าใดคลายแล้ว คือละได้แล้ว. ดูก่อนเทวดา เมื่อพระอริยเจ้าเหล่านั้น

ตื่นอยู่ โดยอาการทั้งปวง ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้หลับแล้ว เพราะหมายเอา

พระอริยเจ้าเหล่านั้น. บทว่า เอว ชาครต ความว่า ข้าพเจ้าชื่อว่า

เป็นผู้หลับแล้ว ในระหว่างพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้ตื่นอยู่ ด้วยเหตุอย่างนี้

ดังนี้. ในทุก ๆ บท มีนัยนี้.

เมื่อพระมหาสัตว์แก้ปัญหาอย่างนี้แล้ว เทวดาพอใจ เมื่อจะ

ทำการสดุดีพระมหาสัตว์ จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-

ถูกแล้ว เมื่อพระอริยเจ้าทั้งหลายตื่นอยู่

ท่านเป็นผู้หลับแล้ว แต่เมื่อคนทั้งหลายหลับ

แล้ว ท่านได้เป็นผู้ตื่นดีแล้ว ท่านเข้าใจปัญหา

ข้อนี้ของข้าพเจ้าดีแล้ว ท่านตอบปัญหาของ

ข้าพเจ้าถูกต้องแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาธุ เป็นต้น ความว่า ท่านแก้

ปัญหาข้อนี้ทำให้ดีแล้ว คือเจริญแล้ว ถึงเราก็จะแก้ปัญหาข้อนั้นอย่างนี้

เหมือนกัน.

เทวดานั้น ครั้นทำการสดุดีพระมหาสัตว์อย่างนี้แล้ว ก็เข้าไปสู่

วิมานของตนที่เดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 416

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประชุม

ชาดกไว้ว่า เทวดาในครั้งนั้น ได้แก่ อุบลวรรณาเถรี ส่วนดาบส

ได้แก่ เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาชาครชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 417

๑๐. กุมมาสปิณฑชาดก

ว่าด้วยอานิสงส์ถวายขนมกุมมาส

[๑๑๐๗] ได้ยินว่า การปรนนิบัติพระอโนมทัสสี-

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีผลหาน้อยไม่ เชิญ

ดูผลของการถวายก้อนขนมกุมมาสที่แห้งและ

มีรสจืดชืดเถิด โปรดดูผลแห่งการถวายก้อน

ขนมกุมมาสที่เป็นเหตุให้เรามีช้าง โคม้า ทรัพย์

และข้าวเปลือกมากมาย ทั้งแผ่นดิน ทั้งสิ้น

และนางนารีเหล่านี้ ที่เปรียบด้วยนางอัปสร

เชิญดูผลของการถวายก้อนขนมกุมมาสเถิด.

[๑๑๐๘] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผู้ทรงทำความ

ยิ่งใหญ่ เพราะกุศลธรรม พระองค์ตรัสคาถา

ทรงเพลงเสมอ ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพัฒนา

รัฐ หม่อมฉันขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์

มีพระราชหฤทัยประกอบด้วยปีติอย่างแรงกล้า

โปรดบอกหม่อมฉันเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 418

[๑๑๐๙] เราได้เกิดในตระกูลหนึ่งในนครนี้นั่นเอง

ได้เป็นลูกจ้างทำงานให้คนอื่น แต่มีสีลสังวร

เราออกไปทำงานได้เห็นพระสมณะ ๔ รูป ผู้

สมบูรณ์ด้วยศีลและอาจาระ เป็นผู้เยือกเย็น

ไม่มีอาสวะ ยังจิตให้เลื่อมใสในท่านเหล่านั้น

แล้ว ได้ให้ท่านนั่งบนอาสนะที่ปูด้วยใบไม้

เลื่อมใสแล้ว ได้ถวายขนมกุมมาสแก่พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยมือของตนเอง.

ผลของกุศลกรรมนั้นของเราเป็นเช่นนี้ คือ เรา

ได้เสวยราชสมบัตินี้ ที่มีแผ่นดินอุดมสมบูรณ์

กว้างขวาง.

[๑๑๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นอธิบดี ในเพราะ

กุศลธรรม ขอพระองค์จงทรงพระราชทานก่อน

จึงเสวย ขอพระองค์อย่าทรงประมาท ทรง

หมุนล้อ คือพระธรรมเถิด ข้าแต่มหาราช ผู้

ทรงเป็นอธิบดีในเพราะกุศลธรรม ขอพระองค์

อย่าได้ทรงดำรงอยู่ในอธรรม โปรดรักษาทศ-

พิธราชธรรมไว้เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 419

[๑๑๑๑] ดูก่อนพระธิดาของพระเจ้าโกศลผู้เลอ-

โฉม เรานั้นจักประพฤติตามทางที่พระอริยเจ้า

ทั้งหลายประพฤติมาแล้ว เสมอ ๆ นั้นนั่นเอง

พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นที่พอใจของเรา เรา

ต้องการจะได้เห็นท่าน.

[๑๑๑๒] ดูก่อนน้องนางผู้เจริญ ชาวโกศลคน

สวยงาม เธออุปมาเหมือนสาวอัปสร สวยงาม

ในท่ามกลางหมู่นารี เหมือนพระเทพเทวีของ

ท้าวสักกะเทวราชก็ปานกันเธอได้ทำความดีอะไร

ไว้ เพราะเหตุอะไร เธอจึงมีผิวพรรณงาม ?

[๑๑๑๓] ข้าแต่พระมหากษัตริย์ หม่อมฉันได้เป็น

ทาสี ผู้รับใช้ผู้อื่นของตระกูลกุฏุมพี เป็นผู้

สำรวมระวัง เลี้ยงชีพโดยชอบธรรม มีศีล

ไม่พบเห็นบาป ในครั้งนั้น หม่อมฉันมีจิต

เลื่อมใส ได้สำรวมใจ ถวายภัตตาหารที่เขา

ยกให้เป็นส่วนของตน แก่ภิกษุผู้กำลังเดินไป

บิณฑบาต ผลแห่งธรรมนั้นของหม่อมฉัน จึง

เป็นเช่นนี้.

จบ กุมมาสปิณฑชาดกที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 420

อรรถกถากุมมาสปิฑชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

พระนางมัลลิกาเทวี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า น กิรตฺถิ ดังนี้.

ความพิสดารว่า พระนางเป็นธิดาของหัวหน้านายมาลาการคน

หนึ่ง ในนครสาวัตถี มีรูปโฉมเลอเลิศ มีปัญญามาก เวลาพระนางมี

พระชนมายุ ๑๖ พรรษา วันหนึ่ง กำลังไปสวนดอกไม้พร้อมกับหญิง

สาวทั้งหลาย หยิบเอาขนมกุมมาส ๓ ก้อน วางไว้ในกระเช้าดอกไม้

เดินไป. เวลาออกไปจากพระนคร พระนางเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเปล่งรัศมีแห่งพระสรีระ มีพระภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม กำลังเสด็จเข้า

พระนคร จึงน้อมก้อนขนมกุมมาสเหล่านั้นเข้าไปถวาย. พระศาสดา

ทรงยื่นบาตรที่ท้าวจาตุมมหาราชถวายออกรับ. ฝ่ายพระนาง วันทา

พระบาทของพระตถาคตด้วยเศียรเกล้าแล้ว ได้ยึดเอาปีติมีพระพุทธเจ้า

เป็นอารมณ์ ยืนอยู่ ที่สมควรข้างหนึ่ง. พระศาสดาเมื่อทรงทอด

พระเนตรนาง ได้ทรงการทำการแย้มให้ปรากฏ. ท่านพระอานนทเถระ

จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ

เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในการแย้มสรวลของพระตถาคตเจ้า ?

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถึงเหตุแห่งการทรงแย้มแก่พระอานนท์

ว่า ดูก่อนอานนท์ กุมาริกาคนนี้จักได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าโกศล

ในวันนี้ทีเดียว เพราะผลแก่การถวายก้อนขนมกุมมาสเหล่านี้. ฝ่าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 421

นางกุมาริกาไปสวนดอกไม้แล้ว. วันนั้นเอง พระเจ้าโกศล ทรงรบกับ

พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงปราชัยในการรบแล้ว เมื่อทรงล่าถอยได้ทรง

ม้าต้นเสด็จมา ทรงสดับเสียงเพลงขับของนาง ทรงมีพระทัยปฏิพัทธ์

จึงทรงควบม้าต้นมุ่งหน้าสู่สวนนั้น. กุมาริกาผู้ถึงพร้อมด้วยบุญ เห็น

พระราชาแล้วไม่หนีเลย มาจับเชือกบังเหียนม้าทรงไว้. พระราชา

ประทับนั่งบนหลังม้าทรงนั่งเอง ตรัสถามว่า เธอมีสามีหรือยัง ? เมื่อ

ทรงทราบว่ายังไม่มีสามี จึงได้เสด็จลงจากหลังม้าต้น ทรงอิดโรย

เพราะลมและแดด ทรงบรรทมม่อยหลับไปงีบหนึ่งบนตักของนาง แล้ว

ให้นางนั่งบนหลังม้าทรง มีพลนิกายแวดล้อมเสด็จเข้าพระนคร ทรง

ส่งนางไปยังเรือนของผู้มีตระกูลของตน เวลาเย็น ทรงส่งยานไป

ให้นำเอานางมาจากเรือนของผู้มีสกุล ด้วยสักการะสัมมานะมาก

ให้นั่งใกล้กองรัตนะ ทรงทำการอภิเษกแล้ว ได้ทรงแต่งตั้งให้เป็น

อัครมเหสี. จำเดิมแต่นั้นมา พระนางทรงเป็นที่โปรดปราน เป็นที่พอ

พระราชหฤทัยของพระราชา ทรงเป็นเทพดาของผัวผู้ประกอบด้วย

กัลยาณธรรม ๕ ประการ มีการตื่นก่อนเป็นต้น ได้ทรงเป็นผู้ใกล้ชิด

แม้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. การที่พระนางทรงถวายขนมกุมมาส

๓ ก้อน แต่พระศาสดา แล้วได้ทั้งประสบสมบัตินั้น ได้ระบือไปทั่ว

พระนคร. ภายหลังอยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายพากันตั้งข้อสนทนา

กันขึ้นที่ธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโส พระนางมัลลิกาเทวี ทรงถวาย

ขนม ๓ ก้อนแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยผลของการถวายขนม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 422

เหล่านั้น ทรงได้รับอภิเษกในวันนั้นเอง ความที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เป็นผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่น่าอัศจรรย์จริง. พระศาสดาเสด็จมา แล้วตรัส

ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ?

เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ไม่น่าอัศจรรย์เลย การที่พระนางมัลลิกาเทวีทรงถวายขนม

กุมมาสแก่พระสัพพัญญูพุทธเจ้าพระองค์เดียว แล้วทรงได้รับความ

เป็นพระมเหสีของพระเจ้าโกศล เพราะเหตุไร ? เพราะพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายทรงเป็นผู้มีพระคุณมาก ส่วนบัณฑิตในปางก่อน ได้ถวาย

ขนมกุมมาสจืด ไม่ผสมเกลือ ไม่มีน้ำมัน ไม่ผสมน้ำอ้อย แก่พระปัจเจก-

พุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วได้รับสิริราชสมบัติ ในแคว้นกาสีประมาณ

๓ โยชน์ ในอัตภาพที่ ๒ เพราะผลการถวายขนมนั้น น่าอัศจรรย์แท้

ดังนี้ แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัตอยู่ในนคร-

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลของตนยากจนตระกูลหนึ่ง เติบโต

แล้วอาศัยเศรษฐีคนหนึ่ง ทำงานรับจ้างเลี้ยงชีวิต. อยู่มาวันหนึ่ง เขา

ถือขนมกุมมาส ๔ ก้อนมาจากตลาด โดยคิดว่า ขนมเหล่านี้จักเป็น

อาหารเช้าของเรา เมื่อเดินไปทำงานได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ๔ องศ์

กำลังเสด็จมา บ่ายพระพักตร์ไปนครพาราณสีเพื่อประโยชน์แก่ภิกษา-

จาร จึงคิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ เสด็จไปนครพาราณสีเพื่อ

ต้องการภิกษาจาร เราก็มีขนมกุมมาส ๔ ก้อนนี้ ถ้ากะไรแล้ว เราควร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 423

ถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ แล้วเข้าไปเฝ้าท่านทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีขนมกุมมาสในมือ ๔ ก้อน ข้าพระองค์

ขอถวายขนมเหล่านี้แก่พระองค์ทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้า

พระองค์ขอโอกาส ขอพระองค์ทั้งหลายจงทรงรับเถิด แม้เมื่อเป็นเช่นนี้

บุญนี้ จักมีแก่ข้าพระองค์ เพื่อประโยชน์และความสุขตลอดกาลนาน ได้

ทราบการทรงรับนิมนต์ของพระองค์ท่านแล้ว ก็ตกแต่งอาสนะ ๔ ที่โดย

พูนทรายขึ้นลาดกิ่งไม้และผ้าเปลือกไม้ไว้บนกองทรายเหล่านั้น นิมนต์

พระปัจเจกพุทธเจ้าให้ประทับนั่งตามลำดับแล้ว เอากระทงใบไม้ตักน้ำมา

หลั่งทักขิโณทก วางขนมกุมาส ๔ ก้อนลงในบาตร ๔ ใบ นมัสการแล้ว

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยผลแห่งการถวายขนมกุมมาสเหล่านั้น

ขึ้นชื่อว่าการเกิดในเรือนคนจน ขอจงอย่ามีเลย ขอให้การถวายทานนี้

จงเป็นปัจจัยแห่งการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ. พระปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้งหลายก็เสวยทันที ในที่สุดแห่งการเสวย ทรงทำอนุโมทนาแล้ว

ได้ทรงเหาะไปสู่เงื้อมเขานันทมูลนั่นเอง. พระโพธิสัตว์ประคองอัญชลี

แล้วเอาปีติที่ไปในพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ พอพระปัจเจกพุทธ-

เจ้าเหล่านั้นละสายตาไปแล้วก็ไป ณ ที่ทำงานของตน. แม้ท่านทำกรรม

เพียงเท่านี้ แต่รำลึกถึงทานนั้นตลอดอายุถึงแก่กรรมแล้ว ก็ถือกำเนิดใน

พระอุทรของพระอัครมเหสี ของพระเจ้าพาราณสี. พระญาติทั้งหลายได้

ถวายพระนามว่า พรหมทัตกุการ. ท้าวเธอ จำเดิมแต่เวลาที่ตนเสด็จดำ

เนินไปด้วยพระบาท ทรงเห็นกิริยาอาการของตนในชาติก่อนปรากฏชัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 424

ด้วยความรู้ระลึกชาติได้เหมือนเห็นเอาหน้าในกระจกเงาที่ใสว่า เราได้

เป็นลูกจ้างในนครนี้นั่นเอง เมื่อเดินไปทำงานได้ถวายขนมกุมมาส ๔

ก้อน แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ถือกำเนิดในที่นี้ เพราะผล

ของกรรมนั้น. ท้าวเธอทรงเจริญวัย แล้วเสด็จไปยังนครตักกศิลา

ทรงเรียนศิลปะทุกอย่าง แล้วเสด็จกลับมา ทรงแสดงศิลปะที่ทรงศึกษา

มาแล้ว แก่พระราชบิดา แล้วพระราชบิดาทรงพอพระราชหฤทัย ทรง

สถาปนาไว้ในตำแหน่งอุปราช ในกาลต่อมาโดยสิ้นรัชกาลของพระ

ราชบิดา ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ. ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลาย

พากันนำพระราชธิดาของพระเจ้าโกศลผู้ทรงเลอโฉม มาถวายให้เป็น

พระอัครมเหสีของพระองค์. ก็ในวันฉัตรมงคลของพระองค์ คนทั้งหลาย

ได้พากันตบแต่งพระนครทั้งนครให้เหมือนเทพนคร ก็ปานกัน. พระองค์

เสด็จเลียบพระนคร แล้วเสด็จขึ้นปราสาทที่ตบแต่ง แล้วเสด็จขึ้น

พระราชบัลลังก์ ที่ยกเศวตรฉัตรขึ้นไว้ ณ ท่ามกลางชั้นที่กว้างใหญ่

ประทับนั่งแล้ว ทอดพระเนตรพสกนิกรทั้งหลาย ที่พากันยืนเฝ้า

ด้านหนึ่งเป็นอำมาตย์ ด้านหนึ่งเป็นคหบดี มีพราหมณ์คหบดีเป็นต้น

ผู้มีสมบัติต่าง ๆ กัน มีความรุ่งเรืองสุกใสด้วยสิริวิลาส ด้านหนึ่งเป็น

ประชาชนชาวกรุง มีมือถือเครื่องบรรณาการนานาชนิด ด้านหนึ่ง

เป็นคณะหญิงฟ้อนจำนวนหมื่นหกพันนาง ปานประหนึ่งสาวอัปสร

ผู้ตบแต่งแล้ว ฉะนั้น และสิริราชสมบัตินี้เป็นที่รื่นรมย์พระทัยยิ่งนัก

ทรงรำลึกถึงกุศลกรรมที่ตนบำเพ็ญไว้ในปางก่อนแล้ว ทรงรำลึกถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 425

พระคุณของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายว่า สิริสมบัติแม้ทั้งหมดนี้ คือ

ห่อทองห่อนี้ ๑ ดอกไม้ทอง ๑ เศวตรฉัตร ๑ ช้างม้าและรสที่เป็น

ราชพาหนะเหล่านี้ จำนวนหลายพัน ๑ ห้องคลังที่เต็มด้วยแก้วมณี

และแก้วมุกดาเป็นต้น ๑ แผ่นดินใหญ่ที่เต็มไปด้วยธัญชาตินานาชนิด ๑

เหล่านารีที่เทียบเคียงกับสาวอัปสร ๑ เป็นสมบัติของเรา ไม่ใช่ของ

คนอื่น แต่เป็นสิ่งที่อาศัยการถวายขนมกุมมาส ๔ ก้อน แก่พระปัจเจก

๔ องค์นั่นเอง สมบัตินั้นเราได้มาเพราะอาศัยพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่า

นั้น ดังนี้ แล้วได้กระทำกรรมของตนให้ปรากฏแล้ว. เมื่อพระองค์

ทรงรำลึกถึงผลกรรมนั้นแล้ว พระสรีระทั้งสิ้นเต็มเปี่ยมไปด้วยปีติ.

พระองค์ทรงมีพระราชหฤทัยชุ่มเย็นด้วยปีติ เมื่อทรงขับเพลงขับที่ทรง

อุทานออกมา ที่ท่ามกลางมหาชน ได้ตรัสคาถา ๒ คาถา ว่า :-

ได้ยินว่า การปรนนิบัติพระอโนมทัสสี-

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีผลหาน้อยไม่ เชิญ

ผลของการถวายก้อนขนมกุมมาสที่แห้งและ

มีรสจืดชืดเถิด โปรดดูผลแห่งการถวายก้อน

ขนมกุมมาสที่เป็นเหตุให้เรามีช้าง โคม้า ทรัพย์

และข้าวเปลือกมากมาย ทั้งแผ่นดิน ทั้งสิ้น

และนางนารีเหล่านี้ ที่เปรียบด้วยนางอัปสร

เชิญดูผลของการถวายก้อนขนมกุมมาสเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 426

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโนมทสฺสิสุ ความว่า พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี เพราะได้เห็นปัจเจก-

โพธิญาณ ที่ไม่ต่ำช้า คือไม่ลามก. การทำสามีจิกรรม มีการอภิวาท

การลุกขึ้นรับ และการทำอัญชลีเป็นต้นก็ดี การเห็นสมบัติในปัจจุบัน

แล้วยังจิตให้เลื่อมใสในไทยธรรมที่เป็นของตน จะน้อยหรือมาก เลว

หรือประณีตก็ตาม แล้วกำหนดคุณของปฏิคาหก ชำระเจตนาทั้ง ๓ ให้

สะอาด เชื่อผลของกรรม แล้วทำการบริจาคก็ดี ชื่อว่า ปาริจริยา

การปรนนิบัติ. บทว่า พุทฺเธสุ ความว่า ในพระปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้งหลาย. บทว่า. อปฺปกา ความว่า ธรรมดาการปรนนิบัติที่จะย่อหย่อน

หรือน้อยไม่มี. บทว่า สุกฺขาย ความว่า ไม่มียางเหนียว. บทว่า

อโลณิกาย ความว่า เว้นจากน้ำอ้อย. อธิบายว่า ก้อนขนมกุมมาสนั้น

ท่านกล่าวว่า อโลณิกา คือจืดชืด เพราะเขาทำสำเร็จรูปแล้ว โดยไม่

ผสมน้ำอ้อย. บทว่า กุมฺมาสปิณฑิยา ความว่า พระราชาตรัสอย่างนี้

หมายถึงขนมกุมมาสที่พระโพธิสัตว์ถือไป โดยรวมขนมกุมมาส ๔ ก้อน

เข้าด้วยกันนั่นเอง. ทักขิณาทานที่ทายกกำหนดคุณของสมณะพราหมณ์

ทั้งหลาย ผู้มีคุณแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส ยังเจตนาทั้ง ๓ ของผู้มุ่งหวัง

การเกิดผลให้ผ่องแผ้วแล้วจึงถวาย ชื่อว่า มีผลน้อยไม่มี มีแต่จะอำนวย.

มหาสมบัติให้ในที่ที่เกิดแล้วเท่านั้น เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ จึงมีคำที่

ท่านกล่าวรับรองไว้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 427

เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาที่ถวายแล้ว

ในพระตถาคตเจ้า ในพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือ

สาวกของพระองค์ก็ตาม ชื่อว่า มีผลน้อย

ไม่มี.

แต่เพื่อแสดงถึงเนื้อความนั้น ควรนำเรื่องวิมานวัตถุทั้งหลายมา

สาธก มีอาทิอย่างนี้ว่า :-

ดิฉันได้ถวายน้ำมันแก่ภิกษุผู้เดินไปบิณ-

ฑบาต เชิญชมวิมานของดิฉันนั้นเถิด ดิฉัน

เป็นนางอัปสรสาวสวรรค์ ผู้มีผิวพรรณน่ารัก

ดิฉันมีนางอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร เชิญดูผล

วิบากของบุญทั้งหลายเถิด ด้วยผลบุญนั้น ผิว-

พรรณของดิฉัน จึงเป็นเช่นนี้ ด้วยผลบุญนั้น

สิ่งนี้จึงสำเร็จแก่ดิฉัน โภคทั้งหลาย ไม่ว่าชนิด

ไหน ซึ่งเป็นที่รักเป็นที่พอใจเกิดขึ้นแก่ดิฉัน

ด้วยผลบุญนั้น ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งโรจน์อย่าง

นี้ และผิวพรรณของดิฉันเปล่งรัศมีไปทั่วทุก

ทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 428

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนธญฺา ได้แก่ ทรัพย์มีแก้ว

มุกดาเป็นต้น และธัญชาติ ๗ ชนิด. บทว่า ปวี จ เกวลา ได้แก่

แผ่นดินใหญ่นี้ทั้งสิ้นด้วย. พระราชาตรัสสำคัญหมายว่า แผ่นดินทั้งหมด

ตกอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์แล้ว. บทว่า ปสฺส ผล กุมฺมาส-

ปิณฺฑิยา ความว่า พระราชาเมื่อทรงแสดงผลทานของพระองค์ด้วย

พระองค์เอง จึงตรัสอย่างนี้. ได้ทราบมาว่า พระโพธิสัตว์ก็ดี พระ-

สรรเพชญพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี ทรงทราบผลของทานอยู่. และเพราะ

เหตุนั่นเอง พระศาสดา เมื่อตรัสพระสูตรในอิติวุตตกะ จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สัตว์ทั้งหลายก็ควรรู้วิบากของ

การแจกจ่ายทาน ดังที่เราตถาคตรู้ เพราะฉะนั้น คนทั้งหลายยังไม่ได้

ให้ ก็ไม่ควรบริโภค และไม่ควรให้ความตระหนี่ที่เป็นมลทินครอบงำ

จิตใจของพวกเขาตั้งอยู่. ทั้งยังไม่ได้แจกจ่าย แม้จากคำข้าวคำสุดท้าย

คำข้าวคำที่กินเสร็จของพวกเขาก็ไม่ควรบริโภค ถ้าพวกเขาพึงมีปฏิคา-

หก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหลายไม่รู้วิบากของ

การแจกจ่ายทานอย่างนี้ เหมือนที่เราตถาคตรู้ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย

ยังไม่ให้ก็บริโภค และความตระหนี่ที่เป็นมลทิน ก็ครอบงำจิตใจพวก

เขาตั้งอยู่.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ทรงมีปีติปราโมทย์เกิดขึ้นในวันฉัตรมงคล

ของตน จึงทรงร้องเพลงพระราชอุทาน ด้วยคาถา ๒ คาถาเหล่านี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 429

จำเดิมแต่นั้นมา เหล่าหญิงฟ้อนของพระโพธิสัตว์พากันร้องเพลงนั้น

โดยคิดว่า เป็นเพลงที่พระราชาทรงโปรด คือเพลงพระราชนิพนธ์

และคนธรรพ์เป็นนักฟ้อนทั้งหลายเป็นต้น ที่เหลือก็ดี คนภายในเมือง

ก็ดี คนที่อยู่ภายในพระนครทั้งหลายก็ดี คนที่อยู่ภายนอกพระนครทั้ง

หลายก็ดี พากันร้องเพลงนั้นเหมือนกัน ที่ร้านเครื่องดื่มภัตตาคารบ้าง ที่

บริเวณชุมชนบ้าง โดยคิดว่า เป็นเพลงที่พระราชาของพวกเราทรง

โปรด. เมื่อเวลาผ่านไปนานแล้วอย่างนี้ พระมเหสีได้มีพระราชประสงค์

จะทรงทราบเนื้อร้องของเพลงนั้น. แต่ไม่กล้าทูลถามพระมหาสัตว์. ต่อมา

วันหนึ่ง พระราชาทรงเลื่อมใสในคุณงามความดีอย่างหนึ่ง ของพระนาง

จึงตรัสว่า น้องนางเอ๋ย ฉันจะให้พรแก่เธอ ขอให้เธอจงรับพระพระนาง

จึงทูลว่า ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม หม่อมฉัน

ขอรับพระราชทานพระพร บรรดาช้างม้าเป็นต้น เราจะให้อะไรแก่เธอ

ข้าแต่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ไม่มีอะไรที่หม่อมฉันไม่มี เพราะอาศัย

เสด็จพี่ หม่อมฉันไม่มีความต้องการสิ่งเหล่านั้น ถ้าหากเสด็จพี่มีพระ-

ราชประสงค์จะพระราชทานพระพร ขอจงตรัสบอกเนื้อเพลง พระราช-

นิพนธ์ พระราชทานหม่อมฉันเถิด. น้องนาง เธอจะมีประโยชน์

อะไรด้วยพรนี้ เธอจงรับเอาพรอื่นเถิด. ขอเดชะพระอาชญาไม่พ้น

เกล้า หม่อมฉันไม่มีความต้องการอย่างอื่น ต้องการเนื้อเพลงพระราช-

นิพนธ์อย่างเดียว. น้องนาง ดีแล้ว เราจักบอกให้ แต่เราจะไม่บอก

แต่เธอคนเดียวในที่ลับ จักให้ตีกลองป่าวร้องไปในนครพาราณสี ประ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 430

มาณ ๑๒ โยชน์ ให้สร้างรัตนบัลลังก์ที่พระทวารหลวง ให้ลาดรัตน-

บัลลังก์ห้อมล้อมด้วยชาวนครทั้งหลาย มีอำมาตย์และพราหมณ์เป็นต้น

และหญิงหมื่นหกพันนาง นั่งบนรัตนบัลลังก์ ท่ามกลางคนเหล่านั้น

แล้วบอก พระนางทูลรับว่า ดีแล้ว เพคะ. พระราชาทรงให้ทำอย่างนั้น

แล้ว มีหมู่มหาชนแวดล้อม เหมือนท้าวสักกะเทวราชมีหมู่เทวดาห้อม

ล้อม ฉะนั้น แล้วเสด็จประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์. ฝ่ายพระราชเทวี

ทรงประดับประดาด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง ตั้งพระภัทรบิฐทอง ทรง

ชำเลืองหางพระเนตรดูที่สมควรข้างหนึ่ง แล้วประทับ ณ ที่ตามความ

เหมาะสม ทูลว่า ข้าแต่เสด็จพี่ ขอเสด็จพี่จงตรัสบอกเนื้อร้องของเพลง

มงคลที่เสด็จพี่ปลื้มพระทัย แล้วทรงขับร้องแก่หม่อมฉันให้ชัดแจ้ง

เหมือนให้พระจันทร์โผล่ขึ้นบนท้องฟ้าก่อน ฉะนั้น แล้วทูลคาถาที่ ๓

ว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผู้ทรงทำความ

ยิ่งใหญ่ เพราะกุศลธรรม พระองค์ตรัสคาถา

ทรงเพลงเสมอ ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพัฒนา

รัฐ หม่อมฉันขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์

ผู้มีพระราชหฤทัยประกอบด้วยปีติอย่างแรงกล้า

โปรดบอกหม่อมฉันเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 431

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกสลาธิป ความว่า พระมหาสัตว์

นั้น ทรงเป็นใหญ่ยิ่งในแคว้นโกศล แต่เสด็จประทับอยู่ โดยทรงทำ

ความเป็นใหญ่ยิ่งในเพราะกุศลธรรม เพราะเหตุนั้น พระราชเทวี

เมื่อทรงเรียกพระองค์ จึงทูลอย่างนี้. บทว่า กุสลาธิป มีอธิบายว่า

ผู้ทรงมีพระอัธยาศัยเป็นกุศล. บทว่า พาฬฺห ปีติมโน ปภาสสิ

ความว่า ขอพระองค์โปรดมีพระราชหฤทัย ประกอบด้วยปีติอย่างเหลือ

เกิน ตรัสบอก คือว่า เพราะฉะนั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกเนื้อ

ความของคาถา คือเนื้อเพลงเหล่านั้น แก่หม่อมฉันก่อนเถิด.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะทรงทำเนื้อความของคาถา

ทั้งหลายให้แจ่มชัดแก่พระนาง จึงได้ภาษิตคาถา ๔ คาถา ว่า:-

เราได้เกิดในตระกูลหนึ่งในนครนี้นั่นเอง

ได้เป็นลูกจ้างทำงานให้คนอื่น แต่มีสีลสังวร

เราออกไปทำงานได้เห็นสมณะ ๔ รูป ผู้

สมบูรณ์ด้วยศีลและอาจาระ เป็นผู้เยือกเย็น

ไม่มีอาสวะ ยังจิตให้เลื่อมใสในท่านเหล่านั้น

แล้ว ได้ให้ท่านนั่งบนอาสนะที่ปูด้วยใบไม้

เลื่อมใสแล้ว ได้ถวายขนมกุมมาสแก่พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยมือของตนเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 432

ผลของกุศลธรรมนั้นของเรานี้เป็นเช่นนี้ คือเรา

ได้เสวยราชสมบัตินี้ ที่มีแผ่นดินอุดมสมบูรณ์

กว้างขวาง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุเล อญฺตเร ความว่า ใน

ตระกูลหนึ่งนั่นเอง ที่ไม่ปรากฏชื่อหรือโคตร. บทว่า อหุ ความว่า

เถิดแล้ว. บทว่า ปรกมฺมกโร อาสึ ความว่า เราเกิดในตระกูลนั้นแล้ว

เมื่อทำงานของผู้อื่นเลี้ยงชีพ เพราะเป็นคนจน ชื่อว่า ได้เป็นกรรมกร

ของผู้อื่น คือทำงานของผู้อื่น. บทว่า ภตโก คือลูกจ้าง ได้แก่ ผู้ที่

เลี้ยงตัวด้วยค่าจ้างของคนอื่น. บทว่า สีลสวุโต ความว่า ดำรงอยู่

แล้ว ในสีลสังวร ๕ ประการ พระมหาสัตว์ทรงแสดงว่า เราแม้เลี้ยง

ชีพด้วยค่าจ้าง แต่ก็ละความทุศีล ได้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล. บทว่า

กมฺมาย นิกฺขมนฺตาห ความว่า วันนั้น เราออกไปเพื่อจะทำงานที่

ต้องทำ. บทว่า จตุโร สมเณ อทฺทส ความว่า ดูก่อนน้องนาง เรา

ออกจากพระนครไป ขึ้นทางหลวงเดินไปแหล่งที่ทำงานของตน ได้เห็น

บรรพชิต ๔ รูป ผู้มีบาปสงบแล้ว กำลังเข้าไปสู่นครพาราณสีเพื่อต้อง

การบิณฑบาต. บทว่า อาจารสีลสมฺปนฺเน ความว่า การเลี้ยงชีพ

ด้วยอเนสนา ๒๑ อย่าง ชื่อว่า อนาจาร ผู้ประกอบพร้อมด้วยอาจาระ

ที่ตรงกันข้ามกับอนาจารนั้น และศีลที่มาแล้ว โดยมรรคและผลทั้งหลาย.

บทว่า สีติภูเต ความว่า ผู้ถึงแล้วซึ่งความเย็น เพราะระงับความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 433

กระวนกระวาย มีราคะเป็นต้นได้ และดับไฟ ๑๑ กองได้. บทว่า

อนาสเว ความว่า ผู้เว้นจากกามาสวะเป็นต้นได้. บทว่า นิสีทิตฺวา

ความว่า ให้นั่งบนสันถัดใบไม้ที่เขาปูลาดไว้บนอาสนะกองทราย เพราะ

ว่า สันถระในที่นี้ ท่านกล่าวว่า ได้แก่สันถัด. บทว่า อทาสึ ความว่า

ข้าพเจ้าถวายทักขิโณทกแก่ท่านเหล่านั้นแล้ว จึงได้ถวายขนมกุมมาส

โดยเคารพ ด้วยมือของตนเอง. บทว่า กุสลสฺส ความว่า ชื่อว่ากุศล

เพราะหมายความว่า ไม่มีทั้งโรค ไม่มีทั้งโทษ. บทว่า ผล ได้แก่ ผล

ที่หลั่งออกมาจากเหตุ. บทว่า ผีต ความว่า ที่ผลิตสมบัติทุกอย่างให้.

เมื่อพระมหาสัตว์บอกผลกรรมของตน โดยพิสดารอย่างนี้แล้ว

พระเทวีครั้นทรงสดับแล้ว ทรงมีพระทัยเลื่อมใส เมื่อจะทรงทำการ

สดุดีพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าว่า พระองค์ทรงทราบผลทาน

โดยประจักษ์อย่างนี้แล้วไซร้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป พระองค์ทรงได้

ก้อนข้าวก้อนหนึ่งแล้ว ต้องถวายแก่สมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรมนั้นแหละ

จึงจะเสวย ดังนี้แล้ว ได้ทูลคาถานี้ว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นอธิบดี ในเพราะ

กุศลธรรม ขอพระองค์จงทรงพระราชทานก่อน

จึงเสวย ขอพระองค์อย่าทรงประมาท ทรง

หมุนล้อ คือพระธรรมเถิด ข้าแต่มหาราช ผู้

ทรงเป็นอธิบดีในเพราะกุศลธรรม ขอพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 434

อย่าได้ทรงดำรงอยู่ในอธรรม โปรดรักษาทศ-

พิธราชธรรมไว้เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทท ภุญฺชถ ความว่า พระองค์

ทรงประทานแก่ผู้อื่นแล้ว จึงเสวยด้วยพระองค์เอง. บทว่า มา ปมาโท

ความว่า ขอพระองค์อย่าได้ทรงประมาทในบุญทั้งหลาย. บทว่า จกฺก

วตฺตย โกสลาธิป ความว่า ข้าแต่มหาราช ผู้ทรงมีพระราชอัธยาศัย

ในกุศลธรรม ขอพระองค์จงทรงหมุนล้อ คือพระธรรม ๔ อย่าง มี

การอยู่ในประเทศที่เหมาะสมเป็นต้น. บทว่า จกฺก ความว่า รถวิ่งไป

ด้วยล้อ ๒ ล้อ. แต่กายนี้ไปเทวโลก ด้วยล้อ ๔ ล้อเหล่านี้. ล้อ ๔ ล้อ

เหล่านั้น นับว่า เป็นล้อ คือพระธรรม. ขอพระองค์จงทรงหมุน คือ

ให้ล้อนั้นกลิ้งไป. บทว่า อธมฺมิโก ความว่า คนเหล่าอื่นถึงความ

ลำเอียงเพราะรักรีดทรัพย์นั่นเอง เหมือนหีบชาวโลก ด้วยเครื่องหีบ

อ้อย ฉะนั้น ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ดำรงธรรมฉันใด ขอพระองค์อย่าทรง

เป็นผู้ประพฤติอธรรม ฉันนั้น. บทว่า อนุธมฺม ปาลย ความว่า

แต่ขอพระองค์จงทรงคุ้มครอง คือรักษา ได้แก่ อย่าทรงสลัดทศพิธ-

ราชธรรมนี้ทิ้งเสีย คือ :-

ทาน ๑ ศีล ๑ การบริจาค ๑ ความซื่อ

ตรง ๑ ความอ่อนโยน ๑ ตบะ คือความเพียร ๑

ความไม่โกรธ ๑ ความไม่เบียดเบียน ๑ ความ

อดทน ๑ และความไม่ผิดพลาด ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 435

พระมหาสัตว์ เมื่อจะทรงรับพระดำรัสของพระนาง จึงตรัสคาถา

นี้ว่า :-

ดูก่อนพระธิดาของพระเจ้าโกศลผู้เลอ-

โฉม เรานั้นจักประพฤติตามทางที่พระอริยเจ้า

ทั้งหลายประพฤติมาแล้ว เสมอ ๆ นั้นนั่นเอง

พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นที่พอใจของเรา เรา

ต้องการจะได้เห็นท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วตุม ได้แก่ ทาง. บทว่า อริยาจริต

ความว่า ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ประพฤติมาแล้ว.

บทว่า สุโกสเล มีเนื้อความว่า ดูก่อนพระธิดา คนดีของพระเจ้า

โกศลผู้เลอโฉม. บทว่า อรหนฺโต ได้แก่ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

ผู้ได้พระนามอย่างนี้ เพราะเป็นผู้ใกล้จากกิเลสทั้งหลาย เพราะเป็นผู้

หักกำแห่งสังสารจักร์ เพราะเป็นผู้ทำลายข้าศึกทั้งหลาย และเพราะเป็น

ผู้ควรแก่ปัจจัยทั้งหลาย. มีคำอธิบายไว้ว่า ดูก่อนพระธิดาของพระเจ้า-

ปัสเสนผู้เจริญ เรานั้น ไม่ทำความอิ่มใจว่า เราถวายทานแล้ว จัก

ประพฤติตามทาง คือทาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายประพฤติแล้ว บ่อย ๆ

นั้นนั่นเอง. ด้วยว่าพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นที่ชอบใจ คือน่าทัศนาของ

เรา เพราะเป็นทักขิไณยบุคคลผู้ล้ำเลิศ เราประสงค์จะเห็นท่านเหล่านั้น

นั่นแหละ เพราะต้องการจะถวายจีวรเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 436

ก็แหละพระราชา ครั้นตรัสคำนี้แล้ว ทรงตรวจดูสมบัติของ

พระเทวี เมื่อตรัสถามว่า ดูก่อนน้องนางผู้เจริญ เราบอกกุศลกรรม

ของตนในภพก่อนอย่างพิสดารแก่เธอแล้ว แต่ในท่ามกลางหญิงเหล่านี้

ไม่มีหญิงแม้แต่คนเดียวที่เช่นกับเธอ โดยรูปร่างหรือโดยเยื้องกราย

และกิริยาเสน่หาของหญิง เธอนั้นทำกรรมอะไรไว้ จึงได้รับสมบัตินี้

ดังนี้ จึงได้ตรัสคาถาซ้ำว่า :-

ดูก่อนน้องนางผู้เจริญ ชาวโกศลคน

สวยงาม เธออุปมาเหมือนสาวอัปสร สวยงาม

ในท่ามกลางหมู่นารี เหมือนพระเทพเทวีของ

ท้าวสักกเทวราชก็ปานกันเธอได้ทำความดีอะไร

ไว้ เพราะเหตุอะไร เธอจึงมีผิวพรรณงาม ?

คาถานั้น มีเนื้อความว่า ดูก่อนน้องนางผู้เจริญ. ชาวโกศล

คนสวยงาม คือผู้เป็นพระราชธิดาคนดีของพระเจ้าโกศล เธออุปมา

ดังสาวอัปสร โดยรูปสมบัติ สวยงามเหลือเกิน ในท่ามกลางหมู่นารีนี้

เหมือนเทพธิดาตนใดตนหนึ่งของท้าวสักกเทวราช ในสรวงสวรรค์

ในสมัยก่อน เธอได้ทำกรรมดีงามชื่ออะไรไว้ เพราะเหตุอะไร เธอจึง

มีผิวพรรณงามอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 437

ลำดับนั้น พระราชเทวีนั้น เมื่อจะทูลบอกกรรมดี ในภพก่อน

ด้วยพระญาณที่ทรงระลึกชาติได้ จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถาที่เหลือว่า :-

ข้าแต่พระมหากษัตริย์ หม่อมฉันได้เป็น

ทาส ผู้รับใช้ผู้อื่นของตระกูลกุฎุมพี เป็นผู้

สำรวมระวัง เลี้ยงชีพโดยชอบธรรม มีศีล

ไม่พบเห็นบาป. ในครั้งนั้น หม่อมฉันมีจิต

เลื่อมใส ได้สำรวมใจ ถวายภัตตาหารที่เขา

ยกให้เป็นส่วนของตน แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

ผู้กำลังเดินไปบิณฑบาต ผลแห่งธรรมนั้นของ

หม่อมฉัน จึงเป็นเช่นนี้.

ได้ทราบมาว่า แม้พระราชเทวีนั้น ก็ทรงระลึกชาติได้เหมือนกัน

เพราะฉะนั้น พระนางจึงได้ทูลพระราชา โดยทรงกำหนดด้วยพระญาณ

ที่ทรงระลึกชาติของตนไว้นั่นเอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมฺพตฺถกุลสฺส ความว่า แห่ง

ตระกูลกุฎุมพี. บทว่า ทาสยาห ตัดบทเป็น ทาสี อห หม่อมฉันเป็น

ทาสี ปาฐะว่า ทาสาห ดังนี้ ก็มี. บทว่า ปรเปสิยา ความว่า เป็นผู้

ทำการรับใช้ คือ สาวใช้ที่ถูกผู้อื่นส่งไปเพื่อทำกิจนั้น ๆ. บทว่า สญฺตา

ความว่า ธรรมดาว่า ทาสีเป็นผู้ทุศีล แต่หม่อมฉันเป็นผู้สำรวมด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 438

ทวาร ๓ ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล. บทว่า ธมฺมชีวินี ความว่า เป็นผู้

เลี้ยงชีพ โดยไม่ทำการลวงผู้อื่นเป็นต้น แล้วประพฤติโดยธรรมโดย

สม่ำเสมอ. บทว่า สีลวตี ความว่า หม่อมฉันเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระ

มีคุณความดี. บทว่า อปาปทสฺสสนา ความว่า เป็นผู้พบเห็นสิ่งที่ดีงาม

คือมีธรรมเป็นที่รัก. บทว่า อุทฺธตภตฺต ความว่า ภัตรส่วนที่หม่อมฉัน

ได้ โดยยกขึ้น ด้วยสามารถแห่งส่วนที่ถึงแก่ตน. บทว่า ภิกขุโน

ความว่า แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ทรงทำลายกิเลสแล้ว. บทว่า จิตฺตา

สุมนา ความว่า เป็นผู้ดีใจ คือเกิดโสมนัสขึ้น เชื่อผลของกรรมอยู่.

บทว่า ตสฺส กมฺมสฺส ความว่า แห่งกรรม คือการถวายภิกษาอย่าง

เดียวนั้น. มีคำอธิบายว่า ข้าแต่มหาราช เมื่อก่อนหม่อมฉันเป็นทาสี

ของตระกูลกุฎุมพีตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ในนครสาวัตถี ถือเอาภัตตาหาร

ส่วนทีได้แล้วเดินออกไป เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง กำลังทรง

ดำเนินไปบิณฑบาต ยังความยินดีของตนให้ห่อเหี่ยวลง ถึงพร้อม

ด้วยคุณธรรม มีความสำรวมระวังเป็นต้น เชื่อผลของกรรมอยู่ จึงได้

ถวายภัตตาหารนั้น แก่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น. หม่อมฉันนั้น ดำรง

อยู่จนตลอดอายุถึงแก่กรรมแล้ว ได้ถือกำเนิดในพระอุทรของพระมเหสี

ของพระเจ้าโกศล ในนครสาวัตถีนั้น บัดนี้ กำลังบำเรอบาทของ

พระองค์ เสวยสมบัติเห็นปานนี้ ผลกรรมของหม่อมฉันนั้น เป็นอย่างนี้

คือเช่นนี้. ในเรื่องนั้น เพื่อแสดงถึงความที่ทานที่บุคคลถวายแล้วแก่

บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยคุณความดีว่ามีผลมาก ควรอ้างคาถามาให้พิสดาร

มีอาทิว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 439

บุญอันล้ำเลิศย่อมเจริญ แก่ชนทั้งหลาย

ผู้เลื่อมใสแล้ว ในบุคคลผู้ล้ำเลิศแล อายุ

วรรณะ ยศ เกียรติ ความสุขและกำลังอัน

ล้ำเลิศ ก็เจริญ. ผู้มีปัญญา ผู้ให้ของอันล้ำเลิศ

ตั้งมั่นแล้ว ในธรรมอันล้ำเลิศ เป็นภูต คือ

เทวดาก็ตาม มนุษย์ก็ตาม ผู้ถึงความล้ำเลิศแล้ว

ย่อมบรรเทิงใจ นี้เป็นขุมทรัพย์ที่อำนวยสมบัติ

ทุกอย่างแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

พระราชาและพระมเหสีทั้ง ๒ พระองค์นั้น ครั้นตรัสกรรมเก่า

โดยพิสดารด้วยประการอย่างนี้แล้ว จำเดิมแต่นั้นมา ทรงให้สร้างศาลา

๖ แห่ง คือที่ประตูพระนคร ๔ แห่ง ที่กลางพระนคร ๑ แห่ง ที่ประตู

พระราชวัง ๑ แห่ง ทรงกระทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้กระฉ่อน ยังมหา-

ทานให้เป็นไป ทรงรักษาศีล รักษาอุโบสถ ในอวสานต์แห่งพระชนม์

ชีพ ได้ทรงมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกไว้ว่า พระราชเทวีในครั้งนั้น ได้แก่ มารดาพระราหุล ส่วน

พระราชา ได้แก่ เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถากุมมาสปิณฑชาดกที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 440

๑๑. ปรันตปชาดก

ว่าด้วยลางบอกความชั่วและภัยที่จะมาถึง

[๑๑๑๔] บาปจักมาถึงข้าพระองค์ ภัยจักมาถึงข้า

พระองค์ เพราะมนุษย์หรือมฤคก็ไม่รู้เขย่ากิ่ง

ไม้ในครั้งนั้น.

[๑๑๑๕] ความใคร่ของเราในภรรยาผู้หวาดกลัว ที่

อยู่ไม่ไกลจักทำให้เราผอมเหลือง เหมือนกิ่งไม้

ทำให้นายปรันตปะผอมเหลืองฉะนั้น.

[๑๑๑๖] ภริยาผู้น่ารักใคร่ ไม่มีที่ติอยู่ในบ้าน จัด

เศร้าโศกถึงเรา ความเศร้าโศกจักทำให้เธอ

ผอมเหลือง เหมือนกิ่งไม้ทำให้นายปรันตปะ

ผอมเหลืองฉะนั้น.

[๑๑๑๗] หางตาที่หล่อนชำเลืองมาหาฉันก็ดี การ

ยิ้มของหล่อนก็ดี ถ้อยคำที่หล่อนเปล่งออกมา

ก็ดี จักทำให้เราผอมเหลือง เหมือนกิ่งไม้ทำให้

นายปรันตปะผอมเหลืองฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 441

[๑๑๑๘] เสียงกิ่งไม้ได้มาประจักษ์แน่นอนแล้ว

เสียงนั้นเห็นจะมาแจ้งเหตุให้ตัวเจ้าทราบแน่

นอนแล้ว ผู้ที่สั่นกิ่งไม้นั้นได้บอกเรื่องนั้นอย่าง

แน่นอน.

[๑๑๑๙] เรื่องนี้แลที่ตัวเจ้าคนโง่คิดว่า กิ่งไม้ที่

มนุษย์หรือมฤคก็ไม่ทราบเขย่าแล้วในครั้งนั้น

ได้มาถึงตัวเจ้าแล้ว.

[๑๑๒๐] เจ้าได้รู้อย่างนั้นแล้ว เจ้ายังลวงเสด็จพ่อ

ของฉันไปฆ่าแล้วเอากิ่งไม้ปิดไว้ บัดนี้ ภัยจัก

มาถึงเจ้าบ้างละ.

จบ ปรันตปชาดกที่ ๑๑

อรรถกถาปรันตปชาดกที่ ๑๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงปรารภ

การตะเกียกตะกายของพระเทวทัต เพื่อจะปลงพระชนม์พระศาสดา

แล้วจึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อาคมิสฺสติ เม ปาป ดังนี้.

ความพิสดารว่า ในครั้งนั้นภิกษุทั้งหลาย ตั้งเรื่องสนทนากันขึ้น

ว่า ดูก่อนอาวุโส พระเทวทัตตะเกียกตะกาย เพื่อจะปลงพระชนม์พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 442

ตถาคตเจ้า คือประกอบนายขมังธนู กลิ้งศิลาทับ ปล่อยช้างนาฬาคีรีทำ

อุบายเพื่อให้พระตถาคตเจ้าทรงพินาศ. พระศาสดาเสด็จมาถึง แล้วตรัส

ถามว่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร

หนอ ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พระเทวทัตไม่ใช่ตะเกียกตะกายเพื่อฆ่าเราตถาคต แต่ในบัดนี้

เท่านั้น แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตนั้นก็ตะเกียกตะกาย เพื่อฆ่าเรา

ตถาคตเหมือนกัน แต่ก็ไม่อาจเพื่อจะทำแม้เพียงความสะดุ้งให้เรา

ตถาคตได้ จึงเสวยทุกข์ของตนเอง แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา

สาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดในพระอุทรของพระอัครมเหสีของ

พระองค์ เจริญวัยแล้วทรงศึกษาศิลปทุกชนิดที่นครตักกศิลา ทรงเรียน

มนต์รู้เสียงทุกอย่าง. ท้าวเธอทรงให้การซักถามอาจารย์แล้ว เสด็จกลับ

นครพาราณสี. พระชนกทรงตั้งพระองค์ไว้ในตำแหน่งอุปราช. ถึงจะ

ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งอุปราชก็จริงอยู่. แต่ก็ทรงมีความประสงค์จะปลง

พระชนม์พระโพธิสัตว์อยู่ ไม่ทรงปรารถนาจะให้ท่านเข้าเฝ้า. อยู่มาวัน

หนึ่ง แม้สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งพาเอาลูกน้อย ๒ ตัวเข้าไปทางช่องระบายน้ำ

ในยามราตรีเมื่อมนุษย์ทั้งหลายหลีกเร้นไปแล้ว. ที่ข้างห้องบรรทมบน

ปราสาทของพระโพธิสัตว์ มีศาลาหลังหนึ่ง. บนศาลาหลังนั้นมีคนเข็ญ

ใจคนหนึ่ง ถอดรองเท้าวางไว้ที่พื้นดินใกล้เท้าแล้ว นอนอยู่บนกระดาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 443

แผ่นเดียว แต่ยังไม่หลับก่อน. ครั้งนั้นลูกน้อย ๒ ตัวของแม่สุนัขหิว

ร้องขึ้น จึงแม่ของมันได้พูดกะลูกทั้ง ๒ ตัวนั้นตามภาษาของตนว่า

อย่าทำเสียงดัง คนคนหนึ่งถอดรองเท้าวางไว้ที่พื้นบนศาลาหลังนี้ นอน

บนแผ่นกระดานแต่ยังไม่หลับ เวลาคนคนนั้นนอนหลับแม่จักไปคาบ

เอารองเท้านั่นมาให้พวกเจ้ากิน. พระโพธิสัตว์ทรงรู้ภาษาของมันด้วย

อานุภาพของมนต์ จึงเสด็จออกจากห้องบรรทมไปทรงเปิดพระแกลแล้ว

ตรัสว่า ใครอยู่ที่นี่. คนเข็ญใจทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้า คนเข็ญใจพระ-

เจ้าข้า.

พระโพธิสัตว์ รองเท้าของเจ้าอยู่ที่ไหน ?

คนเข็ญใจอยู่ที่พื้นดิน พระเจ้าข้า

พ. ยกขึ้นมาแขวนไว้เถิด.

แม่สุนัขจิ้งจอกครั้นได้ยินคำนั้นแล้ว โกรธพระโพธิสัตว์. ใน

วันรุ่งขึ้นมันก็เข้าพระนครอย่างนั้นเหมือนกัน ครั้งนั้นคนคน ๑ ตั้งใจ

ว่าจะดื่มน้ำ เมื่อลงไปในสระโบกขรณี ก็ตกลงไปจมน้ำหายใจไม่ออก

ตาย. แต่เขามีผ้าสาฎกสำหรับนุ่งห่ม ๒ ผืน และมีแหวนสวมนิ้ว

ราคาพันกหาปณะที่ผ้านุ่ง. แม้ครานั้นแม่สุนัขจิ้งจอกนั้นก็พูดกะลูก

น้อยของมัน ที่กำลังร้องว่าแม่พวกฉันหิว ว่า ลูกเอ๋ยอย่าส่งเสียงดัง

คนตายอยู่ที่สระโบกขรณีนั่นแนะ เขามีของสิ่งนี้และสิ่งนี้ แต่

เขาตายแล้วนอนอยู่ใต้บันไดนั่นเอง แม่จักให้พวกเจ้ากินคนคนนั่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 444

พระโพธิสัตว์ทรงสดับคำนั้นแล้ว ทรงเปิดพระแกลแล้วตรัสว่า บน

ศาลามีใครไหม ? เมื่อชายคนหนึ่งลุกขึ้นแล้วทูลว่า ข้าพระองค์พระ-

เจ้าข้า จึงตรัสว่า ไปเถิดไปเอาผ้าสาฎกและแหวนสวมนิ้วของชายที่ตาย

อยู่ในสระโบกขรณีนั้นแล้วปล่อยร่างของมันให้จมอยู่ในน้ำ โดยวิธีที่

มันจะไม่ลอยขึ้น. เขาได้ทำอย่างนั้นแล้ว แม่สุนัขนั้นก็โกรธอีกแล้วร้อง

ขู่พระโพธิสัตว์ว่า ในวันก่อนเขาไม่ได้ให้ลูกข้ากินรองเท้า วันนี้ไม่ให้

กินคนตาย ในวันที่ ๓ พระเจ้าสมันตราชองค์หนึ่ง จักมาล้อมพระนคร

ไว้ ครั้งนั้นพระราชบิดาจักส่งเขาไปเพื่อต้องการให้รบ พระเจ้าสมันต-

ราชจักตัดศีรษะของท่าน ณ ที่นั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นเราจักดื่มเลือดใน

ลำคอของแกแล้วพ้นเวร ดังนี้แล้วพาลูกออกไป. ในวันที่ ๓ พระเจ้า

สมันตราชเสด็จมาล้อมพระนครไว้. พระราชาตรัสกะพระโพธิสัตว์ว่า

ไปเถิดลูกเอ๋ย จงต่อสู้กับพระเจ้าสมันตราชนั้น. พระโพธิสัตว์ทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพ มีเหตุอย่างหนึ่งที่ข้าพระองค์เห็นแล้ว ข้าพระองค์ไม่

สามารถไปได้ ข้าพระองค์กลัวอันตรายแห่งชีวิต พระราชาตรัสว่า เมื่อ

เจ้าตายหรือไม่ตายก็ตาม จะมีประโยชน์อะไรสำหรับฉัน เจ้าจงไปเถิด.

พระมหาสัตว์รับกระแสพระบรมราชโองการแล้วพาบริษัทไป ไม่ได้

ออกทางประตูด้านที่พระเจ้าสมันตราชทรงตั้งทัพ ทรงเปิดประตูด้านอื่น

เสด็จออกไป. เมื่อพระมหาสัตว์นั้นเสด็จออกไป พระนครได้ว่างเปล่า.

คนทั้งหลายได้ออกไปกับพระมหาสัตว์หมดทีเดียว. พระมหาสัตว์ทรงให้

พักค่ายอยู่ ณ ที่ที่มีส่วนเหมาะสมกันแห่งหนึ่ง. พระราชาทรงดำริว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 445

อุปราชทำพระนครให้ว่างเปล่า พากำลังหนีไปแล้ว ฝ่ายพระเจ้าสมันต-

ราชก็ล้อมพระนครตรึงไว้ บัดนี้ชีวิตของเราจะไม่มี. พระองค์ทรงดำริ

ว่า เราจักรักษาชีวิตไว้ แล้วทรงพาเอาพระราชเทวี ปุโรหิตและคน

รับใช้คนหนึ่ง ชื่อปรันตปะปลอมพระองค์หนีเข้าป่าไป. พระโพธิสัตว์

ทรงทราบการเสด็จหนีไปของพระราชาแล้ว จึงเสด็จเข้าพระนครทรงทำ

การรบขับไล่พระเจ้าสมันตราชให้หนีไป แล้วทรงยึดราชสมบัติไว้ได้.

ฝ่ายพระราชบิดาของพระองค์ ได้ทรงสร้างบรรณศาลาใกล้ฝั่งแม่น้ำแห่ง

หนึ่ง ทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ได้ด้วยผลไม้น้อยใหญ่. พระราชากับ

ปุโรหิตไปหาผลไม้น้อยใหญ่. ที่บรรณศาลานั่นเองมีแต่ทาสชื่อปรันตปะ

กับพระราชเทวี. เพราะทรงอาศัยพระราชา พระราชเทวีได้ทรงพระ-

ครรภ์แม้ในสถานที่นั้น. และพระนางได้ประพฤตินอกใจพระราชากับ

ทาสปรันตปะนั่น ด้วยอำนาจแห่งความคุ้นเคยกัน. วันหนึ่งพระนาง

รับสั่งทาสปรันตปะว่า เมื่อพระราชาทรงทราบเรื่องแล้ว ชีวิตของเจ้าก็

จะไม่มี ชีวิตของฉันก็จะหามีไม่ เพราะฉะนั้นเจ้าจงปลงพระชนม์พระ-

ราชานั้นเสีย ทาสปรันตปะทูลว่า ข้าพระองค์จะปลงอย่างไร ? พระ-

ราชเทวีรับสั่งว่า พระราชานี่จะให้เจ้าถือพระขรรค์นั้นและภูษาชุบสรง

แล้วไปสรงสนาน เจ้าจงคอยดูความเผลอของพระราชานั้น ในที่สรง

สนานนั้น ใช้พระขรรค์ตัดพระเศียรแล้วสับพระสรีระออกเป็นท่อน ๆ

ฝังไว้ในพื้นดิน. เขารับพระเสาวนีว่า พระเจ้าข้า. อยู่มาวันหนึ่งปุโรหิต

นั่นเอง เดินไปเพื่อต้องการผลไม้น้อยใหญ่ ขึ้นต้นไม้ต้นหนึ่ง ใกล้ท่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 446

ที่พระราชาทรงสรงสนานเก็บผลไม้น้อยใหญ่อยู่. พระราชาทรงดำริว่า

เราจักอาบน้ำ แล้วทรงให้ทาสปรันตปะ ถือพระขรรค์และภูษาชุบสรง

แล้วได้เสด็จไปสู่ฝั่งแม่น้ำ. ทาสปรันตปะทูลพระองค์ผู้ทรงประสบความ

ประมาท ในเวลาทรงสรงสนานแม้ ณ ที่นั้นว่า ข้าพระองค์จักฆ่าละ

แล้วจับพระศอพระองค์เงื้อพระขรรค์ขึ้น. พระราชาทรงร้องเพราะทรง

กลัวความตาย. ปุโรหิตได้ยินเสียงนั้นแล้วมองดู เห็นทาสปรันตปะ

กำลังปลงพระชนม์พระราชาสะดุ้งกลัว จึงเขย่ากิ่งไม้แล้วลงจากต้นไม้

เข้าไปนั่งที่พุ่มไม้พุ่มหนึ่ง. ทาสปรันตปะได้ยินเสียงเขย่ากิ่งไม้ ของ

ปุโรหิตนั้นแล้วปลงพระชนม์พระราชา ฝังไว้ในพื้นดินแล้วพิจารณาดู

ว่า ได้มีเสียงเขย่ากิ่งไม้ในที่นี้ ใครหนออยู่ในที่นี้ ? ไม่เห็นใคร ๆ จึง

อาบน้ำแล้วไป. ในเวลาทาสปรันตปะไปแล้ว ปุโรหิตก็ออกจากที่นั่งไป

รู้ว่าพระราชาถูกสับพระสรีระออกเป็นท่อน ๆ แล้วฝั่งไว้ในหลุม จึงอาบ

น้ำแล้วปลอมเพศเป็นคนตาบอดแล้วได้ไปบรรณศาลา เพราะกลัวเขา

ฆ่าตน. ปรันตปะเห็นเขาแล้วพูดว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านได้ทำอะไร.

เขาทำเป็นเหมือนไม่รู้พูดว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์นัยน์ตาทั้ง ๒

เสียจึงได้มาที่นี่ ข้าพระองค์ได้ยืนอยู่ที่ข้างจอมปลวกแห่งหนึ่งในป่าที่มี

อสรพิษชุกชุม อสรพิษตัวหนึ่งจักพ่นพิษใส่. ปรันตปะคิดว่า เขาไม่รู้

จักเรา เขาจึงพูดว่า ข้าแต่สมมติเทพ เราจักปลอบใจเขา แล้วได้ปลอบใจ

เขาว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านอย่าคิดอะไร เราจักปฏิบัติท่าน แล้วได้

ให้ผลไม้น้อยใหญ่ ให้กินอิ่มหนำสำราญ. ต่อแต่นั้นมา ทาสปรันตปะก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 447

นำผลไม้น้อยใหญ่มาให้. พระราชเทวีประสูติพระราชโอรสแล้ว. เมื่อ

พระราชโอรสทรงเจริญขึ้นพระนางบรรทมสบาย ในเช้ามืดวันหนึ่งได้

ตรัสกะทาสปรันตปะเบา ๆ ว่า เจ้าเมื่อปลงพระชนม์พระราชา ไม่มีใคร

หรือ ? เขาเมื่อเจรจากับพระนางว่า ใคร ๆ มิได้เห็นข้าพระองค์ แต่ว่า

ได้ยินเสียงเขย่ากิ่งไม้ แต่ไม่ทราบว่ากิ่งไม้นั้นมนุษย์หรือสัตว์เดียรฉาน

เขย่า ไม่คราวใดก็คราวหนึ่งภัยจะมาถึงข้าพระองค์ และจักมาจากผู้เขย่า

กิ่งไม้ ดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

บาปจักมาถึงข้าพระองค์ ภัยจักมาถึงข้า

พระองค์ เพราะมนุษย์หรือมฤคก็ไม่รู้ เขย่า

กิ่งไม้ในครั้งนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาป ได้แก่สิ่งที่ลามกคือสิ่งที่ไม่น่า

ปรารถนา ไม่น่ารักใคร่. บทว่า ภย ความว่า แม้ภัยคือความหวาด

เสียวใจจักมาถึงข้าพระองค์ ไม่ใช่ไม่อาจมาถึง. เพราะเหตุไร ? เพราะว่า

กิ่งไม้ไหวครั้งนั้นไม่ทราบว่าเพราะมนุษย์หรือมฤค เพราะฉะนั้นภัยจัก

มาถึงข้าพระองค์จากมนุษย์หรือมฤคนั้นทีเดียว. คนทั้ง ๒ นั้นเข้าใจว่า

ปุโรหิตหลับแล้ว. แต่ปุโรหิตนั้นยังไม่หลับเลย ได้ยินถ้อยคำของพวก

เขาอยู่. อยู่มาวันหนึ่งเมื่อทาสปรันตปะไปหาผลไม้น้อยใหญ่ ปุโรหิต

เป็นเหมือนเพ้อระลึกถึงภริยาของตนอยู่ ได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 448

ความใคร่ของเราในภรรยาผู้หวาดกลัวที่

อยู่ไม่ไกลจักทำให้เราผอมเหลือง เหมือนกิ่งไม้

ทำให้นายปรันตปะผอมเหลืองไป ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภีรุยา ความว่า ธรรมดาผู้หญิง

ทั้งหลายย่อมกลัว เพราะเหตุแม้เพียงเล็กน้อย เพราะฉะนั้น ผู้หญิงจึง

ถูกเรียกว่าภีรุ. บทว่า อวิทูเร ความว่า ปุโรหิตแสดงว่า ความใคร่

ของเราในนางพราหมณีผู้หวาดกลัว อยู่ในที่ไม่ใกล้จากที่นี้ คือในที่สุด

ระยะ ๒ - ๓ โยชน์ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา. พราหมณีนั้นจักทำให้เราผอม

เหลืองแน่นอน. บทว่า สาว สาขา มีเนื้อความว่า ก็ด้วยคำนี้ ปุโรหิต

แสดงอุปมาอยู่ว่า กิ่งไม้ทำให้ปรันตปะเองผอมเหลืองฉันใด พราหมณี

นั้นก็ฉันนั้น ทำให้เราผอมเหลือง. ดังนั้นพราหมณ์จึงกล่าวคาถานั่น

แหละแต่ไม่บอกความหมาย. เพราะฉะนั้น กิจจึงไม่ปรากฏแก่พระราช-

เทวีเพราะคาถานี้.

ลำดับนั้น พระราชเทวีจึงกล่าวกะปุโรหิตนั้นว่า ดูก่อนพราหมณ์

ท่านพูดอะไร ? ฝ่ายปุโรหิตพูดว่า ข้าพระองค์กำหนดรู้แล้วแหละ ใน

วันรุ่งขึ้นก็กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

ภริยาผู้น่ารักใคร่ ไม่มีที่ติอยู่ในบ้าน จัก

เศร้าโศกถึงเรา ความเศร้าโศกจักทำให้เธอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 449

ผอมเหลือง เหมือนกิ่งไม้ทำนายปรันตปะให้

ผอมเหลืองฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสจยิสฺสติ ความว่า จักให้ซูบซีด

เพราะเกิดความเศร้าโศกขึ้น. บทว่า กนฺตา ได้แก่ภริยาผู้น่าปรารถนา.

บทว่า คาเม วส มีอธิอบายว่า อยู่ในเมืองพาราณสี. บทว่า อนินฺทิตา

ความว่า ไม่มีที่ครหาคือทรงไว้ซึ่งรูปร่างที่เลอเลิศ.

ในวันรุ่งขึ้นปุโรหิตได้กล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

หางตาที่หล่อนชำเลืองมาหาฉันก็ดี การยิ้ม

ของหล่อนก็ดี ถ้อยคำที่หล่อนเปล่งออกมาก็ดี

มันจักทำให้เราผอมเหลือง เหมือนกิ่งไม้ทำให้

นายปรันตปะผอมเหลืองฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตยา ม หสิตาปงฺคี ความว่า

หางตาที่หล่อนชำเลืองมาที่ฉัน. มีคำอธิบายว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ ดวง

ตาคำที่ตกแต่งดีแล้วเพราะนำสิ่งโสมมออกจากหางตาแล้ว ด้วยไม้ป้ายยา

หยอดตาที่หล่อนชำเลืองตาแล้วก็ดี การยิ้มน้อย ๆ ก็ดี คำพูด. ที่หล่อนพูด

อย่างอ่อนหวานก็ดี จักทำให้เราผอมเหลืองเหมือนกิ่งไม้ที่เราเขย่าแล้ว

ดังอยู่ ทำให้ปรันตปะผอมแห้งฉะนั้น. ปาฐะว่า ปงฺคี ดังนี้ ก็มี โดย

เปลี่ยน อักษรให้เป็น อักษร นั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 450

ในกาลต่อมา พระราชกุมารได้ทรงเจริญวัยขึ้นมีพระชนมายุได้

๑๖ ชันษา. จึงพราหมณ์ได้ให้พระองค์ทรงจับปลายไม้เท้าจูงไปถึงท่า

อาบน้ำแล้ว ได้ลืมตาขึ้นมองดู. พระราชกุมารตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์

ท่านเป็นคนตาบอดไม่ใช่หรือ ? เขาทูลว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่คนตาบอด แต่

ใช้อุบายนี้รักษาชีวิตไว้ แล้วทูลว่า ท่านรู้จักบิดาของท่านไหม ? เมื่อ

พระราชกุมารตรัสบอกว่า เรารู้คนคนนั้น เป็นบิดาของเรา จึงทูลว่า

คนคนนี้ไม่ใช่บิดาของท่าน แต่บิดาของท่านได้แก่พระเจ้าพาราณสี

คนคนนี้เป็นทาสของท่าน เขาปฏิบัติผิดในมารดาของท่านแล้ว ฆ่าบิดา

ของท่านแล้วฝังไว้ที่ตรงนี้ ดังนี้แล้วนำเอากระดูกมาให้ดู พระราชกุมาร

ได้ทรงเกิดความกริ้วขึ้นเป็นกำลัง. ลำดับนั้น เมื่อพระราชกุมารตรัสถาม

ปุโรหิตนั้นว่า บัดนี้ เราจะทำอย่างไร ? ปุโรหิตจึงทูลว่า สิ่งใดที่เขา

ทำแก่พระราชบิดาของพระองค์ที่ท่าน้ำนี้นั่นเอง พระองค์จงทรงกระทำ

สิ่งนั่นเถิด แล้วได้ทูลบอกความเป็นไปทั้งหมดให้ทรงทราบ แล้วได้

ให้พระราชกุมารทรงศึกษา การตีกระบี่กระบองอยู่ ๒, ๓ วัน. อยู่มา

วันหนึ่ง พระราชกุมารทรงถือพระขรรค์กับพระภูษาชุบสรงแล้วกล่าวว่า

ไปอาบน้ำเถิดพ่อครับ. ปรันตปะตอบว่า ดีละ แล้วก็ไปกับพระราชกุมาร

นั้น. ต่อมาในเวลาเขาลงอาบน้ำ พระราชกุมารจึงใช้พระหัตถ์ขวาทรง

ถือดาบ พระหัตถ์ซ้ายทรงจับมวยผมแล้วตรัสว่า ได้ทราบว่าเจ้าจับพระ-

จุฬาของเสด็จพ่อของฉันแล้วปลงพระชนม์ของพระองค์ผู้ทรงร้องอยู่ที่ท่า

น้ำนี้นั่นเอง ฝ่ายฉันก็จักทำเจ้าอย่างนั้นเหมือนกัน. เขากลัวภัยคือความ

ตาย โอดครวญไปพลางกล่าวคาถา ๒ คาถาไปพลางว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 451

เสียงกิ่งไม้ได้มาประจักษ์แน่นอนแล้ว

เสียงนั้นเห็นจะมาแจ้งเหตุ ให้ตัวเจ้าทราบแน่

นอนแล้ว ผู้ที่สั่นกิ่งไม้นั้นได้บอกเรื่องนั้น

อย่างแน่นอน เรื่องนี้เจ้าแลที่ตัวคนโง่คิดว่า

กิ่งไม้ที่มนุษย์หรือมฤคก็ไม่ทราบ เขย่าแล้วใน

ครั้งนั้นได้มาถึงเจ้าแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคมา ความว่า เสียงของกิ่งไม้นั้น

ได้มาถึงคือมาประจวบตัวเจ้าเข้าแล้ว. บทว่า อสสิ นูน โส ตว ความ

ว่า เสียงเห็นจะบอกเหตุแต่เจ้า. บทว่า อกฺขาต นูน ต เตน ความว่า

สัตว์ได้สั่นกิ่งไม้นั้น ในครั้งนั้นสัตว์นั้นได้บอกเหตุนั้นแน่นอนอย่าง

นี้ว่า เขาฆ่าบิดาของท่าน บทว่า สมาคมฺม ได้แก่ สงฺคมฺม หมาย

ความว่า ได้มาถึงแล้ว. มีคำอธิบายว่า ข้อที่เราผู้เป็นคนโง่ได้มีสิ่งที่คิด

คือถึงที่ปริวิตกว่า ภัยจักเกิดขึ้นแก่เรา จากมนุษย์หรือมฤคที่เขย่ากิ่งไม้

ในครั้งนั้นนี้ได้มาประจวบกับเราแล้ว.

ต่อจากนั้น พระราชกุมารก็ได้ตรัสคาถาสุดท้ายว่า

เจ้าได้รู้อย่างนั้นแล้ว เจ้ายังลวงเสด็จ

พ่อของฉันไปฆ่าแล้วเอากิ่งไม้ปิดไว้ บัดนี้ ภัย

จักมาถึงเจ้าบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 452

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเถว ตฺว อเวทสิ ความว่า เจ้าได้

รู้แล้วอยู่อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า อวญฺจิ ปิตร มม ความว่า เจ้า

ปลอบใจเสด็จพ่อของฉันว่า พวกเรามาไปอาบน้ำกัน แล้วปลงพระชนม์

ท่านผู้กำลังสรงสนานอยู่ สับให้เป็นท่อนเล็กท่อนน้อยฝังไว้แล้วพลางไว้

โดยคิดว่า ถ้าใครจักรู้ไซร้ ภัยแบบนี้จักมาถึงแม้แก่ตัวเรา แต่ภัยคือ

ความตายนี้แล บัดนี้ได้มาถึงตัวเจ้าแล้ว.

พระกุมารครั้นตรัสดังที่กล่าวมาแล้วนี้ แล้วก็ให้ทาสปรันตปะ

นั้นถึงความสิ้นชีวิตฝังไว้แล้ว เอากิ่งไม้คลุมไว้ ทรงล้างพระขรรค์สรง

สนานแล้วเสด็จไปสู่บรรณศาลาตรัสบอกปุโรหิตนั้น ถึงภาวะที่ตนได้ฆ่า

แล้ว จึงทรงต่อว่าพระมารดา. ทั้ง ๓ คนหารือกันว่า พวกเราจักอยู่ทำไม

ก็ตรงนี้ แล้วจึงได้พากันไปนครพาราณสีนั่นเอง พระโพธิสัตว์ทรง

ประทานตำแหน่งอุปราชแก่พระกนิษฐา แล้วทรงบำเพ็ญบุญมีทานเป็น

ต้น ทรงสร้างทางสวรรค์ให้เต็มที่.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรมทั้งหลายแล้ว ทรงประชุมชาดกไว้ว่า พระราชาผู้เป็นบิดาใน

ครั้งนั้น ได้แก่พระเทวทัตในครั้งนี้ ปุโรหิตได้แก่พระอานนท์ ส่วน

พระราชบุตรได้แก่เราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาปรันตปชาดกที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 453

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ :-

๑. คันธารชาดก ๒. มหากบี่ชาดก ๓. กุมภการชาดก

๔. ทัฬหธัมมชาดก ๕. โสมทัตตชาดก ๖. สุสีมชาดก ๗. โกฏสิมพลิ

ชาดก ๘. ธูมการิชาดก ๙. ชาครชาดก ๑๐. กุมมาสปิณฑชาดก

๑๑. ปรันตปชาดก.

จบ คันธารวรรคที่ ๒

รวมวรรคที่มีในสัตตกนิบาต คือ :-

๑. กุกกุวรรค ๒. คันธารวรรค

จบ สัตตกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 454

อัฏฐกนิบาตชาดก

๑. กัจจานิวรรค

๑. กัจจานิชาดก

ว่าด้วยในกาลไหน ๆ ธรรมย่อมไม่ตาย

[๑๑๒๑] ดูก่อนแม่กัจจานี ท่านสระผม นุ่งห่ม

ผ้าขาวสะอาด ยกถาดสำหรับนึ่ง ขึ้นบนเตา

ที่ทำด้วยศีรษะมนุษย์ ยีแป้ง ล้างงา ซาว

ข้าวสารทำไม ข้าวสุกคลุกงา จะมีไว้เพื่อเหตุ

อะไร ?

[๑๐๒๒] ดูก่อนพราหมณ์ ข้าวสุกคลุกงา ที่ทำ

ให้สุกดีนี้ มิใช่เพื่อบริโภคเอง ธรรมคือความ

อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ และธรรมคือสุจริตสาม-

ประการ ได้สูญไปแล้ว วันนี้ข้าพเจ้าจักทำการ

บูชาธรรมนั้น ในกลางป่าช้า.

[๑๑๒๓] ดูก่อนแม่กัจจานี เธอจงตริตรองก่อน

แล้วจึงทำการงาน ใครบอกเธอว่า ธรรมสูญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 455

เสียแล้ว ธรรมอันประเสริฐ เปรียบด้วยท้าว

สหัสสเนตร นี้อานุภาพหาที่เปรียบมิได้ ย่อม

ไม่ตายในกาลไหน ๆ.

[๑๑๒๔] ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ ในข้อที่ว่า ธรรม

สูญแล้วนี้ ข้าพเจ้านึกมั่นใจเอาเอง ในข้อที่ว่า

ธรรมไม่มีสูญนี้ ข้าพเจ้ายังสงสัย เพราะ

เดี๋ยวนี้ คนมีบาปย่อมมีความสุข.

เช่นหญิงสะใภ้ของข้าพเจ้าเป็นหญิงหมัน

นางทุบตีขับไล่ข้าพเจ้าแล้วคลอดบุตร เดี๋ยวนี้

นางได้เป็นใหญ่แห่งตระกูลทั้งหมด ข้าพเจ้า

ถูกทอดทิ้ง ไม่มีที่พึ่งอยู่คนเดียว.

[๑๑๒๕] เรายังเป็นอยู่ ยังไม่ตาย เรามาในที่นี้

เพื่อประโยชน์สำหรับท่านโดยเฉพาะ หญิง

สะใภ้คนใดทุบตีขับไล่ท่าน แล้วคลอดบุตร

เราจักทำหญิงสะใภ้คนนั้นพร้อมทั้งบุตร ให้

เป็นเถ้าธุลีเดี๋ยวนี้.

[๑๑๒๖] ข้าแต่เทวราช พระองค์ทรงพอพระทัย

เสด็จมาในที่นี้ เพื่อประโยชน์สำหรับหม่อมฉัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 456

โดยเฉพาะอย่างนี้ ขอให้หม่อมฉัน บุตร

ลูกสะใภ้ และหลานได้อยู่เรือนร่วมกันโดย

ความบันเทิงเถิด.

[๑๑๒๗] ดูก่อนแม่กาติยานี เธอชอบใจเช่นนั้น

ก็ตาม เธอถึงจะถูกทุบตีขับไล่ ก็ไม่ละธรรม

คือความเมตตา ขอให้เธอพร้อมทั้งบุตร ลูก

สะใภ้และหลาน จงอยู่ร่วมเรือนกัน โดยความ

บันเทิงเถิด.

[๑๑๒๘] นางกาติยานีได้อยู่ร่วมเรือนกับลูกสะใภ้

ด้วยความบันเทิง ทั้งลูกและหลานต่างช่วยกัน

บำรุงเลี้ยง เพราะท้าวสักกเทวราชทรงอนุ-

เคราะห์.

จบ กัจจานิชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 457

อรรถกถาชาดก

อัฏฐกนิบาต

อรรถกถากัจจานิวรรคที่ ๑

อรรถกถากัจจานิโคตตชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

อุบาสกผู้เลี้ยงมารดาคนหนึ่ง จึงได้ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า โอทาต-

วตฺถา สุจิ อลฺลเกสา ดังนี้.

ได้ยินว่า อุบาสกผู้เลี้ยงมารดานั้น เป็นลูกผู้ดีเมืองสาวัตถี เป็น

คนมีมรรยาทดี เมื่อบิดาตายแล้วเขาบูชามารดาเหมือนเทวดา บำรุง

มารดาด้วยการขวนขวายจัดน้ำล้างหน้า บ้วนปาก ไม้สีฟัน น้ำอาบ

น้ำล้างเท้าเป็นต้น และด้วยข้าวยาคูแลภัตรเป็นอาทิ. ครั้งหนึ่งมารดา

กล่าวกะเขาว่า ลูกรัก เจ้ามีการงานซึ่งเป็นเรื่องของฆราวาสมากมาย จง

พาหญิงที่มีตระกูลเสมอกันคนหนึ่งเป็นภรรยาเขาจักเลี้ยงดูแม่ ส่วนเจ้า

จักได้ทำการงานของตัวไป. เขากล่าวว่า ดูก่อนแม่ ฉันหวังประโยชน์สุข

สำหรับตน จึงบำรุงเลี้ยงแม่ คนอื่นใครเล่าจักบำรุงเลี้ยงได้อย่างนี้.

มารดากล่าวว่า ลูกรัก เจ้าควรทำการงานที่ให้ตระกูลเจริญ. เขากล่าวว่า

ฉันไม่ต้องการครองเรือน ฉันจักบำรุงเลี้ยงแม่ เวลาแม่สิ้นชีพแล้วฉัน

จักบวช. ลำดับนั้น มารดาของเขาแม้อ้อนวอนบ่อย ๆ ก็ไม่ได้ดังใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 458

จึงไม่ถือความพอใจของเขาเป็นเกณฑ์ นำหญิงที่มีชาติตระกูลเสมอกัน

มาให้เขา. เขาก็มิได้คัดค้านมารดา ได้อยู่ร่วมกันกับหญิงนั้น. แม้หญิง

นั้นก็คิดว่า สามีของเราบำรุงเลี้ยงมารดาด้วยความอุตสาหะอันยิ่งใหญ่

แม้เราก็ควรจักบำรุงเลี้ยงท่าน เมื่อเราทำอย่างนี้ก็จักเป็นที่รักของสามี

คิดดังนี้แล้วก็บำรุงแม่ผัวโดยเคารพ. อุบาสกผู้เลี้ยงมารดาคิดว่า หญิงนี้

บำรุงเลี้ยงมารดาของเราโดยเคารพ จึงนับแต่นั้นมาเขาได้ให้ของกินที่มี

รสอร่อยที่ได้มา ๆ แก่นางผู้เดียว. ครั้นเวลาต่อมา หญิงนั้นคิดว่าบุรุษ

ผู้นี้ ให้ของกินที่มีรสอร่อย ๆ ที่ได้มา ๆ แก่เราเท่านั้น เขาคงจักต้อง

การขับไล่มารดาเป็นแน่ เราจักทำอุบายขับไล่แก่เขา นางลืมตัวคิดไป

โดยไม่ไตร่ตรองอย่างนี้ วันหนึ่ง จึงบอกสามีว่า คุณพี่ เมื่อพี่ออกไป

ข้างนอก มารดาของพี่ด่าฉัน. เขาได้นิ่งเสีย นางคิดว่าเราจักใส่โทษ

หญิงแก่นี้ แล้วทำตระกูลผัวให้แก่บุตร. ตั้งแต่นั้นมาเมื่อนางจะให้ข้าว

ยาคู ก็ให้ที่ร้อนจัดบ้าง เย็นจัดบ้าง ไม่เค็มบ้าง เค็มจัดบ้าง. เมื่อแม่ผัว

บอกว่า แม่หนู ข้าวยาคูร้อนจัด หรือเค็มจัด นางก็เติมน้ำเย็นใส่เสีย

จนเต็ม. เมื่อแม่ผัวบอกอีกว่า เย็นมากไป เค็มมากไป นางก็ส่งเสียง

ขึ้นว่า เมื่อก็แม่บอกว่า ร้อนจัด เค็มจัด ใครจักสามารถทำให้ถูกใจ

แม่ได้ แม้น้ำสำหรับอาบ นางก็ต้มจนร้อนจัดแล้วราดบนหลัง. เมื่อ

แม่ผัวบอกว่า แม่หนู หลังแม่ไหม้หมดแล้ว นางก็เอาน้ำเย็นเติมใส่

เสียจนเต็ม. เมื่อแม่ผัวบอกว่า เย็นจัดไป แม่หนู นางก็เที่ยวพูดกับ

ชาวบ้านว่า แม่ผัวฉันพูดว่า น้ำสำหรับอาบร้อนจัดอยู่เดี๋ยวนี้ แล้วกลับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 459

ร้องขึ้นอีกว่า เย็นจัดไป ใครจักสามารถเอาใจหญิงแก่คนนี้ได้. เมื่อ

แม่ผัวบอกว่า แม่หนูเตียงนอนของแม่มีเลือดชุม นางก็นำออกมาแล้ว

เอาเตียงของตนเคาะลงบนเตียงนั้น บอกว่าฉันเคาะแล้ว แล้วก็นำกลับ

ไปตั้งไว้ตามเดิม. แม่ผัวผู้เป็นมหาอุบาสิกาถูกเรือดกัด ต้องนั่งอยู่ตลอด

คืน พอรุ่งสว่างจึงพูดว่า แม่หนู ฉันถูกเรือดกัดตลอดคืน. นางก็

เถียงว่า เมื่อวานฉันก็ได้เคาะเตียงของแม่ ใครจักอาจช่วยเหลือการงาน

ของตนเช่นนี้ได้ นางคิดว่า คราวนี้เราจักให้ลูกชายเขาใส่โทษ จึง

แกล้งบ้วนน้ำลาย สั่งน้ำมูกเรี่ยลาดไว้ในที่นั้น ๆ เมื่อสามีถามว่า ใคร

ทำเรือนนี้ให้สกปรกไปหมด นางก็กล่าวว่า มารดาของท่านทำอย่างนี้

ฉันบอกว่าอย่าทำเลย ก็พาลทะเลาะ ฉันไม่อาจอยู่ร่วมเรือนกับหญิง

กาลกรรณีเช่นนี้ เรือนนี้ท่านจะให้มารดาของท่านอยู่หรือจักให้ฉันอยู่

อุบาสกผู้เลี้ยงมารดาได้ฟังคำของนางแล้ว กล่าวว่า น้องรักเธอยังสาวอยู่

อาจที่จะไปดำรงชีพอยู่ในที่ใด ๆได้ ส่วนแม่ของฉันเป็นคนแก่ทุพพลภาพ

ฉันเท่านั้นเป็นที่พึ่งของแม่ เธอจงออกจากบ้านไปสู่ตระกูลของตน. นาง

ได้ฟังคำของสามีแล้วมีความกลัว คิดว่า เราไม่อาจแยกสามีของเราจาก

มารดาได้ มารดาเป็นที่รักของเขาโดยส่วนเดียว ถ้าเราไปเรือนแห่ง

ตระกูล เราจักต้องอยู่อย่างเป็นหม้าย ได้รับแต่ความทุกข์เท่านั้น เรา

จักปฏิบัติ ให้แม่ผัวโปรดปรานเหมือนแต่ก่อน. ตั้งแต่นั้นมา นางได้

ปฏิบัติแม่ผัวเหมือนดังก่อนทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 460

อยู่มาวันหนึ่ง อุบาสกผู้เลี้ยงมารดานั้นไปสู่พระวิหารเชตวัน

เพื่อฟังพระธรรม ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง. พระบรมศาสดาตรัสถามว่า อุบาสกท่านไม่ประมาทในบุญกรรม

มิใช่หรือ ท่านบำเพ็ญมาตาปิตุปัฏฐานกิจมิใช่หรือ ? เขากราบทูลเรื่อง

ทั้งหมดแด่พระศาสดาว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มารดาของ

ข้าพระองค์นำหญิงในตระกูลคนหนึ่งมาเพื่อข้าพระองค์ โดยที่ข้าพระองค์

ไม่ชอบใจเลย นางนั้นได้ทำอนาจารต่าง ๆ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงอย่างนี้นางก็ไม่อาจจะแยกข้าพระองค์จากมารดาได้ เดี๋ยวนี้นางได้

บำรุงเลี้ยงมารดาโดยเคารพ.

พระศาสดาทรงสดับด้วยคำของอุบาสกนั้นแล้ว มีพระดำรัสว่า

อาวุโส เดี๋ยวนี้เธอไม่การทำตามคำของหญิงนั้น แต่เมื่อก่อนเธอได้ขับไล่

มารดาของเธอตามคำของนาง แต่ได้อาศัยเราจึงได้นำมารดามาสู่เรือน

บำรุงเลี้ยงอีก อุบาสกทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว จึงได้ทรงนำเอาเรื่อง

ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี กุลบุตรของตระกูลหนึ่ง เมื่อบิดาตายแล้ว เขาบูชามารดา

เหมือนเทวดา ปฏิบัติมารดาโดยทำนองดังกล่าวแล้ว เรื่องทั้งหมดมี

เนื้อความพิสดารตามทำนองที่กล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล. จับความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 461

ตอนนี้ว่า ก็เมื่อหญิงนั้น กล่าวกะสามีว่า ฉันไม่อาจอยู่ร่วมกับหญิง

กาลกรรณีเช่นนี้ได้ เรือนนี้ท่านจะให้มารดาของท่านอยู่ หรือจะให้ฉัน

อยู่ กุลบุตรนั้น เชื่อถ้อยคำของหญิงนั้น คิดว่า เป็นความผิดของแม่

เราคนเดียวจึงกล่าวกะมารดาว่า แม่ แม่ก่อการทะเลาะขึ้นในเรือนนี้

เป็นนิตย์ แม่จงออกจากเรือนนี้ไปอยู่ในที่อื่นตามชอบใจเถิด. มารดา

พูดว่า ดีแล้ว ร้องไห้ออกจากบ้านไปอาศัยตระกูลที่เป็นเพื่อนกัน ตระกูล

หนึ่งทำงานรับจ้างเขาเลี้ยงชีพอยู่ด้วยความลำบาก. ในเมื่อนางทำการ

ทะเลาะกับแม่ผัวในเรือนจนแม่ผัวออกจากบ้านไปแล้ว นางก็ได้ตั้งครรภ์.

นางบอกกับสามีและเที่ยวพูดกับชาวบ้านว่า เมื่อหญิงกาลกรรณีนั้นอยู่

ในเรือน ฉันไม่ได้ตั้งครรภ์ เดียวนี้ฉันได้มีครรภ์แล้ว. ต่อมานาง

คลอดบุตรแล้วกล่าวกะสามีที่รักว่า เมื่อมารดาของท่านอยู่ในเรือนฉันไม่

ได้บุตร เดี๋ยวนี้ฉันได้แล้ว ท่านจงรู้ว่ามารดาของท่านเป็นกาลกรรณีด้วย

เหตุนี้เถิด. ฝ่ายหญิงผู้เป็นมารดาได้ข่าวว่า เขาว่ากัน ว่า หญิงสะใภ้ได้

บุตรในเวลาที่เราถูกไล่ออกจากบ้าน นางจึงคิดว่าในโลกนี้ ธรรมคงจัก

สูญไปแน่แล้ว ถ้าธรรมยังไม่สูญ ผู้ที่โบยตีมารดาแล้วขับไล่ออกจากบ้าน

ไม่ควรได้บุตร ไม่ควรเป็นอยู่อย่างสบาย เราจักถวายมตกภัตต์แก่ธรรม.

วันหนึ่ง นางถืองา แป้ง ข้าวสาร ถาดสำรับหนึ่ง และทัพพีไปป่าช้า

ผีดิบเอาศีรษะมนุษย์สามศีรษะมาทำเตา ก่อไฟขึ้นแล้วลงน้ำสระหัว

บ้วนปากเสร็จแล้วมาที่เตา สยายผมแล้วเริ่มซาวข้าวสาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 462

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นท้าวสักกเทวราช.

ธรรมดาพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท. ขณะนั้นพระองค์

ตรวจดูหมู่สัตวโลก เห็นหญิงนั้นกำลังมีความทุกข์ ประสงค์จะถวาย

มตกภัตต์แก่ธรรม ด้วยเข้าใจว่าธรรมได้สูญเสียแล้ว จึงทรงดำริว่า

วันนี้เราจักแสดงกำลังของเรา ได้แปลงเพศเป็นพราหมณ์ทำเป็นเดิน

ทางไป ครั้นเห็นหญิงนั้น จึงแวะไปยืนใกล้นาง กล่าวว่านี่แน่ะแม่คุณ

ไม่มีธรรมดาที่ไหน ที่หุงหาอาหากันในป่าช้าท่านจะเอาข้าวสุกคลุกงา

ที่ทำให้สุกในป่าช้านี้ไปทำอะไร ดังนี้ เมื่อจะเริ่มสนทนา จึงกล่าวคาถา

ที่ ๑ ว่า :-

ดูก่อนแม่กัจจานี ท่านสระผม นุ่งห่ม

ผ้าขาวสะอาด ยกถาดสำหรับนึ่ง ขึ้นบนเตา

ที่ทำด้วยศีรษะมนุษย์ ยีแป้ง ล้างงา ซาวข้าวสาร

ทำไม ข้าวสุกคลุกงา จะมีไว้เพื่อเหตุอะไร ?

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้น ดังต่อไปนี้ :- ท้าวสักกเทวราช

เรียกหญิงนั้น โดยโคตรว่า กัจจานี.

บทว่า กุมฺภิมธิสฺสยิตฺวา ความว่า ยกถาดสำหรับนึ่งนี้ขึ้นบน

เตาที่ทำด้วยศีรษะมนุษย์

บทว่า เหหิติ ความว่า ข้าวสุกคลุกงานี้จะมีไว้เพื่อเหตุอะไร

คือท่านจะบริโภคด้วยตนเองหรือยังมีเหตุอย่างอื่นแอบแฝงอยู่ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 463

ลำดับนั้น หญิงนั้นเมื่อจะบอกความแก่ท้าวสักกะเทวราช ได้

กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนพราหมณ์ ข้าวสุกคลุกงา ที่ทำ

ให้สุกดีนี้ มิใช่เพื่อบริโภคเอง ธรรมคือความ

อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ และธรรมคือสุจริต ๓

ประการ ได้สูญไปแล้ว วันนี้ข้าพเจ้าจักทำการ

บูชาธรรมนั้น ในกลางป่าช้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ได้แก่ธรรมคือความอ่อนน้อม

ต่อผู้เจริญ. และธรรมคือสุจริต ๓ ประการ.

บทว่า ตสฺส ปหูนมชฺช ความว่า ข้าพเจ้าจักกระทำมตกภัตร

คือภัตรเพื่อผู้ตายนี้ แก่ธรรมนั้น.

ต่อจากนั้น ท้าวสักกเทวราช จึงได้ตรัสคาถาที่ ๓ :-

ดูก่อนแม่กัจจานี เธอจงตริตรองก่อน

แล้วจึงทำการงาน ใครบอกเธอว่า ธรรมสูญ

เสียแล้ว ธรรมอันประเสริฐ เปรียบด้วยท้าว

สหัสสเนตร มีอานุภาพหาที่เปรียบมิได้ ย่อม

ไม่ตายในกาลไหน ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 464

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุวิจฺจ ความว่า ท่านจงตริตรอง

คือรู้ให้ชัดเจน.

บทว่า โก นุ ตเวตสสิ ความว่า ใครหนอบอกความนี้แก่

ท่าน ?

ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะทรงแสดงพระองค์เปรียบด้วยธรรมอัน

ประเสริฐ คือธรรมอันสูงสุด จึงตรัสอย่างนี้ว่า สหสฺสเนตฺโต

นางได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ ในข้อที่ว่า ธรรม

สูญแล้วนี้ ข้าพเจ้านึกมั่นใจเอาเอง ในข้อที่ว่า

ธรรมไม่มีสูญนี้ ข้าพเจ้ายังสงสัย เพราะ

เดี๋ยวนี้ คนมีบาปย่อมมีความสุข.

เช่นหญิงสะใภ้ของข้าพเจ้าเป็นหญิงหมัน

นางทุบตีขับไล่ข้าพเจ้าแล้วคลอดบุตร เดี๋ยวนี้

นางได้เป็นใหญ่แห่งตระกูลทั้งหมด ข้าพเจ้า

ถูกทอดทิ้ง ไม่มีที่พึ่งอยู่คนเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฬฺหปฺปมาณ ความว่า หญิงนั้น

กล่าวว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ในข้อที่วาธรรมสูญแล้วนี้ ข้าพเจ้ามั่นใจ

แน่นอนอย่างปราศจากข้อสงสัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 465

บทว่า เย เย ความว่า เมื่อหญิงนั้นจะแสดงเหตุในข้อที่ธรรม

นั้นเป็นของสูญแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วธิตฺวาน ความว่า นางทุบตี ขับไล่.

บทว่า อปวิฏฺา ความว่า ข้าพเจ้าถูกทอดทิ้งไม่มีที่พึ่ง ต้อง

อยู่ผู้เดียว.

ต่อแต่นั้น ท้าวสักกะได้กล่าวคาถาที่ ๖ ว่า :-

เรายังเป็นอยู่ ยังไม่ตาย เรามาในที่นี้

เพื่อประโยชน์สำหรับท่านโดยเฉพาะ หญิง

สะใภ้คนใดทุบตีขับไล่ท่าน แล้วคลอดบุตร

เราจักทำหญิงสะใภ้คนนั้นพร้อมทั้งบุตร ให้

เป็นเถ้าธุลีเดี๋ยวนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โว เป็นเพียงนิบาต.

นางได้ฟังดังนั้นแล้วคิดว่า เราพูดอะไรไป เราจักทำอาการที่

หลานของเราจะไม่ตาย แล้วกล่าวคาถาที่ ๗ ว่า :-

ข้าแต่เทวราช พระองค์ทรงพอพระทัย

เสด็จมาในที่นี้ เพื่อประโยชน์สำหรับหม่อมฉัน

โดยเฉพาะอย่างนี้ ขอให้หม่อมฉัน บุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 466

ลูกสะใภ้ และหลานได้อยู่เรือนร่วมกันโดย

ความบันเทิงเถิด.

ลำดับนั้น ท้าวสักเทวราช จึงได้ตรัสคาถาที่ ๘ แก่นางว่า :-

ดูก่อนแม่กาติยานี เธอชอบใจเช่นนั้น

ก็ตาม เธอถึงจะถูกทุบตีขับไล่ ก็ไม่ละธรรม

คือความเมตตา ขอให้เธอพร้อมทั้งบุตร ลูก

สะใภ้และหลาน จงอยู่ร่วมเรือนกันโดยความ

บันเทิงเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หตาปิ สนฺตา ความว่า เธอ

แม้ถึงจะถูกทุบตี แม้ถึงจะถูกขับไล่ ก็ยังไม่ละธรรมคือความเมตตาใน

เด็ก ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอปรารถนาอย่างใด ก็จงสมประสงค์อย่างนั้น

เราเลื่อมใสในคุณธรรมนี้ของเธอ.

ก็แหละท้าวสักกเทวราช ครั้นตรัสอย่างนี้แล้วก็ประดับตกแต่ง

พระองค์ ประทับยืนอยู่บนอากาศด้วยอานุภาพของพระองค์ แล้วตรัสว่า

ก่อนแม่กัจจานี เธออย่ากลัวเลย ทั้งลูก และลูกสะใภ้ของเธอจักมา

ด้วยอานุภาพของเราจักขอขมาโทษในระหว่างทาง แล้วจักพาท่านไป

ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาท ดังนี้แล้ว เสด็จไปสู่วิมานของพระองค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 467

ด้วยอานุภาพของท้าวสักกเทวราช บันดาลให้ลูกสะใภ้ ระลึก

ถึงคุณของมารดา เขาพากันถามตนในบ้านว่า มารดาของเราไปไหน ?

ครั้นได้ทราบว่าเดินทางไปป่าช้า จึงพากันเดินทางไปป่าช้า พลาง

รำพรรณไปว่า แม่ แม่ พอเห็นมารดาก็หมอบลงที่เท้ากล่าวขอ

ขมาโทษว่า ดูก่อนแม่ขอแม่ได้โปรดยกโทษให้แก่ลูกเถิด ขออย่าได้ถือ

โทษเลย. แม้มารดาก็รับหลานมาอุ้ม. ทั้งหมดต่างมีความปราโมทย์พากัน

กลับบ้านอยู่กันด้วยความสามัคคี แต่นั้นมา ด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอภิสัมพุทธคาถานี้ว่า :-

นางกาติยานี ได้อยู่ร่วมเรือนกับลูกสะใภ้

ด้วยความบันเทิง ทั้งบุตรและหลานต่างช่วย

กันบำรุงเลี้ยง ก็เพราะท้าวสักกเทวราชทรง

อนุเคราะห์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สา กาติยานี ความว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นางกัจจานี เป็นกัจจายนโคตร.

บทว่า เทวานมินฺเทน อธิคฺคหีตา ความว่า คนเหล่านั้น

อันท้าวสักกเทวราชผู้เป็นจอมเทวัน ทรงอนุเคราะห์แล้ว จึงอยู่ร่วมกัน

ด้วยความสมัครสมานสามัคคีด้วยอานุภาพของท้าวเธอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 468

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาตรัสจบลงแล้ว

ทรงประกาศสัจธรรม แล้วทรงประชุมชาดก ในเวลาจบสัจธรรม

อุบาสกผู้เลี้ยงมารดานั้น ได้เป็นพระโสดาบัน ก็อุบาสกผู้เลี้ยงมารดาใน

ครั้งนั้น ได้มาเป็นอุบาสกผู้เลี้ยงมารดาในบัดนี้ แม้ภรรยาของเขาใน

ครั้งนั้น ได้มาเป็นภรรยาในบัดนี้ ท้าวสักกเทวราชได้มาเป็นเราตถาคต

ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากัจจานิโคตตชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 469

๒. อัฏฐสัททชาดก

ว่าด้วยพระนิพพาน

[๑๑๒๙] สระมงคลโบกขรณีนี้ แต่ก่อนเป็นที่ลุ่ม

ลึก มีน้ำมาก มีปลามาก เป็นที่อยู่อาศัยของ

พญานกยาง เป็นที่อยู่แห่งบิดาของเรา บัดนี้

น้ำแห้ง วันนี้พวกเราจะพากันเลี้ยงชีพด้วย

กบ ถึงพวกเราจะถูกความหิวบีบคั้นถึงเพียงนี้

จะไม่ละที่อยู่.

[๑๑๓๐] ใครจะทำลายนัยน์ตาข้างที่สอง ของนาย

พันธุระผู้มีอาวุธในมือให้แตกได้ ใครจักกระทำ

ลูก รังของเรา และตัวเราให้มีความสวัสดีได้.

[๑๑๓๑] ดูก่อนมหาบพิตร คติของกระพี้ไม้นั้น

มีอยู่เพียงใด กระพี้ไม้ทั้งหมด แมลงภู่เจาะกิน

สิ้นแล้วเพียงนั้น แมลงภู่หมดอาหารแล้ว จึง

ไม่ยินดีในไม้แก่น.

[๑๑๓๒] ไฉนหนอเราจึงจะจากที่นี่ ไปให้พ้นจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 470

ราชนิเวศน์เสียได้ บันเทิงใจชมต้นไม้กิ่งไม้ที่

มีดอก ทำรังอาศัยอยู่ตามประสาของเรา.

[๑๑๓๓] ไฉนหนอเราจึงจะไปจากที่นี่ ให้พ้นจาก

พระราชนิเวศน์ไปเสียได้ เราจักนำหน้าฝูงไป

ดื่มน้ำที่ดีเลิศได้.

[๑๑๓๔] นายพรานภรตะชาวพาหิกรัฐ นำเราผู้

มัวเมาด้วยกามทั้งหลาย ผู้กำหนัดหมกมุ่นอยู่

ในกามมาแล้ว ลิงนั้นกล่าวว่า ขอความเจริญจง

มีแก่ท่าน ขอท่านจงปล่อยข้าพเจ้าเถิด.

[๑๑๓๕] เมื่อความมืดมิด ปรากฏเบื้องบนภูเขา

อันแข็งคม นางกินรีนั้น ได้กล่าวกะเราด้วย

ถ้อยคำอันไพเราะอ่อนหวานว่า ท่านอย่าจรดเท้า

ลงบนแผ่นหิน.

[๑๑๓๖] เราเห็นพระนิพพาน อันเป็นที่สิ้นชาติ

ไม่ต้องกลับมานอนในครรภ์อีก โดยไม่ต้อง

สงสัย ความเกิดของเรานี้ มีในที่สุดแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 471

การนอนในครรภ์เป็นหนสุดท้ายแล้ว สงสาร

เพื่อภพใหม่ต่อไปของเราสิ้นสุดแล้ว.

จบ อัฏฐสัททชาดกที่ ๒

อรรถกถาอัฏฐสัททชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

เสียงแสดงความแร้นแค้น อันน่าสะดุ้งกลัวที่พระเจ้าโกศลได้ทรงสดับ

ในเวลาเที่ยงคืน จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริมต้นว่า อิท ปุเร นินฺนมาหุ

ดังนี้. เนื้อเรื่องก็เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วในโลหกุมภิชาดก ใน

จตุกกนิบาตนั่นแหละ.

ส่วนในเรื่องนี้ เมื่อพระเจ้าโกศลทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ จะมีเหตุอะไรเกิดขึ้น เพราะเสียงที่ข้าพระองค์ได้สดับนี้ พระ-

บรมศาสดาจึงตรัสว่า มหาบพิตรขอพระองค์อย่าได้ทรงกลัวเลย จะไม่

มีอันตรายใด ๆ แก่พระองค์ เพราะเหตุที่ได้ทรงสดับเสียงเหล่านั้น

มหาบพิตร พระองค์ได้ทรงสดับเสียงแสดงความแร้นแค้นอันน่าสะดุ้ง

กลัวเช่นนี้ แต่พระองค์เดียวก็หามิได้ แม้พระราชาองค์ก่อน ๆ ก็ได้

สดับเสียงเช่นนี้ แล้วเชื่อคำของพวกพราหมณ์ ประสงค์จะบูชายัญด้วย

สัตว์อย่างละ ๔ ครั้นได้ฟังถ้อยคำของบัณฑิต จึงรับสั่งให้ปล่อยสัตว์ที่จับ

ไว้เพื่อจะฆ่าบูชายัญ แล้วให้ตีกลองเป่าประกาศห้ามฆ่าสัตว์ทั่วพระนคร

พระเจ้าโกศลทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา

สาธก ดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 472

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ที่มีสมบัติแปดสิบโกฏิ

ครั้นเจริญวัย ได้ศึกษาศิลปวิทยาในเมืองตักกศิลา เมื่อมารดาบิดาตาย

ไปแล้ว จึงตรวจดูทรัพย์สมบัติ แล้วสละสมบัติทั้งหมดให้เป็นทาน ละ

กามารมณ์เข้าป่าหิมพานต์ บวชเป็นฤาษี ทำฌานอภิญญาให้บังเกิดแล้ว

แต่ต้องการจะเสพรสเค็ม รสเปรี้ยว จึงไปยังถิ่นมนุษย์ ถึงเมืองพา-

ราณสีแล้ว พำนักอยู่ในพระราชอุทยาน. ในครั้งนั้น พระเจ้าพาราณสี

เสด็จประทับเหนือพระแท่นสิริไสยาสน์ ในเวลาเที่ยงคืน ได้ทรงสดับ

เสียง ๘ อย่างคือ :-

๑. นกยางตัวหนึ่ง ในพระราชอุทยาน ใกล้พระราชวังร้อง.

๒. เสียงร้องของนกยางยังไม่ทันขาดเสียง แม่กาซึ่งอาศัยอยู่ที่

เสาระเนียดโรงช้าง ร้อง.

๓. แมลงภู่ซึ่งอาศัยอยู่ที่ช่อฟ้าเรือนหลวง ร้อง.

๔. นกดุเหว่าที่เลี้ยงไว้ในเรือนหลวง ร้อง.

๕. เนื้อที่เลี้ยงไว้ในเรือนหลวง ร้อง.

๖. วานรที่เลี้ยงไว้ในเรือนหลวง ร้อง.

๗. กินนรที่เลี้ยงไว้ในเรือนหลวง ร้อง.

๘. เมื่อเสียงร้องของกินนรยังไม่ทันขาดเสียง พระปัจเจกพุทธ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 473

เจ้า ผู้ไปถึงพระราชอุทยาน ท้ายพระราชวัง เมื่อจะเปล่งอุทานครั้งหนึ่ง

ได้ทำเสียงขึ้น.

พระเจ้าพาราณสี ได้ทรงสดับเสียง ๘ อย่างเหล่านี้แล้ว ตก

พระทัย สะดุ้งกลัว ในวันรุ่งขึ้นจึงตรัสถามพวกพราหมณ์. พราหมณ์

ทั้งหลายพากันกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า อันตรายปรากฏแก่พระ-

องค์ พวกข้าพระองค์จักบูชายัญด้วยวิธีสัตว์อย่างละ ๔ เมื่อพระราชา

ทรงอนุญาตว่า ท่านทั้งหลายจงทำตามชอบใจ ต่างก็พากันร่าเริงยินดี

ออกจากราชสำนักไปเริ่มยัญญกรรม.

ครั้งนั้นมาณพ ผู้เป็นศิษย์ของหัวหน้าพราหมณ์ผู้ทำยัญญกรรม

เป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด กล่าวกะอาจารย์ว่า ข้าแต่อาจารย์ ยัญญกรรม

อย่างนี้ เป็นกรรมหยาบช้ากล้าแข็ง. ไม่เป็นที่น่ายินดี ก่อความพินาศ

แก่สัตว์เป็นอันมาก ขอท่านอย่าได้ทำเลย. อาจารย์กล่าวว่า พ่อเอย

เจ้าช่างไม่รู้อะไรเสียเลย ถ้าจักไม่มีอะไรอย่างอื่นขึ้น พวกเราก็จักได้

กินปลาและเนื้อมากมายก่อน. มาณพกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ขอ

ท่านอย่าได้ทำกรรมที่จะให้เกิดในนรก เพราะอาศัยท้องเลย. พวก

พราหมณ์ที่เหลือได้ฟังดังนั้นก็โกรธมาณพว่า มาณพเป็นอันตรายต่อลาภ

ของพวกเรา. เพราะกลัวพราหมณ์เหล่านั้น มาณพจึงกล่าวว่า ถ้าเช่น

นั้น พวกท่านจงทำอุบายกินปลาและเนื้อเถิด แล้วออกไปนอกพระนคร

พิจารณาดู สมณะผู้มีธรรม ซึ่งสามารถจะห้ามพระราชาได้ ไปพระ-

ราชอุทยาน เห็นพระโพธิสัตว์ไหว้แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 474

ท่านไม่มีความอนุเคราะห์ในสัตว์ทั้งหลายบ้างหรือ พระราชารับสั่ง

ให้ฆ่าสัตว์เป็นอันมากบูชายัญ การที่ท่านจะทำให้มหาชนพ้นจากเครื่อง

พันธนาการ จะไม่สมควรหรือ ?

พระโพธิสัตว์ ตอบว่า ถูกแล้ว มาณพ แต่เราอยู่ที่นี่ พระ-

ราชาก็ไม่รู้จักเรา เราก็ไม่รู้จักพระราชา.

มาณพถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ท่านรู้ความสำเร็จผลแห่งเสียง

ที่พระราชาทรงสดับหรือ ?

เออ เรารู้

เมื่อรู้ เหตุไรจึงไม่กราบทูลพระราชา ?

ดูก่อนมาณพ เราผูกเขาสัตว์ไว้ที่หน้าผาก จะอาจบอกว่า เรารู้

ได้อย่างไร ถ้าพระราชาเสด็จมาที่นี้แล้วตรัสถามว่า เราก็จักกราบทูลให้

ทรงทราบ.

มาณพก็รีบไปราชสำนักโดยเร็ว เมื่อพระราชาตรัสถามว่า อะไร

กันเล่าพ่อคุณ ? ก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า มีดาบสองค์หนึ่งรู้

ความสำเร็จผลแห่งเสียงที่พระองค์ได้ทรงสดับ นั่งอยู่บนมงคลศิลา ใน

พระราชอุทยานของพระองค์ กล่าวว่า ถ้าพระราชาตรัสถามเรา เราจัก

กราบทูลให้ทรงทราบ พระองค์ควรเสด็จไปถามพระดาบสนั้น พระเจ้าข้า.

พระราชาเสด็จไปในที่นั้นโดยเร็ว ไหว้พระดาบสแล้ว อันพระ-

ดาบสทำปฏิสันถารแล้ว ประทับนั่งแล้วตรัสถามว่า ได้ยินว่า พระคุณเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 475

รู้ความสำเร็จผลแห่งเสียง ที่ข้าพเจ้าได้ฟังจริงหรือ ?

ถูกแล้ว มหาบพิตร.

ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณเจ้า ได้กรุณาชี้แจงความสำเร็จผลแห่ง

เสียงที่ข้าพเจ้าได้ฟังนั้น แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด.

มหาบพิตร จะไม่มีอันตรายไร ๆ แก่พระองค์เลย เพราะได้ทรง

สดับเสียงเหล่านั้น ก็นกยางตัวหนึ่งมีอยู่ที่สวนเก่า นกยางนั้นเมื่อไม่

ได้เหยื่อ ถูกความหิวครอบงำ ได้ร้องขึ้นเป็นเสียงแรก พระดาบสกราบ

ทูลดังนี้แล้ว โดยที่กำหนดรู้กิริยาของนกยางด้วยญาณของตน จึงได้

กล่าวคาถาที่ ๑ ความว่า :-

สระมงคลโบกขรณีนี้ แต่ก่อนเป็นที่ลุ่ม

ลึก มีน้ำมาก มีปลามาก เป็นที่อยู่อาศัยของ

พญานกยาง เป็นที่อยู่แห่งบิดาของเรา บัดนี้

น้ำแห้ง วันนี้พวกเราจะพากันเลี้ยงชีพด้วยกบ

ถึงพวกเราจะถูกความหิวบีบคั้นถึงเพียงนี้ ก็

จะไม่ละที่อยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิท พระดาบสกล่าวหมายถึงสระ-

โบกขรณีที่เป็นมงคลนั้น เมื่อก่อนมีน้ำไหลซึมไปตามสุมทุมพุ่มไม้ที่อยู่

ในน้ำ จึงมีน้ำมาก มีปลามาก แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็นสระมีน้ำน้อย เพราะ-

น้ำแห้งขอดเสียแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 476

บทว่า ตฺยชฺช เภเกน ความว่า วันนี้พวกเราเมื่อไม่ได้ปลา

เหล่านั้นเป็นอาหาร ก็จะพากันเลี้ยงชีพด้วยกบ.

บทว่า โอก ความว่า ถึงพวกเราจะถูกความหิวบีบคั้นถึงเพียงนี้

ก็จะไม่ยอมละทิ้งที่อยู่ไป.

พระดาบสกราบทูลต่อไปว่า ดูก่อนมหาบพิตร ด้วยเหตุดังทูล

มานี้ นกยางนั้น ถูกความหิวบีบคั้นจึงร้อง แม้ถ้าพระองค์ประสงค์จะ

เปลื้องนกยางนั้น ให้พ้นจากความหิว จงชำระสวนให้สะอาด แล้วไข

น้ำเข้าให้เต็มสระโบกขรณี. พระราชารับสั่งให้อำมาตย์คนหนึ่งกระทำ

ตามนั้น.

พระดาบสกราบทูลต่อไปว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า แม่กาตัวหนึ่ง

อยู่ที่เสาระเนียดโรงช้างของพระองค์ โศกเศร้าถึงลูกของตัว จึงได้ร้อง

เป็นเสียงที่สอง แม้เพราะเหตุนั้นภัยก็มิได้มีแก่พระองค์ ดังนี้แล้วกล่าว

คาถาที่ ๒ ความว่า :-

ใครจะทำลายนัยน์ตาข้างที่สองของนาย

พันธุระ ผู้มีอาวุธในมือให้แตกได้ ใครจักกระ

ทำลูกรักของเรา และตัวเราให้มีความสวัสดี ได้.

ครั้นกล่าวดังนี้ ได้ทูลถามว่า ดูก่อนมหาบพิตร นายควาญช้าง

ที่โรงช้างของพระองค์ชื่อไร ?

ชื่อพันธุระขอรับ ท่านผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 477

มหาบพิตร เขาตาบอดข้างหนึ่งหรือ ?

พระราชา ถูกแล้ว ท่านผู้เจริญ

ก่อนมหาบพิตร แม่กาตัวหนึ่งทำรังอยู่ที่เสาระเนียดประตูโรง

ช้าง ออกไข่ ฟักไข่แล้ว ลูกก็ออกจากฟองไข่ นายควาญช้างขี่ช้าง

เข้าออกจากโรงช้าง เอาขอตีแม่กาบ้าง ลูกกาบ้าง รื้อรังเสียบ้าง แม่

กาได้รับความลำบากเช่นนั้น จึงร้องขอให้นัยน์ตานายควาญช้างนั้นบอด

เสียทั้งสองข้าง. ถ้าพระองค์จะทรงมีพระทัยเมตตาแก่แม่กา โปรดเรียก

นายพันธุระนั้นมา จงห้ามอย่าให้รื้อรังอีก. พระราชาให้หาตัวนาย-

พันธุระมา ทรงบริภาษแล้วไล่ออก แล้วทรงตั้งคนอื่นเป็นนายควาญ-

ช้างแทน.

พระดาบสกราบทูลต่อไปว่า ดูก่อนมหาพิตร มีแมลงภู่ตัวหนึ่ง

อยู่ที่ช่อฟ้ามหาปราสาท กัดกระพี้กินหมดแล้ว ไม่อาจกัดแก่นกินได้

เมื่อไม่ได้อาหารก็ไม่อาจออกไป จึงคร่ำครวญเป็นเสียงที่สาม แม้เพราะ

เหตุนั้น ภัยก็มิได้มีแก่พระองค์ ดังนี้แล้ว โดยที่กำหนดรู้กิริยาของ

แมลงภู่นั้นด้วยญาณของตน จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ความว่า :-

ดูก่อนมหาบพิตร คติของกระพี้ไม้นั้นมี

อยู่เพียงใด กระพี้ไม้ทั้งหมด แมลงภู่เจาะกิน

สิ้นแล้วเพียงนั้น แมลงภู่หมดอาหารแล้ว จึง

ไม่ยินดีในไม้แก่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 478

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาว ตสฺสา คตี อหุ ความว่า

กระพี้ไม้นั้น ได้ให้ความสำเร็จประโยชน์มาแล้วเพียงใด กระพี้ไม้นั้น

แมลงภู่ก็กัดกินเสียหมดสิ้นเพียงนั้น.

บทว่า น รมตี ความว่า พระดาบสทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร

แมลงภู่นั้น ออกจากที่นั้นแล้ว เมื่อไม่เห็นทางที่จะบินไปได้ จึงได้ร้อง

คร่ำครวญอยู่ ขอพระองค์จงให้คนนำแมลงภู่นั้น ออกจากช่อฟ้าเถิด.

พระราชารับสั่งให้บุรุษคนหนึ่ง นำแมลงภู่ออกได้ด้วยอุบาย.

พระดาบสกราบทูลต่อไปว่า ดูก่อนมหาบพิตร ในพระราชวัง

ของพระองค์ มีนกดุเหว่าที่เลี้ยงไว้ตัวหนึ่งมิใช่หรือ ?

พระราชาตรัสว่า มีอยู่ขอรับ.

พระดาบสกราบทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร นกดุเหว่านั้นคิดถึง

ไพรสณฑ์ที่ตนเคยอยู่ ดิ้นรนคิดว่า เมื่อไรหนอเราจึงจะพ้นกรงนี้ ไป

สู่ไพรสณฑ์ที่น่ารื่นรมย์ จึงได้ร้องขึ้นเป็นเสียงที่สี่ แม้เพราะเหตุนี้

ภัยก็มิได้มีแก่พระองค์ดังนี้ แล้วกล่าวคาถาที่ ๔ ความว่า :-

ไฉนหนอ เราจึงจะจากที่นี่ไปให้พ้น จาก

ราชนิเวศน์เสียได้บันเทิงใจ ชมต้นไม้กิ่งไม้ที่

มีดอก ทำรังอาศัยอยู่ตามประสาของเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 479

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุมสาขานิเกตินี ความว่า ทำรัง

อาศัยอยู่อย่างสบาย ที่ต้นไม้กิ่งไม้ที่มีดอกบานสะพรั่ง.

ก็แหละครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ได้กราบทูลต่อไปว่า ดูก่อน

มหาบพิตร นกดุเหว่านั้นดิ้นรน ขอพระองค์จงปล่อยนกดุเหว่านั้นเถิด.

พระราชารับสั่งให้กระทำตามนั้น. พระดาบสกราบทูลต่อไปว่า ในพระ-

ราชวังของพระองค์มีเนื้อที่เลี้ยงไว้ตัวหนึ่งมิใช่หรือ ?

พระราชาตรัสว่า มีขอรับ.

พระดาบสกราบทูลว่า เนื้อนั้นเป็นนายฝูง คิดถึงนางเนื้อของตน

ดิ้นรนด้วยอำนาจกิเลส จึงได้ร้องขึ้นเป็นเสียงที่ห้า แม้เพราะเหตุนั้น

ภัยก็มิได้มีแก่พระองค์ดังนี้ แล้วกล่าวคาถาที่ ๕ ความว่า :-

ไฉนหนอ เราจึงจะไปจากที่นี่ ให้พ้น

พระราชนิเวศน์ไปเสียได้ เราจักนำหน้าฝูง ไป

ดื่มน้ำที่ดีเลิศได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺโคทกานิ ความว่า เมื่อไรหนอ

แล เราจักนำหน้าฝูงไปดื่มน้ำที่ดีเลิศ ซึ่งเนื้ออื่น ๆ ยังไม่เคยดื่มมาก่อน.

พระมหาสัตว์ผู้ดาบส ได้กราบทูลขอให้พระราชาทรงปล่อยเนื้อ

นั้นไป แล้วกราบทูลต่อไปว่า ดูก่อนมหาบพิตร ในพระราชวังของ

พระองค์มีลิงที่เลี้ยงไว้ตัวหนึ่งมิใช่หรือ ? เมื่อพระราชารับสั่งว่า มีขอรับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 480

พระดาบสได้กราบทูลว่า ลิงนั้นกำหนัดอยู่ด้วยกาม กับฝูงนางลิงในป่า

หิมวันตประเทศเที่ยวไป ถูกนายพรานชื่อภารตะนำมาที่นี่ บัดนี้ ดิ้น

รนอยากจะไปที่นั้น จึงได้ร้องขึ้นเป็นเสียงที่หก แม้เพราะเหตุนั้น ภัย

ก็มิได้มีแก่พระองค์ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๖ ความว่า :-

นายพรานภารตะ ชาวพาหิกรัฐนำเราผู้

มัวเมาด้วยกามทั้งหลาย ผู้กำหนัดหมกมุ่นอยู่

ในกามมาแล้ว ลิงนั้นกล่าวว่า ขอความเจริญ

จงมีแต่ท่าน ขอท่านจงปล่อยข้าพเจ้าเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาหิโก ได้แก่นายพรานภารตะ

ชาวพาหิกรัฐ.

บทว่า ภทฺทมตฺถุ เต วานรนั้นกล่าวความข้อนี้ว่า ขอความ

เจริญจงมีแก่ท่าน ขอท่านจงปล่อยข้าพเจ้าเถิด.

พระมหาสัตว์ขอให้พระราชาทรงปล่อยลิงนั้นแล้ว ทูลถามต่อไปว่า

ในพระราชวังของพระองค์ มีกินนรที่เลี้ยงไว้มิใช่หรือ ? เมื่อพระราชา.

ตรัสว่า มี จึงกราบทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร กินนรนั้น คิดถึงคุณที่

นางกินรีทำไว้แก่ตน เร่าร้อนเพราะกิเลส จึงได้ร้องขึ้นเป็นเสียงที่เจ็ด

ด้วยว่าวันหนึ่งกินนรนั้น ขึ้นไปสู่ยอดเขาตุงคบรรพต กับนางกินรี

พากันเลือกเก็บดอกไม้ที่มีสีงาม กลิ่นหอม และมีรสอร่อยนานาชนิด

ประดับกายตน ไม่ได้กำหนดพระอาทิตย์ที่กำลังจะอัสดงคต เมื่อพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 481

อาทิตย์อัสดงคตแล้ว ความมืดได้มีแก่กินนรและกินรี ผู้กำลังลงจากยอด

เขา นางกินรีได้กล่าวกะกินนรว่า ที่รักมืดเหลือเกิน ท่านจงระวัง

ก้าวลงอย่าให้พลาด แล้วจับมือก้าวลงไป กินนรคิดถึงคำของนางกินรีนั้น

จึงได้ร้องขึ้น แม้เพราะเหตุนั้น ภัยก็มิได้มีแก่พระองค์ ดังนี้ เมื่อจะ

การทำเรื่องราวนั้นได้ปรากฏ โดยที่กำหนดรู้ได้ด้วยญาณของตน จึง

กล่าวคาถาที่ ๗ ความว่า :-

เมื่อความมืดมิด ปรากฏเบื้องบนภูเขา

อันแข็งคม นางกินรีนั้น ได้กล่าวกะเราด้วย

ถ้อยคำอันไพเราะอ่อนหวาน ท่านอย่าจรดเท้า

ลงบนแผ่นหิน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺธการติมิสฺสาย ความว่า เมื่อ

ความมืดอันกระทำความบอด ปรากฏ.

บทว่า ตุงฺเค แปลว่า แหลมคม.

บทว่า สณฺเหน มุทุนา ความว่า ด้วยถ้อยคำอันไพเราะ

อ่อนหวาน.

อักษร ในบทว่า มา ปาท ขณิยฺสมินิ นี้ ท่านถือเอาด้วย

อำนาจแห่งพยัญชนะสนธิ. มีคำอธิบายดังนี้ นางกินรีนั้นได้พูดกะเรา

ด้วยวาจาอันอ่อนหวานนุ่มนวลว่า. ที่รักท่านอย่าประมาท ท่านอย่ากด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 482

เท้าลงบนแผ่นหิน คือ ค่อย ๆ ก้าวลง อย่าให้ลื่นพลาดไปที่แผ่นหินได้.

ดังนี้แล้ว จับมือก้าวลงไป.

พระมหาสัตว์ได้กราบทูลถึงเหตุที่กินนรร้องดังนี้แล้ว ได้ทูลขอ

ให้ทรงปล่อยกินนรนั้น แล้วกราบทูลต่อไปว่า ดูก่อนมหาบพิตร เสียง

ที่ ๘ เป็นเสียงเปล่งอุทาน คือที่เงื้อมภูเขา นันทมูลกะ พระปัจเจก-

พุทธเจ้าองค์หนึ่งว่า อายุสังขารของตนจะสิ้นแล้ว จึงคิดว่าจักไปแดน

มนุษย์ ปรินิพพานในพระราชอุทยานของพระเจ้าพาราณสี พวกมนุษย์

จักเผาศพเรา จักเล่นสาธุกีฬา บูชาธาตุบำเพ็ญทางสวรรค์ ดังนี้แล้ว

เหาะมาด้วยฤทธานุภาพ เวลามาถึงยอดปราสาทของพระองค์ ได้ปลง

ขันธภาระเปล่งอุทานแสดงเมืองแก้วคือนิพพาน ดังนี้แล้ว กล่าวคาถา

ที่พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวไว้ ความว่า :-

เราเห็นพระนิพพานอันเป็นที่สิ้นชาติ ไม่

ต้องกลับมานอนในครรภ์อีก โดยไม่ต้องสงสัย

ความเกิดของเรานี้ มีในที่สุดแล้ว การนอน

ในครรภ์เป็นหนสุดท้ายแล้ว สงสารเพื่อภพ

ใหม่ต่อไปของเราสิ้นสุดแล้ว.

คาถานั้นมีอรรถาธิบายดังนี้. เราชื่อว่าเห็นชัดที่สุดแห่งความสิ้น

ชาติ เพราะได้เห็นพระนิพพาน กล่าวคือความสิ้นไปแห่งชาติแล้ว ไม่

ต้องเวียนมาสู่การนอนในครรภ์อีก โดยไม่ต้องสงสัย ความเกิดของเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 483

นี้มีในที่สุดแล้ว การนอนในครรภ์เป็นหนสุดท้ายแล้ว สงสาร กล่าว

คือลำดับแห่งเบญจขันธ์ เพื่อภพใหม่ของเรา ก็สิ้นสุดแล้ว.

ก็และพระปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวคาถานี้ด้วยสามารถแห่งอุทาน

แล้วมาสู่พระราชอุทยานนี้ ปรินิพพานที่โคนตันรังอันมีดอกบานสะพรั่ง

ต้นหนึ่ง ดูก่อนมหาบพิตร ขอเชิญพระองค์เสด็จไปปลงศพพระปัจเจก-

พุทธเจ้านั้นเถิด.

พระมหาสัตว์ พาพระราชาไปที่พระปัจเจกพุทธเจ้าปรินิพพาน

ชี้ให้ทอดพระเนตรสรีระนั้น. พระราชาทอดพระเนตรเห็นสรีระของ

พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้ว พร้อมด้วยพลนิกาย บูชาด้วยของหอมเป็น

ต้น ทรงอาศัยคำของพระโพธิสัตว์รับสั่งให้งดยัญญกรรม พระราชทาน

ชีวิตแก่สัตว์ทั้งหมด ให้ตีกลองประกาศห้ามฆ่าสัตว์ในพระนคร ให้

เล่นสาธุกีฬาเจ็ดวัน แล้วให้เผาศพพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยสักการะใหญ่

บนจิตกาธานที่ทำด้วยของหอมทุกอย่าง แล้วให้สร้างสถูปไว้ที่ทาง ๔

แพร่ง.

แม้พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่พระราชาแล้วกล่าวสอนว่า ขอ

พระราชาจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิดดังนี้ แล้วเข้าป่าหิมพานต์เจริญพรหม-

วิหาร ไม่เสื่อมจากฌาน มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระบรมศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัส

ว่า มหาบพิตร อันตรายไร ๆ จะมีแก่พระองค์ เพราะทรงสดับเสียงนั้น

หามิได้ พระองค์จงงดการบูชายัญนั้นเสีย จงประทานชีวิตแก่มหาชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 484

ดังนี้แล้วให้พระราชาทรงบำเพ็ญชีวิตทาน ให้ตีกลองประกาศให้มาฟัง

ธรรมทั่วพระนคร แล้วทรงแสดงธรรมประชุมชาดกว่า พระราชา

ในครั้งนั้นได้เป็นพระอานนท์ มาณพได้เป็นพระสารีบุตร พระดาบส

ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอัฏฐสัททชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 485

๓. สุลสาชาดก

ว่าด้วยผู้รอบรู้เหตุผลย่อมรอดพ้นศัตรู

[๑๑๓๗] สร้อยคอทองคำนี้ มีแก้วมุกดา แล้ว

ไพฑูรย์เป็นอันมา ตลอดจนทรัพย์นับเป็น

พันทั้งหมด ข้าพเจ้ายกให้ท่าน ขอความ

เจริญจงมีแก่ท่าน และจงประกาศข้าพเจ้าว่า

เป็นทาสีเกิด.

[๑๑๓๘] แน่ะแม่คนงาม เจ้าจงเปลื้องเครื่อง

ประดับออกอย่ามัวร่ำไรให้มากไปเลย เราไม่

รับรู้อะไรทั้งนั้น เรานำเจ้ามาเพื่อทรัพย์อย่าง

เดียวเท่านั้น.

[๑๑๓๙] ฉันมานึกถึงตัวเอง แต่น้อยคุ้มใหญ่

ฉันไม่ได้รู้จักรักชายอื่น ยิ่งไปกว่าท่านเลย.

[๑๑๔๐] ขอเชิญท่านนั่งลง ฉันจักขอกอดท่าน

ให้สมรัก และจักกระทำประทักษิณแก่ท่าน

เสียก่อน เพราะว่าต่อแต่นี้ไป การคบหากัน

ระหว่างฉันกับท่านจะไม่มีอีก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 486

[๑๑๔๑] ชายจะเป็นบัณฑิตในที่ทุกแห่งก็หาไม่

แม้หญิงก็เป็นบัณฑิตมีปัญญาเฉลียวฉลาด ใน

ที่นั้น ๆ ได้.

[๑๑๔๒] ชายจะเป็นบัณฑิตในที่ทุกแห่งก็หาไม่

แม้หญิงก็เป็นบัณฑิตมีปัญญา ดำริเหตุผลได้

รวดเร็ว.

[๑๑๔๓] นางสุลสา หญิงแพศยายืนอยู่ ณ ที่ใกล้

โจร คิดอุบายจะฆ่าโจร ได้ฆ่าโจรสัตตุกะตายได้

รวดเร็ว เหมือนนายพรานเนื้อผู้ฉลาด ฆ่าเนื้อ

ได้เร็วพลัน เมื่อมีธนูบริบูรณ์มากแล้วฉะนั้น.

[๑๑๔๔] ในโลกนี้ ผู้ใดไม่รู้เหตุผลที่เกิดขึ้น

ฉับพลัน ผู้นั้นมีปัญญาเขลา ย่อมถูกฆ่าตาย

เหมือนโจร ถูกฆ่าตายที่ซอกภูเขาฉะนั้น.

[๑๑๔๕] ในโลกนี้ ผู้ใดย่อมรอบรู้เหตุที่เกิดขึ้น

ได้ฉับพลัน ผู้นั้นย่อมพ้นจากความเบียดเบียน

ของศัตรูได้ เหมือนนางสุลสาหญิงแพศยา

หลุดพ้นไปจากโจรสัตตุกุฉะนั้น.

จบ สุลสาชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 487

อรรถกถาสุลสาชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

นางทาสีของอนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อิท

สุวณฺณกายูร ดังนี้.

ได้ยินว่า ในวันที่มีการเล่นมหรสพ วันหนึ่ง เมื่อนางทาสีนั้น

จะไปสวนกับหมู่นางทาสี ได้ขอเครื่องแต่งตัวกะนางบุญลักษณเทวี ผู้

เป็นนายของตน. นางบุญลักษณเทวีได้ให้เครื่องแต่งตัวของตน ซึ่งมี

ราคาถึงหนึ่งแสนแก่นางทาสีนั้น. นางประดับเครื่องแต่งตัวนั้นแล้วไป

สวนกับหมู่นางทาสี. ครั้งนั้นโจรคนหนึ่งเกิดความโลภ ในเครื่องแต่งตัว

ของนางทาสี คิดว่า เราจักฆ่าหญิงนี้แล้ว ขโมยเครื่องแต่งตัวไป ได้เดิน

เจรจา กับนางทาสีไปจนถึงสวน แล้วได้ให้ปลาเนื้อ และสุราเป็นต้นแก่

นางทาสี. นางทาสีคิดว่า ชะรอยชายผู้นี้จะให้ของด้วยอำนาจกิเลส จึง

รับเอาไว้แล้วเที่ยวเล่นในสวน เพื่อจะทดลองดูให้รู้แน่ ในเวลาเย็นได้

ปลุกหมู่นางทาสี ที่นอนหลับให้ลุกขึ้น แล้วตนได้ไปสู่สำนักโจรนั้น.

โจรนั้นกล่าวว่า น้องรักที่ตรงนี้ไม่มิดชิด เราเดินไปข้างหน้าอีกหน่อย

เถิด. นางได้ฟังดังนั้นก็คิดว่า ที่นี้ก็อาจทำความลับกันได้ แต่ชายผู้นี้

ประสงค์จะฆ่าเราขโมยเครื่องแต่งตัวเป็นแน่ เอาเถิดเราจักให้เขาสำนึก

ให้จงได้ จึงกล่าวว่า นาย ฉันอ่อนเพลียเพราะเมาสุรา ท่านจงหาน้ำดื่ม

ให้ฉันดื่มก่อน แล้วก็พาไปที่บ่อน้ำแห่งหนึ่ง บอกว่า จงตักน้ำจากบ่อนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 488

มาให้ฉัน แล้วชี้เชือกและหม้อน้ำให้. โจรเอาเชือกผูกหม้อน้ำ แล้ว

หย่อนลงบ่อ. ครั้นโจรก้มหลังจะตักน้ำ นางทาสีผู้มีกำลังมา จึงใช้

มือทั้งสองทุบตะโพก แล้วจับเหวี่ยงลงไปในบ่อ แล้วกล่าวว่า เพียงเท่านี้

ท่านจักยังไม่ตาย จึงได้เอาอิฐแผ่นใหญ่ทุ่มลงไปบนกระหม่อมอีกแผ่น

หนึ่ง. โจรตายในบ่อนั้นเอง.

นางทาสีกลับเข้าพระนคร มอบเครื่องแต่งตัวให้แก่นาย แล้ว

เล่าว่า นายวันนี้ ฉันจวนตายเพราะอาศัยเครื่องแต่งตัวนี้ แล้วเล่าเรื่อง

ทั้งหมดให้นายฟัง. นางบุญลักษณเทวี ได้เล่าแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐี.

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้กราบทูลพระตถาคต พระบรมศาสดาตรัสว่า

ดูก่อนคฤหบดี มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่นางทาสีนั้นประกอบไปด้วย

ปัญญารู้เท่าทันเหตุการณ์ แม้ในกาลก่อนนางก็ประกอบไปด้วยปัญญา

เหมือนกัน และมิใช่แต่ในบัดนี้ เท่านั้นที่นางทาสีนั้นฆ่าโจร แม้ในกาล

ก่อน นางทาสีก็ได้ฆ่าโจรนั้นเหมือนกัน อนาถบิณฑิกเศรษฐี กราบ-

ทูลให้ตรัสเรื่องราว จึงได้ทรงน้ำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี หญิงนครโสเภณีคนหนึ่ง ชื่อสุลสามีนางวรรณทาสี ห้าร้อย

เป็นบริวาร ผู้ที่จะมาร่วมกับนางต้องเสียเงินพัน. ในพระนครนั้น มี

โจรชื่อสัตตุกะมีกำลังเท่าช้างสาร เวลากลางคืน เข้าไปยังเรือนของ

อิสสรชน ปล้นเอาตามใจชอบ. ชาวเมื่อประชุมกันร้องทุกข์แด่พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 489

ราชา. พระราชาทรงบังคับผู้รักษาเมืองให้วางคนไว้เป็นหมู่ ๆ ตามที่

นั้น ๆ รับสั่งให้ช่วยกันจับโจรตัดหัวเสีย. ผู้รักษาเมืองจับโจรนั้นมัดมือ

ไพล่หลัง เฆี่ยนด้วยหวาย ทีละ ๔ นำไปสู่ตะแลงแกง. มีข่าวลือไป

ทั่วพระนครว่า จับโจรได้แล้ว.

ครั้งนั้น นางสุลสา ยืนอยู่ที่หน้าต่าง แลดูระหว่างถนนเห็น

โจรเข้า ก็มีจิตรักใคร่ คิดว่า ถ้าเราจักสามารถ ทำบุรุษที่ถูกจับหาว่า

เป็นโจรนี้ให้พ้นไปได้ เราจักอยู่ร่วมกับเขาคนเดียว โดยไม่กระทำ

กรรมที่เศร้าหมอง เช่นที่แล้วมา คิดดังนี้แล้ว นางได้ติดสินบนพัน

กหาปณะแก่ผู้รักษาเมืองตามนัยที่กล่าวแล้วในกัณณเวรชาดก ในหน

หลัง. ให้โจรนั้นหลุดพ้นแล้ว นางได้ร่วมอภิรมย์กับโจรนั้น. ครั้นล่วง

มาได้สามสี่เดือน โจรคิดว่า เราไม่อาจอยู่ที่นี้ได้ และก็ไม่อาจจะไป

มือเปล่า เครื่องแต่งตัวของนางสุลสานี้มีราคาถึงหนึ่งแสน เราฆ่านาง

แล้วจักเอาเครื่องแต่งตัวนี้ไป. อยู่มาวันหนึ่งเขากล่าวกะนางว่า น้องรัก

เมื่อราชบุรุษเขาจับตัวพี่นำมา พี่ได้บนบานจะถวายพลีกรรมแก่รุกขเทว-

ดาที่ยอดเขาโน้น เมื่อรุกขเทวดาไม่ได้พลีกรรม ก็ฉะมาเบียดเบียนพี่

ส่งไป. โจรกล่าวว่า น้องรัก การส่งไปนั้นไม่สมควรแก่เราทั้งสอง ต้อง

ประดับร่างกายด้วยสรรพาภรณ์ ไปถวายพลีกรรมด้วยบริวารใหญ่. นาง

กล่าว ดีแล้วพี่ เราจักกระทำตามนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 490

ลำดับนั้น โจรให้นางจัดหาของเสร็จตามที่ตกลงกันแล้ว ใน

เวลาที่เดินทางไปถึงเชิงเขา จึงกล่าวว่า น้องรัก รุกขเทวดาเห็นคนมา

มาก จักไม่รับพลีกรรม เราขึ้นไปถวายกันเพียงสองคนเถิด. โจรนั้น

ครั้นนางรับคำแล้ว จึงให้นางแบกถาดเครื่องพลี ตนเองเหน็บอาวุธ

ห้าชนิด ขึ้นยอดภูเขา ให้นางวางถาดเครื่องพลีที่โคนต้นไม้ซึ่งเกิดที่

ปากเหวลึก ชั่วร้อยบุรุษ แล้วกล่าวว่า น้องรัก พี่ไม่ได้มาเพื่อพลี

กรรม แต่หมายจะฆ่าเธอแล้วเอาเครื่องแต่งตัวของเธอไป จึงได้มา เธอ

จงเปลื้องเครื่องแต่งตัวของเธอออกห่อผ้าสาฎก.

นางถามว่า พี่จะฆ่าฉันทำไม ?

โจรกล่าวว่า เพื่อต้องการทรัพย์.

นางกล่าวว่า พี่จงระลึกถึงคุณที่ฉันทำไว้ ฉันเปลี่ยนแปลงพี่

ซึ่งถูกเขามัด นำมาให้เป็นลูกเศรษฐี ให้ทรัพย์มาก ให้ได้ชีวิต แม้

ฉันเองจะได้ทรัพย์วันละพันกหาปณะ. ก็ยังไม่เหลียวแลชายอื่น ฉันมี

อุปการะแก่พี่ถึงเพียงนี้ ขอพี่อย่าได้ฆ่าฉันเลย ฉันจะให้ทรัพย์แก่พี่อีก

เป็นจำนวนมาก และจะเป็นคนรับใช้ของพี่ด้วย. ดังนี้ เมื่อจะวิงวอน

โจรนั้นได้กล่าวคาถาที่ ๑ ความว่า :-

สร้อยคอทองคำนี้ มีแก้วมุกดา แก้ว-

ไพฑูรย์เป็นอันมาก ตลอดจนทรัพย์นับเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 491

พันทั้งหมด ข้าพเจ้ายกให้ท่าน ขอความ

เจริญจงมีแก่ท่าน และจงประกาศข้าพเจ้าว่า

เป็นทาสีเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายูร ได้แก่ ร้อยสำหรับสวม

ประดับที่คอ.

บทว่า สาวยา ความว่า ท่านจงประกาศในท่ามกลางมหาชน

ยึดข้าพเจ้า เป็นทาสีเถิด.

ต่อจากนั้น เมื่อโจรสัตตุกะกล่าวคาถาที่สองตามอัธยาศัยของตน

ความว่า :-

แน่ะ แม่คนงาม เจ้าจงเปลื้องเครื่อง

ประดับออก อย่ามัวร่ำไรให้มากไปเลย เราไม่

รับรู้อะไรทั้งนั้น เรานำเจ้ามาเพื่อทรัพย์อย่าง

เดียวเท่านั้น.

ดังนี้แล้ว นางสุลสาฉุกคิดถึงเหตุที่จะเอาตัวรอดได้ คิดว่า โจร

นี้จักไม่ยอมละชีวิตเรา เราจักใช้อุบายนี้ผลักโจรนี้ให้ตกลงในเหว ให้

ตายเสียก่อน ดังนี้แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า :-

ฉันมานึกถึงตัวเอง แต่น้อยคุ้มใหญ่

ฉันไม่ได้รู้จักรักชายอื่น ยิ่งไปกว่าท่านเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 492

ขอเชิญท่านนั่งลง ฉันจักขอกอดท่าน

ให้สมรัก และจักกระทำประทักษิณแก่ท่าน

เสียก่อน เพราะว่าต่อแต่นี้ไป การคบหากัน

ระหว่างฉันกับท่าน จะไม่มีอีก.

สัตตุกโจร รู้ไม่ทันความประสงค์ของนาง จึงกล่าวว่าดีแล้ว

น้องรัก จงมากอดรัดฉันเถิด. นางสุลสา ทำประทักษิณโจร ๓ ครั้ง แล้ว

กอดรัด กล่าวว่า พี่จ๋า ที่นี้ฉันจักไหว้พี่ที่ข้างทั้ง ๔ ด้าน แล้วนางก็ก้ม

ศีรษะลงที่หลังเท้าไหว้ข้างซ้าย ข้างขวา แล้วทำเป็นไปไหว้ข้างหลัง

นางเป็นหญิงแพศยา มีกำลังเท่าช้างสาร จึงรวบแขนทั้งสองของโจร

เข้าไว้ กดหัวลง โยนลงไปในเหวลึกชั่วร้อยบุรุษ. โจรได้แหลก

ละเอียดตายลงในเหวนั้นเอง. เทวดาที่สิงสถิตอยู่ยอดภูเขา ได้เห็น

กิริยาอาการนั้น ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ความว่า :-

ชายจะเป็นบัณฑิตในที่ทุกแห่งก็หาไม่

แม้หญิง เป็นบัณฑิตมีปัญญาเฉลียวฉลาด ใน

ที่นั้น ๆ ได้.

ชายจะเป็นบัณฑิตในที่ทุกแห่งก็หาไม่

แม้หญิงก็เป็นบัณฑิตมีปัญญา ดำริเหตุผลได้

รวดเร็ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 493

นางสุลสา หญิงแพศยายืนอยู่ ณ ที่ใกล้

โจร คิดอุบายจะฆ่าโจร ได้ฆ่าโจรสัตตุกะได้

รวดเร็ว เหมือนนายพรานเนื้อผู้ฉลาด ฆ่าเนื้อ

ได้เร็วพลัน เมื่อมีธนูบริบูรณ์มากแล้วฉะนั้น.

ในโลกนี้ ผู้ใดไม่รู้เหตุผลที่เกิดขึ้น

ฉับพลัน ผู้นั้นมีปัญญาเขลา ย่อมถูกฆ่าตาย

เหมือนโจร ถูกฆ่าตายที่ซอกภูเขาฉะนั้น.

ในโลกนี้ ผู้ใดย่อมรอบรู้เหตุที่เกิดขึ้น

ได้ฉับพลัน ผู้นั้นย่อมพ้นจากความเบียดเบียน

ของศัตรูได้ เหมือนนางสุลสาหญิงแพศยา

หลุดพ้นไปจากโจรสัตตุกะฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺฑิตา โหติ ความว่า แม้หญิงก็

เป็นบัณฑิต มีปัญญาเฉลียวฉลาดในที่นั้น ๆ ได้. อีกอย่างหนึ่ง แม้หญิง

เป็นทั้งบัณฑิตด้วย เป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดในที่นั้น ๆ ด้วย.

บทว่า ลหุมตฺถ วิจินฺติกา ความว่า แม้หญิงก็เป็นบัณฑิต

มีปัญญาดำริเหตุผลได้รวดเร็ว.

บทว่า ลหุญฺจ วต ความว่า ไม่ช้าเลยหนอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 494

บทว่า ขิปฺปญฺจ ความว่า โดยเวลาไม่นานเลย.

บทว่า นิกฏฺเ สมเจตยิ ความว่า นางสุลสายืนอยู่ใกล้โจร

คิดอุบายให้โจรนั้นตาย ได้รวดเร็ว.

บทว่า ปุณฺณายตเนว ความว่า เมื่อมีธนูบริบูรณ์มากแล้ว.

ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ เหมือนนายพรานเนื้อผู้ฉลาด เมื่อมีธนูบริบูรณ์

มากแล้ว ย่อมฆ่าเนื้อได้โดยว่องไวฉันใด นางสุลสาฆ่าโจรสัตตุกะได้

ก็ฉันนั้น.

บทว่า โยธ ได้แก่ ในสัตวโลกนี้.

บทว่า นิพฺโพธติ แปลว่า ย่อมรู้.

บทว่า สตฺตุกามิว ความว่า ผู้นั้นย่อมพ้นจากการเบียดเบียน

ของศัตรู ดังนางสุลสาพ้นมือสัตตุกโจรได้ฉะนั้น.

นางสุลสา ฆ่าโจรได้แล้ว ลงจากภูเขาไปสำนักพวกบริวารชน

ของตน ถูกถามว่า ลูกเจ้าหายไปไหน ? นางตอบว่า อย่าถามถึงมัน

เลย แล้วขึ้นรถ เข้าไปยังพระนครทันที ดังกล่าวมานี้.

พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงจบลง

แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า สามีภรรยาทั้งสองในครั้งนั้น ได้มาเป็น

สามีภรรยาคู่นี้เอง ส่วนเทวดา ได้มาเป็นเราผู้ตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาสุลสาชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 495

๔. สุมังคลชาดก

ว่าด้วยคุณธรรมของกษัตริย์

[๑๑๔๖] พระเจ้าแผ่นดินทรงรู้ว่า เรากำลังกริ้วจัด

ไม่พึงลงอาชญา อันไม่สมควรแก่ตน โดยไม่

ใช่ฐานะก่อน พึงเพิกถอนความทุกข์ของผู้อื่น

อย่างร้ายแรงไว้.

[๑๑๔๗] เนื้อใดพึงรู้ว่าจิตของตนผ่องใส พึงใคร่

ครวญความผิดที่ผู้อื่นทำไว้ พึงพิจารณาให้เห็น

แจ่มเเจ้งด้วยตนเองว่า นี้ส่วนประโยชน์ นี่

ส่วนโทษ เมื่อนั้น พึงปรับไหมบุคคลนั้น ๆ

ตามสมควร.

[๑๑๔๘] อนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใด ไม่

ถูกอคติครอบงำ ย่อมแนะนำผู้อื่นที่ควรแนะนำ

และไม่ควรแนะนำได้ พระเจ้าแผ่นดินพระ-

องค์นั้น ชื่อว่าไม่เผาผู้อื่นและพระองค์เอง

พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดในโลกนี้ ทรงลง

อาชญาสมควรแก่โทษ พระเจ้าแผ่นดินพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 496

องค์นั้น อันคุณความดีคุ้มครองแล้ว ย่อมไม่

เสื่อมจากสิริ.

[๑๑๔๙] กษัตริย์เหล่าใด ถูกอคติครอบงำ ไม่

ทรงพิจารณาเสียก่อนแล้วทำลงไป ทรงลง

พระอาชญาโดยผลุนผลัน กษัตริย์เหล่านั้น

ประกอบไปด้วยโทษ น่าติเตียน ย่อมละทิ้ง

ชีวิตไป และพ้นไปจากโลกนี้แล้ว ก็ย่อม

ไปสู่ทุคติ.

[๑๑๕๐] พระราชาเหล่าใด ทรงยินดีแล้วในทศ-

พิธราชธรรม อันพระอริยเจ้าประกาศไว้ พระ-

ราชาเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยกาย วาจา

และใจ พระราชาเหล่านั้น ทรงดำรงมั่น อยู่

ในขันติ โสรัจจะ และสมาธิ ย่อมถึงโลก

ทั้งสองโดยวิธีอย่างนั้น.

[๑๑๕๑] เราเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่ของสัตว์และ

มนุษย์ทั้งหลาย ถ้าเราโกรธขึ้นมา เราก็ตั้งตน

ไว้ในแบบอย่างที่โบราณราชแต่งตั้งไว้ คอย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 497

ห้ามปรามประชาชนอยู่อย่างนั้น ลงอาชญา

โดยอุบายอันแยบคายด้วยความปราณี.

[๑๑๕๒] ข้าแต่กษัตริย์ผู้ชนาธิปัตย์ บริวาร

สมบัติ และปัญญา มิได้ละพระองค์ในกาล

ไหน ๆ เลย พระองค์มิได้มักกริ้วโกรธ มี

พระหฤทัยผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ขอพระองค์

ทรงปราศจากทุกข์ บำรุงพระชนม์ชีพ ยืนอยู่

ตลอดร้อยพรรษาเถิด.

[๑๑๕๓] ข้าแต่กษัตริย์ ขอพระองค์จงประกอบ

ด้วยคุณธรรมเหล่านี้ คือโบราณราชวัตรมั่นคง

พระราชทานอภัยให้ทูลเตือนได้ ไม่ทรงกริ้ว-

โกรธมีความสุขสำราญไม่เดือดร้อน ปกครอง

แผ่นดินให้ร่มเย็น แม้จุติจากโลกนี้ไปแล้ว ก็

จงทรงถึงสุคติเถิด.

[๑๑๕๓] พระเจ้าธรรมิกราช ทรงฉลาดในอุบาย

เมื่อครองราชสมบัติด้วยอุบายอันเป็นธรรม คือ

กุศลธรรมบถ ๑๐ อันบัณฑิตแนะนำกล่าวไว้ดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 498

แล้วอย่างนี้ พึงยังมหาชนผู้กำเริบร้อนกายและ

จิต ให้ดับหายไป เหมือนมหาเมฆ ยังแผ่น-

ดินให้ชุ่มชื่นด้วยน้ำ ฉะนั้น.

จบ สุมังคลชาดกที่ ๔

อรรถกถาสุมังคลชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ราโชวาทสูตร จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ภุสมฺหิ กุทฺโธ ดังนี้.

ก็ในครั้งนั้น พระศาสดา อันพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลอาราธนา

ให้ตรัสเรื่องราว จึงได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี ทรงบำเพ็ญมหาทาน. พระองค์มีคนเฝ้าพระราชอุทยานคน

หนึ่ง ชื่อสุมังคละ. ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ออกจาก

เงื้อมภูเขา นันทมูลกะ จาริกไปถึงพระนครพาราณสี อาศัยอยู่ในพระ-

ราชอุทยาน วันรุ่งขึ้นเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร. พระราชาทอด

พระเนตรเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้ว ทรงเลื่อมใส ไหว้แล้วนิมนต์

ให้ขึ้นไปสู่ปราสาท นั่งบนราชอาสน์ ทรงอังคาสด้วยของเคี้ยวของฉัน

มีรสเลิศต่าง ๆ ครั้นได้ทรงสดับอนุโมทนาแล้ว ทรงเลื่อมใสยิ่งขึ้น ขอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 499

อาราธนาให้อยู่ในพระราชอุทยานของพระองค์ ส่วนพระปัจเจกพุทธ-

เจ้าไปพระราชอุทยาน แม้พระองค์เองพอเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว

ก็เสด็จไปจัดแจงที่พักกลางคืน และที่พักกลางวันเป็นต้น ให้คนเฝ้า

พระราชอุทธยานทำหน้าที่ไวยาวัจจกร แล้วเสด็จเข้าพระนคร จำเดิม

แต่นั้นมาพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ฉันที่พระราชมณเฑียรเป็นนิตย์ อยู่ที่

พระราชอุทยานนั้น สิ้นกาลนาน. แม้นายสุมังคละก็บำรุงพระปัจเจก

พุทธเจ้าโดยเคารพ.

อยู่มาวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าเรียกนายสุมังคละมาบอกว่า

เราจักอยู่อาศัยบ้านโน้น ๒ - ๓ วัน แล้วจักมา ท่านจงกราบทูลทระ-

ราชาด้วย ดังนี้แล้วก็หลีกไป. นายสุมังคละ ก็ได้กราบทูลพระราชา

แล้ว. พระปัจเจกพุทธเจ้าอยู่ที่บ้านนั้น ๒ - ๓ วัน เวลาเย็นพระ-

อาทิตย์อัสดงคตแล้ว กลับมาสู่พระราชอุทยาน. นายสุมังคละไม่รู้ว่า

พระปัจเจกพุทธเจ้ามา ได้ไปเรือนของตน. พระปัจเจกพุทธเจ้า เก็บ

บาตรจีวร แล้วจงกรมหน่อยหนึ่ง นั่งอยู่บนแผ่นดิน. ก็ในวันนั้นมี

แขกมาเรือนของตนเฝ้าพระราชอุทยานหลายคน. นายสุมังคละคิดว่า

เราจักฆ่าเนื้อที่พระราชาไม่ห้ามในพระราชอุทยาน เพื่อปรุงสูปะพยัญ-

ชนะเลี้ยงแขก จึงถือธนูไปสู่สวน สอดสายตาหาเนื้อเห็นพระปัจเจก-

พุทธเจ้าเข้าใจว่า ชะรอยจักเป็นเนื้อใหญ่ จึงเอาลูกศรพาดสายยิงไป.

พระปัจเจกพุทธเจ้า เปิดผ้าคลุมศีรษะกล่าวว่า สุมังคละ. เขามีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 500

กลัว กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมไม่รู้ว่าท่านมาแล้ว เข้าใจว่า

เป็นเนื้อจึงยิงไป ขอท่านได้โปรดงดโทษแก่กระผมเถิด เมื่อพระปัจเจก-

พุทธเจ้ากล่าวว่า ข้อนี้ยกไว้เถอะ บัดนี้ท่านจะกระทำอย่างไร จงมา

ถอนเอาลูกศรไปเสีย เขาไหว้แล้วถอนลูกศร. เวทนาเป็นอันมากเกิด

ขึ้นแล้ว. พระปัจเจกพุทธเจ้าปรินิพพาน ณ ที่นั้นเอง. คนเฝ้าสวนคิด

ว่า ถ้าพระราชาทรงทราบจักไม่ยอมไว้ชีวิตเรา จึงพาลูกเมียหนีไป. ใน

ทันใดนั่นเอง ด้วยเทวานุภาพ ได้ดลบันดาลให้เกิดโกลาหลทั่วพระนคร

ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว.

วันรุ่งขึ้น ผู้คนพากันไปพระราชอุทยาน เห็นพระปัจเจกพุทธ-

เจ้าแล้ว กราบทูลพระราชาว่า คนเฝ้าสวนฆ่าพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว

หนีไป. พระราชาเสด็จไปด้วยบริวารเป็นอันมาก ทรงบูชาศพเจ็ดวัน

แล้วทรงทำฌาปนกิจด้วยสักการะใหญ่ เก็บพระธาตุ ก่อพระเจดีย์บรรจุ

พระธาตุ บูชาพระเจดีย์นั้น ครอบครองราชสมบัติโดยธรรม. ฝ่าย

นายสุมังคละ พอล่วงไปหนึ่งปี คิดว่า เราจักรู้วาระน้ำจิตของพระวาชา

จึงมาหาอำมาตย์คนหนึ่ง กล่าวว่า ท่านจงรู้ว่า พระราชาทรงรู้สึกใน

เราอย่างไร ? อำมาตย์นั้นกล่าวพรรณาคุณของนายสุมังคละในสำนักของ

พระราชา. พระราชาทำเป็นไม่ได้ยินเสีย. อำมาตย์ไม่ได้กล่าวอะไร ๆ อีก

กลับมาบอกนายสุมังคละว่า พระราชาทรงไม่พอพระทัย. พอล่วงไปปี

ที่สอง นายสุมังคละย้อนมาอีก พระราชาได้ทรงนิ่งเสียเช่นคราวก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 501

พอล่วงไปปีที่ ๓ นายสุมังคละได้พาลูกเมียมา. อำมาตย์รู้ว่า พระราชา

มีพระทัยอ่อนลงแล้ว จึงพานายสุมังคละ ไปยืนที่ประตูพระราชวัง แล้ว

กราบทูลพระราชาว่า นายสุมังคละมา. พระราชารับสั่งให้เรียกนาย

สุมังคละมา ทรงทำปฏิสัณถาร แล้วตรัสว่า สุมังคละ เหตุไรท่านจึง

ฆ่าพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นบุญเขตของเราเสีย ? นายสุมังคละกราบทูล

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์มิได้มีเจตนาฆ่าพระปัจเจก-

พุทธเจ้า ข้าพระองค์เข้าใจผิด คิดว่าเป็นเนื้อจึงได้ยิงไป ดังนี้แล้วได้

กราบทูลเหตุการณ์ที่เป็นมานั้นให้ทรงทราบ. ลำดับนั้น พระราชาทรง

ปลอบโยนเขาว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านอย่ากลัวเลย แล้วตั้งให้เป็นผู้เฝ้า

พระราชอุทยานอีก.

ลำดับนั้น อำมาตย์ได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ

เหตุไรพระองค์ แม้ได้ฟังคุณของนายสุมังคละถึง ๒ ครั้ง ก็ไม่ตรัส

อะไร ๆ แต่พอได้ฟังในครั้งที่ ๓ เหตุไรจึงทรงเรียกมาอนุเคราะห์.

พระราชาตรัสว่า แน่ะพ่อ ธรรมดาพระราชากำลังพิโรธ ทำอะไรลง

ไปด้วยความผลุนผลันไม่สมควร ฉะนั้นครั้งก่อน ๆ เราจึงนิ่งเสีย ครั้ง

ที่ ๓ เรารู้ใจของเราว่า ความโกรธนายสุมังคละอ่อนลงแล้ว จึงให้

เรียกเขามา ดังนี้ เมื่อจะทรงแสดงราชวัตร ได้ตรัสคาถาเหล่านี้ ความ

ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 502

พระเจ้าแผ่นดินทรงรู้ว่า เรากำลังกริ้วจัด

ไม่พึงลงอาชญา อันไม่สมควรแก่ตน โดยไม่

ใช่ฐานะก่อน พึงเพิกถอนความทุกข์ของผู้อัน

อย่างร้ายแรงไว้.

เมื่อใดพึงรู้ว่าจิตของตนผ่องใส พึงใคร่

ครวญความผิดที่ผู้อื่นทำไว้ พึงพิจารณาให้เห็น

แจ่มแจ้งด้วยตนเองว่า นี้ส่วนประโยชน์ นี่

ส่วนโทษ เมื่อนั้น จึงปรับไหมบุคคลนั้น ๆ

ตามสมควร.

อนึ่ง พระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ใดไม่

ถูกอคติครอบงำ ย่อมแนะนำผู้อื่นที่ควรแนะนำ

และไม่ควรแนะนำได้ พระเจ้าแผ่นดินพระ-

องค์นั้น ข้อว่าไม่เผาผู้อื่นและพระองค์เอง

พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดในโลกนี้ ทรงลง

อาชญาสมควรแก่โทษ พระเจ้าแผ่นดินพระ-

องค์นั้น อันคุณงามความดี คุ้มครองแล้ว ย่อม

ไม่เสื่อมจากสิริ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 503

กษัตริย์เหล่าใด ถูกอคติครอบงำ ไม่ทรง

พิจารณาเสียก่อนแล้วทำลงไป ทรงลงอาชญา

โดยผลุนผลัน กษัตริย์เหล่านั้น ประกอบไป

ด้วยโทษ น่าติเตียน ย่อมละทิ้งชีวิตไป และ

พ้นไปจากโลกนี้แล้ว ก็ย่อมไปสู่ทุคติ.

พระราชาเหล่าใด ทรงยินดีแล้วในทศ-

พิธราชธรรม อันพระอริยเจ้าประกาศไว้ พระ-

ราชาเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยกาย วาจา

และใจ พระราชาเหล่านั้น ทรงดำรงมั่น อยู่

แล้วในขันติ โสรัจจะ และสมาธิ ย่อมถึง

โลกทั้งสอง โดยวิธีอย่างนั้น.

เราเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่ของสัตว์และ

มนุษย์ทั้งหลาย ถ้าเราโกรธขึ้นมา เราก็ตั้งตน

ไว้ในแบบอย่างที่โบราณราชแต่งตั้งไว้ คอย

ห้ามปรามประชาชนอยู่อย่างนั้น ลงอาชญา

โดยอุบายอันแยบคาย ด้วยความปราณี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 504

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเปกฺขิยาน ความว่า ได้เห็น คือรู้.

ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้. แน่ะพ่อ ธรรมดาพระราชาผู้เป็นใหญ่ใน

แผ่นดินรู้ว่า เรากำลังโกรธจัด คือถูกความโกรธที่มีกำลังครอบงำ ไม่

พึ่งด่วนลงอาชญาอันต่างด้วยอาชญามีวัตถุ ๘ ประการเป็นต้น ต่อผู้อื่น

คือไม่พึงยังอาชญาให้เป็นไป.

เพราะเหตุไร ?

เพราะว่าพระราชาทรงกริ้วแล้ว ไม่พึงรีบลงอาชญา ๘ อย่าง

๑๖ อย่าง โดยอฐานะ คือโดยเหตุอันไม่บังควร ไม่พึงรับสั่งให้เขา

นำสินไหมมาเท่านี้ หรือให้ลงทัณฑ์นี้แก่เขา ซึ่งไม่สมควรแก่ความเป็น

พระราชาของตน พึงถอนความทุกข์ร้ายแรง คือทุกข์ที่มีกำลังของผู้อื่น

เสีย.

บทว่า ยโต แปลว่า ในเวลาใด.

ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ ก็เมื่อใดพระราชารู้ความผ่องใสแห่ง

จิตของตนซึ่งเกิดขึ้นในผู้อื่น พึงประกอบคือกำหนดความผิด คือคดีที่

ผู้อื่นทำไว้แผนกหนึ่ง เมื่อนั้นทรงใคร่ครวญอย่างนี้แล้ว พึงทำข้อความ

ให้แจ่มแจ้ง ด้วยตนเองว่า ในคดีนี้ นี้เป็นส่วนประโยชน์ นี้เป็นส่วน

โทษของผู้นั้น ดังนี้แล้ว จึงเรียกเอาทรัพย์ของผู้ทำผิดนั้น ๘ กหาปณะ

หรือ ๑๖ กหาปณะ ให้พอแก่แปดหรือสิบหกกระทง มาตั้งลงปรับไหม

คล้ายลงอาชญา คือใช้แทนโทษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 505

บทว่า อมุจฺฉิโต ความว่า อนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใด

ไม่ถูกกิเลสมีฉันทาคติเป็นต้น แปดเปื้อนครอบงำ ย่อมแนะนำคือ

กำหนดรู้ ผู้ควรแนะนำ และไม่ควรแนะนำได้ พระเจ้าแผ่นดินพระ-

องค์นั้น ชื่อว่าไม่เผาผู้อื่น และไม่เผาพระองค์เอง. อธิบายว่า พระ-

เจ้าแผ่นดิน ลงพระอาชญาโดยหาเหตุมิได้ด้วยอำนาจแห่งอคติมีฉันทา-

คติเป็นต้น ชื่อว่าย่อมเผา คือทำให้ไหม้ได้แก่เบียนเบียนทั้งผู้อื่น ทั้ง

พระองค์เอง เพราะบาปกรรมมีฉันทาคติเป็นต้นนั้นเป็นเหตุ ก็พระ-

ราชาเช่นนี้ ชื่อว่าเผาผู้อื่น เผาพระองค์เองด้วยประการฉะนี้.

บทว่า โย ทณฺฑธโร ภวตีธ อิสฺสโร ความว่า พระเจ้า-

แผ่นดินพระองค์ใดในโลกนี้ ทรงลงอาชญา เหมาะสมแก่โทษ ในหมู่

สัตวโลกนี้ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น ชื่อว่า ทัณฑธร.

บทว่า ส วณฺณคุตฺโต ความว่า พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น

เป็นผู้อันความสรรเสริญถึงคุณ และความสรรเสริญคือยศคุ้มครองรักษา

ย่อมไม่กำจัด คือไม่เสื่อมจากสิริเลย.

บทว่า อวณฺณสยุตฺตาว ชหนฺติ ความว่า กษัตริย์เหล่านั้น

ไม่ดำรงธรรม เป็นพระเจ้าแผ่นดินเหลาะแหละ เป็นผู้ประกอบไปด้วย

โทษ ย่อมละทิ้งชีวิตไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 506

บทว่า ธมฺเม จ เย อริยปฺปเวทิเต ความว่า พระราชา

เหล่าใด ทรงยินดีในทศพิธราชธรรม ที่พระธรรมิกราชเจ้าผู้ประเสริฐ

ด้วยอาจาระประกาศไว้.

บทว่า อนุตฺตรา เต ความว่า พระราชาเหล่านั้น เป็นผู้ประ-

เสริฐด้วยกาย วาจา ใจ ยอดเยี่ยมครบไตรทวาร.

บทว่า เต สนฺติโสรจฺจสมาธิสณฺิตา ความว่า พระราชา

เหล่านั้น ดำรงอยู่ในความสงบกิเลส ในโสรัจจะ กล่าวคือความเป็น

ผู้มีศีลบริสุทธิ์ และในสมาธิคือความเป็นผู้มีจิตเป็นเอกัคคตารมณ์ เป็น

ธรรมิกราช.

บทว่า วชนฺติ โลก ทุภย ความว่า พระราชาเหล่านั้น

ครองราชสมบัติโดยยุติธรรม ย่อมถึงโลกทั้งสองเท่านั้น คือจากมนุษย์

โลกถึงเทวโลก จากเทวโลกถึงมนุษยโลก ไม่ต้องไปเกิดในทุคติมีนรก

เป็นต้น.

บทว่า นรปมุทาน ความว่า เราเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่ ของ

สัตว์และมนุษย์ทั้งหลาย.

บทว่า เปมิ อตฺตาน ความว่า ถึงแม้เราโกรธขึ้นมา ก็ต้อง

ไม่ลุอำนาจความโกรธ ตั้งตนไว้ในแบบอย่าง อันโบราณราชทรงบัญญัติ

ไว้ ไม่ทำลายหลักธรรมอันเป็นเครื่องวินิจฉัยของท่านเสีย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 507

เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ตรัสแสดงคุณของพระองค์ด้วยคาถา ๖

คาถาอย่างนี้แล้ว ราชบริษัททั้งหมดพากันชื่นชมยินดี กล่าวสรรเสริญ

คุณของพระราชาว่า คุณสมบัติคือศีล และอาจาระนี้ สมควรแก่พวก

เราทีเดียว. ส่วนนายสุมังคละ เมื่อพวกบริษัทกล่าวจบแล้ว ก็ลุกขึ้น

ถวายบังคมพระราชา ประคองอัญชลีกล่าวสรรเสริญพระราชา ได้

กล่าวคาถา ๓ คาถาความว่า :-

ข้าแต่กษัตริย์ผู้ชนาธิปัตย์ บริวารสมบัติ

และปัญญา มิได้ละพระองค์ในกาลไหน ๆ

เลย พระองค์มิได้มักกริ้วโกรธ มีพระหฤทัย

ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ขอพระองค์ทรงปราศจาก

ทุกข์ บำรุงพระชนม์ชีพ ยืนอยู่ตลอดร้อย

พรรษาเถิด.

ข้าแต่กษัตริย์ ขอพระองค์จงประกอบ

ด้วยคุณธรรมเหล่านี้ คือ โบราณราชวัตรมั่นคง

พระราชทานอภัยให้ทูลเตือนได้ ไม่ทรงกริ้ว-

โกรธ มีความสุขสำราญไม่เดือดร้อน ปกครอง

แผ่นดินให้ร่มเย็น แม้จุติจากโลกนี้ไปแล้ว ก็

จงทรงถึงสุคติเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 508

พระเจ้าธรรมิกราช ทรงฉลาดในอุบาย

เมื่อครองราชสมบัติด้วยอุบายอันเป็นธรรม คือ

กุศลกรรมบถ ๑๐ อันบัณฑิตแนะนำกล่าวไว้ดี

แล้วอย่างนี้ พึงยังมหาชนผู้กำเริบร้อนกายและ

จิต ให้ดับหายไป เหมือนมหาเมฆ ยังแผ่น-

ดินให้ชุ่นชื่นด้วยน้ำ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิรี จ ลกฺขี จ ได้แก่ บริวาร

สมบัติ และปัญญา.

บทว่า อนีโฆ แปลว่า จงเป็นผู้ปราศจากทุกข์.

บทว่า อุเปต ขตฺติย ความว่า ข้าแต่บรมกษัตริย์ ขอพระองค์

จงประกอบด้วยคุณธรรมเหล่านี้. พระบาลีก็อย่างเดียวกันนี้แหละ.

บทว่า ิตมาริยวตฺตี ความว่า โบราณราชวัตร กล่าวคือทศ-

พิธราชธรรม ชื่อว่า ฐิตอริยวัตร จงเป็นผู้ดำรงมั่นในราชธรรม เพราะ

ตั้งมั่นอยู่ในโบราณราชวัตร คือทศพิธราชธรรมนั้น.

บทว่า อนุปฺปีฬ ปสาส เมทนึ ความว่า และจงปกครอง

แผ่นดิน ไม่ให้พสกนิกรเดือดร้อน.

พระบาลีก็อย่างเดียวกันนี้แหละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 509

บทว่า สุนีเตน ความว่า อันบัณฑิตแนะนำไว้ดี คือ ถูกต้อง

ตามทำนองคลองธรรม.

บทว่า ธมฺเมน ได้แก่ธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐.

บทว่า าเยน นี้ เป็นไวพจน์ของบทต้นนั่นเอง.

บทว่า อุปายโส แปลว่า ด้วยความฉ า ในอุบาย.

บทว่า นย ความว่า พระเจ้าธรรมิกราช เมื่อทรงแนะนำ คือ

ครองราชสมบัติ.

บทว่า นิพฺพาปเย ความว่า เมื่อนายสุมังคละจะแสดงความว่า

พระเจ้าธรรมิกราช เมื่อบำบัดความกระวนกระวาย ทางกายและทางใจ

ได้ด้วยข้อปฏิบัตินี้ ชื่อว่า พึงทำมหาชนผู้กำเริบร้อน ด้วยทุกข์กาย

ทุกข์ใจให้สดับเย็นได้ เหมือนมหาเมฆยังแผ่นดินให้ชุ่มชื่นด้วยน้ำฉะนั้น

ขอพระองค์จะทำมหาชนให้ดับเข็ญ เช่นนั้นเถิด.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงด้วยการประ-

ทานโอวาท แก่พระเจ้าโกศลแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พระปัจเจก-

พุทธเจ้าในครั้งนั้นได้ปรินิพพานแล้ว นายสุมังคละ คนเฝ้าพระราช-

อุทยานในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์ในบัดนี้ พระราชาในครั้งนั้น

ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสุมังคลชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 510

๕. คังคมาลชาดก

ว่าด้วยกามทั้งหลายเกิดจากความดำริ

[๑๑๕๕] แผ่นดินร้อนเหมือนถ่านไฟ ดารดาษไป

ด้วยทรายอันร้อนเหมือนเถ้ารึง เมื่อเป็นเช่นนี้

เจ้ายังทำเป็นทองไม่รู้ร้อนขับเพลงอยู่ได้ แดด

ไม่เผาเจ้าดอกหรือ เบื้องบนก็ร้อน เบื้องล่าง

ก็ร้อน เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้ายังทำเป็นทองไม่รู้

ร้อน ขับเพลงอยู่ได้ แดดไม่เผาเจ้าดอกหรือ ?

[๑๑๕๖] ข้าแต่พระราชา แดดหาเผาข้าพระองค์ไม่

แต่ว่าวัตถุกามและกิเลสกาม ย่อมเผาข้าพระ-

องค์ เพราะว่าความประสงค์หลาย ๆ อย่าง

มีอยู่ ความประสงค์เหล่านั้น ย่อมเผาข้าพระ-

องค์ แดดหาได้เผาข้าพระองค์ไม่.

[๑๑๕๗] ดูก่อนกาม เราได้เห็นมูลรากของเจ้า

แล้ว เจ้าเกิดจากความดำริ เราจักไม่ดำริถึงเจ้า

อีกละ เจ้าจักไม่เกิดด้วยอาการอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 511

[๑๑๕๘] กามแม้น้อย ก็ไม่พอแก่มหาชน มหาชน

ย่อมไม่อิ่มด้วยกามแม้มาก น่าสลดใจที่พวก

คนพาลพากันบ่นว่า รูป เสียงเหล่านี้ จงมี

แก่เรา กุลบุตรผู้ประกอบความเพียร พึงเว้น

ให้ขาดเถิด.

[๑๑๕๙] การที่เราได้เป็นพระเจ้าอุทัยราชถึงความ

เป็นใหญ่ นี่เป็นผลแห่งกรรม มีประมาณน้อย

ของเรา มาณพใดละกามราคะออกบวชแล้ว

มาณพนั้นชื่อว่าได้ลาภดีแล้ว.

[๑๑๖๐] สัตว์ทั้งหลาย ย่อมละธรรมชั่วด้วยตบะ

แต่สัตว์เหล่านั้น จะละความเป็นคน ผู้ใช้หม้อ

ตักน้ำให้เขาอาบได้หรือ แน่ะ คังคมาละ การที่

ท่านข่มขี่ด้วยตบะ แล้วร้องเรียกโอรสของเรา

โดยชื่อว่าพรหมทัตในวันนี้นั้น ไม่เป็นการ

สมควรเลย.

[๑๑๖๑] ข้าแต่เสด็จแม่ เราทั้งหลายพร้อมทั้ง

พระราชาและอำมาตย์ พากันไหว้พระปัจเจก-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 512

พุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เป็นผู้อันชน

ทั้งปวงไหว้แล้ว เชิญเสด็จแม่ทอดพระเนตร

ดูผลแห่งขันติและโสรัจจะ ในปัจจุบันเถิด.

[๑๑๖๒] ท่านทั้งหลาย อย่าได้กล่าวอะไร ๆ กะ

ท่านคังคมาละ ผู้เป็นพระปัจเจกมุนี ศึกษา

อยู่ในคลองมุนี ความจริงพระปัจเจกพุทธเจ้า

ดังคามาละนี้ ข้ามห้วงน้ำที่พระปัจเจกมุนี

ทั้งหลายข้ามแล้ว หมดความเศร้าโศกเที่ยวไป.

จบ คังคมาลชาดกที่ ๕

อรรถกถาคังคมาลชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

อุโบสถกรรม จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า องฺคารชาตา ดังนี้.

ความย่อมีว่า วันหนึ่งพระศาสดาตรัสเรียกพวกรักษาอุโบสถมา

แล้วตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ท่านทั้งหลายทำอุโบสถกรรมให้

สำเร็จดีแล้ว ผู้ที่รักษาอุโบสถควรให้ทาน รักษาศีล ไม่โกรธ เจริญ

เมตตา อยู่รักษาอุโบสถ ก็บัณฑิตครั้งก่อนให้ยศใหญ่ เพราะอาศัย

อุโบสถกรรมที่รักษาครึ่งวัน ดังนี้ พวกอุบาสกเหล่านั้น กราบทูล

อาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 513

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี ในพระนครนั้น มีเศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อว่า สุจิบริวาร มี

สมบัติ ๘๐ โกฏิ เป็นผู้ยินดีในบุญกุศล มีให้ทานเป็นต้น. บุตรภรรยา

ก็ดี บริวารชนของเขาก็ดี โดยที่สุดแม้เด็กเลี้ยงโคในเรือนนั้นก็ดี

ทั้งหมดพากันอยู่รักษาอุโบสถ เดือนละ ๖ วัน. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์

เกิดในตระกูลคนจนตระกูลหนึ่ง รับจ้างเขาเลี้ยงชีพ เป็นอยู่ด้วยความ

ลำบาก. พระโพธิสัตว์คิดว่า เราจักทำงานรับจ้าง จึงได้ไปยังเรือนของ

สุจิบริวารเศรษฐี ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควรแห่งหนึ่ง เมื่อท่านเศรษฐี

ถามว่า ท่านมาทำไม จึงกล่าวว่า มาเพื่อรับจ้างทำงานในเรือนของท่าน.

ท่านเศรษฐีได้เคยพูดบอกแก่ลูกจ้างคนอื่น ๆ ไว้ในวันที่มาถึงว่า ผู้ที่

ทำงานในเรือนนี้รักษาศีลทุกคน เมื่อท่านอาจรักษาศีลได้ ก็จงทำงาน

เถิด. แต่สำหรับพระโพธิสัตว์ ท่านเศรษฐีไม่ได้บอกให้รักษาศีล.

กล่าวรับพระโพธิสัตว์ว่า ดีแล้วพ่อ ท่านจงอยู่รับจ้างทำงานเถิด.

นับแต่นั้นมา พระโพธิสัตว์เป็นคนว่าง่าย ทุ่มเทชีวิต มิได้คิด

เห็นแก่ความเหนื่อยยากของตน ทำงานทุกอยางให้ท่านเศรษฐี. พระ-

โพธิสัตว์ไปทำงานแต่เช้าตรู่ ในตอนเย็นจึงกลับมา. อยู่มาวันหนึ่งเขา

ป่าวประกาศมหรสพในพระนคร. มหาเศรษฐีเรียกนางทาสีมาสั่งว่า

วันนี้เป็นวันอุโบสถ เจ้าจงหุงข้าวให้พวกกรรมกรในเรือนแต่เช้าทีเดียว

ถึงเวลาเขาจักได้กิน แล้วรักษาอุโบสถ. พระโพธิสัตว์ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 514

ไปทำงาน. ไม่มีใครบอกแก่พระโพธิสัตว์ว่า วันนี้ท่านพึงรักษาอุโบสถ.

พวกกรรมกรที่เหลือบริโภคอาหารแต่เช้า แล้วรักษาอุโบสถ. แม้ท่าน

เศรษฐี พร้อมด้วยลูกเมียบริวารชน ได้อธิษฐานอุโบสถ. พวกที่รักษา

อุโบสถแม้ทั้งหมด ไปที่อยู่ของตน ๆ นั่งนึกถึงศีล. พระโพธิสัตว์ทำงาน

ตลอดวัน กลับมาในเวลาที่พระอาทิตย์ตกแล้ว. ลำดับนั้น พวกจัด

อาหารได้ให้น้ำล้างมือแก่พระโพธิสัตว์ แล้วคดข้าวใส่ถาดส่งให้. พระ-

โพธิสัตว์ ถามว่า วันอื่น ๆ ในเวลาเช่นนี้ ได้มีเรื่องอื้ออึง แต่วันนี้

เขาไปไหนกันหมด เมื่อได้ฟังว่า ทุกคนสมาทานอุโบสถไปที่อยู่ของตน ๆ

จึงคิดว่า เราเป็นคนทุศีลคนเดียว จักอยู่ไม่ได้ในกลุ่มของคนผู้มีศีล

เหล่านี้ เมื่อเราอธิษฐานองค์อุโบสถเดียวนี้ จักเป็นอุโบสถกรรมหรือ

ไม่หนอ คิดดังนี้แล้วจึงไปถามท่านเศรษฐี. ลำดับนั้น ท่านเศรษฐี

กล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า แน่ะพ่อ จะเป็นอุโบสถกรรมไปทั้งหมดไม่ได้

เพราะไม่ได้อธิษฐานแต่เช้า แต่ก็เป็นเพียงกึ่งอุโบสถกรรมเท่านั้น.

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เพียงเท่านี้ก็ช่างเถอะ ได้สมาทานศีลในสำนักของ

ท่านเศรษฐี อธิษฐานอุโบสถแล้วเข้าที่อยู่ของตน นอนนึกถึงศีลอยู่.

ครั้นราตรีล่วงเข้าปัจฉิมยาม ลมสัตถกวาตก็เกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์

เพราะอดอาหารมาตลอดวัน. แม้ท่านเศรษฐีจะประกอบเภสัชต่าง ๆ นำ

มาให้บริโภค พระโพธิสัตว์ก็กล่าวว่า ข้าพเจ้าสมาทานอุโบสถแล้ว

โดยยอมสละชีวิต ด้วยคิดว่า จักไม่ทำลายอุโบสถ. เวทนากล้าแข็งได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 515

เกิดขึ้น. เวลารุ่งอรุณ พระโพธิสัตว์ไม่อาจดำรงสติไว้ได้. คนทั้งหลาย

คิดว่า พระโพธิสัตว์จักตายในบัดนี้ จึงได้นำไปให้นอนอยู่ ณ ที่โรงเก็บ

อาหาร.

ขณะนั้น พระเจ้าพาราณสี ทรงรถพระที่นั่งทำปทักษิณพระนคร

ด้วยบริวารใหญ่ เสด็จถึงที่นั้น. พระโพธิสัตว์ได้เห็นสิริราชสมบัติของ

พระเจ้าพาราณสี เกิดความโลภอยากได้ราชสมบัติ เมื่อดับจิตแล้ว ได้

ไปปฏิสนธิในครรภ์อัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ด้วยอานิสงส์แห่ง

อุโบสถกรรมกึ่งหนึ่ง. พระอัครมเหสีได้ครรภบริหารแล้ว พอถ้วน

ทศมาสก็ประสูติพระราชโอรส. พระประยูรญาติทั้งหลาย พากันถวาย

พระนามว่า อุทัยกุมาร. อุทัยกุมารนั้น ครั้นเจริญวัยแล้ว สำเร็จ

การศึกษาศิลปะทุกอย่าง ระลึกถึงบุพพกรรมของตนได้ด้วยญาณ เครื่อง

ระลึกชาติ จึงเปล่งอุทานเนื้อ ๆ ว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมเล็กน้อยของเรา

ดังนี้. ครั้นพระราชบิดาสวรรคตแล้ว ได้ครองราชสมบัติทอดพระเนตร

ดูสิริราชสมบัติอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ แล้วเปล่าอุทานเช่นนั้นอีก.

อยู่มาวันหนึ่ง ชาวเมืองเตรียมการเล่นมหรสพในพระนคร.

มหาชนพากันสนใจดูการเล่น. ครั้งนั้น บุรุษรับจ้างคนหนึ่ง อยู่ใกล้

ประตูทิศอุดรเมืองพาราณสี เก็บทรัพย์กึ่งมาสก ที่ได้มาด้วยการรับจ้าง

ตักน้ำไว้ที่ซอกอิฐกำแพงเมือง ได้อยู่ร่วมกับหญิงกำพร้าคนหนึ่ง ซึ่ง

เลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างตักน้ำเหมือนกัน ในพระนครนั้น. หญิงนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 516

กล่าวกะเขาว่า นาย ในพระนครเขามีมหรสพกัน ถ้าท่านพอมีทรัพย์

อยู่บ้าง แม้เราทั้งสองก็จะไปเที่ยวเล่นกัน. เขาตอบว่า จ๊ะ เราพอมี

ทรัพย์.

มีเท่าไรนาย ?

มีอยู่กึ่งมาสก

ทรัพย์นั้นอยู่ไหน ?

ฉันเก็บไว้ในซอกอิฐใกล้ประตูทิศอุดร ที่เก็บทรัพย์ไกลจากที่

เราอยู่นี้ ๑๒ โยชน์ ก็ทรัพย์ในมือของเจ้า มีบ้างหรือ ?

มีจ๊ะ.

มีเท่าไร ?

มีอยู่กึ่งมาสกเหมือนกัน

ทรัพย์ของเธอกึ่งมาสก ของฉันถึงมาสก รวมเป็นหนึ่งมาสก

เราจักเอาทรัพย์นั้น ส่วนหนึ่งซื้อดอกไม้ ส่วนหนึ่งซื้อของหอม ส่วน

หนึ่งซื้อสุรา แล้วไปเที่ยวเล่นกัน ท่านจงไปนำทรัพย์กึ่งมาสกที่เก็บไว้

มาเถิด.

บุรุษรับจ้างร่าเริงยินดีว่า ภรรยาเชื่อถือถ้อยคำของเรา จึงกล่าว

ว่า น้องรักเจ้าอย่าวิตกไปเลย ฉันจักนำทรัพย์นั้นมา ดังนี้ แล้วหลีก

ไป บุรุษรับจ้างมีกำลังเท่าช้างสาร เดินล่วงมรรคาไปได้ ๖ โยชน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 517

ครั้นเวลาเที่ยง เดินเหยียบทรายร้อนราวกะว่าถ่านไฟ เขาร่าเริงยินดี

เพราะอยากได้ทรัพย์ นุ่งห่มท่อนผ้ากาสาวะ ประดับใบตาลที่หู เดิน

ขับร้องเพลงเฉื่อยเรื่อยไปผู้เดียว เดินผ่านไปทางพระลานหลวง.

พระเจ้าอุทัยราช เปิดสีหบัญชรประทับยืนอยู่ ทอดพระเนตร

เห็นบุรุษรับจ้างเดินมาอย่างนั้น ทรงพระดำริว่า อะไรหนอที่ทำให้

บุรุษนี้ไม่ย่อท้อต่อลมและแดดเห็นปานนั้น มีความร่าเริงยินดีเดินร้อง

เพลงไป เราจักถามเขาดู ดังนี้ แล้วทรงส่งบุรุษไปคนหนึ่งให้เรียกมา.

เมื่อบุรุษนั้นไปบอกว่า พระราชาตรัสเรียกท่าน เขาตอบว่า พระราชา

เป็นอะไรกับเรา เราไม่รู้จักพระราชา ดังนี้. จึงถูกนำตัวไปโดยการ

ใช้กำลัง ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะตรัส

ถามเขา ได้ตรัสคาถาของคาถา ความว่า :-

แผ่นดินร้อนเหมือนถ่านไฟ ดารดาษไป

ด้วยทรายอันร้อนเหมือนเถ้ารึง เมื่อเป็นเช่นนี้

เจ้ายังทำเป็นทองไม่รู้ร้อน ขับเพลงอยู่ได้ แดด

ไม่เผาเจ้าดอกหรือ เบื้องบนก็ร้อน เบื้องล่าง

ก็ร้อน เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้ายังทำเป็นทองไม่รู้

ร้อน ขับเพลงอยู่ได้ แดดไม่เผาเจ้าดอกหรือ ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า องฺคารชาตา ความว่า แน่ะบุรุษ

ผู้เจริญ แผ่นดินนี้ร้อนระอุประดุจถ่านเพลิง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 518

บทว่า กุกฺกุฬานุคตา ความว่า ดาษไปด้วยทรายร้อนราวกะ

เถ้ารึง กล่าวคือ เถ้าอันร้อนทั่วแล้ว.

บทว่า วตฺตานิ ความว่า เจ้ายังทำเป็นทองไม่รู้ร้อน ขับเพลง

ขับอยู่ได้.

บุรุษรับจ้างนั้น ได้ฟังดำรัสของพระราชาแล้ว ได้กราบทูลเป็น

คาถาที่ ๓ ความว่า :-

ข้าแต่พระราชา แดดหาเผาข้าพระองค์

ไม่ แต่ว่าวัตถุกามและกิเลสกาม ย่อมเผาข้า

พระองค์ เพราะว่าความประสงค์หลาย ๆ อย่าง

มีอยู่ ความประสงค์เหล่านั้น ย่อมเผาข้าพระ-

องค์ แดดหาได้เผาข้าพระองค์ไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาตปฺปา ได้แก่ วัตถุกามและ

กิเลสกาม ก็วัตถุกามและกิเลสกามเหล่านั้น ย่อมแผดเผาบุรุษ เพราะ

เหตุนั้น บุรุษรับจ้างจึงเรียกวัตถุกามและกิเลสกามเหล่านั้นว่า อาตัปปา.

บทว่า อตฺถา หิ วิวิธา ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ความ

ประสงค์หลายอย่าง กล่าวคือกิจการต่าง ๆ ที่จะต้องทำ เพราะอาศัย

วัตถุกามและกิเลสกาม ของข้าพระองค์มีอยู่ วัตถุกามและกิเลสกาม

เหล่านั้น เผาข้าพระองค์ ส่วนแดดไม่ชื่อว่า เผาข้าพระองค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 519

ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามบุรุษรับจ้างว่า ความประสงค์ของ

เจ้าเป็นอย่างไร ?

เขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์อยู่ร่วม

กับหญิงกำพร้าใกล้ประตูทิศทักษิณ นางนั้นถามข้าพระองค์ว่า นายเรา

จักไปดูการเล่นมหรสพ ท่านมีทรัพย์อยู่ในมือบ้างไหม ? ข้าพระองค์

ได้กล่าวกะนางว่า ทรัพย์เราฝังเก็บไว้ที่ซอกกำแพงใกล้ประตูด้านทิศอุดร

นางกล่าวว่า ท่านจงไปนำทรัพย์นั้นมา เราทั้งสองจักไปดูการเล่น

มหรสพ แล้วส่งข้าพระองค์มา ถ้อยคำของนางนั้นจับใจข้าพระองค์

เมื่อข้าพระองค์ระลึกถึงถ้อยคำของนางนั้น ความร้อนคือกามย่อมเผาเอา

ความประสงค์ของข้าพระองค์เป็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า

ถ้าเมื่อเจ้าไม่ย่อท้อต่อลมและแดดเห็นปานนี้ อะไรเป็นเหตุให้เจ้ายินดี

เดินร้องเพลง. บุรุษนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้า

พระองค์นำทรัพย์ที่ฝังไว้นั้นมาได้แล้ว จักอภิรมย์กับนางนั้น ด้วยเหตุ

ดังกราบทูลมานี้ ข้าพระองค์จึงยินดีขับเพลงขับ. พระราชาตรัสถามว่า

แน่ะบุรุษผู้เจริญ ก็ทรัพย์ที่ฝังเก็บไว้ที่ประตูด้านทิศอุดร มีประมาณ

แสนหนึ่งได้ใหม่ เขากราบทูล ไม่มีถึงดอก พระพุทธเจ้าข้า. พระ-

ราชาตรัสถามโดยลำดับว่า ถ้าเช่นนั้น มีห้าหมื่น สี่หมื่น สามหมื่น

สองหมื่น หนึ่งหมื่น ห้าพัน ห้าร้อย สี่ร้อย สามร้อย สองร้อย

หนึ่งร้อย ห้า สี่ สาม สอง หนึ่งกหาปณะ ครึ่งกหาปณะ หนึ่งบาท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 520

สี่มาสก สาม สอง หนึ่งมาสก. บุรุษรับจ้างปฏิเสธทุกขั้นตอน เมื่อ

พระราชาตรัสว่า ครึ่งมาสก เขากราบทูลว่า ใช่แล้ว พระเจ้าข้า

ทรัพย์ของข้าพระองค์มีเพียงเท่านี้ ข้าพระองค์เดินมาด้วยนึกในใจว่า

นำทรัพย์มาได้แล้ว จักอภิรมย์กับนางดังนี้ ด้วยปีติโสมนัสนั้น ลมและ

แดดนั้น จึงไม่ชื่อว่า แผดเผาข้าพระองค์.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะบุรุษนั้นว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ แดด

ร้อนถึงเพียงนี้ เจ้าอย่าไปที่นั้นเลย เราจะให้ทรัพย์ครึ่งมาสกแก่เจ้า.

เขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์จักตั้งอยู่ในพระ-

ดำรัสของพระองค์ รับเอาทรัพย์ครึ่งมาสกนั้น และจักไม่ทำทรัพย์ที่ฝัง

ไว้ให้เสียไป ข้าพระองค์จักไปถือเอาทรัพย์นั้น ไม่ยอมให้เสียเป้าหมาย

ของการเดินทาง. พระราชาตรัสว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าจงกลับเถิด

เราจักให้ทรัพย์แก่เจ้าหนึ่งมาสก สองมาสก พระองค์ตรัสพระราชทาน

เพิ่มขึ้น โดยทำนองนี้จนถึงโกฏิ ร้อยโกฏิ และทรัพย์กำหนดนับไม่ได้

แล้วตรัสให้เขากลับเสีย เขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ

ข้าพระองค์ขอรับทรัพย์ที่พระราชทาน แม้ทรัพย์ที่ฝังไว้ ก็จักไปเอา.

ต่อจากนั้น พระราชาได้ตรัสเล้าโลมด้วยฐานันดรมีตำแหน่งเศรษฐี

เป็นต้น จนถึงจะให้ดำรงดำแหน่งอุปราช ด้วยพระดำรัสว่า เราจักได้

ท่านครองราชสมบัติครึ่งหนึ่ง จงกลับเสียเถิด ดังนี้ เขาจึงยินยอมรับ

พระดำรัส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 521

พระราชาทรงบังคับอำมาตย์ทั้งหลายว่า พวกเจ้าจงไปแต่งหนวด

ให้สหายของเรา แล้วให้อาบน้ำแต่งตัว แล้วนำมาหาเรา. พวกอำมาตย์

ได้กระทำตามรับสั่งนั้น. พระราชาแบ่งราชสมบัติออกเป็นสองส่วน

พระราชทานให้บุรุษรับจ้างนั้น ครอบครองราชสมบัติครึ่งหนึ่ง. บาง

อาจารย์กล่าวว่า ก็บุรุษรับจ้างนั้น ครองราชสมบัตินั้นแล้ว ยังไปข้าง

ทิศอุดร ด้วยความรักทรัพย์ครึ่งมาสก. เหตุนั้นเขาจึงได้นามว่า อัฑฒ-

มาสกราช.

พระเจ้าอุทัยราชกับพระเจ้าอัฑฒมาสกราช ทรงสามัคคี สนิท

สนมกัน ครองราชสมบัติ วันหนึ่งเสด็จไปพระราชอุทยาน. พระเจ้า

อุทัยราช ทรงกีฬาในพระราชอุทยานนั้นจนเหนื่อยแล้ว เอาพระเศียร

พาดลงบนพระเพลาของพระเจ้าอัฑฒมาสกราช บรรทมหลับไป. เมื่อ

บรรทมหลับสนิทแล้ว พวกราชบริพารก็พากันไปเล่นกีฬาในที่นั้น ๆ.

พระเจ้าอัฑฒมาสกราชทรงดำริว่า ประโยชน์อะไรที่เราจะเสวยราชสมบัติ

กึ่งหนึ่งอยู่เป็นนิตย์ เราจักปลงพระชนม์พระเจ้าอุทัยราชเสียแล้ว เสวย-

ราชสมบัติ แต่ผู้เดียวดีกว่า ดังนี้แล้ว จึงชักพระแสงดาบออกจากฝัก

คิดจะปลงพระชนม์พระเจ้าอุทัยราชเสีย แล้วมาหวนคิดขึ้นว่า พระราชา

องค์นี้ได้ทำเราผู้เป็นคนจน คนกำพร้าให้มียศศักดิ์เสมอด้วยพระองค์

และตั้งเราไว้ในอิสรภาพใหญ่ยิ่ง การที่เราเกิดปรารถนาจะฆ่าผู้ที่ให้ยศ

แก่เราถึงเพียงนี้ เป็นเรื่องที่เราไม่สมควรทำเลย คิดดังนี้แล้ว จึงยั้งสติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 522

ได้ สอดพระแสงดาบเข้าฝัก แต่หวนคิดแล้วคิดเล่าถึงสองครั้งสามครั้ง

จิตคิดฆ่านั้น ยังไม่สงบลงได้. ที่นั้น จึงตั้งพระทัยสะกดจิต คิดว่า

จิตดวงนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็จะพึงประกอบเราไว้ในกรรมลามก จึงแข็ง

พระทัยขว้างพระแสงดาบไปบนพื้นดิน ปลุกพระเจ้าอุทัยราชให้ตื่น

บรรทม แล้วหมอบลงแทบพระบาท กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ขอ

พระองค์จงงดโทษแก่ข้าพระองค์เถิด. พระเจ้าอุทัยราชตรัสว่า ดูก่อน

สหาย โทษในระหว่างท่านกับเราไม่มีมิใช่หรือ ?

มีพระองค์ หม่อมฉันได้ทำอย่างนี้ ๆ.

ถ้าเช่นนั้นเรายกโทษให้ท่าน ก็เมื่อท่านอยากได้ครองราชสมบัติ

ก็จงครองราชสมบัติเถิด ส่วนเราจักเป็นอุปราชทำนุบำรุงท่าน.

พระเจ้าอัฑฒมาสกราชกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ข้าพระองค์

ไม่ต้องการราชสมบัติ เพราะตัณหานี้จักให้ข้าพระองค์ไปเกิดในอบาย

พระองค์จงครอบครองราชสมบัติของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวเถิด ข้า

พระองค์จักขอลาบวช มูลรากแห่งกามคุณ ข้าพระองค์เห็นแล้ว ความ

จริงกามคุณนี้เจริญแก่ผู้ดำริอยู่ บัดนี้แต่นี้ไป ข้าพระองค์จักไม่ดำริถึง

อีกเลย ดังนี้ เมื่อจะเปล่งอุทาน จึงตรัสคาถาที่ ๔ ความว่า :-

ดูก่อนกาม เราได้เห็นมูลรากของเจ้า

แล้ว เจ้าเกิดจากความดำริ เราจักไม่ดำริถึงเจ้า

อีกละ เจ้าจักไม่เกิดด้วยอาการอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 523

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว ความว่า เจ้าจักไม่มีในภายใน

ของเราด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า น โหหิสิ ความว่า เจ้าจักไม่เกิด

ขึ้น. ก็แหละครั้นตรัสดังนี้แล้ว เมื่อจะแสดงธรรมแก่มหาชนผู้ประ-

กอบในกามต่อไป จึงตรัสคาถาที่ ๕ ความว่า :-

กามแม้น้อยก็ไม่พอแก่มหาชน มหาชน

ย่อมไม่อิ่มด้วยกามแม้มาก น่าสลดใจที่พวก

คนพาลพากันบ่นว่า รูป เสียงเหล่านั้น จงมี

แก่เรา กุลบุตรผู้ประกอบความเพียร พึงเว้น

ให้ขาดเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหหา เป็นบทแสดงถึงความสลดใจ.

บทว่า ชคฺคโต แปลว่า ผู้เพียรเจริญอยู่.

ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ ข้าแต่มหาราชเจ้า วัตถุกามและกิเลส-

กามแม้น้อย ก็ไม่พอเพียงสำหรับมหาชนนี้ มหาชนย่อมไม่อิ่มด้วย

วัตถุกามและกิเลสกามแม้มาก น่าสลดใจที่พวกคนพาลพากันบ่นว่า รูป

เสียงเหล่านี้ จงมีแก่เรา กุลบุตรผู้หมั่นประกอบความเพียร เจริญโพธิ-

ปักขิยธรรม ยังวิปัสสนาให้เจริญแล้ว พึงรู้แจ้งแทงตลอดได้ คือรู้แจ้ง

ได้ด้วยการกำหนดรู้ การละและการตรัสรู้ แล้วละได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 524

พระเจ้าอัฑฒมาสกราช ครั้นแสดงธรรมแก่มหาชนอย่างนี้แล้ว

ให้พระเจ้าอุทัยราชทรงปกครองราชสมบัติ ละมหาชนผู้มีหน้าชุ่มด้วย

น้ำตาร้องไห้อยู่ เข้าหิมวันตประเทศ บวชแล้วยังฌานและอภิญญาให้

เกิด. เมื่อพระเจ้าอัฑฒมาสกราชบวชแล้ว พระเจ้าอุทัยราช เมื่อจะ

เปล่งอุทานให้ครบกระบวนถ้วนความ จึงตรัสคาถาที่ ๖ ความว่า :-

การที่เราได้เป็นพระเจ้าอุทัยราชถึงความ

เป็นใหญ่ นี้เป็นผลแห่งกรรม มีประมาณน้อย

ของเรา มาณพใดละกามราคะออกบวชแล้ว

มาณพนั้นชื่อว่าได้ลาภดีแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทโย พระเจ้าอุทัยราชตรัสหมายถึง

พระองค์เอง. บทว่า มหตฺตปตฺต ความว่า ถึงความเป็นใหญ่ ได้แก่

บรรลุถึงซึ่งอิสสริยยศอันไพบูลย์. บทว่า มาณวสฺส ความว่า ชื่อว่า

เป็นลาภอันมาณพผู้เป็นสหายของเรา ผู้ข้องอยู่ได้ดีแล้ว. พระเจ้าอุทัย-

ราช ตรัสไว้โดยมีความมุ่งหมายว่า มานพใดละกามราคะ ออกบวชแล้ว

ดังนี้เท่านี้.

เนื้อความของคาถานี้ไม่มีใครรู้. อยู่มาวันหนึ่ง พระอัครมเหสี

ทูลถามเนื้อความของพระคาถากะพระราชา. ก็พระราชามีนายช่างกัลบก

คนหนึ่ง ชื่อ คังคมาล. นายคังคมาลนั้น เมื่อจะแต่งพระมัสสุพระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 525

ได้ทำบริกรรมด้วยมีดโกนก่อน แล้วจึงถอนพระโลมา ด้วยแหนบภาย

หลัง. เวลาที่บริกรรมด้วยมีดโกน พระราชาทรงมีความสุข เวลาที่ถอน

พระโลมา พระราชาทรงมีความทุกข์. นายช่างกัลบกนั้น ประสงค์จะ

ให้พระราชาพระราชทานพรก่อน และหวังว่าจะปลงพระศกบนพระ-

เศียร ต่อภายหลัง.

อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาได้ตรัสบอกความเรื่องนั้นแก่พระราช-

เทวีว่า น้องรัก นายมงคลกัลบกของเราเป็นคนโง่ เมื่อพระราชเทวี

ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ นายมงคลกัลบกทำอย่างไรจึงจะควร ตรัสว่า

ควรจะถอนเส้นโลมาก่อน แล้วจึงทำบริกรรมด้วยมีดโกนต่อภายหลัง.

พระราชเทวีให้เรียกนายช่างกัลบกมาตรัสว่า คราวนี้เมื่อถึงวันที่จะแต่ง

พระมัสสุถวายพระราชา ท่านพึงถอนเส้นพระโลมาก่อน แล้วทำ

บริกรรมด้วยมีดโกนต่อภายหลัง เมื่อพระราชาทรงประทานพรให้ ท่าน

พึงกราบทูลว่า ไม่ต้องการอย่างอื่น ขอพระองค์จงบอกเนื้อความแห่ง

อุทานคาถาของพระองค์ เราจักให้ทรัพย์เป็นอันมากแก่ท่าน. นายช่าง

กัลบก รับพระเสาวนีว่า ดีแล้ว ครั้นถึงวันที่จะแต่งพระมัสสุ ได้หยิบ

แหนบก่อน เมื่อพระราชาตรัสถามว่า แน่ะคังคมาล ทำไมเจ้าจึงไม่

กระทำเหมือนครั้งก่อน ๆ เขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ

ธรรมดาช่างกัลบกย่อมทำแม้สิ่งที่ไม่เคยทำ ทูลแล้วก็ถอนพระโลมาก่อน

แล้วทำบริกรรมด้วยมีดโกน ในภายหลัง. พระราชาตรัสว่า เจ้าจงรับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 526

พร. ช่างกัลบกกราบทูลว่า ข้าพระองค์ไม่ต้องการอย่างอื่น. ขอพระองค์

จงตรัสบอกเนื้อความของอุทานคาถา. พระราชาทรงละอายพระทัยที่จะ

ตรัสบอก เรื่องที่พระองค์เป็นคนยากจน จึงตรัสว่า เจ้าจะต้องการพร

ข้อนี้ทำไม จงรับพรอย่างอื่นเถิด. ช่างกัลบกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้สมมติเทพ ขอพระองค์จงทรงประทานพรข้อนี้ แก่ข้าพระองค์เถิด

พระเจ้าข้า. พระราชาทรงกลัวมุสาวาทกรรม จึงทรงรับคำ แล้วรับสั่ง

ให้จัดแจงตกแต่งสิ่งทั้งปวง ตามนัยที่กล่าวแล้วในกุมมาสปิณฑชาดก

ประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์ ตรัสเล่า ปุริมกิริยาทั้งปวงว่า ดูก่อนคังคมาละ

ในภพก่อนเราเกิดเป็นคนจนที่เมืองนี้ มีศรัทรารักษาศีลครึ่งวัน จุติจาก

อัตตภาพนั้น ได้มาเกิดในตระกูลกษัตริย์ ชื่อว่า อุทัยราช ด้วยเหตุนี้

เราจึงกล่าวครึ่งคาถาข้างต้น ครั้นสหายของเราละกามราคะไปบวชแล้ว

เราเป็นคนประมาท หลงครองราชาสมบัติอยู่นี้เอง ด้วยเหตุนี้ เราจึง

กล่าวครึ่งคาถาข้างท้าย พระราชาตรัสบอกเนื้อความแห่งอุทาน ด้วย

ประการฉะนี้.

ช่างกัลบกฟังเรื่องราวนั้นแล้ว คิดว่า ได้ยินว่าพระราชาได้

ราชสมบัตินี้ ด้วยการรักษาอุโบสถกึ่งวัน ขึ้นชื่อว่ากุศลอันบุคคลควรทำ

ถ้ากระไร เราพึงบวชสร้างที่พึ่งของตนเถิด คิดแล้วก็ละวงศ์ญาติและ

โภคสมบัติ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตบรรพชา แล้วไป

หิมวันตประเทศ บวชเป็นฤาษี ยกไตรลักษณ์ขึ้นเจริญวิปัสสนา ก็สำเร็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 527

ปัจเจกโพธิญาณ ครองบาตรจีวรที่เกิดขึ้นด้วยฤทธิ์ จำพรรษาที่ภูเขา

คันธมาทน์ ห้าพรรษา คิดว่า จักเยี่ยมพระเจ้าพาราณสี จึงเหาะมา

นั่งอยู่บนมงคลศิลา ในมงคลราชอุทยาน. คนเหล่าพระราชอุทยานจำได้

จึงไปกราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ นายช่างกัลบกคังคาลมาล เป็น

พระปัจเจกพุทธเจ้า เหาะมานั่งอยู่ในมงคลราชอุทยาน. พระราชาทรง

สดับแล้ว รีบเสด็จออกมาด้วยหวังว่า จักไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้า.

พระราชชนนี ก็เสด็จออกไปพร้อมกับพระราชา. พระราชาเสด็จเข้าสู่

พระราชอุทยานไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง พร้อมด้วยบริษัท. พระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อจะทำปฏิสันถาร

กับพระราชา ได้เรียกพระราชาตามนามสกุลว่า ดูก่อนพรหมทัต

พระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท ครองราชสมบัติโดยธรรม บำเพ็ญบุญมีให้

ทานเป็นต้นอยู่หรือ ดังนี้แล้ว ทำปฏิสันถาร. พระราชชนนีได้สดับ

ดังนั้น ทรงพระพิโรธว่า คังคมาลนี้ มีชาติเป็นคนเลว ลามก เป็น

ลูกช่างกัลบก ไม่รู้จักประมาณตน เรียกโอรสของเรา ซึ่งเป็นพระเจ้า

แผ่นดิน เป็นกษัตริย์โดยชาติ โดยชื่อว่า พรหมทัต ดังนี้ จึงตรัส

คาลาที่ ๗ ความว่า :-

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมละกรรมชั่วด้วยตบะ

แต่สัตว์เหล่านั้น จะละความเป็นคน ผู้ใช้หม้อ

ตักน้ำให้เขาอาบได้หรือ แน่ะ คังคมาละ การที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 528

ท่านข่มขี่ด้วยตบะ แล้วร้องเรียกโอรสของเรา

โดยชื่อว่าพรหมทัตในวันนี้นั้น ไม่เป็นการ

สมควรเลย.

คาถานั้น มีอธิบายดังนี้ พระราชชนนีตรัสว่า สัตว์ทั้งหลาย

เหล่านี้ ย่อมละบาปกรรมได้ด้วยตบะ คือตบะคุณที่ตนสร้างสมไว้ แต่

ตบะเหล่านั้นจะละความเป็นผู้ใช้หม้อตักน้ำให้เขาอาบได้ด้วยหรือ แน่ะ

คังคมาละ การที่ท่านใช้ตบะของตนข่มขี่ เรียกโอรสของเราโดยชื่อว่า

พรหมทัตในวันนี้นั้น เป็นการไม่สมควรเลย.

พระราชาตรัสห้ามพระชนนีแล้ว เมื่อจะประกาศคุณของพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า จึงตรัสคาถาที่ ๘ ความว่า :-

ข้าแต่เสด็จแม่ เราทั้งหลายพร้อมทั้ง

พระราชาและอำมาตย์ พากันไหว้พระปัจเจก-

พุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เป็นผู้อันชน

ทั้งปวงไหว้แล้ว เชิญเสด็จแม่ทอดพระเนตร

ดูผลแห่งขันติและโสรัจจะ ในปัจจุบันเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขนฺติโสรจฺจสฺส ได้แก่ อธิวาสน-

ขันติและโสรัจจะ. บทว่า ต วนฺทาม ความว่า ข้าแต่เสด็จแม่ บัดนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 529

เราทั้งหลาย ทั้งพระราชา ทั้งอำมาตย์ ทุกถ้วนหน้าพากันไหว้พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า ขอเสด็จแม่จงทรงเห็นผลแห่งขันติและโสรัจจะเถิด.

เมื่อพระราชาตรัสห้ามพระราชชนนีแล้ว มหาชนที่เหลือพากัน

ลุกขึ้นกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ การที่คนต่ำช้าเห็นปานนี้

เรียกพระองค์โดยชื่อไม่สมควรแก่พระองค์เลย. พระราชาทรงห้ามมหา-

ชนแล้ว เพื่อจะแสดงคุณของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น จึงตรัสคาถา

สุดท้าย ความว่า :-

ท่านทั้งหลาย อย่าได้กล่าวอะไร ๆ กะ

ท่านคังคมาละ ผู้เป็นพระปัจเจกมุนี ศึกษา

อยู่ในคลองมุนี ความจริงพระปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้งหลายข้ามแล้ว หมดความเศร้าโศกเที่ยวไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุนิน ได้แก่ อาคาริกมุนี อานาคา-

ริกมุนี เสขมุนี อเสขมุนี และพระปัจเจกมุนี. บทว่า โมนปเถสุ

สิกฺขมาน ความว่า ผู้ศึกษาอยู่ในคลองมุนี กล่าวคือโพธิปักขิยธรรม

เพราะเป็นข้อปฏิบัติ อันเป็นบุรพภาค. บทว่า อณฺณว ได้แก่ สมุทร

คือสงสาร. พระราชาครั้นตรัสดังนี้แล้ว ได้ถวายนมัสการพระปัจเจก-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 530

พุทธเจ้า ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าได้โปรดอดโทษแก่

พระราชชนนีด้วยเถิด.

พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ถวายพระพรมหาบพิตร อาตมา

อดโทษให้.

แม้พวกราชบริษัท ก็พากันขอขมาโทษพระปัจเจกพุทธเจ้า.

พระราชาขอปฏิญญาพระปัจเจกพุทธเจ้า เพื่อให้อยู่กับพระองค์ต่อไป.

พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่ได้ถวายปฏิญญา เมื่อบริษัทพร้อมด้วยพระราชา

กำลังแลดูอยู่นั่นเอง ได้ลอยขึ้นไปในอากาศ ถวายโอวาทแต่พระราชา

แล้วเหาะไปยังภูเขาคันธมาทน์.

พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว

ตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าการอยู่รักษาอุโบสถ เป็นกิจที่

บุคคลควรอยู่รักษาด้วยประการฉะนี้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าในครั้งนั้น ได้ปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอัฑฒมาสกราช

ได้มาเป็นพระอานนท์ พระราชชนนีได้มาเป็นพระมหามายา พระ-

อัครมเหสี ได้มาเป็นมารดาพระราหุล ส่วนพระเจ้าอุทัยราช ได้มาเป็น

เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาคังคมาลชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 531

๖. เจติยราชชาดก

ว่าด้วยเชฏฐาปจายนธรรม

[๑๑๖๓] เชฏฐาปจายนธรรม อันบุคคลใดทำลาย

แล้ว ย่อมทำลายบุคคลนั้นเสียโดยแท้ เชฏ-

ฐาปจายนธรรม อันบุคคลใดไม่ทำลายแล้ว

ย่อมไม่ทำลายบุคคลนั้น แม่สักหน่อยหนึ่ง

เพราะเหตุนั่นแล พระองค์ไม่ควรทำลายเชฏ-

ฐาปจายนธรรมเลย เชฏฐาปจายนธรรมที่

พระองค์ทำลายแล้ว อย่าได้กลับมาทำลาย

พระองค์เลย.

[๑๑๖๔] เมื่อพระองค์ยังตรัสคำกลับกลอกอยู่

เทวดาทั้งหลายก็จะพากันหลีกหนีไปเสีย พระ

โอฐจักมีกลิ่นบูดเน่า เหม็นฟุ้งไป ผู้ใดรู้อยู่

เมื่อถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งปัญญานั้น

ไปเสียอย่างอื่น ผู้นั้นย่อมพลัดพรากจากฐานะ

ของตน แล้วถูกแผ่นดินสูบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 532

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส

สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราชวัง

ตามเดิมได้ ถ้ายังตรัสมุสาวาทอยู่ พระองค์ก็

จะดำรงอยู่ได้ เพียงบนพื้นดิน ไม่สามารถจะ

ลอยขึ้นสู่อากาศได้อีก.

[๑๑๖๕] พระราชาพระองค์ใดทรงทราบอยู่ ถูก

เขาถามปัญหาแล้วแกล้งทำมุสาวาท พยากรณ์

ปัญหานั้นไปเสียอย่างอื่น ในแว่นแคว้นของ

พระราชาพระองค์นั้น ฝนย่อมตกในเวลาไม่ใช่

ฤดูกาล ย่อมไม่ตกต้องตามฤดูกาล.

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส

สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราช

วังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ตรัสมุสาวาทอยู่ ก็

จะถูกแผ่นดินสูบลงไปอีก.

[๑๑๖๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในทิศ พระ-

ราชาพระองค์ใดทรงทราบอยู่ ถูกเขาถามปัญหา

แล้วแกล้งตรัสแก้เป็นปัญหานั้นไปเสียอย่างอื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 533

พระชิวหาของพระราชาพระองค์นั้นจะแตก

เป็นสองแฉก เหมือนลิ้นงู.

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส

สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราช-

วังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาวาทอยู่

ก็จะถูกแผ่นดินสูบ ลึกยิ่งลงไปอีก.

[๑๑๖๗] ข้าแต่พระราชาผู้เป็นใหญ่ในทิศ พระ-

ราชาพระองค์ใดทรงทราบอยู่ เมื่อถูกถามปัญหา

แล้วแกล้งตรัส แก้ ปัญหา นั้นไปเสียอย่างอื่น

พระชิวหาของพระราชาพระองค์นั้น จะไม่มี

เหมือนปลาฉะนั้น.

ข้าแต่พระเจ้าเจติราช ถ้าพระองค์ตรัส

สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราช-

วังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาวาทอยู่

ก็จะถูกแผ่นดินสูบ ลึกยิ่งลงไปกว่านี้อีก.

[๑๑๖๘] พระราชาพระองค์ใด ทรงทราบอยู่ เมื่อ

ถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งตรัสแก้ปัญหานั้นไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 534

เสียอย่างอื่น พระราชาพระองค์นั้น จะมีแต่

พระธิดาเท่านั้นมาเกิด หามีพระราชโอรสมา

เกิดในราชสกุลไม่.

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส

สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราช-

วังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาวาทอยู่

ก็จะถูกแผ่นดินสูบ ลึกไปยิ่งกว่านี้อีก.

[๑๑๖๙] พระราชาพระองค์ใด ทรงทราบอยู่ เมื่อ

ถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งตรัสแก้ปัญหานั้น

ไปเสียอย่างอื่น พระราชาพระองค์นั้นจะไม่มี

พระราชโอรส ถ้ามีก็จะพากันหลีกหนีไปยัง

ทิศน้อยทิศใหญ่.

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส

สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราช-

วังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาวาทอยู่

ก็จะถูกแผ่นสูบ ลึกยิ่งกว่านั้นลงไปอีก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 535

[๑๑๗๐] พระเจ้าเจติยราชนั้น แต่ก่อนเคยเสด็จ

เที่ยวไปได้ในอากาศ ภายหลังถูกพระฤๅษีสาบ

แล้ว เสื่อมจากอำนาจ ถึงกำหนดเวลาของตน

แล้ว ก็ถูกแผ่นดินสูบ.

เพราะเหตุนั้นแหละ บัณฑิตทั้งหลายจึง

ไม่สรรเสริญฉันทาคติ บุคคลไม่พึงเป็นผู้มีจิต

ถูกฉันทาคติเป็นต้นประทุษร้าย พึงกล่าวแต่

คำสัตย์เท่านั้น.

จบ เจติยราชชาดกที่ ๖

อรรถกถาเจติยราชชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

พระเทวทัตตอนถูกแผ่นดินสูบ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ธมฺโม

หเว หโต หนฺติ ดังนี้.

ความย่อมีว่า วันนี้ ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตทำมุสาวาท ถูกแผ่นดินสูบ มีอเวจี

เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 536

กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ใน

บัดนี้เท่านั้นที่พระเทวทัตทำมุสาวาทแล้วถูกแผ่นดินสูบ แม้ในกาลก่อน

พระเทวทัตก็ทำมุสาวาท แล้วถูกแผ่นดินสูบเหมือนกันดังนี้ แล้วทรง

นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งปฐมกัป มีพระราชาทรงพระนามว่า มหาสัมมตะ

ทรงมีพระชนมายุได้หนึ่งอสงไขย. พระโอรสของพระองค์มีพระนามว่า

โรชะ พระโอรสของพระเจ้าโรชะ มีพระนามว่า วรโรชะ โอรสของ

พระเจ้าวรโรชะ มีพระนามว่า กัลยาณะ โอรสของพระเจ้ากัลยาณะ

มีพระนามว่า วรกัลยาณะ โอรสของพระเจ้าวรกัลยาณะ มีพระนามว่า

อุโบสถ โอรสของพระเจ้าอุโบสถ มีพระนามว่า วรอุโบสถ โอรสของ

พระเจ้าวรอุโบสถ มีพระนามว่า มันธาตุ โอรสของพระเจ้ามันธาตุ

มีพระนามว่า วรมันธาตุ โอรสของพระเจ้าวรมันธาตุ มีพระนามว่า

วระ โอรสของพระเจ้าวระ มีพระนามว่า อุปวระ แต่บางคนก็เรียกว่า

อุปริจระ.

พระเจ้าอุปจิรราชนั้น ครองราชสมบัติ อยู่ ณ โสตถิยนคร ใน

เจติยรัฐ พระองค์ประกอบด้วยฤทธิ์ ๔ อย่าง มักเสด็จไปเบื้องบน คือ

เสด็จไปโดยอากาศ มีเทพบุตร ๔ องค์ ถือพระขรรค์รักษาอยู่ทั้ง ๔ ทิศ

มีกลิ่นจันทน์หอมฟุ้งออกจากพระวรกาย มีกลิ่นอุบลหอมฟุ้งออกจาก

พระโอฐ์. พระองค์มีพราหมณ์ชื่อว่ากปิลเป็นปุโรหิต. กปิลพราหมณ์

มีน้องชายชื่อโกรกลัมพกะ เป็นพาลสหาย เคยเล่าเรียนศิลปะในสำนัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 537

อาจารย์เดียวกันกับพระราชา. ในสมัยที่พระราชายังเป็นพระราชกุมาร

พระองค์ได้ทรงปฏิญญากะโกรกลัมพกพราหมณ์ไว้ว่า เมื่อเราได้ครอง-

ราชสมบัติแล้ว จักให้ตำแหน่งปุโรหิตกับท่าน. ครั้นพระองค์ขึ้นครอง-

ราชสมบัติแล้ว ก็ไม่อาจถอดกปิลพราหมณ์ ซึ่งเป็นปุโรหิตของพระชน

ออกจากตำแหน่งปุโรหิตได้. ก็เมื่อกปิลปุโรหิตเข้าเฝ้า พระองค์ก็ทรง

แสดงความยำเกรง ด้วยความเคารพในปุโรหิตนั้น. พราหมณ์สังเกตุ

อาการนั้นแล้วคิดว่า ธรรมดาการครองราชสมบัติ ต้องบริหารกับผู้ที่มี

วัยเสมอกันจึงจะดี เราจักทูลลาพระราชาบวช ดังนี้แล้วจึงกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์เป็นคนแก่ ที่เรือนมีกุมารอยู่คน

หนึ่ง ขอพระองค์จงตั้งกุมารนั้นให้เป็นปุโรหิต ข้าพระองค์จับบวช ขอ

พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วตั้งบุตรไว้ในตำแหน่งปุโรหิต เข้า

พระราชอุทยาน บวชเป็นฤาษี ยังฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว อยู่

ในพระราชอุทยานนั้นเอง โดยอาศัยบุตรเป็นผู้บำรุง.

โกรกลัมพกพราหมณ์ ผูกอาฆาตพี่ชายว่า พี่ชายของเรานี้แม้

บวช ก็ยังไม่ให้ฐานันดรแก่เรา วันหนึ่งขณะที่สนทนากัน พระราชา

ตรัสถามว่า โกรกลัมพกะ ท่านไม่ได้ตำแหน่งปุโรหิตดอกหรือ ? เขา

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่ได้

ทำ พี่ชายของข้าพระองค์ทำ.

พระราชารับสั่งว่า ก็พี่ชายของท่านบวชแล้ว มิใช่หรือ ?

เขาทูลว่า พระเจ้าข้า เขาบวชแล้ว แต่เขาได้ให้พระองค์ประ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 538

ทานฐานันดรแก่บุตรของเขา.

ถ้าเช่นนั้น ท่านจะให้เราทำอย่างไร ?

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่อาจให้พระองค์ถอดพี่

ชายเสียจากฐานันดร อันสืบเนื่องมาตามประเพณี แล้วแต่งตั้งข้าพระ-

องค์เป็นปุโรหิต.

เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจักแต่งตั้งท่านให้เป็นใหญ่ แล้วทำพี่ชาย

ของท่านให้เป็นน้องชาย.

พระองค์จักทำได้อย่างไร ?

เราทำได้โดยมุสาวาท.

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ไม่ทรงทราบดอกหรือ แต่

ไรมา พี่ชายของข้าพระองค์มีวิชาประกอบด้วยธรรมน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

เขาจักลวงพระองค์ด้วยอุบายที่ไม่จริง เช่นจักทำเป็นเทพบุตรสี่องค์หาย

ตัว จักทำกลิ่นหอมที่ฟุ้งจากพระวรกาย และพระโอฐให้เป็นเหมือนกลิ่น

เหม็น จักทำพระองค์ให้เป็นเหมือนพลัดตกจากอากาศ ยืนอยู่บนพื้นดิน

พระองค์จักเป็นเหมือนลูกแผ่นดินสูบที่นั้น พระองค์จักไม่อาจดำรง

พระวาจาอยู่ได้.

ท่านอย่าได้เข้าใจอย่างนั้นเลย เราสามารถทำเช่นนั้นได้.

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์จักทรงทำเมื่อไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 539

นับแต่นี้ไปเจ็ดวัน.

พระราชดำรัสนั้นได้แพร่สะพัดไปทั่วพระนคร.

มหาชนเกิดปริวิตกขึ้นอย่างนี้ว่า ได้ยินว่าพระราชาจักทรงทำ

มุสาวาท ทำเด็กให้เป็นใหญ่ จักให้ผู้ใหญ่คืนฐานันดรให้แก่เด็ก ขึ้น

ชื่อว่ามุสาวาทเป็นอย่างไรหนอ มีสีเขียว หรือสีเหลืองเป็นต้น สีอะไร

กันแน่. เขาว่ากันว่า ในครั้งนั้น เป็นเวลาที่โลกพูดความสัตย์ คน

ทั้งหลายจึงไม่รู้ว่า มุสาวาทนี้เป็นอย่างนี้.

แม้บุตรปุโรหิต พอได้ฟังคำนั้นแล้ว ก็ไปบอกบิดาว่า พ่อเขา

ว่า พระราชาจักทำมุสาวาท ทำพ่อให้เป็นเด็ก แล้วพระราชทาน

ฐานันดรของฉันให้แก่อา. ปุโรหิตกล่าวว่า ลูกรัก ถึงพระราชาทรงทำ

มุสาวาท ก็ไม่อาจพระราชทานฐานันดรของเราแก่อาเจ้าได้. ก็พระ-

ราชาจักกระทำมุสาวาทในวันไหน ?

ได้ยินว่า แต่วันนี้ไปเจ็ดวัน.

ถ้าเช่นนั้น เมื่อถึงวันนั้น เจ้าพึงบอกแก่เรา.

ครั้นถึงวันที่เจ็ด มหาชนคิดว่า จักดูมุสาวาท จึงไปประชุมกัน

ที่พระลานหลวง ผูกเตียงซ้อน ๆ กันขึ้นยืนดู. กุมารก็ได้ไปบอกแก่

บิดา. พระราชแต่งพระองค์แล้ว เสด็จออกจากประทับอยู่ในอากาศหน้า

พระลานหลวงท่ามกลางมหาชน. พระดาบสได้เหาะมาแล้วลาดหนังรอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 540

นั่งตรงพระพักตร์พระราชา นั่งบัลลังก์ในอากาศ ทูลถามว่า ดูก่อน

มหาบพิตร ได้ยินว่าพระองค์ประสงค์จะทำมุสาวาท ทำเด็กให้เป็นผู้

ใหญ่ แล้วพระราชทานฐานันดรแก่เขา จริงหรือ ? พระราชาตรัสว่า

ถูกแล้ว ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าได้กล่าวอย่างนี้จริง. ลำดับนั้น พระ-

ดาบสเมื่อจะกล่าวสอนพระราชา ได้กล่าวว่า ดูก่อนมหาบพิตร ขึ้นชื่อว่า

มุสาวาทเป็นบาปหนัก กำจัดคุณความดี ทำให้เกิดในอบายทั้ง ๔ ธรรมดา

พระราชา เมื่อทรงทำมุสาวาท ย่อมชื่อว่าทำลายธรรม ครั้นทำลาย

ธรรมเสียแล้ว ย่อมได้ชื่อว่าทำลายตนนั่นเอง ดังนี้แล้วกล่าวคาถาที่ ๑

ความว่า :-

เชฏฐาปจายนธรรม อันบุคคลใดทำลาย

แล้ว ย่อมทำลายบุคคลนั้นเสียโดยแท้ เชฏ-

ฐาปจายนธรรนอันบุคคลใดไม่ทำลายแล้ว ย่อม

ไม่ทำลายบุคคลนั้นสักน้อยหนึ่ง เพราะเหตุ

นั้นแล พระองค์ไม่ควรทำลายเชฏฐาปจายน-

ธรรมเลย เชฏฐาปจายนธรรมที่พระองค์ทำลาย

แล้ว อย่าได้กลับมาทำลายพระองค์เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม พระดาบสหมายถึงเชฏฐา-

ปจายนธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 541

พระดาบสเมื่อจะกล่าวสอนพระราชาให้ยิ่งขึ้นไปอีก. จึงกล่าวว่า

ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าพระองค์จักทรงทำมุสาวาทไซร้ ฤทธิ์ ๔ อย่างของ

พระองค์ก็จักอันตรธานไป ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๒ ความว่า :-

เมื่อพระองค์ยังตรัสคำกลับกลอกอยู่

เทวดาทั้งหลายก็จะพากันหลีกหนีไปเสีย พระ-

โอษฐ์จักมีกลิ่นบูดเน่าเหม็นฟุ้งไป ผู้ใดรู้อยู่

เมื่อถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งแก้ปัญหานั้น

ไปเสียอย่างอื่น ผู้นั้นย่อมพลัดพรากจากฐานะ

ของตน แล้วถูกแผ่นดินสูบ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปกฺกมนฺติ เทวตา ความว่า

พระดาบสกล่าวคำนี้ไว้ โดยประสงค์ว่า ดูก่อนมหาบพิตร ข้าพระองค์

ยังตรัสกลับกลอกอยู่ไซร้ เทพบุตรทั้ง ๔ องค์ ก็จักละทิ้งหน้าที่หลีกหนี

ไปเสีย.

บทว่า ปูติกญฺจ มุข วาติ ความว่า พระดาบสกล่าวว่า กลิ่น

บูดเน่า ทั้งสองคือทั้งทางพระโอฐ และทั้งพระวรกาย ของพระองค์จัก

ฟุ้งไปดังนี้หมายถึงพระราชา.

บทว่า สกฏฺานาว ธสติ ความว่า พระดาบสเมื่อจะแสดงว่า

ย่อมตกลงจากอากาศ แล้วถูกแผ่นดินสูบ. จึงกล่าวอยางนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 542

พระเจ้าอุปริจรราช ได้สดับโอวาทแล้ว มีพระหทัยกลัว ทอด.

พระเนตรดูโกรกลัมพกพราหมณ์. ลำดับนั้น โกรกลัมพกพราหมณ์

จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์อย่าทรงกลัวเลย ข้าพระ-

องค์ ได้กราบทูลเรื่องนี้แก่พระองค์ไว้ก่อนแล้ว มิใช่หรือ ? พระ-

ราชาถึงจะได้ทรงสดับคำของกปิลปุโรหิตแล้วก็ตาม แต่เพื่อจะรักษา

พระดำรัสของพระองค์ไว้ จึงได้ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเป็น

น้องชายโกรกลัมพกะเป็นพี่ชาย. ทันใดนั้น เทพบุตรทั้ง ๔ องค์กล่าว

ว่า พวกเราจักไม่อารักขาคนมุสาวาทเช่นท่าน แล้วได้ทิ้งพระขรรค์ไว้

ใกล้บาทพระราชา อันตรธานไปพร้อมกันที่พระราชาได้ตรัสมุสาวาท.

พระโอฐก็มีกลิ่นเหม็นเหมือนฟองไข่เน่าแตก พระวรกายก็มีกลิ่นเหม็น

เหมือนเวจกุฎีที่เปิดไว้ ฟุ้งตลบไป. พระราชาก็ตกจากอากาศ ประทับ

อยู่บนแผ่นดิน ฤทธิ์ทั้ง ๔ ได้เสื่อมไปแล้ว. ลำดับนั้น มหาปุโรหิตได้

กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระราชาผู้เป็นใหญ่ ขอพระองค์อย่าได้ทรง

กลัวเลย ถ้าพระองค์ตรัสสัจวาจาไซร้ ข้าพระองค์จักทำสิ่งทั้งปวงให้

กลับเป็นปกติแด่พระองค์ แล้วกล่าวคาถาที่ ๓ ความว่า :-

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส

สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราชวัง

ตามเดิมได้ ถ้ายังตรัสมุสาวาทอยู่ พระองค์ก็

จะดำรงอยู่ได้เพียงบนพื้นดิน ไม่สามารถจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 543

ลอยขึ้นสู่อากาศได้อีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภูมิย ติฏฺ บทว่า ข้าแต่พระ-

องค์ผู้สมมติเทพ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาวาทอยู่ พระองค์จะดำรงอยู่ได้

เพียงบนพื้นดิน ไม่สามารถลอยขึ้นสู่อากาศได้อีก.

แม้กปิลดาบสได้ทูลเตือนว่า จงดูเอาเถิดมหาบพิตร เพียงมุสา-

วาทครั้งแรกเท่านั้น ฤทธิ์ ๔ อย่างของพระองค์ก็อันตรธานไปแล้ว พระ-

องค์จงกำหนดดูเถิด แม้บัดนี้ ข้าพระองค์ก็อาจทำให้กลับเป็นปกติได้

ดังนี้ พระเจ้าอุปริจรราชนั้นตรัสว่า กปิลดาบสกล่าวอย่างนี้ ประสงค์

จะลวงท่านทั้งหลาย แล้วกล่าวมุสาวาทเป็นครั้งที่สอง ได้ถูกแผ่นดินสูบ

ลงไปแค่ข้อพระบาท. ลำดับนั้น พราหมณ์ได้กราบทูลพระราชาอีกว่า

ขอพระองค์จงทรงกำหนดดูเถิด แม้บัดนี้ ข้าพระองค์ก็อาจทำให้กลับ

เป็นปกติได้ พระเจ้าข้า ดังนี้แล้วกล่าวคาถานี้ ๔ ความว่า :-

พระราชาพระองค์ใดทรงทราบอยู่ ถูกเขา

ถามปัญหาแล้ว แกล้งทำมุสาวาท พยากรณ์

ปัญหานั้นไปเสียอย่างอื่น ในแว่นแคว้นของ

พระราชาพระองค์นั้น ฝนย่อมตกในเวลาไม่ใช่

ฤดูกาล ย่อมไม่ตกต้องตามฤดูกาล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 544

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส ความว่า พระราชาพระองค์

ใดทรงทราบอยู่ แสร้งกล่าวเท็จ พยากรณ์ปัญหาที่เขาถามแล้วไปเสีย

อย่างอื่น ในแว่นแคว้นของพระราชาพระองค์นั้น ฝนย่อมไม่ตกในเวลา

ที่ควรตก แต่ตกในเวลาที่ไม่ควรตก.

ลำดับนั้น กปิลดาบสทูลเตือนต่อไปอีกว่า มหาบพิตร ด้วยผล

แห่งมุสาวาท พระองค์ถูกแผ่นดินสูบไปแต่พระชงฆ์แล้ว ขอพระองค์

จงทรงกำหนดดูเถิด แล้วกล่าวคาถาที่ ๕ ความว่า :-

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส

สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราช-

วังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ตรัสมุสาวาทอยู่

ก็จะแผ่นดินสูบลงไปอีก.

พระเจ้าอุปริจรราช ได้ทรงทำมุสาวาทเป็นครั้งที่สามว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญท่านเป็นน้องชาย โกรกลัมพกะเป็นพี่ชายดังนี้แล้ว ถูก

แผ่นดินสูบลงไปแต่พระชานุ. ลำดับนั้น กปิลดาบสได้ทูลพระราชาอีก

ว่า ขอพระองค์จงทรงกำหนดดูเถิด มหาบพิตร แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถา

ความว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในทิศ พระ-

ราชาพระองค์ใดทรงทราบอยู่ ถูกเขาถามปัญหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 545

แล้ว แกล้งตรัสแก้ปัญหานั้นไปเสียอย่างอื่น

พระชิวหาของพระราชาพระองค์นั้น จะแตก

เป็นสองแฉกเหมือนลิ้นงู.

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ข้าพระองค์ตรัส

สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราช.

วังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาวาทอยู่

ก็จะถูกแผ่นดินสูบลึกยิ่งลงไปอีก.

พระดาบสครั้นกล่าวคาถาสองคาถานี้แล้ว ทูลว่า แม้จนบัดนี้

พระองค์ก็ยังไม่อาจที่จะกลับทำให้เป็นปกติได้. พระราชามิได้ถือเอา

ถ้อยคำของพระดาบสนั้น ยังทรงทำมุสาวาทเป็นครั้งที่ ๔ ว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ ท่านเป็นน้องชาย โกรกลัมพกะเป็นพี่ชาย ดังนี้แล้ว ถูก

แผ่นดินสูบลงไปแค่บั้นพระองค์. ลำดับนั้น ปิลพราหมณ์ได้ทูลพระ-

ราชาว่า ขอพระองค์จงทรงกำหนดดูเถิดมหาบพิตร แล้วกล่าวคาถา ๒

คาถา ความว่า :-

ข้าแต่พระราชาผู้เป็นใหญ่ในทิศ พระ-

ราชาพระองค์ใดทรงทราบอยู่ เมื่อถูกถามปัญหา

แล้ว แกล้งตรัสแก้ปัญหานั้นไปเสียอย่างอื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 546

พระชิวหาของพระราชาพระองค์นั้น จะไม่มี

เหมือนปลาฉะนั้น.

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส

สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราช-

วังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาวาทอยู่

ก็จะถูกแผ่นดินสูบลึกยิ่งลงไปกว่านี้อีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มจฺฉสฺเสว ความว่า พระชิวหา

ของพระราชานั้นจะไม่มี คือพระราชาที่กล่าวมุสาวาท จะเกิดในชาติ

ใดก็ตาม จะเป็นใบ้อาจทำเสียงได้เหมือนปลา.

พระเจ้าอุปริจราช ได้ทำมุสาวาทเป็นครั้งที่ ๕ ว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ ท่านเป็นน้องชาย โกรกลัมพกะเป็นพี่ชาย ดังนี้ แล้วถูก

แผ่นดินสูบลงไปแค่พระนาภี. ลำดับนั้นกปิลดาบส ได้ทูลพระราชาอีก

ว่า ขอพระองค์จงทรงกำหนดดูเถิด มหาบพิตร แล้วกล่าวคาถา ๒

คาถาความว่า :-

พระราชาพระองค์ใด ทรงทราบอยู่ เมื่อ

ถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งตรัสแก้ปัญหานั้นไป

เสียอย่างอื่น พระราชาพระองค์นั้น จะมีแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 547

พระธิดาเท่านั้นมาเกิด หามีพระราชโอรสมา

เกิดในราชสกุลไม่.

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส

สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราช-

วังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาวาทอยู่

ก็จะถูกแผ่นดินสูบลึกไปยิ่งกว่านี้อีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ถิโยว ความว่า พระราชาผู้มีปกติ

ตรัสมุสาวาทนั้น จะเกิดในภพใดก็ตาม จะมีแต่พระธิดาเท่านั้น หามี

พระราชโอรสไปเกิดไม่.

พระราชามิได้ทรงเชื่อถือถ้อยคำ ตรัสมุสาวาทเช่นนั้นอีกเป็น

ครั้งที่ ๖ ถูกแผ่นดินสูบลงไปแต่พระถัน. กปิลดาบสได้ทูลพระราชาอีก

ว่า ขอพระองค์จงทรงกำหนดดูเถิด มหาบพิตร แล้วกล่าวคาถา ๒

คาถาความว่า :-

พระราชาพระองค์ใด ทรงทราบอยู่ เมื่อ

ถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งตรัสแก้ปัญหานั้น

ไปเสียอย่างอื่น พระราชาพระองค์นั้น จะไม่มี

พระราชโอรส ถ้ามีก็จะพากันหลีกหนีไป ยัง

ทิศน้อยทิศใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 548

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส

สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราช-

วังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาวาทอยู่

จะถูกแผ่นสูบลึกยิ่งกว่านั้นลงไปอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกฺกมนฺติ ความว่า ถ้าพระราชา

ผู้มีปกติตรัสคำเท็จ มีพระราชโอรสไซร้ พระราชโอรสเหล่านั้น ก็จะ

ไม่ทำอุปการะแก่พระชนกชนนี จะพากันหลีกหนีไปยังทิศน้อยทิศใหญ่.

พระเจ้าอุปริจะราชมิได้ทรงเชื่อถือถ้อยคำของพระดาบส เพราะ

โทษคือการคบคนชั่วเป็นมิตร ได้ทรงคำมุสาวาทเช่นนั้นอีกเป็นครั้งที่

๗. ทันใดนั้น แผ่นดินได้แยกออกเป็นสองช่อง. มีเปลวไฟจากอเวจี

พลุ่งขึ้นไหม้พระราชา. มีสัมพุทธคาถา ๒ คาถา ดังต่อไปนี้ :-

พระเจ้าเจติยราชนั้น แต่ก่อนเคยเสด็จ

เที่ยวไปได้ในอากาศ ภายหลังถูกพระฤๅษีสาบ

แล้ว เสื่อมจากอำนาจ ถึงกำหนดเวลาของตน

แล้ว ก็ถูกแผ่นดินสูบ.

เพราะเหตุนั้นแหละ บัณฑิตทั้งหลายจึง

ไม่สรรเสริญฉันทาคติ บุคคลไม่พึงเป็นผู้มีจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 549

ถูกฉันทาคติเป็นต้นประทุษร้าย พึงกล่าวแต่

คำสัตย์เท่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ส ราชา ความว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พระเจ้าเจติยราชนั้น แต่ก่อนเคยสัญจรไปได้ในอากาศ ครั้น

ภายพลังถูกพระฤาษีสาบแล้วก็เสื่อมอำนาจถึงกำหนดเวลา คือกาลวิป-

โยคของตน ก็ถูกแผ่นดินสูบ. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะพระ-

เจ้าเจติยราชลุอำนาจอคติมีฉันทาคติเป็นต้น จึงต้องไปอเวจี เหตุนั้น.

บทว่า อทุฏฺจิตฺโต ความว่า ผู้ที่มีจิตไม่ถูกฉันทาคติเป็นต้นประทุษ

ร้าย พึงกล่าว คำสัตย์เท่านั้น.

มหาชนพากันตกใจกลัวว่า พระเจติยราชด่าพระฤาษี กล่าว

มุสาวาท ตกนรกอเวจีแล้ว. พระโอรส ๕ องค์ ของพระเจ้าเจติยราช

พากันหมอบลงที่เท้าของพระดาบสกล่าวว่า ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของพวก

ข้าพเจ้าเถิด. พระดาบสทูลว่า พระชนกของพระองค์ยังธรรมให้พินาศ

กล่าวมุสาวาท ด่าพระฤาษีจึงตกนรกอเวจี ขึ้นชื่อว่าธรรมนี้ อันบุคคล

ทำลายแล้ว ย่อมทำลายบุคคลนั้น พวกพระองค์ไม่สามารถจะพากัน

อยู่ในที่นี้ได้ ดังนี้แล้ว เรียกพระโอรสองค์ใหญ่มาทูลว่า ขอพระองค์

จงออกทางประตูด้านทิศปราจีน เสด็จตรงไปนั่นแหละ เมื่อเสด็จไปจัก

พบช้างแก้วเผือกล้วน พระองค์จงสร้างพระนครอยู่ ณ ที่นั้น ตามสัญ-

ญาณนั้น พระนครนั้นจักมีชื่อว่า หัตถิปุระ. เรียกพระโอรสที่สองมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 550

ทูลว่า พระองค์จงออกทางประตูด้านทิศทักษิณ เสด็จตรงไปนั่นแหละ

เมื่อเสด็จไปจะพบม้าแก้วขาวล้วน พระองค์จงสร้างพระนครอยู่ ณ ที่

นั้น ตามสัญญาณนั้น พระนครนั้นจักมีชื่อว่า อัสสปุระ. แล้วเรียก

พระโอรสองค์ที่สามมาทูลว่า พระองค์จงเสด็จออกทางประตูด้านทิศปัจ-

ฉิม เสด็จตรงไปนั่นแหละ เมื่อเสด็จไปจักพบไกรสรราชสีห์ พระองค์

จงสร้างพระนครอยู่ ณ ที่นั้น ตามสัญญาณนั้น พระนครนั้นจักมีชื่อว่า

สีหปุระ. แล้วเรียกพระโอรสองค์ที่สี่มาทูลว่า พระองค์จงเสด็จออกทาง

ประตูด้านทิศอุดร เสด็จตรงไปนั่นแหละ เมื่อเสด็จไปจักพบจักรบัญชร

ที่ทำด้วยแก้วล้วน พระองค์จงสร้างพระนครอยู่ ณ ที่นั้น ตามสัญญาณ

นั้น พระนครนั้นจักมีชื่อว่า อุตตรบัญชร. แล้วเรียกพระโอรสองค์ที่

ห้ามาทูลว่า พระองค์ไม่อาจจะอยู่ในที่นี้ได้ จงสร้างพระสถูปใหญ่ไว้

ในพระนครนี้ แล้วเสด็จออกตรงไปทางทิศพายัพ เมื่อเสด็จไปจักพบ

ภูเขาของลูก โอนยอดเข้ากระทบกัน ส่งเสียงดังว่า ทัทธะ. พระองค์

จงสร้างพระนครอยู่ ณ ที่นั้น ตามสัญญาณนั้น พระนครนั้นจักมีชื่อว่า

ทัทธปุระ. พระราชโอรสทั้งห้าองค์ได้ไปสร้างนครอยู่ในที่นั้น ๆ ตาม

สัญญาณนั้น.

พระบรมศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายมิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัตทำมุสาวาท

แล้วถูกแผ่นดินสูบ แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตก็ทำมุสาวาท แล้วถูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 551

แผ่นดินสูบเหมือนกัน ดังนี้แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระเจ้าเจติยราช

ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเทวทัต ส่วนกปิลพราหมณ์ ได้มาเป็นเรา

ผู้ตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาเจติยราชชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 552

๗. อินทริยชาดก

ว่าด้วยดี ๔ ชั้น

[๑๑๗๑] ดูก่อนนารทะ บุรุษใดตกอยู่ในอำนาจ

แห่งอินทรีย์ เพราะกาม บุรุษนั้นละโลกทั้งสอง

ไปแล้ว ย่อมเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น แม้

เมื่อยังเป็นอยู่ ก็ย่อมซูบซีดไป.

[๑๑๗๒] ทุกข์เกิดในลำดับแห่งสุข สุขเกิดใน

ลำดับแห่งทุกข์ ส่วนเธอนั้นประสบทุกข์มาก

กว่าสุข เธอจงหวังความสุข อันประเสริฐเถิด.

[๑๑๗๓] ในเวลาเกิดความลำบาก บุคคลใดอดทน

ความลำบากได้ บุคคลนั้นย่อมไม่เป็นไปตาม

ความลำบาก บุคคลนั้นเป็นนักปราชญ์ ย่อม

บรรลุสุขปราศจากเครื่องประกอบ อันเป็นที่

สุดแห่งความลำบาก.

[๑๑๗๔] เธอไม่ควรเคลื่อนจากธรรม เพราะ

ปรารถนากามทั้งหมด เพราะเหตุใช่ประโยชน์

เพราะเหตุเป็นประโยชน์ ถึงเธอจะทำสุขใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 553

ฌานที่สำเร็จแล้วให้นิราศไป ก็ไม่ควรเคลื่อน

จากธรรมเลย.

[๑๑๗๕] ความขยันของคฤหบดี ผู้อยู่ครองเรือน

ดีชั้นหนึ่ง การแบ่งปันโภคทรัพย์ให้แก่สมณ-

พราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมแล้วบริโภคด้วยตน

เอง ดีชั้นสอง เมื่อได้ประโยชน์ไม่ระเริงใจ

ด้วยความมัวเมา ดีชั้นสาม เมื่อเวลาเสื่อม

ประโยชน์ ไม่มีความลำบากใจ ดีชั้นสี่.

[๑๑๗๖] เทวิลดาบสผู้สงบระงับ ได้พร่ำสอนความ

เป็นบัณฑิตกะนารทดาบสนั้น ด้วยคำมีประ-

มาณเท่านี้ว่า บุคคลผู้เลวกว่าผู้ที่ตกอยู่ในอำ-

นาจอินทรีย์ ไม่มีเลย.

[๑๑๗๗] ข้าแต่พระเจ้าสีวิราช พระองค์เกือบจะ

ถึงความพินาศอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูทั้งหลาย

เทียว เหมือนข้าพระองค์ไม่กระทำธรรมที่ควร

กระทำ ไม่ศึกษาศิลปวิทยา ไม่ทำความขวน

ขวาย เพื่อให้เกิดโภคทรัพย์ ไม่ทำอาวาห

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 554

วิวาหะ. ไม่รักษาศีล ไม่กล่าววาจาอ่อนหวาน

ทำยศเหล่านี้ให้เสื่อมไป จึงมาบังเกิดเป็น

เปรตเพราะกรรมของตน.

[๑๑๗๘] ข้าพระองค์นั้นปฏิบัติชอบแล้ว พึงยัง

โภคะให้เกิดขึ้น เหมือนบุรุษชนะแล้วพันคน

ไม่มีพวกพ้องที่พึ่งอาศัย ล่วงเสียจากอริยธรรม

มีอาการเหมือนเปรต ฉะนั้น.

[๑๑๗๙] ข้าพระองค์ทำสัตว์ทั้งหลาย ผู้ใคร่ต่อ

ความสุข ให้ได้รับความทุกข์ จึงได้มาถึงส่วน

อันนี้ ข้าพระองค์นั้นดำรงอยู่ เหมือนบุคคล

อันกองถ่านไฟล้อมรอบด้าน ย่อมไม่ได้ประสบ

ความสุขเลย.

จบ อินทริยชาดกที่ ๗

อรรถกถาอินทริยชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ

ภิกษุถูกภรรยาเก่าประเล้าประโลม จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า โย

อินฺทฺริยาน ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 555

ได้ยินว่า ในพระนครสาวัตถี มีกุลบุตรคนหนึ่งฟังพระธรรม

เทศนาของพระศาสดาแล้ว คิดว่า ผู้อยู่ครองเรือนไม่อาจประพฤติพรหม-

จรรย์ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว เราจักบวชในศาสนาที่นำสัตว์ออกจาก

ทุกข์ แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ ดังนี้แล้วได้มอบสมบัติในเรือนให้แก่บุตร

และภรรยา แล้วทูลขอบรรพชากะพระศาสดา. แม้พระบรมศาสดาก็

รับสั่งให้บรรพชาแก่กุลบุตรนั้น ครั้นบวชเป็นภิกษุแล้ว ไปบิณฑบาต

กับอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ อาสนะในเรือนแห่งตระกูลก็ดี ในโรงฉัน

ก็ดี ไม่ถึงภิกษุนั้น เพราะตนเป็นนวกะและมีภิกษุมากด้วยกัน. ตั่งหรือ

แผ่นกระดานย่อมถึงในที่สุดท้ายพระสังฆนวกะ. แม้อาหารที่จะพึงได้ ก็

ล้วนป่นเป็นแป้งและเป็นน้ำข้าวที่ติดอยู่ตามข้างกระบวยบ้าง เป็นข้าวยาคู

บ้าง ของเคี้ยวที่บูดที่แห้งบ้าง เป็นข้าวตังข้าวตากบ้าง ไม่พออิ่ม. ภิกษุ

นั้นถือเอาอาหารที่ตนไว้แล้ว ไปสำนักของภรรยาเก่า ภรรยาเก่าไหว้

แล้วรับบาตรของภิกษุนั้น เอาภัตตาหารออกจากบาตรทิ้งเสีย แล้วถวาย

ข้าวยาคูภัตสูปพยัญชนะที่ตนตกแต่งไว้ดีแล้ว. ภิกษุแก่นั้นติดรสอาหาร

ไม่สามารถจะละภรรยาเก่าได้. ภรรยาเก่าคิดว่า เราจักทดลองภิกษุแก่นี้

ว่า จะติดรสอาหารหรือไม่. อยู่มาวันหนึ่ง นางได้ให้มนุษย์ชาวชนบท

อาบน้ำ ทาดินสีพองนั่งอยู่ในเรือน บังคับคนใช้อื่นอีก ๒, ๓ คน

ให้นำน้ำและข้าวมาให้มนุษย์ชนบทนั้นคนละนิดละหน่อย แล้วก็พากัน

นั่งเคี้ยวกินอยู่. นางได้ให้คนใช้ไปจับโคเข้าเทียมเกวียนไว้เล่มหนึ่งที่

ประตูเรือน ส่วนตัวเองก็หลบไปนั่งทอดขนมอยู่ที่ห้องหลังเรือน ลำดับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 556

นั้น ภิกษุแก่มายืนอยู่ที่ประตู. ชายแก่คนหนึ่งเห็นภิกษุนั้นกล่าวว่า

แน่ะแม่เจ้า พระเถระองค์ มายืนอยู่ที่ประตู. นางตอบไปว่า ท่านช่วย

ไหว้นิมนต์ให้ท่านไปข้างหน้าเถิด. ชายแก่กล่าวหลายครั้งว่า นิมนต์

ไปข้างหน้าเถิดเจ้าข้า ก็ยังเห็นท่านยืนเฉยอยู่ จึงได้บอกกะภรรยาเก่าว่า

แน่ะแม่เจ้า พระเถระไม่ยอมไป. ภรรยาเก่าไปเลิกม่านมองดู กล่าวว่า

อ้อ พระเถระพ่อของเด็กเรา จึงออกไปไหว้แล้วรับบาตรนิมนต์ให้เข้า

ไปในเรือนแล้วให้ฉัน ครั้นฉันเสร็จ นางกล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้า จง

ปรินิพพานอยู่ในที่นี่แหละ ตลอดกาลเท่านี้ ดิฉันมิได้ยึดถือตระกูลอื่น

เลย ก็เรือนที่ปราศจากสามี จะดำรงการครองเรือนอยู่ด้วยดีไม่ได้

ดิฉันจะยึดถือตระกูลอื่นไปอยู่ชนบทที่ไกล ขอพระผู้เป็นเจ้าอย่าได้ประ-

มาท ถ้าดิฉันมีโทษอยู่ไซร้ ขอได้โปรดอดโทษนั้นเสียเถิด. หัวใจของ

ภิกษุแก่ได้เป็นเหมือนถูกฉีกออก. ลำดับนั้น ภิกษุแก่ได้กล่าวกะภรรยา

เก่าว่า เราไม่อาจจะละเจ้าไปได้ เจ้าอย่าไปเลย ฉันจักสึกละ เจ้าจงส่ง

ผ้าสาฎกไปให้ฉันที่โน้น เราไปมอบบาตรจีวรแล้วจักมา. นางรับคำแล้ว.

ภิกษุแก่ไปวิหารให้อาจารย์อุปัชฌาย์รับบาตรจีวร เมื่ออาจารย์และ

อุปัชฌาย์ถามว่า อาวุโส เหตุไรเธอจึงทำอย่างนี้ จึงตอบว่า กระผมไม่

อาจละภรรยาเก่าได้ กระผมจักสึก ลำดับนั้น อาจารย์และอุปัชฌาย์จึง

นำภิกษุนั้นผู้ไม่ปรารถนาจะบวชอยู่ ไปสู่สำนักพระศาสดา เมื่อพระ-

ศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอนำเอาภิกษุผู้ไม่ปรารถนาจะ

บวชอยู่นี้มาทำไม ? จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้กระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 557

สันอยากจะสึก พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า

ได้ยินว่าเธอกระสันจะสึกจริงหรือ เมื่อภิกษุนั้นทราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า

ตรัสถามว่า ใครทำให้เธอกระสัน เมื่อภิกษุทราบทูลว่า ภรรยาเก่า

พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุมิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่หญิงนั้น

ทำความพินาศให้แก่เธอ แม้ในกาลก่อนเธอก็เสื่อมจากฌานสี่ ถึงความ

ทุกข์ใหญ่ เพราะอาศัยหญิงนั้น แต่ได้อาศัยเราจึงพ้นจากทุกข์กลับได้

ฌานที่เสื่อมเสียไปแล้ว ดังนี้แล้ว ทรงน่าเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดัง

ต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติอยู่ในพระ-

นครพาราณสี พระโพธิสัตว์อาศัยปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตนั้น เกิด

ในครรภ์นางพราหมณีภรรยาปุโรหิตนั้น. ในวันที่พระโพธิสัตว์เกิด

บรรดาอาวุธที่มีอยู่ทั่วพระนครลุกโพลงขึ้น เพราะเหตุนั้นญาติทั้ง

หลาย จึงตั้งชื่อพระโพธิสัตว์ว่า โชติปาละ. โชติปาลกุมารนั้นครั้น

เจริญวัยแล้ว เรียนศิลปะทุกอย่างในเมืองตักกศิลา แล้วกลับมาแสดง

ศิลปะแก่พระราชา ต่อมาได้ละอิสริยยศเสียไม่ให้ใคร ๆ รู้ หนีออก

ทางอัคคทวาร เข้าป่าบวชเป็นฤาษีอยู่ในอาศรม ป่าไม้มะขวิดที่ท้าวสักก-

เทวราชเนรมิตรถวาย ทำฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว. พระฤๅษีหลาย

ร้อยห้อมล้อมเป็นบริวาร พระโชติปาลฤๅษีผู้อยู่ที่อาศรมนั้น. อาศรม

นั้นได้เป็นมหาสมาคม มีลูกศิษย์ชั้นหัวหน้า ๗ องค์ องค์ที่ ๑ ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 558

สาลิสสรฤาษี ได้ออกจากอาศรมป่าไม้มะขวิด ไปอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำสา-

โตทกา ในสุรัฏฐชนบท มีฤาษีหลายพันองค์เป็นบริวาร. องค์ที่ ๒

ชื่อเมณฑิสสรฤๅษี ไปอาศัยนิคมกลัมพมูลกะ อยู่ในแว่นแคว้นของ

พระเจ้า ปโชตกราช มีฤาษีหลายพันองค์เป็นบริวาร. องค์ที่ ๓ ชื่อ

บรรพตฤาษีไปอาศัยอฏวีชนบทแห่งหนึ่งอยู่ มีฤาษีหลายพันเป็นบริวาร

องค์ที่ ๔ ชื่อกาฬเทวิลฤาษี ไปอาศัยโขดศิลาแห่งหนึ่งอยู่ ณ ทักษิณาบท

ในแคว้นอวันตี มีฤาษีหลายพันเป็นบริวาร. องค์ที่ ๕ ชื่อกิสวัจฉฤๅษี

ไปอาศัยนครกุมภวดีของเจ้าทัณฑกี อยู่องค์เดียวในพระราชอุทยาน.

องค์ที่ ๖ พระดาบสอนุสิสสะ เป็นอุปัฏฐากอยู่กับพระโพธิสัตว์ องค์ที่

๗ ชื่อว่านารทฤๅษี เป็นน้องชายกาฬเทวิลฤาษี ไปอยู่ในถ้ำที่เร้นแห่ง

หนึ่ง ในระหว่างข่ายภูเขาอัญชนคิรี ในป่ามัชฌิมประเทศแต่องค์เดียว.

ก็ ณ ที่ใกล้ ๆ ภูเขาอัญชนคิรี มีนิคมแห่ง ๑ มีมนุษย์อยู่มา

ด้วยกัน. ในระหว่างภูเขาอัญชนคิรีกับนิคมมีแม่น้ำใหญ่ พวกมนุษย์

พากันไปประชุมที่แม่น้ำนั้นมาก. พวกนางวรรณทาสีรูปงามทั้งหลาย

เมื่อเล้าโลมผู้ชายก็พากันไปนั่งที่ฝั่งแม่น้ำ. พระนารทดาบสเห็นนาง ๑

เข้าในบรรดานางเหล่านั้น มีจิตปฏิพัทธิ์จึงเสื่อมจากฌาน ซูบชีดตกอยู่

ในอำนาจกิเลส นอนอดอาหารอยู่ ๗ วัน. ลำดับนั้น กาฬเทวิลดาบส

ผู้เป็นพี่ชายของนารทดาบสใคร่ครวญดู ก็รู้เหตุนั้น จึงเหาะมาแล้วเข้า

ไปในถ้ำที่เร้น. นารทดาบสเห็นพระกาฬเทวิลดาบส จึงถามว่า ท่านมา

ทำไม ? กาฬเทวิลดาบสตอบว่า ท่านไม่สบายเรามาเพื่อรักษาท่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 559

นารทดาบสจึงพูดข่มกาฬเทวิลดาบสด้วยมุสาวาทว่า ท่านพูดไม่ได้เรื่อง

กล่าวคำเหลาะแหละเปล่า ๆ กาฬเทวิลดาบสคิดว่า เราไม่ควรฟัง นารท-

ดาบสจึงไปนำดาบส ๓ องค์มา คือ สาลิสสรดาบส เมณฑิสสรดาบส

บรรพติสสรดาบส. นารทดาบสก็กล่าวข่มดาบสเหล่านั้นด้วยมุสาวาท.

กาฬเทวิลดาบสคิดว่า เราจักนำสรภังคดาบสมา จึงเหาะไปเชิญ

สรภังคดาบสมา. ท่านสรภังคดาบสครั้นมาเห็นแล้วก็รู้ว่า ตกอยู่ใน

อำนาจแห่งอินทรีย์ จึงถามว่า ดูก่อนนารทะ เธอตกอยู่ในอำนาจแห่ง

อินทรีย์กระมัง. เมื่อนารทดาบส พอได้ฟังถ้อยคำดังนั้น ก็ลุกขึ้นถวาย

อภิวาทกล่าวว่า ถูกแล้วท่านอาจารย์ ท่านสรภังคดาบสจึงกล่าวว่า ดู

ก่อนนารทะ ธรรมดาผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจอินทรีย์ ในอัตภาพนี้ก็ซูบชีด

เสวยทุกข์ ในอัตภาพที่สองย่อมเกิดในนรก ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๑

ความว่า :-

ดูก่อนนารทะ บุรุษใดตกอยู่ในอำนาจ

แห่งอินทรีย์ เพราะกาม บุรุษนั้นละโลกทั้ง ๒

ไปแล้ว ย่อมเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น แม้

เมื่อยังเป็นอยู่ ก็ย่อมซูบซีดไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย อินฺทฺริยาน ความว่า ดูก่อน

นารทะ บุรุษใดยึดถืออาการในรูปเป็นต้น ว่างามตกอยู่ในอำนาจแห่ง

อินทรีย์ ๖ ด้วยสามารถแห่งกิเลสกาม. บทว่า ปริจฺจชฺชุโภ ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 560

บุรุษนั้นละโลกทั้ง ๒ คือมนุษยโลก และเทวโลกเสีย ย่อมบังเกิดใน

อบายมีนรกเป็นต้น. บทว่า ชีวนฺเตว วิสุสฺสติ ความว่า เมื่อยังเป็น

อยู่ ก็ไม่ได้กิเลสวัตถุที่ตนปรารถนา ย่อมเหือดแห้งด้วยความโศกถึง

ทุกข์ใหญ่.

นารทดาบสได้ฟังดังนั้น จึงถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ขึ้นชื่อว่า

การเสพกาม ย่อมเป็นสุข แต่ท่านมากล่าวความสุขเช่นนี้ว่า เป็นทุกข์

ดังนี้ หมายถึงอะไร ? ลำดับนั้นท่านสรภังคดาบสได้กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น

เธอจงพึง แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ความว่า :-

ทุกข์เกิดในลำดับแห่งสุข สุขเกิดใน

ลำดับแห่งทุกข์ ส่วนเธอนั้นประสบทุกข์มา

กว่าสุข เธอจงหวังความสุข อันประเสริฐเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขสฺสานนฺตร ได้แก่ทุกข์คือนรก

อันเกิดขึ้นในลำดับแห่งกามสุข. บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่สุขที่เป็นทิพย์

สุขมนุษย์และสุขคือพระนิพพาน อันเกิดในลำดับแห่งความลำบาก คือ

ต้องรักษาศีล.

ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ ดูก่อนนารทะ สัตว์เหล่านี้ทำกาละ

ลงในสมัยที่เสพกาม ย่อมเกิดในนรกอันเป็นสถานที่มีทุกข์โดยส่วนเดียว

ส่วนผู้รักษาศีลและเจริญวิปัสสนาย่อมลำบาก เขาเหล่านั้นรักษาศีลด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 561

ความลำบากแล้ว ย่อมกลับได้ความสุขดังกล่าวแล้ว ด้วยผลแห่งศีล

อาศัยเหตุนี้เราจึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า โสสิ ปตฺโต ความว่า ดูก่อนนารทะ. เธอนั้น บัดนี้

ได้ทำฌานสุขให้พินาศเสียแล้วจึงถึงทุกข์ทางใจ ซึ่งอาศัยกามเป็นเหตุ

มากกว่าสุขนั้น. บทว่า ปาฏิกงฺขา ความว่า เธอจงทิ้งกิเลสทุกข์นี้เสีย

แล้วจำนง คือปรารถนาฌานสุขี่ประเสริฐคือสูงสุดนั้นแหละเถิด.

นารทดาบสกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ทุกข์นี้นั้นข้าพเจ้าไม่

อาจอดกลั้นได้. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวกะนารทดาบสว่า ดูก่อน

นารทะ ธรรมดาทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว บุคคลพึงอดกลั้นได้ดังนี้ แล้วกล่าว

คาถาที่ ๓ ความว่า :-

ในเวลาเกิดความลำบาก บุคคลใดอดทน

ความลำบากได้. บุคคลนั้นย่อมไม่เป็นไปตาม

ความลำบาก บุคคลนั้นเป็นนักปราชญ์ ย่อม

บรรลุสุขปราศจากเครื่องประกอบ อันเป็นที่

สุดแห่งความลำบาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาติวตฺตติ แปลว่า ย่อมไม่เป็น

ไปตาม. พระบาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 562

ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ดูก่อนนารทะ บุคคลใดในกาลเมื่อ

ความลำบากคือทุกข์ อันเป็นไปทางกายและทางจิตเกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้

ไม่ประมาท หาอุบายกำจัดความลำบากนั้นเสียได้ อดกลั้นต่อความ

ลำบากได้ ชื่อว่าไม่เป็นไปตามความลำบาก คือไม่เป็นไปในอำนาจความ

ลำบากนั้นใช้อุบายนั้น ๆ ครอบงำความลำบาก คือทำความลำบากนั้นให้

หมดไปได้ บุคคลนั้นเป็นนักปราชญ์ บรรลุความสุขที่ปราศจากอามิสคือ

สุขที่มีในที่สุดแห่งความลำบาก. หรือว่าเป็นผู้ไม่ลำบาก ย่อมประสบคือ

บรรลุถึง ซึ่งความสุขที่ปราศจากโยคะ ซึ่งเป็นที่สุขของความลำบากนั้น.

นารทดาบสกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ขึ้นชื่อว่ากามสุขเป็น

สุขสูงสุด ข้าพเจ้าไม่อาจละกามสุขนั้นได้. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึง

กล่าวกะนารทดาบสว่า ดูก่อนนารทะ ขึ้นชื่อว่าธรรม บุคคลไม่ควรให้

พินาศด้วยเหตุไร ๆ ก็ตาม ดังนี้แล้วกล่าวคาถาที่ ๔ ความว่า :-

เธอไม่ควรเคลื่อนจากธรรม เพราะ

ปรารถนากามทั้งหลาย เพราะเหตุใช่ประโยชน์

เพราะเหตุเป็นประโยชน์ ถึงเธอจะทำสุขใน

ฌานที่สำเร็จแล้วให้นิราศไป ก็ไม่ควรเคลื่อน

จากธรรมเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 563

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามาน กามา ได้แก่ เพราะความ

ใคร่กาม คือเพราะปรารถนาวัตถุกามทั้งหลาย. บทว่า นานตฺถา

นตฺถการณา ความว่า เธอไม่ควรเสื่อมจากธรรม เพราะเหตุใช่

ประโยชน์ และเพราะเหตุเป็นประโยชน์. บทว่า น กตญฺจ นิรกตฺวา

ความว่า ถึงเธอจะทำฌานสุขที่ทำจนสำเร็จแล้วให้นิราศไป.

ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ดูก่อนนารทะ เรอไม่ควรเคลื่อนจาก

ธรรม เพราะปรารถนาวัตถุกามเท่านั้นเลย คือ เมื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์

อย่างหนึ่งเกิดขึ้น ประสงค์จะกำจัดสิ่งมิใช่ประโยชน์นั้น ก็ไม่ควร

เคลื่อนจากธรรม เพราะมุ่งประโยชน์ คือเพราะประโยชน์อันเป็นต้น

เหตุ. อธิบายว่า ก็เธอสมควรเคลื่อนจากธรรม เพราะเหตุอันเป็น

ประโยชน์อย่างนี้ว่า ประโยชน์อย่างโน้นจะเกิดแก่เรา คือถึงเธอจะทำ

ฌานสุขที่ทำจนสำเร็จแล้วให้นิราศไป คือเสื่อมสิ้นไป ก็ยังไม่สมควร

เคลื่อนเสียจากธรรม.

เมื่อสรภังคดาบสแสดงธรรมด้วยคาถา ๔ คาถาอย่างนี้แล้ว

กาฬเทวิลดาบส เมื่อจะกล่าวสอนน้องชายของตน จึงกล่าวคาถาที่ ๕

ความว่า :-

ความขยันของคฤหบดี ผู้อยู่ครองเรือน

ดีชั้น ๑ การแบ่งปันโภคทรัพย์ให้แก่สมณ-

พราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมแล้วบริโภคด้วยตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 564

เอง ดีชั้น ๒ เมื่อได้ประโยชน์ไม่ระเริงใจ

ด้วยความมัวเมา ดีชั้น ๓ เมื่อเวลาเสื่อม

ประโยชน์ ไม่มีความลำบากใจ ดีชั้น ๔

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทกฺข คหปต ความว่า ดูก่อน

นารทะ. คฤหบดีผู้อยู่ครองเรือน ฉลาดไม่เกียจคร้านทำโภคะให้เกิด

ขึ้น ชื่อว่าขยันมั่นเพียร คือความเป็นผู้ฉลาด ข้อนี้ดีชั้น ๑. บทว่า

สวิภชฺชญฺจ โภชน ความว่า การแบ่งปันโภคะที่ให้เกิดแล้วด้วยความ

ลำบาก แก่สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติธรรม แล้วจึงบริโภค ข้อนี้ดีที่ ๒.

บทว่า อหาโส อตฺถลาเภสุ ความว่า เมื่ออิสริยยศอันยิ่งใหญ่เกิดขึ้นแล้ว

ก็ไม่ร่าเริงใจด้วยอำนาจความมัวเมา ได้แก่ปราศจากความระเริงใจ ข้อนี้

ดีที่ ๓. บทว่า อตฺถพฺยาปตฺติ ความว่า ก็เมื่อใดมีความเสื่อมประโยชน์

คือยศพินาศ เมื่อนั้นไม่มีความลำบากซบเซา ข้อนี้ดีที่ ๔.

ดูก่อนนารทะ เพราะเหตุนั้น เธออย่าเศร้าโศกไปเลยว่า ฌาน

ของเราเสื่อมไปแล้ว ถ้าเธอไม่ตกอยู่ในอำนาจของอินทรีย์ แม้ฌานของ

เธอที่เสื่อมแล้ว ก็จักกลับคืนเป็นปกติเหมือนเดิม.

พระศาสดา ผู้ตรัสรู้เองด้วยพระปัญญาอันยิ่ง ทรงทราบความที่

กาฬเทวิลดาบส กล่าวสอนนารทดาบสนั้น ตรัสพระคาถาที่ ๖ ความว่า :-

เทวิลดาบสผู้สงบระงับ ได้พร่ำความ

เป็นบัณฑิตกะนารทดาบสนั้น ด้วยคำมีประ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 565

มาณเท่านี้ว่า บุคคลผู้เลวกว่าผู้ที่ตกอยู่ในอำ-

นาจอินทรีย์ ไม่มีเลย.

พระคาถานั้น มีอรรถาธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวิลดาบส

ผู้สงบระงับ พร่ำสอนความเป็นบัณฑิตกะนารทดาบสนั้น ด้วยคำเท่านี้

ว่า ก็ผู้ใดตกอยู่ในอำนาจแห่งอินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งกิเลส คนอื่น

ที่จะเลวไปกว่าผู้นั้นมิได้มีสักนิดเลย.

ลำดับนั้น สรภังคศาสดาเรียกนารทดาบสนั้นมากล่าวว่า ดูก่อน

นารทะ เธอจะฟังคำนี้ก่อน ผู้ใดไม่ทำสิ่งที่ควรจะพึงทำก่อน ผู้นั้นย่อม

เศร้าโศกร่ำไร เหมือนมาณพที่เที่ยวไปในป่าฉะนั้น ดังนี้แล้วได้นำเอา

เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ในกาสีนิคมตำบล ๑ มีพราหมณ์มาณพคน ๑

รูปงาม สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง มีกำลังเท่าช้างสาร. พราหมณ์มาณพนั้น

คือว่า ประโยชน์อะไรที่เราจะทำกสิกรรมเป็นต้นเลี้ยงมารดา ประโยชน์

อะไรด้วยบุตรภรรยา ประโยชน์อะไรด้วยบุญมีทานเป็นต้นที่เราทำไว้

เราจะไม่เลี้ยงดูใคร ๆ จักไม่ทำบุญอะไร ๆ จักเข้าป่าฆ่าเนื้อต่าง ๆ เลี้ยงชีวิต

ดังนี้แล้ว จึงผูกสอดอาวุธ ๕ ชนิด มุ่งไปสู่ป่าหิมพานต์ ฆ่าเนื้อต่าง ๆ กิน

วัน ๑ ไปถึงเวิ้งภูเขาใหญ่ มีภูเขาห้อมล้อมรอบใกล้ฝั่งวิธินีนที ภายใน

หิมวันตประเทศ ฆ่าเนื้อแล้วกินเนื้อที่ย่างในถ่านเพลิงอยู่ ณ ที่นั้น.

มาณพนั้นคิดว่า เราจักมีเรี่ยวแรงอยู่เสมอไปไม่ได้ เวลาทุพพลภาพเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 566

จักไม่อาจเที่ยวไปในป่า บัดนี้เราจักต้อนเนื้อนานาชนิดเข้าเวิ้งภูเขาแล้ว

ทำประตูปิดไว้ เมื่อเข้าไปป่าไม่ได้เราจักได้ฆ่าเนื้อกินตามชอบใจ คิดดัง

นี้แล้วเขาก็ทำตามนั้น. ครั้นกาลล่วงไป กรรมของเขาถึงที่สุด ให้ผลเป็น

ทิฏฐธรรมเวทนีย์ทันตาเห็น คือมือเท้าของตนใช้ไม่ได้ เขาไม่อาจเดิน

และพลิกไปมาได้ กินของเคี้ยวของบริโภคอะไร ๆ ไม่ได้ น้ำก็ดื่มไม่ได้

ร่างกายเหี่ยวแห้ง เป็นมนุษย์เปรต ร่างกายแตกปริเป็นร่องริ้วเหมือน

แผ่นดินแตกระแหงในฤดูร้อนฉะนั้น. เขามีรูปร่างทรวดทรงน่าเกลียด

น่ากลัว เสวยทุกข์ใหญ่หลวง.

เมื่อเวลาล่วงผ่านไปนานด้วยอาการอย่างนี้ พระเจ้าสีวิราชใน

สีวิรัฐ ทรงพระดำริว่า เราจักเสวยเนื้อย่างในป่า จึงมอบราชสมบัติ

ให้อำมาตย์ทั้งหลายดูแลแทน พระองค์เหน็บอาวุธห้าอย่างเสด็จเข้าป่า

ฆ่าเนื้อ เสวยเนื้อเรื่อยมาจนลุถึงประเทศนั้นโดยลำดับ ทอดพระเนตร

เห็นบุรุษนั้นตกพระทัย ครั้นดำรงพระสติได้ จึงตรัสถามว่า พ่อมหา

จำเริญท่านเป็นใคร ? เขาตอบว่า นาย ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์เปรตเสวย

ผลกรรมที่ตนทำไว้ ก็ท่านเล่าเป็นใคร ?

เราคือพระเจ้าสีวิราช

พระองค์เสด็จมาที่นี้เพื่ออะไร ?

เพื่อเสวยเนื้อมฤค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 567

ลำดับนั้น มาณพนั้นจึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า แม้ข้า

พระองค์ก็มาด้วยเหตุนี้แหละ จึงเป็นมนุษย์เปรต แล้วทูลเรื่องทั้งหมด

โดยพิสดาร เมื่อจะกราบทูลความที่ตนเสวยทุกข์แด่พระราชา ได้กล่าว

คาถาที่เหลือ ความว่า :-

ข้าแต่พระเจ้าสีวิราช พระองค์เกือบจะ

ถึงความพินาศอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูทั้งหลาย

เทียว เหมือนข้าพระองค์ไม่กระทำกรรมที่ควร

กระทำ ไม่ศึกษาศิลปวิทยา ไม่ทำความขวน

ขวาย เพื่อให้เกิดโภคทรัพย์ ไม่ทำอาวาห

วิวาหะ ไม่รักษาศีล ไม่กล่าววาจาอ่อนหวาน

ทำยศเหล่านี้ให้เสื่อมไป จึงมาบังเกิดเป็น

เปรตเพราะกรรมของตน.

ข้าพระองค์นั้นปฏิบัติชอบแล้ว พึงยัง

โภคะให้เกิดขึ้น เหมือนบุรุษชนะแล้วพันคน

ไม่มีพวกพ้องที่พึ่งอาศัย ล่วงเสียจากอริยธรรม

มีอาการเหมือนเปรต ฉะนั้น.

ข้าพระองค์ทำสัตว์ทั้งหลาย ผู้ใคร่ต่อ

ความสุข ให้ได้รับความทุกข์ จึงได้มาถึงส่วน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 568

อันนี้ ข้าพระองค์นั้นดำรงอยู่ เหมือนบุคคล

อันกองถ่านไฟล้อมรอบด้าน ย่อมไม่ได้ประสบ

ความสุขเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมิตฺตานว หตฺถตฺถ ความว่า

พระองค์เกือบจะมาถึงซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ คือความพินาศในมือของพวก

อมิตร.

มาณพเรียกพระราชาว่า สีวิ ข้าแต่พระเจ้าสีวิราช. บทว่า

ปปฺโปติ มามิว ความว่า เหมือนดังข้าพระองค์ต้องประสบบาปกรรม.

อธิบายว่า ต้องถึงความพินาศด้วยกรรมของตนเอง. บทว่า กมฺม ได้แก่

กิจกรรมอันยังอาชีพให้สำเร็จ มีกสิกรรมเป็นต้นเป็นประเภท. บทว่า

วิชฺช ได้แก่ศิลปะ มีศิลปะในเพราะช้างเป็นต้น ซึ่งมีประการต่าง ๆ

กัน. บทว่า ทกฺเขยฺย ได้แก่ความเป็นผู้ฉลาดด้วยการยังโภคะให้เกิดขึ้น

มีประการต่าง ๆ บทว่า วิวาห ความว่า ไม่ทำอาวาหมงคลและวิวาห-

มงคล. บทว่า สีลมทฺทว ได้แก่ศีลมีอย่าง ๕ และความเป็นผู้มีวาจา

อ่อนหวาน มีกัลยาณมิตรผู้มุ่งประโยชน์สามารถช่วยห้ามการทำบาป

ก็ข้อนั้นและท่านหมายเอาว่า มัททวะในคาถานี้ บทว่า เอเตว ยเส

หาเปตฺวา ความว่า ทำโลกธรรมอันเป็นเหตุให้ถึงยศเหล่านี้มีประมาณ

เท่านี้ให้เสื่อมไป. บทว่า นิพฺพตฺโต เสหิ กมฺเมหิ ความว่า เกิด

เป็นมนุษย์เปรตด้วยกรรมของตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 569

ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์ไม่

กระทำกรรมที่ควรกระทำอันเป็นเหตุให้ถืออิสริยยศในโลกนี้ ไม่ศึกษา

ศิลปวิทยา ไม่ขวนขวายยังโภคะให้เกิดโดยอุบาย ไม่ทำอาวาหวิวาหะ

ไม่รักษาศีลไม่คบกัลยาณมิตรผู้สามารถห้ามไม่ให้ทำชั่ว ยังโลกธรรมอัน

ถึงการนับว่ายศ เพราะเป็นเหตุให้ได้ยศเหล่านี้ คือมีประมาณเท่านี้ให้

เสื่อมเสียไป คือละทิ้งเสีย เข้าไปสู่ป่านี้จนเกิดเป็นมนุษย์เปรตในบัดนี้

ด้วยบาปกรรมอันตนทำไว้เอง. บทว่า สหสฺสชีโนว ความว่า เหมือนมี

บุรุษได้ชนะแล้วพันคน. และมีอรรถาธิบายว่า ถ้าข้าพระองค์ปฏิบัติชอบ

ทำโภคะให้เกิดขึ้นมีชัยชนะ. ด้วยโภคสมบัติหลายพันเหล่านั้น ดังนี้บ้าง.

บทว่า อปรายโน ความว่า ไม่มีพวกพ้องที่พึ่งอาศัย. บทว่า อริยธมฺมา

ความว่า ก้าวล่วงจากสัปปุริสธรรม. บทว่า ยถา เปโต ความว่า ถึง

ยังมีชีวิตอยู่ ก็เหมือนตายแล้วเกิดเป็นเปรต อธิบายว่า ข้าพระองค์

กลายเป็นมนุษย์เปรต. บทว่า สุขกาเม ทุกฺขาเปตฺวา ความว่า ข้า

พระองค์ได้ทำสัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ต่อความสุข ให้ได้รับความทุกข์ ปาฐะ-

เป็นสุขกาโม ก็มี ความก็ว่า ข้าพระองค์ปรารถนาความสุขด้วยตนเอง

แต่ยังผู้อื่นให้ได้รับความทุกข์. บทว่า อาปนฺโนสฺมิ ปท อิม ความว่า

ข้าพระองค์จึงถึงส่วนอันนี้ คือเห็นปานนี้. ปาฐะว่า ปถ ดังนี้ ก็มี ความ

ก็ว่า ข้าพระองค์ต้องมาถึงอัตภาพอันเป็นครองแห่งทุกข์นี้ . บทว่า ิโต

ภาณุมกาสิว ความว่า ไฟท่านเรียกว่า ภาณุมา คือมาณพกราบทูลว่า

ข้าพระองค์เป็นราวกะว่า มีกองถ่านเพลิงรายรอบข้าง ถูกความเร่าร้อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 570

ใหญ่ที่ตั้งขึ้นในร่างกายเผาผลาญอยู่ ไม่ได้ประสบความสุขกายสุขใจเลย.

ก็มาณพนั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่

พระมหาราชเจ้า ข้าพระองค์ประสงค์ความสุข แต่ทำผู้อื่นให้ได้รับความ

ทุกข์ จึงเป็นมนุษย์เปรตในปัจจุบันทันตาเห็น เพราะฉะนั้นขอพระองค์

อย่าทรงทำกรรมชั่วเลย จงเสด็จไปพระนครของพระองค์ ทรงบำเพ็ญ

บุญมีให้ทานเป็นต้นเถิด. พระเจ้าสีวิราชได้ทรงกระทำตามนั้น ทรง

บำเพ็ญทางไปสู่สวรรค์.

สรภังคศาสดา นำเรื่องนี้มาแสดงให้ดาบสเข้าใจแจ่มแจ้งเป็นอัน

ดี. ดาบสนั้นได้ความสลดใจ เพราะถ้อยคำของสรภังคศาสดา จึงไหว้

ขอขมาโทษ แล้วทำกสิณบริกรรม ทำฌานที่เสื่อมแล้วให้กลับคืนเป็น

ปกติ. สรภังคดาบส ไม่ยอมให้นารทดาบสอยู่ที่ที่นั้น พาไปยังอาศรม

ของตน.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง

ประกาศสัจจะ เวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล

พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า นารทดาบสในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้

กระสัน สาลิสสรดาบสได้เป็นพระสารีบุตร เมณฑิสสรดาบสได้เป็น

พระกัสสปะ ปัพพตดาบสได้เป็นพระอนุรุทธะ กาฬเทวิลดาบสได้เป็น

พระกัจจายนะ อนุสิสสะดาบสได้เป็นพระอานนท์ กิสวัจฉดาบสได้

เป็นพระโมคคัลลานะ ส่วนสรภังคดาบส คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอินทริยชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 571

๘. อาทิตตชาดก

ว่าด้วยการให้ทานกับการรบ

[๑๑๘๐] เมื่อเรือนถูกไฟไหม้ บุคคลผู้เป็นเจ้าของ

ขนเอาสิ่งของอันใดออกได้ สิ่งของอันนั้น

ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าของนั้น แต่ของที่

ถูกไฟไหม้ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่เขา.

[๑๑๘๑] โลกถูกชราและมรณะเผาแล้วอย่างนี้

บุคคลพึงนำออกเสียด้วยการให้ทาน ทานที่ให้

แล้วจะน้อยก็ตาม มากก็ตาม ชื่อว่าเป็นอัน

นำออกดีแล้ว.

[๑๑๘๒] คนใดให้ทานแก่ผู้มีธรรมอันได้แล้ว ผู้

บรรลุธรรมด้วยความเพียรและความหมั่น คน

นั้นล่วงเลยเวตรณีนรก ของพระยายมไปได้

แล้วจะเข้าถึงทิพยสถาน.

[๑๑๘๓] ท่านผู้รู้กล่าวทานกับการรบว่า มีสภาพ

เสมอกัน นักรบแม้จะมีน้อย ก็ชนะคนมาก

ได้ เจตนาเครื่องบริจาคก็เหมือนกัน แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 572

จะน้อยย่อมชนะหมู่กิเลสแม้มากได้ ถ้าบุคคล

เชื่อกรรมและผลแห่งกรรม ย่อมให้ทานแม้

น้อย เขาก็เป็นสุขในโลกหน้า เพราะการ

บริจาคมีประมาณน้อยนั้น.

[๑๑๘๔] การเลือกทักขิณาทานและพระทักขิไณย-

บุคคล แล้วจึงให้ทาน พระสุคตเจ้าทรง

สรรเสริญ ทานที่บุคคลถวายในพระทักขิไณย-

บุคคลมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในสัตว-

โลกนี้ ย่อมมีผลมากเหมือนพืชที่หว่านลงใน

นาดีฉะนั้น.

[๑๑๘๕] บุคคลใดไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย

เที่ยวไปอยู่ ไม่ทำบาปเพราะกลัวคนอื่นจะ

ติเตียน บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคล

ผู้กลัวบาปนั้น ย่อมไม่สรรเสริญบุคคลผู้กล้า

ในการทำบาป เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อม

ไม่ทำบาป เพราะความกลัวถูกติเตียน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 573

[๑๑๘๖] บุคคลย่อมเกิดในตระกูลกษัตริย์ เพราะ

พรหมจรรย์อย่างต่ำ เกิดในเทวโลก เพราะ

พรหมจรรย์อย่างกลาง และบริสุทธิ์ได้ เพราะ.

พรหมจรรย์อย่างสูง.

[๑๑๘๗] ทาน ท่านผู้รู้สรรเสริญโดยส่วนมากก็

จริง แต่ว่าบทแห่งธรรมแลประเสริฐกว่าทาน

เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลายในครั้งก่อน หรือว่า

ก่อนกว่านั้นอีก ท่านมีปัญญา เจริญสมถ

วิปัสสนาแล้ว ได้บรรลุพระนิพพานทีเดียว.

จบ อาทิตตชาดกที่ ๘

อรรถกถาอาทิตตชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารุเชตวัน ทรงปรารภ

อสทิสทาน จึงได้ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อาทิตฺตสฺมึ ดังนี้. เรื่อง

อสทิสทาน มีเนื้อความพิสดารในอรรถกถา มหาโควินทสูตร.

ก็ในวันที่ ๒ จากวันที่พระเจ้าโกศลถวายอสทิสทานแล้ว ภิกษุ

ทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าโกศล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 574

ทรงฉลาดเลือกเนื้อนาบุญอันประเสริฐ ถวายมหาทานแด่อริยสงฆ์ มี

พระพุทธเจ้าเป็นประมุข. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุ

เหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ

เลือกถวายทานในเนื้อนาบุญอันสูงยิ่งของพระเจ้าโกศล ไม่น่าอัศจรรย์

โบราณกบัณฑิตก็ได้เลือกเฟ้นแล้ว จึงได้ถวายมหาทานเหมือนกัน ดังนี้

แล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล พระเจ้าเภรุวมหาราช ครองราชสมบัติในเภรุว-

นคร สีวิรัฐ ทรงบำเพ็ญทศพิธราชธรรม สงเคราะห์มหาชนด้วย

สังคหวัตถุ ๔ ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นมารดาบิดาของมหาชนได้ให้ทาน

แก่คนกำพร้า วณิพก และยาจกทั้งหลายมากมาย. พระองค์มีอัครมเหสี

พระนามว่า สมุททวิชยาเป็นบัณฑิตสมบูรณ์ด้วยญาณ. วัน ๑

พระเจ้าเภรุวมหาราช เสด็จทอดพระเนตรโรงทาน ทรงพระดำริว่า

ปฏิคาหกทั้งหลายล้วนเป็นผู้ทุศีล เหลวไหล บริโภคทานของเราข้อนั้น

ไม่ทำให้เรายินดีเลย เราใคร่จะถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มีศีล

เป็นอรรคทักขิไณยบุคคล แต่ท่านเหล่านั้นอยู่ในหิมวันตประเทศ ใคร

หนอจักไปนิมนต์ท่านมาได้เราจักส่งใครไปนิมนต์ได้ ทรงพระดำริดังนี้

แล้ว ได้ตรัสบอกความนั้นแด่พระเทวี. ลำดับนั้น พระเทวีได้ทูล

พระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ขอพระองค์อย่าทรงวิตกเลย เราจักส่งดอกไม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 575

ไปนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยกำลังทานที่จะพึงถวาย กำลัง

ศีลและกำลังความสัตย์ของเราทั้งหลาย ครั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

มาถึงแล้ว จึงจักถวายทานที่สมบูรณ์ด้วยบริขารทุกอย่าง. พระราชาทรง

รับสั่งว่าดีแล้ว ดังนี้แล้วรับสั่งให้ตีกลองประกาศว่า ชาวพระนครทั้งสิ้น

จงสมาทานศีล ส่วนพระองค์เองพร้อมด้วยราชบริพาร ก็ทรงอธิษฐาน

องค์แห่งอุโบสถบำเพ็ญมหาทาน แล้วให้ราชบุรุษถือกระเช้าทองใส่ดอก

มะลิเต็ม เสด็จลงจากปราสาทประทับที่พระลานหลวง ทรงกราบ

เบญจางคประดิษฐ์เหนือพื้นดิน แล้วผินพระพักตร์ไปทางทิศปราจีน

ถวายนมัสการแล้วประกาศว่า ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระอรหันต์ทั้งหลาย

ในทิศปราจีนถ้าคุณความดีอะไร ๆ ของข้าพเจ้ามีอยู่ไซร้ ขอท่านทั้งหลาย

จงอนุเคราะห์พวกข้าพเจ้า โปรดมารับภิกษาหารของข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด

ประกาศดังนี้แล้ว ทรงซัดดอกมะลิไป ๗ กำมือ. ในวันรุ่งขึ้นไม่มี

พระปัจเจกพุทธเจ้ามา เพราะในทิศปราจีนไม่มีพระปัจเจกพุทธเจ้า.

ในวันที่ ๒ ทรงนมัสการไปทางทิศทักษิณ ก็หามีพระปัจเจกพุทธเจ้า

มาไม่ วันที่ ๓ ทรงนมัสการไปทางทิศปัจฉิม ก็หามีพระปัจเจกพุทธเจ้า

มาไม่. วันที่ ๔ ทรงนมัสการไปทางทิศอุดร. ก็แหละครั้นทรงนมัสการ

แล้ว ทรงซัดดอกมะลิไป ๗ กำมือ อธิษฐานว่า ขอพระปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้งหลายที่อยู่ในหิมวันตประเทศด้านทิศอุดร จงมารับภิกษาหารของ

ข้าพเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 576

ดอกมะลิได้ลอยไปตกลง เหนือพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

๕๐๐ องค์ ที่เงื้อมภูเขานันทมูลกะ. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น

พิจารณาดูก็รู้ว่า พระราชานิมนต์ วันรุ่งขึ้น จึงเรียกพระปัจเจกพุทธเจ้า

มา ๗ องค์ แล้วกล่าวว่า แน่ะ ท่านผู้เช่นกับด้วยเรา พระราชานิมนต์

ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงสงเคราะห์พระราชาเถิด. พระปัจเจก-

พุทธเจ้าเหล่านั้น เหาะมาลงที่ประตูพระราชวัง. พระเจ้าเภรุวมหาราช

ทอดพระเนตรเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น แล้วทรงโสมนัสนมัส-

การแล้ว นิมนต์ขึ้นปราสาท ทรงสักการะบูชาเป็นการใหญ่แล้วถวาย

ทาน ครั้นฉันเสร็จแล้วได้นิมนต์ให้มาฉันวันต่อ ๆ ไปอีกจนครบ ๖ วัน

ในวันที่ ๗ ทรงจัดแจงบริขารทานทุกอย่าง แต่งตั้งเตียงตั่งที่วิจิตรด้วย

แก้ว ๗ ประการ ทรงวางเครื่องสมณบริโภคทั้งปวงมีไตรจีวรเป็นต้น

ในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ ถวายนมัสการตรัสว่า

ข้าพเจ้าขอถวายบริขารเหล่านี้ทั้งหมดแด่พระคุณเจ้าทั้งหลาย เมื่อพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นฉันเสร็จแล้ว พระราชาและพระเทวีทั้ง ๒ พระ-

องค์ประทับยืนนมัสการอยู่.

ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่ในหมู่เมื่อจะอนุโมทนา

แด่พระราชาและพระเทวี จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

เมื่อเรือนถูกไฟไหม้ บุคคลผู้เป็นเจ้าของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 577

ขนเอาสิ่งของอื่นใดออกได้ สิ่งของอันนั้น

ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าของนั้น แต่ของที่

ถูกไฟไหม้ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่เขา.

โลกถูกชราและมรณะเผาแล้วอย่างนี้

บุคคลพึงนำออกเสียด้วยการให้ทาน ทานที่ให้

แล้วจะน้อยก็ตาม. มากก็ตาม ชื่อว่าเป็นอัน

นำออกดีแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทิตฺตสฺมึ ความว่า ขณะเมื่อ

เรือนถูกไฟไหม้นั้น. บทว่า ภาชน ได้แก่ อุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

บทว่า โน จ ย ตตฺถ ความว่า แต่สิ่งใดในเรือนนั้นไม่ได้ขนออก

ย่อมถูกไฟไหม้ไม่เหลือแม้แต่หญ้า สิ่งเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมไม่เป็นคุณ

ประโยชน์แก่เราเลย. บทว่า ชราย มรเณน จ นี้เป็นเพียงหัวข้อเทศนา.

แต่โดยอรรถ โลกคือเบญจขันธ์นั้น ชื่อว่า ถูกไฟ ๑๑ กอง เผาผลาญ

แล้ว บทว่า นีหเรเถว ความว่า เพราะเหตุนั้นโลกคือเบญจขันธ์ถูก

ไฟ ๑๑ กอง เผาผลาญอยู่เช่นนี้ บุคคลต้องนำออกด้วยการตั้งใจให้

บริขารทาน ต่างโดยทานวัตถุ ๑๐ อย่างเท่านั้น. ทานที่ให้แล้วจะน้อย

หรือมากก็ตามนั้น ชื่อว่า เป็นการนำออกดีแล้ว.

พระสังฆเถระ ครั้นอนุโมทนาอย่างนี้แล้ว ได้ให้โอวาทแด่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 578

พระราชาว่า มหาบพิตร พระองค์อย่าทรงประมาท แล้วเหาะขึ้นอากาศ

ทำช่อฟ้าปราสาท ให้แยกเป็นสองช่องไปลง ณ เงื้อมภูเขานันทมูลกะ. แม้

บริขารที่พระราชาถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ลอยตามไปกับพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าลงที่เงื้อมภูเขานั้นเหมือนกัน. พระสกลกายของพระราชา

และพระเทวี เต็มตื้นไปด้วยปีติ. เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่ใน

หมู่ไปอย่างนี้แล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าที่ยังคงเหลืออยู่ ๖ องค์ ได้

อนุโมทนาด้วยคาถา องค์ละคาถาว่า :-

คนใดให้ทานแก่ท่านผู้มีธรรมอันได้แล้ว

ผู้บรรลุธรรมด้วยความเพียรและความหมั่น คน

นั้นล่วงเลยเวตรณีนรก ของพระยายมไปได้

แล้วจะเข้าถึงทิพยสถาน.

ท่านผู้รู้กล่าวทานกับการรบว่า มีสภาพ

เสมอกัน นักรบแม้จะมีน้อย ก็ชนะคนมาก

ได้ เจตนาเครื่องบริจาคก็เหมือนกัน แม้

จะน้อยย่อมชนะหมู่กิเลสแม้มากได้ ถ้าบุคคล

เชื่อกรรมและผลแห่งกรรม ย่อมให้ทานแม้

น้อย เขาก็เป็นสุขในโลกหน้า เพราะการ

บริจาคมีประมาณน้อยนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 579

การเลือกทักขิณาทานและพระทักขิไณย-

บุคคล แล้วจึงให้ทาน พระสุคตเจ้าทรง

สรรเสริญ ทานที่บุคคลถวายในพระทักขิไณย-

บุคคลมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในสัตว์

โลกนี้ ย่อมมีผลมาก เหมือนพืชที่หว่านลงใน

นาดีฉะนั้น.

บุคคลใดไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย

เที่ยวไปอยู่ ไม่ทำบาปเพราะกลัวคนอื่นจะ

ติเตียน บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคล

ผู้กลัวบาปนั้น ย่อมไม่สรรเสริญบุคคลผู้กล้า

ในการทำบาป เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อม

ไม่ทำบาป เพราะความกลัวถูกติเตียน.

บุคคลย่อมเกิดในตระกูลกษัตริย์ เพราะ

พรหมจรรย์อย่างต่ำ เกิดในเทวโลก เพราะ

พรหมจรรย์อย่างกลาง และบริสุทธิ์ได้ เพราะ

พรหมจรรย์อย่างสูง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 580

ทาน ท่านผู้รู้สรรเสริญ โดยส่วนมากก็

จริง แต่ว่าบทแห่งธรรมแลประเสริฐกว่าทาน

เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลายในครั้งก่อน หรือว่า

ก่อนกว่านั้นอีก ท่านมีปัญญา เจริญสมถ

วิปัสสนาแล้ว ได้บรรลุพระนิพพานทีเดียว.

ครั้นกล่าวอนุโมทนาอย่างนี้แล้ว ก็ได้เหาะไปเหมือนอย่างนั้น

แหละ พร้อมกับบริขารทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมลทฺธสฺส ความว่า บุคคล

มีพระขีณาสพเป็นต้น จนถึงพระโยคาวจรผู้สุกขวิปัสสก ชื่อว่า

ธัมมลัทธะ เพราะความเป็นผู้มีธรรมอันได้บรรลุแล้ว. บุคคลประเภท

นั้นแหละ ชื่อว่า อุฏฺานวิริยาธิคต เพราะธรรมวิเศษนั้น ท่านได้

บรรลุแล้วด้วยความเพียร คือความหมั่น. อริบายว่า. ชนผู้ต้องเกิดตาย

เป็นธรรมดา ให้ทานวัตถุที่ควรให้ แก่บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษแล้วนั้น.

อีกนัยหนึ่ง มีอธิบายว่า ชนผู้ต้องเกิดต้องตายเป็นธรรมดา ถือเอาส่วน

อันเลิศของไทยธรรมที่ตนได้แล้วโดยธรรม คือได้มาด้วยความเพียร

กล่าวคือความขยันขันแข็ง แล้วให้ทานในท่านผู้มีศีลทั้งหลาย. อีก

อย่างหนึ่งความในคาถานี้ บัณฑิตพึงทราบโดยทำทุติยาวิภัติให้เป็นฉัฏฐี

วิภัติ. บทว่า เวตรณี นี้เป็นหัวข้อแห่งเทศนา. อธิบายว่า พระขีณาสพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 581

ตลอดถึงพระสุกขวิปัสสก ย่อมจะล่วงเลย เวตรณีนรก คือมหานรก ๘

อุสสทนรก ๑๖ ของพญายมไปได้. บทว่า ทิพฺพานิ านานิ อุเปติ

ความว่า ย่อมไปบังเกิดในเทวโลก. บทว่า สมานมาหุ ความว่า

ท่านผู้รู้กล่าวว่าเหมือนกัน. อธิบายว่า คนกลัวความสิ้นเปลือง ย่อม

ไม่มีการให้ คนขลาดต่อภัย ย่อมไม่มีการยุทธนา คือนักรบสละความ

อาลัยในชีวิตได้ ก็อาจเข้ารบกันได้ ทายกสละความอาลัยในโภคะเสียได้

ก็อาจบริจาคได้ด้วยเหตุนั่นแหละ ท่านผู้รู้จึงกล่าวการให้และการรบทั้ง

สองอย่างนั้น ว่ามีสภาพเสมอกัน. บทว่า อปฺปาปิ สนฺตา ความว่า

นักรบถึงมีพวกน้อยแต่พร้อมใจกันสละชีวิตก็อาจรบคนพวกมาก เอา

ชัยชนะได้ฉันใด เจตนาคิดบริจาคถึงจะมีน้อย ก็ย่อมชนะหมู่กิเลส

พวกมาก มีมัจฉริยจิต และโลภะเป็นต้นได้ฉันนั้น บทว่า อปฺปมฺปิ เจ

ความว่า ถ้าทายกใดเชื่อกรรม เชื่อผลแห่งกรรม บริจาคไทยธรรมแม้

เล็กน้อยไซร้. บทว่า เตเนว โส ความว่า ดูก่อนมหาบพิตรทายกนั้น

ย่อมเป็นสุขในโลกหน้า ด้วยผลแห่งไทยธรรมเล็กน้อยนั้นทีเดียว.

บทว่า วิเจยฺย ทาน ได้แก่ทานที่บุคคลเลือกทักขิณาทาน และ

ทักขิไณยบุคคลก่อนแล้วจึงถวาย. ในทักขิณาทาน และทักขิไณยบุคคล

สองอย่างนั้น เมื่อบุคคลไม่ให้ของตามมีตามเกิดเลือกให้แต่ไทยธรรม

ที่เลิศที่ประณีต ชื่อว่า ย่อมเลือกให้แม้ซึ่งทักขิณาทาน. เมื่อไม่ให้แก่

บุคคลทั่วไป เลือกให้แต่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยคุณธรรมมีศีลเป็นต้น ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 582

ย่อมเลือกเป็นพระทักขิไณยบุคคล บทว่า สุคตปฺปสฏฺ ความว่า

ทานเห็นปานนี้ แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ทรงสรรเสริญ.

ใน ๒ อย่างนั้น เพื่อจะแสดงถึงการเลือกเฟ้นพระทักขิไณย-

บุคคล ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า เย ทกฺขิเณยฺยา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทกฺขิเณยฺยา ได้แก่พระอริยบุคคล

ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้สมควรแก่ทักษิณา. บทว่า ปาณภูตานิ

ได้แก่ภูต กล่าวคือสัตว์ที่มีชีวิตทั้งหลาย. บทว่า อเหยนฺโต มีความ

กรุณาไม่เบียดเบียนสัตว์ให้เดือดร้อน ท่องเที่ยวไป. บทว่า ปรูปวาทา

ความว่า ไม่ทำบาปเพราะกลัวคนอื่นติเตียน. บทว่า ภีรุ ได้แก่ผู้กลัว

การถูกติเตียน. บทว่า น หิ ตตฺถ สูร ความว่า ส่วนบุคคลใด

ไม่กลัวการติเตียนนั้น จึงกล้าทำบาปโดยอโยนิโสมนสิการ บัณฑิต

ทั้งหลายย่อมไม่สรรเสริญบุคคลนั้นเลย. บทว่า ภยา หิ ความว่า

เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่ทำบาปเพราะกลัวเขาติเตียน. บทว่า

หีเนน พฺรหฺมจริเยน ความว่า จะกล่าวในลัทธิภายนอกพระศาสดา

ก่อน ผลเพียงเมถุนวิรัติและศีล ชื่อว่า พรหมจรรย์อย่างต่ำ. บุคคล

เกิดในขัตติยตระกูลด้วยอำนาจพรหมจรรย์อย่างต่ำนั้น. ผลเพียงอุปจาร-

ฌาน ชื่อว่า พรหมจรรย์อย่างกลาง บุคคลเกิดในเทวโลก ด้วย

พรหมจรรย์อย่างกลางนั้น. สมาบัติแปดเป็นพรหมจรรย์อย่างสูง บุคคล

ย่อมชื่อว่า บริสุทธิ์เข้าถึงพรหมโลกได้ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูงนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 583

ส่วนในทางพระพุทธศาสนา การประพฤติพรหมจรรย์โดยมุ่ง เทวนิกาย

ของผู้มีศีลนั่นแล ชื่อว่า พรหมจรรย์อย่างต่ำ การยังสมาบัติให้บังเกิด

ขึ้น ของผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์นั่นแล ชื่อว่า พรหมจรรย์อย่างกลาง. การที่

ภิกษุดำรงอยู่ในปาริสุทธิศีล เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต ชื่อว่า

พรหมจรรย์อย่างสูง.

คาถาสุดท้าย มีอรรถาธิบายดังนี้ ดูก่อนมหาบพิตร ได้มีผู้

สรรเสริญคือยกย่องทานโดยส่วนมากก็จริง แต่ถึงกระนั้น ธรรมบท

ซึ่งเป็นส่วนแห่งธรรม กล่าวคือ สมถวิปัสสนาก็ดี กล่าวคือ พระนิพพาน

ดี ประเสริฐกว่าทาน.

เพราะเหตุไร ?

เพราะว่า สัตบุรุษทั้งหลายในกาลก่อน คือในภัทรกัปนี้ มีพระ

กัสสปทศพลเป็นต้น หรือในกาลก่อนกว่านั้นอีก มีพระเวสสภูทศพล

เป็นต้น ท่านมีปัญญา เจริญสมถวิปัสสนาได้บรรลุถึงพระนิพพานที

เดียว.

พระปัจเจกพุทธเจ้า ๗ พระองค์ พรรณนาอมตมหานิพพาน

แด่พระราชา ด้วยอนุโมทนาคาถาอย่างนี้แล้ว กล่าวสอนพระราชา

ด้วยอัปปมาทธรรม แล้วไปที่อยู่ของตน ๆ ตามนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 584

แม้พระราชา พร้อมด้วยพระอัครมเหสี ก็ได้ถวายทานจนตลอด

พระชนมายุ ครั้นเคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว ก็ได้เสด็จไปสู่สวรรค์.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า

แม้ในกาลก่อน บัณฑิตก็ได้เลือกถวายทานด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล้ว

ทรงประชุมชาดกว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายในครั้งนั้น ปรินิพพาน

แล้ว พระสุททวิชยาเทวี ได้เป็นมารดาพระราหุล พระเจ้าเภรุวราช

คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอาทิตตชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 585

๙. อัฏฐานชาดก

ว่าด้วยสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

[๑๑๘๘] เมื่อใด แม่น้ำคงคาดารดาษด้วยดอกบัว

ก็ดี นกดุเหว่าสีขาวเหมือนสังข์ก็ดี ต้นหว้า

พึงให้ผลเป็นผลตาลก็ดี เมื่อนั้น เราทั้งสอง

พึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

[๑๑๘๙] เมื่อใด ผ้า ๓ ชนิดจะพึงสำเร็จได้ด้วย

ขนเต่า ใช้เป็นเครื่องกันหนาวในคราวน้ำค้าง

ตกได้ เมื่อนั้น เราทั้ง ๒ พึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

[๑๑๙๐] เมื่อใด เท้ายุงทั้งหลาย จะพึงทำเป็น

ป้อม มั่นคงดีไม่หวั่นไหว อาจจะทนบุรุษผู้

ขึ้นรบได้ตั้งร้อย เมื่อนั้น เราทั้ง ๒ พึงอยู่

ร่วมกันได้แน่.

[๑๐๙๑] เมื่อใด เขากระต่ายจะพึงทำเป็นบันได

เพื่อขึ้นไปสวรรค์ได้ เมื่อนั้น เราทั้ง ๒ พึง

อยู่ร่วมกันได้แน่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 586

[๑๑๙๒] เมื่อใด หนูทั้งหลายจะพึงไต่บันได

ขึ้นไปกัดพระจันทร์ และขับไล่ราหูให้หนีไป

ได้ เมื่อนั้น เราทั้ง ๒ พึงอยู่ร่วนได้แน่.

[๑๑๙๓] เมื่อใด แมลงวันทั้งหลายเที่ยวไปเป็น

หมู่ ๆ ดื่มเหล้าหมดหม้อเมาแล้ว จะพึงเข้า

ไปอยู่ในโรงถ่านเพลิง เมื่อนั้น เราทั้ง ๒ พึง

อยู่ร่วมกันได้แน่.

[๑๑๙๔] เมื่อใด ลาพึงมีริมฝีปากงาม สีเหมือน

ผลมะพลับ มีหน้างามเหมือนแว่นทอง จะ

เป็นสัตว์ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้องได้ เมื่อนั้น

เราทั้ง ๒ พึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

[๑๑๙๕] เมื่อใด กากับนกเค้า พึงปรารถนา

สมบัติให้แก่กันและกัน ปรึกษาปรองดองกัน

อยู่ในที่ลับได้ เมื่อนั้นเราทั้ง ๒ พึงอยู่ร่วมกัน

ได้แน่.

[๑๑๙๖] เมื่อใด รากไม้และใบไม้อย่างละเอียด

พึงเป็นร่มมั่นคงป้องกันฝนได้ เมื่อนั้น เรา

ทั้ง ๒ พึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 587

[๑๑๙๗] เมื่อใด นกตัวเล็ก ๆ พึงเอาจะงอยปาก

คาบภูเขาคันธมาทน์ บินไปได้ เมื่อนั้น เรา

ทั้ง ๒ พึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

[๑๑๙๘ ] เมื่อใด เด็ก ๆ พึงขับเรือใหญ่ อัน

ประกอบด้วยเครื่องยนต์ และใบพัดกำลังแล่น

ไปในสมุทรไว้ได้ เมื่อนั้น เราทั้ง ๒ พึงอยู่

ร่วมกันได้แน่.

จบ อัฏฐานชาดกที่ ๙

อรรถกถาอัฏฐานชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุผู้กระสันรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า คงฺคา กุมุทินี

ดังนี้.

พระศาสดา ตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอ

กระสันจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทลูว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสถามว่า

เธอกระสันเพราะเหตุไร ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า เพราะอำนาจกิเลส

จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่ามาตุคามมักอกตัญญู ประทุษร้ายมิตร

ไม่น่าไว้วางใจ บัณฑิตทั้งหลายในครั้งก่อน แม้ให้ทรัพย์วันละพัน ก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 588

ไม่สามารถจะให้มาตุคามยินดีได้ นางนั้นพอไม่ได้ทรัพย์พันหนึ่งเพียง

วันเดียวเท่านั้น ก็ได้ให้คนลากคอบัณฑิตเหล่านั้นไปเสีย มาตุคามไม่รู้

คุณคนอย่างนี้ เธออย่าตกอยู่ในอำนาจกิเลส เพราะเหตุมาตุคามนั้น

ดังนี้แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี พระโอรสของพระองค์ มีพระนามว่า พรหมทัตกุมาร แต่

บุตรของเศรษฐีพระนครพาราณสี มีชื่อว่า มหาธนกุมาร กุมาร

ทั้งสองเป็นสหายกันมาแต่เล็ก ๆ เรียนศิลปะในตระกูลอาจารย์เดียวกัน.

พรหมทัตกุมารได้ครองราชสมบัติ เมื่อพระราชบิดาสวรรคต. บุตร

เศรษฐีได้อยู่ในราชสำนักนั้นแหละ ก็ในพระนครพาราณสี มีนาง

วรรณทาสีคนหนึ่งเป็นหญิงนครโสเภณี มีรูปร่างงามเลิศ. บุตรเศรษฐี

ได้ให้ทรัพย์วันละพัน อภิรมย์อยู่กับนางนั้นตลอดกาล แม้ได้ตำแหน่ง

เศรษฐี เมื่อบิดาตายแล้ว ก็ไม่ทิ้งนางนั้น คงยังให้ทรัพย์วันละพัน

อภิรมย์อยู่เช่นนั้นเอง.

เศรษฐีบุตร ต้องเข้าเฝ้าพระราชาวันละ ๓ ครั้ง. ครั้นอยู่มา

วัน ๑ เมื่อเศรษฐีบุตรเข้าเฝ้าพระราชาเวลาเย็น ปราศรัยอยู่กับพระ-

ราชาจนพลบค่ำ จึงออกจากราชสำนักคิดว่า บัดนี้ถ้าเราจะไปบ้านก่อน

แล้วมาหาหญิงนครโสเภณี เวลาไม่พอ เราจักไปบ้านหญิงนครโสเภณี

เลยทีเดียว แล้วส่งคนใช้ไปเรือนตัวคนเดียวเท่านั้น ไปบ้านหญิงนคร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 589

โสเภณี. ลำดับนั้น หญิงนครโสเภณีเห็นเศรษฐีบุตรแล้วกล่าวว่า แน่ะ

ลูกเจ้า ท่านนำทรัพย์พันหนึ่งมาหรือเปล่า ? เศรษฐีบุตรกล่าวว่า น้องรัก

วันนี้เราล่วงเลยผิดเวลาไป เพราะฉะนั้นจึงไม่ได้ไปบ้าน ส่งแต่คนใช้

ไป เราเข้ามานี่แต่คนเดียว แต่วันพรุ่งนี้เราจักให้ทรัพย์แก่เจ้าสองพัน.

นางคิดว่า ถ้าวันนี้เราให้โอกาส แม้วันอื่น ๆ ก็จักมามือเปล่าอีก เมื่อ

เป็นเช่นนี้เราก็จักเสื่อมจากทรัพย์ เราจักไม่ให้โอกาสแก่เขา. คิดดังนี้

แล้ว จึงกล่าวกะบุตรเศรษฐีว่า นาย พวกเราชื่อว่าเป็นวรรณทาสีซึ่งจะ

ให้เย้าหยอกเล่นเปล่า ๆ นั้นไม่มี ท่านจงนำทรัพย์พันหนึ่งมา. เศรษฐี

บุตรได้ขอร้องอยู่แล้ว ๆ เล่าๆ ว่า น้องรัก พรุ่งนี้เราจักนำมาให้ ๒ เท่า.

หญิงนครโสเภณีบังคับพวกทาสีว่า พวกเจ้าอย่าให้เศรษฐีนี้มายืนแลดู

อยู่ที่นี่ จงลากคอมันออกไปแล้วปิดประตูเสีย. พวกนางทาสีได้กระทำ

เช่นนั้น.

เศรษฐีนั้นคิดว่า เราได้ให้ทรัพย์แก่หญิงนี้ถึง ๘๐ โกฏิ แต่

พอนางเห็นเรามือเปล่าเข้าวันเดียว ก็ให้ลากคอเราออกไปเสีย โอ ! ขึ้น

ชื่อว่ามาตุคามเป็นผู้ลามก หมดละอาย อกตัญญู ประทุษร้ายมิตร

คิดดังนี้ ก็มองเห็นโทษของมาตุคามได้ จึงคลายความรักกลับได้ปฏิกูล

สัญญา เบื่อหน่ายแม้ฆราวาส คิดว่าการครองเรือน จะเป็นประโยชน์

อะไรแก่เรา เราจักออกบวชในวันนี้แหละ ไม่ไปเรือน และไม่เฝ้า

พระราชาอีกเลย ออกจากพระนครเข้าป่า บวชเป็นฤาษีสร้างอาศรมอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 590

ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ทำฌานและอภิญญาให้เกิดขึ้นมีเผือกมัน ผลไม้ป่าเป็น

อาหารอยู่ ณ ที่นั้น.

เมื่อพระเจ้าพรหมทัตไม่เห็นมหาธนเศรษฐีเข้าเฝ้า จึงตรัสถาม

ว่า สหายของเราไปไหน ? แม้ข่าวการกระทำของหญิงนครโสเภณีก็ได้

แพร่สะพัดไปทั่วพระพระนคร. ลำดับนั้น พวกราชบุรุษ ได้กราบทูล

ความนั้น แต่พระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพพระสหายของ

พระองค์ มีความละอายไม่กลับบ้าน เข้าป่าบวชแล้ว. พระราชารับสั่งให้

เรียกหญิงนครโสเภณีมาตรัสถามว่า ได้ยินว่า เจ้าไม่ได้ทรัพย์พันหนึ่ง

วันเดียวเท่านั้น ก็ให้พวกทาสีลากคอสหายของเราออกไป จริงหรือ ?

นางรับว่า จริงเพคะ พระราชาตรัสว่า แน่ะหญิงลามกเลวทราม เจ้า

จงไปยังที่ที่สหายของเราไป แล้วนำเขามา ถ้าเจ้านำมาไม่ได้ เจ้าต้อง

ตาย. นางได้ฟังพระราชดำรัส ดังนั้น มีความกลัว จึงขึ้นรถออกจาก

พระนครไปพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก เที่ยวเสาะแสวงหาที่อยู่ของ

ฤาษีนั้นพอได้ฟังข่าวว่าอยู่ที่นั่น ก็ได้ไป ณ ที่นั้น นมัสการแล้ววิงวอน

ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านได้อดโทษที่ดิฉันกระทำด้วยความเป็น

คนอันธพาล ดิฉันจักไม่กระทำอย่างนี้อีก เมื่อพระฤาษีกล่าวว่า ดีแล้ว

เราอดโทษให้ เราไม่มีความอาฆาตในเธอ นางจึงกล่าวว่า ถ้าท่านอดโทษ

ให้ดิฉัน ก็ขอจงขึ้นรถไปสู่พระนครกับดิฉัน เมื่อถึงพระนครแล้ว ดิฉัน

จักถวายทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่โนเรือนของดิฉัน. พระฤาษีได้ฟังคำของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 591

นางแล้วกล่าวว่า น้องหญิง บัดนี้เราไม่อาจจะไปกับเจ้า ก็คราวใด ของ

สิ่งใดในโลกนี้ ไม่พึงมีพึงเป็น ของสิ่งนั้นจักมีจักเป็นได้ ของสิ่งนั้นจัก

มีจักเป็นได้ คราวนั้นแหละ เราจะพึงไปกับเจ้า ดังนี้แล้วกล่าวคาถา

ที่ ๑ ความว่า :-

เมื่อใด แม่น้ำคงคาดารดาษด้วยดอกบัว

ก็ดี นกดุเหว่าสีขาวเหมือนสังข์ก็ดี ต้นหว้า

พึงให้ผลเป็นผลตาลก็ดี เมื่อนั้น เราทั้งสอง

พึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

คาถานั้น มีอรรถาธิบายดังนี้ ดูก่อนนางผู้เจริญเมื่อใด แม่น้ำ

มหาคงคา แม้ทั้งหมด มีกอโกมุทละความเป็นมหานทีมีกระแสไหลเชี่ยว

เวียนวนไม่ไหวติง เหมือนสระโกมุท ดารดาษไปด้วยดอกโกมุทตั้งอยู่

ก็ดี นกดุเหว่าทั้งหมดมีสีขาวเหมือนสังข์ก็ดี อนึ่ง ต้นหว้าทั้งหมด ให้

ผลเป็นผลตาลก็ดี

บทว่า อถ นูน ตทา สิยา มีอธิบายว่า เมื่อนั้น คือในเวลา

นั้น แม้เราทั้ง ๒ จะพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

ก็แล ครั้นพระฤาษีกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อนางกล่าวอีกว่า เชิญ

พระผู้เป็นเจ้ามาไปด้วยกันเถิด จึงกล่าวว่า เราจักไป เมื่อนางถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 592

จักไปเมื่อใด ? พระฤาษีจึงกล่าวว่า จักไปเวลาโน้น เวลาโน้น ดังนี้

แล้ว ได้กล่าวคาถาที่เหลือ ความว่า :-

เมื่อใด ผ้า ๓ ชนิดจะพึงสำเร็จได้ด้วย

ขนเต่า ใช้เป็นเครื่องกันหนาวในคราวน้ำค้าง

ตกได้ เมื่อนั้น เราทั้ง ๒ พึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

เมื่อใด เท้ายุงทั้งหลาย จะพึงทำเป็น

ป้อมมั่นคงดีไม่หวั่นไหว อาจจะทนบุรุษผู้ขึ้น

รบได้ตั้งร้อย เมื่อนั้น เราทั้ง ๒ พึงอยู่ร่วมกัน

ได้แน่.

เมื่อใด เขากระต่าย จะพึงทำเป็นบันได

เพื่อขึ้นไปสวรรค์ได้ เมื่อนั้น เราทั้ง ๒ พึง

อยู่ร่วมกันได้แน่.

เมื่อใด หนูทั้งหลายจะพึงได้บันได

ขึ้นไปกัดพระจันทร์ และขับไล่ราหูให้หนีไป

ได้ เมื่อนั้น เราทั้ง ๒ พึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

เมื่อใด แมลงวันทั้งหลายเที่ยวไปเป็น

หมู่ ๆ ดื่มเหล้าหมดหม้อเมาแล้ว จะพึงเข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 593

ไปอยู่ในโรงถ่านเพลิง เมื่อนั้น เราทั้ง ๒ พึง

อยู่ร่วมกันได้แน่.

เมื่อใด ลาพึงมีริมฝีปากงาม สีเหมือน

ผลมะพลับ มีหน้างามเหมือนแว่นทอง จะ

เป็นสัตว์ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้องได้ เมื่อนั้น

เราทั้ง ๒ พึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

เมื่อใด กากับนกเค้า พึงปรารถนา

สมบัติให้แก่กันและกัน ปรึกษาปรองดองกัน

อยู่ในที่ลับได้ เมื่อนั้น เราทั้ง ๒ พึงอยู่ร่วม

กันได้แน่.

เมื่อใด รากไม้และใบไม้อย่างละเอียด

พึงเป็นร่มมั่นคงป้องกันฝนได้ เมื่อนั้น เรา

ทั้ง ๒ พึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

เมื่อใด นกตัวเล็ก ๆ พึงเอาจะงอยปาก

คาบภูเขาคันธมาทน์ บินไปได้ เมื่อนั้น เรา

ทั้ง ๒ พึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

เมื่อใด เด็ก ๆ พึงขับเรือใหญ่ อัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 594

ประกอบด้วยเครื่องยนต์ และใบพัด กำลัง

แล่นไปในสมุทรไว้ได้ เมื่อนั้น เราทั้ง ๒

พึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติวิโธ ได้แก่ ผ้า ๓ ชนิดอย่างนี้

คือ ผ้าทำด้วยดอกไม้หนึ่ง ทำด้วยนุ่น ๑ ทำด้วยของ ๒ อย่าง ๑

ซึ่งจะทำให้สำเร็จได้ด้วยขนเต่า. บทว่า เหมนฺติก ปาวุรณ ความว่า

สามารถใช้เป็นเครื่องคลุมกันหนาว ในคราวน้ำค้างตกได้. บทว่า อถ

นูน ตทา สยา ความว่า เมื่อนั้น คือในเวลานั้น เราจะพึงอยู่ร่วม

กับเจ้าได้โดยส่วนเดียว.

โดยวิธีนี้ บัณฑิต พึงเอาบทข้างหลังประกอบเข้ากับทุก ๆ บท.

บทว่า อฏฺฏาโล สุกโต ความว่า เมื่อใด หากจะทำเท้าแห่งยุงทั้งหลาย

ให้เป็นป้อมที่มั่นคงดีไม่หวั่นไหว รองรับบุรุษร้อยคนผู้ขึ้นรบไว้ได้.

บทว่า ปริพาเหยฺยุ แปลว่า ขับไล่ให้หนีไป. บทว่า องฺคาเร ได้แก่

ในโรงที่ปราศจากเปลว. บทว่า วาส กปฺเปยฺยุ ความว่า แมลงวัน

ทั้งหลาย พากันดื่มสุราหมดหม้อ เมาแล้วเข้าไปอยู่ในโรงถ่านเพลิง.

บทว่า พิมฺโพฏฺสมฺปนฺโน ความว่า ประกอบด้วยริมฝีปากทั้ง ๒

งามเหมือนผลมะพลับ. บทว่า สุมุโข ได้แก่ มีหน้างามเหมือนแว่น

ทอง. บทว่า ปิหเยยฺยุ ความว่า พึงปรารถนาสมบัติให้แก่กันและกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 595

ปรารถนาดีต่อกัน ปรองดองกันได้. บทว่า มูลสปตฺตาน ได้แก่ รากไม้

และใบไม้อย่างละเอียด. บทว่า กุลุโก ได้แก่ นกเล็ก ๆ ตัว ๑.

บทว่า สามุทฺทิก ได้แก่ เรือใหญ่ซึ่งกำลังแล่นไปในสมุทร. บทว่า

สยนฺต สวฏากร ความว่า ประกอบไปด้วยสัมภาระครบครัน พร้อม

ด้วยเครื่องยนต์และใบพัด. บทว่า เจโต อาทาย ความว่า ก็เมื่อใด

เด็กชาวบ้านตัวเล็ก ๆ พึงขับเรือเห็นปานนี้ ไว้ได้ด้วยมือ.

พระมหาสัตว์ได้กล่าวคาถา ๑๑ คาถา โดยอัฏฐานปริกัปนี้ ด้วย

ประการฉะนี้. หญิงนครโสเภณีได้ฟังดังนั้นแล้ว ขอขมาโทษพระมหา-

สัตว์ไปพระนคร กราบทูลเรื่องนั้นแก่พระราชา แล้วทูลขอชีวิตของตน

ไว้.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้จบลงแล้ว ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่า มาตุคามมักอกตัญญู ประทุษร้ายมิตรอย่างนี้

ดังนี้แล้ว ทรงประกาศสัจจะ แล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ

ภิกษุผู้กระสัน ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า

พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์ ส่วนพระดาบส ได้มาเป็น

เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอัฏฐานชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 596

๑๐. ทีปิชาดก

ว่าด้วยคนร้ายไม่ต้องการเหตุผล

[๑๑๙๙] คุณลุงครับ ท่านพออดทนได้หรือ พอจะ

เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปได้อยู่หรือ ท่านมี

ความสุขดีหรือ มารดาของฉันได้ถามความสุข

ของท่าน เราทั้งหลายปรารถนาความสุขแก่ท่าน

เหมือนกัน.

[๑๒๐๐] แน่ะแม่แพะ เจ้ามารังแกเหยียบหาง

ของเราได้ วันนี้เจ้าสำคัญว่า จะพึงพ้นความ

ตาย ด้วยวาทะว่า ลุง หรือ ?

[๑๒๐๑] ท่านนั่งผินหน้าตรงทิศบูรพา ฉันก็ได้มา

นั่งอยู่ตรงหน้าท่าน ไฉนฉันจะเข้าไปเหยียบ

หางของท่าน ซึ่งอยู่เบื้องหลังได้เล่า.

[๑๒๐๒] ทวีปทั้ง ๔ ทั้งมหาสมุทร และภูเขา

มีประมาณเท่าใด เราเอาหางของเราวงที่มีประ-

มาณเท่านั้นไว้หมด เจ้าจะงดเว้นที่ที่เราเอาหาง

วงไว้นั้นได้อย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 597

[๑๒๐๓] ในกาลก่อน มารดาบิดาก็ดี พี่น้อง

ทั้งหลายก็ดี ได้บอกความเรื่องนี้แก่ฉันแล้ว

ว่าหางของท่านผู้ประทุษร้ายยาว ฉันจึงมาทาง

อากาศ.

[๑๒๐๔] แน่ะแม่แพะ ก็เพราะว่า ฝูงเนื้อเห็น

เจ้ามาในอากาศ จึงพากันหนีไปเสีย ภักษาหาร

ของเรา เจ้าทำให้พินาศหมดแล้ว.

[๑๒๐๕] เมื่อแม่แพะวิงวอนอยู่อย่างนี้ เสือ-

เหลืองผู้มีเลือดเป็นภักษาหารก็ขม้ำคอ วาจา

สุภาษิตมิได้มีในหมู่บุคคลผู้ประทุษร้าย.

[๑๒๐๖] เหตุผล สภาพธรรม วาจาสุภาษิตมิได้

มีในบุคคลผู้ประทุษร้ายเลย บุคคลพึงพยายาม

หลีกไปให้พ้นบุคคลผู้ประทุษร้าย ก็บุคคลผู้

ประทุษร้ายนั้น ย่อมไม่ยินดีคำสุภาษิต ของ

สัตบุรุษทั้งหลาย.

จบ ทีปิชาดกที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 598

อรรถกถาทีปิชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงปรารภ

แม่แพะตัวหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ขมนีย ยาปนีย ดังนี้.

ความพิสดารว่า สมัยหนึ่งพระมหาโมคคัลลานเถระอยู่ที่เสนา-

สนะซอกเขา ใกล้ประตูภูเขาวงก์แห่งหนึ่ง. ที่จงกรมของท่าน ได้มี

อยู่ที่ใกล้ ๆ ประตูภูเขานั้น. ครั้งนั้น พวกคนเลี้ยงแพะ. คิดว่า แพะ

จะเที่ยวอยู่ในที่นี่ จึงได้ต้อนแพะเข้าไปไว้ในซอกภูเขา แล้วพากัน

เที่ยวเล่นอยู่. เย็นวันหนึ่ง เมื่อพวกคนเลี้ยงแพะพากันต้อนฝูงแพะไป

แม่แพะตัวหนึ่งไปเล่นไกลฝูง ไม่ทันเห็นฝูงแพะออกจากคอก จึงเดิน

ล้าหลังอยู่. เสือเหลืองตัวหนึ่ง เห็นแม่แพะนั้นออกทีหลัง จึงคิดว่า

เราจักกินแม่แพะนั้น แล้วจึงไปยืนขวางประตูซอกเขาอยู่. แม่แพะ

เหลียวดูทางโน้น ทางนี้ เห็นเสือเหลืองนั้น คิดว่า เสือนี้ยืนอยู่

ถ้าเราจะกลับหนีไป ก็คงไม่รอดชีวิต เราควรจะทำความกล้าหาญใน

วันนี้ ดังนี้แล้ว จึงยกเขามุ่งหน้าเผชิญเสือเหลืองนั้นวิ่งไปโดยเร็ว

เสือเหลืองหลบ ด้วยคิดว่า จักจับเอาทางนี้ แต่ไม่ทัน แม่แพะได้โจน

เข้าที่รกชัฏรีบหนีเข้ากลุ่มแพะไปได้.

พระโมคคัลลานเถระ ได้เห็นกิริยาของสัตว์ทั้งสองนั้น วันรุ่งขึ้น

จึงไปกราบทูลพระตถาคตว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม่แพะนั้น ได้ทำ

ความบากบั่น ด้วยความที่ตนเป็นผู้มีอุบายฉลาด จึงรอดพ้นจากเสือ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 599

เหลืองได้อย่างนี้ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า โมคคัลลานะ เสือเหลือง

ไม่อาจจับแม่แพะนั้นได้ในบัดนี้เท่านั้น แต่ในกาลก่อน เสือเหลืองได้

ฆ่าแม่แพะนั้น ผู้กำลังคร่ำครวญอยู่กินแล้ว ดังนี้ พระมหาโมคคัลลานะ

ได้กราบทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว จึงได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา

สาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์ได้เกิดในตระกูลมีโภคะมาก ในบ้าน

ตำบลหนึ่งในมคธรัฐ ครั้นเจริญวัยแล้ว ได้ละกามออกบวชเป็นฤาษี

ทำฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว อยู่ในหิมวันตประเทศเป็นเวลานาน

เมื่อต้องการจะเสพรสเค็ม รสเปรี้ยว จึงได้ไปพระนครราชคฤห์ สร้าง

บรรณศาลาอยู่ที่ซอกเขาแห่งหนึ่ง. ครั้งนั้น พวกคนเลี้ยงแพะ ปล่อย

ฝูงแพะเที่ยวอยู่โดยทำนองที่กล่าวแล้ว วันหนึ่งเสือเหลืองได้เห็นแม่แพะ

ตัวหนึ่งออกทีหลัง จึงคิดว่า เราจักกินแม่แพะนั้น จึงยืนขวางประตูอยู่.

แม่แพะเห็นดังนั้น คิดว่า วันนี้เราจักไม่รอดชีวิต เราจักปราศรัยด้วย

วาจาอ่อนหวานกับเสือเหลืองนี้ ด้วยอุบายอย่างหนึ่ง ทำหัวใจเสือเหลือง

ให้อ่อนโยน รักษาชีวิตไว้ คิดดังนี้แล้ว จึงกระทำปฏิสันถารกับเสือ-

เหลืองนั้นมาแต่ไกล เมื่อมาถึง จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ความว่า :-

คุณลุงครับ ท่านพออดทนได้หรือ พอจะ

เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปได้อยู่หรือ ท่านมี

ความสุขดีหรือ มารดาของฉันได้ถามความสุข

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 600

ของท่าน เราทั้งหลายปรารถนาความสุขแก่ท่าน

เหมือนกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุข เต อมฺม ความว่า มารดา

ของฉัน ได้พูดมากะฉันในวันนี้ว่า จะได้รับความสุขจากท่าน. บทว่า

มย ความว่า ข้าแต่ท่านลุง แม้ตัวฉันก็ต้องการให้ลุงมีความสุขเหมือน

กัน.

เสือเหลืองได้ฟังดังนั้น คิดว่า แม่แพะฉ้อโกงตัวนี้ ประสงค์

จะล่อลวงเรา ด้วยคิดว่า ลุง ไม่รู้ว่าเป็นผู้ร้ายกาจ ดังนี้ แล้วกล่าว

คาถาที่ ๒ ความว่า :-

แน่ะแม่แพะ เจ้ามารังแกเหยียบหาง

ของเราได้ วันนี้เจ้าสำคัญว่า จะพึงพ้นความ

ตาย ด้วยวาทะว่า ลุง หรือ ?

คาถานั้น มีความหมายว่า แน่ะแม่แพะ. เจ้ามาแกล้งรังแก

เหยียบหางเรา วันนี้ เจ้าคงจะเข้าใจว่า จะพ้นจากความตาย ตัว

เสแสร้งแกล้งกล่าวคำว่า ลุง เจ้าอย่าได้มั่นหมายอย่างนี้เลย.

แม่แพะได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านลุง ขอท่านอย่าได้

ทำอย่างนี้เลย แล้วกล่าวคาถาที่ ๓ ความว่า :-

ท่านนั่งผินหน้าตรงทิศบูรพา ฉันก็ได้มา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 601

นั่งอยู่ตรงหน้าท่าน ไฉนฉันจะเข้าไปเหยียบ

หางของท่าน ซึ่งอยู่เบื้องหลังได้เล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุข แปลว่า เฉพาะหน้า. บทว่า

กถ โขห ความว่า ไฉนฉันจะไปเหยียบหางของท่าน ซึ่งอยู่เบื้องหลัง

ได้อย่างไรเล่า ?

ลำดับนั้น เสือเหลืองกล่าวกะแม่แพะว่า แน่ะแม่แพะ เจ้าพูด

อะไร ที่ที่จะพ้นจากหางของเราไปไม่มี. ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๔

ความว่า :-

ทวีปทั้ง ๔ ทั้งมหาสมุทร และภูเขา

มีประมาณเท่าใด เราเอาหางของเราวงที่มีประ-

มาณเท่านั้นไว้หมด เจ้าจะงดเว้นที่ที่เราเอาหาง

วงไว้นั้นได้อย่างไร ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาวตา ความว่า เสือเหลือง

กล่าวว่า เราเอาหางของเราวงที่เท่านั้น เข้าไว้ทั้งหมด.

แม่แพะได้ฟังดังนั้น คิดว่า เสือเหลืองนี้ลามก หาติดอยู่ใน

ถ้อยคำที่ไพเราะไม่ กลับเป็นศัตรูกล่าวเสียดแทงเรา ดังนี้แล้ว กล่าว

คาถาที่ ๕ ความว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 602

ในกาลก่อน มารดาบิดาก็ดี พี่น้อง

ทั้งหลายก็ดี ได้บอกความเรื่องนี้แก่ฉันแล้ว

ว่าหางของท่านผู้ประทุษร้ายยาว ฉันจึงมาทาง

อากาศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺขึสุ ความว่า เมื่อก่อนมารดา

บิดาก็ดี ญาติพี่น้องทั้งหลายก็ดี ได้บอกความเรื่องนี้ไว้แก่เราแล้ว

บทว่า สมฺหิ ความว่า เรานั้นทราบความจากสำนักมารดาบิดา ญาติ

พี่น้องว่า หางของท่านผู้ประทุษร้ายยาว เพื่อรักษาหางของท่าน จึงมา

ทางอากาศ.

ลำดับนั้น. เสือเหลืองกล่าวว่า เรารู้ว่าเจ้ามาทางอากาศ แต่

เมื่อมา เจ้าได้มาทำภักษาหารของเราให้พินาศ ดังนี้แล้ว กล่าวคาถา

ที่ ๖ ความว่า :-

แน่ะแม่แพะ ก็เพราะว่า ฝูงเนื้อเห็น

เจ้ามาในอากาศ จึงพากันหนีไปเสีย ภักษาหาร

ของเรา เจ้าทำให้พินาศหมดแล้ว.

แม่แพะได้ฟังดังนั้น ก็กลัวมรณภัย เมื่อไม่อาจหาอุบายอย่างอื่น

มาแก้ไขได้ จึงร้องวิงวอนว่า ข้าแต่ลุง ท่านอย่าได้ทำกรรมหยาบช้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 603

อย่างนั้นเลย จงให้ชีวิตแก่ข้าพเจ้าเถิด. เสือเหลืองได้ตะครุบแม่แพะ

ซึ่งกำลังร้องวิงวอนอยู่ ฆ่ากินแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอภิสัมพุทธคาถา ๒ คาถาม ว่า :-

เมื่อแม่แพะวิงวอนอยู่อย่างนี้ เสือ-

เหลืองผู้มีเลือดเป็นภักษาหารก็ขม้ำคอ วาจา

สุภาษิตมิได้มีในหมู่บุคคลผู้ประทุษร้าย.

เหตุผล สภาพธรรม วาจาสุภาษิตมิได้

มีในบุคคลผู้ประทุษร้ายเลย บุคคลพึงพยายาม

หลีกไปให้พ้นบุคคลผู้ประทุษร้าย ก็บุคคลผู้

ประทุษร้ายนั้น ย่อมไม่ยินดีคำสุภาษิต ของ

สัตบุรุษทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุหฆโส ได้แก่ เสือเหลืองผู้มี

โลหิตเป็นภิกษา คือผู้ดื่มกินซึ่งโลหิต. บทว่า คลก อนฺธาวมทฺที

ความว่า เสือเหลืองขม้ำคอ ฉีกเนื้อ ดื่มเลือดกิน. บทว่า สุภาสิต

ได้แก่ ถ้อยคำที่กล่าวดีแล้ว. อธิบายว่า คำเป็นสุภาษิตทั้งหมดนั้น

ย่อมไม่มีในบุคคลผู้ประทุษร้าย. บทว่า นิกฺกมฺเม ทุฏฺเ ยุญฺเชถ

ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงทำความเพียรก้าวให้พ้นคนใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 604

ร้าย. บทว่า โส จ สพฺภิ น รชฺชติ ความว่า ก็เพราะบุคคลใจร้าย

นั้น ย่อมไม่ยินดี คือไม่สนใจ คำสุภาษิตอันสุนทรของสัตบุรุษทั้งหลาย.

พระดาบสได้เห็นกิริยาของสัตว์ทั้งสองนั้นทุกอย่าง.

พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว

ทรงประชุมชาดกว่า แม่แพะในครั้งนั้น ได้มาเป็นแม่แพะในบัดนี้

เสือเหลืองในครั้งนั้น ได้มาเป็นเสือเหลืองในบัดนี้ ส่วนพระดาบส

ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาทีปิชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กัจจานิชาดก ๒. อัฏฐสัททชาดก ๓. สุลสาชาดก

๔. สุมังคลชาดก ๕. คังคมาลชาดก ๖. เจติยราชชาดก ๗. อินทริยชาดก

๘. อาทิตตชาดก ๙. อัฏฐานชาดก ๑๐. ทีปิชาดก.

จบ กัจจานิวรรค

จบ อัฏฐกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 605

นวกนิบาตชาดก

๑. คิชฌชาดก

ว่าด้วยผู้ไม่ทำตามคำสอนย่อมพินาศ

[๑๒๐๗] ทางบนยอดเขาคิชฌกูฏ มีชื่อว่าปริสัง-

กุปกะมาแต่ดึกดำบรรพ์ นกแร้งเลี้ยงดูมารดา

บิดาผู้ชราอยู่ที่ทางนั้น.

[๑๒๐๘] โดยมากไปเที่ยวหามันข้นงูเหลือมมาให้

มารดาบิดาเหล่านั้นกิน ฝ่ายบิดารู้ว่านี้แร้งสุ-

ปัตมีปีกแข็งแล้ว มีกำลังมาก มักร่อนขึ้นไป

สูง เที่ยวไปไกล ๆ จึงได้กล่าวสอนลูกว่า.

[๑๒๐๙] แน่ะพ่อ เมื่อใดเจ้าเห็นแผ่นดินมีทะเล

ล้อมรอบกลมประหนึ่งว่ากงจักร ลอยลิบ ๆ

อยู่ดุจใบบัวลอยอยู่ในน้ำ เจ้าจงรีบกลับเสีย

จากที่นั้น อย่าบินต่อจากนั้นไปอีกเลย.

[๑๒๑๐] นกแร้งสุปัตเป็นสัตว์มีร่างกายสมบูรณ์

มีกำลังมาก มีปีกแข็ง บินขึ้นไปถึงอากาศ

เบื้องบนโดยกำลังเร็ว เมื่อเหลียวกลับมาแลดู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 606

ภูเขาและป่าไม้ทั้งหลาย.

[๑๒๑๑] ก็ได้เห็นแผ่นดินมีทะเลล้อมรอบ กลม

ดุจกงจักรเหมือนคำของบิดาบอกไว้.

[๑๒๑๒] นกแร้งสุปัตก็บินล่วงเลยที่นั้น ไปเบื้อง

หน้าอีก ยอดลมแรงแข็งกล้า ได้ประหารนก

แร้งสุปัตผู้มีกำลังมากนั้นให้แหลกละเอียด.

[๑๒๑๓] นกแร้งสุปัตบินเกินไป ไม่สามารถจะ

กลับจากที่นั้นได้อีก ตกอยู่ในอำนาจลมเวรัม-

พวาต ถึงความพินาศแล้ว.

[๑๒๑๔] เมื่อนกแร้งสุปัตไม่ทำตามโอวาท ของ

บิดาบุตรภรรยาและนกแร้งอื่น ๆ ที่อาศัยเลี้ยง

ชีพด้วย ก็พากันถึงความพินาศไปด้วยกันหมด.

[๑๒๑๕] แม้ในศาสนานี้ก็เหมือนกัน ผู้ใดไม่

เชื่อถ้อยฟังคำของผู้ใหญ่ ผู้นั้นเป็นผู้ชื่อว่าล่วง

ศาสนาดังนกแร้งไปล่วงเขตแดน ต้องเดือด-

ร้อนฉะนั้น ผู้ไม่ทำตามคำสอนของผู้ใหญ่

ย่อมถึงความพินาศทั้งหมด.

จบ คิชฌชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 607

อรรถกถาชาดก

นวกนิบาต

อรรถกถาคิชฌชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปริสงฺกุปโถ นาม

ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุว่ายากรูปนั้นเป็นลูกผู้ดีคนหนึ่ง แม้บวชใน

ศาสนาที่จะนำออกจากทุกข์ เมื่ออาจารย์อุปัชฌาย์และเพื่อนพรหมจารีผู้

หวังดี กล่าวสอนว่า เธอพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้ มอง

ไปข้างหน้าอย่างนี้ เหลียวซ้ายแลขวาอย่างนี้ คู้เข่าอย่างนี้ เหยียดออก

อย่างนี้ นุ่งอย่างนี้ ห่มอย่างนี้ ถือบาตรอย่างนี้ พึงรับภัตแต่พอยัง

อัตภาพให้เป็นไป พิจารณาก่อนแล้วจึงฉัน พึงคุ้มครองทวารในอินทรีย์

ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรเนือง ๆ พึงรู้

ธรรมเนียมต้อนรับอาคันตุกะ พึงรู้ธรรมเนียมของผู้เดินทาง พึงประพฤติ

ด้วยดีในขันธกวัตร ๑๔ และมหาวัตร ๘๐ พึงสมาทานธุดงคคุณ ๑๓

ดังนี้ เป็นผู้ว่ายากไม่อดทนต่อโอวาท ไม่ยินดีรับคำสอน กล่าวตอบว่า

กระผมไม่ได้ว่าพวกท่าน เหตุไรพวกท่านจึงว่ากระผม กระผมเท่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 608

จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์สำหรับตน แล้วได้ทำตัว

ให้ใคร ๆ ว่ากล่าวไม่ได้.

ได้ยินว่า พวกภิกษุรู้ว่าภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ว่ายาก จึงได้ประชุม

กันกล่าวโทษในธรรมสภา พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุมสนทนากันถึงเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่า

นั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว รับสั่งให้เรียกภิกษุนั้นมาแล้วตรัสถามว่า

ได้ยินว่าเธอเป็นผู้ว่ายากจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่าจริง จึง

ตรัสว่า เธอบวชในศาสนาที่จะนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้ เหตุไรจึงไม่

เชื่อคำของผู้ที่หวังดี แม้ในกาลก่อน เธอก็ไม่เชื่อคำ ต้องแหลกละเอียด

ในช่องลมเวรัมพวาตมาแล้วดังนี้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกแร้งที่เขาคิชฌ-

กูฏ นกแร้งนั้นมีบุตรเป็นพญาแร้งชื่อสุปัต ซึ่งมีกำลังมาก มีนก-

แร้งหลายพันเป็นบริวาร พญาแร้งนั้นเลี้ยงดูมารดาบิดา แต่เพราะ

ความที่ตนมีกำลังมาก จึงบินไปไกลเกินควร บิดาได้กล่าวสอนพญา

แร้งนั้นว่า ลูกรัก เจ้าไม่ควรไปเกินที่ประมาณเท่านี้ พญาแร้งนั้น

แม้รับคำว่า ดีแล้ว ก็จริง แต่วันหนึ่งเมื่อฝนตกใหม่ ๆ ได้บินไปกับ

นกแร้งทั้งหลาย ทิ้งนกแร้งทั้งหลายเสีย ตนเองบินสูงเกินภูมิของนก

ถึงช่องลมเวรัมพวาต ได้ถึงความเป็นผู้แหลกละเอียด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 609

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น พระองค์เป็นผู้

ตรัสรู้แล้ว ได้ตรัสพระคาถาทั้งหลายเหล่านี้ว่า :-

ทางบนยอดเขาคิชฌกูฏ มีชื่อว่าปริสัง-

กุปถะมาแต่ดึกดำบรรพ์ นกแร้งเลี้ยงดูมารดา

บิดาผู้ชราอยู่ที่ทางนั้น.

โดยมากไปเที่ยวหามันข้นงูเหลือมมาให้

มารดาบิดาเหล่านั้นกิน ฝ่ายบิดารู้ว่านกแร้ง

สุปัตมีปีกแข็งแล้ว มีกำลังมาก มักร่อนขึ้น

ไปสูง เที่ยวไปไกล ๆ จึงได้กล่าวสอนลูกว่า.

แน่ะพ่อ เมื่อใดเจ้าเห็นแผ่นดินมีทะเล

ล้อมรอบ ลมประหนึ่งว่ากงจักร ลอยลิบ ๆ

อยู่ดุจใบบัวลอยอยู่ในน้ำ เจ้าจงรีบกลับเสีย

จากที่นั้น อย่าบินต่อจากนั้นไปอีกเลย.

นกแร้งสุปัตเป็นสัตว์ มีร่างกายสมบูรณ์

มีกำลังมาก มีปีกแข็ง บินขึ้นไปถึงอากาศ

เบื้องบนโดยกำลังเร็ว เมื่อเหลียวกลับมาแลดู

ภูเขาและป่าไม้ทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 610

ก็ได้เห็นแผ่นดินมีทะเลล้อมรอบ กลม

ดุจกงจักรเหมือนคำของบิดาบอกไว้.

นกแร้งสุปัตก็บินล่วงเลยที่นั้น ไปเบื้อง

หน้าอีก ยอดลมแรงแข็งกล้า ได้ประหารนก

แร้งสุปัต ผู้มีกำลังมากนั้นให้แหลกละเอียด.

นกแร้งสุปัตบินเกินไป ไม่สมามารถจะ

กลับจากที่นั้นได้อีก ตกอยู่ในอำนาจลมเวรัม-

พวาต ถึงความพินาศแล้ว.

เมื่อนกแร้งสุปัตไม่ทำตามโอวาท ของ

บิดา บุตรกรรยาและนกแร้งอัน ๆ ที่อาศัยเลี้ยง

ชีพด้วย ก็พากันถึงความพินาศไปด้วยกันหมด.

แม้ในศาสนานี้ก็เหมือนกัน ผู้ใดไม่

เชื่อถ้อยฟังคำของผู้ใหญ่ ผู้นั้นเป็นผู้ชื่อว่าล่วง

ศาสนา ดังนกแร้งไปล่วงเขตแดน ต้องเดือด-

ร้อนฉะนั้น ผู้ไม่ทำตามคำสอนของผู้ใหญ่

ย่อมถึงความพินาศทั้งหมด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 611

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริสงฺกุปโก คือมีชื่อว่า สังกุปถะ

มนุษย์ไปหาเงินทองต้องตอกหลักผูกเชือกขึ้นไปบนถิ่นนั้น เพราะเหตุ

นั้น ทางเดินเท้าบนคิชฌบรรพตนั้น ท่านจึงเรียกว่า สังกุปถะ.

ทางใหญ่บนยอดเขาคิชฌกูฏ ชื่อว่า คิชฺฌปโถ บทว่า สนนฺ-

ตโน แปลว่า มีมาแต่ดึกดำบรรพ์. บทว่า ตตฺราสิ ความว่า ใกล้

ทางเดินเท้าชื่อสังกุปถะ บนยอดเขาคิชฌกูฏนั้น ได้มีนกแร้งตัวหนึ่ง

อาศัยอยู่ นกแร้งตัวนั้นเลี้ยงดูมารดาบิดาผู้ชราแล้ว. สองบทว่า อชคร

เมท เท่ากับ อชครเมท แปลว่า มันข้นงูเหลือม. บทว่า อจฺจาหาสิ

คือนำมาแล้วมากมาย. บทว่า พหุตฺตโต เท่ากับ พหุตฺตโส แปลว่า

โดยมาก. บทว่า ชาน อุจฺจ ปปาติน ความว่า บิดาได้สดับว่า

บุตรของท่านโลดแล่นขึ้นสู่ที่สูงเกินไป จึงรู้ว่านกแร้งสุปัตนี้มักร่อนขึ้น

ที่สูง. บทว่า เตชสึ ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยเดชของบุรุษ. บทว่า ทูรคามิน

คือ ไปไกลด้วยเดชนั่นเอง. บทว่า ปริปฺลวตฺต คือ ลอยลิบ ๆ อยู่ดุจ

ใบบัวลอยอยู่ในน้ำ. บทว่า วิชานหิ เท่ากับ วิชานาสิ แปลว่า รู้.

บทว่า จกฺกว ปริมณฺฑล ความว่า บิดากล่าวสอนอย่างนี้ว่า เมื่อใด

ชมพูทวีปอันล้อมรอบด้วยทะเล ปรากฏแก่เจ้าผู้ดำรงอยู่ในถิ่นนั้น ประ

หนึ่งว่ากงจักร เจ้าจงรีบกลับเสียจากที่นั้น. บทว่า อุทฺธ ปตฺโตสิ

ความว่า นกแร้งสุปัตไม่กระทำตามโอวาทของบิดา วันหนึ่งได้บินไป

กับนกแร้งทั้งหลายทั้งนกแร้งเหล่านั้นเสีย ได้บินขึ้นไปถึงที่ที่บิดาบอก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 612

แล้ว. บทว่า โอโลกยนฺโต คือ มือถึงทรงนั้นแล้วมองดูข้างล่าง.

บทว่า วงฺกงฺโค เท่ากับ วงฺกคีโว แปลว่า เอี้ยวคอลงมา. บทว่า

ยถสฺสาสิ ปิตุสฺสุต ความว่า ได้แลเห็นเหมือนกับคำที่ตนได้ฟังมาจาก

สำนักของนกแร้งผู้บิดาฉะนั้น บาลีว่า ยถาสฺสาสิ ดังนี้ก็มี. บทว่า

ปรเมว ปวตฺตถ ความว่า บินล่วงเลยจากที่ที่บิดาบอกแล้วขึ้นไปเบื้อง

หน้าอีก. บทว่า ตญฺจ วาตสิขา ติกฺขา ความว่า ยอดลมเวรัมพ-

วาตอันแรงแข็งกล้าได้ประหาร คือได้ขจัดนกแร้งสุปัตผู้ไม่กระทำตาม

โอวาท ผู้แม้จะเป็นสัตว์ที่มีกำลังมากนั้นแล้ว ได้แก่ ได้กระทำให้แหลก

ละเอียดแล้ว. บทว่า นาสกฺขาติคโต ตัดบทเป็น นาสกฺขิ อติคโต

แปลว่า ไม่สามารถจะกลับจากที่นั้นได้.

สัตว์ชื่อว่า โปโส. บทว่า อโนวาทกเร ความว่า เมื่อนกแร้ง

สุปัตนั้นไม่ทำตามโอวาทของบัณฑิตทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด

ก็พากันประสบทุกข์อันใหญ่หลวง. บทว่า อกตฺวา วุฑฺฒสาสน ผู้

ไม่ทำตามคำสอนของผู้ใหญ่ผู้หวังประโยชน์ ย่อมถึงความพินาศ คือ

ทุกข์ใหญ่ อย่างนั้นเหมือนกัน.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ฉะนั้น เธอจงอย่าเป็นเหมือน

นกแร้ง จงเชื่อถ้อยคำของผู้ที่หวังดี ภิกษุนั้นเมื่อพระศาสดาตรัสสอน

อย่างนี้แล้ว ได้เป็นผู้ว่าง่ายตั้งแต่นั้นมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 613

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม-

ชาดกว่า นกแร้งว่ายากในกาลนั้น ได้มาเป็นภิกษุว่ายากในบัดนี้ ส่วน

นกแร้งผู้เป็นบิดาในกาลนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาคิชฌชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 614

๒. โกสัมพิยชาดก

ว่าด้วยอยู่คนเดียวดีกว่าร่วมกับคนพาล

[๑๒๑๖] คนพาลมีเรื่องอื้ออึงเหมือนกันหมด แต่

สักคนหนึ่งก็ไม่รู้สึกคนว่าเป็นคนพาล เมื่อ

สงฆ์แตกกันก็ไม่รู้เหตุอื่นโดยยิ่งว่า สงฆ์แตก

กันเพราะเรา.

[๑๒๑๗] เพราะเป็นคนมีสติหลงลืม แต่ยังพูดว่า

ตนเป็นบัณฑิตมีวาจาเป็นอารมณ์ช่างพูด ย่อม

ปรารถนาจะให้เสียงออกจากปากอยู่เพียงใด ก็

พูดไปเพียงนั้น เขาถูกการทะเลาะนำไปแล้ว

ยังไม่รู้ว่าการทะเลาะนั้นเป็นโทษ.

[๑๒๑๘] ก็ชนเหล่าใดเข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้

ว่า คนโน้นได้ด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา คนโน้น

ได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา เวรของ

ชนเหล่านั้น ย่อมไม่ระงับได้.

[๑๒๑๙] ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกความโกรธ

นั้นไว้ว่า คนโน้นได้ด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 615

คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา

เวรของชนเหล่านั้น ย่อมระงับไปได้.

[๑๒๒๐] แต่ไหนแต่ไรมา ในโลกนี้ เวรย่อมไม่

ระงับด้วยเวร แต่ย่อมระงับได้ด้วยการไม่จอง

เวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.

[๑๒๒๑] ก็ชนเหล่าอันย่อมไม่รู้สึกว่า พวกเราจะ

พากันยุบยับในท่ามกลางสงฆ์นี้ ส่วนชนเหล่า

ใดในหมู่นั้นย่อมรู้สึกได้ ความหมายมั่นกัน

ย่อมสงบระงับไป เพราะการทำไว้ในใจโดย

แยบคายของชนเหล่านั้น.

[๑๒๒๒] คนที่ปล้นแว่นแคว้นชิงทรัพย์สมบัติ

กันจนถึงปลงชีวิตลิดกระดูกกันแล้ว ก็ยังกลับ

สามัคคีกันได้ เหตุไรพวกเธอจึงไม่สามัคคี

กันเล่า.

[๑๒๒๓] ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญาเป็นนักปราชญ์

ไปไหนไปด้วยกัน อยู่ด้วยช่วยทำประโยชน์

ให้สำเร็จ ควรชื่นชมมีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น

จะครอบงำอันตรายทั้งปวงได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 616

[๑๒๒๔] ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนัก

ปราชญ์ ไปไหนไปด้วยกัน อยู่ด้วยช่วยทำ

ประโยชน์ให้สำเร็จ พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว

เหมือนพระราชาทรงสละแว่นแคว้นเสด็จไป

แต่พระองค์เดียวฉะนั้น หรือเหมือนช้างมา-

ตังคะ เที่ยวไปในป่าแต่ผู้เดียวฉะนั้น.

[๑๒๒๕] การเที่ยวไปผู้เดียวประเสริฐกว่า เพราะ

คุณคือความเป็นสหาย ย่อมไม่มีในคนพาล

ควรเที่ยวไปผู้เดียวแต่ไม่ควรทำบาป เหมือน

ช้างมาตังคะมีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปใน

ป่าแต่ผู้เดียวแลไม่ทำบาป ฉะนั้น.

จบ โกสัมพิยชาดกที่ ๒

อรรถกถาโกสัมพิยชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยเมืองโกสัมพีประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม

ทรงปรารภเหล่าภิกษุที่ทะเลาะกันในเมืองโกสัมพี ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่ม

ต้นว่า ปุถุสทฺโท ดังนี้. เนื้อเรื่องมีมาแล้วในโกสัมพิกขันธกะ สำหรับ

ในที่นี้มีความย่อ ดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 617

ได้ยินว่า คราวนั้นภิกษุสองรูป คือ พระวินัยธรหนึ่ง พระ-

ธรรมกถึกหนึ่ง อยู่ในอาวาสเดียวกัน ในสองรูปนั้น วันหนึ่งพระธรรม-

กถึกถ่ายอุจจาระ เหลือน้ำชำระไว้ในภาชนะในซุ้มน้ำออกไป พระวินัยธร

เข้าไปในที่นั้นทีหลังเห็นน้ำนั้นเข้า ออกมาถามพระธรรมกถึกว่า อาวุโส

ท่านเหลือน้ำไว้หรือ ? พระธรรมกถึกตอบว่า ขอรับผมเหลือไว้ พระ-

วินัยธรถามว่า ท่านไม่รู้ว่าเป็นอาบัติในข้อนี้หรือ ? พระธรรมกถึกตอบว่า

ขอรับผมไม่รู้ พระวินัยธรกล่าวว่า อาวุโส การที่ท่านเหลือน้ำไว้ใน

ภาชนะนั้นเป็นอาบัติ พระธรรมกถึกกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นผมจักปลงอาบัติ

พระวินัยธรกล่าวว่า อาวุโส ถ้าท่านไม่แกล้งทำไปโดยไม่มีสติก็ไม่เป็น

อาบัติ พระธรรมกถึกนั้นเข้าใจอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ พระวินัยธรได้

บอกศิษย์ของตนว่า พระธรรมกถึกนี้แม้ต้องอาบัติก็ไม่รู้ พวกศิษย์ของ

พระวินัยธรเห็นพวกศิษย์ของพระธรรมกถึกเข้า กล่าวว่า อุปัชฌาย์ของ

พวกท่านต้องอาบัติแล้วยังไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ พวกศิษย์ของพระธรรมกถึก

ได้พากันไปบอกแก่อุปัชฌาย์ของตน พระธรรมกถึกกล่าวอย่างนี้ว่า

พระวินัยธรนี้ทีแรกบอกว่าไม่เป็นอาบัติ บัดนี้ว่าเป็นอาบัติท่านนี้พูดเท็จ

พวกศิษย์พระธรรมกถึกพากันไปกล่าวว่า อุปัชฌาย์ของพวกท่านพูดเท็จ

แล้วได้ทะเลาะกันด้วยประการอย่างนี้ ต่อแต่นั้นพระวินัยธรได้ช่องจึง

ทำอุกเขปนียกรรม ยกโทษในการไม่เห็นอาบัตินั้น ตั้งแต่นั้นมา อุบาสก

อุบาสิกาผู้ถวายปัจจัยแก่ภิกษุเหล่านั้นได้แบ่งเป็นสองพวก ภิกษุณีผู้รับ

โอวาทก็ดี อารักขเทวดาก็ดี อากาสัฏฐกเทวดาที่เคยเห็นเคยคบกับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 618

อารักขเทวดาก็ดี ตลอดถึงพรหมโลกบรรดาที่เป็นปุถุชน ได้แยกกัน

เป็นสองพวก ได้เกิดโกลาหลไปถึงภพชั้นอกนิษฐ์

ในอดีตกาล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระตถาคต กราบทูลลัทธิ

ของพวกภิกษุผู้ยกโทษว่า พระธรรมกถึกนี้ พวกเรายกโทษด้วยกรรม

อันเป็นธรรมทีเดียว และลัทธิของพวกภิกษุผู้ประพฤติตามพระธรรม-

กถึกผู้ถูกยกโทษว่า อาจารย์ของพวกเราถูกยกโทษด้วยกรรมอันไม่เป็น

ธรรม และภาวะที่พวกภิกษุเหล่านั้น แม้พวกภิกษุผู้ยกโทษห้ามอยู่ก็ยัง

เที่ยวตามแวดล้อมพระธรรมกถึกนั้น ให้พระศาสดาทรงทราบ พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงส่งภิกษุไปสองครั้งโดยมีพระพุทธดำรัสไปว่า ขอสงฆ์

จงสามัคคีกันเถิด ทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นไม่ปรารถนาจะสามัคคีกัน

พระเจ้าข้า ในครั้งที่ ๓ ทรงทราบว่า ภิกษุสงฆ์แตกกันแล้ว ภิกษุสงฆ์

แตกกันแล้ว จึงเสด็จไปยังสำนักของภิกษุเหล่านั้น ตรัสโทษในการยก

โทษของพวกภิกษุผู้ยกโทษ และในการไม่เห็นอาบัติของพวกภิกษุนอก

นี้แล้วเสด็จหลีกไป พระศาสดาทรงบัญญัติวัตรในโรงภัตว่า พึงนั่งใน

อาสนะที่มีอาสนะอื่นคั่นในระหว่าง แก่ภิกษุเหล่านั้นผู้ทำอุโบสถกรรม

เป็นต้นในสีมาเดียวกัน ณ โฆสิตารามนั่นแหละ แล้วเกิดร้าวรานกันอีก

ในโรงภัตเป็นต้น ได้ทรงสดับว่า บัดนี้ภิกษุเหล่านั้นยังร้าวรานกันอยู่

จึงเสด็จไปตรัสเตือนว่า อย่าเลยภิกษุทั้งหลาย อย่าร้าวรานกันเลย ดังนี้

เป็นต้น เมื่อพระธรรมวาทีรูปหนึ่ง ซึ่งไม่ปรารถนาจะให้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงลำบากกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 619

ผู้ธรรมสามีจงยับยั้ง มีความขวนขวายน้อยอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมเถิด

พวกข้าพระองค์จักปรากฏด้วยการร้าวรานบาดหมางทะเลาะวิวาทกัน จึง

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้วในเมืองพาราณสีได้มี

พระราชาครองแคว้นกาสีมีพระนามว่า พรหมทัต ดังนี้ แล้วตรัสเรื่อง

ที่พระเจ้าพรหมทัตชิงราชสมบัติของพระเจ้าทีฆีติโกศล จับพระเจ้าทีฆีติ

โกศลซึ่งปลอมพระองค์ซ่อนอยู่ ให้ปลงพระชนม์เสีย และเรื่องที่ทีฆาวุ

กุมารถวายชีวิตแก่พระเจ้าพรหมทัต แล้วสองกษัตริย์สามัคคีกันแต่นั้น

มา ตรัสสอนว่า ภิกษุทั้งหลาย พระราชาผู้ทรงมีอาชญามีศัสตรา ยัง

มีขันติโสรัจจะถึงเพียงนี้ พวกเธอบวชในธรรมวินัยที่เราตถาคตกล่าวดี

แล้วอย่างนี้ พึงมีขันติและโสรัจจะ ข้อนี้จะเป็นความงามในธรรมวินัยนี้

แท้แล ตรัสห้ามถึงสองครั้งสามครั้งว่า อย่าเลยภิกษุทั้งหลาย อย่าร้าว

รานกันเลย ทรงเห็นว่าไม่ลดละกันได้ จึงทรงดำริว่า พวกโมฆบุรุษ

เหล่านี้ ถูกกิเลสหุ้มห่อ ยากที่จะรู้สำนึก จึงเสด็จหลีกไป วันรุ่งขึ้น

พระองค์เสด็จกลับจากบิณฑบาต ทรงพักในพระคันธกุฎีหน่อยหนึ่ง

ทรงเก็บเสนาสนะ ทรงบาตรและจีวรของพระองค์ ประทับในอากาศ

ท่ามกลางสงฆ์ ตรัสพระคาถาทั้งหลายนี้ว่า :-

คนพาลมีเสียงอื้ออึงเหมือนกันหมด แต่

สักคนหนึ่งก็ไม่รู้สึกตนว่าเป็นคนพาล เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 620

สงฆ์แตกกันก็ไม่รู้เหตุอันโดยยิ่งว่า สงฆ์แตก

กันเพราะเรา.

เพราะเป็นคนมีสติหลงลืม แต่ยังพูดว่า

ตนเป็นบัณฑิตมีวาจาเป็นอารมณ์ช่างพูด ย่อม

ปรารถนาจะให้เสียงออกจากปากอยู่เพียงใด ก็

พูดไปเพียงนั้น เขาถูกการทะเลาะนำไปแล้ว

ยังไม่รู้ว่าการทะเลาะนั้นเป็นโทษ.

ก็ชนเหล่าใดเข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้

ว่า คนโน้นได้ด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา คนโน้น

ได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา เวรของ

ชนเหล่านั้น ย่อมไม่ระงับได้.

ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกความโกรธ

นั้นไว้ว่า คนโน้นได้ด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา

คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา

เวรของชนเหล่านั้น ย่อมระงับไปได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 621

แต่ไหนแต่ไรมา ในโลกนี้ เวรย่อมไม่

ระงับด้วยเวร แต่ย่อมระงับได้ด้วยการไม่จอง

เวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.

ก็ชนเหล่าอื่นย่อมไม่รู้สึกว่า พวกเราจะ

พากันยุบยับในท่ามกลางสงฆ์นี้ ส่วนชนเหล่า

ใดในหมู่นั้นย่อมรู้สึกได้ ความหมายมั่นกัน

ย่อมสงบระงับไป เพราะการทำไว้ในใจโดย

แยบคายของชนเหล่านั้น.

คนที่ปล้นแว่นแคว้นชิงทรัพย์สมบัติ

กันจนถึงปลงชีวิตลิดกระดูกกันแล้ว ก็ยังกลับ

สามัคคีกันได้ เหตุไรพวกเธอจึงไม่สามัคคี

กันเล่า.

ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญาเป็นนักปราชญ์

ไปไหนไปด้วยกัน อยู่ด้วยช่วยทำประโยชน์

ให้สำเร็จ ควรชื่นชมมีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น

จะครอบงำอันตรายทั้งปวงได้.

ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนัก

ปราชญ์ ไปไหนไปด้วยกัน อยู่ด้วยช่วยทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 622

ประโยชน์ให้สำเร็จ พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว

เหมือนพระราชาทรงสละแว่นแคว้นเสด็จไป

แต่พระองค์เดียวฉะนั้น หรือเหมือนช้างมา-

ตังคะ เที่ยวไปในป่าแต่ผู้เดียวฉะนั้น.

การเที่ยวไปผู้เดียวประเสริฐกว่า เพราะ

คุณคือความเป็นสหาย ย่อมไม่มีในคนพาล

ควรเที่ยวไปผู้เดียวแลไม่ควรทำบาป เหมือน

ช้างมาตังคะมีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปใน

ป่าแต่ผู้เดียวแลไม่ทำบาป ฉะนั้น.

ในพระคาถานั้น คนพาลชื่อว่ามีเรื่องอื้ออึงเพราะวิเคราะห์ว่า

มีเรื่องอึกทึกคือดังลั่น. บทว่า สมชฺโน คือเป็นคนที่เช่นเดียวกันหมดมี

คำที่ท่านอธิบายไว้ว่า คนที่ทำการทะเลาะกันนี้ทั้งหมดเทียว มีทั้งเสียง

อื้ออึงและเสมอเหมือนกัน เพราะเปล่งเสียงโดยรอบ

บทพระคาถาว่า น พาโล โกจิ มญฺถ ความว่า บรรดา

คนพาลเหล่านั้นใคร ๆ แม้สักคนหนึ่ง ก็ไม่รู้สึกว่าตนเป็นคนพาลทั้ง

หมดล้วนสำคัญตนว่าเป็นบัณฑิตทั้งนั้น. อธิบายว่า คนผู้ทำการทะเลาะ

กันนี้ทั้งหมดนั่นแหละ ย่อมไม่รู้สึกว่าตนเป็นคนพาล. บทว่า นาญฺ

ภิยฺโย อมญฺรุ ความว่า ใคร ๆ แม้สักคนหนึ่ง ก็ไม่รู้สึกว่าตนเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 623

คนพาล แลเมื่อสงฆ์แตกกันผู้อื่นแม้สักคนหนึ่ง ก็ไม่รู้เหตุนี้โดยยิ่งว่า

สงฆ์แตกกันเพราะเหตุแห่งเรา. บทว่า ปริมุฏฺา คือ เป็นคนมีสติหลง

ลืม. บทว่า ปณฺฑิตาภาสา ความว่า ชื่อว่าเป็นเช่นกับด้วยบัณฑิต

เพราะสำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต ท่านอาเทศราอักษรให้เป็นรัสสะ ว่า

วาจาโคจร ภาณิโน ดังนี้ อธิบายว่า มีวาจาเป็นอารมณ์ ไม่มีอริย-

ธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้นเป็นอารมณ์ และเป็นคนช่างพูด คือช่างเจรจา

ถ้อยคำ. บทว่า ยาวิจฺฉนฺติ มุขายาม ความว่า ย่อมปรารถนาจะให้

เสียงออกจากปากอยู่เพียงใด ก็ยืนเขย่งเท้าพูดตะโกนออกไปเพียงนั้น

อธิบายว่า แม้สักคนหนึ่งก็ไม่กระทำการหุบปากเพราะเคารพในสงฆ์

บทว่า เยน นีตา ความว่า เขาถูกการทะเลาะใด นำไปแล้วสู่ความเป็นผู้

ไม่มีความละอายนี้. บทว่า น ต วิทู ความว่า เขายังไม่รู้การทะเลาะ

นั้นว่า การทะเลาะนี้มีโทษอย่างนี้. บทว่า เย จต อุปนยฺหนฺติ ความว่า

ชนเหล่าใดเข้าไปผูกความโกรธนั้น คือที่มีอาการว่าคนโน้นได้ด่าเราดังนี้

เป็นต้น. บทว่า สนนฺตโน แปลว่า เป็นของเก่า. บทว่า ปเร เป็นต้น

ความว่า คนที่ทำการทะเลาะกันนอกจากพวกบัณฑิต คือพวกอื่น ๆ นอก

จากพวกบัณฑิตนั้น ชื่อว่า ปเร. ปเรชนเหล่านั้นก่อความวุ่นวายขึ้นใน

ท่ามกลางสงฆ์นี้ ย่อมไม่รู้สึกว่าพวกเราจะพากันยุบยับ จะพากันย่อยยับ

คือพวกเราจะพากันฉิบหาย ได้แก่พวกเราจะพากันไปสู่ที่ใกล้คือสู่สำนัก

แห่งมัจจุราชเนือง ๆ. บทว่า เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ ความว่า ส่วน

ชนเหล่าใดในหมู่นั้นผู้เป็นบัณฑิต ย่อมรู้สึกได้ว่าพวกเราจะพากันไปสู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 624

ที่ใกล้แห่งมัจจุราช. บทว่า ตโต สมฺมนฺติ เมธคา ความว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ชนเหล่านั้นเมื่อรู้อย่างนี้ ยังการทำไว้ในใจโดยอุบายอัน

แยบคายให้เกิดขึ้นแล้ว. ย่อมปฏิบัติเพื่อความเข้าไปสงบแห่งความหมาย

มั่นแห่งการทะเลาะกันได้. บทว่า อฏฺิจฺฉินฺนา ความว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้า ตรัสพระคาถานี้ ทรงหมายถึงพระเจ้าพรหมทัตและทีฆาวุ-

กุมาร แม้ทั้งของพระองค์นั้นก็ยังกลับสามัคคีกันได้ เหตุไรพวกเธอไม่

ได้ตัดกระดูกของมารดาบิดา ไม่ได้ปลงชีวิตกัน ไม่ได้ชิงทรัพย์สมบัติ

กัน จึงไม่สามัคคีกันเล่า.

ข้อนี้มีพระบรมพุทธาธิบายว่า ภิกษุทั้งหลาย พระราชาผู้ทรง

ถืออาชญาสิทธิ์ยังสามัคคีกัน สมาคมกัน ทำสัมพันธไมตรีกันด้วยอาวาห

และวิวาหมงคล แล้วทรงดื่มและทรงเสวยร่วมกันได้ถึงเพียงนี้ พวกเธอ

บวชในศาสนาเห็นปานนี้ ย่อมไม่อาจเพื่อสลัดแม้สักว่าเวรของตนออก

ได้ อะไรเป็นภาวะแห่งภิกษุของพวกเธอเล่า.

พระคาถาว่า สเจ ลเภถ ดังนี้เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้เพื่อทรงแสดงถึงคุณของสหายผู้เป็นบัณฑิต และโทษของสหายผู้

เป็นคนพาล. บทว่า อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ ความว่า ควรชื่น

ชมมีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น จะครอบงำอันตรายที่ปรากฏและอันตราย

ที่ปิดบังทั้งปวงได้. บทว่า ราชาว รฏฺ วิชิต ความว่า พึงเที่ยวไป

ผู้เดียว เหมือนพระราชามหาชนกและอรินทมราชา ทรงสละแว่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 625

แคว้นของพระองค์เสด็จไปแต่พระองค์เดียวฉะนั้น. บทว่า มาตงฺครญฺ-

เว นาโค ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกช้างว่ามาตังคะ

คำว่า นาคะนั้นเป็นชื่อแห่งช้างใหญ่ ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ควรเที่ยว

ไปผู้เดียวและไม่ควรทำบาป เหมือนช้างมาตังคะผู้เลี้ยงดูมารดา เหมือน

ช้างสีลวหัตถี และเหมือนช้างปาริไลยกะ เที่ยวไปในป่าผู้เดียวและไม่

ทำบาปฉะนั้น.

พระศาสดาแม้ตรัสอย่างนี้แล้ว เมื่อยังไม่อาจให้ภิกษุเหล่านั้น

ปรองดองกันได้ จึงเสด็จไปยังพาลกโลณการามคาม ทรงแสดงอานิสงส์

ในความเป็นผู้อยู่ผู้เดียวแก่พระภัคคุเถระ จากที่นั้นเสด็จไปถึงที่อยู่ของ

กุลบุตรสามคน ทรงแสดงอานิสงส์ในสามัคคีรสแก่กุลบุตรเหล่านั้น ต่อ

จากนั้นเสด็จไปถึงปาริไลยกไพรสณฑ์ ประทับอยู่ ณ ที่นั้นตลอดสาม

เดือน ไม่เสด็จมาเมืองโกสัมพีอีก เสด็จไปเมืองสาวัตถีเลย.

พวกอุบาสกชาวเมืองโกสัมพีปรึกษากันว่า พระผู้เป็นเจ้าเหล่า

ภิกษุชาวโกสัมพีนี้ ทำความเสียหายให้แก่พวกเรามาก พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ทรงระอาภิกษุเหล่านี้ จึงหลีกไปเสีย พวกเราจักไม่กระทำสามี-

จิกรรมมีการกราบเป็นต้น แก่ภิกษุเหล่านี้เลย จักไม่ถวายบิณฑบาต

แก่ท่านที่เข้ามาบิณฑบาต เมื่อทำเช่นนี้ภิกษุเหล่านี้จักหลีกไปบ้าง จัก

ให้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เลื่อมใสบ้าง ดังนี้แล้วก็ทำตามที่ปรึกษากัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 626

นั้น ภิกษุเหล่านั้นถูก พวกอุบาสกลงทัณฑกรรมเช่นนั้น จึงพากันไป

เมืองสาวัตถีกราบทูลขอขมาโทษต่อ พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า พระราชบิดาในครั้น ได้มาเป็นพระเจ้าสุทโธทนมหาราชใน

บัดนี้ พระราชมารดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระมหามายาในบัดนี้

ทีฆาวุกุมารในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาโกสัมพิยชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 627

๓. มหาสุวราชชาดก

ว่าด้วยสหายย่อมไม่ละทิ้งสหาย

[๑๒๒๖] เมื่อใด ต้นไม้มีผลบริบูรณ์ เมื่อนั้น ฝูง

วิหคทั้งหลาย ย่อมพากันมามั่วสุมบริโภคผลไม้

ต้นนั้น แต่โดยรู้ว่าต้นไม้สิ้นแล้ว ผลวายแล้ว

ฝูงวิหคทั้งหลายก็พากันจากต้นไม้นั้นบินไปสู่

ทิศน้อยทิศใหญ่.

[๑๒๒๗] ดูก่อนนกแขกเต้าผู้มีจะงอยปากแดง

ท่านจงไปยังที่ที่ควรไปเถิด อย่าได้มาตายเสีย

เลย เหตุไรท่านจึงซบเซาอยู่ที่ต้นไม้แห้ง ดูก่อน

นกแขกเต้า ผู้มีขนเขียวดุจไพรสณฑ์ในฤดูฝน

เชิญเถิด ขอท่านจงบอกเรื่องนั้น เหตุไรท่าน

จึงทิ้งต้นไม้แห้งไม่ได้.

[๑๒๒๘] ข้าแต่พระยาหงส์ ชนเหล่าใดแลเป็น

เพื่อนของพวกเพื่อน ในคราวร่วมสุขทุกข์จน

ตลอดชีวิต ชนเหล่านั้นเป็นสัตบุรุษ ระลึกถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 628

ธรรมของสัตบุรุษอยู่ ย่อมละทิ้งเพื่อนผู้สิ้น

ทรัพย์หรือยังไม่สิ้นทรัพย์ไปไม่ได้เลย.

[๑๒๒๙] ข้าแต่พญาหงส์ เราก็เป็นผู้หนึ่งใน

บรรดาสัตบุรุษ ต้นไม้นี้เป็นทั้งญาติเป็นทิ้ง

เพื่อนของเรา เราต้องการเพียงเพื่อเป็นอยู่ จึง

ไม่อาจละทิ้งต้นไม้นั้นไปได้ ก็การที่จะละทิ้ง

ไปเพราะได้ทราบว่า ต้นไม้นี้สิ้นผลแล้ว ดังนี้

นี่ไม่ยุติธรรม.

[๑๒๓๐] ความเป็นเพื่อน ความไมตรี ความสนิท

สนมกัน ท่านได้ทำไว้เป็นพยานดีแล้ว ถ้าท่าน

ชอบใจธรรมนั้น ท่านก็เป็นผู้ควรที่วิญญูชน

ทั้งหลายพึงสรรเสริญ.

[๑๒๓๑] ดูก่อนพญานกแขกเต้า ผู้ชาติวิหคมีปีก

เป็นยาน มีคอโค้งเป็นสง่า เรานั้นจะให้พรแก่

ท่าน ท่านจงเลือกเอาพร ตามที่ใจปรารถนา

เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 629

[๑๒๓๒ ] ข้าแต่พญาหงส์ ถ้าท่านจะให้พรแก่

ข้าพเจ้าไซร้ ก็ขอให้ต้นไม้นี้พึงได้มีอายุต่อไป

ต้นไม้นั้นจงมีกิ่ง มีผลงอกงามดี มีผลมีรส

หวานเหมือนน้ำผึ้ง ตั้งอยู่อย่างสง่างามเถิด.

[๑๒๓๓] ดูก่อนสหาย ท่านจงดูต้นไม้นั้น ซึ่งมี

ผลมากมาย ขอให้ท่านจงอยู่ร่วมกับต้นมะเดื่อ

ของท่าน ขอให้ต้นมะเดื่อนั้นจงมีกิ่งก้าน มีผล

งอกงามดี มีผลมีรสหวานเหมือนน้ำผึ้ง ตั้งอยู่

อย่างสง่างามเถิด.

[๑๒๓๓] ข้าแต่ท้าวสักกะ ขอให้พระองค์ทรง

พระเจริญสุข พร้อมกับพระญาติทั้งปวง เหมือน

ข้าพระบาท มีความสุขเพราะได้เห็นต้นไม้

ผลิตผลในวันนี้ ฉะนั้นเถิด.

[๑๒๓๔] ท้าวสักกเทวราชประทานพร แก่พญา-

นกแขกเต้า ทำต้นไม้ให้มีผลแล้ว พาพระ-

มเหสีเสด็จกลับเทพนันทนวัน.

จบ มหาสุวราชชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 630

อรรถกถามหาสุวราชชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งจึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทุโม ยถา โหติ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้นเรียนพระกรรมฐานในสำนักพระศาสดา

แล้วไปอยู่ในป่าอาศัยบ้านชายแดนตำบลหนึ่ง ในแคว้นโกศลชนบท

พวกมนุษย์ช่วยกันปลูกสร้างที่พักกลางคืนและที่พักกลางวันเป็นต้น แล้ว

ทำเสนาสนะในที่เดินไปมาถวายภิกษุนั้น บำรุงภิกษุนั้น โดยเคารพ

เมื่อภิกษุนั้นจำพรรษา เดือนแรกเกิดเพลิงไหม้บ้านนั้นขึ้น แม้สักว่า

พืชของพวกมนุษย์ก็ไม่มีเหลือ เขาจึงไม่อาจถวายบิณฑบาตที่ประณีต

แก่ภิกษุนั้นได้ เธอแม้จะอยู่ในเสนาสนะที่สบาย แต่ลำบากด้วยบิณฑบาต

จึงไม่สามารถจะให้มรรคหรือผลเกิดขึ้นได้ ครั้นกาลล่วงไปได้สามเดือน

เธอมาเฝ้าพระศาสดา พระองค์ทรงทำปฏิสันถาร แล้วตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ ? เสนาสนะเป็นที่สบายดี

หรือ ? ภิกษุรูปนั้นได้กราบทูลความนั้นให้ทรงทราบ พระศาสดาครั้น

ทรงทราบว่า เธอมีเสนาสนะเป็นที่สบาย จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ธรรมดาสมณะ เมื่อมีเสนาสนะเป็นที่สบายแล้ว ก็ควรละความโลภ

อาหารเสีย ยินดีฉันตามที่ได้มานั่นแหละ กระทำสมณธรรมไป โบราณก-

บัณฑิตทั้งหลาย แม้เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เคี้ยวผงแห้งในต้นไม้ที่ตน

อยู่อาศัย ยังละความโลภอาหาร มีความสันโดษ ไม่ทำลายมิตรธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 631

ไปเสียที่อื่น เหตุไรเธอจึงมาคิดว่า บิณฑบาตน้อยไม่อร่อย แล้วละทิ้ง

เสนาสนะที่สบายเสีย ? ภิกษุนั้นทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว จึงทรง

นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล ที่ป่าไม้มะเดื่อแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งคงคา ณ

หิมวันตประเทศ มีนกแขกเต้าอาศัยอยู่หลายแสน บรรดานกแขกเต้า

เหล่านั้น พญานกแขกเต้าตัวหนึ่ง เมื่อผลของต้นไม้ที่ตนอาศัยอยู่หมด

ลง สิ่งใดที่ยังเหลืออยู่ จะเป็นหน่อ ใบ เปลือกหรือสะเก็ดก็ตาม ก็

กินสิ่งนั้น แล้วดื่มน้ำในแม่น้ำคงคา มีความมักน้อยสันโดษเป็นอย่างยิ่ง

ไม่ไปที่อื่นเลย ด้วยคุณ คือความมักน้อยสันโดษอย่างยิ่งของพญานก

แขกเต้านั้น ได้บันดาลให้ภพของท้าวสักกเทวราชหวั่นไหว ท้าวสักก-

เทวราชทรงพิจารณาดูก็รู้เห็นเหตุนั้น เพื่อจะลองใจพญานกแขกเต้า

จึงบันดาลให้ต้นไม้นั้นแห้งไป ด้วยอานุภาพของพระองค์ ต้นไม้นั้น

เหลืออยู่แต่ตอแตกเป็นช่องน้อยช่องใหญ่ เมื่อถูกลมพัด ก็มีเสียงปรากฏ

เหมือนมีใครมาตีให้ดัง มีผงละเอียดไหลออกมาตามช่องต้นไม้นั้น

พญานกแขกเต้าจิกผงเหล่านั้นกิน แล้วไปดื่มน้ำที่แม่น้ำคงคา ไม่ไป

ที่อื่น มาจับอยู่ที่ยอดตอไม้มะเดื่อ โดยไม่ย่อท้อต่อลมและแดด.

ท้าวสักกเทวราชทรงทราบความที่พญานกแขกเต้านั้น มีความ

มักน้อยอย่างยิ่ง ทรงดำริว่า เราจักให้พญานกแขกเต้าแสดงคุณใน

มิตรธรรม แล้วจักให้พรแก่เธอ ทำต้นมะเดื่อให้มีผลอยู่เรื่อยไป แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 632

จะกลับมา ครั้นทรงดำริดังนี้ แล้วจึงทรงแปลงพระองค์เป็นพญาหงส์

ตัวหนึ่ง นำนางสุชาดาอสุรกัญญาให้เป็นนางหงส์อยู่เบื้องหน้า บินไป

ถึงป่าไม้มะเดื่อนั้น จับอยู่ที่กิ่งไม้มะเดื่อต้นหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กัน เมื่อจะ

เริ่มเจรจากัน พญานกแขกเต้านั้น ได้ตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-

เมื่อใด ต้นไม้มีผลบริบูรณ์ เมื่อนั้น ฝูง

วิหคทั้งหลาย ย่อมพากันมามั่วสุมบริโภคผลไม้

ต้นนั้น แต่โดยรู้ว่าต้นไม้สิ้นไปแล้ว ผลวาย

แล้วฝูงวิหคทั้งหลายก็พากันจากต้นไม้นั้นบิน

ไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่.

บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งคาถานั้นว่า ดูก่อนพระยานกแขก-

เต้า เมื่อใด ต้นไม้มีผลสมบูรณ์ เมื่อนั้น ฝูงวิหคทั้งหลายย่อมพากัน

มามั่วสุมบริโภคผลไม้ต้นนั้นจากกิ่งโน้นสู่กิ่งนี้ แต่โดยรู้ว่าต้นไม้นั้นสิ้น

ไปแล้ว ผลวายไปแล้ว ฝูงวิหคทั้งหลายก็พากันจากต้นไม้นั้นบินไปสู่

ทิศน้อยทิศใหญ่.

ก็แหละ ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงยุพญานกแขกเต้า

ให้ไปจากที่นั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนนกแขกเต้าผู้มีจะงอยปากแดง

ท่านจงไปยังที่ที่ควรไปเถิด อย่าได้มาตายเสีย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 633

เลย เหตุไรท่านจึงซบเซาอยู่ที่ต้นไม้แห้ง ดูก่อน

นกแขกเต้า ผู้มีขนเขียวดุจไพรสณฑ์ในฤดูฝน

เชิญเถิด ขอท่านจงบอกเรื่องนั้น เหตุไรท่าน

จึงทิ้งต้นไม้แห้งไม่ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฌายสิ ความว่า เหตุไรท่านจึง

ยืนซบเซา คืองมงายอยู่ที่ยอดตอไม้แห้ง. ศัพห์ว่า อิงฺฆ เป็นนิบาต

ลงในอรรถว่าเตือน.

บทว่า วสฺสนฺตสนฺนิภา ความว่า ในเวลาฤดูฝนไพรสณฑ์

จะมีสีเขียวชะอุ่ม เหมือนดาดาษไปด้วยชั้นที่สวยงาม เพราะเหตุนั้น

พญาหงส์จึงทักทายพญานกแขกเต้านั้นว่า ดูก่อนพญานกแขกเต้า

ผู้มีขนเขียวดุจไพรสณฑ์ในฤดูฝน ดังนี้. บทว่า น ริญฺจสิ เท่ากับ

ฉฑฺเฑสิ แปลว่า ทิ้งไม่ได้.

ลำดับนั้น พญานกแขกเต้ากล่าวกะพญาหงส์ว่า ข้าแต่

พญาหงส์ เราละทิ้งต้นไม้นี้ไปไม่ได้ เพราะความที่เรามีกตัญญูกตเวที

แล้วได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า.

ข้าแต่พญาหงส์ ชนเหล่าใดแลเป็น

เพื่อนของพวกเพื่อน ในคราวร่วมสุขทุกข์จน

ตลอดชีวิต ชนเหล่านั้นเป็นสัตบุรุษ ระลึกถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 634

ธรรมของสัตบุรุษอยู่ ย่อมละทิ้งเพื่อนผู้สิ้น

ทรัพย์หรือยังไม่สิ้นทรัพย์ไปไม่ได้เลย.

ข้าแต่พญาหงส์ เราก็เป็นผู้หนึ่งใน

บรรดาสัตบุรุษ ต้นไม้นี้เป็นทั้งญาติเป็นทั้ง

เพื่อนของเรา เราต้องการเพียงเพื่อเป็นอยู่ จึง

ไม่อาจละทิ้งต้นไม้นั้นไปได้ ก็การที่จะละทิ้ง

ไปเพราะได้ทราบว่า ต้นไม้นี้สิ้นผลแล้ว ดังนี้

นี้ไม่ยุติธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย เว สขีน สขาโร ภวนฺติ

เท่ากับ เย จ สหายาน สหายา โหนฺติ แปลว่า ชนเหล่าใดเป็นเพื่อน

ของเพื่อนทั้งหลาย. บทว่า ขีณ อขีณ ความว่า ธรรมดาว่า บัณฑิต

ทั้งหลายย่อมละทิ้งเพื่อนผู้ชื่อว่าสิ้นทรัพย์ เพราะสิ้นสหายและโภค-

ทรัพย์ของตนไปไม่ได้เลย. บทว่า สต ธมฺมมนุสฺสรนฺโต คือระลึกถึง

ประเพณีของบัณฑิตทั้งหลายอยู่. บทว่า าตี จ เม ความว่า ข้าแต่

พญาหงส์ ต้นไม้นี้ ชื่อว่า เป็นทั้งญาติของเรา เพราะอรรถว่าเป็นที่รัก

สนิทสนม ชื่อว่า เป็นทั้งเพื่อนของเรา เพราะอยู่ร่วมป่ากับเรา. บทว่า

ชีวิกตฺโถ ความว่า เราต้องการเพียงเพื่อเป็นอยู่ จึงไม่อาจจะทิ้งต้นไม้

นั้นไปได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 635

ท้าวสักกเทวราช ทรงสดับถ้อยคำของพญานกแขกเต้านั้นแล้ว

ทรงยินดีตรัสสรรเสริญ ประสงค์จะประทานพร จึงตรัสคาถา ๒ คาถา

ว่า :-

ความเป็นเพื่อน ความไมตรี ความสนิท

สนมกัน ท่านได้ทำไว้เป็นพยานดีแล้ว ถ้าท่าน

ชอบใจธรรมนั้น ท่านก็เป็นผู้ควรที่วิญญูชน

ทั้งหลายพึงสรรเสริญ.

ดูก่อนพญานกแขกเต้า ผู้ชาติวิหคมีปีก

เป็นยาน มีคอโค้งเป็นสง่า เรานั้นจะให้พรแก่

ท่าน ท่านจงเลือกเอาพร ตามที่ใจปรารถนา

เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาธุ ความว่า ท่านได้ทำไว้เป็น

พยานดีแล้ว ด้วยความร่าเริง. บทว่า เมตฺติ สสติ สนฺถโว ได้แก่

ความเป็นเพื่อน ความไมตรี และความสนิทสนมในท่ามกลางบริษัท

ความไมตรีดังว่านี้ใด อันท่านได้ทำไว้ดีแล้ว คือทำไว้ดีนักแล้ว ได้แก่

ทำไว้ประเสริฐแล้วเทียว. บทว่า สเจต ธมฺม ความว่า ถ้าท่านชอบใจ

ธรรม คือความไมตรีนั้น. บทว่า วิชานต ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น

ท่านก็เป็นผู้ควรที่วิญญูชนทั้งหลายพึงสรรเสริญ. บทว่า โส เต คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 636

เรานั้นจะให้พรแก่ท่าน. บทว่า วรสฺสุ เท่ากับ อิจฺฉ แปลว่า จง

ปรารถนา. บทว่า มนสิจฺฉสิ ความว่า ท่านปรารถนาพรอย่างใด

อย่างหนึ่งด้วยใจ เราจะให้พรนั้นทั้งหมดแก่ท่าน.

พญานกแขกเต้า เมื่อจะเลือกรับพร ได้กล่าวคาถาที่ ๗ ว่า :-

ข้าแต่พญาหงส์ ถ้าท่านจะให้พรแก่

ข้าพเจ้าไซร้ ก็ขอให้ต้นไม้นี้พึงได้มีอายุต่อไป

ต้นไม้นั้นจงมีกิ่ง มีผลงอกงามดี มีผลมีรส

หวานเหมือนน้ำผึ้ง ตั้งอยู่อย่างสง่างามเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาขวา คือจงสมบูรณ์ด้วยกิ่ง.

บทว่า ผลิมา คือจงประกอบด้วยกิ่งที่มีผล. บทว่า สวิรูฬฺโห คือ

จงมีใบงอกงามโดยชอบ ได้แก่ จงสมบูรณ์ด้วยใบอ่อน. บทว่า มธุตฺถิโก

คือจงมีผลมีรสหวาน เหมือนน้ำหวานดุจน้ำผลในผลมะซาง ซึ่งมีอยู่

โดยธรรมชาติ ฉะนั้น.

ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะประทานพรแก่พญานก

แขกเต้านั้น ได้กล่าวคาถาที่ ๘ ว่า :-

ดูก่อนสหาย ท่านจงดูต้นไม้นั้น ซึ่งมี

ผลมากมาย ขอให้ท่านจงอยู่ร่วมกับต้นมะเดื่อ

ของท่าน ขอให้ต้นมะเดื่อนั้นจงมีกิ่งก้าน มีผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 637

งอกงามดี มีผลมีรสหวานเหมือนน้ำผึ้ง ตั้งอยู่

อย่างสง่างามเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหาว เต โหตุ อุทุมฺพเรน

ความว่า การอยู่ร่วมโดยความเป็นอันเดียวกันด้วยต้นมะเดื่อ จงมี

แก่ท่าน.

ก็แหละ ท้าวสักกเทวราช ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ก็กลายเพศ

หงส์กลับเป็นท้าวสักกเทวราชตามเดิม แสดงอานุภาพของพระองค์กับ

นางสุชาดา เอาพระหัตถ์วักน้ำจากแม่น้ำคงคามาประพรมตอไม้มะเดื่อ

ทันใดนั้น ต้นมะเดื่อซึ่งสมบูรณ์ด้วยกิ่งและค่าคบ มีผลอันอร่อย ก็ตั้ง

ขึ้นยืนต้นอยู่อย่างงามสง่า เหมือนมุณฑมณีบรรพ ฉะนั้น พญานก

แขกเต้าเห็นดังนั้นแล้ว เกิดโสมนัส เมื่อจะสรรเสริญท้าวสักกเทวราช

ได้กล่าวคาถาที่ ๙ ว่า :-

ข้าแต่ท้าวสักกะ ขอให้พระองค์ทรง

พระเจริญสุข พร้อมกับพระญาติทั้งปวง เหมือน

ข้าพระบาท มีความสุขเพราะรู้เห็นต้นไม้

ผลิตผลในวันนี้ ฉะนั้นเถิด.

ส่วนท้าวสักกเทวราช ครั้นประทานพรแก่พญานกแขกเต้านั้น

แล้ว ทรงทำต้นมะเดื่อให้มีผลเรื่อยไป แล้วเสด็จกลับวิมานของพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 638

พร้อมกับนางสุชาดา

พระศาสดาได้ทรงวางอภิสัมพุทธคาถา ที่ให้แสดงถึงเนื้อความ

นั้นไว้ในตอนสุดท้ายว่า :-

ท้าวสักกเทวราชประทานพร แก่พญา-

นกแขกเต้า ทำต้นไม้ให้มีผลแล้ว พาพระ-

มเหสีเสด็จกลับเทพนันทนวัน.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วตรัสว่า

นี่แหละเธอ โบราณกบัณฑิตแม้เกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานยังไม่โลภอาหาร

เธอบวชในศาสนาเห็นปานนี้ ไฉนจึงยังโลภอาหารอยู่ เธอจงไปอยู่ใน

ที่นั่นแหละ ดังนี้ แล้วทรงสอนพระกรรมฐานแก่ภิกษุนั้น ครั้นเธอ

ไปอยู่ที่นั้นแล้ว เจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัต พระพุทธองค์

ทรงประชุมชาดกว่า ท้าวสักกเทวราชในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอนุรุทธะ

ในบัดนี้ พระยานกแขกเต้าในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามหาสุวราชชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 639

๔. จุลลสุวกราชชาดก

ว่าด้วยผู้รักษาไมตรี

[๑๒๓๖] ต้นไม้ทั้งหลายที่มีใบเขียว มีผลดก

มีอยู่เป็นอันมาก เหตุไรพญานกแขกเต้าจึง

มีใจยินดีในต้นไม้แห้งผุเล่า.

[๑๒๓๗] เราเคยบริโภคผลแห่งต้นไม้นี้นับได้

หลายปีมาแล้ว ถึงเราจะรู้ว่าต้นไม้นี้ไม่มีผล

แล้ว ก็ต้องรักษาความไมตรีไว้ให้เหมือนดัง

ก่อน.

[๑๒๓๘] นกทั้งหลายย่อมละทิ้งต้นไม้แห้งผุ ขาด

ใบไร้ผลไปในที่อื่น ดูก่อนพญานกแขกเค้า

ท่านเห็นโทษอะไรหรือ ?

[๑๒๓๙] นกเหล่าใดคบหาฉันเพราะต้องการผล

ไม้ ครั้นรู้ว่าต้นไม้นั้นไม่มีผล ก็ละทิ้งต้นไม้

นั้นไปเสียนกเหล่านั้นโง่เขลา มีปัญญาที่เห็น

แก่ตัว มักทำฝักใฝ่แห่งมิตรภาพให้ตกไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 640

[๑๒๔๐] ความเป็นเพื่อน ความไมตรี ความ

สนิทสนมกันท่านได้ทำไว้เป็นพยานดีแล้ว

ถ้าท่านชอบใจธรรมนั้น ท่านก็เป็นผู้ควรที่

วิญญูชนทั้งหลายพึงสรรเสริญ.

[๑๒๔๑] ดูก่อนพญานกแขกเต้า ผู้ชาติวิหคมีปีก

เป็นยานพาหนะ มีคอโค้งเป็นสง่า เรานั้นจะ

ให้พรแก่ท่าน ท่านจงเลือกเอาพรตามที่ใจ

ปรารถนาเถิด.

[๑๒๔๒] ไฉนข้าพเจ้าจะพึงได้เห็นต้นไม้นั้นกลับ

มีใบมีผลอีกเล่า ข้าพเจ้าจะยินดีอย่างยิ่งเหมือน

คนจนได้ขุมทรัพย์ ฉะนั้น.

[๑๒๔๓] ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงวัก-

อมตวารีมาประพรมต้นไม้ กิ่งก้านของต้นไม้

นั้นก็งอกงาม มีเงาร่มเย็นเป็นที่น่ารื่นรมย์.

[๑๒๔๔] ข้าแต่ท้าวสักกเทวราช ขอให้พระองค์

ทรงพระเจริญสุข พร้อมด้วยพระญาติทั้งปวง

เหมือนดังข้าพระบาทมีความสุข เพราะได้เห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 641

ต้นไม้ผลิตผลในวันนี้ ฉะนั้นเถิด.

[๑๒๔๕] ท้าวสักกเทวราช ประทานพรแก่พญา-

นกแขกเต้าทำต้นไม้ให้มีผลแล้ว พาพระมเหสี

เสด็จกลับเทพนันทวัน.

จบ จุลลสุวกราชชาดกที่ ๔

อรรถกถาจุลลสุวกราชชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระนครสาวัตถี ทรงปรารภ

เวรัญชกัณฑ์ จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สนฺติ รุกฺขา ดังนี้.

เมื่อพระศาสดาเสด็จจำพรรษา ณ เมืองเวรัญชา แล้วเสด็จถึง

พระนครสาวัตถีโดยลำดับ ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมสภา

ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระตถาคตเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ เป็น

พุทธสุขุมาลชาติประกอบด้วยอิทธานุภาพอันยิ่งใหญ่ เวรัญชพราหมณ์

นิมนต์ไป ได้จำพรรษาอยู่ตลอด ๓ เดือน ไม่ได้ภิกษาจากสำนัก

เวรัญชพรหมณ์แม้สักวันเดียว เพราะถูกมารดลใจเสีย ทรงละความ

โลภอาหารเสียได้ ดำรงพระชนม์ด้วยข้าวสำหรับเลี้ยงม้าที่พ่อค้าม้าถวาย

วันละแล่ง มิได้เสด็จไปที่อื่น ความที่พระตถาคตทรงมักน้อยสันโดษนี้

น่าสรรเสริญเหลือเกิน พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 642

เหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการละ

ความโลภในอาหารของตถาคตในบัดนี้ยังไม่น่าอัศจรรย์ แม้ในกาลก่อน

ตถาคตเกิดเป็นสัตว์เดียรฉานก็ได้ละความโลภอาหารมาแล้ว ดังนี้ แล้ว

ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

เนื้อเรื่องทั้งหมดพึงทราบโดยพิสดารตามทำนองที่ที่กล่าวมาแล้ว

ในหนหลัง ในตอนนี้มีใจความว่า ท้าวสักกเทวราช ทรงแปลงพระองค์

เป็นพญาหงส์ สนทนากันพญานกแขกเต้า จึงได้ตรัสคาถานี้ว่า :-

ต้นไม้ทั้งหลายที่มีใบเขียว มีผลดก

มีอยู่เป็นอันมาก เหตุไรพญานกแขกเต้าจึง

มีใจยินดีในต้นไม้แห้งผุเล่า.

เราเคยบริโภคผลแห่งต้นไม้นี้นับได้

หลายปีมาแล้ว ถึงเราจะรู้ว่าต้นไม้นี้ไม่มีผล

แล้ว ก็ต้องรักษาความไมตรีไว้ให้เหมือนดัง

ก่อน.

นกทั้งหลายย่อมละทิ้งต้นไม้แห้งผุ ขาด

ใบไร้ผลไปในที่อื่น ดูก่อนพญานกแขกเต้า

ท่านเห็นโทษอะไรหรือ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 643

นกเหล่าใดคบหากันเพราะต้องการผล

ไม้ ครั้นรู้ว่าต้นไม้นั้นไม่มีผล ก็ละทิ้งต้นไม้

นั้นไปเสียนี้เหล่านั้นโง่เขลา มีปัญญาที่เห็น

แก่ตัว มักทำฝักใฝ่แห่งมิตรภาพให้ตกไป.

ความเป็นเพื่อน ความไมตรี ความ

สนิทสนมกันท่านได้ทำได้เป็นพยานดีแล้ว

ถ้าท่านชอบใจธรรมนั้น ท่านก็เป็นผู้ควรที่

วิญญูชนทั้งหลายพึงสรรเสริญ.

ดูก่อนพญานกแขกเต้า ผู้ชาติวิหคมีปีก

เป็นยานพาหนะ มีคอโค้งเป็นสง่า เรานั้นจะ

ให้พรแก่ท่าน ท่านจงเลือกเอาพรตามที่ใจ

ปรารถนาเถิด.

ไฉนข้าพเจ้าจะพึงได้เห็นต้นไม้นั้นกลับ

มีใบมีผลอีกเล่า ข้าพเจ้าจะยินดีอย่างยิ่งเหมือน

คนจนได้ขุมทรัพย์ ฉะนั้น.

ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงวัก-

อมตวารีมาประพรมต้นไม้ กิ่งก้านของต้นไม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 644

นั้นก็งอกงาม มีเงาร่มเย็นเป็นที่น่ารื่นรมย์.

ข้าแต่ท้าวสักกเทวราช ขอให้พระองค์

ทรงพระเจริญสุข พร้อมด้วยพระญาติทั้งปวง

เหมือนดังข้าพระบาทมีความสุข เพราะได้เห็น

ต้นไม้ผลิตผลในวันนี้ ฉะนั้นเถิด.

ท้าวสักกเทวราช ประทานพรแก่ พญา-

นกแขกเต้าทำต้นไม้ให้มีผลแล้ว พาพระมเหสี

เสด็จกลับเทพนันทวัน.

พึงทราบความด้วยสามารถแห่งคำที่มีในก่อนนั้น ก็ข้าพเจ้า

ทั้งหลายจักพรรณนาเฉพาะบทที่ยากเท่านั้น.

บทว่า หริตปตฺตา ได้แก่ ที่สะพรั่งไปด้วยใบสีเขียว. บทว่า

โกฬาเป ได้แก่ ที่ไม่มีแก่นซึ่งเมื่อลมพัดก็ส่งเสียงเหมือนมีใครมาตี

ให้ดัง ฉะนั้น. บทว่า สุวสฺส ความว่า เหตุไรท่านพญานกแขกเต้า

จึงมีใจยินดีในต้นไม้เห็นปานนี้เล่า ? บทว่า ผลสฺส แปลว่า ผลของ

ต้นไม้นั้น. บทว่า เนกวสฺสคเณ เท่ากับ อเนกวสฺสคเณ แปลว่า

นับได้หลายปีมาแล้ว. บทว่า พหู ความว่า แม้เมื่อหลายร้อยก็มีใช่

๒ ปี มิใช่ ๓ ปีโดยที่แท้คือหลายปีมาแล้ว. บทว่า วิทิตฺวาน เป็นต้น

ความว่า พญานกแขกเต้า เมื่อจะประกาศว่า ข้าแต่พญาหงส์ บัดนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 645

พวกเราแม้จะรู้ว่าต้นไม้นี้ไม่มีผล ก็ต้องรักษาไมตรีไว้ให้เหมือนดังแต่

ก่อนไมตรียังมีอยู่ตราบใด พวกเราก็จะไม่ทำลายไมตรีนั้นตราบนั้น

เพราะผู้ทำลายไมตรีไม่ใช่คนดี ไม่ชื่อว่าสัตบุรุษ. บทว่า โอปตฺต

ความว่า หมดไปคือไม่มีใบ ได้แก่มีใบร่วงแล้ว. บทว่า กึ โทส

ปสฺสเส ความว่า นกเหล่าอื่นพากันละต้นไม้นั้นไปในที่อื่น ท่านเห็น

โทษอะไรในการไปอย่างนี้. บทว่า เย ผลตฺถา ความว่า นกเหล่าใด

คบหาคือเข้าไปหา เพราะต้องการผลไม้คือเพราะผลไม้เป็นเหตุ ครั้น

รู้ว่าต้นไม้นั้นไม่มีผล ก็ละทิ้งต้นไม้นั้นไป. บทว่า อตฺตตฺถปญฺา

ความว่า นกเหล่านั้นชื่อว่ามีปัญญาที่เห็นแก่ตัว เพราะมีปัญญาเพื่อ

ประโยชน์ของตน คือมีปัญญาที่ตั้งอยู่ในตนเท่านั้นโดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น

บทว่า ปกฺขปาติโน ความว่า นกเหล่านั้นเมื่อหวังแต่ความเจริญเพื่อ

ตนเท่านั้น ย่อมยังฝักใฝ่แห่งมิตรภาพให้ตกไป คือให้พินาศไป เพราะ

เหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้มักทำฝักใฝ่แห่งมิตรภาพให้ตกไป อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่าเป็นผู้ทำฝักใฝ่แห่งมิตรภาพให้ตกไป เพราะอรรถว่าตกไปใน

ฝักใฝ่ของตนเท่านั้น ดังนี้ก็ได้. บทว่า อปิ นาม น ความว่า

ข้าแต่พญาหงส์ ถ้ามโนรสของข้าพเจ้าพึงสำเร็จและพรที่ท่านให้แล้ว

พึงสำเร็จไซร้ ทำไฉนข้าพเจ้าจะพึงเห็นต้นไม้นี้กลับมีใบมีผลได้อีก

แต่นั้นข้าพเจ้าจะยินดีกะต้นไม้นั้น คือพอเห็นต้นไม้นั้นเท่านั้นก็จะปลื้ม

ใจอย่างที่สุด เหมือนคนจนได้ขุมทรัพย์ฉะนั้น. บทว่า อมตมาทาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 646

คือทรงดำรงอยู่แล้วด้วยอานุภาพของพระองค์ทรงวักน้ำจากแม่น้ำคงคา

มาประพรมแล้ว.

ในชาดกนี้มีอภิสัมพุทธคาถา ๒ คาถากับคาถานี้

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า ท้าวสักกเทวราชในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอนุรุทธะในบัดนี้

พญานกแขกเต้าในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ จุลลสุวกราชชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 647

๕. หริตจชาดก

ว่าด้วยกิเลสที่มีกำลังเกล้า

[๑๒๔๖] ข้าแต่มหาพรหม โยมได้ยินเขาพูดกัน

ว่า พระหาริตดาบสบริโภคกาม คำนี้ไม่เป็น

จริงกระมัง ท่านยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่แลหรือ ?

[๑๒๔๗] ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระองค์

ได้ทรงสดับถ้อยคำมีแล้วอย่างใด ถ้อยคำนั้น

เป็นจริงอย่างนั้น อาตมภาพเป็นผู้หมกมุ่นอยู่

ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง เดินทางผิด

แล้ว.

[๑๒๔๘] ปัญญาที่ละเอียด คิดสิ่งที่เป็นประโยชน์

เดินเครื่องบรรเทาราคะที่เกิดขึ้นแล้วของท่านมี

ไว้เพื่อประโยชน์อะไร ท่านไม่อาจบรรเทา

ความคิดที่แปลกได้.

[๑๒๔๙] ข้าแต่มหาบพิตร กิเลส ๔ อย่างเหล่านี้

คือ ราคะ โทสะ โมหะ มทะ เป็นของมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 648

กำลังกล้า หยาบคายในโลก เมื่อกิเลสเหล่า

ใดรึงรัดแล้ว ปัญญาก็หยั่งไม่ถึง.

[๑๒๕๐] โยมได้ยกย่องท่านแล้วอย่างนี้ว่า หาริต-

ดาบสเป็นพระอรหันต์ สมบูรณ์ด้วยศีล ประ-

พฤติบริสุทธิ์เป็นบัณฑิต มีปัญญาแท้.

[๑๒๕๑] ข้าแต่มหาบพิตร วิตกอันลามก เป็น

ไปด้วยการยึดถือนิมิตว่างาม ประกอบด้วย

ความกำหนัด ย่อมเบียดแขนแม้ผู้มีปัญญา

ผู้ยินดีแล้วในคุณธรรมของฤาษี.

[๑๒๕๒] ความกำหนัดนี้เกิดในกาย เกิดขึ้นมา

แล้วเป็นของทำลายวรรณะของท่าน ท่านจง

ละความกำหนัดนั้นเสีย ความเจริญย่อมมีแก่

ท่าน ท่านเป็นผู้อันชนหมู่มากยกย่องแล้วว่า

เป็นคนมีปัญญา.

[๑๒๕๓] กามเหล่านั้นทำแต่ความมืดให้ มีทุกข์

มาก มีพิษใหญ่หลวง อาตมภาพจักค้นหามูล

รากแห่งธรรมเหล่านั้น จักตัดความกำหนัด

พร้อมเครื่องผูกเสีย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 649

[๑๒๕๔] ครั้นพระหาริตฤาษีกล่าวคำนี้แล้ว มี

ความบากบั่นอย่างแท้จริง คลายกามราคะได้

แล้ว ได้เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก.

จบ หริตจชาดกที่ ๕

อรรถกถาหริตจชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุผู้กระสัน จึงได้ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า สุตเมต มหาพฺรหเม

ดังนี้.

ความย่อมีว่า ภิกษุรูปนั้นเห็นมาตุคามคนหนึ่งแต่งตัวสวยงาม

เกิดความกระสัน ปล่อยผมเล็บและหนวดไว้จนยาวอยากจะสึก พระ-

อุปัชฌาย์อาจารย์แนะนำก็ไม่พอใจ พระศาสดาตรัสถามว่า จริงหรือ

ภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระสัน ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระพุทธเจ้าข้า

จึงตรัสถามว่า เหตุไรเธอจึงกระสัน เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า กระสัน

ด้วยอำนาจกิเลส และได้เห็นมาตุคามแต่งตัวสวยงามพระเจ้าข้า. จึง

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ธรรมดากิเลสย่อมไม่มีความชื่นบาน เพราะขจัด

คุณความดี มีแต่จะให้ตกนรก และกิเลสนั้นทำไมจักไม่ทำให้เธอลำบาก

เล่า มีแรงพัดเขาสิเนรุ ทำไมจักไม่พัดใบไม้เก่า ๆ ให้กระจัดกระจายได้

แม้พระมหาบุรุษผู้วิสุทธิชาติได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ดำเนินตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 650

รอยพระโพธิญาณ เพราะอาศัยกิเลสชนิดนี้ จึงไม่อาจจะดำรงสติอยู่ได้

ยังต้องเสื่อมไปจากฌาน. ดังนี้แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดัง

ต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ อยู่ในนคร

พาราณสี. พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ผู้มีสมบัติ ๘๐ โกฏิใน

นิคมแห่งหนึ่ง มารดาบิดาได้ขนานนามให้พระองค์ว่า หาริตกุมาร

เพราะพระองค์มีผิวเหลืองดังทอง กุมารนั้นครั้นเจริญวัยแล้วสำเร็จการ-

ศึกษาที่เมืองตักกศิลา รวบรวมทรัพย์ไว้ ครั้นมารดาบิดาล่วงลับไปแล้ว

ได้ตรวจตราดูทรัพย์สมบัติได้ความคิดขึ้นว่า ทรัพย์เท่านั้นที่ยังปรากฏอยู่

ส่วนผู้ทำให้ทรัพย์เกิดขึ้นหาปรากฏอยู่ไม่ แม้เราก็จะต้องแหลกละเอียด

ไปในปากแห่งความตาย ดังนี้ กลัวต่อมรณภัย ได้ให้ทานเป็นการใหญ่

แล้วเข้าไปยังหิมวันตประเทศบวชเป็นฤาษี ในวันที่ ๗ ได้อภิญญา ๕

และสมาบัติ ๘ มีเผือกมันและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร ดำรงชีพอยู่ใน

ที่นั้นเป็นเวลานาน ต้องการจะเสพอาหารที่มีรสเค็ม รสเปรี้ยว จึงลงจาก

บรรพตไปโดยลำดับ ถึงพระนครพาราณสี เข้าไปอยู่ในสวนหลวง วัน

รุ่งขึ้นเที่ยวภิกขาจารในพระนครพระราณสี บรรลุถึงพระลานหลวง

พระราชาทอดพระเนตรเห็นดาบสนั้นมีพระทัยเลื่อมใส รับสั่งให้นิมนด์

นั่งบนราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร ให้ฉันโภชนะที่มีรสอันเลิศต่าง ๆ

เมื่อดาบสฉันแล้วอนุโมทนาจบลง พระองค์ยิ่งทรงเลื่อมใสมากขึ้น ตรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 651

ถามว่า พระผู้เป็นเจ้าจะไป ณ ที่ไหน ? เมื่อดาบสถวายพระพรว่า

อาตมภาพเที่ยวหาที่จำพรรษามหาบพิตร. จึงตรัสว่า ดีแล้วพระผู้เป็น

เจ้า. ครั้นเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว ทรงพาดาบสไปพระราช-

อุทยาน รับสั่งให้สร้างที่เป็นที่พักกลางคืนและที่เป็นที่พักกลางวันเป็น

ต้นถวายพระดาบส ให้คนรักษาพระราชอุทยานเป็นผู้คอยปฏิบัติ ทรง

อภิวาทแล้วเสด็จกลับ แต่นั้นมา พระมหาสัตว์ได้ฉันที่พระราชมณเฑียร

เป็นนิตย์อยู่ตลอด ๑๒ ปี.

อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาจะเสด็จไปปราบประเทศชายแดนที่ก่อ

ความไม่สงบขึ้น ทรงมอบหมายพระมหาสัตว์ไว้แก่พระราชเทวีว่า เธอ

จงอย่าลืมบุญเขตของเราเสีย. แล้วเสด็จไปตั้งแต่นั้น พระราชเทวีได้

ทรงอังคาสพระมหาสัตว์ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ ครั้นวันหนึ่ง พระ-

นางทรงตกแต่งโภชนะไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อพระดาบสยังช้าอยู่ พระนาง

จึงสรงสนานด้วยน้ำหอม แล้วทรงนุ่งพระภูษาเลี่ยนเนื้อละเอียด รับสั่ง

ให้เผยสีหบัญชรประทับบนเตียงน้อยให้ลมพัดต้องพระวรกายอยู่ พระ

มหาสัตว์นุ่งห่มเรียบร้อยแล้ว ถือภาชนะสำหรับใส่ภิกษา เหาะมาถึง

สีหบัณชร พระราชเทวีได้สดับเสียงผ้าคากรองของพระมหาสัตว์ ก็

เสด็จลุกขึ้นโดยเร็ว พระภูษาเลื่อนหลุดหล่นลง วิสภาคารมณ์ได้กระทบ

จักษุพระมหาสัตว์ ทันใดนั้น กิเลสซึ่งหมักดองอยู่ภายในพระมหาสัตว์

นั้นหลายแสนโกฏิปี มีอาการยังอสรพิษที่นอนขดอยู่ในข้อง ก็กำเริบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 652

ขึ้นทำฌานให้อันตรธานไป พระมหาสัตว์ไม่สามารถจะดำรงสติไว้ได้ จึง

เข้าไปจับพระหัตถ์พระราชเทวี แล้วทั้งสองก็รูดม่านลงกั้นในทันใดนั้น

แล้วเสพโลกธรรมด้วยกัน ครั้นแล้วพระมหาสัตว์ก็ฉันภัตตาหารแล้ว

เดินไปพระราชอุทยาน ตั้งแต่นั้นมา ก็ได้ทำเช่นนั้นทุก ๆ วัน.

ข่าว ณ ที่พระมหาสัตว์เสพโลกธรรมกับพระราชเทวีได้แพร่สะพัด

ไปทั่วพระนคร พวกอำมาตย์ได้ส่งหนังสือไปกราบทูลพระราชาว่า.

หาริตดาบสได้ทำอย่างนี้. พระราชามิได้ทรงเชื่อ โดยทรงพระดำริว่า

พวกอำมาตย์ประสงค์จะทำลายเรา จึงได้กล่าวอย่างนี้ ครั้นทรงปราบ

ประเทศชายแดนให้สงบลงแล้ว ก็เสด็จกลับพระนครพาราณสี ทรงทำ

ปทักษิณพระนครแล้ว เสด็จไปสำนักพระราชเทวี มีพระดำรัสถามว่า

ได้ข่าวว่าหาริตดาบสพระผู้เป็นเจ้าของเรา เสพโลกธรรมกับเธอเป็น

ความจริงหรือ ? พระราชเทวีกราบทูลว่า จริงเพคะ. พระราชายังไม่

ทรงเชื่อแม้พระราชเทวีทรงดำริว่า จักถามพระดาบสนั่นเอง. จึงเสด็จ

ไปพระราชอุทยาน นมัสการแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง เมื่อ

ตรัสถามความนั้น ได้ตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-

ข้าแต่มหาพรหม โยมได้ยินเขาพูดกัน ว่า

พระหาริตดาบสบริโภคกาม คำนี้ไม่เป็นจริง

กระมัง ท่านยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่แลหรือ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 653

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กจฺเจต เป็นต้น ความว่า คำที่

โยมได้ยินว่า พระมหาริตดาบสบริโภคกาม ดังนี้นั้น เป็นคำเปล่า คือ

เป็นคำไม่จริงกระมัง ท่านยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่แลหรือ ?

พระดาบสคิดว่า เมื่อเราทูลว่า เราไม่ได้บริโภคกาม พระราชา

นี้ก็จักทรงเชื่อเราเท่านั้น แต่ว่าในโลกนี้ ขึ้นชื่อว่าที่พึ่งที่เช่นกับความ

สัตย์ไม่มี เพราะว่าผู้ที่ทิ้งความสัตย์เสียแล้ว ย่อมไม่สามารถจะนั่งที่

โพธิบัลลังก์บรรลุพระโพธิญาณได้ เราควรกล่าวแต่ความสัตย์เท่านั้น.

จริงอยู่ปาณาติบาตก็ดี อทินนาทานก็ดี กาเมสุมิจฉาจารก็ดี สุราบาน

ก็ดี ย่อมมีแก่พระโพธิสัตว์ได้บ้างในฐานะบางอย่าง แต่มุสาวาทที่มุ่ง

กล่าวให้คลาดเคลื่อนหักประโยชน์เสีย ย่อมไม่มีแก่พระโพธิสัตว์เลย

ฉะนั้น เมื่อพระดาบสจะกล่าวความสัตย์ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระองค์ได้

ทรงสดับถ้อยคำมาแล้วอย่างใด ถ้อยคำนั้น

เป็นจริงอย่างนั้น อาตมภาพเป็นผู้หมกมุ่นอยู่

ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง เดินทางผิด

แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โมหเนยฺเยสุ คือ ในกามคุณ

จริงอยู่ชาวโลกทั้งหลาย ย่อมลุ่มหลงกามคุณ เพราะเหตุนั้น กามคุณ

ท่านจึงเรียกว่า โมหเนยยะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 654

พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๓ ว่า :-

ปัญญาที่ละเอียด คิดสิ่งที่เป็นประโยชน์

เป็นเครื่องบรรเทาราคะที่เกิดขึ้นแล้วของท่านมี

ไว้เพื่อประโยชน์อะไร ท่านไม่อาจบรรเทา

ความคิดที่แปลกได้.

ศัพท์ว่า อทุ ในคาถานั้นเป็นนิบาต.

ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมดาเภสัชย่อมเป็น

ที่พึ่งของคนไข้ น้ำดื่มเป็นที่พึ่งของคนกระหายน้ำ ก็ปัญญาที่ละเอียด

คิดสิ่งที่ดีคือที่เป็นประโยชน์ เป็นเครื่องบันเทาราคะเกิดขึ้นแล้วของท่าน

มีไว้เพื่อประโยชน์อะไร ?

บทว่า กึมโน น วิโนทเย ความว่า เหตุไร ? ท่านจึงไม่

อาจใช้ปัญญานั้นบันเทาความคิดที่แปลกได้.

ลำดับนั้น หาริตดาบสเมื่อจะแสดงกำลังของกิเลสแก่พระราชา

ได้กล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

ข้าแต่มหาบพิตร กิเลส ๔ อย่างเหล่านี้

คือ ราคะ โทสะ โมหะ มทะ เป็นของมี

กำลังกล้า หยาบคายในโลก เมื่อกิเลสเหล่า

ใดรึงรัดแล้ว ปัญญาก็หยั่งไม่ถึง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 655

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺถ เป็นต้น ความว่า เมื่อกิเลส

เหล่าใดถึงการรึงรัดแล้ว ปัญญาก็ย่อมไม่ได้การหยั่งถึง คือการตั้งอยู่

เหมือนคนตกลงไปในห้วงน้ำใหญ่ ฉะนั้น.

พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ ๕ ว่า :-

โยมได้ยกย่องท่านแล้วอย่างนี้ว่า หาริต-

ดาบสเป็นพระอรหันต์ สมบูรณ์ด้วยศีล ประ-

พฤติบริสุทธิ์ เป็นบัณฑิต มีปัญญาแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า อิติ โน สมฺมโต ความว่า

โยมได้ยกย่อง คือได้สรรเสริญท่านแล้วอย่างนี้.

หาริตดาบสได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถาที่ ๖ ต่อจากนั้นว่า :-

ข้าแต่มหาบพิตร วิตกอันลามก เป็น

ไปด้วยการยึดถือนิมิตรว่างาม ประกอบด้วย

ความกำหนัด ย่อมเบียดเบียนแม้ผู้มีปัญญา

ผู้ยินดี แล้วในคุณธรรมของฤาษี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุภา คือ เป็นไปแล้วด้วยการยึดถือ

นิมิตรว่างาม.

ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะให้หาริตดาบสเกิดอุตสาหะในการ

ละกิเลส จึงตรัสคาถาที่ ๗ ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 656

ความกำหนัดนี้เกิดในกาย เกิดขึ้นมา

แล้วเป็นของทำลายวรรณะของท่าน ท่านจง

ละความกำหนัดนั้นเสีย ความเจริญย่อมมีแก่

ท่าน ท่านเป็นผู้อันชนหมู่มากยกย่องแล้วว่า

เป็นคนมีปัญญา.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า วณฺณวิทูสโน ตว คือ เป็น

ของทำลายสีกายและคุณความดีของท่าน. บทว่า พหุนาสิ ความว่า

ท่านเป็นผู้อันชนหมู่มากยกย่องแล้วว่าเป็นคนมีปัญญา.

คราวนี้ พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้วกลับได้สติ กำหนดโทษ

ในกามทั้งหลายแล้ว กล่าวคาถาที่ ๘ ว่า :-

กามเหล่านั้นทำแต่ความมืดให้ มีทุกข์

มาก มีพิษใหญ่หลวง อาตมภาพจักค้นหามูล

รากแห่งกามเหล่านั้น จะตัดความกำหนัด

พร้อมเครื่องผูกเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺธกรเณ คือ ชื่อว่าทำแต่ความ

มืดให้ เพราะทำปัญญาจักขุให้พินาศ. ในบทว่า พหุทุกฺเข นี้ บัญฑิต

พึงนำสูตรว่า กามทั้งหลายมีความแช่มชื่นน้อย ดังนี้เป็นต้น มาแสดง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 657

ถึงความที่กามเหล่านั้นมีทุกข์มาก. บทว่า มหาวิเส คือ ชื่อว่ามีพิษ

ใหญ่หลวง เพราะพิษคือสัมปยุตตกิเลสและพิษคือวิบากเป็นของยิ่งใหญ่.

สองบทว่า เตส มูล ความว่า อาตมภาพจักค้นหา คือจัก

แสวงหามูลรากแห่งกามเหล่านั้น เพื่อละกามซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว

เหล่านั้นเสีย.

ถามว่า ก็อะไรเป็นมูลรากแห่งกามเหล่านั้น ?

ตอบว่า อโยนิโสมนสิการ.

บทว่า เฉชฺช ราค สพนฺธน ความว่า ข้าแต่มหาบพิตร

บัดนี้ อาตมภาพจักตัดความกำหนัดที่ชื่อว่าเครื่องผูกพัน เพราะเครื่อง

ผูกพันคือศุภนิมิตร โดยประการเสียด้วยดาบคือปัญญา.

ก็แหละ ครั้นกล่าวดังนี้แล้วได้ขอพระราชทานโอกาสว่า ข้าแต่

มหาบพิตร ขอพระองค์จงประทานโอกาสแก่อาตมาภาพก่อน. แล้วเข้า

ไปยังบรรณศาลา พิจารณาดวงกสิณ ยังฌานที่เสื่อมแล้วให้เกิดขึ้นอีก

ออกจากบรรณศาลา นั่งคู้บัลลังก์ในอากาศถวายธรรมเทศนาแด่พระ-

ราชา แล้วทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร อาตมภาพถูกติเตียนในท่ามกลาง

มหาชน เพราะเหตุที่มาอยู่ในที่ไม่สมควร ขอพระองค์จงเป็นผู้ไม่

ประมาท บัดนี้ อาตมภาพจักกลับไปสู่ไพรสณฑ์ให้พ้นจากกลิ่นสตรี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 658

เมื่อพระราชาทรงกรรแสดงปริเทวนาอยู่ ได้ไปสู่หิมวันตประเทศ ไม่

เสื่อมจากฌานแล้ว เข้าถึงพรหมโลก.

พระศาสดาผู้ตรัสรู้แล้วทรงทราบเรื่องนั้น จึงตรัสพระคาถานี้

ว่า :-

ครั้นพระหาริตฤาษีกล่าวคำนี้แล้ว มี

ความบากบั่นอย่างแท้จริง คลายกามราคะได้

แล้ว ได้เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรม เวลาจบสัจธรรม ภิกษุผู้กระสันได้ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล

แล้วพระทศพลทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็น

พระอานนท์ในบัดนี้ หาริตดาบสในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต

ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาหริตจชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 659

๖. ปทุกสลมาณวชาดก

ว่าด้วยภัยที่เกิดแต่ที่พึ่งอาศัย

[๑๒๕๕] แม่น้ำคงคาพัดเอามาณพชื่อปาฏลี ผู้คง

แก่เรียน มีถ้อยคำไพเราะให้ลอยไป พี่จ๋าผู้ถูก

น้ำพัดไป ขอความเจริญจงมีแก่พี่ ขอพี่จงให้

เพลงขับบทน้อย ๆ แก่ฉันสักบทหนึ่งเถิด.

[๑๒๕๖] ชนทั้งหลายย่อมรดผู้ที่ได้รับความทุกข์

ด้วยน้ำใด ชนทั้งหลายย่อมรดผู้ที่เร่าร้อนด้วย

น้ำใด เราจักตายในท่ามกลางน้ำนั้น ภัยเกิด

แต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

[๑๒๕๗] พืชทั้งหลายงอกงามขึ้นได้บนแผ่นดิน

ใด สัตว์ทั้งหลายดำรงอยู่ได้บนแผ่นดินใด

แผ่นดินนั้นก็พังทับศีรษะของเราแตก ภัยเกิด

ขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

[๑๒๕๘] ชนทั้งหลายหุงอาหารด้วยไฟใด บรรเทา

ความหนาวด้วยไฟใด ไฟนั้นก็มาไหม้ตัวเรา

ภัยเกิดขึ้นแก่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 660

[๑๒๕๙] พราหมณ์และกษัตริย์ทั้งหลาย เป็น

จำนวนมากเลี้ยงชีพด้วยข้าวสุกใด ข้าวสุกนั้น

เราบริโภคแล้ว ก็มาทำเราให้ถึงความพินาศ

ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

[๑๒๖๐] บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมปรารถนาลมใน

เดือนท้ายแห่งฤดูร้อน ลมนั้นมาพัดประหาร

ร่างกายเรา ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

[๑๒๖๑] นกทั้งหลายพากันอาศัยต้นไม้ใดที่งอก

แต่แผ่นดิน ต้นไม้นั้นก็พ่นไฟออกมา นกทั้ง

หลายเห็นดังนั้น ก็พากันหลบหนีไป ภัยเกิด

ขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

[๑๒๖๒] เรานำหญิงใดผู้มีความโสมนัส ทัดระ-

เบียบดอกไม้ มีกายประพรมด้วยจันทน์เหลือง

มา หญิงนั้นขับไล่เราออกจากเรือน ภัยเกิด

แต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

[๑๒๖๓] เราชื่นชมยินดีด้วยบุตรผู้เกิดแล้วคนใด

เราปรารถนาความเจริญแก่บุตรคนใด บุตรคน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 661

นั้นก็มาขับไล่เราออกจากเรือน ภัยเกิดขึ้นแต่

ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

[๑๒๖๔] ขอชาวชนบทและชาวนิคมผู้มาประชุม

กันแล้ว จงฟังข้าพเจ้าน้ำมีในที่ใด ไฟก็มีใน

ที่นั้น ความเกษมสำราญบังเกิดขึ้นแต่ที่ใด

ภัยก็บังเกิดขึ้นแต่ที่นั้น พระราชากับพราหมณ์

ปุโรหิตพากันปล้นรัฐเสียเอง ท่านทั้งหลาย

จงพากันรักษาตนของตนอยู่เถิด ภัยเกิดขึ้น

แต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

จบ ปทกุศลมาณวชาดกที่ ๖

อรรถกถาปทกุสลชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ทารกคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า พหุสฺสุต ดังนี้.

ได้ยินว่า ทารกนั้นเป็นบุตรของกุฎุมพีในนครสาวัตถี ได้เป็นผู้

ฉลาดในการสังเกตรอยเท้า ในเวลาที่ตนมีอายุเพียงเจ็ดขวบเท่านั้น.

ครั้งนั้น บิดาของเขาคิดว่าจักทดลองลูกคนนี้ จึงได้ไปเรือนของเพื่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 662

โดยที่ทารกนั้นไม่รู้เลย ทารกนั้นก็มิได้ถามที่ไปของบิดา เดินไปโดย

สังเกตรอยเท้าของบิดา ได้ไปยินอยู่ที่สำนักของบิดา.

อยู่มาวันหนึ่ง บิดาได้ถามทารกนั้นว่า ลูกรัก เมื่อพ่อไปก็ไป

โดยมิให้เจ้ารู้ แต่เจ้ารู้ที่ไปของพ่อได้อย่างไร ? เขากล่าวตอบบิดาว่า

พ่อจ๋า ฉันจำรอยเท้าของพ่อได้ ฉันฉลาดในการสังเกตรอยเท้า. ลำดับ

นั้น บิดาของเขาต้องการจะทดลองอีก เมื่อบริโภคอาหารเช้าแล้ว ออก

จากเรือนไปยังเรือนของผู้ที่คุ้นเคยซึ่งอยู่ติด ๆ กัน แล้วออกจากเรือน

นั้นไปยังเรือนที่ ๓ ออกจากเรือนที่ ๓ มายังประตูเรือนของตนอีก

แล้วออกจากประตูเรือนของตนไปยังประตูเมืองทิศอุดร ออกประตูนั้น

อ้อมเมืองไปทางซ้าย ไปถึงพระเชตวันวิหาร ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว

นั่งฟังธรรมอยู่. ทารกถามพวกบ้านว่า พ่อฉันไปไหน เมื่อได้รับคำตอบว่า

ไม่ทราบ จึงได้สังเกตรอยเท้าของบิดา ตั้งต้นแต่เรือนของผู้ที่คุ้นเคยซึ่ง

อยู่ติด ๆ กัน ไปตามทางที่บิดาไปนั่นแหละ จนถึงพระเชตวันวิหาร ถวาย

บังคมพระศาสดาแล้วไปยืนอยู่ใกล้ ๆ บิดา เมื่อบิดาถามว่า ลูกรัก เจ้า

รู้ว่าพ่อมาในที่นี้หรือ ? เขาตอบว่า ฉันจำรอยเท้าพ่อไปจึงได้มา โดย

สังเกตรอยเท้า. พระศาสดาตรัสถามว่า พูดอะไรกันอุบาสก ? เมื่อกุฎุมพี

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เด็กคนนี้ฉลาดสังเกตรอยเท้า ข้า

พระองค์ทดลองเด็กนี้จึงได้มาโดยอุบายนี้ แลเด็กนี้ครั้นไม่เห็นข้าพระ-

องค์ในเรือน ได้มาโดยสังเกตรอยเท้าข้าพระองค์ จึงตรัสว่า อุบาสก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 663

การจำรอยเท้าบนพื้นดินได้ไม่น่าอัศจรรย์ บัณฑิตก่อน ๆ จำรอยเท้าใน

อากาศได้ กุฎุมพีนั้นกราบทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว จึงทรงนำเรื่อง

ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-

นครพาราณสี พระอัครมเหสีของพระองค์ประพฤตินอกใจ เมื่อพระ-

ราชาตรัสถามก็สบถสาบานว่า ถ้าหม่อมฉันประพฤตินอกใจพระองค์

ขอให้หม่อมฉันเป็นยักษิณีมีหน้าเหมือนม้า. ต่อจากนั้นพระนางได้สิ้น

พระชนม์ เกิดเป็นยักษิณีมีหน้าเหมือนม้า ที่เชิงเขาแห่งหนึ่งอยู่ในคูหา

จับมนุษย์ที่สัญจรไปมาในดงใหญ่ ในทางที่ไปจากตันดงถึงปลายดง

เคี้ยวกินเป็นอาหาร ได้ยินว่านางยักษิณีนั้น ไปบำเรอท้าวเวสวัณอยู่

๓ ปี ได้รับพรให้เคี้ยวกินมนุษย์ได้ในที่ยาว ๓๐โยชน์ กว้าง ๕ โยชน์.

อยู่มาวันหนึ่ง พราหมณ์รูปงามคนหนึ่ง เป็นผู้มั่งคั่งมีโภคทรัพย์มาก

แวดล้อมไปด้วยมนุษย์จำนวนมาก เดินมาทางนั้น นางยักษิณีเห็นดังนั้น

มีความยินดีจึงวิ่งไป พวกมนุษย์ผู้เป็นบริวารพากันหนีไปหมด นาง

ยักษิณีวิ่งเร็วอย่างลม จับพราหมณ์ได้แล้วให้นอนบนหลังไปคูหา เมื่อ

ได้ถูกต้องกับบุรุษเข้าก็เกิดสิเนหาในพราหมณ์นั้นด้วยกิเลส จึงมิได้

เคี้ยวกินเขาเอาไว้เป็นสามีของตน แล้วทั้ง ๒ ต่างก็อยู่ร่วมกันด้วยความ

สามัคคีตั้งแต่นั้นมา นางยักษิณีก็เที่ยวจับมนุษย์ถือเอาผ้า ข้าวสารและ

น้ำมันเป็นต้น มาปรุงเป็นอาหารมีรสเลิศต่างๆ ให้สามี ตนเองเคี้ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 664

กินเนื้อมนุษย์ เวลาที่นางจะไปไหนนางได้เอาหินแผ่นปิดประตูถ้ำ

ก่อนแล้วจึงไป เพราะกลัวพราหมณ์จะหนี เมื่อเขา ๒ คนอยู่กันอย่าง

ปรีดาปราโมทย์เช่นนี้ พระโพธิสัตว์เคลื่อนจากฐานะที่พระองค์เกิดมา

ถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางยักษิณีนั้น เพราะอาศัยพราหมณ์ พอล่วง

ไปได้ ๑๐ เดือน นางยักษิณีก็คลอดบุตร นางได้มีความสิเนหาในบุตรและ

พราหมณ์มา ได้เลี้ยงดูคนทั้ง ๒ เป็นอย่าง ต่อมาเมื่อบุตรเจริญวัย

แล้ว นางยักษิณีได้ให้บุตรเข้าไปภายในถ้ำพร้อมกับบิดาแล้วปิดประตู

เสีย ครั้นวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์รู้ว่านางยักษิณีนั้นไปแล้ว จึงได้เอาศิลา

ออกพาบิดาไปข้างนอก นางยักษิณีมาถามว่า ใครเอาศิลาออก เมื่อ

พระโพธิสัตว์ตอบว่า ฉันเอาออกจ้ะแม่ ฉันไม่สามารถนั่งอยู่ในที่มืด นาง

ก็มิได้ว่าอะไรเพราะรักบุตร.

อยู่มาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์ถามบิดาว่า พ่อจ๋า เหตุไรหน้าของ

แม่ฉันจึงไม่เหมือนหน้าของพ่อ. พราหมณ์ผู้เป็นบิดากล่าวว่า ลูกรัก

แม่ของเจ้าเป็นยักษิณีที่กินเนื้อมนุษย์ เราสองพ่อลูกนี้เป็นมนุษย์. พระ-

โพธิสัตว์กล่าวว่า พ่อจ๋า ถ้าเช่นนั้นเราจะอยู่ในที่นี้ทำไม ไปเถิดพ่อ

เราไปแดนมนุษย์กันเถิด. พราหมณ์ผู้เป็นบิดากล่าวว่า ลูกรัก ถ้าเราหนี

แม่ของเจ้าก็จักฆ่าเราทั้งสองเสีย พระโพธิสัตว์พูดเอาใจบิดาว่า อย่ากลัว

เลยพ่อ ฉันรับภาระพาพ่อไปให้ถึงแดนมนุษย์. ครั้นวันรุ่งขึ้น เมื่อ

มารดาไปแล้วได้พาบิดาหนี นางยักษิณีกลับมาไม่เห็นคนทั้ง ๒ นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 665

จึงวิ่งไปเร็วอย่างลม จับคนทั้ง ๒ นั้นได้แล้วกล่าวว่า พราหมณ์ ท่านหนี

ทำไม ท่านอยู่ที่นี้ขาดแคลนอะไรหรือ ? เมื่อพราหมณ์กล่าวว่า น้องรัก

เธออย่าโกรธพี่เลย ลูกของเธอพาพี่หนีดังนี้ นางก็มิได้ว่าอะไรแก่เขา

เพราะความสิเนหาในบุตร ปลอบโยนคนทั้ง ๒ ให้เบาใจแล้วพาไปยัง

ที่อยู่ของตน. ในวันที่ ๓ นางยักษิณีก็ได้นำคนทั้ง ๒ ซึ่งหนีไปอยู่อย่าง

นั้นกลับมาอีก.

พระโพธิสัตว์คิดว่า แม่ของเราคงจะมีที่ที่เป็นเขตกำหนดไว้

ทำอย่างไรเราจึงจะถามถึงแดนที่อยู่ในอาณาเขตของแม่นี้ได้ เมื่อถามได้

เราจักหนีไปให้เลยเขตแดนนั้น. วัน ๑ พระโพธิสัตว์กอดมารดานั่งลง

ณ ที่ควรแห่ง ๑ แล้วกล่าวว่า แม่จ๋า บรรดาของที่เป็นของแม่ย่อม

ตกอยู่แก่พวกลูก ขอแม่ได้โปรดบอกเขตกำหนดพื้นดินที่เป็นของแม่

แก่ฉัน นางยักษิณีบอกที่ซึ่งยาว ๓๐ โยชน์ กว้าง ๕ โยชน์ มีภูเขาเป็น

ต้นเป็นเครื่องหมายในทิศทั้งปวงแก่บุตรแล้วกล่าวว่า ลูกรัก เจ้าจง

กำหนดที่นี้ซึ่งมีอยู่เพียงเท่านี้ไว้ ครั้นล่วงไปได้ ๒, ๓ วัน เมื่อมารดาไป

ดงแล้ว พระโพธิสัตว์ได้แบกบิดาขึ้นคอวิ่งไปโดยเร็วอย่างลม ตามสัญญา

ที่มารดาให้ไว้ ถึงฝั่งแม่น้ำอันเป็นเขตกำหนด นางยักษิณีกลับมาเมื่อ

ไม่เห็นคนทั้ง ๒ ก็ออกติดตาม พระโพธิสัตว์พาบิดาไปถึงกลางแม่น้ำ

นางยักษิณีไปยืนอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำ รู้ว่าคนทั้ง ๒ ล่วงเลยเขตแดนของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 666

ตนไปแล้ว จึงยืนอยู่ที่นั้นเอง วิงวอนบุตรและสามีว่า ลูกรัก เจ้าจงพา

พ่อกลับมา แม่มีความผิดอะไรหรือ ? อะไร ๆ ไม่สมบูรณ์แก่พวกท่าน

เพราะอาศัยเราหรือ ? กลับมาเถิด ผัวรัก ดังนี้. ลำดับนั้น พราหมณ์ได้

ข้ามแม่น้ำไปแล้ว นางยักษิณีวิงวอนบุตรว่า ลูกรัก เจ้าอย่าได้ทำอย่างนี้

เจ้าจงกลับมาเถิด. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า แม่ ฉันและพ่อเป็นมนุษย์

แม่เป็นยักษิณี ฉันไม่อาจอยู่ในสำนักของแม่ได้ตลอดกาล ฉะนั้นฉัน

กับพ่อจักไม่กลับ. นางยักษิณีถามว่า เจ้าจักไม่กลับหรือลูกรัก. พระโพธิ-

สัตว์ตอบว่า ใช่ ลูกจะไม่กลับดอกแม่ นางยักษิณีกล่าวว่า ลูกรัก ถ้า

เจ้าจักไม่กลับก็ตามเถิด ขึ้นชื่อว่าชีวิตในโลกนี้เป็นของยาก คนที่ไม่รู้

ศิลปวิทยาไม่อาจที่จะดำรงชีพอยู่ได้ แม่รู้วิชาอย่างหนึ่งชื่อจินดามณี

ด้วยอานุภาพของวิชานี้ อาจที่จะติดตามรอยเท้าของผู้ที่หายไปแล้วสิ้น

๑๒ ปีเป็นที่สุด วิชานี้จักเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตเจ้า ลูกรัก เจ้าจงเรียน

มนต์อันหาค่ามิได้นี้ไว้ ว่าดังนั้นแล้วทั้ง ๆ ที่ถูกความทุกข์เห็นปานนั้น

ครอบงำ นางก็ได้สอนมนต์ให้ด้วยความรักลูก. พระโพธิสัตว์ยืนอยู่ใน

แม่น้ำนั่นเอง. ไหว้มารดาแล้วประณมมือเรียนมนต์ ครั้นเรียนได้แล้ว

ได้ไหว้มารดาอีก แล้วกล่าวว่า แม่ ขอแม่จงไปเถิด นางยักษิณีกล่าว

ว่า ลูกรัก เมื่อเจ้าและพ่อของเจ้าไม่กลับ ชีวิตของแม่ก็จักไม่มี แล้ว

กล่าวคาถาว่า :-

ลูกรัก เจ้าจงมาหาแม่ จงกลับไปอยู่กับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 667

แม่เถิด อย่าทำให้แม่ไม่มีที่พึ่งเลย เมื่อแม่

ไม่ได้เห็นลูกก็ต้องตายในวันนี้.

ครั้นกล่าวแล้ว นางยักษิณีได้ทุบหน้าอกของตนเอง. ทันใดนั้น

หทัยของนางได้แตกทำลาย เพราะความเศร้าโศกถึงบุตร. นางตายแล้ว

ล้มลงไปในที่นั้นนั่นเอง. ขณะนั้นพระโพธิสัตว์ทราบว่ามารดาตาย จึง

เรียกบิดาไปใกล้มารดาแล้วทำเชิงตะกอนเผาศพมารดา ครั้นเผาเสร็จ

แล้วได้บูชาด้วยดอกไม้นานาชนิด พลางร้องไห้คร่ำครวญพาบิดาไปนคร

พาราณสี ยืนอยู่ที่ประตูพระราชนิเวศน์ให้กราบทูลแด่พระเจ้าพาราณ-

สีว่า มีมาณพผู้ฉลาดสังเกตรอยเท้ามายืนอยู่ที่พระทวารขอเข้าเฝ้า เมื่อ

ได้รับเชื้อเชิญว่า ถ้าเช่นนั้นจงเข้ามาเถิด ได้เข้าไปถวายบังคมพระเจ้า

พาราณสี เมื่อพระองค์ตรัสถามว่า นี่แน่ะเจ้า เจ้ารู้ศิลปวิทยาอะไร ?

จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ข้าพระองค์รูวิชาที่สามารถไปตามรอยเท้า

แล้วจับคนที่ลักสิ่งของไปแล้วนานถึง ๑๒ ปีได้. พระเจ้าพาราณสีตรัส

ว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงรับราชการอยู่กับเรา. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า

เมื่อข้าพระองค์ได้รับพระราชทานทรัพย์วันละพัน จึงจะขอรับ

ราชการ พระเจ้าพาราณสีตรัสว่า ดีแล้วพ่อ เจ้าจงรับราชการเถิด

พระเจ้าพาราณสีรับสั่งให้พระราชทานทรัพย์วันละพันทุกวันแล้ว.

อยู่มาวัน ๑ ปุโรหิตกราบทูลพระเจ้าพาราณสีว่า ข้าแต่พระ-

มหาราชเจ้า. เราทั้หลายไม่รู้ว่ามาณพนั้นจะมีศิลปะนั้นหรือไม่มี เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 668

เขายังมิได้ทำกรรมอย่างใดอย่าง ๑ ด้วยอานุภาพของศิลปวิทยา ควร

จักทดลองมาณพนั้นก่อน พระราชารับสั่งว่า ดีแล้ว ทั้ง ๒ คนจึงให้

สัญญาแก่เจ้าพนักงานรักษารัตนะ แล้วถือเอาแก้วดวงสำคัญลงจากปรา-

สาท เดินวนเวียนภายในพระราชนิเวศน์ ๓ ครั้ง แล้วพาดบันไดลงข้าง

นอกปลายกำแพง เข้าไปศาลยุติธรรม นั่งในศาลนั้นแล้วเดินกลับมา

พาดบันได ลงภายในพระราชนิเวศน ์ ทางปลายกำแพง เดินไปยังฝั่งสระ

โบกขรณีภายในพระราชวัง เวียนสระโบกขรณี ๓ รอบ แล้วลงไปวาง

สิ่งของไว้ในสระโบกขรณี แล้วจึงไปขึ้นปราสาท. วันรุ่งขึ้นได้เกิดโกลา

หลกันว่า ได้ยินว่า พวกโจรลักแก้วไปจากพระราชนิเวศน์ พระราชาทำ

เป็นทรงทราบ รับสั่งให้เรียกพระโพธิสัตว์มาแล้วตรัสว่า นี่แน่ะเจ้า

แก้วมีค่ามาก ถูกโจรลักไปจากพระราชนิเวศน์ เอาเถิด เจ้าควรติดตาม

แล้วนั้นมาให้ได้. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า สิ่งของ

ที่โจรลักไปแล้วนานถึง ๒ ปี ข้าพระองค์ยังสามารถติดตามรอยเท้า

โจรนำคืนมาได้อย่างไม่น่าแปลกสิ่งของที่ถูกลักไปเมื่อคืนนี้ ข้าพระองค์

จักสามารถนำมาให้ในวันนี้แน่ ขอพระองค์อย่าได้ทรงปริวิตก สิ่งของ

นั้นเลย พระราชารับสั่งว่า นี่แน่ะเจ้าถ้าเช่นนั้น เจ้าจงนำมาเถิด พระ-

โพธิสัตว์กราบทูลว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า แล้วยืนขึ้นที่ท้องพระโรงไหว้

มารดาร่ายมนต์จินดามณี แล้วกราบทูลว่า รอยเท้าของโจร ๒ คน

ปรากฏพระเจ้าข้า แล้วตามรอยเท้าของพระราชาและปุโรหิตเข้าไปยัง

ห้องสิริมงคล ออกจากห้องนั้นลงจากปราสาทวนเวียนอยู่ในพระราช-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 669

นิเวศน์ ๓ ครั้ง แล้วไปใกล้กำแพงตามรอยเท้านั่นแหละ ยืนบนกำแพง

แล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้าพ้นจากำแพงในที่นี้ไปแล้วรอยเท้า

ปรากฏในอากาศ ขอพระองค์จงพระราชทานบันได แล้วให้พาดบันได

ลงทางปลายกำแพง ไปศาลยุติธรรมตามรอยเท้านั้นแหละ แล้วเดิน

กลับมายังพระราชนิเวศน์อีก ให้พาดบันไดแล้วลงทางปลายกำแพงไป

สระโบกขณีเดินเวียนขวาสระโบกขรณี ๓ ครั้ง แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่

พระมหาราชเจ้า พวกโจรลงสระโบกขรณีนี้ แล้วลงไปนำสิ่งของซึ่งดุจ

ตนวางไว้เองมาถวายพระเจ้าพาราณสี แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหา-

ราชเจ้า โจร ๒ คนนี้เป็นมหาโจรที่พระองค์ทรงรู้จักดี จึงได้ขึ้นพระ-

ราชนิเวศน์ตามทางนี้ มหาชนพากันชื่นชมยินดีต่างก็ปรบมือกันยกให้

บางพวกก็ยกผ้าขึ้นโบก.

พระราชาทรงพระดำริว่า มาณพนี้เดินไปโดยสังเกตรอยเท้าเห็น

จะรู้แต่ตำแหน่งสิ่งของที่พวกโจรวางไว้เท่านั้น แต่ไม่อาจจับโจรได้ที่นั้น

พระราชาจึงได้ตรัสกะพระโพธิสัตว์ว่า เจ้านำสิ่งของที่พวกโจรลักไปมา

ให้เราได้ แต่ไม่อาจจับพวกโจรมาให้เราได้ พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พวกโจรอยู่ในที่นี้ แหละมิได้อยู่ไกลเลย พระราชา

มีพระดำรัสว่า ใครเป็นโจร ใครเป็นโจร ? พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้ใดย่อมอยากได้อยู่ผู้นั่นแหละเป็นโจร เมื่อได้สิ่งของ

ของพระองค์มาแล้ว จะประโยชน์อะไรด้วยพวกโจรอีกเล่า ขอพระองค์

อย่าได้ถามถึงเลย. พระราชามีรับสั่งว่า นี่แน่ะเจ้า เราให้ทรัพย์แก่เจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 670

วันละพันทุกวันเจ้าจงจับพวกโจรมาให้เรา. พระโพธิสัตว์กราบทูล

ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ทรัพย์ที่หายไปพระองค์ก็ได้แล้ว จะประโยชน์

อะไรด้วยพวกโจรอีกเลย. พระราชามีรับสั่งว่า นี่แน่ะเจ้า เราได้พวก

โจรเหมาะกว่าได้ทรัพย์ พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า

ถ้าเช่นนั้น ข้าพระองค์จักไม่กราบทูลแต่พระองค์ว่า คนเหล่านี้เป็นโจร

แต่จักนำเรื่องที่เป็นไปแล้วในอดีตมากราบทูลพระองค์ ถ้าพระองค์ทรง

พระปรีชาก็จะทรงทราบเรื่องนั้น ครั้นกราบทูลดังนี้แล้ว ได้นำเอาเรื่อง

ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ข้าแต่มหาราชเจ้า ในอดีตกาล มีมาณพนักฟ้อนคนหนึ่ง ชื่อ

ปาฏลี อยู่ในบ้านน้อยริมฝั่งแม่น้ำไม่ไกลพระนครพาราณสีนัก วัน ๑

มีการมหรสพ เขาพาภรรยาไปพระนครพาราณสี ฟ้อนรำขับร้องได้

ทรัพย์ ครั้นเลิกการมหรสพแล้ว ได้ซื้อสุราอาหารเป็นจำนวนมากเดิน

กลับบ้านของตน ถึงฝั่งแม่น้ำเห็นน้ำใหม่กำลังไหลมา จึงนั่งบริโภค

อาหารดื่มสุราเมาจนไม่รู้กำลังของตน เอาพิณใหญ่ผูกคอแล้วลงน้ำจับมือ

ภรรยาพูดว่า เราไปกันเถิด แล้วว่ายข้ามแม่น้ำไป. น้ำได้เข้าไปตาม

ช่องพิณ. ครานั้น พิณนั้นได้ถ่วงเขาจมลงในน้ำ. ฝ่ายภริยาของเขารู้ว่า

สามีจมน้ำ จึงสลัดเขาขึ้นไปยืนอยู่บนฝั่ง. มาณพนักฟ้อนจมน้ำผลุบ-

โผล่ ๆ อยู่ ดื่มน้ำเข้าไปจนเต็มท้อง ลำดับนั้น ภรรยาของเขาจึงคิดว่า

สามีของเราจักตายในบัดนี้ เราจักขอเพลงขับไว้สักบท ๑ เอาไว้ขับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 671

ในท่ามกลางบริษัทเลี้ยงชีพ คิดดังนี้แล้วจึงได้กล่าวว่า พี่ พี่กำลังจะ

จมน้ำ ขอท่านจงให้เพลงขับแก่ฉันบท ๑ ฉันจักเลี้ยงชีพด้วยเพลง

ขับนั้น แล้วกล่าวคาถาว่า :-

แม่น้ำคงคาพัดพาเอามาณพชื่อปาฏลี ผู้คง

แก่เรียน มีถ้อยคำไพเราะให้ลอยไป พี่ผู้ถูก

น้ำพัดไป ขอความเจริญจงมีแก่พี่ ขอพี่จงให้

เพลงขับบทน้อย ๆ แก่ฉันสักบท ๑ เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คาถก คือเพลงขับบทน้อย ๆ ลำดับ

นั้น ปาฏลีนักฟ้อนได้กล่าวกะภรรยาว่า น้องรักพี่จักให้เพลงขับแก่เจ้า

อย่างไรได้ น้ำซึ่งเป็นที่พึ่งอาศัยของมหาชน บัดนี้กำลังจักฆ่าพี่อยู่แล้ว

แล้วกล่าวคาถาว่า :-

ชนทั้งหลายย่อมรดผู้ที่ได้รับความทุกข์

ด้วยน้ำใด ชนทั้งหลายย่อมรดผู้ที่เร่าร้อนด้วย

น้ำใด เราจักตายในท่ามกลางน้ำนั้น ภัยเกิด

แต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

พระโพธิสัตว์แสดงคาถานี้แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

น้ำเป็นที่พึ่งของมหาชนฉันใด แม้พระราชาทั้งหลาย ก็เป็นที่พึ่งของ

มหาชนฉันนั้น เมื่อภัยเกิดแต่สำนักของพระราชาเหล่านั้นแล้ว ใครจัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 672

ป้องกันภัยนั้นได้ ดังนี้แล้วกราบทูลอีกว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เรื่องโจร

ลักพระราชทรัพย์นี้เป็นเรื่องลับ แต่ข้าพระองค์กราบทูลอย่างที่บัณฑิต

จะรู้ได้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระราชาตรัสว่า

นี่แน่ะเจ้า เราจะรู้เรื่องลี้ลับเห็นปานนี้ได้อย่างไร เจ้าจะจับโจรมาให้เรา

เถิด ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

ถ้าเช่นนั้นพระองค์ทรงสดับเรื่องนี้แล้วจะทรงทราบ แล้วนำเรื่องมาเล่า

ถวายอีกเรื่องหนึ่ง ดังต่อไปนี้ :-

ข้าแต่พระองค์ ในกาลก่อนที่บ้านใกล้ประตูพระนครพาราณสีนี้

มีช่างหม้อคนหนึ่ง เมื่อจะนำดินเหนียวมาเพื่อต้องการปั้นภาชนะ ได้

ขุดเอาดินเหนียวในที่แห่งเดียวนั่นเอามาเป็นนิจ จนเป็นหลุมใหญ่

ภายในเป็นเงื้อม อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อช่างหม้อนั้นกำลังขุดเอาดินเหนียว

เมฆก้อนใหญ่ตั้งเค้าขึ้นในเวลาไม่ใช่ฤดูฝน ให้ฝนตกลงมาห่าใหญ่น้ำ

ไหลท่วมหลุมพังทะลายลงไปทับศีรษะนายช่างหม้อนั้นแตก นายช่าง

หม้อร้องคร่ำครวญอยู่ กล่าวคาถาว่า :-

พืชทั้งหลายงอกงามขึ้นได้บนแผ่นดิน

ใด สัตว์ทั้งหลายดำรงอยู่ได้บนแผ่นดินใด

แผ่นดินนั้นก็พังทับศีรษะของเราแตก ภัยเกิด

ขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 673

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิปฺปีเฬติ ได้แก่พังทับคือ ทำลาย

พระมหาสัตว์กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ แผ่นดินใหญ่เป็น

ที่พึ่งอาศัย ของมหาชน ได้ทำลายศีรษะของนายช่างหม้อฉันใด เมื่อ

พระราชผู้เป็นจอมแห่งนรชน เป็นที่พึ่งอาศัยแห่งสัตวโลกทั้งหมด

เสมอด้วยแผ่นดินใหญ่ มากระทำโจรกรรมอย่างนี้ ใครเล่าจักป้องกันได้

ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์สามารถที่จะทรงทราบตัวโจรที่ข้าพระองค์

กราบทูลปกปิดไว้ได้ด้วยอุปมาอย่างนี้. พระเจ้าพาราณสีตรัสว่า นี่แน่ะ

เจ้า เหตุที่เราจะปกปิดนั้นไม่มี เจ้าจงจับโจรให้แก่เราโดยชี้ว่าคนนี้แหละ

เป็นโจรดังนี้ พระโพธิสัตว์เมื่อจะรักษาพระเกียรติคุณพระราชา จึง

มิได้กล่าวว่าพระองค์เป็นโจร ได้นำตัวอย่างมากราบทูลถวายอีกเรื่อง

หนึ่งว่า :-

ข้าแต่มหาราชเจ้า ในกาลก่อน เมื่อไฟไหม้บ้านของบุรุษคนหนึ่ง

ในพระนครนี้แหละ เขาใช้คน ๆ หนึ่งว่า เจ้าจงเข้าไปข้างในขนสิ่งของ

ออก เมื่อคนนั้นกำลังเข้าไปขนของอยู่ประตูเรือนปิด. เขาตามืดเพราะ

ถูกควันหาทางออกไม่ได้เถิดทุกข์ขึ้นเพราะความร้อน ยืนคร่ำครวญอยู่

ข้างใน กล่าวคาถาว่า :-

ชนทั้งหลายหุงอาหารด้วยไฟใด บรรเทา

ความหนาวด้วยไฟใด ไฟนั้นก็มาไหม้ตัวเรา

ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 674

บรรดาบทเหล่านั้น ทำลายบทว่า โส ม ฑหติ ความว่า ไฟนั้นไหม้

เราอีกอย่างหนึ่งบาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.

พระมหาสัตว์กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า มนุษย์คนหนึ่ง

เป็นที่พึ่งอาศัยของมหาชน ราวกะว่าไฟเป็นที่พึ่งอาศัยฉะนั้น ได้ลักสิ่ง

ของคือรัตนะไป ขอพระองค์อย่าตรัสถามถึงโจรกะข้าพระองค์เลย พระ-

ราชาตรัสว่า นี่แน่ะเจ้า เจ้าจงบอกโจรให้แก่เราเถิด พระโพธิสัตว์มิได้

กราบทูลพระราชาว่า พระองค์เป็นโจร ได้นำตัวอย่างมาถวายอีกเรื่อง

หนึ่งว่า :-

ข้าแต่พระองค์ ในกาลก่อนบุรุษคนหนึ่งในพระนครนี้แหละ

บริโภคอาหารมากเกินไป ไม่อาจย่อยได้ ได้รับทุกขเวทนา คร่ำครวญ

อยู่ กล่าวคาถาว่า :-

พราหมณ์และกษัตริย์ทั้งหลาย เป็น

จำนวนมากเลี้ยงชีพด้วยข้าวสุกใด ข้าวสุกนั้น

เราบริโภคแล้ว ก็มาทำเราให้ถึงความพินาศ

ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ม ภุตฺโต พฺยาปาทิ ความว่า

ข้าวสุกนั้นเราบริโภคแล้วก็มาทำเราให้ถึงความพินาศ คือให้ตาย.

พระมหาสัตว์กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า คนคนหนึ่ง

เป็นที่พึ่งอาศัยของมหาชน เหมือนข้าวสุกได้ลักสิ่งของไป เมื่อได้สิ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 675

ของนั้นคืนมาแล้ว พระองค์จะถามถึงโจรทำไม พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะ

เจ้า เมื่อเจ้าสามารถก็จงนำโจรมาให้เรา พระโพธิสัตว์ได้นำตัวอย่างมา

กราบทูลอีกเรื่องหนึ่งว่า:-

ข้าแต่มหาราชเจ้า ในกาลก่อนลมได้ตั้งขึ้นพัดประหารร่างกายของ

คนคนหนึ่งในพระนครนี้แหละ คนคนนั้นคร่ำครวญอยู่ กล่าวคาถาว่า :-

บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมปรารถนาลมใน

เดือนท้ายแห่งฤดูร้อน ลมนั้นมาพัดประหาร

ร่างภายเรา ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

พระมหาสัตว์กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ภัยเกิดขึ้นแต่

ที่พึ่งอาศัยด้วยประการดังนี้ ขอพระองค์จงทราบเรื่องนี้เถิด. พระราชา

ตรัสว่า นี่แน่ะเจ้า เจ้าจงจับโจรเถอะ. เพื่อที่จะให้พระราชาทรงทราบ

พระโพธิสัตว์ได้นำตัวอย่างมากราบทูลอีกเรื่องหนึ่งว่า.

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ในอดีตกาล ในหิมวันตประเทศ มีต้น

ไม้ใหญ่สมบูรณ์ด้วยกิ่งและค่าคบ เป็นที่อยู่อาศัยของนกหลายพันตัว

ทั้งสองกิ่งของต้นไม้นั้นเสียดกันจนมีควันเกิดขึ้น แล้วเชื้อไฟหล่นลง

นกนายฝูงเห็นดังนั้น จึงกล่าวคาถาว่า :-

นกทั้งหลายพากันอาศัยต้นไม้ใดที่งอก

แต่แผ่นดิน ต้นไม้นั้นก็พ่นไฟออกมา นกทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 676

หลายเห็นดังนั้น ก็พากันหลบหนีไป ภัยเกิด

ขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขคติรุห แปลว่า งอกแต่แผ่นดิน

พระมหาสัตว์กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ ต้นไม้เป็นที่พึ่ง

อาศัยของนกทั้งหลายฉันใด พระราชาก็เป็นที่พึ่งอาศัย ของมหาชนฉัน

นั้น เมื่อพระราชานั้นกระทำโจรกรรมใครเล่าจะป้องกันได้ ขอพระ-

องค์จงทรงทราบเถิดพระพุทธเจ้าข้า พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะเจ้า เจ้า

จงจับโจรให้แก่เราเถิด ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้นำตัวอย่างมากราบ

ทูลพระราชาอีกเรื่องหนึ่งว่า :-

ข้าแต่มหาราชเจ้า ที่บ้านของชาวกาสีตำบลหนึ่ง มีแม่น้ำที่มี

จระเข้อยู่ด้านหลังของตระกูล ๆ หนึ่ง และตระกูลนั้นมีบุตรคนเดียว

เท่านั้น เมื่อบิดาของเขาตายเขาได้ปฏิบัติมารดา มารดาได้นำกุล-

ธิดาคนหนึ่งมาให้เขาโดยที่เขาไม่ปรารถนาเลย ตอนแรก ๆ นางกุลธิดา

นั้นก็รักใคร่แม่ผัวดี ภายหลังเจริญด้วยบุตรและธิดา จึงอยากจะขับไล่

แม่ผัวเสีย แม้มารดาของนางก็อยู่ในเรือนนั้นเหมือนกัน ครั้งนั้น นาง

กล่าวโทษแม่ผัวมีประการต่าง ๆ ต่อหน้าสามี แล้วกล่าวว่า ฉันไม่อาจที่จะ

เลี้ยงดูมารดาของพี่ได้ จงฆ่ามารดาของพี่เสีย เมื่อสามีกล่าวว่า การ

ฆ่ามนุษย์เป็นกรรมหนักฉันจักฆ่าแม่ได้อย่างไร จึงกล่าวว่า ในเวลา

ที่แกหลับ เราช่วยกันพาแกไปทั้งเตียงทีเดียว โยนลงแม่น้ำที่มีจระเข้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 677

แล้วจระเข้ก็จักฮุบแกไปกิน สามีถามว่า มารดาของเธอนอนที่ไหน

นางตอบว่า นอนอยู่ใกล้ ๆ กับมารดาพี่นั่นแหละ สามีกล่าวว่า ถ้า

เช่นนั้น เธอจงไปเอาเชือกผูกเตียงที่มารดาของฉันนอนทำเครื่องหมาย

ไว้ครานั้นนางได้กระทำเช่นนั้นแล้วบอกว่า ฉันได้กระทำเครื่องหมายไว้

แล้ว สามีกล่าวว่า รอสักหน่อยให้คนทั้งหลายหลับเสียก่อน ตนเองก็

นอนทำเป็นหลับ แล้วไปแก้เชือกนั้นมาผูกที่เตียงของมารดาภรรยา

ปลุกภรรยาขึ้น แล้วทั้ง ๒ คนก็ไปช่วยกันยกขึ้นทั้งเตียงทีเดียว โยน

ลงไปในน้ำ จระเข้ทั้งหลายได้ยื้อแย่งกันเคี้ยวกินมารดาของหญิงนั้นใน

แม่น้ำนั้น.

วันรุ่งขึ้น นางรู้ว่ามารดาถูกเปลี่ยนตัวจึงกล่าวว่า พี่ มารดา

ของฉันถูกฆ่าแล้ว ต่อไปนี้พี่จงฆ่ามารดาของพี่ เมื่อสามีตอบว่า ถ้า

เช่นนั้นตกลง จึงกล่าวว่า เราช่วยกันทำเชิงตะกอนในป่าช้า แล้วจับ

แกใส่เข้าไปในไฟให้ตาย ลำดับนั้น คนทั้ง ๒ ได้นำมารดาผู้กำลังหลับ

อยู่ไปวางไว้ที่ป่าช้า สามีกล่าวกะภรรยาที่ป่าช้านั้นว่า เธอนำไฟมาแล้ว

หรือ ? ภรรยาตอบว่า ไม่ได้นำมาเพราะลืม สามีกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น

เธอจงไปนำมา ภรรยากล่าวว่า ฉันไม่อาจไปคนเดียว แม้เมื่อพี่ไปฉันก็

ไม่อาจอยู่คนเดียว เราไปกันทั้ง ๒ คนเถิด เมื่อผัวเมีย ๒ คนไปกันแล้ว

หญิงแก่ตื่นขึ้นเพราะลมหนาว รู้ว่าที่นั่นเป็นป่าช้าจึงใคร่ครวญดูว่า ผัว

เมีย ๒ คนนี้คงจะประสงค์จะฆ่าเรา มันคงไปเพื่อเอาไฟมาเผาเป็นแน่

คิดว่า มันไม่รู้กำลังของเราดังนี้ แล้วจึงได้เอาซากศพศพหนึ่งขึ้นนอน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 678

บนเตียง เอาผ้าเก่าคลุมข้างบน แล้วตนเองหนีเข้าถ้ำที่เร้นลับใกล้ป่าช้า

นั้นแหละ ผัวเมีย ๒ คนนำไฟมาแล้วเผาซากศพด้วยเข้าใจว่า เป็นหญิง

แก่ แล้วหลีกไป.

ก็ครั้งนั้น ในถ้ำที่เร้นลับนั้น โจรคนหนึ่งเอาสิ่งของไปเก็บไว้

ก่อน โจรนั้นคิดว่า เราจักไปเอาสิ่งของนั้น จึงได้มาเห็นหญิงแก่เข้าใจ

ว่าเป็นยักษิณีตน ๑ สิ่งของของเราเกิดมีอมนุษย์หวงแหนเสียแล้ว

จึงได้ไปนำหมอผีมาคน ๑ ครั้นหมอผีเดินร่ายมนต์เข้าไปในถ้ำ หญิง

แก่จึงกล่าวกะหมอผีนั้นว่า ฉันไม่ใช่ยักษิณีท่านจงมาเถิด เราทั้ง ๒ จะ

บริโภคทรัพย์นี้ หมอผีพูดว่า เราจะเชื่อได้อย่างไร ? หญิงแก่พูดว่า ท่าน

จงเอาลิ้นของท่านวางบนลิ้นของเรา หมอผีได้กระทำอย่างนั้น ทันใด

นั้นหญิงแก่ได้กัดลิ้นของหมอผีขาดตกไป หมอผีมีโลหิตไหลจากลิ้น

คิดว่า หญิงแก่นี้เป็นยักษิณีแน่จึงร้องวิ่งหนีไป ฝ่ายหญิงแก่นั้นครั้นวัน

รุ่งขึ้น ก็นุ่งผ้าเนื้อเลี่ยนถือเอาสิ่งของคือรัตนะต่าง ๆ ไปเรือน ลำดับ

นั้น หญิงลูกสะใภ้เห็นดังนั้นจึงถามว่า แม่จ๋า แม่ได้สิ่งของนี่ที่ไหน.

หญิงแก่ตอบว่า ลูกคนที่ถูกเผาบนเชิงตะกอนไม้ในป่าช้านั้น ย่อมได้

ทรัพย์สิ่งของเห็นปานนี้ หญิงลูกสะใภ้ถามว่า แม่จ๋า ถ้าเช่นนั้นอย่างฉัน

นี้อาจที่จะได้ไหม ? หญิงแก่ตอบว่า ถ้าจักเป็นอย่างเราก็จักได้ ครั้งนั้น

ด้วยความโลภในสิ่งของเครื่องประดับ นางได้บอกแก่สามีแล้วให้เผาตน

ในป่าช้านั้น. ครั้นในวันรุ่งขึ้นสามีไม่เห็นภรรยากลับมา จึงพูดกะมารดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 679

ว่า แม่ ก็แม่มาในเวลานี้ แต่ลูกสะใภ้ทำไมจึงไม่มา. หญิงแก่ได้ฟังดัง

นั้นจึงดุลูกชายว่า เฮ้ยไอ้คนเลว ! ขึ้นชื่อว่าคนที่ตายแล้วจะมาได้อย่างไร

แล้วกล่าวคาถาว่า :-

เรานำหญิงใดผู้มีความโสมนัส ทัดระ

เบียบดอกไม้ มีกายประพรมด้วยจันทน์เหลือง

มา หญิงนั้นขับไล่เราออกจากเรือน ภัยเกิด

แต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสมนสฺส คือ ยังความโสมนัส

ให้เกิดขึ้น อีกอย่างหนึ่งบาลีว่า โสมนสฺสา ความว่า เป็นผู้ยินดีใน

ความโสมนัส.

ข้อนี้อธิบายว่า เราเข้าใจว่าบุตรของเราจักเจริญด้วยบุตรและ

ธิดาทั้งหลาย เพราะอาศัยหญิงนี้ เรานำหญิงใด ผู้มีความโสมนัสทัดระ-

เบียบดอกไม้ มีกายประพรมด้วยจันทน์เหลืองมาประดับตกแต่งให้เป็น

สะใภ้ด้วยหวังว่าจักเลี้ยงดูเราในเวลาแก่ หญิงนั้นขับไล่เราออกจากเรือน

ในวันนี้ ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้วดังนี้.

พระมหาสัตว์กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระราชาเป็น

ที่พึ่งของมหาชน เหมือนหญิงสะใภ้เป็นที่พึ่งของแม่ผัว เมื่อภัยเกิดแต่

พระราชานั้นแล้วใครอาจจะทำอะไรได้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด

พระเจ้าข้า พระราชาได้ทรงสดับดังนั้นแล้วตรัสว่า นี่แน่ะเจ้า เหตุการณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 680

ที่เจ้านำมาเล่านี้เราไม่รู้ เจ้าจงมอบโจรให้เถิด พระโพธิสัตว์คิดว่า เรา

จักรักษาเกียรติคุณพระราชา จึงได้นำเรื่องมากราบทูลอีกเรื่องหนึ่งว่า :-

ข้าแต่พระองค์ ในกาลก่อนบุรุษผู้หนึ่งในพระนครนี้แหละ ตั้ง

ความปรารถนาแล้วก็ได้บุตร ในเวลาที่บุตรเกิดเขาเกิดปีติโสมนัสว่า

เราได้บุตรแล้ว เลี้ยงดูบุตรนั้นเป็นอย่างดี เมื่อเจริญวัยแล้วได้หาภรรยา

ให้ ต่อมาภายหลังเขาแก่เฒ่าลง ไม่อาจทำงานให้สำเร็จได้ ครั้งนั้น

บุตรได้กล่าวกะเขาว่า พ่อไม่อาจทำการงานได้จงออกไปจากบ้านนี้ แล้ว

ก็ขับออกจากบ้าน เขาขอทานเลี้ยงชีพด้วยความยากแค้น คร่ำครวญอยู่

กล่าวคาถาว่า :-

เราชื่นชมยินดีด้วยบุตรผู้เกิดแล้วคนใด

เราปรารถนาความเจริญแก่บุตรคนใด บุตรคน

นั้นก็มาขับไล่เราออกจากเรือน ภัยเกิดขึ้นแต่

ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โสม เป็นต้น ความว่า บุตร

คนนั้น ก็มาขับไล่เราออกจากเรือน เรานั้นเที่ยวขอทานเลี้ยงชีพอย่าง

ลำบาก ภัยเกิดขึ้นแก่เราแต่ที่พึ่งอาศัยนั่นเอง.

พระมหาสัตว์กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขึ้นชื่อว่าบิดา

ผู้แก่ชรา บุตรผู้มีกำลังความสามารถศึกษาฉันใด ชนบททั้งหมด

พระราชาควรรักษาฉันนั้น ก็แลภัยนี้เมื่อเกิดขึ้นได้เกิดขึ้นแล้วจากสำนัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 681

ของพระราชาผู้รักษาสัตว์ทั้งปวง ขอพระองค์จงทรงทราบว่า คนชื่อโน้น

เป็นโจร ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้นจึงตรัส

ว่า นี่แน่ะเจ้า เราไม่ทราบเหตุที่ควรและไม่ควร เจ้าจงชี้ตัวโจร

ให้เถิด หรือว่าตัวเจ้าเองเป็นโจร พระราชาทรงรบเร้ามาณพอยู่เนือง ๆ

ด้วยประการดังว่ามานี้.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้กราบทูลพระราชาอย่างนี้ว่า ข้าแต่

พระมหาราชเจ้า พระองค์จะให้ข้าพระองค์ชี้ตัวโจรอย่างเดียวเท่านั้น

มิใช่หรือ ? พระราชาตรัสว่า ถูกแล้วเธอ พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า

ถ้าเช่นนั้น ข้าพระองค์จักประกาศในท่ามกลางบริษัทว่า คนโน้นด้วย

คนนี้ด้วยเป็นโจร พระราชาตรัสว่า จงทำอย่างนั้นเถิด เธอ พระ-

โพธิสัตว์ได้สดับพระราชดำรัสดังนั้นแล้วคิดว่า พระราชานี้ไม่ให้เรา

รักษาพระองค์ไว้ ฉะนั้นเราจักจับโจรในบัดนี้ คิดดังนี้แล้วจึงป่าว

ประกาศเรียกประชุมชาวนิคมชนบท แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ขอชาวชนบทและชาวนิคมผู้มาประชุม

กันแล้ว จงฟังข้าพเจ้า น้ำมีในที่ใด ไฟก็มีใน

ที่นั้น ความเกษมสำราญบังเกิดขึ้นแต่ที่ใด

ภัยก็บังเกิดขึ้นแต่ที่นั้น พระราชากับพราหมณ์

ปุโรหิตพากันปล้นรัฐเสียเอง ท่านทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 682

จงพากันรักษาตนของตนอยู่เถิด ภัยเกิดขึ้น

แต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโตทก ตทาทิตฺต ความว่า น้ำ

มีที่ไหน ไฟก็มีที่นั่น บทว่า ยโต เขม ความว่า ความเกษมสำราญ

พึงมีแต่พระราชาพระองค์ใด ภัยเกิดขึ้นแล้วแก่พระราชาพระองค์นั้น.

บทว่า อตฺตคุตฺตา วิหรถ ความว่า บัดนี้ ท่านทั้งหลายไม่มีที่พึ่งแล้ว

ขออย่าได้ยังตนให้พินาศเถิด ขอท่านทั้งหลายจงคุ้มครองตนเองรักษา

ทรัพย์และข้าวเปลือกที่เป็นของของตนเถิด ธรรมดาว่าพระราชาเป็นที่

พึ่งของมหาชน ภัยเกิดขึ้นแล้วแก่ท่านทั้งหลายแต่พระราชาพระองค์

นั่นเอง พระราชากับพราหมณ์ปุโรหิตเป็นโจรผู้หากินด้วยการปล้น ถ้า

ท่านทั้งหลายประสงค์จะจับโจร ก็จงจับพระราชากับพราหมณ์ปุโรหิตทั้ง

สองคนนี้ไปลงโทษเถิด.

ลำดับนั้น ประชาชนเหล่านั้น ได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์นั้น

แล้วพากันว่า พระราชาพระองค์นี้ควรจะมีหน้าที่ปกปักรักษา บัดนี้พระ

องค์กลับใส่โทษคนอื่น เอาสิ่งของของพระองค์ไปไว้ในสระโบกขรณีด้วย

พระองค์เองแล้วค้นหาโจร บัดนี้พวกเราจะฆ่าพระราชาลามกนี้เสีย เพื่อ

ไม่ให้กระทำโจรกรรมอีกต่อไป. ลำดับนั้น ประชาชนเหล่านั้นจึงได้

พร้อมกัน ลุกขึ้นถือท่อนไม้บ้างตะบองบ้าง ทุบตีพระราชาและพราหมณ์

ปุโรหิตให้ตาย แล้วอภิเษกพระมหาสัตว์ให้ครองราชสมบัติต่อไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 683

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงดังนี้ แล้วตรัส

ว่า ดูก่อนอุบาสก การจำรอยเท้าบนแผ่นดินได้ไม่น่าอัศจรรย์ บัณฑิต

ครั้งก่อนจำรอยเท้าในอากาศได้ถึงอย่างนี้ แล้วทรงประกาศสัจธรรม

เวลาจบสัจธรรม อุบาสกและบุตรดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พระทศพล

ทรงประชุมชาดกว่า บิดาในครั้งนั้นได้มาเป็นพระกัสสปในครั้งนี้ มาณพ

ผู้ฉลาดในการสังเกตรอยเท้าได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาปทกุสลมาณวชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 684

๗. โลมกัสสปชาดก

ว่าด้วยตบะเป็นคุณธรรมอันประเสริฐ

[๑๒๖๕] ถ้าท่านนำเอาฤาษีโลมสกัสสปะมาบูชา-

ยัญได้ ท่านจักได้เป็นพระราชาเสมอด้วยพระ-

อินทร์ ไม่รู้แก่ ไม่รู้ตายเลย.

[๑๒๖๖] อาตมาไม่ปรารถนาแผ่นดินที่มีทะเลล้อม

รอบมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขตพร้อมกับความ

นินทา ดูก่อนไสยหะ ท่านจงทราบอย่างนี้เถิด.

[๑๒๖๗] ดูก่อนพราหมณ์ เราติเตียนการได้ยศ

การได้ทรัพย์ และความประพฤติอันไม่เป็น

ธรรม มีแต่จะให้ถึงความพินาศ.

[๑๒๖๘] ถึงแม้จะเป็นบรรพชิต ต้องอุ้มบาตรหา

เลี้ยงชีพ แต่ไม่เบียดเบียนใคร ความเป็นอยู่

เช่นนั้น ยังดีกว่าการแสวงหาที่ไม่เป็นธรรม

จะดีอะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 685

[๑๒๖๙] ถึงแม้จะเป็นบรรพชิต ต้องอุ้มบาตรหา

เลี้ยงชีพ แต่ไม่เบียดเบียนใคร ความเป็นอยู่

นั่นและประเสริฐกว่า ความเป็นพระราชาใน

โลก.

[๑๒๗๐] พระจันทร์มีกำลัง พระอาทิตย์มีกำลัง

สมณพราหมณ์มีกำลัง ฝั่งแห่งสมุทรก็มีกำลัง

หญิงมีกำลังยิ่งกว่ากำลังทั้งหลาย.

[๑๒๗๑] พระนางจันทวดี ทำให้ฤาษีชื่อโลม-

สกัสสปะผู้มีตบะกล้า มาบูชายัญเพื่อประโยชน์

แก่พระราชบิดาได้.

[๑๒๗๒] กรรมที่ทำด้วยความโลภนั้น เผ็ดร้อน

มีกามเป็นเหตุ เราจักค้นหามูลรากของกรรม

นั้น จักตัดความกำหนัดพร้อมทั้งเครื่องผูกเสีย.

[๑๒๗๓] ข้าแต่พระราชา ข้าพระองค์ติเตียนกาม-

คุณทั้งหลาย ที่มีอยู่ในโลกเป็นอันมาก ตบะ

ธรรมเท่านั้น ประเสริฐกว่ากามคุณทั้งหลาย

ข้าพระองค์จักละกามคุณทั้งหลายเสีย แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 686

บำเพ็ญตบะ ส่วนนางจันทวดี จงอยู่ในแว่น

แคว้นของพระองค์เถิด.

จบ โลมสกัสสปชาดกที่ ๗

อรรถกถาโลมสกัสสปชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุผู้กระสันรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อสฺส อินฺทสโม

ราชา ดังนี้.

ความย่อมีว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ

เขาว่าเธอกระสันจริงหรือ ? เมื่อภิกษุรูปนั้น กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า

จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ก็ลมที่พัดภูเขาสิเนรุให้หวั่นไหว ทำไมจึงจักไม่

พัดใบไม้เก่า ๆ ให้หวั่นไหวเล่า แม้ผู้ที่เพียบพร้อมไปด้วยศทั่ว ๆ ไป ยัง

ถึงความเสื่อมยศได้ ชื่อว่ากิเลส ย่อมทำสัตว์ที่บริสุทธิ์ให้เศร้าหมองได้

จะป่วยกล่าวไปใยถึงคนเช่นเธอ ดังนี้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา

สาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล โอรสของพระเจ้าพรหมทัตผู้ครองพระนครพาราณ-

สี ชื่อว่า พรหมทัตตกุมาร และบุตรของปุโรหิต ชื่อว่า กัสสปะ เป็น

สหายกัน เรียนศิลปะทุกอย่างในตระกูลอาจารย์คนเดียวกัน ต่อมา

เมื่อพระราชบิดาสวรรคต พรหมทัตตกุมารได้ครองราชสมบัติ ทีนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 687

กัสสปกุมารคิดว่า สหายของเราเป็นพระราชา บัดนี้ คงจักพระราชทาน

ความเป็นใหญ่ ประโยชน์อะไรด้วยความเป็นใหญ่สำหรับเรา เราจัก

ลามารดาบิดาและพระราชาแล้วบวช ครั้นเขาคิดดังนี้แล้ว จึงได้ถวาย

บังคมลาพระราชาและลามารดาบิดา เข้าดินแดนหิมพานต์ บวชเป็นฤาษี

ในวันที่ ๗ ได้อภิญญาและสมาบัติ เลี้ยงชีพอยู่ด้วยการเที่ยวแสวงหาผล

ไม้ คนทั้งหลายพากันเรียกท่านซึ่งเป็นบรรพชิตว่า โลมสกัสสปะ

ท่านเป็นดาบสที่มีอินทรีย์สงบระงับอย่างยิ่ง มีตบะแรงกล้า ภพของ

ท้าวสักกเทวราชหวั่นไหวด้วยเดชแห่งตบะของดาบสนั้น ลำดับนั้น

ท้าวสักกเทวราชทรงพิจารณาดูเห็นเหตุดังนั้นแล้ว ทรงดำริว่า ดาบสนี้

มีเดชสูงนัก จะทำเราให้เคลื่อนจากความเป็นท้าวสักกะ เราจักร่วมมือ

กับพระเจ้าพาราณสี ทำลายตบะของดาบสนั้นเสีย ครานั้นท้าวเธอ

ได้เสด็จเข้าไปยังห้องสิริไสยาสน์ของพระเจ้าพาราณสีในเวลาเที่ยงคืน

แสดงอานุภาพของท้าวสักกะ บันดาลห้องทั้งหมดให้สว่างด้วยรัศมีแห่ง

พระสรีระ ลอยอยู่ในอากาศในสำนักของพระราชา ปลุกพระราชาว่า

ตื่นขึ้นเถิดมหาราช เมื่อพระราชาตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร ตรัสตอบ

ว่า เราคือท้าวสักกะ ตรัสถามว่า ท่านมาเพื่ออะไร ? ตรัสย้อนถามว่า

มหาราช ท่านจะปรารถนาความเป็นเอกราชในชมพูทวีปทั้งสิ้น หรือ

ไม่ปรารถนา ? ตรัสตอบว่า ทำไมจึงจะไม่ปรารถนาเล่า. ลำดับนั้น

ท้าวสักกเทวราช จึงตรัสกะพระราชาว่า ถ้าเช่นนั้น พระองค์จงนำ

โลมสกัสสปดาบสมาบูชาปสุฆาตยัญ พระองค์จะเสมอด้วยท้าวสักกะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 688

ไม่แก่ไม่ตายจักได้ครองราชสมบัติทั่วชมพูทวีป ดังนี้ แล้วตรัสคาถาที่ ๑

ว่า :-

ถ้าท่านนำเอาฤาษีโลมสกัสสปะมาบูชา-

ยัญได้ ท่านจักได้เป็นพระราชาเสมอด้วยพระ-

อินทร์ ไม่รู้แก่ ไม่รู้ตายเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺส แปลว่า จักได้เป็น. บทว่า

ยเชยฺย ความว่า ถ้าท่านนำฤาษีโลมสกัสสปะจากที่อยู่ในป่ามาบูชายัญ.

ได้.

ลำดับนั้น พระราชาได้ทรงสดับพระดำรัสของท้าวสักกะแล้ว

ทรงรับคำว่า ดีแล้ว ครานั้น ท้าวสักกะตรัสเตือนว่า ถ้าเช่นนั้น ก็อย่า

เนิ่นช้า แล้วเสด็จหลีกไป วันรุ่งขึ้น พระราชารับสั่งให้เรียกไสยหะ

อำมาตย์ตรัสว่า แน่ะเพื่อน ท่านจงไปสำนักโลมสกัสสปะผู้เป็นสหาย

ที่รักของเรา จงพูดตามคำของเราอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระราชาจักให้

ท่านบูชาปสุฆาตยัญ แล้วจักเป็นเอกราชทั่วชมพูทวีป ท่านปรารถนา

ประเทศเท่าใด พระราชาจักพระราชทานประเทศเท่านั้นแก่ท่าน ขอ

ท่านจงมาเพื่อบูชายัญกับเรา ไสยหะอำมาตย์ได้ฟังดังนั้นแล้ว เพื่อจะ

รู้ที่อยู่ของดาบส เมื่อชาวป่าคนหนึ่งบอกว่า ข้าพเจ้ารู้ ได้ให้เขาเป็นคน

นำทางไปในที่นั้นด้วย บริวารใหญ่ไหว้พระฤๅษีแล้วนั่ง ณ ที่ควรแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 689

หนึ่ง แจ้งข่าวสาส์นนั้น ลำดับนั้น พระดาบสได้ฟังคำของไสยหะ

อำมาตย์ แล้วกล่าวว่า ดูก่อนไสยหะ ท่านพูดอะไรนั่น เมื่อจะปฏิเสธ

ถ้อยคำของไสยหะอำมาตย์ ได้กล่าวคาถา ๔ คาถาว่า :-

อาตมาไม่ปรารถนาแผ่นดินที่มีทะเลล้อม

รอบ มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขตพร้อมกับความ

นินทา ดูก่อนไสยหะ ท่านจงทราบอย่างนี้เถิด.

ดูก่อนพราหมณ์ เราติเตียนการได้ยศ

การได้ทรัพย์ และความประพฤติอันไม่เป็น

ธรรม มีแต่จะให้ถึงความพินาศ.

ถึงแม้จะเป็นบรรพชิต ต้องอุ้มบาตรหา

เลี้ยงชีพ แต่ไม่เบียดเบียนใคร ความเป็นอยู่

เช่นนั้น ยังดีกว่าการแสวงหาที่ไม่เป็นธรรม

จะดีอะไร.

ถึงแม้จะเป็นบรรพชิต ต้องอุ้มบาตรหา

เลี้ยงชีพ แต่ไม่เบียดเบียนใคร ความเป็นอยู่

นั่นแหละประเสริฐ ว่าความเป็นพระราชาใน

โลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 690

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สสมุทฺทปริยาย คือที่มีทะเลล้อม

รอบ. บทว่า สาครกุณฺฑล คือที่ประกอบด้วยสาครอันตั้งแวดล้อม

ทวีปทั้ง ๔ ดุจกุณฑลที่เขาประดับไว้ที่จอนหู ฉะนั้น. บทว่า สห

นินฺทาย ความว่า โลมสกัสสปดาบสกล่าวว่า อาตมาไม่ปรารถนาแม้

มหาปฐพีที่มีจักรวาลเป็นที่สุด พร้อมด้วยคำนินทานี้ว่า โลมสกัสสป-

ดาบสนี้ ได้ทำปสุฆาตกรรมแล้ว. ด้วยบทว่า ยา วุตฺติ วินิปาเตน

โลมกัสสปดาบส แสดงว่า เราติเตียนความเป็นไปแห่งชีวิต คือตำหนิ

ความประพฤตินั้น เพราะเป็นกรรมที่ให้ตกไปในนรก. บทว่า สาเยว

ชีวิกา ความว่า ความเป็นอยู่โดยวิธีอุ้มเอาบาตรเดินเข้าไปสู่เรือนของ

ผู้อื่น แสวงหาอาหารของบรรพชิตนั่นแหละ ดีกว่าการได้ยศทรัพย์

และลาภตั้งร้อยเท่าพันทวีคูณ. บทว่า อปิ รชฺเชน ต วร ความว่า

การงดเว้นความชั่วของบรรพชิต ผู้ไม่เบียดเบียนผู้อื่นนั้นประเสริฐกว่า

ความเป็นพระราชาในชมพูทวีปทั้งสิ้น.

อำมาตย์ฟังคำของพระดาบสนั้นแล้ว ได้ไปกราบทูลแต่พระราชา

พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น ตรัสว่า เมื่อท่านไม่มา เราก็ไม่อาจจะทำ

อะไรได้ จึงได้ทรงนิ่งอยู่ ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชได้เสด็จมาในเวลา

เที่ยงคืนอีก ประทับอยู่ในอากาศ ตรัสว่า ดูก่อนมหาราช เหตุไร

พระองค์จึงไม่บังคับโลมสกัสสปดาบสให้บูชายัญ. พระราชาตรัสว่า

ข้าพระองค์ส่งอำมาตย์ไปบอกแล้ว แต่ท่านไม่มา ท้าวสักกะตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 691

ดูก่อนมหาราช ถ้าเช่นนั้น พระองค์จงตกแต่งจันทวดีกุมารี ซึ่งเป็น

พระราชธิดาของพระองค์ แล้วมอบให้ไสยหะอำมาตย์นำไปบอกว่า ถ้า

ท่านมาบูชายัญ. พระราชาจักพระราชทานพระราชกุมารีนี้แก่ท่าน พระ-

ดาบสนั้นจักมีจิตปฏิพัทธ์ในกุมารี จักมาเป็นแน่ พระราชาได้ทรงสดับ

ดังนั้น ทรงรับว่า ดีแล้ว วันรุ่งขึ้น ทรงมอบพระราชธิดาของพระองค์

แก่ไสยหะอำมาตย์ส่งไปแล้ว ไสยหะอำมาตย์พาพระราชธิดาไปในที่นั้น

ไหว้พระฤาษีทำปฏิสันถารแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง แสดงพระ-

ราชธิดาซึ่งงามประดุจเทพอัปสรแก่พระฤาษี ลำดับนั้น พระดาบส

ทำลายอินทรีย์เสียแล้ว แลดูพระราชธิดา พร้อมกับการแลดูนั่นเอง

เกิดจิตปฏิพัทธ์ขึ้นแล้วเสื่อมจากฌาน อำมาตย์รู้ว่าพระดาบสมีจิตปฏิพัทธ์

จึงกล่าวว่า ท่านขอรับ ถ้าท่านบูชายัญ พระราชาจักพระราชทาน

พระราชธิดานี้ให้เป็นบาทบริจาริกาสำหรับท่าน พระดาบสนั้นกำลัง

หวั่นไหวไปด้วยอำนาจกิเลส จึงถามว่า ได้ยินว่า พระราชาจักพระ-

ราชทานพระราชธิดานี้แก่เราหรือ ? อำมาตย์ตอบว่า ถูกแล้ว พระราชา

จักพระราชทานแก่ท่านผู้บูชายัญ พระดาบสกล่าวว่า ดีแล้ว เมื่อเรา

ได้พระราชธิดานี้ จักบูชายัญ แล้วสรวมชฎาพาพระราชธิดาขึ้นรถที่

ประดับงดงาม ไปพระนครพาราณสี.

แม้พระราชาได้สดับว่า พระดาบสมา ก็รับสั่งให้ตั้งพิธีกรรมขึ้น

ที่หลุมบูชายัญไว้สำหรับพระดาบสนั้น ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 692

ดาบสมา ก็ตรัสว่า ท่านบูชายัญในวันพรุ่งนี้ เราจักเป็นผู้เสมอด้วย

พระอินทร์ เวลาเสร็จการบูชายัญ เราจักถวายธิดาแก่ท่าน กัสสปดาบส

รับคำว่า ดีแล้ว ครั้นในวันรุ่งขึ้น พระราชาพาท่านดาบสไปที่หลุม

บูชายัญพร้อมกับนางจันทวดี ในหลุมนั้น ได้มีสัตว์ ๔ เท้าทุกอย่าง เช่น

ช้าง ม้า โคเป็นต้น ประดิษฐานไว้เป็นลำดับ พระดาบสเริ่มจะฆ่า

สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดให้ตาย แล้วบูชายัญ มหาชนที่มาประชุมกันอยู่

ณ ที่นั้น เห็นดังนั้น กล่าวว่า ดูก่อนโลมสกัสสปะ กรรมนี้ไม่เหมาะ

ไม่สมควรแก่ท่าน ทำกรรมนั้นเพื่ออะไร แล้วคร่ำครวญกล่าวคาถา

๒ คาถาว่า :-

พระจันทร์มีกำลัง พระอาทิตย์มีกำลัง

สมณพราหมณ์มีกำลัง ฝั่งแก่งสมุทรก็มีกำลัง

หญิงมีกำลังยิ่งกว่ากำลังทั้งหลาย.

พระนางจันทวดี ทำให้ฤาษีชื่อโลมส-

กัสสปะผู้มีตบะกล้า มาบูชายัญเพื่อประโยชน์

แก่พระราชบิดาได้.

บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า พล จนฺโท พล สุริโย ความว่า

ในการจำกัดความมืดใหญ่ ชื่อว่ากำลังอย่างอื่น ย่อมไม่มีในการกำจัด

ความมืดใหญ่นี้ พระจันทร์และพระอาทิตย์เท่านั้นมีกำลัง. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 693

สมณพฺราหฺมณา ความว่า ในการอดกลั้นต่อกำลังแห่งอิฏฐารมณ์แล้ว

อนิฏฐารมณ์ สมณะพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยกำลัง คือขันติและกำลัง

คือญาณ ผู้มีบาปอันสงบและบาปอันลอยแล้ว มีกำลัง. บทว่า พล

เวลา สมุทฺทสฺส ความว่า ฝั่งแห่งมหาสมุทรชื่อว่ามีกำลัง เพราะ

สามารถที่จะไม่ให้น้ำล้นขึ้นมา และกั้นน้ำเอาไว้ให้พินาศได้. บทว่า

พลาติพลมิตฺถิโย ความว่า ส่วนหญิงทั้งหลาย ชื่อว่ามีกำลังยิ่งกว่า

กำลังทั้งหมด เพราะสามารถจะพาบุรุษที่มีความรู้ดีแต่มีกำหนัดมาสู่

อำนาจของตน แล้วให้พินาศได้ อธิบายว่า กำลังแห่งหญิงเท่านั้น

มีมากกว่ากำลังทั้งหมด. ศัพท์ว่า ยถา เท่ากับ ยสฺมา แปลว่า

เพราะเหตุใด. บทว่า ปิตุ อตฺถา คือเพื่อประโยชน์แห่งความเจริญ

แก่พระราชบิดา.

ข้อนี้มีอธิบายว่า เพราะนางจันทวดีนี้ กระทำโลมสกัสสปะ ผู้มี

ตบะกล้า ผู้ชื่อว่าเป็นฤาษี เพราะเป็นผู้แสวงหาคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น

ให้เป็นผู้ไม่มีศีล แล้วให้บูชาวาชเปยยะ คือยัญ เพื่อประโยชน์แก่

พระราชบิดาได้ ฉะนั้น ข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า หญิงมีกำลังยิ่งกว่า

กำลังทั้งหลาย.

ขณะนั้น กัสสปดาบส เงื้อพระขรรค์แก้วขึ้น ด้วยคิดว่า จัก

ฟันคอมงคลหัตถีเพื่อบูชายัญ ช้างเห็นดังนั้น ก็สะดุ้งกลัวต่อมรณภัย

จึงร้องเสียงดัง แม้พวกสัตว์นอกนี้ คือ ช้าง ม้า โค เป็นต้น ได้ฟัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 694

เสียงร้องของช้างมงคลหัตถีนั้น ต่างก็สะดุ้งกลัวต่อมรณภัย จึงได้ร้องลั่น

ด้วยความกลัว แม้มหาชนก็พากันร้อง กัสสปดาบสได้ยินเสียงร้อง

ลั่นใหญ่ดังนั้น ก็สลดใจ แลดูชฎาเป็นต้นของตน ลำดับนั้น ชฎา

หนวด ขนรักแร้ ขนอก ได้ปรากฏแก่พระดาบสนั้น พระดาบสมีความ

เดือดร้อนใจ คิดว่า เราได้ทำกรรมลามก ไม่สมควรเลย เมื่อจะประกาศ

ความสลด ได้กล่าวคาถาที่ ๘ ว่า :-

ธรรมที่ทำด้วยความโลภนั้น เผ็ดร้อน

มีกามเป็นเหตุ เราจักค้นหามูลรากของธรรม

นั้น จักตัดความกำหนัดพร้อมทั้งเครื่องผูกเสีย.

พึงทราบความแห่งคำที่เป็นคาถานั้นว่า ข้าแต่พระราชาผู้เป็น

ใหญ่ กรรมใดที่ข้าพระองค์ทำความโลภในนางจันทวดีให้เกิดขึ้น แล้วทำ

ลงด้วยความโลภนั้น กรรมนั้นมีกามเป็นเหตุ เป็นกรรมลามก เผ็ดร้อน

มีวิบากแรงกล้า ข้าพระองค์จักค้นหามูลราก กล่าวคืออโยนิโสมนสิการ

ของกรรมนั้น สมควรแล้วที่ข้าพระองค์จักซักดาบ คือปัญญาออก ตัด

ความกำหนัดยินดี พร้อมด้วยเครื่องผูกพัน คือศุภนิมิตร.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะพระดาบสว่า ดูก่อนสหาย อย่ากลัว

เลย เราจักให้นางจันทวดีกุมารีและกองแก้ว ๗ ประการแก่ท่านในบัดนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 695

ท่านจงบูชายัญเถิด พระกัสสปดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า ข้าแต่

มหาราช ข้าพระองค์ไม่ต้องการด้วยกิเลสนี้ แล้วกล่าวคาถาสุดท้าย

ว่า :-

ข้าแต่พระราชา ข้าพระองค์ติเตียนกาม-

คุณทั้งหลาย ที่มีอยู่ในโลกเป็นอันมาก ตบะ

ธรรมเท่านั้น ประเสริฐกว่ากามคุณทั้งหลาย

ข้าพระองค์จักละกามคุณทั้งหลายเสีย แล้ว

บำเพ็ญตบะ ส่วนนางจันทวดี จงอยู่ในแว่น

แคว้นของพระองค์เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุพหูปิ คือแม้อันมากยิ่ง. บทว่า

ตโป กริสฺสามิ คือจักบำเพ็ญความสำรวมในศีลเท่านั้น.

พระดาบส ครั้นทูลดังนี้แล้ว ได้ประมวลกสิณบริกรรมทำคุณ

วิเศษที่เสียไปให้เกิดขึ้น นั่งบัลลังก์ในอากาศแสดงธรรมแก่พระราชา

กล่าวสอนว่า จงอย่าประมาท แล้วทำลายหลุมบูชายัญ ให้อภัยทาน

แก่มหาชน เมื่อพระราชายังวิงวอนอยู่ ได้เหาะไปที่อยู่ของตน เจริญ

พรหมวิหารธรรมจนตลอดชีวิต ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนามาแสดง ดังนี้แล้ว

ทรงประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจธรรม ภิกษุผู้กระสันตั้งอยู่ในพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 696

อรหัตผล พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า ไสยหะมหาอำมาตย์ในครั้งนั้น

ได้มาเป็นพระสารีบุตรในบัดนี้ ส่วนโลมสกัสสปดาบส ได้มาเป็น

เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาโลมสกัสสปชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 697

๘. จักกวากชาดก

ว่าด้วยความเป็นอยู่ของนกจักรพราก

[๑๒๗๔] ข้าพเจ้าขอพูดกับนกทั้งสอง ที่เหมือน

ดังคลุมด้วยผ้าย้อมน้ำฝาด มีใจเพลิดเพลิน

เที่ยวไปอยู่ นกทั้งหลายย่อมสรรเสริญชาติ

ของนกอะไรในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ขอเชิญ

ท่านทั้งสองบอกนกนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด.

[๑๒๗๕] ดูก่อนท่านผู้เบียดเบียนมนุษย์ ในหมู่

มนุษย์ นกทั้งหลายย่อมกล่าวถึงข้าพเจ้าทั้ง-

หลาย ซึ่งชื่อว่านกจักรพราก เนื่องโดยลำดับ

มาว่า บรรดานี้ทั้งหลาย เขารู้กันทั่วไปว่า

พวกข้าพเจ้าเป็นผู้มีภาวะน่านับถือ เป็นผู้มีรูป

งาม เที่ยวไปใกล้ห้วงน้ำ พวกข้าพเจ้าไม่ทำ

บาป แม้เพราะการกันเป็นเหตุ.

[๑๒๗๖] ดูก่อนนกจักรพราก ท่านทั้งหลายกิน

ผลไม้อะไร ที่ห้วงน้ำนี้ หรือว่าท่านทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 698

กินเนื้อแก่ที่ไหน หรือว่าท่านทั้งหลายกิน

โภชนาหารอะไร กำลังและสีของท่านทั้งหลาย

จึงไม่เสื่อมทรามผิดรูป.

[๑๒๗๗] ดูก่อน ผลไม่ทั้งหลายจะมีที่ห้วงน้ำ

ก็หามิได้ เนื้อที่นกจักรพรากจะกินก็มิได้มี

แต่ที่ไหน ข้าพเจ้าทั้งหลายกินแต่สาหร่าย

กับน้ำ จะได้ทำบาปเพราะการกินก็หามิได้.

[๑๒๗๘] ดูก่อนนกจักรพราก อาหารของท่านนี้

เราไม่ชอบ อาหารที่ท่านกินในภพนี้อย่างไร

ท่านก็เป็นผู้ละม้ายคล้ายกันกับอาหารนั้น ครั้ง

ก่อนเราเคยเป็นอย่างนี้มาแล้ว แต่เดี๋ยวนี้

กลายเป็นอย่างอันไปด้วยเหตุนี้แหละ เราจึง

เกิดความสงสัยในสีกายของท่าน.

[๑๒๗๙] แม้เราได้กินเนื้อ ผลไม้ และอาหารที่

เคล้าด้วยเกลือเจือด้วยน้ำมัน เราได้กินอาหาร

มีรสที่เขากินกันในหมู่มนุษย์ จึงได้กล้าหาญ

เข้าต่อสู้สงครามได้ ดูก่อนนกจักรพราก แต่สี

ของเราหาเหมือนกับของท่านไม่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 699

[๑๒๘๐] ดูก่อนกา ท่านเป็นผู้กินอาหารไม่บริสุทธิ์

มักจะโฉบลงในขณะที่เขาพลั้งเผลอ จะได้กิน

ข้าวและน้ำก็โดยยาก ลูกไม้ทั้งหลายท่านก็ไม่

ชอบใจกิน หรือเนื้อในกลางป่าช้า ท่านก็ไม่

ชอบใจกิน.

[๑๒๘๑] ดูก่อนกา ผู้ใดอาศัยบริโภคโภคสมบัติ

ด้วยกรรมอันสาหัส มักจะโฉบลงในขณะที่เขา

พลั้งเผลอ ภายหลังสภาวธรรมตนเอง ก็ย่อม

ติเตียนผู้นั้น ผู้นั้นถูกสภาวธรรมตนเองติเตียน

แล้ว ก็ย่อมละทิ้งวรรณะ และกำลังเสีย.

[๑๒๘๒] ถ้าผู้ใดบริโภคอาหาร แม้จะนิดหน่อย

ซึ่งเป็นของเย็นไม่เบียดเบียนผู้อื่นถึงสาหัส ใน

กาลนั้นกำลังกายและวรรณะ ย่อมมีแก่ผู้นั้น

วรรณะทั้งปวงจะมีแก่ผู้นั้น ด้วยอาหารต่าง ๆ

เท่านั้นก็หาไม่.

จบ จักกวากชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 700

อรรถกถาจักกวากชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุเหลาะแหละรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กาสายวตฺเถ

ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เหลาะแหละโลภปัจจัย ทิ้งอาจริย-

วัตรและอุปัชฌายวัตรเป็นต้นเสีย เข้าพระนครสาวัตถีแต่เช้าทีเดียว แม้

ดื่มข้าวยาคูที่มีของเคี้ยวหลายอย่างเป็นบริวารแล้วฉันข้าวสาลี เนื้อและ

ข้าวสุกที่มีรสเลิศต่างๆ ที่เรือนนางวิสาขา เท่านั้นก็ยังไม่อิ่ม ออกจาก

ที่นั้นมุ่งหน้าไปยังนิเวศน์ของตนนั้น ๆ คือ จูลอนาถปิณฑิกเศรษฐี มหา-

อนาถปิณฑิกเศรษฐี และพระเจ้าโกศล.

อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภา ปรารภ

ความเหลาะแหละของภิกษุนั้น พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุเหล่า

นั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว รับสั่งให้เรียกภิกษุนั้นมาแล้วตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นผู้เหลาะแหละจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้น

กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า ดังนี้ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เหตุไรเธอจึง

เป็นผู้เหลาะแหละ แม้ในกาลก่อน เธอก็ไม่อิ่มด้วยซากศพช้างเป็นต้น

ในพระนครพาราณสี เพราะความเป็นผู้เหลาะแหละ ออกจากที่นั้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 701

เที่ยวไปตามฝั่งแม่น้ำคงคาเข้าหิมวันตประเทศดังนี้ แล้วทรงนำเอาเรื่อง

ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-

พาราณสี มีกาเหลาะแหละตัวหนึ่งเที่ยวเคี้ยวกินซากศพช้างเป็นต้น ใน

พระนครพาราณสี ไม่อิ่มด้วยซากศพเหล่านั้น คิดว่า เราจักเคี้ยวกิน

ปลาที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ไปหากินปลาตายที่ฝั่งแห่งแม่น้ำคงคานั้นอยู่ ๒, ๓ วัน

เข้าถิ่นหิมพานต์ เคี้ยวกินผลไม้น้อยใหญ่นานาชนิด ไปยังสระปทุมใหญ่

ซึ่งมีปลาและเต่ามา เห็นนกจักรพราก ๒ ตัวมีสีดังทอง กำลังเคี้ยวกิน

สาหร่ายอยู่ในสระนั้น คิดว่า นกจักรพราก ๒ ตัวนี้มีสีสวยงามเลิศ

เหลือเกิน นกเหล่านี้คงจักมีโภชนาหารเป็นที่พอใจ เราจักถามถึง

โภชนาหารของนกเหล่านี้ แล้วกินเช่นนั้นบ้างก็จักมีสีเหมือนทอง แล้ว

ไปยังสำนักของนกเหล่านั้น กระทำปฏิสันถาร แล้วจับอยู่ที่ปลายกิ่งไม้

แห่งหนึ่ง กล่าวคาถาที่ ๑ ซึ่งประกอบด้วยการสรรเสริญนกเหล่านั้น

ว่า :-

ข้าพเจ้าขอพูดกับนกทั้ง ๒ ที่เหมือน

ดังคลุมด้วยผ้าย้อมน้ำฝาด มีใจเพลิดเพลิน

เที่ยวไปอยู่ นกทั้งหลายย่อมสรรเสริญชาติ

ของนกอะไรในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ขอเชิญ

ท่านทั้ง ๒ บอกนกนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 702

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาสายวตฺเถ คือ ที่มีสีดุจทอง

ดังคลุมด้วยผ้าย้อมน้ำฝาด. ของบทว่า ทุเว ทุเว แปลว่า ทั้ง ๒.

บทว่า นนฺทมเน คือ มีใจยินดี. บทว่า ก อณฺฑช อณฺฑชา

มานุเสสุ ชาตึ ปสสนฺติ ความว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นกทั้งหลาย

เมื่อสรรเจริญพวกท่าน ย่อมกล่าวสรรเสริญว่า นกอะไร คือ นกชื่อ

อะไร ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย อธิบายว่า นกทั้งหลายย่อมยกย่องท่าน

ทั้งหลายในระหว่างมนุษย์ทั้งหลายระบุว่า ชื่อนกอะไร. บาลีว่า

อณฺฑช อณฺฑชมานุเสสุ ดังนี้ก็มี บาลีนั้นมีอธิบายว่า นกทั้งหลาย

กล่าวสรรเสริญพวกท่าน ในหมู่นกทั้งหลายและในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย

ว่า นกชนิดไร.

นกจักรพรากได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนท่านผู้เบียดเบียนมนุษย์ ในหมู่

มนุษย์ นกทั้งหลายย่อมกล่าวถึงข้าพเจ้าทั้ง-

หลาย ซึ่งชื่อว่านกจักรพราก เนื่องโดยลำดับ

มาว่า บรรดานกทั้งหลาย เขารู้กันทั่วไปว่า

พวกข้าพเจ้าเป็นผู้มีภาวะน่านับถือ เป็นผู้มีรูป

งาม เที่ยวไปใกล้ห้วงน้ำ พวกข้าพเจ้าไม่ทำ

บาป แม้เพราะการกินเป็นเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 703

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนุสฺสหึส ความว่า กาย่อมเบียด-

เบียน คือ รบกวนมนุษย์ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นนกจักรพรากจึงทักทาย

กานั้นอย่างนี้. บทว่า อนุพฺพเต หมายความว่า ไปตาม คือ บันเทิง

อยู่ ได้แก่อยู่ด้วยความรักซึ่งกันและกัน บทว่า จกฺกวาเก ความว่า

นกทั้งหลายย่อมสรรเสริญ คือ ยกย่อง ได้แก่กล่าวขวัญถึงว่า ชาตินก

นั้นชื่อว่าจักรพราก บทว่า ทิเชสุ ความว่า ขึ้นชื่อว่านกทั้งหลาย มี

ประมาณเท่าใด บรรดานกทั้งหลายมีประมาณเท่านั้น เขารู้กันทั่วไป

ในหมู่มนุษย์ว่า พวกข้าพเจ้าเป็นผู้มีภาวะน่านับถือ.

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถวิกัปที่ ๒ ว่า ในหมู่มนุษย์ นกทั้งหลาย

ย่อมกล่าวถึงข้าพเจ้าทั้งหลายว่านกจักรพราก แต่ในหมู่นกด้วยกัน นก

ทั้งหลายย่อมกล่าวถึงพวกข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นผู้มีภาวะน่า-

นับถือ. บทว่า อณฺณเว ความว่า ในที่นี้นกจักรพรากเรียกสระว่า

ห้วงน้ำ อธิบายว่า พวกข้าพเจ้าสองตัวเท่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีรูปงาม

เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์เหล่าอื่น เที่ยวไปใกล้สระปทุมนี้.

ก็แล บทที่ ๔ ของคาถานี้ อาจารย์บางพวกพูดว่า น ฆาสเหตุปิ

กโรม ปาป ดังนี้. คำนั้น มีอธิบายว่า เพราะพวกข้าพเจ้าไม่ทำบาป

เพราะเห็นแก่กิน เพราะเหตุนั้น เขาจึงยกย่องพวกข้าพเจ้าทั้งในหมู่

มนุษย์และในหมู่นี้ว่าเป็นผู้มีภาวะน่านับถือ.

กาได้ยินดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 704

ดูก่อนนกจักรพราก ท่านทั้งหลายกิน

ผลไม้อะไร ที่ห้วงน้ำนี้ หรือว่าท่านทั้งหลาย

กินเนื้อแต่ที่ไหน หรือว่าท่านทั้งหลายกิน

โภชนาหารอะไร กำลังและสีของท่านทั้งหลาย

จึงไม่เสื่อมทรามผิดรูป.

ศัพท์ว่า กึ ในคาถานั้น เป็นอาลปนะด้วยสามารถแห่งคำลามก

มีอธิบายว่า ดูก่อนนกจักรพราก ท่านทั้งหลายกินโภชนาหารอะไร.

บทว่า อณฺณเว คือ ในสระนี้. บทว่า ภุญฺเช เท่ากับ ภุญฺชถ

แปลว่า กิน อีกอย่างหนึ่ง เท่ากับ ภุญฺชิตฺถ แปลว่า กินแล้ว.

หลายบทว่า มส กุโต ขาทถ คือ ท่านทั้งหลายกินเนื้อของสัตว์จำพวก

ไหน ?

โว อักษรในคำว่า ภุญฺชถ โว เป็นเพียงนิบาต. ศัพท์ว่า โว

นั้น สัมพันธ์เข้ากับบทข้างหน้าว่า พลญฺจ โว วณฺโณ จ อนปฺปรูโป

ต่อจากนั้น นกจักรพรากกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

ดูก่อนกา ผลไม้ทั้งหลายจะมีที่ห้วงน้ำ

ก็หามิได้ เนื้อที่นกจักรพรากจะกินก็มิได้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 705

แต่ที่ไหน ข้าพเจ้าทั้งหลายกินแต่สาหร่าย

กับน้ำ จะได้ทำบาปเพราะการกินก็หามิได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺกวาเก เท่ากับ จกฺกวากสฺส.

บทว่า อวากโภชนา ได้แก่ กินน้ำที่ปราศจากความผิดปกติ นกจักร-

พรากแสดงไว้ว่า พวกเรามีสาหร่ายกับน้ำเท่านั้นเป็นอาหาร. บทว่า

ฆาสเหตุ ความว่า พวกเราจะได้ทำบาปเพราะเห็นแก่กินเหมือนอย่าง

พวกท่านก็หามิได้.

ต่อจากนั้น กาได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ดูก่อนนกจักรพราก อาหารของท่านนี้

เราไม่ชอบ อาหารที่ท่านกินในภพนี้อย่างไร

ท่านก็เป็นผู้ละม้ายคล้ายกันกับอาหารนั้น ครั้ง

ก่อนเราเคยเป็นอย่างนี้มาแล้ว แต่เดี๋ยวนี้

กลายเป็นอย่างอื่นไปด้วยเหตุนี้แหละ เราจึง

เกิดความสงสัยในสีกายของท่าน.

แม้เราได้กินเนื้อ ผลไม้ และอาหารที่

เคล้าด้วยเกลือเจือด้วยน้ำมัน เราได้กินอาหาร

มีรสที่เขากินกันในหมู่มนุษย์ จึงได้กล้าหาญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 706

เข้าต่อสู้สงครามได้ ดูก่อนนกจักรพราก แต่สี

ของเราหาเหมือนกับของท่านไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิท ความว่า อาหารที่ท่านกินเรา

ไม่ชอบใจ. บทคาถาว่า อสฺมึ ภเว โภชนสนฺนิกาโส ความว่า

อาหารที่ท่านกินในภพนี้อย่างไร ท่านก็เป็นผู้ละม้ายคล้ายกันกับอาหาร

นั้น คือ อาหารใดที่ท่านกินในภพที่เป็นนกจักรพรากนี้ ท่านก็เป็นผู้

คล้ายกันกับอาหารนั้น คือ เป็นผู้เช่นกับด้วยอาหารนั้น ได้แก่ เป็น

ผู้สมควรแก่อาหารนั้น อธิบายว่า ท่านเป็นผู้มีสรีระกายสมบูรณ์อย่างยิ่ง.

หลายบทว่า ตโต เม อญฺถา ความว่า เมื่อก่อนความเข้าใจดังนี้

ได้มีแก่ข้าพเจ้าเพราะเป็นพวกท่านว่า นกจักรพรากเหล่านี้ เคี้ยวกินผลไม้

นานาชนิด และเคี้ยวกินปลาและเนื้อในสระนี้ เพราะเหตุนั้น จึงมีรูป

ร่างด้วยเลิศอย่างนี้ แต่บัดนี้เรากลายเป็นอย่างอื่นจากนี้ไป. บทว่า

อิจฺเจว เม ความว่า ด้วยเหตุนี้แหละ เราจึงเกิดความสงสัยในสีกาย

ของท่านนี้ว่า เหตุไฉนหนอแลนกจักรพรากเหล่านี้ กินอาหารที่เศร้า-

หมองเห็นปานนี้ จึงมีสีดุจทอง. บทว่า อหปิ เท่ากับ อห หิ, อีกอย่าง

๑ บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ภุญฺเช เท่ากับ ภุญฺชามิ คือกิน.

บทว่า อนฺนานิ จ เท่ากับ โภชนานิ จ คือโภชนาหาร. บทว่า

โลณิยเตลิยานิ แปลว่า ที่เคล้าด้วยเกลือเจือด้วยน้ำมัน. บทว่า รส

คือ มีรสประณีตที่มนุษย์เขากินกันในหมู่มนุษย์. บทว่า วิเชตฺวา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 707

ความว่า นักรบได้กินอาหารมีรสประณีตเหล่านั้น จึงกล้าหาญ มีความ

เพียร เข้าผจญต่อสู้สงครามได้ฉันใด เราก็ฉันนั้น ได้กินอาหารมีรส

ที่เขากินกันในหมู่มนุษย์ จึงได้กล้าหาญเข้าต่อสู้สงครามได้.

ด้วยคำว่า ยถา ตว นี้ กาชี้แจงว่า สีของเราแม้ผู้บริโภค

อาหารอันประณีตอย่างนี้ หาได้เหมือนกับของท่านไม่ เราจึงไม่เชื่อคำ

ของท่าน.

ลำดับนั้น นกจักรพรากเมื่อจะกล่าวถึงเหตุที่ไม่เจริญแห่งวรรณ-

สมบัติของกา และเหตุที่เจริญแห่งวรรณสมบัติของตน ได้กล่าวคาถาที่

เหลือว่า :-

ดูก่อนกา ท่านเป็นผู้กินอาหารไม่บริสุทธิ์

มักจะโฉบลงในขณะที่เขาพลั้งเผลอ จะได้กิน

ข้าวและน้ำก็โดยยาก ลูกไม้ทั้งหลายท่านก็ไม่

ชอบใจกิน หรือเนื้อในกลางป่าช้า ท่านก็ไม่

ชอบใจกิน.

ดูก่อนกา ผู้ใดอาศัยบริโภคโภคสมบัติ

ด้วยธรรมอันสาหัส มักจะโฉบลงในขณะที่เขา

พลั้งเผลอ ภายหลังสภาวธรรมตนเอง ก็ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 708

ติเตียนผู้นั้น ผู้นั้นถูกสภาวธรรมตนเองติเตียน

แล้ว ก็ย่อมละทิ้งวรรณะ และกำลังเสีย.

ถ้าผู้ใดบริโภคอาหาร แม้จะนิดหน่อย

ซึ่งเป็นของเย็น ไม่เบียดเบียนผู้อื่นถึงสาหัส

ในกาลนั้น กำลังกายและวรรณะ ย่อมมีแก่

ผู้นั้น วรรณะทั้งปวงจะได้มีแก่ผู้นั้น ด้วยอาหาร

มีประการต่าง ๆ เท่านั้นก็หาไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสุทฺธภกฺโขสิ ความว่า ท่าน

ชื่อว่าเป็นผู้กินอาหารไม่บริสุทธิ์ เพราะลักเขากินขโมยเขากิน. บทว่า

ขณานุปาตี คือ มักโฉบลงในขณะที่เขาเผลอ. สองบทว่า กิจฺเฉน เต

ความว่า ท่านนั้นจะได้กินข้าวและน้ำก็โดยยาก. บทว่า มสานิ วา

ความว่า หรือเนื้อเหล่าใดที่มีอยู่ในท่ามกลางป่าช้า เนื้อเหล่านั้นท่านก็

ไม่ยินดี. บทว่า ตโต เท่ากับ ปจฺฉา แปลว่า ภายหลัง. หลายบทว่า

อุปกฺโกสติ น สภาโว คือ ตนนั่นแล ย่อมติเตียนบุคคลผู้นั้น. บทว่า

อุปกฺกุฏฺโ ความว่า บุคคลผู้นั้นถูกตนเองบ้าง ถูกผู้อื่นบ้างติเตียนแล้ว

คือ ตำหนิแล้วย่อมละทิ้งวรรณะและกำลังเสีย เพราะเป็นผู้มีความเดือด-

ร้อน. สองบทว่า นิพฺพุตึ ภุญฺชติ ยทิ ความว่า ก็ผิว่าผู้ใดบริโภค

อาการแม้เพียงเล็กน้อย ซึ่งได้มาโดยธรรมชื่อว่าเป็นของเย็น ไม่เบียด-

เบียนผู้อื่น. สองบทว่า ตทสฺส โหติ ความว่า ในกาลนั้น กำลังกาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 709

และวรรณะในสรีระ ย่อมมีแก่ผู้นั้นผู้เป็นบัณฑิต. บทว่า อาหารมเยน

คือ ด้วยอาหารมีประการต่าง ๆ เท่านั้น มีคำที่นกจักรพรากกล่าวไว้ดังนี้

ว่า ดูก่อนกา ขึ้นชื่อว่าวรรณะนั้นมีสมุฏฐาน ๔ ประการ คือ อาหาร

ความอบอุ่น ความคิด และกิจการที่ทำ.

นกจักรพรากติเตียนกาโดยปริยายไม่น้อยอย่างนี้ กาเกิดความ

เกลียดชังนกจักรพราก คิดว่าเราไม่ต้องการสีของท่าน แล้วร้องขึ้นว่า

กา กา บินหนีไป.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนามาแสดงแล้ว ทรง

ประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจจะ ภิกษุเหลาะแหละดำรงอยู่ในอนาคามิผล

พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า กาในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุเหลาะ-

แหละในบัดนี้ นางนกจักรพรากในครั้งนั้น ได้มาเป็นมารดาพระราหุล

ในบัดนี้ ส่วนนกจักรพราก ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาจักกวากชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 710

๙. หลิททราคชาดก

ว่าด้วยลักษณะของผู้ที่จะคบ

[๑๒๘๓] ความอดทนด้วยดีอยู่ในป่าอันมีที่นอน

และที่นั่งอันสงัดเงียบ จะมีผลดีอะไร ส่วน

ชนเหล่าใดอดทนอยู่ในบ้าน ชนเหล่านั้นเป็น

ผู้ประเสริฐกว่าท่าน.

[๑๒๘๔] ข้าแต่พ่อ ฉันออกจากป่าสู่บ้านแล้ว

ควรคบคนที่มีศีลอย่างไร มีวัตรอย่างไร ฉัน

ขอถามท่าน ขอท่านจงบอกฉันด้วย.

[๑๒๘๕] แน่ะพ่อ ผู้ใดคุ้นเคยกับเจ้า อดทนต่อ

ความคุ้นเคยของเจ้าได้ เป็นผู้ตั้งใจฟังคำพูด

ของเจ้าและอดทนต่อคำพูดของเจ้าได้ เจ้าไป

จากที่นี้แล้วจงคบผู้นั้นเถิด.

[๑๒๘๖] ผู้ใดไม่มีกรรมชั่วด้วยกายวาจาใจ เจ้า

ไปจากที่นี้แล้ว จงตั้งตัวเหมือนบุตรที่เกิดแต่

อกผู้นั้น จงคบผู้นั้นเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 711

[๑๒๘๗] อนึ่ง ผู้ใดย่อมประพฤติโดยธรรม แม้

เมื่อประพฤติอยู่ก็ไม่ถือตัว เจ้าไปจากที่นี้แล้ว

จงคบผู้นั้น ผู้กระทำกรรมอันบริสุทธิ์ มีปัญญา

เถิด.

[๑๒๘๘] แน่ะพ่อ เจ้าอย่าคบบุรุษที่มีจิตกลับ-

กลอกดุจผ้าที่ย้อมด้วยน้ำขมิ้น รักง่ายหน่าย

เร็ว ถึงแม้ว่าพื้นชมพูทวีปจะพึงไร้มนุษย์.

[๑๒๘๙] เจ้าจงเว้นคนเช่นนั้นเสียให้ห่างไกล

เหมือนบุคคลผู้ละเว้นอสรพิษที่ดุร้าย เหมือน

บุคคลผู้ละเว้นหนทางที่เปื้อนคูถ และเหมือน

บุคคลผู้ไปด้วยยานละเว้นหนทางที่ขรุขระ

ฉะนั้น.

[๑๒๙๐] แน่ะพ่อ ความพินาศย่อมมีแก่ผู้ที่คบ

คนพาล เจ้าอย่าสมาคมกับคนพาลเลย การอยู่

ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์ทุกเมื่อ เหมือนอยู่

ร่วมกับศัตรูฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 712

[๑๒๙๑] แน่ะพ่อ เพราะเหตุนั้น พ่อจึงขอร้อง

เจ้า ขอเจ้าจงกระทำตามคำของพ่อ เจ้าอย่า

สมาคมกับคนพาลเลย เพราะการสมาคมกับ

คนพาลเป็นทุกข์.

จบ หลิททราคชาดกที่ ๙

อรรถกถาหลิททราคชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ความประเล้าประโลมของนางถูลกุมารี จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า

สุตีติกฺข ดังนี้. เรื่องที่เป็นปัจจุบันจักมีแจ้งในจุลลนารทชาดก ใน

เตรสนิบาต.

ส่วนเรื่องที่เป็นอดีต มีความดังต่อไปนี้ :- นางกุมาริกานั้น

ทำลายศีลของดาบสหมู่นั้นแล้ว รู้ว่าดาบสหนุ่มตกอยู่ในอำนาจของตน

คิดว่าเราจักลวงดาบสหนุ่มนี้นำไปในครรลองมนุษย์ คิดดังนี้แล้วพูดว่า

ขึ้นชื่อว่าศีลที่รักษาในป่าซึ่งเว้นจากกามคุณมีรูปเป็นต้น ย่อมจะมีผล

ใหญ่ไปไม่ได้ ศีลที่รักษาในครรลองมนุษย์ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งกามคุณ

มีรูปเป็นต้น ย่อมมีผลใหญ่ มาเถิดท่านจงไปรักษาศีลกับเราในครรลอง

มนุษย์นั้น ป่าจะเป็นประโยชน์อะไรแก่ท่าน ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถา

ที่ ๑ ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 713

ความอดทนด้วยศีลอยู่ในป่าอันมีที่นอน

และที่นั่งอันสงัดเงียบ จะมีผลดีอะไร ส่วน

ชนเหล่าใดอดทนอยู่ในบ้าน ชนเหล่านั้นเป็น

ผู้ประเสริฐกว่าท่าน.

ความอดกลั้นด้วยดี ชื่อว่า สุตีติกฺข ในคาถานั้น. บทว่า

ตีติกฺขนฺติ คือ อดกลั้นภัยธรรมชาติทั้งหลายมีความเย็นเป็นต้น.

ดาบสหนุ่มได้ฟังดังนั้นแล้ว กล่าวว่า บิดาของเราไปป่า เมื่อท่านมาแล้ว

เราจักลาท่านก่อนแล้วจึงไป.

นางกุมาริกานั้นคิดว่า ได้ยินว่า ดาบสหนุ่มนี้มีบิดาถ้าท่านเห็น

เราก็จักโบยตีให้เราถึงความพินาศด้วยไม้คานเราควรไปก่อนเถิด ครั้น

แล้วก็กล่าวกะพระดาบสหนุ่มว่า ถ้าเช่นนั้น ฉันจะทำเครื่องหมายใน

หนทางไปก่อนท่านจงตามมาภายหลัง. ดาบสหนุ่มนั้นครั้นนางกุมาริกา

ไปแล้วก็มิได้เก็บฟืน มิได้ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน ได้แต่นั่งซบเซาอยู่อย่างเดียว

เท่านั้น แม้เวลาบิดามาก็มิได้ต้อนรับ ลำดับนั้น บิดารู้ว่าบุตรของเรานี้

ตกอยู่ในอำนาจของหญิงเสียแล้ว จึงถามดาบสหนุ่มนั้นว่า แน่ะพ่อ

เหตุไรเจ้าจึงไม่เก็บฟืน ไม่ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน ได้แต่นั่งซบเซาอยู่อย่างเดียว

เท่านั้น ดาบสหนุ่มถามว่า ข้าแต่พ่อได้ยินว่า ศีลที่รักษาในป่าไม่มีผลมาก

ศีลที่รักษาในครรลองมนุษย์มีผลมากกว่า ฉันจักไปรักษาศีลในครรลอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 714

มนุษย์ สหายของฉันสั่งว่าจงตามมาภายหลัง แล้วเขาไปล่วงหน้า ฉัน

จักไปกับสหายนั้น เมื่อฉันอยู่ในครรลองมนุษย์นั้น ควรคบคนเช่นไร

ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ข้าแต่พ่อ ฉันออกจากป่าสู่บ้านแล้ว

ควรคบคนที่มีศีลอย่างไร มีวัตรอย่างไร ฉัน

ขอถามท่าน ขอท่านจงบอกฉันด้วย.

ลำดับนั้น ดาบสผู้บิดาเมื่อจะบอกแก่ดาบสหนุ่ม จึงได้กล่าว

คาถาที่เหลือว่า :-

แน่ะพ่อ ผู้ใดคุ้นเคยคับเจ้า อดทนต่อ

ความคุ้นเคยของเจ้าได้ เป็นผู้ตั้งใจฟังคำพูด

ของเจ้าและอดทนต่อคำพูดของเจ้าได้ เจ้าไป

จากที่นี้แล้ว จงคบผู้นั้นเถิด.

ผู้ใดไม่มีกรรมชั่วด้วยกายวาจาใจ เจ้า

ไปจากที่นี้แล้ว จงตั้งตัวเหมือนบุตรที่เกิดแต่

อกผู้นั้น จงคบผู้นั้นเถิด.

อนึ่ง ผู้ใดย่อมประพฤติโดยธรรม แม้

เมื่อประพฤติอยู่ก็ไม่ถือตัว เจ้าไปจากที่นี้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 715

จงคบผู้นั้น ผู้กระทำกรรมอันบริสุทธิ์ มีปัญญา

เถิด.

แน่ะพ่อ เจ้าอย่าคบบุรุษที่มีจิตกลับ-

กลอกดุจผ้าที่ย้อมด้วยนำขมิ้น รักง่ายหน่าย

เร็ว ถึงแม้ว่าพื้นชมพูทวีปจะพึงไร้มนุษย์.

เจ้าจงเว้นคนเช่นนั้นเสียให้ห่างไกล

เหมือนบุคคลผู้ละเว้นอสรพิษที่ดุร้าย เหมือน

บุคคลผู้ละเว้นหนทางที่เปื้อนคูถ และเหมือน

บุคคลผู้ไปด้วยยานละเว้นหนทางที่ขรุขระ

ฉะนั้น.

แน่ะพ่อ ความพินาศย่อมมีแต่ผู้ที่คบ

คนพาล เจ้าอย่าสมาคมกับคนพาลเลย การอยู่

ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์ทุกเมื่อ เหมือนอยู่

ร่วมกับศัตรูฉะนั้น.

แน่ะพ่อ เพราะเหตุนั้น พ่อจึงขอร้อง

เจ้า ขอเจ้าจงกระทำตามคำของพ่อ เจ้าอย่า

สมาคมกับคนพาลเลย เพราะการสมาคมกับ

คนพาลเป็นทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 716

บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า โย เต วิสฺสาสเต เท่ากับ

โย ตว วิสฺสาเสยฺย แปลว่า ผู้ใดพึงคุ้นเคยกับเจ้า. สองบทว่า

ขเมยฺย เต ความว่า ผู้ใดพึงอดทนต่อความคุ้นเคยที่เจ้ากระทำแล้ว

ในตน. บทว่า สุสฺสูสี จ ตีติกฺขี จ ความว่า ผู้ใดพึงเป็นผู้ประกอบ

แล้วด้วยการฟังด้วยดี ซึ่งถ้อยคำของเจ้าและด้วยการอดกลั้นต่อถ้อยคำ

ของเจ้า. ด้วยบทว่า โอรสีว ปติฏฺาย เจ้าพึงตั้งตน คือพึงดำรงตน

อยู่เหมือนบุตรผู้เกิดแต่อกของมารดา ฉะนั้น แล้วรู้สึกอยู่ว่า เหมือน

มารดาของตนพึงคบผู้นั้น. บทว่า โย จ ธมฺเมน จรติ ความว่า

ผู้ใดประพฤติโดยสุจริตธรรมสามอย่างนั่นแล. บทว่า น มญฺติ

ความว่า แม้เมื่อประพฤติอยู่อย่างนั้น ก็ไม่ถือตัวว่าเราประพฤติธรรม.

บทว่า วิสุทฺธการึ ได้แก่ผู้กระทำกุศลกรรมบถสิบประการอันบริสุทธิ์.

บทว่า ราควิราคิน ได้แก่ผู้รักง่ายและหน่ายเร็ว คือมีอันรักแล้ว

ก็หน่ายในขณะนั้นเป็นสภาพ. บทว่า นิมฺมนุสฺสมฺปิ เจ สิยา ความว่า

แม้ถ้าว่าพื้นชมพูทวีปจะไม่มีมนุษย์ไชร้ มีแต่มนุษย์ผู้นั้นประดิษฐาน

อยู่ผู้เดียว แม้ถึงกระนั้นเจ้าก็อย่าคบคนเช่นนั้น. บทว่า มหาปถ

คือดุจบุคคลละเว้นหนทางที่เปรอะเปื้อนด้วยคูถฉะนั้น. บทว่า ยานีว

คือดุจบุคคลผู้ไปด้วยยาน. บทว่า วิสม คือที่ไม่เรียบราบเช่นเป็น

ที่ลุ่มที่ดอนมีตอและหินเป็นต้น. บทว่า พาล อจฺจูปเสวโต ได้แก่

ผู้คบคนพาลคือคนไม่มีปัญญา. บทว่า สพฺพทา ความว่า แน่ะพ่อ

ขึ้นชื่อว่าการอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์ทุกเมื่อ คือตลอดกาลเป็นนิจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 717

เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรูฉะนั้น. สองบทว่า ต ตาห ความว่า เพราะเหตุนั้น

พ่อจึงขอร้องเจ้า.

ดาบสหนุ่มนั้นได้ฟังคำสอนของบิดาอย่างนี้แล้ว กล่าวว่า ข้าแต่

พ่อฉันไปสู่ครรลองมนุษย์ จักไม่ได้บัณฑิตเช่นพ่อฉันกลัวการไปใน

ครรลองมนุษย์นั้น ฉันจักอยู่ในสำนักของพ่อนี้แหละ ลำดับนั้น ดาบส

ผู้เป็นบิดาได้ให้โอวาทแก่ดาบสหนุ่มยิ่งขึ้นไปอีก แล้วสอนให้บริกรรม

ในกสิณ ต่อมาไม่นานนักดาบสหนุ่มก็ได้อภิญญาและสมาบัติ เป็นผู้มี

พรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้ากับดาบสผู้เป็นบิดา.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ได้ทรง

ประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล

พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า พระดาบสหนุ่มในครั้งนั้น ได้มาเป็น

ภิกษุผู้กระสันในบัดนี้ นางกุมาริกาในครั้นนั้น ได้มาเป็นนางถูลกุมาริกา

ในบัดนี้ ส่วนพระดาบสผู้เป็นบิดา คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาหลิททราคชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 718

๑๐. สมุคคชาดก

ว่าด้วยเปรียบหญิงมีอาการคล้ายก้นเหว

[๑๒๙๒] แน่ะท่านผู้เจริญทั้งสาม ท่านพากันมา

จากที่ไหนหนอ ท่านทั้งหลายมาดีแล้ว เชิญ

มานั่งที่อาสนะนี้เถิดท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่าน

ทั้งหลายเห็นจะสุขสบายดี ไม่มีความเจ็บไข้

กระมัง นานมาแล้ว ท่านทั้งหลายเพิ่งมาใน

ที่นี้.

[๑๒๙๓] วันนี้ข้าพเจ้ามาถึงที่นี้คนเดียวเท่านั้น

อนึ่ง ใครผู้ที่จะเป็นที่สองของข้าพเจ้าก็มีได้มี

ข้าแต่พระฤาษี คำที่พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า แน่ะ

ท่านผู้เจริญทั้งสาม ท่านพากันมาจากที่ไหน

หนอ ดังนี้ หมายถึงอะไร ?

[๑๒๙๔] ท่านคนหนึ่ง และภรรยาที่รักของท่าน

ที่ท่านใส่ไว้ในสมุคคนหนึ่ง ภรรยาที่ท่านใส่ไว้

ในท้อง รักษาไว้ทุกเมื่อนั้น ร่วมยินดีกับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 719

วิชาธรชื่อว่าวายุบุตรภายในท้องของท่านนั้นอีก

คนหนึ่ง.

[๑๒๙๕] ทานพนั้นอันฤาษีชี้แจงให้ฟังแล้ว ก็มี

ความสลดใจสะดุ้งกลัว จึงคายสมุคออกมา

เปิดดู ได้เห็นภรรยาผู้ทัดทรงดอกไม้อันสะอาด

ร่วมยินดีกับวิทยาธรชื่อว่าวายุบุตรในสมุคนั้น.

[๑๒๙๖] เหตุข้อนี้ ท่านผู้ประพฤติตบะชั้นสูง

เห็นดีแล้ว นรชนทั้งหลายเหล่าใดเป็นคน

เลวทราม อยู่ในอำนาจแห่งความชื่นชม

ยินดี นรชนทั้งหลายเหล่านั้น ได้แก่ตัวเราเอง

เพราะว่าภรรยาที่เรารักษาไว้ในท้อง เพียงดัง

ชีวิต กลับมาประทุษร้ายเราไปชื่นชมยินดีกะ

บุรุษอื่น.

[๑๒๙๗] เราบำรุงบำเรอภรรยานั้นทั้งกลางวัน

กลางคืน เหมือนดาบสผู้มีตบะอยู่ในป่าบำเรอ

บูชาไฟอันลุกโชนฉะนั้น นางยังก้าวล่วงธรรม

ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เราไม่ควรเชยชิด

ภรรยาผู้ร่าเริงเช่นนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 720

[๑๒๙๘] เรามักมั่นใจหญิงผู้ไม่มีความสงบ ไม่

สำรวมว่าอยู่ในท่ามกลางสรีระของเรา และมั่น

ใจว่าเป็นภรรยาของเรา ดังนั้น นางจึงก้าวล่วง

ธรรม ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เราไม่ควร

เชยชิดภรรยาผู้ร่าเริงเช่นนี้.

[๑๒๙๙] บัณฑิตจะพึงวางใจว่า หญิงนี้เรารักษา

ไว้ดีแล้วดังนี้อย่างไรได้ อุบายที่จะป้องกัน

รักษาหญิงผู้มีหลายใจไม่พึงมีโดยแท้ เพราะว่า

หญิงเหล่านั้นมีอาการคล้ายกับเหวที่เรียกกันว่า

บาดาล บุรุษผู้ประมาทในหญิงเหล่านั้น ย่อม

ถึงความพินาศทั้งนั้น.

[๑๓๐๐] เพราะเหตุนั้นแหละ ชนเหล่าใดไม่

เที่ยวคลุกคลีกับมาตุคาม ชนเหล่านั้นเป็นผู้มี

ความสุขไร้โศก ความประพฤติไม่คลุกคลี

กับมาตุคามนี้ เป็นคุณนำความสุขมาให้ ผู้

ปรารถนาความเกษมอันอุดม ไม่ควรเชยชิด

ด้วยมาตุคามทั้งหลาย.

จบ สมุคคชาดกที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 721

อรรถกถาสมุคคชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ.

ภิกษุผู้กระสัน จึงได้ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า กุโต นุ อาคจฺฉถ ดังนี้.

ความย่อว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุผู้กระสันนั้นว่า ดูก่อน

ภิกษุ ได้ยินว่า เธอกระสันจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริง

พระเจ้าข้า ดังนี้ รู้ว่า ดูก่อนภิกษุ เธอปรารถนามาตุคามเพราะ

เหตุไร ? ขึ้นชื่อว่ามาตุคามไม่ใช่สัตบุรุษุ เป็นอกตัญญู แม้ยักษ์ทานพ

ในกาลก่อน กลืนมาตุคามเข้าไว้ในท้องพาเที่ยวไป ก็ยังไม่อาจรักษา

มาตุคาม ทำให้เธอมีสามีคนเดียวได้ เธอจักอาจรักษาได้อย่างไร ดังนี้

แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์สละกามเข้าไปในดินแดนป่าหิมพานต์ บวช

เป็นฤาษี ได้อภิญญาและสมาบัติแล้ว ดำรงชีพอยู่ด้วยผลไม้น้อยใหญ่

ณ ที่ไม่ไกลบรรณศาลาของพระโพธิสัตว์นั้น มียักษ์ทานพตนหนึ่งอยู่

ยักษ์นั้นเข้าไปหาพระมหาสัตว์ ฟังธรรมอยู่เสมอ ๆ อนึ่ง ยักษ์นั้นมัก

ไปอยู่ที่หนทางที่มนุษย์ทั้งหลายสัญจรไปมาในดง เห็นมนุษย์เดินทางมา

ก็จับกินเสีย.

ครั้งนั้น ในแคว้นกาสี มีนางกุลธิดาคนหนึ่ง มีรูปร่างสวยงาม

มาก อาศัยอยู่ ณ ปัจจันตคามแห่งหนึ่ง วันหนึ่ง นางมาเพื่อจะเยี่ยม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 722

มารดาบิดา ในเวลากลับทานพนั้นเห็นพวกบริวารของนาง จึงวิ่งขับไล่

ด้วยรูปร่างที่น่ากลัว พวกบริวารที่ถือข้าวของไปต่างก็พากันทิ้งสิ่งของ

หนีไปสิ้น ทานพเห็นมาตุคามรูปงามนั่งมาในยาน เกิดจิตปฏิพัทธ์

จึงนำไปถ้ำของตนเลี้ยงดูเป็นภรรยา ตั้งแต่นั้นมา ทานพได้นำเนยใส

ข้าวสาร ปลา เนื้อ เป็นต้น และผลไม้ที่อร่อยมาเลี้ยงดูภรรยา และ

ประดับนางด้วยเครื่องประดับคือผ้า ให้นางนอนในมุคมีสัณฐานเหมือน

ขวด แล้วกลืนสมุคนั้นเข้าไว้ในท้อง พิทักษ์รักษาภรรยาด้วยท้อง

วันหนึ่ง ทานพนั้นไปสระน้ำแห่งหนึ่งเพื่อจะอาบน้ำ คายสมุค

ออกแล้วเอานางออกจากสมุคนั้นให้อาบน้ำ ทาแป้ง แต่งกาย แล้ว

กล่าวว่า เธอจงตากอากาศสักครู่หนึ่ง ให้นางยืนอยู่ใกล้ ๆ สมุค ตนเอง

ก็ลงไปที่ท่าน้ำ มิได้มีความสงสัยภรรยา จึงได้ไปอาบไกลไปหน่อย

ขณะนั้น วิทยาธรชื่อวายุบุตรเหน็บพระขรรค์เหาะมา นางนั้นเห็น

วิทยาธรแล้วยกมือชูขึ้นเป็นเชิงให้รู้ว่า มานี่เถิดท่าน วิทยาธรก็ลงมา

ทันที ลำดับนั้น นางเอาวิทยาธรนั้นใส่ในสมุค คอยแลดูทางมาของ

ทานพ พลางนั่งลงบนสมุค ครั้นเห็นทานพมาก็แสดงตนแก่ทานพนั้น

เมื่อทานพยังไม่ทันถึงสมุค นางก็เปิดสมุคแล้วเข้าไปข้างในนอนทับ

วิทยาธรแล้วเอาผ้าห่มของตนคลุมไว้ ทานพมาไม่ได้ตรวจตราสมุคให้ดี

ก่อน กลืนสมุคเข้าไปด้วยเข้าใจว่าเมียเราคนเดียวไปถ้ำของตน ใน

ระหว่างทางคิดว่า เราไม่ได้เยี่ยมท่านดาบสเสียนาน วันนี้เราจัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 723

นมัสการท่านก่อน จึงไปสู่สำนักท่านดาบส ดาบสเห็นทานพนั้นมา

แต่ไกลรู้ว่ามีคนสองคนอยู่ในท้อง เมื่อจะเจรจา จึงได้กล่าวคาถา

ที่ ๑ ว่า :-

แน่ะท่านผู้เจริญทั้งสาม ท่านพากันมา

จากที่ไหนหนอ ท่านทั้งหลายมาดีแล้ว เชิญ

มานั่งที่อาสนะนี้เถิดท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่าน

ทั้งหลายเห็นจะสุขสบายดี ไม่มีความเจ็บไข้

กระมัง นานมาแล้ว ท่านทั้งหลายเพิ่งมาใน

ที่นี้.

ศัพท์ว่า โภ ในคาถานั้นเป็นอาลปนะ.

บทว่า กจฺจิตฺถ เท่ากับ กจฺจิ โหถ ภาถ วิชฺชถ ความว่า

ท่านทั้งหลายจำเริญดีแลหรือ ? ดาบสเมื่อจะทักทายอีกจึงกล่าวว่า โภนฺโต

แปลว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย. สองบทว่า กุสล อนามย ความว่า

ท่านทั้งหลายเห็นจะเป็นสุขสบายดีไม่มีโรคกระมัง ? บทคาถาว่า จิรสฺ-

สพฺภาคมน หิ โว อิธ ความว่า นานแล้วท่านทั้งหลายเพิ่งมาใน

ที่นี้วันนี้.

ทานพได้ฟังดังนั้น คิดว่า เรามาสำนักท่านดาบสนี้คนเดียว

เท่านั้น แต่ท่านดาบสนี้กล่าวว่าสามคน ท่านดาบสกล่าวดังนี้ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 724

เหตุไร ท่านดาบสนี้รู้ภาพความจริงจึงกล่าวหรือ หรือว่าเป็นบ้าจึงเพ้อ

ไป เข้าไปหาท่านดาบสนมัสการแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อ

จะเจรจากับท่านดาบสนั้น จึงได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

วันนี้ข้าพเจ้ามาถึงที่นี้คนเดียวเท่านั้น

ใครผู้ที่จะเป็นที่สองของข้าพเจ้าก็มิได้มี

ข้าแต่พระฤาษีคำที่พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า แน่ะ

ท่านผู้เจริญทั้งสาม ท่านพากันมาจากที่ไหน

หนอ ? ดังนี้ หมายถึงอะไร ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธมชฺช ตัดบทเป็น อิธ อชฺช

บทคาถาว่า กิเมว สนฺธาย เต ภาสิต อิเส ความว่า ข้าแต่

พระฤาษีผู้เจริญ คำที่พระผู้เป็นเจ้ากล่าวนั้นหมายถึงอะไร ? ขอท่านจง

บอกให้แจ่มแจ้งแก่ข้าพระเจ้าเถิด.

ท่านดาบสย้อนถามว่า อาวุโส ท่านต้องการฟังจริง ๆ หรือ ?

เมื่อทานพตอบว่า จริงครับ จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟังดังนี้แล้ว

จึงได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

ท่านคนหนึ่ง และภรรยาที่รักของท่าน

ที่ท่านใส่ไว้ในสมุคคนหนึ่ง ภรรยาที่ท่านใส่ไว้

ในท้อง รักษาไว้ทุกเมื่อนั้น ร่วมยินดีกับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 725

วิทยาธรชื่อว่าวายุบุตรภายในท้องของท่านนั้น

อีกคนหนึ่ง.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ตฺวญฺจ เอโก คืออันดับแรก

ท่านคนหนึ่ง. บทว่า ปกฺขิตฺตนิกิณฺณมนฺตเร ความว่า ที่ท่านใส่สมุค

เก็บไว้ข้างใน คือที่ท่านผู้ต้องการจะรักษาภริยานั้นทุกเมื่อ จึงใส่ไว้ใน

สมุคนั้น เก็บไว้ข้างในคือวางไว้ภายในท้องพร้อมทั้งสมุค. สองบทว่า

วายุสฺส ปุตฺเตน สหา คือร่วมยินดีกับวิทยาธรผู้มีชื่ออย่างนี้. บทว่า

ตหึ รตา คือร่วมยินดีด้วยความยินดี ด้วยอำนาจกิเลสภายในท้องของ

ท่านนั้นนั่นแหละ. ท่านดาบสนั้นกล่าวว่า บัดนี้ ท่านคิดว่า เราจักทำ

มาตุคามให้มีสามีคนเดียว จึงพิทักษ์รักษาไว้ด้วยท้อง เที่ยวอุ้มแม้ชายชู้

ของนางไปอยู่.

ทานพได้ฟังดังนั้นก็สะดุ้งกลัวว่า ธรรมดาวิทยาธรย่อมมีมายา

มาก ถ้าวิทยาธรนั้นมีพระขรรค์อยู่ในมือก็จักผ่าท้องเราหนีไป จึงคาย

สมุควางไว้ตรงหน้าทันที.

พระศาสดาผู้เป็นอภิสัมพุทธะ เมื่อจะทรงประกาศความเป็นไป

นั้น จึงได้ตรัสคาถาที่ ๔ ว่า :-

ทานพนั้นอันฤาษีชี้แจงให้ฟังแล้ว ก็มี

ความสลดใจสะดุ้งกลัว จึงคายสมุคออกมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 726

เปิดดู ได้เห็นภรรยาผู้ทัดทรงดอกไม้อันสะอาด

ร่วมยินดีกับวิทยาธรชื่อว่า วายุบุตรในสมุคนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทฺทกฺขิ คือเปิดสมุคแล้วจึงได้เห็น.

พอทานพเปิดสมุคขึ้นเท่านั้น วิทยาธรก็ร่ายวิชา ถือพระขรรค์

เหาะไปในอากาศ ทานพเห็นดังนั้นก็มีความยินดีต่อพระมหาสัตว์ จึงได้

กล่าวคาถาที่เหลือมีความสรรเสริญเป็นเบื้องต้นว่า :-

เหตุข้อนี้ ท่านผู้ประพฤติตบะชั้นสูง

เห็นดีแล้ว นรชนทั้งหลายเหล่าใดเป็นคน

เลวทราม ตกอยู่ในอำนาจแห่งความชื่นชม

ยินดี นรชนทั้งหลายเหล่านั้น ได้แก่ตัวเราเอง

เพราะว่าภรรยาที่เรารักษาไว้ในท้อง เพียงดัง

ชีวิต กลับมาประทุษร้ายเราไปชื่นชมยินดีกะ

บุรุษอื่น.

เราบำรุงบำเรอภรรยานั้นทั้งกลางวัน

กลางคืน เหมือนดาบสผู้มีตบะอยู่ในป่าบำเรอ

บูชาไฟอันลุกโชนฉะนั้น นางยังก้าวล่วงธรรม

ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เราไม่ควรเชยชิด

ภรรยาผู้ร่าเริงเช่นนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 727

เรามักมั่นใจหญิงผู้ไม่มีความสงบ ไม่

สำรวมว่าอยู่ในท่ามกลางสรีระของเรา และมั่น

ใจว่าเป็นภรรยาของเรา ดังนั้น นางจึงก้าวล่วง

ธรรม ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เราไม่ควร

เชยชิตภรรยาผู้ร่าเริงเช่นนี้.

บัณฑิตจะพึงวางใจว่า หญิงนี้เรารักษา

ไว้ดีแล้วดังนี้อย่างไรได้ อุบายที่จะป้องกัน

รักษาหญิงผู้มีหลายใจไม่พึงมีโดยแท้ เพราะว่า

หญิงเหล่านั้นมีอาการคล้ายกับเหวที่เรียกกันว่า

บาดาล บุรุษผู้ประมาทในหญิงเหล่านั้น ย่อม

ถึงความพินาศทั้งนั้น.

เพราะเหตุนั้นแหละ ชนเหล่าใดไม่

เที่ยวคลุกคลีกับมาตุคาม ชนเหล่านั้นเป็นผู้มี

ความสุขไร้โศก ความประพฤติไม่คลุกคลี

กับมาตุคามนี้ เป็นคุณนำความสุขมาให้ ผู้

ปรารถนาความเกษมอันอุดม ไม่ควรเชยชิด

ด้วยมาตุคามทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 728

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทิฏฺรูปุคฺคตปานุวตฺตินา ความว่า

ข้าแต่พระฤาษีผู้เจริญ เหตุอันนี้ ท่านผู้ประพฤติตบะชั้นสูงเห็นดีแล้ว.

บทว่า หีนา คือเป็นคนต่ำ. บทว่า ยถา หเว ปาณริเวตฺถ รกฺขิตา

ความว่า ภรรยานี้ที่เราดูแลรักษาไว้ในที่นี้คือภายในท้องนี้เพียงดังชีวิต

ของตน. สองบทว่า ทุฏฺา มยิ ความว่า บัดนี้ กลับมาทำกรรมของ

ผู้ประทุษร้ายมิตร ประทุษร้ายเราไปชื้นชมยินดีกะบุรุษอื่น. บทว่า

โชติริวา วเน วส ความว่า เราบำรุงคือบำเรอภรรยานั้นเหมือนฤาษี

ผู้มีตบะอยู่ในป่าบำเรอไฟฉะนั้น. บทว่า สา ธมฺมมุกฺกมฺม ความว่า

ภรรยานั้นยังก้าวล่วงคือล่วงเกินธรรม. บทว่า อกฺรียรูโป เท่ากับ

อกตฺตพฺพรูโป แปลว่า ไม่ควรทำ. บทว่า สรีรมชฺฌมฺหิ ิตาติ

มญฺิห มยฺห อยนฺติ อสต อสญฺต ความว่า เรามักมั่นใจ

หญิงนี้ผู้ไม่มีความสงบ คือผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษผู้ไม่สำรวม

คือผู้ทุศีลว่าอยู่ในท่ามกลางสรีระของเรา แต่มั่นใจว่า ดังนี้ เป็นภรรยา

ของเรา. บทว่า สุรกฺขิตมฺเมติ กถนฺนุ วิสลเส ความว่า บัณฑิต

จะพึงวางใจอย่างไรได้ว่า หญิงนี้เรารักษาไว้ดีแล้ว แม้แต่คนเช่นเรา

รักษาภรรยาไว้ในท้องของตนแท้ ๆ ยังไม่อาจรักษาไว้ได้. บทว่า ปาตาล

ปปาตสนฺนิภา ความว่า ชื่อว่ามีอาการคล้ายกับเหว ที่เรียกกันว่า

บาดาลในมหาสมุทร เพราะหญิงเหล่านั้นเป็นผู้ยากที่บุคคลจะให้เต็ม

ด้วยความยินดีของชาวโลกได้. บทว่า เอตฺถปฺปมตฺโต ความว่า บุรุษ

ผู้ประมาทในหญิงผู้ไร้คุณแบบนี้เหล่านั้น ย่อมถึงความพินาศใหญ่. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 729

ตสฺมา หิ ความว่า เพราะผู้ตกอยู่ในอำนาจของมาตุคาม ย่อมถึงความ

พินาศใหญ่ ฉะนั้นชนเหล่าใดไม่เที่ยวคลุกคลีกับมาตุคาม ชนเหล่านั้น

ย่อมเป็นผู้มีความสุข. บทว่า เอต สว ความว่า ความประพฤติของ

บุคคลผู้ไม่คลุกคลีคือไม่เกี่ยวข้องกับมาตุคามนี้เป็นความสุข คือเป็น

ความดี ได้แก่เป็นความเกษมอันอุดมอันบุคคลพึงปรารถนา ผู้ปรารถนา

ความเกษมอันอุดมนั้น ไม่ควรทำความเชยชิดสนิทสนมกับ มาตุคาม

เลย.

ก็แหละ ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ทานพได้หมอบลงแทบเท้าของ

พระมหาสัตว์ กล่าวสรรเสริญชื่นชมพระมหาสัตว์ว่า ข้าพเจ้าได้ชีวิตไว้

เพราะอาศัยท่าน เพราะข้าพเจ้าไม่ถูกนางผู้มีธรรมลามกนี้ใช้ให้วิทยาธร

ฆ่า แม้พระมหาสัตว์ ครั้นแสดงธรรมแก่ทานพนั้นแล้วกล่าวว่า ท่าน

อย่าได้ทำกรรมชั่วอะไร ๆ แก่หญิงนี้ จงรับศีล ให้ทานพนั้นตั้งอยู่ใน

ศีลห้า ทานพคิดว่า แม้เราจะพิทักษ์รักษาด้วยท้อง ก็ยังไม่อาจรักษา

หญิงนั้นไว้ได้ คนอื่นใครเล่าจะรักษาได้ จึงส่งนางนั้นไปแล้ว ตนเองก็

เข้าป่าอันเป็นที่อยู่ของตน.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ให้ทรง

ประกาศสัจธรรมเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสัน ได้ดำรงอยู่ในโสดา-

ปัตติผล พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า ดาบสผู้มีทิพยจักษุในครั้งนั้น

คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสมุคคชาดกที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 730

๑๑. ปูติมังสชาดก

ว่าด้วยโทษของการมองในเวลาที่ไม่ควรมอง

[๑๒๐๑] แน่ะสหาย การจ้องดู ของสุนัขจิ้งจอก

ชื่อปูติมังสะไม่เป็นที่ชอบใจเราเลย บุคคลพึง

เว้นสหายเช่นนี้ ให้ห่างไกล.

[๑๓๐๒] สุนัขจิ้งจอกตัวเมียชื่อว่า เวณีนี้เป็นบ้า

ไป ได้พรรณนาถึงแพะตัวเมียผู้เป็นสหายให้

ผัวฟัง ครั้นแพะตัวเมียถอยหลังกลับไปไม่มา

ก็นั่งซบเซาถึงแพะตัวเมียชื่อเมณฑิมาตา ผู้มา

แล้วถอยหลังกลับไปเสีย.

[๑๒๐๓] แน่ะเพื่อน ท่านนั้นแหละเป็นบ้า มี

ปัญญาทราม ขาดปัญญาเครื่องพิจารณา ท่าน

นั้นทำอุบายล่อลวงว่าตาย แต่ชะเง้อดู โดย

กาลอันไม่ควร.

[๑๒๐๔] บัณฑิตไม่ควรเพ่งดูในกาลอันไม่ควร

ควรเพ่งดูแต่ในกาลอันควร ผู้ใดเพ่งดูในกาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 731

อันไม่ควร ผู้นั้นย่อมซบเซา เหมือนสุนัขจิ้ง-

จอกชื่อปูติมังสะ ฉะนั้น.

[๑๓๐๕] ดูก่อนสหาย ขอความรักจงมีแก่เรา

ท่านจงให้ความเอิบอิ่มแก่เรา สามีของเรากลับ

ฟื้นขึ้นมาแล้ว ถ้าท่านมีความรักเรา ก็จงมา

กับเราเถิด.

[๑๓๐๖] แน่ะสหาย ขอความรักจงมีแก่ท่าน เรา

จะให้ความเอิบอิ่มแก่ท่าน เราจักมาด้วยบริวาร

เป็นอันมาก ท่านจงจัดแจงโภชนาหารไว้เถิด.

[๑๓๐๗] บริวารของท่านเป็นเช่นไร เราจักจัดแจง

โภชนาหารเหล่าใด ก็บริวารเหล่านั้นทั้งหมดมี

ชื่อว่าอย่างไร เราขอถาม ขอท่านจงบอกบริวาร

เหล่านั้นแก่เรา.

[๑๓๐๘] บริวารของเราเช่นนี้ คือ สุนัขชื่อมาลิ-

ยะ ๑ ชื่อจตุรักขะ ๑ ชื่อปิงคิยะ ๑ ชื่อชัม-

พุกะ ๑ ท่านจงจัดแจงโภชนาหารไว้เพื่อบริวาร

เหล่านั้นเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 732

[๑๓๐๙] เมื่อท่านออกจากเรือนไป สิ่งของของ

ท่านไม่มีใครดูแล จักเสียหาย คำพูดของ

สหายมิได้มีความรังเกียจ ท่านจงอยู่ที่นี้เถิด

อย่าไปเลย.

จบ ปูติมังสชาดกที่ ๑๑

อรรถกถาปูติมังสชาดกที่ ๑๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ความไม่สำรวม จึงได้ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า น โข เม รุจฺจติ

ดังนี้.

ความย่อมีว่า สมัยหนึ่ง ภิกษุจำนวนมากไม่คุ้มครองทวารใน

อินทรีย์ทั้งหลาย พระศาสดาตรัสแก่พระอานนทเถระว่า ควรจะกล่าว

สอนภิกษุเหล่านี้. รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์เป็นพิเศษ เสด็จไปในท่าม-

กลางประทับนั่งเหนือบัลลังก์อันประเสริฐที่จัดไว้ ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย

มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าภิกษุไม่ควรถือนิมิตรใน

รูปเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งศุภนิมิตร เพราะถ้าตายลงในขณะนั้น จะ

บังเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ฉะนั้น อย่าถือศุภนิมิตรในรูปเป็นต้น

ขึ้นชื่อว่าภิกษุไม่ควรยึดรูปเป็นต้นเป็นอารมณ์ เพราะผู้ที่ยึดรูปเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 733

เป็นอารมณ์ ย่อมถึงมหาพินาศในปัจจุบันทีเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะฉะนั้น จักขุนทรีย์ที่ถูกแทงด้วยซี่เหล็กแดงประเสริฐ ว่าการ

แลดูศุภนิมิตรในรูปไม่ประเสริฐเลย เวลาที่พวกเธอจะควรแลดูรูปมีอยู่

บางคราว เวลาที่พวกเธอไม่ควรแลดูรูปมีอยู่บางคราว ในเวลาแลดู

ไม่ควรแลดูด้วยสามารถแห่งศุภนิมิตร ควรแลดูด้วยสามารถแห่งอศุภ-

นิมิตรเท่านั้น เมื่อทำได้อย่างนี้ ก็จักไม่เสื่อมจากอารมณ์ของตน ก็อะไร

เล่าเป็นอารมณ์ของพวกเธอ คือ สติปัฏฐาน ๔ อริยมรรคมีองค์ ๘

โลกุตตรธรรม ๙ เมื่อพวกเธอโคจรอยู่ในอารมณ์เช่นนี้ มารก็จะไม่ได้

โอกาสทำร้าย แต่ถ้าพวกเธอตกอยู่ในอำนาจกิเลส แลดูด้วยสามารถแห่ง

ศุภนิมิตร ก็จักเสื่อมจากอารมณ์ของตน เหมือนสุนัขจิ้งจอกชื่อปูติมังสะ

เสื่อมจากที่หาอาหารฉะนั้น แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อ

ไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ อยู่ในนคร

พาราณสี. มีแพะหลายร้อยอยู่ในถ้ำเชิงภูเขา ในแดนป่าหิมพานต์ ณ ที่

ใกล้ ๆ กับที่อยู่ของแพะเหล่านั้น มีสุนัขจิ้งจอกชื่อปูติมังสะกับภรรยาชื่อ

เวณี อยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง วันหนึ่ง สุนัขจิ้งจอกเที่ยวไปกับภรรยา เห็น

แพะเหล่านั้น คิดว่า เราควรจะกินเนื้อแพะเหล่านี้ด้วยอุบายอย่างหนึ่ง

แล้วได้ใช่อุบายฆ่าแพะวันละตัว สุนัขจิ้งจอกทั้งสองกินเนื้อแพะจนมี

กำลังร่างกายอ้วนสมบูรณ์ แพะก็น้อยลงโดยลำดับ ในกลุ่มแพะเหล่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 734

นั้น มีแพะตัวเมียตัวหนึ่งชื่อเมณฑิกมาตา เป็นแพะฉลาดรู้เท่าทันอุบาย

สุนัขจิ้งจอกไม่อาจฆ่ามันได้ วันหนึ่ง จึงปรึกษากับภรรยาว่า ที่รัก

แพะทั้งหลายหมดสิ้นแล้ว เราควรใช้อุบายกินแพะตัวเมียตัวนี้ และ

ในเรื่องนี้มีอุบายดังนี้ คือตัวเจ้าผู้เดียว จงไปเป็นเพื่อนกับเขา ครั้น

เมื่อนางแพะมีความคุ้นเคยกับเจ้า เราจักนอนทำเป็นตาย เจ้าจงเข้าไป

หานางแพะแล้วพูดว่า แม่แพะเอ๋ย สามีของฉันตายเสียแล้ว และฉัน

ก็ไม่มีที่พึ่ง นอกจากท่านแล้ว ญาติคนอื่นของฉันไม่มี ท่านจงมาเถิด

พวกเราจักพากันร้องไห้คร่ำครวญเผาศพสามีของฉัน ดังนี้แล้ว จงพา

เขามา แล้วฉันจักโดดขึ้นกัดคอฆ่าแพะนั้นเสีย. สุนัขจิ้งจอกตัวเมียรับ

คำว่า ดีแล้ว จึงไปคบมันเป็นเพื่อน เมื่อคุ้นเคยกันแล้ว ก็ได้กล่าวกะมัน

อย่างนั้น. มันจึงกล่าวว่า แน่ะสหายการที่เราจะไปนั้นไม่ควร สามี

ของท่านกินญาติของเราจนหมด เรากลัวไม่อาจไป สุนัขจิ้งจอกตัวเสีย

จึงกล่าวว่า แน่ะสหาย อย่ากลัวเลยผู้ที่ตายแล้วจะทำอะไรได้ แพะตัว

เมียแม้กล่าวตอบอย่างนี้ว่า สามีของท่านมีฤทธิ์เดชมาก ฉันกลัวจริง

ดังนี้ ถูกสุนัขจิ้งจอกตัวเมียวิงวอนอยู่บ่อย ๆ คิดว่า สุนัขจิ้งจอกคงตาย

แน่ จึงรับคำแล้วไปกับสุนัขจิ้งจอกตัวเมีย และเมื่อไปมันคิดว่า ใคร

จะรู้ว่าจักมีเหตุอะไรเกิดขึ้น จึงให้สุนัขจิ้งจอกตัวเมียไปข้างหน้า มัน

ตามไปพลาง คอยกำหนดสุนัขจิ้งจอกอยู่ด้วย เพราะความสงสัยใน

สุนัขจิ้งจอกนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 735

สุนัขจิ้งจอกตัวผู้ได้ยินเสียง/ีเท้าสัตว์ทั้งสอง คิดว่า แพะตัวเมีย

มาถึงหรือยัง จึงยกศีรษะขึ้นชำเลืองดู. แพะตัวเมียเห็นสุนัขจิ้งจอกทำ

ดังนั้น คิดว่า สุนัขจิ้งจอกนี้เลวมาก ประสงค์จะลวงเรามาฆ่า นอน

ทำเป็นตาย จึงกลับไป สุนัขจิ้งจอกตัวเมียจึงถามว่า เหตุใดท่านจึงหนี

ไปเสีย ? เมื่อจะกล่าวเหตุนั้น ได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

แน่ะสหาย การจ้องดู ของสุนัขจิ้งจอก

ชื่อปูติมังสะไม่เป็นที่ชอบใจเราเลย บุคคลพึง

เว้นสหายเช่นนี้ ให้ห่างไกล.

บรรดาเหล่านั้น บทว่า อาฬิ เป็นอาลปนะ ความว่า ดูก่อน

เพื่อน คือ ดูก่อนสหาย. บทว่า เอตาทิสา สขารสฺมา ความว่า

บุคคลหลีกจากสหายเห็นปานนี้ แล้วพึงเว้นสหายนั้นให้ห่างไกล.

ก็แหละ ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว แพะตัวเมียได้กลับไปที่อยู่ของตน.

สุนัขจิ้งจอกตัวเมียเมื่อไม่อาจให้แพะตัวเมียกลับมาได้ก็โกรธแพะตัวเมีย

ไปสำนักของสามีตน นั่งซบเซาอยู่. ลำดับนั้น สุนัขจิ้งจอกตัวผู้ เมื่อ

จะติเตียนสุนัขจิ้งจอกตัวเมีย จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

สุนัขจิ้งจอกตัวเมียชื่อว่า เวณีนี้เป็นบ้า

ไปได้ พรรณนาถึงแพะตัวเมียผู้เป็นสหายให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 736

ผัวฟัง ครั้นแพะตัวเมียถอยหลังกลับไปไม่มk

ก็นั่งซบเซาถึงแพะตัวเมียชื่อเมณฑิมาตา ผู้มา

แล้วถอยหลังกลับไปเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวณิ เป็นชื่อของสุนักจิ้งจอกตัว

เมียตัวนั้น. บทว่า วณฺเณติ ปติโน สขึ ความว่า แรกที่เดียว

สุนัขจิ้งจอกตัวเมียชื่อว่าเวณีนี้ พรรณาถึงแพะตัวเมียผู้เป็นสหายของตน

ในสำนักของสามีว่า แม่แพะผู้มีความรักใคร่คุ้นเคยในเราจักมาสู่สำนัก

ของสามี ขอให้ท่านจงทำเป็นตายบัดนี้ ครั้นมันถอยกลับไป ก็มานั่ง

ซบเซาถึง คือ เศร้าโศกถึงแม่แพะชื่อว่าเมณฑิมาตานั้น ผู้มาแล้วแต่

ไม่ถึงสำนักเรา.

แม่สุนัขจิ้งจอกได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

แน่ะเพื่อน ท่านนั้นแหละเป็นบ้า มี

ปัญญาทราม ขาดปัญญาเครื่องพิจารณา ท่าน

นั้นทำอุบายล่อลวงว่าตาย แต่ชะเง้อดู โดย

กาลอันไม่ควร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวิจกฺขโณ คือ เว้นจากปัญญา

เครื่องพิจารณา. บทว่า อกาเลน วิเปกฺขสิ ความว่า เมื่อแม่แพะยัง

ไม่ทันมาถึงสำนักของตนเลย ชะเง้อมองในเวลาที่ไม่ควร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 737

ในที่นี้มีอภิสัมพุทธคาถาดังนี้ว่า :-

บัณฑิตไม่ควรชะเง้อมองในกาลอันไม่ควร

ควรมองดูแต่ในกาลอันควร ผู้ใดชะเง้อมอง

ในกาลอันไม่ควร ผู้นั้นย่อมซบเซา เหมือน

สุนัขจิ้งจอกชื่อปูติมังสะ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกาเล ได้แก่ ในกาลที่จิตตุปบาท

เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งศุภนิมิตร เพราะปรารภกามคุณ กาลนี้แลชื่อว่า

กาลอันไม่ควรที่ภิกษุจะพึงแลดูรูป. บทว่า กาเล ได้แก่ ในกาลที่

กำหนดถือเอารูปด้วยสามารถแห่งอศุภนิมิตร ด้วยสามารถแห่งอนุสสติ

หรือด้วยสามารถแห่งกสิณ กาลนี้แลชื่อว่ากาลอันควรที่ภิกษุจะพึงแลดู

รูป.

ในกาลทั้งสองนั้น ชนทั้งหลายที่แลดูรูปในกาลที่มีความกำหนัด

ย่อมถึงมหาพินาศ ดังนั้น. คำว่า ในกาลอันไม่ควรบัณฑิตพึงเปรียบ-

เทียบด้วยชาดกทั้งหลายมีหริตจชาดกและโลมสกัสสปชาดกเป็นต้น ชนที่

แลดูรูปด้วยสามารถแห่งอศุภนิมิตรย่อมดำรงอยู่ในพระอรหัตผล ดังนั้น

คำว่า ในกาลอันควร บัณฑิตพึงเปรียบเทียบด้วยเรื่องพระติสสเถระผู้-

เจริญอสุภกรรมฐาน. บทว่า ปูติมโสว ปชฺฌาติ ความว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอกชื่อปูติมังสะชะเง้อดูแม่แพะในกาลอันไม่ควร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 738

จึงเสื่อมจากเหยื่อของตน ซบเซาอยู่ฉันใด ภิกษุแลดูรูปด้วยสามารถ

แห่งศุภนิมิตรในกาลอันไม่ควร จึงเสื่อมจากอารมณ์มีสติปัฏฐานเป็นต้น

ซบเซาอยู่ คือลำบากอยู่ทั้งในทิฏฐธรรมและสัมปรายภพฉันนั้น.

แม่สุนัขจิ้งจอกชื่อเวณี ได้กล่าวปลอบโยนสุนัขจิ้งจอกชื่อปูติ-

มังสะว่า ข้าแต่สามีท่านอย่าเสียใจเลย ฉันจะใช้อุบายนำนางแพะนั้น

มาอีก เวลานางแพะมา ท่านอย่าประมาท จงจับไว้ให้ได้ แล้วไปสำนัก

นางแพะนั้น กล่าวว่า สหายเอ๋ย การที่ท่านกลับมาเสียนั่นแหละเกิด

ประโยชน์แก่เรา เพราะพอท่านมาแล้วเท่านั้นสามีก็กลับได้สติ บัดนี้

ยังมีชีวิตอยู่ท่านจงมา ไปทำปฏิสันถารกับสามีของเราเถิด ดังนี้ แล้ว

กล่าวคาถาที่ ๕ ว่า :-

ดูก่อนสหาย ขอความรักจงมีแก่เรา

ท่านจงให้ความเอิบอิ่มแก่เรา สามีของเรากลับ

ฟื้นขึ้นมาแล้ว ถ้าท่านมีความรักเรา ก็จงมา

ไปกับเราเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุณฺณปตฺต ททาหิ เม ความว่า

ขอท่านจงให้ความยินดีแก่เราผู้มาแล้วเพื่อชนที่รักทั้งหลาย. บทว่า ปติ

สญฺชีวิโต ความว่า สามของเรากลับฟื้นขึ้นมาแล้ว คือลุกขึ้นมาแล้ว

เป็นผู้ไม่มีโรค. บทว่า เอยฺยาสิ ความว่า ขอท่านจงมาไปกับเราเถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 739

แม่แพะคิดว่า แม่สุนัขจิ้งจอกเลวทรามนี้ ประสงค์จะลวงเรา

การกระทำตนเป็นปฏิปักษ์ไม่สมควรเลย เราจักใช้ลวงนางสุนัขจิ้งจอก

บ้าง ดังนี้ แล้วกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า :-

แน่ะสหาย ขอความรักจงมีแต่ท่าน เรา

จะให้ความเอิบอิ่มแก่ท่าน เราจักมาด้วยบริวาร

เป็นอันมาก ท่านจงจัดแจงโภชนาหารไว้เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอสฺส ความว่า เราจักมา แลเมื่อ

มา จักมาด้วยบริวารเป็นอันมาก สำหรับอารักขาตน.

ลำดับนั้น แม่สุนัขจิ้งจอกเมื่อจะถามถึงบริวารกะแม่แพะ ได้

กล่าวคาถาที่ ๗ ว่า :-

บริวารของท่านเป็นเช่นไร เราจักจัดแจง

โภชนาหารเพื่อบริวารเหล่าใด ก็บริวารเหล่านั้น

ทั้งหมดมีชื่อว่าอย่างไร เราขอถาม ขอท่านจง

บอกบริวารเหล่านั้นแก่เรา.

เมื่อแม่แพะจะบอก ได้กล่าวคาถาที่ ๘ ว่า :-

บริวารของเราเช่นนี้ คือ สุนัขชื่อมาลิ-

ยะ ๑ ชื่อจตุรักขะ ๑ ชื่อปิงคิยะ ๑ ชื่อชัม-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 740

พุกะ ๑ ท่านจงจัดแจงโภชนาหารไว้เพื่อบริวาร

เหล่านั้นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต เม ความว่า ขอท่านจงบอก

บริวารเหล่านั้นแก่เรา.

คำว่า มาลิโย เป็นต้น เป็นชื่อของสุนัข ๔ ตัว.

แม่แพะกล่าวดังนี้แล้วได้กล่าวต่อไปว่า บรรดาสุนัขเหล่านั้น

ตัวหนึ่ง ๆ มีบริวารตัวละห้าร้อย เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักมีสุนัขสองพันตัว

แวดล้อมมา ดังนี้ แล้วกล่าวว่า ถ้าสุนัขเหล่านั้นไม่ได้โภชนาหาร ก็

จักฆ่าท่านทั้งสองกินเสีย. แม่สุนัขจิ้งจอกได้ฟังดังนั้นก็กลัว คิดว่า ไม่

เป็นการสมควรที่แม่แพะนี้จะไปในสำนักของสามีเรา เราจักใช้อุบายทำ

ให้แม่แพะนี้ไม่ไป ดังนี้ แล้วกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า :-

เมื่อท่านออกจากเรือนไป สิ่งของของ

ท่านไม่มีใครดูแล จักเสียหาย คำพูดของ

สหายมิได้มีความรังเกียจ ท่านจงอยู่ที่นี้เถิด

อย่าไปเลย.

อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า แน่ะสหาย ในเรือนของท่านมีสิ่ง

ของอยู่เป็นอันมาก เมื่อท่านออกจากเรือนไป สิ่งของนั้นก็จักไม่มีใคร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 741

ดูแล จักเสียหาย เรานี้แหละจักบอก คำกล่าวของท่านผู้เป็นสหาย คือ

เป็นเพื่อน มิได้มีความรังเกียจ ท่านจงอยู่ที่นี่แหละ อย่าไปเลย.

ก็แหละ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว แม่สุนัขจิ้งจอกมีความกลัวมรณ-

ภัยรีบไปสำนักของสามี พาสามีหนีไปที่อื่น ทั้งสองผัวเมียก็ไม่อาจมาที่

นั้นอีก.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง

ประชุมชาดกว่า ในครั้งนั้น เราตถาคตเกิดเป็นเทวดาอยู่ที่ต้นไม้ใหญ่

ในที่นั้น ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปูติมังสชาดกที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 742

๑๒. ทัททรชาดก

ว่าด้วยคนอกตัญญู ไม่รู้จักบุญคุณคนอื่น

[๑๓๑๐] ผู้ใด เจ้าให้ข้าวมันหุงกิน มันเลยกิน

ลูกทั้งสองของเจ้าผู้ไม่มีความผิด เจ้าจงวาง

เขี้ยวลงบนผู้นั้น อย่างปล่อยให้มันมีชีวิตอยู่ต่อ

ไปเลย.

[๑๓๑๑] บุรุษผู้เกลือกกลั้วด้วยความหยาบ ผู้

ลบหลู่ท่อนผ้าที่ตนนุ่งอยู่ เราไม่ขอเห็นมันเลย

เราจะพึงให้เขี้ยวตกไปในบุรุษไรเล่า ?

[๑๓๑๒] อันคนอกตัญญู มักคอยหาโอกาสอยู่

เป็นนิตย์ ถึงจะให้สมบัติทั้งแผ่นดิน ก็ไม่พึง

ทำให้มันชื่นชมยินดีได้เลย.

[๑๓๑๓] ดูก่อนเสือโคร่ง ชื่อว่า สุพาหุ เพราะ

เหตุไรหนอ ท่านจึงรีบด่วนกลับมาพร้อมกับ

มาณพ กิจที่เป็นประโยชน์ของท่านมีอยู่ในที่นี้

๑. อรรถกถา เรียก ติตติรชาดก (เรียกนกกระทาพระโพธิสัตว์).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 743

หรือ เราขอถามถึงกิจอันเป็นประโยชน์นั้น ?

ขอท่านจงบอกแก่เรา.

[๑๓๑๔] นกกระทาใด ผู้มีรูปงาม ซึ่งเป็นสหาย

ของท่าน เราสงสัยว่า นกกระทานั้นจะถูกฆ่า

เสียแล้วในวันนี้ เราได้ฟังเหตุทั้งหลายที่ต่อ

เนื่องด้วยการกระทำของบุรุษนี้ จึงมิได้สำคัญ

ว่า นกกระทาจะมีความสุขในวันนี้.

[๑๓๑๕] ในการดำรงชีพของบุรุษนี้ ท่านได้ฟัง

เหตุการณ์อะไรที่ต่อเนื่องด้วยการกระทำของ

เขา หรือท่านได้ฟังคำปฏิญาณอะไรของบุรุษนี้ ?

จึงสงสัยว่า นกกระทาถูกมาณพนี้ฆ่าเสียแล้ว.

[๑๓๑๖] การค้าขายอันเป็นของชาวกลิงครัฐ บุรุษ

นี้ก็ได้สั่งสมประพฤติมาแล้ว แม้หนทางที่มี

หลักตอควรรังเกียจ บุรุษนี้ก็ได้ประพฤติเที่ยว

ไปด้วยการรับจ้าง การฟ้อนรำขับร้องกับคน

ฟ้อนทั้งหลาย บุรุษนี้ก็ได้ประพฤติมาถึงการรบ

กันด้วยท่อนไม้ในท่ามกลางมหรสพ บุรุษนี้

ก็ได้เคยประพฤติมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 744

[๑๓๑๗] นกทั้งหลาย บุรุษนี้ก็ได้ดักมาแล้ว การ

ตวงข้าวเปลือกด้วยเครื่องตวง บุรุษนี้ก็ได้ตวง

มาแล้ว การเล่นสกา บุรุษนี้ก็ได้ตั้งให้นักเลง

สกาเล่นกัน ความสำรวมระวัง บุรุษนี้ก็ก้าว

ล่วงเสีย เลือดที่ไหลออกมาตั้งครึ่งคืน บุรุษนี้

ก็คัดให้หยุดได้ มือทั้งสองของบุรุษนี้มีความ

ร้อนในเวลารับก้อนข้าว.

[๑๓๑๘] เราได้ฟังเหตุทั้งหลาย อันเกี่ยวเนื่องด้วย

การกระทำของบุรุษนี้ ในการดำรงชีพของบุรุษ

นี้ ดังนี้ กลุ่มขนนกกระทายังปรากฏอยู่ที่ชฎา

ของบุรุษนี้ วัวทั้งหลาย บุรุษนี้ก็ได้ฆ่ากินแล้ว

ไฉนจะไม่ฆ่านกกระทากินเล่า.

จบ ทัททรชาดกที่ ๑๒

อรรถกถาติตติรชาดกที่ ๑๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภ การที่

พระเทวทัตพยายามจะปลงพระชนม์พระองค์ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่ม

ต้นว่า โย เต ปุตฺตเก ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 745

ความย่อมีว่า สมัยนั้นภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภาว่า

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตไม่มีความละอาย ไม่ใช่คนดี คบกับ

พระเจ้าอชาตศัตรู ทำอุบายเพื่อปลงพระชนม์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรง

พระคุณสูงสุด โดยวิธีประกอบนายขมังธนู กลิ้งก้อนศิลา และปล่อย

ช้างนาฬาคิรี พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้

พวกเธอนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรง

ทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่

พระเทวทัตพยายามฆ่าเรา แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตก็ได้พยายาม

ฆ่าเราเหมือนกัน ดังนี้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไป

นี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-

นครพาราณสี อาจารย์ทิศาปาโมกข์คนหนึ่ง สอนศิลปะแก่มาณพ

ห้าร้อยคนในพระนครพาราณสี วันหนึ่งคิดว่า เราอยู่ในที่นี้มีความ

กังวล แม้มาณพทั้งหลายก็จะไม่สำเร็จการศึกษา เราจะเข้าป่าเขตถิ่น

หิมพานต์ อยู่ในที่นั้น บอกศิลปะ. อาจารย์ทิศาปาโมกข์นั้น บอกแก่

พวกมาณพ แล้วให้ขนงา ข้าวสาร น้ำมัน และผ้าเป็นต้น เข้าป่า

ให้สร้างบรรณศาลาอยู่ในที่ไม่ไกลจากหนทาง แม้พวกมาณพก็สร้าง

บรรณศาลาของตน ๆ พวกญาติของมาณพทั้งหลายต่างก็ส่งน้ำมันและ

ข้าวสารเป็นต้น แม้ชาวแว่นแคว้นก็พูดว่า ได้ยินว่าอาจารย์ทิศาปาโมกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 746

อยู่ในป่าแห่งโน้น ให้มาณพเรียนศิลปะ ดังนี้ ต่างก็นำข้าวสารเป็นต้น

ไปให้ แม้ผู้ที่เดินทางกันดารก็นำไปให้ บุรุษคนหนึ่ง ได้ให้แม่โคนม

พร้อมด้วยลูกโค เพื่อประโยชน์ที่อาจารย์ทิศาปาโมกข์จะได้ดื่มน้ำมัน

ณ ที่ใกล้บรรณศาลาของอาจารย์ มีเหี้ยตัวหนึ่งอยู่กับลูกอ่อนสองตัว

แม้ราชสีห์และเสือโคร่ง ก็มาสู่ที่บำรุงอาจารย์นั้น นกกระทาตัวหนึ่ง

ได้มาอยู่ ณ ที่นั้นเป็นประจำ นกกระทาตัวนั้นได้ยินเสียงอาจารย์กำลัง

บอกมนต์แก่มาณพทั้งหลาย จึงเรียนเวทย์ได้ทั้งสาม มาณพทั้งหลาย

ก็ได้คุ้นเคยกับนกกระทานั้น

ต่อมา เมื่อมาณพทั้งหลายยังไม่ทันสำเร็จการศึกษา อาจารย์ได้

ทำกาละเสียแล้ว พวกมาณพช่วยกันเผาศพอาจารย์แล้ว ก่อพระสถูป

ด้วยทราย เอาดอกไม้ต่าง ๆ มาบูชาแล้ว ร้องไห้คร่ำครวญอยู่. ลำดับนั้น

นกกระทาถามมาณพเหล่านั้นว่า พวกท่านร้องไห้ทำไม พวกมาณพ

กล่าวว่า พวกเรายังไม่สำเร็จการศึกษา อาจารย์ก็มาตายเสีย ฉะนั้น

พวกเราจึงร้องไห้ นกกระทากล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นพวกท่านอย่าเสียใจเลย

เราจะบอกศิลปะแก่พวกท่าน มาณพทั้งหลายถามว่า ท่านรู้ได้อย่างไร

นกกระทำตอบว่า เมื่ออาจารย์กำลังบอกแก่พวกท่าน เราได้ฟังแล้ว

ได้ทำไตรเพทให้คล่องแคล่ว มาณพทั้งหลายกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่าน

จงให้พวกเรารู้ความที่ตนเป็นผู้คล่องแคล่วเถิด นกกระทากล่าวว่า ถ้า

เช่นนั้น พวกท่านคอยฟัง แล้วได้สวดไตรเพทที่มาณพเหล่านั้นฟั่นเฝือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 747

ประดุจจะบินถลามาจากยอดภูเขาลงสู่แม่น้ำฉะนั้น มาณพทั้งหลายต่างก็

ร่าเริงยินดี เริ่มเรียนศิลปะในสำนักนกกระทำผู้เป็นบัณฑิต แม้นก-

กระทาก็ได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอาจารย์ทิศาปาโมกข์ บอกศิลปะแก่

มาณพเหล่านั้น พวกมาณพได้กระทำกรงทองแก่นกกระทา ดาษ

เพดานเบื้องบน นำน้ำผึ้งและข้าวตอกเป็นต้น ใส่จานทองให้นกกระทา

บูชาด้วยดอกไม้นานาชนิด กระทำสักการะเป็นการใหญ่ ข่าวนกกระทา

บอกมนต์แก่มาณพห้าร้อยในป่า ได้แพร่สะพัดไปทั่วชมพูทวีป.

ครั้งนั้น ประชาชนในชมพูทวีปได้ป่าวร้องกันเล่นมหรสพเป็น

การใหญ่ เหมือนมหรสพที่เล่นบนยอดภูเขา มารดาบิดาของมาณพ

ทั้งหลายได้ฟังข่าวไปถึงบุตรว่า จงมาดูงานมหรสพ มาณพทั้งหลาย

บอกลานกกระทาแล้ว ช่วยกันปิดบังนกกระทาผู้เป็นบัณทิต เหี้ย และ

สัตว์ทั้งหมดตลอดจนอาศรมไม่ให้ใครรู้เห็น แล้วไปสู่เมืองของตน ๆ

ในกาลนั้นดาบสชั่วร้ายไม่มีความกรุณาคนหนึ่ง ท่องเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ

มาถึงที่นั้น เหี้ยเห็นดาบสนั้นก็กระทำการต้อนรับ กล่าวว่า ข้าวสาร

มีอยู่ที่โน้น น้ำมันเป็นต้นอยู่ที่โน้น ท่านจงหุงภัตรฉันเถิด ดังนี้แล้ว

ก็ไปเพื่อหาอาหาร ดาบสหุงภัตรแต่เช้าทีเดียว ฆ่าลูกเหี้ยสองตัวทำเป็น

กับข้าวบริโภค ตอนกลางวันฆ่านกกระทาผู้เป็นบัณฑิตและลูกโคกิน

ตอนเย็นเห็นแม่โคเดินมาก็ฆ่าแม่โคนั้นเสีย กินเนื้อแล้วไปนอนหลับ

กรนอยู่ที่โคนต้นไม้ เหี้ยมาในเวลาเย็นไม่เห็นลูกน้อยทั้งสอง ก็เที่ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 748

วิ่งหาอยู่ รุกขเทวดาแลดูเหี้ยผู้ไม่พบลูกน้อย มีกายหวั่นไหวอยู่ จึง

แสดงกายให้ปรากฏที่โพรงไม้ ด้วยทิพยานุภาพ แล้วกล่าวว่า แน่ะเหี้ย

เจ้าอย่าหวั่นไหวไปเลย ลูกน้อยของเจ้า นกกระทา ลูกโค และแม่โค

ถูกคนชั่วนี้ฆ่าแล้ว เจ้าจงกัดคอมันให้ตาย ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๑

ว่า :-

ผู้ใด เจ้าให้ข้าวมันหุงกิน มันเลยกิน

ลูกทั้งสองของเจ้าผู้ไม่มีความผิด เจ้าจงวาง

เขี้ยวลงบนผู้นั้น อย่าปล่อยให้มันมีชีวิตอยู่ต่อ

ไปเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทินฺนภตฺโต คือผู้ที่เจ้าให้ภัตร

ด้วยกล่าวว่า ท่านจงหุงภัตรฉันเถิด ดังนี้. บทว่า อทูสเก ได้แก่

ผู้ไม่มีโทษ คือปราศจากความผิด. บทว่า ตสฺมึ ทาเ อธิบายว่า

เจ้าจงวางเขี้ยวทั้งสี่ลงบนคนชั่ว. บทว่า มา เต มุญฺจิตฺถ ชีวเต

ความว่า ท่านอย่าปล่อยคนใจชั่วนั้นพ้นไปจากเงื้อมมือให้มันเป็นอยู่ คือ

ให้มีชีวิตอยู่ต่อไปเลย อธิบายว่า มันจงอย่าได้พ้น ท่านจงให้มันถึง

ความสิ้นชีวิตไปเสีย.

ลำดับนั้น เหี้ยได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

บุรุษผู้เกลือกกลั้วด้วยความหยาบ ผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 749

ลบหลู่ท่อนผ้าที่ตนนุ่งอยู่ เราไม่ขอเห็นมันเลย

เราจะพึงให้เขี้ยวตกไปในบุรุษไรเล่า ?

อันคนอกตัญญู มักคอยหาโอกาสอยู่

เป็นนิตย์ ถึงจะให้สมบัติทั้งแผ่นดิน ก็ไม่พึง

ทำให้มันชื่นชมยินดีได้เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อากิณฺณลุทฺโธ ได้แก่ ผู้มีความ

หยาบช้าร้ายแรง. บทว่า วิวรทสฺสิโน ได้แก่ ผู้แสวงหาช่อง คือ

โทษ. ด้วยบทว่า เนว น อภิราธเย เหี้ยแสดงไว้ว่า ถึงจะให้สมบัติ

ทั้งแผ่นดินก็ไม่สามารถจะให้บุคคลเห็นปานนี้ยินดีได้เลย จะป่วยกล่าว

ไปใยถึงเราที่ให้เพียงภัตตาหาร.

เหี้ยกล่าวอย่างนี้แล้ว คิดว่า บุรุษนี้ตื่นขึ้นคงกินเรา เมื่อจะ

รักษาชีวิตของตน จึงได้หนีไป แม้ราชสีห์และเสือโคร่งก็เป็นเพื่อน

ของนกกระทา บางครั้งสัตว์เหล่านั้นก็พากัน มาเยี่ยมนกกระทา บางครั้ง

นกกระทานั้นก็ไปแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งสองแล้วกลับมา ก็ในวันนั้น

ราชสีห์กล่าวกะเสือโคร่งว่า แน่ะเพื่อน เราไม่ได้ไปเยี่ยมนกกระทา

นาน ถึงวันนี้ก็เจ็ดแปดวันแล้ว ท่านจงไปฟังข่าวของนกระทานั้นก่อน

แล้วจงมา เสือโคร่งรับคำว่า ดีแล้ว ไปถึงที่นั้นในเวลาที่เหี้ยหนีไป

แล้ว เห็นบุรุษชั่วนั้นหลับอยู่ ขนของนกกระทาผู้เป็นบัณฑิตยังติดอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 750

ในระหว่างชฎาของบุรุษนั้น กระดูกแม่โคและลูกโคก็ยังปรากฏอยู่

พระยาเสือโคร่งเห็นเหตุการณ์นั้นทั้งหมด ไม่เห็นนกกระทาบัณฑิตใน

กรงทอง คิดว่า บุรุษชั่วนี้คงฆ่าสัตว์เหล่านั้น จงได้ถีบบุรุษชั่วนั้นให้

ลุกขึ้น ดาบสชั่วเห็นดังนั้นแล้ว มีความสะดุ้งกลัวเป็นอย่างยิ่ง ลำดับนั้น

เสือโคร่งถามดาบสชั่วนั้นว่า ท่านฆ่าสัตว์เหล่านี้กินหรือ ? เมื่อได้รับ

คำตอบว่า เราไม่ได้ฆ่า เราไม่ได้เคี้ยวกิน ดังนี้ จึงกล่าวว่า แน่ะ

คนลามก เมื่อท่านไม่ฆ่า คนอื่นใครเล่าจักฆ่า จงบอกมาเถิด เมื่อไม่

บอก ท่านต้องตาย ดาบสนั้นกลัวมรณภัย จึงกล่าวว่า ถูกแล้วนาย

เราฆ่าลูกเหี้ย ลูกโคและแม่โคกินแล้ว แต่ไม่ได้ฆ่านกกระทา ถึงดาบส

นั้นจะพูดอยู่มากมาย เสือโคร่งก็ไม่เชื่อ จึงถามว่า ท่านมาแต่ไหน ?

เมื่อดาบสนั้นบอกกรรมที่ตนทำทั้งหมดว่า ข้าแต่นาย ฉันนำสินค้าของ

พวกพ่อค้าชาวกลิงครัฐ ไปทำงานอย่างนี้บ้าง อย่างนั้นบ้าง เพื่อเลี้ยง

ชีพ บัดนี้มาถึงที่นี้ ดังนี้ จึงกล่าวว่า คนลามก เมื่อท่านไม่ฆ่านก-

กระทา คนอื่นใครเล่าจักฆ่า มาเถิด เราจักนำท่านไปสู่สำนักของ

ราชสีห์ผู้เป็นพระยาเนื้อ แล้วให้ดาบสนั้นเดินหน้า เดินไปพลางขู่ไป

พลาง.

พระยาราชสีห์เห็นพระยาเสือโคร่งนำดาบสนั้นมา เมื่อจะถาม

พระยาเสือโคร่ง ได้กล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

ดูก่อนเสือโคร่ง ชื่อว่า สุพาหุ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 751

เหตุไรหนอ ท่านจงรีบด่วนกลับมาพร้อมกับ

มาณพ กิจที่เป็นประโยชน์ของท่านมีอยู่ในที่นี้

หรือ เราขอถามถึงกิจอันเป็นประโยชน์นั้น ?

ขอท่านจงบอกแก่เรา.

ในคาถานั้น พระยาราชสีห์ทักทายพระยาเสือโคร่ง โดยชื่อว่า

ดูก่อนเสือโคร่ง ชื่อว่า สุพาหุ เพราะกายส่วนข้างหน้าของพระยาเสือ-

โคร่งเป็นที่พอใจ ฉะนั้น พระยาราชสีห์จึงกล่าวอย่างนั้น กะพระยาเสือ-

โครงนั้น. บทว่า กึ กิจฺจมตฺถิ อิธมตฺถิ ตุยฺห ความว่า กรณียกิจ

ที่ประกอบด้วยประโยชน์มีอยู่กับมาณพนี้ ในที่นี้หรือ ? ปาฐะว่า ตุยฺห

กึ กิจฺจมตฺถ เนื้อความก็อย่างนี้เหมือนกัน.

พระยาเสือโคร่งได้ฟังดังนั้น ได้กล่าวคาถาที่ ๕ ว่า:-

นกกระทาใด ผู้มีรูปงาม ซึ่งเป็นสหาย

ของท่าน เราสงสัยว่า นกกระทานั้นจะถูกฆ่า

เสียแล้วในวันนี้ เราได้ฟังเหตุทั้งหลายที่ต่อ

เนื่องด้วยการกระทำของบุรุษนี้ จึงมิได้สำคัญ

ว่า นกกระทาจะมีความสุขในวันนี้.

นกกระทำ ชื่อว่า ททฺทโร ในคาถานั้น. บทว่า ตสฺส วธ

ความว่า เราสงสัยว่า นกกระทาผู้เป็นบัณฑิตนั้นจะถูกบุรุษนี้ฆ่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 752

ในวันนี้. บทว่า นาห สุขึ ความว่า เรามิได้สำคัญว่า นกกระทา

จะมีความสุข คือไม่มีโรค ในวันนี้.

พระยาราชสีห์เมื่อจะถามพระยาเสือโคร่ง ได้กล่าวคาถาที่ ๖

ว่า :-

ในการดำรงชีพของบุรุษนี้ ท่านได้ฟัง

เหตุการณ์อะไรที่ต่อเนื่องด้วยการกระทำของ

เขา หรือท่านได้ฟังคำปฏิญาณอะไรของบุรุษนี้ ?

จึงสงสัยว่า นกกระทาถูกมาณพนี้ฆ่าเสียแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสุ เท่ากับ อสฺโสสิ แปลว่า

ได้ฟังแล้ว. บทว่า วุตฺติสโมธานตาย คือในความประพฤติเลี้ยงชีพ

อธิบายว่า บุรุษนี้ ได้บอกการงานอะไรของตนแก่ท่าน. บทว่า มาณเวน

ความว่า ท่านได้ฟังคำปฏิญาณอะไร จึงสงสัยว่า นกกระทาถูกมาณพนี้

ฆ่าเสียแล้ว.

ลำดับนั้น พระยาเสือโคร่ง เมื่อจะกล่าวแก่พระยาราชสีห์ ได้

กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-

การค้าขายอันเป็นของชาวกลิงครัฐ บุรุษ

นี้ก็ได้สั่งสมประพฤติมาแล้ว แม้หนทางที่มี

หลังตอควรรังเกียจ บุรุษนี้ก็ได้ประพฤติเที่ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 753

ไปด้วยการรับจ้าง การฟ้อนรำขับร้องกับคน

ฟ้อนทั้งหลาย บุรุษนี้ก็ได้ประพฤติมาถึงการรบ

กันด้วยท่อนไม้ในท่ามกลางมหรสพ บุรุษนี้

ก็ได้เคยประพฤติมา.

นกทั้งหลาย บุรุษนี้ก็ได้ดักมาแล้ว การ

ตวงข้าวเปลือกด้วยเครื่องตวง บุรุษนี้ก็ได้ตวง

มาแล้ว การเล่นสกา บุรุษนี้ก็ได้ตั้งให้นักเลง

สกาเล่นกัน ความสำรวมระวัง บุรุษนี้ก็ก้าว

ล่วงเสีย เลือดที่ไหลออกมาตั้งครึ่งคืน บุรุษนี้

ก็คัดให้หยุดได้ มือทั้งสองของบุรุษนี้มีความ

ร้อนในเวลารับก้อนข้าว.

เราได้ฟังเหตุทั้งหลาย อันเกี่ยวเนื่องด้วย

การกระทำของบุรุษนี้ ในการดำรงชีพของบุรุษ

นี้ ดังนี้ กลุ่มขนนกกระทายังปรากฏอยู่ที่ชฎา

ของบุรุษนี้ วัวทั้งหลาย บุรุษนี้ก็ได้ฆ่ากินแล้ว

ไฉนจะไม่ฆ่านกกระทากินเล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิณฺณา กลิงฺคา ความว่า ได้ยินว่า

แม้การค้าขายในกลิงครัฐ เขาผู้ขนสินค้าของพวกพ่อค้าไปอยู่ ได้สั่งสม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 754

ประพฤติมาแล้ว คือกระทำมาแล้ว. บทว่า เวตฺตาจโร คือพึงเที่ยว

ไปด้วยการรับจ้าง. บทว่า สงฺกุปโถปิ จิณฺโณ คือแม้หนทางที่มี

หลักตอ เขาก็ได้ใช้มาแล้ว. บทว่า นเฏหิ คือร่วมกับคนฟ้อนทั้งหลาย

เพื่อเลี้ยงชีพ. บทว่า จิณฺณ สห วากุเรหิ ความว่า การขับร้องกับ

นักขับร้องทั้งหลาย อันเขาผู้นำพวกนักขับร้องไปอยู่ ได้ประพฤติมาแล้ว

บทว่า ทณฺเฑน ยุทฺธ ความว่า ได้ยินว่า ถึงการรบกันด้วยท่อนไม้

เขาก็เคยรบมาแล้ว. บทว่า พนฺธา กุลิกา ความว่า ได้ยินว่า แม้นก

ทั้งหลาย เขาก็เคยดักมาแล้ว. บทว่า มิตมาฬฺหเกน ความว่า นัยว่า

แม้การตวงข้าวเปลือก เขาก็เคยกระทำมาแล้ว. บทว่า. อกฺขา ิตา

ความว่า แม้การเล่นสกา เขาก็ได้ตั้งให้นักเลงสกาเล่นกัน. บทว่า

สญฺโม อพฺภตีโต ความว่า การสำรวมระวังในศีล อันเขาผู้บวช

อาศัยเลี้ยงชีพ ก้าวล่วงเสียแล้ว. บทว่า อปฺปหิต ได้แก่ คัดไว้แล้ว

คือกระทำไม่ให้ไหลออก.

โลหิต ชื่อว่า ปุปผกะ.

ข้อนี้มีอธิบายว่า ได้ยินว่า บุรุษนี้ ตัดมือและเท้าของพวกที่มี

ความผิดต่อพระราชา อาศัยเลี้ยงชีวิต แล้วนำคนเหล่านั้นมาให้นอน

อยู่ที่ศาลา พอเวลาเที่ยงคืนจึงไปที่ศาลานั้น แล้วใส่ยาชื่อกัณฑกธูมะ

คัดเลือกที่ไหลออกให้หยุดได้. บทว่า หตฺถา ทฑฺฒา ความว่า ได้ยินว่า

ในเวลาที่เขาบวชเป็นอาชีวก แม้มือทั้งสองของเขาก็ร้อน เพราะรับ

ก้อนข้าวที่ร้อน. บทว่า ตานิสฺส กมฺมายตนานิ ได้แก่ เหตุเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 755

ที่ต่อเนื่องด้วยการกระทำของเขา. บทว่า อสฺสุ เท่ากับ อสฺโสสึ

แปลว่า ได้ฟังแล้ว. บทว่า ยถา อย ความว่า แม้กลุ่มขนนกกระทา

นั้นยังปรากฏอยู่ในระหว่างชฎาของบุรุษนั้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงทราบ

ข้อนั้นว่า บุรุษนี้แหละฆ่านกกระทานั้น. บทว่า คาโว หตา กึ ปน

ททฺทรสฺส ความว่า แม้โคทั้งหลาย บุรุษนี้ก็ได้ฆ่าแล้ว การที่นกกระทา

จะไม่ถูกบุรุษนี้ฆ่าจะมีได้อย่างไร เพราะฉะนั้น บุรุษนี้ต้องฆ่านกกระทา

แน่.

ราชสีห์ถามบุรุษนั้นว่า ท่านฆ่านกกระทาบัณฑิตหรือ ? บุรุษ

ตอบว่า ถูกแล้วท่าน ราชสีห์ได้ฟังดาบสนั้นรับตามจริง ก็อยากจะ

ปล่อยดาบสนั้นไป แต่พระยาเสือโคร่งกล่าวว่า คนเลวเช่นนี้ ควรให้ตาย

เสีย แล้วก็เข้ากัดดาบสนั้นด้วยเขี้ยวให้ตาย แล้วขุดหลุมฝังไว้ในที่นั้น

เอง มาณพทั้งหลายมาไม่เห็นนกกระทาบัณฑิต ก็พากันร้องไห้คร่ำ

ครวญกลับไป.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อนพระเทวทัตก็พยายามฆ่าเราอย่างนี้

ดังนี้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า ชฎิล คือดาบสลามกในกาลนั้น ได้มา

เป็นพระเทวทัตในบัดนี้ นางเหี้ยได้มาเป็นนางกีสาโคตมี เสือโคร่ง

ได้มาเป็นพระโมคคัลลานะ ราชสีห์ได้มาเป็นพระสารีบุตร อาจารย์

ทิศาปาโมกข์ได้มาเป็นพระกัสสปะ นกกระทาบัณฑิตได้มาเป็นเราตถาคต

ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาติตติรชาดกที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 756

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. คิชฌชาดก ๒. โกสัมพิยชาดก ๓. มหาสวราชชาดก

๔. จุลลสุวกราชชาดก ๕. หริตจชาดก ๖. ปทกุสลมาณวชาดก

๗. โลมสกัสสปชาดก ๘. จักกวากชาดก ๙. หลิททราคชาดก

๑๐. มุคคชาดก ๑๑. ปูติมังสชาดก ๑๒. ทัททรชาดก.

จบ นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 757

ทสกนิบาตชาดก

๑. จตุทวารชาดก

ว่าด้วยจักกรดพัดบนศีรษะ

[๑๓๑๙] เมืองนี้มีประตู ๔ ประตู มีกำแพงมั่นคง

ล้วนแล้วไปด้วยเหล็กแดง ข้าพเจ้าถูกล้อมไว้

ด้วยกำแพง ข้าพเจ้า ได้ทำบาปอะไรไว้.

[๑๓๒๐] ประตูทั้งหมดจึงปิดแน่น ข้าพเจ้าถูกขัง

เหมือนนก ข้าแต่เทวดา เหตุเป็นมาอย่างไร

ข้าพเจ้าจึงถูกจักรกรดพัดศีรษะ.

[๑๓๒๑] ท่านได้ทรัพย์มากมาย แสนสองหมื่น

แล้ว ยังไม่เชื่อคำของญาติผู้เอ็นดู.

[๑๓๒๒] ท่านแล่นเรือไปสู่สมุทรอันอาจทำให้

เรือโลดขึ้นได้ เป็นสาครที่มีสิทธิ์น้อย ได้

ประสบนางเวมานิกเปรต ๔ นาง จาก ๔ นาง

เป็น ๘ นาง จาก ๘ นาง เป็น ๑๖ นาง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 758

[๑๓๒๓] ถึงจะได้ประสบนางเวมานิกเปรตจาก ๑๖

นาง เป็น ๓๒ นาง ก็ยังปรารถนายิ่งไปกว่านั้น

จึงได้ประสบจักรนี้ จักรกรดย่อมพัดผันบน

ศีรษะของตนผู้ถูกความอยากครอบงำ.

[๑๓๒๔] ความอยากเป็นของสูงใหญ่ไพศาล ยาก

ที่จะให้เต็มได้ มักให้ถึงความวิบัติ ชนเหล่าใด

ย่อมยินดีไปตามความอยาก ชนเหล่านั้นย่อม

เป็นผู้ทรงจักรกรดไว้.

[๑๓๒๕] ชนเหล่าใดละสิ่งของที่มีมากเสียด้วย

ไม่พิจารณาหนทางด้วย แล้วไม่คิดอ่านเหตุ

การณ์นั้นให้ถ่องแท้ ชนเหล่านั้นย่อมเป็นผู้

ทรงจักรกรดไว้.

[๑๓๒๖] ผู้ใดพึงเพ่งพินิจถึงการงานและโภคะอัน

ไพบูลย์ ไม่ของเสพความอยากอันประกอบ

ด้วยความฉิบหาย ทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู

ทั้งหลาย ผู้เช่นนั้น จะไม่ถูกจักรกรดพัดผัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 759

[๑๓๒๗] ข้าแต่ท่านผู้น่าบูชา จักรกรดจักตั้งอยู่

บนศีรษะของข้าพเจ้านานสักเท่าไรหนอ จะ

สักกี่พันปีข้าพเจ้าขอถามความนั้น ขอท่านได้

โปรดบอกแก่ข้าพเจ้าเถิด.

[๑๓๒๘] ดูก่อนมิตตวินทุกะท่านจงฟังเรา ท่าน

จะต้องทนทุกข์ทรมานไปอีกนาน จักรกรดจะ

พัดผันอยู่บนศีรษะของท่าน เมื่อท่านยังมีชีวิต

อยู่จะพ้นไปไม่ได้.

จบ จตุทวารชาดกที่ ๑

อรรถกถาชาดก

ทสกนิบาต

อรรถกถาจตุทวารชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง. จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า จตุทฺวารมิท นคร

ดังนี้ ก็แหละ เรื่องปัจจุบัน บัณฑิตพึงให้พิสดารในชาดกเรื่องที่ ๑

ในนวกนิบาต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 760

สำหรับในที่นี้มีความว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุรูปนั้นว่า

ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นผู้ว่ายากจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า

จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ แม้ในกาลก่อนเธอก็ไม่เชื่อฟัง

คำของบัณฑิตไปยินดีจักรกรด เพราะที่เป็นผู้ว่ายากดังนี้ แล้วทรงนำเอา

เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งศาสนาพระกัสสปทศพล ในเมืองพาราณสี

เศรษฐีมีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ มีบุตรคน ๑ ชื่อมิตตวินทุกะ มารดาบิดาของ

มิตตวินทุกะ เป็นพระโสดาบัน. แต่มิตตวินทุกะเป็นคนทุศีลไม่มีศรัทธา.

ต่อมาเมื่อบิดาตายแล้วมารดาตรวจตราดูแลทรัพย์สมบัติ วันหนึ่ง

กล่าวกะเขาว่า ลูกรัก ความเป็นมนุษย์เป็นของที่ได้ยาก เจ้าก็ได้แล้ว

เจ้าจงให้ทานรักษาศีล กระทำอุโบสถกรรม ฟังธรรมเถิด มิตตวินทุกะ

กล่าวว่า แม่ ทานเป็นต้นไม่เป็นประโยชน์แก่ฉัน แม่อย่าได้กล่าวอะไร ๆ

กะฉัน ฉันจะไปตามยถากรรม ถึงแม้เขาจะกล่าวอยู่อย่างนี้ วันหนึ่ง

เป็นวันบูรณมีอุโบสถ มารดาได้กล่าวกะเขาว่า ลูกรักวันนี้เป็นวัน

อภิลักขิตสมัยมหาอุโบสถ วันนี้เจ้าจงสมาทานอุโบสถ ไปวิหารฟังธรรม

อยู่ตลอดคืนแล้วจงมา แม่จะให้ทรัพย์แก่เจ้าพันหนึ่ง เขารับคำว่า ดีแล้ว

สมาทานอุโบสถเพราะอยากได้ทรัพย์ พอบริโภคอาหารเช้าแล้วไปวิหาร

อยู่ที่วิหารตลอดวัน แล้วนอนหลับอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่งตลอดคืน โดยอาการ

ที่บทแห่งธรรมแม้บท ๑ ก็ไม่กระทบ วันรุ่งขึ้นเขาล้างหน้าไปนั่งอยู่

ที่เรือนแต่เช้าทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 761

ฝ่ายมารดาของเขาคิดว่า วันนี้ลูกของเราฟังธรรมแล้ว จักพา

พระเถระผู้ธรรมกถึกมาแต่เช้าทีเดียว จึงตกแต่งข้าวยาคูเป็นต้น แล้ว

ปูลาดอาสนะไว้คอยท่าอยู่ ครั้นเห็นเขามาคนเดียว จึงถามว่า ลูกรัก

เจ้าไม่ได้นำพระธรรมกถึกมาหรือ ? เมื่อเขากล่าวว่า ฉันไม่ต้องการ

พระธรรมกถึก จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นลูกจงดื่มข้าวยาคูเถิด เขากล่าวว่า

แม่รับว่าจะให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ฉัน แม่จะให้ทรัพย์แก่ฉันก่อน ฉันจัก

ดื่มภายหลัง มารดากล่าวว่า ดื่มเถิดลูกรัก แล้วแม่จักให้ทีหลัง

เขากล่าวว่า ฉันต้องได้รับทรัพย์ก่อนจึงจะดื่ม ลำดับนั้น มารดาได้

เอาห่อทรัพย์พันหนึ่งวางไว้ต่อหน้าเขา เขาดื่มข้าวยาคูแล้วถือเอาห่อ

ทรัพย์พันหนึ่งไปทำการค้าขาย ในไม่ช้านักก็เกิดทรัพย์ขึ้นถึงแสน

สองหมื่น. ลำดับนั้น เขาได้มีความคิดดังนี้ว่า เราจักต่อเรือทำการ

ค้าขาย ครั้นเขาต่อเรือแล้วได้กล่าวกะมารดาว่า แม่ ฉันจักทำการ

ค้าขายทางเรือ ครั้งนั้น มารดาได้ห้ามเขาว่า ลูกรัก เจ้าเป็นลูกคนเดียว

ของแม่ แม้ในเรือนนี้ก็มีทรัพย์อยู่มาก ทะเลมีโทษไม่น้อยเจ้าอย่าไป

เลย เขากล่าวว่า ฉันจักไปให้ได้ แม่ไม่มีอำนาจที่จะห้ามฉัน แม้เมื่อ

มารดากล่าวว่า ลูกรัก แม่ต้องห้ามเจ้า แล้วจับมือเอาไว้ ก็สลัดมือผลัก

มารดาให้ล้มลง แล้วข้ามไปลงเรือแล่นไปในทะเล.

ครั้นถึงวันที่ ๗ เรือได้หยุดนิ่งอยู่บนหลังน้ำกลางทะเล เพราะ

มิตตวินทุกะเป็นเหตุ สลากกาลกัณณีที่แจกไปได้ตกในมือของมิตต-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 762

วินทุกะคนเดียวถึงสามครั้ง ครั้งนั้น พวกที่ไปด้วยกันได้ผูกแพให้เขา

แล้วโยนเขาลงทะเล โดยที่คิดเห็นร่วมกันว่า คนเป็นจำนวนมากอย่ามา

พินาศเสีย เพราะอาศัยนายมิตตวินทุกะนี้คนเดียวเลย ทันใดนั้นเรือได้

แล่นไปในมหาสมุทรโดยเร็ว มิตตวินทุกะนอนไปในแพลอยไปถึงเกาะ

น้อยแห่งหนึ่ง บนเกาะน้อยนั้นเขาได้พบนางชนี คือนางเวมานิกเปรต

๔ นาง อยู่ในวิมานแก้วผลึก นางเปรตเหล่านั้นเสวยทุกข์ ๗ วัน

เสวยสุข ๗ วัน มิตตวินทุกะได้เสวยทิพยสมบัติอยู่กับนางเปรตเหล่านั้น

๗ วันในสาระสุข ครั้นถึงวาระที่จะเปลี่ยนไปทนทุกข์ นางทั้ง ๒ ได้

สั่งว่า นาย พวกฉันจักมาในวันที่ ๗ ท่านอย่ากระสันไปเลย จงอยู่ใน

ที่นี้จนกว่าพวกฉันจะมา ดังนี้แล้วพากันไป มิตตวินทุกะเป็นคนตกอยู่

ในอำนาจของตัณหา ลงนอนบนแพนั้นลอยไปตามหลังสมุทรอีก ถึง

เกาะน้อยอีกแห่งหนึ่ง ได้พบนางเปรต ๘ นาง ในวิมานเงินบนเกาะนั้น

ได้พบนางเปรต ๑๖ นาง ในวิมานแก้วมณีบนเกาะอีกแห่งหนึ่ง ได้พบ

นางเปรต ๓๒ นาง ในวิมานทองบนเกาะอีกแห่งหนึ่ง โดยอุบายนี้แหละ

ได้เสวยทิพยสมบัติ อยู่กับนางเปรตเหล่านั้นทุก ๆ เกาะ ดังกล่าวแล้ว

เมื่อถึงเวลาที่นางเปรตแม้เหล่านั้นไปทนทุกข์ ได้นอนบนหลังแพลอย

ไปตามห้วงสมุทรอีก ได้พบเมือง ๆ หนึ่งมีกำแพงล้อมรอบ มีประตู

๔ ด้าน ได้ยินว่าที่นี่เป็นอุสสทนรกเป็นที่เสวยกรรมกรณ์ของเหล่าสัตว์

นรกเป็นจำนวนมาก แต่ได้ปรากฏแก่มิตตวินทุกะเหมือนเป็นเมืองที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 763

ประดับตกแต่งไว้ เขาคิดว่า เราจักเข้าไปเป็นพระราชาในเมืองนี้ แล้ว

เข้าไปได้เห็นสัตว์นรกตน ๑ ทูนจักรกรดหมุนเผาผลาญอยู่บนศีรษะ

ขณะนั้นจักรกรดบนศีรษะสัตว์นรกนั้น ได้ปรากฏแก่มิตตวินทุกะเป็น

เหมือนดอกบัว เครื่องจองจำ ๕ ประการที่อก ปรากฏเหมือนเป็นสังวาลย์

เครื่องประดับทรวง โลหิตที่ไหลจากศีรษะเหมือนเป็นจันทน์แดงที่

ชะโลมทา เสียงครวญครางเหมือนเป็นเสียงเพลงขับที่ไพเราะ มิตตวิน -

ทุกะเข้าไปใกล้สัตว์นรกนั้น แล้วกล่าวขอว่า ข้าแต่บุรุษผู้เจริญ ท่าน

ได้ทัดทรงดอกบัวมานานแล้ว จงได้แก่ข้าพเจ้าเถิด สัตว์นรกกล่าวว่า

แน่ะสหาย นี้ไม่ใช่ดอกบัวมันคือจักรกรด มิตตวินทุกะกล่าวว่า ท่าน

พูดอย่างนี้เพราะไม่อยากจะให้แก่เรา สัตว์นรกคิดว่า บาปของเราคง

สิ้นแล้ว แม้บุรุษผู้นี้ก็คงจะทุบตีมารดามาแล้วเหมือนเรา เราจักให้

จักรกรดแก่มัน ครานั้นสัตว์นรกได้กล่าวกะมิตตวินทุกะว่า มาเถิดท่าน

ผู้เจริญ ท่านจงรับดอกบัวนี้เถิด แล้วขว้างจักรกรดไปบนศีรษะของ

มิตตวินทุกะ จักรกรดได้ตกลงพัดผันบนศีรษะเขาขณะนั้น มิตตวินทุกะ

จึงรู้ว่าดอกบัวนั้นคือจักรกรด ได้รับทุกขเวทนาเป็นกำลัง คร่ำครวญว่า

ท่านจงเอวจักรกรดของท่านไปเถิด ๆ สัตว์นรกตนนั้นได้หายไปแล้ว.

คราวนั้น พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นรุกขเทวดา พร้อม

ด้วยบริวารใหญ่เที่ยวจาริกไปในอุสสทนรกได้ไปถึงที่นั้น มิตตวินทุกะ

แลเห็นรุกขเทวดา เมื่อจะถามว่า ข้าแต่เทวราชเจ้าจักรนี้ลงบดศีรษะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 764

ประหนึ่งว่าจะทำให้แหลกเหมือนเมล็ดงา ข้าพเจ้าได้กระทำบาปอะไร

ไว้หนอ ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

เมืองนี้มีประตู ๔ ประตู. มีกำแพงมั่นคง

ล้วนแล้วไปด้วยเหล็กแดง ข้าพเจ้าถูกล้อมไว้

ด้วยกำแพง ข้าพเจ้าได้ทำบาปอะไรไว้.

ประตูทั้งหมดจึงปิดแน่น ข้าพเจ้าถูกขัง

เหมือนนก ข้าแต่เทวดา เหตุเป็นมาอย่างไร

ข้าพเจ้าจึงถูกจักรกรดพัดศีรษะ ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฬฺหปาการ คือมีกำแพงมั่นคง

บาลีว่า ทฬฺหโตรณ ดังนี้ก็มี ความว่า มีประตูมั่นคง. บทว่า

โอรุทฺธปฏิ รุทฺโธสฺมิ ความว่า ข้าพเจ้าถูกล้อมด้วยกำแพงโดยรอบ

ติดขังอยู่ข้างในสถานที่สำหรับหนีไปไม่ปรากฏ. บทว่า กึ ปาป ปกต

ความว่า ข้าพเจ้าได้ทำบาปอะไรไว้หนอ. บทว่า อปิหิตา เท่ากับ

ถกิตา แปลว่า อันเขาปิดไว้แล้ว. บทว่า ยถา ทิโช คือเหมือน

นกที่ถูกขังไว้ในกรง. บทว่า กิมา ธิกรณ ความว่า มูลเหตุเป็น

อย่างไร ? คือมูลเค้าเป็นอย่างไร ? บทว่า จกฺกาภินิหโต คือถูก

จักรกรดพัดผันแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 765

ลำดับนั้น เทวราชเมื่อจะบอกเหตุแก่เขา จึงได้กล่าวคาถา ๖

คาถาว่า :-

ท่านได้ทรัพย์มากมายแสนสองหมื่นแล้ว

ยังไม่เชื่อคำของญาติผู้เอ็นดู.

ท่านแล่นเรือไปสู่สมุทรอันอาจทำให้

เรือโลดขึ้นได้ เงินสาครที่มีสิทธิ์น้อย ได้

ประสบนางเวมานิกเปรต ๔ นาง จาก ๔ นาง

เป็น ๘ นาง จาก ๘ นาง เป็น ๑๖ นาง.

ถึงจะได้ประสบนางเวมานิกเปรตจาก ๑๖

นาง เป็น ๓๒ นาง ก็ยังปรารถนายิ่งไปกว่านั้น

จึงได้ประสบจักรนี้ จักรกรดย่อมพัดพันบน

ศีรษะของคนผู้ถูกความอยากครอบงำ.

ความอยากเป็นของสูงใหญ่ไพศาล ยาก

ที่จะให้เต็ม มักให้ถึงความวิบัติ ชนเหล่าใด

ย่อมยินดีไปตามความอยาก ชนเหล่านั้นย่อม

เป็นผู้ทรงจักรกรดไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 766

ชนเหล่าใดละสิ่งของที่มีมากเสียด้วย

ไม่พิจารณาหนทางด้วย แล้วไม่คิดอ่านเหตุ

การณ์นั้นให้ถ่องแท้ ชนเหล่านั้นย่อมเป็นผู้

ทรงจักรกรดไว้.

ผู้ใดพึงเพ่งพินิจถึงการงานและโภคะอัน

ไพบูลย์ ไม่ซ่องเสพความอยากอันประกอบ

ด้วยความฉิบหาย ทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู

ทั้งหลาย ผู้เช่นนั้น จะไม่ถูกจักรกรดพัดผัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลทฺธา สตสหสฺสานิ อติเรกานิ

วีสติ ความว่า ท่านทำอุโบสถได้รับทรัพย์พันหนึ่งจากสำนักของมารดา

เมื่อทำการค้าขายจึงได้ทรัพย์ คือที่เป็นทุนพันหนึ่งและทรัพย์ที่เป็นกำไร

ตั้งหนึ่งแสนสองหมื่นแล้ว. ด้วยบทว่า นากริ นี้ เทวราช

แสดงไว้ว่า ท่านไม่ยินดีด้วยทรัพย์นั้น แล่นเรือไปสู่สมุทรแม้ถูกมารดา

กล่าวถึงโทษในสมุทรแล้วห้ามอยู่ ก็ยังไม่เชื่อคำเตือนโดยชอบของญาติ

ผู้เอ็นดูกลับทำร้ายมารดาผู้โสดาบัน แล้วฉวยโอกาสหนีออกไป. บทว่า

ลงฺฆึ คืออันสามารถทำให้เรือโลดขึ้นได้. บทว่า ปกฺขนฺทิ เท่ากับ

ปกฺขนฺโตสิ แปลว่า ท่านเป็นผู้แล่นเรือไปแล้ว. บทว่า อปฺปสิทฺธิก

คือที่มีสิทธิน้อย มากด้วยความพินาศ. บทว่า จตุพฺภิ อฏฺ เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 767

ความว่า ครั้นเรือหยุดนิ่งแล้วเพราะอาศัยท่านเป็นเหตุ แม้ถูกพวกที่

ไปด้วยกันผูกแพให้แล้วโยนลงทะเล ท่านยังได้หญิง ๔ คน ในวิมาน

แก้วผลึก เพราะอานิสงส์แห่งอุโบสถกรรมที่ตนได้กระทำในวันหนึ่ง

เพราะอาศัยมารดา ต่อจากนั้นก็ได้ให้หญิงอีก ๘ คน ในวิมานเงิน

๖ คน ในวิมานแก้วมณี และ ๓๒ คน ในวิมานทอง. บทว่า อติจฺฉ

จกฺกมาสโท ความว่า ถึงกะนั้น ท่านก็ยังไม่ยินดีด้วยปัจจัยตามที่ได้ ชื่อว่า

เป็นผู้ปรารถนามากเกินไป เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยความปรารถนา

เกินความจำเป็น กล่าวคือ ความอยากยิ่งอันเป็นเครื่องเกินเลยสิ่งที่ตน

ได้มาแล้ว ๆ อย่างนี้ว่า เราจักได้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ในสิ่งนี้ ดังนี้จักว่าเป็น

บุคคลเลวทราม เพราะความที่อุโบสถกรรมนั้นสิ้นแล้ว จึงได้ผ่านพ้น

หญิง ๓๒ คน แล้วมาสู่เปรตนครนี้ เพราะวิบากแห่งอกุศลกรรมคือการ

ทำร้ายมารดานั้น จึงได้ประสบจักรนี้ บาลีว่า อตฺริจฺฉ ดังนี้ก็มี ความว่า

ปรารถนาอยู่ในสิ่งนี้บ้างสิ่งนั้นบ้าง บาลีว่า อตฺริจฺฉา ดังนี้ก็มี ความว่า

เพราะปรารถนาเกินเลยไป. บทว่า ภมติ ความว่า บัดนี้ จักรนี้บด

ศีรษะของท่านนั้นอยู่ ชื่อว่า พัดผันบนศีรษะของคนที่ถูกความอยาก

ครอบงำแล้ว ดุจจักรของนายช่างหม้อฉะนั้น. บทคาถาว่า เย จ ต

อนุคิชฺฌนฺติ ความว่า ขึ้นชื่อว่าความอยากนั้น เมื่อแผ่ไปย่อมเป็น

ของสูงใหญ่ไพศาล ยากที่จะเต็มได้ดุจทะเล ชื่อว่า มักให้ถึงความวิบัติ

เพราะความปรารถนาอันเป็นเครื่องปรารถนาอารมณ์นั้น ๆ ในบรรดา

อารมณ์มีรูปเป็นต้น ชนเหล่าใดย่อมยินดีไปตามความอยากเห็นปานนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 768

นั้น คือเป็นผู้กำหนัดยินดีติดอยู่บ่อย ๆ. บทว่า เต โหนฺติ จกฺกธาริโน

ความว่า ชนเหล่านั้นไปอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมทรงไว้ซึ่งจักรกรด. บทว่า

พหุภณฺฑ คือละทรัพย์เป็นอันมาก อันเป็นของมารดาบิดา. บทว่า

มคฺค ความว่า ชนแม้เหล่าอื่นเหล่าใดไม่ใคร่ครวญ คือไม่คิดอ่าน

เหตุการณ์นั้นให้ถ่องแท้ เหมือนท่านไม่พิจารณาหนทางสมุทรอันมี

สิทธิน้อยที่ตนจะต้องไปแล้วเดินทางไป ชนเหล่านั้นเป็นผู้ตกอยู่ใน

อำนาจของความอยาก ละทรัพย์แล้วไม่พิจารณาทางที่จะไป แล้วดำเนิน

ไป ย่อมเป็นผู้ทรงจักรไว้เหมือนท่าน บทว่า กมฺม สเมกฺเขยฺย

ความว่า เพราะเหตุนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงเพ่งพินิจ คือพึงพิจารณา

ถึงกิจการงานที่ตนจะต้องทำว่ามีโทษหรือไม่หนอ. บทว่า วิปุลญฺจ โภค

คือพึงเพ่งพินิจแม้กองแห่งทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบธรรมของตน. บทว่า

นาติวเตยฺย ความว่า บุคคลผู้เช่นนั้นจะไม่ถูกจักรนี้พัดผันคือทับยี

บาลีว่า นาติวตฺเตติ ดังนี้ก็มี ความว่า ย่อมไม่ทับยี.

มิตตวินทุกะได้ฟังดังนั้นแล้วคิดว่า เทวบุตรนี้รู้กรรมที่เราทำไว้

โดยถ่องแท้ เทวบุตรนี้คงจะรู้กำหนดกาลที่เราจะหมกไหม้อยู่ เราจะ

ถามท่านดู ดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาที่ ๙ ว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้น่าบูชา จักรกรดจักตั้งอยู่

บนศีรษะของข้าพเจ้านานสักเท่าไรหนอ จะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 769

สักกี่พันปี ข้าพเจ้าขอถามความนั้น ขอท่านได้

โปรดบอกแก่ข้าพเจ้าเถิด.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะบอกแก่มิตตวินทุกะนั้น จึงได้

กล่าวคาถาที่ ๑๐ ว่า :-

ดูก่อนมิตตวินทุกะ ท่านจงฟังเรา ท่าน

จะต้องทนทุกข์ทรมานไปอีกนาน จักรกรดจะ

พัดผันอยู่บนศีรษะของท่าน เมื่อท่านยังมีชีวิต

อยู่จะพ้นไปไม่ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติสโร มีวินิจฉัยว่า ชื่อว่า

อติสโร เพราะอรรถว่า อติสริ ดังนี้ บ้าง เพราะอรรถว่า อติสริสฺสติ

ดังนี้บ้าง. บทว่า อจฺจสโร เป็นไวพจน์ของบทว่า อติสโร นั้นนั่นเอง.

ข้อนี้มีอธิบายว่า ดูก่อนมิตตวินทุกะผู้เจริญ ท่านจงฟังคำของเรา

ก็ท่านชื่อว่าจะต้องทนทุกข์ทรมานไปสิ้นกาลนาน เพราะความที่แห่ง

กรรมอันทารุณยิ่ง เป็นกรรมอันท่านกระทำแล้ว อนึ่ง ท่านจะต้อง

ทนทุกข์ทรมานไปสิ้นกาลนาน เพราะวิบากแห่งกรรมนั้นใคร ๆ ไม่

สามารถจะบอกให้รู้ได้ด้วยการนับเป็นปี และเพราะท่านจักต้องทนคือ

จักต้องถึงวิบากทุกข์อันใหญ่ยิ่งซึ่งหาประมาณมิได้ เพราะเหตุนั้น เราจึง

ไม่สามารถที่จะบอกแก่ท่านได้ว่าเท่านี้พันปี เท่านี้แสนปี ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 770

บทว่า สิรสฺมิมาวิทธ ความว่า ก็จักรกรดนี้ใดพัดผัน คือ

หมุนไปอยู่บนศีรษะของท่านดุจจักรของนายช่างหม้อฉะนั้น. บทว่า

น ตฺว ชีว ปโมกฺขสิ ความว่า ตราบใดที่วิบากกรรมของท่านยัง

ไม่สิ้นไปตราบนั้นเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ จักพ้นจักรกรดนั้นไปไม่ได้

แต่เมื่อวิบากกรรมสิ้นไปแล้ว ท่านก็จักละจักรกรดนี้ไปตามยถากรรม.

ครั้นเทวบุตรกล่าวคาถานี้แล้ว ก็ได้ไปเทพวิมานของตน ส่วน

มิตตวินทุกะ ก็ได้ดำเนินไปสู่ทุกข์ใหญ่.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก มิตตวินทุกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุว่ายากรูปนี้ในบัดนี้ ส่วน

เทวราชในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาจตุทวารชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 771

๒. กัณหชาดก

ว่าด้วยขอพร

[๑๓๒๙] บุรุษนี้ดำจริงหนอ บริโภคโภชนะก็ดำ

อยู่ในภูมิประเทศก็ดำ เราไม่ชอบใจเลย.

[๑๓๓๐] คนประกอบด้วยตบะไม่ชื่อว่าคนดำเพราะ

คนที่มีแก่นในภายใน ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ บาป

กรรมมีอยู่ในคนใด คนนั้นแหละข้อว่าเป็นคน

ดำ นะท้าวสุชัมบดี.

[๑๓๓๑] ข้าแต่พราหมณ์ คำนั้นท่านกล่าวดีแล้ว

เป็นสุภาษิตอันสมควร ข้าพเจ้าจะให้พรท่าน

ตามแต่ใจท่านปรารถนาเถิด.

[๑๓๓๒] ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง

ถ้าจะโปรดประทานพรแก่ข้าพระองค์ ข้าพระ

องค์ปรารถนาให้ความประพฤติของตน อย่าให้

มีความโกรธ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้มีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 772

โลภ อย่าให้มีความสิเนหา ขอได้ทรงโปรด

ประทานพร ๔ ประการนี้แก่ข้าพระองค์เถิด.

[๑๓๓๓] ดูก่อนท่านพราหมณ์ ท่านเห็นโทษใน

ความโกรธ ในโทสะ ในโลภะ และในสิเนหา

เป็นอย่างไรหรือ ข้าพเจ้าขอถามความนั้น ขอ

ท่านจงบอกแก่ข้าพเจ้าเถิด.

[๑๓๓๔] ความโกรธเกิดแต่ความไม่อดทน ทีแรก

เป็นของน้อย แก่ภายหลังเป็นของมาก ย่อม

เจริญขึ้นโดยลำดับ ความโกรธมักทำความ

เกี่ยวข้อง มีความคับแค้นมาก เพราะฉะนั้น

ข้าพเจ้าจึงไม่ชอบใจความโกรธ.

[๑๓๓๕] วาจาของผู้ประกอบด้วยโทสะ เป็น

วาจาหยาบคาย ถัดจากนั้นก็เกิดปรามาส ถูก

ต้องกัน ต่อจากนั้นก็ชกต่อยกันด้วยมือ ต่อไป

จับท่อนไม้เข้าทุบตีกัน จนถึงจับศัสตราเข้า

ฟันแทงกันเป็นที่สุด โทสะเกิดแต่ความโกรธ

เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ชอบใจโทสะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 773

[๑๓๓๖] ความโลภก่อให้เกิดอาการหยาบ เป็น

เหตุให้เที่ยวปล้นขู่เอาสิ่งของเขา แสดงของ

ปลอมเปลี่ยนเอาของคนอื่น ประกอบอุบาย

ล่อลวง บาปธรรมทั้งหลายนี้มีอยู่ในโลภธรรม

เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ชอบใจโลภ

[๑๓๓๗] กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย เป็นเครื่อง

สำเร็จได้ด้วยใจ ถูกสิเนหาผูกมัดเข้าอีกด้วย

แล้ว ถ้านอนเนื่องอยู่เป็นอันมาก มักทำให้

บุคคลเดือดร้อนยังนี้ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า

จึงไม่ชอบใจสิเนหา.

[๑๓๓๘] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ คำนั้นท่านกล่าว

แล้ว เป็นสุภาษิตอันสมควร ข้าพเจ้าจะให้

พรแก่ท่าน ตามแต่ใจท่านปรารถนาเถิด.

[๑๓๓๙] ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้ง-

ปวง ถ้าจะโปรดประทานพรแก่ข้าพระองค์ ขอ

อาพาธทั้งหลายอันเป็นของร้ายแรง ซึ่งจะทำ

อันตรายแก่ตบะกรรมได้ อย่าพึงเกิดขึ้นแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 774

ข้าพระองค์ผู้อยู่ในป่า ซึ่งอยู่แต่ผู้เดียวเป็น

นิตย์.

[๑๓๔๐] ดูก่อนท่านพราหมณ์ คำนั้นท่านกล่าว

ดีแล้ว เป็นสุภาษิตอันสมควร ข้าพเจ้าจะให้

พรแก่ท่าน ตามแต่ใจท่านปรารถนาเถิด.

[๑๓๔๑] ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง

ถ้าจะโปรดประทานพรแก่ข้าพระองค์ ขอใจ

หรือร่างกายของข้าพระองค์ อย่าเข้าไปกระทบ

กระทั่งใคร ๆ ในกาลไหน ๆ เลย ขอได้ทรง

โปรดประทานพรนี้เถิด.

จบ กัณหชาดกที่ ๒

อรรถกถากัณหชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยพระนครกบิลพัสดุ์ ประทับอยู่

ณ นิโครธาราม ทรงปรารภความยิ้มแย้ม จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า

กณฺโต วตาย ปุริโส ดังนี้.

ได้ยินว่า คราวนั้น เวลาเย็นพระศาสดาแวดล้อมไปด้วยภิกษุ

สงฆ์ เสด็จพุทธดำเนินไปตามบริเวณวิหารนิโครธาราม ได้ทรงยิ้มแย้ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 775

ณ ประเทศแห่งหนึ่ง พระอานนทเถระจึงคิดว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุ

เป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคทรงยิ้มแย้ม พระตถาคตทั้งหลายจะทรง

ยิ้มแย้มโดยไม่มีเหตุ หามิได้ เราจักทูลถามก่อน แล้วประคองอัญชลี

ทูลถามเหตุที่ทรงยิ้มแย้ม. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสเหตุที่ทรงยิ้มแย้ม

แก่พระอานนทเถระว่า ดูก่อนอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว มีฤาษีตน

หนึ่งชื่อว่า กัณหะ ท่านอยู่ในภูมิประเทศนี้ เป็นผู้ได้ฌาน และรื่น-

รมย์อยู่ในฌาน ด้วยเดชแห่งศีลของท่าน บันดาลให้ภพของท้าวสักก-

เทวราชหวั่นไหว ดังนี้ โดยที่เรื่องนั้นไม่มีปรากฏ พระเถระจึงทูลอา-

ราธนาให้ตรัสเรื่องราว พระองค์ได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดัง

ต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนคร

พาราณสี. มีพราหมณ์คน ๑ มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ไม่มีบุตร ได้สมาทาน

ศีล ปรารถนาบุตร พระโพธิสัตว์บังเกิดในครรภ์นางพราหมณีภรรยา

ของพราหมณ์นั้น ในวันตั้งชื่อพระโพธิสัตว์ ญาติทั้งหลายได้ตั้งชื่อให้

ว่า กัณหกุมาร เพราะมีผิวดำ กัณหกุมารนั้นเมื่อมีอายุได้ ๑๖ ปี มี

รูปงดงามดังรูปที่ทำด้วยแก้วมณี บิดาส่งไปเรียนศิลปะในเมืองตักกศิลา

ครั้นเรียนสำเร็จแล้วก็กลับมา ครั้งนั้น บิดาให้เขาแต่งงานกับภรรยาที่

สมควรกัน กาลต่อมา เมื่อมารดาบิดาล่วงลับไปแล้ว เขาได้เป็นใหญ่

ปกครองทรัพย์สมบัติทั้งหมด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 776

อยู่มาวันหนึ่ง กัณหกุมารได้ตรวจตราเรือนคลังรัตนะทั้งหลาย

แล้วขึ้นนั่งท่ามกลางบัลลังก์ ให้นำบัญชีที่เป็นแผ่นทองมา เห็นอักษร

ที่ญาติก่อน ๆ จดจารึกไว้ในแผ่นทองว่า ทรัพย์เท่านี้ ญาติคนโน้นให้

เกิดขึ้น ทรัพย์เท่านี้ญาติคนโน้นให้เกิดขึ้น จึงคิดว่า ผู้ที่ทำทรัพย์นี้ให้

เกิดขึ้นไม่ปรากฏตายไปหมดแล้ว ปรากฏอยู่แต่ทรัพย์อย่างเดียว ผู้ที่ถือ

เอาทรัพย์นี้ไปด้วย แม้คนหนึ่งก็มิได้มี ความจริงไม่มีใครอาจขึ้นเอา

ห่อทรัพย์ติดไปปรโลกได้เลย ทรัพย์เป็นของไม่มีสาระ เพราะจะต้อง

สาธารณะด้วยภัย ๕ ประการ คือ ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย

อัปปิยทายาทภัย. การให้ทรัพย์เป็นทาน เป็นสาระ ร่างกายไม่เป็นสาระ

เพราะจะต้องสาธารณะด้วยโรคมากมาย คนทำความดีมีกราบไหว้ท่านผู้

มีศีลเป็นต้น เป็นสาระ, ชีวิตไม่เป็นสาระ เพราะไม่เที่ยงแท้แน่นอน

การประกอบความเพียรเจริญวิปัสสนาด้วยสามารถไตรลักษณ์ เป็นสาระ

เพราะฉะนั้น เราจักให้ทาน เพื่อถือเอาสาระจากโภคะที่ไม่เป็นสาระ.

คิดดังนี้แล้ว จึงลุกออกจากอาสนะไปเฝ้าพระราชา แล้วถวายบังคมลา

พระราชามาบำเพ็ญทานเป็นการใหญ่ เมื่อบำเพ็ญทานได้ ๗ วัน เขา

เห็นทรัพย์มิได้หมดสิ้นไป จึงคิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยทรัพย์สำหรับ

เรา ขณะที่ยังไม่ถูกชราครอบงำนี้ เราจักบวชทำอภิญญาและสมาบัติ

ให้เกิด แล้วจักมีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า คิดดังนี้แล้วก็ให้เปิด

ประเรือนทุกประตู ประกาศว่า สิ่งของทั้งหมดเราได้ให้แล้ว ผู้มีความ

ต้องการจงนำไปเถิด เขาเกลียดชังสมบัติเหมือนของโสโครก ละวัตถุกาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 777

เสีย เมื่อมหาชนกำลังร้องไห้คร่ำครวญถึงอยู่ เขาได้ออกจากเมือง เข้า

หิมวันตประเทศบวชเป็นฤาษี เที่ยวแลดูภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์เพื่อเป็นที่

อยู่ของตน ได้มาถึงที่ที่ตถาคตยืนอยู่ตรงนี้ คิดว่า เราจักอยู่ในที่นี้.

ดังนี้แล้วจึงอธิษฐานเอาต้นอินทวารุณพฤกษ์ต้นหนึ่งเป็นที่อยู่ที่กิน อยู่

ณ โคนต้นไม้นั้น ได้ละเสนาสนะภายในบ้านเสีย ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร

ไม่สร้างบรรณศาลา ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตรบ้าง ถือการอยู่ที่แจ้ง

เป็นวัตรบ้าง ถือการไม่นอนเป็นวัตรบ้าง ถ้าจะนอนก็นอนบนพื้นดิน

เท่านั้น คือการใช้ฟันเป็นดังสาก ใช้ฟันเคี้ยวอย่างเดียว เคี้ยวกินแต่

ของที่ไม่สุกด้วยไฟ ไม่เคี้ยวกินของอะไร ๆ ที่มีแกลบหุ้ม บริโภคอาหาร

วันละครั้งเท่านั้นยับยั้งอยู่เหนือแผ่นดิน ทำตนเสมอด้วย ดิน น้ำ ไฟ

ลม สมาทานธุดงคคุณมีประมาณเท่านี้อยู่ ได้ยินว่า ในชาดกนี้ พระ-

โพธิสัตว์เป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง ต่อมาไม่นานนักท่านก็ได้อภิญญาและ

สมาบัติ เล่นฌานเพลิดเพลินอยู่ ณ ที่นั้น แม้ต้องการผลาหารก็ไม่ไป

ที่อื่น เมื่อต้นไม้ผลิผลก็กินผล เมื่อผลิดอกก็กินดอก เมื่อมีใบก็กินใบ

เมื่อใบไม้ไม่มีก็กินเสก็ดไม้ ท่านเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่งถึงเพียงนี้ อยู่

ในสถานที่นี้นาน เวลาเช้าวันหนึ่งท่านเก็บผลไม้สุก เมื่อจะเก็บก็มิได้มี

ความโลภเที่ยวเก็บในที่อื่น คงนั่งอยู่ที่เดิมนั่นแหละ เหยียดมือไปเก็บ

ผลไม้ที่พอมือถึง บรรดาผลไม้เหล่านั้น ท่านก็มิได้เลือกว่าชอบใจหรือ

ไม่ชอบใจ แล้วแต่ถึงมือก็เก็บเอามา ด้วยเดชแห่งศีลของท่านซึ่งสันโดษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 778

อย่างยิ่งเพียงนี้ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกเทวราชได้แสดงอา-

การร้อนผิดปกติ.

ได้ยินว่า อาสนะนั้น จะร้อนขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ ท้าว-

สักกะสิ้นอายุ ๑ จะสิ้นบุญ ๑ มีสัตว์ผู้มีอานุภาพใหญ่อื่นปรารถนา

ที่นั้น ๑ ด้วยเดชศีลของสมณพราหมณ์ที่มีฤทธิ์มากตั้งอยู่ในธรรม

๑.

ท้าวสักกเทวราชทรงรำพึงว่า ใครหนอที่ประสงค์จะให้เรา

เคลื่อนจากที่ แล้วได้ทอดพระเนตรเห็นกัณหฤาษีกำลังเก็บผลไม้อยู่ใน

ประเทศนี้ จึงทรงดำริว่า พระฤาษีนี้มีตบะกล้า ชนะอินทรีย์แล้วอย่าง

ยิ่ง เราจักให้บันลือสีหนาทด้วยธรรมกถา ได้ฟังเหตุดีแล้วจักบำรุงให้

อิ่มหนำด้วยพร ทำต้นไม้ให้มีผลเป็นนิจสำหรับพระฤาษีนี้แล้วจักมา.

ครั้นทรงดำริดังนี้แล้ว ก็เสด็จลงมาโดยเร็วด้วยอานุภาพใหญ่ ประทับ

ยืนอยู่ที่โคนต้นไม้ ข้างหลังพระฤาษี เมื่อจะทดลองดูว่า เมื่อเรากล่าว

โทษขึ้นแล้ว ท่านจักโกรธหรือไม่ จึงตรัสพระคาถาที่ ๑ ว่า :-

บุรุษนี้ดำจริงหนอ บริโภคโภชนะก็ดำ

อยู่ในภูมิประเทศก็ดำ เราไม่ชอบใจเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กณฺห คือ มีสีดำ. บทว่า โภชน

ได้แก่ โภชนะคือผลไม้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 779

กัณหฤาษีได้ฟังคำของท้าวสักกะแล้ว พิจารณาดูด้วยทิพยจักษุว่า

ใครหนอมาพูดกับเรา รู้ว่าเป็นท้าวสักกะ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ โดยไม่

แลดูเลยว่า :-

คนประกอบด้วยตบะไม่ชื่อว่าคนดำ เพราะ

คนที่มีแก่นในภายใน ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ บาป

กรรมมีอยู่ในคนใด คนนั้นแหละชื่อว่าเป็นคน

ดำ นะท้าวสุสชัมบดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตปสา คือ บุคคลไม่ชื่อว่า เป็น

คนดำเพราะมีตบะ. บทว่า อนฺโตสาโร ความว่า เพราะว่าคนที่ประ-

กอบด้วยแก่นคือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะใน

ภายในเห็นปานนี้ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะมีบาปอันลอยแล้ว. บทว่า

ส เว ความว่า ส่วนบาปกรรมมีอยู่ในคนใด คนนั้นถึงจะเกิดในตระ-

กูลไหน ๆ ก็ตาม ถึงจะประกอบด้วยสีแห่งสรีระอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม

ก็ชื่อว่า เป็นคนดำทั้งนั้น.

ครั้นพระฤาษีกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงจำแนกประเภทบาปกรรมที่

ทำให้สัตว์เหล่านี้เป็นคนดำโดยพิสดาร ติเตียนบาปเหล่านั้นแม้ทั้งหมด

สรรเสริญคุณมีศีลเป็นต้น แสดงธรรมแก่ท้าวสักกะ ประดุจว่าให้ดวง-

จันทร์ตั้งขึ้นในอากาศ ท้าวสักกะทรงสดับธรรมกถาของกัณหฤาษีแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 780

มีความเบิกบาน เกิดความโสมนัส เมื่อจะนิมนต์พระมหาสัตว์ด้วยพร

ได้ตรัสพระคาถาที่ ๓ ว่า :-

ข้าแต่พราหมณ์ คำนั้นท่านกล่าวดีแล้ว

เป็นสุภาษิตอันสมควร ข้าพเจ้าจะให้พรท่าน

ตามแต่ใจท่านปรารถนาเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตสฺมึ เป็นต้น ความว่า คำนี้

ใด อันท่านผู้เป็นราวกะว่าเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว คำนั้น

อันท่านกล่าวดีแล้ว เป็นสุภาษิต ชื่อว่าสมควร เพราะเป็นคำที่สมควร

แก่ท่าน ท่านปรารถนาพรอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยใจ คือ พรใดอันท่าน

อยากได้แล้วปรารถนาแล้ว ข้าพเจ้าจะให้พรนั้นทั้งหมดแก่ท่าน.

พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว คิดว่า ท้าวสักกะนี้เมื่อจะทดลอง

เราว่า เมื่อถูกกล่าวโทษของตนจักโกรธหรือไม่หนอ ? ได้แสร้งติเตียน

ฉวีวรรณ โภชนะ และที่อยู่ของเรา บัดนี้รู้ว่าเราไม่โกรธ จึงมีจิตเลื่อมใส

แล้วให้พร เธอคงสำคัญเราว่าประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความเป็นใหญ่

ชั้นท้าวสักกะชั้นพรหมเป็นแน่ เราจะตัดความสงสัยของท้าวสักกะใน

เรื่องนั้นเสีย ควรจะรับพร ๔ ประการเหล่านี้ คืออย่าให้ความโกรธต่อ

ผู้อื่นเกิดขึ้นแก่เรา ๑ อย่าให้โทสะต่อผู้อื่นเกิดขึ้นแก่เรา ๑ อย่าให้

ความโลภในสมบัติของผู้อื่นเกิดขึ้นแก่เรา ๑ อย่าให้สิเนหาในผู้อื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 781

เกิดขึ้น ๑ เราพึงเป็นกลางอยู่เท่านั้น ๑ คิดดังนี้แล้ว เมื่อจะรับพร ๔ ประ-

การ เพื่อจะตัดความสงสัยของท้าวสักกะ จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง

ถ้าจะโปรดประทานพระแก่ข้าพระองค์ ข้าพระ-

องค์ปรารถนาให้ความประพฤติของตน อย่าให้

มีความโกรธ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้มีความ

โลภ อย่าให้มีความสิเนหา ขอได้ทรงโปรด

ประทานพร ๔ ประการนี้แก่ข้าพระองค์เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วรญฺจ เม อโท สกฺก ความว่า

ถ้าพระองค์จะโปรดประทานพรแก่ข้าพระองค์ไซร้. บทว่า สุนิกฺโกธ

คืออย่าให้มีความโกรธด้วยดี ด้วยสามารถแห่งการไม่โกรธตอบ. บทว่า

สุนิทฺโทส คือ อย่าให้มีโทสะด้วยดี ด้วยสามารถแห่งการไม่ประทุษ-

ร้ายตอบ. บทว่า นิลฺโลภ คือ อย่าให้มีความโลภในสมบัติผู้อื่น. บทว่า

วุตฺติมตฺตโน ความว่า ข้าพระองค์ปรารถนาให้ความประพฤติของตนมี

ภาวะอย่างนี้. บทว่า นิเสฺนห ได้แก่ อย่าให้มีความสิเนหา คือ ให้

ปราศจากความโลภ แม้ในของของตน คือ ในบุตรและธิดาทั้งหลาย

ซึ่งมีวิญญาณ หรือในทรัพย์มีข้าวเปลือกเป็นต้น ซึ่งไม่มีวิญญาณ.

บทว่า อภิกงฺขามิ ความว่า ข้าพระองค์ปรารถนาให้ความประพฤติของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 782

ตนประกอบด้วยองค์ ๔ ประการเห็นปานนี้. ด้วยบทว่า เอเต เม จตุโร

วเร นี้ พระมหาสัตว์กล่าวว่า ขอพระองค์ได้ทรงโปรดประทานพร ๔

ประการ มีอย่าให้มีความโกรธเป็นต้นเหล่านั้น แก่ข้าพระองค์เถิด.

ถามว่า ก็พระมหาสัตว์ไม่ทราบหรือว่า ใคร ๆ ไม่อาจรับพรใน

สำนักของท้าวสักกะ แล้วขจัดความโกรธเป็นต้นได้ด้วยพร.

ตอบว่า ไม่ทราบหามิได้ แต่ที่รับพรเพราะคิดว่า เมื่อท้าวสักกะ

ประทานพร การพูดว่า ข้าพเจ้าไม่รับไม่สมควร และเพื่อจะตัดความ

สงสัย ของท้าวสักกะนั้น จึงรับพร.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะทรงดำริว่า กัณหบัณฑิตเมื่อจะรับพร ก็

รับแต่พรที่หาโทษมิได้ทั้งนั้น เราจักถามถึงคุณและโทษในพรเหล่านี้กะ

พระฤาษีก่อน ครานั้น เมื่อพระองค์จะถามพระฤาษี จึงตรัสพระคาถา

ที่ ๕ ว่า :-

ดูก่อนท่านพราหมณ์ ท่านเห็นโทษใน

ความโกรธ ในโทสะ ในโลภะ และในสิเนหา

เป็นอย่างไรหรือ ? ข้าพเจ้าขอถามความนั้น

ขอท่านจงบอกแก่ข้าพเจ้าเถิด.

พึงทราบความแห่งเรื่องนั้นว่า ดูก่อนท่านพราหมณ์ ท่านเห็น

โทษในความโกรธ ในโทสะ ในโลภะ หรือในสิเนหาอย่างไรหรือหนอ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 783

ข้าพเจ้าขอถามความนั้น ขอท่านจงบอกแก่ข้าพเจ้าก่อนเถิด เพราะว่า

ข้าพเจ้าไม่ทราบถึงโทษในอกุศลธรรมนั้น

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวกะท้าวสักกะว่า ถ้าเช่นนี้ ท่าน

จงฟัง. ดังนี้แล้วกล่าวคาถา ๔ คาถาว่า :-

ความโกรธเกิดแต่ความไม่อดทน ที่แรก

เป็นของน้อย แต่ภายหลังเป็นของมาก ย่อม

เจริญขึ้นโดยลำดับ ความโกรธมักทำความ

เกี่ยวข้อง มีความคับแค้นมาก เพราะฉะนั้น

ข้าพระองค์จึงไม่ชอบใจความโกรธ.

วาจาของผู้ประกอบด้วยโทสะ เป็น

วาจาหยาบคาย ถัดจากนั้นก็เกิดปรามาส ถูก

ต้องกัน ต่อจากนั้นก็ชกต่อยกันด้วยมือ ต่อไป

ก็จับท่อนไม้เข้าทุบตีกัน จนถึงจับศัสตราเข้า

ฟันแทงกันเป็นที่สุด โทสะเกิดแต่ความโกรธ

เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ชอบใจโทสะ.

ความโลภก่อให้เกิดอาการหยาบ เป็น

เหตุให้เที่ยวปล้นขู่เอาสิ่งของเขา แสดงของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 784

ปลอมเปลี่ยนเอาของคนอื่น ประกอบอุบาย

ล่อลวง บาปธรรมทั้งหลายนี้มีอยู่ในโลภธรรม

เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ชอบใจโลภ.

กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย เป็นเครื่อง

สำเร็จได้ด้วยใจ ถูกสิเนหาผูกมัดเข้าอีกด้วย

แล้ว ถ้านอนเนื่องอยู่เป็นอันมาก มักทำให้

บุคคลเดือดร้อนยิ่งนัก เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า

จึงไม่ชอบใจสิเนหา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อขนฺติโช ความว่า ความโกรธ

นั้น เกิดแต่ความไม่อดทนแห่งบุคคลผู้มีชาติไม่อดกลั้น ทีแรกก็เป็น

ของน้อย แต่ภายหลังเป็นของมาก ย่อมเจริญขึ้นโดยลำดับ ข้อที่ความ

โกรธนั้นเจริญขึ้น พึงพรรณนาด้วยขันติวาทิชาดก และจุลลธรรม.

ปาลชาดก. อนึ่ง ในข้อนี้ พึงเล่าเรื่องที่ติสสอำมาตย์ฆ่าชนทั้งหมด

ตั้งต้นแต่ภรรยาพร้อมด้วยบริวารชนแล้วฆ่าตัวตายในภายหลัง. บทว่า

อาสงฺคิ ความว่า ความโกรธมักทำความเกี่ยวข้อง คือ เกิดขึ้นแก่ผู้ใด

ย่อมทำให้ผู้นั้นเกี่ยวข้องพัวพัน และไม่ให้สละเรื่องนั้นไปได้ ต้องให้

กลับมาทำความชั่วร้ายมีการด่าเป็นต้น.

บทว่า พหุปายาโส ได้แก่ ประกอบด้วยความคับแค้น คือ

ความลำบาก กล่าวคือความทุกข์ทางกายและทางใจเป็นอันมาก จริงอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 785

เพราะอาศัยความโกรธเป็นเหตุ ชนทั้งหลายที่กระทำการล่วงเกินใน

พระอริยบุคคลเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งความโกรธ ย่อมเสวยทุกข์เป็น

อันมาก มีความเดือดร้อนเพราะถูกฆ่าและถูกจองจำเป็นต้น และมีการ

ถูกลงโทษด้วยเครื่องจองจำ ๕ อย่างเป็นอาทิ ทั้งในภพนี้และภพหน้า

เพราะเหตุนั้น ความโกรธ จึงชื่อว่ามีความคับแค้นมาก. บทว่า ตสฺมา

ความว่า เพราะความโกรธนั้นมีโทษมากมายดังกล่าวมานี้ ฉะนั้น

ข้าพเจ้าจึงไม่ชอบใจความโกรธ.

บทว่า ทุฏฺสฺส เป็นต้น ความว่า แรกทีเดียววาจาหยาบคาย

ของบุคคลผู้โกรธ ด้วยโกธะอันมีความเดือดดาลเป็นลักษณะ แล้วต่อมา

จะประทุษร้ายด้วยโทสะอันมีความคิดร้ายต่อผู้อื่นเป็นลักษณ์. ย่อมเปล่ง

ออกมา ถัดจากวาจาก็เกิดปรามาสถูกต้องกันด้วยสามารถแห่งการฉุดกัน

มาฉุดกันไป ต่อจากนั้นก็ชกต่อยกันด้วยมือ ด้วยสามารถแห่งความ

พยายาม ต่อไปก็จับท่อนไม้เข้าที่ทุบตีกัน จนถึงจับศัสตราอันมีคมข้าง

เดียวหรือมีคมสองข้างเข้าฟันแทงกันเป็นที่สุด คือ ความสำเร็จแห่งการ

ฟันแทงด้วยศัสตรา เป็นที่สุดแห่งกิจของโทสะทุกอย่าง จริงอยู่ ใน

กาลใด บุคคลใช้ศัสตราฆ่าผู้อื่น ภายหลังจึงใช้ศัสตรานั้นนั่นแหละ

ฆ่าตัวเอง ในกาลนั้น โทสะย่อมถึงที่สุด.

บทว่า โทโส โกธสมุฏฺาโน ความว่า เปรียบเหมือน

เปรียงหรือน้ำข้าวอันไม่เปรี้ยว แต่กลายเป็นของเปรี้ยวด้วยอำนาจแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 786

ความแปรไป สิ่งที่เปรี้ยวและไม่เปรี้ยวทั้งสองนั้น แม้จะมีกำเนิดอย่าง

เดียวกัน ท่านก็เรียกต่างกัน ว่าเปรี้ยว ไม่เปรี้ยว ฉันใด โทสะก็ฉันนั้น

เหมือนกัน เมื่อก่อนเป็นความโกรธ ต่อเมื่อแปรไปแล้วจึงเป็นความคิด

ประทุษร้ายในภายหลัง สภาวธรรมทั้งสองนั้น แม้จะมีกำเนิดอย่างเดียว

กัน โดยความเป็นอกุศลมูลด้วยกัน ท่านก็เรียกต่างกันว่า ความโกรธ

ความคิดประทุษร้าย เปรียบเหมือน สิ่งที่มีรสเปรี้ยวเกิดจากสิ่งที่ไม่มี

รสเปรี้ยว ฉันใด โทสะแม้นั้น ก็ตั้งขึ้นจากโกธะฉันนั้น เพราะเหตุนั้น

โทสะจึงมีชื่อว่า โกธะเป็นสมุฏฐาน. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะ

โทสะมีโทษเป็นอเนกอย่างนี้ ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ชอบใจโทสะเลย.

บทว่า อโลภสหสาการา ความว่า ชื่อว่าก่อให้เกิดอาการหยาบ

เพราะปล้นฆ่าชาวบ้านทุกวัน ๆ โดยการใช้อาวุธจ่อที่ตัวแล้วข่มขู่ว่า จง

ให้สิ่งชื่อนี้แก่เรา.

บทว่า นิกติ วญฺจนานิ จ ความว่า การแสดงของปลอม

เปลี่ยนเอาของของผู้อื่นไป ชื่อว่า การสับเปลี่ยน การสับเปลี่ยนนั้น

พึงเห็นตัวอย่าง ในการให้ทองเก๊ว่าทองแท้ และกหาปณะปลอมว่า

กหาปณะแท้ แล้วถือเอาสิ่งของของผู้อื่นไป ส่วนการถือเอาสิ่งของของ

ผู้อื่นไป ด้วยสามารถแห่งปฏิภาณ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย ชื่อว่า

การล่อลวง พึงทราบเรื่องราวของการล่อลวงนั้นอย่างนี้ว่า บุรุษชาว-

บ้านผู้มีความซื่อตรงคนหนึ่ง นำกระต่ายมาจากป่าวางไว้ที่ฝั่งแม่น้ำแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 787

ลงอาบน้ำ ลำดับนั้น นักเลงคน ๑ เอากระต่ายนั้นวางไว้บนศีรษะ

แล้วลงอาบน้ำ บุรุษชาวบ้านขึ้นมาแล้ว เมื่อไม่เห็นกระต่าย จึงมองหา

ข้างโน้นข้างนี้ นักเลงเห็นดังนั้นจึงถามบุรุษนั้นว่า มองหาอะไรท่านผู้

เจริญ. บุรุษชาวบ้านนั้นตอบว่า ข้าพเจ้าวางกระต่ายไว้ตรงนี้ แต่ไม่

เห็นกระต่ายนั้น. นักเลงจึงกล่าวว่า แน่ะอันธพาล ท่านไม่รู้ดอกหรือ

ว่า ชื่อว่ากระต่ายทั้งหลาย ที่บุคคลวางไว้ที่ฝั่งแม่น้ำย่อมหนีไปได้ ท่าน

ดูซิ ฉันยังต้องเอากระต่ายของตนวางไว้บนศีรษะอาบน้ำด้วยเลย. บุรุษ

ชาวบ้านเข้าใจว่า จักเป็นอย่างนั้น เพราะความที่ตนเป็นผู้ไม่มีปฏิภาณ.

จึงหลีกไป ในข้อนี้ พึงเล่าเรื่องที่เขารับเอาลูกเนื้อด้วยเงิน ๑ กหาปณะ

ให้ลูกเนื้อนั้นอีก แล้วจึงรับเอาเนื้อ ซึ่งมีราคา ๒ กหาปณะ.

บทว่า ทิสฺสติ โลภธมฺเมสุ ความว่า ข้าแต่ท้าวสักกะ บาป

ธรรมทั้งหลายมีโลภะเป็นต้นเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในสภาวะคือความโลภ

ทั้งหลาย คือ ในสัตว์ทั้งหลายถูกความโลภครอบงำแล้ว เพราะว่า

สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่โลภแล้ว. ย่อมไม่กระทำกรรมเห็นปานนี้ ความโลภมี

โทษมากมายอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ชอบใจความโลภ.

บทว่า เสฺนหสงฺคนฺถิตา คนฺถา ความว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด

กายคืออภิชฌาทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปอยู่ในอารมณ์ทั้งหลายมีประการต่าง ๆ

ถูกสิเนหาอันมีความติดอยู่ในอารมณ์ทั้งหลายเป็นลักษณะร้อยรัดแล้ว

คือสืบต่อแล้วด้วยสามารถแห่งการเกิดขึ้นบ่อย ๆ ดุจดอกไม้ทั้งหลายที่

เขาร้อยไว้ด้วยด้าย ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 788

บทว่า เสนฺติ มโนมยา ปุถู ความว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด

กายคืออภิชฌาทั้งหลาย อันเกิดขึ้นแล้วในอารมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็น

เครื่องสำเร็จได้ด้วยใจ เพราะเป็นสภาพที่เกิดขึ้นทางใจ ดุจวัตถุทั้งหลาย

มีเครื่องประดับเป็นต้น อันเกิดแล้วจากรัตนะทั้งหลายมีทองเป็นต้น

ชื่อว่าอันสำเร็จแล้วด้วยรัตนะทั้งหลายมีทองเป็นอาทิ นอนเนื่องอยู่ใน

อารมณ์เหล่านั้น.

บทว่า เต ภุส อุปตาเปนฺติ ความว่า กิเลสเหล่านั้น ถ้า

นอนเนื่องอยู่แล้วเป็นอันมาก คือมีกำลังรู้ชัดอยู่ มักทำบุคคลให้เดือด-

ร้อน คือให้ลำบากโดยยิ่ง ก็ในการที่กิเลสเหล่านั้นมักทำให้บุคคลเดือด-

ร้อนโดยยิ่ง พึงนำเรื่องของคาถาว่า สลฺลวิทฺโธว รุปฺปติ เป็นต้น และ

พระสูตรทั้งหลายมีความว่า ดูก่อนคฤหบดี ความเศร้าโศก ความร่ำไร

ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นทั้งหลายล้วนเกิดแต่ความ

รัก ล้วนมีความรักเป็นแดนเกิดทั้งนั้น ความโศกย่อมเกิดแต่สิ่งที่รัก

ความโศกย่อมเกิดแต่ความรัก. ดังนี้เป็นต้น มาเป็นอุทาหรณ์อีกอย่าง

หนึ่ง หัวใจของสุมังคลโพธิสัตว์แตกแล้ว เพราะความโศกอันมีกำลัง

เหตุให้เด็กทั้งหลายเป็นทาน โทมนัสเป็นอันมากก็ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระ-

เวสสันดรโพธิสัตว์ ความรักย่อมทำให้พระมหาสัตว์ทั้งหลายผู้บำเพ็ญ

บารมีแล้วเดือดร้อนได้ด้วยประการฉะนี้ เพราะโทษนี้มีอยู่ในความ

สิเนหาฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ชอบใจ แม้ซึ่งความสิเนหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 789

ท้าวสักกเทวราชได้ทรงสดับคำวิสัชนาปัญหาแล้ว จึงตรัสว่า

ข้าแต่ท่านกัณหบัณฑิต ปัญหานี้ท่านกล่าวดี เปรียบดังพุทธลีลา ข้าพ-

เจ้ายินดีเหลือเกิน ฉะนั้น ขอท่านจงรับพรอย่างอื่นอีก แล้วตรัสพระ-

คาถาที่ ๑๐ ว่า :-

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ คำนั้นท่านกล่าวดี

แล้ว เป็นสุภาษิตอันสมควร ข้าพเจ้าจะให้

พรแก่ท่าน ตามแต่ใจท่านปรารถนาเถิด.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาต่อไปว่า :-

ข้าแต่ท้าวสักกผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง

ถ้าจะโปรดประทานพรแก่ข้าพระองค์ ขออา-

พาธทั้งหลายอันเป็นของร้ายแรง ซึ่งจะทำ

อันตรายแก่ตบะกรรมได้ อย่าพึงเกิดขึ้นแก่

ข้าพระองค์ผู้อยู่ในป่า ซึ่งอยู่แต่ผู้เดียวเป็น

นิตย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺตรายกรา ภุสา คือ อันจำทำ

อันตรายแก่ตบะกรรมของข้าพระองค์นี้.

ท้าวสักกะได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงดำริว่า กัณหบัณฑิตเมื่อ

จะรับพร ก็ไม่รับพรที่อาศัยอามิส รับแต่พรที่อาศัยตบะกรรมเท่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 790

ท้าวเธอยิ่งทรงเลื่อมใสมากขึ้น เมื่อจะประทานพรอื่นอีก จึงตรัสพระ-

คาถานอกนี้ว่า :-

ดูก่อนท่านพราหมณ์ คำนั้นท่านกล่าว

ดีแล้ว เป็นสุภาษิตอันสมควร ข้าพเจ้าจะให้

พรแก่ท่าน ตามแต่ใจท่านปรารถนาเถิด.

แม้พระโพธิสัตว์ เมื่อจะแสดงธรรมแก่ท้าวสักกะโดยอ้างการรับ

พร จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-

ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง

ถ้าจะโปรดประทานพรแก่ข้าพระองค์ ขอใจ

หรือร่างกายของข้าพระองค์ อย่าเข้าไปกระทบ

กระทั่งใคร ๆ ในกาลไหน ๆ เลย ขอได้ทรง

โปรดประทานพรนี้เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มโน วา ได้แก่ มโนทวาร. บทว่า

สรีร วา ได้แก่ กายทวาร. แม้วจีทวาร ก็พึงทราบว่า ท่านถือเอา

แล้วด้วยการถือเอาทวารเหล่านั้นเหมือนกัน. บทว่า มงฺกุเต คือ เพราะ

เหตุแห่งข้าพระองค์. บทว่า อุปหญฺเถ ได้แก่ อย่าเข้าไปกระทบ-

กระทั่ง คือ พึงเป็นทวารอันบริสุทธิ์แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 791

ข้อนี้มีอธิบายว่า ข้าแต่ท้าวสักกเทวราช ขออย่าให้กรรมที่เป็น

ไปในทวาร แม้ทั้ง ๓ นี้เข้าไปกระทบแก่ใคร ๆ คือแก่ท้าวสักกะในกาล

ไหน ๆ เพราะเหตุแห่งข้าพระองค์ คือเพราะอาศัยข้าพระองค์ ได้แก่

เพราะความที่แห่งข้าพระองค์เป็นผู้ใคร่ต่อความพินาศ คือ ขอกรรมที่

เป็นไปในทวารทั้ง ๓ นี้พึงเป็นธรรมชาติอันหลุดพ้นแล้ว คือ บริสุทธิ์

แล้ว จากอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ มีปาณาติบาตเป็นต้นนั้นเทียว.

พระมหาสัตว์ เมื่อจะรับพรในฐานะทั้ง ๖ ได้รับเอาพรอันอาศัย

เนกขัมมะเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ จริงอยู่ พระโพธิสัตว์นั้น ย่อม

ทราบว่า ขึ้นชื่อว่าสรีระ ย่อมมีความเจ็บเป็นธรรมดา ท้าวสักกะไม่

อาจเพื่อจะกระทำสรีระนั้นให้มีความไม่เจ็บเป็นธรรมดาได้ อนึ่ง ความ

ที่แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีตนอันบริสุทธิ์แล้วในทวารทั้ง ๓ อันท้าว-

สักกะก็ไม่อาจทำให้เป็นนิสัยของตนได้เลย แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระ-

มหาสัตว์ก็ได้รับพรเหล่านี้แล้ว เพื่อแสดงธรรมแก่ท้าวสักกะนั้น แม้

ท้าวสักกเทวราชก็ได้ทรงบันดาลต้นไม้นั้นให้มีผลหวานอร่อย นมัสการ

พระมหาสัตว์ประคองอัญชลีเหนือพระเศียร ตรัสว่า ขอท่านจงอยู่ที่นี้

โดยปราศจากโรคเถิด. แล้วได้เสด็จไปยังพิมานของพระองค์ แม้พระ-

โพธิสัตว์ก็มิได้เสื่อมจากฌาน ได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้อง-

หน้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 792

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า

ดูก่อนอานนท์ ที่นี้เป็นภูมิประเทศที่เราเคยอยู่มาแล้ว ดังนี้แล้วทรง

ประชุมชาดกว่า ท้าวสักกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอนุรุทธะในบัดนี้

ส่วนกัณหบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากัณหชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 793

๓. จตุโปสถิกชาดก

ว่าด้วยสมณะ

[๑๓๔๒] ผู้ใดไม่ทำความโกรธในบุคคลผู้ควรโกรธ

ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ ย่อมไม่โกรธในกาลไหน ๆ

บุคคลนั้นแม้จะโกรธ ก็ไม่ทำความโกรธให้

ปรากฏ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นแล

ว่าเป็นสมณะในโลก.

[๑๓๔๓] นรชนใดมีท้องพร่อง ย่อมทนความหิว

ได้ นรชนนั้นเป็นผู้ฝึกตนแล้ว มีตบะ มีข้าว

และน้ำพอประมาณ ย่อมไม่บาปเพราะเหตุแห่ง

อาหาร นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวนรชนนั้นแล

ว่าเป็นสมณะในโลก.

[๑๓๔๔ ] บุคคลละการเล่นและความยินดีทั้งปวง

ได้เด็ดขาด ไม่กล่าวคำเหลาะแหละนิดหน่อย

ในโลก เว้นจากการแต่งเนื้อแต่งตัว และเว้น

จากเมถุนธรรม นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าว

บุคคลนั่นแล ว่าเป็นสมณะในโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 794

[๑๓๔๕] บุคคลใดละสิ่งที่เขาหวงแหนและโลภ

ธรรมทั้งปวงเสีย ด้วยปัญญาเครื่องกำหนดรู้

นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นแล ผู้ฝึก

คนแล้ว มีจิตตั้งมั่น ไม่มีตัณหา ไม่มีความหวัง

ว่าเป็นสมณะในโลก.

[๑๓๔๖] ดูก่อนท่านผู้มีปัญญาสามารถจะรู้เหตุ

และมิใช่เหตุที่ควรทำ เราขอถามท่าน ความทุ่ม

เถียงกันในถ้อยคำทั้งหลาย บังเกิดมีแก่เราทั้ง

หลาย ขอท่านโปรดช่วยตัดเสีย ซึ่งความ

สงสัย ความเคลือบแคลงในวันนี้ ขอได้โปรด

ช่วยเราทั้งหมดให้ข้ามพ้นความสงสัยนั้น ใน

วันนี้.

[๑๓๔๗] บัณฑิตเหล่าใดเป็นผู้สามารถเห็นเนื้อ

ความ บัณฑิตเหล่านั้นจึงจะกล่าวได้โดยแยบ-

คาย ในกาลนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้จอมประชา-

นิกร ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย จะพึงวินิจฉัยเนื้อ

ความแห่งถ้อยคำทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้กล่าวแล้ว

ได้อย่างไรหนอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 795

[๑๓๔๘] พญานาคกล่าวอย่างไร ? พญาครุฑ

กล่าวอย่างไร ? ท้าวสักกะผู้เป็นพระราชาของ

คนธรรพ์ตรัสอย่างไร ? และพระราชาผู้ประ-

เสริฐของชาวกุรุรัฐตรัสอย่างไร ?

[๑๓๔๙] พญานาคกล่าวสรรเสริญขันติ พญา

ครุฑกล่าวยกย่องการไม่ประหาร ท้าวสักกะผู้

เป็นพระราชาของตนธรรพ์ตรัสชมการละความ

ยินดี พระราชาผู้ประเสริฐของชาวกุรุรัฐตรัส

สรรเสริญความไม่กังวล.

[๑๓๕๐] คำเหล่านี้ทั้งหมดเป็นสุภาษิต ในถ้อยคำ

ของท่านทั้ง ๔ นี้ ไม่มีคำทุพภาษิตแม้นิดหน่อย

เลย คุณทั้ง ๔ มีขันติเป็นต้นนี้ ตั้งมั่นอยู่ใน

ผู้ใดก็เปรียบได้กับกำรถสอดเข้าสนิทดี ที่ดุม

รถฉะนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวบุคคลผู้

พร้อมเพรียงด้วยธรรม ๔ ประการนั้นแล ว่า

เป็นสมณะในโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 796

[๑๓๕๑] ท่านนั้นแลเป็นผู้ประเสริฐ ไม่มีผู้อื่น

ยิ่งกว่า เป็นผู้ถึงธรรม รู้แจ้งธรรม มีปัญญาดี

พิจารณาปัญหาด้วยปัญญา เป็นนักปราชญ์ตัด

ความสงสัย ความเคลือบแคลงทั้งหลายเสีย

ได้ ตัดความสงสัยความเคลือบแคลงทั้งหลาย

สำเร็จแล้ว ดุจนายช่างตัดงาช้างด้วยเครื่องมือ

อันคม ฉะนั้น.

[๑๓๕๒] ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจ

ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของท่าน จึงขอให้ผ้า

ผืนนี้ ซึ่งมีสีสดใสดุจสีอุบลเขียว ไม่หม่น

หมองหาค่ามิได้ มีสีเสมอด้วยควันไฟ เพื่อ

เป็นธรรมบูชาแก่ท่าน.

[๑๓๕๓] ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจ

ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของท่าน จึงขอให้

ดอกไม้ทองมีกลีบตั้งร้อยอันแย้มบาน มีเกสร

ประดับด้วยรัตนะจำนวนพัน เพื่อเป็นธรรม

บูชาแก่ท่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 797

[๑๓๕๔] ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจ

ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของท่าน จึงขอให้แก้ว

มณีอันหาค่ามิได้งามผ่องใส คล้องอยู่ที่คอ

เป็นแก้วมณีเครื่องประดับคอของข้าพเจ้า เพื่อ

เป็นธรรมบูชาแก่ท่าน.

[๑๓๕๕] ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจ

ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของท่าน จึงขอให้โคนม

โคผู้และช้างอย่างละพัน รถเทียมด้วยม้า

อาชาไนย ๑๐ คัน และบ้านส่วย ๑๖ ตำบล

แก่ท่าน.

[๑๓๕๖] พญานาคในกาลนั้น เป็นพระสารีบุตร

พญาครุฑ เป็นพระโมคคัลลานะ ท้าวสักก-

เทวราช เป็นพระอนุรุทธะ พระเจ้าโกรัพยะ

เป็นพระอานนท์บัณฑิต วิฑุรบัณฑิตเป็นพระ-

โพธิสัตว์นั่นเอง ขอท่านทั้งหลายจงจำชาดกไว้

อย่างนี้.

จบ จุตโปสถิกชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 798

อรรถกถาจตุโปสถิกชาดกที่ ๓

จตุโปสถิกชาดกนี้ มีคำเริ่มต้นว่า โย โกปเนยฺโย จักมีแจ้งใน

ปุณณกชาดก.

จบ อรรถกถาจตุโปสถิกชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 799

๔. สังขชาดก

ว่าด้วยอานิสงส์ถวายรองเท้า

[๑๓๕๗] ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ท่านก็เป็น

พหูสูต ได้ฟังธรรมมาแล้ว ทั้งสมณพราหมณ์

ทั้งหลาย ท่านก็ได้เห็นมาแล้ว เหตุไรท่านจึง

แสดงคำพร่ำเพ้อในขณะอันไม่สมควร คนอื่น

นอกจากข้าพเจ้า ใครเล่าที่จะมาเจรจากับท่าน

ได้.

[๑๓๕๘] นางฟ้าหน้างาม รูปสวยเลิศ ประดับด้วย

เครื่องประดับทอง ยกถาดทองเต็มด้วยอาหาร

ทิพย์ มาร้องเชิญให้เราบริโภค นางเป็นผู้มี

ศรัทธาและปลื้มจิต เราตอบกะนางว่า ไม่

บริโภค.

[๑๓๕๙] ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ วิสัยบุรุษผู้ยัง

ปรารถนาความสุข ได้พบเห็นเทวดาเช่นนี้แล้ว

ควรจะถามดูให้รู้แน่ ขอท่านจงลุกขึ้นประนม

มือถามเทวดานั้นว่า นางเป็นเทวดาหรือมนุษย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 800

[๑๓๖๐] เพราะเหตุที่ท่านมาแลดูข้าพเจ้าด้วยสาย-

ตาอันแสดงความรัก ร้องเชิญให้ข้าพเจ้าบริโภค

อาหาร ดูก่อนนางผู้มีอานุภาพใหญ่ ข้าพเจ้า

ขอถามท่านว่า ท่านเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ?

[๑๓๖๑] ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ข้าพเจ้าเป็น

เทวดาผู้มีอานุภาพมาก มาในกลางน้ำสาครนี้ ก็

เพราะเป็นผู้มีความเอ็นดู จะได้มีจิตประทุษร้าย

หาไม่ ข้าพเจ้ามาในที่นี้ ก็เพื่อประโยชน์แก่

ท่านนั่นเอง.

[๑๓๖๒] ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ในสมุทรนี้มี

ข้าว น้ำ ที่นอน ที่นั่ง และยานพาหนะมากอย่าง

ใจของท่านปรารถนาสิ่งใด ข้าพเจ้าจะให้สิ่งนั้น

สำเร็จแก่ท่านทุกอย่าง.

[๑๓๖๓] ข้าแต่เทพธิดาผู้มีร่างงาม มีตะโพกผึ่งผาย

มีคิ้วงาม ผู้เอวบางร่างน้อย ทานซึ่งเป็นส่วน

บูชา และการเซ่นสรวงของข้าพเจ้า อย่างใด

อย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ ท่านเป็นผู้สามารถรู้วิบาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 801

แห่งกรรมของข้าพเจ้าทุกอย่าง การที่ข้าพเจ้า

ได้ที่พึ่งในสมุทรนี้ เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร.

[๑๓๖๔] ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ท่านได้ถวาย

รองเท้ากะพระภิกษุรูปหนึ่ง ผู้เดินกระโหย่งเท้า

สะดุ้ง ลำบากอยู่ในหนทางอันร้อน ทักษิณา

นั้นอำนวยผลสิ่งน่าปรารถนาแก่ท่านในวันนี้.

[๑๓๖๕] ขอจงมีเรือที่ต่อด้วยแผ่นกระดาน น้ำ

ไม่รั่ว มีใบสำหรับพาเรือให้แล่นไป เพราะใน

สมุทรนี้ พื้นที่ที่จะใช้ยานพาหนะอย่างอื่นมิได้

มี ขอท่านได้ส่งข้าพเจ้าให้ถึงเมืองโมลินี ใน

วันนี้เถิด.

[๑๓๖๖] นางเทพธิดานั้น มีจิตชื่นชมโสมนัส

ปราโมทย์ เนรมิตเรืออันงามวิจิตร แล้วพา

สังขพราหมณ์กับบุรุษคนใช้มาส่งถึงเมือง อัน

เป็นที่สำราญรื่นรมย์.

จบ สังขชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 802

อรรถกถาสังขพราหณชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ถวายบริขารทั้งปวง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า พหุสฺสุโต ดังนี้.

ได้ยินว่า ในพระนครสาวัตถี มีอุบาสกคนหนึ่ง ฟังธรรม

เทศนาของพระตถาคตแล้ว มึจิตเลื่อมใสในพระศาสดา จึงเข้าไปนิมนต์

เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น แล้วให้ทำมณฑปใกล้ประตูเรือนของตน ประดับ

ตกแต่งเป็นอย่างดี วันรุ่งขึ้นให้คนไปกราบทูลภัตกาลต่อพระตถาคต

พระศาสดามีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวาร เสด็จไป ณ ที่นั้น ประทับนั่งบน

บวรพุทธาอาสน์ที่อุบาสกปูลาดไว้ อุบาสกพร้อมด้วยบุตรภรรยาและ

บริวารชน ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ได้

นิมนต์ฉันถวายมหาทานอย่างนี้ต่อไปถึง ๗ วัน ในเว้นที่ ๗ ได้ถวาย

เครื่องบริขารทุกอย่าง แลเมื่อจะถวายนั้น ใดจัดทำรองเท้าถวายเป็น

พิเศษ คือคู่ที่ถวายแด่พระทศพล ราคาพันหนึ่ง ที่ถวายพระอัครสาวก

ทั้งสอง ราคาคู่ละ ๕๐๐ ที่ถวายพระภิกษุ ๕๐๐ นอกนั้น ราคาคู่ละ

ร้อย. อุบาสกนั้นครั้นถวายเครื่องบริขารทุกอย่าง ดังนี้แล้ว ได้ไปนั่ง

อยู่ในสำนักพระผู้มีพระภาคกับบริษัทของตน.

ครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุโมทนาด้วยพระสุรเสียงอัน

ไพเราะแก่อุบาสกนั้น ได้ตรัสว่า นี่แน่ะอุบาสก การ ๆ ถวายเครื่องบริขาร

ทุกอย่างของท่าน โอฬารยิ่ง ท่านจงชื่นชมเถิด ครั้งก่อนเมื่อพระพุทธ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 803

เจ้ายังไม่เกิดขึ้น ชนทั้งหลายถวายรองเท้าคู่หนึ่งแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า

เรือไปแตกในมหาสมุทรซึ่งหาที่พึงมิได้ เขายังได้ที่พึ่งด้วยผลานิสงส์ที่

ถวายรองเท้า ก็ตัวท่านได้ถวายเครื่องบริขารทุกอย่างแก่ภิกษุสงฆ์มีพระ-

พุทธเจ้าเป็นประธาน ผลแห่งการถวายรองเท้าของท่านนั้น ทำไมจักไม่

เป็นที่พึ่งเล่า ดังนี้ แล้วอุบาสกนั้น ทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว จึง

ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระนครพาราณสีนี้ มีนามว่าโมลินี พระเจ้า-

พรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุงโมลินี มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อสังขะ

เป็นผู้มั่งคั่ง มีโภคทรัพย์มาก มีเครื่องที่ทำให้ปลื้มใจ เช่น ทรัพย์

ข้าวเปลือกและเงินทองมากมาย ให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือประตูเมือง

๔ ประตู ที่กลางเมือง และที่ประตูเรือน สละทรัพย์วันละ ๖ แสนให้

ทานเป็นการใหญ่ แก่คนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้นทุกวัน วันหนึ่ง

เขาคิดว่า เมื่อทรัพย์ในเรือนสิ้นแล้ว เราจักไม่อาจไห้ทานได้ เมื่อทรัพย์

ยังไม่สิ้นไปนี้ เราจักลงเรือไปสุวรรณภูมิ นำทรัพย์มา คิดดังนี้แล้ว

จึงให้ต่อเรือบรรทุกสินค้าจนเต็ม แล้วเรียกบุตรภรรยามาสั่งว่า พวกท่าน

จงให้ทานของเราเป็นไปโดยไม่ขาดจนกว่าเราจะกลับมา แล้วก็แวดล้อม

ไปด้วยทาสและกรรมกร กั้นร่มสวมรองเท้าเดินตรงไปยังบ้านท่าเรือจอด

ในเวลาเที่ยง.

ในขณะนั้น ที่ภูเขาคันธมาทน์ มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง

พิจารณาดูก็ได้เห็นพราหมณ์นั่นกำลังจะเดินทางเพื่อนำทรัพย์มา จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 804

พิจารณาดูว่า มหาบุรุษจักไปหาทรัพย์ จักมีอันตรายในสมุทรหรือไม่

หนอ ถ็ทราบว่า จักมีอันตราย จึงคิดว่า มหาบุรุษนั้นเห็นเราแล้ว

จักถวายร่มและรองเท้าแก่เรา เมื่อเรือแตกกลางสมุทร เขาจักได้ที่พึ่ง

ด้วยอานิสงส์ที่ถวายรองเท้า เราจักอนุเคราะห์แก่เขา แล้วก็เหาะมาลง

ณ ที่ใกล้สังขพราหมณ์ เดินเหยียบทรายร้อนเช่นกับถ่านเพลิง เพราะ

ลมแรงแดดกล้า ตรงมายังสังขพราหมณ์.

สังขพราหมณ์พอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเท่านั้น ก็ยินดีว่า

บุญเขตของเรามาถึงแล้ว วันนี้เราควรจะหว่านพืช คือทานลงในบุญเขต

นี้ จึงรีบเข้าไปนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพเจ้า ขอท่านได้ลงจากทางสักหน่อย แล้ว

เข้าไปที่โคนต้นไม้นี้ พอพระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปโคนต้นไม้ ก็พูนทราย

ขึ้นแล้วเอาผ้าห่มปูลาดนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วล้างเท้าด้วยน้ำ

ที่อบและกรองใสสะอาด ทาเท้าด้วยน้ำมันหอม ถอดรองเท้าที่ตนสวม

ออกเช็ด ทาด้วยน้ำมันหอม แล้วสวมเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้า ถวาย

ร่มและรองเท้าด้วยวาจาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงสวมรองเท้า

กั้นร่มไปเถิด.

พระปัจเจกพุทธเจ้าเพื่อจะอนุเคราะห์สังขพราหมณ์ จึงรับร่ม

และรองเท้า และเพื่อจะให้ความเลื่อมใสเจริญยิ่งขึ้น จึงเหาะไปภูเขา

คันธมาทน์ให้สังขพราหมณ์แลเห็น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 805

สังขพราหมณ์โพธิสัตว์ได้เห็นดังนั้นแล้ว ก็มีจิตเลื่อมใสยิ่งขึ้น

เดินไปสู่ท่าลงเรือ เมื่อสังขพราหมณ์กำลังเดินทางอยู่กลางมหาสมุทร

พอถึงวันที่ ๗ เรือได้ทะลุ น้ำไหลเข้า ไม่มีใครสามารถจะวิดน้ำให้หมด

ได้. หาชนกลัวต่อมรณภัย ต่างก็พากันนมัสการเทวดาที่นับถือของตน ๆ

ร้องกันเซ็งแซ่. พระมหาสัตว์กับอุปัฏฐากคือคนใช้คน ๑ ทาสรีระ

ด้วยน้ำมัน เคี้ยวจุรณน้ำตาลกรวดกับเนยใสพอแก่ความต้องการแล้ว

ให้อุปัฏฐากกินบ้าง แล้วขึ้นบนยอดเสากระโดงกับอุปัฏฐาก กำหนด

ทิศว่า เมืองของเราอยู่ข้างทิศนี้ เมื่อจะเปลื้องตนจากอันตรายจากปลา

และเต่า จึงโดดล่วงไปสิ้นที่ประมาณอุสภะ ๑ พร้อมกับอุปัฏฐากนั้น.

มหาชนพากันพินาศสิ้น ส่วนพระมหาสัตว์กับอุปัฏฐากพยายามว่ายข้าม

มหาสมุทรไปได้ ๗ วัน วันนั้นเป็นวันอุโบสถ พระโพธิสัตว์ได้บ้วน

ปากด้วยน้ำเค็มแล้ว รักษาอุโบสถ.

ครั้งนั้น นางเทพธิดาชื่อมณิเมขลา ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ตั้งไว้ให้

พิทักษ์รักษาสมุทร ด้วยคำสั่งว่า ถ้าเรือมาแตกลง มนุษย์ที่ถือไตร-

สรณคมน์ก็ดี มีศีลสมบูรณ์ก็ดี ปฏิบัติชอบในมารดาบิดาก็ดี มาตกทุกข์

ในสมุทรนี้ ท่านพึงพิทักษ์รักษาเขาไว้. นางประมาทด้วยความเป็นใหญ่

ของตนเสีย ๗ วัน พอถึงวันที่ ๗ นางตรวจดูสมุทร ได้เห็นสังข-

พราหมณ์ประกอบด้วยศีลและอาจาระ เกิดสังเวชจิตคิดว่า พราหมณ์นี้

ตกทะเลมาได้ ๗ วันแล้ว ถ้าพราหมณ์จักตายลง เราคงได้รับครหาเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 806

อันมาก แล้วนางได้จัดถาดทองใบ ๑ ให้เต็มไปด้วยทิพยโภชนะอัน

มีรสเลิศต่าง ๆ เหาะไป ณ ที่นั้นโดยเร็ว ยืนอยู่บนอากาศตรงหน้า

สังขพราหมณ์ กล่าวว่า ข้าแต่พราหมณ์ ท่านอดอาหารมา ๗ วันแล้ว

จงบริโภคโภชนะทิพย์นี้เถิด. สังขพราหมณ์แลดูนางเทพธิดา แล้วกล่าว

ว่า จงนำภัตของท่านหลีกไปเถิด เรารักษาอุโบสถ. ลำดับนั้น อุปัฏฐาก

อยู่ข้างหลังไม่เห็นเทวดาได้ฟังแต่เสียง จึงคิดว่า พราหมณ์นี้เป็นสุขุมาล-

ชาติโดยปกติ มาถูกอดอาหารลำบากเข้า ๗ วัน ชรอยจะบ่นเพ้อเพราะ

กลัวตาย เราจักปลอบโยนเขา คิดดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ท่านก็เป็น

พหูสูต ได้ฟังธรรมมาแล้ว ทั้งสมณพราหมณ์

ทั้งหลาย ท่านก็ได้เห็นมา เหตุไรท่านจึงแสดง

คำพร่ำเพ้อในขณะอันไม่สมควร คนอันนอก

จากข้าพเจ้า ใครเล่าที่จะมาเจรจากับท่านได้ ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุตธมฺโมสิ ความว่า แม้ธรรม

ท่านก็ได้สดับมาแล้ว ในสำนักของสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมทั้ง-

หลาย. บทว่า ทิฏฺา ความว่า ทั้งสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม

ทั้งหลาย อันท่านผู้ถวายปัจจัยแก่สมณพราหมณ์แล้วนั้น กระทำความ

ขวนขวายอยู่ก็ได้เห็นมาแล้ว ท่านแม้เมื่อกระทำอยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ก็

ยังไม่เห็นสมณพราหมณ์เหล่านั้นเลย. บทว่า อถกฺขเณ ตัดบทเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 807

อถ อกฺขเณ คือในขณะที่มิใช่โอกาสพูด เพราะไม่มีใคร ๆ ที่เจรจา

ด้วย. บทว่า ทสฺสยเส ความว่า ท่านเมื่อกล่าวว่า เรารักษาอุโบสถ

ชื่อว่าแสดงคำพร่ำเพ้อ. บทว่า ปฏิมนฺตโก ความว่า คนอื่นนอกจาก

ข้าพเจ้า ใครเล่าที่จะมาเจรจา คือที่จะมาให้ถ้อยคำกับท่านได้ เพราะ

เหตุไร ท่านจึงพร่ำเพ้ออย่างนี้.

สังขพราหมณ์ได้ฟังคำของอุปัฏฐากแล้ว จึงคิดว่า ชรอยเทวดา

นั้น จะไม่ปรากฏแก่เขา จึงกล่าวว่า แน่ะสหาย เรามิได้กลัวมรณภัย

ผู้อื่นที่มาเจรจากับเรามีอยู่ แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

นางฟ้าหน้างาม รูปสวยเลิศ ประดับด้วย

เครื่องประดับทอง ยกถาดทองเต็มด้วยอาหาร

ทิพย์ มาร้องเชิญให้เราบริโภค นางเป็นผู้มี

ศรัทธาและปลื้มจิต เราตอบกะนางว่า ไม่

บริโภค.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุพฺภา แปลว่า ผู้มีหน้างาม.

บทว่า สุภา ได้แก่ ผู้มีรูปร่างงามเลิศ น่าเลื่อมใส. บทว่า สุปฺปฏิ-

มุกฺกกมฺพู คือประดับด้วยเครื่องอลังการทอง. บทว่า ปคฺคยฺห คือ

ถาดภัตตาหารยกขึ้น. บทว่า สทฺธา วิตฺตา ได้แก่ มีศรัทธาด้วย

มีจิตยินดีด้วย. บาลีว่า สทฺธา วิตฺต ดังนี้ก็มี. ข้อนั้นมีความว่า บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 808

สทฺธา ได้แก่ ผู้เหลืออยู่. บทว่า วิตฺต ได้แก่ ผู้มีจิตยินดีแล้ว. บทว่า

ตมห โน ความว่า เราเมื่อจะปฏิเสธ เพราะความที่ตนเป็นผู้รักษา

อุโบสถ จึงตอบกะเทวดานั้นว่า ไม่บริโภค เราไม่เพ้อดอกสหาย.

ลำดับนั้น อุปัฏฐากได้กล่าวคาถาที่ ๓ แก่สังขพราหมณ์นั้น

ว่า :-

ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ วิสัยบุรุษผู้ยัง

ปรารถนาความสุข ได้พบเห็นเทวดาเป็นนี้แล้ว

ควรจะถามดูให้รู้แน่ ขอท่านจงลุกขึ้นประนม

มือถามเทวดานั้นว่า นางเป็นเทวดาหรือมนุษย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขมาสึสมาโน ความว่า บุรุษ

ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ยังปรารถนาความสุขเพื่อตน ได้พบเห็นเทวดาเช่นนี้

แล้ว ควรจะถามดูว่า ความสุขจักมีแก่เราหรือไม่ ? บทว่า อุฏฺเหิ

ความว่า ท่านเมื่อแสดงอาการลุกขึ้นจากน้ำ ชื่อว่า จงลุกขึ้น. บทว่า

ปญฺชลิกาภิปุจฺฉ คือจงเป็นผู้ประนมมือถาม. บทว่า อุท มานุสี

ความว่า หรือว่านางเป็นมนุษย์ผู้มีฤทธิ์มาก.

พระโพธิสัตว์คิดว่า อุปัฏฐากพูดถูก เมื่อจะถามนางเทพธิดานั้น

ได้กล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 809

เพราะเหตุที่ท่านมาแลดูข้าพเจ้าด้วยสาย-

ตาอันแสดงความรู้ ร้องเชิญให้ข้าพเจ้าบริโภค

อาหาร ดูก่อนนางผู้มีอานุภาพใหญ่ ข้าพเจ้า

ขอถามท่านว่า ท่านเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย ตฺว ความว่า เพราะเหตุใด

ท่านจึงมาแลดูข้าพเจ้าด้วยสายตาอันแสดงความรัก. บทว่า อภิสเมกฺ-

ขเส คือแลดูด้วยจักษุ อันแสดงความรัก. บทว่า ปุจฺฉามิ ต ความว่า

เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงขอถามท่าน.

ลำดับนั้น นางเทพธิดา ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ข้าพเจ้าเป็น

เทวดาผู้มีอานุภาพมาก มาในกลางน้ำสาครนี้ ก็

เพราะเป็นผู้มีความเอ็นดู จะได้มีจิตประทุษร้าย

หาไม่ ข้าพเจ้ามาในที่นี้ ก็เพื่อประโยชน์แก่

ท่านนั่นเอง.

ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ในสมุทรนี้มี

ข้าว น้ำ ที่นอน ที่นั่ง และยานพาหนะมากอย่าง

ใจของท่านปรารถนาสิ่งใด ข้าพเจ้าจะให้สิ่งนั้น

สำเร็จแก่ท่านทุกอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 810

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ คือในสมุทรนี้ . บทว่า นานา-

วิวิธานิ คือมียานพาหนะ คือช้างและยานพาหนะ มีม้าเป็นต้น ทั้ง

มากมาย ทั้งหลายอย่าง. บทว่า สพฺพสฺส ตฺยาห ความว่า ข้าพเจ้า

จะให้ข้าวและน้ำเป็นต้นนั้น สำเร็จแก่ท่าน คือจะให้ท่านเป็นเจ้าของ

ข้าวและน้ำเป็นต้นนั้น ทุกอย่าง. บทว่า ยงฺกิญฺจิ ความว่า ใจของ

ท่านอยากได้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง. แม้อย่างอื่น ข้าพเจ้าจะให้สิ่งนั้นทุกอย่าง

แก่ท่าน.

พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว คิดว่า เทวดานี้กล่าวว่าจะให้

อย่างนั้นอย่างนี้แก่เราในท้องน้ำ เธอปรารถนาจะให้ด้วยบุญกรรมที่เรา

ทำไว้ หรือจะให้ด้วยพลานุภาพของตน เราจักถามดูก่อน เมื่อจะถาม

ได้กล่าวคาถาที่ ๗ ว่า :-

ข้าแต่เทพธิดาผู้มีร่างงาม มีตะโพกผึ่งผาย

มีคิ้วงาม ผู้เอวบางร่างน้อย ทานซึ่งเป็นส่วน

บูชา และการเซ่นสรวงของข้าพเจ้า อย่างใด

อย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ ท่านเป็นผู้สามารถรู้วิบาก

แห่งกรรมของข้าพเจ้าทุกอย่าง การที่ข้าพเจ้า

ได้ที่พึ่งในสมุทรนี้ เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยิฏฺ คือบูชาแล้ว ด้วยสามารถ

แห่งทาน. บทว่า หุต คือให้แล้ว ด้วยสามารถแห่งของคำนับและของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 811

ต้อนรับ. บทว่า สพฺพสฺส โน อิสฺสรา ตฺว ความว่า ท่านเป็นอิสระ

คือเป็นผู้สามารถรู้วิบากแห่งบุญกรรมของข้าพเจ้านั้นทุกอย่างว่า นี้เป็น

วิบากแห่งกรรมนี้ นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนี้. บทว่า สุสฺโสณิ คือผู้มี

ลักษณะแห่งโคนขางาม. บทว่า สุพฺภา แปลว่า ผู้มีคิ้วงาม บทว่า

สุวิลากมชฺเฌ คือผู้มีกลางตัวอันอรชรอ้อนแอ่น. บทว่า กิสฺส เม

ความว่า บรรดากรรมที่ข้าพเจ้าทำแล้ว การที่ข้าพเจ้าได้ที่พึ่งในมหา-

สมุทรอันหาที่พึ่งมิได้นี้ เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร.

นางเทพธิดาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงคิดว่า พราหมณ์นี้ชรอยจะถาม

ด้วยสำคัญว่า เรารู้กุศลกรรมที่เขาทำไว้ บัดนี้ เราจักกล่าวทานของเขา

เมื่อจะกล่าว ได้กล่าวคาถาที่ ๘ ว่า :-

ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ท่านได้ถวาย

รองเท้ากะพระภิกษุรูปหนึ่ง ผู้เดินกระโหย่งเท้า

สะดุ้ง ลำบากอยู่ในหนทางอันร้อน ทักษิณา

นั้นอำนวยผลสิ่งน่าปรารถนาแก่ท่านในวันนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกภิกฺขุ นางเทพธิดากล่าว

หมายเอาพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปนั้น. บทว่า อุคฺฆฏฺฏปาท คือผู้เดิน

กระโหย่งเท้า เพราะทรายร้อน. บทว่า ตสิต คือผู้กระหายแล้ว.

บทว่า ปฏิปาทยิ ความว่า ได้ถวายแล้ว คือได้ประกอบแล้ว. บทว่า

กามทุหา คือให้สิ่งที่น่าปรารถนาทุกอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 812

พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว มีจิตยินดีว่า การถวายรองเท้า

ที่เราได้ถวายแล้ว มาให้ผลที่น่าปรารถนาแก่เราทุกอย่างในมหาสมุทร

อันหาที่พึ่งมิได้ แม้เห็นปานนี้ โอ ! การที่เราถวายทานแด่พระปัจเจก-

พุทธเจ้า เป็นการถวายที่ดีแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า :-

ขอจงมีเรือที่ต่อด้วยแผ่นกระดาน น่า

ไม่รั่ว มีใบสำหรับพาเรือให้แล่นไป เพราะใน

สมุทรนี้ พื้นที่ที่จะใช้ยานพาหนะอย่างอื่นมิได้

มี ขอท่านได้ส่งข้าพเจ้าให้ถึงเมืองโมลินี ใน

วันนี้เถิด.

พึงทราบความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า

ดูก่อนนางเทพธิดา เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอท่านจงเนรมิตเรือ

ลำ ๑ แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด แต่ขอจงเนรมิตเรือเล็ก ๆ ลำ ๑ ประมาณ

เท่าเรือโกลน อนึ่ง เรือที่ท่านจักเนรมิตขอให้เป็นเรือที่ต่อด้วยแผ่น

กระดานหลาย ๆ แผ่น ที่ตรึงดีแล้ว ที่ชื่อว่า น้ำไม่รั่ว เพราะไม่มีช่อง

ที่จะให้น้ำไหลเข้าไปได้ ประกอบด้วยใบที่จะพาแล่นไปได้อย่างสะดวก

เพราะในสมุทรนี้ พื้นที่ที่จะใช้ยานพาหนะอื่น เว้นเรือทิพย์มิได้มี ขอ

ท่านได้ฟังข้าพเจ้าให้ถึงเมืองโมลินีด้วยเรือลำนั้น ในวันนี้เถิด.

นางเทพธิดาได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว มีจิตยินดี

เนรมิตเรือขึ้นลำ ๑ ซึ่งแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ เรือลำนั้นยาว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 813

๘ อุสภะ กว้าง ๔ อุสภะ ลึก ๒ วา มีเสากระโดง ๓ เสา แล้วไป

ด้วยแก้วอินทนิล มีสายระโยงระยาง แล้วไปด้วยทอง มีรอกกว้าน

แล้วไป ด้วยเงิน มีหางเสือ แล้วไปด้วยทอง เทวดาเอารัตนะ ๗ ประการ

มาบรรทุกเต็มเรือ แล้วอุ้มพราหมณ์ขึ้นบนเรือที่ประดับแล้ว แต่มิได้

เหลียวแลบุรุษอุปัฏฐากของพระโพธิสัตว์เลย พราหมณ์ได้ให้ส่วนบุญ

ที่ตนได้การทำไว้แก่อุปัฏฐาก อุปัฏฐากก็รับอนุโมทนา ทันใดนั้น เทวดา

ก็อุ้มอุปัฏฐากนั้นขึ้นเรือด้วย ลำดับนั้น เทวดาก็นำเรือไปสู่โมลินีนคร

ขนทรัพย์ขึ้นเรือนพราหมณ์ แล้วจึงไปยังที่อยู่ของตน.

พระศาสดา ผู้ตรัสรู้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้เป็นที่สุดว่า:-

นางเทพธิดานั้น มีจิตชื่นชมโสมนัส

ปราโมทย์ เนรมิตเรืออันงามวิจิตร แล้วพา

สังขพราหมณ์กับบุรุษคนใช้มาส่งถึงเมือง อัน

เป็นที่สำราญรื่นรมย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นางเทพธิดานั้น ได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์นั้น ในท่ามกลางสมุทรนั้น

แล้ว ประกอบด้วยปีติ กล่าวคือมีจิตชื่นชม. บทว่า สุมนา เป็นต้น

คือเป็นผู้มีใจงาม เป็นผู้มีจิตร่าเริงแล้วด้วยปราโมทย์ เนรมิตเรืออัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 814

วิจิตร นำพราหมณ์กับคนใช้ไปแล้ว. บทว่า สาธุรมฺม คือนำเข้ามา

ส่งถึงเมืองอันเป็นที่รื่นรมย์ยิ่ง.

แม้พราหมณ์ก็ครอบครองคฤหาสน์ อันมีทรัพย์นับประมาณมิได้

ให้ทานรักษาศีลจนตลอดชีวิต ครั้นสิ้นชีวิตแล้ว พร้อมด้วยบริษัท

ได้ไปเกิดในเทพนคร.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง

ประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจจะ อุบาสกดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พระ-

ทศพลทรงประชุมชาดกว่า นางเทพธิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นนาง-

อุบลวัณณาเถรีในบัดนี้ บุรุษอุปัฏฐากในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์

ในบัดนี้ ส่วนสังขพราหมณ์ ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาสังขพราหมณชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 815

๕. จุลลโพธิชาดก

ว่าด้วยความโกรธ

[๑๓๖๗] ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าจะมีบุคคลมาพาเอา

นางปริพพาชิกา ผู้มีนัยน์ตากว้างงามน่ารัก มี

ใบหน้าอมยิ้ม ของท่านไปด้วยกำลัง ท่านจะ

ทำอย่างไรเล่า ?

[๑๓๖๘] ถ้าความโกรธเกิดขึ้นแก่อาตมภาพแล้ว

ยังไม่เสื่อมคลายไป เมื่ออาตมภาพยังมีชีวิตอยู่

ยังไม่หาย อาตมภาพจะห้ามกันเสียโดยพลัน

ทีเดียว ดังฝนห่าใหญ่ชำระล้างธุลี ฉะนั้น.

[๑๓๖๙] ท่านกล่าวอวดอ้างไว้ในวันก่อนอย่างไร

หนอ วันนี้เป็นเหมือนว่ามีกำลัง ทำเป็นไม่

เห็น นั่งนิ่งเย็บสังฆาฏิอยู่ในบัดนี้.

[๑๓๗๐] ความโกรธเกิดขึ้นแก่อาตมภาพแล้ว ยัง

ไม่เสื่อมคลายไป เมื่ออาตมภาพยังมีชีวิตอยู่ก็

ยังไม่หาย แต่อาตมภาพได้ห้ามกันแล้วโดย

พลัน เหมือนฝนห่าใหญ่ชำระล้างธุลี ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 816

[๑๓๗๑] ความโกรธเกิดขึ้นแก่ท่านแล้ว ยังไม่

เสื่อมคลายไปเป็นอย่างไร เมื่อท่านยังมีชีวิต

อยู่ ความโกรธ ก็ยังไม่หายเป็นอย่างไร ท่าน

ได้ห้ามกันความโกรธ เหมือนฝนห่าใหญ่ชำระ

ล้างธุลีฉะนั้น เป็นไฉน ?

[๑๓๗๒] เมื่อความโกรธเกิดขึ้นแล้ว บุคคลย่อม

ไม่เห็นประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น เมื่อความ

โกรธไม่เกิดขึ้น บุคคลย่อมเห็นได้ดี ความ

โกรธนั้นเกิดขึ้นแก่อาตมภาพแล้ว ยังไม่เสื่อม

คลายไป ความโกรธเป็นอารมณ์ของตนไร้

ปัญญา.

[๑๓๗๓] ชนทั้งหลายย่อมยินดีด้วยความโกรธที่

เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าเป็นศัตรูแก่ตัวเอง หาความ

ทุกข์ใส่ตัว ความโกรธนั้นเกิดขึ้นแก่อาตมภาพ

แล้ว ยังไม่เสื่อมคลายไป ความโกรธเป็น

อารมณ์ของตนไร้ปัญญา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 817

[๑๓๗๔] อนึ่ง เมื่อความโกรธเกิดขึ้น บุคคล

ย่อมไม่รู้จักประโยชน์ตน ความโกรธนั้นเกิด

ขึ้นแก่อาตมภาพแล้ว ยังไม่เสื่อมคลายไป

ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนไร้ปัญญา.

[๑๓๗๕] ผู้ที่ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ย่อมละ

ทิ้งกุศลเสีย แลจะซัดส่ายประโยชน์แม้มาก

มายได้ เขาประกอบด้วยเสนาคือกิเลสหมู่ใหญ่

ที่น่ากลัว มีกำลังสามารถปราบผู้อันให้อยู่ใน

อำนาจได้ ความโกรธนั้นยังไม่เสื่อมคลายไป

จากอาตมภาพ ขอถวายพระพร.

[๑๓๗๖] ธรรมดาไฟย่อมเกิดขึ้นที่ไม้สีไฟอัน

บุคคลสีอยู่ ไฟเกิดขึ้นแต่ไม้ใด ย่อมเผาไม้

นั้นเองให้ไหม้.

[๑๓๗๗] ความโกรธย่อมเกิดขึ้นแก่คนพาล ผู้

โฉดเขลาไม่รู้จริง เพราะความแข่งดี แม้เขา

ก็ถูกความโกรธนั้นแหละเผาลน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 818

[๑๓๗๘] ความโกรธย่อมเจริญขึ้นแก่ผู้ใด ดุจไฟ

เจริญขึ้นในกองหญ้าแลไม้ฉะนั้น ยศของ

บุคคลนั้นย่อมเสื่อมไป เหมือนพระจันทร์ข้าง

แรม ฉะนั้น.

[๑๓๗๙] ความโกรธของผู้ใดสงบลงได้ ประดุจ

ไฟที่ไม่มีเชื้อฉะนั้น ยศของผู้นั้นย่อมเต็ม

เปี่ยม เหมือนพระจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น.

จบ จุลลโพธิชาดกที่ ๕

อรรถกถาจุลลโพธิชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุมักโกรธรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า โย เต

อิม วิสาลกฺขึ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้นแม้บวชในพระพุทธศาสนา ที่จะนำออก

จากทุกข์ ก็ไม่สามารถเพื่อจะข่มความโกรธได้ เป็นคนมักโกรธ มากไป

ด้วยความเคียดแค้นเสมอ เมื่อถูกกล่าวว่าเพียงเล็กน้อย ก็ขุ่นแค้นโกรธ

มุ่งร้ายหมายขวัญ ดังนี้แหละ พระศาสดาทรงทราบว่า ภิกษุรูปนั้น

มักโกรธ จึงรับสั่งให้เรียกเธอมาแล้ว ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 819

เธอเป็นคนมักโกรธจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า

ดังนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่าความโกรธ เธอควรจะห้ามเสีย

อันความโกรธเห็นปานนี้ ที่จะทำประโยชน์ให้ในโลกนี้และโลกหน้าเป็น

ไม่มี เธอบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าที่ไม่โกรธแล้ว เหตุไรจึงยัง

โกรธเล่า ? จริงอยู่โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้บวชแล้วในลัทธินอก

พุทธศาสนา ก็ยังไม่ทำความโกรธ ดังนี้แล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา

สาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในพระนคร

พาราณสี ณ นิคมของชาวกาสีแห่งหนึ่ง มีพราหมณ์คนหนึ่ง เป็น

ผู้มั่งคั่ง มีโภคทรัพย์มาก แต่ไม่มีบุตร นางพราหมณีภรรยาของเขา

อยากได้บุตร คราวนั้นพระโพธิสัตว์จุติจากพรหมโลก มาบังเกิดในท้อง

นางพราหมณี ในวันตั้งชื่อกุมารนั้น ญาติทั้งหลายตั้งชื่อว่า โพธิกุมาร

ครั้นเจริญวัยแล้ว ไปเมืองตักกศิลาเรียนศิลปะทุกอย่างสำเร็จแล้วกลับ

มา มารดาบิดาได้นำกุมาริกา ผู้มีตระกูลเสมอกันมาให้เขาผู้ซึ่งยังไม่

ปรารถนาเลย แม้กุมาริกานั้นก็จุติจากพรหมโลกเหมือนกัน มีรูปร่าง

งามเลิศเปรียบด้วยเทพอัปสร โพธิกุมารกับนางกุมาริกาต่างไม่

ปรารถนาเป็นสามีภรรยากัน ญาติทั้งหลายก็จัดการอาวาหวิวาหมงคลให้

ก็ชนแม้ทั้งสองนั้นไม่เคยมีความฟุ้งซ่านด้วยกิเลส เพียงแต่จะแลดูกัน

ด้วยอำนาจแห่งราคะก็มิได้มี ขึ้นชื่อว่าเมถุนธรรม ไม่เคยประสบแม้

ในฝัน ทั้งสองได้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 820

ต่อมาภายหลัง เมื่อมารดาบิดาถึงแก่กรรมแล้ว พระมหาสัตว์

ได้จัดการปลงศพของท่านทั้งสองเสร็จเรียบร้อยแล้ว เรียกนางกุมาริกา

มาสั่งว่า ที่รัก เธอจงรับทรัพย์ ๘๐ โกฏินี้ไว้เลี้ยงชีพให้เป็นสุขเถิด นาง

กุมาริกาถามว่า ข้าแต่ลูกเจ้าก็ตัวท่านเล่า ? พระมหาสัตว์ตอบว่า ฉัน

ไม่มีกิจด้วยทรัพย์ ฉันจักเข้าไปถิ่นหิมพานต์ บวชเป็นฤาษีทำที่พึ่งแก่ตน

นางกุมาริกาถามว่า ข้าแต่ลูกเจ้า ก็การบรรพชานั้น ควรแก่พวกบุรุษ

เท่านั้นหรือ ? พระมหาสัตว์ตอบว่า แม้พวกสตรีก็ควร ที่รัก. นางกุมาริกา

จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ฉันจักไม่รับเขฬะที่ท่านถ่มทิ้งไว้ แม้ฉันก็ไม่มี

กิจด้วยทรัพย์ ถึงฉันก็จักบวช พระมหาสัตว์ก็รับรองว่า ดีแล้ว. ที่รัก

เขาทั้งสองได้ให้ทานเป็นการใหญ่ แล้วออกไปสร้างอาศรม ในภูมิ

ประเทศที่น่ารื่นรมย์ บวชแล้วเที่ยวแสวงหาผลาผลเลี้ยงชีพ อยู่ในที่

นั้นประมาณ ๑๐ ปี ฌานสมาบัติก็มิได้เกิดขึ้นแก่เขาทั้งสองนั้นเลย

ฤาษีทั้งสองอยู่ในที่นั้น ๑๐ ปี ด้วยความสุขเกิดแต่บรรพชาเท่านั้น เพื่อ

ต้องการจะเสพรสเค็มรสเปรี้ยว จึงเที่ยวจาริกไปตามชนบท ถึงพระนคร

พาราณสีโดยลำดับ อาศัยอยู่ในพระราชอุทยาน.

อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาทอดพระเนตรเห็นบุรุษเฝ้าสวน ถือ

เครื่องบรรณาการมาเฝ้า จึงตรัสว่า เราจักไปชมสวน เจ้าจงชำระสวน

ให้สะอาด ดังนี้แล้ว จึงเสด็จไปยังพระราชอุทยานที่นายอุทยานบาลนั้น

ชำระสะอาดเรียบร้อยแล้ว พร้อมด้วยบริวารจำนวนมาก. ขณะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 821

ชนทั้งสองแม้เหล่านั้นนั่งให้กาลล่วงไป ด้วยความสุขอันเกิดแต่บรรพชา

อยู่ ณ ด้านหนึ่งของพระราชอุทยาน. ลำดับนั้น พระราชาเสด็จ

ประพาสพระราชอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นชนแม้ทั้งสองนั้นผู้นั่งอยู่

แล้ว เมื่อทรงแลดูนางปริพพาชิกาผู้มีรูปร่างงามเลิศน่าเลื่อมใสยิ่ง ก็มี

พระทัยปฏิพัทธ์ พระองค์ทรงสะท้านอยู่ด้วยอำนาจแห่งกิเลส ทรง

พระดำริว่า เราจักถามดูก่อน นางปริพพาชิกานี้จะเป็นอะไรกันกับ

ดาบสนี้ แล้วเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ ตรัสถามว่า ข้าแต่บรรพชิต

นางปริพพาชิกานี้เป็นอะไรกันกับท่าน. พระดาบสตอบว่ามหาบพิตรไม่

ได้เป็นอะไรกัน เป็นแต่บวชด้วยกันอย่างเดียว ก็แต่ว่า เมื่อครั้งเป็น

คฤหัสถ์ นางนี้ได้เป็นบาทบริจาริกาของอาตมภาพ พระราชาได้ทรง

สดับดังนี้แล้ว ทรงพระดำริว่า นางนี้มิได้เป็นอะไรกันกับพระดาบสนั้น

แต่เป็นบาทบริจาริกาเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ ก็ถ้าเราจักพาเอานางนี้ไปด้วย

กำลังความเป็นใหญ่ไซร้ พระดาบสนี้จักทำอย่างไรหนอ แลเราจัก

สอบถามดาบสนั้นดูก่อน ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปใกล้ กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าจะมีบุคคลมาพาเอา

นางปริพพาชิกา ผู้มีนัยน์ตากว้างงามน่ารัก มี

ใบหน้าอมยิ้ม ของท่านไปด้วยกำลัง ท่านจะ

ทำอย่างไรเล่า ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 822

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สสิลหาสินึ ได้แก่ผู้มีใบหน้ายิ้ม

เล็กน้อย. บทว่า พลา คจฺเฉยฺย ได้แก่พาเอาไปด้วยพลการ. บทว่า

กึ นุ กยิราสิ ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจะทำอย่างไรแก่บุคคลนั้น.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้ฟังพระดำรัสของพระราชานั้นแล้ว

กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ถ้าความโกรธ เกิดขึ้นแก่อาตมภาพแล้ว

ยังไม่เสื่อมคลายไป เมื่ออาตมภาพยังมีชีวิตอยู่

ก็ยังไม่หาย อาตมภาพ จะห้ามมันเสียโดยพลัน

ทีเดียว ดังฝนห่าใหญ่ชำระล้างธุลี ฉะนั้น.

พึงทราบเนื้อความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นดังนี้ :-

ข้าแต่มหาบพิตร ถ้าเมื่อใคร ๆ พานางนี้ไป ความโกรธพึงเกิด

ขึ้นแก่อาตมภาพในภายใน ความโกรธนั้นครั้นเกิดขึ้นแก่อาตมภาพใน

ภายในแล้ว ไม่พึงเสื่อมคลายไป จะไม่พึงเสื่อมคลายไป ตราบเท่าที่

อาตมภาพยังมีชีวิตอยู่ อาตมาภาพก็จักไม่ให้ความโกรธนั้นตั้งอยู่ข้างใน

โดยการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนได้โดยที่แท้แล อาตมภาพจะข่มห้ามกัน

เสียด้วยเมตตาภาวนาโดยพลัน เหมือนเมล็ดฝนห่าใหญ่ ชำระล้างธุลี

ที่เกิดขึ้นแล้วโดยพลัน ฉะนั้น.

พระมหาสัตว์ได้บันลือสีหนาทอย่างนี้. ฝ่ายพระราชาแม้ได้ทรง

สดับถ้อยคำของพระมหาสัตว์แล้ว ก็ไม่อาจจะห้ามพระทัยของพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 823

ที่ทรงปฏิพัทธ์ได้เพราะเป็นอันธพาล ทรงบังคับอำมาตย์คนหนึ่งว่า เธอ

จงนำนางปริพพรชิกานี้ไปยังพระราชนิเวศน์ อำมาตย์นั้นรับพระราช-

บัญชาแล้ว ได้พานางปริพพาชิกาผู้คร่ำครวญอยู่ว่า อธรรมกำลังเป็นไป

ในโลกไม่สมควรเลย ดังนี้เป็นต้นไปแล้ว พระโพธิสัตว์สดับเสียงคร่ำ

คราญของนาง แลดูครั้งเดียวแล้ว ไม่ได้แลดูอีก พวกราชบุรุษก็นำนาง

ผู้ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ไปสู่พระราชนิเวศน์แล้ว พระราชาพาลแม้นั้นก็มิ

ได้เนิ่นช้าอยู่ในพระราชอุทยาน รีบเสด็จไปพระราชวังรับสั่งให้หานาง

ปริพพาชิกานั้นมา แล้วเชื้อเชิญด้วยยศอันยิ่งใหญ่ แต่นางได้พรรณนา

โทษของยศและคุณของบรรพชาอยู่เรื่อย พระราชาทรงใช้วิธีการต่าง ๆ

ก็ไม่สามารถจะผูกใจนางไว้ได้ จึงรับสั่งให้ขังนางไว้ในห้องหนึ่ง แล้ว

ทรงริดำว่า นางปริพพาชิกานี้ มีศีลมีกัลยาณธรรม ไม่ปรารถนา

ยศเห็นปานนี้ แม้พระดาบสนั้น เมื่อคนเขาพานางที่ดีเห็นปานนี้ไปก็

มิได้แลดูด้วยความโกรธ แต่ธรรมดาบรรพชิตย่อมมีมายามาก ประกอบ

อะไร ๆ ขึ้นแล้วจะพึงทำความพินาศให้แก่เรา เราจะไปดูให้รู้ก่อนว่าแก

นั่งทำอะไรอยู่ ดำริดังนี้แล้ว ก็ไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้จึงเสด็จไปพระ-

ราชอุทยาน.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ได้นั่งเย็บจีวรอยู่ พระราชาพร้อมด้วยบริวาร

เล็กน้อย ค่อย ๆ เสด็จเข้าไปไม่ให้มีเสียงพระบาท พระโพธิสัตว์ไม่ได้

แลดูพระราชา เย็บจีวรเรื่อยไป พระราชาเข้าพระทัยว่า พระดาบสนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 824

โกรธจึงไม่ปราศรัยกับเรา แลด้วยทรงสำคัญว่า ดาบสโกงนี้ ทีแรกอวด

อ้างว่า จักไม่ให้ความโกรธเกิดขึ้น แม้ที่เกิดขึ้นแล้วก็จักข่มเสียโดยเร็ว

บัดนี้เป็นผู้กระด้างด้วยความโกรธ ไม่ปราศรัยกับเรา ดังนี้ จึงตรัส

คาถาที่ ๓ ว่า :-

ท่านกล่าวอวดอ้างไว้ในวันก่อนอย่างไร

หนอ วันนี้เป็นเหมือนว่ามีกำลัง ทำเป็นไม่

เห็น นั่งนิ่งเย็บสังฆาฏิอยู่ในบัดนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พลมฺหิว อปสฺสิโต คือเป็นเหมือน

ว่าอาศัยกำลัง. บทว่า ตุณฺหีกโต ได้แก่ ไม่พูดคำอะไร ๆ. บทว่า

สิพฺพมจฺฉสิ เท่ากับ สิพฺพนฺโต อจฺฉสิ แปลว่า เย็บอยู่.

พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงคิดว่า พระราชานี้เข้าพระทัยว่า

ที่เราไม่ปราศรัยก็ด้วยอำนาจความโกรธ เราจักทูลความที่เราไม่ลุอำนาจ

ความโกรธที่เกิดขึ้นให้ทรงทราบในบัดนี้ แล้วกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

ความโกรธเกิดขึ้นแก่อาตมภาพแล้ว ยัง

ไม่เสื่อมคลายไป เมื่ออาตมภาพยังมีชีวิตอยู่ก็

ยังไม่หาย แต่อาตมภาพได้ห้ามกันแล้วโดย

พลัน เหมือนฝนห่าใหญ่ชำระล้างธุลี ฉะนั้น.

พึงทราบเนื้อความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 825

ข้าแต่มหาบพิตร ความโกรธเกิดขึ้นแล้วแก่อาตมภาพ ความ

โกรธนั้นครั้นเกิดขึ้นแล้ว ยังไม่เสื่อมคลายไปจากอาตมภาพอีก

อาตมภาพไม่ได้ให้ความโกรธนั้น เข้าไปตั้งอยู่ในหทัยได้ เมื่ออาตมภาพ

ยังมีชีวิตอยู่ ความโกรธนั้นก็ยังไม่ตายด้วยประการฉะนี้ แต่อาตมภาพ

ได้ห้ามกันแล้วโดยฉับพลัน เหมือนเมล็ดฝนห่าใหญ่ชำระล้างธุลีฉะนั้น.

พระราชาทรงสดับ ดังนั้นแล้วทรงดำริว่า ดาบสนี้พูดหมายถึง

ความโกรธเท่านั้น หรือหมายถึงศิลปะอะไร ๆ อย่างอื่นด้วย เราจัก

ถามท่านดูก่อน เมื่อจะตรัสถาม ได้ตรัสคาถาที่ ๕ ว่า :-

ความโกรธเกิดขึ้นแก่ท่านแล้ว ยังไม่

เสื่อมคลายไปเป็นอย่างไร เมื่อท่านยังมีชีวิต

อยู่ ความโกรธก็ยังไม่หายเป็นอย่างไร ท่าน

ได้ห้ามกันความโกรธ เหมือนฝนห่าใหญ่ชำระ

ล้างธุลีฉะนั้น เป็นไฉน ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺเต อุปฺปชฺชิโน มุญฺจิ ความว่า

ความโกรธเกิดขึ้นแก่ท่านด้วยยังไม่เสื่อมคลายไปแล้วด้วย เป็นอย่างไร ?

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว กล่าวว่า มหาบพิตร ความโกรธ

มีโทษมากมายอย่างนี้ เพราะประกอบด้วยความพินาศใหญ่ ความโกรธ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 826

ชนิดหนึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่อาตมภาพ แต่ว่าอาตมภาพได้ห้ามกันความ

โกรธที่เกิดขึ้นแล้วได้ด้วยเมตตาภาวนา ดังนี้แล้ว เมื่อจะประกาศโทษ

ในความโกรธ จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

เมื่อความโกรธเกิดขึ้นแล้ว บุคคลย่อม

ไม่เห็นประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น เมื่อความ

โกรธไม่เกิดขึ้น บุคคลย่อมเป็นได้ดี ความ

โกรธนั้นเกิดขึ้นแก่อาตมภาพแล้ว ยังไม่เสื่อม

คลายไป ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนไร้

ปัญญา.

ชนทั้งหลายย่อมยินดีด้วยความโกรธที่

เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าเป็นศัตรูแก่ตัวเอง หาความ

ทุกข์ใส่ตัว ความโกรธนั้นเกิดขึ้นแก่อาตมภาพ

แล้ว ยังไม่เสื่อมคลายไป ความโกรธเป็น

อารมณ์ของคนไร้ปัญญา.

อนึ่ง เมื่อความโกรธเกิดขึ้น บุคคล

ย่อมไม่รู้จักประโยชน์ตน ความโกรธนั้นเกิด

ขึ้นแก่อาตมภาพแล้ว ยังไม่เสื่อมคลายไป

ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนไร้ปัญญา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 827

ผู้ที่ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ย่อมละ

ทิ้งกุศลเสีย และจะซัดส่ายประโยชน์แม้มา

มายได้ เขาประกอบด้วยเสนาคือกิเลสหมู่ใหญ่

ที่น่ากลัว มีกำลังสามารถปราบผู้อันให้อยู่ใน

อำนาจได้ ความโกรธนั้นยังไม่เสื่อมคลายไป

จากอาตมภาพ ขอถวายพระพร.

ธรรมดาไฟย่อมเกิดขึ้นที่ไม้สีไฟอัน

บุคคลสีอยู่ ไฟเกิดขึ้นแต่ไม้ใด ย่อมเผาไม้

นั้นเองให้ไหม้.

ความโกรธย่อมเกิดขึ้นแก่คนพาล ผู้

โฉดเขลาไม่รู้จริง เพราะความแข็งดี แม้เขา

ก็ถูกความโกรธนั้นแหละเผาลน.

ความโกรธย่อมเจริญขึ้นแก่ผู้ใด ดุจไฟ

เจริญขึ้นในกองหญ้าแลไม้ฉะนั้น ยศของ

บุคคลนั้นย่อมเสื่อมไป เหมือนพระจันทร์ข้าง

แรม ฉะนั้น.

ความโกรธของผู้ใดสงบลงได้ ประดุจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 828

ไฟที่ไม่มีเชื้อฉะนั้น ยศของผู้นั้นย่อมเต็ม

เปี่ยม เหมือนพระจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ปสฺสติ คือ ย่อมไม่เห็นแม้

กระทั่งประโยชน์ตน จะป่วยกล่าวไปใยถึงประโยชน์ผู้อื่น. บทว่า สาธุ

ปสฺสติ ได้แก่ ย่อมเห็นประโยชน์ทั้ง ๒ คือประโยชน์ตน ประโยชน์

ผู้อื่นได้ดี. บทว่า ทุมฺเมธโคจโร คือ เป็นสถานที่รองรับของบุคคล

ผู้ไร้ปัญญาทั้งหลาย. บทว่า ทุกฺขเมสโน คือ อยากได้ทุกข์ใส่ตัว.

บทว่า สทตฺถ ได้แก่ สิ่งที่เป็นประโยชน์ของตน คือความเจริญ

ทั้งโดยอรรถและโดยธรรม. บทว่า ปรกฺกเร ได้แก่ ทำประโยชน์

ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างไพบูลย์ให้เป็นของคนอื่น ท่านทั้งหลายจงนำออกไป

อาตมภาพไม่ต้องการสิ่งนี้.

บทว่า ส ภีมเสโน ความว่า เขาประกอบด้วยเสนาคือกิเลสหมู่

ใหญ่ที่จะให้ภัยเกิดขึ้น. บทว่า ปมทฺที คือ เพราะค่าที่ตนเป็นผู้มีเสนา

คือกิเลสหนา จึงเป็นผู้สามารถที่จะจับสัตว์ทั้งหลายแม้เป็นอันมากมา

ปราบปรามด้วยการกระทำให้อยู่ในอำนาจของตนได้. บทว่า น เม

อมุญฺจิตฺถ ความว่า ไม่ได้หลุดพ้นไปจากสำนักของอาตมภาพ อีกอย่าง

หนึ่ง ความว่า ไม่ตั้งอยู่ในหทัยของอาตมภาพ ดุจน้ำนมไม่ตั้งอยู่โดย

ความเป็นนมส้ม เพียงชั่วครู่ฉะนั้น ดังนี้ก็มี.

บทว่า กฏฺสฺมึ มตฺถมานสฺมึ ได้แก่ อัน บุคคลสีอยู่ด้วยไม้สีไฟ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 829

บาลีว่า มตฺถมานสฺมึ ดังนี้ ก็มี. บทว่า ยสฺมา ความว่า ไฟ

เกิดขึ้นแต่ไม้ใด ก็เผาไม้อันนั้นเอง. ไฟชื่อว่า คินิ.

บทว่า พาลสฺส อวิชานโต เท่ากับ พาลสฺส อวิชานนฺตสฺส

แปลว่า ผู้โง่เขลา ไม่รู้จริง. บทว่า สารมฺภา ชายเต ความว่า ความ

โกรธย่อมเกิดขึ้นแก่คนผู้ทำการฉุดมาฉุดไปว่า ฉันว่าท่านเพราะความ

แข็งดี อันมีเพราะทำให้เกินกว่าเหตุเป็นลักษณะ ดุจไฟป่าเกิดขึ้นเพราะ

การเสียดสีแห่งไม้สีไฟ ฉะนั้น.

บทว่า โสปิ เตเนว ความว่า แม้เขาคือคนพาล ก็ถูกความ

โกรธนั่นแหละเผาลน ดุจไม้ถูกไฟเผาอยู่ฉะนั้น. บาทคาถาว่า อนินฺโท

ธูมเกตุว แปลว่า ดุจไฟที่ไม่มีเธอฉะนั้น. บทว่า ตสฺส เป็นต้น ความว่า

ยศที่บุคคลผู้ประกอบด้วยอธิวาสนขันตินั้นได้แล้ว ย่อมเต็มเปี่ยมเหมือน

พระจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น.

พระราชาทรงฟังธรรมกถาของพระมหาสัตว์แล้ว ทรงยินดีรับสั่ง

ให้อำมาตย์คนหนึ่งนำนางปริพพาชิกามา แล้วตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

โดยที่ไม่มีความโกรธ ขอท่านทั้งสองจงดำรงอยู่ด้วยความสุข เกิดแต่

บรรพชาอยู่ในพระราชอุทยานนี้เถิด ข้าพเจ้าจะช่วยพิทักษ์รักษาโดย

ชอบธรรมแก่ท่านทั้ง ๒ ครั้นแล้วได้ขอขมาโทษนมัสการแล้วเสด็จหลีก

ไป บรรพชิตทั้งสองนั้นได้ อยู่ ณ พระราชอุทยานนั่นเอง ต่อมานาง

ปริพพาชิกาถึงมรณภาพ พระโพธิสัตว์ เมื่อนางปริพพาชิกาถึงมรณภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 830

แล้วก็เข้าถิ่นหิมพานต์ไป ทำอภิญญาและสมาบัติให้เกิด เจริญพรหม-

วิหาร ๔ แล้วไปสู่พรหมโลก.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง

ประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจจะ ภิกษุมักโกรธได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล

พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า นางปริพพาชิกาในครั้งนั้น ได้มาเป็น

มารดาพระราหุลในบัดนี้ พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์

ในบัดนี้ ส่วนปริพพาชกได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาจุลลโพธิชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 831

๖. มัณฑัพยชาดก

ว่าด้วยความรักที่มีต่อบุตร

[๑๓๘๐] เราเป็นผู้มีความต้องการบุญ ได้มีจิต

เลื่อมใสประพฤติพรหมจรรย์อยู่เพียง ๗ วัน

เท่านั้น ต่อจากนั้นมา แม้เราจะไม่มีความใคร่

บรรพชา ก็ทนประพฤติพรหมจรรย์ของเราอยู่

ได้ถึง ๕๐ กว่าปี ด้วยความสัตย์อันนี้ ขอความ

สวัสดีจงมีแก่ยัญญทัตตกุมาร พิษจงคลายออก

ยัญญทัตตกุมารจงรอดชีวิตเถิด.

[๑๓๘๑] เพราะเหตุที่เราเห็นแขกในเวลาที่มาถึง

บ้านเพื่อจะพักอยู่ บางครั้งไม่พอใจจะให้พัก

เลย แม้สมณพราหมณ์ผู้เป็นพหูสูต ก็ไม่ทราบ

ความไม่พอใจของเรา แม้เราไม่ประสงค์จะให้

ให้ได้ ด้วยความสัตย์นี้ขอความสวัสดี จงมี

แก่ยัญญทัตตกุมาร พิษจงคลายออก ยัญญทัตต

กุมารจงรอดชีวิตเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 832

[๑๓๘๒] ลูกรัก อสรพิษที่ออกจากโพรงกัดเจ้า

นั้นมีเดชมาก ไม่เป็นที่รักของแม่ในวันนี้เลย

อสรพิษนั้นกับบิดาของเจ้า ไม่แปลกกันเลย

ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่

ยัญญทัตตกุมาร พิษจงคลายออก ยัญญทัตต

กุมารจงรอดชีวิตเถิด.

[๑๓๘๓] ก็นักพรตทั้งหลายเป็นผู้สงบระงับ ฝึก

ฝนตนแล้ว ย่อมเว้นรอบนอกจากท่านกัณหะ

แล้วที่จะเป็นผู้ทนฝืนใจประพฤติพรหมจรรย์

ไม่มีเลย ดูก่อนท่านทีปายนะ ท่านเกลียดชัง

อะไร จึงสู้ฝืนใจประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้.

[๑๓๘๔] บุคคลออกบวชด้วยศรัทธาแล้ว กลับเข้า

บ้านอีก เป็นคนเหลวไหล เป็นคนกลับกลอก

เราเกลียดต่อถ้อยคำเช่นนี้ จึงสู้ฝืนใจประพฤติ

พรหมจรรย์อยู่นี้เป็นฐานะที่วิญญูชนสรรเสริญ

และเป็นฐานะของสัตบุรุษทั้งหลาย เราเป็นผู้

กระทำบุญด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 833

[๑๓๘๕] ท่านเลี้ยงดูสมณพราหมณ์ และคนเดิน

ทาง ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำและภิกษา-

หาร เรือนของท่านนี้บริบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำ

เป็นเหมือนบ่อน้ำ เออ ก็ท่านเกลียดต่อถ้อยคำ

อะไรแม้ไม่ประสงค์ก็ให้ทานนี้ได้.

[๑๓๘๖] บิดามารดาและ ปู่ ย่า ตา ยาย ของเรา

เป็นคนมีศรัทธาเป็นทานบดี รู้หลักนักปราชญ์

เราอนุวัตรตามธรรมเนียมของตระกูลนั้น กำ-

หนดใจไว้ว่า อย่าได้เป็นคนตัดธรรมเนียม

แห่งตระกูลภายหลัง เราเกลียดถ้อยคำเช่นนี้

แม้ไม่ประสงค์ก็ให้ทานนี้ได้.

[๑๓๘๗] ดูก่อนนางผู้มีร่างกายงาม เรานำเจ้าผู้ยัง

เป็นสาวรุ่น มีปัญญายังไม่สามารถ มีแต่

ตระกูลญาติ แม้เจ้าก็ยังไม่เคยแสดงความไม่

รักใคร่เรา เจ้าไม่มีความรักใคร่ปฏิบัติเราอยู่

เออก็นางผู้เจริญ การที่เจ้าอยู่ร่วมกับเราเห็น

ปานนี้ได้ เพราะเหตุอะไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 834

[๑๓๘๘] ตั้งแต่ไหนแต่ไรนานมาแล้ว อันภรรยา

ที่มีสามีบ่อย ๆ มิได้มีในตระกูลนี้ ดิฉันอนุวัตร

ตามธรรมเนียมของตระกูลนั้น กำหนดใจไว้

ว่า ขออย่าให้เป็นคนตัดธรรมเนียมของตระกูล

ในภายหลังเลย ดิฉันเกลียดต่อถ้อยคำเช่นนี้

แม้จะไม่มีความพอใจก็ปฏิบัติท่านได้.

[๑๓๘๙] ข้าแต่ท่านมัณฑัพยะ วันนี้ดิฉันพูด

ถ้อยคำที่ไม่ควรจะพูด ขอท่านจงอดโทษถ้อย

คำนั้นให้แก่ดิฉัน เพราะเห็นแก่ลูกเถิด สิ่งอื่น

อะไร ๆ ในโลกนี้ที่จะรักเท่าบุตรมิได้มี ยัญญ-

ทัตตบุตรของเรานี้ก็ได้รอดชีวิตแล้ว.

จบ มัณฑัพยชาดกที่ ๖

อรรถกถากัณหทีปายนชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุผู้กระสันรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สตฺตาหเมวาห

ดังนี้ ส่วนเนื้อเรื่องจักมีแจ้งในกุสราชชาดก.

๑. บาลี เป็น มัณฑัพยชาดก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 835

พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระสัน

จริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า ดังนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุ เมื่อครั้งพระพุทธเจ้ายังไม่เกิดขึ้น โบราณกบัณฑิตได้บวชในลัทธิ

นอกพุทธศาสนา ไม่มีความยินดี ยังประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้กว่า

๕๐ ปี ไม่แสดงความที่ตนกระสันให้ปรากฏแก่ใคร ๆ เพราะกลัวหิริ-

โอตตัปปะจะทำลายเธอบวชในศาสนาที่จะนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้ ตั้ง

อยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นครูเช่นเรา เหตุไรจึงทำความ

กระสันให้ปรากฏในท่ามกลางบริษัท ๔ เหตุไรจึงไม่รักษาหิริโอตตัปปะ

ของตนไว้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า โกสัมพิกะ ครองราช-

สมบัติอยู่ในพระนครโกสัมพีแคว้นวังสะ ครั้งนั้น นิคมแห่งหนึ่ง

มีพราหมณ์สองคนมีสมบัติคนละ ๘๐ โกฏิ เป็นสหายรักกันเห็นโทษ

ในกามคุณให้ทานเป็นการใหญ่ แล้วทั้ง ๒ ก็ละกาม ทั้ง ๆ ที่มหาชน

กำลังร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ได้ออกไปสร้างอาศรมบวชอยู่ในถิ่นหิมพานต์

เที่ยวแสวงหาเผือกมันผลไม้เลี้ยงชีพอยู่ ๕ ปี ยังไม่สามารถทำฌานให้

เกิดขึ้นได้ ครั้นล่วงไป ๕๐ ปี เพื่อต้องการจะเสพรสเค็มรสเปรี้ยว

จึงเที่ยวไปตามชนบทถึงแคว้นกาสี. ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งในแคว้นกาสี

นั้น ท่านทีปายนดาบสมีสหายคฤหัสถ์อยู่คนหนึ่ง ชื่อมัณฑัพยะ ทั้งสอง

ดาบสได้ไปเยี่ยมเขา เขาเห็นสองดาบสนั้นแล้วก็มีความยินดี สร้าง

บรรณศาลาถวายแล้วบำรุงด้วยปัจจัย ๔ สองดาบสอยู่ที่นั้น ๓ , ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 836

พรรษา แล้วลานายมัณฑัพยะ เที่ยวจาริกไปถึงเมืองพาราณสี อาศัย

อยู่ในอธิมุตติกสุสาน ทีปายนดาบสอยู่ ณ ที่นั้นพอควรแก่อัธยาศัย

แล้ว ก็กลับไปสู่สำนักสหายนั้นอีก แต่มัณฑัพยะดาบสยังอยู่ที่ป่าช้า

นั่นเอง.

อยู่มาวันหนึ่ง โจรคนหนึ่งขโมยของภายในเมือง ถือเอาทรัพย์

ออกไป เมื่อเจ้าของเรือนและเจ้าหน้าที่ตื่นขึ้นรู้ว่าขโมย ก็พากันตามจับ

จึงหนีออกทางท่อน้ำ รีบวิ่งเข้าป่าช้าทิ้งห่อทรัพย์ไว้ที่ประตูบรรณศาลา

แห่งพระดาบสแล้วหนีไป พวกมนุษย์ที่ตามจับเห็นห่อทรัพย์เข้าจึงคุก

คามว่า ไอ้ชฎิลร้าย กลางคืนเจ้าเที่ยวขโมยเขา กลางวันทำถือเพศดาบส

อยู่ ทุบตีแล้วจับตัวนำส่งพระราชา พระราชาไม่ทรงพิจารณาก่อน

รับสั่งให้ราชบุรุษเอาตัวไปเสียบหลาวเสีย พวกราชบุรุษนำตัวไปเสียบ

หลาวไม้ตะเคียนที่ป่าช้านั้น เสียบหลาวไม่เข้า จึงเปลี่ยนเอาหลาวไม้

สะเดาเสียบก็ไม่เข้าอีก เอาหลาวเหล็กเสียบก็ไม่เข้า ดาบสจึงใคร่ครวญดู

บุพกรรมของตน ลำดับนั้น ท่านก็เกิดญาณเครื่องระลึกชาติได้ ใช้

ญาณนั้นใคร่ครวญดูก็ได้รู้แล้ว ถามว่า ก็อะไรเป็นบุพกรรมของท่าน

ตอบว่า การเอาหนามไม้ทองหลางเสียบแมลงวัน เป็นบุพกรรม

ของท่าน นัยว่า ในภพก่อนท่านเกิดเป็นบุตรนายช่างไม้ ไปถากไม้กับ

บิดา จับแมลงวันมาตัวหนึ่งแล้วเอาหนามไม้ทองหลางมาเสียบ บาป

กรรมนั้นเองมาถึงเข้า ท่านรู้ตัวว่า ไม่อาจพ้นบาปกรรมนี้ได้ จึงได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 837

กล่าวกะราชบุรุษว่า ถ้าท่านต้องการจะเอาหลาวเสียบเราจงเอาหลาวไม้

ทองหลาง พวกราชบุรุษก็การทำตามเสียบเข้าแล้วก็วางคนซุ่มรักษาอยู่

แล้วหลีกไป พวกที่ซุ่มรักษาอยู่ได้คอยดูผู้ที่จะมาหาดาบส.

ครั้งนั้น ทีปายนดาบสคิดว่า เราไม่ได้พบสหายนานแล้ว จึงมา

สำนักของท่านมัณฑัพยะดาบส ได้ฟังข่าวในระหว่างทางในวันนั้นเองว่า

มัณฑัพยะดาบสถูกหลาวเสียบ ก็ไป ณ ที่นั้นแล้วยืนอยู่ ส่วน

ข้างหนึ่งถามว่า เพื่อน ! ท่านได้ทำผิดอย่างไรหรือ ? เมื่อดาบสนั้นตอบ

ว่า เราไม่ได้ทำผิด จึงถามว่า ท่านอาจจะรักษาใจตนไม่ให้มีความ

ขุ่นเคืองได้หรือไม่ ? มัณฑัพยะดาบสตอบว่า เพื่อน ! ผู้ที่จับเรามาส่ง

พระราชาเรามิได้มีใจขุ่นเคืองเลยทีปายนดาบสกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น

ร่มเงาของผู้มีศีลเช่นท่านเป็นความสุขสำหรับเรา แล้วเข้าไปนั่งพิง

หลาวอยู่ หยาดโลหิตที่ออกจากตัวมัณฑัพยะดาบสก็หยดลงต้องทีปายน

ดาบส หยาดโลหิตเหล่านั้นหยดลงที่สรีระอันมีสีดุจทอง แห้งดำไปทั้งตัว

ตั้งแต่นั้นมา ท่านจึงได้นามเริ่มต้นว่ากัณหทิปายนะ ท่านนั่งพิงหลาว

นั้นเองตลอดคืนยังรุ่ง วันรุ่งขึ้นพวกคนรักษาจึงไปกราบทูลเหตุการณ์

นั้นแต่พระราชา พระราชาทรงพระดำริว่า เรื่องนี้เราทำลงไปโดยไม่

พิจารณา จึงรีบเสด็จไปที่นั้น แล้วตรัสถามทีปายนดาบสว่า ดูก่อน

บรรพชิต เหตุไรท่านจึงนั่งพิงหลาวอยู่ ? ทีปายนดาบสตอบว่า มหา-

บพิตร อาตมภาพนั่งรักษาดาบสนี้อยู่ ก็มหาบพิตรทรงทราบแล้วหรือ

ว่าดาบสนี้ทำผิดหรือไม่ได้ทำผิด จึงได้ลงพระราชอาญาอย่างนี้ พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 838

ตรัสบอกว่าลงโทษไปโดยไม่พิจารณา พระดาบสจึงกล่าวแก่พระราชาว่า

มหาบพิตร ธรรมดาพระราชาควรจะพิจารณาก่อนแล้วจึงการทำดังนี้

แล้วแสดงธรรมว่า คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ถ้าเป็นคนเกียจคร้านแล้ว

ไม่ดีดังนี้เป็นต้น.

พระราชาทรงทราบว่า มัณฑัพยะดาบสไม่มีความผิดจึงรับสั่งให้

ถอนหลาวออก พวกราชบุรุษไม่สามารถจะถอนหลาวออกได้ มัณฑัพยะ

กราบทูลพระราชาว่า มหาบพิตร อาตมภาพถึงความพินาศย่อยยับ

อย่างนี้ด้วยอำนาจกรรมที่ได้ทำไว้แต่ปางก่อน ไม่มีใครอาจถอนหลาว

ออกจากตัวอาตมภาพได้ ถ้าพระองค์มีพระราชประสงค์จะพระราชทาน

ชีวิตแก่อาตมภาพไซร้ ก็จงโปรดให้เอาเลื่อยมาตัดหลาวนี้ให้เสมอหนัง

พระราชารับสั่งให้การทำตามนั้น ภายในร่างกายได้มีหลาวอยู่ภายใน

เรื่อยมา.

ได้ยินว่า ครั้งนั้น ดาบสนั้นเอาหนามทองหลางเรียว ๆ เสียบ

ก้นแมลงวัน หนามทองหลางติดอยู่ในตัวแมลงวัน แต่แมลงวันไม่

ตายเพราะถูกเสียบ ตายเมื่อหมดอายุของตน ฉะนั้น ดาบสนี้จึงไม่

ตาย พระราชาทรงนมัสการพระดาบสทั้งสองให้ขมาโทษแล้ว นิมนต์

ให้อยู่ในพระราชอุทยาน ทรงบำรุงแล้ว ตั้งแต่นั้นมามัณฑัพยะดาบส

ได้ชื่อเติมหน้าว่า อาณิมัณฑัพยะท่านอาศัยพระราชาอยู่ในพระราช-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 839

อุทยานนั้น ส่วนทีปายนดาบสรักษาแผลมัณฑัพยดาบสหายดีแล้ว ไป

สำนักนายมัณฑัพยะผู้เป็นสหายคฤหัสถ์ของตน.

บุรุษผู้หนึ่งเห็นทีปายนดาบสนั้นเข้าไปสู่บรรณศาลา จึงบอกแก่

นายมัณฑัพยะผู้เป็นสหาย นายมัณฑัพยะนั้นได้ฟังข่าวก็ยินดี พาบุตร

ภรรยาถือเครื่องสักการะมีของหอมดอกไม้และเครื่องลูบไล้เป็นต้น เป็น

อันมากไปสู่บรรณศาลา ไหว้ทีปายนดาบสแล้ว ล้างเท้าทาน้ำมันให้

ถวายน้ำปานะให้ดื่มแล้วนั่งฟังข่าวอาณิมัณฑัพยะดาบส ครั้งนั้นบุตรของ

เขาชื่อยัญญทัตตกุมารเล่นลูกข่างอยู่ในที่สุดที่จงกรม ก็ที่จอมปลวกแห่ง

หนึ่งใกล้บรรณศาลานั้น มีอสรพิษตัวหนึ่งอาศัยอยู่ลูกข่างที่กุมารปา

เหนือพื้นดินได้เข้าไปตกถูกศีรษะอสรพิษในโพรงจอมปลวก กุมารนั้น

ไม่รู้จึงเอามือล้วงเข้าไปในโพรง ครานั้นอสรพิษเดือดดาลเขาจึงกัด

เอามือ เขาสลบล้มลง ณ ที่นั้นด้วยกำลังอสรพิษ ลำดับนั้น มารดา

บิดารู้ว่าลูกถูกอสรพิษกัดจึงยกกุมารขึ้นแล้วอุ้มมาที่พระดาบสให้นอนลง

แทบเท้าแล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ธรรมดาบรรพชิตย่อมจะรู้โอสถหรือ

ปริต ขอท่านได้โปรดทำบุตรของข้าพเจ้าให้หายโรคเถิด พระดาบส

กล่าวว่า เราไม่รู้โอสถ เราเป็นบรรพชิตจักทำเวชกรรมไม่ได้ พระดาบส

ถูกเขาขอร้องว่า ถ้าเช่นนั้น ขอท่านได้ตั้งเมตตาในกุมารทำสัตยาธิษฐาน

เถิด จึงรับว่า ดีแล้วเราจักทำสัจกิริยาแล้ววางมือลงที่ศีรษะยัญญทัตต-

กุมาร จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 840

เราเป็นผู้มีความต้องการบุญ ได้มีจิต

เลื่อมใสประพฤติพรหมจรรย์อยู่เพียง ๗ วัน

เท่านั้น ต่อจากนั้นมา แม้เราจะไม่มีความใคร่

บรรพชา ก็ทานประพฤติพรหมจรรย์ของเราอยู่

รู้ถึง ๕๐ กว่าปี ด้วยความสัตย์อันนี้ ขอความ

สวัสดีจงมีแก่ยัญญทัตตกุมาร พิษจงคลายออก

ยัญญทัตตกุมารจงรอดชีวิตเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อถาปร ย จริต ความว่า

เพราะฉะนั้น ต่อจาก ๗ วันนั้นมาแม้เราจะได้มีความใคร่ ก็ทนประพฤติ

พรหมจรรย์ของเราอยู่ได้. บทว่า อากามโก วาปิ คือไม่ปรารถนา

บรรพชาเลย. บทว่า เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ความว่า ถ้าว่า

ความที่แห่งใคร ๆ เป็นผู้อันเราผู้ทนอยู่ด้วยความไม่พอใจถึง ๕๐ กว่าปี

ไม่บอกแล้วเป็นสัจจะไซร้ ด้วยความสัตย์นั้น ขอความสวัสดีจงมีแก่

ยัญญทัตตกุมาร ขอยัญญทัตตกุมารจงกลับได้ชีวิตเถิด.

พร้อมกับสัจกิริยา พิษในกายตอนบนของยัญญทัตตกุมารก็ตกเข้า

แผ่นดินหมด กุมารลืมนัยน์ตาขึ้นดูมารดาบิดาเรียกว่า แม่ แล้วพลิกนอน.

ลำดับนั้น กัณหทีปายนดาบสจึงกล่าวกะบิดาของกุมารนั้นว่า กำลังของ

เรา เราทำได้เท่านั้น ท่านจงทำกำลังของตนบ้างเถิด เขากล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 841

เราจักทำสัจกิริยาบ้าง แล้ววางมือลงที่หน้าอกบุตร จึงได้กล่าวคาถา

ที่ ๒ ว่า :-

เพราะเหตุที่เราเห็นแขกในเวลาที่มาถึง

บ้านเพื่อจะพักอยู่ บางครั้งไม่พอใจจะให้พัก

เลย แม้สมณพราหมณ์ผู้เป็นพหูสูต ก็ไม่ทราบ

ความไม่พอใจของเรา แม้เราไม่ประสงค์จะให้

ก็ให้ได้ ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมี

แก่ยัญญทัตตกุมาร พิษจงคลายออก ยัญญทัตต

กุมารจงรอดชีวิตเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาสกาเล คือในเวลาที่แขกมาถึง

บ้านเพื่อต้องการจะพักอยู่. บทว่า น จาปิ เม อปฺปิยต อเวทุ

ความว่า ก็แม้สมณพราหมณ์ที่เป็นพหูสูตก็ไม่ทราบเหตุ. คืออาการอัน

ไม่เป็นที่พอใจนี้ของเราว่า ผู้นี้ไม่พอใจจะให้ ผู้นี้ไม่พอใจพวกเรา

ด้วยคำนี้บิดาของกุมารย่อมแสดงว่า เราคงแลดูด้วยสายตาอันแสดง

ความรักอยู่. บทว่า เอเตน สจฺเจน อธิบายว่า ถ้าเราแม้ให้ทาน

ก็ไม่เธอผลของทานให้ด้วยความไม่พอใจของตน และชนเหล่าอื่นก็ไม่

ทราบเหตุคืออาการอันไม่เป็นที่พอใจของเราไซร้ ด้วยความสัตย์นี้ ขอ

ความสวัสดีจงมีแก่ยัญญทัตตกุมารเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 842

เมื่อบิดาทำสัจกิริยาอย่างนี้แล้ว พิษในกายตอนเหนือสะเอวก็ตก

เข้าแผ่นดิน กุมารลุกขึ้นนั่งได้แต่ยังยืนไม่ได้ ลำดับนั้น บิดาได้กล่าว

กะมารดาของกุมารนั้นว่า ที่รัก เราได้ทำกำลังของเราแล้ว ทีนี้เจ้าจง

ทำสัจกิริยาให้บุตรลุกขึ้นเดินได้ มารดากล่าวว่า ข้าแต่นายความสัตย์ของ

ฉันก็มีอยู่อย่างหนึ่งแต่ไม่อาจกล่าวต่อหน้านาย บิดากล่าวว่า อย่างไร ๆ

ก็กล่าวไปเถอะที่รัก จงทำบุตรของเราให้หายโรค นางรับคำว่า ดีแล้ว

เมื่อกระทำสัจกิริยา จึงได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

ลูกรัก อสรพิษที่ออกจากโพรงกัดเจ้า

นั้นมีเดชมาก ไม่เป็นที่รักของแม่ในวันนี้เลย

อสรพิษนั้นกับบิดาของเจ้า ไม่แปลกกันเลย

ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่

ยัญญทัตตกุมาร พิษจงคลายออก ยัญญทัตต

กุมารจงรอดชีวิตเถิด.

มารดาร้องเรียกบุตรว่า ตาต ในคาถานั้น.

บทว่า ปหูตเตโช คือมีพิษกล้า. บทว่า พิฬารา คือจากช่อง.

อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า อุทฺธจฺจ คือออกแล้ว

อธิบายว่า เลื้อยขึ้นมาจากโพรงจอมปลวก. บทว่า ปิตรญฺจ เต คือ

ในบิดาของเจ้าถึงในอรรถกถา บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 843

ข้อนี้มีอธิบายว่า แน่ะลูกยัญญทัตต อสรพิษนั้นก็ไม่แปลกอะไร

กับบิดาของเจ้า โดยไม่เป็นที่รักของแม่เลยเหมือนกัน ก็แหละเว้นความ

ไม่เป็นที่รักนั้นเสีย ความแปลกอะไรที่แม่เคยให้เจ้ารู้ย่อมไม่มีในวันนี้

ถ้าข้อนี้เป็นความสัตย์ไซร้ ด้วยความสัตย์อันนี้ขอความสวัสดีจงมีแก่เจ้า

เถิด.

พร้อมกับสัจกิริยา พิษทั้งหมดก็ตกลงเข้าแผ่นดิน ยัญญทัตตเมื่อ

ร่างกายหมดพิษแล้วลุกขึ้นเริ่มจะเล่นต่อไป เมื่อบุตรลุกขึ้นได้แล้ว

อย่างนี้ นายมัณฑัพยะเมื่อถามถึงอัธยาศัยของทีปายนดาบส จึงได้กล่าว

นักพรตทั้งหลายเป็นผู้สงบระงับ ฝึก

ฝนตนแล้ว ย่อมเว้นรอบนอกจากท่านกัณหะ

แล้วที่จะเป็นผู้ทนฝืนใจประพฤติพรหมจรรย์

ไม่มีเลย ดูก่อนท่านทีปายนะ ท่านเกลียดชัง

อะไร ? จึงสู้ฝืนใจประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้.

พึงทราบความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า

อิสรชนทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้น เหล่าใดเหล่าหนึ่งละกามเสีย

แล้วจึงบวชในโลกนี้ ชนเหล่านั้น นอกจากท่านกัณหะ คือชนเหล่าอื่น

เว้นท่านกัณหะผู้เจริญ ที่ชื่อว่าจะเป็นผู้ทนฝืนใจประพฤติพรหมจรรย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 844

ย่อมไม่มีก็ท่านเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้สงบเพราะระงับกิเลสด้วย

ฌานภาวนา ชื่อว่าเป็นผู้ฝึกแล้ว เพราะฝึกจักษุทวารเป็นต้นให้พ้นจาก

พยศหมดพิษ ยินดียิ่งแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ ท่านทีปายนะ

ผู้เจริญ ก็ท่านเกลียดชังความชั่วเพราะเหตุอะไร จึงสู้ฝืนใจประพฤติ-

พรหมจรรย์อยู่ได้ ทำไมจึงไม่สึกมาครองเรือนเล่า ?

เมื่อพระดาบสจะบอกเรื่องราวแก่เขา จึงได้กล่าวคาถาที่ ๕ ว่า :-

บุคคลออกบวชด้วยศรัทธาแล้ว กลับเข้า

บ้านอีก เป็นคนเหลวไหล เป็นคนกลับกลอก

เราเกลียดต่อถ้อยคำเช่นนี้ จึงสู้ฝืนใจประพฤติ

พรหมจรรย์อยู่นี้เป็นฐานะที่วิญญูชนสรรเสริญ

และเป็นฐานะของสัตบุรุษทั้งหลาย เราเป็นผู้

กระทำบุญด้วยประการฉะนี้.

บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งคำเป็นคาถานั้นว่า :-

เราเกลียดถ้อยคำเช่นนี้ว่า บุคคลเชื่อกรรมอันคำและผลแห่ง

กรรม ละสมบัติเป็นอันมากออกบวชแล้วกลับมาเพื่อสิ่งที่ตนละอีก บุคคล

นี้นั้นเป็นคนเหลวไหลหนอ เป็นคนกลับกลอกเหมือนเด็กชาวบ้านหนอ

แม้จะไม่ปรารถนาเพราะกลัวหิริและโอตตัปปะของตนจะทำลาย ก็ต้อง

ทนประพฤติพรหมจรรย์ไป ก็ธรรมดาว่าบรรพชาและบุญนั้นแม้นิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 845

หน่อย ก็เป็นฐานะที่วิญญูชนทั้งหลาย คือบัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้า

เป็นต้นสรรเสริญอย่างยิ่ง และเป็นฐานะที่อยู่ของสัตบุรุษทั้งหลายเหล่า

นั้น เราเป็นผู้กระทำบุญด้วยประการฉะนี้ คือด้วยเหตุแม้นี้ แม้จะ

ร้องไห้จนน้ำตานองหน้า ก็ฝืนใจประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้.

พระดาบสครั้นบอกอัธยาศัยของตนอย่างนี้แล้ว เมื่อจะย้อนถาม

นายมัณฑัพยะ จึงได้กล่าวคาถาที่ ๖ ว่า :-

ท่านเลี้ยงดูสมณพราหมณ์ และคนเดิน

ทาง ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำและภิกษา-

หาร เรือนของท่านนี้บริบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำ

เป็นเหมือนบ่อน้ำ เออ ก็ท่านเกลียดต่อถ้อยคำ

อะไรแม้ไม่ประสงค์ก็ให้ทานนี้ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺข คือให้ภิกษาหารอย่างอุดม

สมบูรณ์แก่สมณพราหมณ์และคนเดินทางทั้งหลายผู้เที่ยวไปอยู่. บทว่า

โอปานภูตว คือเหมือนบ่อน้ำสาธารณะซึ่งเขาขุดไว้ในทางหลวง ๔

แพร่ง.

ลำดับนั้น นายมัญฑัพยะเมื่อจะบอกอัธยาศัยของตน จึงกล่าว

คาถาที่ ๗ ว่า :-

บิดา มารดาและ ปู่ ย่า ตา ยาย ของเรา

เป็นคนมีศรัทธาเป็นทานบดี รู้หลักนักปราชญ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 846

เราอนุวัตรตามธรรมเนียมของตระกูลนั้น กำ

หนดใจไว้ว่า อย่าได้เป็นคนตัดธรรมเนียม

แห่งตระกูลภายหลัง เราเกลียดถ้อยคำเช่นนี้

แม้ไม่ประสงค์ก็ให้ทานนี้ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสุ สัมพันธ์กับ บทว่า สทฺธา

นี้ อธิบายว่า ได้เป็นผู้มีศรัทธาแล้ว. บทว่า อหุ เป็นต้น ความว่า

เป็นผู้มีศรัทธายิ่งกว่านั้น ยิ่งเป็นใหญ่ในทานด้วย เป็นผู้ส่องเนื้อความ

แห่งคำที่ท่านกล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงกล่าว จงกระทำดังนี้ให้แจ่มแจ้ง

ด้วย. บทว่า ต กูลวตฺต คือตามธรรมเนียมของตระกูลนั้น ถึงใน

อรรถกถาก็มีบาลีอย่างนี้ เหมือนกัน. บาทคาถาว่า มาห กุเล อนฺติม-

คนฺธิโน อหุ ความว่า นายมัณฑัพยะแสดงว่า เรากำหนดใจไว้ว่า

ขอเราอย่าได้เป็นคนสุดท้ายเขาทั้งหมดในตระกูลของตนด้วย อย่าได้เป็น

คนตัดธรรมเนียมแห่งตระกูลด้วยดังนี้ เกลียดวาทะว่าเป็นคนตัดธรรม-

เนียมแห่งตระกูลภายหลังนั้น แม้ไม่ประสงค์เลย ก็ให้ทานนี้ได้.

ก็แหละ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว นายมันฑัพยะเมื่อจะถาม

ภรรยาของตน จึงได้กล่าวคาถาที่ ๘ ว่า :-

ดูก่อนนางผู้มีร่างกายงาม เรานำเจ้าผู้ยัง

เป็นสาวรุ่น มีปัญญายังไม่สามารถ มาแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 847

ตระกูลญาติ แม้เจ้าก็ยังไม่เคยแสดงความไม่

รักใคร่เรา เจ้าไม่มีความรักใคร่ปฏิบัติเราอยู่

เออ ก็นางผู้เจริญการที่เจ้าอยู่ร่วมกับเราเห็น

ปานนี้ได้ เพราะเหตุอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสมตฺถปญฺ คือผู้ยังเป็นยาว

น้อย ๆ มีปัญญายังไม่สามารถที่จะจับจ่าย. คำว่า ยนฺตานยึ ตัดบทเป็น

ย ต อานยึ มีอธิบายว่า เรานำเจ้าผู้ยังเป็นยาวรุ่นมาจากตระกูล

แห่งญาติ. บทว่า อญฺตฺร กามา ปริจารยนฺตา ความว่า เจ้าไม่

มีความรักใคร่ แม้ปฏิบัติเราอยู่ด้วยความไม่เต็มใจก็ไม่ให้เรารู้ว่าตนไม่

มีความรักตลอดกาลประมาณเท่านี้ คือแสดงความรักใคร่ปรนนิบัติเรา

แล้ว. บทว่า เกนวณฺเณน แปลว่า ด้วยเหตุอะไร นายมัณฑัพยะ

ร้องเรียกภรรยาว่านางผู้เจริญ. บทว่า เอวรูโป ความว่า การที่เจ้า

อยู่ร่วมกับเราผู้มีความปฏิกูลเสมอด้วยอสรพิษเห็นปานนี้อยู่ได้ คือเป็น

ดุจว่าอยู่ร่วมกับคนที่รักได้อย่างไร ?

ลำดับนั้น เมื่อภรรยาจะบอกแก่สามี จึงได้กล่าวคาถาที่ ๙ ว่า :-

ตั้งแต่ไหนแต่ไรนานมาแล้ว อันภรรยา

ที่มีสามีบ่อย ๆ มิได้มีในตระกูลนี้ ดิฉันอนุวัตร

ตามธรรมเนียมของตระกูลนั้น กำหนดใจไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 848

ว่า ขออย่าให้เป็นคนตัดธรรมเนียมของตระกูล

ในภายหลังเลย ดิฉันเกลียดต่อถ้อยคำเช่นนี้

แม้จะไม่มีความพอใจก็ปฏิบัติท่านได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารา ทูเร เป็นไวพจน์ของ

กันและกัน นางเมื่อจะแสดงธรรมเนียมนั้นว่า นานมาก จึงกล่าว

อย่างนี้. ศัพท์ว่า อิธ เป็นเพียงนิบาต ความว่า ในกาลไหน ๆ ก็ไม่มี

บทว่า ปรปรา คือที่เปลี่ยนผู้ชายบ่อย ๆ.

ข้อนี้มีอรรถกถาธิบายว่า นาย ตั้งแต่ไหนแต่ไรนานมาแล้ว

จนกระทั่งถึง ๗ ชั่วตระกูล อันภรรยาที่มีสามีบ่อย ๆ มิได้มีในตระกูล

แห่งญาติของดิฉันเลย แม้หญิงบางคนจะทั้งกะสามีแล้วก็ไม่เคยที่จะคว้า

เอาชายอื่นมาเป็นสามีเลย. บทว่า ต กูลวตฺต ดิฉันเมื่อจะอนุวัตร

ตามธรรมเนียมของตระกูล คือตามประเพณีของตระกูลนั้น กำหนดใจ

ไว้ว่า ขอเราอย่าพึงเป็นหญิงกลับกลอกคนสุดท้ายในตระกูลของตนเถิด

เกลียดวาทะว่า เป็นหญิงตัดธรรมเนียมของตระกูลคนสุดท้ายในตระกูล

นั้น แม้จะไม่มีความพอใจก็ปฏิบัติ ท่านได้ คือเป็นผู้ทำความขวนขวาย

เป็นผู้บำเรอใกล้เท้าท่านได้.

ครั้นนางได้กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงคิดว่าความลับที่ไม่ควรจะกล่าว

ต่อหน้าสามี เราได้กล่าวแล้วเขาคงโกรธเรา เราจะขอโทษเขา ต่อหน้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 849

พระดาบสผู้เข้าถึงตระกูลของเรา เมื่อจะให้สามีอดโทษ จึงได้กล่าวคาถา

ที่ ๑๐ ว่า :-

ข้าแต่ท่านมัณฑัพยะ. วันนี้ดิฉันพูด

ถ้อยคำที่ไม่ควรจะพูด ขอท่านจงอดโทษถ้อย

คำนั้นให้แก่ดิฉัน เพราะเห็นแก่ลูกเถิด สิ่งอื่น

อะไร ๆ ในโลกนี้ที่จะรักเท่าบุตรมิได้มี ยัญญ

ทัตตบุตรของเรานี้ก็ได้รอดชีวิตแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ต ขมต แปลว่า จงอดโทษ

ถ้อยคำนั้น. บทว่า ปุตฺตเหตุ มมชฺช ความว่า ขอท่านจงอดโทษ

ถ้อยคำที่ฉันพูดแล้วนั้น เพราะเหตุแห่งบุตรนี้ในวันนี้เถิด. บทว่า

โส โน อย ความว่า ฉันพูดคำนั้นเพราะเหตุแห่งบุตรคนใด บุตร

ของเราคนนั้นก็ได้รอดชีวิตแล้ว เพราะบุตรคนนี้รอดชีวิตแล้วนั่นแหละ

ขอท่านจงอดโทษแก่ดิฉัน ตั้งแต่วันนี้ไปดิฉันจักเป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจ

ของท่าน.

ลำดับนั้น นายมัณฑัพยะได้กล่าวกะภรรยาว่า ลุกขึ้นเถิด ที่รัก

เราอดโทษให้เจ้า ตั้งแต่นี้ไปเจ้าอย่าได้มีจิตกระด้าง แม้เราก็จะไม่เกลียด

เจ้า พระดาบสโพธิสัตว์กล่าวกะนายมัณฑัพยะว่า อาวุโส การที่ท่าน

หาทรัพย์ได้มาโดยลำบาก แล้วบริจาคทานโดยไม่เชื่อกรรมและผลแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 850

กรรมนั้นเป็นการไม่สมควร แต่นี้ไปท่านจงเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม

ให้ทานเถิด นายมัณฑัพยะรับคำว่า ดีแล้ว แล้วกล่าวกะพระดาบส

โพธิสัตว์ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านดำรงอยู่ในความเป็นทักขิไณยบุคคลของ

ข้าพเจ้าไม่มีความยินดี ประพฤติพรหมจรรย์เป็นการไม่สมควร ตั้งแต่

นี้ไปขอท่านจงทำจิตให้เลื่อมใส มีจิตบริสุทธิ์ ยินดีในฌาน ประพฤติ

พรหมจรรย์โดยลักษณะที่ข้าพเจ้าทำสักการะแก่ท่านในบัดนี้แล้ว จะได้

รับผลมากเถิด แล้วสองสามีภรรยาก็นมัสการพระมหาสัตว์ แล้วลุกจาก

อาสนะไป ตั้งแต่นั้นมาภรรยาก็มีความเสน่หาในสามีเป็นอย่างดี นาย

มัณฑัพยะก็มีจิตเลื่อมใสถวายทานด้วยศรัทธา พระโพธิสัตว์ก็บรรเทา

ความเบื่อหน่ายเสียได้ ทำฌานและอภิญญา ให้เกิดแล้วเป็นสิ่งมีพรหมโลก

เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง-

ประกาศสัจธรรมเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสัน ได้ดำรงอยู่ในโสดา-

ปัตติผล พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า นายมัณฑัพยะในครั้งนั้น ได้มา

เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ ภรรยาในครั้งนั้น ได้มาเป็นนางวิสาขาใน

บัดนี้ บุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระราหุลในบัดนี้ อาณิมัณฑัพยะ

ดาบส ได้มาเป็นพระสารีบุตรในบัดนี้ ส่วนกัณหทีปายนดาบสในครั้ง

นั้น คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถากัณหทีปายชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 851

๗. นิโครธชาดก

ว่าด้วยการคบหากับคนดี

[๑๓๙๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านิโครธ

ท่านสาขะเสนาบดีพูดว่า เราไม่รู้จักคนนี้เลยว่า

เป็นใครกัน หรือเป็นเพื่อนของใคร พระองค์

จะทรงเข้าพระทัยอย่างไร.

[๑๓๙๑] ลำดับนั้น บุรุษผู้ทำตามคำของท่านสาขะ

เสนาบดีเข้าจับคอ ตบหน้าข้าพระองค์ขับไส

ออกไป.

[๑๓๙๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชานิกร

ธรรมอันไม่ประเสริฐเช่นนี้. อันท่านสาขะเสนา-

บดีผู้เป็นเพื่อนเก่าของพระองค์ เป็นคนมีความ

คิดทราม เป็นคนอกตัญญูประทุษร้ายมิตร ได้

กระทำแล้ว.

[๑๓๙๓] ดูก่อนสหาย เรื่องนี้เราไม่รู้เลย แม้ใคร ๆ

ก็มิได้บอกเรา ท่านมาบอกเราแล้วว่า ท่าน

สาขะเสนาบดีฉุดคร่าท่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 852

[๑๓๙๔] ท่านเป็นคนทำเพื่อนให้มีชีวิตอยู่สบายดี

ท่านเป็นคนให้อิสริยยศ คือความเป็นใหญ่ใน

หมู่มนุษย์แก่เรา และแก่สาขะเสนาบดีทั้งสอง

คน เราได้รับความสำเร็จเพราะท่าน ในข้อนี้

เราไม่มีความสงสัยเลย.

[๑๓๙๕] กรรมที่บุคคลทำในอสัตบุรุษ ย่อม

ฉิบหายไม่งอกงามเหมือนพืชที่บุคคลหว่านลง

ในไฟย่อมถูกไฟไหม้ไม่งอกงาม ฉะนั้น.

[๑๓๙๖] ส่วนกรรมที่บุคคลทำในคนกตัญญู มีศีล

มีความประพฤติประเสริฐ ย่อมไม่ฉิบหายไป

เหมือนพืชที่บุคคลหว่านลงในนาดี ฉะนั้น.

[๑๓๙๗] ราชบุรุษทั้งหลาย จงฆ่าสาขะเสนาบดี ผู้

ชั่วช้ามักหลอกลวง มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ

คนนี้เสียด้วยหอกทั้งหลาย เราไม่อยากให้มัน

มีชีวิตอยู่เลย.

[๑๓๙๘] ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์ได้โปรด

อดโทษให้แก่เขาเถิด ชีวิตของคนตายแล้วไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 853

อาจจะนำกลับคืนมาได้ ขอได้ทรงโปรดอดโทษ

แก่อสัตบุรุษเถิดพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่

อยากให้ฆ่าเขา.

[๑๓๙๙] ควรคบแต่ท่านนิโครธเท่านั้น ไม่ควร

เข้าไปคบเจ้าสาขะอยู่ ตายเสียในสำนักท่าน

นิโครธประเสริฐ ว่า เป็นอยู่ในสำนักเจ้าสาขะ

จะประเสริฐอะไร.

จบ นิโครธชาดกที่ ๗

อรรถกถานิโครธชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

พระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนาเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า น จาหเมต

ชานามิ ดังนี้.

ได้ยินว่า วันหนึ่งภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภาถึงเรื่อง

พระเทวทัต ที่ภิกษุทั้งหลายตักเตือนว่า ดูก่อนท่านเทวทัต พระศาสดา

ทรงมีพระอุปการะแก่เธอมา เพราะเธอได้อาศัยพระองค์ จึงได้

บรรพชาอุปสมบท ได้เรียนพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก และได้ฌาน

แม้ลาภสักการะของเธอก็เกิดแต่พระทศพลทั้งนั้น พระเทวทัตยังยก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 854

สลากหญ้าขึ้นประกาศว่า อุปการคุณแม้เพียงเท่านี้เราก็ไม่แลเห็นว่า

พระสมณโคดมกระทำให้แก่เรา ดังนี้ พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไร ? เมื่อ

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัตเป็นอกตัญญูประทุษร้ายมิตร แม้

ในกาลก่อน พระเทวทัตก็เป็นคนอกตัญญูประทุษร้ายเหมือนกัน แล้ว

ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระเจ้ามคธราชครองราชสมบัติอยู่ในนครราชคฤห์

ครั้งนั้นเศรษฐีเมืองราชคฤห์ได้ขอธิดาของเศรษฐีในชนบทมาให้เป็น

ภรรยาของบุตรตน นางนั้นเป็นหญิงหมัน ต่อมาภายหลังตระกูลนั้นก็

เสื่อมลาภสักการะลง เขาพูดกันให้นางนั้นได้ยินว่า เมื่อหญิงหมันมาอยู่

เรือนลูกชายเรา วงศ์ตระกูลจักเจริญได้อย่างไร นางได้ฟังคำนั้นจึงคิดว่า

ช่างเถอะ เราจักทำมีครรภ์ลวงคนเหล่านี้ แล้วกล่าวถามหญิงพี่เลี้ยงที่

ไว้วางใจ ถึงวิธีการของหญิงมีครรภ์ว่า ธรรมดาหญิงที่มีครรภ์จะต้องทำ

อย่างไรบ้าง ? ครั้นได้ฟังแล้ว เมื่อถึงคราวมีระดูก็ปกปิดเสีย แสดงกิริยา

ของหญิงแพ้ท้อง มีชอบของเปรี้ยวเป็นต้น ในเวลาที่มือเท้าบวมจึงทุบ

หลังมือหลังเท้าให้นูน เอาผ้าเก่าพันท้องให้โตขึ้นทุกวัน ๆ ทำหัวนมให้

ดำ แม้จะทำสรีรกิจก็ไม่ทำต่อหน้าคนอื่นนอกจากหญิงพี่เลี้ยงคนนั้น แม้

สามีก็ได้ช่วยบริหารครรภ์แก่นางอยู่มาได้ ๙ เดือนด้วยอาการอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 855

นางจึงลาพ่อผัวแม่ผัวจะไปคลอดบุตร ณ เรือนบิดาในชนบท แล้วก็

ขึ้นรถออกจากเมืองราชคฤห์เดินทางไปด้วยบริวารใหญ่.

ข้างหน้านาง มีพวกเกวียนไปพวกหนึ่ง นางไปถึงที่ซึ่งพวกเกวียน

หยุดพักแล้วไปในเวลาอาหารเช้า วันหนึ่งหญิงเข็ญใจคนหนึ่งที่อาศัยไป

ในพวกเกวียนนั้น ตลอดบุตรที่โคนต้นไทรต้นหนึ่งในกลางคืน ครั้น

รุ่งเช้าเมื่อพวกเกวียนออกเดินทาง จึงคิดว่า เราเว้นพวกเกวียนเสียแล้ว

ไม่อาจไปได้ แลเมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ก็อาจที่จะได้บุตร ดังนี้แล้วจึงเอารถ

และครรภมลทินมาราดลงที่ควงข่ายต้นไทรแล้วทิ้งบุตรไป เทวดาได้มา

อารักขาทารกไว้ เพราะทารกนั้นไม่ใช่สัตว์สามัญ คือองค์พระโพธิสัตว์

ทีเดียว แลครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้มาถือปฏิสนธิเช่นนั้น.

เวลาเช้า หญิงหมันได้ไปถึงที่นั้นในเวลาอาหารเช้า คิดว่าจักทำ

สรีรกิจจึงไปที่โคนต้นไทรกับหญิงพี่เลี้ยงนั้น เห็นทารกมีวรรณะดังทอง

จึงพูดกับพี่เลี้ยงว่า กิจของเราสำเร็จแล้ว แล้วก็แก้ผ้าพ้นท้องออก เอา

โลหิตและครรภมลทินทาหน้าขาแล้วบอกว่าตนคลอดบุตร ทันใดนั้นพวก

บริวารชนต่างพากันร่าเริงยินดี ช่วยกันเอาม่านกั้นให้นาง แล้วมีหนังสือ

ส่งไปนครราชคฤห์ ลำดับนั้น พ่อผัวแม่ผัวของนางมีหนังสือส่งไปว่า

เมื่อคลอดแล้วก็ไม่ต้องไปตระกูลบิดาจงกลับมาที่นี้เถิด นางจึงกลับเข้า

นครราชคฤห์ทันที เมื่อจะรับขวัญตั้งชื่อทารก ญาติทั้งหลายตั้งชื่อให้

ว่า นิโครธกุมาร เพราะเกิดที่โคนต้นไทร ในวันเดียวกันนั้นหญิง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 856

สะใภ้ของอนุเศรษฐีก็ไปตระกูลบิดามารดาเพื่อจะคลอดบุตร ได้คลอด

บุตรที่ใต้กิ่งไม้แห่งหนึ่งในระหว่างทาง พวกญาติได้ตั้งชื่อให้ทารกนั้นว่า

สาขกุมาร และในวันเดียวกันนั้น ภรรยาของช่างชุนที่อาศัยมหาเศรษฐี

อยู่ ก็คลอดบุตรที่ระหว่างกองผ้าขี้ริ้ว พวกญาติจึงตั้งชื่อให้ทารกนั้นว่า

โปติกะ.

มหาเศรษฐีทราบว่า ทารกทั้งสองคนนั้นเกิดในวันที่นิโครธ-

กุมารเกิด จึงนำมาบำรุงเลี้ยงไว้ร่วมกับนิโครธกุมาร กุมารทั้งสามนั้น

เติบโตมาพร้อม ๆ กัน ครั้นเจริญวัยแล้วจึงไปเมืองตักกศิลาเรียนศิลปะ

สองบุตรเศรษฐีให้ทรัพย์เป็นค่าสอนแก่อาจารย์คนละพัน แต่โปติก-

กุมารคอยรับเรียนศิลปะในสำนักนิโครธกุมาร เมื่อกุมารทั้งสามสำเร็จ

การศึกษาแล้ว จึงลาอาจารย์ออกเที่ยวไปตามชนบท ถึงเมืองพาราณสี

โดยลำดับ นอนอยู่ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง.

ครั้งนั้น เป็นคราวที่พระเจ้าพาราณสีเสด็จสวรรคตได้เจ็ดวัน

พวกเสนามาตย์ให้ตีกลองประกาศทั่วนครว่า วันพรุ่งนี้จักเสี่ยงบุศยราช-

รถ ขณะที่เพื่อนรักทั้ง ๓ พากันนอนหลับอยู่ที่โคนต้นไม้ โปติกะลุกขึ้น

เวลาเช้ามืด นั่งนวดฟั้นเท้านิโครธกุมารอยู่ บนต้นไม้นั้นมีไก่นอนอยู่

สองตัว ไก่ตัวบนถ่ายอุจจาระลงถูกไก่ตัวล่าง ลำดับนั้น ไก่ตัวล่างจึง

ถามไก่ตัวบนว่า ใครถ่ายอุจจาระ ไก่ตัวบนตอบว่า เพื่อนอย่าโกรธเลย

เราไม่รู้จึงถ่ายลง ไก่ตัวล่างต่อว่าไก่ตัวบนว่า เจ้าสัตว์ร้าย เจ้าเข้าใจว่า

ตัวข้าเป็นที่ถ่ายอุจจาระของเจ้าหรือ เจ้าไม่รู้จักความดีของข้าหรือ ? ไก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 857

ตัวบนกล่าวกะไก่ตัวล่างนั้นว่า เจ้าสัตว์ร้าย เมื่อข้าซึ่งเป็นผู้ไม่รู้ยอมรับ

แล้วว่าถ่ายเอง เจ้ายังโกรธอยู่อีก อะไรนะที่เป็นความดีของเจ้า ไก่ตัว

ล่างตอบว่า ผู้ใดฆ่าเราแล้วกินเนื้อ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์พันหนึ่งแต่เช้า

ทีเดียว ฉะนั้นข้าจึงถือตัวนัก ไก่ตัวบนกล่าวกะไก่ตัวล่างนั้นว่า เจ้าสัตว์

ร้าย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เจ้ายังถือตัวได้ เรานี่สิถ้าใครฆ่าแล้วกินเนื้อ

กล้ามของเรา เขาจะได้เป็นพระราชาแต่เช้าทีเดียว คนที่กินเนื้อกลาง ๆ

จะได้เป็นเสนาบดี คนที่กินเนื้อติดกระดูก จะได้เป็นขุนคลัง โปติกะ

ได้ยินถ้อยคำของไก่ทั้งสองนั้น จึงคิดว่าจะเป็นประโยชน์อะไรด้วยทรัพย์

พันหนึ่ง ราชสมบัติเท่านั้นประเสริฐ จึงค่อย ๆ ขึ้นต้น ไม้ไปจับไก่ตัวที่

นอนบนลงมาฆ่า ย่างบนถ่านไฟแล้วฉีกเนื้อกล้ามให้นิโครธกุมาร ให้

เนื้อกลาง ๆ แก่สาขกุมาร ตัวเองบริโภคเนื้อติดกระดูก ก็แลครั้นบริโภค

กันแล้ว โปติกะจึงพูดว่า เพื่อนนิโครธ วันนี้ท่านจักได้เป็นพระราชา

เพื่อนสาขะ วันนี้ท่านจักได้เป็นเสนาบดี ส่วนเราจักได้เป็นขุนคลัง ถูก

สองสหายถามว่า ท่านรู้ได้อย่างไร ? จึงเล่าเรื่องราวให้ฟังทุกประการ.

สามสหายนั้น ครั้นถึงเวลาบริโภคอาหารเช้า ก็พากันเข้าเมือง

พาราณสี บริโภคข้าวปายาสที่ระคนด้วยเนยใสและน้ำตาลกรวดที่เรือน

พราหมณ์คนหนึ่ง แล้วออกจากเมืองเข้าพระราชอุทยาน นิโครธกุมาร

นอนบนแผ่นศิลา สองกุมารนอนข้างนอก ขณะนั้นพวกเสนามาตย์

ทั้งหลายได้เอาเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์วางไว้ ภายในบุศยราชรถแล้ว

ปล่อยไป ความพิสดารของการเรื่องบุศยราชรถนั้น จักมีแจ้งในมหา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 858

ชนกชาดก บุศยราชรถไปถึงพระราชอุทยานก็หันกลับหยุดอยู่ ประหนึ่ง

ว่าเตรียมการคอยท่าให้คนขึ้น ปุโรหิตคิดว่า สัตว์ผู้มีบุญคงจะมีในพระ

ราชอุทยาน จึงเข้าพระราชอุทยาน เห็นกุมารเข้าก็เลิกผ้าปลายเท้าขึ้น

พิจารณาลายลักษณ์ที่เท้าทั้งสอง ก็ทราบชัดว่า ราชสมบัติเมืองพาราณสี

ยังคงดำรงอยู่ต่อไป กุมารนี้สมควรเป็นราชาธิราชใหญ่ยิ่งทั่วชมพูทวีป

จึงสั่งให้ประโคมขึ้น.

นิโครธกุมารตื่นขึ้น เลิกผ้าคลุมหน้าออก แลเห็นคนประชุม

กันมาก พลิกกลับมานอน ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปอีกหน่อยหนึ่ง แล้ว

ลุกขึ้นนั่งขัดสมาธิบนแผ่นศิลา ลำดับนั้น ปุโรหิตคุกเข่าลงกล่าวกะ

นิโครธกุมารนั้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพราชสมบัติถึงแก่พระองค์

แล้ว เมื่อนิโครธกุมารกล่าวว่า ดีแล้ว ก็จัดราชพิธีให้นั่งเหนือกองแก้ว

ณ ที่นั้น แล้วอภิเษกตามราชประเพณี นิโครธกุมารนั้นครองราช

สมบัติแล้ว พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่ราชกุมาร แล้วเสด็จเข้า

พระนครด้วยสักการะใหญ่ แม้โปติกะก็ตามเสด็จเข้าไปด้วย จำเดิมแต่

นั้นมา พระมหาสัตว์ได้ครองราชสมบัติในนครพาราณสีโดยธรรม วัน

หนึ่งพระองค์ทรงระลึกถึงมารดาบิดา จึงกล่าวกะสาขะว่า แน่ะเพื่อน

เราไม่อาจอยู่โดยปราศจากมารดาบิดาได้ ท่านพร้อมด้วยบริวารใหญ่จง

ไปหามารดาบิดาของเรามา. สาขเสนาบดีทูลปฏิเสธว่า ข้าพระองค์ไม่มี

กิจที่จะต้องไปในที่นั้น ต่อจากนั้นพระราชารับสั่งโปติกะให้ไปรับ โปติก-

กุมารรับพระราชบัญชาว่า ได้พระเจ้าข้า แล้วก็ไป ณ ที่นั้น เข้าไปหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 859

พระชนกชนนีของพระเจ้านิโครธราช แจ้งว่า นิโครธกุมารบุตรของ

ท่านได้ราชสมบัติแล้ว มาเถิดท่านเราจักไป ณ ที่นั้น พระชนกชนนีจึง

ห้ามว่า อย่าให้เราไปเลยสมบัติของเราก็มีอยู่แล้ว. โปติกกุมารจึงมาบอก

มารดาบิดาของสาขเสนาบดี ท่านทั้งสองนั้นก็ไม่ยอมไป จึงได้มาหา

มารดาบิดาของตน อ้อนวอนจะให้ไปอยู่ด้วย ท่านทั้งสองนั้นก็ห้ามเสีย

ว่า ลูกรัก เราจักขอเป็นอยู่ด้วยทำการชุนเช่นนี้ อย่าให้เราต้องไปเลย

โปติกะกุมารครั้นไม่ได้มารดาบิดาไปแล้ว ก็กลับมายังเมืองพาราณสี คิดว่า

จะไปพักที่เรือนของเสนาบดีให้หายเหนื่อย แล้วจึงจะเข้าเฝ้าพระเจ้านิ-

โครธราชต่อภายหลัง จึงไปที่ประตูเรือนเสนาบดี กล่าวกะนายประตูว่า

จงไปบอกท่านเสนาบดีว่า นายโปติกะสหายของท่านมาหานายประตูได้

ทำตามนั้น.

ฝ่ายสาขเสนาบดีผูกเวรในโปติกุมารว่า โปติกะนี้ไม่ให้ราช-

สมบัติแก่เรา ไปให้แก่นิโครธกุมารผู้สหายเสีย พอสาขเสนาบดีได้ฟัง

คำนั้นเท่านั้นก็โกรธออกมาว่าว่า ใครเป็นสหายของไอ้คนนี้ มันเป็น

คนบ้า ลูกอีทาสี จงจับมันไปแล้วให้บ่าวใช้มือเท้าศอกเข่าทุบถองจับคอ

ใสออกไป โปติกกุมารนั้นคิดว่า ไอ้สาขะมันได้ตำแหน่งเสนาบดีก็เพราะ

เรามันยังอกตัญญูประทุษร้ายมิตร ให้คนทุบถองขับไล่เรา แต่ท่าน

นิโครธเป็นบัณฑิตกตัญญู เป็นสัตบุรุษ เราจักไปเฝ้าท่าน แล้วไปยัง

ประตูพระราชวัง ให้นายประตูเข้าไปกราบทูลแด่พระราชาว่า นัยว่า

พระสหายของพระองค์ชื่อว่าโปติกะมาเฝ้าอยู่ที่ประตู พระราชารับสั่งให้

เข้ามา ครั้นทอดพระเนตรเห็นนายโปติกะมา ก็เสด็จลุกจากพระราช-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 860

อาสน์ออกต้อนรับทรงปฏิสันถาร ตรัสสั่งให้ช่างกัลบกมาแต่งผมและ

หนวด แล้วไห้ประดับเครื่องสรรพาภรณ์ และให้บริโภคโภชนะอันประ-

ณีตที่มีรสอันเลิศ แล้วประทับตรัสด้วยถามฉันมิตรกับโปติกะ ตรัสถาม

ถึงข่าวคราวของพระชนกชนนี ทรงทราบว่าท่านไม่ยอมมา.

แม้สาขเสนาบดีก็คิดว่า นายโปติกะคงทำลายเราในสำนักพระ-

ราชา แต่เมื่อเราไปเฝ้าเขาคงไม่อาจกล่าวโทษอะไร ๆ คิดดังนี้แล้วจึงไปเฝ้า

ณ พระราชสำนักนั้นแหละ นายโปติกะได้กราบทูลพระราชาต่อหน้า

สาขเสนาบดีนั้นแลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์เหน็ด

เหนื่อยมาตามทาง คิดว่าจะไปเรือนท่านสาขะพักผ่อนแล้วจักเข้าเฝ้า แต่

ท่านสาขะกล่าวกะข้าพระองค์ว่า จำข้าพระองค์ไม่ได้ให้คนทุบถองจับคอ

ไสออกไป ขอพระองค์ได้ทรงเชื่อดังนี้เถิด แล้วกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงนามว่านิโครธ ท่าน

สาขะเสนาบดีพูดว่า เราไม่รู้จักคนนี้เลยว่า

เป็นใครกัน หรือเป็นเพื่อนของใคร พระองค์

จะทรงเข้าพระทัยอย่างไร.

ลำดับนั้น บุรุษผู้ทำตามคำของท่านสาขะ

เสนาบดีเข้าจับคอ ตบหน้าข้าพระองค์ขับไส

ออกไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 861

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชานิกร

กรรมอันไม่ประเสริฐเช่นนี้อันท่านสาขะเสนา-

บดีผู้เป็นเพื่อนเก่าของพระองค์ เป็นคนมีความ

คิดทราม เป็นคนอกตัญญูประทุษร้ายมิตร ได้

กระทำแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺติ มญฺสิ ความว่า ท่านสาข-

เสนาบดีได้กล่าวกะข้าพระองค์อย่างใด พระองค์จะทรงเข้าพระทัยอย่าง

นั้นหรือไม่ อธิบายว่า ท่านสาขเสนาบดีกล่าวอย่างนี้กะข้าพระองค์

พระองค์จงทรงเชื่อหรือไม่ ?

บทว่า คลวินีเตน คือ จบที่คอ. บทว่า ทุพฺภินา ได้แก่ผู้

ประทุษร้ายมิตร.

พระเจ้านิโครธราชได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสพระคาถา ๔ พระ-

คาถาว่า :-

ดูก่อนสหาย เรื่องนี้เราไม่รู้เลย แม้ใคร ๆ

ก็มิได้บอกเรา ท่านมาบอกเราแล้วว่า ท่าน

สาขะเสนาบดีฉุดคร่าท่าน.

ท่านเป็นคนทำเพื่อนให้มีชีวิตอยู่สบายดี

ท่านเป็นคนให้อิสริยยศ คือความเป็นใหญ่ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 862

หมู่มนุษย์แก่เรา และแก่สาขะเสนาบดีทั้ง ๒

คน เราได้รับความสำเร็จเพราะท่าน ในข้อนี้

เราไม่มีความสงสัยเลย.

กรรมที่บุคคลทำในอสัตบุรุษ ย่อม

ฉิบหายไม่งอกงามเหมือนพืชที่บุคคลหว่านลง

ในไฟย่อมถูกไฟไหม้ไม่งอกงาม ฉะนั้น.

ส่วนธรรมที่บุคคลทำในคนกตัญญู มีศีล

มีความประพฤติประเสริฐ ย่อมไม่ฉิบหายไป

เหมือนพืชที่บุคคลหว่านลงในนาดี ฉะนั้น.

บรรดาเหล่านั้น บทว่า สสติ แปลว่า บอกกล่าว. บทว่า

กฑฺฌน กต ได้แก่ ทำการฉุดคร่า กล่าวคือ การฉุดมาฉุดไปโดยโบย

และทุบตี. บทว่า สขีน สาชีวงฺกโร ความว่า ดูก่อนโปติกะผู้สหาย ท่าน

เป็นคนทำเพื่อนให้มีชีวิตอยู่สบาย. คือเป็นผู้ให้ความอยู่เกิดขึ้นแก่เพื่อน.

บทว่า มม สาขสฺส จูภย คือ แก่เราและแก่สาขเสนาบดีผู้เป็นเพื่อน

กันทั้ง ๒ คน. บทว่า ตฺว โนปิสฺสริย ความว่า อนึ่ง ท่านเป็น

ผู้ให้อิสริยยศแก่พวกเรา คือพวกเราได้อิสริยยศนี้เพราะท่าน. บทว่า

มหคฺคต ความว่า คือความเป็นใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 863

แลเมื่อพระเจ้านิโครธราชกำลังตรัสอยู่อย่างนี้ สาขเสนาบดีได้

ยืนอยู่ ณ ที่นั่นเอง ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามเขาว่า ท่านสาขะ

ท่านจำโปติกะนี้ได้ไหม ? สาขเสนาบดีได้นั่งอยู่ พระองค์เมื่อจะลง

พระราชอาญาแก่เขา ได้ตรัสพระคาถาที่ ๘ ว่า :-

ราชบุรุษทั้งหลาย จงฆ่าสาขะเสนาบดี ผู้

ชั่วช้ามักหลอกลวง มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ

คนนี้เสียด้วยหอกทั้งหลาย เราไม่อยากให้มัน

มีชีวิตอยู่เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชมฺม แปลว่า ผู้เลวทราม. บทว่า

เนกติก แปลว่า ผู้หลอกลวง.

นายโปติกะได้ฟังดังนั้น คิดว่า ไอ้คนพาลนี้จงอย่าฉิบหายเพราะ

เราเลย จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า :-

ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์ได้โปรด

อดโทษให้แก่เขาเถิด ชีวิตของคนตายแล้วไม่

อาจจะนำกลับคืนมาได้ ขอได้ทรงโปรดอดโทษ

แก่อสัตบุรุษเถิดพระพุทธเจ้าข้า พระองค์ไม่

อยากให้ฆ่าเขา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 864

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขมตสฺส คือ ขมตทสฺส ความว่า

ขอพระองค์ได้โปรดอดโทษให้แก่อสัตบุรุษนี้เถิด. บทว่า ทุปฺปฏิอานยา

คือ อันชีวิตของคนที่ตายอันใคร ๆ ไม่อาจที่จะนำกลับคืนมาได้.

พระราชาได้ทรงสดับถ้อยคำของโปติกะแล้ว ก็ทรงยกโทษให้

สาขะ พระองค์ประสงค์จะพระราชทานตำแหน่งเสนาดีแก่นายโปติกะ

แต่เขาไม่ประสงค์ ลำดับนั้น พระองค์จึงทรงพระราชทานตำแหน่งขุน

คลัง เพิ่มอำนาจให้มีหน้าที่ตรวจตราราชการทั้งหมด ได้ยินว่า ฐานันดร

เช่นนั้น แต่ก่อนไม่เคยมีเพิ่งมีขึ้นแต่นั้นมา ต่อมาท่านขุนคลังโปติกะ

เจริญด้วยบุตรธิดา กล่าวสอนบุตรธิดาของตนด้วยคาถาสุดท้ายว่า :-

ควรคบแต่ท่านนิโครธเท่านั้น ไม่ควร

เข้าไปคบเจ้าสาขะอยู่ ตายเสียในสำนักท่าน

นิโครธประเสริฐกว่า เป็นอยู่ในสำนักเจ้าสาขะ

จะประเสริฐอะไร.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนาเรื่องนี้มาแสดงแล้ว ตรัส

ว่า ดูก่อน. ภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตก็เป็นคนอกตัญญู

อย่างนี้แหละ แล้วทรงประชุมชาดกว่า สาขเสนาบดีในครั้งนั้นได้มา

เป็นพระเทวทัตในบัดนี้ โปติกะขุนคลังในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์

ในบัดนี้ ส่วนพระเจ้านิโครธราชในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต

ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถานิโครธชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 865

๘. ตักกลชาดก

ว่าด้วยการเลี้ยงดูบิดามารดา

[๑๔๐๐] ข้าแต่พ่อ มันนก มันเทศ มันมือเสือ และ

ผักทอดยอด ก็มิได้มี พ่อต้องการอะไร จึง

ขุดหลุมอยู่คนเดียว ในป่ากลางป่าช้าเช่นนี้เล่า.

[๑๔๐๑] แน่ะพ่อ ปู่ของเจ้าทุพพลภาพมากแล้ว

ถูกกองทุกข์อันเกิดจากโรคภัยหลายอย่างเบียด-

เบียน วันนี้พ่อจะฝังปู่ของเจ้านั้นเสียในหลุม

เพราะพ่อไม่ปรารถนาจะให้ปู่ของเจ้ามีชีวิตอยู่

อย่างลำบากเลย.

[๑๔๐๒] พ่อได้ความดำริอันลามกนี้แล้ว กระทำ

กรรมอันหยาบช้าอันล่วงเสียซึ่งประโยชน์ ดู-

ก่อนพ่อ เมื่อพ่อแก่ลงก็จักได้รับกรรมเช่นนี้

จากลูกบ้าง แม้ลูกเองก็จะอนุวัตรตามเยี่ยง

ตระกูลนั้น จักฝังพ่อเสียในหลุมบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 866

[๑๔๐๓] แน่ะพ่อ เจ้ากล่าวกระทบกระเทียบขู่

เข็ญพ่อด้วยวาจาหยาบคาย เจ้าเป็นลูกที่เกิด

แต่อกของพ่อ แต่หาได้มีความอนุเคราะห์เกื้อ-

กูลแก่พ่อไม่.

[๑๔๐๔] ข้าแต่พ่อ มิใช่ว่าฉันจะไม่มีความเกื้อกูล

อนุเคราะห์แก่พ่อ แม้ฉันก็มีความเกื้อกูลอนุ-

เคราะห์แต่พ่อ แต่เพราะฉันไม่กล้าจะห้ามพ่อ

ผู้ทำบาปกรรมโดยตรงได้ จึงได้พูดกระทบ-

กระเทียบเช่นนั้น.

[๑๔๐๕] ท่านสวิฏฐกะ ผู้ใดเป็นคนมีธรรมอัน

ลามก เบียดเบียนมารดาหรือบิดา ผู้ไม่ประ

ทุษร้าย ผู้นั้นครั้นตายไปภายหน้า ย่อมเข้าถึง

นรกโดยไม่ต้องสงสัย.

[๑๔๐๖] ท่านสวิฏฐกะ ผู้ใดบำรุงเลี้ยงมารดาบิดา

ด้วยข้าวน้ำ ผู้นั้นครั้นตายไปภายหน้า เข้าถึง

สุคติโดยไม่ต้องสงสัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 867

[๑๔๐๗] แน่ะพ่อ เจ้าจะเป็นผู้ไม่มีความเกื้อกูล

อนุเคราะห์แก่พ่อก็หาไม่ เจ้าชื่อว่าเป็นผู้มี

ความเกื้อกูลอนุเคราะห์แก่พ่อแล้ว แต่พ่อถูก

แม่ของเจ้าว่ากล่าว จึงได้กระทำกรรมที่หยาบ

คายเช่นนี้.

[๑๔๐๘] หญิงชั่วผู้เป็นเมียของพ่อ เป็นแม่บัง-

เกิดเกล้าของตัวฉัน พ่อจงขับไล่ไปเสียจาก

เรือนของตน เพราะแม่จะทำทุกข์อย่างอื่นมา

ให้พ่ออีก.

[๑๔๐๙] หญิงชั่วผู้เป็นเมียของพ่อ เป็นแม่บัง-

เกิดเกล้าของตัวฉัน ซึ่งมีใจบาปนั้น ถูก

ทรมานดังช้างพังที่นายควาญฝึกให้อยู่ในอำนาจ

แล้ว จงกลับมาเรือนเถิด.

จบ ตักกลชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 868

อรรถกถาตักกลชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

บุรุษผู้เลี้ยงบิดาคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า น ตกฺกลา

สนฺติ ดังนี้.

ได้ยินว่า บุรุษนั้นเป็นลูกคนสุดท้องในตระกูลยากจนตระกูล

หนึ่ง เมื่อมารดาตายแล้ว เขาลุกขึ้นแต่เช้า ทำการปฏิบัติบิดามีให้ไม้

สีฟันแลน้ำบ้วนปากเป็นต้น จัดอาหารมีข้าวยาคูแลภัตเป็นอาทิ โดย

สมควรแก่ทรัพย์ที่ตนได้มาด้วยการรับจ้างและการไถ บำรุงเลี้ยงบิดา

ครั้งนั้น บิดาพูดกะเขาว่า ลูกรัก เจ้าคนเดียวทำการงานทั้งภายในภาย

นอก พ่อจักนำนางกุลทาริกามาให้เจ้าสักคนหนึ่ง นางจักได้ช่วยทำการ-

งานในเรือน. เขากล่าวว่า ข้าแต่พ่อ ขึ้นชื่อว่าสตรีมาเรือนแล้ว คงจัก

ไม่ทำความสุขใจให้แก่ฉันและพ่อได้ ขอพ่ออย่าได้คิดเช่นนี้เลยฉันจัก

เลี้ยงดูพ่อจนตลอดชีวิต เมื่อพ่อล่วงลับไปแล้วฉันจักบวช. ลำดับนั้น

บิดาได้นำนางกุลทาริกาคนหนึ่งมาให้ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ต้องการเลย นางได้มี

อุปการะและเคารพยำเกรงต่อพ่อผัวและผัว ฝ่ายผัวก็ยินดีต่อนางว่า เป็น

ผู้อุปการะต่อบิดาของตน จึงนำของที่ชอบ ๆ ใจ ซึ่งได้มา ๆ มามอบให้

แม้นางก็ได้น้อมนำเข้าไปให้พ่อผัวทั้งสิ้น.

ต่อมา นางคิดว่า สามีของเราได้อะไรมา ก็มิได้ให้แก่บิดา ให้

แก่เราผู้เดียวเท่านั้น เขาคงไม่มีความรักในบิดาเป็นแน่ เราจักใช้อุบาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 869

อย่างหนึ่งทำตาแก่นี้ให้เป็นที่เกลียดชังแห่งสามีเรา แล้วให้ขับเสียจาก

เรือน. ตั้งแต่นั้นมา นางก็ได้ทำเหตุที่ยั่วให้พ่อผัวโกรธ เป็นต้นว่า

เมื่อจะให้น้ำ ก็ให้น้ำเย็นเกินไปบ้าง ร้อนเกินไปบ้าง ให้อาหารเค็มจัด

บ้างจืดไปบ้าง ให้ภัตดิบ ๆ สุก ๆ บ้าง แฉะเกินไปบ้าง ดังนี้ เมื่อพ่อ

โกรธ นางก็กล่าวคำหยาบว่า ใครจักอาจปฏิบัติตาแก่นี้ได้. แล้วก่อการ

ทะเลาะขึ้น แลแกล้งขากก้อนเขฬะเป็นต้น ในที่ทั่ว ๆ ไป แล้วฟ้อง

สามีว่า ท่านจงดูการกระทำของบิดา เมื่อฉันกล่าวว่า พ่ออย่าทำอย่าง

นี้ ๆ พ่อก็โกรธ ท่านจะให้พ่ออยู่ในเรือนนี้หรือจะให้ฉันอยู่. เขาได้

กล่าวกะนางว่า น้องรัก เจ้ายังเป็นยาวอยู่อาจที่จะเป็นอยู่ในที่ใด ๆ ก็ได้

พ่อของฉันแก่แล้ว เมื่อเจ้าไม่อาจอดกลั้นแกได้ ก็จงออกจากบ้านนี้ไป

นางมีความกลัวหมอบลงแทบเท้าพ่อผัวขอขมาโทษว่า ตั้งแต่นี้ไปฉันจัก

ไม่ทำอย่างนี้อีก. แล้วนางก็เริ่มปฏิบัติตามปกติดังก่อน.

ลำดับนั้น อุบาสกตั้งแต่วันที่ถูกภรรยารบกวนบิดาให้เดือดร้อน

ก็มิได้ไปฟังธรรมในสำนักพระศาสดา ต่อเมื่อภรรยาดำรงเป็นปกติแล้ว

จึงได้ไป ที่นั้นพระศาสดาตรัสถามเขาว่า อุบาสก เหตุไร ? ท่านจึงไม่

มาฟังธรรมถึง ๗ วัน. เขาได้กราบทูลเหตุการณ์ให้ทรงทราบ. พระ-

ศาสดาตรัสว่า ในกาลนี้เท่านั้นที่ท่านไม่เชื่อถ้อยคำของภรรยา ไม่ขับ

บิดาออกจากเรือน แต่ในกาลก่อนท่านเชื่อถ้อยคำของภรรยาของท่าน

นำบิดาไปป่าช้าผีดิบขุดหลุมฝังบิดา เราตถาคตเกิดเป็นบุตรมีอายุ ๗ ขวบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 870

แสดงคุณของมารดาบิดา ห้ามการฆ่าบิดาได้ในเวลาที่จะตาย คราวนั้น

ท่านเชื่อฟังถ้อยคำของเรา ปฏิบัติบิดาจนตลอดชีวิต แล้วไปเกิดใน

สวรรค์ โอวาทที่เราให้ไว้นี้นั้น แม้ท่านไปเกิดในภพอื่นก็ไม่ละวาง

ด้วยเหตุนี้ท่านจึงไม่เชื่อถ้อยคำของภรรยา ไม่ขับไล่บิดาออก ในบัดนี้

อุบาสกนั้นทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว พระองค์จึงทรงนำเอาเรื่อง

ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร

พาราณสี. ณ บ้านของชาวกาสีตำบล ๑ ตระกลแห่ง ๑ มีบุตรน้อย

คนเดียว ชื่อสวิฏฐกะ เขาบำรุงเลี้ยงมารดาบิดาอยู่ ต่อมาเมื่อมารดา

ล่วงลับไปแล้ว ก็บำรุงเลี้ยงบิดา เรื่องทั้งหมดต่อไปนี้ เหมือนเนื้อเรื่อง

ปัจจุบันนั่นแหละ ในที่นี้จะกล่าวแต่เนื้อความที่แปลก ดังต่อไปนี้

ครั้งนั้น หญิงนั้นกล่าวว่า ท่านจงดูการกระทำของบิดาเถิด เมื่อฉัน

กล่าวว่า อย่าทำอย่างนี้ ๆ ก็โกรธ. แล้วกล่าวต่อไปว่า ข้าแต่นาย บิดา

ของท่านดุกับหยาบคาย ก่อการทะเลาะอยู่เรื่อยแกแก่คร่ำคร่า พยาธิ

เบียดเบียน ไม่ช้าก็จักตาย ฉันไม่อาจอยู่ร่วมเรือนกับแกได้ ในวัน

สองวันนี้แกต้องตายแน่ ท่านจงนำแกไปป่าช้าผีดิบขุดหลุมแล้วเอาแกใส่

เข้าไปในหลุม เอาจอบทุบศีรษะให้ตาย เอาฝุ่นกลบข้างบนแล้วจงมา.

นายสวิฏฐกะถูกภรรยารบเร้าอยู่บ่อย ๆ จึงกล่าวว่า แน่ะหล่อน

ขึ้นชื่อว่าการฆ่าคน เป็นกรรมหนัก ฉันจักฆ่าบิดาอย่างไรได้. นาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 871

กล่าวว่า ฉันจักบอกอุบายแก่ท่าน นายสวิฏฐกะกล่าวว่า จงบอกมาก่อน

นางจึงบอกว่า ข้าแต่นาย ท่านจงไปที่บิดานอน ในเวลาเช้ามืด ทำ

เสียงดังให้คนทั้งหมดได้ยิน แล้วกล่าวว่า ข้าแต่พ่อ ลูกหนี้ของพ่อมี

อยู่ที่บ้านโน้น เมื่อฉันจะไปแต่ลำพังเขาจะไม่ให้ เมื่อพ่อล่วงลับไปแล้ว

เงินจักสูญ พรุ่งนี้เรานั่งบนยานไปด้วยกันแต่เช้าทีเดียว. ดังนี้แล้วนาย

จงลุกขึ้นตามเวลาที่บิดาบอกไว้ เทียมยานให้แกนั่งบนยานแล้วนำไปป่า

ช้าผีดิบ ขุดหลุมแล้วทำเป็นเสียงโจรปล้น ฆ่าแกแล้วผลักลงหลุมทุบ

ศีรษะแล้วอาบน้ำมาเรือน. นายสวิฏฐกะคิดว่า อุบายนี้เข้าที. จึงรับคำ

ของนางแล้วตระเตรียมยานที่จะไป ก็นายสวิฏฐกะมีบุตรอยู่คนหนึ่งมีอายุ

๗ ขวบ เป็นเด็กฉลาดเฉียบแหลม. เขาฟังคำของมารดา จึงคิดว่า มารดา

ของเรามีธรรมลามกยุบิดาเราให้ทำปิตุฆาต เราจักไม่ให้บิดาเราทำปิตุ-

ฆาต. แล้วก็ค่อย ๆ ย่องเข้าไปนอนอยู่กับปู่. ครันได้เวลาที่บิดาบอกไว้

นายสวิฏฐกะเทียมยานแล้วกล่าวว่า มาเถิดพ่อ เราไปสะสางลูกหนี้กัน

เถิด. แล้วให้บิดานั่งบนยาน กุมารได้ขึ้นยานก่อนแล้ว นายสวิฏฐกะ

ไม่อาจห้ามบุตรได้ จึงต้องพาไปป่าช้าผีดิบด้วย ให้บิดาและกุมารพักอยู่

ณ ที่แห่งหนึ่งกับยาน ตนเองลงถือจอบและตะกร้า เริ่มจะขุดหลุม ๔

เหลี่ยม ณ ที่ลับแห่งหนึ่ง แม้กุมารก็ลงแล้วไปสำนักบิดาทำเป็นไม่รู้

เริ่มคำพูดกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ข้าแต่พ่อ มันนก มันเทศ มันมือเสือ และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 872

ผักทอดยอด ก็มิได้มี พ่อต้องการอะไร จึง

ขุดหลุมอยู่คนเดียวในป่ากลางป่าช้าเช่นนี้เล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตกฺกลา สนฺติ ได้แก่ มันนก

ก็ไม่มี. มันเทศ ชื่อว่า อาลุปานิ. มันมือเสือ ชื่อว่า วิลาลิโย.

ผักทอดยอด ชื่อว่า กลมฺพานิ.

ลำดับนั้น บิดาได้กล่าวคาถาที่ ๒ ตอบบุตรว่า :-

แน่ะพ่อ ปู่ของเจ้าทุพพลภาพมากแล้ว

ถูกกองทุกข์อันเกิดจากโรคภัยหลายอย่างเบียด

เบียน วันนี้พ่อจะฝังปู่ของเจ้านั้นเสียในหลุม

เพราะพ่อไม่ปรารถนาจะให้ปู่ของเจ้ามีชีวิตอยู่

อย่างลำบากเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกพฺยาธีหิ คือ ถูกทุกข์อัน

เกิดจากพยาธิหลายอย่างเบียดเบียนแล้ว. บทว่า น หิสฺส ต ความว่า

เพราะว่า พ่อไม่ปรารถนาจะให้ปู่ของเจ้านั้นมีชีวิตอยู่อย่างลำบากเช่นนั้น

พ่อเข้าใจว่า ความตายของปู่เท่านั้นประเสริฐกว่ามีชีวิตอยู่เห็นปานนี้

จึงจักฝังปู่ของเจ้านั้นเสียในหลุม.

กุมารได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวกึ่งคาถาว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 873

พ่อได้ความดำริอันลามกนี้แล้ว กระทำ

กรรมที่หยาบช้า อันล่วงเสียซึ่งประโยชน์.

พึงทราบความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า ข้าแต่พ่อท่านคิดว่า

เราจักเปลื้องบิดาออกจากทุกข์ จึงผูกไว้ด้วยมรณทุกข์ ชื่อว่า กระทำ

กรรมอันหยาบช้า อันล่วงเสียซึ่งประโยชน์ เพราะได้ความดำริอันลามก

นี้ และเพราะก้าวล่วงประโยชน์ด้วยอำนาจแห่งความดำรินั้นตั้งอยู่.

ก็แหละ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วก็ฉวยจอบจากมือบิดา ตั้งท่าจะ

ขุดหลุมอีกหลุมหนึ่งในที่ใกล้ ๆ กัน. ลำดับนั้น บิดาจึงเข้าไปถามกุมาร

นั้นว่า ลูกรัก เจ้าจะขุดหลุมทำไม ? เมื่อกุมารจะตอบบิดา ได้กล่าว

คาถาที่ ๓ ว่า :-

ข้าแต่พ่อ เมื่อพ่อแก่ลง ก็จักได้รับกรรม

เช่นนี้จากลูกบ้าง แม้ลูกเองก็จะอนุวัตรตาม

เยี่ยงตระกูลนั้น จักฝังพ่อเสียในหลุมบ้าง.

พึงทราบเนื้อความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่าข้าแต่พ่อแม้ลูกก็จัก

ฝังพ่อเสียในหลุมอีกหลุมหนึ่ง ในเวลาที่พ่อแก่บ้าง อธิบายว่า พ่อ

เพราะเหตุนี้แล เมื่อพ่อแก่ลง ก็จักได้รับกรรมเช่นนี้ ในหลุมที่ขุดไว้นี้

จากตัวลูกบ้าง แม้ลูกเองก็จะอนุวัตรตามเยี่ยงตระกูลนั้น คือ ที่พ่อให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 874

เป็นไปแล้วนั้น คือเมื่อเจริญวัยแล้ว อยู่กินกับภริยา ก็จักฝังพ่อเสียใน

หลุมบ้าง.

ลำดับนั้น บิดาได้กล่าวคำถาที่ ๔ แก่กุมารว่า :-

แน่ะพ่อ เจ้ามากล่าวกระทบกระเทียบขู่-

เข็ญพ่อด้วยวาจาหยาบคาย เจ้าเป็นลูกที่เกิด

แต่อกของพ่อ แต่หาได้มีความอนุเคราะห์เกื้อ-

กูลแก่พ่อไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกุพฺพมาโน แปลว่า ขู่เข็ญ.

บทว่า อาสชฺช แปลว่า กระทบกระเทียบ.

เมื่อบิดากล่าวอย่างนี้แล้วกุมารผู้เป็นบัณฑิต จึงกล่าวคาถา ๓

คาถา คือคาถาโต้ตอบคาถา ๑ คาถา อุทาน ๒ คาถาว่า :-

ข้าแต่พ่อ มิใช่ว่าฉันจะไม่มีความเกื้อกูล

อนุเคราะห์แก่พ่อ แม้ฉันก็มีความเกื้อกูลอนุ-

เคราะห์แก่พ่อ แต่เพราะฉันไม่กล้าจะห้ามพ่อ

ผู้ทำบาปกรรมโดยตรงได้ จึงได้พูดกระทบ-

กระเทียบเช่นนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 875

ท่านสวิฏฐกะ ผู้ใดเป็นคนมีธรรมอัน

ลามก เบียดเบียนมารดาหรือบิดา ผู้ไม่ประ

ทุษร้าย ผู้นั้นครั้นตายไปภายหน้า ย่อมเข้าถึง

นรกโดยไม่ต้องสงสัย.

ท่านสวิฏฐกะ ผู้ใดบำรุงเลี้ยงมารดาบิดา

ด้วยข้าวน้ำ ผู้นั้นครั้นตายไปภายหน้า เข้าถึง

สุคติโดยไม่ต้องสงสัย.

บิดาครั้นได้ฟังธรรมกถาของบุตรดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๘

ว่า :-

แน่ะพ่อ เจ้าจะเป็นผู้ไม่มีความเกื้อกูล

อนุเคราะห์แก่พ่อก็หาไม่ เจ้าชื่อว่าเป็นผู้มี

ความเกื้อกูลอนุเคราะห์แก่พ่อแล้ว แต่พ่อถูก

แม่ของเจ้าว่ากล่าว จึงได้กระทำกรรมที่หยาบ-

คายเช่นนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหญฺจ เต มาตรา คือ อหปิ

เต มาตรา อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 876

กุมารได้ฟังดังนั้นแล้ว กล่าวว่า ข้าแต่พ่อ ธรรมดาสตรีเมื่อเกิด

โทสะขึ้นข่มไว้ไม่ได้เลย จึงทำชั่วบ่อย ๆ ควรที่พ่อจะขับแม่ของฉันไปเสีย

ไม่ให้ทำชั่วเช่นนี้อีกได้ แล้วกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า :-

หญิงชั่วผู้เป็นเมียของพ่อ เป็นแม่บัง-

เกิดเกล้าของตัวฉัน พ่อจงขับไล่ไปเสียจาก

เรือนของตน เพราะแม่จะนำทุกข์อย่างอื่นมา

ให้พ่ออีก.

นายสวิฏฐกะได้ฟังคำของบุตรผู้เป็นบัณฑิตแล้ว มีความโสมนัส

กล่าวว่า เราไปกันเถิดลูก แล้วขึ้นนั่งบนยานกับบุตรและบิดาไปบ้าน.

ฝ่ายหญิงอนาจารนั้นก็ร่าเริงยินดีว่า คนกาลกรรณีออกจากเรือน

เราไปแล้ว. จึงเอามูลโคสดมาทาเรือนหุงข้าวปายาสแล้วคอยแลดูทางที่

ผัวจะมา ครั้นเห็นมาทั้ง ๓ คนก็โกรธว่า พาคนกาลกรรณีที่ออกไป

กลับมาอีกแล้ว. จึงคำว่า เจ้าคนร้าย เจ้าพาคนกาลกรรณีที่ออกไปแล้ว

กลับมาอีกทำไม ? นายสวิฏฐกะไม่พูดอะไร ๆ ปลดยานแล้วจึงพูดว่า

คนอนาจาร เจ้าว่าอะไร ? แล้วทุบนางนั้นเสียเต็มที่ กล่าวว่า แต่นี้ไป

เจ้าอย่าเข้ามาเรือนนี้ แล้วจับเท้าลากออกไป ครั้นไล่ภรรยาไปแล้ว ก็

อาบน้ำให้บิดากับบุตร แม้ตนเองก็อาบ แล้วบริโภคข้าวปายาสพร้อมกัน

ทั้ง ๓ คน หญิงใจบาปนั้นไปอยู่เรือนผู้อื่นได้ ๒ , ๓ วัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 877

ในกาลนั้น บุตรกล่าวกะบิดาว่า ข้าแต่พ่อแม่ฉันคงยังไม่รู้สำนึก

ด้วยการถูกลงโทษเพียงเท่านี้ พ่อจงแกล้งพูดว่า จะไปขอลูกสาวลุงใน

ตระกูลโน้นมาปรนนิบัติตัวกับบิดาและบุตร เพื่อทำให้แม่ฉันเก้อ แล้ว

ถือเอาของหอมและดอกไม้เป็นต้นขึ้นยานไปเที่ยวอยู่ตามท้องนา แล้ว

กลับมาเวลาเย็น. นายสวิฏฐกะได้กระทำตามทุกประการ สตรีในตระกูล

ที่คุ้นเคยบอกหญิงนั้นว่า ได้ยินว่า ผัวของเธอไปบ้านโน้น เพื่อนำหญิง

อื่นมาเป็นภริยา.

หญิงนั้นสะดุ้งกลัวว่า ฉิบหายละเราคราวนี้ เราไม่มีโอกาสอีก

แน่ คิดว่า จะอ้อนวอนบุตรดูสักครั้ง. จึงแอบไปหาบุตร หมอบลง

แทบเท้ากล่าวว่า ลูกรัก เว้นเจ้าเสียแล้ว คนอื่นไม่เป็นที่พึ่งของแม่ได้

ตั้งแต่นี้ไปแม่จะปฏิบัติพ่อและปู่ของเจ้าราวกะพระเจดีย์ที่ประทับไว้ เจ้า

จะช่วยให้แม่ได้เข้ามาอยู่ในเรือนนี้อีก. กุมารกล่าวว่า ดีแล้วแม่ ถ้าแม่

ไม่ทำเช่นนี้อีก ฉันจักช่วย แม่อย่าประมาท. ครั้นเวลาบิดามา. ได้

กล่าวคาถาที่ ๑๐ ว่า :-

หญิงชั่วผู้เป็นเมียของพ่อ เป็นแม่บัง-

เกิดเกล้าของตัวฉัน ซึ่งมีใจบาปนั้น ถูก

ทรมานดังช้างพังที่นายควาญฝึกให้อยู่ในอำนาจ

แล้ว จงกลับมาเรือนเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 878

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาต เป็นต้น ความว่า ข้าแต่พ่อ

บัดนี้ หญิงชั่วผู้เป็นเมียของพ่อ ซึ่งก่อเหตุวุ่นวายนั้น ถูกทรมานดัง

ช้างพังที่นายควาญฝึกให้อยู่ในอำนาจ สิ้นพยศแล้ว. บทว่า ปุนราวชาตุ

คือ จงกลับมาสู่เรือนนี้อีกเถิด.

กุมารนั้นครั้นแสดงธรรมแก่บิดาดังนี้แล้ว ก็ไปนำมารดามา

นางขอขมาโทษผัวและพ่อผัวแล้ว ตั้งแต่นั้นมาก็ประกอบด้วยธรรม

เครื่องข่ม ปฏิบัติผัวพ่อผัวและลูกเป็นอย่างดี สองผัวเมียตั้งอยู่ในโอวาท

ของลูก ทำบุญมีทานเป็นต้น แล้วได้ไปเกิดในสวรรค์.

พระบรมศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง

ประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจธรรม บุรุษผู้เลี้ยงบิดา ได้ดำรงอยู่ใน

โสดาปัตติผล พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า บิดาบุตรและหญิงสะใภ้

ในครั้งนั้น ได้มาเป็นบิดาบุตรและหญิงสะใภ้ในบัดนี้ ส่วนกุมารผู้เป็น

บัณฑิตในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราผู้ตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาตักกลชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 879

๙. มหาธัมมปาลชาดก

ว่าด้วยเหตุที่ไม่ตายในวัยหนุ่ม

[๑๔๑๐] อะไรเป็นวัตรของท่าน อะไรเป็นพรหม-

จรรย์ของท่าน การที่คนหนุ่ม ๆ ไม่ตายนี้ เป็น

ผลแห่งกรรมอะไรที่ท่านประพฤติดีแล้วดูก่อน

พราหมณ์ ขอท่านจงบอกเนื้อความนี้แก่เรา

เหตุไรหนอ คนหนุ่ม ๆ ของพวกท่านจึงไม่

ตาย.

[๑๔๑๑] พวกเราประพฤติธรรม ไม่กล่าวมุสา

งดเว้นธรรมชั่ว งดเว้นธรรมอันไม่ประเสริฐ

ทั้งหมด เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่ม ๆ ของ

พวกเราจึงไม่ตาย.

[๑๔๑๒] พวกเราฟังธรรมของอสัตบุรุษและของ

สัตบุรุษแล้ว เราไม่ชอบใจธรรมของอสัตบุรุษ

เลย ละอสัตบุรุษเสีย ไม่ละสัตบุรุษ เพราะเหตุ

นั้นแหละ คนหนุ่ม ๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.

[๑๔๑๓] ก่อนที่เริ่มจะให้ทาน พวกเราเป็นผู้ตั้งใจ

ดี แม้กำลังให้ก็มีใจผ่องแผ้ว ครั้นให้แล้วก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 880

ไม่เดือดร้อนภายหลัง เพราะเหตุนั้นแหละ คน

หนุ่ม ๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.

[๑๔๑๔] พวกเราเลี้ยงดูสมณะ พราหมณ์ คน

เดินทาง วณิพก ยาจก และคนขัดสนทั้งหลาย

ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ เพราะเหตุนั้น

แหละ คนหนุ่ม ๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.

[๑๔๑๕] พวกเราไม่นอกใจภรรยา ถึงภรรยาก็ไม่

นอกใจพวกเรา พวกเราประพฤติพรหมจรรย์

นอกจากภรรยาของตน เพราะเหตุนั้นแหละ

คนหนุ่ม ๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.

[๑๔๑๖] พวกเราทั้งหมดงดเว้นจากการสัตว์

งดเว้นสิ่งของที่เขาไม่ให้ในโลก ไม่ดื่มของเมา

ไม่กล่าวปด เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่ม ๆ

ของพวกเราจึงไม่ตาย.

[๑๔๑๗] บุตรที่เกิดในภรรยาผู้มีศีลดีเหล่านั้น เป็น

ผู้ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต เรียนจบไตรเพท

เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่ม ๆ ของพวกเรา

จึงไม่ตาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 881

[๑๔๑๘] มารดาบิดา พี่น้องหญิงชาย บุตร ภรรยา

และเราทุกคนประพฤติธรรมมุ่งประโยชน์ใน

โลกหน้า เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่ม ๆ

ของพวกเราจึงไม่ตาย.

[๑๔๑๙] ทาสทาสี คนที่อาศัยเลี้ยงชีวิต คนรับใช้

คนทำงานทั้งหมด ล้วนแต่ประพฤติธรรมมุ่ง

ประโยชน์ในโลกหน้า เพราะเหตุนั้นแหละ

คนหนุ่ม ๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.

[๑๔๒๐] ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรม

บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ นี้

เป็นอานิสงส์ ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้

ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.

[๑๔๒๑] ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

เหมือนร่มใหญ่ในฤดูฝน ฉะนั้น ธรรมปาละ-

บุตรของเรา อันธรรมคุ้มครองแล้ว กระดูกที่

ท่านนำเอามานี้ เป็นกระดูกสัตว์อื่น บุตรของ

เรายังมีความสุข.

จบ มหาธัมมปาลชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 882

อรรถกถามหาธัมมปาลชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อเสด็จพระนครกบิลพัสดุ์ครั้งแรก ประทับอยู่ ณ

นิโครธาราม ทรงปรารภความไม่ทรงเชื่อของพระพุทธบิดา ในพระ-

ราชนิเวศน์ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กินฺเต วต ดังนี้.

ความย่อว่า ครั้งนั้นพระเจ้าสุทโธทนมหาราชถวายข้าวยาคูและ

ของเคี้ยว แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ ๒๐,๐๐๐ เป็นบริวาร

ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์ เมื่อทรงกระทำสัมโมทนียกถาใน

ระหว่างภัต ได้ตรัสว่า พระเจ้าข้า เวลาที่พระองค์ทำความเพียรอยู่ มีหมู่

เทวดามายืนอยู่ในอากาศบอกแก่หม่อมฉันว่า สิทธัตถกุมารโอรสของ

พระองค์สิ้นพระชนม์เสียแล้ว เพราะเสวยพระกระยาหารน้อย เมื่อ

พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร พระองค์ทรงเชื่อหรือ ? จึงตรัสว่า

หม่อมฉันไม่เชื่อดอก พระเจ้าข้า ยังห้ามเทวดาที่ยืนกล่าวอยู่ในอากาศ

เสียอีกว่า พระโอรสของเรายังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าที่โคนต้นโพธิ์แล้ว

จะยังไม่ปรินิพพาน พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร ในบัดนี้ พระองค์

จักทรงเชื่อได้อย่างไร แม้ในครั้งก่อน ครั้งหม่อมฉันเกิดเป็นมหาธรรม-

ปาลกุมาร เมื่ออาจารย์ทิศาปาโมกข์เอากระดูกแพะมาแสดงบอกว่า บุตร

ของท่านตายเสียแล้ว นี่กระดูกบุตรของท่าน พระองค์ก็มิได้ทรงเชื่อ

กล่าวกับอาจารย์ว่า ในตระกูลของเรานี่จะตายกำลังหนุ่มนั้นเป็นไม่มี

ก็เหตุไร ในบัดนี้ พระองค์จักทรงเชื่อเล่า ? พระพุทธบิดาทูลอารารนา

ให้ตรัสเรื่องราว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 883

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ อยู่ในพระ -

นครพาราณสี ได้มีบ้านธรรมปาลคามในแคว้นกาสี บ้านนั้นที่ได้ชื่อ

อย่างนั้น เพราะเป็นที่อยู่ของตระกูลธรรมบาลพราหมณ์ที่อยู่อาศัยใน

บ้านนั้น ปรากฏชื่อว่าธรรมบาล เพราะเหตุที่รักษาธรรม คือกุศล-

กรรมบถ ๑๐ ในตระกูลของเขาชั้นทาสและกรรมกรก็ให้ทานรักษาศีล

ทำอุโบสถกรรม.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลนั้น ได้นามว่า ธรรม-

ปาลกุมาร ครั้นเจริญวัยแล้ว บิดาได้ให้ทรัพย์พันหนึ่ง ส่งไปเรียน

ศิลปะ ณ เมืองตักกศิลา ธรรมปาลกุมารไป ณ ที่นั้นแล้ว เรียนศิลปะ

ในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ได้เป็นหัวหน้ามาณพพวกอันเตวาสิก

๕๐๐ คน ครั้งนั้นบุตรคนโตของอาจารย์ตายลง อาจารย์มีศิษย์มาณพ

แวดล้อม พร้อมด้วยหมู่ญาติร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ทำฌาปนกิจศพบุตร

ในป่าช้า ทั้งอาจารย์ทั้งศิษย์และหมู่ญาติต่างร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ณ ที่นั้น

ธรรมปาลบุตรคนเดียวเท่านั้น ไม่ร้องไห้ ไม่คร่ำครวญ เมื่อมาณพ

๕๐๐ คนนั้นมาจากป่าช้าแล้ว ได้พากันไปนั่งรำพันอยู่ในสำนัก

อาจารย์ว่า น่าเสียดาย มาณพหนุ่มสมบูรณ์ด้วยมารยาทเห็นปานนี้

พลัดพรากจากมารดาบิดา ตายเสียแต่ยังหนุ่มทีเดียว ธรรมปาลกุมาร

กล่าวว่า เพื่อน ท่านทั้งหลายกล่าวว่ายังหนุ่ม ก็เหตุไรเล่าจึงได้ตายกัน

เสียแต่ยังหนุ่ม เวลาหนุ่มยังไม่ควรตายมิใช่หรือ ? มาณพเหล่านั้น

กล่าวกะธรรมปาลกุมารว่า แน่ะเพื่อน ท่านไม่รู้จักความตายของสัตว์

เหล่านี้ดอกหรือ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 884

ธรรมปาลกุมาร เรารู้ แต่ไม่มีใครตายแต่ยังหนุ่ม ตายกัน

เมื่อแก่แล้วทั้งนั้น.

มาณพทั้งหลาย สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง มีแล้วกลับไม่มี มิใช่

หรือ ?

ธรรมปาลกุมาร จริง สังขารไม่เที่ยง แต่สัตว์ทั้งหลาย ไม่ตาย

แต่ยังหนุ่ม ตายกันเมื่อแก่แล้ว ถึงซึ่งความไม่เที่ยง.

มาณพทั้งหลาย แน่ะเพื่อนธรรมปาละ ในเรือนของท่านไม่มี

ใครตายหรือ ?

ธรรมปาลกุมาร ที่ตายแต่ยังหนุ่มไม่มี มีแต่ตายกันเมื่อแก่แล้ว

ทั้งนั้น.

มาณพทั้งหลาย ข้อนี้เป็นประเพณีแห่งตระกูลของท่านหรือ ?

ธรรมปาลกุมาร ถูกแล้ว เป็นประเพณีแห่งตระกูลของเรา.

มาณพทั้งหลาย ได้ฟังถ้อยคำของธรรมปาลกุมารดังนั้นแล้ว จึง

พากันบอกแก่อาจารย์ อาจารย์เรียกธรรมปาลกุมารมาถามว่า พ่อธรรม-

ปาละ. ได้ยินว่า ในตระกูลของท่าน คนไม่ตายกันแต่ยังหนุ่ม จริง

หรือ ? ธรรมปาลกุมารตอบว่า จริง ท่านอาจารย์ อาจารย์ฟังคำของ

เขา แล้วคิดว่า กุมารนี้พูดอัศจรรย์เหลือเกิน เราจักไปสำนักบิดาของ

กุมารนี้ถามดู ถ้าเป็นจริง เราจักบำเพ็ญธรรมเช่นนั้นบ้าง อาจารย์นั้น

ครั้นทำฌาปนกิจศพบุตรเสร็จแล้ว ล่วงมาได้ ๗ , ๘ วัน ได้เรียก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 885

ธรรมปาลกุมารมาสั่งว่า แน่ะพ่อ เราจักจากไป เจ้าจงบอกศิลปะแก่

มาณพเหล่านี้ จนกว่าเราจะกลับมา สั่งแล้วก็เก็บกระดูกแพะตัว ๑

มาล้างเอาใส่กระสอบ ให้คนรับใช้ผู้ ๑ ถือตามไป ออกจากเมืองตักก-

ศิลาไปโดยลำดับ ถึงบ้านนั้น เที่ยวถามถึงเรือนของมหาธรรมปาละว่า

หลังไหน รู้แห่งแล้วก็ไปยืนอยู่ที่ประตู.

พวกทาสของพราหมณ์ที่เห็นก่อน ต่างก็รับร่มรับรองเท้าจากมือ

ของอาจารย์ และรับกระสอบจากมือของคนรับใช้ เมื่ออาจารย์กล่าวว่า

พวกท่านจงไปบอกบิดาของกุมารว่า อาจารย์ของธรรมปาลกุมารบุตร

ของท่านมายืนอยู่ที่ประตู พวกทาสรับคำว่า ดีแล้ว แล้วก็พากันไปบอก

พราหมณ์รีบไปที่ใกล้ประตู เชื้อเชิญว่า มาข้างนี้เถิดท่าน แล้วนำ

อาจารย์ขึ้นเรือน ให้นั่งบนบัลลังก์ ทำกิจทุกอย่างมีล้างเท้าเป็นต้น

อาจารย์บริโภคอาหารแล้ว เวลานั่งสนทนากันอยู่ตามสบาย จึงแสร้ง

กล่าวว่า ท่านพราหมณ์ ธรรมปาลกุมารบุตรของท่านเป็นคนมีสติปัญญา

เรียนจบไตรเพทและศิลปะ ๑๘ ประการแล้ว แต่ได้ตายเสียแล้วด้วยโรค

อย่าง ๑ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ท่านอย่าเศร้าโศกไปเลย.

พราหมณ์ตบมือหัวเราะดังลั่น เมื่ออาจารย์ถามว่า ท่านพราหมณ์

ท่านหัวเราะอะไร ? ก็ตอบว่า ลูกฉันยังไม่ตาย ที่ตายนั้นจักเป็นคนอื่น

อาจารย์กล่าวว่า ท่านพราหมณ์ ท่านได้เห็นกระดูกบุตรของท่านแล้ว

จงเชื่อเถิด แล้วนำกระดูกออกกล่าวว่า นี่กระดูกบุตรของท่าน พราหมณ์

กล่าวว่า นี้จักเป็นกระดูกแพะหรือกระดูกสุนัข แต่ลูกฉันยังไม่ตาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 886

เพราะในตระกูลของเรา ๗ ชั่วโคตรมาแล้ว ไม่มีใครเคยตายแต่ยังหนุ่ม

เลย ท่านพูดปด ขณะนั้น คนทั้งหมดได้ตบมือหัวเราะกันยกใหญ่

อาจารย์เห็นความอัศจรรย์นั้น แล้วมีความโสมนัส เมื่อจะถามว่า ท่าน

พราหมณ์ ในประเพณีตระกูลของท่านที่คนหนุ่ม ๆไม่ตาย ถ้าไม่มีเหตุ

คงไม่อาจเป็นไปได้ เพราะเหตุไร คนหนุ่ม ๆ จึงไม่ตาย ? ดังนี้ ได้

กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

อะไรเป็นวัตรของท่าน อะไรเป็นพรหม-

จรรย์ของท่าน การที่คนหนุ่ม ๆ ไม่ตายนี้ เป็น

ผลแห่กรรมอะไรที่ท่านประพฤติดีแล้ว ดูก่อน

พราหมณ์ ขอท่านจงบอกเนื้อความนี้แก่เรา

เหตุไรหนอ คนหนุ่ม ๆ ของพวกท่านจึงไม่

ตาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วต คือเป็นวัตตสมาทาน. บทว่า

พฺรหฺมจริย คือเป็นพรหมจรรย์อันประเสริฐสุด. บทว่า กิสฺส

สุจิณฺณสฺส ความว่า การที่คนหนุ่ม ๆ ในตระกูลของพวกท่านไม่ตาย

เป็นผลแห่งสุจริตอย่างไหน ?

พราหมณ์ได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะพรรณนาคุณานุภาพที่เห็น

เหตุให้คนหนุ่มในตระกูลนั้นไม่ตาย จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 887

พวกเราประพฤติธรรม ไม่กล่าวมุสา

งดเว้นธรรมชั่ว งดเว้นกรรมอันไม่ประเสริฐ

ทั้งหมด เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่ม ๆ ของ

พวกเราจึงไม่ตาย.

พวกเราฟังธรรมของอสัตบุรุษและของ

สัตบุรุษแล้ว เราไม่ชอบใจธรรมของอสัตบุรุษ

เลย ละอสัตบุรุษเสีย ไม่ละสัตบุรุษ เพราะเหตุ

นั้นแหละ คนหนุ่ม ๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.

ก่อนที่เริ่มจะให้ทาน พวกเราเป็นผู้ตั้งใจ

ดี แม้กำลังให้ก็มีใจผ่องแผ้ว ครั้นให้แล้วก็

ไม่เดือดร้อนภายหลัง เพราะเหตุนั้นแหละ คน

หนุ่ม ๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.

พวกเราเลี้ยงดูสมณะ พราหมณ์ คน

เดินทาง วณิพก ยาจก และคนขัดสนทั้งหลาย

ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ เพราะเหตุนั้น

แหละ คนหนุ่ม ๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.

พวกเราไม่นอกใจภรรยา ถึงภรรยาก็ไม่

นอกใจพวกเรา พวกเราประพฤติพรหมจรรย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 888

นอกจากภรรยาของตน เพราะเหตุนั้นแหละ

คนหนุ่ม ๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.

พวกเราทั้งหมดงดเว้นจากการฆ่าสัตว์

งดเว้นสิ่งของที่เขาไม่ให้ในโลก ไม่ดื่มของเมา

ไม่กล่าวปด เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่ม ๆ

ของพวกเราจึงไม่ตาย.

บุตรที่เกิดในภรรยาผู้มีศีลดีเหล่านั้น เป็น

ผู้ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต เรียนจบไตรเพท

เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่ม ๆ ของพวกเรา

จึงไม่ตาย.

มารดาบิดา พี่น้องหญิงชาย บุตร ภรรยา

และเราทุกคนประพฤติธรรมมุ่งประโยชน์ใน

โลกหน้า เพราะเหตุนั้นแหละ คนหนุ่ม ๆ

ของพวกเราจึงไม่ตาย.

ทาส ทาสี คนที่อาศัยเลี้ยงชีวิต คนรับใช้

คนทำงานทั้งหมด ล้วนแต่ประพฤติธรรมมุ่ง

ประโยชน์ในโลกหน้า เพราะเหตุนั้นแหละ

คนหนุ่ม ๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 889

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมญฺจราม ได้แก่ ประพฤติ

ธรรม คือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ กุศลกรรมทุกอย่างเป็นต้นว่า

พวกเราไม่ปลงสัตว์โดยที่สุดแม้มดดำจากชีวิต เพราะเหตุแห่งชีวิตตน

และไม่มองดูสิ่งของของผู้อื่นด้วยโลภจิต อันบัณฑิตพึงพรรณนาให้

พิสดาร ก็ในคาถานี้ พราหมณ์กล่าวถึงการพูดมุสา แต่กล่าวไว้ด้วย

สามารถแห่งอกุศลกรรมที่สูงขึ้นว่า ขึ้นชื่อว่าบาปที่บุคคลผู้มักพูดเท็จ

จะไม่ทำย่อมไม่มี ได้ยินว่า บุคคลเหล่านั้น ไม่พูดเท็จ แม้ด้วยประสงค์

จะให้หัวเราะ.

บทว่า ปาปานิ ได้แก่ กรรมอันลามกที่เป็นเหตุให้เข้าถึงนรก

แม้ทุกอย่าง. บทว่า อนริย ได้แก่ งดเว้นกรรมที่เว้นจากความเป็น

กรรมอันประเสริฐ คือที่ไม่ดี ได้แก่ ไม่บริสุทธิ์ทั้งหมด. หิ อักษร

ในคำว่า ตสฺมา หิ อมฺห นี้เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า เพราะเหตุนี้

คนหนุ่ม ๆ ของพวกเราจึงไม่ตาย คือขึ้นชื่อว่า อกาลมรณะในระหว่าง

ย่อมไม่มีแก่พวกเรา บาลีว่า ตสฺมา หิ อมฺห ดังนี้ก็มี. บทว่า สุโณม

เป็นต้น ความว่า ได้ยินว่า พวกเรา ธรรมอันแสดงกุศลของสัตบุรุษ

ก็ฟัง. ธรรมอันแสดงอกุศลของอสัตบุรุษก็ฟังทั้งนั้น แต่พวกเราก็เป็น

สักแต่ว่าฟังธรรมนั้นแล้วเท่านั้น ไม่ชอบใจธรรมของอสัตบุรุษนั้นเลย

แต่ไม่ให้มีการทะเลาะหรือวิวาทกับอสัตบุรุษเหล่านั้น แม้ฟังแล้ว ได้แล้ว

ก็ประพฤติตามสัตบุรุษ ไม่ละสัตบุรุษแม้สักขณะเดียว ละอสัตบุรุษ

คือบาปมิตรเสียแล้ว เป็นผู้ซ่องเสพแก่กัลยาณมิตรเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 890

บทว่า สมเณ มย พฺราหฺมเณ ความว่า ดูก่อนพราหมณ์

พวกเราเลี้ยงดู สมณพราหมณ์ คือพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มีบาปอันสงบ

แล้วแล มีบาปอันลอยแล้วบ้าง สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมที่เหลือ

บ้าง ชนที่เหลือมีมารเดินทางเป็นต้นบ้าง ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าว

น้ำ ก็ในพระบาลีคาถานี้ก็มาตามหลังคาถาว่า ปุพฺเพว ทานา เหมือน

กัน. บทว่า นาติกฺกมาม ความว่า พวกเราไม่นอกใจภรรยาของตน

กระทำมิจฉาจารในหญิงอื่นในภายนอก. บทว่า อญฺตฺร ตาหิ ความว่า

พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ในหญิงที่เหลือ นอกจากภรรยาของตน

แม้ภรรยาของพวกเราก็เป็นไปในชายที่เหลืออย่างนี้เหมือนกัน บทว่า

ชายเร แปลว่า ย่อมเกิด. บทว่า สุตฺตมาสุ คือในหญิงผู้สูงสุด ผู้มี

ศีลดีทั้งหลาย.

ข้อนี้มีอธิบายว่า บุตรเหล่าใดของพวกเราเกิดในหญิงผู้สูงสุด

ผู้มีศีลสมบูรณ์เหล่านั้น บุตรเหล่านั้นย่อมเป็นผู้มีประการอย่างนี้ คือ

เป็นผู้ฉลาดเป็นต้น ความตายในระหว่างจักมีแก่บุตรเหล่านั้น แต่ที่

ไหนเล่า แม้เพราะเหตุนั้น คนหนุ่ม ๆ ในตระกูลของพวกเราจึงไม่ตาย.

บทว่า ธมฺมญฺจราม ได้แก่ ประพฤติสุจริตธรรม ๓ ประการ เพื่อ

ประโยชน์แก่ปรโลก. หญิงรับใช้ทั้งหลาย ชื่อว่า ทาสี.

ในที่สุด พราหมณ์ก็ได้แสดงคุณของผู้ประพฤติธรรม ด้วยคาถา

๒ คาถาเหล่านี้ ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 891

ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรม

ที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ นี้

เป็นอานิสงส์ ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้

ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.

ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

เหมือนร่มใหญ่ในฤดูฝน ฉะนั้น ธรรมปาละ-

บุตรของเรา อันธรรมคุ้มครองแล้ว กระดูกที่

ท่านนำเอามานี้ เป็นกระดูกสัตว์อื่น บุตรของ

เรายังมีความสุข.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รกฺขติ ความว่า ธรรมดาว่า ธรรม

ที่บุคคลรักษาแล้วนี้ ย่อมกลับรักษาซึ่งบุคคลผู้มีธรรมอันตนรักษา

แล้ว. บทว่า สุขมาวหาติ คือ ย่อมนำสุขในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

กับนิพพานสุขมาให้. บทว่า น ทุคฺคตึ คือย่อมไม่ไปสู่ทุคติ อัน

ต่างด้วยทุคติมีนรกเป็นต้น.

พราหมณ์นั้นแสดงว่า ดูก่อนพราหมณ์ พวกเรารักษาธรรม

อย่างนี้ แม้ธรรมก็รักษาพวกเราเหมือนกัน. บทว่า ธมฺเมน คุตฺโต

คืออันธรรมที่ตนรักษาอันเช่นกับด้วยร่มใหญ่คุ้มครองแล้ว. บทว่า

อสฺญสฺส อฏีนิ ความว่า ก็กระดูกที่ท่านนำมานี้ จักเป็นกระดูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 892

ของสัตว์อื่น คือของแพะก็ตามของสุนัขก็ตาม ท่านจงทิ้งกระดูกเหล่านั้น

เสีย บุตรของเรายังมีความสุข.

อาจารย์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า การมาของข้าพเจ้าเป็นการ

มาดี มีผล ไม่ไร้ผล แล้วมีความยินดี ขอขมาโทษกะบิดาธรรมปาละ

แล้วกล่าวว่า นี้เป็นกระดูกแพะ. ข้าพเจ้านำมาเพื่อจะลองท่าน บุตร

ของท่านสบายดี ท่านจงให้ธรรมที่ท่านรักษาแก่ข้าพเจ้าบ้าง ดังนี้แล้ว

เขียนข้อความลงในสมุด อยู่ในที่นั้น ๒,๓ วันแล้ว ไปเมืองตักกศิลา

ให้ธรรมปาลกุมารศึกษาศิลปะทุกอย่าง แล้วส่งไปด้วยบริวารใหญ่.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแก่ พระเจ้า-

สุทโธทนมหาราชแล้ว ทรงประกาศสัจธรรมในเวลาจบสัจจะ พระเจ้า-

สุทโธทนมหาราชได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พระทศพลทรงประชุมชาดก

ว่า มารดาบิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธมารดาพุทธบิดาในบัดนี้

อาจารย์ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระสารีบุตรในบัดนี้ บริษัทในครั้งนั้น

ได้มาเป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนธรรมปาลกุมาร ได้มาเป็นเราตถาคต

ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามหาธัมมปาลชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 893

๑๐. กุกกุฏชาดก

ว่าด้วยพ้นศัตรูเพราะรู้เท่านั้น

[๑๔๒๒] บุคคลไม่พึงคุ้นเคยในคนทำบาป คน

มักพูดเหลาะแหละ คนมีปัญญาคิดแต่ประ-

โยชน์ตน คนแสร้งทำสงบเสงี่ยมแต่ภายนอก.

[๑๔๒๓] มีคนพวก ๑ มีปกติเหมือนโคกระหาย

น้ำทำทีเหมือนจะกล้ำกลืนมิตรด้วยวาจา แต่ไม่

ใช้ด้วยการงาน ไม่ควรคุ้นเคยในคนเช่นนี้.

[๑๔๒๔] คนพวก ๑ เป็นคนชูมือเปล่า พัวพัน

อยู่แต่ด้วยวาจา เป็นมนุษย์กระพี้ ไม่มีความ

กตัญญู ไม่ควรนั่งใกล้คนเช่นนั้น.

[๑๔๒๕] บุคคลไม่ควรคุ้นเคยต่อสตรีหรือบุรุษผู้

มีจิตกลับกลอก ไม่ทำความเกี่ยวข้องให้แจ้ง-

ชัดด้วยเหตุต่าง ๆ.

[๑๔๒๖] ไม่ควรคุ้นเคยกับบุคคล ผู้หยั่งลงสู่

กรรมอันไม่ประเสริฐ เป็นคนไม่แน่นอน กำ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 894

จัดคนไม่เหลือกหน้า เหมือนดาบที่เขาลับแล้ว

ปกปิดไว้ ฉะนั้น.

[๑๔๒๗] คนบางพวกในโลกนี้ คอยเพ่งโทษ

เข้าไปหาด้วยอุบายต่าง ๆ ด้วยคำพูดอันคมคาย

ซึ่งไม่ตรงกับน้ำใจ ด้วยสามารถแห่งคนเทียม

มิตร แม้คนเช่นนี้ก็ไม่ควรคุ้นเคย.

[๑๔๒๘] คนมีความคิดชั่วเช่นนั้น พบเห็นอามิส

หรือทรัพย์เข้า ณ ที่ใด ย่อมคิดประทุษร้าย

และครั้นได้แล้วก็ละสหายนั้นไป.

[๑๔๒๙] มีคนจำนวนมากที่ปลอมเป็นมิตรมาคบ

หา บุคคลพึงละบุรุษชั่วเหล่านั้นเสีย เหมือน

ไก่ละเหยี่ยว ฉะนั้น.

[๑๔๓๐] อนึ่ง บุคคลใดไม่รู้เท่าเหตุที่เกิดขึ้นได้

ฉับพลัน หลงไปตามอำนาจศัตรู บุคคลนั้น

ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.

[๑๔๓๑] ส่วนบุคคลใดรู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นได้

ฉับพลัน บุคคลนั้นย่อมพ้นจากการเบียดเบียน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 895

ของศัตรู เหมือนไก่พ้นจากเหยี่ยว ฉะนั้น.

[๑๔๓๒] คนผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ควรเว้น

บุคคลผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม มักทำการกำจัดอยู่

เป็นนิตย์ เหมือนแร้วที่เขาดักไว้ในป่าเช่นนั้น

เสียให้ห่างไกล เหมือนไก่ในป่าไผ่ละเว้น

เหยี่ยว ฉะนั้น.

จบ กุกกุฏชาดกที่ ๑๐

อรรถกถากุกกุฏชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ทรงปรารภ

ความพยายามปลงพระชนม์ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า นาสฺมเส

กตปาปมฺหิ ดังนี้.

ความย่อว่า ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภาถึงความไม่ดี

ของพระเทวทัตว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตทำอุบายเพื่อจะปลงพระ-

ชนม์พระทศพล ด้วยการวางนายขมังธนูเป็น. พระศาสดาเสด็จมา

ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันถึงเรื่อง

อะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่พระเทวทัตพยายามฆ่าเรา แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 896

ในกาลก่อนพระเทวทัตก็พยายามฆ่าเราเหมือนกัน แล้วได้ทรงนำเอา

เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่าโกสัมพิกะครองราชสมบัติ

อยู่ในพระนครโกสัมพี. ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นไก่ ณ

ป่าไผ่แห่งหนึ่ง มีไก่หลายร้อยเป็นบริวารอยู่ในป่า. เหยี่ยวตัวหนึ่งอยู่

ณ ที่ใกล้ ๆ กันนั้น มันใช้อุบายจับไก่กินทีละตัว ๆ กินจนหมด นอก

จากพระโพธิสัตว์อยู่ตัวเดียว เป็นผู้ไม่ประมาท เที่ยวหาอาหารตามเวลา

แล้วก็เข้าไปอยู่ ณ เชิงไผ่. เหยี่ยวนั้นไม่อาจจับไก่พระโพธิสัตว์นั้นได้

จึงคิดว่า เราจักใช้อุบายอย่างหนึ่งล่อลวงจับไก่นั้นกินให้ได้. แล้วเข้า

ไปแอบอยู่ที่กิ่งไม้ใกล้ ๆ กันนั้น กล่าวว่า แน่ะพญาไก่ผู้เพื่อน ท่าน

กลัวเราเพราะเหตุไร ? เราต้องการทำความคุ้นเคยกับท่าน ประเทศชื่อ

โน้นสมบูรณ์ด้วยอาการ เราทั้งสองไปหาอาหารกันที่นั้น แล้วจักอยู่

อย่างมีความรักใคร่กันและกัน.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์กล่าวกะเหยี่ยวว่า แน่ะเพื่อนเราจะมี

ความคุ้นเคยกะเจ้าไม่ได้ เจ้าไปเถิด. เหยี่ยวถามว่า แน่ะเพื่อน ท่าน

ไม่เชื่อเราเพราะเราเคยทำความชั่วมาแล้ว. ตั้งแต่นี้ไปเราจักไม่ทำเช่น

นั้นอีก พระโพธิสัตว์ตอบว่า เราไม่ต้องการสหายเช่นเจ้า เจ้าจงไป

เสียเถิด. พระโพธิสัตว์ห้ามเหยี่ยวทำนองนี้ถึง ๓ ครั้ง แล้วส่งเสียงขัน

ก้องป่าว่า ใคร ๆ ไม่ควรทำความคุ้นเคยกับผู้ที่ประกอบด้วยลักษณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 897

เช่นนี้ ดังนี้ เมื่อเทวดาทั้งหลายพากันแซ่ซ้องสาธุการ เมื่อจะเริ่ม

ธรรมกถาได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

บุคคลไม่พึงคุ้นเคยในคนทำบาป คน

มักพูดเหลาะแหละ คนมีปัญญาคิดแต่ประ-

โยชน์ตน คนแสร้งทำสงบเสงี่ยมแต่ภายนอก.

มีคนพวก ๑ มีปกติเหมือนโคกระหาย

น้ำ ทำที่เหมือนจะกล้ำกลืนมิตรด้วยวาจา แต่

ไม่ใช่ด้วยการงานไม่ควรคุ้นเคยในคนเช่นนั้น.

คนพวก ๑ เป็นคนชูมือเปล่า พัวพัน

อยู่แต่ด้วยวาจา เป็นมนุษย์กระพี้ ไม่มีความ

กตัญญู ไม่ควรนั่งใกล้คนเช่นนั้น.

บุคคลไม่ควรคุ้นเคยต่อสตรีหรือบุรุษผู้

มีจิตกลับกลอก ไม่ทำความเกี่ยวข้องให้แจ้ง-

ชัดด้วยเหตุต่าง ๆ.

ไม่ควรคุ้นเคยกับบุคคล ผู้หยั่งลงสู่

ธรรมอันไม่ประเสริฐ เป็นคนไม่แน่นอน กำ-

จัดคนไม่เลือกหน้า เหมือนดาบที่เขาลับแล้ว

ปกปิดไว้ ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 898

คนบางพวกในโลกนี้ คอยเพ่งโทษเข้า

ไปหาด้วยอุบายต่าง ๆ ด้วยคำพูดอันคมคาย

ซึ่งไม่ตรงกับน้ำใจ ด้วยสามารถแห่งคนเทียม

มิตร แม้คนเช่นนี้ก็ไม่ควรคุ้นเคย.

คนมีความคิดชั่วเช่นนั้น พบเห็นอามิส

หรือทรัพย์เข้า ณ ที่ใด ย่อมคิดประทุษร้าย

และครั้นได้แล้วก็ละสหายนั้นไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาสฺมเส แปลว่าไม่พึงคุ้นเคย อีก

อย่างหนึ่ง พระบาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน มีคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลไม่

ควรคุ้นเคย. บทว่า กตปาปมฺหิ คือ ในคนทำบาปไว้ครั้งแรก. บทว่า

อลิกวาทิเน คือ ไม่พึงคุ้นเคยแม้ในคนที่มักพูดเท็จ เพราะว่า ขึ้น

ชื่อว่าบาปที่บุคคลผู้มักพูดเท็จนั้นไม่พึงทำ ย่อมไม่มี.

บทว่า นาสฺมเส อตฺตตฺถปญฺมฺหิ ความว่า บุคคลใดมี

ปัญญาคิดแต่ประโยชน์ตนเท่านั้น คือ ไม่ได้คบด้วยสามารถแห่งเสน่หา

แต่มีความต้องการทรัพย์เหล่านั้นจึงคบ แม้ในบุคคลผู้มีปัญญาคิดแต่

ประโยชน์ตนนั้น ก็ไม่ควรคุ้นเคย. บทว่า อติสนฺเต ได้แก่ ใน

บุคคลผู้แสร้งทำสงบเสงี่ยมด้วยการแสดงความสงบในภายนอก ทั้ง ๆ

ที่ความสงบในภายในไม่มีอยู่เลย คือ ในบุคคลผู้หลอกลวง ผู้ปกปิด

การงาน ผู้เช่นกับอสรพิษที่ปกปิดรู.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 899

บทว่า โคปิปาสกชาติกา คือ ราวกะมีชาติกระหายน้ำแห่งโค

ทั้งหลาย อธิบายว่า เป็นเช่นกับด้วยโคที่กระหายน้ำ พระโพธิสัตว์แสดง

ความนี้ไว้ว่า เปรียบเหมือนโคตัวที่กระหายน้ำลงสู่ท่าแล้วดื่มน้ำจนเต็ม

ปาก แต่ไม่กระทำสิ่งที่ควรกระทำแก่น้ำอีกฉันใด บุคคลบางพวกก็

ฉันนั้นเหมือนกัน ทำที่จะกล้ำกลืนมิตรด้วยคำอันอ่อนหวานว่า จะทำ

สิ่งโน้นสิ่งนี้ให้ แต่แล้วก็ไม่กระทำสิ่งที่ควรแก่คำอันไพเราะ ความคุ้น-

เคยในบุคคลเช่นนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายอันใหญ่หลวง.

บทว่า สุกฺขญฺชลิปคฺคหีตา คือ เป็นคนชูมืออันเปล่า. บทว่า

วาจาย ปลิคุณฺิตา คือ ปกปิดด้วยคำว่า จักให้จักทำสิ่งนั้น. บทว่า

มสุสฺเผคฺคู ความว่า มนุษย์ผู้หาแก่นสารมิได้เห็นปานนี้ ชื่อว่า

เป็นมนุษย์กระพี้. บทว่า นาสิเท ได้แก่ ไม่ควรนั่งใกล้คือ ไม่ควร

เข้าไปใกล้ในบุคคลนั้นเห็นปานนี้.

บทว่า ยสฺมึ นตฺถิ ความว่า อนึ่ง ความกตัญญูไม่มีในบุคคล

ใด แม้ในบุคคลนั้น ก็ไม่ควรนั่งใกล้. บทว่า อญฺญฺจิตฺตาน

ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยจิตอันไม่แน่นอน อธิบายว่า ผู้มีจิตกลับกลอก.

พระโพธิสัตว์แสดงความนี้ไว้ว่า บุคคลไม่ควรคุ้นเคยต่อสตรีหรือบุรุษ

ผู้เห็นปานนี้.

บทว่า นานา วิกตฺวา สสคฺค พระโพธิสัตว์แสดงว่า แม้

บุคคลใดกระทำความเกี่ยวข้องให้แจ้งชัด คือ กระทำให้มั่นด้วยเหตุต่าง ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 900

เพื่อจะทำอันตรายด้วยโวหารว่า ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อไม่เข้าไปทำสิ่งที่ไม่เป็น

อันตรายแก่เขาได้. ดังนี้แล้วทำอันตรายในภายหลัง บุคคลแม้เช่นนั้น

ก็ไม่ควรคุ้นเคย คือ ไม่ควรสนิทสนม.

บทว่า อนริยกมฺม โอกฺกนฺต ได้แก่ ผู้หยั่งลงสู่กรรมของผู้

ไม่ประเสริฐ คือ ผู้ทุศีลทั้งหลายดำรงอยู่. บทว่า อิต ได้แก่ ผู้ไม่

มั่นคง คือ ผู้มีคำพูดอันไม่แน่นอน.

บทว่า สพฺพฆาติน คือ ผู้ได้โอกาสแล้วทำการกำจัดบุคคลไม่

เลือกหน้า. บทว่า นิสิตว ปฏิจฺฉนฺน คือ เหมือนดาบที่ลับแล้ว ปกปิด

ไว้ด้วยฝักหรือเศษผ้าฉะนั้น. บทว่า ตาทิสปิ ความว่า บุคคลไม่ควร

คุ้นเคย คนผู้มีใช่มิตรผู้เป็นคนเทียมมิตรแม้เห็นปานนี้.

บทว่า สาขลฺเยน คือ ด้วยดาพูดอันคมคาย. บทว่า อเจตสา

แปลว่า อันไม่ตรงกับน้ำใจ จริงอยู่ คำพูดของบุคคลเหล่านั้นเท่านั้น

กลมกล่อม ส่วนจิตกระด้างหยาบคายคนบางพวกในโลกนี้คอยเพ่งโทษ

เข้าไปหาด้วยอุบายต่าง ๆ. บทว่า ตาทิสปิ ความว่า คนใดเป็นเช่นกับ

ด้วยคนผู้มีใช่มิตรผู้เป็นคนเทียมมิตรเหล่านั้น คนแม้เช่นนั้นก็ไม่ควร

คุ้นเคย.

บทว่า อามิส ได้แก่ ของควรเคี้ยวและของควรบริโภค. บทว่า

ธน ได้แก่ สิ่งของที่เหลือตั้งต้นแต่ขาเตียง. บทว่า ยตฺถ ปสฺสติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 901

คือ เห็น ณ ที่ใดในเรือนของสหาย. บทว่า ทุพฺภึ กโรติ ได้แก่

ให้จิตคิดประทุษร้ายเกิดขึ้น คือ นำทรัพย์นั้นไป. บทว่า ตญฺจ หิตฺวาน

คือ ครั้นได้ก็ละสหายแม้นั้นไป.

พญาไก่ได้กล่าวคาถา ๗ คาถาด้วยประการดังนี้ :-

พระศาสดาผู้เป็นธรรมราชา ได้ทรงภาษิตอภิสัมพุทธคาถา ๔

คาถาดังนี้ว่า :-

มีคนเป็นจำนวนมาก ที่ปลอมเป็นมิตร

มาคบหา บุคคลพึงละบุรุษชั่วเหล่านั้นเสีย

เหมือนไก่ละเหยี่ยว ฉะนั้น.

อนึ่ง บุคคลใดไม่รู้เท่าเหตุที่เกิดขึ้นได้

ฉับพลัน หลงไปตามอำนาจศัตรู บุคคลนั้น

ย่อมเดือนร้อนในภายหลัง.

ส่วนบุคคลใดรู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นได้

ฉับพลัน บุคคลนั้นย่อมพ้นจากการเบียดเบียน

ของศัตรู เหมือนไก่พ้นจากเหยี่ยว ฉะนั้น.

คนผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ควรเว้น

บุคคลผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม มักทำการกำจัดอยู่

เป็นนิตย์ เหมือนแร้วที่เขาดักไว้ในป่า เช่นนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 902

เสียให้ห่างไกล เหมือนไก่ในป่าไผ่ละเว้น  เหยี่ยว ฉะนั้น.

เหยี่ยว ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชเห กาปุริเส เหเต ความว่า

ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตพึงละบุรุษชั่วเหล่านั้นเสีย ก็ หิ อักษรในพระ-

คาถานี้เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า ปจฺฉา จ มนุตปฺปติ คือ ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง

บทว่า กูฏมิโวฑฺฑิต คือ เหมือนแร้วที่เขาดักไว้ในป่าเพื่อต้องการ

จะให้เนื้อในป่ามาติดฉะนั้น. บทว่า นิจฺจวิธสการิน แปลว่า ผู้มัก

ทำการกำจัดอยู่เป็นนิจ. บทว่า วสกานเน แปลว่า ในป่าไผ่ นรชน

ผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ควรเว้นบาปมิตร ผู้มักทำการกำจัดเสีย

เหมือนไก่ในป่าไผ่ละเว้นเหยี่ยว ฉะนั้น.

พระยาไก่นั้นครั้นกล่าวคาถาแล้ว เรียกเหยี่ยวมาขู่ว่า ถ้าเราจัก

อยู่ในที่นี้ เราจักตอบแทนการกระทำของเจ้า แม้เหยี่ยวก็ได้หนีจากที่

นั้นไปในที่อื่น.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อนพระเทวทัตก็พยายามฆ่าเราอย่างนี้

ดังนี้แล้วทรงประชุมชาดกว่า เหยี่ยวในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัตใน

บัดนี้ ส่วนพญาไก่ในครั้งนั้น. ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากุกกุฏชาดกที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 903

๑๑. มัฏฐกุณฑลิชาดก

ว่าด้วยคนร้องไห้ถึงคนตายเป็นคนโง่เขลา

[๑๔๓๓] ท่านประดับแล้วด้วยอาภรณ์ต่าง ๆ มี

ต่างหูเกลี้ยงเกลา ทัดทรงระเบียบดอกไม้

ลูบไล้กระแจะจันทน์สีเหลือง ท่านมีทุกข์

อะไรหรือ จงมากอดอกคร่ำครวญอยู่ในกลาง

ป่า.

[๑๔๓๔] เรือนรถงามแพรวพราว แล้วไปด้วย

ทองคำของเรามีอยู่แล้ว เราหาล้อทั้ง ๒ ของ

เรือนรถนั้นยังไม่ได้ ด้วยความทุกข์อันนั้น

เราจักตายเป็นแน่.

[๑๔๓๕] ท่านต้องการรถชนิดไร รถทำด้วย

ทองคำ แก้วมณี โลหะ หรือรูปิยะ จงบอก

รถชนิดนั้นแก่เราเถิด เราจะทำรถให้แก่ท่าน

จะหาล้อทั้งคู่ใส่ให้เสร็จ.

[๑๔๓๖] พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้ง ๒ งาม

ผ่องใสอยู่ในวิถีทั้ง ๒ ลอยไปในอากาศ รถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 904

ทองของเราย่อมงามด้วยพระจันทร์ และพระ-

อาทิตย์นั้นอันเป็นคู่ล้อ.

[๑๔๓๗] ดูก่อนมาณพ ท่านเป็นพาลแท้ ท่านใด

ปรารถนาสิ่งที่เขาไม่ปรารถนากัน เราเข้าใจ

ว่าท่านนั้นจักตายเสียเปล่า ท่านจักไม่ได้

พระจันทร์และพระอาทิตย์เลย.

[๑๔๓๘] แม้ความอุทัยแลอัสดงของพระจันทร์

และพระอาทิตย์นั้นก็ยังปรากฏอยู่ สีสรร-

วรรณะ และวิถีทางของพระจันทร์และพระ-

อาทิตย์ทั้ง ๒ ก็ยังปรากฏอยู่ ส่วนบุคคลผู้

ล่วงลับไปแล้ว ย่อมไม่ปรากฏเลย บรรดาเรา

๒ คนผู้คร่ำครวญอยู่ ใครเล่าหนอจะเป็นคน

โง่เขลายิ่งกว่ากัน.

[๑๔๓๙] แน่ะมาณพ ท่านพูดจริง บรรดาเรา

ทั้ง ๒ ผู้คร่ำครวญอยู่ เรานี่แหละเป็นคน

โง่เขลายิ่งกว่าท่าน เราปรารถนาผู้ตายไปยัง

ปรโลกแล้ว เหมือนเด็กร้องไห้อยากได้พระ-

จันทร์ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 905

[๑๔๔๐] น่าสรรเสริญ ท่านมารดเราผู้เร่าร้อนให้

สงบระงับดับความกระวนกระวายทั้งปวงได้

เหมือนบุคคลดับไฟที่ติดเปรียบด้วยน้ำฉะนั้น.

[๑๔๔๑] ท่านได้ถอนลูกศรที่เสียบแทงหทัยของ

เราออกได้แล้ว ได้บรรเทาความโศกถึงบุตร

ของเราผู้ถูกความโศกครอบงำแล้วหนอ.

[๑๔๔๒] ดูก่อนมาณพ เราเป็นผู้ถอนลูกศรได้

แล้ว ปราศจากความโศก ไม่มีความขุ่นมัว เรา

จะไม่เศร้าโศก จะไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟัง

ถ้อยคำของท่าน.

จบ มัฏฐกุณฑลิชาดกที่ ๑๑

อรรถกถามัฏฐกุณฑลิชาดกที่ ๑๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

กุฎุมพีผู้หนึ่งซึ่งลูกตาย จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า อลงฺกโต มฏฺ-

กุณฑลี ดังนี้.

ได้ยินว่า ในพระนครสาวัตถี บุตรน้อยน่ารักของกุฎุมพีผู้เป็น

พุทธอุปฐากคนหนึ่งได้ตายลง กุฎุมพีเพียบด้วยความเศร้าโศกถึงบุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 906

ไม่อาบน้ำไม่บริโภคอาหาร ไม่ดูแลการงาน ไม่ไปที่บำรุงพระพุทธเจ้า

บ่นเพ้ออยู่อย่างเดียวว่า ลูกรัก เจ้าจากพ่อไปก่อนแล้วเป็นต้น.

พระศาสดาตรวจดูสัตวโลกเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุปนิสัยโสดา-

ปัตติผลของกุฎุมพีนั้น ครั้นรุ่งขึ้น พระองค์ทรงแวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์

เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี พอฉันเสร็จทรงส่งภิกษุทั้งหลาย

กลับ พระองค์ทรงมีพระอานันทเถระเป็นปัจฉาสมณะ ได้เสด็จไปที่ประตู

เรือนกุฎุมพีนั้น คนทั้งหลายบอกแก่กุฎุมพีว่า พระศาสดาเสด็จมา.

ลำดับนั้นคนในเรือนของกุฎุมพีได้ปูลาดอาสนะ แล้วนิมนต์พระศาสดา

ให้ประทับนั่ง ช่วยกันประคองกุฎุมพีมาเฝ้าพระศาสดา กุฎุมพีถวาย

บังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาทรงใช้พระวาจาเยือกเย็น

กอปรด้วยพระกรุณาทักทายแล้วตรัสถามว่า. อุบาสก ท่านเศร้าโศกถึง

บุตรน้อยหรือ ? เมื่อกุฎุมพีกราบทูลว่า ถูกแล้วพระเจ้าข้า พระองค์

ตรัสว่า อุบาสก โบราณกบัณฑิต เมื่อลูกตายก็เพียบด้วยความเศร้าโศก

เที่ยวไป ครั้นได้ฟังถ้อยคำของบัณฑิตรู้โดยถ่องแท้ว่า เป็นฐานะที่ไม่

ควรจะได้ แล้วก็มิได้เศร้าโศกแม้น้อยหนึ่งเลย กุฎุมพีนั้นทูลอาราธนา

ให้ตรัสเรื่องราว แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ อยู่ในพระนคร

พาราณสี บุตรของพราหมณ์ผู้มีสมบัติมากคนหนึ่ง เมื่ออายุได้ ๑๕, ๑๖ ปี

ถูกพยาธิชนิดหนึ่งเบียดเบียน ตายไปเกิดในเทวโลก ตั้งแต่บุตรนั้นตาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 907

พราหมณ์ไปป่าช้าคุ้ยเขี่ยกองฟอนคร่ำครวญอยู่ เลิกละการงานทุกอย่าง

เฝ้าแต่เที่ยวเศร้าโศก. เทพบุตรพิจารณาดูเห็นดังนั้น ทรงดำริว่า เราจัก

ทำอุปมาอย่างหนึ่งระงับความโศก ครั้นเวลาพราหมณ์ไปป่าช้าคร่ำครวญ

อยู่จึงแปลงเพศเป็นบุตรของพราหมณ์นั้น ประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง

ยืนอยู่ ณ ประเทศแห่งหนึ่ง เอามือทั้ง ๒ ไว้เหนือศีรษะร้องไห้ด้วย

เสียงอันดัง. พราหมณ์ได้ยินเสียงจึงแลดูเทพบุตรจำแลงนั้น กลับได้

ความรักในบุตร จึงได้เข้าไปใกล้เทพบุตร เมื่อจะถามว่า พ่อมาณพ

เหตุไรเจ้าจึงมาร้องไห้คร่ำครวญอยู่กลางป่าช้านี้ จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑

ว่า :-

ท่านประดับแล้วด้วยอาภรณ์ต่าง ๆ มี

ต่างหูเกลี้ยงเกลา ทัดทรงระเบียบดอกไม้

ลูบไล้กระแจะจันทน์สีเหลือง ท่านมีทุกข์

อะไรหรือ จึงมากอดอกคร่ำครวญอยู่ในกลาง

ป่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลงฺกโต คือประดับแล้วด้วย

อาภรณ์ต่าง ๆ. บทว่า มฏฺกุณฺฑลี คือประกอบด้วยต่างหูอันเกลี้ยง

เกลา ซึ่งมีรูปร่างอันสำเร็จแล้ว. บทว่า มาลธารี คือทัดทรงระเบียบ

ดอกไม้อันไพจิตร. บทว่า หริจนฺทนุสฺสโท คือลูบไล้ด้วยจันทน์มีสี

ดังทอง. บทว่า วนมชฺเฌ คือในกลางป่าช้า. บทว่า กึ ทุกฺขิโต ตุว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 908

ความว่า พราหมณ์กล่าวว่า ท่านมีความทุกข์อะไรหรือจงบอกมา เรา

จะให้สิ่งที่ท่านต้องการแก่ท่าน.

ลำดับนั้น มาณพเทพบุตรเมื่อจะบอกแก่พราหมณ์ จึงกล่าว

คาถาที่ ๒ ว่า :-

เรือนรถงามแพรวพราว แล้วไปด้วย

ทองคำของเรามีอยู่แล้ว เราหาล้อทั้ง ๒ ของ

เรือนรถนั้นยังไม่ได้ ด้วยความทุกข์อันนั้น

เราจักตายเป็นแน่.

เมื่อพราหมณ์จะรับหาให้ จึงได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

ท่านต้องการรถชนิดไร รถทำด้วย

ทองคำ แก้วมณี โลหะ หรือรูปิยะ จงบอก

รถชนิดนั้นแก่เราเถิด เราจะทำรถให้แก่ท่าน

จะหาล้อทั้งคู่ใส่ให้เสร็จ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาวท ความว่า ท่านต้องการรถ

ชนิดไร ? ชอบใจรถชนิดไร ? จงบอกรถชนิดนั้นเถิด เราจะทำรถให้

แก่ท่าน. บทว่า ปฏิปาทยามิ คือเราจะให้ท่านได้รับล้อทั้งคู่ที่เหมาะ

แก่เรือนรถ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 909

พระศาสดาผู้ตรัสรู้แล้ว ได้ตรัสด้วยคาถาที่มาณพฟังดังนั้นแล้ว

จึงได้กล่าวคาถา ว่า :-

พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้ง ๒ งาม

ผ่องใสอยู่ในวิถีทั้ง ๒ ลอยไปในอากาศ รถ

ทองของเราย่อมงามด้วยพระจันทร์ และพระ-

อาทิตย์นั้นอันเป็นคู่ล้อ.

พราหมณ์ จึงกล่าวคาถาที่เหลือต่อจากนั้น ว่า :-

ดูก่อนมาณพ ท่านเป็นพาลแท้ ท่านได้

ปรารถนาสิ่งที่เขาไม่ปรารถนากัน เราเข้าใจ

ว่าท่านนั้นจักตายเสียเปล่า ท่านจักไม่ได้

พระจันทร์และพระอาทิตย์เลย.

พึงทราบอธิบายในคาถาที่พราหมณ์กล่าว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปตฺถย แปลว่า อันเขาไม่พึง

ปรารถนากัน.

ลำดับนั้น มาณพ จึงได้กล่าวคาถา ว่า :-

แม้ความอุทัยแลอัสดงของพระจันทร์

และพระอาทิตย์นั้นก็ยังปรากฏอยู่ สีสรร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 910

วรรณะ และวีถีทางของพระจันทร์และพระ-

อาทิตย์ทั้ง ๒ ก็ยังปรากฏอยู่ ส่วนบุคคลผู้

ล่วงลับไปแล้ว ย่อมไม่ปรากฏเลย บรรดาเรา

๒ คนผู้คร่ำครวญอยู่ ใครเล่าหนอจะเป็นคน

โง่เขลายิ่งกว่ากัน ?

พึงทราบอธิบายในคาถาที่มาณพกล่าว.

การขึ้นและการอัสดง ชื่อว่า คมนาคมน ในคาถานั้น.

สีสรรนั่นแหละ ชื่อว่า วณฺณธาตุ ในคำว่า อุภเยตฺถ วีถิโย

นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ คือแม้ภูมิเป็นที่ไปและเป็นที่มาของพระจันทร์

และพระอาทิตย์ทั้ง ๒ ย่อมปรากฏอยู่ในอากาศว่า นี้เป็นวิถีของพระ-

จันทร์นี้เป็นวิถีของพระอาทิตย์.

บทว่า เปโต ปน ความว่า ส่วนสัตว์ผู้ไปแล้วสู่ปรโลก

ย่อมไม่ปรากฏเลย. บทว่า โก นุ โข ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น

บรรดาเรา ๒ คนผู้คร่ำครวญอยู่ ใครเล่าหนอจะเป็นคนเขลายิ่งกว่ากัน.

เมื่อมาณพกล่าวอยู่อย่างนี้ พราหมณ์กำหนดความได้ จึงได้

กล่าวคาถา ว่า :-

แน่ะมาณพ ท่านพูดจริง บรรดาเรา

ทั้ง ๒ ผู้คร่ำครวญอยู่ เรานี่แหละเป็นคน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 911

โง่เขลายิ่งกว่าท่าน เราปรารถนาผู้ตายไปยัง

ปรโลกแล้ว เหมือนเด็กร้องไห้อยากได้พระ-

จันทร์ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า จนฺท วิย ทารโก ความว่า

เด็กชาวบ้านวัยหนุ่ม พึงร้องไห้เพื่อต้องการพระจันทร์ด้วยกล่าวว่า ท่าน

ทั้งหลายจงให้พระจันทร์แก่เราเถิด ดังนี้ ฉันใด แม้เราก็ปรารถนาผู้ตาย

ไปยังปรโลกแล้วฉันนั้นเหมือนกัน.

พราหมณ์หายเศร้าโศกด้วยถ้อยคำของมาณพ เมื่อจะกล่าวชม

เชยมาณพ จึงได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-

น่าสรรเสริญ ท่านมารดเราผู้เร่าร้อนให้

สงบระงับดับความกระวนกระวายทั้งปวงได้

เหมือนบุคคลดับไฟที่ติดเปรียบด้วยน้ำฉะนั้น.

ท่านได้ถอนลูกศรที่เสียบแทงหทัยของ

เราออกได้แล้ว ได้บรรเทาความโศกถึงบุตร

ของเราผู้ถูกความโศกครอบงำแล้วหนอ.

ดูก่อนมาณพ เราเป็นผู้ถอนลูกศรได้

แล้ว ปราศจากความโศก ไม่มีความขุ่นมัว เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 912

จะไม่เศร้าโศก จะไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟัง

ถ้อยคำของท่าน.

ลำดับนั้น มาณพกล่าวสอนพราหมณ์ว่า ท่านพราหมณ์ท่าน

ร้องไห้เพื่อประโยชน์แก่บุตรคนใด บุตรคนนั้นคือตัวข้าพเจ้าเป็นบุตร

ของท่าน ข้าพเจ้าเกิดในเทวโลกตั้งแต่นี้ท่านอย่าได้เศร้าโศกถึงเรา จง

ให้ทาน รักษาศีล กระทำอุโบสถกรรมดังนี้แล้ว ไปสู่วิมานของตน

แม้พราหมณ์ก็ดีตั้งอยู่ในโอวาทของมาณพนั้น ทำบุญมีให้ทานเป็นต้น

ตายแล้วไปเกิดในเทวโลก.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง

ประกาศสัจธรรมเวลาจบสัจจะ กุฎุมพีดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พระ-

ทศพลทรงประชุมชาดกว่า เทพบุตรผู้แสดงธรรมในครั้งนั้น คือเรา

ตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามัฏฐกุณฑลิชาดกที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 913

๑๒. พิลารโกสิยชาดก

ว่าด้วยให้ทานไม่ได้เพราะเหตุ ๒ อย่าง

[๑๔๔๓] สัตบุรุษทั้งหลายแม้ไม่หุงกินเอง ได้

โภชนะมาแล้ว ก็ไม่ปรารถนาจะบริโภคผู้เดียว

ท่านหุงโภชนะไว้มิใช่หรือ การที่ท่านไม่ให้นั้น

ไม่สมควรแก่ท่าน.

[๑๔๔๔] บุคคลให้ทานไม่ได้ด้วยเหตุ ๒ อย่างนี้

คือความตระหนี่ ๑ ความประมาท ๑ บัณฑิต

ผู้รู้แจ้งเมื่อต้องการบุญพึงให้ทานแท้.

[๑๔๔๕] คนผู้ตระหนี่กลัวความยากจน ย่อมไม่

ให้อะไร ๆ แก่ผู้ใดเลย ความกลัวจนนั่นแหละ

จะเป็นภัยแก่คนผู้ไม่ให้ คนตระหนี่ย่อมกลัว

ความอยากข้าวอยากน้ำ ความกลัวนั่นแหละ

จะกลับมาถูกต้องคนพาลทั้งในโลกนี้และโลก

หน้า.

[๑๔๔๖] เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงครอบงำมลทิน

กำจัดความตระหนี่เสียแล้ว พึงให้ทานเถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 914

เพราะบุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายใน

โลกหน้า.

[๑๔๔๗] ทานผู้ให้ให้ได้ยาก เพราะต้องครอบงำ-

ความตระหนี่ก่อนแล้วให้ได้ การทำทานนั้น

ทำยากแท้ อสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่ทำงาน

ตามที่สัตบุรุษทำแล้ว ธรรมของสัตบุรุษอันคน

อื่นรู้ได้ยาก.

[๑๔๔๘] เพราะเหตุนั้น การไปจากโลกนี้ของ

สัตบุรุษกับอสัตบุรุษจึงต่างกัน อสัตบุรุษย่อม

ไปนรก สัตบุรุษย่อมไปสวรรค์.

[๑๔๔๙] บัณฑิตพวก ๑ ให้ไทยธรรมแม้มีส่วน

เล็กน้อยได้ สัตว์บางพวกแม้มีไทยธรรมมากก็

ให้ไม่ได้ ทักษิณาทานที่บุคคลให้จากของเล็ก

น้อย ก็นับว่าเสมอด้วยการให้จำนวนพัน.

[๑๔๕๐] แม้ผู้ใดเที่ยวไปขออาหารมา ผู้นั้นชื่อว่า

ประพฤติธรรม อนึ่ง บุคคลผู้เลี้ยงบุตรและ

ภรรยาของตน เมื่อไทยธรรมมีน้อย ก็เฉลี่ยให้

แก่สมณะและพราหมณ์ บุคคลนั้นชื่อว่าประ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 915

พฤติธรรม เมื่อคนตั้งแสนฆ่าสัตว์มาบูชาแก่

คนผู้ควรบูชาจำนวนพัน อิสรภาพนับตั้งแสน

นั้น ย่อมไม่ถึงแม้เสี้ยวแห่งผลทานของตน

เข็ญใจผู้ยังไทยธรรมให้เกิดโดยชอบให้อยู่.

[๑๔๕๑] เพราะเหตุ ? ยัญนี้ก็ไพบูลย์มีค่ามาก

จึงไม่เท่าค่าแห่งผลทานที่บุคคลให้โดยชอบ

ธรรมเล่า ไฉนอิสรภาพนับด้วยแสนของผู้

ที่บูชามากมายหลายพันนั้น จึงไม้เท่าแม้ส่วน

เสี้ยวแห่งผลทานของคนเข็ญใจผู้ยังไทยธรรม

ให้เกิดโดยชอบให้อยู่.

[๑๔๕๒] เพราะว่าคนบางคนตั้งอยู่ในกาย กรรม

เป็นต้น อันไม่เสมอกัน ทำสัตว์ให้ลำบากบ้าง

ฆ่าให้ตายบ้าง ทำให้เศร้าโศกบ้าง แล้วจึงให้

ทานทักษิณาทานนั้น มีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา

พร้อมทั้งอาชญา จึงไม่เท่าถึงส่วนเสี้ยวแห่งผล

ทานที่บุคคลให้แล้วโดยชอบธรรม เพราะอย่าง

นี้อิสรภาพนับด้วยแสน ของผู้ที่บูชามากมาย

หลายพันเหล่านั้น จึงไม่เท่าถึงส่วนเสี้ยวแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 916

ผลทานของคนเข็ญใจผู้ยังไทยธรรมให้เกิดโดย

ชอบให้อยู่.

จบ พิลารโกสิยชาดกที่ ๑๒

อรรถกถาพิลารโกสิยชาดกที่ ๑๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุผู้มีทานเป็นเครื่องปลื้มใจรูป ๑ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี

คำเริ่มต้นว่า อปจนฺตาปิ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว บวชในพระศาสนา จำเดิมแต่บวชแล้ว เป็นผู้มีทานเป็นเครื่อง

ปลื้มใจ มีอัธยาศัยยินดีในการให้ทาน ยังไม่ได้ให้บิณฑบาตที่ตกลงใน

บาตรแก่ผู้อื่นก่อนแล้วก็ไม่ฉัน โดยที่สุดได้แม้น้ำดื่มมา ยังไม่ให้แก่ผู้อื่น

แล้วก็ไม่ดี ได้เป็นผู้ยินดียิ่งในทานด้วยอาการอย่างนี้.

ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายพากันพรรณนาคุณของภิกษุรูปนั้น ใน

ธรรมสภา พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้

พวกเธอนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรง

ทราบแล้ว รับสั่งให้เรียกภิกษุนั้นมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า

เธอมีทานเป็นเครื่องปลื้มใจ มีอัธยาศัยยินดีในการให้ทาน จริงหรือ ?

เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 917

เมื่อก่อนภิกษุนี้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส แม้แต่หยดน้ำมันก็ไม่

เอาปลายหญ้าคาจิ้มให้ใคร คราวนั้นเราทรมานเขาทำให้หมดพยศ ให้

ตั้งอยู่ในผลแห่งทานแม้ในภพต่อ ๆ มา ก็ยังละทานวัตรนั้นไม่ได้ ภิกษุ

ทั้งหลายทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก

ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลเศรษฐี เจริญวัยแล้วรวบรวมทรัพย์

ไว้ได้มา ครั้นบิดาล่วงลับไปก็ได้ตำแหน่งเศรษฐี วันหนึ่งตรวจตราดู

ทรัพย์สมบัติแล้วคิดว่า ทรัพย์ยังปรากฏอยู่ แต่ผู้ที่ทำให้ทรัพย์เกิดขึ้น

ไม่ปรากฏ เราควรสละทรัพย์นี้ให้ทาน จึงให้สร้างโรงทานบำเพ็ญทาน

เป็นการใหญ่ตลอดชีวิต กาลเมื่อจะสิ้นอายุได้ให้โอวาทแก่บุตรไว้ว่า

เจ้าอย่าตัดทานวัตรนี้เสีย แล้วตายไปเกิดเป็นท้าวสักกะ ณ ดาวดึงส์

พิภพ. แม้บุตรของเศรษฐีนั้นก็ให้ทานเช่นนั้นเหมือนกัน แล้วกล่าว

สอนบุตรครั้นสิ้นอายุ ได้เกิดเป็นจันทเทพบุตร บุตรของเขาได้เกิดเป็น

สุริยเทพบุตร บุตรของเขาได้เกิดเป็นมาตลีสังคาหกเทพบุตร. บุตรของ

เขาได้เกิดเป็นคนธรรพ์เทพบุตร ชื่อปัญจสิขะ. แต่บุตรชั้นที่ ๖ เป็นคน

ไม่มีศรัทธา มีจิตกระด้างไม่รักการให้ทานเป็นคนตระหนี่. เขาให้คน

รื้อโรงทานเผาเสีย ให้โบยตีพวกยาจกไล่ไปสิ้น แม้หยาดน้ำผึ้งก็ไม่ริน

ให้แก่ใคร ๆ ด้วยหญ้าคา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 918

ในกาลครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชตรวจตราดูบุพกรรมของ

พระองค์ ใคร่ครวญว่า วงศ์ทานของเรายังเป็นไปอยู่หรือไม่หนอ ทรง

ทราบว่า บุตรของเราบำเพ็ญทานเกิดเป็นจันทเทพบุตร, บุตรของจันท-

เทพบุตรเกิดเป็นสุริยเทพบุตร, บุตรของสุริยเทพบุตรเกิดเป็นมาตลี

เทพบุตร บุตรของมาตลีเทพบุตรเกิดเป็นปัญจสิขเทพบุตร แต่บุตรชั้นที่

หกได้ตัดวงศ์ทานนั้นเสีย ครั้งนั้น พระองค์ได้ทรงมีพระดำริว่า เราจัก

ทรมานเศรษฐีผู้มีใจลามกนี้ให้รู้จักผลทานแล้วจักมา พระองค์จึงรับสั่ง

ให้หาจันทสุริย มาตลีและปัญจสิขเทพบุตรมาตรัสว่า ดูก่อนสหายเศรษฐี

ที่ ๖ ในวงศ์ของพวกเราตัดวงศ์ตระกูลขาดเสียแล้ว ให้เผาโรงทาน ให้

ขับไล่พวกยาจกไปเสีย ไม่ให้อะไรแก่ใคร ๆ มาเถิดท่านทั้งหลาย พวก

เราจักไปทรมานเศรษฐีนั้น ดังนี้แล้วได้เสด็จไปยังกรุงพาราณสีพร้อม

ด้วยเทพบุตรทั้ง ๔ นั้น.

ขณะนั้น เศรษฐีไปเฝ้าพระราชา แล้วมาแลดูระหว่างถนน

อยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๗ ท้าวสักกะตรัสกะเทพบุตรทั้ง ๔ ว่า เวลาเราเข้า

ไปแล้ว ท่านทั้งหลายจงตามเข้าไปโดยลำดับ ดังนี้แล้วไปยืนอยู่ในสำนัก

เศรษฐีตรัสว่า ดูก่อนมหาเศรษฐีผู้เจริญ ท่านจงให้โภชนะแก่ข้าพเจ้า

บ้าง เศรษฐีกล่าวว่า ท่านพราหมณ์ที่นี้ไม่มีภัตสำหรับท่าน ไปที่อื่นเถิด

ท้าวสักกะตรัสว่า ท่านมหาเศรษฐีผู้เจริญ เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายขอภัต

ท่านควรให้ เศรษฐีตอบว่า ท่านพราหมณ์ ภัตนี้หุงสุกแล้วก็ดี ที่จะ

พึงหุงก็ดี ไม่มีในเรือนของเรา ท่านจงไปที่อื่นเถิด. ท้าวสักกะตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 919

ท่านมหาเศรษฐี เราจักกล่าวสรรเสริญท่านอย่างหนึ่งท่านจงฟัง เศรษฐี

ตอบว่า เราไม่ต้องการความสรรเสริญของท่าน ท่านจงไปเถิดอย่ายืน

อยู่ที่นี้เลย ท้าวสักกะทำเป็นไม่ได้ยินคำของเศรษฐี ได้ตรัสคาถา ๒

คาถาว่า :-

สัตบุรุษทั้งหลายแม้ไม่หุงกินเอง ได้

โภชนะมาแล้ว ก็ไม่ปรารถนาจะบริโภคผู้เดียว

ท่านหุงโภชนะไว้มิใช่หรือ การที่ท่านให้นั้น

ไม่สมควรแก่ท่าน.

บุคคลให้ทานไม่ได้ด้วยเหตุ ๒ อย่างนี้

คือความตระหนี่ ๑ ความประมาท ๑ บัณฑิต

ผู้รู้แจ้งเมื่อต้องการบุญพึงให้ทานแท้.

ความแห่งคาถาเหล่านั้นว่า ท่านมหาเศรษฐีผู้เจริญ สัตบุรุษ

ทั้งหลายผู้สงบแล้ว แม้ไม่หุงกินเองก็ปรารถนาจะให้โภชนะแม้ที่ได้มา

แล้วด้วยภิกขาจาร ย่อมไม่บริโภคผู้เดียว.

บทว่า กิเมว ตฺว ความว่า ทั้ง ๆ ที่ท่านหุงอยู่ก็ไม่ให้. บทว่า

น ต สม ความว่า การที่ท่านไม่ให้นั้น ไม่สมควรคือไม่เหมาะแก่ท่าน.

ก็บุคคลให้ทานไม่ได้ด้วยเหตุ ๒ อย่างคือ ความตระหนี่ ๑ ความ

ประมาท ๑ ก็มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิต ผู้รู้แจ้ง ผู้เช่นกับด้วยท่าน เมื่อ

ต้องการบุญควรให้ทานทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 920

เศรษฐีได้ฟังคำท้าวสักกะแล้วกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงเข้าไป

นั่งที่เรือนเถิด จักได้หน่อยหนึ่ง ท้าวสักกะได้เข้าไปนั่งสวดสรรเสริญ

อยู่. ลำดับนั้น จันทเทพบุตรได้มาขอภัตกะเศรษฐีนั้นและเมื่อเศรษฐี

กล่าวว่า ภัตสำหรับท่านไม่มีจงไปเสียเถิด จึงกล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐี

พราหมณ์คน ๑ นั่งอยู่แล้วภายในเรือน เห็นจะมีสวดพราหมณ์กระมัง

เราจักเข้าไปสวดบ้าง แม้เศรษฐีจะกล่าวว่า ไม่มีสวดพราหมณ์ท่าน

จงออกไป ก็กล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐีเชิญท่านฟังบทสรรเสริญก่อน

แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

คนผู้ตระหนี่กลัวความยากจน ย่อมไม่

ให้อะไร ๆ แก่ผู้ใดเลย ความกลัวจนนั่นแหละ

จะเป็นภัยแก่คนผู้ไม่ให้ คนตระหนี่ย่อมกลัว

ความอยากข้าวอยากน้ำ ความกลัวนั่นแหละ

จะกลับมาถูกต้องคนพาลทั้งในโลกนี้และโลก

หน้า.

เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงครอบงำมลทิน

กำจัดความตระหนี่เสียแล้ว พึงให้ทานเถิด

เพราะบุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายใน

โลกหน้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 921

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ภายติ ความว่า ย่อมกลัว

ความอยากข้าวอยากน้ำใดว่า เราให้แก่ชนเหล่าอื่นเสียแล้ว ก็จักกลาย

เป็นคนอยากข้าวอยากน้ำเสียเอง. บทว่า ตเมว เป็นต้น ความว่า

ความกลัว กล่าวคือความอยากข้าวอยากน้ำนั่นแหละ จะกลับมาถูกต้อง

คือเบียดเบียนคนพาลนั้น ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าในที่ที่เขาเกิดแล้ว

เขาจะถึงความยากจนอย่างที่สุด. บทว่า มลาภิภู คิดครอบงำมลทินคือ

ความตระหนี่.

เศรษฐีได้ฟังคำของจันทเทพบุตรแม้นั้นแล้วกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น

ท่านจงเข้าไปจักได้หน่อยหนึ่ง จันทเทพบุตรเข้าไปนั่งใกล้ท้าวสักกะ

ต่อจากนั้นสุริยเทพบุตรปล่อยให้เวลาล่วงไปหน่อยหนึ่งแล้วมา เมื่อขอ

ภัตได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ทานผู้ให้ให้ได้ยาก เพราะต้องครอบงำ

ความตระหนี่ก่อนแล้วจึงให้ได้ การทำทานนั้น

ทำยากแท้ อสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่ทำทาน

ตามที่สัตบุรุษทำแล้ว ธรรมของสัตบุรุษอันคน

อื่นรู้ได้ยาก.

เพราะเหตุนั้น การไปจากโลกนี้ของ

สัตบุรุษกับอสัตบุรุษจึงต่างกัน อสัตบุรุษย่อม

ไปนรก สัตบุรุษย่อมไปสวรรค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 922

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุทฺทท ความว่า ขึ้นชื่อว่าทาน

บุคคลให้ได้ยาก เพราะผู้ที่จะให้ทานนั้นต้องครอบงำความตระหนี่เสีย

ก่อนจึงให้ได้. บทว่า ทุกฺกร ความว่า การทำทานนั้นทำยากแท้คล้าย

กับการรบศึก. บาทคาถาว่า อสนฺโต นานุกุพฺพนฺติ ความว่า พวก

อสัตบุรุษไม่รู้จักผลแห่งทาน ก็ไม่เดินตามทางที่พวกสัตบุรุษเหล่านั้น

ดำเนินไปแล้ว. บทว่า สต ธมฺโม ความว่า ธรรมของสัตบุรุษคือ

พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย อันคนอื่นรู้ได้ยาก. บทว่า อสนฺโต ความว่า

พวกอสัตบุรุษไม่ให้ทานด้วยอำนาจแห่งความตระหนี่ ย่อมไปสู่นรก.

เศรษฐีไม่เห็นว่าจะหยิบเอาของที่ควรหยิบยื่นให้ไปได้ จึงกล่าว

ว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเข้าไปนั่งอยู่ในสำนักพราหมณ์ทั้งหลาย จักได้

หน่อยหนึ่ง. ต่อแต่นั้นมาตลีเทพบุตรปล่อยให้เวลาล่วงไปหน่อยหนึ่งแล้ว

มาขอภัต ในระหว่างที่เศรษฐีตอบว่า ไม่มีนั่นแหละ ได้กล่าวคาถาที่ ๗

ว่า :-

บัณฑิตพวก ๑ ให้ไทยธรรมแม้มีส่วน

เล็กน้อยได้ สัตว์บางพวกแม้มีไทยธรรมมากก็

ให้ไม่ได้ ทักษิณาทานที่บุคคลให้จากของเล็ก

น้อย ก็นับว่าเสมอด้วยการให้จำนวนพัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมฺเปเก ปเวจฺฉนฺติ มีอธิบายว่า

ดูก่อนมหาเศรษฐี บุรุษผู้เป็นบัณฑิตบางพวก ย่อมแบ่งปัน คือย่อมให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 923

ไทยธรรมแม้น้อย. บทว่า พหุนา เป็นต้น ความว่า สัตว์บางพวก

แม้มีไทยธรรมมากก็ให้ไม่ได้ คือไม่ให้เลย.

ทานที่บุคคลเชื่อกรรมเชื่อผลแห่งกรรมแล้วให้ชื่อว่าทักษิณา.

บทว่า สหสฺเสน สม ความว่า ทักษิณาทานแม้ประมาณข้าว

สักทัพพีเดียวที่บุคคลให้แล้วอย่างนี้ ก็นับว่าเสมอกับด้วยการให้จำนวน

ตั้งพัน คือเป็นเช่นกับ ด้วยการให้จำนวนตั้งพันนั่นเทียว เพราะมีผลมาก.

เศรษฐีกล่าวกะมาตลีเทพบุตรแม้นั้นว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเข้า

ไปนั่งเถิด ต่อจากนั้นปัญจสิขเทพบุตรปล่อยให้เวลาล่วงไปหน่อยหนึ่ง

แล้วมาขอภัต เมื่อเศรษฐีกล่าวว่า ไม่มีไปเสียเถิด จึงกล่าวว่า เราไม่

เลยไป ในเรือนนี้เห็นจะมีสวดพราหมณ์กระมัง เมื่อจะเริ่มธรรมกถา

แก่เศรษฐี จึงกล่าวคาถาที่ ๘ ว่า :-

แม้ผู้ใดเที่ยวไปขออาหารมา ผู้นั้นชื่อว่า

ประพฤติธรรม อนึ่ง บุคคลผู้เลี้ยงบุตรและ

ภรรยาของตน เมื่อไทยธรรมมีน้อย ก็เฉลี่ยให้

แก่สมณะและพราหมณ์ บุคคลนั้นข้อว่าประ-

พฤติธรรม เมื่อคนตั้งแสนฆ่าสัตว์มาบูชาแก่

คนผู้ควรบูชาจำนวนพัน อิสรภาพนับตั้งแสน

นั้น ย่อมไม่ถึงแม้เสี้ยวแห่งผลทานของตน

เข็ญใจผู้ยังไทยธรรมให้เกิดโดยชอบให้อยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 924

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺม ได้แก่ธรรมคือสุจริต ๓

ประการ. บทว่า สมุจฺฉก ความว่า แม้ผู้ใดเที่ยวไปขออาหารดิบแล

สุกตามบ้านก็ตาม นำผลาผลมาแต่ป่าก็ตาม ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติธรรม

นั้นแล. บทว่า ทารญฺ จ โปส ความว่า อนึ่ง บุคคลผู้เลี้ยงบุตรและ

ภรรยาของตน. บทว่า ทท อปฺปกสฺมึ ความว่า แม้เมื่อไทยธรรม

มีน้อย เมื่อเฉลี่ยให้แก่สมณะและพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ชื่อว่า

ประพฤติอยู่ซึ่งธรรม. บทว่า สตสหสฺสาน สหสฺสยาคิน ความว่า

ยัญที่คนตั้งแสนฆ่าสัตว์อื่นมาบูชาแก่คนที่ควรบูชาจำนวนพัน คือ เมื่อ

อิสรชนตั้งแสนบูชาแก่คนที่ควรบูชาจำนวนพันอยู่.

บทว่า กลฺลปิ มาคฺฆนฺติ ตถาวิธสฺส เต ความว่า อิสรภาพ

นับตั้งแสนนั้น คือ ยัญที่บูชาแก่คนที่ควรบูชาจำนวนพัน ย่อมไม่ถึง

เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งผลทานของทุคคตมนุษย์ ผู้ยังไทยธรรมให้เกิดขึ้นโดย

ธรรมสม่ำเสมอให้อยู่.

ลำดับนั้น เศรษฐีได้กำหนดฟังถ้อยคำของปัญจสิขเทพบุตรแล้ว

ที่นั้นเศรษฐีเมื่อจะถามถึงเหตุแห่งการบูชาอันไร้ผล กะปัญจสิขเทพบุตร

นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า :-

เพราะเหตุไร ยัญนี้ก็ไพบูลย์มีค่ามาก

จึงไม่เท่าค่าแห่งผลทานที่บุคคลให้โดยชอบ

ธรรมเล่า ? ไฉนอิสรภาพนับด้วยแสนของผู้

ที่บูชามากมายหลายพันนั้น จึงไม่เท่าแม้ส่วน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 925

เสี้ยวแห่งผลทานของตนเข็ญใจผู้ยังไทยธรรม

ให้เกิดโดยชอบให้อยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยญฺโ ความว่า การให้และการ

บูชา. ชื่อว่าไพบูลย์ด้วยสามารถแห่งการบริจาคทรัพย์นับด้วยแสน และ

ชื่อว่ามีค่ามาก เพราะมีผลไพบูลย์ บทว่า สเมน ทินฺนสฺส ความว่า

เพราะเหตุไรจึงไม่เท่าค่าแห่งผลทานที่บุคคลให้โดยชอบธรรมเล่า ? บทว่า

กถ สหสฺสาน ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ ไฉนอิสรภาพนับด้วยแสน

ของคนที่บูชาจำนวนพัน ๆ คือ ของคนจำนวนมากมายหลายพัน จง

ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๖ แห่งผลทานของทุคคตมนุษย์คนเดียว ผู้ยังไทยธรรม

ให้เกิดโดยธรรมแล้วให้อยู่.

ลำดับนั้น ปัญจสิขเทพบุตรเมื่อจะกล่าวแก่เศรษฐีนั้น ได้กล่าว

คาถาสุดท้ายว่า :-

เพราะว่าคนบางพวกตั้งอยู่ในกายกรรม

เป็นต้น อันไม่เสมอกัน ทำสัตว์ให้ลำบากบ้าง

ฆ่าให้ตายบ้าง ทำให้เศร้าโศกบ้าง แล้วจึงให้

ทาน ทักขิณาทานนั้น. มีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา

พร้อมทั้งอาชญา จึงไม่เท่าถึงส่วนเสี้ยวแห่งผล

ทานที่บุคคลให้แล้วโดยชอบธรรม เพราะอย่าง

นี้อิสรภาพนับด้วยแสน ของผู้ที่บูชามากมาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 926

หลายพันเหล่านั้น จึงไม่เท่าถึงส่วนเสี้ยวแห่ง

ผลทานของคนเข็ญใจผู้ยังไทยธรรมให้เกิดโดย

ชอบให้อยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสเม คือ ตั้งอยู่ในกายกรรมเป็น

ต้นอันไม่เสมอกัน. บทว่า ฆตฺวา คือ ทำสัตว์ให้ลำบาก. บทว่า วธิตฺวา

คือ ทำสัตว์ให้ตาย. บทว่า โสจยิตฺวา คือ ทำสัตว์ให้มีความเศร้าโศก.

เศรษฐีนั้น ฟังธรรมกถาของปัญจสิขเทพบุตรแล้ว กล่าวว่า

ถ้าเช่นนั้นไปเถิดท่านจงเข้าไปนั่งในเรือน จะให้หน่อยหนึ่ง ปัญจสิข-

เทพบุตรได้ไปนั่งในสำนักของพราหมณ์เหล่านั้น ลำดับนั้น พิลารโกสิย

เศรษฐีเรียกทาสีคน ๑ มาสั่งว่า เจ้าจงให้ข้าวลีบแก่พราหมณ์เหล่านี้

คนละทะนาน นางทาสีถือทะนานข้าวเปลือกเข้าไปหาพราหมณ์แล้ว

กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงเอาข้าวเปลือกเหล่านี้ไปหุงกิน ณ ที่ใดที่หนึ่ง

พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวว่า พวกเราไม่ต้องการข้าวเปลือก พวกเรา

ไม่จับต้องข้าวเปลือก นางทาสีบอกเศรษฐีว่า ได้ยินว่าพราหมณ์ทั้งหลาย

ไม่จับต้องข้าวเปลือก เศรษฐีกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นเจ้าจงให้ข้าวสารแก่

พราหมณ์เหล่านั้น นางทาสีได้ถือเอาข้าวสารไปให้พวกพราหมณ์แล้ว

กล่าวว่า ท่านพราหมณ์ทั้งหลาย ขอพวกท่านจงรับเอาข้าวสารเถิด

พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวว่า พวกเราไม่รับของดิบ นางทาสีบอกเศรษฐี

ว่า ข้าแต่นายได้ยินว่า พราหมณ์ทั้งหลายไม่รับของบิดา เศรษฐีกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 927

ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงคดข้าวสำหรับโคกินใส่กระโหลกไปให้แก่พวก

พราหมณ์เหล่านั้น นางทาสีได้คดข้าวสุกสำหรับโคกินใส่กระโหลกไป

ให้พราหมณ์เหล่านั้นแล้ว พราหมณ์ทั้ง ๕ ปั้นข้าวเป็นคำ ๆ ใส่ปาก

ทำให้ข้าวติดคอแล้วกลอกตาไปมานอนทำเป็นตายหมดความรู้สึก ทาสี

เห็นดังนั้นคิดว่า พราหมณ์จักตาย. จึงกลัวไปบอกเศรษฐีว่า ข้าแต่นาย

พราหมณ์เหล่านั้น ไม่อาจจะกลืนข้าวสำหรับโคได้ตายหมดแล้ว.

เศรษฐีนั้นคิดว่า คราวนี้คนทั้งหลายจักติเตียนเราว่า เศรษฐีนี้

มีใจชั่ว ให้นางทาสีให้ข้าวสำหรับโคแก่พวกพราหมณ์ผู้สุขุมาลชาติ

พวกพราหมณ์เหล่านั้นไม่อาจกลืนข้าวนั้นได้ จึงตายหมด ลำดับนั้น

เศรษฐีจึงกล่าวกะทาสีว่า เจ้าจงรีบไปเอาข้าวสำหรับโคในกระโหลก

เหล่านั้นมาเสีย แล้วจงคดข้าวสาลีที่โอชารสไปให้ใหม่ นางได้กระทำ

ตามนั้นแล้ว เศรษฐีเรียกพวกคนเดินถนนมาบอกว่า เราให้ทาสีนำ

อาหารตามที่เราเคยบริโภคไปให้พวกพราหมณ์เหล่านี้ พราหมณ์เหล่านั้น

มีความโลภบริโภคคำใหญ่ ๆ จึงติดคอตาย ท่านทั้งหลายจงรู้ว่า เราไม่มี

ความผิด แล้วให้ประชุมบริษัท.

เมื่อมหาชนประชุมกันแล้ว พราหมณ์ทั้งหลายลุกขึ้นแลดูมหาชน

แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงดูเศรษฐีนี้กล่าวเท็จ เศรษฐีกล่าวว่าได้ให้

ข้าวสำหรับตนบริโภคแก่พวกเรา ความจริงเศรษฐีได้ให้ข้าวสำหรับโค

กินแก่พวกเราก่อน เมื่อพวกเราทำเป็นนอนตาย จึงให้ทาสีไปคดข้าวนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 928

ส่งมาให้ กล่าวดังนี้แล้วจึงคายข้าวที่อมไว้ในปากลงบนพื้นดินแสดงแก่

มหาชน มหาชนพากันติเตียนเศรษฐีว่า แน่ะคนอันธพาลเจ้าทำวงศ์

ตระกูลของตนให้พินาศ ให้เผาโรงทาน ให้จับคอพวกยาจกขับไล่ไป

บัดนี้เมื่อจะให้ข้าวแก่พวกพราหมณ์สุขุมาลชาติเหล่านี้ ได้เอาข้าวสำหรับ

โคกินให้ เมื่อเจ้าจะไปปรโลก เห็นจะเอาสมบัติในเรือนของเจ้าผูกคอ

ไปด้วยกระมัง.

ขณะนั้น ท้าวสักกะถามมหาชนว่า ท่านทั้งหลายรู้ไหมว่าทรัพย์

ในเรือนนี้เป็นของใคร มหาชนตอบว่าไม่รู้ ท้าวสักถะถามว่า พวกท่าน

เคยได้ยินไหมว่าครั้งกระโน้น ในพระนครนี้มีมหาเศรษฐี เมืองพาราณสี

สร้างโรงทานแล้วบำเพ็ญทานเป็นการใหญ่ มหาชนตอบว่า ถูกแล้ว

พวกเราได้ยิน ท้าวสักกะกล่าวว่า เราคือเศรษฐีคนนั้น ครั้นให้ทาน

แล้วไปเกิดเป็นท้าวสักกเทวราช แม้บุตรของเราก็มิได้ทำลายวงศ์ตระกูล

ได้ให้ทานแล้วเกิดเป็นจันทเทพบุตร บุตรของจันทเทพบุตรเกิดเป็น

สุริยเทพบุตร บุตรของสุริยเทพบุตรเกิดเป็นมาตลีเทพบุตร บุตรของ

มาตลีเทพบุตรเกิดเป็นคนธรรพ์เทพบุตรชื่อปัญจสิขะ บรรดาเทพบุตร

เหล่านั้น ผู้นี้คือจันทเทพบุตร ผู้นี้คือสุริยเทพบุตร ผู้นี้คือมาตลีสัง-

คาหกเทพบุตร คือผู้นี้คนธรรพ์เทพบุตร ชื่อปัญจสิขะ ผู้เป็นบิดาของ

เศรษฐีผู้มีใจลามกนี้ กุศลทานที่มีคุณมากอย่างนี้ บัณฑิตควรทำแท้

ขณะกำลังกล่าวอยู่ เพื่อจะตัดความสงสัยของมหาชน เทพบุตรทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 929

จึงเหาะไปในอากาศ ยืนเปล่งรัศมีกายงามรุ่งเรืองอยู่ด้วยอานุภาพอันยิ่ง

ใหญ่ พระนครทั้งสิ้นได้เป็นเหมือนสว่างไสวอยู่.

ท้าวสักกะเรียกมหาชนมาตรัสว่า พวกเราจะทิพยสมบัติของตน

มา ก็เพราะพิลารโกสิยเศรษฐีผู้มีใจลามก. ผู้สืบสกุลวงศ์คนสุดท้ายนี้

เศรษฐีใจลามกคนนี้ ทำลายวงศ์ตระกูลของตน ให้เผาโรงทาน ให้จับ

คอพวกยาจกขับไล่ไป ตัดวงศ์ของพวกเราเสีย เขาไม่ให้ทานไม่รักษา

ศีล จะพึงเกิดในนรก พวกเรามาเพื่ออนุเคราะห์เศรษฐีนี้ เมื่อจะทรง

ประกาศคุณแห่งทาน ได้แสดงธรรมแก่มหาชน.

แม้พิลารโกสิยเศรษฐี ก็ได้ประคองอัญชลีขึ้นเหนือเศียร ให้

ปฏิญญาแก่ท้าวสักกะว่า ข้าแต่พระองค์ตั้งแต่นี้ไป ข้าพระองค์จักไม่ทำ

ลายวงศ์ตระกูลที่มีมาแต่โบราณ จักบำเพ็ญทาน ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ถ้ายังไม่ได้ให้อาหารที่ได้มา แม้ที่สุดจนน้ำและไม้ชำระฟันแก่ผู้อื่นก่อน

ข้าพระองค์จักไม่บริโภคเลย ท้าวสักกะทรงทรมานเศรษฐีนั้นทำให้หมด

พยศ ให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ แล้วพาเทพบุตรทั้ง ๔ ไปสู่วิมานของตน ๆ

แม้เศรษฐีนั้นครั้นดำรงอยู่ตลอดชีวิตแล้ว ก็ได้ไปเกิดในดาวดึงส์พิภพ.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนภิกษุนี้ไม่มีศรัทธา ไม่ให้ทานแก่ใคร ๆ

แก่เราได้ทรมานเธอให้รู้จักผลทานอย่างนี้ แม้เกิดในภพต่อ ๆ มาก็ยังละ

จิตคิดจะให้ทานนั้นไม่ได้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า เศรษฐีในครั้งนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 930

ได้มาเป็นภิกษุผู้เป็นทานบดีรูปนี้ ในบัดนี้ จันทเทพบุตรในครั้งนั้นได้

มาเป็นพระสารีบุตรในบัดนี้ สุริยเทพบุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระ-

โมคคัลลานะในบัดนี้ มาตลีเทพบุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระกัสสป

ในบัดนี้ ปัญจสิขเทพบุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาพิลารโกสิยชาดกที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 931

๓. จักวากชาดก

ว่าด้วยนกจักรพราก

[๑๔๕๓] ดูก่อนจักรพราก ท่านมีสีสวย รูปงาม

ร่างกายแน่นแฟ้น มีสีแดงดังทอง ทรวดทรง

งาม ใบหน้าผุดผ่อง.

[๑๔๕๔] ท่านจับอยู่ที่ฝั่งคงคา เห็นจะได้กิน

อาหารอย่างนี้ คือปลากา ปลากระบอก ปลา

หมอ ปลาเค้า ปลาตะเพียนกระมัง.

[๑๔๕๕] ดูก่อนสหาย สิ่งอื่นนอกจากสาหร่าย

และแหนแล้ว เรามิได้ถือเอาเนื้อสัตว์บกหรือ

สัตว์น่ามากินเป็นอาหารเลย สาหร่ายและแหน

เท่านั้นเป็นอาหารของเรา.

[๑๔๕๖] ดูก่อนสหาย เราไม่เชื่อว่าอาหารของ

นกจักรพรากเป็นอย่างนี้ แม้เรากินอาหารที่

คลุกเคล้าด้วยเกลือและน้ำมันในบ้าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 932

[๑๔๕๗] ซึ่งเป็นอาหารที่ปรุงด้วยเนื้ออันสะอาด

ทำกินกันในหมู่มนุษย์ ดูก่อนนกจักรพราก

ถึงสระนั้นสีของเราก็ไม่เหมือนท่าน.

[๑๔๕๘] ท่านเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย จึงต้อง

คอยมองดูผู้ที่ผูกเวรในตน เพียงแต่จะกินก็

สะดุ้งแล้ว เพราะเหตุนั้น สีกายของท่านจง

จึงเป็นเช่นนี้.

[๑๔๕๙] แน่ะท่านธังกะ ท่านเป็นผู้ถูกคนทั่วโลก

โกรธเคือง อาหารที่ท่านได้มาด้วยกรรมอัน

ลามก ย่อมไม่อิ่มท้อง เพราะเหตุนั้น สีกาย

ของท่านจึงเป็นเช่นนี้.

[๑๔๖๐] ดูก่อนสหาย ส่วนเรามิได้เบียดเบียน

สัตว์ทั้งปวงมากิน มีความขวนขวายน้อย ไม่มี

ใครรังเกียจ ใจไม่ห่อเหี่ยว ภัยแต่ที่ไหน ๆ

ก็มิได้มี.

[๑๔๖๑] ท่านนั้นจงสร้างอานุภาพ ละปกติคือ

ความทุศีลของตนเสีย อย่าเบียดเบียนใคร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 933

เที่ยวไปในโลก จะเป็นที่รักของชาวโลกเช่น

ตัวเรา.

[๑๔๖๒] ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ทำ

ทรัพย์ให้เสื่อมเอง ไม่ใช้ผู้อื่นทำให้เสื่อม มี

เมตตาจิตในสัตว์ทั่วไป ผู้นั้นย่อมไม่มีเวรกับ

ใคร.

จบ จักกวากชาดกที่ ๑๓

อรรถกถาจักกวากชาดกที่ ๑๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุเหลาะเเหละรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า วณฺณวา

อภิภูโปสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้นไม่อิ่มด้วยปัจจัยมีจีวรเป็นต้น เที่ยวแสวง

หาอยู่ว่าสังฆภัตมีที่ไหน กิจนิมนต์มีที่ไหน เป็นต้น พอใจอยู่ใน

เรื่องอามิสเท่านั้น ครั้งนั้นภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักหวังจะอนุเคราะห์เธอ

จึงกราบทูลกะพระศาสดา พระศาสดารับสั่งให้เรียกภิกษุนั้นมาตรัสถาม

ว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นผู้เหลาะแหละจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้น

กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุเธอบวชในศาสนา

ที่จะนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้ เหตุไรจึงเป็นผู้เหลาะแหละ ขึ้นชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 934

ความเหลาะแหละเป็นเรื่องลามกมาก แม้ในกาลก่อนเธอก็อาศัยความ

เหลาะแหละไม่รู้จักอิ่มด้วยศพช้างเป็นต้น ในเมืองพาราณสี ต้องเข้า

ไปในป่าใหญ่ดังนี้แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ อยู่ใน

เมืองพาราณสี มีกาเหลาะแหละตัว ๑ ไม่รู้จักอิ่มด้วยศพช้างเป็นต้น

ในเมืองพาราณสี จึงคิดว่าป่าเป็นเช่นไรหนอ แล้วไปป่าไม่สันโดษด้วย

ผลาผลในป่านั้น เที่ยวไปถึงฝั่งแม่น้ำคงคา เห็นนกจักรพราก ๒ ตัว

ผัวเมียแล้วคิดว่า นกเหล่านี้งามเหลือเกิน นกเหล่านี้เห็นจะกินเนื้อ

ปลามากที่ฝั่งแม่น้ำคงคานี้ แม้เราก็ควรจะถามนกเหล่านี้ แล้วกินอาหาร

ของนกเหล่านี้ จะเป็นผู้มีวรรณะงาม คิดแล้วก็ไปจับอยู่ใกล้ ๆ นก

จักรพรากเหล่านั้นเมื่อจะถามนกจักรพราก จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ดูก่อนจักรพราก ท่านมีสีสวย รูปงาม

ร่างกายแน่นแฟ้น มีสีแดงดังทอง ทรวดทรง

งาม ใบหน้าผุดผ่อง.

ท่านจับอยู่ที่ฝั่งคงคา เห็นจะได้กิน

อาหารอย่างนี้ คือปลากา ปลากระบอก ปลา-

หมอ ปลาเค้า ปลาตะเพียนกระมัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆโน คือมีร่างกายแน่น. บทว่า

สญฺชาตโรหิโต คือมีสีแดงที่เกิดแล้วด้วยดี ดังทองสีแดง. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 935

ปาฏีน คือ ปลากา ชื่อว่า ปาฏีนะ. บทว่า ปาวุส ได้แก่ปลา

กระบอก บาลีว่า ราวุส ดังนี้ก็มี. บทว่า พลชฺช ได้แก่ปลาหมอ.

บทว่า มุญฺชโรหิต. ได้แก่ปลาเค้าและปลาตะเพียน. กา ถามว่า ท่าน

เห็นจะได้กินอาหารเห็นปานนี้ ? นกจักรพราก เมื่อจะปฏิเสธคำของกานั้น

จึงได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

ดูก่อนสหาย สิ่งอื่นนอกจากสาหร่าย

และแหนแล้ว เรามิได้ถือเอาเนื้อสัตว์บกหรือ

สัตว์น้ำมากินเป็นอาหารเลย สาหร่ายและแหน

เท่านั้นเป็นอาหารของเรา.

พึงทราบความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า ดูก่อนสหาย สิ่งอื่น

นอกจากสาหร่ายและแหนแล้ว เรามิได้ถือเอาเนื้อสัตว์บกหรือสัตว์น้ำ

มาบริโภคเป็นอาหารเลย ดูก่อนสหาย ก็สาหร่ายและแหนเท่านั้นเป็น

อาหารของเรา.

ลำดับนั้น กา จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ดูก่อนสหาย เราไม่เชื่อว่าอาหารของ

นกจักรพรากเป็นอย่างนี้ แม้เรากินอาหารที่

คลุกเคล้าด้วยเกลือและน้ำมันในบ้าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 936

ซึ่งเป็นอาหารที่ปรุงด้วยเนื้ออันสะอาด

ทำกินกันในหมู่มนุษย์ ดูก่อนนกจักรพราก

ถึงกระนั้นสีของเราก็ไม่เหมือนท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา ตุว เป็นต้น ความว่า สี

ของเราไม่เหมือนท่านผู้ซึ่งเพียบพร้อมด้วยความงามอันเลอเลิศ มีสีดุจ

ทอง ด้วยเหตุนั้น เมื่อท่านบอกว่ามีสาหร่ายและแหนเป็นอาหาร เรา

จึงไม่เชื่อ.

ลำดับนั้น นกจักรพรากเมื่อจะบอกเหตุที่ทำให้วรรณะเศร้าหมอง

แสดงธรรมแก่กานั้น จึงได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-

ท่านเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายจึงต้องคอย

มองดูผู้ที่ผูกเวรในตน เพียงแต่จะกินก็สะดุ้ง

กลัว เพราะเหตุนั้น สีกายของท่านจึงเป็น

เช่นนี้.

แน่ะท่านธังกะ ท่านเป็นผู้ถูกคนทั่วโลก

โกรธเคือง อาหารที่ท่านได้มาด้วยธรรมอัน

ลามก ย่อมไม่อิ่มท้อง เพราะเหตุนั้น สีกาย

ของท่านจึงเป็นเช่นนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 937

ดูก่อนสหาย ส่วนเรามิได้เบียดเบียน

สัตว์ทั้งปวงมากิน มีความขวนขวายน้อย ไม่มี

ใครรังเกียจ ใจไม่ห่อเหี่ยว ภัยแต่ที่ไหน ๆ

ก็มิได้มี.

ท่านนั้นจงสร้างอานุภาพ ละปกติคือ

ความทุศีลของตนเสีย อย่าเบียดเบียนใคร

เที่ยวไปในโลก จะเป็นที่รักของชาวโลกเช่น

ตัวเรา.

ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ไม่ใช่ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ทำ

ทรัพย์ให้เสื่อมเอง ไม่ใช้ผู้อื่นทำให้เสื่อม มี

เมตตาจิตในสัตว์ทั่วไป ผู้นั้นย่อมไม่มีเวรกับ

ใคร ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปสฺส ความว่า แน่ะเพื่อน

กา ท่านเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย จึงต้องคอยแลดูจิตที่คิดผูกเวรในตน

ซึ่งเกิดขึ้นในผู้อื่น. บทว่า มานุสึ ปช ได้แก่เบียดเบียน คือทำร้าย

สัตว์ทั้งหลาย. บทว่า อุตฺรสฺโต คือกลัวแล้ว. บทว่า ฆสสี แปลว่า

จะกินเพราะเหตุนั้น วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้.

นกจักรพรากร้องเรียกกาว่า ดูก่อนธังกะ โภชนะ ชื่อว่า ปิณฑะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 938

บทว่า อหึส สพฺพปาณิน ความว่า นกจักรพรากกล่าวว่า

ส่วนเรามิได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวงมากิน. บทว่า โส กรสฺสุ อานุภาว

ความว่า แม้ท่านนั้นจะทำความเพียรของตน ละความทุศีล กล่าวคือ

ปกติของตนเสีย. บทว่า อหึสาย คือเป็นผู้ประกอบด้วยอหิงสา

เที่ยวไปในโลก. บทว่า ปิโย โหหิสิ มมฺมิว ความว่า เมื่อเป็นอย่างนี้

ท่านย่อมจะเป็นที่รักของชาวโลกเช่นตัวเรานั้นเทียว. บทว่า น ชินาติ

คือไม่ทำทรัพย์ให้เสื่อมเอง. บทว่า น ชาปเย คือไม่ใช้ให้ผู้อื่นทำ

ทรัพย์ให้เสื่อม. บทว่า เมตฺตโส คือมีเมตตาจิตอันเป็นส่วนแห่ง

ความรัก. บทว่า น เกนจิ ความว่า ขึ้นชื่อว่าเวรของผู้นั้น ย่อม

ไม่มีกับใคร ๆ แม้สักคนเดียว.

ฉะนั้น ท่านต้องการเป็นที่รักของโลกพร้อมทั้งเทวโลก ก็จงงด

เว้นจากเวรทั้งหมด นกจักรพรากแสดงธรรมแก่กาด้วยประการฉะนี้.

กากล่าวว่า ท่านไม่บอกอาหารของตนแก่เรา แล้วก็ร้อง กา กา บิน

ไปร่อนลง ณ พื้นที่ที่เจือด้วยอุจจาระในกรุงพาราณสี.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง-

ประกาศสัจธรรมเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้เหลาะแหละดำรงอยู่ในอนาคา-

มิผล พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า กาในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุ

ผู้เหลาะแหละในบัดนี้ นางนกจักรพรากในครั้งนั้น ได้มาเป็นมารดา

พระราหุลในบัดนี้ ส่วนนกจักรพรากในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาจักกวากชาดกที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 939

๑๔. ภูริปัญหาชาดก

ว่าด้วยคนไม่ดี ๔ จำพวก

[๑๔๖๓] ดูก่อนท่านผู้มีปัญญากว้างขวาง ได้ยินว่า

คำที่ท่านอาจารย์เสนอกล่าวนั้นเป็นความจริง

ท่านเป็นผู้มีปัญญา มีสิริ มีความเพียร มี

ความคิดมั่นคง แม้ท่านเป็นผู้มีปัญญา มีสิริ

มีความเพียรมีความคิดมั่นคงเช่นนั้น ก็ป้อง-

กันความเข้าถึงอำนาจแห่งความฉิบหายไม่ได้

ท่านจึงต้องกินข้าวแดงไม่มีแกง.

[๑๔๖๔] เราทำความสุขเดิมของเราให้เจริญได้

ด้วยความยาก เมื่อพิจารณากาลอันควรและไม่

ควรจึงหลบอยู่ตามความพอใจ เปิดช่องประ-

โยชน์ให้แก่ตน ด้วยเหตุนั้นเราจึงยินดีด้วย

ข้าวแดง.

[๑๔๖๕] ก็เรารู้จักกาลเพื่อกระทำความเพียร ทรง

ประโยชน์ให้เจริญด้วยความรู้ของตน องอาจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 940

อยู่เหมือนความองอาจแห่งราชสีห์ฉะนั้น ท่าน

จักได้เห็นเราพร้อมด้วยความสำเร็จนั้นอีก.

[๑๔๖๖] ก็บุคคลบางพวก แม้จะมีความสุขก็ไม่

ทำบาป บุคคลอีกพวก ๑ ไม่ทำบาป เพราะ

เกรงกลัวต่อการเกี่ยวข้องด้วยความติเตียน

ท่านเป็นคนสามารถมีความคิดว้างขวาง เหตุไร

จึงไม่ทำทุกข์ให้เกิดแก่เรา.

[๑๔๖๗] บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ประพฤติธรรม

อันเป็นบาป เพราะเหตุแห่งความสุขของตน

ถูกทุกข์กระทบแล้ว แม้จะพลาดพลั้งลงไปก็

สงบอยู่ได้ไม่ละทิ้งธรรม เพราะความรักและ

ความชัง.

[๑๔๖๘] บุคคลควรถอนตนผู้เข็ญใจขึ้น ด้วย

เพศที่อ่อนแอ หรือแข็งแรงอย่างใดอย่างหนึ่ง

ภายหลังจึงประพฤติธรรม.

[๑๔๖๙] บุคคลนอนหรือนั่งที่ร่มเงาแห่งต้นไม้ใด

ไม่พึงหักก้านกิ่งแห่งต้นไม้นั้น เพราะบุคคลผู้

ประทุษร้ายมิตรเป็นคนชั่วช้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 941

[๑๔๗๐] บุรุษรู้แจ้งธรรมแต่สำนักอาจารย์ใด อนึ่ง

การที่สัตบุรุษทั้งหลาย กำจัดความสงสัยของ

บุรุษนั้นนั่นแหละ ชื่อว่าเป็นดังเกาะหรือเป็น

ที่พึ่งพาของบุรุษนั้น คนมีปัญญาไม่พึงละมิตร-

ภาพกับอาจารย์เช่นนั้น.

[๑๔๗๑] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามคุณเป็นคนเกียจ-

คร้านไม่ดี บรรพชิตผู้ไม่สำรวมระวังไม่ดี พระ-

ราชาไม่ทรงพิจารณาเสียก่อนแล้ว ประกอบ

ราชกิจไม่ดี บัณฑิตมักโกรธก็ไม่ดี.

[๑๔๗๒] ข้าแต่พระราชา กษัตริย์ควรพิจารณา

ก่อนแล้ว จึงค่อยประกอบราชกิจ ไม่พิจารณา

ก่อน ไม่ควรประกอบราชกิจ พระยศและ

พระเกียรติ ย่อมเจริญแก่พระราชา ผู้ทรง

พิจารณาเสียก่อน แล้วจึงประกอบราชกิจ.

จบ ภูริปัญหาชาดกที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 942

อรรถกถาภูริปัญหาชาดกที่ ๑๔

ภูริปัญหาชาดกนี้ มีคำเริ่มกันว่า สจฺจ กิร ดังนี้ จักมีแจ้ง

ในมหาอุมมังคชาดกแล.

จบ อรรถกถาภูริปัญหาชาดกที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 943

๑๕. มหามังคลชาดก

ว่าด้วยมงคล

[๑๔๗๓] นรชนรู้วิชาอะไรก็ดี รู้สุตะทั้งหลายอะไร

ก็ดี กระซิบถามกันว่า อะไรเป็นมงคลในเวลา

ปรารถนามงคล นรชนนั้นจะทำอะไร จึงจะเป็น

ผู้อันความสวัสดีคุ้มครองแล้ว ทั้งในโลกนี้

และโลกหน้า.

[๑๔๗๔] เทวดาและพรหมทั้งปวง ทีฆชาติและ

สรรพสัตว์ทั้งหลาย อันบุคคลใดอ่อนน้อม

อยู่เป็นนิจด้วยเมตตา บัณฑิตทั้งหลายกล่าว

เมตตาของบุคคลนั้นแล ว่าเป็นสวัสดิมงคล

ในสัตว์ทั้งหลาย.

[๑๔๗๕] ผู้ใดประพฤติถ่อมตนแก่สัตวโลกทั้งปวง

แก่หญิงและชายพร้อมทั้งเด็ก เป็นผู้อดทนต่อ

ถ้อยคำชั่วร้าย ไม่กล่าวลำเลิกถึงเรื่องเก่า ๆ

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวความอดกลั้นของผู้นั้นว่า

เป็นสวัสดิมงคล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 944

[๑๔๗๖] ผู้ใดเป็นผู้มีปัญญาดี มีความรู้ปรุโปรง

ในเมื่อเหตุเกิดขึ้นไม่ดูหมิ่นมิตรสหายทั้งหลาย

ด้วยศิลปะ สกุล ทรัพย์ และด้วยชาติ

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่ดูหมิ่นสหายของผู้

นั้น ว่าเป็นสวัสดิมงคลในสหายทั้งหลาย.

[๑๔๗๗] สัตบุรุษทั้งหลายเป็นผู้ชอบพอคุ้นเคย

กัน เป็นมิตรแท้ของผู้ใด ผู้มีคำพูดมั่นคง

อนึ่ง ผู้ใด เป็นผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร แบ่งปัน

ทรัพย์ของตนให้แก่มิตร บัณฑิตทั้งหลายกล่าว

การได้ประโยชน์เพราะอาศัยมิตร และการ

แบ่งปันของผู้นั้น ว่าเป็นสวัสดิมงคลในมิตร

ทั้งหลาย.

[๑๔๗๘] ภรรยาของผู้ใดมีวัยเสมอกัน อยู่ร่วมกัน

ด้วยความปรองดอง ประพฤติตามใจกัน เป็น

คนใคร่ธรรม ไม่เป็นหญิงหมัน มีศีลโดย

สมควรแก่สกุล รู้จักปรนนิบัติสามี บัณฑิต

ทั้งหลายกล่าวคุณความดีในภรรยาของผู้นั้น ว่า

เป็นสวัสดิมงคลในภรรยาทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 945

[๑๔๗๙] พระราชาผู้เป็นเจ้าชีวิต ทรงพระอิสริย-

ยศ ทรงทราบความสะอาด และความขยัน

หมั่นเพียรของราชเสวกคนใด และทรงทราบ

ราชเสวกคนใด ด้วยความเป็นผู้ไม่ร้าวรานกับ

พระองค์ และทรงทราบราชเสวกคนใดว่า มี

ความจงรักภักดีต่อพระองค์ บัณฑิตทั้งหลาย

กล่าวคุณความดีของ ราชเสวกนั้น ๆ ว่า เป็น

สวัสดิมงคลในพระราชาทั้งหลาย.

[๑๔๘๐] บุคคลใดมีศรัทธาให้ข้าวน้ำ ให้ดอกไม้

ของหอม และเครื่องลูบไล้ มีจิตเลื่อมใส

บันเทิงใจ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวคุณข้อนั้น

ของบุคคลนั้นแล ว่าเป็นสวัสดิมงคลในสวรรค์

ทั้งหลาย.

[๑๔๘๑] สัตบุรุษทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งด้วยญาณ ผู้

ยินดีแล้วในสัมมาปฏิบัติ เป็นพหูสูต แสวง

หาคุณเป็นผู้มีศีล ยังบุคคลใดให้บริสุทธิ์ด้วย

อริยธรรม บัณฑิตทั้งหลายยกย่องความดีของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 946

สัตบุรุษนั้น ว่า เป็นสวัสดิมงคลในท่ามกลาง

พระอรหันต์.

[๑๔๘๒] ความสวัสดีเหล่านี้แล ผู้รู้สรรเสริญ

แล้ว มีสุขเป็นผลกำไรในโลก นรชนผู้มีปัญญา

พึงเสพความสวัสดีเหล่านั้นไว้ในโลกนี้ ก็ใน

มงคล มีประเภท คือ ทิฏฐมงคล สุตมงคล

และมุตมงคล มงคลสักนิดหนึ่งที่จะเป็นมงคล

จริง ๆ ไม่มีเลย.

จบ มหามังคลชาดกที่ ๑๕

อรรถกถามหามังคลชาดกที่ ๑๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

มหามงคลสูตร จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กึสุ นโร ดังนี้.

ความพิสดารว่า ในพระนครราชคฤห์ บุรุษผู้ ๑ อยู่ท่ามกลาง

มหาชน ที่ประชุมกัน ณ เรือนรับแขก พูดขึ้นว่า วันนี้มงคลกิริยาจะ

มีแก่เรา ดังนี้ แล้วลุกขึ้นเดินไปด้วยกรณียกิจอย่าง ๑ บุรุษอีกคน

๑ ได้ฟังคำบุรุษนั้นแล้ว กล่าวว่า บุรุษนี้กล่าวว่า มงคล แล้วก็ไปเสีย

อะไรหนอที่ชื่อว่ามงคล ? บุรุษอีกคน ๑ นอกจาก ๒ คนที่กล่าวแล้ว

กล่าวว่า การเห็นรูปเป็นมงคลอย่างยิ่ง ความจริงคนบางคนลุกขึ้นแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 947

เช้าทีเดียว ได้เห็นโคเผือกก็ดี หญิงมีครรภ์นอนอยู่ก็ดี ปลาตะเพียน

ก็ดี หม้อเต็มด้วยน้ำก็ดี เนยข้นก็ดี เนยใสก็ดี ผ้าใหม่ก็ดี ข้าวปายาส

ก็ดี การเห็นอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นมงคล นอกจากนี้ไม่ชื่อว่าเป็นมงคล คน

บางพวกก็พากันยินดีถ้อยคำที่ผู้นั้นพูดว่า พูดถูก.

อีกคน ๑ คัดค้านว่า นั่นไม่ใช่มงคล การสดับฟังชื่อว่าเป็น

มงคล คนบางคนได้ฟังคำคนกล่าวว่า สมบูรณ์ เจริญ สบาย บริโภค

เคี้ยวกิน ดังนี้ การได้ฟังอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นมงคล นอกจากนั้นไม่

ชื่อว่าเป็นมงคล คนบางพวกก็พากันยินดีถ้อยคำนี้ผู้นั้นพูดว่า พูดถูก.

อีกคน ๑ คัดค้านว่า นั้นไม่ใช่มงคล การจับต้องชื่อว่าเป็น

มงคล ความจริงคนบางคนลุกขึ้นแต่เช้าทีเดียว ได้จับต้องแผ่นดินหรือ

หญ้าเขียว ๆ โคมัยสด ผ้าที่สะอาด ปลาตะเพียน ทอง เงิน หรือ

โภชนะ การจับต้องอย่างนี้ชื่อว่าเป็นมงคล นอกจากนี้ไม่ชื่อว่าเป็น

มงคล คนบางพวกก็พากันยินดีถ้อยคำที่ผู้นั้นพูดว่า พูดถูก. คนทั้งหลาย

ได้มีความเห็นแตกต่างกัน เป็น ๓ จำพวก ๓ อย่างนี้ คือ พวกทิฏฐ-

มังคลิกะ พวกสุตมังคลิกะ และพวกมุตมังคลิกะ ต่างไม่อาจมีความเห็น

ร่วมกันได้ เทวดาทั้งหลายตั้งต้นแต่ภุมมเทวดาตลอดถึงพรหมโลก ก็

ไม่รู้โดยถ่องแท้ว่า สิ่งนี้เป็นมงคล.

ท้าวสักกะทรงพระดำริว่า ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ผู้อื่นนอกจาก

พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าสามารถที่จะกล่าวแก้มงคลปัญหานี้ได้ไม่มี เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 948

จักเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคทูลถามปัญหานี้ ครั้นถึงเวลาราตรี ท้าวเธอ

จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วประคองอัญชลี ทลถามปัญหา

ด้วยคาถาว่า พหู เทวา มนุสฺสา จ ดังนี้ เป็นต้น ลำดับนั้น

พระศาสดาตรัสมหามงคล ๓๘ ประการ ด้วยคาถา ๒ คาถา แก่

ท้าวสักกะ เมื่อมงคลสูตรจบลง เทวดาประมาณแสนโกฏิ ได้บรรลุ

พระอรหัต ที่เป็นพระโสดาบันเป็นต้น นับไม่ถ้วน ท้าวสักกะทรงสดับ

มงคลแล้ว เสด็จไปวิมานของพระองค์.

เมื่อพระศาสดาตรัสมงคลแล้ว มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาก็พากัน

ยินดีว่า ตรัสถูก ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายประชุมกันสรรเสริญพระคุณ

ของพระศาสดาในธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระศาสดาทรงแก้

มงคลปัญหาซึ่งพ้นวิสัยของผู้อื่น ตัดความรำคาญใจของมนุษย์และเทวดา

เสียได้ ดุจยังดวงจันทร์ให้ตั้งขึ้นในท้องฟ้าฉะนั้น อาวุโสทั้งหลาย

พระตถาคตทรงมีพระปัญญามากถึงเพียงนี้ พระศาสดาเสด็จมาตรัสถาม

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไร ?

เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

การแก้มงคลปัญหาของเราผู้บรรลุสัมโพธิญาณแล้วในบัดนี้ ไม่น่าอัศ-

จรรย์ เรานั้น เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ประพฤติจริยธรรมอยู่

ได้กล่าวแก้มงคลปัญหา ตัดความสงสัยของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เสียได้ ดังนี้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 949

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-

นครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้อุบัติในตระกูลพราหมณ์ผู้สมบูรณ์ด้วย

ทรัพย์สมบัติในนิคมตำบล ๑ มารดาบิดาได้ตั้งชื่อให้ว่า รักขิตกุมาร

รักขิตกุมารนั้น ครั้นเจริญวัย เรียนศิลปะที่เมืองตักกศิลาสำเร็จแล้ว

มีภรรยา เมื่อมารดาบิดาล่วงลับไป จึงตรวจตราทรัพย์สมบัติ แล้วเกิด

ความสังเวชใจ ได้ให้ทานเป็นการใหญ่ ละกามเสีย บวชในดินแดน

หิมพานต์ ยังฌานและอภิญญาให้เกิด มีเผือกมันและผลไม้ในป่าเป็น

อาหาร อยู่ ณ ประเทศแห่ง ๑ พระโพธิสัตว์ได้มีอันเตวาสิกมาเป็น

บริวารมากขึ้น โดยลำดับถึง ๕๐๐ คน.

อยู่มาวัน ๑ ดาบสเหล่านั้นเข้าไปหาพระโพธิสัตว์นมัสการ

แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ สมัยเมื่อเป็นฤดูฝน ข้าพเจ้าทั้งหลาย

จักลงจากหิมวันตประเทศ จาริกไปตามชนบท เพื่อเสพรสเค็มและรส

เปรี้ยว ด้วยอาการอย่างนี้ ร่างกายของพวกข้าพเจ้าจักแข็งแรง ทั้งจัก

เป็นการพักแข้งด้วย เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่าน

จงไปกันเถิด เราจักอยู่ที่นี่แหละ ดาบสเหล่านั้นจึงนมัสการพระโพธิ-

สัตว์ แล้วลงจากดินแดนหิมพานต์ จาริกไปถึงพระนครพาราณสี อยู่

ในพระราชอุทยาน สักการะและความนับถือได้มีแก่ดาบสเหล่านั้นเป็น

อันมาก.

ภายหลังวัน ๑ มหาชนประชุมกันที่เรือนรับแขกในพระนคร-

พาราณสี ตั้งมงคลปัญหาขึ้น ข้อความทั้งหมดพึงทราบตามนัยแห่งเรื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 950

ในปัจจุบันนั้นแหละ ก็ในคราวนั้นมหาชนไม่เห็นผู้ที่สามารถจะแก้

มงคลปัญหา ตัดความสงสัยของพวกมนุษย์ได้ จึงพากันไปพระราช-

อุทยาน ถามมงคลปัญหากะหมู่ฤาษี ฤาษีทั้งหลายจึงปรึกษากะพระราชา

ว่า มหาบพิตร อาตมาทั้งหลายไม่อาจแก้มงคลปัญหานี้ได้ แต่อาจารย์

ของพวกอาตมา ชื่อว่ารักขิตดาบส เป็นผู้มีปัญญามาก อยู่ ณ ดินแดน

หิมพานต์ ท่านจักแก้มงคลปัญหานี้อย่างจับใจของมนุษย์และเทวดา

ทั้งหลาย พระราชาตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชื่อว่าดินแดน

หิมพานต์ใกล้และไปยาก พวกข้าพเจ้าไม่อาจไปที่นั้นได้ ถ้าจะให้ดีแล้ว

พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายนี่แหละจงไปสำนักอาจารย์ ถามปัญหาแล้วเรียน

จำไว้กลับมาบอกแก่พวกข้าพเจ้า.

ดาบสเหล่านั้นรับว่า ดีแล้ว แล้วไปสำนักอาจารย์นมัสการแล้ว

เมื่ออาจารย์ทำปฏิสันถารแล้วถามถึงคุณธรรมของพระราชาและชนบทที่

จาริกไป จึงกราบเรียนอุบัติเหตุแห่งทิฏฐมงคลเป็นต้นนั้นตั้งแต่ต้นมา

แล้วประกาศความที่พระราชาอาราธนา และตนอยากจะรู้ปัญหา จึง

มาหาอาจารย์ วิงวอนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอโอกาส

ขอท่านจงกล่าวมงคลปัญหาทำให้แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด ลำดับ

นั้น. ดาบสอันเตวาสิกผู้ใหญ่ เมื่อจะถามอาจารย์ จึงกล่าวคาถาที่ ๑

ว่า :-

นรชนรู้วิชาอะไรก็ดี รู้สุตะทั้งหลายอะไร

ก็ดี กระซิบถามกันว่า อะไรเป็นมงคลในเวลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 951

ปรารถนามงคล นรชนนั้นจะทำอย่างไร จึงจะ

เป็นผู้อันความสวัสดีคุ้มครองแล้ว ทั้งในโลกนี้

และโลกหน้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเล ได้แก่ ในเวลาปรารถนา

มงคล. บทว่า วิชฺช ได้แก่ เวท. บทว่า สุตาน ได้แก่ ปริยัติ

ที่ตนควรศึกษา. ศัพท์ว่า จ ในคำว่า อสฺมึ จ นี้ เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า โสตฺถาเนน ได้แก่ มงคลอันเป็นเครื่องนำความสวัสดีมาให้.

ข้อนี้มีอธิบายว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์นรชนรู้เวทอะไร ในบรรดา

เวท ๓ อย่างก็ดี รู้สุตตปริยัติอะไรในระหว่างสุตะทั้งหลายก็ดี เมื่อ

ต้องการมงคลยังกระซิบถามกันอยู่ว่า อะไรเป็นมงคลในเวลาปรารถนา

มงคล นรชนนั้นจะทำอย่างไร คือในการกระซิบถามกันเป็นต้นเหล่า

นั้น จะทำอย่างไร คือโดยนิยามอย่างไร จึงจะเป็นผู้อันความสวัสดี

คืออันมงคลที่ปราศจากโทษคุ้มครองแล้ว คือรักษาแล้ว ทั้งในโลกนี้

และโลกหน้า ขอท่านให้ถือเอาประโยชน์โลกนี้และประโยชน์โลกหน้า

แสดงอธิมงคลแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด.

ครั้นอันเตวาสิกผู้ใหญ่ถามมงคลปัญหาอย่างนี้แล้ว พระมหา-

สัตว์เมื่อจะตัดความสงสัยของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แสดงมงคล

ด้วยพุทธลีลาว่า นี้ด้วย นี้ด้วย เป็นมงคล จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 952

เทวดาและพรหมทั้งปวง ทีฆชาติและ

สรรพสัตว์ทั้งหลาย อันบุคคลใดอ่อนน้อม

อยู่เป็นนิจด้วยเมตตา บัณฑิตทั้งหลายกล่าว

เมตตาของบุคคลนั้นแล ว่าเป็นสวัสดิมงคล

ในสัตว์ทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ได้แก่ อันบุคคลใด. บทว่า

เทวา ได้แก่ กามาวจรเทพทั้งหมด ตั้งต้นแต่ภุมมเทพ. บทว่า ปิตโร จ

ได้แก่ รูปาวจรพรหมที่เหนือชั้นขึ้นไปกว่าภุมมเทพนั้น. บทว่า สิรึสปา

ได้แก่ ทีฆชาติทั้งหลาย. บทว่า สพฺพภูตานิ จาปิ ได้แก่ สัตว์

ทั้งหลาย แม้ทุกจำพวกที่เหลือจากที่ระบุแล้ว. บทว่า เมตฺตาย นิจฺจ

อปจิตานิ โหนฺติ ความว่า สัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น อันบุคคลใดอ่อนน้อม

คือนับถืออยู่ด้วยเมตตาภาวนา อันถึงความเป็นอัปปนา ซึ่งเป็นไปแล้ว

ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปตลอด ๑๐ ทิศ. บทว่า ภูเตสุ เว ความว่า

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวเมตตาภาวนานั้นของบุคคลนั้นว่า เป็นสวัสดิมงคล

ในบรรพสัตว์ทั้งหลาย คือเป็นมงคลที่ปราศจากโทษ อันเป็นไปแล้ว

ตลอดกาลนิรันดร.

จริงอยู่ บุคคลผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา ย่อมเป็นที่รักของสัตว์

ทั้งหลายทั้งปวง เป็นผู้ไม่กำเริบเพราะความเพียร ด้วยเหตุดังกล่าวนี้

บุคคลนั้น จึงเป็นผู้อันมงคลนี้รักษาคุ้มครอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 953

พระมหาสัตว์ ครั้นแสดงมงคลที่ ๑ ดังนี้แล้ว เมื่อจะแสดง

มงคลที่ ๒ เป็นต้น จึงกล่าวคาถาทั้งหลายเหล่านี้ว่า :-

ผู้ใดประพฤติถ่อมตนแก่สัตว์โลกทั้งปวง

แต่หญิงและชายพร้อมทั้งเด็ก เป็นผู้อดทนต่อ

ถ้อยคำชั่วร้าย ไม่กล่าวลำเลิกถึงเรื่องเก่า ๆ

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวความอดกลั้นของผู้นั้นว่า

เป็นสวัสดิมงคล.

ผู้ใดเป็นผู้มีปัญญาดี มีความรู้ปรุโปร่ง

ในเมื่อเหตุเกิดขึ้น ไม่ดูหมิ่นมิตรสหายทั้งหลาย

ด้วยศิลปะ สกุล ทรัพย์ และด้วยชาติ

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่ดูหมิ่นสหายของผู้

นั้น ว่าเป็นสวัสดิมงคลในสหายทั้งหลาย.

สัตบุรุษทั้งหลายเป็นผู้ชอบพอคุ้นเคย

กัน เป็นมิตรแท้ของผู้ใด ผู้มีคำพูดมั่นคง

อนึ่ง ผู้ใด เป็นผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร แบ่งปัน

ทรัพย์ของตนให้แก่มิตร บัณฑิตทั้งหลายกล่าว

การได้ประโยชน์เพราะอาศัยมิตร และการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 954

แบ่งปันของผู้นั้น ว่าเป็นสวัสดีมงคลในมิตร

ทั้งหลาย.

ภรรยาของผู้ใดมีวัยเสมอกัน อยู่ร่วมกัน-

ด้วยความปรองดอง ประพฤติตามใจกัน เป็น

คนใคร่ธรรม ไม่เป็นหญิงหมัน มีศีลโดย

สมควรแก่สกุล รู้จักปรนนิบัติสามี บัณฑิต

ทั้งหลายกล่าวคุณความดีในภรรยาของผู้นั้น ว่า

เป็นสวัสดีมงคลในภรรยาทั้งหลาย.

พระราชาผู้เป็นเจ้าชีวิต ทรงพระอิสริย-

ยศ ทรงทราบความสะอาด และความขยัน

หมั่นเพียรของราชเสวกคนใด และทรงทราบ

ราชเสวกคนใด ด้วยความเป็นผู้ไม่ร้าวรานกับ

พระองค์ และทรงทราบราชเสวกคนใดว่า มี

ความจงรักภักดีต่อพระองค์ บัณฑิตทั้งหลาย

กล่าวคุณความดีของราชเสวกนั้น ๆ ว่า เป็น

สวัสดิมงคลในพระราชาทั้งหลาย.

บุคคลใดมีศรัทธา ให้ข้าวน้ำ ให้ดอกไม้

ของหอม และเครื่องลูบไล้ มีจิตเลื่อมใส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 955

บันเทิงใจ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวคุณข้อนั้น

ของบุคคลนั้นแล ว่าเป็นสวัสดิมงคลในสวรรค์

ทั้งหลาย.

สัตบุรุษทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งด้วยญาณ ผู้

ยินดีแล้วในสัมมาปฏิบัติ เป็นพหูสูต แสวง

หาคุณเป็นผู้มีศีล ยังบุคคลใดให้บริสุทธิ์ด้วย

อริยธรรม บัณฑิตทั้งหลายยกย่องความดีของ

สัตบุรุษนั้น ว่า เป็นสวัสดิมงคลในท่ามกลาง

พระอรหันต์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิวาตวุตฺติ คือเป็นผู้มีความ

ประพฤติถ่อมตนแก่สัตวโลกทั้งปวง ด้วยความเป็นผู้มีจิตอ่อนโยน. บทว่า

ขนฺตา ทุรุตฺตาน คือเป็นผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำชั่วร้ายที่ผู้อื่นกล่าว. บทว่า

อปฺปฏิกูลวาที คือไม่กระทำการถือเอาโดยความเป็นคู่ว่า ผู้ชื่อโน้นได้

ด่าเรา ผู้ชื่อโน้นได้ประหารเรา กล่าวแต่วาจาที่สมควรแก่เหตุเท่านั้น.

บทว่า อธิวาสน ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวความอดกลั้นนี้ของ

ผู้นั้น ว่าเป็นสวัสดิมงคล คือเป็นมงคลที่ปราศจากโทษ.

บทว่า สหายมิตฺเต ได้แก่ ผู้เป็นสหายด้วย ผู้เป็นทั้งสหาย

และมิตรด้วย ในบุคคล ๒ จำพวกนั้น ผู้ที่เล่นฝุ่นร่วมกันมา ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 956

สหาย ผู้ที่อยู่ร่วมกัน ๑๐ ปี ๑๒ ปี ชื่อว่าเป็นทั้งสหายและมิตร ไม่ดูหมิ่น

มิตรสหายเหล่านั้น แม้ทั้งปวงด้วยศิลปะอย่างนี้ว่า เรามีศิลปะ พวก

เหล่านี้ ไร้ศิลปะ หรือด้วยสกุล กล่าวคือกุลสมบัติอย่างนี้ว่า เรามีสกุล

พวกเหล่านี้ ไม่มีสกุล หรือด้วยทรัพย์อย่างนี้ว่า เรามั่งคั่ง พวกเหล่านี้

เป็นคนเข็ญใจ หรือด้วยญาติอย่างนี้ว่า เราถึงพร้อมด้วยญาติ พวก

เหล่านี้เป็นคนชาติชั่ว.

บทว่า รุจิปญฺโ ได้แก่ ผู้มีปัญญาดี คือมีปัญญางาม. บทว่า

อตฺถกาเล ได้แก่ ในเมื่อมีความต้องการ คือเหตุบางอย่างเกิดขึ้น.

บทว่า มตีมา ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้มีความรู้ปรุโปร่ง เพราะเป็น

ผู้สามารถในการกำหนดพิจารณาประโยชน์ คือสิ่งที่ต้องประสงค์ ไม่

ดูหมิ่นสหายเหล่านั้น. บทว่า สหาเยสุ ความว่า โบราณกบัณฑิต

ทั้งหลายกล่าวการไม่ดูหมิ่นสหายของผู้นั้น ว่าเป็นสวัสดิมงคลในสหาย

ทั้งหลายโดยแท้.

ถ้าเช่นนั้น ผู้นั้น ย่อมเป็นผู้อันมงคลที่ปราศจากโทษคุ้มครอง

แล้ว ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ในข้อนั้น บัณฑิตพึงกล่าวความสวัสดี

เพราะอาศัยสหายผู้เป็นบัณฑิต ด้วยกุสนาลิกชาดก

บทว่า สนฺโต ความว่า สัตบุรุษทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิต เป็น

มิตรแท้ของผู้ใด บทว่า สวิสฺสฏฺา ได้แก่ ผู้ถึงความคุ้นเคย ด้วย

สามารถแห่งการเข้าไปสู่เรือนแล้ว ถือเวลาสิ่งที่ต้องการแล้ว. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 957

อวิสวาทกสฺส คือผู้มีปกติกล่าวไม่คลาดเคลื่อน. บทว่า น มิตฺตทุพภี

ความว่า อนึ่ง ผู้ใดเป็นผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร. บทว่า สวิภาคี ธเนน

คือกระทำการแบ่งปันทรัพย์ของตนให้แก่มิตร. บทว่า มิตฺเตสุ ความว่า

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการได้ประโยชน์ เพราะอาศัยมิตรและการแบ่งปัน

ของผู้นั้น ว่า ชื่อว่าเป็นสวัสดิมงคลในมิตรทั้งหลาย จริงอยู่ เขาผู้

อันมิตรทั้งหลายเห็นปานนี้รักษาแล้ว ย่อมถึงซึ่งความสวัสดีในข้อนั้น

บัณฑิตพึงกล่าวความสวัสดี เพราะอาศัยมิตรทั้งหลาย ด้วยชาดกทั้งหลาย

มีมหาอุกกุสชาดกเป็นต้น.

บทว่า ตุลฺยวยา ได้แก่ มีวัยเสมอกัน. บทว่า สมคฺคา

ได้แก่ อยู่ร่วมกันด้วยความปรองดอง. บทว่า อนุพฺพตา ได้แก่

ประพฤติตามใจกัน. บทว่า ธมฺมกามา ได้แก่ ชอบสุจริตธรรม ๓

ประการ. บทว่า ปชาตา ได้แก่ มีปกติยังบุตรให้ตลอด คือไม่เป็น

หญิงหมัน. บทว่า ทาเรสุ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า มาตุคาม

ผู้ประกอบด้วยคุณเหล่านี้อยู่ในเรือน ย่อมเป็นสวัสดิมงคลของสามี ใน

ข้อนั้น บัณฑิตพึงกล่าวความสวัสดีเพราะอาศัยมาตุคามผู้มีศีล ด้วยมณิ-

โจรชาดก สัมพุลชาดก และขัณฑหาลชาดก. บทว่า โสเจยฺย แปลว่า

ความเป็นผู้สะอาด. บทว่า อเทฺวชฺฌตา ความว่า ทรงทราบราชเสวก

คนใด ด้วยความเป็นผู้ไม่ร้าวรานกับพระองค์ คือด้วยความเป็นผู้ไม่

ร้าวรานเป็นใจ ๒ กับพระองค์อย่างนี้วา ราชเสวกนั้นจักไม่แยกกับเรา

ออกไปเป็น ๒ ฝ่าย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 958

บทว่า สุหทย มม ความว่า และทรงทราบราชเสวกคนใด

ว่า ราชเสวกผู้นี้มีความจงรักภักดีต่อเรา. บทว่า ราชูสุ เว ความว่า

เมื่อเป็นเช่นนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวคุณความดีข้องราชเสวกนั้น ๆ

ที่มีอยู่ในพระราชาทั้งหลาย ว่าเป็นความสวัสดิมงคลโดยแท้ บทว่า

ททาติ สทฺโธ คือเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมแล้วให้. บทว่า สคฺเคสุ

เว ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวคุณข้อนั้น

ของผู้นั้นว่า เป็นสวัสดิมงคล คือเป็นมงคลที่ปราศจากโทษในสวรรค์

คือในเทวโลก บัณฑิตพึงกล่าวอ้างข้อนั้นด้วยเรื่องเปรตและเรื่องวิมาน

เปรตให้พิสดาร. บทว่า ปุนนฺติ วทฺธา ความว่า สัตบุรุษทั้งหลาย

ผู้รู้แจ้งด้วยญาณ ยังบุคคลใดให้บริสุทธิ์ คือให้หมดจดด้วยอริยธรรม

บทว่า สมจริยาย ได้แก่ ในสัมมาปฏิบัติ บทว่า พหุสฺสุตา

ได้แก่ ผู้สดับมากเพื่อปฏิเวธ. บทว่า อิสโย ได้แก่ ผู้แสวงหาคุณ.

บทว่า สีลวนฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยอริยศีล. บทว่า อรหนฺตมชฺเฌ

ความว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมยกย่องความดีของสัตบุรุษนั้นว่า เป็น

สวัสดิมงคล อันจะพึงได้ในท่ามกลางพระอรหันต์ จริงอยู่พระอรหันต์

ทั้งหลาย เมื่อบอกมรรคที่ตนได้แล้วให้ผู้อื่นปฏิบัติ ย่อมยังบุคคลผู้ยินดี

ให้บริสุทธิ์ด้วยอริยธรรม แม้ผู้นั้นก็เป็นพระอรหันต์เทียว.

พระมหาสัตว์ถือเอายอดแห่งเทศนาด้วยพระอรหัต แสดงมงคล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 959

แปดด้วยคาถา ๘ คาถาอย่างนี้แล้ว เมื่อจะสรรเสริญมงคลเหล่านั้น จึง

กล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-

ความสวัสดีเหล่านั้นแล ผู้รู้สรรเสริญ

แล้ว มีสุขเป็นผลกำไรในโลก นรชนผู้มีปัญญา

พึงเสพความสวัสดีเหล่านั้นไว้ในโลกนี้ ก็ใน

มงคล มีประเภท คือ ทิฏฐมงคล สุตมงคล

และมุตมงคล มงคลสักนิดหนึ่งที่จะเป็นมงคล

จริง ๆ ไม่มีเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น หิ มงฺคเล ความว่า ก็ใน

มงคลมีประเภท คือ ทิฏฐมงคล สุตมงคล และมุตมงคลนั้น แม้มงคล

นั้นสักนิดหนึ่ง ที่ชื่อว่าเป็นมงคลจริง ๆไม่มีเลย ก็พระนิพพานอย่าง

เดียวเท่านั้น เป็นปรมัตถมงคลจริง ๆ.

พระฤาษีทั้งหลายสดับมงคลเหล่านั้นแล้ว พอล่วงไปได้ ๗,

๘ วัน ก็พากันลาอาจารย์ไปในพระราชอุทยานนั้น พระราชาเสด็จ

ไปสำนักพระฤาษีเหล่านั้น แล้วถามปัญหา พระฤาษีทั้งหลายได้กล่าว

แก้มงคลปัญหา ตามทำนองที่อาจารย์บอกมาแด่พระราชา แล้วมา

ดินแดนหิมพานต์ ตั้งแต่นั้นมามงคลได้ปรากฏในโลก ผู้ที่ประพฤติใน

ข้อมงคลทั้งหลาย ตายไปได้เกิดในสวรรค์ พระโพธิสัตว์เจริญพรหม-

วิหาร ๔ พาหมู่ฤาษีไปเกิดในพรหมโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 960

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่เรากล่าวแก้มงคลปัญหา

แม้ในกาลก่อน เราก็กล่าวแก้มงคลปัญหามาแล้ว ดังนี้ แล้วทรง

ประชุมชาดกว่า หมู่ฤาษีในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธบริษัทในบัดนี้

อันเตวาสิกผู้ใหญ่ผู้ถามมงคลปัญหาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระสารีบุตร

ในบัดนี้ ส่วนอาจารย์ในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามหามงคลชาดกที่ ๑๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 961

๑๖. ฆตบัณฑิตชาดก

ว่าด้วยการดับความโศก

[๑๔๘๓] ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ ขอพระองค์

จงเสด็จลุกขึ้นเถิด จะมัวทรงบรรทมอยู่ทำไม

ความเจริญอะไรจะมีแต่พระองค์ด้วยพระสุบิน

เล่า พระภาดาของพระองค์แม้ใด เสมอด้วย

พระหทัย และเสมอด้วยพระเนตรข้างขวา ลม

ได้กระทบดวงหทัยของพระภาดานั้น ข้าแต่

พระองค์ผู้มีพระเกศางาม ฆตบัณฑิตทรงเพ้อไป.

[๑๔๘๔] พระเจ้าเกสวราช ทรงสดับคำของโรหิ-

เณยยอำมาตย์นั้นแล้ว อัดอั้นพระหฤทัยด้วย

ความโศกถึงพระภาดา มีพระวรกายกระสับ

กระส่ายเสด็จลุกขึ้น.

[๑๔๘๕] เหตุไรหนอ เจ้าจึงเป็นเหมือนคนบ้า

เที่ยวบ่นเพ้ออยู่ทั่วนครทวาราวดีนี้ว่า กระต่าย

กระต่าย ใครเขาลักกระต่ายของเจ้าไปหรือ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 962

[๑๔๘๖] เจ้าอยากได้กระต่ายทอง กระต่ายเงิน

กระต่ายแก้วมณี กระต่ายสังขศีล หรือกระ

ต่ายแล้วประพาฬประการใด เจ้าจงบอกแก่เรา

เราจักให้เขาทำให้เจ้า ถ้าแม้เจ้าไม่ชอบกระต่าย

เหล่านั้น ฝูงกระต่ายป่าอื่น ๆ มีอยู่ในป่า เราจัก

ให้เขานำเอากระต่ายเหล่านั้นให้เจ้า เจ้าต้อง

การกระต่ายชนิดไรเล่า ?

[๑๔๘๗] ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระเกศางาม กระต่าย

เหล่าใดที่อาศัยอยู่บนแผ่นดิน หม่อมฉันไม่

ปรารถนาสิ้นทั้งนั้น หม่อมฉันปรารถนากระ

ต่ายจากดวงจันทร์ ขอพระองค์ได้ทรงโปรด

สอยตระต่ายนั้นมาให้หม่อมฉันเถิด.

[๑๔๘๘] น้อง เจ้าปรารถนาสิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนา

กัน อยากได้กระต่ายจากดวงจันทร์ จักละชีวิต

ที่ยังดีไปเสียเป็นแน่.

[๑๔๘๙] ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ ถ้าพระองค์

ทรงทราบและตรัส สอนผู้อื่นอย่างนี้ไซร้ เหตุไร

พระองค์จงทรงเศร้าโศกถึงพระราชโอรสผู้สิ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 963

พระชนม์ไปแล้วในกาลก่อน จนกระทั่งถึงวัน

นี้เล่า ?

[๑๔๙๐] มนุษย์หรือเทวดาไม่พึงได้ฐานะอันใด

คือความมุ่งหวังว่า บุตรของเราที่เกิดมาแล้ว

อย่าตายเลย พระองค์ทรงปรารถนาฐานะอัน

นั้นอยู่ จะพึงทรงได้ฐานะที่ไม่ควรได้แต่ที่ไหน

ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ พระองค์ทรงเศร้า

โศกถึงพระโอรสองค์ใด ผู้ไปปรโลกแล้วพระ-

องค์ก็ไม่สามารถจะนำพระโอรสนั้นมาได้ด้วย

มนต์ ยารากไม้ โอสถ หรือพระราชทรัพย์เลย.

[๑๔๙๑] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเช่นนี้ เป็นอำมาตย์

ของพระราชาพระองค์ใด พระราชาพระองค์

นั้นจะมีความโศกมาแต่ไหน เหมือนฆตบัณฑิต

ดับความโศกของเราในวันนี้ ฆตบัณฑิตได้

รดเราผู้เร่าร้อนให้สงบระงับ ดับความกระวน

กระวายทั้งปวงได้ เหมือนบุคคลดับไฟที่ติด

เปรียงด้วยน้ำฉะนั้น ฆตบัณฑิตได้ถอนลูกศร

ที่เสียบแทงหทัยของเราออกแล้ว ได้บรรเทา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 964

ความโศกถึงบุตรของเรา ผู้ถูกความเศร้าโศก

ครอบงำแล้วหนอ เราเป็นผู้ถอนลูกศรออกได้

แล้วปราศจากความโศก ไม่ขุ่นมัว จะไม่เศร้า

โศกจะไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคำของเจ้า นะ

น้องชาย.

[๑๔๙๒] ผู้มีปัญญา มีใจกรุณา ย่อมทำผู้มีเศร้า

โศกให้หลุดพ้นจากความเศร้าโศกได้ เหมือน

ฆตบัณฑิตทำพระเชษฐาผู้เศร้าโศกให้หลุดพ้น

จากความเศร้าโศก ฉะนั้น.

จบ ฆตบัณฑิตชาดกที่ ๑๖

อรรถกถาฆตบัณฑิตชาดกที่ ๑๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

กุฎุมพีลูกตาย ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มตันว่า อุฏฺเหิ กณฺห

ดังนี้.

เนื้อเรื่องเหมือนกับ เรื่องมัฏฐกุณฑลีนั่นแหละ ส่วนในชาดกนี้

มีความย่อดังต่อไปนี้ :-

พระศาสดาเสด็จเข้าไปหาอุบาสกนั้นแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนอุบา-

สก ท่านเศร้าโศกถึงลูกตายหรือ ? เมื่ออุบาสกกราบทูลว่า ถูกแล้วพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 965

เจ้าข้า พระองค์จึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก โบราณกบัณฑิตฟังถ้อยคำ

ของบัณฑิตแล้ว ไม่เศร้าโศกถึงลูกที่ตายไปแล้ว ผู้อันอุบาสกนั้นกราบ

ทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อ

ไปนี้.

ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่ามหาวังสะ ครองราช

สมบัติอยู่ในอสิตัญชนคร แคว้นกังสโคตรใกล้อุตราปถประเทศ พระองค์

มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ องค์หนึ่งพระนามว่ากังสะ องค์หนึ่งพระ-

นามว่าอุปกังสะ มีพระราชธิดาองค์หนึ่งพระนามว่า เทวคัพภา ในวัน

ที่พระราชธิดานั้นประสูติ พราหมณ์ผู้ทายลักษณะพยากรณ์ไว้ว่า พระ-

โอรสที่เกิดในพระครรภ์ของพระนั่งเทวคัพภานั้น จักทำกังสโคตร

กังสวงศ์ให้พินาศ พระราชาไม่อาจให้สำเร็จโทษพระราชธิดาได้ เพราะ

ทรงสิเนหามาก แม้พระเชษฐาทั้งสองก็ทรงทราบเหมือนกัน พระราชา

ดำรงราชสมบัติอยู่ตลอดพระชนมายุแล้ว เสด็จสวรรคตด้วยประการฉะนี้

เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว กังสราชโอรสได้เป็นพระราชา อุปกังส-

ราชโอรสได้เป็นอุปราช ทั้ง ๒ พระองค์ทรงพระดำริว่า ถ้าเราจักให้

สำเร็จโทษภคินี เราก็จักถูกครหาเราจักไม่ให้ภคินีนี้แก่ใคร ๆ จักเลี้ยง

ดูโดยไม่ให้มีสามี ดังนี้ ทั้ง ๒ พระองค์จึงให้สร้างปราสาทเสาเดียวให้

ราชธิดาอยู่ ปราสาทนั้น นางทาสีนามว่านันทโคปาได้เป็นปริจาริกา

ของพระนาง ทาสนามว่าอันธกเวณฑุ ผู้เป็นสามีของนางนันทโคปา

เป็น ผู้พิทักษ์รักษาพระนาง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 966

ครั้งนั้น พระเจ้ามหาสาครราช เสวยราชสมบัติอยู่ในอุตตร-

ปถประเทศ พระองค์มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ องค์หนึ่งพระนาม

ว่าสาคร องค์หนึ่งพระนามว่าอุปสาคร ก็ในบรรดาพระราชโอรส ๒

พระองค์นั้น เมื่อพระชนกเสด็จสวรรคต สาครราชโอรสได้เป็นพระ-

ราชา อุปสาครราชโอรสได้เป็นอุปราช อุปสาครอุปราชนั้นเป็นสหาย

ของอุปกังสอุปราช สำเร็จการศึกษาคราวเดียวกัน ในตระกูลอาจารย์

คนเดียวกัน.

อุปสาครอุปราชได้ทำมิดีมิงาม นางสนมกำนัลในของพระเจ้าพี่

สาครราช กลัวพระราชอาชญาหนีไปสำนักอุปกังสอุปราช ในแคว้น

กังสโคตร อุปกังสอุปราชพาเข้าเฝ้าพระเจ้ากังสราช พระเจ้ากังสราช

ทรงประทานยศใหญ่แก่อุปสาครอุปราช อุปสาครอุปราชเมื่อไปเฝ้า

พระราชา เห็นปราสาทเสาเดียว ซึ่งเป็นที่ประทับของพระนางเทวคัพภา

จึงถามว่านี่ที่อยู่ของใคร ครั้นทราบความนั้นแล้ว ก็มีจิตปฏิพัทธ์ใน

พระนางเทวคัพภา.

วันหนึ่ง พระนางเทวคัพภาทอดพระเนตรเห็นอุปสาครอุปราช

ไปเฝ้าพระราชาพร้อมกับอุปกังสอุปราช จึงตรัสถามว่า นั่นใคร ทรง

ทราบจากนางนันทโคปาว่า โอรสพระเจ้ามหาสาครราชพระนามว่า

อุปสาคร ก็มีจิตปฏิพัทธ์ในอุปสาครอุปราชนั้น อุปสาครอุปราชให้สิน

บนนางนันทโคปา แล้วกล่าวว่า น้องหญิง ท่านอาจที่จักพาพระนาง

เทวคัพภามาให้เราไหม ? นางนันทโคปากล่าวว่า ข้อนั้นไม่ยากดอก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 967

นาย แล้วก็บอกเรื่องนั้นแก่พระนางเทวคัพภา ตามปกติพระนางก็มีจิต

ปฏิพัทธ์ในอุปสาครอุปราชอยู่แล้ว พอได้ฟังดังนั้นก็รับว่าดีแล้ว นาง

นันทโคปาให้สัญญาแก่อุปสาครอุปราชให้ขึ้นปราสาทในเวลาราตรี อุป-

สาครอุปราชได้ร่วมสังวาสกับพระนางเทวคัพภา โดยทำนองนั้นบ่อย ๆ

เข้าพระนางได้ตั้งครรภ์ต่อมาข่าวพระนางทรงครรภ์ก็ได้ปรากฏขึ้นพระ-

เชษฐาทั้งสองจึงถามนางนันทโคปา นางนันทโคปาทูลขออภัยแล้ว

กราบทูลความลับนั้นให้ทรงทราบ พระเชษฐาทั้ง ๒ พระองค์ทรงทราบ

แล้ว จึงปรึกษากันว่า เราไม่อาจที่จะสำเร็จโทษน้องหญิงได้ ถ้าเธอ

คลอดพระธิดา เราจักไม่สำเร็จโทษ แต่ถ้าเป็นพระโอรส เราจักสำเร็จ

โทษเสีย แล้วประทานพระนางเทวคัพภาแก่อุปสาครอุปราช พระนาง

เทวคัพภาทรงครรภ์ครบกำหนดแล้วก็ประสูติพระธิดา พระเชษฐาทั้ง

สองทรงทราบแล้วดีพระทัย ตั้งพระนามให้พระธิดานั้นว่า อัญชนเทวี

ได้พระราชทานบ้านส่วยชื่อโภควัฒมานะแก่กษัตริย์ทั้ง ๒ อุปสาครอุป-

ราช จึงพาพระนางเทวคัพภาไปประทับ ณ โภควัฒมานคาม พระนาง

เทวคัพภาก็ทรงครรภ์อีก แม้นางนันทโคปาก็ตั้งครรภ์ในวันนั้นเหมือน

กัน เมื่อหญิงทั้งสองมีครรภ์ครบกำหนดแล้ว พระนางเทวคัพภาประสูติ

พระโอรส แม้นางนันทโคปาก็คลอดธิดาในวันเดียวกันนั่นเอง พระ-

นางเทวคัพภากลัวพระโอรสจะพินาศด้วยราชภัย จึงส่งพระโอรสไปให้

นางนันทโคปา และให้นางนันทโคปานำธิดามาให้เปลี่ยนกันเลี้ยงเงียบ.

อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลความที่พระนางเทวคัพภาประสูติแล้ว

ให้พระเชษฐาทั้ง ๒ ทรงทราบ พระเชษฐาทั้ง ๒ พระองค์นั้นตรัสถาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 968

ว่า ประสูติโอรสหรือธิดา เมื่อได้รับตอบว่า ธิดา จึงรับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้น

ท่านทั้งหลายจงเลี้ยงไว้เถิด พระนางเทวคัพภาประสูติพระโอรสรวม ๑๐

องค์ นางนันทโคปาก็คลอดลูกหญิงรวม ๑๐ คน ได้เปลี่ยนให้กันเลี้ยง

ด้วยอุบายนี้ โอรสของพระนางเทวคัพภาเจริญอยู่ในสำนักนางนันท-

โคปา ลูกหญิงของนางนันทโคปาเจริญอยู่ในสำนักของพระนางเทวคัพ-

ภา ใคร ๆ มิได้รู้ความลับเรื่องนั้น.

โอรสองค์ใหญ่ของพระนางเทวคัพภา นามว่าวาสุเทพ องค์ที่ ๒

นามว่าพลเทพ องค์ที่ ๓ นามว่าจันทเทพ องค์ที่ ๔ นามว่าสุริยเทพ

องค์ที่ ๕ นามว่าอัคคิเทพ องค์ที่ ๖ นามว่าวรุณเทพ องค์ที่ ๗ นามว่า

อัชชุนะ องค์ที่ ๘ นามว่าปัชชุนะ องค์ที่ ๙ นามว่าฆตบัณฑิต องค์

ที่ ๑๐ นามว่าอังกุระ โอรสเหล่านั้นได้ปรากฏว่าพี่น้อง ๑๐ คนเป็น

บุตรของอันธกเวณฑุทาส.

ต่อมาโอรสเหล่านั้น ครั้นเจริญวัยแล้วมีกำลังเรี่ยวแรงมาก เป็น

ผู้หยาบช้ากล้าแข็ง พากันเที่ยวปล้นประชาชน แม้คนนำบรรณาการ

ไปถวายพระราชา ก็พากันปล้นเอาหมด ประชาชนประชุมกันร้องทุกข์

ที่พระลานหลวงว่า พี่น้อง ๑๐ คน ซึ่งเป็นบุตรของอันธกเวณฑุทาส

ปล้นแว่นแคว้น พระราชารับสั่งให้เรียกตัวอันธกเวณฑุทาสมาตรัสคุก

คามว่า เหตุไร ? เจ้าจึงปล่อยให้ลูกทำการปล้น ดังนี้ เมื่อประชาชน

ร้องทุกข์ถึง ๒ ครั้ง ๓ ครั้งอย่างนี้ พระราชาก็ทรงคุกคามอันธกเวณฑุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 969

เขากลัวต่อมรณภัย ทูลขออภัยโทษกะพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้สมมติเทพ กุมารเหล่านั้นมิใช่บุตรของข้าพระองค์ เป็นโอรส

ของอุปสาครอุปราช แล้วกราบทูลความลับเรื่องนั้นให้ทรงทราบ พระ-

ราชาทรงตกพระทัย ตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลายว่า เราจะใช้อุบายอย่างไร

จึงจักจับกุมารเหล่านั้นได้ ? เมื่อพวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้สมมติเทพ กุมารเหล่านั้นลำพองจิตด้วยมวยปล้ำ ข้าพระองค์จักให้ทำ

การต่อสู้ขึ้นในพระนคร แล้วให้จับกุมารเหล่านั้นผู้มาสู่สนามยุทธฆ่า

เสีย ณ ที่นั้น ดังนี้ จึงรับสั่งให้เรียกนักมวยปล้ำมา ๒ คน คนหนึ่ง

ชื่อวานุระ อีกคนหนึ่งชื่อมุฏฐิกะ แล้วให้ตีกลองประกาศทั่วพระนครว่า

จากวันนี้ไป ๗ วัน จักมีการต่อสู้ ดังนี้แล้วให้ตระเตรียมสนามต่อสู้ที่

พระลานหลวง ให้ทำสังเวียนนั้นสนามต่อสู้แล้วให้ผูกธงและแผ่นผ้า.

เสียงเล่าลือกันแซ่ไปทั่วนคร ประชาชนพากันผูกล้อเลื่อนและ

เตียงน้อยใหญ่ วานุระแลมุฏฐิกะก็มายังสนามต่อสู้ โห่ร้องคำราม

ตบมือเดินไปมาอยู่ แม้กุมารพี่น้องทั้ง ๑๐ ก็มาแล้วยื้อแย่งตามถนนขาย

อาหาร ของหอมและเครื่องย้อม แล้วนุ่งห่มผ้าสี แย่งเอาของหอมตาม

ร้านขายของหอม แลดอกไม้ตามร้านขายดอกไม้มาประดับตัวทัดดอกไม้

๒ หู โห่ร้องคำรามตบมือเข้าสนามต่อสู้ ขณะนั้นวานุระเดินตบมืออยู่

พลเทพเห็นดังนั้น จึงคิดว่า เราจะไม่ถูกต้องวานุระด้วยมือ แล้วไป

นำเชือกผูกช้างเส้นใหญ่มาแต่โรงช้าง โห่ร้องคำรามแล้วโยนเชือกไป

พันท้องวานุระ รวบปลายเชือกทั้ง ๒ เข้ากัน โห่ร้องยกขึ้นหมุนเหนือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 970

ศีรษะแล้วฟาดลงแผ่นดิน โยนไปนอกสังเวียน เมื่อวานุระตายแล้ว

พระราชารับสั่งให้มุฏฐิกะคนปล้ำทำการต่อสู้ต่อไป มุฏฐิกะลุกออกไปโห่

ร้องคำรามตบมืออยู่ พลเทพทุบมุฏฐิกะจนกระดูกละเอียด เมื่อมุฏฐิกะ

กล่าวว่า ท่านเป็นนักมวยปล้ำ ฉันไม่ใช่นักมวยปล้ำ จึงตอบว่า เรา

ไม่เข้าใจว่าท่านเป็นนักมวยปล้ำหรือไม่ใช่นักมวยปล้ำ แล้วจับมือทั้ง ๒

ฟาดลงบนแผ่นดินให้ตายแล้วโยนไปนอกสังเวียน มุฏฐิกะเมื่อจะตายได้

ตั้งความปรารถนาไว้ว่า ขอให้เราเป็นยักษ์ได้กินเพลเทพ ครั้นเขาตายไป

แล้วจึงเกิดเป็นยักษ์อยู่ในดงชื่อกาฬมัตติกะ.

พระราชาเสด็จลุกขึ้นตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงจับพี่น้องทั้ง ๑๐

คนเหล่านี้ให้ได้ ขณะนั้น วาสุเทพขว้างจักรไปตกถูกพระเศียรกษัตริย์

สองพี่น้องสิ้นพระชนม์ มหาชนพากันสะดุ้งหวาดกลัว หมอบลงแทบ

บาทของกุมารเหล่านั้นด้วยกล่าวว่า ขอพระองค์ได้เป็นที่พึ่งของพวกข้า-

พระองค์เถิด กุมารเหล่านั้นครั้นปลงพระชนม์พระเจ้าลุงทั้ง ๒ ก็ยืด

ราชสมบัติอสิตัญชนคร ยกมารดาบิดาขึ้นครองราชสมบัติแล้วปรึกษา

กันว่า เรา ๑๐ คนจักชิงราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งหมด แล้วชวนกัน

ยกออกไปโดยลำดับ ถึงอยุชฌนครซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้ากาล-

โยนกราชล้อมเมืองไว้ ทำลายค่ายพังกำแพงเข้าไปจับพระราชา ยึด

ราชสมบัติอยู่ในเงื้อมมือของตน แล้วพากัน ไปถึงกรุงทวาราวดี.

ก็กรุงทวาราวดีนั้นมีสมุทรตั้งอยู่ข้างหนึ่ง มีภูเขาตั้งอยู่ข้างหนึ่ง

ได้ยินว่านครนั้นมีอมนุษย์รักษา ยักษ์ผู้ยืนรักษานครนั้น เห็นปัจจามิตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 971

แล้วแปลงเพศเป็นลา ร้องเสียงเหมือนลา ขณะนั้น นครทั้งสิ้นก็เลื่อน

ลอยไปอยู่บนเกาะเกาะ ๑ กลางสมุทร ด้วยอานุภาพยักษ์ เมื่อพวก

ปัจจามิตรไปแล้ว นครก็กลับมาประดิษฐานตามเดิมอีก แม้คราวนั้น

ยักษ์เพศลานั้นรู้ว่ากุมาร ๑๐ คนพี่น้องมา ก็ร้องเป็นเสียงลาขึ้น นคร

ก็เลื่อนลอยไปประดิษฐานอยู่บนเกาะ กุมารเหล่านั้นไม่เห็นนครก็พา

กันกลับ นครก็มาประดิษฐานอยู่ตามเดิมอีก กุมารเหล่านั้นกลับมาอีก

ยักษ์เพศลาก็ได้ทำเหมือนอย่างนั้นอีก กุมารเหล่านั้นเมื่อไม่อาจชิงราช-

สมบัติในกรุงทวาราวดีได้ ก็พากันไปหากัณหทีปายนดาบสนมัสการแล้ว

ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายไม่อาจชิงราชสมบัติ ทวาราวดี

ขอท่านได้บอกอุบายแก่พวกข้าพเจ้าสักอย่างหนึ่ง เมื่อพระดาบสบอกว่า

มีลาตัวหนึ่งเที่ยวอยู่ที่หลังคูแห่งโน้น ลานั้นเห็นพวกอมิตรแล้วร้องขึ้น

ขณะนั้น นครก็เลื่อนลอยไปเสีย ท่านทั้งหลายจงจับเท้าของลานั้น นี้

เป็นอุบายที่จะให้ท่านถึงความสำเร็จดังนี้ กุมารทั้ง ๑๐ นมัสการพระ-

ดาบส แล้วไปหมอบจับเท้าของลาวิงวอนว่า ข้าแต่นาย คนอื่นนอกจาก

ท่านเสียแล้วไม่เป็นที่พึ่งของพวกข้าพเจ้าได้ กาลเมื่อพวกข้าพเจ้ายึดนคร

ขอท่านอย่างได้ร้องขึ้นเลย ยักษ์เพศลากล่าวว่า เราไม่อาจที่จะไม่ร้อง

แต่ว่าท่าน ๔ คนจงมาก่อน จงถือเอาไถเหล็กใหญ่ ๆ แล้วตอกหลัก

เหล็กใหญ่ ๆ ลงกับพื้นแผ่นดิน ที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ด้าน กาลเมื่อนครจะ

เขยื่อนขึ้นจงจับไถแล้วช่วยกันเอาโซ่เหล็กที่ผูกกับไถล่ามไว้กับหลักเหล็ก

นครจักไม่อาจลอยไปได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 972

กุมารเหล่านั้นรับว่าดีแล้ว ครั้นเวลาเที่ยงคืนนั้น ก็พากันถือ

เอาไถแล้วตอกหลักลงบนแผ่นดินที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ด้านยืนอยู่ ขณะ

นั้น ยักษ์เพศลาก็ร้องขึ้น นครเริ่มจะเลื่อนลอย กุมารเหล่านั้นยืนอยู่

ที่ประตูเมื่อทั้ง ๔ ด้าน จับไถเหล็ก ๔ คัน เอาโซ่เหล็กผูกกับไถล่าม

ไว้กับหลักเหล็ก นครก็ไม่อาจเขยื้อนขึ้นได้ ลำดับนั้นกุมาร ๑๐ พี่น้อง

ก็เข้านคร ปลงพระชนม์พระราชาแล้วยึดราชสมบัติได้ กุมารเหล่านั้น

ได้ใช้จักรปลงพระชนม์พระราชาทั้งหมดในนคร ๖ หมื่น ๓ พันนคร

แล้วมารวมกันอยู่ที่กรุงทวาราวดี แบ่งราชสมบัติเป็น ๑๐ ส่วน แต่หา

ทันนึกถึงอัญชนเทวีเชษฐภคินีไม่ ต่อมานึกขึ้นได้จึงปรึกษากันใหม่ว่า

จะแบ่งเป็น ๑๑ ส่วน อังกุรกุมารพูดขึ้นว่า ท่านทั้งหลายจงให้ส่วนของ

เราแก่อัญชนเทวีเชษฐภคินีเถิด เราจะทำการค้าขายเลียงชีพ แต่ท่าน

ทั้งหลายต้องแบ่งส่วยในชนบทของตนให้แก่เราทุก ๆ คน พี่น้อง ๙ องค์

รับว่า ดีแล้ว ดังนี้แล้วมอบราชสมบัติส่วนของอังกุรกุมารให้แก่อัญชน-

เทวีเชษฐภคินี ได้เป็นพระราชา ๙ องค์กับเชษฐภคินี อยู่ด้วยกัน ใน

กรุงทวาราดี ส่วนน้องกุรกุมารได้ทำการค้าขาย.

เมื่อพระราชาพี่น้องเหล่านั้นเจริญด้วยบุตรธิดาต่อ ๆ มาอีกอย่างนี้

ครั้นกาลล่วงไปนาน พระราชมารดาบิดาก็สิ้นพระชนม์ลง ได้ยินว่า

อายุกาลของมนุษย์ในครั้งนั้นถึง ๒๐,๐๐๐ ปี ครั้งนั้น พระปิโยรสองค์

๑ ของวาสุเทพมหาราชสิ้นพระชนม์ พระราชาทรงแต่เศร้าโศกละ

สรรพกิจเสีย นอนกอดแคร่พระแท่นบ่นเพ้ออยู่ กาลนั้น ฆตบัณฑิตคิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 973

ว่า เว้นเราเสียแล้ว คนอื่นใครเล่าชื่อว่าสามารถกำจัดความโศกของพี่

ชายเราย่อมไม่มี เราจักใช้อุบายกำจัดความโศกของพี่ชาย คิดดังนี้แล้ว

จึงทำเป็นคนบ้าแหงนดูอากาศเดินบ่นไปทั่วเมืองว่า ท่านจงให้กระต่าย

แก่เรา ท่านจงให้กระต่ายแก่เรา ดังนี้ ข่าวเล่าลือกันไปทั่วเมืองว่า ฆต-

บัณฑิตเป็นบ้าเสียแล้ว.

เวลานั้น อำมาตย์ชื่อโรหิเณยยะไปเฝ้าพระเจ้าวาสุเทพ เมื่อจะ

เริ่มสนทนากับพระองค์ ได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ ขอพระองค์

จงเสด็จลุกขึ้นเถิด จะมัวทรงบรรทมอยู่ทำไม

ความเจริญอะไรจะมีแก่พระองค์ด้วยพระสุบิน

เล่า พระภาดาของพระองค์แม้ใด เสมอด้วย

พระหฤทัย และเสมอด้วยพระเนตรข้างขวา

ลมได้กระทบดวงหทัยของพระภาดานั้น ข้าแต่

พระองค์ผู้มีพระเกศางาม ฆตบัณฑิตทรงเพ้อไป.

โรหิเณยยะอำมาตย์ ทูลทักทายด้วยโคตรว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

กัณหวงศ์ ในคาถานั้น นัยว่าพระวาสุเทพนั้น มีโคตรว่ากัณหายนะ.

บทว่า โก อตฺโถ คือ ความเจริญชื่ออะไร. บทว่า หทย จกฺขุญฺจ

ทิกฺขิณ ความว่า เสมอด้วยพระหฤทัยด้วย เสมอด้วยพระเนตรข้างขวา

ด้วย. บทว่า ตสฺส วาตา พลิยฺยนฺติ ความว่า ลมกระทบดวงหทัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 974

ของพระภาดานั่งอยู่ ณ ที่นี้. บทว่า ชปฺปติ คือ ทรงเพ้อไปว่า ท่าน

ทั้งหลายจงให้กระต่ายแก่เรา. บทว่า เกสว ความว่า ได้ยินว่าพระเจ้า

วาสุเทพนั้น ทรงปรากฏพระนามว่า เกสว เพราะทรงมีพระเกษางาม

โรหิเณยยะอำมาตย์ ทูลทักทายพระเจ้าวาสุเทพด้วยพระนามนั้น.

เมื่ออำมาตย์ทูลอย่างนี้แล้ว พระศาสดาผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงทราบ

ความที่ฆตบัณฑิตมีจิตมั่นคง จึงตรัสพระคาถาที่ ๒ ว่า :-

พระเจ้าเกสวราช ทรงสดับคำของโรหิ-

เณยยะอำมาตย์นั้นแล้ว อัดอั้นพระหฤทัยด้วย

ความโศกถึงพระภาดา มีพระวรกายสระสับ

กระส่ายเสด็จลุกขึ้น.

พระราชาเสด็จลุกขึ้น รีบเสด็จลงจากปราสาทไปหาฆตบัณฑิต

จับหัตถ์ทั้ง ๒ ไว้แน่น เมื่อจะเจรจากับฆตบัณฑิต ได้กล่าวคาถา

ที่ ๓ ว่า :-

เหตุไรหนอ เจ้าจึงเป็นเหมือนคนบ้า

เที่ยวบ่นเพ้ออยู่ทั่วนครทวาราวดีนี้ว่า กระต่าย

กระต่าย ใครเขาลักกระต่ายของเจ้าไปหรือ ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกวล ทฺวารก อิม ความว่า พระ-

ราชาตรัสถามว่า เพราะเหตุไรเจ้าจึงเป็นดังคนบ้า เที่ยวบ่นเพ้ออยู่ทั่ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 975

ทวาราวดีนครนี้ว่า กระต่าย กระต่าย ใครมาลักเอากระต่ายของเจ้าไป

หรือ ? คือกระต่ายของเจ้าใครลักไปแล้วหรือ ?

เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว ฆตบัณฑิตก็ยังตรัสคำนั้นแหละ

อยู่บ่อย ๆ พระราชาจึงตรัส ๒ คาถาอีกว่า :-

เจ้าอยากได้กระต่ายทอง กระต่ายเงิน

กระต่ายแก้วมณี กระต่ายสังขศีลา หรือกระ-

ต่ายแล้วประพาฬประการใด เจ้าจงบอกแก่เรา

เรารักให้เขาทำให้เจ้า ถ้าแม้เจ้าไม่ชอบกระต่าย

เหล่านี้ ฝูงกระต่ายป่าอื่น ๆ มีอยู่ในป่า เราจัก

ให้เขานำเอากระต่ายเหล่านั้นให้เจ้า เจ้าต้อง

การกระต่ายชนิดไรเล่า ?

พึงทราบความย่อในพระคาถานั้น ดังนี้.

บรรดากระต่ายทั้งหลายมีกระต่ายทองเป็นต้นเหล่านั้น เจ้าจง

บอกกระต่ายที่เจ้าต้องการ เราจักให้เขาทำให้เจ้า ถ้าแม้เจ้าไม่ชอบ

กระต่ายเหล่านั้น ฝูงกระต่ายป่าอื่น ๆ ก็มีอยู่ในป่า เราจักให้เขานำเอา

กระต่ายเหล่านั้นมาให้ ดูก่อนท่านผู้มีพระพักตร์อันงาม เจ้าต้องการ

กระต่ายเช่นไรจงบอกมา ?

ฆตบัณฑิตฟังพระดำรัสของพระราชาแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๖

ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 976

ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระเกศางาม กระต่าย

เหล่าใดที่อาศัยอยู่บนแผ่นดิน หม่อมฉันไม่

ปรารถนาสิ้นทั้งนั้น หม่อมฉันปรารถนากระ

ต่ายจากดวงจันทร์ ขอพระองค์ได้ทรงโปรด

สอยกระต่ายนั้นมาให้หม่อมฉันเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอหร ได้แก่ให้หยั่งลง.

พระราชาทรงสดับถ้อยคำของฆตบัณทิตแล้ว ทรงโทมนัสว่า

น้องชายของเราเป็นบ้าเสียแล้วโดยไม่ต้องสงสัย จึงกล่าวคาถาที่ ๗ ว่า :-

น้อง เจ้าปรารถนาสิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนา

กัน อยากได้กระต่ายจากดวงจันทร์ จักละชีวิต

ที่ยังดีไปเสียเป็นแน่.

พระราชาเมื่อจะทรงทักพระกนิษฐาจึง ตรัสว่า น้อง ในพระ-

คาถานั้น ข้อนี้มีอธิบายว่า แน่ะพ่อท่านใดปรารถนาสิ่งที่ไม่ควรปรารถนา

ท่านนั้นผู้เป็นน้องของเรา จักละชีวิตของตนที่ดียิ่งไปเสียเป็นแน่.

ฆตบัณฑิตฟังพระราชดำรัสแล้ว ยืนนิ่งอยู่กล่าวว่า ข้าแต่

พระเจ้าพี่ เจ้าพี่ทรงทราบว่าข้าพระองค์ปรารถนากระต่ายจากดวงจันทร์

ไม่ได้แล้วจะตาย ก็เหตุไร เจ้าพี่จึงเศร้าโศกถึงโอรสที่สิ้นพระชนม์ไป

แล้วเล่า ? แล้วกล่าวคาถาที่ ๘ ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 977

ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ ถ้าพระองค์

ทรงทราบและตรัสสอนผู้อื่นอย่างนี้ไซร้ เหตุไร

พระองค์จึงทรงเศร้าโศกถึงพระราชโอรสผู้สิ้น

พระชนม์ไปแล้วในกาลก่อน จนกระทั้งถึงวัน

นี้เล่า ?

คำว่า เอว ในคาถานั้น มีอธิบายว่า ถ้าพระองค์ทรงทราบ

อย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าของที่ไม่ควรได้ บุคคลก็ไม่ควรหวังดังนี้ไซร้. บทว่า

ยทญฺมนุสาสสิ ความว่า ผิว่าพระองค์ทรงทราบอยู่อย่างนี้แหละ

ตรัสสอนผู้อื่นอยู่. บทว่า. ปุเร เป็นต้น ความว่า ฆตบัณฑิตกล่าวว่า

เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงเศร้าโศกถึงพระราชโอรส

ผู้สิ้นพระชนม์ไปแล้ว นับจากนี้ไปถึง ๔ เดือน จนกระทั้งถึงวันนี้เล่า ?

ฆตบัณฑิตยืนอยู่ระหว่างวิถีกราบทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระเจ้าพี่

หม่อมฉันปรารถนาสิ่งที่เห็นปรากฏอยู่แท้ ๆ แต่เจ้าพี่ทรงเศร้าโศกเพื่อ

ทรงประสงค์สิ่งที่มิได้ปรากฏอยู่ เมื่อจะแสดงธรรมถวายพระราชา ได้

กล่าวคาถา ๒ คาถาอีกว่า :-

มนุษย์หรือเทวดาไม่พึงได้ฐานะอันใด

คือความมุ่งหวังว่า บุตรของเราที่เกิดมาแล้ว

อย่าตายเลย พระองค์ทรงปรารถนาฐานะอัน

นั้นอยู่ จะพึงทรงได้ฐานะที่ไม่ควรได้แต่ที่ไหน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 978

ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ พระองค์ทรงเศร้า

โศกถึงพระโอรสองค์ใด ผู้ไปปรโลกแล้วพระ-

องค์ก็ไม่สามารถจะนำพระโอรสนั้นมาได้ด้วย

มนต์ ยารากไม้ โอสถ หรือพระราชทรัพย์เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย เป็นต้น ความว่า ฆตบัณฑิต

แสดงว่ามนุษย์หรือเทวดาไม่พึงได้อีก คือไม่อาจเพื่ออันได้ฐานะอันใด

คือความมุ่งหวังอย่างนี้ว่า บุตรของเราที่เกิดมาแล้วอย่าตายเลย พระองค์

ทรงปรารถนาฐานะอันนั้นอยู่ จะพึงทรงให้ฐานะที่ไม่ควรได้นั้น คือ

พระโอรสผู้ไปปรโลกแล้วแต่ที่ไหน ? คือจะสามารถได้ด้วยเหตุอะไร ?

ได้แก่ไม่สามารถจะได้ฐานะที่ไม่ควรได้นั้น. อธิบายว่า เพราะเหตุนั้น

ขึ้นชื่อว่าสิ่งอันไม่ควรได้คือฐานะอันไม่ควรได้นั้น จะพึงได้แต่ที่ไหน.

บทว่า มนฺตา คือ ด้วยการร่ายมนต์ บทว่า มูลเภสชฺช

คือ ด้วยรากยา บทว่า โอสเถหิ คือ ด้วยโอสถชนิดต่าง ๆ. บทว่า

ธเนน วา คือ หรือด้วยพระราชทรัพย์นับด้วย ๑๐๐ โกฏิ.

คำนี้มีอธิบายว่า พระองค์ทรงเศร้าโศกถึงพระโอรสองค์ใดผู้ไป

ปรโลกแล้ว พระองค์ก็ไม่สามารถจะนำพระโอรสนั้นมาได้แม้ด้วยการ

ร่ายมนต์เป็นต้นเหล่านั้น.

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้วตรัสว่า แน่ะพ่อฆตบัณฑิตคำที่

กล่าวนี้ควรกำหนดไว้ ท่านได้ทำให้เราหายโศกแล้ว เมื่อจะสรรเสริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 979

ฆตบัณฑิต จึงตรัสพระคาถา ๔ พระคาถาว่า :-

บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเช่นนี้ เป็นอำมาตย์

ของพระราชาพระองค์ใด พระราชาพระองค์

นั้นจะมีความโศกนาแต่ไหน เหมือนฆตบัณฑิต

ดับความโศกของเราในวันนี้ ฆตบัณฑิตได้

รดเราผู้เร่าร้อนให้สงบระงับ ดับความกระวน

กระวายทั้งปวงได้ เหมือนบุคคลดับไฟที่ติด

เปรียงด้วยน้ำฉะนั้น ฆตบัณฑิตได้ถอนลูกศร

ที่เสียบแทงหทัยของเราออกแล้ว ได้บรรเทา

ความโศกถึงบุตรของเรา ผู้ถูกความเศร้าโศก

ครอบงำแล้วหนอ เราเป็นผู้ถอนลูกศรออกได้

แล้วปราศจากความโศก ไม่ขุ่นมัว จะไม่เศร้า

โศก จะไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคำของเจ้า นะ

น้อง.

บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาที่หนึ่งมีความย่อดังนี้ว่า บุรุษผู้เป็น

บัณฑิตเช่นนี้ เป็นอำมาตย์ของพระราชาแม้พระองค์อื่นใด พระราชา

พระองค์นั้น จะมีความโศกมาแต่ไหน เหมือนดังฆตบัณฑิต ยังเราผู้ถูก

ความเศร้าโศกถึงบุตรครอบงำแล้วให้ดับ คือให้เย็นได้แก่ให้ตื่น เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 980

ประโยชน์แก่การกำจัดความโศกฉะนั้น. คาถาที่เหลือมีเนื้อความดังกล่าว

แล้วนั่นแหละ.

ในอวสาน มีอภิสัมพุทธคาถา ซึ่งมีเนื้อความง่ายดังนี้ว่า :-

ผู้มีปัญญา มีใจกรุณา ย่อมทำผู้ที่เศร้า

โศกให้หลุดพ้นจากความเศร้าโศกได้ เหมือน

ฆตบัณฑิตทำพระเชษฐาผู้เศร้าโศกให้หลุดพ้น

จากความเศร้าโศก ฉะนั้น.

เมื่อพระเจ้าวาสุเทพ ผู้อันฆตบัณฑิตทำให้หมดความโศกแล้ว

อย่างนี้ครองราชสมบัติอยู่ โดยล่วงไปแห่งกาลยืดยาวนาน พระกุมาร

โอรสของกษัตริย์พี่น้องทั้ง ๑๐ ปรึกษากันว่า เขากล่าวกันว่า กัณหที-

ปายนดาบสผู้มีตาดังทิพย์ พวกเราจักทดลองท่านดูก่อน จึงประดับกุมาร

เด็กผู้ชายคนหนึ่ง แสดงอาการเหมือนหญิงมีครรภ์ เอาลูกแก้วมรกต

ผูกไว้ที่ท้อง แล้วนำไปหาพระดาบสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เด็กหญิง

นี้จักคลอดหรือไม่ ? พระดาบสพิจารณาดูรู้ว่า กาลวิบัติของกษัตริย์พี่

น้อง ๑๐ องค์มาถึงแล้ว อายุสังขารของพวกเราเป็นเช่นไรหนอ ? ก็รู้ว่า

จักตายวันนี้แน่ จึงกล่าวว่า กุมารทั้งหลาย พวกท่านต้องการอะไรด้วย

เรื่องนี้ ถูกพวกกุมารเซ้าซี้ว่า ขอท่านจงบอกแก่พวกกระผมเถิด พระ-

เจ้าข้า จึงกล่าวว่า ต่อนี้ไป ๗ วัน กุมาริกาผู้นี้จักคลอดปุ่มไม้ตะเคียน

ออกมา ด้วยเหตุนั้นตระกูลของวาสุเทพจักพินาศ อนึ่ง ท่านทั้งหลาย

จงเอาปุ่มไม้ตะเคียนนั้น ไปเผาแล้วเอาเถ้าไปทิ้งในแม่น้ำ ลำดับนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 981

พระกุมารเหล่านั้นกล่าวกะพระดาบสว่า ดูก่อนชฎิลโกง ธรรมดาผู้ชาย

ออกลูกได้ไม่มีเลย แจ้วทำกรรมกรณ์ชื่อตันตรัชชุกะ. ให้ดาบสิ้นชีวิต

ในที่นั่นเอง.

กษัตริย์พี่น้องทั้งหลาย เรียกพระกุมารมาตรัสถามว่า พวกเจ้า

ฆ่าพระดาบสเพราะเหตุไร ? ครั้นได้สดับเรื่องทั้งหมดแล้วทรงหวาดกลัว

จึงรักษาเด็กนั้นไว้ ครั้นถึงวันที่ ๗ ให้เผาปุ่มตะเคียนที่ออกจากท้อง

เด็กนั้น แล้วเอาเถ้าไปทิ้งในแม่น้ำ เถ้านั้นถูกน้ำพัดไปติดอยู่ที่ปากอ่าว

ข้างหนึ่ง เกิดเป็นตะไคร่น้ำขึ้นที่นั้น.

อยู่มาวันหนึ่ง กษัตริย์เหล่านั้นชวนกันทรงสมุทรกีฬา เสด็จไป

ถึงปากอ่าวแล้วให้ปลูกมหามณฑปทรงเสวยทรงดื่ม ทรงหยอกเย้ากันที่

มหามณฑปซึ่งตกแต่งงดงาม ใช้พระหัตถ์และพระบาทถูกต้องกันแต่

เป็นไปด้วยอำนาจความเย้ยหยัน จึงทะเลาะกันยกใหญ่ แตกกันเป็น

สองพวก ลำดับนั้น กษัตริย์พระองค์หนึ่ง เมื่อไม่ได้ไม้ตะบองอย่างอื่น

ก็ถือใบตะไคร้น้ำแต่กอตะไคร้น้ำใบหนึ่ง ใบตะไคร้น้ำนั้น พอถูกจับเข้า

เท่านั้น ก็กลายเป็นสากไม้ตะเคียน พระองค์ทรงตีมหาชนด้วยสากนั้น

แล้ว สิ่งที่คนทั้งหมดจับด้วยเข้าใจว่าเป็นอย่างอื่น ก็กลายเป็นสากไป

หมด เขาจึงประหารกันและกันถึงความพินาศสิ้น เมื่อเขาเหล่านั้นกำลัง

พินาศอยู่ กษัตริย์ องค์คือ วาสุเทพ พลเทพ อัญชนเทวีภคินี และ

ปุโรหิต พากันขึ้นรถหนีไป พวกที่เหลือพากันพินาศหมด กษัตริย์ ๔

องค์เหล่านั้นขึ้นรถหนีไปถึงดงกาฬมัตติกะ ก็มุฏฐิกะคนปล้ำนั้นซึ่งตั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 982

ความปรารถนาไว้ได้เกิดเป็นยักษ์อยู่ในดงนั้น รู้ว่าพลเทพมาก็เนรมิตร

บ้านขึ้นที่นั้น แปลงเพศเป็นคนปล้ำเที่ยวโห่ร้องคำรามตบมือท้าทายว่า

ใครต้องการสู้ พลเทพพอเห็นเขาเหล่านั้นก็กล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าพี่

หม่อมฉันจักสู้กับบุรุษนี้เอง เมื่อวาสุเทพห้ามอยู่นั่นแหละ ลงจากรถ

ตบมือเข้าไปหายักษ์นั้น ลำดับนั้น ยักษ์จึงจับมือที่เหยียดออกแล้วกิน

พลเทพเสียดุจเหง้าบัว.

วาสุเทพรู้ว่าพลเทพสิ้นชีวิต จึงพาภคินีและปุโรหิตเดินทางไป

ตลอดคืน พอรุ่งสว่างก็ถึงปัจจันตคามตำบลหนึ่ง สั่งภคินีและปุโรหิต

ไปยังบ้านสั่งว่า จงหุงอาหารแล้วนำมา ตัวเองเข้าไปนอนซ่อนอยู่ที่กอ

ไม้กอหนึ่ง ครั้งนั้น นายพรานคนหนึ่งชื่อชรา เห็นกอไม้ไหวๆ เข้าใจว่า

สุกรจักมีที่นั่น จึงพุ่งหอกไปถูกพระบาทวาสุเทพ เมื่อวาสุเทพตรัสว่า

ใครแทงเรา นายพรานรู้ว่าตนแทงมนุษย์ ก็ตกใจกลัว ปรารภจะหนีไป

พระราชาดำรงพระสติไว้เสด็จลุกขึ้น ตรัสเรียกว่า ดูก่อนลุง อย่ากลัว

เลยจงมาเถิด ครั้นนายพรานมาแล้ว จึงตรัสถามว่า ท่านชื่ออะไร ?

เมื่อนายพรานตอบว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าชื่อชรา ก็ทรงทราบว่า นัยว่า

คนรุ่นก่อนพยากรณ์เราไว้ว่า จักถูกนายชราแทงตาย วันนี้เราคงตาย

โดยไม่ต้องสงสัย แล้วตรัสกะนายชราว่า ดูก่อนลุง ท่านอย่ากลัวเลย

จงมาช่วยพันแผลที่เท้าให้เรา ให้นายพรานชราพันปากแผลแล้วก็ส่ง

นายพรานนั้นไป เวทนามีกำลังได้เป็นไปอย่างแรงกล้า พระราชา

ไม่อาจจะเสวยพระกระยาหารที่ภคินีและปุโรหิตนำมาได้ ลำดับนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 983

พระองค์จึงตรัสเรียกชนทั้งสองมาตรัสว่า เราจักตายวันนี้ ก็ท่านทั้ง ๒

เป็นสุขุมาลชาติ ไม่อาจจะทำการงานอย่างอื่นเลี้ยงชีพได้ จงเรียนวิชา

นี้ไว้ แล้วให้ศึกษาวิชาอย่างหนึ่ง แล้วส่งเขากลับไป พระองค์สิ้นพระ-

ชนม์อยู่ ณ ที่นั้นเอง กษัตริย์พี่น้องทั้งหมด นอกจากอัญชนเทวีแล้ว

ถึงความพินาศสิ้น.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า

ดูก่อนอุบาสก โบราณบัณฑิตฟังด้วยคำของบัณฑิตแล้ว กำจัดความ

โศกถึงบุตรของตนออกได้ ท่านอย่าคิดถึงเขาเลย ดังนี้แล้วทรงประกาศ

สัจธรรม เวลาจบสัจจะ อุบาสกดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พระทศพล

ทรงประชุมชาดกว่า โรหิเณยยอำมาตย์ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์

ในบัดนี้ วาสุเทพในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระสารีบุตรในบัดนี้ พวกที่

เหลือนอกนี้ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนฆตบัณฑิต

ในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราผู้สัมมาสัมพุทธะเปิดหลังคาคือกิเลสในโลกได้

แล้ว ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาฆตบัณฑิตชาดกที่ ๑๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 984

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จตุทวารชาดก ๒. กัณหชาดก ๓. จตุโปสถชาดก

๔. สังขชาดก ๕. จุลลโพธิชาดก ๖. มัณฑัพยชาดก ๗. นิโครธ

ชาดก ๘. ตักกลชาดก ๙. มหาฐัมมปาจชาดก ๑๐. กุกกุฏชาดก

๑๑. มัฏฐกุณฑศิชาดก ๑๒. พิลารโกสิยชาดก ๑๓. จักกวากชาดก

๑๔. ภูริปัญหาชาดก ๑๕. มหามังคลชาดก ๑๖. ฆตบัณฑิตชาดก.

จบ ทสกนิบาตชาดก